sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
783989 | กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน และกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
และกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖
วรรคหนึ่ง (๑) (ซ) (๒) (ซ) และวรรคสอง
มาตรา ๖๕ วรรคสอง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ช) และมาตรา ๗๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร
ข้อ ๑ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร หมายความว่า ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการเกษตรกรรม การประมง การปศุสัตว์
หรือการป่าไม้ และผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและวัสดุหรือครุภัณฑ์การเกษตร
ข้อ ๒ ให้พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรดังต่อไปนี้
เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๑) นมโรงเรียน ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
(๒) นม ยู เอช ที จิตรลดา และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่ผลิตจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
(๓) ผลิตภัณฑ์และอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ
ซึ่งผลิตจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปโดยผ่านสหกรณ์ของโครงการหลวงภาคเหนือ
(๔) ข้าวสารและสินค้าประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคขององค์การคลังสินค้า
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การตลาด ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
หรือสถาบันเกษตรกร
(๕) เมล็ดพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตของกรมวิชาการเกษตร
(๖) เมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว
(๗) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างบริการประเภทพืชจากเนื้อเยื่อหัตถกรรมและอาหารที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
(๘) วัสดุการเกษตรที่เป็นพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์
ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง หรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล
(๙) วัสดุการเกษตรและเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองหรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล
(๑๐) ผลิตภัณฑ์และงานจ้างบริการอบไม้ ไสไม้
อัดน้ำยาไม้ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ข้อ ๓
วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรตามข้อ ๒ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๑)
จัดซื้อด้วยเงินดังกล่าวโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
(๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๒)
โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๓) ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๓)
โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป
หรือหากราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๔) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๔) จากองค์การคลังสินค้า
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การตลาด ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
หรือสถาบันเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุด โดยวิธีคัดเลือกและให้แจ้งองค์การ
ชุมนุม หรือสถาบันเกษตรกรดังกล่าวเข้าเสนอราคาด้วย
(๕)
ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒ (๕) (๖) (๗) หรือ (๑๐) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๖) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๘) และ (๙)
ซึ่งมีราคาต่อหน่วยไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท โดยวิธีคัดเลือกและให้แจ้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองหรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้ผลิตเองเข้าเสนอราคาด้วย
หมวด ๒
พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาส
ข้อ ๔ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาส
หมายความว่า การผลิตสินค้า การให้บริการ
การค้าส่ง การค้าปลีก กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น
ๆ จากวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตำบล
กลุ่มสหกรณ์ ร้านค้าสหกรณ์ ร้านค้า
หรือกลุ่มอาชีพที่อยู่ในการกำกับดูแลควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานของรัฐรับรอง มูลนิธิ องค์การสงเคราะห์ต่าง ๆ หรือกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน
ข้อ ๕
ให้พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาสดังต่อไปนี้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๑) ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรี หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
ในหมู่บ้านและตำบลที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชนพื้นที่นั้น ๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มตั้งแต่
๕ คนขึ้นไป ประกอบอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตในพื้นที่หมู่บ้านและตำบลนั้น
(ข) มีการบริหารจัดการกลุ่มและมีการทำกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งมีทรัพย์สินหรือเงินทุนของกลุ่มเพื่อดำเนินกิจการร่วมกัน
(ค) สมาชิกของกลุ่มต้องมีความรู้ ความสามารถ
และมีความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพในการผลิตงานที่รับมาทำและงานที่รับมาทำนั้นต้องดำเนินการโดยสมาชิกในกลุ่ม
และ
(ง) มีการรับรองการดำเนินงานของกลุ่มหรือจดทะเบียนกลุ่มโดยหน่วยงานของรัฐที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ
(๒) วัสดุสำนักงานของร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง
(๓) ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกสามารถผลิตขึ้นเอง
หรืองานจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
(๔) สินค้าที่ผลิตขึ้นเองขององค์การและมูลนิธิสงเคราะห์คนพิการ
ได้แก่ สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงงานอุตสาหกรรมบำบัด
สถานพยาบาลพระประแดง โรงเรียนสอนคนตาบอด ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก โรงเรียนสอนคนหูหนวก หรือโรงเรียนศรีสังวาลย์ (มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ)
(๕) ผลิตภัณฑ์จากทัณฑสถานและงานก่อสร้างของเรือนจำ ทัณฑสถาน
สถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว หรือร้านค้าของกรมราชทัณฑ์
ข้อ ๖ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาสตามข้อ
๕ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๕ (๑) (๒) หรือ
(๔) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มสตรี
หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตำบล หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๕ (๓)
ดังต่อไปนี้
(ก) ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม จัดซื้อหรือจัดจ้างทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือหากราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(ข)
ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างบริการรักษาความปลอดภัยโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๓) ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น
จัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๕ (๕) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากกรมราชทัณฑ์
หรือหากราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
หมวด ๓
พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน
ข้อ ๗ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน หมายความว่า
ผลผลิต ชิ้นงาน
หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทำขึ้นในขอบเขตของการเรียนการสอนและโดยบุคลากรของสถานศึกษา
หรือหน่วยงานหรือองค์กรในกำกับของหน่วยงานของรัฐที่ผลิตขึ้นตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๘ ให้พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอนดังต่อไปนี้
เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๑) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันทำหรือผลิตขึ้น
(๒)
งานจ้างต่อเรือไม้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา หรืองานจ้างเหมาต่อเรือ
ซ่อมแซม หรือดัดแปลงเรือไม้ หรือเรือไฟเบอร์กลาสชนิดต่าง ๆ จากสถานศึกษาประเภทวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ
ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว
(๓) งานจ้างทำครุภัณฑ์
และรับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๔) เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และวัสดุสำนักงานขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๕)
ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างที่อยู่ในขอบเขตของการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(๖) อาวุธ หรืองานจ้างผลิตอาวุธของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
(๗) งานจ้างซ่อมอากาศยานและวัสดุอุปกรณ์อากาศยาน
ของบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด
(๘) แบตเตอรี่ หรือบริการเกี่ยวกับแบตเตอรี่
วัตถุพลอยได้จากการผลิต และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแบตเตอรี่ของโรงงานแบตเตอรี่ทหาร
กองโรงงานอุตสาหกรรม กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
(๙) ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
หรืองานจ้างจัดทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการในกิจการของหน่วยงานของรัฐ
และงานผลิตภัณฑ์ของกรมธนารักษ์
(๑๐) งานจ้างพิมพ์ของโรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐ หรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๙ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน
ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ
๘ (๑) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หรือหากราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๒) (๘) หรือ
(๙) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๓) ให้สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ
๘ (๓) ที่เป็นของสถานศึกษาของตนเองหรือของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการภายในวงเงินไม่เกิน
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือหากสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๔) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๘ (๔) ดังต่อไปนี้
(ก) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่องค์การค้าผลิตออกจำหน่ายตามแบบที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำหนดโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(ข)
ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อวัสดุสำนักงานต่าง ๆ จากองค์การค้าภายในวงเงินไม่เกิน
๑๓๐,๐๐๐ บาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๕) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อหรือจัดจ้างงานที่อยู่ในขอบเขตของการเรียนการสอนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๖)
ให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๖) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หรือหากราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๗)
ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างเกี่ยวกับพัสดุอุปกรณ์อากาศยานหรือการซ่อมอากาศยาน
และอุปกรณ์จากบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด
โดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด
ดำเนินการจ้างซ่อมอีกทอดหนึ่งได้เฉพาะงานที่บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ไม่สามารถดำเนินการได้เองเท่านั้นและให้คำนึงถึงความสำคัญของการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการเรียนรู้วิทยาการด้านการซ่อมอากาศยานด้วย
(๘) ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๑๐)
ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก)
กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโรงพิมพ์ของตนเองหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
(ข)
กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐตาม
(ก) แต่ไม่สามารถรับจ้างพิมพ์งานได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีงานเกินขีดความสามารถ
ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานพิมพ์ส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยวิธีคัดเลือก
หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะใช้วิธีคัดเลือก จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือเชิญชวนโรงพิมพ์อื่นของหน่วยงานของรัฐ
หรือโรงพิมพ์อื่นที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าสามแห่งทราบ
เพี่อเข้าร่วมเสนอราคา
(ค)
กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐตาม (ก)
แต่มีงานพิมพ์มากเกินขีดความสามารถที่โรงพิมพ์จะพิมพ์ได้ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานพิมพ์ส่วนที่เกินขีดความสามารถโดยวิธีคัดเลือก
หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะใช้วิธีคัดเลือก จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือเชิญชวนโรงพิมพ์อื่นของหน่วยงานของรัฐ
หรือโรงพิมพ์อื่นที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าสามแห่งทราบ
เพี่อเข้าร่วมเสนอราคา
หมวด ๔
พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษา
ข้อ ๑๐ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษา หมายความว่า การวิจัยและการพัฒนา และการให้บริการทางการศึกษา
และให้หมายความรวมถึงการให้บริการทางวิชาการ
ข้อ ๑๑ ให้พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษาดังต่อไปนี้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๑) งานจ้างบริการทางวิชาการและการวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(๒) งานจ้างบริการวิชาการและการวิจัยของมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง
(๓) งานจ้างบริการวิชาการและการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
(๔)
งานจ้างบริการวิชาการและการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ
๑๑ (๑) (๓) หรือ (๔) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ
๑๑ (๒) ในขอบเขตสาขาที่จัดให้มีการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
และดำเนินการโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมทางด้านวิชาการและการวิจัยอย่างแท้จริงโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ การให้บริการของมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องไม่มีผลกระทบเสียหายต่อการสอน
การวิจัยหรือการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ โดยปกติของข้าราชการ คณาจารย์ นักศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษา
หมวด ๕
พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม
ข้อ ๑๔ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม หมายความว่า
สินค้าหรือบริการที่มีรายชื่อตามบัญชีนวัตกรรมไทยของสำนักงบประมาณ
ข้อ ๑๕ ให้พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม
เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ
๑๕ ดังต่อไปนี้
(๑) หากพัสดุที่จะจัดซื้อหรือจัดจ้าง มีผู้ขายหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียว
ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการโดยตรง
(๒) หากพัสดุที่จะจัดซื้อหรือจัดจ้าง มีผู้ขายหรือผู้ให้บริการตั้งแต่สองรายขึ้นไป
ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก
โดยแจ้งผู้ขายหรือผู้ให้บริการทุกรายเข้าเสนอราคาด้วย
หมวด ๖
พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข
ข้อ ๑๗ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข หมายความว่า สินค้าหรือบริการเกี่ยวกับการป้องกัน หรือการรักษาโรค ยา
หรือเวชภัณฑ์
ข้อ ๑๘ ให้พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุขดังต่อไปนี้
เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๑) ยาตามชื่อสามัญ (generic name) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
(๒) ยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์
ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทยได้ผลิตออกจำหน่ายแล้ว
(๓) ยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์
ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร มิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย
(๔) ยาและเวชภัณฑ์ที่ได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย
(๕) วัคซีนโรคตับอักเสบบี และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยผลิตเอง
และไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ข้อ ๑๙ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ
๑๘ (๑) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทย
โดยจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ เว้นแต่ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค
ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ
๘๐
ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘
(๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทย เว้นแต่ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค
ในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ทั้งนี้ ราคายาหรือเวชภัณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวจำหน่ายต้องไม่สูงกว่าราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด
ข้อ ๒๑ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ
๑๘ (๓) โดยวิธีคัดเลือก โดยจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมทหาร หรือผู้ขายรายใดก็ได้
แต่ต้องแจ้งองค์การเภสัชกรรมและโรงงานเภสัชกรรมทหารทราบด้วยทุกครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่พัสดุตามข้อ ๑๘ (๓) มีราคาไม่สูงกว่าราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด
ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร
ข้อ ๒๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘
(๔) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยต้องจัดซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของงบประมาณเพื่อจัดซื้อพัสดุดังกล่าว
ข้อ ๒๓ ให้ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘ (๕) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากสภากาชาดไทย
หมวด ๗
พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อ ๒๔ ในหมวดนี้
พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ หมายความว่า สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น
น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำ หรือไฟฟ้า
ข้อ ๒๕ ให้พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติดังต่อไปนี้
เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๑) น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ของบริษัท ปตท. จำกัด
(มหาชน)
(๒) ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่าง ๆ ของโรงงานกลั่นน้ำมันฝาง กรมการพลังงานทหาร
(๓) งานจ้างบริการไฟฟ้าหรือประปา ของการไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค
ข้อ ๒๖
วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๔ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒๕ (๑)
ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ลิตรขึ้นไป
โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากบริษัท ปตท. จำกัด
(มหาชน) หรือหากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
และรัฐวิสาหกิจจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๒) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหม จัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒๕
(๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโรงงานกลั่นน้ำมันฝาง กรมการพลังงานทหาร
หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหมไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหมจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
(๓) ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ
จัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๕ (๓) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากการไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค
หรือหากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ ไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์
ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย
เว้นแต่งานจ้างที่ปรึกษาให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพ
ซึ่งเกณฑ์อื่นหรือเกณฑ์ด้านคุณภาพนั้นรวมถึงพัสดุ หรือประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
และในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนก็ได้
ซึ่งในปัจจุบันมีพัสดุหรือประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนโดยใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ
๒๕ สิงหาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๒ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๙/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783986 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ พ.ศ. 2560 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๓ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
ผู้ประกอบการ หมายความว่า
ผู้ประกอบการงานก่อสร้างตามมาตรา ๕๑ หรือผู้ประกอบการพัสดุอื่นตามมาตรา ๕๒
ข้อ ๒
ให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการกับกรมบัญชีกลางตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๑ วรรคสาม
หรือมาตรา ๕๒ วรรคสอง แล้วแต่กรณี
หมวด ๑
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน
ข้อ ๓
ผู้ที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย และมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย
(๒) มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ
(ก) งานก่อสร้าง
ในกรณีที่ขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างตามมาตรา ๕๑ หรือ
(ข) พัสดุอื่น ในกรณีที่ขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพัสดุอื่นตามมาตรา
๕๒
(๓)
มีกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันเป็นผู้มีสัญชาติไทยมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(๔) กรณีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าว
ต้องไม่เป็นคนต่างด้าวที่ถูกห้ามมิให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ
(๗)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามมาตรา
๑๐๖ วรรคสาม
(๘)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐๙
(๙) มีคุณสมบัติที่เป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น
ฐานะการเงิน ผลงานหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา
บุคลากร หรือเครื่องมือเครื่องจักร
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกำหนดในแต่ละสาขางานก่อสร้างหรือในแต่ละพัสดุอื่น
(๑๐) คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดตามมาตรา
๖๔ วรรคหนึ่ง (๖)
ข้อ ๔
กรณีผู้ประกอบการที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๓ (๑) หรือ (๓)
หากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้อนุญาตหรือให้ความเห็นชอบให้ผู้ประกอบการรายนั้นสามารถประกอบอาชีพหรือประกอบกิจการในประเทศไทย
และกรณีของผู้ประกอบการที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นกำหนดไว้แล้วให้กรมบัญชีกลางขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการตามกฎกระทรวงนี้ได้
หมวด ๒
การตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
และการตรวจติดตาม
ข้อ ๕
เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการแล้ว ให้กรมบัญชีกลางตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามข้อ
๓
รวมทั้งตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นพร้อมคำขอให้ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่ชักช้า
หากเห็นว่าคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใด ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบทันที
ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
ถ้าเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ในขณะนั้น
ให้บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในบันทึกดังกล่าวด้วย
และให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบและผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นและให้มอบสำเนาบันทึกนั้นให้ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้
ในบันทึกให้กำหนดระยะเวลาดำเนินการแก้ไข หรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมไว้ด้วย
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้จัดทำคำขอถูกต้องและแนบเอกสารหรือหลักฐานครบถ้วนตามข้อ
๓ แล้ว
หรือได้แก้ไขหรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมครบถ้วนภายในระยะเวลาตามที่ปรากฏในบันทึกตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการตามคำขอต่อไป
แต่ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอหรือไม่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลา
ให้เจ้าหน้าที่คืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุผลที่คืนคำขอให้ทราบด้วย
ในกรณีที่กรมบัญชีกลางเปิดให้มีการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
ให้การตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๓ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางประกาศกำหนด
ข้อ ๖
ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ตรวจติดตามผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้วว่ายังเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ
๓ หรือไม่ โดยให้มีการตรวจติดตามทุกสองปี
หากกรมบัญชีกลางตรวจติดตามพบว่าผู้ประกอบการรายใดไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ
๓
ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการเพิกถอนรายชื่อผู้ประกอบการรายนั้นออกจากทะเบียนผู้ประกอบการต่อไป
เพื่อประโยชน์ในการตรวจติดตาม
ให้ผู้ประกอบการที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามข้อ
๓
แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ให้ผู้ประกอบการดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กรมบัญชีกลางทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่แจ้งให้กรมบัญชีกลางทราบ
หากไม่แจ้งหรือไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
กรมบัญชีกลางจะดำเนินการเพิกถอนรายชื่อผู้ประกอบการรายนั้นออกจากทะเบียนต่อไป
หมวด ๓
การกำหนดประเภทชั้นและการเลื่อนชั้นผู้ประกอบการ
ข้อ ๗
การกำหนดประเภทชั้นและการเลื่อนชั้นผู้ประกอบการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๑ วรรคสาม
หรือมาตรา ๕๒ วรรคสอง แล้วแต่กรณี
หมวด ๔
การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน
ข้อ ๘
การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๓
(๒)
ยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อขอขึ้นทะเบียนหรือการเลื่อนชั้นผู้ประกอบการอันเป็นเท็จหรือกระทำการทุจริตอื่นใดเพื่อให้มีสิทธิได้รับการขึ้นทะเบียนหรือการเลื่อนชั้นผู้ประกอบการ
ข้อ ๙
ผู้ที่ถูกเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบการตามข้อ ๘ (๑)
สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการใหม่ได้
เมื่อพ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กรมบัญชีกลางเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ
๓ (๗) หรือ (๘) ให้ยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการใหม่ได้เมื่อพ้นจากการเป็นบุคคลตามข้อ
๓ (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี
หมวด ๕
อัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนและหลักฐานการขึ้นทะเบียน
ข้อ ๑๐
อัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายกฎกระทรวงนี้
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้กรมบัญชีกลางพิจารณาทบทวนทุกห้าปี
เงินค่าธรรมเนียมที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง
ให้กรมบัญชีกลางนำไปใช้จ่ายได้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกรมบัญชีกลางตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
ข้อ ๑๑
เมื่อกรมบัญชีกลางเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ ๑๐ แล้ว ให้กรมบัญชีกลางออกหลักฐานการขึ้นทะเบียน ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
หมวด ๖
การอุทธรณ์
ข้อ ๑๒
ในกรณีที่กรมบัญชีกลางไม่รับขึ้นทะเบียน ปรับลดระดับชั้นของผู้ประกอบการ
หรือเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน หากผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าว
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อกรมบัญชีกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกรมบัญชีกลาง
คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์
โดยต้องระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลอันเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ให้ชัดเจน
พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วย
ข้อ ๑๓
เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับคำอุทธรณ์ตามข้อ ๑๒ ให้พิจารณาโดยไม่ชักช้า
หากเห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ให้แจ้งผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ในกรณีที่กรมบัญชีกลางไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์
ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังปลัดกระทรวงการคลังภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้มีหนังสือแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้
ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ข้อ ๑๔
ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามข้อ ๑๓ กรมบัญชีกลางหรือปลัดกระทรวงการคลังอาจขอให้คณะกรรมการราคากลางเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม
(๑) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างอาคาร
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๕ ๑,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๖ ๕๐๐
บาท
(๒) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างทาง
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๕ ๑,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๖ ๕๐๐
บาท
(๓) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างสะพาน
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๕ ๑,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๖ ๕๐๐
บาท
(๔) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างทางและสะพานพิเศษ
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
(๕) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างอุโมงค์หรือทางลอด
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
(๖) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างชลประทาน
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๕ ๑,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๖ ๕๐๐
บาท
(๗) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งและชายฝั่ง
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๕ ๑,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๖ ๕๐๐
บาท
(๘) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในทะเล
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๕ ๑,๐๐๐ บาท
(๙) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำ
ชายฝั่งทะเล
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
(๑๐) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำ
ภายในประเทศ
ประเภทชั้นพิเศษ ๕,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๑ ๔,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๒ ๓,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๓ ๒,๐๐๐ บาท
ประเภทชั้น ๔ ๑,๕๐๐ บาท
(๑๑) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง สาขางานก่อสร้างบำรุงทาง
ประเภทชั้นพิเศษ ๕๐๐
บาท
ประเภทชั้น ๑ ๕๐๐
บาท
ประเภทชั้น ๒ ๕๐๐
บาท
ประเภทชั้น ๓ ๕๐๐
บาท
ประเภทชั้น ๔ ๕๐๐
บาท
ประเภทชั้น ๕ ๕๐๐
บาท
ประเภทชั้น ๖ ๕๐๐
บาท
(๑๒) การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานพัสดุอื่น ๕,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
บัญญัติให้คณะกรรมการราคากลางมีอำนาจประกาศกำหนดให้งานก่อสร้างในสาขาใดเป็นงานก่อสร้างที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นจะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้
ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง
รวมทั้งอาจประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบการพัสดุอื่นนอกจากผู้ประกอบการงานก่อสร้างเป็นผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้
ผู้ประกอบการนั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลางก็ได้
โดยการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามหรือการตรวจติดตาม
การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน
รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีที่กรมบัญชีกลางไม่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกอบการ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ
๒๕ สิงหาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๒ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๓/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783981 | กฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานของรัฐ
ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า หน่วยงานของรัฐ ในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ทุนหมุนเวียนที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียนเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์
ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยการกำหนดให้หน่วยงานอื่นที่มิใช่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา
และหน่วยงานอิสระของรัฐ เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สมควรกำหนดให้หน่วยงานอื่นบางแห่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ
๒๕ สิงหาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๒ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
813018 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง หมายความว่า
การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการผลิต จำหน่าย
หรือให้บริการเพื่อแสวงหารายได้
หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการแข่งขันกับภาคเอกชน ประกอบด้วย
(๑) ธุรกิจหลัก ได้แก่
ธุรกิจหรือกิจการที่เป็นภารกิจตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี
(๒) ธุรกิจเสริม ได้แก่ ธุรกิจหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น
ๆ
ข้อ ๔
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ประกอบด้วย ๙ สาขา
ดังต่อไปนี้
(๑) สาขาพลังงาน
(๒) สาขาสื่อสาร
(๓) สาขาขนส่ง
(๔) สาขาสาธารณูปการ
(๕) สาขาเกษตร
(๖) สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
(๗) สาขาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
(๘) สาขาสังคมและเทคโนโลยี
(๙) สาขาสถาบันการเงิน
ข้อ ๕
ประเภทของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๓
ข้อ ๖
การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๕
รัฐวิสาหกิจนั้นต้องดำเนินการออกกฎหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง และข้อ ๘
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
รัฐวิสาหกิจต้องส่งร่างกฎหรือระเบียบดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบก่อนเสนอผู้มีอำนาจในการออกกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ประกาศใช้บังคับต่อไปและให้ส่งกฎหรือระเบียบที่ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายทราบด้วย
ข้อ ๗ กรณีที่กฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจตามข้อ
๕ ได้กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใดต้องมีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจากผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน
หรือกำหนดให้เผยแพร่ประกาศและเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจ
การดำเนินการทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางด้วย
เว้นแต่ ไม่อาจดำเนินการได้และได้รับอนุมัติยกเว้นต่อคณะกรรมการนโยบายเป็นรายกรณี
ข้อ ๘
การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามข้อ ๕
คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตอาจคัดเลือกโครงการดังกล่าวเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้
ข้อ ๙
ให้หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ และให้คณะกรรมการตรวจสอบของรัฐวิสาหกิจ
ดำเนินการสอบทานและกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงดังกล่าวหรือให้รัฐวิสาหกิจจัดให้มีมาตรการหรือระบบกำกับและตรวจสอบดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ ทดแทนก็ได้
ข้อ ๑๐
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ให้รัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับคณะกรรมการนโยบายเพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา
๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ได้เป็นรายกรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่ ๖ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ (แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑.๒.๒ ข้อ ๑.๕.๒, เพิ่ม ข้อ ๒.๓.๒ ๔) ข้อ ๒.๔.๒
๔), แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๖.๑.๑)[๒] (แก้ไขเพิ่มเติมข้อ ๑ ใน ๑.๑.๑ ๕))[๓]
(ยกเลิกข้อ ๗.๔)[๔]
(เพิ่ม ๕๒) ๕๓) ๕๔) ของ ๑.๑.๑
ใน ๑.๑ ของข้อ ๑)[๕]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๒)[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๓)[๗]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ ๔)[๘]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/จัดทำ
๒๒
สิงหาคม ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑
พฤศจิกายน ๒๕๖๑
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๒๑
ตุลาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๑๑/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๒]
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ ๒)
[๓] ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๓)
[๔] ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๓)
[๕] ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๔)
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๒/๕ เมษายน ๒๕๖๑
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง/หน้า ๙/๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๗๔ ง/หน้า ๑๒/๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
853095 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔
วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างไปใช้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน
ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างซึ่งประกอบด้วย แนวทาง และวิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทางสะพานและท่อเหลี่ยม และหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทานตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๒ การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนำร่อง
จำนวน ๔ หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและกรมชลประทาน
ให้ดำเนินการต่อไป ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๓ การใช้งานระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับทุกหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สุทธิรัตน์
รัตนโชติ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ประธานกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. สาระสำคัญหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
(แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒.๑.๙ และข้อ ๙)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ฉบับที่ ๓[๓]
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๖๒
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๒๔ มกราคม ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๗ ง/หน้า ๕๐/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๒]
ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ฉบับที่ ๓
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๒๑/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
826646 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาหรือการจ้างที่ปรึกษา ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา
เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
หรือการจ้างที่ปรึกษา ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
หรือการจ้างที่ปรึกษา ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
การวิจัยและพัฒนา
หมายความว่า การค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจหรือศึกษาตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูล องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม รวมทั้งการพัฒนาและการถ่ายทอดผลงานของการค้นคว้าเพื่อนำมาใช้ในการยกระดับความสามารถทางการผลิตและการบริการหรือทางวิชาการหรือประโยชน์อย่างอื่นในทางเศรษฐกิจและสังคม
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความมั่นคง หรือด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ
การให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
หมายความว่า การให้บริการทางวิชาการในขอบเขตสาขาที่จัดให้มีการเรียนการสอนหรือที่มีความเชี่ยวชาญ
หรือการให้บริการทางวิชาการจากผลการวิจัย หรือการจัดทำหลักสูตรและการบริการจัดฝึกอบรม
รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการด้านอื่น ๆ ให้กับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมงานด้านวิชาการอย่างแท้จริง
การจ้างที่ปรึกษา
หมายความว่า การจ้างบริการเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐ รวมถึงการจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาในงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ
ข้อ
๔ การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา
เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาหรือการจ้างที่ปรึกษา ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้แก่
(๑)
การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา ที่หน่วยงานของรัฐผู้ดำเนินการวิจัยและพัฒนามีความจำเป็นต้องระบุคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุเป็นพิเศษซึ่งไม่สามารถจัดหาพัสดุอื่นมาใช้ทดแทนได้หรือมีความจำเป็นต้องจ้างผู้ให้บริการที่มีฝีมือโดยเฉพาะหรือมีความชำนาญเป็นพิเศษ
หรือมีทักษะสูงและจำเป็นต้องจ้างจากผู้ให้บริการรายนั้นซึ่งไม่สามารถจ้างผู้ให้บริการรายอื่นมาทดแทนได้
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยและพัฒนา
(๒)
การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ที่สถาบันอุดมศึกษาผู้ดำเนินการให้บริการมีความจำเป็นต้องระบุคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุเป็นพิเศษ
ซึ่งไม่สามารถจัดหาพัสดุอื่นมาใช้ทดแทนได้ หรือมีความจำเป็นต้องจ้างผู้ให้บริการที่มีฝีมือโดยเฉพาะ
หรือมีความชำนาญเป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูง และจำเป็นต้องจ้างจากผู้ให้บริการรายนั้นซึ่งไม่สามารถจ้างผู้ให้บริการรายอื่นมาทดแทนได้
เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการทางวิชาการนั้น
(๓)
การจ้างที่ปรึกษา ที่หน่วยงานของรัฐมีความจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญประสบการณ์
หรือมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นการทั่วไป และหน่วยงานของรัฐมีความจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษารายนั้นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานที่ว่าจ้าง
ซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของที่ปรึกษาโดยมีข้อจำกัดในการต่อรองทั้งหมดหรือบางส่วน
การจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง
จะต้องเป็นไปตามลักษณะหรือรายละเอียดที่กำหนดไว้ตามกฎหรือระเบียบที่หน่วยงานของรัฐต้องออกกฎหรือระเบียบตามข้อ
๕
การจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง
ให้ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๕ การจัดซื้อจัดจ้างตามข้อ ๔ วรรคหนึ่ง
หน่วยงานของรัฐตามข้อ ๔ วรรคสาม ต้องดำเนินการออกกฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
หน่วยงานของรัฐต้องส่งกฎหรือระเบียบดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับก่อนเสนอผู้มีอำนาจในการออกกฎหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐนั้น
ๆ ประกาศใช้บังคับต่อไป และให้ส่งกฎหรือระเบียบที่ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายทราบด้วย
ข้อ
๖ ให้หน่วยตรวจสอบภายในหรือคณะกรรมการตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐดำเนินการสอบทานและกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา
เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา หรือการจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ
๗ การจัดซื้อจัดจ้างนอกเหนือจากที่กำหนดตามข้อ
๔ วรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐตามข้อ ๔ วรรคสาม ขอทำความตกลงกับคณะกรรมการนโยบายเป็นรายกรณี
ข้อ
๘ คณะกรรมการนโยบายอาจประกาศรายชื่อหน่วยงานของรัฐเพิ่มเติมตามข้อ
๔ วรรคสามได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
อภิศักดิ์
ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาหรือการจ้างที่ปรึกษา
ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๕
เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๙๐/๒๘ มกราคม ๒๕๖๒ |
845103 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับ Update ณ วันที่ 03/07/2561) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง หมายความว่า
การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการผลิต จำหน่าย
หรือให้บริการเพื่อแสวงหารายได้
หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการแข่งขันกับภาคเอกชน ประกอบด้วย
(๑) ธุรกิจหลัก ได้แก่
ธุรกิจหรือกิจการที่เป็นภารกิจตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี
(๒) ธุรกิจเสริม ได้แก่ ธุรกิจหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น
ๆ
ข้อ ๔
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ประกอบด้วย ๙ สาขา
ดังต่อไปนี้
(๑) สาขาพลังงาน
(๒) สาขาสื่อสาร
(๓) สาขาขนส่ง
(๔) สาขาสาธารณูปการ
(๕) สาขาเกษตร
(๖) สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
(๗) สาขาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
(๘) สาขาสังคมและเทคโนโลยี
(๙) สาขาสถาบันการเงิน
ข้อ ๕
ประเภทของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๓
ข้อ ๖
การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๕
รัฐวิสาหกิจนั้นต้องดำเนินการออกกฎหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง และข้อ ๘
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
รัฐวิสาหกิจต้องส่งร่างกฎหรือระเบียบดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบก่อนเสนอผู้มีอำนาจในการออกกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ประกาศใช้บังคับต่อไปและให้ส่งกฎหรือระเบียบที่ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายทราบด้วย
ข้อ ๗ กรณีที่กฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจตามข้อ
๕ ได้กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใดต้องมีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจากผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน
หรือกำหนดให้เผยแพร่ประกาศและเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจ
การดำเนินการทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางด้วย
เว้นแต่ ไม่อาจดำเนินการได้และได้รับอนุมัติยกเว้นต่อคณะกรรมการนโยบายเป็นรายกรณี
ข้อ ๘
การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามข้อ ๕
คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตอาจคัดเลือกโครงการดังกล่าวเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้
ข้อ ๙
ให้หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ และให้คณะกรรมการตรวจสอบของรัฐวิสาหกิจ
ดำเนินการสอบทานและกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงดังกล่าวหรือให้รัฐวิสาหกิจจัดให้มีมาตรการหรือระบบกำกับและตรวจสอบดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ ทดแทนก็ได้
ข้อ ๑๐
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ให้รัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับคณะกรรมการนโยบายเพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา
๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ได้เป็นรายกรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่ ๖ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ (แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑.๒.๒ ข้อ ๑.๕.๒, เพิ่ม ข้อ ๒.๓.๒ ๔) ข้อ ๒.๔.๒
๔), แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๖.๑.๑)[๒] (แก้ไขเพิ่มเติมข้อ ๑ ใน ๑.๑.๑ ๕))[๓]
(ยกเลิกข้อ ๗.๔)[๔]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๒)[๕]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๓)[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/จัดทำ
๒๒
สิงหาคม ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑
พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๑๑/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๒]
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ ๒)
[๓] ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๓)
[๔] ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๓)
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๒/๕ เมษายน ๒๕๖๑
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง/หน้า ๙/๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
821475 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ฉบับที่ 3 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง
ฉบับที่ ๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๔ วรรคหนึ่ง (๑) และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง
ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๒.๑.๙
และหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วย
แนวทางและวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ข้อ ๙
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร หน้า ๑๓๕ - ๑๓๘
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทางสะพานและท่อเหลี่ยม หน้า ๒๔๙ - ๒๕๑ และหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน หน้า ๑๐๐ - ๑๐๓ โดยให้ใช้ข้อความตามเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สุทธิรัตน์
รัตนโชติ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ประธานกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง (แนบท้ายประกาศ)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๒๑/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
820407 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ฉบับที่ 2 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ฉบับที่ ๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๔ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้หน่วยงานของรัฐใช้สูตรในการคำนวณราคากลางงานดินซีเมนต์ผสมยางพารา
(Para Soil Cement) สำหรับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทาง
สะพาน และท่อเหลี่ยม และหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทานดังนี้
งานดินซีเมนต์ผสมยางพารา
(Para Soil Cement) (คิดที่ราคาน้ำมันดีเซล.........)
Para Soil Cement Base ปริมาณงาน
= (๑) ลบ.ม.
ค่าวัสดุจากแหล่ง =
(๒) บาท/ลบ.ม.
ค่าดำเนินการ + ค่าเสื่อมราคา (ขุด - ขน) =
(๓) บาท/ลบ.ม.
ค่าขนส่ง =
(๔) บาท/ลบ.ม.
รวม (๒) + (๓) +
(๔) =
(๕) บาท/ลบ.ม.
ส่วนยุบตัว [(๕)
x ๑.๖] =
(๖) บาท/ลบ.ม.
ค่าซีเมนต์ (๕%) = ๑๐๐ กก. [๑๐๐
x (A)] = (๗) บาท/ลบ.ม.
ค่ายางพารา (NR-Preblend) = ๑๓.๕๙
ลิตร [๑๓.๕๙ x (B)] = (๘) บาท/ลบ.ม.
ค่าติดตั้งเครื่องผสม = ๑๕๐,๐๐๐ / (๑) =
(๙) บาท/ลบ.ม.
ค่าดำเนินการ + ค่าเสื่อมราคา (ผสมวัสดุ) =
(๑๐) บาท/ลบ.ม.
ค่าดำเนินการ + ค่าเสื่อมราคา (บดทับ) =
(๑๑) บาท/ลบ.ม.
ค่าดำเนินการ + ค่าเสื่อมราคา (บ่มวัสดุ) =
(๑๒) บาท/ลบ.ม.
ค่างานต้นทุน (๖)
+ (๗) + (๘) + (๙) + (๑๐) + (๑๑) + (๑๒) =
(๑๓) บาท/ลบ.
หมายเหตุ : ๑. ระยะขนส่งวัสดุ =
ระยะทางจากแหล่งถึงเครื่องผสม + ระยะทางจาก
เครื่องผสมถึงหน้างาน
(L/๔)
๒. วิธีดำเนินการ
ให้ดำเนินการตามข้อกำหนดพิเศษดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพ
ด้วยยางธรรมชาติของกรมทางหลวง
๓. คำอธิบายประกอบ
(๑) หมายถึง
ได้จากการถอดปริมาณ
(๒) หมายถึง
ตามข้อกำหนดราคาและแหล่งวัสดุ
(๓) (๔) (๑๐) (๑๑)
และ (๑๒) หมายถึง ได้จากตารางค่าดำเนินการ
และค่าเสื่อมราคา
(A) และ (B) หมายถึง ตามข้อกำหนดราคาและแหล่งวัสดุ
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สุทธิรัตน์ รัตนโชติ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ประธานกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑๓ มีนาคม
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๓ ง/หน้า ๒๒/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
819873 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/04/2561) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง หมายความว่า
การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการผลิต จำหน่าย
หรือให้บริการเพื่อแสวงหารายได้ หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการแข่งขันกับภาคเอกชน
ประกอบด้วย
(๑) ธุรกิจหลัก ได้แก่
ธุรกิจหรือกิจการที่เป็นภารกิจตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี
(๒) ธุรกิจเสริม ได้แก่ ธุรกิจหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น
ๆ
ข้อ ๔
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ประกอบด้วย ๙ สาขา
ดังต่อไปนี้
(๑) สาขาพลังงาน
(๒) สาขาสื่อสาร
(๓) สาขาขนส่ง
(๔) สาขาสาธารณูปการ
(๕) สาขาเกษตร
(๖) สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
(๗) สาขาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
(๘) สาขาสังคมและเทคโนโลยี
(๙) สาขาสถาบันการเงิน
ข้อ ๕
ประเภทของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๓
ข้อ ๖
การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๕
รัฐวิสาหกิจนั้นต้องดำเนินการออกกฎหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง และข้อ ๘
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
รัฐวิสาหกิจต้องส่งร่างกฎหรือระเบียบดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบก่อนเสนอผู้มีอำนาจในการออกกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ประกาศใช้บังคับต่อไปและให้ส่งกฎหรือระเบียบที่ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายทราบด้วย
ข้อ ๗
กรณีที่กฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจตามข้อ ๕ ได้กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใดต้องมีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจากผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน
หรือกำหนดให้เผยแพร่ประกาศและเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจ
การดำเนินการทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางด้วย
เว้นแต่ ไม่อาจดำเนินการได้และได้รับอนุมัติยกเว้นต่อคณะกรรมการนโยบายเป็นรายกรณี
ข้อ ๘
การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามข้อ ๕
คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตอาจคัดเลือกโครงการดังกล่าวเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้
ข้อ ๙ ให้หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ และให้คณะกรรมการตรวจสอบของรัฐวิสาหกิจ
ดำเนินการสอบทานและกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงดังกล่าวหรือให้รัฐวิสาหกิจจัดให้มีมาตรการหรือระบบกำกับและตรวจสอบดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ ทดแทนก็ได้
ข้อ ๑๐
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ให้รัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับคณะกรรมการนโยบายเพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา
๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ได้เป็นรายกรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่ ๖ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ (แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑.๒.๒ ข้อ ๑.๕.๒, เพิ่ม ข้อ ๒.๓.๒ ๔) ข้อ ๒.๔.๒
๔), แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๖.๑.๑)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๒)[๓]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/จัดทำ
๒๒
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิแศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๑๑/๑๓
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๒] ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๒)
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๒/๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
818512 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ ๔)
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ เพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา
๗
(๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๔)
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๕๒) ๕๓) และ ๕๔) ของ ๑.๑.๑ ใน ๑.๑ ของข้อ ๑ ของบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
๕๒)
บริษัท ปตท. ศูนย์บริหารเงิน จำกัด
๕๓) PTTOR CHINA (Shanghai)
Co.,LTD.
๕๔) PTTOR SINGAPORE PTE.
LTD.
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ปุณิกา/ธนบดี/จัดทำ
๐๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๗๔ ง/หน้า ๑๒/๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
810674 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ 2)
| ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่
๒)
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
เพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา ๗ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(ฉบับที่ ๒)
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑.๒.๒
ของบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑.๒.๒
ธุรกิจเสริม ได้แก่
๑)
การก่อสร้างสถานีกักเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
ระบบท่อส่งก๊าชและระบบจำหน่าย รวมถึงการบำรุงรักษา
๒)
การจัดหาเพื่อให้บริการออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ควบคุมงาน และให้คำปรึกษาโรงไฟฟ้า
ระบบผลิตไฟฟ้า ระบบควบคุมกำลังไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า
อุปกรณ์ด้านระบบไฟฟ้าและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงการบำรุงรักษา
๓)
การจัดหาเพื่อให้บริการทดสอบ ผลิต จัดส่ง จัดจำหน่าย
และบริการจัดการพลังงานหรือพลังงานทดแทน และระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า
พลังงานหมุนเวียนไอน้ำ น้ำเย็น ขยะ
ตลอดถึงพลังงานที่มีการประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาขึ้นใหม่ (อาทิ การผลิตแบตเตอรี่
สถานีหรืออุปกรณ์สำหรับชาร์จยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น)
๔)
การจัดหาเพื่อให้บริการผลิตและซ่อมอะไหล่โรงไฟฟ้า อุปกรณ์ด้านระบบไฟฟ้า
และเคมีวิเคราะห์
๕)
การจ้างงานบริการเพื่อการดำเนินธุรกิจหลักตาม ๑.๒.๑
และธุรกิจเสริมตาม ๑)
-
๔)
๖)
การจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประกอบธุรกิจ
๗)
การจัดหาเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ กิจกรรมทางการตลาดและการขาย
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑.๕.๒
ของบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑.๕.๒
ธุรกิจเสริม ได้แก่
๑)
การจัดหาเพื่อให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ด้านระบบไฟฟ้า
การก่อสร้าง ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
ระบบสื่อสารและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
การจัดหาเพื่อการให้บริการออกแบบ ควบคุมงาน และให้คำปรึกษา ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร
และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
การจัดหาเพื่อให้บริการจัดการพลังงานหรือพลังงานทดแทน
๔)
การจัดหาสินค้าและบริการเพื่อสนับสนุนการจัดจำหน่ายและให้บริการต่อลูกค้า
๕)
การจัดหาเพื่อให้บริการฝึกอบรมและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๔)
ในข้อ ๒.๓.๒
ของบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
๔)
การจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประกอบธุรกิจ การขยายธุรกิจ
หรือศึกษาธุรกิจ เพิ่มเติม
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๔)
ในข้อ ๒.๔.๒
ของบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
๔)
การจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประกอบธุรกิจ การขยายธุรกิจ
หรือศึกษาธุรกิจ เพิ่มเติม
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖.๑.๑
ของบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๖.๑.๑
ธุรกิจหลัก ได้แก่
๑)
การจัดหาไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้
๒)
การจัดหาเพื่อปลูกสร้างสวนป่า เช่น การจัดหาพันธุ์ไม้
เครื่องจักรกลสำหรับการเตรียมพื้นที่ ปุ๋ยเคมีและสารเคมี
รวมถึงการจ้างเหมาเพื่อปลูกสร้างสวนป่า และการบำรุงรักษาสวนป่า การทำไม้
และการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ปุณิกา/จัดทำ
๓๑
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๒/๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
810455 | ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 | ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต
เรื่อง
มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการ
ต้องจัดให้มี
ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี
หากประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต
เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี
ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
ผู้ประกอบการ หมายความว่า
บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ เช่น บริษัท
ห้างหุ้นส่วน กิจการร่วมค้า
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ
และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เจ้าพนักงานของรัฐ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
และคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐหรือในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น
รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติและให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ
ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และบุคคลหรือคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย แต่ไม่รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.
กรรมการ หมายความว่า กรรมการของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการเสนอราคา
ผู้บริหาร หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการกำกับดู
และดำเนินกิจกรรมของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการเสนอราคา
พนักงาน หมายความว่า พนักงานประจำภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน
พนักงานทดลองงาน และพนักงานที่มีสัญญาจ้างพิเศษ
ผู้มีส่วนได้เสีย หมายความว่า
บุคคลหรือกลุ่มบุคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
หรือมีผลประโยชน์ใด ๆ กับการดำเนินธุรกิจ
การทุจริตคอร์รัปชัน หมายความว่า การใช้อำนาจที่ได้มาหรือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบเพื่อประโยชน์ของบริษัท
ตนเอง หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้อื่น รูปแบบของการทุจริตคอร์รัปชันให้หมายรวมถึงสินบน
สิ่งของที่มีมูลค่า สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด การมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐ และระหว่างบุคคลหรือกิจการในเอกชนด้วยกันเอง
การติดสินบน หมายความว่า การเสนอ การสัญญา
หรือการมอบ
รวมทั้งการเรียกร้องหรือรับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่มีมูลค่า
ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจหรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด หมายความว่า เงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่ให้แก่กันเพื่ออัธยาศัยไมตรีที่ให้เป็นรางวัล
หรือให้เป็นสินน้ำใจ การให้สิทธิพิเศษ
ตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือท่องเที่ยว ค่าที่พัก ค่าอาหาร
หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋วหรือหลักฐานอื่นใด
ข้อ
๔ ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่
๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป
ต้องจัดให้มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม
และระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
ข้อ
๕ แนวทางการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี
จะต้องดำเนินการดังนี้
(๑)
ผู้ประกอบการจะต้องมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างดังนี้
(๑.๑) มีการกำหนดนโยบาย วิธีการหรือมาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
(๑.๒) มีการกำหนดหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
(Code of Conduct) เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
(๒)
นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องครอบคลุม
(๒.๑)
กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจะต้องห้ามมิให้
กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนบุคคลที่สาม
ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการมีการติดสินบน ประกอบด้วย ไม่ให้ เสนอให้
หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือจูงใจให้ร่วมดำเนินการใด ๆ
ทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเป็นการให้ประโยชน์ในการเสนอราคาหรือการสมยอมกันในการเสนอราคา
ต่อหน่วยงานของรัฐ
อันน่ามาซึ่งความได้เปรียบและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนบางประการในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
หรือการปฏิบัติงานตามสัญญา ทั้งก่อน ระหว่างการเสนอราคา และหลังการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
(๒.๒)
การทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย การช่วยเหลือทางการเมือง
การบริจาคเพื่อการกุศล เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตน
เงินสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบต่อธุรกิจของตน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ที่อาจเป็นช่องทางให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกระทำการทุจริต เช่น ค่าของขวัญ
ค่าต้อนรับลูกค้า ซึ่งท่าให้เกิดการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง เช่น
การให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ การให้ของขวัญหรือบริการ
การให้เงินสดหรือสิ่งของทดแทนเงินสด และการสมยอมกันในการเสนอราคา
(๓)
ผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
เช่น
(๓.๑)
จัดให้มีการสื่อสารประกาศหรือเผยแพร่นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทให้รับทราบ
(๓.๒)
จัดให้มีการอบรมหรือส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานได้รับการอบรมเกี่ยวกับนโยบาย
วิธีการหรือมาตรการป้องกันการทุจริตที่บริษัทหรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น
(๓.๓)
จัดให้มีการเผยแพร่นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างให้กับบุคคลภายนอกทราบผ่านทางสื่อต่าง
ๆ เช่น ระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงาน เอกสารแผ่นพับ เป็นต้น
(๔) มีการกำหนดบทลงโทษหรือข้อบังคับส่าหรับผู้กระทำการทุจริต
(๕) จัดให้มีช่องทางหรือระบบการแจ้งเบาะแส ของข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต
หรือพบการกระทำที่ส่อทุจริต
(๖) มีการกำหนดหน่วยงานภายในที่ท่าหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการป้องกันการทุจริตที่ชัดเจน
ข้อ
๖ ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่
๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ต้องแนบเอกสารที่เป็นนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเป็นเอกสารประกอบการเสนอราคา
ข้อ
๗ หน่วยงานของรัฐกำหนดเงื่อนไขในขอบเขตของงาน
และประกาศจัดซื้อจัดจ้างว่าคุณสมบัติผู้เข้าร่วมการเสนอราคาจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
พร้อมทั้ง ต้องแนบเอกสารหลักฐาน
และแบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่
๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ประกอบเป็นเอกสารการเสนอราคา โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการดำเนินการตามแบบตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนทุกข้อจึงจะผ่านการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เสนอราคา
ข้อ
๘ ให้ประธานกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ประสงค์
พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต
ปุณิกา/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๓๔/๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
810451 | ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบของข้อตกลงคุณธรรมการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต
เรื่อง
แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
แบบของข้อตกลงคุณธรรม
การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา ๑๗
และมาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) จึงออกประกาศกำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์และการจัดทำรายงาน ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต
เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา
๑๗ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact: IP) หมายความว่า ข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ
โดยฝ่ายหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอได้ตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างและให้มีผู้สังเกตการณ์
(Observer) ซึ่งมีความรู้
ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ
โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น
และให้รายงานความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท.
โครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม หมายความว่า
โครงการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีมติเห็นชอบให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม
ซึ่งมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป
(๒) โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่สาธารณชนสนใจ เช่น
โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
(๓) โครงการจัดซื้อจัดจ้างลักษณะอื่นที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. เห็นสมควรให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ
และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ประกอบการ หมายความว่า
บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ เช่น บริษัท
ห้างหุ้นส่วน กิจการร่วมค้า
ผู้สังเกตการณ์ หมายความว่า
บุคคลภายนอกหรือภาคประชาสังคมที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท.
มอบหมาย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ
โดยจะต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น
และไม่ถือว่าผู้สังเกตการณ์เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
องค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย หมายความว่า
องค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
ค.ป.ท. ให้เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
ศูนย์ประสานงานข้อตกลงคุณธรรม หมายความว่า
เจ้าหน้าที่กลุ่มนโยบายการจัดซื้อโดยรัฐระหว่างประเทศ กรมบัญชีกลาง ซึ่งทำหน้าที่ประสานงาน
อำนวยการ และแก้ไขปัญหาในการดำเนินการโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริต รวมทั้ง
ให้คำแนะนำและรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามข้อตกลงคุณธรรมจากฝ่ายต่าง ๆ
ข้อ
๔ เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว
ให้แจ้งข้อมูลโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท.
ภายใน ๑๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม
ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้จัดทำตามแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ
๕ ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท.
พิจารณาคัดเลือกโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป
(๒)
โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือเป็นที่สนใจของประชาชน
(๓)
โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีลักษณะเป็นโครงการที่ซับซ้อน
(๔)
โครงการที่มีความเสี่ยงในการทุจริต
(๕)
โครงการที่คาดว่าจะมีการดำเนินการแน่นอน
(๖)
โครงการที่หน่วยงานภาครัฐเจ้าของโครงการพิจารณาเสนอโครงการให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม
ข้อ
๖ ในการดำเนินโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้างต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
เช่น แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ขอบเขตของงาน (Terms of Reference: TOR) ที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงานและของกรมบัญชีกลาง
เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้
และอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
(๒)
ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมการเสนอราคาจะต้องไม่ให้เสนอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
อันเป็นประโยชน์ในการเสนอราคาและยินยอมให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์และตรวจสอบโครงการได้ในทุกขั้นตอน
(๓)
ผู้สังเกตการณ์ (Observer) เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตลอดระยะเวลาและทุกขั้นตอน
ในกรณีที่พบเห็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางทุจริตต้องรีบแจ้งหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการทราบ
เพื่อให้มีการชี้แจงหรือแก้ไขในระยะเวลาที่ผู้สังเกตการณ์กำหนด หากหน่วยงานเจ้าของโครงการไม่ชี้แจงหรือแก้ไข
ให้ผู้สังเกตการณ์แจ้งคณะกรรมการ ค.ป.ท. หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการ ค.ป.ท.
มอบหมายพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้มีข้อสั่งการต่อไป โดยให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามแบบฟอร์มที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๗ เงื่อนไขการดำเนินงานที่กำหนดเพิ่มเติม
(๑)
หน่วยงานของรัฐกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในขอบเขตของงานและประกาศจัดซื้อจัดจ้างว่าผู้ประสงค์จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมจะต้องลงนามในข้อตกลงคุณธรรมซึ่งเป็นเอกสารที่ยื่นพร้อมกับเอกสารการเสนอราคา
หากไม่ลงนามในข้อตกลงคุณธรรมจะไม่มีสิทธิเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการนั้น
(๒)
หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
ตามแบบฟอร์มที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้ แจ้งต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท. ทุกเดือน
ข้อ
๘ แนวทางการลงนามในข้อตกลงคุณธรรมสามารถกระทำได้
๒ วิธี ดังนี้
(๑)
หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการเชิญผู้ประกอบการที่คาดว่าจะเข้าร่วมในการเสนอราคามาร่วมลงนามในข้อตกลงคุณธรรม
๓ ฝ่าย กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้สังเกตการณ์
(๒)
หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้สังเกตการณ์ลงนามร่วมกันในข้อตกลงคุณธรรมก่อนในเบื้องต้น
เพื่อให้ผู้สังเกตการณ์สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตการดำเนินงาน
(Terms of Reference: TOR) สำหรับในส่วนของผู้เข้าร่วมเสนอราคาให้ดำเนินการดังนี้
(๒.๑)
ในกรณีที่มีการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Government Procurement: e-GP) ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการเผยแพร่ข้อตกลงคุณธรรมพร้อมกับประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
และให้ผู้เข้าร่วมเสนอราคาทุกรายลงนามและยื่นข้อตกลงคุณธรรม
เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการเสนอราคา โดยหากผู้เข้าร่วมเสนอราคารายใดมิได้ลงนามในข้อตกลงคุณธรรมจะไม่มีสิทธิเข้าร่วมในการเสนอราคา
(๒.๒) ในกรณีที่มิได้ดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Government Procurement: e-GP) ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการแนบข้อตกลงคุณธรรมพร้อมกับเอกสารประกวดราคาหรือเอกสารซื้อหรือจ้าง
และให้ผู้เข้าร่วมเสนอราคาทุกรายลงนามและยื่นข้อตกลงคุณธรรมเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการเสนอราคา
โดยหากผู้เข้าร่วมเสนอราคารายใดมิได้ลงนามในข้อตกลงคุณธรรมจะไม่มีสิทธิเข้าร่วมในการเสนอราคา
โดยให้นำข้อตกลงคุณธรรมที่ได้ลงนามแล้วแนบไว้กับสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ
๙ การคัดเลือกบุคคลเพื่อขึ้นบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์ให้ดำเนินการตามแนวทาง
ดังต่อไปนี้
(๑) การสรรหา การคัดสรรบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถและเหมาะสมที่จะเป็นผู้สังเกตการณ์ในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
สามารถดำเนินการได้ ๒ วิธี ได้แก่
(๑.๑)
การเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความเหมาะสมเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อโดยให้องค์กรที่คณะกรรมการ
ค.ป.ท. มอบหมายเป็นผู้พิจารณาเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ เพื่อขึ้นบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์
โดยคัดเลือกมาจากองค์กรต่าง ๆ ดังนี้
(๑.๑.๑) สมาคมวิชาชีพ เช่น
สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
และสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
(๑.๑.๒) องค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
(๑.๑.๓) สมาคมธุรกิจ
(๑.๑.๔) ภาคประชาสังคม
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยอาจมีการขอความร่วมมือช่วยดำเนินการในบางเรื่อง เช่น
การตรวจสอบด้านการดำเนินงาน การตรวจสอบด้านการเงิน เป็นต้น
(๑.๒)
การเปิดรับสมัครเป็นการทั่วไป โดยให้มีการเปิดรับสมัครผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง
ๆ เพื่อเข้าร่วมอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์
โดยประกาศรับสมัครเป็นการทั่วไปผ่านกรมบัญชีกลาง หรือองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันซึ่งผู้ที่สนใจสมัครจะต้องกรอกข้อมูลใบสมัครที่มีรายละเอียดดังนี้
(๑.๒.๑) รายละเอียดส่วนบุคคล เช่น
ชื่อ นามสกุล เลขประจาตัวประชาชน ที่อยู่ ตำแหน่งหน้าที่หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ
เป็นต้น
(๑.๒.๒) บุคคลอ้างอิงสำหรับการรับรองคุณสมบัติของผู้สมัคร
(๑.๒.๓) ประวัติการศึกษา ตั้งแต่
มัธยมตอนต้น - ปริญญาเอก
(๑.๒.๔)
หลักสูตรพิเศษที่เคยผ่านการอบรม
(๑.๒.๕) ประวัติการทางาน
(๑.๒.๖)
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง
(๑.๒.๗)
สาขาความเชี่ยวชาญพิเศษ
(๑.๒.๘)
การรับรองคุณสมบัติ
(๒) หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์
เมื่อได้รายชื่อผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ องค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท.
มอบหมายจะทำการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อพิจารณากลั่นกรองบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถและความเหมาะสมให้เข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์ โดยแบ่งตามรายสาขาความเชี่ยวชาญในด้านต่าง
ๆ ซึ่งผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๒.๑) มีสัญชาติไทย
(๒.๒)
มีคุณวุฒิและประสบการณ์เหมาะสม
(๒.๓)
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายเพราะการทุจริต
(๒.๔) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอการลงโทษหรือรอกำหนดโทษ
(๒.๕)
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒.๖) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ
หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๒.๗) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด
ๆ ในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๒.๘) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๒.๙) ไม่เคยถูกไล่ออก
ปลดออก หรือให้ออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่
ข้อ
๑๐ การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์
องค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท.
มอบหมายพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สังเกตการณ์ และจำแนกประเภทผู้สังเกตการณ์ตามความรู้ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์ที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น
ก่อนนำเสนอบัญชีรายชื่อผู้สังเกตการณ์ต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท. ทราบต่อไป
ข้อ
๑๑ การฝึกอบรมผู้สังเกตการณ์
เพื่อให้ผู้สังเกตการณ์มีความรู้และความเข้าใจในระบบข้อตกลงคุณธรรม
บทบาทหน้าที่ของผู้สังเกตการณ์ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและสามารถรายงานผลการสังเกตการณ์ให้กับคณะกรรมการ
ค.ป.ท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ
๑๒ แนวทางการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์
เพื่อให้ผู้สังเกตการณ์มีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
(๑)
ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมเพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์
(๒)
รวบรวมและศึกษาข้อมูลรายละเอียดโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมที่ได้รับมอบหมาย โดยหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการจะต้องให้ข้อมูลต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ขอบเขตงานโครงการ (Terms of Reference: TOR) เอกสารการคำนวณ
ราคากลาง ประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารการเสนอราคา
สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
(๓)
เข้าสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนการปฏิบัติงานที่ได้มีการกำหนดไว้
(๔)
รายงานผลการสังเกตการณ์ดังนี้
(๔.๑)
ในกรณีที่ไม่พบเห็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตหรืออาจนาไปสู่การทุจริต ให้รายงานผลการปฏิบัติงานที่ผู้สังเกตการณ์ได้ดำเนินการต่อองค์กรที่คณะกรรมการ
ค.ป.ท. มอบหมาย เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท. เดือนละ ๑ ครั้ง
เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน
(๔.๒)
ในกรณีที่พบว่าหน่วยงานภาครัฐหรือผู้เข้าร่วมเสนอราคา/ผู้ทำสัญญา
มิได้ปฏิบัติตามหรือได้กระทำการใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงคุณธรรมกำหนด
หรือพบเห็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตหรืออาจนาไปสู่การทุจริตได้
ผู้สังเกตการณ์จะต้องดำเนินการดังนี้
(๔.๒.๑)
แจ้งหน่วยงานเจ้าของโครงการทราบ เพื่อให้มีการชี้แจงหรือแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนด
รวมทั้ง แจ้งองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมายเพื่อรายงานคณะกรรมการ ค.ป.ท.
เพื่อทราบ
(๔.๒.๒)
หากหน่วยงานดังกล่าวไม่ชี้แจงหรือแก้ไข ให้ผู้สังเกตการณ์แจ้งองค์กรที่คณะกรรมการ
ค.ป.ท. มอบหมายเพื่อรายงานคณะกรรมการ ค.ป.ท. พิจารณาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง
(๔.๒.๓) หากคณะกรรมการ ค.ป.ท.
ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่ามีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตหรือนาไปสู่การทุจริตได้จริงให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
(๔.๓)
การประเมินผลโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมให้ผู้สังเกตการณ์ดำเนินการดังนี้
(๔.๓.๑) ในกรณีที่โครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมมีระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน
๑ ปี ให้จัดทำรายงานการประเมินผลโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท.
ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑ เดือนหลังจากสิ้นสุดโครงการ
(๔.๓.๒)
ในกรณีที่โครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมมีระยะเวลาดำเนินงานเกินกว่า ๑ ปี ให้จัดทำรายงานการประเมินผลโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
ค.ป.ท. ทุกสิ้นปีงบประมาณจนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ
โดยให้รายงานตามแบบฟอร์มรายงานผลการสังเกตการณ์โครงการข้อตกลงคุณธรรมแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๑๓ การรักษาข้อมูลเป็นความลับและไม่มีส่วนได้เสีย
(๑)
ผู้สังเกตการณ์และสมาชิกในครอบครัวโดยตรง
ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานเจ้าของโครงการ บุคคลหรือนิติบุคคล
บริษัทและกรรมการบริษัทที่เข้าร่วมเสนอราคา
(๒)
ผู้สังเกตการณ์จะรักษาข้อมูลความลับทางการค้าดังนี้
(๒.๑) ไม่นำเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ
ที่ได้รับจากการเป็นผู้สังเกตการณ์ของโครงการไปเปิดเผย
เว้นแต่ที่เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กล่าวไว้ในข้อตกลงคุณธรรม
และการเปิดเผยตามขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างที่กฎหมายกำหนด
(๒.๒) ไม่นำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือนำไปใช้ในทางที่มิชอบ
หรือให้เป็นประโยชน์แก่บุคคล
(๒.๓)
หากเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการ
ค.ป.ท. จะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูลหรือการใช้ข้อมูลความลับนั้น
ผู้สังเกตการณ์ต้องลงนามในหนังสือการรักษาข้อมูลเป็นความลับและไม่มีส่วนได้เสียตามฟอร์มที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการเก็บไว้เป็นเอกสารประกอบการลงนามข้อตกลงคุณธรรม
ข้อ
๑๔ กรมบัญชีกลางจะทำการประเมินผลโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานมาพิจารณาความสำเร็จของโครงการและใช้ประกอบการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติตามหลักการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมของสากล
เพื่อขยายผลการดำเนินงานต่อไปดังนี้
(๑)
ประเมินผลจากรายงานของผู้สังเกตการณ์
เอกสารหรือข้อร้องเรียนของหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกผู้ที่สนใจทั่วไป
และการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการรายงาน
เอกสารหรือข้อร้องเรียนดังกล่าวที่เกี่ยวข้อง
(๒)
ประเมินผลจากการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Government Procurement: e-GP) ตามขั้นตอนที่กำหนดดังนี้
(๒.๑)
แผนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ
(๒.๒) ร่างเอกสารประกวดราคา (e-Bidding)
(๒.๓) ประกาศราคากลาง
(ราคาอ้างอิง)
(๒.๔)
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง/ประกาศเชิญชวน
(๒.๕) รายชื่อผู้รับ/ซื้อเอกสาร
(๒.๖)
รายชื่อผู้ยื่นเอกสารการเสนอราคา
(๒.๗)
สรุปข้อมูลการเสนอราคาเบื้องต้น
(๒.๘)
รายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและข้อเสนอด้านเทคนิค
(๒.๙)
รายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาและราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง
(๒.๑๐) สัญญา
(๒.๑๑) การแก้ไขสัญญา
(๒.๑๒) การส่งมอบงาน
(๒.๑๓) การตรวจรับงาน
(๒.๑๔) การจ่ายเงิน
(๒.๑๕)
เปิดเผยข้อมูลข้อร้องเรียนและผลการพิจารณาข้อร้องเรียนที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงาน
หรือกรมบัญชีกลางผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e-GP)
(๓) ประเมินโดยแบบประเมินโครงการข้อตกลงคุณธรรมโดยแบ่งเป็น
๒ ส่วน คือ การประเมินจากผู้สังเกตการณ์
และการประเมินจากหน่วยงานเจ้าของโครงการ
ข้อ
๑๕ บรรดาข้อตกลงคุณธรรมที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้ต่อไป
ข้อ
๑๖ ให้ประธานกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ประสงค์
พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต
ปุณิกา/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๒๖/๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
807830 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ ๓)
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่ ๖
ธันวาคม ๒๕๖๐ เพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา
๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (ฉบับที่ ๓)
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน ๕) ของ ๑.๑.๑ ใน ๑.๑ ของข้อ ๑ ในบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕) บริษัท ปตท.
น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน ๗.๔ ของข้อ ๗
ในบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/จัดทำ
๙
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง/หน้า ๙/๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
807828 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ (ฉบับที่ ๓)
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๙๖
วรรคหนึ่งบัญญัติให้หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาตามมาตรา
๙๓ ก็ได้โดยการทำข้อตกลงเป็นหนังสือสามารถกระทำได้ในกรณีที่มาตรา ๙๖
บัญญัติไว้เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตามมาตรา ๕๖
(๑) (ข) (ฉ) (ช) วิธีเฉพาะเจาะจง มาตรา ๕๖ (๒) (ค) (จ)
และกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒ (๕)
ซึ่งไม่อาจทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกำหนดสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๖ วรรคหนึ่ง (๕)
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ (ฉบับที่ ๓)
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้การจัดซื้อจัดจ้างดังต่อไปนี้
อาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาตามมาตรา ๙๓ ก็ได้
(๑) วิธีคัดเลือก มาตรา ๕๖ (๑) (ข) (ฉ) และ (ช)
(๒) วิธีเฉพาะเจาะจง มาตรา ๕๖ (๒) (ค) และ (จ)
(๓) กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒ (๕)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พัชรภรณ์/จัดทำ
๙
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง/หน้า ๘/๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
801401 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ฉบับที่ ๒)
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ มาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
หน่วยงานของรัฐต้องทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด
ทั้งนี้
แบบสัญญานั้นให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ (ฉบับที่ ๒)
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
จึงกำหนดแบบสัญญาจ้างทำของโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด
ดังปรากฏรายละเอียดตามแบบสัญญาท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ การลงนามในสัญญาก่อนที่ประกาศนี้จะใช้บังคับให้ปฏิบัติตามตัวอย่างสัญญาตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ
(กวพ.) กำหนด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือตามตัวอย่างสัญญาตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
ข้อบัญญัติหรือข้อกำหนดใด ๆ
ของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไปได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ร่างแบบสัญญา สัญญาจ้างทำของ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๔/๑๗ เมษายน ๒๕๖๑ |
808706 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ (ฉบับที่ ๒)
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๙๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาตามมาตรา
๙๓ ก็ได้ โดยการทำข้อตกลงเป็นหนังสือสามารถกระทำได้ในกรณีที่มาตรา ๙๖ บัญญัติไว้เท่านั้น
ซึ่งการจัดซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ อาจมีกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นเป็นการเฉพาะหรือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ให้เช่าเป็นสำคัญ
และเป็นเงื่อนไขที่ใช้อยู่เป็นการทั่วไปกับผู้เช่ารายอื่น โดยผู้เช่าไม่มีอำนาจต่อรอง
ซึ่งไม่อาจทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกำหนด
สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙๖ วรรคหนึ่ง (๕) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ (ฉบับที่ ๒)
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้การจัดซื้อจัดจ้างดังต่อไปนี้ อาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาตามมาตรา
๙๓ ก็ได้
(๑)
การจัดซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศที่ผู้ขายกำหนดให้ต้องทำตามเงื่อนไขของผู้ขาย
และเป็นมาตรฐานที่ใช้อยู่เป็นการทั่วไปกับผู้ซื้อรายอื่น
(๒)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ให้เช่าเป็นสำคัญ และเป็นเงื่อนไขที่ใช้อยู่เป็นการทั่วไปกับผู้เช่ารายอื่น
โดยผู้เช่าไม่มีอำนาจต่อรอง ซึ่งไม่อาจใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกได้
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อภิศักดิ์
ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ภูมิกิติ/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๙/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ |
797324 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
หน่วยงานของรัฐต้องทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้
แบบสัญญานั้นให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
จึงกำหนดแบบสัญญาโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน ๑๔ สัญญา ดังนี้
(๑)
แบบสัญญาจ้างก่อสร้าง
(๒)
แบบสัญญาซื้อขาย
(๓)
แบบสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ
(๔)
แบบสัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์
(๕)
แบบสัญญาซื้อขายและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๖)
แบบสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์
(๗)
แบบสัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขคอมพิวเตอร์
(๘)
แบบสัญญาเช่ารถยนต์
(๙)
แบบสัญญาจ้างทำความสะอาดอาคาร
(๑๐)
แบบสัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัย
(๑๑)
แบบสัญญาเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
(๑๒)
แบบสัญญาแลกเปลี่ยน
(๑๓) แบบสัญญาจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง
(๑๔) แบบสัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลหรือจ้างบริษัทที่ปรึกษา
ดังปรากฏรายละเอียดตามแบบสัญญาท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบสัญญา สัญญาจ้างก่อสร้าง
๒.
แบบสัญญา สัญญาซื้อขาย
๓.
แบบสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ
๔.
แบบสัญญา สัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์
๕.
แบบสัญญา สัญญาซื้อขายและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
๖.
แบบสัญญา สัญญาเช่าคอมพิวเตอร์
๗.
แบบสัญญา สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขคอมพิวเตอร์
๘.
แบบสัญญา สัญญาเช่ารถยนต์
๙.
แบบสัญญา สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคาร
๑๐.
แบบสัญญา สัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัย
๑๑.
แบบสัญญา สัญญาเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
๑๒.
แบบสัญญา สัญญาแลกเปลี่ยน
๑๓.
แบบสัญญา สัญญาจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง
๑๔.
แบบสัญญา สัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลหรือจ้างบริษัทที่ปรึกษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๘/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
795583 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง ข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทย ในกรณีต้องทาสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
ข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทย ในกรณีต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๙๓ บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด
ทั้งนี้
แบบสัญญานั้นให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย และมาตรา ๙๓ วรรคสี่กำหนดในกรณีจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ
ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษและต้องจัดทำข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๓ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
ข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทย ในกรณีต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทยในกรณีต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ข้อตกลงซื้อ/จ้าง
(๓) วงเงินที่ซื้อหรือจ้างและการชำระเงิน
(๔) กำหนดการส่งมอบ/ระยะเวลาของสัญญา
(๕) ค่าปรับ (ถ้ามี)
(๖) หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา (ถ้ามี)
(๗) การรับประกันความชำรุดบกพร่อง (ถ้ามี)
(๘) การบอกเลิกสัญญา
(๙) การระงับข้อพิพาท (ถ้ามี)
(๑๐) สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาตาม (๑) - (๑๐) ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทยตามความในวรรคหนึ่งด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๒๑
มกราคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑/๒๒
มกราคม ๒๕๖๑ |
793211 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง หมายความว่า
การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการผลิต จำหน่าย
หรือให้บริการเพื่อแสวงหารายได้
หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการแข่งขันกับภาคเอกชน ประกอบด้วย
(๑) ธุรกิจหลัก ได้แก่
ธุรกิจหรือกิจการที่เป็นภารกิจตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี
(๒) ธุรกิจเสริม ได้แก่ ธุรกิจหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น
ๆ
ข้อ ๔ การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ประกอบด้วย ๙ สาขา ดังต่อไปนี้
(๑) สาขาพลังงาน
(๒) สาขาสื่อสาร
(๓) สาขาขนส่ง
(๔) สาขาสาธารณูปการ
(๕) สาขาเกษตร
(๖) สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
(๗) สาขาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
(๘) สาขาสังคมและเทคโนโลยี
(๙) สาขาสถาบันการเงิน
ข้อ ๕ ประเภทของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
เป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ ๓
ข้อ ๖ การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ รัฐวิสาหกิจนั้นต้องดำเนินการออกกฎหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง และข้อ ๘
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
รัฐวิสาหกิจต้องส่งร่างกฎหรือระเบียบดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบก่อนเสนอผู้มีอำนาจในการออกกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
ประกาศใช้บังคับต่อไปและให้ส่งกฎหรือระเบียบที่ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายทราบด้วย
ข้อ ๗
กรณีที่กฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจตามข้อ ๕ ได้กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใดต้องมีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจากผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน
หรือกำหนดให้เผยแพร่ประกาศและเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจ
การดำเนินการทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางด้วย
เว้นแต่ไม่อาจดำเนินการได้และได้รับอนุมัติยกเว้นต่อคณะกรรมการนโยบายเป็นรายกรณี
ข้อ ๘ การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามข้อ ๕
คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตอาจคัดเลือกโครงการดังกล่าวเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้
ข้อ ๙ ให้หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ และให้คณะกรรมการตรวจสอบของรัฐวิสาหกิจ
ดำเนินการสอบทานและกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงดังกล่าวหรือให้รัฐวิสาหกิจจัดให้มีมาตรการหรือระบบกำกับและตรวจสอบดูแลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการหรืองานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงตามข้อ
๕ ทดแทนก็ได้
ข้อ ๑๐ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดตามข้อ
๓ ถึงข้อ ๕ ให้รัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับคณะกรรมการนโยบายเพื่อกำหนดประเภทการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นการพาณิชย์โดยตรงตามมาตรา
๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้เป็นรายกรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่
๖ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิแศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๑๑/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
791290 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
ที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๔ วรรคหนึ่ง (๗) และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการจึงประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
ที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่แนบท้ายประกาศ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สุทธิรัตน์ รัตนโชติ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ประธานกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
ที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ (เอกสารแนบท้ายประกาศ)
๒.
บัญชีเอกสารแนบท้าย ๑ การกำหนดสาขางานก่อสร้างที่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
ที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
๓.
ตารางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
สาขางานก่อสร้างทาง (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๒ ๐๑)
๔.
บัญชีเอกสารแนบท้าย ๓ รายชื่อหน่วยงานของรัฐ สาขางานก่อสร้าง คุณลักษณะเฉพาะอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
ที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
๕.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างทาง (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๑)
๖.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างทาง (เอกสารหมายเลข ๑)
๗.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างสะพาน (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๒)
๘.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างสะพาน (เอกสารหมายเลข ๒)
๙.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างทางและงานสะพานพิเศษ (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๓)
๑๐.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างทางและสะพานพิเศษ (เอกสารหมายเลข ๓)
๑๑.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างชลประทาน (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๔)
๑๒.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างชลประทาน (เอกสารหมายเลข ๔)
๑๓.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งและชายฝั่ง (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๕)
๑๔.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งและชายฝั่ง (เอกสารหมายเลข ๕)
๑๕.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในทะเล (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๖)
๑๖.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในทะเล (เอกสารหมายเลข ๖)
๑๗.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๗)
๑๘.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้าชายฝั่งทะเล (เอกสารหมายเลข ๗)
๑๙.
ตารางกำหนดคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศ (บัญชีเอกสารแนบท้าย ๔ ๐๘)
๒๐.
บัญชีเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
สาขางานก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศ (เอกสารหมายเลข
๘)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปวันวิทย์/ตรวจ
๒๖ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๔ ง/หน้า ๑๑/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
790818 | ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง
| ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔
วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างไปใช้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน
ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างซึ่งประกอบด้วย แนวทาง และวิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทางสะพานและท่อเหลี่ยม และหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทานตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๒ การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนำร่อง
จำนวน ๔ หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและกรมชลประทาน
ให้ดำเนินการต่อไป ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๓ การใช้งานระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับทุกหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สุทธิรัตน์
รัตนโชติ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ประธานกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. สาระสำคัญหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๗ ง/หน้า ๕๐/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
788714 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ วรรคหนึ่ง (๒) วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
ยุทโธปกรณ์ หมายความว่า
ยุทธภัณฑ์ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐
หรือฉบับที่เป็นปัจจุบันและเป็นไปตามบัญชีรายการยุทธภัณฑ์ของกระทรวงกลาโหม เพื่อการผ่อนผันยกเว้นค่าอากรทางศุลกากรตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้
การบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หมายความว่า
การบริการในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ การบริการช่วยเหลือทางเทคนิค
หรือการบริการอื่นที่เป็นส่วนควบของยุทโธปกรณ์หรือบริการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
ข้อ
๔ การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติตามประกาศนี้ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามหลักเกณฑ์และแนวทางของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง
และเมื่อหน่วยงานของรัฐจัดทำกฎ หรือระเบียบเสร็จแล้วให้ส่งกฎหรือระเบียบให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเพื่อทราบด้วย
ข้อ
๕ การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาลเป็นการดำเนินการในลักษณะการทำข้อตกลงโดยจะลงนามผูกพันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล
หรือจะเป็นการลงนามโดยผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลที่ทำข้อตกลงร่วมกันเท่านั้น
สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อตกลงจะเป็นไประหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล
การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล
ตามวรรคหนึ่ง
หน่วยงานของรัฐที่จัดซื้อจัดจ้างต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนามข้อตกลง
รวมถึงประสานกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๖ การจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธี Foreign Military Sales (FMS) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกรอบความช่วยเหลือทางทหาร ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหารกับสหรัฐอเมริกา
ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์
ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๓๐
ตุลาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑
กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๕๙ ง/หน้า ๒๔/๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787114 | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือร่วมกับเงินงบประมาณ | ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือร่วมกับเงินงบประมาณ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือร่วมกับเงินงบประมาณ
ข้อ
๒ การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินโครงการของหน่วยงานของรัฐ
กรณีที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศร่วมกับเงินงบประมาณ
หากการใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือนั้นมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
และแหล่งเงินกู้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Guideline) และการจ้างที่ปรึกษา (Consulting Guideline) ไว้เป็นการเฉพาะ
ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักเกณฑ์ที่แหล่งเงินกู้กำหนดได้
ข้อ
๓ การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินโครงการของหน่วยงานของรัฐ
กรณีที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในสัดส่วนน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ แต่หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Guideline) และการจ้างที่ปรึกษา (Consulting Guideline) ที่แหล่งเงินกู้กำหนด
ให้หน่วยงานของรัฐขออนุมัติยกเว้นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณาเป็นรายกรณี
ข้อ
๔ การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินโครงการของหน่วยงานของรัฐ
กรณีที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓
หากแหล่งเงินกู้ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Guideline) และการจ้างที่ปรึกษา (Consulting Guideline) ในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ตลอดจนระเบียบ กฎกระทรวง ประกาศ ต่าง ๆ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่แหล่งเงินกู้กำหนด
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ภวรรณตรี/จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๔๐/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
816952 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2737/2561 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการทำสัญญาและการบริหารพัสดุภาครัฐ | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๒๗๓๗/๒๕๖๑
เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการทำสัญญาและการบริหารพัสดุภาครัฐ[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการทำสัญญาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๒๒๘๙/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เรื่อง
มอบอำนาจเกี่ยวกับการทำสัญญาและกำรบริหารพัสดุภาครัฐ โดยมอบอำนาจการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายให้สั่งราชการ
สำหรับสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการเขต และผู้อำนวยการสำนักการคลังสำหรับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
และกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนดังนี้
๑.
ส่งร่างสัญญาและสัญญาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๙๓
และมาตรา ๙๗
๒.
การอนุญาตการจ้างช่วงบางส่วนและการกำหนดค่ำปรับ ตามมาตรา ๙๕
๓.
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการนโยบาย ตามมาตรา ๑๐๔
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒ พฤศจิกายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๓๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
816948 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2289/2561 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการทำสัญญาและการบริหารพัสดุภาครัฐ | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๒๒๘๙/๒๕๖๑
เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการทำสัญญาและการบริหารพัสดุภาครัฐ[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการทำสัญญาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครสำหรับหน่วยงานในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและผู้อำนวยการสำนักการคลัง
สำหรับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนดังนี้
๑. ส่งร่างสัญญาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ตามมาตรา ๙๓ และมาตรา ๙๗
๒.
การอนุญาตการจ้างช่วงบางส่วนและการกำหนดค่าปรับ ตามมาตรา ๙๕
๓.
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการนโยบาย ตามมาตรา ๑๐๔
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วิวรรธน์/จัดทำ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๒๙/๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
801883 | คำสั่งสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ 48/2561 เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน | คำสั่งสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ที่ ๔๘/๒๕๖๑
เรื่อง
มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน[๑]
เพื่อให้การบริหารการคลัง
การเงิน การงบประมาณและการพัสดุของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๗
แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน
การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๘.๒ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จึงมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะพึงปฏิบัติตามข้อบัญญัติและระเบียบดังกล่าวให้ข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติราชการแทน
ดังต่อไปนี้
๑. การมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดังนี้
๑.๑
มอบอำนาจในการลงนามหนังสือแจ้งผู้ขาย หรือผู้รับจ้าง แจ้งให้นำหลักฐานเพื่อทำสัญญา
แจ้งเริ่มงาน แจ้งเร่งรัดการดำเนินการ ให้เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกอง
๑.๒
มอบอำนาจในการลงนามหนังสือแจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ธนาคาร กรมสรรพากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ให้เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกอง
๑.๓
มอบอำนาจในการอนุมัติคืนหลักประกันการเสนอราคาให้เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกอง
๑.๔
มอบอำนาจในการคืนหลักประกันสัญญา
หลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าและหลักประกันผลงานให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๒. การมอบอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
๒.๑ มอบอำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินตามระเบียบกรุงเทพมหานคร
ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน
และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓๓ (๓)
ให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติราชการแทนตามสายงานที่ได้รับมอบหมายดังนี้
๒.๑.๑
การอนุมัติจ่ายเงินเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ตามวงเงินที่รองผู้อำนวยการสำนักได้รับมอบอำนาจ ตามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๒๗๑๘/๒๕๖๐
ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ เรื่อง
มอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐดังนี้
๑.
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. วิธีคัดเลือก เกิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๒,๕๐๐,๐๐๐
บาท
๓. วิธีเฉพาะเจาะจง เกิน ๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน
๖,๒๕๐,๐๐๐ บาท
๒.๑.๒
การอนุมัติจ่ายเงินกรณีอื่น ๆ
ที่มิใช่การจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ภายในวงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๒
มอบอำนาจในการอนุมัติฎีกา ดังต่อไปนี้
๒.๒.๑
รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามสายงานที่ได้รับมอบหมาย
มีอำนาจในการอนุมัติฎีกาทุกประเภท ทุกหมวดรายจ่าย
ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาล
๒.๒.๒
เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกอง มีอำนาจอนุมัติฎีกาทุกประเภททุกหมวดรายจ่าย
ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาล ภายในวงเงินไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๓
มอบอำนาจในการอนุมัติหนังสือมอบอำนาจการรับเงินให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ตามสายงานที่ได้รับมอบหมาย ภายในวงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และเลขานุการสำนัก ภายในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๔
มอบอำนาจในการถอนเงินฝากธนาคาร และลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หรือเลขานุการสำนัก กับหัวหน้าหน่วยการคลัง
๒.๕
มอบอำนาจในการอนุมัติการจ่ายเงินยืมใช้ในราชการ และเงินทดรองราชการ (โดยใช้สัญญาการยืมเงิน)
ให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งหนึ่งภายในวงเงินไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกองครั้งหนึ่งภายในวงเงินไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๓. มอบอำนาจในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัด
ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๑๑ ให้เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกอง
๔. มอบอำนาจในการอนุมัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและอนุมัติจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ
ตามข้อ ๘.๒ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา
พ.ศ. ๒๕๒๙ ให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ตามสายงานที่ได้รับมอบหมาย
๕. ในกรณีที่รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามสายงานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอีกท่านหนึ่งปฏิบัติราชการแทน
๖. การมอบอำนาจให้เลขานุการสำนัก
และผู้อำนวยการกอง ตามคำสั่งนี้ให้รวมถึงผู้รักษาการในตำแหน่ง
คำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้
ให้ถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พันตำรวจเอก เทวานุวัฒน์ อนิรุทธเทวา
ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๕/๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ |
863558 | ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ พ.ศ. 2563 | ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๓
โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
ข้อ ๔ ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ส่วนที่ ๑
นิยาม
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
การจัดซื้อจัดจ้าง
หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน
หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
พัสดุ หมายความว่า
สินค้า งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง งานจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง
รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
สินค้า หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน
สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นใด รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้นที่ต้องจัดซื้อจัดจ้างสำหรับส่วนราชการในต่างประเทศ
งานบริการ หมายความว่า งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ
งานจ้างทำของและการรับขนจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
แต่ไม่หมายความรวมถึงการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการในต่างประเทศ
งานก่อสร้าง หมายความว่า งานก่อสร้างอาคาร
งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด และการซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน
หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันต่ออาคาร สาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในงานก่อสร้างนั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของงานก่อสร้างนั้น
อาคาร หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้
เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ เช่น
เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา ไฟฟ้า หรือสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร
เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟต์ หรือเครื่องเรือน
สาธารณูปโภค หมายความว่า งานอันเกี่ยวกับการประปา
การไฟฟ้า สื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ การขนส่งทางท่อ
ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ หรือทางราง หรือการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน
ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน
งานจ้างที่ปรึกษา หมายความว่า งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำสำหรับส่วนราชการในต่างประเทศในด้านวิศวกรรม
สถาปัตยกรรม ผังเมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย หรือด้านอื่นที่อยู่ในภารกิจของรัฐ
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หมายความว่า
งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
การบริหารพัสดุ หมายความว่า การเก็บ การบันทึก
การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการจำหน่ายพัสดุ
ราคากลาง หมายความว่า ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริงตามลำดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด
(๒) ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ
(๓) ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณ หรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด
(๔) ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด
(๕) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา
๒ ปีงบประมาณ
(๖) ราคาอื่นใดเป็นไปตามภาวะค่าครองชีพ หรือกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ในกรณีที่มีราคาตาม (๑) ให้ใช้ราคาตาม (๑)
ก่อน ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (๑) แต่มีราคาตาม (๒)
หรือ (๓) ให้ใช้ราคาตาม (๒) หรือ (๓) ก่อน โดยจะใช้ราคาตาม (๒) หรือ (๓) ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศเป็นสำคัญ ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม
(๑) (๒) และ (๓) ให้ใช้ราคาตาม (๔) (๕) หรือ (๖) โดยจะใช้ราคาใดตาม (๔) (๕)
หรือ (๖) ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศเป็นสำคัญ
กรณีงานก่อสร้าง ให้ส่วนราชการในต่างประเทศใช้ราคากลางที่คำนวณโดยผู้ออกแบบหรือที่ปรึกษา
หรือราคาตามข้อ (๔)
เงินงบประมาณ หมายความว่า เงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมาย และเงินภาษีอากร
ค่าธรรมเนียม หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ตกเป็นรายได้ และให้หมายความรวมถึงเงินกู้ เงินช่วยเหลือ
และเงินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ส่วนราชการในต่างประเทศ
หมายความว่า ส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศซึ่งเรียกว่าสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศหรือซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น
หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ หมายความว่า
อัครราชทูต (ฝ่ายส่งเสริมการลงทุน) อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายส่งเสริมการลงทุน) กงสุล
(ฝ่ายส่งเสริมการลงทุน) หัวหน้าสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ หรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่อยู่ในต่างประเทศ
ซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น
บุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศ หมายความว่า
ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราวในต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติงานประจำที่ส่วนราชการในต่างประเทศ
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศ
หมายความว่า กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะหรือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยปรากฏเอกสารหรือหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) หนังสือจากหน่วยงานราชการของประเทศนั้น
ๆ
(๒) เอกสารอ้างอิง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงถึงสาระของกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ส่วนกลาง หมายความว่า
ส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ตั้งในประเทศ
ภัยพิบัติ หมายความว่า สาธารณภัยต่าง ๆ อันได้แก่
ภัยธรรมชาติ ภัยที่เกิดจากโรคระบาด อุบัติภัย ภัยสงคราม ภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อการร้าย
ภัยอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ทางการเมือง และภัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
ส่วนที่ ๒
ผู้มีอำนาจและการมอบอำนาจ
ข้อ ๖ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ ๗ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาจมอบอำนาจในการดำเนินการตามระเบียบนี้
รวมถึงการสั่งการในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง การลงนามในสัญญา ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือผู้รักษาราชการแทนตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติและจัดสรรให้
ข้อ ๘ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ ไม่เกิน
๕,๐๐๐,๐๐๐
บาท (ห้าล้านบาท)
(๒) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาท)
ส่วนที่ ๓
คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ของส่วนราชการในต่างประเทศ
ข้อ ๙ ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
ประกอบด้วย
(๑) รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานคลังและพัสดุ
ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุสำนักงานเลขาธิการ
(๓) เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๔) เจ้าหน้าที่กลุ่มบริหารงานคลังและพัสดุ
เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๒) กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง
เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๓) เชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมหารือตามความเหมาะสม
(๔) รายงานเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศต่อคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ผ่านเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(๕) ยกเว้น หรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมอบหมาย
ส่วนที่ ๔
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
ข้อ ๑๑ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน
๕๐๐,๐๐๐๐
บาท (ห้าแสนบาท) โดยแผนดังกล่าวให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง
(๒) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างโดยประมาณ
(๓) ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง
(๔) รายการอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
แผนการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่งให้จัดทำเป็นการล่วงหน้าทั้งปี
หลังจากส่วนราชการในต่างประเทศได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างจากส่วนกลางแล้ว
และให้ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนกลางและปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ
เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือเป็นความลับของราชการ
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศ
นำส่งแผนการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนกลางภายใน
๔๕ วันหลังจากได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๑๒ หลังจากที่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามข้อ
๑๑ แล้ว ให้ส่วนราชการในต่างประเทศรีบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนและระเบียบนี้
เพื่อให้พร้อมจะทำสัญญาหรือข้อตกลงได้ทันทีเมื่อการสั่งซื้อสั่งจ้างได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจแล้ว
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอส่วนกลาง
เพื่อเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบนี้
ส่วนที่ ๕
การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๑๔ ในการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละครั้ง ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา
รายละเอียดวิธีการ และขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑) รายงานขอซื้อขอจ้าง
(๒) ร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุ
และเอกสารเชิญชวน (ถ้ามี)
(๓) ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย
(๔) บันทึกรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๕) เอกสารแจ้งผลการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก
(ถ้ามี)
(๖) สัญญา
หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ หรือหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุ
ข้อ ๖๔ รวมทั้งเอกสารการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ (ถ้ามี)
(๗) บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุ
เอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
หมวด ๒
การจัดซื้อจัดจ้าง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑๕ การแบ่งซื้อแบ่งจ้างให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๑๖ การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานจ้างที่ปรึกษาตามส่วนที่
๕ หรืองานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตามส่วนที่
๖ ให้ดำเนินการตามวิธีการในส่วนที่ ๒ ของหมวดนี้
ส่วนที่ ๒
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
การกำหนดราคากลาง
ข้อ ๑๗ ในการจัดซื้อจัดจ้างให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นเจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลาง
เว้นแต่งานก่อสร้างให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน
และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
ในกรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ อาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศนั้นด้วยก็ได้
ข้อ ๑๘ ให้เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลางหรือคณะกรรมการกำหนดราคากลางมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดราคากลางโดยวิธีการตามข้อ ๕ และเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศให้ความเห็นชอบ
แล้วนำไปประกอบการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ ๒๐
เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้ประกาศราคากลางในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนกลางและปิดประกาศโดยเปิดเผย
ณ สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท) หรือการจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
หรือเป็นความลับของราชการ
ข้อ ๑๙ การประชุมคณะกรรมการราคากลาง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติในการประชุม
ประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่เป็นประธานกรรมการแทน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
รายงานขอซื้อขอจ้าง
ข้อ ๒๐ ก่อนการดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อให้ความเห็นชอบ
โดยมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(๒) ขอบเขตของงาน หรือรายการของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง
เช่น คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุและจำนวนที่ต้องการซื้อ หรือแบบรูปรายการ
รายละเอียดและปริมาณที่ต้องการจ้าง
(๓) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
โดยระบุวงเงินงบประมาณที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
(๕) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างด้วยวิธีนั้น
(๗) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ เว้นแต่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง
(๘) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง เอกสารเชิญชวน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ ในกรณีต่อไปนี้ เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจะทำรายงานตามข้อ
๒๐ เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ
๒๘ (๓) และ (๔)
(๒) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
ข้อ ๒๒ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้าง
หรือการเช่าระยะยาวในประเทศที่ไม่ให้ถือกรรมสิทธิ์
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ เพื่อเสนอเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ความเห็นชอบ
ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ
(๒) รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ
(๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น
เว้นแต่ไม่สามารถหาได้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
(๔) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย เว้นแต่ไม่สามารถหาได้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
(๕) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น
(๖) วิธีที่จะซื้อ และเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น
(๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ
การซื้อที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างในต่างประเทศให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง
หรือติดต่อผ่านนายหน้า หรือดำเนินการตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ข้อ ๒๓ เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบตามข้อ
๒๐ หรือข้อ ๒๒ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินกระบวนการเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างต่อไปได้
คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๒๔ ในการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างแต่ละครั้ง
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
(หนึ่งแสนบาท) ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ใช้รายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ
๒๐ และข้อ ๒๑ และให้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้าง
ตามข้อ ๓๕
ข้อ ๒๕ คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละคณะประกอบด้วยประธานกรรมการ
๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
และอาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ประเทศนั้นด้วยก็ได้
เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างได้
ในกรณีที่มีการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อประโยชน์ของคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปราชการจากส่วนกลาง
อาจแต่งตั้งบุคคลจากคณะผู้แทนนั้นร่วมด้วยก็ได้
คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามข้อ
๓๐ ข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ และข้อ ๓๔
ข้อ ๒๖ การประชุมคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีหนึ่งเสียงในการลงมติในการประชุมประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่แทน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
กรรมการคนใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการ จะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้น
ทั้งนี้ การมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการ
และกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หากประธานหรือกรรมการทราบว่าตนเองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น
ให้ประธานหรือกรรมการผู้นั้นลาออกจากการเป็นประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการที่ตนได้รับการแต่งตั้งนั้น
และให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งผู้อื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทน
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๒๗ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศให้ดำเนินการโดยวิธีคัดเลือก
หรือวิธีเฉพาะเจาะจง ตามที่กำหนดในข้อ ๒๘
(๑) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า
๓ รายให้เข้ายื่นข้อเสนอ และพิจารณาคัดเลือกโดยคำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ วัตถุประสงค์ของการใช้งาน
คุณภาพ ราคา บริการหลังการขาย พัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ ข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่น หรือเทคโนโลยีของพัสดุหรือผู้ยื่นข้อเสนอ
เป็นต้น
(๒) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ
หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา
ข้อ ๒๘ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้ใช้วิธีคัดเลือกก่อน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต
จำหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไปและมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท)
(๒) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีที่มีผู้ประกอบการโดยตรงเพียงรายเดียว
หรือเป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(๓) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยเร่งด่วน
หากล่าช้าอาจจะเสียหายต่อราชการ
(๔) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉินกรณีเกิดภัยพิบัติ
(๕) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว
และมีความจำเป็นต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่องในการใช้พัสดุนั้น
โดยมูลค่าของพัสดุที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว
(๖) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
หรือเป็นความลับของราชการ
วิธีคัดเลือก
ข้อ ๒๙ เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบตามข้อ
๒๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก เพื่อดำเนินการเชิญชวนผู้ประกอบการเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติของต่างประเทศนั้น
โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ หรืองานจ้างที่ต้องการจ้าง
(๒) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ายื่นข้อเสนอ
(ถ้ามี)
(๓) กำหนดวัน เวลาการยื่นข้อเสนอ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ จำนวนผู้ประกอบการที่เชิญชวนและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกให้เป็นไปตามข้อ
๒๗ (๑)
ข้อ ๓๐ ในการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ให้คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดตามข้อ ๒๗ (๑) และข้อ ๒๙ ไม่น้อยกว่า
๓ ราย โดยคำนึงถึงการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เข้ายื่นข้อเสนอด้วย
(๒) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาในการยื่นข้อเสนอ
ให้รับซองข้อเสนอของผู้ประกอบการ พร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มายื่นข้อเสนอ
เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นข้อเสนอ มิให้รับเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ และพัสดุตัวอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอ
เว้นแต่กรณีการซื้อหรือจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างที่จะต้องให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุมาแสดงเพื่อทดลองหรือทดสอบ
หรือนำเสนองาน หรือเอกสาร หรือรายละเอียดที่กำหนดให้จัดส่งภายหลังจากวันที่ยื่นข้อเสนอ
(๓) เมื่อถึงกำหนดวัน
เวลาในการเปิดซองข้อเสนอ ให้เปิดซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอ
และให้กรรมการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา
(๔) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ใบเสนอราคา
และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน
(๕) พิจารณาคัดเลือกพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างของผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐแล้วให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกตามข้อ
๒๗ (๑)
(๖) จัดทำรายงานผลการพิจารณา
และเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่ออนุมัติหรือเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างต่อไป
รายงานผลการพิจารณาอย่างน้อยให้ประกอบด้วยรายการ
ดังต่อไปนี้
(ก) รายการพัสดุและคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(ข) รายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอ
(ค) ผู้ยื่นข้อเสนอและรายการพัสดุของผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือก
(ง) ราคาของผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือก
(จ) เหตุผลของคณะกรรมการในการพิจารณา
ข้อ ๓๑ เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาตามข้อ ๓๐ แล้ว ปรากฏว่า
มีผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณสมบัติและข้อเสนอตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดเพียงรายเดียว
ก็ให้คณะกรรมการต่อรองราคากับผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น แล้วเสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่ออนุมัติหรือเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติต่อไป
ข้อ ๓๒ การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก หากปรากฏว่าราคาของผู้ที่ชนะการซื้อหรือการจ้างหรือที่ได้รับการคัดเลือกยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างให้คณะกรรมการดำเนินการ
ดังนี้
(๑) ให้ต่อรองราคากับผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
หากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้นยอมลดราคา ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม
(๑) แล้วไม่ได้ผล ให้แจ้งผู้ที่เสนอราคาทุกรายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้าง เพื่อเสนอราคาใหม่พร้อมกัน โดยยื่นใบเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร
หากรายใดไม่ยื่นใบเสนอราคา ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดในการเสนอราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จัดซื้อหรือจ้างก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ
ลดจำนวน หรือลดเนื้องานที่ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ที่เสนอราคา
หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการซื้อหรือจ้าง เพื่อดำเนินการใหม่ หรือจะสั่งให้ดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงก็ได้
ข้อ ๓๓ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ ๓๐ และข้อ ๓๑ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ปิดประกาศผลโดยเปิดเผย
ณ สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
หรือเป็นความลับของราชการ หรือข้อยกเว้นอื่นภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
วิธีเฉพาะเจาะจง
ข้อ ๓๔ เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบตามข้อ
๒๐ หรือข้อ ๒๒ แล้วให้เจ้าหน้าที่แจ้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดตามข้อ ๒๘ (๓) และ (๔) โดยอนุโลม
(๒) การเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อส่วนราชการในต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) ให้สืบราคาจากผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรง
(ข) กรณีให้เชิญผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรงมายื่นข้อเสนอ
หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นสูงกว่าราคากลาง หรือวงเงินงบประมาณ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(ค) กรณีตามข้อ ๒๘ (๕) ให้เจรจากับผู้ประกอบการรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาส่งมอบ เพื่อขอให้มีการซื้อหรือจ้างตามรายละเอียด
และราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี)
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานของรัฐ
(ง) ให้เชิญเจ้าของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้าง
หรือนายหน้า ตามธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น มาเสนอราคาหากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นสูงกว่าราคากลาง
หรือวงเงินงบประมาณ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(๓) จัดทำรายงานผลโดยนำความในข้อ ๓๐ (๖) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๕ สำหรับกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) ให้เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงราคากับผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรง
ข้อ ๓๖ การจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ ๒๘
(๓) และ (๔) ครั้งหนึ่งที่มีวงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท) และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานในการตรวจรับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๗ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ
๓๔ แล้วให้เจ้าหน้าที่ประกาศผลในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนกลางและปิดประกาศ โดยเปิดเผย
ณ สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) หรือการจัดซื้อจัดจ้าง
กรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือเป็นความลับของราชการ
การจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ ๓๘ การจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาให้กระทำได้
ตามหลักเกณฑ์ และกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) การจ้างในต่างประเทศให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ไม่เกินอัตราร้อยละ
๑๕ ของราคาซื้อหรือราคาจ้าง เว้นแต่กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
โดยได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(๒) การซื้อสินค้าในต่างประเทศให้จ่ายเงินค่าสินค้าได้ตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นในลักษณะของการจ่ายเงินมัดจำ
หรือจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการสั่งซื้อสินค้าให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า
(๓) การซื้อหรือการจ้างจากหน่วยงานของรัฐจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ
๕๐ ของราคาซื้อหรือราคาจ้าง
(๔) การซื้อพัสดุจากหน่วยงานรัฐของต่างประเทศนั้น
องค์กรสาธารณกุศลของต่างประเทศนั้น หรือองค์การระหว่างประเทศให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกัน
แล้วแต่กรณี
(๕) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ
หรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูปที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อนและมีกำหนดการออกเป็นวาระ
หรือการบอกรับเป็นสมาชิกให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง
ข้อ ๓๙ การจ่ายเงินล่วงหน้าตามข้อ ๓๘ (๑) ให้ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามข้อ
๗๐ และข้อ ๗๒
กรณีข้อ ๓๘ (๒) (๓) (๔) และ (๕) ไม่ต้องเรียกหลักประกันการรับเงินล่วงหน้า
ข้อ ๔๐ กรณีจำเป็นฉุกเฉิน เช่น ภัยพิบัติที่จำเป็นต้องช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงและไม่ต้องเรียกหลักประกันรับเงินล่วงหน้าก็ได้
ส่วนที่ ๓
การเช่า
ข้อ ๔๑ การเช่าสังหาริมทรัพย์และการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น โดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
กรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ให้ดำเนินการตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ข้อ ๔๒ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) เช่าที่ดินเพื่อเป็นประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(๒) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการ ในกรณีที่ไม่มีสถานที่เช่นว่านั้น
หรือมีแต่ไม่เพียงพอ หรือไม่อาจใช้การได้ชั่วคราว และถ้าสถานที่เช่านั้นกว้างขวางพอ
จะใช้เป็นที่พักของผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบของราชการด้วยก็ได้
(๓) เช่าสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมของส่วนราชการในต่างประเทศ
(๔) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศ
ในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ
การเช่าให้ดำเนินการเจรจาตกลงราคากับผู้ให้เช่าโดยตรง
ข้อ ๔๓ ก่อนดำเนินการเช่าให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจอนุมัติ
ตามรายการ ดังนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า
(๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ
(๓) ในกรณีเช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า
เช่น สภาพของสถานที่บริเวณที่ต้องการใช้ พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) เป็นต้น
(๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า
(ถ้ามี)
อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่นเกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ส่วนที่ ๔
การแลกเปลี่ยน
ข้อ ๔๔ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้ เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศที่ประสงค์ให้มีการแลกเปลี่ยนพัสดุได้เสนอให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้นำข้อ ๙๖ ถึงข้อ ๑๐๐ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ส่วนที่ ๕
งานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๔๕ งานจ้างที่ปรึกษาเป็นงานให้บริการเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่ส่วนราชการในต่างประเทศ โดยที่ปรึกษาอาจเป็นที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
กระทรวงการคลัง หรือเป็นที่ปรึกษาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในขอบเขตงานที่ส่วนราชการในต่างประเทศประสงค์จะจัดจ้างที่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลังก็ได้
การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของส่วนราชการในต่างประเทศ
จะจ้างที่ปรึกษาไทยหรือที่ปรึกษาต่างชาติก็ได้ ในกรณีที่จ้างที่ปรึกษาต่างชาติจะมีที่ปรึกษาไทยร่วมงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
วิธีจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๔๖ งานจ้างที่ปรึกษา กระทำได้ ๒ วิธี ดังนี้
(๑) วิธีคัดเลือก หรือ
(๒) วิธีเฉพาะเจาะจง สำหรับงานในกรณี ดังนี้
(ก) งานจ้างที่ปรึกษาที่มีวงเงินการจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท)
(ข) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก
และมีวงเงินการจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาท)
(ค) เป็นงานที่จำเป็นต้องให้ที่ปรึกษารายเดิมทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้วเนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค
(ง) เป็นงานที่มีเนื้อหาละเอียดอ่อนต่อการต่างประเทศ
หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือเป็นความลับของราชการ
(จ) เป็นงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากล่าช้าจะเสียหายแก่ราชการ
(ฉ) กรณีอื่น ๆ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศเห็นชอบ
การกำหนดราคากลาง
ข้อ ๔๗ การจ้างที่ปรึกษาให้กำหนดราคากลางโดยนำความในข้อ
๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
รายงานขอจ้าง
ข้อ ๔๘ ก่อนดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยนำความในข้อ ๒๐ ข้อ ๒๒ และข้อ ๒๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๔๙ ในการจัดจ้างที่ปรึกษา ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ ๕๐ คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาประกอบด้วยประธานกรรมการ
๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
และอาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ประเทศนั้นด้วยก็ได้
เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาได้
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น
ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ ๕๑ ในการจัดจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำความในข้อ
๒๙ ข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ และข้อ ๓๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาพิจารณาตามข้อ
๒๗ (๑) โดยอนุโลม โดยให้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ ประกอบด้วย
(๑) ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา
(๒) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน
(๓) จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วม
(๔) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมและสนับสนุน
(๕) ข้อเสนอทางด้านการเงิน
ข้อ ๕๒ ในการจัดจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำความในข้อ ๒๘
ข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ ข้อ ๓๖ และข้อ ๓๗ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๕๓ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัด
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้างอัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่ส่วนราชการในต่างประเทศอื่นเคยจ้าง
จำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ
เป็นต้น หรือให้เป็นไปตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศ
ข้อ ๕๔ กรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า
ให้นำความในข้อ ๓๘ และข้อ ๓๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ส่วนที่ ๖
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๕ การจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ต้องจ้างผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมตามกฎหมายท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
กรณีจ้างผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
และหรือวิศวกรรมของไทย จะต้องมีบุคลากรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมตามกฎหมายท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นร่วมอยู่ด้วย
ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างให้กำหนดเป็นร้อยละของมูลค่าวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างในอัตราตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
การจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๖ ในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง
หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่จัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
องค์ประกอบ ระยะเวลาการพิจารณา
และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามที่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดตามความเหมาะสม
รายงานขอจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๗ ในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอจ้างงานออกแบบหรือควบคุมงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อเสนอเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ความเห็นชอบโดยนำความในข้อ
๒๐ และข้อ ๒๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๘ ในการดำเนินการจัดจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือคณะกรรมการงานจ้างควบคุมงานก่อสร้างเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อเสนอเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ความเห็นชอบ
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ ๕๙ คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย
๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น และอาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ประเทศนั้นด้วยก็ได้
เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ ๖๐ ในการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือก
ให้คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำความในข้อ
๒๙ ข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ และข้อ
๓๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างพิจารณาตามข้อ
๒๗ (๑) โดยอนุโลม โดยให้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ ประกอบด้วย
(๑) แนวความคิดในการออกแบบและแบบเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้นจากแนวความคิดนั้น
(๒) ผลงานและประสบการณ์ของผู้ให้บริการ
(๓) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน
(๔) จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วม
(๕) ข้อเสนอทางด้านการเงิน
ข้อ ๖๑ ในการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ให้คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำความในข้อ
๒๘ ข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๗ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๖๒ กรณีงานก่อสร้างที่จำเป็นต้องให้ผู้ก่อสร้างเป็นผู้ออกแบบด้วยตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือผู้มีอำนาจ
ส่วนที่ ๗
การทำสัญญาและหลักประกัน
สัญญา
ข้อ ๖๓ การทำสัญญาของส่วนราชการในต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามแบบคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกำหนด
หรือสัญญาที่ทางอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาแล้ว
ในกรณีที่ต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
ให้จัดทำสัญญาภาษาอังกฤษเป็นคู่ฉบับด้วย
ในกรณีที่สัญญาแตกต่างจากแบบสัญญาที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกำหนด หรือสัญญาที่ทางอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาแล้วโดยมีสาระสำคัญและไม่ทำให้ส่วนราชการในต่างประเทศเสียเปรียบก็ให้กระทำได้
เว้นแต่ส่วนราชการในต่างประเทศเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอก็ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อนและต้องจัดทำสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทย
การลงนามในสัญญา เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศซึ่งได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ ๖๔ ส่วนราชการในต่างประเทศอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือก็ได้
เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ
๒๘ (๓)
(๒) การจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท)
(๓) กรณีที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(๔) กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อตกลงเป็นหนังสือตามแบบของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่จัดทำขึ้นตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) หรือกรณีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ
๒๘ (๔) จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น
ข้อ ๖๕ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้
เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติ ให้แก้ไขได้
(๑) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
หากการแก้ไขนั้นไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์
(๒) เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของราชการ หรือประโยชน์สาธารณะ
ในกรณีการแก้ไขสัญญาที่ส่วนราชการในต่างประเทศเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียประโยชน์หรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างสัญญาที่แก้ไขนั้นให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน
หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบ หรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงิน
เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมและวงเงินที่เพิ่มขึ้นใหม่แล้ว หากวงเงินรวมดังกล่าวมีผลทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปจะต้องดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือจ้างตามวงเงินรวมดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อลดวงเงิน
ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินเดิมเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
ค่าปรับ
ข้อ ๖๖ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ให้นำความในข้อ
๑๖๒ และข้อ ๑๖๓ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาบังคับใช้โดยอนุโลม เว้นแต่กฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖๗ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท) ขึ้นไปให้ส่วนกลางภายใน ๖๐ วันนับแต่ทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อส่วนกลางนำส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป
หลักประกันสัญญา
ข้อ ๖๘ หลักประกันสัญญา ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างใช้เงินสดหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศนั้น
หรือหลักประกันตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
เป็นหลักประกัน โดยกำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละ ๕ ของวงเงินงบประมาณหรือราคาพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น
ข้อ ๖๙ หากมีการแก้ไขสัญญาและมีผลทำให้วงเงินตามสัญญานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่ว่ากรณีเพิ่มหรือลดวงเงิน คู่สัญญาต้องนำหลักประกันสัญญามาวางเท่ากับวงเงินหลักประกันสัญญาที่ได้เพิ่มหรือลด
แล้วแต่กรณี
ถ้าหลักประกันสัญญาที่คู่สัญญานำมามอบไว้เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาลดลง
หรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดชอบของคู่สัญญาตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใด
ๆ ก็ตาม รวมถึงส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกำหนดความรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป
คู่สัญญาต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจำนวนครบถ้วนตามมูลค่าที่กำหนดในสัญญามามอบให้ภายในระยะเวลาที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนด
หลักประกันการรับเงินล่วงหน้า
ข้อ ๗๐ หลักประกันการรับเงินล่วงหน้า ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาจะต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศนั้น
หรือหลักประกันตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
มาวางเป็นประกันเงินที่รับล่วงหน้าไป เว้นแต่กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๗๑ หลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามข้อ ๗๐ คู่สัญญาสามารถขอรับคืนแต่บางส่วนได้ หากส่วนราชการในต่างประเทศได้หักเงินที่จะจ่ายแต่ละงวดเพื่อใช้คืนเงินล่วงหน้าในส่วนที่ขอรับคืนนั้นแล้ว ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนและในสัญญาด้วย
หลักประกันผลงาน
ข้อ ๗๒ ในการจ้างงานก่อสร้างให้มีการเรียกหลักประกันผลงาน
เว้นแต่กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีเรียกหลักประกันผลงาน
ส่วนราชการในต่างประเทศจะหักเงินประกันผลงานไว้เต็มจำนวนที่กำหนด หรือในกรณีที่แบ่งการชำระเงินค่าจ้างออกเป็นงวดจะหักเงินประกันผลงานแต่ละงวดตามอัตราที่กำหนดก็ได้
คู่สัญญามีสิทธิขอเงินประกันผลงานคืนได้โดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศนั้น
หรือหลักประกันตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
มาวางเป็นประกันแทนการหักเงิน โดยมีอายุการประกันตามที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนดก็ได้
การคืนหลักประกัน
ข้อ ๗๓ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศคืนหลักประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอ
คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว
ส่วนที่ ๘
การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๗๔ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ประกอบด้วยประธานกรรมการ
๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
และอาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ประเทศนั้นด้วยก็ได้
เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น
ๆ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
กรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจดำเนินการตามข้างต้นได้
สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือก เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุได้
ในกรณีที่เป็นการตรวจรับงานเพื่อประโยชน์ของคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปราชการจากส่วนกลาง
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุอาจแต่งตั้งจากบุคคลจากคณะผู้แทนนั้นร่วมด้วยก็ได้
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุนั้นโดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้
มติของคณะกรรมการให้เป็นเอกฉันท์
กรณีมติไม่เป็นเอกฉันท์ ให้กรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ และเสนอรายงานนั้นต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจสั่งการให้ตรวจรับพัสดุนั้นไว้ จึงจะดำเนินการตรวจรับได้
ข้อ ๗๕ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อหรืองานจ้างมีหน้าที่
ดังนี้
(๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงการตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศก่อน
(๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้
สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้น มาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ
ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้
ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(๓) ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย
๒ ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
ให้เจ้าหน้าที่รายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการ
(๕) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน
หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔) และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน
๓ วันทำการนับถัดจากวันที่ตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์ส่วนราชการในต่างประเทศที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย
ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น
และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน
๓ วันทำการนับถัดจากวันที่ตรวจพบ
(๗) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้
จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗๖ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง หรืองานจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง
มีหน้าที่ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบคุณวุฒิของผู้ควบคุมงานก่อสร้างของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๒) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง
และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานของส่วนราชการในต่างประเทศรายงาน
โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงทุกสัปดาห์
รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(๓) ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น
ๆ ตามเวลาที่เหมาะสมและเห็นสมควร และจัดทำบันทึกผลการออกตรวจงานจ้างนั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
(๔) นอกจากการดำเนินการตาม (๑) และ (๒) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญามีข้อความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย
หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่าง ให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร
และตามหลักวิชาการช่าง เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
กรณีอื่นนอกจากนี้ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเสนอรายงานความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติต่อไป
(๕) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน
๓ วันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๖) เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น
และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย
๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา
ให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการ
(๗) ในกรณีที่กรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดำเนินการตาม
(๖)
ข้อ ๗๗ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้งที่มีขั้นตอนการดำเนินการเป็นระยะ
ๆ อันจำเป็นต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด หรือมีเงื่อนไขการจ่ายเงินเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงาน
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากข้าราชการ
ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้านจะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ
และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ในกรณีจำเป็นจะจ้างผู้ให้บริการที่มีความรู้ความชำนาญด้านการควบคุมงานก่อสร้างโดยตรงก็ได้ โดยถือปฏิบัติตามส่วนที่ ๖ ของหมวดนี้
ข้อ ๗๘ ผู้ควบคุมงานตามข้อ ๗๗ มีหน้าที่ ดังนี้
(๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา
หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ
โดยสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อน
จนกว่าผู้รับจ้างจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งและให้รายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญา
หรือข้อตกลง หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทันที
(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด
หรือกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง
หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัยให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ
การบริหารสัญญาหรือข้อตกลง หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างโดยเร็ว
(๓) จดบันทึกสภาพการปฏิบัติของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน
พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ
เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบทุกสัปดาห์และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด
โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่
การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
(๔) ในวันกำหนดส่งมอบงานของผู้รับจ้างตามสัญญาและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด
ให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง
หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น
ข้อ ๗๙ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา มีหน้าที่
ดังนี้
(๑) กำกับและติดตามงานจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษา ณ ที่ทำการของผู้ว่าจ้าง
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๓) ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาในวันที่ที่ปรึกษานำผลงานมาส่ง
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้รับงานจ้างที่ปรึกษาไว้และถือว่าที่ปรึกษาได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ที่ปรึกษานำผลงานมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ
โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบแก่ที่ปรึกษา ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่
๑ ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญา หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม
มีอำนาจที่จะสั่งให้หยุดงานนั้นชั่วคราวได้ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการ
(๕) ในกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน
ให้กรรมการดังกล่าวทำความเห็นแย้งไว้ แล้วให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับผลงานนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๔)
ข้อ ๘๐ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
มีหน้าที่ ดังนี้
(๑) ตรวจให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ตรวจรับงาน ณ ที่ทำการของผู้ว่าจ้าง หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๓) ตรวจรับงานในวันที่ผู้ให้บริการนำผลงานมาส่ง
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔) ในกรณีที่ผลงานบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามความประสงค์ของส่วนราชการในต่างประเทศอันเนื่องมาจากไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางสถาปัตยกรรม
และหรือวิศวกรรม ต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยเร็ว
(๕) เมื่อตรวจถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้รับงานไว้และถือว่าผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างนำผลงานมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย
๒ ฉบับ มอบแก่ผู้ให้บริการ ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญา หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม
มีอำนาจที่จะสั่งให้หยุดงานนั้นชั่วคราวได้ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อผู้มีอำนาจทราบและสั่งการ
(๖) ในกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน
ให้กรรมการดังกล่าวทำความเห็นแย้งไว้ แล้วให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับผลงานนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๕)
ข้อ ๘๑ กรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงได้ครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญาภายใน
๗ วันทำการนับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับ
ในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ ๘๒ การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือเหตุสุดวิสัย หรือเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงกำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ส่วนราชการในต่างประเทศทราบภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง
หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดคู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อของด หรือลดค่าปรับ
หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการในต่างประเทศซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง
หรือส่วนราชการในต่างประเทศทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ ๘๓ การบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญา ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานหรือทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด
เหตุอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง หรือเหตุตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศ
การบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ
๑๐ ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
เว้นแต่คู่สัญญาจะยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ส่วนราชการในต่างประเทศโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น
ข้อ ๘๔ ภายหลังสิ้นสุดสัญญา และยังอยู่ในระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล
บำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุในกรณีที่มีหลายหน่วยงานครอบครอง
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุนั้น
ข้อ ๘๕ ในกรณีที่ปรากฏความชำรุดบกพร่องของพัสดุภายในระยะเวลาของการประกันความชำรุดบกพร่องตามสัญญา
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามข้อ ๘๔ รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมทันที
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้รับประกัน (ถ้ามี) ทราบด้วย
ข้อ ๘๖ เมื่อใกล้สิ้นสุดระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศสำรวจพัสดุว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือไม่
หากมี ให้แจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้างให้แก้ไขหรือซ่อมแซมทันทีก่อนคืนหลักประกันสัญญา
ส่วนที่ ๙
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
ข้อ ๘๗ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศประเมินการปฏิบัติงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่ครั้งหนึ่งวงเงินเกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท) ขึ้นไป
ไว้ในรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และรายงานให้ส่วนกลางทราบด้วย
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณาถึงความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จ
และคุณภาพของงานตามสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำไว้กับส่วนราชการในต่างประเทศเป็นสำคัญ
หมวด ๓
การบริหารพัสดุ
ส่วนที่ ๑
การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย
ข้อ ๘๘ การบริหารพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศให้ดำเนินการตามหมวดนี้
เว้นแต่มีระเบียบราชการ หรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การบริหารพัสดุในหมวดนี้ ไม่ใช้บังคับกับงานบริการ
งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง และงานจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง
การเก็บและการบันทึก
ข้อ ๘๙ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับมอบพัสดุแล้ว ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชี หรือทะเบียน เพื่อควบคุมพัสดุแล้วแต่กรณี
แยกเป็นชนิด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชี หรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย
สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้
(๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย และให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน
การเบิกจ่ายพัสดุ
ข้อ ๙๐ การเบิกพัสดุจากหน่วยพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้บุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิก
ข้อ ๙๑ การจ่ายพัสดุ ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเป็นหัวหน้าพัสดุ เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ
ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ
(ถ้ามี) แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย
ส่วนที่ ๒
การยืม
ข้อ ๙๒ การให้ยืมหรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการ ซึ่งมิใช่ประโยชน์ของทางราชการจะกระทำมิได้
ข้อ ๙๓ การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป ให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร
แสดงเหตุผลและกำหนดวันส่งคืน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การยืมระหว่างหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศที่เป็นผู้ให้ยืม
(๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่หรือนอกสถานที่ของส่วนราชการในต่างประเทศจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
ข้อ ๙๔ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อย
หากเกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง
หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืม
ข้อ ๙๕ การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างหน่วยงานของรัฐให้กระทำได้เฉพาะ เมื่อหน่วยงานของรัฐผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน
จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการ และหน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืมมีพัสดุนั้น ๆ พอที่จะให้ยืมได้
โดยไม่เป็นการเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐของตน และให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้ โดยปกติหน่วยงานของรัฐผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท
ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้หน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืม
ข้อ ๙๖ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืม หรือผู้รับหน้าที่แทน
มีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน ๗ วันนับแต่วันครบกำหนด
ส่วนที่ ๓
การบำรุงรักษา การตรวจสอบ
การบำรุงรักษา
ข้อ ๙๗ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศ จัดให้มีผู้ควบคุมพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา โดยให้มีการจัดทำแผนการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมและระยะเวลาในการซ่อมบำรุงด้วย
ในกรณีที่พัสดุเกิดการชำรุด ให้ส่วนราชการในต่างประเทศดำเนินการซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยเร็ว
การตรวจสอบพัสดุประจำปี
ข้อ ๙๘ ภายในเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปีงบประมาณของทุกปี
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุ ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ
เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุในงวดหนึ่งปีที่ผ่านมา และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น
ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง
ให้เริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของปีงบประมาณเป็นต้นไปว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวตรงตามบัญชีหรือทะเบียน
หรือไม่มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในส่วนราชการในต่างประเทศต่อไป แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายใน
๓๐ วันทำการนับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น
เมื่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุแล้ว ให้เสนอส่วนกลางและส่งสำเนาไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินต่อไป
ข้อ ๙๙ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุตามข้อ
๙๘ และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในส่วนราชการในต่างประเทศต่อไป
ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงเว้นแต่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ
หรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้เสนอส่วนกลางพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้
ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของทางราชการต่อไป
ส่วนที่ ๔
การจำหน่ายพัสดุ
ข้อ ๑๐๐ หลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในส่วนราชการในต่างประเทศต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก
ให้เจ้าหน้าที่เสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน
แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดี ให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(ก) การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท) จะขายโดยวิธีเฉพาะเจาะจงโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้
(ข) การขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่
แท็บเล็ต ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่วนราชการในต่างประเทศมอบไว้ให้ใช้งานในหน้าที่
เมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากหน้าที่หรืออุปกรณ์ดังกล่าวพ้นระยะเวลาการใช้งานแล้ว
ให้ขายให้แก่บุคคลดังกล่าวโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
การขายโดยวิธีทอดตลาด ให้ถือตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น โดยให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการประเมินราคาทรัพย์สินก่อนการประกาศขายทอดตลาด กรณีที่เป็นพัสดุที่มีการจำหน่ายเป็นการทั่วไปให้พิจารณาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด
หรือราคาท้องถิ่นของสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น ณ เวลาที่จะทำการขาย และควรมีการเปรียบเทียบราคาตามความเหมาะสม กรณีที่เป็นพัสดุที่ไม่มีการจำหน่ายทั่วไปให้พิจารณาราคาตามลักษณะ
ประเภท ชนิดของพัสดุ และอายุการใช้งานรวมทั้งสภาพและสถานที่ตั้งของพัสดุด้วย ทั้งนี้
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบราคาประเมินดังกล่าว
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศด้วย
ส่วนราชการในต่างประเทศจะจ้างผู้ประกอบการที่ให้บริการขายทอดตลาดเป็นผู้ดำเนินการก็ได้
(๒) แลกเปลี่ยน ให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
(๓) โอน ให้โอนแก่หน่วยงานของรัฐ
หน่วยงานของรัฐต่างประเทศ หรือองค์กรสาธารณกุศล
ทั้งนี้ ให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกันด้วย
(๔) แปรสภาพหรือทำลายตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้
การดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน
๖๐ วันนับถัดจากวันที่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศสั่งการ
ข้อ ๑๐๑ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ
แล้วแต่กรณี
การจำหน่ายเป็นสูญ
ข้อ ๑๐๒ ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดชอบ
หรือมีตัวผู้รับผิดชอบแต่ไม่สามารถชดใช้ได้ หรือมีตัวพัสดุแต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ
๑๐๐ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาท) ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
(๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาท) ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน
ข้อ ๑๐๓ เมื่อดำเนินการจำหน่ายพัสดุแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที
แล้วแจ้งให้ส่วนกลางทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น
ข้อ ๑๐๔ ก่อนมีการตรวจสอบพัสดุประจำปีตามข้อ ๙๘ หากพบว่าพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศเกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ
หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป และได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว
ถ้าไม่มีระเบียบอื่นใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดำเนินการตามข้อ ๑๐๐ ข้อ ๑๐๑ และข้อ ๑๐๒
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี
สั่งและปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ธนบดี/จัดทำ
๒๓
กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๑๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๑/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ |
811324 | ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ 628 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง | ระเบียบธนาคารออมสิน
ฉบับที่ ๖๒๘
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๗ (๑)
เพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและเกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบความในมาตรา ๗ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ประกาศ ณ
วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ มติคณะกรรมการธนาคารออมสิน ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๐
เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ และมติคณะกรรมการธนาคารออมสิน ในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการธนาคารออมสิน จึงกำหนดระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๖๒๘
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ระเบียบนี้ให้ใช้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกำหนด
การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่การพาณิชย์โดยตรง
ให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
และกฎ ประกาศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
๓.๑
ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๔๕๗ ว่าด้วยการพัสดุ
๓.๒
ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๔๗๗ ว่าด้วยการพัสดุ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)
๓.๓
ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๕๒๙ ว่าด้วยการพัสดุ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒)
บรรดาระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ส่วนที่ ๑
นิยาม
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
การจัดซื้อจัดจ้าง
หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ โดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน
ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการคลัง
การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
หมายความว่า การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการผลิต จำหน่าย
หรือให้บริการเพื่อแสวงหารายได้ หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการแข่งขันกับภาคเอกชนตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกำหนด
ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อประกอบธุรกิจ ดังนี้
(๑)
การรับฝากเงิน ได้แก่ การจ้างขน นับ คัด การเก็บรักษา การรับชาระ การโอนเงินสด
เช็ค และเอกสารสำคัญ การจ้างเกี่ยวกับการดำเนินงานผลิตภัณฑ์สลากออมสิน เช่น
การจัดพิมพ์สลาก การจัดหาผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต การซื้อ จ้าง เช่า
ระบบงานและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องอื่นในการรับฝากเงิน
(๒) การให้สินเชื่อ ได้แก่ การจ้างประเมินราคาหลักทรัพย์
การจ้างติดตามหนี้ การบริหารทรัพย์สินรอการขาย (NPA) การจ้างบริษัทหรือสำนักงานทนายความ การดำเนินธุรกรรมลักษณะสินเชื่อ เช่น
บัตรสินเชื่อ บัตรเครดิต บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การจ้างผลิตบัตร
การจ้างรับส่งเอกสาร การจ้างบันทึกข้อมูลรวมถึงการจัดหาระบบงานและดำเนินการที่เกี่ยวข้องอื่นในการให้สินเชื่อ
(๓)
การขยายช่องทางการให้บริการและเครื่องบริการอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การจัดหาพื้นที่และอาคารสถานที่
การจัดหาเครื่องให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจัดหาระบบงานและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องอื่นในการขยายช่องทางการให้บริการ
รวมถึงการจัดหาที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขา
(๔)
การจัดหาเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ กิจกรรมทางการตลาดและการขายการจ้างบริการ
จ้างเหมาบริการ เพื่อการดำเนินธุรกิจตาม (๑) (๒) และ (๓)
(๕)
การจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดำเนินธุรกิจและรวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐจะกำหนดให้มีขึ้นอีก
พัสดุ
หมายความว่า สินค้า งานบริการ งานจ้างที่ปรึกษาตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการคลัง
สินค้า
หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง
และทรัพย์สินอื่นใดรวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้น
งานบริการ
หมายความว่า งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทำของและการรับขน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
แต่ไม่หมายความรวมถึงการจ้างลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ การรับขนในการเดินทางไปราชการหรือไปปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ
งานจ้างที่ปรึกษา และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
งานจ้างที่ปรึกษา
หมายความว่า การจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดำเนินธุรกิจ
สาธารณูปโภค
หมายความว่า งานอันเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ
การขนส่งทางท่อ ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ หรือทางราง หรือการอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน
ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน
พัสดุที่ผลิตในประเทศ
หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว โดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย
กิจการของคนไทย
หมายความว่า กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสัญชาติไทย
ที่ปรึกษาไทย
หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย
และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง
การบริหารพัสดุ
หมายความว่า การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบำรุงรักษา
และการจำหน่ายพัสดุ รวมทั้งการดำเนินการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ราคากลาง
หมายความว่า ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริงตามลำดับ
ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี)
หน่วยงานของรัฐ
หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กร
ตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ
และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เงินงบประมาณ
หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีของธนาคาร
ธนาคาร
หมายความว่า ธนาคารออมสิน
ผู้อำนวยการ
หมายความว่า ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
หัวหน้าเจ้าหน้าที่
หมายความว่า
หัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปซึ่งปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ
หรือพนักงานอื่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณี
เจ้าหน้าที่
หมายความว่า พนักงานธนาคารออมสินที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุหรือพนักงานอื่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุ
คณะกรรมการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหา
หมายความว่า
คณะกรรมการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
หน่วยงาน
หมายความว่า หน่วยงานระดับส่วนหรือเทียบเท่าขึ้นไป ธนาคารออมสินสาขาหรือเทียบเท่า
ธนาคารออมสินเขต และธนาคารออมสินภาค
อำนาจดำเนินการ
หมายความว่า อำนาจในการอนุมัติแผนการจัดซื้อจัดจ้างเห็นชอบดำเนินการจัดหาพัสดุในแต่ละวิธี
การแต่งตั้งคณะกรรมการ การลงนามประกาศและเอกสารประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การลงนามสัญญา การบริหารสัญญา และการบอกเลิกสัญญา รวมทั้งการดำเนินการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง
หมายความว่า อำนาจในการอนุมัติซื้อหรือจ้าง เมื่อดำเนินการจัดหาพัสดุแต่ละวิธีเสร็จสิ้นแล้ว
ภายในวงเงินที่ได้รับมอบอำนาจ
ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อธนาคาร
เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อธนาคารในคราวเดียวกัน
การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น
ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ
ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง
มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดา
หรือของนิติบุคคลอีกรายหนึ่ง หรือหลายรายที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อธนาคารในคราวเดียวกัน
(๒)
มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อธนาคารในคราวเดียวกัน
คำว่า
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้า
ในกิจการนั้นหรือในอัตราอื่นตามที่ผู้อำนวยการกำหนดสำหรับกิจการบางประเภทหรือบางขนาด
(๓)
มีความสัมพันธ์กันในลักษณะไขว้กันระหว่าง (๑) และ (๒)
โดยผู้จัดการหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง
เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายราย
ที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อธนาคารในคราวเดียวกันหรือในนัยกลับกัน
การดำรงตำแหน่ง
การเป็นหุ้นส่วน หรือการเข้าถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นของคู่สมรส
หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลใน (๑) (๒) หรือ (๓) ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่ง
การเป็นหุ้นส่วนหรือการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าว
ในกรณีบุคคลใดใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ
หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นโดยที่ตนเองเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารที่แท้จริง
หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี และห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เกี่ยวข้องได้เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อธนาคารในคราวเดียวกัน
ให้ถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอนั้นมีความสัมพันธ์กันตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี
การขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
หมายความว่า การที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ
อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคาหรือยื่นข้อเสนอต่อธนาคาร
ไม่ว่าจะกระทำโดยการสมยอมกันหรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ
หรือยอมจะรับเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดหรือใช้กำลังประทุษร้าย
หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จหรือส่อว่ากระทำการทุจริตอื่นใดในการเสนอราคา
ทั้งนี้
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกัน
หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับธนาคาร
หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบธนาคาร
โดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ
ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ
หมายความว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
และคณะกรรมการที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละวิธี
ส่วนที่ ๒
การมอบอำนาจดำเนินการ
ข้อ
๕ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือได้ทราบยอดเงินงบประมาณประจำปี
ข้อ
๖ ในการดำเนินการหรือการสั่งซื้อสั่งจ้างตามระเบียบนี้
ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจดำเนินการ และมอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเป็นหนังสือให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็ได้
โดยให้คำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ
ข้อ
๗ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
ซึ่งประธานกรรมการธนาคารออมสินแต่งตั้ง
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและวินิจฉัยเป็นการถาวรหรือเฉพาะคราวก็ได้
คาวินิจฉัยของคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ถือเป็นที่สุด
ส่วนที่ ๓
หลักการจัดหาพัสดุ
ข้อ
๘ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธนาคารและต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้
(๑)
คุ้มค่า
โดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งานของธนาคาร
มีราคาที่เหมาะสม และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน
ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญให้สามารถกระทำได้
โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป ทั้งนี้ ให้ระบุเหตุผลในการดำเนินการให้ชัดเจน
(๒)
โปร่งใส โดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผยและหากมีการแข่งขันต้องเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน
มีระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน
และมีการเปิดเผยข้อมูลในทุกขั้นตอน
(๓)
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยต้องมีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกำหนดเวลาที่เหมาะสม
โดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
(๔)
ตรวจสอบได้ โดยมีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ส่วนที่ ๔
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ
๙ เมื่อได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี เสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อขอความเห็นชอบ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง
(๒)
วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ
(๓)
ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง
(๔)
รายการอื่นที่กรมบัญชีกลางกำหนด
กรณีที่ไม่ได้จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามวรรคหนึ่งไว้
ให้จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างเสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
เมื่อได้รับความเห็นชอบแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของธนาคาร
และของกรมบัญชีกลาง เว้นแต่ไม่อาจดำเนินการได้รวมทั้งให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย
ณ สถานที่ปิดประกาศของธนาคาร
ข้อ
๑๐ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ส่วนที่ ๕
การตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ข้อ
๑๑ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
ให้ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายว่าเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ให้ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในครั้งนั้น
ข้อ ๑๒ ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายตามข้อ
๑๑ ให้กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติพร้อมกับการยื่นข้อเสนอ
โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นนิติบุคคล
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(ข) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี)
และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถ้ามี) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๒)
ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๓)
ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้ยื่นข้อเสนอร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้าและในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย
ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคล
ให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (๑)
(๔)
เอกสารอื่น เช่น สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนที่ ๖
การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณา
ข้อ
๑๓ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละโครงการ
ให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา
รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบตามรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง
(๒)
ขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและเอกสารเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงาน
และผลการพิจารณาในครั้งนั้น (ถ้ามี)
(๓)
ประกาศจัดซื้อจัดจ้างหรือเอกสารเชิญชวน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(๔)
ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย
(๕)
บันทึกรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๖)
ประกาศผลผู้ได้รับการพิจารณา
(๗)
สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ รวมทั้งการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง (ถ้ามี)
(๘)
บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุ
การจัดซื้อจัดจ้างโครงการใดจะต้องมีเอกสารหลักฐานใดให้เป็นไปตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างนั้นตามที่กำหนดในระเบียบนี้
หมวด ๒
การจัดซื้อจัดจ้าง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ
๑๔ การจัดซื้อจัดจ้าง
ควรส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศ กิจการของคนไทยหรือที่ปรึกษาไทย แล้วแต่กรณี
เกี่ยวกับการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ กิจการของคนไทยและการส่งเสริมที่ปรึกษาไทย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงหลักการตามข้อ ๘
ข้อ
๑๕ ในการจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง
ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและผู้ชนะการเสนอราคา
ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของธนาคาร หรือของกรมบัญชีกลางด้วยเว้นแต่ไม่อาจดำเนินการได้
ข้อ
๑๖ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วิธีการซื้อหรือจ้างหรืออำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
จะกระทำมิได้
กรณีใดจะเป็นการแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างให้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นและความคุ้มค่าของธนาคารเป็นสำคัญ
ข้อ
๑๗ ให้มีการประเมินผลและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุประจำปี
ตามรูปแบบและวิธีการที่ผู้อำนวยการกำหนด
ส่วนที่ ๒
กระบวนการซื้อหรือจ้าง
รายงานขอซื้อขอจ้าง
ข้อ
๑๘ ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ ตามรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(๒)
ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการ
งานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้าง แล้วแต่กรณี
โดยหน่วยงานจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบในการจัดทำก็ได้
(๓)
ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้จัดทำราคากลางตามหลักเกณฑ์และรูปแบบตามที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
(๔)
วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
(๕)
กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(๖)
วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
(๗)
หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๘)
ข้อเสนออื่น ๆ เช่น รายชื่อคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง
ข้อ
๑๙ ก่อนดำเนินการในการซื้อที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง
หรือที่ดินพร้อมสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ
(๒)
รายละเอียดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการซื้อ
รวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ
(๓)
ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น โดยให้จัดทำราคากลางตามหลักเกณฑ์และรูปแบบตามที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
(๔) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้าง
ใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อประมาณ ๓ ราย
(๕)
วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น
(๖)
วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น
(๗)
ข้อเสนออื่น ๆ เช่น รายชื่อคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ
การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง
เว้นแต่การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างในต่างประเทศที่จำเป็นต้องติดต่อผ่านนายหน้า
หรือดำเนินการในทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือประเพณีนิยมของท้องถิ่น
ในกรณีที่ธนาคารพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องซื้อที่ดินพร้อมสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
ทั้งที่มีหรือไม่มีลักษณะเป็นโครงการใด ๆ ที่เปิดจองซื้อให้กับลูกค้าทั่วไป
เพื่อประโยชน์ของธนาคารก็ให้กระทำได้โดยติดต่อกับเจ้าของหรือเจ้าของโครงการโดยตรง
ข้อ
๒๐ เมื่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ
๑๘ หรือข้อ ๑๙ แล้ว ให้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามวิธีการซื้อหรือการจ้างนั้นต่อไปได้คณะกรรมการ
ข้อ
๒๑ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้
พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา แล้วแต่กรณี คือ
(๑)
คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์
(๒)
คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์
(๓)
คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
(๔)
คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
(๕)
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้าให้เสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ
๒๒ คณะกรรมการตามข้อ ๒๑
แต่ละคณะให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน
ซึ่งแต่งตั้งจากผู้บริหารและพนักงาน โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสำคัญ
ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน
ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
หรือแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์ หรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
ข้อ
๒๓ การประชุมของคณะกรรมการแต่ละคณะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติโดยประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้งในการประชุม
หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่เป็นประธานกรรมการแทนเว้นแต่ในกรณีเมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้วประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น
โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุให้ถือมติเอกฉันท์
กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ
ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการ
จะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น ทั้งนี้
การมีส่วนได้เสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการและกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หากประธานกรรมการหรือกรรมการทราบว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น
ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้นั้นลาออกจากการเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในคณะกรรมการที่ตนได้รับการแต่งตั้งนั้น
และให้รายงานผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจทราบเพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป
ข้อ
๒๔ สำหรับการซื้อหรือจ้างในวงเงินไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือการจ้างเหมาบริการ การเช่า การจ้างติดตามหนี้ การจ้างบริษัทหรือสำนักงานทนายความ
การจ้างประเมินราคาหลักทรัพย์และอื่น ๆ ให้พนักงานระดับไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานนั้น
ๆ คนหนึ่งเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ
โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้
วิธีการซื้อหรือจ้าง
ข้อ
๒๕ การซื้อหรือการจ้างเพื่อการพาณิชย์โดยตรง กระทำ
ได้ ๔ วิธีดังนี้
(๑)
วิธีตกลงราคาเพื่อการพาณิชย์
(๒)
วิธีสอบราคาเพื่อการพาณิชย์
(๓)
วิธีประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
(๔)
วิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์
ข้อ
๒๖ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาเพื่อการพาณิชย์
ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐
บาท
ข้อ
๒๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาเพื่อการพาณิชย์
ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๕๐๐,๐๐๐
บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ
๒๘ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ
๒๙ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์
ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๕๐๐,๐๐๐
บาท ได้แก่ การเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือเข้ามาเจรจาต่อรองราคา
โดยให้กระทำได้กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียวหรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทย
(๒)
มีความจำเป็นต้องซื้อหรือจ้างโดยเร่งด่วน หรือฉุกเฉิน
หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ธนาคาร
(๓)
งานต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ
รวมทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นต้องพิจารณาจ้างผู้ประกอบการเป็นการเฉพาะหรือจ้างผู้ประกอบการหลายรายในคราวเดียว
เช่น การจ้างติดตามหนี้ การจ้างบริษัทหรือสำนักงานทนายความการจ้างประเมินราคาหลักทรัพย์
การจ้างบริการรับ - ส่งตราสารทางการเงินหรือเอกสารเกี่ยวกับเงินฝากหรือสินเชื่อ
และงานที่เกี่ยวข้องอื่นที่เป็นธุรกิจการให้บริการรับฝากเงิน สินเชื่อ
งานขยายช่องทางการให้บริการ และเครื่องบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเดียวกัน
(๔)
งานที่เกี่ยวกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) กิจกรรมส่งเสริมการตลาดหรือแนะนำผลิตภัณฑ์และการขายของธนาคาร ฯลฯ ที่จำเป็นต้องพิจารณาจากข้อเสนอในด้านรูปแบบแนวคิดและรายละเอียดของงานที่จะซื้อจะจ้าง
(๕)
การจัดซื้อจัดจ้างจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรี
กลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตำบล กลุ่มสหกรณ์ สหกรณ์ร้านค้า มูลนิธิ
องค์การสงเคราะห์ต่าง ๆ หรือกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน
รวมทั้งกลุ่มธุรกิจชุมชนหรือกลุ่มอาชีพที่ธนาคารให้หรือต้องการสนับสนุน
(๖)
เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางธุรกิจหรือเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ
เช่น รถประจำตำแหน่ง รถรับรอง รถ และเรือที่ใช้ในธุรกิจของธนาคาร อะไหล่ ฯลฯ
(๗)
เป็นพัสดุเพื่อใช้ในธุรกิจของธนาคารที่ต้องปกปิดเป็นความลับ
(๘)
พัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว
และมีความจำเป็นต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติม (Repeat Order) เพื่อความสมบูรณ์เร่งด่วน หรือต่อเนื่องให้ทันต่อการใช้งาน
และเป็นประโยชน์ต่อธนาคาร โดยการใช้พัสดุนั้นมูลค่าของพัสดุที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว
(๙)
เป็นที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งก่อสร้าง
ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
(๑๐)
เป็นการจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดำเนินธุรกิจ
(๑๑)
เป็นกรณีที่ได้ดำเนินการโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
ทั้งนี้
การซื้อหรือการจ้างตามข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ก็ได้
วิธีตกลงราคาเพื่อการพาณิชย์
ข้อ
๓๐ ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง
แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่จัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบ
ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติธุรกิจนั้นดำเนินการไปก่อน
แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ และเมื่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับพัสดุโดยอนุโลม
วิธีสอบราคาเพื่อการพาณิชย์
ข้อ
๓๑ ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารสอบราคา
โดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้
(๑)
คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อและจำนวนที่ต้องการ
หรือแบบรูปและรายการละเอียด และปริมาณงานที่ต้องการจ้าง
ในกรณีที่จำเป็นต้องดูสถานที่
หรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมประกอบตามวรรคหนึ่งให้กำหนดสถานที่ วัน
เวลาที่นัดหมายไว้ด้วย
(๒)
คุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคาซึ่งจะต้องมีอาชีพขายหรือรับจ้างตาม (๑)
โดยให้ผู้เสนอราคาแสดงหลักฐานดังกล่าวด้วย
(๓)
ในกรณีจำเป็น ให้ระบุผู้เข้าเสนอราคาส่งตัวอย่าง แค็ตตาล็อก
หรือแบบรูปและรายการละเอียดไปพร้อมกับใบเสนอราคา
(๔)
ถ้าจำเป็นต้องมีการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจทดลองและเหลือไว้สำหรับการทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่าทางธนาคารไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด
ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทดสอบตัวอย่างนั้น
(๕)
สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปและรายการละเอียด กรณีมีการขายให้ระบุราคาขายไว้ด้วย
(๖)
ข้อกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคาเสนอราคารวมทั้งสิ้น และราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ (ถ้าทำได้)
พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ์โดยชัดเจนว่าจะพิจารณาราคารวมหรือราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ
ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาให้พิจารณาราคารวม
(๗)
แบบใบเสนอราคา โดยกำหนดไว้ด้วยว่าในการเสนอราคาให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลข
และต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญในการสอบราคาจ้างก่อสร้างให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้างตามความเหมาะสมของลักษณะและประเภทของงาน
เพื่อให้ผู้เข้าเสนอราคากรอกปริมาณวัสดุและราคาด้วย
(๘)
กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็นต่อธนาคาร
และมีเงื่อนไขด้วยว่าซองเสนอราคาที่ยื่นต่อธนาคารและลงทะเบียบรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้
(๙)
กำหนดสถานที่ส่งมอบพัสดุและวันส่งมอบโดยประมาณ (สำหรับการซื้อ) หรือกำหนดวันที่จะเริ่มทำงานและวันแล้วเสร็จโดยประมาณ
(สำหรับการจ้าง)
(๑๐)
กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา
(๑๑) ข้อกำหนดให้ผู้เสนอราคาผนึกซองราคาให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อธนาคาร
จ่าหน้าถึงประธานกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์ครั้งนั้น
และส่งถึงธนาคารก่อนวันเปิดซองโดยให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสารเสนอไปพร้อมกับซองราคาด้วยสำหรับกรณีที่จะให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้
ให้กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ให้ชัดเจนด้วย
(๑๒)
กำหนดเงื่อนไขในการสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับธนาคารเป็นผู้ทิ้งงาน
(๑๓)
ข้อกำหนดว่าผู้เข้าเสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำสัญญาจะต้องวางหลักประกันสัญญาตามชนิดและอัตราตามที่ธนาคารกำหนด
(๑๔)
ร่างสัญญา รวมทั้งการแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไข การจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี)
และอัตราค่าปรับ
(๑๕)
ข้อสงวนสิทธิ์ว่าธนาคารจะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ
หน่วยงานของรัฐและ/หรือธนาคาร
และธนาคารทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะงดซื้อหรือจ้างหรือเลือกซื้อหรือจ้างโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป
รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคา และลงโทษผู้เสนอราคาเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน
หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา
ข้อ
๓๒ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาเพื่อการพาณิชย์ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบราคาในประเทศหรือไม่น้อยกว่า
๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติ
ให้เจ้าหน้าที่ส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง
หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการของธนาคาร หรือเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของธนาคาร
และของกรมบัญชีกลางด้วยเว้นแต่ไม่อาจดำเนินการได้
(๒)
ในการยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์ครั้งนั้น
และส่งถึงธนาคารก่อนวันเปิดซองสอบราคาโดยยื่นโดยตรงต่อธนาคาร
หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ในกรณีที่ธนาคารกำหนดให้กระทำได้
(๓)
ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซอง ในกรณีที่ผู้เสนอราคามายื่นซองโดยตรง
ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซอง สำหรับกรณีที่เป็นการยื่นซองทางไปรษณีย์ให้ถือวันและเวลาที่ธนาคารลงรับจากไปรษณีย์เป็นเวลารับซอง
และให้ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทันที
(๔)
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่เก็บรักษาซองเสนอราคาทุกรายโดยไม่เปิดซอง และเมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาแล้ว
ให้ส่งมอบซองเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์
เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ
๓๓ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์
มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชี รายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย
โดยเปิดเผยตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกราย
แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น
(๒)
ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แค็ตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด
แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา
(๓)
พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (๒)
ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อธนาคาร และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว
โดยใช้หลักเกณฑ์ ตามข้อ ๕๐
ในกรณีที่ผู้เสนอราคาดังกล่าวไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับธนาคารในเวลาที่กำหนดตามเอกสารสอบราคา
ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคารายถัดไปตามลำดับ
ถ้ามีผู้เข้าเสนอราคาเท่ากันหลายราย
ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา
ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ ๓๔
(๔)
ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาเพียงรายเดียว
ให้คณะกรรมการดำเนินการตาม (๓) โดยอนุโลม
(๕)
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
ข้อ
๓๔ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาเพื่อการพาณิชย์ที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อการพาณิชย์เห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างแล้วแต่กรณี
ให้คณะกรรมการดำเนินการตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑)
เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้
หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้วราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๒)
ถ้าดำเนินการตาม (๑)
แล้วไม่ได้ผลให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกัน
ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง
ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุดในการต่อรองราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๓)
ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องานหรือขอเงินเพิ่มเติม
หรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่ หรือดำเนินการใหม่โดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ก็ได้
วิธีประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
ข้อ
๓๕ ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารประกวดราคา
ตามแบบตัวอย่างของธนาคาร
การจัดทำเอกสารประกวดราคารายใดจำเป็นต้องมีข้อความ
หรือรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารกำหนด โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างหรือแบบดังกล่าว
และไม่ทำให้ธนาคารเสียเปรียบก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ผู้อำนวยการเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอก็ให้ส่งร่างเอกสารประกวดราคาไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาตรวจพิจารณาก่อน
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่นำร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาซื้อหรือจ้างเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ
โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ถ้ามี) โดยอนุโลม
ภายหลังที่ได้มีการเผยแพร่ร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้นแล้ว
ให้ดำเนินการเผยแพร่เอกสารประกวดราคาโดยจัดทำเป็นประกาศ และมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(๑)
รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ หรืองานที่ต้องการจ้าง
(๒)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา
(๓)
กำหนดวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา
(๔)
สถานที่และระยะเวลาในการขอรับ หรือขอซื้อเอกสารการประกวดราคาและราคาของเอกสาร
ข้อ
๓๖ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลและดำเนินการเผยแพร่และการปิดประกาศประกวดราคาภายในระยะเวลาที่กำหนด
ดังต่อไปนี้
(๑)
ปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของธนาคาร
(๒)
ส่งประกาศเผยแพร่การประกวดราคาและเอกสารประกวดราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง
หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
(๓)
เผยแพร่การประกวดราคาดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของธนาคารและของกรมบัญชีกลางด้วย
เว้นแต่ไม่อาจดำเนินการได้
(๔)
ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี
โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ให้กระทำก่อนการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ
ข้อ
๓๗ การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา
รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียด ให้กระทำ ณ
สถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้ามและจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มารับหรือขอซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น
รายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใดในการให้หรือการขาย
การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา
ต้องกระทำไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และจะต้องมีช่วงเวลาสำหรับการคำนวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาหลังปิดการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา
จนถึงก่อนวันรับซองประกวดราคา ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ หรือไม่น้อยกว่าจำนวนวันที่มากกว่านั้นตามที่ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจกำหนด
โดยคำนึงถึงขนาด ปริมาณและลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
ในกรณีที่มีการขาย
ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่ธนาคารต้องเสียไปในการจัดทำสำเนาเอกสารประกวดราคานั้น
ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นและมีการประกวดราคาใหม่
ให้ผู้รับหรือซื้อเอกสารประกวดราคาในครั้งก่อนมีสิทธิได้รับเอกสารประกวดราคาใหม่
โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก
ข้อ
๓๘ ในกรณีการซื้อหรือการจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน
หรือมีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือการจ้างที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่
ให้ธนาคารกำหนดวันเวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ในประกาศประกวดราคา
ก่อนวันปิดการรับซองประกวดราคา
หากธนาคารเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม
หรือมีการชี้สถานที่อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้น
ให้ธนาคารจัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติมและให้ระบุวัน เวลา
และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย และให้ดำเนินการตามข้อ
๓๖ วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ได้รับหรือได้ซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายทราบโดยมิชักช้า
การชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้พนักงานผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
ถ้ามีการดำเนินการตามวรรคสอง
ให้ธนาคารพิจารณาเลื่อนวันเวลารับซอง การปิดการรับซองและการเปิดซองประกวดราคาตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย
ข้อ
๓๙ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓๘
เมื่อถึงกำหนดวันรับซองประกวดราคาห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับซอง
และเปิดซองประกวดราคา
การรับซองทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้
เว้นแต่การประกวดราคานานาชาติซึ่งกำหนดให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้โดยให้ถือปฏิบัติตามข้อ
๓๒ (๒) (๓) และ (๔) โดยอนุโลม
ข้อ
๔๐ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
มีหน้าที่ดังนี้
(๑)
รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐาน ลงลายมือชื่อกำกับซองกับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นของผู้ใด
(๒)
ตรวจสอบหลักประกันซอง และให้พนักงานที่มีหน้าที่ด้านการเงิน
ออกใบรับหรือใบเสร็จรับเงิน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน
หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย
(๓)
รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคาพร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง
แค็ตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด (ถ้ามี)
หากไม่ถูกต้องให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย
(๔)
เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคา หรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอีก
(๕)
เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง
ๆของผู้เสนอราคาทุกรายโดยเปิดเผยตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด
และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา
และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น
ในกรณีที่มีการยื่นซองข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่น
ๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคาซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่น
ๆ ก่อน ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามข้อ ๔๕ และข้อ ๔๗
คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ที่จะต้องดำเนินการต่อไป
(๖)
ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ทันทีในวันเดียวกัน
ข้อ
๔๑ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง
แค็ตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด
แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา
ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ
และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย
ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคาโดยไม่ตัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก
ในการพิจารณา
คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้
(๒)
พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วตาม
(๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อธนาคาร
แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคา รายที่คัดเลือกไว้แล้ว
โดยใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ ๕๐
ในกรณีที่ผู้เสนอราคาที่ได้รับคัดเลือกดังกล่าวไม่ยอมเข้าทำสัญญา
หรือข้อตกลงกับธนาคารในเวลาที่กำหนดตามเอกสารประกวดราคา
ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคารายถัดไปตามลำดับ
ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย
ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา
ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ ๓๔ โดยอนุโลม
(๓)
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
ข้อ ๔๒ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์
ได้พิจารณาตามข้อ
๔๑ (๑) แล้ว
ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องตรงรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเพียงรายเดียว
โดยปกติให้เสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
แต่ถ้าคณะกรรมการเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคา
ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๔๑ (๒) โดยอนุโลม
ข้อ
๔๓ ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา
หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนด ให้เสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
เพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเห็นว่าการประกวดราคาใหม่จะไม่ได้ผลดีจะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ก็ได้
ข้อ
๔๔ หลังจากการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญา
หรือตกลงซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอราคารายใด ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของธนาคารเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการละเอียด
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณายกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
ข้อ
๔๕ การซื้อหรือการจ้างที่มีลักษณะจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุและ
หรือข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคา
ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกัน
เป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาตัดสินและเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอให้ครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการก่อนพิจารณาด้านราคา
หรือการซื้อหรือการจ้างแบบเหมารวม (Lump Sum Turnkey) ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกวดราคาทั่วไป
เว้นแต่การกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นซองประกวดราคาโดยแยกเป็น
(๑)
ซองข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ
(๒)
ซองข้อเสนอด้านราคา
(๓)
ซองข้อเสนอทางการเงินตามข้อ ๔๗ (ถ้ามี)
ทั้งนี้
ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน
และหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย
ข้อ
๔๖ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๔๕
ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ทำหน้าที่เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้เสนอราคาแทนคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ตามข้อ
๔๐ (๕) และพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๔๕ โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๔๑
ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค
และข้อเสนออื่นของผู้เข้าเสนอราคาทุกรายและคัดเลือกเฉพาะรายที่เสนอได้ตรงหรือใกล้เคียงตามมาตรฐานความต้องการของธนาคารมากที่สุดในกรณีจำเป็นจะเรียกผู้เสนอราคามาชี้แจงในรายละเอียดข้อเสนอเป็นการเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดก็ได้
(๒)
เปิดซองราคาเฉพาะรายที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตาม (๑) แล้ว สำหรับรายที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคา
และซองข้อเสนอทางการเงิน (ถ้ามี) โดยไม่เปิดซอง
ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค
และข้อเสนอทางการเงิน ในกรณีนี้ให้ธนาคารแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค
และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือการจ้างอย่างน้อยด้านละ ๑ คน
เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ
๔๗ การซื้อหรือการจ้างที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นข้อเสนอทางการเงินมาด้วยให้กำหนดให้ผู้เสนอราคายื่นซองข้อเสนอทางการเงินแยกมาต่างหาก
และให้เปิดซองข้อเสนอทางการเงินพร้อมกับการเปิดซองราคาตามข้อ ๔๖ (๒) เพื่อทำการประเมินเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน
และหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารการประกวดราคาด้วย
วิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์
ข้อ
๔๘ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ขึ้นเพื่อดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา
และรับซองข้อเสนอเฉพาะรายที่ได้มีหนังสือเชิญชวนเท่านั้น
หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่น
หรือราคาที่ประมาณได้หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(๒)
กรณีตามข้อ ๒๙ (๘) ให้เจรจากับผู้ประกอบการรายเดิม
ตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาส่งมอบ
เพื่อขอให้มีการซื้อหรือจ้างตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิมภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าหรือเงื่อนไขเดิม
โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธนาคาร
(๓)
กรณีตามข้อ ๒๙ (๙)
ให้เชิญเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยตรงมาเสนอราคาหากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด
หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(๔)
ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
ให้สืบราคาจากผู้ประกอบการนั้นโดยตรง
และผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด
หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น
พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
เพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
ข้อ
๔๙ ให้เจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกในระบบเครือข่ายสารสนเทศของธนาคารและของกรมบัญชีกลางด้วย
เว้นแต่ไม่อาจดำเนินการได้
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
ข้อ
๕๐ ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอการซื้อหรือการจ้างทุกวิธี
ให้ดำเนินการโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของธนาคาร และวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ
การซื้อหรือจ้างที่มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่เป็นมาตรฐาน
หรือมีเทคนิคเฉพาะ และมีคุณภาพดีเพียงพอตามความต้องการใช้งาน
และเป็นประโยชน์ต่อธนาคารแล้ว สามารถใช้เกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance) หรือใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น
หรือใช้เกณฑ์ราคา
อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง
ข้อ
๕๑ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่ง
นอกจากวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน
ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้อำนวยการ ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒)
คณะกรรมการธนาคารออมสิน เกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ
๕๒ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ครั้งหนึ่ง
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้อำนวยการ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒)
คณะกรรมการธนาคารออมสิน เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กรณีการจัดหาพัสดุโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ที่มีวงเงินอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการธนาคารออมสิน
ให้ผู้อำนวยการนำเสนอคณะกรรมการธนาคารออมสินพิจารณาก่อนดำเนินการจัดหาพัสดุในครั้งนั้น
ตามวรรคสอง
เมื่อคณะกรรมการธนาคารออมสินพิจารณาเห็นชอบในหลักการแล้วให้ผู้อำนวยการดำเนินการต่อไป
ส่วนที่ ๓
การเช่า
การเช่าสังหาริมทรัพย์
ข้อ
๕๓ การเช่าสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นโดยให้นาข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าที่มีระยะเวลาไม่เกิน
๓ ปี และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๔ (๑) และ (๒) และข้อ ๕๙
โดยอนุโลม
การเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อ
๕๔ การเช่าอสังหาริมทรัพย์
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ให้หมายความรวมถึงการเช่าครั้งแรกหรือการต่อสัญญาเช่าไม่ว่าครั้งใด
โดยให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นแห่งธุรกิจของธนาคาร
ดังต่อไปนี้
(๑)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์จากหน่วยงานของรัฐ
(๒)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์จากเอกชนทั่วไป
(๓)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์จากเอกชนที่ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าหรือธุรกิจที่มีรูปแบบทำนองเดียวกัน
(๔)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ให้เช่าอื่น ๆ นอกเหนือจาก (๑) (๒) และ (๓) เช่น วัด
มูลนิธิ และองค์การสถานสาธารณกุศลตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร ฯลฯ
การเช่าอสังหาริมทรัพย์หากมีระยะเวลาไม่เกิน
๕ ปี หรือเป็นเงินไม่เกินกว่าเดือนละ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม
(๑) หากมีระยะเวลาเกิน ๕ ปี หรือเป็นเงินเกินกว่าเดือนละ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการ
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม
(๒) (๓) และ (๔) หากมีระยะเวลาเกิน ๕ ปี หรือเป็นเงินเกินกว่าเดือนละ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการธนาคารออมสิน
ข้อ
๕๕ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑)
เช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับธุรกิจของธนาคาร
(๒)
เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการ
(๓)
เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของธนาคาร
(๔)
เช่าพื้นที่หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใดเพื่อใช้ประกอบธุรกิจของธนาคารหรือเพื่อประโยชน์สำหรับธุรกิจของธนาคาร
เช่น การเช่าพื้นที่ติดตั้งเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ
แต่ไม่รวมถึงการจัดกิจกรรมเป็นครั้งคราว
ข้อ
๕๖ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคาเพื่อการพาณิชย์
ทั้งนี้ วงเงินการเช่าเป็นไปตามคำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการพัสดุ
และก่อนดำเนินการเช่าหรือต่อสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า หรือต่อสัญญาเช่า
(๒)
ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ
(๓)
รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า เช่น สภาพของสถานที่บริเวณที่ต้องการใช้
พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) และราคาค่าเช่าครั้งหลังสุด ฯลฯ
(๔)
อัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ในส่วนกลาง
และ/หรือส่วนภูมิภาค ต้องมีความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาสำหรับความเหมาะสมของสถานที่ในการประกอบธุรกิจของธนาคารและอัตราค่าเช่าในครั้งนั้น
เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ
๕๗ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่า
รวมทั้งค่าบริการอื่นเกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ข้อ
๕๘ ในการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กับผู้ให้เช่า
ตามข้อ ๕๔ (๓) ที่มีลักษณะเป็นการเปิดให้จองเช่าแก่ลูกค้าทั่วไป
หากธนาคารพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต้องทำนิติกรรมตามวิธีการและแบบสัญญาของผู้ให้เช่าเพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของธนาคารก็ให้ดำเนินการได้
โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
การวางหลักประกันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐโดยปกติให้ธนาคารเรียกหลักประกันดังกล่าวตามข้อ
๑๖๗ ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ แต่หากธนาคารพิจารณาแล้วเห็นว่าการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในครั้งนั้นมีความจำเป็นที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีการวางหลักประกันสัญญาและเป็นการปฏิบัติตามปกติประเพณีทางธุรกิจของการเช่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ให้เช่าที่ประกอบธุรกิจนั้นก็ให้ดำเนินการได้
โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ข้อ
๕๙ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้า
ให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าซึ่งสัญญามีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ ๕๔ (๑)
จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าเช่าทั้งสัญญา
(๒)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ ๕๔ (๒) (๓) และ (๔)
จ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของค่าเช่าทั้งสัญญา
กรณีที่ธนาคารมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้น
ต้องมีความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นนั้นด้วย
และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ข้อ
๖๐ ในกรณีที่ธนาคารมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ใด
ซึ่งมีลักษณะเป็นการจ่ายในแต่ละคราวเพื่อผลในทางธุรกิจ หรือเพื่อประโยชน์ของธนาคาร
หรือเป็นการจ่ายตามปกติประเพณีทางธุรกิจของการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
เพื่อให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้เช่า เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี
ค่าธรรมเนียมเพื่อสิทธิการเช่า ฯลฯ ให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารเท่านั้น
โดยการจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละคราวตามวรรคหนึ่งนั้นให้คำนึงถึงความคุ้มประโยชน์ในทางธุรกิจของธนาคารเป็นสำคัญ
และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ส่วนที่ ๔
งานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ
๖๑ การจ้างที่ปรึกษาไทยหรือต่างประเทศ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อำนวยการกำหนด
รายงานขอจ้างที่ปรึกษา
ข้อ
๖๒ ก่อนดำเนินการจ้างที่ปรึกษา
ให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตามรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา
(๒)
ขอบเขตโดยละเอียดของงานที่จะจ้างที่ปรึกษา
โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งหรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจัดทำร่างขอบเขตของงานก็ได้
(๓)
คุณสมบัติของที่ปรึกษาที่จะจ้าง
(๔)
วงเงินที่จะจ้างที่ปรึกษา โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะจ้างในครั้งนั้น
(๕)
กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานจ้างที่ปรึกษา
(๖)
วิธีจ้างที่ปรึกษา และเหตุผลที่ต้องจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีนั้น
(๗)
หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๘)
ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการจ้างที่ปรึกษา
เมื่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้วให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า
ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างตามสัญญา
และที่ปรึกษาจะต้องจัดให้ธนาคารในประเทศเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้างที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้นและให้ผู้ว่าจ้างคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ที่ปรึกษาเมื่อทางธนาคารได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างตามผลงานแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย
สำหรับการจ้างส่วนราชการ
ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามสัญญา
และไม่ต้องมีหลักประกันเงินล่วงหน้าที่รับไปก็ได้
ค่าจ้างที่ปรึกษา
ข้อ
๖๓ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา
ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัดโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
ลักษณะของงานที่จะจ้าง ดัชนีค่าครองชีพ ฯลฯ
ส่วนที่ ๕
สัญญาและหลักประกัน
สัญญา
ข้อ
๖๔ การลงนามในสัญญาตามระเบียบนี้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการและผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตามแบบสัญญามาตรฐาน
หรือตามแบบที่ธนาคารกำหนด
การทำสัญญารายใดถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบสัญญาตามวรรคหนึ่งโดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบสัญญาและไม่ทำให้ธนาคารเสียเปรียบก็ให้กระทำได้เว้นแต่ธนาคารเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งแบบร่างสัญญานั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ
ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปลตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย
ข้อ
๖๕ การจัดซื้อจัดจ้างในกรณีดังต่อไปนี้
จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ใบสั่งซื้อสั่งจ้างไว้ต่อกันโดยไม่ต้องทำเป็นสัญญาตามข้อ
๖๔ ก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
(๑)
การซื้อหรือการจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(๒)
การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อการพาณิชย์ ตามข้อ ๒๙ (๓) (๔) (๕) (๖) (๘) (๙)
และ (๑๑)
(๓)
การจัดซื้อจัดจ้างที่คู่สัญญา สามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทำการของธนาคาร
นับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(๔)
การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า
ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมีราคาไม่เกิน
๒๐๐,๐๐๐ บาท จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้
แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น
ข้อ
๖๖ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
นอกจากการจ้างที่ปรึกษาให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน
ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ
เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ
๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ บาท
ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา
ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราหรือจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐
ของราคางานจ้างนั้นได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งและวรรคสองในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ โดยคำนึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของธนาคารจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา
หรือกระทบต่อการเจรจาหรือความเสียหายแก่ธนาคาร แล้วแต่กรณี
ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด
ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์
แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน
ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา
ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย
ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด
ข้อ
๖๗ ในกรณีที่ธนาคารเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องกำหนดค่าปรับนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๖๖ เนื่องจากถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคาร เช่น
งานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ งานที่อยู่ระหว่างการรับประกันความชำรุดบกพร่องจากการซื้อขายคอมพิวเตอร์
หรืองานที่มีกำหนดวัน เวลาไว้โดยเฉพาะและไม่อาจจัดชดเชยได้ รวมทั้งงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
ให้พิจารณากำหนดอัตราค่าปรับในกรณีดังกล่าว โดยคำนึงถึงความสำคัญและลักษณะของงานและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ธนาคารเป็นสำคัญ
ข้อ
๖๘ ให้กำหนดห้ามคู่สัญญาไปจ้างช่วงให้ผู้อื่นทำอีกทอดหนึ่ง
ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเว้นแต่การจ้างช่วงแต่บางส่วนที่ได้รับอนุญาตจากธนาคาร
ถ้าคู่สัญญาไปจ้างช่วงโดยฝ่าฝืนข้อตกลงดังกล่าว ต้องกำหนดให้มีค่าปรับสำหรับการฝ่าฝืนข้อตกลงนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญา
ข้อ
๖๙ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
หรือเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค
แล้วแต่กรณี ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ
๗๐ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว
จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ธนาคารต้องเสียประโยชน์
หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ธนาคารหรือประโยชน์สาธารณะ ให้อยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงิน จะต้องพิจารณาในส่วนของงบประมาณก่อนดำเนินการ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง
หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทำงาน
หรือเพิ่มลดเนื้องานให้ตกลงพร้อมกันไป
สำหรับการจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง
หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง จะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิก และวิศวกรผู้ชำนาญการ
หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะแบบและรายการของงานก่อสร้าง
หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณี ด้วยหลักประกัน
ข้อ ๗๑ เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอ
ไม่ปฏิบัติตามกระบวนการซื้อหรือจ้าง
ให้ธนาคารกำหนดหลักประกันซองสำหรับการซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาเพื่อการพาณิชย์ได้
ข้อ ๗๒ หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา
ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสด
(๒) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้นชาระต่อธนาคาร
หรือก่อนวันนั้น ไม่เกิน ๓ วันทำการ
(๓)
หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามแบบที่ธนาคารกำหนด
(๔)
หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกัน
ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ
ให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด โดยอนุโลม
(๕)
พันธบัตรรัฐบาลไทย
กรณีเป็นการยื่นข้อเสนอจากต่างประเทศ
สำหรับการประกวดราคานานาชาติให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดีและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเชื่อถือเป็นหลักประกันสัญญาได้อีกประเภทหนึ่ง
ข้อ
๗๓ หลักประกันซองและหลักประกันสัญญาในข้อ ๗๒
ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละห้าของวงเงินหรือราคาพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น
แล้วแต่กรณี เว้นแต่การจัดหาพัสดุที่ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ
จะกำหนดอัตราสูงกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบก็ได้
ข้อ ๗๔ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นคู่สัญญา
ไม่ต้องวางหลักประกัน
ข้อ ๗๕ ให้คืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคา
คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกัน ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
หลักประกันซองให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคา หรือผู้ค้ำประกันภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว
เว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ไม่เกิน ๓ ราย
ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือผู้เสนอราคาได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว
(๒)
หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว
และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว
หลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกัน
ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้น
ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้เสนอราคา
หรือคู่สัญญาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร
บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ค้ำประกัน ทราบด้วย
การวางหลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กำหนดไว้
ให้อนุโลมรับได้หลักประกันผลงาน
ข้อ ๗๖ การจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ที่ปรึกษาที่แบ่งการชาระเงินออกเป็นงวด
ให้ธนาคารหักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าจ้าง
เพื่อเป็นการประกันผลงาน หรือจะให้ที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมีอายุการค้ำประกันตามที่ธนาคารจะกำหนดวางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย
ส่วนที่ ๖
การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ
การบริหารสัญญา
ข้อ
๗๗ กรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงได้ครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น
ให้ธนาคารแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา ภายใน ๗ วันทำการ
นับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ
ให้ธนาคารบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ
๗๘ การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา
หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง
เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของธนาคาร
(๒)
เหตุสุดวิสัย
(๓)
เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ให้ธนาคารระบุไว้ในสัญญากำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ธนาคารทราบภายใน
๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด
คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ
หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (๑) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือธนาคารทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ
๗๙ ในกรณีที่มีเหตุบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงต่อไปนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญา
(๑)
เหตุตามที่กฎหมายกำหนด
(๒)
เหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานหรือทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
เหตุอื่นตามที่กำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณาได้เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ธนาคารโดยตรงหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของธนาคารในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป
ข้อ
๘๐ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้
และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ธนาคารพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ธนาคารโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น
ข้อ
๘๑ ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะและเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ธนาคารที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง
หรือข้อกฎหมาย ให้อยู่ใน ดุลพินิจของผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่จะใช้สิทธิดังกล่าวสั่งการได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๘๒ ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญา
ระหว่างที่อยู่ในระหว่างระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง
ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุ
เว้นแต่กรณีที่ไม่มีผู้ครอบครองพัสดุหรือมีหลายหน่วยงานครอบครอง
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุนั้น
ข้อ
๘๓ ในกรณีที่ปรากฏความชำรุดบกพร่องของพัสดุภายในระยะเวลาของการประกันความชำรุดบกพร่องตามสัญญา
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรีบรายงานผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมทันที
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบด้วย
ข้อ
๘๔ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๘๓ แล้ว
กรณีที่สัญญาจะครบกำหนดรับประกันความชำรุดบกพร่อง ให้ธนาคารพิจารณาถึงความชำรุดบกพร่องของพัสดุ
เพื่อป้องกันความเสียหาย จากนั้นให้คืนหลักประกันสัญญาต่อไปการตรวจรับพัสดุ
ข้อ
๘๕ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุสำหรับงานซื้อหรือจ้าง
มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงการตรวจรับพัสดุ
ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจก่อน
(๒)
ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลอง
หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คาปรึกษา
หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น
ๆ ก็ได้
ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้
ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(๓)
โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔)
เมื่อตรวจรับพัสดุถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้
และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย
๒ ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ
และรายงานให้ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้รายงานผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี
(๕)
ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้อง แต่ไม่ครบจำนวนหรือส่งมอบครบจำนวน
แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔)
และโดยปกติให้รีบรายงานผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ
นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์ของธนาคารที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖)
การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย
ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์
ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้นและโดยปกติให้รีบรายงานผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ
(๗)
ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหากผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้
จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ
การลงโทษผู้ทิ้งงาน การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุการตรวจสอบพัสดุประจำปี การจำหน่ายพัสดุ
การจำหน่ายเป็นสูญ การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน การสอบทานและกำกับดูแล
ข้อ
๘๖ การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ
การลงโทษผู้ทิ้งงาน การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ การตรวจสอบพัสดุประจำปี การจำหน่ายพัสดุ
การจำหน่ายเป็นสูญ การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน การสอบทานและกำกับดูแล
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี) โดยอนุโลม
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
กุลิศ สมบัติศิริ
ประธานกรรมการธนาคารออมสิน
พรวิภา/จัดทำ
๑๗ มกราคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๖๔ ง/หน้า ๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
785385 | ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ พ.ศ. 2560 | ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ส่วนที่ ๑
นิยาม
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
การจัดซื้อจัดจ้าง หมายความว่า
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศโดยการซื้อ จ้าง เช่า
แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
พัสดุ หมายความว่า สินค้า
งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง
งานจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
สินค้า หมายความว่า วัสดุ
ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นใด
รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย
แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้นที่ต้องจัดซื้อจัดจ้างสำหรับส่วนราชการในต่างประเทศ
งานบริการ หมายความว่า งานจ้างบริการ
งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทำของและการรับขนจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
แต่ไม่หมายความรวมถึงการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการในต่างประเทศ
งานก่อสร้าง หมายความว่า
งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด และการซ่อมแซม
ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันต่ออาคาร
สาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในงานก่อสร้างนั้นด้วย
แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของงานก่อสร้างนั้น
อาคาร หมายความว่า
สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคาร ที่ทำการ โรงพยาบาล
โรงเรียน สนามกีฬา หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ
เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา ไฟฟ้า หรือสิ่งอื่น ๆ
ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟต์ หรือเครื่องเรือน
สาธารณูปโภค หมายความว่า
งานอันเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ
การขนส่งทางท่อ ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ หรือทางราง หรือการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน
ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน
งานจ้างที่ปรึกษา หมายความว่า
งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำสำหรับส่วนราชการในต่างประเทศในด้านวิศวกรรม
สถาปัตยกรรม ผังเมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย
หรือด้านอื่นที่อยู่ในภารกิจของรัฐ
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หมายความว่า งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคลเพื่อออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
การบริหารพัสดุ หมายความว่า การเก็บ
การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการจำหน่ายพัสดุ
ราคากลาง หมายความว่า
ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอ
ได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริงตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด
(๒)
ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ
(๓) ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณ
หรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด
(๔) ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด
(๕) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา
๒ ปีงบประมาณ
(๖) ราคาอื่นใดเป็นไปตามภาวะค่าครองชีพ หรือกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ในกรณีที่มีราคาตาม (๑) ให้ใช้ราคาตาม (๑) ก่อน
ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (๑) แต่มีราคาตาม (๒) หรือ (๓) ให้ใช้ราคาตาม (๒) หรือ (๓)
ก่อน โดยจะใช้ราคาตาม (๒) หรือ (๓)
ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศเป็นสำคัญ ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (๑)
(๒) และ (๓) ให้ใช้ราคาตาม (๔) (๕) หรือ (๖) โดยจะใช้ราคาใดตาม (๔) (๕) หรือ (๖)
ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศเป็นสำคัญ
กรณีงานก่อสร้าง
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศใช้ราคากลางที่คำนวณโดยผู้ออกแบบ หรือที่ปรึกษา
หรือราคาตามข้อ (๔)
เงินงบประมาณ หมายความว่า
เงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
หรือกฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมาย
และเงิน ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ตกเป็นรายได้
และให้หมายความรวมถึงเงินกู้ เงินช่วยเหลือ และเงินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ส่วนราชการในต่างประเทศ หมายความว่า สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่
และส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
และสำนักงานของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ หรืออาเซียน
หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ หมายความว่า เอกอัครราชทูต อุปทูต กงสุลใหญ่
หัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศ หรืออาเซียน
บุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศ หมายความว่า ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราวในต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติงานประจำที่ส่วนราชการในต่างประเทศ
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศ หมายความว่า
กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะหรือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ โดยปรากฏเอกสารหรือหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) หนังสือจากหน่วยงานราชการของประเทศนั้น ๆ
(๒) เอกสารอ้างอิง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงถึงสาระของกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ภัยพิบัติ หมายความว่า
สาธารณภัยต่าง ๆ อันได้แก่ ภัยธรรมชาติ ภัยที่เกิดจากโรคระบาด อุบัติภัย ภัยสงคราม
ภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อการร้าย
ภัยอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ทางการเมือง และภัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ
หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
ส่วนที่ ๒
ผู้มีอำนาจและการมอบอำนาจ
ข้อ ๖ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้
ได้แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อ ๗ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศอาจมอบอำนาจในการดำเนินการตามระเบียบนี้
รวมถึงการสั่งการในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง การลงนามในสัญญา
ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ หรือผู้รักษาราชการแทนตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติและจัดสรรให้
ข้อ ๘ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าสิบล้านบาท)
(๒) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าสิบล้านบาท)
ส่วนที่ ๓
คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ของส่วนราชการในต่างประเทศ
ข้อ ๙ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ ประกอบด้วย
(๑) รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายหรือผู้แทน
ผู้อำนวยการสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สินหรือผู้แทน
ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังหรือผู้แทน หัวหน้ากลุ่มงานนิติการหรือผู้แทน
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้แทนสำนักงบประมาณ
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๔ คน
ซึ่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศคัดเลือกจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือด้านอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการ
(๔) ผู้แทนสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๒) กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง
เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๓)
เชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมหารือตามความเหมาะสม
(๔)
รายงานเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศต่อคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ผ่านปลัดกระทรวงการต่างประเทศอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(๕) ยกเว้น หรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๖)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย
ส่วนที่ ๔
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
ข้อ ๑๑ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี
โดยแผนดังกล่าวให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง
(๒) รายการพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(๓) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างโดยประมาณ
(๔) กำหนดระยะเวลาที่จะซื้อหรือจ้างโดยประมาณ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่งให้จัดทำเป็นการล่วงหน้าทั้งปี
หลังจากส่วนราชการในต่างประเทศได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว
และให้ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการในต่างประเทศและปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ
สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
หรือเป็นความลับของราชการ
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศนำส่งแผนการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่งให้กระทรวงการต่างประเทศภายใน
๔๕ วันหลังจากได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๑๒ หลังจากที่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามข้อ
๑๑ แล้วให้ส่วนราชการในต่างประเทศรีบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนและระเบียบนี้
เพื่อให้พร้อมจะทำสัญญาหรือข้อตกลงได้ทันทีเมื่อการสั่งซื้อสั่งจ้างได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจแล้ว
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีความจำ
เป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลง
เสนอกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบนี้
ส่วนที่ ๕
การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๑๔ ในการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละครั้ง
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา รายละเอียดวิธีการ
และขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ
โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) รายงานขอซื้อขอจ้าง
(๒) ร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุ
และเอกสารเชิญชวน (ถ้ามี)
(๓) ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย
(๔) บันทึกรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๕)
เอกสารแจ้งผลการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก
(ถ้ามี)
(๖) สัญญา
หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ หรือหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามที่ระบุในข้อ ๖๔ รวมทั้งเอกสารการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ (ถ้ามี)
(๗) บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุ
เอกสารตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
หมวด ๒
การจัดซื้อจัดจ้าง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑๕ การแบ่งซื้อแบ่งจ้างให้เป็นไปตามข้อ ๒๐
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐
ข้อ ๑๖ การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานจ้างที่ปรึกษาตามส่วนที่
๕ หรืองานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตามส่วนที่ ๖
ให้ดำเนินการตามวิธีการในส่วนที่ ๒ ของหมวดนี้
ส่วนที่ ๒
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
การกำหนดราคากลาง
ข้อ ๑๗ ในการจัดซื้อจัดจ้างให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นเจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลาง
เว้นแต่งานก่อสร้างให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑
คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน
ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
ในกรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศนั้นด้วยก็ได้
ข้อ ๑๘ ให้เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลางหรือคณะกรรมการกำหนดราคากลางมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดราคากลางโดยวิธีการตามข้อ
๕
และเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศให้ความเห็นชอบแล้วนำไปประกอบการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ
๒๐
เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้ประกาศราคากลางในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการในต่างประเทศและปิดประกาศโดยเปิดเผย
ณ สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ
เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
หรือการจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
หรือเป็นความลับของราชการ
ข้อ ๑๙ การประชุมคณะกรรมการราคากลาง
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติในการประชุมประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง
หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่เป็นประธานกรรมการแทน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
รายงานขอซื้อขอจ้าง
ข้อ ๒๐ ก่อนการดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี
นอกจากการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อให้ความเห็นชอบโดยมีรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(๒) ขอบเขตของงาน
หรือรายการของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง เช่น
คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุและจำนวนที่ต้องการซื้อ หรือแบบรูปรายการ
รายละเอียดและปริมาณที่ต้องการจ้าง
(๓) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยระบุวงเงินงบประมาณที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
(๕) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น
หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง
และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างด้วยวิธีนั้น
(๗) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
เว้นแต่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง
(๘) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น
การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ หรือจ้าง เอกสารเชิญชวน
หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ ในกรณีต่อไปนี้
เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจะทำรายงานตามข้อ ๒๐
เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ ๒๘ (๓)
และ (๔)
(๒) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
ข้อ ๒๒ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้าง
หรือการเช่าระยะยาวในประเทศที่ไม่ให้ถือกรรมสิทธิ์ ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อเสนอปลัดกระทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นชอบ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ
(๒)
รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ
(๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น
เว้นแต่ไม่สามารถหาได้ ให้เป็นไปตามกฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
(๔)
ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย เว้นแต่ไม่สามารถหาได้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
(๕) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น
(๖) วิธีที่จะซื้อ และเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น
(๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ
การซื้อที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างในต่างประเทศให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง
หรือติดต่อผ่านนายหน้าหรือดำเนินการตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ข้อ ๒๓ เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบตามข้อ
๒๐ หรือข้อ ๒๒ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินกระบวนการเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างต่อไปได้
คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๒๔ ในการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างแต่ละครั้ง
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้ใช้รายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ และให้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างตามข้อ
๓๕
ข้อ ๒๕ คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย ประธานกรรมการ
๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน
ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
ในกรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ประเทศนั้นด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อประโยชน์ของคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปราชการจากส่วนกลางปลัดกระทรวงการต่างประเทศอาจแต่งตั้งบุคคลจากคณะผู้แทนนั้นร่วมด้วยก็ได้
คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น ๆ
เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑
ข้อ ๓๒ และข้อ ๓๔
ข้อ ๒๖ การประชุมคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีหนึ่งเสียงในการลงมติในการประชุมประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง
หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่แทน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
กรรมการคนใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ
ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการ
จะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้น
ทั้งนี้
การมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการ
และกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หากประธานหรือกรรมการทราบว่าตนเองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น
ให้ประธานหรือกรรมการผู้นั้นลาออกจากการเป็นประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการที่ตนได้รับการแต่งตั้งนั้น
และให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งผู้อื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทน
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๒๗ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศให้ดำเนินการโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง
ตามที่กำหนดในข้อ ๒๘
(๑) วิธีคัดเลือก ได้แก่
การเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า
๓ รายให้เข้ายื่นข้อเสนอ และพิจารณาคัดเลือก โดยคำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ
วัตถุประสงค์ของการใช้งาน คุณภาพ ราคา บริการหลังการขาย พัสดุ
ที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่น
หรือเทคโนโลยีของพัสดุหรือผู้ยื่นข้อเสนอ เป็นต้น
(๒) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่
การเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ
หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา
ข้อ ๒๘ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้ใช้วิธีคัดเลือกก่อน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต จำหน่าย
ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท)
(๒)
การจัดซื้อจัดจ้างกรณีที่มีผู้ประกอบการโดยตรงเพียงรายเดียว
หรือเป็นพัสดุที่เป็นที่ดิน และหรือสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(๓) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยเร่งด่วน
หากล่าช้าอาจจะเสียหายต่อราชการ
(๔)
การจัดซื้อจัดจ้างกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉินกรณีเกิดภัยพิบัติ
(๕)
การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว
และมีความจำเป็นต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่องในการใช้พัสดุนั้น
โดยมูลค่าของพัสดุที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว
(๖)
การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือเป็นความลับของราชการ
วิธีคัดเลือก
ข้อ ๒๙ เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบตามข้อ
๒๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก
เพื่อดำเนินการเชิญชวนผู้ประกอบการเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติของต่างประเทศนั้น
โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ
หรืองานจ้างที่ต้องการจ้าง
(๒) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ายื่นข้อเสนอ (ถ้ามี)
(๓) กำหนดวัน เวลาการยื่นข้อเสนอ (ถ้ามี)
ทั้งนี้
จำนวนผู้ประกอบการที่เชิญชวนและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกให้เป็นไปตามข้อ ๒๗ (๑)
ข้อ ๓๐ ในการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก
ให้คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดตามข้อ
๒๗ (๑) และข้อ ๒๙ ไม่น้อยกว่า ๓ ราย โดยคำนึงถึงการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เข้ายื่นข้อเสนอด้วย
(๒) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาในการยื่นข้อเสนอ
ให้รับซองข้อเสนอของผู้ประกอบการพร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มายื่นข้อเสนอ
เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นข้อเสนอ มิให้รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
และพัสดุตัวอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารเชิญชวนเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอ
เว้นแต่กรณีการซื้อหรือจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างที่จะต้องให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุมาแสดงเพื่อทดลองหรือทดสอบ
หรือนำเสนองาน หรือเอกสาร หรือรายละเอียดที่กำหนดให้จัดส่งภายหลังจากวันที่ยื่นข้อเสนอ
(๓) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาในการเปิดซองข้อเสนอ
ให้เปิดซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายพร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอ และให้กรรมการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา
(๔) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ใบเสนอราคา และเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวน
(๕)
พิจารณาคัดเลือกพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างของผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณภาพและคุณสมบัติ
เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐแล้วให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกตามข้อ
๒๗ (๑)
(๖) จัดทำรายงานผลการพิจารณา
และเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่ออนุมัติหรือเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างต่อไป
รายงานผลการพิจารณาอย่างน้อยให้ประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) รายการพัสดุและคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(ข) รายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอ
(ค)
ผู้ยื่นข้อเสนอและรายการพัสดุของผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือก
(ง) ราคาของผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือก
(จ) เหตุผลของคณะกรรมการในการพิจารณา
ข้อ ๓๑ เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาตามข้อ ๓๐ แล้ว
ปรากฏว่า มีผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณสมบัติและข้อเสนอตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดเพียงรายเดียว
ก็ให้คณะกรรมการต่อรองราคากับผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น
แล้วเสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ เพื่ออนุมัติ
หรือเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติต่อไป
ข้อ ๓๒ การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก
หากปรากฏว่า ราคาของผู้ที่ชนะการซื้อหรือการจ้าง
หรือที่ได้รับการคัดเลือกยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้ต่อรองราคากับผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
หากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้นยอมลดราคา ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล
ให้แจ้งผู้ที่เสนอราคาทุกรายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้าง
เพื่อเสนอราคาใหม่พร้อมกัน โดยยื่นใบเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร
หากรายใดไม่ยื่นใบเสนอราคา ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม
หากผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดในการเสนอราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จัดซื้อหรือจ้าง
ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ
เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน
ที่ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ที่เสนอราคา หรือขอเงินเพิ่มเติม
หรือยกเลิกการซื้อหรือจ้างเพื่อดำเนินการใหม่
หรือจะสั่งให้ดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงก็ได้
ข้อ ๓๓ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ
๓๐ และข้อ ๓๑ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ปิดประกาศผลโดยเปิดเผย ณ
สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ
เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือเป็นความลับของราชการ
หรือข้อยกเว้นอื่นภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
วิธีเฉพาะเจาะจง
ข้อ ๓๔ เมื่อรายงานขอซื้อขอจ้างได้รับความเห็นชอบตามข้อ
๒๐ หรือข้อ ๒๒ แล้วให้เจ้าหน้าที่แจ้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดตามข้อ
๒๘ (๓) และ (๔) โดยอนุโลม
(๒)
การเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อส่วนราชการในต่างประเทศ
โดยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(ก)
ให้สืบราคาจากผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรง
(ข)
กรณีให้เชิญผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรงมายื่นข้อเสนอหากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นสูงกว่าราคากลาง
หรือวงเงินงบประมาณ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(ค) กรณีตามข้อ ๒๘ (๕)
ให้เจรจากับผู้ประกอบการรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาส่งมอบ
เพื่อขอให้มีการซื้อหรือจ้างตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิม
โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานของรัฐ
(ง) ให้เชิญเจ้าของที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้าง
หรือนายหน้า ตามธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
มาเสนอราคาหากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นสูงกว่าราคากลาง หรือวงเงินงบประมาณ
หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(๓) จัดทำรายงานผลโดยนำความในข้อ ๓๐ (๖)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๕ สำหรับกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
ให้เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงราคากับผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรง
ข้อ ๓๖ การจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ ๒๘
(๓) และ (๔) ในวงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาท) และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน
ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปก่อน
แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเห็นชอบแล้ว
ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานในการตรวจรับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๗ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ
๓๔ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ประกาศผลในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการในต่างประเทศ และปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ
สถานที่ปิดประกาศของส่วนราชการในต่างประเทศ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
หรือการจัดซื้อจัดจ้างกรณีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
หรือเป็นความลับของราชการ
การจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ ๓๘ การจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑)
การจ้างในต่างประเทศให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ไม่เกินอัตราร้อยละ ๑๕ ของราคาซื้อ
หรือราคาจ้าง เว้นแต่กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
โดยได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(๒)
การซื้อสินค้าในต่างประเทศให้จ่ายเงินค่าสินค้าได้ตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นในลักษณะของการจ่ายเงินมัดจำ
หรือจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการสั่งซื้อสินค้า
ให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า
(๓) การซื้อหรือการจ้างจากหน่วยงานของรัฐ
จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของราคาซื้อ หรือราคาจ้าง
(๔) การซื้อพัสดุจากหน่วยงานรัฐของต่างประเทศนั้น
องค์กรสาธารณกุศลของต่างประเทศนั้น หรือองค์การระหว่างประเทศ
ให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกัน แล้วแต่กรณี
(๕) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ
หรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูปที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อนและมีกำหนดการออกเป็นวาระ
หรือการบอกรับเป็นสมาชิกให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง
ข้อ ๓๙ การจ่ายเงินล่วงหน้าตามข้อ
๓๘ (๑) ให้ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามข้อ ๗๐
และข้อ ๗๒
กรณีข้อ ๓๘ (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ไม่ต้องเรียกหลักประกันการรับเงินล่วงหน้า
ข้อ ๔๐ กรณีจำเป็นฉุกเฉิน
เช่น ภัยพิบัติที่จำเป็นต้องช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงและไม่ต้องเรียกหลักประกันรับเงินล่วงหน้าก็ได้
ส่วนที่ ๓
การเช่า
ข้อ ๔๑ การเช่าสังหาริมทรัพย์และการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
โดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
กรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
ให้ดำเนินการตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ข้อ ๔๒ การเช่าอสังหาริมทรัพย์
ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑)
เช่าที่ดินเพื่อเป็นประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือของกระทรวงการต่างประเทศ
(๒)
เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการ หรือทำเนียบเอกอัครราชทูต หรือบ้านพักกงสุลใหญ่
ในกรณีที่ไม่มีสถานที่เช่นว่านั้น หรือมีแต่ไม่เพียงพอ
หรือไม่อาจใช้การได้ชั่วคราว และถ้าสถานที่เช่านั้นกว้างขวางพอ
จะใช้เป็นที่พักของผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบของราชการด้วยก็ได้
(๓) เช่าสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมของส่วนราชการในต่างประเทศ
(๔)
เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศ
ในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ
การเช่าให้ดำเนินการเจรจาตกลงราคากับผู้ให้เช่าโดยตรง
ข้อ ๔๓ ก่อนดำเนินการเช่า
ให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ หรือผู้มีอำนาจอนุมัติ
ตามรายการดังนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า
(๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ
(๓)
ในกรณีเช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า เช่น
สภาพของสถานที่บริเวณที่ต้องการใช้ พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) เป็นต้น
(๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์อื่น
ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี)
อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่นเกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ส่วนที่ ๔
การแลกเปลี่ยน
ข้อ ๔๔ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้
เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศที่ประสงค์ให้มีการแลกเปลี่ยนพัสดุได้เสนอให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้นำข้อ ๙๖ ถึงข้อ ๑๐๐
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ส่วนที่ ๕
งานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๔๕ งานจ้างที่ปรึกษา
เป็นงานให้บริการเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่ส่วนราชการในต่างประเทศ
โดยที่ปรึกษาอาจเป็นที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
กระทรวงการคลัง
หรือเป็นที่ปรึกษาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในขอบเขตงานที่ส่วนราชการในต่างประเทศประสงค์จะจัดจ้างที่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
กระทรวงการคลัง ก็ได้
การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของส่วนราชการในต่างประเทศ
จะจ้างที่ปรึกษาไทยหรือที่ปรึกษาต่างชาติก็ได้
ในกรณีที่จ้างที่ปรึกษาต่างชาติจะมีที่ปรึกษาไทยร่วมงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
วิธีจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๔๖ งานจ้างที่ปรึกษา
กระทำได้ ๒ วิธีดังนี้
(๑) วิธีคัดเลือก หรือ
(๒) วิธีเฉพาะเจาะจง สำหรับงานในกรณีดังนี้
(ก)
งานจ้างที่ปรึกษาที่มีวงเงินการจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐
บาท (ห้าแสนบาท)
(ข)
เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการ มีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก
และมีวงเงินการจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาท)
(ค)
เป็นงานที่จำเป็นต้องให้ที่ปรึกษารายเดิมทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้วเนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค
(ง) เป็นงานที่มีเนื้อหาละเอียดอ่อนต่อการต่างประเทศ
หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือเป็นความลับของราชการ
(จ) เป็นงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
หากล่าช้าจะเสียหายแก่ราชการ
(ฉ) กรณีอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการในต่างประเทศ
เห็นชอบ
การกำหนดราคากลาง
ข้อ ๔๗ การจ้างที่ปรึกษาให้กำหนดราคากลางโดยนำความในข้อ
๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
รายงานขอจ้าง
ข้อ ๔๘ ก่อนดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ เพื่อให้ความเห็นชอบ
โดยนำความในข้อ ๒๐ ข้อ ๒๒ และข้อ ๒๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๔๙ ในการจัดจ้างที่ปรึกษา
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ ๕๐ คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาประกอบด้วย
ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
ในกรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศนั้นด้วยก็ได้
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น
ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ ๕๑ ในการจัดจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำข้อ ๒๙ ข้อ ๓๐
ข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ และข้อ ๓๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาพิจารณาตามข้อ
๒๗ (๑) โดยอนุโลม โดยให้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ ประกอบด้วย
(๑) ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา
(๒) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน
(๓) จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วม
(๔) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมและสนับสนุน
(๕) ข้อเสนอทางด้านการเงิน
ข้อ ๕๒ ในการจัดจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำข้อ ๒๘ ข้อ ๓๔
ข้อ ๓๕ ข้อ ๓๖ และข้อ ๓๗ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๕๓ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัด
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
ลักษณะของงานที่จะจ้างอัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่ส่วนราชการในต่างประเทศอื่นเคยจ้าง
จำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น หรือให้เป็นไปตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศ
ข้อ ๕๔ กรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า
ให้นำข้อ ๓๘ และข้อ ๓๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ส่วนที่ ๖
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๕ การจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ต้องจ้างผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมตามกฎหมายท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
กรณีจ้างผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมของไทย
จะต้องมีบุคลากรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมตามกฎหมายท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นร่วมอยู่ด้วย
ทั้งนี้
อัตราค่าจ้างให้กำหนดเป็นร้อยละของมูลค่าวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง
ในอัตราตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
การจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๖ ในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง
หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่จัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
องค์ประกอบ ระยะเวลาการพิจารณา
และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศกำหนดตามความเหมาะสม
รายงานขอจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๗ ในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอจ้างงานออกแบบหรือควบคุมงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อเสนอปลัดกระทรวง
การต่างประเทศให้ความเห็นชอบโดยนำความในข้อ ๒๐ และข้อ ๒๓
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๕๘ ในการดำเนินการจัดจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งคณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือคณะกรรมการงานจ้างควบคุมงานก่อสร้าง
เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อเสนอปลัดกระทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นชอบ
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้าให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ ๕๙ คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างประกอบด้วยประธานกรรมการ
๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศนั้น
ในกรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ประเทศนั้นด้วยก็ได้
คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น
เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ ๖๐ ในการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือก
ให้คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำข้อ
๒๙ ข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ และข้อ ๓๓ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างพิจารณาตามข้อ
๒๗ (๑) โดยอนุโลม โดยให้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ ประกอบด้วย
(๑) แนวความคิดในการออกแบบ
และแบบเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้นจากแนวความคิดนั้น
(๒) ผลงานและประสบการณ์ของผู้ให้บริการ
(๓) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน
(๔) จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วม
(๕) ข้อเสนอทางด้านการเงิน
ข้อ ๖๑ ในการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ให้คณะกรรมการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างและเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยนำข้อ
๒๘ ข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๗ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๖๒ กรณีงานก่อสร้างที่จำเป็นต้องให้ผู้ก่อสร้างเป็นผู้ออกแบบด้วยตามกฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจ
ส่วนที่ ๗
การทำสัญญาและหลักประกัน
สัญญา
ข้อ ๖๓ การทำสัญญาของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามแบบสัญญาที่แนบท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่ต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
ให้จัดทำสัญญาภาษาอังกฤษเป็นคู่ฉบับด้วย
ในกรณีที่สัญญาแตกต่างจากแบบสัญญาที่แนบท้ายระเบียบนี้โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบสัญญาและไม่ทำให้ส่วนราชการในต่างประเทศเสียเปรียบ
ก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ส่วนราชการในต่างประเทศเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างสัญญาให้กรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาก่อน และต้องจัดทำสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทย
การลงนามในสัญญา
เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศซึ่งได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อ ๖๔ ส่วนราชการในต่างประเทศอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือก็ได้
เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ ๒๘ (๓)
(๒) การจัดซื้อจัดจ้างที่วงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท)
(๓) กรณีที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(๔) กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อตกลงเป็นหนังสือตามแบบของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่จัดทำขึ้นตามกฎหมาย
ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) หรือกรณีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ
๒๘ (๔) จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น
ข้อ ๖๕ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้
เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
ให้อยู่ในดุลพินิจของปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขได้
(๑) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
หากการแก้ไขนั้นไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์
(๒) เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของราชการ
หรือประโยชน์สาธารณะ
ในกรณีการแก้ไขสัญญาที่ส่วนราชการในต่างประเทศเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียประโยชน์
หรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญาที่แก้ไขนั้นให้กรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาก่อน
การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบหรือระยะเวลาในการทำงาน
ให้ตกลงพร้อมกันไป
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงิน
เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิม และวงเงินที่เพิ่มขึ้นใหม่แล้ว
หากวงเงินรวมดังกล่าวมีผลทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป
จะต้องดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือจ้างตามวงเงินรวมดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อลดวงเงิน
ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินเดิมเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
ค่าปรับ
ข้อ ๖๖ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ให้นำ ข้อ ๑๖๒ และข้อ ๑๖๓
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ มาบังคับใช้โดยอนุโลม เว้นแต่กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖๗ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)
ขึ้นไปให้กระทรวงการต่างประเทศภายใน ๖๐ วันนับแต่ทำสัญญาหรือข้อตกลง
เพื่อกระทรวงการต่างประเทศนำส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินต่อไป
หลักประกันสัญญา
ข้อ ๖๘ หลักประกันสัญญา
ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างใช้เงินสดหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศนั้น
หรือหลักประกันตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น เป็นหลักประกัน
โดยกำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละ ๕ ของวงเงินงบประมาณหรือราคาพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น
ข้อ ๖๙ หากมีการแก้ไขสัญญาและมีผลทำให้วงเงินตามสัญญานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่ว่ากรณีเพิ่มหรือลดวงเงิน
คู่สัญญาต้องนำหลักประกันสัญญามาวางเท่ากับวงเงินหลักประกันสัญญาที่ได้เพิ่มหรือลด
แล้วแต่กรณี
ถ้าหลักประกันสัญญาที่คู่สัญญานำมามอบไว้เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาลดลง
หรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดชอบของคู่สัญญาตลอดอายุสัญญา
ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม
รวมถึงส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกำหนดความรับผิดในความชำรุด
บกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป
คู่สัญญาต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจำนวนครบถ้วนตามมูลค่าที่กำหนดในสัญญามามอบให้ภายในระยะเวลาที่ส่วนราชการในต่างประเทศกำหนด
หลักประกันการรับเงินล่วงหน้า
ข้อ ๗๐ หลักประกันการรับเงินล่วงหน้า
ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาจะต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศนั้น
หรือหลักประกันตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
มาวางเป็นประกันเงินที่รับล่วงหน้าไป เว้นแต่กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๗๑ หลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามข้อ ๗๐
คู่สัญญาสามารถขอรับคืนแต่บางส่วนได้หากส่วนราชการในต่างประเทศได้หักเงินที่จะจ่ายแต่ละงวดเพื่อใช้คืนเงินล่วงหน้าในส่วนที่ขอรับคืนนั้นแล้ว ทั้งนี้
จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนและในสัญญาด้วย
หลักประกันผลงาน
ข้อ ๗๒ ในการจ้างงานก่อสร้างให้มีการเรียกหลักประกันผลงาน
เว้นแต่กฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีเรียกหลักประกันผลงาน ส่วนราชการในต่างประเทศจะหักเงินประกันผลงานไว้เต็มจำนวนที่กำหนด
หรือในกรณีที่แบ่งการชำระเงินค่าจ้างออกเป็นงวดจะหักเงินประกันผลงานแต่ละงวดตามอัตราที่กำหนดก็ได้
คู่สัญญามีสิทธิขอเงินประกันผลงานคืนได้โดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศนั้น
หรือหลักประกันตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นมาวางเป็นประกันแทนการหักเงิน
โดยมีอายุการประกันตามที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนดก็ได้
การคืนหลักประกัน
ข้อ ๗๓ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศคืนหลักประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอ
คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว
ส่วนที่ ๘
การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๗๔ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน
ซึ่งแต่งตั้งจากบุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศ
ในกรณีจำเป็นหรือมีข้อจำกัดด้านบุคลากรของส่วนราชการในต่างประเทศ
อาจแต่งตั้งจากบุคลากรของส่วนราชการอื่นในต่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศนั้นด้วยก็ได้
ในกรณีที่เป็นการตรวจรับงานเพื่อประโยชน์ของคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปราชการจากส่วนกลาง
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุอาจแต่งตั้งจากบุคคลจากคณะผู้แทนนั้นร่วมด้วยก็ได้
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
อาจแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้น ๆ
เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุนั้นโดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้
มติของคณะกรรมการให้เป็นเอกฉันท์ กรณีมติไม่เป็นเอกฉันท์
ให้กรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการทำบันทึกความเห็นแย้งไว้
และเสนอรายงานนั้นต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจสั่งการให้ตรวจรับพัสดุนั้นไว้
จึงจะดำเนินการตรวจรับได้
ข้อ ๗๕ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อหรืองานจ้าง
มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น
ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศก่อน
(๒)
ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลอง
หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์
จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา
หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ
สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นก็ได้
ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(๓)
ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒
ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ
และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้เจ้าหน้าที่รายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการ
(๕)
ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน
หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔)
และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อแจ้งให้ผู้ขาย
หรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับถัดจากวันที่ตรวจพบ แต่ทั้งนี้
ไม่ตัดสิทธิ์ส่วนราชการในต่างประเทศที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
ในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย
ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์
ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน
๓ วันทำการนับถัดจากวันที่ตรวจพบ
(๗)
ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้
จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗๖ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง
หรืองานจ้างออกแบบรวมก่อสร้างมีหน้าที่ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบคุณวุฒิของผู้ควบคุมงานก่อสร้างของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๒) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง
และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานของส่วนราชการในต่างประเทศรายงาน
โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงทุกสัปดาห์
รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(๓)
ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุออกตรวจงานจ้าง
ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ
ตามเวลาที่เหมาะสมและเห็นสมควร และจัดทำบันทึกผลการออกตรวจงานจ้างนั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
(๔) นอกจากการดำเนินการตาม (๑) และ (๒)
ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญามีข้อความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย
หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่าง ให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม
หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่าง
เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด กรณีอื่นนอกจากนี้
ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเสนอรายงานความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติต่อไป
(๕) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓
วันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน
และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๖)
เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น
และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี
โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ
และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา
ให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการ
(๗) ในกรณีที่กรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้
ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ หรือผู้มีอำนาจสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้
จึงจะดำเนินการตาม (๖)
ข้อ ๗๗ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้งที่มีขั้นตอนการดำเนินการเป็นระยะ
ๆ อันจำเป็นต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด
หรือมีเงื่อนไขการจ่ายเงินเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงาน
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากข้าราชการ
ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ
หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดแล้ว
ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน
จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ
และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ในกรณีจำเป็น
จะจ้างผู้ให้บริการที่มีความรู้ความชำนาญด้านการควบคุมงานก่อสร้างโดยตรงก็ได้
โดยถือปฏิบัติตามส่วนที่ ๖ ของหมวดนี้
ข้อ ๗๘ ผู้ควบคุมงานตามข้อ ๗๗ มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา
หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม
หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร
และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการ ละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา
ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด
แล้วแต่กรณี ไว้ก่อนจนกว่าผู้รับจ้างจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งและให้รายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง
หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทันที
(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด
หรือกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่า ถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง
หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย
ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง
หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างโดยเร็ว
(๓)
จดบันทึกสภาพการปฏิบัติของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน
พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ
เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง
หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบทุกสัปดาห์และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด
โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
(๔)
ในวันกำหนดส่งมอบงานของผู้รับจ้างตามสัญญาและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่
ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง
หรือการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบภายใน ๓
วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น
ข้อ ๗๙ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา
มีหน้าที่ดังนี้
(๑) กำกับและติดตามงานจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษา ณ ที่ทำการของผู้ว่าจ้าง
หรือสถานที่ ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๓)
ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาในวันที่ที่ปรึกษานำผลงานมาส่ง
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้รับงานจ้างที่ปรึกษาไว้และถือว่าที่ปรึกษาได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ที่ปรึกษานำผลงานมาส่งแล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ
โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบแก่ที่ปรึกษา ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑
ฉบับ
และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญา
หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม มีอำนาจที่จะสั่งให้หยุดงานนั้นชั่วคราวได้
และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการ
(๕) ในกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน
ให้กรรมการดังกล่าวทำความเห็นแย้งไว้ แล้วให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับผลงานนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๔)
ข้อ ๘๐ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ตรวจรับงาน ณ ที่ทำการของผู้ว่าจ้าง
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๓) ตรวจรับงานในวันที่ผู้ให้บริการนำผลงานมาส่ง
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔)
ในกรณีที่ผลงานบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามความประสงค์ของส่วนราชการในต่างประเทศอันเนื่องมาจากไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางสถาปัตยกรรม
และหรือวิศวกรรมต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยเร็ว
(๕)
เมื่อตรวจถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้รับงานไว้และถือว่าผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างนำผลงานมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ
โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบแก่ผู้ให้บริการ ๑ ฉบับ
และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ
และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อทราบและสั่งการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบราชการ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญา
หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม มีอำนาจที่จะสั่งให้หยุดงานนั้นชั่วคราวได้ และให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อผู้มีอำนาจทราบและสั่งการ
(๖) ในกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน
ให้กรรมการดังกล่าวทำความเห็นแย้งไว้
แล้วให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเพื่อผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับผลงานนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๕)
ข้อ ๘๑ กรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงได้ครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญาภายใน
๗ วันทำการ นับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับ
ในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ ๘๒ การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา
หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง
เฉพาะในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการในต่างประเทศ
หรือเหตุสุดวิสัย
หรือเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงกำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ส่วนราชการในต่างประเทศทราบภายใน
๑๕ วันนับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด
คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อของด หรือลดค่าปรับ หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้
เว้นแต่กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการในต่างประเทศซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง
หรือส่วนราชการในต่างประเทศทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ ๘๓ การบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญา
ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานหรือทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด
เหตุอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง หรือเหตุตามกฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศ
การบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ ๑๐
ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
เว้นแต่คู่สัญญาจะยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ส่วนราชการในต่างประเทศโดยไม่มีเงื่อนไขใด
ๆ ทั้งสิ้น
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น
ข้อ ๘๔ ภายหลังสิ้นสุดสัญญา
และยังอยู่ในระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล
บำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุ ในกรณีที่มีหลายหน่วยงานครอบครอง
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุนั้น
ข้อ ๘๕ ในกรณีที่ปรากฏความชำรุดบกพร่องของพัสดุภายในระยะเวลาของการประกันความชำรุดบกพร่องตามสัญญา
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามข้อ ๘๔ รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมทันที
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้รับประกัน (ถ้ามี) ทราบด้วย
ข้อ ๘๖ เมื่อใกล้สิ้นสุดระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง
ให้ส่วนราชการในต่างประเทศสำรวจพัสดุว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากมี
ให้แจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้างให้แก้ไขหรือซ่อมแซมทันทีก่อนคืนหลักประกันสัญญา
ส่วนที่ ๙
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
ข้อ ๘๗ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศประเมินการปฏิบัติงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ใช่วงเงินเล็กน้อย
คือเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) ขึ้นไปไว้ในรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
และรายงานให้กระทรวงการต่างประเทศทราบด้วย
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณาถึงความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จและคุณภาพของงานตามสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำไว้กับส่วนราชการในต่างประเทศเป็นสำคัญ
หมวด ๓
การบริหารพัสดุ
ส่วนที่ ๑
การเก็บ
การบันทึก การเบิกจ่าย
ข้อ ๘๘ การบริหารพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศให้ดำเนินการตามหมวดนี้
เว้นแต่มีระเบียบราชการ หรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การบริหารพัสดุในหมวดนี้ ไม่ใช้บังคับกับงานบริการ งานก่อสร้าง
งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง และงานจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง
การเก็บและการบันทึก
ข้อ ๘๙ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับมอบพัสดุแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชี หรือทะเบียน เพื่อควบคุมพัสดุแล้วแต่กรณี
แยกเป็นชนิด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชี หรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย
สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด
จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้
(๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย
และให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน
การเบิกจ่ายพัสดุ
ข้อ ๙๐ การเบิกพัสดุจากหน่วยพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศ
ให้บุคลากรภายในส่วนราชการในต่างประเทศที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิก
ข้อ ๙๑ การจ่ายพัสดุ
ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเป็นหัวหน้าพัสดุ
เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ
(ถ้ามี) แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย
และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย
ส่วนที่ ๒
การยืม
ข้อ ๙๒ การให้ยืมหรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการ
ซึ่งมิใช่ประโยชน์ของทางราชการ จะกระทำมิได้
ข้อ ๙๓ การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป
ให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเหตุผลและกำหนดวันส่งคืน
โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การยืมระหว่างหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศที่เป็นผู้ให้ยืม
(๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่หรือนอกสถานที่ของส่วนราชการในต่างประเทศจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
ข้อ ๙๔ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อย
หากเกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด
ลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืม
ข้อ ๙๕ การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างหน่วยงานของรัฐให้กระทำได้เฉพาะ
เมื่อหน่วยงานของรัฐผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน
จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการและหน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืมมีพัสดุนั้น ๆ
พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐของตน และให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้ โดยปกติ
หน่วยงานของรัฐผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท ชนิด
และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้หน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืม
ข้อ ๙๖ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืม
หรือผู้รับหน้าที่แทน มีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน ๗
วันนับแต่วันครบกำหนด
ส่วนที่ ๓
การบำรุงรักษา
การตรวจสอบ
การบำรุงรักษา
ข้อ ๙๗ ให้ส่วนราชการในต่างประเทศจัดให้มีผู้ควบคุมพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
โดยให้มีการจัดทำแผนการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมและระยะเวลาในการซ่อมบำรุงด้วย
ในกรณีที่พัสดุเกิดการชำรุด ให้ส่วนราชการในต่างประเทศดำเนินการซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยเร็ว
การตรวจสอบพัสดุประจำปี
ข้อ ๙๘ ภายในเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปีงบประมาณของทุกปี
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุ
ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุในงวดหนึ่งปีที่ผ่านมา
และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น
ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง
ให้เริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของปีงบประมาณเป็นต้นไปว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่
พัสดุคงเหลือมีตัวตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ
หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในส่วนราชการในต่างประเทศต่อไป
แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศภายใน ๓๐
วันทำการนับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น
เมื่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุแล้ว
ให้เสนอกระทรวงการต่างประเทศทราบและส่งสำเนาไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินต่อไป
ข้อ ๙๙ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุตามข้อ
๙๘ และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป
หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในส่วนราชการในต่างประเทศต่อไป
ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงเว้นแต่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเสื่อมสภาพเนื่องจากมาจากการใช้งานตามปกติ
หรือสูญไปตามธรรมชาติ
ให้เสนอกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้
ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย
ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของทางราชการต่อไป
ส่วนที่ ๔
การจำหน่ายพัสดุ
ข้อ ๑๐๐ หลังจากการตรวจสอบแล้ว
พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในส่วนราชการในต่างประเทศต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก
ให้เจ้าหน้าที่เสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ
เพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน
แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดี ให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(ก)
การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท)
จะขายโดยวิธีเฉพาะเจาะจงโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้
(ข) การขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น
โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่วนราชการในต่างประเทศมอบไว้ให้ใช้งานในหน้าที่
เมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากหน้าที่ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวพ้นระยะเวลาการใช้งานแล้ว
ให้ขายให้แก่บุคคลดังกล่าวโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
การขายโดยวิธีทอดตลาด ให้ถือตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น
โดยให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการประเมินราคาทรัพย์สินก่อนการประกาศขายทอดตลาด
กรณีที่เป็นพัสดุที่มีการจำหน่ายเป็นการทั่วไปให้พิจารณาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด
หรือราคาท้องถิ่นของสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น ณ เวลาที่จะทำการขาย
และควรมีการเปรียบเทียบราคาตามความเหมาะสม
กรณีที่เป็นพัสดุที่ไม่มีการจำหน่ายทั่วไปให้พิจารณาราคาตามลักษณะ ประเภท
ชนิดของพัสดุ และอายุการใช้งานรวมทั้งสภาพและสถานที่ตั้งของพัสดุด้วย ทั้งนี้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบราคาประเมินดังกล่าวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนราชการในต่างประเทศด้วย
ส่วนราชการในต่างประเทศจะจ้างผู้ประกอบการที่ให้บริการขายทอดตลาดเป็นผู้ดำเนินการก็ได้
(๒) แลกเปลี่ยน
ให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
(๓) โอน ให้โอนแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐต่างประเทศ
หรือองค์กรสาธารณกุศล ทั้งนี้
ให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกันด้วย
(๔) แปรสภาพหรือทำลายตามกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ
หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้
การดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐
วันนับถัดจากวันที่กระทรวงการต่างประเทศสั่งการ
ข้อ ๑๐๑ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุ
ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ
แล้วแต่กรณี
การจำหน่ายเป็นสูญ
ข้อ ๑๐๒ ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดชอบ
หรือมีตัวผู้รับผิดชอบแต่ไม่สามารถชดใช้ได้
หรือมีตัวพัสดุแต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ ๑๐๐
ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)
ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
(๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)
ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน
ข้อ ๑๐๓ เมื่อดำเนินการจำหน่ายพัสดุแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบภายใน
๓๐ วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น
ข้อ ๑๐๔ ก่อนมีการตรวจสอบพัสดุประจำปีตามข้อ ๙๘
หากพบว่าพัสดุของส่วนราชการในต่างประเทศเกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป
หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป และได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีระเบียบอื่นใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๐๐
ข้อ ๑๐๑ และข้อ ๑๐๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ดอน ปรมัตถ์วินัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๑๑ กันยายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๑/๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
784009 | ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้เหมาะสมสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๑
วรรคสอง มาตรา ๑๒ วรรคสอง มาตรา ๑๕ มาตรา ๒๕ วรรคสี่ มาตรา ๔๓ วรรคสาม มาตรา ๕๖
วรรคสี่ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ วรรคสอง มาตรา ๕๙ วรรคสอง มาตรา ๖๐ วรรคสอง มาตรา ๖๑
วรรคสอง มาตรา ๖๒ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๖๕ วรรคสามและวรรคหก มาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง
(๒) มาตรา ๖๘ มาตรา ๗๐ วรรคสาม มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๔ วรรคสอง มาตรา ๗๖
วรรคสอง มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๘๔ มาตรา ๘๕ มาตรา ๘๖ มาตรา ๘๘ มาตรา ๘๙ วรรคสอง
มาตรา ๙๑ มาตรา ๙๒ มาตรา ๙๙ มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ วรรคสอง มาตรา ๑๐๒
วรรคสอง มาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง (๔) และวรรคสาม มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ วรรคสี่ มาตรา
๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ มาตรา ๑๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๑๑๓
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด
๑
ข้อความทั่วไป
ส่วนที่
๑
นิยาม
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ ดังต่อไปนี้
(๑) ราชการส่วนกลาง หมายถึง อธิบดี
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
(๒) ราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด
(๓) ราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา
หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า
(๔) รัฐวิสาหกิจ หมายถึง ผู้ว่าการ ผู้อำนวยการ กรรมการผู้จัดการใหญ่
หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า
(๕) องค์การมหาชน หมายถึง ผู้อำนวยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า
(๖) องค์กรอิสระ หมายถึง เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๗) องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หมายถึง อัยการสูงสุด
(๘) หน่วยธุรการของศาล หมายถึง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(๙) มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หมายถึง อธิการบดี
(๑๐) หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หมายถึง
เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
(๑๑) หน่วยงานอิสระของรัฐ หมายถึง เลขาธิการ
หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า
(๑๒) หน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หมายถึง ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานนั้น
หัวหน้าเจ้าหน้าที่
หมายความว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุตามที่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐนั้นกำหนด
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่
ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคา
หรือเข้ายื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างต่อหน่วยงานของรัฐใด
เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐนั้นในคราวเดียวกัน
การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น
ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ
กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง
มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดา
หรือของนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายราย
ที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐนั้นในคราวเดียวกัน
(๒) มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน
โดยผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายราย
ที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐนั้นในคราวเดียวกัน
คำว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าในกิจการนั้นหรือในอัตราอื่นตามที่ผู้รักษาการตามระเบียบเห็นสมควรประกาศกำหนดสำหรับกิจการบางประเภทหรือบางขนาด
(๓) มีความสัมพันธ์กันในลักษณะไขว้กันระหว่าง (๑) และ (๒)
โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดา หรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง
เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายราย
ที่เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐนั้นในคราวเดียวกัน
หรือในนัยกลับกัน
การดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน
หรือการเข้าถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลใน
(๑) (๒) หรือ (๓) ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน
หรือการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าว
ในกรณีบุคคลใดใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ
กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นโดยที่ตนเองเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารที่แท้จริง หรือเป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
แล้วแต่กรณี และห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เกี่ยวข้องได้เข้าเสนอราคาหรือเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐนั้นในคราวเดียวกัน
ให้ถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอนั้นมีความสัมพันธ์กันตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี
การขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หมายความว่า การที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ
อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค
หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคาหรือยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
ไม่ว่าจะกระทำโดยการสมยอมกัน หรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ
หรือยอมจะรับเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดหรือใช้กำลังประทุษร้าย
หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จ
หรือส่อว่ากระทำการทุจริตอื่นใดในการเสนอราคา ทั้งนี้
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกัน
หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น
หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบหน่วยงานของรัฐโดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ
ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ
หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ ๕๕
คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาตามข้อ ๗๐ คณะกรรมการซื้อหรือจ้าง
โดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๗๔
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปตามข้อ ๑๑๔
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๑๒๐
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปตามข้อ
๑๔๖ คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๑๔๙
และคณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบตามข้อ ๑๕๕
ระบบข้อมูลสินค้า (Electronic Catalog : e - catalog) หมายความว่า
ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าที่ผู้ประกอบการได้ลงทะเบียนไว้ในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Government Procurement : e - GP) ของกรมบัญชีกลาง โดยแสดงรายละเอียดของสินค้า ภาพสินค้า
พร้อมคำบรรยายประกอบตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้หมายความรวมถึงงานบริการ
หรืองานจ้างตามประเภทที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ส่วนที่
๒
การมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ประชุมพิจารณา
ข้อ ๕
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าประธานกรรมการหรือกรรมการในคณะกรรมการนโยบาย
คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท.
และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาหรือไม่
ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ส่วนที่
๓
ผู้มีอำนาจและการมอบอำนาจ
ข้อ ๖
ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ ได้แก่
ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
เว้นแต่กระทรวงกลาโหมหรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่ผู้รักษาการตามระเบียบประกาศกำหนดให้หน่วยงานของรัฐนั้นสามารถกำหนดหน่วยงานระดับใด
ผู้บังคับบัญชาชั้นใด ตำแหน่งใด มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ก็ให้กระทำได้
และเมื่อได้กำหนดเป็นประการใดแล้ว
ให้แจ้งผู้รักษาการตามระเบียบและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ข้อ ๗
ผู้มีอำนาจดำเนินการตามข้อ ๖
หรือผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบนี้จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ซึ่งสังกัดหน่วยงานของรัฐเดียวกัน
โดยให้คำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ
เมื่อมีการมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง
ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้
เว้นแต่
(๑) การมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจนั้นต่อไปได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีมอบอำนาจให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้ผู้มอบอำนาจชั้นต้นทราบด้วย
(ข) กรณีมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่น นอกจากที่กล่าวใน (ก)
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจชั้นต้นแล้ว
(๒)
การมอบอำนาจและการมอบอำนาจต่อตามระเบียบหรือคำสั่งของกระทรวงกลาโหม
หรือของหน่วยงานของรัฐอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามข้อ ๖
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดเรื่องการมอบอำนาจและการมอบอำนาจต่อไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เพื่อความคล่องตัวในการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมอบอำนาจในการสั่งการและดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไปเป็นลำดับ
ให้ผู้มอบอำนาจส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบทุกครั้ง
ข้อ ๘
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของภาครัฐโดยรวม
หน่วยงานของรัฐใดจะมอบอำนาจให้หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแทนก็ให้กระทำได้
โดยให้ผู้มอบอำนาจส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ส่วนที่
๔
การดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๙
การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามระเบียบนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Government Procurement : e - GP) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ให้หน่วยงานของรัฐใช้เอกสารที่จัดพิมพ์จากระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๑๐
ให้กรมบัญชีกลางจัดทำแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการ
ส่วนที่
๕
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๑๑
เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานนั้นจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง
(๒) วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ
(๓) ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง
(๔) รายการอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
และของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ
สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ตามความในมาตรา ๑๑
วรรคหนึ่ง
หากหน่วยงานของรัฐไม่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการใดในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
จะไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการนั้นได้
ข้อ ๑๒
หลังจากที่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามข้อ ๑๑ แล้ว
ให้หน่วยงานของรัฐรีบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนและขั้นตอนของระเบียบนี้
ในหมวด ๒ หมวด ๓ หรือหมวด ๔ แล้วแต่กรณี
เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว
ข้อ ๑๓
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานนั้นจัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๑ วรรคสาม ต่อไป
ส่วนที่
๖
การตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ข้อ ๑๔
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
ให้ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายว่าเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ให้ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในครั้งนั้น
ข้อ ๑๕
ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายตามข้อ ๑๔
ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหาก
โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นนิติบุคคล
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(ข) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ
บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี)
และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถ้ามี) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๒)
ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นั้น
สำเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๓) ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้ยื่นข้อเสนอร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า
ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้า
และในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย
ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคลให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน
(๑)
(๔) เอกสารอื่นตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด เช่น สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นมาพร้อมกับการยื่นข้อเสนอตามวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้
ส่วนที่
๗
การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณา
ข้อ ๑๖
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละโครงการ
ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา
รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ
ตามรายการดังต่อไปนี้
(๑) รายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๒ หมวด ๓ ส่วนที่
๒ และหมวด ๔ ส่วนที่ ๒ แล้วแต่กรณี
(๒)
เอกสารเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
และผลการพิจารณาในครั้งนั้น (ถ้ามี)
(๓) ประกาศและเอกสารเชิญชวน หรือหนังสือเชิญชวน
และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย
(๕) บันทึกรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๖)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก
(๗) สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ รวมทั้งการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
(ถ้ามี)
(๘) บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุ
การจัดซื้อจัดจ้างโครงการใดจะต้องมีเอกสารหลักฐานใดให้เป็นไปตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ทั้งนี้
การจัดซื้อจัดจ้างที่ได้ดำเนินการผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานของรัฐสามารถใช้เอกสารที่จัดทำในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารประกอบบันทึกรายงานผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งได้
หมวด
๒
การซื้อหรือจ้าง
ส่วนที่
๑
บททั่วไป
ข้อ ๑๗
การดำเนินการในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับงานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๑๘
ในกรณีที่มีการซื้อหรือจ้างเพื่อจัดทำพัสดุเอง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเองนั้น
และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงานโดยมีคุณสมบัติ
และหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เว้นแต่หน่วยงานของรัฐที่กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะอยู่แล้ว
ข้อ ๑๙
หน่วยงานของรัฐแห่งใดประสงค์จะซื้อหรือจ้างให้กับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น ให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดการดำเนินการซื้อหรือจ้าง
ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยประเภทหรือชนิดของพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้าง วิธีการซื้อหรือจ้าง
และการทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดต่อไป
ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการนโยบายอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และรายละเอียดการดำเนินการซื้อหรือจ้างตามวรรคหนึ่ง
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติก็ได้
ข้อ ๒๐
การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วิธีการซื้อหรือจ้างหรืออำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป
จะกระทำมิได้
กรณีใดจะเป็นการแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างให้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นและความคุ้มค่าของทางราชการเป็นสำคัญ
ส่วนที่
๒
กระบวนการซื้อหรือจ้าง
การจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้าง
ข้อ ๒๑
ในการซื้อหรือจ้างที่มิใช่การจ้างก่อสร้าง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง
หรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบในการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอด้วย
เพื่อให้การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างมีมาตรฐาน
และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
หากพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างใดมีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว
ให้กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือรายการในการก่อสร้างตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หรือเพื่อความสะดวกจะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้
หรือในกรณีพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างใดยังไม่มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว
ให้กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างหรือรายการในการก่อสร้างให้สอดคล้องกับรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะตามที่ระบุในคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น
ในการจ้างก่อสร้าง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง หรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจัดทำแบบรูปรายการงานก่อสร้าง
หรือจะดำเนินการจ้างตามความในหมวด ๔ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างก็ได้
องค์ประกอบ ระยะเวลาการพิจารณา
และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดตามความจำเป็นและเหมาะสม
รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง
ข้อ ๒๒
ในการซื้อหรือจ้างแต่ละวิธี นอกจากการซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามข้อ ๒๓
และข้อ ๗๙ วรรคสอง
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ตามรายการดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(๒)
ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้าง
แล้วแต่กรณี
(๓) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
(๕) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
(๗) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๘) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จำเป็นในการซื้อ หรือจ้าง การออกประกาศและเอกสารเชิญชวน และหนังสือเชิญชวน
การซื้อหรือจ้างกรณีจำเป็นเร่งด่วนอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ค) หรือกรณีมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน มาตรา ๕๖
วรรคหนึ่ง (๒) (ง)
หรือกรณีการซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา
๙๖ วรรคสอง ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้
เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจะทำรายงานตามวรรคหนึ่ง
เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
ข้อ ๒๓
ในการซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ตามรายการดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ
(๒) รายละเอียดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการซื้อ รวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ
(๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น
(๔)
ราคาซื้อขายของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ
๓ ราย
(๕) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น
(๖) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น
(๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จำเป็นในการซื้อ
ข้อ ๒๔
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ ๒๒
หรือข้อ ๒๓ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามวิธีซื้อหรือจ้างนั้นต่อไปได้
คณะกรรมการซื้อหรือจ้าง
ข้อ ๒๕
ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการซื้อหรือจ้างขึ้น
เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
(๒) คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา
(๓) คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือก
(๔) คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(๕) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ให้คณะกรรมการซื้อหรือจ้างแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ ๒๖
คณะกรรมการซื้อหรือจ้างตามข้อ ๒๕ แต่ละคณะประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน
และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ
พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ
หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น
โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐจะแต่งตั้งบุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
แต่จำนวนกรรมการที่เป็นบุคคลอื่นนั้นจะต้องไม่มากกว่าจำนวนกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน
ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
กรรมการพิจารณาผลการสอบราคา หรือกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
คณะกรรมการซื้อหรือจ้างทุกคณะ
ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อ หรือจ้างนั้น ๆ
เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
ข้อ ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการแต่ละคณะ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ
โดยประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้งในการประชุม หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่เป็นประธานกรรมการแทน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุให้ถือมติเอกฉันท์
กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ
ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการ จะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น ทั้งนี้
การมีส่วนได้เสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการ
และกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หากประธานหรือกรรมการทราบว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อ
หรือจ้างครั้งนั้น
ให้ประธานหรือกรรมการผู้นั้นลาออกจากการเป็นประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการที่ตนได้รับการแต่งตั้งนั้น
และให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป
วิธีการซื้อหรือจ้าง
ข้อ ๒๘ การซื้อหรือจ้าง
กระทำได้ ๓ วิธีดังนี้
(๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
(๒) วิธีคัดเลือก
(๓) วิธีเฉพาะเจาะจง
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ข้อ ๒๙
การซื้อหรือจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป กระทำได้ ๓ วิธีดังนี้
(๑) วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์
(๒) วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
(๓) วิธีสอบราคา
ข้อ ๓๐
วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e - market) คือ
การซื้อหรือจ้างที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ไม่ซับซ้อนหรือเป็นสินค้าหรืองานบริการที่มีมาตรฐาน
และได้กำหนดไว้ในระบบข้อมูลสินค้า (e -
catalog) โดยให้ดำเนินการในระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market)
ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งสามารถกระทำได้ ๒ ลักษณะดังนี้
(๑) การเสนอราคาโดยใบเสนอราคา คือ การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง
ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) การเสนอราคาโดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง
ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๑
วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e - bidding) คือ การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง
ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
และเป็นสินค้าหรืองานบริการที่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุไว้ในระบบข้อมูลสินค้า
(e - catalog)
โดยให้ดำเนินการในระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e - bidding) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๓๒ วิธีสอบราคา คือ
การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕๐๐,๐๐๐
บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ให้กระทำได้ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต
ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทั้งนี้
ให้เจ้าหน้าที่ระบุเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ
๒๒ ด้วย
ข้อ ๓๓
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดวงเงินการซื้อหรือจ้างตามข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑
หรือข้อ ๓๒ แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓๔
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์พร้อมประกาศเชิญชวนตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
การจัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความ หรือรายการแตกต่างไปจากแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบและไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบก็ให้กระทำได้
เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนดังกล่าวไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
การกำหนดวัน
เวลาการเสนอราคาในเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ให้กำหนดเป็นวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้าง
โดยกำหนดเป็นวัน เวลา ทำการเท่านั้น
และเวลาในการเสนอราคาให้ถือตามเวลาของระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเกณฑ์
ข้อ ๓๕
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่เผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ
เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ
สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
ข้อ ๓๖
ให้กรมบัญชีกลางจัดส่งประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งได้นำรายละเอียดของพัสดุลงในระบบข้อมูลสินค้าตรงตามประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐ
และจัดส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่ผู้ประกอบการรายใดมีคุณสมบัติตรงตามประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างดังกล่าว
และยังไม่ได้ลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
หากประสงค์จะเข้าร่วมเสนอราคาในครั้งนั้น
จะต้องลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์และจะต้องนำรายละเอียดของพัสดุลงในระบบข้อมูลสินค้าก่อนการเสนอราคา
ข้อ ๓๗
เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคาด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีเป็นการซื้อหรือจ้าง ตามข้อ ๓๐ (๑)
ให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และให้เสนอราคาภายในเวลาที่กำหนด
โดยสามารถเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียว
(๒) กรณีเป็นการซื้อหรือจ้าง ตามข้อ ๓๐ (๒)
ให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์
โดยต้องลงทะเบียนก่อนเริ่มกระบวนการเสนอราคา ภายในเวลา ๑๕ นาที
พร้อมทั้งให้ทำการทดสอบระบบเป็นเวลา ๑๕ นาที และให้เสนอราคาภายในเวลา ๓๐ นาที
โดยจะเสนอราคากี่ครั้งก็ได้
กำหนดวันเสนอราคาตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อน
หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดวันเสนอราคา
เว้นแต่เป็นกรณีที่กรมบัญชีกลางแจ้งเลื่อนกำหนดวัน เวลาการเสนอราคา
เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับการเสนอราคาผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
และเมื่อได้ดำเนินการเป็นประการใดแล้วให้กรมบัญชีกลางรายงานคณะกรรมการวินิจฉัยทราบด้วย
ข้อ ๓๘
เมื่อสิ้นสุดการเสนอราคาตามข้อ ๓๗ แล้ว
หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย
ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาราคาต่ำสุดของผู้ที่เสนอราคาเข้าสู่ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาในครั้งนั้น
ในกรณีที่มีผู้เข้าเสนอราคาเพียงรายเดียว
หากเห็นว่าราคาที่เสนอมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ
ให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณารับราคาของผู้เสนอราคารายนั้นได้
ถ้าไม่มีผู้เข้าเสนอราคา
ให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
เพื่อพิจารณายกเลิกการซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นและดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ใหม่
หรือจะดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ก)
หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ก) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการซื้อ
หรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการซื้อหรือจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่ชนะการเสนอราคายังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ
๒๒ ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการดังนี้
(๑)
ต่อรองราคากับผู้เสนอราคารายดังกล่าวผ่านทางระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้
หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาและยื่นใบเสนอราคาผ่านทางระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
หากราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือต่อรองแล้วไม่ยอมลดราคาอีก
แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล
ให้แจ้งผู้เสนอราคาที่เสนอราคาถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ทุกรายผ่านทางระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน
โดยให้ยื่นใบเสนอราคาผ่านทางระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ภายในเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
หากผู้เสนอราคารายใดไม่ยื่นใบเสนอราคาใหม่
ให้ถือว่าผู้เสนอราคารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากปรากฏว่าผู้เสนอราคาต่ำสุดในการเสนอราคาครั้งใหม่เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อ หรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น ทั้งนี้
การดำเนินการซื้อหรือจ้างครั้งใหม่ให้นำความในข้อ ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔๐
ภายหลังจากที่ได้ผู้ชนะการเสนอราคาตามข้อ ๓๘ หรือข้อ ๓๙ แล้ว
ให้เจ้าหน้าที่จัดพิมพ์ใบเสนอราคาและเอกสารการเสนอราคาของผู้เสนอราคารายนั้นจากระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์จำนวน ๑ ชุด
และลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารการเสนอราคาทุกแผ่น
ในกรณีที่ผู้เสนอราคาตามวรรคหนึ่ง
เสนอราคาผิดเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในเอกสารซื้อ หรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์
หรือเสนอแค็ตตาล็อก (catalog)
หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุไม่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์
ให้ถือว่าผู้เสนอราคารายนั้นไม่ผ่านคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์
ให้เจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
หรือพิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำในลำดับถัดไปเป็นผู้ชนะการเสนอราคาก็ได้ ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ
ข้อ ๔๑
ให้เจ้าหน้าที่รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๔๒
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาและผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ชนะการซื้อหรือจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น และแจ้งให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(e - mail)
ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๔๓
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์พร้อมประกาศเชิญชวน
ตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
การจัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความ หรือรายการแตกต่างไปจากแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบและไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบก็ให้กระทำได้
เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนดังกล่าวไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
การกำหนดวัน
เวลาการเสนอราคาในเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ให้กำหนดเป็นวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้าง
โดยกำหนดเป็นวัน เวลา ทำการเท่านั้น
และเวลาในการเสนอราคาให้ถือตามเวลาของระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเกณฑ์
ข้อ ๔๔
การซื้อหรือจ้างพัสดุใดที่มีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างจะต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุที่เสนอมาแสดงเพื่อทดลอง
หรือทดสอบ หรือนำเสนองาน
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุนั้นมาแสดงเพื่อทดลอง
หรือทดสอบ หรือนำเสนองาน ตามวัน และเวลา ณ สถานที่ที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
กรณีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งใดที่กำหนดให้ต้องมีเอกสารในส่วนที่เป็นสาระสำคัญประกอบการยื่นข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอที่ยื่นผ่านทางระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
หากหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเอกสารดังกล่าวมีปริมาณมากและเป็นอุปสรรคของผู้ยื่นข้อเสนอในการนำเข้าระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำเอกสารนั้นพร้อมสรุปจำนวนเอกสารดังกล่าวมาส่ง
ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐในภายหลัง โดยให้ลงลายมือชื่อของผู้ยื่นข้อเสนอ
พร้อมประทับตราสำคัญของนิติบุคคล (ถ้ามี) กำกับในเอกสารนั้นด้วย
การกำหนดวันให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุที่เสนอมาแสดงเพื่อทดลอง
หรือทดสอบ หรือนำเสนองานตามวรรคหนึ่ง หรือนำเอกสารหรือรายละเอียดมาส่งตามวรรคสอง
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเป็นวันใดวันหนึ่งภายใน ๕ วันทำการ นับถัดจากวันเสนอราคา
เว้นแต่การดำเนินการตามวรรคหนึ่งที่ไม่อาจดำเนินการวันใดวันหนึ่งได้
ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณากำหนดมากกว่า ๑ วันได้
แต่จำนวนวันดังกล่าวต้องไม่เกิน ๕ วันทำการ นับถัดจากวันเสนอราคา ทั้งนี้ ให้ระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน
ข้อ ๔๕
เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามข้อ ๒๑
ได้จัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
พร้อมนำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเพื่อให้การกำหนดขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างเป็นไปด้วยความรอบคอบ
เหมาะสม เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ
และไม่มีการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
อาจจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างพร้อมกับร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการก่อนก็ได้ ทั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐
บาท
ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่จะให้มีการเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหรือไม่ก็ได้
(๒) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ให้หน่วยงานของรัฐนำร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดวงเงินตามวรรคหนึ่ง
แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ข้อ ๔๖
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐนำร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการตามข้อ
๔๕ ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ดำเนินการนำร่างเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
และของหน่วยงานของรัฐ เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ
เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นไปยังหน่วยงานของรัฐที่จัดซื้อจัดจ้างโดยตรง
โดยเปิดเผยตัว
ข้อ ๔๗
กรณีที่มีผู้มีความคิดเห็น ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ
๒๑ พิจารณาว่าสมควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ โดยให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่า
ควรปรับปรุงร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมความเห็นและร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ปรับปรุงแล้ว
เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้นำร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
และของหน่วยงานของรัฐอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ
และให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่แจ้งผู้มีความคิดเห็นทุกรายทราบเป็นหนังสือ
(๒) กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ควรปรับปรุงร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมความเห็นเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่แจ้งผู้มีความคิดเห็นทุกรายทราบเป็นหนังสือ
ข้อ ๔๘
ภายหลังจากที่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามข้อ ๔๕ หรือข้อ ๔๖ และข้อ ๔๗
แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ดำเนินการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ ๔๙
การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียดให้กระทำไปพร้อมกันกับการเผยแพร่ประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอสามารถขอรับหรือขอซื้อเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ได้ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้ายของการเผยแพร่ประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่มีการขาย
ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานของรัฐต้องเสียไปในการจัดทำเอกสารนั้น
แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว
เช่น ค่าใช้จ่ายในการจ้างสำรวจออกแบบ หรือค่าจ้างที่ปรึกษา
ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนั้น
และมีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้ผู้รับหรือผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งก่อนมีสิทธิขอรับเอกสารประกวดราคาใหม่
โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก
ข้อ ๕๐
ให้กรมบัญชีกลางจัดส่งประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๕๑
การเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ
๔๘
ให้คำนึงถึงระยะเวลาในการให้ผู้ประกอบการเตรียมการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอด้วยโดยมีเงื่อนไขดังนี้
(๑) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐
บาท ให้กำหนดไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ
(๒) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กำหนดไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการ
(๓) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กำหนดไม่น้อยกว่า ๑๒ วันทำการ
(๔) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ให้กำหนดไม่น้อยกว่า ๒๐ วันทำการ
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดวงเงินและระยะเวลาในการเผยแพร่ตามวรรคหนึ่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ข้อ ๕๒
ในกรณีที่โดยสภาพของการซื้อหรือการจ้างนั้นมีความจำเป็นจะต้องมีการสอบถามรายละเอียดเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดให้ผู้ประกอบการที่สนใจต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e - mail)
ของหน่วยงานของรัฐหรือช่องทางอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
โดยให้กำหนดระยะเวลาตามความเหมาะสม และให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงรายละเอียดดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐก่อนถึงกำหนดวันเสนอราคา
ไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ
ข้อ ๕๓
การเผยแพร่ประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งใด หากหน่วยงานของรัฐได้กำหนดรายละเอียดของประกาศหรือเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
หรือขอบเขตของงาน
หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างไม่ถูกต้อง
หรือไม่ครบถ้วนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ให้หน่วยงานของรัฐยกเลิกการดำเนินการซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
แล้วดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องต่อไป
ข้อ ๕๔
เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
และให้เสนอราคาภายในเวลาที่กำหนด โดยสามารถเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียว
กำหนดวันเสนอราคาตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อน
หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดวันเสนอราคา เว้นแต่เป็นกรณีที่กรมบัญชีกลางแจ้งเลื่อนกำหนดวัน
เวลาการเสนอราคา
เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับการเสนอราคาผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
และเมื่อได้ดำเนินการเป็นประการใดแล้ว
ให้กรมบัญชีกลางรายงานคณะกรรมการวินิจฉัยทราบด้วย
ข้อ ๕๕
เมื่อสิ้นสุดการเสนอราคาตามข้อ ๕๔
ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดพิมพ์ใบเสนอราคาและเอกสารการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายจากระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
จำนวน ๑ ชุด โดยให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา และเอกสารการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอทุกแผ่น
ทั้งนี้
การซื้อหรือจ้างที่มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะที่จะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุหรือคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ
ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเป็นเงื่อนไขให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค
หรือข้อเสนออื่นแยกมาต่างหาก ในกรณีเช่นว่านี้
คณะกรรมการยังไม่ต้องจัดพิมพ์ใบเสนอราคาจนกว่าจะดำเนินการตามข้อ ๘๓ (๓) แล้วเสร็จ
(๒) ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเอกสารหลักฐานการเสนอราคาต่าง
ๆ และพัสดุตัวอย่าง (ถ้ามี) หรือพิจารณาการนำเสนองานของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย
หรือเอกสารที่กำหนดให้จัดส่งภายหลังจากวันเสนอราคาตามข้อ ๔๔
แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
และยื่นเอกสารการเสนอราคาครบถ้วน ถูกต้อง
มีคุณสมบัติและข้อเสนอทางด้านเทคนิคหรือเสนอพัสดุที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครบถ้วน
ถูกต้อง ตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในประกาศ
และเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ในกระบวนการพิจารณา
คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอรายใดก็ได้
แต่จะให้ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้
และหากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้คณะกรรมการตัดรายชื่อของผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นออกจากการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในครั้งนั้น
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเสนอเอกสารทางเทคนิคหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างไม่ครบถ้วน
หรือเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยให้พิจารณาผ่อนปรนการตัดสิทธิ์ผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น
(๓)
พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรือคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้องตาม (๒)
และพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
โดยให้จัดเรียงลำดับผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดหรือได้คะแนนรวมสูงสุด ไม่เกิน ๓ ราย
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนดตามเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้คณะกรรมการพิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำรายถัดไป
หรือผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงรายถัดไปตามลำดับ แล้วแต่กรณี
(๔)
จัดทำรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ รายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
ให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) รายการพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(ข) รายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอ ราคาที่เสนอ
และข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย
(ค)
รายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการคัดเลือกว่าไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
(ง) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ พร้อมเกณฑ์การให้คะแนน
(จ)
ผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอและการให้คะแนนข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายพร้อมเหตุผลสนับสนุนในการพิจารณา
ข้อ ๕๖
ในกรณีที่ปรากฏว่า
มีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เพียงรายเดียว
ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนั้น
แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ ๕๗ หรือข้อ ๕๘ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนั้นและดำเนินการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ก)
หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ก) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการซื้อหรือจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
ข้อ ๕๗ ในการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
กรณีที่หน่วยงานของรัฐเลือกใช้เกณฑ์ราคา
หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย
ให้คณะกรรมการพิจารณาราคาต่ำสุดของผู้ที่เสนอราคาเข้าสู่ระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาในครั้งนั้น
ในกรณีที่ปรากฏว่าราคาของผู้ที่ชนะการเสนอราคายังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ
๒๒ ให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้แจ้งผู้ที่เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างนั้นผ่านระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้
หากผู้ที่เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาและยื่นใบเสนอราคาผ่านระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีกแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม
ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคารายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล
ให้แจ้งผู้ที่เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายผ่านระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อมาเสนอราคาใหม่พร้อมกันโดยยื่นใบเสนอราคาผ่านระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร
หากรายใดไม่ยื่นใบเสนอราคาให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม
หากผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดในการเสนอราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม
ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคารายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล
ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะยกเลิกการซื้อหรือจ้าง
หรือขอเงินเพิ่มเติมหรือลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน
หากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ลำดับของผู้ชนะการเสนอราคาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ถือว่าก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เสนอราคา ให้ยกเลิกการซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่า
การดำเนินการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ก) หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒)
(ก) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่นให้เริ่มกระบวนการซื้อหรือจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ
๒๒
ข้อ ๕๘
ในการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
กรณีที่หน่วยงานของรัฐเลือกใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น
หากปรากฏว่าราคาของผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ
๒๒
ให้คณะกรรมการดำเนินการแจ้งผู้ที่เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างนั้นผ่านระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้
หากผู้ที่เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาและยื่นใบเสนอราคาผ่านระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม
ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคารายนั้น
หากดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วไม่ได้ผล
ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะขอเงินเพิ่มเติม
หรือยกเลิกการซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นและดำเนินการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ก)
หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ก) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการซื้อหรือจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
ข้อ ๕๙ ให้นำความในข้อ
๔๒
มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ชนะการซื้อหรือจ้างโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
โดยอนุโลม
ข้อ ๖๐
การซื้อหรือจ้างโดยการประกวดราคานานาชาติ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ
หรือแบบรูปรายการงานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้าง แล้วแต่กรณี ตามข้อ ๒๑
(๒)
การจัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างโดยการประกวดราคานานาชาติพร้อมประกาศเชิญชวนให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่จะพิจารณาว่าจะจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
(๓) ให้นำความในข้อ ๔๔ ถึงข้อ ๕๙
มาใช้บังคับกับการประกวดราคานานาชาติโดยอนุโลม
เว้นแต่การเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างให้เผยแพร่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓๐
วันทำการ
วิธีสอบราคา
ข้อ ๖๑
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีสอบราคาพร้อมประกาศเชิญชวนตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
การจัดทำเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบและไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบก็ให้กระทำได้
เว้นแต่ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนดังกล่าวไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
การกำหนดวัน
เวลาการยื่นข้อเสนอในเอกสารซื้อหรือจ้างและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ให้กำหนดเป็นวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างโดยกำหนดเป็นวัน
เวลา ทำการ เพียงวันเดียว
การกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ ให้กำหนดเป็นวัน เวลา ทำการ
ถัดจากยื่นข้อเสนอตามวรรคสาม
ข้อ ๖๒
หน่วยงานของรัฐอาจนำร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีสอบราคาเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการก่อนก็ได้
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐนำร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีสอบราคาเผยแพร่
เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ให้นำความในข้อ ๔๖ และข้อ ๔๗
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๖๓
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
และร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีสอบราคาแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ดำเนินการเผยแพร่ประกาศและเอกสารสอบราคาในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ
เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ
โดยให้คำนึงถึงระยะเวลาในการให้ผู้ประกอบการเตรียมการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอด้วย
ข้อ ๖๔
ให้นำความในข้อ ๔๙ มาใช้บังคับกับการให้หรือขายเอกสารสอบราคา โดยอนุโลม
ข้อ ๖๕
ให้กรมบัญชีกลางจัดส่งประกาศและเอกสารสอบราคาของหน่วยงานของรัฐให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๖๖
การซื้อหรือจ้างพัสดุใดที่มีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างจะต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในเอกสารสอบราคาที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้แจงสถานที่ในเอกสารสอบราคาด้วย
ก่อนถึงกำหนดวันยื่นข้อเสนอ
หากหน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีการชี้สถานที่อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาตั้งแต่ต้น
ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำเป็นเอกสารสอบราคาเพิ่มเติมและให้ระบุวัน เวลา
และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย
โดยให้ดำเนินการเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ
และให้แจ้งผู้ที่ได้รับหรือได้ซื้อเอกสารสอบราคาไปแล้วทุกรายทราบผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
การชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ตามวรรคสอง
ให้ผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจัดทำบันทึกการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
ถ้ามีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาเลื่อนวัน
เวลาการยื่นข้อเสนอ และการเปิดซองสอบราคา ตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย
ข้อ ๖๗
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารสอบราคา ณ สถานที่ที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
โดยให้ขอรับหรือขอซื้อเอกสารสอบราคาได้ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้ายของการเผยแพร่ประกาศและเอกสารสอบราคา
ตามข้อ ๖๓
ข้อ ๖๘
ในการยื่นซองข้อเสนอ
ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาครั้งนั้น
และส่งถึงหน่วยงานของรัฐผู้ดำเนินการสอบราคาโดยยื่นโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ
พร้อมรับรองเอกสารหลักฐานที่ยื่นมาพร้อมกับซองใบเสนอราคาว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้อง
และเป็นความจริงทุกประการ
ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซอง
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอมายื่นซองโดยตรง ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอ
และให้ส่งมอบซองเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ที่ได้รับไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาครั้งนั้น เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ ๖๙
นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ ๖๖
เมื่อถึงกำหนดวันยื่นซองข้อเสนอห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อน
หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดวันยื่นซองข้อเสนอ
ข้อ ๗๐ เมื่อถึงกำหนดวัน
เวลาการเปิดซองข้อเสนอ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาดำเนินการเปิดซองข้อเสนอ
และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายแล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอทุกแผ่น
และให้นำความในข้อ ๕๕ (๒) - (๔)
มาใช้บังคับกับการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการซื้อหรือจ้างของคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา
โดยอนุโลม
ข้อ ๗๑
ในกรณีที่ปรากฏว่า
มีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย
แต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารสอบราคาเพียงรายเดียว
หรือไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารสอบราคา
ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาดำเนินการตามข้อ ๕๖ โดยอนุโลม
ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้ยื่นข้อเสนอที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ให้คณะกรรมการเรียกผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นมาต่อรองราคา โดยให้ดำเนินการตามข้อ ๕๗
หรือข้อ ๕๘ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
ข้อ ๗๒ ให้นำความในข้อ
๔๒ มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ชนะการซื้อหรือจ้างโดยวิธีสอบราคา โดยอนุโลม
ข้อ ๗๓ ให้นำความในข้อ
๖๐ มาใช้บังคับกับการสอบราคานานาชาติ โดยอนุโลม
วิธีคัดเลือก
ข้อ ๗๔
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๒๒
แล้ว ให้คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือก ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไม่น้อยกว่า
๓ ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ
เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า ๓ ราย
โดยให้คำนึงถึงการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เข้ายื่นข้อเสนอ
พร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่คณะกรรมการมีหนังสือเชิญชวน
(๒) การยื่นซองข้อเสนอและการรับซองข้อเสนอ ให้ดำเนินการตามข้อ ๖๘
โดยอนุโลม
(๓) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการรับซองข้อเสนอ
ให้รับซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอเฉพาะรายที่คณะกรรมการได้มีหนังสือเชิญชวนเท่านั้น
พร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มายื่นข้อเสนอ
เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองข้อเสนอ ห้ามรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
และพัสดุตัวอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอ
เว้นแต่
กรณีการซื้อหรือจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างที่จะต้องให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุมาแสดงเพื่อทดลอง
หรือทดสอบ หรือนำเสนองาน
หรือให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำเอกสารหรือรายละเอียดมาส่งภายหลังจากวันยื่นซองข้อเสนอ
(๔) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้คณะกรรมการดำเนินการเปิดซองข้อเสนอ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอทุกแผ่นและให้นำความในข้อ
๕๕ (๒) - (๔)
มาใช้บังคับกับการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการซื้อหรือจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกของคณะกรรมการ
โดยอนุโลม
ข้อ ๗๕
หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพียงรายเดียว
ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ ๕๖ โดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวน
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการคัดเลือกครั้งนั้น
และจะดำเนินการใหม่โดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ก) ก็ได้
ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้ยื่นข้อเสนอที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
ให้คณะกรรมการเรียกผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นมาต่อรองราคา โดยให้ดำเนินการตามข้อ ๕๗
หรือข้อ ๕๘ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
ข้อ ๗๖
ในกรณีการจ้างตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ช)
หากไม่สามารถดำเนินการตามปกติได้
ให้คณะกรรมการแจ้งให้ผู้ประกอบการยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามความต้องการก่อนพิจารณาด้านราคา
แล้วให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดแล้วจัดลำดับ
หลังจากนั้นให้เชิญผู้ที่ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดมายื่นข้อเสนอด้านราคา
และเจรจาต่อรองราคาที่เหมาะสม หากเจรจาไม่ได้ผล
ให้เจรจากับผู้ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไป
หากดำเนินการตามวรรคหนึ่ง แล้วไม่ได้ผล
ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการจ้างในครั้งนั้นและจะสั่งให้ดำเนินการใหม่โดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ก) ก็ได้
ข้อ ๗๗ ให้นำความในข้อ
๔๒ มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ชนะการซื้อหรือจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีคัดเลือก
โดยอนุโลม
วิธีเฉพาะเจาะจง
ข้อ ๗๘
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ ๒๒ แล้ว
ให้คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐ
กำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา
โดยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(ก) กรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ก)
ให้เชิญผู้ประกอบการที่มีอาชีพขาย หรือรับจ้างนั้นโดยตรงหรือจากผู้ยื่นข้อเสนอในการซื้อหรือจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกซึ่งถูกยกเลิกไป
(ถ้ามี) ให้มายื่นเสนอราคา ทั้งนี้
หากเห็นว่าผู้ประกอบการรายที่เห็นสมควรซื้อหรือจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด
หรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(ข) กรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ค) (ง)
ให้เชิญผู้ประกอบการที่มีอาชีพขาย หรือรับจ้างนั้นโดยตรงมายื่นเสนอราคา
หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่น หรือราคาที่ประมาณได้
หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(ค) กรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (จ)
ให้เจรจากับผู้ประกอบการรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาส่งมอบ
เพื่อขอให้มีการซื้อหรือจ้างตามรายละเอียดและราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิมภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าหรือเงื่อนไขเดิม
โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี)
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานของรัฐ
(ง) กรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ฉ)
ให้ดำเนินการโดยวิธีเจรจาตกลงราคา
(จ) กรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ช)
ให้เชิญเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด
หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
(๒) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๕๕ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๗๙ กรณีตามมาตรา ๕๖
วรรคหนึ่ง (๒) (ข) ให้เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงราคากับผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรง
แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
ตามข้อ ๒๔
การซื้อหรือจ้างตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน
และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน
ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม
ข้อ ๘๐ การซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามความในมาตรา
๙๖ วรรคสอง
หน่วยงานของรัฐอาจดำเนินการซื้อหรือจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดก็ได้
ข้อ ๘๑ ให้นำความในข้อ
๔๒ มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยอนุโลม
การจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง
ข้อ ๘๒
หน่วยงานของรัฐใดประสงค์จะจัดทำโครงการจ้างออกแบบรวมก่อสร้างที่มีรูปแบบและขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมการสำรวจ
ออกแบบ ตลอดจนก่อสร้างจนแล้วเสร็จสมบูรณ์
รวมทั้งการบำรุงรักษาในช่วงเริ่มต้นของโครงการโดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว
ให้เสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบก่อนที่จะเริ่มต้นดำเนินโครงการ
การจ้างออกแบบรวมก่อสร้างสามารถดำเนินการได้ ๓ รูปแบบดังนี้
(๑) จ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้าง (Design
& Build Project) คือ โครงการที่มีวงเงินลงทุนและเทคโนโลยีดำเนินการสูง รวมทั้งสามารถจัดทำโครงการได้หลายรูปแบบ
โดยส่วนใหญ่จะเป็นโครงการใหม่ที่ไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อนในประเทศ ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นต้องใช้ผู้รับเหมาดำเนินโครงการที่มีความรู้ ความสามารถ
และเทคนิคในการดำเนินการพิเศษ โดยเฉพาะการชำระเงินค่าดำเนินโครงการจะมีรูปแบบการจ่ายชำระเงินตามความก้าวหน้าของงานเป็นงวด
ๆ (installment)
(๒) จ้างก่อสร้างพร้อมจัดหาเงินทุน (Turnkey Project) คือ
โครงการที่ผู้ว่าจ้างจะจัดหาผู้รับจ้างดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ
จึงจะมีการชำระเงินค่าดำเนินโครงการ
ซึ่งผู้รับจ้างอาจต้องมีหน้าที่ในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการด้วย
รวมทั้งผู้ว่าจ้างต้องมีวงเงินดำเนินโครงการอ้างอิงได้ประกอบการพิจารณาโครงการ (Reference Based Price)
(๓) จ้างออกแบบควบคู่ก่อสร้างพร้อมจัดหาเงินทุน
(หรือจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จเต็มรูปแบบ) คือ โครงการที่ใช้รูปแบบดำเนินโครงการทั้ง ๒
รูปแบบ โดยผู้รับจ้างเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างควบคู่กัน (Design & Build)
รวมทั้งทำหน้าที่จัดหาเงินทุนดำเนินโครงการ
ซึ่งผู้ว่าจ้างจะชำระเงินค่าดำเนินโครงการเมื่อแล้วเสร็จ
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และรายละเอียดกระบวนและขั้นตอนการจ้างออกแบบรวมก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบาย
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
ข้อ ๘๓
ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ
และวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
การซื้อหรือจ้างที่มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่เป็นมาตรฐาน
และมีคุณภาพดีเพียงพอตามความต้องการใช้งาน และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐแล้ว
กรณีนี้หน่วยงานของรัฐสามารถใช้เกณฑ์ราคาในการคัดเลือกผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการซื้อหรือจ้างหรือเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก
(๒) การซื้อหรือจ้างที่มีความซับซ้อน มีเทคโนโลยีสูง
หรือมีเทคนิคเฉพาะ
จำเป็นต้องคัดเลือกพัสดุมีคุณภาพดีตามความต้องการใช้งานของหน่วยงานของรัฐนั้น
และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐมากที่สุด กรณีนี้หน่วยงานของรัฐสามารถใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นตามความในมาตรา
๖๕ วรรคหนึ่ง ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณภาพและคุณสมบัติถูกต้อง
ครบถ้วน
ซึ่งได้คะแนนรวมสูงสุดเป็นผู้ชนะการซื้อหรือจ้างหรือเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก
แต่หากหน่วยงานของรัฐไม่อาจเลือกใช้เกณฑ์อื่นประกอบและจำเป็นต้องใช้เกณฑ์เดียวในการพิจารณา
ให้ใช้เกณฑ์ราคา
(๓)
การซื้อหรือจ้างที่มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะที่จะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุ
หรือคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ
ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเป็นเงื่อนไขให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค
หรือข้อเสนออื่นแยกมาต่างหาก
และให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณสมบัติถูกต้อง ครบถ้วน
และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งได้คะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่นผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
แล้วให้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ต่อไป
ในกรณีที่เห็นสมควร
คณะกรรมการนโยบายอาจกำหนดแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอเพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสมก็ได้
อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง
ข้อ ๘๔
การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปครั้งหนึ่ง
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ ๘๕
การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีคัดเลือกครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน
ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ ๘๖
การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงครั้งหนึ่ง
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข้อ ๘๗
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นตามข้อ ๘๔ ข้อ ๘๕ และข้อ ๘๖
ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘๘
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดผู้มีอำนาจและวงเงินในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามข้อ
๘๔ ข้อ ๘๕ ข้อ ๘๖ และข้อ ๘๗ แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
การจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ ๘๙
การจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาจะกระทำมิได้
เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องจ่าย
และมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนการทำสัญญาหรือข้อตกลง ให้กระทำได้เฉพาะกรณีและตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) การซื้อหรือการจ้างจากหน่วยงานของรัฐ
จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาซื้อหรือราคาจ้าง
(๒) การซื้อพัสดุจากสถาบันของรัฐในต่างประเทศ
หรือจากหน่วยงานอื่นในต่างประเทศ ซึ่งต้องดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ
หรือการซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์ หรือพัสดุอื่นที่ผู้รักษาการตามระเบียบประกาศกำหนด
ซึ่งจำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงในต่างประเทศ
ให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกับสถาบันของรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ
หรือตามเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนด แล้วแต่กรณี
(๓) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ
หรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูปที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อน
และมีกำหนดการออกเป็นวาระดังเช่นวารสาร
หรือการบอกรับเป็นสมาชิกเพื่อการใช้ประโยชน์เรียกค้นหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่าง
ๆ โดยอาศัยระบบเครือข่ายสารสนเทศ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง
(๔) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก
และวิธีเฉพาะเจาะจง นอกจากกรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ข)
ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง แต่ทั้งนี้
จะต้องกำหนดอัตราค่าพัสดุที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้เป็นเงื่อนไขในประกาศและเอกสารเชิญชวนหรือหนังสือเชิญชวน
แล้วแต่กรณี ด้วย
ข้อ ๙๐
การจ่ายเงินตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
หรือโดยวิธีใช้ดราฟต์กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
หรือการจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการสั่งซื้อพัสดุ
ให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ ๙๑ การจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าตามข้อ
๘๙ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ต้องเรียกหลักประกัน
ส่วนการจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าตามข้อ ๘๙ (๔)
ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาจะต้องนำพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือหนังสือค้ำประกันหรือหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารในประเทศมาค้ำประกันเงินที่รับล่วงหน้าไปนั้น
และให้หน่วยงานของรัฐคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่คู่สัญญา
เมื่อหน่วยงานของรัฐได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าของหรือค่าจ้างในแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้
ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย
ส่วนที่
๓
การเช่า
ข้อ ๙๒ การเช่าสังหาริมทรัพย์
และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวดนี้
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
โดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์
และสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี
ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การเช่าจากหน่วยงานของรัฐ
จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าเช่าทั้งสัญญา
(๒) การเช่าจากเอกชนจ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าเช่าทั้งสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๙๓
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) เช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ
(๒)
เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการในกรณีที่ไม่มีสถานที่ของหน่วยงานของรัฐ
หรือมีแต่ไม่เพียงพอและถ้าสถานที่เช่านั้นกว้างขวางพอ จะใช้เป็นที่พักของผู้ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบของทางราชการหรือของหน่วยงานของรัฐด้วยก็ได้
(๓)
เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่พักสำหรับผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักตามระเบียบของทางราชการ
หรือของหน่วยงานของรัฐในกรณีที่ต้องการประหยัดเงินงบประมาณ
(๔) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานของรัฐในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ
การเช่าให้ดำเนินการเจรจาตกลงราคากับผู้ให้เช่าโดยตรง
ข้อ ๙๔
ก่อนดำเนินการเช่า
ให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า
(๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ
(๓) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า เช่น
สภาพของสถานที่บริเวณที่ต้องการใช้พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี)
และราคาค่าเช่าครั้งหลังสุด เป็นต้น
(๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี)
ข้อ ๙๕
อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่นเกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๒) ราชการส่วนท้องถิ่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยา
แล้วแต่กรณี กำหนด
(๓) หน่วยงานของรัฐอื่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนด
ส่วนที่
๔
การแลกเปลี่ยน
ข้อ ๙๖ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องแลกเปลี่ยน
ให้กระทำได้เฉพาะการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์และการแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุ
ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ประเภทและชนิดเดียวกัน
ให้แลกเปลี่ยนได้
เว้นแต่การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์บางอย่างซึ่งสำนักงบประมาณหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมพัสดุนั้นกำหนด
หรือการแลกเปลี่ยนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณหรือหน่วยงานของรัฐนั้นก่อน
(๒) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ต่างประเภทหรือต่างชนิดกัน
ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณหรือหน่วยงานของรัฐนั้นก่อนทุกกรณี
(๓) การแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ให้แลกเปลี่ยนได้
ข้อ ๙๗
ในกรณีต้องมีการแลกเปลี่ยนพัสดุ
ให้เจ้าหน้าที่รายงานต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการ
โดยให้รายงานตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องแลกเปลี่ยน
(๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน
(๓) ราคาที่ซื้อหรือได้มาของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน
และราคาที่จะแลกเปลี่ยนได้โดยประมาณ
(๔) พัสดุที่จะรับแลกเปลี่ยน
และให้ระบุว่าจะแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
(๕) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี)
ในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนกับเอกชน
ให้ระบุวิธีที่จะแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งเหตุผล โดยเสนอให้นำวิธีการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุที่จะนำไปแลกครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท
จะเสนอให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจงโดยการเจรจาตกลงแลกเปลี่ยนกันก็ได้
ข้อ ๙๘
การแลกเปลี่ยนพัสดุกับเอกชน
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะตามความจำเป็น
โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๒๖ หรือข้อ ๒๗ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบและประเมินราคาพัสดุที่ต้องการแลกเปลี่ยนตามสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น
(๒)
ตรวจสอบรายละเอียดพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนว่าเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งานมาก่อน
เว้นแต่พัสดุเก่าที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนนั้นจะเป็นความจำเป็นไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐต้องเสียประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ
(๓) เปรียบเทียบราคาพัสดุที่จะแลกเปลี่ยนกัน
โดยพิจารณาจากราคาที่ประเมินตาม (๑) และราคาพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยน
ซึ่งถือตามราคากลางหรือราคามาตรฐาน หรือราคาในท้องตลาดโดยทั่วไป
(๔) ต่อรองกับผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรแลกเปลี่ยน
(๕) เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการ
(๖) ตรวจรับพัสดุโดยปฏิบัติตามข้อ ๑๗๕ โดยอนุโลม
ข้อ ๙๙
การแลกเปลี่ยนพัสดุของหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ที่จะตกลงกัน
ข้อ ๑๐๐
ครุภัณฑ์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์ของหน่วยงานของรัฐนั้นแล้ว
ให้แจ้งสำนักงบประมาณหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมพัสดุนั้น
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วแต่กรณี ทราบภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับครุภัณฑ์
ในกรณีการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
ให้ส่งสำเนาหลักฐานการดำเนินการตามข้อ ๙๗ หรือข้อ ๙๘ ไปด้วย
หมวด
๓
งานจ้างที่ปรึกษา
ส่วนที่
๑
บททั่วไป
ข้อ ๑๐๑
การจ้างที่ปรึกษา เป็นงานให้บริการเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐ
โดยที่ปรึกษาต้องเป็นที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
กระทรวงการคลัง เว้นแต่จะมีหนังสือรับรองจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง
ว่าไม่มีที่ปรึกษาเป็นผู้ให้บริการในงานที่จ้างนั้นหรือเป็นงานจ้างที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
ให้หน่วยงานของรัฐแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศไว้ในรายงานขอจ้าง
โดยการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ในครั้งนั้นจะต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรไทย
เว้นแต่สาขาบริการหรืองานจ้างที่ไม่อาจมีบุคลากรไทยได้
ข้อ ๑๐๒
หน่วยงานของรัฐแห่งใดประสงค์จะจ้างที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น
ให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดต่อไป
ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการนโยบายอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และรายละเอียดการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติก็ได้
ส่วนที่
๒
กระบวนการจ้างที่ปรึกษา
การจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๐๓
ในงานจ้างที่ปรึกษา
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง
หรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
องค์ประกอบ ระยะเวลาการพิจารณา
และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดตามความจำเป็นและเหมาะสม
รายงานขอจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๐๔
ในการจ้างที่ปรึกษาให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอจ้างที่ปรึกษาเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ตามรายการดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา
(๒) ขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา
(๓) คุณสมบัติของที่ปรึกษาที่จะจ้าง
(๔) ราคากลางงานจ้างที่ปรึกษา
(๕) วงเงินที่จะจ้างที่ปรึกษา โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ
ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะจ้างในครั้งนั้น
(๖) กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานจ้างที่ปรึกษา
(๗) วิธีจ้างที่ปรึกษา และเหตุผลที่ต้องจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีนั้น
(๘) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๙) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จำเป็นในการจ้างที่ปรึกษา การออกเอกสารการจ้างที่ปรึกษาและประกาศเผยแพร่
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจ้างตามวิธีการจ้างนั้นต่อไปได้
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๐๕
ในการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาแต่ละครั้ง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาขึ้น
เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
(๒) คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
(๓) คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(๔) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา
ให้คณะกรรมการการดำเนินงานจ้างแต่ละคณะ
รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๐๖
คณะกรรมการตามข้อ ๑๐๕ แต่ละคณะให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน
และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ
พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ
หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น
โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ที่กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากต่างประเทศ
ให้มีผู้แทนจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐจะแต่งตั้งบุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
แต่จำนวนกรรมการที่เป็นบุคคลอื่นนั้นจะต้องไม่มากกว่าจำนวนกรรมการตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทุกคณะ
ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานจ้างนั้น ๆ
เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
ข้อ ๑๐๗
องค์ประชุมของคณะกรรมการ มติของคณะกรรมการ
และการมีส่วนได้เสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณา ให้นำความตามข้อ ๒๗
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
วิธีการจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๐๘
การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้ ๓ วิธีดังนี้
(๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
(๒) วิธีคัดเลือก
(๓) วิธีเฉพาะเจาะจง
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ข้อ ๑๐๙
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารจ้างที่ปรึกษาด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปพร้อมประกาศเชิญชวน
ตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
การทำเอกสารจ้างที่ปรึกษาและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความ หรือรายการแตกต่างไปจากแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบและไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบก็ให้กระทำได้
เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างเอกสารจ้างที่ปรึกษาและประกาศเชิญชวนดังกล่าวไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
การกำหนดวัน
เวลาการยื่นข้อเสนอในเอกสารจ้างที่ปรึกษาและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ให้กำหนดเป็นวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษา
โดยกำหนดเป็นวัน เวลา ทำการ เพียงวันเดียว
ข้อ ๑๑๐
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอจ้างที่ปรึกษา ตามข้อ ๑๐๔
แล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่เผยแพร่ประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษาในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ
และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ
โดยให้คำนึงถึงระยะเวลาในการให้ที่ปรึกษาเตรียมการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอด้วย
การให้เอกสารจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กระทำไปพร้อมกันกับการเผยแพร่ประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษาตามวรรคหนึ่ง
เพื่อให้ที่ปรึกษาที่ประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอสามารถขอรับเอกสารจ้างที่ปรึกษาตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้ายของการเผยแพร่ประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๑๑
ให้กรมบัญชีกลางจัดส่งประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษาให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๑๒
เมื่อถึงกำหนดวันยื่นซองข้อเสนอในงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดวันยื่นซองข้อเสนอ
ข้อ ๑๑๓
ในการยื่นซองข้อเสนอ
ที่ปรึกษาที่ประสงค์จะยื่นข้อเสนอจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปครั้งนั้น
และส่งถึงหน่วยงานของรัฐผู้ดำเนินการจ้างโดยยื่นโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ
พร้อมรับรองเอกสารหลักฐานที่ยื่นว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องและเป็นความจริงทุกประการ
ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซอง
ในกรณีที่ปรึกษามายื่นซองให้ออกใบรับให้แก่ที่ปรึกษา
และให้ส่งมอบซองข้อเสนอทั้งหมดและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รับไว้ต่อคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปครั้งนั้น
เพื่อดำเนินการต่อไป
การยื่นซองผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
ให้เป็นไปตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๑๑๔
เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ดำเนินการดังนี้
(๑) เปิดซองข้อเสนอ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของที่ปรึกษาทุกราย
แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอทุกแผ่น
(๒) ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของที่ปรึกษาแล้วคัดเลือกที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และยื่นเอกสารครบถ้วน
ถูกต้อง มีคุณสมบัติ
และข้อเสนอเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในเอกสารจ้างที่ปรึกษา
ในกระบวนการพิจารณา
อาจสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากที่ปรึกษารายใดก็ได้
แต่จะให้ที่ปรึกษารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้
และหากคณะกรรมการเห็นว่า
ที่ปรึกษารายใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้ในประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษาให้คณะกรรมการตัดรายชื่อของที่ปรึกษารายนั้น
ในกรณีที่ที่ปรึกษารายใดเสนอเอกสารด้านคุณภาพไม่ครบถ้วน
หรือเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษา
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ
และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อที่ปรึกษารายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยให้พิจารณาผ่อนปรนการตัดสิทธิ์ที่ปรึกษารายนั้นและพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
(๓) เปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษารายที่ถูกต้องตาม (๒)
และพิจารณาเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุด และจัดลำดับไว้ไม่เกิน ๓ ราย
กรณีที่ปรึกษารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด
ไม่เข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนดตามเอกสารจ้างที่ปรึกษา
ให้คณะกรรมการพิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดรายถัดไป
กรณีที่มีที่ปรึกษาเสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย
ให้เรียกที่ปรึกษาดังกล่าวมาเสนอราคาใหม่ด้วยวิธีการยื่นซองข้อเสนอด้านราคา
และพิจารณาเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุด
(๔) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(ก) รายละเอียดงานจ้างที่ปรึกษา
(ข) รายชื่อที่ปรึกษา วงเงินที่เสนอ และข้อเสนอของที่ปรึกษาทุกราย
(ค)
รายชื่อที่ปรึกษาที่ผ่านการคัดเลือกว่าไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
(ง) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ พร้อมเกณฑ์การให้คะแนน
(จ)
ผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอและการให้คะแนนข้อเสนอของที่ปรึกษาทุกรายพร้อมเหตุผลสนับสนุนในการพิจารณา
ข้อ ๑๑๕
เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปได้พิจารณาตามข้อ
๑๑๔ แล้ว ปรากฏว่า มีที่ปรึกษาเข้ายื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว
หรือมีที่ปรึกษาเข้ายื่นข้อเสนอหลายรายแต่ผ่านการคัดเลือกเพียงรายเดียว
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
เพื่อยกเลิกการประกาศเชิญชวนทั่วไปครั้งนั้น
แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกาศเชิญชวนทั่วไป
ให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองกับที่ปรึกษารายนั้น
ในกรณีที่ไม่มีที่ปรึกษาเข้ายื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการจ้างในครั้งนั้น
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่า
หากดำเนินการจ้างด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๒) (ก)
หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ก) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอจ้างตามข้อ ๑๐๔
ข้อ ๑๑๖
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปที่ปรากฏว่าราคาของที่ปรึกษาที่ได้รับการคัดเลือกยังสูงกว่าวงเงินที่จะจ้างตามข้อ
๑๐๔ ให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้
(๑) ให้แจ้งที่ปรึกษารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรจ้างนั้น
เพื่อต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ หากที่ปรึกษารายนั้นยอมลดราคาแล้ว
หากราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะจ้าง
หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก
แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม
ก็ให้เสนอจ้างจากที่ปรึกษาที่เสนอราคารายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล
ให้แจ้งที่ปรึกษาที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพทุกราย เพื่อเสนอราคาใหม่พร้อมกันยื่นซองข้อเสนอด้านราคาภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
หากที่ปรึกษารายใดไม่ยื่นซองข้อเสนอด้านราคาให้ถือว่าที่ปรึกษาที่เสนอราคารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม
หากที่ปรึกษาที่เสนอราคาต่ำสุดในการเสนอราคาครั้งนั้นเสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะจ้าง
หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอจ้างจากที่ปรึกษารายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล
ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะขอเงินเพิ่ม
หรือยกเลิกการจ้างในครั้งนั้น และดำเนินการประกาศเชิญชวนทั่วไปใหม่
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการประกาศเชิญชวนทั่วไปใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง
ตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๒) (ก) หรือมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ก) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอจ้างตามข้อ ๑๐๔
ข้อ ๑๑๗ ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตามข้อ
๑๑๔ ข้อ ๑๑๕ หรือข้อ ๑๑๖ แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปรายงานผลการพิจารณา
และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๑๘
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ ๑๑๗
และผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างแล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ชนะงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
และแจ้งให้ที่ปรึกษาที่เข้ายื่นข้อเสนอทุกรายทราบผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e - mail)
ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
วิธีคัดเลือก
ข้อ ๑๑๙
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๑๐๔
แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ขอรายชื่อที่ปรึกษาในสาขางานที่จะจ้างจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
กระทรวงการคลังแล้วมอบให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ ๑๒๐
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดทำหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่า
๓ ราย เว้นแต่ในงานนั้นมีที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า ๓ ราย
ให้เข้ายื่นข้อเสนอ โดยให้คำนึงถึงการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เข้ายื่นข้อเสนอ
พร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาที่คณะกรรมการมีหนังสือเชิญชวนไปด้วย
(๒) การยื่นซองข้อเสนอและการรับซองข้อเสนอ
ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๑๓ โดยอนุโลม
(๓) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการรับซองข้อเสนอ ให้รับซองข้อเสนอของที่ปรึกษาเฉพาะรายที่คณะกรรมการได้มีหนังสือเชิญชวนเท่านั้น
พร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาที่มายื่นข้อเสนอ
เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองข้อเสนอ ห้ามรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพิ่มเติมจากที่ปรึกษา
(๔) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้เปิดซองข้อเสนอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทุกราย
แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอทุกแผ่น
(๕) ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของที่ปรึกษาแล้วคัดเลือกที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และยื่นเอกสารครบถ้วน
ถูกต้อง มีคุณสมบัติ
และข้อเสนอเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน
ในกระบวนการพิจารณา
อาจสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากที่ปรึกษารายใดก็ได้
แต่จะให้ที่ปรึกษารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ และหากคณะกรรมการเห็นว่าที่ปรึกษารายใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน
ให้คณะกรรมการตัดรายชื่อของที่ปรึกษารายนั้นออกจากการคัดเลือกในครั้งนั้น
ในกรณีที่ที่ปรึกษารายใดเสนอเอกสารไม่ครบถ้วน
หรือเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวนในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ
และความแตกต่างนั้น
ไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อที่ปรึกษารายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย
ให้พิจารณาผ่อนปรนการตัดสิทธิ์ที่ปรึกษารายนั้นและพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
(๖) พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของที่ปรึกษารายที่ถูกต้องตาม (๕)
และผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพที่หน่วยงานของรัฐกำหนดและจัดลำดับ
และให้พิจารณาคัดเลือกผู้ชนะหรือผู้ได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก)
กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานของรัฐหรืองานที่ซับซ้อนให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนรวมด้านคุณภาพและด้านราคามากที่สุด
(ข) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่มีความซับซ้อนมาก
ให้คัดเลือกรายที่ได้คะแนนด้านคุณภาพมากที่สุด
ในกรณีที่ปรึกษารายที่คัดเลือกไว้ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนด
ให้คณะกรรมการพิจารณาที่ปรึกษาที่ได้คะแนนมากที่สุดลำดับถัดไป ตาม (ก) หรือ (ข)
แล้วแต่กรณี
(๗) ในกรณีที่มีที่ปรึกษาได้คะแนนเท่ากันหลายราย ให้ดำเนินการดังนี้
(ก) กรณีตาม (๖) (ก) ให้พิจารณาผู้ที่ได้รับคะแนนด้านคุณภาพมากที่สุด
(ข) กรณีตาม (๖) (ข) ให้พิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด
(๘) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๑๑๔ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒๑
เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกได้พิจารณาตามข้อ ๑๒๐
แล้วปรากฏว่า
มีที่ปรึกษาเข้ายื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีที่ปรึกษาเข้ายื่นข้อเสนอหลายรายแต่ผ่านการคัดเลือกเพียงรายเดียว
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการคัดเลือกครั้งนั้นแต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการคัดเลือก
ให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองกับที่ปรึกษารายนั้น
ในกรณีที่ไม่มีที่ปรึกษาเข้ายื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการจ้างในครั้งนั้น
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการคัดเลือกใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ก) ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอจ้างตามข้อ ๑๐๔
ข้อ ๑๒๒
ในกรณีที่ปรากฏว่า
ราคาของที่ปรึกษาที่เป็นผู้ชนะหรือได้รับการคัดเลือกยังสูงกว่าวงเงินที่จะจ้างตามข้อ
๑๐๔ ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกดำเนินการดังนี้
(๑) ต่อรองราคากับที่ปรึกษารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรจ้างนั้น
ให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ หากที่ปรึกษารายนั้นยอมลดราคาแล้ว
ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะจ้าง หรือสูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะจ้าง
หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก
แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะจ้าง
ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอจ้างจากที่ปรึกษารายนั้น
(๒) หากดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะขอเงินเพิ่ม
หรือยกเลิกการจ้างในครั้งนั้น และดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกใหม่
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ก) ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอจ้างตามข้อ ๑๐๔
ข้อ ๑๒๓ ให้นำความในข้อ
๑๑๘ มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกในงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
โดยอนุโลม
วิธีเฉพาะเจาะจง
ข้อ ๑๒๔
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๑๐๔
แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือเจรจาต่อรองราคา
(๒)
พิจารณาข้อเสนอของที่ปรึกษาและเจรจาต่อรองกับที่ปรึกษารายนั้นโดยตรง
เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่เหมาะสม ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐมากที่สุด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจ้างครั้งนั้น
(๓) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๑๑๔ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒๕ ให้นำความในข้อ
๑๑๘
มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกในงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
โดยอนุโลม
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
ข้อ ๑๒๖ ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
หรือวิธีคัดเลือก นอกจากให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพ ประกอบด้วย (๑)
ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา (๒) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน (๓)
จำนวนบุคลากรที่ร่วมงาน (๔) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
(๕) ข้อเสนอทางด้านการเงิน และ (๖) เกณฑ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว
ให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการพิจารณาและการให้น้ำหนัก ตามความในมาตรา ๗๖ วรรคหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินงานประจำ งานที่มีมาตรฐานเชิงคุณภาพตามหลักวิชาชีพอยู่แล้ว
หรืองานที่ไม่ซับซ้อน
ให้หน่วยงานของรัฐคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้วและให้คัดเลือกจากรายที่เสนอราคาต่ำสุด
(๒)
กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานของรัฐหรืองานที่ซับซ้อนให้หน่วยงานของรัฐคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้วและให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนรวมด้านคุณภาพและด้านราคามากที่สุด
(๓) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่มีความซับซ้อนมาก
ให้หน่วยงานของรัฐคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้วและให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนด้านคุณภาพมากที่สุด
อำนาจในการสั่งจ้างงานจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๒๗
การสั่งจ้างงานจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๒๘
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดผู้มีอำนาจและวงเงินในการสั่งจ้างที่ปรึกษาตามข้อ
๑๒๗ แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ค่าจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๑๒๙
อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัดโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง
ๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่หน่วยงานของรัฐอื่นเคยจ้าง จำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ
เป็นต้น แต่ทั้งนี้
จะต้องไม่เกินกว่าอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามที่ผู้รักษาการตามระเบียบประกาศกำหนด
(ถ้ามี) ด้วย
ค่าจ้างล่วงหน้า
ข้อ ๑๓๐
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า
ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างตามสัญญา
และที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญาจะต้องนำหนังสือค้ำประกันหรือหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารในประเทศมาค้ำประกันเงินที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้น
และให้หน่วยงานของรัฐคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่คู่สัญญาเมื่อหน่วยงานของรัฐได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้
ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในประกาศและเอกสารเชิญชวน หรือหนังสือเชิญชวน
และในสัญญาด้วย
สำหรับการจ้างหน่วยงานของรัฐ
ให้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามสัญญา
และไม่ต้องมีหลักประกันเงินล่วงหน้าที่รับไปก็ได้
หมวด
๔
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ส่วนที่
๑
บททั่วไป
ข้อ ๑๓๑
ในกรณีราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
หรือราชการส่วนท้องถิ่นใดไม่มีหน่วยงานออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างหรือมีแต่ไม่สามารถออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างได้เอง
อาจขอความร่วมมือกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมศิลปากร
หรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีหน่วยงานออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างก่อนก็ได้
ข้อ ๑๓๒
หน่วยงานของรัฐแห่งใดที่ประสงค์จะจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้กับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น
ให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และรายละเอียดการดำเนินการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดต่อไป
ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการนโยบายอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และรายละเอียดการดำเนินการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติก็ได้
ข้อ ๑๓๓
ผู้ให้บริการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต้องไม่มีส่วนได้เสียกับผู้ประกอบการงานก่อสร้างในงานนั้น
ในลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) มีความสัมพันธ์โดยตรง คือ
ผู้ให้บริการจะต้องไม่เป็นผู้รับจ้างงานก่อสร้างในงานที่ตนเองเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น
(๒) มีความสัมพันธ์โดยอ้อม คือ
ผู้ให้บริการจะต้องไม่เป็นผู้รับจ้างให้กับคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐในงานที่ตนเองเป็นผู้ให้บริการ
ข้อ ๑๓๔
ผู้ให้บริการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีสัญชาติไทยและเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรมสำหรับงานว่าจ้างตามที่กำหนด
โดยกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรม แล้วแต่กรณี
ผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล
กรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลนั้น จะต้องเป็นคนไทย
และเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเกินร้อยละห้าสิบของทุนการจัดตั้งนิติบุคคลนั้น
ข้อ ๑๓๕
ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างหรือหน่วยงานของรัฐอื่น จะนำแบบแปลนรายละเอียดงานจ้างไปดำเนินการก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญา
ให้ผู้ว่าจ้างหรือหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ
จ่ายเงินค่าจ้างแก่ผู้ให้บริการจ้างออกแบบงานก่อสร้าง
ตามอัตราที่ผู้รักษาการตามระเบียบประกาศกำหนด
ข้อ ๑๓๖
ห้ามผู้ให้บริการจ้างออกแบบงานก่อสร้างนำแบบแปลนรายละเอียดงานจ้างที่ได้ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างแล้วไปให้ผู้อื่นดำเนินการก่อสร้างอีก
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างก่อน
ข้อ ๑๓๗
ระหว่างดำเนินการตามสัญญาจ้าง
ผู้ว่าจ้างอาจขอให้ผู้ให้บริการจ้างออกแบบงานก่อสร้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดเล็ก
ๆ น้อย ๆ ในส่วนที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างที่สำคัญ
และเป็นไปตามมาตรฐานงานก่อสร้างที่ผู้ให้บริการจ้างออกแบบงานก่อสร้างได้ส่งมอบตามงวดงานในสัญญาแล้ว
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก
ข้อ ๑๓๘
ผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างจะต้องจัดผู้ควบคุมงานที่มีความรู้และมีความชำนาญงานก่อสร้างให้เหมาะสมกับสภาพงานก่อสร้างนั้น
ๆ
ผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างจะต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงาน
ผู้ตรวจการหรือผู้แทน ให้ผู้ว่าจ้างให้ความเห็นชอบ
และในกรณีที่ผู้ควบคุมงานไม่สามารถปฏิบัติงานตามความในวรรคหนึ่ง ผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างจะต้องเสนอชื่อผู้ควบคุมงานปฏิบัติงานแทน
ผู้ที่ปฏิบัติงานแทนในกรณีดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง
ส่วนที่
๒
กระบวนการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
การจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๑๓๙
ในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง
หรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
องค์ประกอบ ระยะเวลาการพิจารณา และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดตามความจำเป็นและเหมาะสม
รายงานขอจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๑๔๐
ในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอจ้างออกแบบ
หรือควบคุมงานก่อสร้างเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตามรายการดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
(๒) ขอบเขตของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
(๓) คุณสมบัติของผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
(๔) วงเงินค่าก่อสร้างโดยประมาณ
(๕) ค่าจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยประมาณ
(๖) กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
(๗) วิธีที่จะจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
และเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น
(๘) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๙) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จำเป็นในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง การออกประกาศและเอกสารเชิญชวน
หรือหนังสือเชิญชวน
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจ้างตามวิธีการจ้างนั้นต่อไปได้
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๑๔๑
ในการดำเนินการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี ดังนี้
(๑)
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
(๒)
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือก
(๓) คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(๔) คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบ
(๕) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างแต่ละคณะ
รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้าให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๔๒
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตามข้อ ๑๔๑
แต่ละคณะประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน
ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย
พนักงานของรัฐ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น
โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
นอกเหนือจากกรณีตามวรรคหนึ่ง จะแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอกในงานที่จ้างนั้นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ ๑๔๓
องค์ประชุมของคณะกรรมการ มติของคณะกรรมการ
และการมีส่วนได้เสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณา ให้นำความตามข้อ ๒๗
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
วิธีการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๑๔๔ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
กระทำได้ ๔ วิธีดังนี้
(๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
(๒) วิธีคัดเลือก
(๓) วิธีเฉพาะเจาะจง
(๔) วิธีประกวดแบบ
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ข้อ ๑๔๕ ให้นำความในข้อ
๑๐๙ ข้อ ๑๑๐ ข้อ ๑๑๑ ข้อ ๑๑๒ และข้อ ๑๑๓ มาใช้บังคับกับการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปในส่วนนี้
โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔๖
เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ดำเนินการดังนี้
(๑) เปิดซองข้อเสนอ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของผู้ให้บริการทุกราย
แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอทุกแผ่น
(๒) ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของผู้ให้บริการ แล้วคัดเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
และยื่นเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง มีคุณสมบัติและข้อเสนอเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในเอกสารงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ในกระบวนการพิจารณา
อาจสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการรายใดก็ได้
แต่จะให้ผู้ให้บริการรายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ และหากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ให้บริการรายใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้ในประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้คณะกรรมการตัดรายชื่อของผู้ให้บริการรายนั้น
ในกรณีที่ผู้ให้บริการรายใดเสนอเอกสารด้านคุณภาพไม่ครบถ้วน
หรือเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ
และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ให้บริการรายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยให้พิจารณาผ่อนปรนการตัดสิทธิ์ผู้ให้บริการรายนั้นและพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
(๓) พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้ให้บริการรายที่ถูกต้องตาม (๒)
ซึ่งมีคุณภาพ และคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ
แล้วให้เสนอจ้างจากรายที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดและจัดลำดับไว้ไม่เกิน ๓ ราย
ในกรณีที่ผู้ให้บริการรายที่คัดเลือกไว้ซึ่งได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดไม่ยอมเข้าทำสัญญา
หรือข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนดตามเอกสารงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้คณะกรรมการพิจารณาผู้ที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดในลำดับถัดไป
(๔) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๑๑๔ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔๗
เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปได้พิจารณาตามข้อ
๑๔๖ แล้ว
ปรากฏว่ามีผู้ให้บริการยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ให้บริการหลายรายแต่ผ่านการคัดเลือกเพียงรายเดียว
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการประกาศเชิญชวนทั่วไปครั้งนั้น
แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกาศเชิญชวนทั่วไป
ให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการรายนั้น
ในกรณีที่ไม่มีผู้ให้บริการเข้ายื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการจ้างในครั้งนั้น
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการประกาศเชิญชวนทั่วไปใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๘๑ (๑)
หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๘๒ (๑) แล้วแต่กรณี ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงเป็นอย่างอื่น
ให้เริ่มกระบวนการจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอจ้างตามข้อ ๑๔๐
ข้อ ๑๔๘ ให้นำความในข้อ
๑๑๘ มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ชนะในงานจ้างออกแบบ
หรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป โดยอนุโลม
วิธีคัดเลือก
ข้อ ๑๔๙
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตามข้อ
๑๔๐ แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง โดยวิธีคัดเลือก
ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ
ไม่น้อยกว่า ๓ ราย
เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า ๓ รายให้เข้ายื่นข้อเสนอ
โดยให้คำนึงถึงการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เข้ายื่นข้อเสนอ
และให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ให้บริการที่คณะกรรมการมีหนังสือเชิญชวนไปด้วย
(๒) การยื่นซองข้อเสนอและการรับซองข้อเสนอ ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๑๓
โดยอนุโลม
(๓) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการรับซองข้อเสนอ
ให้รับซองข้อเสนอของผู้ให้บริการเฉพาะรายที่คณะกรรมการมีหนังสือเชิญชวนเท่านั้น
พร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ให้บริการที่มายื่นข้อเสนอ
เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองข้อเสนอ ห้ามรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการ
(๔) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้เปิดซองข้อเสนอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทุกราย
แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอทุกแผ่น
(๕) ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ให้บริการแล้วคัดเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
และยื่นเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง มีคุณสมบัติ
และข้อเสนอเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน
ในกระบวนการพิจารณา
อาจสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการรายใดก็ได้แต่จะให้ผู้ให้บริการรายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้
และหากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ให้บริการรายใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน
ให้คณะกรรมการตัดรายชื่อของผู้ให้บริการรายนั้นออกจากการคัดเลือกในครั้งนั้น
ในกรณีที่ผู้ให้บริการรายใดเสนอเอกสารไม่ครบถ้วน
หรือเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวนในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ
และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ให้บริการรายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย
ให้พิจารณาผ่อนปรนการตัดสิทธิ์ผู้ให้บริการรายนั้นและพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
(๖) พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้ให้บริการรายที่ถูกต้องตาม (๕)
ซึ่งมีคุณภาพ และคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ
แล้วให้เสนอจ้างจากรายที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดและจัดลำดับ
ในกรณีที่ผู้ให้บริการรายที่คัดเลือกไว้ซึ่งได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดไม่ยอมเข้าทำสัญญา
หรือข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนด
ให้คณะกรรมการพิจารณาผู้ให้บริการที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดลำดับถัดไป
(๗) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๑๑๔ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๕๐ เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือก
ได้พิจารณาตามข้อ ๑๔๙ แล้ว
ปรากฏว่ามีผู้ให้บริการเข้ายื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ให้บริการเข้ายื่นข้อเสนอหลายรายแต่ผ่านการคัดเลือกเพียงรายเดียว
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการคัดเลือกครั้งนั้น
แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการคัดเลือก
ให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการรายนั้น
ในกรณีที่ไม่มีผู้ให้บริการเข้ายื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณายกเลิกการจ้างในครั้งนั้น
แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกใหม่อาจไม่ได้ผลดี
จะสั่งให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๘๒ (๑) ก็ได้
เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุอื่น
ให้เริ่มกระบวนการจ้างใหม่โดยการจัดทำรายงานขอจ้างตามข้อ ๑๔๐
ข้อ ๑๕๑ ให้นำความในข้อ
๑๑๘
มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือก
โดยอนุโลม
วิธีเฉพาะเจาะจง
ข้อ ๑๕๒
เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอจ้างออกแบบ
หรือควบคุมงานก่อสร้างตามข้อ ๑๔๐ แล้ว
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถแล้วและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานที่ว่าจ้างนั้นให้เข้ายื่นข้อเสนอ
(๒) พิจารณาข้อเสนอของผู้ให้บริการ เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่เหมาะสม
ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐมากที่สุด
และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจ้างครั้งนั้น
(๓) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๑๑๔ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๕๓ ให้นำความในข้อ
๑๑๘
มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
โดยอนุโลม
วิธีประกวดแบบ
ข้อ ๑๕๔
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบพร้อมประกาศเชิญชวน
ตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
การทำเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบและประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง
ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบและไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบก็ให้กระทำได้
เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างและประกาศดังกล่าวไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
ข้อ ๑๕๕ เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอจ้างออกแบบงานก่อสร้างตามข้อ
๑๔๐ แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ขั้นตอนที่ ๑ การประกวดแนวความคิดในการออกแบบ
(ก) ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเผยแพร่ประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ
และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑๕ วันทำการ
โดยให้คำนึงถึงระยะเวลาในการชี้แจงรายละเอียด (ถ้ามี)
และระยะเวลาที่ให้ผู้ให้บริการเตรียมการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอด้วย
และให้กรมบัญชีกลางจัดส่งประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
การให้เอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบ
รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กระทำไปพร้อมกันกับการเผยแพร่ประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างตามวรรคหนึ่ง
เพื่อให้ผู้ให้บริการที่ประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอสามารถขอรับเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้ายของการเผยแพร่ประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้าง
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดแนวความคิด
ให้กำหนดเป็นวันทำการวันใดวันหนึ่งก่อนวันยื่นข้อเสนอ
การกำหนดวัน เวลาในการยื่นข้อเสนอให้กำหนดเป็นวัน เวลา
ทำการเพียงวันเดียวหลังจากสิ้นสุดการเผยแพร่ประกาศและเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความในข้อ ๑๑๓ มาใช้บังคับกับการยื่นข้อเสนอโดยวิธีประกวดแบบ
โดยอนุโลม
(ข) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบ
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ของผู้ให้บริการทุกรายแล้วคัดเลือกผู้ให้บริการที่ยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ถูกต้อง และเสนอแนวความคิดในการออกแบบเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารงานจ้างออกแบบก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบ
แล้วให้คัดเลือกผู้ให้บริการที่เสนอแนวความคิดที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐและจัดลำดับ
(ค) ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ให้บริการที่ได้รับคัดเลือกตาม
(ข) แล้วคัดเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
เพื่อไปดำเนินการขั้นตอนที่ ๒ ต่อไป
(ง) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา
และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(จ) เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบตาม (ง) แล้ว
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ให้บริการที่ได้รับการคัดเลือกแนวความคิดในขั้นตอนที่
๑ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ
และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้นและแจ้งให้ผู้ให้บริการที่เสนอแนวคิดทุกรายทราบผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(e - mail)
ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
(๒) ขั้นตอนที่ ๒ การประกวดแบบ
(ก) ให้ผู้ให้บริการที่ได้รับการคัดเลือกแนวความคิดในขั้นตอนที่ ๑
ทุกรายพัฒนาแนวความคิดที่ได้เสนอไว้แล้วให้เป็นแบบงานก่อสร้างตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
และจัดส่งแบบงานก่อสร้างดังกล่าวให้หน่วยงานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด
พร้อมเสนอรายชื่อผู้ให้บริการที่จะเข้าทำสัญญาร่วมงานกัน (ถ้ามี)
และรายชื่อสถาปนิกหรือวิศวกรทุกสาขาที่เกี่ยวข้องที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรม
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดแบบให้กำหนดเป็นวันทำการวันใดวันหนึ่ง
โดยให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงรายละเอียดให้ผู้ให้บริการทุกรายทราบไม่น้อยกว่า ๗
วันทำการ ก่อนถึงกำหนดวันยื่นข้อเสนอ
การกำหนดวัน เวลาในการยื่นข้อเสนอให้กำหนดเป็นวันทำการวันใดวันหนึ่งโดยให้คำนึงถึงระยะเวลาในการให้ผู้ให้บริการจัดทำแบบงานก่อสร้าง
(ข) เมื่อถึงกำหนดเวลาการเปิดซองข้อเสนอ
ให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบ
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทุกรายและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน
แล้วคัดเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันและยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องแล้วคัดเลือกผู้ให้บริการที่ยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ถูกต้อง และเสนอแบบเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐ
แล้วให้คัดเลือกผู้ชนะการประกวดแบบที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดและจัดลำดับ
ในกรณีที่ผู้ให้บริการรายที่คัดเลือกไว้ซึ่งได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดไม่ยอมเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนดตามเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้าง
ให้คณะกรรมการพิจารณาผู้ที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุดในลำดับถัดไป
(ค) จัดทำรายงานผลการพิจารณา โดยให้นำความในข้อ ๑๑๔ (๔)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๕๖ ให้นำความในข้อ
๑๑๘ มาใช้บังคับกับการประกาศผลผู้ชนะในงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบ
โดยอนุโลม
ข้อ ๑๕๗
หน่วยงานของรัฐอาจกำหนดเงินค่าตอบแทนให้กับผู้เข้าประกวดแบบในขั้นตอนที่ ๒
ที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ ๑๕๕ (๒) (ข)
โดยให้คำนึงความเหมาะสมและประโยชน์ต่อทางราชการเป็นสำคัญ ทั้งนี้
ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งการจ่ายเงินค่าตอบแทนดังกล่าวไว้ในประกาศและเอกสารงานจ้างออกแบบงานก่อสร้างโดยวิธีประกวดแบบด้วย
อำนาจในการสั่งจ้างงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๑๕๘
การสั่งจ้างงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างครั้งหนึ่ง
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๕๙
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดผู้มีอำนาจและวงเงินในการสั่งจ้างตามข้อ
๑๕๘ แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ข้อ ๑๖๐
อัตราค่าจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙๐ วรรคสอง
หมวด
๕
การทำสัญญาและหลักประกัน
ส่วนที่
๑
สัญญา
ข้อ ๑๖๑
การลงนามในสัญญาและการแก้ไขสัญญาตามระเบียบนี้
เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
การลงนามในสัญญาตามวรรคหนึ่ง
จะกระทำได้เมื่อพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง
ข้อ ๑๖๒
การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
นอกจากการจ้างที่ปรึกษาให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑
- ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ
เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน
ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐
ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท
สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค ที่มีผลกระทบต่อการจราจร
ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของราคางานจ้างนั้น
แต่อาจจะกำหนดขั้นสูงสุดของการปรับก็ได้
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา หากหน่วยงานของรัฐเห็นว่า
ถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาจะเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ
ให้หน่วยงานของรัฐผู้จัดทำสัญญากำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาเป็นรายวันในอัตราหรือจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ
๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น
การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งและวรรคสองในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ คำนึงถึงราคา กำหนดระยะเวลาของการใช้งาน
และลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา
หรือกระทบต่อการจราจร หรือความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ แล้วแต่กรณี
ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์
แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน
ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา
ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย
ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด
ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด
ทั้งนี้ ให้กำหนดเรื่องค่าปรับไว้ในเอกสารเชิญชวนให้ชัดเจนด้วย
ข้อ ๑๖๓
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องกำหนดค่าปรับนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๖๒ เนื่องจากถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาจะเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ
เช่น งานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หรืองานที่อยู่ระหว่างการรับประกันความชำรุดบกพร่องจากการซื้อขายคอมพิวเตอร์
ให้พิจารณากำหนดอัตราค่าปรับในกรณีดังกล่าว โดยคำนึงถึงความสำคัญ
และลักษณะของงานที่จะกำหนด
และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่หน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ
ข้อ ๑๖๔
ให้หน่วยงานของรัฐส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกรมสรรพากรภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือข้อตกลง หรือตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๑๖๕
การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา ๙๗
ต้องอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
โดยหน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาเปรียบเทียบคุณภาพของพัสดุ หรือรายละเอียดของงาน
รวมทั้งราคาของพัสดุหรืองานตามสัญญาหรือข้อตกลงกับพัสดุที่จะทำการแก้ไขนั้นก่อนแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย
ในกรณีที่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง
หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกรผู้ชำนาญการ
หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบ หรือสามารถรับรอง คุณลักษณะเฉพาะ
แบบและรายการของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณี ด้วย
เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง แล้วแต่กรณี
ได้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้แก้ไขนั้น
ส่วนที่
๒
หลักประกัน
หลักประกันการเสนอราคา
ข้อ ๑๖๖
เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอ
ผู้เสนอราคาหรือผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการซื้อหรือจ้าง
หรือการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดหลักประกันการเสนอราคา
สำหรับการซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ที่มีวงเงินซื้อหรือจ้างหรือวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง เกินกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทดังนี้
การซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ให้มีการวางหลักประกันการเสนอราคาโดยให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์นั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน
๓ วันทำการ
(๒)
หนังสือคํ้าประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารภายในประเทศตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
(๓) พันธบัตรรัฐบาลไทย
(๔)
หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ
โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
สำหรับงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ให้มีการวางหลักประกันการเสนอราคา โดยให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) เงินสด
(๒) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์นั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่
หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ
(๓) หนังสือคํ้าประกันของธนาคารภายในประเทศตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
(๔)
หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ
โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
(๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย
กรณีเป็นการยื่นข้อเสนอจากต่างประเทศ
สำหรับการประกวดราคานานาชาติให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดี
และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเชื่อถือเป็นหลักประกันการเสนอราคาได้อีกประเภทหนึ่ง
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้เสนอราคานำหลักประกันการเสนอราคาตามวรรคสอง
(๑) (๓) หรือ (๔)
ให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้เสนอราคาส่งหลักประกันการเสนอราคาในรูปแบบ PDF File (Portable Document Format) ในวันเสนอราคา
และให้หน่วยงานของรัฐกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอ
หรือผู้เสนอราคาส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบความถูกต้อง
ตามวัน และเวลาที่กำหนด โดยจะต้องดำเนินการวันใดวันหนึ่งภายใน ๕ วันทำการ
นับถัดจากวันเสนอราคา เว้นแต่ไม่อาจดำเนินการวันใดวันหนึ่งได้
ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณากำหนดมากกว่า ๑ วันได้ แต่จำนวนวันดังกล่าวต้องไม่เกิน ๕
วันทำการ นับถัดจากวันเสนอราคา
ทั้งนี้ ให้ระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนให้ชัดเจนด้วย
หลักประกันสัญญา
ข้อ ๑๖๗
หลักประกันสัญญาให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) เงินสด
(๒) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์นั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่
หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ
(๓)
หนังสือคํ้าประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
โดยอาจเป็นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดก็ได้
(๔)
หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ
โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
(๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย
กรณีเป็นการยื่นข้อเสนอจากต่างประเทศ
สำหรับการประกวดราคานานาชาติให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดี
และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเชื่อถือเป็นหลักประกันสัญญาได้อีกประเภทหนึ่ง
ข้อ ๑๖๘
หลักประกันการเสนอราคาและหลักประกันสัญญา
ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละห้าของวงเงินงบประมาณหรือราคาพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น
แล้วแต่กรณี เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ
จะกำหนดอัตราสูงกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบก็ได้
ในการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกิน ๑ ปี
และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง
ให้กำหนดหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของราคาพัสดุที่ส่งมอบในแต่ละปีของสัญญา
โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกันตลอดอายุสัญญา
และหากในปีต่อไปราคาพัสดุที่ส่งมอบแตกต่างไปจากราคาในรอบปีก่อนให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปี
ในกรณีที่หลักประกันต้องปรับปรุงในทางที่เพิ่มขึ้นและคู่สัญญาไม่นำหลักประกันมาเพิ่มให้ครบจำนวนภายใน
๑๕ วัน ก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้น
ให้หน่วยงานของรัฐหักเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องจ่ายให้เป็นหลักประกันในส่วนที่เพิ่มขึ้น
การกำหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่ง
จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือในสัญญาด้วย
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาวางหลักประกันที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบเอกสารเชิญชวน
หรือสัญญา ให้อนุโลมรับได้
ข้อ ๑๖๙ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอหรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกัน
ข้อ ๑๗๐
ให้หน่วยงานของรัฐคืนหลักประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอ คู่สัญญา
หรือผู้ค้ำประกันตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) หลักประกันการเสนอราคาให้คืนให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอ
หรือผู้ค้ำประกันภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาเห็นชอบรายงานผลคัดเลือกผู้ชนะการซื้อหรือจ้างเรียบร้อยแล้ว
เว้นแต่ผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาตํ่าสุดไม่เกิน ๓ ราย
ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือผู้ยื่นข้อเสนอได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว
(๒) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว
และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วัน
นับถัดจากวันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว
การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่องให้คืนหลักประกันให้แก่คู่สัญญา
หรือผู้ค้ำประกันตามอัตราส่วนของพัสดุซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับมอบไว้แล้ว
แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนและในสัญญาด้วย
การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร
บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนดเวลาข้างต้น
ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็วพร้อมกับแจ้งให้ธนาคารบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ผู้ค้ำประกันทราบด้วย
สำหรับหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารให้คืนแก่ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๗๑
ในการทำสัญญาหากมีการแก้ไขสัญญาและมีผลทำให้วงเงินตามสัญญานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในกรณีเพิ่มขึ้น
คู่สัญญาต้องนำหลักประกันสัญญามาวางเท่ากับวงเงินหลักประกันสัญญาที่ได้เพิ่มนั้น
ถ้าหลักประกันสัญญาที่คู่สัญญานำมามอบไว้เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาลดลงหรือเสื่อมค่าลง
หรือมีอายุไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดของคู่สัญญาตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ
ก็ตามรวมถึงส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกำหนดความรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป
คู่สัญญาต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจำนวนครบถ้วนตามมูลค่าที่กำหนดในสัญญามามอบให้ภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
หลักประกันการรับเงินล่วงหน้า
ข้อ ๑๗๒
หลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามข้อ ๙๑ วรรคสอง หรือข้อ ๑๓๐ วรรคหนึ่ง
แล้วแต่กรณี
เมื่อหน่วยงานของรัฐได้หักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งที่จะใช้คืนเงินล่วงหน้าที่คู่สัญญาได้รับไปเป็นจำนวนเท่าใดแล้ว
หรือนำหลักประกันมาวางเท่ากับมูลค่าของเงินที่ต้องหัก
คู่สัญญาสามารถขอคืนหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าแต่บางส่วนได้ ทั้งนี้
จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนและในสัญญาด้วย
หลักประกันผลงาน
ข้อ ๑๗๓
ในการจ้างงานก่อสร้างที่หน่วยงานของรัฐกำหนดแบ่งการชำระเงินค่าจ้างออกเป็นงวด
และมีความประสงค์ให้มีการหักเงินประกันผลงานในแต่ละงวด
ให้กำหนดการหักเงินตามอัตราที่หน่วยงานของรัฐกำหนดของเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้นเพื่อเป็นหลักประกัน
ในกรณีที่เงินประกันผลงานถูกหักไว้แล้วเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
คู่สัญญามีสิทธิที่จะขอเงินประกันผลงานคืน
โดยคู่สัญญาจะต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารหรือหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารภายในประเทศมาค้ำประกันแทนการหักเงิน
โดยมีอายุการค้ำประกันตามที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนดก็ได้
ข้อ ๑๗๔
ในการจ้างที่ปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐที่แบ่งการชำระเงินออกเป็นงวด
ให้ผู้ว่าจ้างหักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าจ้าง
เพื่อเป็นการประกันผลงาน
หรือจะให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร
หรือหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารภายในประเทศที่มีอายุการค้ำประกันตามที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนดมาวางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้
ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย
หมวด
๖
การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๑๗๕
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อหรืองานจ้าง มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐก่อน
(๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้
สำหรับกรณีที่มีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์
จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา
หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น
ๆ ก็ได้
ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้
ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(๓) ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒
ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของหน่วยงานของรัฐและรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ
มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
เพื่อทราบและสั่งการ
(๕) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน
หรือส่งมอบครบจำนวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด
ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง
โดยถือปฏิบัติตาม (๔)
และให้รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน
๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ
แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์หน่วยงานของรัฐที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย
ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์
ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น
และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน
๓ วันทำการนับถัดจากวันที่ตรวจพบ
(๗)
ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕)
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๗๖ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง
มีหน้าที่ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบคุณวุฒิของผู้ควบคุมงานก่อสร้างของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๒) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง
และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานของหน่วยงานของรัฐรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา
หรือข้อตกลงทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน
หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(๓)
ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุออกตรวจงานจ้าง
ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ
ตามเวลาที่เหมาะสมและเห็นสมควร
และจัดทำบันทึกผลการออกตรวจงานจ้างนั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
(๔) นอกจากการดำเนินการตาม (๑) และ (๒)
ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือมีข้อตกลงมีข้อความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย
หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่างให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม
หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่าง
เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
(๕) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓ วันทำการ
นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน
และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๖)
เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น
และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี
โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ
และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐ
และรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
ให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบหรือสั่งการ
แล้วแต่กรณี
(๗)
ในกรณีที่กรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (๖)
ข้อ ๑๗๗
ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้งที่มีขั้นตอนการดำเนินการเป็นระยะ ๆ อันจำเป็นต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด
หรือมีเงื่อนไขการจ่ายเงินเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงาน
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ
พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ
หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐนั้น
หรือข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ
หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐอื่น ตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดแล้ว
ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน
จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างเป็นผู้ควบคุมงาน
ให้ดำเนินการจ้างโดยถือปฏิบัติตามหมวด ๔
ข้อ ๑๗๘ ผู้ควบคุมงาน
มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น
ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการโดยสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติม
หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร
และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา
ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด
แล้วแต่กรณี ไว้ก่อน
จนกว่าผู้รับจ้างจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งและให้รายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญา
หรือข้อตกลง และการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทันที
(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด
หรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน
หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง
หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัยให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างโดยเร็ว
(๓)
จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน
หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ
เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญา
หรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด
โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่
การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
(๔) ในวันกำหนดเริ่มงานของผู้รับจ้างตามสัญญาและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด
ให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่
ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบภายใน
๓ วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ
ข้อ ๑๗๙
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา มีหน้าที่ดังนี้
(๑)
กำกับและติดตามงานจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษา ณ ที่ทำการของผู้ว่าจ้าง
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๓) โดยปกติให้ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาในวันที่ที่ปรึกษานำผลงานมาส่ง
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้รับงานจ้างที่ปรึกษาไว้และถือว่าที่ปรึกษาได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ที่ปรึกษานำผลงานมาส่งแล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ
โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบแก่ที่ปรึกษา ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑
ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐ
และรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญา
แล้วให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบ หรือสั่งการ
แล้วแต่กรณี
(๕) ในกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน
ให้กรรมการดังกล่าวทำความเห็นแย้งไว้แล้วให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้รับผลงานนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (๔)
ข้อ ๑๘๐
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๒) ตรวจรับงาน ณ ที่ทำการของผู้ว่าจ้าง
หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(๓) โดยปกติให้ตรวจรับงานในวันที่ผู้ให้บริการนำผลงานมาส่ง
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(๔)
ในกรณีที่ผลงานบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามความประสงค์ของหน่วยงานของรัฐอันเนื่องมาจากไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางสถาปัตยกรรม
และหรือวิศวกรรม
ต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยเร็ว
(๕) เมื่อตรวจถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว
ให้รับงานไว้และถือว่าผู้ให้บริการได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ให้บริการนำผลงานมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒
ฉบับ มอบแก่ผู้ให้บริการ ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ
เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐและรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง
มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญา
หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามมีอำนาจที่จะสั่งให้หยุดงานนั้นชั่วคราวได้
หรือให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบ หรือสั่งการ
แล้วแต่กรณี
(๖) ในกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน
ให้กรรมการดังกล่าวทำความเห็นแย้งไว้แล้วให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้รับผลงานนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (๕)
ข้อ ๑๘๑
กรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงได้ครบกำหนดส่งมอบแล้ว
และมีค่าปรับเกิดขึ้นให้หน่วยงานของรัฐแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญาภายใน
๗ วันทำการนับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ
ให้หน่วยงานของรัฐบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ ๑๘๒
การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา
หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๒ ในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือเหตุสุดวิสัย
หรือเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือเหตุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทำให้คู่สัญญาไม่สามารถส่งมอบสิ่งของหรืองานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้
ให้หน่วยงานของรัฐระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงกำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้หน่วยงานของรัฐทราบภายใน
๑๕ วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อของดหรือลดค่าปรับ
หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้
เว้นแต่กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง
หรือหน่วยงานของรัฐทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ ๑๘๓
นอกจากการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๓
หากปรากฏว่าคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง
ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่หน่วยงานของรัฐ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น
ข้อ ๑๘๔
ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญา
ระหว่างที่อยู่ในระหว่างระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง
ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุ
เว้นแต่กรณีที่ไม่มีผู้ครอบครองพัสดุหรือมีหลายหน่วยงานครอบครอง
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุนั้น
ข้อ ๑๘๕
ในกรณีที่ปรากฏความชำรุดบกพร่องของพัสดุภายในระยะเวลาของการประกันความชำรุดบกพร่องตามสัญญา
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามข้อ ๑๘๔
รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมทันที
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบด้วย
ข้อ ๑๘๖
เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๑๘๕ แล้ว กรณีที่สัญญาจะครบกำหนดรับประกันความชำรุดบกพร่อง
ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาถึงความชำรุดบกพร่องของพัสดุ
เพื่อป้องกันความเสียหายจากนั้นให้คืนหลักประกันสัญญาต่อไป
ค่าเสียหาย
ข้อ ๑๘๗
กรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
หรือการบอกเลิกสัญญา หรือข้อตกลงนั้นเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เรียกค่าปรับ
แล้วแต่กรณี หากคู่สัญญาเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
คู่สัญญาจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าเสียหายก็ได้
ตามความในมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ให้คู่สัญญายื่นคำขอมายังหน่วยงานของรัฐคู่สัญญาภายใน ๑๕ วัน
นับถัดจากวันที่ได้มีการบอกเลิกสัญญา
(๒) คำขอต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ร้อง
และระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลอันเป็นเหตุแห่งการเรียกร้องให้ชัดเจน
พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วย
(๓) หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นให้แล้วเสร็จภายใน
๖๐ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับคำขอ หากไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้น
ให้ขอขยายระยะเวลาออกไปต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐได้ไม่เกิน ๑๕
วันนับถัดจากวันครบกำหนดเวลาดังกล่าว
(๔) ให้หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเสียหาย
และให้ทำหน้าที่ตามข้อ ๑๘๙
(๕)
ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือไปยังคู่สัญญาเมื่อพิจารณาคำร้องแล้วเสร็จภายใน
๗ วันทำการ นับถัดจากวันที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นชอบด้วยกับผลการพิจารณา
เมื่อหน่วยงานของรัฐมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาเป็นเช่นใดแล้ว
หากคู่สัญญายังไม่พอใจในผลการพิจารณาก็ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาต่อไป
ข้อ ๑๘๘
ให้หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการพิจารณาความเสียหาย
ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยให้แต่งตั้งจากข้าราชการ
ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย
พนักงานของรัฐหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ภายในของหน่วยงานของรัฐนั้น ในกรณีจำเป็น
หรือเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาวินิจฉัยจะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกิน ๒ คนร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ ๑๘๙
คณะกรรมการพิจารณาความเสียหาย มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงตามคำร้องของคู่สัญญา
(๒) ในกรณีจำเป็นจะเชิญคู่สัญญา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น
มาสอบถามหรือให้ข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
(๓) พิจารณาค่าเสียหายและกำหนดวงเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้น (ถ้ามี)
(๔) จัดทำรายงานผลการพิจารณา ตาม (๑) ถึง (๓)
พร้อมความเห็นเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
การพิจารณาค่าเสียหายตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวินิจฉัยกำหนด
และในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องชดใช้ค่าเสียหาย
และมีวงเงินค่าเสียหายครั้งละเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานความเห็นเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการรายงาน ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด
๗
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ
ข้อ ๑๙๐
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามที่กำหนดในหมวดนี้
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณาถึงความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาของคู่สัญญาที่ทำไว้กับหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ
โดยให้ตรวจสอบจากผลการปฏิบัติงานของคู่สัญญาที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้
หน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดไว้ในประกาศและเอกสารเชิญชวนเพื่อให้ผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐทราบเงื่อนไขการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการให้ดำเนินการผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ในกรณีที่เห็นสมควร
รัฐมนตรีอาจออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาไว้เป็นการเฉพาะก็ได้
ข้อ ๑๙๑
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามข้อ ๑๙๐
นอกเหนือจากความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา
อาจกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านอื่น ๆ ด้วยก็ได้
ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
โดยให้คำนึงถึงคุณภาพและคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้
เพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
หมวด
๘
การทิ้งงาน
ส่วนที่
๑
การลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงาน
ข้อ ๑๙๒
ห้ามหน่วยงานของรัฐก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ปลัดกระทรวงการคลังได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
การห้ามหน่วยงานของรัฐก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานตามวรรคหนึ่ง
ให้ใช้บังคับกับบุคคลตามข้อ ๑๙๖ วรรคสอง และวรรคสาม ด้วย
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อกำหนดในส่วนนี้
ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิยื่นข้อเสนอให้แก่หน่วยงานของรัฐได้ แต่ถ้าผลการพิจารณาต่อมา
ปลัดกระทรวงการคลังได้สั่งให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงาน
ให้หน่วยงานของรัฐตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกหรือยกเลิกการซื้อหรือจ้าง
หรือยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทำก่อนการสั่งการของปลัดกระทรวงการคลัง
เว้นแต่ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐอย่างยิ่ง
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก
หรือจะไม่ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง หรือจะไม่ยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทำก่อนการสั่งการของปลัดกระทรวงการคลังก็ได้
ข้อ ๑๙๓
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทำการอันมีลักษณะเป็นการทิ้งงาน ตามความในมาตรา ๑๐๙
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาให้ผู้ยื่นข้อเสนอคู่สัญญา หรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยงานของรัฐอนุญาตให้รับช่วงงานได้
หรือที่ปรึกษา หรือผู้ให้บริการออกแบบหรือควบคุมงาน เป็นผู้ทิ้งงาน
แล้วแต่กรณี
พร้อมความเห็นของตนเสนอไปยังปลัดกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานโดยเร็ว
เมื่อปลัดกระทรวงการคลังได้พิจารณาหลังจากที่ได้ฟังความเห็นของคณะกรรมการวินิจฉัยตามมาตรา
๒๙ (๕) แล้ว และเห็นว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน
ก็ให้ปลัดกระทรวงการคลังสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน
โดยระบุชื่อผู้ทิ้งงานไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน
พร้อมทั้งแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานให้หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ทราบ
รวมทั้งแจ้งให้ผู้ทิ้งงานรายนั้นทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย
ในกรณีปลัดกระทรวงการคลังเห็นว่าบุคคลดังกล่าวไม่สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน
ให้แจ้งผลการพิจารณาไปให้หน่วยงานของรัฐนั้นทราบด้วย
ข้อ ๑๙๔
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยปรากฏในภายหลังว่า ผู้ยื่นข้อเสนอรายหนึ่งหรือหลายรายไม่ว่าจะเป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ก็ตาม
กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรมหรือกระทำการโดยไม่สุจริต เช่น
การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทน
ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่
โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่หน่วยงานของรัฐสงสัยไปยังผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกสงสัยทราบ
พร้อมทั้งให้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากหน่วยงานของรัฐ
เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับคำชี้แจงจากผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่
หากผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกสงสัยไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
หรือมีการกระทำโดยไม่สุจริตให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเสนอความเห็นไปยังปลัดกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ผู้นั้นเป็นผู้ทิ้งงาน
ข้อ ๑๙๕
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอร่วมกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริตรายใด
ซึ่งมิใช่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าว ได้ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาให้ผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นได้รับการยกเว้นที่จะไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้
โดยแสดงเหตุผลหรือระบุเหตุผลไว้ในการเสนอความเห็น หรือในการสั่งการ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๙๖
ในกรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๙๓ ข้อ ๑๙๔ หรือข้อ
๑๙๕ ถ้าการกระทำดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น
ให้ปลัดกระทรวงการคลังสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานด้วย
ในกรณีที่นิติบุคคลรายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๙๓ ข้อ ๑๙๔
หรือข้อ ๑๙๕ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน
ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการ
กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลที่ถูกพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วย
ในกรณีที่บุคคลธรรมดารายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๙๓ ข้อ
๑๙๔ หรือข้อ ๑๙๕ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่เข้ายื่นข้อเสนอ
ซึ่งมีบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย
ข้อ ๑๙๗
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอันควรสงสัยว่า มีการกระทำตามข้อ ๑๙๓ ข้อ
๑๙๔ หรือข้อ ๑๙๕ และหน่วยงานของรัฐนั้น
ยังไม่ได้รายงานไปยังปลัดกระทรวงการคลัง
ปลัดกระทรวงการคลังอาจเรียกให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา
ที่มีข้อเท็จจริงอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
หรือกระทำการโดยไม่สุจริตมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อปลัดกระทรวงการคลัง ทั้งนี้
โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่ปลัดกระทรวงการคลังสงสัยไปยังบุคคลดังกล่าว
พร้อมทั้งแจ้งให้บุคคลนั้นชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่ปลัดกระทรวงการคลังกำหนด
แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากปลัดกระทรวงการคลัง
เมื่อปลัดกระทรวงการคลังได้รับคำชี้แจงจากผู้ได้รับการคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอ
หรือคู่สัญญาที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาคำชี้แจงดังกล่าว
หากคำชี้แจงไม่มีเหตุผลรับฟังได้
ให้ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน
พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาไปให้หน่วยงานของรัฐทราบด้วย
หากผู้ยื่นข้อเสนอ หรือคู่สัญญา ที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่ง
ไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลาที่ปลัดกระทรวงการคลังจะได้กำหนดไว้
ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
หรือมีการกระทำโดยไม่สุจริต
ให้ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน
พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาไปให้หน่วยงานของรัฐทราบด้วย
ส่วนที่
๒
การเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
ข้อ ๑๙๘
ผู้ที่ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานสามารถยื่นคำร้องขอเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานได้
โดยต้องแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณามาด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้ทิ้งงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี โดยจะต้องไม่ได้ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานเนื่องจากมีการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
หรือกระทำการโดยไม่สุจริต ทั้งนี้
ผู้ขอเพิกถอนที่จะได้รับการเพิกถอนในข้อนี้ ต้องไม่เคยมีผลการประเมินตามหมวด ๗
เป็นผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดและถูกระงับไม่ให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(๒) ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้ทิ้งงานมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป
และจะต้องไม่ได้ถูกสั่งหรือแจ้งเวียนให้เป็นผู้ทิ้งงาน
เนื่องจากมีการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
หรือกระทำการโดยไม่สุจริต
ข้อ ๑๙๙
คณะกรรมการวินิจฉัยอาจเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลัง
เพื่อให้มีการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
สำหรับผู้ทิ้งงานที่ถูกแจ้งเวียนชื่อมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานก็ได้
ข้อ ๒๐๐
ผู้ทิ้งงานรายใดที่ถูกเพิกถอนชื่อจากการเป็นผู้ทิ้งงานไปแล้ว
หากผู้ทิ้งงานรายนั้นถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานซ้ำอีก ภายในระยะเวลา ๓ ปี
นับถัดจากวันที่ได้รับการเพิกถอนชื่อออกจากการเป็นผู้ทิ้งงานแล้ว
การเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานในครั้งหลัง ผู้ทิ้งงานจะไม่มีสิทธิได้เพิกถอน ตามข้อ
๑๙๘ (๑) แต่จะมีสิทธิได้เพิกถอนตามข้อ ๑๙๘ (๒) ได้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ๘ ปี
นับตั้งแต่วันที่ถูกสั่งและแจ้งเวียนให้เป็นผู้ทิ้งงานในครั้งหลัง
ข้อ ๒๐๑
ผู้ทิ้งงานที่ประสงค์จะขอใช้สิทธิเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๙๘ (๑)
และข้อ ๑๙๘ (๒) ต้องยื่นคำขอเพิกถอนมายังปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้
การเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานจะมีผลต่อเมื่อปลัดกระทรวงการคลังได้สั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนการเพิกถอนชื่อผู้ทิ้งงานแล้ว
หมวด
๙
การบริหารพัสดุ
ส่วนที่
๑
การเก็บ
การบันทึก การเบิกจ่าย
ข้อ ๒๐๒
การบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการตามหมวดนี้
เว้นแต่มีระเบียบของทางราชการหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การบริหารพัสดุในหมวดนี้ ไม่ใช้บังคับกับงานบริการ งานก่อสร้าง
งานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
การเก็บและการบันทึก
ข้อ ๒๐๓ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับมอบพัสดุแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิด
และแสดงรายการตามตัวอย่างที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย
สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด
จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้
(๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย
และให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน
การเบิกจ่ายพัสดุ
ข้อ ๒๐๔
การเบิกพัสดุจากหน่วยพัสดุของหน่วยงานของรัฐ ให้หัวหน้างานที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิก
ข้อ ๒๐๕ การจ่ายพัสดุ
ให้หัวหน้าหน่วยพัสดุที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นหัวหน้าหน่วยพัสดุ
เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ
ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี)
แล้วลงบัญชี หรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อ ๒๐๖
หน่วยงานของรัฐใดมีความจำเป็นจะกำหนดวิธีการเบิกจ่ายพัสดุเป็นอย่างอื่นให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น
โดยให้รายงานคณะกรรมการวินิจฉัยและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ส่วนที่
๒
การยืม
ข้อ ๒๐๗ การให้ยืม
หรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการ ซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ของทางราชการจะกระทำมิได้
ข้อ ๒๐๘
การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป ให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร
แสดงเหตุผลและกำหนดวันส่งคืน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การยืมระหว่างหน่วยงานของรัฐ
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืม
(๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่ของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น
แต่ถ้ายืมไปใช้นอกสถานที่ของหน่วยงานของรัฐจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๒๐๙
ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อย
หากเกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป
ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท
ชนิด ขนาด ลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน
หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืม โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๒) ราชการส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงมหาดไทย
กรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี กำหนด
(๓) หน่วยงานของรัฐอื่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนด
ข้อ ๒๑๐
การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อหน่วยงานของรัฐผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน
จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการและหน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืมมีพัสดุนั้น ๆ
พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐของตน
และให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้ โดยปกติหน่วยงานของรัฐผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้หน่วยงานของรัฐผู้ให้ยืม
ข้อ ๒๑๑
เมื่อครบกำหนดยืม
ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน ๗
วัน นับแต่วันครบกำหนด
ส่วนที่
๓
การบำรุงรักษา
การตรวจสอบ
การบำรุงรักษา
ข้อ ๒๑๒
ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
โดยให้มีการจัดทำแผนการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมและระยะเวลาในการซ่อมบำรุงด้วย
ในกรณีที่พัสดุเกิดการชำรุด
ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยเร็ว
การตรวจสอบพัสดุประจำปี
ข้อ ๒๑๓
ภายในเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปีงบประมาณของทุกปี ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หรือหัวหน้าหน่วยพัสดุตามข้อ ๒๐๕
แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็น
เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุในงวด ๑ ปีที่ผ่านมา และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น
ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง
ให้เริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของปีงบประมาณเป็นต้นไป
ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชี หรือทะเบียนหรือไม่
มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด
หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในหน่วยงานของรัฐต่อไป
แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้งภายใน ๓๐ วันทำการ
นับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น
เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุแล้ว
ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ๑ ชุด
และส่งสำเนารายงานไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ๑ ชุด
พร้อมทั้งส่งสำเนารายงานไปยังหน่วยงานต้นสังกัด (ถ้ามี) ๑ ชุด ด้วย
ข้อ ๒๑๔
เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุตามข้อ ๒๑๓
และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป
หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในหน่วยงานของรัฐต่อไป
ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๒๖ และข้อ
๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า
เป็นการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้
ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของทางราชการหรือของหน่วยงานของรัฐนั้นต่อไป
ส่วนที่
๔
การจำหน่ายพัสดุ
ข้อ ๒๑๕
หลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในหน่วยงานของรัฐต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก
ให้เจ้าหน้าที่เสนอรายงานต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
เพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน
แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดีให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม
เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(ก) การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท จะขายโดยวิธีเฉพาะเจาะจงโดยการเจรจาตกลงราคากันโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้
(ข) การขายให้แก่หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การสถานสาธารณกุศลตามมาตรา
๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ขายโดยวิธีเฉพาะเจาะจงโดยการเจรจาตกลงราคากัน
(ค) การขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต
ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่หน่วยงานของรัฐมอบให้ไว้ใช้งานในหน้าที่
เมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากหน้าที่หรืออุปกรณ์ดังกล่าวพ้นระยะเวลาการใช้งานแล้ว
ให้ขายให้แก่บุคคลดังกล่าวโดยวิธีเฉพาะเจาะจงโดยการเจรจาตกลงราคากัน
การขายโดยวิธีทอดตลาดให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการประเมินราคาทรัพย์สินก่อนการประกาศขายทอดตลาด
กรณีที่เป็นพัสดุที่มีการจำหน่ายเป็นการทั่วไปให้พิจารณาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด
หรือราคาท้องถิ่นของสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น ณ เวลาที่จะทำการขาย
และควรมีการเปรียบเทียบราคาตามความเหมาะสม กรณีที่เป็นพัสดุที่ไม่มีการจำหน่ายทั่วไป
ให้พิจารณาราคาตามลักษณะ ประเภท ชนิดของพัสดุ
และอายุการใช้งานรวมทั้งสภาพและสถานที่ตั้งของพัสดุด้วย ทั้งนี้ ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาให้ความเห็นชอบราคาประเมินดังกล่าวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐด้วย
หน่วยงานของรัฐจะจ้างผู้ประกอบการที่ให้บริการขายทอดตลาดเป็นผู้ดำเนินการก็ได้
(๒) แลกเปลี่ยน
ให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
(๓) โอน ให้โอนแก่หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การสถานสาธารณกุศลตามมาตรา
๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้
ให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกันด้วย
(๔) แปรสภาพหรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
นับถัดจากวันที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการ
ข้อ ๒๑๖
เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางการเงินของหน่วยงานของรัฐนั้น
หรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี
การจำหน่ายเป็นสูญ
ข้อ ๒๑๗
ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดหรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ได้หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ
๒๑๕ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อ หรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
(๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อ หรือได้มารวมกันเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้ดำเนินการดังนี้
(ก) ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค
ให้อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังเป็นผู้อนุมัติ
(ข) ราชการส่วนท้องถิ่น ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือนายกเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี เป็นผู้อนุมัติ
(ค) หน่วยงานของรัฐอื่น ผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้เป็นไปตามที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนด
รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดวงเงินการจำหน่ายพัสดุเป็นสูญตามวรรคหนึ่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน
ข้อ ๒๑๘
เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๑๕ และข้อ ๒๑๗ แล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที
แล้วแจ้งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น
สำหรับพัสดุซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฎหมายให้แจ้งแก่นายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย
ข้อ ๒๑๙
ในกรณีที่พัสดุของหน่วยงานของรัฐเกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ
หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก่อนมีการตรวจสอบตามข้อ ๒๑๓
และได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หรือระเบียบนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว
ถ้าไม่มีระเบียบอื่นใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๑๕ ข้อ ๒๑๖ ข้อ
๒๑๗ และข้อ ๒๑๘ โดยอนุโลม
หมวด
๑๐
การร้องเรียน
ข้อ ๒๒๐
ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
กฎกระทรวง ระเบียบ
หรือประกาศที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
มีสิทธิร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐนั้นหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี
ก็ได้
การยื่นข้อร้องเรียนตามวรรคหนึ่ง ต้องดำเนินการภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าหน่วยงานของรัฐนั้นมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
กฎกระทรวง ระเบียบ
หรือประกาศที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ข้อ ๒๒๑
การร้องเรียนต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ร้องเรียน ในกรณีผู้ร้องเรียนเป็นนิติบุคคลต้องลงลายมือชื่อของกรรมการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและประทับตราของนิติบุคคล
(ถ้ามี)
หนังสือร้องเรียนตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ
และระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลอันเป็นเหตุแห่งการร้องเรียนให้ชัดเจน
พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วย
ข้อ ๒๒๒
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้รับเรื่องร้องเรียนตามข้อ ๒๒๐
ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แล้วแจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบโดยไม่ชักช้า
พร้อมทั้งแจ้งให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทราบด้วย
ข้อ ๒๒๓
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับเรื่องร้องเรียนตามข้อ ๒๒๐
ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
โดยให้ดำเนินการตามมาตรา ๔๓ วรรคสี่
แล้วแจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนและหน่วยงานของรัฐทราบด้วย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นที่สุด
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจกำหนดรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
บัญชีเอกสารแนบท้าย
กำหนดประเภทของผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น
ตามความในระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
(๑) ราชการส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากรม
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง แล้วแต่กรณี
(๒) ราชการส่วนภูมิภาค
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
ปลัดกระทรวงต้นสังกัดของหน่วยงานของรัฐเจ้าของเงินงบประมาณ
(๓) ราชการส่วนท้องถิ่น
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(๔) รัฐวิสาหกิจ
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
(๕) มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
สภามหาวิทยาลัย
(๖) ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร หรือกรุงเทพมหานคร
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นเอง
(๗) ในกรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๖)
ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ได้แก่
ผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุมชั้นเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง แล้วแต่กรณี
(๘) ในกรณีที่ไม่มีผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุม
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นเอง
(๙) ให้ผู้รักษาการตามระเบียบมีอำนาจออกประกาศกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประเภทของผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น
ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ
๒๕
สิงหาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๖
กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๐ ง/หน้า ๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
865602 | ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วยการซื้อโลหะ พ.ศ. 2561 | ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวง
ว่าด้วยการซื้อโลหะ
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
โดยที่เห็นสมควรจัดทำข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวง
ว่าด้วยการซื้อโลหะ เพื่อนำไปจัดจ้างทำสายไฟฟ้าใช้ในกิจการของการไฟฟ้านครหลวง อาศัยอำนาจตามมาตรา
๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ลงวันที่
๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การไฟฟ้านครหลวงจึงวางข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วยการซื้อโลหะ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วยการซื้อโลหะ
พ.ศ. ๒๕๖๑
บรรดาข้อบังคับ
ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ หรือบันทึกข้อความอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
และให้มีอำนาจวางระเบียบหรือออกคำสั่งใด ๆ เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้และในกรณีที่มีปัญหาในการดำเนินการตามข้อบังคับนี้
ให้ผู้ว่าการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบังคับนี้
ผู้มีอำนาจ หมายความว่า ผู้มีอำนาจในการดำเนินการอนุมัติสั่งซื้อ
การลงนามนิติกรรม
แล้วแต่กรณี
ผู้ว่าการ
หมายความว่า ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
รองผู้ว่าการ
หมายความว่า รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
ผู้ช่วยผู้ว่าการ
หมายความว่า ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
หัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย
หมายความว่า ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหา การไฟฟ้านครหลวง
ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย
หมายความว่า ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดหา การไฟฟ้านครหลวง
ผู้อำนวยการกอง
หมายความว่า ผู้อำนวยการกอง ฝ่ายจัดหา การไฟฟ้านครหลวง
หน่วยงาน
หมายความว่า ฝ่าย การไฟฟ้านครหลวงเขต สำนัก หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่า
พัสดุ หมายความว่า ทองแดง (Electrolytic Copper Cathode) หรืออะลูมิเนียม (Aluminum Ingot)
เจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๖ การใดที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็นราย
ๆ ไป
หมวด ๒
การซื้อโลหะ
ส่วนที่ ๑
การจัดทำแผนการจัดซื้อ
ข้อ ๗ เมื่อการไฟฟ้านครหลวงได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำแผนการจัดซื้อประจำปีเสนอผู้มีอำนาจ เพื่อขอความเห็นชอบ
แผนการจัดซื้อประจำปีให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อ
(๒) วงเงินที่จะจัดซื้อโดยประมาณ
(๓) เดือนและปีที่คาดว่าจะประกาศข่าวจัดซื้อ
เมื่อผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบแผนการจัดซื้อประจำปีตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของการไฟฟ้านครหลวง
เว้นแต่การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๖ ไม่ต้องประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อ
ข้อ ๘ หลังจากที่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อตามข้อ
๗ แล้ว ให้ฝ่ายจัดหารีบดำเนินการจัดซื้อให้เป็นไปตามแผน เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๗ วรรคสาม ต่อไป
ส่วนที่ ๒
กระบวนการซื้อ
รายงานขอซื้อ
ข้อ ๑๐ ในการซื้อแต่ละวิธีให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอซื้อเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขอความเห็นชอบโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
ตามรายการดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องซื้อ
(๒) ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ
(๓) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
(๔) วงเงินที่จะซื้อ
โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งนั้น
(๕) กําหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น
(๖) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น
(๗) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
(๘) การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จําเป็นในการซื้อ
ข้อ ๑๑ เมื่อผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ
๑๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามวิธีซื้อนั้นต่อไปได้
คณะกรรมการ
ข้อ ๑๒ ในการดำเนินการซื้อให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(๒) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
(๓) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๑๓ คณะกรรมการตามข้อ
๑๒ แต่ละคณะ ให้แต่งตั้งจากพนักงาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในการซื้อครั้งเดียวกัน
ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาหรือคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๑๔ การประชุมของคณะกรรมการแต่ละคณะ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ โดยประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้งในการประชุม
หากประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่เป็นประธานกรรมการแทน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุให้ถือมติเอกฉันท์
กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อครั้งนั้น
ทั้งนี้ การมีส่วนได้เสียในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการและกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หากประธานหรือกรรมการทราบว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อครั้งนั้น ให้ประธานหรือกรรมการผู้นั้นลาออกจากการเป็นประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการที่ตนได้รับการแต่งตั้งนั้น
และให้รายงานผู้มีอำนาจทราบเพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป
วิธีการจัดซื้อ
ข้อ ๑๕ การซื้อกระทำได้ ๒ วิธี คือ
(๑) วิธีประกวดราคา
(๒) วิธีพิเศษ
ข้อ ๑๖ การแบ่งซื้อโดยลดวงเงินที่จะซื้อในครั้งเดียวกันเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อเปลี่ยนไปจะกระทำมิได้
วิธีประกวดราคา
ข้อ ๑๗ ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อด้วยวิธีประกวดราคาพร้อมประกาศเชิญชวน
การกำหนดวัน เวลาการยื่นข้อเสนอในเอกสารซื้อและประกาศเชิญชวน
ให้กำหนดเป็นวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อโดยกำหนด
เป็นวัน เวลาทำการ เพียงวันเดียว และเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า
๑๕ วันทำการ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของการไฟฟ้านครหลวง และปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของฝ่ายจัดหา
การไฟฟ้านครหลวง
การกำหนดวัน เวลา การเปิดซองข้อเสนอ ให้กำหนดเป็นวัน เวลาทำการ
วันเดียวกันกับวันที่ยื่นข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๘ ประกาศเชิญชวนอย่างน้อยให้มีรายการและเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) รายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อและจำนวนที่ต้องการ
(๒) ข้อกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอ เสนอราคารวมทั้งสิ้นและราคาต่อหน่วย
โดยการไฟฟ้านครหลวงจะพิจารณาราคาต่อหน่วย
(๓) กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็นต่อการไฟฟ้านครหลวง
และมีเงื่อนไขด้วยว่าซองข้อเสนอที่ยื่นต่อการไฟฟ้านครหลวงเมื่อลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้
(๔) สถานที่ติดต่อซื้อ
(๕) ราคาขายเอกสารประกวดราคาให้กำหนดราคาตามประกาศการไฟฟ้านครหลวง
เรื่อง อัตราค่าขายแบบประกวดราคา
ถ้ามีการยกเลิกประกวดราคาครั้งนั้นและมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคาครั้งก่อนมีสิทธิขอรับเอกสารประกวดราคาใหม่
โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก
(๖) กำหนดวัน
เวลา และสถานที่ยื่นข้อเสนอ
(๗) กำหนดสถานที่ส่งมอบพัสดุและระยะเวลาการส่งมอบ
(๘) อัตราค่าปรับในกรณีส่งมอบล่าช้า
(๙) กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนออย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๙.๑) มีความสามารถตามกฎหมาย
(๙.๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๙.๓) ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ
(๙.๔) ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามมาตรา
๑๐๖ วรรคสาม ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๙.๕) ไม่เป็นบุคคลซึ่งถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา
๑๐๙ ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๑๐) กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอวางหลักประกันการเสนอราคาข้อ
๓๔ และข้อ ๓๕ (๑) และให้มีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้ยื่นข้อเสนอถอนการเสนอราคาหรือไม่ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับการไฟฟ้านครหลวงภายในกำหนด
การไฟฟ้านครหลวงจะริบหลักประกันการเสนอราคาหรือเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันและสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ทิ้งงานด้วย
(๑๑) กำหนดว่าผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องวางหลักประกันสัญญาข้อ
๓๔ และข้อ ๓๕ (๒)
(๑๒) ซองประกวดราคาต้องผนึกให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(๑๓) เงื่อนไขการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๙ ให้เจ้าหน้าที่กําหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหาก
โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นนิติบุคคล
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจํากัด ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(ข) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรอง
การจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ
ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถ้ามี) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๒) ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ให้ยื่นสำเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้นั้น สำเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน
(ถ้ามี) สำเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๓) ในกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้ยื่นข้อเสนอร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า
ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า สำเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ร่วมค้า
และในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย
ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคล
ให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (๑)
(๔) เอกสารอื่นตามที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด
เช่น สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นมาพร้อมกับการยื่นข้อเสนอตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๒๐ ให้เจ้าหน้าที่จัดส่งประกาศและเอกสารประกวดราคาให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้อ ๒๑ ก่อนวันเปิดซองประกวดราคา หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจง
หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญ ให้จัดทำเป็นประกาศประกวดราคาเพิ่มเติมแล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ขอรับหรือขอซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายด้วย
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
หากจะเป็นเหตุให้ผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถยื่นซองประกวดราคาได้ทันตามกำหนดเดิม
ให้เลื่อนวัน เวลารับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคาตามความจำเป็นด้วย
หน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
ข้อ ๒๒ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้
(๑) รับซองประกวดราคา
ลงทะเบียน และลงชื่อกำกับซองไว้เป็นหลักฐาน
(๒) ตรวจรับหลักประกันซอง ในกรณีวงเงินจัดซื้อที่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ (ห้าล้าน) บาท
(๓) รับเอกสารต่าง ๆ พร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง แค็ตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียด
(๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคา หลักประกันซอง
หรือเอกสารต่าง
ๆ ตามรายการและเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศประกวดราคาอีก
(๕) เปิดซองข้อเสนอโดยเปิดเผยตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดแล้วจดราคาจากใบเสนอราคาทุกฉบับลงไว้ในบัญชีเปรียบเทียบราคาและให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในซองข้อเสนอ
บัญชีเปรียบเทียบราคา และซองข้อเสนอที่เป็นเอกสารสำคัญ
(๖) เมื่อได้ดำเนินการตาม (๕) แล้ว ให้ส่งมอบซองข้อเสนอทั้งหมดและเอกสารต่าง
ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันที
(๗) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายว่าเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตัดรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในครั้งนั้น
(๘) ตรวจสอบคุณสมบัติ ข้อเสนอ แค็ตตาล็อก หรือแบบรูป และรายละเอียดของผู้ยื่นข้อเสนอที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้องตามรายการและเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา
ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากที่กำหนดในเงื่อนไขประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ
และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น
หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้ยื่นข้อเสนอโดยไม่ตัดผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นออก
(๙) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรือคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่ตรวจสอบแล้วตาม
(๗) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการไฟฟ้านครหลวง
แล้วเสนอให้ซื้อจากผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคามีอำนาจที่จะขอให้ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอราคาต่ำสุดลดราคาลงไปได้อีก
ถ้าผู้ยื่นข้อเสนอตามวรรคแรก ไม่ยอมลดราคาหรือลดราคาแล้วแต่ยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อ
(ถ้าได้กำหนดวงเงินไว้) ให้เรียกผู้ยื่นข้อเสนอที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เห็นสมควรซื้อทุกรายมาเสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้นยืนตามราคาที่เสนอไว้เดิม
ทั้งนี้ ให้เสนอซื้อจากผู้ที่ลดราคาลงต่ำสุดอยู่ภายในวงเงินที่จะซื้อ
ถ้ามีผู้ยื่นข้อเสนอเสนอราคาเท่ากันหลายราย
ให้เรียกผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา
(๑๐) เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใด
ให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารประกอบต่อผู้มีอำนาจเพื่อสั่งการ
ข้อ ๒๓ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาได้พิจารณาตามข้อ
๒๒ (๘)
แล้ว ปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอถูกต้องตรงตามรายการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาเพียงรายเดียว ถ้าเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๒ (๙) โดยอนุโลม
ข้อ ๒๔ ในกรณีไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ
หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการและเงื่อนไขที่กำหนด หรือกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
เห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการตามผลการประกวดราคาตามข้อ ๒๓ ให้เสนอผู้มีอำนาจยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
เพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากผู้มีอำนาจเห็นว่าการประกวดราคาใหม่จะไม่ได้ผลดีจะสั่งให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ
๒๖ (๓) ก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้สั่งซื้อ
ให้ผู้ว่าการเป็นผู้พิจารณายกเลิกการประกวดราคาดังกล่าวแทนคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ข้อ ๒๕ หลังจากการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงซื้อกับผู้ยื่นข้อเสนอรายใด
ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของการไฟฟ้านครหลวงเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคา
ซึ่งทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกัน ให้เจ้าหน้าที่เสนอผู้มีอำนาจยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น
ในกรณีที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้สั่งซื้อ
ให้ผู้ว่าการเป็นผู้พิจารณายกเลิกการประกวดราคาดังกล่าวแทนคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
วิธีพิเศษ
ข้อ ๒๖ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีเป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การไฟฟ้านครหลวง
ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
เห็นสมควร ให้ขอลดราคาลงเท่าที่จะทำได้
(๒) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง
ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๑)
(๓) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีประกวดราคาแล้วไม่ได้ผลดี
ให้สอบถามราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรง
เปรียบเทียบกับราคาของรายที่เสนอในการประกวดราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป หากเห็นว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายที่เห็นสมควรซื้อ เสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
เห็นสมควรให้ขอลดราคาลงเท่าที่จะทำได้
เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใด
ให้คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เสนอรายงานพร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอำนาจเพื่อสั่งการต่อไป
การประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคา
ข้อ ๒๗ เมื่อผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณา
และผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ชนะการซื้อในระบบเครือข่ายสารสนเทศของการไฟฟ้านครหลวง
และปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของ ฝ่ายจัดหา การไฟฟ้านครหลวง และแจ้งให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(e-mail)
อำนาจในการสั่งซื้อ
ข้อ ๒๘ อำนาจในการสั่งซื้อโดยวิธีประกวดราคาครั้งหนึ่ง
ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้อำนวยการกอง ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้าน) บาท
(๒) ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย
๓,๐๐๐,๐๐๐ (สามล้าน) บาท
(๓) หัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย ๖,๐๐๐,๐๐๐ (หกล้าน) บาท
(๔) ผู้ช่วยผู้ว่าการ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ (ยี่สิบล้าน) บาท
(๕) รองผู้ว่าการ ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ (หกสิบล้าน) บาท
(๖) ผู้ว่าการ ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (สองร้อยล้าน) บาท
(๗) คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (สองร้อยล้าน) บาท
ข้อ ๒๙ อำนาจในการสั่งซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้อำนวยการกอง ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐
(ห้าแสน) บาท
(๒) ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย
๑,๕๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านห้าแสน)
บาท
(๓) หัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย ๓,๐๐๐,๐๐๐ (สามล้าน) บาท
(๔) ผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ (สิบล้าน) บาท
(๕) รองผู้ว่าการ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ (สามสิบล้าน) บาท
(๖) ผู้ว่าการ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งร้อยล้าน) บาท
(๗) คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งร้อยล้าน) บาท
ข้อ ๓๐ อำนาจในการสั่งการและดำเนินการจัดซื้อ ได้แก่
การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อ เช่น การให้ความเห็นชอบแผนการจัดซื้อประจำปี รายงานการขอซื้อ
การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะกรรมการ การอนุมัติราคากลาง อนุมัติยกเลิกการจัดซื้อ การงดหรือลดค่าปรับ
การขยายเวลา รายงานการตรวจรับ การยกเลิกสัญญา เป็นต้น ให้เป็นไปตามอำนาจและภายในวงเงินการอนุมัติสั่งซื้อตามข้อ
๒๘ และข้อ ๒๙ แล้วแต่กรณี สำหรับผู้ว่าการไม่จำกัดวงเงิน
ข้อ ๓๑ การลงนามในนิติกรรมครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินการอนุมัติสั่งซื้อตามข้อ
๒๘ (๑) ถึง (๕) และข้อ ๒๙ (๑) ถึง (๕) สำหรับผู้ว่าการไม่จำกัดวงเงิน
ข้อ ๓๒ การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินการอนุมัติสั่งซื้อตามข้อ
๒๘ (๑) ถึง (๕) และข้อ ๒๙ (๑) ถึง (๕) สำหรับผู้ว่าการไม่จำกัดวงเงิน
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงิน เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมและวงเงินที่เพิ่มขึ้นใหม่แล้ว
หากวงเงินรวมดังกล่าวมีผลทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อเปลี่ยนแปลงไป จะต้องดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อตามวงเงินรวมดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย
ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อลดวงเงิน
ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อตามวงเงินเดิมเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ ๓๓ การมอบอำนาจตามข้อบังคับนี้
ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้
หมวด ๓
การทำสัญญาและหลักประกัน
ส่วนที่ ๑
หลักประกัน
ข้อ ๓๔ หลักประกัน
(๑) หลักประกันการเสนอราคา
เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอไม่ปฏิบัติตามกระบวนการซื้อ
ให้เจ้าหน้าที่กำหนดหลักประกันการเสนอราคา
สำหรับการซื้อด้วยวิธีประกวดราคาที่มีวงเงินซื้อหรือวงเงินงบประมาณเกินกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ (ห้าล้าน) บาท โดยให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) เงินสด
(ข) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้น ชําระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน
๓ วันทำการ
(ค) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามแบบที่ผู้ว่าการกำหนด
(๒) หลักประกันสัญญา
ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(ก) เงินสด
(ข) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้น ชําระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน
๓ วันทำการ
(ค) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามแบบที่ผู้ว่าการกำหนด
ข้อ ๓๕ หลักประกันดังกล่าวในข้อ ๓๔ ให้เรียกไว้ตามอัตรา
ดังนี้
(๑) หลักประกันการเสนอราคาให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละ
๕ (ห้า) ของวงเงินงบประมาณหรือราคาพัสดุรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดซื้อครั้งนั้น
(๒) หลักประกันสัญญาให้กำหนดมูลค่าในอัตราร้อยละ
๑๐ (สิบ) ของวงเงินตามสัญญารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๓๖ ให้เจ้าหน้าที่คืนหลักประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้ขาย
ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) หลักประกันการเสนอราคาให้คืนแก่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้ออกหนังสือค้ำประกัน
ภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่ผู้มีอำนาจได้เห็นชอบรายงานผลการคัดเลือกผู้ชนะการซื้อเรียบร้อยแล้ว
เว้นแต่ผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดไม่เกิน ๓ ราย ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญากับผู้ขายหรือผู้ยื่นข้อเสนอได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว
(๒) หลักประกันสัญญาให้คืนแก่ผู้ขายหรือผู้ออกหนังสือค้ำประกันโดยเร็ว
และอย่างช้าต้องไม่เกิน
๑๕ วัน นับถัดจากวันที่ผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว
ส่วน ๒
การทำสัญญา
ข้อ ๓๗ การซื้อให้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามแบบที่ผู้ว่าการกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาดังกล่าวข้างต้นก็ได้
ข้อ ๓๘ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ ๐.๒ (ศูนย์จุดสอง) ของราคาพัสดุรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังไม่ได้รับมอบ
เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาให้เจ้าหน้าที่รีบแจ้งสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับตามสัญญาให้ผู้ขายทราบ
ข้อ ๓๙ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว
จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง
หรือไม่ทำให้การไฟฟ้านครหลวงต้องเสียประโยชน์ ให้อยู่ในอำนาจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงข้างต้นต้องทำเป็นหนังสือ
และหากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงินหรือเพิ่มลดระยะเวลาส่งมอบพัสดุให้ตกลงพร้อมกันไป
ส่วนที่
๓
การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๔๐ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อ มีหน้าที่
ดังนี้
(๑) ตรวจรับพัสดุ
ณ ที่ทำการการไฟฟ้านครหลวงหรือสถานที่ที่ใช้พัสดุ หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
การตรวจรับพัสดุ
ณ สถานที่อื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อน
(๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ ในกรณีจําเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้
ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(๓) ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายนําพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้น
โดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายนําพัสดุนั้นมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมหลักฐานการส่งของ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ
มอบแก่ผู้ขาย ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวงและรายงานให้ผู้มีอำนาจทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ
มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ให้รายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
เพื่อทราบและสั่งการ
(๕) ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน
หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔) และให้รีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่
เพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วันทำการนับถัดจากวันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์การไฟฟ้านครหลวงที่จะปรับผู้ขายในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางท่านไม่ยอมรับพัสดุให้ทำความเห็นแย้งเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๑ กรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงได้ครบกำหนดส่งมอบแล้ว
และมีค่าปรับเกิดขึ้น ให้การไฟฟ้านครหลวงแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากผู้ขายภายใน
๗ วันทำการ นับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ และเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบพัสดุ ให้การไฟฟ้านครหลวงบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ ๔๒ การต่ออายุสัญญาหรือการงดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้ขาย
ให้อยู่ในอำนาจของผู้มีอำนาจตามวงเงินที่กำหนดไว้
และให้พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของการไฟฟ้านครหลวง
(๒) เหตุสุดวิสัย
(๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ให้ผู้มีอำนาจระบุไว้ในสัญญากำหนดให้ผู้ขายต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจทราบภายใน
๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด ผู้ขายจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอต่ออายุสัญญาหรืองดหรือลดค่าปรับในภายหลังมิได้
เว้นแต่กรณีตาม (๑) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือผู้มีอำนาจทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ ๔๓ นอกจากการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง หากปรากฏว่าผู้ขายไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้
และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ ๑๐ (สิบ)
ของวงเงินค่าพัสดุ ให้การไฟฟ้านครหลวงพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่ผู้ขายจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่การไฟฟ้านครหลวง
โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จําเป็น
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่ปรากฏความชํารุดบกพร่องของพัสดุภายในระยะเวลาของการประกันความชํารุดบกพร่องตามสัญญา
ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่ตรวจสอบความบกพร่องของพัสดุ
และรีบแจ้งฝ่ายจัดหา เพื่อแจ้งให้ผู้ขายดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนทันที พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน
(ถ้ามี) ทราบด้วย
ข้อ ๔๕ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๔๔ แล้ว กรณีที่สัญญาจะครบกำหนดรับประกันความชํารุดบกพร่อง
ให้การไฟฟ้านครหลวงพิจารณาถึงความชํารุดบกพร่องของพัสดุ เพื่อป้องกันความเสียหาย จากนั้นให้คืนหลักประกันสัญญาต่อไป
หมวด ๔
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขาย
ข้อ ๔๖ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้ามาเป็นผู้ขายกับการไฟฟ้านครหลวง
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายตามที่กำหนดในหมวดนี้
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณาถึงความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาของผู้ขายที่ทำไว้กับการไฟฟ้านครหลวงเป็นสำคัญ
โดยให้ตรวจสอบจากผลการปฏิบัติงานของผู้ขายที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ การไฟฟ้านครหลวงจะต้องกำหนดไว้ในประกาศและเอกสารเชิญชวนเพื่อให้ผู้ขายที่จะเข้ายื่นข้อเสนอกับการไฟฟ้านครหลวงทราบเงื่อนไขการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔๗ การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ขายตามข้อ ๔๖
นอกเหนือจากความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา อาจกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านอื่น
ๆ ด้วยก็ได้ โดยให้คำนึงถึงคุณภาพและคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการไฟฟ้านครหลวง ทั้งนี้
เพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้ามาเป็นผู้ขายกับการไฟฟ้านครหลวงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
หมวด ๕
การทิ้งงาน
ข้อ ๔๘ การทิ้งงาน
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
หมวด ๑๒ การทิ้งงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ หมวด ๘ การทิ้งงาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ฉัตรชัย
พรหมเลิศ
ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ชญานิศ/จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๓ ง/หน้า ๔๐/๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ |
834094 | พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๖๒
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา
๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี้
สภาองค์กรของผู้บริโภค
หมายความว่า สภาขององค์กรของผู้บริโภคที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
องค์กรของผู้บริโภค
หมายความว่า องค์กรที่ผู้บริโภคซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบคนขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและไม่แสวงหากำไร
ไม่ว่าการรวมตัวจัดตั้งนั้นจะจัดตั้งเป็นรูปแบบใด
และจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม
และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วย
ผู้ประกอบธุรกิจ
หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
นายทะเบียน
หมายความว่า นายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัด
นายทะเบียนกลาง หมายความว่า ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
นายทะเบียนประจำจังหวัด หมายความว่า
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
มาตรา
๔ องค์กรของผู้บริโภคมีสิทธิรวมกันดำเนินการเพื่อจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้ได้
มาตรา
๕ องค์กรของผู้บริโภคที่จะรวมตัวกันดำเนินการเพื่อจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคหรือที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภคต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นองค์กรของผู้บริโภคที่จัดตั้งขึ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือถูกครอบงำโดยผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล
กรรมการ หรือผู้มีอำนาจบริหารของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว
หรือโดยหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพรรคการเมือง
(๒)
ไม่เป็นองค์กรของผู้บริโภคที่ได้รับเงินอุดหนุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมจากบุคคลตาม
(๑) เว้นแต่เป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือได้รับตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)
เป็นองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งสถานะความเป็นองค์กรตามมาตรา ๖
มาตรา ๖ องค์กรของผู้บริโภคใดที่มีลักษณะตามมาตรา ๕
(๑) และ (๒) ประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ให้แจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคไว้ต่อนายทะเบียน
โดยจะแจ้งต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัดที่ผู้แจ้งมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้
องค์กรของผู้บริโภคที่จะแจ้งการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันยื่นแจ้ง
การแจ้งให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่นายทะเบียนกลางกำหนด
ซึ่งจะกำหนดให้แจ้งโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบหรือวิธีการอื่นใดที่ผู้แจ้งสามารถดำเนินการได้โดยสะดวกด้วยก็ได้
ในการกำหนดแบบและวิธีการตามวรรคสาม
ต้องไม่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น และให้รับฟังความคิดเห็นขององค์กรของผู้บริโภคประกอบด้วย
เมื่อได้รับแจ้งและเห็นว่าเป็นองค์กรของผู้บริโภคที่มีลักษณะตามมาตรา
๕ แล้ว ให้นายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัดผู้รับแจ้งออกหลักฐานการแจ้งไว้ให้แก่ผู้แจ้ง
และให้นายทะเบียนกลางประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือระบบหรือวิธีการอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
มาตรา
๗ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลาง
มีหน้าที่รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคได้ทั่วราชอาณาจักร และมีหน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดมีหน้าที่รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคภายในจังหวัดนั้น
และเมื่อได้รับแจ้งแล้วให้ส่งรายชื่อองค์กรของผู้บริโภคให้นายทะเบียนกลางโดยเร็วเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบตามมาตรา
๖ วรรคห้า
มาตรา ๘ ผู้ใดเห็นว่าองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา
๖ มีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา ๕
ให้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านพร้อมทั้งหลักฐานต่อนายทะเบียนกลางได้
เมื่อนายทะเบียนกลางได้รับคำคัดค้านตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยโดยเร็ว
ในกรณีที่เห็นว่าองค์กรของผู้บริโภคนั้นมีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา ๕ ให้เพิกถอนการรับแจ้งพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องและองค์กรของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องทราบ
คำวินิจฉัยของนายทะเบียนกลางให้เป็นที่สุด
มาตรา
๙ องค์กรของผู้บริโภคที่มีลักษณะตามมาตรา
๕ ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบองค์กรมีสิทธิเข้าชื่อกันแจ้งต่อนายทะเบียนกลางเพื่อเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค
เมื่อได้แจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้เริ่มก่อการรวบรวมองค์กรของผู้บริโภคที่ยินยอมเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขององค์กรของผู้บริโภคที่นายทะเบียนกลางได้ประกาศการรับแจ้งตามมาตรา ๖ วรรคห้า
ไว้ครั้งสุดท้ายก่อนวันที่แจ้งตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ในการดำเนินการตามวรรคสอง
ผู้เริ่มก่อการจะขอให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ประกาศเชิญชวนให้องค์กรของผู้บริโภคมาแสดงความยินยอมเข้าร่วมต่อนายทะเบียนกลางแทนผู้เริ่มก่อการก็ได้
เมื่อผู้เริ่มก่อการรวบรวมองค์กรของผู้บริโภคได้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองแล้ว
ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบพร้อมด้วยหลักฐานการยินยอมเข้าร่วมขององค์กรของผู้บริโภคเมื่อนายทะเบียนกลางได้รับแจ้งและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้ประกาศการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคในราชกิจจานุเบกษาและทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในกรณีที่นายทะเบียนกลางเป็นผู้ประกาศเชิญชวนตามวรรคสาม
เมื่อนายทะเบียนกลางรวบรวมองค์กรของผู้บริโภคได้ครบถ้วนตามจำนวนและภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองแล้ว
ให้นายทะเบียนกลางดำเนินการตรวจสอบและประกาศการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสี่ต่อไป
การประกาศการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค
ให้นายทะเบียนกลางดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งตามวรรคสี่หรือวันที่รวบรวมองค์กรของผู้บริโภคได้ครบถ้วนตามวรรคห้า
องค์กรของผู้บริโภคที่เข้าชื่อตามวรรคหนึ่งหรือยินยอมเข้าร่วมตามวรรคสองแล้ว
จะขอถอนชื่อออกและจะเข้าชื่อกับคณะผู้เริ่มก่อการอื่นหรือยินยอมเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคอื่นไม่ได้ เว้นแต่มิได้มีการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคภายในกำหนดเวลาตามที่ได้เริ่มก่อการไว้
มาตรา ๑๐ ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคที่จัดตั้งตามมาตรา
๙ เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกด้าน และดำเนินการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
โดยให้ถือว่าองค์กรของผู้บริโภคที่เป็นผู้เริ่มก่อการและที่ได้ลงชื่อยินยอมเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามมาตรา
๙ เป็นสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภคนับแต่วันที่ประกาศจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค
ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคมีความเป็นอิสระ
ไม่อยู่ภายใต้อาณัติหรือการครอบงำหรือการสั่งการไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมจากหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ พรรคการเมือง ผู้ประกอบธุรกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจ
มาตรา ๑๑ เมื่อมีการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามมาตรา
๙ แล้ว ให้คณะผู้เริ่มก่อการจัดทำร่างข้อบังคับของสภาองค์กรของผู้บริโภคและเรียกประชุมสมาชิกภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศการจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำข้อบังคับของสภาองค์กรของผู้บริโภค
(๒)
เลือกตั้งประธานและคณะกรรมการนโยบายของสภาองค์กรของผู้บริโภค
(๓)
กำหนดนโยบาย แนวทาง หรือแผนงาน เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
(๔)
กิจการอื่นที่คณะผู้เริ่มก่อการเห็นสมควร
มาตรา
๑๒ ข้อบังคับของสภาองค์กรของผู้บริโภคอย่างน้อยต้องมีเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(๑)
วัตถุประสงค์ของสภาองค์กรของผู้บริโภค
(๒)
แนวทางในการดำรงความเป็นอิสระตามมาตรา ๑๐
(๓)
โครงสร้างของการบริหารงานซึ่งอย่างน้อยต้องมีคณะกรรมการนโยบายที่ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน และกรรมการนโยบายตามที่กำหนด และคุณสมบัติ
ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และวิธีการได้มาซึ่งคณะกรรมการนโยบาย โดยกรรมการนโยบายอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๓ และตัวแทนขององค์กรของผู้บริโภคจากพื้นที่ต่าง
ๆ โดยจะให้มีคณะกรรมการบริหารด้วยหรือไม่ก็ได้
(๔)
โครงสร้างขององค์กรซึ่งอย่างน้อยต้องมีสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคและหน่วยงานประจำจังหวัดซึ่งอาจมีทุกจังหวัดหรือบางจังหวัดตามที่เห็นสมควร
ตลอดทั้งวิธีการบริหารงานของสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคซึ่งอย่างน้อยต้องมีเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นหัวหน้าสำนักงานและวิธีการบริหารงานในหน่วยงานประจำจังหวัด
รวมตลอดทั้งผู้มีอำนาจกระทำการแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค
(๕)
หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับองค์กรของผู้บริโภคเข้าเป็นสมาชิก และสิทธิ หน้าที่ และประโยชน์ของสมาชิก
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับสมาชิกต้องไม่มีลักษณะเป็นการกีดกันมิให้องค์กรของผู้บริโภคที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าเป็นสมาชิกได้
(๖)
จรรยาบรรณและการควบคุมการปฏิบัติงาน
ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและโทษกรณีมีการละเมิดจรรยาบรรณ
(๗)
ค่าลงทะเบียน ค่าบำรุง และค่าบริการที่จะพึงเรียกเก็บจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก
(๘) การบัญชีและการเงิน การสอบบัญชี
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค
(๙)
การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินบำเหน็จ
รางวัลพนักงาน รวมทั้งระเบียบ วินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์ของพนักงาน
ข้อบังคับของสภาองค์กรของผู้บริโภคต้องแจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือระบบหรือวิธีการอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
มาตรา
๑๓ คณะกรรมการนโยบายสภาองค์กรของผู้บริโภค อย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)
ด้านการเงินและการธนาคาร
(๒)
ด้านการขนส่งและยานพาหนะ
(๓)
ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย
(๔)
ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
(๕)
ด้านบริการสุขภาพ
(๖)
ด้านสินค้าและบริการทั่วไป
(๗)
ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
(๘)
ด้านบริการสาธารณะ
มาตรา
๑๔ สภาองค์กรของผู้บริโภค นอกจากมีอำนาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จัดตั้งแล้ว
ในฐานะเป็นผู้แทนผู้บริโภค ให้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)
ให้ความคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค รวมตลอดทั้งเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๒)
สนับสนุนและดำเนินการ ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ
แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภค
โดยจะระบุชื่อสินค้าหรือบริการหรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้
(๓)
รายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค
ไปยังหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
(๔)
สนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรของผู้บริโภคในการรักษาประโยชน์ของผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพและได้รับความเชื่อถือ
ตลอดจนส่งเสริมการรวมตัวขององค์กรของผู้บริโภคในระดับจังหวัดและเขตพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาองค์กรของผู้บริโภค
(๕)
สนับสนุนการศึกษาและการวิจัยเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
(๖)
สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้งก่อนและในระหว่างการดำเนินคดีต่อศาล
(๗) ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามที่เห็นสมควรหรือเมื่อมีผู้ร้องขอ
หรือให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีในกรณีที่ผู้บริโภคหรือองค์กรของผู้บริโภคถูกฟ้องคดีจากการใช้สิทธิในฐานะผู้บริโภคหรือใช้สิทธิแทนผู้บริโภค
แล้วแต่กรณี และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความด้วย
(๘)
จัดให้มีหรือรวบรวม
และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
การดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) (๗) หรือ (๘) ถ้าเป็นการกระทำโดยสุจริต
ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคพ้นจากความรับผิด
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้รับรายงานตาม (๓) ให้แจ้งผลการดำเนินงานให้สภาองค์กรของผู้บริโภคทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในการดำเนินการตาม
(๗) ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องคดีได้ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีผู้บริโภค เช่นเดียวกับผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
รวมทั้งเช่นเดียวกับคู่กรณีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และเมื่อศาลพิพากษาว่าผู้ประกอบธุรกิจกระทำการละเมิด
หรือผิดสัญญาต่อผู้บริโภคให้ศาลสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนที่ศาลกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระให้แก่ผู้บริโภค
เว้นแต่สภาองค์กรของผู้บริโภคจะพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ให้ศาลสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าใช้จ่ายตามจำนวนดังกล่าว และชำระค่าป่วยการให้เท่ากับจำนวนค่าใช้จ่ายนั้น
มาตรา
๑๕ ให้เป็นหน้าที่ของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่จะต้องจัดให้มีการประชุมสมาชิกและผู้บริโภคทั่วไปที่สนใจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันจะยังประโยชน์แก่การคุ้มครองผู้บริโภค
และการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค
มาตรา
๑๖ ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ
ในการจัดสรรเงินอุดหนุนตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะรัฐมนตรีจัดสรรให้เพียงพอต่อการดำเนินงานโดยอิสระของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ในกรณีที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเห็นว่าจำนวนเงินที่คณะรัฐมนตรีจัดสรรให้ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานตามวรรคสอง
สภาองค์กรของผู้บริโภคจะมีหนังสือขอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนเพื่อจัดให้เพียงพอก็ได้
มาตรา
๑๗ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมประสิทธิภาพและการตรวจสอบการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคตามระยะเวลาที่สภาองค์กรของผู้บริโภคกำหนด
แต่ต้องไม่เกินสามปี
การประเมินผลการดำเนินงานตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำโดยสถาบันหรือองค์กรที่เป็นกลางและมีความเชี่ยวชาญในด้านการประเมินผลการดำเนินงาน
โดยมีการคัดเลือกตามวิธีการที่สภาองค์กรของผู้บริโภคกำหนด
การประเมินผลการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคจะต้องแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏในด้านประสิทธิผล
ประสิทธิภาพ การพัฒนาสภาองค์กรของผู้บริโภค และการสนับสนุนจากประชาชน หรือในด้านอื่นตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคจะได้กำหนดเพิ่มเติมขึ้น
มาตรา
๑๘ ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภา เพื่อทราบภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
นายกรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา อาจขอให้ประธานกรรมการนโยบายสภาองค์กรของผู้บริโภคชี้แจงการดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหนังสือหรือขอให้มาชี้แจงด้วยวาจาได้
มาตรา
๑๙ เมื่อมีการประกาศจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามมาตรา
๙ วรรคสี่ เป็นครั้งแรกหลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้รัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนไว้ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการจ่ายขาดเพื่อเป็นทุนประเดิมเบื้องต้นให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคที่จัดตั้งขึ้นดังกล่าวเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสามร้อยห้าสิบล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการดำเนินการให้เกิดการรวมตัวกันขององค์กรของผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเกิดพลังอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้
ภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค และการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา
๒๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
และองค์กรของผู้บริโภคดังกล่าวมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง
อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ
ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ สมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ธนบดี/วิวรรธน์/จัดทำ
๗
มิถุนายน ๒๕๖๒
พจนา/ตรวจ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๗ ก/หน้า ๒๒/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
782380 | พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บท หมายความว่า แผนแม่บทเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า
หน่วยงานที่เป็นของรัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชน หรือในรูปแบบอื่นใด และไม่ว่าจะเป็นองค์กรในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หมายความว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑)
หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ผู้อำนวยการหรือผู้บริหารสูงสุดที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน
หรือหัวหน้าหรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานของรัฐในรูปแบบอื่น
สำหรับหน่วยงานของรัฐในฝ่ายบริหาร
(๒)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือหัวหน้าหน่วยงาน สำหรับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา
หรือหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในกำกับของประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี
(๓)
ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด หรือประธานศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับองค์กรฝ่ายตุลาการ
(๔)
คณะกรรมการหรือคณะบุคคลที่เป็นองค์กรอิสระและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับองค์กรอิสระ
(๕)
อัยการสูงสุด สำหรับองค์กรอัยการ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
ยุทธศาสตร์ชาติ
มาตรา ๕ ให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ
ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่ายี่สิบปี
การประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติให้ทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ
และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
และหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ
การกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน
การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติและแผนอื่นใด
รวมตลอดทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะกำกับดูแลและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคสองและวรรคสาม
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นองค์กรในฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ การกำกับดูแลตามวรรคสี่
ให้หมายความถึงการประสาน การปรึกษา
หรือเสนอแนะต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐขององค์กรดังกล่าว
มาตรา ๖ ยุทธศาสตร์ชาติอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ
(๒)
เป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว
กำหนดระยะเวลาที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และตัวชี้วัดการบรรลุเป้าหมาย
(๓)
ยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ
เป้าหมายการพัฒนาประเทศตาม
(๒) อย่างน้อยต้องมีเป้าหมายในด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านคุณภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน
และด้านบทบาทของรัฐที่มีต่อประชาชน
มาตรา ๗ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติ
ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล
และเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ โดยให้ดำเนินการตามกระบวนการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีการใช้ข้อมูลความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
(๒)
วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรอบด้านทั้งในประเทศและต่างประเทศ วิเคราะห์จุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด รวมทั้งความเสี่ยงของประเทศ
เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
(๓)
การให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งการสร้างการรับรู้
ความเข้าใจ และความเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน
การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาวตามมาตรา
๖ (๑) และ (๒) ต้องมีความชัดเจนเพื่อให้เห็นภาพในอนาคตของประเทศ
โดยเป็นกรอบอย่างกว้างที่ยืดหยุ่นตามการเปลี่ยนแปลงของโลก
และต้องกำหนดระยะเวลาการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลา
รวมทั้งมีการระบุตัวชี้วัดการบรรลุเป้าหมายไว้ให้ชัดเจน
มาตรา ๘ ในกระบวนการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
ให้คณะกรรมการจัดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
(๑)
การรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นเพื่อนำมาใช้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
(๒)
การรับฟังความคิดเห็นเมื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ
แล้วเสร็จเบื้องต้นเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง
การรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ซึ่งต้องใช้วิธีการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะได้โดยสะดวกและทั่วถึง
และต้องมีการแสดงข้อมูลที่เพียงพอแก่การที่ประชาชนจะเข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย
มาตรา ๙ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเสร็จแล้ว
ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องใด ให้ส่งคืนคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร
แล้วส่งให้คณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
ให้คณะรัฐมนตรีนำร่างยุทธศาสตร์ชาติที่ได้รับจากคณะกรรมการหรือที่คณะกรรมการแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งแล้ว
เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติ
ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ชาติและลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติ
และให้วุฒิสภาพิจารณาและลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างจากสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ชาติไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
ได้ให้ความเห็นชอบในร่างยุทธศาสตร์ชาติที่คณะรัฐมนตรีเสนอ
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ
ให้ร่างยุทธศาสตร์ชาติเป็นอันตกไป
และให้คณะกรรมการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้
ซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎร
หรือวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ โดยให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ เว้นแต่ระยะเวลาหกสิบวันและสามสิบวันตามวรรคสาม
ให้ลดเหลือสามสิบวันและสิบห้าวัน
แล้วแต่กรณี
ร่างยุทธศาสตร์ชาติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวัน
เพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ
มาตรา ๑๐ เมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติแล้ว
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแต่ละด้านจัดทำแผนแม่บทเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
แผนแม่บทและแผนการปฏิรูปประเทศตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศต้องมีความสอดคล้องกัน
แผนแม่บทที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ให้มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
รวมทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทด้วย
ในกรณีที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีก่อน
และเมื่อคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
จึงดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ชาติทุกห้าปีหรือในกรณีที่สถานการณ์ของโลกหรือสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถหรือไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการตามเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งด้านใดได้
หากคณะกรรมการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ให้คณะกรรมการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนดำเนินการ
เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ชาติแล้ว
ให้คณะกรรมการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้
และเมื่อได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ
หมวด ๒
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
(๑)
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง
(๓)
ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง
(๔)
รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการคนที่สาม
(๕) ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ
(๖)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่เกินเจ็ดสิบห้าปี ซึ่งมีความรู้
ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านความมั่นคง ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ จำนวนไม่เกินสิบเจ็ดคน
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย
และรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ในการแต่งตั้งกรรมการตาม
(๖) ให้คำนึงถึงความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และความหลากหลายของช่วงอายุด้วย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตาม
(๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๖)
(๔)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๑๕ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
(๒)
กำหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
และการมีส่วนร่วมในการติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
(๓)
เสนอความเห็นต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
(๔)
กำกับดูแลการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ
(๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๖ ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ
เพื่อพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแต่ละคณะ
ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น
จำนวนไม่เกินสิบห้าคน
โดยในการแต่งตั้งให้คำนึงถึงความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และความหลากหลายของช่วงอายุด้วย
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมหรือภารกิจขององค์กรอิสระ
ให้แต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการด้วย
มาตรา ๑๗ ให้คณะกรรมการและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ แล้วแต่กรณี
มอบหมาย
มาตรา ๑๘ การประชุมของคณะกรรมการ
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะอนุกรรมการ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการจะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้
มาตรา ๑๙ การปฏิบัติหน้าที่และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
และคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจำเป็นต้องได้ข้อมูลหรือมีการศึกษาเรื่องใด
จะขอให้สำนักงานจ้างบุคคล สถาบันการศึกษา หรือสถาบันที่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย
เพื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าวก็ได้
วิธีการจ้าง ค่าตอบแทน
และประโยชน์ตอบแทนอื่นของบุคคลหรือสถาบันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๑ ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ
ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
และอนุกรรมการตามมาตรา ๑๗ ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย
และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๒ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะอนุกรรมการ
(๒)
ศึกษา รวบรวม
และวิเคราะห์ข้อมูลและความเห็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งจัดหาและพัฒนาข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานด้านวิชาการให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
และคณะอนุกรรมการ
(๓)
ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๔)
ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามมาตรา ๘
(๕)
เผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
รวมทั้งดำเนินการอื่นใดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างแนวร่วมในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
(๖)
รับผิดชอบในการดำเนินการให้มีการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการจัดทำรายงานตามมาตรา
๒๔ และมาตรา ๒๗ วรรคสอง
(๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย
หมวด ๓
การติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมินผล
มาตรา ๒๓ ให้คณะรัฐมนตรีวางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการการติดตาม
การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
ข้อเสนอแนะในการวางระเบียบตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรในฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ
ให้คณะกรรมการประสานและปรึกษากับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐขององค์กรดังกล่าวด้วย
มาตรา ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวต่อสำนักงาน
ภายในเวลาและตามรายการที่สำนักงานกำหนด
ให้สำนักงานจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการ
คณะรัฐมนตรี หัวหน้าหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๓ วรรคสอง
และรัฐสภาทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้
รายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติด้วย
ในกรณีมีเหตุอันควรรายงานให้รัฐสภาทราบเป็นการเฉพาะเรื่อง
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้องรายงานต่อคณะกรรมการ
เพื่อให้คณะกรรมการเสนอรัฐสภาเป็นการเฉพาะเรื่องได้
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาพิจารณารายงานตามมาตรา
๒๔
แล้ว เห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา
แล้วแต่กรณี มีมติส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นตามหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
และในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล
ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหานั้นสั่งให้ผู้นั้นพักราชการหรือพักงาน
หรือสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน หรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ความปรากฏต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ว่าการดำเนินการใดของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บท
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแจ้งให้หน่วยงานของรัฐนั้นทราบถึงความไม่สอดคล้องและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุง
และเมื่อหน่วยงานของรัฐดำเนินการแก้ไขปรับปรุงประการใดแล้ว ให้แจ้งให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่แจ้งการดำเนินการให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติทราบภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งไม่ว่าด้วยเหตุใด
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติรายงานให้คณะกรรมการทราบเพื่อพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและสั่งการต่อไป
เว้นแต่เป็นกรณีของหน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ
ให้แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐขององค์กรดังกล่าวเพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้ถือว่าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
และให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
และให้นำความในมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๗ ให้สำนักงานเผยแพร่รายงานที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐ
และรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีและรายงานเป็นการเฉพาะเรื่องตามมาตรา ๒๔
ให้ประชาชนทราบทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน
เพื่อประโยชน์ในการมีส่วนร่วมของประชาชน
ให้สำนักงานจัดให้มีวิธีการที่ประชาชนซึ่งพบหรือเห็นว่าหน่วยงานของรัฐหน่วยใดไม่ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บทสามารถแจ้งเหตุดังกล่าวให้สำนักงานทราบได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๘ ในวาระเริ่มแรก
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
ให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเป็นไปตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๒ (๖)
ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(๒)
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ
ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
(๓)
ให้ถือว่าการรับฟังความคิดเห็นที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
และสำนักงานได้ดำเนินการก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นการดำเนินการตามมาตรา
๘ (๑) แล้ว
แต่ไม่เป็นการตัดอำนาจที่จะดำเนินการให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม
(๔)
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ
จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
โดยให้ใช้ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐
ปีที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
จัดทำขึ้นมาใช้เป็นหลักในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเบื้องต้นดังกล่าว
และให้นำความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
และคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง มาประกอบการพิจารณา
รวมทั้งให้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับตาม (๓) ด้วย
(๕)
ให้สำนักงานดำเนินการให้มีการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา ๘ (๒)
ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติเบื้องต้นตาม (๔)
(๖)
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ
แก้ไขเพิ่มเติมร่างยุทธศาสตร์ชาติให้สอดคล้องกับผลการรับฟังความคิดเห็นตาม (๕)
ให้แล้วเสร็จ
และเสนอต่อคณะกรรมการภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่การรับฟังความคิดเห็นตาม (๕)
แล้วเสร็จ
(๗)
ให้คณะกรรมการพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ชาติและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
(๘)
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ชาติและเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากคณะกรรมการ
(๙)
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากคณะรัฐมนตรี
(๑๐)
ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างยุทธศาสตร์ชาติที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบแล้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติตาม
(๘) ให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วตาม (๘)
ต่อวุฒิสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากคณะรัฐมนตรี
ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงก่อนการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติตาม
(๙) จะแล้วเสร็จ
ให้วุฒิสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติต่อไปให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่
และในกรณีที่จำเป็นอาจขยายระยะเวลาอีกได้แต่ต้องไม่เกินสิบวัน
เมื่อวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติตามวรรคสองหรือวรรคสามแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตาม (๑๐) ต่อไป
มาตรา ๒๙ ในระหว่างอายุของวุฒิสภาตามมาตรา ๒๖๙ (๔)
ของรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บท
เป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีโดยตรง
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแจ้งให้คณะกรรมการและวุฒิสภาทราบ
และให้วุฒิสภาดำเนินการตามมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นว่ากรณีเป็นปัญหาว่ามติของคณะรัฐมนตรีหรือการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ให้วุฒิสภามีมติเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยโดยเร็ว
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติของคณะรัฐมนตรีหรือการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจโดยเร็ว
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาและมีมติให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติโดยให้ฟังข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามที่ปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง
ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน
เพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยในการจัดทำ
การกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ และกฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๑/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
824845 | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและมาตรการสนับสนุนการประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง
กำหนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและมาตรการสนับสนุนการประกอบกิจการโรงงาน
ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
ด้วยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบให้ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและได้นำเรื่องการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างความสามารถในการแข่งขันและยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดเรื่องนี้ในยุทธศาสตร์ที่
๔ ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมที่
๓ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น เพื่อให้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้เป็นรูปธรรม และบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ กระทรวงอุตสาหกรรม
จึงออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและมาตรการสนับสนุนการประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หมายความว่า พื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม
และเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเหนี่ยวนำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปด้วยกันภายใต้สภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ และการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ
ข้อ ๒ กำหนดให้พื้นที่ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัดเห็นชอบดังต่อไปนี้
เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
๒.๑ เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
๒.๒ เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
๒.๓ ตำบลวังดาล ตำบลนนทรี ตำบลนาแขม และตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
๒.๔ เขตผังเมืองรวมอ้อมใหญ่ ประกอบด้วย ตำบลบางกระทึก ตำบลกระทุ่มล้ม
ตำบลไร่ขิง ตำบลท่าตลาด ตำบลยายชา ตำบลท่าข้าม ตำบลอ้อมใหญ่
และตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
๒.๕ ตำบลบางกะดี อำเภอเมือง และตำบลคูบางหลวง ตำบลลาดหลุมแก้ว ตำบลคูขวาง ตำบลระแหง และตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี
๒.๖ ตำบลตะพง ตำบลบ้านแลง และตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง และเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประกอบด้วย ตำบลมาบตาพุด
ตำบลเนินพระ ตำบลห้วยโป่ง ตำบลทับมา อำเภอเมือง ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
๒.๗ ตำบลแปลงยาว และตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒.๘ เทศบาลนครแหลมฉบัง และเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี
๒.๙ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒.๑๐ ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
๒.๑๑ ตำบลสีคิ้ว ตำบลลาดบัวขาว ตำบลมิตรภาพ ตำบลกุดน้อย และตำบลหนองหญ้าขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
๒.๑๒ เทศบาลตำบลน้ำพอง เทศบาลตำบลลำน้ำพอง เทศบาลตำบลม่วงหวาน และเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง
จังหวัดขอนแก่น
๒.๑๓ เทศบาลเมืองบ้านโป่ง เทศบาลเมืองท่าผา เทศบาลตำบลเบิกไพร
และตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
๒.๑๔ ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลท่าสะท้อน ตำบลเขาหัวควาย และตำบลบางมะเดื่อ
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒.๑๕ ตำบลสะเดา ตำบลปริก ตำบลพังลา ตำบลสำนักแต้ว ตำบลสำนักขาม ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา และตำบลบ้านพรุ ตำบลพะตง
ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ข้อ ๓ กระทรวงอุตสาหกรรมจะส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป็นลำดับต้น
เมื่อโรงงานในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศปฏิบัติตามตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
หรือมาตรฐานอื่นที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบโดยมีมาตรการ ดังต่อไปนี้
๓.๑ ทบทวนปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
และจะเป็นหน่วยงานหลักในการหารือและขับเคลื่อนร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ในการออกมาตรการสนับสนุนในเรื่องอื่น
ๆ นอกเหนือจากมาตรการสนับสนุนการประกอบกิจการโรงงานของกระทรวงอุตสาหกรรม
๓.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการโรงงานในมาตรการต่าง
ๆ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ก) มาตรการด้านภาษีหรือการเงิน เช่น ยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการโรงงาน
ข) มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ
เช่น อำนวยความสะดวกในการขอรับการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (fast track)
ค) มาตรการด้านการทางสังคม เช่น การเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีทางสังคมประชาสัมพันธ์
ง) มาตรการด้านงานวิชาการ เช่น ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนงานวิชาการ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
จ) มาตรการอื่น ๆ
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พิไลภรณ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มิถุนายน ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๓๕/๔ มกราคม ๒๕๖๒ |
816427 | ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) | ประกาศ
เรื่อง
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) [๑]
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
บัดนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้ดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วและคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่
๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ดังมีสาระสำคัญตามที่แนบท้ายนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒๕๘๐)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ มกราคม
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๑/๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
787072 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ[๑]
โดยที่พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๒๘ (๒) บัญญัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง
ๆ
ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกำหนดและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๖ และมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
๑.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
ขอบเขต
สถาบันพระมหากษัตริย์
การทหาร อธิปไตย การต่างประเทศ ภัยพิบัติ อาชญากรรมการเข้าเมืองผิดกฎหมาย
การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และภัยอื่น
ๆที่คุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
(๑) พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ประธานกรรมการ
(๒) นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการ
(๓) พลเอก ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ กรรมการ
(๔) พลเอก ทวีป เนตรนิยม กรรมการ
(๕) รองศาสตราจารย์ปณิธาน วัฒนายากร กรรมการ
(๖) พลเรือเอก ประสาน สุขเกษตร กรรมการ
(๗) นายวันชาติ สันติกุญชร กรรมการ
(๘) นายสุวิทย์ สิมะสกุล กรรมการ
(๙) รองศาสตราจารย์อักษรศรี พานิชสาส์น กรรมการ
(๑๐) นายเชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ กรรมการและเลขานุการ
๒.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ขอบเขต
การค้า
การลงทุน การผลิต การบริการ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
การพัฒนาพื้นที่พิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจการอำนวยความสะดวกในทางธุรกิจ
(๑) นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ
(๒) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการ
(๓) นายจรัล งามวิโรจน์เจริญ กรรมการ
(๔) รองศาสตราจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กรรมการ
(๕) นายปพนธ์ มังคละธนะกุล กรรมการ
(๖) นายวิบูลย์ คูสกุล กรรมการ
(๗) นางวันทนีย์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ
(๘) ศาสตราจารย์ศักดา ธนิตกุล กรรมการ
(๙) นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการ
(๑๐) นางสาวอรกัญญา พิบูลธรรม กรรมการ
(๑๑) นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการ
(๑๒) นายธฤต จรุงวัฒน์ กรรมการและเลขานุการ
๓.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ขอบเขต
คุณธรรม
จริยธรรม การศึกษา สุขภาวะ การพัฒนาสถาบันครอบครัว คุณภาพชีวิตการกีฬา นันทนาการ
(๑) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการ
(๒) นายดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ กรรมการ
(๓) นายนนทิกร กาญจนะจิตรา กรรมการ
(๔) นางสาวปิยะธิดา ประดิษฐบาทุกา กรรมการ
(๕) ศาสตราจารย์วรเวศม์ สุวรรณระดา กรรมการ
(๖) นายวรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการ
(๗) นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการ
(๘) นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล กรรมการ
(๙) นายสารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการ
(๑๐) นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ
(๑๑) นายสุธี อัสววิมล กรรมการ
(๑๒) ศาสตราจารย์อุดม คชินทร กรรมการ
(๑๓) นายชาญวิทย์ ผลชีวิน กรรมการและเลขานุการ
๔.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ขอบเขต
ผู้สูงวัย
ความยากจน คนด้อยโอกาส บริการสาธารณสุข ประชารัฐ ตลาดชาวบ้านเศรษฐกิจฐานราก
เศรษฐกิจพอเพียง ความเข้มแข็งของชุมชน
(๑) นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานกรรมการ
(๒) ศาตราจารย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ กรรมการ
(๓) นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการ
(๔) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กรรมการ
(๕) นายพลากร วงค์กองแก้ว กรรมการ
(๖) นายวรพล โสคติยานุรักษ์ กรรมการ
(๗) รองศาสตราจารย์วิพรรณ ประจวบเหมาะ กรรมการ
(๘) นางวีรวรรณ มอสบี้ กรรมการ
(๙) นายศิริชัย ไม้งาม กรรมการ
(๑๐) นายสมชัย จิตสุชน กรรมการ
(๑๑) นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ กรรมการ
(๑๒) นายสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ กรรมการ
(๑๓) นางสีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการและเลขานุการ
๕.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขอบเขต
ทรัพยากรน้ำ
พลังงาน โลกร้อน การปลูกป่า ขยะมูลฝอย การกัดเซาะชายฝั่งทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหามลภาวะ ระบบนิเวศ ผังเมือง
(๑) ศาสตราจารย์ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการ
(๒) รองศาสตราจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กรรมการ
(๓) นางสาวนิศรา การุณอุทัยศิริ กรรมการ
(๔) รองศาสตราจารย์บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย กรรมการ
(๕) ศาสตราจารย์เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ กรรมการ
(๖) นายพิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ
(๗) นายสุวัช สิงหพันธุ์ กรรมการ
(๘) นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ
(๙) นางสาวลดาวัลย์ คำภา กรรมการและเลขานุการ
๖.
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ขอบเขต
โครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ
การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
การพัฒนากระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ อัยการ ศาล ทนายความ ราชทัณฑ์) การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
(๑) นายพงศ์โพยม วาศภูติ ประธานกรรมการ
(๒) นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ กรรมการ
(๓) ศาสตราจารย์ทศพร ศิริสัมพันธ์ กรรมการ
(๔) ศาสตราจารย์พิเศษภักดี โพธิศิริ กรรมการ
(๕) นางวรารัตน์ อติแพทย์ กรรมการ
(๖) นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กรรมการ
(๗) รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย กรรมการ
(๘) ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา กรรมการ
(๙) นายสราวุธ เบญจกุล กรรมการ
(๑๐) นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการ
(๑๑) นายสุเมธ รอยกุลเจริญ กรรมการ
(๑๒) พลเอก อาชาไนย ศรีสุข กรรมการ
(๑๓) นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย กรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการคณะใดยังไม่ครบตามจำนวนที่จะพึงมีตามที่กำหนดในมาตรา
๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
อาจมีมติแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในภายหลังได้
รวมทั้งอาจแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวข้างต้นและที่จะแต่งตั้งเพิ่มเติมต่อไป
มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย ทั้งนี้
ในการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
ให้จัดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ
ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลและเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ตามมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามประกาศนี้มีวาระการดำรงตำแหน่งห้าปี
โดยให้ได้รับค่าตอบแทนค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
ภวรรณตรี/จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๑๔/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
828457 | พระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
การจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
พ.ศ. ๒๕๖๒
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ประชารัฐสวัสดิการ หมายความว่า สวัสดิการที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมแก่ประชาชน
โดยมีการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ หมายความว่า โครงการที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีคุณสมบัติมาลงทะเบียน
เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
กองทุน หมายความว่า กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง
มาตรา
๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามคน
ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือด้านอื่น
อันจะเป็นประโยชน์แก่การจัดประชารัฐสวัสดิการ
ให้ปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงการคลังคนหนึ่ง
เป็นกรรมการและเลขานุการ และแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานจำนวนไม่เกินสองคน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๔) และการให้พ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๗ (๓)
ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา
๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน
เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๗) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นหรือกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการจัดประชารัฐสวัสดิการ
มาตรา
๖
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระในวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการเพื่อแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จก่อนครบวาระไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา
๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ประธานกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนได้รับแต่งตั้งแทน
มาตรา
๘ คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอนโยบาย แผนการดำเนินงาน
มาตรการหรือโครงการเกี่ยวกับประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือในการดำรงชีพและเพิ่มศักยภาพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนที่จำเป็น
ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๒)
พิจารณาการสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานของเอกชน
มูลนิธิ หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบากทุกประเภท
เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้
หลักเกณฑ์การเสนอโครงการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(๓)
จัดให้มีฐานข้อมูลของประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
เพื่อใช้ในการจัดประชารัฐสวัสดิการ การกำกับดูแล การบริหารจัดการ
และการประเมินผลการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม
(๔) กำกับดูแลการบริหารจัดการ
ตรวจสอบข้อมูล และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดประชารัฐสวัสดิการ
(๕) ประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๘) ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือการจัดประชารัฐสวัสดิการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๙
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
แต่ถ้าทั้งประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมให้เลื่อนการประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๑๐ การประชุมของคณะอนุกรรมการ
ให้นำความในมาตรา ๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
มาตรา
๑๑ ในการเสนอนโยบาย แผนการดำเนินงาน
มาตรการหรือโครงการตามมาตรา ๘ (๑)
และการสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมตามมาตรา ๘ (๒) ให้คณะกรรมการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ประมาณการรายจ่าย
วิธีการประเมินผล การวัดความคุ้มค่า และประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ
เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย
มาตรา
๑๒
การจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือในการดำรงชีพแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
ให้ดำเนินการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ทั้งนี้
การจัดประชารัฐสวัสดิการตามมาตรานี้อาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความจำเป็น
ให้กระทรวงการคลังออกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
การออกและการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๑๓
ให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
(๒) บริหารจัดการฐานข้อมูลของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
เพื่อใช้ในการจัดประชารัฐสวัสดิการได้อย่างเหมาะสม
(๓) รับเงิน จ่ายเงิน และเก็บรักษาเงินของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔) จัดทำรายงานการเงินและการบัญชีของกองทุน
(๕) รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ
(๖) ดำเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
และมติของคณะกรรมการ
(๗)
ดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชารัฐสวัสดิการและการดำเนินงานของกองทุน
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๔
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงาน เรียกว่า กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย
หรือเพื่อสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่เป็นการช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบากทุกประเภท
มาตรา
๑๕ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๒๕
(๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรจากงบประมาณรายจ่าย
(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายอื่น
(๕) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
เงินและดอกผลของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา
๑๖ เงินของกองทุน ให้ใช้จ่ายเพื่อการจัดประชารัฐสวัสดิการและกิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
การให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
(๒) การสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานของเอกชน
มูลนิธิ หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบากทุกประเภท
(๓) การดำเนินงานและบริหารกองทุนตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
มาตรา
๑๗
เงินกองทุนให้ฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง
มาตรา
๑๘ ให้สำนักงานวางและรักษาไว้ซึ่งระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถจัดทำรายงานการเงิน
แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกองทุนได้อย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ปีบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามปีงบประมาณ
มาตรา ๑๙
ให้สำนักงานจัดทำรายงานการเงินของกองทุนส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา
๒๐
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
ให้ผู้สอบบัญชีของกองทุนทำรายงานการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ให้คณะกรรมการนำส่งรายงานการเงินพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อกระทรวงการคลังภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชี
มาตรา
๒๑
ให้สำนักงานจัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุน
โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา
๒๒
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้คณะกรรมการเสนอรายงานประจำปีของกองทุนต่อคณะรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว
โดยเฉพาะด้านผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินของกองทุน
รายงานการเงินพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ทั้งนี้
ให้เปิดเผยรายงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา
๒๓
ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอีกต่อไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้มีการยุบเลิกกองทุน
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วย ให้กองทุนยุบเลิกเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
มาตรา
๒๔ เมื่อยุบเลิกกองทุนแล้ว ให้ปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี
รวมทั้งการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินหรือทรัพย์สินที่เหลือหลังจากการชำระบัญชีให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา
๒๕ ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ
หนี้สิน และภาระผูกพันที่เกี่ยวเนื่องกับกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๖ ในวาระเริ่มแรก
ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๔ (๑) (๒) (๓) และวรรคสอง
เพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๔ (๔) และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๔ (๔) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบที่ออกตามมาตรา
๔ วรรคสาม ใช้บังคับ
มาตรา ๒๗
โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
และการจัดประชารัฐสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วตามมาตรา ๘ (๑)
มาตรา ๒๘ การออกระเบียบหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อให้มีผลใช้บังคับภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้นำข้อบังคับเกี่ยวกับกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาใช้บังคับแก่กองทุนตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๒๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
กระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ตลอดจนยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
โดยมีการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน และประชาชน อันจะมีผลทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีปัจจัยที่เพียงพอและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
รวมทั้งมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการจัดสวัสดิการเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปุณิกา/ธนบดี/จัดทำ
๔ มีนาคม ๒๕๖๒
พจนา/ตรวจ
๔ มีนาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๑/๓ มีนาคม ๒๕๖๒ |
395094 | พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
การจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
การจัดสรรที่ดิน
หมายความว่า การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป
ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกันโดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน
และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึงสิบแปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายในสามปีเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย
สิทธิในที่ดิน หมายความว่า
กรรมสิทธิ์และให้หมายความรวมถึงสิทธิครอบครองด้วย
ใบอนุญาต
หมายความว่า ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้จัดสรรที่ดิน
หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนใบอนุญาตด้วย
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
หมายความว่า ผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินจัดสรร
และให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนสิทธิในที่ดินคนต่อไปด้วย
สาธารณูปโภค[๒] หมายความว่า
สิ่งอำนวยประโยชน์ที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสัญญาหรือแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต
บริการสาธารณะ
หมายความว่า
การให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในโครงการที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๒๓ (๔)
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
รัฐมนตรี
หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
การจัดสรรที่ดินของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์กรอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
(๒)
การจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๗[๓] ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมการปกครอง
อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
และแต่งตั้งข้าราชการกรมที่ดินจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง
ให้แต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๘
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดสรรที่ดินโดยทั่วไป
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน
(๒)
วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
(๓)
ให้ความเห็นชอบข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่คณะกรรมการเสนอตามมาตรา ๑๔ (๑)
(๔)
กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรเพื่อให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินใช้ในการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕)
วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามคำร้องหรือคำอุทธรณ์ของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินหรือผู้จัดสรรที่ดิน
(๖)
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ระเบียบตาม
(๒) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๙
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่
หรือหย่อนความสามารถ
(๔)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๑
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒ การประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทุกจังหวัด
ดังนี้
(๑) ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีกรมที่ดินซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
และให้ผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๒) ในจังหวัดอื่น ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมชลประทาน อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานอัยการจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ปลัดจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง
เป็นกรรมการ และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ[๔]
ในกรณีที่เป็นการพิจารณาหรืออนุมัติเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใด
ให้ผู้แทนผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นเป็นกรรมการร่วมด้วยแห่งละหนึ่งคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๑) และ (๒)
ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจากภาคเอกชนซึ่งไม่ได้เป็นผู้จัดสรรที่ดิน
และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดสรรที่ดินภายในจังหวัดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
(๒)
พิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาต การออกใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตหรือการเพิกถอนการโอนใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน
(๓)
ตรวจสอบการจัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นไปตามแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการที่ได้รับอนุญาต
(๔)
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ข้อกำหนดตาม
(๑) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการ
มีอำนาจเรียกเป็นหนังสือให้บุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย ความเห็น
คำแนะนำทางวิชาการ หรือให้ส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดสรรที่ดินตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๑๖
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๑๔ (๑) ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนผัง
โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการสาธารณสุข
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค
และการผังเมือง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นในการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ของจังหวัดนั้น
โดยให้กำหนดเงื่อนไขในสิ่งต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด
หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรรได้
(๒)
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
(๓)
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
(๔)
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ และการบริหารชุมชน
มาตรา ๑๗ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา
๑๒ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อให้พิจารณาหรือกระทำการอย่างใดตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการมอบหมายได้
เว้นแต่การดำเนินการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒)
คณะอนุกรรมการและบุคคลซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการแต่งตั้ง
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการในกิจการที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๑๙ ให้นำมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๒
การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๒๑
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๒
ผู้ใดขอแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป
และไม่อาจแสดงให้เป็นที่เชื่อได้ว่ามิใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการจัดสรรที่ดิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินและรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน
หากผู้ขอไม่เห็นด้วยให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับอุทธรณ์
ถ้าคณะกรรมการมิได้มีคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินนั้นต่อไป
เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นประการใดแล้ว
ให้แจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดินให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมหลักฐานและรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑)
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน
โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใด ๆ
เว้นแต่บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(๒)
ในกรณีที่ที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หรือภาระการจำนอง
ให้แสดงบันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองและจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง
และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว
(๓)
แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรรและเนื้อที่โดยประมาณของแต่ละแปลง
(๔)
โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
รวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น โดยแสดงแผนผัง รายละเอียด
และรายการก่อสร้าง ประมาณการค่าก่อสร้าง และกำหนดเวลาที่จะจัดทำให้แล้วเสร็จ
ในกรณีที่ได้มีการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดิน
ให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้างที่ได้จัดทำแล้วเสร็จนั้นด้วย
(๕)
แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
(๖)
วิธีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและการชำระราคาหรือค่าตอบแทน
(๗)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น
(๘)
แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
(๙)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
(๑๐) ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน
และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินและผู้นั้นยังมิได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดินหรือดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จตามแผนผังและโครงการ
คณะกรรมการจะต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดมาทำสัญญาค้ำประกันกับคณะกรรมการว่า
ถ้าผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
หรือการปรับปรุงที่ดินให้แล้วเสร็จตามแผนผัง โครงการ
และกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้ หรือมีกรณีที่เชื่อได้ว่าจะไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามที่ได้รับอนุญาต
ธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ค้ำประกันต้องชำระเงินให้แก่คณะกรรมการตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
เพื่อคณะกรรมการจะได้ใช้เงินนั้นในการดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินนั้นให้แล้วเสร็จตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
และถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ผู้ค้ำประกันโดยไม่ชักช้า
คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ผู้ค้ำประกันรับไปดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแทนการเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินก็ได้
ถ้าผู้ค้ำประกันไม่เริ่มทำการในเวลาอันควรหรือไม่ทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด
คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินดังกล่าวตามวรรคหนึ่งได้
ในกรณีที่คณะกรรมการให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินทำหนังสือรับรองกับคณะกรรมการด้วยว่า
ถ้าจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันได้ค้ำประกันไว้ไม่เพียงพอแก่การดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ดี
หรือผู้ค้ำประกันไม่จ่ายเงินตามที่ประกันไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ดี
ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจะเป็นผู้จ่ายเงินตามจำนวนที่ขาดให้คณะกรรมการเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ในกรณีที่มีการผิดสัญญาที่ทำกับคณะกรรมการ
ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีในนามคณะกรรมการ
การเก็บรักษาเงิน
การนำส่งเงิน และการเบิกจ่ายเงิน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๒๕
การพิจารณาแผนผัง โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดิน ให้คณะกรรมการกระทำให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอ
ถ้าคณะกรรมการไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินนั้นแล้ว
การพิจารณาแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามขั้นตอน
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่คณะกรรมการไม่เห็นชอบหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
และให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางไม่วินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๗ การออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่
(๑)
วันที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบหรือถือว่าได้ให้ความเห็นชอบ แผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๒๕ หรือ
(๒)
วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกรณีที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางเห็นควรอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
หรือนับแต่วันที่ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๒๖
เมื่อคณะกรรมการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการแจ้งให้ผู้ทำการจัดสรรที่ดินทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๒๘[๕] เมื่อได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการจัดส่งใบอนุญาตพร้อมทั้งแผนผัง โครงการ
และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินจัดสรรนั้นตั้งอยู่โดยเร็ว
เพื่อให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการว่าที่ดินนั้นอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดิน และเมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้จดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกทุกฉบับ
สำหรับที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะให้จดแจ้งด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๙ การโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓
ข้อความในโฆษณาจะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่กำหนดไว้ในคำขออนุญาตด้วย
มาตรา ๓๐
ในกรณีที่ที่ดินจัดสรรมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการจำนองติดอยู่ เมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งบุริมสิทธิหรือการจำนองนั้นในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยทุกฉบับ
พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงในสารบัญสำหรับจดทะเบียนด้วย
และให้ถือว่าที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงเป็นประกันหนี้บุริมสิทธิหรือหนี้จำนองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้น
ให้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนอง
หมวด ๓
การดำเนินการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๓๑ ให้ผู้จัดสรรที่ดินแสดงใบอนุญาต แผนผัง
โครงการ และวิธีการตามที่คณะกรรมการอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
สำนักงานที่ทำการจัดสรรที่ดิน
ถ้าใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นคำขอรับใบแทนตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือชำรุด
มาตรา ๓๒
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการที่ได้รับอนุญาต ให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
พร้อมทั้งแผนผัง โครงการ หรือวิธีการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
พร้อมกับหนังสือยินยอมของธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ค้ำประกันเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
ในการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง
โครงการ หรือวิธีการที่ได้ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗
มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๓
เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
การก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอื่นนอกจากที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๓๔
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรระหว่างผู้จัดสรรที่ดินกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องทำตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามวรรคหนึ่งส่วนใด
หากมิได้ทำตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดและไม่เป็นคุณต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
สัญญาส่วนนั้นไม่มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๓๕ ในการชำระราคาที่ดิน
หรือการชำระหนี้บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือหนี้จำนองจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้ผู้รับเงินออกหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับเงินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
และให้ถือว่าหลักฐานการชำระเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงการชำระราคาที่ดินจัดสรร
มาตรา ๓๖
ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินที่ทำการจัดสรรให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
ผู้จัดสรรที่ดินต้องโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนองในที่ดินนั้น
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิชำระหนี้บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือหนี้จำนองต่อผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองได้
โดยให้ถือว่าเป็นการชำระราคาที่ดินแก่ผู้จัดสรรที่ดินส่วนหนึ่งด้วย
มาตรา ๓๗
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้ถือว่าที่ดินนั้นพ้นจากการยึดหรืออายัดทั้งปวง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนำหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้ชำระราคาดังกล่าวพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อได้รับเอกสารและหลักฐานดังกล่าวแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต่อไป
ถ้าที่ดินจัดสรรตามวรรคหนึ่งมีการจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือการจำนอง
และมีหลักฐานการชำระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองครบถ้วนแล้ว
ให้ที่ดินนั้นปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือภาระการจำนอง
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่สามารถนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เพราะบุคคลอื่นยึดถือหรือครอบครองไว้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากบุคคลที่ยึดถือหรือครอบครองไว้มาดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้
เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บุคคลที่ยึดถือหรือครอบครองหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้รับแจ้งหรือถือว่าได้รับแจ้งคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสาม
ถ้ายังไม่มีการส่งมอบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้
มาตรา ๓๘
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะโอนใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าการโอนนั้นไม่เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา
๒๔ หรือมาตรา ๔๓ วรรคสอง ได้ยินยอมด้วยแล้ว ให้คณะกรรมการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอน
ค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๙
เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย
หรือภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควรขยายให้ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิในที่ดินที่จัดสรร
ให้คณะกรรมการโอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับโอน
และให้คณะกรรมการแจ้งให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินและผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินที่ตายไม่มีผู้จัดการมรดกหรือทายาท
หรือมีแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทมิได้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อสำนักงานวางทรัพย์
และให้นำมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้นำมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย
ไม่ว่าจะมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับโอนใบอนุญาตต่อไปหรือไม่
ให้ถือว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๔๓
วรรคสอง ยังคงผูกพันอยู่ตามสัญญาค้ำประกันนั้น
มาตรา ๔๑
เมื่อมีการบังคับคดีที่ดินที่ทำการจัดสรรของผู้จัดสรรที่ดิน ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แล้วแต่กรณี แทนการชำระต่อบุคคลที่กำหนดไว้ในสัญญา
และในระหว่างที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นไว้ก่อน
เว้นแต่จะเป็นการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการตามวรรคสี่
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้ที่ดินจัดสรรนั้นพ้นจากการยึด อายัด หรือการบังคับคดี
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้นำความในมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
และการพ้นจากการยึด อายัด หรือการบังคับคดีของที่ดินแปลงนั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน
ในการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการ
ผู้ซื้อจะต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
มาตรา ๔๒
ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและนิติบุคคลนั้นต้องเลิกไปโดยยังมิได้ดำเนินการตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือดำเนินการยังไม่ครบถ้วน
ให้นำมาตรา ๔๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๔
การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
มาตรา ๔๓ สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร
และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป
และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น
และยังอยู่ในความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาของผู้จัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่งกับคณะกรรมการ
และให้นำมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๓/๑[๖] ห้ามโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
เว้นแต่เป็นการโอนตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
มาตรา ๔๔[๗] ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามมาตรา ๔๓ เมื่อได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา
๒๓ (๕) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน
(๒)
ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์
การดำเนินการตามความในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้
ต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม (๑) แล้ว
ให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา
ให้ถือว่าสูญหาย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา ๔๕ การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการมีมติให้จัดตั้ง
และแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพร้อมด้วยข้อบังคับที่มีรายการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๒)
วัตถุประสงค์
(๓)
ที่ตั้งสำนักงาน
(๔)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
(๕)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
(๖)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๗)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
การขอจดทะเบียนจัดตั้ง
การควบ การยกเลิก และการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๖
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
มาตรา ๔๗ เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามมาตรา
๔๕ แล้ว ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ในกรณีที่มีที่ดินจัดสรรแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อหรือได้โอนกลับมาเป็นของผู้จัดสรรที่ดิน
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
มาตรา ๔๘ เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค
(๒)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายในที่ดินจัดสรร
(๓)
เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก
(๔)
ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่สิบรายขึ้นไป
(๕)
จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์
(๖)
ดำเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ระเบียบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หรือข้อบังคับของคณะกรรมการที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้
การดำเนินการตาม
(๑) (๒) และ (๕) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
มาตรา ๔๙ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ให้จัดเก็บเป็นรายเดือนจากที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินทุกแปลง ทั้งนี้
อาจกำหนดค่าใช้จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือขนาดพื้นที่ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรรที่ตนซื้อ
และให้ผู้จัดสรรที่ดินออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ซื้อ
การกำหนดและการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกตามมาตรา ๔๔ (๑)
หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ (๒)
ให้เริ่มเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเมื่อเริ่มจัดตั้งนิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ (๒) โดยให้นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑)
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา
๔๔ (๒) ที่มีหน้าที่ในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคมีอำนาจในการจัดเก็บ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๕๐
ผู้มีหน้าที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตามมาตรา ๔๙
วรรคสอง ที่ชำระเงินดังกล่าวล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับสำหรับการจ่ายเงินล่าช้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
และในกรณีที่ค้างชำระตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด[๘]
ให้ถือว่าหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ
มาตรา ๕๑
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากร
เงินที่นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) ได้รับจากผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อนำไปใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ให้ได้รับยกเว้นภาษีอากร
การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากรโดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขด้วยก็ได้
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมตามมาตรา
๔๓ ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผัง
โครงการ หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ผู้จัดสรรที่ดินระงับการกระทำนั้น
และบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการตามแผนผัง
โครงการ
หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา ๕๓
การจัดให้มีและการบำรุงรักษาบริการสาธารณะให้นำความในมาตรา ๕๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้
ให้เรียกเก็บค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะได้ตามอัตราที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
หมวด ๕
การยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๕๔
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
การขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๕
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาปิดประกาศคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินไว้ในที่เปิดเผย
ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน
บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
มีกำหนดหกสิบวัน
และให้ผู้จัดสรรที่ดินประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ
มาตรา ๕๖
ให้ผู้ซึ่งมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินที่ประสงค์จะคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดปิดประกาศตามมาตรา
๕๕
ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรคัดค้าน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขายกเลิกเรื่องขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
แต่ถ้ามีผู้คัดค้านแต่มิใช่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินและคำคัดค้านให้คณะกรรมการพิจารณา
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามวรรคสาม
ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้คัดค้านอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
มาตรา ๕๗
เมื่อคณะกรรมการสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว ใบอนุญาตที่ได้ออกตามมาตรา
๒๗ ให้เป็นอันยกเลิก
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๕๘
ผู้จัดสรรที่ดินหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการเรียกหรือสั่งตามมาตรา
๑๕ หรือผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินจัดสรรผู้ใดไม่ให้ความสะดวกแก่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางแต่งตั้งในการปฏิบัติงานตามมาตรา ๑๘
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๐ ผู้ใดแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานหรือรายละเอียดตามมาตรา
๒๓ (๗) อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๑
ผู้ใดโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินโดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๙
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๒ ผู้จัดสรรที่ดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๓
ผู้จัดสรรที่ดินผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๕ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายตามมาตรา ๕๒
นอกจากต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว
ต้องระวางโทษปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๖๖[๙] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๗
บรรดากฎกระทรวงและข้อกำหนดที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวงและข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘
ให้คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะอนุกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตหรือการอนุญาตใด ๆ
ที่ได้ให้ไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๐ การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ให้นำมาตรา ๔๕
มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒
มาใช้บังคับแก่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยโดยอนุโลม
การบำรุงรักษาบริการสาธารณะ
ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับแก่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยโดยอนุโลม
การพ้นจากความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค ให้นำมาตรา ๔๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการ
อาจยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน
เขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่และบริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร
มีกำหนดสามสิบวัน
และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคทราบตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค คัดค้านการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณา
หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคจริง ให้นำความในมาตรา
๔๓ วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
หากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค
ให้ยกเลิกการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคไม่คัดค้านหรือไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการตามวรรคหก
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และให้มีอำนาจจดทะเบียนโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อไป
มาตรา ๗๑
ในระหว่างที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางยังมิได้กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาตามมาตรา
๘ (๔) มิให้นำความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๖๓ มาใช้บังคับ
มาตรา ๗๒ บรรดาคำขออนุญาต
การออกหรือโอนใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
คณะอนุกรรมการในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่การอุทธรณ์ ให้ดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑)
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ไร่ละ ๕๐๐ บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(๒)
การโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน รายละ ๕,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดินได้ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว
มีหลักการและรายละเอียดไม่เหมาะสมหลายประการ
สมควรแก้ไขปรับปรุงเพื่อกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
โดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
นอกจากนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดินได้กระจายอำนาจการอนุญาตและการควบคุมดูแลการจัดสรรที่ดินไปสู่ระดับจังหวัด
และกำหนดเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้แน่นอน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๐]
มาตรา ๑๓ ในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ให้แก้ไขคำว่า อธิบดีกรมโยธาธิการ เป็น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง คำว่า
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เป็น
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคำว่า
ผังเมืองจังหวัด เป็น โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม นั้นแล้ว
และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว
ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๑]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคที่ยังมิได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หากภายหลังได้ดำเนินการตามมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา ให้ถือว่าสูญหาย
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดสรรที่ดินในปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าที่ดินแปลงนั้นเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
เป็นผลให้ไม่อาจทราบชัดเจนว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
และมีการโอนที่ดินดังกล่าวไปยังบุคคลอื่นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยรวม
จึงสมควรให้มีการจดแจ้งดังกล่าวและห้ามการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดินและการให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ประกอบกับสมควรแก้ไขบทบัญญัติที่กำหนดชื่อตำแหน่งในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
รวมทั้งแก้ไขระยะเวลาการค้างชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๒]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง
พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖
และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔
และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น
เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นุสรา/ปรับปรุง
๒๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
วิมล/แก้ไข
๒๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๒] มาตรา ๔ บทนิยามคำว่า สาธารณูปโภค
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] มาตรา ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๔] มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๕] มาตรา
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๖] มาตรา
๔๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๗] มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] มาตรา ๕๐ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๙] มาตรา
๖๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
[๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๒ ก/หน้า ๑๕/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769009 | พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้
และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ
(๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช
๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕
และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐
(๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๗) มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒๐) มาตรา ๑๕
แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒๑) มาตรา ๙๒
แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
(๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
(๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๘) มาตรา ๑๑๑
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๓๗
(๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
(๓๕) มาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๘) มาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๒) มาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๔) มาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๖) มาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
(๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๐) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พุทธศักราช ๒๔๗๔
มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒. ประมวลรัษฎากร
มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย
๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา
๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ
อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ.
ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ
อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง
ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า อผศ. ทหารผ่านศึก ผ่านศึก นอกประจำการ หรือคำว่าทหาร เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๑.
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๒.
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๔ .
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น
หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด
ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย
๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๒๔
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐
หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ.
๒๕๒๔
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย
๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา
๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา
๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด
หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
๒๕๓๕
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา
๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา
๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓
มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙
หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.
๒๕๔๑
มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง
หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑
วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗
มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๒
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.
๒๕๔๕
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙
หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘
เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา
๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน
อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.
๒๕๔๘
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา
๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา
๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี
ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑
หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙
ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕
หรือมาตรา ๑๒๘
ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์
หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา
๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๔
มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๕๗
วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769676 | พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/09/2558) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
การจัดสรรที่ดิน
หมายความว่า การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป
ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกันโดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน
และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึงสิบแปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายในสามปีเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย
สิทธิในที่ดิน หมายความว่า
กรรมสิทธิ์และให้หมายความรวมถึงสิทธิครอบครองด้วย
ใบอนุญาต
หมายความว่า ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้จัดสรรที่ดิน
หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนใบอนุญาตด้วย
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
หมายความว่า ผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินจัดสรร
และให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนสิทธิในที่ดินคนต่อไปด้วย
สาธารณูปโภค[๒] หมายความว่า
สิ่งอำนวยประโยชน์ที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสัญญาหรือแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต
บริการสาธารณะ
หมายความว่า
การให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในโครงการที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๒๓ (๔)
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า
เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
รัฐมนตรี
หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
การจัดสรรที่ดินของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์กรอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
(๒)
การจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๗[๓] ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมการปกครอง
อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
และแต่งตั้งข้าราชการกรมที่ดินจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง
ให้แต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๘
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดสรรที่ดินโดยทั่วไป
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน
(๒)
วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
(๓)
ให้ความเห็นชอบข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่คณะกรรมการเสนอตามมาตรา ๑๔ (๑)
(๔)
กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรเพื่อให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินใช้ในการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕)
วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามคำร้องหรือคำอุทธรณ์ของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินหรือผู้จัดสรรที่ดิน
(๖)
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ระเบียบตาม
(๒) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๙
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๐
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่
หรือหย่อนความสามารถ
(๔)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๑
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒
การประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓
ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทุกจังหวัด
ดังนี้
(๑) ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีกรมที่ดินซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
และให้ผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๒) ในจังหวัดอื่น ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมชลประทาน อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานอัยการจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ปลัดจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง
เป็นกรรมการ และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ[๔]
ในกรณีที่เป็นการพิจารณาหรืออนุมัติเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใด
ให้ผู้แทนผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นเป็นกรรมการร่วมด้วยแห่งละหนึ่งคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๑) และ (๒)
ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจากภาคเอกชนซึ่งไม่ได้เป็นผู้จัดสรรที่ดิน
และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย
มาตรา ๑๔
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดสรรที่ดินภายในจังหวัดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
(๒)
พิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาต การออกใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตหรือการเพิกถอนการโอนใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน
(๓)
ตรวจสอบการจัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นไปตามแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการที่ได้รับอนุญาต
(๔)
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ข้อกำหนดตาม
(๑) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการ
มีอำนาจเรียกเป็นหนังสือให้บุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย ความเห็น
คำแนะนำทางวิชาการ หรือให้ส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดสรรที่ดินตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๑๖ การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๑๔ (๑) ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการสาธารณสุข
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค
และการผังเมือง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นในการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ของจังหวัดนั้น
โดยให้กำหนดเงื่อนไขในสิ่งต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด
หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรรได้
(๒)
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
(๓)
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
(๔)
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ และการบริหารชุมชน
มาตรา ๑๗
ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อให้พิจารณาหรือกระทำการอย่างใดตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการมอบหมายได้
เว้นแต่การดำเนินการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒)
คณะอนุกรรมการและบุคคลซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการแต่งตั้ง
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการในกิจการที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๑๙
ให้นำมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๒
การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๒๑
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๒
ผู้ใดขอแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป
และไม่อาจแสดงให้เป็นที่เชื่อได้ว่ามิใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการจัดสรรที่ดิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินและรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน
หากผู้ขอไม่เห็นด้วยให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับอุทธรณ์
ถ้าคณะกรรมการมิได้มีคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินนั้นต่อไป
เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นประการใดแล้ว
ให้แจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๓
ผู้ใดประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดินให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมหลักฐานและรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑)
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน
โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใด ๆ
เว้นแต่บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(๒)
ในกรณีที่ที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หรือภาระการจำนอง
ให้แสดงบันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองและจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง
และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว
(๓)
แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรรและเนื้อที่โดยประมาณของแต่ละแปลง
(๔)
โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
รวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น โดยแสดงแผนผัง รายละเอียด
และรายการก่อสร้าง ประมาณการค่าก่อสร้าง และกำหนดเวลาที่จะจัดทำให้แล้วเสร็จ
ในกรณีที่ได้มีการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดิน
ให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้างที่ได้จัดทำแล้วเสร็จนั้นด้วย
(๕)
แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
(๖)
วิธีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและการชำระราคาหรือค่าตอบแทน
(๗)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น
(๘)
แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
(๙)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
(๑๐)
ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน
และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินและผู้นั้นยังมิได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดินหรือดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จตามแผนผังและโครงการ
คณะกรรมการจะต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดมาทำสัญญาค้ำประกันกับคณะกรรมการว่า
ถ้าผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
หรือการปรับปรุงที่ดินให้แล้วเสร็จตามแผนผัง โครงการ
และกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้
หรือมีกรณีที่เชื่อได้ว่าจะไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามที่ได้รับอนุญาต
ธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ค้ำประกันต้องชำระเงินให้แก่คณะกรรมการตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
เพื่อคณะกรรมการจะได้ใช้เงินนั้นในการดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินนั้นให้แล้วเสร็จตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
และถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ผู้ค้ำประกันโดยไม่ชักช้า
คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ผู้ค้ำประกันรับไปดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแทนการเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินก็ได้
ถ้าผู้ค้ำประกันไม่เริ่มทำการในเวลาอันควรหรือไม่ทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด
คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินดังกล่าวตามวรรคหนึ่งได้
ในกรณีที่คณะกรรมการให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินทำหนังสือรับรองกับคณะกรรมการด้วยว่า
ถ้าจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันได้ค้ำประกันไว้ไม่เพียงพอแก่การดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ดี
หรือผู้ค้ำประกันไม่จ่ายเงินตามที่ประกันไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ดี
ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจะเป็นผู้จ่ายเงินตามจำนวนที่ขาดให้คณะกรรมการเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ในกรณีที่มีการผิดสัญญาที่ทำกับคณะกรรมการ
ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีในนามคณะกรรมการ
การเก็บรักษาเงิน
การนำส่งเงิน และการเบิกจ่ายเงิน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๒๕
การพิจารณาแผนผัง โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดิน
ให้คณะกรรมการกระทำให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอ
ถ้าคณะกรรมการไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินนั้นแล้ว
การพิจารณาแผนผัง
โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามขั้นตอน หลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๒๖
ในกรณีที่คณะกรรมการไม่เห็นชอบหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
และให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางไม่วินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๗
การออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่
(๑)
วันที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบหรือถือว่าได้ให้ความเห็นชอบ แผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๒๕ หรือ
(๒)
วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกรณีที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางเห็นควรอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
หรือนับแต่วันที่ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๒๖
เมื่อคณะกรรมการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการแจ้งให้ผู้ทำการจัดสรรที่ดินทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๒๘[๕] เมื่อได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการจัดส่งใบอนุญาตพร้อมทั้งแผนผัง โครงการ
และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินจัดสรรนั้นตั้งอยู่โดยเร็ว
เพื่อให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการว่าที่ดินนั้นอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดิน และเมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้จดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกทุกฉบับ
สำหรับที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะให้จดแจ้งด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๙
การโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓
ข้อความในโฆษณาจะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่กำหนดไว้ในคำขออนุญาตด้วย
มาตรา ๓๐
ในกรณีที่ที่ดินจัดสรรมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการจำนองติดอยู่ เมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งบุริมสิทธิหรือการจำนองนั้นในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยทุกฉบับ
พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงในสารบัญสำหรับจดทะเบียนด้วย
และให้ถือว่าที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงเป็นประกันหนี้บุริมสิทธิหรือหนี้จำนองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้น
ให้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนอง
หมวด ๓
การดำเนินการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๓๑
ให้ผู้จัดสรรที่ดินแสดงใบอนุญาต แผนผัง โครงการ
และวิธีการตามที่คณะกรรมการอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
สำนักงานที่ทำการจัดสรรที่ดิน
ถ้าใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นคำขอรับใบแทนตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือชำรุด
มาตรา ๓๒
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการที่ได้รับอนุญาต ให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
พร้อมทั้งแผนผัง โครงการ หรือวิธีการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
พร้อมกับหนังสือยินยอมของธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ค้ำประกันเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
ในการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง
โครงการ หรือวิธีการที่ได้ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗
มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๓
เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
การก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอื่นนอกจากที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๓๔
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรระหว่างผู้จัดสรรที่ดินกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องทำตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามวรรคหนึ่งส่วนใด
หากมิได้ทำตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดและไม่เป็นคุณต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
สัญญาส่วนนั้นไม่มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๓๕
ในการชำระราคาที่ดิน
หรือการชำระหนี้บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือหนี้จำนองจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้ผู้รับเงินออกหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับเงินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
และให้ถือว่าหลักฐานการชำระเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงการชำระราคาที่ดินจัดสรร
มาตรา ๓๖
ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินที่ทำการจัดสรรให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
ผู้จัดสรรที่ดินต้องโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนองในที่ดินนั้น
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิชำระหนี้บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือหนี้จำนองต่อผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองได้
โดยให้ถือว่าเป็นการชำระราคาที่ดินแก่ผู้จัดสรรที่ดินส่วนหนึ่งด้วย
มาตรา ๓๗
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้ถือว่าที่ดินนั้นพ้นจากการยึดหรืออายัดทั้งปวง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนำหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้ชำระราคาดังกล่าวพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อได้รับเอกสารและหลักฐานดังกล่าวแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต่อไป
ถ้าที่ดินจัดสรรตามวรรคหนึ่งมีการจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือการจำนอง
และมีหลักฐานการชำระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองครบถ้วนแล้ว
ให้ที่ดินนั้นปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือภาระการจำนอง
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่สามารถนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เพราะบุคคลอื่นยึดถือหรือครอบครองไว้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากบุคคลที่ยึดถือหรือครอบครองไว้มาดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้
เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บุคคลที่ยึดถือหรือครอบครองหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้รับแจ้งหรือถือว่าได้รับแจ้งคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสาม
ถ้ายังไม่มีการส่งมอบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้
มาตรา ๓๘
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะโอนใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าการโอนนั้นไม่เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา
๒๔ หรือมาตรา ๔๓ วรรคสอง ได้ยินยอมด้วยแล้ว ให้คณะกรรมการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอน
ค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๙
เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน
มาตรา ๔๐
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย
หรือภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควรขยายให้ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิในที่ดินที่จัดสรร
ให้คณะกรรมการโอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับโอน
และให้คณะกรรมการแจ้งให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินและผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินที่ตายไม่มีผู้จัดการมรดกหรือทายาท
หรือมีแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทมิได้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อสำนักงานวางทรัพย์
และให้นำมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้นำมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย
ไม่ว่าจะมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับโอนใบอนุญาตต่อไปหรือไม่
ให้ถือว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๔๓
วรรคสอง ยังคงผูกพันอยู่ตามสัญญาค้ำประกันนั้น
มาตรา ๔๑
เมื่อมีการบังคับคดีที่ดินที่ทำการจัดสรรของผู้จัดสรรที่ดิน ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แล้วแต่กรณี แทนการชำระต่อบุคคลที่กำหนดไว้ในสัญญา
และในระหว่างที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นไว้ก่อน
เว้นแต่จะเป็นการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการตามวรรคสี่
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้ที่ดินจัดสรรนั้นพ้นจากการยึด อายัด หรือการบังคับคดี
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้นำความในมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
และการพ้นจากการยึด อายัด หรือการบังคับคดีของที่ดินแปลงนั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน
ในการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการ
ผู้ซื้อจะต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
มาตรา ๔๒
ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและนิติบุคคลนั้นต้องเลิกไปโดยยังมิได้ดำเนินการตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือดำเนินการยังไม่ครบถ้วน
ให้นำมาตรา ๔๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๔
การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
มาตรา ๔๓
สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร
และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป
และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น
และยังอยู่ในความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาของผู้จัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่งกับคณะกรรมการ
และให้นำมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๓/๑[๖] ห้ามโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
เว้นแต่เป็นการโอนตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
มาตรา ๔๔[๗] ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามมาตรา ๔๓ เมื่อได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา
๒๓ (๕) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน
(๒) ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์
การดำเนินการตามความในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้
ต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม
(๑) แล้ว
ให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา
ให้ถือว่าสูญหาย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา ๔๕
การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการมีมติให้จัดตั้ง
และแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพร้อมด้วยข้อบังคับที่มีรายการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๒)
วัตถุประสงค์
(๓)
ที่ตั้งสำนักงาน
(๔)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
(๕)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
(๖)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๗)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
การขอจดทะเบียนจัดตั้ง
การควบ การยกเลิก และการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๖
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
มาตรา ๔๗
เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามมาตรา ๔๕ แล้ว
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ในกรณีที่มีที่ดินจัดสรรแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อหรือได้โอนกลับมาเป็นของผู้จัดสรรที่ดิน
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
มาตรา ๔๘
เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค
(๒)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายในที่ดินจัดสรร
(๓)
เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก
(๔)
ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่สิบรายขึ้นไป
(๕)
จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อสวัสดิการของสมาชิก
หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์
(๖)
ดำเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ระเบียบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หรือข้อบังคับของคณะกรรมการที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้
การดำเนินการตาม
(๑) (๒) และ (๕) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
มาตรา ๔๙
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ให้จัดเก็บเป็นรายเดือนจากที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินทุกแปลง ทั้งนี้
อาจกำหนดค่าใช้จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือขนาดพื้นที่ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรรที่ตนซื้อ
และให้ผู้จัดสรรที่ดินออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ซื้อ
การกำหนดและการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกตามมาตรา ๔๔ (๑)
หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ (๒)
ให้เริ่มเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเมื่อเริ่มจัดตั้งนิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ (๒)
โดยให้นิติบุคคลตามมาตรา ๔๔ (๑)
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา
๔๔ (๒) ที่มีหน้าที่ในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคมีอำนาจในการจัดเก็บ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๕๐
ผู้มีหน้าที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตามมาตรา ๔๙
วรรคสอง ที่ชำระเงินดังกล่าวล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
จะต้องจ่ายค่าปรับสำหรับการจ่ายเงินล่าช้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
และในกรณีที่ค้างชำระตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด[๘]
ให้ถือว่าหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ
มาตรา ๕๑
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากร
เงินที่นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑)
ได้รับจากผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อนำไปใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ให้ได้รับยกเว้นภาษีอากร
การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากรโดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขด้วยก็ได้
มาตรา ๕๒
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใด ๆ
อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมตามมาตรา ๔๓ ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ผู้จัดสรรที่ดินระงับการกระทำนั้น
และบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการตามแผนผัง
โครงการ
หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา ๕๓
การจัดให้มีและการบำรุงรักษาบริการสาธารณะให้นำความในมาตรา ๕๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้
ให้เรียกเก็บค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะได้ตามอัตราที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
หมวด ๕
การยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๕๔
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
การขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๕
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาปิดประกาศคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินไว้ในที่เปิดเผย
ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน
บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
มีกำหนดหกสิบวัน และให้ผู้จัดสรรที่ดินประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ
มาตรา ๕๖
ให้ผู้ซึ่งมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินที่ประสงค์จะคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดปิดประกาศตามมาตรา
๕๕
ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรคัดค้าน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขายกเลิกเรื่องขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
แต่ถ้ามีผู้คัดค้านแต่มิใช่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินและคำคัดค้านให้คณะกรรมการพิจารณา
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามวรรคสาม
ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้คัดค้านอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
มาตรา ๕๗
เมื่อคณะกรรมการสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว ใบอนุญาตที่ได้ออกตามมาตรา
๒๗ ให้เป็นอันยกเลิก
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๕๘
ผู้จัดสรรที่ดินหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการเรียกหรือสั่งตามมาตรา
๑๕ หรือผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินจัดสรรผู้ใดไม่ให้ความสะดวกแก่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางแต่งตั้งในการปฏิบัติงานตามมาตรา ๑๘
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๕๙
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๐
ผู้ใดแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานหรือรายละเอียดตามมาตรา ๒๓ (๗) อันเป็นเท็จ
หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๑
ผู้ใดโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินโดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๙
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๒
ผู้จัดสรรที่ดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๓
ผู้จัดสรรที่ดินผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๔
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๕
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายตามมาตรา ๕๒ นอกจากต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว
ต้องระวางโทษปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๖๖
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการของนิติบุคคล
และบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำผิดนั้น
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๗
บรรดากฎกระทรวงและข้อกำหนดที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวงและข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘
ให้คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะอนุกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
ใบอนุญาตหรือการอนุญาตใด ๆ ที่ได้ให้ไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๐
การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ให้นำมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา
๔๙ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒
มาใช้บังคับแก่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยโดยอนุโลม
การบำรุงรักษาบริการสาธารณะ
ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับแก่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยโดยอนุโลม
การพ้นจากความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค ให้นำมาตรา ๔๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการ
อาจยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน
เขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่และบริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร
มีกำหนดสามสิบวัน
และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคทราบตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
คัดค้านการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณา
หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคจริง
ให้นำความในมาตรา ๔๓ วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
หากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค
ให้ยกเลิกการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคไม่คัดค้านหรือไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการตามวรรคหก
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และให้มีอำนาจจดทะเบียนโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อไป
มาตรา ๗๑
ในระหว่างที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางยังมิได้กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาตามมาตรา
๘ (๔) มิให้นำความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๖๓ มาใช้บังคับ
มาตรา ๗๒
บรรดาคำขออนุญาต
การออกหรือโอนใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
คณะอนุกรรมการในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่การอุทธรณ์ ให้ดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑)
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ไร่ละ ๕๐๐ บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(๒)
การโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน รายละ ๕,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดินได้ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว
มีหลักการและรายละเอียดไม่เหมาะสมหลายประการ
สมควรแก้ไขปรับปรุงเพื่อกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
โดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
นอกจากนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดินได้กระจายอำนาจการอนุญาตและการควบคุมดูแลการจัดสรรที่ดินไปสู่ระดับจังหวัด
และกำหนดเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้แน่นอน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๙]
มาตรา ๑๓
ในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า
อธิบดีกรมโยธาธิการ เป็น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง คำว่า
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เป็น
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคำว่า
ผังเมืองจังหวัด เป็น โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว
ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๐]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคที่ยังมิได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หากภายหลังได้ดำเนินการตามมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา ให้ถือว่าสูญหาย
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดสรรที่ดินในปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าที่ดินแปลงนั้นเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
เป็นผลให้ไม่อาจทราบชัดเจนว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
และมีการโอนที่ดินดังกล่าวไปยังบุคคลอื่นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยรวม
จึงสมควรให้มีการจดแจ้งดังกล่าวและห้ามการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดินและการให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ประกอบกับสมควรแก้ไขบทบัญญัติที่กำหนดชื่อตำแหน่งในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
รวมทั้งแก้ไขระยะเวลาการค้างชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นุสรา/ปรับปรุง
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๒] มาตรา ๓ บทนิยามคำว่า สาธารณูปโภค เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๘
[๓] มาตรา ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๔] มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๕] มาตรา ๒๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๖] มาตรา ๔๓/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๗] มาตรา ๔๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] มาตรา ๕๐ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๒ ก/หน้า ๑๕/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ |
735947 | พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า สาธารณูปโภค ระหว่างบทนิยามคำว่า ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และคำว่า บริการสาธารณะ ในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
สาธารณูปโภค หมายความว่า
สิ่งอำนวยประโยชน์ที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสัญญาหรือแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๗
ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ
อัยการสูงสุด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
และแต่งตั้งข้าราชการกรมที่ดินจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง
ให้แต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา
๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๓
ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทุกจังหวัด ดังนี้
(๑) ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีกรมที่ดินซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
และให้ผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๒) ในจังหวัดอื่น ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมชลประทาน อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานอัยการจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ปลัดจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง
เป็นกรรมการ และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๘ เมื่อได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการจัดส่งใบอนุญาตพร้อมทั้งแผนผัง โครงการ
และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินจัดสรรนั้นตั้งอยู่โดยเร็ว
เพื่อให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการว่าที่ดินนั้นอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดิน และเมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้จดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกทุกฉบับ สำหรับที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะให้จดแจ้งด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๓/๑
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๓/๑
ห้ามโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
เว้นแต่เป็นการโอนตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔๔
ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค ตามมาตรา ๔๓ เมื่อได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา
๒๓ (๕) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน
(๒)
ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์
การดำเนินการตามความในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้
ต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม
(๑) แล้ว ให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา
ให้ถือว่าสูญหาย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
และในกรณีที่ค้างชำระตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคที่ยังมิได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หากภายหลังได้ดำเนินการตามมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว ให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา ให้ถือว่าสูญหาย
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดสรรที่ดินในปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าที่ดินแปลงนั้นเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
เป็นผลให้ไม่อาจทราบชัดเจนว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
และมีการโอนที่ดินดังกล่าวไปยังบุคคลอื่นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยรวม
จึงสมควรให้มีการจดแจ้งดังกล่าวและห้ามการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดินและการให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ประกอบกับสมควรแก้ไขบทบัญญัติที่กำหนดชื่อตำแหน่งในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
รวมทั้งแก้ไขระยะเวลาการค้างชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๒ ก/หน้า ๑๕/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ |
311733 | พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ.๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ ศ. ๒๕๑๕
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
การจัดสรรที่ดิน หมายความว่า
การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป
ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน
และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึงสิบแปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายในสามปีเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย
สิทธิในที่ดิน หมายความว่า
กรรมสิทธิ์และให้หมายความรวมถึงสิทธิครอบครองด้วย
ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้จัดสรรที่ดิน หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนใบอนุญาตด้วย
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หมายความว่า ผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินจัดสรร
และให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนสิทธิในที่ดินคนต่อไปด้วย
บริการสาธารณะ หมายความว่า
การให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในโครงการที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๒๓ (๔)
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
การจัดสรรที่ดินของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์กรอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
(๒)
การจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๗
ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย
เป็นประธานกรรมการ อัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการผังเมือง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมโยธาธิการ
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ
หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การผังเมือง การบริหารชุมชน
หรือกฎหมาย เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง
ให้แต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๘
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดสรรที่ดินโดยทั่วไป
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน
(๒)
วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
(๓)
ให้ความเห็นชอบข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่คณะกรรมการเสนอตามมาตรา ๑๔ (๑)
(๔)
กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรเพื่อให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินใช้ในการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕)
วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามคำร้องหรือคำอุทธรณ์ของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินหรือผู้จัดสรรที่ดิน
(๖)
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ระเบียบตาม
(๒) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๙
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๐
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(๔)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๑
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒
การประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓
ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทุกจังหวัดดังนี้
(๑)
ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครประกอบด้วย
อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีกรมที่ดินซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรุงเทพมหานคร
ผู้แทนกรมการผังเมือง ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเป็นกรรมการ
และผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๒)
ในจังหวัดอื่น ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการอัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด ปลัดจังหวัด
ผังเมืองจังหวัด โยธาธิการจังหวัด ผู้แทนกรมชลประทาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเป็นกรรมการ
และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่เป็นการพิจารณาหรืออนุมัติเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใด
ให้ผู้แทนผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นเป็นกรรมการร่วมด้วยแห่งละหนึ่งคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๑) และ (๒)
ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจากภาคเอกชนซึ่งไม่ได้เป็นผู้จัดสรรที่ดิน
และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย
มาตรา ๑๔
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดสรรที่ดินภายในจังหวัดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
(๒)
พิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาต การออกใบอนุญาต
การโอนใบอนุญาตหรือการเพิกถอนการโอนใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน
(๓)
ตรวจสอบการจัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นไปตามแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการที่ได้รับอนุญาต
(๔)
ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ข้อกำหนดตาม
(๑) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการ
มีอำนาจเรียกเป็นหนังสือให้บุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย ความเห็น
คำแนะนำทางวิชาการ หรือให้ส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดสรรที่ดินตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๑๖
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๑๔ (๑)
ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการสาธารณสุข
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นในการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ของจังหวัดนั้นโดยให้กำหนดเงื่อนไขในสิ่งต่อไปนี้ด้วย
คือ
(๑)
ขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด
หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรรได้
(๒)
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
(๓)
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
(๔)
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ และการบริหารชุมชน
มาตรา ๑๗
ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อให้พิจารณาหรือกระทำการอย่างใดตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการมอบหมายได้
เว้นแต่การดำเนินการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒)
คณะอนุกรรมการและบุคคลซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการแต่งตั้ง
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการในกิจการที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๑๙
ให้นำมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๒
การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๒๑
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๒
ผู้ใดขอแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป และไม่อาจแสดงให้เป็นที่เชื่อได้ว่ามิใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการจัดสรรที่ดิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินและรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน
หากผู้ขอไม่เห็นด้วยให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับอุทธรณ์
ถ้าคณะกรรมการมิได้มีคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินนั้นต่อไป
เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นประการใดแล้ว
ให้แจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๓
ผู้ใดประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดินให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมหลักฐานและรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑)
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน
โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใด ๆ เว้นแต่บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(๒)
ในกรณีที่ที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หรือภาระการจำนอง
ให้แสดงบันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองและจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง
และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว
(๓)
แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรรและเนื้อที่โดยประมาณของแต่ละแปลง
(๔)
โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
รวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น โดยแสดงแผนผัง
รายละเอียดและรายการก่อสร้าง ประมาณการค่าก่อสร้าง
และกำหนดเวลาที่จะจัดทำให้แล้วเสร็จ ในกรณีที่ได้มีการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดิน
ให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้างที่ได้จัดทำแล้วเสร็จนั้นด้วย
(๕)
แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
(๖)
วิธีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและการชำระราคาหรือค่าตอบแทน
(๗)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น
(๘)
แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
(๙)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
(๑๐) ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน
และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินและผู้นั้นยังมิได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดินหรือดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จตามแผนผังและโครงการ
คณะกรรมการจะต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดมาทำสัญญาค้ำประกันกับคณะกรรมการว่า
ถ้าผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
หรือการปรับปรุงที่ดินให้แล้วเสร็จตามแผนผัง โครงการ
และกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้
หรือมีกรณีที่เชื่อได้ว่าจะไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามที่ได้รับอนุญาต
ธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ค้ำประกันต้องชำระเงินให้แก่คณะกรรมการตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
เพื่อคณะกรรมการจะได้ใช้เงินนั้นในการดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินนั้นให้แล้วเสร็จตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
และถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ผู้ค้ำประกันโดยไม่ชักช้า
คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ผู้ค้ำประกันรับไปดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแทนการเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินก็ได้
ถ้าผู้ค้ำประกันไม่เริ่มทำการในเวลาอันควรหรือไม่ทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด
คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินดังกล่าวตามวรรคหนึ่งได้
ในกรณีที่คณะกรรมการให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินทำหนังสือรับรองกับคณะกรรมการด้วยว่า
ถ้าจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันได้ค้ำประกันไว้ไม่เพียงพอแก่การดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ดี
หรือผู้ค้ำประกันไม่จ่ายเงินตามที่ประกันไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ดี
ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจะเป็นผู้จ่ายเงินตามจำนวนที่ขาดให้คณะกรรมการเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ในกรณีที่มีการผิดสัญญาที่ทำกับคณะกรรมการ
ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีในนามคณะกรรมการ
การเก็บรักษาเงิน
การนำส่งเงิน และการเบิกจ่ายเงิน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๒๕
การพิจารณาแผนผัง โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดิน ให้คณะกรรมการกระทำให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอ
ถ้าคณะกรรมการไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินนั้นแล้ว
การพิจารณาแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามขั้นตอน หลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๒๖
ในกรณีที่คณะกรรมการไม่เห็นชอบหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
และให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางไม่วินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๗
การออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่
(๑)
วันที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบหรือถือว่าได้ให้ความเห็นชอบ แผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๒๕ หรือ
(๒)
วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกรณีที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางเห็นควรอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
หรือนับแต่วันที่ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๒๖
เมื่อคณะกรรมการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการแจ้งให้ผู้ทำการจัดสรรที่ดินทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๒๘
เมื่อได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้คณะกรรมการรีบส่งใบอนุญาตพร้อมทั้งแผนผัง โครงการ
และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินจัดสรรนั้นตั้งอยู่
เพื่อให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการว่าที่ดินนั้นอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดิน
และเมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้จดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกทุกฉบับ
มาตรา ๒๙
การโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓
ข้อความในโฆษณาจะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่กำหนดไว้ในคำขออนุญาตด้วย
มาตรา ๓๐
ในกรณีที่ที่ดินจัดสรรมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการจำนองติดอยู่ เมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งบุริมสิทธิหรือการจำนองนั้นในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยทุกฉบับ
พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงในสารบัญสำหรับจดทะเบียนด้วยและให้ถือว่าที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงเป็นประกันหนี้บุริมสิทธิหรือหนี้จำนองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้น
ให้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนอง
หมวด ๓
การดำเนินการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๓๑
ให้ผู้จัดสรรที่ดินแสดงใบอนุญาต แผนผัง โครงการ
และวิธีการตามที่คณะกรรมการอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
สำนักงานที่ทำการจัดสรรที่ดิน
ถ้าใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นคำขอรับใบแทนตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือชำรุด
มาตรา ๓๒
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง
โครงการหรือวิธีการที่ได้รับอนุญาต ให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
พร้อมทั้งแผนผัง โครงการหรือวิธีการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
พร้อมกับหนังสือยินยอมของธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ค้ำประกันเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
ในการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง
โครงการ หรือวิธีการที่ได้ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗
มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๓
เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
การก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอื่นนอกจากที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๓๔
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรระหว่างผู้จัดสรรที่ดินกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องทำตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามวรรคหนึ่งส่วนใด
หากมิได้ทำตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดและไม่เป็นคุณต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
สัญญาส่วนนั้นไม่มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๓๕
ในการชำระราคาที่ดิน
หรือการชำระหนี้บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือหนี้จำนองจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้ผู้รับเงินออกหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับเงินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
และให้ถือว่าหลักฐานการชำระเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงการชำระราคาที่ดินจัดสรร
มาตรา ๓๖
ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินที่ทำการจัดสรรให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
ผู้จัดสรรที่ดินต้องโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนองในที่ดินนั้น
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิชำระหนี้บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือหนี้จำนองต่อผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองได้
โดยให้ถือว่าเป็นการชำระราคาที่ดินแก่ผู้จัดสรรที่ดินส่วนหนึ่งด้วย
มาตรา ๓๗
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้ถือว่าที่ดินนั้นพ้นจากการยึดหรืออายัดทั้งปวง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนำหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้ชำระราคาดังกล่าวพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อได้รับเอกสารและหลักฐานดังกล่าวแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต่อไป
ถ้าที่ดินจัดสรรตามวรรคหนึ่งมีการจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือการจำนอง
และมีหลักฐานการชำระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองครบถ้วนแล้ว
ให้ที่ดินนั้นปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือภาระการจำนอง
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่สามารถนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เพราะบุคคลอื่นยึดถือหรือครอบครองไว้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากบุคคลที่ยึดถือหรือครอบครองไว้มาดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้
เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บุคคลที่ยึดถือหรือครอบครองหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้รับแจ้งหรือถือว่าได้รับแจ้งคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสาม
ถ้ายังไม่มีการส่งมอบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้
มาตรา ๓๘
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะโอนใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าการโอนนั้นไม่เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
และธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๔๓ วรรคสอง
ได้ยินยอมด้วยแล้ว ให้คณะกรรมการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอน
ค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๙
เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน
มาตรา ๔๐
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย
หรือภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควรขยายให้ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิในที่ดินที่จัดสรร
ให้คณะกรรมการโอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับโอน
และให้คณะกรรมการแจ้งให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินและผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ
ถ้าผู้จัดสรรที่ดินที่ตายไม่มีผู้จัดการมรดกหรือทายาท
หรือมีแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทมิได้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อสำนักงานวางทรัพย์
และให้นำมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้นำมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินตาย
ไม่ว่าจะมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับโอนใบอนุญาตต่อไปหรือไม่
ให้ถือว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๒๔หรือมาตรา ๔๓
วรรคสอง ยังคงผูกพันอยู่ตามสัญญาค้ำประกันนั้น
มาตรา ๔๑
เมื่อมีการบังคับคดีที่ดินที่ทำการจัดสรรของผู้จัดสรรที่ดิน ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แล้วแต่กรณี แทนการชำระต่อบุคคลที่กำหนดไว้ในสัญญา
และในระหว่างที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นไว้ก่อน
เว้นแต่จะเป็นการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการตามวรรคสี่
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระราคาที่ดินครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
ให้ที่ดินจัดสรรนั้นพ้นจากการยึด อายัด หรือการบังคับคดี
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้นำความในมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
และการพ้นจากการยึด อายัด หรือการบังคับคดีของที่ดินแปลงนั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน
ในการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการ
ผู้ซื้อจะต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
มาตรา ๔๒
ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและนิติบุคคลนั้นต้องเลิกไปโดยยังมิได้ดำเนินการตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือดำเนินการยังไม่ครบถ้วน
ให้นำมาตรา ๔๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๔
การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
มาตรา ๔๓
สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร
และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป
และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น
และยังอยู่ในความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาของผู้จัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่งกับคณะกรรมการ
และให้นำมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๔
ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา ๔๓
เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา
๒๓ (๕) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา
ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน
(๒)
ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
(๓)
ผู้จัดสรรที่ดินจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์
การดำเนินการตาม
(๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้
โดยต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนหนึ่งด้วย
มาตรา ๔๕
การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการมีมติให้จัดตั้ง
และแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพร้อมด้วยข้อบังคับที่มีรายการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๒)
วัตถุประสงค์
(๓)
ที่ตั้งสำนักงาน
(๔)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
(๕)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
(๖)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๗)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
การขอจดทะเบียนจัดตั้ง
การควบ การยกเลิก และการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๖
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
มาตรา ๔๗
เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามมาตรา ๔๕ แล้ว
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ในกรณีที่มีที่ดินจัดสรรแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อหรือได้โอนกลับมาเป็นของผู้จัดสรรที่ดินให้ผู้จัดสรรที่ดินเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
มาตรา ๔๘
เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค
(๒)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายในที่ดินจัดสรร
(๓)
เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก
(๔)
ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่สิบรายขึ้นไป
(๕)
จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์
(๖)
ดำเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ระเบียบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หรือข้อบังคับของคณะกรรมการที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้
การดำเนินการตาม
(๑) (๒) และ (๕) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
มาตรา ๔๙
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ให้จัดเก็บเป็นรายเดือนจากที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินทุกแปลง ทั้งนี้
อาจกำหนดค่าใช้จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือขนาดพื้นที่ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรรที่ตนซื้อ
และให้ผู้จัดสรรที่ดินออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ซื้อ
การกำหนดและการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกตามมาตรา ๔๔
(๑)หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ (๒)
ให้เริ่มเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเมื่อเริ่มจัดตั้งนิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ (๒)
โดยให้นิติบุคคลตามมาตรา ๔๔ (๑)
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา
๔๔ (๒) ที่มีหน้าที่ในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคมีอำนาจในการจัดเก็บ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๕๐
ผู้มีหน้าที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตามมาตรา ๔๙
วรรคสอง ที่ชำระเงินดังกล่าวล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับสำหรับการจ่ายเงินล่าช้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปอาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
และในกรณีที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน
ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ถือว่าหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ
มาตรา ๕๑
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากร
เงินที่นิติบุคคลตามมาตรา
๔๔ (๑) ได้รับจากผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อนำไปใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ให้ได้รับยกเว้นภาษีอากร
การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากรโดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขด้วยก็ได้
มาตรา ๕๒
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใด ๆ
อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมตามมาตรา ๔๓ ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผัง โครงการ
หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ผู้จัดสรรที่ดินระงับการกระทำนั้น
และบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการตามแผนผัง
โครงการ
หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา ๕๓
การจัดให้มีและการบำรุงรักษาบริการสาธารณะให้นำความในมาตรา ๕๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้
ให้เรียกเก็บค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะได้ตามอัตราที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
หมวด ๕
การยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
มาตรา ๕๔
ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะยกเลิกการจัดสรรที่ดิน ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
การขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๕
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาปิดประกาศคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินไว้ในที่เปิดเผย
ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน
บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
มีกำหนดหกสิบวัน และให้ผู้จัดสรรที่ดินประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ
มาตรา ๕๖
ให้ผู้ซึ่งมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดินที่ประสงค์จะคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดปิดประกาศตามมาตรา
๕๕
ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรคัดค้าน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขายกเลิกเรื่องขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
แต่ถ้ามีผู้คัดค้านแต่มิใช่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินและคำคัดค้านให้คณะกรรมการพิจารณา
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามวรรคสาม
ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้คัดค้านอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
มาตรา ๕๗
เมื่อคณะกรรมการสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว ใบอนุญาตที่ได้ออกตามมาตรา
๒๗ ให้เป็นอันยกเลิก
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๕๘
ผู้จัดสรรที่ดินหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือคณะกรรมการเรียกหรือสั่งตามมาตรา
๑๕ หรือผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินจัดสรรผู้ใดไม่ให้ความสะดวกแก่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางแต่งตั้งในการปฏิบัติงานตามมาตรา ๑๘
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๕๙
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๐ ผู้ใดแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานหรือรายละเอียดตามมาตรา
๒๓ (๗)
อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๑
ผู้ใดโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินโดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๒
ผู้จัดสรรที่ดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๓
ผู้จัดสรรที่ดินผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๔
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๕
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายตามมาตรา ๕๒ นอกจากต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว
ต้องระวางโทษปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๖๖
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการของนิติบุคคล
และบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำผิดนั้น
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๗
บรรดากฎกระทรวงและข้อกำหนดที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวงและข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘
ให้คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะอนุกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่
๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
ใบอนุญาตหรือการอนุญาตใด ๆ ที่ได้ให้ไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๐
การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ให้นำมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา
๔๙ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒
มาใช้บังคับแก่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยโดยอนุโลม
การบำรุงรักษาบริการสาธารณะ
ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับแก่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยโดยอนุโลม
การพ้นจากความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
ให้นำมาตรา ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการ
อาจยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการ อำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่และบริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร
มีกำหนดสามสิบวัน
และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคทราบตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคคัดค้านการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณา
หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคจริงให้นำความในมาตรา
๔๓ วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
หากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค
ให้ยกเลิกการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่
๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคไม่คัดค้านหรือไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการตามวรรคหก
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และให้มีอำนาจจดทะเบียนโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อไป
มาตรา ๗๑
ในระหว่างที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางยังมิได้กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาตามมาตรา
๘ (๔) มิให้นำความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๖๓ มาใช้บังคับ
มาตรา ๗๒
บรรดาคำขออนุญาต
การออกหรือโอนใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
คณะอนุกรรมการในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่การอุทธรณ์ ให้ดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑)
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ไร่ละ ๕๐๐ บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(๒)
การโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน รายละ ๕,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดินได้ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว
มีหลักการและรายละเอียดไม่เหมาะสมหลายประการ
สมควรแก้ไขปรับปรุงเพื่อกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
โดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
นอกจากนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดินได้กระจายอำนาจการอนุญาตและการควบคุมดูแลการจัดสรรที่ดินไปสู่ระดับจังหวัด
และกำหนดเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้แน่นอน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นุสรา/ปรับปรุง
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ |
568262 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเลิกการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2550
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ให้ดำเนินการได้ทั้งในกรณีที่ยังไม่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและกรณีที่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรแล้ว
หมวด ๑
การขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินในกรณีที่ยังไม่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรร
ข้อ ๒ ในกรณีที่ยังไม่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรร
เมื่อผู้จัดสรรที่ดินประสงค์ขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน ให้ยื่นคำขอตามแบบ จ.ส. ๓
ท้ายกฎกระทรวงนี้
ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
(๒)
แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยและเนื้อที่ของแต่ละแปลง
(๓)
แผนผังแสดงที่ดินแปลงบริการสาธารณะ และแผนผังแสดงส่วนสาธารณูปโภค
(๔)
หนังสือแสดงเหตุผลความจำเป็นในการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
และเจตนาในการดำเนินการอย่างใดกับที่ดินจัดสรรเมื่อยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
(๕)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียในที่ดินที่จัดสรรนั้น
ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้ปิดประกาศคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
พร้อมทั้งวิธีการและระยะเวลาการยื่นคำคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินตามมาตรา ๕๖
วรรคหนึ่ง ไว้ในที่เปิดเผยให้เห็นได้โดยชัดเจน ณ
สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน
บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ไม่น้อยกว่าสามแห่ง
สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ
และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินที่ทำการจัดสรรนั้นตั้งอยู่
แห่งละหนึ่งฉบับ มีกำหนดหกสิบวัน
ข้อ ๔ ให้ผู้จัดสรรที่ดินประกาศการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินในหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีส่วนได้เสีย ตามข้อ ๒ (๕) ทราบ
การประกาศในหนังสือพิมพ์และการแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง
ให้ระบุเหตุผลความจำเป็นในการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
พร้อมทั้งวิธีการและระยะเวลาการยื่นคำคัดค้าน คำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง ทั้งนี้
การแจ้งเป็นหนังสือดังกล่าว
ให้กระทำโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาของผู้มีส่วนได้เสีย
หรือตามที่อยู่ที่ปรากฏในสารบบของที่ดินแปลงนั้น
ข้อ ๕ ให้ผู้จัดสรรที่ดินนำหลักฐานการประกาศและการแจ้งเป็นหนังสือตามข้อ
๔ ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
หากผู้จัดสรรที่ดินไม่ดำเนินการดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
สั่งยกเลิกเรื่องการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินนั้นเสีย
ข้อ ๖ เมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง หากไม่มีการยื่นคำคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่มีการยื่นคำคัดค้าน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินและคำคัดค้านให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแจ้งคำสั่งตามข้อ
๕ คำสั่งของคณะกรรมการตามข้อ ๖ วรรคหนึ่ง หรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามข้อ ๖
วรรคสองให้ผู้จัดสรรที่ดินและผู้คัดค้านทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย
แล้วแต่กรณี
หมวด ๒
การขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินในกรณีที่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรร
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรแล้ว
หากผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน ให้ยื่นคำขอตามแบบ จ.ส. ๓
ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
(๒)
บัญชีรายชื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
(๓)
แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จำหน่ายแล้วและยังไม่ได้จำหน่ายและเนื้อที่ของแต่ละแปลง
(๔)
แผนผังแสดงที่ดินแปลงบริการสาธารณะ และแผนผังแสดงส่วนสาธารณูปโภค
(๕)
หนังสือแสดงเหตุผลความจำเป็นในการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
และเจตนาในการดำเนินการอย่างใดกับที่ดินจัดสรรเมื่อยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
(๖)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียในที่ดินที่จัดสรรนั้น
ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้ปิดประกาศคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน พร้อมทั้งวิธีการและระยะเวลาการยื่นคำคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง ไว้ในที่เปิดเผยให้เห็นได้โดยชัดเจน ณ
สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน
บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ไม่น้อยกว่าสามแห่ง
สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ
และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินที่ทำการจัดสรรนั้นตั้งอยู่ แห่งละหนึ่งฉบับ มีกำหนดหกสิบวัน
ข้อ ๑๐ ให้ผู้จัดสรรที่ดินประกาศการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินในหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและผู้มีส่วนได้เสียตามข้อ ๘ (๖) ทราบ
การประกาศในหนังสือพิมพ์และการแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง
ให้ระบุเหตุผลความจำเป็นในการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
คำชี้แจงการพ้นจากหน้าที่จัดทำและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามแผนผัง โครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดิน
สิทธิการใช้ประโยชน์ในสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ข้อเสนอเพื่อแก้ไขหรือทดแทนแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรถ้าหากมี
พร้อมทั้งวิธีการและระยะเวลาการยื่นคำคัดค้าน คำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง ทั้งนี้
การแจ้งเป็นหนังสือดังกล่าว
ให้กระทำโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและผู้มีส่วนได้เสีย
หรือตามที่อยู่ที่ปรากฏในสารบบของที่ดินแปลงนั้น
ข้อ ๑๑ ให้ผู้จัดสรรที่ดินนำหลักฐานการประกาศและการแจ้งเป็นหนังสือตามข้อ
๑๐ ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
หากผู้จัดสรรที่ดินไม่ดำเนินการดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งยกเลิกเรื่องการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินนั้นเสีย
ในกรณีที่มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสาธารณูปโภคระหว่างผู้จัดสรรที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจัดสรรให้ผู้จัดสรรที่ดินยื่นหลักฐานการทำข้อตกลงดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาด้วย
ข้อ ๑๒ เมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินตามมาตรา
๕๖ วรรคหนึ่ง หากไม่มีการยื่นคำคัดค้านคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาสั่งยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่มีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรยื่นคำคัดค้าน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งยกเลิกเรื่องการขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำคัดค้านซึ่งไม่ใช่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเสนอคำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดินและคำคัดค้านให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตามข้อ
๑๑ คำสั่งของคณะกรรมการตามข้อ ๑๒ วรรคหนึ่ง คำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตามข้อ
๑๒ วรรคสอง หรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามข้อ ๑๒ วรรคสาม
ให้ผู้จัดสรรที่ดินและผู้คัดค้านทราบ
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การดำเนินการเมื่อยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ยังไม่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรร
เมื่อคณะกรรมการสั่งหรือวินิจฉัยให้ยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทุกฉบับภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยว่า
ที่ดินแปลงนี้ ได้ยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีการจำหน่ายที่ดินจัดสรร
เมื่อคณะกรรมการสั่งหรือวินิจฉัยให้ยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้
(๑)
ที่ดินแปลงที่ไม่ใช่แปลงสาธารณูปโภค ให้จดแจ้งว่า ที่ดินแปลงนี้ได้ยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว
(๒)
ที่ดินแปลงที่เป็นแปลงสาธารณูปโภคที่มีข้อตกลงให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรยังใช้ประโยชน์ต่อไป
ให้จดแจ้งว่า ที่ดินแปลงนี้ได้ยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้ว แต่ยังมีภาระจำยอมอยู่ตามข้อตกลง
(๓)
ที่ดินแปลงที่เป็นแปลงสาธารณูปโภคที่ไม่มีข้อตกลงให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
ให้จดแจ้งว่า ที่ดินแปลงนี้ได้ยกเลิกการจัดสรรที่ดินแล้วและพ้นจากภาระจำยอม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน (จ.ส. ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้ผู้จัดสรรที่ดินที่ประสงค์จะยกเลิกการจัดสรรที่ดิน
ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/จัดทำ
๑๐ มกราคม ๒๕๕๑
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๙ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
316401 | กฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบ และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ. 2545 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง
การบริหาร การควบ
และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๔๕[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในกฎกระทรวงนี้
ข้อบังคับ หมายความว่า ข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หมวด ๑
การขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
ข้อ ๒
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโครงการใดประสงค์จะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา
๔๕ ยื่นคำขอจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
รายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการที่มีมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
เห็นชอบข้อบังคับ และแต่งตั้งตัวแทนในการยื่นคำขอจดทะเบียน
(๒) สำเนาข้อบังคับ
(๓)
หลักฐานการรับแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรดำเนินการตามมาตรา
๔๔ (๑)
(๔)
บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
พร้อมสำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเกี่ยวข้อง
ข้อ ๓
ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๒) วัตถุประสงค์
(๓) ที่ตั้งสำนักงาน
(๔) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง
วาระการดำรงตำแหน่ง การเริ่มดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งต้องประชุมอย่างน้อยปีละสองครั้ง
(๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
(๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
(๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
(๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๔
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรพร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ
๒ แล้ว ให้พิจารณาความถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายของเอกสารและรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอและเอกสารหลักฐาน
(๒) สำเนาข้อบังคับ
(๓) วัตถุประสงค์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๕
ในกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาแล้วเห็นว่าคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ให้สั่งไม่รับจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๖
ในกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาคำขอแล้วเห็นว่าเอกสารและรายการตามข้อ
๔ ไม่ถูกต้อง ให้แจ้งผู้ขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
เมื่อผู้ขอได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาดำเนินการตามข้อ
๗ ต่อไป
ข้อ ๗
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาคำขอแล้วเห็นว่าเอกสารและรายการตามข้อ
๔ ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ
สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ สำนักงานหรือที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งที่ดินที่ทำการจัดสรรนั้นตั้งอยู่
และบริเวณที่ทำการจัดสรรแห่งละหนึ่งฉบับ มีกำหนดสามสิบวัน
ข้อ ๘
ในกรณีมีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๗ โดยอ้างเหตุว่าการขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตรวจสอบข้อเท็จจริงและสรุปเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นเป็นประการใดให้แจ้งผู้คัดค้าน
และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาทราบภายในสิบห้าวัน
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าการคัดค้านเป็นเหตุทำให้การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งยกเลิกคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นเสีย
ในกรณีไม่มีการคัดค้านหรือมีการคัดค้านแต่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าการคัดค้านไม่เป็นเหตุทำให้การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
โดยบันทึกสาระสำคัญลงในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและบันทึกการจดทะเบียนในข้อบังคับด้วย
แล้วออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ผู้ยื่นคำขอหนึ่งฉบับ
และเก็บคู่ฉบับไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหนึ่งฉบับ
ทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามวรรคสามให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแสดงหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามวรรคสามไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๙
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรใดประสงค์จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นต้องอยู่พร้อมด้วยหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกที่มีมติให้เปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
(๒) สำเนาข้อบังคับที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้องให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับไว้ในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
แล้วบันทึกการจดทะเบียนไว้ในข้อบังคับฉบับที่เปลี่ยนแปลงด้วย
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับแล้ว
ให้ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงมีผลใช้บังคับได้
หมวด ๒
การบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๑๐
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๑
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร
สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
จะทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้
ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด
เมื่อคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญตามวรรคสอง
ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
ถ้าคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสาม
สมาชิกผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับจะเรียกประชุมเองก็ได้
ข้อ ๑๒
ในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรต้องส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกทุกคนก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
หนังสือนัดประชุมตามวรรคหนึ่งต้องระบุวัน เวลา สถานที่
และระเบียบวาระการประชุม
ข้อ ๑๓
การประชุมใหญ่ต้องมีสมาชิกมาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
เว้นแต่ข้อบังคับจะกำหนดองค์ประชุมไว้เป็นอย่างอื่น
ในการประชุมใหญ่ครั้งใด
ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้และการประชุมใหญ่นั้นได้เรียกตามคำร้องขอของสมาชิก
ก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่สมาชิกมิได้เป็นผู้ร้องขอให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นัดประชุมใหญ่ครั้งแรก
การประชุมครั้งหลังนี้ต้องมีสมาชิกมาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดและมีจำนวนสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าสิบคนจึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๑๔
มติของที่ประชุมใหญ่ให้ถือเอาเสียงข้างมาก เว้นแต่ข้อบังคับจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในการลงคะแนนเสียง
ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงเท่ากับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค
ถ้าสมาชิกคนเดียวมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดให้ลดจำนวนคะแนนเสียงของผู้นั้นลงมาเหลือเท่ากับจำนวนคะแนนเสียงของสมาชิกอื่นรวมกันในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน
ให้นับจำนวนสมาชิกที่ออกเสียงลงคะแนนเป็นเกณฑ์ในการลงคะแนนเสียง
ข้อ ๑๕
ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าได้มีการประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับ
สมาชิกอาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมครั้งนั้นได้
แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ
ข้อ ๑๖ ห้ามมิให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะทั้งหมดหรือบางส่วนให้เป็นสาธารณประโยชน์หรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือบุคคลอื่น
เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะมีมติให้ดำเนินการได้
และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
การพิจารณาของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์หรือการได้รับบริการของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรประกอบด้วย
และคณะกรรมการจะอนุญาตโดยกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อให้ผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวต้องดำเนินการด้วยก็ได้
ข้อ ๑๗ ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรรายงานกิจการ
งบดุล บัญชีรายรับรายจ่ายซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้วต่อคณะกรรมการภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีและประกาศรายงานดังกล่าวโดยเปิดเผยให้สมาชิกทราบ
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบกิจการ
การบัญชี และการเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๘
ในกรณีที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงินหรือการบัญชีตามรายงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือรายงานของคณะอนุกรรมการตามข้อ
๑๗ หรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรกระทำการไม่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่
จนทำให้เกิดข้อบกพร่อง เสียหาย
หรือเสียประโยชน์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือสมาชิก ให้คณะกรรมการแจ้งเป็นหนังสือให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าไม่แก้ไขให้เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
คณะกรรมการอาจมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ระงับการปฏิบัติบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่อง
เสียหาย หรือเสียประโยชน์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือสมาชิก
(๒)
ให้หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๓
การควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๑๙ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตั้งแต่สองนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นไปซึ่งมีพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียงกัน
และที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
เว้นแต่ข้อบังคับจะกำหนดมติไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่งร่วมกันยื่นคำขอจดทะเบียนควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่ง
(๒)
รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกแต่ละแห่งที่มีมติให้ควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และเห็นชอบกับข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดจากการควบ
(๓) สำเนาข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดจากการควบ
(๔)
บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่งและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ในการควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(ถ้ามี)
(๕) บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และทรัพย์สินอื่นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่ง
การพิจารณาจดทะเบียนควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาให้นำความในข้อ
๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้
ให้หมายเหตุการควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งสองฉบับให้ตรงกัน
ข้อ ๒๐
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรใหม่ที่เกิดจากการควบได้ไปทั้งสิทธิ
หน้าที่และความรับผิดบรรดาที่มีอยู่แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น
หมวด ๔
การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ ๒๑
เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ต่อมาที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือมีกรณีให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามที่กำหนดในข้อบังคับ
ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรยื่นคำขอจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๒)
รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกที่มีมติให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๓) บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(๔) บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ถ้ามี)
(๕)
หลักฐานการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นตาม (๓) ไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา (ถ้ามี)
การพิจารณาจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาให้นำความในข้อ
๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นอันยกเลิกและให้หมายเหตุการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งสองฉบับนี้ให้ตรงกัน
ให้ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจัดตั้งผู้ชำระบัญชีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดมาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้ชำระบัญชีจำหน่ายที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
และบริการสาธารณะ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะมีมติเป็นอย่างอื่นและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
ผู้ชำระบัญชีต้องจัดการชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตั้งตามวรรคสอง
เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดเวลาไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๓
ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ รวมทั้งทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เหลือจากการชำระหนี้
ให้ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินและทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ
๒๑ (๕)
ในกรณีที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมิได้จัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดิน
และทรัพย์สินดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ชำระบัญชีดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
จดทะเบียนโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๒)
จดทะเบียนโอนที่ดินอันเป็นบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับโอนต้องไม่ดำเนินการใด
ๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการหรือใช้ประโยชน์ในสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
(๓)
ทรัพย์สินอื่นให้จัดแบ่งแก่สมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕
สมบัติ อุทัยสาง
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้การขอจดทะเบียนจัดตั้ง
การควบ การยกเลิก และการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชไมพร/แก้ไข
๑ สิงหาคม ๒๕๔๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๙ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕๖ ก/หน้า ๑๗/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๕ |
315537 | กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2544 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการอนุญาตและ
การออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎหมายไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินให้ยื่นคำขอตามแบบ จ.ส. ๑
ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมหลักฐานและรายละเอียดตามมาตรา ๒๓ จำนวน ๑๓ ชุด หรือตามจำนวนที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ข้อ ๒
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตรวจสอบคำขอตามข้อ
๑ แล้วเห็นว่าไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินดำเนินการส่งหลักฐานและรายละเอียดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในกรณีผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ดำเนินการยื่นหลักฐานและรายละเอียดเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือได้ยื่นหลักฐานและรายละเอียดภายในระยะเวลาที่กำหนด
แต่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตรวจสอบแล้วเห็นว่าหลักฐานและรายละเอียดยังไม่ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขาสั่งไม่รับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินแล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมส่งหลักฐานและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องคืนให้แก่ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
ในกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตรวจสอบแล้วเห็นว่าหลักฐานและรายละเอียดที่ยื่นพร้อมคำขอตามวรรคหนึ่งหรือหลักฐานและรายละเอียดที่ยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสองครบถ้วนแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งรับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินและรีบเสนอคำขอดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินทราบ
ข้อ ๓
เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอตามข้อ ๒ แล้ว คณะกรรมการต้องพิจารณาขั้นตอน
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นชอบแผนผัง โครงการ
และวิธีการในการจัดสรร
และผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินได้ดำเนินการตามกฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินครบถ้วนแล้วให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามแบบ
จ.ส. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๔
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินให้ทำเป็นคู่ฉบับ มอบให้ผู้จัดสรรที่ดินฉบับหนึ่ง
อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
สมบัติ อุทัยสาง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน (จ.ส. ๑)
๒.
ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน (จ.ส. ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บัญญัติให้การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ภคินี/แก้ไข
๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๙ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๘/๑๐ กันยายน ๒๕๔๔ |
315536 | กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2544 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ดังนี้
(๑) ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
(ก) จัดสรรที่ดินเป็นที่ประกอบเกษตรกรรม ไร่ละ
๑๐๐ บาท
(ข) จัดสรรที่ดินประเภทอื่น ไร่ละ
๒๕๐ บาท
เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
(๒) การโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน รายละ
๓,๐๐๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
สมบัติ อุทัยสาง
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ และมาตรา
๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บัญญัติให้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและการโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ภคินี/พิมพ์
๗ ธันวาคม ๒๕๔๔
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๙ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๖/ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๔ |
760717 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ดังนี้
๑.
ขนาดของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้พิจารณาจากจำนวนที่ดินที่ทำการรังวัดแบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายและจำนวนเนื้อที่โดยแบ่งเป็น
๓ ขนาด คือ
๑.๑ ขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่
๑.๒ ขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่
๑๐๐ - ๔๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่ ๑๙ - ๑๐๐ ไร่
๑.๓ ขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐ แปลง หรือ
เนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่
๒.
การกำหนดขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรร
๒.๑ การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายเฉพาะที่ดิน หรือ
ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว
ที่ดินแปลงย่อยต้องมีขนาดความกว้างหรือความยาวไม่ต่ำกว่า ๑๐.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๕๐ ตารางวา หากความกว้างหรือความยาวไม่ได้ขนาดดังกล่าว ต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐ ตารางวา
หากเป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยวให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่เป็นผู้มีรายได้น้อย
และราคาจำหน่ายหน่วยละไม่เกินหกแสนบาทถ้วน ที่ดินแปลงย่อยต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๓๕ ตารางวา[๒]
๒.๒ การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแฝด
ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๓๕
ตารางวา
๒.๓
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแถวหรืออาคารพาณิชย์
ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๔.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๖
ตารางวา
๓.
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
๓.๑
ขนาดของถนนที่ต้องจัดให้มีในการจัดสรรที่ดินแต่ละโครงการให้มีความกว้างของเขตทาง
และผิวจราจรเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ดินแปลงย่อยดังนี้
(๑)
ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๖.๐๐ เมตร
(๒) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๑๐๐ -
๒๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ ๑๙ - ๕๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๒.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๓๐๐ -
๔๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่เกินกว่า ๕๐ ไร่ แต่ไม่เกิน ๑๐๐ ไร่
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๖.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๔) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐
แปลงขึ้นไป หรือมากกว่า ๑๐๐ ไร่ขึ้นไป ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๘.๐๐
เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
๓.๒[๓] ถนนที่เป็นทางเข้าออกโครงการจัดสรรที่ดิน
ที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑
เว้นแต่ถนนดังกล่าวเป็นถนนภาระจำยอม
และมีความกว้างของเขตทางน้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑ ก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาอนุญาตได้
แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
จนเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
มีความกว้างของผิวจราจรไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร
และมิได้เป็นถนนที่เกิดจากการดำเนินการของผู้จัดสรรที่ดิน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรที่ดิน
๓.๓ การจัดทำทางเดินและทางเท้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของท้องถิ่น
๔.
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
๔.๑ ระบบการระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
(๑)
ในท้องที่ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและในเขตเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยจะต้องจัดทำขึ้นตามมาตรฐานทางวิศวกรรม
สอดคล้องกับรายการคำนวณทางวิชาการที่สามารถตรวจสอบความเพียงพอและความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของระบบได้
โดยต้องมีการตรวจรับรองจากวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(๒) ในเขตอื่น ๆ นอกจากนี้ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
(๓) ระบบบำบัดน้ำเสียที่จัดให้มี ต้องมีประสิทธิภาพ
และสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
๔.๒ ระบบการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่น
ในกรณีที่ไม่มีข้อบัญญัติของท้องถิ่นใช้บังคับ
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
๕.
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และการบริหารชุมชน
๕.๑ ระบบไฟฟ้า
ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าและดำเนินการจัดทำตามแบบแปลนแผนผังที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการหรือองค์การของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเรื่องไฟฟ้า
๕.๒ ระบบประปา ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบประปา
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค
หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี สามารถให้บริการได้
ต้องใช้บริการของหน่วยงานนั้น ในกรณีอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเสนอแบบก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำ
พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบแบบรายการคำนวณโดยมีวิศวกรเป็นผู้ลงนามรับรองแบบและรายการคำนวณดังกล่าว
เพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
แล้วแต่กรณี
๕.๓
ผู้จัดสรรที่ดินต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะดังนี้
(๑) สวน สนามเด็กเล่นและหรือสนามกีฬา โดยคำนวณจากพื้นที่จัดจำหน่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕ ทั้งนี้
ไม่ให้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อยหลายแห่งเว้นแต่เป็นการกันพื้นที่แต่ละแห่งไว้ไม่ต่ำกว่า
๑ ไร่
(๒) ในกรณีเป็นการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องกันพื้นที่ไว้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล จำนวน ๑ แห่ง
เนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ตารางวา และต้องจัดให้มีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุก ๆ
๕๐๐ แปลง หรือทุก ๆ ๑๐๐ ไร่ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการได้
ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่นได้ ให้จัดทำบริการสาธารณะและหรือสาธารณูปโภคอื่น
เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สวน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา เป็นต้น
๖.
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมและการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร เป็นต้น
๗.[๔]
การจัดสรรที่ดินตามสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอยู่จริง
เนื่องจากเดิมเป็นการสร้างอาคารเพื่อให้เช่า
แต่ต่อมาผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะจำหน่ายที่ดินและอาคารนั้นให้แก่ผู้เช่าผู้จัดสรรที่ดินสามารถทำการจัดสรรที่ดินได้โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ - ๕ เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๗.๑
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของเจ้าของเดิมในโฉนดที่ดินที่นำมาทำการจัดสรรที่ดิน
๗.๒
ผู้จัดสรรที่ดินต้องเสนอจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นให้แก่ผู้เช่าเดิมเป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ
๘๐ ของผู้เช่าทั้งหมด
หากผู้เช่าเดิมไม่ประสงค์จะซื้อจึงจะสามารถจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นได้
๗.๓
ต้องมีการก่อสร้างอาคารที่ให้เช่า มาก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ใช้บังคับ
และต้องมีการให้เช่าอาคารนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
๗.๔
หากผู้จัดสรรที่ดินสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมสาธารณูปโภคประเภทใดได้ให้ดำเนินการไปตามความเหมาะสม
๗.๕
ผู้จัดสรรที่ดินต้องแสดงหนังสือรับรองจากวิศวกรโยธา
ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ว่าอาคารที่ก่อสร้างไว้ตามข้อ ๗.๓ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้อยู่อาศัยได้
๘[๕]
โครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
๘.๑
ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
๘.๒
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวทำการจัดสรรที่ดินได้โดย
(๑)
ไม่ต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคประเภทสวน สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา
(๒)
ขนาดของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อย
ให้มีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๖.๐๐ เมตร
(๓)
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค
หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ไม่สามารถให้บริการได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินใช้ระบบประปาอื่นได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
อนึ่ง
ในกรณีที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของจังหวัด
ได้กำหนดมาตรฐานของสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ไว้สูงกว่าที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางประกาศ
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
การจัดทำสาธารณูปโภคดังกล่าวแม้จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หากไม่เกิดความเสียหาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินควรพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๖) [๖]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘) [๗]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๙)[๘]
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.
๒๕๕๑)[๙]
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.
๒๕๕๒)[๑๐]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๗ (พ.ศ.
๒๕๕๔)[๑๑]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๒]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ปรียนันท์/แก้ไข
๑๐ มกราคม ๒๕๔๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
วริญา/ปรับปรุง
๘ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๘๙/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๒] ข้อ ๒ ๒.๑ วรรคสอง
เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
[๓] ข้อ ๓.๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
[๔] ข้อ ๗
เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
[๕] ข้อ ๘
เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๖๖ง/หน้า ๙๘/๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๔๔ง/หน้า ๑๙๒/๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๘/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๕๐/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๔๕/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๔๑/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๗/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๒๒/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
760719 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือ
นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายเรื่อง การจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม และพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินรายใดมีความประสงค์จะให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(๑) ที่ดินเปล่าต้องจัดให้มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
๒๐ ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๘.๐๐ เมตรความยาวไม่น้อยกว่า
๑๐.๐๐ เมตร เว้นแต่ข้อบัญญัติของท้องถิ่นใดกำหนดไว้สูงกว่า ก็ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้น
โดยตำแหน่งที่ดินให้มีเขตติดต่อกับสาธารณูปโภคอื่น ๆ เช่น ถนน สวนสนามเด็กเล่น สนามกีฬา
พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการจัดจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรหรือการสันทนาการ
ที่จอดรถส่วนกลาง ศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน ห้องอาหารสำหรับพนักงาน สถานพยาบาลเบื้องต้นและหรือสาธารณูปโภคอื่นที่ใช้ประโยชน์ลักษณะเดียวกัน
(๒) ที่ดินพร้อมอาคาร ต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
๑๖ ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร
(๓) พื้นที่ส่วนอื่นซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว เช่น สำนักงาน
สโมสร เป็นต้น ต้องจัดให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นในอาคารดังกล่าว
ไม่น้อยกว่า ๖๔ ตารางเมตร อาคารดังกล่าวจะต้องอยู่บนที่ดินแปลงบริการสาธารณะในโครงการจัดสรรที่ดินและจะเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นไม่ได้
ทั้งนี้
ไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคสิ้นเปลือง
ข้อ
๒ เมื่อตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
ให้ถือว่าที่ดินดังกล่าวตามข้อ ๑ (๑) หรือที่ดินพร้อมอาคารตามข้อ ๑ (๒) เป็นสาธารณูปโภค
ส่วนที่ดินที่เป็นที่ตั้งสำนักงานสโมสร ฯลฯ ผู้จัดสรรที่ดินต้องโอนให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
๒๐ ตารางวา และให้เป็นสาธารณูปโภคด้วย
ข้อ
๓[๒]
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
(๑)
ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
(๒)
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ประกาศนี้ไม่ให้ใช้บังคับเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ได้ยื่นคำขออนุญาตไว้ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
สุจริต ปัจฉิมนันท์
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒)[๓]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๔
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓
(พ.ศ. ๒๕๕๔)[๔]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๕]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๑
ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ศิรวัชร์/จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
วริญา/ปรับปรุง
๗ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖ ง/หน้า ๘๓/๑๙ มกราคม ๒๕๔๙
[๒] ข้อ ๓ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๔๗/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๕]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๙/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๒๑/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769282 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา
๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินดังนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘
ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ลงวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๘ โครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
๘.๑
ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่ เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
๘.๒
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวทำการจัดสรรที่ดินได้โดย
(๑)
ไม่ต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคประเภทสวน สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา
(๒)
ขนาดของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อย ให้มีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓)
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค หรือการประปาส่วนท้องถิ่น
แล้วแต่กรณี ไม่สามารถให้บริการได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินใช้ระบบประปาอื่นได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
อนึ่ง
ในกรณีที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของจังหวัด ได้กำหนดมาตรฐานของสาธารณูปโภคต่าง
ๆ ไว้สูงกว่าที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางประกาศ
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
การจัดทำสาธารณูปโภคดังกล่าวแม้จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หากไม่เกิดความเสียหาย คณะกรรมการจัดสรรที่ดินควรพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวข้างต้น
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประยูร รัตนเสนีย์
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
วริญา/ตรวจ
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๒๒/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769280 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา
๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินดังนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓
ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓ โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
(๑)
ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
(๒)
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประยูร รัตนเสนีย์
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
วริญา/ตรวจ
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๒๑/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
756419 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
หรือการปรับปรุงที่ดิน
และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ฉบับที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๕๙)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการกำหนดรายชื่อสถาบันการเงิน
ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน
และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
เพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๖) มาตรา ๒๓ (๑๐) และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน
และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคเพิ่มเติมดังนี้
๑.
บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอชชัวรันซ์ จำกัด
๒.
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
๓.
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
๔.
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
๕.
บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประทีป กีรติเรขา
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
ชวัลพร/ตรวจ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๑ ง/หน้า ๒๗/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
753592 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๖) และมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๕๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
หากมีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ในกรณีที่ค้างชำระตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือนายอำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
(๑) หนังสือที่แจ้งให้ผู้ค้างชำระได้ทราบ
ซึ่งต้องมีเวลาให้ชำระเงินล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ค้างชำระ
(๒)
หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบุคคลดังกล่าวหรือหนังสือมอบอำนาจ
ข้อ
๒ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
หรือนายอำเภอได้รับแจ้งและเห็นว่ามีหลักฐานครบถ้วนตามข้อ ๑ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ
โดยดำเนินการดังนี้
(๑) ลงบัญชีอายัด (บ.ท.ด.๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา
๕๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
ตามหนังสือ................................ (ชื่อบุคคล/นิติบุคคล)......................ลงวันที่...................................... แล้วลงลายมือชื่อ พร้อมวัน เดือน ปี
กำกับไว้
(๒) เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดิน
สำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ในกรณีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ให้มีการบันทึกข้อมูลการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมลงในระบบคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย ทั้งนี้ ให้นำความในหมวด ๖ ของคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ ๖๓๕/๒๕๔๗ เรื่อง การอายัดที่ดิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือนายอำเภอ
มีหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินให้ทราบ เรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในวันที่ลงบัญชีอายัดหรือวันทำการถัดไปเป็นอย่างช้า
ข้อ
๓ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
มีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือนายอำเภอ
เพื่อให้ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่เจ้าของที่ดิน
ผู้ค้างชำระ ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าว หรือเมื่อเจ้าของที่ดินได้นำหลักฐานการชำระเงินดังกล่าวมาแสดงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือนายอำเภอ
ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานเท่าที่จำเป็น
เมื่อเป็นที่เชื่อได้ว่าชำระเงินครบถ้วนถูกต้องแล้ว
จึงสั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้
ในกรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดง
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือนายอำเภอ
ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ทราบเรื่องยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในวันที่ยกเลิกบัญชีอายัดหรือวันทำการถัดไปเป็นอย่างช้า
ข้อ ๔ เมื่อยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามข้อ ๓ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดง
และบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ) โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือ.......... (ชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล)..................ลงวันที่........................ หรือ ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหลักฐานการชำระเงิน เลขที่ ........................................ ลงวันที่
.. แล้วลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี กำกับไว้ และปลดคำสั่งห้ามโอน
(ท.ด.๓๗) ออก
ข้อ
๕ การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรตามระเบียบคณะกรรมการที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับยังคงมีอยู่ต่อไป
ข้อ ๖ ผู้จัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ให้จัดเก็บค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะ
อาจขอให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระได้ตามประกาศนี้
ให้นำความในข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประทีป กีรติเรขา
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๕ สิงหาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง/หน้า ๑๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ |
772164 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/03/2557 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือ
นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายเรื่อง การจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม และพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้
ดังนี้
ข้อ
๑ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินรายใดมีความประสงค์จะให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(๑) ที่ดินเปล่าต้องจัดให้มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า
๘.๐๐ เมตรความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร เว้นแต่ข้อบัญญัติของท้องถิ่นใดกำหนดไว้สูงกว่า
ก็ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้น โดยตำแหน่งที่ดินให้มีเขตติดต่อกับสาธารณูปโภคอื่น
ๆ เช่น ถนน สวนสนามเด็กเล่น สนามกีฬา พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการจัดจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรหรือการสันทนาการ
ที่จอดรถส่วนกลาง ศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน ห้องอาหารสำหรับพนักงาน สถานพยาบาลเบื้องต้นและหรือสาธารณูปโภคอื่นที่ใช้ประโยชน์ลักษณะเดียวกัน
(๒) ที่ดินพร้อมอาคาร ต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๑๖ ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า
๔.๐๐ เมตร
(๓) พื้นที่ส่วนอื่นซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
เช่น สำนักงาน สโมสร เป็นต้น ต้องจัดให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นในอาคารดังกล่าว
ไม่น้อยกว่า ๖๔ ตารางเมตร อาคารดังกล่าวจะต้องอยู่บนที่ดินแปลงบริการสาธารณะในโครงการจัดสรรที่ดินและจะเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นไม่ได้
ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคสิ้นเปลือง
ข้อ
๒ เมื่อตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
ให้ถือว่าที่ดินดังกล่าวตามข้อ ๑ (๑) หรือที่ดินพร้อมอาคารตามข้อ ๑ (๒) เป็นสาธารณูปโภค
ส่วนที่ดินที่เป็นที่ตั้งสำนักงานสโมสร ฯลฯ ผู้จัดสรรที่ดินต้องโอนให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
๒๐ ตารางวา และให้เป็นสาธารณูปโภคด้วย
ข้อ ๓[๒]
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
หรือเมืองพัทยาที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่ เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
(๒) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ประกาศนี้ไม่ให้ใช้บังคับเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ได้ยื่นคำขออนุญาตไว้ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
สุจริต ปัจฉิมนันท์
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖[๓]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ศิรวัชร์/จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖ ง/หน้า ๘๓/๑๙ มกราคม ๒๕๔๙
[๒] เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๙/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
771941 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/03/2557) | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ ดังนี้
๑.
ขนาดของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้พิจารณาจากจำนวนที่ดินที่ทำการรังวัดแบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายและจำนวนเนื้อที่โดยแบ่งเป็น
๓ ขนาด คือ
๑.๑ ขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่
๑.๒ ขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๑๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ
เนื้อที่ ๑๙-๑๐๐ ไร่
๑.๓ ขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐ แปลง หรือ
เนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่
๒.
การกำหนดขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรร
๒.๑ การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายเฉพาะที่ดิน หรือ
ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว
ที่ดินแปลงย่อยต้องมีขนาดความกว้างหรือความยาวไม่ต่ำกว่า ๑๐.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๕๐ ตารางวา หากความกว้างหรือความยาวไม่ได้ขนาดดังกล่าว ต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐ ตารางวา
๒.๒
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแฝดที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๓๕ ตารางวา
๒.๓
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแถวหรืออาคารพาณิชย์
ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๔.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๖
ตารางวา
๓.
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
๓.๑
ขนาดของถนนที่ต้องจัดให้มีในการจัดสรรที่ดินแต่ละโครงการให้มีความกว้างของเขตทาง
และผิวจราจรเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ดินแปลงย่อยดังนี้
(๑) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙
แปลง หรือเนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๒) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๑๐๐-๒๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ ๑๙-๕๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า
๑๒.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๓๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่เกินกว่า ๕๐ ไร่
แต่ไม่เกิน ๑๐๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๖.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๔) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐
แปลงขึ้นไป หรือมากกว่า ๑๐๐ ไร่ขึ้นไป ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๘.๐๐
เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
๓.๒[๒] ถนนที่เป็นทางเข้าออกโครงการจัดสรรที่ดิน
ที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑
เว้นแต่ถนนดังกล่าวเป็นถนนภาระจำยอม
และมีความกว้างของเขตทางน้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑ ก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาอนุญาตได้
แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
จนเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
มีความกว้างของผิวจราจรไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร
และมิได้เป็นถนนที่เกิดจากการดำเนินการของผู้จัดสรรที่ดิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรที่ดิน
๓.๓
การจัดทำทางเดินและทางเท้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของท้องถิ่น
๔.
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
๔.๑ ระบบการระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
(๑)
ในท้องที่ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและในเขตเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยจะต้องจัดทำขึ้นตามมาตรฐานทางวิศวกรรม
สอดคล้องกับรายการคำนวณทางวิชาการที่สามารถตรวจสอบความเพียงพอและความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของระบบได้
โดยต้องมีการตรวจรับรองจากวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(๒) ในเขตอื่นๆ
นอกจากนี้ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
(๓) ระบบบำบัดน้ำเสียที่จัดให้มี ต้องมีประสิทธิภาพ
และสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
๔.๒
ระบบการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นในกรณีที่ไม่มีข้อบัญญัติของท้องถิ่นใช้บังคับ
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
๕.
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และการบริหารชุมชน
๕.๑ ระบบไฟฟ้า
ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าและดำเนินการจัดทำตามแบบแปลนแผนผังที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการหรือองค์การของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเรื่องไฟฟ้า
๕.๒ ระบบประปา ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบประปา
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค
หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีสามารถให้บริการได้
ต้องใช้บริการของหน่วยงานนั้น ในกรณีอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเสนอแบบก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำ พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบแบบรายการคำนวณโดยมีวิศวกรเป็นผู้ลงนามรับรองแบบและรายการคำนวณดังกล่าว
เพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
แล้วแต่กรณี
๕.๓ ผู้จัดสรรที่ดินต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
ดังนี้
(๑) สวน สนามเด็กเล่นและหรือสนามกีฬา โดยคำนวณจากพื้นที่จัดจำหน่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕ ทั้งนี้
ไม่ให้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อยหลายแห่งเว้นแต่เป็นการกันพื้นที่แต่ละแห่งไว้ไม่ต่ำกว่า
๑ ไร่
(๒) ในกรณีเป็นการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่ ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องกันพื้นที่ไว้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล
จำนวน ๑ แห่ง เนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ตารางวา และต้องจัดให้มีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุก
ๆ ๕๐๐ แปลง หรือทุก ๆ ๑๐๐ ไร่ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการได้
ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่นได้ ให้จัดทำบริการสาธารณะและหรือสาธารณูปโภคอื่น
เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สวน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา เป็นต้น
๖.
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมและการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร เป็นต้น
๗.[๓]
การจัดสรรที่ดินตามสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอยู่จริง
เนื่องจากเดิมเป็นการสร้างอาคารเพื่อให้เช่า
แต่ต่อมาผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะจำหน่ายที่ดินและอาคารนั้นให้แก่ผู้เช่าผู้จัดสรรที่ดินสามารถทำการจัดสรรที่ดินได้โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ - ๕ เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๗.๑
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของเจ้าของเดิมในโฉนดที่ดินที่นำมาทำการจัดสรรที่ดิน
๗.๒
ผู้จัดสรรที่ดินต้องเสนอจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นให้แก่ผู้เช่าเดิมเป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ
๘๐ ของผู้เช่าทั้งหมด
หากผู้เช่าเดิมไม่ประสงค์จะซื้อจึงจะสามารถจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นได้
๗.๓
ต้องมีการก่อสร้างอาคารที่ให้เช่า มาก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ใช้บังคับ และต้องมีการให้เช่าอาคารนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า
๒๐ ปี
๗.๔
หากผู้จัดสรรที่ดินสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมสาธารณูปโภคประเภทใดได้ให้ดำเนินการไปตามความเหมาะสม
๗.๕
ผู้จัดสรรที่ดินต้องแสดงหนังสือรับรองจากวิศวกรโยธา
ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม ว่าอาคารที่ก่อสร้างไว้ตามข้อ
๗.๓ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้อยู่อาศัยได้
๘.[๔]
โครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
๘.๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
หรือเมืองพัทยา ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
๘.๒ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวทำการจัดสรรที่ดินได้โดย
(๑) ไม่ต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคประเภทสวน
สนามเด็กเล่นหรือสนามกีฬา
(๒) ขนาดของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อย
ให้มีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๖.๐๐ เมตร
(๓) ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
ไม่สามารถให้บริการได้ให้ผู้จัดสรรที่ดินใช้ระบบประปาอื่นได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้ โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
อนึ่ง ในกรณีที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของจังหวัด
ได้กำหนดมาตรฐานของสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้สูงกว่าที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางประกาศ
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
การจัดทำสาธารณูปโภคดังกล่าวแม้จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หากไม่เกิดความเสียหาย คณะกรรมการจัดสรรที่ดินควรพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๙)[๕]
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.
๒๕๕๑)[๖]
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.
๒๕๕๖[๗]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ศิรวัชร์/จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๘๙/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.
๒๕๕๑)
[๓] เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๙)
[๔] เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๘/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๕๐/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๗/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
703303 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ
๓ ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓ โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
หรือเมืองพัทยาที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
(๒) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประภาศ
บุญยินดี
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ เมษายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๙/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
703301 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ
๘ ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ลงวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๘ โครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
๘.๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
หรือเมืองพัทยา ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
๘.๒ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวทำการจัดสรรที่ดินได้โดย
(๑) ไม่ต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคประเภทสวน
สนามเด็กเล่นหรือสนามกีฬา
(๒) ขนาดของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อย
ให้มีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๖.๐๐ เมตร
(๓) ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
ไม่สามารถให้บริการได้ให้ผู้จัดสรรที่ดินใช้ระบบประปาอื่นได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
อนึ่ง ในกรณีที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของจังหวัด
ได้กำหนดมาตรฐานของสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้สูงกว่าที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางประกาศ
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
การจัดทำสาธารณูปโภคดังกล่าวแม้จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หากไม่เกิดความเสียหาย คณะกรรมการจัดสรรที่ดินควรพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวข้างต้น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประภาศ
บุญยินดี
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗
อุษมล/ตรวจ
๘ เมษายน ๒๕๕๗
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๗/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
656112 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2554)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่ ๗
(พ.ศ. ๒๕๕๔)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน
เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล
ในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ
๘ ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ลงวันที่ ๒๕ มกราคม
๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒)
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ โครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
๘.๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่ เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
๘.๒ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวทำการจัดสรรที่ดินได้โดย
(๑) ไม่ต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคประเภทสวน
สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา
(๒) ขนาดของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อย
ให้มีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๖.๐๐ เมตร
(๓) ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ไม่สามารถให้บริการได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินใช้ระบบประปาอื่นได้โดยผ่านการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า
มีคุณภาพน้ำที่ไม่ต่ำกว่าประปาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้บริการ
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
อนึ่ง ในกรณีที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของจังหวัด
ได้กำหนดมาตรฐานของสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ไว้สูงกว่าที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางประกาศ
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
การจัดทำสาธารณูปโภคดังกล่าวแม้จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หากไม่เกิดความเสียหายคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
ควรพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนด
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวข้างต้น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
สุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๔๑/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656110 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2554)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
ฉบับที่ ๓
(พ.ศ. ๒๕๕๔)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒)
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๒ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
เว้นแต่เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ให้มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน
๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
(๒) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๔๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้ โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
สุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
630232 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(ฉบับที่ ๓) [๑]
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๕๓
ให้ขยายระยะเวลาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินในการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งนี้
เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการสนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเร็วขึ้น นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ให้ขยายระยะเวลาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินในการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๔/๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
760715 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/02/2552) (ครั้งที่ 2) (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ ดังนี้
๑.
ขนาดของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้พิจารณาจากจำนวนที่ดินที่ทำการรังวัดแบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายและจำนวนเนื้อที่โดยแบ่งเป็น
๓ ขนาด คือ
๑.๑ ขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่
๑.๒ ขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๑๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ
เนื้อที่ ๑๙-๑๐๐ ไร่
๑.๓ ขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐ แปลง หรือ
เนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่
๒.
การกำหนดขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรร
๒.๑ การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายเฉพาะที่ดิน หรือ
ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว
ที่ดินแปลงย่อยต้องมีขนาดความกว้างหรือความยาวไม่ต่ำกว่า ๑๐.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๕๐ ตารางวา หากความกว้างหรือความยาวไม่ได้ขนาดดังกล่าว ต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐ ตารางวา
๒.๒
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแฝดที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๓๕ ตารางวา
๒.๓
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแถวหรืออาคารพาณิชย์
ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๔.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๖
ตารางวา
๓.
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
๓.๑
ขนาดของถนนที่ต้องจัดให้มีในการจัดสรรที่ดินแต่ละโครงการให้มีความกว้างของเขตทาง
และผิวจราจรเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ดินแปลงย่อยดังนี้
(๑) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙
แปลง หรือเนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๒) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๑๐๐-๒๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ ๑๙-๕๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า
๑๒.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๓๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่เกินกว่า ๕๐ ไร่
แต่ไม่เกิน ๑๐๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๖.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๔) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐
แปลงขึ้นไป หรือมากกว่า ๑๐๐ ไร่ขึ้นไป ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๘.๐๐
เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
๓.๒[๒] ถนนที่เป็นทางเข้าออกโครงการจัดสรรที่ดิน
ที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑
เว้นแต่ถนนดังกล่าวเป็นถนนภาระจำยอม
และมีความกว้างของเขตทางน้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑ ก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาอนุญาตได้
แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
จนเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
มีความกว้างของผิวจราจรไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร
และมิได้เป็นถนนที่เกิดจากการดำเนินการของผู้จัดสรรที่ดิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรที่ดิน
๓.๓
การจัดทำทางเดินและทางเท้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของท้องถิ่น
๔.
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
๔.๑ ระบบการระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
(๑)
ในท้องที่ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและในเขตเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยจะต้องจัดทำขึ้นตามมาตรฐานทางวิศวกรรม
สอดคล้องกับรายการคำนวณทางวิชาการที่สามารถตรวจสอบความเพียงพอและความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของระบบได้
โดยต้องมีการตรวจรับรองจากวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(๒) ในเขตอื่นๆ
นอกจากนี้ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
(๓) ระบบบำบัดน้ำเสียที่จัดให้มี ต้องมีประสิทธิภาพ
และสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
๔.๒
ระบบการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นในกรณีที่ไม่มีข้อบัญญัติของท้องถิ่นใช้บังคับ
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
๕.
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และการบริหารชุมชน
๕.๑ ระบบไฟฟ้า
ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าและดำเนินการจัดทำตามแบบแปลนแผนผังที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการหรือองค์การของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเรื่องไฟฟ้า
๕.๒ ระบบประปา ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบประปา
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค
หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีสามารถให้บริการได้
ต้องใช้บริการของหน่วยงานนั้น ในกรณีอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเสนอแบบก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำ พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบแบบรายการคำนวณโดยมีวิศวกรเป็นผู้ลงนามรับรองแบบและรายการคำนวณดังกล่าว
เพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
แล้วแต่กรณี
๕.๓ ผู้จัดสรรที่ดินต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
ดังนี้
(๑) สวน สนามเด็กเล่นและหรือสนามกีฬา โดยคำนวณจากพื้นที่จัดจำหน่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕ ทั้งนี้
ไม่ให้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อยหลายแห่งเว้นแต่เป็นการกันพื้นที่แต่ละแห่งไว้ไม่ต่ำกว่า
๑ ไร่
(๒) ในกรณีเป็นการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่ ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องกันพื้นที่ไว้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล
จำนวน ๑ แห่ง เนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ตารางวา และต้องจัดให้มีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุก
ๆ ๕๐๐ แปลง หรือทุก ๆ ๑๐๐ ไร่ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการได้
ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่นได้ ให้จัดทำบริการสาธารณะและหรือสาธารณูปโภคอื่น
เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สวน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา เป็นต้น
๖.
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมและการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร เป็นต้น
๗.[๓]
การจัดสรรที่ดินตามสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอยู่จริง
เนื่องจากเดิมเป็นการสร้างอาคารเพื่อให้เช่า
แต่ต่อมาผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะจำหน่ายที่ดินและอาคารนั้นให้แก่ผู้เช่าผู้จัดสรรที่ดินสามารถทำการจัดสรรที่ดินได้โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ - ๕ เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๗.๑
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของเจ้าของเดิมในโฉนดที่ดินที่นำมาทำการจัดสรรที่ดิน
๗.๒
ผู้จัดสรรที่ดินต้องเสนอจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นให้แก่ผู้เช่าเดิมเป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ
๘๐ ของผู้เช่าทั้งหมด
หากผู้เช่าเดิมไม่ประสงค์จะซื้อจึงจะสามารถจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นได้
๗.๓
ต้องมีการก่อสร้างอาคารที่ให้เช่า มาก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ใช้บังคับ และต้องมีการให้เช่าอาคารนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า
๒๐ ปี
๗.๔
หากผู้จัดสรรที่ดินสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมสาธารณูปโภคประเภทใดได้ให้ดำเนินการไปตามความเหมาะสม
๗.๕
ผู้จัดสรรที่ดินต้องแสดงหนังสือรับรองจากวิศวกรโยธา
ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม ว่าอาคารที่ก่อสร้างไว้ตามข้อ
๗.๓ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้อยู่อาศัยได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)[๔]
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.
๒๕๕๑)[๕]
ศิรวัชร์/จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๘๙/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.
๒๕๕๑)
[๓] เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๙)
[๔]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๘/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๕๐/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
760713 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/02/2552) (ครั้งที่ 1) (ฉบับที่ 4)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ ดังนี้
๑.
ขนาดของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้พิจารณาจากจำนวนที่ดินที่ทำการรังวัดแบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายและจำนวนเนื้อที่โดยแบ่งเป็น
๓ ขนาด คือ
๑.๑ ขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่
๑.๒ ขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๑๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ
เนื้อที่ ๑๙-๑๐๐ ไร่
๑.๓ ขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐ แปลง หรือ
เนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่
๒.
การกำหนดขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรร
๒.๑ การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายเฉพาะที่ดิน หรือ
ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว
ที่ดินแปลงย่อยต้องมีขนาดความกว้างหรือความยาวไม่ต่ำกว่า ๑๐.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๕๐ ตารางวา หากความกว้างหรือความยาวไม่ได้ขนาดดังกล่าว ต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐ ตารางวา
๒.๒
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแฝดที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๓๕ ตารางวา
๒.๓
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแถวหรืออาคารพาณิชย์
ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๔.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๖
ตารางวา
๓.
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
๓.๑
ขนาดของถนนที่ต้องจัดให้มีในการจัดสรรที่ดินแต่ละโครงการให้มีความกว้างของเขตทาง
และผิวจราจรเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ดินแปลงย่อยดังนี้
(๑) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙
แปลง หรือเนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๒) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๑๐๐-๒๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ ๑๙-๕๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า
๑๒.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๓๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่เกินกว่า ๕๐ ไร่
แต่ไม่เกิน ๑๐๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๖.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๔) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐
แปลงขึ้นไป หรือมากกว่า ๑๐๐ ไร่ขึ้นไป ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๘.๐๐
เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
๓.๒ ถนนที่เป็นทางเข้าออกของโครงการจัดสรรที่ดินที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑ นอกจากจะมีเกณฑ์บังคับเป็นอย่างอื่น
๓.๓
การจัดทำทางเดินและทางเท้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของท้องถิ่น
๔.
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
๔.๑ ระบบการระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
(๑)
ในท้องที่ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและในเขตเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยจะต้องจัดทำขึ้นตามมาตรฐานทางวิศวกรรม สอดคล้องกับรายการคำนวณทางวิชาการที่สามารถตรวจสอบความเพียงพอและความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของระบบได้
โดยต้องมีการตรวจรับรองจากวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(๒) ในเขตอื่นๆ
นอกจากนี้ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
(๓) ระบบบำบัดน้ำเสียที่จัดให้มี ต้องมีประสิทธิภาพ
และสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
๔.๒
ระบบการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นในกรณีที่ไม่มีข้อบัญญัติของท้องถิ่นใช้บังคับ
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
๕.
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และการบริหารชุมชน
๕.๑ ระบบไฟฟ้า
ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าและดำเนินการจัดทำตามแบบแปลนแผนผังที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการหรือองค์การของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเรื่องไฟฟ้า
๕.๒ ระบบประปา ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบประปา
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค
หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีสามารถให้บริการได้
ต้องใช้บริการของหน่วยงานนั้น ในกรณีอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเสนอแบบก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำ
พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบแบบรายการคำนวณโดยมีวิศวกรเป็นผู้ลงนามรับรองแบบและรายการคำนวณดังกล่าว
เพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
แล้วแต่กรณี
๕.๓ ผู้จัดสรรที่ดินต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
ดังนี้
(๑) สวน สนามเด็กเล่นและหรือสนามกีฬา โดยคำนวณจากพื้นที่จัดจำหน่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕ ทั้งนี้ ไม่ให้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อยหลายแห่งเว้นแต่เป็นการกันพื้นที่แต่ละแห่งไว้ไม่ต่ำกว่า
๑ ไร่
(๒) ในกรณีเป็นการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องกันพื้นที่ไว้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล จำนวน ๑ แห่ง
เนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ตารางวา และต้องจัดให้มีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุก ๆ
๕๐๐ แปลง หรือทุก ๆ ๑๐๐ ไร่ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการได้
ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่นได้ ให้จัดทำบริการสาธารณะและหรือสาธารณูปโภคอื่น
เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สวน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา เป็นต้น
๖.
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมและการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร เป็นต้น
๗.[๒]
การจัดสรรที่ดินตามสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอยู่จริง
เนื่องจากเดิมเป็นการสร้างอาคารเพื่อให้เช่า
แต่ต่อมาผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะจำหน่ายที่ดินและอาคารนั้นให้แก่ผู้เช่าผู้จัดสรรที่ดินสามารถทำการจัดสรรที่ดินได้โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ - ๕ เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๗.๑
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของเจ้าของเดิมในโฉนดที่ดินที่นำมาทำการจัดสรรที่ดิน
๗.๒
ผู้จัดสรรที่ดินต้องเสนอจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นให้แก่ผู้เช่าเดิมเป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ
๘๐ ของผู้เช่าทั้งหมด หากผู้เช่าเดิมไม่ประสงค์จะซื้อจึงจะสามารถจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นได้
๗.๓
ต้องมีการก่อสร้างอาคารที่ให้เช่า มาก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ใช้บังคับ
และต้องมีการให้เช่าอาคารนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
๗.๔
หากผู้จัดสรรที่ดินสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมสาธารณูปโภคประเภทใดได้ให้ดำเนินการไปตามความเหมาะสม
๗.๕
ผู้จัดสรรที่ดินต้องแสดงหนังสือรับรองจากวิศวกรโยธา
ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ว่าอาคารที่ก่อสร้างไว้ตามข้อ ๗.๓ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้อยู่อาศัยได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๙)[๓]
ศิรวัชร์/จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๘๙/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๒] เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๙)
[๓]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๘/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
601678 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
ฉบับที่
๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ดังนี้
ข้อ ๑
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓
ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงาน
ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓ โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยาที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๒๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน
๒ ไร่
(๒) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่
ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไม่ต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการ
ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุธี
มากบุญ
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ปฏิบัติราชการแทน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒
เมษายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๔๗/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ |
601674 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2552)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่
๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน
เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล
ในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ดังนี้
ข้อ ๑
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘
ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ลงวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๘ โครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
๘.๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล หรือเมืองพัทยา ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๒๐ แปลง
และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๒ ไร่
๘.๒ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ที่มีจำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๓๐ แปลง และเนื้อที่เพื่อการจำหน่ายไม่เกิน ๔ ไร่ ให้โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวทำการจัดสรรที่ดินได้โดย
(๑)
ไม่ต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคประเภทสวน สนามเด็กเล่นหรือสนามกีฬา
(๒)
ขนาดของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อย ให้มีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓)
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาคหรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ไม่สามารถให้บริการได้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินใช้ระบบประปาอื่นได้โดยผ่านการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า
มีคุณภาพน้ำที่ไม่ต่ำกว่าประปาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้บริการ
ทั้งนี้
โครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าวต้องไม่ใช่โครงการต่อเนื่องเป็นหลายโครงการซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนแปลงหรือเนื้อที่เกินกว่าที่กำหนดไว้
อนึ่ง ในกรณีที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของจังหวัด
ได้กำหนดมาตรฐานของสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ไว้สูงกว่าที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางประกาศ
หากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
การจัดทำสาธารณูปโภคดังกล่าวแม้จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
หากไม่เกิดความเสียหายคณะกรรมการจัดสรรที่ดินควรพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนด
เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวข้างต้น
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุธี
มากบุญ
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ปฏิบัติราชการแทน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒
เมษายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๔๕/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ |
601642 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด[๑]
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ให้ลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินในการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
และเป็นการสนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเร็วขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์
ร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง สำหรับกรณีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นที่ดิน อาคาร
หรืออาคารพร้อมที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
และ
(๒) เป็นอาคารประเภทดังต่อไปนี้
(ก) บ้านเดี่ยว
(ข) บ้านแฝด
(ค) บ้านแถว
(ง) อาคารพาณิชย์
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒
เมษายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๓๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ |
598451 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2551)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๒
ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๔ แล้วใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ถนนที่เป็นทางเข้าออกโครงการจัดสรรที่ดิน
ที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑
เว้นแต่ถนนดังกล่าวเป็นถนนภาระจำยอม
และมีความกว้างของเขตทางน้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑ ก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาอนุญาตได้
แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
จนเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
มีความกว้างของผิวจราจรไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร
และมิได้เป็นถนนที่เกิดจากการดำเนินการของผู้จัดสรรที่ดิน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
พีรพล ไตรทศาวิทย์
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๕๐/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598449 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2549)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.๒๕๔๓ จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดิน
เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๗
ของประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ลงวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
๗. การจัดสรรที่ดินตามสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอยู่จริง
เนื่องจากเดิมเป็นการสร้างอาคารเพื่อให้เช่า
แต่ต่อมาผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะจำหน่ายที่ดินและอาคารนั้นให้แก่ผู้เช่าผู้จัดสรรที่ดินสามารถทำการจัดสรรที่ดินได้โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ - ๕ เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๗.๑
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของเจ้าของเดิมในโฉนดที่ดินที่นำมาทำการจัดสรรที่ดิน
๗.๒
ผู้จัดสรรที่ดินต้องเสนอจำหน่ายที่ดินจัดสรรนั้นให้แก่ผู้เช่าเดิมเป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ
๘๐ ของผู้เช่าทั้งหมด
หากผู้เช่าเดิมไม่ประสงค์จะซื้อจึงจะสามารถจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นได้
๗.๓
ต้องมีการก่อสร้างอาคารที่ให้เช่า มาก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ใช้บังคับ
และต้องมีการให้เช่าอาคารนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
๗.๔
หากผู้จัดสรรที่ดินสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมสาธารณูปโภคประเภทใดได้ให้ดำเนินการไปตามความเหมาะสม
๗.๕
ผู้จัดสรรที่ดินต้องแสดงหนังสือรับรองจากวิศวกรโยธา
ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
ว่าอาคารที่ก่อสร้างไว้ตามข้อ ๗.๓ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้อยู่อาศัยได้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุรออรถ ทองนิรมล
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๘/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
576772 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งนี้
เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการสนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง
สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว
บ้านแฝด บ้านแถว และอาคารพาณิชย์
หรืออาคารดังกล่าวพร้อมที่ดินซึ่งมีเนื้อที่ไม่เกินหนึ่งไร่และมิใช่ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดิน
โดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ร้อยตำรวจเอก
เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘
พฤษภาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ |
575111 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
ทั้งนี้
เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการสนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเร็วขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง
สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นที่ดิน อาคาร
หรืออาคารพร้อมที่ดินตามกฎหมายว่าด้วย การจัดสรรที่ดิน
หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล
ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย และ
(๒) เป็นอาคารประเภทดังต่อไปนี้
(ก) บ้านเดี่ยว
(ข) บ้านแฝด
(ค) บ้านแถว
(ง) อาคารพาณิชย์
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ร้อยตำรวจเอก
เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑
เมษายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๑๐/๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑ |
475267 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือ
นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดนโยบายเรื่อง การจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ในการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม และพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้
ดังนี้
ข้อ
๑ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินรายใดมีความประสงค์จะให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(๑) ที่ดินเปล่าต้องจัดให้มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า
๘.๐๐ เมตรความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร เว้นแต่ข้อบัญญัติของท้องถิ่นใดกำหนดไว้สูงกว่า
ก็ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้น โดยตำแหน่งที่ดินให้มีเขตติดต่อกับสาธารณูปโภคอื่น
ๆ เช่น ถนน สวนสนามเด็กเล่น สนามกีฬา พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการจัดจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรหรือการสันทนาการ
ที่จอดรถส่วนกลาง ศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน ห้องอาหารสำหรับพนักงาน สถานพยาบาลเบื้องต้นและหรือสาธารณูปโภคอื่นที่ใช้ประโยชน์ลักษณะเดียวกัน
(๒) ที่ดินพร้อมอาคาร ต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๑๖ ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า
๔.๐๐ เมตร
(๓) พื้นที่ส่วนอื่นซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
เช่น สำนักงาน สโมสร เป็นต้น ต้องจัดให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นในอาคารดังกล่าว
ไม่น้อยกว่า ๖๔ ตารางเมตร อาคารดังกล่าวจะต้องอยู่บนที่ดินแปลงบริการสาธารณะในโครงการจัดสรรที่ดินและจะเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นไม่ได้
ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคสิ้นเปลือง
ข้อ
๒ เมื่อตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
ให้ถือว่าที่ดินดังกล่าวตามข้อ ๑ (๑) หรือที่ดินพร้อมอาคารตามข้อ ๑ (๒) เป็นสาธารณูปโภค
ส่วนที่ดินที่เป็นที่ตั้งสำนักงานสโมสร ฯลฯ ผู้จัดสรรที่ดินต้องโอนให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
๒๐ ตารางวา และให้เป็นสาธารณูปโภคด้วย
ประกาศนี้ไม่ให้ใช้บังคับเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ได้ยื่นคำขออนุญาตไว้ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
สุจริต ปัจฉิมนันท์
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ชัชสรัญ/จัดทำ
๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖ ง/หน้า ๘๓/๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ |
466606 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ ดังนี้
๑.
การจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ต้องจัดบริเวณแยกจากที่อยู่อาศัย
และพาณิชยกรรมซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
๒.
การจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ต้องระบุประเภทอุตสาหกรรมต่าง
ๆ ที่จะดำเนินการในที่ดินที่ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
๓.
ขนาดของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
ให้พิจารณาจากจำนวนที่ดินที่ทำการรังวัดแบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่าย และจำนวนเนื้อที่
โดยแบ่งเป็น ๓ ขนาด คือ
๓.๑
ขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ต่ำกว่า ๙๙ ไร่
๓.๒
ขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๑๐๐ - ๑๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ ๙๙ - ๔๐๐ ไร่
๓.๓
ขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๒๐๐ แปลง หรือเนื้อที่เกินกว่า ๔๐๐ ไร่
ทั้งนี้
เนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายเฉพาะที่ดินต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐ ตารางวา ถ้าเป็นห้องแถวหรือตึกแถวต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๖ ตารางวา
๔.
ระบบและมาตรฐานของถนนทางเท้าและทางจักรยานในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
๔.๑
ขนาดของถนนที่ต้องจัดให้มีในการจัดสรรที่ดินแต่ละโครงการ
(๑)
โครงการขนาดเล็กต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๒.๐๐ เมตร และมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร
(๒)
โครงการขนาดกลางต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๖.๐๐ เมตรและมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๑๒.๐๐ เมตร
(๓)
โครงการขนาดใหญ่ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๒๔.๐๐ เมตรและมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า
๑๖.๐๐ เมตร
โครงการขนาดกลางและโครงการขนาดใหญ่
ให้จัดทำทางเท้าและทางจักรยานด้วย
๔.๒
ถนนที่เป็นทางเข้าออกของโครงการจัดสรรที่ดินที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ
๔.๑ เว้นแต่จะมีเกณฑ์บังคับเป็นอย่างอื่น
๕.
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย การจัดการกากอุตสาหกรรม
และการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
๕.๑
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และการจัดการกากอุตสาหกรรม (ถ้ามี)
ต้องมีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
๕.๒
ระบบการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นในกรณีที่ไม่มีข้อบัญญัติของท้องถิ่นใช้บังคับ
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
๖.
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อมความปลอดภัย
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และการบริหารชุมชน
๖.๑
ระบบไฟฟ้า ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าและดำเนินการจัดทำตามแบบแปลนแผนผังที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการหรือองค์การของรัฐ
หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเรื่องไฟฟ้า
๖.๒
ระบบประปา ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบประปา ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค การประปาส่วนท้องถิ่น หรือนิติบุคคลอื่นผู้รับผิดชอบ แล้วแต่กรณี
สามารถให้บริการได้ ต้องใช้บริการของหน่วยงานนั้น ในกรณีอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเสนอแบบก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำ พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบแบบรายการคำนวณโดยมีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ลงนามรับรองแบบและรายการคำนวณดังกล่าว
เพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
แล้วแต่กรณี
๖.๓
ผู้จัดสรรที่ดินต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕ ของพื้นที่จัดจำหน่ายทั้งหมด เช่น สวน ที่จอดรถส่วนกลาง สนามกีฬา ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานห้องอาหารสำหรับพนักงาน
สถานพยาบาลเบื้องต้น โดยให้มีพื้นที่ที่เป็นสวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒ ของพื้นที่จำหน่าย
ทั้งนี้ ไม่ให้มีการแบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อยหลายแห่ง
เว้นแต่เป็นการกันพื้นที่แต่ละแห่งไว้ไม่ต่ำกว่า ๑ ไร่
๖.๔
กรณีที่เป็นห้องแถวหรือตึกแถวนอกจากปฏิบัติตามข้อ ๖.๓ แล้ว ต้องจัดให้มีที่จอดรถเพิ่มเติม
๑ แปลง ต่อ ๑ คัน ระหว่างผิวจราจรกับทางเท้าด้านหน้าที่ดินแปลงย่อยให้มีลักษณะ ดังนี้
(๑)
กรณีจัดให้มีที่จอดรถตั้งฉากกับแนวทางเดินรถ ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า๒.๔๐ เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า
๕.๐๐ เมตร
(๒)
กรณีจัดให้มีที่จอดรถขนานแนวทางเดินรถ หรือทำมุมกับทางเดินรถน้อยกว่า ๓๐ องศา ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า
๒.๔๐ เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓)
กรณีจัดให้มีที่จอดรถทำมุมกับทางเดินรถตั้งแต่ ๓๐ องศาขึ้นไป ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า
๒.๔๐ เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า ๕.๕๐ เมตร
กรณีจัดให้มีที่จอดรถเพิ่มเติมทางด้านหลังของห้องแถวหรือตึกแถวต้องจัดให้มีที่จอดรถ
๑ แปลง ต่อ ๑ คัน และมีขนาดเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๖.๔ (๑) (๒) และ (๓)
กรณีที่มีเขตห้ามปลูกสร้างอาคารริมทางหลวง
ให้ใช้เขตห้ามปลูกสร้างอาคารเป็นที่จอดรถได้
๗.
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร เป็นต้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ชาญชัย สุนทรมัฏฐ์
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
พชร/จัดทำ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๒๐/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
435651 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดแบบและวิธีการออกใบแทนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดแบบและวิธีการออกใบแทนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๖) และมาตรา
๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดแบบและวิธีการออกใบแทนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
ดังนี้
๑. แบบใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
(จ.ส.๒) โดยให้ระบุคำว่า ใบแทน ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านหน้าเหนือครุฑ
๒. คัดลอกรายการในใบอนุญาตเดิมทุกรายการ
รวมทั้งวันเดือนปี และชื่อประธานกรรมการที่ออกใบอนุญาต
๓. ให้ระบุวันเดือนปีและครั้งที่ออกใบแทนไว้ที่มุมบนด้านขวา
และให้ประธานกรรมการผู้ออกใบแทนลงลายมือชื่อกำกับไว้
๔. เมื่อได้ออกใบแทนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินแล้ว
ให้ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินเดิมเป็นอันยกเลิก
๕. การออกใบแทนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามประกาศนี้
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ศิวะ แสงมณี
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ญาณี/พิมพ์
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๒๑/ตอนพิเศษ
๑๒ ง/หน้า ๔๗/๓๐ มกราคม ๒๕๔๗ |
413907 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง การกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
การกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) และมาตรา ๒๕ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางจึงกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา
๒๓ (๕) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดไว้ ดังนี้
การยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินต้องกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา ๒๓ (๕) ไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่จัดทำสาธารณูปโภคทั้งโครงการแล้วเสร็จ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ประวิทย์ สีห์โสภณ
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
บรรณพต/พิมพ์
๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๖
บรรณพต/แก้ไข
๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ศุภสรณ์/นวพร/ตรวจ
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ
๘๕ ง/หน้า ๕๔/๕ สิงหาคม ๒๕๔๖ |
413262 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546)
| ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๖) [๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องอสังหาริมทรัพย์
และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ดังนี้
ข้อ
๑
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๒.๑
แห่งประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ลงวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
หากเป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยวให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่เป็นผู้มีรายได้น้อย
และราคาจำหน่ายหน่วยละไม่เกินสี่แสนห้าหมื่นบาทที่ดินแปลงย่อยต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๓๕ ตารางวา
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ประวิทย์ สีห์โสภณ
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
สุภาพร/พิมพ์
๑๕ กันยายน ๒๕๔๖
สุภาพร/แก้ไข
๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ทรงยศ/สุมลรัตน์/ตรวจ
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๖๖ง/หน้า ๙๘/๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ |
325247 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต แบบคำขอโอนใบอนุญาต และแบบคำขอรับโอนใบอนุญาต | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
แบบคำขอโอน
ใบอนุญาต
และแบบคำขอรับโอนใบอนุญาต[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๖) มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๘ และมาตรา
๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงกำหนดแบบ
คำขอรับใบแทนใบอนุญาต แบบคำขอโอนใบอนุญาต และแบบคำขอรับโอนใบอนุญาต โดยใช้แบบตามท้ายประกาศนี้
ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ จ.ส.ก. ๑
ข้อ ๒
คำขอโอนใบอนุญาตให้ใช้แบบ จ.ส.ก. ๒
ข้อ ๓
คำขอรับโอนใบอนุญาตให้ใช้แบบ จ.ส.ก. ๓
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาต (จ.ส.ก. ๑)
๒.
คำขอโอนใบอนุญาต (จ.ส.ก. ๒)
๓.
คำขอรับโอนใบอนุญาต (จ.ส.ก. ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรพิมล/แก้ไข
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๓๘/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ |
315245 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง
กำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
จึงกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดใช้เป็นเกณฑ์ในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินไว้ ดังนี้
๑.
ขนาดของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้พิจารณาจากจำนวนที่ดินที่ทำการรังวัดแบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่ายและจำนวนเนื้อที่โดยแบ่งเป็น
๓ ขนาด คือ
๑.๑ ขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่
๑.๒ ขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๑๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ
เนื้อที่ ๑๙-๑๐๐ ไร่
๑.๓ ขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐ แปลง หรือ
เนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่
๒.
การกำหนดขนาดความกว้างและความยาวต่ำสุด หรือเนื้อที่จำนวนน้อยที่สุดของที่ดินแปลงย่อยที่จะจัดสรร
๒.๑ การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายเฉพาะที่ดิน หรือ
ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว
ที่ดินแปลงย่อยต้องมีขนาดความกว้างหรือความยาวไม่ต่ำกว่า ๑๐.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๕๐ ตารางวา หากความกว้างหรือความยาวไม่ได้ขนาดดังกล่าว ต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐ ตารางวา
๒.๒
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแฝดที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า
๘.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๓๕ ตารางวา
๒.๓
การจัดสรรที่ดินเพื่อการจำหน่ายพร้อมอาคารประเภทบ้านแถวหรืออาคารพาณิชย์
ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๔.๐๐ เมตร และมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๖
ตารางวา
๓.
ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินจัดสรรทั้งหมด
รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกที่ดินจัดสรร
๓.๑
ขนาดของถนนที่ต้องจัดให้มีในการจัดสรรที่ดินแต่ละโครงการให้มีความกว้างของเขตทาง
และผิวจราจรเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ดินแปลงย่อยดังนี้
(๑) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน ๙๙
แปลง หรือเนื้อที่ต่ำกว่า ๑๙ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๘.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๒) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๑๐๐-๒๙๙ แปลง หรือเนื้อที่ ๑๙-๕๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า
๑๒.๐๐ เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๓) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่
๓๐๐-๔๙๙ แปลง หรือ เนื้อที่เกินกว่า ๕๐ ไร่
แต่ไม่เกิน ๑๐๐ ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๖.๐๐ เมตร
โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
(๔) ถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ ๕๐๐
แปลงขึ้นไป หรือมากกว่า ๑๐๐ ไร่ขึ้นไป ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า ๑๘.๐๐
เมตร โดยมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า ๖.๐๐ เมตร
๓.๒ ถนนที่เป็นทางเข้าออกของโครงการจัดสรรที่ดินที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางสาธารณประโยชน์
ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดตามข้อ ๓.๑ นอกจากจะมีเกณฑ์บังคับเป็นอย่างอื่น
๓.๓
การจัดทำทางเดินและทางเท้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของท้องถิ่น
๔.
ระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล
๔.๑ ระบบการระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
(๑)
ในท้องที่ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและในเขตเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยจะต้องจัดทำขึ้นตามมาตรฐานทางวิศวกรรม สอดคล้องกับรายการคำนวณทางวิชาการที่สามารถตรวจสอบความเพียงพอและความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของระบบได้
โดยต้องมีการตรวจรับรองจากวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(๒) ในเขตอื่นๆ
นอกจากนี้ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
(๓) ระบบบำบัดน้ำเสียที่จัดให้มี ต้องมีประสิทธิภาพ
และสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
๔.๒
ระบบการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นในกรณีที่ไม่มีข้อบัญญัติของท้องถิ่นใช้บังคับ
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่
๕.
ระบบและมาตรฐานของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
การส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และการบริหารชุมชน
๕.๑ ระบบไฟฟ้า
ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าและดำเนินการจัดทำตามแบบแปลนแผนผังที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการหรือองค์การของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเรื่องไฟฟ้า
๕.๒ ระบบประปา ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบประปา
ในกรณีที่ดินจัดสรรตั้งอยู่ในบริเวณที่การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค
หรือการประปาส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีสามารถให้บริการได้
ต้องใช้บริการของหน่วยงานนั้น ในกรณีอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
ให้ผู้จัดสรรที่ดินเสนอแบบก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำ
พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบแบบรายการคำนวณโดยมีวิศวกรเป็นผู้ลงนามรับรองแบบและรายการคำนวณดังกล่าว
เพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
แล้วแต่กรณี
๕.๓ ผู้จัดสรรที่ดินต้องกันพื้นที่ไว้เพื่อจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
ดังนี้
(๑) สวน สนามเด็กเล่นและหรือสนามกีฬา โดยคำนวณจากพื้นที่จัดจำหน่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕ ทั้งนี้ ไม่ให้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อยหลายแห่งเว้นแต่เป็นการกันพื้นที่แต่ละแห่งไว้ไม่ต่ำกว่า
๑ ไร่
(๒) ในกรณีเป็นการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่
ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องกันพื้นที่ไว้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล จำนวน ๑ แห่ง
เนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ตารางวา และต้องจัดให้มีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุก ๆ
๕๐๐ แปลง หรือทุก ๆ ๑๐๐ ไร่ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการได้
ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่นได้ ให้จัดทำบริการสาธารณะและหรือสาธารณูปโภคอื่น
เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สวน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา เป็นต้น
๖.
การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมและการพิจารณาเกี่ยวกับคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร เป็นต้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ปรียนันท์/แก้ไข
๑๐ มกราคม ๒๕๔๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๘๙/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔ |
327195 | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน | ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดิน
ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) และมาตรา ๓๓
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินไว้
ดังนี้
ข้อ ๑
การทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
(๑) เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
และได้มีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงย่อยตามแผนผังโครงการ
และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตแล้ว
ผู้จัดสรรที่ดินใดประสงค์จะทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะให้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่
พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา รีบเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว
(๒) ในการพิจารณาของคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกเป็นหนังสือให้บุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย
ความเห็น หรือให้ส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำนิติกรรมหรือผลกระทบจากการทำนิติกรรมนั้นได้
(๓) เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าการทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินหรือประกาศนี้กำหนด
ให้ออกหนังสืออนุญาตแก่ผู้จัดสรรที่ดินไว้เป็นหลักฐานโดยคณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้
(๔) หนังสืออนุญาตต้องระบุชื่อโครงการจัดสรรที่ดิน
เลขที่ใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ประเภทหรือลักษณะการใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะประเภทนิติกรรม
ชื่อคู่กรณี ระยะเวลาในการก่อให้เกิดภาระผูกพัน และมติคณะกรรมการ ครั้งที่
พร้อมวัน เดือน ปีที่มีมติไว้ในหนังสืออนุญาตด้วย
(๕)
ให้คณะกรรมการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้จัดสรรที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาทราบโดยเร็ว
(๖) ในกรณีที่คณะกรรมการไม่อนุญาตให้ทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
ผู้จัดสรรที่ดินมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบ
(๗)
ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
โดยการจดทะเบียน จำนอง สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน
หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(๘) การทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค
โดยการจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น
ต้องเป็นถนนหรือทางเท้าเท่านั้น
(๙)
การทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยการให้เช่า
ก.
การให้เช่าที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะต้องเป็นการเช่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับลักษณะการให้บริการหรือการให้สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในโครงการ
ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการหรือสัญญาจะซื้อจะขายหรือเอกสารโฆษณา
ข. เมื่อคณะกรรมการได้อนุญาตให้เช่าแล้ว
ต่อมามีการขออนุญาตให้เช่ากับคู่กรณีใหม่โดยยังอยู่ในระยะเวลาสัญญาเช่าเดิม
ผู้จัดสรรที่ดินต้องแสดงหลักฐานว่าสัญญาเช่าเดิมได้ระงับไปแล้ว
คณะกรรมการจึงจะอนุญาตให้เช่าได้
ค. เมื่อคณะกรรมการได้อนุญาตให้เช่าแล้ว ต่อมาผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าได้มีการตกลงให้ผู้เช่าสามารถให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าได้
การให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระผูกพัน
ให้ผู้เช่ากระทำได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
ข้อ ๒
การก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอื่นนอกจากที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
(๑) ผู้จัดสรรที่ดินต้องได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
และได้มีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงย่อยตามแผนผัง
โครงการ และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตแล้ว
(๒)
ห้ามมิให้ก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแล้ว
(๓) ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินโดยการจดทะเบียนภาระจำยอม
สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
(๔)
การก่อให้เกิดภาระผูกพันในที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยการจำนอง
ก. กรณีที่ดินเปล่า วงเงินที่จำนองอย่างสูงต้องไม่เกินสองในสามของราคาประเมินที่ดินที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน
หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นชอบ
กรณีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
วงเงินที่จำนองอย่างสูงต้องไม่เกินสองในสามของราคาที่ดินรวมกับราคาสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินแปลงนั้น
โดยราคาที่ดินให้ใช้ราคาตามวรรคหนึ่ง ส่วนราคาสิ่งปลูกสร้างให้ใช้ราคาตามบัญชีกำหนดราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างที่กรมที่ดินกำหนดไว้สำหรับใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ข. ผู้รับจำนองต้องยินยอมเฉลี่ยหนี้และรับชำระหนี้
เป็นรายโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงย่อย
โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงเป็นประกันหนี้จำนองเฉพาะส่วน
ตามวงเงินที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงย่อย
และผู้รับจำนองต้องยินยอมให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองเป็นรายโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงย่อยได้
ค.
ผู้รับจำนองต้องยอมให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรชำระหนี้จำนองและผู้รับจำนองต้องออกหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับเงินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ง. ผู้จัดสรรที่ดินต้องจัดการให้ที่ดินแปลงย่อยปลอดจากภาระการจำนองก่อนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
อัมพิกา/แก้ไข
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๕๐/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๔ |
801085 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ และมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภูหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
สาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภูสาขา ได้รับแจ้งตามข้อ
๓ แล้ว ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ลงในบัญชีอายัด (บ.ท.ด. ๒๗) โดยระบุว่า
ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา
๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามหนังสือนิติบุคคล .... ลงวันที่ .... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี
(๒) เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗) กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินสำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู สาขา ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินเรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ ๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้วให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู สาขา ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู สาขา ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภูสาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดง และบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามหนังสือนิติบุคคล....ลงวันที่....หรือตามหลักฐานการชำระเงินเลขที่
.... ลงวันที่ .... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อมวัน เดือน
ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗) ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู สาขา
ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคลเรื่องยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธนากร อึ้งจิตรไพศาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
พัชรภรณ์/จัดทำ
๘
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๖/๑๐ เมษายน ๒๕๖๑ |
801083 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภูว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑)
ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธนากร อึ้งจิตรไพศาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
พัชรภรณ์/จัดทำ
๘
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๕/๑๐ เมษายน ๒๕๖๑ |
792713 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจันทบุรี ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2560
| ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจันทบุรี
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และเพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจันทบุรี
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจันทบุรี ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจันทบุรี
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๓[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๔ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
หากมีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ค้างชำระ
เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือนายอำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
(๑)
หนังสือที่แจ้งให้ผู้ค้างชำระได้ทราบ
ซึ่งต้องมีเวลาให้ชำระเงินล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ค้างชำระ
(๒)
หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบุคคลดังกล่าวหรือหนังสือมอบอำนาจ
ข้อ
๕ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
หรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขา หรือนายอำเภอ
ได้รับแจ้งและเห็นว่ามีหลักฐานครบถ้วนตามข้อ ๔ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ
โดยดำเนินการดังนี้
(๑) ลงในบัญชีอายัด (บ.ท.ด.๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา
๕๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
ตามหนังสือ (ชื่อบุคคล/นิติบุคคล) ........................ ลงวันที่......................
แล้วลงลายมือชื่อ พร้อม วัน เดือน ปีกำกับไว้
(๒)
เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดิน
สำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ในกรณีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ให้มีการบันทึกข้อมูลการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมลงในระบบคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย
ทั้งนี้ ให้นำความในหมวด ๖ ของคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ ๖๓๕/๒๕๔๗ เรื่อง การอายัดที่ดิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือนายอำเภอ
มีหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินให้ทราบ เรื่อง
การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในวันที่ลงบัญชีอายัดหรือวันทำการถัดไปเป็นอย่างช้า
ข้อ
๖ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
มีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขา หรือนายอำเภอ
เพื่อให้ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดิน
ผู้ค้างชำระเงิน ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าว หรือเมื่อเจ้าของที่ดินได้นำหลักฐานการชำระเงินดังกล่าวมาแสดงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือนายอำเภอ
ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานเท่าที่จำเป็น
เมื่อเป็นที่เชื่อได้ว่าชำระเงินครบถ้วนถูกต้องแล้ว
จึงสั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้
ในกรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดง
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
หรือนายอำเภอ ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นหรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ทราบเรื่องยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในวันที่ยกเลิกบัญชีอายัดหรือวันทำการถัดไปเป็นอย่างช้า
ข้อ
๗ เมื่อยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามข้อ ๖ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดง
และบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ) โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือ..................... (ชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล
............. ลงวันที่.................... หรือ ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามหลักฐานการชำระเงิน เลขที่ ........................ ลงวันที่
............................. แล้วลงลายมือชื่อ พร้อมวัน
เดือน ปี กำกับไว้และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗) ออก
ข้อ
๘ การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรตามระเบียบคณะกรรมการที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับยังคงมีอยู่ต่อไป
ข้อ
๙ ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ให้จัดเก็บค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะ
อาจขอให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระได้ตามประกาศนี้
ให้นำความในข้อ ๔ ถึงข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พงษ์พัฒน์
วงศ์ตระกูล
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจันทบุรี
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๕
ธันวาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๑ ง/หน้า ๖/๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
757306 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดอุดรธานี ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการ สาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดอุดรธานี
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดอุดรธานี
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดอุดรธานี
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดอุดรธานี ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒)
ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้
ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ชยาวุธ จันทร
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดอุดรธานี
ปริยานุช/จัดทำ
๕ กันยายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/ตรวจ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๙๖ ง/หน้า ๑๔/๒ กันยายน ๒๕๕๙ |
753542 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการโอนสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น และการขออนุมัติดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคหรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2559
| ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการโอนสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
และการขออนุมัติดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียน
โอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๘ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการโอนสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
และการขออนุมัติดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
และการขออนุมัติดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค พ.ศ. ๒๕๔๕
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
ภูมิลำเนา หมายความว่า
ถิ่นที่อยู่อันบุคคลนั้นได้พักอาศัยอยู่เป็นแหล่งสำคัญ
หรือที่ได้ใช้ประกอบกิจการงาน หรือตามที่ปรากฏในหลักฐานทะเบียนราษฎร หรือที่ซึ่งได้แจ้งไว้ครั้งสุดท้ายต่อสำนักงานที่ดิน
กฎกระทรวง หมายความว่า
กฎกระทรวงซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๕ ให้อธิบดีกรมที่ดินรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ให้อธิบดีกรมที่ดินเสนอให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดิน
ข้อ
๖ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา
๔๔ ให้ยื่นความประสงค์ต่อคณะกรรมการ
เพื่อตรวจสอบสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นตามแผนผังและโครงการว่ายังคงมีสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อดำเนินตามที่ได้รับมอบหมาย
เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าระบบสาธารณูปโภคยังคงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น
ให้บันทึกผลการตรวจสอบไว้เป็นหลักฐาน
ทั้งนี้
หลักฐานการตรวจสอบให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออกหลักฐานเป็นต้นไป
ถ้าหากปรากฏว่าผู้จัดสรรที่ดินไม่ได้ดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้ยังคงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น
หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผังและโครงการหรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการให้คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย พิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อไป เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามที่คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย
สั่งให้ดำเนินการแล้วจึงให้บันทึกผลการตรวจสอบไว้เป็นหลักฐาน
หลักฐานการตรวจให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๗ ผู้จัดสรรที่ดินที่คณะกรรมการได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่าได้ดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้ยังคงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา ๒๓ (๕)
และมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังและโครงการแล้ว
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตพร้อมรายละเอียดหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งระบุจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตามจำนวนเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ในกรณีที่แผนผัง
โครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินของโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตได้จัดให้มีบริการสาธารณะ
ให้ผู้จัดสรรที่ดินแสดงบัญชีทรัพย์สินที่เป็นบริการสาธารณะทั้งหมดและที่ประสงค์จะโอนไว้ด้วย
ทั้งนี้
การจัดทำบัญชีทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามแบบบัญชีท้ายระเบียบนี้
(๒)
แจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายทราบพร้อมบัญชีทรัพย์สินตาม (๑) เพื่อดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา
(๓) การแจ้งตาม (๒)
ให้ผู้จัดสรรที่ดินทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
หรือโดยวิธีให้บุคคลนำไปส่งโดยมีหลักฐานของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรหรือบุคคลที่บรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในที่นั้นได้รับหนังสือไว้
และให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและบัญชีทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตาม
(๑) ไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรรตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุใน (๔) ทั้งนี้ การแจ้งให้มีผลเมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ส่งหนังสือแจ้งถึงผู้ซื้อที่ดินรายสุดท้ายทราบ
และปิดประกาศครบถ้วนแล้ว
(๔)
กำหนดระยะเวลาให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ให้แล้วเสร็จแต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายสุดท้ายได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน
หมวด ๒
การโอนสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ข้อ
๘ เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินตามข้อ
๗ แล้ว ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดประชุมเพื่อมีมติจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
และให้แต่งตั้งบุคคลขึ้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
มติที่ประชุมให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตลงคะแนนเสียงให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ
๙ ในการลงคะแนนเสียง
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่ละแปลงมีเสียงเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียง
ในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้แบ่งแยกที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตออกไปอีกให้ถือว่าผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแปลงคงเหลือและผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแปลงที่ได้แบ่งแยกออกไปภายหลังมีเสียงรวมกันเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียง
เช่นเดียวกับเจ้าของรวม
ข้อ
๑๐ ให้ตัวแทนที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่งตั้งตามข้อ
๘ มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่มีการประชุมเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๑ ในการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
ให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในด้านเอกสารบัญชีรายชื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
และสถานที่ประชุม
ข้อ ๑๒ เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ให้ตัวแทนที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่งตั้งตามข้อ ๘
มีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุม
ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีมติพร้อมด้วยหลักฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
และหลักฐานการตรวจสอบสาธารณูปโภค
เมื่อได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ให้บรรดาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
นับแต่วันที่ได้จดทะเบียน
หากผู้จัดสรรที่ดินได้ส่งเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ต้องรับผิดชอบให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไว้แล้ว
ให้ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผัง
และโครงการที่ได้รับอนุญาต
ข้อ ๑๓ คำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ได้ดำเนินการไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้
มีผลใช้บังคับถ้าผู้จัดสรรที่ดินยังไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ
๖ และข้อ ๑๒ วรรคสอง ให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่อไป
ข้อ
๑๔ เมื่อได้รับตรวจสอบจากคณะกรรมการตามข้อ
๖ แล้วว่าสาธารณูปโภคยังคงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้น
หากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรประสงค์จะจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินตามข้อ
๗ แล้ว ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตไปจัดการดูแลและบำรุงรักษา
ทั้งนี้ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นนั้นจะต้องมีสมาชิก
ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเท่านั้น
เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
ให้นิติบุคคลดังกล่าวดำเนินการให้มีสมาชิก
ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายตามแผนผังและโครงการ
จึงจะมีสิทธิรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบพร้อมทั้งกำหนดวันจดทะเบียนโอนทรัพย์สินและส่งเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบตามบัญชีในข้อ
๗ (๑)
เมื่อได้จดทะเบียนโอนทรัพย์สิน
และส่งเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบตามบัญชีในข้อ
๗ (๑) ให้แก่นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว
ผู้จัดสรรที่ดินย่อมพ้นจากหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผัง
และโครงการที่ได้รับอนุญาต
หมวด ๓
การขออนุมัติดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ
๑๕ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินได้แจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบตามข้อ
๗ (๒) หรือเมื่อพ้นระยะเวลาตามข้อ ๗ (๔) แล้ว
หากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
เมื่อผู้จัดสรรที่ดินยังประสงค์จะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
ให้ยื่นคำขออนุมัติดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
ข้อ
๑๖ คำขออนุมัติดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดพร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
(๑) หลักฐานการตรวจสอบตามข้อ ๖
(๒) แผนงาน โครงการ เพื่อบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
(๓) หลักฐานการส่งเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบในการดำเนินการ
ทั้งนี้
ตามจำนวนเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
(๔)
อัตราค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคที่จัดเก็บเป็นรายเดือน
(๕) อื่น ๆ (ถ้ามี)
ข้อ
๑๗ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
ได้รับคำขอตามข้อ ๑๕ แล้ว
ให้ผู้จัดสรรที่ดินแจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายพร้อมรายละเอียดตามข้อ ๑๖
โดยทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
หรือโดยวิธีให้บุคคลนำไปส่งโดยมีหลักฐานของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรหรือบุคคลที่บรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในที่นั้นได้รับหนังสือไว้และให้เจ้าพนักงานที่ดินปิดประกาศสำเนาคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ในที่เปิดเผย
ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาท้องที่หนึ่งชุด
และบริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรรอย่างน้อยสามแห่ง แห่งละหนึ่งชุดมีกำหนดสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายสุดท้ายได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินให้ผู้จัดสรรที่ดินรวบรวมหลักฐานส่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาทราบเพื่อดำเนินการ
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินปิดประกาศครบกำหนดและได้รับหลักฐานจากผู้จัดสรรที่ดินตามวรรคสองแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
เสนอคำขอและข้อโต้แย้งหรือข้อเสนอแนะของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร (ถ้ามี)
ให้คณะกรรมการพิจารณาการขออนุมัติแผนดำเนินการของผู้จัดสรรที่ดินโดยเร็ว
ข้อ
๑๘ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ให้ผู้จัดสรรที่ดินแจ้งเป็นหนังสือให้หน่วยงานผู้รับโอนทรัพย์สินทราบ
และให้ส่งมอบเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบ
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์
และให้ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
ข้อ
๑๙ การจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์
ต้องแสดงรายละเอียดพร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
(๑) หลักฐานการตรวจสอบตามข้อ ๖
(๒)
หลักฐานแสดงว่าผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่อาจดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามข้อ
๗ ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด
(๓)
หลักฐานการส่งเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบในการดำเนินการ ทั้งนี้
ตามจำนวนเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
(๔)
หลักฐานการรับทราบจากหน่วยงานที่จะรับโอนทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์
(๕) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่เป็นแปลงสาธารณูปโภค
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประทีป กีรติเรขา
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการตรวจสอบสภาพสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน
๒. รายงานการตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน
๓.
บัญชีทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ตามแผนผังโครงการจัดสรรที่ดิน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๕ สิงหาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ |
750464 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคายจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา
ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ
๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ลงบัญชีอายัด (บ.ท.ด.๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามมาตรา
๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
ตามหนังสือนิติบุคคล...วันที่... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้
พร้อม วันเดือน ปี
(๒)
เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินสำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด...หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดิน เรื่อง
การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ
๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าวหรือเจ้าของที่ดิน
อาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ
๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว
ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัด ด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือนิติบุคคล...ลงวันที่...หรือตามหลักฐานการชำระเงินเลขที่....ลงวันที่.... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้พร้อม วัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน
(ท.ด.๓๗) ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายสาขา
ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคล เรื่อง
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สุชาติ นพวรรณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
ปริยานุช/จัดทำ
๑๓ พฤษภาคม
๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๒๓ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๖/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ |
750462 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับ
กรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒)
ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ที่ดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้
ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค และการจัดทำบัญชี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สุชาติ นพวรรณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดหนองคาย
ปริยานุช/จัดทำ
๑๓ พฤษภาคม
๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๒๓ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๕/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ |
745087 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2559
| ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
สาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ
๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ลงในบัญชีอายัด (บ.ท.ด.๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามมาตรา
๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามหนังสือนิติบุคคล............ลงวันที่.......... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้
พร้อม วัน เดือน ปี
(๒)
เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
สาขา ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินเรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ
๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ
๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอนสาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว
ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่ง ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือนิติบุคคล..................ลงวันที่.............หรือตามหลักฐานการชำระเงินเลขที่..............
ลงวันที่.................. แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้
พร้อมวัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗) ออก
กรณีเจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขา
ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคลเรื่องยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พิพัฒน์ เอกภาพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปริยานุช/จัดทำ
๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
ปุณิกา/ตรวจ
๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๔/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
745082 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนด พ.ศ. 2559
| ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑)
ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒)
ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้
ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พิพัฒน์ เอกภาพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปริยานุช/จัดทำ
๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
ปุณิกา/ตรวจ
๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๓/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
743650 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้ว
ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
สาขา ซึ่งที่ดินตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ
๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาได้รับแจ้งตามข้อ ๓
แล้วให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ลงในบัญชีอายัด (บ.ท.ด.๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ตามหนังสือนิติบุคคล........ลงวันที่..... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน
เดือน ปี
(๒)
เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗) กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินสำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขา
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินเรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ
๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
สาขายกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
สาขา ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ
๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้วให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือนิติบุคคล..........ลงวันที่............หรือตามหลักฐานการชำระเงินเลขที่............
ลงวันที่............ แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อมวัน
เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗) ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขา ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคล เรื่อง
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ทรงพล สวาสดิ์ธรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒/๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ |
743648 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับ
กรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ.
๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
ดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
ตามนัยข้อ ๙ ของระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภค และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒)
ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนดตามนัยข้อ
๙ ของระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้
ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ทรงพล สวาสดิ์ธรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสงขลา
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑/๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ |
741412 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดละปาง จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นไป
ข้อ
๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการ ที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขา
ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ
๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขาได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ลงในบัญชีอายัด (บ.ท.ด.๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา
๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ตามหนังสือนิติบุคคล............. ลงวันที่.............. แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี
(๒)
เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗) กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินสำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขา
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินเรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ
๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขา ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ
๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว
ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
และให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่ง
ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามหนังสือนิติบุคคล.............ลงวันที่.............หรือตามหลักฐานการชำระเงิน
เลขที่.........ลงวันที่
แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้
พร้อมวัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.๓๗) ออก
กรณีเจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง/สาขา
ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคลเรื่องยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิก
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
สามารถ ลอยฟ้า
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๕ ง/หน้า ๒/๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
741410 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนด
ดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒)
ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้
ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
สามารถ ลอยฟ้า
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดลำปาง
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๕ ง/หน้า ๑/๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
737059 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการ เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขา
ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขาได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชีอายัด (บ.ท.ด. ๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามหนังสือนิติบุคคล................ลงวันที่..............
แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี
(๒) เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗) กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงาหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขา
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดิน เรื่อง การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ ๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขาได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว
ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือนิติบุคคล................ ลงวันที่................................ หรือตามหลักฐานการชำระเงิน
เลขที่.................ลงวันที่.......................................................... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้พร้อมวัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.
๓๗) ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขา ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคล เรื่อง
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
ประยูร
รัตนเสนีย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ปริยานุช/จัดทำ
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๐ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๘ ง/หน้า ๕/๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
737057 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับ
กรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ.
๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
ดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕
(๒) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐
ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
ประยูร
รัตนเสนีย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพังงา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
วิศนี/ผู้ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๘ ง/หน้า ๔/๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
735145 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
สาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรสาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชีอายัด (บ.ท.ด. ๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามหนังสือนิติบุคคล.................. ลงวันที่................. แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี
(๒) เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินแปลงที่ถูกระงับเมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร สาขา
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดิน เรื่อง การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ ๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร สาขา
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร สาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว
ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือนิติบุคคล................ ลงวันที่................................ หรือ ตามหลักฐานการชำระเงิน
เลขที่.................ลงวันที่................................................. แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้พร้อมวัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.
๓๗) ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร สาขา ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคล เรื่อง
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ธานี ธัญญาโภชน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๐ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๑ ง/หน้า ๕/๘ กันยายน ๒๕๕๘ |
735143 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕
(๒) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐
ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ธานี ธัญญาโภชน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๑ ง/หน้า ๔/๘ กันยายน ๒๕๕๘ |
735077 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่ ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการ
ที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่
สาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขา ได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงในบัญชีอายัด (บ.ท.ด. ๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามหนังสือนิติบุคคลชื่อ................ลงวันที่..............เดือน..................พ.ศ................. แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี
(๒) เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินและสารบบ
สำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขา
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินเรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัดหรือภายในวันทำการต่อมา
ข้อ ๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขา ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขา ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขาได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้ว
ให้สั่งยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดง และบันทึกไว้ในช่อง ๖ (จัดการเสร็จ)
โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามหนังสือนิติบุคคลชื่อ................
ลงวันที่..............เดือน..................พ.ศ.................. หรือตามหลักฐานการชำระเงิน
เลขที่.................ลงวันที่..............เดือน..................พ.ศ................. แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด.
๓๗) ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่
หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขา ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคล เรื่อง
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกหรือภายในวันทำการต่อมา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ทรงพล สวาสดิ์ธรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๑๐ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๐๘ ง/หน้า ๒/๗ กันยายน ๒๕๕๘ |
735075 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่ ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2557 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนดตามนัยข้อ
๙ ของระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนดตามนัยข้อ
๙ ของระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ทรงพล สวาสดิ์ธรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกระบี่
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๐๘ ง/หน้า ๑/๗ กันยายน ๒๕๕๘ |
733773 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร พ.ศ. 2558
| ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) และมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม ว่าด้วยการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรร
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๓ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
ตามที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการที่มีความประสงค์ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป
นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว ให้สั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชีอายัด (บ.ท.ด. ๒๗) โดยระบุว่า ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามหนังสือนิติบุคคล.........ลงวันที่......... แล้ว
ลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อม วัน เดือน ปี
(๒) เขียนคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗)
กลัดติดไว้ตรงด้านหน้าของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินสำหรับที่ดินแปลงที่ถูกระงับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินเรื่องการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ลงบัญชีอายัด
ข้อ ๕ เมื่อเจ้าของที่ดินผู้ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
ได้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เจ้าของที่ดินชำระเงินจำนวนดังกล่าว
หรือเจ้าของที่ดินอาจนำหลักฐานการชำระเงินที่ครบถ้วนมาขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ได้
ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ได้รับแจ้งตามข้อ ๕ แล้วให้ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
แล้วให้ขีดฆ่ารายการในบัญชีอายัดด้วยหมึกสีแดงและบันทึกไว้ในช่อง
๖ (จัดการเสร็จ) โดยระบุว่า ยกเลิกคำสั่ง
ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามหนังสือนิติบุคคล....
ลงวันที่....หรือตามหลักฐานการชำระเงิน เลขที่..... ลงวันที่..... แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้พร้อมวัน เดือน ปี และปลดคำสั่งห้ามโอน (ท.ด. ๓๗)
ออก
กรณีที่เจ้าของที่ดินนำหลักฐานการชำระเงินมาขอยกเลิกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ทำหนังสือแจ้งนิติบุคคลเรื่องยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ยกเลิกด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
ปัญญา งานเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ประธานคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ปริยานุช/จัดทำ
๒๘ สิงหาคม
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง/หน้า ๒/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
733771 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558
| ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) และมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕
คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
ดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
ปัญญา งานเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ประธานคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
ปริยานุช/จัดทำ
๒๘ สิงหาคม
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง/หน้า ๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
733301 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสระบุรี ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2558 | ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสระบุรี
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสระบุรี
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษา
และการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
และการจัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสระบุรี
จึงกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่ชำระค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสระบุรี
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับกรณีชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่เจ้าของที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินชำระเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังนี้
(๑) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม
และที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรมต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(๒) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเปล่าต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลกำหนด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิเชียร
พุฒิวิญญู
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
ประธานกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสระบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ สิงหาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๐ สิงหาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๘/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.