sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
300275 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (Update ณ วันที่ 09/02/2521) | ตราครุฑ
ตราครุฑ
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่
2 (พ.ศ. 2521)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช 2489
---------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
22
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช 2489
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ออกกฎไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1
ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ลงวันที่ 14 ธันวาคม พุทธศักราช
2489
ข้อ 2 ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น ๆ ให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(1)
คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ฉบับละ 5 บาท
(2)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ 5 บาท
(3)
คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ฉบับละ
5 บาท
(4)
คำขอให้ออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ 5
บาท
(5)
คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว
ฉบับละ 5 บาท
(6)
คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ 5 บาท
(7)
คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ฉบับละ 5 บาท
(8)
คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ฉบับละ 5 บาท
(9)
คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ฉบับละ 10 บาท (10)
คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจากเพื่อบริโภค
ฉบับละ 5 บาท
ข้อ 3 ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(1)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ฉบับละ 1,000 บาท
(2)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก
ฉบับละ 100 บาท
โรงสีขนาดกลาง
ฉบับละ 250 บาท
โรงสีขนาดใหญ่
ฉบับละ 500 บาท
(3)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
ฉบับละ 100 บาท
(4)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ 100 บาท
(5)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ 50
บาท
(6)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ 50
บาท
(7)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ 50 บาท
(8)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทอื่นนอกจากที่กล่าวใน (1) ถึง
(7)
แห่งข้อนี้
ฉบับละ 50 บาท
(9)
หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าวในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภคข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม
ละ 2 บาท ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก 100 กิโลกรัมละ 1 บาท
(10)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายจากสถานที่เก็บข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัมละ
2
บาท ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก 100 กิโลกรัมละ 50 สตางค์
(11)
หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว 100 กิโลกรัมละ 5 บาท แต่ในกรณี
การสีข้าวเปลือกให้เรียกเก็บ 1,000 กิโลกรัมละ 50 สตางค์
(12)
หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ในครอบครองขายข้าวตามราคาและปริมาณที่คณะ
กรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัมละ 2 บาท ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
100 กิโลกรัมละ 1 บาท
(13)
หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจากเพื่อบริโภค
ฉบับละ 50 บาท
เศษของ 1,000 กิโลกรัม
หรือ 100 กิโลกรัม
ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น 1,000 กิโลกรัมหรือ 100 กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ 4 ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
(1)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่า
ธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(2)
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้เรียกเก็บ
ครั้งละ 20 บาท
(3)
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่าง
ประเทศ
ฉบับละ 50 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก
ฉบับละ 10 บาท
โรงสีขนาดกลาง
ฉบับละ 20 บาท
โรงสีขนาดใหญ่
ฉบับละ 30 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
ฉบับละ 10 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่ง
ฉบับละ 10 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายปลีก
ฉบับละ
10 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทเรือข้าว
ฉบับละ 10 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าเร่
ฉบับละ
10 บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทอื่นตาม (8) แห่งข้อ 3
ฉบับละ 10 บาท
(4)
การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท ให้เรียกเก็บรายละ 20 บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2521
นาม พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียม
ต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราช
บัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ลงวันที่ 14 ธันวาคม
2489 ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.
2489 บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้ |
301334 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น
ๆ ให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๒)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๓) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๔) คำขอให้ออกใบแทนหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๕) คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๖) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่น
นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
(๗) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจาก
สถานที่เก็บ ฉบับละ ๕ บาท
(๘) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๙) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการ
กำหนด ฉบับละ ๑๐ บาท
(๑๐) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๒) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๕๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๔) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๕) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๕๐ บาท
(๖) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๕๐ บาท
(๗) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๘) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นนอกจาก
ที่กล่าวใน (๑) ถึง (๗) แห่งข้อนี้ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๙) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าว
ในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๐)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๑) หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕ บาท
แต่ในกรณีการสีข้าวเปลือกให้เรียกเก็บ
๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๒) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ใน
ครอบครองขายข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๓) หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕๐ บาท
เศษของ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ
(๑)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๒)
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้เรียกเก็บครั้งละ ๒๐
บาท
(๓) ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้
เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๕๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๓๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมี
ยุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นตาม (๘)
แห่งข้อ ๓ ฉบับละ ๑๐ บาท
(๔) การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ
รายละ ๒๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นาม
พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ |
318517 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตประกอบการค้าข้าวในเขตควบคุมการค้าข้าว
ให้ทำคำขอยื่นต่อคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี ณ
ท้องที่ซึ่งทำการค้าข้าว
ถ้าผู้ขออนุญาตทำการค้าข้าวมีสถานที่ทำการค้าข้าวมากกว่าหนึ่งแห่ง
ต้องทำคำขออนุญาตแยกออกแห่งละหนึ่งฉบับ
ข้อ ๒. เมื่อคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ
๑ และพิจารณาเห็นสมควร ก็ให้ออกหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้
ข้อ ๓.
ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละสองบาท
(๒) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละสองบาท
(๓) คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละสองบาท
(๔) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่นนอกจากจากบริโภคฉบับละหนึ่งบาท
(๕) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ ฉบับละหนึ่งบาท
(๖) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสภาพข้าว ฉบับละหนึ่งบาท
(๗) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ฉบับละห้าบาท
(๘) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละหนึ่งบาท
ข้อ ๔.
ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ให้เรียกเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) หนังสืออนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวประเภททำการสีข้าว
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโรงสีเองหรือเช่าโรงสีของผู้อื่นทำการ ฉบับละห้าสิบบาท
(๒)
หนังสืออนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวประเภททำการซื้อขายโดยมียุ้งฉางของตนเอง
หรือเช่าจากผู้อื่นที่จุข้าวได้สำหรับข้าวเปลือกตั้งแต่ห้าเกวียนหลวงขึ้นไปสำหรับข้าวอื่น
ๆ ตั้งแต่สองพันกิโลกรัมขึ้นไป หรือเป็นร้านขายส่ง ฉบับละยี่สิบบาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทอื่นนอกจากที่กล่าวใน
(๑) และ (๒) แห่งข้อนี้ ฉบับละสิบบาท
(๔) ค่าธรรมเนียมต่ออายุหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๕) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าวในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
สำหรับข้าวเปลือก เกวียนหลวงละสี่สิบสตางค์
สำหรับข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก ร้อยกิโลกรัมละสิบสตางค์
(๖) หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บสำหรับข้าวเปลือก
เกวียนหลวงละยี่สิบสตางค์ สำหรับข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
ร้อยกิโลกรัมละห้าสตางค์
(๗) หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ร้อยกิโลกรัมละหนึ่งบาท แต่ในกรณีการสีข้าวเปลือกให้เรียกเก็บเกวียนหลวงละห้าสตางค์
(๘) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ในครอบครอง
ขายข้าวตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
สำหรับข้าวเปลือก เกวียนหลวงละสี่สิบสตางค์
สำหรับข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
ร้อยกิโลกรัมละสิบสตางค์
เศษของหนึ่งเกวียนหลวง หรือหนึ่งร้อยกิโลกรัม
ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็นหนึ่งเกวียนหลวง หรือหนึ่งร้อยกิโลกรัม แล้วแต่กรณี
(๙) หนังสืออนุญาตอย่างอื่น ๆ นอกจากเพื่อบริโภคฉบับละสิบบาท
กฎให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
วิลาส โอสถานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ช. เชวงศักดิ์สงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๘๑/หน้า ๖๕๔/๑๗ ธันวาคม ๒๔๘๙ |
737263 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 146 พ.ศ. 2558 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๖
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
กำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวไปแล้ว นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงการขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๙ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
หมวด ๑
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นทางการค้าปกติประเภทดังต่อไปนี้
ต้องขออนุญาตประกอบการค้าข้าว และเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว
จึงจะประกอบการค้าข้าวได้
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ หรือที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
(๒) ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
(๓) ประเภทสีข้าว
(๔) ประเภทนายหน้าค้าข้าว
(๕) ประเภทขายส่ง
(๖) ประเภทท่าข้าว
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๓
ที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องขออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ผู้ประสงค์จะประกอบการค้าข้าวภายหลังวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ
๓ ก่อนจึงจะประกอบการค้าข้าวได้
กรณีผู้ประกอบการค้าข้าวได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวแล้วในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้ถือเป็นการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
และให้ประกอบการค้าข้าวต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตสิ้นอายุแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ
๑๘ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ หรือข้อ ๒๓ และให้ถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เคยถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตจะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตนั้นแล้ว
ข้อ ๖ คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๓
ต้องใช้ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดพร้อมเอกสารหลักฐานแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวของผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ประเภทสีข้าว หรือประเภทท่าข้าว ที่เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
หรือรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัท
ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อในคำขออนุญาต
ข้อ ๘[๒]
การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวจะยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ สถานที่ที่กำหนด หรือยื่นทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
การยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ
สถานที่ราชการดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ
กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์
(๒) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่น
ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด แห่งท้องที่นั้น
ผู้ประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ต้องลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
ข้อ ๙ ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศต้องระบุในคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ส่งออกทั่วไป
หรือผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
หรือผู้ส่งออกชายแดน
หมวด ๒
การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๑๐ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแล้ว
ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน
พร้อมเสนอความเห็นประกอบก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต
กรณีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว
ข้อ ๑๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตพิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้แล้วเสร็จภายในวันนั้นหรืออย่างช้าในวันทำการรุ่งขึ้น
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นับตั้งแต่เมื่อได้รับคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง
กรณีมีเหตุจำเป็นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตไม่อาจออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ขออนุญาตทราบ
ข้อ ๑๒ หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บคู่ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๓ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๔ กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวชำรุด
ถูกทำลาย สูญหายให้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
พร้อมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวฉบับเดิม
หรือหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกรณีสูญหาย
ข้อ ๑๕ การยื่นคำขอตามข้อ
๑๓ หรือข้อ ๑๔ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตหรือวันที่ทราบถึงการชำรุด
ถูกทำลาย สูญหายตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ให้นำความในข้อ ๑๑
มาใช้บังคับกับการพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตและการออกใบแทนหนังสืออนุญาตโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้มีอายุถึงวันที่สามสิบเอ็ดธันวาคมของปีที่ได้รับอนุญาต
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามข้อ
๖
ข้อ ๑๗ ผู้ที่เลิกประกอบการค้าข้าวต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการค้าข้าว
ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๓
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต ดังต่อไปนี้
(๑) มีข้าวสารเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตัน
สำหรับบริษัท ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกินยี่สิบล้านบาท
และไม่น้อยกว่าหนึ่งพันเมตริกตัน สำหรับบริษัทซึ่งมีทุนจดทะเบียนเกินยี่สิบล้านบาทขึ้นไป
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวและตลอดเวลาที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๒) เก็บข้าวไว้ในสถานที่เก็บข้าวตามที่ยื่นหลักฐานไว้
(๓) การเปลี่ยนแปลง การเพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าวต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าว
(๔)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง
แสดงน้ำหนักปริมาณ
ผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๕) ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก
และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๑๙ ความในข้อ ๑๘
(๑) (๒) และ (๓) มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย
(๒) สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๓)
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๔) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๒)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๓) ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก
และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะในจังหวัดชายแดนที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละห้าล้านบาท
(๒)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๓) ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก
และไม่เอาเปรียบในการซื้อขายการชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทนายหน้าค้าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตโดยต้องไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย
การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
และประเภทท่าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๒) ไม่เอาเปรียบเกษตรกรในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก
การหักลดน้ำหนักความชื้นการหักสิ่งเจือปน
(๓) ไม่ปลอมปนข้าว
(๔) ปฏิบัติตามนโยบายหรือระเบียบของทางราชการเกี่ยวกับการค้าข้าวโดยเคร่งครัด
หมวด ๔
การรายงานการค้าข้าว
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทผู้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง และประเภทท่าข้าว
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวัน
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทผู้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง และประเภทท่าข้าว ต้องยื่นรายงานการค้าข้าวประจำเดือนภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
การยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง
จะยื่นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือทางโทรสารหรือทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
โดยให้ถือวันที่ได้ประทับตราประจำวัน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันยื่นแจ้ง
ในกรณีที่ยื่นแจ้งทางโทรสารจะถือวันที่ได้รับโทรสารเป็นวันแสดงเจตนา
ในการยื่นในกรณีการยื่นแจ้งทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือวันที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบข้อมูลของกรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันแสดงเจตนาในการยื่นแจ้ง
การยื่นแจ้งทางโทรสารตามวรรคสองจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้ส่งต้นฉบับให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ประสงค์จะยื่นแจ้งทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
หมวด ๕
การสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าว หรือประเภทท่าข้าว
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ ๒๓ ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ดังนี้
(๑) กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งแรก
ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินหกเดือน
(๒) กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งที่สอง
ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินสองปี
ข้อ ๒๗ ในการพิจารณาสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ
๒๖ อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงและแสดงหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร
ข้อ ๒๘ คำสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ทำเป็นหนังสือ
แจ้งให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวทราบโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
และให้ถือว่าผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้รับทราบเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวซึ่งได้รับคำสั่งถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ
๒๖ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการค้าภายใน
หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ทราบคำสั่งนั้น
ข้อ ๓๐ ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
กรณีที่อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ข้อ ๓๑ ให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์
ให้นำความในข้อ ๒๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งคำวินิจฉัย โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ
๓๐ หรือข้อ ๓๑ ได้ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว
ในการนี้ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสิบห้าวัน แต่ให้บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ในการพิจารณาวินิจฉัยด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว แนบท้ายประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. คำขออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง
ประเภทท่าข้าว และประเภทอื่น ๆ (แบบ ค.ข. 1)
๓. คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 2)
๔. คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 3)
๕. คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว (แบบ
ค.ข. 4)
๖. คำขอใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 5)
๗. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกทั่วไป) (แบบ ค.ข. 6)
๘. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ) (แบบ ค.ข. 7)
๙. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกชายแดน) (แบบ ค.ข. 8)
๑๐. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
(แบบ ค.ข. 9)
๑๑. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทสีข้าว
(แบบ ค.ข. 10)
๑๒. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 11)
๑๓. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทขายส่ง
(แบบ ค.ข. 12)
๑๔. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทท่าข้าว
(แบบ ค.ข. 13)
๑๕. รายงานการค้าข้าว ประจำเดือน
......... (แบบ ค.ข. 14)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว[๓]
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/ผู้จัดทำ
ปัญญา/ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๖/๙ กันยายน ๒๕๕๘ |
737267 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 147 พ.ศ. 2558 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ไปแล้ว นั้น
บัดนี้
เป็นการสมควรปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
เสียใหม่ให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ และมาตรา ๙ มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓[๒]
แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) อธิบดีกรมการค้าภายใน
(๒) รองอธิบดีกรมการค้าภายใน
(๓) ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
(๔)
ข้าราชการกรมการค้าภายในซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป
(๕) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(๖) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(๗) ปลัดจังหวัด
(๘) พาณิชย์จังหวัด
(๙) นายอำเภอ
(๑๐) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(๑๑) ปลัดอำเภอ
(๑๒) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(๑๓) ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป
ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนั้น
ข้อ ๔[๓]
มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๓ (๓) สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๘)
สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น
มีอำนาจปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ดังต่อไปนี้
(๑) รับคำขออนุญาต พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
(๒) พิจารณาต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ข้อ ๕ มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๑)
สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕)
สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น มีอำนาจสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
หรือสั่งถอนหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกให้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการค้าข้าว
ข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๑) (๒) (๓)
และ (๔) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหะสถานของบุคคลใดเพื่อตรวจข้าว
ใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าว รายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ
เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น
ทั้งนี้ ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ข้อ ๗[๔]
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕)
(๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหะสถานของบุคคลใด
เพื่อตรวจข้าว ใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าว รายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ
เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน
และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น ทั้งนี้ ภายในท้องที่หรือเขตอำนาจของตน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง แก้ไขปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๑[๕] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/ผู้จัดทำ
ปัญญา/ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
[๓] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
[๔] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๘/๙ กันยายน ๒๕๕๘ |
797010 | ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ | ประกาศกรมการค้าภายใน
ประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิ
บรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ[๑]
ตามที่กรมการค้าภายในได้ออกประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ไปแล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยและการดำเนินการเกี่ยวกับการพักใช้และเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและผู้บริโภค
มีโอกาสในการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิที่มีมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
อธิบดีกรมการค้าภายใน จึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๒) ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๓
ในประกาศนี้
(๑) เครื่องหมายรับรอง หมายถึง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(๒) ข้าวหอมมะลิ (HOM MALI RICE) หมายถึง
ข้าวกล้องและข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง
ซึ่งผลิตในประเทศไทยในฤดูนาปี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศรับรองว่าเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ
๑๐๕ และพันธุ์ กข. ๑๕
ซึ่งมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติขึ้นอยู่กับว่าเป็นข้าวใหม่หรือข้าวเก่า
เมื่อหุงเป็นข้าวสวยแล้ว เมล็ดข้าวสวยจะอ่อนนุ่ม มีปริมาณอมิโลส (AMYLOSE)
ร้อยละ ๑๓ - ๑๘ ที่ระดับความชื้นร้อยละ ๑๔.๐ และมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ
ซึ่งมีค่าการสลายเมล็ดในด่าง (ALKALISPREADING
VALUE)
ระดับ ๖ - ๗ (ด่างที่กล่าวถึง คือ สารละลาย KOH=POTASSIUM
HYDROXIDE
ความเข้มข้น ๑.๗%)
(๓)
ให้นำคำนิยามมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ในข้อ ๑
และที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือประกาศกำหนดในภายหน้ามาใช้บังคับกับมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแนบท้ายประกาศนี้โดยอนุโลม
ยกเว้นคำนิยามในข้อ ๑ (๑)
ข้อ ๔
มาตรฐานข้าวหอมมะลิที่จะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
แบ่งออกเป็น ๘ ชนิด ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าวขาวหอมมะลิ ๑๐๐%
(๒)
ข้าวขาวหอมมะลิ ๕%
(๓)
ข้าวขาวหอมมะลิ ๑๐%
(๔)
ข้าวขาวหักหอมมะลิเอวันเลิศพิเศษ
(๕)
ข้าวขาวหักหอมมะลิเอวันเลิศ
(๖)
ข้าวกล้องหอมมะลิ ๑๐๐%
(๗)
ข้าวกล้องหอมมะลิ ๕%
(๘)
ข้าวกล้องหอมมะลิ ๑๐%
ข้าวหอมมะลิตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕
เครื่องหมายรับรอง มี ๒ ประเภท ประกอบด้วย
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปและเครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ ดังต่อไปนี้
(๑)
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป เป็นรูปพนมมือในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส
มีตัวหนังสือแสดงชนิดข้าวหอมมะลิอยู่ด้านบน และตัวหนังสือคำว่า รับรองมาตรฐาน
โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อยู่ด้านล่าง โดยรูปพนมมือ
ตัวหนังสือและกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสใช้สีทอง พื้นที่ว่างในกรอบใช้สีขาว
(๒)
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ เป็นรูปพนมมือในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส มีตัวหนังสือแสดงชนิดข้าวหอมมะลิอยู่ด้านบน
และตัวหนังสือคำว่า รับรองมาตรฐานดีพิเศษ (★) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
อยู่ด้านล่าง โดยรูปพนมมือ ตัวหนังสือ ดาว
และกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสใช้สีทองพื้นที่ว่างในกรอบใช้สีขาว
เครื่องหมายรับรองตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามลักษณะ
รูปแบบ ขนาด และสี แนบท้ายประกาศนี้
หมวด
๑
การขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๖
ผู้ประสงค์ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
(ก)
เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
(ข)
เป็นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
(ค) เป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้า
ตราหรือเครื่องหมายการค้าข้าวหอมมะลิบรรจุถุง
(ง)
เป็นสมาชิกสมาคมการค้าตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบวิสาหกิจข้าวสารบรรจุถุง
ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ บริษัทจำกัดที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้น
สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๒)
ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ
(ก) มีคุณสมบัติตาม (๑) (ก) (ข) (ค) และ (ง)
หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามประกาศฉบับเดิม
หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปตามประกาศฉบับนี้
(ข)
เป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสุขลักษณะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ดี
(GMP)
หรือมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
(HACCP)
หรือมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO)
มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง หรือ
(ค)
เป็นผู้จำหน่ายข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศซึ่งผลิตข้าวหอมมะลิโดยผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบตาม
(ข)
ข้อ ๗
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองให้ยื่นคำขออนุญาตตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด
พร้อมเอกสารประกอบคำขอและตัวอย่างข้าวหอมมะลิ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
(ก)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
และหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาต ไม่เกินหนึ่งเดือน กรณีเป็นนิติบุคคล
(ข)
สำเนาหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
(ค) สำเนาเอกสารแสดงสิทธิในชื่อทางการค้า
ตราหรือสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(ง) หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของสมาคมการค้าตามข้อ
๖ (๑) (ง)
(จ) หนังสือมอบอำนาจ
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
(ฉ) ตัวอย่างข้าวหอมมะลิตามชนิดที่จะขออนุญาต
ชนิดละห้ากิโลกรัม
(๒)
ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ
(ก)
เอกสารตามข้อ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) กรณีไม่เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามประกาศฉบับเดิม
หรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปตามประกาศฉบับนี้มาก่อน
(ข)
หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
กรณีเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตามประกาศฉบับเดิม หรือตามประกาศฉบับนี้มาก่อน
(ค)
สำเนาหนังสือการได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสุขลักษณะ
โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ดี (GMP)
หรือมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
(HACCP)
หรือมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO)
กรณีเป็นผู้ผลิต และสำเนาหนังสือดังกล่าวของผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ
กรณีเป็นผู้จำหน่ายข้าวหอมมะลิบรรจุถุงของผู้ผลิต
(ง)
ตัวอย่างข้าวหอมมะลิตามชนิดที่จะขออนุญาต ชนิดละห้ากิโลกรัม
ในกรณีมีเหตุอันสมควรให้เจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘ เรียกเอกสารหลักฐานอื่น
นอกจากที่กล่าวข้างต้นได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๘
การยื่นคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ ณ
สถานที่ราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นคำขออนุญาตได้ที่กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
(๒)
ผู้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น
ให้ยื่นคำขออนุญาตได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ
กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายในแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้
หมวด
๒
การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๙
เมื่อเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘ ได้รับคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองแล้ว
ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
ในกรณีที่เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว
ในกรณีที่เอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ให้นำเสนอผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายในดำเนินการต่อไป
ข้อ ๑๐
เมื่อผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน ได้รับคำขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๙ แล้ว ให้ส่งตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงไปตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานและเมื่อได้รับผลการตรวจสอบแล้วให้นำเสนอผลการตรวจสอบ
พร้อมความเห็นต่ออธิบดีกรมการค้าภายในเพื่อพิจารณาออกหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๑
เมื่ออธิบดีกรมการค้าภายในได้รับคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง จากผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
๒ กรมการค้าภายใน พร้อมความเห็นตามข้อ ๑๐
แล้วเห็นว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน
และผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
อธิบดีกรมการค้าภายในจะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองและออกหนังสืออนุญาตให้
การพิจารณาคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองให้ดำเนินการแล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบผลการอนุญาตหรือไม่อนุญาต
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตถูกต้องครบถ้วน
ระยะเวลาตามวรรคสอง
อาจขยายออกไปได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร
ข้อ ๑๒
หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด
และให้มีอายุสองปีนับแต่วันออกหนังสืออนุญาตหรือต่ออายุหนังสืออนุญาต แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ให้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการตามข้อ ๘
ตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนดก่อนหนังสืออนุญาตสิ้นอายุ
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๗
และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตแล้ว
ให้ถือว่าหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉบับเดิมยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าอธิบดีกรมการค้าภายในจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุหนังสืออนุญาตนั้นหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
การพิจารณาคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้นำความในข้อ
๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ทั้งนี้
กรมการค้าภายในจะใช้ผลของการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงตามข้อ ๑๘
ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๔ กรณีหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ชำรุด ถูกทำลาย สูญหาย ให้ยื่นคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด
โดยยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการตามข้อ ๘
พร้อมหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉบับเดิม (ถ้ามี)
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด ถูกทำลาย สูญหาย และให้นำความในข้อ ๙
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
การพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
เมื่อผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
ได้รับคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘
แล้วให้เสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมการค้าภายใน เพื่อพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาต
โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตทราบภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันที่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
ได้รับคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘
ข้อ ๑๕
กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองประสงค์จะยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรองต้องแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด พร้อมแสดงเหตุผลในการยกเลิก
โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการ ตามข้อ ๘
พร้อมทั้งดำเนินการระงับหรือหยุดใช้เครื่องหมายรับรองทันทีนับแต่วันทราบคำสั่ง
หรือยินยอมดำเนินการนำข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันแจ้งการยกเลิก
เมื่อเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ได้รับแจ้งการยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้นำเสนอผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
เพื่อเสนออธิบดีกรมการค้าภายในมีคำสั่งยกเลิกหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองต่อไป
หมวด
๓
สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๑๖
ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแสดงไว้ที่ถุงบรรจุข้าวหอมมะลิ
(๒)
ได้รับการสนับสนุนในด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคมาบริโภคข้าวหอมมะลิที่มีตราเครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(๓)
จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงเป็นประจำทุกเดือน
(๔)
กรณีได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ
จะได้รับการขยายระยะเวลาการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานเป็นประจำทุกหกเดือน
ข้อ ๑๗
ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(๑)
แสดงเครื่องหมายรับรองและข้อความไว้ที่ด้านล่างขวามือของถุงบรรจุข้าวหอมมะลิอย่างชัดเจนว่าเป็นข้าวหอมมะลิชนิดหนึ่งชนิดใดตามข้อ
๔
ซึ่งได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปหรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ
จากกรมการค้าภายใน
(๒) ไม่ใช้เครื่องหมายรับรอง
กับข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีคุณภาพและมาตรฐานต่ำกว่าข้าวหอมมะลิชนิดหนึ่งชนิดใดตามข้อ
๔ ซึ่งได้รับอนุญาต
(๓)
รักษาคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงไม่ให้ต่ำกว่าคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิชนิดหนึ่งชนิดใดตามข้อ
๔ ที่ได้รับอนุญาตตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
(๔)
ผลิตข้าวหอมมะลิบรรจุถุงออกจำหน่ายในท้องตลาดตามชนิดและมาตรฐานข้าวหอมมะลิตามข้อ ๔
ซึ่งได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๘
ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
จะต้องยินยอมหรือให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในในการตรวจตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศที่วางจำหน่ายในท้องตลาด
เพื่อส่งไปตรวจสอบทางเคมีและกายภาพว่าข้าวหอมมะลินั้นได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่ได้รับอนุญาตหรือไม่
ผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิตามวรรคหนึ่งจะแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันทราบผลการตรวจสอบ
หมวด
๔
การเตือน
การพักใช้และเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๑๙
ให้อธิบดีกรมการค้าภายในมีหนังสือเตือน พักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
มีหนังสือเตือน หากผลการตรวจสอบทางกายภาพ หรือทางเคมี
หรือทั้งทางกายภาพและทางเคมีไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานหนึ่งครั้ง
(๒)
พักใช้หนังสืออนุญาตเป็นเวลาสามเดือน หากผลการตรวจสอบทางกายภาพ
หรือทางเคมีหรือทั้งทางกายภาพและทางเคมีไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสองครั้ง
ภายในระยะเวลาหนึ่งปีการตรวจ
กรณีถูกคำสั่งพักใช้หนังสืออนุญาต
ให้ผู้ถูกคำสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตดำเนินการระงับ
หรือหยุดการใช้เครื่องหมายรับรอง และยินยอมดำเนินการนำข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานซึ่งมีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในสามสิบวัน
นับแต่วันทราบคำสั่ง
(๓)
เพิกถอนหนังสืออนุญาต หากเป็นกรณี ดังต่อไปนี้
(ก)
ขาดคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖
(ข)
ผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจากการตรวจตัวอย่างของเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๑๘
ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่ได้รับอนุญาต โดยมีผลการตรวจสอบทางกายภาพหรือทางเคมี หรือทั้งทางกายภาพและทางเคมี
ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสามครั้ง ภายในระยะเวลาสองปีการตรวจ
(ค)
ปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๗
(ง)
ไม่ดำเนินการ ระงับ หรือหยุดการใช้เครื่องหมายรับรอง
หรือไม่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในกรณีถูกสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตตาม
(๒)
กรณีถูกเพิกถอนหนังสืออนุญาต
ให้ผู้ถูกคำสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตดำเนินการระงับหรือหยุดใช้เครื่องหมายรับรอง
และยินยอมดำเนินการนำข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานซึ่งมีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
ข้อ ๒๐
ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองที่ถูกสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ ๑๙
จะยื่นคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองประเภทนั้นได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสองปี
นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาต
ข้อ ๒๑ ผู้ยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรองตามข้อ
๑๕ ผู้ถูกคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ
๑๙ หรือบุคคลใด ใช้เครื่องหมายรับรองแสดงไว้กับข้าวหอมมะลิบรรจุถุง หรือแสดงโดยประการอื่น
อันอาจทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าข้าวหอมมะลิบรรจุถุงนั้นตนยังคงได้รับอนุญาตหรือได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
จะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายราชการ
ข้อ ๒๒
ในการพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามข้อ ๑๙
อธิบดีกรมการค้าภายในต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
และเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงและแสดงหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร
ข้อ ๒๓
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ให้ทำเป็นหนังสือโดยอย่างน้อยต้องระบุวัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง
ชื่อและตำแหน่งของผู้ทำคำสั่ง
ลายมือชื่อของผู้ทำคำสั่งพร้อมทั้งต้องให้เหตุผลไว้ด้วย
โดยเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลยพินิจในการออกคำสั่ง
แล้วแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองที่ถูกคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตทราบ
โดยทางไปรษณีย์ตอบรับและให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองได้รับทราบเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
หมวด
๕
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๔
ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คณะหนึ่ง
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านมาตรฐานข้าวซึ่งอธิบดีกรมการค้าภายในแต่งตั้งจำนวนสามคน
ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทยจำนวนหนึ่งคน
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน เป็นกรรมการ
และผู้แทนกองนิติการ กรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๒๕
ผู้ขออนุญาต ผู้ขอต่ออายุหนังสืออนุญาต
ผู้ได้รับคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
สามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ ๒๔
ได้ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือระบุข้อโต้แย้ง
ข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงให้ชัดเจน
ในกรณีอุทธรณ์คำสั่ง
ให้ชะลอการดำเนินการตามข้อ ๑๙
จนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยไปยังผู้อุทธรณ์ หากผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ยืนคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ให้ผู้อุทธรณ์ดำเนินการระงับหรือหยุดใช้เครื่องหมายรับรองและยินยอมดำเนินการนำข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานซึ่งมีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ข้อ ๒๖
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
แล้วแจ้งคำวินิจฉัยไปยังผู้อุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
การแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้นำความในข้อ
๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๗
กรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ
๒๖ ได้
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ให้บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ในการพิจารณาวินิจฉัยด้วย
หมวด
๖
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๘
กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ตามประกาศกรมการค้าภายในฉบับเดิมอยู่แล้วในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามประกาศฉบับนี้
และให้ใช้ต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองสิ้นอายุ
และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ตามที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับด้วย
ข้อ ๒๙
บรรดาการใดที่ได้ดำเนินการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตามประกาศกรมการค้าภายในฉบับเดิมอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการต่อไปได้ภายใต้หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร
อธิบดีกรมการค้าภายใน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
แนบท้ายประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. รูปแบบ ขนาด และสี
ของเครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ แนบท้ายประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๒๒/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
771600 | ประกาศ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 150 พ.ศ. 2560 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว | ประกาศ
ประกาศ
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๕๐ พ.ศ. ๒๕๖๐
เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
และประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าวการกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
กำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ไปแล้ว นั้น
บัดนี้
เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขอายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
การจัดทำและการยื่นรายงานการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) มาตรา ๙ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
(๒)
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่
๑๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าวการกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด ๑
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ
๓
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นทางการค้าปกติประเภทดังต่อไปนี้
ต้องขออนุญาตประกอบการค้าข้าว และเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว
จึงจะประกอบการค้าข้าวได้
(๑)
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ หรือที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
(๒)
ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
(๓)
ประเภทสีข้าว
(๔)
ประเภทนายหน้าค้าข้าว
(๕)
ประเภทขายส่ง
(๖)
ประเภทท่าข้าว
ข้อ ๔
กรณีผู้ประกอบการค้าข้าวได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวอยู่แล้ว
ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้ถือว่าได้รับหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวตามประกาศฉบับนี้
และให้ประกอบการค้าข้าวต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตสิ้นอายุ
โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ หรือข้อ ๒๓
แล้วแต่กรณี รวมถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตด้วย
ข้อ
๕
ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เคยถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตจะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตนั้นแล้ว
ข้อ
๖ คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวตามข้อ
๓ ต้องใช้ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมเอกสารหลักฐานแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๗
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวของผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ประเภทสีข้าว หรือประเภทท่าข้าว ที่เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด หรือรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัท
ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อในคำขออนุญาต
ข้อ
๘
การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวจะยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนด
หรือยื่นทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
การยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่น ณ สถานที่ราชการดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์
(๒)
ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่น ณ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแห่งท้องที่นั้น
ผู้ประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ต้องลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
ข้อ ๙
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศต้องระบุในคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ส่งออกทั่วไป
หรือผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
หรือผู้ส่งออกชายแดน
หมวด ๒
การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ
๑๐
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแล้ว
ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน
พร้อมเสนอความเห็นประกอบก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต
กรณีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว
ข้อ
๑๑
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตพิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้แล้วเสร็จภายในวันนั้นหรืออย่างช้าในวันทำการรุ่งขึ้น
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นับตั้งแต่เมื่อได้รับคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง
กรณีมีเหตุจำเป็นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตไม่อาจออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ขออนุญาตทราบ
ข้อ
๑๒
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บคู่ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๓
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ข้อ
๑๔ กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวชำรุด
ถูกทำลาย สูญหาย ให้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
พร้อมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวฉบับเดิม
หรือหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกรณีสูญหาย
ข้อ
๑๕ การยื่นคำขอตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔
ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘ ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตหรือวันที่ทราบถึงการชำรุด
ถูกทำลาย สูญหาย ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ให้นำความในข้อ
๑๑ มาใช้บังคับกับการพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตและการออกใบแทนหนังสืออนุญาตโดยอนุโลม
ข้อ
๑๖
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่พิจารณาออกหนังสืออนุญาต
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามข้อ ๖
ข้อ
๑๗
ผู้ที่เลิกประกอบการค้าข้าวต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘
ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการค้าข้าว
ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๓
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ
๑๘
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต ดังต่อไปนี้
(๑)
มีข้าวสารเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตัน สำหรับบริษัทซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกินยี่สิบล้านบาท
และไม่น้อยกว่าหนึ่งพันเมตริกตัน
สำหรับบริษัทซึ่งมีทุนจดทะเบียนเกินยี่สิบล้านบาทขึ้นไป
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
และตลอดเวลาที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๒)
เก็บข้าวไว้ในสถานที่เก็บข้าวตามที่ยื่นหลักฐานไว้
(๓)
การเปลี่ยนแปลง การเพิ่ม
หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าวต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าว
(๔) ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด และไม่กระทำการใด ๆ
เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก ปริมาณ
ผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๕)
ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย
การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ
๑๙ ความในข้อ ๑๘ (๑) (๒) และ (๓)
มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย
(๒)
สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๓)
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๔)
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
ข้อ
๒๐
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๒)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด และไม่กระทำการใด ๆ
เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก ปริมาณ
ผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๓)
ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย
การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ
๒๑
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะในจังหวัดชายแดนที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละห้าล้านบาท
(๒) ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด และไม่กระทำการใด ๆ
เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๓)
ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย
การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ
๒๒ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทนายหน้าค้าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตโดยต้องไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย
การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ
๒๓
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว และประเภทท่าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด และไม่กระทำการใด ๆ
เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก ปริมาณ
ผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๒)
ไม่เอาเปรียบเกษตรกรในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก การหักลดน้ำหนักความชื้น การหักสิ่งเจือปน
(๓)
ไม่ปลอมปนข้าว
(๔)
ปฏิบัติตามนโยบายหรือระเบียบของทางราชการเกี่ยวกับการค้าข้าวโดยเคร่งครัด
หมวด ๔
การรายงานการค้าข้าว
ข้อ
๒๔ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง และประเภทท่าข้าว
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวัน
แต่ต้องยื่นรายงานการค้าข้าวเป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
การยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง
จะยื่นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือทางโทรสารหรือทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
โดยให้ถือวันที่ได้ประทับตราประจำวัน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันยื่นแจ้ง
ในกรณีที่ยื่นแจ้งทางโทรสารจะถือวันที่ได้รับโทรสารเป็นวันแสดงเจตนาในการยื่นในกรณีการยื่นแจ้งทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ให้ถือวันที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบข้อมูลของกรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันแสดงเจตนาในการยื่นแจ้ง
การยื่นแจ้งทางโทรสารตามวรรคสองจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้ส่งต้นฉบับให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ประสงค์จะยื่นแจ้งทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
หมวด ๕
การสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ
๒๕
ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทสีข้าว
หรือประเภทท่าข้าว ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด
ตามข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ หรือข้อ ๒๓ แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวดังนี้
(๑)
กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งแรก ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินหกเดือน
(๒)
กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งที่สอง ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินสองปี
ข้อ
๒๖
ในการพิจารณาสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๒๕
อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงและแสดงหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร
ข้อ ๒๗
คำสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ทำเป็นหนังสือ แจ้งให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวทราบโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
และให้ถือว่าผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้รับทราบเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
ข้อ
๒๘
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวซึ่งได้รับคำสั่งถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ ๒๕
ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการค้าภายใน หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ทราบคำสั่งนั้น
ข้อ
๒๙
ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
กรณีที่อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ข้อ ๓๐
ให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์
ให้นำความในข้อ
๒๗ มาใช้บังคับกับการแจ้งคำวินิจฉัยโดยอนุโลม
ข้อ ๓๑
กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ ๒๙ หรือข้อ ๓๐ ได้
ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว
ในการนี้ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ให้บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ในการพิจารณาวินิจฉัยด้วย
ข้อ
๓๒
บรรดาการใดที่ได้ดำเนินการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตามประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ที่ให้ยกเลิกตามข้อ ๒ ที่เป็นอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการต่อไปได้ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
อภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว แนบท้ายประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๕๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง ประเภทท่าข้าว และประเภทอื่น ๆ (แบบ ค.ข. ๑)
๓.
คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. ๒)
๔.
คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. ๓)
๕. คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว (แบบ
ค.ข. ๔)
๖. คำขอใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. ๕)
๗. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ (ผู้ส่งออกทั่วไป) (แบบ ค.ข. ๖)
๘. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ (ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ)
(แบบ ค.ข. ๗)
๙. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ (ผู้ส่งออกชายแดน) (แบบ ค.ข. ๘)
๑๐. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ (แบบ ค.ข. ๙)
๑๑. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าว (โรงสีขนาดเล็ก) (แบบ ค.ข. ๑๐)
๑๒. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าว (โรงสีขนาดกลาง) (แบบ ค.ข. ๑๑)
๑๓. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าว (โรงสีขนาดใหญ่) (แบบ ค.ข. ๑๒)
๑๔.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว (แบบ ค.ข. ๑๓)
๑๕. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทขายส่ง (แบบ ค.ข. ๑๔)
๑๖. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทท่าข้าว (แบบ ค.ข. ๑๕)
๑๗.
แบบแจ้งรายงานการค้าข้าวตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ (แบบ ค.ข. ๑๖)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๕ เมษายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๖/๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ |
735261 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 149 พ.ศ. 2558 เรื่อง แก้ไขปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปแล้ว นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
เสียใหม่ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างในส่วนภูมิภาคของกระทรวงพาณิชย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ และมาตรา ๙ มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ และข้อ ๔ แห่งประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) อธิบดีกรมการค้าภายใน
(๒) รองอธิบดีกรมการค้าภายใน
(๓) ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
(๔)
ข้าราชการกรมการค้าภายในซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป
(๕) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(๖) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(๗) ปลัดจังหวัด
(๘) พาณิชย์จังหวัด
(๙) นายอำเภอ
(๑๐) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(๑๑) ปลัดอำเภอ
(๑๒) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(๑๓)
ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป
ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนั้น
ข้อ ๔ มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๓)
สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๘)
สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น
มีอำนาจปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ดังต่อไปนี้
(๑) รับคำขออนุญาต พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
(๒) พิจารณาต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
แห่งประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕) (๖) (๗)
(๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหะสถานของบุคคลใด
เพื่อตรวจข้าว ใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าว รายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ
เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน
และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น ทั้งนี้ ภายในท้องที่หรือเขตอำนาจของตน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
อภิรดี
ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๘/๙ กันยายน ๒๕๕๘ |
735165 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 148 พ.ศ. 2558 เรื่อง แก้ไขปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๘
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
แก้ไขปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
กำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวไปแล้ว นั้น
บัดนี้
เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขสถานที่ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างในส่วนภูมิภาคของกระทรวงพาณิชย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๙ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ
๘ แห่งประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวจะยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ สถานที่ที่กำหนด หรือยื่นทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
การยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ราชการดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ
กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์
(๒) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่น
ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด แห่งท้องที่นั้น
ผู้ประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ต้องลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
อภิรดี
ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๖/๙ กันยายน ๒๕๕๘ |
730462 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 147 พ.ศ. 2558 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ไปแล้ว นั้น
บัดนี้
เป็นการสมควรปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
เสียใหม่ให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ และมาตรา ๙ มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) อธิบดีกรมการค้าภายใน
(๒) รองอธิบดีกรมการค้าภายใน
(๓) ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรมการค้าภายใน
(๔)
ข้าราชการกรมการค้าภายในซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป
(๕) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(๖) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(๗) ปลัดจังหวัด
(๘) พาณิชย์จังหวัด
(๙) การค้าภายในจังหวัด
(๑๐) นายอำเภอ
(๑๑) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(๑๒) ปลัดอำเภอ
(๑๓) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(๑๔) ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไปที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนั้น
ข้อ ๔ มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๓ (๓) สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๙)
สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น มีอำนาจปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ดังต่อไปนี้
(๑) รับคำขออนุญาต พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
(๒)
พิจารณาต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ข้อ ๕ มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๓ (๑) สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕)
สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น มีอำนาจสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
หรือสั่งถอนหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกให้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการค้าข้าว
ข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๑) (๒) (๓)
และ (๔) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหะสถานของบุคคลใดเพื่อตรวจข้าว
ใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าว รายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ
เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น
ทั้งนี้ ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕) (๖) (๗)
(๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) และ (๑๔) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหะสถานของบุคคลใด
เพื่อตรวจข้าว ใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าว รายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ
เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น ทั้งนี้ ภายในท้องที่หรือเขตอำนาจของตน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๐ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ |
730460 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 146 พ.ศ. 2558 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๖
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
กำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวไปแล้ว นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงการขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๙ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
หมวด ๑
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นทางการค้าปกติประเภทดังต่อไปนี้
ต้องขออนุญาตประกอบการค้าข้าว และเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว
จึงจะประกอบการค้าข้าวได้
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ หรือที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
(๒) ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
(๓) ประเภทสีข้าว
(๔) ประเภทนายหน้าค้าข้าว
(๕) ประเภทขายส่ง
(๖) ประเภทท่าข้าว
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๓
ที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องขออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ผู้ประสงค์จะประกอบการค้าข้าวภายหลังวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ
๓ ก่อนจึงจะประกอบการค้าข้าวได้
กรณีผู้ประกอบการค้าข้าวได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวแล้วในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้ถือเป็นการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
และให้ประกอบการค้าข้าวต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตสิ้นอายุแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ
๑๘ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ หรือข้อ ๒๓ และให้ถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เคยถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตจะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตนั้นแล้ว
ข้อ ๖ คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๓
ต้องใช้ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดพร้อมเอกสารหลักฐานแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวของผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ประเภทสีข้าว หรือประเภทท่าข้าว ที่เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
หรือรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัท
ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อในคำขออนุญาต
ข้อ ๘ การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวจะยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ สถานที่ที่กำหนด หรือยื่นทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
การยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ
สถานที่ราชการดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
(๒) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่น
ณ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดแห่งท้องที่นั้น
ผู้ประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ต้องลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
ข้อ ๙ ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศต้องระบุในคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ส่งออกทั่วไป
หรือผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
หรือผู้ส่งออกชายแดน
หมวด ๒
การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๑๐ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแล้ว
ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน
พร้อมเสนอความเห็นประกอบก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต
กรณีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว
ข้อ ๑๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตพิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้แล้วเสร็จภายในวันนั้นหรืออย่างช้าในวันทำการรุ่งขึ้น
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นับตั้งแต่เมื่อได้รับคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง
กรณีมีเหตุจำเป็นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตไม่อาจออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ขออนุญาตทราบ
ข้อ ๑๒ หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บคู่ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๓ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๔ กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวชำรุด
ถูกทำลาย สูญหายให้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
พร้อมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวฉบับเดิม
หรือหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกรณีสูญหาย
ข้อ ๑๕ การยื่นคำขอตามข้อ
๑๓ หรือข้อ ๑๔ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตหรือวันที่ทราบถึงการชำรุด
ถูกทำลาย สูญหายตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ให้นำความในข้อ ๑๑
มาใช้บังคับกับการพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตและการออกใบแทนหนังสืออนุญาตโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้มีอายุถึงวันที่สามสิบเอ็ดธันวาคมของปีที่ได้รับอนุญาต
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามข้อ
๖
ข้อ ๑๗ ผู้ที่เลิกประกอบการค้าข้าวต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการค้าข้าว
ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๓
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต ดังต่อไปนี้
(๑) มีข้าวสารเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตัน
สำหรับบริษัท ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกินยี่สิบล้านบาท
และไม่น้อยกว่าหนึ่งพันเมตริกตัน สำหรับบริษัทซึ่งมีทุนจดทะเบียนเกินยี่สิบล้านบาทขึ้นไป
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวและตลอดเวลาที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๒) เก็บข้าวไว้ในสถานที่เก็บข้าวตามที่ยื่นหลักฐานไว้
(๓) การเปลี่ยนแปลง การเพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าวต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าว
(๔)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง
แสดงน้ำหนักปริมาณ
ผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๕) ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก
และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๑๙ ความในข้อ ๑๘
(๑) (๒) และ (๓) มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย
(๒) สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๓)
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๔) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๒)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๓) ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก
และไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะในจังหวัดชายแดนที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละห้าล้านบาท
(๒)
ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๓) ต้องซื้อขายเป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในระบบเมตริก
และไม่เอาเปรียบในการซื้อขายการชั่งน้ำหนัก การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทนายหน้าค้าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตโดยต้องไม่เอาเปรียบในการซื้อขาย
การชำระเงิน การหักค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากการซื้อขาย
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
และประเภทท่าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายใน
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง
เครื่องวัดที่มีความเที่ยงเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรอง แสดงน้ำหนัก
ปริมาณผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๒) ไม่เอาเปรียบเกษตรกรในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก
การหักลดน้ำหนักความชื้นการหักสิ่งเจือปน
(๓) ไม่ปลอมปนข้าว
(๔) ปฏิบัติตามนโยบายหรือระเบียบของทางราชการเกี่ยวกับการค้าข้าวโดยเคร่งครัด
หมวด ๔
การรายงานการค้าข้าว
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทผู้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง และประเภทท่าข้าว
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวัน
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทผู้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง และประเภทท่าข้าว ต้องยื่นรายงานการค้าข้าวประจำเดือนภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
การยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง
จะยื่นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือทางโทรสารหรือทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
โดยให้ถือวันที่ได้ประทับตราประจำวัน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันยื่นแจ้ง
ในกรณีที่ยื่นแจ้งทางโทรสารจะถือวันที่ได้รับโทรสารเป็นวันแสดงเจตนา
ในการยื่นในกรณีการยื่นแจ้งทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือวันที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบข้อมูลของกรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันแสดงเจตนาในการยื่นแจ้ง
การยื่นแจ้งทางโทรสารตามวรรคสองจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้ส่งต้นฉบับให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ประสงค์จะยื่นแจ้งทางระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ลงนามในบันทึกแสดงความตกลงกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ก่อน
หมวด ๕
การสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าว หรือประเภทท่าข้าว
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ ๒๓ ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ดังนี้
(๑) กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งแรก
ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินหกเดือน
(๒) กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งที่สอง
ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินสองปี
ข้อ ๒๗ ในการพิจารณาสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ
๒๖ อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงและแสดงหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร
ข้อ ๒๘ คำสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ทำเป็นหนังสือ
แจ้งให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวทราบโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
และให้ถือว่าผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้รับทราบเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวซึ่งได้รับคำสั่งถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ
๒๖ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการค้าภายใน
หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ทราบคำสั่งนั้น
ข้อ ๓๐ ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
กรณีที่อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ข้อ ๓๑ ให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์
ให้นำความในข้อ ๒๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งคำวินิจฉัย โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ
๓๐ หรือข้อ ๓๑ ได้ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว
ในการนี้ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสิบห้าวัน แต่ให้บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ในการพิจารณาวินิจฉัยด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว แนบท้ายประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. คำขออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ประเภทสีข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว ประเภทขายส่ง
ประเภทท่าข้าว และประเภทอื่น ๆ (แบบ ค.ข. 1)
๓. คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 2)
๔. คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 3)
๕. คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว (แบบ
ค.ข. 4)
๖. คำขอใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 5)
๗. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกทั่วไป) (แบบ ค.ข. 6)
๘. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ) (แบบ ค.ข. 7)
๙. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกชายแดน) (แบบ ค.ข. 8)
๑๐. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
(แบบ ค.ข. 9)
๑๑. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทสีข้าว
(แบบ ค.ข. 10)
๑๒. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทนายหน้าค้าข้าว
(แบบ ค.ข. 11)
๑๓. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทขายส่ง
(แบบ ค.ข. 12)
๑๔. หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทท่าข้าว
(แบบ ค.ข. 13)
๑๕. รายงานการค้าข้าว ประจำเดือน
......... (แบบ ค.ข. 14)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ |
730458 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 145 พ.ศ. 2558 เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๕
พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง
กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง
กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
เพื่อกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวและกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวไปแล้ว นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงและกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเสียใหม่
ให้เหมาะสมกับระบบการค้าข้าวในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ และมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว
และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓ ให้เขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรและกรุงเทพมหานคร
เป็นเขตควบคุมการค้าข้าว
ข้อ ๔ ให้กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเป็น
๘ ประเภท ดังนี้
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ได้แก่
(ก) ผู้ส่งออกทั่วไปซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
รัฐวิสาหกิจ บริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย
สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ข) ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด รัฐวิสาหกิจ
บริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ค) ผู้ส่งออกชายแดนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับต่างประเทศและมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
(๒) ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ได้แก่
ผู้ที่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศมาเพื่อทำการค้า
(๓) ประเภทสีข้าว ได้แก่
(ก) โรงสีขนาดเล็ก
ที่ทำการสีข้าวเพื่อการค้าหรือรับจ้างสีข้าว ซึ่งมีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่าห้าเมตริกตัน
แต่ไม่เกินหกสิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(ข) โรงสีขนาดกลาง ที่ทำการสีข้าวเพื่อการค้าหรือรับจ้างสีข้าว
ซึ่งมีกำลังผลิตเกินกว่าหกสิบเมตริกตัน
แต่ไม่เกินสามร้อยเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(ค) โรงสีขนาดใหญ่ ที่ทำการสีข้าวเพื่อการค้าหรือรับจ้างสีข้าว
ซึ่งมีกำลังผลิตเกินกว่าสามร้อยเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(๔) ประเภทนายหน้าค้าข้าว ได้แก่
ผู้ทำการค้าข้าวซึ่งเป็นผู้ค้าคนกลางระหว่างโรงสีและผู้ค้าส่งหรือผู้ส่งออกต่างประเทศ
(๕) ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง ได้แก่
ผู้ทำการค้าข้าวที่มีสถานที่เก็บข้าวไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น
ซึ่งบรรจุข้าวเปลือกได้ไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน หรือข้าวอย่างอื่นรวมกันไม่น้อยกว่าสองเมตริกตัน
(๖) ประเภทขายส่ง ได้แก่
(ก) ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายปลีก
(ข)
ผู้ทำการขายข้าวเฉลี่ยได้ในเดือนหนึ่งสำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าสี่สิบเมตริกตัน หรือข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเมตริกตัน
(ค) ผู้ทำการค้าข้าวโดยมีข้าวอยู่ในความครอบครอง
สำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน
หรือข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่าสิบเมตริกตันไม่ว่าข้าวนั้นจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
(๗) ประเภทขายปลีก ได้แก่ ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ประชาชนผู้บริโภค
(๘) ประเภทท่าข้าว ได้แก่
ผู้ทำการค้าข้าวที่มีสถานที่จัดไว้เพื่อการค้าข้าว
และให้รวมถึงตลาดกลางข้าวเปลือกด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๖ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๒/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ |
703553 | ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมการค้าภายใน
ประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิ
บรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๒)
ตามที่กรมการค้าภายในได้ออกประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ ลงวันที่
๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ไปแล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการดำเนินงานรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศให้สอดคล้องกับการปรับปรุงมาตรฐานข้าวหอมมะลิตามประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๖
อธิบดีกรมการค้าภายใน จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน
(๓) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓)
ให้นำคำนิยามมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ในข้อ ๑
และที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือประกาศกำหนดในภายหน้ามาใช้บังคับกับมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแนบท้ายประกาศนี้โดยอนุโลมยกเว้นคำนิยามในข้อ
๑ (๑)
ข้อ ๓ ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๑) ในข้อ ๘ ให้แก้ไขคำว่า สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร เป็น กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒
(๒) ในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๒๔ ให้แก้ไขคำว่า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร เป็น ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
แนบท้ายประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
และให้ใช้มาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแนบท้ายประกาศนี้แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
สมชาติ
สร้อยทอง
อธิบดีกรมการค้าภายใน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ แนบท้ายประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๙/๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ |
563443 | ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิ บรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
| ประกาศกรมการค้าภายใน
ประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิ
บรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ตามที่กรมการค้าภายในได้ออกประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่
๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปแล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมและพัฒนาการค้าข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและผู้บริโภคมีโอกาสในการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิที่มีมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
อธิบดีกรมการค้าภายใน จึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๓) ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(๑) เครื่องหมายรับรอง
หมายถึง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(๒) ข้าวหอมมะลิ (HOM MALI RICE) หมายถึง ข้าวกล้องและข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง
และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศรับรองว่าเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕
และพันธุ์ กข. ๑๕ ซึ่งมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติขึ้นอยู่กับว่าเป็นข้าวใหม่หรือข้าวเก่า
เมื่อหุงเป็นข้าวสวยแล้ว เมล็ดข้าวสวยจะอ่อนนุ่ม มีปริมาณอมิโลส (AMYLOSE) ร้อยละ ๑๓ - ๑๘ ที่ระดับความชื้นร้อยละ ๑๔.๐ และมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ซึ่งมีค่าการสลายเมล็ดในด่าง
(ALKALISPREADING VALUE) ระดับ ๖ - ๗ (ด่างที่กล่าวถึง
คือ สารละลาย KOH=POTASSIUM HYDROXIDE
ความเข้มข้น ๑.๗%)
(๓) ให้นำคำนิยามมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย ลงวันที่
๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ในข้อ ๑ และที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือประกาศกำหนดในภายหน้ามาใช้บังคับกับมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแนบท้ายประกาศนี้โดยอนุโลมยกเว้นคำนิยามในข้อ
๑ (๑)
ข้อ ๔ มาตรฐานข้าวหอมมะลิที่จะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
แบ่งออกเป็น ๘ ชนิด ดังต่อไปนี้
(๑) ข้าวขาวหอมมะลิ ๑๐๐%
(๒) ข้าวขาวหอมมะลิ ๕%
(๓) ข้าวขาวหอมมะลิ ๑๐%
(๔) ข้าวขาวหักหอมมะลิเอวันเลิศพิเศษ
(๕) ข้าวขาวหักหอมมะลิเอวันเลิศ
(๖) ข้าวกล้องหอมมะลิ ๑๐๐%
(๗) ข้าวกล้องหอมมะลิ ๕%
(๘) ข้าวกล้องหอมมะลิ ๑๐%
ข้าวหอมมะลิตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ เครื่องหมายรับรอง มี ๒ ประเภท ประกอบด้วย เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
และเครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ ดังต่อไปนี้
(๑) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป เป็นรูปพนมมือในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส มีตัวหนังสือแสดงชนิดข้าวหอมมะลิอยู่ด้านบน
และตัวหนังสือคำว่า รับรองมาตรฐาน โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อยู่ด้านล่าง โดยรูปพนมมือ ตัวหนังสือและกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสใช้สีทอง พื้นที่ว่างในกรอบใช้สีขาว
(๒) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ เป็นรูปพนมมือในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสมีตัวหนังสือแสดงชนิดข้าวหอมมะลิอยู่ด้านบน
และตัวหนังสือคำว่า รับรองมาตรฐานดีพิเศษ («) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
อยู่ด้านล่าง โดยรูปพนมมือ ตัวหนังสือ ดาว และกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสใช้สีทอง พื้นที่ว่างในกรอบใช้สีขาว
เครื่องหมายรับรองตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามลักษณะ
รูปแบบ ขนาด และสี แนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๑
การขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๖ ผู้ประสงค์ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
(ก) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
(ข) เป็นผู้ผลิตหรือผู้จำ หน่ายข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
(ค) เป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้า ตราหรือเครื่องหมายการค้าข้าวหอมมะลิบรรจุถุง
(ง) เป็นสมาชิกสมาคมการค้าตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์ในการประกอบวิสาหกิจข้าวสารบรรจุถุง
ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ บริษัทจำกัดที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้น สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๒) ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ
(ก) มีคุณสมบัติตาม (๑) (ก) (ข) (ค) และ (ง) หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามประกาศฉบับเดิม
หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปตามประกาศฉบับนี้
(ข) เป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสุขลักษณะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ดี
(GMP) หรือมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
(HACCP) หรือมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO) มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง หรือ
(ค) เป็นผู้จำหน่ายข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศซึ่งผลิตข้าวหอมมะลิโดยผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบตาม
(ข)
ข้อ ๗ ผู้ประสงค์จะขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองให้ยื่นคำขออนุญาตตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด
พร้อมเอกสารประกอบคำขอและตัวอย่างข้าวหอมมะลิ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
(ก) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นบุคคลธรรมดาและหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน กรณีเป็นนิติบุคคล
(ข) สำเนาหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช
๒๔๘๙
(ค) สำเนาเอกสารแสดงสิทธิในชื่อทางการค้า ตราหรือสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(ง) หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของสมาคมการค้าตามข้อ ๖ (๑) (ง)
(จ) หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
(ฉ) ตัวอย่างข้าวหอมมะลิตามชนิดที่จะขออนุญาต ชนิดละห้ากิโลกรัม
(๒) ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ
(ก) เอกสารตามข้อ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) กรณีไม่เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามประกาศฉบับเดิม
หรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปตามประกาศฉบับนี้มาก่อน
(ข) หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง กรณีเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตามประกาศฉบับเดิม
(ค) หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป กรณีเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปตามประกาศฉบับนี้มาก่อนแล้ว
(ง) สำเนาหนังสือการได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสุขลักษณะ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ดี
(GMP) หรือมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
(HACCP) หรือมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO) กรณีเป็นผู้ผลิต และสำเนาหนังสือดังกล่าวของผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ กรณีเป็นผู้จำหน่ายข้าวหอมมะลิบรรจุถุงของผู้ผลิต
(จ) ตัวอย่างข้าวหอมมะลิตามชนิดที่จะขออนุญาต ชนิดละห้ากิโลกรัม
ในกรณีมีเหตุอันสมควรให้เจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ เรียกเอกสารหลักฐานอื่น นอกจากที่กล่าวข้างต้นได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๘ การยื่นคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่
ณ สถานที่ราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตได้ที่สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน
(๒) ผู้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาตได้ที่สำนักงานการค้าภายในจังหวัดแห่งท้องที่นั้น
หรือ ณ สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายในแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้
หมวด ๒
การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๙ เมื่อเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘ ได้รับคำ ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองแล้วให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
ในกรณีที่เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว ในกรณีที่เอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ให้นำเสนอผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน ดำเนินการต่อไป
ข้อ ๑๐ เมื่อผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน ได้รับคำขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๙ แล้ว ให้ส่งตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงไปตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน
และเมื่อได้รับผลการตรวจสอบแล้วให้นำเสนอผลการตรวจสอบ พร้อมความเห็นต่ออธิบดีกรมการค้าภายใน
เพื่อพิจารณาออกหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๑ เมื่ออธิบดีกรมการค้าภายในได้รับคำ ขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองจากผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน พร้อมความเห็นตามข้อ ๙ แล้วเห็นว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน
และผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด อธิบดีกรมการค้าภายในจะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองและจะออกหนังสืออนุญาตให้
การพิจารณาคำขออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองให้ดำเนินการแล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบผลการอนุญาตหรือไม่อนุญาต
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตถูกต้องครบถ้วน
ระยะเวลาตามวรรคสอง
อาจขยายออกไปได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร
ข้อ ๑๒ หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบที่
อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันออกหนังสืออนุญาตหรือต่ออายุหนังสืออนุญาต
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ให้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการตามข้อ ๘ ตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนดก่อนหนังสืออนุญาตสิ้นอายุ
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๗ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตแล้ว
ให้ถือว่าหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉบับเดิมยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าอธิบดีกรมการค้าภายในจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุหนังสืออนุญาตนั้น
หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
การพิจารณาคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้นำความในข้อ
๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ กรมการค้าภายในจะใช้ผลของการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงตามข้อ
๑๘ ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๔ กรณีหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง ชำรุด
ถูกทำลาย สูญหาย ให้ยื่นคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตตามแบบที่อธิบดีกรมการค้าภายในกำหนด
โดยยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการตามข้อ ๘ พร้อมหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉบับเดิม
หรือหลักฐานการแจ้งความของสูญหายต่อพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด
ถูกทำลาย สูญหาย และให้นำความในข้อ ๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
การพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
เมื่อผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน ได้รับคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ แล้วให้เสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมการค้าภายใน เพื่อพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตโดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน ได้รับคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๘
ข้อ ๑๕ กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองประสงค์จะยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรอง
ต้องแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ตามแบบที่อธิบดี กรมการค้าภายในกำหนด
พร้อมแสดงเหตุผลในการยกเลิก โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการตามข้อ ๘
พร้อมทั้งดำเนินการนำข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันแจ้งการยกเลิก
เมื่อเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ ได้รับแจ้งการยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรองตามวรรคหนึ่งแล้วให้นำเสนอผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน เพื่อเสนออธิบดีกรมการค้าภายในต่อไป
หมวด ๓
สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง จะได้รับสิทธิประโยชน์
ดังต่อไปนี้
(๑) ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศแสดงไว้ที่ถุงบรรจุข้าวหอมมะลิ
(๒) ได้รับการสนับสนุนในด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคมาบริโภคข้าวหอมมะลิที่มีตราเครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
(๓) จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงเป็นประจำ ทุกเดือน
(๔) กรณีได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ จะได้รับการขยายระยะเวลาการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานเป็นประจำทุกหกเดือน
ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) แสดงเครื่องหมายรับรองและข้อความไว้ที่ด้านล่างขวามือของถุงบรรจุข้าวหอมมะลิอย่างชัดเจน
ว่าเป็นข้าวหอมมะลิชนิดหนึ่งชนิดใดตามข้อ ๔ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป
หรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานดีพิเศษ จากกรมการค้าภายใน
(๒) ไม่ใช้เครื่องหมายรับรอง กับข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีคุณภาพและมาตรฐานต่ำกว่าข้าวหอมมะลิชนิดหนึ่งชนิดใดตามข้อ
๔ ซึ่งได้รับอนุญาต
(๓) รักษาคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงไม่ให้ต่ำกว่าคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิชนิดหนึ่งชนิดใดตามข้อ
๔ ที่ได้รับอนุญาตตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
(๔) ผลิตข้าวหอมมะลิบรรจุถุงออกจำหน่ายในท้องตลาดตามชนิดและมาตรฐานข้าวหอมมะลิตามข้อ
๔ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง จะต้องยินยอมหรือให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในในการตรวจตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศที่วางจำหน่ายในท้องตลาด
เพื่อส่งไปตรวจสอบทางเคมีและกายภาพว่าข้าวหอมมะลินั้นได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่ได้รับอนุญาตหรือไม่
ผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิตามวรรคหนึ่งจะแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันทราบผลการตรวจสอบ
หมวด ๔
การเตือน การพักใช้และเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ข้อ ๑๙ อธิบดีกรมการค้าภายในอาจมีหนังสือเตือน พักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเตือน หากผลการตรวจสอบทางกายภาพ หรือทางเคมี หรือทั้งทางกายภาพและทางเคมีไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานหนึ่งครั้ง
(๒) พักใช้หนังสืออนุญาตเป็นเวลาสามเดือน หากผลการตรวจสอบทางกายภาพ หรือทางเคมีหรือทั้งทางกายภาพและทางเคมีไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสองครั้ง
ภายในระยะเวลาหนึ่งปี
กรณีถูกคำสั่งพักใช้หนังสืออนุญาต
ให้ผู้ถูกคำสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตนั้นดำเนินการระงับหรือหยุดการใช้เครื่องหมายรับรองทันทีนับแต่วันทราบคำสั่ง
และยินยอมดำเนินการนำข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานซึ่งมีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
(๓) เพิกถอนหนังสืออนุญาต หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ขาดคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖
(ข) ผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจากการตรวจตัวอย่างของเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๑๘ ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่ได้รับอนุญาต โดยมีผลการตรวจสอบทางกายภาพ หรือทางเคมี
หรือทั้งทางกายภาพและทางเคมี ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสามครั้ง ภายในระยะเวลาสองปี
(ค) ปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๗
(ง) ไม่ดำเนินการ ระงับ หรือหยุดการใช้เครื่องหมายรับรอง หรือไม่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีเครื่องหมายรับรองแสดงไว้ที่ถุงบรรจุออกจากท้องตลาดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีถูกสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตตาม (๒)
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองที่ถูกสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ
๑๙ จะยื่นคำขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองประเภทนั้นได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาต
ข้อ ๒๑ ผู้ยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรองตามข้อ ๑๕
ผู้ถูกสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ ๑๙ หรือบุคคลใด ใช้เครื่องหมายรับรองแสดงไว้กับข้าวหอมมะลิบรรจุถุงหรือแสดงโดยประการอื่น
อันอาจทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าข้าวหอมมะลิบรรจุถุงนั้นตนยังคงได้รับอนุญาต หรือได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
จะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายราชการ
ข้อ ๒๒ ในการพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองตามข้อ
๑๙ อธิบดีกรมการค้าภายใน ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาต และเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงและแสดงหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร
ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ให้ทำเป็นหนังสือโดยอย่างน้อยต้องระบุวัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของผู้ทำคำสั่ง
ลายมือชื่อของผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งต้องให้เหตุผลไว้ด้วย โดยเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลยพินิจในการออกคำสั่งแล้วแจ้งให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายในประเทศที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตทราบโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
และ ให้ถือว่าผู้ได้รับหนังสืออนุญาตได้รับทราบเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
หมวด ๕
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๔ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านมาตรฐานข้าวซึ่งอธิบดีกรมการค้าภายในแต่งตั้งจำนวนสามคน
ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทยจำนวนหนึ่งคน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน เป็นกรรมการ และผู้แทนกองนิติการ กรมการค้าภายในเป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๒๕ ผู้ขออนุญาต ผู้ขอต่ออายุหนังสืออนุญาต ผู้ได้รับคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาต
สามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ ๒๔ ได้ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือระบุข้อโต้แย้ง
ข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง ให้ชัดเจน
ข้อ ๒๖ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
แล้วแจ้งคำวินิจฉัยไปยังผู้อุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
การแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้นำความในข้อ
๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๗ กรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ
๒๖ ได้ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดดังกล่าว
ในการนี้ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสิบห้าวัน แต่ให้บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ในการพิจารณาวินิจฉัยด้วย
หมวด ๖
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๘ กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
ตามประกาศกรมการค้าภายในฉบับเดิมอยู่แล้วในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองเครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปตามประกาศฉบับนี้
และให้ใช้ต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองสิ้นอายุ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๗ นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับด้วย
ข้อ ๒๙ บรรดาการใดที่ได้ดำเนินการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตามประกาศ
กรมการค้าภายในฉบับเดิมอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้ภายใต้หลักเกณฑ์
และวิธีการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ศิริพล ยอดเมืองเจริญ
อธิบดีกรมการค้าภายใน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
มาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ แนบท้ายประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550
๒.
รูปแบบ ขนาด และสี ของเครื่องหมายรับรองมาตรฐานดี แนบท้ายประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจำหน่ายภายในประเทศ
ลงวันที่ 24 กันยายน 2550
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๙/๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ |
458070 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 144 พ.ศ. 2548 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๘
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปแล้ว นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ และมาตรา ๙ มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๘ พ.ศ. ๒๕๓๖ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
(๒) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๙ พ.ศ. ๒๕๓๖ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ ๓ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) อธิบดีกรมการค้าภายใน
(๒) รองอธิบดีกรมการค้าภายใน
(๓) ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน
(๔) ข้าราชการกรมการค้าภายในซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
(๕) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(๖) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(๗) ปลัดจังหวัด
(๘) พาณิชย์จังหวัด
(๙) หัวหน้าสำนักงานการค้าภายในจังหวัด
(๑๐) นายอำเภอ
(๑๑) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(๑๒) ปลัดอำเภอ
(๑๓) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(๑๔) ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนั้น
ข้อ ๔ มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๓) สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๙) สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น มีอำนาจปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ดังต่อไปนี้
(๑) รับคำขออนุญาต พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และหนังสืออนุญาตอื่นๆ
(๒) พิจารณาต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ข้อ ๕ มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๑) สำหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕) สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น มีอำนาจสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
หรือสั่งถอนหนังสืออนุญาตอื่น ๆ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกให้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการค้าข้าว
ข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหสถานของบุคคลใดเพื่อตรวจข้าว
ใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าว รายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน
และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น ทั้งนี้ สำหรับจังหวัดทุกจังหวัด
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๓ (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) และ (๑๔) มีอำนาจเข้าไปในสถานที่หรือเคหสถานของบุคคลใด
เพื่อตรวจข้าวใบรับในการขายหรือแลกเปลี่ยนข้าวรายงานการค้าข้าวและเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน
และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น ทั้งนี้ ภายในท้องที่หรือเขตอำนาจของตน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๗๐/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ |
458068 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 143 พ.ศ. 2548 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘
เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว การกำหนดเงื่อนไขในหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าวและกำหนดเงื่อนไขไว้ในหนังสืออนุญาตให้ผู้ประกอบการค้าข้าวต้องปฏิบัติไปแล้ว
นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงการให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าวการกำหนดเงื่อนไขประกอบการค้าข้าว
และการสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๑) มาตรา ๙ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๐ เรื่อง กำหนดแบบคำขออนุญาต
แบบหนังสืออนุญาต แบบรายงานการค้าข้าว และกำหนดอายุหนังสืออนุญาต ลงวันที่ ๔ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๙๐
(๒) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๑ พ.ศ. ๒๕๓๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๕
ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
หมวด ๑
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทดังต่อไปนี้ ขออนุญาตประกอบการค้าข้าวและเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว
จึงจะประกอบการค้าข้าวได้
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไป ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ผู้ส่งออกชายแดน
(๒) ประเภทสีข้าว ที่เป็นโรงสีขนาดกลาง โรงสีขนาดใหญ่
(๓) ประเภทขายส่ง
(๔) ประเภทท่าข้าว
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๓ ที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับขออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
กรณีมีการประกอบการค้าข้าวภายหลังวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้ขออนุญาตก่อนประกอบการค้าข้าว
กรณีผู้ประกอบการค้าข้าวได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวแล้วในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้ถือเป็นการขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง
และให้ประกอบการค้าข้าวต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตสิ้นอายุ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ
๑๘ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ หรือข้อ ๒๒ และให้ถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เคยถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตจะยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตนั้น
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ประสงค์จะขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแต่ละประเภทตามข้อ
๓ เป็นทางการค้าปกติ ให้ยื่นคำขออนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ก) ผู้ส่งออกทั่วไป
๑) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
รายชื่อกรรมการ ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด รัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วย
๒) หนังสือรับรองของส่วนราชการที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
โดยหนังสือรับรองให้แสดงรายชื่อคณะกรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐวิสาหกิจในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ทุน วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจ
๓) ภาพถ่ายใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
และหนังสือรับรองของส่วนราชการที่กำกับดูแล โดยหนังสือรับรองให้แสดงรายชื่อคณะกรรมการ
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ทุน
วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ กรณีเป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
๔) หลักฐานการมีเงินทุนจดทะเบียนที่ได้เรียกชำระแล้วไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท
กรณีเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
๕) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิครอบครองในการมีสถานที่เก็บข้าวเพื่อส่งออกกรณีเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
๖) หนังสือมอบอำนาจ
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
๗) แผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงาน
รวมทั้งแผนผังสถานที่เก็บข้าว กรณีเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด รัฐวิสาหกิจ ประเภทบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วย
(ข) ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
๑) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
รายชื่อกรรมการ ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด รัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วย
๒) หนังสือรับรองของส่วนราชการที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
โดยหนังสือรับรองแสดงรายชื่อคณะกรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐวิสาหกิจในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ทุน วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจ
๓) ภาพถ่ายใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
และหนังสือรับรองของส่วนราชการที่กำกับดูแล โดยหนังสือรับรองให้แสดงรายชื่อคณะกรรมการ
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ทุน
วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ กรณีเป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
๔) หนังสือมอบอำนาจ
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
๕) แผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงาน
รวมทั้งแผนผังสถานที่เก็บข้าว
(ค) ผู้ส่งออกชายแดน
๑) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
รายชื่อกรรมการ ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นนิติบุคคล
๒) หนังสือมอบอำนาจ
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
๓) ภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
๔) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
๕) แผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงาน
รวมทั้งแผนผังสถานที่เก็บข้าว
(๒) ประเภทสีข้าวที่เป็นโรงสีขนาดกลาง หรือโรงสีขนาดใหญ่
(ก) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวรายชื่อกรรมการ
ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นนิติบุคคล
(ข) หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
(ค) ภาพถ่ายทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ง) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(จ) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.๔) ซึ่งยังคงได้รับอนุญาตอยู่จนถึงปีที่ยื่นคำขออนุญาต
(๓) ประเภทขายส่ง
(ก) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวรายชื่อกรรมการ
ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นนิติบุคคล
(ข) หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
(ค) ภาพถ่ายทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ง) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(๔) ประเภทท่าข้าว
(ก) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวรายชื่อกรรมการ
ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นนิติบุคคล
(ข) หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
(ค) ภาพถ่ายทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ง) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(จ) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการเป็นตลาดกลางสินค้าเกษตร กรณีเป็นตลาดกลางในความส่งเสริมของจังหวัดและกรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์
(ฉ) แผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงาน รวมทั้งแผนผังสถานที่เก็บข้าว
ข้อ ๗ การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ สถานที่ราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์
(๒) ผู้ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดแห่งท้องที่นั้น
ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศแสดงเจตนาเป็นผู้ส่งออกทั่วไปผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อหรือผู้ส่งออกชายแดนไว้ในคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวด้วย
หมวด ๒
การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๙ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน
แล้วนำเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต พร้อมเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาอนุญาต
กรณีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว
ข้อ ๑๐ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตได้รับคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวันทำการ
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นับตั้งแต่เมื่อได้รับคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง
กรณีมีเหตุจำเป็นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตไม่อาจออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ขออนุญาตทราบ
ข้อ ๑๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต ออกหนังสืออนุญาตให้ประกาศการค้าข้าวตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๒ การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้ออกต้นฉบับให้แก่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตและเก็บคู่ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๓ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ยื่นคำขออนุญาต
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ข้อ ๑๔ กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวชำรุด
ถูกทำลาย สูญหาย ให้ยื่นคำขอใบแทนหนังสืออนุญาต โดยยื่นคำขอพร้อมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวฉบับเดิม
หรือหลักฐานการแจ้งความของสูญหายต่อพนักงานสอบสวน
ข้อ ๑๕ การยื่นคำขอตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๗ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตหรือทราบถึงการชำรุด
ถูกทำลาย สูญหายตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
การพิจารณาให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตและออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้นำความในข้อ
๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้มีอายุถึงวันที่สามสิบเอ็ดธันวาคมของปีที่ได้รับอนุญาต
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามข้อ
๖
ข้อ ๑๗ การเลิกประกอบการค้าข้าวต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๗ ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการค้าข้าว ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๓
การกำหนดเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทั่วไปต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตดังต่อไปนี้
(๑) มีข้าวสารเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตันภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
และตลอดเวลาที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๒) เก็บข้าวไว้ในสถานที่เก็บข้าวตามที่ยื่นหลักฐานไว้
(๓) การเปลี่ยนแปลง การเพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าวต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดจำนวนสถานที่เก็บข้าว
ข้อ ๑๙ ความในข้อ ๑๘ มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย
(๒) สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๓) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๔) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดน
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เป็นผู้ส่งออกชายแดนต้องส่งข้าวสารไปจำหน่ายเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละหนึ่งล้านบาท
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
และประเภทท่าข้าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้นข้าวที่มีคำรับรองจากกรมการค้าภายในตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ไม่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีความเที่ยงผิดเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนดและไม่กระทำการใด
ๆ เพื่อให้เครื่องชั่ง เครื่องวัดที่มีคำรับรองแสดงน้ำหนัก ปริมาณ ผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงกับแบบมาตราเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กำหนด
(๒) ไม่เอาเปรียบเกษตรกรในการซื้อขาย การชั่งน้ำหนัก การหักลดน้ำหนักความชื้น
การหักสิ่งเจือปน
(๓) ไม่ปลอมปนข้าว
(๔) ปฏิบัติตามนโยบายหรือระเบียบของทางราชการเกี่ยวกับการค้าข้าวโดยเคร่งครัด
หมวด ๔
การรายงานการค้าข้าว
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศประเภทสีข้าว ประเภทขายส่ง ประเภทท่าข้าว ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวัน
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทสีข้าว ประเภทขายส่ง ประเภทท่าข้าว ต้องยื่นรายงานการค้าข้าวประจำเดือนภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไปต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๗ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
การยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งจะยื่นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือทางโทรสารก็ได้โดยให้ถือวันที่ที่ได้ประทับตราประจำวัน
ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันแจ้ง ในกรณีที่แจ้งทางโทรสารจะถือวันที่ได้รับโทรสารเป็นวันแสดงเจตนาในการแจ้ง
แต่การแจ้งจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการค้าข้าวได้ส่งต้นฉบับให้พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
หมวด ๕
การสั่งถอนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าวหรือประเภทท่าข้าว ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด
ตามข้อ ๒๒ ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ
แล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ดังนี้
(๑) กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งแรก ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินหกเดือน
(๒) กรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขครั้งที่สอง ให้สั่งถอนหนังสืออนุญาตได้ไม่เกินสองปี
ข้อ ๒๖ ในการพิจารณาสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ
๒๕ อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงและแสดงหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร
ข้อ ๒๗ คำสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวทราบโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
และให้ถือว่าผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวได้รับทราบเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวซึ่งได้รับคำสั่งถอนหนังสืออนุญาตตามข้อ
๒๕ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี
ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ทราบคำสั่งนั้น
ข้อ ๒๙ ให้อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
กรณีที่อธิบดีกรมการค้าภายในหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ข้อ ๓๐ ให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์
การแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการให้นำความในข้อ
๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๑ กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ
๒๙ หรือข้อ ๓๐ ได้ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว
ในการนี้ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสิบห้าวัน แต่ให้บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ในการพิจารณาวินิจฉัยด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทสีข้าว
ประเภทขายส่ง ประเภทท่าข้าว และประเภทอื่นๆ) (แบบ ค.ข. 1)
๒.
คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. 2)
๓.
คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. 3)
๔.
คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. 4)
๕.
คำขอใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. 5)
๖.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกทั่วไป) (แบบ ค.ข. 6)
๗.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ) (แบบ ค.ข. 7)
๘.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ผู้ส่งออกชายแดน) (แบบ ค.ข. 8)
๙.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทสีข้าว (แบบ ค.ข. 9)
๑๐.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทขายส่ง (แบบ ค.ข. 10)
๑๑.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทท่าข้าว (แบบ ค.ข. 11)
๑๒.
รายงานการค้าข้าวประจำเดือน.......... (แบบ ค.ข. 12)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๖๐/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ |
458060 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 142 พ.ศ. 2548 เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
| ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๘
เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว และกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวไปแล้ว
นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงและกำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้เหมาะสมกับระบบการค้าข้าวในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ และมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๓ พ.ศ. ๒๕๒๙ เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
(๒) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๕ พ.ศ. ๒๕๓๒ เรื่อง แก้ไขประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
ฉบับที่ ๑๓๓ พ.ศ. ๒๕๒๙ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๓๒
(๓) ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๔๐ พ.ศ. ๒๕๓๘ เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าว
และแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ ๓ ให้เขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรและกรุงเทพมหานคร
เป็นเขตควบคุมการค้าข้าว
ข้อ ๔ ให้กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเป็น ๘ ประเภท
ดังนี้
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ได้แก่
(ก) ผู้ส่งออกทั่วไปซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด รัฐวิสาหกิจ บริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย
สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ข) ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดรัฐวิสาหกิจ
บริษัทที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วย สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ค) ผู้ส่งออกชายแดนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับต่างประเทศและมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
(๒) ประเภทสีข้าว ได้แก่
(ก) โรงสีขนาดเล็ก ที่ทำการสีข้าวเพื่อการค้าหรือรับจ้างสีข้าว ซึ่งมีกำลังผลิตต่ำกว่าห้าเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(ข) โรงสีขนาดกลาง ที่ทำการสีข้าวเพื่อการค้าหรือรับจ้างสีข้าว ซึ่งมีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่าห้าเมตริกตัน
แต่ไม่เกินยี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(ค) โรงสีขนาดใหญ่ ที่ทำการสีข้าวเพื่อการค้าหรือรับจ้างสีข้าว ซึ่งมีกำลังผลิตเกินกว่ายี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(๓) ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง ได้แก่ ผู้ทำการค้าข้าวที่มีสถานที่เก็บข้าวไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น
ซึ่งบรรจุข้าวเปลือกได้ไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน หรือข้าวอย่างอื่นรวมกันไม่น้อยกว่าสองเมตริกตัน
(๔) ประเภทขายส่ง ได้แก่
(ก) ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายปลีก
(ข) ผู้ทำการขายข้าวเฉลี่ยได้ในเดือนหนึ่งสำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าสี่สิบเมตริกตัน
หรือข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเมตริกตัน
(ค) ผู้ทำการค้าข้าวโดยมีข้าวอยู่ในความครอบครอง สำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน
หรือข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่าสิบเมตริกตันไม่ว่าข้าวนั้นจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
(๕) ประเภทขายปลีก ได้แก่ ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ประชาชนผู้บริโภค
(๖) ประเภทเรือข้าว ได้แก่ ผู้ทำการค้าข้าวโดยทางเรือซึ่งมีระวางบรรทุกตั้งแต่สามตันกรอสขึ้นไป
(๗) ประเภทค้าเร่ ได้แก่ ผู้ทำการค้าข้าวด้วยวิธีเร่ไม่ว่าด้วยยานพาหนะทางบกใด
ๆ และให้รวมถึงการค้าข้าวโดยใช้แผงลอยด้วย
(๘) ประเภทท่าข้าว ได้แก่ ผู้ทำการค้าข้าวที่มีสถานที่จัดไว้เพื่อการค้าข้าว และให้รวมถึงตลาดกลางข้าวเปลือกด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๕๗/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ |
324092 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 137 พ.ศ. 2535 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๕
เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๕ ฉบับที่ ๑๓๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ และฉบับที่ ๑๓๖ พ.ศ.
๒๕๓๒ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง และประเภทขายส่ง
ขออนุญาตประกอบการค้าข้าวไปแล้ว นั้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การค้าข้าวมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
และเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๙ มาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๕ ฉบับที่ ๑๓๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ และฉบับที่ ๑๓๖ พ.ศ.
๒๕๓๒
ข้อ ๒ ในประกาศฉบับนี้
ข้าว หมายความว่า ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวเหนียว และรวมตลอดถึงปลายข้าว
รำ และสิ่งใด ๆ ที่แปรสภาพมาจากข้าว
ข้าวสาร หมายความว่า ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง รวมตลอดถึงปลายข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ หมายความว่า
นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
และผู้ที่ค้าข้าวส่งออกตามชายแดนและมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนนั้น ๆ
โรงสีขนาดกลาง หมายความว่า โรงสีที่มีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่าห้าเมตริกตันแต่ไม่เกินยี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
โรงสีขนาดใหญ่ หมายความว่า โรงสีที่มีกำลังผลิตเกินกว่ายี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
ประเภทขายส่ง หมายความว่า ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายปลีก
หมวด ๒
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทต่อไปนี้
ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(๒)
ประเภทสีข้าวเฉพาะที่เป็นโรงสีขนาดกลางหรือโรงสีขนาดใหญ่
(๓) ประเภทขายส่ง
เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว จึงจะทำการค้าข้าวได้
ข้อ ๔ ในการยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
พร้อมเอกสารประกอบคำขออนุญาตตามที่กรมการค้าภายในกำหนด
สำหรับผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศจะต้องแสดงหลักฐานการมีเงินทุนจดทะเบียนที่ได้เรียกชำระแล้วไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท
ยกเว้นผู้ประกอบการค้าข้าวที่ส่งออกเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อและผู้ประกอบการค้าข้าวที่ส่งออกเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่ประสงค์จะส่งเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
หรือที่ประสงค์จะส่งข้าวสารไปจำหน่ายเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
ให้แสดงเจตนานั้นไว้ในคำขออนุญาตด้วย
ข้อ ๖ คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ประกอบการค้าข้าวที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ กรมการค้าภายใน
(๒)
ผู้ประกอบการค้าข้าวที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่น
ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่นั้นตั้งอยู่
หมวด ๓
เงื่อนไขที่ผู้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศต้องปฏิบัติ
ข้อ ๗ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตดังนี้
(๑)
มีข้าวสารเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตัน ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ออกหนังสืออนุญาต
และตลอดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๒)
เก็บข้าวไว้ในโรงเก็บข้าวที่ได้รับอนุญาตตามที่ได้ยื่นหลักฐานไว้แล้ว
(๓) การเปลี่ยนแปลง การเพิ่ม
หรือลดจำนวนโรงเก็บข้าวต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดจำนวนโรงเก็บข้าว
ข้อ ๘ ความในข้อ
๗ มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจร่วมถือหุ้น
(๒) สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
(๓) ผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ส่งเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
(๔) ผู้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
ข้อ ๙ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
คือส่งข้าวสารไปจำหน่ายเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละห้าแสนบาท
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
คือส่งข้าวสารไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสารสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
หมวด ๔
การรายงานการค้าข้าว
ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ประเภทสีข้าว และประเภทขายส่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวัน
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ประเภทสีข้าว
และประเภทขายส่งต้องยื่นรายงานการค้าข้าวประจำเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันสิ้นเดือน โดยให้ยื่น ณ สถานที่ราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ กรมการค้าภายใน
(๒)
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่น
ให้ยื่น ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
การยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง
จะยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะถือวันที่ที่ได้ประทับตราประจำวัน ณ
ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันแจ้ง
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้ทำการค้าข้าวต่อไปได้จนกว่าหนังสืออนุญาตจะสิ้นอายุ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
อุทัย พิมพ์ใจชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายงานการค้าข้าวประจำเดือน (แบบ กข. ๒๗)
๒.
รายงานการค้าข้าวแสดงปริมาณข้าวในครอบครองประจำเดือน (แบบ กข. ๒๘)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
จารุวรรณ/แก้ไข
๓ กันยายน ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๕๓/หน้า ๑๓๗๒๗/๓ ธันวาคม ๒๕๓๕ |
324096 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ การค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 134 พ.ศ. 2529 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศขออนุญาตประกอบการค้าข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๔ พ.ศ. ๒๕๒๙
เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ตามที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๒๙ พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับที่ ๑๓๐ พ.ศ. ๒๕๒๙ และฉบับที่ ๑๓๒ พ.ศ.
๒๕๒๙ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ไปแล้วนั้น
บัดนี้ เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสม ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ มาตรา ๘ มาตรา
๙ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ จึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๒๙ พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับที่ ๑๓๐ พ.ศ. ๒๕๒๙ และฉบับที่ ๑๓๒ พ.ศ. ๒๕๒๙
ข้อ ๒
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ข้อ ๓
ในประกาศฉบับนี้
ข้าว หมายถึง ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ข้าวอนามัย และให้หมายความรวมถึง
ปลายข้าว ด้วย
ข้อ ๔
ผู้ขออนุญาตประกอบการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ก. บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(๑) มีวัตถุประสงค์ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(๒) มีเงินทุนจดทะเบียนที่ได้เรียกชำระแล้ว
ไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทและสำหรับบริษัทที่ได้ทำการค้ามาครบรอบปีบัญชีแล้ว
ต้องแสดงงบดุลในรอบปีบัญชีหลังสุดว่ามีอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์ทั้งหมดต่อหนี้สินทั้งหมดมากกว่าหนึ่งขึ้นไป
(๓) เป็นสมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
หรือหอการค้าจังหวัด
(๔)
มีโรงเก็บข้าวที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้เป็นที่สำหรับตรวจเก็บและบรรทุกข้าวลงเรือเพื่อส่งออกได้
ที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ข. รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจร่วมถือหุ้นมีวัตถุประสงค์ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ค. สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรมีวัตถุประสงค์ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ง. บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
(๑) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับต่างประเทศ
(๒) มีวัตถุประสงค์ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละสองหมื่นบาท
(๓) ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว
ข้อ ๕
ผู้ประสงค์จะประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศให้ยื่นคำขออนุญาต
ในการขออนุญาตให้ส่งหลักฐานตามที่อธิบดีกรมการค้าภายในประกาศกำหนดพร้อมคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ดังนี้
ให้บุคคลตามข้อ ๔ ก. ข. และ ค. ยื่นคำขออนุญาตและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
ให้บุคคลตามข้อ ๔ ง.
ยื่นคำขออนุญาตและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่
กรณีประสงค์จะส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะด้วยวิธีการบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ซึ่งแต่ละกล่องหรือหีบห่อนั้นมีน้ำหนักข้าวสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัม
ต่อหน่วยเพียงวิธีเดียว หรือกรณีประสงค์จะส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยให้แสดงเจตนานั้นไว้ในคำขออนุญาตด้วย
เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้ว จึงประกอบการค้าข้าวได้
ข้อ ๖
ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งมีการประกอบการค้าข้าวประเภทอื่นรวมอยู่ในสถานที่ตั้งเดียวกัน
ให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศเพียงประเภทเดียว
ถ้ามีการประกอบการค้าข้าวประเภทอื่นโดยมีสถานที่แยกออกต่างหากจากกัน
จะต้องยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ข้อ ๗
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งระบุไว้ในหนังสืออนุญาต ดังนี้
(๑)
มีข้าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตัน ภายในกำหนดสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้ออกหนังสืออนุญาต และตลอดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๒) มีข้าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองร้อยห้าสิบเมตริกตัน
ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ออกหนังสืออนุญาต และตลอดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(๓) ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะวิธีการบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ซึ่งแต่ละกล่องหรือหีบห่อนั้นมีน้ำหนักข้าวสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อหน่วยเท่านั้น
(๔) ข้าวตาม (๑) หรือ (๒) ต้องเก็บไว้ในโรงเก็บข้าวตามที่ได้ยื่นหลักฐานไว้แล้ว
และถ้าจะแยกเก็บข้าวนั้นไว้ในโรงเก็บข้าวที่มีสถานที่ตั้งแยกออกต่างหากจากกัน
ให้แยกเก็บได้ไม่เกินสามแห่ง
(๕) การเปลี่ยนแปลง การเพิ่มหรือลดจำนวนโรงเก็บข้าวตาม (๔)
ต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมหลักฐาน
เมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วจึงจะดำเนินการได้
(๖) รับซื้อและขายข้าวตามชนิด ปริมาณ ราคา
และสถานที่ที่ส่งมอบตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๗) ขายข้าวสำรอง เพื่อการบริโภคภายในประเทศ
หรือต้องขายข้าวเพื่อส่งมอบให้รัฐบาลต่างประเทศ ให้แก่กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ตามชนิด ปริมาณ ราคา และสถานที่ที่ส่งมอบ ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์กำหนด
(๘) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการใด ๆ
ในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้เปลี่ยนแปลงแล้วเสร็จ
(๙) กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลาย ให้ยื่นขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในสามสิบวัน
นับแต่วันชำรุด สูญหายหรือถูกทำลาย
(๑๐)
เมื่อเลิกประกอบการค้าข้าวให้ยื่นคำขอแจ้งเลิกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการค้าข้าว
(๑๑) ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
มีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละสองหมื่นบาท
เงื่อนไขตาม (๑๑) ไม่ใช้บังคับกับผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ
๔ ก.
เงื่อนไขตาม (๑) และ (๑๑) ไม่ใช้บังคับกับผู้ได้รับหนังสืออนุญาตที่แสดงเจตนาไว้ในคำขออนุญาตว่าประสงค์จะส่งข้าวออกด้วยวิธีการบรรจุกล่องหรือหีบห่อเพียงวิธีเดียวตามวรรคห้าของข้อ
๕
เงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๑๑)
ไม่ใช้บังคับกับผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ ๔ ข. และข้อ ๔ ค.
เงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ไม่ใช้บังคับกับผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ
๔ ง.
ข้อ ๘
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้าวมาอยู่ในความครอบครองตามแบบ
คข. ๒๐
(๒) ยื่นรายงานการค้าข้าว งบยอดประจำงวด
ทุกวันที่สิบห้าและวันสิ้นเดือนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สิ้นงวดตามแบบ คข. ๒๔
(๓) ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นภายในสามวันและเก็บไว้
ณ สถานที่ทำการค้าข้าว ตามแบบ คข. ๒๓
การแจ้งตาม (๑) และ (๒)
ให้ยื่นต้นฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
และยื่นคู่ฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่
โดยจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับยังคงประกอบการค้าข้าวต่อไปจนกว่าหนังสืออนุญาตจะสิ้นอายุ
ข้อ ๑๐
ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามประกาศฉบับนี้ หรือก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
หากประสงค์จะทำการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปีต่อไปต้องยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาต
พร้อมทั้งหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับข้อ ๕
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๒๗ กันยายน ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๓๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๙ |
313959 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ การค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 133 พ.ศ. 2529 เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๓ พ.ศ. ๒๕๒๙
เรื่อง
กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
ด้วยคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ เห็นสมควรแก้ไขประกาศ เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้เหมาะสม
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ ฉบับที่
๑๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๕ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕ เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๒
ให้กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวออกเป็น ๗ ประเภท คือ
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ คือ
ก. บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข. รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจร่วมถือหุ้น
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ค. สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร ที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หรือกฎหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร แล้วแต่กรณี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ง. บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับต่างประเทศและมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละสองหมื่นบาท
(๒) ประเภทสีข้าว ได้แก่ผู้ทำการสีข้าวเพื่อการค้า
หรือรับจ้างสีข้าว คือ
ก. โรงสีขนาดเล็ก
ซึ่งมีกำลังผลิตต่ำกว่าห้าเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
ข. โรงสีขนาดกลาง ซึ่งมีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่าห้าเมตริกตันแต่ไม่เกินยี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
ค. โรงสีขนาดใหญ่ ซึ่งมีกำลังผลิตเกินกว่ายี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
(๓) ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
ได้แก่ผู้ทำการค้าข้าวที่มียุ้งฉางไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น
ซึ่งบรรจุข้าวเปลือกได้ไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน หรือข้าวอย่างอื่นรวมกันไม่น้อยกว่าสองเมตริกตัน
(๔) ประเภทขายส่ง ได้แก่ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ผู้ประกอบการการค้าข้าวประเภทขายปลีก
หรือขายข้าวเฉลี่ยได้ในเดือนหนึ่งสำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าสี่สิบเมตริกตัน หรือขายข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเมตริกตัน
หรือผู้ที่ทำการค้าข้าวโดยมีข้าวอยู่ในความครอบครอง
สำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน
หรือข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่าสิบเมตริกตันไม่ว่าข้าวนั้นจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
(๕) ประเภทขายปลีก
ได้แก่ผู้ที่ทำการขายข้าวให้แก่ประชาชนผู้บริโภค
(๖) ประเภทเรือข้าว
ได้แก่ผู้ที่ทำการค้าข้าวโดยทางเรือซึ่งมีระวางบรรทุกตั้งแต่สามตันกรอสขึ้นไป
(๗) ประเภทค้าเร่ ได้แก่ผู้ทำการค้าข้าวด้วยวิธีเร่ไม่ว่าด้วยยานพาหนะทางบกใด
ๆ และให้รวมถึงการค้าข้าวโดยใช้แผงลอยด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์
โอสถานุเคราะห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๒๕ กันยายน ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๓๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๙ |
324090 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 126 พ.ศ. 2525 เรื่อง ยกเลิกประกาศฉบับที่ 119,120 และ 122 พ.ศ. 2524 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๒๖
พ.ศ. ๒๕๒๕
เรื่อง ยกเลิกประกาศฉบับที่
๑๑๙, ๑๒๐, และ ๑๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๔[๑]
ตามประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ออกประกาศ ฉบับที่ ๑๑๙, ๑๒๐ และ ๑๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๔ ไปแล้วนั้น
บัดนี้ เห็นสมควรยกเลิกประกาศฯ ดังกล่าว
เนื่องจากหมดความจำเป็นและเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช ๒๔๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
จึงให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศฯ ฉบับที่ ๑๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๔ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๔
เรื่อง ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวและให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว
๒. ประกาศฯ ฉบับที่ ๑๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๔ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๔ เรื่อง
ห้ามขนย้ายข้าวโอชาจากสถานที่เก็บข้าว
๓. ประกาศฯ ฉบับที่ ๑๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๔ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๒๔ เรื่อง ห้ามขาย แลกเปลี่ยน โอนกรรมสิทธิ์
ซื้อหรือรับซื้อข้าวสารที่ซื้อหรือได้มาจากองค์การคลังสินค้าเกินปริมาณที่กำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๕
นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฐาปนี/แก้ไข
๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๑๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๕ |
313946 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 125 พ.ศ. 2525 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๒๕ พ.ศ. ๒๕๒๕
เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว[๑]
ตามประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๑๖ ลงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
นั้น
บัดนี้ เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสม ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ มาตรา ๙
และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช ๒๔๘๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ ฉบับที่ ๑๑๖ พ.ศ. ๒๕๒๓ ลงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๓
ข้อ ๒
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับในเขตท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร
ข้อ ๓
ผู้ประสงค์จะประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ดังนี้
๓.๑ บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
๓.๑.๑ หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
รายชื่อกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท และแสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศด้วย
๓.๑.๒ ภาพถ่ายบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ถ้ามี) ซึ่งกรรมการผู้มีอำนาจรับรองว่าถูกต้อง
๓.๑.๓
ภาพถ่ายบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินกว่า
๓๐ วัน
๓.๑.๔ หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
๓.๑.๕ หลักฐานการมีเงินทุนจดทะเบียนที่ได้เรียกชำระแล้วไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท
และสำหรับบริษัทที่ได้ทำการค้ามาครบรอบปีบัญชีแล้วต้องแสดงงบดุลในรอบปีบัญชีหลังสุดว่ามีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้สินไม่น้อยกว่าสองล้านห้าแสนบาทประกอบด้วย
๓.๑.๖ หลักฐานการมีโรงเก็บข้าวขนาดบรรจุข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันเมตริกตัน
ที่เป็นของตนเองหรือเช่าจากผู้อื่น และจะต้องเป็นโรงเก็บข้าวที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้บรรทุกข้าวลงเรือเพื่อส่งออกแล้ว
เฉพาะผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่ทำการส่งออกทางด่านศุลกากรกรุงเทพมหานคร
โรงเก็บข้าวนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร
๓.๒ รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทจำกัดที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจร่วมถือหุ้น
๓.๒.๑ รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นบริษัทจำกัด
หนังสือรับรองของ กระทรวง ทบวง หรือกรมที่ควบคุมรัฐวิสาหกิจนั้น
แสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
เงินทุนที่กำหนดและเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน
รายชื่อคณะกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อในนิติกรรม
๓.๒.๒ รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัด
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด
วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เงินทุนที่จดทะเบียนกับเงินทุนที่ชำระแล้วทั้งสิ้น
รายชื่อกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท
๓.๓ สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
๓.๓.๑ ภาพถ่ายใบสำคัญรับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรซึ่งกรรมการผู้มีอำนาจรับรองว่าถูกต้อง
๓.๓.๒ หนังสือรับรองของกระทรวง ทบวง
หรือกรมที่ควบคุมสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
แสดงวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เงินทุนที่กำหนดและเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน
รายชื่อคณะกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อในนิติกรรม
เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจึงจะประกอบการค้าข้าวได้
ข้อ ๔
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งมีการประกอบการค้าข้าวประเภทอื่นรวมอยู่ในสถานที่ตั้งเดียวกัน
ให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศเพียงประเภทเดียว
ถ้ามีสถานที่ประกอบการค้าข้าวแยกออกต่างหากจากกัน
จะต้องยื่นขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทุกแห่ง
ข้อ ๕
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
๕.๑ มีสต๊อกข้าวสารไม่น้อยกว่าห้าร้อยเมตริกตันภายในกำหนดสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้ออกหนังสืออนุญาต และตลอดเวลาที่ได้รับอนุญาต
๕.๒ รับซื้อและขายข้าวสารตามชนิด ปริมาณ ราคา
และสถานที่ที่ส่งมอบตามที่คณะกรรมการกรกำหนด
๕.๓ ขายข้าวสำรองเพื่อการบริโภคภายในประเทศ
หรือต้องขายข้าวเพื่อส่งมอบให้รัฐบาลต่างประเทศ ให้แก่กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ ตามชนิด ปริมาณ ราคา และสถานที่ที่ส่งมอบ
ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กำหนด
๕.๔ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการใด ๆ
ในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้เปลี่ยนแปลงแล้วเสร็จ
๕.๕ กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายให้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวภายในสามสิบวันนับแต่วันชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลาย
๕.๖ เมื่อเลิกประกอบการค้าข้าวให้ยื่นคำขอแจ้งเลิกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการค้าข้าว
เงื่อนไขตาม ๕.๑ ไม่ใช้บังคับกับผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตาม
๓.๒ และ ๓.๓
ข้อ ๖
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสืออนุญาตประจำปีต่อไป
จะต้องยื่นคำขออนุญาตพร้อมทั้งหลักฐานตามข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ต้องปฏิบัติดังนี้
๗.๑
แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้าวมาอยู่ในความครอบครอง
ตามแบบ คข. ๒๐
๗.๒ ยื่นรายงานการค้าข้าวงบยอดประจำงวดทุกวันที่สิบห้าและวันสิ้นเดือนภายในเจ็ดวันนับต่อวันสิ้นงวด
ตามแบบ คข. ๒๔
๗.๓ ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จภายในสามวัน
และเก็บไว้ ณ สถานที่ทำการค้าข้าว ตามแบบ คข. ๒๓
ตาม ๗.๑ และ ๗.๒ ให้แจ้งและยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
ข้อ ๘
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
อยู่ก่อนวันประกาศฉบับนี้ใช้บังคับยังคงทำการค้าข้าวได้ต่อไปจนกว่าหนังสืออนุญาตหมดอายุ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๕
ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕
นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฐาปนี/แก้ไข
๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๒๕ |
313945 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 124 พ.ศ. 2525 เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง และประเภทขายส่ง ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๒๔
พ.ศ. ๒๕๒๕
เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภทสีข้าว
ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
และประเภทขายส่ง
ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว[๑]
โดยที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบการค้าข้าว
และการขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘ ฉบับที่ ๑๐๓ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๑๘ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภททำการสีข้าว
ประเภททำการซื้อขายโดยมียุ้งฉาง ประเภทร้านขายส่ง ประเภทร้านขายปลีกขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๒
บรรดาประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ของจังหวัดต่าง ๆ ที่ออกใช้บังคับในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับความในประกาศนี้
ให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ ๓
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับในเขตท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร
ข้อ ๔
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉางประเภทขายส่ง
ตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการฯ ฉบับที่ ๑๒๓ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕
ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
๔.๑ การยื่นคำขออนุญาต
๔.๑.๑ ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
ซึ่งมีการประกอบการค้าข้าว ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง หรือประเภทขายส่งรวมอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน
ให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าวเพียงประเภทเดียว
๔.๑.๒
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉางซึ่งมีการประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่งรวมอยู่สถานที่แห่งเดียวกัน
ให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉางเพียงประเภทเดียว
ทั้งนี้ ถ้ามีสถานที่ประกอบการค้าข้าว แยกออกต่างหากจากกัน
จะต้องยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวทุกแห่ง
๔.๒ สถานที่ยื่นคำขออนุญาต
๔.๒.๑ ผู้มีสถานที่ทำการค้าข้าวอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
๔.๒.๒ ผู้มีสถานที่ทำการค้าข้าวอยู่ในท้องที่อำเภอใดของจังหวัดอื่น
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอนั้น
เว้นแต่ท้องที่อำเภอเมืองที่มีสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตั้งอยู่ ให้ยื่น ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้น
เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจึงจะประกอบการค้าข้าวได้
ข้อ ๕
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๔ ประเภทสีข้าวที่เป็นโรงสีขนาดกลางและขนาดใหญ่
ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง และประเภทขายส่ง
๕.๑
ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จภายในสามวันตามแบบ คข. ๒๑, ๒๓ หรือ ๒๕
แล้วแต่กรณี และเก็บรายงานนั้นไว้ ณ สถานที่ทำการค้าข้าว
๕.๒ ต้องทำรายงานการค้าข้าวแสดงปริมาณข้าวในครอบครองประจำงวดตามแบบ
คข. ๓๒
สำหรับผู้ที่มีสถานที่ทำการค้าข้าวอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ให้จัดทำทุกวันที่สิบห้าและวันสิ้นเดือน และให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
สำหรับจังหวัดอื่น ให้จัดทำทุกวันสิ้นเดือน
และให้ยื่นต้นฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
และยื่นคู่ฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้น
การยื่นรายงานการค้าข้าวตาม ๕.๒
ให้ยื่นภายในสามวันนับแต่วันสิ้นงวด โดยจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ข้อ ๖
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๔ อยู่ก่อนวันประกาศฉบับนี้ใช้บังคับยังคงทำการค้าข้าวได้ต่อไปจนกว่าหนังสืออนุญาตหมดอายุ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๕
ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕
นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฐาปนี/แก้ไข
๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๘ เมษายน ๒๕๒๕ |
313944 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 123 พ.ศ. 2525 เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๒๓
พ.ศ. ๒๕๒๕
เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว[๑]
ด้วยคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ เห็นสมควรแก้ไขประกาศ เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเสียใหม่ให้เหมาะสม ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ ฉบับที่
๑๑๐ พ.ศ. ๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๙ เรื่อง กำหนดประเภทผู้ประกอบผู้ประกอบการค้าข้าว
และฉบับที่ ๑๑๓ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๑ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๒
ให้กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวออกเป็น ๗ ประเภท คือ
(๑) ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ได้แก่
ก. บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข. รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจร่วมถือหุ้นซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ค. สหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หรือกฎหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตร แล้วแต่กรณี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(๒) ประเภทสีข้าว ได้แก่ผู้ทำการสีข้าวเพื่อการค้า
หรือรับจ้างสีข้าว คือ
ก. โรงสีขนาดเล็ก
ซึ่งมีกำลังผลิตต่ำกว่าห้าเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
ข. โรงสีขนาดกลาง ซึ่งมีกำลังผลิตตั้งแต่ห้าเมตริกตันแต่ไม่เกินยี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมง
ค. โรงสีขนาดใหญ่ ซึ่งมีกำลังผลิตเกินกว่ายี่สิบเมตริกตันต่อยี่สิบสี่ชั่วโมงขึ้นไป
(๓) ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
ได้แก่ผู้ทำการค้าข้าวที่มียุ้งฉางไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
ซึ่งบรรจุข้าวเปลือกได้ไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน หรือข้าวอย่างอื่นรวมกันไม่น้อยกว่าสองเมตริกตัน
(๔) ประเภทขายส่ง ได้แก่ผู้ทำการขายข้าวให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายปลีก
หรือขายข้าวเฉลี่ยได้ในเดือนหนึ่งสำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าสี่สิบเมตริกตัน
หรือขายข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเมตริกตันหรือผู้ที่ทำการค้าข้าวโดยมีข้าวอยู่ในความครอบครอง
สำหรับข้าวเปลือกไม่น้อยกว่าห้าเมตริกตัน หรือข้าวอย่างอื่นไม่น้อยกว่าสิบเมตริกตัน
ไม่ว่าข้าวนั้นจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
(๕) ประเภทขายปลีก
ได้แก่ผู้ที่ทำการขายข้าวให้แก่ประชาชนผู้บริโภค
(๖) ประเภทเรือข้าว
ได้แก่ผู้ที่ทำการค้าข้าวโดยทางเรือซึ่งมีระวางบรรทุกตั้งแต่สามตันกรอสขึ้นไป
(๗) ประเภทค้าเร่ ได้แก่ผู้ทำการค้าข้าวด้วยวิธีเร่
ไม่ว่าด้วยยานพาหนะทางบกใด ๆ และให้รวมถึงการค้าข้าวโดยใช้แผงลอยด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๕ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕
นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฐาปนี/แก้ไข
๔ ตุลาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๘ เมษายน ๒๕๒๕ |
324093 | ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2524) เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภททำการสีข้าว ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง ประเภทร้านขายส่ง และประเภทร้านขายปลีก ยื่นขออนุญาตหรือต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประจำปี 2525
| ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
จังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่
๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
เรื่อง
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภททำการสีข้าว ประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง
ประเภทร้านขายส่ง และประเภทร้านขายปลีก ยื่นขออนุญาต
หรือต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประจำปี ๒๕๒๕[๑]
ด้วยหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทต่าง
ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
จังหวัดเชียงใหม่
ได้ออกให้หรือต่ออายุให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่
ประจำปี ๒๕๒๔ ไปแล้วนั้น
บัดนี้หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๒๔
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๙ และข้อ ๔
แห่งประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๑๗ พ.ศ. ๒๕๒๓ เรื่อง กำหนดเขตควบคุมข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ จังหวัดเชียงใหม่
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประจำปี ๒๕๒๔ ประเภทสีข้าว
ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง ประเภทขายส่ง และประเภทขายปลีก
ที่อยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และประสงค์จะประกอบการค้าข้าวต่อไปในปี ๒๕๒๕
ให้ไปยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประจำปี ๒๕๒๕
ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๔
โดยให้นำหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (ฉบับเดิม) ไปด้วย และให้ยื่นดังนี้
(๑) ในเขตท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่
ให้ยื่นคำขอต่อพาณิชย์ จังหวัดเชียงใหม่ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่
(๒) ในเขตท้องที่อำเภออื่น ๆ
ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ยื่นต่อนายอำเภอท้องที่ ณ ที่ว่าการอำเภอฯ นั้น ๆ
ข้อ ๒
ผู้ที่จะประสงค์จะประกอบการค้าข้าว ซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่
และยังไม่เคยยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวมาก่อน
ให้ไปยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๑
เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวแล้ว จึงจะทำการค้าข้าวได้
ข้อ ๓
หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือเลิก จะต้องยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน
ข้อ ๔
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภททำการสีข้าว (โรงสีใหญ่ โรงสีกลาง
และโรงสีเล็ก) ประเภททำการซื้อขายโดยมียุ้งฉาง และประเภทร้านขายส่ง
ต้องจัดทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้แล้วเสร็จภายใน ๓ วัน และเก็บไว้ ณ
สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
และต้องแสดงราคาข้าวประจำวันเป็นภาษาไทยไว้ในที่เปิดเผย
การจัดทำรายงานการค้าข้าว
๔.๑ ประเภททำการสีข้าว
(โรงสีใหญ่และโรงสีกลาง) ต้องจัดทำรายงานการค้าข้าวประจำวันตามแบบ คข. ๒๑
๔.๒ ประเภททำการสีข้าว (โรงสีเล็ก)
ต้องจัดทำรายงานการค้าข้าวประจำวันตามแบบ คข. ๒๑
๔.๓
ประเภททำการซื้อขายโดยมียุ้งฉางและประเภทร้านขายส่ง
ต้องจัดทำรายงานการค้าข้าวประจำวัน ตามแบบ คข. ๒๓
ข้อ ๕
ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามข้อ ๔ ต้องจัดทำรายงานการค้าข้าว
แสดงปริมาณข้าวในครอบครองประจำงวด ตามแบบ คข. ๓๒ ทุกสิ้นเดือน
โดยจัดส่งต้นฉบับจำนวน ๑ ฉบับไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองควบคุมข้าว
กรมการค้าภายใน ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ ๒ และคู่ฉบับอีก ๑ ฉบับ
ให้ยื่นต่อพาณิชย์จังหวัด ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ภายใน ๓ วัน
นับแต่วันสิ้นงวดของทุกเดือน จะจัดส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือจะนำส่งเองก็ได้
ข้อ ๖
ผู้ประกอบการค้าข้าวโดยไม่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
หรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประจำปี ๒๕๒๔ ซึ่งหนังสืออนุญาตฯ
จะสิ้นอายุลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๔ และยังคงประกอบการค้าข้าวต่อไปในปี ๒๕๒๕
โดยไม่ดำเนินการต่ออายุหนังสืออนุญาตฯ สำหรับปี ๒๕๒๕ มีความผิดตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๒๔
ชัยยา พูนศิริวงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าวฯ
พุทธศักราช ๒๔๘๙ จังหวัดเชียงใหม่
จุฑามาศ/ผู้จัดทำ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๘๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ |
313949 | ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2524) เรื่อง กำหนดราคาขายส่งและราคาขายปลีกข้าวสารขององค์การคลังสินค้า | ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
เรื่อง กำหนดราคาขายส่งและราคาขายปลีกข้าวสารขององค์การคลังสินค้า[๑]
ตามที่องค์การคลังสินค้า
ได้กำหนดราคาขายส่งและราคาขายปลีกข้าวสารใหม่เพื่อให้ราคาขายปลีกเป็นราคาเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔.๓
แห่งประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวและแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ข้อ ๒
ให้ผู้จำหน่ายข้าวสารขายส่งและขายปลีกข้าวสารที่ได้มาจากองค์การคลังสินค้าไม่เกินราคาที่กำหนดไว้
ดังนี้
๒.๑ ข้าวโอชา ราคาขายส่งกระสอบ (๑๐๐ กก.) ละ ๓๒๐ บาท ถัง (๑๕
กก.) ละ ๔๘ บาท ขายปลีกประสอบละ ๓๔๐ บาท ถังละ ๕๑ บาท
๒.๒ ข้าวขาวธัญญรส ราคาขายส่งกระสอบละ ๕๒๐ บาท ถังละ ๗๘ บาท
ขายปลีกกระสอบละ ๕๕๐ บาท ถังละ ๘๒.๕๐ บาท
๒.๓ ข้าวเหนียวธัญญรส ราคาขายส่งกระสอบละ ๓๙๐ บาท ถังละ ๕๘.๕๐
บาท ขายปลีกกระสอบละ ๔๒๐ บาท ถังละ ๖๓ บาท
ข้อ ๓
การขายปลีกเป็นกระสอบจะทำได้ต่อเมื่อผู้ซื้อมีหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือ นายอำเภอท้องที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบการซื้อและการจำหน่ายข้าวสาร
ขององค์การคลังสินค้าที่จังหวัดวางไว้
ข้อ ๔
ให้ผู้จำหน่ายข้าวสารทุกราย ปิดป้ายแสดงราคาสินค้าไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ชัดเจน
ณ สถานที่จำหน่าย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๒๔
จำนง ยังเทียน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว ฯ
จังหวัดกำแพงเพชร
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๗ ตุลาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๔๐/หน้า ๒๙๓๐/๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๔ |
327549 | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 118 พ.ศ. 2523 เรื่อง ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวและให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว | ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๑๘
พ.ศ. ๒๕๒๓
เรื่อง
ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวและให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว[๑]
เพื่อให้การส่งมอบข้าวสำรองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่การควบคุมดูแลให้การจำหน่ายข้าวโอชาถึงมือประชาชนตามนโยบายของทางราชการ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๙
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแก่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวทุกประเภทในท้องที่
กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อ ๒
ข้าวโอชา ตามประกาศนี้ หมายถึง ข้าวที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวโดยการนำข้าวสารเจ้าชนิด
๑๐% ถึง ๒๐% มาผสมกับข้าวสารเหนียว ๑๐%
ข้อ ๓
ห้ามมิให้ผู้ประกอบการค้าข้าวตาม ข้อ ๑ ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพข้าว โดยนำข้าวสารเจ้าชนิด
๑๐% ถึง ๒๐% มาผสมกับข้าวสารเหนียว ๑๐% เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยให้ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองควบคุมข้าว
กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ตามแบบที่ทางราชการกำหนด ยกเว้นองค์การคลังสินค้าในกรณีทำการเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวเอง
ถ้าจ้างบุคคลอื่นทำการเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวตาม ข้อ ๒ จะต้องได้รับอนุญาตก่อน
ข้อ ๔
ผู้ใดมีข้าวโอชาตาม ข้อ ๒ อยู่ในความครอบครองเกินห้าพันสองร้อยกิโลกรัม
ไม่ว่าจะครอบครองในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือในฐานะผู้รับฝากก็ตาม ต้องแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวโอชาต่อพนักงานเข้าหน้าที่
ณ กองควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน เป็นประจำวันตามแบบที่ทางราชการกำหนดโดย
๔.๑ ให้ผู้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวจัดทำคู่ฉบับใบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บไว้
ณ สถานที่ประกอบการค้าข้าว
๔.๒ ผู้มีสถานที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในท้องที่จังหวัดต่าง
ๆ ตามข้อ ๑ นอกจากกรุงเทพมหานคร จะส่งใบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ความตามข้อนี้ ไม่ใช้บังคับแก่ผู้ได้รับอนุญาตตาม ข้อ ๓
หรือผู้ที่ได้ซื้อข้าวสารโอชาจากองค์การคลังสินค้า หรือส่วนราชการองค์การค้าของรัฐ
หรือกิจการที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศฉบับนี้มีความผิดต้องระวางโทษปรับหรือจำคุกหรือทั้งปรับทั้งจำตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ และจะถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๒๓
ตามใจ ขำภโต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
การค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข
๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๓ |
457192 | ระเบียบกรมการค้าภายใน ว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาต ให้ประกอบการค้าข้าว พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการค้าภายใน
ระเบียบกรมการค้าภายใน
ว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาต
ให้ประกอบการค้าข้าว
พ.ศ. ๒๕๔๗
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระยะเวลาพิจารณาอนุญาตและจัดระบบการออกหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ แห่งประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ฉบับที่ ๑๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่อง ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ อธิบดีกรมการค้าภายในจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการค้าภายใน
ว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการค้าภายใน ว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
พ.ศ. ๒๕๓๒
(๒)
ระเบียบกรมการค้าภายใน
ว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๓๙
(๓)
ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
กำหนดเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ลงวันที่ ๒๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
(๔)
ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง
การแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
ผู้ประกอบการค้าข้าว หมายความว่า
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าวเฉพาะที่เป็นโรงสีขนาดกลางหรือโรงสีขนาดใหญ่
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่งผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข้อ
๕
ให้อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ข้อ ๖
ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ประสงค์จะขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าวที่เป็นโรงสีขนาดกลางหรือโรงสีขนาดใหญ่
ตามแบบ คข. ๑
(๒) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่งและประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ตามแบบ คข. ๒
(๓)
คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวตามแบบ คข. ๗
(๔) คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ตามแบบ คข. ๘
(๕) คำขอใบแทนหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว ตามแบบ
คข. ๑ หรือคข. ๒ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗
คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ราชการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ประกอบการค้าข้าวที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
(๒) ผู้ประกอบการค้าข้าวที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่น
ณ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดแห่งท้องที่นั้น
ข้อ ๘
การยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวให้ยื่นพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑)
การขออนุญาตประกอบการค้าประเภทสีข้าวเฉพาะที่เป็นโรงสีขนาดกลางหรือโรงสีขนาดใหญ่
(ก)
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าข้าว รายชื่อผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล
และสถานที่ตั้งสำนักงาน ซึ่งออกให้ไม่เกินหนึ่งเดือน กรณีนิติบุคคล
(ข)
หนังสือมอบอำนาจกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขออนุญาต
(ค) สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ กรณีบุคคลธรรมดา
(ง) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
(จ) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. ๔)
ซึ่งยังคงได้รับอนุญาตอยู่จนถึงปีที่ยื่นคำขออนุญาต
(๒) การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่ง
ยื่นเอกสารหลักฐานตาม (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) แล้วแต่กรณี
(๓)
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ก)
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ รายชื่อคณะกรรมการ
ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน สถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งออกให้ไม่เกินหนึ่งเดือน
(ข)
หลักฐานการมีเงินทุนจดทะเบียนที่ได้เรียกชำระแล้วไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท
(ค)
หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในการมีโรงเก็บข้าวเพื่อส่งออก
(ง) เอกสารหลักฐานตาม (๑) (ข)
(จ) แผนที่โดยสังเขปแสดงสถานที่ตั้งสำนักงาน
(ฉ)
แผนที่โดยสังเขปและแผนผังแสดงสถานที่ตั้งโกดังเก็บข้าว
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์จะส่งเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อที่มีน้ำหนักข้าวสุทธิไม่เกินสิบสองกิโลกรัมต่อกล่องหรือหีบห่อ
ยื่นเอกสารหลักฐานตาม (๓) (ก) (ง) (จ)
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ยื่นเอกสารหลักฐานตาม (๓) (ก) (ง) (จ)
กรณีเป็นนิติบุคคล ยื่นเอกสารหลักฐานตาม (๑) (ข) (ค) (ง) และ (๓) (จ)
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(๔) การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นรัฐวิสาหกิจ
ยื่นหนังสือรับรองของกระทรวง ทบวง กรม ที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจนั้น
โดยแสดงรายชื่อคณะกรรมการ ผู้อำนวยการ
ผู้จัดการกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐวิสาหกิจในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ทุน
วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ซึ่งรับรองไว้ก่อนยื่นคำขออนุญาตไม่เกินหนึ่งเดือน
กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วย
ยื่นเอกสารหลักฐานตาม (๓) (ก) (ง)
(๕) การขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
ยื่นหนังสือรับรองของกระทรวง ทบวง กรม ที่กำกับดูแลสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร
โดยแสดงรายชื่อคณะกรรมการ
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ทุน วัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข้อ
๙
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ยื่นคำขออนุญาต
พร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ข้อ
๑๐ กรณีหนังสืออนุญาตชำรุด สูญหาย
ให้ยื่นคำขอใบแทนหนังสืออนุญาตโดยยื่นคำขอพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิม
หรือหลักฐานการแจ้งความของสูญหายต่อพนักงานสอบสวน
ข้อ
๑๑
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตข้อ
๘ ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี
หมวด ๒
การออกหนังสืออนุญาต
ข้อ
๑๒
ให้เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในที่รับคำขออนุญาตจัดทำทะเบียนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของการขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ลำดับการรับ วันเดือนปีที่รับ ชื่อผู้ขออนุญาต
ข้อ
๑๓ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขออนุญาตให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน
และสถานที่เก็บข้าว และนำเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต
พร้อมเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาอนุญาต
กรณีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตแก้ไขและยื่นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขออนุญาตไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้จำหน่ายคำขออนุญาตดังกล่าว
ข้อ
๑๔
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต
พิจารณาออกหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว
การขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
การขอใบแทนหนังสืออนุญาตและการขอต่ออายุหนังสืออนุญาต
ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวันทำการ
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นับตั้งแต่เมื่อได้รับคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ข้อ
๑๕
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาต
ออกหนังสืออนุญาตตามแบบที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
หนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว ตามแบบ คข. ๓
(๒)
หนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่ง ตามแบบ คข. ๕ ก
(๓)
หนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ตามแบบ คข. ๓๑
ก
(๔)
หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตและใบแทนหนังสืออนุญาต ตามแบบ
คข. ๓ คข. ๕ ก หรือ คข. ๓๑ ก แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๖
การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ออกต้นฉบับให้แก่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตและเก็บคู่ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
การออกเลขที่หนังสืออนุญาตให้เรียงลำดับตามปีปฏิทิน
กรณีที่เป็นการออกหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตหรือออกใบแทนหนังสืออนุญาต
ให้ออกเลขที่ของหนังสืออนุญาตฉบับเดิม
ข้อ
๑๗
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาต
กำหนดระยะเวลาการอนุญาต จนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคมของปีที่ออกหนังสืออนุญาตไว้ในหนังสืออนุญาต
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ศิริพล ยอดเมืองเจริญ
อธิบดีกรมการค้าภายใน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว (ประเภททำการสีข้าว) (แบบ ค.ข. ๑)
๒.
คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว (ประเภทร้านขายส่ง ขายปลีก มียุ้งฉาง เรือข้าว
และประเภทอื่น ๆ) (แบบ ค.ข. ๒)
๓.
คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือขออนุญาตประกอบการค้าข้าว (แบบ ค.ข. ๗)
๔.
คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาต (แบบ ค.ข. ๘)
๕.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทสีข้าว (แบบ ค.ข. ๓)
๖.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทขายส่ง (แบบ ค.ข. ๕ค)
๗.
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ (แบบ ค.ข.
๓๑ค)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ญาณี/พิมพ์
๒๗ เมษายน ๒๕๔๘
สุนันทา/พุทธพัท/ตรวจ
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๐/๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ |
318520 | ระเบียบกรมการค้าภายใน ว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว พ.ศ. 2532 | ระเบียบกรมการค้าภายใน
ระเบียบกรมการค้าภายใน
ว่าด้วย
การขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาต
ให้ประกอบการค้าข้าว
พ.ศ. 2532
----------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุญาตและการออกหนังสืออนุญาตให้
ประกอบการค้าข้าว ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
2489 เสียใหม่ให้เหมาะสม และเพื่อ
อนุมัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.
2532 กรมการค้าภายใน
จึงออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการสำหรับการขอ
อนุญาตและการออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า `ระเบียบกรมการค้าภายในว่าด้วยการขออนุญาตและการออกหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว พ.ศ. 2532'
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
7 กรกฎาคม 2532 เป็นต้นไป
ข้อ 3 บรรดาระเบียบปฏิบัติ หลักเกณฑ์ หรือแนวทางการขออนุญาตใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วใน
ระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
`ผู้ประกอบการค้าข้าว' หมายความถึง
ผู้ที่ทำการค้าข้าวเป็นปกติในทางการค้า
`สถานที่ประกอบการค้าข้าว' หมายความถึง สำนักงานที่ทำการ หรือที่ที่ทำการค้าข้าว
`สถานที่เก็บข้าว' หมายความถึง
โกดัง โรงเรือน หรือ โรงเก็บข้าว
`ขออนุญาต' หมายความถึง
ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาต
ขอใบแทนหนังสืออนุญาตและรวมถึงขอต่ออายุหนังสืออนุญาต
`หนังสืออนุญาต' หมายความถึง
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
`ค่าธรรมเนียม' หมายความถึง
เงินรายได้ที่เรียกเก็บจากการขออนุญาต หนังสืออนุญาต
และอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
`กฎกระทรวง' หมายความถึง
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2489
`คณะกรรมการ' หมายความถึง
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช 2489 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489
`พนักงานเจ้าหน้าที่' หมายความถึง
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช 2489 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489
ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมการค้าภายใน รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด 1
------
ข้อความทั่วไป
ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว และหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตประกอบการค้า
ข้าวให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการ
ข้อ 7 ผู้ประกอบการค้าข้าวที่ต้องขออนุญาตตามระเบียบนี้ได้แก่
(1) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว (โรงสีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่)
(2) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
(3) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่ง
(4) ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข้อ 8
ในการขออนุญาตให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมหลักฐานตามที่กรมการค้าภายในประกาศกำหนดไว้
แบบคำขออนุญาตให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
(1) แบบ คข. 1 คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
(2) แบบ คข. 2 คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง ขายส่ง
และค้าข้าว ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(3) แบบ คข. 7 คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
(4) แบบ คข. 8 คำขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
การขออนุญาตเพื่อให้ออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นตามแบบ คข. 1 หรือ
คข. 2 แล้วแต่กรณี
ข้อ 9 การยื่นคำขออนุญาตตามข้อ 8 ให้ยื่นดังนี้
ก. ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
และประเภทขายส่ง
(1) ผู้ที่มีสถานที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นที่กอง
ควบคุมข้าว กรมการค้าภายใน
(2) ผู้ที่มีสถานที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเมืองของจังหวัดใด
ที่มี
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตั้งอยู่
ให้ยื่นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้น
(3) ผู้ที่มีสถานที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในเขตท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอของจังหวัด
ใด
ให้ยื่นที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอของจังหวัดนั้น
โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับคำขออนุญาตจะต้องรวบรวมคำ
ขออนุญาตและหลักฐานประกอบคำขออนุญาตส่งสำนักงานพาณิชย์จังหวัดโดยมิชักช้า
ข. ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(1) ผู้ที่มีสถานที่ประกอบการค้าข้าวอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
และในเขตท้อง
ที่จังหวัดอื่น
ให้ยื่นที่กองควบคุมข้าวกรมการค้าภายใน
(2)
ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับต่างประเทศ และประสงค์จะส่ง
ข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
ให้ยื่นที่สำนักงานพาณิชย์
จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้น
ข้อ 10 การขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ยื่นคำขอ
อนุญาตพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิมและหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตนั้น
ข้อ 11 การขออนุญาตเพื่อให้ออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ในกรณีหนังสืออนุญาต
ลบเลือน ชำรุด ฉีกขาด
ให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมหนังสืออนุญาตฉบับเดิม เว้นแต่ในกรณีที่หนังสืออนุญาต
สูญหายหรือถูกทำลาย
ให้ยื่นคำขออนุญาต และหลักฐานการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของเจ้าพนักงานสอบสวน
ข้อ 12 การขออนุญาต ตามข้อ 10 และ ข้อ 11
ให้ยื่นคำขออนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มี
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่หนังสืออนุญาตลบเลือนชำรุด
ฉีกขาด สูญหาย หรือถูกทำลาย
ข้อ 13 การขออนุญาตต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประจำปี ให้ยื่นคำขออนุญาตและ
หนังสืออนุญาตฉบับเดิมพร้อมหลักฐานประกอบคำขออนุญาต
ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี
หมวด 2
------
การรับคำขออนุญาต
ข้อ 14 ให้มีทะเบียนรับคำขออนุญาตแยกประเภทของการขออนุญาตไว้ให้ชัดเจน
โดยมีรายละเอียด
เกี่ยวกับลำดับเลขที่ วัน เดือน ปี อนุญาตไว้ให้ชัดเจน
โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับลำดับเลขที่ วัน เดือน
ปี ที่รับคำขออนุญาต ชื่อของผู้ขออนุญาต
และรายการอื่นตามความจำเป็น
ข้อ 15
การตรวจรับคำขออนุญาตให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่จดแจ้งไว้ในคำขออนุญาต
และหลักฐานประกอบคำขออนุญาตนั้น
การแก้ไข ขูดลบ ขีดฆ่าข้อความในคำขออนุญาต
และหลักฐานประกอบคำขออนุญาตให้ลงลายมือชื่อ
ของผู้ขออนุญาต
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับคำขออนุญาต แล้วแต่กรณี
ให้ออกเลขที่รับคำขออนุญาตเรียงลำดับ ตามวัน เวลา เดือน
และปีที่รับคำขออนุญาตก่อนนำลง
ทะเบียนรับคำขออนุญาต
เมื่อได้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตแล้ว
ให้รวบรวมเรื่องการขออนุญาตนั้นเสนอต่อผู้บังคับ
บัญชาโดยพลัน
ข้อ 16 ในการตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำขออนุญาตตามข้อ 15
ถ้าปรากฏว่าคำขอ
อนุญาตและหลักฐานประกอบคำขออนุญาตนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ให้รวบรวม
ความไม่ถูกต้อง
หรือไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้อง
และสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
ในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขออนุญาต
และหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามความในวรรคแรก
แก่ผู้ขออนุญาตให้ส่งคืนคำขออนุญาตและหลักฐานประกอบคำขออนุญาต
พร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือ
ไม่สมบูรณ์นั้นให้ทราบโดยเร็ว
แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 20
หมวด
3
------
การพิจารณาคำขออนุญาต
ข้อ 17 ในการพิจารณาคำขออนุญาต
ให้พิจารณาถึงความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำขออนุญาตนั้น
โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ
11 ข้อ 12 และข้อ 13
ข้อ 18
ในกรณีที่ต้องตรวจสถานที่เก็บข้าวตามคำขออนุญาตให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคำขอ
อนุญาต
และให้นำรายงานการตรวจและความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจ ประกอบการ
พิจารณา
ข้อ 19 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขออนุญาตรวบรวมเรื่องและทำความเห็นประกอบการ
พิจารณาเสนอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตโดยมิชักช้า
การทำความเห็นในวรรคก่อน
ให้ระบุเหตุผลว่าสมควรอนุญาตอย่างไรหรือไม่ โดยจะจัดทำเป็น
หนังสือแยกต่างหากจากคำขออนุญาตก็ได้
ข้อ 20 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา
ดังนี้
(1) ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ก. ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
5 วันทำการ
ข. ประเภทสีข้าว
3 วันทำการ
ค.
ประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
3 วันทำการ
ง. ประเภทขายส่ง
3 วันทำการ
(2) ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้
ประกอบการค้าข้าว
3 วันทำการ
(3) ขออนุญาตใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว 3 วันทำการ
(4) ขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
3 วันทำการ
ในกรณีที่ยื่นคำขออนุญาตต่ออำเภอ หรือกิ่งอำเภอ
หรือในกรณีที่ต้องตรวจสถานที่เก็บข้าวตามคำขอ
อนุญาตในท้องที่ห่างไกล ให้พิจารณาออกหนังสืออนุญาตตาม (1)
(2) (3) หรือ (4) ให้แล้วเสร็จภาย
ในสิบห้าวันทำการ
การนับระยะเวลาตามวรรคแรกและวรรคสอง
ให้นับตั้งแต่วันเริ่มต้นยื่นคำขออนุญาตถึงวันได้รับ
หนังสืออนุญาต
หมวด 4
------
การออกหนังสืออนุญาต
ข้อ 21 พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้เป็นไปตาม
ประกาศของคณะกรรมการ
ข้อ 22 ให้ออกหนังสืออนุญาตตามแบบที่กำหนด ดังนี้
(1) แบบ
คข. 3
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทสีข้าว
(โรงสีขนาด เล็ก กลาง ใหญ่)
(2) แบบ คข. 4 ก
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมียุ้งฉาง
(3) แบบ คข. 5 ก
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทขายส่ง
(4) แบบ คข. 31 ก
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่าย
ต่างประเทศ
การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
เพื่อเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต หรือออก
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้เป็นไปตามแบบ คข. 3 คข.4ก คข. 5 ก หรือ คข.31 ก แล้วแต่กรณี
ข้อ 23 การออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้ออกต้นฉบับให้แก่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาต
และเก็บรักษาคู่ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
ให้ออกเลขที่ของหนังสืออนุญาตเรียงเป็นลำดับตามปีปฏิทิน
โดยนำข้อความที่จดแจ้งในคำขออนุญาต
ลงรายการในหนังสืออนุญาต ตามประเภทของการขออนุญาต และอนุญาตให้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของ
ปีที่ออกหนังสืออนุญาตนั้น
ข้อ 24 ในการออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
เพื่อเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ให้ออกเลขที่ของหนังสืออนุญาตฉบับเดิมโดยนำข้อความที่เปลี่ยนแปลง
ลงรายการในหนังสืออนุญาต
ในกรณีที่ออกใบแทนหนังสืออนุญาต
ให้ออกเลขที่ของหนังสืออนุญาตฉบับเดิม โดยนำข้อความที่จด
แจ้งในคำขออนุญาตลงรายการในใบแทนหนังสืออนุญาต
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ที่ได้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
และใบแทนหนังสือ
อนุญาต
ให้มีกำหนดอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่มีการออกหนังสืออนุญาตนั้น
ข้อ 25 การต่ออายุหนังสืออนุญาตประจำปี ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันอนุญาต
มีกำหนด
อายุถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกำกับการต่ออายุหนังสือ
อนุญาตนั้นไว้
ข้อ 26
ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวนำใบแทนหนังสืออนุญาต
มายื่นคำขอต่อ
อายุหนังสืออนุญาต ให้เก็บใบแทนหนังสืออนุญาตนั้นไว้ และออกหนังสืออนุญาตให้ใหม่ โดยใช้เลขที่และข้อ
ความตามรายการที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตฉบับเดิม
และให้นำความในข้อ 25 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 27 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้อนุญาต
และออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทใดไปแล้ว ให้บันทึกรายการอนุญาต และออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทนั้นไว้ใน
ทะเบียนผู้ประกอบการค้าข้าว
การบันทึกรายการตามความในวรรคก่อน
ให้รวมถึงกรณีที่มีการยื่นคำขออนุญาต เพื่อเปลี่ยนแปลง
รายการในหนังสืออนุญาต ขอต่ออายุหนังสืออนุญาต
ตลอดจนขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าวด้วย
หมวด
5
------
ค่าธรรมเนียม
ข้อ 28 ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต
ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาต และค่าธรรมเนียมในกรณีอื่น
ให้เรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ข้อ 29 การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ตามข้อ 28
ให้ออกใบเสร็จรับเงินคราวละสามฉบับ มี
ข้อความถูกต้องตรงกัน
โดยออกฉบับแรกให้แก่ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาตแล้วแต่กรณี ฉบับที่สอง
ซึ่งเป็นสำเนาให้เก็บไว้เป็นหลักฐานการนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน
และฉบับที่สามให้เก็บไว้เป็นต้นขั้วใบ
เสร็จรับเงิน
หมวด 6
------
การเลิกประกอบการค้าข้าว
ข้อ 30
การเลิกประกอบการค้าข้าวไม่ว่าด้วยเหตุใดจะต้องแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว และคืน
หนังสืออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมิชักช้า
ความในวรรคก่อนไม่ให้ใช้บังคับ
ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวถึงแก่ความ
ตาย
หรือถูกสั่งถอนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามมาตรา 15
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช 2489 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489
ข้อ 31 การแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าวให้ยื่นคำขอแจ้งเลิกตาม แบบ คข. 19
ต่อพนักงานเจ้า
หน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 9
ข้อ 32
ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวไม่ต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการ
ค้าข้าวประจำปี
ให้ถือว่าผู้นั้นได้เลิกประกอบการค้าข้าวนับตั้งแต่วันสิ้นกำหนดอายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว
ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
สนิท วรปัญญา
อธิบดีกรมการค้าภายใน
[รก.2532/111/9พ/14
กรกฎาคม 2532] |
564443 | พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒)
พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
น้ำมันเชื้อเพลิง
หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ
หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ค้าน้ำมัน หมายความว่า
ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร
หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
ผู้ขนส่งน้ำมัน หมายความว่า
ผู้ที่รับจ้างทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมิใช่เป็นของตนเอง
โดยใช้ยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ
สถานีบริการ หมายความว่า
สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ
โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปริมาณการค้าประจำปี หมายความว่า
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต
หรือได้มาในปีหนึ่ง ทั้งนี้
ไม่รวมถึงปริมาณที่จัดหามาเพื่อการสำรองตามกฎหมาย
ปี หมายความว่า ปีปฏิทิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*มอบหมาย
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง
ทบวง กรม
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
กำหนดกิจการอื่น และออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
หมวด ๑
การค้าและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา ๗
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิด
หรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่หนึ่งแสนเมตริกตันขึ้นไป หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวแต่เพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณการค้าปีละตั้งแต่ห้าหมื่นเมตริกตันขึ้นไป
ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี
การขออนุญาต
การออกใบอนุญาต และคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามความในมาตรานี้
จะต้องมิใช่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๓๔
โดยยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และกรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ขออนุญาตจะต้องไม่ใช่กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ค้าน้ำมันซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต
โดยยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๘[๒]
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีจะออกประกาศกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปฏิบัติตามก็ได้
มาตรา ๙
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใดที่ประสงค์จะเลิกประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาต
ต้องแจ้งให้รัฐมนตรีทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบกิจการ
หากมีน้ำมันเชื้อเพลิงเหลืออยู่ในการครอบครองในวันเลิกประกอบกิจการให้ผู้นั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลือให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
มาตรา ๑๐
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าปีละไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๗
แต่เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีขนาดของถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อรัฐมนตรีประกาศกำหนดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
หรือประกาศเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหรือขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ได้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้วและอยู่ในข่ายที่จะต้องจดทะเบียน
ยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
มาตรา ๑๑
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการค้าน้ำมันโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการ
ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ และมาตรา ๑๐
มาตรา ๑๒
ผู้ใดเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามชนิดและปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อรัฐมนตรีมีประกาศตามวรรคหนึ่ง
หรือประกาศเปลี่ยนแปลงชนิดหรือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้วและอยู่ในข่ายที่จะต้องแจ้ง
แจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อรายการตามที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เปลี่ยนแปลงไป
ให้ผู้ขนส่งน้ำมันแจ้งเพิ่มเติมตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
มาตรา ๑๓
อธิบดีอาจกำหนดให้ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้า
การป้องกันการขาดแคลนหรือการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๑๔
เมื่อรายการตามที่ได้ขออนุญาตไว้ตามมาตรา ๗ หรือได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา ๑๐
หรือมาตรา ๑๑ ได้เปลี่ยนแปลงไป
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอเปลี่ยนแปลงรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
การเลิกการประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ มาตรา ๑๑ หรือการขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันแจ้งต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกกิจการตามแบบที่อธิบดีกำหนด
เพื่อลบรายการออกจากทะเบียน
มาตรา ๑๕
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ
ถ้ามิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสามต่อเดือน
และถ้ายังไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้หยุดประกอบกิจการไว้จนกว่าจะได้ชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มครบจำนวน
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง
ผู้ใดประกอบกิจการโดยฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗
หรือไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
หรือเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันโดยไม่ได้แจ้งตามมาตรา ๑๒ แล้วแต่กรณี
หมวด ๒
การแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูล
มาตรา ๑๖
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งบัญชีตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐
ส่งบัญชีตามแบบและรายการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมนอกจากที่ต้องส่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้
ตามแบบและระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๗
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ส่งแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต
หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงสามเดือนถัดไปตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่ยี่สิบของทุกเดือน
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการวางแผนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศและการติดตามสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงของโลก
รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมันส่งแผนปฏิบัติการในรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามแบบและระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินกิจการค้าน้ำมันให้เป็นไปตามแผนที่ได้แจ้งไว้ในวรรคหนึ่งและแผนปฏิบัติการตามวรรคสอง
เว้นแต่มีเหตุอันควรที่มิอาจดำเนินการตามนั้นได้
มาตรา ๑๘
บรรดาข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลใด ๆ
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเปิดเผยหรือเผยแพร่ได้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
หมวด ๓
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา ๑๙
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีก่อนปีที่จะทำการค้านั้น
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน
ในกรณีที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหม่และขอเริ่มทำการค้าระหว่างปี
ให้ยื่นปริมาณการค้าประจำปี เพื่อขอความเห็นชอบพร้อมการยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งอาจขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามที่ได้ยื่นขอความเห็นชอบไว้ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ค้าน้ำมันได้ยื่นขอกำหนดปริมาณการค้าประจำปีตามวรรคหนึ่งหรือขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามวรรคสอง
อธิบดีอาจให้ความเห็นชอบตามปริมาณที่ขอกำหนดหรือขอเปลี่ยนแปลง
หรืออาจกำหนดเป็นปริมาณอื่นตามที่เห็นสมควรได้
และให้ถือว่าปริมาณที่อธิบดีให้ความเห็นชอบหรือกำหนดนั้นเป็นปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวในปีนั้น
ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามปริมาณการค้าประจำปีที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ
เว้นแต่มีเหตุอันควรที่มิอาจดำเนินการตามนั้นได้
มาตรา ๒๐
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกขณะในสถานที่เก็บตามวรรคสี่
โดยชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง และหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรอง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้
การกำหนดอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของปริมาณการค้าประจำปี[๓]
เพื่อประโยชน์ในการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งมิได้ทำการค้าตลอดทั้งปี หรือเริ่มทำการค้าในระหว่างปี
กำหนดปริมาณการค้าประจำปี
โดยคิดตามอัตราเฉลี่ยของปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายเดือนในช่วงระยะเวลาที่จะทำการค้านั้นคูณด้วยสิบสอง
เสมือนหนึ่งว่าทำการค้าตลอดทั้งปี
ในกรณีที่อธิบดีมิได้ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายใดก่อนเวลาเริ่มต้นปี
ให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณที่เคยเก็บอยู่ในปีที่ผ่านมาไปก่อนจนกว่าอธิบดีจะได้ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว
สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบ และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
อธิบดีมีอำนาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคสี่ได้
มาตรา ๒๑
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนในสถานที่ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๐ วรรคสี่และวรรคห้าก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๒๐
วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
การมอบหมายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒
การกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง รวมทั้งหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา[๔]
ประกาศกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามวรรคหนึ่ง
และประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองซึ่งได้ประกาศไว้แล้วให้สูงขึ้น
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในประกาศนั้น
แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการประกาศเปลี่ยนแปลงชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง
อธิบดีอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันที่สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดอยู่แล้วต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนั้นต่อไปอีกได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๓
เมื่อผู้ค้าน้ำมันแสดงหลักฐานเป็นหนังสืออันฟังได้ว่ามีพฤติการณ์ที่ทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่อาจสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามอัตราที่กำหนดได้
หรือการสำรองนั้นจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องได้รับความเสียหายเกินสมควร
ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งผ่อนผันเป็นการชั่วคราวมิให้ผู้ค้าน้ำมันต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือให้ลดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองได้ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร
ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันไว้ด้วยก็ได้
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายหรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใด
หรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองไว้ตามมาตรา ๒๐ ได้ ในการนี้ อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
หมวด ๔
การกำหนดและควบคุมคุณภาพ
มาตรา ๒๕
อธิบดีมีอำนาจกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจะกำหนดให้ใช้บังคับเฉพาะแต่ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดหรือหลายท้องที่ได้ตามที่เห็นสมควร
หรือจะกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใดต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอความเห็นชอบ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยกำหนดวันเริ่มมีผลใช้บังคับไว้ด้วย
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
หรือที่ยังมิได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี หรือได้รับความเห็นชอบแล้วแต่ผู้ได้รับความเห็นชอบยังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ถ้ามีเหตุอันควรซึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามนั้นได้
อธิบดีจะผ่อนผันให้เป็นการชั่วคราวก็ได้
ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือสิ่งหล่อลื่นใช้แล้ว
ซึ่งผู้ค้าน้ำมันไม่ได้จำหน่ายไปอย่างน้ำมันหล่อลื่นหรือสิ่งหล่อลื่น
มาตรา ๒๖
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
เก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรักษาหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้
ภายในช่วงระยะเวลาที่อธิบดีกำหนดตามความจำเป็น
(๒)
ทำการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรักษาหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายพร้อมทั้งรายงานผลให้แก่ทางราชการ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายใดไม่สามารถดำเนินการตาม
(๒) ได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวตามมาตรา
๒๘ และให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา ๒๗
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ต้องจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็นเป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๒๘
ในการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดีจะมอบให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
หรือบุคคลใดเป็นผู้ทำการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่เห็นสมควรก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๒๙
ในกรณีที่พบว่าผู้ค้าน้ำมันรายใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวและผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อไป
ให้แจ้งขอทำการแก้ไขปรับปรุงลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดี
การแก้ไขปรับปรุงลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
เมื่อผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งได้กระทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่งแล้ว
ให้ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุญาตจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อไป
และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามจำหน่ายและปลดผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
คำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามจำหน่ายดังกล่าวนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
การผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการร้องขออนุญาตจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรานี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๓๐
การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ต้องเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ที่จะขนส่งคราวละตั้งแต่สามพันลิตรขึ้นไปให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดที่อธิบดีประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพตามมาตรา ๒๕
เว้นแต่ในกรณีมีความจำเป็นชั่วคราวโดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๕
อำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๓๑
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสำนักงาน สถานที่กลั่น สถานที่ผลิต สถานที่เก็บ
และสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมัน
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น
(๒)
เก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใดที่อยู่ในความครอบครองของผู้ค้าน้ำมัน
หรือผู้ขนส่งน้ำมัน หรือผู้ควบคุมรถขนส่งน้ำมัน
ตัวอย่างละไม่เกินห้าลิตรมาเพื่อตรวจสอบ
(๓)
สั่งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันตรวจสอบปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงและรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(๔)
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันไม่ยอมให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) หรือ (๒)
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้าไปไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้จะทำให้ประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ต้องสูญเสียไป
ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปิด หรือทำลายประตู หน้าต่างของอาคาร
รั้วหรือสิ่งกีดขวางทำนองเดียวกัน และให้มีอำนาจทำลายตรา สิ่งผนึก
หรือสิ่งที่ใช้ยึดหรือผูก หรือกระทำการใด ๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเพื่อการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่ทั้งนี้ ต้องพยายามมิให้เกิดการเสียหายเท่าที่จะทำได้
(๕)
ยึดหรืออายัดน้ำมันเชื้อเพลิง ภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
(๖)
สั่งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันแสดงบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ
เกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(๗)
เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งบัญชี เอกสารและหลักฐานใด ๆ มาให้ ณ
ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ มาเพื่อตรวจสอบตาม (๒)
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด[๕]
มาตรา ๓๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๓๓
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๖
การเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๓๔
รัฐมนตรีอาจเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ได้ เมื่อผู้ค้าน้ำมันกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๑)
ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๘
(๒)[๖]
ไม่เริ่มทำการค้าภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
หรือหยุดทำการค้าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกินสองปี
(๓) ไม่สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๒๐
เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกินสามสิบวัน
หรือเป็นระยะเวลาไม่ต่อเนื่องกันแต่รวมกันแล้วเกินหกสิบวันในปีหนึ่ง
(๔)
กระทำการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
และเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดดังกล่าว
ให้ลงโทษจำคุกบุคคลตามมาตรา ๖๐ ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นพ้นจากการที่จะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๕[๗] ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสามล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๘
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๗
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดที่เลิกประกอบกิจการโดยไม่แจ้งให้รัฐมนตรีทราบตามมาตรา
๙ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๘[๘] ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๙
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๔๑
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๒
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ หรือส่งบัญชีหรือแจ้งข้อมูลตามมาตรา ๑๖ อันเป็นเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๓
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดไม่ส่งแผนตามมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง หรือไม่ส่งแผนปฏิบัติการตามมาตรา
๑๗ วรรคสอง หรือจงใจไม่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามแผนตามมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง
หรือแผนปฏิบัติการตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง โดยไม่มีเหตุอันควร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๔
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๔๕
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดจงใจไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามปริมาณการค้าประจำปีที่อธิบดีให้ความเห็นชอบหรือกำหนดตามมาตรา
๑๙ วรรคสามหรือวรรคสี่ โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๖
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสี่
หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับเป็นรายวัน
วันละไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทแต่ไม่เกินวันละหนึ่งล้านบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๗
ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขตามมาตรา ๒๔
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๘
ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๙
ผู้ใดกระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันทำให้ลักษณะหรือคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง เพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำการปลอมปนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๐
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง มีปริมาณตั้งแต่สองร้อยลิตรขึ้นไป
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า
(๑)
มีน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในกิจการของตน
(๒)
ครอบครองไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายอื่น
(๓)
ได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นโดยไม่ทราบว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง หรือ
(๔)
ได้มาหรือมีไว้เพื่อใช้ในกิจการอื่นนอกจากการใช้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ซึ่งรัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนดเงื่อนไขให้ต้องทำการพิสูจน์คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา
๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งหากได้กระทำการตามวิธีการที่กล่าวนี้แล้วก็อาจทราบได้ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง การอ้างว่าได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (๓) เป็นอันมิให้รับฟัง
เว้นแต่จะนำสืบได้ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการพิสูจน์คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแล้วผลไม่ปรากฏว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มิให้ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันที่มีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง โดยได้รับการผ่อนผันจากอธิบดีตามมาตรา ๒๕ วรรคสาม
และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือสิ่งหล่อลื่นใช้แล้วตามมาตรา ๒๕ วรรคสี่
มาตรา ๕๑
ในกรณีที่ผู้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง หรือผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔๘
เป็นลูกจ้างหรือเป็นบุคคลซึ่งผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันมอบหมายให้กระทำ
หรือการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำการ หรือสถานที่จำหน่าย
หรือยานพาหนะสำหรับขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันดังกล่าวเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
มาตรา ๕๒
ผู้ใดรายงานผลการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๒๖ (๒)
หรือมาตรา ๒๘ อันเป็นเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง
ผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาทุจริต
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๕๓
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๗ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๕
ผู้ใดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งห้ามจำหน่าย
หรือทำลายผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำไว้ตามมาตรา ๒๙
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ วรรคสอง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๗
ผู้ใดขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๘
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท
จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๕๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท
มาตรา ๖๐[๙] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๖๑
น้ำมันเชื้อเพลิงหรือทรัพย์สินใดบรรดาที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบ
ให้ส่งมอบแก่กรมธุรกิจพลังงาน*เพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไป
ในกรณีที่ต้องทำลาย
ให้ศาลมีคำสั่งในคำพิพากษาให้เจ้าของชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้แก่ทางราชการด้วย
มาตรา ๖๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบได้
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
และผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
ในกรณีที่มีทรัพย์สินที่อาจริบได้ตามกฎหมาย
ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเปรียบเทียบได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
สำหรับทรัพย์สินที่ทำ ใช้ หรือมีไว้เป็นความผิด เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน*
(๒)
สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอน
ถ้าอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมและได้แก้ไขทรัพย์สินนั้นให้ถูกต้องแล้ว
(๓)
สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอน
ถ้าไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน* ในการนี้
จะกำหนดให้ผู้กระทำความผิดออกค่าใช้จ่ายในการทำลายของกลางนั้นด้วยก็ได้
หมวด ๘
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๔
ให้ปริมาณการค้าประจำปีและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่รัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นปริมาณการค้าประจำปีและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๕
ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
และผู้ขนส่งน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องแจ้งตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ยื่นขอจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
หรือแจ้งต่ออธิบดีตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๖๖
บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ
ระเบียบ คำสั่ง หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑)
คำขอ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๒)
ใบทะเบียน ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๓)
ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๔)
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๕)
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ปีละ
๕,๐๐๐ บาท
(๗)
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ปีละ
๕,๐๐๐ บาท
ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่าง
โดยคำนึงถึงขนาดและกิจการของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันก็ได้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติของพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
ที่ใช้สำหรับควบคุมเกี่ยวกับการค้าน้ำมันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของการประกอบกิจการค้าน้ำมันในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบทบัญญัติให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยกำหนดควบคุมผู้ค้าน้ำมันเป็น ๓
ระดับ คือ ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ผู้ค้าน้ำมันรายย่อย และสถานีบริการน้ำมัน
และผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางอย่างให้เข้มงวดน้อยลง เช่น
การจัดตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถยื่นคำขอเพื่อจดทะเบียนต่ออธิบดีได้
ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้ต้องขออนุญาตจากอธิบดี สำหรับผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงก็เพียงแต่แจ้งต่ออธิบดีเท่านั้น
และปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีบางประการที่เป็นเรื่องในรายละเอียดเปลี่ยนเป็นอำนาจของอธิบดี
เพื่อให้การควบคุมดูแลมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
รวมทั้งเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อใช้ควบคุมการค้าน้ำมันและการปลอมปนน้ำมัน
รวมทั้งปรับปรุงมาตรการบางอย่างให้สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น การฟ้องร้องและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง
ตลอดจนบทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะโทษปรับที่ยังต่ำไปเนื่องจากกิจการค้าน้ำมันเป็นกิจการที่ทำรายได้สูงมาก
สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๐]
มาตรา ๑๐
ในพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คำว่า กรมทะเบียนการค้า
เป็น กรมธุรกิจพลังงาน และคำว่า อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เป็น อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม นั้นแล้ว
และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว
ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๑]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบกิจการในปัจจุบัน
และเป็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๒]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น
เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริญสินีย์/จัดทำ
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๑๑ ก/หน้า ๑๔/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๒] มาตรา ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓] มาตรา ๒๐
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐
[๔] มาตรา ๒๒
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐
[๕] มาตรา ๓๑ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๖] มาตรา ๓๔ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๗] มาตรา ๓๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] มาตรา ๓๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] มาตรา ๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๘ ก/หน้า ๓๔/๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769013 | พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้
และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ
(๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช
๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕
และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐
(๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๗) มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒๐) มาตรา ๑๕
แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒๑) มาตรา ๙๒
แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
(๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
(๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๘) มาตรา ๑๑๑
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๓๗
(๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
(๓๕) มาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๘) มาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๒) มาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๔) มาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๖) มาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
(๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๐) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พุทธศักราช ๒๔๗๔
มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒. ประมวลรัษฎากร
มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย
๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา
๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ
อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ.
ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ
อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง
ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า อผศ. ทหารผ่านศึก ผ่านศึก นอกประจำการ หรือคำว่าทหาร เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๑.
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๒.
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๔ .
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น
หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด
ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย
๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๒๔
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐
หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ.
๒๕๒๔
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย
๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา
๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา
๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด
หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
๒๕๓๕
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา
๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา
๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓
มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙
หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.
๒๕๔๑
มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง
หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑
วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗
มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๒
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.
๒๕๔๕
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙
หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘
เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา
๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน
อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.
๒๕๔๘
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา
๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา
๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี
ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑
หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙
ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕
หรือมาตรา ๑๒๘
ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์
หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา
๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๔
มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๕๗
วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769663 | พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/02/2560) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.
๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่
๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล
น้ำมันเตา
น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ
หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ค้าน้ำมัน หมายความว่า
ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร
หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
ผู้ขนส่งน้ำมัน หมายความว่า
ผู้ที่รับจ้างทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมิใช่เป็นของตนเอง
โดยใช้ยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ
สถานีบริการ หมายความว่า
สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ
โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปริมาณการค้าประจำปี หมายความว่า
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต
หรือได้มาในปีหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงปริมาณที่จัดหามาเพื่อการสำรองตามกฎหมาย
ปี หมายความว่า
ปีปฏิทิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*มอบหมาย
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง
ทบวง กรม
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
กำหนดกิจการอื่น และออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
หมวด
๑
การค้าและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา ๗
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิด
หรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่หนึ่งแสนเมตริกตันขึ้นไป หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวแต่เพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณการค้าปีละตั้งแต่ห้าหมื่นเมตริกตันขึ้นไป
ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี
การขออนุญาต การออกใบอนุญาต
และคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามความในมาตรานี้
จะต้องมิใช่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๓๔
โดยยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และกรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ขออนุญาตจะต้องไม่ใช่กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ค้าน้ำมันซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต
โดยยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๘[๒]
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีจะออกประกาศกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปฏิบัติตามก็ได้
มาตรา ๙ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใดที่ประสงค์จะเลิกประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาต
ต้องแจ้งให้รัฐมนตรีทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบกิจการ
หากมีน้ำมันเชื้อเพลิงเหลืออยู่ในการครอบครองในวันเลิกประกอบกิจการให้ผู้นั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลือให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
มาตรา ๑๐
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าปีละไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๗
แต่เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีขนาดของถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อรัฐมนตรีประกาศกำหนดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
หรือประกาศเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหรือขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ได้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้วและอยู่ในข่ายที่จะต้องจดทะเบียน
ยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
มาตรา ๑๑
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการค้าน้ำมันโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการ
ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ และมาตรา ๑๐
มาตรา ๑๒
ผู้ใดเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามชนิดและปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อรัฐมนตรีมีประกาศตามวรรคหนึ่ง
หรือประกาศเปลี่ยนแปลงชนิดหรือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้วและอยู่ในข่ายที่จะต้องแจ้ง
แจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อรายการตามที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เปลี่ยนแปลงไป
ให้ผู้ขนส่งน้ำมันแจ้งเพิ่มเติมตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
มาตรา ๑๓
อธิบดีอาจกำหนดให้ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้า
การป้องกันการขาดแคลนหรือการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๑๔ เมื่อรายการตามที่ได้ขออนุญาตไว้ตามมาตรา
๗ หรือได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ได้เปลี่ยนแปลงไป
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอเปลี่ยนแปลงรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
การเลิกการประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
มาตรา ๑๑ หรือการขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันแจ้งต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกกิจการตามแบบที่อธิบดีกำหนด
เพื่อลบรายการออกจากทะเบียน
มาตรา ๑๕ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ
ถ้ามิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสามต่อเดือน
และถ้ายังไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้หยุดประกอบกิจการไว้จนกว่าจะได้ชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มครบจำนวน
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง
ผู้ใดประกอบกิจการโดยฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗
หรือไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
หรือเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันโดยไม่ได้แจ้งตามมาตรา ๑๒ แล้วแต่กรณี
หมวด
๒
การแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูล
มาตรา ๑๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งบัญชีตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ส่งบัญชีตามแบบและรายการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมนอกจากที่ต้องส่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้
ตามแบบและระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๗ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงสามเดือนถัดไปตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่ยี่สิบของทุกเดือน
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการวางแผนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศและการติดตามสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงของโลก
รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมันส่งแผนปฏิบัติการในรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามแบบและระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินกิจการค้าน้ำมันให้เป็นไปตามแผนที่ได้แจ้งไว้ในวรรคหนึ่งและแผนปฏิบัติการตามวรรคสอง
เว้นแต่มีเหตุอันควรที่มิอาจดำเนินการตามนั้นได้
มาตรา ๑๘ บรรดาข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลใด ๆ
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเปิดเผยหรือเผยแพร่ได้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
หมวด
๓
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา ๑๙ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีก่อนปีที่จะทำการค้านั้น
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน
ในกรณีที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหม่และขอเริ่มทำการค้าระหว่างปี
ให้ยื่นปริมาณการค้าประจำปี
เพื่อขอความเห็นชอบพร้อมการยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งอาจขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามที่ได้ยื่นขอความเห็นชอบไว้ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ค้าน้ำมันได้ยื่นขอกำหนดปริมาณการค้าประจำปีตามวรรคหนึ่งหรือขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามวรรคสอง
อธิบดีอาจให้ความเห็นชอบตามปริมาณที่ขอกำหนดหรือขอเปลี่ยนแปลง
หรืออาจกำหนดเป็นปริมาณอื่นตามที่เห็นสมควรได้
และให้ถือว่าปริมาณที่อธิบดีให้ความเห็นชอบหรือกำหนดนั้นเป็นปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวในปีนั้น
ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามปริมาณการค้าประจำปีที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ
เว้นแต่มีเหตุอันควรที่มิอาจดำเนินการตามนั้นได้
มาตรา ๒๐[๓] ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกขณะในสถานที่เก็บตามวรรคสี่
โดยชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง และหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรอง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้
การกำหนดอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของปริมาณการค้าประจำปี
เพื่อประโยชน์ในการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งมิได้ทำการค้าตลอดทั้งปี หรือเริ่มทำการค้าในระหว่างปี
กำหนดปริมาณการค้าประจำปี
โดยคิดตามอัตราเฉลี่ยของปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายเดือนในช่วงระยะเวลาที่จะทำการค้านั้นคูณด้วยสิบสอง
เสมือนหนึ่งว่าทำการค้าตลอดทั้งปี
ในกรณีที่อธิบดีมิได้ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายใดก่อนเวลาเริ่มต้นปี
ให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณที่เคยเก็บอยู่ในปีที่ผ่านมาไปก่อนจนกว่าอธิบดีจะได้ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว
สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบ และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
อธิบดีมีอำนาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคสี่ได้
มาตรา ๒๑ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนในสถานที่ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๐ วรรคสี่และวรรคห้าก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๒๐
วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
การมอบหมายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒[๔]
การกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง รวมทั้งหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามวรรคหนึ่ง
และประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองซึ่งได้ประกาศไว้แล้วให้สูงขึ้น
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในประกาศนั้น
แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการประกาศเปลี่ยนแปลงชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง
อธิบดีอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันที่สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดอยู่แล้วต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนั้นต่อไปอีกได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๓
เมื่อผู้ค้าน้ำมันแสดงหลักฐานเป็นหนังสืออันฟังได้ว่ามีพฤติการณ์ที่ทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่อาจสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามอัตราที่กำหนดได้
หรือการสำรองนั้นจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องได้รับความเสียหายเกินสมควร
ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งผ่อนผันเป็นการชั่วคราวมิให้ผู้ค้าน้ำมันต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือให้ลดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองได้ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร
ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันไว้ด้วยก็ได้
มาตรา ๒๔ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายหรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใด
หรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองไว้ตามมาตรา ๒๐ ได้ ในการนี้ อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
หมวด
๔
การกำหนดและควบคุมคุณภาพ
มาตรา ๒๕
อธิบดีมีอำนาจกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจะกำหนดให้ใช้บังคับเฉพาะแต่ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดหรือหลายท้องที่ได้ตามที่เห็นสมควร
หรือจะกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใดต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอความเห็นชอบ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยกำหนดวันเริ่มมีผลใช้บังคับไว้ด้วย
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
หรือที่ยังมิได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี หรือได้รับความเห็นชอบแล้วแต่ผู้ได้รับความเห็นชอบยังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ถ้ามีเหตุอันควรซึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามนั้นได้
อธิบดีจะผ่อนผันให้เป็นการชั่วคราวก็ได้
ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือสิ่งหล่อลื่นใช้แล้ว
ซึ่งผู้ค้าน้ำมันไม่ได้จำหน่ายไปอย่างน้ำมันหล่อลื่นหรือสิ่งหล่อลื่น
มาตรา ๒๖
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
เก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรักษาหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้
ภายในช่วงระยะเวลาที่อธิบดีกำหนดตามความจำเป็น
(๒)
ทำการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรักษาหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายพร้อมทั้งรายงานผลให้แก่ทางราชการ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใดไม่สามารถดำเนินการตาม (๒) ได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวตามมาตรา
๒๘ และให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา ๒๗
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ต้องจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็นเป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๒๘
ในการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดีจะมอบให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
หรือบุคคลใดเป็นผู้ทำการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่เห็นสมควรก็ได้
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๒๙
ในกรณีที่พบว่าผู้ค้าน้ำมันรายใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวและผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อไป
ให้แจ้งขอทำการแก้ไขปรับปรุงลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดี
การแก้ไขปรับปรุงลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
เมื่อผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งได้กระทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่งแล้ว
ให้ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุญาตจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อไป
และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามจำหน่ายและปลดผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
คำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามจำหน่ายดังกล่าวนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
การผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการร้องขออนุญาตจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรานี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๓๐
การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ต้องเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ที่จะขนส่งคราวละตั้งแต่สามพันลิตรขึ้นไปให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดที่อธิบดีประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพตามมาตรา ๒๕
เว้นแต่ในกรณีมีความจำเป็นชั่วคราวโดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด
๕
อำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๓๑
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสำนักงาน สถานที่กลั่น
สถานที่ผลิต สถานที่เก็บ และสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมัน ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น
(๒) เก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใดที่อยู่ในความครอบครองของผู้ค้าน้ำมัน
หรือผู้ขนส่งน้ำมัน หรือผู้ควบคุมรถขนส่งน้ำมัน
ตัวอย่างละไม่เกินห้าลิตรมาเพื่อตรวจสอบ
(๓)
สั่งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันตรวจสอบปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงและรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(๔)
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันไม่ยอมให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) หรือ (๒)
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้าไปไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้จะทำให้ประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ต้องสูญเสียไป
ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปิด หรือทำลายประตู หน้าต่างของอาคาร
รั้วหรือสิ่งกีดขวางทำนองเดียวกัน และให้มีอำนาจทำลายตรา สิ่งผนึก
หรือสิ่งที่ใช้ยึดหรือผูก หรือกระทำการใด ๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเพื่อการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่ทั้งนี้ ต้องพยายามมิให้เกิดการเสียหายเท่าที่จะทำได้
(๕) ยึดหรืออายัดน้ำมันเชื้อเพลิง ภาชนะบรรจุ
อุปกรณ์ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
(๖)
สั่งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันแสดงบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ
เกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(๗) เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งบัญชี เอกสารและหลักฐานใด ๆ มาให้ ณ ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ มาเพื่อตรวจสอบตาม (๒)
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด[๕]
มาตรา ๓๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๓๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด
๖
การเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๓๔
รัฐมนตรีอาจเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ได้
เมื่อผู้ค้าน้ำมันกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๑)
ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๘
(๒)[๖]
ไม่เริ่มทำการค้าภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
หรือหยุดทำการค้าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกินสองปี
(๓) ไม่สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๒๐
เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกินสามสิบวัน
หรือเป็นระยะเวลาไม่ต่อเนื่องกันแต่รวมกันแล้วเกินหกสิบวันในปีหนึ่ง
(๔) กระทำการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
และเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดดังกล่าว
ให้ลงโทษจำคุกบุคคลตามมาตรา ๖๐ ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นพ้นจากการที่จะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๕[๗] ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสามล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๘
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดที่เลิกประกอบกิจการโดยไม่แจ้งให้รัฐมนตรีทราบตามมาตรา ๙
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๘[๘] ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๙ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา ๑๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๔๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๒ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ หรือส่งบัญชีหรือแจ้งข้อมูลตามมาตรา ๑๖ อันเป็นเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๓ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ส่งแผนตามมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง หรือไม่ส่งแผนปฏิบัติการตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง
หรือจงใจไม่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามแผนตามมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง
หรือแผนปฏิบัติการตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง โดยไม่มีเหตุอันควร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดไม่ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามมาตรา
๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๔๕ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดจงใจไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามปริมาณการค้าประจำปีที่อธิบดีให้ความเห็นชอบหรือกำหนดตามมาตรา
๑๙ วรรคสามหรือวรรคสี่ โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสี่ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๒๒
วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับเป็นรายวัน
วันละไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทแต่ไม่เกินวันละหนึ่งล้านบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๗ ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขตามมาตรา
๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๘ ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคสาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดกระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันทำให้ลักษณะหรือคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง เพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำการปลอมปนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๐
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง มีปริมาณตั้งแต่สองร้อยลิตรขึ้นไป
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า
(๑)
มีน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในกิจการของตน
(๒)
ครอบครองไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายอื่น
(๓)
ได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นโดยไม่ทราบว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง หรือ
(๔)
ได้มาหรือมีไว้เพื่อใช้ในกิจการอื่นนอกจากการใช้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ซึ่งรัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนดเงื่อนไขให้ต้องทำการพิสูจน์คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา
๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งหากได้กระทำการตามวิธีการที่กล่าวนี้แล้วก็อาจทราบได้ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง การอ้างว่าได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (๓) เป็นอันมิให้รับฟัง
เว้นแต่จะนำสืบได้ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการพิสูจน์คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแล้วผลไม่ปรากฏว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มิให้ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันที่มีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง โดยได้รับการผ่อนผันจากอธิบดีตามมาตรา ๒๕ วรรคสาม
และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือสิ่งหล่อลื่นใช้แล้วตามมาตรา ๒๕ วรรคสี่
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผู้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง หรือผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔๘
เป็นลูกจ้างหรือเป็นบุคคลซึ่งผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันมอบหมายให้กระทำ
หรือการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำการ หรือสถานที่จำหน่าย
หรือยานพาหนะสำหรับขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันดังกล่าวเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
มาตรา ๕๒
ผู้ใดรายงานผลการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๒๖ (๒)
หรือมาตรา ๒๘ อันเป็นเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง
ผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาทุจริต
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๕๓ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๗ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๕
ผู้ใดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งห้ามจำหน่าย
หรือทำลายผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำไว้ตามมาตรา ๒๙
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๐
วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๗
ผู้ใดขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๘
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๕๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล
ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น
มาตรา ๖๑
น้ำมันเชื้อเพลิงหรือทรัพย์สินใดบรรดาที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบ
ให้ส่งมอบแก่กรมธุรกิจพลังงาน*เพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไป
ในกรณีที่ต้องทำลาย
ให้ศาลมีคำสั่งในคำพิพากษาให้เจ้าของชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้แก่ทางราชการด้วย
มาตรา ๖๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบได้
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
และผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ
ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
ในกรณีที่มีทรัพย์สินที่อาจริบได้ตามกฎหมาย
ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเปรียบเทียบได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับทรัพย์สินที่ทำ ใช้
หรือมีไว้เป็นความผิด
เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน*
(๒)
สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอน
ถ้าอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมและได้แก้ไขทรัพย์สินนั้นให้ถูกต้องแล้ว
(๓)
สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอน
ถ้าไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของกรมธุรกิจพลังงาน*
ในการนี้ จะกำหนดให้ผู้กระทำความผิดออกค่าใช้จ่ายในการทำลายของกลางนั้นด้วยก็ได้
หมวด
๘
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๓
ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๔
ให้ปริมาณการค้าประจำปีและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่รัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปริมาณการค้าประจำปีและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๕
ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
และผู้ขนส่งน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องแจ้งตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ยื่นขอจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
หรือแจ้งต่ออธิบดีตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๖๖ บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑) คำขอ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๒) ใบทะเบียน ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๓) ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๔) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ ปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๖) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๑ ปีละ
๕,๐๐๐ บาท
(๗) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ปีละ
๕,๐๐๐ บาท
ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่าง
โดยคำนึงถึงขนาดและกิจการของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันก็ได้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติของพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
ที่ใช้สำหรับควบคุมเกี่ยวกับการค้าน้ำมันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของการประกอบกิจการค้าน้ำมันในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบทบัญญัติให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยกำหนดควบคุมผู้ค้าน้ำมันเป็น ๓
ระดับ คือ ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ผู้ค้าน้ำมันรายย่อย และสถานีบริการน้ำมัน
และผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางอย่างให้เข้มงวดน้อยลง เช่น
การจัดตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถยื่นคำขอเพื่อจดทะเบียนต่ออธิบดีได้
ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้ต้องขออนุญาตจากอธิบดี
สำหรับผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงก็เพียงแต่แจ้งต่ออธิบดีเท่านั้น
และปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีบางประการที่เป็นเรื่องในรายละเอียดเปลี่ยนเป็นอำนาจของอธิบดี
เพื่อให้การควบคุมดูแลมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
รวมทั้งเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
เพื่อใช้ควบคุมการค้าน้ำมันและการปลอมปนน้ำมัน
รวมทั้งปรับปรุงมาตรการบางอย่างให้สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
การฟ้องร้องและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง
ตลอดจนบทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
โดยเฉพาะโทษปรับที่ยังต่ำไปเนื่องจากกิจการค้าน้ำมันเป็นกิจการที่ทำรายได้สูงมาก
สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๙]
มาตรา ๑๐ ในพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คำว่า กรมทะเบียนการค้า เป็น กรมธุรกิจพลังงาน และคำว่า อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เป็น อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว
ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๐]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบกิจการในปัจจุบัน
และเป็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/ผู้จัดทำ
๑๗
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๑๑ ก/หน้า ๑๔/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๒]
มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐
[๓]
มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔]
มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๕]
มาตรา ๓๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๖]
มาตรา ๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐
[๗]
มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐
[๘]
มาตรา ๓๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
[๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๘ ก/หน้า ๓๔/๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ |
564445 | พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
| พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่
๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๘ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีจะออกประกาศกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปฏิบัติตามก็ได้
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๐ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกขณะในสถานที่เก็บตามวรรคสี่
โดยชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง และหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรอง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้
การกำหนดอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของปริมาณการค้าประจำปี
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๒ การกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง
รวมทั้งหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ มาเพื่อตรวจสอบตาม (๒)
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒)
ไม่เริ่มทำการค้าภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
หรือหยุดทำการค้าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกินสองปี
มาตรา ๘
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสามล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบกิจการในปัจจุบัน
และเป็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑
ตุลาคม ๒๕๕๐
วศิน/แก้ไข
๑๗
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๘ ก/หน้า ๓๔/๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ |
323178 | พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.
๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่
๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล
น้ำมันเตา
น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ
หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ค้าน้ำมัน หมายความว่า
ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร
หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
ผู้ขนส่งน้ำมัน หมายความว่า
ผู้ที่รับจ้างทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมิใช่เป็นของตนเอง
โดยใช้ยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ
สถานีบริการ หมายความว่า
สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ
โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปริมาณการค้าประจำปี หมายความว่า
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต
หรือได้มาในปีหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงปริมาณที่จัดหามาเพื่อการสำรองตามกฎหมาย
ปี หมายความว่า ปีปฏิทิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมทะเบียนการค้าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้ามอบหมาย
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง
ทบวง กรม
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
กำหนดกิจการอื่น และออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
หมวด
๑
การค้าและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา ๗
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิด
หรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่หนึ่งแสนเมตริกตันขึ้นไป หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวแต่เพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณการค้าปีละตั้งแต่ห้าหมื่นเมตริกตันขึ้นไป
ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี
การขออนุญาต การออกใบอนุญาต
และคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามความในมาตรานี้
จะต้องมิใช่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๓๔
โดยยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และกรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ขออนุญาตจะต้องไม่ใช่กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ค้าน้ำมันซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต
โดยยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๘ ในการออกใบอนุญาตตามมาตรา ๗
รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง รัฐมนตรีจะแก้ไข เปลี่ยนแปลง
หรือเพิ่มเติมเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และในกรณีที่ยังมิได้มีการกำหนดเงื่อนไข
รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา ๙ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใดที่ประสงค์จะเลิกประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาต ต้องแจ้งให้รัฐมนตรีทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบกิจการ
หากมีน้ำมันเชื้อเพลิงเหลืออยู่ในการครอบครองในวันเลิกประกอบกิจการให้ผู้นั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลือให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
มาตรา ๑๐
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าปีละไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๗
แต่เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีขนาดของถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อรัฐมนตรีประกาศกำหนดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
หรือประกาศเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหรือขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ได้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้วและอยู่ในข่ายที่จะต้องจดทะเบียน
ยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
มาตรา ๑๑
ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการค้าน้ำมันโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการ
ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
การขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ และมาตรา ๑๐
มาตรา ๑๒
ผู้ใดเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามชนิดและปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อรัฐมนตรีมีประกาศตามวรรคหนึ่ง
หรือประกาศเปลี่ยนแปลงชนิดหรือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้วและอยู่ในข่ายที่จะต้องแจ้ง
แจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อรายการตามที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เปลี่ยนแปลงไป
ให้ผู้ขนส่งน้ำมันแจ้งเพิ่มเติมตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
มาตรา ๑๓
อธิบดีอาจกำหนดให้ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้า การป้องกันการขาดแคลนหรือการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๑๔ เมื่อรายการตามที่ได้ขออนุญาตไว้ตามมาตรา
๗ หรือได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ได้เปลี่ยนแปลงไป
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอเปลี่ยนแปลงรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
การเลิกการประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
มาตรา ๑๑ หรือการขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันแจ้งต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกกิจการตามแบบที่อธิบดีกำหนด
เพื่อลบรายการออกจากทะเบียน
มาตรา ๑๕ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ
ถ้ามิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสามต่อเดือน
และถ้ายังไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้หยุดประกอบกิจการไว้จนกว่าจะได้ชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มครบจำนวน
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง
ผู้ใดประกอบกิจการโดยฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗
หรือไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
หรือเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันโดยไม่ได้แจ้งตามมาตรา ๑๒ แล้วแต่กรณี
หมวด
๒
การแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูล
มาตรา ๑๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งบัญชีตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ส่งบัญชีตามแบบและรายการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมนอกจากที่ต้องส่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้
ตามแบบและระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๗ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต
หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงสามเดือนถัดไปตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่ยี่สิบของทุกเดือน
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการวางแผนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศและการติดตามสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงของโลก
รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมันส่งแผนปฏิบัติการในรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามแบบและระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินกิจการค้าน้ำมันให้เป็นไปตามแผนที่ได้แจ้งไว้ในวรรคหนึ่งและแผนปฏิบัติการตามวรรคสอง
เว้นแต่มีเหตุอันควรที่มิอาจดำเนินการตามนั้นได้
มาตรา ๑๘ บรรดาข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลใด ๆ
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเปิดเผยหรือเผยแพร่ได้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
หมวด
๓
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา ๑๙ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีก่อนปีที่จะทำการค้านั้น
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน
ในกรณีที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหม่และขอเริ่มทำการค้าระหว่างปี ให้ยื่นปริมาณการค้าประจำปี
เพื่อขอความเห็นชอบพร้อมการยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งอาจขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามที่ได้ยื่นขอความเห็นชอบไว้ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ค้าน้ำมันได้ยื่นขอกำหนดปริมาณการค้าประจำปีตามวรรคหนึ่งหรือขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามวรรคสอง
อธิบดีอาจให้ความเห็นชอบตามปริมาณที่ขอกำหนดหรือขอเปลี่ยนแปลง
หรืออาจกำหนดเป็นปริมาณอื่นตามที่เห็นสมควรได้
และให้ถือว่าปริมาณที่อธิบดีให้ความเห็นชอบหรือกำหนดนั้นเป็นปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวในปีนั้น
ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามปริมาณการค้าประจำปีที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ
เว้นแต่มีเหตุอันควรที่มิอาจดำเนินการตามนั้นได้
มาตรา ๒๐ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดที่อธิบดีกำหนดไว้ทุกขณะในสถานที่เก็บตามวรรคสี่
ไม่ต่ำกว่าอัตราที่อธิบดีกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของปริมาณการค้าประจำปี
เพื่อประโยชน์ในการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งมิได้ทำการค้าตลอดทั้งปี
หรือเริ่มทำการค้าในระหว่างปี กำหนดปริมาณการค้าประจำปี
โดยคิดตามอัตราเฉลี่ยของปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายเดือนในช่วงระยะเวลาที่จะทำการค้านั้นคูณด้วยสิบสอง
เสมือนหนึ่งว่าทำการค้าตลอดทั้งปี
ในกรณีที่อธิบดีมิได้ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายใดก่อนเวลาเริ่มต้นปี
ให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณที่เคยเก็บอยู่ในปีที่ผ่านมาไปก่อนจนกว่าอธิบดีจะได้ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดปริมาณการค้าประจำปีของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว
สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบ และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศ
การป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งการกำหนดและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
อธิบดีมีอำนาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคสี่ได้
มาตรา ๒๑ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนในสถานที่ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๐ วรรคสี่และวรรคห้าก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๒๐
วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
การมอบหมายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒
การกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามวรรคหนึ่ง
และประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองซึ่งได้ประกาศไว้แล้วให้สูงขึ้น
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในประกาศนั้น แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการประกาศเปลี่ยนแปลงชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง
อธิบดีอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันที่สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดอยู่แล้วต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนั้นต่อไปอีกได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๓
เมื่อผู้ค้าน้ำมันแสดงหลักฐานเป็นหนังสืออันฟังได้ว่ามีพฤติการณ์ที่ทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่อาจสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามอัตราที่กำหนดได้
หรือการสำรองนั้นจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องได้รับความเสียหายเกินสมควร
ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งผ่อนผันเป็นการชั่วคราวมิให้ผู้ค้าน้ำมันต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือให้ลดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองได้ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร
ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันไว้ด้วยก็ได้
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายหรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใด
หรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองไว้ตามมาตรา ๒๐ ได้ ในการนี้
อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
หมวด
๔
การกำหนดและควบคุมคุณภาพ
มาตรา ๒๕ อธิบดีมีอำนาจกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจะกำหนดให้ใช้บังคับเฉพาะแต่ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดหรือหลายท้องที่ได้ตามที่เห็นสมควร
หรือจะกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใดต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอความเห็นชอบ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยกำหนดวันเริ่มมีผลใช้บังคับไว้ด้วย
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
หรือที่ยังมิได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี หรือได้รับความเห็นชอบแล้วแต่ผู้ได้รับความเห็นชอบยังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ถ้ามีเหตุอันควรซึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามนั้นได้
อธิบดีจะผ่อนผันให้เป็นการชั่วคราวก็ได้
ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือสิ่งหล่อลื่นใช้แล้ว
ซึ่งผู้ค้าน้ำมันไม่ได้จำหน่ายไปอย่างน้ำมันหล่อลื่นหรือสิ่งหล่อลื่น
มาตรา ๒๖
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
เก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรักษาหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้
ภายในช่วงระยะเวลาที่อธิบดีกำหนดตามความจำเป็น
(๒)
ทำการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรักษาหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายพร้อมทั้งรายงานผลให้แก่ทางราชการ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใดไม่สามารถดำเนินการตาม (๒) ได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวตามมาตรา
๒๘ และให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา ๒๗
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ต้องจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็นเป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๒๘
ในการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดีจะมอบให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
หรือบุคคลใดเป็นผู้ทำการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่เห็นสมควรก็ได้
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๒๙
ในกรณีที่พบว่าผู้ค้าน้ำมันรายใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวและผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อไป
ให้แจ้งขอทำการแก้ไขปรับปรุงลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดี
การแก้ไขปรับปรุงลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
เมื่อผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งได้กระทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่งแล้ว
ให้ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุญาตจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อไป
และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามจำหน่ายและปลดผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
คำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามจำหน่ายดังกล่าวนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
การผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการร้องขออนุญาตจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรานี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๓๐
การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ต้องเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
ที่จะขนส่งคราวละตั้งแต่สามพันลิตรขึ้นไปให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดที่อธิบดีประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพตามมาตรา ๒๕
เว้นแต่ในกรณีมีความจำเป็นชั่วคราวโดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด
๕
อำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๓๑
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสำนักงาน สถานที่กลั่น สถานที่ผลิต
สถานที่เก็บ และสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมัน
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น
(๒)
เก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใดที่อยู่ในความครอบครองของผู้ค้าน้ำมัน
หรือผู้ขนส่งน้ำมัน หรือผู้ควบคุมรถขนส่งน้ำมัน
ตัวอย่างละไม่เกินห้าลิตรมาเพื่อตรวจสอบ
(๓)
สั่งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันตรวจสอบปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงและรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(๔)
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันไม่ยอมให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) หรือ (๒)
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้าไปไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้จะทำให้ประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ต้องสูญเสียไป
ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปิด หรือทำลายประตู หน้าต่างของอาคาร
รั้วหรือสิ่งกีดขวางทำนองเดียวกัน และให้มีอำนาจทำลายตรา สิ่งผนึก
หรือสิ่งที่ใช้ยึดหรือผูก หรือกระทำการใด ๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเพื่อการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่ทั้งนี้ ต้องพยายามมิให้เกิดการเสียหายเท่าที่จะทำได้
(๕) ยึดหรืออายัดน้ำมันเชื้อเพลิง ภาชนะบรรจุ
อุปกรณ์ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
(๖)
สั่งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันแสดงบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ
เกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(๗) เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งบัญชี เอกสารและหลักฐานใด ๆ มาให้ ณ ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่
การเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ มาเพื่อตรวจสอบตาม (๒)
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดำเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๓๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๓๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด
๖
การเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๓๔
รัฐมนตรีอาจเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ได้ เมื่อผู้ค้าน้ำมันกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๑)
ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๘
(๒) ไม่ยื่นปริมาณการค้าประจำปีตามมาตรา ๑๙
วรรคหนึ่ง
(๓) ไม่สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๒๐
เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกินสามสิบวัน
หรือเป็นระยะเวลาไม่ต่อเนื่องกันแต่รวมกันแล้วเกินหกสิบวันในปีหนึ่ง
(๔) กระทำการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
และเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดดังกล่าว
ให้ลงโทษจำคุกบุคคลตามมาตรา ๖๐ ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้าน้ำมันรายนั้นพ้นจากการที่จะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือปรับไม่เกินกว่ามูลค่าของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำการค้าและผลประโยชน์อื่นที่บุคคลนั้นได้รับ
แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะสูงกว่ากัน หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๘
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดที่เลิกประกอบกิจการโดยไม่แจ้งให้รัฐมนตรีทราบตามมาตรา ๙
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท
หรือปรับไม่เกินกว่ามูลค่าของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำการค้าและผลประโยชน์อื่นที่บุคคลนั้นได้รับ
แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะสูงกว่ากัน หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๙ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา ๑๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๔๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๒ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖
หรือส่งบัญชีหรือแจ้งข้อมูลตามมาตรา ๑๖ อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๓ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ส่งแผนตามมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง หรือไม่ส่งแผนปฏิบัติการตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง
หรือจงใจไม่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามแผนตามมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง หรือแผนปฏิบัติการตามมาตรา
๑๗ วรรคสอง โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๔๕ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดจงใจไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามปริมาณการค้าประจำปีที่อธิบดีให้ความเห็นชอบหรือกำหนดตามมาตรา
๑๙ วรรคสามหรือวรรคสี่ โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสี่
หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับเป็นรายวัน วันละไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทแต่ไม่เกินวันละหนึ่งล้านบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๗
ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขตามมาตรา ๒๔
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๘ ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคสาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดกระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันทำให้ลักษณะหรือคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง เพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำการปลอมปนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๐
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง มีปริมาณตั้งแต่สองร้อยลิตรขึ้นไป
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า
(๑)
มีน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในกิจการของตน
(๒) ครอบครองไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายอื่น
(๓)
ได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นโดยไม่ทราบว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง หรือ
(๔) ได้มาหรือมีไว้เพื่อใช้ในกิจการอื่นนอกจากการใช้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ซึ่งรัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนดเงื่อนไขให้ต้องทำการพิสูจน์คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา
๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี
ซึ่งหากได้กระทำการตามวิธีการที่กล่าวนี้แล้วก็อาจทราบได้ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง การอ้างว่าได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (๓) เป็นอันมิให้รับฟัง
เว้นแต่จะนำสืบได้ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการพิสูจน์คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแล้วผลไม่ปรากฏว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างไปจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มิให้ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันที่มีไว้ในครอบครองซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง โดยได้รับการผ่อนผันจากอธิบดีตามมาตรา ๒๕ วรรคสาม
และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือสิ่งหล่อลื่นใช้แล้วตามมาตรา ๒๕ วรรคสี่
มาตรา ๕๑
ในกรณีที่ผู้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง หรือผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔๘
เป็นลูกจ้างหรือเป็นบุคคลซึ่งผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันมอบหมายให้กระทำ
หรือการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำการ หรือสถานที่จำหน่าย
หรือยานพาหนะสำหรับขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันดังกล่าวเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
มาตรา ๕๒ ผู้ใดรายงานผลการทดสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา
๒๖ (๒) หรือมาตรา ๒๘ อันเป็นเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง
ผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาทุจริต
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๕๓ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ หรือผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๗ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๕
ผู้ใดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งห้ามจำหน่าย
หรือทำลายผนึกหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำไว้ตามมาตรา ๒๙
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๖ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๐
วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๗
ผู้ใดขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๕๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล
ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น
มาตรา ๖๑
น้ำมันเชื้อเพลิงหรือทรัพย์สินใดบรรดาที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบ ให้ส่งมอบแก่กรมทะเบียนการค้าเพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไป
ในกรณีที่ต้องทำลาย
ให้ศาลมีคำสั่งในคำพิพากษาให้เจ้าของชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้แก่ทางราชการด้วย
มาตรา ๖๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบได้
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
และผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ
ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
ในกรณีที่มีทรัพย์สินที่อาจริบได้ตามกฎหมาย
ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเปรียบเทียบได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับทรัพย์สินที่ทำ ใช้
หรือมีไว้เป็นความผิด
เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของกรมทะเบียนการค้า
(๒)
สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอน
ถ้าอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมและได้แก้ไขทรัพย์สินนั้นให้ถูกต้องแล้ว
(๓)
สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอน
ถ้าไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของกรมทะเบียนการค้า ในการนี้
จะกำหนดให้ผู้กระทำความผิดออกค่าใช้จ่ายในการทำลายของกลางนั้นด้วยก็ได้
หมวด
๘
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๓
ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๔ ให้ปริมาณการค้าประจำปีและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่รัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นปริมาณการค้าประจำปีและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๕
ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
และผู้ขนส่งน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องแจ้งตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ยื่นขอจดทะเบียนตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
หรือแจ้งต่ออธิบดีตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๖๖ บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน
หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑) คำขอ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๒) ใบทะเบียน ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๓) ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๔) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ ปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๖) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๑ ปีละ
๕,๐๐๐ บาท
(๗) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการขนส่งน้ำมันตามมาตรา
๑๒ ปีละ
๕,๐๐๐ บาท
ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่าง
โดยคำนึงถึงขนาดและกิจการของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันก็ได้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติของพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
ที่ใช้สำหรับควบคุมเกี่ยวกับการค้าน้ำมันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของการประกอบกิจการค้าน้ำมันในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบทบัญญัติให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยกำหนดควบคุมผู้ค้าน้ำมันเป็น ๓
ระดับ คือ ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ผู้ค้าน้ำมันรายย่อย และสถานีบริการน้ำมัน
และผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางอย่างให้เข้มงวดน้อยลง เช่น
การจัดตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถยื่นคำขอเพื่อจดทะเบียนต่ออธิบดีได้
ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้ต้องขออนุญาตจากอธิบดี
สำหรับผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงก็เพียงแต่แจ้งต่ออธิบดีเท่านั้น
และปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีบางประการที่เป็นเรื่องในรายละเอียดเปลี่ยนเป็นอำนาจของอธิบดี
เพื่อให้การควบคุมดูแลมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
เพื่อใช้ควบคุมการค้าน้ำมันและการปลอมปนน้ำมัน
รวมทั้งปรับปรุงมาตรการบางอย่างให้สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น การฟ้องร้องและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง
ตลอดจนบทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
โดยเฉพาะโทษปรับที่ยังต่ำไปเนื่องจากกิจการค้าน้ำมันเป็นกิจการที่ทำรายได้สูงมาก
สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชไมพร/แก้ไข
๑๙
ก.ย. ๒๕๔๔
A+B
(C)
สุนันทา/นวพร/จัดทำ
๑๖
พ.ค. ๒๕๔๖
วศิน/แก้ไข
๑๗
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๑๑ ก/หน้า ๑๔/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ |
431476 | กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติ และหลักเกณฑ์ วิธีการขอการออกใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมเป็นผู้รับใบอนุญาตค้าน้ำมัน
เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
พ.ศ. 2547
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดคุณสมบัติ
และหลักเกณฑ์ วิธีการขอ
การออกใบอนุญาต
และค่าธรรมเนียมเป็นผู้รับใบอนุญาตค้าน้ำมัน
เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากร
หรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ มาตรา ๗ วรรคสอง และมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในกฎกระทรวงนี้
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ให้หมายความรวมถึงผู้ค้าน้ำมันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
ข้อ
๒
ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิง
ในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
หรือนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทย
(๒)
มีทุนจดทะเบียนและทุนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
และต้องไม่ลดทุนจดทะเบียนให้เหลือน้อยกว่าสองล้านบาทตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
ข้อ
๓
การยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามข้อ ๒ ให้ยื่นคำขอต่อกรม
ธุรกิจพลังงานพร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน
ในกรณีเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ
ต้องมีการรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
หรือกระทรวงการต่างประเทศ โนตารี พับลิค
หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
(๒)
สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์สำนักงานสาขาในประเทศไทยของนิติบุคคลต่างประเทศ
(๓)
งบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา (ถ้ามี)
(๔)
แบบขอความเห็นชอบปริมาณการค้าประจำปี
(๕)
แผนการดำเนินงานที่แสดงถึงความสามารถในการเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
(๖)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ข้อ
๔
รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอได้ชำระค่าธรรมเนียมถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ข้อ
๕
การขอรับใบแทนใบอนุญาตแทนฉบับเดิมที่ชำรุด
ให้ส่งคืนฉบับเดิมที่ชำรุดหรือในกรณีเป็นการขอรับใบแทนเพราะเหตุสูญหาย
ให้ยื่นหลักฐานการแจ้งความสูญหายด้วย โดยให้ยื่นคำขอต่อกรมธุรกิจพลังงาน
ข้อ
๖ คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต
และใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎกระทรวง
กำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต
และหลักเกณฑ์และวิธีการขอและออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๔๕
หากประสงค์จะประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตามกฎกระทรวงนี้ด้วย
ให้ดำเนินการแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ให้กรมธุรกิจพลังงานออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามวรรคหนึ่งและในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันนั้นต้องแจ้งหรือแสดงรายการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้
สำหรับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ให้ผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวแจ้งหรือแสดงรายการของการค้าน้ำมันในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามวรรคหนึ่งแยกเป็นการเฉพาะ
ข้อ
๘ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมคำขอ
ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน และค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
สำหรับคำขอที่ได้ยื่นภายในวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ในอัตราร้อยละหนึ่งของอัตราค่าธรรมเนียมคำขอ
ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันและค่าธรรมเนียมรายปีตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมรายปี
และหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน
พ.ศ. ๒๕๔๕ เฉพาะในปีแรกนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมค่าธรรมเนียมรายปี
และหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน
พ.ศ. ๒๕๔๕ มาใช้บังคับกับการชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ
๙
ในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ได้รับใบอนุญาต
และหลักเกณฑ์และวิธีการขอและออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๔๕
และได้แจ้งขอประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามข้อ
๗ วรรคหนึ่ง
ให้นำปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสองกรณีมารวมกันเป็นฐานในการคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมรายปี
และหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน
พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าพลังงานในภูมิภาค
เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านพลังงานและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำธุรกรรมซื้อขายน้ำมัน
สมควรกำหนดคุณสมบัติ และหลักเกณฑ์ วิธีการขอ การออกใบอนุญาต
และค่าธรรมเนียมเป็นผู้รับใบอนุญาตค้าน้ำมัน
เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
เพื่อจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันในต่างประเทศเข้ามาทำการค้าในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕ ก /หน้า ๔/๒๘ มกราคม ๒๕๔๗ |
383471 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นขอกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปี พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นขอกำหนด
หรือเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปี
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ และมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การขอความเห็นชอบกำหนดปริมาณการค้าประจำปี
หรือเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามที่ได้ยื่นขอความเห็นชอบไว้แล้วของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารตามแบบท้ายกฎกระทรวง ดังนี้
(๑) คำขอความเห็นชอบเพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปี
ให้ใช้แบบ นพ. ๓๐๑
(๒) การยื่นขอกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปี
ให้ใช้แบบ นพ. ๓๐๒
(๓) รายละเอียดแผนการซื้อหรือได้มาในราชอาณาจักร
ให้ใช้แบบ นพ. ๓๐๒ (๑)
(๔) รายละเอียดแผนการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากแผนการจัดหา
ให้ใช้แบบ นพ. ๓๐๒ (๒)
ข้อ
๒ การระบุชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอกำหนดปริมาณการค้าประจำปีหรือขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปี
ให้ระบุให้ตรงกับชื่อชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในประกาศกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยการกำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
ข้อ
๓ ในกรณีที่การขอความเห็นชอบปริมาณการค้าประจำปีของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีปริมาณน้อยกว่าสถิติปริมาณการค้าย้อนหลังสิบสองเดือนนับแต่เดือนก่อนเดือนที่ยื่นคำขอ
ให้ผู้ค้าน้ำมันแสดงเหตุผลที่ไม่สามารถทำการค้าได้ตามสถิติปริมาณการค้าดังกล่าวด้วย
ข้อ
๔ การยื่นคำขอตามข้อ ๑
ให้ยื่นโดยตรงหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมธุรกิจพลังงานก็ได้
ข้อ
๕ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการ
พลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบคำขอความเห็นชอบเพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปี
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๙
วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
บัญญัติให้การยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีหรือขอเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าประจำปีตามที่ได้ยื่นขอความเห็นชอบไว้แล้วของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
วิภา/ปรับปรุง
๑๗ พฤษภาคม ๑๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๙ ก /หน้า ๑๐/๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
383464 | กฎกระทรวงกำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน และแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน
และแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น
ผลิต
หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๑๖
วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งบัญชีเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา
จำหน่ายไปแล้วและที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามแบบท้ายกฎกระทรวง ดังนี้
(๑) การแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่าย และที่เหลืออยู่ ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๑
(๒) การแจ้งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๒
(๓) การแจ้งปริมาณการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร
ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๓
(๔) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ และมาตรา ๑๐ ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๔
(๕) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักรจำแนกตามประเภทธุรกิจ
ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๕
(๖) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักรจำแนกตามประเภทธุรกิจในจังหวัดต่าง
ๆ ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๖
(๗) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักรจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๗
(๘) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทวัตถุดิบในอุตสาหกรรมให้ผู้ผลิตอื่น
ๆ ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๘
(๙) การแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ใช้แบบ นพ. ๒๐๙
(๑๐) การแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันสำรองตามกฎหมายคงเหลือรายวัน
ให้ใช้แบบ นพ. ๒๑๐
ข้อ ๒ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงสามเดือนถัดไป
ตามแบบท้ายกฎกระทรวง ดังนี้
(๑) การแจ้งแผนการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต และจำหน่าย ให้ใช้แบบ นพ. ๒๑๑
(๒) การแจ้งรายละเอียดแผนการซื้อ
กลั่นหรือผลิตและจำหน่ายซึ่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวในราชอาณาจักร ให้ใช้แบบ นพ.
๒๑๒
ข้อ ๓ การส่งบัญชีตามข้อ ๑
ให้ส่งจำนวน ๑ ชุด พร้อมคู่ฉบับ ๒ ชุด และการส่งแผนตามข้อ ๒ ให้ส่งจำนวน ๑ ชุด
พร้อมคู่ฉบับ ๑ ชุด
โดยยื่นส่งโดยตรงหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมธุรกิจพลังงานก็ได้
ข้อ ๔ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น
ผลิต ได้มา จำหน่าย และที่เหลืออยู่
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้บัญญัติให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ส่งบัญชีเกี่ยวกับปริมาณและสถานที่เก็บของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้วและที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน
และแผนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต
หรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงสามเดือนถัดไปตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
วิภา/ปรับปรุง
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๙ ก /หน้า ๗/๗ มีนาคม ๒๕๕๖ |
497746 | กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมรายปี และหลักเกณฑ์และวิธีการชำระ ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน พ.ศ. 2545
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมรายปี และหลักเกณฑ์และวิธีการชำระ
ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน
พ.ศ. ๒๕๔๕[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ และมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมคำขอ
ใบทะเบียน และใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอ ฉบับละ
๑๐๐
บาท
(๒) ใบทะเบียน ฉบับละ
๑,๐๐๐ บาท
(๓)
ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
ข้อ
๒ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน
ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา
๗
(ก) สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้า
น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดหรือรวมกัน
ทุกชนิดปีละตั้งแต่สองล้านเมตริกตันขึ้นไป ปีละ
๑๐๐,๐๐๐ บาท
(ข) สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้า
น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดหรือรวมกัน
ทุกชนิดปีละตั้งแต่หนึ่งแสนเมตริกตัน
ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงสองล้านเมตริกตัน ปีละ ๙๐,๐๐๐
บาท
(ค) สำหรับผู้ค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว
แต่เพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณการค้าปีละ
ตั้งแต่ห้าหมื่นเมตริกตันขึ้นไป ปีละ ๘๐,๐๐๐
บาท
(๒) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมัน
ตามมาตรา ๑๐ ปีละ ๓๐,๐๐๐
บาท
(๓)
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑
(ก) สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่มีหัวจ่ายไม่เกินห้าหัวจ่าย ปีละ ๑,๐๐๐
บาท
(ข)
สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่มีหัวจ่ายเกินห้าหัวจ่าย
ให้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นหัวจ่ายละ
๑๐๐ บาทต่อปี
แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ปีละ ๕,๐๐๐
บาท
(๔)
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
(ก)
สำหรับผู้ขนส่งน้ำมันที่ใช้รถยนต์
ให้คิดค่าธรรมเนียมคันละ
๑,๐๐๐ บาทต่อปี
แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ปีละ ๕,๐๐๐
บาท
(ข) สำหรับผู้ขนส่งน้ำมันที่ใช้ยานพาหนะอื่น
ให้คิดค่าธรรมเนียม ปีละ ๕,๐๐๐
บาท
(ค)
สำหรับผู้ขนส่งน้ำมันที่ใช้ยานพาหนะ
ทั้ง (ก) และ (ข)
ให้คิดค่าธรรมเนียม ปีละ ๕,๐๐๐
บาท
ข้อ ๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ และผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒
ชำระค่าธรรมเนียมรายปีในปีแรกพร้อมกับการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบทะเบียน
หรือพร้อมกับการรับแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมัน แล้วแต่กรณี
การชำระค่าธรรมเนียมรายปีตั้งแต่ปีที่สองเป็นต้นไปของผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมันตามวรรคหนึ่งให้ชำระภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ข้อ ๔ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑
ซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
ชำระค่าธรรมเนียมรายปีในปีแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๑) (ก) (ข) หรือ (ค)
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ และให้นำความในข้อ ๓ วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ
ซึ่งจะกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่าง
โดยคำนึงถึงขนาดและกิจการของผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ขนส่งน้ำมันก็ได้ และมาตรา ๑๕
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
บัญญัติให้การชำระค่าธรรมเนียมรายปีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
สุกัญญา/พิมพ์
๖ มิถุนายน ๒๕๔๙
สุนันทา/ฐิติพงษ์/ตรวจ
A+B
๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
วิภา/ปรับปรุง
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๔๒ ก /หน้า ๒๑/๓ พฤษภาคม
๒๕๔๕ |
316410 | กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต และหลักเกณฑ์และวิธีการขอ และออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน พ.ศ. 2545 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต
และหลักเกณฑ์และวิธีการขอ
และออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน
พ.ศ. ๒๕๔๕[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ วรรคสอง มาตรา ๑๐
วรรคสองและมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัย
อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
และมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(๒) มีทุนจดทะเบียนและทุนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท
และต้องไม่ลดทุนจดทะเบียนให้เหลือน้อยกว่าห้าสิบล้านบาทตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(๓) ต้องมีหลักฐานของธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
หรือบริษัทเงินทุนที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่แสดงว่าเป็นผู้มีวงเงินสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ในการประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
ข้อ ๒
การยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า
พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน
เว้นแต่กรณี ที่ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลได้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กรมทะเบียนการค้าจัดทำขึ้น
(๒) งบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา (ถ้ามี)
(๓) หลักฐานตามข้อ ๑ (๓)
(๔)
รายละเอียดและสถานที่ตั้งสถานีบริการที่ผู้ขอเป็นผู้ดำเนินการเอง (ถ้ามี)
(๕) แบบขอความเห็นชอบปริมาณการค้าประจำปี
(๖) รายละเอียดของคลังและถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมเอกสารแสดงสิทธิและแผนที่ตั้งโดยสังเขป
(ถ้ามี)
(๗)
แผนการดำเนินงานที่แสดงถึงความสามารถในการเป็นผู้ค้ำน้ำมันตามมาตรา ๗
(๘) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ข้อ ๓
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
หากผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตรัฐมนตรีอาจพิจารณาออกใบอนุญาตให้โดยกำหนดเงื่อนไขว่าผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรีบจัดให้ตนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงภายในระยะเวลาหนึ่งปี
ในกรณีที่มีเหตุอันทำให้ผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถจัดให้ตนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
และหากประสงค์จะขอขยาย
ระยะเวลา ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอขยายระยะเวลาก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ในการนี้รัฐมนตรีอาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี หากผู้ได้รับใบอนุญาตยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ใบอนุญาตนั้นสิ้นผล และไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาต
ลักษณะและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์
ข้อ ๔
การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ให้ยื่นคำขอ ณ สถานที่ที่กำหนดในข้อ
๕ พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอจดทะเบียน
ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน
ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีที่ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลได้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กรมทะเบียนการค้าจัดทำขึ้น
(๓) รายละเอียดของคลังและถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมเอกสารแสดงสิทธิและแผนที่ตั้งโดยสังเขป
(ถ้ามี)
(๔) รายละเอียดและสถานที่ตั้งสถานีบริการที่ผู้ขอเป็นผู้ดำเนินการเอง
(ถ้ามี)
(๕) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ข้อ ๕
การยื่นคำขอตามข้อ ๔ ให้ยื่น ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่สถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี
ให้ยื่น ณ สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า
(๒) ในกรณีที่สถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจาก
(๑) ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดนั้น
ข้อ ๖
การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ให้ยื่นคำขอ ณ สถานที่ที่กำหนดในข้อ
๗ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอจดทะเบียนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานีบริการในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน
ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีที่ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลได้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กรมทะเบียนการค้าจัดทำขึ้น
(๓) เอกสารแสดงสิทธิในการใช้สถานที่เพื่อประกอบกิจการสถานีบริการ
(๔) เอกสารอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (ถ้ามี)
(๕) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ข้อ ๗
การยื่นคำขอตามข้อ ๖ ให้ยื่นตามรายสถานีบริการ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่สถานีบริการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี ให้ยื่น ณ
สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า
(๒) ในกรณีที่สถานีบริการตั้งยู่ในจังหวัดอื่นนอกจาก (๑)
ให้ยื่น ณ สำนักงาน
ทะเบียนการค้าจังหวัดนั้น
ข้อ ๘
การขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบทะเบียนแทนฉบับเดิมที่ชำรุดให้ส่งคืนฉบับเดิมที่ชำรุด
หรือในกรณีเป็นการขอรับใบแทนเพราะเหตุสูญหาย ให้ยื่นหลักฐานการแจ้งความสูญหายด้วย
โดยให้ยื่นขอ ณ สถานที่ที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอจดทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙
รัฐมนตรีหรืออธิบดี แล้วแต่กรณี
จะออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอได้ชำระค่าธรรมเนียมถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ข้อ ๑๐
คำขอรับใบอนุญาตและใบอนุญาตตามข้อ ๒ คำขอจดทะเบียนและใบทะเบียนตามข้อ ๔ และข้อ
๖ และใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบทะเบียนตามข้อ ๘
ให้เป็นไปตามแบบที่กรมทะเบียนการค้ากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ มาตรา ๗ วรรคสองมาตรา
๑๐ วรรคสอง และมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.๒๕๔๓
บัญญัติให้การขออนุญาต การออกใบอนุญาต
และคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน รวมทั้งการขอจดทะเบียน และการจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
วิภา/ปรับปรุง
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๔๒ ก /หน้า ๒๔/๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ |
708165 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔
ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล
ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙
ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙[๙]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐]
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๑]
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๒]
ข้อ ๑ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน
๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๙๙
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๔ กันยายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒] รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ รายการ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๓๓/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๘/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
[๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง/หน้า ๕/๒๘
เมษายน ๒๕๖๐
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๐ ง/หน้า ๑๒/๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
784708 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่ปัจจุบันความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้ปริมาณการผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศต่ำกว่าราคาตลาดโลกมาก
อันเป็นเหตุจูงใจให้มีการจำหน่ายออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวการณ์ขาดแคลนภายในประเทศ
ฉะนั้น
เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๒/๑[๒]
ในประกาศนี้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
หมายความว่า ก๊าซโพรเพน หรือก๊าซบิวเทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผสมกันเป็นส่วนใหญ่
ข้อ
๓
ผู้ที่จะจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว
หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งได้บรรจุในถังก๊าซหุงต้มออกไปนอกราชอาณาจักร
ต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓ ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อที่กรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน
แจ้งให้กรมศุลกากรทราบ
ข้อ
๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
ที่จะจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งได้บรรจุในถังก๊าซหุงต้มออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้ประทับอยู่ที่ถังก๊าซหุงต้มนั้น
ข้อ
๕
การจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักรผู้ค้าน้ำมันต้องขอหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
เพื่อไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรในการตรวจปล่อยสินค้าทุกครั้ง
ก่อนส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๖ การส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามข้อ
๓
ให้ส่งออกได้เฉพาะท่าที่หรือด่านศุลกากรซึ่งส่งของออกได้ทุกประเภทตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ในกรณีที่เป็นการส่งออกโดยผ่านเขตแดนทางบก ให้ส่งออกได้เฉพาะที่เป็นจุดผ่านแดนถาวรเท่านั้น
ข้อ
๗
อธิบดีอาจผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศได้ ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เมตตา บันเทิงสุข
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๓] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๕๑
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๔ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๔/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
[๒]
ข้อ ๒/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๐
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า
๓๖/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
829898 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
พ.ศ.
๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
น้ำมันสำเร็จรูป หมายถึง
น้ำมันสำเร็จรูปตามตารางรายละเอียดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ว่าด้วยการกำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) หมายถึง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ด้วยวิธีการดำเนินงานตามปกติ
หรือปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของท่อจ่ายน้ำมันจนถึงก้นถังน้ำมันแต่ละถัง
แล้วแต่ปริมาณใดจะมากกว่า
ข้อ ๔
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดีตามแบบ ธพ.ธ ๓๐๔
ท้ายประกาศนี้ ให้ปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) การขอประจำปี ให้ยื่นขอความเห็นชอบล่วงหน้าภายในวันที่สิบห้าของเดือนพฤศจิกายน
(๒) การขอเพิ่มสถานที่ ให้ยื่นขอความเห็นชอบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ก่อนวันที่ประสงค์ใช้สถานที่ดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใหม่โดยอนุโลม
(๓) การขอเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว
ให้ยื่นขอความเห็นชอบก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวัน
กรณีสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปที่มิใช่น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๕ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน ๑๐๐/๑๓๐ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๘ และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร
จะต้องแสดงปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) เป็นรายถังด้วย
ข้อ ๕
สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นสถานที่ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคลังน้ำมันหรือคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเป็นสถานที่เก็บเอทานอลหรือไบโอดีเซล
ทั้งนี้ ต้องมีลักษณะกายภาพ ดังนี้
(ก) มีทางเข้าออกสำหรับยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้สะดวก
(ข) มีถังที่ตั้งอยู่บนบกในลักษณะตรึงตราถาวร
ซึ่งสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำมันได้โดยสะดวกและปลอดภัย
(ค) มีท่อรับจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ความในข้อ (ข) และ (ค)
ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นที่บรรจุในภาชนะปริมาณไม่เกิน
๒๐๐ ลิตร
(๒)
เป็นท่อส่งน้ำมันดิบในทะเลจากทุ่นหรือแท่นรับน้ำมันมาถึงจุดรับชายฝั่งที่มีเครื่องบังคับปิดเปิด
และมีจุดสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำมันดิบ
(๓)
เป็นเรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงที่รอสูบถ่ายขึ้นเก็บในคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
(๔) เป็นเรือบรรทุกน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างเดินทางในน่านน้ำไทยเพื่อลำเลียงไปเก็บในคลังน้ำมัน
(๕) เป็นเรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงนำเข้าที่รอสูบถ่ายขึ้นเก็บในคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออยู่ระหว่างเดินทางในน่านน้ำไทยโดยจะต้องมีใบขนสินค้าขาเข้าของกรมศุลกากร
(๖)[๒] เป็นท่อขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
ทั้งนี้ จะต้องสามารถนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากท่อได้ไม่ว่าเวลาใดตลอดระยะเวลาที่เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
ข้อ ๖
ในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ซึ่งไม่ใช่สถานที่ของตนเองให้ยื่นหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เก็บสำรองหรือสิทธิการเช่าถัง
และหากสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองดังกล่าวใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับผู้ค้าน้ำมันหลายราย
โดยมีปริมาณที่แน่นอน ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นหลักฐานแสดงสิทธิการใช้และปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของตนด้วย
การยื่นขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บสำรองเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่มิใช่น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๕ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน ๑๐๐/๑๓๐ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๘ และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร
ให้หักปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) ออกก่อนที่จะจำแนกสิทธิของผู้ค้าน้ำมันแต่ละราย
ข้อ ๗
ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิการใช้สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการแจ้งรายละเอียดของสถานที่ที่ใช้เก็บสำรอง
หรือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บสำรองอันเป็นเท็จ อธิบดีอาจสั่งยกเลิกการให้ความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเว้นแต่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
หรือมิได้มีเจตนาแจ้งรายละเอียด หรือปริมาณอันเป็นเท็จ
ข้อ ๘
สถานที่ที่ใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ก่อนที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามประกาศนี้จนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๓] แบบขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ ธพ.ธ
๓๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒[๔]
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
ปริยานุช/จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
พฤศจิกายน ๒๕๕๘
พิไลภรณ์/ปรับปรุง
๑๕
มีนาคม ๒๕๖๒
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๖ มีนาคม
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๔ ง/หน้า ๓/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๒] ข้อ ๕ (๖)
เพิ่มโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓] แบบขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ
ธพ.ธ ๓๐๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๖/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ |
860427 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2563 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๖๓[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนร้อยละ
๑๐ โดยปริมาตร เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วชนิดพื้นฐานของประเทศ
เพื่อส่งเสริมปริมาณการใช้พลังงานทดแทนไบโอดีเซลในประเทศให้มากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
(๒)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๒
(๓)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๖๒
(๔)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๖๒
ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ข้อ
๔ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
(๑.๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ โดยปริมาตร
(๑.๒)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๗ คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ในสัดส่วนร้อยละ ๗ โดยปริมาตร
(๑.๓)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐ คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ในสัดส่วนร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามตารางหมายเลข
๑ แนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
(๖)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๖ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๗ สามารถใช้ได้กับรถยนต์ดีเซลทั่วไป
ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐ ให้ใช้เฉพาะกับรถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้ได้
ดังรายละเอียดตามตารางหมายเลข ๒ และตารางหมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในตารางหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในตารางหมายเลข
๑ แนบท้ายประกาศ เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามตารางหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๗,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก ๑,๔ - dialkylamino
anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ
๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่าย เฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน และสีหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
นันธิกา ทังสุพานิช
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางหมายเลข ๑ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๖๓
๒. ตารางหมายเลข ๒ รถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐
แนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ.
๒๕๖๓
๓. ตารางหมายเลข ๓ รถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๖๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ
๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๑/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ |
828189 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำามันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น
(๖) ของข้อ ๕ แห่งประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำามันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๘
(๖) เป็นท่อขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
ทั้งนี้ จะต้องสามารถนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากท่อได้ไม่ว่าเวลาใดตลอดระยะเวลาที่เก็บสำรองน้ำามันเชื้อเพลิงนั้น
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกแบบ
ธพ.ธ ๓๐๔ ที่แนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำามันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๓๐๔ ที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
นันธิกา
ทังสุพานิช
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
พิไลภรณ์/จัดทำ
๑๕
มีนาคม ๒๕๖๒
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๖ มีนาคม
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๖/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ |
826807 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2562 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
และมีความจำเป็นเร่งด่วนในการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐ ในยานยนต์ปัจจุบัน
รวมทั้งเพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์สามารถกำหนดแผนการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ให้รองรับการใช้ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี
๒๐ ได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๓ ประกาศนี้ มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ข้อ
๔ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ กลุ่มดังนี้
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
(๑.๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา
(๑.๒)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามตารางหมายเลข
๑ แนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
จึงจะดำเนินการได้ ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย หรืองานทดสอบเครื่องยนต์
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรและโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
(๖)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๖ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐ ให้ใช้เฉพาะกับรถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี
๒๐ ได้ ตามตารางหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในตารางหมายเลข
๑ แนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในตารางหมายเลข
๑ แนบท้ายประกาศเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้
ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัยหรืองานทดสอบเครื่องยนต์
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรและโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามตารางหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM
D
๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจ้าพวก ๑,๔ - dialkylamino
anthraquinone
และ ๑,๓
benzenediol
๒,๔
- bis
[(alkylphenyl)
azo-]
ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐานASTM D ๑๕๐๐
เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก ๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ
๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน
๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม
หรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจะกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
นันธิกา
ทังสุพานิช
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางหมายเลข ๑ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.
ตารางหมายเลข ๒ รถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๒๐
ได้แนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ.
๒๕๖๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๖
เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๑๖/๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ |
819118 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗ ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของนน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๙ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.
๒๕๖๐ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl
Ester of
Fatty Acids,
%
vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๖.๖
๗
-
EN
๑๔๐๗๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สมบูรณ์ หน่อแก้ว
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๐ ง/หน้า ๑๒/๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
812210 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และเพื่อส่งเสริมให้การผลิตไบโอมีเทนสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์สามารถขยายผลได้ในเชิงพาณิชย์
อันจะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืนอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
โดยการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ข้อ
๓ ภายใต้บังคับของข้อ ๒ ลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔ ลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑) ไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๒) ไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาลหรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์
ข้อ
๕ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๔
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์
พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๗ กันยายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๑/๕ กันยายน ๒๕๖๑ |
811460 | ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ให้ไบโอมีเทนเป็นน้ามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการค้าน้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง
ให้ไบโอมีเทนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตไบโอมีเทนสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง
ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
ไบโอมีเทน
หมายความว่า ก๊าซซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุในสภาวะไร้ออกซิเจนที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้มีปริมาณมีเทนที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๘๐ โดยปริมาตร ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ โดยจะใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรง
หรือใช้ผสมกับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ก็ได้
ข้อ
๒ ให้ไบโอมีเทนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ศิริ จิระพงษ์พันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
พรวิภา/จัดทำ
๑๗ มกราคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๑/๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
803292 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
โดยการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ข้อ ๔ ให้กำหนดชนิดของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์เป็น
๒ ชนิด คือ
(๑)
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ชนิดธรรมดา
สำหรับรถยนต์ทั่วไปที่มีความต้องการค่าพลังงานความร้อนดัชนีวอบบี้ระหว่าง ๓๙ - ๔๔
เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร
(๒)
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ชนิดพิเศษ
สำหรับรถยนต์เฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการค่าพลังงานความร้อนดัชนีวอบบี้ระหว่าง ๔๔ -
๕๒ เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร
ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖
ลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๒)
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาลหรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์
ข้อ ๗ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๔
มิถุนายน ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๒/๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
842215 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/04/2560) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔
ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล
ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล
ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙
ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙[๙]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐]
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๑]
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน
๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๙๙
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๔ กันยายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒] รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ รายการ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๓๓/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๘/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
[๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง/หน้า ๕/๒๘
เมษายน ๒๕๖๐ |
782074 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณ
ปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงอัตรา หลักเกณฑ์
และวิธีการสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของประเทศในด้านพลังงานรองรับสถานการณ์การเปิดเสรีธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว
และปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หมายความว่า ก๊าซโพรเพน หรือก๊าซบิวเทน อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือสองอย่างผสมกัน เป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติ หมายความว่า ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ข้อ ๔ ภายใต้ข้อบังคับข้อ ๕ และข้อ ๖
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ สำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลวและก๊าซธรรมชาติ ตามตารางดังต่อไปนี้
วันใช้บังคับ
อัตราสำรอง
(ร้อยละ)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ก๊าซธรรมชาติ
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๖๓
๑.๐
๐.๕
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
๒.๐
๐.๕
ข้อ ๕ ปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลวดังต่อไปนี้
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณปริมาณสำรอง
(๑)
ปริมาณที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น ซึ่งตรงกับปริมาณแจ้งซื้อ
(๒) ปริมาณที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
(๓)
ปริมาณที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ
ข้อ ๖ การคำนวณปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ
ให้คำนวณจากปริมาณที่ผลิตเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑
โดยปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผลิตได้เพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ หรือเพื่อจำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมอื่น
ๆ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณปริมาณสำรอง
การเก็บสำรองก๊าซธรรมชาติให้เก็บเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลวแทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๒๖ กรกฎาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
775892 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่
๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๖.๕
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ภวรรณตรี/จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
วริญา/ตรวจ
๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง/หน้า ๕/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ |
778556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 10/11/2559) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙[๙]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐]
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๙๙
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๔ กันยายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ รายการ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๓๓/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๘/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
764180 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/08/2559) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙[๙]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๙๙
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๔ กันยายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ รายการ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๓๓/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
763637 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบ เพื่อขอรับหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2559 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบ
เพื่อขอรับหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๕๙
ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เห็นชอบในแนวทางการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) ของคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
โดยการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ
National Single Window ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับการให้บริการออกหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมธุรกิจพลังงานตามคำสั่งกรมการค้าต่างประเทศ
ที่ ๑๗๖/๒๕๕๒ เรื่อง
มอบอำนาจในการพิจารณาเห็นชอบให้นำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๓๑
สิงหาคม ๒๕๕๒ และตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕
แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับการนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน และโลจิสติกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบเพื่อขอรับหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
ระบบ หมายความว่า
ระบบบริการให้ความเห็นชอบเพื่อขอรับหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงทางอิเล็กทรอนิกส์
ลงทะเบียน หมายความว่า
การลงทะเบียนเข้าใช้ระบบบริการให้ความเห็นชอบเพื่อขอรับหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงทางอิเล็กทรอนิกส์
ตัวแทนออกของ หมายความว่า
ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนออกของจากกรมศุลกากร
เคาน์เตอร์บริการ หมายความว่า
ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นเคาน์เตอร์บริการจากกรมศุลกากร
หนังสือแจ้งผลการพิจารณา หมายความว่า
หนังสือที่กรมธุรกิจพลังงานออกให้เพื่อแจ้งผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
ทั้งนี้
ให้หมายความรวมถึงการแจ้งผลการพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
หนังสือรับรอง หมายความว่า
หนังสือรับรองที่ระบุปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือให้ส่งออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรเป็นรายเที่ยว ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงหนังสือรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อ
๔ กรณีที่มิได้มีบทบัญญัติในเรื่องใดไว้ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ ๑
การลงทะเบียน
ข้อ
๕ ผู้ใดประสงค์จะขอหนังสือรับรองการนำเข้าหรือส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ให้ยื่นคำขอลงทะเบียน ณ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน
ตามแบบคำขอลงทะเบียนท้ายประกาศนี้
เมื่อได้รับอนุมัติลงทะเบียนแล้ว
ระบบจะจัดส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๖ ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงอาจมอบอำนาจให้ลูกจ้าง
ตัวแทนออกของ เคาน์เตอร์บริการ หรือผู้อื่นกระทำการต่าง ๆ แทนก็ได้
เว้นแต่กรณีผู้ยื่นคำขอลงทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลเป็นผู้ลงนามด้วยตนเองพร้อมประทับตรานิติบุคคล
(ถ้ามี)
กรณีที่ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงมอบอำนาจให้ตัวแทนออกของหรือเคาน์เตอร์บริการดำเนินการต่าง
ๆ แทน ให้ตัวแทนออกของหรือเคาน์เตอร์บริการยื่นคำขอลงทะเบียนด้วย
ส่วนที่ ๒
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลังจากลงทะเบียน
ข้อ
๗ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการลงทะเบียนต่างจากที่ได้รับอนุมัติ
ให้ยื่นคำร้องขอทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน
ณ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน ตามแบบคำขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุทะเบียนท้ายประกาศนี้
ส่วนที่ ๓
อายุ การสิ้นสภาพ
และการควบคุม
ข้อ ๘ การอนุมัติให้เข้าใช้ระบบมีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติลงทะเบียน
เว้นแต่การสิ้นสภาพตามข้อ
๙ และสามารถขอต่ออายุทะเบียนออกไปได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี โดยให้นับอายุต่อจากวันสิ้นอายุของทะเบียนเดิม
การขอต่ออายุทะเบียน
ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุทะเบียน ท้ายประกาศนี้ ณ
ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน ก่อนวันสิ้นอายุ
หากไม่ยื่นคำขอต่ออายุทะเบียนภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนใหม่
ข้อ
๙ เมื่อปรากฏว่าข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการลงทะเบียนเป็นเท็จ
อธิบดีอาจเพิกถอนการลงทะเบียนโดยให้ถือว่าการลงทะเบียนนั้นเป็นอันสิ้นสภาพไป
และห้ามมิให้ยื่นคำขอลงทะเบียนภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอน
ส่วนที่ ๔
หลักเกณฑ์ วิธีการ
ขอความเห็นชอบและขอหนังสือรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ
๑๐ ให้ยื่นคำขอความเห็นชอบผ่านระบบโดยปฏิบัติดังนี้
๑๐.๑
การนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
(๑)
ให้กรอกรายละเอียดข้อมูลตามรายการที่ปรากฏให้ครบถ้วนโดยเฉพาะรายการที่เป็นข้อบังคับ
เช่น ชื่อสินค้า ประเภทสินค้า พิกัดอัตราศุลกากร ปริมาณ เป็นต้น
(๒) ให้นำเข้า (upload) เอกสารหลักฐานเข้าสู่ระบบ
ดังต่อไปนี้
(๒.๑) กรณีขอความเห็นชอบรายปี
(๒.๑.๑) ใบทะเบียนสรรพสามิต
(กรณีเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลาย)
(๒.๑.๒) ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(กรณีนำเข้าเอทานอลและไบโอดีเซลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง)
(๒.๑.๓) แผนการนำเข้าที่ระบุชนิด ปริมาณ และระยะเวลาการนำเข้า
ครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
(๒.๑.๔) คำรับรองการจัดทำรายงานตามแบบรายงานที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
(๒.๑.๕) คำรับรองการเก็บรักษาหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
หรือข้อมูลเอทานอล
หรือไบโอดีเซลที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือการนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
(แล้วแต่กรณี)
(๒.๑.๖) คำยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมธุรกิจพลังงานเข้าไปในสำนักงานสถานที่ผลิต
สถานที่เก็บ และสถานที่จำหน่ายของผู้นำเข้าเพื่อทำการตรวจสอบ
รวมทั้งต้องเก็บตัวอย่างส่งมอบให้เจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงานเมื่อได้รับคำร้องขอ
(๒.๑.๗) ใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง (Certificate of Analysis หรือ Certificate of Quality หรือ Material Safety Data Sheet : MSDS)
(๒.๒) กรณีขอความเห็นชอบรายเที่ยว
(๒.๒.๑) บัญชีราคาสินค้า (Invoice หรือ Proforma Invoice)
(๒.๒.๒) ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading : B/L หรือ Air Waybill : AWB) (ถ้ามี)
(๒.๒.๓) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) (กรณีไม่สามารถระบุ
ชื่อสินค้าหรือปริมาณได้อย่างชัดเจนในเอกสารประกอบอื่น)
(๒.๒.๔) ใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง (Certificate of Analysis หรือ Certificate of Quality หรือ Material Safety Data Sheet : MSDS)
(๒.๒.๕)
หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดตามแบบ
ธพ.ค. ๔๑๒ (กรณีนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพ)
(๒.๒.๖) สถานที่เก็บ (ถ้ามี)
(๒.๒.๗) เอกสารยืนยันการจัดงาน (กรณีนำเข้าเพื่อใช้สำหรับการแข่งขัน)
(๒.๒.๘) แผนการทดสอบ (กรณีนำเข้าเพื่อใช้ในการทดลองหรือการทดสอบ)
๑๐.๒
การส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวออกไปนอกราชอาณาจักร
(๑)
ให้กรอกรายละเอียดข้อมูลตามรายการที่ปรากฏให้ครบถ้วนโดยเฉพาะรายการที่เป็นข้อบังคับ
เช่น ปริมาณ ประเทศปลายทาง ชื่อด่าน เป็นต้น
(๒) ให้นำเข้า (upload) เอกสารหลักฐานเข้าสู่ระบบ
ดังต่อไปนี้
(๒.๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒.๒) หนังสือร้องขอจากหน่วยงานราชการของประเทศเพื่อนบ้าน
(๒.๓) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับจุดผ่านแดนถาวรที่ต้องการส่งออก
(๒.๔) ใบสั่งซื้อ (Purchase order)
ข้อ
๑๑ เมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ให้นำเลขที่เห็นชอบใช้ประกอบการยื่นขอรับหนังสือรับรองการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
หรือหนังสือรับรองการส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร ผ่านระบบ National Single Window ต่อไป
ข้อ
๑๒ กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองให้ก็ต่อเมื่อปริมาณที่ขอนำเข้าหรือส่งออกไม่เกินปริมาณที่ได้รับความเห็นชอบคงเหลือ
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ให้ผู้อำนวยการสำนักบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงพิจารณาดำเนินการโดยวิธีอื่น
เพื่อให้การออกหนังสือให้ความเห็นชอบหรือหนังสือรับรองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ข้อ ๑๔ การพิจารณาให้ความเห็นชอบและออกหนังสือรับรองในกรณีที่ไม่อาจเป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในประกาศนี้ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ให้อธิบดีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือปฏิบัติ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบคำขอลงทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (แบบคำขอลงทะเบียน
ธพ.อ1-1 (สำหรับผู้นำเข้าและผู้ส่งออก-นิติบุคคล))
๒.
แบบคำขอลงทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (แบบคำขอลงทะเบียน
ธพ.อ1-2 (สำหรับผู้นำเข้าและผู้ส่งออก-บุคคลธรรมดา))
๓.
แบบคำขอลงทะเบียนตัวแทนออกของและเคาน์เตอร์บริการผู้น้ำเข้าและผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (แบบคำขอลงทะเบียน ธพ.อ1-3 (สำหรับตัวแทนออกของและเคาน์เตอร์บริการ))
๔.
แบบคำขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุทะเบียนการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (แบบคำขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุทะเบียน ธพ.อ1-4)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๓๐ มกราคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๘๘ ง/หน้า ๒๕/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ |
761598 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 13/07/2559) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)[๒]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๙๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ รายการ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
761387 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่
๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตร
ของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๕.๐
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ ณ วันที่ ๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
ปุณิกา/ตรวจ
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๘/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
760580 | ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 10 พ.ศ. 2559 | ประกาศกระทรวงพลังงาน
ประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง
กำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามา
ในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น
ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน
ของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
พ.ศ. ๒๕๕๙
เพื่อกำหนดแบบและรายการเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว
และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง
กำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐
ส่งบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ
กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
ตามแบบและรายการที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ดังนี้
(๑)
การแจ้งสรุปปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา
จำหน่าย และที่เหลืออยู่ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๓
(๒)
การแจ้งรายละเอียดการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๔
(๓)
การแจ้งรายละเอียดปริมาณการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๕
(๔)
การแจ้งรายละเอียดปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ และมาตรา
๑๐ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๖
(๕)
การแจ้งรายละเอียดปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักร
จำแนกตามประเภทธุรกิจ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๖/๑
(๖)
การแจ้งรายละเอียดปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักร
จำแนกตามประเภทธุรกิจในจังหวัดต่าง ๆ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๖/๒
(๗)
การแจ้งรายละเอียดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ใช้แบบ ธพ.ธ
๒๑๗
ข้อ
๔ ให้ส่งบัญชีตามข้อ ๓ จำนวน ๑
ชุดไปยังกรมธุรกิจพลังงาน โดยยื่นส่งด้วยตนเองหรือส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
หรือส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบแจ้งรายละเอียดการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
(ธพ.ธ ๒๑๔)
๒.
แบบแจ้งรายละเอียดปริมาณการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร (ธพ.ธ ๒๑๕)
๓.
แบบแจ้งรายละเอียดปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
และมาตรา ๑๐ (ธพ.ธ ๒๑๖)
๔.
แบบแจ้งรายละเอียดปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักร
จำแนกตามประเภทธุรกิจ (ธพ.ธ ๒๑๖/๑)
๕.
แบบแจ้งรายละเอียดปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักร
จำแนกตามประเภทธุรกิจในจังหวัดต่าง ๆ ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง......... (ธพ.ธ ๒๑๖/๒)
๖. แบบแจ้งรายละเอียดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
(ธพ.ธ ๒๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
ชวัลพร/ตรวจ
๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๑๕/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๙ |
760393 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. 2559 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
พ.ศ. ๒๕๕๙
เพื่อให้การกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
เป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
และสามารถกำกับดูแลผู้ค้าน้ำมันได้อย่างรัดกุมขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๓ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันหล่อลื่นที่จำหน่าย
หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๔ ในประกาศนี้
น้ำมันหล่อลื่น หมายถึง
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล
ข้อ
๕ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
ให้กำหนดไว้ ๒ ด้าน ดังนี้
(๑) ลักษณะและคุณภาพด้านเคมีและฟิสิกส์
ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
(๒) ลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งาน
ให้เป็นไปตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ
และได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี
ข้อ
๖ น้ำมันหล่อลื่นที่มีลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานในชั้นคุณภาพตามที่
American Petroleum Institute (API) กำหนดต่อไปนี้ ห้ามมิให้นำออกจำหน่ายในราชอาณาจักร
(๑) น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะ ในชั้นคุณภาพ API SA, SB
(๒) น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ในชั้นคุณภาพ API CA, CB
ข้อ
๗ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น
ดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๔ ท้ายประกาศนี้
(๑) ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่น
(๒) ผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น
(๓) ผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้า
หรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น
ข้อ
๘ การยื่นแบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นและเอกสารประกอบเพื่อขอความเห็นชอบ
ให้ยื่นต่อกรมธุรกิจพลังงาน
ข้อ
๙ เมื่ออธิบดีเห็นชอบกับลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้ง
กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
โดยกำหนดเลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นไว้ด้วย ตามแบบ ธพ.ค ๔๑๕ ท้ายประกาศนี้
เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ธพ และเลขทะเบียนในกรอบสี่เหลี่ยมดังนี้
หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ยกเว้นผู้ค้าน้ำมันที่ขอความเห็นชอบโดยอ้างอิงลักษณะและคุณภาพของผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแล้วให้มีวันหมดอายุตามผู้ผลิตที่อ้างอิง
และหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบอาจต่ออายุได้ตามข้อ ๑๐
ข้อ
๑๐ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๙ ให้ยื่นคำขอต่ออายุตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ภายในหกสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ
การต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ให้มีกำหนดคราวละสามปีนับแต่วันสิ้นอายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
หรือนับแต่วันสิ้นอายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ได้ต่อไว้ครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี
ยกเว้นผู้ค้าน้ำมันที่ขอความเห็นชอบโดยอ้างอิงลักษณะและคุณภาพของผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้สามารถต่ออายุและมีวันหมดอายุตามผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบเช่นกัน
ข้อ
๑๑ เมื่อผู้ค้าน้ำมันได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๑๐ วรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นยังคงใช้อยู่จนกว่าอธิบดีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ
๑๒ ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันมิได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๑๐ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นถูกยกเลิก
ข้อ
๑๓ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นตามข้อ
๙ หรือให้ความเห็นชอบต่ออายุตามข้อ ๑๐ แล้ว
หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง
อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน
หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว
หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร
หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกตามข้อ
๙ หรือยกเลิกการต่ออายุตามข้อ ๑๐ ได้
ข้อ
๑๔ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นตามข้อ
๙ หรือให้ความเห็นชอบต่ออายุตามข้อ ๑๐ แล้ว
หากผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายละเอียดใด ๆ
ของน้ำมันหล่อลื่น
หรือเอกสารแสดงลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้ทำหนังสือขอความเห็นชอบต่ออธิบดีไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ก่อนวันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๕ การจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๙ หรือที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ต่ออายุตามข้อ ๑๐ แล้ว ผู้ค้าน้ำมันจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะไม่เกิน ๒๑๐ ลิตร
ต้องแสดงฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุนั้น โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ชนิดความหนืด มาตรฐาน และชั้นคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
โดยต้องระบุข้อความเห็นชอบโดยกรมธุรกิจพลังงาน หลังมาตรฐาน
และชั้นคุณภาพที่กรมธุรกิจพลังงานให้ความเห็นชอบ
(ข) เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นให้เป็นไปตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
(ค) ชื่อและที่ตั้งสถานประกอบการของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น
หรือผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น
(ง) วัน เดือน ปี ที่ ผลิตหรือ บรรจุ
(๒) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะที่มีขนาดเกิน ๒๑๐ ลิตร
ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดทำรายละเอียดตาม (๑) และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อน้ำมันด้วย
(๓) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
เมื่อมีการย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ สถานที่ผลิต สถานที่บรรจุ
สถานที่เก็บน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบ หรือเมื่อมีการเลิกการผลิต
การจำหน่าย หรือการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่น
ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการหรือแจ้งเลิกต่อกรมธุรกิจพลังงาน
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง หรือวันที่เลิกการผลิต การจำหน่าย หรือการนำเข้า
แล้วแต่กรณี
(๔)
ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่นที่ได้ทำการค้าไปแล้วในแต่ละปีตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้
ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่สามสิบเอ็ดของเดือนมกราคมปีถัดไป
(๕) ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็น
เป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๑๖ น้ำมันหล่อลื่นที่ได้รับความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพ หรือต่ออายุไว้แล้ว
หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของประกาศฉบับนี้ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อขอความเห็นชอบ (แบบ ธพ.ค 414)
๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
(แบบ ธพ.ค 415)
๔. แบบแจ้งเพื่อต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
(แบบ ธพ.ค 416)
๕. แบบรายงานข้อมูลปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
4 จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล (แบบ ธพ.ค 417)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙
ชวัลพร/ตรวจ
๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๔๔ ง/หน้า ๙/๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ |
760000 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ 2) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559
| ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่ง
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่สถานการณ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้เปลี่ยนแปลงไป
เงื่อนไขความจำเป็นในการกำกับดูแลการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวบางประการได้หมดไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
ลงวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
(๒)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ชนิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๕ มกราคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๕/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ |
756536 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตร
ของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๓.๐
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ ณ วันที่ ๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
ชวัลพร/ตรวจ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๓๓/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
754688 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2559 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่
๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตร
ของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๕.๐
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๒๒ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
749803 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. 2559 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันก๊าดที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันก๊าดสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันก๊าดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันก๊าดสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันก๊าดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันก๊าดที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันก๊าดสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๕)
น้ำมันก๊าดสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนหรือแสงสว่าง
ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันก๊าดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๖)
น้ำมันก๊าดสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) และ (๕)
ข้อ
๗ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๘ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๑๙ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๘/๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ |
749801 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2559
| ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
โดยการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๖ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศ
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล
หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำหรับส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยตรงทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ให้รวมถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง การเติมสารที่ให้กลิ่น
หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดเรื่องการเติมสารที่ให้กลิ่น ทั้งนี้
ให้รวมถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ให้รวมถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๖)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๒) (๓) และ (๕)
ข้อ
๗ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๘ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๑๙ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๖/๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ |
756637 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/07/2558) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
741382 | ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การจัดให้มีถัง และลักษณะและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาออกใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงพลังงาน
ประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง การจัดให้มีถัง
และลักษณะและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อกำหนดการจัดให้มีถัง
และลักษณะและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา
๗
และเพื่อให้เป็นการถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเริ่มทำการค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
และข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต
และหลักเกณฑ์และวิธีการขอและออกใบอนุญาตหรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๔๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
ต้องจัดให้ตนมีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณความจุไม่น้อยกว่าปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่จะต้องสำรองตามกฎหมาย
โดยจัดสร้างเป็นของตนเองหรือเช่าก็ได้
ทั้งนี้
ลักษณะและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ให้เป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
ข้อ
๓ ผู้ได้รับใบอนุญาต
จะเริ่มทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้
เมื่อเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
และได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานแล้ว
ข้อ
๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗
ที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติตามเงื่อนไขการจัดให้ตนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ก่อนประกาศกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๔ ง/หน้า ๑/๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
738392 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่น
เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
น้ำมันสำเร็จรูป หมายถึง
น้ำมันสำเร็จรูปตามตารางรายละเอียดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ว่าด้วยการกำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) หมายถึง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ด้วยวิธีการดำเนินงานตามปกติ
หรือปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของท่อจ่ายน้ำมันจนถึงก้นถังน้ำมันแต่ละถัง
แล้วแต่ปริมาณใดจะมากกว่า
ข้อ ๔
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ที่ประสงค์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนให้ยื่นขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามแบบ
ธพ.ธ ๓๐๕ ท้ายประกาศนี้ พร้อมสัญญาหรือข้อตกลงการมอบหมายให้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน
โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้รับมอบหมายยินยอมให้สิทธิในน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้มอบหมายอยู่เหนือสิทธิของตน
(๒)
ผู้รับมอบหมายจะต้องส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บสำรองแทนให้กับผู้มอบหมายได้ตลอดเวลา
(๓)
ผู้รับมอบหมายจะไม่โต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับมอบหมายในกรณีที่ผู้มอบหมายได้รับคำสั่งจากอธิบดีให้นำน้ำมันสำรองออกมาจำหน่ายในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๕
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนและผู้รับมอบหมายได้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มอบหมายไว้รวมกับน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันรายอื่นหรือของผู้รับมอบหมาย
ให้ยื่นหลักฐานการจำแนกสิทธิในน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันรายอื่นด้วย ทั้งนี้ หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่มอบหมายเป็นน้ำมันสำเร็จรูป
ที่มิใช่น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด เจ.พี. ๕ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน
๑๐๐/๑๓๐ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด เจ.พี. ๘
และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร
ให้หักปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) ออกก่อน
ที่จะจำแนกสิทธิของผู้ค้าน้ำมันแต่ละราย
ข้อ ๖
การขอความเห็นชอบให้มอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนให้ยื่นขอความเห็นชอบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ก่อนวันที่จะประสงค์จะมอบหมายดังกล่าว
การขอเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการมอบหมายที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว
ให้ยื่นขอความเห็นชอบก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวัน
ข้อ ๗
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ประสงค์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนเป็นสถานที่ที่จะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของตน
ข้อ ๘
ผู้รับมอบหมายเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน
ต้องเป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัด
ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบขอความเห็นชอบการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน (แบบ ธพ.ธ
๓๐๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๔ ง/หน้า ๖/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
738390 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
น้ำมันสำเร็จรูป หมายถึง
น้ำมันสำเร็จรูปตามตารางรายละเอียดชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ว่าด้วยการกำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) หมายถึง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ด้วยวิธีการดำเนินงานตามปกติ
หรือปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของท่อจ่ายน้ำมันจนถึงก้นถังน้ำมันแต่ละถัง
แล้วแต่ปริมาณใดจะมากกว่า
ข้อ ๔
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดีตามแบบ ธพ.ธ ๓๐๔
ท้ายประกาศนี้ ให้ปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) การขอประจำปี
ให้ยื่นขอความเห็นชอบล่วงหน้าภายในวันที่สิบห้าของเดือนพฤศจิกายน
(๒) การขอเพิ่มสถานที่ ให้ยื่นขอความเห็นชอบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ก่อนวันที่ประสงค์ใช้สถานที่ดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายใหม่โดยอนุโลม
(๓)
การขอเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว
ให้ยื่นขอความเห็นชอบก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวัน
กรณีสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปที่มิใช่น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๕ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน ๑๐๐/๑๓๐ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๘ และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร
จะต้องแสดงปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) เป็นรายถังด้วย
ข้อ ๕
สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องเป็นสถานที่ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคลังน้ำมันหรือคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเป็นสถานที่เก็บเอทานอลหรือไบโอดีเซล
ทั้งนี้ ต้องมีลักษณะกายภาพ ดังนี้
(ก)
มีทางเข้าออกสำหรับยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้สะดวก
(ข) มีถังที่ตั้งอยู่บนบกในลักษณะตรึงตราถาวร
ซึ่งสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำมันได้โดยสะดวกและปลอดภัย
(ค) มีท่อรับจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ความในข้อ (ข) และ (ค)
ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นที่บรรจุในภาชนะปริมาณไม่เกิน
๒๐๐ ลิตร
(๒)
เป็นท่อส่งน้ำมันดิบในทะเลจากทุ่นหรือแท่นรับน้ำมันมาถึงจุดรับชายฝั่งที่มีเครื่องบังคับปิดเปิด
และมีจุดสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำมันดิบ
(๓)
เป็นเรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงที่รอสูบถ่ายขึ้นเก็บในคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
(๔)
เป็นเรือบรรทุกน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างเดินทางในน่านน้ำไทยเพื่อลำเลียงไปเก็บในคลังน้ำมัน
(๕) เป็นเรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงนำเข้าที่รอสูบถ่ายขึ้นเก็บในคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออยู่ระหว่างเดินทางในน่านน้ำไทยโดยจะต้องมีใบขนสินค้าขาเข้าของกรมศุลกากร
ข้อ ๖
ในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ซึ่งไม่ใช่สถานที่ของตนเองให้ยื่นหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เก็บสำรองหรือสิทธิการเช่าถัง
และหากสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองดังกล่าวใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับผู้ค้าน้ำมันหลายราย
โดยมีปริมาณที่แน่นอน ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นหลักฐานแสดงสิทธิการใช้และปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของตนด้วย
การยื่นขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บสำรองเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่มิใช่น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๕ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน ๑๐๐/๑๓๐ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๘ และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร ให้หักปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้
(Dead Stock)
ออกก่อนที่จะจำแนกสิทธิของผู้ค้าน้ำมันแต่ละราย
ข้อ ๗
ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิการใช้สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการแจ้งรายละเอียดของสถานที่ที่ใช้เก็บสำรอง
หรือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บสำรองอันเป็นเท็จ
อธิบดีอาจสั่งยกเลิกการให้ความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเว้นแต่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
หรือมิได้มีเจตนาแจ้งรายละเอียด หรือปริมาณอันเป็นเท็จ
ข้อ ๘ สถานที่ที่ใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ก่อนที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามประกาศนี้จนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ
ธพ.ธ ๓๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๔ ง/หน้า ๓/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
736191 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 07/04/2558) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ปุณิกา/ปรับปรุง
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒] รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘ |
732218 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณ ปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558
| ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณ
ปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน
และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๖
(๓) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดชนิดและอัตรา
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
น้ำมันสำเร็จรูป หมายถึง
น้ำมันสำเร็จรูปตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้
เอทานอล หมายถึง
เอทานอลแปลงสภาพที่มีลักษณะและคุณภาพตามที่อธิบดีประกาศกำหนดและให้รวมถึงเอทานอลที่ยังไม่ได้แปลงสภาพตามสูตรที่กรมสรรพสามิตกำหนด
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ (Dead Stock) หมายถึง
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้ด้วยวิธีการดำเนินงานตามปกติ
หรือปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของท่อจ่ายน้ำมันจนถึงก้นถังน้ำมันแต่ละถัง
แล้วแต่ปริมาณใดจะมากกว่า
ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ
๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามชนิดและอัตราตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่นำมาคำนวณปริมาณสำรองให้คำนวณจากปริมาณการค้าประจำปีหักด้วย
(๑) ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายอื่น
(๒) ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักร
(๓)
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมอื่น
ๆ
ข้อ ๗ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำมาคำนวณปริมาณสำรองให้คำนวณจากสมการ
ดังต่อไปนี้
ปริมาณน้ำมันดิบ
ที่นำมาคำนวณ =
ปริมาณสำรอง
ปริมาณการค้าประจำปีของน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่น
ผลรวมปริมาณน้ำมันสำเร็จรูป
x ที่กลั่นหรือผลิตได้สำหรับจำหน่าย
เป็นเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร
ผลรวมปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นหรือผลิตได้
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณตามวรรคหนึ่ง กำหนดให้
(๑) ปริมาณการค้าประจำปีของน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่น หมายถึง
ปริมาณน้ำมันดิบทั้งหมดที่จัดหามาได้ หักด้วยปริมาณน้ำมันดิบที่จำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายอื่น
(๒) ผลรวมปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นหรือผลิตได้ หมายถึง
ผลรวมของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปและปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่กลั่นได้
(๓)
ผลรวมปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นหรือผลิตได้สำหรับจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร
หมายถึง ผลรวมของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นหรือผลิตได้
หักด้วยปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกและจำหน่ายตามข้อ ๖ (๒) และ ๖ (๓)
ซึ่งผู้กลั่นพิสูจน์ได้
ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จะเก็บสำรองน้ำมันดิบในแต่ละวันไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของปริมาณที่มีหน้าที่ต้องสำรองก็ได้
แต่ทั้งนี้ เมื่อคำนวณปริมาณที่เก็บสำรองเฉลี่ยในแต่ละเดือนต้องไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดในข้อ
๕
ข้อ ๙ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดในแต่ละวัน ตามปริมาณที่มีหน้าที่ต้องสำรอง
โดยให้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามกำหนดลักษณะและคุณภาพแต่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบให้มีไว้เพื่อจำหน่ายได้ด้วย ทั้งนี้
ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่เก็บสำรองไม่รวมถึงปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่สามารถสูบถ่ายได้
(Dead Stock) ของแต่ละถัง
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่การเก็บสำรองน้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๕ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน ๑๐๐/๑๓๐ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด
เจ.พี. ๘ และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร และให้นำความในข้อ ๘ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
ข้อ ๑๐ การสำรองน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิด
จะสำรองน้ำมันสำเร็จรูปในกลุ่มเดียวกันตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ทดแทนกันก็ได้
ข้อ ๑๑ การสำรองน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
และจำหน่าย จ่าย โอน จากเขตปลอดอากรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม
เกี่ยวกับปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมีที่เป็นของเหลว
ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ใช้อัตราสำรองของน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในราชอาณาจักร
ในกรณีเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
และจำหน่าย จ่าย โอน จากเขตปลอดอากรดังกล่าวตามวรรคหนึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ใช้อัตราสำรองน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๑๒ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
อาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปแทนน้ำมันดิบที่มีหน้าที่ต้องสำรองได้ในอัตราส่วนแทนกัน
๑ ต่อ ๑ ของร้อยละ ๒๐ ของปริมาณน้ำมันดิบที่มีหน้าที่ต้องสำรองตามกฎหมาย
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นขอความเห็นชอบต่ออธิบดีก่อนการเก็บสำรองแทนกันตามวรรคหนึ่งและให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูป ระยะเวลา
หมายเลขถัง และคลังน้ำมันที่จะใช้เก็บ ทั้งนี้
ถังเก็บน้ำมันและคลังน้ำมันดังกล่าวจะต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบให้ใช้เป็นสถานที่เก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปด้วย
(๒) รายงานปริมาณคงเหลือของน้ำมันสำเร็จรูปที่เก็บแทนกัน
เสมือนเป็นน้ำมันดิบที่ต้องสำรองตามแบบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันสำรองตามกฎหมายคงเหลือรายวัน
(นพ. ๒๑๐)
(๓) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใด ๆ ตาม (๑) ต้องได้รับความเห็นชอบก่อน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ตารางรายละเอียด
ชนิดและอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง
แนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๘
ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ผลิตใน
ราชอาณาจักร
ร้อยละ
น้ำมันเชื้อเพลิง
ที่นำเข้ามาใน
ราชอาณาจักร
ร้อยละ
๑. น้ำมันดิบ
๒. น้ำมันสำเร็จรูป
(๑) กลุ่มที่ ๑ ได้แก่
(๑.๑) น้ำมันเบนซิน
(๑.๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์ /
น้ำมันเบนซินพื้นฐาน
(๒) กลุ่มที่ ๒ ได้แก่ เอทานอล
(๓) กลุ่มที่ ๓ ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๔) กลุ่มที่ ๔ ได้แก่ ไบโอดีเซล
(๕) กลุ่มที่ ๕ ได้แก่ น้ำมันเตา ชนิดที่ ๑
(๖) กลุ่มที่ ๖ ได้แก่ น้ำมันเตา ชนิดที่ ๒
(๗) กลุ่มที่ ๗ ได้แก่ น้ำมันเตา ชนิดที่ ๕
(๘) กลุ่มที่ ๘ ได้แก่
(๘.๑) น้ำมันก๊าด
(๘.๒) น้ำมันสำหรับอากาศยาน
เจท เอ ๑
(๘.๓)
น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด เจ.พี. ๕
(๙) กลุ่มที่ ๙ ได้แก่ น้ำมันสำหรับเครื่องบินออกเทน ๑๐๐/๑๓๐
(๑๐) กลุ่มที่ ๑๐ ได้แก่ น้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นชนิด เจ.พี. ๘
(๑๑) กลุ่มที่ ๑๑ ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบินทหาร
๖
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๖
๑๐
๑๐
๒๐
๖
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๑๒
๑๐
๑๐
๒๐
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กรกฎาคม
๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๗ สิงหาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๗/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
732113 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๖.๕
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๓/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
729702 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 20/01/2558) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒] รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ |
725916 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ
๑๗ ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๗ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๖.๐
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ เมษายน ๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๘ |
723055 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้การกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
เป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
และสามารถกำกับดูแลผู้ค้าน้ำมันได้อย่างรัดกุมขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๔
ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันหล่อลื่นที่จำหน่าย
หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๕ ในประกาศนี้
น้ำมันหล่อลื่น หมายถึง
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล
ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
ให้กำหนดไว้ ๒ ด้าน ดังนี้
(๑) ลักษณะและคุณภาพด้านเคมีและฟิสิกส์
ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
(๒) ลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งาน
ให้เป็นไปตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ
และได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี
ข้อ ๗ น้ำมันหล่อลื่นที่มีลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานในชั้นคุณภาพตามที่
American Petroleum Institute (API) กำหนดต่อไปนี้ ห้ามมิให้นำออกจำหน่ายในราชอาณาจักร
(๑) น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะ ในชั้นคุณภาพ API SA, SB
(๒) น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ในชั้นคุณภาพ API CA, CB
ข้อ ๘ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น
ดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๔ ท้ายประกาศนี้
(๑) ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่น
(๒) ผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น
(๓) ผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้า
หรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น
ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นและเอกสารประกอบเพื่อขอความเห็นชอบ
ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน
ข้อ ๑๐ เมื่อปรากฏว่าหลักฐานเอกสารที่ผู้ค้าน้ำมันยื่นขอรับความเห็นชอบตามข้อ
๙ มีรายละเอียดไม่ถูกต้องครบถ้วน
อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันแก้ไขข้อผิดพลาดหรือจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่ง
หากผู้ค้าน้ำมันไม่แก้ไขข้อผิดพลาด
หรือจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ค้าน้ำมันนั้นละทิ้งการขอรับความเห็นชอบ
ข้อ ๑๑ เมื่ออธิบดีเห็นชอบกับลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้ง
กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
โดยกำหนดเลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นไว้ด้วยตามแบบ ธพ.ค ๔๑๕ ท้ายประกาศนี้
เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ธพ และเลขทะเบียนในกรอบสี่เหลี่ยม ดังนี้
หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ยกเว้นผู้ค้าน้ำมันที่ขอความเห็นชอบโดยอ้างอิงลักษณะและคุณภาพของผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแล้วให้มีวันหมดอายุตามผู้ผลิตที่อ้างอิง
และหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบอาจต่ออายุได้ตามข้อ ๑๒
ข้อ ๑๒ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๑๑ ให้ยื่นคำขอต่ออายุตามแบบ ธพ.ค ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ภายในหกสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ
การต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ให้มีกำหนดคราวละสามปีนับแต่วันสิ้นอายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
หรือนับแต่วันสิ้นอายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ได้ต่อไว้ครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี
ยกเว้นผู้ค้าน้ำมันที่ขอความเห็นชอบโดยอ้างอิงลักษณะและคุณภาพของผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้สามารถต่ออายุและมีวันหมดอายุตามผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบเช่นกัน
ข้อ ๑๓ เมื่อผู้ค้าน้ำมันได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๑๒ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นยังคงใช้อยู่จนกว่าอธิบดีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันมิได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๑๒ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นถูกยกเลิก
ข้อ ๑๕ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นตามข้อ
๑๑ หรือให้ความเห็นชอบต่ออายุตามข้อ ๑๒ แล้ว
หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง
อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน
หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว
หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร
หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกตามข้อ
๑๑ หรือยกเลิกการต่ออายุตามข้อ ๑๒ ได้
ข้อ ๑๖ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นตามข้อ
๑๑ หรือให้ความเห็นชอบต่ออายุตามข้อ ๑๒ แล้ว
หากผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายละเอียดใดๆ
ของน้ำมันหล่อลื่น
หรือเอกสารแสดงลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้ทำหนังสือขอความเห็นชอบต่ออธิบดีไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ก่อนวันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๗ การจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๑๑ หรือที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ต่ออายุตามข้อ ๑๒ แล้ว
ผู้ค้าน้ำมันจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้
(๑) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะไม่เกิน ๒๑๐ ลิตร ต้องแสดงฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุนั้นโดยมีข้อความอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ชนิดความหนืด มาตรฐาน และชั้นคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
โดยต้องระบุข้อความ เห็นชอบโดยกรมธุรกิจพลังงาน หลังมาตรฐาน
และชั้นคุณภาพที่กรมธุรกิจพลังงานให้ความเห็นชอบ
(ข) เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นให้เป็นไปตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
(ค) ชื่อและที่ตั้งสถานประกอบการของผู้ผลิต
หรือผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น
หรือผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น
(ง) วัน เดือน ปี ที่ ผลิตหรือ บรรจุ
(๒) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะที่มีขนาดเกิน ๒๑๐ ลิตร
ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดทำรายละเอียดตาม (๑) และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อน้ำมันด้วย
(๓) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ สถานที่ผลิต
สถานที่บรรจุ สถานที่เก็บน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบ
หรือเลิกการผลิต การจำหน่าย
หรือการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่นผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการหรือแจ้งเลิกต่อกรมธุรกิจพลังงาน
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง หรือวันที่เลิกการผลิต การจำหน่าย
หรือการนำเข้า แล้วแต่กรณี
(๔) ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่นที่ได้ทำการค้าไปแล้วในแต่ละปีตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่สามสิบเอ็ดของเดือนมกราคมปีถัดไป
(๕) ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็น
เป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อขอความเห็นชอบ (แบบ ธพ.ค ๔๑๔)
๓. แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
(ประกอบการพิจารณาตามแบบแจ้งที่......) (แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๑)
๔. สูตรส่วนผสมน้ำมันหล่อลื่นที่ต้องการขอรับความเห็นชอบ (Formulations of engine oil to be registered) (แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๒)
๕. รายงานผลการทดสอบทางเครื่องยนต์ Summary of engine test results (แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๓)
๖. สูตรส่วนผสมน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ทดสอบทางเครื่องยนต์ (Formulations of engine oil used during the conduct of a test program) (แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๔)
๗. หนังสือยินยอมให้อ้างอิงเอกสาร ลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
(แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๕)
๘. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
(แบบ ธพ.ค ๔๑๕)
๙. แบบแจ้งเพื่อต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
(แบบ ธพ.ค ๔๑๖)
๑๐. แบบรายงานข้อมูลปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
๔ จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล (แบบ ธพ.ค ๔๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๑๘/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ |
721388 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ
๑๗ ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, % vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๓.๕
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ มกราคม ๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๖ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ |
723076 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/05/2557) | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมรายการ ๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒] รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ |
705720 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตร
ของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty %vol.)
ไม่ต่ำกว่าและ
ไม่สูงกว่า
๖.๐
๗
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ |
703784 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2557 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์
เพื่อให้สามารถกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์
พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ หมายความว่า
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ
ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็น ๓ กลุ่ม
ดังนี้
(๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ คือ
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ในสัดส่วน
๙๐ ต่อ ๑๐ โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
(๑.๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๑
(๑.๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕
(๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๒๐ คือ
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน
๘๐ ต่อ ๒๐ โดยปริมาตร
(๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๘๕ คือ
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน
๑๕ ต่อ ๘๕ โดยปริมาตร
ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของข้อ ๘
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้าย ๑ และ ๒
ของประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อนจึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัยหรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒)
(๓) และ (๔)
ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่าย
หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศ
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการ หรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัยหรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด
เรื่อง สารเติมแต่งหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๖) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด
เรื่อง เอทานอลแปลงสภาพในกรณีที่เอทานอลเกิดการขาดแคลน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๔)
ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง
และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์
หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์
ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้าย ๑ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (อี ๑๐, อี ๒๐) พ.ศ.
๒๕๕๗
๒. รายละเอียดแนบท้าย ๒ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (อี ๘๕) พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๗ เมษายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๒๖/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗ |
701857 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๗
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ๑/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๗
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acids, %vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๓.๕
๗
-
- EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๖ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ |
698061 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท
คือ
(๑)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒)
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ
๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย
หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรและโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก)
ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข)
ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค)
อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง)
สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้นํ้ามันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗)
น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ
๗ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐)
น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
ข้อ
๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖
วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
698059 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในสัดส่วนที่สูงขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ
๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
โดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๑๐
ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
จึงจะดำเนินการได้
ข้อ
๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
พร้อมเอกสารประกอบต่ออธิบดี ตามแบบ ธพ. ค ๔๐๖ ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๗ เมื่ออธิบดีพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ความเห็นชอบการจำหน่าย
หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันตามที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว
กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ตามแบบ ธพ. ค ๔๐๗
ท้ายประกาศนี้
หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
ให้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินสามปี นับแต่วันที่ออกหนังสือ
ข้อ
๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบให้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ตามข้อ ๗ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้
(๑)
ผลิตหรือจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ณ สถานที่
ที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง
(๒)
ส่งบัญชีตามแบบ ธพ. ธ ๒๑๓ และแบบ ธพ. ค ๔๐๘ ท้ายประกาศนี้ เกี่ยวกับปริมาณของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน
ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
(๓)
ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ชื่อ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
สถานที่ผลิต สถานที่จำหน่าย หรือรายละเอียดใด ๆ
ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ก่อนวันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
(๔)
ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเลิกการผลิต
การจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกการผลิต
การจำหน่าย แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ
๖ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีสถานประกอบการ หรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นที่กรมธุรกิจพลังงาน
(๒)
กรณีสถานประกอบการ หรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ
ให้ยื่นที่สำนักงานพลังงานจังหวัด ณ จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ข้อ
๑๐ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนอกจากการขนส่งทางทะเล
(๒)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
ทั้งนี้
ให้รวมถึงไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย หรืองานทดสอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้
ให้รวมถึงไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลนำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๖)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซล
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล
(๗)
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๔)
ข้อ
๑๑ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๕ วรรคสอง ข้อ ๖ และข้อ ๑๐ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ
๑๒ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมนึก บำรุงสาลี
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.
แบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(แบบ ธพ. ค ๔๐๖)
๓.
หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(แบบ ธพ. ค ๔๐๗)
๔.
แบบแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา
จำหน่าย และที่เหลืออยู่ (แบบ ธพ. ธ ๒๑๓)
๕.
แบบแจ้งปริมาณการจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้กลุ่มลูกค้าภายในราชอาณาจักรจำแนกตามประเภทธุรกิจ
(แบบ ธพ. ค ๔๐๘)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๕/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
690040 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้งานในภาคขนส่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
โดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๕ ให้กำหนดชนิดของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์เป็น
๒ ชนิด คือ
(๑) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ชนิดธรรมดา
สำหรับรถยนต์ทั่วไปที่มีความต้องการค่าพลังงานความร้อนดัชนีวอบบี้ระหว่าง ๓๗ - ๔๒
เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร
(๒) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ชนิดพิเศษ สำหรับรถยนต์เฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการค่าพลังงานความร้อนดัชนีวอบบี้ระหว่าง
๔๒ - ๕๒ เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
(๑)
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๒)
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาลหรืองานวิจัย
ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๐/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
689949 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณ ปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณ
ปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงอัตรา หลักเกณฑ์
และวิธีการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๐ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๔ ภายใต้บังคับข้อ
๕ และข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามชนิดและอัตราตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ น้ำมันเชื้อเพลิงดังต่อไปนี้
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง คือ
(๑) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายอื่นซึ่งตรงกับปริมาณแจ้งซื้อ
(๒) น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
(๓)
น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมอื่น
ๆ
(๔) น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
หรือเพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ
(๕) น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันหล่อลื่น
หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ใช้ในการกลั่นได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิง
(๖)
น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่ายไปอย่างวัตถุดิบในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
และน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเป็นชนิดที่ต้องสำรองตามตารางท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ การเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดในแต่ละวัน
ผู้ค้าน้ำมันจะเก็บไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของปริมาณที่มีหน้าที่ต้องเก็บสำรองก็ได้
แต่ทั้งนี้เมื่อคำนวณปริมาณที่เก็บสำรองแต่ละชนิดเฉลี่ยในแต่ละเดือนต้องไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดในข้อ
๔ และการเก็บน้ำมันสำรองแต่ละชนิดในแต่ละวันดังกล่าวให้รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามกำหนดลักษณะและคุณภาพแต่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบให้มีไว้เพื่อจำหน่ายได้ด้วย
ข้อ ๗ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ
และจำหน่าย จ่ายโอน จากเขตปลอดอากรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกี่ยวกับปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมีที่เป็นของเหลว
ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเข้ามาในประเทศ
ให้ใช้อัตราสำรองของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตในราชอาณาจักร
ในกรณีเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และจำหน่าย จ่าย
โอน จากเขตปลอดอากรดังกล่าวตามวรรคหนึ่งเข้ามาในประเทศ ให้ใช้อัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๘ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด
จะสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มเดียวกันตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ทดแทนกันก็ได้
ข้อ ๙ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้
ผู้ค้าน้ำมันอาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูป
หรือน้ำมันองค์ประกอบแทนน้ำมันดิบที่มีหน้าที่ต้องสำรอง
หรืออาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันดิบหรือน้ำมันองค์ประกอบแทนน้ำมันสำเร็จรูปที่มีหน้าที่ต้องสำรองได้ในอัตราส่วนแทนกัน
๑ ต่อ ๑ ของร้อยละ ๒๐ ของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่มีหน้าที่ต้องสำรองตามกฎหมาย
ทั้งนี้
น้ำมันองค์ประกอบที่เก็บแทนดังกล่าวต้องเป็นองค์ประกอบชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดนั้น
ๆ
หากผู้ค้าน้ำมันประสงค์จะเลือกเก็บแทนปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่มีหน้าที่ต้องสำรองมากกว่าร้อยละ
๒๐ ของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรอง
ให้ผู้ค้าน้ำมันเก็บแทนได้ตามสูตรการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีและผ่านการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพแล้ว
ทั้งนี้
การเลือกเก็บน้ำมันดิบแทนน้ำมันสำเร็จรูปที่ต้องสำรองตามวรรคนี้ต้องไม่เกินร้อยละ
๖๐ ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดที่ต้องสำรอง
การเลือกเก็บสำรองตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ผู้ค้าน้ำมันปฏิบัติ
ดังนี้
(๑) ยื่นขอความเห็นชอบเก็บแทนกันเป็นการล่วงหน้าต่อกรมธุรกิจพลังงาน
โดยต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะเวลา หมายเลขถัง
และคลังน้ำมันที่จะใช้เก็บ ทั้งนี้
ถังเก็บน้ำมันและคลังน้ำมันดังกล่าวจะต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบให้ใช้เป็นสถานที่เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
(๒) ต้องรายงานปริมาณคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บแทนเสมือนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามแบบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันสำรองตามกฎหมายคงเหลือรายวัน
(๓) หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บแทนกัน
ให้แจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง แนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๓๔/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
682234 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๘ แห่งประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๘
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เก็บสำเนาใบกำกับการขนส่งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
นับแต่วันที่จัดทำใบกำกับการขนส่ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๕ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๑/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ |
680754 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการค้าก๊าซหุงต้มให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
๔/๒๕๕๔ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ เมื่อผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ได้ทำการจำหน่าย จ่าย โอนก๊าซปิโตรเลียมเหลว
และจัดทำใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งมีสถานที่ส่งมอบปลายทางเป็นโรงบรรจุก๊าซ
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ส่งใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(E - mail) พร้อมทั้งระบุชื่อผู้ส่งและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
ไปยังกรมธุรกิจพลังงานทุกครั้ง อย่างช้าภายในกำหนดเวลา ดังนี้
(๑) เมื่อได้จัดทำใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ณ
คลังก๊าซต้นทาง ให้ส่งอย่างช้าภายในกำหนด ๑๕ นาที นับแต่เวลาที่ได้จัดทำใบกำกับการขนส่งแล้วเสร็จ
(๒) เมื่อรถขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวถึงโรงบรรจุก๊าซปลายทาง
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ดำเนินการให้ผู้บรรจุก๊าซที่ตนแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนค้าต่าง
หรือได้รับอนุญาตให้มอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนตน ส่งใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวตาม
(๑)
ที่ได้มีการลงลายมือชื่อรับรองการรับมอบก๊าซโดยเจ้าของโรงบรรจุก๊าซหรือในกรณีที่เจ้าของโรงบรรจุก๊าซไม่อยู่ให้พนักงานหรือลูกจ้างที่จัดการดูแลโรงบรรจุก๊าซเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองการรับมอบก๊าซแทน
อย่างช้าภายในกำหนด ๑๕ นาที นับแต่เวลาที่รถขนส่งมาถึง
ใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ตาม (๑)
และ (๒) ต้องมีขนาดที่อ่านเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๔ อธิบดีอาจอนุมัติให้ใช้วิธีการอื่นในการส่งใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว
หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๒๐/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ |
680383 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2556 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
เพื่อส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลในภาคการขนส่งให้มากยิ่งขึ้น
สอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๕
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน
จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึง
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง) สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก ๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙)
น้ำมันดีเซลที่มีปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสูงกว่าร้อยละ ๕ แต่ไม่สูงกว่าร้อยละ
๒๐ โดยปริมาตร สำหรับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
จำหน่ายให้กับผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย โดยอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้
(๑๐) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓)
(๔) และ (๕)
ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง
และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในนํ้ามันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑ มกราคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๗๐/๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ |
676091 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ.
๒๕๕๕
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล
เป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
จึงจะดำเนินการได้ ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
แต่ไม่รวมถึง
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือนํ้ามันให้ชาวประมง
ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง) สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑, ๓ benzenediol ๒, ๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑
โดยน้ำหนักปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓)
(๔) และ (๕)
ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๑๕/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
676087 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน
เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
๒๕% ใน ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๔) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ.
๒๕๕๕
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ
๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้
ยกเว้นการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินที่มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ
(๑) น้ำมันเบนซินสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย
เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑) น้ำมันเบนซินสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันเบนซินสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง
สารเติมแต่ง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๖) น้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๘) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓)
และ (๔)
ข้อ ๗ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ วรรคสอง
และข้อ ๖ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ ๘ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน
ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๑๓/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
673502 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว
พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่
๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๔/๒๕๕๔ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ประกาศนี้ใช้บังคับกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้ยานพาหนะสำหรับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการขนส่งทางเรือ
หรือการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่บรรจุลงในถังก๊าซหุงต้มแล้ว
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ค้านํ้ามันตามมาตรา ๗
ทำการจำหน่าย จ่าย โอนก๊าซปิโตรเลียมเหลวและต้องมีการขนส่ง ไม่ว่าจะทำการขนส่งเอง
หรือจ้างผู้ขนส่งตามมาตรา ๑๒ เป็นผู้ขนส่ง
หรือผู้ซื้อหรือผู้รับโอนนำยานพาหนะมารับเอง ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ต้องจัดทำใบกำกับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว
และมอบต้นฉบับหรือสำเนาให้กับผู้ควบคุมยานพาหนะนำกำกับไปกับยานพาหนะที่ใช้ขนส่งจนถึงสถานที่ส่งมอบก๊าซปิโตรเลียมเหลวปลายทาง
ทั้งนี้ ให้ผู้จัดทำใบกำกับการขนส่งลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย
ใบกำกับการขนส่งดังกล่าว
อย่างน้อยต้องมีรายการซึ่งมีข้อความที่ชัดเจน ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อผู้ค้าน้ำมันที่จ่าย และสถานที่จ่ายต้นทาง
โดยระบุที่อยู่ให้ชัดเจน
(๒) วันที่ออกและเลขที่ใบกำกับการขนส่ง
(๓) ชื่อผู้รับ และสถานที่ส่งมอบปลายทาง
โดยระบุที่อยู่และสถานภาพของผู้รับปลายทางให้ชัดเจนว่าเป็นคลังก๊าซ โรงบรรจุก๊าซ
สถานีบริการก๊าซ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้
ต้องระบุหมายเลขประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซกรณีเป็นโรงบรรจุก๊าซ
หรือเลขทะเบียนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ กรณีเป็นสถานีบริการก๊าซด้วย
(๔) ชื่อและที่อยู่ของผู้ขนส่ง
และเลขที่ใบรับแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๑๒
(๕) เลขทะเบียนยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง
(๖) วันและเวลาที่ยานพาหนะออกเดินทางจากสถานที่จ่ายต้นทาง
และประมาณวันและเวลาที่ถึงปลายทาง
(๗) ปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ขนส่ง
(๘) ระบุหมายเลขประจำตรา (SEAL) ที่ใช้ผนึกฝา
ท่อรับและมิเตอร์จ่ายของยานพาหนะที่ขนส่งในแต่ละเที่ยว
การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการตามวรรคสองสามารถกระทำได้โดยแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงบนใบกำกับการขนส่งและลงลายมือชื่อกำกับลงในใบกำกับการขนส่งด้วย
ยกเว้นรายละเอียดของรายการตาม (๓) และ (๗)
ให้กระทำได้โดยการจัดทำใบกำกับการขนส่งฉบับใหม่เท่านั้น
ในกรณีที่มีการซื้อหรือจำหน่าย จ่าย
โอนก๊าซปิโตรเลียมเหลวระหว่างผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกันหลายทอด
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายที่ทำการจำหน่าย จ่าย โอนและต้องมีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปยังคลังก๊าซ
โรงบรรจุก๊าซ สถานีบริการก๊าซ โรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เป็นผู้จัดทำใบกำกับการขนส่ง
ข้อ ๖ การขนส่งโดยยานพาหนะเพียงเที่ยวเดียวเพื่อไปส่งมอบ
ณ สถานที่ส่งมอบปลายทางหลายแห่ง ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่สถานที่ส่งมอบทุกแห่งเป็นสถานประกอบการประเภทเดียวกันเท่านั้นและให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ จัดทำใบกำกับการขนส่งสำหรับสถานที่ส่งมอบแต่ละแห่ง โดยต้องระบุรายการตามข้อ ๕
(๓) และ (๗) สำหรับการส่งมอบแต่ละแห่งให้ชัดเจน
ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ อาจใช้ใบกำกับสินค้าหรือใบกำกับภาษีแทนใบกำกับการขนส่งก็ได้
แต่ต้องมีรายการไม่น้อยกว่ารายการที่กำหนดไว้ตามข้อ ๕
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เก็บสำเนาใบกำกับการขนส่งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๘๐
วัน นับแต่วันที่จ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ข้อ ๙ ในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ผู้ขนส่งต้องขนส่งไปส่งมอบให้ผู้รับปลายทางตามชื่อและสถานที่และภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบกำกับการขนส่ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๕๒/๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ |
671037 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ.
๒๕๕๕
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙
กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
(๒) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๔
(๓) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล
เป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ
๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
จึงจะดำเนินการได้
ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย
ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง) สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก ๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก
ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อดังนี้
คุณสมบัติการหล่อลื่น และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓)
(๔) และ (๕)
ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๒๐/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
669063 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๕
อันเนื่องมาจากปัญหาการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบจำนวนหนึ่งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า
จำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕ โดยน้ำหนัก
และจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗
องศาเซลเซียส ทดแทน นั้น
บัดนี้
ได้มีการจัดหาน้ำมันเตาเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่หายไปจากระบบได้เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าแล้ว
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างปกติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มิถุนายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑๐/๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
669057 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้
ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด
เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม พ.ศ. ๒๕๔๗ นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรยกเลิกประกาศดังกล่าว
เนื่องจากปัจจุบันกรมธุรกิจพลังงานได้มีการกำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นขออนุญาตมอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
การขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม
และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตมอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนไว้ในฉบับเดียวกันแล้ว
โดยที่ระเบียบดังกล่าวมีเนื้อหาครอบคลุมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๙/๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
667621 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่เกิดปัญหาการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศ
ทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการจ่ายไฟฟ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ
๐.๕ โดยน้ำหนัก และจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า
๕๗ องศาเซลเซียส ทดแทนมากขึ้น ดังนั้น
เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน้ำมันเตา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังต่อไปนี้ไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
- น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕
โดยน้ำหนักและจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗
องศาเซลเซียส
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๒ ง/หน้า ๒๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
656459 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
เพื่อให้การกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
เป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
และสามารถกำกับดูแลผู้ค้าน้ำมันได้อย่างรัดกุมขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันหล่อลื่นที่จำหน่าย
หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๕ ในประกาศนี้
น้ำมันหล่อลื่น หมายถึง
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล
ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น
ให้กำหนดไว้ ๒ ด้าน ดังนี้
(๑) ลักษณะและคุณภาพด้านเคมีและฟิสิกส์
ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้าย ประกาศนี้
(๒) ลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งาน
ให้เป็นไปตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ
และได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี
ข้อ ๗ น้ำมันหล่อลื่นที่มีลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานในชั้นคุณภาพตามที่
American Petroleum Institute (API) กำหนด ต่อไปนี้ ห้ามมิให้นำออกจำหน่ายในราชอาณาจักร
(๑) น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะ
ในชั้นคุณภาพ API SA, SB
(๒) น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
ในชั้นคุณภาพ API CA, CB
ข้อ ๘ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น
ดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๔ ท้ายประกาศนี้
(๑) ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่น
(๒) ผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น
(๓)
ผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้า
หรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น
ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นและเอกสารประกอบเพื่อขอความเห็นชอบ
ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน
ข้อ ๑๐ เมื่อปรากฏว่าหลักฐานเอกสารที่ผู้ค้าน้ำมันยื่นขอรับความเห็นชอบตามข้อ
๙ มีรายละเอียดไม่ถูกต้องครบถ้วน
อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันแก้ไขข้อผิดพลาดหรือจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่ง
หากผู้ค้าน้ำมันไม่แก้ไขข้อผิดพลาด
หรือจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ค้าน้ำมันนั้นละทิ้งการขอรับความเห็นชอบ
ข้อ ๑๑ เมื่ออธิบดีเห็นชอบกับลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้ง
กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
โดยกำหนดเลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นไว้ด้วย ตามแบบ ธพ.ค ๔๑๕ ท้ายประกาศนี้
เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ธพ และเลขทะเบียนในกรอบสี่เหลี่ยม ดังนี้
หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งมีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ยกเว้นผู้ค้าน้ำมันที่ขอความเห็นชอบโดยอ้างอิงลักษณะและคุณภาพของผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้มีวันหมดอายุตามผู้ผลิตที่อ้างอิง
และหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบอาจต่ออายุได้ตามข้อ ๑๒
ข้อ ๑๒ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ตามข้อ ๑๑ ให้ยื่นคำขอต่ออายุตามแบบ ธพ.ค ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้
ภายในหกสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ
การต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบให้มีกำหนดคราวละสามปีนับแต่วันสิ้นอายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
หรือนับแต่วันสิ้นอายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ได้ต่อไว้ครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี
ยกเว้นผู้ค้าน้ำมันที่ขอความเห็นชอบโดยอ้างอิงลักษณะและคุณภาพของผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
ให้สามารถต่ออายุ และมีวันหมดอายุตามผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบเช่นกัน
ข้อ ๑๓ เมื่อผู้ค้าน้ำมันได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๑๒ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นยังคงใช้อยู่จนกว่าอธิบดีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันมิได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
ภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นถูกยกเลิก
ข้อ ๑๕ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นตามข้อ
๑๑ หรือให้ต่ออายุตามข้อ ๑๒ แล้ว
หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง
อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน
หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว
หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร
หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกตามข้อ ๑๑
หรือยกเลิกการต่ออายุตามข้อ ๑๒ ได้
ข้อ ๑๖ การจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๑๑ หรือที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ต่ออายุตามข้อ ๑๒ แล้ว
ผู้ค้าน้ำมันจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะไม่เกิน ๒๑๐ ลิตร
ต้องแสดงฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุนั้น โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ชนิดความหนืด มาตรฐาน
และชั้นคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น โดยต้องระบุข้อความ เห็นชอบโดยกรมธุรกิจพลังงาน
หลังมาตรฐาน และชั้นคุณภาพที่กรมธุรกิจพลังงานให้ความเห็นชอบ
(ข)
เลขทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นให้เป็นไปตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด
(ค) ชื่อและที่ตั้งสถานประกอบการของผู้ผลิต
หรือผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น หรือผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่น ที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น
(ง) วัน เดือน ปี ที่ ผลิตหรือ บรรจุ
(๒) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะที่มีขนาดเกิน ๒๑๐
ลิตร ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดทำรายละเอียดตาม (๑) และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อน้ำมันด้วย
(๓) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
สถานที่ผลิต สถานที่บรรจุ สถานที่เก็บน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบ
หรือเลิกการผลิต การจำหน่าย หรือการนำเข้าน้ำมันหล่อลื่น ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการหรือแจ้งเลิกต่อกรมธุรกิจพลังงาน
ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง หรือวันที่เลิกการผลิต การจำหน่าย
หรือการนำเข้า แล้วแต่กรณี
(๔)
ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่นที่ได้ทำการค้าไปแล้วในแต่ละปี ตามแบบ
ธพ.ค ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้
ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่สามสิบเอ็ดของเดือนมกราคมปีถัดไป
(๕) ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็น
เป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๑๗ น้ำมันหล่อลื่นที่ได้รับความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพไปแล้ว
ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สามารถแสดงฉลากตามประกาศเดิมได้ต่อไปจนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว
ต้องแสดงฉลากตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ตามประกาศนี้
เว้นแต่ผู้ค้าน้ำมันต้องการขอผ่อนผันการแสดงฉลากตามข้อ ๑๖
ต้องทำเป็นหนังสือยื่นขอต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อพิจารณาเป็นกรณีไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๔ (ลักษณะและคุณภาพด้านเคมีและฟิสิกส์ของน้ำมันหล่อลื่น)
๒. แบบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๔
(แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น เพื่อขอความเห็นชอบ (แบบ
ธพ.ค ๔๑๔))
๓. แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
(แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๑)
๔. สูตรส่วนผสมน้ำมันหล่อลื่นที่ต้องการขอรับความเห็นชอบ
(แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๒)
๕. รายงานผลการทดสอบทางเครื่องยนต์
(แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๓)
๖. สูตรส่วนผสมน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ทดสอบทางเครื่องยนต์
(แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๔)
๗. หนังสือยินยอมให้อ้างอิงเอกสารลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว
(แบบ ธพ.ค ๔๑๔/๕)
๘. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น
(แบบ ธพ.ค ๔๑๕)
๙. แบบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๕๔ (แบบแจ้งเพื่อต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ
(แบบ ธพ.ค ๔๑๖))
๑๐. แบบรายงานข้อมูลปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
๔ จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล (แบบ ธพ.ค ๔๑๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๗๗/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656397 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ
๑๕ ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ1/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๕
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acid, %vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๔.๕
๕
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๒๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
653585 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเนื่องมาจากปัญหาท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแท่นผลิตในอ่าวไทยเสียหายส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า
จึงจำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕
โดยน้ำหนัก และจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗ องศาเซลเซียส ทดแทน นั้น
บัดนี้ ได้มีการจัดหาน้ำมันเตาเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่หายไปจากระบบได้เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าแล้ว
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างปกติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๓๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๖ กันยายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๗๐/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
651402 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เกิดปัญหาท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแท่นผลิตในอ่าวไทยเสียหาย
ทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบจำนวนหนึ่งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการจ่ายไฟฟ้าของประเทศ
จึงจำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕
โดยน้ำหนักและจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗ องศาเซลเซียส ทดแทน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเตาในประเทศได้ ดังนั้น
เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙
กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันงดส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงดังต่อไปนี้ไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
- น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕
โดยน้ำหนักและจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗ องศาเซลเซียส
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๙๗/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651170 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๕
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูง
ต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ1/
หมุนเร็ว
หมุนช้า
๑๕
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตรของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acid, %vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๔
๕
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๕๒/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
648793 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
และเป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ๑๕ ปี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
(๒) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
(๓) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล
ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล
เป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
(๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗
ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
จึงจะดำเนินการได้
ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้
จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้
แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน
(๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(๓)
น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินทะเล ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
หรืองานวิจัย ทั้งนี้
ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง
จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้
(ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน
(ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก
(ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส
(ง) สี
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ
๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑
โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน
ASTM D ๑๕๐๐ เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก
๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ
๒ - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้
แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น
(๖)
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น
และปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย
(๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓)
(๔) และ (๕)
ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ
๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด
ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๙/๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ |
647647 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554
| ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๕
ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง
กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
น้ำมันดีเซล
วิธีทดสอบ1/
หมุนเร็ว
หมุน
ช้า
ธรรมดา
บี๕
๑๕
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์
ร้อยละโดยปริมาตร
ของกรดไขมัน
(Methyl Ester of Fatty Acid, %vol.)
ไม่ต่ำกว่า
และ
ไม่สูงกว่า
๑.๕
๒
๔
๕
-
EN ๑๔๐๗๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๖ ง/หน้า ๑๗/๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.