sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
610972 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๓๓/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
602967 | ประกาศเทศบาลเมืองสระแก้ว เรื่อง กำหนดพื้นที่การถมดินที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
| ประกาศเทศบาลเมืองสระแก้ว
ประกาศเทศบาลเมืองสระแก้ว
เรื่อง
กำหนดพื้นที่การถมดินที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดพื้นที่การถมดินที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ นายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว
ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จึงกำหนดพื้นที่การถมดินที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้
การถมดินที่มีพื้นที่ตั้งแต่
หนึ่งร้อยตารางเมตร ขึ้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
หฤษฎ์ สุขกุล
นายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว
ปริยานุช/จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๗๔/๗ เมษายน ๒๕๕๒ |
570972 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่
อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๑๕/๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ |
569081 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน
อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๑ มกราคม ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๙๙ ง/หน้า ๒๐/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
532406 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุกร่าง
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุกร่าง
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
บัญญัติ จันทน์เสนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๑๑/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ |
530775 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จเจริญ
อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
บัญญัติ จันทน์เสนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โสรศ/จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๔/๘ มีนาคม ๒๕๕๐ |
528771 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
บัญญัติ จันทน์เสนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๘/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
490998 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อ
๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อ
๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
พลอากาศเอก คงศักดิ์
วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นันทนา/จัดทำ
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๖/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
480376 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร
อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร
อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
ข้อ
๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
ข้อ
๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พลอากาศเอก คงศักดิ์
วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ชัชสรัญ/จัดทำ
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๔/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
325242 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จึงกำหนดความลึกหรือพื้นที่ที่ต้องแจ้งการขุดดิน หรือถมดิน ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ดังนี้
๑. การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินตั้งแต่ ๒.๕๐ เมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดิน ตั้งแต่หนึ่งพันหกร้อยตารางเมตรขึ้นไป
๒.
การถมดินที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันหกร้อยตารางเมตรขึ้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
พรพิมล/พิมพ์
๘ กรกฎาคม ๒๕๔๕
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๕ |
760544 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอศรีณรงค์ จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตั้งแต่ได้ประกาศไว้เปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้ว ๗ วัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัติหรือซึ่งขัด
หรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ
คำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ข้อบังคับ
ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตามวรรคแรกนั้น เมื่อได้ประกาศไว้ ณ
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ข้อบัญญัติ หมายความว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
ดิน หมายความรวมถึง อิฐ หิน กรวด ทราย เลน ลูกรัง
อินทรียวัตถุ สิ่งปรักหักพัง หรือสิ่งอื่นใด ที่ถูกใช้เสมือนดิน
ระดับดินเดิม หมายถึง
ระดับพื้นผิวดินที่เป็นอยู่โดยปกติ
การขุดดิน หมายถึง การกระทำใด ๆ ไม่ว่าจะโดยการขุด
เจาะ หรือตักด้วยแรงคน เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ใด ๆ ต่อพื้นดิน
และเป็นการเปลี่ยนสภาพพื้นดินทำให้เกิดความลึกเป็นแอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน การแต่ง การขุดคูคลอง บูรณะซ่อมแซม คู คลอง ทำราง
ทางน้ำอันเป็นสาธารณะประโยชน์ ซึ่งได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
การถมดิน หมายถึง การกระทำใด ๆ
อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับดินเดิมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ว่าโดยการถมเททิ้งดินลงไปในพื้นดิน หรือวิธีการอื่นใด
สิ่งปลูกสร้าง หมายถึง อาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้รวมถึงลานที่มีการจัดสวน
หรือปลูกต้นไม้เพื่อประดับ เพื่อความร่มรื่น
แผนผังบริเวณ หมายถึง แผนที่แสดงภาพที่ดิน
ที่ตั้งขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน รวมทั้งแสดงลักษณะและขอบเขตที่สาธารณะ
และอาคารในบริเวณที่ดินที่ติดต่อโดยสังเขปด้วย
แบบแปลน หมายถึง
แบบเพื่อประโยชน์ในการขุดดินหรือถมดินโดยมีรูปแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้
รายการประกอบแบบแปลน หมายถึง
ข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพของดิน ระดับดินเดิม สภาพของดินที่จะขุดหรือถมดิน
ตลอดทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับการขุดดินหรือการถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายถึง
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดินการถมดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง
พนักงานส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแต่งตั้ง
เพื่อปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ โดยกำหนดขอบเขตอำนาจไว้
ผู้ได้รับอนุญาต[๒] หมายถึง ผู้ได้รับอนุญาตให้ขุดดิน ถมดิน
หรือการขนดินหรือบรรทุกหรือเคลื่อนย้ายดินอันเกี่ยวเนื่องจากการขุดดินหรือถมดิน
และให้หมายความรวมถึงตัวแทนหรือนายหน้าหรือบุคคลซึ่งแสดงตนเป็นนายหน้าอันเป็นธุระจัดหาดำเนินการขุดดินหรือถมดินหรือการขนดินหรือบรรทุกหรือเคลื่อนย้ายดินด้วย
ข้อ
๖ ข้อบัญญัตินี้
ห้ามใช้แก่การขุดดินหรือถมดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่นแล้วผู้ได้รับอนุญาตให้ขุดหรือถมดินตามกฎหมายอื่น
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว แจ้งเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงทราบก่อนวันทำการ
ข้อ
๗
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง มีอำนาจออกคำสั่งยกเว้น
ผ่อนผันระงับหรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรได้ ดังต่อไปนี้
(๑)
การขุดดิน การถมดิน ของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการท้องถิ่นที่ใช้ในการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒)
การขุดดิน
การถมดินขององค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการหรือองค์การ
หรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๓)
การขุดดิน การถมดิน ภายในบริเวณเคหะสถาน หรือเพื่อศาสนประโยชน์
(๔)
การขุดดิน การถมดินขององค์การระหว่างประเทศ
หรือหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ข้อ
๘ เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแข็งแรง
ความปลอดภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการผังเมือง ตลอดจนการอื่นที่จำเป็น
เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
มีอำนาจออกระเบียบกำหนด
(๑)
ระยะระหว่างบริเวณดินที่จะขุดหรือถมกับเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือระหว่างบริเวณที่ดินที่จะขุดหรือถมกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า หรือที่สาธารณะ
(๒)
ค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดิน ถมดิน
(๓)
บริเวณห้ามขุดดิน ถมดิน เพื่อวัตถุประสงค์หรือเพื่อกิจกรรมบางประเภท
(๔)
การขนหรือบรรทุก หรือการเคลื่อนย้ายดิน อันเนื่องจากการขุดหรือถมดิน
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๙
ห้ามผู้ใดขุดดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
(๑)
การขุดดินเพื่อการพาณิชย์
(๒)
การขุดดินที่มีความลึกตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป จากระดับดินเดิมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่
๑ ไร่ขึ้นไป
(๓)
การขุดดินที่มีความลึกตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตรขึ้นไป
และมีระยะห่างจากเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นน้อยกว่าสองเท่าของความลึก
(๔)
การขุดดินเพิ่มเติมจากที่ขุดไว้เดิมตามเกณฑ์ (๑) หรือ (๒)
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ
๑๐
ห้ามผู้ใดถมดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
(๑)
การถมดินสูงกว่าระดับที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
(๒)
การถมดินซึ่งมีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ ๓๐ ตารางวาขึ้นไป
ข้อ
๑๑
ผู้ใดจะทำการถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลและอยู่ติดเขตถนน
ต้องวางท่อระบายน้ำระหว่างแนวเขตถนนกับที่ดินตนเอง
โดยขนาดท่อระบายน้ำและจำนวนท่อระบายน้ำให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
หมวด ๔
การขออนุญาตและการอนุญาต
ข้อ
๑๒[๓] ผู้ใดจะทำการขุดดิน หรือการถมดิน ตามข้อ ๙
ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑
หรือขนดินหรือบรรทุกหรือเคลื่อนย้ายดินอันเกี่ยวเนื่องจากการขุดดินหรือถมดินตามข้อบัญญัตินี้
ให้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
ข้อ
๑๓ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๑๒
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ข้อ
๑๔[๔] การกำหนดขอบเขตการขุดดินและการถมดินภายในหมู่บ้าน
ตำบล และอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้เป็นไปตามท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๕
ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการที่ได้ยื่นมาพร้อมกับคำขอตามข้อ ๑๒
เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรรม
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตรวจพิจารณาเฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
ข้อ
๑๖ การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องระบุชื่อผู้ควบคุมงานพร้อมกับหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานไว้ในคำขอรับอนุญาตจะเป็นผู้ควบคุมงานก็ได้
กรณีลักษณะงานเข้าเกณฑ์ตามหลัก
ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมผู้ควบคุมงาน
จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๑๗
ถ้าผู้ได้รับอนุญาตจะบอกเลิกผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาตหรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน
ให้มีหน้าที่แจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงทราบ
ในกรณีที่มีการบอกเลิกตามวรรคแรก
ผู้ได้รับอนุญาตต้องระงับการดำเนินการ
ตามที่ได้รับอนุญาตจนกว่าจะมีผู้ควบคุมคนใหม่
และได้มีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้ว
ข้อ
๑๘ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีการขุดดิน
ถมดินผิดไปจากผังบริเวณผังแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนวิธีการ
เงื่อนไขที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนดไว้ในใบอนุญาต
ข้อ
๑๙[๕] ใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต
แต่ไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่ฝ่าฝืนข้อ ๙ ข้อ ๑๐
หรือข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีอำนาจสั่งให้เจ้าของที่ดิน
ผู้ครอบครองที่ดิน ผู้กระทำการแทนหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี
ให้ระงับการกระทำนั้นได้
ข้อ
๒๑
การสั่งการหรือการแจ้งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตามข้อบัญญัตินี้ให้ทำเป็นหนังสือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน หรือผู้ควบคุมงาน ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น
แล้วแต่กรณี หรือจะทำเป็นบันทึกและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับทราบก็ได้
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่อาจส่งหนังสือหรือทำบันทึกให้ลงลายมือชื่อรับทราบตามวรรคแรกได้
ให้จัดการปิดคำสั่งหรือหนังสือแจ้ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในบริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้น
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน
หรือผู้ควบคุมงานได้ทราบคำสั่งหรือหนังสือแจ้งนั้นแล้วตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ปิดประกาศ คำสั่ง หรือหนังสือแจ้งดังกล่าว
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๙ ข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๒๓
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ตามข้อ ๒๐
ต้องระวางโทษปรับวันละห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ข้อ
๒๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๒๕
ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ทวี ยาจิตต์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
กำหนดขอบเขตการขุดดินและถมดินภายในหมู่บ้าน
๒.[๖]
อัตราค่าธรรมเนียม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๗]
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตั้งแต่ได้ประกาศไว้เปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้ว ๗ วัน
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๔๔/๑๑ เมษายน ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๕ นิยามคำว่า ผู้ได้รับอนุญาต เพิ่มโดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๕] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๖] อัตราค่าธรรมเนียม เพิ่มโดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๕๐/๑๑ เมษายน ๒๕๕๑ |
859334 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่องและนายอำเภอหล่มสัก
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่องนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่องเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรีวัตถุต่าง
ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน
หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
บ่อดิน
หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน
หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน
หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน
หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ
หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดิน หรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น
หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
ข้อ
๕
ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
๗.๑
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
๗.๒
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
๗.๓
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
๗.๔
วิธีการขุดและถมดิน
๗.๕
ระยะเวลาทำการขุดดิน
๗.๖
ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗.๗
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
๗.๘
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
๗.๙
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้แจ้งผู้เริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๘
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บไว้ตามข้อ ๗ วรรคห้า
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
ข้อ
๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ต้องเก็บใบแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒
การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔
การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินจะต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดิน
ตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งกรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของอยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
(๑.๒๕ ไร่ หรือ ๑ ไร่ ๑ งาน) หรือมีพื้นที่ เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำ ตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งแก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๙ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่ง
ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดภายในตำบลปากช่อง โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ
ภายในตำบลปากช่อง
หรือนำออกไปจากตำบลปากช่องจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ
๒๐ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินเข้ามาภายในตำบลจะกระทำได้เมื่อได้ทำการขอรับอนุญาต
และได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ต้องพิจารณาการอนุญาตให้เสร็จโดยเร็ว
หรือให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันแล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมเหตุผล
ข้อ
๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุกการเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
จำนวนหรือน้ำหนักที่ยานพาหนะนั้น ๆ จะบรรทุกได้
การทำความสะอาดของล้อยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุก ไปยังทางสาธารณะ ข้อกำหนดจากการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก
เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย รวมถึงวงเงินประกันกรณีกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ
๒๓
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน
หรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๔
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ ๗
หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือกฎกระทรวง
หรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึง
พระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
หยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันทีถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๗ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ
๒๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๓ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ
โดยมีเงื่อนไข หรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี จะพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๙
ผู้ใดกระทำการขุดดินตามข้อ ๗ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗ วรรคสอง
หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิด ตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๓๒
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๒๔ มีความผิดตามมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๓ ผู้ใดขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๔
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๕
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือแก้ไขการขุดดิน หรือถมดินตามข้อ ๒๓
วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๖
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๙ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๗
ในกรณีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามโทษตามบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็น หรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๘
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ ข้อ ๑๖
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๙
การขุดดินและถมดินเพื่อปลูกสร้างอาคาร
สร้างที่พักอาศัยจะต้องไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตลอดจนไม่กระทบต่อพื้นที่ทางสาธารณะของชุมชน
และอาคารบ้านเรือนที่ใกล้เคียง
ข้อ
๔๐
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่องมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
จ่าเอก
วิชชา ฉัตรวิโรจน์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๑๗ มกราคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๐๒ ง/หน้า ๘๔/๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
846077 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2560
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้และนายอำเภอทองแสนขัน
จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
เรื่อง การขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึงหิน
กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดิน นำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า
การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป
แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแปลน หมายความว่า
ข้อความแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดที่ดิน ความลึก
และขนาดของบ่อดินที่จะขุด ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของ
บ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่ และบริเวณข้างเคียงระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงดินหรือรายการแสดงวิธีการคำนวณวิธีป้องกันการพังทลายของดินด้วยวิธีอื่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๖ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒) ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดินตามชนิดของดิน ทั้งนี้ ระยะดิ่ง ต่อระยะราบไม่น้อยกว่า
๑ ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดินความสูงและพื้นที่ ของเนินดินที่จะถมดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดิน
หรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔)
วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๕)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ
๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
ยกเว้น ผ่อนผัน ระงับ หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามที่เห็นสมควรได้ในกรณี
(๑) การขุดดิน ถมดินของหน่วยงานราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒) การขุดดิน ถมดิน ภายในศาสนสถานเพื่อศาสนาประโยชน์
(๓) การขุดดิน ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔) การขุดดิน ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินจะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๙ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
ข้อ
๑๑ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ขอรับใบแทนใบรับแจ้ง
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย
หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๒
ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง
หรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๔
การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรือต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้าง
หรือตัวแทนผู้ขุดดินต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ข้อ
๑๕
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖
การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๗
ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ หยุดการขุดในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร
หรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วนแล้วแต่กรณี ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๘
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่าง จากเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดิน
ที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
จะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
การถมดินตามวรรคสอง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
หรือได้รับความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ ๗ ได้
การถมดินตามวรรคสาม
หากมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร แนบมาพร้อมกับใบแจ้งการถมดิน
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน ๗
วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๙ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๔
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ออกตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘
ต้องควบคุมลูกจ้าง หรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๙
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๒๑
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๙ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือส่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ ๙
หรือการถมดินตามข้อ ๑๘
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๓
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่ง ให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกัน หรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ
๒๔
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๕ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๙
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙
วรรคสอง หรือข้อ ๑๘ วรรคหก แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดหรือถมดินตามข้อ ๗ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๒ และข้อ ๑๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๒๑
วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๓
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
นอกจากความผิดตามข้อ ๒๖ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
เมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๖
ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๗
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๙ ข้อ ๑๘ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ดำเนิน อินทะเรืองรุ่ง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๑)
๓. ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๒)
๔. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(ในกรณีเจ้าของที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน) (แบบ ขถด.๓)
๕. หนังสือมอบอำนาจ (ใช้ในกรณีผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ให้บุคคลอื่นยื่นใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น) (แบบ ขถด.๔)
๖. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (แบบ
ขถด.๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๗๙/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
811623 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทองโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทองและนายอำเภอเขื่องใน
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทองไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทองเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลค้อทองในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วมีความขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัติฉบับนี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้ดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดิน
เพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของดิน
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกัน การพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
คณะกรรมการตรวจสอบการขุดดินถมดิน หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งได้รับ
การแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง ตั้งแต่ ๓ - ๗ คน ซึ่งประกอบด้วย
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล
และผู้ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นสมควร ให้มีหน้าที่ตรวจสอบการขุดดิน
ถมดินก่อนออกใบรับแจ้ง
การขุดดินถมดินตามแบบแปลนหรือข้อกำหนดรวมไปถึงกรณีมีการร้องเรียน
เพื่อนำเสนอเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการต่อไป
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๒ เมตร หรือพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๓,๒๐๐
ตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ การขุดดินที่มีความลึกเกิน
๒๐ เมตร ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินและต้องจัดทำแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ
ความในวรรคหนึ่งมิให้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้
ที่มีพื้นที่ปากบ่อดินไม่เกิน ๔ ตารางเมตร
ข้อ ๗ ห้ามดำเนินการขุดดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะวัสดุกระจายพิษหรือรังสีโดยเด็ดขาด
ข้อ ๘ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๒ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๓,๒๐๐
ตารางเมตร ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดแต่ต้องไม่น้อยกว่า
๕ เมตร กรณีบ่อทราย ปากบ่อทรายจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่า ๔ เท่าของความลึกของบ่อทรายที่จะขุด
แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร เพื่อป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดินตามข้อ ๕
ผู้ขุดดินจะต้องระบายน้ำบนพื้นดิน บริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขัง
และต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจจะเป็นอันตรายแก่การพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้าง
ข้อ ๑๐ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ และรายการไว้ที่ขุดดินชุดหนึ่ง
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินจะต้องดำเนินการขุดดินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) การขุดดินต้องมีการเตรียมการป้องกันการพังทลายของดิน
(๒) การขุดดินต้องห่างจากอาคารบ้านเรือนผู้อื่นอย่างน้อย ๑๐ เมตร
ความลาดเอียง ๐.๕ เท่าของความลึก
(๓) การขุดดินต้องห่างจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อย ๕ เมตร
ยกเว้นการขุดทราย ต้องห่างจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อย ๑๐ เมตร ความลาดเอียง ๐.๕
เท่าของความลึกจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อย ๑๐ เมตร ความลาดเอียง ๐.๕
เท่าของความลึก
(๔) การขุดดินต้องห่างจากที่สาธารณประโยชน์ หรือลำห้วยสาธารณประโยชน์
อย่างน้อย ๑๐ เมตร ลาดเอียง ๐.๕ เท่าของความลึก ยกเว้นการขุดดินเพื่อการเกษตร
ห่างจากลำห้วยสาธารณประโยชน์ อย่างน้อย ๕ เมตร ลาดเอียง ๐.๕ เท่าของความลึกหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
ข้อ ๑๒ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๒ เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขต
ที่ของผู้อื่นต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำดังนี้
(๑) เว้นระยะห่างจากที่ดินใกล้เคียง อย่างน้อย ๒ เมตร
(๒) เว้นระยะห่างจากที่สาธารณประโยชน์
หรือลำห้วยสาธารณประโยชน์อย่างน้อย ๑๐ เมตร
ข้อ ๑๓ ผู้ขุดดินต้องตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเพื่อเตือนอันตราย
ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ทำด้วยวัสดุถาวร
โดยติดตั้งไว้เป็นระยะไม่เกิน ๔๐ เมตร รอบบ่อดิน ในตำแหน่งที่เห็นง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ ๑๔ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินตามพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลนและต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
และต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องเมื่อสิ้นสุดการขุดดินนั้น
ข้อ ๑๕ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือทางสาธารณะ
ผู้ขุดต้องจัดให้มีสิ่งกันตก หรือราวกั้นที่มั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอหรือไฟสัญญาณ เตือนอันตรายจำนวนพอสมควร ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นตลอดระยะเวลาที่ทำการขุดดิน
ในกรณีการขุดดินตามวรรคหนึ่ง
ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่างต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ชัด
ข้อ ๑๖ ผู้ขุดดินต้องใช้เส้นทางในการขนดิน
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบเท่านั้น
(๑) ผู้ขุดดิน ผู้ประกอบการ
และเจ้าของรถบรรทุกต้องควบคุมมิให้มีวัสดุตกหล่น
(๒) ผู้ขุดดิน
ผู้ประกอบการต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถบรรทุกอย่าให้ขับรถ ในลักษณะกีดขวาง
ประมาท หวาดเสียว อันอาจเกิดอันตราย
(๓) ผู้ประกอบการขนส่งดิน เจ้าของรถบรรทุกต้องจำกัดความเร็วไม่เกิน
๓๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง ยกเว้นทางหลวงสาย ๒๔๐๖
(๔) ผู้ประกอบการขนส่งดินต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด
(๕) ผู้ขุดดินจะต้องยินยอมชดใช้ความเสียหายใด ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก การขุดดินและการขนส่งดิน
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เกิน ๘๐๐ ตารางเมตร (สองงาน)
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
ผู้ใดจะทำการถมดินติดกับทางสาธารณะ
ทุกขนาดพื้นที่ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตรวจสอบและออกใบรับแจ้งจึงจะดำเนินการถมดินได้
โดยยื่นเอกสารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
การถมดินที่ติดกับทางสาธารณะ มีความสูงของเนินดินเฉลี่ยเกิน ๕๐
เซนติเมตร จากระดับถนนต้องจัดทำกำแพงกันดินตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
ข้อ ๑๘ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกิน
๘๐๐ ตารางเมตร (สองงาน) และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตร
นับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องจัดทำแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ
ข้อ ๑๙ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกิน
๘๐๐ ตารางเมตร (สองงาน) และมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตร จะต้อง มีผู้ควบคุมงานเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๒๐ การถมดิน
ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถม เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกัน
การพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยมีการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๒๑ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับทางสาธารณะ
ผู้ถมดินต้องตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเพื่อเตือนอันตราย ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐
เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ทำด้วยวัสดุถาวร
ไว้บนเนินดินที่ถมดินที่ติดทางสาธารณะ ในตำแหน่งที่เห็นง่ายตลอดระยะเวลาที่ทำการถมดิน
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินชิดที่ของบุคคลอื่น
ที่มีระยะห่างจากส่วนกลางของลาดเนินดิน ถึงเขตที่ดินน้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกั้นดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ ๒๓ การถมดินที่มีพื้นที่ที่เป็นเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินเกิน
๘๐๐ ตารางเมตร (สองงาน)
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินใกล้เคียงหรือบุคคลอื่น
โดยระบายน้ำสาธารณะหรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำที่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่ต้องระบายออกจากเนินดิน
การถมดินทุกขนาดพื้นที่ติดกับทางสาธารณะต้องวางท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางสาธารณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๒๔ ผู้ถมดินต้องควบคุมลูกจ้าง
หรือตัวแทนให้ปฏิบัติการถมดินให้ถูกต้องและต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการจ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๕ ผู้ถมดินต้องใช้เส้นทางในการขนดิน
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบเท่านั้น
(๑) ผู้ประกอบการ และเจ้าของรถบรรทุกต้องควบคุมมิให้มีวัสดุตกหล่น
(๒) ผู้ถมดิน
ผู้ประกอบการต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถอย่าให้ขับรถในลักษณะกีดขวาง ประมาท
หวาดเสียว อันอาจเกิดอันตราย
(๓) ผู้ประกอบการขนส่งดิน เจ้าของรถบรรทุกต้องจำกัดความเร็วไม่เกิน
๓๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง ยกเว้นถนนทางหลวงสาย ๒๔๐๖
(๔) ผู้ประกอบการขนย้ายดินต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด
(๕) ผู้ประกอบการและเจ้าของรถบรรทุกต้องยินยอมชดใช้ความเสียหายใด ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการถมดินและการขนส่งดิน
ข้อ ๒๖ ในการขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
และให้มีเครื่องหมายแสดงแนวเขตที่ดิน พร้อมติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๑๒๐
เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๒๔๐ เซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดินที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้
ข้อ ๒๗ การขุดดินหรือถมดินจะกระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๘ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดินเจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้ง
หรือผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่งต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ในกรณีที่ทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย เจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้ง
หรือผู้ควบคุมงานหรือผู้รับจ้างต้องร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น และต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดวิธีการ
ทั้งนี้ ต้องภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ทรัพย์สินเสียหาย
ซึ่งการซ่อมแซมทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นการทุเลาคดีความ
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ
สั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของหยุดการขุดดินหรือถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
จัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินร้องขอ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๓๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดิน ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้มีบทกำหนดโทษ ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.๒๕๔๓
(๑) ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๖ และ ข้อ ๒๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๒ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินที่มีลักษณะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ ๕ หรือ ข้อ ๑๗
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
บรรดาใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดินที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบรับแจ้งนั้น
ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทองมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สง่า หาญกล้า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๕๕/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ |
806113 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดนโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดนและนายอำเภอประทาย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความว่า หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ
ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน
หรือทำให้ พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดิน
ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดิน
หรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณ ข้างเคียง
ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม
พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัย ของกำแพงกันดิน
ที่สาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้บุคคลเข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรได้ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่ให้หมายความรวมถึงทางสาธารณะและลำห้วยสาธารณะด้วย
คณะกรรมการตรวจสอบการขุดดินถมดิน
หมายความว่าคณะบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้ง จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งแต่ ๓
- ๗ คน ซึ่งประกอบด้วยรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล,พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
และผู้ซึ่งนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเห็นสมควรให้มีหน้าที่ตรวจสอบการขุดดินถมดินก่อนออกใบรับแจ้งการขุดดินถมดินตามแบบแปลน
หรือข้อกำหนดรวมไปถึงกรณีมีการร้องเรียนเพื่อนำเสนอเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่น
ที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่
ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
จะต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ ๗ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตรต้องมีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินและต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อดินไม่เกินสี่ตารางเมตร
ข้อ ๘ ห้ามดำเนินการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะวัสดุกระจายพิษหรือรังสีโดยเด็ดขาด
ข้อ ๙ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสองเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินสามพันตารางเมตรปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าเมตร
กรณีบ่อทรายปากบ่อทรายจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสี่เท่าของความลึกของบ่อทรายที่จะขุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตรเพื่อป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างเว้นแต่จะได้มีการจัดการ
ป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ
วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร
ข้อ ๑๐ ในระหว่างการขุดดินตามข้อ ๖
ผู้ขุดดินจะต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดิน
ไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจจะ
เป็นอันตรายแก่การพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ข้อ ๑๑ ในระหว่างการขุดดินผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ที่ขุดดินชุดหนึ่งและพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินจะต้องดำเนินการขุดดินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑)
การขุดดินต้องมีการเตรียมการป้องกันการพังทลายของดิน
(๒) การขุดดินต้องห่างจากอาคารบ้านเรือนผู้อื่นอย่างน้อยสิบเมตรความลาดเอียง
๐.๕ เท่าของความลึก
(๓)
การขุดดินต้องห่างจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อยห้าเมตรยกเว้นการขุดทรายต้องห่างจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อยสิบเมตรความลาดเอียง
๐.๕ เท่าของความลึกจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อยสิบเมตรความลาดเอียง ๐.๕
เท่าของความลึก
(๔)
การขุดดินต้องห่างจากที่สาธารณประโยชน์หรือลำห้วยสาธารณประโยชน์อย่างน้อยสิบเมตรลาดเอียง
๐.๕ เท่าของความลึกยกเว้นการขุดดินเพื่อการเกษตร
ห่างจากลำห้วยสาธารณประโยชน์อย่างน้อยห้าเมตร ลาดเอียง ๐.๕
เท่าของความลึกหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
ข้อ ๑๓ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสองเมตรเมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ของผู้อื่นต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำดังนี้
(๑)
เว้นระยะห่างจากที่ดินใกล้เคียงอย่างน้อยสองเมตร
(๒) เว้นระยะห่างจากที่สาธารณประโยชน์หรือลำห้วยสาธารณประโยชน์อย่างน้อยสิบเมตร
ข้อ ๑๔ ผู้ขุดดินต้องตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเพื่อเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรทำด้วยวัสดุถาวรโดยติดตั้งไว้เป็นระยะไม่เกินสี่สิบเมตรรอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ ๑๕ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินตามพื้นที่ที่แจ้งและเมื่อสิ้นสุดการขุดจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลนและต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอและต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องเมื่อสิ้นสุดการขุดดินนั้น
ข้อ ๑๖ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือทางสาธารณะผู้ขุดต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกันที่มั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้นรวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอหรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นตลอดระยะเวลาที่ทำการขุดดินในกรณีการขุดดิน
ตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่างต้องทาสีสะท้อนแสงกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ชัด
ข้อ ๑๗ ผู้ขุดดินต้องใช้เส้นทางในการขนดินตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบเท่านั้น
(๑) ผู้ขุดดิน ผู้ประกอบการ และเจ้าของรถบรรทุกต้องควบคุมมิให้มีวัสดุตกหล่น
หากมีวัสดุตกหล่นกีดขวางการจราจร
ผู้ประกอบการและเจ้าของรถบรรทุกต้องดำเนินการจัดเก็บวัสดุสิ่งกีดขวางนั้นโดยเร็ว
(๒) ผู้ขุดดิน
ผู้ประกอบการต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถบรรทุกอย่าให้ขับรถในลักษณะกีดขวางประมาทหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตราย
(๓)
ผู้ประกอบการขนส่งดินเจ้าของรถบรรทุกต้องจำกัดความเร็วไม่เกินสามสิบกิโลเมตร/ชั่วโมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
(๔)
ผู้ประกอบการขนส่งดินต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน ๑๒ ตัน
และจะต้องควบคุมเสียงจากเครื่องยนต์ไม่เกิน ๘๕ เดซิเบล
(๕) ผู้ขุดดินจะต้องยินยอมชดใช้ความเสียหายใด ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก การขุดดินและการขนส่งดิน
ข้อ ๑๘ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๖ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน
ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตรหรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นของเนินดินเกินสองพันตารางเมตร
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
ผู้ใดจะทำการถมดินติดกับทางสาธารณะทุกขนาดพื้นที่ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบและออกใบรับแจ้งจึงจะดำเนินการถมดินได้โดยยื่นเอกสารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
การถมดินที่ติดกับทางสาธารณะ
ต้องมีความสูงของเนินดินเฉลี่ยไม่เกินห้าสิบเซนติเมตรจากระดับถนน
พร้อมจัดทำกำแพงกันดินตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
ข้อ ๒๑ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องจัดทำแบบแปลนรายการประกอบแบบและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร
ข้อ ๒๒ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาระดับวุฒิวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร
ข้อ ๒๓ การถมดินส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมเว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการรับรองจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่รับผิดชอบในการออกตรวจพื้นที่นั้น
ๆ
ข้อ ๒๔ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับทางสาธารณะผู้ถมดินต้องตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเพื่อเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถมดินที่ติดทางสาธารณะในตำแหน่งที่เห็นง่ายตลอดระยะเวลาที่ทำการถมดิน
ข้อ ๒๕ การถมดินที่มีพื้นที่ที่เป็นเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินใกล้เคียงหรือบุคคลอื่นโดยระบายน้ำสาธารณะหรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำที่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่ต้องระบายออกจากเนินดิน
การถมดินทุกขนาดพื้นที่ติดกับทางสาธารณะต้องวางท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางสาธารณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๒๖ ผู้ถมดินต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติการถมดินให้ถูกต้องและต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการจ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๗ ผู้ถมดินต้องใช้เส้นทางในการขนดินตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบเท่านั้น
(๑) ผู้ถมดิน ผู้ประกอบการ และเจ้าของรถบรรทุกต้องควบคุมมิให้มีวัสดุตกหล่น
หากมีวัสดุตกหล่นกีดขวางการจราจร
ผู้ประกอบการและเจ้าของรถบรรทุกต้องดำเนินการจัดเก็บวัสดุสิ่งกีดขวางนั้นโดยเร็ว
(๒)
ผู้ถมดินผู้ประกอบการต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถอย่าให้ขับรถในลักษณะกีดขวางประมาทหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตราย
(๓) ผู้ประกอบการขนส่งดินเจ้าของรถบรรทุกต้องจำกัดความเร็วไม่เกิน ๓๐
กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
(๔) ผู้ประกอบการขนย้ายดินต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน ๑๒ ตัน
และจะต้องควบคุมเสียงจากเครื่องยนต์ไม่เกิน ๘๕ เดซิเบล
(๕) ผู้ถมดินจะต้องยินยอมชดใช้ความเสียหายใด ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการถมดินและการขนส่งดิน
ข้อ ๒๘ ในการขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดินและให้มีเครื่องหมายแสดงแนวเขตที่ดินพร้อมติดตั้งป้ายให้สามารถมองเห็นได้ชัดจน
ข้อ ๒๙ การขุดดินหรือถมดินจะกระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๐ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดินและหลังการขุดดินหรือถมดินเจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่งต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์ในกรณีที่ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายเจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมงานหรือผู้รับจ้างต้องร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นและต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดวิธีการทั้งนี้ต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินเสียหายซึ่งการซ่อมแซมทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นการทุเลาคดีความ
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดินผู้ถมดินหรือเจ้าของหยุดการขุดดินหรือถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินร้องขอผู้ขุดดินผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๓๒ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือการถมดินว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่
ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๓๓ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๖ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสาม โดยไม่ได้รับ
ใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๖ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๙ วรรคสี่
แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๓
หรือข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการ
ตามข้อ ๓๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๓๖ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๓๑ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๗ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๘ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๔๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินที่มีลักษณะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับที่ท้องถิ่นให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ หรือข้อ ๒๐ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับในท้องถิ่นและเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
บรรดาใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดินที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบรับแจ้งนั้น
ข้อ ๔๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดนมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจ
ออกกฎ ระเบียบ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อุทัย แสนนอก
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดน
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๑๘๙/๔
มิถุนายน ๒๕๖๑ |
788291 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวและนายอำเภอนครไทย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทราย หรืออินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้ดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงแสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินหรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามข้อบัญญัตินี้
ราชการท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้บังคับการขุดดินและถมดินซึ่งกระทำโดยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากกระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
๗.๑
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
๗.๒
แผนผังแสดงพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
๗.๓
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
๗.๔
วิธีการขุดดินและขนดิน
๗.๕
ระยะเวลาทำการขุดดิน
๗.๖
ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗.๗
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
๗.๘
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
๗.๙
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอย่างถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งแก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้แจ้งผู้เริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้ได้รับแจ้งแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บไว้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
ข้อ
๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องเก็บใบแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดจำนวนหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน
ผู้ครอบครองที่ดินลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินจะต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งกรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของอยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งแก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามความ ในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้การปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๙ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใด ที่ได้จากการขุด ดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดภายในตำบล โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในตำบล
หรือนำออกไปจากตำบลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ
๒๐ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินเข้ามาภายในตำบลจะกระทำได้เมื่อได้ทำการขอรับอนุญาต
และได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องพิจารณาการอนุญาตให้เสร็จโดยเร็ว
หรือให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวัน
แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมเหตุผล
ข้อ
๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
จำนวนหรือน้ำหนักที่ยานพาหนะนั้น ๆ จะบรรทุกได้
การทำความสะอาดของล้อยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
ข้อกำหนดจากการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
รวมถึงวงเงินประกันกรณีกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ
๒๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจาก การขุดดิน หรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดิน
หรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องของตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๔ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวง
หรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน หยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันทีถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๗ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ
๒๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๓
วรรคสองหรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นว่านี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ
โดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี จะพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมให้เป็นที่สุด
ข้อ
๒๙ ผู้ใดกระทำการขุดดินตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗ วรรคสอง
หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง
ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา ๓๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๒๔ มีความผิดตามมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๓ ผู้ใดขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๔ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสองหรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๕ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๙ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๗ ในกรณีห้างหุ้นส่วน
บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามโทษ
ตามข้อบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๘ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ ข้อ ๑๖
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประเจตน์ หมื่นพันธ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๕๓ ง/หน้า ๙๘/๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
784389 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลีและนายอำเภอท่าชนะ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความว่า หิน กรวด หรือทราย
หรืออินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้ดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขต ของที่ดินที่จะขุดหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิดของดิน ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม
พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัย ของกำแพงกันดิน
ที่สาธารณะ หมายความว่า ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้บุคคลเข้าไป
หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
ให้หมายความรวมถึงทางสาธารณะและลำห้วยสาธารณะด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามข้อบัญญัตินี้
คณะกรรมการตรวจสอบการขุดดินและถมดิน หมายความว่า
คณะบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งแต่ ๓ - ๗ คน
ซึ่งประกอบด้วย รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล, สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล, พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นสมควรให้มีหน้าที่ตรวจสอบการขุดดินและถมดินก่อนออกใบรับแจ้งการขุดดินและการถมดินตามแบบแปลนหรือข้อกำหนด
รวมไปถึงกรณีมีการร้องเรียนเพื่อนำเสนอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการต่อไป
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้าให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
ข้อ
๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ
แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อดินไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินจะต้องจัดการป้องกันการพังทลายของที่ดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ผู้ประสงค์ขุดดินจักต้องดำเนินการขุดดินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) การขุดดินต้องมีการเตรียมการป้องกันการพังทลายของดิน
(๒) การขุดดินต้องห่างจากอาคารบ้านเรือนผู้อื่นอย่างน้อยสิบเมตร
ความลาดเอียงครึ่งหนึ่งของความลึก
(๓) การขุดดินต้องห่างจากที่ดินข้างเคียงอย่างน้อยห้าเมตร
ความลาดเอียงครึ่งหนึ่ง ของความลึก
ยกเว้นการขุดทรายต้องห่างจากที่ดินข้างเคียงอย่างน้อยสิบเมตร
ความลาดเอียงครึ่งหนึ่งของความลึก
(๔)
การขุดดินต้องห่างจากที่สาธารณประโยชน์หรือลำห้วยสาธารณประโยชน์อย่างน้อยสิบเมตร
ความลาดเอียงครึ่งหนึ่งของความลึก
ยกเว้นการขุดดินเพื่อการเกษตรห่างจากลำห้วยสาธารณประโยชน์อย่างน้อยห้าเมตร
ความลาดเอียงครึ่งหนึ่งของความลึกหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
(๕) ปฏิบัติตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑๙
ข้อ
๑๖ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใด ที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดภายในตำบล โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในตำบล หรือนำออกไปจากตำบลจะกระทำได้ก่อต่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๗ กรณีทางสาธารณะเกิดการชำรุดเสียหายอันเนื่องมาจากการบรรทุกดิน
ผู้ประสงค์ถมดินจักต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดีดังเดิม
ข้อ
๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ได้รับมอบหมายต้องพิจารณาการอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวัน
แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทราบพร้อมเหตุผล
ข้อ
๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน
กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน จำนวนหรือน้ำหนักที่ยานพาหนะนั้น ๆ
จะบรรทุก การทำความสะอาดของล้อยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
ข้อกำหนดในการปกคลุมสิ่งที่บรรทุกเพื่อมิให้ตกหล่น หรือฟุ้งกระจาย
รวมถึงวงเงินประกัน กรณีกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ
๒๐ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ข้อ ๑๓ และข้อ
๑๔หยุดการขุดในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งกรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ
๒๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตรต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
นอกจากต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นวันที่ได้รับใบรับแจ้งให้นำข้อบัญญัติข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๒ ผู้ถมดินตามข้อ ๒๑
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๓ ผู้ถมดินตามข้อ ๒๑
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๒
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๒๔ ผู้ประสงค์ถมดินจักต้องดำเนินการถมดินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีที่มีการถมดินติดกับทางสาธารณะหรือทางส่วนบุคคลต้องมีการขออนุญาตเชื่อมทางก่อนทำการถมดินกับหน่วยงานที่รับผิดชอบทางสาธารณะนั้น
(๒) ในการถมดินติดกับทางสาธารณะ
ระดับดินที่ถมแล้วเสร็จจักมีความสูงได้ไม่เกิน ๐.๓๐ เมตร จากระดับสูงสุดของผิวทาง
(จากจุดศูนย์กลางถนน) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อความปลอดภัย
(๓)
ระดับความลาดชันของทางเชื่อมออกสู่ทางสาธารณะของพื้นที่ถมดินที่กำหนดไว้ไม่เกิน ๘
%
(๔)
ในการลำเลียงขนส่งดินที่ใช้ในการถมดินผู้ประสงค์ถมดินจะต้องทำการหาวิธีการป้องกันการตกหล่นของเศษวัสดุ
ตลอดจนฝุ่นละอองอันเป็นเหตุสร้างความรำคาญเดือดร้อนแก่ผู้ใช้เส้นทางและอาศัยอยู่สองข้างทางสาธารณะ
ข้อ
๒๕ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน
หรือถมดินอันมาปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๒๒ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดิน
หรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดิน
หรือถมดิน และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๖ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๒๑ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดหรือการถมนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ข้อ
๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๙ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ
๓๐ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อ ๒๔ วรรคสอง หรือข้อ ๒๖ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นว่านี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการขุดดินและถมดิน
ตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้วแต่กรณี
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการขุดดินและถมดิน
ตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เป็นที่สุด
ข้อ
๓๑ ผู้ใดกระทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๒๑ วรรคสอง
โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคสาม
แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๒๒ มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ
๒๑ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๓๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๒๖ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๕ ผู้ใดขุดดินไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒๐
มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๖ ผู้ใดรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๒๕ วรรคสอง หรือข้อ ๒๗
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๗ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดิน หรือถมดินตามข้อ ๒๕ วรรคสอง หรือข้อ ๒๗
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติ
ข้อ
๓๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๓๑ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๙ ในกรณีห้างหุ้นส่วน
บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นมีโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๔๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ และข้อ ๒๑
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๔๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลีมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
มงคล ธรรมฤทธิ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๑๗๒/๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
782332 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่สมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่างและนายอำเภอพนมไพร
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่างตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
บรรดาประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่างเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
ทราย และอินทรีวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใดๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
การขนย้ายดิน หมายความว่า
การเคลื่อนย้ายดินจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งที่เกิดจากการขุดดินหรือถมดิน
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดินที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุดดินหรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม
พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า
ผู้ที่ขุดดินหรือถมดิน ทั้งนี้
ไม่ว่าจะขุดดินหรือถมดิน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
หรือนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่างก็ตาม
ผู้ดำเนินการ หมายความว่า
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่างและในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้
ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างของบุคคลดังกล่าวนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๖ การขุดดินจะกระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังบริเวณแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการขุดดินและการขนย้ายดิน
(๔) ระยะเวลาการขุดดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน แบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ซึ่งผู้ควบคุมงานและผู้ออกแบบแปลน ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน
ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน ความลึกของการขุดดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดิน
วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดิน เจ้าของที่ดิน
และผู้ดำเนินการ
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
และการขุดดินเพื่อการเกษตรกรรม
ข้อ ๘ ผู้ได้ใบรับแจ้งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมจะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ ถ้าใบรับแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ
ให้ผู้ขุดดินขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ การได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ผู้ดำเนินการหรือตัวแทนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ผู้ขุดดินดังกล่าวไว้ในวรรคแรกต้องควบคุมดูแลผู้รับจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของผู้ดำเนินการหรือตัวแทน ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดิน
และต้องตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร
ยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร ในบริเวณที่ทำการขุดดินและสามารถเห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
โดยแสดงข้อความ ดังต่อไปนี้
(๑) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน
(๒) ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน เนินดิน ความลึกของการขุดดิน
(๓) วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๔) เลขที่ในรับแจ้งและวันที่สิ้นสุดการขุดดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดิน เจ้าของที่ดิน
และผู้ดำเนินการขุดดิน
(๗)
ข้อความอื่นตามที่กรมโยธาธิการและผังเมืองประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒ การขุดดินโดยที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
หรือตามคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตรต้องจัดให้มีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
และมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับวุฒิวิศวกร เป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณด้วย
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เป็นการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายแพร่พิษหรือกระจายรังสี
ให้ผู้ประสงค์จะทำการขุดดินนำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นมายื่นประกอบการแจ้ง
พร้อมด้วยแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ ๑๕ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๖ การขุดดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรจากปากบ่อดิน
จะต้องห่างจากแนวที่ของบุคคลอื่น หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ข้อ ๑๗ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขัง และต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดิน
หรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
ข้อ ๑๘ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคง ปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ ๑๙ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าในมีแสงสว่างเพียงพอ หรือไปสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ตลอดระยะเวลาทำการขุดดินด้วย
ในกรณีการขุดดินตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่างต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๐ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างต้องไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร ทำด้วยวัสดุถาวรโดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตรรอบบ่อดิน
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ ๒๑ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบในทันทีนับแต่วันที่ขุดพบ
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ดินที่จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) เนื้อที่โครงการที่จะทำการถมดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดินระยะห่างจากเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นวัตถุประสงค์ของการถมดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน เจ้าของที่ดิน
และผู้ดำเนินการถมดิน
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ตามวรรคสองถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคสองเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้องให้นำความข้อ
๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การถมดินด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินเกินห้าเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒๔ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒๕ การถมดิน
ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น หรือที่สาธารณะ เป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒๖ การถมดินในบริเวณที่ติดกับทางสาธารณะ
ผู้ถมดินต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตราย ขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถมด้านที่ติดกับทางสาธารณะ
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการถมดิน
ข้อ ๒๗ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดินแล้วเสร็จ
ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
หมวด ๔
การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง และกาอนุญาต
ข้อ ๒๘ การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินภายในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
หรือนำออกไปจากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการของอนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุด
กองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณาการอนุญาตการบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดินหิน กรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินให้แล้วเสร็จโดยเร็วหรือให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอแล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมทั้งเหตุผล
ข้อ ๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดจากการขุดดิน ดังต่อไปนี้
(๑) จำนวน ปริมาณ
หรือน้ำหนักขั้นสูงสุดที่ยานพาหนะคันหนึ่งจะบรรทุกได้
(๒) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก
เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
(๓) การทำความสะอาดล้อของยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
(๔) ค่าธรรมเนียมการใช้ทางสาธารณะเพื่อการบรรทุกดิน
และการประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับทางสาธารณะ
(๕) หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการบรรทุก
เคลื่อนย้าย หรือขนส่งดิน
หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๓๑ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๒ ค่าธรรมเนียม
ค่าใช้จ่าย
และค่าปรับที่เกิดขึ้นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๓ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๒๒
โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๔ ผู้ใดทำการบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๕ ผู้ใดทำการขุดดิน การถมดิน หรือการบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
โดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามความในข้อบัญญัตินี้
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นหนังสือ โดยกำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติ
ไม่ดำเนินการปฏิบัติตามคำแนะนำภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗ ไม่จัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดิน
และติดตั้งป้ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑
พร้อมติดตั้งป้ายเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๗ ผู้ใดทำการถมดินตามข้อ
๒๒ ไม่ติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๖
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นรา ศรีวงษา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
ค่าธรรมเนียม
(๑) ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าคัดสำเนาหรือเอกสาร หน้าละ
๕ บาท
ค่าใช้จ่าย
(๑) ค่าพาหนะเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
ขุดดินหรือถมดิน
(๒) ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปตรวจสอบ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบของ
สถานที่ขุดดินหรือถมดิน ทางราชการแก่ผู้ไปทำงานเท่าอัตรา
ของทางราชการ
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๓๑ กรกฎาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๒๕๕/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
770969 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เรื่อง การขุดดินและถมดิน และการวางหลักประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
และการวางหลักประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
ว่าด้วยเรื่องการขุดดินและถมดินและการวางหลักประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลละงูโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลละงูและนายอำเภอละงู
จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
เรื่อง การขุดดินและถมดินและการวางหลักประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงูตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงูเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
สิ่งก่อสร้าง หมายความรวมถึง ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง
ถนนหินคลุก ถนนดินลูกรังที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงูด้วย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลละงูหรือไม่ก็ตาม
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงความของที่ดิน
ที่ตั้ง
และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดหรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุดหรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป แผนผังบริเวณ
รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแปลน หมายความว่า
ข้อความแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดที่ดิน ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุด
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดินตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง
ระดับดินเดิมคุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถมพร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ
ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดินหรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัย
ของกำแพงดินหรือรายการแสดงวิธีการคำนวณวิธีป้องกันการพังทลายของดินด้วยวิธีอื่น
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า ผู้ที่ขุดดินหรือถมดิน ทั้งนี้
ไม่ว่าจะขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงูหรือนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงูก็ตาม
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน หมายความว่า
ผู้ที่รับดำเนินการขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงูและในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้
ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างของบุคคลดังกล่าวนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๖ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๓)
วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๔)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ
๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง ยกเว้น
ผ่อนผัน ระงับ
หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามที่เห็นสมควรได้ในกรณี
(๑)
การขุดดิน ถมดินของหน่วยงานราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒)
การขุดดิน ถมดินภายในศาสนสถานเพื่อศาสนาประโยชน์
(๓)
การขุดดิน ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔)
การขุดดิน
ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
จะต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๕)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๖)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๗)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินจะทำการขุดดิน
(๘)
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้ง
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
ให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๙ วรรคห้าให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงู
ข้อ
๑๑ ในระหว่างที่มีการขุดดินผู้ขุดดินตามข้อ ๙
จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ
และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุดและพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ
๙ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๔ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๙ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรือต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้าง
หรือตัวแทนผู้ขุดดินต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ข้อ
๑๕ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๖ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๗ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยาให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖
หยุดการขุดในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่พบและให้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วนแล้วแต่กรณี
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ
๑๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างจากเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ดินไม่เกินสองพันตารางเมตรหรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งจะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
การถมดินตามวรรคสอง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือได้รับความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ
๗
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน
๗
วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๙ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๔
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ออกตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หมวด ๔
การวางหลักประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน
ข้อ
๒๐ ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินซึ่งใช้เส้นทางอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงูยื่นคำขอเพื่อวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นใดตามอัตราและแบบสัญญาประกันที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หลักประกันตามวรรคหนึ่งนั้นให้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประกันความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
ถ้ามูลค่าความเสียหายมีจำนวนมากกว่าหลักประกันแล้ว
ผู้วางหลักประกันยังคงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลละงูในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินของผู้รับจ้างนั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างของราชการอันมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าหลักประกันตามข้อ
๒๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อให้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหยุดการขุดดินหรือถมดินไว้เป็นการชั่วคราวแล้วให้ผู้รับจ้างวางหลักประกันเพิ่มเติมก่อนที่จะให้ดำเนินการต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่วางหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดินได้ทันที
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
ถ้าหากไม่ดำเนินการอาจจะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการพนักงานเจ้าหน้าที่อาจมีคำสั่งให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบโดยเร็ว
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือภายใน
๒
วันทำการนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสามให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๒ เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายตามข้อ
๒๐ และข้อ ๒๑ แทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินก็ได้
กรณีที่เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายแทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินนั้นให้นำความในข้อ
๒๐ และข้อ ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๓ ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ขุดดินหรือถมดินแล้วเสร็จ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องให้แล้วเสร็จพร้อมรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
กรณีที่มีความชำรุดบกพร่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณค่าความเสียหายและริบหลักประกันสัญญาตามมูลค่าความเสียหายและให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาตามส่วนที่ได้หักมูลค่าความเสียหายไว้แล้วให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่ไม่มีความชำรุดบกพร่อง
ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินผู้วางหลักประกันจะยื่นคำขอคืนหลักประกันมา
พร้อมกับหนังสือที่แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องตามวรรคหนึ่งก็ได้
คำขอใด
ๆ ที่ยื่นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงูกำหนด
ข้อ
๒๔ ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย
เงินที่ได้ริบตามสัญญาประกันความชำรุดบกพร่องตามข้อ ๒๐
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงู
หมวด ๕
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๒๕ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๒ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๙
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าพนักงานท้องที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้นให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือส่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามในข้อนี้ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๖ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๙ หรือการถมดินตามข้อ ๑๘
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือการจัดแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้นแล้วแต่กรณีและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ
๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๙ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๙
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙
วรรคสอง หรือข้อ ๑๘ วรรคห้า แล้วแต่กรณี
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดหรือถมดินตามข้อ ๗ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๒ และข้อ ๑๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘
วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๓๓ ผู้ขุดดินผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๔ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๕ วรรคสอง หรือข้อ ๒๗
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๕ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๒๕ วรรคสอง หรือข้อ ๒๗
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๖ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๗ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๕ วรรคสอง หรือข้อ ๒๗
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๘ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากความผิดตามข้อ
๓๐ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
เมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในกำหนดสามสิบวันให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๙ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็น
หรือยินยอมด้วย
ข้อ
๔๐ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๔๑ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๙ ข้อ ๑๘
และแต่กรณีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๖
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จำรัส ฮ่องสาย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เรื่อง การขุดดินและถมดิน
และการวางหลักประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๗ มีนาคม ๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๗ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๑๑๖/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
763829 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ เรื่อง มาตรการควบคุมการขุดดินถมดินการบรรทุกดินและการขนย้ายดิน พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
เรื่อง
มาตรการควบคุมการขุดดินถมดินการบรรทุกดินและการขนย้ายดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
ว่าด้วยการควบคุมการขุดดินถมดินการบรรทุกดินและการขนย้ายดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลอากาศโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศและนายอำเภออากาศอำนวย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
เรื่อง มาตรการควบคุมการขุดดินถมดินการบรรทุกดินและการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศนับแต่วันที่ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
ข้อ
๓ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
บรรดาประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และมีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด ทราย อิฐ เลน ลูกรัง
วัตถุ สิ่งปรักหักพัง หรือสิ่งอื่นใดที่ถูกใช้เสมือนดินและอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ
ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ระดับดินเดิม หมายความว่า
ระดับพื้นผิวดินที่เป็นอยู่โดยปกติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
การขุดดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ไม่ว่าจะโดยการขุดเจาะหรือตักด้วยแรงคนเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ใด ๆ ต่อพื้นดินและเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดินทำให้เกิดความลึกเป็นแอ่งบ่อสระหรือช่องว่างหรือช่องว่างใต้พื้นดินเว้นแต่การขุดลอกบูรณะซ่อมแซม
คูคลอง ลำราง
หรือทางน้ำอันเป็นประโยชน์ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
การถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับดินเดิมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ไม่ว่าเป็นการถมเททิ้งดินลงไปในพื้นดินหรือวิธีการอื่นใด
การขนย้ายดิน หมายความว่า
การเคลื่อนย้ายดินหรือสิ่งที่หมายถึงดินตามข้อบัญญัตินี้จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง
ซึ่งเกิดการเคลื่อนย้ายภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของดินที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุดดินหรือความสูงของเนินดินที่จะถมดินความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือถมดินตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงระดับดินเดิมคุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม
พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดินหรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการขุดดินและการขนย้ายดิน
(๔) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๕)
ชื่อผู้ควบคุมงานผู้ออกแบบแปลนแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ
รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ซึ่งผู้ควบคุมงานและผู้ออกแบบแปลนต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖)
เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดินขนาดพื้นที่ปากบ่อดินความลึกของการขุดดินและระยะห่างจากขอบบ่อดินวัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดินเจ้าของที่ดินและผู้ดำเนินการขุดดิน
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดเพิ่มเติมในภายหลังถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผลถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
และการขุดดินเพื่อการเกษตรกรรม
ข้อ
๘ ผู้ได้ใบรับแจ้งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๙ ในระหว่างการขุดดินผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้งแผนผังบริเวณ
และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุดและพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ถ้าใบรับแจ้งชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๐ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
หรือต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดินผู้รับจ้างซึ่งดำเนินการขุดดินในทางการที่จ้างลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายผู้ขุดดินดังกล่าวไว้ในวรรคแรกต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้โดยเคร่งครัดและต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินและต้องตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร
ยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินและสามารถเห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดินโดยแสดงข้อความ
ดังต่อไปนี้
(๑) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน
(๒) ขนาดพื้นที่ปากบ่อดินเนินดินความลึกของการขุดดิน
(๓) วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๔) เลขที่ใบรับแจ้งและวันที่สิ้นสุดการขุดดิน
(๕)
ชื่อผู้ควบคุมงานผู้ออกแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดินเจ้าของที่ดิน
และที่อยู่ของผู้ดำเนินการขุดดิน
ข้อ
๑๒ การขุดดินโดยที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดินต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำหรือตามคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ ห้ามทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
ในบริเวณศาสนสถาน
โรงเรียนและบริเวณพื้นที่สาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
ข้อ
๑๔ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตรต้องจัดให้มีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
และมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับวุฒิวิศวกรเป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณด้วย
ข้อ
๑๕ ในกรณีที่เป็นการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะวัสดุกระจายแพร่พิษหรือกระจายรังสี
ให้ผู้ประสงค์จะทำการขุดดินนำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นมายื่นประกอบการแจ้งพร้อมด้วยแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ
๑๖ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๗ การขุดดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรจากปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ข้อ
๑๘ ในระหว่างการขุดดินผู้ขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดินหรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
ข้อ
๑๙ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดินเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ
๒๐ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอหรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร ในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ตลอดระยะเวลาทำการขุดดินด้วยในกรณีการขุดดินตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่างต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ
๒๑ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างต้องไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรทำด้วยวัสดุถาวรโดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตรรอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ
๒๒ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุศิลปวัตถุซากดึกดำบรรพ์หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรีบรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบในทันทีนับแต่วันที่ขุดพบ
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ
๒๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตรต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรนอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) เนื้อที่โครงการที่จะทำการถมดินความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดินระยะห่างจากเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นวัตถุประสงค์ของการถมดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดินเจ้าของที่ดินและผู้ดำเนินการถมดิน
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดเพิ่มเติมในภายหลังถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้นถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคสองเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้องให้นำความข้อ
๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การถมดินด้วยโดยอนุโลม
ข้อ
๒๔ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องมีแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรการถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินเกินห้าเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องมีแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๕ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องมีผู้ควบคุมงาน
ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๖ การถมดินส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๗ การถมดินในบริเวณที่ติดกับทางสาธารณะผู้ถมดินต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตราย
ขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร ทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถมด้านที่ติดกับทางสาธารณะในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย
ตลอดระยะเวลาทำการถมดิน
ข้อ
๒๘ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดินแล้วเสร็จ
ผู้ถมดินเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดิน
แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
หมวด ๔
การบรรทุกการเคลื่อนย้ายการขนส่งและการอนุญาต
ข้อ
๒๙ การบรรทุกการเคลื่อนย้ายการขนส่งดิน
หินกรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน ซึ่งเกิดจากการขุดดินภายในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลอากาศโดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด
ๆ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศหรือนำออกไปจากองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศจะกระทำได้ต่อเมื่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ
๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องพิจารณาการอนุญาตการบรรทุกการเคลื่อนย้ายการขนส่งดิน
หินกรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินให้แล้วเสร็จโดยเร็วหรือให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕
วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอแล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมทั้งเหตุผล
ข้อ
๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุกการเคลื่อนย้ายการขนส่งดินหินกรวดทรายหรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ดังต่อไปนี้
(๑) จำนวนปริมาณหรือน้ำหนักขั้นสูงสุดที่ยานพาหนะคันหนึ่งจะบรรทุกได้
(๒) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกคลุมสิ่งที่บรรทุกเพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
(๓) การทำความสะอาดล้อของยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
(๔)
ค่าธรรมเนียมการใช้ทางสาธารณะเพื่อการบรรทุกดินและการประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับทางสาธารณะ
(๕) หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการบรรทุกเคลื่อนย้ายหรือขนส่งดิน
หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด
ข้อ
๓๒ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๓ ค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายและค่าปรับที่เกิดขึ้นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๓๔ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๒๓
โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๕ ผู้ใดทำการบรรทุกการเคลื่อนย้ายการขนส่งดิน
หินกรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๓๖ ผู้ใดทำการขุดดินการถมดินหรือการบรรทุกการเคลื่อนย้ายการขนส่งดิน
หินกรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน โดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามความในข้อบัญญัตินี้
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นหนังสือโดยกำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติไม่ดำเนินการปฏิบัติตามคำแนะนำภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
ข้อ
๓๗ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
ไม่จัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินและติดตั้งป้ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๑ พร้อมติดตั้งป้ายเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๓๘ ผู้ใดทำการถมดินตามข้อ ๒๓
ไม่ติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ทองมี เดชขันธ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอากาศ
เรื่อง มาตรการควบคุมการขุดดินถมดินการบรรทุกดินและการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๑ มกราคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๙๓ ง/หน้า ๑๗/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ |
763303 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วนโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วนและนายอำเภอค้อวัง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแกตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วนแล้วหกสิบวัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทรายและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง
และขอบเขตของที่ดินหรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดหรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดินครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
ค่าประกันความเสี่ยงและความเสียหาย ครั้งละหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินสามหมื่นบาทตามสภาพปัญหาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและระยะทางขนย้าย
(๑๐)
เอกสารหนังสือคู่มือทะเบียนรถชนิดที่ใช้งานสำหรับรถบรรทุกต้องไม่เกิน ๖ ล้อหรือน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน
๑๕ ตัน สำเนาบัตรประชาชน สำเนาใบขับขี่ ทั้งเจ้าของรถและผู้ขับรถ
(๑๑)
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้าให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
ข้อ
๙ ในระหว่างที่มีการขุดดินผู้ขุดดินตามข้อ
๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน
ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยาให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงโดยความสูงของเนินดินต้องไม่เกินสามสิบเซนติเมตรจากระดับถนนสาธารณะ
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตรหรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อบัญญัติข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ
๒๔ ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ
๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวงผู้นั้นต้องระวางโทษตามมาตรา
๓๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๗ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖
วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำ
นวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษตามมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสองหรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำ
สั่งต้องระวางโทษตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๕ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ
ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๖ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินหรือขนดินต้องดำเนินการจัดเก็บดินที่ตกหล่นตามถนนเส้นทางที่ทำการขุดดินหรือถมดินหรือขนดินให้เรียบร้อยและแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นไปตรวจสอบก่อนเลิกงาน
หากผู้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งไม่ดำเนินการเก็บดินตกหล่นตามถนนเส้นทางให้เรียบร้อยต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามหรือมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๗ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินหรือขนดินทำให้ถนนภายในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วนหรือทรัพย์สินอื่นเสียหาย
ผู้ขุดดินหรือถมดินหรือขนดินต้องรับผิดชอบปรับปรุงซ่อมแซมให้มีสภาพเช่นเดิมตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่ง
หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามหรือมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๘ รถบรรทุกขนดินต้องมีขนาดไม่เกินหกล้อและบรรทุกดินโดยมีน้ำหนักต้องไม่เกินสิบห้าตัน
ความเร็วไม่เกินสามสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตชุมชน
ห้วงเวลาขนดินระหว่างเวลาแปดนาฬิกาถึงสิบเจ็ดนาฬิกา หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
หรือมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วนมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สวาท จำปาเทศ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าห่วน
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๓ ธันวาคม
๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๑๓ ธันวาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๘๕ ง/หน้า ๑/๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ |
754863 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วและนายอำเภอปักธงชัย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วแล้วสิบห้าวัน
ข้อ
๓ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๐
บรรดาประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๖ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด ทราย อิฐ เลน ลูกรัง
วัตถุสิ่งปรักหักพังหรือสิ่งอื่นใดที่ถูกใช้เสมือนดิน และอินทรียวัตถุต่าง ๆ
ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินเป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ระดับดินเดิม หมายความว่า
ระดับพื้นผิวดินที่เป็นอยู่โดยปกติ
ภาพถ่าย หมายความว่า
รูปถ่ายจากสถานที่ดำเนินการขุดดินหรือถมดิน
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
การขุดดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ไม่ว่าจะโดยการขุด เจาะ หรือตักด้วยแรงคน เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ใด ๆ
ต่อพื้นดิน และเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดินทำให้เกิดความลึก เป็นแอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่าง หรือช่องว่างใต้พื้นดิน เว้นแต่การขุดลอกบูรณะซ่อมแซม คู คลอง ลำราง
หรือทางน้ำอันเป็นประโยชน์ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
การถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับดินเดิมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ว่าเป็นการถม เท
ทิ้งดินลงไปในพื้นดิน หรือวิธีการอื่นใด
การขนย้ายดิน หมายความว่า การเคลื่อนย้ายดินหรือสิ่งที่หมายถึงดินตามข้อบัญญัตินี้จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเกิดการเคลื่อนย้ายภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดิน
หรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายละเอียดแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกัน
การพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดิน
หรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายถึง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๗ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
วิธีการขุดดินและการขนย้ายดิน
(๔)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๕)
ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ
รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ซึ่งผู้ควบคุมงานและผู้ออกแบบแปลน
ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖)
เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน ความลึกของการขุดดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดิน วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๗)
ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดิน เจ้าของที่ดินและผู้ดำเนินการขุดดิน
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
และการขุดดินเพื่อการเกษตรกรรม
ข้อ
๙ ผู้ได้ใบรับแจ้งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๐ ในระหว่างการขุดดินผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผังบริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ ถ้าใบรับแจ้งชำรุด สูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดเสียหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๑ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน
ผู้รับจ้างซึ่งดำเนินการขุดดินในทางการที่จ้าง ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ผู้ขุดดินดังกล่าวไว้ในวรรคหนึ่งต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินและต้องตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร
ยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินและสามารถเห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
โดยแสดงข้อความ ดังต่อไปนี้
(๑)
เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน
(๒)
ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน เนินดิน ความลึกของการขุดดิน
(๓)
วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๔)
เลขที่ใบรับแจ้งและวันที่สิ้นสุดการขุดดิน
(๕)
ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖)
ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดิน เจ้าของที่ดินและที่อยู่ของผู้ดำเนินการขุดดิน
ข้อ
๑๓ การขุดดินโดยที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
หรือตามคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔ ห้ามทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
ในบริเวณศาสนสถาน
โรงเรียน และบริเวณพื้นที่สาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
ข้อ
๑๕ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
ต้องจัดให้มีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
และมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับวุฒิวิศวกรเป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณด้วย
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่เป็นการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายแพร่พิษ หรือกระจายรังสี
ให้ผู้ประสงค์จะทำการขุดดินนำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นมายื่นประกอบการแจ้งพร้อมด้วยแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ
๑๗ การชุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๘ การขุดดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
จากปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ข้อ
๑๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดินหรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
ข้อ
๒๐ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ
๒๑ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ
หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นตลอดระยะเวลาทำการขุดดินด้วย
ในกรณีการขุดดินตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่าง
ต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ
๒๒ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างต้องไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร ทำด้วยวัสดุถาวร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตร
รอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ
๒๓ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยาให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้ว
รีบรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบในทันทีนับแต่วันที่ขุดพบ
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ
๒๔ ผู้ประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้วต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔)
ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕)
ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖)
เนื้อที่โครงการที่จะทำการถมดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดินระยะห่างจากเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วัตถุประสงค์ของการถมดิน
(๗)
ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน เจ้าของที่ดินและผู้ดำเนินการถมดิน
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคสองเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้องให้นำความข้อ
๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับแก่การถมดินด้วยโดยอนุโลม
ข้อ
๒๕ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบ แบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินเกินห้าเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องมีแบบแปลน
รายการประกอบ
แบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๖ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องมีผู้ควบคุมงาน
ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหามายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๗ การถมดิน ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๘ การถมดินในบริเวณที่ติดกับทางสาธารณะ
ผู้ถมดินต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถม
ด้านที่ติดกับทางสาธารณะ ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการถมดิน
ข้อ
๒๙ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดินแล้วเสร็จ
ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
หมวด ๔
การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง และการอนุญาต
ข้อ
๓๐ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจาการขุดดินภายในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
หรือนำออกไปจากองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ
๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ต้องพิจารณาการอนุญาตการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินให้แล้วเสร็จโดยเร็วหรือให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕
วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมทั้งเหตุผล
ข้อ
๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ดังต่อไปนี้
(๑)
จำนวน ปริมาณ หรือน้ำหนักขั้นสูงสุดที่ยานพาหนะคันหนึ่งจะบรรทุกได้
(๒)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
(๓)
การทำความสะอาดล้อของยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
(๔)
ค่าธรรมเนียมการใช้ทางสาธารณะเพื่อการบรรทุกดิน
และการประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับทางสาธารณะ
(๕)
หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการบรรทุก เคลื่อนย้าย หรือขนส่งดิน
หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด
ข้อ
๓๓ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๔ ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย
และค่าปรับที่เกิดขึ้นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๓๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๘
หรือทำการถมดินตามข้อ ๒๔ โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๖ ผู้ใดทำการบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ
๓๗ ผู้ใดทำการขุดดิน การถมดิน
หรือการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินโดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามความในข้อบัญญัตินี้
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นหนังสือโดยกำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติไม่ดำเนินการปฏิบัติตามคำแนะนำภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
ข้อ
๓๘ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๘
ไม่จัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินและติดตั้งป้ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๒ พร้อมติดตั้งป้ายเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๓๙ ผู้ใดทำการถมดินตามข้อ ๒๔
ไม่ติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๘
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ประกาศ ณ วันที่ ๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เอนก ทันฉิมพลี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๔๖/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
744578 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมและนายอำเภอเมืองสิงห์บุรี
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
๗.๑
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
๗.๒
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
๗.๓
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
๗.๔
วิธีการขุดและขนดิน
๗.๕
ระยะเวลาทำการขุดดิน
๗.๖
ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗.๗
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
๗.๘
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
๗.๙
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้แจ้งผู้เริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บไว้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ข้อ
๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ต้องเก็บใบแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินจะต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งกรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของอยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งแก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๙ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่ง
ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน ซึ่งเกิดจากการขุดภายในตำบล
โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในตำบล
หรือนำออกไปจากตำบลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำการขออนุญาต และได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ
๒๐ การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินเข้ามาภายในตำบลจะกระทำได้เมื่อได้ทำการขอรับอนุญาต
และได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ต้องพิจารณาการอนุญาตให้เสร็จโดยเร็ว
หรือให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวัน
แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมเหตุผล
ข้อ
๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุกการเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน
กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน จำนวนหรือน้ำหนักที่ยานพาหนะนั้น ๆ
จะบรรทุกได้ การทำความสะอาดของล้อยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
ข้อกำหนดจากการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย รวมถึงวงเงินประกันกรณีกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ
๒๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน
หรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๔ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดิน
หยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๗ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ
๒๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อ ๒๓ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไข
หรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี จะพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ
๒๙ ผู้ใดกระทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๒๔ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๓ ผู้ใดขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๔ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๕ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๙ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๗ ในกรณีห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามโทษตามบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็น หรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๘ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ ข้อ ๑๖
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วุฒิพงศ์ ศรีรัง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติ
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๔ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
ปุณิกา/ตรวจ
๔ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
749014 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวนและนายอำเภอเมืองสุโขทัย
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวนแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทรายและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดิน ถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการขุดดินและถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง
โดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย
หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณีทราบโดยด่วนในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อบัญญัติข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่
ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน หรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๔ ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการแล้วแต่กรณีพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณีมีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวงผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗
มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๔ และข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสองหรือข้อ ๒๑
วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา
๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๕ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
แบน เขียวแก้ว
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๗ ง/หน้า ๑๒๖/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
743283 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวและนายอำเภอหนองบัว
จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดิน
นำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงความของที่ดิน
ที่ตั้ง
และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดหรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุดหรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป
แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแปลน หมายความว่า ข้อความแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดที่ดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุด ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิมคุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม
พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงดินหรือรายการแสดงวิธีการคำนวณวิธีป้องกันการพังทลายของดินด้วยวิธีอื่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๖ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒)
ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดินตามชนิดของดิน ทั้งนี้ ระยะดิ่งต่อระยะราบไม่น้อยกว่า ๑
ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดินความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔)
วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๕)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ
๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
ยกเว้น ผ่อนผัน ระงับ
หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณี
(๑)
การขุดดิน ถมดินของหน่วยงานราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒)
การขุดดิน ถมดินภายในศาสนสถานเพื่อศาสนาประโยชน์
(๓)
การขุดดิน
ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔)
การขุดดิน ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินจะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๙ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ข้อ
๑๑ ในระหว่างที่มีการขุดดินผู้ขุดดินตามข้อ ๙
จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ขอรับใบแทนใบรับแจ้ง
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย
หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง
หรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๔ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๙ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรือต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้าง
หรือตัวแทนผู้ขุดดินต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ข้อ
๑๕ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๖ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๗ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ หยุดการขุดในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร
หรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน แล้วแต่กรณี ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ
๑๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างจากเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
จะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
การถมดินตามวรรคสอง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
หรือได้รับความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ ๗ ได้
การถมดินตามวรรคสาม
หากมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปต้องจัดทำแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร แนบมาพร้อมกับใบแจ้งการถมดิน
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน ๗
วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๙ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๔
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ออกตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘
ต้องควบคุมลูกจ้าง หรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๒๑ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๙
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าพนักงานท้องที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า
ความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือส่งให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามในข้อนี้
ให้หมายความร่วมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๙ หรือการถมดินตามข้อ ๑๘ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่
ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือการจัดแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
เป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกัน หรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ
๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๕ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๙
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙
วรรคสอง หรือข้อ ๑๘ วรรคหก แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดหรือถมดินตามข้อ ๗ (๑)
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๒ และข้อ ๑๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘
วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำ
นวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ ๒๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๓๓ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
นอกจากความผิดตามข้อ ๒๖ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
เมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในกำหนดสามสิบวัน
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๖ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๗ ผู้ใดขุดดิน
หรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๘ และแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
กรวิภา เกิดสงค์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๑)
๓. ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๒)
๔. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(ในกรณีเจ้าของที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน) (แบบ ขถด. ๓)
๕. หนังสือมอบอำนาจ (แบบ ขถด. ๔)
๖. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(แบบ ขถด. ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๑ มกราคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๔๙ ง/หน้า ๒๖๒/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
742159 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก เรื่อง การควบคุมการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและการถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
ว่าด้วยการควบคุมการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแกและนายอำเภอชนบท
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแกแล้วสิบห้าวัน
ข้อ
๓ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบัญญัติ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราแล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความว่า หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดิน ที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการคำนวณ หมายความว่า รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร จะต้องแสดงแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
รวมทั้งให้มีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
ข้อ
๖ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อที่จะขุด
แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
ข้อ
๗ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
นอกจากจะต้องปฏิบัติตามข้อ ๖ แล้ว ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณใกล้เคียง
โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
ข้อ
๘ การขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุมีพิษหรือแพร่รังสีจะต้องแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ
๙ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดิน
วัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายแก่การพังทลายของบ่อดินหรือจอดเครื่องจักรหนักไว้บนขอบบ่อดินยกเว้นขณะทำงาน
ข้อ
๑๐ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นขอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ
๑๑ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตร
รอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ
๑๒ การถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปต้องแสดงแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๓ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะจะต้องให้มีระยะไม่น้อยกว่าความสูงของดินที่ถม
ข้อ
๑๔ ในกรณีที่ผู้ถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่นที่มีระยะห่างจากขอบล่างของเนินดินถึงเขตที่ดินน้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงการถมตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดินให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ
๑๕ การถมดินในบริเวณที่ติดกับที่ดินบุคคลอื่นหรือที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
เจ้าของที่ดินต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ
๑๖ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือบุคลอื่น
โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล แหล่งน้ำสาธารณะ
หรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำที่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ
๑๗ การขุดดินหรือถมดินให้กระทำ
ได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้ากระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๘ ในการขุดดินหรือถมดิน
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
และต้องติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตรยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดินในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้
เนื้อที่โครงการ........................ ไร่....................... งาน................... ตารางวา
ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน/เนินดินถม...............................................ตารางเมตร
ความลึก/ความสูง.................................................................................เมตร
ทำการขุดดิน/ถมดิน
เพื่อ.............................................................................
ใบรับแจ้งเลขที่................วันสิ้นสุดการขุดดิน/ถมดิน...................................
ชื่อผู้ควบคุมงาน............................................................................................
เลขทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม...........................................
ชื่อเจ้าของที่ดิน...............................................................................................
ชื่อผู้แจ้ง..........................................................................................................
ชื่อผู้ดำเนินการขุดดิน/ถมดิน..........................................................................
อยู่บ้านเลขที่.....................หมู่ที่....................ถนน..........................................
ตำบล................................... อำเภอ..........................จังหวัด.........................
รหัสไปรษณีย์....................................โทรศัพท์............................................... .
ข้อ
๑๙ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดิน ผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมงาน
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินหรือเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ
๒๐ ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินให้ใช้แบบ ด.๑
และใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดินให้ใช้แบบ ด.๒ ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแกกำหนด
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่มีกฎกระทรวงตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว
ให้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแกถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น
ข้อ
๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแกเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
สมชาย ขาวภา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (ด.๑)
๒. ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (ด.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๘ ธันวาคม
๒๕๕๘
วริญา/ตรวจ
๔ มกราคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๓๘ ง/หน้า ๕๒/๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
739932 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงและนายอำเภอคง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงแล้วหกสิบวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
(๑) บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒) ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน ทั้งนี้ ระยะดิ่งต่อระยะราบไม่น้อยกว่า ๑
ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓) วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔) วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๕) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
ยกเว้น ผ่อนผัน
ระงับหรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัติตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณี
(๑) การขุดดิน
ถมดินของหน่วยงานราชการหรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒) การขุดดิน ถมดินภายในศาสนสถานเพื่อศาสนประโยชน์
(๓) การขุดดิน
ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔) การขุดดิน
ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่ง เป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๘ วรรคห้าให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ข้อ ๑๐ ในระหว่างที่มีการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ
๘ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๘ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๔ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๕ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๓ เมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๖ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๘ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๕ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๓
วันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณีทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงโดยความสูงของเนินดินต้องไม่เกิน
๐.๕๐ เมตรจากระดับถนนสาธารณะ
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตรหรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
และต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน ๗
วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๘ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๓
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๗ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๘
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๘
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามในข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๑ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๘ หรือการถมดินตามข้อ ๑๗ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ
หรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่
ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้ แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๔ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๕ ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๐ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการแล้วแต่กรณีพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๘
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๗ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือข้อ ๑๗ วรรคสามแล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๗
วรรคหนึ่ง และข้อ ๑๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ หรือข้อ ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๑ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๐ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๖
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๐ วรรคสอง หรือข้อ ๒๒ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๐ วรรคสองหรือข้อ ๒๒
วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๓ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
นอกจากให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๖ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๗ ถ้าผู้รับจ้างรายใดที่ทำการรับจ้างขุดดินหรือรับจ้างถมดิน
ต้องดำเนินการเก็บดินที่ตกหล่นตามถนนเส้นทางที่ทำการขุดดินหรือถมดินให้เรียบร้อย
เพื่อป้องกันอันตรายกับรถที่สัญจรไปมาในเส้นทางดังกล่าวถ้าผู้รับจ้างไม่ดำเนินการเก็บดินที่ตกหล่นในถนนให้เรียบร้อย
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๘ ถ้าผู้รับจ้างรายใดที่ทำการรับจ้างขุดดินหรือรับจ้างถมดิน
ทำให้ถนนภายในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงเสียหายเนื่องจากการใช้เส้นทางขนดิน
ผู้รับจ้างขุดดินหรือผู้รับจ้างถมดิน ต้องรับผิดชอบซ่อมแซมให้ถนนสภาพคงเดิม
ถ้าไม่ดำเนินการซ่อมแซมให้เรียบร้อยต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
สายัณห์
ม่านกลาง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๗ ง/หน้า ๒๓๑/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
739926 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดดินและถมดินและค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2556 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
เรื่อง
กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดดินและถมดินและค่าธรรมเนียม
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
ว่าด้วยกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดดินและถมดินและค่าธรรมเนียม
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางนางและนายอำเภอพานทอง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดและถมดินและค่าธรรมเนียม
พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
นับแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางนางแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงแผนที่สังเขป/แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุด ความลาดเอียงของบ่อดิน
ระยะห่างของบ่อดินถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานตำบลบางนางแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงแผนที่สังเขป/แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่ขุด
ความลาดเอียงของบ่อดิน ระยะห่างของบ่อดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดิน ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง
ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ
หรือวิธีการสำหรับขุดดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน และให้ความลาดเอียงของเนินดิน
ระยะห่างจากเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการถมดินตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง
ระดับดินเดิมคุณสมบัติของดินที่จะถม
พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับถมดินเดิมเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินและถมดิน
ข้อ ๔ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรจะต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร
เว้นแต่การขุดบ่อน้ำใช้ในครัวเรือนที่มีเส้นผ่าศูนย์การไม่เกิน ๔ ตารางเมตร
ข้อ ๕ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
ระยะห่างจากขอบบนของลาดบ่อดินถึงเขตที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ให้มีระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตรเว้นแต่การขุดน้ำเพื่อการเกษตร
ให้มีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร และลึกไม่เกิน ๑๐ เมตร
ข้อ ๖ ในระว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นที่ดิน
บริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใด
ข้อ ๗ การขุดดินบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือรายกั้นขอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ ๘ ผู้ขุดดินต้องติดป้ายเตือนอันตรายขนาดไม่น้อยกว่า
๕๐ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกิน ๔๐ เมตร
รอบบ่อดิน
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามความเหมาะสม
ข้อ ๙ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินเต็มพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดต้องปรับพื้นที่ให้ได้ระดับเดียวกันทั้งบริเวณ
ข้อ ๑๐ การถมดินที่มีพื้นที่เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่
๒ เมตรขึ้นไป ต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ ๑๑ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น หรือที่สาธารณะให้มีระยะไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของความสูงของดินเดิม
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินใกล้ที่ดินของบุคคลอื่นน้อยกว่าระยะตามข้อ
๑๑ ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้วย
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินเพื่อป้องกันการพังทลายให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและตามที่เจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
และการถมดินต้องมีความสูงจากพื้นที่ดินหรือทางสัญจรไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร
ข้อ ๑๓ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
ผู้ถมดินจะต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายตลอดเวลาหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
และการถมดินต้องมีความสูงจากพื้นดินหรือทางสัญจรไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร
ข้อ ๑๔ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร พื้นที่เป็นดินตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่นโดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล
แหล่งน้ำสาธารณะหรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำที่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดินอย่างพอเพียง
ข้อ ๑๕ การขุดดินและถมดิน
ให้กระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้ากระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงอาทิตย์ขึ้น
และต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖ ในการขุดดินและถมดิน
ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดและต้องติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่า
๑๐๒ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๒๒๐ เซนติเมตร ในบริเวณที่ทำการขุดดินและถมดินที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ทำการขุดดิน
โดยแสดงข้อความ ดังต่อไปนี้
โครงการขุดดิน/ถมดิน เพื่อ......................................................................................................................................
พื้นที่...................................ไร่...............................................งาน................................................................ ตารางวา
ใบรับแจ้งเลขที่...........................ลงวันที่...............................หมดอายุวันที่............................................................
ชื่อผู้ควบคุมงาน....................................................เลขทะเบียน
ก.ว........................................................................
ชื่อผู้ดำเนินการขุดดิน/ถม........................................................................................................................................
บ้านเลขที่.........................................ตรอก/
ซอย.....................................ถนน........................................................
หมู่ที่.......................................ตำบล/แขวง...........................................อำเภอ/.......................................................
จังหวัด...........................................ไปรษณีย์.....................................โทรศัพท์..........................................................
ข้อ ๑๗ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือขออนุญาต หรือควบคุมงาน
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ ๑๘ ผู้ควบคุม
(๑) การถมดินที่พื้นที่เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร
จะต้องมีผู้ควบคุม
(๒) การถมดินตามข้อ ๑๘ (๑) ที่มีความสูงของเนินดินเกิน ๒ เมตร
จากพื้นดินและขุดดินที่มีความลึกเกิน ๓ เมตร
จากพื้นเดิมหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกิน ๑๐,๐๐๐
ตารางเมตร จะต้องมีผู้ควบคุมงานที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยประกอบวิชาชีพวิศวกร
ข้อ ๑๙ ห้ามกองดินและจอดเครื่องจักรหนักทิ้งไว้บนขอบบ่อดิน
หรือเนินดิน ยกเว้นขณะทำงานตำแหน่งขอบนอกของล้อเครื่องจักร
ต้องอยู่ห่างจากขอบบ่อดิน ไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร
ข้อ ๒๐ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑) ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้แบบ ด.๑
(๒) ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้แบบ ด.๒
(๓) หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(ใช้กรณีเจ้าของที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน) ให้ใช้แบบ ด.๓
(๔) หนังสือมอบอำนาจ (ใช้กรณีผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน)
ให้บุคคลอื่นยื่นใบแจ้งการขุดดิน/ถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ใช้แบบ ด.๔
(๕) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้ใช้แบบ ด.๕
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบรับแจ้งการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้รับใบรับแจ้งยื่นคำขอใบรับแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบ ด.๑ ภายใน ๑๕ วัน
นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด
(๒) ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๒๒ การออกใบแทนใบรับแจ้งให้พนักงานท้องถิ่น
ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบรับแจ้งให้ใช้ แบบ ด.๒
โดยประทับตราสีแดง คำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย
และให้มีวันเดือนปีที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) ให้ใช้ใบแทนใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้มีโทษปรับไม่เกิน
๕๐๐ บาท และมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบรับแจ้งและค่าใช้จ่ายซึ่งกำหนดไว้ตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
ข้อ ๒๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สุรีรัตน์
เหลี่ยมเลิศ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง
เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดและถมดินและค่าธรรมเนียม พ.ศ.
๒๕๕๖
๒. ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
๓. ใบรับแจ้งการขุดดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (ด.๒)
๔. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(ในกรณีเจ้าของที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน) (ด.๓)
๕. หนังสือมอบอำนาจ (ใช้ในกรณีผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ให้บุคคลอื่นยื่นใบแจ้งการขุดดิน/ถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น) (ด.๔)
๖. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ด.๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๗ ง/หน้า ๒๐๒/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
738149 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรงว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรงและนายอำเภอหนองแค
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
ตั้งแต่เมื่อวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรงแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทรายและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดิน
ดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินสูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดิน หรือ ถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น
หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
ข้อ ๕
ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตราในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๗
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงามท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและถมดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ผู้แจ้งได้ให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่ง เป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้รับจ้างภายในสามวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
ข้อ ๙
ในระหว่างที่มีการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบแจ้ง
แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒
การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔
การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕
ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วนในกรณีเช่นนี้
ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้รับใบแจ้ง ให้นำข้อ ๗ วรรคสาม
วรรคสี่และวรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙
ผู้ใดรับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิ์ร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย
ข้อ ๒๐
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ ๗
หรือการถมดินตามข้อ ๑๖
ว่าได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า
การขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดหรือถมดินนั้น
ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้ แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้พนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓
ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัติ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๔
ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการ
ให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๕
ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม
โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗ วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่
แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวงผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๖
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗
ผู้ใดปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๘
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๒๙
ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕ มีความผิดมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดปกติตามมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสองหรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๕ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน
และให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔
ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือผู้ติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น
เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรงรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ประกิจ หมีเปรม
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง
ปริยานุช/จัดทำ
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๖ ง/หน้า ๔๐/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
735511 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ (๕) ประกอบกับมาตรา ๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือและนายอำเภอปักธงชัย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ เรื่อง
หลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวง ถ้าต่อมามีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดินใช้บังคับแล้ว
หากข้อบัญญัตินี้ส่วนใดขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ให้ยกเลิก และให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
ดินทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
สิ่งก่อสร้าง หมายความรวมถึง
ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนหินคลุก
ถนนดินลูกรังที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือด้วย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือหรือไม่ก็ตาม
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า
ผู้ที่ขุดดินหรือถมดิน ทั้งนี้
ไม่ว่าจะขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือหรือนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือก็ตาม
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
หมายความว่า
ผู้ที่รับดำเนินการขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือและในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้
ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างของบุคคลดังกล่าวนั้นด้วย
ข้อ ๕ เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนืออันเนื่องมาจากการขุดดินและถมดิน
ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินซึ่งใช้เส้นทางอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
ยื่นคำขอเพื่อวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นใดตามอัตราและแบบสัญญาประกันที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หลักประกันตามวรรคหนึ่งนั้น
ให้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประกันความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
ถ้ามูลค่าความเสียหายมีจำนวนมากกว่าหลักประกันแล้ว
ผู้วางหลักประกันยังคงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
ข้อ ๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินของผู้รับจ้างนั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างของราชการอันมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าหลักประกันตามข้อ
๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อให้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหยุดการขุดดินหรือถมดินไว้เป็นการชั่วคราวแล้วให้ผู้รับจ้างวางหลักประกันเพิ่มเติมก่อนที่จะให้ดำเนินการต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่วางหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดินได้ทันที
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ถ้าหากไม่ดำเนินการอาจจะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมีคำสั่งให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบโดยเร็ว
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือภายใน
๒ วันทำการ
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๗ เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายตามข้อ
๕ และข้อ ๖ แทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินก็ได้
กรณีที่เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายแทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินนั้นให้นำความในข้อ
๕ และข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘ ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ขุดดินหรือถมดินแล้วเสร็จ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องให้แล้วเสร็จพร้อมรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
กรณีที่มีความชำรุดบกพร่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณค่าความเสียหายและริบหลักประกันสัญญาตามมูลค่าความเสียหาย
และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาตามส่วนที่ได้หักมูลค่าความเสียหายไว้แล้วให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่ไม่มีความชำรุดบกพร่อง
ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินผู้วางหลักประกันจะยื่นคำขอคืนหลักประกันมาพร้อมกับหนังสือที่แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องตามวรรคหนึ่งก็ได้
คำขอใด ๆ
ที่ยื่นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือกำหนด
ข้อ ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
๒๕๔๔
ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๑๑ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย
เงินที่ได้ริบตามสัญญาประกันความชำรุดบกพร่องตามข้อ ๕ และค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
ข้อ ๑๒ ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๖
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน ๑๕
วันทำการนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๐ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้มีความผิด
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๑๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ฝ่าฝืนได้
เมื่อผู้ฝ่าฝืนได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
และได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๑๗ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มิได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้บังคับตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
วิวัฒน์
โต้งสูงเนิน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
๒. สัญญาประกันความเสียหาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กันยายน
๒๕๕๘
ปัญจพร/ผู้ตรวจ
๒๑ กันยายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๑/๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ |
734896 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซาและนายอำเภอยี่งอ
จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบ
บ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน
หรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดิน หรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุด
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถม ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับ ขุดดิน
หรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
(๑) บริเวณห้ามขุดดิน หรือถมดิน
(๒) ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน ทั้งนี้ ระยะดิ่งต่อระยะราบไม่น้อยกว่า ๑
ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดิน ที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดิน
หรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓) วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔) วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๕) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
ยกเว้น ผ่อนผัน ระงับ
หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณี
(๑) การขุดดิน ถมดินของหน่วยงานราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์
(๒) การขุดดิน ถมดินภายในศาสนสถานเพื่อศาสนประโยชน์
(๓) การขุดดิน
ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔) การขุดดิน
ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กร
หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร โดยยื่นเอกสาร
แจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง
ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๙ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
ข้อ ๑๑ ในระหว่างที่มีการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ
๙ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ
๙ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง หรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๙ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรือต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้าง
หรือตัวแทน ผู้ขุดดินต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๕ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๗ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร
หรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน แล้วแต่กรณี ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งจะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
การถมดินตามวรรคสอง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
หรือได้รับความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ ๗ ได้
การถมดินตามวรรคสาม
หากมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมแนบมาพร้อมกับใบแจ้งการถมดิน
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๙ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๔
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๘ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๘ ต้องควบคุมลูกจ้าง หรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒๑ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๙
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า
ความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามในข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๙ หรือการถมดินตามข้อ ๑๘
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
เป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกัน หรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๕ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๙
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙
วรรคสอง หรือข้อ ๑๘ วรรคหก แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๗ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือถมดิน
ตามข้อ ๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดิน
ตามข้อ ๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๓๓ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากความผิดตามข้อ
๒๖ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
เมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในกำหนดสามสิบวัน
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๗ ผู้ใดขุดดิน
หรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๘ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
จิรเดช
ซามาเละ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.๒๕๕๗
๒.
ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด ๑)
๓.
ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด
๒)
๔.
หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(ในกรณีเจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน) (แบบ ขถด ๓)
๕. หนังสือมอบอำนาจ
(ใช้ในกรณีผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ให้บุคคลอื่นยื่นใบแจ้งการขุดดิน/ถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น) (แบบ ขถด ๔)
๖.
หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (แบบ ขถด ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๒๒๑/๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ |
732836 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2557
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘
(๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่และนายอำเภอเมืองยะลา
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มิได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้บังคับเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง
หิน กรวด หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
กฎกระทรวง หมายความว่า
กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๔) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมงานในการขุดดินตามกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๖
(๖) ที่อยู่ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๘) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗
ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน
ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ เจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินแล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดิน และดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ข้อ ๑๖ การขุดดินในบริเวณที่ติดกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีความสว่างเพียงพอหรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ ๑๗ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวรโดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตรรอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะทำการขุดดิน
ข้อ ๑๘ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีแล้วแต่กรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง ทั้งนี้ ให้นำข้อบัญญัติข้อ ๗ ข้อ ๙ ข้อ
๑๒ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๙ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒๑ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๙ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๒ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดินให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายข้อบัญญัติ
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๒๐
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๔ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๙ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือ จัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๗ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๘ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙
วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๙ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๙ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามกฎกระทรวง ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗
มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีก วันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๔ และข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๔ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๓๓ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๘ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๔ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๕ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
มีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๖ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ
๒๙ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ ข้อ ๑๙ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยูโซ๊ะ
เจ๊ะหลง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่
เรื่อง การขุดดินและการถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ สิงหาคม
๒๕๕๘
นุสรา/ผู้ตรวจ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๘๓ ง/หน้า ๙๐/๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
731774 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนินและนายอำเภอสูงเนิน
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๗
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนินแล้วสามสิบวัน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบลสูงเนิน
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายรวมถึง ดิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่อยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดิน นำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้ดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดิน โดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงภาพของดิน ที่ตั้ง และขอบเขตที่ดินที่จะขุดหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการขุดดิน หรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ องค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
จึงจำเป็นต้องกำหนดวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน หรือเนินดิน ตามชนิดของดิน
ความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากบ่อดินถึงเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๒) วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๓) วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(๔) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๖ การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทนแล้วแต่กรณี ณ
ภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ให้ปิดประกาศนำสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง
แล้วแต่กรณี ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดิน
และให้ถือว่าผู้แจ้ง ผู้ขุดดินผู้ถมดิน เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนได้ทราบคำสั่งนั้น
เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวัน นับตั้งแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
(๔) วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติให้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียม
และค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนินแห่งท้องที่ที่การขุดดินนั้น
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องเก็บใบรับแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ในสถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ถ้าใบรับแจ้งชำรุด สูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามข้อ ๕
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดิน
ไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปกรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายที่ว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ได้ระบุในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง ให้นำบทบัญญัติตามข้อ ๗ วรรคสี่และวรรคห้า ข้อ ๘ ข้อ ๙
และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการถมดิน
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามข้อ ๕
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้รับกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น
จากการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรานี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบที่ที่มีการขุดดิน
ตามข้อ ๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่
เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินไม่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันการเสียหายที่เกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการถมดินหรือขุดดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่ง
ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือใช้บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตามแบบที่กำหนดขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๔ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นข้อ ๒๐
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้ หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกัน
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๗ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อ
๗ วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณหน้าขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๕ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๑ หรือข้อ ๑๘
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๔ และข้อ ๑๖ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดิน
ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง ข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้พนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์การกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
และได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น
เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่ใด ให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ หรือข้อ
๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่นั้น
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนินเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
เชิดชาย
จงรั้งกลาง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ กรกฎาคม
๒๕๕๘
ปัญจพร/ผู้ตรวจ
๒๒ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๘๗/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
731768 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง เรื่อง มาตรการควบคุมการขุดดิน ถมดิน การบรรทุกดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
เรื่อง
มาตรการควบคุมการขุดดิน ถมดิน การบรรทุกดิน และการขนย้ายดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
ว่าด้วยการควบคุมการขุดดิน ถมดิน การบรรทุกดิน และการขนย้าย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึงและนายอำเภอจอมบึง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง เรื่อง มาตรการควบคุมการขุดดิน
ถมดิน การบรรทุกดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๗"
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึงนับแต่วันที่ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
บรรดาประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
ทราย อิฐ เลน ลูกรัง วัตถุสิ่งปรักหักพังหรือสิ่งอื่นใดที่ถูกใช้เสมือนดิน
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ระดับดินเดิม หมายความว่า
ระดับพื้นผิวดินที่เป็นอยู่โดยปกติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
การขุดดิน หมายความว่า
การกระทำใด ๆ ไม่ว่าจะโดยการขุด เจาะ หรือตักด้วยแรงคน เครื่องจักรกล
หรืออุปกรณ์ใด ๆ ต่อพื้นดิน
และเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดินทำให้เกิดความลึกเป็นแอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่าง
หรือช่องว่างใต้พื้นดินเว้นแต่การขุดลอกบูรณะซ่อมแซม คู คลอง
ลำรางหรือทางน้ำอันเป็นประโยชน์ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
การถมดิน หมายความว่า
การกระทำใด ๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับดินเดิมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ว่าเป็นการถม เท ทิ้งดินลงไปในพื้นดิน หรือวิธีการอื่นใด
การขนย้ายดิน หมายความว่า
การเคลื่อนย้ายดินหรือสิ่งที่หมายถึงดินตามข้อบัญญัตินี้จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเกิดการเคลื่อนย้ายภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน
หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการขุดดินและการขนย้ายดิน
(๔) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ซึ่งผู้ควบคุมงาน
และผู้ออกแบบแปลน
ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน
ความลึกของการขุดดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดิน วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของ ผู้แจ้งการขุดดิน เจ้าของที่ดิน
และผู้ดำเนินการขุดดิน
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
และการขุดดินเพื่อการเกษตรกรรม
ข้อ ๘ ผู้ได้ใบรับแจ้งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดิน ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดิน
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ผู้รับจ้างซึ่งดำเนินการขุดดินในทางการที่จ้าง
ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ผู้ขุดดินดังกล่าวไว้ในวรรคแรกต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดิน
และต้องตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร
ยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร ในบริเวณที่ทำการขุดดิน
และสามารถเห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้
(๑) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดิน
(๒) ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน เนินดิน ความลึกของการขุดดิน
(๓) วัตถุประสงค์ของการขุดดิน
(๔) เลขที่ใบรับแจ้งและวันที่สิ้นสุดการขุดดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดิน เจ้าของที่ดิน
และที่อยู่ของผู้ดำเนินการขุดดิน
ข้อ ๑๒ การขุดดินโดยที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
หรือตามคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ ห้ามทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
ในบริเวณศาสนสถาน โรงเรียน และบริเวณพื้นที่สาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
ข้อ ๑๔ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
ต้องจัดให้มีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
และมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับวุฒิวิศวกรเป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณด้วย
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่เป็นการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายแพร่พิษหรือกระจายรังสี ให้ผู้ประสงค์จะทำการขุดดินนำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นมายื่นประกอบการแจ้ง
พร้อมด้วยแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ ๑๖ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๗ การขุดดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตรจากปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ข้อ ๑๘ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดินหรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
ข้อ ๑๙ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดิน เจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ ๒๐ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอหรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นตลอดระยะเวลาทำการขุดดินด้วย
ในกรณีการขุดดินตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่าง
ต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๑ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างต้องไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวร โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตร
รอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ข้อ ๒๒ ในการขุดดินถ้าพบ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรีบรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบในทันทีนับแต่วันที่ขุดพบ
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้วต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารพร้อมแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) เนื้อที่โครงการที่จะทำการถมดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
ระยะห่างจากเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วัตถุประสงค์ของการถมดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของ ผู้แจ้งการถมดิน เจ้าของที่ดิน
และผู้ดำเนินการถมดิน
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการขุดดินและถมดินกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่มีการตรวจพบถึงความไม่ถูกต้องนั้น ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงความที่ไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคสองเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง ให้นำความข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑
มาใช้บังคับแก่การถมดินด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๒๔ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินเกินห้าเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒๕ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒๖ การถมดิน
ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒๗ การถมดินในบริเวณที่ติดกับทางสาธารณะ
ผู้ถมดินต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถมด้านที่ติดกับทางสาธารณะ
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการถมดิน
ข้อ ๒๘ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดินแล้วเสร็จ
ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
หมวด ๔
การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง และการอนุญาต
ข้อ ๒๙ การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินภายในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
หรือนำออกไปจากองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง จะกระทำได้ต่อเมื่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุด
กองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ ๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ต้องพิจารณาการอนุญาตการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่ง
ดิน หิน กรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินให้แล้วเสร็จโดยเร็วหรือให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕
วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมทั้งเหตุผล
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน
กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน ดังต่อไปนี้
(๑) จำนวน ปริมาณ
หรือน้ำหนักขั้นสูงสุดที่ยานพาหนะคันหนึ่งจะบรรทุกได้
(๒) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก
เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
(๓)
การทำความสะอาดล้อของยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
(๔) ค่าธรรมเนียมการใช้ทางสาธารณะเพื่อการบรรทุกดิน
และการประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับทางสาธารณะ
(๕) หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการบรรทุก เคลื่อนย้าย
หรือขนส่งดิน
หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๓๒ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๓ ค่าธรรมเนียม
ค่าใช้จ่าย
และค่าปรับที่เกิดขึ้นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๔ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๗ หรือทำการถมดินตามข้อ ๒๓ โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๕ ผู้ใดทำการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่ง
ดิน หิน กรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๖ ผู้ใดทำการขุดดิน การถมดิน หรือการบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หินกรวด ทราย
หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินโดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามความในข้อบัญญัตินี้
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นหนังสือโดยกำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติ
ไม่ดำเนินการปฏิบัติตามคำแนะนำภายในระยะเวลาที่กำหนด
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
ข้อ ๓๗ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
ไม่จัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินและติดตั้งป้ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๑ พร้อมติดตั้งป้ายเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๑
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๘ ผู้ใดทำการถมดินตามข้อ ๒๓
ไม่ติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ชาญชัย
ใช่รุ่งเรือง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง
เรื่อง มาตรการควบคุมการขุดดิน ถมดิน การบรรทุกดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
๒. หนังสือแจ้งการขุดดินหรือถมดิน
๓. แบบป้ายโครงการ
๔. ใบรับแจ้ง การขุดดิน/ถมดิน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กรกฎาคม
๒๕๕๘
ปัญจพร/ผู้ตรวจ
๒๑ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๔๗/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
730372 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2557
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
และนายอำเภอบ้านนาเดิม จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้
เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทรายและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่กำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย
หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ขอรับใบแทน
ใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วนในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อบัญญัติข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
ถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดิน อำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๔ ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๗ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง
ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ หรือข้อ ๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖
วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา
๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ
๒๕ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
สุเทพ นาคสวาท
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๓๐ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๖๙/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ |
728371 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2556 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วงว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓ องค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
และนายอำเภอบ้านผือ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วงตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วงสามสิบวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่อยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า
การกระทำใดต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถม
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ในการป้องกันความเสียหายแก่ทรัพย์สินและอันตรายที่อาจเกิดจากการขุดดินหรือถมดิน
ถ้าการขุดดินหรือถมดินอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
จึงกำหนด ดังนี้
(๕.๑) บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน แก่ เขตโบราณสถาน
อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน ที่ดินสาธารณะ ลำเหมืองสาธารณะ แม่น้ำ
หรือบริเวณหรือสถานที่ ที่มีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ประกาศหรือห้ามไว้เฉพาะแล้ว
(๕.๒) ความสัมพันธ์ของการลาดเอียงของบ่อดิน
หรือเนินดินตามชนิดของดิน ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุด
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถม
และระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
กรณีขุดดิน ความลาดเอียงและความลึกของบ่อดิน
ต้องมีความลาดเอียงและความลึกในอัตราส่วนแนวตั้งและแนวนอน ในอัตราส่วน ๑ : ๑ หรือประมาณสี่สิบห้าองศา
และมีความลึกตามข้อ ๖
ระยะห่างจากขอบดินถึงเขตพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
ระยะห่างจากเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นอย่างน้อยหนึ่งเมตร
(๕.๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องทำการป้องกันการพังทลายของดิน
เพื่อมิให้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย เช่น ปลูกต้นไม้
ยึดขอบบ่อดิน หรือสร้างแนวกำแพง
หรือวิธีการอื่นใดที่จะช่วยป้องกันการพังทลายของดิน
(๕.๔)
วิธีการให้การคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องประกาศแจ้งเตือนให้บุคคลภายใน (คนงาน)
และภายนอกได้รับทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยให้ถือว่าพื้นที่ขุดหรือถมดินเป็นพื้นที่อันตราย
หากมีผู้ได้รับอันตรายจากการขุดดินหรือถมดินดังกล่าวผู้ทำการขุดดินหรือถมดิน
จะต้องรับผิดชอบต่อเสียหายทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา
ผู้มีความประสงค์จะขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๖ และข้อ ๑๕ จะต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(๑) ผู้ประกอบการเอกชน บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ที่มีเอกสารจดทะเบียน ประกอบที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีสถานที่ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์พร้อมที่จะดำเนินการ
(๓) ผู้ประกอบการจะต้องเสนอชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างโยธาหรือช่างก่อสร้าง
(๔) ผู้ขอรับใบอนุญาต
จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเองทุกเรื่อง
และรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
(๕) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
ข้อตกลงตามเอกสารหรือสัญญาที่ทำไว้กับองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วงทุกประการ
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่พนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๖.๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๖.๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๖.๓) รายการที่กำหนดไว้ตามข้อ ๕ ประกอบด้วย
(๑)
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินที่จะทำการขุด
(๒) ความลึกของบ่อดินที่จะขุดหรือความสูงของบ่อดินที่จะถม
(๓) ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน
(๔)
ระยะห่างของบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๕) วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๖.๔) วิธีการในการขุดและการถมดิน
(๖.๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖.๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติ
(๖.๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๖.๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดิน
ตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ข้อ ๗ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๖ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ข้อ ๘ ผู้ขุดดินตามข้อ
๖ ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้อง ตามข้อกำหนดในข้อ ๕
ข้อ ๙ ผู้ขุดดินตามข้อ
๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทน ให้ปฏิบัติตามข้อ ๙ และ
ต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๐ การได้รับใบแจ้ง
จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๖
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ข้อ ๑๑ การขุดบ่อน้ำที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๒ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่น
ในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๓ ในการขุดดิน
ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๑๕ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ หยุดการขุดดินบริเวณนี้ไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของอยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร การถมดินที่มีพื้นที่เกินพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำข้อความในข้อ ๖ วรรคสาม วรรคสี่ ข้อ ๗ และข้อ ๑๐ มาบังคับใช้ตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๕ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๔ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามข้อกำหนดในข้อ ๕
ข้อ ๑๖ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๔ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทน ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๕
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๗ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๘ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๕
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายอาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๗ นี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๑๘ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่
ที่มีการขุดดินตามข้อ ๖ หรือการถมดินตามข้อ ๑๔
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๙ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดหรือถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือสั่งหยุดการขุดดินถมดินภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดตามวรรคสองให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นที่สิ้นผล
ข้อ ๒๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้พนักงานท้องถิ่น และพนักงานเจ้าหน้าที่
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๒ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใด ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อนายอำเภอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ นายอำเภอ
หรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้ส่งเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจะเกิดขึ้นก็ได้
ให้นายอำเภอหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้อุทธรณ์
คำวินิจฉัยของนายอำเภอหรือคณะกรรมการให้เป็นที่สิ้นสุด
ข้อ ๒๓ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๖ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๔ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๖ วรรคสอง หรือข้อ ๑๔ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและมีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามข้อ
(๕.๑) ผู้นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และมีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๘ หรือข้อ ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
และมีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๒ และข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท และมีความผิดตามมาตรา
๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๖ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๑๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และมีความผิดตามมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๗ ผู้ขุดดินผู้ใด
ไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและมีความผิดตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๘ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๑๗ วรรคสอง หรือข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และมีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๙ ผู้ใดรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๗ วรรคสอง หรือข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
และมีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติสำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น
เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๒ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับในท้องที่ใด
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๖ หรือข้อ ๑๔ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
และเมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีการออกข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
วินัย
เทพศร
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๓ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๕๐ ง/หน้า ๑๓๖/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
728111 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม เรื่อง การขุดดิน และถมดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
เรื่อง
การขุดดิน และถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ องค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม และนายอำเภอผักไห่
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ
๒๕๕๗
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง
เพื่อดำเนินและปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบล
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น
หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
สิ่งก่อสร้าง หมายความรวมถึง
ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนหินคลุก
ถนนดินลูกรังที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มด้วย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มหรือไม่ก็ตาม
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า
ผู้ที่ขุดดินหรือถมดิน ทั้งนี้
ไม่ว่าจะขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
หรือนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มก็ตาม
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
หมายความว่า ผู้ที่รับดำเนินการขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มและในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างของบุคคลดังกล่าวนั้นด้วย
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มมีอำนาจออกคำสั่ง
ยกเว้นผ่อนผันระงับหรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรแต่ไม่เกินยี่สิบเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องยื่นขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนที่จะทำการขุดดิน
ข้อ ๙ ผู้ขออนุญาตขุดดินตามข้อ
๘ จะต้องขออนุญาตตามแบบการขออนุญาตการขุดดินท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๐ ผู้ขออนุญาตขุดดินตามข้อ ๘
จะต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๑ ห้ามทำการขุดดิน
โดยที่มีความลึกจากระดับพื้นเกินสามเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ในบริเวณศาสนสถาน
โรงเรียน
และบริเวณพื้นที่สาธารณะเว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน
ผู้ขุดดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายและแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดและต้องติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตรยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตรในบริเวณที่ทำการขุดดินที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ทำการขุดดินโดยแสดงข้อความตามท้ายข้อบัญญัตินี้
ความในวรรคหนึ่งไม่นำมาใช้บังคับในการขุดดินเพื่อการเกษตรกรรม
ข้อ ๑๓ การขุดดินที่มีพื้นที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรแต่ไม่เกินยี่สิบเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องมีแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
การขุดดินตามวรรคหนึ่ง สำหรับเพื่อใช้ในการประกอบเกษตรกรรม
ไม่ต้องมีรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ
ข้อ ๑๔ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์
สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินและมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ประเภทวุฒิวิศวกรเป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและรายการคำนวณด้วย
ในกรณีที่ขุดดินตามวรรคหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายแพร่พิษหรือกระจายรังสีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น จะต้องแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ ๑๕ การขุดดินที่มีพื้นที่ความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดจากปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
การขุดดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ ๑๖ การขุดดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมที่มีพื้นที่ที่ความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดจากปากบ่อดิน
จะต้องห่างจากแนวที่ดินของบุคคลอื่นเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
การขุดดินตามวรรคหนึ่ง
ที่มีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นเป็นระยะน้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุดหรือน้อยกว่าสิบเมตร
จะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๑๗ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดิน
บริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใด
ข้อ ๑๘ ในระหว่างการขุดดินและหลังการขุดดิน
เจ้าของที่ดินต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ ๑๙ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นรอบบริเวณน้ำ
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอหรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายพอสมควรในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ ๒๐ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดต้องไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวร โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตร
รอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ ๒๑ ในการขุดดิน
ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนี้ไว้ก่อน
แล้วรีบรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและการถมดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้
ตามข้อ ๒๒ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ข้อ ๒๔ ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๒๒
ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุดและพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๒๒ ขอรับใบแทน
ใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลาย
ดังกล่าว
ข้อ ๒๕ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อ ๒๒
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดินลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๒๖ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๗ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
ผู้ที่จะถมดิน เนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
ไม่ว่าจะมีดินอยู่ข้างเคียงหรือไม่ ห้ามถมดินสูงเกินเจ็ดสิบเซนติเมตร
โดยจะยึดระดับของถนนที่อยู่ใกล้ที่สุดเป็นหลักต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคห้าโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๗ วรรค ๓ วรรค ๔ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของเนินลาดดิน
ถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นให้เป็นไปตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม
แต่ต้องไม่น้อยกว่าความสูงของดินถม
ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินติดที่ดินของบุคคลอื่นที่มีระยะห่างจากขอบลาดของเนินดินถึงเขตที่ดินน้อยกว่า
๐.๕๐ เมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากที่ดินข้างเคียง
หมวด ๔
การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง และการอนุญาต
ข้อ ๒๙ การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินภายในตำบล โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในตำบล
หรือนำออกไปจากตำบลจะกระทำได้เมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ ๓๐ การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดินเข้ามาภายในตำบลจะกระทำได้เมื่อได้ทำการขออนุญาต
และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ต้องพิจารณาการอนุญาตให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หรือให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน
แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมเหตุผล
ข้อ ๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุกการเคลื่อนย้าย การขนส่งดิน หิน
กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน จำนวนหรือน้ำหนักที่ยานพาหนะนั้น ๆ
จะบรรทุกได้ การทำความสะอาดล้อของยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก
เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจายรวมถึงวงเงินประกันกรณีกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ ๓๓ เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มอันเนื่องมาจากการขุดดินและถมดิน
ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินซึ่งใช้เส้นทางอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ยื่นคำขอเพื่อวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นใดตามอัตราและแบบสัญญาประกันที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หลักประกันตามวรรคหนึ่งนั้น
ให้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประกันความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
ถ้ามูลค่าความเสียหายมีจำนวนมากกว่าหลักประกันแล้ว
ผู้วางหลักประกันยังคงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินของผู้รับจ้างนั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างของราชการอันมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าหลักประกันตามข้อ
๓๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหยุดการขุดดินหรือถมดินไว้เป็นการชั่วคราวแล้วให้ผู้รับจ้างวางหลักประกันเพิ่มเติมก่อนที่จะให้ดำเนินการต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่วางหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดินได้ทันที
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
ถ้าหากไม่ดำเนินการอาจจะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมีคำสั่งให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบโดยเร็ว
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือภายใน ๒ วันทำการ
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๓๕ เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายตามข้อ
๓๓ และข้อ ๓๔ แทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินก็ได้
กรณีที่เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายแทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินนั้น ให้นำความในข้อ
๓๓ และข้อ ๓๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๖ ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ขุดดินหรือถมดินแล้วเสร็จ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องให้แล้วเสร็จพร้อมรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
กรณีที่มีความชำรุดบกพร่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณค่าความเสียหายและริบหลักประกันสัญญาตามมูลค่าความเสียหาย
และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาตามส่วนที่ได้หักมูลค่าความเสียหายไว้แล้วให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่ไม่มีความชำรุดบกพร่องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินผู้วางหลักประกันจะยื่นคำขอคืนหลักประกันมาพร้อมกับหนังสือที่แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องตามวรรคหนึ่งก็ได้
คำขอใด ๆ ที่ยื่นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็มกำหนด
ข้อ ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๘ ผู้ใดทำการขุดดินและถมดินตามข้อ ๘ และข้อ
๒๘
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๙ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๘ และไม่จัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดและติดตั้งป้ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๔๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ
๑๑ แห่งข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ณรงค์ วงษ์เพ็ชร
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๑)
๒. ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๒)
๓. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(ในกรณีเจ้าของที่ดินยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขุดดิน/ถมดิน)
๔. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ พฤษภาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๙ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๔๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
727295 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
ว่าด้วยการควบคุมการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะพงและนายอำเภอเมืองระยองจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะพงเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๗
บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความว่า หิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดิน เป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือถม
พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติ
หรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการคำนวณ หมายความว่า รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร จะต้องแสดงแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
รวมทั้งให้มีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
ข้อ ๖ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อที่จะขุด
แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
ข้อ ๗ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
นอกจากจะต้องปฏิบัติตามข้อ ๖ แล้ว ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณใกล้เคียง
โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดิน
ข้อ ๘ การขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุมีพิษหรือแพร่รังสีจะต้องแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดิน
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขัง
และต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดิน
วัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายแก่การพังทลายของบ่อดินหรือจอดเครื่องจักรหนักไว้บนขอบบ่อดิน
ยกเว้นขณะทำงาน
ข้อ ๑๐ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นขอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ ๑๑ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตร
รอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ ๑๒ การถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปต้องแสดงแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๓ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะจะต้องให้มีระยะไม่น้อยกว่าความสูงของดินที่ถม
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่นที่มีระยะห่างจากขอบล่างของเนินดินถึงเขตที่ดินน้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดินให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ ๑๕ การถมดินในบริเวณที่ติดกับที่ดินบุคคลอื่นหรือที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
เจ้าของที่ดินต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ ๑๖ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือบุคลอื่น
โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล แหล่งน้ำสาธารณะ
หรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำที่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ ๑๗ การขุดดินหรือถมดินให้กระทำ
ได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้ากระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๘ ในการขุดดินหรือถมดิน
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
และต้องติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตรยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดินในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้
เนื้อที่โครงการ.........................ไร่.................................งาน.................................. ตารางวา
ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน/เนินดินถม
.............................................................. ตารางเมตร
ความลึก/ความสูง
..................................................................................................... เมตร
ทำการขุดดิน/ถมดิน
เพื่อ....................................................................................................
ใบรับแจ้งเลขที่.......................................วันสิ้นสุดการขุดดิน/ถมดิน................................
ชื่อผู้ควบคุมงาน.....................................................................................................................
เลขทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
............................................................
ชื่อเจ้าของที่ดิน
....................................................................................................................
ชื่อผู้แจ้ง
.................................................................................................................................
ชื่อผู้ดำเนินการขุดดิน/ถมดิน
............................................................................................
อยู่บ้านเลขที่................................หมู่ที่...................ถนน
....................................................
ตำบล.......................................อำเภอ............................................จังหวัด
..........................
รหัสไปรษณีย์...........................โทรศัพท์
.............................................................................
ข้อ ๑๙ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดิน ผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมงาน
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินหรือเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ ๒๐ ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินให้ใช้แบบ ด.๑
และใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดินให้ใช้แบบ ด.๒
ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะพงกำหนด
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีกฎกระทรวงตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว ให้องค์การบริหารส่วนตำบลตะพงถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น
ข้อ ๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะพงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ทวีป แสงกระจ่าง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (ด.๑)
๒. ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (ด.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤษภาคม
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๒๐ พฤษภาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๖/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
718641 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้องและนายอำเภอเมืองสระแก้ว
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
เป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรีวัตถุต่าง ๆ
ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดิน
หรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
๗.๑ แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
๗.๒ แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
๗.๓ รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
๗.๔ วิธีการขุดและขนดิน
๗.๕ ระยะเวลาทำการขุดดิน
๗.๖ ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗.๗ ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
๗.๘ ภาระผูกผันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
๗.๙ เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้แจ้งผู้เริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บไว้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องเก็บใบแจ้งแผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดิน
ตามข้อ ๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดิน
ตามข้อ ๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินจะต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดิน
ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งกรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของอยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งแก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำข้อบัญญัติข้อ ๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดภายในตำบล โดยนำสิ่งที่ขุดได้ไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในตำบล
หรือนำออกไปจากตำบลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ยกเว้นการขุดดินที่กระทำโดยนำดินที่ขุดหรือสิ่งที่ได้จากการขุดกองรวมไว้ในพื้นที่ที่ทำการขุดนั้น
ข้อ ๒๐ การบรรทุก
การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน
ซึ่งเกิดจากการขุดดินเข้ามาภายในตำบล จะกระทำได้เมื่อได้ทำการขอรับอนุญาต
และได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ต้องพิจารณาการอนุญาตให้เสร็จโดยเร็ว
หรือให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวัน แล้วแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องทราบพร้อมเหตุผล
ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรทุก การเคลื่อนย้าย การขนส่ง ดิน หิน
กรวด ทราย หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากการขุดดิน จำนวนหรือน้ำหนักที่ยานพาหนะนั้น ๆ
จะบรรทุกได้ การทำความสะอาดของล้อยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
ข้อกำหนดจากการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
รวมถึงวงเงินประกันกรณีกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ ๒๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน
หรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุด
การขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๔ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหาย
นั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันทีถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๗ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๘ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใด ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๓
วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นว่านี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี
จะพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๙ ผู้ใดกระทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง
ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗
มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖
วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๒๔ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๓๓ ผู้ใดขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๔ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๕ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินตามข้อ ๒๓ วรรคสอง หรือข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๙ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๗ ในกรณีห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามโทษตามบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็น หรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๘ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
สมโชค เคลือบคลาย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒ ธันวาคม
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๑๒ ธันวาคม
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๔๙ ง/หน้า ๑๑๗/๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ |
712393 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่ เรื่อง การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. 2557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
เรื่อง
การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
ว่าด้วยการขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่ โดย
ความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่และนายอำเภอสีดา
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่ เรื่อง การขุดดิน ถมดิน
และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
ข้อ ๓ ให้ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อได้ประกาศ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่ แล้วภายในเจ็ดวัน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
ทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดิน เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดิน โดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ขนย้าย หมายความว่า
การขนย้ายดินที่เกิดจากการขุดดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดิน ขนย้าย
หรือถมดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่แล้ว
ข้อ ๖ การขุดดินและถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๗ ผู้ใดที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวน หรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน ขนย้าย
หรือถมดิน ต้องกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์ที่จะขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๓ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้มาแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน
๔ ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๓ เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น ในระยะน้อยกว่า ๒
เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่วิญญูชนควรกระทำ
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน
ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ธาตุที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินหยุดขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงาน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน ๒๔ วัน นับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณีวิทยา
แล้วแต่กรณีทราบ
ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เนินดินไม่เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่นการถมดินที่มีพื้นที่เกิน
๒,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะจัดให้มีรางระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องมาแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหาย
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน ขนย้าย หรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน หรือถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
จนถึงพระอาทิตย์ตกดินหรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดิน อำนวยความสะดวกให้ตามสมควร
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า
การขุดดิน ขนย้าย
หรือการถมดินได้ก่อหรือกระทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้ขุดดินขนย้าย หรือถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน ขนย้าย หรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ ๑๘ ผู้ขุดดิน
ขนย้าย หรือถมดิน หรือเจ้าของที่ดิน ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้น
ข้อ ๑๙ ผู้ใดทำการขุดดิน
ขนย้าย หรือถมดิน โดยไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับ
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดิน
ขนย้าย หรือการถมดิน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ประยงค์
เวชยันต์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่
เรื่อง การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ กันยายน
๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๒๒ กันยายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๙๘ ง/หน้า ๑๒๒/๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ |
701921 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2556 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวงโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวงและนายอำเภอขามทะเลสอ
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวงแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทรายและอินทรียวัตถุต่าง
ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดิน หรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่ง เป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ
และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดิน
ตามข้อ ๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณีแล้วแต่กรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำ การถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดิน ต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำข้อบัญญัติข้อ ๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
สั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๔ ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลา พร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้ หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการแล้วแต่กรณีพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๗ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่แล้วแต่กรณีมีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือ
ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำ ตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง
ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗
มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖
วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕ มีความผิดตามมาตรา
๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสองหรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๕ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็น หรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
เสน่ห์
แนมขุนทด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๓ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๑๘๑/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ |
700424 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2556 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญและนายอำเภอเขาชะเมา
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ เรื่อง การขุดดิน และถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญตั้งแต่วันประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นมาจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดิน ที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๕ การขุดดินหรือถมดินให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๖ ผู้ใดที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่จะขุดดินหรือถมดินกำหนดวิธีการ
ให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานของตนและบุคคลภายนอก
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๙ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๑ ในการขุดดิน
ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่เนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดนอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๔ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่ง ให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นแล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้แล้ว
รายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ข้อ ๑๖ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๗ ผู้ใดกระทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๑๘ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีผลบังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
ข้อ ๑๙ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดินให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและ
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
ข้อ ๒๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
สมพร พันธ์เฉลิมชัย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ มกราคม ๒๕๕๗
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๖ มกราคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๓๖ ง/หน้า ๒๐๔/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ |
688920 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2556 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดและนายอำเภอยางตลาด
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ให้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดแล้ว ๖๐ วัน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดิน เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน
บริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๕ การขุดดินหรือถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน หรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๖ ผู้ใดที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือนร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง
และความปลอดภัย แก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๙ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๑ ในการขุดดิน
ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด นอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๔ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ ๑๗ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๙ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ ให้ได้รับการยกเว้นตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดินให้เป็นไปตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดเป็นผู้รักษาการณ์ตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
สุขุมวรัชญ์
อัครเศรษฐัง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๑ ง/หน้า ๒๔๕/๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
681512 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2555 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราชและนายอำเภอบางบัวทอง จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายรวมถึง ดิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่อยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดิน นำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้ดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดิน โดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงภาพของดิน ที่ตั้ง
และขอบเขตที่ดินที่จะขุดหรือถมดินรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการขุดดิน
หรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลพิมลราช
ข้อ ๔
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
องค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช จึงจำเป็นต้องกำหนดวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน หรือเนินดิน ตามชนิดของดิน
ความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากบ่อดินถึงเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๒) วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๓) วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(๔) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๕
การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ
ภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศนำสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดิน และให้ถือว่าผู้แจ้ง
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนได้ทราบคำสั่งนั้น
เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวัน นับตั้งแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
ข้อ ๖
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในข้อ ๔
(๔) วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติให้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียม
และค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๗
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ ๖ วรรคห้า
เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราชแห่งท้องที่ที่การขุดดินนั้น
ข้อ ๘
ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๖
ต้องเก็บใบรับแจ้งแผนผังบริเวณและรายการ ไว้ในสถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๖
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๙ ผู้ขุดดินตามข้อ
๖ ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามข้อ ๔
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ
๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๙ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑
การได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๖
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๒ การขุดบ่อน้ำ
ใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๓ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดิน
ไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๔
ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๖ ข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๓ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปกรหรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายที่ว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๕
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ได้ระบุในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง ให้นำบทบัญญัติตามข้อ ๖ วรรคสี่และวรรคห้า ข้อ ๗ ข้อ ๘
และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการถมดิน
ข้อ ๑๖ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๕ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตาม ๔
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๕ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๖
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน ซึ่งได้รับกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๘
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๖
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น
จากการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรานี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๑๙
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบที่ที่มีการขุดดิน ตามข้อ ๖
หรือการถมดิน ตามข้อ ๑๕ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินไม่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันการเสียหายที่เกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดิน หรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
หยุดการถมดินหรือขุดดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็น
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่ง
ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๑
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือใช้บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตามแบบที่กำหนดขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๒๒
ในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
และเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๓ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๔
ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๖ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๕ วรรคสาม โดยไม่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อ ๖ วรรคสอง หรือข้อ ๑๕ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณหน้าขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๔ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๕
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ หรือข้อ ๑๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๖
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๕ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๗
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการ
ตามข้อ ๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘
ผู้ขุดดินไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๙
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสอง หรือข้อ ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๐
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดิน ตามข้อ ๑๘ วรรคสอง ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๑
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้ ให้พนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๒
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำผิดตามข้อบัญญัตินี้
กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์การกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๓
ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๔
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่ใด ให้ปฏิบัติตามข้อ ๖ หรือข้อ
๕ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่นั้น
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๕
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราชเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ลำพอง นามพันธ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
[เอกสารแนบท้าย]
๑. อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช
เรื่อง การขุดและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๓๗/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ |
677614 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2555 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่นโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่นและนายอำเภอดอยเต่า
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๕๕
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่นแล้วหกสิบวัน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน
หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดิน
ซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่น
ที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
(๑) บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒) ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดิน หรือเนินดินตามชนิดของดิน
ทั้งนี้
ระยะดิ่งต่อระยะราบไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดินและระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓) วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔) วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๕) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งยกเว้น
ผ่อนผัน ระงับหรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัติตามที่เห็นสมควรได้
ในกรณี
(๑) การขุดดิน ถมดินของหน่วยงานราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒) การขุดดิน ถมดิน ภายในศาสนสถานเพื่อศาสนประโยชน์
(๓) การขุดดิน ถมดินขององค์การระหว่างประเทศ
หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔) การขุดดิน
ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินแปดร้อยตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ที่ตั้งสำนักงาน หรือที่อยู่ของผู้แจ้ง
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๘) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๙ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
ข้อ ๑๑ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง บริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามวันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดิน
ตามข้อ ๙ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ
๙ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง หรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๙ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรือต่อสภาพแวดล้อม ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน
ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๕ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๓ เมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๗ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน ๗ วัน
นับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้นายอำเภอทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้และต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
ในการถมดินตามวรรคหนึ่ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือได้รับความเดือนร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ
๗ ได้
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติข้อ ๙ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๔
มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๘ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๘ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๙
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒๑ ผู้ใดได้รับความเสียหาย หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหาย
จากการขุดดินหรือถมดิน อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๙
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามในข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๙ หรือการถมดินตามข้อ ๑๘ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ
หรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดิน
หรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๕ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๙
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสาม โดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙
วรรคสอง หรือข้อ ๑๘ วรรคสาม แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๘
วรรคหนึ่ง และข้อ ๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวาง
หรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ การตามข้อ ๒๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๑ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
นอกจากให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่น กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
และได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๔ ผู้ใดขุดดินหรือถมดิน
อันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๘ ข้อ ๑๗ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สนธยา พรหมเสน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๕
๒. ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๑)
๓. ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๓๒ ง/หน้า ๒๘๑/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ |
672815 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2554 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
ว่าด้วยการควบคุมการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักรโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักรและนายอำเภอเมืองแพร่
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ ซึ่งขัดหรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ที่สาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิด หรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
ดินทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน
หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดิน หรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
อาคาร หมายความว่า ตึก เรือน
โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดิน หรือถมดิน
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
(๑) ห้ามขุดดินหรือถมดินบริเวณ ดังต่อไปนี้
(๑.๑) ที่สาธารณะ ที่ดินของรัฐ หรือที่ดินต่างเจ้าของ
หรือที่ดินซึ่งมีกรณีพิพาท
(๑.๒) คู คลอง หนอง บึง เหมือง สระ ซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์
(๒) ห้ามถมดิน โดยมีพื้นที่ของเนินดินสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร
จากถนนมาตรฐานเดิม
(๓) วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงาน และบุคคลภายนอก
(๓.๑) ผู้ดำเนินการต้องติดป้ายเตือนอันตราย แสดงขอบเขต
หรือราวกั้นรอบบริเวณนั้นรวมทั้งติดตั้งไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ
หรือไฟสัญญาณสีแดงกะพริบเตือนอันตราย จำนวนพอสมควรในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
(๓.๒) ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีสิ่งกันตก
หรือสิ่งปกคลุมป้องกันเศษดิน หรือวัสดุร่วงหล่นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต
ร่างกาย หรือทรัพย์สินจากยานพาหนะใดที่บรรทุก รวมถึงการจัดเก็บ
ทำความสะอาดสิ่งที่ร่วงหล่น
(๓.๓) เมื่อมีการขุดดิน
หรือถมดินในบริเวณที่ใกล้หรือติดต่อกับที่สาธารณะ ห้ามผู้ดำเนินการกองดินบนที่สาธารณะและขุดเซาะดินล้ำเขตที่สาธารณะนั้น
เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๓.๔) เมื่อมีการขุดดินในบริเวณที่ใกล้หรือชิดอาคาร ถนน หรือกำแพง ลึกจนอาจเป็นอันตรายแก่อาคาร
ถนน หรือกำแพงนั้น ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีค้ำยัน เข็มพืด หรือฐานรากเสริม
ตามความจำเป็นเพื่อความปลอดภัย และต้องตรวจสอบแก้ไขค้ำยัน เข็มพืด
และฐานรากดังกล่าวให้มีสภาพมั่นคงและปลอดภัยอยู่เสมอ
(๓.๕) กองวัสดุ เช่น หิน ทราย หรือดิน เป็นต้น
ในบริเวณที่ใกล้หรือชิดขอบบ่อที่ขุดผู้ดำเนินการต้องกองห่างจากขอบบ่อพอสมควร
เพื่อป้องกันมิให้ผนังบ่อเสียหาย
และมิให้วัสดุร่วงหล่นที่จะเป็นอันตรายแก่ผู้ขุดได้
(๓.๖) กรณีเกิดมีฝุ่นละออง
จัดให้มีรถน้ำสำหรับทำการฉีดพ่นฝุ่นละอองเพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นปลิว
ฟุ้งกระจายเข้าภายในอาคาร ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ
ทั้งนี้ ตาม (๑) เว้นแต่องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักรเข้าดำเนินการ
แต่หากหน่วยงานอื่นของรัฐเข้าดำเนินการ ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
ทราบก่อนเข้าดำเนินการ
ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักรเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
นี้
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสองเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งร้อยตารางเมตร กำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ (แบบ ขถด.1)
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งออก ตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๘ เมื่อผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในข้อ
๖ โดยถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้ง
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (แบบ ขถด.2)
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
กรณีดำเนินการไม่เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่ขอดำเนินการ
ให้ผู้แจ้งต้องดำเนินการขอต่อใบอนุญาตซึ่งออกได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๕ วัน
ข้อ ๙ ถ้าการแจ้งตามข้อ
๖ เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับตั้งแต่วันที่มีการแจ้งตามข้อ ๖
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามข้อ ๖ เป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้ง ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักรกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ค่าธรรมเนียม ค่าปรับและค่าใช้จ่าย
รวมถึงค่าค้ำประกันสัญญากันความชำรุด บกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๘ วรรคสาม
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
ข้อ ๑๐ ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผัง บริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ข้อ ๑๑ ถ้าใบรับแจ้งชำรุดสูญหาย
หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๖ ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ
๖ ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ
๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง
หรือซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔ การได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๖ และข้อ ๘
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๕ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นที่ดินไม่เกินสองเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อลึกของที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินหนึ่งพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อเกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
ข้อ ๑๘ พื้นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามข้อ
๑๖ ต้องไม่เกินหนึ่งพันตารางเมตร
ข้อ ๑๙ การถมดินที่มีพื้นที่เกินหนึ่งพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามข้อ ๑๖ ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ (แบบ ขถด.1)
การถมดินที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองร้อยตารางเมตรขึ้นไปแต่ไม่เกินหนึ่งพันตารางเมตร
จะต้องแจ้งการถมดินนั้น ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยให้ยกเว้นเฉพาะค่าธรรมเนียม เท่านั้น
ข้อ ๒๐ ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในข้อ
๑๘ โดยถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้ง
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (แบบ ขถด.2)
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้งให้นำบทบัญญัติข้อ
๘ และข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๑ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๒ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๗ และข้อ ๑๘ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๐ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ หรือข้อ
๒๐ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดิน หรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๔ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๖ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า การขุดดิน
หรือการถมดิน ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าหน้าที่ รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าว
ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๗ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๘ ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๒ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลา
โดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๙ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ
๖ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
หรือข้อ ๑๙ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๖ (๑) ผู้นั้นต้องมีความผิด ตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๒๐
มีความผิด ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖
วรรคหนึ่ง มีความผิด ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๒ ผู้ใดขัดขวาง
หรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ ๒๓
มีความผิด ตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๓ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้หยุดการขุดดินหรือการถมดิน ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง หรือข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิด ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๔ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๒ วรรคสอง หรือข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิด
ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๕ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้ นอกจากข้อ ๒๘
วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า
การกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น
เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๘ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มิได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้บังคับเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชวลิต บทกลอน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๔
๒. ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ (แบบ ขถด.1)
๓. ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ (แบบ ขถด.2)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ กันยายน ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๘๑/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
665920 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดิน และขนย้าย พ.ศ. 2555 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง
การควบคุมการขุดดิน ถมดิน และขนย้าย พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดินและขนย้าย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว โดยความเห็นชอบของ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวและนายอำเภอคง
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว เรื่อง การควบคุมการขุดดิน
การถมดิน และขนย้าย พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวแล้ว
๑๕ วัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัติหรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดินและขนย้าย พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวรักษาการตามข้อบัญญัตินี้
ให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตามวรรคหนึ่งเมื่อได้ประกาศไว้ ณ
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ในข้อบัญญัตินี้
ข้อบัญญัติ หมายความว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ดิน หมายความรวมถึง อิฐ หิน
กรวด ทราย เลน ลูกรัง หรือวัตถุสิ่งปรักหักพังหรือสิ่งใดที่ถูกใช้เสมือนดิน
ระดับดินเดิม หมายความว่า
ระดับพื้นผิวดินที่เป็นอยู่โดยปกติ
การขุดดิน หมายถึง การกระทำใด
ๆ ไม่ว่าจะโดยการขุด เจาะ หรือตัดด้วยแรงคน เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ใด ๆ
ต่อพื้นดิน และเป็นการเปลี่ยนสภาพพื้นดินทำให้เกิดความลึกเป็นแอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินเว้นแต่การขุดลอกคลองบูรณะซ่อมแซม คู คลอง ลำราง
หรือทางน้ำอันเป็นประโยชน์ ซึ่งได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
การถมดิน หมายความว่า
การกระทำใด ๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับดินเดิมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ว่าโดยการ ถม เท ทิ้งดินลงไปในพื้นดิน หรือวิธีการอื่นใด
การขนย้ายดิน หมายความว่า
การเคลื่อนย้ายดินหรือสิ่งที่หมายถึงดินตามข้อบัญญัตินี้จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
สิ่งปลูกสร้าง หมายความว่า
อาคารตามพระราชบัญญัติการควบคุม พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้รวมถึง สนามที่มีการจัดสวน
หรือปลูกต้นไม้ เพื่อประดับ เพื่อความร่มรื่น
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงภาพที่ดิน ที่ตั้งขอบเขตของที่ดิน ที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งแสดงลักษณะและขอบเขตที่สาธารณะและอาคารในบริเวณที่ดินที่ติดต่อโดยสังเขปด้วย
แบบแปลน หมายความว่า
แบบเพื่อประโยชน์ในการขุดดินหรือถมดินโดยมีแบบแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพของดิน ระดับดินเดิม สภาพของดินที่จะขุดหรือถมดิน
ตลอดวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการขุดหรือการถมดิน เพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดิน ถมดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้โดยกำหนดขอบเขตอำนาจไว้
ข้อ ๗ ข้อบัญญัตินี้ห้ามใช้แก่การขุดดินหรือถมดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่นแล้วผู้ได้รับอนุญาตให้ขุดดินหรือถมดินตามกฎหมายอื่น
เมื่อได้รับอนุญาตแล้วแจ้งเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวทราบก่อนดำเนินการ
ข้อ ๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวมีอำนาจออกคำสั่งยกเว้น
ผ่อนผัน ระงับ หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรได้ดังต่อไปนี้
(๑) การขุดดิน การถมดิน การขนย้ายดินของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการหรือองค์การหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒) การขุด การถมดิน การขนย้ายดินขององค์กรของรัฐ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการหรือองค์การหรือเพื่อประโยชน์
(๓) การขุดดิน ถมดิน การขนย้ายดินภายในบริเวณศาสนสถาน
เพื่อศาสนประโยชน์
(๔) การขุดดิน ถมดิน
การขนย้ายดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผังเมืองตลอดจนการอื่นที่จำเป็น
เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง กำหนด ดังนี้
(๑) ระยะระหว่างบริเวณที่จะขุดหรือถมกับเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือระหว่างบริเวณที่ดินที่จะขุดหรือถม กับถนน ตรอก ซอย ทางเข้าหรือที่สาธารณะ
(๒) ค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดิน ถมดิน
(๓) บริเวณห้ามขุดดิน ถมดิน
เพื่อวัตถุประสงค์หรือเพื่อกิจการบางประเภท
(๔) การขนหรือบรรทุก หรือการเคลื่อนย้ายดินอันเนื่องจากการขุดหรือถมดิน
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใดขุดดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
(๑) การขุดดินที่มีความลึกเกิน ๓ เมตรขึ้นไป
ถ้าห่างจากเขตที่ดินน้อยกว่า ๒ เท่า ของความลึกต้องจัดการป้องกันตามวิสัยที่ควรทำ
(๒) การขุดดินที่มีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไปหรือพื้นที่ ๖ ไร่ ๑ งาน
(๓) การขุดดินเพิ่มเติมจากที่ขุดไว้เดิมตามหลักเกณฑ์ (๑) หรือ (๒)
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๑ ห้ามผู้ใดถมดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
(๑) การถมดินที่สูงกว่าระดับที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวกำหนด
(๒) การถมดินซึ่งมีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร หรือพื้นที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ขึ้นไป
(๓) การถมดินเพิ่มเติมจากที่ถมไว้เดิมตามเกณฑ์ (๑) หรือ (๒)
หมวด ๔
การขนย้าย
ข้อ ๑๒ การขนย้าย
การบรรทุกหรือการเคลื่อนย้ายดินภายใน หรือเข้ามา หรือออกจาก หรือผ่านเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ต้องเป็นไปตามประกาศเกี่ยวกับการขนย้ายดินขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
หมวด ๕
การขออนุญาต
และการอนุญาต
ข้อ ๑๓ ผู้ใดกระทำการขุดดิน
การถมดิน หรือการขนย้ายดินตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒
ให้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กำหนด
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ
๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว พิจารณา และออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขอรับอนุญาตทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุญาตให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวกำหนด
ข้อ ๑๖ ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามข้อ ๑๓
เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
วิศวกรควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ตรวจพิจารณาเฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
ข้อ ๑๗ การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องระบุชื่อผู้ควบคุมงาน
พร้อมกับหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานไว้ในคำขอใบรับอนุญาต
ผู้ขอรับอนุญาตจะเป็นผู้ควบคุมงานก็ได้
ข้อ ๑๘ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาตหรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน
ให้มีหน้าที่แจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวทราบ
ในกรณีที่การบอกเลิกตามวรรคหนึ่ง
ผู้ได้รับอนุญาตต้องระงับการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตจนกว่าจะมีผู้ควบคุมงานคนใหม่และได้มีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวแล้ว
ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีการขุดดิน
ถมดินให้ผิดไปจากผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนวิธีการ
เงื่อนไขที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวกำหนดไว้ในใบอนุญาต
ข้อ ๒๐ ใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาตถ้าผู้ใด
ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
และเมื่อยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ทำการต่อไปจนกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่อใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียมการออกใบรับแจ้งการขุดดิน
ถมดิน และขนย้าย ตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติ
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อ
๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลหนองบัว
มีอำนาจสั่งให้เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ผู้กระทำการแทน หรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี
ให้ระงับการกระทำนั้นได้
ข้อ ๒๓ การสั่งการหรือการแจ้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ตามข้อบัญญัตินี้ ให้ทำเป็นหนังสือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน หรือผู้ควบคุมงาน ณ
ภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้วแต่กรณี หรือจะทำเป็นบันทึกและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับทราบก็ได้
ในกรณีที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ไม่ยอมทำหนังสือหรือบันทึกให้ลงลายมือชื่อรับทราบ ตามวรรคหนึ่งได้
ให้จัดการปิดคำสั่งหรือหนังสือแจ้งแล้วแต่กรณีไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ในบริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้น และให้ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาตเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน หรือผู้ควบคุมงานได้ทราบคำสั่ง
หรือหนังสือแจ้งนั้นแล้ว ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนด ๗ วัน นับแต่วันที่ปิดประกาศ คำสั่ง
หรือหนังสือแจ้งดังกล่าว
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อ
๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ตามข้อ ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ วันละ ๕๐๐ บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๒๗ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ฉลวย จาดนอก
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดิน และขนย้าย พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๑๐๖/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ |
664681 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2554 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
เรื่อง
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลนาสารโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสารและนายอำเภอพระพรหม
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทรายและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔) วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดิน
ตามข้อ ๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง ให้นำข้อบัญญัติข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ
๑๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๒๔ ถ้าผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้ หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศกฎกระทรวง ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗
มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๔ และข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕
มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือการถมดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๙ วรรคสองหรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีความผิดตามมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา
๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ
๒๕ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
พยงค์ สงวนถ้อย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๒๗/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ |
648802 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี เรื่อง กำหนดขนาดพื้นที่ หรือความลึกของการขุดดิน และกำหนดขนาดพื้นที่ หรือความสูงของการถมดิน พ.ศ. 2554 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
เรื่อง
กำหนดขนาดพื้นที่ หรือความลึกของการขุดดิน
และกำหนดขนาดพื้นที่
หรือความสูงของการถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดขนาดพื้นที่ หรือความลึกของการขุดดิน
และกำหนดขนาดพื้นที่หรือความสูงของการถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ วรรคสอง มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี และนายอำเภอเมืองนครราชสีมา
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี เรื่อง กำหนดขนาดพื้นที่
หรือความลึกของการขุดดิน และกำหนดขนาดพื้นที่ หรือความสูงของการถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และบรรดาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้ออกไว้แล้ว
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
องค์การบริหารส่วนตำบล หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีอำนาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
ข้อ ๕ การขุดดินที่มีพื้นที่ปากบ่อดินตั้งแต่ ๔,๘๐๐ ตารางเมตร (๓ ไร่) ขึ้นไป ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ การถมดินที่มีพื้นที่ตั้งแต่
๔๐๐ ตารางเมตร (๑๐๐ ตารางวา) ขึ้นไป ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีมีด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่าติดถนนสาธารณประโยชน์ต้องอยู่ภายใต้บังคับต่อไปนี้
(๑) กรณีเป็นถนนทางหลวงชนบทที่ได้รับการถ่ายโอน
ระดับดินที่ถมต้องไม่สูงเกิน ๓๐ เซนติเมตร จากระดับกึ่งกลางของถนน
(๒) กรณีเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลระดับดินที่ถมต้องไม่สูงเกิน
๒๕ เซนติเมตร จากระดับกึ่งกลางของถนน
(๓) หากเป็นกรณีทั้งตาม (๑) และ (๒) ระดับดินที่ถมต้องไม่สูงเกิน ๓๐
เซนติเมตร จากระดับกึ่งกลางของถนนที่มีระดับสูงกว่า
หากมิใช่กรณีตามวรรคสองระดับดินที่ถมต้องไม่สูงเกิน ๓๐ เซนติเมตรจากระดับดินเดิม
ข้อ ๗ การถมดินตามข้อ ๖
ผู้ถมดินจะต้องจัดการป้องกันไม่ให้ดินไหลลงที่ดินข้างเคียงและถนน
ทั้งจัดการทำที่ระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าไปในที่ดินข้างเคียงและถนนด้วย
ข้อ ๘ การขุดดินหรือถมดินที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและได้รับใบรับแจ้งแล้ว
ตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ให้ถือว่าสมบูรณ์ และใช้ได้เท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ในใบรับแจ้ง
ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
สมยศ รัตนปริยานุช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๔๙/๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ |
638037 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2553 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
โดยที่เป็นการเห็นสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
ว่าด้วยการควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลประทายโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลประทายและนายอำเภอประทายจึงออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทายไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประทายนับแต่วันที่ได้ประกาศใช้เป็นข้อบัญญัติตำบล
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้
ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ที่สาธารณะ หมายความว่า ที่ซึ่งเปิด หรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป
หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด ดินทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน
หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดิน
หรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
อาคาร หมายความว่า ตึก เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
และหมายความรวมถึง
(๑)
อัฒจันทร์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อให้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน
(๒)
เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง
หรือประตูที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
(๓)
ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดิน หรือถมดิน
ข้อ
๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
(๑)
ห้ามขุดดินหรือถมดินบริเวณ ดังต่อไปนี้
ก.
ที่สาธารณะ ที่ดินของรัฐ หรือที่ดินต่างเจ้าของ หรือที่ดินซึ่งมีกรณีพิพาท
ข.
คู คลอง หนอง บึง เหมือง สระ ซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์
(๒)
ห้ามถมดิน โดยมีพื้นที่ของเนินดินสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร จากถนนมาตรฐานเดิม
(๓)
วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงาน และบุคคลภายนอก
ก.
ผู้ดำเนินการต้องติดป้ายเตือนอันตราย แสดงขอบเขต หรือราวกั้นรอบบริเวณนั้น รวมทั้งติดตั้งไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ
หรือไฟสัญญาณสีแดงกะพริบเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข.
ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีสิ่งกันตก หรือสิ่งปกคลุมป้องกันเศษดิน
หรือวัสดุร่วงหล่นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย
หรือทรัพย์สินจากยานพาหนะใดที่บรรทุก รวมถึงการจัดเก็บ ทำความสะอาดสิ่งที่ร่วงหล่น
ค.
เมื่อมีการขุดดิน หรือถมดินในบริเวณที่ใกล้หรือติดต่อกับที่สาธารณะ
ห้ามผู้ดำเนินการกองดินบนที่สาธารณะและขุดเซาะดินล้ำเขตที่สาธารณะนั้น
เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ง.
เมื่อมีการขุดดินในบริเวณที่ใกล้หรือชิดอาคาร ถนน หรือกำแพง ลึกจนอาจเป็นอันตรายแก่อาคาร
ถนน หรือกำแพงนั้น ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีค้ำยัน เข็มพืด หรือฐานรากเสริม
ตามความจำเป็นเพื่อความปลอดภัย และต้องตรวจสอบแก้ไขค้ำยัน เข็มพืด
และฐานรากดังกล่าวให้มีสภาพมั่นคงและปลอดภัยอยู่เสมอ
จ.
กองวัสดุ เช่น หิน ทราย หรือดิน เป็นต้น ในบริเวณที่ใกล้หรือชิดขอบบ่อที่ขุดผู้ดำเนินการต้องกองห่างจากขอบบ่อพอสมควร
เพื่อป้องกันมิให้ผนังบ่อเสียหาย
และมิให้วัสดุร่วงหล่นที่จะเป็นอันตรายแก่ผู้ขุดได้
ฉ.
กรณีเกิดมีฝุ่นละออง จัดให้มีรถน้ำสำหรับทำการฉีดพ่นฝุ่นละออง
เพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นปลิว ฟุ้งกระจายเข้าภายในอาคาร ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ
ทั้งนี้
ตามข้อ (๑) เว้นแต่องค์การบริหารส่วนตำบลประทายเข้าดำเนินการ
แต่หากหน่วยงานอื่นของรัฐเข้าดำเนินการ
ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลประทายทราบก่อนเข้าดำเนินการ
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ
๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือมีความลึก
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งออก ตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๗ เมื่อผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในข้อ
๖ โดยถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้ง
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
กรณีดำเนินการไม่เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่ขอดำเนินการ
ให้ผู้แจ้งต้องดำเนินการขอต่อใบอนุญาตซึ่งออกได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๕ วัน
ข้อ
๘ ถ้าการแจ้งตามข้อ ๖
เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับตั้งแต่วันที่มีการแจ้งตามข้อ ๖ ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามข้อ ๖ เป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้ง
ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลประทายกำหนด
ค่าธรรมเนียม
ค่าปรับและค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าค้ำประกันสัญญากันความชำรุด
บกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๘ วรรคสาม
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
ข้อ
๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง บริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ข้อ
๑๐ ถ้าใบรับแจ้งชำระสูญหาย
หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๖ ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๖
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ ๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง หรือซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๓ การได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๖ และข้อ ๘ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๔ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๕ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นที่ดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อลึกของที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อเกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
ข้อ
๑๗ พื้นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามข้อ
๑๖ ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
ข้อ
๑๘ การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามข้อ ๑๖
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามข้อ ๑๖
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๙ ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในข้อ
๑๘ โดยถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้ง ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้งให้นำบทบัญญัติข้อ ๘ และข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ และข้อ
๑๘ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงซึ่งออก ตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๑ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๐ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๒๒ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ หรือข้อ
๒๐ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอ
ตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้
ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๖ หรือการถมดิน ตามข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙
ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๔ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า
การขุดดิน หรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าหน้าที่ รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกัน
หรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าว ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๖ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ
๒๗ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลา โดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๘ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๖
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
หรือข้อ ๑๙ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๖ (๑) ผู้นั้นต้องมีความผิด ตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ หรือข้อ
๒๐ มีความผิด ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕ และข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิด ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๑ ผู้ใดขัดขวาง
หรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ ๒๓
มีความผิด ตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๒ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้หยุดการขุดดินหรือการถมดิน ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง หรือข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิด ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๓ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๒๒ วรรคสอง หรือข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิด
ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
นอกจากข้อ ๒๘ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า
การกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๖ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
มาตรา
๒๙ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใด
ในส่วนที่มิได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้บังคับเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา
๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประทายเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประทายนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ธนเสฎฐ์ เรืองกิจวัฒน์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
๒.
ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ข้อบัญญัติการขุดดินและถมดิน
องค์การบริหารส่วนตำบลประทาย พ.ศ. ๒๕๕๓ (แบบ ขถด.๑)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๕๔ ง/หน้า ๓๑๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
635216 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2553 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ และมาตรา ๗ วรรคสอง มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยองโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยองและนายอำเภอปากคาดจึงตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยองไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยองนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในบรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป
แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ความลาดเอียงของดิน ระยะห่างของบ่อดินถึงที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงและระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
และให้หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความสูงของดินเดิมที่จะถม ความลาดเอียงของเนินดิน ระยะห่างจากเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะถมพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ
หรือวิธีการสำหรับถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ที่สาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดโดยจะต้องจัดทำแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๖ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรระยะห่างจากขอบบนของลาดบ่อดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ให้เป็นไปตามระยะการคำนวณทางวิศวกรรมโดยให้มีระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
ข้อ
๗ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและฉีดพรมน้ำบริเวณพื้นที่หน้างานและถนนที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อลดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
ข้อ
๘ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ
๙ ผู้ขุดดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตราย
กว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกิน ๔๐ เมตร รอบบ่อดิน
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินเต็มพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดดินจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลน
ข้อ
๑๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
ต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๑๒ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นให้เป็นไปตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม
แต่ต้องมีระยะไม่น้อยกว่าความสูงของดินถม
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่นที่มีระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงที่ดินน้อยกว่า
๐.๕๐ เมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดินให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ
๑๔ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
ผู้ถมดินจะต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ติดตั้งไว้ในที่มองเห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ
๑๕ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล
แหล่งน้ำสาธารณะ หรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำเพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ
๑๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๗ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้คุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ
๑๘ ห้ามกองดินและจอดเครื่องจักรหนักทิ้งไว้บนขอบบ่อดิน
หรือเนินดิน ยกเว้นขณะทำงาน ตำแหน่งขอบนอกของล้อเครื่องจักร
ต้องอยู่ห่างจากขอบบ่อดิน ไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร
ข้อ
๑๙ ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้แบบ
ขถด.๑ และใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้ตามแบบ ขถด.๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๐ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินมีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินได้
ข้อ
๒๑ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง
ให้หมายความถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๓ ค่าธรรมเนียมการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนหนองยอง
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วุฒิพงษ์ หลานวงศ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
๒.
ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๑)
๓.
ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗๗/๘ กันยายน ๒๕๕๓ |
631007 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2553
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา
๑๘ มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงและโดยอนุมัติของนายอำเภอน้ำพองจึงตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในบรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป
แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ความลาดเอียงของดิน ระยะห่างของบ่อดินถึงที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงและระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
และให้หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความสูงของดินเดิมที่จะถม ความลาดเอียงของเนินดิน ระยะห่างจากเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะถมพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ
หรือวิธีการสำหรับถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ที่สาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ไม่ตํ่ากว่าประเภทสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๖ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรระยะห่างจากขอบบนของลาดบ่อดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ให้เป็นไปตามระยะการคำนวณทางวิศวกรรมโดยให้มีระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่น
ระยะห่างจากขอบบนของลาดบ่อดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ต้องไม่น้อยกว่าสามเมตร
ข้อ
๗ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและฉีดพรมน้ำบริเวณพื้นที่หน้างานและถนนที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อลดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
ข้อ
๘ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ
๙ ผู้ขุดดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตราย
กว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกิน ๔๐ เมตร รอบบ่อดิน
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินเต็มพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดดินจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลน
ข้อ
๑๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
ต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๑๒ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นให้เป็นไปตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม
แต่ต้องมีระยะไม่น้อยกว่าความสูงของดินถม
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่นที่มีระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงที่ดินน้อยกว่า
๐.๕๐ เมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดินให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ
๑๔ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
ผู้ถมดินจะต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ติดตั้งไว้ในที่มองเห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ
๑๕ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล
แหล่งน้ำสาธารณะ
หรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำเพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ
๑๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๗ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้คุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ
๑๘ ห้ามกองดินและจอดเครื่องจักรหนักทิ้งไว้บนขอบบ่อดิน
หรือเนินดิน ยกเว้นขณะทำงาน ตำแหน่งขอบนอกของล้อเครื่องจักร
ต้องอยู่ห่างจากขอบบ่อดิน ไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร
ข้อ
๑๙ ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้แบบ
ขถด. ๑ และใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้ตามแบบ ขถด. ๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๐ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินมีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินได้
ข้อ
๒๑ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง
ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๓ ค่าธรรมเนียมการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ถาวร เหนือแสน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง เรื่อง
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๓
๒.
ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๑)
๓.
ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑๐๑/๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
630079 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก เรื่อง การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. 2552
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
เรื่อง การขุดดิน ถมดิน
และการขนย้ายดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
ว่าด้วยการขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก พ.ศ.
๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา
๑๘ มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลประศุกโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
และนายอำเภออินทร์บุรีจึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
เรื่อง การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ
๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประศุกนับแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
ขนย้าย หมายความว่า
การขนย้ายดินที่เกิดจากการขุดดิน หรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออก
ใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
ข้อ
๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง
แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ขอรับใบแทน
ใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดิน ตามข้อ ๗ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินและการขนย้ายดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขต ที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงาน
ท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ทั้งนี้ ให้นำข้อบัญญัติข้อ ๗ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒
มาบังคับใช้ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗ และต้อง
รับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการ
ขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มอบหมายด้วย
ข้อ
๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดิน
ถมดิน หรือการขนย้ายดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงาน
เจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ
๒๔ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม ข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสามโดยไม่ได้รับ ใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี มีความผิดตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามประกาศ กฎกระทรวง ผู้นั้นมีความผิดตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๕ มีความผิดตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
ถมดิน หรือการขนย้ายดินตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
ถมดิน หรือการขนย้ายดิน ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น มีความผิดตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๕ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิด
นั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
สมคิด คำวิจิตร์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก เรื่อง
การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒๙/๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ |
624845 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2552
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแกโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแกและโดยอนุมัติของนายอำเภอพระพุทธบาทจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นมาจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๕ การขุดดินหรือถมดินให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินไม่น้อยกว่า
๑ ต่อ ๒
ข้อ ๖ ผู้ใดที่จะถมดินต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่จะขุดดินหรือถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานของตนและบุคคลภายนอก
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๙ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตรเมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๑ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหรือหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่เนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดนอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๔ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ข้อ ๑๖ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดิน ผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๗ ผู้ใดกระทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๑๘ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่มีผลบังคับ
ข้อ ๑๙ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
ข้อ ๒๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแกเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อกำหนด
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุเทพ พหลยุทธ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก
ปริยานุช/จัดทำ
๓ มีนาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓ มีนาคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๒๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
623676 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2552
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยที่เป็นสมควรให้มีข้อบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
อันเนื่องมาจากการขุดดินและถมดินทั้งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะและพื้นที่ใกล้เคียง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ (๕) ประกอบกับมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะและนายอำเภอเมืองนครราชสีมาจึงออกข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวง
ถ้าต่อมามีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การประกันความเสียหายที่เกิดจากการขุดดินและถมดินใช้บังคับแล้ว
หากข้อบัญญัตินี้ส่วนใดขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงให้ยกเลิกและให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด ดินทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
สิ่งก่อสร้าง หมายความรวมถึง ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง
ถนนหินคลุก ถนนดินลูกรังที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะหรือไม่ก็ตาม
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า ผู้ที่ขุดดินหรือถมดิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะหรือนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะก็ตาม
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน หมายความว่า
ผู้ที่รับดำเนินการขุดดินหรือถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะและในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างของบุคคลดังกล่าวนั้นด้วย
ข้อ ๕ เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะอันเนื่องมาจากการขุดดินและถมดิน
ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินซึ่งใช้เส้นทางอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
ยื่นคำขอเพื่อวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นใดตามอัตราและแบบสัญญาประกันที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หลักประกันตามวรรคหนึ่งนั้น
ให้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประกันความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
ถ้ามูลค่าความเสียหายมีจำนวนมากกว่าหลักประกันแล้ว
ผู้วางหลักประกันยังคงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
ข้อ ๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินของผู้รับจ้างนั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างของราชการอันมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าหลักประกันตามข้อ
๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อให้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหยุดการขุดดินหรือถมดินไว้เป็นการชั่วคราวแล้วให้ผู้รับจ้างวางหลักประกันเพิ่มเติมก่อนที่จะให้ดำเนินการต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่วางหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดินได้ทันที
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
ถ้าหากไม่ดำเนินการอาจจะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการพนักงานเจ้าหน้าที่อาจมีคำสั่งให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบโดยเร็ว
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือภายใน
๒ วันทำการ
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๗ เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายตามข้อ
๕ และข้อ ๖ แทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินก็ได้
กรณีที่เจ้าของที่ดินจะวางหลักประกันความเสียหายแทนผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินนั้นให้นำความในข้อ
๕ และข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘ ให้ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ขุดดินหรือถมดินแล้วเสร็จ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องให้แล้วเสร็จพร้อมรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
กรณีที่มีความชำรุดบกพร่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณค่าความเสียหายและริบหลักประกันสัญญาตามมูลค่าความเสียหาย
และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาตามส่วนที่ได้หักมูลค่าความเสียหายไว้แล้วให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่ไม่มีความชำรุดบกพร่อง
ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้วางหลักประกันภายใน
๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดินหรือเจ้าของที่ดินผู้วางหลักประกันจะยื่นคำขอคืนหลักประกันมาพร้อมกับหนังสือที่แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องตามวรรคหนึ่งก็ได้
คำขอใด
ๆ
ที่ยื่นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะกำหนด
ข้อ ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
๒๕๔๔
ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๑๑ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย
เงินที่ได้ริบตามสัญญาประกันความชำรุดบกพร่องตามข้อ ๕ และค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
การอุทธรณ์
ข้อ ๑๒ ผู้รับจ้างขุดดินหรือถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๖
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน ๑๕ วันทำการนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๐ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นที่สุด
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้มีความผิด
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๑๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ฝ่าฝืนได้
เมื่อผู้ฝ่าฝืนได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ
ผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๗ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบและคำสั่งอื่นใด
ในส่วนที่มิได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้บังคับตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
วัชรพล จอนเกาะ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
๒.
สัญญาประกันความเสียหาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๘๗/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
623006 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2552
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗
และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งและนายอำเภอเวียงป่าเป้าจึงออกข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งและให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง
ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดิน
ซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
วิธีการขุดดินและขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับแจ้งต้องชำระธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่ง
พระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร
หรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วนในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งให้นำข้อบัญญัติในข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖
ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่
ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือ จัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงาน
เจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๔ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามข้อนี้
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗
วรรคสอง หรือข้อ ๑๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง
เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๖
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖
วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕
ต้องระวางโทษปรับจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดิน
ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดิน ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษไม่เกินสามหมื่นบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๒ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ ๒๕
วรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย
มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิด
นั้น ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ
๗ ข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
รัฐกรณ์ ทะนุก้ำ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
ปริยานุช/จัดทำ
๒๙ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๙ มกราคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๗๒/๒๒ มกราคม ๒๕๕๓ |
620850 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์ เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2551
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับ มาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์และนายอำเภอเมืองจันทร์จึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์ เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
ข้อ ๓[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความว่า
ดินหมายความรวมถึงหิน กรวด หรือทรายและอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดิน หรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขุดดิน หรือถมดิน
ในบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖ การขุดดิน หรือถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน หรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๗ ผู้ใดที่จะขุดดิน หรือถมดิน
ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดิน
กำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินจำนวนหกไร่หนึ่งงาน หรือมีความลึก
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมาย
(๔) วิธีการขุดดิน และการขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการการขุดดินและถมดินกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้ง ต้องเสียค่าธรรมเนียม
และค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้
ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน
ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินจำนวนหนึ่งไร่หนึ่งงานหรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตรหรือต้องไม่เกินจำนวนหนึ่งไร่หนึ่งงาน
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินจำนวนหนึ่งไร่หนึ่งงาน
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้งให้นำบทบัญญัติมาตรา
๑๗ วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหาย
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดิน
หรือการถมดิน ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกัน หรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดินผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือถมดินนั้น ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้ แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคแรก
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๑๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๙ ผู้ใดทำการขุดดิน หรือถมดิน
ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ใดขุดดิน
หรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันมีผลใช้บังคับ
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการขุดดิน
และถมดิน ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วชิระศักดิ์
ขันติวงษ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๑ ง/หน้า ๗๘/๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
620407 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2552
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยเป็นการสมควรให้มีการตราข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝายและโดยความเห็นชอบของนายอำเภอเมืองชัยภูมิ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้ให้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย
ข้อ ๓[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔
ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นดิน
เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระหรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินที่ขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕
ห้ามผู้ใดทำการขุดดินในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาฝายเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖
การขุดดินหรือถมดิน ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินนั้นให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ ๗
ผู้ใดจะถมดิน ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวน หรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘
ผู้ใดที่จะขุดดินและถมดิน
ต้องกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน ๒ เมตร
หรือมีพื้นที่จากปากบ่อดินเกิน ๕,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๐
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน ๔ ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑
การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน ๒ เมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่น ในระยะน้อยกว่า ๒
เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรทำ
ข้อ ๑๒
ในการขุดดิน ถ้าพบวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๗ วัน นับแต่วันที่พบ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร
หรือกรมทรัพยากรธรณีทราบ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่เนินดินไม่เกิน
๑,๐๐๐ ตารางเมตร หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกิน
๑,๐๐๐ ตารางเมตร หรือมีส่วนที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อ ๆ ได้ว่า
อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้
หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำงาน
ให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๖
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรือกระทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดินผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๘
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใด
ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้น
ข้อ ๑๙
ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๐
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ ภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่มีผลบังคับ
ข้อ ๒๑
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
แนบท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๒
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝายเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุพิน ศรวิเศษ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๗๔/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
617830 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2550
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและโดยอนุมัติของนายอำเภอวัฒนานคร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวง และถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนด
และข้อบัญญัตินี้ส่วนใดขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง
ให้ยกเลิกและให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้วสามสิบวัน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดิน
เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินและถมดิน
บริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖ การขุดดินหรือถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน หรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่จะถมดินต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดินต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรจะทำ
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรหรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๖ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน
หรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้นตามที่ว่าจำเป็นได้
ข้อ ๑๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่พอใจในคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๙ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ใช้บังคับให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่มีผลบังคับ
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดินให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ทวี พงษ์ประเสริฐ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๒ ง/หน้า ๗๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
610359 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2552
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลนาดงโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาดงและนายอำเภอปากคาดจึงออกข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาดงนับตั้งแต่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป
แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างของบ่อดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงและระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุด พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
และให้หมายความว่าข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความสูงของดินเดิมที่จะถม ความลาดเอียงของเนินดินระยะห่างจากเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม คุณสมบัติดินเดิมที่จะถมพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพของความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ที่สาธารณะ ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป
หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ ๖ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรระยะห่างจากขอบบนของลาดบ่อดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ให้เป็นไปตามระยะการคำนวณทางวิศวกรรม
โดยให้มีระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
ข้อ ๗ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและฉีดพรมน้ำบริเวณพื้นที่หน้างานและถนนที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อลดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
ข้อ ๘ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ ๙ ผู้ขุดดินต้องติดป้ายเตือนอันตราย
กว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกิน ๔๐ เมตร รอบบ่อดิน
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินเต็มพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดดินจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลน
ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
ต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ ๑๒ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นให้เป็นไปตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม
แต่ต้องไม่น้อยกว่าความสูงของดินถม
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่น
ที่มีระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงที่ดินน้อยกว่า ๐.๕ เมตร
ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดินให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ ๑๔ การถมดินในที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
ผู้ถมดินจะต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ติดตั้งไว้ในที่มองเห็นได้ตลอดเวลา
ข้อ ๑๕ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ
ทะเลและแหล่งน้ำสาธารณะ
หรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำเพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ ๑๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๗ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ ๑๘ ห้ามกองดินและจอดเครื่องจักรหนักไว้บนขอบบ่อดิน
หรือเนินดิน ยกเว้นขณะทำงานตำแหน่งขอบนอกของล้อเครื่องจักร
ต้องอยู่ห่างจากขอบบ่อดิน ไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร
ข้อ ๑๙ ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้แบบ ขถด. ๑
และใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดินให้ใช้ตามแบบ ขถด. ๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๐ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินมีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินได้
ข้อ ๒๑ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือปฏิบัติให้ถูกต้อง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง
ให้หมายรวมถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๒ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๓ ค่าธรรมเนียมการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ประนอม โพธิภาค
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาดง เรื่อง
การขุดดินและการถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.
ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๑)
๓.
ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๔๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
604523 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2551
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้องโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้องและโดยอนุมัติของนายอำเภอหนองสองห้องจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
การกระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นมาจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๕ การขุดดินหรือถมดินให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินไม่น้อยกว่า
๑ ต่อ ๒
ข้อ ๖ ผู้ใดที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่จะขุดดินหรือถมดินกำหนดวิธีการ
ให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานของตนและบุคคลภายนอก
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๙ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๑ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่เนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๔ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการ
แก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ข้อ ๑๖ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๗ ผู้ใดกระทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๑๘ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีผลบังคับ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
ข้อ ๑๙ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
ข้อ ๒๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้องเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อกำหนด
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ธรณ์เทพ จงเทพ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสองห้อง
ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๒๕/๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ |
604187 | ข้อบัญญัติตำบลหนองบุนนาก เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2548
| ข้อบัญญัติตำบลหนองบุนนาก
ข้อบัญญัติตำบลหนองบุนนาก
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติตำบลว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ซึ่งออกข้อบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
จึงบัญญัติโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนากและนายอำเภอหนองบุญมาก
ให้ออกข้อบัญญัติไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติตำบลหนองบุนนาก
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนาก
และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลหนองบุนนาก
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตพื้นที่ตำบลหนองบุนนาก
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดิน
เพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นจากเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินที่จะขุดหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนาก
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันภัยอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศ
กำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒)
ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน ทั้งนี้ ระยะดิ่งต่อระยะราบไม่น้อยกว่า ๑
ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูง
และพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔)
วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๕)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง
ยกเว้น ผ่อนผัน
ระงับหรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัติตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณี
(๑)
การขุดดิน
ถมดินของหน่วยงานราชการหรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒)
การขุดดิน ถมดินภายในศาสนสถานเพื่อศาสนประโยชน์
(๓)
การขุดดิน
ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(๔)
การขุดดิน ถมดินขององค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์การ
หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๓ เมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๘๐๐ ตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๑)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๒)
รายการที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามข้อ ๖
(๓)
วิธีการขุดดินและขนดิน
(๔)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๕)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๖)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๗)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้รับแจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งในการแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องตามวรรคสามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด
ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๘ วรรคห้าให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนาก
ข้อ ๑๐ ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ในสถานที่ขุดดินชุดหนึ่ง
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจดูได้
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามประกาศที่ออกตามข้อ ๖
ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๘ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน
ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๔ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน
๘๐๐ ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการนี้ไม่รวมถึงการขุดบ่อบาดาลตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล
พ.ศ. ๒๕๒๐
ข้อ ๑๕ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๓ เมตร เมื่อจะขุดใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่า ๒ เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดินต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๖ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยาให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๘
ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๕ หยุดการขุดดิน ในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน
๓ วันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้นายอำเภอทราบโดยด่วน
ในกรณีเช่นนี้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
ในการถมดินตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือได้รับความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ
๖ ได้
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน
๗
วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้งนำบทบัญญัติในข้อ
๘ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๗
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามประกาศที่ออกในข้อ ๖
ข้อ ๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๘
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน
ซึ่งได้รับกระทำการทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๘
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการถมดินหรือขุดดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินขึ้นนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นในข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๑๗ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๘ หรือทำการถมดินตามข้อ
๑๗ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือข้อ
๑๗ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๗
และข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๖
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ
๒๐ วรรคสอง หรือข้อ ๒๒ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ ๓๑ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งได้รับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนากรักษาการตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ผานิต นิราชสูงเนิน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนาก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ |
604175 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2548 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๗
วรรคสอง องค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่าโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่าและโดยอนุมัติของนายอำเภอสูงเนินจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวง และถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนด
และข้อบัญญัตินี้ส่วนใดขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงให้ยกเลิกและให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๓ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเขตตำบลโนนค่านับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่าสิบห้าวันแล้ว
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัติ
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า กระทำแก่พื้นดิน
เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือ ถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินและถมดิน
บริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖ การขุดดินหรือถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดิน
กำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดินต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรหรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหาย
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินมีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๖ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ ๑๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๙ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ใช้บังคับให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่มีผลบังคับ
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดินให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่าเป็นผู้รักษาการณ์ตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
นนท์ โพธิ์สูงเนิน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค่า
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ |
599090 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2551
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา
๑๘ มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลนาฮีโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮีและนายอำเภออากาศอำนวยจึงออกข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุด หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือการถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติ หมายความว่า
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕ การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น
หรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดิน และให้ถือว่าผู้แจ้ง
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน ได้ทราบคำสั่งนั้น
เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮีรักษาการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
๑.
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
๒.
แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง
๓.
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
๔.
วิธีการขุดดินและการขนดิน
๕.
ระยะเวลาทำการขุดดิน
๖.
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗.
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
๘.
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นที่ส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
๙.
เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
ข้อ ๙ ในระหว่างที่มีการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง บริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด
สูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติ และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง
ให้นำข้อบัญญัติข้อ ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ
และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งกระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ หรือ
กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๓ การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งออกตามความในข้อ
๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๔ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๑๙ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒
แห่งข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปัญญา นิยมคุณ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี เรื่อง
การขุดดินและการถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๕๕/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
593975 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2551
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๗ มาตรา
๑๘ มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสาโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสาและโดยอนุมัติของนายอำเภอจึงตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสาไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา
นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในบรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป
แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุด
ความลาดเอียงของดิน ระยะห่างของบ่อดินถึงที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงและระดับดินเดิม
คุณสมบัติของดินที่จะขุดพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
และให้หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความสูงของดินเดิมที่จะถม ความลาดเอียงของเนินดิน ระยะห่างจากเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะถม พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ
หรือวิธีการสำหรับถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ที่สาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๖ ในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรระยะห่างจากขอบบนของลาดบ่อดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ให้เป็นไปตามระยะการคำนวณทางวิศวกรรม โดยให้มีระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบเมตร
ข้อ
๗ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและฉีดพรมน้ำบริเวณพื้นที่หน้างานและถนนที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อลดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
ข้อ
๘ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ
๙ ผู้ขุดดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตราย
กว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกิน ๔๐ เมตร รอบบ่อดิน
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินเต็มพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดดินจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลน
ข้อ
๑๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
ต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๑๒ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่น
ให้เป็นไปตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม แต่ต้องมีระยะไม่น้อยกว่าความสูงของดินถม
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่นที่มีระยะห่างจากขอบล่างของลาดเนินดินถึงที่ดินน้อยกว่า
๐.๕๐ เมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
หากจะต้องทำกำแพงกันดินหรือฐานรากเสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของดินให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ
๑๔ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
ผู้ถมดินจะต้องจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ติดตั้งไว้ในที่มองเห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ
๑๕ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล
แหล่งน้ำสาธารณะ หรือจัดให้มีแหล่งรับน้ำเพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ
๑๖ การขุดดินและถมดินให้กระทำได้เฉพาะในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๗ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน
และหลังการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้คุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ
๑๘ ห้ามกองดินและจอดเครื่องจักรหนักทิ้งไว้บนขอบบ่อดิน
หรือเนินดิน ยกเว้นขณะทำงาน ตำแหน่งขอบนอกของล้อเครื่องจักร
ต้องอยู่ห่างจากขอบบ่อดิน ไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร
ข้อ
๑๙ ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้แบบ
ขถด. ๑ และใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้ใช้ตามแบบ ขถด. ๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๐ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินมีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินได้
ข้อ
๒๑ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง
ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๒๓ ค่าธรรมเนียมการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำ
บลทุ่งตำ เสามีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชอบ บิณกาญจน์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา เรื่อง
การขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.
ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด. ๑)
๓.
ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.
๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๐๙ ง/หน้า ๗๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
585356 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน เรื่อง การขุดดินและถมดิน และการควบคุมการบรรทุก การเคลื่อนย้าย และการขนดิน พ.ศ. 2551
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
และการควบคุมการบรรทุก การเคลื่อนย้าย และการขนดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบด้วยมาตรา ๓๓ ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองลานโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลานและนายอำเภอท่ามะกาจึงขอตราข้อบัญญัติขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
เรื่อง การขุดดินและถมดิน และการควบคุมการบรรทุก การเคลื่อนย้าย และการขนดิน พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตตำบลหนองลาน
เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวัน นับถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ถ้าได้มีการออกกฎกระทรวงและข้อบัญญัตินี้ได้ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงให้ข้อบัญญัติในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงเป็นอันยกเลิก
และให้ข้อบัญญัติในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่
ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดการขุดดิน หรือถมดิน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณทางด้านวิศวกรรม
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
มีอำนาจออกคำสั่ง ยกเว้น ผ่อนผัน ระงับ หรือ
กำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และให้มีอำนาจออกประกาศกำหนดพื้นที่บริเวณหนึ่งบริเวณใดในท้องที่ตำบลหนองลาน
ซึ่งลักษณะพื้นที่มีความจำเป็นต้องห้ามขุดดินหรือถมดิน
เป็นบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ระเบียบ
ประกาศ คำสั่งตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๘ การขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒
ให้กระทำได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาต
เป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งพันหกร้อยตารางเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดพร้อมเอกสารประกอบการแจ้ง
หลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง
เอกสารประกอบการแจ้งและการออกใบรับแจ้งให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ร้อยตารางเมตร
ข้อ ๑๐ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดพร้อมเอกสารประกอบการแจ้ง
หลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง
เอกสารประกอบการแจ้งและการออกใบรับแจ้งให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
การกำหนดวิธีการความปลอดภัยและมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ และ
ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินยี่สิบเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดพร้อมเอกสารประกอบการแจ้ง
หลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง
เอกสารประกอบการแจ้งและการออกใบรับแจ้งให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
การกำหนดวิธีการความปลอดภัยและมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
และตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๓ ผู้ขุดดินต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในใบรับแจ้ง
และต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดิน
สิ่งปลูกสร้าง
หรือทรัพย์สินอื่นใดของบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการขุดดิน
หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
การใช้ความระมัดระวังตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดในการกระทำลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หรือความรับผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มาใช้บังคับกับผู้ควบคุมงานโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินในบริเวณของบ่อดินไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง
และต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดินหรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
การระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนหรือเสียหายให้กับผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๕ ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินและผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
เมื่อการขุดดินเสร็จสิ้นลง
ให้หน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นของเจ้าของบ่อดิน หรือผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาบ่อดิน
ข้อ ๑๖ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรีบรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินกว่าสองพันตารางเมตร
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดพร้อมเอกสารประกอบการแจ้ง
หลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง
เอกสารประกอบการแจ้งและการออกใบรับแจ้งให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
การกำหนดวิธีการความปลอดภัยและมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
และตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๘ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตรและมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดพร้อมเอกสารประกอบการแจ้ง
หลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง เอกสารประกอบการแจ้งและการออกใบรับแจ้งให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
การกำหนดวิธีการความปลอดภัยและมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๙ การถมดิน
ให้กระทำได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๐ ให้นำบทบัญญัติข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖
มาใช้บังคับกับการถมดินโดยอนุโลม
หมวด ๔
การบรรทุก การเคลื่อนย้าย
และการขนส่ง
ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้บุคคลใด บรรทุก เคลื่อนย้าย
หรือขนส่งดิน จากบริเวณที่มีการขุดดินไปยังพื้นที่ใด ๆ ภายในตำบล
หรือนำออกไปจากตำบล หรือนำเข้ามาภายในตำบล เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาต การพิจารณาอนุญาต และเอกสารประกอบ
ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ ๒๒ เพื่อประโยชน์แก่การควบคุมการบรรทุก
เคลื่อนย้าย หรือขนส่งดิน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด
ดังต่อไปนี้
๑.
จำนวน ปริมาณ หรือน้ำหนักขั้นสูงสุดที่ยานพาหนะคันหนึ่งจะบรรทุกได้
๒.
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกคลุมสิ่งที่บรรทุก เพื่อมิให้ตกหล่นหรือฟุ้งกระจาย
๓.
การทำความสะอาดล้อของยานพาหนะก่อนออกจากสถานที่บรรทุกไปยังทางสาธารณะ
๔.
ค่าธรรมเนียมการใช้ทางสาธารณะเพื่อการบรรทุกดิน และการประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับทางสาธารณะ
๕.
หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการบรรทุก เคลื่อนย้าย หรือขนส่งดิน
หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการขุดดิน
หรือถมดิน อันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากการกระทำของผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี
เว้นแต่บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น
ข้อ ๒๔ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
และการอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒๕ ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย
และค่าปรับที่เกิดขึ้นตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินและถมดิน
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
เรื่อง การขุดดินและถมดินและการควบคุมการบรรทุก การเคลื่อนย้าย และการขนดิน พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ ๒๗ ผู้ใดทำการบรรทุก เคลื่อนย้าย หรือขนส่งดิน
ตามข้อ ๒๒ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามความในข้อ ๖ หรือข้อ ๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามความในข้อ ๖ หรือข้อ ๗
ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
และการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิวัฒน์ ตั้งสุวรรณวงศ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ได้ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติกำหนดมาตรการในการควบคุมการขุดดินและถมดินได้ในกรณีที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใด
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
และถ้าได้มีการออกกฎกระทรวงแล้วให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติกำหนดรายละเอียด
ในเรื่องนั้นเพิ่มเติมจากที่กำหนดในกฎกระทรวงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าวได้
บัดนี้
ได้มีกฎกระทรวง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ (๒) (๓) (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองลานจึงได้ออกข้อบัญญัติกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ในเรื่องความลึกหรือพื้นที่ที่ทำการขุดดินและถมดิน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง
ปริยานุช/จัดทำ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๓/๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
583619 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2550
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๐
โดยเป็นการสมควรให้มีการตราข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๗ วรรคสอง จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่และโดยความเห็นชอบของนายอำเภอโนนแดง
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
ข้อ ๓[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นดิน
เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระหรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่ดินแสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่ขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖ การขุดดินหรือถมดิน ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินไม่น้อยกว่า
๑ ต่อ ๒
ข้อ ๗ ผู้ใดที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวน
หรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง
และความปลอดภัยแต่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๒ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๕,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน
๔ ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๒ เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตดินที่ของผู้อื่น ในระยะน้อยกว่า ๒
เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรทำ
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เนินดินไม่เกิน ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกิน
๑,๐๐๐ ตารางเมตร หรือมีส่วนที่เกินกว่าที่พนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า
การขุดดินหรือถมดินได้ก่อหรือกระทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้น
ข้อ ๑๙ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน
ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ ภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่มีผลบังคับ
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ทองดา ภาโสภะ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันนี้ได้มีการขุดดินอย่างกว้างขวางเพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือกิจการอื่น
ๆ ในทางธุรกิจด้านการก่อสร้าง แต่การขุดดินและการถมดินดังกล่าว ณ ปัจจุบันนั้น
ยังไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สิน
และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่ได้
จึงสมควรให้มีการตราข้อบัญญัติ
ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่
เพื่อให้การขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ
และข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงมีความจำเป็นที่ต้องตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉบับนี้
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๕๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ |
582055 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง เรื่อง การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. 2550
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
เรื่อง การขุดดิน ถมดิน
และการขนย้ายดิน
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติ
ว่าด้วยการขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พุทธศักราช ๒๕๔๓
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงจึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงและโดยความเห็นชอบจากนายอำเภอราศีไศล
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัติฉบับนี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
เรื่อง การขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัติฉบับนี้
ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ข้อ
๓ ให้ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อได้ประกาศ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงแล้วภายในเจ็ดวัน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด ทราย
และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นดิน
เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดิน
โดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ขนย้าย หมายความว่า
การขนย้ายดินที่เกิดจากการขุดดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยทำเป็นคำสั่งให้ปฏิบัติการแทนตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดิน ขนย้าย
หรือถมดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงแล้ว
ข้อ
๖ การขุดดินและถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ
๗ ผู้ใดที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวน
หรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ
๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน ขนย้าย
หรือถมดิน ต้องกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ
๙ ผู้ใดประสงค์ที่จะขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๓ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้มาแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน
๔ ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๓ เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น ในระยะน้อยกว่า ๒
เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ผู้ขุดดินต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่วิญญูชนควรกระทำ
ข้อ
๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ธาตุที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
หรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินหยุดขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน ๒๔ วัน นับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณีวิทยา แล้วแต่กรณี
ทราบ
ข้อ
๑๓ ผู้ใดประสงค์จะถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เนินดินไม่เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกิน
๒,๐๐๐ ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะจัดให้มีรางระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องมาแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน
ขนย้าย หรือถมดิน มีสิทธิร้องขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดิน
หรือถมดินนั้นได้
ข้อ
๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
จนถึงพระอาทิตย์ตกดินหรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดิน อำนวยความสะดวกให้ตามสมควร
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า
การขุดดิน ขนย้าย
หรือการถมดินได้ก่อหรือกระทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดิน
หรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้ขุดดิน ขนย้าย หรือถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน ขนย้าย หรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ
๑๘ ผู้ขุดดิน ขนย้าย หรือถมดิน
หรือเจ้าของที่ดิน ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้น
ข้อ
๑๙ ผู้ใดทำการขุดดิน ขนย้าย
หรือถมดิน โดยไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ
๒๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับ
ข้อ
๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดิน
ขนย้าย หรือการถมดิน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
กิตติศักดิ์ แซ่จึง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง ว่าด้วยการขุดดิน
ถมดินและการขนย้ายดินนั้น
เนื่องจากว่าพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
มีการประกอบกิจการการขุดดิน ถมดิน และการขนย้ายดินกันเป็นจำนวนมาก
โดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และความปลอดภัยแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความมาตรา ๗ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงเรื่องใดตามมาตรา ๖
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นได้ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคงจึงตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง
ว่าด้วยการขุดดิน ถมดินและการขนย้ายดิน พ.ศ. ๒๕๕๐ ขึ้น
โดยการเพิ่มคำว่าการขนย้ายดินเพื่อครอบคลุมการประกอบการขุดดิน ถมดิน
และการขนย้ายดิน
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๓๑/๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
579618 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2548
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ว่าด้วย
การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ วรรคสอง
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์และนายอำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมาจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ แล้ว ๗ วัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรีย์
วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดิน
ซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔)
วิธีการขุดดิน และการขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๖
ที่แนบท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
ข้อ
๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
ข้อ
๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง บริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหาย
หรือถูกทำลาย ดังกล่าว
ข้อ
๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๑ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๒ การได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๓ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตรผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตรเมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะต่ำกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดิน ตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๗ ข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ
๑๖ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่รับใบรับแจ้งให้นำบทบัญญัติข้อ
๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๑๘ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๑๙ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๐ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๗ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๐ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๗ หรือการถมดินตามข้อ ๑๖
ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น
หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าหน้าที่
รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดินหรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๓ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ
๒๔ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๙ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๗
หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๖
วรรคสามโดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๗ วรรคสอง หรือข้อ ๑๖
วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามข้อ
๖ ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาท
ตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ และข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ
๒๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ
๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ข้อ
๒๙ ผู้ขุดดินใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๕
ต้องระวางโทษปรับจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดิน
ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ
๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดิน
ตามข้อ ๑๙ วรรคสอง หรือข้อ ๒๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อ
๓๒ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้นอกจากข้อ
๒๕
วรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ข้อ
๓๔ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด
หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๓๕ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่ใด
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ หรือข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่นั้น
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จำเนียร จันทร์โพธิ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๖๔/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ |
575880 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2548
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
(และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮดและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอบ้านแฮด
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้ให้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวง และถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนด
และข้อบัญญัตินี้ส่วนใดขัด
หรือแย้งกับกฎกระทรวงให้ยกเลิกและให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัด
หรือแย้งกับกฎกระทรวงใช้บังคับต่อไป
ข้อ
๓[๑]
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัติ
ดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน รวมทั้งที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
แบบแปลน หมายความว่า
แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือถม
พร้อมวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับการขุดดิน หรือถมดิน เพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ในการขุดดินหรือถมดิน
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
และต้องติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตรยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดิน
และสามารถเห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดินหรือถมดิน โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้
(๑) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
(๒) ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน เนินดิน ความลึกหรือความสูงของการขุดดินหรือถมดิน
(๓) วัตถุประสงค์ของการขุดดินหรือถมดิน
(๔) เลขที่ใบรับแจ้งและวันสิ้นสุดการขุดดินหรือถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณรวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดินหรือถมดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของเจ้าของที่ดิน
(๘) ชื่อและที่อยู่ของผู้ดำเนินการขุดดินหรือถมดิน
(๙)
ข้อความอื่นตามที่กรมโยธาธิการและผังเมืองประกาศกำหนดหรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๖ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินและถมดิน
บริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ
๗ การขุดดินหรือถมดิน
ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะดิ่งต่อระยะราบไม่น้อยกว่า
๑ ต่อ ๒
ข้อ
๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอกการขุดดิน
การขุดดิน
ข้อ
๙ การขุดดินมาตรา ๑๗
จะกระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๐ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องมีแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรรม
และให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
(๔) วิธีการขุดดิน และการขนดิน
(๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖) ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙) เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๑๑ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินและต้องมีแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๒ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่เป็นการขุดดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายแพร่พิษหรือรังสีให้ผู้ประสงค์จะทำการขุดดินนำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มายื่นประกอบการแจ้งด้วย
ข้อ
๑๔ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของผู้อื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
เว้นแต่จะได้มีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๑๕ ในระหว่างการขุดดินผู้ขุดดินตามมาตรา
๑๗ ต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขัง
และต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดิน
หรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
ข้อ
๑๖ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดิน และดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ข้อ
๑๗ การขุดดินในบริเวณที่ติดกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ
หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ในการขุดดินตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่าง
ต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ
๑๘ ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗
ต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร ทำด้วยวัสดุถาวร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตรรอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะทำการขุดดิน
ข้อ
๑๙ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
การถมดิน
ข้อ
๒๐ ให้ผู้ที่จะถมดิน
ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวน
หรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ
๒๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาในการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ
ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินจะทำการถมดิน
ข้อ
๒๒ การถมดินจะกระทำได้เฉพาะในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๓ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา
ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินเกินห้าเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๔ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๕ การถมดิน
ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น
หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ
๒๖ การถมดินในบริเวณที่ติดกับทางสาธารณะ
ผู้ถมดินต้องติดป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร ทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถมด้านที่ติดกับทางสาธารณะ
ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการถมดิน
ข้อ
๒๗ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดินแล้วเสร็จ
ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี
ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อปฏิบัติและบทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๘ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินมีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
ข้อ
๒๙ พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๓๐ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ
๓๒ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
ข้อ
๓๓ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน
ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายการขุดดินและถมดินกำหนด
ค่าธรรมเนียม
ข้อ
๓๔ ค่าธรรมเนียม
และค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดินให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
การรักษาการข้อบัญญัติ
ข้อ
๓๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๓๖ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่มีผลบังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
อุทัย ศรีสวดโม้
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแฮด
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้บัญญัติให้ราชการส่วนท้องถิ่น
มีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ในเรื่องการขุดดินและถมดิน เพราะปัจจุบันมีการขุดดิน
เพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
หรือเพื่อกิจการอื่นอย่างกว้างขวาง
แต่การขุดดินถมดินดังกล่าวยังไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชน
ตลอดจนการอื่นใดที่จำเป็น และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้
อีกทั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
วัชศักดิ์/จัดทำ
๙ เมษายน ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๕๓/๒ เมษายน ๒๕๕๑ |
575778 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2551
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษมและนายอำเภอเมืองสระแก้ว
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง
ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดิน
เพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๔ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
ข้อ
๕ บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ
๖ ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ
๗ วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ
๘ วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ
๙ หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ
๑๐ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษมในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวง
ถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องนั้น
ให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัตินี้ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงเป็นอันยกเลิก
และให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัตินี้ในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงยังคงใช้บังคับต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกข้อบัญญัตินี้ใหม่
แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ
การยกเลิกข้อบัญญัตินี้ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงตามวรรคแรก
ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินการที่ได้กระทำไปแล้วโดยถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๑ การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น
หรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดิน
และให้ถือว่าผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน
ได้ทราบคำสั่งนั้น เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
ข้อ
๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษมรักษาการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ
๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
(๔)
วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่คณะกรรมการการขุดดินและถมดินกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้น
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้อง
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้อง
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง
ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๑๔ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๑๓ วรรคห้า
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษมอันเป็นท้องที่ที่มีการขุดดินนั้น
ข้อ
๑๕ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามข้อ ๑๓ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๑๓
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ
๑๖ ผู้ขุดดินตามข้อ ๑๓
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง
ข้อ
๑๗ ผู้ขุดดินตามข้อ ๑๓
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๖
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๘ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๑๓
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๑๙ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๐ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๒๑ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ
๑๓ ข้อ ๑๙ หรือข้อ ๒๐ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วนในกรณีเช่นนี้
ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ
๒๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้น ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้งให้นำบทบัญญัติข้อ ๑๓ วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า ข้อ
๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๓ ผู้ถมดินตามข้อ ๒๒ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง
ข้อ
๒๔ ผู้ถมดินตามข้อ ๒๒
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๓
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๒๕ ผู้ใดได้รับความเสียหาย
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๖ ข้อ ๒๐ หรือข้อ ๒๓
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๖ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ
๑๓ หรือการถมดินตามข้อ ๒๒ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อ
หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันทีถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ
๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๒๙ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ
๓๐ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๕ วรรคสอง
หรือข้อ ๒๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วให้เป็นที่สุด
หมวด ๕
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ข้อ
๓๑ อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินหรือถมดินให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๓๒ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๒๒ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สิทธิชัย ประทีปแก้ว
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
ปริยานุช/จัดทำ
๑๘ เมษายน ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๙๘/๑๐ เมษายน ๒๕๕๑ |
575774 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอศรีณรงค์จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้
ดังนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตั้งแต่ได้ประกาศไว้เปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้ว ๗ วัน
ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมบทนิยาม ผู้ได้รับอนุญาต ใน ข้อ ๕ ของข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
ผู้ได้รับอนุญาต หมายถึง ผู้ได้รับอนุญาตให้ขุดดิน
ถมดิน
หรือการขนดินหรือบรรทุกหรือเคลื่อนย้ายดินอันเกี่ยวเนื่องจากการขุดดินหรือถมดิน
และให้หมายความรวมถึงตัวแทนหรือนายหน้าหรือบุคคลซึ่งแสดงตนเป็นนายหน้าอันเป็นธุระจัดหาดำเนินการขุดดินหรือถมดินหรือการขนดินหรือบรรทุกหรือเคลื่อนย้ายดินด้วย
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒
ของข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒ ผู้ใดจะทำการขุดดิน
หรือการถมดิน ตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ หรือขนดินหรือบรรทุกหรือเคลื่อนย้ายดินอันเกี่ยวเนื่องจากการขุดดินหรือถมดินตามข้อบัญญัตินี้
ให้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔
ของข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔ การกำหนดขอบเขตการขุดดินและการถมดินภายในหมู่บ้าน
ตำบล และอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้เป็นไปตามท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙
แห่งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙ ใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต แต่ไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ทวี ยาจิตต์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
อัตราค่าธรรมเนียม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ เมษายน ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๕๐/๑๑ เมษายน ๒๕๕๑ |
575770 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2549
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง
การควบคุมการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดิน ถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอศรีณรงค์จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้
ดังนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตั้งแต่ได้ประกาศไว้เปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้ว ๗ วัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัติหรือซึ่งขัด
หรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ
คำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ข้อบังคับ
ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตามวรรคแรกนั้น เมื่อได้ประกาศไว้ ณ
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ข้อบัญญัติ หมายความว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การควบคุมการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
ดิน หมายความรวมถึง อิฐ หิน กรวด ทราย เลน ลูกรัง
อินทรียวัตถุ สิ่งปรักหักพัง หรือสิ่งอื่นใด ที่ถูกใช้เสมือนดิน
ระดับดินเดิม หมายถึง
ระดับพื้นผิวดินที่เป็นอยู่โดยปกติ
การขุดดิน หมายถึง การกระทำใด ๆ ไม่ว่าจะโดยการขุด
เจาะ หรือตักด้วยแรงคน เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ใด ๆ ต่อพื้นดิน
และเป็นการเปลี่ยนสภาพพื้นดินทำให้เกิดความลึกเป็นแอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน การแต่ง การขุดคูคลอง บูรณะซ่อมแซม คู คลอง ทำราง
ทางน้ำอันเป็นสาธารณะประโยชน์ ซึ่งได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
การถมดิน หมายถึง การกระทำใด ๆ
อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับดินเดิมให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ว่าโดยการถมเททิ้งดินลงไปในพื้นดิน หรือวิธีการอื่นใด
สิ่งปลูกสร้าง หมายถึง อาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้รวมถึงลานที่มีการจัดสวน หรือปลูกต้นไม้เพื่อประดับ
เพื่อความร่มรื่น
แผนผังบริเวณ หมายถึง แผนที่แสดงภาพที่ดิน
ที่ตั้งขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน รวมทั้งแสดงลักษณะและขอบเขตที่สาธารณะ
และอาคารในบริเวณที่ดินที่ติดต่อโดยสังเขปด้วย
แบบแปลน หมายถึง
แบบเพื่อประโยชน์ในการขุดดินหรือถมดินโดยมีรูปแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้
รายการประกอบแบบแปลน หมายถึง
ข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพของดิน ระดับดินเดิม สภาพของดินที่จะขุดหรือถมดิน
ตลอดทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับการขุดดินหรือการถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายถึง
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดินการถมดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง
พนักงานส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแต่งตั้ง
เพื่อปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ โดยกำหนดขอบเขตอำนาจไว้
ข้อ
๖ ข้อบัญญัตินี้
ห้ามใช้แก่การขุดดินหรือถมดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่นแล้วผู้ได้รับอนุญาตให้ขุดหรือถมดินตามกฎหมายอื่น
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
แจ้งเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงทราบก่อนวันทำการ
ข้อ
๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
มีอำนาจออกคำสั่งยกเว้น
ผ่อนผันระงับหรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรได้ ดังต่อไปนี้
(๑)
การขุดดิน การถมดิน ของกระทรวง ทบวง กรม
และส่วนราชการท้องถิ่นที่ใช้ในการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒)
การขุดดิน
การถมดินขององค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการหรือองค์การ
หรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๓)
การขุดดิน การถมดิน ภายในบริเวณเคหะสถาน หรือเพื่อศาสนประโยชน์
(๔)
การขุดดิน การถมดินขององค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ข้อ
๘ เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแข็งแรง
ความปลอดภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการผังเมือง ตลอดจนการอื่นที่จำเป็น
เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
มีอำนาจออกระเบียบกำหนด
(๑)
ระยะระหว่างบริเวณดินที่จะขุดหรือถมกับเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือระหว่างบริเวณที่ดินที่จะขุดหรือถมกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า หรือที่สาธารณะ
(๒)
ค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดิน ถมดิน
(๓)
บริเวณห้ามขุดดิน ถมดิน เพื่อวัตถุประสงค์หรือเพื่อกิจกรรมบางประเภท
(๔)
การขนหรือบรรทุก หรือการเคลื่อนย้ายดิน อันเนื่องจากการขุดหรือถมดิน
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ
๙ ห้ามผู้ใดขุดดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
(๑)
การขุดดินเพื่อการพาณิชย์
(๒)
การขุดดินที่มีความลึกตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป จากระดับดินเดิมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่
๑ ไร่ขึ้นไป
(๓)
การขุดดินที่มีความลึกตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตรขึ้นไป
และมีระยะห่างจากเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นน้อยกว่าสองเท่าของความลึก
(๔)
การขุดดินเพิ่มเติมจากที่ขุดไว้เดิมตามเกณฑ์ (๑) หรือ (๒)
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ
๑๐ ห้ามผู้ใดถมดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
(๑)
การถมดินสูงกว่าระดับที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
(๒)
การถมดินซึ่งมีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ ๓๐ ตารางวาขึ้นไป
ข้อ
๑๑ ผู้ใดจะทำการถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลและอยู่ติดเขตถนน
ต้องวางท่อระบายน้ำระหว่างแนวเขตถนนกับที่ดินตนเอง
โดยขนาดท่อระบายน้ำและจำนวนท่อระบายน้ำให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
หมวด ๔
การขออนุญาตและการอนุญาต
ข้อ
๑๒ ผู้ใดจะทำการขุดดิน หรือการถมดิน
ตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑
ให้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตามแบบที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
ข้อ
๑๓ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๑๒
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ข้อ
๑๔ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุญาตให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนด
ข้อ
๑๕ ในกรณีผู้คำนวณแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน
และรายการที่ได้ยื่นมาพร้อมกับคำขอตามข้อ ๑๒
เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรรม
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตรวจพิจารณาเฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
ข้อ
๑๖ การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องระบุชื่อผู้ควบคุมงานพร้อมกับหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานไว้ในคำขอรับอนุญาตจะเป็นผู้ควบคุมงานก็ได้
กรณีลักษณะงานเข้าเกณฑ์ตามหลักว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมผู้ควบคุมงาน
จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ
๑๗ ถ้าผู้ได้รับอนุญาตจะบอกเลิกผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาตหรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน
ให้มีหน้าที่แจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงทราบ
ในกรณีที่มีการบอกเลิกตามวรรคแรก
ผู้ได้รับอนุญาตต้องระงับการดำเนินการ ตามที่ได้รับอนุญาตจนกว่าจะมีผู้ควบคุมคนใหม่
และได้มีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้ว
ข้อ
๑๘ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีการขุดดิน
ถมดินผิดไปจากผังบริเวณผังแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนวิธีการ
เงื่อนไขที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนดไว้ในใบอนุญาต
ข้อ
๑๙ ใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ถ้าผู้ใดได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ทำการต่อไปจนกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุในใบอนุญาตนั้น
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่ฝ่าฝืนข้อ ๙ ข้อ ๑๐
หรือข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีอำนาจสั่งให้เจ้าของที่ดิน
ผู้ครอบครองที่ดิน ผู้กระทำการแทนหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ให้ระงับการกระทำนั้นได้
ข้อ
๒๑ การสั่งการหรือการแจ้งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตามข้อบัญญัตินี้ให้ทำเป็นหนังสือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดิน หรือผู้ควบคุมงาน ณ
ภูมิลำเนาของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
หรือจะทำเป็นบันทึกและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับทราบก็ได้
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่อาจส่งหนังสือหรือทำบันทึกให้ลงลายมือชื่อรับทราบตามวรรคแรกได้
ให้จัดการปิดคำสั่งหรือหนังสือแจ้ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในบริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้น
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน
หรือผู้ควบคุมงานได้ทราบคำสั่งหรือหนังสือแจ้งนั้นแล้วตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ปิดประกาศ คำสั่ง หรือหนังสือแจ้งดังกล่าว
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๙ ข้อ ๑๐ หรือข้อ
๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ตามข้อ ๒๐ ต้องระวางโทษปรับวันละห้าร้อยบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ข้อ
๒๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๒๕ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ทวี ยาจิตต์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
กำหนดขอบเขตการขุดดินและถมดินภายในหมู่บ้าน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ เมษายน ๒๕๕๑
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๔๔/๑๑ เมษายน ๒๕๕๑ |
563552 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ เรื่อง การขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2550 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ
เรื่อง
การขุดดินและการถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำว่าด้วยการขุดดินและการถมดิน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ ในการประชุมสามัญสมัยที่ ๑
ประจำปี ๒๕๕๐ และนายอำเภอวิหารแดงจึงตราข้อบัญญัตินี้ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่าข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ
เรื่อง การขุดดินและการถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำและใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันได้รับความเห็นชอบจากนายอำเภอวิหารแดง
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติหรือข้อบังคับ กฎ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือ ทราย และอินทรียวัตถุต่าง
ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดิน
เพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการขุดดินและถมดินตามพระราชบัญญัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติ หมายความว่า
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕ การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามข้อบัญญัตินี้ ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ
ภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดิน และให้ถือว่าผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน ได้ทราบคำสั่งนั้น
เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำรักษาการตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งพันหกร้อยตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
๑
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
๒
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
๓
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
๔
วิธีการขุดดินและการขุดดิน
๕
ระยะเวลาทำการขุดดิน
๖
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา
๗
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
๘
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
๙
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้ง
ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ
๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง บริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ผู้ขุดดินตามข้อ ๗
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๑ การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ข้อ ๑๒ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๓ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๔ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๗ ข้อ ๑๒ และ ข้อ ๑๓ หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พบ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน
โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยตารางเมตร
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินหนึ่งพันหกร้อยตารางเมตร
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง
โดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้
ตั้งแต่วันที่ได้ใบรับแจ้งให้นำบทบัญญัติตามข้อ ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ
๙ และ ข้อ ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ ผู้ถมดินตาม ข้อ ๑๕
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติ และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๗ ผู้ถมดินตาม ข้อ ๑๕ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตาม
ข้อ ๑๖ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง หรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง
หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๑๘ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดิน หรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตาม ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๓
หรือข้อ ๑๖
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน
และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้น
หรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือส่งให้ผู้ขุดดินหรือผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้น
ได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
ข้อ ๑๙ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตาม
ข้อ ๖ หรือการถมดินตามข้อ ๑๔ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหรือกฎกระทรวง
หรือข้อบัญญัตินี้หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน
ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุอันฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้น ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่ง
สั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
ข้อ ๒๑ ในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๔
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๒ การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งออกตามความในข้อ
๑๘ วรรคสองหรือข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๒๓ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ
๑๘ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑
แห่งข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิเชียร ไชยสุริยา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำ
ปริยานุช/จัดทำ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๐
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๑/๒๔ กันยายน ๒๕๕๐ |
560235 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดดิน หรือถมดิน พ.ศ. 2548
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก
เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก
เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดิน ในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก
โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝกและนายอำเภอสันทรายออกข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก เรื่อง
กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินในการขุดดิน หรือถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๒[๑]
ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับในเขตตำบลแม่แฝก
และใช้บังคับเมื่อประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก แล้ว
๗ วัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดิน
หรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดินความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดิน
หรือเนินดินระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียงระดับดินเดิมคุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถมดิน
พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดิน หรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงดิน
ข้อ
๕ การขุดดินหรือถมดินให้กระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ ในการขุดดินหรือถมดิน
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดินและต้องติดป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร
ยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยยี่สิบเซนติเมตร ในบริเวณที่ทำการขุดดิน
หรือถมดินที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ทำการขุดดิน หรือถมดินโดยแสดงข้อความ ดังต่อไปนี้
โครงการ..............................................................................................(ขุดดิน, ถมดิน)
พื้นที่โครงการ.........................................ไร่..........................................งาน...............................ตารางวา
พื้นที่ปากบ่อดิน/เนินดิน.................................................ตารางเมตร
ความลึก ความสูง.................เมตร
การขุดดิน ถมดิน
เพื่อ..........................................................................................................................
ใบแจ้งเลขที่....................................................วันสิ้นสุดทำการขุดดิน, ถมดิน...............................
ควบคุมงาน ออกแบบและคำนวณ......................................เลขทะเบียน ก.ว.
..................................
แจ้ง.....................................................................................................................................................
เลขที่......................หมู่ที่.....................ตรอก/ซอย....................................ถนน.................................
ตำบล/แขวง.........................................อำเภอ/เขต...........................................จังหวัด...........................
รหัสไปรษณีย์......................................โทรศัพท์......................................................................................
เจ้าของที่ดิน............................................................................................................................................
ดำเนินการขุดดิน/ถมดิน.........................................................................................................................
เลขที่......................หมู่ที่.....................ตรอก/ซอย....................................ถนน.................................
ตำบล/แขวง.........................................อำเภอ/เขต...........................................จังหวัด...........................
รหัสไปรษณีย์......................................โทรศัพท์......................................................................................
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ
๗ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
แต่ไม่เกินยี่สิบเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินนั้นเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ต้องมีแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
ข้อ
๘ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร
ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินและมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ประเภทวุฒิวิศวกรเป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและ รายการคำนวณด้วย
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับบ่อน้ำใช้
ที่มีปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ในกรณีที่มีการขุดดินตามวรรคหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายแพร่พิษหรือกระจายรังสี ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
จะต้องแสดงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนต่อชั้นน้ำใต้ดินด้วย
ข้อ
๙ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นเป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของบ่อดินที่จะขุด
การขุดดินตามวรรคหนึ่งต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
ข้อ
๑๐ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดิน
หรือวัสดุอื่นใดในลักษณะอันอาจเป็นอันตราย
ข้อ
๑๑ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดิน
เจ้าของที่ดินต้องตรวจสอบสภาพของบ่อดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ
๑๒ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
หรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นขอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควร
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ข้อ
๑๓ เจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรด้วยวัสดุถาวร
โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตร
รอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ
๑๔ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
หรือมีความสูงของดินตั้งแต่สองเมตรแต่ไม่เกินห้าเมตรต้องมีแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ ของผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร
การถมดินตามวรรคหนึ่งที่มีความสูงเกินห้าเมตร
ต้องมีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ประเภทวุฒิวิศวกร เป็นผู้ลงนามในแบบแปลนและรายการคำนวณ
ข้อ
๑๕ การถมดินที่มีพื้นที่เนินดินเกินสองพันตารางเมตร
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
โดยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล แหล่งน้ำสาธารณะ
และจัดให้มีแหล่งรับน้ำที่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออกจากเนินดิน
ข้อ
๑๖ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดิน
เจ้าของที่ดินต้องตรวจสอบสภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การถมดินตามวรรคหนึ่งต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
หรือทรัพย์สินที่เป็นสาธารณประโยชน์
ข้อ
๑๗ การถมดินส่วนฐานของเนินดินต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
การถมดินตามวรรคหนึ่งเจ้าของที่ดินต้องติดตั้งป้ายเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวรติดตั้งไว้ใกล้กับเนินดินที่ถมดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ
๑๘ การถมดินต้องยื่นเอกสารเช่นเดียวกับการขุดดินโดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบัญญัติ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ธีรพล จอมเล็ก
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แฝก
โสรศ/จัดทำ
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๗๑/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ |
501923 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2549
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๙
โดยเป็นการสมควรให้มีการตราข้อบัญญัติ
ว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๗ วรรคสอง จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการและโดยความเห็นชอบของนายอำเภอชาติตระการ
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒ ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ในบังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
ข้อ
๓[๑]
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง
ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นดิน เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน
หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง
และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดินบริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ
๖ การขุดดินหรือถมดิน ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน
หรือเนินดิน ไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ
๗ ผู้ใดที่จะถมดิน ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ
๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง
และความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ
๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๓ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร หรือความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๐ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน ๔
ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน
๓ เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตดินที่ของผู้อื่นในระยะน้อยกว่า ๒ เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ
๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อน
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่พบ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร
หรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เนินดินไม่เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร หรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกิน
๒,๐๐๐ ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด นอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๔ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ
๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า การขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรือกระทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ
๑๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน
ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้น
ข้อ
๑๙ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ
๒๐ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้
ก่อนวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันมีผลบังคับ
ข้อ
๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ
๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
บุญนำ โคกน้อย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบัญญัติฉบับนี้
คือ โดยที่ปัจจุบันนี้ได้มีการขุดดินอย่างกว้างขวาง เพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือกิจการอื่น
ๆ ในทางธุรกิจด้านการก่อสร้าง แต่การขุดดินและการถมดินดังกล่าว ณ ปัจจุบันนั้น ยังไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สิน และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการได้
จึงสมควรให้มีการตราข้อบัญญัติ ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ
เพื่อให้การขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ
และข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงมีความจำเป็นที่ต้องตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉบับนี้
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
นันทนา/จัดทำ
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๑๖/๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ |
459514 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2548
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยเป็นการสมควรให้มีการตราข้อบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อาศัยอำนาจตามความพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๗ วรรคสอง
จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยงและโดยอนุมัติของนายอำเภอชาติตระการ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒
ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
ข้อ ๓[๑]
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ดิน หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
พื้นดิน หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า การกระทำแก่พื้นดิน
เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อ
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ
สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุด
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด
ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดิน หรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน บริเวณเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖ การขุดดินหรือถมดิน ให้มีความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน
หรือเนินดินไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒
ข้อ ๗ ผู้ใดที่จะถมดิน ต้องหาวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างไม่ให้รบกวนหรือก่อเหตุเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียง
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่จะขุดดินและถมดินกำหนดวิธีการให้ความคุ้มครอง
และความปลอดภัย แก่คนงานและบุคคลภายนอก
ข้อ ๙
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๐
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
ข้อ ๑๒ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบ
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่เนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือพื้นที่ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด นอกจากจะจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินและถมดินนั้นได้
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการและให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๖
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็น
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดิน หรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น
ตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
ข้อ ๑๘ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดิน ผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๑๙ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดิน ไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๐
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันมีผลบังคับ
ข้อ ๒๑ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ข้อ ๒๒
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยงเป็นผู้รักษาการณ์ตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พัฒนา
เป้รอด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเมี่ยง
วชิระ/ตรวจ
รชณัฐ/ปรับปรุง
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๗๗/ตอนพิเศษ ๓๗ง/หน้า ๔๒/๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
622544 | เทศบัญญัติเทศบาลตำบลนาทวี เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2552 | เทศบัญญัติเทศบาลตำบลนาทวี
เทศบัญญัติเทศบาลตำบลนาทวี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราเทศบัญญัติเทศบาลตำบลนาทวี
เรื่อง การขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกอบมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ เทศบาลตำบลนาทวีโดยความเห็นชอบจากสภาเทศบาลตำบลนาทวีและโดยอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาจึงตราเทศบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เทศบัญญัตินี้เรียกว่า เทศบัญญัติเทศบาลตำบลนาทวี
เรื่อง การขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒ เทศบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่ที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ สำนักงานเทศบาลตำบลนาทวีเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับเทศบัญญัตินี้
ให้ใช้เทศบัญญัตินี้แทน
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในเทศบัญญัตินี้
เทศบัญญัติ หมายความว่า เทศบัญญัติเทศบาลตำบลนาทวี
เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดินที่เกิดจากการขุดดิน
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถม
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
แผนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินระยะห่างของบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
รายการคำนวณ หมายความว่า
รายการแสดงวิธีการคำนวณเกี่ยวกับความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินและถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงดิน
ที่สาธารณะ หมายความว่า
ที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไป หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกเทศมนตรีตำบลนาทวี
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามเทศบัญญัตินี้
ข้อ ๕ เทศบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
และผู้ได้รับอนุญาตให้ขุดดินหรือถมดินตามกฎหมายอื่น
เมื่อได้รับอนุญาตแล้วต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งยกเว้นผ่อนผัน
ระงับ หรือแจ้งกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามเทศบัญญัตินี้
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑)
การขุดดิน ถมดินของกระทรวง ทบวง กรม
และราชการส่วนท้องถิ่นทั้งใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
(๒)
การขุดดิน
ถมดินขององค์การของรัฐที่จัดตั้งตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๓)
การขุดดิน ถมดิน ภายในบริเวณศาสนสถานเพื่อศาสนประโยชน์
(๔)
การขุดดิน ถมดิน
ขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง
ความปลอดภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการผังเมือง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามเทศบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกระเบียบกำหนด
(๑)
ระยะห่างระหว่างบริเวณที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน กับเขตที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่นหรือระหว่างบริเวณที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
กับถนนตรอก ซอย ทางเท้าหรือที่สาธารณะ
(๒)
ค่าพิกัดความปลอดภัยในการขุดดิน ถมดิน
(๓)
บริเวณห้ามขุดดิน ถมดิน เพื่อวัตถุประสงค์ หรือเพื่อกิจการบางประเภท
(๔)
การขนหรือบรรทุก หรือเคลื่อนย้ายดิน อันเนื่องจากการขุดดินหรือถมดิน
ข้อ ๘ ในการขุดดินหรือถมดิน
ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
และติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตราย ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่ขุดดินหรือถมดิน
โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้ โครงการขุดดินหรือถมดิน เพื่อ...................................
ในพื้นที่ของโฉนด/นส.๓ก/นส ๓/สค.๑ เลขที่
........................เป็นบริเวณกว้าง.............................เมตร
ยาว............................เมตร ลึก/สูง................................เมตร
ใบรับแจ้งเลขที่........................................
วันเริ่มต้น................................วันสิ้นสุด.....................................ชื่อผู้ควบคุมงาน....................................
เลขทะเบียน ก.ว..........................ชื่อผู้ดำเนินการขุดดินหรือถมดิน.........................................................
บ้านเลขที่............................ตรอก/ซอย.......................................ถนน..................................หมู่ที่..........
ตำบล/แขวง........................................อำเภอ/เขต................................จังหวัด.......................................
รหัสไปรษณีย์.............................โทรศัพท์.................................
หมวด ๒
การขุดดิน
ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดขุดดินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๑)
การขุดดินที่มีความลึกตั้งแต่ ๓ เมตรขึ้นไป
(๒)
การขุดดินที่มีพื้นที่ปากบ่อเกิน ๑,๖๐๐ ตารางเมตร
(๓)
การขุดดินเพิ่มเติมจากที่ขุดไว้เดิมเข้าตามเกณฑ์ (๑) หรือ (๒)
การขุดดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด และจะต้องจัดทำแผนผังบริเวณ
รายการ และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๐ การขุดดินจะกระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อเกินหนึ่งพันหกร้อยตารางเมตร
ปากบ่อจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
เพื่อป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยการรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ
วัสดุกระจายสารพิษหรือรังสี ให้ผู้ประสงค์กระทำการขุดดิน
นำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มายื่นประกอบการแจ้งด้วย
ข้อ ๑๓ ในระหว่างการขุดดินต้องระบายน้ำบนพื้นดิน
บริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขัง
ข้อ ๑๔ การขุดดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ
ผู้ขุดดินต้องจัดให้มีสิ่งกั้นตก หรือราวกั้นขอบบริเวณนั้น รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ
หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนมากพอสมควร
ในระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ในการขุดดินตามวรรคหนึ่ง
ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่าง ต้องทาสีสิ่งกั้นตก
หรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๑๕ ผู้ขุดดินจะต้องขุดดินเต็มพื้นที่ที่แจ้ง
และเมื่อสิ้นสุดการขุดดินจะต้องปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแปลน
หมวด ๓
การถมดิน
ข้อ ๑๖ ห้ามผู้ใดถมดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๑)
การถมดินสูงกว่าระดับถนนสาธารณะที่ได้มาตรฐานการก่อสร้างของกรมทางหลวงชนบทหรือกรมทางหลวง
หรือที่ดินข้างเคียงเกิน ๓๐ เซนติเมตร
(๒)
การถมดินที่มีพื้นที่มากกว่า ๑,๖๐๐ ตารางเมตร
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินตามข้อ ๑๖
ต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยยื่นเอกสารข้อมูล ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณ รายการ
และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าประเภทสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๒)
วิธีการถมดิน และการระบายน้ำ
(๓)
ระยะเวลาการถมดิน
(๔)
ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๕)
ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน
(๖)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
ข้อ ๑๘ การถมดินจะกระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๙ ในการถมดินระยะห่างจากขอบล่างของความลาดเนินดินถึงเขตที่ดินของบุคคลอื่นให้เป็นตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม
แต่ต้องให้มีระยะไม่น้อยกว่าความสูงของดินถม
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ผู้ถมดินจะทำการถมดินชิดที่ดินของบุคคลอื่น
ที่มีระยะห่างจากขอบล่างของความลาดเนินดินถึงเขตที่ดินน้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร
ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การถมดินตามวรรคหนึ่ง
ต้องทำกำแพงกั้นดินหรือฐานรากเสริม เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
ข้อ ๒๑ การถมดินในบริเวณที่ติดต่อกับที่สาธารณะ
ผู้ถมดินจะต้องจัดให้มีป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตราย
ขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่จะถมดินด้านที่ติดกับทางสาธารณะไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายตลอดเวลา
ข้อ ๒๒ ผู้ใดทำการถมดินที่มีลักษณะไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๑๖ (๑) หรือ (๒)
จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำที่เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
หรือบุคคลอื่น
ข้อ ๒๓ ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดินหรือผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดิน
หรือดินที่ถมให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
การขุดดินหรือถมดินตามวรรคหนึ่งต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
หรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินอันเป็นสาธารณประโยชน์
หมวด ๔
การขออนุญาตและการอนุญาต
ข้อ ๒๔ ผู้ใดจะทำการขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๙
และข้อ ๑๖ ให้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๒๕ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๒๔
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามวัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ข้อ ๒๖ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๒๗ การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องระบุผู้ควบคุมงาน พร้อมกับหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานไว้ในคำขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขออนุญาตจะระบุตนเป็นผู้ควบคุมงานเองก็ได้
กรณีลักษณะงานเข้าเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ผู้ควบคุมงานจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
ข้อ ๒๘ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกผู้ควบคุมงานที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาตหรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน
ให้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ
ในกรณีที่มีการบอกเลิกตามวรรคหนึ่ง
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระงับการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะมีผู้ควบคุมงานคนใหม่
และได้มีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีการขุดดิน
ถมดินผิดไปจากแผนผังบริเวณ และรายการที่ได้รับอนุญาต
ตลอดจนวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต
ข้อ ๓๐ ใบอนุญาตที่ออกตามเทศบัญญัตินี้
ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว
ให้ทำการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อ ๙ ข้อ ๑๖ หรือข้อ
๒๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน
ผู้กระทำการแทน หรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ให้ระงับการกระทำนั้นได้
ข้อ ๓๒ ผู้ขุดดินหรือถมดินรายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเทศบัญญัตินี้หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง
ข้อ ๓๓ การสั่งหรือการแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามเทศบัญญัตินี้ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน หรือผู้ควบคุมงาน ณ
ภูมิลำเนาของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
หรือจะทำเป็นบันทึกและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับทราบก็ได้
ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ไม่อาจส่งหนังสือหรือบันทึกให้ลงลายมือชื่อรับทราบตามวรรคหนึ่งได้ให้จัดการปิดคำสั่งหรือหนังสือแจ้ง
แล้วแต่กรณี ไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดินนั้น
และให้ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของที่ดิน
ผู้ที่ครอบครองที่ดินหรือผู้ควบคุมงานได้ทราบคำสั่งหรือหนังสือแจ้งนั้นแล้วตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ปิดคำสั่งหรือหนังสือแจ้งดังกล่าว
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๔ ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดินโดยฝ่าฝืนเทศบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๓๕ ให้นายกเทศมนตรีตำบลนาทวีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์
นายกเทศมนตรีตำบลนาทวี
ปริยานุช/จัดทำ
๑๙ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๙ มกราคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐ ง/หน้า ๕๐๓/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓ |
832113 | พระราชบัญญัติการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พ.ศ.
๒๕๖๒
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปีที่
๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ และมาตรา
๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้มีกฎหมายควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่มีประสิทธิภาพและเกิดความมั่นคงในราชอาณาจักร
ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๖
มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติใดแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่กิจกรรมควบคุม หรือแก่สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือหน่วยงานของรัฐ
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการ ทั้งนี้ การยกเว้นดังกล่าวจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
หมายความว่า อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี หรืออาวุธอื่นใดซึ่งมีอานุภาพที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์
สัตว์ หรือพืชจำนวนมาก หรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับอาวุธดังกล่าว
รวมทั้งระบบการส่งอาวุธ และส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ของอาวุธนั้นด้วย
สินค้า หมายความว่า
สิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ไม่ว่าจะมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือไม่
ตลอดจนภาชนะบรรจุสิ่งนั้นและหีบห่อของภาชนะบรรจุสิ่งนั้น และให้หมายความรวมถึงเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ด้วย
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง
หมายความว่า สินค้าที่นำไปใช้ได้ทั้งในทางพลเรือนและทางทหาร โดยสามารถนำไปใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิต ใช้ ดัดแปลง
จัดเก็บ หรือลำเลียงอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
หรือนำไปกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
หมายความว่า อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อาวุธยุทธภัณฑ์
และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
กิจกรรมควบคุม หมายความว่า
การส่งออก การส่งกลับ การถ่ายลำ การผ่านแดน การเป็นนายหน้า
และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการใด ๆ เพื่อแพร่ขยายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
และในกรณีที่จะให้หมายความรวมถึงการนำเข้าด้วยเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การเป็นนายหน้า
หมายความว่า การเจรจา การจัดการ หรือการตกลงในการทำให้เกิดธุรกรรมการซื้อ
การขาย หรือการจัดหาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร
จนเป็นผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญระดับปฏิบัติการหรือเทียบเท่าซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนด ลด
หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ กับออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง
จะกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันตามประเภทหรือรายละเอียดทางเทคนิคของสินค้าก็ได้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด
๑
คณะกรรมการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
มาตรา ๖
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า
คณะกรรมการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นรองประธานกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร
และเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการกรมการค้าต่างประเทศจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ
คณะกรรมการอาจมีมติให้เชิญผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณาให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการด้วยก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น
มาตรา ๗
ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอนโยบายและแผนงานในการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
(๒) เสนอแนะมาตรการและแนวทางต่อรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการตามมาตรา ๑๒
(๓) ตรวจสอบและให้คำแนะนำการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
และปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ
มาตรการหรือแนวทางตาม
(๒) และการตรวจสอบตาม (๓) ต้องมีผู้รับผิดชอบชัดเจนและไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตาม
(๔) ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้กระทำได้ตามที่จำเป็นและให้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานให้ชัดเจนด้วย
มาตรา ๘
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดีอาจขอให้คณะอนุกรรมการให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการประเมินความเสี่ยงทางเทคนิคของสินค้า
และให้อธิบดีรายงานให้คณะกรรมการทราบต่อไป
มาตรา ๙
การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๐
ให้นำความในมาตรา
๙ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๑
ให้กรมการค้าต่างประเทศรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
รวมทั้งการประสานงานและการร่วมมือกับสถานศึกษา สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ
องค์การระหว่างประเทศ หรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
หมวด
๒
การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
มาตรา ๑๒
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจประกาศกำหนดมาตรการ
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดสินค้าที่ต้องขออนุญาตหรือต้องมีการรับรองว่าสินค้านั้นไม่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(๒) กำหนดกิจกรรมควบคุมสำหรับสินค้าตาม
(๑)
(๓) กำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ซึ่งรวมถึงมาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้สุดท้ายหรือผู้ใช้สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
เมื่อรัฐมนตรีประกาศกำหนดมาตรการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการค้าต่างประเทศด้วย
มาตรา ๑๓
เมื่อได้มีประกาศกำหนดกิจกรรมควบคุมสำหรับสินค้าที่ต้องขออนุญาตแล้ว
ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำกิจกรรมควบคุมนั้น
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
การขออนุญาต ประเภทของใบอนุญาต
การออกใบอนุญาต แบบใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งจะกำหนดให้มีการตรวจสอบระบบงานควบคุมสินค้าด้วยก็ได้
แต่ต้องกำหนดระยะเวลาดำเนินการในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนด้วย
มาตรา ๑๔
ผู้ขออนุญาตตามมาตรา ๑๓
ต้องเป็นบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการค้าต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนดและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือระงับการรับรองตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เคยถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือระงับการรับรองตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดครบถ้วนแล้ว
(๓) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตมาแล้วเกินหนึ่งปีก่อนวันยื่นคำขออนุญาต
(๔) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต
ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๑๕ ผู้ใดกระทำกิจกรรมควบคุมโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ให้อธิบดีมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ในกรณีที่ผู้กระทำกิจกรรมควบคุมมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง
ให้อธิบดีมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น
มาตรา ๑๖
เมื่อได้มีประกาศกำหนดกิจกรรมควบคุมสำหรับสินค้าที่ต้องมีการรับรองแล้ว
ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำกิจกรรมควบคุมนั้น เว้นแต่จะได้มีการรับรองสินค้านั้น
การรับรองสินค้า แบบการรับรอง
และอายุการรับรอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ให้นำความในมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับแก่ผู้รับรองด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๗
ผู้รับรองใดมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา
๑๖ วรรคสอง ให้อธิบดีมีคำสั่งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หากผู้รับรองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวของอธิบดี
ให้ถือว่าไม่เคยมีการรับรองนั้น
ในกรณีที่ผู้รับรองมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา
๑๖ วรรคสอง ให้อธิบดีมีคำสั่งระงับการรับรองจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๑๘
เมื่อได้มีประกาศกำหนดมาตรการตามมาตรา
๑๒ (๓) แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำกิจกรรมควบคุม
เว้นแต่จะได้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดนั้น
การกำหนดมาตรการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำกิจกรรมควบคุมต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา ๑๙ ผู้ใดกระทำกิจกรรมควบคุมโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง ให้อธิบดีมีคำสั่งระงับการกระทำกิจกรรมควบคุมนั้นจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๐
ให้นำความในกฎหมายว่าด้วยศุลกากรในส่วนที่ว่าด้วยการนำของเข้าและการส่งของออก
การผ่านแดน การถ่ายลำ และของตกค้าง พนักงานศุลกากร และบทกำหนดโทษมาใช้บังคับแก่กิจกรรมควบคุมซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงด้วยโดยอนุโลม
หมวด
๓
การอุทธรณ์
มาตรา ๒๑
ผู้กระทำกิจกรรมควบคุมผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามหมวด
๒ มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งนั้น เว้นแต่รัฐมนตรีจะสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อน
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๒
ให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลานั้น ในการนี้
ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ถ้ายังวินิจฉัยไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่ารัฐมนตรีเห็นด้วยกับผู้อุทธรณ์
หมวด
๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๓
ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานประกอบการ หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำกิจกรรมควบคุมในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
หรือเข้าตรวจค้นหรือตรวจสอบยานพาหนะที่บรรทุกหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบรรทุกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) กักยานพาหนะที่บรรทุกหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบรรทุกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือเรียกให้ยานพาหนะใด ๆ
ซึ่งยังอยู่ในราชอาณาจักรให้กลับเข้ามาจอดหรือเทียบท่า ณ
สถานที่หรือท่าที่กำหนดเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) มีหนังสือเรียกให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (๑) และ
(๓) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้น แสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่และเอกสารที่ให้อำนาจในการตรวจค้นให้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น
เว้นแต่ไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น การค้นให้กระทำต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคน
โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาเอกสารนั้นให้แก่ผู้ครอบครองในทันทีที่กระทำได้
เมื่อได้เข้าไปและทำการค้นแล้ว
หากยังดำเนินการไม่เสร็จจะกระทำต่อเนื่องไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งจะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้
โดยจะต้องมีพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไปเป็นหัวหน้าในการดำเนินการ
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๔
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา
๒๓ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๒๕
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด
๕
ความรับผิดทางแพ่ง
มาตรา ๒๗
ผู้ใดกระทำกิจกรรมควบคุมซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ใช้สุดท้ายจะนำไปดำเนินการอย่างผิดกฎหมายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิต
หรือร่างกาย ผู้กระทำกิจกรรมควบคุมต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๒๘
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่การกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อที่จะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไปใช้ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น
หรือนำไปใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิต ใช้ ดัดแปลง จัดเก็บ หรือลำเลียงอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
หรือนำไปกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามวรรคสอง
ให้ริบเสียทั้งสิ้น
มาตรา ๒๙
ผู้ใดให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้มีการออกใบอนุญาตกระทำกิจกรรมควบคุมตามมาตรา
๑๓ วรรคหนึ่ง หรือเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดตามมาตรา
๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๐
ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา
๒๘ หรือมาตรา ๒๙ นอกราชอาณาจักร ผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ถ้าปรากฏว่า
(๑) ผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนใดคนหนึ่งเป็นคนไทย
หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(๒) ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว
และได้กระทำโดยประสงค์ให้ความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักรหรือรัฐบาลไทยเป็นผู้เสียหาย
(๓) ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว
และการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐที่การกระทำเกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของรัฐนั้น
หากผู้นั้นได้ปรากฏตัวในราชอาณาจักรและมิได้มีการส่งตัวผู้นั้นออกไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๑๐
แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๓๑
ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ
หรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือเรียกตามมาตรา
๒๓ (๔) หรือขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๒
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ
หรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑) คำขอรับใบอนุญาต
ฉบับละ
๒,๐๐๐
บาท
(๒)
คำขอต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ
๒,๐๐๐
บาท
(๓)
คำขอใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ
๑,๐๐๐
บาท
(๔)
คำขอรับการตรวจสอบระบบงานควบคุมสินค้า ฉบับละ
๒,๐๐๐
บาท
(๕)
คำขอต่ออายุใบรับรองระบบงานควบคุมสินค้า ฉบับละ ๒,๐๐๐
บาท
(๖) ใบอนุญาต ฉบับละ
๑๐,๐๐๐
บาท
(๗)
การต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ
๑๐,๐๐๐
บาท
(๘)
ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ
๑,๐๐๐
บาท
(๙)
การตรวจสอบระบบงานควบคุมสินค้า ครั้งละ
๑๐๐,๐๐๐
บาท
(๑๐) ใบรับรองระบบงานควบคุมสินค้า
ฉบับละ
๕,๐๐๐
บาท
(๑๑)
การต่ออายุใบรับรองระบงานควบคุมสินค้า ฉบับละ
๕,๐๐๐
บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่
๑๕๔๐ (๒๐๐๔) เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และข้อมติฯ อื่นที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้ประเทศต่าง
ๆ ต้องมีมาตรการภายในประเทศในการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ หรือพืชจำนวนมากหรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
ตลอดจนสินค้าทั่วไปที่สามารถนำไปประกอบ พัฒนา เสริมสร้าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
โดยมีระบบการควบคุมการส่งออก การส่งกลับ
การนำเข้า การถ่ายลำ การผ่านแดน การเป็นนายหน้า และการดำเนินการใด ๆ เพื่อแพร่ขยายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
และการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้สุดท้ายหรือผู้ใช้สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติมีหน้าที่ตามที่กำหนดในข้อ ๒๕
ของกฎบัตรสหประชาชาติที่จะต้องปฏิบัติตาม
แต่กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถครอบคลุมการปฏิบัติตามข้อมติฯ ได้ครบถ้วน
โดยเฉพาะการควบคุมการเป็นนายหน้าและสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้ระบบคณะกรรมการในการกำหนดนโยบายและแนวทางการควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ใช้ระบบอนุญาตหรือมาตรการอื่นใดสำหรับการกระทำกิจกรรมควบคุมและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่กำหนดเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยสาธารณะ
และกำหนดความรับผิดทางแพ่ง ตลอดจนโทษทางปกครองและทางอาญาที่เหมาะสมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วิวรรธน์/ธนบดี/จัดทำ
๑
พฤษภาคม ๒๕๖๒
พิวัฒน์/วิชพงษ์/ตรวจ
๑๓
พฤษภาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๖ ก/หน้า ๘๕/๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ |
719220 | พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
คนไร้ที่พึ่ง หมายความว่า
บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ
และให้รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หมายความว่า
การจัดสวัสดิการสังคม การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ การรักษาพยาบาล
การส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีงานทำและมีที่พักอาศัย และการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง
องค์กรสาธารณประโยชน์ หมายความว่า
องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
องค์กรสวัสดิการชุมชน หมายความว่า
องค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่สมาชิกในชุมชน
หรือปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมของเครือข่ายองค์กรสวัสดิการชุมชน
และได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า
กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินสิบเอ็ดคน เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการแต่งตั้งข้าราชการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาสังคม หรือการจัดสวัสดิการสังคม
ซึ่งไม่เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
โดยในจำนวนนี้ต้องแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์จำนวนสองคนและผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนจำนวนสองคน
มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๔) รัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้
และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๙ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ
(๒) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีให้มีหรือปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือมติคณะรัฐมนตรีที่สนับสนุนนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๓)
ประกาศกำหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
เพื่อให้การคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๕) ประกาศกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๖) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์
องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
กลุ่มคนไร้ที่พึ่งหรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๗) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนตามมาตรา ๒๗
(๘) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์
องค์กรสวัสดิการชุมชน และองค์กรภาคเอกชนอื่น
เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๙) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๑๐)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
นโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตาม (๑)
ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว รวมทั้งประกาศตาม (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ในการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา
ให้กรรมการผู้นั้นแจ้งให้ที่ประชุมทราบและให้ที่ประชุมพิจารณาว่ากรรมการผู้นั้นสมควรจะอยู่ในที่ประชุมและมีมติในการประชุมเรื่องนั้นได้หรือไม่
ทั้งนี้
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ให้มีการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละสามครั้ง
มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๐
มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒ ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการโดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม และกิจการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัย
และพัฒนางานเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์
องค์กรสวัสดิการชุมชน และองค์กรภาคเอกชนอื่น
เพื่อดำเนินการจัดทำนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเสนอต่อคณะกรรมการ
และดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๓)
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดของนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๔) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หมวด ๒
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เห็นสมควรจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ใด หรือเห็นสมควรให้สถานสงเคราะห์ใดที่ดำเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกาศการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกาศการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้กำหนดเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครองไว้ด้วย
ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
มาตรา ๑๔ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำรวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
(๒) สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา
๒๐ หรือมาตรา ๒๒ และให้การคุ้มครอง รวมทั้งรับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้
(๓) จัดให้มีที่พักอาศัย อาหาร
และเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ จัดให้มีการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ฝึกอบรมและฝึกอาชีพ รวมทั้งหาอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง
(๔)
ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งประเภทนั้น
(๕) ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในด้านการดำรงชีวิต
ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
(๖) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๗) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด
การปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงการส่งเสริมให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดำรงชีวิตอิสระในชุมชนและการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของคนไร้ที่พึ่งด้วย
มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา หรือกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง
จัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ในกรณีที่การดำเนินการขององค์กรตามวรรคหนึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา
๑๔ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อาจพิจารณาให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่น
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๖ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจจัดให้มีศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเพื่อดำเนินการให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและทำหน้าที่เป็นเครือข่ายให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่หรือสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอื่น
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) สำรวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง
(๒)
สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา
๒๐ หรือมาตรา ๒๒ และให้การคุ้มครองในเบื้องต้นแก่คนไร้ที่พึ่ง
รวมทั้งรับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้
(๓) ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๔)
ให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมอบหมายหรือตามที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเห็นสมควร
ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของหน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเข้าถึงการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ
องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล
จัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อาจพิจารณาให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่น
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
ศูนย์พัฒนาสังคมประจำจังหวัด
หรือส่วนราชการอื่นที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนดเป็นศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หมวด ๓
การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
มาตรา ๑๙ คนไร้ที่พึ่งมีสิทธิขอรับการคุ้มครองจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งหรือพบเห็นคนไร้ที่พึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือ
ตลอดจนจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
มาตรา ๒๑ ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งโดยพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพและปัญหาของคนไร้ที่พึ่ง
ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๒ ในกรณีที่บุคคลใดถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่สาธารณะตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น
หากเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะเป็นคนไร้ที่พึ่งและสมควรได้รับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้เจ้าหน้าที่ส่งตัวคนไร้ที่พึ่งนั้นไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ทั้งนี้
โดยความยินยอมของคนไร้ที่พึ่ง เว้นแต่คนไร้ที่พึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้
และให้เจ้าหน้าที่ระงับการดำเนินคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งตามวรรคสอง
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นพิจารณาดำเนินคดีต่อไป
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นยุติการดำเนินคดี
และให้ถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าคนไร้ที่พึ่งผู้ใดเป็นบุคคลซึ่งมีกฎหมายเฉพาะให้การคุ้มครองอยู่แล้ว
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นในเบื้องต้น
แล้วจัดส่งคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ โดยความยินยอมของคนไร้ที่พึ่ง
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของคนไร้ที่พึ่ง
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจะดำเนินการรับตัวคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไว้ในความดูแลต่อไปก็ได้
มาตรา ๒๔ คนไร้ที่พึ่งซึ่งจะเข้าพักอาศัยในสถานที่ซึ่งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้ต้องจัดทำข้อตกลงเข้าร่วมการอบรมเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
การประกอบอาชีพ และการทำงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด
ในกรณีที่เห็นสมควร
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจจัดให้คนไร้ที่พึ่งจัดทำข้อตกลงในการขอรับการคุ้มครองอื่นด้วยก็ได้
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งผู้ใดปฏิเสธการจัดทำข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิเสธการจัดทำข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกับคนไร้ที่พึ่งผู้นั้น ทั้งนี้
หากคนไร้ที่พึ่งยังคงปฏิเสธการจัดทำข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลงดังกล่าว สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจงดให้การคุ้มครองบางประการแก่คนไร้ที่พึ่งผู้นั้นได้
มาตรา ๒๕ ในระหว่างการเข้าร่วมการฝึกอาชีพและการเริ่มต้นการประกอบอาชีพคนไร้ที่พึ่งอาจได้รับเงินช่วยเหลือในการยังชีพตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๖ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือสถานที่ที่รับคนไร้ที่พึ่งไว้ทำงานต้องปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของคนไร้ที่พึ่ง
เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๒๗ ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
อาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๘ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่กระทบกระเทือนการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ดำเนินการตามกฎหมายอื่น
หรือตามที่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน หรือองค์กรภาคเอกชนอื่น
ดำเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งโดยวิธีการอื่น
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ให้สถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ทำหน้าที่ให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชั่วคราวเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คนไร้ที่พึ่งเป็นบุคคลที่ประสบปัญหาในสังคมขาดความมั่นคงในการดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
ไม่มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ไม่สามารถหารายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ซึ่งบุคคลเหล่านี้อยู่ในฐานะที่ไม่อาจช่วยเหลือตนเองได้และไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก มีมาตรฐานการดำรงชีพที่ต่ำกว่ามาตรฐานความเป็นอยู่ของบุคคลทั่วไป
สมควรต้องคุ้มครองให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และมีสภาพร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
โดยกำหนดวิธีการคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนและเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มกราคม ๒๕๕๘
ฐิติพงษ์/ตรวจ
๘ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ |
756581 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐองค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
| ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ
องค์กรสาธารณประโยชน์
องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง
หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
โดยที่สมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์
องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
กลุ่มคนไร้ที่พึ่งหรือกลุ่มบุคคล
เพื่อให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นไปอย่างทั่วถึงเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คนไร้ที่พึ่งสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙ (๖) ประกอบมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์
องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง
หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
องค์กร หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ
องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล
องค์กรภาคเอกชนอื่น หมายความว่า
องค์กรที่มิใช่หน่วยงานของรัฐและเป็นองค์กรที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกิจกรรมเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
สถาบันศาสนา หมายความว่า องค์กรทางศาสนาหรือกลุ่มศาสนิกชนแห่งศาสนาหนึ่งหรือหลายศาสนาที่รวมตัวขึ้นโดยมีกิจกรรมหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หมายความว่า
กลุ่มของคนไร้ที่พึ่งที่รวมตัวเพื่อทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิขั้นพื้นฐาน
กลุ่มบุคคล หมายความว่า
กลุ่มของบุคคลที่รวมตัวจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กองทุน หมายความว่า กองทุนในการกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
หรือกองทุนที่เรียกชื่ออย่างอื่นในการกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เงินอุดหนุน หมายความว่า
เงินอุดหนุนที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับการจัดสรรตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อ
๔ ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สนับสนุนให้องค์กรต่าง
ๆ จัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
โดยให้หน่วยงานมีหน้าที่ให้คำปรึกษา
แนะนำช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่องค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาองค์ความรู้
เป็นต้น ตลอดจนประสานหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๕ องค์กรที่จัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด
อาจได้รับการสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่น ทั้งนี้
วงเงินและรายการที่ให้การสนับสนุนให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการประกาศกำหนด
ข้อ ๖ การขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
เพื่อนำเสนอกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อ
๗ ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพิจารณาการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุน
แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้องค์กรทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ
ข้อ
๘ องค์กรที่ได้รับเงินอุดหนุนต้องรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินที่ได้รับตามแบบรายงานที่อธิบดีกำหนด
หากองค์กรมิได้ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงิน
ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายระงับการจ่ายเงินไว้ก่อน
แล้วตรวจสอบเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ
๙ องค์กรจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรวจเยี่ยมการดำเนินการตามที่ได้รับเงินอุดหนุน
หรือให้เข้าตรวจเอกสารเกี่ยวกับบัญชีทะเบียนและหลักฐานอื่น ๆ
ตลอดจนสอบถามหรือสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
ข้อ
๑๐ องค์กรที่จัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
อาจได้รับการสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่น ทั้งนี้
วงเงินและรายการที่ให้การสนับสนุนให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการประกาศกำหนด
ให้นำความในข้อ
๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ มาใช้บังคับแก่การขอรับการสนับสนุน การแจ้งผลการพิจารณา
การรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงิน และการตรวจเยี่ยมโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ องค์กรอาจขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อดำเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กองทุนนั้นกำหนด
องค์กรอาจยื่นขอรับการสนับสนุนโดยเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
เพื่อนำเสนอกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพิจารณาคัดกรองและพัฒนาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนแล้วส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบกองทุนนั้นต่อไป
ข้อ
๑๒ ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรักษาการตามประกาศนี้และมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติและแบบเอกสารเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๘/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
756579 | ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2559
| ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เรื่อง
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
เพื่อให้การดำเนินงานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จึงประกาศหลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กรม หมายความว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข้อ
๔ บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้
(๑)
เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๒)
บุคคลอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
(๒.๑)
คุณสมบัติ
(ก)
มีสัญชาติไทย
(ข)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(ค)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
และเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีหรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐ
หรือองค์กรเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๒.๒)
ลักษณะต้องห้าม
(ก)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(ข)
เป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือบุคคลล้มละลาย
(ค) ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ
หรือองค์กรเอกชน
(ง)
เคยได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือกระทำโดยประมาท
(จ)
เป็นบุคคลที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต
ข้อ
๕ ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องผ่านการอบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามหลักสูตรที่กรมกำหนด
รัฐมนตรีอาจกำหนดยกเว้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๔ (๑)
ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งไม่ต้องรับการอบรมความรู้ตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ
๖ การยื่นขอเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของภาคเอกชน
ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอต่ออธิบดี
สำหรับจังหวัดอื่นให้ยื่นขอต่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีหรือพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด แล้วแต่กรณี
เมื่อผู้รับคำพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ
๔ ให้ผู้รับคำขอเสนอให้รัฐมนตรีแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗
แต่ถ้าไม่มีการแต่งตั้งผู้ยื่นคำขอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้ผู้รับคำขอแจ้งเหตุผลที่ไม่แต่งตั้งนั้นให้ผู้ยื่นคำขอรับทราบ
ข้อ
๗ ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
มีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมีอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ออกบัตร
ข้อ
๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พ้นจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓)
ลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔
(๕)
รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องต่อหน้าที่
หรือหย่อนความสามารถ
พนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการพลเรือน ให้พ้นจากตำแหน่งตาม (๑) (๓) (๔) หรือ (๕)
แล้วแต่กรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๖/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
745519 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
| ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติ
ที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ (๗) ประกอบกับมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
คู่กรณี หมายความว่า
คนไร้ที่พึ่งซึ่งเป็นผู้ร้องเรียน และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ถูกร้องเรียน
หรือเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ถูกร้องเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๔ เรื่องที่อาจนำมาร้องเรียนได้
ต้องเป็นเรื่องที่คนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ทั้งนี้
หากผู้มีสิทธิร้องเรียน
มิได้ร้องเรียนภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันเกิดเหตุที่อยู่ในวิสัยอันควรร้องเรียนได้
ให้ถือว่าสิทธิในการร้องเรียนเป็นอันระงับไป
ข้อ
๕ ผู้มีสิทธิร้องเรียน ได้แก่
(๑)
คนไร้ที่พึ่งที่ไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๒)
บุคคลที่พบกรณีตาม (๑)
สำหรับคนไร้ที่พึ่งที่อยู่ในสภาวะที่ไม่อาจร้องเรียนด้วยตนเองได้
ข้อ
๖ ผู้มีสิทธิร้องเรียนสามารถร้องเรียนเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการวินิจฉัยและหรือมีคำสั่งโดย
(๑)
ในกรุงเทพมหานครให้ร้องเรียนต่อสำนักงานหรือสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒)
ในจังหวัดอื่นให้ร้องเรียนต่อสำนักงานหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่รับผิดชอบเขตพื้นที่จังหวัดที่ให้การคุ้มครอง
การร้องเรียนด้วยวาจาหรือด้วยวิธีการอื่นใด
หน่วยงานซึ่งรับเรื่องร้องเรียนอาจจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการร้องเรียนเพื่อให้ทราบเรื่องที่ไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงสิทธิและประโยชน์ในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นสำคัญ
ข้อ
๗ ให้หน่วยงานตามข้อ ๖
ซึ่งได้รับเรื่องร้องเรียนมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรวบรวมข้อเท็จจริง
พร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานส่งเรื่องให้สำนักงาน
เพื่อเสนอคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
ในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
อาจขอขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
ข้อ
๘ เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนตามข้อ
๗ แล้ว ให้สำนักงานดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
รวบรวมข้อเท็จจริงพร้อมสรุปความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการภายในระยะเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับเรื่อง
เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นอื่น
(๒) เมื่อคณะกรรมการได้ลงมติในการวินิจฉัยและหรือออกคำสั่งเรื่องนั้นแล้ว
ให้จัดทำร่างคำวินิจฉัยและหรือคำสั่งเสนอต่อคณะกรรมการ
และเสนอประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งลงนามในคำวินิจฉัยและหรือคำสั่ง
(๓)
แจ้งคำวินิจฉัยและหรือคำสั่งให้คู่กรณีทราบภายในสิบห้าวันนับจากการวินิจฉัยเสร็จสิ้น
(๔)
ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ในการรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาตาม
(๑) จะต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้แสดงพยานหลักฐานของฝ่ายตนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าคู่กรณีมิได้ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าคู่กรณีที่ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานนั้น
ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
หรือยอมรับข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ ให้คณะกรรมการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสำนักงาน
ทั้งนี้
ก่อนที่คณะกรรมการจะมีคำวินิจฉัยและหรือคำสั่งอาจเปิดโอกาสให้คู่กรณีชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามควรแก่กรณี
คณะกรรมการมีอำนาจอนุญาตให้คู่กรณีชี้แจงด้วยวาจาต่อหน้าคณะกรรมการ
หรือจะดำเนินการไต่สวนวิธีการอื่นใดได้
ข้อ
๑๐ ให้คณะกรรมการพิจารณาพยานหลักฐานที่เห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในการนี้ให้รวมถึงการดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(๒)
รับฟังพยานหลักฐานคำชี้แจงหรือความเห็นของคู่กรณี หรือของพยานบุคคล
หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง
เว้นแต่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็น ฟุ่มเฟือยหรือเพื่อประวิงเวลา
(๓)
ขอข้อเท็จจริง หรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(๔)
ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(๕)
ออกไปตรวจสถานที่
ข้อ
๑๑ ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรักษาการตามประกาศนี้
และมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติและแบบเอกสารเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๐/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
745517 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง
มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙ (๕) ประกอบกับมาตรา ๑๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.
๒๕๕๗ คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
มาตรฐาน หมายความว่า
ลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์ และจัดบริการที่เหมาะสมเพื่อให้การคุ้มครอง
ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนคนไร้ที่พึ่งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และพึ่งพาตนเองได้ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๔ ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรักษาการตามประกาศนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของคนไร้ที่พึ่ง
การให้คนไร้ที่พึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพัฒนาศักยภาพตนเอง และพึ่งตนเองได้
โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์การรักษาความลับของคนไร้ที่พึ่ง
สิทธิที่คนไร้ที่พึ่งมีสิทธิได้รับ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๖ การจัดบริการแก่คนไร้ที่พึ่งต้องคำนึงถึงลักษณะหรือรูปแบบ
และวิธีการในการดำเนินการที่เหมาะสม
ตามสภาพปัญหาความต้องการ รวมทั้งการส่งเสริม การพัฒนา การคุ้มครอง
การสงเคราะห์และการบำบัดฟื้นฟู
หมวด ๒
มาตรฐานด้านการให้บริการ
ข้อ
๗ จัดให้มีกระบวนการให้บริการที่ชัดเจนเป็นขั้นตอน
ตามหลักการและวิธีการทางสังคมสงเคราะห์
ข้อ
๘ มีการพิจารณาเพื่อจัดคนไร้ที่พึ่งเข้าที่พักตามเกณฑ์การพิจารณา
คัดกรอง จัดทำแฟ้มรายบุคคล โปรแกรมฟื้นฟูรายบุคคล
ข้อ
๙ จัดให้มีระบบผู้ดูแลประจำวันที่เหมาะสมสำหรับคนไร้ที่พึ่งที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อันเนื่องจากความบกพร่องทางกายหรือจิต
และเพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งได้
ข้อ
๑๐ จัดให้มีอาหารเพียงพอตามหลักโภชนาการและมีอาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
ข้อ
๑๑ จัดให้มีการดูแลสุขภาพอนามัยของคนไร้ที่พึ่ง
การตรวจสุขภาพ การดูแลรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ
ต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที โดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
พบแพทย์หรือพาไปสถานพยาบาลเมื่อจำเป็น
ข้อ
๑๒ จัดให้มีกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
โดยกระบวนการจิตบำบัดกิจกรรมบำบัด อาชีวบำบัด หรือกายภาพบำบัด แล้วแต่กรณี ตามสภาพปัญหาอย่างเหมาะสม
รวมทั้งประสานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการข้างต้น
หมวด ๓
มาตรฐานด้านการเสริมสร้างความรู้
การฝึกอาชีพ และการจัดหาอาชีพ
ข้อ
๑๓ จัดให้มีกระบวนการเสริมสร้างความรู้
ทักษะชีวิตประจำวัน การบริการข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งส่งเสริม
สนับสนุนหน่วยงานสถานศึกษาให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๑๔ จัดให้มีการพัฒนาทักษะการอาชีพ
การจัดหางานอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ที่สามารถพึ่งพาเลี้ยงตนเองได้ต่อไป
หมวด ๔
มาตรฐานด้านการประสานเครือข่ายและการดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอก
ข้อ
๑๕ เปิดโอกาสให้ชุมชน สังคม
เข้าถึงข้อมูลการดำเนินการของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
และเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน
ข้อ
๑๖ มีการประสานทีมสหวิชาชีพ
ในการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง
หรือการออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อดำเนินการให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๑๗ มีการส่งเสริม
สนับสนุนให้มีอาสาสมัคร จิตอาสาที่จะเข้ามาดูแลช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง
หมวด ๕
มาตรฐานด้านอาคารสถานที่และความปลอดภัย
ข้อ
๑๘ จัดพื้นที่สำหรับผู้ใช้บริการคนไร้ที่พึ่งในสัดส่วนที่เหมาะสม
และปรับปรุงรักษาพื้นที่สำหรับให้บริการอยู่ในสภาพที่ใช้ได้
และเพียงพอต่อการจัดบริการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีที่พักอาศัยสำหรับคนไร้ที่พึ่งที่จัดไว้อย่างเหมาะสม
(๒)
จัดให้มีพื้นที่ส่วนพยาบาล โดยจัดให้มีพื้นที่และสัดส่วนในการให้บริการ
(๓)
จัดให้มีพื้นที่สำหรับการจัดกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด และกิจกรรมนันทนาการ
(๔)
จัดให้มีพื้นที่สำหรับการฝึกอาชีพ
(๕)
จัดให้มีโรงอาหารหรือโรงครัว โดยจัดพื้นที่และสัดส่วนการให้บริการ
(๖)
จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และเพียงพอต่อการให้บริการ
(๗)
จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับให้คนไร้ที่พึ่งที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวขึ้น
- ลงอาคาร
(๘)
จัดให้มีอุปกรณ์การเคลื่อนย้ายคนไร้พึ่งที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
หรืออุปกรณ์ที่เป็นเครื่องทุ่นแรงสำหรับผู้ดูแลในชีวิตประจำวัน
และยานพาหนะสำหรับนำส่งผู้ป่วย
ข้อ
๑๙ จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด
เป็นระเบียบเรียบร้อยและการจัดการที่ถูกสุขลักษณะมีสาธารณูปโภคที่เหมาะสม
และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ มีป้ายชื่อ
ป้ายเตือนและสัญลักษณ์ที่จำเป็น รวมทั้งการจัดให้มีพื้นที่สีเขียว
สร้างภูมิทัศน์ให้สวยงามน่าอยู่และปลอดภัย
ข้อ
๒๐ จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัย
มีระบบการตรวจค้นสิ่งที่จะเป็นอันตรายหรือสิ่งที่สามารถใช้เป็นอาวุธได้
ระบบเตือนภัยในอาคารและอุปกรณ์ดับเพลิง การตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำ
ตลอดจนการจัดให้มีเวรรักษาการณ์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
และการอบรมหรือซักซ้อมเพื่อช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งเป็นประจำ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๒๗/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
745515 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
| ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
โดยที่สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งสำหรับการดำเนินงานในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งซึ่งเป็นบุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ
รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
ให้เป็นไปอย่างชัดเจน เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพื่อให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ (๔) ประกอบกับมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หมายความว่า
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่คณะกรรมการประกาศจัดตั้ง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หมายความว่า ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีขึ้นศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของหน่วยงานของรัฐ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและส่วนราชการอื่นที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนด
รวมถึงหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน
องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
กลุ่มคนไร้ที่พึ่งหรือกลุ่มบุคคลที่จัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
อธิบดี หมายความว่า
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๔ ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรักษาการตามประกาศนี้และมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติและแบบเอกสารเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครองหรือเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพและปัญหาของคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการขอรับการคุ้มครองจากบุคคลหรือรับบุคคลที่ถูกส่งตัวมาตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๒
ซึ่งมิใช่บุคคลสัญชาติไทย ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชน
แล้วจัดส่งตัวไปยังหน่วยงานของประเทศเจ้าของสัญชาติของบุคคลนั้นต่อไป เว้นแต่จะมีการตกลงระหว่างประเทศหรือระหว่างหน่วยงานเป็นอย่างอื่น
ข้อ
๖ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งต้องปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของคนไร้ที่พึ่ง
เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด
หมวด ๒
การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ส่วนที่ ๑
การจัดสวัสดิการสังคม
ข้อ
๗ จัดให้มีบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน
การแก้ไขปัญหา การพัฒนาและการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม
เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของคนไร้ที่พึ่งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
โดยคำนึงถึงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้อ
๘ การจัดบริการสวัสดิการสังคม
ต้องคำนึงถึงลักษณะหรือรูปแบบและวิธีการในการดำเนินการตามความเหมาะสมของสภาพปัญหาความต้องการของคนไร้ที่พึ่งที่ควรได้รับการป้องกันแก้ไขทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว
ข้อ
๙ ส่งเสริม สนับสนุน
ให้คนไร้ที่พึ่งสามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ข้อ
๑๐ สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมเป็นผู้ดำเนินการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมให้แก่คนไร้ที่พึ่ง
ส่วนที่ ๒
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
ข้อ
๑๑ จัดให้มีการประเมินทางด้านร่างกาย
จิตใจของคนไร้ที่พึ่งรวมถึงการประเมินครอบครัว
ข้อ
๑๒ จัดให้มีบริการคัดกรองและคัดแยกคนไร้ที่พึ่งที่มีอาการป่วยทางกายและจิต
ข้อ
๑๓ จัดให้มีกิจกรรมการเสริมสร้าง
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
ส่วนที่ ๓
การรักษาพยาบาล
ข้อ ๑๔ จัดให้คนไร้ที่พึ่งได้รับการดูแลหรือรักษาพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย
หรือส่งต่อสถานพยาบาล
แล้วแต่กรณีสภาพความเจ็บป่วย
ข้อ
๑๕ จัดให้คนไร้ที่พึ่งเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขตามหลักประกันสุขภาพที่มี
ส่วนที่ ๔
การส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ
ข้อ
๑๖ จัดให้คนไร้ที่พึ่งได้รับการศึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
(๑)
จัดบริการข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
(๒)
สนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการสำหรับคนไร้ที่พึ่ง
(๓)
ส่งเสริมให้หน่วยงานสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อคนไร้ที่พึ่ง
(๔)
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้การใช้ชีวิตแก่คนไร้ที่พึ่ง
(๕)
คุ้มครองการเผยแพร่สื่อความรู้และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่งมิให้ถูกแสวงหาประโยชน์หรือละเมิดสิทธิ์
(๖)
ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยหรือพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๑๗ จัดให้มีการส่งเสริม
สนับสนุนการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง
(๑)
จัดอบรม ทักษะอาชีพหรือฝึกอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่งตามอัธยาศัย
(๒)
จัดให้มีข้อมูลทางการอาชีพและตำแหน่งงานสำหรับคนไร้ที่พึ่ง
(๓)
จัดหาอาชีพที่เหมาะสมตามศักยภาพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง
(๔)
สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมเป็นผู้ดำเนินการฝึกอาชีพและประกอบอาชีพที่เหมาะสมให้แก่คนไร้ที่พึ่งโดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ส่วนที่ ๕
การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม
ข้อ ๑๘ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งได้รับโอกาสเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง
ๆ
ในสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน
ข้อ
๑๙ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งการรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมใด
ๆ การแสดงออก การแสดงความคิดเห็น โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ
และภาคเอกชนตามความเหมาะสม
ข้อ
๒๐ ส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสให้แก่คนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๒๑ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชนองค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา
องค์กรธุรกิจหรือกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง
มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสในสังคมให้แก่คนไร้ที่พึ่ง
ส่วนที่ ๖
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ข้อ ๒๒ ส่งเสริมให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้รับการยอมรับจากครอบครัว ชุมชน และสังคม
ส่วนที่ ๗
การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีงานทำ
ข้อ
๒๓ จัดให้มีข้อมูลตำแหน่งงานที่เหมาะสมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๒๔ สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมเป็นผู้ดำเนินการจัดหางานที่เหมาะสมให้แก่คนไร้ที่พึ่ง
ส่วนที่ ๘
การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีที่พักอาศัย
ข้อ
๒๕ สนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีที่พักอาศัย
และสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อนำไปสู่การมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ข้อ
๒๖ สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนจัดให้คนไร้ที่พึ่งได้มีที่พักอาศัยเป็นของตนเอง
ข้อ
๒๗ จัดที่พักอาศัยชั่วคราวให้คนไร้ที่พึ่งในระหว่างการหาที่พักอาศัยเป็นของตนเอง
ทั้งนี้ ตามที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือองค์กรอื่นที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด
ส่วนที่ ๙
การป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๒๘ การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนไร้ที่พึ่งเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย
กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ
องค์กรเอกชนหรือบุคคลใดจะกระทำมิได้ รวมทั้งการงดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนไร้ที่พึ่งโดยตรง
แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนไร้ที่พึ่งต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ
หมวด ๓
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๒๙ ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการขอรับการคุ้มครองจากคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา
๑๙ หรือรับคนไร้ที่พึ่งที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา ๒๐
หรือมาตรา ๒๒ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
รับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้
(๒)
สอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และประเมินสภาพปัญหา
ดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นหากมีภาวะวิกฤติหรือเร่งด่วน
(๓)
สืบเสาะข้อมูลและจัดทำทะเบียนประวัติรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งเพื่อนำมาวิเคราะห์
วินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหารวมถึงแนวทางการคุ้มครองที่เหมาะสม หากพิจารณาแล้วพบว่าคนไร้ที่พึ่งนั้นมีกฎหมายเฉพาะให้การคุ้มครอง
ให้ดำเนินการตามข้อ ๓๓
(๔)
กรณีคนไร้ที่พึ่งที่ไม่มีหลักฐานประจำตัว
และทำการสืบเสาะข้อมูลแล้วไม่สามารถสืบค้นทางทะเบียนราษฎรได้ ให้ดำเนินการใด ๆ
เพื่อให้คนไร้ที่พึ่งได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามความจำเป็นและเหมาะสม
(๕)
จัดให้มีการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต
หากคนไร้ที่พึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาให้จัดให้คนไร้ที่พึ่งได้รับการตรวจรักษาต่อไป
(๖)
จัดให้มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
(๗)
ฝึกอบรมและฝึกอาชีพรวมทั้งหาอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๓๑
(๘)
ให้การบำบัดฟื้นฟู โดยให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในด้านการดำรงชีวิตด้านกฎหมายหรือด้านอื่น
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
(๙)
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีแฟ้มข้อมูลคนไร้ที่พึ่งรายบุคคลซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลรายละเอียดตาม (๒) (๓) (๕) (๗) (๘) (๙)
และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่งผู้นั้น แยกต่างหากจากทะเบียนรายชื่อคนไร้ที่พึ่งที่ให้การคุ้มครอง
ข้อ
๓๐ ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่รับคนไร้ที่พึ่งที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา
๒๒ กำหนดเงื่อนไขที่คนไร้ที่พึ่งต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
การให้ความยินยอมเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เว้นแต่ในกรณีคนไร้ที่พึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้
ให้เจ้าหน้าที่ที่จัดส่งตัวคนไร้ที่พึ่งนั้นลงลายมือชื่อเป็นผู้จัดส่งตามแบบที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด
(๒)
ระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในชั้นต้นซึ่งไม่น้อยกว่าสิบห้าวันแต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน
(๓)
ข้อปฏิบัติและหรือข้อห้ามปฏิบัติของคนไร้ที่พึ่ง
ในระหว่างที่เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตาม (๒)
(๔)
เงื่อนไขอื่นที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด ทั้งนี้
ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพและปัญหาของคนไร้ที่พึ่งเฉพาะราย
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจนำเงื่อนไขทั้งหมดหรือบางส่วนตามวรรคหนึ่ง
กำหนดเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงตามข้อ ๓๑ ก็ได้
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นพิจารณาดำเนินคดีต่อไป
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นยุติการดำเนินคดี
ข้อ
๓๑ คนไร้ที่พึ่งซึ่งจะเข้าพักอาศัยในสถานที่ซึ่งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้
ต้องจัดทำข้อตกลงเข้าร่วมการอบรมเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ การประกอบอาชีพ
และการทำงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด
ซึ่งอย่างน้อยอาจประกอบด้วยเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดระยะเวลาการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
โดยเงื่อนไขการกำหนดระยะเวลาให้มีการพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
(๒) ข้อปฏิบัติและหรือข้อห้ามปฏิบัติของคนไร้ที่พึ่ง
ในระหว่างการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
และมาตรการการดำเนินการกรณีฝ่าฝืน
(๓)
สิทธิที่คนไร้ที่พึ่งพึงมีพึงได้
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งผู้ใดปฏิเสธการจัดทำข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิเสธการจัดทำข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกับคนไร้ที่พึ่งผู้นั้น ทั้งนี้
หากคนไร้ที่พึ่งยังคงปฏิเสธการจัดทำข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลงดังกล่าว
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจงดให้การคุ้มครองบางประการแก่คนไร้ที่พึ่งผู้นั้นได้
โดยให้เจ้าหน้าที่บันทึกเหตุแห่งการปฏิเสธการจัดทำข้อตกลง
และระบุขอบเขตที่จะให้การคุ้มครองแก่คนไร้ที่พึ่งไว้
พร้อมเงื่อนไขที่จะใช้ในการดำเนินการตามหมวด ๒
โดยให้มีเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อยหนึ่งคน
ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่อาจให้ความยินยอมในการจัดทำข้อตกลงได้ด้วยตนเองให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้การคุ้มครองตามที่เห็นสมควรโดยให้เจ้าหน้าที่บันทึกเหตุแห่งการที่คนไร้ที่พึ่งไม่อาจให้ความยินยอม
และให้มีเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อยหนึ่งคน
ข้อ ๓๒ ในระหว่างการเข้าร่วมการฝึกอาชีพและการเริ่มต้นการประกอบอาชีพ
คนไร้ที่พึ่งอาจได้รับเงินช่วยเหลือในการยังชีพตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา
๒๕
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าคนไร้ที่พึ่งเป็นบุคคลซึ่งมีกฎหมายเฉพาะให้การคุ้มครองอยู่แล้วให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นในเบื้องต้น
แล้วจัดส่งคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ โดยความยินยอมของคนไร้ที่พึ่ง
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของคนไร้ที่พึ่ง
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจะดำเนินการรับตัวคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไว้ในความดูแลต่อไปก็ได้
การจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะตามวรรคหนึ่ง
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งรีบดำเนินการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
พร้อมส่งข้อมูล ประวัติ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ได้ดำเนินการตามข้อ
๒๙ (๓) ให้แก่หน่วยงานนั้นด้วย
ข้อ
๓๔ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจให้คนไร้ที่พึ่งพ้นจากการดูแลของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเข้ารับการคุ้มครองก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพิจารณาเห็นว่าคนไร้ที่พึ่งสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และมีสภาพร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
(๒)
เมื่อปรากฏบิดา มารดา ผู้ปกครอง ญาติ หรือผู้ใดซึ่งมีหลักฐานน่าเชื่อถือ
และจัดทำหนังสือขอรับตัวคนไร้ที่พึ่งโดยรับรองว่าจะให้การปกครองดูแลคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับตัวไปโดยใกล้ชิด
ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้คำปรึกษา
แนะนำ และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในด้านการดำรงชีวิต สำรวจ ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นระยะ ตามอำนาจหน้าที่
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งได้เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งครบกำหนดระยะเวลาตามข้อตกลงตามข้อ
๓๑ แล้ว
ให้คนไร้ที่พึ่งพ้นจากการดูแลของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเว้นแต่คนไร้ที่พึ่งขอรับการคุ้มครองตามมาตรา
๑๙ ประกอบมาตรา ๒๔ หรือ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพิจารณาเห็นว่าคนไร้ที่พึ่งไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
หรือมีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของคนไร้ที่พึ่ง
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจให้คนไร้ที่พึ่งเข้าพักอาศัยในสถานที่ซึ่งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้ต่อไปก็ได้
โดยต้องจัดทำข้อตกลงตามหลักเกณฑ์ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกำหนด ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๓๑
มาใช้บังคับกับการจัดทำข้อตกลงโดยอนุโลม
หมวด ๔
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๓๖ ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งดำเนินการให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและทำหน้าที่เป็นเครือข่ายให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่
หรือสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอื่น
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของหน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการเข้าถึงการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ
ข้อ
๓๗ ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการขอรับการคุ้มครองจากคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา
๑๙ หรือรับคนไร้ที่พึ่งที่ถูกส่งตัวมายังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา ๒๐
หรือมาตรา ๒๒ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำรวจ ติดตามสภาพปัญหาของคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่รับผิดชอบ
(๒)
รับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้
(๓)
สืบเสาะข้อมูลและจัดทำบันทึกประวัติรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งเพื่อนำมาวิเคราะห์ วินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหา
รวมถึงแนวทางการคุ้มครองที่เหมาะสมในเบื้องต้น
(๔)
ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่ง พร้อมข้อมูลและประวัติรวมถึงรายละเอียดตาม (๓) ไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(๕)
ให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมอบหมาย
หรือตามที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเห็นสมควร ตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงสภาพปัญหาของคนไร้ที่พึ่ง
ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีทะเบียนรายชื่อคนไร้ที่พึ่งที่ให้การคุ้มครองและอาจจัดให้มีแฟ้มข้อมูลคนไร้ที่พึ่งเป็นรายบุคคลซึ่งระบุรายละเอียดตาม
(๓) และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่งด้วยก็ได้
ในระหว่างการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจจัดให้คนไร้ที่พึ่งเข้าพักในสถานที่ซึ่งศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้ก็ได้
แต่ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการขอรับการคุ้มครองหรือวันที่รับคนไร้ที่พึ่งที่ถูกส่งตัวมายังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งไว้
เว้นแต่มีความจำเป็นให้พิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
หากไม่อาจจัดให้คนไร้ที่พึ่งเข้าพักได้ ให้รีบดำเนินการตาม (๔) โดยเร็ว
ข้อ
๓๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าคนไร้ที่พึ่งเป็นบุคคลซึ่งมีกฎหมายเฉพาะให้การคุ้มครองอยู่แล้ว
ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นในเบื้องต้น
แล้วจัดส่งคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ โดยความยินยอมของคนไร้ที่พึ่ง
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของคนไร้ที่พึ่ง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจะจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเพื่อรับตัวไว้ในความดูแลต่อไปก็ได้
การจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะตามวรรคหนึ่ง
ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งรีบดำเนินการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
พร้อมส่งข้อมูล
ประวัติรวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ได้ดำเนินการตามข้อ ๓๗ (๓)
ให้แก่หน่วยงานนั้นด้วย
หมวด ๕
การพ้นสภาพจากการคุ้มครองของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๓๙ คนไร้ที่พึ่งจะพ้นสภาพจากการคุ้มครองของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
แล้วแต่กรณี ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ตาย
(๒)
หลบหนีออกจากสถานที่ซึ่งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้
(๓)
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นรับตัวไปเพื่อพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตามข้อ
๓๐ วรรคสาม
(๔)
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดส่งตัวไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะตามข้อ
๓๓ หรือข้อ ๓๘ แล้วแต่กรณี
(๕)
พ้นจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามข้อ ๓๔ หรือข้อ ๓๕
(๖)
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดส่งตัวไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามข้อ ๓๗ (๔)
(๗)
กระทำผิดอาญา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขอรับตัวไปควบคุมเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
การพ้นสภาพจากการคุ้มครองตาม
(๑) ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง แล้วแต่กรณี
ประสานหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายและดำเนินการเพื่อให้มีการจัดการศพตามประเพณี
ข้อ
๔๐ เมื่อคนไร้ที่พึ่งพ้นสภาพจากการคุ้มครองตามข้อ
๓๙ วรรคหนึ่ง ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง แล้วแต่กรณี
จำหน่ายออกจากทะเบียน
หมวด ๖
การสิ้นสุดการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ข้อ
๔๑ คนไร้ที่พึ่งจะสิ้นสุดการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ตาย
(๒)
สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้
(๓)
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยความเห็นชอบของอธิบดีเห็นว่าไม่เป็นคนไร้ที่พึ่งตามมาตรา ๓ และมาตรา ๙ (๓)
ข้อ
๔๒ ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดทำรายงานการให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบทุกวันสิ้นปีงบประมาณ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑๘/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
745513 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กำหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
| ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง
กำหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ และมาตรา ๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗
คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจึงออกประกาศกำหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
เรื่อง
กำหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้เป็นคนไร้ที่พึ่ง
ได้แก่
(๑)
บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มีความยากลำบากในการดำรงชีพเนื่องจากเหตุหัวหน้าครอบครัวหรือบุคคลที่เป็นหลักในครอบครัว
(ก)
ตาย
(ข)
ทอดทิ้งสาบสูญหรือต้องโทษจำคุก
(ค)
ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้
(ง)
ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด
(๒)
คนเร่ร่อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิม ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม
มาอยู่ในที่สาธารณะ
หรือบุคคลที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิมมาตั้งครอบครัวหรือมาใช้ชีวิตแบบครอบครัวใหม่ในที่สาธารณะ
และทั้งสองกลุ่มอาจจะย้ายที่พักไปเรื่อย ๆ
หรืออาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดำรงชีวิตประจำวันในที่สาธารณะนั้น
ๆ
(๓)
บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว หมายถึง
บุคคลสัญชาติไทยที่มาทำภารกิจบางอย่างและไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเงินเช่าที่พัก
(๔)
บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรแต่ยังไร้สัญชาติ หมายถึง
บุคคลที่ถูกบันทึกทางทะเบียนราษฎรของรัฐใดรัฐหนึ่ง
แต่มิได้รับการรับรองในสถานะคนสัญชาติโดยรัฐนั้นหรือรัฐอื่นใดที่ประสบปัญหาการดำรงชีพ
(๕)
บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หมายถึง
คนไร้รัฐซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ได้
แต่มีเหตุทำให้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ทั้งของประเทศต้นทางและของประเทศไทยที่ประสบปัญหาการดำรงชีพ
ข้อ
๔ ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑๖/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ |
389300 | พระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
อานันทมหิดล
ตราไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม
พุทธศักราช ๒๔๘๙
เป็นปีที่ ๑๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบการค้าข้าว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าว[๒]
หมายความว่า ข้าวเปลือก, ข้าวกล้อง, ข้าวสาร, ข้าวเหนียวและรวมตลอดถึงปลายข้าว, รำ
และสิ่งใด ๆ ที่แปรสภาพมาจากข้าว
การค้าข้าว[๓]
หมายความว่า การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าว
รวมตลอดถึงการสีข้าว ทั้งนี้
นอกจากสำหรับบริโภคในครอบครัว
ผู้ค้าข้าว
หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามความในพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้มีกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งนาย
และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าหกนายซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
มีอำนาจและหน้าที่ตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดหรือคณะบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งแทนคณะกรรมการได้
มาตรา ๖
ให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่
หรือเคหะสถานของบุคคลใดเพื่อตรวจข้าว ใบรับในการขาย หรือแลกเปลี่ยนข้าว
รายงานการค้าข้าว และเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน
และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้นได้
มาตรา ๗
ให้คณะกรรมการมีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้
มาตรา ๘[๔] ในเขตควบคุมการค้าข้าว
ให้คณะกรรมการมีอำนาจ
(๑)
แบ่งแยกประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว และสั่งผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภทหนึ่งประเภทใด
หรือทุกประเภท ให้ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
(๒)
กำหนดราคาข้าว และสั่งห้ามมิให้ขายเกินกว่าราคาที่กำหนดไว้นั้น
(๓)
กำหนดราคาข้าว และสั่งห้ามมิให้ซื้อจากกสิกรต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้นั้น
(๔)
สั่งห้ามซื้อหรือขายหรือแลกเปลี่ยนหรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าว
เว้นแต่จะได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการ
ซึ่งคณะกรรมการจะอนุญาตภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
(๕)
สั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว
หรือสั่งห้ามยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บหรือเปลี่ยนแปลงสภาพข้าว เว้นแต่จะได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการ
ซึ่งคณะกรรมการจะอนุญาตภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
(๖)
สั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ในครอบครองขายข้าวให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนดหรือสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดและบังคับซื้อข้าวตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนดในกรณีที่มีการขัดขืนคำสั่งของคณะกรรมการกับมีอำนาจกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการชำระเงินค่าข้าวและในการส่งมอบข้าวนั้น
ในกรณีไม่พบตัวผู้มีข้าวอยู่ในครอบครอง
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ปิดคำสั่งให้ขายข้าวไว้ ณ
สถานที่เก็บข้าวหรือพาหนะขนข้าวนั้น เมื่อล่วงพ้นเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาปิดคำสั่งแล้ว
ผู้มีข้าวอยู่ในครอบครองไม่มาจัดการขายให้
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยึดและบังคับซื้อตามความในวรรคก่อนได้
มาตรา ๙[๕] ในเขตควบคุมการค้าข้าว
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทซึ่งคณะกรรมการสั่งให้ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการก่อนจึงจะทำการค้าข้าวได้
ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ผู้ประกอบการค้าข้าวต้องปฏิบัติตามข้อความและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตนั้น
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ให้ทำตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ทำการค้าข้าวประเภทซึ่งคณะกรรมการสั่งให้ขออนุญาตหากได้ประกอบการค้าข้าวอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการสั่งนั้นให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๐
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวต้องเก็บหนังสืออนุญาตนั้นไว้ในที่เปิดเผย
ซึ่งอาจจะแลเห็นได้สะดวก ณ สถานที่ที่ทำการค้าข้าว
มาตรา ๑๑
บทบัญญัติมาตรา ๙ มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
กสิกรซึ่งขายหรือแลกเปลี่ยนข้าวซึ่งกสิกรนั้นผลิตได้จากเนื้อที่ที่ตนทำ
(๒)
ผู้ที่ขายหรือแลกเปลี่ยนข้าวครั้งหนึ่งมีปริมาณดังนี้
(ก)
ข้าวเปลือกทุกชนิดไม่เกินสองเกวียนหลวง
(ข)
ข้าวอื่น ๆ ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดกิโลกรัม
มาตรา ๑๒[๖]
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวันตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดเก็บไว้ ณ
สถานที่ที่ทำการค้าข้าว และต้องยื่นรายงานการค้าข้าวต่อคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ
ระยะเวลา และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
การทำรายงานการค้าข้าวดังกล่าวในวรรคก่อน
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเว้นให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้
และให้มีอำนาจสั่งถอนการยกเว้นนั้นด้วย
มาตรา ๑๓[๗] หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวหรือหนังสืออนุญาตอื่น
ๆ ให้มีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนดระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
มาตรา ๑๔
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ต้องแสดงราคาข้าวประจำวันเป็นภาษาไทยไว้ในที่เปิดเผย ซึ่งอาจจะแลเห็นได้สะดวก ณ
สถานที่ทำการค้าข้าว
มาตรา ๑๕[๘] ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตคนใดฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติใด
ๆ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งถอนหนังสืออนุญาตนั้นได้
มาตรา ๑๖
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ใช้ได้เฉพาะตัว จะโอนกันไม่ได้
และเมื่อเลิกประกอบการค้าข้าวแล้ว
ต้องแจ้งให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ
มาตรา ๑๖ ทวิ[๙]
เจ้าของโรงสีข้าวหรือผู้ประกอบการโรงสีข้าวคนใดหยุดหรือแกล้งหยุดทำการสีข้าวหรือไม่ทำการสีข้าวให้เต็มกำลังที่โรงสีนั้นสามารถที่จะทำการสีได้คณะกรรมการมีอำนาจที่จะเรียกให้กระทำการสีข้าวหรือสีข้าวให้เต็มกำลังต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนดและมีอำนาจกำหนดค่าจ้างสีข้าวให้ปฏิบัติได้
เมื่อคณะกรรมการได้มีคำสั่งตามความในวรรคก่อนแล้ว
เจ้าของโรงสีข้าว หรือผู้ประกอบการโรงสีข้าว ไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้ายึดโรงสีนั้นมาดำเนินการเสียเองได้
และในการนี้เจ้าโรงสีไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
มาตรา ๑๗[๑๐]
ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งออกตามความในมาตรา
๘ (๒) หรือ (๓) หรือ (๔) หรือ (๕) หรือ (๖)
หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตซึ่งออกตามความในมาตรา
๘ (๔) หรือ (๕) ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าพันบาท
มาตรา ๑๘[๑๑] ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๒
วรรคหนึ่ง ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๑๙
ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๖
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๒๐
ผู้ใดให้ถ้อยคำเท็จในการแจ้งปริมาณหรือสถานที่เก็บข้าว หรือขัดขืน
หรือฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๖
หรือให้ถ้อยคำเท็จแก่บุคคลนั้น ๆ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๒๑
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดปฏิบัติการหรือละเว้นปฏิบัติการในหน้าที่อันเป็นการช่วยเหลือให้มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
และปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๒๑ ทวิ[๑๒]
ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดตลอดจนสิ่งที่ใช้บรรจุให้ริบเสีย
มาตรา ๒๒
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและกิจการอื่น ๆ
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ปรีดี พนมยงค์
นายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙[๑๓]
มาตรา ๑๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
คณิตา/ปรับปรุง
๑๖ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๒๙/หน้า ๒๙๖/๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๔๘๙
[๓] มาตรา ๓
นิยามคำว่า การค้าข้าว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๔๘๙
[๔] มาตรา ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๕] มาตรา ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๖] มาตรา ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๗] มาตรา ๑๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๘] มาตรา ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๙] มาตรา ๑๖ ทวิ
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๑๐] มาตรา ๑๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๑๑] มาตรา ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๑๒] มาตรา ๒๑ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๗๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ |
301333 | พระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าข้าว (ฉะบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๔๘๙
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พระยามานวราชเสวี
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๙
เป็นปีที่ ๑ ในรัชชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉะบับที่
๒) พ.ศ. ๒๔๘๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกวิเคราะห์ศัพท์ของคำว่า ข้าว และคำว่า
การค้าข้าว ในมาตรา ๓ วรรค ๑ และวรรค
๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้าว หมายความว่า ข้าวเปลือก,
ข้าวกล้อง, ข้าวสาร, ข้าวเหนียวและรวมตลอดถึงปลายข้าว, รำ และสิ่งใด ๆ ที่แปรสภาพมาจากข้าว
การค้าข้าว หมายความว่า การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าว
รวมตลอดถึงการสีข้าว ทั้งนี้นอกจากสำหรับบริโภคในครอบครัว
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๘
ในเขตต์ควบคุมการค้าข้าว ให้คณะกรรมการมีอำนาจ
(๑)
แบ่งแยกประเภทผู้ประกอบการค้าข้าว และสั่งผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภทหนึ่งประเภทใด
หรือทุกประเภท ให้ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
(๒)
กำหนดราคาข้าว และสั่งห้ามมิให้ขายเกินกว่าราคาที่กำหนดไว้นั้น
(๓)
กำหนดราคาข้าว และสั่งห้ามมิให้ซื้อจากกสิกรต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้นั้น
(๔)
สั่งห้ามซื้อหรือขายหรือแลกเปลี่ยนหรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าว
เว้นแต่จะได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการจะอนุญาตภายใต้บังคับเงื่อนไขใด
ๆ ก็ได้
(๕)
สั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว
หรือสั่งห้ามยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บหรือเปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
เว้นแต่จะได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการจะอนุญาตภายใต้บังคับเงื่อนไขใด
ๆ ก็ได้
(๖)
สั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ในครอบครองขายข้าวให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนดหรือสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดและบังคับซื้อข้าวตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนดในกรณีที่มีการขัดขืนคำสั่งของคณะกรรมการกับมีอำนาจกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการชำระเงินค่าข้าวและในการส่งมอบข้าวนั้น
ในกรณีไม่พบตัวผู้มีข้าวอยู่ในครอบครอง
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ปิดคำสั่งให้ขายข้าวไว้ ณ
สถานที่เก็บข้าวหรือพาหนะขนข้าวนั้น
เมื่อล่วงพ้นเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาปิดคำสั่งแล้ว
ผู้มีข้าวอยู่ในครอบครองไม่มาจัดการขายให้ คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยึดและบังคับซื้อตามความในวรรคก่อนได้
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๙
ในเขตต์ควบคุมการค้าข้าว
ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทซึ่งคณะกรรมการสั่งให้ขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการก่อนจึงจะทำการค้าข้าวได้
ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
ผู้ประกอบการค้าข้าวต้องปฏิบัติตามข้อความและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตนั้น
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ให้ทำตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ทำการค้าข้าวประเภทซึ่งคณะกรรมการสั่งให้ขออนุญาตหากได้ประกอบการค้าข้าวอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการสั่งนั้นให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๒
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องทำรายงานการค้าข้าวประจำวันตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดเก็บไว้ ณ
สถานที่ที่ทำการค้าข้าว และต้องยื่นรายงานการค้าข้าวต่อคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ
ระยะเวลา และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
การทำรายงานการค้าข้าวดังกล่าวในวรรคก่อน
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเว้นให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้
และให้มีอำนาจสั่งถอนการยกเว้นนั้นด้วย
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๓
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวหรือหนังสืออนุญาตอื่น ๆ
ให้มีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนดระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
มาตรา ๘
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๕
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตคนใดฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติใด
ๆ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งถอนหนังสืออนุญาตนั้นได้
มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มาตรา ๑๖ ทวิ
เจ้าของโรงสีข้าวหรือผู้ประกอบการโรงสีข้าวคนใดหยุดหรือแกล้งหยุดทำการสีข้าวหรือไม่ทำการสีข้าวให้เต็มกำลังที่โรงสีนั้นสามารถที่จะทำการสีได้
คณะกรรมการมีอำนาจที่จะเรียกให้กระทำการสีข้าวหรือสีข้าวให้เต็มกำลังต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนดและมีอำนาจกำหนดค่าจ้างสีข้าวให้ปฏิบัติได้
เมื่อคณะกรรมการได้มีคำสั่งตามความในวรรคก่อนแล้ว
เจ้าของโรงสีข้าว หรือผู้ประกอบการโรงสีข้าว
ไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้ายึดโรงสีนั้นมาดำเนินการเสียเองได้
และในการนี้เจ้าโรงสีไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
มาตรา ๑๐
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งออกตามความในมาตรา ๘ (๒) หรือ (๓) หรือ (๔) หรือ (๕) หรือ (๖)
หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตซึ่งออกตามความในมาตรา
๘ (๔) หรือ (๕) ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าพันบาท
มาตรา ๑๑
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๘
ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๒ วรรค ๑
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๑๒
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
มาตรา ๒๑ ทวิ
ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดตลอดจนสิ่งที่ใช้บรรจุให้ริบเสีย
มาตรา ๑๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเรือตรี ถ.
ธำรงนาวาสวัสดิ์
นายกรัฐมนตรี
ดวงใจ/แก้ไข
๒๘ ส.ค .๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๖ มกราคม ๒๕๔๘
วศิน/แก้ไข
๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
คณิตา/จัดทำ
๑๖ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๗๒/ฉะบับพิเศษ หน้า ๗/๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ |
301332 | พระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
อานันทมหิดล
ตราไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม
พุทธศักราช ๒๔๘๙
เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบการค้าข้าว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าว หมายความว่าข้าวเปลือกทุกชะนิด ข้าวกล้อง
ข้าวสาร ข้าวเหนียว และรวมตลอดถึงปลายข้าว
การค้าข้าว หมายความว่าการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน
หรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าว
ผู้ค้าข้าว หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามความในพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้มีกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งนาย และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าหกนายซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
มีอำนาจและหน้าที่ตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดหรือคณะบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งแทนคณะกรรมการได้
มาตรา ๖
ให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่
หรือเคหะสถานของบุคคลใดเพื่อตรวจข้าว ใบรับในการขาย หรือแลกเปลี่ยนข้าว
รายงานการค้าข้าว และเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการค้าข้าวได้ในเวลากลางวัน
และมีอำนาจสั่งบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกี่ยวกับการนั้น ได้
มาตรา ๗
ให้คณะกรรมการมีอำนาจประกาศเขตต์ควบคุมการค้าข้าวได้
มาตรา ๘ ในเขตต์ควบคุมการค้าข้าว
ให้คณะกรรมการมีอำนาจ
(๑)
กำหนดราคาสูงสุดของข้าว
(๒)
ห้ามมิให้ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนข้าวเกินกว่าราคาที่คณะกรรมการกำหนด
(๓)
สั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว
หรือห้ามยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บหรือเปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
เว้นแต่จะได้รับหนังสืออนุญาต
(๔)
สั่งให้ผู้ค้าข้าว ขายข้าวให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๙ ในเขตต์ควบคุมการค้าข้าว
ผู้ประกอบการค้าข้าวต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการก่อน
การขออนุญาตประกอบการค้าข้าว
ให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ผู้ที่ทำการค้าข้าวอยู่ก่อนวันประกาศเขตต์ควบคุมการค้าข้าว
ให้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการค้าข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน นับแต่วันประกาศเขตต์ควบคุมการค้าข้าว
มาตรา ๑๐
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวต้องเก็บหนังสืออนุญาตนั้นไว้ในที่เปิดเผย
ซึ่งอาจจะแลเห็นได้สะดวก ณ สถานที่ที่ทำการค้าข้าว
มาตรา ๑๑
บทบัญญัติมาตรา ๙ มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
กสิกรซึ่งขายหรือแลกเปลี่ยนข้าวซึ่งกสิกรนั้นผลิตได้จากเนื้อที่ที่ตนทำ
(๒)
ผู้ที่ขายหรือแลกเปลี่ยนข้าวครั้งหนึ่งมีปริมาณดังนี้
(ก)
ข้าวเปลือกทุกชะนิดไม่เกินสองเกวียนหลวง
(ข)
ข้าวอื่น ๆ ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดกิโลกรัม
มาตรา ๑๒
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องทำรายงานการค้าข้าวยื่นต่อคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๓
ในเขตต์ควบคุมการค้าข้าว ห้ามมิให้ผู้ประกอบการค้าข้าวคนใดขาย แลกเปลี่ยน
หรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าวแก่ผู้ที่มิได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว เว้นแต่ไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในมาตรา
๑๑
บุคคลใดต้องการซื้อข้าวเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในมาตรา
๑๑ เพื่อบริโภค ให้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการได้ออกหนังสืออนุญาตแล้ว
ก็ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวขายข้าวให้บุคคลนั้นได้
หนังสืออนุญาตตามความในวรรคก่อน
คณะกรรมการจะออกให้ฉะเพาะคราวหนึ่งหรือหลายคราวเป็นประจำก็ได้
มาตรา ๑๔
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ต้องแสดงราคาข้าวประจำวันเป็นภาษาไทยไว้ในที่เปิดเผย ซึ่งอาจจะแลเห็นได้สะดวก ณ
สถานที่ทำการค้าข้าว
มาตรา ๑๕
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้มีกำหนดเวลาและเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๖
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้ใช้ได้ฉะเพาะตัว จะโอนกันไม่ได้
และเมื่อเลิกประกอบการค้าข้าวแล้ว
ต้องแจ้งให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ
มาตรา ๑๗
ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งออกตามความในมาตรา ๘ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๑๘
ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๙ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๓ วรรค ๑ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๑๙
ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๖
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๒๐
ผู้ใดให้ถ้อยคำเท็จในการแจ้งปริมาณหรือสถานที่เก็บข้าว หรือขัดขืน
หรือฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๖
หรือให้ถ้อยคำเท็จแก่บุคคลนั้น ๆ
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๒๑
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดปฏิบัติการหรือละเว้นปฏิบัติการในหน้าที่ อันเป็นการช่วยเหลือให้มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
และปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๒๒
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและกิจการอื่น ๆ
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ปรีดี พนมยงค์
นายกรัฐมนตรี
ดวงใจ/แก้ไข
๒๘/ส.ค./๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๖ มกราคม ๒๕๔๘
วศิน/แก้ไข
๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
คณิตา/ปรับปรุง
๑๖ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๒๙/หน้า ๒๙๖/๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ |
734677 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น
ๆ ให้เรียกเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๒)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๓) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๔) คำขอให้ออกใบแทนหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๕) คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๖) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่น
นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
(๗) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจาก
สถานที่เก็บ ฉบับละ ๕ บาท
(๘) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๙) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการ
กำหนด ฉบับละ ๑๐ บาท
(๑๐) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตรา
ดังต่อไปนี้
(๑)[๒]
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภท
ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภท
ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีเงื่อนไข
ให้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีชายแดน
ติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าการส่งออก
ไม่เกินวันละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ฉบับละ
๒,๐๐๐ บาท
(๒) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๕๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๔) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๕) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๕๐ บาท
(๖) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๕๐ บาท
(๗) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๘) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นนอกจาก
ที่กล่าวใน (๑) ถึง (๗) แห่งข้อนี้ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๙) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าว
ในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๐)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๑)[๓] หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ให้เรียกเก็บดังนี้
การแปรสภาพข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียว
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๑๐๐
กิโลกรัมละ ๕ บาท
การสีข้าวเปลือก ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
การผสมข้าวสารเจ้า
กับข้าวสารเหนียว ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๒) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ใน
ครอบครองขายข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๓) หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕๐ บาท
เศษของ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ
(๑)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๒)
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้เรียกเก็บครั้งละ ๒๐
บาท
(๓) ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้
เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๕๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๓๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมี
ยุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นตาม (๘)
แห่งข้อ ๓ ฉบับละ ๑๐ บาท
(๔) การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ
รายละ ๒๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นาม
พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มิได้มีการกำหนดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวอย่างชัดแจ้งและครบถ้วนทุกวิธีการ
สมควรแก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าข้าวในปัจจุบันสมควรแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ซึ่งในปัจจุบันเรียกเก็บฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาทนั้น สูงเกินไปและไม่เหมาะสมกับการส่งเสริมการค้าข้าวสำหรับผู้ค้าข้าวซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนที่มีเขตติดต่อกับต่างประเทศ
สมควรกำหนดให้ผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปจำหน่ายในประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
และมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเพียงฉบับละ
๒,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก มูลค่าการส่งออกสูงสุดต่อวัน
สำหรับหนังสือให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยที่กำหนดไว้
ไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท โดยให้เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาต ฉบับละ ๒,๐๐๐
บาทนั้น ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรแก้ไขการกำหนดมูลค่าการส่งออกฯ
ดังกล่าว โดยเพิ่มเป็นไม่เกินวันละ ๕๐,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๘]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากจำนวนของมูลค่าการส่งออกสำหรับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยที่กำหนดไว้ไม่เกินวันละ
๕๐,๐๐๐ บาท นั้นไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนของมูลค่าการส่งออกดังกล่าวโดยเพิ่มมูลค่าการส่งออกเป็นไม่เกินวันละ
๕๐๐,๐๐๐ บาท
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ผู้จัดทำ
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
[๒] ข้อ ๓ (๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๗ (พ.ศ.
๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๓]
ข้อ ๓ (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๖
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗/หน้า ๔๖/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๐/หน้า ๔๕/๑๗ เมษายน ๒๕๓๕ |
765728 | กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบการค้าข้าว พ.ศ. 2559 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบการค้าข้าว
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
(๒)
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
(๓)
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
(๔)
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
(๕)
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
(๖)
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ
๒ ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(๑)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
(ก) ผู้ส่งออกทั่วไป ฉบับละ
๕๐,๐๐๐ บาท
(ข) ผู้ส่งออกชายแดน ฉบับละ
๕,๐๐๐ บาท
(ค)
ผู้ส่งออกข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ไม่เก็บค่าธรรมเนียมกรณีเป็นผู้ส่งออก
ข้าวสารบรรจุกล่องหรือหีบห่อ
ซึ่งเป็นเกษตรกร
กลุ่มเกษตรกร
หรือสหกรณ์การเกษตร
ซึ่งได้จดทะเบียน
รับรองไว้กับหน่วยงานราชการ
ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
(๒)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทสีข้าว
(ก) โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ
๑,๐๐๐ บาท
(ข) โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ
๒,๕๐๐ บาท
(ค) โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ
๕,๐๐๐ บาท
(๓)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทขายส่ง ฉบับละ
๑,๐๐๐ บาท
(๔)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทท่าข้าว ฉบับละ
๕,๐๐๐ บาท
(๕)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
ฉบับละ
๕,๐๐๐ บาท
(๖)
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทนายหน้าค้าข้าว ฉบับละ
๕,๐๐๐ บาท
(๗)
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ทุกประเภทให้เรียกเก็บ ฉบับละ
๕,๐๐๐ บาท
(๘)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการ
ค้าข้าวให้เรียกเก็บในอัตราเท่ากับค่าธรรมเนียม
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทนั้น
ๆ
(๙)
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต
ให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บ
ครั้งละ
๒๐๐
บาท
(๑๐)
การแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ รายละ
๒๐๐
บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
อภิรดี ตันตราภรณ์ พลเอก
อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่อัตราค่าธรรมเนียมการประกอบการค้าข้าวที่ใช้อยู่ในขณะนี้
ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับปัจจุบันผู้ประกอบการค้าข้าวมีการขยายกำลังการผลิตของโรงสี
และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเพิ่มสูงขึ้น
สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งครอบคลุมถึงประเภทของผู้ประกอบการค้าข้าวที่กำหนดขึ้นใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๒ มกราคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๙ มกราคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๓ ก/หน้า ๑/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ |
301337 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภท
ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภท
ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีเงื่อนไข
ให้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีชายแดน
ติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าการส่งออก
ไม่เกินวันละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ฉบับละ
๒,๐๐๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
อมเรศ ศิลาอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากจำนวนของมูลค่าการส่งออกสำหรับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยที่กำหนดไว้ไม่เกินวันละ
๕๐,๐๐๐ บาท นั้นไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนของมูลค่าการส่งออกดังกล่าวโดยเพิ่มมูลค่าการส่งออกเป็นไม่เกินวันละ
๕๐๐,๐๐๐ บาท
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๐/หน้า ๔๕/๑๗ เมษายน ๒๕๓๕ |
300277 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (Update ณ วันที่ 16/12/2531) | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น
ๆ ให้เรียกเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๒)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๓) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๔) คำขอให้ออกใบแทนหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๕) คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๖) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่น
นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
(๗) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจาก
สถานที่เก็บ ฉบับละ ๕ บาท
(๘) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๙) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการ
กำหนด ฉบับละ ๑๐ บาท
(๑๐) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตรา
ดังต่อไปนี้
(๑)[๒]
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐
บาท
เว้นแต่หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีเงื่อนไขให้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ
๕๐,๐๐๐ บาท ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๕๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๔) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๕) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๕๐ บาท
(๖) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๕๐ บาท
(๗) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๘) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นนอกจาก
ที่กล่าวใน (๑) ถึง (๗) แห่งข้อนี้ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๙) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าว
ในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๐)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๑)[๓] หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ให้เรียกเก็บดังนี้
การแปรสภาพข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียว
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๑๐๐
กิโลกรัมละ ๕ บาท
การสีข้าวเปลือก ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
การผสมข้าวสารเจ้า
กับข้าวสารเหนียว ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๒) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ใน
ครอบครองขายข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๓) หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕๐ บาท
เศษของ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ
(๑)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๒)
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้เรียกเก็บครั้งละ ๒๐
บาท
(๓) ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้
เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๕๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๓๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมี
ยุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นตาม (๘)
แห่งข้อ ๓ ฉบับละ ๑๐ บาท
(๔) การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ
รายละ ๒๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นาม
พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มิได้มีการกำหนดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวอย่างชัดแจ้งและครบถ้วนทุกวิธีการ
สมควรแก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าข้าวในปัจจุบันสมควรแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ซึ่งในปัจจุบันเรียกเก็บฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาทนั้น สูงเกินไปและไม่เหมาะสมกับการส่งเสริมการค้าข้าวสำหรับผู้ค้าข้าวซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนที่มีเขตติดต่อกับต่างประเทศ
สมควรกำหนดให้ผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปจำหน่ายในประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
และมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเพียงฉบับละ
๒,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก มูลค่าการส่งออกสูงสุดต่อวัน
สำหรับหนังสือให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยที่กำหนดไว้
ไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท โดยให้เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาต ฉบับละ ๒,๐๐๐
บาทนั้น ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรแก้ไขการกำหนดมูลค่าการส่งออกฯ
ดังกล่าว โดยเพิ่มเป็นไม่เกินวันละ ๕๐,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
[๒] ข้อ ๓ (๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๓]
ข้อ ๓ (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๖
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗/หน้า ๔๖/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑ |
318519 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
เว้นแต่หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีเงื่อนไขให้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ
๕๐,๐๐๐ บาท ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
สุบิน ปิ่นขยัน พลตรี
ประมาณ อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก มูลค่าการส่งออกสูงสุดต่อวัน
สำหรับหนังสือให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยที่กำหนดไว้
ไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท โดยให้เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาต ฉบับละ ๒,๐๐๐
บาทนั้น ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรแก้ไขการกำหนดมูลค่าการส่งออกฯ
ดังกล่าว โดยเพิ่มเป็นไม่เกินวันละ ๕๐,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑ |
318148 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (Update ณ วันที่ 17/02/2530) | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น
ๆ ให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๒)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๓) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๔) คำขอให้ออกใบแทนหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๕) คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๖) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่น
นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
(๗) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจาก
สถานที่เก็บ ฉบับละ ๕ บาท
(๘) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๙) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการ
กำหนด ฉบับละ ๑๐ บาท
(๑๐) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) [๒]
หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภท
ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
เว้นแต่หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีเงื่อนไขให้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ
๒๐,๐๐๐ บาท ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๕๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๔) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๕) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๕๐ บาท
(๖) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๕๐ บาท
(๗) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๘) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นนอกจาก
ที่กล่าวใน (๑) ถึง (๗) แห่งข้อนี้ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๙) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าว
ในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๐)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๑)[๓] หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ให้เรียกเก็บดังนี้
การแปรสภาพข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียว
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๑๐๐
กิโลกรัมละ ๕ บาท
การสีข้าวเปลือก ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
การผสมข้าวสารเจ้า
กับข้าวสารเหนียว ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๒) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ใน
ครอบครองขายข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๓) หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕๐ บาท
เศษของ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ
(๑)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๒)
การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้เรียกเก็บครั้งละ ๒๐
บาท
(๓) ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้
เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๕๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๓๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมี
ยุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นตาม (๘)
แห่งข้อ ๓ ฉบับละ ๑๐ บาท
(๔) การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ
รายละ ๒๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นาม
พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มิได้มีการกำหนดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวอย่างชัดแจ้งและครบถ้วนทุกวิธีการ
สมควรแก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าข้าวในปัจจุบันสมควรแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ซึ่งในปัจจุบันเรียกเก็บฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาทนั้น สูงเกินไปและไม่เหมาะสมกับการส่งเสริมการค้าข้าวสำหรับผู้ค้าข้าวซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนที่มีเขตติดต่อกับต่างประเทศ
สมควรกำหนดให้ผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปจำหน่ายในประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
และมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเพียงฉบับละ
๒,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
[๒] ข้อ ๓ (๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๓] ข้อ ๓ (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๖
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗/หน้า ๔๖/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ |
301336 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภท
ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
เว้นแต่หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่มีเงื่อนไขให้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศได้เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ
๒๐,๐๐๐ บาท ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๐
มนตรี พงษ์พานิช พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ซึ่งในปัจจุบันเรียกเก็บฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาทนั้น
สูงเกินไปและไม่เหมาะสมกับการส่งเสริมการค้าข้าวสำหรับผู้ค้าข้าวซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนที่มีเขตติดต่อกับต่างประเทศ
สมควรกำหนดให้ผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปจำหน่ายในประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
และมีมูลค่าการส่งออกไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท เสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเพียงฉบับละ
๒,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗/หน้า ๔๖/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ |
300276 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (Update ณ วันที่ 23/12/2526) | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น
ๆ ให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๒)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๓) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๔) คำขอให้ออกใบแทนหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๕) คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๖) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่น
นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
(๗) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจาก
สถานที่เก็บ ฉบับละ ๕ บาท
(๘) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๙) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการ
กำหนด ฉบับละ ๑๐ บาท
(๑๐) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑)[๒] หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
(๒) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๕๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๔) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๕) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๕๐ บาท
(๖) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๕๐ บาท
(๗) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๘) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นนอกจาก
ที่กล่าวใน (๑) ถึง (๗) แห่งข้อนี้ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๙) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าว
ในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๐)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๑)[๓] หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ให้เรียกเก็บดังนี้
การแปรสภาพข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียว
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๑๐๐
กิโลกรัมละ ๕ บาท
การสีข้าวเปลือก ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
การผสมข้าวสารเจ้า
กับข้าวสารเหนียว ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๒) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ใน
ครอบครองขายข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๓) หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕๐ บาท
เศษของ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ
(๑)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๒) การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้เรียกเก็บครั้งละ ๒๐ บาท
(๓) ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้
เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๕๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๓๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมี
ยุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นตาม (๘)
แห่งข้อ ๓ ฉบับละ ๑๐ บาท
(๔) การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ
รายละ ๒๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นาม
พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มิได้มีการกำหนดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวอย่างชัดแจ้งและครบถ้วนทุกวิธีการ
สมควรแก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าข้าวในปัจจุบันสมควรแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
[๒] ข้อ ๓ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๓] ข้อ ๓ (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๖ |
301335 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ
๒๐,๐๐๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
โกศล ไกรฤกษ์ พลเอก
สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าข้าวในปัจจุบันสมควรแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๖ |
318147 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 (Update ณ วันที่ 22/10/2523) | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและคำขออื่น
ๆ ให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) คำขออนุญาตประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๒)
คำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๓) คำขอเปลี่ยนแปลงรายการใน
หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๔) คำขอให้ออกใบแทนหนังสือ
อนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๕) คำขอแจ้งเลิกประกอบการค้าข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๖) คำขออนุญาตซื้อข้าวในกรณีอื่น
นอกจากเพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
(๗) คำขออนุญาตขนย้ายข้าวจาก
สถานที่เก็บ ฉบับละ ๕ บาท
(๘) คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง
สภาพข้าว ฉบับละ ๕ บาท
(๙) คำขออนุญาตซื้อข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการ
กำหนด ฉบับละ ๑๐ บาท
(๑๐) คำขออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕ บาท
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(๑) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๒) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๕๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขาย
โดยมียุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๔) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๕) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๕๐ บาท
(๖) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๕๐ บาท
(๗) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๘) หนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นนอกจาก
ที่กล่าวใน (๑) ถึง (๗) แห่งข้อนี้ ฉบับละ ๕๐ บาท
(๙) หนังสืออนุญาตให้ซื้อข้าว
ในกรณีอื่นนอกจากเพื่อบริโภค
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๐)
หนังสืออนุญาตให้ขนย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๑)[๒] หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว
ให้เรียกเก็บดังนี้
การแปรสภาพข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียว
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๑๐๐
กิโลกรัมละ ๕ บาท
การสีข้าวเปลือก ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
การผสมข้าวสารเจ้า
กับข้าวสารเหนียว ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
(๑๒) หนังสือสั่งให้ผู้มีข้าวอยู่ใน
ครอบครองขายข้าวตามราคา
และปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
ข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ กิโลกรัมละ ๒ บาท
ข้าวอย่างอื่นนอกจากข้าวเปลือก
๑๐๐ กิโลกรัมละ ๑ บาท
(๑๓) หนังสืออนุญาตอื่น ๆ นอกจาก
เพื่อบริโภค ฉบับละ ๕๐ บาท
เศษของ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม ถ้าเกินครึ่งให้ถือเป็น
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ
(๑)
การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวให้เรียกเก็บเท่ากับค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตนั้น
(๒) การเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว
ให้เรียกเก็บครั้งละ ๒๐ บาท
(๓) ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าว ให้
เรียกเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไป
จำหน่ายต่างประเทศ ฉบับละ ๕๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทสีข้าว
โรงสีขนาดเล็ก ฉบับละ ๑๐ บาท
โรงสีขนาดกลาง ฉบับละ ๒๐ บาท
โรงสีขนาดใหญ่ ฉบับละ ๓๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทซื้อขายโดยมี
ยุ้งฉาง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายส่ง ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทขายปลีก ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทเรือข้าว ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทค้าเร่ ฉบับละ ๑๐ บาท
ใบแทนหนังสืออนุญาตให้ประกอบ
การค้าข้าวประเภทอื่นตาม (๘)
แห่งข้อ ๓ ฉบับละ ๑๐ บาท
(๔) การเลิกประกอบการค้าข้าวทุกประเภท
ให้เรียกเก็บ
รายละ ๒๐ บาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นาม
พูนวัตถุ พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ที่เรียกเก็บตามกฎกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
บัดนี้สถานการณ์ทางการเงินได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
มิได้มีการกำหนดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวอย่างชัดแจ้งและครบถ้วนทุกวิธีการ
สมควรแก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
[๒] ข้อ ๓ (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓ |
318518 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 | กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
กฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช
๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑๑) ของข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช ๒๔๘๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๑) หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าว ให้เรียกเก็บดังนี้
การแปรสภาพข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียว
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๑๐๐
กิโลกรัมละ ๕ บาท
การสีข้าวเปลือก ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
การผสมข้าวสารเจ้า
กับข้าวสารเหนียว ๑,๐๐๐
กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
ตามใจ ขำภโต ประเทือง กีรติบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวที่เรียกเก็บตามข้อ
๓ (๑๑) แห่งกฎกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าข้าว
พุทธศักราช ๒๔๘๙
มิได้มีการกำหนดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพข้าวอย่างชัดแจ้งและครบถ้วนทุกวิธีการ
สมควรแก้ไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.