sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
644723
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๑๕ ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน รายการ ข้อกำหนด อัตราสูงต่ำ น้ำมันดีเซล วิธีทดสอบ1/ หมุนเร็ว หมุนช้า ธรรมดา บี๕ ๑๕ ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ ร้อยละโดยปริมาตร ของกรดไขมัน (Methyl Ester of Fatty Acid, %vol.) ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ไม่ต่ำกว่า และ ไม่สูงกว่า ไม่ต่ำกว่า และ ไม่สูงกว่า ๑.๕ ๒ ๒.๕ ๓ ๔ ๕ ๔ ๕ - - EN ๑๔๐๗๘ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๓๕/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
707013
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ดำเนินไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ ข้อ ๔ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไปในสังกัดกรมธุรกิจพลังงาน (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไปในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงาน ที่ปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาค (๓) ข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ ๑. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ๒. ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ - ๙ ๓. ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๔. รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ๕. รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ - ๙ ๖. รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๗. ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ - ๙ ๘. ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค ๑ - ๙ ๙. ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑๐. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ๑๑. รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ - ๙ ๑๒. รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค ๑ - ๙ ๑๓. รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑๔. รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ๑๕. ผู้กำกับการสืบสวน ๑ - ๔ ตำรวจนครบาล ๑ - ๙ ๑๖. ผู้กำกับการสืบสวน ๑ - ๓ ตำรวจภูธรภาค ๑ - ๙ ๑๗. ผู้กำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัด ๑๘. ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล ๑๙. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร ๒๐. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร ๒๑. สารวัตรสถานีตำรวจภูธร ๒๒. ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่มียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้า หรือรองหัวหน้าชุดปฏิบัติการตามหน้าที่งานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๙/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
629050
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ให้มากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ (๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แยกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (ก) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (ข) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๕ (๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินสมุทร (Bunker Oil) ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้ (ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก (ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส (ง) สี น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก 1,4 - dialkylamino anthraquinone และ 1, 3 benzenediol 2, 4 - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก 1, 4 - dialkylamino anthraquinone และ 2 - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนักปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น (๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะ ในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันและสี หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลหรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๒๐/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
627094
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2553
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพื่อให้สามารถกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์” หมายความว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ในสัดส่วน ๙๐ ต่อ ๑๐ โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑.๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๑ (๑.๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ (ก) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ ชนิดที่ ๑ (ข) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ ชนิดที่ ๒ (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๒๐ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน ๘๐ ต่อ ๒๐ โดยปริมาตร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๘๕ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน ๑๕ ต่อ ๘๕ โดยปริมาตร ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบ ๑ และ ๒ ท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศ เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราช อาณาจักร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับ เครื่องยนต์เบนซินทั้งนี้ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราช อาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัยทั้งนี้ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง เอทานอลแปลงสภาพ ในกรณีที่เอทานอลเกิดการขาดแคลน หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้าย ๑ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. รายละเอียดแนบท้าย ๒ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/พิมพ์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๓๖/๗ เมษายน ๒๕๕๓
627092
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. 2553
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พื้นฐาน เพื่อให้สามารถกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันเบนซินพื้นฐาน” หมายความว่า น้ำมันเบนซินสำหรับใช้ผสมกับเอทานอลแปลงสภาพ เพื่อผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันเบนซินพื้นฐาน เป็น ๒ ชนิด ดังนี้ ๖.๑ น้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ ๑ ๖.๒ น้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ ๒ ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐานให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐานที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๔) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันเบนซินพื้นฐานที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) และ (๓) ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พื้นฐานที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/พิมพ์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๓๔/๗ เมษายน ๒๕๕๓
623308
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. 2553
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่ง ในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมธุรกิจพลังงานกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง และการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด โดยผู้ค้าน้ำมันต้องยื่นขอความเห็นชอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนการจำหน่าย นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันเชื้อเพลิง” หมายความว่า ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา เอทานอลแปลงสภาพ และไบโอดีเซล “สารเติมแต่ง” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เติมในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อปรับปรุงหรือป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือฟิสิกส์ของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อปกป้องเครื่องยนต์ที่จะได้รับความเสียหายจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิง ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับสารเติมแต่งที่ใช้ในการกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้กลั่นในเขตโรงกลั่น ข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ยื่นแบบแจ้งการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอความเห็นชอบพร้อมด้วยเอกสารประกอบ โดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ ธพ. ค ๔๐๙ ท้ายประกาศนี้ (๒) ให้ทำการทดสอบประสิทธิภาพ หรือปริมาณของสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบ ธพ. ค ๔๐๙ ซึ่งสามารถทดสอบภายในประเทศได้ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบของผู้ค้าน้ำมัน หรือห้องปฏิบัติการอื่นที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่นั้น โดยกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว (๓) ให้ส่งรายงานผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งกับเครื่องยนต์ตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบ ธพ. ค ๔๐๙ จากสถาบันการทดสอบที่เป็น Third Party Lab ที่ได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมสารเติมแต่ง หรือจากห้องปฏิบัติการที่วิธีการทดสอบได้รับการรับรองมาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO 17025) หรือจาก Coordinating European Council (CEC) หรือจาก American Chemistry Council (ACC) หรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน (๔) กรณีที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงจากกรมธุรกิจพลังงานแล้วก่อนหน้าที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ แต่ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในแบบแจ้ง ธพ.ค. ๔๐๙ หากผู้ค้าน้ำมันประสงค์จะใช้สารเติมแต่งดังกล่าวต่อไปจะต้องทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งใหม่ และส่งรายงานผลการทดสอบดังกล่าวให้กรมธุรกิจพลังงานพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้และให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นยังคงใช้อยู่จนกว่าอธิบดีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีผู้ค้าน้ำมันทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งใหม่ตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ผลการทดสอบยังคงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว โดยออกเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ค้านํ้ามันทราบ (๕) เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้วกรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ ธพ. ค ๔๑๐ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบในข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมด้วยเอกสารประกอบ โดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ ธพ. ค ๔๑๑ ท้ายประกาศนี้ (๒) เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้วกรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ ธพ.ค ๔๑๒ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ หรือวันที่ผู้ค้าน้ำมันประสงค์จะจำหน่าย (๓) ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ (๒) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๓.๑) การจัดหา การเก็บ และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๓.๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิงตามแบบ ธพ. ค ๔๑๓ ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ข้อ ๘ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๖ (๕) หรือลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดตามข้อ ๗ (๒) แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่า เอกสารที่ใช้ในการขอความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนหรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสารหรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกตามข้อ ๖ (๕) หรือตามข้อ ๗ (๒) ได้ ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ และข้อ ๗ ให้ยื่นที่กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรายละเอียดใด ๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๑ บรรดาหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกไปก่อนหน้าที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดในประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อขอความเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๐๙) ๒. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๑๐) ๓. แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดเพื่อขอความเห็นชอบเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๑๑) ๔. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๑๒) ๕. แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๑๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๙๑/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
622734
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2553
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล เพื่อให้สามารถกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ (๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แยกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (ก) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (ข) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๕ (๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินสมุทร (Bunker Oil) ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้ (ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก (ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส (ง) สี น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ต้องเป็นสีเขียวที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก 1,4 - dialkylamino anthraquinone และ 1,3 benzenediol 2,4 - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง ต้องเป็นสีม่วงที่มีความเข้มเทียบเท่าสีมาตรฐานที่เตรียมได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 เท่ากับ ๐.๕ ผสมกับสีที่เป็นสารประกอบจำพวก 1,4 - dialkylamino anthraquinone และ 2 - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนักปริมาณเนื้อสีที่ใช้ ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในการย้อมสีน้ำมันจะใช้ปริมาณเนื้อสีแตกต่างจากที่กำหนดก็ได้ แต่ความเข้มของสีต้องเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น (๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะ ในข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้ คุณสมบัติการหล่อลื่น ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันและสีหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๖/๑๕ มกราคม ๒๕๕๓
622732
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. 2553
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน เพื่อให้สามารถกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดชนิดของน้ำมันเบนซินเป็น ๒ ชนิด คือ (๑) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๑ (๒) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๕ ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันเบนซินสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๒) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันเบนซินสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่งหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) น้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๘) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๔/๑๕ มกราคม ๒๕๕๓
617125
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยต้องหยุดการผลิตกะทันหัน ทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการจ่ายไฟฟ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕ โดยนํ้าหนักและจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗ องศาเซลเซียส ทดแทน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเตาในประเทศได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันงดจำหน่ายหรือส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงดังต่อไปนี้ออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง - น้ำมันเตาชนิดที่ ๕ ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕ โดยน้ำหนัก และจุดไหลเท (Pour point) ไม่สูงกว่า ๕๗ องศาเซลเซียส ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๒๖/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
612327
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๒/๒๕๕๒ กำหนดให้มีการตรวจวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการ เพื่อคำนวณจำนวนเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรณีที่มีการประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันตามนโยบายของรัฐจากการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงานมีหน้าที่แจ้งจำนวนเงินชดเชยต่อผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ ดังนั้น เพื่อให้การคำนวณเงินชดเชยเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ข้อ ๖ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิของผู้ค้าน้ำมันประกอบด้วย น้ำมันคงเหลือสุทธิในคลังน้ำมัน น้ำมันคงเหลือสุทธิในสถานีบริการน้ำมันที่ผู้ค้าดำเนินการเอง และน้ำมันที่อยู่ระหว่างการขนส่ง ข้อ ๔ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิในคลังน้ำมันให้คำนวณจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแต่ละชนิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดได้ในถังของแต่ละคลังน้ำมัน ณ อุณหภูมิที่ ๓๐ องศาเซลเซียส หรือที่ ๘๖ องศาฟาเรนไฮต์ หักด้วยปริมาณสำรองตามกฎหมาย ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับฝากผู้อื่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่รอการส่งออก และปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีไว้ใช้ในกิจการของตนเอง ข้อ ๕ ปริมาณสำรองตามกฎหมายตาม ข้อ ๔ ให้คำนวณ ดังนี้ (๑) ให้แบ่งปริมาณสำรองตามกฎหมายของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๕ และน้ำมันดีเซลพื้นฐาน ออกเป็นสองส่วนตามสัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปคงเหลือกับน้ำมันพื้นฐานคงเหลือ (๒) ให้นับปริมาณน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๕ เป็นปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิหลังจากหักปริมาณสำรองตามกฎหมายที่คำนวณตาม (๑) ออกแล้วแต่สำหรับน้ำมันดีเซลพื้นฐาน ให้นับเป็นปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิทั้งจำนวน ข้อ ๖ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิของสถานีบริการน้ำมัน ให้คำนวณจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแต่ละชนิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดได้ ณ อุณหภูมิขณะตรวจวัดบวกด้วยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ระหว่างการขนส่ง หักด้วยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับฝากผู้อื่น ข้อ ๗ น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ระหว่างการขนส่ง ตามข้อ ๓ และข้อ ๖ ได้แก่ (๑) น้ำมันเชื้อเพลิงในเรือบรรทุกน้ำมันที่รอ หรืออยู่ระหว่างสูบถ่ายขึ้นเก็บในคลังน้ำมันใดก่อนเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่เข้าตรวจวัดและสูบถ่ายแล้วเสร็จภายหลังเวลาดังกล่าวโดยมีเอกสารใบกำกับการขนส่งหรือใบขนสินค้าขาเข้ากรณีนำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้นับเป็นน้ำมันคงเหลือในคลังน้ำมันนั้น (๒) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จ่ายจากคลังน้ำมันทางท่อ รถขนส่ง รถไฟ หรือ เรือบรรทุกน้ำมันก่อนเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่เข้าตรวจวัด และถึงหรือส่งมอบให้คลังน้ำมันปลายทางภายหลังเวลาดังกล่าวโดยมีเอกสารใบกำกับการขนส่ง ให้นับเป็นน้ำมันคงเหลือในคลังน้ำมันปลายทาง (๓) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จ่ายจากคลังน้ำมันก่อนเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่เข้าตรวจวัดโดยยานพาหนะขนส่งเพื่อส่งให้สถานีบริการน้ำมัน และถึงหรือส่งมอบให้สถานีบริการนํ้ามันภายหลังเวลาดังกล่าวโดยมีเอกสารใบกำกับการขนส่ง ให้นับเป็นน้ำมันคงเหลือของสถานีบริการนั้น (๔) ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (๑) (๒) (๓) ให้ใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ระบุในเอกสารดังกล่าว ยกเว้นกรณีขนส่งโดยเรือบรรทุกน้ำมัน ให้ใช้ปริมาณที่สูบถ่ายขึ้นถังแล้ว ณ อุณหภูมิที่ ๓๐ องศาเซลเซียส หรือที่ ๘๖ องศาฟาเรนไฮต์ ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการน้ำมันมีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างการขนส่งให้จัดส่งเอกสารใบกำกับการขนส่งไปยังกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่มีการตรวจวัด ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง/หน้า ๕๘/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
610814
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๒๒/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608675
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2552
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๑๐ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พร้อมเอกสารประกอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ตามแบบธพ. ค ๔๐๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ เมื่ออธิบดีพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันตามที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ตามแบบ ธพ. ค ๔๐๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ออก ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบให้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ตามข้อ ๗ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ผลิตหรือจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง (๒) ส่งบัญชีตามแบบ ธพ. ธ ๒๑๓ และแบบ ธพ. ค ๔๐๘ ท้ายประกาศนี้ เกี่ยวกับปริมาณของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป (๓) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ชื่อ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ สถานที่ผลิต สถานที่จำหน่าย หรือรายละเอียดใด ๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้ง ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี (๔) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเลิกการผลิต การจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกการผลิตการจำหน่าย แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่กรมธุรกิจพลังงาน (๒) กรณีสถานประกอบการ หรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ ให้ยื่นที่สำนักงานพลังงานจังหวัด ณ จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ข้อ ๑๐ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ให้รวมถึงไบโอดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาลหรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงไบโอดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลนำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล หรือเพื่อจำหน่ายให้ผู้ผลิตไบโอดีเซลตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (๗) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๑๑ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ วรรคสอง ข้อ ๖ และข้อ ๑๐ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (แบบ ธพ. ค ๔๐๖) ๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (แบบ ธพ. ค ๔๐๗) ๔. แบบแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ธพ.ธ ๒๑๓) ๕. แบบแจ้งปริมาณการจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้กลุ่มลูกค้าภายในราชอาณาจักร (แบบ ธพ.ค ๔๐๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๔๓/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
607908
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. 2552
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลอมปนน้ำมันเบนซิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดชนิดของน้ำมันเบนซินเป็น ๒ ชนิด คือ (๑) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๑ (๒) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๕ ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันเบนซินสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันเบนซินสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) น้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๘) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๔/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒
584661
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2551
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสมในสัดส่วนร้อยละ ๘๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์” หมายความว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ในสัดส่วน ๙๐ ต่อ ๑๐ โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑.๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๑ (๑.๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ (ก) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ ชนิดที่ ๑ (ข) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ ชนิดที่ ๒ (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๒๐ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน ๘๐ ต่อ ๒๐ โดยปริมาตร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๘๕ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน ๑๕ ต่อ ๘๕ โดยปริมาตร ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบ ๑ และ ๒ ท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้านํ้ามันจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศ เพื่อขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) นํ้ามันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง (๖) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง เอทานอลแปลงสภาพ ในกรณีที่เอทานอลเกิดการขาดแคลน (๗) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๘) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๕) และ (๖) ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้าย ๑ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒. รายละเอียดแนบท้าย ๒ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑
584654
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะไบโอดีเซลที่ผลิตได้ภายในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในรายการ ๕ รายการ ๑๔ และหมายเหตุ ๒/ ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน รายการ ข้อกำหนด อัตราสูงต่ำ น้ำมันดีเซล วิธีทดสอบ1/ หมุนเร็ว หมุนช้า ธรรมดา บี 5 5 กำมะถัน ร้อยละโดยน้ำหนัก (Sulphur, % wt.) ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ไม่สูงกว่า 0.035 0.035 1.5 ASTM D 4294 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ไม่สูงกว่า 0.005 0.005 1.5 ASTM D 2622 14 สี (1) เปรียบเทียบสี และปริมาณเนื้อสี กับน้ำมันมาตรฐาน ที่เตรียมขึ้นใหม่ (Colour) 14.1 ชนิดของสี - เขียว2/ - (Hue) 14.2 เนื้อสี มิลลิกรัม/ลิตร (Dye , mg/L) ไม่ต่ำกว่า - 4.0 - โดยใช้สีละลายใน น้ำมันก่อนการ ย้อมสีให้มีปริมาณ เท่ากับที่กำหนด แล้วนำมาบรรจุ แยกกันในภาชนะ ที่ใช้ในการวัดสี ตามวิธีทดสอบ ASTM D 1500 แล้วตรวจพินิจ ด้วยสายตา หรือ (2) ASTM D 2392 หมายเหตุ 2/ ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า 1.0 ผสมกับสารประกอบประเภท 1, 4 – dialkylamino anthraquinone และ 1, 3 - benzenediol, 2, 4 – bis [(alkylphenyl) azo -]ในอัตราส่วน 9 : 4 โดยน้ำหนัก หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น และใช้วิธีทดสอบตาม (1) หรือ (2) ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๑/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑
580457
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. 2551
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน เพื่อให้ครอบคลุมถึงการนำไปใช้ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๒๐ และเพื่อรองรับการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในอนาคต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันเบนซินพื้นฐาน” หมายความว่า น้ำมันเบนซินสำหรับใช้ผสมกับเอทานอลแปลงสภาพเพื่อผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันเบนซินพื้นฐาน เป็น ๒ ชนิด ดังนี้ ๖.๑ น้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ ๑ ๖.๒ น้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ ๒ ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐานให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐานที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๔) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๕) น้ำมันเบนซินพื้นฐานที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๗) น้ำมันเบนซินพื้นฐานสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) และ (๓) ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐานที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๒๑/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
573241
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่ปัจจุบันความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปริมาณการผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศต่ำกว่าราคาตลาดโลกมาก อันเป็นเหตุจูงใจให้มีการจำหน่ายออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะการขาดแคลนภายในประเทศ ฉะนั้น เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ที่จะจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งได้บรรจุในถังก๊าซหุงต้มออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อที่กรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน แจ้งให้กรมศุลกากรทราบ ข้อ ๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่จะจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งได้บรรจุในถังก๊าซหุงต้มออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้ประทับอยู่ที่ถังก๊าซหุงต้มนั้น ข้อ ๕ การจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักรผู้ค้าน้ำมันต้องขอหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรในการตรวจปล่อยสินค้าทุกครั้ง ก่อนส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ข้อ ๖ การส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามข้อ ๓ ให้ส่งออกได้เฉพาะท่าที่หรือด่านศุลกากรซึ่งส่งของออกได้ทุกประเภทตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ในกรณีที่เป็นการส่งออกโดยผ่านเขตแดนทางบก ให้ส่งออกได้เฉพาะที่เป็นจุดผ่านแดนถาวร เท่านั้น ข้อ ๗ อธิบดีอาจผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศได้ ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๔/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
569442
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ให้เร็วยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำ มันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ (๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แยกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (ก) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (ข) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๕ (๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินสมุทร (Bunker Oil) ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายเฉพาะข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อก็ได้ (ก) ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (ข) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก (ค) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส (ง) สี น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ต้องเป็นสีเขียว เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก 1,4 – dialkylamino anthraquinone และ 1,3 benzenediol 2, 4 – bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง ต้องเป็นสีม่วง เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก 1,4 – dialkylamino anthraquinone และ 2- naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azoalkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น (๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง คุณสมบัติการหล่อลื่น หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง ปริมาณไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๘) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๑๐) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๑/๑๖ มกราคม ๒๕๕๑
569158
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2550
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำ มันแก๊สโซฮอล์เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเอทานอลเป็นส่วนผสมในสัดส่วนร้อยละ ๒๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์” หมายความว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ ๖.๑ น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๑๐ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ในสัดส่วน ๙๐ ต่อ ๑๐ โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๑๐ ออกเทน ๙๑ (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๑๐ ออกเทน ๙๕ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ ก. น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๑๐ ออกเทน ๙๕ ชนิดที่ ๑ ข. น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๑๐ ออกเทน ๙๕ ชนิดที่ ๒ ๖.๒ น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๒๐ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพในสัดส่วน ๘๐ ต่อ ๒๐ โดยปริมาตร มี ๑ ประเภท คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี๒๐ ออกเทน ๙๕ ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่งหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง เอทานอลแปลงสภาพ ในกรณีที่เอทานอลเกิดการขาดแคลน หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๙๘ ง/หน้า ๕๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
549466
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2550
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับนำมาใช้ผสมน้ำมันดีเซล และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๑๑ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พร้อมเอกสารประกอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ ธพ. ค ๔๐๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ เมื่ออธิบดีพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันตามที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ตามแบบ ธพ. ค ๔๐๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ออก ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบให้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันตามข้อ ๗ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ผลิตหรือจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง (๒) ส่งบัญชีตามแบบ ธพ. ธ ๒๑๓ และแบบ ธพ. ค ๔๐๘ ท้ายประกาศนี้ เกี่ยวกับปริมาณของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป (๓) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ชื่อ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่สถานที่ผลิต สถานที่จำหน่าย หรือรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี (๔) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเลิกการผลิต การจำหน่าย ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกการผลิตการจำหน่าย แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสถานประกอบการ หรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ กรมธุรกิจพลังงาน (๒) กรณีสถานประกอบการ หรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นที่สำนักงานพลังงานภูมิภาค ที่กำกับดูแลในเขตรับผิดชอบจังหวัดนั้น หรือสำนักงานพลังงานจังหวัด ณ จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ข้อ ๑๐ ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยื่นแบบแจ้งขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๑ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ให้รวมถึงไบโอดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ให้รวมถึงไบโอดีเซลที่นำ เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำ มันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลนำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล หรือเพื่อจำหน่ายให้ผู้ผลิตไบโอดีเซล ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๖) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (๗) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๑๒ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ วรรคสอง ข้อ ๖ และข้อ ๑๑ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2550 ๒. แบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (แบบ ธพ. ค ๔๐๖) ๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (แบบ ธพ. ค ๔๐๗) ๔. แบบแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่าย และที่เหลืออยู่ (แบบ ธพ. ธ ๒๑๓) ๕. แบบแจ้งปริมาณการจำหน่ายไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้กลุ่มลูกค้าภายในราชอาณาจักรจำแนกตามประเภทธุรกิจ (แบบ ธพ. ค ๔๐๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๗/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
549460
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2550
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ให้มากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำ มันดีเซลที่จำ หน่ายหรือมีไว้เพื่อจำ หน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท คือ (๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แยกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้ (ก) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (ข) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี ๕ (๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำ มันดีเซล ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินสมุทร (Bunker Oil) ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัยทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามประกาศกำหนดได้เฉพาะข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (ก) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก (ข) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส (ค) สี น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ต้องเป็นสีเขียว เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก 1,4 - dialkylamino anthraquinone และ 1,3 benzenediol 2, 4 - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง ต้องเป็นสีม่วง เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก 1,4 - dialkylamino anthraquinone และ 2 - naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น (๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง คุณสมบัติการหล่อลื่น หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2550 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
533775
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. 2550
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่ง ในน้ำมันเชื้อเพลิงและลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมธุรกิจพลังงานกำหนดให้การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง และการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด โดยผู้ค้าน้ำมันต้องยื่นขอความเห็นชอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนการจำหน่าย นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง และลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง และลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง และลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันเชื้อเพลิง” หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา เอทานอลแปลงสภาพ และไบโอดีเซล “สารเติมแต่ง” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เติมในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อปรับปรุงหรือป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือฟิสิกส์ของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อปกป้องเครื่องยนต์ที่จะได้รับความเสียหายจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับสารเติมแต่งที่ใช้ในการกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้กลั่นในเขตโรงกลั่น ข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ยื่นแบบแจ้งการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอความเห็นชอบพร้อมด้วย เอกสารประกอบ โดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ ธพ. ค ๔๐๑ ท้ายประกาศนี้ (๒) ให้ทำการทดสอบประสิทธิภาพ หรือปริมาณของสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบ ธพ. ค ๔๐๑ ซึ่งสามารถทดสอบภายในประเทศได้ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบของผู้ค้าน้ำมัน หรือห้องปฏิบัติการอื่นที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่นั้น โดยกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว (๓) ให้ส่งรายงานผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งกับเครื่องยนต์มาตรฐานตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบ ธพ. ค ๔๐๑ จากสถาบันการทดสอบที่เป็น Third Party Lab ที่ได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมสารเติมแต่ง หรือจากห้องปฏิบัติการที่วิธีการทดสอบได้รับการรับรองมาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO 17025) หรือจาก Coordinating European Council (CEC) หรือจาก American Chemistry Council (ACC) หรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน (๔) กรณีที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงจากกรมธุรกิจพลังงานแล้วก่อนหน้าที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ แต่ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในแบบแจ้ง ธพ.ค ๔๐๑ หากผู้ค้าน้ำมันประสงค์จะใช้สารเติมแต่ง ดังกล่าวต่อไปจะต้องทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งใหม่ และส่งรายงานผลการทดสอบ ดังกล่าวให้กรมธุรกิจพลังงานพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ และให้ถือว่าหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบนั้นยังคงใช้อยู่จนกว่าอธิบดีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีผู้ค้าน้ำมันทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเติมแต่งใหม่ตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ผลการทดสอบยังคงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว โดยออกเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันทราบ (๕) เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ ธพ. ค ๔๐๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มี ลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบในข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมัน เชื้อเพลิงพร้อมด้วยเอกสารประกอบ โดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ ธพ. ค ๔๐๓ ท้ายประกาศนี้ (๒) เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ ธพ. ค ๔๐๔ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ หรือวันที่ผู้ค้าน้ำมันประสงค์จะจำหน่าย (๓) ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ (๒) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๓.๑) การจัดหา การเก็บ และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๓.๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิง ตามแบบ ธพ. ค ๔๐๕ ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ข้อ ๘ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๖ (๕) หรือลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดตามข้อ ๗ (๒) แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่า เอกสารที่ใช้ในการขอความเห็นชอบดังกล่าว มีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสาร เพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนหรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสารหรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกตามข้อ ๖ (๕) หรือตามข้อ ๗ (๒) ได้ ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ และข้อ ๗ ให้ยื่นที่กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๑ บรรดาหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบที่ออกไปก่อนหน้าที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดในประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งการเติมสารแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขอความเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๐๑ หน้า ๑) ๒. เอกสารที่จัดส่งมาเพื่อประกอบการพิจารณา (แบบ ธพ. ค ๔๐๑ หน้า ๒) ๓. แบบแจ้งข้อมูลสถานที่เติมและวิธีการเติมสารแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ ธพ. ค ๔๐๑ หน้า ๓) ๔. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ ธพ. ค ๔๐๒) ๕. แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดเพื่อขอความเห็นชอบ (แบบ ธพ. ค ๔๐๓ หน้า ๑-๒) ๖. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด (แบบ ธพ. ค ๔๐๔) ๗. แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด (แบบ ธพ. ค ๔๐๕) (ดูข้อมูลทางภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๗/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐
524082
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดให้เหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ในอนาคต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ประเภท คือ (๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แยกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้ (ก) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ไม่ผสมไบโอดีเซล (ข) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี๕ ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมกับไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ในสัดส่วน ๙๕ ต่อ ๕ โดยปริมาตร (๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินสมุทร (Bunker Oil) (๕) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันดีเซลที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร และโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามประกาศ กำหนดได้เฉพาะข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (ก) ปริมาณกำมะถัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๗ โดยน้ำหนัก (ข) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส (ค) สี น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ต้องเป็นสีเขียว เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มข้นของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก 1,4 – dialkylamino anthraquinone และ 1,3 benzenediol 2 , 4 - bis [(alkylphenyl) azo-] ในอัตราส่วน ๙ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการช่วยเหลือน้ำมันให้ชาวประมง ต้องเป็นสีม่วง เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มข้นของสีตามมาตรฐาน ASTM D 1500 ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก 1,4 - dialkylamino anthraquinone และ 2- naphthalenol [(phenylazo) phenyl] azo alkyl derivatives ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้ แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีม่วงมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น (๖) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง คุณสมบัติการหล่อลื่น (๗) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๙) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) (๑๐) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตาม (๖) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๔๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๒๐/๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
524079
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดให้เหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ในอนาคต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์” หมายความว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับเอทานอลแปลงสภาพ ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๖ ให้กำหนดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็น ๒ ชนิด คือ (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๑ ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ ๑ กับเอทานอลแปลงสภาพ ในสัดส่วน ๙๐ ต่อ ๑๐ โดยปริมาตร (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี ๑๐ ออกเทน ๙๕ ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ได้จากการผสมน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ ๒ กับเอทานอลแปลงสภาพ ในสัดส่วน ๙๐ ต่อ ๑๐ โดยปริมาตร ข้อ ๗ ภายใต้บังคับของข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๘ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซินทั้งนี้ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัยทั้งนี้ให้รวมถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง (๖) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง เอทานอลแปลงสภาพ ในกรณีที่เอทานอลเกิดการขาดแคลน (๗) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๘) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๕) ข้อ ๙ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก็สโซฮอล์ พ.ศ. 2549 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑๘/๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
524077
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่สมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดให้เหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ในอนาคต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ให้กำหนดชนิดของน้ำมันเบนซินเป็น ๒ ชนิด คือ (๑) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๑ (๒) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๕ ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) น้ำมันเบนซินสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๔) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงน้ำมันเบนซินที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๕) น้ำมันเบนซินสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง (๖) น้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามวัตถุประสงค์นี้ด้วย (๗) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๘) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๙) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตาม (๕) ข้อ ๘ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสอง และข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ข้อ ๙ ประกาศนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน หรือการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ที่ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ และให้คงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. 2549 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑๖/๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
524074
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรอง น้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ที่ประสงค์จะขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ยื่นขอความเห็นชอบล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อกรมธุรกิจพลังงาน ทั้งนี้ การยื่นขอความเห็นชอบต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขถัง ชนิด ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะเวลา และสถานที่ที่จะใช้เก็บสำรอง พร้อมยื่นแบบ ธพ.ธ ๓๐๔ ตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นสถานที่หรือที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคลังน้ำมันหรือเป็นสถานที่เก็บน้ำมัน ที่ (ก) มีทางสำหรับรถยนต์เข้าออกได้สะดวก (ข) มีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งอยู่บนบกในลักษณะตรึงตราถาวร ซึ่งสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำมันได้โดยสะดวก (ค) มีท่อรับจ่าย และลานจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ความใน (ข) และ (ค) ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นที่บรรจุในภาชนะปริมาณไม่เกิน ๒๐๐ ลิตร (๒) เป็นท่อส่งน้ำมันดิบในทะเลจากทุ่นหรือแท่นรับน้ำมันที่ผูกโยงติดกับพื้นใต้ทะเลมาถึงจุดรับชายฝั่งที่มีเครื่องบังคับปิดเปิด และมีจุดสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิง (๓) เป็นท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทที่ดำเนินการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ (๔) เป็นเรือบรรทุกน้ำมันที่รอสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเก็บในคลังน้ำมัน หรืออยู่ระหว่างเดินทางในน่านน้ำไทยเพื่อลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงไปเก็บในคลังน้ำมัน โดยต้องระบุท่าเรือที่จะทำการสูบถ่ายน้ำมันด้วย ข้อ ๖ ในกรณีสถานที่ที่ขอความเห็นชอบเป็นคลังน้ำมันที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ให้ผู้ขอความเห็นชอบระบุหมายเลขถัง ความจุถัง และสิทธิการใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของตนด้วย ข้อ ๗ ในกรณีที่เป็นท่อส่งน้ำมันตามข้อ ๕ (๒) และ (๓) จะต้องเป็นท่อที่สามารถนำน้ำมันออกได้ไม่ว่าเวลาใดตลอดระยะเวลาที่เก็บสำรองน้ำมันในท่อดังกล่าว ข้อ ๘ ในกรณีที่มีสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงหลายแห่ง ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ต้องจัดทำบัญชีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแยกตามชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง และแยกตามสถานที่ที่ใช้เก็บแต่ละแห่ง โดยสามารถรายงานให้กรมธุรกิจพลังงานทราบได้ในเวลาอันควร ข้อ ๙ ในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่แล้ว และจะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในปีต่อไป ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งยืนยันการใช้เป็นหนังสือต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนถึงปีต่อไปที่จะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมรายละเอียดสถานที่ที่จะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ ๑๐ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในระหว่างปีเกี่ยวกับสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการเปลี่ยนแปลงชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการยกเลิกสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งเป็นหนังสือต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ข้อ ๑๑ การยื่นขอความเห็นชอบ การยืนยัน การเปลี่ยนแปลง และการยกเลิกใดๆ ตามประกาศนี้ ให้ยื่นหรือแจ้ง ณ กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๒ สถานที่ที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ก่อนที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามประกาศนี้ และหากมีกรณีที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ ก็ให้ผู้ค้าน้ำมันดำเนินการให้ถูกต้องภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สำหรับสถานที่หรือที่ที่ได้ใช้เป็นสถานที่เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ก่อนแล้ว และอยู่ในข่ายที่ต้องขอความเห็นชอบตามประกาศนี้ ให้ผู้ค้าน้ำมันยื่นขอความเห็นชอบให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบ ธพ.ธ ๓๐๔ แบบคำขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑๓/๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
524072
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ (๓) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๔ ภายใต้บังคับข้อ ๕ และ ข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามชนิดและอัตราตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ น้ำมันเชื้อเพลิงดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง คือ (๑) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่นซึ่งตรงกับปริมาณแจ้งซื้อ (๒) น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ (๓) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ (๔) น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ หรือ เพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ (๕) น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันหล่อลื่น หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้ในการกลั่นได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิง (๖) น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่ายไปอย่างวัตถุดิบในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน และน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเป็นชนิดที่ต้องสำรองตามตารางท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ การเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดในแต่ละวัน ผู้ค้าน้ำมันจะเก็บไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของปริมาณที่มีหน้าที่ต้องเก็บสำรองก็ได้ แต่ทั้งนี้เมื่อคำนวณปริมาณที่เก็บสำรองแต่ละชนิดเฉลี่ยในแต่ละเดือนต้องไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดในข้อ ๔ ด้วย ข้อ ๗ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ และจำหน่าย จ่าย โอนจากเขตปลอดอากรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกี่ยวกับปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมีที่เป็นของเหลว ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เข้ามาในประเทศ ให้ใช้อัตราสำรองของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตในราชอาณาจักร ในกรณีเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และจำหน่าย จ่าย โอน จากเขตปลอดอากรดังกล่าวตามวรรคหนึ่งเข้ามาในประเทศ ให้ใช้อัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ข้อ ๘ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มเดียวกันตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ทดแทนกันก็ได้ ข้อ ๙ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ผู้ค้าน้ำมันอาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูป หรือน้ำมันองค์ประกอบแทนน้ำมันดิบที่ต้องสำรองได้ตามปริมาณน้ำมันดิบที่มีหน้าที่ต้องสำรองหรืออาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันดิบหรือน้ำมันองค์ประกอบแทนน้ำมันสำเร็จรูปที่มีหน้าที่ต้องสำรองได้ ทั้งนี้ ปริมาณที่เก็บแทนกันต้องไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดที่ต้องสำรอง ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนกันดังกล่าว ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ผู้ค้าน้ำมันต้องยื่นขอความเห็นชอบสูตรการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบเป็นน้ำมันสำเร็จรูปไว้เป็นการล่วงหน้าต่อกรมธุรกิจพลังงาน ทั้งนี้ สูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบเป็นน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละสูตรต้องผ่านการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพจากกรมธุรกิจพลังงาน (๒) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเลือกเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามสูตรที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนวันที่ประสงค์จะเลือกเก็บแทนกัน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะเวลา หมายเลขถัง และคลังน้ำมันที่จะใช้เก็บ ทั้งนี้ ถังเก็บน้ำมันและคลังน้ำมันดังกล่าวจะต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบให้ใช้เป็นสถานที่เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย (๓) ผู้ค้าน้ำมันที่ได้เลือกเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงแทนกันตาม (๒) ต้องรายงานปริมาณคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บแทนเสมือนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามกฎหมาย ตามแบบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันสำรองตามกฎหมายคงเหลือรายวัน และในกรณีที่เลือกเก็บน้ำมันองค์ประกอบ ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบที่เลือกใช้ในแต่ละคราวด้วย (๔) การเปลี่ยนแปลงสูตรการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หรือการเปลี่ยนแปลง หรือการยกเลิกการเก็บน้ำมันสำรองแทนกัน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก (๕) การยื่นขอความเห็นชอบ การแจ้งการเก็บแทน การเปลี่ยนแปลง และการยกเลิกใดๆตามประกาศนี้ ให้ยื่นหรือแจ้ง ณ กรมธุรกิจพลังงาน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. ชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑๐/๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
523837
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 10 พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบและรายการบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน ของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อกำหนดแบบและรายการเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนของผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบและรายการบัญชี เกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ส่งบัญชีเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่ายไปแล้ว และที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ตามแบบและรายการที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ดังนี้ (๑) การแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มาจำหน่าย และที่เหลืออยู่ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๓ (๒) การแจ้งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๔ (๓) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักร จำแนกตามประเภทธุรกิจ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๕ (๔) การแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักร จำแนกตามประเภทธุรกิจในจังหวัดต่างๆ ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๖ (๕) การแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ใช้แบบ ธพ.ธ ๒๑๗ ข้อ ๔ การส่งบัญชีตามข้อ ๓ ให้ส่งจำนวน ๑ ชุด พร้อมคู่ฉบับ ๑ ชุด โดยยื่นส่งด้วยตนเองหรือส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังกรมธุรกิจพลังงานก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่น ผลิต ได้มา จำหน่าย และที่เหลืออยู่ (ธพ.ธ ๒๑๓) ๒. แบบแจ้งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร (ธพ.ธ ๒๑๔) ๓. แบบแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปภายในราชอาณาจักรจำแนกตามประเภทธุรกิจ (ธพ.ธ ๒๑๕) ๔. แบบแจ้งปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักรให้กลุ่มลูกค้าทั่วไป จำแนกตามประเภทธุรกิจในจัหวัดต่างๆ (ธพ.ธ ๒๑๖) ๕. แบบแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร (ธพ.ธ ๒๑๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐
500302
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้มีการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “เครื่องยนต์การเกษตร” หมายความว่า เครื่องยนต์สูบเดียว ๔ จังหวะ สูบนอน ระบายความร้อนด้วยน้ำ ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๑๑ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ยื่นแบบแจ้งขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) พร้อมเอกสารประกอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ตามแบบ นพ. ๔๒๕ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ตามที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ตามแบบ นพ. ๔๒๖ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบให้จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ตามข้อ ๗ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ติดป้ายแสดงชื่อ “ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) สูบเดียว ๔ จังหวะ สูบนอน ระบายความร้อนด้วยน้ำ” ขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า ๕ เซนติเมตร ณ จุดจำหน่ายให้เห็นได้อย่างชัดเจน (๒) ผลิตหรือจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง (๓) จัดเก็บตัวอย่างไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) เพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพตามความจำเป็น เป็นครั้งคราวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ (๔) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ตามแบบ นพ. ๔๒๗ ท้ายประกาศนี้ ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป (๕) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ชื่อ สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่สถานที่ผลิต สถานที่จำหน่าย หรือรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี (๖) ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์เลิกการผลิต การจำหน่าย ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ให้ทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกการผลิตการจำหน่าย แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสถานประกอบการ หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ กรมธุรกิจพลังงาน (๒) กรณีสถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นต่อสำนักงานพลังงานภูมิภาค ที่กำกับดูแลในเขตรับผิดชอบจังหวัดนั้น หรือหน่วยงานบริการธุรกิจพลังงาน ณ จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ข้อ ๑๐ ให้ผู้ค้าน้ำมันซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับยื่นแบบแจ้งขอรับความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๑ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) เพื่อการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๓) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๔) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (๕) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) เพื่อการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซล สำหรับนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (๖) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) เพื่อการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันสำหรับวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๗) ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) เพื่อการจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตไบโอดีเซล หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ สำหรับวัตถุประสงค์ตาม (๒) ข้อ ๑๒ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ วรรคสอง และข้อ ๑๑ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒. แบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบ การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) (แบบ นพ. ๔๒๕) ๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นขอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ไบโออีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) (แบบ นพ. ๔๒๖) ๔. เงื่อนไขการให้ความเห็นชอบการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ๕. แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ประจำเดือน.พ.ศ.(แบบ นพ. ๔๒๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๕/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙
460709
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของเอทานอลแปลงสภาพ พ.ศ. 2548
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของเอทานอลแปลงสภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะและคุณภาพเอทานอลแปลงสภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการนำเอทานอลมาใช้ในเชิงพาณิชย์ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของเอทานอลแปลงสภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “เอทานอลแปลงสภาพ” หมายความว่า เอทานอลที่ได้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงตามสูตรการแปลงสภาพที่กรมสรรพสามิตกำหนด สำหรับใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานเพื่อผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับกับเอทานอลแปลงสภาพที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของเอทานอลแปลงสภาพ ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้การเติมสารเติมแต่งในเอทานอลแปลงสภาพ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของเอทานอลแปลงสภาพ ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายเพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) เอทานอลแปลงสภาพสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) เอทานอลแปลงสภาพสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) เอทานอลแปลงสภาพสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาลหรืองานวิจัย (๔) เอทานอลแปลงสภาพที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลแปลงสภาพ (๕) เอทานอลแปลงสภาพสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตเอทานอลแปลงสภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลแปลงสภาพ (๖) เอทานอลแปลงสภาพสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๗) เอทานอลแปลงสภาพสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตเอทานอลแปลงสภาพหรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๒) และ (๓) ข้อ ๗ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ วรรคสอง และข้อ ๖ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของเอทานอลแปลงสภาพพ.ศ. ๒๕๔๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๘/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
460693
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2548
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในเชิงพาณิชย์ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับกับไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายไปนอกราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางทะเล ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อน (๑) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนอกจากการขนส่งทางทะเล (๒) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๔) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (๕) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (๖) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๗) ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตไบโอดีเซลหรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๒) และ (๓) ข้อ ๖ การขอและการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๔ วรรคสอง และข้อ ๕ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2548 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ [๑] รก.๒๕๔๘/พ๗๐ง/๑๒/๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
443703
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็น (๓) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ “(๓) ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่มียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้า หรือรองหัวหน้าชุดปฏิบัติการตามหน้าที่งานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓” ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มยุรี/พิมพ์ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ สุนันทา/นวพร/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๙๓ง/๔/๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
441972
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการและเงื่อนไขการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ และจำหน่าย จ่าย โอน จากเขตปลอดอากรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมเกี่ยวกับปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมีที่เป็นของเหลว ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เข้ามาในประเทศ ให้ใช้อัตราสำรองของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตในราชอาณาจักร ในกรณีเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และจำหน่าย จ่าย โอน จากเขตปลอดอากรดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง เข้ามาในประเทศ ให้ใช้อัตราสำรองของน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ผู้ค้าน้ำมันอาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูป หรือน้ำมันองค์ประกอบแทนน้ำมันดิบที่ต้องสำรองได้ตามปริมาณน้ำมันดิบที่มีหน้าที่ต้องสำรอง หรืออาจเลือกเก็บสำรองน้ำมันดิบหรือน้ำมันองค์ประกอบแทนน้ำมันสำเร็จรูปที่มีหน้าที่ต้องสำรองได้ ทั้งนี้ ปริมาณที่จัดเก็บแทนกันต้องไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดที่ต้องสำรอง ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทนกันดังกล่าว ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) ผู้ค้าน้ำมันต้องยื่นขอความเห็นชอบสูตรการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบเป็นน้ำมันสำเร็จรูปไว้เป็นการล่วงหน้าต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน โดยสูตรการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงต้องคำนวณจากสถิติการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงย้อนหลังสามเดือนนับแต่เดือนก่อนเดือนที่ยื่นขอความเห็นชอบ และสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบเป็นน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละสูตรต้องผ่านการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพจากกรมธุรกิจพลังงาน (๒) เมื่อผู้ค้าน้ำมันประสงค์จะเลือกเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามสูตรที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณ ระยะเวลา และสถานที่ที่จะใช้เก็บต่ออธิบดีก่อนวันที่ประสงค์จะเลือกเก็บแทนกัน ทั้งนี้ สถานที่ดังกล่าวจะต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบให้ใช้เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง (๓) ผู้ค้าน้ำมันที่ได้เลือกเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงแทนกันตาม (๒) ต้องรายงานปริมาณคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บแทนเสมือนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองตามกฎหมาย ตามแบบแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันสำรองตามกฎหมายคงเหลือรายวัน (แบบ นพ. ๒๑๐) และในกรณีที่เลือกเก็บน้ำมันองค์ประกอบ ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบที่เลือกใช้ในแต่ละคราวด้วย (๔) การเปลี่ยนแปลงสูตรการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือสูตรการผสมน้ำมันองค์ประกอบที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หรือการยกเลิกการเก็บน้ำมันสำรองแทนกันให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก (๕) การยื่นขอความเห็นชอบ การแจ้งขอเก็บแทน การเปลี่ยนแปลงและการยกเลิกใดๆ ตามประกาศนี้ ให้ยื่นหรือแจ้ง ณ กรมธุรกิจพลังงาน” ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน พรพิมล/พิมพ์ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๗๖ง/๒๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗
435727
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิวิทยากรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิวิทยากรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ อาศัยความตามข้อ ๓ ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงได้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิวิทยากรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (๑) “ผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ” หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติตามประกาศกระทรวงพลังงาน (๒) “วิทยากรฝึกอบรม” หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ (๓) “วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคล” หมายถึง นิติบุคคลหรือสถาบันที่เป็นนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการจัดการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ (๔) “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ข้าราชการพลเรือนสามัญของกรมธุรกิจพลังงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ คุณสมบัติและคุณวุฒิวิทยากรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ข้อ ๔ วิทยากรฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) ไม่เป็นผู้ที่กระทำผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ (๒) ไม่เป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบรับรองวิทยากรฝึกอบรมรวมกันตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป (๓) ไม่เป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบรับรองวิทยากรฝึกอบรมในระหว่างเวลาไม่เกิน ๑ ปี หลังจากถูกเพิกถอน (๔) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี (๕) มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ข้อ ๕ วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินกิจการในรูปนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการฝึกอบรมหรือประกอบกิจการให้ศึกษา (๒) กรณีที่เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท (๓) มีสำนักงานที่แน่นอนเป็นหลักแหล่งน่าเชื่อถือ (๔) ไม่เป็นผู้ที่กระทำผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ (๕) ไม่เป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบรับรองวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลรวมกันตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป (๖) ไม่เป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบรับรองวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลในระหว่างเวลาไม่เกิน ๑ ปี หลังจากถูกเพิกถอน หมวด ๓ การออกใบรับรองวิทยากรฝึกอบรม ข้อ ๖ ผู้ที่จะขอเป็นวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลจะต้องยื่นคำขอใบรับรองตามแบบ ธช. /ว. ๑ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๗ เมื่อผู้ที่ประสงค์จะขอเป็นวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลยื่นคำขอและได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติและคุณวุฒิครบถ้วนแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกใบรับรองให้เป็นวิทยากรฝึกอบรมตามแบบ ธช. /ว. ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ใบรับรองให้เป็นวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลที่กรมธุรกิจพลังงานออกให้มีอายุไม่เกิน ๕ ปี หากวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลประสงค์จะเป็นวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลต่อเนื่อง จะต้องยื่นเรื่องราวคำขอต่ออายุใบรับรองตามแบบ ธช. /ว. ๑ ท้ายประกาศนี้ก่อนใบรับรองจะสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ข้อ ๙ ใบรับรองให้เป็นวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลจะถูกพักใช้เมื่อวิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลกระทำความผิดดังนี้ (๑) กระทำการละเว้นหน้าที่ (๒) กระทำผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ การพักใช้จะถูกพักใช้คราวละไม่เกิน ๑ ปี ข้อ ๑๐ ใบรับรองให้เป็นวิทยากรฝึกอบรมจะถูกเพิกถอนเมื่อวิทยากรฝึกอบรมขาดคุณสมบัติและกระทำความผิด ดังนี้ (๑) ขาดคุณสมบัติตามคำขอใบรับรองตามแบบ ธช. /ว. ๑ (๒) กระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไปหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป (๓) กระทำผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพอย่างร้ายแรง วิทยากรฝึกอบรมหรือวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลผู้ถูกสั่งเพิกถอนจะขอใบรับรองใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนด ๑ ปี หมวด ๔ หน้าที่ของวิทยากรฝึกอบรม ข้อ ๑๑ ในการฝึกอบรม วิทยากรฝึกอบรมจะต้องเตรียมแผนการสอนที่มีเนื้อหา สื่อการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่เนื้อหาที่จะทำการฝึกอบรมตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ และยื่นขอรับความเห็นชอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๒ ในการฝึกอบรม วิทยากรฝึกอบรมจะต้องทำการตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ข้อ ๑๓ ในการฝึกอบรม เมื่อวิทยากรฝึกอบรมเห็นว่าผู้ฝึกอบรมไม่เชื่อฟังหรือไม่พร้อมที่จะฝึกอบรมโดยมีความปลอดภัยได้ วิทยากรฝึกอบรมอาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากการฝึกอบรมและแจ้งต่อวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้สังเกตการณ์ทราบ ข้อ ๑๔ เมื่อทำการฝึกอบรมเสร็จสิ้น วิทยากรฝึกอบรมจะต้องรายงานผลการฝึกอบรมต่อวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคล หมวด ๕ หน้าที่ของวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคล ข้อ ๑๕ ในการฝึกอบรมวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลจะต้องจัดทำแผนการฝึกอบรมที่มีเนื้อหา สื่อการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่เนื้อหาที่จะทำการฝึกอบรม ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติและยื่นขอรับความเห็นชอบต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๖ วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม และต้องจัดให้มีระบบการจัดเก็บที่เหมาะสม ข้อ ๑๗ วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลจะต้องจัดหาวิทยากรฝึกอบรมที่ได้รับใบรับรองตามประกาศนี้ และจัดหาสถานที่ สื่อการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะทำการฝึกอบรมตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ข้อ ๑๘ เมื่อการฝึกอบรมเสร็จสิ้น วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลจะต้องรายงานผลการฝึกอบรมให้แก่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๙ ในการจัดการฝึกอบรม วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลจะจัดการฝึกอบรมโดยให้การฝึกอบรมและการสอบไม่ต่อเนื่องก็ได้ แต่ต้องจัดการฝึกอบรมและหรือการสอบแต่ละวิชาห่างกันไม่เกิน ๑๐ วัน หมวด ๖ อื่นๆ ข้อ ๒๐ ในระหว่างที่ไม่มีผู้ใดรับรองวิทยากรฝึกอบรม หากมีความจำเป็นจะต้องทำการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ให้ผู้ที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายคัดเลือกผู้ที่มีความรู้จากส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ และเสนอรายชื่อต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเพื่อคัดเลือกให้เป็นวิทยากรฝึกอบรม ข้อ ๒๑ ในระหว่างที่ไม่มีผู้ได้รับใบรับรองวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคล หากมีความจำเป็นจะต้องทำการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ให้ผู้ที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายเป็นวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคล จนกว่าจะมีวิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคลตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน คำขอใบรับรอง ขอต่ออายุ เป็นวิทยากรฝึกอบรม วิทยากรฝึกอบรมนิติบุคคล [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] คำรับรองคุณสมบัติตามแบบ ธช. /ว. ๑ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ใบรับรอง [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] พรพิมล/พิมพ์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๒๔ง/๔/๓ มีนาคม ๒๕๔๗
435725
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ อาศัยความตามข้อ ๓ ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงได้ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมวด ๑ ความทั่วไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (๑) “ผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ” หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่บรรจุก๊าซธรรมชาติลงในรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือท่อส่งก๊าซธรรมชาติลงในถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติหรือรถขนส่งก๊าซธรรมชาติหรือท่อส่งก๊าซ ในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (๒) “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ข้าราชการพลเรือนสามัญของกรมธุรกิจพลังงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ คุณสมบัติและคุณวุฒิผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ข้อ ๔ ผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติต้องมีคุณสมบัติและคุณวุฒิ ดังนี้ (๑) ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน (๒) ไม่เป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบรับรองและบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติรวมกันตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป (๓) ไม่เป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบรับรองและบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติในระหว่างเวลาไม่เกิน ๕ ปี หลังจากถูกเพิกถอน (๔) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี (๕) มีความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หมวด ๓ การออกใบรับรองและบัตรประจำตัว ข้อ ๕ ผู้ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ จะต้องยื่นคำขอรับการฝึกอบรม ขอใบรับรอง ขอบัตรประจำตัว ขอต่ออายุ เป็นผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติตามแบบ ธช. /ผ.๑ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๖ เมื่อผู้ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ผ่านการฝึกอบรมและการสอบตามหลักสูตรท้ายประกาศนี้ กรมธุรกิจพลังงานจะออกใบรับรองผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติตามแบบ ธช. /ผ.๒ และบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติตามแบบ ธช. /ผ.๓ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ บัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานออกให้มีอายุไม่เกิน ๕ ปี หากผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติประสงค์จะปฏิบัติงานต่อเนื่องจะต้องยื่นเรื่องราวขอต่ออายุบัตรประจำตัวตามแบบ ธช. /ผ.๑ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ก่อนบัตรประจำตัวจะสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ข้อ ๘ บัตรประจำตัวให้เป็นผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ จะถูกพักใช้เมื่อผู้ปฏิบัติงานกระทำความผิดดังนี้ (๑) กระทำการละเว้นหน้าที่ (๒) กระทำการผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ การพักใช้จะถูกพักใช้คราวละไม่เกิน ๑ ปี ข้อ ๙ ใบรับรองและบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ จะถูกเพิกถอนเมื่อผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติขาดคุณสมบัติ และกระทำความผิด ดังนี้ (๑) ขาดคุณสมบัติตามคำขอรับการฝึกอบรม ขอใบรับรอง ขอบัตรประจำตัว ขอต่ออายุ เป็นผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติตามแบบ ธช. /ผ.๑ ท้ายประกาศนี้ (๒) กระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไปหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป (๓) กระทำผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพอย่างร้ายแรง ผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติผู้ถูกสั่งเพิกถอนจะขอใบรับรองและบัตรประจำตัวใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนด ๑ ปี หมวด ๔ การฝึกอบรม ข้อ ๑๐ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ มีเนื้อหาและระยะเวลาเป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ กรณีที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นว่ามีเนื้อหาที่ควรฝึกอบรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงานอาจสั่งให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาตามที่อธิบดีเห็นสมควร ข้อ ๑๒ ในการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ต้องดำเนินการโดยวิทยากรฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยวิทยากรฝึกอบรม ข้อ ๑๓ ในการฝึกอบรม จะต้องอยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๔ ในการสอบจะต้องใช้ข้อสอบที่ออกโดยกรมธุรกิจพลังงาน โดยใช้เนื้อหาตามหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ในการสอบจะต้องควบคุมการสอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๖ ผู้ที่ถือว่าผ่านการฝึกอบรมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) จะต้องมีเวลาที่ใช้ในการศึกษาอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติและทุกสาขาวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ (๒) ผ่านการประเมินผลในการสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จะต้องได้คะแนนในการสอบในแต่ละสาขาวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ข้อ ๑๗ ผู้ที่ไม่ผ่านการสอบ พนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ทำการสอบซ่อมในวิชาที่ไม่ผ่านอีกครั้งภายใน ๑๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศผลสอบ ตามสถานที่ๆ กำหนด ข้อ ๑๘ ผู้ที่ทำการทุจริตในการสอบจะถูกปรับตกทุกวิชา และจะถูกตัดสิทธิ์ในการขอรับการฝึกอบรม และขอมีบัตรประจำตัวเป็นผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติเป็นระยะเวลา ๕ ปี ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับการฝึกอบรม ขอใบรับรอง ขอบัตรประจำตัว ขอต่ออายุ เป็นผู้ปฎิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ๒. คำรับรองคุณสมบัติท้ายแบบ ธช. /ผ.๑ ๓. แบบบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ธช. /ผ. ๓ ๔. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก๊าซธรรมชาติ ของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ๕. รายละเอียดการฝึกอบรมเป็นรายวิชา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรพิมล/พิมพ์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ [๑] ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ /ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๑๙/๓.มีนาคม ๒๕๔๗
435723
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิของวิศวกรทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติ
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิของวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิของวิศวกรทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “การทดสอบและตรวจสอบ” หมายถึง การดำเนินการทดสอบ การตรวจสอบและการตรวจวัดสภาพและคุณภาพมาตรฐาน ของภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอันได้แก่ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซตลอดจนตรวจสอบตู้จ่ายก๊าซ ระบบท่อ เครื่องสูบอัดก๊าซ อุปกรณ์ต่างๆ และสภาพความเรียบร้อยของการติดตั้งระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการถ่ายเทก๊าซและการป้องกันภัยจากการเก็บก๊าซ “วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ” หมายถึง นิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและคุณวุฒิตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทนิติบุคคล “ผู้ควบคุมการทดสอบ” หมายถึง วิศวกรควบคุมในการทดสอบและตรวจสอบซึ่งได้รับมอบหมายจากวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ให้ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักวิชาการ อีกทั้งตรวจวิเคราะห์ผลที่ได้รับเพื่อรายงานให้วิศวกรทดสอบและตรวจสอบตรวจรับรองผลต่อไป “วิศวกรทดสอบ” หมายความว่า วิศวกรผู้ปฏิบัติงานทดสอบและตรวจสอบภายใต้การกำกับดูแลของผู้ควบคุมการทดสอบ “ผู้ชำนาญการทดสอบกรรมวิธีไม่ทำลายสภาพเดิม” หมายความว่า ผู้มีความรู้ความชำนาญในการทดสอบและตรวจสอบความสมบูรณ์และความแข็งแรงของสภาพรอยเชื่อมเหล็กของภาชนะบรรจุก๊าซและระบบติดตั้งท่อก๊าซโดยกรรมวิธีไม่ทำลายสภาพเดิม (Non Destructive Test) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ควบคุมการทดสอบ ข้อ ๔ เครื่องมือทดสอบและตรวจสอบ ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ทดสอบพร้อมด้วยหนังสือคู่มือการทำงานและบำรุงรักษา (Instruction Book) ที่เหมาะสมและจำเป็นในการทดสอบและตรวจสอบ ให้เกิดความเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ (๑) ชุดเครื่องมือตรวจสอบแนวเชื่อมเหล็ก โดยต้องจัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ตรวจสอบ ในแต่ละชุดอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ก) เครื่องตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยรังสี (Radiographic Inspection) ข) เครื่องตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยคลื่นอุลตราโซนิค (Ultrasonic Inspection) ค) เครื่องตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยอนุภาคแม่เหล็ก (Magnetic Particle Inspection) ง) เครื่องตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยสารแทรกซึม (Liquid Penetrant Inspection) (๒) ชุดเครื่องมือตรวจสภาพภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติและระบบท่อก๊าซโดยต้องจัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ตรวจสอบ ในแต่ละชุดอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ก) เครื่องตรวจวัดความหนา (Ultrasonic Thickness Tester) ข) เครื่องตรวจวัดความแข็ง (Hardness Tester) (๓) ชุดเครื่องมือทดสอบสภาวะภายใต้ความดันของภาชนะบรรจุก๊าซ ระบบท่อก๊าซและกลอุปกรณ์นิรภัยต่าง ๆ ที่ติดตั้ง โดยต้องจัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ทดสอบ ในแต่ละชุดอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ก) เครื่องสูบอัดน้ำแรงดันสูง (High Pressure Water Pump) ข) มาตรวัดความดันมาตรฐาน (Standard Pressure Gauge) ค) กลอุปกรณ์ปรับความดัน (Pressure Regulator) ง) เครื่องทดสอบกลอุปกรณ์นิรภัย (Safety Relief Valve Tester) จ) เครื่องมือตรวจสอบการขยายตัวของถังก๊าซ (Volumetric Expansion Hydrostatic Tester) ชุดเครื่องมือดังกล่าวนี้ จะต้องมีเอกสารแสดงการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มีสภาพการใช้งานได้ดีรวมทั้งมีการตรวจสอบความเหมาะสม และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานนอกจากนั้นจะต้องมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามมาตรฐานสากลอย่างน้อย ๖ เดือนต่อครั้ง หมวด ๒ คุณสมบัติและคุณวุฒิของวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ข้อ ๕ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องมีคุณสมบัติและคุณวุฒิดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท ชำระเต็มจำนวน (๒) มีการทำประกันภัยประเภทอุบัติภัยในช่วงที่ทำการทดสอบและตรวจสอบเพื่อคุ้มครองต่อชีวิตและร่างกายของบุคคลอื่นในวงเงินไม่น้อยกว่า ห้าแสนบาทต่อหนึ่งคน และห้าล้านบาทต่อเหตุอุบัติเหตุหนึ่งครั้ง รวมทั้งคุ้มครองความเสียหายในทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในวงเงินไม่น้อยกว่า สิบล้านบาท (๓) มีสำนักงานที่แน่นอน สถานที่ปฏิบัติงานเหมาะสม และมีพื้นที่เพียงพอเพื่อใช้ในการเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทดสอบและตรวจสอบ (๔) มีผู้ควบคุมในการทดสอบและตรวจสอบ ซึ่งปฏิบัติงานวิชาการด้านทดสอบและตรวจสอบ ที่เป็นลูกจ้างประจำและปฏิบัติงานให้แก่ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบเพียงแห่งเดียว โดยบุคลากรดังกล่าวต้องประกอบด้วย ก) ผู้ควบคุมการทดสอบ ที่มีคุณวุฒิสามัญวิศวกรสาขาวิศวกรรมเครื่องกลไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรที่มีความรู้ความชำนาญประสบการณ์ผ่านงานด้านการทดสอบและตรวจสอบภาชนะรับความดัน รวมทั้งระบบท่อและอุปกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ คน ข) วิศวกรทดสอบ ที่มีคุณวุฒิ ภาคีวิศวกรหรือสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ คน ค) ผู้ชำนาญการทดสอบกรรมวิธีไม่ทำลายสภาพเดิม ที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันที่เชื่อถือได้ไม่ต่ำกว่าระดับ ๓ อย่างน้อย ๓ สาขาวิชาได้แก่การทดสอบด้วยรังสี การทดสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การทดสอบด้วยผงแม่เหล็ก การทดสอบด้วยสารแทรกซึม จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ คน หรือสาขาละ ๑ คน ง) ผู้ชำนาญการทดสอบกรรมวิธีไม่ทำลายสภาพเดิม ที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันที่เชื่อถือได้ไม่ต่ำกว่าระดับ ๒ ในทุกสาขาวิชา ได้แก่ การทดสอบด้วยรังสี การทดสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การทดสอบด้วยผงแม่เหล็ก การทดสอบด้วยสารแทรกซึม จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ คน หรือสาขาละ ๑ คน (๕) มีเครื่องมือทดสอบและตรวจสอบ อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ก) ชุดเครื่องมือตรวจสอบแนวเชื่อมเหล็ก ไม่น้อยกว่า ๑ ชุด ข) ชุดเครื่องมือตรวจสภาพภาชนะบรรจุก๊าซและระบบท่อก๊าซไม่น้อยกว่า ๑ ชุด ค) ชุดเครื่องมือทดสอบสภาวะภายใต้ความดันของภาชนะบรรจุก๊าซระบบท่อก๊าซและกลอุปกรณ์นิรภัยต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๑ ชุด (๖) ต้องไม่เคยเป็นผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบรับรองให้เป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ในระยะเวลา ๕ ปี ที่ผ่านมา ข้อ ๖ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องมีตัวอย่างเครื่องหมายทดสอบและตรวจสอบส่งมอบให้กรมธุรกิจพลังงานเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากมีการยกเลิกแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมเครื่องหมายทดสอบและตรวจสอบ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๗ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายเป็นหนังสือก่อน จึงจะเริ่มดำเนินการได้ หมวด ๓ การออกใบรับรอง ข้อ ๘ ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำขอและได้รับใบรับรองเป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ แต่จะต้องปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ฉบับนี้ ในกรณีที่วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ได้รับใบรับรองให้เป็นผู้ทดสอบและตรวจสอบจากกรมธุรกิจพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยมีคุณสมบัติและคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าประกาศฉบับนี้ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำขอและได้รับใบรับรองเป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ แต่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศกรมธุรกิจพลังงานฉบับนี้ ข้อ ๙ นิติบุคคลประสงค์จะเป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องยื่นคำขอตามแบบ ธช./ข.๑ ท้ายประกาศนี้ต่อกรมธุรกิจพลังงาน เมื่อกรมธุรกิจพลังงานได้ตรวจสอบและพิจารณาว่ามีคุณสมบัติและคุณวุฒิครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ นี้แล้วก็จะพิจารณาออกใบรับรองให้ตามแบบ ธช./ร.๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ผู้ควบคุมในการทดสอบและตรวจสอบซึ่งปฏิบัติงานวิชาการด้านทดสอบและตรวจสอบที่ประสงค์จะเป็นผู้ควบคุมในหน้าที่ผู้ควบคุมการทดสอบ หรือวิศวกรทดสอบ หรือผู้ชำนาญการทดสอบกรรมวิธีไม่ทำลายสภาพเดิม จะต้องมีคุณวุฒิตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ ข้อ ๑๑ ใบรับรองให้เป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ตามข้อ ๙ ให้มีอายุ ๓ ปี และหากประสงค์จะขอต่ออายุใบรับรองต่อไปให้ยื่นคำขอต่ออายุใบรับรองตามแบบ ธช./ข.๑ ภายในสามสิบวันก่อนวันที่ใบรับรองเดิมสิ้นอายุ หมวด ๔ การควบคุม ข้อ ๑๒ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องจัดให้มีระบบการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับหลักฐานการทดสอบและตรวจสอบ และสำเนาใบรับรองผลการทดสอบและตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถตรวจสอบค้นหาหลักฐานเรื่องเดิมได้โดยง่ายและรวดเร็ว ข้อ ๑๓ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมที่มีความรู้ความสามารถ อีกทั้งปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานงานวิศวกรรมเครื่องกล และต้องจัดให้มีเครื่องมือที่มีสภาพการใช้งานได้ดี มีการบำรุงรักษาอยู่เสมอและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนต้องเป็นไปตามคุณสมบัติคุณวุฒิและเงื่อนไขที่กำหนดในหมวด ๒ ข้อ ๑๔ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องดำเนินการทดสอบและตรวจสอบเองโดยไม่จัดจ้างผู้อื่นรับจ้างเหมาช่วงดำเนินการแทน ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็น ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต ผู้จัดจ้าง ผู้ติดตั้ง ผู้ซื้อ ผู้ใช้ หรือผู้บำรุงรักษาของภาชนะบรรจุและระบบท่อก๊าซ ตลอดจนอุปกรณ์หรือสถานประกอบการที่รับจ้างดำเนินการทดสอบและตรวจสอบ ข้อ ๑๕ วิศวกรทดสอบและตรวจสอบ ต้องกำกับดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานทดสอบและตรวจสอบ การรายงานผลการทดสอบ ตลอดจนการรับรองผลการทดสอบให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สามารถส่งรายงานผลการทดสอบและตรวจสอบ ให้กับกรมธุรกิจพลังงาน ภายใน ๓ วันทำการสำหรับการต่ออายุใบอนุญาต และ ๗ วันทำการสำหรับการขออนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซที่ผลิตขึ้นใหม่และครบวาระการใช้งาน นับตั้งแต่วันที่ทดสอบและตรวจสอบเสร็จสิ้น ข้อ ๑๖ ในระหว่างการดำเนินกิจการของวิศวกรทดสอบและตรวจสอบหากมีการตรวจสอบและพบว่าวิศวกรทดสอบและตรวจสอบไม่ปฏิบัติให้เป็นตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๕ กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจที่จะตักเตือน หรือสั่งพักใช้ใบรับรอง แล้วแต่กรณี ถ้ากรมธุรกิจพลังงานตรวจสอบไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ จะเพิกถอน และถ้าถูกสั่งพักใช้ใบรับรอง ๓ ครั้ง จะถูกเพิกถอนใบรับรอง ข้อ ๑๗ หากพบในภายหลังว่ารายงานผลการทดสอบและตรวจสอบเป็นเท็จเนื่องจากไม่ได้มีการทดสอบและตรวจสอบจริง หรือมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อช่วยเหลือให้ผลการทดสอบและตรวจสอบนั้นผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจที่จะเพิกถอนใบรับรองได้ และห้ามผู้กระทำนั้นเป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบอีกต่อไป รวมทั้งจะแจ้งหน่วยงานที่ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกร กรมธุรกิจพลังงานจะแจ้งเวียนให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทราบด้วย ซึ่งเป็นผู้ที่รับรองรายงานผลการทดสอบและตรวจสอบนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอความใบรับรอง ขอต่ออายุใบรับรองเป็นวิศวกรทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ธรรมชาติ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรพิมล/พิมพ์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ A+B [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๒๔ ง หน้า ๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๔๗
432849
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบคำขอ ใบอนุญาต แบบแจ้ง ใบรับแจ้งและใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับแจ้งของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากร หรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบคำขอ ใบอนุญาต แบบแจ้ง ใบรับแจ้ง และใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับแจ้งของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากร หรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติ และหลักเกณฑ์ วิธีการขอ การออกใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมเป็นผู้รับใบอนุญาตค้าน้ำมันเฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกตามความในพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ใช้คำขอตามแบบ นพ. ๑๑๗ ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้ใช้แบบใบอนุญาตตามแบบ นพ. ๑๑๘ ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต และหลักเกณฑ์ และวิธีการขอและออกใบอนุญาต หรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ประสงค์จะแจ้งประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ใช้แบบแจ้งตามแบบ นพ. ๑๑๙ ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ใบรับแจ้งเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรสำหรับผู้ค้าน้ำมันตามกฎกระทรวงซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต และหลักเกณฑ์และวิธีการขอและออกใบอนุญาต หรือใบทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ใช้แบบใบรับแจ้งเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามแบบ นพ. ๑๒๐ ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ การขอรับใบแทนใบอนุญาต ใบแทนใบรับแจ้งให้ใช้คำขอตามแบบ นพ. ๑๑๗ หรือแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๑๑๙ ท้ายประกาศนี้โดยมีคำว่า “ใบแทน” หรือ “Replacement” กำกับไว้ที่ด้านหน้า ใบแทนใบอนุญาต ใบแทนใบรับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบ นพ. ๑๑๘ หรือแบบ นพ. ๑๒๐ ท้ายประกาศนี้ โดยมีคำว่า “ใบแทน” หรือ Replacement” กำกับไว้ที่ด้านหน้า ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบ From Nor. Phor. ๑๑๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ศุภชัย/พิมพ์ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๗ สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๔๙/๒๘ มกราคม ๒๕๔๗
432855
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา พ.ศ. ๒๕๔๖ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ (๑) น้ำมันเตาสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ก) โดยการขนส่งทางเรือ (ข) โดยการขนส่งทางรถยนต์ (๒) น้ำมันเตาสำหรับการนำไปใช้กับเรือเดินสมุทร (Bunker Oil) (๓) น้ำมันเตาสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรง (๔) น้ำมันเตาสำหรับการนำไปใช้ในสถานประกอบการที่มีหนังสือรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีระบบบำบัดมลพิษทางอากาศซึ่งสามารถกำจัดสารเจือปนในอากาศประเภทก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur Dioxide) ที่ระบายออกจากสถานประกอบการนั้น และมีเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ (Continuous Emission Monitoring System : CEMS) เพื่อรายงานผลการตรวจวัดมายังศูนย์รับข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือกรมควบคุมมลพิษ หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด (๕) น้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๖) น้ำมันเตาสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๗) น้ำมันเตาสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๖ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเตาตามข้อ ๕ (๑) (ก) ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบปิโตรเลียม (surveyor) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ชนิด ปริมาณ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาก่อนการจำหน่ายทุกครั้ง และผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมต้องรายงานผลการตรวจสอบให้กรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน ๗ วันทำการ นับแต่วันที่มีการขนส่งน้ำมันเตาออกจากท่าเทียบเรือ การขอและการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด กรณีที่จะไม่ดำเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนที่จะมีการจำหน่ายน้ำมันเตาไปนอกราชอาณาจักร และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อนการจำหน่าย ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเตาตามข้อ ๕ (๑) (ข) ถึง ๕ (๗) ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบโดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งตามข้อ ๗ แล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๙ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๘ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การเก็บ และการขนส่งน้ำมันเตาตามข้อ ๕ (๑) (ข) ถึง ๕ (๗) ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันเตาตามข้อ ๕ (๑) (ข) ถึง ๕ (๗) ตามแบบ นพ. ๔๑๘ ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๐ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสาม หรือข้อ ๗ ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๑ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาตามข้อ ๘ หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคแรก อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกตามข้อ ๘ ได้ ข้อ ๑๒ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งตามข้อ ๗ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ค้าน้ำมันทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๓ ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนกับการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้รับหนังสือรับรองการให้เห็นชอบไปแล้วตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] มยุรี/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘ง/๒๗/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
432851
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๔ ให้กำหนดชนิดของน้ำมันดีเซล เป็น ๒ ชนิด คือ (๑) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (๒) น้ำมันดีเซลหมุนช้า ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน แล้วจึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ (๑) น้ำมันดีเซลสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ก) โดยการขนส่งทางเรือ (ข) โดยการขนส่งทางรถยนต์ (๒) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล (๔) น้ำมันดีเซลสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย น้ำมันดีเซลหมุนเร็วตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง จะมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามที่ประกาศกำหนดได้เฉพาะข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (ก) ปริมาณกำมะถัน ต้องไม่สูงกว่าร้อยละ ๐.๕ โดยน้ำหนัก (ข) อุณหภูมิของส่วนที่กลั่นได้โดยปริมาตรในอัตราร้อยละเก้าสิบต้องไม่สูงกว่า ๓๗๐ องศาเซลเซียส (ค) สี ต้องเป็นสีเขียว เทียบเท่าสีมาตรฐานที่ได้จากการใช้น้ำมันดีเซลที่มีความเข้มของสีตามมาตรฐาน ASTM D ๑๕๐๐ ไม่สูงกว่า ๐.๕ ผสมกับสารประกอบพวก ๑,๔ - dialkylamino anthraquinone และ ๑,๓ benzenediol ๒,๔ - bis [(alkylphenyl) azo -] ในอัตราส่วน ๙:๑ ปริมาณเนื้อสีที่ใช้ไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิกรัมต่อลิตร หรือใช้อัตราส่วนแตกต่างจากสีที่กำหนดก็ได้แต่ต้องมีความเข้มของสีเทียบเท่าสีเขียวมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น (๕) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมัน หรือประชาชนเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง คุณสมบัติการหล่อลื่น (๖) น้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๗) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๘) น้ำมันดีเซลสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันดีเซลตามข้อ ๖ (๑) (ก) ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบปิโตรเลียม (surveyor) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ชนิด ปริมาณ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลก่อนการจำหน่ายทุกครั้ง และผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมต้องรายงานผลการตรวจสอบให้กรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน ๗ วันทำการ นับแต่วันที่มีการขนส่งน้ำมันดีเซลออกจากท่าเทียบเรือ การขอและการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด กรณีที่จะไม่ดำเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนที่จะมีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลไปนอกราชอาณาจักร และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อนการจำหน่าย ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันดีเซลตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๘) ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบโดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งตามข้อ ๘ แล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๙ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การเก็บ และการขนส่งน้ำมันดีเซลตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๘) ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันดีเซลตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๘) ตามแบบ นพ. ๔๑๘ ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๑ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่จะเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซล ตามแบบ นพ. ๔๑๙ ท้ายประกาศนี้ พร้อมตัวอย่างสารเติมแต่งจำนวน ๐.๕ ลิตร ตัวอย่างน้ำมันดีเซลที่ไม่เติมแต่งจำนวน ๓ ลิตร และตัวอย่างน้ำมันดีเซลที่เติมสารเติมแต่งแล้วจำนวน ๑ ลิตร ข้อ ๑๒ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๒๐ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๒ เตรียมเอกสารบันทึกเกี่ยวกับการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลไว้ที่สำนักงานใหญ่หรือคลังน้ำมันที่เติมสารเติมแต่งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๑๔ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสาม ข้อ ๘ หรือข้อ ๑๑ ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๕ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลตามข้อ ๙ หรือให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันดีเซลตามข้อ ๑๒ แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริงอธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคแรก อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกตามข้อ ๙ หรือข้อ ๑๒ ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งตามข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ค้าน้ำมันทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๗ ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพหรือการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่ง ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้รับหนังสือรับรองการให้เห็นชอบไปแล้วตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มยุรี/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘ง/๒๑/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
432847
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ (๑) น้ำมันก๊าดสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ก) โดยการขนส่งทางเรือ (ข) โดยการขนส่งทางรถยนต์ (๒) น้ำมันก๊าดสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๓) น้ำมันก๊าดที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๔) น้ำมันก๊าดสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๕) น้ำมันก๊าดสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) และ (๒) ข้อ ๖ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันก๊าดตามข้อ ๕ (๑) (ก) ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบปิโตรเลียม (surveyor) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ชนิด ปริมาณ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดก่อนการจำหน่ายทุกครั้งและผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมต้องรายงานผลการตรวจสอบให้กรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน ๗ วันทำการนับแต่วันที่มีการขนส่งน้ำมันก๊าดออกจากท่าเทียบเรือ การขอและการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด กรณีที่จะไม่ดำเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนที่จะมีการจำหน่ายน้ำมันก๊าดไปนอกราชอาณาจักร และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อนการจำหน่าย ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันก๊าดตามข้อ ๕ (๑) (ข) ถึง ๕ (๕) ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบโดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งตามข้อ ๗ แล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๙ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบข้อ ๘ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) การเก็บ และการขนส่งน้ำมันก๊าดตามข้อ ๕ (๑) (ข) ถึง ๕ (๕) ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันก๊าดตามข้อ ๕ (๑) (ข) ถึง ๕ (๕) ตามแบบ นพ. ๔๑๘ ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๐ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ วรรคสาม หรือข้อ ๗ ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๑ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าดตามข้อ ๘ แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคแรก อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกตามข้อ ๘ ได้ ข้อ ๑๒ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งตามข้อ ๗ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ค้าน้ำมันทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๓ ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนกับการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้รับหนังสือรับรองการให้เห็นชอบไปแล้วตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มยุรี/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันก๊าด พ.ศ. ๒๕๔๗ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘ง/๑๗/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
432839
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ ให้กำหนดชนิดของน้ำมันเบนซินเป็น ๒ ชนิด คือ (๑) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๑ (๒) น้ำมันเบนซินออกเทน ๙๕ ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน แล้วจึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ (๑) น้ำมันเบนซินสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ก) โดยการขนส่งทางเรือ (ข) โดยการขนส่งทางรถยนต์ (๒) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน (๔) น้ำมันเบนซินสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๕) น้ำมันเบนซินสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมัน หรือประชาชนเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง (๖) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปผสมเอทานอลในการผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (๗) น้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๘) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๙) น้ำมันเบนซินสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกันเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเบนซินตามข้อ ๖ (๑) (ก) ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบปิโตรเลียม (surveyor) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ชนิด ปริมาณ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินก่อนการจำหน่ายทุกครั้งและผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมต้องรายงานผลการตรวจสอบให้กรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน ๗ วันทำการ นับแต่วันที่มีการขนส่งน้ำมันเบนซินออกจากท่าเทียบเรือ การขอและการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด กรณีที่จะไม่ดำเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนที่จะมีการจำหน่ายน้ำมันเบนซินไปนอกราชอาณาจักร และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อนการจำหน่าย ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเบนซินตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๙) ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบโดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ การขอรับความเห็นชอบน้ำมันเบนซินเพื่อการผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๖ (๖) จะต้องจัดทำรายละเอียดขั้นตอนการขนส่ง การรับวัตถุดิบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ รวมทั้งการตรวจติดตามการควบคุมคุณภาพน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่าย แนบมาพร้อมแบบ นพ. ๔๑๖ ข้อ ๙ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งตามข้อ ๘ แล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบข้อ ๙ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) การเก็บ และการขนส่งน้ำมันเบนซินตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๙) ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันเบนซินตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๙) ตามแบบ นพ. ๔๑๘ ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๑ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่จะเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซิน ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินตามแบบ นพ. ๔๑๙ ท้ายประกาศนี้ พร้อมตัวอย่างสารเติมแต่งจำนวน ๐.๕ ลิตร ตัวอย่างน้ำมันเบนซินที่ไม่เติมสารเติมแต่งจำนวน ๓ ลิตร และตัวอย่างน้ำมันเบนซินที่เติมสารเติมแต่งแล้ว จำนวน ๑ ลิตร ข้อ ๑๒ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๒๐ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๒ เตรียมเอกสารบันทึกเกี่ยวกับการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินไว้ที่สำนักงานใหญ่หรือคลังน้ำมันที่เติมสารเติมแต่ง เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๑๔ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสาม ข้อ ๘ หรือข้อ ๑๑ ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๕ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซินตามข้อ ๙ หรือให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินตามข้อ ๑๒ แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคแรก อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกตามข้อ ๙ หรือข้อ ๑๒ ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งตามข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้วให้ผู้ค้าน้ำมันทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๗ ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพหรือการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่ง ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้รับหนังสือรับรองการให้เห็นชอบไปแล้วตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มยุรี/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน พ.ศ. ๒๕๔๗ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘ง/๑๑/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
432835
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ หมายถึง น้ำมันเบนซินผสมเอทานอล ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ การเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานแล้ว จึงจะดำเนินการได้ ข้อ ๖ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ (๑) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ก) โดยการขนส่งทางเรือ (ข) โดยการขนส่งทางรถยนต์ (๒) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้กับยานพาหนะที่ออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน (๔) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๕) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมัน หรือประชาชนเฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง สารเติมแต่ง (๖) น้ำมันแก๊สโซฮอล์สำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๖ (๑) (ก) ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบปิโตรเลียม (surveyor) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ชนิด ปริมาณ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ก่อนการจำหน่ายทุกครั้งและผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมต้องรายงานผลการตรวจสอบให้กรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน ๗ วันทำการนับแต่วันที่มีการขนส่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกจากท่าเทียบเรือ การขอและการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจสอบปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด กรณีที่จะไม่ดำเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้าน้ำมันจะต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์เฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอรับความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนที่จะมีการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ไปนอกราชอาณาจักร และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อนการจำหน่าย ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๖) ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้เพื่อขอความเห็นชอบโดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งตามข้อ ๘ แล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๑๐ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบข้อ ๙ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) การเก็บและการขนส่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๖) ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๖ (๑) (ข) ถึง ๖ (๖) ตามแบบ นพ. ๔๑๘ ต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๑ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่จะเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามแบบ นพ. ๔๑๙ ท้ายประกาศนี้ พร้อมตัวอย่างสารเติมแต่ง จำนวน ๐.๕ ลิตร ตัวอย่างน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ไม่เติมสารเติมแต่ง จำนวน ๓ ลิตร และตัวอย่างน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่เติมสารเติมแต่งแล้ว จำนวน ๑ ลิตร ข้อ ๑๒ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๒๐ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ให้ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๒ เตรียมเอกสารบันทึกเกี่ยวกับการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ไว้ที่สำนักงานใหญ่หรือคลังน้ำมันที่เติมสารเติมแต่ง เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๑๔ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๗ วรรคสาม ข้อ ๘ หรือข้อ ๑๑ ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๕ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๙ หรือให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่งในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามข้อ ๑๒ แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสาร หรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคแรก อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกตามข้อ ๙ หรือข้อ ๑๒ ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งตามข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้วให้ผู้ค้าน้ำมันทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วันก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๗ ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพ หรือการให้ความเห็นชอบการเติมสารเติมแต่ง ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้รับหนังสือรับรองการให้เห็นชอบไปแล้วตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. ๒๕๔๗ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] มยุรี/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘ง/๖/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
432829
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2547
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายดังต่อไปนี้ จะไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ (๑) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (๒) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้เป็นเชื้อเพลิง (๓) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการนำไปใช้ตามโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล หรืองานวิจัย (๔) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ หรือประชาชน เฉพาะในข้อกำหนด เรื่อง การเติมสารที่ให้กลิ่น (๕) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ นำเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๖) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (๗) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับการจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ด้วยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (๑) (๒) และ (๓) ข้อ ๖ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามข้อ ๕ ต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อขอความเห็นชอบโดยยื่นแบบแจ้งตามแบบ นพ. ๔๑๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งตามข้อ ๖ แล้ว กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๑๗ ท้ายประกาศนี้ หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ออก ข้อ ๘ ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบข้อ ๗ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) การเก็บ และการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามข้อ ๕ ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ (๒) รายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามข้อ ๕ ตามแบบ นพ. ๔๑๘ ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๖ ให้ยื่นต่อสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีได้ให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามข้อ ๗ แล้ว หากปรากฏหลักฐานภายหลังว่าเอกสารที่ใช้ในการขอรับความเห็นชอบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อธิบดีอาจมีคำสั่งให้ผู้ค้าน้ำมันจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อน หรือแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ค้าน้ำมันได้รับคำสั่งดังกล่าว หากผู้ค้าน้ำมันไม่จัดส่งเอกสารหรือแก้ไขข้อผิดพลาดภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคแรก อธิบดีอาจมีคำสั่งยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกตามข้อ ๗ ได้ ข้อ ๑๑ ผู้ค้าน้ำมันที่ประสงค์จะทำการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ที่ได้แจ้งหรือระบุไว้ในแบบแจ้งตามข้อ ๖ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ค้าน้ำมันทำหนังสือแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่ประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๒ ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพ ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้รับหนังสือรับรองการให้เห็นชอบไปแล้วตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มยุรี/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ A+B รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๔๗ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘ง/๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
429769
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2546
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๔๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไปในสังกัดกรมธุรกิจพลังงาน (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ญาณี/พิมพ์ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ ทรงยศ/ศุภสรณ์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๖/พ๑๔๒ง/๑๒/๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖
413218
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2546
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไข ในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามที่กรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้ที่จะจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักรต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่เคยมีการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวออกไปนอกราชอาณาจักรในรอบปีที่ผ่านมา หรือผู้ที่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ดังกล่าวมอบหมาย และปริมาณการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักรให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจัดสรรโดยการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักรทุกครั้ง ต้องยื่นขอหนังสือรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร นั้น เนื่องจาก บัดนี้ ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงจนอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวภายในประเทศ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลว อันไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวภายในประเทศอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงเห็นควรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน สุภาพร/พิมพ์ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ สุภาพร/แก้ไข ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ เนติมา/ปาจรีย์/ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖ A+B [๑]รก.๒๕๔๖/พ๖๒ง/๑๑/๒ มิถุนายน ๒๕๔๖
340038
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้าและการป้องกัน การปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 10 และมาตรา 11 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
กหดหกดหกดหกด ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้าและการป้องกัน การปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ------------------------- เพื่อประโยชน์ในการจัดระบบการค้าและการป้องกันการปลอมปนน้ำมัน เชื้อเพลิง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดระบบการค้า และป้องกันการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ ที่ ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเบนซิน ๙๑ เบนซิน ๙๕ และดีเซลหมุนเร็ว ข้อ ๔ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ จัดทำรายงานข้อมูล การซื้อ การจำหน่ายและยอดคงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดเบนซิน ๙๑ เบนซิน ๙๕ และดีเซล หมุนเร็ว ในแต่ละเดือนตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และจัดส่งต่อกรมทะเบียนการค้า ภาย ในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ดังนี้ (๑) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ ให้จัดทำรายงานข้อมูลตามแบบ นพ. ๑๑๒ นพ. ๑๑๓ และ นพ. ๑๑๔ (๒) ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ให้จัดทำรายงานข้อมูลตามแบบ นพ. ๑๑๕ และ นพ. ๑๑๖ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราช บัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้จัดทำเฉพาะรายงานข้อมูลตามแบบ นพ. ๑๑๕ ข้อ ๕ การจัดส่งรายงานข้อมูลตามข้อ ๔ ให้จัดส่งโดยตรงที่สำนักน้ำมัน เชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า หรือที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่ของ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๐ หรือสถานีบริการของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๑๑ ตั้งอยู่ หรือจัดส่งทาง ไปรษณีย์ที่สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้าก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๕/พ๗๘ง/๗/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๕] พุทธชาด / แก้ไข ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ B+A (C)
339996
ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าช
ประกาศกรมโยธาธิการ ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าช เพื่ออนุวัติตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง แบบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ การออกหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวพนักงานบรรจุก๊าซ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ อธิบดีกรมโยธาธิการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ” หมายความถึง นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง แบบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ การออกหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวพนักงานบรรจุก๊าซ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ หมวด ๒ คุณสมบัติและคุณวุฒิของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรม พนักงานบรรจุก๊าซ ข้อ ๔ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซต้องมีคุณสมบัติและคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้ (ก) ดำเนินกิจการในรูปนิติบุคคล (ข) มีทุนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท (ค) มีสำนักงานแน่นอนและสถานที่ประกอบกิจการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและมีหนังสือรับรองเป็นหลักฐานการได้มา ซึ่งกรรมสิทธิ์จากหน่วยงานอนุญาตให้ใช้สถานที่ประกอบการฝึกอบรมโดยต้องประกอบด้วย (๑) ห้องจัดฝึกอบรม ขนาดรับรองได้ ๕๐ คน / รุ่น (๒) สถานที่ฝึกดับเพลิง (๓) สถานที่ฝึกอบรมบรรจุก๊าซ (ลานบรรจุก๊าซ สถานีบรรจุก๊าซและสถานีบริการก๊าซ) (ง) มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานบรรจุก๊าซอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ อย่างน้อย ๑ เครื่อง (๒) เครื่องฉายสไลด์ อย่างน้อย ๑ เครื่อง (๓) เครื่องเล่นวีดิทัศน์ อย่างน้อย ๑ เครื่อง (๔) เครื่องรับโทรทัศน์ อย่างน้อย ๑ เครื่อง (๕) เครื่องฉาย LCD อย่างน้อย ๑ เครื่อง (๖) หลอดแก้วแสดงน้ำก๊าซ (Hydrometer) (๗) เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) ขนาด ๖.๘ กิโลกรัมพร้อมผงเคมี อย่างน้อย ๒๕ ถัง (๘) เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์เหลว ขนาด ๖.๘ กิโลกรัมอย่างน้อย ๕ ถัง (๙) ถังก๊าซหุงต้ม ขนาด ๑๕ กิโลกรัม และ ๔๘ กิโลกรัม อย่างละ ๑ ถังใช้ในการสาธิตการดับเพลิง (๑๐) ถาดเหล็กรองน้ำมัน ขนาด ๑.๐๐ x ๑.๕๐ x ๐.๒๐ เมตร สำหรับใช้ใส่น้ำมันในการฝึกดับเพลิง (๑๑) สายสูบดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์ไว้สาธิตตามความจำเป็น (๑๒) ถังก๊าซหุงต้มแบบผ่าให้เห็นภายในของถัง (๑๓) วาล์วลดความดัน (Regulator) (๑๔) สายยางเตาก๊าซ (๑๕) ลิ้นแบบมือหมุน และลิ้นแบบกดล็อก แบบผ่าให้เห็นภายใน (๑๖) มาตรวัดอุณหภูมิ และมาตรวัดความดัน (๑๗) มาตรวัดระดับของเหลวแบบติดกับที่ (๑๘) มาตรวัดระดับของเหลวแบบเลื่อนก้าน (๑๙) มาตรวัดระดับแบบโรตารี่ และมาตรวัดระดับแบบทุ่นลอย (๒๐) วาล์วนิรภัยแบบลดความดัน (Pressure Relief Value) (๒๑) วาล์วควบคุมการไหลเกิน (Excess Floe Value) (๒๒) วาล์วจ่ายก๊าซ (Service Value) (จ) มีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซพร้อมทั้งเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซโดยมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสองปีไม่น้อยกว่า ๓ คน ที่ได้ใบรับรองจากกรมโยธาธิการ ข้อ ๕ วิทยากรตามข้อ ๔ (จ) เมื่อได้รับใบรับรองจากกรมโยธาธิการตามข้อ ๑๔ แล้ว ต้องเป็นวิทยากรให้นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซเพียงแห่งเดียว ข้อ ๖ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ต้องไม่เคยเป็นเป็นผู้ถูกสั่งพักใช้ใบรับรองให้เป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซรวมกันตั้งแต่สามครั้งขึ้นไป หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบรับรองให้เป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ข้อ ๗ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซต้องมีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดี โดยเฉพาะเอกสารหลักฐานประวัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำเนาบัตรประจำตัวหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวพนักงานบรรจุก๊าซ โดยเอกสารดังกล่าวต้องสามารถตรวจสอบเรื่องเดิมได้โดยง่ายและรวดเร็ว ข้อ ๘ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมโยธาธิการ หรือผู้ที่อธิบดีกรมโยธาธิการมอบหมายเป็นหนังสือก่อนจึงจะเริ่ม ดำเนินกิจการได้ ข้อ ๙ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซที่ได้ใบรับรองจากกรมโยธาธิการแล้ว ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง แบบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ การออกหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวพนักงานบรรจุก๊าซ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ โดยเคร่งครัด หมวด ๓ การออกใบรับรอง ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ขฝ. ๑ ท้ายประกาศนี้ต่อกรมโยธาธิการ ข้อ ๑๑ วิทยากรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามข้อ ๔ (จ) ประสงค์จะเป็นวิทยากรบรรยายของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ขฝ. ๒ ท้ายประกาศนี้ต่อกรมโยธาธิการ ข้อ ๑๒ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ วิทยากรตามข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ เมื่อได้รับการตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติและคุณวุฒิครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ ของประกาศนี้แล้ว กรมโยธาธิการจะออกใบรับรองให้ตามแบบ รฝ. ๑ และ รฝ. ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ใบรับรองให้เป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ที่กรมโยธาธิการออกให้ ให้มีอายุไม่เกินห้าปี หากผู้ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซประสงค์จะดำเนินการต่อไป จะต้องยื่นเรื่องราวขอต่ออายุใบรับรองตามแบบ ขฝ. ๑ ก่อนใบรับรองนั้นสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ข้อ ๑๔ วิทยากรผู้ได้ใบรับรองให้เป็นวิทยากรบรรยายของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ที่กรมโยธาธิการออกให้ ให้มีอายุไม่เกินห้าปี หากวิทยากรประสงค์จะปฏิบัติงานต่อไปต้องยื่นเรื่องราวขอต่ออายุใบรับรองตามแบบ ขฝ. ๒ ก่อนใบรับรองนั้นสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ข้อ ๑๕ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการฝึกอบรมพนักงานบรรจุก๊าซ ที่ได้ใบรับรองตามข้อ ๑๓ ต้องรักษาไว้ซึ่งคุณสมบัติและคุณวุฒิตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ ของประกาศนี้โดยครบถ้วน หากพบว่ามีคุณสมบัติและคุณวุฒิไม่ครบถ้วน กรมโยธาธิการจะดำเนินการตักเตือนก่อนหรือสั่งพักใช้ใบรับรองหรือเพิกถอนใบรับรอง แล้วแต่กรณี ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช อธิบดีกรมโยธาธิการ
316690
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบ สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไข ที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ------------------------ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง และเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา ๒๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียน การค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับ ความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๔๕" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ที่ประสงค์จะขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บ สำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ยื่นขอความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๓๐๔ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ สถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นสถานที่หรือที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคลังน้ำมันหรือเป็นสถานที่เก็บน้ำมัน ที่ (ก) มีทางสำหรับรถยนต์เข้าออกได้สะดวก (ข) มีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งอยู่บนบกในลักษณะตรึงตราถาวร ซึ่ง สามารถตรวจสอบปริมาณน้ำมันได้โดยสะดวก (ค) มีท่อรับจ่าย และลานจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ความในวรรคหนึ่ง (ข) และ (ค) ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นที่บรรจุในภาชนะปริมาณไม่เกิน ๒๐๐ ลิตร (๒) เป็นท่อส่งน้ำมันดิบในทะเลจากทุ่นหรือแท่นรับน้ำมันที่ผูกโยงติดกับพื้นใต้ ทะเลมาถึงจุดรับชายฝั่งที่มีเครื่องบังคับปิดเปิด และมีจุดสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิง (๓) เป็นท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทที่ดำเนินการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทาง ท่อ (๔) เป็นเรือบรรทุกน้ำมันที่รอสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเก็บในคลังน้ำมัน หรือ อยู่ระหว่างเดินทางในน่านน้ำไทยเพื่อลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงไปเก็บในคลังน้ำมัน โดยต้องระบุ ท่าเรือที่จะทำการสูบถ่ายน้ำมันด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่สถานที่ที่ขอความเห็นชอบเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมัน เชื้อเพลิงที่ใช้ร่วมกับผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ให้ผู้ขอความเห็นชอบระบุความจุถังส่วนที่ตนจะใช้เก็บ สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่เป็นท่อส่งน้ำมันตามข้อ ๔ (๒) และ (๓) จะต้องเป็นท่อที่ สามารถนำน้ำมันออกได้ไม่ว่าเวลาใดตลอดระยะเวลาที่เก็บสำรองน้ำมันในท่อดังกล่าว ข้อ ๗ ในกรณีที่มีสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงหลายแห่ง ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๗ ต้องจัดทำบัญชีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแยกตามชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง และ แยกตามสถานที่ที่ใช้เก็บแต่ละแห่ง โดยสามารถรายงานให้กรมทะเบียนการค้าทราบได้ในเวลา อันควร ข้อ ๘ ในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ แล้วและจะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในปีต่อไป ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งยืนยันเป็น หนังสือก่อนถึงปีต่อไปที่จะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ ๙ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ การเปลี่ยนแปลงชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการยกเลิกสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ รับความเห็นชอบไว้แล้ว ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้า ก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ข้อ ๑๐ การยื่นขอความเห็นชอบ การยืนยัน การเปลี่ยนแปลง และการยกเลิก ใด ๆ ตามประกาศนี้ ให้ยื่นหรือแจ้ง ณ สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า ข้อ ๑๑ สถานที่ที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสถานที่ที่ใช้ เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ก่อนที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บ สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามประกาศนี้ และหากมีกรณีที่ต้องปฏิบัติให้เป็น ไปตามเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ ก็ให้ผู้ค้าน้ำมันดำเนินการให้ถูกต้องภายในกำหนดหกสิบวันนับ แต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สำหรับสถานที่หรือที่ที่ได้ใช้เป็นสถานที่เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ก่อนแล้ว และอยู่ในข่ายที่ต้องขอความเห็นชอบตามประกาศนี้ ให้ผู้ค้าน้ำมันยื่นขอความเห็นชอบให้เสร็จสิ้น ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๕/พ๑๐ง/๘/๘กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕] พรพิมล/แก้ไข ๑๔/๐๘/๔๕/ B+A (C)
316686
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่น เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน พ.ศ. ๒๕๔๕ ---------------------- เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บ สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน พ.ศ. ๒๕๔๕" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ที่ประสงค์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรอง น้ำมันเชื้อเพลิงแทน ให้ยื่นขอความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๓๐๕ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ สถานที่ที่จะใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน จะต้องได้รับความ เห็นชอบเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ ๕ ผู้จะรับมอบหมายเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน ต้องเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด ข้อ ๖ ในการขอความเห็นชอบมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมัน เชื้อเพลิงแทน ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้ประกอบการยื่นขอความเห็นชอบด้วย คือ (๑) หลักฐานที่แสดงยืนยันว่าผู้รับมอบหมายจะต้องส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ เก็บสำรองแทนให้กับผู้มอบหมายได้ตลอดเวลา (๒) รายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง หมายเลขถัง สถานที่ที่ใช้ เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน และระยะเวลาการมอบหมาย ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้รับมอบหมายได้รับมอบหมายให้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง จากผู้ค้าน้ำมันหลายรายและได้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไว้รวมกัน ซึ่งอาจรวมกับน้ำมันเชื้อเพลิง ของผู้รับมอบหมายด้วย ให้ผู้มอบหมายแสดงหลักฐานที่ผู้รับมอบหมายได้จำแนกสิทธิในน้ำมัน เชื้อเพลิงของผู้มอบหมายแต่ละรายไว้โดยแจ้งชัดว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดถ้ามีกรณีต้องจัดสรรปันส่วน ในสิทธิแห่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น โดยสิทธิของผู้มอบหมายต้องอยู่เหนือสิทธิของผู้รับมอบหมาย ข้อ ๘ การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับถังเก็บน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน หรือการยกเลิกการมอบหมาย ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าก่อนวันที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ข้อ ๙ การยื่นขอความเห็นชอบ การเปลี่ยนแปลง หรือการยกเลิกใด ๆ ตาม ประกาศนี้ ให้ยื่นหรือแจ้ง ณ สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๕/พ๑๐ง/๑๑/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕] พรพิมล/แก้ไข ๑๔/๐๘/๔๕ A+B (C)
316222
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงในระหว่างการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๕.” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือน้ำมันหล่อลื่น (๒) การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยยานพาหนะอื่นที่มิใช่ยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ ข้อ ๔ ภายใต้ข้อบังคับตามข้อ ๕ การจำหน่าย หรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๗ ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ หรือผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๑ หากจะต้องมีขนส่งน้ำมัน ไม่ว่าจะทำการขนส่งเอง หรือจ้างผู้ขนส่งน้ำมันตามมาตรา ๑๒ เป็นผู้ขนส่ง ผู้ค้าน้ำมันต้องจัดทำใบกำกับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและมอบต้นฉบับหรือสำเนาให้กับผู้ควบคุมยานพาหนะนำกำกับไปกับยานพาหนะที่ใช้ขนส่งจนถึงสถานที่ส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ให้ผู้ออกใบกำกับการขนส่งต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย ใบกำกับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว อย่างน้อยต้องมีรายการซึ่งมีข้อความที่ชัดเจนดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อผู้ค้าน้ำมันที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยระบุที่ตั้งให้ชัดเจน (๒) วันที่และเลขที่ออกใบกำกับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง (๓) ชื่อผู้รับน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานที่ส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงปลายทางโดยระบุที่ตั้งให้ชัดเจน (๔) ชื่อและที่อยู่ของผู้ขนส่ง (๕) เลขทะเบียนยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง ในกรณีขนส่งโดยทางเรือให้ระบุชื่อเรือ (๖) วันและเวลาที่ออกเดินทางจากสถานที่จ่ายน้ำมันต้นทาง และประมาณวันและเวลาที่ถึงปลายทาง (๗) ชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขนส่ง (๘) ระบุหมายเลขประจำตรา (SEAL) หรือรหัส ELECTRONIC SEAL หรือระบุว่าใช้ระบบปิดผนึกอัตโนมัติ (SEALED DELIVERY SYSTEM หรือระบบ SEALED PARCELDELIVERY) ที่ใช้ปิดผนึกฝา ท่อรับและท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะที่ขนส่งในแต่ละเที่ยว(๙) ค่าความถ่วงจำเพาะ (SPECIFIC GRAVITY) หรือค่าความถ่วง API (APIGRAVITY) หรือค่าความหนาแน่น (DENSITY) ของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด เมื่อได้ออกใบกำกับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบให้เก็บสำเนาใบกำกับการขนส่งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ ๕ ในกรณีที่มีการออกใบกำกับสินค้าหรือใบกำกับภาษี จะใช้ใบกำกับสินค้าหรือใบกำกับภาษีแทนใบกำกับการขนส่งก็ได้ แต่ต้องมีรายการไม่น้อยกว่ารายการที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔ ในกรณีที่เป็นการซื้อขาย หรือจำหน่าย หรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการขนส่งหลายทอด จะใช้วิธีออกใบกำกับการขนส่งเพิ่มเติมรายการ หรือสลักหลังที่ใบกำกับการขนส่งฉบับเดิมระบุรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากใบกำกับการขนส่งฉบับเดิมก็ได้ โดยผู้ที่ทำรายการเพิ่มเติมหรือสลักหลังต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย ข้อ ๖ ในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ขนส่งต้องขนส่งไปส่งมอบให้ผู้รับตามชื่อและสถานที่และภายในระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในใบกำกับการขนส่ง ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๓๒/๑๔ กุมพาพันธ์ ๒๕๔๕
316218
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้าและการป้องกันการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้า และการป้องกันการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง ของผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ระกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดระบบการค้า และการป้องกันการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ พ.ศ. ๒๕๔๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการจำหน่าย หรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว และน้ำมันหล่อลื่น ข้อ ๔ ในการจำหน่าย หรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา๑๐ และผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๑ ที่ต้องมีการขนส่งโดยใช้ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยยานพาหนะของตนเองผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๑ ต้องผิดผนึก (SEAL) ฝาท่อรับและท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในลักษณะที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่า หากมีการรับหรือจ่ายน้ำมันในระหว่างการขนส่งจะต้องมีการทำลายผนึกดังกล่าว (๒) ในกรณีที่เป็นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ได้ใช้ยานพาหนะของตนเองผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๑ ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างขนส่งน้ำมันยินยอมให้มีการปิดผนึก (SEAL) ฝา ท่อรับและท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว หากผู้รับจ้างขนส่งน้ำมันไม่ยินยอมให้ปิดผนึก (SEAL) ผู้ค้าน้ำมันต้องไม่จ่ายน้ำมันลงสู่ยานพาหนะดังกล่าว ข้อ ๕ ก่อนการรับหรือสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากยานพาหนะลงสู่ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๐ และผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา ๑๑ ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบผนึก (SEAL) ที่ฝา ท่อรับและท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งให้สอดคล้องกับที่ระบุไว้ในใบกำกับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง หากปรากฏว่าผนึกอยู่ในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อย ไม่มีร่องรอยถูกเปิดหรือถูกทำลายก็ให้รับหรือสูบถ่ายน้ำมันเข้าเก็บในถังได้ แต่ถ้าปรากฏว่าผนึกถูกเปิดหรือถูกทำลายและไม่มีข้อเท็จจริงหรือหลักฐานยืนยันว่าไม่มีการสูบถ่ายหรือสับเปลี่ยนน้ำมันในระหว่างการขนส่ง ผู้ค้าน้ำมันพึงไม่รับน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว (๒) ตรวจสอบค่าความถ่วงจำเพาะ (SPECIFIC GRAVITY) หรือค่าความถ่วง API (API GRAVITY) หรือค่าความหนาแน่น (DENSITY) ของน้ำมันเชื้อเพลิงยกเว้นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการติดตั้งระบบควบคุมไอระเหยของน้ำมันเบนซิน(VAPOUR RECOVERY UNIT) และไม่สามารถจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันเพื่อตรวจสอบได้ หากผลการตรวจสอบพบว่าไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในใบกำกับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าน้ำมันพึงไม่รับน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๓๐/๑๔ กุมพาพันธ์ ๒๕๔๕
325152
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้ำน้ำมันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของ
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ -------------- ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ระเบียบการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตาม มาตรา ๖ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการ บรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ และการปิดผนึกลิ้น ถังก๊าซหุงต้ม ได้กำหนดระเบียบในการที่ผู้ค้าน้ำมันมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันรายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซ เป็นผู้ดำเนินการแทนไว้ นั้น บัดนี้ เห็นสมควรกำหนดระเบียบดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มมาตรการในการ คุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านปริมาณ และมีความปลอดภัยในการใช้ถังก๊าซ หุงต้ม อธิบดีกรมทะเบียนการค้า อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๖ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๔๐ เรื่อง กำหนดอำนาจตามความในข้อ ๑๖ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๔๐ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒/๒๕๔๒ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ระเบียบการอนุญาต ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ มอบหมายให้ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับ และการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ และการปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔" ๒. ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ จะต้องไม่กระทำการที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มโดยรู้ว่าปริมาณของก๊าซไม่ถูกต้องตามที่แสดง ไว้ข้างถังอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒) บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มที่ไม่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ว่าด้วยถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (๓) บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันอื่นโดย ไม่ได้รับอนุญาต ๓. ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้า น้ำมันตามมาตรา ๗ รายใดกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อกำหนดตามที่ระบุในข้อ ๒ กรม ทะเบียนการค้าจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตมอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนนั้น ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [รก. ๒๕๔๔/พ๑๓๐ง/๒/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๔] พรพิมล/พิมพ์ ๓ พ.ค ๒๕๔๕
315497
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชี้อเพลิง พ.ศ.2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๔ --------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดความมั่น คงด้านพลังงาน ตามมติของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๔ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดและ อัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ภายใต้บังคับข้อ ๔ และ ข้อ ๕ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ สำรองน้ำมัน เชื้อเพลิงตามชนิดและอัตราตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ น้ำมันเชื้อเพลิงดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง คือ (๑) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น (๒) น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ (๓) น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือ อุตสาหกรรมอื่นๆ (๔) น้ำมันดิบที่โรงกลั่นน้ำมันจัดหามาเพื่อใช้ในการกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป เพื่อส่งออก ข้อ ๕ การคำนวณปริมาณการเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละวันว่าเป็นไป ตามอัตราที่กำหนดในข้อ ๓ หรือไม่ ให้คำนวณเฉลี่ยจากปริมาณการเก็บสำรองรวมของแต่ละเดือน แต่ทั้งนี้ปริมาณสำรองในแต่ละวันต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบของปริมาณที่มีหน้าที่ต้องเก็บสำรอง ข้อ ๖ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ผู้ค้าน้ำ มันจะเก็บสำรองในรูปน้ำมันดิบแทนน้ำมันสำเร็จรูป หรือเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูป หรือน้ำมันองค์ ประกอบแทนน้ำมันดิบที่ผู้ค้าน้ำมันมีหน้าที่ต้องเก็บสำรองก็ได้ ทั้งนี้ อัตราการคำนวณเพื่อแปลงน้ำ มันดิบเป็นน้ำมันสำเร็จรูป หรือน้ำมันสำเร็จรูปเป็นน้ำมันองค์ประกอบ ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศเป็นคราวๆ ตามความเหมาะสม ข้อ ๗ การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่ม เดียวกันตามตารางรายละเอียดท้ายประกาศนี้ทดแทนกันก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๔/พ๙๔ง/๖/๒๖ กันยายน ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๘/๕/๒๕๔๕ A
327202
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา พ.ศ. 2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา พ.ศ. ๒๕๔๔ --------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำ มันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันเตา พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา โดยแบ่งน้ำมันเตาออก เป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ประเภท ก หมายถึง น้ำมันเตาซึ่งมีปริมาณกำมะถันสูง และ (๒) ประเภท ข หมายถึง น้ำมันเตาซึ่งปริมาณกำมะถันต่ำ น้ำมันเตาแต่ละประเภทตามวรรคหนึ่ง แบ่งตามความหนืดออกเป็น ๕ ชนิด ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาแต่ละ ประเภทให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ภายใต้บังคับของข้อ ๖ น้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อ จำหน่ายเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการประกอบกิจการใดๆ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัด สมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต ต้องเป็นน้ำมันเตาประเภท ข น้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับ การประกอบกิจการใดๆ ในเขตพื้นที่อื่นนอกจากเขตพื้นที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งจะเป็นน้ำมันเตา ประเภท ก หรือประเภท ข ก็ได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดในข้อ ๕ วรรค หนึ่ง มีเครื่องมือและอุปกรณ์ซึ่งสามารถกำจัดสารเจือปนประเภทซัลเฟอร์ไดออกไซล์ (Sulphur Dioxide) ที่ระบายออกจากสถานประกอบการนั้นให้อยู่ในปริมาณที่ไม่เกินค่าที่กระทรวงอุตสาห กรรมได้กำหนดไว้ น้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับ การประกอบกิจการในสถานประกอบการดังกล่าวจะเป็นน้ำมันเตาประเภท ก ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมัน นั้นต้องแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ข้อ ๗ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตาที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อ จำหน่ายสำหรับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือการนำไปใช้ในการอื่นนอกเหนือจากการใช้ เป็นเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนโดยตรง เช่น การใช้ของเรือเดินสมุทร เป็นต้น จะไม่เป็นไปตามที่กำหนด ในประกาศนี้ก็ได้ แต่ผู้ค้าน้ำมันต้องแจ้งลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่ เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศนี้เพื่อขอความเห็นชอบและต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ข้อ ๘ แบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ ให้เป็นไปตามแบบ นพ. ๔๐๓ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ การยื่นแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ ให้ยื่นต่อ สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ แล้ว กรมทะเบียนการ ค้าจะออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามแบบ นพ. ๔๐๔ ให้แก่ผู้ค้าน้ำมันเก็บไว้เพื่อแสดง เป็นหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๑ การให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๐ ให้มีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วัน ที่ออกหนังสือรับรองหารให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒ ในการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเตาตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ ผู้ ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ ๑๐ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การเก็บ การขนส่งน้ำมันเตาตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ ต้องเป็นไปตามราย ละเอียดที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบ ในกรณีที่ขนส่งโดยยานพาหนะ ผู้ค้าน้ำมันต้องดำเนินการดังนี้ (ก) สลักหลังตรงรายการที่กำหนดในรายละเอียดการสลักหลังซึ่งอยู่ด้าน หลังสำเนาหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๐ ทุกครั้งที่มีการขนส่ง และต้องเก็บไว้เป็น หลักฐานที่คลังน้ำมันเพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ข) จัดทำสำเนาหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๐ ซึ่งได้ทำ การสลักหลังตามรายการที่กำหนดในรายละเอียดของการสลักหลังตาม (ก) แนบไปกับใบกำกับการ ขนส่งทุกครั้งและส่งมอบให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนำติดไปกับยานพาหนะ เพื่อไว้ แสดงเป็นหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (๒) การเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการเก็บการขนส่ง น้ำมันเตาตามที่ผู้ค้าน้ำมันได้ระบุไว้ในแบบแจ้งซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้วผู้ค้าน้ำมันต้องทำ หนังสือแจ้งต่อกรมทะเบียนการค้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ประสงค์จะขอเปลี่ยน แปลงหรือเพิ่มเติม ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๔/พ๗๖ง/๙/๗ สิงหาคม ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๑๐/๕/๒๕๔๕ A+B
323479
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง การแจ้งให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา 12 และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้แจ้งไว้ พ.ศ. 2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง การแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๒ และการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้แจ้งไว้ พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง การแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๒ และการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้แจ้งไว้ พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒[๑] แบบแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดและปริมาณตามประกาศกระทรวง พาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิดและปริมาณการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ขนส่งต้องแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้เป็นไปตามแบบ นพ. ๑๐๘ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ แบบแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้แจ้งไว้ให้เป็นไปตามแบบ นพ. ๑๐๙ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ การแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๒ และการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้แจ้งไว้ ให้ผู้แจ้งยื่นแบบแจ้งตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ แล้วแต่กรณี ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่สถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดนนทบุรี ให้ยื่นแบบแจ้งได้ที่สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า (๒) ในกรณีที่สถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นๆ นอก จาก (๑) ให้ยื่นแบบแจ้งได้ที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่สถานประกอบการหรือสำนักงานแห่งใหญ่นั้นๆ ตั้งอยู่ ข้อ ๕ เมื่ออธิบดีได้รับแจ้งการเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว กรมทะเบียนการค้าจะออกใบรับแจ้งตามแบบ นพ. ๑๑๐ ท้ายประกาศนี้ ให้ไว้เป็นหลัก ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๓๖ /๓๐ เมษายน ๒๕๔๔
312740
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. 2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๔๔ -------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดลักษณะและ คุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ "น้ำมันหล่อลื่น" หมายถึง น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ๔ จังหวะและเครื่อง ยนต์ดีเซล ข้อ ๔ ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น ให้กำหนดไว้ ๒ ด้าน ดังนี้ (๑) ลักษณะและคุณภาพด้านเคมีและฟิสิกส์ ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้าย ประกาศนี้ (๒) ลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งาน ให้เป็นไปตามลักษณะและคุณภาพ ที่ผู้ ค้าน้ำมันแจ้งเพื่อขอความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ข้อ ๕ ผู้ค้าน้ำมันที่จะเป็นผู้แจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อ ลื่น เพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีได้ คือ (๑) ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่น (๒) ผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น (๓) ผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นเจ้าของชื่อในทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้า ที่ใช้ หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น ข้อ ๖ แบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นเพื่อขอ ความเห็นชอบให้เป็นไปตามแบบ นพ. ๔๐๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ การยื่นแบบแจ้งลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น เพื่อขอความเห็นชอบ ให้ยื่นต่อสำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า ข้อ ๘ เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมัน หล่อลื่นที่ผู้ค้าน้ำมันแจ้งแล้ว กรมทะเบียนการค้าจะกำหนดเลขทะเบียนการให้ความเห็นชอบ และ ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ตามแบบ นพ.๔๐๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ การให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น ตามข้อ ๘ ให้มีกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ ในการจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น ผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ ๘ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไป ดังนี้ (๑) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะปริมาณไม่เกิน ๒๐๐ ลิตร ต้องแสดง ฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุนั้น และบนฉลากต้องแสดงข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ ชนิดความหนืด และชั้นคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น (ข) เลขทะเบียนการให้ความเห็นชอบที่กรมทะเบียนการค้ากำหนด (ค) ชื่อผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าน้ำมันหล่อลื่น หรือชื่อผู้ค้าน้ำมันหล่อลื่น ที่เป็น เจ้าของ ชื่อในทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้หรือจะใช้กับน้ำมันหล่อลื่นนั้น (ง) วัน เดือน ปี ที่ผลิตและบรรจุ (๒) การจำหน่ายโดยการบรรจุในภาชนะอื่น นอกจาก (๑) ต้องจัดทำสำเนา หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามข้อ ๘ โดยแสดงรายละเอียดตาม (๑) (ก) - (ง) ไว้ใน สำเนาหนังสือดังกล่าวด้วย และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อน้ำมันเก็บไว้เพื่อแสดงเป็นหลักฐานต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ (๓) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสำนักงานใหญ่ สถานที่ผลิต สถานที่บรรจุ และสถานที่เก็บน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบ ผู้ค้าน้ำมันต้อง แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการต่อกรมทะเบียนการค้าภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๑ สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่เคยแจ้งคุณลักษณะทางด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อ ลื่นเหลวเพื่อขอความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบคุณลักษณะทางด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อ ลื่นเหลว ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนประกาศฉบับนี้ ให้แจ้งยืนยันการได้รับ ความเห็นชอบนั้นต่อกรมทะเบียนการค้าภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อกรมทะเบียนการค้าได้รับแจ้งยืนยันดังกล่าวแล้ว กรมทะเบียนการค้าจะให้ความเห็นชอบและให้ ถือว่าเป็นการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นตามข้อ ๘ ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๔/พ๓๗ง/๓ /๒๓ เมษายน ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๒๕/๙/๔๔
323444
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิดและปริมาณการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ขนส่งต้องแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา 12 พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิดและปริมาณการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ผู้ขนส่งต้องแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิดและปริมาณการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ขนส่งต้องแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันหล่อลื่นที่มีปริมาณการขนส่งน้ำมันแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิด คราวละตั้งแต่สามพันลิตรขึ้นไป ต้องแจ้งเป็นผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดี ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๑๗/๔ เมษายน ๒๕๔๔
328558
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดปริมาณการค้าและขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ของผู้ค้าน้ำมันที่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา 10 พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดปริมาณการค้าและขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ ของผู้ค้าน้ำมันที่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดปริมาณการค้าและขนาดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ของผู้ค้าน้ำมันที่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ตามมาตรา ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ภายใต้บังคับของข้อ ๔ ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดปีละไม่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ เมตริกตัน แต่เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าน้ำมันแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดเกิน ๓๐,๐๐๐ เมตริกตัน หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีขนาดของถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดได้เกิน ๒๐๐,๐๐๐ ลิตร ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี ข้อ ๔ ผู้ใดเป็นผู้ค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณการค้าปีละไม่ถึง ๕๐,๐๐๐ เมตริกตัน แต่เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีปริมาณการค้าน้ำมันชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวชนิดเดียวเกิน ๓๐,๐๐๐ เมตริกตัน หรือเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีขนาดของถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้เกิน ๒๐๐,๐๐๐ ลิตร ต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดี ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๑๕/๔ เมษายน ๒๕๔๔
669049
ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มและการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน พ.ศ. 2555
ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัว ของผู้บรรจุก๊าซ การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอน การอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งขายหรือจำหน่ายก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้ม สามารถมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่นหรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนได้ และจำหน่ายให้ทั่วถึงทุกท้องที่ที่มีการใช้ถังก๊าซหุงต้ม ซึ่งแสดงเครื่องหมายการค้าของตน และเพื่อให้การบรรจุก๊าซต้องทำการปิดผนึกลิ้น (Valve) ถังก๊าซหุงต้มทุกครั้งที่บรรจุก๊าซ และโดยต้องมีเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซแสดงไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น (Seal) ถังก๊าซหุงต้ม และเพื่อให้การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องรัดกุมและอยู่ในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกระเบียบว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มและการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายดำเนินการบรรจุก๊าซแทน พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๔ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งขาย หรือจำหน่ายก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มสามารถมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนได้ ข้อ ๕ กรณีการมอบหมายตามข้อ ๔ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ขอรับหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนก่อนดำเนินการมอบหมายบรรจุก๊าซแทน โดยยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๑ แนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามแบบ นพ.ก ๓ ที่แนบท้ายระเบียบนี้ ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แสดงหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่งไว้ในสถานประกอบการที่ใช้บรรจุก๊าซโดยเปิดเผยเห็นได้ชัดเจน หนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่งมีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกให้ ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสืออนุญาตตามข้อ ๖ ต้องยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตภายในสามสิบวันก่อนวันที่หนังสืออนุญาตฉบับเดิมจะหมดอายุ พร้อมเอกสารประกอบต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๑ ที่แนบท้ายระเบียบนี้ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาต ข้อ ๘ ให้ผู้บรรจุก๊าซทั้งผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ และผู้บรรจุก๊าซอื่นที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามข้อ ๖ ยื่นคำขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ โดยอาจมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งผู้บรรจุก๊าซเป็นตัวแทนค้าต่างตามที่แจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ยื่นคำขอฯ แทนก็ได้ พร้อมเอกสารประกอบต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนดำเนินการบรรจุก๊าซ ตามแบบ นพ.ก ๕ ที่แนบท้ายระเบียบนี้ สำหรับผู้บรรจุก๊าซตามวรรคแรก ให้จัดทำเครื่องหมายประจำตัวที่ได้รับไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นให้แล้วเสร็จ เพื่อปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มก่อนออกจำหน่าย เครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซให้เป็นไปตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์ ธพ และหมายเลขประจำตัวในกรอบสี่เหลี่ยม ดังนี้ ข้อ ๙ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อ สถานที่ตั้ง ตัวแทนค้าต่าง หรือการยกเลิกการมอบหมาย ให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนจากที่ได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ ๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือการยกเลิกดังกล่าวต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๔ ที่แนบท้ายระเบียบนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก กรณีหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนตามข้อ ๖ ชำรุด หรือสูญหาย ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ยื่นขอใบแทนหนังสืออนุญาตฉบับเดิมต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๑ แนบท้ายระเบียบนี้ พร้อมส่งคืนฉบับเดิมที่ชำรุดหรือหลักฐานการแจ้งความสูญหาย แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ในการดำเนินการบรรจุก๊าซ ผู้บรรจุก๊าซต้องปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มให้แน่นหนาด้วยอุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นที่ไม่ฉีกขาด หรือหลุดออกได้โดยง่าย และต้องแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซตามข้อ ๘ วรรคสามไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นให้ติดแน่น โดยเครื่องหมายประจำตัวที่แสดงต้องมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๑ กรณีต่อไปนี้เป็นการกระทำผิดซึ่งผู้บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ อาจถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน ๑๑.๑ บรรจุก๊าซโดยไม่ปิดผนึกลิ้น (Valve) ถังก๊าซหุงต้มด้วยอุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น (Seal) ที่แสดงเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซตามข้อ ๑๐ ๑๑.๒ บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ๑๑.๓ บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มที่ไม่เคยได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือถังก๊าซหุงต้มที่ไม่ได้เป็นของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ๑๑.๔ นำก๊าซที่ได้มาจากการเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ไปจำหน่าย หรือใช้ในการอื่นโดยไม่บรรจุใส่ถังก๊าซหุงต้ม ข้อ ๑๒ การสั่งพักใช้และเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ ๑๒.๑ กรณีการกระทำผิดตามข้อ ๑๑.๑ หรือข้อ ๑๑.๒ ก. การกระทำผิดครั้งที่ ๑ ให้มีหนังสือแจ้งเตือนภาคทัณฑ์ ข. การกระทำผิดครั้งที่ ๒ ให้สั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน เป็นเวลา ๓ เดือน ค. การกระทำผิดครั้งที่ ๓ ให้สั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน ๑๒.๒ กรณีการกระทำผิดตามข้อ ๑๑.๓ หรือข้อ ๑๑.๔ ก. การกระทำผิดครั้งที่ ๑ ให้สั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน เป็นเวลา ๑ ปี ข. การกระทำผิดครั้งที่ ๒ ให้สั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน หากมีการกระทำผิดตามข้อ ๑๑ เกิดขึ้นในระหว่างการถูกสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนตามข้อ ๑๒.๑ และข้อ ๑๒.๒ ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาการสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตตามข้อ ๑๒.๑ และข้อ ๑๒.๒ ให้แจ้งเวลาเริ่มต้นการพักใช้หรือเพิกถอนเป็นหนังสือ โดยให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนดเวลาเริ่มต้นการพักใช้หรือเพิกถอน กรณีที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานได้เพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนไม่ว่าในกรณีใด ๆ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจะไม่พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนจนกว่าจะพ้น ๑ ปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอน ข้อ ๑๓ การตรวจพบการกระทำผิดตามข้อ ๑๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และที่แก้ไขเพิ่มเติม รายงานการตรวจพบต่อสำนักบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ตรวจพบ ข้อ ๑๔ ให้สำนักบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงรวบรวมรายงานการตรวจสอบตามข้อ ๑๑ และเสนอต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเพื่อพิจารณาสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน หากเป็นการกระทำความผิดในส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนได้เฉพาะรายที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดของตน โดยกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใดให้เป็นดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้อำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน ให้รายงานผลการดำเนินการดังกล่าวต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้สั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ บรรดาคำขอรับหนังสืออนุญาตหรือคำขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซที่ได้ยื่นไว้ก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าคำขอนั้นเป็นคำขอตามระเบียบนี้โดยอนุโลม บรรดาหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนซึ่งผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ได้รับก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับและยังไม่หมดอายุ ให้ถือว่าเป็นหนังสืออนุญาตตามระเบียบนี้โดยอนุโลมและยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าหนังสืออนุญาตนั้นจะหมดอายุ เครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซซึ่งได้รับก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซตามระเบียบนี้โดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ วีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอ/รับหนังสืออนุญาต/ต่ออายุหนังสืออนุญาต/รับใบแทนหนังสืออนุญาต ให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๑) ๒. หนังสือยืนยันการมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๒) ๓. หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๓) ๔. แบบแจ้งเปลี่ยนแปลง ชื่อ สถานที่ตั้งตัวแทนค้าต่าง และยกเลิกผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๔) ๕. คำขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ (นพ.ก ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๓/๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
647553
ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนรางวัลและวิธีปฏิบัติ ในการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนรางวัลและวิธีปฏิบัติ ในการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินสินบนรางวัลเพื่อให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่รับผิดชอบของกรมธุรกิจพลังงาน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และอนุวัตตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๔๖ และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดประเภท และอัตราการหักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลัง ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ และฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ กรมธุรกิจพลังงานจึงออกระเบียบปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนรางวัลและวิธีปฏิบัติในการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ แห่งระเบียบกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนรางวัลและวิธีปฏิบัติในการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หักเงินค่าปรับนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน ก่อนนำมาจ่ายเป็นเงินสินบนเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้ (๑) กรณีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักในอัตราร้อยละ ๒๐ ของเงินค่าปรับที่ได้รับ (๒) กรณีตรวจพบการกระทำผิด ให้หักในอัตราร้อยละ ๔๐ ของเงินค่าปรับที่ได้รับ การจ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลตามระเบียบนี้ ให้ใช้กับการแจ้งความนำจับหรือการจับกุมการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖ และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ทุกฐานความผิด นับถัดจากวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ แห่งระเบียบกรมธุรกิจพลังงานว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนรางวัลและวิธีปฏิบัติในการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ (๒) ตีความกรณีมีปัญหาการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๓) วินิจฉัยชี้ขาดกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล (๔) เรียกเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือส่งมอบเอกสารที่อยู่ในครอบครอง (๕) ระงับการจ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัล กรณีที่เห็นว่าการจ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือระเบียบนี้ และถ้าได้จ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลไปแล้ว ให้ผู้รับส่งคืนแก่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะกรรมการ (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน มอบหมาย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด” ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ภิรมย์พร/ผู้จัดทำ กวินทราดา/ตรวจ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๗/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
417639
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2541 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สถาบัน” หมายความว่า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในสังกัดกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม* “คณะกรรมการสถาบัน” หมายความว่า คณะกรรมการสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศกระทรวงวัฒนธรรม*เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม*นั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๕ ให้สถาบันมีอำนาจจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านช่างศิลป์นาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์ทั้งไทยและสากล และศิลปวัฒนธรรม มาตรา ๖ การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชาหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงวัฒนธรรม* การจัดระบบบริหารงานในสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๗ ให้กระทรวงวัฒนธรรม*จัดสรรเงินงบประมาณให้แก่กรมศิลปากรตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการของสถาบัน นอกจากเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง สถาบันหรือกรมศิลปากรอาจมีรายได้และทรัพย์สิน ดังนี้ (๑) เงินผลประโยชน์และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สถาบันได้รับจากการดำเนินกิจการของสถาบัน (๒) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุที่กรมศิลปากร ปกครองดูแล หรือใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน (๓) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถาบันหรือกรมศิลปากรเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน (๔) เงินอุดหนุนจากราชการส่วนท้องถิ่น หรือเงินอุดหนุนอื่นที่สถาบันหรือกรมศิลปากรได้รับเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน (๕) รายได้หรือผลประโยชน์อื่น ให้กรมศิลปากรมีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกรมศิลปากรที่มีไว้เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่นของสถาบัน รายได้รวมทั้งเบี้ยปรับที่กรมศิลปากรได้รับจากการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เว้นแต่เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาซื้อทรัพย์สินหรือสัญญาจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ มาตรา ๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่กรมศิลปากรได้มาโดยมีผู้ยกให้แก่กรมศิลปากรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่กรมศิลปากรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมศิลปากร มาตรา ๙ บรรดารายได้และทรัพย์สินที่สถาบันหรือกรมศิลปากรได้มาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาเนื่องจากการดำเนินกิจการของสถาบันสถาบันหรือกรมศิลปากรจะต้องจัดสรรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน การจัดสรรรายได้และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของสถาบันและเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๐ การจัดการรายได้และทรัพย์สินที่สถาบันได้รับจัดสรรตามมาตรา ๙ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันและตามเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ หมวด ๒ การดำเนินกิจการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการสถาบัน ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการสถาบัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*แต่งตั้ง (๒) รองประธานกรรมการสถาบัน ได้แก่ อธิบดีกรมศิลปากร (๓) กรรมการสถาบันโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย (๔) กรรมการสถาบันจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากรองอธิการ คณบดี และหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) กรรมการสถาบันจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำของสถาบัน (๖) กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*แต่งตั้งจากบุคคลภายนอก ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งรองอธิการคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถาบันโดยคำแนะนำของอธิการ คุณสมบัติของผู้รับเลือกตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการสถาบันตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาและคุณสมบัติของประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๒ กรรมการสถาบันตามมาตรา ๑๑ (๔) และ (๕) มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ ประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ ประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติของการเป็นประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันในประเภทนั้นๆ ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และได้แต่งตั้งหรือได้มีการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทนแล้วให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือผู้ซึ่งได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งตามวาระแต่ยังมิได้แต่งตั้งหรือยังมิได้เลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันหรือได้มีการเลือกกรรมการสถาบันขึ้นใหม่ ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระไม่เกินเก้าสิบวัน สถาบันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการสถาบัน หรือไม่ดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกกรรมการสถาบันขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ มาตรา ๑๔ คณะกรรมการสถาบันมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (๑) วางนโยบายและกำกับแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการศึกษา การวิจัยการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๒) วางระเบียบและออกข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสถาบัน (๓) พิจารณาการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการ คณะ หรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา (๔) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาของสถาบัน (๕) อนุมัติการให้ปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตร (๖) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการถอดถอนอธิการ ศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ (๗) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน หรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา รองศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ (๘) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของสถาบันเพื่อเสนอต่อกรมศิลปากรรวมทั้งวางระเบียบและออกข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สินของสถาบัน (๙) พิจารณากำหนดเครื่องหมายของสถาบัน (๑๐) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม ปัญหาทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านอื่นตามที่กระทรวงวัฒนธรรม*หารือ (๑๑) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบัน (๑๒) อำนาจหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถาบันที่มิได้ระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการสถาบัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๖ ให้มีอธิการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบัน และจะให้มีรองอธิการหรือผู้ช่วยอธิการ หรือมีทั้งรองอธิการและผู้ช่วยอธิการตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่อธิการมอบหมายก็ได้ อธิการนั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*แต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบันจากบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ อธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และจะได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ รองอธิการและผู้ช่วยอธิการนั้น ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งโดยคำแนะนำของอธิการจากคณาจารย์ประจำของสถาบันผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ เมื่ออธิการพ้นจากตำแหน่ง ให้รองอธิการและผู้ช่วยอธิการพ้นจากตำแหน่งด้วย มาตรา ๑๗ อธิการ รองอธิการและผู้ช่วยอธิการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ได้รับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สถาบันรับรองและได้ทำการสอนในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมศิลปากร หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง หรือมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถาบันหรือในสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือ (๒) ได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง และได้ทำการสอนในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมศิลปากรหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง หรือมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถาบันหรือในสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี มาตรา ๑๘ อธิการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (๑) บริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของสถาบัน รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถาบัน (๒) ควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ และข้อบังคับของสถาบัน (๓) เป็นผู้แทนของสถาบันในกิจการทั่วไป (๔) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถาบันเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสถาบัน (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน หรือตามที่คณะกรรมการสถาบันมอบหมาย มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองอธิการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิการหลายคน ให้รองอธิการที่อธิการมอบหมายเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าอธิการมิได้มอบหมาย ให้รองอธิการที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ หรือไม่มีผู้รักษาราชการแทนอธิการตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานกรรมการสถาบันแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ เป็นผู้รักษาราชการแทน ให้ผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิการ และในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนนั้นทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิการในระหว่างที่รักษาราชการแทนด้วย มาตรา ๒๐ ในคณะหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้มีคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะคนหนึ่งหรือหลายคนตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะมอบหมายก็ได้ ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชาในคณะ หรือแบ่งหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ให้มีหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของภาควิชาหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาคนหนึ่งหรือหลายคนตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชามอบหมายก็ได้ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งจากคณาจารย์ประจำของสถาบันโดยคำแนะนำของอธิการ มาตรา ๒๑ คณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ เมื่อคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาพ้นจากตำแหน่ง ให้รองคณบดี รองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาพ้นจากตำแหน่งด้วย มาตรา ๒๒ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาต้องได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง และได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมศิลปากรหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี มาตรา ๒๓ วิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอธิการ คณบดี หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๔ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ รองอธิการ ผู้ช่วยอธิการ คณบดี รองคณบดีหัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเกินหนึ่งตำแหน่งในขณะเดียวกันมิได้ ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งอยู่หนึ่งตำแหน่งแล้ว จะรักษาราชการแทนตำแหน่งอื่นอีกหนึ่งตำแหน่งก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือน หมวด ๓ คณาจารย์ มาตรา ๒๕ คณาจารย์ประจำซึ่งสอนระดับปริญญาตรีในสถาบันมีตำแหน่งทางวิชาการดังนี้ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง และถอดถอนคณาจารย์ประจำตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู มาตรา ๒๖ ศาสตราจารย์พิเศษนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์พิเศษในสาขาวิชาที่ผู้นั้นมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบัน คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๗ คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของสถาบันเป็นรองศาตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๘ ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๙ ให้ผู้เป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษมีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าว เป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป การใช้คำนำหน้านามตามความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้อักษรย่อดังนี้ ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ. ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ) รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ. รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ) หมวด ๔ ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ มาตรา ๓๐ สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีในสาขาวิชาที่มีการสอนในสถาบันได้ ปริญญาในสาขาวิชาใดจะเรียกชื่ออย่างไร และจะใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๑ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับให้ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองได้ มาตรา ๓๒ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรอย่างหนึ่งอย่างใดในสาขาวิชาที่มีการสอนในสถาบันได้ ดังนี้ (๑) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขาวิชาหนึ่งสาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี (๒) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา มาตรา ๓๓ สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีกิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่งคณะกรรมการสถาบันเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น แต่จะให้ปริญญาดังกล่าวแก่คณาจารย์ประจำของสถาบัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในสถาบันหรือคณะกรรมการสถาบันในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้นมิได้ สาขาของปริญญาและหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๔ คณะกรรมการสถาบันอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรและอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่งกรรมการสถาบัน ครุยประจำตำแหน่งผู้บริหาร หรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของสถาบันได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง จะใช้ในโอกาสใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๕ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีเครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษาได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๖ ผู้ใดใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง เครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษา โดยไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือแสดงด้วยประการใดๆ ว่าตนมีตำแหน่ง ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของสถาบัน โดยที่ตนไม่มีสิทธิ ถ้าได้กระทำเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิที่จะใช้ หรือมีตำแหน่ง หรือมีวิทยฐานะเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๗ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตาม มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการสถาบันประกอบด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม*เป็นประธานกรรมการสถาบันอธิบดีกรมศิลปากรเป็นรองประธานกรรมการสถาบัน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันศิลปกรรมเป็นกรรมการสถาบัน และรองอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถาบัน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปและผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสถาบัน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นสมควรส่งเสริมการศึกษาวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีพพิเศษ ด้านช่างศิลป์ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ทั้งไทยและสากลและศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมการผลิตบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นช่างศิลปกรรม ศิลปินอาชีพครูศิลปะ นักวิชาการ และนักวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์ พัฒนา สืบทอด และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ในการนี้สมควรให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๒ ตุลาคม ๒๕๔๔ A+B (C) *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๒] มาตรา ๑๒ ในพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้แก้ไขคำว่า “กระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “กระทรวงวัฒนธรรม” และคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ สุนันทา/นวพร/พัลลภ จัดทำ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๖ วาทินี/โสรศ/ปรับปรุง ๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๑๓ /๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
320513
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2541
กหดหกดหกดหกด พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ----------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สถาบัน” หมายความว่า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในสังกัดกรมศิลปากรกระทรวงศึกษาธิการ “คณะกรรมการสถาบัน” หมายความว่า คณะกรรมการสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป --------- มาตรา ๕ ให้สถาบันมีอำนาจจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านช่างศิลป์นาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์ทั้งไทยและสากล และศิลปวัฒนธรรม มาตรา ๖ การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชาหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การจัดระบบบริหารงานในสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๗ ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่กรมศิลปากรตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการของสถาบัน นอกจากเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง สถาบันหรือกรมศิลปากรอาจมีรายได้และทรัพย์สิน ดังนี้ (๑) เงินผลประโยชน์และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สถาบันได้รับจากการดำเนินกิจการของสถาบัน (๒) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุที่กรมศิลปากรปกครองดูแล หรือใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน (๓) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถาบันหรือกรมศิลปากรเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน (๔) เงินอุดหนุนจากราชการส่วนท้องถิ่น หรือเงินอุดหนุนอื่นที่สถาบันหรือกรมศิลปากรได้รับเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน (๕) รายได้หรือผลประโยชน์อื่น ให้กรมศิลปากรมีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกรมศิลปากรที่มีไว้เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่นของสถาบัน รายได้รวมทั้งเบี้ยปรับที่กรมศิลปากรได้รับจากการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เว้นแต่เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาซื้อทรัพย์สินหรือสัญญาจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ มาตรา ๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่กรมศิลปากรได้มาโดยมีผู้ยกให้แก่กรมศิลปากรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่กรมศิลปากรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมศิลปากร มาตรา ๙ บรรดารายได้และทรัพย์สินที่สถาบันหรือกรมศิลปากรได้มาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาเนื่องจากการดำเนินกิจการของสถาบันสถาบันหรือกรมศิลปากรจะต้องจัดสรรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน การจัดสรรรายได้และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของสถาบันและเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๐ การจัดการรายได้และทรัพย์สินที่สถาบันได้รับจัดสรรตามมาตรา ๙ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันและตามเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ หมวด ๒ การดำเนินกิจการ ----------- มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการสถาบัน ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการสถาบัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง (๒) รองประธานกรรมการสถาบัน ได้แก่ อธิบดีกรมศิลปากร (๓) กรรมการสถาบันโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย (๔) กรรมการสถาบันจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากรองอธิการ คณบดี และหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) กรรมการสถาบันจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำของสถาบัน (๖) กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากบุคคลภายนอก ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งรองอธิการคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถาบันโดยคำแนะนำของอธิการ คุณสมบัติของผู้รับเลือกตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการสถาบันตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาและคุณสมบัติของประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๒ กรรมการสถาบันตามมาตรา ๑๑ (๔) และ (๕) มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ ประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ ประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติของการเป็นประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันในประเภทนั้น ๆ ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และได้แต่งตั้งหรือได้มีการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทนแล้วให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือผู้ซึ่งได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งตามวาระแต่ยังมิได้แต่งตั้งหรือยังมิได้เลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันหรือได้มีการเลือกกรรมการสถาบันขึ้นใหม่ ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระไม่เกินเก้าสิบวัน สถาบันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการสถาบัน หรือไม่ดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกกรรมการสถาบันขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ มาตรา ๑๔ คณะกรรมการสถาบันมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (๑) วางนโยบายและกำกับแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการศึกษา การวิจัยการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๒) วางระเบียบและออกข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสถาบัน (๓) พิจารณาการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการ คณะ หรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา (๔) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาของสถาบัน (๕) อนุมัติการให้ปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตร (๖) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการถอดถอนอธิการ ศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ (๗) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน หรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา รองศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ (๘) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของสถาบันเพื่อเสนอต่อกรมศิลปากรรวมทั้งวางระเบียบและออกข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สินของสถาบัน (๙) พิจารณากำหนดเครื่องหมายของสถาบัน (๑๐) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม ปัญหาทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านอื่นตามที่กระทรวงศึกษาธิการหารือ (๑๑) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบัน (๑๒) อำนาจหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถาบันที่มิได้ระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการสถาบัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๖ ให้มีอธิการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบัน และจะให้มีรองอธิการหรือผู้ช่วยอธิการ หรือมีทั้งรองอธิการและผู้ช่วยอธิการตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่อธิการมอบหมายก็ได้ อธิการนั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบันจากบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ อธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และจะได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ รองอธิการและผู้ช่วยอธิการนั้น ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งโดยคำแนะนำของอธิการจากคณาจารย์ประจำของสถาบันผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ เมื่ออธิการพ้นจากตำแหน่ง ให้รองอธิการและผู้ช่วยอธิการพ้นจากตำแหน่งด้วย มาตรา ๑๗ อธิการ รองอธิการและผู้ช่วยอธิการต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) ได้รับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สถาบันรับรองและได้ทำการสอนในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมศิลปากร หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง หรือมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถาบันหรือในสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือ (๒) ได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง และได้ทำการสอนในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมศิลปากรหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง หรือมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถาบันหรือในสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี มาตรา ๑๘ อธิการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (๑) บริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของสถาบัน รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถาบัน (๒) ควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ และข้อบังคับของสถาบัน (๓) เป็นผู้แทนของสถาบันในกิจการทั่วไป (๔) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถาบันเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสถาบัน (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน หรือตามที่คณะกรรมการสถาบันมอบหมาย มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองอธิการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิการหลายคน ให้รองอธิการที่อธิการมอบหมายเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าอธิการมิได้มอบหมาย ให้รองอธิการที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ หรือไม่มีผู้รักษาราชการแทนอธิการตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานกรรมการสถาบันแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ เป็นผู้รักษาราชการแทน ให้ผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิการ และในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนนั้นทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิการในระหว่างที่รักษาราชการแทนด้วย มาตรา ๒๐ ในคณะหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้มีคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะคนหนึ่งหรือหลายคนตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะมอบหมายก็ได้ ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชาในคณะ หรือแบ่งหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ให้มีหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของภาควิชาหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาคนหนึ่งหรือหลายคนตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชามอบหมายก็ได้ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งจากคณาจารย์ประจำของสถาบันโดยคำแนะนำของอธิการ มาตรา ๒๑ คณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ เมื่อคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาพ้นจากตำแหน่ง ให้รองคณบดี รองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาพ้นจากตำแหน่งด้วย มาตรา ๒๒ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาต้องได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง และได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมศิลปากรหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี มาตรา ๒๓ วิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอธิการ คณบดี หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๔ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ รองอธิการ ผู้ช่วยอธิการ คณบดี รองคณบดีหัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเกินหนึ่งตำแหน่งในขณะเดียวกันมิได้ ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งอยู่หนึ่งตำแหน่งแล้ว จะรักษาราชการแทนตำแหน่งอื่นอีกหนึ่งตำแหน่งก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือน หมวด ๓ คณาจารย์ -------- มาตรา ๒๕ คณาจารย์ประจำซึ่งสอนระดับปริญญาตรีในสถาบันมีตำแหน่งทางวิชาการดังนี้ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง และถอดถอนคณาจารย์ประจำตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู มาตรา ๒๖ ศาสตราจารย์พิเศษนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์พิเศษในสาขาวิชาที่ผู้นั้นมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบัน คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๗ คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของสถาบันเป็นรองศาตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๘ ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษและพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๙ ให้ผู้เป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษมีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าว เป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป การใช้คำนำหน้านามตามความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้อักษรย่อดังนี้ ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ. ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ) รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ. รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ) หมวด ๔ ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ ----------- มาตรา ๓๐ สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีในสาขาวิชาที่มีการสอนในสถาบันได้ ปริญญาในสาขาวิชาใดจะเรียกชื่ออย่างไร และจะใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๑ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับให้ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองได้ มาตรา ๓๒ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรอย่างหนึ่งอย่างใดในสาขาวิชาที่มีการสอนในสถาบันได้ดังนี้ (๑) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขาวิชาหนึ่งสาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี (๒) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา มาตรา ๓๓ สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีกิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่งคณะกรรมการสถาบันเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น แต่จะให้ปริญญาดังกล่าวแก่คณาจารย์ประจำของสถาบัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสถาบันหรือคณะกรรมการสถาบันในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้นมิได้ สาขาของปริญญาและหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๔ คณะกรรมการสถาบันอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรและอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่งกรรมการสถาบัน ครุยประจำตำแหน่งผู้บริหาร หรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของสถาบันได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง จะใช้ในโอกาสใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๕ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีเครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษาได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ---------- มาตรา ๓๖ ผู้ใดใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง เครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษา โดยไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือแสดงด้วยประการใด ๆ ว่าตนมีตำแหน่ง ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของสถาบัน โดยที่ตนไม่มีสิทธิ ถ้าได้กระทำเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิที่จะใช้ หรือมีตำแหน่งหรือมีวิทยฐานะเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล ----------- มาตรา ๓๗ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตาม มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการสถาบันประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการสถาบันอธิบดีกรมศิลปากรเป็นรองประธานกรรมการสถาบัน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันศิลปกรรมเป็นกรรมการสถาบัน และรองอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถาบัน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปและผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสถาบัน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหต :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นสมควรส่งเสริมการศึกษาวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีพพิเศษ ด้านช่างศิลป์ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ทั้งไทยและสากลและศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมการผลิตบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นช่างศิลปกรรม ศิลปินอาชีพครูศิลปะ นักวิชาการ และนักวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์ พัฒนา สืบทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ในการนี้สมควรให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๒ ตุลาคม ๒๕๔๔ A+B (C) [๑] รก.๒๕๔๑/๗๙ก/๑๓/๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
411279
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๓๐ วรรคสอง และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้กำหนดปริญญาตรีในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ดังนี้ (๑) สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน สาขาวิชาคีตศิลป์ไทย สาขาวิชาจิตรกรรม สาขาวิชาดนตรีไทย สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สาขาวิชาประติมากรรม สาขาวิชาภาพพิมพ์ และสาขาวิชาศิลปไทย เรียกว่า “ศิลปบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.บ.” (๒) สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา และสาขาวิชานาฏศิลป์สากลศึกษา เรียกว่า “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศษ.บ.” ทั้งนี้ ให้ระบุชื่อวิชาเอกในวงเล็บต่อท้ายปริญญาด้วย ถ้ามี มาตรา ๔ ครุยวิทยฐานะชั้นปริญญาตรีของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีลักษณะและส่วนประกอบดังนี้ ครุยเป็นเสื้อคลุมทำด้วยผ้าหรือแพรสีเขียวเข้มยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด แขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือ ปลายแขนปล่อย มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร ทับบนริมชายครุยและมีสำรดทาบริมเสื้อด้านหน้า พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีน้ำเงินกว้าง ๑๐ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมามีแถบกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๑ เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร และมีโบว์ทำด้วยกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๐.๕ เซนติเมตรทับบนริมทั้งสองข้างติดกลางสำรดระดับหน้าอกทั้งสองข้าง และมีเครื่องหมายของสถาบันทำด้วยโลหะตามสีประจำคณะติดทับบนโบว์ทั้งสองข้าง ต้นแขนมีสำรด พื้นสำรดทำด้วยกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๑๑ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตรทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ ๒.๕ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตรทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบสีประจำคณะกว้าง ๒ เซนติเมตร และมีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร ทับบนริมปลายแขน ตอนกลางตัวเสื้อเหนือขอบเอวประมาณ ๗ เซนติเมตร มีสายทองถักขนาด ๐.๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตรงปลายเป็นพู่ตามสีประจำคณะยาว ๖ เซนติเมตร ด้านหลังกลางตัวเสื้อตามทางดิ่งมีสำรด พื้นสำรดทำด้วยกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๗ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง มาตรา ๕ สีประจำคณะ มีดังนี้ (๑) คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สีส้ม (๒) คณะศิลปวิจิตร สีชมพู (๓) คณะศิลปศึกษา สีฟ้า มาตรา ๖ เข็มวิทยฐานะของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำหรับผู้ได้รับปริญญา มีลักษณะเป็นรูปเครื่องหมายของสถาบัน ทำด้วยโลหะสีทองแดงทรงนูน สูง ๖ เซนติเมตร พื้นหลังเป็นสีประจำคณะด้านหลังจารึกเลขประจำรุ่น เลขทะเบียน ชื่อตัว ชื่อสกุล อักษรย่อปริญญา และปีการศึกษาที่ได้รับปริญญา มาตรา ๗ ครุยประจำตำแหน่งและเครื่องหมายประกอบครุยประจำตำแหน่งของประธานกรรมการสถาบัน กรรมการสถาบัน อธิการ รองอธิการ ผู้ช่วยอธิการ คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และคณาจารย์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีดังนี้ (๑) ประธานกรรมการสถาบัน เป็นเสื้อคลุมทำด้วยผ้าหรือแพรสีเขียวเข้มยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด แขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือ ปลายแขนปล่อย มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตรทับบนริมชายครุย และมีสำรดทาบริมเสื้อด้านหน้า พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีน้ำเงินกว้าง ๑๐ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตรทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมามีแถบกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๑ เซนติเมตรทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร และมีโบว์ทำด้วยกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ เซนติเมตร ติดกลางสำรดระดับหน้าอกทั้งสองข้างและมีเครื่องหมายของสถาบันทำด้วยโลหะตามสีประจำสถาบันติดทับบนโบว์ทั้งสองข้าง ตอนกลางตัวเสื้อเหนือขอบเอวประมาณ ๗ เซนติเมตร มีสายทองถักขนาด ๐.๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตรงปลายเป็นพู่สีทองยาว ๖ เซนติเมตร ด้านหลังกลางตัวเสื้อตามทางดิ่งมีสำรด พื้นสำรดทำด้วยกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๗ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตรทับบนริมทั้งสองข้าง และมีสำรดรอบแขน ๒ สำรด ดังนี้ (ก) ต้นแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีน้ำเงินกว้าง ๑๐ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตรทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมามีแถบกำมะหยี่สีเขียวเข้มกว้าง ๑ เซนติเมตรทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบสีชมพูกว้าง ๑ เซนติเมตร แถบสีส้มกว้าง ๑ เซนติเมตร และแถบสีดำกว้าง ๑ เซนติเมตร ตามลำดับ (ข) ปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีน้ำเงินกว้าง ๕ เซนติเมตร มีแถบสีทองกว้าง ๑.๕ เซนติเมตรทับบนริมทั้งสองข้าง (๒) กรรมการสถาบัน เช่นเดียวกับประธานกรรมการสถาบัน แต่ตอนกลางสำรดที่ต้นแขนมีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร (๓) อธิการ รองอธิการ ผู้ช่วยอธิการ คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เช่นเดียวกับกรรมการสถาบัน (๔) คณาจารย์ เช่นเดียวกับกรรมการสถาบัน แต่กลางแขนเสื้อมีแถบสีทองกว้าง ๐.๕ เซนติเมตรจำนวนสองแถบ ติดขวางเรียงกัน ระยะห่าง ๑.๕ เซนติเมตร มาตรา ๘ ให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จัดทำครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้นไว้เป็นตัวอย่าง มาตรา๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ในระดับปริญญาตรีแล้ว สมควรกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประกอบกับมาตรา ๓๐ วรรคสอง และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้การกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พรพิมล/พิมพ์ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ ปาจรีย์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ A+B [๑] รก.๒๕๔๖/๘๐ก/๑๘/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๖
316135
*ข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ว่าด้วยเครื่องหมายสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายนักศึกษา พ.ศ. 2543
เน„เธกเนˆเธžเธšเน€เธญเธเธชเธฒเธฃเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธฃ The document that you would like to see is not found.
306689
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ๒๕๔๑ ----------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สถาบัน” หมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ “คณะกรรมการสถาบัน” หมายความว่า คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป -------- มาตรา ๕ ให้สถาบันมีอำนาจจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรา ๖ การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การจัดระบบบริหารงานในสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๗ ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่กรมอาชีวศึกษาตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการของสถาบัน นอกจากเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาอาจมีรายได้ ดังนี้ (๑) เงินผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้รับจากการดำเนินกิจการของสถาบัน (๒) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุที่กรมอาชีวศึกษาปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน (๓) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน (๔) เงินอุดหนุนจากราชการส่วนท้องถิ่น หรือเงินอุดหนุนอื่นที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้รับเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน (๕) รายได้หรือผลประโยชน์อื่น ให้กรมอาชีวศึกษามีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกรมอาชีวศึกษาที่มีไว้เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่นของสถาบัน รายได้รวมทั้งเบี้ยปรับที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้รับจากการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เว้นแต่เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาหรือเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาซื้อทรัพย์สินหรือสัญญาจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ มาตรา ๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่กรมอาชีวศึกษาได้มาโดยมีผู้ยกให้แก่กรมอาชีวศึกษาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่กรมอาชีวศึกษาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมอาชีวศึกษา มาตรา ๙ บรรดารายได้และทรัพย์สินที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้มาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาเนื่องจากการดำเนินกิจการของสถาบันสถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาจะต้องจัดสรรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน การจัดสรรรายได้และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของสถาบันและเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๐ การจัดการรายได้และทรัพย์สินที่สถาบันได้รับจัดสรรตามมาตรา ๙ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันและตามเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ หมวด ๒ การดำเนินงาน --------- มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการสถาบัน ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการสถาบัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง (๒) รองประธานกรรมการสถาบัน ได้แก่ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา (๓) กรรมการสถาบันโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิการ เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย (๔) กรรมการสถาบันจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำของสถาบัน (๕) กรรมการสถาบันจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากรองอธิการ คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๖) กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากบุคคลภายนอก ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งรองอธิการคนหนึ่งเป็นกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการสถาบันโดยคำแนะนำของอธิการ คุณสมบัติของผู้รับเลือกตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการสถาบันตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาและคุณสมบัติของประธานกรรมการสถาบัน และกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๖) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๒ กรรมการสถาบันตามมาตรา ๑๑ (๔) และ (๕) มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ ประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ ประธานกรรมการสถาบันและกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติของการเป็นประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันในประเภทนั้น ๆ ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และได้แต่งตั้งหรือได้มีการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทนแล้ว ให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือผู้ซึ่งได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งตามวาระแต่ยังมิได้แต่งตั้ง หรือยังมิได้เลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบัน หรือได้มีการเลือกกรรมการสถาบันขึ้นใหม่ ในกรณีที่ประธานกรรมการสถาบันหรือกรรมการสถาบันพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระไม่เกินเก้าสิบวัน สถาบันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการสถาบันหรือไม่ดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกกรรมการสถาบันขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ มาตรา ๑๔ คณะกรรมการสถาบันมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (๑) วางนโยบายและกำกับแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรม (๒) วางระเบียบและออกข้อบังคับของสถาบันเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสถาบัน (๓) พิจารณาการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา (๔) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาของสถาบัน (๕) อนุมัติการให้ปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตร (๖) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการถอดถอนอธิการ ศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ (๗) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือภาควิชา รองศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ (๘) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของสถาบันเพื่อเสนอต่อกรมอาชีวศึกษา รวมทั้งวางระเบียบและออกข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำและการพิจารณางบประมาณ การเงิน และทรัพย์สินของสถาบัน (๙) พิจารณากำหนดเครื่องหมายของสถาบัน (๑๐) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบัน (๑๑) อำนาจหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถาบันที่มิได้ระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการสถาบัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๑๖ ให้มีอธิการคนหนึ่ง เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบัน และจะให้มีรองอธิการหรือผู้ช่วยอธิการ หรือมีทั้งรองอธิการและผู้ช่วยอธิการตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนด เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่อธิการมอบหมายก็ได้ อธิการนั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบันจากบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ อธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และจะได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ รองอธิการนั้น ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งโดยคำแนะนำของอธิการจากคณาจารย์ประจำของสถาบันผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ ผู้ช่วยอธิการนั้น ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งโดยคำแนะนำของอธิการจากคณาจารย์ประจำของสถาบันผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ เมื่ออธิการพ้นจากตำแหน่ง ให้รองอธิการและผู้ช่วยอธิการพ้นจากตำแหน่งด้วย มาตรา ๑๗ อธิการและรองอธิการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ได้รับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สถาบันรับรองและได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรองมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถาบันหรือในสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือ (๒) ได้รับปริญญาตรีจากสถาบันหรือปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง และได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรองมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปีหรือเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถาบันหรือในสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี มาตรา ๑๘ ผู้ช่วยอธิการต้องได้รับปริญญาตรีจากสถาบันหรือปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรอง มาตรา ๑๙ อธิการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (๑) บริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ และข้อบังคับของสถาบัน รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถาบัน (๒) ควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ และข้อบังคับของสถาบัน (๓) เป็นผู้แทนของสถาบันในกิจการทั่วไป (๔) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสถาบันเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสถาบัน (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน หรือตามที่คณะกรรมการสถาบันมอบหมาย มาตรา ๒๐ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองอธิการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิการหลายคนให้รองอธิการซึ่งอธิการมอบหมายเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าอธิการไม่ได้มอบหมายให้รองอธิการซึ่งมีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ หรือไม่มีผู้รักษาราชการแทนอธิการตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานกรรมการสถาบันแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ เป็นผู้รักษาราชการแทน ให้ผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิการ และในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจและหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับอธิการในระหว่างที่รักษาราชการแทนด้วย มาตรา ๒๑ ในคณะหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้มีคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบงานของคณะหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองคณบดี หรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะคนหนึ่งหรือหลายคนตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะมอบหมายก็ได้ ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชาในคณะหรือแบ่งหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาให้มีหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของภาควิชาหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาคนหนึ่งหรือหลายคนตามจำนวนที่คณะกรรมการสถาบันกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชามอบหมายก็ได้ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงานและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้คณะกรรมการสถาบันแต่งตั้งจากคณาจารย์ประจำของสถาบันโดยคำแนะนำของอธิการ มาตรา ๒๒ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาต้องได้รับปริญญาตรีจากสถาบัน หรือปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรองและได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารในสถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สถาบันรับรองมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี มาตรา ๒๓ คณบดี หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ เมื่อคณบดี หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาพ้นจากตำแหน่ง ให้รองคณบดี รองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาพ้นจากตำแหน่งด้วย มาตรา ๒๔ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ รองอธิการ ผู้ช่วยอธิการ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเกินหนึ่งตำแหน่งในขณะเดียวกันมิได้ ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งอยู่หนึ่งตำแหน่งแล้ว จะรักษาราชการแทนตำแหน่งอื่นอีกตำแหน่งก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือน มาตรา ๒๕ วิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอธิการ คณบดี หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน หมวด ๓ คณาจารย์ -------- มาตรา ๒๖ คณาจารย์ประจำซึ่งสอนระดับปริญญาตรีในสถาบันมีตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนคณาจารย์ประจำตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู มาตรา ๒๗ ศาสตราจารพิเศษนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์พิเศษในวิชาที่ผู้นั้นมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบัน คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๘ คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของสถาบันเป็นรองศาตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ หรืออาจารย์พิเศษได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๒๙ ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ความสามารถและความชำนาญเป็นพิเศษและพ้นจากหน้าที่ในสถาบันไปโดยไม่มีความผิด คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณในวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๐ ให้ผู้เป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ มีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าว เป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป การใช้คำนำหน้านามตามความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้อักษรย่อ ดังนี้ ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ. ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ) รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ. รองศาสตราจารย์พิเศษ ช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ) หมวด ๔ ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ ---------- มาตรา ๓๑ สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีในสาขาที่มีการสอนในสถาบันได้ ปริญญาในสาขาวิชาใดจะเรียกชื่ออย่างไร และจะใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๒ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองได้ มาตรา ๓๓ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรอย่างหนึ่งอย่างใดในสาขาวิชาที่มีการสอนในสถาบันได้ ดังนี้ (๑) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขาวิชาหนึ่งสาขาวิชาใดก่อนขั้นได้รับปริญญาตรี (๒) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา มาตรา ๓๔ สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีกิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่งสถาบันเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น แต่จะให้ปริญญาดังกล่าวแก่คณาจารย์ประจำของสถาบันหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสถาบัน หรือคณะกรรมการสถาบันในขณะดำรงตำแหน่งนั้นมิได้ สาขาของปริญญาและหลักเกณฑ์การให้ปริญญาตรีกิตติมศักดิ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๕ คณะกรรมการสถาบันอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตรได้และอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่งกรรมการสถาบัน ครุยประจำตำแหน่งผู้บริหาร หรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของสถาบันได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยประจำตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยประจำตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ จะใช้ในโอกาสใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน มาตรา ๓๖ คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีเครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ---------- มาตรา ๓๗ ผู้ใดใช้ครุยประจำตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ เครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษาของสถาบัน โดยไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือแสดงด้วยประการใด ๆ ว่าตนมีตำแหน่งปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของสถาบัน โดยที่ตนไม่มีสิทธิ ถ้าได้กระทำเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิที่จะใช้ หรือมีตำแหน่งหรือวิทยฐานะเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล --------- มาตรา ๓๘ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตามมาตรา๑๑ ให้คณะกรรมการสถาบันประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการสถาบันอธิบดีกรมอาชีวศึกษาเป็นรองประธานกรรมการสถาบัน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการสถาบัน และผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกลปทุมวันผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการ ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถาบัน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๙ บรรดาผู้ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง และประกาศนียบัตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ของวิทยาลัยช่างกลปทุมวันตามหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมการศึกษาวิชาการและผลิตบุคลากรผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นการขยายโอกาสสำหรับผู้สำเร็จอาชีวศึกษาในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาตรีให้กว้างขวางขึ้นตลอดจนการถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการนี้สมควรให้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๒๐ ก.พ ๒๕๔๕ A+B (C) [๑] รก.๒๕๔๑/๗๙ก/๑/๒ พฤษจิกายน ๒๕๔๑
315518
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2543
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ๒๕๔๓ --------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราช บัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ๒๕๔๑ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ดังนี้ (๑) สำนักงานอธิการ (๒) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๓) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ข้อ ๒ ให้จัดตั้งส่วนราชการในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ (๑) ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม (๒) ภาควิชาศึกษาทั่วไป (๓) ภาควิชาอาชีวะและเทคนิคศึกษา ข้อ ๓ ให้จัดตั้งส่วนราชการในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้ (๑) ภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม (๒) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (๓) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (๔) ภาควิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (๕) ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (๖) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รก.๒๕๔๓/๒๙ง/๕/๑๑ เมษายน ๒๕๔๓] อัมพิกา/แก้ไข ๒๒/๔/๒๕๔๕ B
686515
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด “ผู้ดูแลคนพิการ” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ “แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล” หมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล “เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก” หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ “ครูการศึกษาพิเศษ”[๒] หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป หรือครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีที่ผ่านการประเมินทักษะการสอนคนพิการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด และปฏิบัติหน้าที่สอน จัดการศึกษา นิเทศ หรือหน้าที่อื่นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน “การเรียนร่วม” หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ “สถานศึกษาเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน “ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง “ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น “องค์การคนพิการแต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔[๓] ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา ๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา ดังนี้ (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล มาตรา ๖ ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๗ ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใด ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ มาตรา ๙ ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๒ การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๑๑[๔] ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการตาม (๔) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน โดยในจำนวนนี้ต้องมีบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการแต่ละประเภทจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษแต่งตั้งข้าราชการในสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากรและแนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบและทุกระดับต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๒) เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตร การกำหนดมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินและการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ การได้มาและจำนวนเงินค่าตอบแทนพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ (๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของหน่วยงานในทุกสังกัดที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ รวมทั้งอนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้เงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน (๔) วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การอุดหนุนทางการศึกษา การจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ (๕) ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการการศึกษาสำหรับคนพิการ รวมทั้งสนับสนุนโครงการเพื่อสิทธิทางการศึกษาของคนพิการ (๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างบูรณาการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ให้มีองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่อง และทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๗) วางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๓ (๑) (๘) วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามมาตรา ๒๓ (๒) (๙) วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนตามมาตรา ๒๓ (๓) (๑๐) วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน การตัดหนี้เป็นสูญโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๔ (๑๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน ให้การรับรอง หรือเพิกถอนการรับรองแก่สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ (๑๒) ปฏิบัติงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย มาตรา ๑๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลืออยู่ไม่ถึงหกสิบวันจะไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ มาตรา ๑๖ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม หากรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งหมด ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๗ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ รวมทั้งให้มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษา รวมทั้งประเมินและรายงานผลต่อคณะกรรมการ (๒) สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการเรียนร่วมแก่คนพิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ (๓) วิจัย และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ (๔) ผลิต วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของกองทุน (๗) ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษาสามารถผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๙) ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุน กำกับ ดูแล ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรา ๑๙ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรา ๒๐ ให้สถานศึกษาเฉพาะความพิการของรัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจแก่คนพิการ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล หมวด ๓ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๒๑ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ” ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) เงินรายได้ที่ได้จากการออกสลากหรือการจัดกิจกรรม (๕) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ (๗) รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา ๒๒[๕] ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการหนึ่งคนเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยเจ็ดคน เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๒๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๒) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๓) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการ บริหารกองทุนมอบหมาย มาตรา ๒๔ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ มาตรา ๒๖ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง และการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๒๗ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ของกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามมาตรา ๑๒ ให้นำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๘ ในวาระเริ่มแรกที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๙ ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติ มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป จึงจำเป็นต้องจัดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ ดังนั้น เพื่อให้การบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุกระดับการศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๖] มาตรา ๕ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีซึ่งทำการสอนและได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการครูว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของครูการศึกษาพิเศษและครูการศึกษาพิเศษกรณีเรียนร่วม พ.ศ. ๒๕๓๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้ครูการศึกษาพิเศษซึ่งทำการสอนคนพิการต้องมีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีเป็นครูการศึกษาพิเศษได้ มีผลให้ครูการศึกษาพิเศษซึ่งทำการสอนคนพิการมีไม่เพียงพอ ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ครูการศึกษาพิเศษ” ให้มีความหมายกว้างขึ้นและครอบคลุมครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรี รวมทั้งเห็นควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒[๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๒ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในบัญชี ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม หากเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการร่วม ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในบัญชี ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อ้างถึง “กระทรวงศึกษาธิการ” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” “ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ” หรือผู้ดำรงตำแหน่ง หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงศึกษาธิการ หากเกี่ยวกับการอุดมศึกษาหรือการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาหรือคณะกรรมการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในบัญชี ๔ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา มาตรา ๑๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สมควรจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อให้มีการบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นเข้าด้วยกัน และให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผน และนโยบายในการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ณัฐพร/ปรับปรุง พลัฐวัษ/ตรววจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “ครูการศึกษาพิเศษ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๔] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๕] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
833596
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/05/2556)
พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด “ผู้ดูแลคนพิการ” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ “แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล” หมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล “เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก” หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ “ครูการศึกษาพิเศษ”[๒] หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป หรือครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีที่ผ่านการประเมินทักษะการสอนคนพิการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด และปฏิบัติหน้าที่สอน จัดการศึกษา นิเทศ หรือหน้าที่อื่นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน “การเรียนร่วม” หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ “สถานศึกษาเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน “ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง “ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น “องค์การคนพิการแต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา ๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา ดังนี้ (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล มาตรา ๖ ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๗ ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใด ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ มาตรา ๙ ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๒ การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๑๑[๓] ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการตาม (๔) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน โดยในจำนวนนี้ต้องมีบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการแต่ละประเภทจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษแต่งตั้งข้าราชการในสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากรและแนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบและทุกระดับต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๒) เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตร การกำหนดมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินและการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ การได้มาและจำนวนเงินค่าตอบแทนพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ (๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของหน่วยงานในทุกสังกัดที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ รวมทั้งอนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้เงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน (๔) วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การอุดหนุนทางการศึกษา การจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ (๕) ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการการศึกษาสำหรับคนพิการ รวมทั้งสนับสนุนโครงการเพื่อสิทธิทางการศึกษาของคนพิการ (๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างบูรณาการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ให้มีองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่อง และทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๗) วางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๓ (๑) (๘) วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามมาตรา ๒๓ (๒) (๙) วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนตามมาตรา ๒๓ (๓) (๑๐) วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน การตัดหนี้เป็นสูญโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๔ (๑๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน ให้การรับรอง หรือเพิกถอนการรับรองแก่สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ (๑๒) ปฏิบัติงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย มาตรา ๑๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลืออยู่ไม่ถึงหกสิบวันจะไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ มาตรา ๑๖ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม หากรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งหมด ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๗ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ รวมทั้งให้มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษา รวมทั้งประเมินและรายงานผลต่อคณะกรรมการ (๒) สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการเรียนร่วมแก่คนพิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ (๓) วิจัย และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ (๔) ผลิต วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของกองทุน (๗) ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษาสามารถผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๙) ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุน กำกับ ดูแล ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรา ๑๙ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรา ๒๐ ให้สถานศึกษาเฉพาะความพิการของรัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจแก่คนพิการ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล หมวด ๓ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๒๑ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ” ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) เงินรายได้ที่ได้จากการออกสลากหรือการจัดกิจกรรม (๕) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ (๗) รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา ๒๒ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการหนึ่งคนเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยเจ็ดคน เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๒๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๒) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๓) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการ บริหารกองทุนมอบหมาย มาตรา ๒๔ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ มาตรา ๒๖ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง และการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๒๗ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ของกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามมาตรา ๑๒ ให้นำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๘ ในวาระเริ่มแรกที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๙ ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติ มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป จึงจำเป็นต้องจัดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ ดังนั้น เพื่อให้การบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุกระดับการศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๔] มาตรา ๕ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีซึ่งทำการสอนและได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการครูว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของครูการศึกษาพิเศษและครูการศึกษาพิเศษกรณีเรียนร่วม พ.ศ. ๒๕๓๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้ครูการศึกษาพิเศษซึ่งทำการสอนคนพิการต้องมีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีเป็นครูการศึกษาพิเศษได้ มีผลให้ครูการศึกษาพิเศษซึ่งทำการสอนคนพิการมีไม่เพียงพอ ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ครูการศึกษาพิเศษ” ให้มีความหมายกว้างขึ้นและครอบคลุมครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรี รวมทั้งเห็นควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปัทมา/แก้ไข วศิน/ตรวจ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ปณตภร/เพิ่มเติม ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณัฐพร/ปรับปรุง พลัฐวัษ/ตรววจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “ครูการศึกษาพิเศษ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
686473
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ครูการศึกษาพิเศษ” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีที่ผ่านการประเมินทักษะการสอนคนพิการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด และปฏิบัติหน้าที่สอน จัดการศึกษา นิเทศ หรือหน้าที่อื่นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการตาม (๔) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน โดยในจำนวนนี้ต้องมีบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการแต่ละประเภทจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษแต่งตั้งข้าราชการในสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นผู้ช่วยเลขานุการ” มาตรา ๕ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีซึ่งทำการสอนและได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการครูว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของครูการศึกษาพิเศษและครูการศึกษาพิเศษกรณีเรียนร่วม พ.ศ. ๒๕๓๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้ครูการศึกษาพิเศษซึ่งทำการสอนคนพิการต้องมีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีเป็นครูการศึกษาพิเศษได้ มีผลให้ครูการศึกษาพิเศษซึ่งทำการสอนคนพิการมีไม่เพียงพอ ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ครูการศึกษาพิเศษ” ให้มีความหมายกว้างขึ้นและครอบคลุมครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรี รวมทั้งเห็นควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณัฐพร/ปรับปรุง พลัฐวัษ/ตรวจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
571060
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด “ผู้ดูแลคนพิการ” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้องหรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ “แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล” หมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล “เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก” หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน “การเรียนร่วม” หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ “สถานศึกษาเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน “ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง “ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น “องค์การคนพิการแต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา ๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้ (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล มาตรา ๖ ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๗ ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระ การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใด ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ มาตรา ๙ ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๒ การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคนพิการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบสามคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านการบริหารการศึกษา ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน ทั้งนี้ อย่างน้อยเจ็ดคนต้องมาจากองค์การคนพิการแต่ละประเภท ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นเลขานุการ และให้แต่งตั้งข้าราชการในสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากรและแนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบและทุกระดับต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๒) เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตร การกำหนดมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินและการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ การได้มาและจำนวนเงินค่าตอบแทนพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ (๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของหน่วยงานในทุกสังกัดที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ รวมทั้งอนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้เงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน (๔) วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การอุดหนุนทางการศึกษา การจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ (๕) ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการการศึกษาสำหรับคนพิการ รวมทั้งสนับสนุนโครงการเพื่อสิทธิทางการศึกษาของคนพิการ (๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างบูรณาการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ให้มีองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่อง และทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๗) วางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๓ (๑) (๘) วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามมาตรา ๒๓ (๒) (๙) วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนตามมาตรา ๒๓ (๓) (๑๐) วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน การตัดหนี้เป็นสูญโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๔ (๑๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน ให้การรับรอง หรือเพิกถอนการรับรองแก่สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ (๑๒) ปฏิบัติงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย มาตรา ๑๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลืออยู่ไม่ถึงหกสิบวันจะไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ มาตรา ๑๖ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม หากรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งหมด ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๗ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษา รวมทั้งประเมินและรายงานผลต่อคณะกรรมการ (๒) สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการเรียนร่วมแก่คนพิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ (๓) วิจัย และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ (๔) ผลิต วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของกองทุน (๗) ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษาสามารถผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๙) ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุน กำกับ ดูแล ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรา ๑๙ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรา ๒๐ ให้สถานศึกษาเฉพาะความพิการของรัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจแก่คนพิการ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล หมวด ๓ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา ๒๑ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ” ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) เงินรายได้ที่ได้จากการออกสลากหรือการจัดกิจกรรม (๕) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ (๗) รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา ๒๒ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการหนึ่งคนเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยเจ็ดคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๒๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๒) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๓) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย มาตรา ๒๔ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ มาตรา ๒๖ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง และการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๒๗ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ของกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามมาตรา ๑๒ ให้นำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ใช้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๘ ในวาระเริ่มแรกที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๙ ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติ มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป จึงจำเป็นต้องจัดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ ดังนั้น เพื่อให้การบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุกระดับการศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
794482
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา และรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา และรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา โดยที่ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา และรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้น “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา “การอุดหนุน” หมายความว่า การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ สถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุน ต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เข้าศึกษาในหลักสูตรที่ไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี และต้องเป็นการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่ยังไม่เคยสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในกรณีที่นิสิต นักศึกษาพิการย้ายสาขาวิชาหรือสถาบันอุดมศึกษาเกินกว่าสองครั้ง สถาบันอุดมศึกษาจะไม่ได้รับการอุดหนุนตามประกาศนี้ สำหรับนิสิต นักศึกษาพิการที่เข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรีพร้อมกันตั้งแต่สองสถาบันอุดมศึกษาขึ้นไป ให้สถาบันอุดมศึกษาที่ขอรับการอุดหนุนต่อสำนักงานก่อน มีสิทธิได้รับการอุดหนุนตามประกาศนี้เพียงแห่งเดียว ข้อ ๖ ให้สำนักงานพิจารณาให้ความเห็นชอบสถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สถาบันอุดมศึกษามีการเปิดการเรียนการสอนมาแล้ว อย่างน้อยหนึ่งปีการศึกษา (๒) หลักสูตร สาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนต้องมีมาตรฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและต้องผ่านการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงาน (๓) มีบุคลากรและระบบสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาพิการศึกษาเล่าเรียนอย่างมีคุณภาพ ข้อ ๗ รายการที่ให้การอุดหนุน ตามข้อ ๕ ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นในทำนองเดียวกันกับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการที่ปรากฏในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งในทุกหลักสูตรของปีการศึกษา ตามจ่ายจริงเท่ากับนักศึกษาทั่วไป ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ กลุ่มสาขา อัตราค่าใช้จ่าย บาท/ราย/ปี ๑. สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ๖๐,๐๐๐ ๑.๑ สาขาที่ขาดแคลนและ หรือเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ ธุรกิจอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบริการ และธุรกิจการบิน ๑.๒ สาขาอื่น ๆ นอกจาก ๑.๑ ๕๐,๐๐๐ ๒. ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ๗๐,๐๐๐ ๓. วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๗๐,๐๐๐ ๔. เกษตรศาสตร์ ๗๐,๐๐๐ ๕. สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ๙๐,๐๐๐ ๖. แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ๒๐๐,๐๐๐ ข้อ ๘ ให้สถาบันอุดมศึกษายกเว้นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนิสิต นักศึกษาพิการโดยตรง และให้ดำเนินการขอรับการอุดหนุนมายังสำนักงานภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนิสิต นักศึกษาพิการแล้ว หากสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้ดำเนินการขอรับการอุดหนุนมายังสำนักงานภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง สถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง สำนักงานจะให้การสนับสนุนย้อนหลังได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษา ข้อ ๙ การยื่นคำขอรับการอุดหนุน ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อกำหนด นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการรับนิสิต นักศึกษาพิการเข้าเรียนในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสมเพื่อประกาศใช้ในแต่ละปีการศึกษา เช่น เป้าหมายจำนวนรับ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรับคนพิการเข้าศึกษาในสถาบัน ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา คณะ สาขาวิชาที่จะเปิดรับ วิธีการคัดเลือก การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ (๒) ประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนิสิต นักศึกษาพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปีการศึกษา เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีถัดไป โดยรายงานต่อสำนักงานภายในเดือนกันยายนของทุกปี ทั้งนี้ การรับนักศึกษาต้องมีสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความพร้อมของสถาบัน ซึ่งไม่เกินแผนการรับที่กำหนดไว้ในเอกสารหลักสูตร (มคอ. ๒) ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษาอนุมัติหรือเห็นชอบ และสำนักงานรับทราบแล้ว (๓) รายงานจำนวนเงินที่จะต้องเรียกเก็บและรายชื่อนิสิต นักศึกษาพิการที่รับเข้าศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาตามแบบที่เลขาธิการกำหนด พร้อมด้วยระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้น โดยรายงานต่อสำนักงานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งนี้ ภายในเดือนตุลาคมและมีนาคมของทุกปี ข้อ ๑๐ ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของนิสิต นักศึกษาพิการต่อสำนักงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนด อย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ ภายในเดือนกันยายนของทุกปีเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการต่อไป ข้อ ๑๑ เมื่อประกาศนี้ใช้บังคับแล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิต นักศึกษาพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าศึกษา ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาไปพลางก่อนและให้เริ่มต้นได้รับการอุดหนุนตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๙/๕ มกราคม ๒๕๖๑
781626
ประกาศคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุนแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ประกาศคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประกาศคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุนแผนงาน หรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบมติคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ และครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุนแผนงานหรือโครงการ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุนในการจัดทำแผนงานหรือโครงการ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับลงวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุนแผนงานหรือโครงการ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้เป็นไปตามตารางท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รักษาการตามประกาศนี้ และมีอำนาจกำหนดแบบเอกสารและวิธีการในการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุนแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แนบท้ายประกาศ ฉบับลงวันที่ ๑๔ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๔๒/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐
633487
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่อื่นของศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่อื่นของศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามบทนิยามคำว่า “ศูนย์การศึกษาพิเศษ” ในมาตรา ๓ และตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่อื่นของศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คนพิการ” หมายความว่า คนพิการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๔ ให้ศูนย์การศึกษาพิเศษปฏิบัติหน้าที่อื่น ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่คนพิการที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ซึ่งเจ็บป่วยเรื้อรังอยู่ในโรงพยาบาลหรือที่บ้านเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถไปเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตามปกติ (๒) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่มีการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน (๓) จัดทำระบบส่งต่อ และส่งเสริมสนับสนุนช่วงเชื่อมต่อสำหรับคนพิการ (๔) ส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการตามความเหมาะสมและจำเป็น (๕) ประสานและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรคนพิการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถพัฒนา สนับสนุน และจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่มีการเรียนร่วมทั้งของรัฐและเอกชน ข้อ ๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๒๓/๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
630560
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ โดยที่ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๖ วรรคสอง กำหนดให้สถานศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนักศึกษาพิการ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐ และสถานศึกษาเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา “สถานศึกษาเอกชน” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษาในสังกัดหรือในกำกับ และจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ข้อ ๔ สถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ต้องเป็นสถานศึกษาที่ได้รับคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ และผู้นั้นต้องไม่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีมาก่อน เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีได้ ข้อ ๕ รายการที่ให้การอุดหนุน ตามข้อ ๔ ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นในทำนองเดียวกันกับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการและอัตราที่กำหนดในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของส่วนราชการ สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาเอกชน แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ การยื่นคำขอรับเงินอุดหนุนให้สถานศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนักศึกษาพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปี เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี โดยรายงานต่อส่วนราชการ ทั้งนี้ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี (๒) รายงานจำนวนเงินที่จะต้องเรียกเก็บ และรายชื่อนักศึกษาพิการที่รับเข้าศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด พร้อมด้วยระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ของสถานศึกษาที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้น โดยรายงานต่อส่วนราชการ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งนี้ ภายในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของทุกปี ข้อ ๗ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของนักศึกษาพิการต่อส่วนราชการ ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด อย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการต่อไป ข้อ ๘ ให้สถานศึกษาที่รับนักศึกษาซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าศึกษาก่อนประกาศนี้ใช้บังคับได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๙๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
630558
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา โดยที่ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๖ วรรคหนึ่ง กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิตนักศึกษาพิการ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้น “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ข้อ ๔ สถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าศึกษาในหลักสูตรไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี และผู้นั้นต้องไม่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีมาก่อน ข้อ ๕ รายการที่ให้การอุดหนุน ตามข้อ ๔ ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นในทำนองเดียวกันกับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการที่ปรากฏในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งในทุกหลักสูตร ทั้งนี้ ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้ กลุ่มสาขา อัตราค่าใช้จ่าย บาท/ราย/ปี ๑. สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ๖๐,๐๐๐ ๒.ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ๖๐,๐๐๐ ๓. วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๗๐,๐๐๐ ๔. เกษตรศาสตร์ ๗๐,๐๐๐ ๕. สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ๘๐,๐๐๐ ๖. แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ๑๕๐,๐๐๐ ข้อ ๖ การยื่นคำขอรับเงินอุดหนุน ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนิสิตนักศึกษาพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปีเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี โดยรายงานต่อสำนักงาน ทั้งนี้ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี (๒) รายงานจำนวนเงินที่จะต้องเรียกเก็บและรายชื่อนิสิตนักศึกษาพิการที่รับเข้าศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาตามแบบที่เลขาธิการกำหนด พร้อมด้วยระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้น โดยรายงานต่อสำนักงานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งนี้ ภายในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของทุกปี ข้อ ๗ ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการ ต่อสำนักงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนด อย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการต่อไป ข้อ ๘ ให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิตนักศึกษาซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าศึกษาก่อนประกาศนี้ใช้บังคับได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๙๑/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
610823
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสอง และมาตรา ๑๒ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครูและคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในทุกระดับหรือหน่วยงานการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนที่มีคนพิการเข้าเรียนหรือที่พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน “ครู” หมายความว่า บุคลากรซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา “คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยทางด้านการศึกษาพิเศษในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๔ ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่ละประเภท อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๒) ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างน้อยสามปีต่อครั้ง (๓) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องทางด้านการศึกษาพิเศษหรือพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาพิเศษที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี (๔) ส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การดำเนินการตามข้อ ๔ ให้มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาตาม (๑) ของข้อ ๔ ต้องเป็นหลักสูตรกลางที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้ตามความเหมาะสมและมีลักษณะเฉพาะเพื่อคนพิการแต่ละประเภท และสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำหลักสูตรกลางดังกล่าวไปใช้การฝึกอบรมหรือพัฒนานั้น ในการนี้ หากคณะกรรมการเห็นว่าสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดได้กำหนดหลักสูตรขึ้นเองมีความเหมาะสม คณะกรรมการก็สามารถให้ความเห็นชอบและถือเป็นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมหรือพัฒนานั้นได้ (๒) การพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพตาม (๒) ของข้อ ๔ ต้องเป็นหลักสูตรซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกอบรมเป็นการเฉพาะ โดยหลักสูตรนั้นจะต้องมีลักษณะตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์รวมทั้งโครงสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดจนมีการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรนั้น (๓) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี ตาม (๓) ของข้อ ๔ ต้องเป็นการศึกษาที่มีการกำหนดประเภทของทุน สาขาวิชาที่จะศึกษา สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ และระยะเวลาการศึกษา (๔) การส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ตาม (๔) ของข้อ ๔ ต้องมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าว ข้อ ๖ การพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับหน่วยงาน สถาบัน หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ดังกล่าวสามารถนำไปจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานยิ่งขึ้น ข้อ ๗ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ให้ส่วนราชการหน่วยงานต้นสังกัด หรือกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สนับสนุนงบประมาณให้เหมาะสมและเพียงพอ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๒๘/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
606975
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔ และมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ให้มีองค์ประกอบของแผนตามข้อ ๓ และกระบวนการจัดทำแผนตามข้อ ๔ ข้อ ๓ องค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ (๑) ข้อมูลทั่วไป เช่น วัน เดือน ปีเกิด ประเภทความพิการ ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้เรียน บิดา มารดา ผู้ปกครอง เป็นต้น (๒) ข้อมูลด้านการแพทย์ หรือด้านสุขภาพ (๓) ข้อมูลด้านการศึกษา (๔) การกำหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ (๕) ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (๖) คณะกรรมการจัดทำแผน (๗) ความเห็นของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน (๘) ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น ข้อ ๔ กระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล อย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) จัดประเมินระดับความสามารถและความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (๒) กำหนดเป้าหมายระยะยาว ๑ ปี เป้าหมายระยะสั้น หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (๓) ประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (๔) กำหนดกระบวนการเรียนรู้และปัจจัยที่มีความต้องการจำเป็นทางการศึกษา (๕) กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ข้อ ๕ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับผู้เรียนแต่ละคนโดยมีกรรมการไม่น้อยกว่า ๓ คน ซึ่งประกอบด้วย (๑) ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทน (๒) บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลคนพิการ (๓) ครูประจำชั้น หรือครูแนะแนว หรือครูการศึกษาพิเศษ หรือครูที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษาพิเศษที่ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ในกรณีที่สถานศึกษาใดมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความพิการ สถานศึกษานั้นอาจแต่งตั้งให้นักวิชาการดังกล่าวเข้าร่วมเป็นกรรมการเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประชุมเพื่อจัดทำแผนตามข้อ ๒ แล้วนำแผนไปสู่การปฏิบัติ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งจัดประชุมเพื่อประเมิน ทบทวน และปรับแผน พร้อมจัดทำรายงานผลปีละ ๒ ครั้ง ข้อ ๗ ในการส่งต่อผู้เรียนที่จบการศึกษาแต่ละระดับ หรือย้ายสถานศึกษาให้สถานศึกษานำส่งแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล รายงานผลการประเมิน การดำเนินการตามแผน แฟ้มประวัติและแฟ้มสะสมผลการเรียนของผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๔๘/๘ มิถุนายน ๒๕๕๒
606973
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประเภทของคนพิการ มีดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น (๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (๓) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (๔) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ (๕) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (๗) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ (๘) บุคคลออทิสติก (๙) บุคคลพิการซ้อน ข้อ ๓ การพิจารณาบุคคลที่มีความบกพร่องเพื่อจัดประเภทของคนพิการ ให้มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑.๑) คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียง หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้ว อยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๖๐ (๖/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐ (๒๐/๒๐๐) จนถึงไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง (๑.๒) คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๑๘ (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ (๒๐/๗๐) (๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับหูตึงน้อยจนถึงหูหนวก ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๒.๑) คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งโดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยิน ๙๐ เดซิเบลขึ้นไป (๒.๒) คนหูตึง หมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูดผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งหากตรวจวัดการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบลลงมาถึง ๒๖ เดซิเบล (๓) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย ๒ ทักษะจาก ๑๐ ทักษะ ได้แก่ การสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตภายในบ้านทักษะทางสังคม/การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน การใช้เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งนี้ ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ ๑๘ ปี (๔) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๔.๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ได้แก่ บุคคลที่มีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ มีอุปสรรคในการเคลื่อนไหว ความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การไม่สมประกอบ มาแต่กำเนิด อุบัติเหตุและโรคติดต่อ (๔.๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ได้แก่ บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ (๕) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน คือ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ทั้งที่มีระดับสติปัญญาปกติ (๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องในการเปล่งเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือบุคคลที่มีความบกพร่อง ในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบ เนื้อหาและหน้าที่ของภาษา (๗) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ ได้แก่ บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์หรือความคิด เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม เป็นต้น (๘) บุคคลออทิสติก ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทำงานของสมองบางส่วน ซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจำกัดด้านพฤติกรรม หรือมีความสนใจจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นค้นพบได้ก่อนอายุ ๓๐ เดือน (๙) บุคคลพิการซ้อน ได้แก่ บุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๔๕/๘ มิถุนายน ๒๕๕๒
618787
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสี่ และมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คนพิการ” หมายความว่า คนพิการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐ และสถานศึกษาเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา “สถานศึกษาเอกชน” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษาในสังกัดหรือในกำกับ และจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๔ ให้สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากสถานศึกษาใดมีข้อโต้แย้งหรือมีปัญหาในทางปฏิบัติที่จำเป็นให้สถานศึกษานั้นเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเป็นรายไป ข้อ ๕ ให้สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการ ข้อ ๖ ให้สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงประเภทของความพิการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ส่วนราชการ สถาบันการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดและให้สถานศึกษานั้น แจ้งต่อคณะกรรมการเพื่อทราบไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนเริ่มปีการศึกษาโดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ให้สถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นจากส่วนราชการตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนักศึกษาพิการ หากส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ในการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการตามวรรคหนึ่ง ส่วนราชการหรือสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งรับผิดชอบกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ อาจทำข้อตกลงขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ ข้อ ๗ ให้สถานศึกษาซึ่งได้รับคนพิการเข้าศึกษาดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) จัดระบบหรือรูปแบบที่สนับสนุนการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจำเป็นพิเศษตามประเภทของคนพิการ (๒) จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการ สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ (๓) รายงานผลการดำเนินงานต่อส่วนราชการ ข้อ ๘ ในการจัดทำหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา ให้สถานศึกษาหรือส่วนราชการกำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจกำหนดตัวอย่างรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติตามความเหมาะสมก็ได้ ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ส่วนราชการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษแก่สถานศึกษา ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมและสอดคล้อง กับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการจัดให้มีหน่วยงานภายในของส่วนราชการเป็นการเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๑๑ ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๒ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษารักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๑๗/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618777
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสี่ มาตรา ๑๒ (๔) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้น “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ข้อ ๔ ให้สถาบันอุดมศึกษาในทุกสังกัดมีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสมโดยให้คำนึงถึงประเภทของความพิการด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และแจ้งคณะกรรมการเพื่อทราบไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๕ ให้สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ การจัดทำหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนิสิตนักศึกษาพิการแต่ละบุคคล รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยให้นิสิตนักศึกษาพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษา มีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นจากสำนักงานตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิตนักศึกษาพิการ หากสำนักงานไม่สามารถดำเนินการได้ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการกำหนด ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง สำนักงาน หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรับผิดชอบกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ หรือสถาบันอุดมศึกษาอาจทำข้อตกลงขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ ข้อ ๗ ให้สำนักงานรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ ๘ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษารักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๑๕/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
610671
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน “ส่วนราชการ” หมายความว่า หน่วยงานตั้งแต่ระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่มีสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๔ ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ข้อ ๕ ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากสถานศึกษาใดมีข้อโต้แย้งหรือมีปัญหาในทางปฏิบัติที่จำเป็น ให้สถานศึกษานั้นเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเป็นรายไป ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้สถานศึกษาซึ่งได้รับคนพิการเข้าศึกษา มีการดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) จัดระบบหรือรูปแบบที่สนับสนุนการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความจำเป็นพิเศษตามประเภทของคนพิการทางการศึกษา (๒) จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการสิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ ข้อ ๗ ในการจัดทำหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา ให้สถานศึกษาและส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หรือตามที่สถานศึกษาเห็นสมควร ข้อ ๘ ในกรณีที่คนพิการซึ่งมีอุปสรรคและมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือในการเดินทางเพราะเหตุแห่งความพิการนั้น ให้สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดบริการสำหรับการเดินทาง ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเงินอุดหนุนของสถานศึกษาไม่เพียงพอ ให้สถานศึกษาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหรือส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษานั้นได้ ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษแก่สถานศึกษา ทั้งนี้ ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๒/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
606947
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน การจัดทำรายงานสถานะการเงิน และการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน การจัดทำรายงานสถานะการเงิน และการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๘) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน การจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “องค์กรภาคเอกชน” หมายความว่า องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันทางสังคมอื่น ที่จัดการศึกษาให้แก่คนพิการซึ่งมิใช่หน่วยงานภาครัฐ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “คณะกรรมการบริหารกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ ๔ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติตลอดจนกำหนดแบบเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การขอรับการสนับสนุนโครงการ ข้อ ๕ หน่วยงานภาครัฐที่จัดหรือสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการจะขอรับการสนับสนุนโครงการจากกองทุนได้ ต้องมีภารกิจในการจัดหรือสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๖ องค์กรภาคเอกชนที่จะขอรับการสนับสนุนโครงการจากกองทุน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล (๒) มีสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นคำขอไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) มีคณะกรรมการ บุคลากร หรืออาสาสมัครในการปฏิบัติงานประจำ หรือมีที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๔) มีวัตถุประสงค์ หรือมีผลงานเกี่ยวกับการจัดหรือสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๕) มีผลการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อคนพิการ (๖) มีระบบการบริหารงานและระบบการเงินการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ ข้อ ๗ โครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ นโยบายรัฐบาล หรือนโยบายของคณะกรรมการ (๒) มีวัตถุประสงค์และกระบวนการในการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีผลต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๓) ควรมีการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคคล หน่วยงานหรือประชาชนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๔) ควรมีคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเข้าร่วมบริหารจัดการหรือให้คำปรึกษาในการดำเนินงาน กรณีเป็นหน่วยงานภาครัฐต้องเป็นโครงการที่ริเริ่มใหม่ หรือเป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณตามปกติได้ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ กรณีเป็นองค์กรภาคเอกชนต้องเป็นโครงการที่ดำเนินงานมาแล้วโดยมีทุนหรือเงินสมทบอยู่บางส่วนหรือเป็นโครงการใหม่ และต้องไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการและแหล่งทุนอื่น ๆ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไม่ใช้บังคับกับโครงการที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนดำเนินการเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ หมวด ๒ การกู้ยืมเพื่อจัดซื้อ จัดหา สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๘ ผู้ขอกู้ยืมเงินกองทุน ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือมีใบรับรองแพทย์ (๒) มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อจัดซื้อ จัดหา สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๓) ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชน (๔) ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเห็นเป็นอย่างอื่น (๕) กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด (๖) มีความสามารถในการชำระเงินกู้ยืม และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน (๗) คุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ในกรณีคนพิการไม่สามารถทำนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ให้ผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้กู้ยืมแทน ข้อ ๙ รายการ วงเงินการให้กู้ยืมและกำหนดการชำระคืนโดยไม่มีดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนประกาศกำหนด หมวด ๓ การสนับสนุนทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรมเพื่อการส่งเสริมและพัฒนา การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ส่วนที่ ๑ ครู คณาจารย์ เเละบุคลากรทางการศึกษา ข้อ ๑๐ ครู คณาจารย์ เเละบุคลากรทางการศึกษาที่จะขอรับทุนการศึกษาหรือฝึกอบรมได้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนที่ ๒ ทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับทุนการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือมีใบรับรองแพทย์ (๒) มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินทุนการศึกษาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (๓) ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชน (๔) มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ในกรณีคนพิการไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ให้ผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกาศกำหนดวงเงินเเละรายการค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ เเละเป็นกรณีไม่อยู่ในรายการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือเเหล่งทุนอื่นเเล้ว หมวด ๔ การพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน ข้อ ๑๓ การยื่นคำขอรับการสนับสนุนโครงการ การกู้ยืมเงิน และการขอรับการสนับสนุนทุนการศึกษาหรือฝึกอบรมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง สำหรับในจังหวัดอื่นให้ยื่นคำขอต่อศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนั้น ๆ หรือหน่วยงานอื่นตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด ในกรณีกลุ่มเป้าหมายตามโครงการมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่มากกว่าหนึ่งจังหวัด หรือมิได้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดที่ยื่นคำขอรับการสนับสนุนนั้น ให้ยื่นคำขอต่อสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้หน่วยงานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่ตรวจสอบและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการหรือคำขอรับการสนับสนุนรายบุคคล พร้อมทั้งเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารกองทุน ข้อ ๑๔ เมื่อหน่วยงานตามข้อ ๑๓ ได้รับคำขอเเล้ว ให้จัดทำความเห็นโครงการหรือคำขอรับการสนับสนุนรายบุคคลภายในสามสิบวันนับเเต่วันที่ได้รับคำขอเเละมีหลักฐานครบถ้วนแล้วและเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อพิจารณา ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประชุมพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนอย่างน้อยเดือนละครั้ง เว้นแต่ไม่มีการเสนอเรื่องเพื่อขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน คณะกรรมการบริหารกองทุนหรือหน่วยงานตามข้อ ๑๔ แล้วแต่กรณี อาจให้ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนที่ขอรับการสนับสนุนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องชี้แจงรายละเอียดหรือแสดงหลักฐานเพิ่มเติม หรือจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงยังสถานที่ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือบุคคลที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนก็ได้ ข้อ ๑๖ รายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนให้การสนับสนุน มีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเงินให้กู้ยืมสำหรับคนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการ เพื่อจัดซื้อ จัดหา สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๒) เป็นทุนการศึกษาหรือฝึกอบรม แก่คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ อาสาสมัคร หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๓) เป็นเงินจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ล่ามภาษามือ ผู้ช่วยเหลือคนพิการ สื่อส่งเสริมพัฒนาการสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๔) เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาระบบการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๕) เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนแก่สถานศึกษาในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๖) เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการการบริหารงานกองทุน เช่น การบริหารกองทุน การหาประโยชน์ การติดตามประเมินผล และตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุน (๗) เป็นค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๘) เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนประกาศกำหนด ในกรณีที่ยังมิได้ประกาศกำหนดอัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายในเรื่องใดไว้ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ หรือกรณีที่อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ไม่สามารถใช้ดำเนินงานตามโครงการได้อย่างเพียงพอกับความจำเป็น ให้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาเป็นกรณีไป ข้อ ๑๗ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินให้ผู้ขอรับการสนับสนุนโครงการ หรือผู้ขอรับการสนับสนุนรายบุคคลแล้วแต่กรณี ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาเสร็จ ข้อ ๑๘ ให้องค์กรภาคเอกชน หรือบุคคลที่ได้รับอนุมัติเงินจากกองทุนทำสัญญารับเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่เลขาธิการกำหนด ถ้าผู้ขอรับการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ไม่มาทำสัญญาภายในกำหนดเวลาตามที่ได้รับแจ้งโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๙ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือบุคคลที่ได้รับเงินจากกองทุนจะต้องยินยอมให้สำนักงานกำกับติดตามการดำเนินงานตามที่ได้รับเงินจากกองทุน หรือให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจเอกสารเกี่ยวกับบัญชี ทะเบียนและหลักฐานอื่น ตลอดจนสอบถามหรือสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือบุคคลที่ได้รับเงินจากกองทุนต้องรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินที่ได้รับจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนอนุมัติก่อนดำเนินการ ในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือบุคคลที่ได้รับเงินจากกองทุน มิได้ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการอนุมัติ ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายระงับการจ่ายเงินงวดต่อไปไว้ก่อน แล้วดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อพิจารณาต่อไป ข้อ ๒๑ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง และศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำทะเบียนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน บุคคล ที่ได้รับเงินจากกองทุนเพื่อควบคุม กำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับอนุมัติ (๓) ส่งเสริม เร่งรัด ติดตาม และดำเนินการอื่นเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน (๔) ดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย ข้อ ๒๒ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกาศกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติ และเกณฑ์ชี้วัดเพื่อให้เป็นไปตามหมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔ หมวด ๕ การจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุน ข้อ ๒๓ ให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง และศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินเป็นประจำทุกเดือนส่งให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป และให้นำส่งเงินรายได้ทุกประเภทเข้าบัญชีกองทุนทุกสิ้นเดือน ข้อ ๒๔ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนเป็นประจำทุกเดือนและเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนทุกครั้งที่มีการประชุม ข้อ ๒๕ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละสามครั้ง ข้อ ๒๖ วิธีการปฏิบัติอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำระเบียบของทางราชการ ว่าด้วยการนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑๕/๘ มิถุนายน ๒๕๕๒
606945
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการบริหารกองทุน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การลงทุน การหาประโยชน์ และการจัดการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการบริหารกองทุน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การลงทุน การหาประโยชน์ และการจัดการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๗) (๑๐) และมาตรา ๒๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการบริหารกองทุน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การลงทุน การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ “คณะกรรมการบริหารกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ ๔ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติ ตลอดจนกำหนดแบบเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ วัตถุประสงค์และการบริหารกองทุน ข้อ ๕ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ข้อ ๖ กองทุน ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) เงินรายได้ที่ได้จากการออกสลากหรือการจัดกิจกรรม (๕) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ (๗) รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการ ที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๗ คณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการหนึ่งคนเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยเจ็ดคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๘ คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์ และการจัดการกองทุน (๒) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๓) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการ (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย หมวด ๒ การรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ข้อ ๙ ให้สำนักงานเปิดบัญชีกองทุนไว้ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ” ข้อ ๑๐ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารกองทุน ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๑ เงินที่ได้รับตามข้อ ๖ ในส่วนกลางให้นำฝากเข้าบัญชีกองทุนที่เปิด ณ ธนาคารในส่วนกลางตามข้อ ๑๐ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงิน หากได้รับเงินในวันเดียวกันเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาทให้นำฝากธนาคารอย่างช้าภายในวันทำการรุ่งขึ้นนับจากวันที่ได้รับเงิน ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ชื่อบัญชี “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ” และให้นำเงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ฝากเข้าบัญชีกองทุนที่เปิดไว้ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงิน หากวันใดได้รับเงินเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท ให้นำฝากธนาคารอย่างช้าในวันทำการรุ่งขึ้น หรือโอนเข้าบัญชีกองทุนที่ส่วนกลางภายในระยะเวลาเช่นเดียวกัน ข้อ ๑๒ การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ใช้จ่ายภายใต้วัตถุประสงค์ข้อ ๕ เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้กู้ยืมเงินเพื่อจัดซื้อ จัดหา สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๒) การให้ทุนการศึกษาหรือฝึกอบรมแก่คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ อาสาสมัคร หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๓) การจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ล่ามภาษามือ ผู้ช่วยเหลือคนพิการ สื่อส่งเสริมพัฒนาการสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๔) การบริหารและพัฒนาระบบการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ (๕) การสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (๖) การดำเนินงานของกองทุน เช่น การบริหารกองทุน การหาประโยชน์ การติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุน (๗) การใช้จ่ายในเรื่องอื่น ๆ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นผู้สั่งจ่ายเงินกองทุน หลังจากคณะกรรมการบริหารกองทุนอนุมัติแล้ว ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกเงิน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่ง การพัสดุหรือการปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ในกรณีคณะกรรมการบริหารกองทุนยังมิได้กำหนด ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ให้สำนักงานจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีของกองทุนเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนให้ความเห็นชอบเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ หมวด ๓ การลงทุน การหาประโยชน์ และการจัดการกองทุน ข้อ ๑๖ ให้นำเงินกองทุนไปลงทุนหรือหาประโยชน์ ดังต่อไปนี้ (๑) ฝากไว้กับธนาคารของรัฐที่เป็นรัฐวิสาหกิจ (๒) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล (๓) ซื้อตราสารการเงินอื่นตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ (๔) ดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารกองทุนเห็นชอบ ข้อ ๑๗ การบัญชีของกองทุน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดทำบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด และจัดทำรายงานการรับ - จ่ายเงินกองทุนอย่างน้อยเดือนละครั้ง รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานประจำปีเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละครั้ง การปิดบัญชีให้กระทำปีละครั้ง โดยถือปีงบประมาณเป็นรอบปีบัญชี และให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินพร้อมทั้งรายละเอียดประกอบตามรูปแบบรายงานการเงินสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี เพื่อส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับรองแล้วให้คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งสำเนางบการเงินดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณเพื่อทราบต่อไป ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำงบการเงินในภาพรวมของสำนักงาน และงบการเงินในภาพรวมของแผ่นดิน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนนำข้อมูลเกี่ยวกับการบัญชีของกองทุนเข้าระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System : GFMIS) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๑๙ ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงานการเงินและการบัญชีกองทุนและรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ข้อ ๒๐ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑๐/๘ มิถุนายน ๒๕๕๒
769696
พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่ละคนในคณะรัฐมนตรี “นิติบุคคล” หมายความว่า นิติบุคคลที่รัฐมนตรีมอบหมายให้จัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา ๔ รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ในห้างหุ้นส่วนจำกัด รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้ไม่เกินร้อยละห้าของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น (๒) ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด รัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น มาตรา ๕ ในกรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และ (๒) โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ และเมื่อได้ดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลใดแล้ว ให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น มาตรา ๖ นิติบุคคลที่รัฐมนตรีจะโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฎหมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาตรา ๗ นิติบุคคลที่รัฐมนตรีจะโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้จัดการได้ ต้องเป็นนิติบุคคลที่ไม่มีกรรมการหรือพนักงานซึ่งนิติบุคคลนั้นมอบหมายให้เป็นผู้จัดการในการบริหารและจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีที่มีผลประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียกับรัฐมนตรี คู่สมรสของรัฐมนตรี เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของรัฐมนตรี มาตรา ๘ ในการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีให้กับนิติบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลโดยเด็ดขาดแต่การจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์เกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี การโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่มีภาระผูกพันใด ๆ อยู่ก่อนวันที่มีการโอน การโอนดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันนั้น และเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันจะโต้แย้งการโอนดังกล่าวมิได้ มาตรา ๙ สัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีต้องจัดทำตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนดซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีที่จะโอนให้กับนิติบุคคล (๒) รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นส่วนหรือหุ้น วิธีการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นและการจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอน ซึ่งจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดกรอบการจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์ที่รัฐมนตรีอาจครอบงำจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์ (๓) ค่าตอบแทนและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนในการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น ถ้าหากมี (๔) ความรับผิดและข้อจำกัดความรับผิดในการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น (๕) การจ่ายผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น (๖) วิธีการคืนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอนและผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น ในการกำหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจกำหนดเงื่อนไขหรือขอบเขตของความตกลงที่รัฐมนตรีและนิติบุคคลจะมีสิทธิกระทำได้ไว้ด้วยก็ได้ การทำความตกลงเป็นประการอื่นนอกเหนือจากข้อกำหนดในสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดจะกระทำมิได้ มาตรา ๑๐ เมื่อรัฐมนตรีได้ดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลแล้ว ให้นิติบุคคลนั้นรายงานการรับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้น พร้อมทั้งส่งสำเนาของสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีให้กับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ลงนามในสัญญา ในการนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดให้มีการเปิดเผยสำเนาของสัญญานั้นให้ประชาชนทราบตามวิธีการที่เห็นสมควรโดยไม่ชักช้า มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้รัฐมนตรีกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารครอบงำ หรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นหรือการจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้น มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้นิติบุคคลยินยอมหรือดำเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้รัฐมนตรีมีโอกาสเข้าไปบริหาร ครอบงำ หรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นหรือการจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้น หรือเปิดเผยต่อบุคคลใด ๆ ในลักษณะที่จะมีผลทำให้รัฐมนตรีทราบถึงการบริหารหรือจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอนมาจากรัฐมนตรีผู้นั้น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นการรายงานการประกอบกิจการตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด มาตรา ๑๓ ให้นิติบุคคลจัดทำบัญชีแสดงการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอนจากรัฐมนตรีและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวแยกไว้ต่างหากจากบัญชีแสดงการประกอบกิจการของนิติบุคคล หุ้นส่วนหรือหุ้นที่นิติบุคคลรับโอนมาจากรัฐมนตรีและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินของนิติบุคคลที่เจ้าหนี้ของนิติบุคคลนั้นจะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับชำระหนี้ทั้งในคดีแพ่งและคดีล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ของนิติบุคคลนั้นมีสิทธิบังคับตามภาระผูกพันที่ติดกับหุ้นส่วนหรือหุ้นหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวโดยตรง ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่นิติบุคคลเลิกกิจการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๔ ในการรับโอนและจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นิติบุคคลที่รับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้นได้รับยกเว้นจากบทบัญญัติของกฎหมายใด ๆ ที่ห้ามมิให้นิติบุคคลนั้นเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทอื่นหรือที่มีการจำกัดจำนวนเงินในการรับจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในกรณีที่มีกฎหมายจำกัดจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นของนิติบุคคลในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทอื่น มิให้นับจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่ได้รับโอนมาจากรัฐมนตรี รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้นรวมเข้ากับจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่นิติบุคคลนั้นจะพึงมีได้ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทอื่น มาตรา ๑๕ ในกรณีที่นิติบุคคลที่รับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีเลิกกิจการหรือล้มละลาย เมื่อรัฐมนตรีได้รับหุ้นส่วนหรือหุ้นและผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นกลับคืนมาแล้ว ถ้ารัฐมนตรียังคงประสงค์จะได้รับประโยชน์จากหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีแจ้งความประสงค์ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคืนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น และดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้นให้กับนิติบุคคลอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่รัฐมนตรีได้รับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นเพิ่มขึ้นในระหว่างการดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี และมีส่วนเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ถ้ารัฐมนตรียังคงประสงค์จะได้รับประโยชน์จากหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวต่อไป ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๖ นิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท มาตรา ๑๗ รัฐมนตรีผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๑ หรือนิติบุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๘[๒] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๐๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไปให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการนี้ ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ชาญ/ตรวจ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ปริญสินีย์/เพิ่มเติม ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๑/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๓ [๒] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769011
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้ และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ (๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ (๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ (๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๗) มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒๐) มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๑) มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๘) มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๕) มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๘) มาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๔) มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๖) มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๐) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ “มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒. ประมวลรัษฎากร “มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” “มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ “มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย” ๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ “มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ “มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ “มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า “อผศ.” “ทหารผ่านศึก” “ผ่านศึก” “นอกประจำการ” หรือคำว่า“ทหาร” เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๑. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๒. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๔ . พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย” ๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” ๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙ หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑ วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” ๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๘ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” “มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ “มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
311762
พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่ละคนในคณะรัฐมนตรี “นิติบุคคล” หมายความว่า นิติบุคคลที่รัฐมนตรีมอบหมายให้จัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา ๔ รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ในห้างหุ้นส่วนจำกัด รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้ไม่เกินร้อยละห้าของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น (๒) ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด รัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น มาตรา ๕ ในกรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และ (๒) โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ และเมื่อได้ดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลใดแล้ว ให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น มาตรา ๖ นิติบุคคลที่รัฐมนตรีจะโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฎหมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาตรา ๗ นิติบุคคลที่รัฐมนตรีจะโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้จัดการได้ ต้องเป็นนิติบุคคลที่ไม่มีกรรมการหรือพนักงานซึ่งนิติบุคคลนั้นมอบหมายให้เป็นผู้จัดการในการบริหารและจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีที่มีผลประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียกับรัฐมนตรี คู่สมรสของรัฐมนตรี เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของรัฐมนตรี มาตรา ๘ ในการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีให้กับนิติบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลโดยเด็ดขาดแต่การจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์เกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี การโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่มีภาระผูกพันใด ๆ อยู่ก่อนวันที่มีการโอน การโอนดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันนั้น และเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันจะโต้แย้งการโอนดังกล่าวมิได้ มาตรา ๙ สัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีต้องจัดทำตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนดซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีที่จะโอนให้กับนิติบุคคล (๒) รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นส่วนหรือหุ้น วิธีการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นและการจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอน ซึ่งจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดกรอบการจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์ที่รัฐมนตรีอาจครอบงำจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์ (๓) ค่าตอบแทนและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนในการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น ถ้าหากมี (๔) ความรับผิดและข้อจำกัดความรับผิดในการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น (๕) การจ่ายผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น (๖) วิธีการคืนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอนและผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น ในการกำหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจกำหนดเงื่อนไขหรือขอบเขตของความตกลงที่รัฐมนตรีและนิติบุคคลจะมีสิทธิกระทำได้ไว้ด้วยก็ได้ การทำความตกลงเป็นประการอื่นนอกเหนือจากข้อกำหนดในสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดจะกระทำมิได้ มาตรา ๑๐ เมื่อรัฐมนตรีได้ดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลแล้ว ให้นิติบุคคลนั้นรายงานการรับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้น พร้อมทั้งส่งสำเนาของสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีให้กับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ลงนามในสัญญา ในการนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดให้มีการเปิดเผยสำเนาของสัญญานั้นให้ประชาชนทราบตามวิธีการที่เห็นสมควรโดยไม่ชักช้า มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้รัฐมนตรีกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารครอบงำ หรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นหรือการจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้น มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้นิติบุคคลยินยอมหรือดำเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้รัฐมนตรีมีโอกาสเข้าไปบริหาร ครอบงำ หรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นหรือการจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้น หรือเปิดเผยต่อบุคคลใด ๆ ในลักษณะที่จะมีผลทำให้รัฐมนตรีทราบถึงการบริหารหรือจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอนมาจากรัฐมนตรีผู้นั้น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นการรายงานการประกอบกิจการตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด มาตรา ๑๓ ให้นิติบุคคลจัดทำบัญชีแสดงการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นที่รับโอนจากรัฐมนตรีและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวแยกไว้ต่างหากจากบัญชีแสดงการประกอบกิจการของนิติบุคคล หุ้นส่วนหรือหุ้นที่นิติบุคคลรับโอนมาจากรัฐมนตรีและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินของนิติบุคคลที่เจ้าหนี้ของนิติบุคคลนั้นจะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับชำระหนี้ทั้งในคดีแพ่งและคดีล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ของนิติบุคคลนั้นมีสิทธิบังคับตามภาระผูกพันที่ติดกับหุ้นส่วนหรือหุ้นหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวโดยตรง ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่นิติบุคคลเลิกกิจการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๔ ในการรับโอนและจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นิติบุคคลที่รับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้นได้รับยกเว้นจากบทบัญญัติของกฎหมายใด ๆ ที่ห้ามมิให้นิติบุคคลนั้นเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทอื่นหรือที่มีการจำกัดจำนวนเงินในการรับจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในกรณีที่มีกฎหมายจำกัดจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นของนิติบุคคลในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทอื่น มิให้นับจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่ได้รับโอนมาจากรัฐมนตรี รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้นรวมเข้ากับจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นที่นิติบุคคลนั้นจะพึงมีได้ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทอื่น มาตรา ๑๕ ในกรณีที่นิติบุคคลที่รับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีเลิกกิจการหรือล้มละลาย เมื่อรัฐมนตรีได้รับหุ้นส่วนหรือหุ้นและผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นกลับคืนมาแล้ว ถ้ารัฐมนตรียังคงประสงค์จะได้รับประโยชน์จากหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีแจ้งความประสงค์ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคืนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น และดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้นให้กับนิติบุคคลอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่รัฐมนตรีได้รับโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นเพิ่มขึ้นในระหว่างการดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี และมีส่วนเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ถ้ารัฐมนตรียังคงประสงค์จะได้รับประโยชน์จากหุ้นส่วนหรือหุ้นดังกล่าวต่อไป ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๖ นิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท มาตรา ๑๗ รัฐมนตรีผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๑ หรือนิติบุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๘ ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๐๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไปให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการนี้ ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/แก้ไข ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ชาญ/ตรวจ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๑/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๓
323155
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นรัฐมนตรี
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี[๑] โดยที่ตามพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้สัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีต้องจัดทำตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงประกาศกำหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี ตามแบบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. [เอกสารแนบท้าย] ๑. สัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิมล/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๙๘ก/หน้า ๓๓/๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
770079
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การจัดซื้อจัดจ้าง” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “พัสดุ” หมายความว่า สินค้า งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “สินค้า” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นใด รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้น “งานบริการ” หมายความว่า งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล แต่ไม่หมายความรวมถึงการจ้างลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ การรับขนในการเดินทางไปราชการหรือไปปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “งานก่อสร้าง” หมายความว่า งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด และการซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันต่ออาคาร สาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในงานก่อสร้างนั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของงานก่อสร้างนั้น “อาคาร” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา ไฟฟ้า หรือสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟท์ หรือเครื่องเรือน “สาธารณูปโภค” หมายความว่า งานอันเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ การขนส่งทางท่อ ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ หรือทางราง หรือการอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน “งานจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐในด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผังเมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย หรือด้านอื่นที่อยู่ในภารกิจของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ “งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง” หมายความว่า งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง “การบริหารพัสดุ” หมายความว่า การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการจำหน่ายพัสดุ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริงตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (๑) ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด (๒) ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ (๓) ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด (๔) ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด (๕) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลาสองปีงบประมาณ (๖) ราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ในกรณีที่มีราคาตาม (๑) ให้ใช้ราคาตาม (๑) ก่อน ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (๑) แต่มีราคาตาม (๒) หรือ (๓) ให้ใช้ราคาตาม (๒) หรือ (๓) ก่อน โดยจะใช้ราคาใดตาม (๒) หรือ (๓) ให้คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ใช้ราคาตาม (๔) (๕) หรือ (๖) โดยจะใช้ราคาใดตาม (๔) (๕) หรือ (๖) ให้คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ “เงินงบประมาณ” หมายความว่า เงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมาย และเงิน ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายหรือที่ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจเรียกเก็บตามกฎหมาย และให้หมายความรวมถึงเงินกู้ เงินช่วยเหลือ และเงินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ “คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ “คณะกรรมการวินิจฉัย” หมายความว่า คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ “คณะกรรมการราคากลาง” หมายความว่า คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ “คณะกรรมการ ค.ป.ท.” หมายความว่า คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต “คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ และป้องกันปัญหาการทุจริต ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ และกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานของรัฐในต่างประเทศหรือส่วนงานของหน่วยงานของรัฐที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เกิดความยืดหยุ่นและมีความคล่องตัว หากรัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐนั้นประสงค์จะจัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เองทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ก็ให้กระทำได้ โดยต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในต่างประเทศที่หน่วยงานของรัฐหรือส่วนงานของหน่วยงานของรัฐตั้งอยู่มีกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้นเป็นการเฉพาะหรือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติตามวรรคสอง จะกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ เป็นอย่างอื่นก็ได้ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติตามวรรคสองและวรรคสาม ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง (๒) การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (๓) การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา หรือการจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ได้ (๔) การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิหรือเอกชนต่างประเทศ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (๕) การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิหรือเอกชนต่างประเทศ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ ซึ่งจำนวนเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่ใช้นั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๖) การจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐโดยใช้เงินบริจาครวมทั้งดอกผลของเงินบริจาค โดยไม่ใช้เงินบริจาคนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างตาม (๑) (๒) และ (๓) ที่ได้รับยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยประกาศดังกล่าวจะกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างใดตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่ออนุมัติให้ได้รับยกเว้นเป็นรายกรณีไปก็ได้ การยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดทั้งหมดหรือแต่บางส่วนนอกเหนือจากการยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบาย กรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง การจัดซื้อจัดจ้างตาม (๖) นอกจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามวรรคสี่แล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐนั้นรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการนโยบายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด มาตรา ๘ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้ (๑) คุ้มค่า โดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีราคาที่เหมาะสม และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน (๒) โปร่งใส โดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน (๓) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยต้องมีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกำหนดเวลาที่เหมาะสม โดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ (๔) ตรวจสอบได้ โดยมีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ หากการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ หรือเกิดจากกรณีเร่งด่วน หรือมีเหตุผลหรือความจำเป็นอื่น การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยอนุโลม มาตรา ๙ การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้าง ให้หน่วยงานของรัฐคำนึงถึงคุณภาพ เทคนิค และวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น และห้ามมิให้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ เว้นแต่พัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุประสงค์นั้นมียี่ห้อเดียวหรือจะต้องใช้อะไหล่ของยี่ห้อใด ก็ให้ระบุยี่ห้อนั้นได้ มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอในส่วนที่เป็นสาระสำคัญและเป็นข้อมูลทางเทคนิคของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกันต่อผู้ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นหรือต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการดำเนินการตามกฎหมาย มาตรา ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น เว้นแต่ (๑) กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๕๖ (๑) (ค) หรือ (ฉ) (๒) กรณีที่มีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉินหรือเป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด ทั้งนี้ ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข) (ง) หรือ (ฉ) (๓) กรณีที่เป็นงานจ้างที่ปรึกษาที่มีวงเงินค่าจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๗๐ (๓) (ข) หรือ (ฉ) (๔) กรณีที่เป็นงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติตามมาตรา ๘๒ (๓) หลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง และการเปลี่ยนแปลงแผน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๒ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจดูข้อมูลเมื่อมีการร้องขอ การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณา รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และการร้องขอเพื่อตรวจดูบันทึกรายงานดังกล่าว ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓ ในการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเป็นกรรมการในคณะกรรมการการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป มาตรา ๑๔ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยและไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป มาตรา ๑๕ ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างพัสดุโดยวิธีใดตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดและภายในวงเงินเท่าใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๒ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต มาตรา ๑๖ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๗ ในการดำเนินการตามมาตรา ๑๖ คณะกรรมการ ค.ป.ท. อาจกำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามมาตรา ๑๘ ก็ได้ ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องจัดทำข้อตกลงคุณธรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยอย่างน้อยให้คำนึงถึงวงเงินของการจัดซื้อจัดจ้าง มาตรการป้องกันการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริต และความคล่องตัวในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย คณะกรรมการ ค.ป.ท. อาจกำหนดวิธีการนอกเหนือจากวรรคหนึ่งเพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๘ ข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้จัดทำเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ โดยฝ่ายหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอต้องตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีผู้สังเกตการณ์ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการการจัดซื้อจัดจ้างนั้น แล้วให้รายงานความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท. ทราบด้วย แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๙ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเภทหรือมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หากประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจัดให้มีนโยบายในการป้องกันการทุจริตและมีแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๓ คณะกรรมการ ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๒๐ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการของกรมบัญชีกลางซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายจำนวนสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๒๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๗) ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ มาตรา ๒๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๔) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะหย่อนความสามารถ บกพร่องหรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งนั้นดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วนั้น ทั้งนี้ ในกรณีการแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หากวาระที่เหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการนโยบายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคสอง มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี (๒) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (๓) กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ (๔) วินิจฉัยความเป็นโมฆะของสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๔ รวมทั้งตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับประกาศที่คณะกรรมการนโยบายออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ (๖) กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๗) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการนโยบายอาจเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นใดมาแสดงความคิดเห็น ชี้แจง หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ผลการดำเนินการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๒๕ การประชุมคณะกรรมการนโยบาย ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการซึ่งมาประชุมคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณา ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมหรือมีมติในเรื่องนั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าประธานกรรมการหรือกรรมการผู้นั้นมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาหรือไม่ ให้ที่ประชุมพิจารณาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ซึ่งในระหว่างที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้นั้นเมื่อได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามแล้วจะต้องออกจากที่ประชุม และให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบายประกอบไปด้วยประธานกรรมการและกรรมการทุกคน แล้วแต่กรณี ที่ไม่ใช่ผู้ต้องออกจากที่ประชุมเพราะเหตุดังกล่าว มาตรา ๒๖ คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการใด ๆ แทนได้ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๒๗ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๒๘ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๒ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต่อคณะกรรมการนโยบาย (๒) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๕) เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังในการพิจารณาสั่งให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงาน และการเพิกถอนรายชื่อผู้ทิ้งงาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงาน (๖) จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดำเนินการตาม (๒) (๓) (๔) และ (๖) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด การตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือตาม (๓) ถ้าหน่วยงานของรัฐมีข้อหารือตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อหารือ และให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอำนาจสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนได้หากเห็นสมควร เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยได้มีคำวินิจฉัยตามวรรคสามว่าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอำนาจสั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างนั้น เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว มาตรา ๓๐ คณะกรรมการวินิจฉัยมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการใด ๆ แทนได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยและคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๑ คณะกรรมการวินิจฉัยมีอำนาจเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ส่วนที่ ๓ คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ประกอบด้วย (๑) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านพัสดุหรือด้านอื่นอันเป็นประโยชน์ต่องานของคณะกรรมการราคากลาง ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๓๓ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๓ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการราคากลางมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง (๒) กำกับดูแลการกำหนดราคากลางให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ (๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง (๔) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง (๕) ยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางตาม (๑) (๖) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง (๗) ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ (๘) จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการกำหนดราคากลางของหน่วยงานของรัฐ และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดำเนินการตาม (๑) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ประกาศตาม (๑) และ (๗) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๕ คณะกรรมการราคากลางต้องพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เมื่อได้ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มาตรา ๓๖ คณะกรรมการราคากลางมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการใด ๆ แทนได้ ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งตามความเชี่ยวชาญในแต่ละประเภทของพัสดุ เช่น งานก่อสร้าง ยาและเวชภัณฑ์ หรือพัสดุที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการราคากลางและคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต มาตรา ๓๗ ให้มีคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทุจริตหรือส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งนี้ องค์กรเอกชนดังกล่าวต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับและได้ดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๓๘ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๔ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๙ ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๒) กำหนดแบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ (๓) คัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๔) คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๕) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๖) ยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๗) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๘) จัดทำรายงานผลการประเมินโครงการการจัดซื้อจัดจ้างที่เข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ผลการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๔๐ คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการใด ๆ แทนได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการ ค.ป.ท. และคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม ส่วนที่ ๕ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๔๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๕ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๙ (๒) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๓) จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดำเนินการตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด การยื่นข้อร้องเรียนและการพิจารณาข้อร้องเรียนตาม (๒) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ในกรณีที่พิจารณาข้อร้องเรียนตาม (๒) แล้วรับฟังได้ว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนได้ เว้นแต่จะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง มาตรา ๔๔ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการใด ๆ แทนได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๓ วรรคห้า มาใช้บังคับกับการกระทำการตามหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๔๕ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ หมวด ๔ องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๔๖ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ในการดูแลและพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประกาศเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าตรวจดูได้ มาตรา ๔๗ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น และให้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง การกำหนดราคาอ้างอิงของพัสดุต้องคำนึงถึงราคาตลาดของพัสดุนั้น และการกำหนดราคาอ้างอิงของพัสดุอย่างเดียวกันจะไม่ใช้ราคาเดียวกันทั่วประเทศก็ได้ กรมบัญชีกลางต้องปรับปรุงฐานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยปีละสองครั้ง มาตรา ๔๘ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ต่อกรมบัญชีกลาง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง รายงานตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง มาตรา ๔๙ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ในการกำหนดและจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามหลักวิชาชีพและตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะดำเนินการเองหรือจะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องก็ได้ ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหรือเงินอื่นทำนองเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือน ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและในการกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ให้คำนึงถึงภาระหน้าที่และคุณภาพของงาน โดยเปรียบเทียบกับผู้ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด (๒) ในกรณีที่ไม่เป็นข้าราชการพลเรือน ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่และมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินอื่นทำนองเดียวกันตามกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในการกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทำนองเดียวกันให้เปรียบเทียบกับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทำนองเดียวกันของหน่วยงานของรัฐประเภทเดียวกัน มาตรา ๕๐ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ปฏิบัติงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาหาข้อมูล และกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการดังกล่าว รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๕ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการราคากลางมีอำนาจประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาให้งานก่อสร้างในสาขาใด เป็นงานก่อสร้างที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นจะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง คณะกรรมการราคากลางอาจประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างในสาขาใดที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นต้องขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลางตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้เงินงบประมาณในวงเงินเท่าใดหรือต้องใช้ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาใดด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการงานก่อสร้างทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ตลอดเวลา มาตรา ๕๒ ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการราคากลางอาจประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ประกอบการพัสดุอื่นนอกเหนือจากผู้ประกอบการงานก่อสร้าง เป็นผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการนั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลางก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพัสดุอื่นที่จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ตลอดเวลา มาตรา ๕๓ ให้กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างตามมาตรา ๕๑ และผู้ประกอบการพัสดุอื่นตามมาตรา ๕๒ ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง และให้ปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในกรณีที่กรมบัญชีกลางได้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างและผู้ประกอบการพัสดุอื่นตามวรรคหนึ่งไว้แล้ว หน่วยงานของรัฐไม่ต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการประเภทนั้นอีก และให้หน่วยงานของรัฐกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ายื่นข้อเสนอตามมาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ ในประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน การตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามหรือการตรวจติดตาม การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีที่กรมบัญชีกลางไม่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกอบการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด ๖ การจัดซื้อจัดจ้าง มาตรา ๕๔ บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ยกเว้นงานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง มาตรา ๕๕ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอาจกระทำได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ (๒) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่าสามราย (๓) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙๖ วรรคสอง มาตรา ๕๖ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่ (๑) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีคัดเลือก (ก) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) พัสดุที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้างมีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษหรือซับซ้อนหรือต้องผลิต จำหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชำนาญเป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูง และผู้ประกอบการนั้นมีจำนวนจำกัด (ค) มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุนั้นอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปจะทำให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้พัสดุ (ง) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ (จ) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ (ฉ) เป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ หรือเป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของหน่วยงานของรัฐหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ (ช) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (ก) ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต จำหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ค) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียว หรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทยและไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ (ง) มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน เนื่องจากเกิดอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ หรือเกิดโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง (จ) พัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว และมีความจำเป็นต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่องในการใช้พัสดุนั้น โดยมูลค่าของพัสดุที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว (ฉ) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยหน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (ช) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (ซ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงตาม (๑) (ซ) หรือ (๒) (ซ) ให้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามมาตรา ๖๕ (๔) ก็ได้ หากรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงตาม (๒) (ซ) เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามมาตรา ๖๕ (๔) แล้ว เมื่อหน่วยงานของรัฐจะทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้นให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจงตาม (๒) (ซ) ก่อน ในกรณีหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศหรือมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศจะทำการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง โดยไม่ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อนก็ได้ รัฐมนตรีอาจออกระเบียบเพื่อกำหนดรายละเอียดอื่นของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ มาตรา ๕๗ รายละเอียดของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในหมวดนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๕๘ เพื่อประโยชน์ของภาครัฐโดยรวม หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใดอาจทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุให้กับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น ๆ ก็ได้ ตามกรอบข้อตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐผู้ทำการจัดซื้อจัดจ้างกับคู่สัญญา การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๕๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวน ก่อนทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หน่วยงานของรัฐอาจจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจากผู้ประกอบการก่อนก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวน เพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารเชิญชวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖๐ ก่อนดำเนินการจัดจ้างงานก่อสร้างตามวิธีการตามมาตรา ๕๕ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีแบบรูปรายการงานก่อสร้างซึ่งหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการจัดทำเอง หรือดำเนินการจัดจ้างตามหมวด ๘ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ก็ได้ ในกรณีที่ต้องมีการจ้างออกแบบรวมก่อสร้างซึ่งไม่อาจจัดให้มีแบบรูปรายการงานก่อสร้างตามวรรคหนึ่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยกรณีใดที่จะจ้างออกแบบรวมก่อสร้างต้องพิจารณาความเหมาะสมของโครงการและวงเงินด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจ้างออกแบบรวมก่อสร้าง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖๑ ในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุแต่ละครั้ง ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ซึ่งจะกระทำโดยคณะกรรมการการจัดซื้อจัดจ้างหรือเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งก็ได้ องค์ประกอบและองค์ประชุมซึ่งกระทำโดยคณะกรรมการ และหน้าที่ของผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖๒ การจัดซื้อจัดจ้างตามวิธีการตามมาตรา ๕๕ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำประกาศและเอกสารเชิญชวนให้ทราบเป็นการทั่วไปว่าหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุใดวัน เวลา สถานที่ยื่นข้อเสนอ และเงื่อนไขอื่น ๆ ประกาศและเอกสารเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น ในการนี้ หน่วยงานของรัฐจะเผยแพร่ประกาศและเอกสารเชิญชวนดังกล่าวโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดการจัดทำประกาศและเอกสารเชิญชวน รวมทั้งระยะเวลาการประกาศเชิญชวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การจัดซื้อจัดจ้างตามวิธีการตามมาตรา ๕๕ (๒) หรือ (๓) ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำหนังสือเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นข้อเสนอ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๒ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลางในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๖๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒ ผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ อย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีความสามารถตามกฎหมาย (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๓) ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ (๔) ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐๖ วรรคสาม (๕) ไม่เป็นบุคคลซึ่งถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐๙ (๖) คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเป็นเงื่อนไขในประกาศและเอกสารเชิญชวนว่าผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอต้องแสดงหลักฐานถึงขีดความสามารถและความพร้อมที่ตนมีอยู่ในวันยื่นข้อเสนอด้วย มาตรา ๖๕ ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีตามมาตรา ๕๕ (๑) หรือ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ และวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ โดยให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ดังต่อไปนี้ (๑) ต้นทุนของพัสดุนั้นตลอดอายุการใช้งาน (๒) มาตรฐานของสินค้าหรือบริการ (๓) บริการหลังการขาย (๔) พัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๕) การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ (๖) ข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่น ในกรณีที่กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่นก่อนตามวรรคหก (๗) เกณฑ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งอย่างน้อยต้องส่งเสริมหรือสนับสนุนพัสดุที่สร้างนวัตกรรมหรือพัสดุที่อนุรักษ์พลังงานหรือสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือหลายเกณฑ์ก็ได้ ประกอบกับเกณฑ์ราคา และต้องกำหนดน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ให้ชัดเจน แต่หากหน่วยงานของรัฐไม่อาจเลือกใช้เกณฑ์อื่นประกอบและจำเป็นต้องใช้เกณฑ์เดียวในการพิจารณาคัดเลือก ให้ใช้เกณฑ์ราคา รวมทั้งการให้คะแนนพร้อมด้วยเหตุผลของการให้คะแนนในแต่ละเกณฑ์ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของพัสดุทุกประเภทได้ จะกำหนดกรณีตัวอย่างของพัสดุประเภทหนึ่งประเภทใดเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของพัสดุอื่น ๆ ก็ได้ เมื่อพิจารณาข้อเสนอประกอบกับเกณฑ์ที่หน่วยงานของรัฐใช้ในการพิจารณาแล้ว การพิจารณาเลือกข้อเสนอให้จัดเรียงลำดับตามคะแนน ข้อเสนอใดที่มีคะแนนสูงสุดให้หน่วยงานของรัฐเลือกข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นและให้บันทึกผลการพิจารณาดังกล่าวด้วย ให้หน่วยงานของรัฐประกาศเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกและน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ไว้ในประกาศเชิญชวนหรือหนังสือเชิญชวน แล้วแต่กรณี ด้วย ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีลักษณะที่จะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุ หรือคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ หรือกรณีอื่นที่ทำให้มีปัญหาในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง หน่วยงานของรัฐอาจกำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่นก่อนการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอตามวรรคหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖๖ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและเหตุผลสนับสนุนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น การลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างจะกระทำได้ต่อเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาอุทธรณ์และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๗ หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับแจ้งจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไปได้ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมาตรา ๕๖ (๑) (ค) หรือการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๙๖ วรรคสอง มาตรา ๖๗ ก่อนลงนามในสัญญา หน่วยงานของรัฐอาจประกาศยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) หน่วยงานของรัฐนั้นไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างนั้นต่อไป (๒) มีการกระทำที่เข้าลักษณะผู้ยื่นข้อเสนอที่ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือที่ได้รับการคัดเลือกมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือมีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น หรือขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หรือสมยอมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นหรือเจ้าหน้าที่ในการเสนอราคา หรือส่อว่ากระทำการทุจริตอื่นใดในการเสนอราคา ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด (๓) การทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ (๔) กรณีอื่นในทำนองเดียวกับ (๑) (๒) หรือ (๓) ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างตามวรรคหนึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของหน่วยงานของรัฐ ผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างที่ถูกยกเลิกนั้นจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากหน่วยงานของรัฐไม่ได้ เมื่อมีการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งให้ผู้ประกอบการซึ่งมารับหรือซื้อเอกสารเชิญชวนทุกรายทราบถึงเหตุผลที่ต้องยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น ในกรณีที่มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่สองรายขึ้นไป มิให้ถือว่าหน่วยงานของรัฐนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐอื่นตาม (๒) ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น ในการนี้ หน่วยงานของรัฐจะเผยแพร่ประกาศดังกล่าวโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้ มาตรา ๖๘ รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๗ งานจ้างที่ปรึกษา มาตรา ๖๙ งานจ้างที่ปรึกษาอาจกระทำได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนที่ปรึกษาทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ (๒) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่าสามราย (๓) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา มาตรา ๗๐ งานจ้างที่ปรึกษา ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามมาตรา ๖๙ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) งานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ให้ใช้กับงานที่ไม่ซับซ้อน งานที่มีลักษณะเป็นงานประจำของหน่วยงานของรัฐ หรืองานที่มีมาตรฐานตามหลักวิชาชีพ และมีที่ปรึกษาซึ่งสามารถทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป (๒) งานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) เป็นงานที่ซับซ้อน ซับซ้อนมาก หรือที่มีเทคนิคเฉพาะไม่เหมาะที่จะดำเนินการโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (ค) เป็นงานจ้างที่มีที่ปรึกษาในงานที่จะจ้างนั้นจำนวนจำกัด (ง) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) งานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) งานจ้างที่มีวงเงินค่าจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ค) เป็นงานที่จำเป็นต้องให้ที่ปรึกษารายเดิมทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้วเนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค (ง) เป็นงานจ้างที่มีที่ปรึกษาในงานที่จะจ้างนั้นจำนวนจำกัดและมีวงเงินค่าจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (จ) เป็นงานจ้างที่มีที่ปรึกษาในงานที่จะจ้างนั้นเพียงรายเดียว (ฉ) เป็นงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หากล่าช้าจะเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือความมั่นคงของชาติ (ช) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางกำหนดกรณีตัวอย่างของงานที่ไม่ซับซ้อนตาม (๑) หรืองานที่ซับซ้อน ซับซ้อนมาก หรือที่มีเทคนิคเฉพาะตาม (๒) (ข) รัฐมนตรีอาจออกระเบียบเพื่อกำหนดรายละเอียดอื่นของงานจ้างที่ปรึกษาตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ มาตรา ๗๑ รายละเอียดของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับงานจ้างที่ปรึกษาในหมวดนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๗๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๘ มาใช้บังคับกับงานจ้างที่ปรึกษาตามหมวดนี้โดยอนุโลม มาตรา ๗๓ ที่ปรึกษาที่จะเข้าร่วมการเสนองานกับหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง เว้นแต่จะมีหนังสือรับรองจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ว่าไม่มีที่ปรึกษาเป็นผู้ให้บริการในงานที่จ้างนั้น หรือเป็นงานจ้างที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ วิธีการยื่นขอขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีที่ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ไม่ขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ในการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของที่ปรึกษา ให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพของที่ปรึกษาด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีอาจออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาไว้เป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๗๔ ในการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาแต่ละครั้ง ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษานั้น องค์ประกอบ องค์ประชุม และหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ค่าตอบแทนคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗๕ ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและวัตถุประสงค์ของงานจ้างที่ปรึกษาเป็นสำคัญ โดยให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพ ดังต่อไปนี้ (๑) ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา (๒) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน (๓) จำนวนบุคลากรที่ร่วมงาน (๔) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๕) ข้อเสนอทางด้านการเงิน (๖) เกณฑ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีตามมาตรา ๖๙ (๑) หรือ (๒) นอกจากให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพตามมาตรา ๗๕ แล้ว ให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการพิจารณาและการให้น้ำหนัก ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินงานประจำ งานที่มีมาตรฐานเชิงคุณภาพตามหลักวิชาชีพอยู่แล้ว หรืองานที่ไม่ซับซ้อน ให้หน่วยงานของรัฐคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้วและให้คัดเลือกจากรายที่เสนอราคาต่ำสุด (๒) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานของรัฐหรืองานที่ซับซ้อน ให้หน่วยงานของรัฐคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้วและให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนรวมด้านคุณภาพและด้านราคามากที่สุด (๓) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่มีความซับซ้อนมาก ให้หน่วยงานของรัฐคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้วและให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนด้านคุณภาพมากที่สุด รัฐมนตรีอาจออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของงานจ้างที่ปรึกษาประเภทใดหรือกำหนดรายละเอียดอื่นของงานจ้างที่ปรึกษาตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ มาตรา ๗๗ การจัดทำประกาศเชิญชวนหรือหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาให้เข้าร่วมการยื่นข้อเสนอ และการประกาศผลผู้ชนะหรือผู้ได้รับการคัดเลือก ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนงานจ้างที่ปรึกษาที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๘ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง มาตรา ๗๙ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างอาจกระทำได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (๒) วิธีคัดเลือก (๓) วิธีเฉพาะเจาะจง (๔) วิธีประกวดแบบ มาตรา ๘๐ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ให้ใช้กับงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน มาตรา ๘๑ วิธีคัดเลือก เป็นงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่าสามราย ทั้งนี้ ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (๒) เป็นงานจ้างที่มีลักษณะซับซ้อนหรือซับซ้อนมาก (๓) เป็นงานเกี่ยวกับการออกแบบหรือใช้ความคิด เช่น รูปแบบสิ่งก่อสร้าง ซึ่งหน่วยงานของรัฐไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะกำหนดรายละเอียดเบื้องต้นได้ (๔) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๒ วิธีเฉพาะเจาะจง เป็นงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่หน่วยงานของรัฐเลือกจ้างผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถแล้ว ตามที่คณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้พิจารณาเสนอแนะ ทั้งนี้ ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (๒) ให้ใช้กับงานจ้างที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) เป็นงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หากล่าช้าจะเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือความมั่นคงของชาติ (๔) เป็นงานที่จำเป็นต้องให้ผู้ให้บริการรายเดิมทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้ว เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค (๕) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๓ วิธีประกวดแบบ เป็นงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ เพื่อออกแบบงานก่อสร้างที่มีลักษณะพิเศษ เป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมของชาติ หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๔ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตามมาตรา ๘๐ มาตรา ๘๑ มาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๓ รัฐมนตรีอาจออกระเบียบเพื่อกำหนดรายละเอียดอื่นของงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ มาตรา ๘๕ รายละเอียดของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างในหมวดนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๘๖ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๘ มาใช้บังคับกับงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตามหมวดนี้โดยอนุโลม มาตรา ๘๗ ในการจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ผู้ให้บริการต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรม แล้วแต่กรณี ผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่งที่เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๘๘ ผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต้องไม่มีส่วนได้เสียกับผู้ประกอบการงานก่อสร้างในงานนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๘๙ ในการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างนั้น องค์ประกอบ องค์ประชุม และหน้าที่ของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ค่าตอบแทนคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙๐ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีแนวคิดของงานจ้างที่ได้คะแนนด้านคุณภาพมากที่สุด อัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๑ การจัดทำประกาศเชิญชวนหรือหนังสือเชิญชวนผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้เข้าร่วมการยื่นข้อเสนอ และการประกาศผลผู้ชนะหรือผู้ได้รับการคัดเลือก ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๙ การทำสัญญา มาตรา ๙๓ หน่วยงานของรัฐต้องทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้ แบบสัญญานั้นให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย การทำสัญญารายใดถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบสัญญาตามวรรคหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบสัญญาและไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบ ก็ให้กระทำได้ เว้นแต่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามแบบสัญญาตามวรรคหนึ่งได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เว้นแต่การทำสัญญาตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้เคยให้ความเห็นชอบมาแล้ว ก็ให้กระทำได้ ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษและต้องจัดทำข้อสรุปสาระสำคัญแห่งสัญญาเป็นภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่การทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศตามแบบสัญญาที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้ทำสัญญาตามแบบสัญญาตามวรรคหนึ่งหรือไม่ได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนตามวรรคสองหรือวรรคสาม หรือตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานของรัฐส่งสัญญานั้นให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบในภายหลังได้ เมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วหรือเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นชอบแต่ให้แก้ไขสัญญา ถ้าหน่วยงานของรัฐแก้ไขสัญญานั้นให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ให้ถือว่าสัญญานั้นมีผลสมบูรณ์ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้ทำสัญญาตามแบบสัญญาตามวรรคหนึ่ง หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขสัญญาตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือคู่สัญญาไม่ตกลงหรือยินยอมให้แก้ไขสัญญาตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด หากข้อสัญญาที่แตกต่างจากแบบสัญญาหรือข้อสัญญาที่ไม่แก้ไขตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือเป็นกรณีผิดพลาดอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๐๔ ให้ถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ มาตรา ๙๔ การทำสัญญาของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ จะทำสัญญาเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาของประเทศที่หน่วยงานของรัฐนั้นตั้งอยู่ โดยผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานของรัฐก็ได้ มาตรา ๙๕ สัญญาที่ทำในราชอาณาจักรต้องมีข้อตกลงในการห้ามคู่สัญญาไปจ้างช่วงให้ผู้อื่นทำอีกทอดหนึ่ง ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เว้นแต่การจ้างช่วงแต่บางส่วนที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่สัญญาแล้ว ถ้าคู่สัญญาไปจ้างช่วงโดยฝ่าฝืนข้อตกลงดังกล่าว ต้องกำหนดให้มีค่าปรับสำหรับการฝ่าฝืนข้อตกลงนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญา มาตรา ๙๖ หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาตามมาตรา ๙๓ ก็ได้ เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา ๕๖ (๑) (ค) หรือการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข) (ง) หรือ (ฉ) หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา ๗๐ (๓) (ข) (๒) การจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานของรัฐ (๓) กรณีที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (๔) การเช่าซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า (๕) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ในการออกกฎกระทรวงตามวรรคสองจะกำหนดวงเงินเล็กน้อยให้แตกต่างกันตามขนาดหรือประเภทของหน่วยงานของรัฐก็ได้ มาตรา ๙๗ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขได้ (๑) เป็นการแก้ไขตามมาตรา ๙๓ วรรคห้า (๒) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง หากการแก้ไขนั้นไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียประโยชน์ (๓) เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ (๔) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีการแก้ไขสัญญาที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียประโยชน์หรือไม่รัดกุมพอก็ให้ส่งร่างสัญญาที่แก้ไขนั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบหรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงิน เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมและวงเงินที่เพิ่มขึ้นใหม่แล้ว หากวงเงินรวมดังกล่าวมีผลทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะต้องดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินรวมดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อลดวงเงิน ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินเดิมเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง มาตรา ๙๘ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศเผยแพร่สาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้ลงนามแล้ว รวมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๙๙ รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการทำสัญญาที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๑๐ การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ มาตรา ๑๐๐ ในการดำเนินการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุเพื่อรับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุ องค์ประกอบ องค์ประชุม และหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๖ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๑ งานจ้างก่อสร้างที่มีขั้นตอนการดำเนินการเป็นระยะ ๆ อันจำเป็นต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด หรือมีเงื่อนไขการจ่ายเงินเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงาน ให้มีผู้ควบคุมงานซึ่งแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจเพื่อรับผิดชอบในการควบคุมงานก่อสร้างนั้น การแต่งตั้ง คุณสมบัติ และหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ค่าตอบแทนผู้ควบคุมงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๒ การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ (๒) เหตุสุดวิสัย (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย (๔) เหตุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์และวิธีการของดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๐๓ ในกรณีที่มีเหตุบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงต่อไปนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่สัญญา (๑) เหตุตามที่กฎหมายกำหนด (๒) เหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานหรือทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือในสัญญาหรือข้อตกลง (๔) เหตุอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาได้เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐโดยตรงหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยงานของรัฐในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง หรือการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงนั้นเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เรียกค่าปรับ แล้วแต่กรณี หากคู่สัญญาเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย คู่สัญญาจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าเสียหายก็ได้ ในการนี้ หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาเป็นเช่นใดแล้ว หากคู่สัญญายังไม่พอใจในผลการพิจารณาก็ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาต่อไป ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพิจารณาคำขอของหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาค่าเสียหายและการกำหนดวงเงินค่าเสียหายที่ต้องรายงานต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ มาตรา ๑๐๔ ในกรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเกิดจากกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่ไม่เป็นสาระสำคัญหรือผิดพลาดไม่ร้ายแรง หาทำให้สัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเป็นโมฆะไม่ ให้คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง กำหนดกรณีตัวอย่างที่ถือว่าเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือเป็นกรณีผิดพลาดอย่างร้ายแรง หรือที่ไม่เป็นสาระสำคัญหรือเป็นกรณีผิดพลาดไม่ร้ายแรงตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นโมฆะของสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง ให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการนโยบายเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๑๐๕ รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๑๑ การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ มาตรา ๑๐๖ เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้หน่วยงานของรัฐประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาถึงความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ ผู้ประกอบการรายใดที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๐๗ ผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามมาตรา ๑๐๖ ให้เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีอาจออกระเบียบกำหนดการประเมินผลการปฏิบัติงานอื่นนอกเหนือจากความสามารถในการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๐๖ วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับกับการประเมินผลการปฏิบัติงานอื่นโดยอนุโลม หมวด ๑๒ การทิ้งงาน มาตรา ๑๐๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทำการดังต่อไปนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญานั้นกระทำการอันมีลักษณะเป็นการทิ้งงาน (๑) เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือกับหน่วยงานของรัฐภายในเวลาที่กำหนด (๒) คู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยงานของรัฐอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือนั้น (๓) เมื่อปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริต (๔) เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติตามสัญญาของที่ปรึกษาหรือผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอย่างร้ายแรง (๕) เมื่อปรากฏว่าผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างหรือผู้ประกอบการงานก่อสร้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๘ (๖) การกระทำอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงาน และให้แจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงานให้หน่วยงานของรัฐทราบกับแจ้งเวียนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง รวมทั้งแจ้งให้ผู้ทิ้งงานทราบด้วย ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ทิ้งงาน ถ้าการกระทำดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้สั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาสั่งให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงาน และการแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๑๐ ผู้ที่ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามมาตรา ๑๐๙ อาจร้องขอให้ได้รับการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานได้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ที่มีฐานะการเงินมั่นคง (๒) มีการชำระภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย และ (๓) ได้พ้นกำหนดระยะเวลาการแจ้งเวียนรายชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานและการพิจารณาเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๑๑ เมื่อได้มีการแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงานตามมาตรา ๑๐๙ แล้ว ห้ามหน่วยงานของรัฐทำการจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ทิ้งงานซึ่งรวมถึงนิติบุคคลที่ผู้ทิ้งงานเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานตามมาตรา ๑๑๐ แล้ว หมวด ๑๓ การบริหารพัสดุ มาตรา ๑๑๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการควบคุมและดูแลพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้มีการใช้และการบริหารพัสดุที่เหมาะสม คุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐมากที่สุด มาตรา ๑๑๓ การดำเนินการตามมาตรา ๑๑๒ ซึ่งรวมถึงการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการจำหน่ายพัสดุ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๑๔ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๑๔ ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับหน่วยงานของรัฐมีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ในกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ เป็นเหตุให้ตนไม่ได้รับการประกาศผลเป็นผู้ชนะหรือไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๑๑๕ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะยื่นอุทธรณ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ไม่ได้ (๑) การเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ของหน่วยงานของรัฐ (๒) การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา ๖๗ (๓) การละเว้นการอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดซื้อจัดจ้างในประกาศ เอกสาร หรือหนังสือเชิญชวนของหน่วยงานของรัฐ (๔) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๖ การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ ในหนังสืออุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ และระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลอันเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ให้ชัดเจน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีอาจออกระเบียบกำหนดวิธีการอุทธรณ์เป็นอย่างอื่นหรือรายละเอียดเกี่ยวกับการอุทธรณ์อื่นด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ให้ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานของรัฐนั้นภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง มาตรา ๑๑๘ ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ก็ให้ดำเนินการตามความเห็นนั้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๙ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ครบกำหนดตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๑๙ เมื่อได้รับรายงานจากหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๑๘ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานดังกล่าว หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์และผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกทราบ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นและมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้มีการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หรือเริ่มจากขั้นตอนใดตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นหรือไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป การวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ในกรณีที่พ้นกำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ยุติเรื่อง และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งผู้อุทธรณ์และผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกทราบ พร้อมกับแจ้งให้หน่วยงานของรัฐทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป ผู้อุทธรณ์ผู้ใดไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือการยุติเรื่องตามวรรคสี่ และเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่การฟ้องคดีดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างนั้นแล้ว หมวด ๑๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๐ ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการวินิจฉัยตามมาตรา ๓๑ หรือคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๔๕ และคณะกรรมการวินิจฉัยหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้นั้นมีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้ดำเนินคดีแก่ผู้นั้นต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๒ ให้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วแต่กรณี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศในเรื่องนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การดำเนินการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๑๒๓ ในกรณีที่ไม่อาจนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วแต่กรณี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ มาใช้บังคับในเรื่องใดได้ตามมาตรา ๑๒๒ การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในเรื่องนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คณะกรรมการนโยบายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๑๒๔ ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายยังมิได้ออกประกาศตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง หรือคณะกรรมการนโยบายได้ออกประกาศตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง แล้ว แต่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ออกกฎหรือระเบียบตามความในมาตรา ๗ วรรคสี่ การจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา ๗ (๑) (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ หรือข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วแต่กรณี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ จนกว่าจะมีประกาศที่ออกตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง หรือกฎหรือระเบียบที่ออกตามความในมาตรา ๗ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ใช้บังคับ ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายได้ออกประกาศตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง แล้ว แต่หน่วยงานของรัฐใดยังมิได้ออกกฎหรือระเบียบตามความในมาตรา ๗ วรรคสี่ หากหน่วยงานของรัฐนั้นมิได้ออกกฎหรือระเบียบตามความในมาตรา ๗ วรรคสี่ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศของคณะกรรมการนโยบายที่ออกตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง ใช้บังคับ การจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ของหน่วยงานของรัฐนั้นให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๒๕ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการราคากลางออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางและการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๓๔ (๑) และ (๗ ) ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งหรือหลักเกณฑ์อื่นของหน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับโดยให้ถือเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการราคากลางตามพระราชบัญญัตินี้เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๒๖ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ การคัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้าง และการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ตามมาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ในระหว่างการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นำแนวทางการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ การคัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้าง และการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งได้กำหนดไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับโดยให้ถือเป็นแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ การคัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้าง และการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ตามมาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๓) และ (๔) และให้คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการ ค.ป.ท. ตามพระราชบัญญัตินี้เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๒๗ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ รวมทั้งคณะกรรมการตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ หรือข้อกำหนดใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วแต่กรณี ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้เข้ารับหน้าที่ ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยตามพระราชบัญญัตินี้เข้ารับหน้าที่แล้ว แต่ยังไม่มีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้หน้าที่ในการตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ยังคงเป็นของคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุและคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งคณะกรรมการตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ หรือข้อกำหนดใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น เว้นแต่หน้าที่ในการตีความและวินิจฉัยปัญหาว่าบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดดังกล่าว ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือเป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่คณะกรรมการราคากลางและคณะกรรมการ ค.ป.ท. ตามพระราชบัญญัตินี้เข้ารับหน้าที่แล้ว แต่ยังมิได้ออกประกาศตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๒๘ การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุที่ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ หรือข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วแต่กรณี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและการตรวจรับและจ่ายเงินยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติหรือข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐดังกล่าว รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต่อไป เว้นแต่ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุดังกล่าวยังไม่ได้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางหรือของหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐหรือในกรณีที่มีการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุดังกล่าว การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุนั้นหรือการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุครั้งใหม่ แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๒๙ ในวาระเริ่มแรก ให้กรมบัญชีกลางจัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จโดยเร็วนับแต่วันที่คณะกรรมการราคากลางกำหนดสาขาของงานก่อสร้างตามมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการราคากลางกำหนดวงเงินของสาขาของงานก่อสร้างหรือกำหนดให้ต้องใช้ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาใดตามมาตรา ๕๑ วรรคสอง แล้วแต่กรณี ในระหว่างที่การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ให้หน่วยงานของรัฐได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐใดมีการจัดทำบัญชีผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นไว้แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้หน่วยงานของรัฐนั้นใช้บัญชีผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่หน่วยงานของรัฐได้จัดทำไว้แล้วต่อไปโดยให้ถือเป็นการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง จนกว่าจะมีการประกาศรายชื่อผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๐ รายชื่อที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นรายชื่อที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๑ รายชื่อผู้ทิ้งงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นรายชื่อผู้ทิ้งงานตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการเพื่อสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วยเหตุแห่งการกระทำอันมีลักษณะเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการเพื่อสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วยเหตุแห่งการกระทำอันมีลักษณะเป็นผู้ทิ้งงานตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๒ ให้กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำโครงสร้างกรมบัญชีกลาง กรอบอัตรากำลังข้าราชการและพนักงานราชการ และกำหนดงบประมาณ รวมทั้งการดำเนินการอื่นใดอันจำเป็น เพื่อรองรับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรมบัญชีกลางตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนการดำเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งจะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกอบกับมาตรการอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนและก่อให้เกิดผลดีกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พิมมาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/วิชพงษ์/ตรวจ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๒๔ ก/หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
852564
กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2561 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง กำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุดังต่อไปนี้ เป็นกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (๑) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (๒) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือระเบียบที่ออกตามกฎหมายอื่น (๓) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ (๔) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (ก) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุนทั้งหมดและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (ข) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม (ก) แห่งเดียวหรือหลายแห่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยหรือรวมกันในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด (ค) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม (ก) หรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม (ข) ในลำดับชั้นแรกหรือในชั้นต่อ ๆ ไปแห่งเดียวหรือหลายแห่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยหรือรวมกันในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด (๕) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ (๖)[๒] การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการเตรียมการ การประชาสัมพันธ์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกรณีอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน และการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่อง และเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หรือประโยชน์สาธารณะ สมควรกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกรณีดังกล่าวกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกรณีอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการเตรียมการ การประชาสัมพันธ์หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมกับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรวมถึงการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน สมควรกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกรณีดังกล่าวกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ วิวรรธน์/เพิ่มเติม ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๖ ก/หน้า ๑/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ [๒] ข้อ ๖ (๒) เพิ่มโดยกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๑/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
859682
กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน และกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ซ) (๒) (ซ) และวรรคสอง มาตรา ๖๕ วรรคสอง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ช) และมาตรา ๗๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร ข้อ ๑ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร” หมายความว่า ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการเกษตรกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้ และผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและวัสดุหรือครุภัณฑ์การเกษตร ข้อ ๒ ให้พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) นมโรงเรียน ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (๒) นม ยู เอช ที จิตรลดา และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ผลิตจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา (๓) ผลิตภัณฑ์และอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ซึ่งผลิตจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปโดยผ่านสหกรณ์ของโครงการหลวงภาคเหนือ (๔) ข้าวสารและสินค้าประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคขององค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การตลาด ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด หรือสถาบันเกษตรกร (๕) เมล็ดพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตของกรมวิชาการเกษตร (๖) เมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว (๗) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างบริการประเภทพืชจากเนื้อเยื่อหัตถกรรมและอาหารที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง (๘) วัสดุการเกษตรที่เป็นพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง หรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล (๙) วัสดุการเกษตรและเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองหรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล (๑๐) ผลิตภัณฑ์และงานจ้างบริการอบไม้ ไสไม้ อัดน้ำยาไม้ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ข้อ ๓ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรตามข้อ ๒ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๑) จัดซื้อด้วยเงินดังกล่าวโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๓) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป หรือหากราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๔) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๔) จากองค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การตลาด ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด หรือสถาบันเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุด โดยวิธีคัดเลือกและให้แจ้งองค์การ ชุมนุม หรือสถาบันเกษตรกรดังกล่าวเข้าเสนอราคาด้วย (๕) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒ (๕) (๖) (๗) หรือ (๑๐) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๖) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒ (๘) และ (๙) ซึ่งมีราคาต่อหน่วยไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท โดยวิธีคัดเลือกและให้แจ้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองหรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้ผลิตเองเข้าเสนอราคาด้วย หมวด ๒ พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาส ข้อ ๔ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาส” หมายความว่า การผลิตสินค้า การให้บริการ การค้าส่ง การค้าปลีก กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ จากวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตำบล กลุ่มสหกรณ์ ร้านค้าสหกรณ์ ร้านค้า หรือกลุ่มอาชีพที่อยู่ในการกำกับดูแลควบคุมของหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐรับรอง มูลนิธิ องค์การสงเคราะห์ต่าง ๆ หรือกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ข้อ ๕ ให้พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาสดังต่อไปนี้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรี หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตำบลที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชนพื้นที่นั้น ๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ประกอบอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตในพื้นที่หมู่บ้านและตำบลนั้น (ข) มีการบริหารจัดการกลุ่มและมีการทำกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีทรัพย์สินหรือเงินทุนของกลุ่มเพื่อดำเนินกิจการร่วมกัน (ค) สมาชิกของกลุ่มต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพในการผลิตงานที่รับมาทำและงานที่รับมาทำนั้นต้องดำเนินการโดยสมาชิกในกลุ่ม และ (ง) มีการรับรองการดำเนินงานของกลุ่มหรือจดทะเบียนกลุ่มโดยหน่วยงานของรัฐที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ (๒) วัสดุสำนักงานของร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง (๓) ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกสามารถผลิตขึ้นเอง หรืองานจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (๔) สินค้าที่ผลิตขึ้นเองขององค์การและมูลนิธิสงเคราะห์คนพิการ ได้แก่ สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงงานอุตสาหกรรมบำบัด สถานพยาบาลพระประแดง โรงเรียนสอนคนตาบอด ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก โรงเรียนสอนคนหูหนวก หรือโรงเรียนศรีสังวาลย์ (มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ) (๕) ผลิตภัณฑ์จากทัณฑสถานและงานก่อสร้างของเรือนจำ ทัณฑสถาน สถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว หรือร้านค้าของกรมราชทัณฑ์ ข้อ ๖ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ด้อยโอกาสตามข้อ ๕ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๕ (๑) (๒) หรือ (๔) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มสตรี หรือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตำบล หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๕ (๓) ดังต่อไปนี้ (ก) ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม จัดซื้อหรือจัดจ้างทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือหากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (ข) ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างบริการรักษาความปลอดภัยโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น จัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๕ (๕) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากกรมราชทัณฑ์ หรือหากราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ หมวด ๓ พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน ข้อ ๗ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน” หมายความว่า ผลผลิต ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทำขึ้นในขอบเขตของการเรียนการสอนและโดยบุคลากรของสถานศึกษา หรือหน่วยงานหรือองค์กรในกำกับของหน่วยงานของรัฐที่ผลิตขึ้นตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๘ ให้พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอนดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันทำหรือผลิตขึ้น (๒) งานจ้างต่อเรือไม้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา หรืองานจ้างเหมาต่อเรือ ซ่อมแซม หรือดัดแปลงเรือไม้ หรือเรือไฟเบอร์กลาสชนิดต่าง ๆ จากสถานศึกษาประเภทวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว (๓) งานจ้างทำครุภัณฑ์ และรับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (๔) เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และวัสดุสำนักงานขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (๕) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างที่อยู่ในขอบเขตของการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (๖) อาวุธ หรืองานจ้างผลิตอาวุธของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (๗) งานจ้างซ่อมอากาศยานและวัสดุอุปกรณ์อากาศยาน ของบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด (๘) แบตเตอรี่ หรือบริการเกี่ยวกับแบตเตอรี่ วัตถุพลอยได้จากการผลิต และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแบตเตอรี่ของโรงงานแบตเตอรี่ทหาร กองโรงงานอุตสาหกรรม กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (๙) ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรืองานจ้างจัดทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการในกิจการของหน่วยงานของรัฐ และงานผลิตภัณฑ์ของกรมธนารักษ์ (๑๐) งานจ้างพิมพ์ของโรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐ หรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๙ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๑) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือหากราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๒) (๘) หรือ (๙) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๓) ที่เป็นของสถานศึกษาของตนเองหรือของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการภายในวงเงินไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือหากสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๔) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๘ (๔) ดังต่อไปนี้ (ก) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่องค์การค้าผลิตออกจำหน่ายตามแบบที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำหนดโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (ข) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อวัสดุสำนักงานต่าง ๆ จากองค์การค้าภายในวงเงินไม่เกิน ๑๓๐,๐๐๐ บาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๕) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อหรือจัดจ้างงานที่อยู่ในขอบเขตของการเรียนการสอนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๖) ให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๖) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๗) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างเกี่ยวกับพัสดุอุปกรณ์อากาศยานหรือการซ่อมอากาศยาน และอุปกรณ์จากบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด โดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ดำเนินการจ้างซ่อมอีกทอดหนึ่งได้เฉพาะงานที่บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ไม่สามารถดำเนินการได้เองเท่านั้นและให้คำนึงถึงความสำคัญของการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการเรียนรู้วิทยาการด้านการซ่อมอากาศยานด้วย (๘) ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๘ (๑๐) ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโรงพิมพ์ของตนเองหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ (ข) กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐตาม (ก) แต่ไม่สามารถรับจ้างพิมพ์งานได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีงานเกินขีดความสามารถ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานพิมพ์ส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยวิธีคัดเลือก หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะใช้วิธีคัดเลือก จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือเชิญชวนโรงพิมพ์อื่นของหน่วยงานของรัฐ หรือโรงพิมพ์อื่นที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าสามแห่งทราบ เพี่อเข้าร่วมเสนอราคา (ค) กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐตาม (ก) แต่มีงานพิมพ์มากเกินขีดความสามารถที่โรงพิมพ์จะพิมพ์ได้ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานพิมพ์ส่วนที่เกินขีดความสามารถโดยวิธีคัดเลือก หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะใช้วิธีคัดเลือก จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือเชิญชวนโรงพิมพ์อื่นของหน่วยงานของรัฐ หรือโรงพิมพ์อื่นที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าสามแห่งทราบ เพี่อเข้าร่วมเสนอราคา หมวด ๔ พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษา ข้อ ๑๐ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษา” หมายความว่า การวิจัยและการพัฒนา และการให้บริการทางการศึกษา และให้หมายความรวมถึงการให้บริการทางวิชาการ ข้อ ๑๑[๒] ให้พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษาดังต่อไปนี้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (๒) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง (๓) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (๔) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (๕) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของมูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (๖) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ข้อ ๑๒[๓] ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๑๑ (๑) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๑๑ (๒) ในขอบเขตสาขาที่จัดให้มีการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ และดำเนินการโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมทางด้านวิชาการและการวิจัยอย่างแท้จริงโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ การให้บริการของมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องไม่มีผลกระทบเสียหายต่อการสอน การวิจัยหรือการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ โดยปกติของข้าราชการ คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา หมวด ๕ พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม ข้อ ๑๔ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม” หมายความว่า สินค้าหรือบริการที่มีรายชื่อตามบัญชีนวัตกรรมไทยของสำนักงบประมาณ ข้อ ๑๕ ให้พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๑๕ ดังต่อไปนี้ (๑) หากพัสดุที่จะจัดซื้อหรือจัดจ้าง มีผู้ขายหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียว ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการโดยตรง (๒) หากพัสดุที่จะจัดซื้อหรือจัดจ้าง มีผู้ขายหรือผู้ให้บริการตั้งแต่สองรายขึ้นไป ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก โดยแจ้งผู้ขายหรือผู้ให้บริการทุกรายเข้าเสนอราคาด้วย หมวด ๖ พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข ข้อ ๑๗ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข” หมายความว่า สินค้าหรือบริการเกี่ยวกับการป้องกัน หรือการรักษาโรค ยา หรือเวชภัณฑ์ ข้อ ๑๘ ให้พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุขดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) ยาตามชื่อสามัญ (generic name) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (๒) ยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทยได้ผลิตออกจำหน่ายแล้ว (๓) ยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร มิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย (๔) ยาและเวชภัณฑ์ที่ได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย (๕) วัคซีนโรคตับอักเสบบี และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยผลิตเอง และไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้อ ๑๙ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘ (๑) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทย โดยจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ เว้นแต่ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘ (๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทย เว้นแต่ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค ในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ทั้งนี้ ราคายาหรือเวชภัณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวจำหน่ายต้องไม่สูงกว่าราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด ข้อ ๒๑ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘ (๓) โดยวิธีคัดเลือก โดยจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมทหาร หรือผู้ขายรายใดก็ได้ แต่ต้องแจ้งองค์การเภสัชกรรมและโรงงานเภสัชกรรมทหารทราบด้วยทุกครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่พัสดุตามข้อ ๑๘ (๓) มีราคาไม่สูงกว่าราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร ข้อ ๒๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘ (๔) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยต้องจัดซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของงบประมาณเพื่อจัดซื้อพัสดุดังกล่าว ข้อ ๒๓ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๘ (๕) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากสภากาชาดไทย หมวด ๗ พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ ๒๔ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ” หมายความว่า สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำ หรือไฟฟ้า ข้อ ๒๕ ให้พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (๒) ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่าง ๆ ของโรงงานกลั่นน้ำมันฝาง กรมการพลังงานทหาร (๓) งานจ้างบริการไฟฟ้าหรือประปา ของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ข้อ ๒๖ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๔ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒๕ (๑) ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ลิตรขึ้นไป โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือหากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหม จัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒๕ (๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากโรงงานกลั่นน้ำมันฝาง กรมการพลังงานทหาร หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหมไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหมจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ จัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๕ (๓) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค หรือหากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ ไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย เว้นแต่งานจ้างที่ปรึกษาให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพ ซึ่งเกณฑ์อื่นหรือเกณฑ์ด้านคุณภาพนั้นรวมถึงพัสดุ หรือประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีพัสดุหรือประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนโดยใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔] นุสรา/เพิ่มเติม ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๙/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๑/๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑
851983
กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563
กฎกระทรวง กำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. ๒๕๖๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ซ) (๒) (ซ) และวรรคสอง มาตรา ๖๕ วรรคสอง และมาตรา ๗๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒) กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๑ พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร ข้อ ๒ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร” หมายความว่า ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการเกษตรกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้ และผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และวัสดุหรือครุภัณฑ์การเกษตร ข้อ ๓ ให้พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) นมโรงเรียนขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (๒) นม ยู เอช ที จิตรลดา และผลิตภัณฑ์อื่นที่ผลิตจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา (๓) ผลิตภัณฑ์และอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปโดยผ่านสหกรณ์ของโครงการหลวงภาคเหนือ (๔) ข้าวสารและสินค้าประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคขององค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การตลาด ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด หรือสถาบันเกษตรกร (๕) เมล็ดพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตของกรมวิชาการเกษตร (๖) เมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว (๗) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างบริการประเภทพืชจากเนื้อเยื่อหัตถกรรมและอาหารที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (๘) วัสดุการเกษตรที่เป็นพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง หรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัสดุนั้นและเป็นนิติบุคคล (๙) วัสดุการเกษตรและเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง หรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัสดุนั้นและเป็นนิติบุคคล (๑๐) ผลิตภัณฑ์และงานจ้างบริการอบไม้ ไสไม้ หรืออัดน้ำยาไม้ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ข้อ ๔ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตรตามข้อ ๓ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๓ (๑) จัดซื้อด้วยเงินดังกล่าวโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (๒) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๓ (๒) หรือ (๓) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๓ (๔) จากองค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การตลาด ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด หรือสถาบันเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุด โดยวิธีคัดเลือก และให้แจ้งหน่วยงานดังกล่าวเข้าเสนอราคา หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ (๔) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๓ (๕) (๖) (๗) หรือ (๑๐) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๕) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๓ (๘) หรือ (๙) ซึ่งมีราคาต่อหน่วยไม่เกินหนึ่งแสนบาทและมีราคารวมไม่เกินห้าแสนบาท จากองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง หรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตพัสดุนั้นและเป็นนิติบุคคล โดยวิธีเฉพาะเจาะจง แต่ถ้ามีราคารวมเกินห้าแสนบาท ให้ใช้วิธีคัดเลือก และให้แจ้งหน่วยงานดังกล่าวเข้าเสนอราคา หมวด ๒ พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพและพัสดุส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส ข้อ ๕ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ” หมายความว่า ผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจเริ่มต้นของประเทศไทย หรือพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม สินค้าหรือบริการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสหกรณ์ ร้านค้าสหกรณ์ ร้านค้า กลุ่มอาชีพในหมู่บ้านและตำบล กลุ่มอาชีพที่อยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือที่หน่วยงานของรัฐรับรอง หรือกลุ่มอาชีพอื่นที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน “พัสดุส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส” หมายความว่า ผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทำขึ้นโดยมูลนิธิหรือองค์การสงเคราะห์ต่าง ๆ ข้อ ๖ ให้พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพและพัสดุส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านและตำบลที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชนพื้นที่นั้นรวมตัวกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ประกอบอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตในพื้นที่หมู่บ้านและตำบลนั้น (ข) มีการบริหารจัดการกลุ่มและมีการทำกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีทรัพย์สินหรือเงินทุนของกลุ่มเพื่อดำเนินกิจการร่วมกัน (ค) สมาชิกของกลุ่มต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพในการผลิตงานที่รับมาทำและงานที่รับมาทำนั้นต้องดำเนินการโดยสมาชิกในกลุ่ม และ (ง) มีการรับรองการดำเนินงานของกลุ่มหรือจดทะเบียนกลุ่มโดยหน่วยงานของรัฐที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ (๒) วัสดุสำนักงานของร้านค้าสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง (๓) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเองหรืองานจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ (๔) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเองขององค์การและมูลนิธิสงเคราะห์คนพิการ ได้แก่ สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงงานอุตสาหกรรมบำบัด สถานพยาบาลพระประแดง โรงเรียนสอนคนตาบอด ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด โรงเรียนสอนคนหูหนวก มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก หรือมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ (๕) ผลิตภัณฑ์จากเรือนจำ สถานกักกัน หรือสถานกักขัง รวมถึงงานก่อสร้าง งานรับจ้าง งานบริการ หรืองานใด ๆ ที่ใช้ฝีมือแรงงานของผู้ถูกคุมขัง และผลิตภัณฑ์จากร้านจำหน่ายของกรมราชทัณฑ์ (๖) ผลิตภัณฑ์หรือบริการจากมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ข้อ ๗ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๖ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ หมวด ๓ พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน ข้อ ๘ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน” หมายความว่า ผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทำขึ้นในขอบเขตการเรียนการสอนโดยบุคลากรของสถานศึกษา หรือหน่วยงานหรือองค์กรในกำกับของหน่วยงานของรัฐที่ผลิตขึ้นตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๙ ให้พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอนดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันผลิตหรือจัดทำขึ้น (๒) งานจ้างต่อเรือไม้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา หรืองานจ้างเหมาต่อเรือ ซ่อมแซม หรือดัดแปลงเรือไม้หรือเรือไฟเบอร์กลาส จากสถานศึกษาประเภทวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่อเรือ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว (๓) งานจ้างทำครุภัณฑ์และรับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (๔) เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และวัสดุสำนักงานขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (๕) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างที่อยู่ในขอบเขตการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (๖) อาวุธหรืองานจ้างผลิตอาวุธของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม (๗) งานจ้างซ่อมอากาศยานและวัสดุอุปกรณ์อากาศยานของบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด (๘) แบตเตอรี่หรือบริการเกี่ยวกับแบตเตอรี่ วัตถุพลอยได้จากการผลิต และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับแบตเตอรี่ของโรงงานแบตเตอรี่ทหาร กองโรงงานอุตสาหกรรม กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม (๙) ผลิตภัณฑ์หรืองานจ้างจัดทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการในกิจการของหน่วยงานของรัฐ และงานผลิตภัณฑ์ของกรมธนารักษ์ (๑๐) งานจ้างพิมพ์ของโรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๑๐ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริมการเรียนการสอนตามข้อ ๙ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๙ (๑) (๒) (๖) (๘) หรือ (๙) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๙ (๓) ที่เป็นของสถานศึกษาของตนเองหรือของหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการภายในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๙ (๔) ดังต่อไปนี้ (ก) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาผลิตออกจำหน่ายตามแบบที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำหนดโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (ข) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อวัสดุสำนักงานภายในวงเงินไม่เกินหนึ่งแสนสามหมื่นบาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๔) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๙ (๕) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์จะจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๕) ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานจ้างซ่อมอากาศยานและวัสดุอุปกรณ์อากาศยานตามข้อ ๙ (๗) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ การจัดจ้างตามวรรคหนึ่ง บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ต้องดำเนินการด้วยตนเอง เว้นแต่เป็นงานจ้างบางส่วนที่บริษัทนั้นไม่อาจดำเนินการเองได้และเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการเรียนรู้วิทยาการด้านการซ่อมอากาศยาน บริษัทอาจจ้างซ่อมอีกทอดหนึ่งได้ (๖) ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๙ (๑๐) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างจากโรงพิมพ์ของตนเองหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ข) กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ แต่โรงพิมพ์ของตนเองหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐแจ้งว่าไม่สามารถรับจ้างพิมพ์งานได้บางส่วน ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานพิมพ์ส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้กับโรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐอื่นหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐอื่น ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือสอบถามราคาไปยังโรงพิมพ์ที่ประสงค์จะจ้างพิมพ์ไม่น้อยกว่าสามแห่ง และให้จ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ที่เสนอราคาต่ำสุดโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ค) กรณีหน่วยงานของรัฐมีโรงพิมพ์เป็นของตนเองหรือมีโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ แต่โรงพิมพ์ของตนเองหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐมีงานพิมพ์มากเกินขีดความสามารถที่โรงพิมพ์จะพิมพ์ได้ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานพิมพ์โดยวิธีคัดเลือก ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือเชิญชวนโรงพิมพ์อื่นของหน่วยงานของรัฐ หรือโรงพิมพ์อื่นที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าสามแห่งทราบ เพื่อเข้าร่วมเสนอราคา หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะใช้วิธีคัดเลือก จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ (ง) กรณีหน่วยงานของรัฐไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตนเอง หากประสงค์จะจ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ให้มีหนังสือสอบถามราคาไปยังโรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะจ้างพิมพ์ไม่น้อยกว่าสามแห่ง และให้จ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ที่เสนอราคาต่ำสุดโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (จ) กรณีหน่วยงานของรัฐไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตนเองและไม่ประสงค์จะจ้างพิมพ์โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ โดยแจ้งให้โรงพิมพ์ของหน่วยงานของรัฐหรือโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าสามแห่งทราบ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันราคาด้วย และหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจ้างพิมพ์โดยวิธีคัดเลือก หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็ได้ โดยเผยแพร่ประกาศในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง หมวด ๔ พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม ข้อ ๑๑ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม” หมายความว่า สินค้าหรือบริการที่มีรายชื่อตามบัญชีนวัตกรรมไทยของสำนักงบประมาณ แต่ไม่หมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์ยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามหมวด ๕ ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย ข้อ ๑๒ ให้พัสดุส่งเสริมนวัตกรรมเป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๑๒ โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างพัสดุดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ดังต่อไปนี้ (๑) หากพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียว ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการโดยตรง (๒) หากพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการตั้งแต่สองรายขึ้นไป ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก โดยแจ้งผู้ขายหรือผู้ให้บริการทุกรายเพื่อเข้าร่วมเสนอราคา หมวด ๕ พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข ข้อ ๑๔ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข” หมายความว่า สินค้าหรือบริการเกี่ยวกับการป้องกันหรือการรักษาโรค ยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ข้อ ๑๕ ให้พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุขดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ (๒) ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารได้ผลิตออกจำหน่ายแล้ว (๓) ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารมิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย (๔) ผลิตภัณฑ์ยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย (๕) ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยผลิตเอง และไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (๖) ยาที่เป็นวัคซีนซึ่งผลิตในประเทศ ข้อ ๑๖ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๕ (๑) โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวตามชื่อสามัญ (generic name) ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินงบประมาณในการจัดซื้อยา ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๕ (๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรมหรือสภากาชาดไทย เว้นแต่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร สำหรับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐสามารถจัดซื้อยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากผู้ขายรายอื่นได้ หากองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารไม่สามารถผลิตออกจำหน่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐได้ทันกำหนดตามที่หน่วยงานของรัฐได้แจ้งแผนประจำปีล่วงหน้า ข้อ ๑๘ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๕ (๓) ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีการจัดซื้อโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเผยแพร่ประกาศในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางก่อนดำเนินการจัดซื้อดังกล่าวต่อไป (๒) กรณีการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเชิญชวนองค์การเภสัชกรรมและโรงงานเภสัชกรรมทหารเข้ายื่นข้อเสนอด้วยทุกครั้ง (๓) กรณีการจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคสามารถจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารมิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย จากองค์การเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมทหาร หรือผู้ขายรายใดก็ได้ ข้อ ๑๙ ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๕ (๔) มูลค่ารวมไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของแผนความต้องการจัดซื้อยาตามชื่อสามัญ (generic name) หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยารายการที่ตรงกับบัญชีนวัตกรรมไทยทั้งหมดของหน่วยงานนั้น ดังต่อไปนี้ (๑) จัดซื้อยาทั่วไป (ยาเคมี) ซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยตามบัญชีรายการยาของหน่วยงานนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของมูลค่ารวมของเงินงบประมาณค่าจัดซื้อยาตามชื่อสามัญ (generic name) ที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ณ ต้นปีงบประมาณ (๒) จัดซื้อยาชีววัตถุซึ่งได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยตามบัญชีรายการยาชีววัตถุของหน่วยงานนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของมูลค่ารวมของเงินงบประมาณค่าจัดซื้อยาชีววัตถุตามชื่อสามัญ (generic name) ที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ณ ต้นปีงบประมาณ (๓) วิธีการจัดซื้อในบัญชีนวัตกรรมไทย (ก) หากรายการยาตามชื่อสามัญ (generic name) ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามบัญชีนวัตกรรมไทยรายการใด มีผู้แทนจำหน่ายเอกชนเพียงรายเดียว และมีองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร ได้ผลิตออกจำหน่ายด้วยแล้ว หน่วยงานของรัฐจะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากผู้แทนจำหน่ายเอกชน องค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ (ข) หากรายการยาตามชื่อสามัญ (generic name) ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามบัญชีนวัตกรรมไทยรายการใด มีผู้แทนจำหน่ายเอกชนหลายราย และมีองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร ได้ผลิตออกจำหน่ายด้วยแล้ว หากหน่วยงานของรัฐจะจัดซื้อจากผู้แทนจำหน่ายเอกชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก แต่หากจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร หน่วยงานของรัฐจะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถจัดซื้อยาทั่วไป (ยาเคมี) หรือยาชีววัตถุตาม (๑) หรือ (๒) หน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งจะต้องรายงานเหตุผลความจำเป็นไปยังหน่วยงานต้นสังกัดทุกรายไตรมาส เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดรายงานไปยังสำนักงบประมาณต่อไป ข้อ ๒๐ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๕ (๕) จากสภากาชาดไทยโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ข้อ ๒๑ ให้ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๑๕ (๖) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง และให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติประกาศกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ หมวด ๖ พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ ๒๒ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ” หมายความว่า สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำ หรือไฟฟ้า ข้อ ๒๓ ให้พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติดังต่อไปนี้ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (๒) ผลิตภัณฑ์น้ำมันของโรงงานกลั่นน้ำมันฝาง กรมการพลังงานทหาร (๓) งานจ้างบริการเกี่ยวกับไฟฟ้าและประปาของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ข้อ ๒๔ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๓ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐนอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒๓ (๑) ตั้งแต่หนึ่งหมื่นลิตรขึ้นไป โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงกลาโหมจัดซื้อพัสดุตามข้อ ๒๓ (๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ (๓) ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๓ (๓) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ หมวด ๗ พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร ข้อ ๒๕ ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร” หมายความว่า งานจ้างบริการทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและการตรวจวิเคราะห์ในด้านอาหาร ความปลอดภัยอาหาร สินค้าเกษตรและอาหาร ปัจจัยการผลิต สิ่งแวดล้อม รวมถึงการทดลอง สุ่ม เก็บ รวบรวมตัวอย่างสินค้าเพื่อการทดลอง การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การตรวจประเมิน การตรวจรับรองด้านมาตรฐาน และการสอบเทียบเครื่องมือ ข้อ ๒๖ ให้พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตรของบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ข้อ ๒๗ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๒๖ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ หมวด ๘ ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ข้อ ๒๘ ในหมวดนี้ “ที่ปรึกษา” หมายความว่า ผู้ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐในด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนา และให้หมายความรวมถึงการให้บริการทางการศึกษาและการให้บริการทางวิชาการ ข้อ ๒๙ ที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนแบ่งออกเป็นสองประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษาที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ (ก) มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง (ข) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ค) สถาบันพระปกเกล้า (ง) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (จ) สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. (ฉ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (๒) ที่ปรึกษาที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ (ก) มูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (ข) สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ข้อ ๓๐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๒๙ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) และ (๒) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ข้อ ๓๑ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๒๙ (๑) (ก) ในขอบเขตสาขาที่จัดให้มีการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมทางด้านวิชาการและการวิจัยอย่างแท้จริง โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) หัวหน้าโครงการหรือผู้บริหารโครงการจะต้องเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยของรัฐนั้น และ (๒) การดำเนินงานจะต้องดำเนินการโดยบุคลากรหลักของมหาวิทยาลัยของรัฐนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในโครงการ การจัดจ้างที่ปรึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ การให้บริการทางวิชาการหรือการวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องไม่มีผลกระทบเสียหายต่อการเรียนการสอน การวิจัย หรือการปฏิบัติหน้าที่อื่นโดยปกติของข้าราชการ คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่ครอบคลุมการจัดซื้อจัดจ้างในบางกรณี ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ประกอบกับในปัจจุบันมีพัสดุและประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติม สมควรปรับปรุงการกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน รวมทั้งวิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๕ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๘ ก/หน้า ๑/๒๙ มกราคม ๒๕๖๓
839001
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. 2562
กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓ อัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ให้นำหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษาซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาใช้บังคับโดยอนุโลม และคำนวณย้อนกลับเป็นร้อยละของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง แต่สำหรับประเภทงานดังต่อไปนี้ ต้องไม่เกินอัตราร้อยละของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามที่กำหนดในบัญชีท้ายกฎกระทรวง (๑) บัญชี ๑ สำหรับประเภทงานสถาปัตยกรรม (๒) บัญชี ๒ สำหรับประเภทงานขนส่งระบบราง (๓) บัญชี ๓ สำหรับประเภทงานดังต่อไปนี้ (ก) งานถนน (ข) งานสะพานหรือทางหรือถนนที่มีมาตรฐานสูง (ค) งานเขื่อน (ง) งานชลประทาน (จ) งานท่าเรือหรือโครงสร้างริมน้ำหรือในน้ำ (ฉ) งานระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน (ช) งานประปา (ซ) งานระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย (ฌ) งานระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วม (ญ) งานสนามบิน ในกรณีที่งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตาม (๑) มีลักษณะความซับซ้อนมากกว่าหนึ่งประเภทในงานจ้างเดียวกันและเป็นสาระสำคัญของงาน ให้ใช้วิธีเฉลี่ยอัตราค่าบริการ ในกรณีที่งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างตาม (๒) และ (๓) มีขนาดโครงการไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง อัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างสำหรับโครงการดังกล่าว ต้องไม่เกินอัตราร้อยละของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างซึ่งคำนวณโดยเทียบสัดส่วนจากขนาดโครงการตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงที่มีขนาดโครงการใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ตามวิธีการคำนวณที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๔ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างใดที่ได้ประกาศเชิญชวนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางหรือของหน่วยงานของรัฐ หรือมีหนังสือเชิญชวนผู้ให้บริการก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ อัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างสำหรับงานนั้น ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๙๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้อัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างมีความยืดหยุ่นและครอบคลุมงานก่อสร้างประเภทต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ พัชรภรณ์/จัดทำ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒
821437
กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
กฎกระทรวง กำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๑ “(๖) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการเตรียมการ การประชาสัมพันธ์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๖๒” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกรณีอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการเตรียมการ การประชาสัมพันธ์หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมกับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรวมถึงการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน สมควรกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกรณีดังกล่าวกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ วิวรรธน์/จัดทำ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๑/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
811340
กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
กฎกระทรวง กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ โดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๑) (ซ) (๒) (ซ) และวรรคสอง มาตรา ๖๕ วรรคสอง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ช) และมาตรา ๗๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ ให้พัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษาดังต่อไปนี้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (๑) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (๒) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง (๓) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (๔) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (๕) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของมูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (๖) งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ แห่งกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างพัสดุตามข้อ ๑๑ (๑) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงรัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนก็ได้ ดังนั้น เพื่อให้การจัดจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของมูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ และของสถาบันพระปกเกล้า สามารถกระทำได้โดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง สมควรกำหนดให้งานจ้างบริการทางวิชาการหรือการวิจัยของสถาบันดังกล่าว เป็นพัสดุส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาหรือการให้บริการทางการศึกษาอันเป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ พรวิภา/จัดทำ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๑/๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑
796414
กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2561
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุดังต่อไปนี้ เป็นกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (๑) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (๒) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือระเบียบที่ออกตามกฎหมายอื่น (๓) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ (๔) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (ก) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุนทั้งหมดและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (ข) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม (ก) แห่งเดียวหรือหลายแห่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยหรือรวมกันในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด (ค) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม (ก) หรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม (ข) ในลำดับชั้นแรกหรือในชั้นต่อ ๆ ไปแห่งเดียวหรือหลายแห่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยหรือรวมกันในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด (๕) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกรณีอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน และการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่อง และเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หรือประโยชน์สาธารณะ สมควรกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกรณีดังกล่าวกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๖ ก/หน้า ๑/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
787752
กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่หน่วยงานของรัฐกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกรณีอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดความสะดวก และรวดเร็ว สมควรกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกรณีดังกล่าวกระทำได้โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๑/๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
784005
กฎกระทรวงกำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. 2560
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๑๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐไม่มีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในครั้งนั้น โดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (๒) ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุจากผู้ประกอบการก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้าง หากปรากฏว่าผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้นมิได้วิจารณ์หรือเสนอแนะร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้นจะอุทธรณ์ในเรื่องขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้นมิได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับหน่วยงานของรัฐไม่มีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในกรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อมิให้เรื่องที่อุทธรณ์เป็นปัญหาอุปสรรคทำให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างต้องล่าช้า อันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ สมควรกำหนดเรื่องที่ไม่ควรได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เป็นเรื่องที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๓๓/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
784000
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. 2560
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ประเภทงาน รายการ ขนาดโครงการ (ล้านบาท) อัตรา (ร้อยละวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง) ไม่ซับซ้อน ซับซ้อน ซับซ้อนมาก งานสถาปัตยกรรม ออกแบบ ขนาดเล็ก (< ๕๐) ๔.๕ ๖.๕ ๘.๕ ขนาดกลาง (๕๐ < ๒๕๐) ๔ ๕. ๒๕ ๗ ขนาดใหญ่ (๒๕๐ < ๗๕๐) ๓.๕ ๔ ๖ ขนาดพิเศษระดับที่หนึ่ง (๗๕๐ < ๒,๕๐๐) ๓ ๓.๕ ๕ ขนาดพิเศษระดับที่สอง (๒,๕๐๐ < ๕,๐๐๐) ๒.๕ ๓ ๔ ขนาดพิเศษระดับที่สาม (> ๕,๐๐๐) ๑.๕ ๒.๕ ๓ ควบคุมงาน ก่อสร้าง ขนาดเล็ก (< ๕๐) ๔.๕ ๖.๕ ๘.๕ ขนาดกลาง (๕๐ < ๒๕๐) ๔ ๕.๒๕ ๗ ขนาดใหญ่ (๒๕๐ < ๗๕๐) ๓.๕ ๔ ๖ ขนาดพิเศษระดับที่หนึ่ง (๗๕๐ < ๒,๕๐๐) ๓ ๓.๕ ๕ ขนาดพิเศษระดับที่สอง (๒,๕๐๐ < ๕,๐๐๐) ๒.๕ ๓ ๔ ขนาดพิเศษระดับที่สาม (> ๕,๐๐๐) ๑.๕ ๒.๕ ๓ หมายเหตุ - ลักษณะความซับซ้อนของงานสถาปัตยกรรม ได้แก่ ซับซ้อนมาก หมายถึง งานอาคาร งานสถาปัตยกรรมภายใน งานภูมิสถาปัตยกรรมที่มีแบบแผนวิจิตรต้องใช้ความประณีตชั้นสูง ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ความชำนาญเฉพาะด้าน มีความสลับซับซ้อน หรือมีผู้ใช้สอยจำนวนมาก มีลักษณะพิเศษเชิดชูคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วัฒนธรรม หรือธรรมชาติ เช่น พิพิธภัณฑ์ อาคารทางศาสนา ศาลากลางจังหวัด โรงพยาบาล อาคารห้องปฏิบัติการ อาคารที่มีความสลับซับซ้อน สนามบิน อนุสาวรีย์ รัฐสภา ศูนย์วัฒนธรรม อาคารอนุรักษ์ สถานทูต อาคารเก็บวัสดุที่เสี่ยงอันตรายหรือเสี่ยงต่อสุขภาพ งานสถาปัตยกรรมภายในของบ้านพักอาศัย ภูมิทัศน์ในพื้นที่อนุรักษ์ ภูมิทัศน์ในอาคาร สวนหลังคา สวนพฤกษศาสตร์ สวนสมุนไพร สวนสัตว์ สวนสาธารณะกลางเมือง หรืองานปรับปรุงอาคารหรือภูมิทัศน์ในบริเวณที่มีการใช้สอยหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่เดิม ซับซ้อน หมายถึง งานอาคาร งานสถาปัตยกรรมภายใน งานภูมิสถาปัตยกรรม ที่ต้องใช้ความประณีต ความชำนาญ มีประโยชน์ใช้สอยที่ซับซ้อน มีลักษณะการก่อสร้างที่ซับซ้อน มีกฎเกณฑ์ควบคุมเฉพาะ หรือมีการใช้งานหลากหลาย เช่น อาคารมหาวิทยาลัย อาคารเรียนรวม หอสมุด หอประชุม อาคารพักอาศัยรวม สนามกีฬา สถานกักกัน หอพัก โรงเรียน ศาลาประชาคม อาคารสำนักงาน อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ สถาบันระดับสูงของรัฐ สถาบันการเงิน โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ สถานีขนส่งต่าง ๆ อาคารศูนย์การค้า สถานบริการและนันทนาการ สโมสร สวนสนุก สวนสาธารณะ ภูมิทัศน์ชุมชน ภูมิทัศน์บริเวณอาคารสาธารณะ โครงการจัดสรรที่ดิน หรือนิคมอุตสาหกรรม ไม่ซับซ้อน หมายถึง งานอาคาร งานสถาปัตยกรรมภายใน งานภูมิสถาปัตยกรรม มีลักษณะเรียบง่าย เป็นมาตรฐานทั่วไป เช่น โรงเก็บพัสดุ คลังสินค้า อาคารจอดรถยนต์ ตลาด ร้านค้า ศูนย์อาหาร โชว์รูม อาคารประเภทบ้านที่อยู่อาศัยหรือสำนักงานขนาดเล็ก สวนสาธารณะชานเมือง งานภูมิทัศน์ถนนหรือเส้นทางคมนาคม สวนเกษตร สวนประดับ หรือสวนหย่อม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๙๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๓๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
783996
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา พ.ศ. 2560
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพ ประกอบกิจการหรือบริการให้คำปรึกษาหรือแนะนำทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผังเมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย หรือด้านอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด “ที่ปรึกษาอิสระ” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ประกอบอาชีพในการเป็นที่ปรึกษา และได้ขึ้นทะเบียนการเป็นที่ปรึกษากับสำนักงาน “ที่ปรึกษานิติบุคคล” หมายความว่า นิติบุคคลที่ประกอบกิจการหรือให้บริการในการเป็นที่ปรึกษา และได้ขึ้นทะเบียนการเป็นที่ปรึกษากับสำนักงาน “บุคลากรที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกมาแล้ว มากกว่าสิบปี ห้าปี และสองปี ตามลำดับ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของแต่ละระดับการศึกษา และปฏิบัติงานเต็มเวลาการทำงานปกติของที่ปรึกษานิติบุคคลนั้น “หนังสือรับรอง” หมายความว่า หนังสือที่สำนักงานออกให้เพื่อแสดงว่าได้มีการขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคล “องค์กรของรัฐ” หมายความว่า (๑) ส่วนราชการที่มีการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานนั้นกำหนดให้จัดทำภารกิจในการเป็นที่ปรึกษา (๒) หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ และกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานนั้นกำหนดให้จัดทำภารกิจในการเป็นที่ปรึกษา แต่ไม่รวมสถาบันการศึกษาของรัฐ “สถาบันการศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาที่เทียบเท่าระดับอุดมศึกษา “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงองค์กรอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและการดำเนินงานในลักษณะคล้ายคลึงกับสมาคมที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “ศูนย์ข้อมูล” หมายความว่า ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ข้อ ๒ ให้สำนักงานจัดทำจรรยาบรรณการเป็นที่ปรึกษาเพื่อเผยแพร่ให้ที่ปรึกษาอิสระและที่ปรึกษานิติบุคคลทราบ และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หมวด ๑ ประเภท คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ข้อ ๓ การขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาตามกฎกระทรวงนี้มี ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) ที่ปรึกษาอิสระ (๒) ที่ปรึกษานิติบุคคล ข้อ ๔ ที่ปรึกษาอิสระตามข้อ ๓ (๑) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกมาแล้ว มากกว่าสิบปีห้าปี และสองปี ตามลำดับ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของแต่ละระดับการศึกษา (๓) ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกัน หรือเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำในหน่วยงานใด (๔) ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๕) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ (๖) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖๔ (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) ข้อ ๕ ที่ปรึกษานิติบุคคลตามข้อ ๓ (๒) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย (๒) มีวัตถุประสงค์ในการเป็นที่ปรึกษา (๓) มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป (๔) มีจำนวนหุ้นของผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด ซึ่งมีสิทธิในการออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (๕) มีกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันเป็นผู้มีสัญชาติไทยมากกว่ากึ่งหนึ่ง (๖) มีบุคลากรที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสองคน (๗) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖๔ (๒) (๕) หรือ (๖) ความในวรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) มิให้ใช้บังคับกับสถาบันการศึกษา มูลนิธิ หรือสมาคม และความในวรรคหนึ่ง (๓) (๔) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับองค์กรของรัฐ ข้อ ๖ ในการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หากต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือต้องได้รับอนุญาตในการประกอบกิจการ ให้ที่ปรึกษายื่นเอกสารดังกล่าวต่อสำนักงานเพื่อประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาด้วย ข้อ ๗ กรณีที่ปรึกษาที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๔ (๑) หรือไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๕ (๔) หรือ (๕) หากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้อนุญาตหรือให้ความเห็นชอบให้ที่ปรึกษารายนั้นสามารถประกอบอาชีพหรือประกอบกิจการในประเทศไทย และกรณีของที่ปรึกษาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นกำหนดไว้แล้วให้สำนักงานขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาตามกฎกระทรวงนี้ได้ ข้อ ๘ การคำนวณประสบการณ์โครงการของที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลให้พิจารณาจากสัญญาจ้างที่ปรึกษา หนังสือยืนยันผลงานการเป็นที่ปรึกษา เอกสารระบุขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษาที่ออกโดยผู้ว่าจ้าง หรือหลักฐานอื่นตามที่ศูนย์ข้อมูลกำหนด โดยให้นับเฉพาะโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ มูลค่าขั้นต่ำของโครงการ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ข้อ ๙ ที่ปรึกษาอิสระมีสามระดับ ได้แก่ (๑) ที่ปรึกษาอิสระระดับหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี (ข) มีประสบการณ์โครงการไม่น้อยกว่าห้าโครงการ (๒) ที่ปรึกษาอิสระระดับสอง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าสามปี (ข) มีประสบการณ์โครงการไม่น้อยกว่าสามโครงการ (๓) ที่ปรึกษาอิสระระดับสาม หมายถึง ที่ปรึกษาอิสระที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑) หรือ (๒) ข้อ ๑๐ ที่ปรึกษานิติบุคคลมีสามระดับ ได้แก่ (๑) ที่ปรึกษานิติบุคคลระดับหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่าสามปี (ข) มีประสบการณ์โครงการไม่น้อยกว่าห้าโครงการ (ค) มีบุคลากรที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าห้าคน ซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี (๒) ที่ปรึกษานิติบุคคลระดับสอง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่าสามปี (ข) มีประสบการณ์โครงการไม่น้อยกว่าสามโครงการ (ค) มีบุคลากรที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าสามปี ที่ปรึกษานิติบุคคลใดขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน (๒) (ก) อาจเป็นที่ปรึกษานิติบุคคลระดับสองได้ หากมีประสบการณ์โครงการไม่น้อยกว่าสามโครงการ และมีบุคลากรที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี (๓) ที่ปรึกษานิติบุคคลระดับสาม หมายถึง ที่ปรึกษานิติบุคคลที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑) หรือ (๒) ข้อ ๑๑ สำนักงานจะขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือหลายสาขา ดังต่อไปนี้ (๑) สาขาการเกษตรและการพัฒนาชนบท (Agriculture and Rural Development Sector: AG) (๒) สาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Building Sector: BU) (๓) สาขาการศึกษา (Education Sector: ED) (๔) สาขาพลังงาน (Energy Sector: EG) (๕) สาขาสิ่งแวดล้อม (Environment Sector: EV) (๖) สาขาการเงิน (Finance Sector: FI) (๗) สาขาสาธารณสุข (Health Sector: HE) (๘) สาขาอุตสาหกรรม (Industry Sector: IN) (๙) สาขาประชากร (Population Sector: PO) (๑๐) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology Sector: ICT) (๑๑) สาขาการท่องเที่ยว (Tourism Sector: TO) (๑๒) สาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation Sector: TR) (๑๓) สาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development Sector: UD) (๑๔) สาขาการประปาและสุขาภิบาล (Water Supply and Sanitation Sector: WS) (๑๕) สาขากฎหมาย (Law Sector: LW) (๑๖) สาขามาตรฐานคุณภาพ (Quality Standard Sector: QS) (๑๗) สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development Sector: MID) (๑๘) สาขาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Sector: PR) (๑๙) สาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation Sector: RE) (๒๐) สาขาเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Sector: MS) การจำแนกลักษณะของแต่ละสาขา ให้เป็นไปตามที่ศูนย์ข้อมูลกำหนดและเผยแพร่ไว้ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของศูนย์ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมสาขาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ สำนักงานจะขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษาอิสระในสาขาใดนั้น ที่ปรึกษาอิสระจะต้องมีประสบการณ์โครงการในสาขานั้นไม่น้อยกว่าสามโครงการ ข้อ ๑๓ สำนักงานจะขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษานิติบุคคลในสาขาใดนั้น จะพิจารณาจากเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่ปรึกษานิติบุคคลต้องมีความสอดคล้องกับสาขาที่จะได้รับการขึ้นทะเบียน (๒) มีประสบการณ์โครงการในสาขานั้นไม่น้อยกว่าสามโครงการ (๓) มีบุคลากรที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในแต่ละสาขาไม่น้อยกว่าหนึ่งคน หมวด ๒ การขึ้นทะเบียนและอัตราค่าธรรมเนียม ข้อ ๑๔ ที่ปรึกษาที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคล ให้กรอกข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของศูนย์ข้อมูล ทั้งนี้ วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินการให้เป็นไปตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ สำนักงานจะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่ที่ปรึกษาได้ดำเนินการตามข้อ ๑๔ หากเป็นไปตามที่กำหนดในหมวด ๑ ประเภท คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน สำนักงานจะขึ้นทะเบียนการเป็นที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคล แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลครบถ้วนและถูกต้อง หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาตามกฎกระทรวงนี้ในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) การขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาอิสระ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท (๒) การขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษานิติบุคคล จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานพิจารณาทบทวนทุกห้าปี เงินค่าธรรมเนียมที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานนำไปใช้จ่ายได้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง หมวด ๓ การประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา ข้อ ๑๗ การประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๗๓ วรรคสาม มาตรา ๑๐๖ วรรคสี่ หรือมาตรา ๑๐๘ ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผล คณะกรรมการประเมินผลและการปรับลดระดับการเป็นที่ปรึกษา หมวด ๔ การเปลี่ยนแปลงและการเพิ่มเติมข้อมูล ข้อ ๑๘ ที่ปรึกษานิติบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่ปรึกษา ให้แจ้งข้อมูลให้สำนักงานทราบผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของศูนย์ข้อมูลภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด หากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มีผลทำให้ที่ปรึกษานิติบุคคลขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕ ให้ที่ปรึกษานิติบุคคลดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้สำนักงานทราบภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือก่อนวันที่จะมีการลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษากับหน่วยงานของรัฐ หากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มีผลทำให้ต้องปรับลดระดับหรือสาขาของที่ปรึกษานิติบุคคลตามข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๓ แล้วแต่กรณี ให้ที่ปรึกษานิติบุคคลดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้สำนักงานทราบภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง หากที่ปรึกษานิติบุคคลไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ สำนักงานจะปรับลดระดับหรือสาขาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำความในข้อ ๑๐ และข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลอื่นใดนอกเหนือจากข้อ ๑๘ ให้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่มีความประสงค์จะเพิ่มเติมประสบการณ์โครงการ ให้แจ้งให้สำนักงานทราบเป็นรายไตรมาส โดยดำเนินการผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของศูนย์ข้อมูล ทั้งนี้ ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด หมวด ๕ การเพิกถอนและการยกเลิกการขึ้นทะเบียน ข้อ ๒๐ เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สำนักงานจะเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาตามกฎกระทรวงนี้ (๑) ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลยื่นเอกสารอันเป็นเท็จเพื่อประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียน กำหนดระดับหรือสาขา (๒) หน่วยงานของรัฐแจ้งว่าที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลยื่นข้อเสนออันเป็นเท็จ (๓) ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่ถูกปรับลดระดับตามระเบียบที่ออกตามข้อ ๑๗ ข้อ ๒๑ ภายใต้บังคับข้อ ๑๘ วรรคสอง ในกรณีที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ แล้วแต่กรณี สำนักงานจะยกเลิกการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาหรือสาขา แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่ถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนตามข้อ ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) จะขอขึ้นทะเบียนใหม่ได้เมื่อครบกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอน ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่ถูกยกเลิกการขึ้นทะเบียนตามข้อ ๒๑ จะขอขึ้นทะเบียนใหม่ได้ เมื่อมีคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามแล้ว ข้อ ๒๓ ที่ปรึกษานิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ สำนักงานจะยกเลิกการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา ข้อ ๒๔ ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลที่มีความประสงค์จะยกเลิกการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาให้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานทราบเพื่อยกเลิกการขึ้นทะเบียนนั้น หมวด ๖ การอุทธรณ์ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่สำนักงานดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่รับขึ้นทะเบียนตามข้อ ๑๕ (๒) ปรับลดระดับของที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลตามระเบียบที่ออกตามข้อ ๑๗ (๓) ปรับลดระดับของที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคล หรือสาขาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ ๑๘ วรรคสาม (๔) เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาตามข้อ ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) (๕) ยกเลิกการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๒๑ ให้ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลมีสิทธิอุทธรณ์ต่อสำนักงาน โดยยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากสำนักงาน ข้อ ๒๖ เมื่อสำนักงานได้รับคำอุทธรณ์ตามข้อ ๒๕ ให้พิจารณาโดยไม่ชักช้า หากเห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ให้แจ้งให้ที่ปรึกษาอิสระหรือที่ปรึกษานิติบุคคลทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ถ้าสำนักงานไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังปลัดกระทรวงการคลังภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้มีหนังสือแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว หมวด ๗ การให้บริการข้อมูล ข้อ ๒๗ ให้สำนักงานแสดงข้อมูลการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาไว้ในฐานข้อมูลระบบเครือข่ายสารสนเทศและทะเบียนที่ปรึกษา โดยเผยแพร่และให้บริการข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริม และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๘ ให้ที่ปรึกษาอิสระและที่ปรึกษานิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ดำเนินการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตามกฎกระทรวงนี้ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ในกรณีเช่นนี้ ให้หนังสือรับรองที่ออกก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับยังคงมีสิทธิตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองจนกว่าสำนักงานจะออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และไม่ให้นำกำหนดเวลาการพิจารณาขึ้นทะเบียนตามข้อ ๑๕ มาใช้บังคับกับกรณีนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้หนังสือรับรองนั้นสิ้นผล และให้ที่ปรึกษาอิสระและที่ปรึกษานิติบุคคลดำเนินการขอขึ้นทะเบียนใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้ที่ปรึกษาที่จะเข้าร่วมการเสนองานกับหน่วยงานของรัฐต้องเป็นที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ วิธีการยื่นขอขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีที่ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลังไม่ขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๒๒/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
783993
กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลง เป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ข) มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง (๓) (ข) (ง) มาตรา ๘๒ (๒) มาตรา ๙๖ วรรคสอง และมาตรา ๑๐๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การจัดซื้อจัดจ้างสินค้า งานบริการ หรืองานก่อสร้าง ที่มีการผลิต จำหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ข้อ ๒ งานจ้างที่ปรึกษาดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (๑) งานจ้างที่ปรึกษาที่มีวงเงินค่าจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) งานจ้างที่มีที่ปรึกษาในงานที่จะจ้างนั้นจำนวนจำกัดและมีวงเงินค่าจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๓ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ข้อ ๔ ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ข้อ ๕ ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุก็ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้การกำหนดวงเงินเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นสินค้า งานบริการ หรืองานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินงบประมาณ ค่าก่อสร้างสำหรับงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยจะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือก็ได้ และการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุก็ได้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๖ ก/หน้า ๒๐/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐