sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
458662 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(ฉบับที่ ๒)
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศ
เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ลงวันที่
๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันข้อกำหนดเกี่ยวกับประตูทางขึ้นลงตามประกาศดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้ประตูทางขึ้นลงที่ใช้ระบบกลไกควบคุมการปิดเปิดโดยอัตโนมัติต้องเป็นแบบนิรภัยซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบานประตูหนีบผู้โดยสาร
ผู้โดยสารพลัดตกจากรถเนื่องจากประตูทางขึ้นลงไม่ปิดและผู้โดยสารไม่สามารถเปิดประตูออกได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ดังนั้น
เพื่อให้ประตูทางขึ้นลงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีความปลอดภัยและเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฌ) และข้อ ๑๐ (๒) (ช) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๙ (พ.ศ.
๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงเห็นสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๕/๑
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ ๕/๑ บานประตูทางขึ้นลงสำหรับผู้โดยสารของรถตามข้อ
๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔
ที่ใช้ระบบกลไกควบคุมการปิดเปิดโดยอัตโนมัติในขณะที่บานประตูกำลังปิดหากกระทบถูกผู้โดยสารหรือสิ่งกีดขวางบานประตูต้องเปิดโดยอัตโนมัติ
และต้องมีสัญญาณไฟกระพริบสีแดงพร้อมทั้งสัญญาณเสียงเตือนแสดงการปิดเปิดของบานประตูบริเวณประตูทางขึ้นลงภายในตัวรถและตำแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ในกรณีฉุกเฉินบานประตูทางขึ้นลงต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถเปิดออกได้จากทั้งภายในและภายนอกตัวรถ
แม้ในขณะที่ระบบกลไกควบคุมการปิดเปิดอัตโนมัติจะทำงานหรือไม่ก็ตาม
ข้อ
๒ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามข้อ
๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔
ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทำการปรับปรุงแก้ไขประตูปิดเปิดให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้บังคับใช้
ข้อ
๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุนันทา/ผู้จัดทำ
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๘ |
456728 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์
และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์
และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังให้เหมาะสมและครอบคลุมทั้งรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (จ) และข้อ ๑๐ (๒) (ค) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙
(พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร
ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทางไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ
๒
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารซึ่งประสงค์จะใช้ตัวอักษร
ภาพ หรือเครื่องหมาย เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถ
ให้ยื่นขอความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินการเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วันทำการ
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
๒.๑
แบบ ขนาด ลักษณะ ชนิดของวัสดุ และตำแหน่งที่จะติดโฆษณา
๒.๒
บัญชีรถที่จะขอโฆษณา ระบุเลขทะเบียนรถ ชื่อและหมายเลขเส้นทาง หมายเลขประจำรถและกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการโฆษณา
การยื่นขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นขอได้ครั้งละ ๑ รายการ ระยะเวลาไม่เกิน ๑ ปี และหากจะขอขยายระยะเวลาการติดโฆษณาออกไปจากที่ได้รับอนุญาต
ให้ยื่นขอล่วงหน้าก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย ๓ วันทำการ
โดยขอขยายได้ครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
ข้อ
๓ ตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมายที่จะโฆษณาที่ตัวถังรถ ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
๓.๑
อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
๓.๒
ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
๓.๓
มีความกว้างยาวเกินกว่าด้านข้างหรือด้านกว้างของตัวรถ
๓.๔
ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๒
สถานที่ยื่นคำขอ
ข้อ
๔
สถานที่ยื่นขอความเห็นชอบตามประกาศนี้
๔.๑
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง
๔.๑.๑
ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือระหว่างจังหวัดที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือการขนส่งระหว่างประเทศ ให้ยื่นขอ ณ ส่วนกิจการสถานีขนส่งสำนักจัดระเบียบ
การขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
๔.๑.๒
ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่ผู้ประกอบการขนส่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น
๔.๑.๓
ระหว่างจังหวัดที่มีทั้งต้นทางและปลายทางในเขตจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นขอ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่เป็นต้นทางเท่านั้น
๔.๒
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง
๔.๒.๑
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง
ให้ยื่นขอ ณ ส่วนกิจการสถานีขนส่ง สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
๔.๒.๒
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งที่มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนประจำจังหวัดใด ให้ยื่นขอ ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น
ส่วนที่ ๓
ตำแหน่ง ขนาด และพื้นที่
ที่ติดตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายโฆษณา
ข้อ
๕
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
๕.๑
ด้านข้างภายนอกตัวถัง
บริเวณตัวถังและบานหน้าต่างหรือช่องกระจกให้มีพื้นที่โฆษณารวมกันกว้างไม่เกิน ๘๐
เซนติเมตร โดยบริเวณตัวถังให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร
และบริเวณบานหน้าต่างหรือช่องกระจกให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน ๓๐
เซนติเมตรจากขอบบานหน้าต่างหรือช่องกระจกด้านล่างขึ้นไปเป็นแนวเส้นตรงขนานกับตัวรถเฉพาะด้านที่ทำการโฆษณาและมีความยาวตามความเหมาะสม
แต่ต้องไม่เกินความยาวด้านข้างของตัวรถ
๕.๒
ด้านข้างภายในตัวถังเหนือบานหน้าต่างหรือช่องกระจก (ถ้ามี) ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน
๒๐ เซนติเมตร และมีความยาวตามความเหมาะสม
๕.๓
ด้านท้ายภายนอกตัวถัง ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างและยาวตามความเหมาะสม
ข้อ
๖
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศ
๖.๑
ด้านข้างภายในตัวถังเหนือบานหน้าต่างหรือช่องกระจก (ถ้ามี)
ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร และมีความยาวตามความเหมาะสม
๖.๒
ด้านท้ายภายนอกตัวถัง ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างและยาวตามความเหมาะสม
ข้อ
๗
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางมาตรฐาน ๒ จ ที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน
๑๒ ที่นั่ง
๗.๑
ด้านข้างภายนอกตัวถังใต้บานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสงหรือใต้ช่องกระจก ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างตามความเหมาะสมและมีความยาวไม่เกินด้านข้างของตัวรถ
๗.๒
ด้านท้ายภายนอกตัวถังใต้กระจกกันลมหลัง
ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างและยาวตามความเหมาะสม
๗.๓
บริเวณส่วนที่เป็นบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสงหรือกระจกกันลมหน้าและกระจกกันลมหลังไม่ให้ติดภาพโฆษณา
นอกจากนั้นให้เป็นไปตามความเหมาะสม
ข้อ
๘
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง
๘.๑
ด้านข้างภายนอกรถบริเวณส่วนที่เป็นตัวถัง
ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างและยาวตามความเหมาะสม ส่วนด้านข้างภายนอกบริเวณบานหน้าต่างหรือช่องกระจก
ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร
จากขอบบานหน้าต่างหรือช่องกระจกด้านล่างขึ้นไปเป็นแนวเส้นตรง ขนานกับตัวรถเฉพาะด้านที่ทำการโฆษณาและมีความยาวตามความเหมาะสม
ซึ่งต้องไม่เกินความยาวด้านข้างของตัวรถ
๘.๒
ด้านข้างภายในตัวถังเหนือบานหน้าต่างหรือช่องกระจก (ถ้ามี)
ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร และมีความยาวตามความเหมาะสม
๘.๓
ด้านหน้าหรือด้านท้ายภายนอกตัวถัง ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างและยาวตามความเหมาะสม
ข้อ
๙
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทางมาตรฐาน ๒ จ ที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๒
ที่นั่ง
๙.๑
ด้านข้างภายนอกบริเวณตัวถังใต้บานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสงหรือใต้ช่องกระจก
ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างตามความเหมาะสมและมีความยาวไม่เกินด้านข้างของตัวรถ
๙.๒
ด้านท้ายภายนอกบริเวณตัวถังใต้กระจกกันลมหลัง ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างและยาวตามความเหมาะสม
๙.๓
บริเวณส่วนที่เป็นบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสงหรือกระจกกันลมหน้าและกระจกกันลมหลัง
ไม่อนุญาตให้มีการติดภาพโฆษณา นอกจากนั้น ให้เป็นไปตามความเหมาะสม
ข้อ
๑๐ ตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมายที่จะโฆษณาที่ตัวถังรถ ที่จะให้ปรากฏในตำแหน่งอื่นหรือมีขนาดและพื้นที่ผิดไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๕, ๖ และข้อ ๘ หากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้ว
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกด้วย จึงจะสามารถทำการโฆษณาได้
ส่วนการติดโฆษณาตามข้อ ๗ และข้อ ๙ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้เท่านั้น
ส่วนที่ ๔
ข้อปฏิบัติและข้อห้าม
ข้อ
๑๑ ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
ซึ่งจัดทำในลักษณะเป็นแผ่นป้าย แผ่นฟิล์มปรุ หรือลักษณะอื่นใดที่ติดบริเวณบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสงด้านข้างของตัวรถและช่องกระจกด้านข้างของตัวรถ
เมื่อติดแล้วผู้โดยสารภายในรถต้องสามารถมองเห็นสภาพภายนอกรถได้ดี ส่วนการติดที่บริเวณกระจกกันลมหลัง
ให้ติดได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้
ทุกบริเวณต้องติดให้แนบแน่นอย่างเรียบร้อย แข็งแรง
ข้อ
๑๒ การติดทั้งภายนอกและภายในรถ
ต้องไม่ปิดทับเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถ
หมายเลขเส้นทาง ชื่อเส้นทาง โคมไฟและข้อความที่เกี่ยวกับการใช้ประตูฉุกเฉิน
รวมทั้งต้องไม่เป็นเหตุให้ประตูฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้โดยสะดวก
และไม่ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
โดยต้องติดให้แนบแน่นกับตัวถังอย่างเรียบร้อย
ข้อ
๑๓ กรณีตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ติดไว้แล้วชำรุดบกพร่อง หรือมีเหตุทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย
ไม่ปลอดภัยหรือไม่เหมาะสมด้วยประการใด
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารแก้ไขให้เรียบร้อยหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ทันที
ข้อ
๑๔
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำการโฆษณา
ต้องจัดให้มีสำเนาภาพถ่ายหนังสือแจ้งผลการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกประจำไว้ที่รถเพื่อสามารถตรวจสอบได้
และต้องจัดให้มีข้อความแสดงการได้รับความเห็นชอบไว้บริเวณมุมขวาด้านล่างของภาพโฆษณา
โดยมีข้อความเป็นตัวอักษรและตัวเลขสีดำ ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า ๑ เซนติเมตร
พื้นสีขาว ดังนี้
ข้อ
๑๕
ในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกอาจพิจารณาไม่ให้ความเห็นชอบ
ยกเลิกการให้ความเห็นชอบหรือพิจารณาดำเนินการอื่น ตามที่เห็นสมควรในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภสรณ์/ผู้จัดทำ
๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๑๒๒/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๕๘/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
456635 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๘ (๔) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย หมายความว่า
การทดสอบปฏิกิริยาและการทดสอบสายตา
ผู้สมัคร หมายความว่า
ผู้สมัครเรียนขับรถกับโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง
ข้อ
๒ โรงเรียนสอนขับรถต้องจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายของผู้สมัคร
ดังนี้
๒.๑
การทดสอบปฏิกิริยา ให้ทดสอบความสามารถการใช้เบรกเท้า ๓ ครั้ง
หากสามารถใช้เบรกได้ในระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๐.๗๕ วินาที สองในสามครั้ง
ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
๒.๒
การทดสอบสายตาให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) การทดสอบสายตาทางกว้าง
ถ้าผู้เข้ารับการทดสอบสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเป็นมุมกว้างข้างละตั้งแต่
๗๕ องศา สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
(๒) การทดสอบสายตาทางลึก ให้ทดสอบการมองเห็นในระยะ ๒.๕๐-๓.๕๐ เมตร รวม ๓
ครั้ง หากผลการทดสอบห่างจุดที่กำหนดไม่เกินกว่า ๑ นิ้ว สองในสามครั้ง
ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
(๓) การทดสอบสายตาบอดสี ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดูสีเขียว สีแดง
และสีเหลืองจากเครื่องทดสอบหรือแผ่นทดสอบในระดับสายตาระยะไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอ่านสีตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด สีละ ๓ ครั้ง
หากอ่านได้ถูกต้องสองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
ข้อ
๓
โรงเรียนสอนขับรถที่จะรับผู้สมัครเข้าเรียนขับรถ
จะต้องปรากฏว่าผู้สมัครนั้นผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามหลักเกณฑ์ข้อ ๒
กรณีไม่ผ่านการทดสอบ
ให้โรงเรียนสอนขับรถแจ้งผลการทดสอบเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้สมัครทราบ
ข้อ
๔
ผู้สมัครที่ไม่ผ่านการทดสอบสามารถยื่นคำ ขอ
พร้อมด้วยหลักฐานไม่ผ่านการทดสอบจากโรงเรียนสอนขับรถต่อกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ไม่ว่าตนจะมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่หรือไม่ เพื่อขอรับการทดสอบใหม่
ข้อ
๕ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔
ให้กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย หากผ่านการทดสอบ
ให้ออกหนังสือแสดงการผ่านการทดสอบให้แก่ผู้นั้นสำหรับใช้ยื่นต่อโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ
๖ ผู้ซึ่งผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามข้อ
๕ สามารถใช้ผลการทดสอบนั้นยื่นต่อโรงเรียนสอนขับรถใดเพื่อสมัครเรียนขับรถ
โดยไม่ต้องทำการทดสอบ
ข้อ
๗
โรงเรียนสอนขับรถที่ประสงค์จะจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายแตกต่างจากหลักเกณฑ์ข้อ
๒ ให้ขอรับความเห็นชอบเป็นรายกรณีไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ธัญกมล/ผู้จัดทำ
๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๑๐๒/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
456633 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถและกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
และกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔ (๑) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถและกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ฝึกสอนขับรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามที่กำหนดไว้
ดังนี้
๑.๑
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
ต้องได้รับการอบรมและทดสอบ
(๑) ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยทางหลวง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา และความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและความรับผิด
รวมทั้งความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งวัตถุอันตราย
(๒) ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๒.๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสาร
(ง) การให้สัญญาณ
(จ) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
(ฉ) การใช้คลัทช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกต้อง
(ช) การบังคับพวงมาลัย
(ซ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฌ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๒.๒) การฝึกหัดขับรถยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ได้แก่
(ก) การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ) การถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
(ฎ) การหยุด การจอดรถและการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถทางราบ
(ฐ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
(๒.๓)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกเบื้องต้น
ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ง) การให้สัญญาณ
(จ) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
(ฉ) การใช้คลัทช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกต้อง
(ช) การบังคับพวงมาลัย
(ซ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฌ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๒.๔) การฝึกหัดขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกตามท่าฝึกต่าง ๆ ได้แก่
(ก) การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ) การถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
(ฎ) การหยุด การจอดรถและการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถทางราบ
(๒.๕) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริง
๑.๒
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถยนต์ต้องได้รับการอบรมและทดสอบ
(๑) ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
และความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและความรับผิด
(๒) ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๒.๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสาร
(ง) การให้สัญญาณ
(จ) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
(ฉ) การใช้คลัทช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกต้อง
(ช) การบังคับพวงมาลัย
(ซ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฌ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๒.๒) การฝึกหัดขับรถยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ประกอบด้วย
(ก) การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ) การถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
(ฎ) การหยุด การจอดรถและการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถทางราบ
(ฐ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
(๒.๓) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริง
๑.๓
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถจักรยานยนต์ ต้องได้รับการอบรมและทดสอบ
(๑) ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
และความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและความรับผิด
(๒) ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๒.๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับขี่รถจักรยานยนต์ ได้แก่
(ก) ส่วนประกอบที่สำคัญ และพื้นฐานการทำงานของรถจักรยานยนต์
(ข) การตรวจเช็ครถก่อนขับขี่
(ค) การบำรุงรักษารถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ในการควบคุมรถ
(ง) การเตรียมตัวก่อนการขับขี่ (เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ในการขับขี่)
(จ) การใช้ขาตั้งและการจูงรถ
(ฉ) ท่าทางการขับขี่
(ช) การควบคุมรถในขณะไม่เคลื่อนที่
(ซ) การควบคุมรถในขณะเคลื่อนที่
(ฌ) การออกรถและการเร่งเครื่องยนต์อย่างนิ่มนวล
(ญ) การเปลี่ยนเกียร์
(ฎ) การเบรก (ตอนที่ ๑)
(ฏ) การควบคุมความเร็ว
(๒.๒) การฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ประกอบด้วย
(ก) การออกรถ การหยุดรถ
(ข) การเบรก (ตอนที่ ๒)
(ค) การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอสหรือทางโค้งรูปเลขแปด
(ง) การควบคุมคันเร่งและการทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง
(จ) การทรงตัวที่ความเร็วต่ำบนไม้กระดาน
(ฉ) การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(ช) การขับขี่โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
(ซ) การขับขี่และการจอดรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฌ) การขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย
(ญ) การขับขี่ตามสภาพการจราจรและสภาพถนนต่าง ๆ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนในประเภทหลักสูตรใด
ต่อมาประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประเภทหลักสูตรอื่นอีก
ให้ทำการอบรมและทดสอบเฉพาะในส่วนที่แตกต่างจากประเภทหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว
ข้อ
๒
กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถเป็นผู้จบการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
และประสงค์จะเป็นผู้ให้ความรู้เฉพาะภาคทฤษฎี ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องผ่านการอบรม
แต่ต้องผ่านการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีตามประเภทใบอนุญาตที่กำหนดไว้ในข้อ ๑
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓
ในขณะเข้ารับการอบรมหรือทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอน
จะต้องไม่ส่งเสียงดัง หรือแสดงกิริยาวาจาส่อเสียด ดูหมิ่น ก้าวร้าว
หรือกระทำกิริยาใดๆ อันเป็นการรบกวนบุคคลอื่น ไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสาร
ดื่มสุราหรือของมึนเมา หรือเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
หรือมีอาการมึนเมาจากการดื่มหรือเสพของดังกล่าว
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ควบคุมการอบรมหรือทดสอบมีอำนาจสั่งให้ผู้เข้ารับการอบรมและทดสอบออกจากห้องอบรมหรือทดสอบได้
และให้ถือว่าเป็นผู้ขาดการอบรมหรือทดสอบในวิชานั้น
ข้อ
๔
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถตามข้อ ๑ หรือข้อ ๒ แล้วแต่กรณี
ต้องมีเวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
และมีผลการทดสอบในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ การเข้าห้องอบรมหรือทดสอบสายเกิน
๑๕ นาที ถือว่าขาดการอบรมหรือทดสอบในวิชานั้น
ข้อ
๕
ในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องแต่งกาย ดังนี้
๕.๑
ผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก ผู้ฝึกสอนขับรถยนต์
หรือผู้ฝึกสอนขับรถอื่น ๆ ตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๑) เสื้อคอพับแขนสั้นหรือแขนยาว สอดชายล่างของเสื้ออยู่ในกางเกง
หรือเสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้น แขนสั้นหรือแขนยาว ปักคำว่า ผู้ฝึกสอน ขนาดสูง ๑.๕ เซนติเมตร
ที่บริเวณหน้าอกด้านขวาด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน
(๒) กางเกงขายาว
(๓) เข็มขัดหนังหรือผ้าสีดำหรือสีน้ำตาล ขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร
(๔) รองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้มส้น
๕.๒
ผู้ฝึกสอนขับรถจักรยานยนต์
(๑) เสื้อคอพับแขนยาว สอดชายล่างของเสื้ออยู่ในกางเกง
หรือเสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้น แขนยาว ปักคำว่า ผู้ฝึกสอน ขนาดสูง ๑.๕ เซนติเมตร ที่บริเวณหน้าอกด้านขวาด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน
(๒) กางเกงขายาว
(๓) เข็มขัดหนังหรือผ้าสีดำหรือสีน้ำตาล ขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร
(๔) รองเท้าหุ้มข้อหรือรองเท้าบู๊ท
ข้อ
๖
ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๙๕/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
456627 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดจำนวนหรือมูลค่าหลักทรัพย์ที่โรงเรียนสอนขับรถต้องวางต่อกรมการขนส่งทางบก
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การกำหนดจำนวนหรือมูลค่าหลักทรัพย์ที่โรงเรียนสอนขับรถ
ต้องวางต่อกรมการขนส่งทางบก[๑]
ตามที่ได้มีกฎกระทรวง
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
กำหนดให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถต้องวางหลักทรัพย์ตามจำนวนที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
เพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการจัดให้ผู้เข้ารับการศึกษาและยังไม่จบหลักสูตรสามารถเข้ารับการศึกษาอบรมและฝึกหัดขับรถได้อย่างต่อเนื่อง
นั้น
ฉะนั้น
เพื่อให้การกำหนดจำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์เป็นไปด้วยความเหมาะสม
ตามประเภทหลักสูตรการสอนขับรถและจำนวนผู้เข้าเรียน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๓
แห่งกฎกระทรวง ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖ และข้อ ๒๑
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
กรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศกำหนดจำนวนหรือมูลค่าหลักทรัพย์ที่โรงเรียนสอนขับรถต้องวางต่อกรมการขนส่งทางบกไว้
โดยผู้ได้รับหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถต้องวางหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศ
หรือพันธบัตรรัฐบาลไทย ตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง จำนวนหรือมูลค่าหลักสูตรละ
๑๐๐,๐๐๐ บาท
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ธัญกมล/ผู้จัดทำ
๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๙๔/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
456583 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๗ (๓) ข้อ ๘ (๑) ข้อ ๙ (๑) และข้อ ๑๘ (๑) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้
ดังต่อไปนี้
ผู้ขอรับหนังสือรับรองต้องกำหนดหลักสูตรและจัดให้มีการสอน
การอบรมและการฝึกหัดขับรถ ดังนี้
๑. หลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์
(๑) ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(ข) ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการขับขี่ มารยาทและหลักพื้นฐานการขับขี่ปลอดภัยไม่น้อยกว่า
๒ ชั่วโมง
(ค)
ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ในการควบคุมรถไม่น้อยกว่า ๑
ชั่วโมง
(๒) ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่น้อยกว่า
๕ ชั่วโมง ได้แก่
- การเตรียมตัวก่อนการขับขี่
- การควบคุมรถในขณะไม่เคลื่อนที่
- การควบคุมรถในขณะเคลื่อนที่
- การออกรถและการเร่งเครื่องยนต์อย่างนิ่มนวล
- การเปลี่ยนเกียร์
- การเบรก (ตอนที่ ๑)
- การควบคุมความเร็ว
(ข) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง
- การเบรก (ตอนที่ ๒)
- การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอสหรือทางโค้งรูปเลขแปด
- การควบคุมคันเร่งและการทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง
- การทรงตัวที่ความเร็วต่ำบนไม้กระดาน
- การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
- การขับขี่โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
- การขับขี่และการจอดรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
- การขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย
โดยผู้ขอรับรองจะต้องจัดส่งเอกสารหรือคู่มือประกอบการสอนมาเพื่อประกอบการพิจารณา
กรณีหลักสูตรที่ขอรับการรับรองไม่เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานนี้
ต้องให้คณะกรรมการพิจารณาการรับรองโรงเรียนสอนขับรถส่วนกลาง
หรือส่วนภูมิภาคพิจารณาเป็นกรณีไป
๒. หลักสูตรการสอนขับรถยนต์
(๑) ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(ข) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัย
มารยาทในการขับรถและสาเหตุการป้องกันอุบัติเหตุไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(ค) ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์และแนะนำอุปกรณ์ควบคุมภายในรถยนต์ไม่น้อยกว่า
๑ ชั่วโมง
(๒) ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ไม่น้อยกว่า ๓
ชั่วโมง ได้แก่
- การตรวจเช็คประจำวัน
- การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสาร
- การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
- การใช้คลัทช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกต้อง
- การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(ข) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง ได้แก่
- การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
- การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
- การกลับรถทางแคบ
- การเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
- การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การหยุดรถ การจอดรถและออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
- การหยุดรถบนทางราบ
- การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
(ค) ฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริงไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
โดยผู้ขอรับรองจะต้องจัดส่งเอกสารหรือคู่มือประกอบการสอนมาเพื่อประกอบการพิจารณา
กรณีหลักสูตรที่ขอรับการรับรองไม่เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานนี้
ต้องให้คณะกรรมการพิจารณาการรับรองโรงเรียนสอนขับรถส่วนกลาง
หรือส่วนภูมิภาคพิจารณาเป็นกรณีไป
๓.
หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
(๑) ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๔ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง
(ข) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับรถไม่น้อยกว่า
๑ ชั่วโมง
(ค) ความรู้เกี่ยวกับหลักการขับรถอย่างปลอดภัยและการคาดการณ์ไม่น้อยกว่า ๓
ชั่วโมง
(ง) ความรู้เกี่ยวกับรถและเครื่องยนต์ การบำรุงรักษา
การบรรทุกและการแก้ไขข้อขัดข้องเบื้องต้นไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
(จ) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถ
มนุษยสัมพันธ์ของผู้ขับรถและมารยาทในการขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(ฉ) ความรู้เกี่ยวกับการฝึกหัดขับรถเบื้องต้นไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(ช) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งวัตถุอันตรายไม่น้อยกว่า ๑
ชั่วโมง
(๒) ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๗ ชั่วโมง ประกอบด้วย การฝึกหัดขับรถยนต์และรถขนาดใหญ่ ดังนี้
(ก) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ (รถเก๋ง
รถปิคอัพและรถตู้) ไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง ได้แก่
- แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
- การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
- การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
- การใช้คลัทช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกวิธี
- การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
- การออกรถ เดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(ข) การฝึกหัดขับรถยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ได้แก่
- การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
- การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
- การกลับรถทางแคบ
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
- การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การหยุด การจอดรถและการออกรถทางลาดชันหรือสะพาน
- การหยุดรถบนทางราบ
- การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
(ค)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกเบื้องต้น (รถขนาดใหญ่) ไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
- แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
- การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
- การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
- การใช้คลัทช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกวิธี
- การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ง) การฝึกหัดขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก ตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕
ชั่วโมง
- การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
- การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
- การกลับรถทางแคบ
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
- การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การหยุด การจอดรถและออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
- การหยุดรถบนทางราบ
(จ) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริงไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง
โดยผู้ขอรับรองจะต้องจัดส่งเอกสารหรือคู่มือประกอบการสอนมาเพื่อประกอบการพิจารณา
กรณีหลักสูตรที่ขอรับการรับรองไม่เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานนี้
ต้องให้คณะกรรมการพิจารณาการรับรองโรงเรียนสอนขับรถส่วนกลาง
หรือส่วนภูมิภาคพิจารณาเป็นกรณีไป
๔.
หลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ที่เคยมีใบอนุญาตขับรถยนต์แล้ว
(๑) ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(ข) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับรถไม่น้อยกว่า
๑ ชั่วโมง
(ค) ความรู้เกี่ยวกับรถและเครื่องยนต์ การบำรุงรักษารถ
การบรรทุกและการแก้ไขข้อขัดข้องเบื้องต้นไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
(ง) ความรู้เกี่ยวกับหลักการขับรถอย่างปลอดภัยและการคาดการณ์ไม่น้อยกว่า ๒
ชั่วโมง
(จ) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถ
มนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(ฉ) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งวัตถุอันตรายไม่น้อยกว่า ๑
ชั่วโมง
(๒) ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย
(ก) ทบทวนทดสอบความสามารถการขับรถยนต์ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง ได้แก่
- ทบทวนความสามารถในการขับรถยนต์
- ทดสอบการขับรถยนต์ขนาดเล็ก
(ข) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกเบื้องต้นไม่น้อยกว่า
๓ ชั่วโมง ได้แก่
- แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
- การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
- การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
- การออกรถเดินหน้าและถอยหลัง
- การใช้คลัทช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกวิธี
- การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(ค) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ได้แก่
- การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
- การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
- การกลับรถทางแคบ
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
- การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐ องศา
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐ องศา
- การหยุด การจอดรถและออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
- การหยุดรถบนทางราบ
(ง) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริงไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง
โดยผู้ขอรับรองจะต้องจัดส่งเอกสารหรือคู่มือประกอบการสอนมาเพื่อประกอบการพิจารณา
กรณีหลักสูตรที่ขอรับการรับรองไม่เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานนี้ต้องให้คณะกรรมการพิจารณาการรับรองโรงเรียนสอนขับรถส่วนกลาง
หรือส่วนภูมิภาคพิจารณาเป็นกรณีไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ธัญกมล/ผู้จัดทำ
๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๘๖/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
456567 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดแบบสนามฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การกำหนดแบบสนามฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๗ (๖) ข้อ ๘ (๓) และข้อ ๙ (๓) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดแบบสนามฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
สนามฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถยนต์ ต้องประกอบด้วย
ท่าฝึกหัดขับรถอย่างน้อย ๑๐ ลักษณะ ดังนี้
(๑) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(๒) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(๓) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(๔) การกลับรถทางแคบ
(๕) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(๖) การหยุดรถบนทางราบ
(๗) การหยุดรถและออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(๘) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐
องศาเพื่อกลับรถ
(๙) การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอส
(๑๐) การขับรถเลี้ยวมุมฉากรูปตัวแอล
นอกจากนี้
ยังต้องประกอบด้วย ทางวิ่ง หรือถนนสำหรับฝึกหัดขับในสนามที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า
๖ เมตร สำหรับวิ่งสวนทางกัน และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร
ในกรณีที่ไม่สามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เมตร
ได้ครบถ้วนในระยะ ๓๐๐ เมตร สามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
และกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว โดยพื้นที่ที่เป็นทางเดินรถทางเดียว ต้องมีความยาวไม่เกิน
๑๐๐ เมตร หรือ ๑ ใน ๓ ของความยาว ๓๐๐ เมตร
หรือความยาวโดยรวมของทางวิ่งทั้งหมดในสนาม
ในกรณีที่มีถนนวิ่งโดยรอบเป็นทางเดินรถสวนทางกันกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และมีระยะ
๓๐๐ เมตรแล้ว สนามดังกล่าวสามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
สำหรับทางเดินรถทางเดียวได้ไม่จำกัดจำนวน
โดยสามารถนับระยะทางการขับรถในลักษณะการเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การหยุดรถบนทางราบ การหยุดและการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
การขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส การขับรถเลี้ยวมุมฉากรูปตัวแอล
รวมเข้าในระยะทางดังกล่าวด้วย และจะต้องจัดให้มีวงเวียนทางร่วมทางแยก
โดยสามารถจัดลงในพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม
โดยให้คำนึงถึงวิชาที่จะสอนและความปลอดภัยในการฝึกหัดขับรถและถนนจะต้องมีคุณลักษณะขั้นต่ำเป็นถนนบดอัดลาดยางหรือเทียบเท่า
และต้องเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับฝึกหัดขับรถ เท่านั้น
ข้อ
๒ สนามฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์
ต้องประกอบด้วย ท่าฝึกหัดขับรถอย่างน้อย ๘ ลักษณะ ดังนี้
(๑) การหยุดรถบนทางราบ
(๒) การทรงตัวที่ความเร็วต่ำบนไม้กระดาน
(๓) การควบคุมคันเร่งและการทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง
(๔) การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(๕) การขับรถเลี้ยวมุมฉากรูปตัวแอล
(๖) การขับรถเข้าทางโค้งรูปเลขแปด
(๗) การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอส
(๘) การขับรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
นอกจากนี้
ยังต้องประกอบด้วย ทางวิ่ง
หรือให้มีถนนสำหรับฝึกหัดขับในสนามที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
สำหรับวิ่งสวนทางกัน และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร
ในกรณีที่ไม่สามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
ได้ครบถ้วนในระยะ ๓๐๐ เมตร สามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
และกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
โดยพื้นที่ที่เป็นทางเดินรถทางเดียวต้องมีความยาวไม่เกิน ๑๐๐ เมตร หรือ ๑ ใน ๓
ของความยาว ๓๐๐ เมตร หรือความยาวโดยรวมของทางวิ่งทั้งหมดในสนาม
ในกรณีที่มีถนนวิ่งโดยรอบเป็นทางเดินรถสวนทางกันกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีระยะ
๓๐๐ เมตรแล้ว สนามดังกล่าวสามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
สำหรับทางเดินรถทางเดียวได้ไม่จำกัดจำนวน โดยสามารถนับระยะทางการหยุดรถบนทางราบ
การขับรถบนทางลาดชันหรือสะพาน การขับรถเข้าทางโค้งรูปเลขแปด
การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอส การขับรถเลี้ยวมุมฉากรูปตัวแอล
รวมเข้าในระยะทางดังกล่าวด้วย และต้องจัดให้มีวงเวียน ทางร่วมทางแยก
โดยสามารถจัดลงในพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงวิชาที่จะสอน
และความปลอดภัยในการฝึกหัดขับรถ
และถนนจะต้องมีคุณลักษณะขั้นต่ำเป็นถนนบดอัดลาดยางหรือเทียบเท่า
และต้องเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับฝึกหัดขับรถเท่านั้น
สำหรับรถจักรยานยนต์การขับรถเข้าทางโค้งรูปเลขแปด
สามารถใช้แทนการขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอสและวงเวียนได้
ข้อ
๓
สนามฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งหรือรถขนาดใหญ่ ต้องประกอบด้วยท่าฝึกหัดขับรถอย่างน้อย
๑๐ ลักษณะ ดังนี้
(๑) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(๒) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(๓) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(๔) การกลับรถทางแคบ
(๕) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก ๙๐
องศา
(๖) การหยุดรถบนทางราบ
(๗) การหยุดรถและออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(๘) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก ๙๐
องศาเพื่อกลับรถ
(๙) การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอส
(๑๐) การขับรถเลี้ยวมุมฉากรูปตัวแอล
นอกจากนี้
ยังต้องประกอบด้วย ทางวิ่ง หรือถนนสำหรับฝึกหัดขับในสนามที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า
๗ เมตร สำหรับวิ่งสวนทางกัน และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร
ในกรณีที่ไม่สามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗ เมตร
ได้ครบถ้วนในระยะ ๓๐๐ เมตร สามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕
เมตร และกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
โดยพื้นที่ที่เป็นทางเดินรถทางเดียวต้องมีความยาวไม่เกิน ๑๐๐ เมตร หรือ ๑ ใน ๓
ของความยาว ๓๐๐ เมตร หรือความยาวโดยรวมของทางวิ่งทั้งหมดในสนาม
ในกรณีที่มีถนนวิ่งโดยรอบเป็นทางเดินรถสวนทางกันกว้างไม่น้อยกว่า ๗ เมตร และมีระยะ
๓๐๐ เมตรแล้ว สนามดังกล่าวสามารถบรรจุทางเดินรถที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕ เมตร
สำหรับทางเดินรถทางเดียวได้ไม่จำกัดจำนวน
โดยสามารถนับระยะทางการขับรถในลักษณะการเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การหยุดรถบนทางราบ การหยุดและการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอส การขับรถเลี้ยวมุมฉากรูปตัวแอล
รวมเข้าในระยะทางดังกล่าวด้วย และต้องจัดให้มีวงเวียน
ทางร่วมทางแยกโดยสามารถจัดลงในพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม
คำนึงถึงวิชาที่จะสอนและความปลอดภัยในการฝึกหัดขับรถ
และถนนจะต้องมีคุณลักษณะขั้นต่ำเป็นถนนบดอัดลาดยางหรือเทียบเท่า
และต้องเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับฝึกหัดขับรถ เท่านั้น
ข้อ
๔ รูปแบบ ลักษณะและขนาดของท่าฝึกหัดขับรถ
ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
สนามที่ฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถยนต์
๒.
สนามที่ฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถจักยายนต์
๓.
สนามที่ฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งหรือรถขนาดใหญ่
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๘๒/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
455830 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอน
และฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๗ (๒) ข้อ ๘ (๑) และข้อ ๙ (๑)
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้
ดังต่อไปนี้
ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกหัดขับรถอย่างน้อย
ดังนี้
๑. หลักสูตรการสอนขับรถยนต์
(๑) รถยนต์สำหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่มีลักษณะ ดังนี้
(ก) รถยนต์เกียร์ธรรมดาที่มีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีอุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน
ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และมีเข็มขัดนิรภัย
(ข) มีแป้นเบรก สำหรับผู้ฝึกสอนอยู่ทางที่นั่งด้านซ้ายหน้า ๑ ชุด
(ค) มีกระจกมองหลังติดตั้งภายในรถทางด้านซ้าย สำหรับผู้ฝึกสอน จำนวน ๑ อัน
โดยต้องมีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๖
เซนติเมตร และมีกระจกมองข้างด้านซ้ายติดตั้งภายนอกรถสำหรับผู้ฝึกสอน ๑ อัน
ที่สามารถให้ผู้ฝึกสอนมองเห็นรถทางด้านซ้ายของตัวรถเพื่อความปลอดภัย
(๒) แผ่นป้าย ฝึกหัดขับ
พื้นสีขาวตัวอักษรสีแดงมีขนาดความยาว ๓๐ เซนติเมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐
เซนติเมตร
ติดตั้งที่บริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถ
๒. หลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์
(๑) รถจักรยานยนต์ฝึกหัดขับมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีอุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน
ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
และติดตั้งไฟแสดงการใช้เบรกมือและเบรกเท้าไว้ที่ด้านหน้ารถ
(๒) จัดให้มีหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน
(๓) จัดให้มีถุงมือ ๑ ชุด สำหรับผู้เรียนขับรถจักรยานยนต์ต่อคน
(๔) จัดให้มีสนับศอก ๑ ชุด สำหรับผู้เรียนขับรถจักรยานยนต์ต่อคน
(๕) จัดให้มีสนับเข่า ๑ ชุด สำหรับผู้เรียนขับรถจักรยานยนต์ต่อคน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภสรณ์/ผู้จัดทำ
๗ มิ.ย. ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๘๐/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
455828 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๘ (๘) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถในอัตราดังนี้
(๑) การอบรมและฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถยนต์ ให้จัดเก็บในอัตราขั้นต่ำ ๒,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ หลักสูตร
(๒) การอบรมและฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์ ให้จัดเก็บในอัตราขั้นต่ำ
๕๐๐ บาท ต่อ ๑ หลักสูตร
(๓) การอบรมและฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก ให้จัดเก็บในอัตราขั้นต่ำ
๔,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ หลักสูตร
(๔) การอบรมและฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก สำหรับผู้ที่เคยมีใบอนุญาตขับรถยนต์แล้ว
ให้จัดเก็บในอัตราขั้นต่ำ ๒,๕๐๐ บาท ต่อ ๑ หลักสูตร
ข้อ ๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ประสงค์จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถสูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อนที่จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถและได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว
ให้ดำเนินการปิดประกาศ ณ ที่ทำการล่วงหน้าก่อนวันเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน
ข้อ ๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องจัดทำประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถแสดงไว้ในที่เปิดเผยและสามารถมองเห็นได้ง่าย
ณ ที่ทำการของโรงเรียนสอนขับรถ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภสรณ์/ผู้จัดทำ
๗ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๘/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ |
457208 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสภาพรถ ปีละ 2 ครั้ง (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสภาพรถ
ปีละ ๒ ครั้ง
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่
กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการตรวจสภาพรถปีละ ๒ ครั้ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ ไว้แล้ว
นั้น
เพื่อให้สถานตรวจสภาพรถเอกชน
(ตรอ.)
ได้มีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมในการตรวจสภาพรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง และรถขนาดเล็ก
อันเป็นการแบ่งเบาภารกิจของกรมการขนส่งทางบก และมิให้เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการขนส่งในการนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
ประกอบกับ กรมการขนส่งทางบกจะได้ดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการตรวจสภาพรถปีละ ๒ ครั้ง ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความใน (๒) ของกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
จึงให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสภาพรถปีละ ๒ ครั้ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๒ ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภชัย/พิมพ์
๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
พุทธพัท/สุนันทา/ตรวจ
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๙๓
ง/หน้า ๑๒๑/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ |
453949 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 4 (รถสองชั้น) | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถ
ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (รถสองชั้น)
ตามที่
กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ เรื่อง
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔
(รถสองชั้น) ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ในปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถจำนวนมากดำเนินการสร้าง
ประกอบหรือแก้ไข
เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ส่วนควบของรถให้เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔
(รถสองชั้น) ไว้แล้ว ก่อนมีประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (รถสองชั้น) แต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ
ประกอบกับการสร้าง ประกอบหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ส่วนควบนั้น
บางกรณีมีความแตกต่างไปจากที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดไว้
ทำให้ไม่สามารถดำเนินการยื่นขอรับความเห็นชอบคัสซีรถต่อกรมการขนส่งทางบกได้ ดังนั้น
เพื่อมิให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถดังกล่าว
ตลอดจนเพื่อให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) มีความมั่นคง
แข็งแรงและปลอดภัยในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑)
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (รถสองชั้น) ไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (รถสองชั้น) ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒ คัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (รถสองชั้น) จะต้องเป็นคัสซีรถโดยสารใหม่ที่ผู้ผลิตกำหนด
หรือคัสซีรถโดยสารที่จดทะเบียนหรือใช้งานแล้ว
ข้อ ๓ คัสซีรถโดยสารตามข้อ ๒
ต้องมิได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญจากเดิม
ดังนี้
(๑) โครงคัสซี
ยกเว้นโครงคัสซีส่วนยื่นหน้าและส่วนยื่นท้าย
(๒) จำนวนกงล้อและยาง
(๓) จำนวนเพลาล้อ
(๔) ช่วงล้อ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภชัย/พิมพ์
๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๘
พุทธพัท/สุนันทา/ตรวจ
๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่
๑๑๗ ง/หน้า ๔๓/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ |
452840 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
และ (ฉบับที่ ๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปแล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมแบบ
ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนดแบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๓
(๒)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่
๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
(๓)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่
๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒
สถานตรวจสภาพรถจะต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถตามแบบ
ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เครื่องทดสอบโคมไฟหน้าที่สามารถแสดงการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถไปทางสูงและต่ำ
และไปทางซ้ายและขวาได้
โดยลำแสงที่เบนไปทางต่ำต้องสามารถอ่านค่าเป็นเซนติเมตรต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๑๐
เมตร หรือเป็นค่าองศาของมุม หรือเป็นหน่วยวัดอื่นใดที่สามารถเทียบได้
(๒)
เครื่องวัดควันดำที่สามารถวัดค่าควันดำที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์ ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๓)
เครื่องวิเคราะห์ก๊าซที่สามารถวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ระบายจากท่อไอเสียของรถ
ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๔)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(ก) เครื่องวัดระดับเสียงที่สามารถวัดระดับเสียงของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(ข)
เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สามารถใช้วัดความเร็วรอบเครื่องยนต์แก๊สโซลีนในการตรวจสอบระดับเสียงของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๕)
เครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสงที่สามารถใช้ตรวจวัดได้ในส่วนที่เป็นกระจกหรือวัสดุโปร่งใสที่เป็นส่วนประกอบของตัวรถ
เช่น กระจกบังลมด้านหน้า กระจกบังลมด้านข้าง และด้านหลัง ฯลฯ
โดยเครื่องวัดดังกล่าวต้องมีหน่วยการวัดค่าเป็นร้อยละ ทั้งนี้
เฉพาะสถานตรวจสภาพรถที่ให้บริการตรวจสภาพรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
เท่านั้น
(๖)
เครื่องทดสอบห้ามล้อรถ (Brake Tester) จะต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(ก)
ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรอง (Certified Quality) จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง โดยมีเอกสารการรับรองมาตรฐาน (Certificate) และผลการทดสอบ (Test Report)
(ข)
เป็นเครื่องทดสอบแบบลูกกลิ้ง (Roller)
และสามารถทดสอบแรงห้ามล้อแยกอิสระจากกันของล้อด้านซ้ายและด้านขวา
(ค)
มีลูกกลิ้ง (Roller) สามารถรับน้ำหนักลงเพลาสูงสุด (Maximumaxle load) ของรถที่เข้ารับการทดสอบได้
การขับเคลื่อนลูกกลิ้งทดสอบใช้แรงขับจากมอเตอร์และมีอุปกรณ์ควบคุมตัดต่อการขับเคลื่อน
เมื่อสิ้นสุดการทดสอบต้องเก็บค่าแรงห้ามล้อโดยอัตโนมัติ
(ง)
มีชุดอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักลงเพลา (Axle Load Meter) ที่สามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงและสามารถประมวลผลร่วมกับอุปกรณ์วัดค่าแรงห้ามล้อรถได้
(จ)
มีอุปกรณ์ที่ช่วยให้ล้อรถสามารถเข้าและออกจากลูกกลิ้งทดสอบได้สะดวก รวดเร็ว
ปลอดภัย
(ฉ)
อุปกรณ์ส่วนแสดงผลของเครื่องทดสอบห้ามล้อรถ อย่างน้อยต้องสามารถแสดงค่าได้ ดังนี้
๑)
แรงห้ามล้อเป็นแบบเข็มชี้หรือแบบตัวเลข (Digital)
๒)
สามารถแสดงค่าแรงห้ามล้อด้านซ้ายและด้านขวาได้อย่างอิสระจากกัน
และสามารถแสดงค่าสูงสุดของแต่ละล้อเมื่อสิ้นสุดการทดสอบ
โดยมีค่าความละเอียดของมาตรวัดที่อ่านได้ไม่เกินร้อยละ ๕ ของมาตรวัดสูงสุด
๓)
ต้องแสดงค่าแรงห้ามล้อของแต่ละล้อ
แสดงค่าแรงห้ามล้อแต่ละเพลาเป็นร้อยละของน้ำหนักลงเพลา
และค่าผลรวมของทุกล้อเป็นร้อยละของน้ำหนักรถ
๔)
ผลต่างของแรงห้ามล้อด้านซ้ายและด้านขวาเป็นร้อยละในแต่ละเพลา
๕)
แสดงน้ำหนักรวมของรถและน้ำหนักลงเพลาได้
๖)
สามารถพิมพ์ผลการทดสอบและข้อมูลตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๗)
เครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถ (Sideslip Tester)
(ก)
ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรอง (Certified Quality) จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง โดยมีเอกสารการรับรองมาตรฐาน (Certificate) และผลการทดสอบ (Test Report)
(ข)
สามารถรับน้ำหนักสูงสุด (Maximum load) ของล้อรถที่เข้ารับการทดสอบได้
(ค)
อุปกรณ์ส่วนแสดงผลอย่างน้อยต้องแสดงค่าได้ ดังนี้
๑)
แสดงค่าการลื่นไถลของล้อรถเป็นแบบเข็มชี้หรือตัวเลข (Digital)
๒)
มีค่าความละเอียดของมาตรวัดที่อ่านได้ไม่เกินร้อยละ ๕ ของมาตรวัดสูงสุด
๓)
แสดงค่าการลื่นไถลของล้อรถเป็นเมตรต่อระยะทาง ๑ กิโลเมตร
และแสดงค่าไปด้านซ้ายหรือด้านขวาได้ไม่น้อยกว่าด้านละ ๖ เมตรต่อกิโลเมตร
๔)
สามารถพิมพ์ผลการทดสอบและข้อมูลตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๘)
สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ
กรณีสถานตรวจสภาพรถที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถเป็นบ่อตรวจสภาพรถ
ซึ่งต้องมีขนาดสัดส่วนตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
กรณีสถานตรวจสภาพรถที่จัดตั้งก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ถ้ามีสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถเป็นชนิดอื่น
ให้ใช้ได้จนกว่าเครื่องหรืออุปกรณ์ดังกล่าวจะสิ้นสภาพ
หากจัดหาหรือติดตั้งใหม่จะต้องเป็นบ่อตรวจสภาพรถ เท่านั้น
ข้อ
๓ เครื่องตรวจสภาพรถตามข้อ ๒ (๖) และ
(๗)
ต้องสามารถแสดงค่าและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้และสามารถบันทึกข้อมูลในหน่วยความจำตามเวลาที่ทำการทดสอบจริงไม่น้อยกว่า
๖๐ วัน นับจากวันทดสอบ
ข้อ
๔ เครื่องตรวจสภาพรถ ตามข้อ ๒ (๒)
(๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)
ต้องสามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงได้และมีค่าเบี่ยงเบนได้ไม่เกินร้อยละ ๓
ข้อ
๕ เครื่องตรวจสภาพรถตามข้อ ๒
จะต้องเป็นชนิด (TYPE) และแบบ (MODEL) ที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ข้อ
๖
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพเฉพาะรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียวต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถ
ตามข้อ ๒ (๑) (๓) และ (๔)
ข้อ
๗ สถานตรวจสภาพรถที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อนวันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ จะต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถ ตามข้อ ๒ (๖) และ (๗)
เพิ่มเติมภายในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
เว้นแต่สถานตรวจสภาพรถใดให้บริการตรวจสภาพรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
และหรือเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสภาพรถ จะต้องจัดหาและติดตั้งตามประกาศนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุภาพร/พิมพ์
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๘
พัชรินทร์/ฐิติพงษ์/ตรวจ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๗๗
ง/หน้า ๕๙/๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
446270 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๒
เมษายน ๒๕๔๒ มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(๒)
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา
๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา
๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา
และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลงตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(ข)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน
ตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต
หรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน
(ง)
การถอนหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(จ) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ที่วางไว้ในเขตความรับผิดชอบ
(๑๑)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
ข้อ ๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ข) การบรรจุรถ
(ค) การเปลี่ยนรถ
(ง) การถอนรถ
(จ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา
๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา
๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงเส้นทางเวลา
และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์สิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลงตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(ข) การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน
ตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้วหรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต
หรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน
(ง)
การถอนหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(จ) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ที่ได้วางไว้ในเขตความรับผิดชอบ
(๑๐)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๑)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่ง
ให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๑๔)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
ข้อ ๔ ให้ผู้อำนวยการส่วนกิจการขนส่ง
สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ข) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ค) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ง) การบรรจุรถ
(จ) การเปลี่ยนรถ
(ฉ) การถอนรถ
(ช) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา
๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
(ข) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง นำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกันในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลงตามมาตรา
๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต
หรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน
(ง) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ที่ได้วางไว้ในเขตความรับผิดชอบ
(๗)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง
ส่วนกิจการขนส่ง สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๔)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
(ข) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ที่ได้วางไว้ในเขตความรับผิดชอบ
ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
ส่วนกิจการขนส่ง สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก
เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ข) การบรรจุรถ
(ค) การเปลี่ยนรถ
(ง) การถอนรถ
(จ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
ข้อ ๗ ให้หัวหน้างานประกอบการขนส่งประจำทาง
ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางส่วนกิจการขนส่ง สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก
เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา
๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๘ ให้หัวหน้างานประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ส่วนกิจการขนส่ง สำนักจัดระเบียบการขนส่ง
เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(๑)
การบรรจุรถ
(๒)
การเปลี่ยนรถ
(๓)
การถอนรถ
ข้อ ๙ ให้ผู้อำนวยการส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคล
มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามความในมาตรา ๔๙
(๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการ ส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถ
จัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ ส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การจัดตั้งโรงเรียนสอนขับรถ ดังนี้
(ก) การออกหนังสือรับรอง
(ข) การต่ออายุหนังสือรับรอง
(ค) การออกใบแทนหนังสือรับรอง
(ง) การตักเตือนหรือระงับใช้หนังสือรับรอง
(จ) การยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือรับรอง
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) โครงคัสซี
(ข) ระบบบังคับเลี้ยว
(ค) จำนวนกงล้อและยาง
(ง) จำนวนเพลาล้อ
(จ) ช่วงล้อ
ข้อ ๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การจัดตั้งโรงเรียนสอนขับรถ ดังนี้
(ก) การออกหนังสือรับรอง
(ข) การต่ออายุหนังสือรับรอง
(ค) การออกใบแทนหนังสือรับรอง
(ง) การตักเตือนหรือระงับใช้หนังสือรับรอง
(จ) การยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือรับรอง
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) โครงคัสซี
(ข) ระบบบังคับเลี้ยว
(ค) จำนวนกงล้อและยาง
(ง) จำนวนเพลาล้อ
(จ) ช่วงล้อ
ข้อ ๑๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๑๕
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลและการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
(๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๕)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์
หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา
๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๖ ให้ผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา
๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๗ ให้หัวหน้าฝ่ายรถขนส่ง ส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา
๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถขนส่ง
ส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา
๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๙
ให้ผู้อำนวยการส่วนใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถ ดังนี้
(๑)
การออกใบอนุญาต
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาต
(๓)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๔)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๐
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถสาธารณะและใบอนุญาตผู้ประจำรถส่วนใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถ ดังนี้
(๑)
การออกใบอนุญาต
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาต
(๓)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๔)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๑ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
และการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
(๕)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๖)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๗)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาต
แล้วตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๒๒ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๒๓ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาต
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(๑)
การออกใบอนุญาต
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาต
(๓)
การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๔ ให้ผู้อำนวยการกองคลัง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ
กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๒๕ ให้ขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การบรรจุรถ
(จ) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การบรรจุรถ
(จ) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา
๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา
๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา
และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือมีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
(๑๑)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
หรือการออกหนังสือรับรองการวางหลักทรัพย์ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(ค)
การจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าวตามความในมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
(ง) การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเนื่องมาจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(จ) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์เพียงบางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
สำหรับหลักทรัพย์ที่วางไว้ต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ
(๑๒)
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๑๓)
การจัดตั้งโรงเรียนสอนขับรถ ดังนี้
(ก) การออกหนังสือรับรอง
(ข) การต่ออายุหนังสือรับรอง
(ค) การออกใบแทนหนังสือรับรอง
(ง) การตักเตือนหรือระงับใช้หนังสือรับรอง
(จ) การยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือรับรอง
ข้อ ๒๖ ให้หัวหน้าฝ่ายวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ทำการในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(๑)
การบรรจุรถ
(๒)
การเปลี่ยนรถ
(๓)
การถอนรถ
(๔)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ ๒๗
ในกรณีนายทะเบียนกลางได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น
ข้อ ๒๘[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
นายทะเบียนกลาง
มยุรี/พิมพ์
๑ ธันวาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ธัญกมล/ตรวจ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่
๑๐๐ ง/หน้า ๓/๑๐
กันยายน ๒๕๔๗ |
442009 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้างตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
(ฉบับที่ 3)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(ฉบับที่ ๓)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม
๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
เพื่อให้การผ่อนชำระภาษีค้างสำหรับเจ้าของรถที่มีรถค้างชำระภาษีจำนวนหลายคันหรือมีภาษีค้างชำระเป็นเงินจำนวนมาก
เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖/๓
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม
๒๕๔๗
ข้อ
๒ ผู้ขอผ่อนชำระภาษีตามประกาศนี้
๒.๑
เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียนที่มีรถค้างชำระภาษี
จำนวน ๒๐ คันขึ้นไป หรือมีภาษีค้างที่ต้องชำระเป็นจำนวนตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๒.๒
ต้องทำความตกลงและชำระภาษีค้างเป็นบางส่วนตามบันทึกความตกลงขอชำระภาษีค้างชำระไว้แล้ว
ข้อ
๓
ให้ผู้ประสงค์ขอผ่อนชำระภาษีค้างแสดงความจำนงขอผ่อนชำระภาษีค้าง ณ
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
๓.๑
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีเป็นนิติบุคคล
๓.๒
หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
ข้อ
๔
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
๔.๑
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องทำความตกลงผ่อนชำระภาษีค้างเป็นหนังสือ
พร้อมบัญชีรถที่ขอชำระภาษี ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดต่อนายทะเบียนตามข้อ ๓
แล้วแต่กรณี
๔.๒
จำนวนเงินภาษีค้าง ให้เฉลี่ยเป็นรายงวด ๓ เดือน และแต่ละงวดต้องไม่ต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐
บาท เว้นแต่งวดสุดท้ายจำนวนเงินอาจจะต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท ได้ ทั้งนี้
ระยะเวลาที่ผ่อนชำระให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
จำนวนเงินภาษีค้าง
ระยะเวลาสูงสุด
ไม่เกิน
๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน
๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน ๘,๐๐๐,๐๐๐
บาท
ไม่เกิน
๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เกินกว่า
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป
๕ ปี
๖ ปี
๗ ปี
๘ ปี
๙ ปี
๑๐ ปี
๔.๓
การผ่อนชำระภาษีในแต่ละงวด ผู้ขอผ่อนชำระภาษีต้องจัดทำบัญชีรถที่ขอชำระภาษี
ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแนบมาด้วย และต้องชำระภาษีค้างทั้งหมดเป็นรายคันให้เสร็จสิ้นในแต่ละงวด
๔.๔
การผ่อนชำระภาษีในแต่ละงวดที่ไม่เป็นไปตามจำนวนเงินในข้อ ๔.๒
ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบเป็นผู้พิจารณาตามเหตุผลและความจำเป็น
แต่ต้องไม่ต่ำกว่างวดละ ๓๐,๐๐๐ บาท
๔.๕
หากผู้ขอผ่อนชำระภาษีผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่ ๒ งวดขึ้นไป
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีหมดสิทธิผ่อนชำระและต้องชำระภาษีที่ค้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน
เว้นแต่นายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบพิจารณาเห็นว่า
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีมีเหตุผลและความจำเป็น จึงอนุญาตให้ผ่อนชำระภาษีต่อไปได้
การผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่
๒ งวดขึ้นไป หรือผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีงวดสุดท้ายเป็นเวลาเกิน ๓ เดือนขึ้นไป
ให้นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับดำเนินการทางทะเบียนใด ๆ
เกี่ยวกับรถที่ผู้ขอผ่อนชำระภาษียังมิได้ชำระภาษีที่ค้างครบถ้วน
เว้นแต่การแจ้งเลิกใช้รถ
ข้อ
๕
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องชำระภาษีในแต่ละงวด ณ
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบไว้เท่านั้น
ข้อ
๖
กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีได้มีการทำหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ
ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) ไว้แล้ว
ให้ถือว่าหนังสือขอผ่อนชำระยังคงมีผลผูกพันกันต่อไป
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ญาณี/พิมพ์
๒๑
กันยายน ๒๕๔๗
นวพร/สุนันทา/ตรวจ
๑๔
ตุลาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๓๐/๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ |
441979 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์
และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมายเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการขออนุญาตและให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์
วิธีการขออนุญาต และให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (จ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมาย เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทางไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการขออนุญาตและให้ความเห็นชอบตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ข้อ
๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ซึ่งประสงค์จะใช้ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย เพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถ
ให้ยื่นขอความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินการเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วันทำการ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
๒.๑
แบบ ขนาด ลักษณะ ชนิดของวัสดุ และตำแหน่งที่จะติดโฆษณา
๒.๒
บัญชีรถที่จะขอโฆษณา ระบุเลขทะเบียนรถ หมายเลขเส้นทาง
หมายเลขประจำรถและกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการโฆษณา
การยื่นขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งให้จำแนก
๑ เรื่อง ต่อการโฆษณาได้เพียง ๑ รายการ เท่านั้น
ข้อ
๓ การยื่นขอความเห็นชอบตามประกาศนี้
๓.๑
สำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร การขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตกรุงเทพมหานครและการขนส่งระหว่างประเทศให้ยื่นขอ
ณ ส่วนกิจการสถานีขนส่ง สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
๓.๒
สำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอ
ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ประกอบการขนส่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น
๓.๓
สำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ยื่นขอ
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่เป็นต้นทางเท่านั้น
ข้อ
๔ ตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมายที่จะโฆษณาที่ตัวถังรถต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
๔.๑
อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
๔.๒
ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
๔.๓
มีความยาวเกินกว่าด้านข้างหรือด้านกว้างของตัวรถ
๔.๔
ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐ
ข้อ
๕ ตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมายตามข้อ ๔ ที่จะโฆษณาที่ตัวถังรถ ให้ปรากฏในตำแหน่งที่มีขนาด
และพื้นที่ ดังนี้
๕.๑
รถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร หรือในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
๕.๑.๑
ด้านข้างภายนอกตัวถังให้มีความกว้างไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตรและความยาวไม่เกินด้านข้างของตัวถังรถโดยบริเวณตัวถังให้มีความกว้างไม่เกิน
๕๐ เซนติเมตรและบริเวณหน้าต่างหรือช่องกระจก ให้มีพื้นที่โฆษณากว้างไม่เกิน ๓๐
เซนติเมตร
จากขอบหน้าต่างหรือช่องกระจกด้านล่างขึ้นไปเป็นแนวเส้นตรงขนานกับตัวรถเฉพาะด้านที่ทำการโฆษณาและมีความยาวตามความเหมาะสม
๕.๑.๒
ด้านข้างภายในตัวถังเหนือหน้าต่างหรือช่องกระจก (ถ้ามี) ให้มีความกว้างไม่เกิน ๒๐
เซนติเมตร และมีความยาวตามความเหมาะสม
๕.๑.๓
ด้านท้ายภายนอกตัวถังให้มีความกว้างและความยาวตามความเหมาะสม
๕.๒
รถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศ
๕.๒.๑
ด้านข้างภายในตัวถังเหนือหน้าต่างหรือช่องกระจก (ถ้ามี) ให้มีความกว้าง ไม่เกิน ๓๐
เซนติเมตร และมีความยาวตามความเหมาะสม
๕.๒.๒
ด้านท้ายภายนอกตัวถังให้มีความกว้างและความยาวตามความเหมาะสม
๕.๓
รถโดยสารประจำทางที่มีลักษณะมาตรฐาน ๒ จ (ไม่เกิน ๑๒ ที่นั่ง) หรือรถตู้ปรับอากาศ
๕.๓.๑
ด้านข้างภายนอกตัวถังใต้หน้าต่างหรือช่องกระจกให้มีความกว้างไม่เกิน ๘๐
เซนติเมตรและความยาวไม่เกินความยาวด้านข้างของตัวถังรถ
๕.๓.๒
ด้านท้ายภายนอกตัวถังใต้กระจกให้มีความกว้างและความยาวตามความเหมาะสม
๕.๓.๓
บริเวณส่วนที่เป็นกระจกทั้งด้านหน้า ด้านข้างและด้านท้ายไม่ให้ติดตั้งโฆษณาโดยเด็ดขาด
ตัวอักษร
ภาพ หรือเครื่องหมายที่จะโฆษณาที่ตัวถังรถ
ที่จะให้ปรากฏในตำแหน่งอื่นหรือมีขนาดและพื้นที่ผิดไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๕.๑ และ
๕.๒ ยกเว้นตามข้อ ๕.๓ หากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้ว
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกด้วยจึงจะสามารถทำการโฆษณาได้
ข้อ
๖ ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย
ซึ่งจัดทำในลักษณะเป็นแผ่นป้าย แผ่นฟิล์มปรุ หรือลักษณะอื่นใด
ที่ติดตั้งบริเวณหน้าต่าง หรือช่องกระจก
ผู้โดยสารภายในรถต้องสามารถมองเห็นสภาพภายนอกรถได้ดี และติดให้แน่นแนบกับกระจกอย่างเรียบร้อยแข็งแรง
กรณีที่เป็นการติดตั้งภายนอกที่ตัวถังรถซึ่งไม่ใช่บริเวณกระจก
ต้องไม่ปิดทับชื่อเส้นทาง หรือหมายเลขเส้นทาง หรือหมายเลขประจำรถ
หรือโคมไฟและข้อความที่เกี่ยวกับการใช้ประตูฉุกเฉิน
รวมทั้งต้องไม่เป็นเหตุให้ประตูฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้โดยสะดวก
และไม่ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
โดยต้องติดให้แน่นแนบกับตัวถังอย่างเรียบร้อย
ข้อ
๗
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำการโฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง
ต้องจัดให้มีสำเนาภาพถ่ายหนังสือแจ้งผลการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกประจำไว้ที่รถเพื่อสามารถตรวจสอบได้และต้องจัดให้มีข้อความแสดงการได้รับความเห็นชอบ
ไว้มุมขวาด้านล่างของภาพโฆษณาโดยมีข้อความ ขนาดของตัวอักษร ตัวเลขและสี
ตามที่กรมการขนส่งกำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือมีการไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้
กรมการขนส่งทางบกอาจพิจารณาไม่ให้ความเห็นชอบ
ยกเลิกการให้ความเห็นชอบการติดตั้งตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
หรือดำเนินการอื่นตามที่เห็นควรในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบแสดงเครื่องหมายการได้รับความเห็นชอบให้โฆษณาที่ตัวถังรถโดยสารประจำทาง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรพิมล/พิมพ์
๒๔ กันยายน ๒๕๔๗
นวพร/สุนันทา/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๒๔/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
440095 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้างตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
(ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้างตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
เพื่อให้เจ้าของรถที่ค้างชำระภาษีสามารถขอผ่อนชำระภาษีที่ค้างกับนายทะเบียนไว้แล้ว
นั้น
โดยที่ปรากฏว่ายังมีเจ้าของรถซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีที่ค้างต่อนายทะเบียนมิได้มาติดต่อขอชำระภาษีที่ค้างกับนายทะเบียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีรถค้างชำระภาษีจำนวนหลายคันหรือมีภาษีค้างชำระเป็นเงินจำนวนมาก
ดังนั้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและแบ่งเบาภาระในการชำระภาษีให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้างตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ขอผ่อนชำระภาษีตามประกาศนี้
ต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียนที่มีรถค้างชำระภาษีจำนวน
๒๐ คันขึ้นไป หรือมีภาษีค้างเป็นจำนวนตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
ข้อ ๒ ให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษียื่นแสดงความจำนงขอผ่อนชำระภาษีค้าง
ณ หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบพร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
๒.๑
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีเป็นนิติบุคคล
๒.๒ หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
๒.๓
บัญชีรถที่ค้างชำระภาษีทั้งหมดที่ขอใช้สิทธิผ่อนชำระ
ข้อ ๓ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
๓.๑
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องทำความตกลงผ่อนชำระภาษีค้างเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
๓.๒
จำนวนเงินภาษีที่ขอผ่อนชำระให้เฉลี่ยเป็นรายงวดทุก ๆ สามเดือน
และผ่อนชำระได้เป็นเวลาไม่เกิน ๕ ปี โดยแต่ละงวดต้องชำระไม่ต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท เว้นแต่งวดสุดท้ายอาจจะชำระต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐
บาท ได้
๓.๓ ผู้ขอผ่อนชำระภาษีค้างบางส่วนในวันที่ทำความตกลงหรือภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทำความตกลง ตามจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด แต่ไม่ต่ำกว่า
๕๐,๐๐๐ บาท
๓.๔ การชำระเงินบางส่วนและการผ่อนชำระภาษีแต่ละงวด
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีต้องจัดทำบัญชีรถที่ขอชำระภาษีค้างแนบมาด้วย
และต้องชำระภาษีค้างทั้งหมดเป็นรายคันให้เสร็จสิ้นในแต่ละงวด
๓.๕ การขอผ่อนชำระภาษีที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ
๓.๒ หรือข้อ ๓.๓
หรือการขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้แตกต่างไปจากหนังสือขอผ่อนภาษีประจำปีที่ค้างชำระที่ได้ทำความตกลงไว้
จะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป
๓.๖
หากผู้ขอผ่อนชำระภาษีผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่สองงวดขึ้นไป
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีหมดสิทธิผ่อนชำระและต้องชำระภาษีที่ค้างอยู่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน
เว้นแต่นายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบจะพิจารณาเห็นว่าผู้ขอผ่อนชำระภาษีมีเหตุผลและความจำเป็น
จึงอนุญาตให้ผ่อนชำระภาษีต่อไปได้
การผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่สองงวดขึ้นไป
หรือผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีงวดสุดท้ายเป็นเวลาเกินสามเดือนขึ้นไป
ให้นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับดำเนินการทางทะเบียนใด ๆ
เกี่ยวกับรถคันที่ผู้ขอผ่อนชำระภาษียังมิได้ชำระภาษีที่ค้างครบถ้วน
เว้นแต่การแจ้งไม่ใช้รถ
ข้อ ๔ ผู้ขอผ่อนจะต้องชำระภาษีในแต่ละงวด ณ
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่ผู้ขอผ่อนชำระภาษีได้ทำความตกลงผ่อนชำระภาษีที่ค้างไว้เท่านั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม
๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
มยุรี/พิมพ์
๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๗
สุนันทา/ปาลิน/ตรวจ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๖๘ ง/หน้า ๑๖/๒๓
มิถุนายน ๒๕๔๗ |
439333 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุก
ของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศกำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ และประกาศกำหนด
แบบตัวถังส่วนบรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ในปัจจุบันสินค้าที่ทำการขนส่งมีความหลากหลาย กอปรกับต้นทุนการขนส่งได้ปรับตัวสูงขึ้น
ก่อให้เกิดภาระกับผู้ประกอบการขนส่งที่ขออนุญาตบรรทุกสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น
รถบรรทุกพืชผลเกษตรกรรม ดังนั้น
เพื่อให้การขนส่งสินค้าสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและเพื่อให้การใช้รถเป็นไปอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขนส่ง อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘
(๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกที่มีลักษณะเป็นกระบะของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ ๖ (รถพ่วง) และลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง) ไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
(๒)
หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๕/ว ๒๒ ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๒๕ เรื่อง
วิธีการบรรทุกผลิตผลทางการเกษตร
(๓)
หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๕/ว ๒ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖ เรื่อง
วิธีการบรรทุกผลิตผลทางการเกษตร
(๔)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท
ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
(๕)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท
(ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ข้อ
๒ บรรดาระเบียบ ประกาศ
ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใด ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ
๓ ลักษณะและมาตรฐานของกระบะให้เป็นไปตามแบบต่อไปนี้
คือ
แบบที่
๑ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง โดยเว้นระยะให้มีส่วนโปร่งและทึบสลับกัน
ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดความยาวของกระบะ
แบบที่
๒ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง
ทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะขนาดของช่องตาข่ายหรือตะแกรงโลหะต้องมีความยาววัดตามแนวราบไม่น้อยกว่า
๔ เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร
ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคำนวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่ง
ลักษณะของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป
แบบที่
๓ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะทึบ
กระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐
เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม
แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร
สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม ขึ้นไป
แบบที่
๔ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน
๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐
กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐
เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐
กิโลกรัมขึ้นไป
และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบให้เว้นระยะโดยมีส่วนโปร่งและส่วนทึบสลับกัน
ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร
วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของกระบะ
แบบที่
๕ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง ทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ
โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐
เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม
แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร
สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป
และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ
ขนาดของช่องตาข่ายหรือตะแกรงโลหะต้องมีความยาววัดตามแนวราบไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร
และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร
ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคำนวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป
ทั้งนี้
ตามตัวอย่างลักษณะและมาตรฐานของกระบะแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ แบบที่ ๓ แบบที่ ๔
และแบบที่ ๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔ ลักษณะกระบะตามแบบที่ ๑ แบบที่ ๒
แบบที่ ๔ หรือแบบที่ ๕ จะมีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้
ข้อ
๕
ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะต่อ แก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงตัวถังส่วนที่บรรทุกโดยมีลักษณะไม่เป็นไปตามประกาศนี้
ให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนก่อนดำเนินการ
ข้อ
๖ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่มีความประสงค์จะติดตั้งตะแกรงหรือวัสดุโปร่งที่มองเห็นสิ่งของที่บรรทุกในส่วนกระบะโปร่งได้ชัดเจนเป็นการถาวร
เพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหรือหล่นจากรถ
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่
ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ
๑ ปี แต่วันสิ้นอายุต้องไม่เกินวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของรถนั้น
พร้อมกับออกหลักฐานการอนุญาตตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ให้ผู้ได้รับอนุญาตติดหลักฐานการอนุญาตไว้ที่ด้านในของกระจกกันลมหน้า
ข้อ
๗
การใช้รถเพื่อการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
น้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันจะต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตัวอย่างลักษณะและมาตรฐานของกระบะ แบบที่ ๑
๒.
ตัวอย่างลักษณะและมาตรฐานของกระบะ แบบที่ ๒
๓.
ตัวอย่างลักษณะและมาตรฐานของกระบะ แบบที่ ๓
๔.
ตัวอย่างลักษณะและมาตรฐานของกระบะ แบบที่ ๔
๕.
ตัวอย่างลักษณะและมาตรฐานของกระบะ แบบที่ ๕
๖.
แบบหลักฐานการอนุญาตให้ติดตั้งตะแกรงหรือวัสดุโปร่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ฐิติพร/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
439128 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ไว้แล้ว นั้น
โดยที่กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบทบัญญัติให้การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประกอบด้วย
การประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล
แต่ประกาศดังกล่าวมิได้กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศในประเภทการขนส่งส่วนบุคคลไว้
เพื่อให้มีแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศเป็นไปอย่างครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
จึงอาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศเพิ่มเติมไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ
๗ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ข้อ ๕
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฎ.
ข้อ ๖ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฎ.
ข้อ ๗
รายละเอียดและแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศตามข้อ ๕ และข้อ ๖
ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
ประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ขส.บ. ๑๒ ฎ.)
๒. ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
ประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ขส.บ. ๑๒ ฏ)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
มยุรี/พิมพ์
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
สุนันทา/ศุภสรณ์/ตรวจ
๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๔๙ ง/หน้า ๑๖/๑
พฤษภาคม ๒๕๔๗ |
439126 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การตรวจสภาพรถปีละ 2 ครั้ง
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข
การตรวจสภาพรถปีละ ๒ ครั้ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความใน (๒) ของกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
พ.ศ ๒๕๔๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องนำรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งเข้ารับการตรวจสภาพปีละ
๒ ครั้ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เพื่อความเข้าใจในประกาศนี้
วันตรวจสภาพรถครั้งแรก หมายความว่า
(๑) วันที่รถผ่านการตรวจสภาพเพื่อการจดทะเบียน
(๒) วันที่ที่รถจดทะเบียนแล้วผ่านการตรวจสภาพเพื่อการเสียภาษีรถประจำปี
ข้อ ๒ รถที่ต้องเข้ารับการตรวจ
(๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง
(๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
(๓) รถขนาดเล็ก
ข้อ ๓ ให้รถตามข้อ ๒
เข้ารับการตรวจสภาพครั้งถัดไปทุก ๆ หกเดือนนับแต่วันตรวจสภาพรถครั้งแรก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเมื่อพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าวันตรวจสภาพรถในครั้งนั้นเป็นวันตรวจสภาพรถครั้งแรกและให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไปได้
การตรวจสภาพตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการล่วงหน้าก่อนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ไม่เกิน ๖๐ วัน
ข้อ ๔
ให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งนำรถเข้ารับการตรวจสภาพได้ ณ
สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนหรือที่นายทะเบียนนั้นให้ความเห็นชอบ
(๒) สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับใบอนุญาตให้ตรวจสภาพรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
จากกรมการขนส่งทางบก (ตรอ.)
ข้อ ๕ การตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) การตรวจของสถานตรวจสภาพรถตามข้อ
๔ (๑) ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจและการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๗ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๒) การตรวจของสถานตรวจสภาพรถตามข้อ
๔ (๒) ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๖ รถที่ผ่านการตรวจสภาพตามข้อ ๕
ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตออกเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถโดยให้ติดไว้ที่กระจกกันลมด้านหน้าของรถในลักษณะที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
เครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง
ให้มีลักษณะดังนี้
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
มยุรี/พิมพ์
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
สุนันทา/ศุภสรณ์/ตรวจ
๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๔๙ ง/หน้า ๑๓/๑
พฤษภาคม ๒๕๔๗ |
438372 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และการออกเครื่องหมายอนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว
และการออกเครื่องหมายอนุญาตรถระหว่างประเทศ
และเครื่องหมายแสดงประเทศ[๑]
โดยที่ได้มีความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการนำรถเข้าไปใช้ภายในประเทศระหว่างกันและกัน
โดยในการใช้รถในประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องมีหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและต้องติดเครื่องหมายแสดงประเทศไว้ตลอดเวลาที่ใช้รถนั้น
เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงดังกล่าวกรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. เพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถที่จะนำออกไปใช้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ทราบและเตรียมการขออนุญาตไว้เป็นการล่วงหน้า
กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. ความตกลงระหว่างสองประเทศ
จะได้เริ่มถือปฏิบัติต่อกันเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ฉะนั้น
ประชาชนเจ้าของรถผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศ
ก็ให้ยื่นคำขอรับหนังสืออนุญาตและเครื่องหมายแสดงประเทศตามระเบียบได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
มัตติกา/พิมพ์
๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗
จีระ/สุนันทา/ตรวจ
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๓๐ ง/หน้า ๗/๑๕
มีนาคม ๒๕๔๗ |
435748 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกมีการอนุญาตให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อให้บริการตรวจสภาพรถที่มีอายุการใช้งานมานานแทนภาครัฐ
โดยเริ่มมีการอนุญาตตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
ขณะนี้มีสถานตรวจสภาพรถครอบคลุมให้บริการทั่วประเทศแล้ว นั้น
เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการตรวจสภาพรถด้านความปลอดภัยให้สูงขึ้น
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
โดยมุ่งเน้นการตรวจสภาพรถทั้งด้านความปลอดภัยและมลพิษควบคู่กันไป
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศให้สถานตรวจสภาพรถจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถเพิ่มเติม
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพรถทุกประเภท (ยกเว้นรถจักรยานยนต์)
จะต้องติดตั้งเครื่องทดสอบห้ามล้อและเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถ โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
๑.๑
เครื่องทดสอบห้ามล้อรถ (Brake Tester)
ก.
ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรองคุณภาพ (Certified Quality) จากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ผลิต
โดยให้แสดงเอกสารการรับรอง มาตรฐาน (Certificate) ผลการทดสอบ
(Test Report) ตามมาตรฐานของผู้ผลิต ทั้งนี้ ต้องเป็นชนิด (Type) และแบบ (Model)
ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ข.
เป็นเครื่องทดสอบแบบลูกกลิ้ง (Roller)
และสามารถทดสอบแรงห้ามล้อแยกอิสระจากกันของล้อด้านซ้ายและด้านขวา
ค.
มีลูกกลิ้ง (Roller) สามารถรับน้ำหนักลงเพลาสูงสุด (Maximum axle load) ของรถที่เข้ารับการทดสอบได้
การขับเคลื่อนลูกกลิ้งทดสอบใช้แรงขับจากมอเตอร์และมีอุปกรณ์ควบคุมตัดต่อการขับเคลื่อน
เมื่อสิ้นสุดการทดสอบต้องเก็บค่าแรงห้ามล้อโดยอัตโนมัติ
ง.
มีชุดอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักลงเพลา (Axle Load Meter) ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความเที่ยงตรง ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
สามารถประมวลผลร่วมกับอุปกรณ์วัดค่าแรงห้ามล้อรถ โดยแสดงค่าและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้
และสามารถบันทึกข้อมูลในหน่วยความจำตามเวลาที่ทำการทดสอบจริง ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
นับจากวันทดสอบ
จ.
มีอุปกรณ์ที่ช่วยให้ล้อรถสามารถเข้าและออกจากลูกกลิ้งทดสอบได้สะดวก รวดเร็ว
ปลอดภัย
ฉ.
อุปกรณ์ส่วนแสดงผลของเครื่องทดสอบห้ามล้อรถอย่างน้อยต้องสามารถแสดงค่าได้ดังนี้
(๑)
แรงห้ามล้อเป็นแบบเข็มชี้หรือแบบตัวเลข (Digital)
(๒)
สามารถแสดงค่าแรงห้ามล้อด้านซ้ายและด้านขวาได้อย่างอิสระจากกัน
และสามารถแสดงค่าสูงสุดของแต่ละล้อเมื่อสิ้นสุดการทดสอบ โดยมีค่าความละเอียดของมาตรวัดที่อ่านได้ไม่เกินร้อยละ
๕ ของมาตรวัดสูงสุด
(๓)
ต้องแสดงค่าแรงห้ามล้อแต่ละล้อ แต่ละเพลาและผลรวมทุกล้อเป็นร้อยละของน้ำหนัก
(๔)
ผลต่างของแรงห้ามล้อด้านซ้ายและด้านขวาเป็นร้อยละในแต่ละเพลา
(๕)
แสดงน้ำหนักรวมของรถและน้ำหนักลงเพลาได้
(๖)
สามารถพิมพ์ผลการทดสอบและข้อมูลตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
๑.๒
เครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถ (Sideslip Tester)
ก.
ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรองคุณภาพ (Certified Quality)
จากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ผลิต
โดยให้แสดงเอกสารการรับรองมาตรฐาน (Certificate)
และการทดสอบเครื่องฯ ตามมาตรฐานของผู้ผลิต (Test Report) ทั้งนี้ ต้องเป็นชนิด (Type) และแบบ (Model)
ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ข.
สามารถรับน้ำหนักลงเพลาสูงสุด (Maximum Axle load) ของรถที่เข้ารับการทดสอบได้
ค.
สามารถประมวลผลและส่งผลการทดสอบเก็บเข้าระบบฐานข้อมูลประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้
ง.
อุปกรณ์ส่วนแสดงผล อย่างน้อยต้องแสดงค่าได้ ดังนี้
(๑)
การลื่นไถลของล้อรถเป็นแบบเข็มชี้หรือตัวเลข (Digital)
(๒)
มีค่าความละเอียดของมาตรวัดที่อ่านได้ไม่เกินร้อยละ ๕ ของมาตรวัดสูงสุด
(๓)
แสดงค่าการลื่นไถลของล้อรถเป็นเมตรต่อระยะทาง ๑ กิโลเมตร และแสดงค่าไปด้านซ้ายหรือด้านขวาได้ไม่น้อยกว่าด้านละ
๖ เมตรต่อกิโลเมตร
(๔)
สามารถพิมพ์ผลการทดสอบและข้อมูลตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ ดังนี้
(๑)
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ให้บริการตรวจสภาพรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
(๒)
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะขอย้ายสถานตรวจสภาพรถหรือเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสภาพรถ
ให้มีผลบังคับใช้หลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
(๓)
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ให้บริการตรวจสภาพเฉพาะรถที่จะทะเบียน
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เพียงอย่างเดียว ให้มีผลบังคับใช้เมื่อครบกำหนด ๒ ปี
นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ดลธี/พิมพ์
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๓๒/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435746 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์
รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้อนุญาตให้สถานตรวจสภาพรถเอกชนดำเนินการตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
เพื่อให้สถานตรวจสภาพรถเอกชนมีการพัฒนาประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพของการตรวจสภาพรถให้ดีขึ้น
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
และสามารถให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม มีความปลอดภัย
รองรับการเพิ่มขึ้นของรถที่ต้องตรวจสภาพรถในอนาคต
อีกทั้งสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อผู้มาใช้บริการ
จึงเห็นควรกำหนดรูปแบบอาคารตรวจสภาพรถ สถานที่ ทำเลที่ตั้ง
การติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถหรืออุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ตลอดจนทิศทางการจราจรในสถานตรวจสภาพรถ เพื่อเป็นมาตรฐาน รูปแบบที่ดีและเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงประกาศเรื่องหลักเกณฑ์
รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชนไว้ ดังนี้
๑.
ทำเลที่ตั้ง
๑.๑
แนวเขตสถานตรวจสภาพรถ ด้านที่ใช้เป็นทางเข้า
ทางออกของรถจะต้องติดทางหลวงหรือถนนสาธารณะ หรือทางที่มีสภาพเป็นสาธารณะ
มีความกว้างของถนน ซึ่งมีผิวจราจร ดังนี้
๑.๑.๑
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท ความกว้างผิวการจราจรของถนน
ต้องไม่น้อยกว่า ๖ เมตร
๑.๑.๒
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท ยกเว้นรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง
ความกว้างผิวการจราจรของถนนตามข้อ ๑.๑.๑
๑.๑.๓
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ทุกประเภท
ความกว้างผิวการจราจรของถนนต้องไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
๑.๒
มีแนวเขต แสดงขอบเขตอาณาบริเวณอย่างชัดเจน
๑.๓
ทางเข้า ทางออก
ต้องมีรัศมีความโค้งของขอบทางเลี้ยวเข้าและขอบทางเลี้ยวออกอย่างเหมาะสมกับขนาดของรถที่ให้บริการตรวจสภาพรถ
ตามรูปแบบการจัดวางแบบที่ ๑ และ ๒
๑.๔
สถานตรวจสภาพรถที่มีทางเข้า ทางออกเพียงทางเดียว ให้มีความกว้างของทางเข้า
ทางออกไม่น้อยกว่า ๖ เมตร หากมีทางเข้า ทางออกแยกจากกัน
ให้มีความกว้างของทางแต่ละช่องไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
๑.๕
รูปแบบของทำเล อาณาบริเวณสถานตรวจสภาพรถตามตัวอย่างรูปแบบการจัดวางแบบที่ ๑
หรือรูปแบบการจัดวางแบบที่ ๒ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแบบที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียวไม่ต้องมีทำเลที่ตั้งตามข้อ
๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
๒.
ลักษณะอาคาร
๒.๑
เสาอาคารต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโลหะ
๒.๒
พื้นอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กปรับได้ระดับราบสม่ำเสมอและสามารถรับน้ำหนักรถได้
หากมีวัสดุอื่นเททับด้านบนต้องเป็นวัสดุที่เหมาะสม
๒.๓
หลังคาต้องเป็นกระเบื้องหรือโลหะหรือวัสดุอื่นที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เป็นวัสดุทนไฟ สามารถกันแสงแดดและฝนได้เป็นอย่างดี ไม่รั่วซึม โครงสร้างหลังคาต้องเป็นโลหะหรือคอนกรีตเสริมเหล็ก
๒.๔
มีห้องสำนักงานแยกสัดส่วนอย่างเหมาะสมภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
๒.๕
มีห้องสุขา
๒.๖
อาคารตรวจสภาพรถต้องถ่ายเทอากาศได้สะดวก
๒.๗
มีผนังด้านข้างถาวร เป็นวัสดุที่ทนไฟ
๒.๘
ส่วนประกอบของอาคารต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยื่นล้ำกีดขวางเป็นอุปสรรคต่อการนำรถเข้าตรวจ
๓.
ขนาดอาคาร
๓.๑
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาด ทุกประเภท ต้องมีขนาดความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า
๑๕ เมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร ความสูงภายในต้องไม่น้อยกว่า ๕.๕๐ เมตร
๓.๒
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาด ทุกประเภท ยกเว้นรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง
ขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงภายในของอาคารตามข้อ ๓.๑
๓.๓
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ทุกประเภท
ต้องมีขนาดความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร
ความสูงภายในต้องไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
๓.๔
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว
ต้องมีขนาดความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร
ความสูงภายในต้องไม่น้อยกว่า ๓.๕ เมตร
๔.
พื้นที่จอดรถและทางจราจร
๔.๑
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท ต้องมีพื้นที่สำหรับนำรถเข้าตรวจทางด้านหน้าอาคารเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยางไม่น้อยกว่า
๒๐ เมตร และเป็นพื้นราบได้ระดับเสมอพื้นที่ตรวจไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร
เพื่อให้รถเรียงลำดับต่อเข้าตรวจสภาพได้
๔.๒
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท ยกเว้นรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง
ต้องมีพื้นที่ตามข้อ ๔.๑
๔.๓
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ทุกประเภท
ต้องมีพื้นที่สำหรับนำรถเข้าตรวจทางด้านหน้าอาคารเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยางไม่น้อยกว่า
๑๐ เมตร และเป็นพื้นราบได้ระดับเสมอพื้นที่ตรวจไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
เพื่อให้รถเรียงลำดับต่อเข้าตรวจสภาพได้
ขนาดความกว้างและจำนวนช่องของพื้นที่ตามข้อ
๔.๑ ข้อ ๔.๒ และข้อ ๔.๓ ต้องไม่น้อยกว่าความกว้างของช่องตรวจ
และสภาพพื้นผิวต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจได้
๔.๔
มีพื้นที่จอดรถนอกเหนือจากข้อ ๔.๑ ข้อ ๔.๒ หรือข้อ ๔.๓ แล้วแต่กรณี
ซึ่งต้องอยู่ภายนอกอาคารตรวจสภาพ แต่อยู่ในบริเวณแนวเขตสถานตรวจสภาพรถ
โดยพื้นที่ดังกล่าวต้องไม่กีดขวางการจราจรและจอดรถได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
๔.๔.๑
พื้นที่จอดรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท
ต้องมีพื้นที่จอดรถขนาด ๓.๕ x ๑๒ เมตร ไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่ และขนาด ๔ x ๒๐ เมตร ไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่
๔.๔.๒
พื้นที่จอดรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท ยกเว้นรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง
ต้องมีพื้นที่จอดรถขนาด ๓.๕ x ๑๒ เมตร ไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่
๔.๔.๓
พื้นที่จอดรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม
ทุกประเภท ต้องมีพื้นที่จอดรถขนาด ๓ x ๑๐ เมตร ไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่
๔.๔.๔
พื้นที่จอดรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถจักรยานยนต์ให้จอดภายในพื้นที่ตรวจสภาพรถได้
๕.
ช่องตรวจสภาพรถ
๕.๑
ลักษณะ
๕.๑.๑
เป็นช่องเดินรถทางเดียว
๕.๑.๒
มีบ่อตรวจสภาพรถอยู่กึ่งกลางความกว้างของช่องตรวจสภาพอยู่ห่างจากด้านท้ายสุดของช่องตรวจไม่น้อยกว่า
๑.๕ เมตร มีสันทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงตลอดแนวขอบบ่อ
เพื่อป้องกันล้อรถตกและต้องมีหลอดไฟหรืออุปกรณ์ให้แสงสว่างชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือเปลวเพลิง
มีความสว่างเพียงพอต่อการตรวจสภาพใต้ท้องรถ
๕.๑.๓
มีกระจกเงา หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติสะท้อนภาพ
ติดตั้งให้คนขับเห็นการนำรถเข้าบ่อตรวจสภาพรถอย่างชัดเจน
๕.๑.๔
มีแนวเส้นที่พื้นเพื่อนำทางรถเข้าสู่เครื่องตรวจสภาพตลอดความยาวของช่องตรวจสภาพรถอย่างเหมาะสม
๕.๑.๕
ตำแหน่งที่จะทำการวัดเสียงจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคต่อการวัดเสียงตามเกณฑ์ทางราชการกำหนด
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว
ไม่ต้องจัดช่องตรวจสภาพรถให้มีลักษณะตามข้อ ๕.๑.๑ ข้อ ๕.๑.๒ และข้อ ๕.๑.๓
๕.๒
ขนาดรายละเอียดของช่องตรวจสภาพรถ
๕.๒.๑
ช่องตรวจสภาพรถสำหรับตรวจรถทุกขนาดน้ำหนักทุกประเภท เป็นดังนี้
ก.
ขนาดความกว้างของช่องตรวจไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
ข.
ขนาดของบ่อตรวจสภาพ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐
เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร
แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ บ่อ ต่อ ๑ ช่องตรวจ
๕.๒.๒
ช่องตรวจสภาพรถสำหรับตรวจรถทุกขนาดน้ำหนักทุกประเภท ยกเว้นรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง
ไม่ถือเกณฑ์ตามข้อ ๕.๒.๑
๕.๒.๓
ช่องตรวจสภาพรถสำหรับตรวจรถขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ทุกประเภท
เป็นดังนี้
ก.
ขนาดความกว้างของช่องตรวจไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
ข.
ขนาดของบ่อตรวจสภาพ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๘๐
เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๔๐ เซนติเมตร
แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ บ่อ ต่อ ๑ ช่องตรวจ
๕.๒.๔
ช่องตรวจสภาพรถสำหรับตรวจรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว
ให้มีขนาดความกว้างของช่องตรวจไม่น้อยกว่า ๓ เมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
๕.๓
การติดตั้งเครื่องตรวจสภาพและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถตามข้อ
๕.๒.๑ ข้อ ๕.๒.๒ และข้อ ๕.๒.๓ เป็นไปตามตัวอย่างรูปแบบช่องตรวจแบบที่ ๑
หรือตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเครื่องตรวจสภาพรถ
๕.๔
การติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพตามข้อ
๕.๒.๔ เป็นไปตามตัวอย่างรูปแบบช่องตรวจแบบที่ ๒ หรือตามความจำเป็นและเหมาะสม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
๖.
การยื่นขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
การยื่นขอเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสภาพรถ
และการยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้ผู้ยื่นขอปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕
ง/หน้า ๒๓/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435744 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 73 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๕ บางปะอิน-ประตูน้ำพระอินทร์ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว
โดยการเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงแผ่นดินใหม่ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๖ และได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้วจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สายที่ ๑๐๐๕ บางปะอิน-ประตูน้ำพระอินทร์ ใหม่ โดยให้เปลี่ยนหมายเลขทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๕ เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๑๐๐๕
บางปะอิน-ประตูน้ำพระอินทร์
เริ่มต้นจากอำเภอบางปะอิน
ไปตามถนนอุดมสรยุทธ จนถึงสามแยกคลอง ๑ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ไปสุดเส้นทางที่ตลาดประตูน้ำพระอินทร์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สมศักดิ์ แก้วสุทธิ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕
ง/หน้า ๑๓๘/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435741 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ฉบับที่ 59 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ได้พิจารณาเห็นควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๖
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กขึ้น คือ
สายที่ ๖๖๐๔๑
วงกลมหล่มเก่า-บ้านโจ๊ะโหวะ
เที่ยววนขวา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารขนาดเล็กอำเภอหล่มเก่า
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๕ ถึงสี่แยกอำเภอหล่มเก่า
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๑ ถึงทางแยกบ้านห้วยมะเขือ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๓๗๒ ผ่านบ้านห้วยมะเขือ บ้านห้วยมะยม บ้านนาเกาะ บ้านเนิน บ้านโจ๊ะโหวะ
แยกซ้ายไปจนถึงสี่แยกบ้านวังบาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๕
บ้านบ้านวังบาล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถขนาดเล็กอำเภอหล่มเก่า
เที่ยววนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารขนาดเล็กอำเภอหล่มเก่า
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๕ ผ่านบ้านวังบาล ถึงสี่แยกบ้านวังบาล
แยกซ้ายไปจนถึงทางแยกบ้านโจ๊ะโหวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๒
ผ่านบ้านโจ๊ะโหวะ บ้านเนิน บ้านนาเกาะ บ้านห้วยมะยม บ้านห้วยมะเขือ ถึงทางแยกบ้านห้วยมะเขือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๑ ถึงสี่แยกอำเภอหล่มเก่า
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๕ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถขนาดเล็กอำเภอหล่มเก่า
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ดิเรก ถึงฝั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕
ง/หน้า ๑๓๖/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435739 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ได้พิจารณาเห็นควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๖
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กขึ้นคือ
สายที่ ๖๖๐๔๒
เพชรบูรณ์-คลองสำโรง-บ้านบุฉนวน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถขนาดเล็กจังหวัดเพชรบูรณ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๕ ผ่านบ้านปากน้ำ บ้านสักแห้ง
แยกขวาผ่านบ้านคลองสำโรง บ้านน้ำร้อน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถขนาดเล็กบ้านบุฉนวน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ดิเรก ถึงฝั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕
ง/หน้า ๑๓๕/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435737 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 ส่วนภูมิภาค หมวด 4 ส่วนภูมิภาค รถขนาดเล็ก และรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อการรับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ ส่วนภูมิภาค หมวด ๔
ส่วนภูมิภาค รถขนาดเล็ก
และรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อการรับจ้างที่บรรทุก
ผู้โดยสารเกิน ๗ คน
แต่ไม่เกิน ๙ คน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ และมาตรา ๒๐ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๔๖
เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ให้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ ส่วนภูมิภาค
หมวด ๔ ส่วนภูมิภาค
รถขนาดเล็กและรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อการรับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารเกิน ๗ คน
แต่ไม่เกิน ๙ คน ดังต่อไปนี้
๑.
หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสาร
การพิจารณาหาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม
ให้พิจารณาในลักษณะการวิเคราะห์โครงการภายใต้การทำการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยยึดถือหลักเกณฑ์ว่าภายใต้การทำการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
รายได้จากอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมจะเป็นรายได้ที่ทำให้รายได้รวมหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ แล้ว
มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับเงินที่ลงทุนรายละเอียดปรากฏตามหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารที่แนบ
๒.
แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
๒.๑
ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสาร
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดในข้อ ๑
๒.๒
การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสาร ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
ให้ถือว่าเป็นอัตราค่าโดยสารที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ตามมาตรา ๒๐ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๒.๓
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารตามข้อ
๒.๑ แล้ว ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกเพื่อนำเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางทราบต่อไป
๒.๔
การนำเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อทราบ ให้กรมการขนส่งทางบกนำเสนอเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
๒.๕
หากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเห็นสมควรกำหนดอัตราค่าโดยสารแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
จะต้องเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสาร
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕
ง/หน้า ๑๓๓/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435645 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดกระบี่ สายที่ 8256 กระบี่-บ้านหัวหิน เป็นกระบี่-เกาะลันตา (บ้านสังกาอู้)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ฉบับที่ ๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง
ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด
๔ จังหวัดกระบี่
สายที่ ๘๒๕๖
กระบี่-บ้านหัวหิน เป็น
กระบี่-เกาะลันตา
(บ้านสังกาอู้)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่
ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๐
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๒๕๖ กระบี่-บ้านหัวหิน ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๖ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๖
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๙/๒๕๔๖ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๖
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๒๕๖ กระบี่-บ้านหัวหิน เป็น กระบี่-เกาะลันตา
(บ้านสังกาอู้) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๒๕๖
กระบี่-เกาะลันตา (บ้านสังกาอู้)
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑ (ถนนอุตรกิจ) ถึงบ้านตลาดเก่า
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านเหนือคลอง บ้านบางผึ้ง อำเภอคลองท่อม
ถึงบ้านห้วยน้ำขาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๐๖
ผ่านโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด บ้านทุ่ง โรงเรียนบ้านคลองย่าหนัด บ้านร่าปู
ถึงบ้านหัวหิน ข้ามแพขนานยนต์ ถึงบ้านคลองหมาก (เกาะลันตาน้อย) ไปตามทางหลวงชนบท
(ร.พ.ช. กบ. ๒๐๘๕) ถึงบ้านหลังสอด ข้ามแพขนานยนต์ ถึงบ้านศาลาด่าน (เกาะลันตาใหญ่)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๔๕ ผ่านบ้านพระแอะ บ้านคลองนิล บ้านแจ๊ะหลี
เทศบาลตำบลเกาะลันตา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเกาะลันตา
(บ้านสังกาอู้)
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
อำนวย สงวนนาม
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๗
ง/หน้า ๑๕๑/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435643 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1434 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง
ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด
๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๒๖๐ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค)
สายที่ ๑๖๓ เพชรบูรณ์-พิจิตร และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๒๕๘ (๒๕๒๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๔
ชัยนาท-หูช้าง ฉบับที่ ๕๐๕ (๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๑
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๔๙
ตาคลี-บ้านหนองโพ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง
คือ สายที่ ๑๖๓ เพชรบูรณ์-พิจิตร สายที่ ๖๐๔ ชัยนาท-หูช้าง และสายที่ ๖๔๙
ตาคลี-บ้านหนองโพ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๖๓
เพชรบูรณ์-พิจิตร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดเพชรบูรณ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ถึงสามแยกวังชมภู แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๓ ผ่านอำเภอชนแดน ถึงบ้านเขาทราย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ถึงกิ่งอำเภอสากเหล็ก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร
สายที่ ๖๐๔ ชัยนาท-หูช้าง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชัยนาท
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านอำเภอสรรคบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๙ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๐๙
ผ่านอำเภอหันคา ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๑ ผ่านบ้านแพทย์
กิ่งอำเภอเนินขาม บ้านตะบกเตี้ย ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหูช้าง
สายที่ ๖๔๙
ตาคลี-บ้านหนองโพ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอตาคลี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านดงพลับ บ้านเนินถ่าน
ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
ถึงทางแยกเข้าบ้านหางน้ำสาคร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๒
ถึงบ้านหางน้ำสาคร แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แล้วตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๑๒ ผ่านวัดหัวถนนวนาราม วัดโพธิ์พิทักษ์ สถานีอนามัยตำบลบ้านไร่พัฒนา
บ้านไร่พัฒนา โรงเรียนบ้านเขาปูน โรงเรียนหนองโพพิทยา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโพ
ประกาศ ณ วันที่ ๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๗
ง/หน้า ๑๔๘/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
435641 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1433 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ระหว่างประเทศ จำนวน ๒ เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๓๓ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ระหว่างประเทศ จำนวน ๒
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ จำนวน ๒ เส้นทาง คือ
สายที่ ๑ จังหวัดอุดรธานี-กรุงเวียงจันทน์ และสายที่ ๒
จังหวัดหนองคาย-กรุงเวียงจันทน์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๗
เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ จำนวน ๒ เส้นทาง คือ
สายที่ ๑ จังหวัดอุดรธานี-กรุงเวียงจันทน์ เป็นจังหวัดหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
และสายที่ ๒ จังหวัดหนองคาย-กรุงเวียงจันทน์ เป็น
จังหวัดอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑ จังหวัดหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีรถเมล์ตลาดเช้านครหลวงเวียงจันทน์
สายที่ ๒
จังหวัดอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านบ้านหนองสองห้อง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนเลี่ยงเมือง) ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีรถเมล์ตลาดเช้านครหลวงเวียงจันทน์
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๗
ง/หน้า ๑๔๖/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
432749 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ขนาด จำนวน และคุณภาพเครื่องดับเพลิงที่จะต้องติดตั้ง ณ สถานตรวจสภาพรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง ขนาด จำนวน
และคุณภาพเครื่องดับเพลิงที่
จะต้องติดตั้ง ณ
สถานตรวจสภาพรถ[๑]
เพื่อให้สถานตรวจสภาพรถดำเนินการตรวจสภาพรถด้วยความปลอดภัย
มีการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสถานตรวจสภาพหรือรถที่มาตรวจสภาพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดขนาด จำนวน
และคุณภาพของเครื่องดับเพลิงสำหรับติดตั้ง ณ สถานตรวจสภาพรถไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้งอย่างน้อย ๑ เครื่อง
ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม ที่มีคุณภาพใช้งานได้ดี
และอย่างน้อยต้องสามารถดับเพลิงได้ ดังนี้
(๑)
เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง พลาสติก
(๒)
เพลิงที่เกิดจากของเหลวติดไฟ ก๊าซ ไข และน้ำมันต่าง ๆ
(๓)
เพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า
ข้อ
๒
ให้ติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ภายในอาคารตรวจสภาพรถซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ตรวจสภาพรถ
โดยติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๑ เมตร แต่ไม่เกิน ๑.๔๐ เมตร
การติดตั้งต้องไม่ยึดติดถาวร สามารถมองเห็นได้โดยชัดเจนและมีความพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที
ข้อ
๓
กรณีที่ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดอื่นแทนเครื่องดับเพลิงที่กำหนดในข้อ ๑
ต้องเป็นเครื่องดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพในการดับเพลิงทัดเทียมกัน
ข้อ ๔
เครื่องดับเพลิงต้องเป็นชนิดที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิงต้องเป็นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซพิษ
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
พรพิมล/พิมพ์
๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๔๕/๒๘ มกราคม ๒๕๔๗ |
426323 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระแก้ว ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสระแก้ว สายที่ 1675 (ข) อรัญประเทศ - กิ่งอำเภอโคกสูง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอรัญประเทศ - บ้านโคกสามัคคี เพิ่มขึ้นอีก 1 ช่วง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสระแก้ว
ฉบับที่
๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง
ประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสระแก้ว
สายที่
๑๖๗๕ (ข) อรัญประเทศ-กิ่งอำเภอโคกสูง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงอรัญประเทศ-บ้านโคกสามัคคี
เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระแก้ว
ฉบับที่ ๘๕ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๐๘
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในชนบท (จังหวัดปราจีนบุรี)
สายที่ ๑๖๗๕ (ข) อรัญประเทศ-กิ่งอำเภอโคกสูง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระแก้วได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระแก้ว
ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่
๑๖/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๖
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสระแก้ว สายที่ ๑๖๗๕ (ข) อรัญประเทศ-กิ่งอำเภอโคกสูง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง อรัญประเทศ-บ้านโคกสามัคคี เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๖๗๕ (ข) อรัญประเทศ-กิ่งอำเภอโคกสูง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออรัญประเทศ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านบ้านนางาม ถึงแยกบ้านละลมติน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๘๑ ผ่านบ้านเหล่าอ้อย บ้านละลมติน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกิ่งอำเภอโคกสูง
ช่วงอรัญประเทศ-บ้านโคกสามัคคี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประทางอำเภออรัญประเทศ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๘ ผ่านบ้านนางา ถึงแยกบ้านละลมติน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๘๑
ผ่านบ้านหนองม่วง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกสามัคคี
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
สมชาย ชุมรัตน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสระแก้ว
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓๐
เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๑๕๘/๒๙ มกราคม ๒๕๔๗ |
606485 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1361 (พ.ศ. 2545) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 543 อู่เขมา-ลำลูกกา เป็น อู่เขมา-คลอง 9 (กรมการปกครอง)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ปรับอากาศ หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๕๔๓
อู่เขมา-ลำลูกกา เป็น อู่เขมา-คลอง ๙
(กรมการปกครอง)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๙๕ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง) เปลี่ยนแปลงหมายเลขเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ปอ. ๔๙ อู่เขมา-ลำลูกกา เป็น สายที่ ๕๔๓ อู่เขมา-ลำลูกกา นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๙/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จึงกำหนดให้ (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๔๓ อู่เขมา-ลำลูกกา เป็น อู่เขมา-คลอง ๙ (กรมการปกครอง) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๔๓ อู่เขมา-คลอง ๙ (กรมการปกครอง)
จากอู่เขมาไปคลอง ๙ (กรมการปกครอง) เริ่มต้นจากอู่เขมา ไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนวงศ์สว่าง
ถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) ไปสุดเส้นทางที่คลอง ๙ (กรมการปกครอง)
จากคลอง ๙ (กรมการปกครอง) ไปอู่เขมา เริ่มต้นจากคลอง
๙ (กรมการปกครอง) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ไปสุดเส้นทางที่อู่เขมา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พรพิมล/พิมพ์
ทรงยศ/สราวุฒิ/จัดทำ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๓๓/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
606483 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1360 (พ.ศ. 2545) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 175 ท่าน้ำภาษีเจริญ-นนทบุรี เป็น ท่าน้ำภาษีเจริญ-ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 3 ให้มีเส้นทางแยกช่วงสำนักงานเขตบางกอกใหญ่-ตลอดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 3
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๖๐ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๑๗๕
ท่าน้ำภาษีเจริญ-นนทบุรี เป็น ท่าน้ำภาษีเจริญ-
ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๓ ให้มีเส้นทางแยกช่วง
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่-ตลอดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๕
ท่าน้ำภาษีเจริญ-นนทบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๕
ท่าน้ำภาษีเจริญ-นนทบุรี เป็น ท่าน้ำภาษีเจริญ-ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓ ให้มีเส้นทางแยกช่วงสำนักงานเขตบางกอกใหญ่-ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๗๕ ท่าน้ำภาษีเจริญ-ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓
จากท่าน้ำภาษีเจริญไปตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๓ เริ่มต้นจากท่าน้ำภาษีเจริญไปตามถนนเทอดไท แยกซ้ายไปตามถนนอินทรพิทักษ์
ถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสพานพระราม ๗
แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ ถึงท่าน้ำนนทบุรี
กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี
จนสุดเส้นทางที่ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓
จากตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๓ ไปท่าน้ำภาษีเจริญ เริ่มต้นจากตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓ ไปตามถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี
แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำภาษีเจริญ
ช่วงสำนักงานเขตบางกอกใหญ่-ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๓
จากสำนักงานเขตบางกอกใหญ่-ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๓ เริ่มต้นจากสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง
ถึงแยกท่าพระไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสะพานพระราม ๗ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม
แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ ถึงท่าน้ำนนทบุรี กลับรถไปตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี จนสุดเส้นทางที่ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓
จากตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๓ ไปสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เริ่มต้นจากตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๓
ไปตามถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พรพิมล/พิมพ์
ทรงยศ/สราวุฒิ/จัดทำ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๓๐/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
606481 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1359 (พ.ศ. 2545) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 40 สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ (แห่งใหม่) เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)-ถนนพระราม 9
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๔๐
สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้
(แห่งใหม่) เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)-ถนนพระราม ๙[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๔๐
สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ (แห่งใหม่) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๕
จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๔๐
สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ (แห่งใหม่) เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)-ถนนพระราม ๙
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๔๐
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)-ถนนพระราม
๙
จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) ไปถนนพระราม ๙ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) ไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนพรานนก แยกขวาไปตามถนนอิสรภาพ
แยกซ้ายไปตามถนนประชาธิปก ข้ามสะพานพระปกเกล้า ไปตามถนนจักรเพชร
แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนไมตรีจิต
ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ ไปตามถนนพระรามที่ ๔ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกขวาไปตามถนนพระรามที่ ๑ ถนนเพลินจิต ถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑
ถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ จนสุดเส้นทางที่ถนนพระราม ๙ (บริเวณสะพานยกระดับข้ามถนนศรีนครินทร์)
จากถนนพระราม ๙ ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) เริ่มต้นจากถนนพระราม ๙ (บริเวณสะพานยกระดับข้ามถนนศรีนครินทร์) ไปตามถนนพระราม
๙ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง ถนนสุขุมวิท ๗๑ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนไตรมิตร แยกขวาไปตามถนนเยาวราช แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์
ข้ามสะพานพระปกเกล้า แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พรพิมล/พิมพ์
ทรงยศ/สราวุฒิ/จัดทำ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๒๘/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
606479 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1358 (พ.ศ. 2545) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 91 สนามหลวง - หมู่บ้านเศรษฐกิจ เป็น สนามหลวง - วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๕๘ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๙๑ สนามหลวง-หมู่บ้านเศรษฐกิจ
เป็น สนามหลวง-วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๙๑
หมู่บ้านเศรษฐกิจ-สนามหลวง เป็น สนามหลวง-หมู่บ้านเศรษฐกิจ และในรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดศาลาแดง-เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เป็น สนามหลวง-สนามหลวงธนบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๙๑ สนามหลวง-หมู่บ้านเศรษฐกิจ เป็น สนามหลวง-วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๙๑ สนามหลวง-วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
จากสนามหลวงไปวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
เริ่มต้นที่บริเวณสนามหลวง ไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกซ้ายไปตามถนนราชินี ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอัมรินทร์
ข้ามสะพานอรุณอัมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
ถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓
แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองทวีวัฒนา
จนสุดเส้นทางที่วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
จากวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีไปสนามหลวง
เริ่มต้นที่บริเวณวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ไปตามถนนเลียบคลองทวีวัฒนา
แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
แยกขวาไปตามถนนราชดำเนินใน ถนนสนามไชย แยกขวาไปตามถนนท้ายวัง แยกขวาไปตามถนนมหาราช
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน จนสุดเส้นทางที่บริเวณสนามหลวง
ช่วงสำนักงานเขตบางกอกใหญ่-วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
จากสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ไปวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
เริ่มต้นที่บริเวณสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง ถึงแยกท่าพระ
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก
แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองทวีวัฒนา จนสุดเส้นทางที่วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
จากวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีไปสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
เริ่มต้นที่บริเวณวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ไปตามถนนเลียบคลองทวีวัฒนา ถึงถนนเพชรเกษม
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
ช่วงสนามหลวง-หมู่บ้านเศรษฐกิจ
จากสนามหลวงไปหมู่บ้านเศรษฐกิจ
เริ่มต้นที่บริเวณสนามหลวง ไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกซ้ายไปตามถนนราชินี ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอัมรินทร์
ข้ามสะพานอรุณอัมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกท่าพระ
แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ
จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านเศรษฐกิจ
จากหมู่บ้านเศรษฐกิจไปสนามหลวง
เริ่มต้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจ ไปตามถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
แยกขวาไปตามถนนราชดำเนินใน ถนนสนามไชย แยกขวาไปตามถนนท้ายวัง แยกขวาไปตามถนนมหาราช
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน จนสุดเส้นทางที่บริเวณสนามหลวง
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พรพิมล/พิมพ์
ทรงยศ/สราวุฒิ/ผู้จัดทำ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๒๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
606477 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1357 (พ.ศ. 2545) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 754 หนองปรือ - ห้วยองคต
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓
สายที่ ๗๕๔ หนองปรือ-ห้วยองคต[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๘/๒๕๔๕
เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๕๔ หนองปรือ-ห้วยองคต โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๕๔ หนองปรือ-ห้วยองคต
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองปรือ
ไปตามทางหลวงชนบท ถึงโรงเรียนอนุบาลหนองปรือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘๖ ถึงบ้านหนองขอน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. กจ. ๒๐๓๐) ผ่านบ้านหนองขอน
บ้านหนองใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๐ ผ่านโรงเรียนบ้านหนองผักแว่น
บ้านม่วงเฒ่า โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๑๕ โรงพยาบาลสถานพระบารมี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พรพิมล/พิมพ์
ทรงยศ/สราวุฒิ/ผู้จัดทำ
๒๒
เมษายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๒๔/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
425943 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง อัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของในส่วนพื้นที่โรงอาหาร
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง อัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และ
หรือสิ่งของในส่วนพื้นที่โรงอาหาร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
ที่ดำเนินการโดยกรมการขนส่งทางบกตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ไว้ดังต่อไปนี้
๑. อัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของในส่วนพื้นที่โรงอาหาร
เป็นดังนี้
อัตราค่าบริการ (บาท/ตารางเมตร/เดือน)
ตุลาคม ๒๕๔๖ - กันยายน
๒๕๔๗
ตุลาคม ๒๕๔๗ - กันยายน
๒๕๔๘
๔๓ แต่ไม่เกิน ๑๗๔
๔๓ แต่ไม่เกิน ๒๐๑
๒. ค่าบริการตาม ๑. ไม่รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่าง
ๆ อันเกิดจากการใช้ของผู้ใช้บริการ เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุภาพร/พิมพ์
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๕/๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
419743 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 70 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายอยุธยา-บางปะอิน
เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทาง
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๒๔๑๗ อยุธยา-บางปะอิน โดยมีรายละเอียดเส้นทาง
ดังนี้
สายที่ ๒๔๑๗ อยุธยา-บางปะอิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๓ ถึงสี่แยกวรเชษฐ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๗ ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (แห่งที่ ๒) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๐๙ ผ่านโรงงานกระดาษ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางปะอิน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สุรพล กาญจนะจิตรา
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มัตติกา/พิมพ์
๙ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๔ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๒
ง/หน้า ๑๒๓/๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๖ |
419736 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ สายที่ ๖ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด
๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๖ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา เป็น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยมีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้
สายที่ ๖ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศูนย์ราชการ) ไปตามทางหลวงชนบท (โยธาธิการสายศูนย์ราชการ-สนามกีฬา) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๙ ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๑ ผ่านสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนโรจนะ
ผ่านแขวงการทางอยุธยา แยกขวาไปตามถนนชีกุน แยกขวาไปตามถนนป่าโทน แยกซ้ายไปตามถนนคลองมะขามเรียง
แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านเทศบาลนครนครศรีอยุธยา ตลาดเจ้าพรหม แยกซ้ายไปตามถนนอู่ทอง
ผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทร์เกษม ตลาดหัวรอ โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนกลาโหม
ผ่านสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
ผ่านวิหารพระมงคลบพิตร ไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ แยกซ้ายไปตามถนนโรจนะ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ไปตามถนนโรจนะ
แยกขวาไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ ผ่านวิหารพระมงคลบพิตร แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนกลาโหม แยกขวาไปตามถนนป่ามะพร้าว ผ่านโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนชีกุน แยกขวาไปตามถนนอู่ทอง ผ่านตลาดหัวรอ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทร์เกษม
แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านตลาดเจ้าพรหม เทศบาลนครนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนคลองมะขามเรียง
แยกขวาไปตามถนนป่าโทน แยกซ้ายไปตามถนนชีกุน แยกซ้ายไปตามถนนโรจนะ ผ่านแขวงการทางอยุธยา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๑ ผ่านสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๕๙ ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (โยธาธิการสายศูนย์ราชการ-สนามกีฬา) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(ศูนย์ราชการ)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สุรพล กาญจนะจิตรา
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มัตติกา/พิมพ์
๙ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๔ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๒
ง/หน้า ๑๒๐/๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๖ |
419733 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ สายที่ ๕ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-เรือนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความต้องการใช้บริการของผู้โดยสารในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด
๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๕ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-เรือนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-การประปาเทศบาลนครนครศรีอยุธยา โดยมีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้
สายที่ ๕ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-
การประปาเทศบาลนครนครศรีอยุธยา
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศูนย์ราชการ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกซ้ายไปตามถนนโรจนะ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แขวงการทางอยุธยา แยกขวาไปตามถนนชีกุน แยกขวาไปตามถนนป่าโทน แยกซ้ายไปตามถนนคลองมะขามเรียง
แยกซ้ายไปตามถนนหอรัตนไชย แยกขวาไปตามถนนซอย ๑๑ แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านเทศบาลนครศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนซอย ๘ แยกซ้ายไปตามถนนป่ามะพร้าว ผ่านโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนกลาโหม แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตร
แยกซ้ายไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ แยกซ้ายไปตามถนนป่าโทน แยกขวาไปตามถนนชีกุน แยกขวาไปตามถนนโรจนะ
ผ่านสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ ผ่านโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนอู่ทอง ผ่านเรือนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณการประปาเทศบาลนครนครศรีอยุธยา
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณการประปาเทศบาลนครนครศรีอยุธยา ไปตามถนนอู่ทอง
แยกขวาไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ ผ่านโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา แยกขวาไปตามถนนโรจนะ ผ่านสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนชีกุน แยกซ้ายไปตามถนนป่าโทน แยกขวาไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ ผ่านวิหารพระมงคลบพิตร
แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนกลาโหม แยกขวาไปตามถนนป่ามะพร้าว
แยกขวาไปตามถนนอู่ทอง แยกขวาไปตามถนนนเรศวร ผ่านตลาดเจ้าพรหม เทศบาลนครนครศรีอยุธยา
ตรงไปตามถนนนเรศวร แยกซ้ายไปตามถนนซอย ๑๑ แยกซ้ายไปตามถนนหอรัตนไชย แยกขวาไปตามถนนคลองมะขามเรียง
แยกขวาไปตามถนนป่าโทน แยกซ้ายไปตามถนนชีกุน แยกซ้ายไปตามถนนโรจนะ ผ่านแขวงการทางอยุธยา
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(ศูนย์ราชการ)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สุรพล กาญจนะจิตรา
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มัตติกา/พิมพ์
๙ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๔ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๒
ง/หน้า ๑๑๗/๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๖ |
419525 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้างตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒[๑]
ด้วยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖
กำหนดให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาในการชำระภาษีที่ค้างสำหรับรถที่ค้างชำระภาษี ดังนั้น
เพื่อให้การกำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาในการชำระภาษีรถค้างชำระ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ เป็นไปด้วยความเหมาะสมและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้างไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ภาษีที่ขอผ่อนชำระตามประกาศนี้
ได้แก่ ภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้รวมถึงเงินเพิ่มด้วย
ข้อ
๒
ในประกาศนี้หน่วยงานกรมการขนส่งทางบก หมายถึง ส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
และให้รวมถึงผู้ครอบครองรถตามความเป็นจริงด้วย
ข้อ
๔
ให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษียื่นแสดงความจำนงขอผ่อนชำระภาษีค้าง ณ
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
๔.๑
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๔.๒
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีเป็นนิติบุคคล
๔.๓
หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
ข้อ
๕
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
๕.๑
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องทำความตกลงผ่อนชำระภาษีค้างเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
๕.๒
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีต้องชำระภาษีค้างบางส่วนในขณะที่ทำความตกลงเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท
และภาษีค้างส่วนที่เหลือให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน โดยเฉลี่ยงวดละเท่า ๆ กัน
ทุกงวด เว้นแต่งวดสุดท้ายอาจจะชำระมากกว่าหรือน้อยกว่างวดอื่นก็ได้
๕.๓
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องผ่อนชำระภาษีค้างส่วนที่เหลือเดือนละไม่น้อยกว่าหนึ่งงวด ทั้งนี้
จำนวนงวดที่ผ่อนชำระให้เป็นไปตามรายละเอียด ดังนี้
จำนวนเงินภาษีค้างส่วนที่เหลือ
(บาท)
จำนวนงวด
ไม่เกิน ๒,๐๐๐
ตั้งแต่ ๒,๐๐๑-๖,๐๐๐
ตั้งแต่ ๖,๐๐๑-๑๐,๐๐๐
ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๑ ขึ้นไป
ไม่เกิน ๒ งวด
ไม่เกิน ๖ งวด
ไม่เกิน ๑๐ งวด
ไม่เกิน ๑๒ งวด
จำนวนงวดที่ผ่อนชำระกำหนดให้สูงสุดไม่เกินสิบสองงวด
และจำนวนเงินภาษีที่ผ่อนชำระในแต่ละงวดต้องไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท
๕.๔
การขอผ่อนชำระภาษีที่ไม่เป็นไปตามจำนวนงวดหรือจำนวนเงินภาษีที่ผ่อนชำระในแต่ละงวดตามข้อ
๕.๓ หรือการขอเปลี่ยนผู้ขอผ่อนชำระภาษีจำนวนงวดที่ขอผ่อนชำระหรือจำนวนเงินภาษีที่ผ่อนชำระต่องวด
ให้แตกต่างไปจากหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีค้างชำระที่ได้ทำความตกลงไว้เดิม
ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบเป็นผู้พิจารณา
๕.๕
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีสามารถขอชำระในคราวเดียวกันมากกว่าหนึ่งงวดได้
แต่จำนวนเงินที่ขอชำระต้องเพิ่มขึ้นให้ครบเต็มตามจำนวนอัตราภาษีที่ขอผ่อนของงวดถัด
ๆ ไปนั้นด้วย
๕.๖
ในระหว่างการผ่อนชำระภาษี
เจ้าของรถสามารถขอดำเนินการทางทะเบียนเกี่ยวกับรถคันดังกล่าวได้ เว้นแต่การโอนรถ
การแจ้งย้ายรถ จนกว่าจะได้ชำระภาษีที่ค้างอยู่ทั้งหมดครบถ้วนแล้ว
ทั้งนี้
การไม่รับดำเนินการโอนรถตามวรรคแรกไม่รวมถึงการโอนรถตามสัญญาเช่าซื้อที่ไม่มีการเปลี่ยนผู้เช่าซื้อ
๕.๗
หากผู้ขอผ่อนชำระภาษีผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่สองงวดขึ้นไป
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีหมดสิทธิผ่อนชำระและต้องชำระภาษีที่ค้างอยู่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน
เว้นแต่นายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบจะพิจารณาเห็นว่าผู้ขอผ่อนชำระภาษีมีเหตุผลและความจำเป็น
จึงอนุญาตให้ผ่อนชำระภาษีต่อไปได้
การผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่สองงวดขึ้นไป
หรือผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีงวดสุดท้ายเป็นเวลาเกินสองเดือนขึ้นไป
ให้นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับดำเนินการทางทะเบียนใด ๆ เกี่ยวกับรถคันดังกล่าว
เว้นแต่การแจ้งเลิกใช้รถหรือการแจ้งไม่เสียภาษี
ข้อ
๖ ผู้ขอผ่อนชำระภาษีสามารถขอผ่อนชำระ
ณ สถานที่ ดังนี้
๖.๑
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกทุกแห่งทั่วประเทศ
๖.๒
ที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ทุกแห่งทั่วประเทศ
๖.๓
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขาทั่วประเทศ
๖.๔
หน่วยงานอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
พรพิมล/พิมพ์
๙ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๕ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๓
ง/หน้า ๘/๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
419509 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 191 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4416 นครราชสีมา-บ้านพันดุง เป็น นครราชสีมา-บ้านหนองกก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๑๙๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๔๔๑๖ นครราชสีมา-บ้านพันดุง
เป็น นครราชสีมา-บ้านหนองกก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๑๖ นครราชสีมา-บ้านพันดุง
ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๕
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๔๔๑๖ นครราชสีมา-บ้านพันดุง เป็น นครราชสีมา-บ้านหนองกก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๔๑๖ นครราชสีมา-บ้านหนองกก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี
แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี ซอย ๑๒ แยกซ้ายไปตามถนนมิตรภาพ ซอย ๘
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. นม. ๓๑๙๒) ผ่านบ้านคนชุม ถึงทางแยกไปพลกรัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านพลกรัง
บ้านบึงประเสริฐ บ้านโคกแขวน บ้านโตนด บ้านหนองสะแก บ้านพันดุง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองหัวแหวน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองกก
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
สุนทร ริ้วเหลือง
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
พรพิมล/พิมพ์
๑๒ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๕ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๓
ง/หน้า ๑๘๙/๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
419505 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ 1 เป็น โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม-มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดหนองบัวลำภู
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วย
รถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ ๑
เป็น
โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม-มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดหนองบัวลำภู[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ ๑ บ้านขาม-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู-บ้านคึมซาด ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภูได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๕ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๖ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ ๑ บ้านขาม-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู-บ้านคึมซาด เป็น โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม-มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดหนองบัวลำภู โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑
โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม-มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ
เฉลิมพระเกียรติจังหวัดหนองบัวลำภู
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนบ้านขามพิทยาคม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านวังน้ำขาว ถึงสามแยกบ้านวังหมื่น แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๘ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ถึงสามแยกบ้านเหล่าทอง
แยกขวาไปตามถนนวิไสยอุดรกิจ ถึงห้าแยกศาลเจ้าปู่ย่า แยกซ้ายไปตามถนนอนาลโย
แยกขวาไปตามถนนวิจารณ์รังสรรค์ ถึงวัดโพธิ์ชัยสมสะอาด แยกขวาไปตามถนนโพธิ์ชัย
ถึงโรงเรียนหนองบัววิทยายน แยกซ้ายไปตามถนนวิไสยอุดรกิจ
ผ่านศูนย์ราชการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ถึงโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านตลาดแม่สำเนียง ศูนย์ราชการจังหวัดหนองบัวลำภู
บ้านหนองภัยศูนย์ สำนักขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภู บ้านคึมซาด บ้านห้วยบง บ้านโนนสมบูรณ์
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดหนองบัวลำภู
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อารยะ จิตรบรรจง
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
พรพิมล/พิมพ์
๑๒ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๕ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๓
ง/หน้า ๑๘๗/๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
419500 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1417 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 89 สวนลุมพินี - ท่าพระ เป็นสายลุมพินี - ตลิ่งชัน ให้มีเส้นทางแยกช่วงสวนลุมพินี - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วย
รถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๘๙ สวนลุมพินี-ท่าพระ
เป็น
สายลุมพินี-ตลิ่งชัน
ให้มีเส้นทางแยกช่วง
สวนลุมพินี-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๘๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
ธันวาคม ๒๕๓๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๘๙ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ-ท่าพระ เป็น
สวนลุมพินี-ท่าพระ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๘๙ สวนลุมพินี-ท่าพระ
เป็น สวนลุมพินี-ตลิ่งชัน ให้มีเส้นทางแยกช่วงสวนลุมพินี-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๘๙ สวนลุมพินี-ตลิ่งชัน
จากสวนลุมพินีไปตลิ่งชัน
เริ่มต้นจากสวนลุมพินี (ด้านถนนวิทยุ) แยกซ้ายไปตามถนนสารสิน
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสาทร แยกซ้ายไปตามถนนสวนพลู
แยกซ้ายไปตามถนนนางลิ้นจี่ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓ ข้ามสะพานกรุงเทพ
แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร แยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า ผ่านวงเวียนใหญ่
ไปตามถนนอินทรพิทักษ์ ถึงแยกท่าพระ ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์
ถึงทางแยกถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี กลับรถบนสะพานกลับรถ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ถนนบรมราชชนนี จนสุดเส้นทางที่ตลิ่งชัน
จากตลิ่งชันไปสวนลุมพินี
เริ่มต้นจากตลิ่งชัน ไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านแยกท่าพระ ไปตามถนนอินทรพิทักษ์ ผ่านวงเวียนใหญ่
ไปตามถนนลาดหญ้า แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร ถึงแยกบุคคโล แยกซ้ายข้ามสะพานกรุงเทพ
ไปตามถนนพระราม ๓ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่สวนลุมพินี (ด้านถนนวิทยุ)
ช่วงสวนลุมพินี-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
จากสวนลุมพินีไปสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
เริ่มต้นจากสวนลุมพินี (ด้านถนนวิทยุ) แยกซ้ายไปตามถนนสารสิน
แยกซ้ายไปถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสาทร
แยกซ้ายไปตามถนนสวนพลู แยกซ้ายไปตามถนนนางลิ้นจี่ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓
ข้ามสะพานกรุงเทพ แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร แยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า ผ่านวงเวียนใหญ่
ไปตามถนนอินทรพิทักษ์ ข้ามสะพานเนาวจำเนียร ถึงแยกท่าพระ
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง จนสุดเส้นทางบริเวณสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
จากสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ไปสวนลุมพินี
เริ่มต้นจากบริเวณด้านหน้าสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง
แยกขวาไปตามถนนอินทรพิทักษ์ ถึงวงเวียนใหญ่ ไปตามถนนลาดหญ้า แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร
ถึงแยกบุคคโล แยกซ้ายข้ามสะพานกรุงเทพ ไปตามถนนพระราม ๓ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่สวนลุมพินี
(ด้านถนนวิทยุ)
ประกาศ ณ วันที่ ๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
มยุรี/พิมพ์
๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
อรรถชัย/สุนันทา/ตรวจ
๑๙ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๒๐/ตอนที่ ๙๑
ง/หน้า ๑๖๘/๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
419496 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1416 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 74 ห้วยขวาง - ท่าเรือคลองเตย เป็น แยก อ.ส.ม.ท. - คลองเตย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วย
รถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๗๔ ห้วยขวาง-ท่าเรือคลองเตย
เป็น
แยก อ.ส.ม.ท.-คลองเตย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๕๗๔ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๔
พฤศจิกายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๗๔ ห้วยขวาง-ท่าเรือคลองเตย
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๔ ห้วยขวาง-ท่าเรือคลองเตย
เป็น แยก อ.ส.ม.ท.-คลองเตย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๗๔ แยก อ.ส.ม.ท.-คลองเตย
จากแยก อ.ส.ม.ท. ไปคลองเตย เริ่มต้นจากแยก อ.ส.ม.ท. (ใต้ทางด่วนพระราม ๙) ไปตามถนนเพชรอุทัย
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๙ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกซ้ายไปตามถนนสุทธิสาร
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา ถึงแยกมักกะสัน แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แยกซ้ายไปตามถนนเกษมราษฎร์
สุดเส้นทางที่คลองเตย
จากคลองเตยไปแยก อ.ส.ม.ท. เริ่มต้นจากคลองเตย ไปตามถนนเกษมราษฎร์
แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงแยกมักกะสัน ไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนสุทธิสาร แยกขวาไปตามถนนประชาสงเคราะห์แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ถึงแยกพระราม ๙ ไปตามถนนอโศก-ดินแดง สุดเส้นทางที่แยก อ.ส.ม.ท. (ใต้ทางด่วนพระราม
๙)
ช่วงแยก อ.ส.ม.ท.-คลองเตย (ทางด่วน)
จากแยก อ.ส.ม.ท. ไปคลองเตย เริ่มต้นจากแยก อ.ส.ม.ท. (ใต้ทางด่วนพระราม ๙) ไปตามถนนเพชรอุทัย
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๙ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถนนประชาสงเคราะห์ แยกซ้ายไปตามถนนสุทธิสาร
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางด่วนที่ด่านดินแดง ไปตามทางด่วนเฉลิมมหานคร
ลงทางด่วนที่ด่านถนนเกษมราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนเกษมราษฎร์ สุดเส้นทางที่คลองเตย
จากคลองเตยไปแยก อ.ส.ม.ท. เริ่มต้นจากคลองเตย
ไปตามถนนเกษมราษฎร์แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงแยกพระราช ๙ ไปตามถนนอโศก-ดินแดง
สุดเส้นทางที่แยก อ.ส.ม.ท. (ใต้ทางด่วนพระราม ๙)
ประกาศ ณ วันที่ ๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
มยุรี/พิมพ์
๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๙ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๑
ง/หน้า ๑๖๕/๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
419488 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1415 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 92 สามแยกพัฒนาการ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นการเคหะชุมชนร่มเกล้า - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วย
รถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๙๒ สามแยกพัฒนาการ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เป็น
การเคหะชุมชนร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๐๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มกราคม ๒๕๔๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๙๒ พัฒนาการ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็น สามแยกพัฒนาการ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๙๒ สามแยกพัฒนาการ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็น การเคหะชุมชนร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๙๒
การเคหะชุมชนร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากการเคหะชุมชนร่มเกล้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากการเคหะชุมชนร่มเกล้า ไปตามถนนการเคหะร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า
แยกขวาไปตามถนนอ่อนนุช แยกขวาไปตามถนนพัฒนาการ ถึงแยกคลองตัน
แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง ข้ามสะพานคลองแสนแสบ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกขวาไปตามถนนดินแดง
แยกขวาไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปการเคหะชุมชนร่มเกล้า
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนราชวิถี แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่การเคหะชุมชนร่มเกล้า
ประกาศ ณ วันที่ ๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
มยุรี/พิมพ์
๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๑
ง/หน้า ๑๖๓/๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
419381 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1414 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 127 เชิงสะพานอรุณอมรินทร์ - อำเภอบางบัวทอง เป็นเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ - โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยาให้มีเส้นทางแยกช่วงเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ - อำเภอบางบัวทอง เพิ่มขึ้นอีก 1 ช่วง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วย
รถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๑๒๗
เชิงสะพานอรุณอมรินทร์-อำเภอบางบัวทอง เป็น
เชิงสะพานอรุณอมรินทร์-โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
ให้มีเส้นทางแยกช่วงเชิงสะพานอรุณอมรินทร์-อำเภอบางบัวทอง
เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๐๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๒๗
เชิงสะพานอรุณอมรินทร์-อำเภอบางบัวทอง
ให้มีเส้นทางแยกช่วงสะพานกรุงธน-บางใหญ่ซิตี้ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๒๗
เชิงสะพานอรุณอมรินทร์-อำเภอบางบัวทอง เป็น
เชิงสะพานอรุณอมรินทร์-โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
ให้มีเส้นทางแยกช่วงเชิงสะพานอรุณอมรินทร์-อำเภอบางบัวทอง
เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๒๗ เชิงสะพานอรุณอมรินทร์-โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
จากเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ไปโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
เริ่มต้นจากเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ ไปตามถนอรุณอมรินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก
ผ่านแยกบางบัวทอง ไปตามถนนกาญจนาภิเษก
สุดเส้นทางที่บริเวณโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
จากโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยาไปเชิงสะพานอรุณอมรินทร์
เริ่มต้นจากโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา ไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทางที่เชิงสะพานอรุณอมรินทร์
ช่วงเชิงสะพานอรุณอมรินทร์-อำเภอบางบัวทอง
จากเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ไปอำเภอบางบัวทอง
เริ่มต้นจากเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ไปตามถนนอรุณอมรินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๕ (ถนนบางกรวย-บางบัวทอง-ไทรน้อย)
ไปสุดเส้นทางที่อำเภอบางบัวทอง
จากอำเภอบางบัวทองไปเชิงสะพานอรุณอมรินทร์
เริ่มต้นจากอำเภอบางบัวทองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๕ (ถนนบางกรวย-บางบัวทอง-ไทรน้อย) แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทางที่เชิงสะพานอรุณอมรินทร์
ช่วงสะพานกรุงธน-บางใหญ่ซิตี้
จากสะพานกรุงธนไปบางใหญ่ซิตี้
เริ่มต้นจากเชิงสะพานกรุงธน (ฝั่งธนบุรี) ไปตามถนนราชวิถี ถนนสิรินธร
ข้ามสะพานต่างระดับบางบำหรุ ไปตามถนนบรมราชชนนี ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี)
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทางที่บางใหญ่ซิตี้ (สามแยกรัตนาธิเบศร์)
จากบางใหญ่ซิตี้ไปสะพานกรุงธน เริ่มต้นจากบางใหญ่ซิตี้
(สามแยกรัตนาธิเบศร์) ไปตามถนนกาญจนาภิเษก แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทางที่สะพานกรุงธน (ฝั่งธนบุรี)
ประกาศ ณ วันที่ ๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
มยุรี/พิมพ์
๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ
๒๓ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๑
ง/หน้า ๑๖๐/๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
418592 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบรถที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบรถที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
หรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ
ด้วยในปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญไปจากที่ผู้ผลิตกำหนด
หรือที่ได้จดทะเบียนไว้โดยใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่มีอยู่ในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ
การกระทำในลักษณะดังกล่าวมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้รถทำการขนส่ง
ฉะนั้น
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่จะขอความเห็นชอบรถที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๑ มาตรฐาน ๒ และมาตรฐาน ๓ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒
ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ และลักษณะ ๙ รถดังกล่าวต้องให้เป็นไปดังนี้
(๑)
สำหรับรถที่มีโครงคัสซี (Chassis Frame) เป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักของรถ
(ก)
การเปลี่ยนโครงคัสซีใหม่ ความยาวรถต้องเปลี่ยนแปลงไปจากความยาวเดิมไม่เกินร้อยละ ๕
ทั้งนี้
โครงคัสซีใหม่ที่นำมาเปลี่ยนต้องไม่มีการต่อโครงคัสซีมาก่อน
(ข)
การตัดต่อโครงคัสซี
ต้องมีความยาวโครงคัสซีเดิมที่เป็นชิ้นเดียวกันเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด
(๒)
สำหรับรถที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมโนค็อก (Monocoque) หรือแบบเซมิโมโนค็อก (Semi-Monocoque) ซึ่งใช้โครงสร้างตัวถังเป็นสาระสำคัญในการรองรับน้ำหนัก
จะต้องมีโครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อหน้า เพลาล้อท้าย
หรือคู่ท้ายและส่วนที่มีหมายเลขคัสซีเป็นโครงสร้างเดิม
ข้อ
๒ การขอความเห็นชอบรถที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ
ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ (Type) ของระบบรองรับน้ำหนัก (Suspension System) ต้องแสดงรายละเอียดคุณลักษณะ (Specification) ของระบบรองรับน้ำหนักที่นำมาเปลี่ยนจากผู้ผลิตระบบรองรับน้ำหนักนั้นด้วย
ข้อ
๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สรัลพร/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๗/๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ |
417468 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้บริการอาคารที่พักและโรงอาหารภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้บริการอาคารที่พัก
และโรงอาหารภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับข้อ ๑๐
แห่งประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ว่าด้วยการบริหารและการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๒
กรมการขนส่งทางบกกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้บริการอาคารที่พักและโรงอาหารภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การใช้บริการอาคารที่พัก ต้องปฏิบัติ
ดังนี้
(๑)
ไม่เล่นการพนัน
(๒)
ไม่ส่งเสียงดังเกินควร หรือกระทำการใดอันเป็นการรบกวนผู้อื่น
(๓)
ไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท
(๔)
ไม่ประกอบอาหารภายในอาคารที่พักหรือห้องพัก
(๕)
ไม่นำอาวุธ น้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ
วัตถุอันตรายหรือสิ่งของผิดกฎหมายอื่นใดเข้าไปภายในอาคารที่พักหรือใช้อาคารที่พักเป็นที่กระทำการผิดกฎหมาย
(๖)
ไม่สูบบุหรี่ เสพสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่นภายในอาคารที่พัก
(๗)
ทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่จัดไว้
(๘) ไม่นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปภายในอาคารที่พัก
ข้อ ๒ การให้บริการโรงอาหาร ต้องปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย
(๒)
จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มไม่เกินอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๓)
จัดให้มีประกาศหรือป้ายบอกราคาจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
ตามรูปแบบและขนาดที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบในที่เปิดเผย
เพื่อให้ผู้ใช้บริการมองเห็นได้โดยชัดเจน พร้อมจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ให้เพียงพอ
หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๔)
ไม่จำหน่ายสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่น
(๕)
จัดให้มีเครื่องหมายห้ามสูบบุหรี่ติดไว้ตามจุดต่าง ๆ ในที่เปิดเผยภายในโรงอาหาร
เพื่อให้ผู้ใช้บริการเห็นได้โดยชัดเจน
ข้อ ๓ การใช้บริการโรงอาหาร
ต้องปฏิบัติตามความในข้อ ๑ (๒) (๓) (๖) (๗)
และ (๘) โดยอนุโลม
ข้อ ๔
นอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศนี้
ให้ปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้บริการห้องพัก การให้บริการโรงอาหาร
และการใช้บริการโรงอาหารเพิ่มเติมตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
มัตติกา/พิมพ์
๗ มกราคม ๒๕๔๗
อรรถชัย/ศุภสรณ์/ตรวจ
๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๘๙
ง/หน้า ๔๓/๖ พฤศจิกายน
๒๕๔๖ |
415231 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศเรื่อง
กำหนดแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
เพื่อเป็นการป้องกันการหลีกเลี่ยงการนำรถมาดำเนินการแก้ไขดัดแปลงห้องเก็บสัมภาระด้านล่างใต้พื้นห้องโดยสาร
และจัดวางที่นั่งผู้โดยสารเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง
ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ยังก่อให้เกิดความไม่สะดวกสบายแก่ผู้โดยสารและอาจทำให้เกิดอันตรายแก่การขนส่งไว้แล้ว
นั้น
โดยที่สมควรกำหนดแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
เพื่อป้องกันการแก้ไขดัดแปลงแบบตัวถังของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒)
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๓๗
ข้อ
๓
แบบของตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จัดให้มีที่เก็บสัมภาระหรือจัดให้มีพื้นที่ว่างด้านล่างใต้พื้นห้องผู้โดยสารต้องเป็น
ดังนี้
(๑)
ห้ามมีทางเดินต่อเนื่องถึงห้องผู้โดยสารหรือห้องอื่นใด
(๒)
ผนังทุกด้านต้องปิดทึบอย่างมั่นคง แข็งแรงและถาวรด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ ทัดเทียมกับตัวถังรถ
ห้ามใช้กระจกหรือวัสดุอื่นใดที่มีลักษณะโปร่งแสงทำเป็นผนังและให้มีบานประตูปิดเปิดที่ด้านข้างรถด้วยวัสดุอย่างเดียวกัน
(๓)
ห้ามมีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกชนิด เช่น ระบบปรับอากาศ พัดลม โทรทัศน์ เป็นต้น
ข้อ
๔ แบบของตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จัดให้มีห้องอื่นใดสำหรับผู้โดยสาร
ผู้ขับรถ หรือพนักงานประจำรถ ห้องดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นเดียวกันกับห้องผู้โดยสาร
ยกเว้นห้องสุขภัณฑ์
ข้อ
๕
ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนไว้ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
เว้นแต่ในระหว่างที่ประกาศนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ
ถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพของตัวถัง
ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ประกาศ ณ วันที่ ๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ดลธี/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๓๐/๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ |
415229 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การพิจารณาผ่อนผันให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน 4 (รถสองชั้น) | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การพิจารณาผ่อนผันให้ความเห็นชอบคัสซีรถ
ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น)[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นของคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันปรากฏว่า
ยังมีผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถจำนวนมากที่ได้ดำเนินการสร้างประกอบหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ส่วนควบของรถอันมีลักษณะผิดแผกแตกต่างไปจากที่ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้
และไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ
จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้เป็นเจ้าของรถเป็นอย่างมาก
เนื่องจากไม่สามารถยื่นขอรับความเห็นชอบแบบคัสซีต่อกรมการขนส่งทางบกได้ ดังนั้น
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายจากการดังกล่าว กรมการขนส่งทางบกจึงเห็นสมควรผ่อนผันการรับรองแบบคัสซีตามประกาศดังกล่าว
ดังนี้
๑.
ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่จะยื่นคำขอผ่อนผันต้องเป็นผู้ที่ได้ดำเนินการสร้างประกอบหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคัสซีรถเสร็จสมบูรณ์
พร้อมจะประกอบตัวถังเป็นรถโดยสารสองชั้นแล้ว
๒.
ให้ผู้ยื่นคำขอแนบหลักฐานประกอบคำขอ
ดังต่อไปนี้
๒.๑
หลักฐานของผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
(ก)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
(ข)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(ง)
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
(จ)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
๒.๒
หลักฐานการได้มาของโครงคัสซีรถ และเครื่องยนต์
๒.๓
ภาพถ่ายรูปรถและโครงคัสซีที่แสดงให้เห็นสภาพของรถหรือโครงคัสซีด้านหน้า ด้านข้าง
และด้านท้ายได้อย่างชัดเจน พร้อมด้วยภาพถ่ายแสดงหมายเลขคัสซีและตำแหน่งของเลขคัสซี
๒.๔
แผนผังสถานที่ตั้งของรถหรือโครงคัสซี
๓.
ให้ยื่นคำขอผ่อนผันต่อกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจำหวัด
แล้วแต่กรณี ภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ออกประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ณัฐดนัย/ผู้จัดทำ
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศมีวรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๗ ง /หน้า ๒๘/๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ |
385659 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1374 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 30 นนทบุรี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) เป็น สะพานพระราม ๗-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๓๗๔ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๓๐ นนทบุรี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
เป็น
สะพานพระราม ๗-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๘๙ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ลงวันที่ ๕
เมษายน ๒๕๓๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ (กรุงเทพมหานคร) สายที่ ๓๐
นนทบุรี-ท่าเตียน
เป็น นนทบุรี-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้
(แห่งใหม่) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๐ นนทบุรี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) เป็น สะพานพระราม
๗สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๓๐ สะพานพระราม ๗-สถานีขนส่งผู้โดยสาร
กรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
จากสะพานพระราม
๗ ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)
เริ่มต้นจากสะพานพระราม ๗ (บริเวณใต้สะพานพระราม
๗ ฝั่งธนบุรี)
ขึ้นสะพานพระราม ๗ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์
กลับรถบริเวณท่าน้ำนนทบุรี ไปตามถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี
ถนนประชาราษฎร์ แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๑
ถนนสามเสน ถนนจักรพงษ์ แยกขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพระอาทิตย์
แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
ไปสะพานพระราม ๗
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
ไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่สะพานพระราม ๗ (บริเวณใต้สะพานพระราม
๗ ฝั่งธนบุรี)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/อรดา/หทัยชนก/ผู้จัดทำ
๑๗
มิถุนายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙
เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๒๕ ง/หน้า ๑๐๐/๒๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
385663 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1373 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 27 มีนบุรี-ถนนลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้มีเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๓๗๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๒๗ มีนบุรี-ถนนลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ให้มีเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๒๗ คลองกุ่ม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็น มีนบุรี-ลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๒๗ มีนบุรี-ลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ให้มีเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๒๗ มีนบุรี-ลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากมีนบุรีไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มต้นจากมีนบุรี
ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนเสรีไทย แยกขวาไปตามถนนศรีบูรพา
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปมีนบุรี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
ช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากมีนบุรีไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มต้นจากมีนบุรี
ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนเสรีไทย ถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปมีนบุรี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
ช่วงมีนบุรี-แฮปปี้แลนด์
จากมีนบุรีไปแฮปปี้แลนด์ เริ่มต้นจากมีนบุรี
ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนเสรีไทย แยกขวาไปตามถนนศรีบูรพา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
จากแฮปปี้แลนด์ไปมีนบุรี เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์
ไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว ถนนเสรีไทย แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/อรดา/หทัยชนก/ผู้จัดทำ
๑๗
มิถุนายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙
เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๒๕ ง/หน้า ๙๗/๒๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
385655 | ประกาศคณะกรรมการการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1372 (พ.ศ. 2546) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 169 วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๓๗๒ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๑๖๙ วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๖๓ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๒
มีนาคม ๒๕๔๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๙ วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๙
วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๖๙ วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่
เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากอู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน) ไปตามถนนพระราม ๒
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
แยกขวาไปตามถนนพรานนก แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอมรินทร์
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนนครสวรรค์ แยกขวาไปตามถนนจักรพรรดิพงศ์ ถนนวรจักร
ถนนจักรวรรดิ์ ข้ามสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ไปตามถนนประชาธิปก ผ่านวงเวียนใหญ่
ไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒
จนสุดเส้นทางที่อู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน)
เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากอู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน) ไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านวงเวียนใหญ่
ไปตามถนนประชาธิปก ข้ามสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ไปตามถนนจักรเพชร
แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนวรจักร ถนนจักรพรรดิพงศ์
แยกซ้ายไปตามถนนนครสวรรค์ แยกขวาไปตามถนนราชดำเนินกลาง
ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่อู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/อรดา/หทัยชนก/ผู้จัดทำ
๑๗
มิถุนายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๒๕ ง/หน้า ๙๕/๒๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
385653 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๗๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๓๗๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง
ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก
๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒๗
ตุลาคม ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-คลอง
๑๖ เป็นสะพานใหม่-บ้านสร้าง
นั้น
คณะกรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง
ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดยิ่งเจริญ
(สะพานใหม่) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) แยกขวากลับรถบริเวณใต้ทางต่างระดับสามแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ถึงทางแยกไปอำเภอลำลูกกา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) ผ่านอำเภอลำลูกกา
คลอง ๘ คลอง ๙ ไปถึงคลอง ๑๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๙
แยกขวาไปตามถนนโยธาธิการ ถึงวัดสุนทรพิชิตาราม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ข้ามสะพานรถไฟ แยกขวาไปตามถนนชนบท หมายเลข ยธ. นย.
๒๐๐๘ (บ้านสร้าง-คลอง ๑๖) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำนครนายก
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๖ ข้ามสะพานแม่น้ำปราจีนบุรี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านสร้าง
ช่วงปากทางแยกถนนลำลูกกา-หมู่บ้านพูนผล
เริ่มต้นจากสถานที่จอรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนลำลูกกาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดลาดสนุ่น
ผ่านวัดลาดสนุ่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านพูนผล
ช่วงปากทางแยกถนนลำลูกกา-หมู่บ้านบุศรินทร์-คลองรังสิต
เริ่มต้นจากสถานที่จอรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนลำลูกกา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แยกซ้ายไปตามถนนฟ้าคราม
ผ่านหมู่บ้านบุศรินทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางคลองรังสิต (บริเวณบริษัท
ฝาจีบ จำกัด)
ช่วงปากทางแยกถนนลำลูกกา-หมู่บ้านรินทร์ทอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนลำลูกกา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แยกซ้ายไปตามซอยสวนส้ม
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านรินทร์ทอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/อรดา/หทัยชนก/ผู้จัดทำ
๑๗
มิถุนายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๗
เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๒๕ ง/หน้า ๙๒/๒๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
592533 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน 4 (รถสองชั้น) | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถ
ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น)
ด้วยในปัจจุบันได้มีการนำชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าหรือรถใช้งานแล้วทั้งที่มีอยู่ในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ
มาทำการสร้างประกอบหรือนำมาทำการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ซึ่งจะมีขนาดที่ใหญ่ สูง และมีน้ำหนักมาก
การกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นการไม่เหมาะสม
มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งานอันอาจเกิดอุบัติเหตุในการใช้รถสองชั้นทำการขนส่ง
เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
และเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงประกาศให้ทราบว่า
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๔
(รถสองชั้น) นั้น จะต้องเป็นคัสซีรถโดยสาร ดังนี้
๑.
คัสซีรถโดยสารใหม่ที่ผู้ผลิตกำหนด
หรือคัสซีรถโดยสารที่จดทะเบียนหรือใช้งานแล้ว
๒.
คัสซีรถโดยสารตาม ๑ ต้องมิได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติม
หรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่อง อุปกรณ์ หรือส่วนควบให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
จากเดิม ดังนี้
(๑) โครงคัสซี
ยกเว้นโครงคัสซีส่วนยื่นหน้าและส่วนยื่นท้าย
(๒) จำนวนกงล้อ และยาง
(๓) จำนวนเพลาล้อ
(๔) ช่วงล้อ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ปรีชา ออประเสริฐ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๗
เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๓๙/๒๔ กันยายน ๒๕๔๕ |
325121 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
การกำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมความปลอดภัยในการบรรทุกวัตถุอันตราย
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙
(๙) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๔
ได้กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน ดังนี้
ข้อ ๑
มิให้รับจดทะเบียนรถบรรทุก ลักษณะ ๖ เฉพาะรถพ่วงที่ตัวถังส่วนที่ใช้ในการบรรทุก
มีลักษณะเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัตถุอันตราย
วัตถุอันตรายให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ตามมาตรา
๑๐๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒
รถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันประกาศนี้ใช้บังคับให้ต่ออายุทะเบียนและภาษีรถได้ต่อไปอีกไม่เกินห้าปี
นับแต่วันประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชไมพร/แก้ไข
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๑๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ |
313911 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลม
และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ประกาศ ณ วันที่
๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานกระจกนิรภัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ก) ข้อ ๑๐ (๒) (ก) และข้อ ๑๕ (๒) (ข) ของกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๓๕) และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๓
(พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
ข้อ ๒
กระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกสำหรับรถต้องเป็นกระจกนิรภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
กระจกนิรภัยที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
(๒)
กระจกนิรภัยตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรป (Economic Commission
for Europe หรือ UN/ECE ว่าด้วยเรื่องกระจกนิรภัย (Safety Glazing and Glazing
Materials)
ข้อ ๓ รถที่ผลิตหรือประกอบภายในประเทศตั้งแต่วันที่
๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป กระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมหน้า ต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทหลายชั้น
(Laminated Safety Glass)
ข้อ ๔ รถสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
และมีกระจกกันลมหรือส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกไม่เป็นไปตามข้อ ๒
และกระจกกันลมหน้ามิใช่กระจกนิรภัยประเภทหลายชั้น (Laminated Safety Glass)
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๕ กระจกนิรภัยที่ได้ติดตั้งกับรถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสภาพ
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มีนาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ปรีชา ออประเสริฐ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ภคินี/แก้ไข
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๓๐/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ |
313910 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ 4 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตราย
ที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ชนิดที่ ๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๓๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ชนิดที่ ๔ ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตราย ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓
ข้อ ๒ รถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ
๑ ที่มีลักษณะการบรรทุก ดังนี้
(๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔
(รถบรรทุกวัตถุอันตราย) ที่ถังบรรทุกมีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร
(๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ (รถพ่วง)
และลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง) ที่ถังที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะวัตถุอันตราย
มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ลิตร
ข้อ ๓ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ ที่มีลักษณะการบรรทุกโดยนำไปใช้ในการบรรทุกวัตถุอันตราย ดังนี้
(๑) วัตถุอันตรายประเภทที่ ๑ (วัตถุระเบิด) ประเภทที่ ๖
(สารพิษและสารติดเชื้อ) และประเภทที่ ๗ (วัตถุกัมมันตรังสี)
(๒) วัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซหรือก๊าซเหลวบรรจุในภาชนะ
โดยมีปริมาณรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม
(๓) วัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวที่บรรจุในภาชนะ
โดยมีปริมาณรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือเป็นของแข็งที่มีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า
๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือเกินกว่า ๑,๐๐๐
กิโลกรัม อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)
รถที่ใช้ในการบรรทุกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ที่ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มในแต่ละภาชนะมีปริมาตรไม่เกิน
๒๕๐ ลิตร
(๒) รถที่ใช้ลากจูงรถที่บรรทุกวัตถุอันตรายตามประกาศนี้
ในกรณีที่รถบรรทุกวัตถุอันตรายนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเกิดอุบัติเหตุ
(๓) รถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน
(๑) และ (๒)
ที่ได้รับยกเว้นตามเอกสารคำแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย (UN
Recommendations on the Transport of Dangerous Goods) ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ปรีชา ออประเสริฐ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ภคินี/แก้ไข
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๒๖/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ |
313891 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1261 (พ.ศ. 2544) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 607 ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยาให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี-บ้านพระงาม-พระนครศรีอยุธยา | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๖๑ (พ.ศ.
๒๕๔๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๐๗
ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี-
บ้านพระงาม-พระนครศรีอยุธยา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๗๙ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๗ ลพบุรี-บางปะหัน
เป็น ลพบุรี-บางประหัน-พระนครศรีอยุธยา ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๔๓
เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๗
ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี-บ้านพระงาม-พระนครศรีอยุธยา
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๖๐๗ ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านวัดสำราญ บ้านตลุง บ้านคลองสะแก
อำเภอบ้านแพรก บ้านพิตเพียน ถึงสี่แยกวัดเจ้าปลุก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗
ผ่านอำเภอมหาราช บ้านสามเรือน ถึงอำเภอบางปะหัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดม่วง วัดป้อมรามัญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๖๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านกลาง วัดหน้าพระเมรุ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ช่วงลพบุรี-บ้านพระงาม-พระนครศรีอยุธยา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านวัดสำราญ บ้านตลุง บ้านคลองสะแก
อำเภอบ้านแพรก บ้านพิตเพียน ถึงสี่แยกวัดเจ้าปลุกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗
ผ่านอำเภอมหาราช บ้านสามเรือน ถึงอำเภอบางปะหัน ไปตามถนนคันคลองส่งน้ำ ๒๔ ขวาถึงบ้านเกาะเลิ่ง
แยกขวาไปตามถนนคันคลองส่งน้ำ ๑ ซ้าย -๒๔ ขวา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
ถึงบ้านหัวหาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดม่วง วัดป้อมรามัญ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านกลาง
วัดหน้าพระเมรุ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔
ศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ภคินี/แก้ไข
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๘๕/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ |
324059 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ยกเลิกอัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
ยกเลิกอัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
กำหนดอัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นนั้น
บัดนี้
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าอัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับต้นทุนการประกอบการขนส่งในปัจจุบันประกอบกับการคิดค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร
จะกำหนดจากข้อตกลงราคาระหว่างผู้ประกอบการขนส่งกับผู้ว่าจ้าง
ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารปัจจุบัน
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘ / ๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๓
อนุมัติให้ยกเลิกอัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ และให้อัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารเป็นไปตามข้อตกลงราคาระหว่างผู้ประกอบการขนส่งและผู้ว่าจ้างตามกลไกตลาด
จนกว่าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจะพิจารณากำหนดอัตราค่าขนส่งในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารใหม่ต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ณัฐดนัย/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศมีวรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔
มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๒ ง /หน้า ๑๐๔/๔ มกราคม ๒๕๔๔ |
568330 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท (ฉบับที่ ๒)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท (ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป นั้น
โดยที่ปัจจุบันปรากฏว่า
มีรถบรรทุกที่มีตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเท
ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดอยู่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนได้ทั้งที่รถเหล่านั้นได้ประกอบตัวถังแล้วเสร็จก่อนวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
ทำให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว
จึงเห็นสมควรผ่อนผันให้รถบรรทุกที่มีตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเทที่ประกอบตัวถังแล้วเสร็จก่อนวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๔๒ ขอดำเนินการจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นได้
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน ข้อ ๓ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ รถบรรทุก ลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ
๖ (รถพ่วง) หรือลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง)
ที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
ซึ่งมีตัวถังหรือมีการประกอบตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเท
และยังมิได้นำรถไปขอรับการจดทะเบียนให้ยกเลิกกระบะโปร่งที่อยู่ส่วนบนของกระบะทึบ
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบใหม่
ข้อกำหนดในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่รถที่มีการดำเนินการแล้ว
ดังนี้
(๑) มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งว่า
รถนั้นได้ประกอบตัวถังแล้วเสร็จก่อนวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๒ และ
(๒) ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
ได้นำรถนั้นไปจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีภายในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร
เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ประภาศรี/พิมพ์
๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
สุนันทา/ตรวจ
๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑๒/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ |
313909 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานของตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ 1 6 7 และลักษณะ 8 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดลักษณะและมาตรฐานของตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถ
ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ
๑ ๖ ๗ และลักษณะ ๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความใน (จ) ของข้อ ๑๕ (๒) และ (ข) ของข้อ ๑๘
(๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดลักษณะและมาตรฐานของตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ
๑ (รถกระบะบรรทุกพื้นเรียบไม่มีกระบะข้าง) และลักษณะ ๖
(รถพ่วงพื้นเรียบไม่มีกระบะข้าง) ลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วงพื้นเรียบไม่มีกระบะข้าง)
และลักษณะ ๘ (รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว) ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ตัวถังส่วนที่บรรทุกต้องติดตั้งอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
(๑) อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า (twist - lock)
เฉพาะกรณีบรรทุกตู้บรรทุกสินค้า (Container)
(๒) อุปกรณ์ป้องกันมิให้สัตว์หรือสิ่งของตกหล่น เช่น ห่วง
หรือเสาที่ทำด้วยโลหะ เป็นต้น
ยึดติดกับตัวถังอย่างมั่นคงแข็งแรงและในขณะใช้งานต้องมีความกว้างไม่เกินกว่าความกว้างของตัวรถ
และต้องไม่มีส่วนยื่นที่แหลมหรือคมอันอาจก่อให้เกิดอันตราย เพื่อใช้สำหรับผูก มัด
หรือยึดโซ่หรือเชือกหรืออุปกรณ์อื่นทำนองเดียวกัน
ข้อ ๒
สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑
(รถกระบะบรรทุกพื้นเรียบไม่มีกระบะข้าง) ลักษณะ ๖ (รถพ่วงพื้นเรียบไม่มีกระบะข้าง)
ลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วงไม่มีกระบะข้าง) และลักษณะ ๘ (รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว) ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
และตัวถังส่วนที่บรรทุกมิได้เป็นไปตามข้อ ๑
ให้แก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันใช้บังคับ
ข้อ ๓
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมพิกา/แก้ไข
๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๗/๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ |
324070 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเพิ่มเติมและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการนำรถเข้าออกหรือจอดภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์
และหรือสิ่งของเพิ่มเติมและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการนำรถเข้าออก
หรือจอดภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
-----------
ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนิน
การของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม
๒๕๔๒ กรมการขนส่งทางบกได้
ประกาศกำหนดอัตราค่าบริการในการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของแต่เนื่องจากอัตราบริการ
ประกาศดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงการใช้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสินค้ารายย่อยหรือรายที่
มีความจำเป็นต้องขนถ่ายสินค้าเป็นครั้งคราวและยังไม่ครอบคลุมถึงค่าบริการใช้ลานจอดรถภาย
ในสถานี ฯ
ดังนั้นเพื่อให้ครอบคลุมถึงการจัดเก็บค่าบริการดังกล่าวและเพื่อประโยชน์ในการจัด
ระเบียบการเข้าออกและการใช้พื้นที่จอดรถภายในสถานี ฯ
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอาศัย
อำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ และมาตรา ๑๑๖
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการ
ในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเพิ่มเติม
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๓ เมื่อ
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๓ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๙
มกราคม ๒๕๔๓ จึงกำหนดอัตราค่า
บริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเพิ่มเติมและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการ
นำรถเข้าออกหรือจอดภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
"สถานีขนส่ง"
หมายถึง สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของที่กรมการขนส่ง
ทางบกจัดให้มีหรือจัดตั้งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
"นายสถานี" หมายถึง ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบกซึ่งอธิบดี
กรมการขนส่งทางบกแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นนายสถานีขนส่ง
"ผู้ใช้บริการ"
หมายถึง ผู้เช่า ผู้เช่าช่วง หรือคู่สัญญาอื่นกับกรมการขนส่ง
ทางบกเกี่ยวกับคลังสินค้า อาคารชานชาลาขนถ่ายสินค้า
อาคารสำนักงานกลาง อาคารที่พักและ
โรงอาหารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นใดภายในสถานีขนส่ง
และให้หมายความรวมถึงพนักงาน
ลูกจ้างของบุคคลนั้นตลอดจนผู้ที่เข้ามาภายในสถานีขนส่งด้วย
"ผู้บริหารสถานีขนส่ง" ให้หมายความรวมถึง
ผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือผู้ที่
ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้บริการสถานีขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและ
ดำเนินการสถานีขนส่ง
ข้อ
๒ กำหนดอัตราค่าบริการใช้สถานีขนส่งเพื่อการขนถ่ายสินค้า
๒.๑
รถยนต์บรรทุกตั้งแต่สิบล้อขึ้นไป กำหนดอัตรา ๒ ชั่วโมงแรกคันละ
๕๐ บาท ชั่วโมง ต่อไปชั่วโมงละ ๓๐ บาท
เศษของชั่วโมงให้คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
๒.๒ รถตามข้อ ๒.๑
ที่ใช้ในกิจการของผู้ที่เช่าอาคารหรือพื้นที่ภายใน
สถานีขนส่ง
ซึ่งมีบัตรหรือเครื่องหมายการอนุญาตจากผู้บริหารสถานีขนส่งหรือเข้าไปติดต่อกับ
หน่วยงานราชการของกรมการขนส่งทางบกภายในสถานีขนส่งซึ่งมีตราประทับหรือเครื่องหมาย
แสดงการติดต่อราชการไม่ต้องเสียค่าบริการใช้สถานีขนส่ง
ข้อ
๓ กำหนดอัตราค่าบริการใช้ลานจอดรถ
๓.๑ รถยนต์ทุกประเภท
กำหนดอัตราชั่วโมงละ ๑๐ บาทต่อคันเศษของ
ชั่วโมงให้คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
๓.๒ รถตามข้อ ๓.๑
ที่ใช้ในกิจการของผู้ที่เช่าอาคารหรือพื้นที่ภายใน
สถานีขนส่ง
ซึ่งบัตรหรือเครื่องหมายการอนุญาตจากผู้บริหารสถานีขนส่งหรือเข้าไปติดต่อกับหน่วย
งานราชการของกรมการขนส่งทางบกภายในสถานีขนส่งซึ่งมีตราประทับหรือเครื่องหมายแสดงการ
ติดต่อราชการไม่ต้องเสียค่าบริการใช้ลานจอดรถ
ข้อ
๔
ให้ผู้บริหารสถานีขนส่งออกบัตรหรือเครื่องหมายการอนุญาต ตามข้อ
๒.๒ และข้อ ๓.๒ ให้กับผู้ที่เช่าอาคารหรือพื้นที่ภายในสถานีขนส่ง
ข้อ
๕
ให้ผู้บริหารสถานีขนส่งประกาศกำหนดอัตราค่าบริการตามข้อ ๒ และข้อ
๓ ที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ
ไม่เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ และข้อ ๓ และให้ปิดประกาศ
ดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานีขนส่งที่บริหาร
ห้ามมิให้ผู้บริหารสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกินว่าอัตราที่กำหนดไว้ใน
ประกาศตามวรรคหนึ่ง
ข้อ
๖
ให้ผู้บริหารสถานีขนส่งประกาศตามข้อ ๕ ให้กรมการขนส่งทางบกภาย
ในสามสิบวันนับแต่วันที่ออกประกาศดังกล่าว
ข้อ
๗
ผู้ใช้บริการที่นำรถบรรทุกเข้าหรือออกสถานีขนส่ง ต้องแจ้งเวลาในการนำ
รถเข้าหรือออกสถานีขนส่งต่อนายสถานีหรือผู้บริหารสถานีขนส่ง
แล้วแต่กรณี ทุกครั้งเมื่อนำรถเข้า
หรือออกสถานีขนส่ง
ข้อ
๘
ผู้ใช้บริการต้องชำระค่าบริการใช้สถานีขนส่งและหรือค่าบริการใช้ลาน
จอดรถ ณ สถานีขนส่งที่เข้าใช้
ข้อ
๙ ให้นายสถานีหรือผู้บริหารสถานีขนส่ง
แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับชำระค่า
บริการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๐
ผู้ใช้บริการที่นำรถบรรทุกเข้าสถานีขนส่งเพื่อขนถ่ายสินค้า จะต้องขน
ถ่ายสินค้า ณ อาคารชานชาลาหรือคลังสินค้าตามที่กำหนด
ข้อ
๑๑ ผู้ใช้บริการที่นำรถเข้าจอดภายในสถานีขนส่งจะต้องจอดรถตามจุดที่
กำหนดไว้ให้ใช้เป็นลานจอดรถ
ข้อ
๑๒
วิธีปฏิบัติอื่นใดซึ่งมิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศ
กรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๓
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[รก.๒๕๔๓/๖๖ง/๖/๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๓]
อัมพิกา/แก้ไข
๑/๕/๒๕๔๕
B |
313908 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตราย | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตราย
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมความปลอดภัยในการบรรทุกวัตถุอันตราย
และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดวัตถุอันตรายไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
วัตถุอันตราย หมายถึง สาร สิ่งของ วัตถุ
หรือวัสดุใด ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของคน สัตว์ ทรัพย์สิน
หรือสิ่งแวดล้อมระหว่างทำการขนส่ง ซึ่งแยกเป็น ๙ ประเภท ดังนี้
ประเภทที่
๑ วัตถุระเบิด (Explosives) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสม
ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวเองทำให้เกิดก๊าซที่มีความดันและความร้อนอย่างรวดเร็ว
ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายบริเวณโดยรอบได้
และให้รวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิง และสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แยกเป็น ๖
ประเภทย่อย คือ
๑.๑
สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass explosion)
๑.๒
สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด
๑.๓
สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และอาจมีอันตรายบ้างจากการระเบิด
หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด
๑.๔
สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการประทุหรือประทุในระหว่างการขนส่งจะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ
๑.๕
สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
๑.๖
สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมาก และไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด
มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในตัวสิ่งของนั้น ๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการประทุหรือแผ่กระจายในระหว่างทำการขนส่ง
ประเภทที่
๒ ก๊าซ (Gases) หมายถึง สารที่อุณหภูมิ ๕๐ องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า ๓๐๐
กิโลปาสกาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส
และมีความดัน ๑๐๑.๓ กิโลปาสกาล ซึ่งได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซอยู่ในสภาพของเหลว
ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ
และให้รวมถึงก๊าซที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดันด้วย แยกเป็น ๓ ประเภทย่อย คือ
๒.๑
ก๊าซไวไฟ (Flammable gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส
และมีความดัน ๑๐๑.๓ กิโลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับอากาศ ๑๓ เปอร์เซ็นต์
หรือต่ำกว่า โดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ ๑๒ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป
เมื่อผสมกับอากาศ โดยไม่คำนึงถึงความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม
๒.๒
ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable, Non-toxic gases) หมายถึง ก๊าซที่ขณะขนส่งมีความดันไม่น้อยกว่า ๒๘๐ กิโลปาสกาล ที่อุณหภูมิ
๒๐ องศาเซลเซียส หรืออยู่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ
๒.๓
ก๊าซพิษ (Toxic gases) หมายถึง
ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นที่ทราบกันทั่วไป หรือได้มีการสรุปว่าเป็นพิษหรือกัดกร่อน
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ประเภทที่
๓ ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) หมายถึง
ของเหลวหรือของเหลวผสมหรือของเหลวที่มีสารแขวนลอยผสม ที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน ๖๐.๕
องศาเซลเซียส กรณีทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (closed-cup test) หรือไม่เกิน ๖๕.๖ องศาเซลเซียส กรณีทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (open-cup test) และให้รวมถึงของเหลวที่ขณะขนส่งถูกทำให้มีอุณหภูมิเท่ากับหรือมากกว่าจุดวาบไฟของเหลวนั้น
และสารหรือสิ่งของที่ทำให้มีอุณหภูมิสูงจนเป็นของเหลวขณะทำการขนส่ง
ซึ่งเกิดไอระเหยไวไฟที่อุณหภูมิไม่มากกว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้ในการขนส่ง
ประเภทที่
๔ ของแข็งไวไฟ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ
(Flammable Solids, Substances liable to spontaneous combustion, Substances which in contact with water emit flammable gases) แยกเป็น ๓ ประเภทย่อย คือ
๔.๑
ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่ระหว่างทำการขนส่ง
สามารถที่จะติดไฟได้ง่าย หรืออาจทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้จากการเสียดสี
สารหรือสารที่เกี่ยวข้อง ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง
และให้รวมถึงวัตถุระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการระเบิด
ซึ่งอาจจะระเบิดได้ถ้าหากไม่ทำให้เจือจางเพียงพอ
๔.๒
สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances liable to spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ
หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อสัมผัสกับอากาศและมีแนวโน้มที่จะลุกไหม้ได้
๔.๓
สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with water emit flammable gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว
มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เอง หรือทำให้เกิดก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย
ประเภทที่
๕ สารออกซิไดส์ และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing Substances and Organic Peroxides) แยกเป็น ๒ ประเภทย่อย คือ
๕.๑
สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง สารที่ตัวของสารเองอาจไม่ติดไฟ
โดยทั่วไปจะปล่อยออกซิเจนหรือเป็นเหตุหรือช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้
๕.๒
สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides) หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างออกซิเจน
๒ อะตอม -๐-๐- และอาจถือได้ว่าเป็นสารที่มีอนุพันธ์ของ Hydrogen peroxide ซึ่งอะตอมของ Hydrogen ๑ หรือทั้ง ๒ อะตอม ถูกแทนที่ด้วย Organic radicals
สารนี้ไม่เสถียรความร้อนซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนและเร่งการแตกตัวด้วยตัวเอง
และอาจมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
ก.
แนวโน้มที่จะระเบิดสลายตัว
ข.
เผาไหม้อย่างรวดเร็ว
ค.
ไวต่อการกระแทกหรือการเสียดสี
ง.
ทำให้ปฏิกิริยากับสารอื่นก่อให้เกิดอันตรายได้
จ.
เป็นอันตรายต่อตา
ประเภทที่
๖ สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and Infectious Substances) แยกเป็น ๒ ประเภทย่อย คือ
๖.๑
สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง
สารที่มีแนวโน้มจะทำให้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บรุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หากกลืน หรือสูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง
๖.๒ สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่ทราบว่าหรือคาดว่ามีเชื้อโรคปนอยู่ด้วย
เชื้อโรคคือจุลินทรีย์ (ซึ่งรวมถึง แบคทีเรีย ไวรัส Rickettsia พยาธิ เชื้อรา) หรือจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นใหม่
หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
ซึ่งรู้กันโดยทั่วไปหรือมีข้อสรุปที่เชื่อถือได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดโรคต่อกับมนุษย์หรือสัตว์
ประเภทที่
๗ วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Material) หมายถึง
วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
การพิจารณาความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่าง ๆ
ด้านการขนส่งสารกัมมันตรังสีของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA)
ประเภทที่
๘ สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง
สารซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง
หรือกรณีของการรั่วจะเกิดความเสียหาย หรือทำลายสิ่งของอื่น
หรือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง หรือเกิดอันตรายอื่นได้ด้วย
ประเภทที่
๙ วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง
สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็นอันตราย ซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ ๑
ถึงประเภทที่ ๘ และให้รวมถึงสารที่ในระหว่างทำการขนส่งหรือระบุว่าในการขนส่งต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า
๑๐๐ องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๒๔๐ องศาเซลเซียส ในสภาพของแข็ง
ข้อ
๒
รายชื่อวัตถุอันตรายหรือเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นอันตราย ให้เป็นไปตามเอกสารคำแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย
(UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods)
ข้อ
๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ดลธี/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๒๑๑/๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๓ |
313906 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้
สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ[๑]
เพื่อให้การใช้บริการสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางว่าด้วยการบริหาร
และการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๖
กรมการขนส่งทางบกจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
สถานีขนส่ง หมายถึง
สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของที่กรมการขนส่งทางบกจัดให้มีหรือจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ค่าบริการสถานีขนส่ง หมายถึง
ค่าบริการสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงคมนาคมว่าด้วยการรับจ่ายค่าบริการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของกรมการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๑
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้เช่า ผู้เช่าช่วง
หรือคู่สัญญาอื่นกับกรมการขนส่งทางบกเกี่ยวกับคลังสินค้า อาคารชานชาลาขนถ่ายสินค้า
อาคารสำนักงานกลางอาคารที่พักและโรงอาหารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นใดภายในสถานีขนส่ง
นายสถานี หมายถึง ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก
ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นนายสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
อธิบดี หมายถึง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๒
ผู้บริหาร ต้องดูแลรักษาความสะอาด ความเรียบร้อย
ความปลอดภัยในบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้บริหารและต้องไม่รบกวนผู้อื่น
ข้อ ๓
ผู้บริหารเกี่ยวกับคลังสินค้าหรืออาคารชานชาลาขนถ่ายสินค้าต้องขนถ่ายและจัดเก็บสินค้าด้วยความระมัดระวังและปลอดภัย
ตลอดจนดูแลรักษาความสะอาด ความเรียบร้อย ภายในบริเวณที่ขนถ่ายและที่จัดเก็บสินค้าและต้องไม่รบกวนผู้อื่น
ข้อ ๔
ผู้บริหารต้องชำระค่าบริการสถานีขนส่งตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา ข้อตกลง
หรือตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๕
ผู้บริหารเกี่ยวกับคลังสินค้าและอาคารชานชาลาขนถ่ายสินค้า
ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้าตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
และจัดส่งให้นายสถานีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทำการขนถ่ายสินค้านั้นแล้วเสร็จและให้จัดเก็บสำเนาไว้
ณ ที่ทำการหรือสำนักงานของตนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ข้อ ๖
ผู้บริหารต้องจัดทำประวัติพนักงานและลูกจ้างของตนตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
และจัดเก็บไว้ ณ ที่ทำการหรือสำนักงานของตน
เพื่อให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลาที่บุคคลนั้นยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับตน
และภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของตน และส่งสำเนาประวัติดังกล่าวพร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
ให้นายสถานีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นเข้าปฏิบัติหน้าที่
ในกรณีที่พนักงานและลูกจ้างนั้นพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของบุคคลนั้น
ให้มีหนังสือแจ้งการพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจัดส่งสำเนาการเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี
ให้นายสถานีทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
หรือมีการเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๗
พนักงานและลูกจ้างของผู้บริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในบริเวณสถานีขนส่ง
ต้องแต่งกายสุขภาพเรียบร้อย และให้ปักหรือติดป้ายชื่อที่หน้าอกเสื้อด้านขวา
ข้อ ๘
ผู้บริหารต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้พนักงานและลูกจ้างของตนปฏิบัติหน้าที่
เมื่อปรากฏว่าผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เสพย์หรือเมาสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่น
(๒) เสพย์ยาเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพย์ติดให้โทษ
(๓) เสพย์วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือ
(๔) หย่อนความสามารถ
ข้อ ๙
ผู้บริหารและผู้ที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่ง
ต้องปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัยในการใช้บริการสถานีขนส่งและต้อง
(๑) ไม่แสดงกิริยา หรือใช้ถ้อยคำที่เป็นการเสียดสี ก้าวร้าว
รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด
(๒) ไม่เสพย์หรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
(๓)
ไม่เสพย์ยาเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพย์ติดให้โทษ
(๔) ไม่เสพย์วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(๕) ไม่นำศพ น้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด วัตถุอันตราย
สิ่งของที่อาจเกิดอันตราย หรือเป็นที่พึงรังเกียจแก่ผู้อื่น เข้ามาหรือขนถ่ายภายในสถานีขนส่ง
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายสถานี
(๖) ไม่ถ่ายหรือทิ้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดภายในบริเวณสถานีขนส่ง
เว้นแต่เป็นการถ่ายหรือทิ้งในบริเวณที่จัดไว้เป็นที่ถ่ายหรือทิ้งโดยเฉพาะ
(๗) ไม่นำสิ่งของเข้ามาจำหน่ายภายในบริเวณสถานีขนส่ง
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๘)
ปฏิบัติตามกฎจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกและระเบียบเกี่ยวกับการจราจรภายในสถานีขนส่งอย่างเคร่งครัด
(๙)
ปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของกรมการขนส่งทางบกหรือนายสถานี
ข้อ ๑๐
ผู้ขับรถต้องแจ้งต่อนายสถานีขนส่งทุกครั้ง เมื่อนำรถเข้าหรืออกจากสถานีขนส่ง
ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๑
ผู้ขับรถต้องตรวจดูความเรียบร้อยของรถ ก่อนนำรถเข้าหรือออกจากสถานี
และต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง เมื่อจอดรถภายในบริเวณสถานีขนส่ง
ข้อ ๑๒
เพื่อให้การควบคุมและกำกับดูแล
การดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้นายสถานีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานประกอบการของผู้บริหารภายในบริเวณสถานีขนส่งได้ตลอดเวลา
เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการนั้น
(๒) เรียกผู้บริหาร พนักงานหรือลูกจ้างของผู้บริหาร
รวมถึงผู้ที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่ง
มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ
ในการปฏิบัติการของนายสถานีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ตามวรรคหนึ่งให้ผู้บริหาร
พนักงานหรือลูกจ้างรวมถึงผู้ที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่งอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือตามสมควร
ข้อ ๑๓
ให้นายสถานีหรือผู้ซึ่งนายสถานีมอบหมายหรือเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน กองคลัง
เป็นผู้รับชำระค่าบริการสถานีขนส่งและออกใบรับชำระค่าบริการสถานีขนส่งให้แก่ผู้ชำระไว้เป็นหลักฐาน
ใบรับชำระค่าบริการสถานีขนส่งให้ใช้ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๔
ให้นายสถานีรวบรวมและรายงานเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ตามข้อ ๕ และการใช้สถานีขนส่ง
ตามข้อ ๑๐ ให้ฝ่ายสถานีขนส่งสินค้า ส่วนกิจการสถานีขนส่งสำนักงานควบคุมการขนส่ง
ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปเป็นประจำทุกเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบรายงานการขนถ่ายสินค้าของบริษัท
๒.
แบบประวัติพนักงาน/ลูกจ้าง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อัมพิกา/แก้ไข
๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๗/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๖/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ |
313905 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการ
ของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ[๑]
เพื่อให้การขนส่งสินค้า
ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีและการจัดตั้งสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทากบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลงวันที่ ๒๘
กรกฎาคม ๒๕๔๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงกำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของมีดังนี้
ลำดับที่
รายการ
พ.ศ./อัตราค่าบริการ
(บาท/ตารางเมตร/เดือน)
๒๕๔๑
๒๕๔๔
๒๕๔๗
๒๕๕๐
๒๕๕๓
๒๕๕๖
๒๕๕๙
๒๕๖๒
๑.
อาคารชานชาลาขนถ่ายสินค้า
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
๒.
สำนักงานอาคารชานชาลา
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
๓.
อาคารบริหารสำนักงานกลาง
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
๔.
คลังสินค้า
๒๒๕
๒๖๑
๓๐๒
๓๕๐
๔๐๔
๔๖๘
๕๔๒
๖๒๗
๕.
อาคารที่พักและโรงอาหาร
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
อัตราค่าบริการตามวรรคหนึ่ง
มิให้หมายรวมถึงค่าบริการพิเศษอื่น ๆ เช่น ค่าบริการขนย้ายสินค้า
ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อ ๒
ให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้บริหารอาคารหรือพื้นที่
ประกาศกำหนดอัตราค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการในอาคารหรือพื้นที่ที่ตนเป็นผู้บริหาร
ในอัตราไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ และให้ปิดประกาศดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ
บริเวณอาคารที่ตนเป็นผู้บริหาร
ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้บริหารอาคารหรือพื้นที่เรียกเก็บค่าบริการเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓
ให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้บริหารอาคารหรือพื้นที่มีหน้าที่จัดส่งประกาศตามข้อ
๒ ให้กรมการขนส่งทางบก ทราบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ออกประกาศ ดังกล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมพิกา/แก้ไข
๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๔/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ |
313904 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ไปแล้วนั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมแบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ (๒) และข้อ ๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ.๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนดแบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙
(๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๙ ลงวันที่
๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๙
ข้อ ๒
สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถ ตามแบบ
ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
ที่สามารถแสดงการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถไปทางสูงและต่ำ
และไปทางซ้ายและขวาได้
โดยลำแสงที่เบนไปทางต่ำต้องสามารถอ่านค่าเป็นเซนติเมตรต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๑๐
เมตร หรือเป็นค่าองศาของมุม หรือเป็นหน่วยวัดอื่นใดที่สามารถเทียบได้
(๒)
เครื่องวัดควันดำที่สามารถวัดค่าควันดำที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนวันที่ ๒๓
เมษายน ๒๕๓๙
ถ้ามิได้ให้บริการตรวจภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดควันดำตามวรรคหนึ่งก็ได้
(๓) เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ
ที่สามารถวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ระบายจากท่อไอเสียของรถ
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนวันที่ ๒๓ เมษายน
๒๕๓๙
ถ้ามิได้ให้บริการตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวิเคราะห์ก๊าซตามวรรคหนึ่งก็ได้
(๔)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(ก) เครื่องวัดระดับเสียง ที่สามารถวัดระดับเสียงของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
(ข) เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
ที่สามารถใช้วัดความเร็วรอบเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ในการตรวจสอบระดับเสียงของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนวันที่ ๒๓
เมษายน ๒๕๓๙
ถ้ามิได้ให้บริการตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ตามวรรคหนึ่งก็ได้
(๕) เครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง
ที่สามารถใช้ตรวจวัดได้ในส่วนที่เป็นกระจกหรือวัสดุโปร่งใสที่เป็นส่วนประกอบของตัวรถ
เช่น กระจกบังลมด้านหน้า กระจกบังลมด้านข้าง และด้านหลัง ฯลฯ โดยเครื่องวัดดังกล่าวต้องมีหน่วยการวัดค่าเป็นร้อยละ
(๖) สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ
จะเป็นเครื่องยกรถทั้งคัน หรือสะพาน หรือบ่อตรวจสภาพใต้ท้องรถ
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้
ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและเหมาะสมสำหรับตรวจสภาพใต้ท้องรถ
กรณีที่เครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่เป็นไปตาม
(๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖)
หากสถานตรวจสภาพรถใดประสงค์จะนำมาใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ข้อ ๓
สถานตรวจสภาพที่ตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถตามแบบ
ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๑)
(๒) เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๓) วรรคหนึ่ง
(๓)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๔)
กรณีที่เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่เป็นไปตาม
(๑) (๒) หรือ (๓)
หากสถานตรวจสภาพรถใดประสงค์จะนำมาใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ข้อ ๔
ในกรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้ตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพ
ต้องมีเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ หรือข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นการเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ตามแบบ ขนาด และมาตรฐาน และภายในกำหนดระยะเวลาที่กรมขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๕
สถานตรวจสภาพรถที่ได้จัดตั้งก่อนวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
จะต้องจัดหาและติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ ตามข้อ ๒ (๑), (๕) และข้อ ๓ (๑)
ให้แล้วเสร็จก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมพิกา/แก้ไข
๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๒๖ ง/หน้า ๑๓/๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓ |
313903 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกะบะบรรทุกยกเท (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท (ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ
เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
ธันวาคม ๒๕๔๑ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป นั้น
โดยที่ปัจจุบันปรากฏว่า
มีรถบรรทุกที่มีตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเท
ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนได้ทั้งที่รถเหล่านั้นได้ประกอบตัวถังแล้วเสร็จก่อนวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
ทำให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว
จึงเห็นสมควรผ่อนผันให้รถบรรทุกที่มีตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเทที่ประกอบตัวถังแล้วเสร็จก่อนวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๔๒ ขอดำเนินการจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นได้
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน
ข้อ ๓ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ รถบรรทุก ลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ ๖ (รถพ่วง) หรือลักษณะ ๗
(รถกึ่งพ่วง) ที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
ซึ่งมีตัวถังหรือมีการประกอบตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเท
และยังมิได้นำรถไปขอรับการจดทะเบียนให้ยกเลิกกระบะโปร่งที่อยู่ส่วนบนของกระบะทึบ
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบใหม่
ข้อกำหนดในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่รถที่มีการดำเนินการแล้ว
ดังนี้
(๑)
มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งว่า รถนั้นได้ประกอบตัวถังแล้วเสร็จก่อนวันที่ ๒๙ มีนาคม
๒๕๔๒ และ
(๒)
ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
ได้นำรถนั้นไปจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีภายในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ประภาศรี/พิมพ์
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
สุนันทา/ตรวจ
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑๒/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ |
313358 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเพิ่มเติม | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการ
ของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเพิ่มเติม[๑]
ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม
๒๕๔๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้ประกาศกำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของนั้น
แต่เนื่องจากประกาศดังกล่าวยังไม่ได้กำหนดอัตราค่าบริการใช้สถานีขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งสินค้ารายย่อยหรือรายที่มีความจำเป็นต้องขนถ่ายสินค้าเป็นครั้งคราว
และค่าบริการใช้ลานจอดรถภายในสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๗)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๓
เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๓ และครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๓ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจึงกำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเพิ่มเติม
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
อัตราค่าบริการใช้สถานีขนส่งเพื่อการขนถ่ายสินค้า
๑.๑ รถยนต์บรรทุกไม่เกิน ๖ ล้อ คันละไม่เกิน ๕๐ บาทต่อชั่วโมง
เศษของชั่วโมงให้คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
๑.๒ รถยนต์บรรทุกเกินกว่า ๖ ล้อ คันละไม่เกิน ๑๐๐ บาทต่อชั่วโมง
เศษของชั่วโมงให้คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
ข้อ ๒
อัตราค่าบริการใช้ลานจอดรถ สำหรับรถทุกประเภทคันละไม่เกิน ๑๐๐ บาทต่อชั่วโมง
เศษของชั่วโมงให้คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
อัมพิกา/แก้ไข
๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๖๔/๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๓ |
312180 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนด(ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งฯ(ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ในเส้นทาง หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สีครีมน้ำเงิน | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งฯ (ค่าโดยสาร)
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
ในเส้นทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สีครีมน้ำเงิน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๔๓
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งฯ (ค่าโดยสาร)
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ในเส้นทางหมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สีครีมน้ำเงิน ต่อไปนี้
๑. อนุมัติให้กำหนด
(ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งฯ (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ในเส้นทาง หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สีครีมน้ำเงิน
จากเดิมเป็นดังนี้คือ
ระยะทาง
ค่าโดยสาร
(บาท)
๘ กิโลเมตร แรก
๘
เกิน ๘ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน ๑๒ กิโลเมตร
๑๐
เกิน ๑๒ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน ๑๖ กิโลเมตร
๑๒
เกิน ๑๖ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร
๑๔
เกิน ๒๐ กิโลเมตร ขึ้นไป
๑๖
๒. การปรับปรุงอัตราค่าขนส่งฯ (ค่าโดยสาร)
ดังกล่าวข้างต้น ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๓๔/๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ |
339514 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบคัสซีรถให้ใช้คัสซีรถโดยสารหรือคัสซีรถบรรทุก | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ให้ความเห็นชอบคัสซีรถให้ใช้เป็นคัสซีรถโดยสาร
หรือคัสซีรถบรรทุก[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ให้ความเห็นชอบคัสซีรถให้ใช้เป็นคัสซีรถโดยสาร
หรือคัสซีรถบรรทุกไว้แล้ว นั้น
โดยที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามรถยนต์ส่วนบุคคลในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
เป็นผลให้รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งเกิน ๑๒ คน และมีน้ำหนักรถเกิน ๑,๖๐๐
กิโลกรัม และรถบรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักรถเกิน ๑,๖๐๐ กิโลกรัม
ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ต้องเปลี่ยนไปจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังกล่าว ซึ่งกรมการขนส่งทางบกยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบคัสซีรถให้ใช้เป็นคัสซีรถโดยสารหรือรถบรรทุก
แล้วแต่กรณี
เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงฉบับที่
๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๗๑ วรรค ๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงประกาศให้ความเห็นชอบชนิดและแบบของคัสซีรถสำหรับรถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์มาแล้วก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
และจะนำมาจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้ใช้เป็นคัสซีรถโดยสารหรือคัสซีรถบรรทุก
แล้วแต่กรณีได้
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ดลธี/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๖/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ |
313901 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การใช้รถทำการขนส่งตู้บรรทุกสินค้า | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การใช้รถทำการขนส่งตู้บรรทุกสินค้า[๑]
ด้วยในปัจจุบันได้มีการใช้รถบรรทุกทำการขนส่งตู้บรรทุกสินค้า
(Container) กันอย่างแพร่หลาย
และปรากฏว่าได้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอันเนื่องมาจากตู้บรรทุกสินค้าตกจากรถบรรทุก
ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอยู่บ่อยครั้ง โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากขาดการเอาใจใส่ดูแลในการใช้อุปกรณ์สำหรับล็อคตู้บรรทุกสินค้ากับตัวถังส่วนบรรทุกของรถ
(Twist-Lock)
ให้เรียบร้อยก่อนใช้รถทำการขนส่งหรือมีการนำรถกระบะบรรทุกที่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับล็อคตู้บรรทุกสินค้ากับตัวถังส่วนบรรทุกของรถมาใช้ทำการขนส่งตู้บรรทุกสินค้า
ดังนั้น
เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว
กรมการขนส่งทางบก
จึงประกาศให้ผู้ประกอบการขนส่งและผู้ขับรถที่ทำการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าถือปฏิบัติ
ดังนี้
ข้อ
๑ มิให้นำรถบรรทุกที่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับล็อคตู้บรรทุกสินค้ากับตัวถังส่วนบรรทุกของรถหรือมีแต่ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
ใช้ทำการขนส่งตู้บรรทุกสินค้า
ข้อ
๒
ให้ล็อคตู้บรรทุกสินค้ากับตัวถังส่วนบรรทุกของรถให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนใช้รถทำการขนส่ง
อนึ่ง
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับล็อคตู้บรรทุกสินค้าให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก หมายเลขโทรศัพท์ ๒๗๒๕๓๑๒ และ
๒๗๒๕๓๐๘
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ดลธี/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๖๙ ง/หน้า ๒๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ |
313879 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุง เงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข
ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์
หรือสิ่งของ
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๑, ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๔ และฉบับลงวันที่ ๒๘
พฤศจิกายน ๒๕๓๙
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการดังกล่าวนั้น
บัดนี้ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และโดยมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๒
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๒
ให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด เป็น ๒ คณะและมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
คณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย
๑. รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร)
กรมการขนส่งทางบก เป็น
ประธานอนุกรรมการ
๒. ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการขนส่ง
เป็นกรมการขนส่งทางบก เป็น
อนุกรรมการ
๓. ผู้อำนวยการกองวิชาการและวางแผน
กรมการขนส่งทางบก เป็น
อนุกรรมการ
๔. ผู้อำนวยการส่วนกิจการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก เป็น
อนุกรรมการ
๕. หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาต
ประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
กรมการขนส่งทางบก เป็น
อนุกรรมการ
๖. หัวหน้าฝ่ายงานคณะกรรมการ
การขนส่ง กรมการขนส่งทางบก เป็น
อนุกรรมการ
และเลขานุการ
๗. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานคณะกรรมการ
การขนส่ง กรมการขนส่งทางบก เป็น
ผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ตามมาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
เฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร
(๒)
คณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
๑. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น
ประธานอนุกรรมการ
๒. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด
หรือผู้แทน เป็น
อนุกรรมการ
๓. อัยการจังหวัด หรือผู้แทน เป็น
อนุกรรมการ
๔. ขนส่งจังหวัด เป็น
อนุกรรมการ
๕. หัวหน้าฝ่ายวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็น
อนุกรรมการ
๖. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็น
ผู้ช่วยเลขานุการ
และเลขานุการ
ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งระหว่างจังหวัด ตามมาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
เฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนา หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในเขตจังหวัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒
มหิดล จันทรางกูร
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ภคินี/แก้ไข
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๒๘/๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ |
313396 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ (สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล) | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
(สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล)[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ (สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล)
บนที่ดินขนาด เนื้อที่ ๒๐๗ ไร่ ๓ งาน ๔๒ ตารางวา ตั้งอยู่บนถนนบรมราชชนนี
หลักกิโลเมตรที่ ๒๒+๖๙๒ ท้องที่ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
สนธยา คุณปลื้ม
รัฐมนตรีช่วยว่าการ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนผังบริเวณสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ (สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภคินี/แก้ไข
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๑/๗ มกราคม ๒๕๔๒ |
323806 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ว่าด้วยการบริหารและการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ พ.ศ. 2542 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางว่าด้วยการ
บริหารและการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
เพื่อให้การบริหารและการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๘) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๒ เมื่อวันที่
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ จึงให้กำหนดระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางว่าด้วยการบริหารและการใช้สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
บรรดาระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
สถานีขนส่ง หมายถึง
สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของที่กรมการขนส่งทางบก จัดให้มีหรือจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ค่าบริการสถานีขนส่ง หมายถึง
ค่าบริการสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงคมนาคมว่าด้วยการรับจ่ายค่าบริการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
กรมการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๔๑
ผู้ใช้บริการ หมายถึง ผู้เช่า ผู้เช่าช่วง
หรือคู่สัญญาอื่นกับกรมการขนส่งทางบก เกี่ยวกับคลังสินค้า
อาคารชานชาลาขนถ่ายสินค้า อาคารสำนักงานกลาง อาคารที่พักและโรงอาหาร หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นใดภายในสถานีขนส่ง
และให้หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้างของบุคคลนั้น
ตลอดจนผู้ที่เข้ามาภายในสถานีขนส่งด้วย
นายสถานี หมายถึง ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก
ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นนายสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการที่รักษาราชการแทน
หรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
อธิบดี หมายถึง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๕
สถานีขนส่งให้เปิดบริการทุกวันและตลอดเวลา โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้
เว้นแต่อธิบดีจะมีคำสั่งให้หยุดบริการหรือมีเหตุจำเป็นอื่นใดอันสมควร
ข้อ ๖ การเก็บค่าบริการสถานีขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นใดภายในสถานีขนส่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
ค่าบริการสถานีขนส่งเมื่อชำระแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
เว้นแต่จะมีข้อกำหนดหรือข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๗ อธิบดี
หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือนายสถานี
มีอำนาจห้ามมิให้ยานพาหนะที่มีขนาดความกว้าง ยาว สูง
หรือมีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด หรืออาจก่อให้เกิดอันตราย
หรือไม่เหมาะสมแก่การใช้สถานีขนส่งเข้ามาในบริเวณสถานีขนส่ง
และมีอำนาจสั่งให้ออกจากบริเวณสถานีขนส่งได้
ข้อ ๘
นายสถานีมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล
และบริหารสถานีขนส่งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อ ๙
ในขณะอยู่ภายในบริเวณสถานีขนส่ง
ผู้ใช้บริการมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในการใช้บริการสถานีขนส่งตลอดเวลา
ข้อ ๑๐
ผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศและคำสั่งต่าง ๆ
ที่อธิบดีประกาศกำหนด และระเบียบนี้
ตลอดจนมีหน้าที่ควบคุมและดูแลให้พนักงานหรือลูกจ้างของตนซึ่งอยู่ภายในสถานีขนส่ง
ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และคำสั่งต่าง ๆ ที่อธิบดีประกาศกำหนด และระเบียบนี้ด้วย
ในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในวรรคแรก ให้อธิบดี
หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือนายสถานี
มีอำนาจปฏิเสธไม่ให้บุคคลดังกล่าวเข้าใช้สถานีขนส่ง หรือให้ออกไปจากสถานีขนส่งได้
ในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในวรรคแรก
เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
หรือนายสถานี ดำเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ข้อ ๑๑
ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้งตามระเบียบนี้
ให้อธิบดีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๑๒
ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒
มหิดล จันทรางกูร
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ภคินี/แก้ไข
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๖๐ ง/หน้า ๑๐๗/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๒ |
308572 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ชนิด ประเภท และขนาดของเครื่องดับเพลิงที่ต้องมีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง ชนิด ประเภท
และขนาดของเครื่องดับเพลิง
ที่ต้องมีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ซึ่งปรับปรุงแก้ไขโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนด ชนิด ประเภท และขนาดของเครื่องดับเพลิงที่ต้องมีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
ข้อ ๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ และมาตรฐาน ๖ ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย ๒ เครื่อง
ติดตั้งไว้ที่ด้านหน้ารถ ๑ เครื่อง และด้านท้ายรถ ๑ เครื่อง
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๔ (ก) (ข) (ค) (ง)
ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยชั้นละ ๒ เครื่อง
โดยแต่ละชั้นให้ติดตั้งไว้ที่ด้านหน้ารถ ๑ เครื่อง ด้านท้ายรถ ๑ เครื่อง
เครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องติดตั้งไว้ภายในรถในที่ที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
ข้อ ๒ เครื่องดับเพลิงต้องเป็นแบบยกหิ้ว
ชนิดผงเคมีแห้ง
ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและมีขนาด ดังนี้
(๒.๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๑ (ก) (ข)
มาตรฐาน ๒ (ก) (ข) มาตรฐาน ๔ (ก) (ข) (ค) (ง) และมาตรฐาน ๖ (ก) (ข)
ให้ใช้เครื่องดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม
(๒.๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (ค) (ง)
ให้ใช้เครื่องดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๒ กิโลกรัม
(๒.๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ)
ให้ใช้เครื่องดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๑ กิโลกรัม
เครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่งต้องมีคุณภาพใช้งานได้ดี
กรณีใช้เครื่องดับเพลิงชนิดอื่นต้องมีคุณสมบัติเทียบเท่า
และสารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิงต้องเป็นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซพิษ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๖/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ |
320754 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ตัวอักษรหรือเครื่องหมายที่ด้านข้างของตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ตัวอักษรหรือเครื่องหมายที่ด้านข้างของตัวถังรถ
ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ[๑]
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมความปลอดภัยและตรวจสอบรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕
(๒) (ฉ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดตัวอักษรหรือเครื่องหมายที่ด้านข้างของตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลักษณะ ๕ (รถบรรทุกเฉพาะกิจ) ดังนี้
ข้อ ๑
ให้เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลักษณะ ๕ (รถบรรทุกเฉพาะกิจ)
ที่มีน้ำหนักเกินพิกัดตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน
และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะ โดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก
น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดเดินบนทางหลวงพิเศษ
ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๕
จัดทำเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากพื้นสีเหลืองตรงกลางมีอักษรภาษาไทยสีดำข้อความว่า
รถเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตก่อนใช้ทางสาธารณะ ขนาดของตัวอักษรดังกล่าวให้มีความสูงไม่น้อยกว่า
๕ เซนติเมตร ติดไว้ที่ตัวถังด้านนอกข้างซ้ายรถ
และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
โดยให้มีความสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒๐๐ เซนติเมตร
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐ ง/หน้า ๑๑/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ |
568242 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ 2)
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่
ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่
๒)
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความใน (๑๑) ของข้อ ๓
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๑) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต
หรือร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากการขนส่งของตน
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๔
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง
หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
สำหรับหลักทรัพย์ที่วางไว้ในเขตความรับผิดชอบ
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๔)
ของข้อ ๕ แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐
(๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ที่ได้วางไว้ในเขตความรับผิดชอบ
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๑๓
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๑๔
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ
๖ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๑๕
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ
๗ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๑๙
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ
๘ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๒๐
แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ
๙ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (จ) ใน
(๙) ของข้อ ๒๓ แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายบุคคลภายนอก
หรือการออกหนังสือรับรองการวางหลักทรัพย์
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(จ) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง
หรือขอถอนหลักทรัพย์เพียงบางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิม เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
สำหรับหลักทรัพย์ที่วางไว้ต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ
ข้อ
๑๐[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
นายทะเบียนกลาง
ดลธี/พิมพ์
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๓๖ ง/หน้า ๙๐/๖ พฤษภาคม ๒๕๔๒ |
307168 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท
ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการนำรถบรรทุกลักษณะกระบะบรรทุกยกเทไปทำการเสริมกระบะเป็นกระบะโปร่งอยู่ส่วนบนของกระบะทึบ
และมีการใช้วัสดุปิดกั้นช่องโปร่งของกระบะหรือมีการแก้ไขดัดแปลงพื้นกระบะทำให้พื้นกระบะส่วนบรรทุกอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของกระบะทึบ
(กระบะหลุม)
ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้รถสามารถบรรทุกสิ่งของเกินพิกัดน้ำหนักตามที่ทางราชการกำหนด
ดังนั้น
เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดของรถกระบะบรรทุกยกเท
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงประกาศกำหนดแบบตัวถังของรถบรรทุกลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก)
ลักษณะ ๖ (รถพ่วง) และลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง) ที่มีตัวถัง ส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเทไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
รถกระบะบรรทุกยกเท ให้มีตัวถังส่วนที่บรรทุก ตามลักษณะและมาตรฐานของกระบะ
แบบที่ ๓ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ เท่านั้น
กรณีรถกระบะบรรทุกยกเท
ที่มีเหตุผลและความจำเป็นต้องใช้ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบอื่น
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อน
ข้อ ๒
ตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถกระบะบรรทุกยกเท
ต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของกระบะหรือเสายื่นเกินขอบกระบะในลักษณะที่เห็นได้ว่าเพื่อเตรียมการสำหรับต่อเติมเสริมกระบะส่วนทึบให้สูงขึ้นเกินกว่าที่ประกาศกำหนด
การวัดความสูงของกระบะส่วนทึบ
ให้วัดในแนวดิ่งจากพื้นกระบะส่วนที่ต่ำที่สุดถึงขอบบนของกระบะส่วนทึบ
โดยไม่รวมบานพับของฝาท้าย
ข้อ ๓
รถบรรทุก ลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ ๖ (รถพ่วง) หรือลักษณะ ๗
(รถกึ่งพ่วง) ที่มีตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นแบบกระบะบรรทุกยกเท ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
และยังมิได้นำรถไปจดทะเบียนให้ยกเลิกกระบะโปร่งที่อยู่ส่วนบนของกระบะทึบ
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบใหม่
ข้อ ๔
รถกระบะบรรทุกยกเทที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และมีตัวถังส่วนที่บรรทุกไม่เป็นไปตามที่ประกาศนี้กำหนด
ให้ใช้ได้ต่อไปจนสิ้นสภาพ
เว้นแต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงตัวถังส่วนที่บรรทุก ต้องให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๘ ง/หน้า ๒๕/๒๘ มกราคม ๒๕๔๒ |
568324 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำ จากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำ
จากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ
เรื่อง เกณฑ์ของก๊าซและควันที่เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ ตามประกาศลงวันที่
๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขึ้นใหม่ตามประกาศ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น เพื่อให้เกณฑ์มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบระบบไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ญ) และข้อ ๑๕
(๑) (ญ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง เกณฑ์ของก๊าซและควันที่เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ ลงวันที่ ๒๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ
๒ ในประกาศนี้
รถ หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ มาตรฐาน ๖ มาตรฐาน ๗
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕
ลักษณะ ๙ และรถขนาดเล็ก ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง (Filter)
หมายความว่า เครื่องมือตรวจวัดควันดำโดยใช้กระดาษกรอง
และวัดค่าของแสงที่สะท้อนจากกระดาษกรองซึ่งวัดค่าเป็นหน่วยร้อยละ
ระยะความยาวของทางเดินแสง (Optical Path Length) หมายความว่า
ระยะความยาวของทางเดินแสงที่ถูกปิดกั้นด้วยควันดำในขณะตรวจวัด
เครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง แบบไหลผ่านทั้งหมด (Full Flow Opacity) หมายความว่า
เครื่องมือตรวจวัดควันดำที่ให้ควันดำทั้งหมดไหลผ่านช่องวัดแสงและวัดค่าของแสงที่ทะลุผ่านควันดำ
โดยวัดค่าเป็นหน่วยร้อยละที่ระยะความยาวของทางเดินแสงที่ ๗๖ มิลลิเมตร
หรือเทียบเท่า
เครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง แบบไหลผ่านบางส่วน (Partial Flow Opacity) หมายความว่า
เครื่องมือตรวจวัดควันดำที่ให้ควันดำไหลผ่านช่องวัดแสงบางส่วนและวัดค่าของแสงที่ทะลุผ่านควันดำ
โดยวัดค่าเป็นหน่วยร้อยละที่ระยะความยาวของทางเดินแสงที่ ๔๓๐ มิลลิเมตร
หรือเทียบเท่า
ข้อ
๓
ค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ
ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าควันดำสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๔๕
ที่ระยะความยาวของทางเดินแสงมาตรฐานเมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง
(๒)
ค่าควันดำสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๕๐
เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง
ข้อ
๔
ค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในขณะเครื่องยนต์มีภาระและอยู่บนเครื่องทดสอบ
ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าควันดำสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๓๕
ที่ระยะความยาวของทางเดินแสงมาตรฐานเมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง
(๒)
ค่าควันดำสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๔๐ เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง
ข้อ
๕
การตรวจวัดค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระและในขณะเครื่องยนต์มีภาระและอยู่บนเครื่องทดสอบให้ใช้วิธีตามที่กำหนดรายละเอียดไว้ในภาคผนวกท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ภาคผนวกท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก ฉบับลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เรื่อง
กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ตามข้อ ๓ (๑) (ค)
๒.
ภาพแสดงการติดตั้งหัววัดเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านทั้งหมดกับท่อไอเสียของรถยนต์
และระยะความยาวของทางเดินแสงขณะตรวจวัดจริง ตามภาคผนวกท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก
ฉบับลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ตามข้อ ๓ (๑) (ค) สำหรับท่อไอเสียวงกลมชนิดท่อตรง
๓.
ภาพแสดงการติดตั้งหัววัดเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านทั้งหมดกับท่อไอเสียของรถยนต์
และระยะความยาวของทางเดินแสงขณะตรวจวัดจริง ตามภาคผนวกท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก
ฉบับลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เรื่อง
กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ตามข้อ ๓ (๑) (ค) สำหรับท่อไอเสียวงกลมชนิดท่อบากทำมุม
๔.
ภาพแสดงการติดตั้งหัววัดเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านทั้งหมดกับท่อไอเสียของรถยนต์
และระยะความยาวของทางเดินแสงขณะตรวจวัดจริง ตามภาคผนวกท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก
ฉบับลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เรื่อง
กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ตามข้อ ๓ (๑) (ค) สำหรับท่อไอเสียวงกลมชนิดโค้ง
๕.
ภาพแสดงการติดตั้งหัววัดเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านทั้งหมดกับท่อไอเสียของรถยนต์
และระยะความยาวของทางเดินแสงขณะตรวจวัดจริง ตามภาคผนวกท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก
ฉบับลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เรื่อง
กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ตามข้อ ๓ (๑) (ค) สำหรับท่อไอเสียที่ไม่เป็นวงกลมชนิดท่อตรง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๒๗/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ |
568314 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วย
การขนส่งทางบก
ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ
เรื่อง เกณฑ์ของก๊าซและควันที่เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ ตามประกาศลงวันที่
๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊ซโซลีนขึ้นใหม่
ตามประกาศ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น
เพื่อให้เกณฑ์มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบระบบไอเสียของรถเป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ญ) และข้อ ๑๕
(๑) (ญ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
เกณฑ์ของก๊าซและควันที่เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ ๒
ในประกาศนี้
รถ หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ มาตรฐาน ๖ มาตรฐาน ๗
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕
ลักษณะ ๙ และรถขนาดเล็ก ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เครื่องมือ หมายความว่า เครื่องมือวัดระบบนันดีสเปอร์ซีฟ
อินฟราเรด (Nondispersive Infrared, NDIR)
สำหรับใช้วัดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียที่มีช่วงการวัดไม่น้อยกว่าร้อยละ
๔.๕ โดยปริมาตร และเครื่องวัดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียที่มีช่วงการวัดไม่น้อยกว่า
๖๐๐ ส่วนในล้านส่วน (ppm) ของค่าเทียบเท่านอร์มัล เฮ็กเซน (N-Hexane) หรือเครื่องวัดระบบอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า
ข้อ ๓
ค่าก๊าซจากท่อไอเสียรถ ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกินร้อยละ ๔.๕ ที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ
(๒)
ค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน ไม่เกิน ๖๐๐ ส่วนในล้านส่วนที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ
ข้อ ๔
วิธีตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียรถ
ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
(๑)
ปรับเทียบ (Calibrate) เครื่องมือด้วยก๊าซมาตรฐาน (Standard Gas) ตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตเครื่องมือเพื่อให้เครื่องมืออ่านค่าได้ถูกต้อง
(๒)
เดินเครื่องยนต์ของรถให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งานปกติ
(๓)
ขณะที่เครื่องยนต์เดินเบา ให้สอดหัววัด (Probe)
ของเครื่องมือเข้าไปในท่อไอเสียให้ลึกที่สุดอย่างน้อยตามคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องมือ
ในกรณีที่ไม่สามารถสอดหัววัดของเครื่องมือเข้าไปในท่อไอเสียเนื่องจากติดอุปกรณ์ระงับเสียง
ให้ใช้ท่อพิเศษต่อปลายท่อไอเสีย
แล้วจึงสอดหัววัดของเครื่องมือเข้าไปในท่อพิเศษที่ต่อเสริมปลายท่อไอเสีย
เพื่อเป็นการป้องกันอากาศภายนอกเข้าไปเจือจางไอเสียอันจะทำให้ผลจากการวัดผิดพลาด
(๔)
ให้อ่านค่าปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนเมื่อเครื่องมือแสดงผลคงที่แล้ว
ในกรณีที่เครื่องมือแสดงผลไม่คงที่ ให้ใช้ค่าเฉลี่ยของค่าที่อ่านได้ระหว่างค่าสูงและค่าต่ำสุดของการวัดครั้งนั้น
(๕)
ให้ปฏิบัติตาม (๓) และ (๔) ซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วใช้ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการวัดทั้งสองครั้งเป็นเกณฑ์ตัดสิน
ข้อ ๕
วิธีทำความสะอาดและเปลี่ยนไส้กรองของเครื่องมือให้กระทำตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตเครื่องมือ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๒๔/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ |
313357 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการ
ของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๗) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๑
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑
กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของไว้
ดังต่อไปนี้
ลำดับที่
รายการ
พ.ศ./อัตราค่าบริการ
(บาท/ตารางเมตร/เดือน)
๒๕๔๑
๒๕๔๔
๒๕๔๗
๒๕๕๐
๒๕๕๓
๒๕๕๖
๒๕๕๙
๒๕๖๒
๑.
ชานชาลาขนถ่ายสินค้า
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
๒.
สำนักงานที่อาคารชานชาลา
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
๓.
สำนักงานที่อาคารบริหาร
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
๔.
คลังสินค้า
๒๒๕
๒๖๑
๓๐๒
๓๕๐
๔๐๔
๔๖๘
๕๔๒
๖๒๗
๕.
ที่พักและโรงอาหาร
๑๕๐
๑๗๔
๒๐๑
๒๓๓
๒๗๐
๓๑๒
๓๖๒
๔๑๙
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
มหิดล จันทรางกูร
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ดลธี/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๑๙๘/๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๑ |
311230 | ประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิด
จากการเสพยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า) และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ
ตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็น
ผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่า
มีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(ยาม้า) และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่
และต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกำหนดให้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทแอมฟาตามีนและเมทแอมฟาตามีน
(ยาม้า) เป็นยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า)
มีผลทำให้ประกาศกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวสิ้นสุดลงไปโดยผลของประกาศดังกล่าว
ประกอบกับในปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้มีการดำเนินการปรับปรุงอัตราโทษสำหรับผู้เสพยาเสพติดให้โทษตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ให้มีอัตราโทษเท่ากับที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีปัญหาข้อกฎหมาย
และนอกจากนี้ยังเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจนอกห้องปฏิบัติด้วย
กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกประกาศยกเลิกกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวไปแล้ว
นั้น
โดยที่กรมการขนส่งทางบกได้รับแจ้งจากสำนักงาน ป.ป.ส.ว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจในการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า)
จึงใคร่ขอความร่วมมือกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว
โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้ เพื่อสำนักงาน
ป.ป.ส.จะได้ดำเนินการกับผู้ประจำรถที่เสพยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) ได้ ฉะนั้น เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการที่จะปราบปรามและป้องกันผู้ประจำรถที่เสพยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า)
และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
การตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า
การตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณของแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)
ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษในปัสสาวะ
ข้อ ๒
ให้ผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจต่อไปนี้ เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่
(๑) ผู้ตรวจการในส่วนตรวจการขนส่ง สำนักควบคุมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ตรวจการในสำนักงานขนส่งจังหวัด
และสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล
หรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาลหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔) พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจจราจร
ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน
ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
หรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗) รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๘) รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรตำบล
หรือสารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรตำบล
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๙) พนักงานสอบสวนกองตำรวจทางหลวง
ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๑๐)
เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๓
วิธีการตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณยาเสพติดให้โทษ ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจหรือทดสอบให้ใช้ ชุดน้ำยาตรวจยาบ้าในปัสสาวะของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข หรือเครื่องมือตรวจสอบโดยวิธี Immunoassay ซึ่งเป็นวิธีที่ยอมรับโดยสากล
(๒) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บปัสสาวะให้ใช้ขวดแก้ว
หรือขวดพลาสติกปากกว้าง พร้อมฝาบิดขนาดบรรจุประมาณ ๖๐ มิลลิลิตร
โดยขวดที่นำมาใช้ต้องสะอาดและแห้ง
และให้มีฉลากและกระดาษกาวเพื่อใช้สำหรับปิดผนึกขวดตัวอย่างปัสสาวะด้วย
(๓) วิธีเก็บปัสสาวะให้ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) จัดให้มีผู้ควบคุมการถ่ายปัสสาวะของผู้รับการตรวจทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำใด ๆ
ที่ทำให้ปัสสาวะนั้นเกิดการเจือจาง หรือสับเปลี่ยนตัวอย่าง
(ข) ให้บันทึกหมายเลขประจำขวด และชื่อ-นามสกุล
ของผู้รับการตรวจสอบบนฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ
(ค) ให้ขวดแก่ผู้รับการตรวจ นำไปถ่ายปัสสาวะจำนวนประมาณ ๓๐
มิลลิลิตร หรือครึ่งขวด
(๔)
ในกรณีที่ใช้ชุดน้ำยาตรวจยาบ้าในปัสสาวะของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจหรือทดสอบ
และจัดให้มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจหรือทดสอบ ดังนี้
(ก) น้ำยาตรวจสอบเป็นน้ำยาเคมีบรรจุขวดแก้ว ประมาณ ๓๐
มิลลิลิตร จำนวน ๒ ขวด
(ข) แถบเทียบสี จำนวน ๑ แผ่น (ผลบวก)
(ค) แผ่นผลบวก จำนวน ๑ แผ่น
(ง) หลอดเทียบผลบวก จำนวน ๑ หลอด
(จ) หลอดเทียบผลลบ จำนวน ๑ หลอด
(ฉ) หลอดตรวจปัสสาวะเป็นหลอดแก้วมีขีดระดับข้างหลอด บรรจุผงเคมีสีขาวผนึกด้วยพาราฟิล์ม
จำนวน ๕๐ หลอด
(ช) หลอดพลาสติกสีขาว (หมายเลข ๑) สำหรับดูดตัวอย่างปัสสาวะ
จำนวน ๕๐ หลอด
(ซ) หลอดพลาสติกสีขาว (หมายเลข ๒) สำหรับดูดน้ำยาทดสอบ
จำนวน ๕ หลอด
(ฌ) ถุงมือ จำนวน ๕ คู่
(ญ) ขวดพลาสติกขนาด ๖๐ มิลลิลิตร สำหรับเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
จำนวน ๕๐ ใบ แถบกาวพลาสติก ขนาด ๑x๔ นิ้ว สำหรับผนึกฝาขวด จำนวน ๑ ม้วน
ฉลากสำหรับปิดขวดบรรจุตัวอย่างปัสสาวะ จำนวน ๕๐ แผ่น และกระดาษเช็ดมือ จำนวน ๑ ห่อ
(๕) วิธีใช้ชุดน้ำยาตรวจสอบ
(ก) เตรียมหลอดเทียบผลบวกและหลอดเทียบผลลบ
(ข) หยิบแผ่นผลบวกใส่ในหลอดเทียบผลบวก
(ค) ใช้หลอดดูดตัวอย่างปัสสาวะที่ต้องการตรวจใส่ในหลอดเทียบผลบวกและหลอดเทียบผลลบจนถึงขีดระดับที่
๑
(ง) เขย่าหลอดไปมาประมาณ ๒๐ ครั้ง
(จ) ใช้หลอดดูด (หมายเลข ๒)
ดูดน้ำยาตรวจสอบใส่ลงในหลอดทั้งสอง จนถึงขีดระดับที่ ๒ เขย่าประมาณ ๒๐ ครั้ง
(ฉ) ตั้งทิ้งไว้ประมาณ ๑-๒ นาที เพื่อให้แยกชั้น
(ช) อ่านผล (เทียบกับแถบเทียบสี)
(๖) การเทียบผลบวกและผลลบ
(ก) หลอดเทียบผลบวก
น้ำยาชั้นล่างต้องเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีม่วงแดง
(ข) หลอดเทียบผลลบ
น้ำยาชั้นล่างต้องไม่เปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง (อาจเป็นสีเขียว เหลือง ฟ้า หรือเทา)
(๗) วิธีการตรวจ
(ก) ใช้หลอดดูด (หมายเลข ๑)
ดูดตัวอย่างปัสสาวะใส่ในหลอดตรวจจนถึงขีดระดับที่ ๑ เขย่าประมาณ ๒๐ ครั้ง
(ข) ใช้หลอดดูด (หมายเลข ๒)
ดูดน้ำยาทดสอบเติมลงในหลอดตรวจที่ใส่ปัสสาวะไว้จนถึงขีดระดับที่ ๒ เขย่าประมาณ ๒๐
ครั้ง
(ค) ตั้งทิ้งไว้ประมาณ ๑-๒ นาที
(๘) การอ่านผล
(ก) ผลบวก น้ำยาชั้นล่างจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีม่วงหรือสีม่วงแดง
(เทียบกับหลอดเทียบผลบวก)
(ข) ผลลบ น้ำยาชั้นล่างไม่เปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีม่วงแดง (เทียบกับหลอดเทียบผลลบ)
การอ่านผลตามวรรคหนึ่งอาจมีสารบางชนิดที่รบกวนการตรวจสอบได้ดังนี้
(ก) สารในกลุ่มยาแก้หวัด เช่น ซูโดอีเฟดรีน คลอร์เฟนิรามีน เฟนิลโปรปาโนลามีน
เฟนิลเอฟรีน
(ข) ยาแก้ไอ โคเดอีน ในปริมาณสูง ๆ
(ค) ยารักษาโรคไต
จะทำให้ปัสสาวะที่ถูกขับออกจากร่างกายมีสีน้ำเงิน
ซึ่งรบกวนการอ่านผลการเปลี่ยนแปลงของน้ำยา
ในกรณีที่ปัสสาวะให้ผลบวก
ต้องส่งปัสสาวะส่วนที่เหลือให้สถานตรวจพิสูจน์ยืนยันผลอีกครั้ง
โดยให้ส่งในสภาพแช่เย็น เพื่อมิให้ตัวอย่างเสื่อมสลาย
(๙) เกณฑ์การตัดสิน
เมื่ออ่านผลแล้วปรากฏว่า
ให้ผลบวกโดยมีปริมาณแอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะตั้งแต่ ๓ ไมโครกรัม/มิลลิกรัม
ขึ้นไป ให้ถือว่าผู้รับการตรวจอาจเสพสารแอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)
(๑๐) กรณีที่ตรวจหรือทดสอบโดยใช้เครื่องมือตรวจสอบโดยวิธี Immunoassay
ให้ถือปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือวิธีการตรวจสอบของเครื่องมือแต่ละชนิด
และถ้าปรากฏว่าผลการตรวจพบว่ามีสารแอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)
ในปัสสาวะตั้งแต่ ๑ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
ให้ถือว่าผู้รับการตรวจอาจเสพสารแอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)
ข้อ ๔
เมื่อได้ผลการตรวจตามข้อ ๓ (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) ให้เจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจหรือทดสอบ
บรรจุปัสสาวะของผู้รับการตรวจนั้นลงในอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บปัสสาวะตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๓ (๒) และปิดให้สนิท พร้อมทั้งผนึกทับปากขวดด้วยแถบกาว
โดยมีลายมือชื่อของผู้ทำการตรวจกำกับไว้
และเมื่อดำเนินการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ให้ผู้ทำการตรวจรีบจัดส่งตัวอย่างปัสสาวะ (ในสภาพแช่เย็น)
ไปยังสถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการตามข้อ ๕
ข้อ ๕
สถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการที่สามารถตรวจยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจมีดังนี้
(๑) หน่วยงานในสังกัดกรมตำรวจ
(ก) สถาบันนิติเวชวิทยา
(ข) กองพิสูจน์หลักฐาน
(ค) สำนักงานวิทยาการเขต
(ง) วิทยาการจังหวัด
(๒) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
(ก) โรงพยาบาลศูนย์ของรัฐ
(ข) โรงพยาบาลจังหวัด
(ค) โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี
โรงพยาบาลธัญญารักษ์
(ง) หน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น กองวัตถุเสพติด
และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(๓) สำนักงาน ป.ป.ส.
ข้อ ๖
เพื่อให้การตรวจหรือทดสอบตามประกาศนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง
เหมาะสมตามหลักวิชาการแพทย์และรัดกุมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาในข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติ ฉะนั้น
ในการออกปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า) จากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละครั้งให้ออกปฏิบัติการโดยมีผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
หรือสถานตรวจพิสูจน์ของทางราชการตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕
เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
และเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๗[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๔/๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
301330 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทของรถและแบบของเข็มขัดนิรภัย | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดประเภทของรถและแบบของเข็มขัดนิรภัย[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศกำหนดประเภทของรถและแบบของเข็มขัดนิรภัยตามประกาศ
ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประเภทของรถที่จะบังคับให้ต้องมีเข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์ส่วนควบของรถ
เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความใน (ณ) ของข้อ ๑ (๒) และ (ฌ) ของข้อ
๑๕ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดประเภทของรถและแบบของเข็มขัดนิรภัย ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ ๒
ให้รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกดังต่อไปนี้
ต้องมีเข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์ส่วนควบของรถ
ติดตั้งไว้สำหรับผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกันกับผู้ขับรถ
(๑)
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๑๕ ที่นั่ง
ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล
ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
(๒)
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน ๑,๖๐๐ กิโลกรัม
ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
(๓)
รถขนาดเล็กที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๑๕ ที่นั่ง
ในประเภทการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ความในข้อ ๒
มิให้ใช้บังคับแก่รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๙ ที่นั่ง
และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อไม่เกิน ๑๒ นิ้ว (รถสี่ล้อเล็ก)
ข้อ ๔ รถอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
จะติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์ส่วนควบของรถหรือไม่ ก็ได้
ข้อ ๕
เข็มขัดนิรภัยให้มี ๒ แบบ ดังนี้
(๑)
แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่
สำหรับผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
(๒)
แบบรัดหน้าตัก สำหรับผู้ที่นั่งตอนกลางระหว่างผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุดเท่านั้น
ข้อ ๖
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมภิญา/พิมพ์
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๑๙/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
301329 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช 2478 ที่มีโทษปรับสถานเดียว | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
พระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติ
ล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘
ที่มีโทษปรับสถานเดียว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘
ที่มีโทษปรับสถานเดียว ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งมีผลทำให้การแบ่งส่วนราชการของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
มีการเปลี่ยนแปลงไปและมีการกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่ ประกอบกับในส่วนของกรมตำรวจ
กระทรวงมหาดไทย
ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและการกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่เช่นกัน ฉะนั้น
เพื่อให้การมอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดเป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งต่าง
ๆ ขึ้นใหม่ดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐
และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้อเลื่อน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช
๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียวไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘
ที่มีโทษปรับสถานเดียว ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้เจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบ
(๑) ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
(๒) ผู้อำนวยการส่วนตรวจการขนส่ง สำนักควบคุมการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
(๓) หัวหน้าฝ่ายตรวจการ ส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
(๔) หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ ส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
(๕) ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในฝ่ายตรวจการ
และฝ่ายเปรียบเทียบ ส่วนตรวจการขนส่ง สำนักควบคุมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๓
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้เจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบ
(๑) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
และข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่นั้น
สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๒) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล
หรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจจราจร
ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๔
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้เจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบ
(๑) ขนส่งจังหวัด และข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓
ขึ้นไป ในสำนักงานขนส่งจังหวัด สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดนั้น
(๒) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
และข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓)
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
หรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
หรือสารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรตำบล
หรือสารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรตำบลหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗) พนักงานสอบสวนกองตำรวจทางหลวง
ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมพิกา/แก้ไข
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๑๔/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
318515 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการขอดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ และการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ที่ทำงานในต่างประเทศ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการขอดำเนินการต่ออายุใบอนุญาต
เป็นผู้ขับรถ
และการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุด
ในสาระสำคัญสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ที่ทำงานในต่างประเทศ[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศกำหนดการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการขอดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถและการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ ตามประกาศลงวันที่
๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันได้มีประกาศใช้บังคับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๘
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ปรับปรุงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ) ฉะนั้น
เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว
สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขอดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถและการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ
เสียใหม่ให้สอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังนี้
๑.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขอดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ให้จัดเก็บเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
จำนวน ๙ ดอลลาร์
(เฉพาะค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่จัดเก็บตามอัตราปกติคิดเป็นเงินไทย
๒๐๐ บาท)
๒.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขอต่ออายุและขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ที่ชำรุดในสาระสำคัญ ให้จัดเก็บเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา จำนวน ๑๐ ดอลลาร์
(เฉพาะค่าธรรมเนียมต่ออายุและขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถคิดเป็นเงินไทย ๒๓๐
บาท)
๓.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ชำรุดในสาระสำคัญให้จัดเก็บเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
จำนวน ๒ ดอลลาร์
(เฉพาะค่าธรรมเนียมในการขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ชำรุดในสาระสำคัญคิดเป็นเงินไทย
๓๐ บาท)
๔. สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ทางราชการเรียกเก็บนอกเหนือจากเงินค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บตามอัตราปกตินั้น
หากมีเหลือเป็นจำนวนเท่าใด
ให้ทางราชการส่งคืนแก่ผู้ยื่นคำขอโดยผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ แล้วแต่กรณี
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘
ประดัง ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๑๒/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
568250 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก
มีผลทำให้การแบ่งส่วนราชการในกรมการขนส่งทางบกมีการเปลี่ยนแปลงไป
และมีการกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ฉะนั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานภายในกรมการขนส่งทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
สมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๓๗
ข้อ
๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่จำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
การอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา
และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ดังนี้
(ก)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง นำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน
ตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๑)
การถอนหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค)
การถอนรถ
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทาบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา
และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
นำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน
ตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๑)
การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต
หรือร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากขนส่งของตน
(๑๒)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ
ตามความมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๔ ให้ผู้อำนวยการส่วนกิจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค)
การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่งหรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
นำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ส่วนกิจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๖ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
ส่วนกิจการขนส่ง สำนักควบคุมการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค)
การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๗ ให้ผู้อำนวยการส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นนิติบุคคล
มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการ
ส่วนตรวจการขนส่ง สำนักควบคุมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๙ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ
ส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๐ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
โครงคัสซี
(ข)
ระบบบังคับเลี้ยว
(ค)
จำนวนกงล้อและยาง
(ง)
จำนวนเพลาล้อ
(จ)
ช่วงล้อ
ข้อ
๑๑
ให้ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
โครงคัสซี
(ข)
ระบบบังคับเลี้ยว
(ค)
จำนวนกงล้อและยาง
(ง)
จำนวนเพลาล้อ
(จ)
ช่วงล้อ
ข้อ
๑๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ
๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์
หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๔ ให้ผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักทะเบียนและภาษีรถเป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ
สำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถขนส่ง
สำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๗
ให้ผู้อำนวยการส่วนใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ สำนักทะเบียนและภาษีรถ
เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตการขนส่ง
สำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๙ ให้ผู้อำนวยการขนส่งเขตพื้นที่
สำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามลักษณะเดิม
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๓)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๕)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๒๐ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๒๑ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาต
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๒๒ ให้หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี กองคลัง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว
ตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก
ข้อ
๒๓ ให้ขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การบรรจุรถ
(จ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามลักษณะเดิม
(ฉ)
การถอนรถ
(ช)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การบรรจุรถ
(จ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามลักษณะเดิม
(ฉ)
การถอนรถ
(ช)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคัดใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
หรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีจุดหมายปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา
และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือมีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกและซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๓๕
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว ตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ง)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องมาจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(จ)
การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง
หรือขอถอนหลักทรัพย์เพียงบางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง สำหรับหลักทรัพย์ที่วางไว้ต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น
ๆ
(๑๐)
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๒๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
พงศกร เลาหวิเชียร
นายทะเบียนกลาง
นันติญา/พิมพ์
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๘ ง/หน้า ๑๐๖/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ |
322764 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุราและกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจาก
การเสพสุราและกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ
วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ไปแล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ.
๒๕๓๙) เรื่อง ระบุชื่อ และประเภทยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
กำหนดให้วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน
เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท ดังนั้น
การกระทำความผิดฐานเสพสารแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
จึงเป็นความผิดฐานเสพยาเสพติดประเภท ๑
ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษที่กำหนดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน
อันมีผลทำให้การปฏิบัติตามประกาศกรมการขนส่งทางบกทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไม่อาจถือปฏิบัติได้ต่อไป
ด้วยเหตุนี้
กรมการขนส่งทางบกจึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุราเท่านั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
หรือสั่งให้ผู้ใดรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่ (ฉบับที่
๒) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
การตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา หมายความว่า
การตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด
ข้อ ๓ ให้ผู้ตรวจการและตำรวจต่อไปนี้
เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารอันเกิดจากการเสพสุราอยู่ในร่างกายหรือไม่
(๑) ผู้ตรวจการในส่วนตรวจการขนส่ง
สำนักควบคุมการขนส่งกรมการขนส่งทางบก มีอำนาจทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
และในเขตอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ตรวจการในสำนักงานขนส่งจังหวัด
และสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล
หรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาลหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ๆ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔) พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจจราจรซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ๆ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
หรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ๆ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗) รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ๆ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๘) รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งตำบล
หรือสารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งตำบล
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ๆ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๙)
พนักงานสอบสวนกองตำรวจทางหลวงซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ๆ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๔ วิธีการตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดให้ถือปฏิบัติดังนี้
(๑)
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจหรือทดสอบให้ใช้เครื่องตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด
โดยวิธีเป่าลมหายใจ (BREATH ANALYZER TEST) และสามารถอ่านค่าของแอลกฮอล์ในเลือดเป็นมิลิกรัมเปอร์เซ็นต์
(๒) วิธีการตรวจหรือทดสอบ
ให้ถือปฏิบัติตามวิธีการตรวจสอบของเครื่องตรวจแต่ละชนิด
(๓)
ระดับเกณฑ์มาตรฐานของแอลกอฮอล์ที่ยอมให้มีในเลือดในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ต้องไม่เกิน ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อตรวจสอบตามวิธีการในข้อ ๔ (๒)
แล้วอ่านค่าของแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ถือว่าผู้รับการตรวจเป็นผู้เสพสุรา
ข้อ ๕ ในกรณีผู้รับการตรวจโต้แย้งผลการตรวจหรือทดสอบของเจ้าพนักงาน
ให้เจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจหรือทดสอบรีบนำตัวผู้รับการตรวจส่งไปยังสถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการที่สามารถยืนยันความถูกต้องของการตรวจที่ใกล้ที่สุดทันที่
ข้อ ๖ สถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการที่สามารถยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจในกรณีมีข้อโต้แย้งผลการตรวจของเจ้าพนักงาน
มีดังนี้
(๑) โรงพยาบาลศูนย์ของรัฐ
(๒) สถาบันนิติเวชวิทยา หรือกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ
(๓) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
(ก) กองวิเคราะห์วัตถุเสพติด และกองพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(ข) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น
(ค) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี
(ง) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย
(จ) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่
(ฉ) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง
(ช) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา
(ซ) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก
(ฌ) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา
(ญ) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี
ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๒/๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ |
301328 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่
แบบ ขนาด
และมาตรฐานเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดไว้ดังกล่าวยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บางประการ
ประกอบกับในปัจจุบันปรากฏว่าสถานตรวจสภาพรถส่วนใหญ่ประสบปัญหายังไม่สามารถจัดหาเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าได้ทันภายในระยะเวลาที่ประกาศดังกล่าวกำหนดได้
ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการสถานตรวจสภาพรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๒ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
สามารถแสดงการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถ ไปทางสูงและต่ำ
และไปทางซ้ายและขวาได้
โดยลำแสงที่เบนไปทางต่ำต้องสามารถอ่านค่าเป็นเซนติเมตรต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๑๐
เมตร หรือเป็นค่าองศาของมุม หรือเป็นหน่วยวัดอื่นใดที่สามารถเทียบได้
ในกรณีที่สถานตรวจสภาพรถใดไม่มีเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าตามวรรคหนึ่ง
ให้ผ่อนผันให้ใช้อุปกรณ์หรือวัสดุอื่นใดเป็นฉากรับแสงสำหรับทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถ
ที่สามารถใช้ทดสอบและอ่านค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถได้เช่นเดียวกับเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าตามวรรคหนึ่ง
ทั้งนี้
จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกการผ่อนผันดังกล่าว
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๑) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๑)
กรณีที่สถานตรวจสภาพรถใดไม่มีเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าตามวรรคหนึ่ง
ให้ผ่อนผันให้ใช้อุปกรณ์หรือวัสดุอื่นใดเป็นฉากรับแสงสำหรับทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถ
ที่สามารถใช้ทดสอบและอ่านค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถได้เช่นเดียวกับเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าตามวรรคหนึ่ง
ทั้งนี้
จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกการผ่อนผันดังกล่าว
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมภิญา/พิมพ์
๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๐ ง/หน้า ๒๖/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ |
313894 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ลงวันที่
๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่กรมการขนส่งทางบกมีนโยบายให้มีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถสำหรับบริการให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการนำรถไปใช้บริการตรวจสภาพยิ่งขึ้น
และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเอกชนเพิ่มมากขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนดแบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ข้อ ๒
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถตามแบบ
ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สามารถแสดงค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสง (จุดโฟกัส)
ของโคมไฟหน้ารถ ไปทางสูงและต่ำ เป็นเซนติเมตรต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๑๐ เมตร
หรือเป็นนิ้วต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๒๕ ฟุต หรือเป็นค่าองศาของมุม
และสามารถแสดงว่าศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถเบี่ยงเบนไปทางซ้ายหรือทางขวาได้
ยกเว้นสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับหากได้ใช้ฉากรับแสงสำหรับทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถแทนเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าอยู่ก่อน
จะต้องจัดให้มีเครื่องทดสอบโคมไฟหน้ารถตามวรรคหนึ่ง
สำหรับทำการทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐
เป็นต้นไป
(๒)
เครื่องวัดควันดำ
เป็นเครื่องวัดที่สามารถวัดค่าควันดำที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
ยกเว้นสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับหากมิได้ให้บริการตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดควันดำก็ได้
(๓)
เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เป็นเครื่องที่สามารถวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอน๊อคไซค์
และก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ระบายจากท่อไอเสียของรถ ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
ยกเว้นสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับหากมิได้ให้บริการตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แกสโซลีนไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวิเคราะห์ก๊าซก็ได้
(๔)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(ก)
เครื่องวัดระดับเสียง
เป็นเครื่องที่สามารถวัดระดับเสียงของรถยนต์ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
(ข)
เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ สามารถใช้วัดความเร็วรอบ เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ในการตรวจสอบระดับเสียงของรถยนต์ ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
ยกเว้นสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับหากมิได้ให้บริการตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แกสโซลีนไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ก็ได้
(๕)
เครื่องตรวจสอบก๊าซรั่ว
สำหรับใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ เช่น
ก๊าซธรรมชาติ (LPG) และก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) เป็นต้น
สามารถตรวจสอบการรั่วของก๊าซที่มีความเข้มข้นปริมาณตั้งแต่ ๕๐ ppm. ขึ้นไป
สถานตรวจสภาพรถใดไม่มีเครื่องตรวจสอบก๊าซรั่ว
จะใช้การตรวจสอบการรั่วของก๊าซโดยใช้ฟองสบู่แทนก็ได้
(๖)
สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ จะเป็นเครื่องยกรถทั้งคัน หรือสะพาน
หรือบ่อตรวจสภาพใต้ท้องรถ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้
ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและเหมาะสมสำหรับตรวจสภาพใต้ท้องรถ
กรณีที่เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่เป็นไปตาม
(๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หากสถานตรวจสภาพรถใดประสงค์จะนำมาใช้
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ข้อ ๓
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถ
ตามแบบ ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า ซึ่งมีแบบ ขนาด และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
(๑) วรรคหนึ่ง
ยกเว้นสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับหากได้ใช้ฉากรับแสงสำหรับทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถแทนเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าอยู่ก่อน
จะต้องจัดให้มีเครื่องทดสอบโคมไฟหน้ารถตามวรรคหนึ่ง
สำหรับทำการทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐
เป็นต้นไป
(๒)
เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ ซึ่งมีแบบ ขนาด และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
(๓) วรรคหนึ่ง
(๓)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๔)
กรณีที่เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่เป็นไปตาม
(๑) (๒) หรือ (๓)
หากสถานตรวจสภาพรถใดประสงค์จะนำมาใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ข้อ ๔
ในกรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้การตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพ
ต้องมีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกนอกเหนือจากที่กำหนดตามในข้อ
๒ หรือ ข้อ ๓ แล้วแต่กรณี ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นการเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ตามแบบ ขนาด และมาตรฐาน
และภายในกำหนดระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
ประดัง ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๐ ง/หน้า ๑๐๔/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๙ |
568292 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๔ มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
และประกาศ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๕ มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
(เพิ่มเติม) ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๔
(๒)
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
(เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๕
ข้อ
๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัด (หมวด ๒ และหมวด ๓) ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทน
และในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน
และในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่าง
ประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด
๒) เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) หรือระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด
๒) หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
(หมวด ๓) ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
นำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง
ตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาม
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๓
ให้ผู้อำนวยการกองควบคุมกิจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค)
การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถคันใหม่มาเปลี่ยนแทน หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กองควบคุมกิจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค)
การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำคันรถใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๖ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
โครงคัสซี
(ข)
ระบบบังคับเลี้ยว
(ค)
จำนวนกงล้อและยาง
(ง)
จำนวนเพลาล้อ
(จ)
ช่วงล้อ
ข้อ
๗ ให้ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
โครงคัสซี
(ข)
ระบบบังคับเลี้ยว
(ค)
จำนวนกงล้อและยาง
(ง)
จำนวนเพลาล้อ
(จ)
ช่วงล้อ
ข้อ
๘ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ
๙ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๐ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตการขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๑๑ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
ข้อ
๑๒ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทำการ (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ
๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๓)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๕)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่าง
ในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งกระทำความผิดในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ
๑๔ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาต
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๕ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข)
ตัวถัง
(ค)
สีภายนอกตัวรถ
(ง)
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ)
จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๓)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๖ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นนิติบุคคล
มาให้ถ้อยคำ หรือคำสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ
ตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถ
จัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการ
กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถ
จัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๘ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ
กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๙ ให้หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี
สำนักงานเลขานุการกรม
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว
ตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก
ข้อ
๒๐ ให้ขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การถอนรถ
(จ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การบรรจุ
(จ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ฉ)
การถอนรถ
(ช)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง ในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทน
หรือในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
หรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีจุดหมายปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
(หมวด ๒)
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือมีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม
ให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหาย
ตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว ตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ง)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๒๑
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ประดัง ปรีชญางกูร
นายทะเบียนกลาง
สรัลพร/พิมพ์
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๓๔ ง/หน้า ๑๙/๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๗ |
313717 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมแบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) และ ข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนดแบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ ๒
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถ
ตามแบบ ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
สามารถแสดงค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสง (จุดโฟกัส) ของโคมไฟหน้ารถ
ไปทางซ้ายและขวา สูงและต่ำ เป็นเซนติเมตรต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๑๐ เมตร หรือเป็นนิ้วต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ
๒๕ ฟุต หรือเป็นค่าองศาของมุมก็ได้
กรณีที่สถานตรวจสภาพรถใดไม่มีเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
จะใช้อุปกรณ์ หรือวัสดุอื่นใดเป็นฉากรับแสงสำหรับทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถแทนก็ได้
แต่ผลการทดสอบต้องอ่านค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถได้เช่นเดียวกับเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าตามวรรคหนึ่ง
(๒) เครื่องวัดควันดำ
เป็นเครื่องวัดที่สามารถวัดค่าควันดำที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
สถานตรวจสภาพรถใดไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดควันดำ
(๓) เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ
เป็นเครื่องที่สามารถวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอน๊อคไซด์
และก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
สถานตรวจสภาพรถใดไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวิเคราะห์ก๊าซ
(๔)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(ก) เครื่องวัดระดับเสียง เป็นเครื่องที่สามารถวัดระดับเสียงของรถยนต์ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
(ข) เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
สามารถใช้วัดความเร็วรอบเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ในการตรวจสอบระดับเสียงของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนด
สถานตรวจสภาพรถที่ไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(๕) เครื่องตรวจสอบก๊าซรั่ว
สำหรับใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ เช่น ก๊าซธรรมชาติ
(LPG) และก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) เป็นต้น
สามารถตรวจสอบการรั่วของก๊าซที่มีประมาณตั้งแต่ ๕๐ ppm. หรือน้อยกว่า ถึง ๘๐๐ ppm.
หรือมากกว่า
สถานตรวจสภาพรถที่ไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสอบก๊าซรั่ว
(๖) สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถจะเป็นเครื่องยกรถทั้งคัน
หรือสะพาน หรือบ่อตรวจสภาพใต้ท้องรถอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้
ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและเหมาะสมสำหรับตรวจสภาพใต้ท้องรถ
กรณีที่เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่เป็นไปตาม
(๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หากสถานตรวจสภาพรถใดประสงค์จะนำมาใช้
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ข้อ ๓
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพตามแบบ
ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๑)
(๒) เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ ซึ่งมีแบบ ขนาด
และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๓)
(๓)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ ซึ่งมีแบบ ขนาด และมาตรฐานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ (๔)
ข้อ ๔
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถและผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ จะได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถรายใหม่
จัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถเป็นการเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ได้แก่
(ก) เครื่องทดสอบห้ามล้อ
(ข) เครื่องทดสอบศูนย์ล้อ
(ค) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
ซึ่งสามารถตรวจสอบความเข้มของการส่องสว่างได้ด้วย
(ง) เครื่องทดสอบเครื่องวัดความเร็วรถ
(จ) เครื่องมืออื่น ๆ ตามที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควร
(๒) กรณีสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ได้แก่
(ก) เครื่องทดสอบห้ามล้อ
(ข) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
ซึ่งสามารถตรวจสอบความเข้มของการส่องสว่างได้ด้วย
(ค) เครื่องมืออื่น ๆ ตามที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควร
ข้อ ๕
ในกรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้การตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ต้องมีการตรวจวัดค่าปริมาณก๊าซหรือสารมลพิษอื่นใดตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หรือกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนด ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจัดให้มีเครื่องวัดปริมาณก๊าซหรือสารมลพิษนั้นเป็นการเพิ่มเติมตามมาตรฐานและระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๗
ประดัง ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ฐาปนี/แก้ไข
๔ กันยายน ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๕/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ |
313720 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานเครื่องตรวจสภาพรถและ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนดแบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์
หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถ
ตามแบบ ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เครื่องทดสอบห้ามล้อ เป็นแบบติดตั้งถาวรกับพื้น สามารถแสดงค่าของแรงห้ามล้อ
ที่ล้อหน้าซ้าย ล้อหน้าขวา ล้อหลังซ้ายและล้อหลังขวาได้โดยอิสระ
และความแตกต่างระหว่างค่าของแรงห้ามล้อที่แสดงแต่ละค่า (GRADUATION หรือ
MINIMUM SCALE) ต้องไม่เกิน ๒๐
กิโลกรัม หรือหน่วยอื่นที่เทียบเท่า
สถานตรวจสภาพรถใดไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถเกิน
๑,๖๐๐ กิโลกรัม จะจัดให้มีเครื่องทดสอบห้ามล้อหรือไม่ก็ได้
(๒)
เครื่องทดสอบศูนย์ล้อ สามารถแสดงค่าการลื่นไถลทางด้านข้าง (SIDE SLIP) ของล้อหน้าทั้งซ้ายและขวาได้ไม่น้อยกว่าข้างละ ๑๐ เมตร
ต่อระยะทางที่รถเคลื่อนไป ๑ กิโลเมตร
หรือหน่วยอื่นที่เทียบเท่าและความแตกต่างระหว่างค่าการลื่นไถลที่แสดงแต่ละค่า
ต้องไม่เกิน ๑ เมตร ต่อระยะทางที่รถเคลื่อนไป ๑ กิโลเมตร
(๓)
เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สามารถแสดงค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสง (จุดโฟกัส)
ของโคมไฟหน้ารถ ไปทางซ้ายและขวา สูงและต่ำ เป็นเซนติเมตร ต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ
๑๐ เมตร หรือเป็นนิ้วต่อระยะห่างไปทางหน้ารถ ๒๕ ฟุต หรือเป็นค่าองศาของมุมก็ได้
กรณีที่สถานตรวจสภาพรถใดไม่มีเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
จะใช้อุปกรณ์หรือวัสดุอื่นใดเป็นฉากรับแสงสำหรับทดสอบการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถแทนก็ได้
แต่ผลการทดสอบต้องอ่านค่าการเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถได้เช่นเดียวกับเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าตามวรรคหนึ่ง
(๔)
เครื่องวัดควันดำ
เป็นเครื่องวัดที่สามารถวัดค่าควันดำที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนด
สถานตรวจสภาพรถใดไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดควันดำ
(๕)
เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เป็นเครื่องที่สามารถวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอน๊อคไซด์
หรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนด
สถานตรวจสภาพรถใดไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวิเคราะห์ก๊าซ
(๖)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(ก)
เครื่องวัดระดับเสียง เป็นเครื่องที่สามารถวัดระดับเสียงของรถยนต์
ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนด
(ข)
เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ สามารถใช้วัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ (เบนซิน)
ในการตรวจสอบระดับเสียงของรถยนต์ ตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนด
สถานตรวจสภาพรถที่ไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ไม่ต้องจัดให้มีเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
(๗)
เครื่องตรวจสอบก๊าซรั่ว
สำหรับใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ เช่น
ก๊าซธรรมชาติ (LPG) และก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) เป็นต้น
สามารถตรวจสอบการรั่วของก๊าซที่มีประมาณตั้งแต่ ๕๐ ppm.
หรือน้อยกว่า ถึง ๘๐๐ ppm. หรือมากกว่า
สถานตรวจสภาพรถที่ไม่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงไม่ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสอบก๊าซรั่ว
(๘)
สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ จะเป็นเครื่องยกรถทั้งคันหรือสะพาน
หรือบ่อตรวจสภาพใต้ท้องรถอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้
ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและเหมาะสมสำหรับตรวจสภาพใต้ท้องรถ
กรณีที่เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่เป็นไปตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
หากสถานตรวจสภาพรถใดประสงค์จะนำมาใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ข้อ
๒
สถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ประจำสถานตรวจสภาพรถตามแบบ
ขนาด และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า ตามข้อ ๑ (๓)
(๒)
เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ ตามข้อ ๑ (๕)
(๓)
เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ ตามข้อ ๑ (๖)
ข้อ
๓
เมื่อพ้นกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และผู้อยู่ในเกณฑ์จะได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถรายใหม่อาจต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถดังต่อไปนี้เป็นการเพิ่มเติมตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๑)
กรณีสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ได้แก่
(ก)
เครื่องทดสอบห้ามล้อ ในกรณีที่สถานตรวจสภาพรถนั้นยังไม่มีเครื่องทดสอบห้ามล้อ
(ข)
เครื่องทดสอบเครื่องวัดความเร็วรถ
(ค)
เครื่องมืออื่น ๆ ตามที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควร
(๒)
กรณีสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ได้แก่
(ก)
เครื่องทดสอบห้ามล้อ
(ข)
เครื่องมืออื่น ๆ ตามที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควร
ข้อ
๔ ในกรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้การตรวจสภาพรถเพื่อออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ต้องมีการตรวจวัดค่าปริมาณก๊าซหรือสารมลพิษอื่นใดตามมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หรือกรมควบคุมมลพิษประกาศกำหนด
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องจัดให้มีเครื่องวัดปริมาณก๊าซ
หรือสารมลพิษนั้นเป็นการเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดด้วย
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๓๖
ศรีพร คำหมาย
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมภิญา/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๓ กันยายน ๒๕๓๖ |
323976 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (เพิ่มเติม) | ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
(เพิ่มเติม)[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๔
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่ในปัจจุบันปรากฏว่า มีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางต่อนายทะเบียนกลางเป็นจำนวนหลายราย
ประกอบกับนายทะเบียนกลางยังมิได้มอบหมายอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการดังกล่าวไว้ให้กับบุคคลใด
เป็นเหตุให้กิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ฉะนั้น
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
เหมาะสม และสะดวกรวดเร็ว
จึงเห็นสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเป็นการเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่อใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่า ตามมาตรฐานและหรือลักษณะเดิม
แล้วแต่กรณี
(ช) การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทน
และการลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๕
บรรเทิง วัฒนศิริธรรม
นายทะเบียนกลาง
จารุวรรณ/แก้ไข
๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๖/หน้า ๔๙๓๖/๒๘ เมษายน ๒๕๓๕ |
323942 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478 ที่มีโทษปรับสถานเดี่ยว | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติ
การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
พระราชบัญญัติรถยนตร์
พ.ศ. ๒๕๒๒
และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน
พุทธศักราช ๒๔๗๘
ที่มีโทษปรับสถานเดียว[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการมอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช
๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติล้อเลื่อน
พุทธศักราช ๒๔๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้อเลื่อน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช
๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
มอบหมายอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ ๑๙
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔
ข้อ
๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้เจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบ
(๑)
ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
(๒)
หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
(๓)
หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในฝ่ายตรวจการและฝ่ายเปรียบเทียบ
กองตรวจการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก
ข้อ
๓
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘
ที่มีโทษปรับสถานเดียวซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้เจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบ
(๑)
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ และข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓
ขึ้นไป ในสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่นั้น
สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๒)
สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจนครบาล
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓)
พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ
๔
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้เจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบ
(๑)
ขนส่งจังหวัด และข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไปในสำนักงานขนส่งจังหวัด
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดนั้น
(๒)
หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา และข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
ในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓)
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้ปฏิบัติราชการแทนซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน
ในกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔)
สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕)
สารวัตรใหญ่หรือสารวัตร
หรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖)
สารวัตรหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรตำบล
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗)
พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจทางหลวงที่มีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
สำหรับบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
บรรเทิง วัฒนศิริธรรม
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
อัมภิญา/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๖/หน้า ๔๘๗๒/๒๘ เมษายน ๒๕๓๕ |
313728 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง | ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๐
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๐
ข้อ ๒
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร)
กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัด (หมวด ๒ และหมวด ๓) ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนและการลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
และสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๔)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถ ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัด ที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด
๒) เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก
หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถ
ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด ๑ และหมวด ๔)
หรือระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด ๒)
หรือมิได้มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางในเขตจังหวัดอื่น
(หมวด ๓)
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถ
ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
นำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๓
ให้ผู้อำนวยการกองควบคุมกิจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนา หรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค) การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเพทมหานคร ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค) การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทาง
หรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเพทมหานคร
และระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนา
หรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
นำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๔
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง
กองควบคุมกิจการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓) การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
นำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
กองควบคุมกิจการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค) การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๖
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) โครงคัสซี
(ข) ระบบบังคับเลี้ยว
(ค) จำนวนกงล้อและยาง
(ง) จำนวนเพลาล้อ
(จ) ช่วงล้อ
ข้อ ๗
ให้ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(๑) โครงคัสซี
(๒) ระบบบังคับเลี้ยว
(๓) จำนวนกงล้อและยาง
(๔) จำนวนเพลาล้อ
(๕) ช่วงล้อ
ข้อ ๘
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๙
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์
หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๐
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค) การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๑๑
ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๒) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ค) การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(๓) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทางการขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๕) การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗) การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ซึ่งกระทำความผิดในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๑๔
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาต สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๕
ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๒)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม
ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๖ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นนิติบุคคล
มาให้ถ้อยคำหรือคำสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ
หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตรวจสอบความบกพร่อง ตามความในมาตรา ๘๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓) การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถ
จัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถ ที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตรวจสอบความบกพร่อง ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๘
ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๙
ให้หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี สำนักงานเลขานุการกรม
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว
ตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๒๐ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การถอนรถ
(จ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การบรรจุรถ
(จ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ฉ) การถอนรถ
(ช)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
และมีจุดปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๒)
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์
เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไข
เกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบส่งรถนั้นไปทำการขนส่ง
ช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙) การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวาง
เป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม ให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว ตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ง)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๒๑
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๔
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๔
บันเทิง วัฒนศิริธรรม
นายทะเบียนกลาง
พรพิมล/พิมพ์/แก้ไข
๑๗ กันยายน ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๘๐/หน้า ๑๐๑๔๐/๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ |
323908 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 568 (พ.ศ.2531) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 147 ลำปาง - พาน
เป็น เชียงใหม่ - พาน, สายที่ 149 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๕๖๘ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง
ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๔๗ ลำปาง - พาน
เป็น เชียงใหม่ - พาน, สายที่ ๑๔๙ ลำปาง - แม่สาย เป็น
เชียงใหม่ - แม่สาย และสายที่ ๑๕๐ ลำปาง - เชียงแสน
เป็น เชียงใหม่ - เชียงแสน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.
๒๕๐๗) ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๔๗ ลำปาง - พาน, สายที่ ๑๔๙ ลำปาง - แม่สาย และสายที่ ๑๕๐ ลำปาง -
เชียงแสน ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๖/๒๕๓๑
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง คือ สายที่ ๑๔๗ ลำปาง - พาน เป็น เชียงใหม่ - พาน, สายที่
๑๔๙ ลำปาง - แม่สาย เป็น เชียงใหม่ - แม่สาย และสายที่ ๑๕๐ ลำปาง - เชียงแสน เป็น
เชียงใหม่ - เชียงแสน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑๔๗ เชียงใหม่ - พาน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านอำเภองาว จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพาน
สายที่ ๑๔๙ เชียงใหม่ - แม่สาย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านอำเภองาว จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอพาน ถึงจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ผ่านอำเภอแม่จัน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแม่สาย
สายที่ ๑๕๐ เชียงใหม่ - เชียงแสน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านอำเภองาว จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอพาน ถึงจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ถึงอำเภอแม่จัน แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข
๑๐๑๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงแสน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๑
ศรีภูมิ ศุขเนตร
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๒๓ กันยายน ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๒/หน้า ๘๒๓๕/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ |
301327 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง | ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘
ข้อ ๒ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัด (หมวด ๒ และหมวด ๓) ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ภายในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนและการลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ฌ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๔)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัด ที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด
๒) เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก
หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ในเขตกรุงเทพมหานคร (หมวด ๑ และหมวด ๔) หรือระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) หรือมิได้มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางในเขตจังหวัดอื่น (หมวด ๓)
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗) การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของนายทะเบียนกลาง
ตามความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๓ ให้ผู้อำนวยการกองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค) การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิม
(ค) การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา
๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๔
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่ง กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค) การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(หมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้รถดังกล่าว
ผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๖
ให้ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(๑) โครงคัสซี
(๒) ระบบบังคับเลี้ยว
(๓) จำนวนกงล้อและยาง
(๔) จำนวนเพลาล้อ
(๕) ช่วงล้อ
ข้อ ๗ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
ซึ่งมิได้อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครสาขา ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๓) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๘
ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
ซึ่งมิได้อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครสาขา ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ค) การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการทางทะเบียนรถและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล
(๒) การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๓)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์
หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครสาขา
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ค) การถอนรถ
(๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(๓) การต่ออายุทะเบียนและภาษีรถ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔) การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(ข) ตัวถัง
(ค) สีภายนอกตัวรถ
(ง) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(จ) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
สำหรับผู้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๗)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งกระทำความผิดในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๑๑ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นนิติบุคคล
มาให้ถ้อยคำหรือคำสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ
หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตรวจสอบความบกพร่อง ตามความในมาตรา ๘๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓) การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ตามความในมาตรา
๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๒
ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตรวจสอบความบกพร่อง ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๓
ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๔ ให้หัวหน้าแผนกคลัง สำนักงานเลขานุการกรม
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว
ตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๑๕ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การถอนรถ
(จ)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทน หรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การบรรจุรถ
(จ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิม
(ฉ) การถอนรถ
(ช)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ถอนรถโดยมิได้นำรถใหม่มาเปลี่ยนแทนหรือลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลงในกรณีที่ไม่นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิม
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
และมีจุดปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๒)
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (หมวด ๓)
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก
หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙) การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว ตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ง)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๓๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
สว่าง ศรีนิลทา
นายทะเบียนกลาง
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๑๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๒ กันยายน ๒๕๓๐ |
313727 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖ ให้หัวหน้างานทะเบียนและภาษีรถโดยสารประจำทาง
ไม่ประจำทาง และรถขนาดเล็ก ฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ กองควบคุมกิจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง
และรถขนาดเล็กในประเภทการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ ให้หัวหน้างานทะเบียนและภาษีรถโดยสารส่วนบุคคล
ฝ่ายทะเบียนและภาษีรถกองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งส่วนบุคคลและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ ให้หัวหน้างานทะเบียนและภาษีรถบรรทุก
ฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๒๙ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มกราคม ๒๕๒๙
สว่าง ศรีนิลทา
นายทะเบียนกลาง
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.