sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
318514 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๑]
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น
ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ
จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ |
568256 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ และวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๗
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๖
(๒)
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่
๒๑ กันยายน ๒๕๒๗
ข้อ
๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
(รถหมวด ๑ และหมวด ๔) และระหว่างจังหวัด (รถหมวด ๒ และหมวด ๓) ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
และสถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๓
ให้ผู้อำนวยการกองควบคุมกิจการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
(รถหมวด ๒) เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ เป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวก
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(รถหมวด ๒)
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางในเขตจังหวัดอื่น (รถหมวด ๓)
สำหรับรถที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดส่งรถช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ให้การขนส่ง
ได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน
ตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๔
ให้หัวหน้างานใบอนุญาตประกอบการขนส่ง กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ค)
การถอนรถ
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกันในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าน้อยลง
ตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ
กองควบคุมกิจการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
ดังนี้
(๑)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
(๒)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
(๓)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ข้อ
๖
ให้หัวหน้างานทะเบียนและภาษีรถโดยสารประจำทาง ไม่ประจำทางและรถขนาดเล็กฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ
กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง และรถขนาดเล็ก
ข้อ
๗ ให้หัวหน้างานทะเบียนและภาษีรถโดยสารส่วนบุคคลเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ข้อ
๘
ให้หัวหน้างานทะเบียนและภาษีรถบรรทุกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ข้อ
๙ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ดังนี้
(๑)
การออกใบอนุญาต
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาต
(๓)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๐
ให้ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามความในมาตรา ๗๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๑ ให้หัวหน้างานตรวจสภาพรถโดยสาร
กองวิศวกรรมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามความในมาตรา ๗๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา
๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๒ ให้หัวหน้างานตรวจสภาพรถบรรทุก
กองวิศวกรรมการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามความในมาตรา ๗๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๓
ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
(รถหมวด ๒) ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
และระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่
อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗
วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ
ตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ
หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตรวจสอบความบกพร่อง ตามความในมาตรา ๘๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ตามความในมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๔ ให้หัวหน้างานตรวจการ
กองตรวจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การเรียกผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ
ตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตรวจสอบความบกพร่อง
ตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๕ ให้หัวหน้างานเปรียบเทียบ
กองตรวจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๑๖
ให้ผู้อำนวยการกองสวัสดิภาพการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการในการอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(๑)
การออกใบอนุญาต
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาต
(๓)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๔)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๗ ให้หัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถ
กองสวัสดิภาพการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการในการอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(๑)
การออกใบอนุญาต
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาต
(๓)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๔)
การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๘ ให้หัวหน้าแผนกคลัง
สำนักงานเลขานุการกรม เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว ตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก
ข้อ
๑๙ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การบรรจุรถ
(จ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ฉ)
การถอนรถ
(๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามมาตรฐานหรือลักษณะเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ซ)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
และมีจุดปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (รถหมวด ๒)
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางในเขตกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (รถหมวด ๓)
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว
ตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราว ตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (รถหมวด ๓)
เปลี่ยนแปลงเส้นทาง เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ เป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าว
ได้รับความสะดวกตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (รถหมวด ๓)
ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก
หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบส่งรถนั้นไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การดำเนินการเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ดังนี้
(ก)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตนตามความในมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน
ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง ตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค)
การจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทยซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันความเสียหายตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าว ตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ง)
การนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ยอมชดใช้ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา
๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑
ตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๒๐
ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนา
หรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ)
การบรรจุรถ
(ฉ)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่า
(ช)
การถอนรถ
(ซ)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะรถเดินที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ค)
การถอนรถ
(๓)
การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
และการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามความในมาตรา ๗๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเฉพาะรถที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเฉพาะรถที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ได้ทำการซ่อมแซม
ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเฉพาะรถที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถสำหรับผู้ขอดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การออกใบอนุญาต
(ข)
การต่ออายุใบอนุญาต
(ค)
การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง)
การเพิกถอนใบอนุญาต
(๗)
การดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ
๒๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖
กันยายน ๒๕๒๘
สว่าง ศรีนิลทา
นายทะเบียนกลาง
ณัฐดนัย/พิมพ์
๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๓๘ /หน้า ๔๗๙๔/๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ |
301326 | ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 177/2527 เรื่อง การใช้เครื่องวัดควันและเสียงดังของเรือกล
| ประกาศกรมเจ้าท่า
ประกาศกรมเจ้าท่า
ที่ ๑๗๗/๒๕๒๗
เรื่อง
การใช้เครื่องวัดควันและเสียงดังของเรือกล[๑]
ตามประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๓๘/๒๕๑๕ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
๒๕๑๕ เรื่อง การใช้เครื่องวัดควันและเสียงดังของเรือกล
กำหนดเครื่องวัดควันและลักษณะควันที่เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสียอนามัยและเครื่องวัดเสียงและระดับเสียงที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน
สำหรับเรือกลที่นำมาใช้ในแม่น้ำลำคลองนั้น
บัดนี้
เห็นสมควรกำหนดการใช้เครื่องวัดควันและเสียงดังของเรือกลขึ้นใหม่เพื่อความเหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒
แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๖ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๑๔
อธิบดีกรมเจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นสมควรออกประกาศการใช้เครื่องวัดควันและเสียงดังของเรือกล
ดังต่อไปนี้
๑.
ให้ยกเลิกประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๓๘/๒๕๑๕ ฉบับลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕
เรื่อง การใช้เครื่องวัดควันและเสียงดังของเรือกล
๒.
กำหนดเครื่องวัดควันและลักษณะควันที่เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสียอนามัย และเครื่องวัดเสียงและระดับเสียงที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนสำหรับเรือกลที่นำมาใช้ในแม่น้ำลำคลองไว้
ดังนี้
๒.๑ ลักษณะของควันที่ออกจากท่อไอเสียของเรือกล
ชนิดที่ใช้เครื่องเผาไหม้ภายในซึ่งทดสอบและวัดเขม่าควันที่ปากท่อไอเสียเมื่อเรือกลผูกอยู่กับที่และเร่งเครื่องยนต์ประมาณ
๒ ใน ๓ ของอัตรารอบสูงสุดของเครื่องนั้นได้เกินกว่าร้อยละ ๕๒ โดยใช้เครื่องวัดชนิดใช้แสงผ่านฮาร์ทริดจ์
หรือร้อยละ ๔๐ โดยใช้เครื่องวัดระบบบอช
๒.๒
ระดับเสียงอันเกิดจากเครื่องยนต์และส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดของเรืองกลเมื่อผูกอยู่กับที่และเร่งเครื่องยนต์ประมาณ
๒ ใน ๓ ของอัตรารอบสูงสุดของเครื่องนั้นได้เกินกว่า ๘๕ เดซิเบล
โดยใช้เครื่องวัดระดับเสียงและวิธีวัดตามมาตรฐานสากล ในระยะห่าง ๗.๕๐ เมตร หรือเกินกว่า
๑๐๐ เดซิเบล ในระยะห่าง ๐.๕๐ เมตร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๒๗
เรือเอก ลักษณ์ คเชนทร์ชัย
อธิบดีกรมเจ้าท่า
สุรินทร์/แก้ไข
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๓๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๑๓ มีนาคม ๒๕๒๘ |
301325 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง | ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๒๖ มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๖ ของประกาศนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ข้อ ๑๖ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งสาขาในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนา
หรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่า
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของสำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าตามลักษณะรถเดิมที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ค) การถอนรถ
(๓) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
และการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔)
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามความในมาตรา ๗๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเฉพาะรถที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ตามความในมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเฉพาะรถที่อยู่ในเขตการเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖) การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
สำหรับผู้ขอดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๗)
การดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำรถซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗
สว่าง ศรีนิลทา
นายทะเบียนกลาง
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๔๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒/๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ |
568260 | ประกาศ เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้ประกาศมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่
ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๒๒ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๓
และลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่เสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๑๗ กันยายน
๒๕๒๒ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๓ และลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม
๒๕๒๔
ข้อ
๒
ให้ผู้อำนวยการกองควบคุมกิจการขนส่ง และหัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถ
กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต
การเพิกถอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ข้อ
๓ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ
กองควบคุมกิจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและภาษีรถ
ข้อ
๔ ให้ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่ง
หัวหน้างานตรวจสภาพรถโดยสารและหัวหน้างานตรวจสภาพรถบรรทุก กองวิศวกรรมการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และการอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน ตามมาตรา
๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๕
ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และการสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้หัวหน้างานตรวจการ
กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ
หรือสถานตรวจสภาพรถ ที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และการเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้หัวหน้างานเปรียบเทียบ
กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา
๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๖
ให้ขนส่งจังหวัดเป็นผู้ทำการแทนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่วนบุคคลระหว่างจังหวัด
และการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่มีภูมิลำเนาภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
ตุลาคม ๒๕๒๔
สุจินต์ สูยะนันทน์
นายทะเบียนกลาง
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๖ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๙๔/หน้า ๔๑๘๒/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ |
323975 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลาง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่ง
และเจ้าหน้าที่บริหารงานขนส่ง ๖ งานตรวจการ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ
ตามมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๓
พันเอก
ดิลก กมลภุส
นายทะเบียนกลาง
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๖
ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๗๗/หน้า ๓๙๖๙/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ |
568268 | ประกาศ เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
บัดนี้
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการประจำฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ
กองควบคุมกิจการขนส่ง ตามคำสั่งกรมการขนส่งทางบก ที่ ๑๒/๒๕๒๓
เรื่องแต่งตั้งข้าราชการ สั่ง ณ วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๒๓ แล้ว จึงให้ยกเลิกความในข้อ
๓ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๒๒ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ เจ้าหน้าที่บริหารงานขนส่ง ๖
ฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและภาษีรถ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๓
พันเอก
ดิลก กมลภุส
นายทะเบียนกลาง
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๖
ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๔๓/หน้า ๘๘๐/๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓ |
568264 | ประกาศ เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลาง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
๑. ผู้อำนวยการกองควบคุมกิจการขนส่ง
และเจ้าหน้าที่ขนส่ง ๖ งานใบอนุญาต กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำรถ
๒.
ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการขนส่ง และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ๖
งานตรวจสภาพรถยนต์ กองวิศวกรรมการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
และการอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถตามมาตรา ๘๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๓. เจ้าหน้าที่ขนส่ง ๖ งานใบอนุญาต
กองควบคุมกิจการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและภาษีรถ
๔. ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่ง
และเจ้าหน้าที่ขนส่ง ๖ งานตรวจการ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาต
ตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และให้เจ้าหน้าที่ขนส่ง ๕ งานเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ประจำรถตามมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๕.
ขนส่งจังหวัดเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
และการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งที่มีภูมิลำเนาภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๒๒
สว่าง ศรีนิลทา
นายทะเบียน
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๖
ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่
๑๘๔/หน้า ๓๙๘๕/๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๒ |
568278 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง[๑]
ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๓
บัดนี้
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการประจำฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ กองควบคุมกิจการขนส่ง
ตามคำสั่งกรมการขนส่งทางบก ที่ ๒๒๐/๒๕๒๔
เรื่องย้ายและเลื่อนข้าราชการขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
จึงให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๓
และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ เจ้าหน้าที่บริหารงานขนส่ง ๗
ฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ กองควบคุมกิจการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและภาษีรถ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔
สุจินต์ สุยะนันทน์
นายทะเบียนกลาง
อัมภิญา/พิมพ์
๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๖
ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๔๕/หน้า ๒๙๘๕/๑ กันยายน ๒๕๒๔ |
739003 | คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง ที่ 13/2558 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง | คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง
คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง
ที่ ๑๓/๒๕๕๘
เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง[๑]
ตามที่นายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง
ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง ตามคำสั่งที่
๙/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗, ที่ ๑๐/๒๕๕๗ ลงวันที่
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗, ที่ ๑๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
และที่ ๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ กำหนดให้นายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง อาจมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำการแทนได้
ประกอบกับการมอบหมายตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้นยังไม่ครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทั้งหมด
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เหมาะสม
และเป็นการอำนายความสะดวกรวดเร็วให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อ
ขอดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทั้งหมด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง
จึงให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง ที่ ๙/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๗, ที่ ๑๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗, ที่ ๑๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗ และที่ ๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม
๒๕๕๘ และมีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุงทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง
ดังต่อไปนี้
๑) หัวหน้ากลุ่มนักวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
๑.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง
ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุง ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
๑.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุง ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
๑.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง
ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุง ดังนี้
(ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) ให้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุงใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา
๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้
(ก)
สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุงเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ
เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุง
ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง
๑.๗
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุง
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพัทลุง
หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
๒) ให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการ/ปฏิบัติการ กลุ่มวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๑.๑ และข้อ ๑.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ
(ฌ)
๓) ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง
เป็นผู้ทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับ
๓.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้
(ก) การจดทะเบียน
(ข) การเสียภาษีประจำปี
(ค) การโอนรถ
(ง) การย้ายรถ
(จ)
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ
ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(ซ)
การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
๓.๒
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์
ส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา
๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๔) ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง
เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (จ) ข้อ ๓.๒ และข้อ ๓.๓
๕) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน/ปฏิบัติงาน สังกัดฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่ง จังหวัดพัทลุง เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช)
และ (ซ)
๖) ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอตะโหมด
หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอควนขนุน ทำการแทนตามข้อ ๑.๒ และข้อ
๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ)
เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ
๗) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน/ปฏิบัติงาน
สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอตะโหมดและสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง
สาขาอำเภอควนขนุน ทำการแทนข้อ ๑.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) และข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ)
(ฉ) (ช) และ (ซ) เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ
๘) ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง
หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอตะโหมด
และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอควนขนุน
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(จ) การเพิกถอนใบอนุญาต
๙) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน/ปฏิบัติงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ
สำนักงานขนส่ง จังหวัดพัทลุง สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอตะโหมด
และสำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง สาขาอำเภอควนขนุน ทำการแทนตามข้อ ๘ (ข) และ (ค)
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
ธีระพงศ์
งามเอก
นายทะเบียนประจำจังหวัดพัทลุง
ปริยานุช/กัญฑรัตน์/จัดทำ
๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
/ตรวจ
๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๘ ง/หน้า ๔๒/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
736907 | คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ที่ 119/2558 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง | คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง
คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง
ที่ ๑๑๙/๒๕๕๘
เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง[๑]
ตามที่นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง
ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ตามคำสั่งที่
๙๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยปัจจุบันได้มีการประกาศในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒)
พ.ศ. ๒๕๕๗ กำหนดให้นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง
อาจมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำการแทนได้
ประกอบกับการมอบหมายตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้นยังไม่ครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทั้งหมด
ดังนั้น
เพื่อเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เหมาะสม
และเป็นการอำนายความสะดวกรวดเร็วให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อขอดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทั้งหมด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง จึงให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ที่
๙๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และมีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง
ดังต่อไปนี้
๑) หัวหน้ากลุ่มนักวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
๑.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง
ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งในเขตจังหวัดลำปาง ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
๑.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางหรืออำเภอที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
๑.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง
ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้
(ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) ให้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๑๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
๑.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางให้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา
๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๕ การสั่งผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้
(ก)
สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ
เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง
ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก
หรือให้มีรถเพียงพอกับการขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
๑.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง
๑.๗
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง
หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
๒) ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๑.๑ และข้อ ๑.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ)
๓) ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๓.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้
(ก) การจดทะเบียน
(ข) การเสียภาษีประจำปี
(ค) การโอนรถ
(ง) การย้ายรถ
(จ)
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ
ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ช) กรณีแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ซ)
การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
๓.๒
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๔) ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ
สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางเป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (จ) ข้อ ๓.๒ และข้อ ๓.๓
๕) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางเป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) และ (ช)
๖) ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง สาขาแจ้ห่ม
และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
สาขาแจ้ห่ม ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ช) และ (ซ)
เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ
๗) ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง สาขาเถิน
และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานสังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
สาขาเถิน ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ช) และ (ซ)
เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ
๘) ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง สาขางาว
และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานสังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
สาขางาว ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ช) และ (ซ)
เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ
๙) ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(จ) การเพิกถอนใบอนุญาต
๑๐) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ
สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางทำการแทนตามข้อ ๗ (ข) และ (ค)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ถาวร เหรียญตระกูลชัย
นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘
วิศนี/ผู้ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๒/๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
735067 | คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง ที่ 1/2558 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง | คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง
คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง
ที่ ๑/๒๕๕๘
เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง[๑]
ตามที่นายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง
ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง ตามคำสั่งที่
๒๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ กำหนดให้นายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง
อาจมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำการแทนได้
ประกอบกับการมอบหมายตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้นยังไม่ครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทั้งหมด
ดังนั้น
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เหมาะสม
และเป็นการอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อขอดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทั้งหมด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
นายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง จึงให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง ที่
๒๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และมีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดระยองทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง
ดังต่อไปนี้
๑) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
๑.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง
ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยอง ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
๑.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยองหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
๑.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยองหรืออำเภอที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยองใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว
ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้
(ก)
สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยองเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ
เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง
ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยอง
ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก
หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง ทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
๑.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง
๑.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยอง
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระยอง
หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง
ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๒) ให้นักวิชาการขนส่ง
กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดระยอง เป็นผู้ทำการแทน ตามข้อ ๑.๑ และ ข้อ
๑.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ)
๓) ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่งจังหวัดระยอง เป็นผู้ทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับ
๓.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้
(ก) การจดทะเบียน
(ข) การเสียภาษีประจำปี
(ค) การโอนรถ
(ง) การย้ายรถ
(จ)
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ
ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(ซ)
การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
๓.๒
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง
ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๔) ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ
สำนักงานขนส่งจังหวัดระยองเป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (จ) ข้อ ๓.๒ และ ข้อ ๓.๓
๕) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน
สังกัดฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดระยอง เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค)
(จ) (ฉ) และ (ช)
๖) ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดระยอง
สาขาอำเภอแกลง และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัดระยอง สาขาอำเภอแกลง ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ช)
และ (ซ) เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ
๗) ให้หัวหน้างานใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(จ) การเพิกถอนใบอนุญาต
๘) ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน
ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดระยอง ทำการแทนตามข้อ ๗ (ข) และ (ค)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
อรุณ วิชกิจ
นายทะเบียนประจำจังหวัดระยอง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๘๗/๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ |
718028 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเสียใหม่
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
สามารถให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ
เว้นแต่ความในหมวด ๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
(๒) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๔) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๕) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๗) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๘/๐๕๕๙๖ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม
๒๕๒๕ เรื่อง การใช้ป้ายทะเบียนรถสีแดง
บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ตรวจสภาพรถ หมายความว่า
การตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด
ความเรียบร้อยความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง
และเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจสอบรถ หมายความว่า
การตรวจสอบความถูกต้องของตัวรถตามรายการที่จดทะเบียนและประวัติรถ
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การยื่นขอดำเนินการใด
ๆ เกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามระเบียบนี้หากไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
ข้อ ๗ การดำเนินการใด ๆ
ทางทะเบียนและภาษีรถ หากผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง
ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้มาดำเนินการแทน
เว้นแต่การยื่นขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานประกอบด้วย
ข้อ ๘ การจดทะเบียนรถ
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ หรือการโอนรถที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการขนส่ง
ให้นายทะเบียนตรวจสอบการจัดให้มีการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
สัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยตามวรรคหนึ่ง
จะต้องมีความคุ้มครองอย่างน้อยถึงวันสิ้นอายุภาษีรถในปีถัดไป
หมวด ๒
การจดทะเบียนรถ
ข้อ ๙ ผู้ขอจดทะเบียนรถจะต้องเป็นผู้ประกอบการขนส่งที่มีสิทธิใช้รถ
โดยการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือรับเข้าร่วมกิจการขนส่ง
และต้องบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง (บัญชี ขส.บ.๑๑)
ให้แล้วเสร็จก่อน
การจดทะเบียนรถให้ยื่นได้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี โดยให้ใช้คำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง
(กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (ถ้ามี)
แล้วแต่กรณี และหลักฐานประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
๙.๑ รถใหม่ที่ผลิตจากโรงงานภายในประเทศ
หรือรถที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่าย
(๑) หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาเช่าซื้อรถ
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
(๓) หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน
หรือใบกำกับภาษีหรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ
ผู้ซื้อ ผู้ขาย ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
๙.๒ รถประกอบขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
(๑) ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
(๒) ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๓) บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๔) ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า หรือภาพถ่าย
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๕) ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ หรือใบกำกับภาษี
หรือหลักฐานการซื้อขายหรือการให้เครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี
(ก)
กรณีเครื่องยนต์เก่าที่เคยนำไปใช้กับรถที่จดทะเบียนแล้วให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขเครื่องยนต์
พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของหรือผู้จำหน่ายเครื่องยนต์
แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีเครื่องยนต์ที่ยังไม่เคยจดทะเบียน
ให้แนบหนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
(๖)
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถทั้งหมดและบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๗) ใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก)
หรือใบเสร็จรับเงินค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร)
(๘) หลักฐานการสร้างประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
๙.๓ รถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซี
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
หรือสัญญาซื้อขายโครงคัสซี แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีเป็นโครงคัสซีเก่าของรถที่ได้แจ้งเลิกใช้แล้ว
ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซีด้วย
(๓) หลักฐานการเปลี่ยนโครงคัสซี เช่น
ใบเสร็จรับเงินค่าเปลี่ยนโครงคัสซี
(๔) กรณีเป็นโครงคัสซีที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานตามข้อ
๙.๒ (๒) (๓) และ (๔)
๙.๔[๒]
รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) เอกสารการอนุญาตนำรถเข้าของกรมศุลกากร ได้แก่
ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้าหรือหลักฐานการยกเว้นอากรขาเข้า
บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบรับรองการนำเข้า (แบบที่ ๓๒) ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เช่น
หมายเลขโครงคัสซี หมายเลขเครื่องยนต์
กรณีรถนั้นเป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ยังไม่เคยจดทะเบียนในต่างประเทศ
ให้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าซื้อรถและใบกำกับภาษี จากผู้จำหน่ายรถเป็นการเพิ่มเติมด้วย
(๒)
กรณีเป็นรถใช้แล้วให้ใช้หลักฐานตาม (๑)
และต้องมีหนังสืออนุญาตให้นำรถเข้ามาในราชอาณาจักรของกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
๙.๕ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงที่ประกอบขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) หนังสือรับรองการประกอบรถขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
(๒) หลักฐานการสร้างประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีไม่ได้ประกอบรถขึ้นเอง)
(๓)
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถทั้งหมดและบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
๙.๖ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการ
อันเนื่องมาจากรถเป็นของกลางในคดีอาญา
(๑) หนังสือแจ้งการขายทอดตลาด
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับรถที่ขายทอดตลาด
(๒) ใบเสร็จรับเงินค่ารถ
(๓) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๙.๗ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุด
โดยไม่มีการโอนทะเบียนรถเดิม ให้ใช้หลักฐานตามข้อ ๙.๖
๙.๘ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ให้ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถที่มีการแจ้งไม่ใช้รถตลอดไปตามมาตรา ๓๔
หรือที่แสดงว่าการจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไปตามมาตรา ๓๕/๓ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒
๙.๙ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายอื่น
ให้ใช้หนังสือรับรองการจำหน่ายรถของหน่วยงานที่รถนั้นเคยจดทะเบียน
โดยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถ (เดิม) ชนิดรถ หมายเลขเครื่องยนต์
หมายเลขตัวถัง หรือหมายเลขโครงคัสซี
๙.๑๐ รถที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทการขนส่ง
หรือรถที่เปลี่ยนลักษณะจากรถบรรทุกเป็นรถโดยสาร หรือเปลี่ยนจากรถโดยสาร
เป็นรถบรรทุก
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการเปลี่ยนลักษณะรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
ค่าอุปกรณ์และส่วนควบ
๙.๑๑ รถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
๙.๑๒ รถที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้จดทะเบียน
ให้ใช้ภาพถ่ายคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และเอกสารหลักฐานตามข้อ ๙.๑ (ถ้ามี)
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนรถและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๙ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ
หากปรากฏว่าผ่านการตรวจสภาพให้ออกหมายเลขทะเบียนรถ
(๒) จัดเก็บภาษีรถประจำปี และค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๔) บันทึกรายการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
การจดทะเบียนรถตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลตามข้อ ๙.๑๒
เมื่อดำเนินการจดทะเบียนรถแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๑๑ การจดทะเบียนรถตามข้อ
๙.๑๑
ซึ่งเป็นการดำเนินการจดทะเบียนรถในจังหวัดอื่นที่มิใช่จังหวัดที่รถนั้นเคยจดทะเบียนอยู่ในวันที่ทะเบียนระงับ
ให้นำหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในหมวด ๕ การย้ายรถ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ ตามข้อ ๑๐
โดยหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๑๒[๓]
ภายใต้บังคับแห่งหมวดนี้
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ ๙.๒
หรือรถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซีตามข้อ ๙.๓
รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเองตามข้อ ๙.๔
หรือรถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุดตามข้อ ๙.๗
ให้ตรวจสอบหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถหรือหลักฐานการได้มาของรถไปยังส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ ก่อนดำเนินการจดทะเบียน
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ
๙.๒ ให้บันทึกในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
มีข้อความว่า รถประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า และกรณีเป็นรถที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เมื่อจดทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว
ให้นายทะเบียนรวบรวมภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีค่าโครงคัสซี
ค่าเครื่องยนต์ ภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก) ค่าตัวถังรถ
(กรณีรถโดยสาร) และภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าแรง (กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
จัดส่งให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ข้อ ๑๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถให้ยื่นต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
เว้นแต่รถที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ให้ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
หรือสำนักงานขนส่งอื่นก็ได้
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับเรื่องขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถตามข้อ
๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบหลักฐานประกอบการขอชำระภาษีรถ เช่น
หลักฐานแสดงว่าผ่านการตรวจสภาพรถ
หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เอกสารหรือหนังสือรับรองอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
(๒) จัดเก็บภาษีรถประจำปี
สำหรับการรับชำระภาษีรถประจำปีแทนนายทะเบียนสำนักงานขนส่งอื่น
ให้บันทึกในระบบงานว่ารับชำระภาษีแทนนายทะเบียนสำนักงานขนส่งใด
และจัดพิมพ์รายงานการรับชำระภาษีรถคันดังกล่าว
เพื่อจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
หมวด ๔
การโอนรถ
ข้อ ๑๕ การโอนรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และหลักฐานประกอบคำขอในแต่ละกรณีดังนี้
(๑) การโอนกรรมสิทธิ์รถ
(ก) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๒) การโอนสิทธิการใช้รถ
(ก) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) ของผู้โอน
(ข) หลักฐานการโอนสิทธิการใช้รถ เช่น สัญญาเช่าซื้อ หนังสือโอนสิทธิการเช่าซื้อ
สัญญาเข้าร่วมกิจการ
หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสหกรณ์เดินรถซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์เดินรถ
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๓) การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้รถ
(ก) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) ของผู้โอน
(ข) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๔) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ก) ภาพถ่ายคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และผู้จัดการมรดก (ถ้ามี) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๕) การโอนรถโดยการรับมรดกมีพินัยกรรม
(ก) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(ข) พินัยกรรมพร้อมภาพถ่าย
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (ถ้ามี)
ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
แล้วแต่กรณี
(๖) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ก) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(ข) หลักฐานประจำตัวทายาทซึ่งเป็นผู้รับโอน ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๗) การโอนรถโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล
หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
(ก) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือหนังสือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้โอนรถให้กับผู้รับโอน
แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรายละเอียดของรถคันดังกล่าว
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้รับโอน ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๑๕ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว เว้นแต่กรณีการโอนรถตามข้อ ๑๕ (๖) ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) และผลการตรวจสอบรถ เว้นแต่กรณีการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ
การซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือการเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ไม่ต้องทำการตรวจสอบรถ
(๒) ประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
เว้นแต่การโอนรถโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือผู้โอนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ การซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือการเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(๓) บันทึกรายการโอนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถการโอนรถตามข้อ ๑๕ (๗)
เมื่อดำเนินการทางทะเบียนแล้วให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกคำสั่งหรือคำพิพากษาเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๑๗ การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อ ๑๕ (๖)
เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานท้องที่ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก
เพื่อขอความร่วมมือให้สอบปากคำบรรดาทายาทของเจ้ามรดกพร้อมทั้งขอให้ดำเนินการประกาศรับโอนมรดกนั้นด้วย
ถ้าปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องที่ดังกล่าวไม่อาจดำเนินการสอบปากคำบรรดาทายาท
และประกาศรับมรดกตามที่ขอความร่วมมือได้
ให้นายทะเบียนแจ้งผู้รับโอนนั้นไปยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
แล้วนำคำสั่งศาลมาเป็นหลักฐานประกอบการโอนรถต่อไป
(๒) เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการตาม (๑) แล้ว
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการโอนรถตามข้อ ๑๖
ข้อ ๑๘ ในการโอนรถ
ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันโอนในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด
ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หมวด ๕
การย้ายรถ
ข้อ ๑๙ การแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน (ต้นทาง)
หรือนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่จะนำรถนั้นไปใช้งาน (ปลายทาง)
โดยยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้บรรจุรถคันที่แจ้งย้ายออก
เว้นแต่กรณีการแจ้งย้ายรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙
หรือกรณีทะเบียนรถเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
หรือยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๑๙ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
(ก) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(ข) ตรวจสอบการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) หากยังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(ค)
หากรถคันที่ขอแจ้งย้ายยังมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในการประกอบการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งที่จังหวัดปลายทาง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอแจ้งย้ายรถแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อน
(ง)
บันทึกข้อมูลการย้ายรถในระบบงานและบันทึกการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนดำเนินการตาม (๑)
ให้ตรวจสอบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หากยังมิได้ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือยังมิได้บันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(๒) การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
(๒.๑) การดำเนินการของจังหวัดปลายทาง
(ก)
ให้นายทะเบียนจังหวัดปลายทางตรวจสอบคำขอและหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๙ และกรณีเป็นรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับให้ตรวจสอบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หากยังมิได้ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือยังมิได้บันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการที่จังหวัดต้นทางให้แล้วเสร็จก่อน
(ข) ตรวจสอบการถอนรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) จังหวัดต้นทางและการบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑)
จังหวัดปลายทางหากปรากฏว่ายังมิได้ถอนรถจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) จังหวัดต้นทางก็ให้ดำเนินการก่อน ทั้งนี้
เว้นแต่รถที่แจ้งเลิกใช้รถไว้แล้วตามมาตรา ๗๙ หรือกรณีรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา
๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รถที่นายทะเบียนอนุญาตให้ยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขสัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(ค) บันทึกข้อมูลการย้ายรถในระบบงานและบันทึกการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒.๒) การดำเนินการของจังหวัดต้นทาง
จัดพิมพ์รายงานการแจ้งย้ายรถออกจากระบบงาน
ตรวจสอบรายละเอียดในรายงานกับสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เมื่อถูกต้องให้บันทึกการอนุญาตย้ายรถในระบบงานพร้อมบันทึกการย้ายรถในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๒๑ ในกรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
หากปรากฏว่าข้อมูลประวัติรถในระบบงานไม่สมบูรณ์
ให้นายทะเบียนจังหวัดปลายทางขอข้อมูลประวัติรถจากนายทะเบียนจังหวัดต้นทาง
และให้นายทะเบียนจังหวัดต้นทางจัดส่งภาพถ่ายประวัติรถที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ไปยังนายทะเบียนจังหวัดปลายทางภายในวันนั้นหรือวันทำการถัดไป
ข้อ ๒๒ การแจ้งย้ายรถเข้า
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเดิม เว้นแต่รถที่ได้แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙
หรือรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือรถที่ยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ข้อ ๒๓ ในกรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
แม้นายทะเบียนจังหวัดต้นทางยังไม่ได้บันทึกการอนุญาตย้ายรถในระบบงานตามข้อ ๒๐
ก็สามารถยื่นคำขอแจ้งย้ายรถเข้าพร้อมกับนำรถเข้ารับการตรวจสอบไว้ก่อนได้
ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารประกอบคำขอตามข้อ
๒๒ และนายทะเบียนจังหวัดต้นทางอนุญาตให้ย้ายรถออกแล้ว
ให้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอกับรายงานรถขอย้ายรถเข้าในระบบงานและผลการตรวจสอบรถ
หากถูกต้องให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะยกเลิกการแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ต่อนายทะเบียน ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนจังหวัดต้นทาง
(๒) กรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนจังหวัดต้นทางหรือนายทะเบียนจังหวัดปลายทาง
หมวด ๖
การแจ้งเลิกใช้รถ
การแจ้งไม่เสียภาษีรถและการยกเลิกการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๒๖ การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีแจ้งว่าแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน
หรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๗ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๒๖ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
กรณีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้ตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) แล้วหรือไม่ หากยังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(๒) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๓) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๔) บันทึกการแจ้งเลิกใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลที่ได้ดำเนินการแจ้งเลิกใช้รถแล้ว
ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑)
ข้อ ๒๘ การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่
โดยให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๙ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๒๘ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๓๐[๔]
การแจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีแจ้งว่าแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน
หรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑[๕]
เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓) บันทึกการแจ้งไม่เสียภาษีรถ
และบันทึกการรับคืนหรือการแจ้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๓๒[๖]
การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา
๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓[๗]
เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๒ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
(ก) ถ้าขอใช้รถภายในอายุภาษีเดิม ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุภาษี
(ข) ถ้าขอใช้รถภายหลังสิ้นอายุภาษีเดิม
ให้เริ่มจัดเก็บภาษีใหม่ตั้งแต่งวดที่ผู้ประกอบการขนส่งได้นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเป็นต้นไป
(๓)
บันทึกการแจ้งใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) คืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีมีการแจ้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายไว้ ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและดำเนินการสั่งซื้อแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ข้อ ๓๔ การยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ให้เจ้าของรถยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) หนังสือยืนยันการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
และสำเนาใบเสร็จรับเงินที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญา
(๔) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๔ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓) บันทึกการยกเลิกการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถว่า
ยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญา
ข้อ ๓๖ การยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
กรณีไม่สามารถนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงได้
ให้เจ้าของรถยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือยืนยันการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน โดยให้มีข้อความรับรองไว้ด้วยว่า
หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในรถคันดังกล่าว
ผู้ให้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบทุกประการ
(๒) ภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(๓) สำเนาใบเสร็จรับเงินที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญา
(๔) หลักฐานที่แสดงถึงการติดตามทวงคืนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๕) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๖) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๗ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๖ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
มีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อทราบถึงการขอยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากผู้ให้เช่าซื้อได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
พร้อมทั้งให้นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถไปคืนต่อนายทะเบียนภายในกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
(๒)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ยกเลิกการจดทะเบียนรถและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕
(๓)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในรถคันดังกล่าว
ให้นายทะเบียนออกคำสั่งยกเลิกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและออกใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้แก่เจ้าของรถโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนจากผู้ให้เช่าซื้อ
พร้อมกับยกเลิกการจดทะเบียนรถและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕
(๔)
นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบผลการดำเนินการดังกล่าว
ข้อ ๓๘ การจดทะเบียนรถที่มีการยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่โดยให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือแจ้งจำหน่ายรถ สัญญาเช่าซื้อรถ
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
(๓) หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี
หรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ ผู้ซื้อ ผู้ขาย
ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
(๔) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
(๕) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง
(กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๙ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๘ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และขั้นตอนการย้ายรถเข้าตามข้อ ๒๔ ทั้งนี้
เมื่อจดทะเบียนรถแล้วหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
หมวด ๗
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถ
ข้อ ๔๐ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถดังต่อไปนี้ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อน
(๑) โครงคัสซี
(๒) ระบบบังคับเลี้ยว
(๓) จำนวนกงล้อและยาง
(๔) จำนวนเพลาล้อ
(๕) ช่วงล้อ
(๖) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(๗) ตัวถัง
(๘) สีภายนอกตัวรถ
(๙) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(๑๐) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๔๑ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามข้อ
๔๐ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๓) รายละเอียดข้อมูลของรถที่จำเป็นแก่การพิจารณาตามรายการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๔)
หนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของรถจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือยานยนต์ระดับสามัญวิศวกร
หรือวุฒิวิศวกรตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ เฉพาะกรณีการขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของรถ
ข้อ ๔๒ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๔๑ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
(๒)
แจ้งผลการอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทราบเพื่อดำเนินการต่อไป เว้นแต่กรณีที่ต้องเสนอกรมการขนส่งทางบกพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
ให้นายทะเบียนรวบรวมเอกสารหลักฐานเสนอกรมการขนส่งทางบก
เมื่อได้รับผลการพิจารณาแล้วจึงแจ้งผลเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียนให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ข้อ ๔๓ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
เมื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อแก้ไขรายการทางทะเบียน โดยใช้หลักฐานประกอบดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาหรือการเปลี่ยนเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เปลี่ยน ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
ข้อ ๔๔ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๔๓
และผลการตรวจสภาพรถครบถ้วนถูกต้องแล้วให้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีการขอเปลี่ยนโครงคัสซี
ให้ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพรถจากคันหนึ่งเป็นอีกคันหนึ่ง
ต้องจดทะเบียนและชำระภาษีรถประจำปีใหม่ โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนรถตามข้อ
๑๐
ข้อ ๔๕ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญก่อนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และให้นำความในข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๘
การแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
ข้อ ๔๖ การแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงสำหรับรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถเข้ารับการตรวจสอบและยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หนังสือรับรองการติดตั้ง และหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ ต่อนายทะเบียน ณ
สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน หรือสำนักงานขนส่งอื่นก็ได้
ข้อ ๔๗ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถพร้อมด้วยผลการตรวจสอบรถแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
(๒) บันทึกแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในระบบงาน หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓) กรณีไม่สามารถบันทึกชนิดเชื้อเพลิงลงในระบบงานได้
ให้บันทึกหรือประทับตราข้อความว่า ชนิดเชื้อเพลิง
..
..
ไว้ที่บริเวณด้านบนของหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) กรณีดำเนินการแทนสำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน ให้บันทึกในระบบงานว่า
แจ้งต่างสำนักงาน
ข้อ ๔๘ ความในข้อ ๔๖
และข้อ ๔๗ ให้นำไปใช้บังคับกับการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงในกรณีอื่นโดยอนุโลม
หมวด ๙
การออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
หรือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ทดแทน
ข้อ ๔๙ เมื่อหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด
หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ยื่นคำขอ
(๑) ผู้ประกอบการขนส่ง
(๒) ผู้ถือกรรมสิทธิ์
(๓) ผู้ครอบครองรถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ผู้เช่าซื้อ
เป็นต้น
กรณีแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ บุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
จะต้องยื่นคำขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
หากไม่ยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕๐ การขอรับเอกสารตามข้อ ๔๙
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ยื่นคำขอ
ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
และแนบหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
หรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือถูกทำลายของนายทะเบียน หรือหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๑ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๕๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
(๒) จัดทำใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
แล้วแต่กรณี โดยใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดงมีข้อความว่า แทนฉบับชำรุด/สูญหาย
พร้อมกับบันทึกรายการการดำเนินการทางทะเบียนในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓) จ่ายใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
กรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ให้กำหนดนัดวันรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถในใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการมาขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ ๕๒ กรณีช่องบันทึกรายการในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเต็ม
เมื่อมีการเสียภาษีครั้งต่อไป ให้ออกฉบับใหม่และใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดง
มีข้อความว่า ออกให้ใหม่ฉบับเก่ารายการเต็ม
พร้อมทั้งเรียกเก็บฉบับเก่าแนบเรื่องเดิมไว้
โดยไม่ต้องยื่นคำขอและเก็บค่าธรรมเนียม
หมวด ๑๐
การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมาย
สำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๕๓ การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมให้กระทำได้เฉพาะบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ผลิตรถ ผู้ประกอบรถ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกเพื่อจำหน่ายรถ
ผู้จำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่ายรถ
(๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถในกรณีเป็นรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕๔ การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายตามข้อ ๕๓
ให้ใช้แบบคำขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
พร้อมแนบหลักฐานประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี และมีหนังสือชี้แจงแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องได้รับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๕๕ การยื่นคำขอตามหมวดนี้
(๑) กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ กรมการขนส่งทางบก
(๒) กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่
เว้นแต่กรณีเครื่องหมายมีไม่เพียงพอ ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งตาม (๑)
ข้อ ๕๖ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและดำเนินการดังนี้
(๑) พิจารณาเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมาย
ตลอดจนจำนวนของใบอนุญาตและเครื่องหมายที่เหมาะสมที่ควรออกให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
(๒) ในกรณีเห็นสมควรออกใบอนุญาตและเครื่องหมาย
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องหมายตามจำนวนที่ออกให้
พร้อมจัดทำใบอนุญาตและออกเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมต่อไป
สำหรับในกรณีเห็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตและเครื่องหมายให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นหนังสือ
ข้อ ๕๗ ใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมให้มีอายุ
๑ ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
ข้อ ๕๘ กรณีใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสิ้นอายุ
ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ
ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่ออกใบอนุญาตและเครื่องหมาย
พร้อมด้วยหลักฐานตามข้อ ๕๔
และให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
การไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตส่งคืนเครื่องหมายต่อนายทะเบียนภายในกำหนด
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากไม่ส่งคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนติดตามเอาคืน ในกรณีไม่สามารถติดตามเอาคืนได้ให้มีคำสั่งยกเลิกเครื่องหมายนั้นเสีย
การพิจารณาออกใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความตามข้อ ๕๓ และข้อ ๕๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
โดยการออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้ระบุเครื่องหมาย เลขที่เดิม
ข้อ ๕๙ กรณีใบอนุญาตหรือเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ให้ยื่นคำขอและหลักฐานประจำตัวผู้ยื่นคำขอตามข้อ ๕๔ พร้อมแนบหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
หรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือถูกทำลายของนายทะเบียน
หรือใบอนุญาตหรือเครื่องหมายที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี
ให้นายทะเบียนจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมเครื่องหมายให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนออกใบอนุญาตหรือเครื่องหมาย
หมวด ๑๑
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๖๐ ในระหว่างที่ความในหมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
ของระเบียบนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้นำระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ ในหมวด ๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
มาใช้บังคับไปพลางก่อน
ข้อ ๖๑ ใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมที่ได้ออกให้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ
เมื่อมาขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖๒ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ถือเป็นคำขอตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
และหากระเบียบนี้กำหนดให้ใช้หลักฐานประกอบคำขอหรือกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้เดิม
ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิ่มเติมหลักฐานและสั่งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๘]
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๙]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐]
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ดำรง/ตรวจ
๒๔ พฤษภาคม
๒๕๕๔
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
กัญฑรัตน์/เพิ่มเติม
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๒] ข้อ ๙ ๙.๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๔] ข้อ ๓๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๕] ข้อ ๓๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๖] ข้อ ๓๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๗] ข้อ ๓๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑/๒๖ กันยายน ๒๕๕๔
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๖๗ ง/หน้า ๙/๔ กันยายน ๒๕๕๗
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
750702 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2557 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่ปัจจุบัน
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
มีการกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนสร้างความเดือดร้อนความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต
ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมีการฝ่าฝืนกฎหมายที่กระทบต่อหลักการจัดระเบียบการขนส่งสาธารณะ
รวมทั้งมีการกระทำผิดซ้ำไม่เข็ดหลาบ จึงเห็นสมควรนำมาตรการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมาใช้เพิ่มเติมจากการลงโทษทางอาญา
โดยที่มาตรา
๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
บัญญัติให้นายทะเบียนมีอำนาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้ ดังนั้น
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่กระทำผิดกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกันอธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
ใบอนุญาต หมายความว่า
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า
ระบบงานสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบกที่ใช้บันทึกข้อมูลความผิดของผู้ได้รับใบอนุญาต
นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนกลาง
นายทะเบียนประจำจังหวัด
และผู้ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนกลางให้เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่นายทะเบียนจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม
ดังนี้
กลุ่มที่
๑ ความผิดทั่วไป เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
กลุ่มที่
๒ ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
เป็นความผิดที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้โดยสาร
กลุ่มที่
๓ ความผิดร้ายแรง
เป็นความผิดที่มีโทษจำคุก
ข้อหาความผิด
การเปรียบเทียบปรับ การอบรม
ระยะเวลาการสั่งพักใช้และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชี ๑
- ๓ ท้ายระเบียบนี้[๒]
ข้อ
๖ การพิจารณาใช้มาตรการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในบัญชี
๑ และ ๒ ต้องเป็นกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตกระทำความผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันภายในกำหนด ๒
ปีนับแต่วันที่ได้กระทำความผิดครั้งแรก
ข้อ
๗ ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า
การกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงหรือภาพพจน์ของประเทศ
หรือเป็นการขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นหรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจำนวนมาก
ให้นายทะเบียนพิจารณาสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตทันทีตามพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดโดยไม่ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ และข้อ ๖
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำความผิด
ให้ตรวจสอบข้อมูลการกระทำความผิดของบุคคลนั้นจากระบบคอมพิวเตอร์
หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในบัญชี ๑ - ๓
ให้ผู้ตรวจการแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อออกคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้มีผลนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นต้นไป
ข้อ
๙ ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ผู้กระทำความผิดทราบทางไปรษณีย์ตอบรับ
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เป็นพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด
ข้อหาความผิดและข้อกฎหมายที่อ้างอิง รวมทั้งสิทธิอุทธรณ์ ตามตัวอย่างแนบท้ายระเบียบนี้
การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๐ เมื่อดำเนินการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
ให้นายทะเบียนแจ้งไปยังผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้เป็นเจ้าของรถทราบ
เพื่อสั่งให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ ตามตัวอย่างแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๑ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบประวัติผู้ได้รับใบอนุญาต
เมื่อมีการจับกุมหรือลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำความผิด
ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลการกระทำความผิดให้ครบถ้วนถูกต้องลงในระบบคอมพิวเตอร์อย่างช้าภายในวันทำการถัดไป
ข้อ
๑๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๓]
บัญชี
๑ กลุ่มความผิดทั่วไป (แก้ไขเพิ่มเติม)
๒.[๔]
บัญชี ๒ กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๓. บัญชี ๓ กลุ่มความผิดร้ายแรง
๔. ตัวอย่างคำสั่งพัก ใช้ตามบัญชี ๑ - ๒
๕. ตัวอย่างคำสั่งพักใช้ตามบัญชี ๓
๖. ตัวอย่างคำสั่งเพิกถอนตามบัญชี ๒
๗. ตัวอย่างคำสั่งเพิกถอนตามบัญชี ๓
๘. ตัวอย่างหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕]
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๘ เมษายน ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๘ เมษายน ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๖ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑/๗ เมษายน ๒๕๕๙
[๒]
ข้อ ๕ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓]
บัญชี ๑ กลุ่มความผิดทั่วไป แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] บัญชี ๒ กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๓/๗ เมษายน ๒๕๕๙ |
824448 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2561 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ.
๒๕๖๑
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็น
ผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมข้อหาความผิดฐานไม่ใช้เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถหรืออุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นตามที่กฎหมายกำหนด
เป็นกรณีที่ผู้ขับรถอาจถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสมควรรวมระเบียบทั้งสองฉบับดังกล่าวให้เป็นฉบับเดียวกัน
เพื่อให้เกิดความสะดวกในการอ้างอิงและบังคับใช้กฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗
(๒)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙
ข้อ
๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๕ ในระเบียบนี้
ใบอนุญาต หมายความว่า
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
ระบบงาน
หมายความว่า
ระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบกที่ใช้บันทึกข้อมูลการกระทำความผิดของผู้ได้รับใบอนุญาต
นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนกลาง
นายทะเบียนประจำจังหวัด และผู้ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนกลาง
หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด ให้เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๖
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่นายทะเบียนจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้แบ่งออกเป็น
๓ กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่
๑ ความผิดทั่วไป เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
กลุ่มที่
๒ ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ เป็นความผิดที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้โดยสารหรือกระทบต่อความปลอดภัย
และประโยชน์สาธารณะ หรือส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ
กลุ่มที่
๓ ความผิดร้ายแรง เป็นความผิดที่มีโทษจำคุก
ข้อหาความผิด การเปรียบเทียบปรับ การอบรม
ระยะเวลาการสั่งพักใช้และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชี
๑ - ๓ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๗ การพิจารณาใช้มาตรการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในบัญชี
๑ และ ๒ ต้องเป็นกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตกระทำความผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันภายในกำหนด ๒
ปี นับแต่วันที่ได้กระทำความผิดครั้งแรก
ข้อ
๘ ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า
การกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง หรือภาพพจน์ของประเทศ
หรือเป็นการขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้มีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจำนวนมาก
ให้นายทะเบียนพิจารณาสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตทันทีตามพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด
โดยไม่ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ และข้อ ๗
ข้อ ๙
ในกรณีที่มีการลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำความผิด ให้ตรวจสอบข้อมูลการกระทำความผิดของบุคคลนั้นจากระบบงาน
หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในบัญชี
๑ - ๓ ให้ผู้ตรวจการแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อออกคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
ให้มีผลนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๑๐
ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ผู้กระทำความผิดทราบทางไปรษณีย์ตอบรับ
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เป็นพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด
ข้อหาความผิดและข้อกฎหมายที่อ้างอิง รวมทั้งสิทธิอุทธรณ์
ตามตัวอย่างแนบท้ายระเบียบนี้
การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๑ เมื่อดำเนินการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
ให้นายทะเบียนแจ้งไปยังผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้เป็นเจ้าของรถทราบ
เพื่อสั่งให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถตามตัวอย่างแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๒
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบประวัติผู้ได้รับใบอนุญาต
เมื่อมีการจับกุมหรือลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำความผิด
ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลการกระทำความผิดให้ครบถ้วนถูกต้อง
ลงในระบบงานอย่างช้าภายในวันทำการถัดไป
ข้อ
๑๓ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สนิท พรหมวงษ์
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชี ๑ กลุ่มความผิดทั่วไป
๒. บัญชี
๒ กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
๓.
บัญชี ๓ กลุ่มความผิดร้ายแรง
๔.
ตัวอย่างคำสั่งพักใช้ตามบัญชี ๑ - ๒
๕. ตัวอย่างคำสั่งเพิกถอนตามบัญชี
๒
๖.
ตัวอย่างคำสั่งพักใช้ตามบัญชี ๓
๗.
ตัวอย่างคำสั่งเพิกถอนตามบัญชี ๓
๘.
ตัวอย่างหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชญานิศ/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓๔ ง/หน้า ๑/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
796387 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2561
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ขอรับการรับรองทำให้เกิดปัญหาโรงเรียนสอนขับรถกระจุกตัว
ส่งผลกระทบให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนสอนขับรถ
และไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น
เพื่อให้โรงเรียนสอนขับรถมีจำนวนที่เหมาะสมและมีการกระจายตัวครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่
ตลอดจนเพื่อยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพของโรงเรียนสอนขับรถให้สูงขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘
และข้อ ๑๙ ของกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕
(๒)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ผู้ออกหนังสือรับรอง
หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสำหรับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตกรุงเทพมหานคร
และขนส่งจังหวัดสำหรับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
หนังสือรับรอง
หมายความว่า หนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การพิจารณากำหนดท้องที่ จังหวัด
ประเภทหลักสูตรการสอนและจำนวนของโรงเรียนที่จะให้มีการรับรอง
ให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
โดยให้ผู้ประสงค์ขอรับรองยื่นคำขอรับการคัดเลือกต่อกรมการขนส่งทางบกภายในระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
การออกประกาศตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงความเหมาะสม
ความครอบคลุมเพียงพอต่อการให้บริการแก่ประชาชน
และความพร้อมในการดำเนินการในท้องที่หรือจังหวัดนั้นประกอบด้วย
ข้อ ๗
ผู้ยื่นคำขอรับการคัดเลือกเพื่อขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
และต้องไม่เคยถูกยกเลิกหนังสือรับรอง เว้นแต่ได้ถูกยกเลิกหนังสือรับรองมาแล้วไม่น้อยกว่า
๕ ปีนับแต่วันที่ถูกยกเลิกหนังสือรับรองครั้งหลังสุด
ในกรณีผู้ขอรับการคัดเลือกเป็นนิติบุคคล
หุ้นส่วน หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของนิติบุคคลนั้น ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง
หรือเคยเป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของนิติบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๘
ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยรองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวหน้ากลุ่มออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หัวหน้าส่วนใบอนุญาตขับรถ
หัวหน้าส่วนพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการขับรถ และหัวหน้ากลุ่มมาตรฐานยานยนต์
เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้ากลุ่มมาตรฐานใบอนุญาตและโรงเรียนสอนขับรถ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการพิจารณาคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
(๒) พิจารณาคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
(๓)
พิจารณาให้ความเห็นชอบกรณีโรงเรียนสอนขับรถที่ขอรับรองประสงค์ที่จะจัดให้มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถแตกต่างจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หมวด ๒
การรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ต้องดำเนินการจัดให้มีอาคารสถานที่ สนามฝึกหัดขับรถ
เครื่องทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย เครื่องทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรการสอน ผู้ฝึกสอนขับรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ
ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้ออกหนังสือรับรองตรวจสอบภายใน
๑๘๐ วันนับแต่วันได้รับแจ้งผลการคัดเลือก
ในกรณีไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาในวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ขอรับรองชี้แจงแสดงเหตุผลต่อผู้ออกหนังสือรับรองก่อนครบกำหนดเวลา ๑๘๐ วัน
ในการนี้ผู้ออกหนังสือรับรองอาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกหลายคราว
โดยเมื่อรวมกันทุกคราวแล้วต้องไม่เกิน ๑๘๐ วัน
แต่ทั้งนี้ไม่ให้รวมระยะเวลาการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเจ้าหน้าที่
หากมิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำขอรับการคัดเลือกในกรณีกรมการขนส่งทางบกประกาศรับคำขอใหม่
เมื่อผู้ขอรับรองจัดให้มีอาคารสถานที่
สนามฝึกหัดขับรถ
เครื่องทดสอบสมรรถภาพของร่างกายเครื่องทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรการสอน ผู้ฝึกสอนและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ
ครบถ้วนถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ให้แจ้งต่อผู้ออกหนังสือรับรอง ณ
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่ เพื่อให้ทำการตรวจสอบ
และให้ผู้ออกหนังสือรับรองดำเนินการออกหนังสือรับรองโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๑
การพิจารณารับรองโรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(๑)
อาคารสถานที่ต้องมีขนาดเหมาะสมกับการรับรอง
การอำนวยความสะดวกและการรับสมัครผู้เรียนขับรถ ซึ่งต้องประกอบด้วยห้องทำการ
ห้องสุขา และห้องเรียนภาคทฤษฎีที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๓๐ ตารางเมตร
แยกเป็นสัดส่วน มีสภาพเหมาะสมแก่การเรียนการสอน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีเสียงดังจนเป็นที่รบกวนต่อการเรียนการสอน
(๒)
มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ซึ่งสามารถทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๓)
มีเครื่องทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam)
ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๔)
มีอุปกรณ์สำหรับควบคุมกำกับดูแลการเรียนการสอนและการทดสอบอย่างน้อยดังนี้
(ก)
เครื่องอ่านข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชนที่สามารถใช้งานกับระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์
(e-Classroom) ได้
(ข)
เครื่องสแกนลายนิ้วมือที่สามารถใช้งานกับระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom) ได้
(ค)
กล้องวงจรปิดในห้องทดสอบข้อเขียนที่สามารถมองเห็นได้ทั่วห้อง
และสามารถเก็บข้อมูลไว้สำหรับการตรวจสอบได้อย่างน้อย ๑ ปี
(๕) มีหลักสูตรการสอน การอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
และการวัดผลไม่ต่ำกว่าหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๖)
ผู้ฝึกสอนขับรถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถจากกรมการขนส่งทางบก
(๗)
มีรถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่มีลักษณะดังนี้
(ก)
เป็นรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ กิโลกรัม
หรือรถลากจูงหรือรถโดยสารที่มีที่นั่งเกินกว่า ๒๐ ที่นั่ง ที่สามารถใช้การได้ดี
มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
(ข) มีกระจกมองหลังติดตั้งภายในรถทางด้านซ้ายสำหรับผู้ฝึกสอน ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐
เซนติเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เซนติเมตร จำนวน ๑ อัน
และมีกระจกมองข้างทางด้านซ้ายติดตั้งภายนอกรถสำหรับให้ผู้ฝึกสอนที่สามารถให้ผู้ฝึกสอนมองเห็นรถทางด้านซ้ายของตัวรถเพื่อความปลอดภัยจำนวน
๑ อัน
(ค)
มีเสียงสัญญาณแสดงการถอยหลังของรถ
(ง) มีแผ่นป้าย
ฝึกหัดขับ พื้นสีขาวตัวอักษรสีแดง ขนาดความยาว ๕๐ เซนติเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า
๓๐ เซนติเมตร ติดตั้งในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งด้านหน้า
ด้านหลังและด้านข้างของรถทั้งสองข้าง
กรณีได้รับอนุญาตให้สอนขับรถลากจูงและรถบรรทุกวัตถุอันตราย
ต้องมีรถพ่วงชนิดสองเพลาที่มีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า
๓,๕๐๐ กิโลกรัม ช่วงล้อยาวไม่น้อยกว่า ๔.๓๐
เมตร หรือรถกึ่งพ่วงที่มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
(๘)
สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๗ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
(ก)
ทางลาดชันหรือสะพาน ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้ง ๙๐ องศา วงเวียน
(ข)
บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย
การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ
การหยุดรถและออกรถบนทางลาด การถอยหลังเพื่อกลับรถการฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล
(ค)
เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง)
ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕ ตารางเมตร
อาคารสถานที่สำหรับการเรียนการสอนและสนามฝึกหัดขับรถต้องอยู่ในบริเวณเดียวกันกับสถานที่ตั้งของโรงเรียนสอนขับรถ
เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นด้านพื้นที่ สนามฝึกหัดขับรถอาจตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนสอนขับรถได้ไม่เกิน
๓ กิโลเมตร
ข้อ ๑๒ การพิจารณารับรองโรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถยนต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(๑)
มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และวรรคสอง
(๒)
มีรถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่มีลักษณะดังนี้
(ก)
เป็นรถยนต์ที่สามารถใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
(ข)
มีกระจกมองหลังติดตั้งภายในรถทางด้านซ้ายสำหรับผู้ฝึกสอน ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐
เซนติเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เซนติเมตร จำนวน ๑ อัน
และมีกระจกมองข้างทางด้านซ้ายติดตั้งภายนอกรถสำหรับให้ผู้ฝึกสอนที่สามารถให้ผู้ฝึกสอนมองเห็นรถทางด้านซ้ายของตัวรถ
เพื่อความปลอดภัย จำนวน ๑ อัน
(ค)
มีแป้นเบรกสำหรับผู้ฝึกสอน จำนวน ๑ ชุด
(ง) มีแผ่นป้าย
ฝึกหัดขับ พื้นสีขาวตัวอักษรสีแดง ขนาดความยาว ๓๐ เซนติเมตรความกว้างไม่น้อยกว่า
๒๐ เซนติเมตร ติดตั้งในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถ
(๓)
สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
(ก)
ทางลาดชันหรือสะพาน ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้ง ๙๐ องศา วงเวียน
(ข)
บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย
การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
การถอยหลังเพื่อกลับรถ การฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล
(ค)
เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง)
ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕ ตารางเมตร
ข้อ ๑๓
การพิจารณารับรองโรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(๑)
มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และวรรคสอง
(๒)
มีรถจักรยานยนต์สำหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่สามารถใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
และมีไฟแสดงการใช้เบรกมือและเบรกเท้าไว้ที่ด้านหน้ารถ
(๓)
สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชันหรือสะพาน
ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้ง ๙๐ องศา วงเวียน
(ข)
บริเวณฝึกหัดการเบรก การทรงตัวบนไม้กระดาน การฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล การฝึกหัดขับรถคอร์สเลขแปด
การควบคุมคันเร่งและความคล่องตัว การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(ค)
เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง)
ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕ ตารางเมตร
(๔)
มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการฝึกหัดขับรถอย่างน้อยดังนี้
(ก)
หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน
(ข)
ถุงมือสำหรับฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์ ๑ ชุด ต่อคน
(ค) สนับศอกและสนับเข่าสำหรับฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์
๑ ชุด ต่อคน
ข้อ ๑๔
โรงเรียนสอนขับรถใดได้รับการรับรองหลายประเภทหลักสูตร
อาจจัดให้มีห้องเรียนภาคทฤษฎีที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๓๐ ตารางเมตร
เพียงห้องเดียวก็ได้ แต่ต้องเพียงพอแก่การใช้จัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
ข้อ ๑๕ กรณีผู้ขอรับรองจัดทำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแตกต่างไปจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดในข้อ
๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๖
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
จะได้รับสิทธิออกหลักฐานรับรองผลการเรียน
เพื่อยกเว้นการอบรมหรือทดสอบสำหรับการขอรับใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หมวด ๓
การต่ออายุหนังสือรับรอง
ข้อ ๑๗
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอ ณ
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุไม่น้อยกว่า
๖๐ วัน พร้อมด้วยหนังสือรับรองหรือใบแทน
และเอกสารหลักฐานในการยื่นขอรับรองตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ ทั้งนี้ เฉพาะที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๑๘
เมื่อได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและดำเนินการตรวจสอบโรงเรียนสอนขับรถและประวัติการดำเนินการ
โดยผู้ออกหนังสือรับรองจะต่ออายุหนังสือรับรองได้ต่อเมื่อ
(๑)
เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ แล้วแต่กรณี
(๒)
ผู้ขอต่ออายุหนังสือรับรองไม่มีการกระทำความผิด
หรืออยู่ระหว่างถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
เว้นแต่การกระทำความผิดได้สิ้นไปหรือได้รับการแก้ไข
หรือระยะเวลาการระงับใช้หนังสือรับรองได้ล่วงพ้นไปแล้ว
ผู้ขอต่ออายุหนังสือรับรองที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองสั่งระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวและสั่งให้แก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ ถ้ามิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรองและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
หมวด ๔
การเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๙
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ประสงค์จะขอเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถให้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ออกหนังสือรับรองไม่น้อยกว่า
๓๐ วัน ก่อนวันที่เลิกดำเนินการ
เมื่อผู้ออกหนังสือรับรองพิจารณาแล้ว
ไม่พบการกระทำความผิด หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาโทษหรือไม่มีเหตุขัดข้องอื่นใด
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นหนังสือ และให้หนังสือรับรองนั้นสิ้นผลเมื่อถึงกำหนดเลิกดำเนินการ
สำหรับโรงเรียนสอนขับรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดแจ้งเรื่องการขอเลิกดำเนินการดังกล่าวให้สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกทราบด้วย
หมวด ๕
การสิ้นสุดของหนังสือรับรอง
ข้อ ๒๐ ให้หนังสือรับรองสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับหนังสือรับรองถึงแก่ความตาย
โดยไม่มีทายาทผู้รับมรดก
(๒)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
โดยผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ไม่ประสงค์จะดำเนินการ
(๓)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกสัญญาหรือข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วน
(๔)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่เป็นนิติบุคคลสิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล
(๕)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองแจ้งขอเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถและผู้ออกหนังสือรับรองให้เลิกดำเนินการ
(๖)
เมื่อผู้ออกหนังสือรับรองสั่งยกเลิกหนังสือรับรอง
(๗) ผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ได้รับการต่ออายุหนังสือรับรอง
ข้อ ๒๑
กรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองที่เป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย
หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หากทายาท
ผู้จัดการมรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ประสงค์จะดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถของผู้ได้รับหนังสือรับรองต่อไป
ให้ดำเนินการแจ้งความประสงค์ต่อผู้ออกหนังสือรับรองพร้อมแนบเอกสารหลักฐานการเป็นทายาท
ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ต่อผู้ออกหนังสือรับรองภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๘๐
วันนับแต่วันที่ผู้ได้รับหนังสือรับรองถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
เมื่อผู้ออกหนังสือรับรองได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานก่อนออกหนังสือรับรองให้ใหม่
โดยให้หนังสือรับรองมีอายุตามระยะเวลาที่เหลืออยู่
หมวด ๖
ข้อปฏิบัติของโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
จัดให้มีการเรียนการสอนและการอบรมตามหลักสูตรในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๒)
จัดให้มีผู้ฝึกสอนขับรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกตรงตามประเภทหลักสูตรการสอนของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรอง
(๓) ควบคุม กำกับ
ดูแลให้ผู้ฝึกสอนขับรถสอนตรงตามประเภทหลักสูตรที่ได้รับอนุญาต
(๔)
แสดงหนังสือรับรองไว้ในที่เปิดเผย
สามารถมองเห็นได้ง่ายภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
(๕)
จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๖)
ใช้ระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom)
ในทุกกระบวนการดำเนินงาน
(๗)
บันทึกรายการรถฝึกหัดขับและรายชื่อผู้ฝึกสอนขับรถผ่านระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์
(e-Classroom) ก่อนเปิดดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถหรือก่อนการเปลี่ยนแปลงรถฝึกหัดขับและผู้ฝึกสอนขับรถ
แล้วแต่กรณี
(๘)
ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองได้รับสิทธิทำการทดสอบข้อเขียนหรือทดสอบขับรถ
ต้องจัดให้มีการทดสอบผู้เข้ารับการอบรมและควบคุมการทดสอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๙) ดูแลและปรับปรุงอาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถรถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับ
และสนามฝึกหัดขับรถให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๑๐)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๑๑) สอดส่อง
ดูแลผู้ฝึกสอนขับรถมิให้กระทำการในลักษณะไม่สมควร
หรือไม่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมในขณะปฏิบัติหน้าที่
(๑๒)
ไม่ใช้ถ้อยคำชวนเชื่อหรือโฆษณาอันมีลักษณะชักชวนหรือจูงใจจนเกินความจริง
(๑๓)
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ
ตามที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๒๓ ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการดังต่อไปนี้
ให้ยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่อผู้ออกหนังสือรับรอง
เพื่อพิจารณาอนุญาตก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
(๑)
สถานที่ตั้งโรงเรียน
(๒) อาคารเรียน
สิ่งปลูกสร้าง
(๓)
สนามฝึกหัดขับรถ
(๔) หลักสูตรการสอนและการอบรม
ให้นำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณารับรองโรงเรียนสอนขับรถมาใช้กับการขอปรับปรุง
แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
และผู้ได้รับหนังสือรับรองจะดำเนินการปรับปรุง
แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ออกหนังสือรับรองแล้ว
การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งโรงเรียนตาม
(๑) สถานที่ตั้งแห่งใหม่ต้องอยู่บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกับสถานที่เดิม
และให้ผู้ออกหนังสือรับรองออกหนังสือรับรองให้ใหม่
โดยให้หนังสือรับรองมีอายุเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
ถูกยกเลิกหนังสือรับรอง เลิกดำเนินการ หรือลดประเภทหลักสูตรการสอน
เป็นเหตุให้ผู้เข้ารับการอบรมไม่ได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องตามที่ตกลง
ต้องจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องในโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรอง
โดยความยินยอมของผู้เข้ารับการอบรมภายใน ๑๕
วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของผู้ออกหนังสือรับรอง
หมวด ๗
การวาง เปลี่ยนแปลง เบิกจ่าย และคืนหลักทรัพย์
ข้อ ๒๕
ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องวางหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยชนิดที่ขายคืนได้ก่อนครบกำหนดชำระเงินต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันก็ได้
ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองนำพันธบัตรมาวางเป็นหลักทรัพย์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรนั้นให้แก่กรมการขนส่งทางบก
จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดตามประเภทหลักสูตรการสอนขับรถ
ข้อ ๒๖
ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องยื่นขอวางหลักทรัพย์พร้อมด้วยหลักทรัพย์ภายใน ๑๕
วัน นับแต่วันออกหนังสือรับรอง แต่ทั้งนี้ต้องก่อนเปิดดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ที่วางไว้
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองยื่นขอพร้อมด้วยหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะนำมาวางแทนหลักทรัพย์เดิม
ข้อ ๒๗
การเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตรให้ลงบัญชีและจัดทำทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
และเก็บรักษาพันธบัตรไว้ในตู้นิรภัย ณ
สำนักบริหารการคลังและรายได้กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี
ในกรณีหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้จัดเก็บรักษารวมไว้ในเรื่องการดำเนินการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
หรือแยกจัดเก็บไว้ต่างหากเพื่อป้องกันการสูญหายและให้สามารถค้นหาได้ง่าย
ข้อ ๒๘ กรณีมีเหตุตามข้อ ๒๔
หรือมีเหตุอื่นอันทำให้ผู้เข้ารับการอบรมไม่ได้รับการอบรมตามที่ตกลงและผู้ได้รับหนังสือรับรองมิได้จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่อง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรมจากโรงเรียนสอนขับรถแห่งอื่น
โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปให้เบิกจากหลักทรัพย์ที่วางไว้
ในกรณีที่หลักทรัพย์มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองนำหลักทรัพย์มาวางเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดไว้ภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
หากเป็นกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองเป็นผู้ถูกยกเลิกหนังสือรับรอง
หรือเลิกดำเนินการ เมื่อใช้จ่ายจากหลักทรัพย์ไปเท่าใดแล้ว
ให้คืนหลักทรัพย์เท่าจำนวนที่เหลืออยู่แก่ผู้ถูกยกเลิก หรือเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถต่อไป
ข้อ ๒๙
การคืนหลักทรัพย์ให้กระทำได้ในกรณีที่หนังสือรับรองสิ้นสุดลงตามข้อ ๒๐
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองได้รับอนุญาตให้ลดประเภทหลักสูตรการสอนที่ขอรับรอง
ข้อ ๓๐ ให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกหรือขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ
และพิจารณาตรวจสอบการขอคืนหลักทรัพย์
ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกหรือขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดของตนรับผิดชอบดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนได้
ข้อ ๓๑ การยื่นขอคืนหลักทรัพย์
ให้ยื่นพร้อมหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ถ้ากรณีหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์สูญหายให้นำหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนมาแสดง
การคืนหลักทรัพย์ให้กับผู้ได้รับหนังสือรับรองหรือบุคคลที่มีสิทธิที่จะได้รับคืนต้องปรากฏว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรมครบตามที่ตกลงไว้กับผู้ได้รับหนังสือรับรอง
หากผู้เข้ารับการอบรมไม่ได้รับการอบรมครบตามที่ตกลงไว้
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองดำเนินการหักหลักทรัพย์เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้ารับการอบรมตามที่ตกลงไว้ก่อนที่จะคืนหลักทรัพย์ให้
ข้อ ๓๒ ดอกผลอันเกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตร
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองรับจากผู้ออกพันธบัตรโดยตรง
ข้อ ๓๓
ให้หัวหน้าส่วนการเงินหรือผู้ได้รับมอบหมาย ในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ กรมการขนส่งทางบก
ขนส่งจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย ในกรณีการวางทรัพย์ ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดรับผิดชอบในการดำเนินการสำหรับหลักทรัพย์นั้นดังนี้
(๑)
การรับหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตร
(๒)
การจัดทำและลงรายการในบัญชีและทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
(๓)
การเบิกจ่ายและการคืนหลักทรัพย์
(๔)
จัดให้ผู้รับวางหลักทรัพย์ลงนามเป็นหลักฐานแสดงการได้รับหลักทรัพย์ไว้ในทะเบียนคุมหลักทรัพย์
หมวด ๘
การตักเตือน การระงับใช้หนังสือรับรอง และการยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๔
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดดำเนินการสอนและอบรมไม่เป็นไปตามหลักสูตรการสอนที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
หรืออนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถเข้าสอนในโรงเรียนสอนขับรถของตน
หรือไม่ควบคุม กำกับ ดูแลให้ผู้ฝึกสอนขับรถสอนตรงตามประเภทหลักสูตรที่ได้รับอนุญาต
หรือไม่ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ทดสอบข้อเขียนหรือทดสอบขับรถตามหลักเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๖ เดือน
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
๒ ครั้ง ภายในระหว่างอายุหนังสือรับรอง ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๕
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่ดูแลและปรับปรุงอาคารสถานที่
เครื่องทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย เครื่องทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ รถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับ
และสนามฝึกหัดขับรถให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้ดีอยู่เสมอหรือใช้ระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ไม่ครบถ้วน
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือ ในกรณีมีการตักเตือนเป็นหนังสือ ๓
ครั้ง ภายในระหว่างอายุหนังสือรับรองให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน
๓ เดือน
ภายหลังจากผู้ได้รับหนังสือรับรองถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวแล้ว
ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอีกภายในระหว่างอายุหนังสือรับรอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่แสดงหนังสือรับรองตามที่กำหนด
หรือไม่สอดส่อง ดูแลผู้ฝึกสอนขับรถมิให้กระทำการในลักษณะไม่สมควร
หรือไม่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมในขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้ถ้อยคำหรือโฆษณาอันอาจมีลักษณะชักชวนหรือจูงใจจนเกินความจริง
หรือไม่จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าอบรมอย่างต่อเนื่อง ตามข้อ ๒๔
หรือไม่นำหลักทรัพย์มาวางเพิ่มเติมตามข้อ ๒๘ วรรคสอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือ
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอีกภายในระหว่างอายุหนังสือรับรองให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน
๑ เดือน
ข้อ ๓๗
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดจัดทำหลักฐานการรับสมัคร
บันทึกการเรียนการสอนหรือผลการทดสอบอันเป็นเท็จ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๘
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดหยุดดำเนินการเกิน ๙๐ วัน
โดยไม่แจ้งเลิกดำเนินการให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจสั่งยกเลิกหนังสือรับรองได้
ข้อ ๓๙
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดจัดให้มีการเรียนการสอนในระหว่างถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดจัดให้มีการเรียนการสอนหลังจากที่หนังสือรับรองสิ้นอายุและไม่อยู่ระหว่างดำเนินการขอต่ออายุหนังสือรับรอง
หรือถูกยกเลิกหนังสือรับรอง
ให้ผู้นั้นถูกตัดสิทธิการยื่นคำขอรับการคัดเลือกเพื่อขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถเป็นเวลา
๕ ปี
ข้อ ๔๑
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดจัดเก็บค่าธรรมเนียมไม่เป็นไปตามอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๑ เดือน
และหากกระทำการดังกล่าวซ้ำอีก ภายในระหว่างอายุหนังสือรับรอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๔๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
หรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้ในการฝึกหัดขับรถ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือโดยกำหนดระยะเวลาให้ดำเนินการแก้ไข
หากผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือกระทำการดังกล่าวซ้ำอีกภายในช่วงอายุหนังสือรับรอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๑ เดือน
ข้อ ๔๓
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
หรือกฎระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวกับโรงเรียนสอนขับรถ หรือกระทำ
ความผิดร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงหรือภาพพจน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการขนส่งทางบก
หรือสร้างความเสียหายแก่ผู้เข้ารับการอบรม
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจตักเตือนเป็นหนังสือระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
หรือยกเลิกหนังสือรับรองได้ตามพฤติการณ์แห่งกรณี
ข้อ ๔๔
ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งถูกยกเลิกหนังสือรับรองต้องส่งคืนหนังสือรับรอง
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ยกเลิก
ข้อ ๔๕
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ได้รับการรับรองก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ถือเป็นผู้ได้รับหนังสือรับรองตามระเบียบนี้
แต่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์
(e-Classroom)
และต้องใช้ระบบงานดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ดำเนินการตามกำหนดระยะเวลาในวรรคหนึ่ง
ให้หนังสือรับรองนั้นระงับไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ข้อ ๔๖
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ได้ดำเนินการตามข้อ ๔๕ วรรคหนึ่งแล้ว
สิทธิในการออกหลักฐานรับรองผลการเรียน เพื่อยกเว้นการอบรมหรือทดสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดตามข้อ ๑๖
ข้อ ๔๗
บรรดาประกาศหรือข้อกำหนดที่ออกตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
จนกว่าจะมีประกาศหรือข้อกำหนดตามระเบียบนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔๘
บรรดาคำขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือเป็นคำขอตามระเบียบนี้
โดยให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจสั่งให้ผู้ขอรับรองแก้ไขเพิ่มเติมคำขอหรือกระทำการใด
ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้
มิให้นำความในข้อ ๖
มาใช้บังคับกับบรรดาคำขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
แต่ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการให้ได้รับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถภายใน ๑
ปีนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
หากมิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้น
ไม่ประสงค์จะขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สนิท
พรหมวงษ์
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑๙ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
754143 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๙
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักฐานประกอบการจดทะเบียนรถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเองเป็นการเพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องและที่มาของรถ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความใน ๙.๔ ของข้อ ๙
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๙.๔ รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) เอกสารการอนุญาตนำรถเข้าของกรมศุลกากร ได้แก่
ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้าหรือหลักฐานการยกเว้นอากรขาเข้า
บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบรับรองการนำเข้า (แบบที่ ๓๒) ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เช่น
หมายเลขโครงคัสซี หมายเลขเครื่องยนต์
กรณีรถนั้นเป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ยังไม่เคยจดทะเบียนในต่างประเทศ ให้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าซื้อรถและใบกำกับภาษี
จากผู้จำหน่ายรถเป็นการเพิ่มเติมด้วย
(๒)
กรณีเป็นรถใช้แล้วให้ใช้หลักฐานตาม (๑) และต้องมีหนังสืออนุญาตให้นำรถเข้ามาในราชอาณาจักรของกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สนิท พรหมวงษ์
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/จัดทำ
๑๑ กรกฎาคม
๒๕๕๙
กัญฑรัตน์/ตรวจ
๒๙ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
748698 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพักใช้
และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามระเบียบดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
รวมทั้งสมควรนำมาตรการอบรมมาบังคับใช้กับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่กระทำผิดด้วย
เพื่อเป็นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการให้บริการที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๕
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อหาความผิด การเปรียบเทียบปรับ การอบรม
ระยะเวลาการสั่งพักใช้และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชี ๑
- ๓ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกบัญชี ๑ และบัญชี ๒
ท้ายระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้บัญชี ๑ และบัญชี ๒ ท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สนิท พรหมวงษ์
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชี
๑ กลุ่มความผิดทั่วไป
๒. บัญชี ๒ กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและการจัดระเบียบรถสาธารณะ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๘ เมษายน ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๑ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๓/๗ เมษายน ๒๕๕๙ |
748696 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2557 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่ปัจจุบัน
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีการกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนสร้างความเดือดร้อนความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต
ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมีการฝ่าฝืนกฎหมายที่กระทบต่อหลักการจัดระเบียบการขนส่งสาธารณะ
รวมทั้งมีการกระทำผิดซ้ำไม่เข็ดหลาบ
จึงเห็นสมควรนำมาตรการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมาใช้เพิ่มเติมจากการลงโทษทางอาญา
โดยที่มาตรา
๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติให้นายทะเบียนมีอำนาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้
ดังนั้น
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่กระทำผิดกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกันอธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
ใบอนุญาต หมายความว่า
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า
ระบบงานสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบกที่ใช้บันทึกข้อมูลความผิดของผู้ได้รับใบอนุญาต
นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนกลาง
นายทะเบียนประจำจังหวัด
และผู้ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนกลางให้เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่นายทะเบียนจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่
๑ ความผิดทั่วไป เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
กลุ่มที่
๒ ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
เป็นความผิดที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้โดยสาร
กลุ่มที่
๓ ความผิดร้ายแรง เป็นความผิดที่มีโทษจำคุก
ข้อหาความผิด
การเปรียบเทียบปรับ
ระยะเวลาการสั่งพักใช้และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชี ๑
- ๓ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๖ การพิจารณาใช้มาตรการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในบัญชี
๑ และ ๒ ต้องเป็นกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตกระทำความผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันภายในกำหนด ๒
ปีนับแต่วันที่ได้กระทำความผิดครั้งแรก
ข้อ
๗ ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า
การกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงหรือภาพพจน์ของประเทศ
หรือเป็นการขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นหรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจำนวนมาก
ให้นายทะเบียนพิจารณาสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตทันทีตามพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดโดยไม่ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ และข้อ ๖
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำความผิด
ให้ตรวจสอบข้อมูลการกระทำความผิดของบุคคลนั้นจากระบบคอมพิวเตอร์
หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในบัญชี ๑ -
๓ ให้ผู้ตรวจการแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อออกคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้มีผลนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นต้นไป
ข้อ
๙ ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ผู้กระทำความผิดทราบทางไปรษณีย์ตอบรับ
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เป็นพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด
ข้อหาความผิดและข้อกฎหมายที่อ้างอิง รวมทั้งสิทธิอุทธรณ์
ตามตัวอย่างแนบท้ายระเบียบนี้
การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๐ เมื่อดำเนินการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
ให้นายทะเบียนแจ้งไปยังผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้เป็นเจ้าของรถทราบ
เพื่อสั่งให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ ตามตัวอย่างแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๑ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบประวัติผู้ได้รับใบอนุญาต
เมื่อมีการจับกุมหรือลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำความผิด
ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลการกระทำความผิดให้ครบถ้วนถูกต้องลงในระบบคอมพิวเตอร์อย่างช้าภายในวันทำการถัดไป
ข้อ ๑๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก
รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชี
๑ กลุ่มความผิดทั่วไป
๒. บัญชี ๒ กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
๓. บัญชี ๓ กลุ่มความผิดร้ายแรง
๔. ตัวอย่างคำสั่งพัก ใช้ตามบัญชี ๑ - ๒
๕. ตัวอย่างคำสั่งพักใช้ตามบัญชี ๓
๖. ตัวอย่างคำสั่งเพิกถอนตามบัญชี ๒
๗. ตัวอย่างคำสั่งเพิกถอนตามบัญชี ๓
๘. ตัวอย่างหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๘ เมษายน ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๓ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑/๗ เมษายน ๒๕๕๙ |
756629 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/09/2557) | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเสียใหม่
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
สามารถให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ
เว้นแต่ความในหมวด ๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
(๒) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๔) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๕) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๗) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๘/๐๕๕๙๖ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม
๒๕๒๕ เรื่อง การใช้ป้ายทะเบียนรถสีแดง
บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ตรวจสภาพรถ หมายความว่า
การตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด
ความเรียบร้อยความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง
และเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจสอบรถ หมายความว่า
การตรวจสอบความถูกต้องของตัวรถตามรายการที่จดทะเบียนและประวัติรถ
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การยื่นขอดำเนินการใด
ๆ เกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามระเบียบนี้หากไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
ข้อ ๗ การดำเนินการใด ๆ
ทางทะเบียนและภาษีรถ หากผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง
ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้มาดำเนินการแทน
เว้นแต่การยื่นขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานประกอบด้วย
ข้อ ๘ การจดทะเบียนรถ
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ หรือการโอนรถที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการขนส่ง
ให้นายทะเบียนตรวจสอบการจัดให้มีการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
สัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยตามวรรคหนึ่ง
จะต้องมีความคุ้มครองอย่างน้อยถึงวันสิ้นอายุภาษีรถในปีถัดไป
หมวด ๒
การจดทะเบียนรถ
ข้อ ๙ ผู้ขอจดทะเบียนรถจะต้องเป็นผู้ประกอบการขนส่งที่มีสิทธิใช้รถ
โดยการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือรับเข้าร่วมกิจการขนส่ง
และต้องบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง (บัญชี ขส.บ.๑๑)
ให้แล้วเสร็จก่อน
การจดทะเบียนรถให้ยื่นได้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี โดยให้ใช้คำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง
(กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (ถ้ามี)
แล้วแต่กรณี และหลักฐานประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
๙.๑ รถใหม่ที่ผลิตจากโรงงานภายในประเทศ
หรือรถที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่าย
(๑) หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาเช่าซื้อรถ
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
(๓) หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน
หรือใบกำกับภาษีหรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ
ผู้ซื้อ ผู้ขาย ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
๙.๒ รถประกอบขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
(๑) ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
(๒) ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๓) บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๔) ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า หรือภาพถ่าย
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๕) ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ หรือใบกำกับภาษี
หรือหลักฐานการซื้อขายหรือการให้เครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี
(ก)
กรณีเครื่องยนต์เก่าที่เคยนำไปใช้กับรถที่จดทะเบียนแล้วให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขเครื่องยนต์
พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของหรือผู้จำหน่ายเครื่องยนต์
แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีเครื่องยนต์ที่ยังไม่เคยจดทะเบียน
ให้แนบหนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
(๖)
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถทั้งหมดและบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๗) ใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก)
หรือใบเสร็จรับเงินค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร)
(๘) หลักฐานการสร้างประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
๙.๓ รถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซี
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
หรือสัญญาซื้อขายโครงคัสซี แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีเป็นโครงคัสซีเก่าของรถที่ได้แจ้งเลิกใช้แล้ว
ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซีด้วย
(๓) หลักฐานการเปลี่ยนโครงคัสซี เช่น
ใบเสร็จรับเงินค่าเปลี่ยนโครงคัสซี
(๔) กรณีเป็นโครงคัสซีที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานตามข้อ
๙.๒ (๒) (๓) และ (๔)
๙.๔ รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) เอกสารการอนุญาตนำรถเข้าของกรมศุลกากร ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ค่าอากรขาเข้า
หรือหลักฐานการยกเว้นอากรขาเข้า บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบรับรองการนำเข้า (แบบที่ ๓๒)
ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เช่น หมายเลขโครงคัสซี หมายเลขเครื่องยนต์
(๒) กรณีเป็นรถใช้แล้วให้ใช้หลักฐานตาม (๑)
และต้องมีหนังสืออนุญาตให้นำรถเข้ามาในราชอาณาจักรของกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
๙.๕ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงที่ประกอบขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) หนังสือรับรองการประกอบรถขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
(๒) หลักฐานการสร้างประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีไม่ได้ประกอบรถขึ้นเอง)
(๓)
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถทั้งหมดและบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
๙.๖ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการ
อันเนื่องมาจากรถเป็นของกลางในคดีอาญา
(๑) หนังสือแจ้งการขายทอดตลาด
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับรถที่ขายทอดตลาด
(๒) ใบเสร็จรับเงินค่ารถ
(๓) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๙.๗ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุด
โดยไม่มีการโอนทะเบียนรถเดิม ให้ใช้หลักฐานตามข้อ ๙.๖
๙.๘ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ให้ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถที่มีการแจ้งไม่ใช้รถตลอดไปตามมาตรา ๓๔
หรือที่แสดงว่าการจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไปตามมาตรา ๓๕/๓ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒
๙.๙ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายอื่น
ให้ใช้หนังสือรับรองการจำหน่ายรถของหน่วยงานที่รถนั้นเคยจดทะเบียน
โดยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถ (เดิม) ชนิดรถ หมายเลขเครื่องยนต์
หมายเลขตัวถัง หรือหมายเลขโครงคัสซี
๙.๑๐ รถที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทการขนส่ง
หรือรถที่เปลี่ยนลักษณะจากรถบรรทุกเป็นรถโดยสาร หรือเปลี่ยนจากรถโดยสาร เป็นรถบรรทุก
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการเปลี่ยนลักษณะรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
ค่าอุปกรณ์และส่วนควบ
๙.๑๑ รถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
๙.๑๒ รถที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้จดทะเบียน
ให้ใช้ภาพถ่ายคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และเอกสารหลักฐานตามข้อ ๙.๑ (ถ้ามี)
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนรถและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๙ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ หากปรากฏว่าผ่านการตรวจสภาพให้ออกหมายเลขทะเบียนรถ
(๒) จัดเก็บภาษีรถประจำปี และค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๔) บันทึกรายการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
การจดทะเบียนรถตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลตามข้อ ๙.๑๒
เมื่อดำเนินการจดทะเบียนรถแล้ว
ให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๑๑ การจดทะเบียนรถตามข้อ
๙.๑๑ ซึ่งเป็นการดำเนินการจดทะเบียนรถในจังหวัดอื่นที่มิใช่จังหวัดที่รถนั้นเคยจดทะเบียนอยู่ในวันที่ทะเบียนระงับ
ให้นำหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในหมวด ๕ การย้ายรถ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ ตามข้อ ๑๐
โดยหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๑๒[๒]
ภายใต้บังคับแห่งหมวดนี้
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ ๙.๒
หรือรถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซีตามข้อ ๙.๓
รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเองตามข้อ ๙.๔
หรือรถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุดตามข้อ ๙.๗
ให้ตรวจสอบหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถหรือหลักฐานการได้มาของรถไปยังส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ ก่อนดำเนินการจดทะเบียน
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ
๙.๒ ให้บันทึกในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
มีข้อความว่า รถประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า และกรณีเป็นรถที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เมื่อจดทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว
ให้นายทะเบียนรวบรวมภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีค่าโครงคัสซี ค่าเครื่องยนต์
ภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก) ค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร) และภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
จัดส่งให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ข้อ ๑๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถให้ยื่นต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
เว้นแต่รถที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ให้ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
หรือสำนักงานขนส่งอื่นก็ได้
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับเรื่องขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถตามข้อ
๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบหลักฐานประกอบการขอชำระภาษีรถ เช่น
หลักฐานแสดงว่าผ่านการตรวจสภาพรถ
หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เอกสารหรือหนังสือรับรองอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
(๒) จัดเก็บภาษีรถประจำปี
สำหรับการรับชำระภาษีรถประจำปีแทนนายทะเบียนสำนักงานขนส่งอื่น
ให้บันทึกในระบบงานว่ารับชำระภาษีแทนนายทะเบียนสำนักงานขนส่งใด
และจัดพิมพ์รายงานการรับชำระภาษีรถคันดังกล่าว
เพื่อจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
หมวด ๔
การโอนรถ
ข้อ ๑๕ การโอนรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหลักฐานประกอบคำขอในแต่ละกรณีดังนี้
(๑) การโอนกรรมสิทธิ์รถ
(ก) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๒) การโอนสิทธิการใช้รถ
(ก) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) ของผู้โอน
(ข) หลักฐานการโอนสิทธิการใช้รถ เช่น สัญญาเช่าซื้อ
หนังสือโอนสิทธิการเช่าซื้อ สัญญาเข้าร่วมกิจการ
หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสหกรณ์เดินรถซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์เดินรถ
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๓) การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้รถ
(ก) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) ของผู้โอน
(ข) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๔) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ก) ภาพถ่ายคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และผู้จัดการมรดก (ถ้ามี) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๕) การโอนรถโดยการรับมรดกมีพินัยกรรม
(ก) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(ข) พินัยกรรมพร้อมภาพถ่าย
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (ถ้ามี)
ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
แล้วแต่กรณี
(๖) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ก) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(ข) หลักฐานประจำตัวทายาทซึ่งเป็นผู้รับโอน ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๗) การโอนรถโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
(ก) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล
หรือหนังสือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้โอนรถให้กับผู้รับโอน แล้วแต่กรณี
พร้อมทั้งรายละเอียดของรถคันดังกล่าว
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้รับโอน ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๑๕ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว เว้นแต่กรณีการโอนรถตามข้อ ๑๕ (๖) ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) และผลการตรวจสอบรถ เว้นแต่กรณีการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ
การซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือการเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ไม่ต้องทำการตรวจสอบรถ
(๒) ประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
เว้นแต่การโอนรถโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือผู้โอนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ การซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือการเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(๓) บันทึกรายการโอนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถการโอนรถตามข้อ
๑๕ (๗)
เมื่อดำเนินการทางทะเบียนแล้วให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกคำสั่งหรือคำพิพากษาเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๑๗ การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อ ๑๕ (๖) เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานท้องที่ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก
เพื่อขอความร่วมมือให้สอบปากคำบรรดาทายาทของเจ้ามรดกพร้อมทั้งขอให้ดำเนินการประกาศรับโอนมรดกนั้นด้วย
ถ้าปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องที่ดังกล่าวไม่อาจดำเนินการสอบปากคำบรรดาทายาท
และประกาศรับมรดกตามที่ขอความร่วมมือได้
ให้นายทะเบียนแจ้งผู้รับโอนนั้นไปยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
แล้วนำคำสั่งศาลมาเป็นหลักฐานประกอบการโอนรถต่อไป
(๒) เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการตาม (๑) แล้ว
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการโอนรถตามข้อ ๑๖
ข้อ ๑๘ ในการโอนรถ
ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันโอนในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด
ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หมวด ๕
การย้ายรถ
ข้อ ๑๙ การแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน (ต้นทาง)
หรือนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่จะนำรถนั้นไปใช้งาน (ปลายทาง)
โดยยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้บรรจุรถคันที่แจ้งย้ายออก
เว้นแต่กรณีการแจ้งย้ายรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙
หรือกรณีทะเบียนรถเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ หรือยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๑๙ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
(ก) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(ข) ตรวจสอบการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) หากยังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(ค)
หากรถคันที่ขอแจ้งย้ายยังมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในการประกอบการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งที่จังหวัดปลายทาง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอแจ้งย้ายรถแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อน
(ง) บันทึกข้อมูลการย้ายรถในระบบงานและบันทึกการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนดำเนินการตาม (๑)
ให้ตรวจสอบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หากยังมิได้ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือยังมิได้บันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(๒) การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
(๒.๑) การดำเนินการของจังหวัดปลายทาง
(ก)
ให้นายทะเบียนจังหวัดปลายทางตรวจสอบคำขอและหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๙ และกรณีเป็นรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับให้ตรวจสอบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หากยังมิได้ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือยังมิได้บันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการที่จังหวัดต้นทางให้แล้วเสร็จก่อน
(ข) ตรวจสอบการถอนรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) จังหวัดต้นทางและการบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑)
จังหวัดปลายทางหากปรากฏว่ายังมิได้ถอนรถจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) จังหวัดต้นทางก็ให้ดำเนินการก่อน ทั้งนี้
เว้นแต่รถที่แจ้งเลิกใช้รถไว้แล้วตามมาตรา ๗๙
หรือกรณีรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รถที่นายทะเบียนอนุญาตให้ยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขสัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(ค)
บันทึกข้อมูลการย้ายรถในระบบงานและบันทึกการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒.๒) การดำเนินการของจังหวัดต้นทาง
จัดพิมพ์รายงานการแจ้งย้ายรถออกจากระบบงาน
ตรวจสอบรายละเอียดในรายงานกับสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เมื่อถูกต้องให้บันทึกการอนุญาตย้ายรถในระบบงานพร้อมบันทึกการย้ายรถในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๒๑ ในกรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
หากปรากฏว่าข้อมูลประวัติรถในระบบงานไม่สมบูรณ์
ให้นายทะเบียนจังหวัดปลายทางขอข้อมูลประวัติรถจากนายทะเบียนจังหวัดต้นทาง
และให้นายทะเบียนจังหวัดต้นทางจัดส่งภาพถ่ายประวัติรถที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ไปยังนายทะเบียนจังหวัดปลายทางภายในวันนั้นหรือวันทำการถัดไป
ข้อ ๒๒ การแจ้งย้ายรถเข้า
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเดิม เว้นแต่รถที่ได้แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙
หรือรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือรถที่ยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ข้อ ๒๓ ในกรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
แม้นายทะเบียนจังหวัดต้นทางยังไม่ได้บันทึกการอนุญาตย้ายรถในระบบงานตามข้อ ๒๐
ก็สามารถยื่นคำขอแจ้งย้ายรถเข้าพร้อมกับนำรถเข้ารับการตรวจสอบไว้ก่อนได้
ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารประกอบคำขอตามข้อ
๒๒ และนายทะเบียนจังหวัดต้นทางอนุญาตให้ย้ายรถออกแล้ว
ให้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอกับรายงานรถขอย้ายรถเข้าในระบบงานและผลการตรวจสอบรถ
หากถูกต้องให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะยกเลิกการแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ต่อนายทะเบียน ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนจังหวัดต้นทาง
(๒) กรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนจังหวัดต้นทางหรือนายทะเบียนจังหวัดปลายทาง
หมวด ๖
การแจ้งเลิกใช้รถ
การแจ้งไม่เสียภาษีรถและการยกเลิกการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๒๖ การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ เว้นแต่กรณีแจ้งว่าแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย
ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน
หรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๗ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๒๖ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
กรณีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้ตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) แล้วหรือไม่ หากยังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(๒) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๓) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๔) บันทึกการแจ้งเลิกใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลที่ได้ดำเนินการแจ้งเลิกใช้รถแล้ว
ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑)
ข้อ ๒๘ การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่
โดยให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๙ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๒๘ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๓๐[๓]
การแจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีแจ้งว่าแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน
หรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑[๔]
เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓) บันทึกการแจ้งไม่เสียภาษีรถ
และบันทึกการรับคืนหรือการแจ้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๓๒[๕]
การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา
๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓[๖]
เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๒ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
(ก) ถ้าขอใช้รถภายในอายุภาษีเดิม ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุภาษี
(ข) ถ้าขอใช้รถภายหลังสิ้นอายุภาษีเดิม
ให้เริ่มจัดเก็บภาษีใหม่ตั้งแต่งวดที่ผู้ประกอบการขนส่งได้นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเป็นต้นไป
(๓) บันทึกการแจ้งใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) คืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีมีการแจ้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายไว้ ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและดำเนินการสั่งซื้อแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ข้อ ๓๔ การยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ให้เจ้าของรถยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) หนังสือยืนยันการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
และสำเนาใบเสร็จรับเงินที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญา
(๔) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๔ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓)
บันทึกการยกเลิกการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถว่า
ยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญา
ข้อ ๓๖ การยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
กรณีไม่สามารถนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงได้
ให้เจ้าของรถยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือยืนยันการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน โดยให้มีข้อความรับรองไว้ด้วยว่า
หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในรถคันดังกล่าว
ผู้ให้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบทุกประการ
(๒) ภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(๓) สำเนาใบเสร็จรับเงินที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญา
(๔) หลักฐานที่แสดงถึงการติดตามทวงคืนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๕) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๖) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๗ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๖ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
มีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อทราบถึงการขอยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากผู้ให้เช่าซื้อได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
พร้อมทั้งให้นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถไปคืนต่อนายทะเบียนภายในกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
(๒)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ยกเลิกการจดทะเบียนรถและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕
(๓)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในรถคันดังกล่าว
ให้นายทะเบียนออกคำสั่งยกเลิกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและออกใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้แก่เจ้าของรถโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนจากผู้ให้เช่าซื้อ
พร้อมกับยกเลิกการจดทะเบียนรถและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕
(๔)
นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบผลการดำเนินการดังกล่าว
ข้อ ๓๘ การจดทะเบียนรถที่มีการยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่โดยให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือแจ้งจำหน่ายรถ สัญญาเช่าซื้อรถ
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
(๓) หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี
หรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ ผู้ซื้อ ผู้ขาย
ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
(๔) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
(๕) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๙ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๘ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และขั้นตอนการย้ายรถเข้าตามข้อ ๒๔ ทั้งนี้
เมื่อจดทะเบียนรถแล้วหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
หมวด ๗
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถ
ข้อ ๔๐ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถดังต่อไปนี้ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อน
(๑) โครงคัสซี
(๒) ระบบบังคับเลี้ยว
(๓) จำนวนกงล้อและยาง
(๔) จำนวนเพลาล้อ
(๕) ช่วงล้อ
(๖) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(๗) ตัวถัง
(๘) สีภายนอกตัวรถ
(๙) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(๑๐) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๔๑ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามข้อ
๔๐ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๓)
รายละเอียดข้อมูลของรถที่จำเป็นแก่การพิจารณาตามรายการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๔)
หนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของรถจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือยานยนต์ระดับสามัญวิศวกร
หรือวุฒิวิศวกรตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
เฉพาะกรณีการขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของรถ
ข้อ ๔๒ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๔๑ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
(๒)
แจ้งผลการอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทราบเพื่อดำเนินการต่อไป เว้นแต่กรณีที่ต้องเสนอกรมการขนส่งทางบกพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
ให้นายทะเบียนรวบรวมเอกสารหลักฐานเสนอกรมการขนส่งทางบก
เมื่อได้รับผลการพิจารณาแล้วจึงแจ้งผลเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียนให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ข้อ ๔๓ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
เมื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อแก้ไขรายการทางทะเบียน โดยใช้หลักฐานประกอบดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาหรือการเปลี่ยนเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เปลี่ยน ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
ข้อ ๔๔ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๔๓
และผลการตรวจสภาพรถครบถ้วนถูกต้องแล้วให้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีการขอเปลี่ยนโครงคัสซี
ให้ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพรถจากคันหนึ่งเป็นอีกคันหนึ่ง
ต้องจดทะเบียนและชำระภาษีรถประจำปีใหม่
โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนรถตามข้อ ๑๐
ข้อ ๔๕ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญก่อนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และให้นำความในข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๘
การแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
ข้อ ๔๖ การแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงสำหรับรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถเข้ารับการตรวจสอบและยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หนังสือรับรองการติดตั้ง และหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
หรือสำนักงานขนส่งอื่นก็ได้
ข้อ ๔๗ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถพร้อมด้วยผลการตรวจสอบรถแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
(๒) บันทึกแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในระบบงาน หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓) กรณีไม่สามารถบันทึกชนิดเชื้อเพลิงลงในระบบงานได้
ให้บันทึกหรือประทับตราข้อความว่า ชนิดเชื้อเพลิง
..
.. ไว้ที่บริเวณด้านบนของหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) กรณีดำเนินการแทนสำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
ให้บันทึกในระบบงานว่า แจ้งต่างสำนักงาน
ข้อ ๔๘ ความในข้อ ๔๖
และข้อ ๔๗ ให้นำไปใช้บังคับกับการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงในกรณีอื่นโดยอนุโลม
หมวด ๙
การออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
หรือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ทดแทน
ข้อ ๔๙ เมื่อหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด
หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ยื่นคำขอ
(๑) ผู้ประกอบการขนส่ง
(๒) ผู้ถือกรรมสิทธิ์
(๓) ผู้ครอบครองรถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ผู้เช่าซื้อ
เป็นต้น
กรณีแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ บุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
จะต้องยื่นคำขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
หากไม่ยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕๐ การขอรับเอกสารตามข้อ ๔๙ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ยื่นคำขอ
ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
และแนบหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
หรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือถูกทำลายของนายทะเบียน หรือหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๑ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๕๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
(๒) จัดทำใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แล้วแต่กรณี โดยใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดงมีข้อความว่า
แทนฉบับชำรุด/สูญหาย พร้อมกับบันทึกรายการการดำเนินการทางทะเบียนในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓) จ่ายใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
กรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ให้กำหนดนัดวันรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถในใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการมาขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ ๕๒ กรณีช่องบันทึกรายการในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเต็ม
เมื่อมีการเสียภาษีครั้งต่อไป ให้ออกฉบับใหม่และใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดง
มีข้อความว่า ออกให้ใหม่ฉบับเก่ารายการเต็ม พร้อมทั้งเรียกเก็บฉบับเก่าแนบเรื่องเดิมไว้
โดยไม่ต้องยื่นคำขอและเก็บค่าธรรมเนียม
หมวด ๑๐
การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมาย
สำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๕๓ การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมให้กระทำได้เฉพาะบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ผลิตรถ ผู้ประกอบรถ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกเพื่อจำหน่ายรถ
ผู้จำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่ายรถ
(๒)
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถในกรณีเป็นรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕๔ การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายตามข้อ ๕๓
ให้ใช้แบบคำขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
พร้อมแนบหลักฐานประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี และมีหนังสือชี้แจงแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องได้รับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๕๕ การยื่นคำขอตามหมวดนี้
(๑) กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ กรมการขนส่งทางบก
(๒) กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่
เว้นแต่กรณีเครื่องหมายมีไม่เพียงพอ ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งตาม (๑)
ข้อ ๕๖ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและดำเนินการดังนี้
(๑) พิจารณาเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมาย
ตลอดจนจำนวนของใบอนุญาตและเครื่องหมายที่เหมาะสมที่ควรออกให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
(๒) ในกรณีเห็นสมควรออกใบอนุญาตและเครื่องหมาย
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องหมายตามจำนวนที่ออกให้
พร้อมจัดทำใบอนุญาตและออกเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมต่อไป
สำหรับในกรณีเห็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตและเครื่องหมายให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นหนังสือ
ข้อ ๕๗ ใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมให้มีอายุ
๑ ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
ข้อ ๕๘ กรณีใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสิ้นอายุ
ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ
ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่ออกใบอนุญาตและเครื่องหมาย
พร้อมด้วยหลักฐานตามข้อ ๕๔
และให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
การไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตส่งคืนเครื่องหมายต่อนายทะเบียนภายในกำหนด
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากไม่ส่งคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนติดตามเอาคืน ในกรณีไม่สามารถติดตามเอาคืนได้ให้มีคำสั่งยกเลิกเครื่องหมายนั้นเสีย
การพิจารณาออกใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความตามข้อ ๕๓ และข้อ ๕๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
โดยการออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้ระบุเครื่องหมาย เลขที่เดิม
ข้อ ๕๙ กรณีใบอนุญาตหรือเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ให้ยื่นคำขอและหลักฐานประจำตัวผู้ยื่นคำขอตามข้อ ๕๔ พร้อมแนบหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
หรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือถูกทำลายของนายทะเบียน หรือใบอนุญาตหรือเครื่องหมายที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
แล้วแต่กรณี
ให้นายทะเบียนจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมเครื่องหมายให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนออกใบอนุญาตหรือเครื่องหมาย
หมวด ๑๑
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๖๐ ในระหว่างที่ความในหมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
ของระเบียบนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้นำระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ ในหมวด ๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
มาใช้บังคับไปพลางก่อน
ข้อ ๖๑ ใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมที่ได้ออกให้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ เมื่อมาขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖๒ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ถือเป็นคำขอตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
และหากระเบียบนี้กำหนดให้ใช้หลักฐานประกอบคำขอหรือกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้เดิม
ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิ่มเติมหลักฐานและสั่งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๗]
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๘]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ดำรง/ตรวจ
๒๔ พฤษภาคม
๒๕๕๔
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๒] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๓] ข้อ ๓๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๔] ข้อ ๓๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๕] ข้อ ๓๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๖] ข้อ ๓๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑/๒๖ กันยายน ๒๕๕๔
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๖๗ ง/หน้า ๙/๔ กันยายน ๒๕๕๗ |
712809 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแจ้งไม่เสียภาษีรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓๐
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๐ การแจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีแจ้งว่าแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน
หรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓๑
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓) บันทึกการแจ้งไม่เสียภาษีรถ
และบันทึกการรับคืนหรือการแจ้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๒
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๒ การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา
๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๓
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๓ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๒ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
(ก) ถ้าขอใช้รถภายในอายุภาษีเดิม ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุภาษี
(ข) ถ้าขอใช้รถภายหลังสิ้นอายุภาษีเดิม ให้เริ่มจัดเก็บภาษีใหม่ตั้งแต่งวดที่ผู้ประกอบการขนส่งได้นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเป็นต้นไป
(๓)
บันทึกการแจ้งใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) คืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีมีการแจ้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายไว้ ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและดำเนินการสั่งซื้อแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
อัฌษไธค์
รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๖๗ ง/หน้า ๙/๔ กันยายน ๒๕๕๗ |
697560 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัล
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสะดวกในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๙ ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัล
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ
๖ ข้อ ๗ หรือข้อ ๘ เป็นผู้รับรองผลคดี แล้วแต่กรณี
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง/หน้า ๑/๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
689933 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๖
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต
การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕
และภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกรมการขนส่งทางบก
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ.
๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ใบอนุญาต หมายความว่า
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ผู้ได้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
นายทะเบียน หมายความว่า
ผู้ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนกลางให้ดำเนินการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การยื่นคำขอตามระเบียบนี้
(๑) สถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
(๒) สถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๗ ให้สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่
แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาดำเนินการตามระเบียบนี้
หมวด ๒
การออกใบอนุญาต
ข้อ ๘ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
ให้ตรวจสอบคำขอ เอกสารหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
และประวัติการดำเนินการสถานตรวจสภาพรถของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหากปรากฏว่าคำขอ
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้อง
และผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของนิติบุคคลไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตแต่พ้นระยะเวลามาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตครั้งหลังสุด
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ให้ตรวจสอบและถ่ายภาพไว้
หากเห็นว่าครบถ้วนถูกต้อง
ให้นายทะเบียนส่งข้อมูลและความเห็นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์
(๒) กรณีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตยังไม่มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด
หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตในหลักการ
และแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบ
พร้อมกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีอาคาร สถานที่ ลานจอดรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง ๆ
ละไม่เกินสามสิบวัน
หากผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดให้มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลาแล้ว
ให้ดำเนินการตามที่กำหนดใน (๑)
แต่หากผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่อาจจัดให้มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถหรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลา
ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง
และให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
ข้อ ๙ เมื่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ได้รับข้อมูลและความเห็นจากนายทะเบียนแล้ว
ให้นำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถและให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) กรณีนายทะเบียนกลางเห็นสมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ
และให้นายทะเบียนนั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
พร้อมกับแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลาแล้ว
ให้นายทะเบียนพิจารณาออกใบอนุญาต
โดยกำหนดอายุใบอนุญาตนับตั้งแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตครบถ้วนถูกต้อง
และให้จัดส่งสำเนาใบอนุญาตนั้นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
แต่หากผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลา
ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง
และให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
(๒)
กรณีนายทะเบียนกลางเห็นว่าไม่สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ
และให้นายทะเบียนนั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
หมวด ๓
การต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ตรวจสอบคำขอ เอกสารหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
และประวัติการดำเนินการสถานตรวจสภาพรถของผู้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตหากปรากฏว่าคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้อง
ให้ตรวจสอบอาคารสถานที่ลานจอดรถ เครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดของผู้ได้รับใบอนุญาตแล้วดำเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ เครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนถูกต้อง
ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
(๒) กรณีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ เครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไม่ครบถ้วนถูกต้องหรือมีความชำรุดบกพร่อง ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของอาคารสถานที่
ลานจอดรถ เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดแล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาแล้ว
ให้ดำเนินการตามที่กำหนดใน (๑)
แต่หากผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอาคารสถานที่ ลานจอดรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา
ให้ถือว่าคำขอต่ออายุใบอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง
และให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๑ เมื่อนายทะเบียนอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว และให้นำความในข้อ
๙
ในส่วนที่เกี่ยวกับการชำระค่าธรรมเนียมมาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ การต่ออายุใบอนุญาต
ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตฉบับใหม่ตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม และให้ระบุคำว่า ต่ออายุ ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาต โดยกำหนดอายุใบอนุญาตนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ
และให้จัดส่งสำเนาใบอนุญาตนั้นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
หมวด ๔
การออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
ให้ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ หากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้อง ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต
และให้นายทะเบียนออกใบแทนใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาต
ข้อ ๑๔ การออกใบแทนใบอนุญาต
ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตฉบับใหม่ตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม และให้ระบุคำว่า ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาต
หมวด ๕
การปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับหนังสือขออนุญาตปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสถานตรวจสภาพรถ
ได้แก่ อาคารสถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้า ทางออก
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถ
รวมถึงผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบหนังสือขออนุญาตและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง
ๆ ของสถานตรวจสภาพรถ และเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน
(๒) เมื่อนายทะเบียนพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง
ๆ ของสถานตรวจสภาพรถ ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ กรณีนายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต
ให้แจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตทราบด้วยว่า เมื่อได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง
ๆ เรียบร้อยแล้ว ต้องมีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
(๓)
เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ
ของสถานตรวจสภาพรถแล้ว ให้ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของรายการที่ขออนุญาตปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงและถ่ายภาพไว้
หากเห็นว่าครบถ้วนถูกต้อง
ให้นายทะเบียนอนุญาตและแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตทราบพร้อมจัดส่งสำเนาหนังสืออนุญาตนั้นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
ข้อ ๑๖ การปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอาคารสถานที่ตามข้อ
๑๕ ต้องมิใช่เป็นการย้ายอาคารสถานที่เปลี่ยนไปจากเดิม
ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวให้ถือเป็นการย้ายสถานที่ตั้งของสถานตรวจสภาพรถตามหมวด ๖
หมวด ๖
การย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๗ เมื่อได้รับคำขอย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้ตรวจสอบคำขอ เอกสารหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และประวัติการดำเนินการสถานตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาต
โดยให้นำความในข้อ ๘ มาใช้บังคับกับการย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถโดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ เมื่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ได้รับข้อมูลและความเห็นจากนายทะเบียนแล้ว
ให้นำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลต่อนายทะเบียนกลาง เพื่อพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีนายทะเบียนกลางเห็นสมควรอนุญาตให้ย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ
และให้นายทะเบียนนั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
พร้อมกับแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำใบอนุญาตมาบันทึกแก้ไขรายการที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถโดยเร็ว
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตนำใบอนุญาตมาบันทึกแก้ไขรายการที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถแล้วให้นายทะเบียนแก้ไขรายการสถานที่ตั้งในใบอนุญาตฉบับเดิม
โดยระบุคำว่า ย้ายสถานที่ตั้ง ไว้ที่ด้านหน้าของใบอนุญาต
และจัดส่งสำเนาใบอนุญาตนั้นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบโดยเร็ว
การกำหนดอายุใบอนุญาต
ให้กำหนดโดยนับอายุใบอนุญาตต่อเนื่องจากใบอนุญาตฉบับเดิม
(๒)
กรณีนายทะเบียนกลางเห็นว่าไม่สมควรอนุญาตให้ย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ
และให้นายทะเบียนนั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว
หมวด ๗
การเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๙ เมื่อได้รับหนังสือขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ให้ตรวจสอบประวัติการดำเนินการสถานตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตแล้วนำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาการขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
และดำเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีนายทะเบียนเห็นว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่มีประวัติการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ให้เลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถได้
โดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบและส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
พร้อมกับแจ้งให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
(๒) กรณีนายทะเบียนเห็นว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตมีประวัติการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาลงโทษ
ให้นายทะเบียนพิจารณาลงโทษให้เสร็จสิ้นก่อนการเลิกประกอบกิจการโดยหากการลงโทษนั้นถึงขั้นต้องเพิกถอนใบอนุญาต
ให้นายทะเบียนส่งข้อมูลและความเห็นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถเพื่อเสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตก่อนการเลิกประกอบกิจการ
และให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบและส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือวันที่เลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
แล้วแต่กรณี
หมวด ๘
การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียน
ข้อ ๒๐ คำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการใด
ๆ ตามระเบียบนี้ ให้กระทำเป็นหนังสือโดยระบุ วัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่ง
ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่ง ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่ง
และเหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบด้วยว่าผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
673850 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ การขอต่ออายุ การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. 2555 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
การขอต่ออายุ
การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ของกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ การขอต่ออายุ
การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๙๐
วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ.
๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
(๒) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
ผู้ฝึกสอนขับรถ หมายความว่า
ผู้ทำการสอน การอบรม และฝึกหัดขับรถทุกประเภททั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
ผู้อนุญาต หมายความว่า
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบกให้เป็นผู้ออกใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๖ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การขอรับใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ณ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี
(๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แล้วแต่กรณี
(๓)
ใบรับรองแพทย์แสดงว่าไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจและไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนดแต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๑
เดือน
(๔)
ภาพถ่ายหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถที่สามารถขับรถในประเภทหรือชนิดที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถมาแล้วไม่น้อยกว่า
๓ ปีในขณะยื่นคำขอ และในช่วง ๓ ปี ก่อนยื่นคำขอ
ใบอนุญาตขับรถนั้นจะต้องไม่ขาดต่ออายุ
(๕) รูปถ่ายขนาด ๓ x ๔ เซนติเมตร จำนวน ๓ รูป
ซึ่งเป็นรูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาเข้ม
และไม่ใส่ผ้าคลุมใบหน้าหรือผ้าโพกศีรษะ
เว้นแต่ผู้ซึ่งมีความจำเป็นตามศาสนานิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมของศาสนาของตน
และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
(๖)
หนังสือนำส่งตัวเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถจากโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
หรืออยู่ระหว่างการขอรับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีความรู้ความสามารถในการขับรถและการสอนขับรถ
(๒) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
(๓) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
(๔) ไม่เป็นผู้ติดสุรา ยาเสพติด หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(๕) ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
เว้นแต่การเพิกถอนนั้นได้พ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(๖) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับการใช้รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ความผิดเกี่ยวกับเงินตราความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ
ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
ความผิดฐานยักยอก และความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๙ ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถแบ่งออกเป็น ๓
ประเภท ดังนี้
(๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
(๒) ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถยนต์
(๓) ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถจักรยานยนต์
ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้
เว้นแต่ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถตาม (๑)
ให้ใช้เป็นใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถตาม (๒) ได้
ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๑๑ การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถและหลักฐานตามข้อ ๗ (๔) (๕) และ (๖) ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า
๓๐ วัน
ข้อ ๑๒ ในกรณีใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นขอรับใบแทนใบอนุญาต
พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนหรือใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถที่ชำรุดนั้น
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหายถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว
ข้อ ๑๓ ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถให้มีอายุ
๓ ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
หมวด ๒
ข้อปฏิบัติของผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องแสดงใบอนุญาตนั้นไว้ตลอดเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่
ข้อ ๑๕ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้อง
(๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว
รบกวนหรือเหยียดหยามผู้หนึ่งผู้ใด
หรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะที่ไม่สมควรหรือไม่สุภาพเช่นวิญญูชนพึงปฏิบัติ
(๓) ไม่เสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
(๔) ไม่เสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
และไม่สูบบุหรี่
(๕) ไม่สอนขับรถในขณะที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ
(๖) ไม่บรรทุกผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปด้วยในการฝึกหัดขับรถ
(๗) ไม่กระทำการใด ๆ
อันเป็นการละทิ้งหน้าที่การสอนโดยไม่มีเหตุอันควร
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ลงนามรับรองในแบบบันทึกการเรียนและแบบบันทึกผลการทดสอบตามความเป็นจริง
(๒) ไม่เรียกรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
จากผู้เข้ารับการศึกษาหรือบุคคลใด
เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการให้ผิดไปจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ
ที่กำหนดไว้ในระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด ๆ ของกรมการขนส่งทางบกอันเกี่ยวกับการสอนขับรถหรือโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๗ ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ฝึกสอนขับรถเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
ยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ผู้ฝึกสอนขับรถต้องยินยอมเข้ารับการตรวจจากสถานพยาบาลหรือวิธีการตามคำสั่งของผู้อนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อนุญาตโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง
หมวด ๓
การตักเตือน
พักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถแล้ว
หากปรากฏในภายหลังว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๘ หรือไม่ยินยอมเข้ารับการตรวจสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา ของมึนเมาอย่างอื่น
ยาเสพติดให้โทษ
หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือผลการตรวจปรากฏว่าผู้นั้นมีสารดังกล่าวในร่างกาย
ให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๔ ข้อ ๑๕ (๑) (๒) (๕) (๖) และ (๗) หรือข้อ ๑๖ (๑)
ให้ผู้อนุญาตตักเตือนเป็นหนังสือ
และหากผู้นั้นกระทำการดังกล่าวซ้ำอีกภายในช่วงอายุใบอนุญาต
ให้ผู้อนุญาตพักใช้ใบอนุญาตของผู้นั้นมีกำหนด ๑ เดือน
ข้อ ๒๐ ในกรณีตรวจสอบพบว่าใบอนุญาตขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดสิ้นอายุ
ให้ผู้อนุญาตสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถของผู้นั้นจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตขับรถแล้ว
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ
๑๖ (๒) ให้ผู้อนุญาตพักใช้ใบอนุญาตของผู้นั้นมีกำหนด ๓ เดือน
และหากผู้นั้นกระทำการดังกล่าวซ้ำอีกภายในช่วงอายุใบอนุญาต
ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้น
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดลงนามในแบบบันทึกผลการเรียน
หรือแบบบันทึกผลการทดสอบเป็นเท็จ ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้น
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดทำการสอนขับรถในระหว่างถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถของตนหรือทำการสอนขับรถในโรงเรียนสอนขับรถที่มิได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้น
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถที่ถูกพักใช้
หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ ต้องส่งคืนใบอนุญาตนั้นภายใน ๗ วัน
นับแต่วันรับแจ้งเป็นหนังสือ
ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถที่ได้ออกไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ยังคงใช้ต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กรมการขนส่งทางบก คำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๒๒/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
673848 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2555
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ
๑๙ ของกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๙๐
วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ.
๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
(๒) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
ผู้ออกหนังสือรับรอง หมายความว่า
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสำหรับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตกรุงเทพมหานครและขนส่งจังหวัดสำหรับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
หนังสือรับรอง หมายความว่า
หนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๖ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๗ การยื่นขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถให้เป็น
ดังนี้
(๑) โรงเรียนสอนขับรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางบก
(๒) โรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถานที่ตาม (๑)
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่
ให้สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกที่รับคำขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดอื่นตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามข้อ
๘
ให้ครบถ้วนถูกต้องพร้อมกับจัดเก็บค่าธรรมเนียมและส่งเรื่องให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่พิจารณาดำเนินการต่อไป
หมวด ๒
การรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอรับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิการใช้สถานที่ของโรงเรียนสอนขับรถ
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งโรงเรียนสอนขับรถ
และแบบแปลนแผนผังอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
ตลอดจนสนามฝึกหัดขับรถ
(จ)
หลักสูตรและเนื้อหาประกอบการสอนโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้การศึกษา อบรม
และฝึกหัดขับรถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการวัดผลไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(ฉ)
ระเบียบการหรือข้อกำหนดของโรงเรียนสอนขับรถเกี่ยวกับการเปิดดำเนินการจำนวนผู้ที่จะเข้ารับการศึกษา
วิธีการรับผู้เข้าศึกษา
อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา (ถ้ามี)
(จ) เอกสารประกอบตาม (๑) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ)
(๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
พร้อมภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ในกรณีเป็นบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ค) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา (ถ้ามี)
(ง) เอกสารประกอบตาม (๑) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ)
ข้อ ๙ การขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังนี้
(๑) อาคารสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ทำการ
ต้องประกอบด้วยห้องเรียนภาคทฤษฎีซึ่งมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า ๓๐ ตารางเมตร
และมีสภาพเหมาะสมแก่การเรียนการสอน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ไม่มีเสียงดังจนเป็นที่รบกวนต่อการเรียนการสอน ห้องทำการ และห้องสุขา
(๒)
มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ
(๓) มีหลักสูตรการสอน การอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
และการวัดผลไม่ต่ำกว่าหลักสูตรมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด หรือให้ความเห็นชอบ
(๔)
ผู้ฝึกสอนขับรถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนจากกรมการขนส่งทางบก
(๕)
มีรถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับตามประเภทหลักสูตรที่ได้รับการรับรองและต้องจัดให้มีรถฝึกหัดขับที่มีคันบังคับคู่อย่างน้อย
๑ คัน ซึ่งรถนั้นต้องใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๖) สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๗ เมตร
และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชัน ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้งเก้าสิบองศา
วงเวียน สะพาน
(ข) บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย
การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ
การหยุดรถและออกรถบนทางลาด การถอยหลังเพื่อกลับรถ การฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล
(ค) เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง) ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕
ตารางเมตร
ข้อ ๑๐ การขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถยนต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังนี้
(๑) มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในข้อ ๙ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
(๒) มีรถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่ใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
และเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๓) สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า
๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชัน ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้งเก้าสิบองศา
วงเวียน สะพาน
(ข) บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย
การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ
การหยุดรถและออกรถบนทางลาด การถอยหลังเพื่อกลับรถ การฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล
(ค) เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง) ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕
ตารางเมตร
ข้อ ๑๑ การขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังนี้
(๑) มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในข้อ ๙ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
(๒) มีรถจักรยานยนต์สำหรับใช้ในการฝึกหัดขับที่ใช้การได้ดี
มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
และเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๓) สนามฝึกหัดขับรถตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า
๓๐๐ เมตร ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชัน ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้งเก้าสิบองศา
วงเวียน สะพาน
(ข) บริเวณฝึกหัดการเบรก การทรงตัวบนไม้กระดาน
การฝึกหัดขับคอร์สรูปตัวแอล การฝึกหัดขับคอร์สเลขแปด
การควบคุมคันเร่งและความคล่องตัว การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(ค) เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง) ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕
ตารางเมตร
ข้อ ๑๒ ผู้ออกหนังสือรับรองจะออกหนังสือรับรองได้เมื่อ
(๑) เอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
(๒) อาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ หลักสูตรการสอนและการอบรม
ผู้ฝึกสอนขับรถ รถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับ และสนามฝึกหัดขับรถ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๙ ข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๑ แล้วแต่กรณี
(๓) ผู้ขอรับหนังสือรับรองไม่เคยถูกยกเลิกหนังสือรับรอง
เว้นแต่ได้ถูกยกเลิกหนังสือรับรองมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕
ปีนับแต่วันที่ถูกยกเลิกหนังสือรับรองครั้งหลังสุด
(๔) ผู้ขอรับหนังสือรับรองไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ในกรณีที่ผู้ขอรับหนังสือรับรองเป็นนิติบุคคล หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม
(๓)
หรือเคยเป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของนิติบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม
(๓) ด้วย
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอและหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบและพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของแผนที่แสดงที่ตั้งโรงเรียนสอนขับรถแบบแปลนแผนผังอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
สนามฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอน ระเบียบการหรือข้อกำหนดของโรงเรียนสอนขับรถ
(๒) รวบรวมข้อมูลที่ได้และดำเนินการ ดังนี้
(ก)
กรณีโรงเรียนสอนขับรถที่ขอรับรองมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ให้ดำเนินการออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ขอรับหนังสือรับรองโดยไม่ชักช้า
(ข)
กรณีโรงเรียนสอนขับรถที่ขอรับรองมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานแตกต่างไปจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ให้พิจารณาพร้อมเสนอความเห็นส่งให้คณะกรรมการซึ่งอธิบดีแต่งตั้งพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบพร้อมความเห็นประกอบเป็นลายลักษณ์อักษร
และให้สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
พิจารณาดำเนินการตามมติคณะกรรมการต่อไป
ข้อ ๑๕ กรณีผู้ขอรับหนังสือรับรองยังไม่มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ รถสำหรับฝึกหัดขับ
และสนามฝึกหัดขับรถ หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนให้ผู้ออกหนังสือรับรองพิจารณาอนุญาตในหลักการ
โดยกำหนดให้ผู้ขอรับหนังสือรับรองดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
ในกรณีไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ขอรับหนังสือรับรองแสดงเหตุผลเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปได้อีกหนึ่งคราว
แต่ไม่เกิน ๑๘๐ วันนับแต่วันครบกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ถ้ามิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำขอให้รับรองโรงเรียนสอนขับรถใหม่
ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับหนังสือรับรองที่ได้ดำเนินการจัดให้มีอาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ รถสำหรับฝึกหัดขับ
และสนามฝึกหัดขับรถครบถ้วนถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ ๑๕ แล้ว
ต้องแจ้งต่อผู้ออกหนังสือรับรอง ณ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่เพื่อให้ทำการตรวจสอบ
หากถูกต้องตามหลักการที่ได้รับอนุญาต
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองดำเนินการออกหนังสือรับรองโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกหนังสือรับรองจัดส่งสำเนาหนังสือรับรอง
พร้อมทั้งสำเนาเรื่องการขอดำเนินการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถและการเปลี่ยนแปลงอื่น
ส่งให้ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดจะได้รับสิทธิในการออกหนังสือรับรองผลการเรียนให้แก่ผู้เข้ารับการศึกษาเพื่อใช้เป็นหลักฐานยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว
หรือประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถ
หรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถโดยไม่ต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบกับกรมการขนส่งทางบก
หมวด ๓
การต่ออายุหนังสือรับรอง
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรอง
ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี พร้อมด้วยภาพถ่ายหนังสือรับรองหรือใบแทนและเอกสารอื่นใด
เฉพาะที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
การยื่นขอต่ออายุหนังสือรับรองที่พ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
หากประสงค์จะดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถต่อไป
ให้ยื่นคำขอรับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถใหม่ และให้นำความในหมวด ๑ และหมวด ๒
ของระเบียบนี้มาใช้บังคับ
ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารตามข้อ ๑๙ แล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและตรวจสอบโรงเรียนสอนขับรถนั้นและประวัติการดำเนินการ
ผู้ออกหนังสือรับรองจะอนุญาตให้ต่ออายุหนังสือรับรองได้เมื่อ
(๑) อาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ หลักสูตรการสอนและการอบรม
ผู้ฝึกสอนขับรถ รถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับ และสนามฝึกหัดขับรถ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๙ ข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๑ แล้วแต่กรณี
(๒) ผู้ขอต่ออายุหนังสือรับรองไม่มีการกระทำความผิด
หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
เว้นแต่การกระทำผิดได้สิ้นไปหรือได้รับการแก้ไข หรือระยะเวลาการระงับใช้หนังสือรับรองได้ล่วงพ้นไปแล้ว
โรงเรียนสอนขับรถแห่งใดที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดใน (๑)
ให้ผู้ขอต่ออายุหนังสือรับรองดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
ถ้ามิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรองและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
หมวด ๔
การเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสือรับรองประสงค์จะขอเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถให้มีหนังสือแจ้ง
ต่อผู้ออกหนังสือรับรองไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ก่อนวันที่จะเลิกดำเนินการ
เมื่อผู้ออกหนังสือรับรองพิจารณาแล้วไม่มีเหตุขัดข้องในการขอเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง
ให้แจ้งผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบและให้หนังสือรับรองนั้นสิ้นผลเมื่อถึงกำหนดเลิกดำเนินการสำหรับโรงเรียนสอนขับรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้สำนักงานขนส่งจังหวัดแจ้งเรื่องการขอเลิกดำเนินการดังกล่าวให้สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกทราบด้วย
หมวด ๕
ข้อปฏิบัติของโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติ
ดังนี้
(๑) จัดให้มีการเรียนการสอนและการอบรมตามหลักสูตรในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักสูตรมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ
(๒) จัดให้มีผู้ฝึกสอนขับรถตามประเภทโรงเรียนที่ได้รับการรับรอง
ซึ่งผู้ฝึกสอนขับรถนั้นต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๓) แสดงหนังสือรับรองหรือใบแทนหนังสือรับรองไว้ในที่เปิดเผย
สามารถมองเห็นได้ง่ายภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
(๔)
จัดให้มีการทดสอบร่างกายเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก่อนการรับสมัคร
(๕) ดูแลและปรับปรุงอาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถรถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับ
และสนามฝึกหัดขับรถให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๖)
จัดให้มีการทดสอบผู้เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบก่อนออกหนังสือรับรองผลการเรียน
(๗) จัดทำหนังสือรับรองผลการเรียนเพื่อใช้เป็นหลักฐานยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว
หรือประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถ
หรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ
(๘) จัดทำรายงานการรับสมัครเรียน บันทึกการเรียนการสอน ผลการทดสอบ
และผลการอบรมของผู้เข้ารับการศึกษาทุกคน
จัดเก็บไว้ที่สำนักงานและให้จัดทำเป็นรายงานประจำเดือนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ
จัดส่งให้สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
การส่งรายงานประจำเดือนจะจัดส่งในรูปแบบเอกสาร
ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีอื่นใดตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก็ได้
(๙) จัดเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๑๐) จัดส่งบัญชีรถฝึกหัดขับและบัญชีรายชื่อผู้ฝึกสอนขับรถ
พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถให้ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี เห็นชอบก่อนดำเนินการสอน หรือภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
(๑๑) สอดส่อง ดูแลผู้ฝึกสอนขับรถมิให้กระทำการในลักษณะไม่สมควร
หรือไม่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการศึกษาในขณะปฏิบัติหน้าที่
(๑๒) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ
ตามที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๒๓ ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการ
ดังต่อไปนี้
ให้ยื่นคำขอต่อผู้ออกหนังสือรับรองเพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่า
๓๐ วัน
(๑) อาคารสถานที่
(๒) อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ
(๓) หลักสูตรการสอนและการอบรม
(๔) สนามฝึกหัดขับรถ
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
ถูกยกเลิกหนังสือรับรองเลิกดำเนินการ หรือลดประเภทหลักสูตรการเรียนการสอน
เป็นเหตุให้ผู้เข้ารับการศึกษาไม่ได้รับการศึกษาอบรมต่อเนื่องจนจบหลักสูตร
ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องจัดให้ผู้เข้ารับการศึกษานั้นเข้าเรียนต่อเนื่องในโรงเรียนสอนขับรถที่มีมาตรฐานเดียวกันโดยความยินยอมของผู้เข้ารับการศึกษาภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของผู้ออกหนังสือรับรอง
หมวด ๖
การวาง
เปลี่ยนแปลง คืน และเบิกจ่ายหลักทรัพย์
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องวางหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ
หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยชนิดที่ขายคืนได้ก่อนครบกำหนดชำระเงินต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันก็ได้
ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองนำพันธบัตรมาวางเป็นหลักทรัพย์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรนั้นให้แก่กรมการขนส่งทางบก
จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง
ให้อธิบดีประกาศกำหนดตามประเภทหลักสูตรการสอนขับรถและจำนวนผู้เข้าเรียน
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องยื่นขอวางหลักทรัพย์พร้อมด้วยหลักทรัพย์ภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันออกหนังสือรับรอง
แต่ทั้งนี้ต้องก่อนเปิดดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ที่วางไว้
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองยื่นขอพร้อมด้วยหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะนำมาวางแทนหลักทรัพย์เดิม
ข้อ ๒๗ การเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตรให้ลงบัญชีและจัดทำทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
และเก็บรักษาพันธบัตรไว้ในตู้นิรภัย ณ สำนักบริหารการคลังและรายได้กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ในกรณีหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้จัดเก็บรักษารวมไว้ในเรื่องการดำเนินการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
หรือแยกจัดเก็บไว้ต่างหากเพื่อป้องกันการสูญหายและให้สามารถค้นหาได้ง่าย
ข้อ ๒๘ การคืนหลักทรัพย์ให้กระทำได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ออกหนังสือรับรองสั่งยกเลิกหนังสือรับรอง
(๒) ผู้ได้รับหนังสือรับรองแจ้งเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
(๓)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองได้รับอนุญาตให้ลดประเภทหลักสูตรที่ขอรับรอง
(๔) เมื่อครบอายุตามหนังสือรับรองและผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือรับรอง
ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่มีความประสงค์จะขอคืนหลักทรัพย์
ให้ยื่นขอพร้อมหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ถ้ากรณีหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์สูญหายให้นำหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนมาแสดง
ข้อ ๓๐ การเบิกจ่ายหลักทรัพย์ให้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้ผู้เข้ารับการศึกษาที่ยังไม่จบหลักสูตรเข้ารับการศึกษา
อบรม และฝึกหัดขับรถได้อย่างต่อเนื่องในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับหนังสือรับรองถูกยกเลิกหนังสือรับรอง
(๒) ผู้ได้รับหนังสือรับรองเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
(๓)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองได้รับอนุญาตให้ลดประเภทหลักสูตรที่ขอรับรอง
ในกรณีที่หลักทรัพย์มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง
ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดไว้ภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
ถ้าหลักทรัพย์ที่ใช้จ่ายไปแล้วเหลือจำนวนเท่าใดให้คืนแก่ผู้ได้รับหนังสือรับรอง
แต่หากใช้จ่ายไปแล้วไม่เพียงพอผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องรับผิดชอบให้ครบถ้วนภายใน
๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้ออกหนังสือรับรองเป็นหนังสือ
ข้อ ๓๑ ให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกหรือผู้ได้รับมอบหมาย
และขนส่งจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
รับผิดชอบในการออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ
และพิจารณาตรวจสอบการขอคืนหลักทรัพย์
ข้อ ๓๒ ดอกผลอันเกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตร
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองรับจากผู้ออกพันธบัตรโดยตรง
ข้อ ๓๓ ให้หัวหน้าส่วนการเงินหรือผู้ได้รับมอบหมาย
ในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ กรมการขนส่งทางบก
ขนส่งจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมายในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดรับผิดชอบในการดำเนินการสำหรับหลักทรัพย์นั้น ดังนี้
(๑) การรับหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตร
(๒)
การจัดทำและลงรายการในบัญชีและทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
(๓) การเบิกจ่ายและการคืนหลักทรัพย์
(๔) จัดให้ผู้รับวางหลักทรัพย์ลงนามเป็นหลักฐานแสดงการได้รับหลักทรัพย์ไว้ในทะเบียนคุมหลักทรัพย์
หมวด ๗
การตักเตือน
การระงับใช้หนังสือรับรอง และการยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดดำเนินการสอนและอบรมไม่เป็นไปตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือให้ความเห็นชอบ หรืออนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถเข้าสอนในโรงเรียนสอนขับรถของตน
หรือไม่จัดให้มีการทดสอบก่อนการรับสมัคร
หรือการทดสอบเพื่อวัดผลการเรียนตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด หรือให้ความเห็นชอบ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๖ เดือน
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
๒ ครั้ง ภายในช่วงอายุหนังสือรับรอง ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่ดูแลและปรับปรุงอาคารสถานที่
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถ รถสำหรับใช้ในการฝึกหัดขับ
และสนามฝึกหัดขับรถให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้ดีอยู่เสมอ
หรือไม่จัดทำรายงานการรับสมัครเรียน บันทึกการเรียนการสอน ผลการทดสอบ ผลการอบรม
และหนังสือรับรองผลการเรียน หรือจัดทำไม่ครบถ้วน
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือ ในกรณีมีการตักเตือนเป็นหนังสือในเรื่องเดียวกัน
๓ ครั้ง ภายในช่วงอายุหนังสือรับรอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๓ เดือน
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งในเรื่องเดียวกันอีกภายหลังจากถูกคำสั่งระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่แสดงหนังสือรับรอง
หรือใบแทนหนังสือรับรองตามที่กำหนด หรือไม่จัดส่งรายงานประจำเดือนตามข้อ ๒๒ (๘)
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือ
ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งในเรื่องเดียวกันอีกภายในระยะเวลา
๖ เดือนนับแต่วันที่กระทำการเรื่องดังกล่าวครั้งก่อนหน้า
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๑ เดือน
ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดจัดทำหนังสือรับรองผลการเรียนอันเป็นเท็จ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๘ โรงเรียนสอนขับรถแห่งใดหยุดดำเนินการเกิน
๙๐ วัน
โดยไม่แจ้งเลิกดำเนินการให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจสั่งยกเลิกหนังสือรับรองได้
ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดเปิดสอนขับรถหรือการอบรมในระหว่างถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
หรือไม่จัดให้ผู้เข้ารับการศึกษาได้เข้าศึกษาอบรมต่อเนื่องตามข้อ ๒๔
หรือไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังขาดภายในระยะเวลาที่ผู้ออกหนังสือรับรองกำหนดตามข้อ
๓๐ วรรคสอง ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดจัดให้มีการสอนขับรถหรือการอบรมหลังจากที่หนังสือรับรองสิ้นอายุและไม่อยู่ระหว่างดำเนินการขอต่ออายุหนังสือรับรอง
หรือถูกยกเลิกหนังสือรับรอง ให้ผู้นั้นถูกตัดสิทธิการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถเป็นเวลา
๕ ปี
ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน
๑ เดือน และหากกระทำการดังกล่าวซ้ำอีก
ภายในช่วงอายุหนังสือรับรองให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๔๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
หรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดมาใช้ในการฝึกหัดขับรถ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือโดยกำหนดระยะเวลาให้ดำเนินการแก้ไข
หากผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือกระทำการดังกล่าวซ้ำอีกภายในช่วงอายุหนังสือรับรอง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๑ เดือน
ข้อ ๔๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๖ หรือกฎระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวกับโรงเรียนสอนขับรถ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจตักเตือนเป็นหนังสือ
ระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวหรือยกเลิกหนังสือรับรองได้ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ข้อ ๔๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งถูกยกเลิกหนังสือรับรองต้องส่งคืนหนังสือรับรอง
หรือใบแทนหนังสือรับรองภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ยกเลิก
ข้อ ๔๕ หนังสือรับรองที่ได้ออกให้ไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ยังคงใช้ต่อไปได้จนกว่าหนังสือรับรองนั้นจะสิ้นอายุ
ข้อ ๔๖ บรรดาระเบียบหรือประกาศที่ออกตามระเบียบว่าด้วยโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศตามระเบียบนี้ใช้บังคับ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กรมการขนส่งทางบก คำขอให้รับรองโรงเรียนสอนขับรถ
๒. บัญชีรายชื่อผู้ฝึกสอนขับรถ
๓. บัญชีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
๔. บัญชีรถฝึกหัดขับ
๕. ชื่อโรงเรียนสอนขับรถ
๖. แบบรายงานการรับสมัครเรียน
๗. แบบรายงานผลการเรียนส่วนบุคคล
๘. แบบสรุปรายงานผลการเรียน
๙. หนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๑๑/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
673844 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. 2555 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัล
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่
๑ มิถุนายน ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้มีความชัดเจนและเหมาะสมในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้นรวมทั้งเพื่อให้ข้อกำหนดสอดคล้องเป็นไปตามข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลัง
พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
พ.ศ. ๒๕๔๖ และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
การกำหนดประเภทและอัตราการหักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลัง ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การจ่ายเงินสินบนรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่
๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒) คำสั่งกรมการขนส่งทางบก ที่ ๓๙๘/๑/๒๕๕๔ เรื่อง
มอบหมายให้รับเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาของศาล เพื่อจ่ายเป็นเงินสินบน
เงินรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔
(๓) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๔๐๘/ว ๒๘๗ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม
๒๕๕๔ เรื่อง คำสั่งกรมการขนส่งทางบก ที่ ๓๙๘/๑/๒๕๕๔ เรื่อง มอบหมายให้รับเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาของศาล
เพื่อจ่ายเป็นเงินสินบน เงินรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ค่าปรับ หมายความว่า
เงินค่าปรับที่ส่วนราชการได้รับจากการลงโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
เงินสินบน หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้แจ้งความนำจับ
เงินรางวัล หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้จับ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน หมายความว่า
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่อันได้มาซึ่งค่าปรับ
ผู้แจ้งความนำจับ หมายความว่า
บุคคลเดียวหรือหลายคน
ซึ่งนำเบาะแสหรือเค้าเงื่อนแห่งการกระทำความผิดมาแจ้งแก่ทางราชการ
จนทางราชการสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ แต่ต้องมิใช่เจ้าหน้าที่ผู้จับ
หรือข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายในเรื่องนั้น
เจ้าหน้าที่ผู้จับ หมายความว่า
(๑) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งทำหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดและมีส่วนร่วมในการจับกุมผู้กระทำความผิด
(๒)
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายในเรื่องนั้นและมีส่วนร่วมในการจับกุมผู้กระทำความผิด
สำหรับกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด
(๓)
เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่อันได้มาซึ่งเงินค่าปรับสำหรับกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
พนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๖ ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ เป็นผู้รับแจ้งความนำจับ
(๑) อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(๒) รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(๓) ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
(๔) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร
(๕) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า
(๖) ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก
(๗) หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบงานตรวจการขนส่ง หัวหน้าฝ่ายตรวจการ
หัวหน้าฝ่ายสืบสวน หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ
หัวหน้าศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน กองตรวจการขนส่งทางบก
(๘) ข้าราชการสังกัดกองตรวจการขนส่งทางบกที่ไม่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งตาม
(๖)
ข้อ ๗ ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
เป็นผู้รับแจ้งความนำจับสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่หรือในเขตความรับผิดชอบ
(๑) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕
(๒) หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบทะเบียนและภาษีรถ
หัวหน้าส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
(๓) หัวหน้าส่วนสถานีขนส่งผู้โดยสาร
หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร
(๔) หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า หัวหน้าส่วนสถานีขนส่งสินค้า
สำนักการขนส่งสินค้า
(๕) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง หัวหน้าส่วนทะเบียนรถยนต์
หัวหน้าส่วนทะเบียนรถขนส่ง หัวหน้าส่วนตรวจสภาพรถ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕
(๖) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ
หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๔
(๗) ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกที่ไม่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งตาม
(๑) - (๖) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งเกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นผู้รับแจ้งความนำจับ
สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่หรือในเขตจังหวัดความรับผิดชอบ
(๑) ขนส่งจังหวัด
(๒) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
(๓) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด
(๔) หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด
(๕) หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด
(๖)
ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกที่ไม่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งตาม
(๑) - (๕) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ
๗ หรือข้อ ๘ เป็นผู้รับรองผลคดี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้สั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
ข้อ ๑๑ ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
เป็นผู้สั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
(๑) ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕
และผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก
เฉพาะความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่หรือในเขตความรับผิดชอบ
(๒) ขนส่งจังหวัด
เฉพาะความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่หรือในเขตจังหวัดความรับผิดชอบ
ข้อ ๑๒ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑๑
หรือข้าราชการกรมการขนส่งทางบกที่ไม่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
เป็นผู้รับเงินค่าปรับจากศาล
ข้อ ๑๓ ให้ข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญงานหรือปฏิบัติการขึ้นไป
ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับ
เป็นผู้หักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การแจ้งความนำจับและการรับแจ้งความนำจับ
ข้อ ๑๔ การแจ้งความนำจับให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร
โดยให้ผู้แจ้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับ (แบบ
ขส.นจ.๑)
เมื่อผู้รับแจ้งความนำจับได้รับบันทึกการรับแจ้งความนำจับแล้ว
ให้ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดที่บันทึกให้ครบถ้วน
และมอบเอกสารส่วนท้ายของบันทึกการรับแจ้งความนำจับให้แก่ผู้แจ้งความนำจับไว้เป็นหลักฐาน
และจัดให้ผู้แจ้งความนำจับบันทึกแบบคำขอรับเงินสินบน (แบบ ขส.นจ.๒)
แนบเรื่องเก็บไว้ในกรณีผู้แจ้งความนำจับประสงค์จะขอรับเงินสินบน
การแจ้งเบาะแสหรือเค้าเงื่อนแห่งการกระทำความผิดโดยผ่านช่องทางหนังสือร้องเรียนหรือวิธีการอื่นใด
จะถือเป็นการแจ้งความนำจับที่มีสิทธิขอรับเงินสินบนต่อเมื่อผู้แจ้งได้มาแสดงตนต่อผู้รับแจ้งความนำจับภายใน
๗ วันทำการนับถัดจากวันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน
และได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองครบถ้วนแล้ว
หมวด ๓
เงินสินบนและเงินรางวัล
ข้อ ๑๕ ค่าปรับที่ได้รับให้หักในอัตรา ดังนี้
(๑) กรณีมีการจับกุมผู้กระทำความผิด
(ก) เป็นรายได้แผ่นดินร้อยละ ๒๐
(ข) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร้อยละ ๒๐
(ค) เป็นเงินสินบนร้อยละ ๒๐ และเป็นเงินรางวัลร้อยละ ๔๐
เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องจ่ายเงินสินบนให้เป็นเงินรางวัลร้อยละ ๖๐
(๒) กรณีไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด
(ก) เป็นรายได้แผ่นดินร้อยละ ๔๐
(ข) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร้อยละ ๑๕
(ค) เป็นเงินสินบนร้อยละ ๑๕ และเป็นเงินรางวัลร้อยละ ๓๐
เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องจ่ายเงินสินบนให้เป็นเงินรางวัลร้อยละ ๔๕
ค่าปรับที่หักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ให้นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก
ส่วนค่าปรับที่หักเป็นเงินสินบนหรือเงินรางวัล
ให้นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากสินบนรางวัลของกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ ค่าปรับที่ได้รับจากเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมให้แบ่งเป็นสี่ส่วน
โดยจำนวนสามในสี่ส่วน ให้นำไปจ่ายเป็นเงินสินบนหนึ่งส่วนและเงินรางวัลสองส่วน
ในกรณีที่ไม่ต้องจ่ายเงินสินบนให้รวมจ่ายเป็นเงินรางวัลทั้งสามส่วน
จำนวนที่เหลืออีกหนึ่งส่วน ให้นำไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
และให้นำความในข้อ ๑๕ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๔
การขอรับเงินรางวัลและเงินสินบน
ส่วนที่ ๑
การขอรับเงินรางวัลกรณีมีการจับกุมผู้กระทำความผิด
ข้อ ๑๗ การขอรับเงินรางวัลกรณีมีการจับกุมผู้กระทำความผิด
ให้เจ้าหน้าที่ผู้จับยื่นคำขอรับเงินรางวัล (แบบ ขส.นจ.๔) ต่อผู้รับรองผลคดีภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินค่าปรับ
หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินจากเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
พร้อมหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) กรณีมีผู้แจ้งความนำจับ สำเนาบันทึกการรับแจ้งความนำจับ (แบบ
ขส.นจ.๑) และบัญชีรายละเอียดเงินค่าปรับ (แบบ ขส.นจ.๓)
(๒) กรณีไม่มีผู้แจ้งความนำจับ บัญชีรายละเอียดเงินค่าปรับ (แบบ
ขส.นจ.๓)
ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับรองผลคดีได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานตามข้อ
๑๗ แล้ว ให้ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสารหลักฐาน
และจัดทำบันทึกผลการตรวจสอบตามแบบบันทึกผลการตรวจสอบและคำอนุมัติ (แบบ ขส.นจ.๕)
นำเสนอผู้สั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
เพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
ข้อ ๑๙ เมื่อได้รับอนุมัติตามข้อ ๑๘ แล้ว
ให้สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี จ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ยื่นคำขอในวันทำการสุดท้ายของเดือน
ในกรณีไม่มีผู้ยื่นคำขอรับเงินรางวัล
หรือมิได้รับอนุมัติให้รับเงินรางวัล ให้นำเงินดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
ส่วนที่ ๒
การขอรับเงินรางวัลกรณีไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด
ข้อ ๒๐ การขอรับเงินรางวัลกรณีไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด
ให้เจ้าหน้าที่ผู้จับยื่นคำขอรับเงินรางวัล (แบบ ขส.นจ.๔) ต่อผู้รับรองผลคดีภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินค่าปรับ พร้อมหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ ๑๗
ให้นำความในข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๓
การขอรับเงินสินบน
ข้อ ๒๑ บุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดไม่มีสิทธิขอรับเงินสินบนตามระเบียบนี้
ในคดีเดียวกัน ถ้ามีผู้แจ้งความนำจับตั้งแต่สองรายขึ้นไป
ให้ถือว่าผู้แจ้งความนำจับที่ได้แจ้งไว้ก่อนเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสินบน
และกรณีได้แจ้งไว้พร้อมกันให้เฉลี่ยจ่ายเท่ากันทุกคน
ข้อ ๒๒ ในกรณีมีการแจ้งความนำจับ
เมื่อมีการเปรียบเทียบปรับแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้จับดำเนินการยื่นคำขอรับเงินสินบน
(แบบ ขส.นจ.๒) ที่ผู้แจ้งความนำจับได้จัดทำไว้พร้อมด้วยบันทึกการรับแจ้งความนำจับ
(แบบ ขส.นจ.๑) และสำเนาบัญชีรายละเอียดเงินค่าปรับ (แบบ ขส.นจ.๓) เป็นหลักฐานต่อผู้รับรองผลคดีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอผู้สั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลเพื่อให้มีการอนุมัติจ่ายเงินสินบนโดยเร็วต่อไป
เมื่อได้รับอนุมัติให้จ่ายเงินสินบนแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ผู้จับแจ้งเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นใดที่สามารถทำให้ผู้แจ้งความนำจับสามารถมารับเงินสินบนได้โดยเร็ว
ผู้แจ้งความนำจับต้องมารับเงินสินบนภายใน ๓๐ วัน
นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นกำหนดให้นำเงินดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
ข้อ ๒๓ เมื่อผู้แจ้งความนำจับมาแสดงตน
ให้เรียกเอกสารส่วนท้ายของบันทึกการรับแจ้งความนำจับและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจำตัวประชาชน
และตรวจสอบ เมื่อเห็นว่าเป็นผู้มีสิทธิรับเงินสินบนจริง
ให้จ่ายเงินสินบนดังกล่าวต่อไป
หมวด ๕
การขอรับเงินสินบนรางวัลกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิด
ข้อ ๒๔ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
และได้เปรียบเทียบปรับความผิดตามกฎหมายดังกล่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นเจ้าของรายได้เงินค่าปรับ
การขอรับเงินสินบนรางวัลให้เป็นไปตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
เว้นแต่กรณีมีการส่งฟ้องผู้กระทำความผิดเป็นคดีต่อศาล หากศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับ
กรมการขนส่งทางบกถือเป็นเจ้าของรายได้เงินค่าปรับ
เมื่อเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้นำส่งเงินค่าปรับดังกล่าวให้กรมการขนส่งทางบก
ให้เจ้าหน้าที่ผู้จับมีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ศาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับเงินรางวัลและเงินสินบน
(ถ้ามี) แทนผู้แจ้งความนำจับ ภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันที่กรมการขนส่งทางบกได้รับเงินค่าปรับ
การขอรับเงินสินบนและเงินรางวัลตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้สำเนาคำพิพากษา
รายละเอียดจำนวนเงินสินบน เงินรางวัล
และรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินรางวัลและเงินสินบน (ถ้ามี) ประกอบด้วย
เว้นแต่การเปิดเผยชื่อ
ผู้แจ้งความนำจับจะเป็นการขัดต่อความประสงค์ของผู้แจ้งความนำจับและอาจเป็นภัยต่อผู้นั้นก็ให้ได้รับยกเว้นการเปิดเผยชื่อได้
ข้อ ๒๕ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกร่วมกันจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้เปรียบเทียบปรับ
การยื่นขอรับเงินรางวัลหรือเงินสินบนให้นำความในส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๓ ของหมวด ๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่หากมีการส่งฟ้องผู้กระทำความผิดเป็นคดีต่อศาลให้นำความในข้อ ๒๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๖
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ข้อ ๒๖ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้นำไปจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่อันได้มาซึ่งเงินค่าปรับตามความจำเป็นโดยประหยัดตามงบรายจ่ายดังต่อไปนี้
(๑) งบบุคลากร ยกเว้นรายจ่ายประเภทเงินเดือนและค่าจ้าง
(๒) งบดำเนินการ
(๓) งบลงทุน
ข้อ ๒๗ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายบริหาร) เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการใช้จ่ายเงินกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๒๘ กรณีที่เงินกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบกมียอดคงเหลือไม่เพียงพอ
ให้ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเต็มตามจำนวน
หมวด ๗
การปฏิบัติและการรายงานเกี่ยวกับการเงิน
ข้อ ๒๙ การเก็บรักษาเงิน การนำเงินสินบนรางวัล
และเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานส่งคลังให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง
การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง
และหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณตามระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(GFMIS)
ข้อ ๓๐ ทุกวันทำการแรกของสัปดาห์
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดนำเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ฝากธนาคารไว้
โอนเข้าบัญชีเงินฝากคลังของส่วนกลาง ชื่อบัญชี เงินฝากกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก รหัสบัญชีย่อย ๖๙๖
ข้อ ๓๑ เงินในส่วนที่ต้องนำไปจ่ายเป็นเงินสินบนรางวัล
ให้สำนักบริหารการคลังและรายได้กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานขนส่งจังหวัด
นำฝากไว้ที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดหรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ
ในชื่อบัญชี เงินฝากเงินสินบนรางวัลของ
(กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด...) รหัสบัญชีย่อย
๖๕๘ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๒ เมื่อสิ้นเดือนหนึ่ง ๆ ให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานขนส่งจังหวัดจัดทำรายงานผลการใช้จ่ายเงินสินบนรางวัล
และเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแบบรายงานการรับ - จ่าย
เงินค่าปรับเปรียบเทียบคดีตามแบบแนบท้ายระเบียบ
ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
สำหรับสำนักงานขนส่งจังหวัดให้สำเนารายงานดังกล่าวส่งให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
กรมการขนส่งทางบก ทราบก่อนภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนดังกล่าว
ข้อ ๓๓ ทุกวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคมและเดือนกันยายน
ให้สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมการขนส่งทางบก จัดทำรายงานผลการใช้จ่ายเงินสินบนรางวัล
และเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก
ส่งให้กระทรวงการคลังทราบภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บันทึกการรับแจ้งความนำจับ (แบบ ขส.นจ.๑)
๒. คำขอรับเงินสินบน (แบบ ขส.นจ.๒)
๓. บัญชีรายละเอียดเงินค่าปรับ (แบบ ขส.นจ.๓)
๔. คำขอรับเงินรางวัล (แบบ ขส.นจ.๔)
๕. บันทึกผลการตรวจสอบและคำอนุมัติ (แบบ ขส.นจ.๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๓/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
655596 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒ ภายใต้บังคับแห่งหมวดนี้
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ ๙.๒
หรือรถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซีตามข้อ ๙.๓
รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเองตามข้อ ๙.๔
หรือรถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุดตามข้อ ๙.๗
ให้ตรวจสอบหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถหรือหลักฐานการได้มาของรถไปยังส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ ก่อนดำเนินการจดทะเบียน
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ
๙.๒ ให้บันทึกในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
มีข้อความว่า รถประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า และกรณีเป็นรถที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เมื่อจดทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว
ให้นายทะเบียนรวบรวมภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีค่าโครงคัสซี ค่าเครื่องยนต์
ภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก) ค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร) และภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
จัดส่งให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑/๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ |
649109 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเสียใหม่
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
สามารถให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ
เว้นแต่ความในหมวด ๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
(๒) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๔) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๕) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖) ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๗) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๘/๐๕๕๙๖ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม
๒๕๒๕ เรื่อง การใช้ป้ายทะเบียนรถสีแดง
บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ตรวจสภาพรถ หมายความว่า
การตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด
ความเรียบร้อยความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง
และเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตรวจสอบรถ หมายความว่า
การตรวจสอบความถูกต้องของตัวรถตามรายการที่จดทะเบียนและประวัติรถ
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การยื่นขอดำเนินการใด
ๆ เกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามระเบียบนี้หากไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
ข้อ ๗ การดำเนินการใด ๆ
ทางทะเบียนและภาษีรถ หากผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง
ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้มาดำเนินการแทน
เว้นแต่การยื่นขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานประกอบด้วย
ข้อ ๘ การจดทะเบียนรถ
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ หรือการโอนรถที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการขนส่ง
ให้นายทะเบียนตรวจสอบการจัดให้มีการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
สัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยตามวรรคหนึ่ง
จะต้องมีความคุ้มครองอย่างน้อยถึงวันสิ้นอายุภาษีรถในปีถัดไป
หมวด ๒
การจดทะเบียนรถ
ข้อ ๙ ผู้ขอจดทะเบียนรถจะต้องเป็นผู้ประกอบการขนส่งที่มีสิทธิใช้รถ
โดยการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือรับเข้าร่วมกิจการขนส่ง
และต้องบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง (บัญชี ขส.บ.๑๑)
ให้แล้วเสร็จก่อน
การจดทะเบียนรถให้ยื่นได้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี โดยให้ใช้คำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง
(กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (ถ้ามี)
แล้วแต่กรณี และหลักฐานประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
๙.๑ รถใหม่ที่ผลิตจากโรงงานภายในประเทศ
หรือรถที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่าย
(๑) หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาเช่าซื้อรถ
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
(๓) หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน
หรือใบกำกับภาษีหรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ
ผู้ซื้อ ผู้ขาย ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
๙.๒ รถประกอบขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
(๑) ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
(๒) ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๓) บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๔) ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า หรือภาพถ่าย
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
(๕) ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ หรือใบกำกับภาษี
หรือหลักฐานการซื้อขายหรือการให้เครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี
(ก)
กรณีเครื่องยนต์เก่าที่เคยนำไปใช้กับรถที่จดทะเบียนแล้วให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขเครื่องยนต์
พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของหรือผู้จำหน่ายเครื่องยนต์
แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีเครื่องยนต์ที่ยังไม่เคยจดทะเบียน
ให้แนบหนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
(๖)
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถทั้งหมดและบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๗) ใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก)
หรือใบเสร็จรับเงินค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร)
(๘) หลักฐานการสร้างประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
๙.๓ รถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซี
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
หรือสัญญาซื้อขายโครงคัสซี แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีเป็นโครงคัสซีเก่าของรถที่ได้แจ้งเลิกใช้แล้ว
ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซีด้วย
(๓) หลักฐานการเปลี่ยนโครงคัสซี เช่น
ใบเสร็จรับเงินค่าเปลี่ยนโครงคัสซี
(๔) กรณีเป็นโครงคัสซีที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานตามข้อ
๙.๒ (๒) (๓) และ (๔)
๙.๔ รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) เอกสารการอนุญาตนำรถเข้าของกรมศุลกากร ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ค่าอากรขาเข้า
หรือหลักฐานการยกเว้นอากรขาเข้า บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบรับรองการนำเข้า (แบบที่ ๓๒)
ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เช่น หมายเลขโครงคัสซี หมายเลขเครื่องยนต์
(๒) กรณีเป็นรถใช้แล้วให้ใช้หลักฐานตาม (๑)
และต้องมีหนังสืออนุญาตให้นำรถเข้ามาในราชอาณาจักรของกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
๙.๕ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงที่ประกอบขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
(๑) หนังสือรับรองการประกอบรถขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
(๒) หลักฐานการสร้างประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีไม่ได้ประกอบรถขึ้นเอง)
(๓)
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถทั้งหมดและบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
๙.๖ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการ
อันเนื่องมาจากรถเป็นของกลางในคดีอาญา
(๑) หนังสือแจ้งการขายทอดตลาด
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับรถที่ขายทอดตลาด
(๒) ใบเสร็จรับเงินค่ารถ
(๓) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๙.๗ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุด
โดยไม่มีการโอนทะเบียนรถเดิม ให้ใช้หลักฐานตามข้อ ๙.๖
๙.๘ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ให้ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถที่มีการแจ้งไม่ใช้รถตลอดไปตามมาตรา ๓๔
หรือที่แสดงว่าการจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไปตามมาตรา ๓๕/๓ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒
๙.๙ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายอื่น
ให้ใช้หนังสือรับรองการจำหน่ายรถของหน่วยงานที่รถนั้นเคยจดทะเบียน
โดยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถ (เดิม) ชนิดรถ หมายเลขเครื่องยนต์
หมายเลขตัวถัง หรือหมายเลขโครงคัสซี
๙.๑๐ รถที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทการขนส่ง
หรือรถที่เปลี่ยนลักษณะจากรถบรรทุกเป็นรถโดยสาร หรือเปลี่ยนจากรถโดยสาร เป็นรถบรรทุก
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการเปลี่ยนลักษณะรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
ค่าอุปกรณ์และส่วนควบ
๙.๑๑ รถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
๙.๑๒ รถที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้จดทะเบียน
ให้ใช้ภาพถ่ายคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และเอกสารหลักฐานตามข้อ ๙.๑ (ถ้ามี)
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนรถและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๙ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ หากปรากฏว่าผ่านการตรวจสภาพให้ออกหมายเลขทะเบียนรถ
(๒) จัดเก็บภาษีรถประจำปี และค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๔) บันทึกรายการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
การจดทะเบียนรถตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลตามข้อ ๙.๑๒
เมื่อดำเนินการจดทะเบียนรถแล้ว
ให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๑๑ การจดทะเบียนรถตามข้อ
๙.๑๑ ซึ่งเป็นการดำเนินการจดทะเบียนรถในจังหวัดอื่นที่มิใช่จังหวัดที่รถนั้นเคยจดทะเบียนอยู่ในวันที่ทะเบียนระงับ
ให้นำหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในหมวด ๕ การย้ายรถ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ ตามข้อ ๑๐
โดยหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๑๒ ภายใต้บังคับแห่งหมวดนี้
(๑)
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ ๙.๒
หรือรถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซีตามข้อ ๙.๓
รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเองตามข้อ ๙.๔ หรือรถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุดตามข้อ
๙.๗
ให้ตรวจสอบหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถหรือหลักฐานการได้มาของรถไปยังส่วนทะเบียนรถขนส่งสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
๕ ก่อนดำเนินการจดทะเบียน
รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศตามข้อ
๙.๒ ให้บันทึกในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
มีข้อความว่า รถประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า และกรณีเป็นรถที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
เมื่อจดทะเบียนรถเรียบร้อยแล้วให้นายทะเบียนรวบรวมภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน
หรือใบกำกับภาษีค่าโครงคัสซี ค่าเครื่องยนต์ ภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง
(กรณีรถบรรทุก) ค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร) และภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าแรง
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง) จัดส่งให้กรมสรรพสามิต
หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ แล้วแต่กรณี
(๒) รถที่ตัวถังส่วนบรรทุกเป็นถังบรรทุกวัตถุอันตราย
ถังบรรทุกและอุปกรณ์ของรถดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจและทดสอบความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัย
โดยมีเอกสารการรับรองถัง (Tank Certificate) จากผู้รับรองที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ
หมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ข้อ ๑๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถให้ยื่นต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
เว้นแต่รถที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
ให้ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน หรือสำนักงานขนส่งอื่นก็ได้
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับเรื่องขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถตามข้อ
๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบหลักฐานประกอบการขอชำระภาษีรถ เช่น
หลักฐานแสดงว่าผ่านการตรวจสภาพรถ
หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เอกสารหรือหนังสือรับรองอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
(๒) จัดเก็บภาษีรถประจำปี
สำหรับการรับชำระภาษีรถประจำปีแทนนายทะเบียนสำนักงานขนส่งอื่น
ให้บันทึกในระบบงานว่ารับชำระภาษีแทนนายทะเบียนสำนักงานขนส่งใด
และจัดพิมพ์รายงานการรับชำระภาษีรถคันดังกล่าว เพื่อจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
หมวด ๔
การโอนรถ
ข้อ ๑๕ การโอนรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหลักฐานประกอบคำขอในแต่ละกรณีดังนี้
(๑) การโอนกรรมสิทธิ์รถ
(ก) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๒) การโอนสิทธิการใช้รถ
(ก) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) ของผู้โอน
(ข) หลักฐานการโอนสิทธิการใช้รถ เช่น สัญญาเช่าซื้อ
หนังสือโอนสิทธิการเช่าซื้อ สัญญาเข้าร่วมกิจการ
หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสหกรณ์เดินรถซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์เดินรถ
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๓) การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้รถ
(ก) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) ของผู้โอน
(ข) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๔) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ก) ภาพถ่ายคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และผู้จัดการมรดก (ถ้ามี) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๕) การโอนรถโดยการรับมรดกมีพินัยกรรม
(ก) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(ข) พินัยกรรมพร้อมภาพถ่าย
(ค) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (ถ้ามี)
ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
แล้วแต่กรณี
(๖) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(ก) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(ข) หลักฐานประจำตัวทายาทซึ่งเป็นผู้รับโอน ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๗) การโอนรถโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล
หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
(ก) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล
หรือหนังสือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้โอนรถให้กับผู้รับโอน แล้วแต่กรณี
พร้อมทั้งรายละเอียดของรถคันดังกล่าว
(ข) หลักฐานประจำตัวผู้รับโอน ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๑๕ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว เว้นแต่กรณีการโอนรถตามข้อ ๑๕ (๖) ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) และผลการตรวจสอบรถ เว้นแต่กรณีการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ
การซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือการเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ไม่ต้องทำการตรวจสอบรถ
(๒) ประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
เว้นแต่การโอนรถโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือผู้โอนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ การซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือการเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(๓) บันทึกรายการโอนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถการโอนรถตามข้อ
๑๕ (๗)
เมื่อดำเนินการทางทะเบียนแล้วให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกคำสั่งหรือคำพิพากษาเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๑๗ การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อ ๑๕ (๖)
เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานท้องที่ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก
เพื่อขอความร่วมมือให้สอบปากคำบรรดาทายาทของเจ้ามรดกพร้อมทั้งขอให้ดำเนินการประกาศรับโอนมรดกนั้นด้วย
ถ้าปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องที่ดังกล่าวไม่อาจดำเนินการสอบปากคำบรรดาทายาท
และประกาศรับมรดกตามที่ขอความร่วมมือได้
ให้นายทะเบียนแจ้งผู้รับโอนนั้นไปยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
แล้วนำคำสั่งศาลมาเป็นหลักฐานประกอบการโอนรถต่อไป
(๒) เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการตาม (๑) แล้ว
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการโอนรถตามข้อ ๑๖
ข้อ ๑๘ ในการโอนรถ
ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันโอนในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด
ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หมวด ๕
การย้ายรถ
ข้อ ๑๙ การแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน (ต้นทาง)
หรือนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่จะนำรถนั้นไปใช้งาน (ปลายทาง)
โดยยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้บรรจุรถคันที่แจ้งย้ายออก
เว้นแต่กรณีการแจ้งย้ายรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙
หรือกรณีทะเบียนรถเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ หรือยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๑๙ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
(ก) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(ข) ตรวจสอบการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) หากยังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(ค)
หากรถคันที่ขอแจ้งย้ายยังมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในการประกอบการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งที่จังหวัดปลายทาง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอแจ้งย้ายรถแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อน
(ง) บันทึกข้อมูลการย้ายรถในระบบงานและบันทึกการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนดำเนินการตาม (๑)
ให้ตรวจสอบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หากยังมิได้ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือยังมิได้บันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(๒) การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
(๒.๑) การดำเนินการของจังหวัดปลายทาง
(ก) ให้นายทะเบียนจังหวัดปลายทางตรวจสอบคำขอและหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๙ และกรณีเป็นรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับให้ตรวจสอบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หากยังมิได้ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือยังมิได้บันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการที่จังหวัดต้นทางให้แล้วเสร็จก่อน
(ข) ตรวจสอบการถอนรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) จังหวัดต้นทางและการบรรจุรถในบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑)
จังหวัดปลายทางหากปรากฏว่ายังมิได้ถอนรถจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) จังหวัดต้นทางก็ให้ดำเนินการก่อน ทั้งนี้
เว้นแต่รถที่แจ้งเลิกใช้รถไว้แล้วตามมาตรา ๗๙
หรือกรณีรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รถที่นายทะเบียนอนุญาตให้ยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขสัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(ค)
บันทึกข้อมูลการย้ายรถในระบบงานและบันทึกการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒.๒) การดำเนินการของจังหวัดต้นทาง
จัดพิมพ์รายงานการแจ้งย้ายรถออกจากระบบงาน ตรวจสอบรายละเอียดในรายงานกับสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เมื่อถูกต้องให้บันทึกการอนุญาตย้ายรถในระบบงานพร้อมบันทึกการย้ายรถในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๒๑ ในกรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
หากปรากฏว่าข้อมูลประวัติรถในระบบงานไม่สมบูรณ์ ให้นายทะเบียนจังหวัดปลายทางขอข้อมูลประวัติรถจากนายทะเบียนจังหวัดต้นทาง
และให้นายทะเบียนจังหวัดต้นทางจัดส่งภาพถ่ายประวัติรถที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ไปยังนายทะเบียนจังหวัดปลายทางภายในวันนั้นหรือวันทำการถัดไป
ข้อ ๒๒ การแจ้งย้ายรถเข้า
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเดิม เว้นแต่รถที่ได้แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙
หรือรถที่การจดทะเบียนเป็นอันระงับตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือรถที่ยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ข้อ ๒๓ ในกรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
แม้นายทะเบียนจังหวัดต้นทางยังไม่ได้บันทึกการอนุญาตย้ายรถในระบบงานตามข้อ ๒๐
ก็สามารถยื่นคำขอแจ้งย้ายรถเข้าพร้อมกับนำรถเข้ารับการตรวจสอบไว้ก่อนได้
ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารประกอบคำขอตามข้อ
๒๒ และนายทะเบียนจังหวัดต้นทางอนุญาตให้ย้ายรถออกแล้ว
ให้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอกับรายงานรถขอย้ายรถเข้าในระบบงานและผลการตรวจสอบรถ
หากถูกต้องให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะยกเลิกการแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ต่อนายทะเบียน ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนจังหวัดต้นทาง
(๒) กรณีการแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนจังหวัดต้นทางหรือนายทะเบียนจังหวัดปลายทาง
หมวด ๖
การแจ้งเลิกใช้รถ
การแจ้งไม่เสียภาษีรถและการยกเลิกการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๒๖ การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เว้นแต่กรณีแจ้งว่าแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน
หรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๗ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๒๖ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
กรณีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้ตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑) แล้วหรือไม่ หากยังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน
(๒) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๓) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากมีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๔) บันทึกการแจ้งเลิกใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลที่ได้ดำเนินการแจ้งเลิกใช้รถแล้ว
ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการถอนรถออกจากบัญชีรายละเอียดของรถที่ใช้ในการขนส่ง
(ขส.บ.๑๑)
ข้อ ๒๘ การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่
โดยให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๙ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๒๘ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๓๐ การแจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา
๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
หากแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหายชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ให้ดำเนินการสั่งซื้อแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่ก่อน
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓) บันทึกการแจ้งไม่เสียภาษีรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๓๒ การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่ได้แจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา
๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ใบรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๒ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถ
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปีดังนี้
(ก) ถ้าขอใช้รถภายในอายุภาษีเดิม ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุภาษี
(ข) ถ้าขอใช้รถภายหลังสิ้นอายุภาษีเดิม
ให้เริ่มจัดเก็บภาษีใหม่ตั้งแต่งวดที่ผู้ประกอบการขนส่งได้นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเป็นต้นไป
(๓) บันทึกการแจ้งใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๓๔ การยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ให้เจ้าของรถยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) หนังสือยืนยันการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน และสำเนาใบเสร็จรับเงินที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญา
(๔) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๔ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีรถประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓)
บันทึกการยกเลิกการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถว่า
ยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญา
ข้อ ๓๖ การยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
กรณีไม่สามารถนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงได้
ให้เจ้าของรถยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือยืนยันการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน โดยให้มีข้อความรับรองไว้ด้วยว่า
หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในรถคันดังกล่าว
ผู้ให้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบทุกประการ
(๒) ภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง)
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(๓) สำเนาใบเสร็จรับเงินที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญา
(๔) หลักฐานที่แสดงถึงการติดตามทวงคืนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๕) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๖) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๗ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๖ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) มีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อทราบถึงการขอยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากผู้ให้เช่าซื้อได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า (แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
พร้อมทั้งให้นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถไปคืนต่อนายทะเบียนภายในกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
(๒) กรณีที่ผู้เช่าซื้อนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ยกเลิกการจดทะเบียนรถและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕
(๓)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในรถคันดังกล่าว ให้นายทะเบียนออกคำสั่งยกเลิกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและออกใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้แก่เจ้าของรถโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนจากผู้ให้เช่าซื้อ
พร้อมกับยกเลิกการจดทะเบียนรถและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕
(๔) นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบผลการดำเนินการดังกล่าว
ข้อ ๓๘ การจดทะเบียนรถที่มีการยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่า
(แบบลิสซิ่ง) หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่โดยให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือแจ้งจำหน่ายรถ สัญญาเช่าซื้อรถ
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
(๓) หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี
หรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ ผู้ซื้อ ผู้ขาย
ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
(๔) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
(๕) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีมีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๙ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๓๘ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และขั้นตอนการย้ายรถเข้าตามข้อ ๒๔ ทั้งนี้
เมื่อจดทะเบียนรถแล้วหากหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยังมีช่องบันทึกรายการเหลืออยู่ ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
หมวด ๗
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถ
ข้อ ๔๐ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถดังต่อไปนี้ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อน
(๑) โครงคัสซี
(๒) ระบบบังคับเลี้ยว
(๓) จำนวนกงล้อและยาง
(๔) จำนวนเพลาล้อ
(๕) ช่วงล้อ
(๖) เครื่องกำเนิดพลังงาน
(๗) ตัวถัง
(๘) สีภายนอกตัวรถ
(๙) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
(๑๐) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
ข้อ ๔๑ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามข้อ
๔๐ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๓)
รายละเอียดข้อมูลของรถที่จำเป็นแก่การพิจารณาตามรายการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๔) หนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของรถจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือยานยนต์ระดับสามัญวิศวกร
หรือวุฒิวิศวกรตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
เฉพาะกรณีการขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของรถ
ข้อ ๔๒ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๔๑ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
(๒) แจ้งผลการอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
เว้นแต่กรณีที่ต้องเสนอกรมการขนส่งทางบกพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
ให้นายทะเบียนรวบรวมเอกสารหลักฐานเสนอกรมการขนส่งทางบก
เมื่อได้รับผลการพิจารณาแล้วจึงแจ้งผลเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียนให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ข้อ ๔๓ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
เมื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อแก้ไขรายการทางทะเบียน โดยใช้หลักฐานประกอบดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาหรือการเปลี่ยนเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เปลี่ยน ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
ข้อ ๔๔ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๔๓
และผลการตรวจสภาพรถครบถ้วนถูกต้องแล้วให้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีการขอเปลี่ยนโครงคัสซี
ให้ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพรถจากคันหนึ่งเป็นอีกคันหนึ่ง
ต้องจดทะเบียนและชำระภาษีรถประจำปีใหม่
โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนรถตามข้อ ๑๐
ข้อ ๔๕ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญก่อนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และให้นำความในข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๘
การแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
ข้อ ๔๖ การแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงสำหรับรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถเข้ารับการตรวจสอบและยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หนังสือรับรองการติดตั้ง และหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ ต่อนายทะเบียน ณ
สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน หรือสำนักงานขนส่งอื่นก็ได้
ข้อ ๔๗ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถพร้อมด้วยผลการตรวจสอบรถแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ
(๒) บันทึกแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในระบบงาน หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓) กรณีไม่สามารถบันทึกชนิดเชื้อเพลิงลงในระบบงานได้ ให้บันทึกหรือประทับตราข้อความว่า
ชนิดเชื้อเพลิง
..
.. ไว้ที่บริเวณด้านบนของหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) กรณีดำเนินการแทนสำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน
ให้บันทึกในระบบงานว่า แจ้งต่างสำนักงาน
ข้อ ๔๘ ความในข้อ
๔๖ และข้อ ๔๗ ให้นำไปใช้บังคับกับการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงในกรณีอื่นโดยอนุโลม
หมวด ๙
การออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
หรือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ทดแทน
ข้อ ๔๙ เมื่อหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด
หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ยื่นคำขอ
(๑) ผู้ประกอบการขนส่ง
(๒) ผู้ถือกรรมสิทธิ์
(๓) ผู้ครอบครองรถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ผู้เช่าซื้อ
เป็นต้น
กรณีแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย
ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ บุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
จะต้องยื่นคำขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
หากไม่ยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน ให้เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๑๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕๐ การขอรับเอกสารตามข้อ ๔๙
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประจำตัวผู้ยื่นคำขอ
ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
และแนบหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
หรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือถูกทำลายของนายทะเบียน หรือหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๑ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ
๕๐ ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
(๒) จัดทำใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แล้วแต่กรณี โดยใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดงมีข้อความว่า
แทนฉบับชำรุด/สูญหาย พร้อมกับบันทึกรายการการดำเนินการทางทะเบียนในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓) จ่ายใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
กรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่ ให้กำหนดนัดวันรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถในใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการมาขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ ๕๒ กรณีช่องบันทึกรายการในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเต็ม
เมื่อมีการเสียภาษีครั้งต่อไป ให้ออกฉบับใหม่และใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดง
มีข้อความว่า ออกให้ใหม่ฉบับเก่ารายการเต็ม พร้อมทั้งเรียกเก็บฉบับเก่าแนบเรื่องเดิมไว้
โดยไม่ต้องยื่นคำขอและเก็บค่าธรรมเนียม
หมวด ๑๐
การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมาย
สำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๕๓ การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมให้กระทำได้เฉพาะบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ผลิตรถ ผู้ประกอบรถ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกเพื่อจำหน่ายรถ
ผู้จำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่ายรถ
(๒)
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถในกรณีเป็นรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๕๔ การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายตามข้อ ๕๓
ให้ใช้แบบคำขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
พร้อมแนบหลักฐานประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี และมีหนังสือชี้แจงแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องได้รับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๕๕ การยื่นคำขอตามหมวดนี้
(๑) กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ กรมการขนส่งทางบก
(๒) กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่
เว้นแต่กรณีเครื่องหมายมีไม่เพียงพอ ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งตาม (๑)
ข้อ ๕๖ เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและดำเนินการดังนี้
(๑) พิจารณาเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมาย
ตลอดจนจำนวนของใบอนุญาตและเครื่องหมายที่เหมาะสมที่ควรออกให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
(๒) ในกรณีเห็นสมควรออกใบอนุญาตและเครื่องหมาย ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องหมายตามจำนวนที่ออกให้
พร้อมจัดทำใบอนุญาตและออกเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมต่อไป
สำหรับในกรณีเห็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตและเครื่องหมายให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นหนังสือ
ข้อ ๕๗ ใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมให้มีอายุ
๑ ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
ข้อ ๕๘ กรณีใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสิ้นอายุ
ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ
ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่ออกใบอนุญาตและเครื่องหมาย
พร้อมด้วยหลักฐานตามข้อ ๕๔ และให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
การไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตส่งคืนเครื่องหมายต่อนายทะเบียนภายในกำหนด
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากไม่ส่งคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนติดตามเอาคืน ในกรณีไม่สามารถติดตามเอาคืนได้ให้มีคำสั่งยกเลิกเครื่องหมายนั้นเสีย
การพิจารณาออกใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความตามข้อ ๕๓ และข้อ ๕๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
โดยการออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้ระบุเครื่องหมาย เลขที่เดิม
ข้อ ๕๙ กรณีใบอนุญาตหรือเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ให้ยื่นคำขอและหลักฐานประจำตัวผู้ยื่นคำขอตามข้อ ๕๔ พร้อมแนบหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน
หรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือถูกทำลายของนายทะเบียน
หรือใบอนุญาตหรือเครื่องหมายที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี
ให้นายทะเบียนจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมเครื่องหมายให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนออกใบอนุญาตหรือเครื่องหมาย
หมวด ๑๑
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๖๐ ในระหว่างที่ความในหมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
ของระเบียบนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้นำระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ ในหมวด ๓ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ และหมวด ๕ การย้ายรถ
มาใช้บังคับไปพลางก่อน
ข้อ ๖๑ ใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมที่ได้ออกให้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ เมื่อมาขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖๒ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ถือเป็นคำขอตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
และหากระเบียบนี้กำหนดให้ใช้หลักฐานประกอบคำขอหรือกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้เดิม
ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิ่มเติมหลักฐานและสั่งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ดำรง/ตรวจ
๒๔ พฤษภาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
647805 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2554 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงชื่อหน่วยงานในระเบียบดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และแก้ไขข้อกำหนดในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก
รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ.
๒๕๕๔
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือข้อกำหนดอื่นที่มีบัญญัติไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ใบอนุญาต หมายความว่า
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ผู้ได้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
นายทะเบียน หมายความว่า
บุคคลซึ่งนายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ให้ดำเนินการแทน
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การยื่นคำขอใด ๆ
ตามระเบียบนี้ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ยื่น ณ ที่ทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
สำนักงานขนส่ง กรุงเทพมหานครพื้นที่ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
หรือสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก
(๒) สถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ หรือสำนักวิศวกรรมยานยนต์
กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๗ ค่าธรรมเนียมคำขอรับใบอนุญาต ให้จัดเก็บ ณ
ที่ทำการที่รับคำขอ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต
ให้จัดเก็บ ณ สำนักงานขนส่งที่ออกใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต
หมวด ๒
การขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือภาพถ่ายใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) เอกสารหลักฐานตาม (ค) และ (ง) ของ (๑)
(๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖
เดือน
(ข) รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) เอกสารหลักฐานตาม (ค) และ (ง) ของ (๑)
(๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖
เดือน
(ข) รายชื่อกรรมการบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ค)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ง)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
(จ) ภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
(ฉ) เอกสารหลักฐานตาม (ค) และ (ง) ของ (๑)
ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานตามข้อ
๘ แล้ว ให้ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
หากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตมีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ เครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ตรวจสอบและถ่ายภาพสถานที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
อาคารสถานที่ เครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
ที่ได้ตรวจสอบไว้ตามที่อธิบดีกำหนด พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลและความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์พิจารณา
(๒) กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตยังไม่มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่พิจารณาอนุญาตในหลักการ
โดยให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบพร้อมกำหนดเงื่อนไขให้ต้องจัดให้มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
และจัดหาหรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลา
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตในหลักการ
เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
ให้พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๓๐ วัน
หากผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้คำขอนั้นเป็นอันตกไป
ผู้ขอรับใบอนุญาตที่จัดให้มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ต้องแจ้งให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบ
และให้นายทะเบียนดำเนินการตามที่กำหนดใน (๑) ต่อไป
การยื่นขอรับใบอนุญาต ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ หากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้องให้จัดส่งให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
เพื่อดำเนินการตาม (๑) และ (๒) ต่อไป
ข้อ ๑๐ เมื่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์
ได้รับข้อมูลและความเห็นจากนายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่แล้ว
ให้นำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถดังนี้
(๑) กรณีนายทะเบียนกลางเห็นสมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบ
และให้นายทะเบียนนั้นแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือพร้อมกับแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา
๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
หากผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้คำขอนั้นเป็นอันตกไป
เมื่อได้รับชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแล้ว
ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตโดยกำหนดอายุใบอนุญาตนับตั้งแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตครบถ้วนถูกต้อง
และให้นายทะเบียนจัดส่งสำเนาใบอนุญาตให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
(๒) กรณีนายทะเบียนกลางเห็นว่าไม่สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบและให้นายทะเบียนนั้นแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
หมวด ๓
การขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า
๓๐ วัน พร้อมด้วยภาพถ่ายใบอนุญาต หรือใบแทนใบอนุญาตและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๘ เฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง
เว้นแต่ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลให้ยื่นหลักฐานตามข้อ ๘ (๓) (ก) หรือ
(๔) (ก) แล้วแต่กรณีเพื่อประกอบคำขอด้วย
การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตที่ไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาหากประสงค์จะดำเนินการสถานตรวจสภาพรถต่อไป
ให้ยื่นขอดำเนินการเช่นเดียวกับการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถใหม่ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๑๑ แล้ว
ให้ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอหากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบประวัติการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ
อาคารสถานที่ตรวจสภาพรถเครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามกฎระเบียบว่าด้วยการนั้น
หากพบว่าเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ อาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ เครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่ครบถ้วนถูกต้องหรือมีความชำรุดบกพร่องให้แจ้งผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
ในกรณีไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
ให้การขอต่ออายุใบอนุญาตนั้นเป็นอันตกไป
(๒) รวบรวมข้อมูลพร้อมความเห็นเสนอนายทะเบียนพิจารณา
การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
หากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้องให้จัดส่งให้นายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
เป็นผู้ดำเนินการตาม (๑) และ (๒) ต่อไป
ข้อ ๑๓ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นสมควรต่ออายุหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทราบ
และให้นำความในข้อ ๑๐
ในส่วนที่เกี่ยวกับการชำระค่าธรรมเนียมมาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ การต่ออายุใบอนุญาตให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิมและให้ระบุคำว่า
ต่ออายุ ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาต
หมวด ๔
การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตที่สูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยใบอนุญาตที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
และกรณีใบอนุญาตสูญหายให้นายทะเบียนบันทึกถ้อยคำการสูญหายไว้เป็นหลักฐานหรือใช้หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนประกอบการยื่นคำขอ
ข้อ ๑๖ เมื่อตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานแล้วหากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้องให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต
และนำเสนอนายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ เพื่อออกใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ การออกใบแทนใบอนุญาตให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิมและให้ระบุคำว่า
ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาต
หมวด ๕
การเปลี่ยนแปลงอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
หรือพื้นที่ตรวจสภาพรถ ให้ยื่นขออนุญาตเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยแผนผังแสดงรายละเอียด
หรือขนาดของอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถที่ขอเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่งต้องมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้
เช่น เปลี่ยนแปลงเลขที่ตั้งของอาคารสถานตรวจสภาพรถ
เปลี่ยนแปลงเลขที่โฉนดที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสถานตรวจสภาพรถ เป็นต้น
ซึ่งหากมีกรณีดังกล่าวให้ถือเป็นการย้ายสถานที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถโดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีการขอรับใบอนุญาตใหม่
และให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๙ เมื่อได้รับหนังสือและเอกสารหลักฐานตามข้อ
๑๘ แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานพร้อมเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน
(๒) เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้ว
และมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถ
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบและเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
(๓)
ตรวจสอบอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถที่ขอเปลี่ยนแปลง
พร้อมทั้งถ่ายภาพอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถหรือพื้นที่ตรวจสภาพรถที่ตรวจสอบไว้
และให้นายทะเบียนจัดส่งสำเนาหนังสืออนุญาตนั้นให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
หมวด ๖
การดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๒๐ การเปลี่ยนตัวผู้ได้รับใบอนุญาตกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมถึงแก่ความตาย
หรือกรณีอื่นใดให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีการขอรับใบอนุญาตใหม่
โดยให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๗
การเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
เมื่อนายทะเบียนได้รับหนังสือตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้นายทะเบียนออกประกาศยกเลิกใบอนุญาตและจัดส่งสำเนาประกาศให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบ
หมวด ๘
การสิ้นสุดของใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๒๒ ให้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถสิ้นสุดลง
เมื่อผู้รับใบอนุญาต
(๑) ตาย
(๒) ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(๓) เลิกสัญญาหรือข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ
(๔) สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล
(๕) ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการ
(๖) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด ๙
การควบคุมดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๒๓ ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพที่สังกัดสำนักวิศวกรรมยานยนต์
กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นและให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพที่สังกัดสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
ในระหว่างเวลาทำงานตามปกติเพื่อทราบข้อเท็จจริง
และตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานตรวจสภาพรถ
การปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้เกี่ยวข้อง
หมวด ๑๐
การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียน
ข้อ ๒๔ คำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการใด
ๆ ตามระเบียบนี้ ให้กระทำเป็นหนังสือโดยระบุ วัน เดือน และปี ที่ทำคำสั่ง
ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่ง ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่ง
และเหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบด้วยว่าผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/๔ เมษายน ๒๕๕๔ |
633676 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2553
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ.
๒๕๕๓
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงชื่อหน่วยงานให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
และสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) และ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถดำเนินการตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถสำหรับรถที่จะต่ออายุทะเบียน
หรือเสียภาษีประจำปีดังนี้
(๑) รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(๒)
รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ตามประเภทที่นายทะเบียนประกาศ
การตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ล่วงหน้าภายในกำหนดเวลาสามเดือนก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี
หรือก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ การตรวจสภาพรถตามข้อ ๖
ต้องดำเนินการภายในพื้นที่ตรวจสภาพของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๘ ภายใต้บังคับความในข้อ ๖
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถสามารถรับดำเนินการตรวจสภาพรถได้ตามขนาด
น้ำหนักและประเภทของรถที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ต้องเหมาะสมกับขนาดและสมรรถนะของเครื่องตรวจสภาพรถที่ใช้งาน
ข้อ ๙ ในการดำเนินกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าบริการตรวจสภาพรถตามอัตราที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ
(๒)
จัดให้มีข้อความหรือเครื่องหมายดังต่อไปนี้ไว้ในที่ที่เห็นได้โดยชัดเจน ณ
สถานตรวจสภาพรถ
(ก) ป้ายชื่อสถานตรวจสภาพรถ มีข้อความดังต่อไปนี้
สถานตรวจสภาพรถ
(ชื่อสถานตรวจสภาพรถ)
โดยได้รับใบอนุญาตจัดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม
(ข) ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงประเภท ลักษณะ
หรือขนาดของรถที่รับบริการตรวจสภาพและสัญลักษณ์สถานตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(ค) ข้อความเตือนมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
เข้าไปในบริเวณที่ทำการตรวจสภาพรถ ดังนี้ พื้นที่ตรวจสภาพรถ
บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอันอาจเกิดขึ้นได้ขณะทำการตรวจสภาพรถ
(ง) ป้ายแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ
วันและเวลาทำงานปกติ
(๓) ใช้แบบพิมพ์ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ใบบันทึกการตรวจสภาพรถและใบรายงานการตรวจสภาพรถที่กรมการขนส่งทางบกจัดพิมพ์หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๔)
จัดให้มีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ
ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงประจำ ณ สถานตรวจสภาพรถตลอดเวลาทำงาน
(๕) แจ้งวันและเวลาทำงานปกติตามที่ระบุไว้ใน (๒)
(ง) เป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ก่อนวันที่เริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและทุกครั้งก่อนการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาดังกล่าว
(๖) แจ้งรายชื่อพร้อมวุฒิการศึกษาของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถตาม
(๔) และรายชื่อผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ถ้ามี)
เป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ก่อนวันที่เริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและทุกครั้งก่อนการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังกล่าวพร้อมแนบหลักฐานภาพถ่ายวุฒิการศึกษา
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถนั้นด้วย
(๗) ส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือตัวอย่างลายมือชื่อผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หรือตัวอย่างลายมือชื่อบุคคลทั้งสอง แล้วแต่กรณี
และตัวอย่างเครื่องหมายหรือตราประทับประจำสถานตรวจสภาพรถประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่
และหมายเลขโทรศัพท์ของสถานตรวจสภาพรถต่อนายทะเบียน ณ
สำนักงานขนส่งพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ก่อนวันที่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรก
และทุกครั้งก่อนการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคล เครื่องหมายหรือตราประทับดังกล่าว
(๘) การเปลี่ยนแปลงเครื่องตรวจสภาพรถต้องแจ้งเป็นหนังสือเพื่อขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานขนส่งพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
เครื่องตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง
ต้องเป็นชนิดและแบบหรือรุ่นที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๙)
ควบคุมดูแลให้การตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้องตามกฎ
ระเบียบและประกาศที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๑๐)
ควบคุมกำกับดูแลมิให้มีการลงลายมือชื่อในใบรับรองการตรวจสภาพรถไว้ล่วงหน้าก่อนจะดำเนินการตรวจสภาพรถครบถ้วนถูกต้องตามกฎระเบียบและข้อบังคับของทางราชการแล้ว
(๑๑) ไม่ชักชวนหรือแนะนำ
หรือยินยอมให้ผู้อื่นชักชวนหรือแนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
นำรถไปเข้ารับการตรวจซ่อมหรือปรับแต่ง ณ สถานประกอบการแห่งหนึ่งแห่งใด
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถจะร้องขอคำแนะนำเกี่ยวกับสถานประกอบการที่ตนจะนำรถไปใช้บริการตรวจซ่อมหรือปรับแต่ง
(๑๒) ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลตาม (๔)
เข้าควบคุมการตรวจสภาพรถหรือทำหน้าที่ตรวจสภาพรถ
(๑๓)
ควบคุมกำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสภาพรถ
และติดบัตรประจำตัวตามแบบบัตรประจำตัวที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(๑๔)
อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกในการเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ
เพื่อทราบข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ
หมวด
๒
การตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องดำเนินการตรวจสภาพรถตามกฎระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดและต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
(๑) ลอกลายหมายเลขตัวถังหรือหมายเลขโครงคัสซี
หรือหมายเลขตัวรถติดไว้บริเวณส่วนล่างของใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ได้ผ่านการตรวจสภาพตามข้อ
๑๓
ทั้งต้นฉบับและสำเนาสำหรับการรายงานผลการตรวจสภาพรถผ่านทางระบบสารสนเทศให้ดำเนินการตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๒) บันทึกข้อมูลการตรวจสภาพรถในแบบบันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือแบบบันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
หรือบันทึกการตรวจสภาพรถด้วยระบบสารสนเทศตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ ในการตรวจสภาพรถหากปรากฏว่าหมายเลขเครื่องยนต์
หมายเลขตัวถังหรือหมายเลขโครงคัสซี หรือหมายเลขตัวรถ
มีร่องรอยการแก้ไขขูดลบหรือลบเลือนจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ
(เฉพาะกรณีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก) หรือมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถ
หรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(เฉพาะกรณีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์) ให้สถานตรวจสภาพรถระงับการตรวจสภาพรถนั้นเสียและแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำรถไปเข้ารับการตรวจสภาพ
ณ ที่ทำการของนายทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียนหรือตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ เมื่อทำการตรวจสภาพรถเสร็จสิ้นแล้ว
ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
และให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถบันทึกผลการตรวจหรือบันทึกข้อบกพร่องกรณีที่รถไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ
(ถ้ามี) ไว้ในแบบบันทึกการตรวจสภาพรถพร้อมลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
สำหรับการบันทึกผลการตรวจสภาพรถผ่านทางระบบสารสนเทศให้ดำเนินการตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถออกใบรับรองการตรวจสภาพรถสำหรับรถที่ผ่านการตรวจสภาพ
กรณีการรับรองผลการตรวจสภาพรถผ่านระบบสารสนเทศให้ดำเนินการตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๔ การออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตามข้อ ๑๓
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจัดทำใบรับรองดังกล่าวเป็นสองฉบับ
โดยกรอกรายละเอียดข้อมูลในใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กำหนดให้ครบถ้วนถูกต้องและให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถขีดคร่อมพร้อมลงลายมือชื่อกำกับและประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถบนลายหมายเลขตัวถัง
หมายเลขโครงคัสซี หรือหมายเลขตัวรถ แล้วแต่กรณี
ที่ติดไว้บริเวณส่วนล่างของใบรับรองการตรวจสภาพรถทั้งต้นฉบับและสำเนา
ใบรับรองการตรวจสภาพรถต้นฉบับให้มอบแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
เพื่อนำไปติดต่อขอดำเนินการทางทะเบียนกับทางราชการ
สำเนาใบรับรองการตรวจสภาพรถและบันทึกการตรวจสภาพรถ
ให้เก็บไว้ที่สถานตรวจสภาพรถเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ตรวจสภาพ
ข้อ ๑๕ ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามข้อ ๑๔
ต้องไม่มีการขูดลบแก้ไขและต้องประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถไว้ที่ส่วนบนของใบรับรองการตรวจสภาพรถอย่างชัดเจนกรณีที่มีการลงรายการในใบรับรองการตรวจสภาพรถผิดพลาด
ให้สถานตรวจสภาพรถนั้นจัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ
ข้อ ๑๖ การใช้ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ต้องเรียงลำดับตามเล่มที่และเลขที่ของใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ได้รับจากกรมการขนส่งทางบก
ในกรณีที่แบบพิมพ์ใบรับรองการตรวจสภาพรถต้นฉบับหรือสำเนาสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ
สำนักงานขนส่งพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่โดยเร็ว
ข้อ ๑๗ รถคันใดไม่ผ่านการตรวจสภาพ
ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถแจ้งผลการตรวจสภาพและข้อบกพร่องของรถคันนั้น
โดยจัดทำสำเนาบันทึกผลการตรวจสภาพรถซึ่งได้บันทึกข้อบกพร่องไว้แล้ว
มอบให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานในการนำรถมารับการตรวจสภาพใหม่ภายหลังที่ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว
ข้อ ๑๘ รถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
เมื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องและมาขอรับการตรวจสภาพใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีนำรถมาขอรับการตรวจสภาพใหม่ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพเฉพาะรายการที่ต้องทำการแก้ไขเท่านั้น
เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่ารถนั้นมีข้อบกพร่องที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน
แม้ในรายการนั้นจะได้ผ่านการตรวจสภาพไปแล้วก็ตาม
ก็ให้ทำการตรวจสภาพรายการนั้นใหม่ด้วย
(๒) กรณีนำรถมาขอรับการตรวจสภาพใหม่เกินกว่า ๑๕
วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ทำการตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ
การตรวจสภาพรถตาม (๑) และ (๒) ให้ดำเนินการตามข้อ
๑๐ โดยให้แนบแบบบันทึกการตรวจสภาพรถไว้กับฉบับเดิมด้วย
หมวด
๓
การรายงานการตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องจัดทำรายงานการตรวจสภาพรถโดยใช้แบบรายงานการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกจัดพิมพ์
หรือจัดทำรายงานการตรวจสภาพรถในรูปข้อมูลสารสนเทศตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
แล้วแต่กรณี
กรณีการรายงานการตรวจสภาพรถด้วยเอกสารต้องประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถไว้ที่ส่วนบนของใบรายงานการตรวจสภาพรถอย่างชัดเจนทุกฉบับ
และให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หรือผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถลงนามรับรองความถูกต้อง
โดยจัดส่งรายงานให้สำนักงานขนส่งพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไปและจัดทำสำเนาเก็บไว้ ณ
สถานตรวจสภาพรถสำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่จัดส่งรายงาน
กรณีการรายงานการตรวจสภาพรถด้วยระบบสารสนเทศต้องดำเนินการโดยทันที
เมื่อทำการตรวจสภาพรถคันนั้นเสร็จสิ้น
และต้องจัดเก็บข้อมูลสำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ตรวจสภาพ
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชัยรัตน์
สงวนชื่อ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถประจำสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาต
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๓/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
630502 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรยังไม่สมบูรณ์อันส่งผลกระทบต่อการให้บริการด้านใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ
ดังนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
สมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ (๓)
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท
ให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติอาชญากร
โดยมีหนังสือตรวจสอบไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตไปก่อนโดยไม่ต้องรอผลการตรวจสอบประวัติดังกล่าว
และเมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบในภายหลังปรากฏว่า เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙๖
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของผู้นั้นเสียตามมาตรา ๑๐๘
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ในกรณีที่สามารถตรวจสอบจากระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรได้แล้ว
ให้ตรวจสอบจากระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลดังกล่าว
เว้นแต่กรณีระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ก็ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตไปก่อน
และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๓
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๔/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
630500 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ พ.ศ. 2553
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถและการออกใบอนุญาตผู้ประจำรถสำหรับกรณีใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ
พ.ศ. ๒๕๒๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
และเพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถและการออกใบอนุญาตผู้ประจำรถสำหรับกรณีใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ
พ.ศ. ๒๕๒๕
(๒)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถและการออกใบอนุญาตผู้ประจำรถสำหรับกรณีใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗
(๓)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถและการออกใบอนุญาตผู้ประจำรถสำหรับกรณีใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗
(๔)
หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๔๐๘.๗/ว ๒๗๐ ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ เรื่อง
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรมและทดสอบผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายขนส่ง
ข้อ
๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๕
ผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
การขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถสามารถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนได้ก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุไม่เกินสามเดือน
ข้อ
๖
ให้ผู้ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
๖.๑
การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
(๑)
กรณีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถยังไม่สิ้นอายุ หรือสิ้นอายุแล้วไม่เกิน ๓ ปี
(ก)
ใบอนุญาตเดิมหรือใบแทน
(ข)
บัตรประจำตัวประชาชน
(ค)
หลักฐานแสดงการผ่านการศึกษาอบรมจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบก
หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง (ถ้ามี)
(ง)
รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด ๓ x ๔
เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
(๒)
กรณีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสิ้นอายุเกินกว่า ๓ ปี
(ก)
ใบอนุญาตเดิมหรือใบแทน
(ข)
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมด้วยภาพถ่าย
(ค)
หลักฐานแสดงการผ่านการศึกษาอบรมจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบก
หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง (ถ้ามี)
(ง)
รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด ๓ x ๔
เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
(จ)
ใบรับรองแพทย์ ซึ่งออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๑ เดือน
๖.๒
การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจและผู้บริการ
(๑)
กรณีใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจและผู้บริการยังไม่สิ้นอายุ
หรือสิ้นอายุแล้วไม่เกิน ๓ ปี
(ก)
ใบอนุญาตเดิมหรือใบแทน
(ข)
บัตรประจำตัวประชาชน
(ค)
รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด ๓ x ๔
เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
(๒)
กรณีใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจและผู้บริการ สิ้นอายุเกินกว่า ๓ ปี
(ก)
ใบอนุญาตเดิมหรือใบแทน
(ข)
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมด้วยภาพถ่าย
(ง)
รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด ๓ x ๔
เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
(จ)
ใบรับรองแพทย์ ซึ่งออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๑ เดือน
ข้อ
๗ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานแล้วให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๒)
กรณีการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
หากไม่มีหลักฐานแสดงการผ่านการศึกษาอบรมจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรองให้ดำเนินการทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้
(ก)
กรณีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถยังไม่สิ้นอายุหรือสิ้นอายุแล้วไม่เกิน ๓ ปี
ให้ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย
(ข)
กรณีใบอนุญาตขับรถสิ้นอายุเกินกว่า ๓ ปี
ให้ทดสอบสมรรถภาพของร่างกายและทดสอบขับรถตามชนิดของใบอนุญาต
(๓)
การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท ก่อนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติอาชญากรผ่านทางระบบฐานข้อมูล
หรือมีหนังสือตรวจสอบไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน
เมื่อได้รับผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำความผิดหรือความผิดลหุโทษ
หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้
(๔)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต ตามประเภทหรือชนิดของใบอนุญาตผู้ประจำรถ ถ้าผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายในหนึ่งปีนับแต่วันยื่นคำขอ
ให้ถือว่าการขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถเป็นอันสิ้นสุดลง
หากผู้นั้นประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถใหม่
ให้ยื่นคำขอและดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามระเบียบนี้ต่อไป
(๕)
จัดทำต้นขั้วและใบอนุญาต
(๖)
จ่ายใบอนุญาต
ข้อ
๘ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายปฏิบัติการ) เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
623612 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๕๒[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดตำแหน่งภายในกรมการขนส่งทางบกเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นเพื่อให้ชื่อหน่วยงานตามประกาศดังกล่าวสอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการของกรมการขนส่งทางบกอาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะขอรับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่
ณ ที่ใดให้ยื่นคำขอได้ที่กลุ่มมาตรฐานโรงเรียนสอนขับรถ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๔
ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ชัยรัตน์
สงวนชื่อ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๔/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
623608 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๕๒[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดตำแหน่งภายในกรมการขนส่งทางบกเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นเพื่อให้ชื่อหน่วยงานและชื่อตำแหน่งของบุคคลตามประกาศดังกล่าวสอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการของกรมการขนส่งทางบก
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ
๑๙ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖ การยื่นคำขอดำเนินการใด ๆ
เกี่ยวกับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามระเบียบนี้ให้ยื่น ดังนี้
(๑) โรงเรียนสอนขับรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น
ณ กลุ่มมาตรฐานโรงเรียนสอนขับรถ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
(๒) โรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
กลุ่มมาตรฐานโรงเรียนสอนขับรถ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่
ให้กลุ่มมาตรฐานโรงเรียนสอนขับรถ
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก ที่ได้รับคำขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดอื่น
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานพร้อมกับจัดเก็บค่าธรรมเนียมและส่งเรื่องให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นจะจัดตั้งดำเนินการต่อไป
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรและให้กลุ่มมาตรฐานโรงเรียนสอนขับรถ
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
พิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
(๑) กรณีเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ
ให้ดำเนินการตามความเห็นและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒) กรณีไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ
ให้นำเสนอผู้ออกหนังสือรับรองพิจารณาผลเป็นประการใดให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ ๕
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถจัดส่งสำเนาหนังสือรับรองพร้อมทั้งสำเนาเรื่องเดิมเกี่ยวกับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถและการเปลี่ยนแปลงอื่นส่งให้
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
ข้อ ๖
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๓ การเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตรให้ลงบัญชีและจัดทำทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
และเก็บรักษาพันธบัตรไว้ในตู้นิรภัย ณ ส่วนการเงิน สำนักบริหารการคลังและรายได้
กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ในกรณีหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้จัดเก็บรักษารวมไว้ในเรื่องการดำเนินการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
หรือแยกจัดเก็บไว้ต่างหากเพื่อป้องกันการสูญหายและให้สามารถค้นหาได้ง่าย
ข้อ ๗
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๗
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๗ ให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
หรือผู้ได้รับมอบหมายและขนส่งจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
รับผิดชอบในการออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
และพิจารณาตรวจสอบการขอคืนหลักทรัพย์
ข้อ ๘
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๙
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๙ ให้หัวหน้าส่วนการเงินหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
ในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ กรมการขนส่งทางบก ขนส่งจังหวัด
หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด
รับผิดชอบในการดำเนินการสำหรับหลักทรัพย์นั้น ดังนี้
(๑) การรับหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตร
(๒) การจัดทำและลงรายการในบัญชีและทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
(๓) การเบิกจ่าย คืนหลักทรัพย์
(๔)
จัดให้ผู้รับวางหลักทรัพย์ลงนามเป็นหลักฐานแสดงการได้รับหลักทรัพย์ไว้ในทะเบียนคุมหลักทรัพย์
ข้อ ๙
ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ชัยรัตน์
สงวนชื่อ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
600425 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(ฉบับที่ ๑๘)
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๓๑
ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๑ ไว้แล้ว นั้น
เพื่อให้การดำเนินการทางทะเบียนของรถที่มีการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่
๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความใน (๔) ของข้อ ๒๔ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๓๑
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๔) กรณีเปลี่ยนแปลงรายการอื่น ๆ นอกจากการเปลี่ยนสีและเครื่องยนต์
ต้องมีหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามรายการที่ขอเปลี่ยน เช่น
ใบเสร็จรับเงินค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์นั้น เป็นต้น
ข้อ ๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๔ ทวิ ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๓๑
ข้อ ๒๔ ทวิ กรณีเป็นการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงจากน้ำมันเป็นก๊าซหรือใช้ก๊าซร่วมหรือสลับน้ำมัน
ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียนรถ
ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ได้แก่
(๑)
ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
(๒)
หนังสือรับรองการติดตั้งและหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
(๓)
ใบมอบอำนาจจากเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
กรณีเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถไม่มาติดต่อยื่นคำขอด้วยตนเอง
การยื่นขอดำเนินการเกี่ยวกับการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถยื่น ณ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ได้ทุกแห่งทั่วประเทศ
ยกเว้นการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย.๕)
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน ๗ คน (รย.๖) รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย.๗)
และรถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย.๘)
ให้ยื่นขอดำเนินการได้เฉพาะที่หน่วยงานทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียนในเขตความรับผิดชอบเท่านั้น
ข้อ ๕
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๖ ทวิ ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๓๑
ข้อ ๒๖ ทวิ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๒๔ ทวิ
และตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสภาพรถ และบันทึกผลการตรวจสภาพลงในระบบคอมพิวเตอร์
(๒)
เจ้าหน้าที่ทะเบียนรถตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอและผลการผ่านการตรวจสภาพ เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอ
ค่าธรรมเนียมตรวจสภาพรถและค่าธรรมเนียมการขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ
(๓)
บันทึกรายการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงในระบบคอมพิวเตอร์
แก้ไขรายการในทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๔)
จ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
ข้อ ๖
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๖ ง/หน้า ๑/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ |
593842 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2551
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๕๑
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว
นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบดังกล่าว
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ อาทิ การขอรับใบอนุญาต การอนุญาต
และการต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดจนการดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
เหมาะสมและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๓[๑] ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๕ ในระเบียบนี้
ใบอนุญาต หมายความว่า
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ผู้ได้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๖ การยื่นคำขอใด ๆ ตามระเบียบนี้
ให้ยื่น ณ ที่ทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
(๒) สถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ หรือ ณ
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก ก็ได้
ข้อ
๗ ค่าธรรมเนียมคำขอตามระเบียบนี้
ให้จัดเก็บ ณ ที่ทำการที่รับคำขอ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต ให้จัดเก็บ ณ ที่ทำการที่ออกใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๘
คำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการใด ๆ ตามระเบียบนี้
ต้องกระทำเป็นหนังสือระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนพร้อมพยานหลักฐานในการใช้ดุลพินิจ ตลอดจนสิทธิในการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งให้ชัดเจนครบถ้วนด้วย
หมวด ๒
การขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๙
ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(จ) แบบ ขนาดและรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖
เดือน
(ข) รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาดและรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(ข) รายชื่อกรรมการบริษัททุกคน
(ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
(ง) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
(จ) สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
(ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ช) แบบ ขนาดและรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๐
เมื่อได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๙ แล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐาน โดยพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้อง
ครบถ้วนของแผนที่แสดงสถานที่ตั้ง แบบอาคาร แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในสถานตรวจสภาพรถ
แบบ ขนาดและรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(๒) ตรวจสอบสถานที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ อาคารสถานตรวจสภาพรถ (ถ้ามี)
และเครื่องตรวจสภาพรถ รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(ถ้ามี) พร้อมทั้งถ่ายภาพสิ่งที่ตรวจสอบไว้ด้วยตามความจำเป็น
(๓) ในกรณีผู้ยื่นคำขอยังไม่มีอาคารสถานตรวจสภาพรถ เครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้รวบรวมข้อมูลผลการพิจารณานำเสนอนายทะเบียนกลาง
หรือขนส่งจังหวัด สำหรับการขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดอื่น
แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตในหลักการ
และให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
พร้อมกำหนดเงื่อนไขให้ต้องดำเนินการจัดเตรียมอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
และจัดหาหรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้ครบถ้วน
ถูกต้อง ภายในกำหนดระยะเวลา ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
เว้นแต่กรณีมีเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา ให้พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน
๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๓๐ วัน
ผู้ยื่นคำขอที่ได้ดำเนินการจัดให้มีอาคารสถานตรวจสภาพรถ
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถครบถ้วน
ถูกต้องแล้ว ต้องแจ้งให้นายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ทราบภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้
แล้วให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ดำเนินการตาม (๒) ต่อไป
หากผู้ยื่นคำขอไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
(๔) การยื่นคำขอในเขตจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดรวบรวมและสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ตาม
(๑) (๒) และ (๓) พร้อมความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยพิจารณา
(๕) การขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร
แต่ได้ยื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตาม
(๑) แล้วสรุปผลรวบรวมคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ส่งให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นผู้ดำเนินการตาม
(๒) (๓) (ถ้ามี) และ (๔) ต่อไป
ข้อ
๑๑
เมื่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยพิจารณาข้อมูลตามข้อ ๑๐ (๔)
แล้วให้นำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาต
หรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีนายทะเบียนกลางเห็นว่า สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
พร้อมกับกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ณ
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
สำหรับกรณีการขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่น
นอกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยมีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการพิจารณาอนุญาตแล้ว
ให้สำเนาหนังสือนั้นแจ้งต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบและดำเนินการรับชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
เมื่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี ได้รับชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแล้วให้ดำเนินการออกใบอนุญาต
และให้สำนักงานขนส่งจังหวัดจัดส่งสำเนาใบอนุญาตให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยทราบด้วย
การออกใบอนุญาตให้กำหนดวันเริ่มต้นของอายุใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมเป็นต้นไป
ในกรณีผู้ยื่นคำขอไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าการอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง
(๒) กรณีนายทะเบียนกลางเห็นว่า ไม่สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ในกรณีการขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่น
นอกจากกรุงเทพมหานคร
เมื่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยมีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการพิจารณาไม่อนุญาตแล้ว
ให้สำเนาหนังสือนั้นแจ้งต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบด้วย
หมวด ๓
การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๒ ผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
พร้อมด้วยสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาต หรือใบแทนและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๙ แล้วแต่กรณี เฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง
ในกรณีที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล
ให้ยื่นหลักฐานตามข้อ ๙ (๓) (ก) หรือ (๔) (ก) แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบคำขอด้วย
กรณีการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
หากประสงค์จะดำเนินการสถานตรวจสภาพรถต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งใหม่ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๓
เมื่อได้รับคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(๒) ตรวจสอบประวัติการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ อาคาร สถานที่
เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามกฎ
ระเบียบว่าด้วยการนั้น
หากพบว่า
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ อาคารสถานที่ เครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
หรือมีความชำรุดบกพร่อง
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
ในกรณีไม่สามารถแก้ไข
ปรับปรุงข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตและให้การพิจารณาคำขอเป็นอันสิ้นสุดลง
(๓) รวบรวมและสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ตาม (๑) และ (๒)
พร้อมความเห็นเสนอนายทะเบียนกลาง หรือขนส่งจังหวัดพิจารณา แล้วแต่กรณี
กรณีการต่ออายุใบอนุญาตในเขตจังหวัดอื่น
แต่ได้ยื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตาม
(๑)
แล้วแจ้งผลการตรวจสอบพร้อมส่งคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอให้กับสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่เพื่อดำเนินการตาม
(๒) และ (๓) ต่อไป
ข้อ
๑๔
เมื่อนายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควรต่ออายุหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
ให้นำความในข้อ
๑๑ (๑)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการชำระค่าธรรมเนียมมาใช้บังคับแก่กรณีการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตโดยอนุโลม
ข้อ
๑๕ การต่ออายุใบอนุญาต
ให้นายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม
และให้ระบุ คำว่า ต่ออายุ ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย
หมวด ๔
การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๖
ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุด
หรือลบเลือนในสาระสำคัญ หรือสูญหาย
ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบกพร้อมด้วยใบอนุญาตที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
หรือหลักฐานการแจ้งความ หรือบันทึกถ้อยคำของผู้ได้รับใบอนุญาต ณ
ที่ทำการของนายทะเบียนที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๗ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและเอกสารหลักฐานแล้ว
ให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต
ในกรณีที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้นำเสนอนายทะเบียนกลาง
ในกรณีที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้นำเสนอขนส่งจังหวัด
เพื่อออกใบแทนใบอนุญาตต่อไป
ข้อ
๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาต
ให้นายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม
และให้ระบุ คำว่า ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย
หมวด ๕
การดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๙ การย้ายสถานตรวจสภาพรถ
การเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับใบอนุญาต กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมถึงแก่ความตาย
หรือกรณีอื่นใด ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีการขอรับใบอนุญาตใหม่
โดยให้นำหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๖
การเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๒๐
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนกลาง
หรือขนส่งจังหวัดที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตนั้น
เมื่อนายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วไม่มีเหตุขัดข้องในการขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง
ให้มีหนังสือยกเลิกใบอนุญาตและแจ้งผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดจัดส่งสำเนาหนังสือยกเลิกใบอนุญาตให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยทราบด้วย
หมวด ๗
การสิ้นสุดของใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๒๑
ให้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถสิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตถึงแก่ความตาย
(๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกสัญญาหรือข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วน
(๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคลสิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล
(๕)
ผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งขอเลิกประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางให้เลิกประกอบกิจการ
(๖) เมื่อนายทะเบียนกลางสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด ๘
การควบคุม
ดูแลการดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๒๒ ให้ผู้ตรวจการ
หรือพนักงานตรวจสภาพที่สังกัดส่วนกลาง
กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่น
และให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพที่สังกัดส่วนภูมิภาค กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ในระหว่างเวลาทำงานตามปกติเพื่อทราบข้อเท็จจริงและตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสถานตรวจสภาพรถ
การปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๐๗ ง/หน้า ๑/๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
566804 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจ และวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2537
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจ และวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๓๗[๑]
เพื่อให้การตรวจสภาพและการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและถูกต้องเหมาะสมและเป็นไปแนวทางเดียวกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงเห็นสมควรวางระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถดังกล่าวไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจ และวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๗
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และมาตรฐานการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๒๖
ข้อ ๔
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕
การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ มี ๒ กรณี คือ
(๑) ผ่านการตรวจสภาพ
(๒) ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
ข้อ ๖
รถที่ผ่านการตรวจสภาพต้องอยู่ในเกณฑ์ ดังนี้
(๑) หมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถัง หรือหมายเลขคัสซีถูกต้องและตรงตามเอกสารหลักฐาน
เช่น ใบคู่มือการจดทะเบียนรถหรือหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถแล้วแต่กรณี ประวัติรถ
หนังสือรับรองการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์หรือรถ
หรือหลักฐานการได้มาซึ่งเครื่องยนต์หรือรถ เป็นต้น
(๒) มีลักษณะ ขนาด สัดส่วน เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก แล้วแต่กรณี
หรือประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องและไม่มีข้อบกพร่องในรายการใดรายการหนึ่ง
ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถยนต์ และจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
และรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
รถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ หมายถึง รถที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน
ข้อ ๖ (๑) หรือ ๖ (๒)
ข้อ ๙
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗
ประดัง ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การตรวจสอบและข้อบกพร่องของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ ตามความในข้อ ๖
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๓๗
๒.
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถยนต์ ตามความในข้อ ๗
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๗
๓.
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ตามความในข้อ ๗
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๗
๔.
การตรวจสอบและข้อบกพร่องของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ ตามความในข้อ ๖
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจ
และวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๗
๕.
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ตามความในข้อ
๗ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการตรวจและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๖/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ |
563371 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2548
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์
สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๘
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกหมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังหรือโครงคัสซี
พ.ศ. ๒๕๒๔ ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวถังหรือโครงคัสซีและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเสียใหม่
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกหมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังหรือโครงคัสซี
พ.ศ. ๒๕๒๔ ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๔
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๕
ในระเบียบนี้
เลขตัวรถ หมายถึง
เลขคัสซีสำหรับรถที่มีโครงคัสซีหรือเลขตัวถังสำหรับรถที่ไม่มีโครงคัสซี
เจ้าของรถ หมายถึง
ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ และให้หมายความรวมถึง
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถนั้นด้วย
หมวด
๑
การกำหนดและตอกเลขตัวรถ
ข้อ ๖
รถดังต่อไปนี้อยู่ในข่ายต้องกำหนดและตอกเลขตัวรถ
(๑)
รถที่ไม่มีเลขตัวรถจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจากต่างประเทศ
ซึ่งเจ้าของรถมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง
และให้บันทึกถ้อยคำเจ้าของรถรับรองว่าเป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏในหลักฐาน
(๒) รถที่เดิมมีเลขตัวรถตอกไว้บนแผ่นโลหะ (plate)
แต่ได้ชำรุดลบเลือนหรือสูญหาย และเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นรถคันเดิมตามหลักฐาน
(๓) รถที่เดิมมีเลขตัวรถแต่ชำรุด ลบเลือน
หรือถูกทำลายเนื่องจากสนิม กัดกร่อน หรืออุบัติเหตุ หรือด้วยเหตุอื่น
โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
และเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นรถคันเดิมตามหลักฐาน
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโครงคัสซีหรือตัวถังของรถคันเดิม ให้ส่งตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐาน
หรือกองกำกับการวิทยาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อยืนยันความถูกต้อง
(๔)
รถที่เดิมมีเลขตัวรถแต่ถูกโจรกรรมไปแล้วได้คืน
และมีร่องรอยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือทำลายเลขเดิมบางส่วน
โดยเจ้าของรถมีหลักฐานการรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนหรือศาลพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำเจ้าของรถรับรองว่าเป็นรถคันเดิมที่ถูกโจรกรรมไป
ในกรณีที่เลขตัวรถเดิมถูกทำลายทั้งหมดและไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นรถคันเดิม
ให้ส่งตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อยืนยันความถูกต้อง และถ้าผลการตรวจพิสูจน์ยังไม่สามารถวินิจฉัยความถูกต้องได้
ให้ส่งตรวจสอบตำหนิรูปพรรณยานพาหนะที่แจ้งหายกับกองทะเบียนประวัติอาชญากร
หรือกองกำกับการวิทยาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๕)
รถที่เดิมมีเลขตัวรถแต่ถูกทำลายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นรถที่ได้มาจากการขายตามปกติของส่วนราชการ
หรือการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น
กรมศุลกากรหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
โดยมีหลักฐานการได้มาจากส่วนราชการนั้นถูกต้องและเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นรถคันเดิมกับที่ปรากฏในหลักฐาน
หรือถ้าจำเป็นอาจขอให้ส่วนราชการที่ขายรถจัดส่งเอกสารรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
(๖) รถที่เดิมมีเลขตัวรถแต่เกิดปัญหาการซ้ำซ้อน
เลขตัวรถไปเหมือนกับรถคันอื่น
แต่ทั้งนี้การซ้ำซ้อนนั้นต้องปรากฏหลักฐานการจดทะเบียนรถ
หรือมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง ให้พิจารณากำหนดและตอกเลขตัวรถให้กับรถคันที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนลำดับหลัง
หรือในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น
ไม่สามารถติดต่อผู้ครอบครองรถคันที่จดทะเบียนลำดับหลังได้
ให้พิจารณากำหนดและตอกเลขให้กับรถคันที่จดทะเบียนลำดับแรก
ข้อ ๗
เลขตัวรถที่กำหนดให้ตอกประกอบด้วยตัวเลข
๓ กลุ่ม ดังนี้
(๑) กลุ่มที่หนึ่ง มี ๒ หลัก
เป็นรหัสจังหวัดที่รถจดทะเบียนหรือจะจดทะเบียน (ยกเว้นจังหวัดหนองบัวลำภู มี ๓
หลัก) กรณีเป็นสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาให้กำหนดเป็น ๓
หลัก โดยเลข ๒ หลักแรกเป็นรหัสจังหวัด และเลขหลักที่ ๓
เป็นเลขลำดับที่จัดตั้งสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาก่อนหลัง แล้วแต่กรณี
(๒) กลุ่มที่สอง มี ๔ หลัก
เป็นเลขลำดับก่อนหลังที่ทำการตอกในแต่ละปี
(๓) กลุ่มที่สาม มี ๒ หลัก
เป็นเลขสองตัวสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ทำการตอกเลข
ข้อ ๘
ตำแหน่งและลักษณะการตอกเลขตัวรถ
(๑) การตอกเลขตัวรถให้ใช้ตัวเลขอารบิคที่มีขนาด ๘
มิลลิเมตร หรือขนาดใกล้เคียง และให้ตอกที่โครงคัสซีบริเวณหน้าล้อหน้าด้านซ้าย
หรือบริเวณอื่นที่เหมาะสม
ในกรณีเป็นรถที่ไม่มีโครงคัสซีให้ตอกที่ตัวถังรถแถบด้านซ้าย
หรือตำแหน่งอื่นที่เหมาะสม
(๒) ให้ตอกหมายเลขเรียงลำดับตามกลุ่มในแนวนอน
ในกรณีมีเหตุจำเป็น ให้ตอกตามแนวตั้งก็ได้
การกำหนดเลขรหัสประจำจังหวัดต่างๆ
ในการตอกเลขตัวรถ ให้กำหนดตามเลขรหัสประจำจังหวัด ตามที่แนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๙
เมื่อทำการตอกเลขแล้วให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) จัดทำทะเบียนคุมเลขตัวรถที่ตอกโดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถ ชนิดของเครื่องยนต์ ตำแหน่ง วันเดือน ปีที่ตอก
สาเหตุความจำเป็นในการตอกเลข และลายมือชื่อผู้ตอกเลข
รวมทั้งให้ลอกลายเลขที่ตอกติดไว้ในทะเบียนคุม และให้ผู้ตอกเลขลงลายมือชื่อกำกับไว้ที่ลายด้วย
(๒) ลอกลายเลขที่ตอกติดไว้ในประวัติรถ
และให้ผู้ตอกเลขลงลายมือชื่อกำกับไว้ที่ลายพร้อมทั้งให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ
วัน เดือน ปี ตำแหน่งที่ตอก และสาเหตุความจำเป็นในการตอกเลขไว้ในประวัติรถด้วย
หมวด
๒
การกำหนดและตอกเลขเครื่องยนต์
ข้อ ๑๐
รถดังต่อไปนี้อยู่ในข่ายต้องกำหนดและตอกเลขเครื่องยนต์
(๑) รถที่เครื่องยนต์ไม่มีหมายเลขจากผู้ผลิต
หรือผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเจ้าของรถมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง
และเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดียวกับที่ปรากฏในหลักฐาน
(๒)
รถที่เดิมมีเลขเครื่องยนต์ซึ่งตอกไว้บนแผ่นโลหะ (plate) แต่ชำรุด
ลบเลือนหรือสูญหายและเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นเครื่องยนต์เดิมตามหลักฐาน
(๓) รถที่เดิมมีเลขเครื่องยนต์แต่ชำรุด ลบเลือน
หรือถูกทำลายเนื่องจากสนิม กัดกร่อน หรืออุบัติเหตุ หรือด้วยเหตุอื่น
โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
และเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นเครื่องยนต์เดิมตามหลักฐาน
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดิม
ให้ส่งตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อยืนยันความถูกต้อง
(๔) รถที่เดิมมีเลขเครื่องยนต์
แต่เจ้าของรถได้เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่
ซึ่งไม่มีหมายเลขหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่ตอกเลขเดิมอยู่
โดยชิ้นส่วนใหม่ไม่มีหมายเลข
ซึ่งเจ้าของรถมีหลักฐานแสดงการได้มาของเครื่องยนต์หรือชิ้นส่วนของเครื่องยนต์แล้วแต่กรณีโดยถูกต้อง
และเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองความถูกต้อง ทั้งนี้ ถ้าพบร่องรอยการเจียรไส
เชื่อมทับ หรือโดยวิธีอื่น ที่ผิวโลหะบริเวณตำแหน่งที่ใช้ตอกเลขเครื่องยนต์
โดยน่าเชื่อว่ามีการทำลายเลขเดิม ให้ส่งตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐาน
หรือกองกำกับการวิทยาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อยืนยันความถูกต้อง
(๕)
รถที่เดิมมีเลขเครื่องยนต์แต่ถูกโจรกรรมไปแล้วได้คืน
และมีร่องรอยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือทำลายเลขเครื่องยนต์เดิมบางส่วน
โดยเจ้าของรถมีหลักฐานการรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนหรือศาล พร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำเจ้าของรถรับรองว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันที่ปรากฏในหลักฐาน
ในกรณีที่เลขเครื่องยนต์เดิมถูกทำลายทั้งหมดและไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดิม
ให้ดำเนินการทำนองเดียวกับข้อ ๖ (๔) วรรคสอง โดยอนุโลม
(๖) รถที่เดิมมีเลขเครื่องยนต์แต่ถูกทำลายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นรถที่ได้มาจากการขายตามปกติของส่วนราชการ
หรือการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น กรมศุลกากร
หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น โดยมีหลักฐานการได้มาจากส่วนราชการนั้นถูกต้อง
และเจ้าของรถได้บันทึกถ้อยคำรับรองว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดียวกับที่ปรากฏในหลักฐานหรือถ้าจำ
เป็นอาจขอให้ส่วนราชการที่ขายรถจัดส่งเอกสารรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
(๗)
รถที่เดิมมีเลขเครื่องยนต์แต่เกิดปัญหาการซ้ำซ้อนกับเลขเครื่องยนต์ของรถคันอื่น
ซึ่งการซ้ำซ้อนนั้นต้องปรากฏหลักฐานการจดทะเบียนรถ หรือมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง
ให้พิจารณากำหนดและตอกเลขตัวรถให้กับรถคันที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนลำดับหลัง
หรือในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น
ไม่สามารถติดต่อผู้ครอบครองรถคันที่จดทะเบียนลำดับหลังได้ ให้พิจารณากำหนดและตอกเลขให้กับรถคันที่จดทะเบียนลำดับแรก
ข้อ ๑๑
เลขเครื่องยนต์ที่กำหนดให้ตอก
ให้ดำเนินการตามข้อ ๗ โดยอนุโลม
สำหรับตัวเลขกลุ่มที่สองซึ่งเป็นเลขลำดับก่อนหลังที่ทำการตอกเลขเครื่องยนต์ในแต่ละปี
ให้กำหนดเป็นเลข ๓ หลัก
ข้อ ๑๒
ตำแหน่งและลักษณะการตอกเลขเครื่องยนต์
(๑)
การตอกเลขเครื่องยนต์ให้ใช้ตัวเลขอารบิคที่มีขนาด ๖ มิลลิเมตร
หรือขนาดใกล้เคียงและให้ตอกในบริเวณที่มั่นคงแข็งแรงของตัวเครื่องยนต์
(๒) ลักษณะการตอกและการกำหนดเลขรหัสประจำจังหวัดต่างๆ
ในการตอก รวมทั้งเมื่อทำการตอกเลขเครื่องยนต์แล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๘ (๒) ข้อ ๘
วรรคสาม และข้อ ๙ โดยอนุโลม
หมวด
๓
การอนุญาตให้กำหนดและตอกเลข
ข้อ ๑๓
การกำหนดและตอกเลขตัวรถและหรือเลขเครื่องยนต์
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ขนส่งจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ให้กำหนดและตอกเลขตัวรถและหรือเลขเครื่องยนต์ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
และหน้าที่การตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
กรณีที่สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาใด
มิได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำหนดและตอกเลขตัวรถและหรือเลขเครื่องยนต์
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้กำหนดและตอกเลข สำหรับรถที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขานั้น
และเมื่อสำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการตอกเลขแล้วให้จัดทำบันทึกแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับวัน
เดือน ปี และตำแหน่งที่ตอกเลข
พร้อมทั้งลอกลายเลขที่ตอกแนบส่งไปให้สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาด้วย
และเมื่อสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ได้รับแจ้งผลการตอกเลขแล้ว ให้จัดทำทะเบียนคุมการตอกเลข
และบันทึกรายละเอียดต่างๆ ในทะเบียนคุมและในประวัติรถ ทำนองเดียวกับข้อ ๙ และข้อ
๑๒ (๒) แล้วแต่กรณี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เลขรหัสประจำจังหวัด
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙
ตุลาคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๕/๒๓ กันยายน ๒๕๕๐ |
558972 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์ สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2549
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์
สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๘
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือ
ซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ข้อ ๔
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๕
ในระเบียบนี้
เลขตัวรถ หมายถึง
เลขคัสซีสำหรับรถที่มีโครงคัสซีหรือเลขตัวถังสำหรับรถที่ไม่มีโครงคัสซี
เจ้าของรถ หมายถึง ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ
และให้หมายความรวมถึง
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถนั้นด้วย
หมวด ๑
การกำหนดและตอกเลขตัวรถ
ข้อ ๖
รถดังต่อไปนี้ต้องกำหนดและตอกเลขตัวรถ
(๑)
ไม่มีเลขตัวรถจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเจ้าของรถมีหลักฐานการได้มาถูกต้องและมีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ทั้งนี้ ถ้าพบร่องรอยการเจียรไส
เชื่อมทับ หรือโดยวิธีอื่น ที่ผิวโลหะบริเวณตำแหน่งที่เป็นเลขตัวรถ
โดยน่าเชื่อว่ามีการทำลายเลขเดิม ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการเขต
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง
(๒)
มีเลขตัวรถตอกไว้บนแผ่นโลหะ (plate) แต่ได้ชำรุด ลบเลือน หรือสูญหาย
และเจ้าของรถมีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
(๓)
มีเลขตัวรถแต่ชำรุด ลบเลือน หรือถูกทำลายเนื่องจากสนิมกัดกร่อน หรืออุบัติเหตุ
หรือด้วยเหตุอื่นใดโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
และเจ้าของรถมีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยเกี่ยวกับความถูกต้องของรถได้ว่าเป็นรถคันเดิม
ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หรือผู้ผลิตหรือผู้ประกอบรถ ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง
(๔)
มีเลขตัวรถแต่ถูกทำลายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งหมดหรือบางส่วนเพราะเหตุโจรกรรม โดยเจ้าของรถมีหลักฐานการรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนหรือศาล
พร้อมทั้งมีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐานว่าเป็นรถคันเดิมที่ถูกโจรกรรมไป
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นรถคันเดิม
ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หรือผู้ผลิตหรือผู้ประกอบรถตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง
(๕)
มีเลขตัวรถแต่ถูกทำลายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งหมดหรือบางส่วน
ซึ่งเป็นรถที่ได้มาจากการจำหน่ายของส่วนราชการ
หรือการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น
กรมศุลกากรหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
โดยมีหลักฐานการได้มาจากส่วนราชการนั้นถูกต้อง พร้อมทั้งมีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของรถ
อาจขอให้ส่วนราชการที่จำหน่ายหรือขายทอดตลาดรถจัดส่งเอกสารรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
(๖)
มีเลขตัวรถแต่ซ้ำซ้อนกับรถคันอื่นที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ทั้งนี้
การซ้ำซ้อนนั้นต้องปรากฏหลักฐานการจดทะเบียนรถหรือมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง
ให้พิจารณากำหนดและตอกเลขตัวรถให้กับรถคันที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนลำดับหลัง
เว้นแต่ไม่สามารถติดตามรถคันที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนลำดับหลังได้
และเจ้าของรถที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนลำดับก่อนยินยอมให้กำหนดและตอกเลขตัวรถให้กับรถคันที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนลำดับก่อนได้
ในกรณีไม่สามารถดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
เนื่องจากมีเหตุขัดข้องอื่น ๆ เช่น มีวันจดทะเบียนวันเดียวกัน เป็นต้น
ให้นายทะเบียนพิจารณากำหนดและตอกเลขตัวรถให้กับรถคันใดคันหนึ่งที่เห็นสมควรตามความเหมาะสม
ข้อ ๗
หลักเกณฑ์การกำหนดเลขตัวรถ ประกอบด้วยตัวเลข ๓ กลุ่ม ดังนี้
(๑)
กลุ่มที่หนึ่ง มี ๒ หลัก เป็นรหัสจังหวัดที่รถจดทะเบียนหรือจะจดทะเบียน
(ยกเว้นจังหวัดหนองบัวลำภู มี ๓ หลัก)
กรณีเป็นสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ให้กำหนดเป็น ๓ หลัก
โดยเลข ๒ หลักแรกเป็นรหัสจังหวัด และเลขหลักที่ ๓
เป็นเลขลำดับที่จัดตั้งสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาก่อนหลัง แล้วแต่กรณี
(๒)
กลุ่มที่สอง มี ๓ หลัก เป็นเลขลำดับก่อนหลังที่ทำการตอกในแต่ละปี
ถ้าปีใดมีจำนวนรถที่ต้องตอกเกินกว่า
๓ หลัก ลำดับที่เกิน ๓ หลักให้ตอกเป็นเลข ๕ หลัก
(๓)
กลุ่มที่สาม มี ๒ หลัก เป็นเลขสองตัวสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ทำการตอกเลข
การกำหนดเลขรหัสจังหวัดต่าง
ๆ ในการตอกเลขตัวรถ ให้กำหนดตามเลขรหัสประจำจังหวัด ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
ตำแหน่งและลักษณะการตอกเลขตัวรถ
(๑)
ให้ใช้ตัวเลขอารบิคที่มีขนาด ๘ มิลลิเมตร หรือขนาดใกล้เคียง
และให้ตอกที่โครงคัสซีบริเวณหน้าล้อหน้าด้านซ้าย หรือบริเวณอื่นที่เหมาะสม
ในกรณีเป็นรถที่ไม่มีโครงคัสซีให้ตอกที่บริเวณเบ้าโช้คอัพหน้าด้านซ้ายของตัวถังรถ
หรือตำแหน่งอื่นที่เหมาะสม
(๒)
ให้ตอกหมายเลขเรียงลำดับกลุ่มตามแนวนอน
เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นให้ตอกตามแนวตั้งหรือตามความเหมาะสม
ข้อ ๙
เมื่อทำการตอกเลขแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
จัดทำทะเบียนคุมเลขตัวรถที่ตอกโดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถ ชนิดของรถ ตำแหน่ง วัน เดือน ปี ที่ตอกสาเหตุความจำเป็นในการตอกเลข
และลายมือชื่อผู้ตอกเลข รวมทั้งให้ลอกลายเลขที่ตอก
ติดไว้ในทะเบียนคุมและให้ผู้ตอกเลขลงลายมือชื่อกำกับไว้ที่ลายด้วย
(๒)
ลอกลายเลขที่ตอกติดไว้ในประวัติรถ และให้ผู้ตอกเลขลงลายมือชื่อกำกับไว้ที่ลาย พร้อมทั้งให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ
วัน เดือน ปี ตำแหน่งที่ตอก และสาเหตุความจำเป็นในการตอกเลขไว้ในประวัติรถด้วย
หมวด ๒
การกำหนดและตอกเลขเครื่องยนต์
ข้อ ๑๐
กรณีดังต่อไปนี้ ต้องกำหนดและตอกเลขเครื่องยนต์
(๑)
เครื่องยนต์สำหรับรถที่ไม่มีหมายเลขจากผู้ผลิต
ซึ่งเจ้าของมีหลักฐานการได้มาถูกต้องและได้มีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นเครื่องยนต์เดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ทั้งนี้ ถ้าพบร่องรอยการเจียรไส
เชื่อมทับ หรือโดยวิธีอื่น
ที่ผิวโลหะบริเวณตำแหน่งที่เป็นเลขเครื่องยนต์โดยน่าเชื่อว่ามีการทำลายเลขเดิม
ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการเขต
สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง
(๒)
รถที่เครื่องยนต์มีหมายเลขกำหนดไว้บนแผ่นโลหะ (plate) แต่ชำรุดลบเลือน
หรือสูญหายและเจ้าของรถได้มีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นเครื่องยนต์เดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
(๓)
รถที่เลขเครื่องยนต์ชำรุด ลบเลือน หรือถูกทำลายเนื่องจากสนิมกัดกร่อน
หรืออุบัติเหตุหรือด้วยเหตุอื่นใดโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
และได้มีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นเครื่องยนต์เดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นเครื่องยนต์เดิมของรถตามหลักฐาน
ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๔)
รถที่เจ้าของได้เปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่มีหมายเลข
โดยชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนใหม่ไม่มีหมายเลขซึ่งเจ้าของรถมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง
และได้มีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นเครื่องยนต์เดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน ทั้งนี้ ถ้าพบร่องรอยการเจียรไส เชื่อมทับ
หรือโดยวิธีอื่นที่ผิวโลหะบริเวณตำแหน่งที่เป็นเลขเครื่องยนต์
โดยน่าเชื่อว่ามีการทำลายเลขเดิม
ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐานหรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง
(๕)
รถที่ถูกโจรกรรมไปแล้วได้คืน และเลขเครื่องยนต์มีร่องรอยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือทำลายทั้งหมดหรือบางส่วน
โดยเจ้าของรถมีหลักฐานการรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนหรือศาล พร้อมทั้งมีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดิม
ให้ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน หรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง
(๖)
รถที่ได้มาจากการจำหน่ายของส่วนราชการ
หรือการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น กรมศุลกากร
หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
โดยมีหลักฐานการได้มาจากส่วนราชการนั้นถูกต้องแต่ไม่มีเลขเครื่องยนต์หรือมีแต่ถูกทำลายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
พร้อมทั้งได้มีบันทึกรับรองหรือให้ถ้อยคำว่าเป็นเครื่องยนต์ของรถคันเดียวกับที่ปรากฏตามหลักฐาน
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของเครื่องยนต์อาจขอให้ส่วนราชการที่จำหน่ายหรือขายทอดตลาดรถจัดส่งเอกสารรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
(๗)
รถที่มีเลขเครื่องยนต์ซ้ำซ้อนกับเลขเครื่องยนต์ของรถคันอื่น
หรือซ้ำซ้อนกับเลขเครื่องยนต์อื่นที่ได้ส่งบัญชีไว้ หรือเครื่องยนต์ที่ส่งบัญชีไว้มีหมายเลขซ้ำซ้อนกัน
ซึ่งการซ้ำซ้อนนั้นต้องปรากฏหลักฐานการจดทะเบียนรถหรือมีหลักฐานการได้มาถูกต้อง
ให้พิจารณากำหนดและตอกเลขเครื่องยนต์ให้กับรถคันที่จดทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนหรือเครื่องยนต์ที่ส่งบัญชีลำดับหลัง
ข้อ ๑๑
การกำหนดและตอกเลขเครื่องยนต์ ให้นำความในข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
สำหรับตัวเลขกลุ่มที่สองซึ่งเป็นเลขลำดับก่อนหลังที่ทำการตอกเลขเครื่องยนต์ในแต่ละปี
ให้กำหนดเป็นเลข ๒ หลัก ถ้าปีใดมีจำนวนเครื่องยนต์ที่ต้องตอกเกินกว่า ๒ หลัก
ลำดับที่เกิน ๒ หลักให้ตอกเป็นเลข ๔ หลัก
ข้อ ๑๒
การตอกเลขเครื่องยนต์ให้ใช้ตัวเลขอารบิคที่มีขนาด ๖ มิลลิเมตร
หรือขนาดใกล้เคียง และให้ตอกที่เสื้อสูบของเครื่องยนต์หรือตำแหน่งอื่นที่เหมาะสม
ให้นำความในข้อ ๘ (๒) และข้อ ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓
การอนุญาตให้กำหนดและตอกเลข
ข้อ ๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด
หรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
เป็นผู้อนุญาตให้กำหนดและตอกเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
ในกรณีที่สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ไม่สามารถกำหนดและตอกเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ได้
ให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
เป็นผู้ดำเนินการแทนได้ และเมื่อดำเนินการแล้วให้จัดทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ
วัน เดือน ปี และตำแหน่งที่ตอกเลข พร้อมทั้งลอกลายเลขที่ตอกส่งให้สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
เมื่อสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาได้รับบันทึกรายงานตามวรรคสองแล้ว
ให้จัดทำทะเบียนคุมการตอกเลขและบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ในทะเบียนและประวัติรถตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๙
ประกาศ ณ วันที่ ๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รหัสประจำจังหวัด
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๒๑/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ |
568387 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙
และระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการด้านทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗/๑ กรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งได้จัดให้มีการเอาประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสำหรับรถคันใดไว้แล้ว
ผู้ประกอบการขนส่งจะนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาใช้วางเป็นหลักทรัพย์ก็ได้
เมื่อนำมายื่นขอจดทะเบียนรถหรือขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องแนบหลักฐานการเอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุมาแสดงด้วย
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการด้านทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗/๒ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์อย่างอื่น
นอกจากหลักทรัพย์ตามข้อ ๗/๑ เมื่อมายื่นขอจดทะเบียนรถ
หรือขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถผู้ประกอบการขนส่งจะต้องแนบหลักฐานการเอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุมาแสดงด้วย
ข้อ
๕ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบกรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ประภาศรี/พิมพ์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๙/๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ |
568362 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
และระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการด้านทะเบียนและภาษีรถให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการชำระภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) หลักฐานการเอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.
๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
ข้อ ๔
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ประภาศรี/พิมพ์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๓๑/๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ |
568358 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการด้านทะเบียนและภาษีรถ
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ (๕.๒) แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการชำระภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) หลักฐานการเอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.
๒๕๓๕ โดยวันสิ้นสุดของระยะเวลาการเอาประกันภัยต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าหรือวันเดียวกันกับวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของปีถัดไป
ข้อ ๔
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ประภาศรี/พิมพ์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๑๗๐/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ |
454026 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2547 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการด้านทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗
กรณีที่ผู้ประกอบการการขนส่งขอวางหลักทรัพย์เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่ง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อมายื่นดำเนินการทางทะเบียนรถเกี่ยวกับการจดทะเบียนรถ
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถหรือการโอนรถที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการขนส่ง
ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ประกอบการขนส่งผู้รับโอนจะต้องแนบสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้นำมาใช้วางเป็นหลักทรัพย์
และผู้ประกอบการขนส่งต้องเอาประกันภัยความเสียหายแก่ชีวิตและร่างกายของบุคคลภายนอก
เนื่องจากการขนส่งโดยรถของตนที่ใช้ในการขนส่งแต่ละคันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีที่มีการนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยรวมของรถที่ใช้ในการขนส่งหลาย
ๆ คันมาแสดง
ให้นายทะเบียนผู้รับเป็นหลักทรัพย์ในครั้งแรกเป็นผู้บันทึกข้อความการรับหลักทรัพย์ไว้ในต้นฉบับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยต้นฉบับ
และรับรองสำเนาสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งที่ยังคงเหลืออยู่ของรถที่ใช้ในการขนส่งทุกคัน
เพื่อมอบให้ผู้ประกอบการขนส่งนั้นนำไปใช้สำหรับการดำเนินการทางทะเบียนสำหรับรถคันอื่น
ๆ ต่อไปด้วย
ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดมีเหตุผล
ความจำเป็นที่ไม่อาจนำต้นฉบับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยมาแสดงได้
เนื่องจากมีข้อบังคับต้องนำต้นฉบับไปประกอบหลักฐานในการเบิกจ่ายตามระบบบัญชีแล้ว
ก็ให้นำสำเนาคู่ฉบับมาแสดงแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีหนังสือยืนยันถึงเหตุผล
ความจำเป็นดังกล่าวมาด้วย
ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดไม่อาจนำต้นฉบับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยมาวางเป็นหลักทรัพย์ได้ในคราวเดียวกันกับการยื่นคำขอจดทะเบียนหรือต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ก็ให้นายทะเบียนใช้ดุลยพินิจรับเอกสารหลักฐานอื่นซึ่งแสดงให้เห็นหรือเชื่อได้ว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้จัดทำประกันภัยไว้แล้วจริงก่อนก็ได้ แต่ทั้งนี้
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งรายนั้นต้องมีบันทึกยืนยันหรือรับรองว่าจะนำต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนามาให้ในภายหลัง
แต่อย่างช้าต้องไม่เกินกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันยื่นคำขอ
ข้อ
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๗ ทวิ
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ ๗ ทวิ
กรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งได้จัดให้มีการประกันภัย
ตามกฎหมายว่าด้วยความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สำหรับรถคันใดไว้แล้ว
ผู้ประกอบการขนส่งจะนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาใช้วางเป็นหลักทรัพย์ก็ได้
ถ้าปรากฏว่าวันสิ้นสุดของการเอาประกันภัยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า
หรือวันเดียวกับวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของปีถัดไป
ในกรณีการขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ถ้าผู้ประกอบการขนส่งมิได้แนบหลักฐานการเอาประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบคำขอ และยืนยันว่าจะขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถไปก่อน
ก็ให้ดำเนินการได้ แต่ทั้งนี้
จะต้องมีเหตุผลและความจำเป็นและได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๗ ตรี
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการด้านทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ ๗ ตรี
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์อย่างอื่น นอกจากหลักทรัพย์ตามข้อ
๗ ทวิ เมื่อมายื่นขอดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ สำหรับในกรณีขอจดทะเบียนรถ
หรือขอต่ออายุทะเบียนและภาษีรถ ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องแนบหลักฐานการทำประกันภัย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งมีระยะเวลาการเอาประกันภัยสิ้นสุดไม่น้อยกว่าหรือวันเดียวกับวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของปีถัดไป
เช่นเดียวกับที่กำหนดในข้อ ๗ ทวิ ด้วย
ข้อ
๖ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
พรพิมล/พิมพ์
๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๘
ธัญกมล/พัชรินทร์/ตรวจ
๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๑๘๒/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ |
452856 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ
เพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบ
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักรเสียใหม่ให้เหมาะสม
เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง ตลอดจนประชาชนผู้ประสงค์จะขออนุญาตนำรถไปใช้ระหว่างประเทศยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๕
การยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร
ให้ยื่นได้ ดังนี้
(๑)
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่มีเขตพื้นที่ความรับผิดชอบติดกับต่างประเทศ
ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนในเขตพื้นที่นั้นหรือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบอื่น
(๒)
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
ข้อ
๓
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุภาพร/พิมพ์
๒๑ มีนาคม ๒๕๔๘
พัชรินทร์/ฐิติพงษ์/ตรวจ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๗๗
ง/หน้า ๗๓/๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
452854 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและ
เครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่าง
ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบ
ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้วนั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นคำขอรับหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศเสียใหม่ให้เหมาะสม
เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง
ตลอดจนประชาชนผู้ประสงค์จะขออนุญาตนำรถไปใช้ระหว่างประเทศยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบ
ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๔
การยื่นคำขอรับหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศตามระเบียบนี้
ให้ยื่นได้ ดังนี้
(๑)
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่มีเขตพื้นที่ความรับผิดชอบติดกับต่างประเทศ
ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนในเขตพื้นที่นั้นหรือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบอื่น
(๒)
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ (๔)
ของระเบียบ
ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔)
การออกใบแทนหนังสืออนุญาตกรณีชำรุดหรือสูญหายตามข้อ ๑๐
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสืออนุญาต เป็นเงิน ๓๐ บาท
ข้อ
๔
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุภาพร/พิมพ์
๑๘ มีนาคม ๒๕๔๘
พัชรินทร์/ฐิติพงษ์/ตรวจ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๗๗
ง/หน้า ๗๑/๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
452846 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๙ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการแจ้งหลักฐานทางทะเบียนรถสูญหายให้เหมาะสม
และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความใน (๖) ของข้อ ๑๑
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๖)
การจดทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นรถที่เคยจดทะเบียนแล้ว
หรือยังไม่เคยจดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ให้นายทะเบียนพิจารณากำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
ข้อ
๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๑
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ
๘/๑ ในกรณีหลักฐานทางทะเบียนรถ
หรือหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนที่ ๓ สูญหาย หรือมีเหตุใด ๆ ที่ไม่สามารถนำมาคืนได้
ให้ทำการบันทึกถ้อยคำผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐานแทน
เว้นแต่จะใช้หลักฐานการรับแจ้งความ
และสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ก็ให้ใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขอได้โดยอนุโลม
ข้อ
๖ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๓๑
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓)
ในกรณีหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนที่ ๓ สูญหาย
ให้จังหวัดต้นทางจัดทำหนังสือสอบถามจังหวัดปลายทางก่อนว่าได้รับย้ายรถคันดังกล่าวเข้าที่จังหวัดปลายทางแล้วหรือไม่
อย่างไร เมื่อได้รับหนังสือตอบจากจังหวัดปลายทางแล้วว่ายังไม่ได้รับย้ายเข้า
จึงให้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ต่อไปได้
ข้อ
๗ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๓๓ ข้อ
๓๘ และข้อ ๔๒ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ
๘ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของข้อ ๔๔
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ
๙ ให้ยกเลิกความใน (๑) (๒) และ (๓)
ของข้อ ๕๓ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑)
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย หรือถูกทำลาย
(๒)
หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถ ที่มาดำเนินการขอหลักฐานทางทะเบียนใหม่ทดแทน
ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุภาพร/พิมพ์
๑๘ มีนาคม ๒๕๔๘
พัชรินทร์/ฐิติพงษ์/ตรวจ
๒๒ เมษายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๗๗
ง/หน้า ๖๘/๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
446246 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่
เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ และข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ.
๒๕๔๗
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
(๒)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายปฏิบัติการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕
ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถใหม่และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต
ต้องผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ข้อ
๖ สำหรับผู้ที่มีหนังสือรับรองแสดงว่าได้ผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่กำหนดจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบก
หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรองหรือผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบตามโครงการพิเศษร่วมกับหน่วยงานอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่มีการเรียนการสอนขับรถแก่ทหารตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ให้ถือว่าผ่านการศึกษาอบรมและจบหลักสูตรตามระเบียบนี้แล้ว
ข้อ
๗
ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
ต้องปฏิบัติตนในระหว่างที่เข้ารับการศึกษาอบรมและทดสอบ ดังนี้
(๑)
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
(๒)
เข้าและออกจากห้องเรียนตรงตามเวลา
(๓)
ไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนผู้อื่นในขณะเรียนหรือทดสอบ
(๔)
ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ห้องเรียน
อุปกรณ์การเรียนการสอนหรือแบบทดสอบชำรุดเสียหาย
และหากเกิดความเสียหายจะด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ตาม ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
(๕)
แสดงกิริยาวาจาสุภาพ เรียบร้อย ให้เกียรติและไม่พูดจาเสียดสี ดูหมิ่น
ก้าวร้าวหรือรบกวนต่อผู้สอนหรือผู้ทดสอบ
(๖)
ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่ม หรือรับประทานอาหารในขณะเข้าเรียนและทดสอบ
(๗)
ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ
และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะเรียน
หรือมีอาการมึนเมาในขณะเรียนและทดสอบ
ผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ใด
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอนุหนึ่งอนุใดตามวรรคหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือผู้สอนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากห้องเรียนได้ทันที
แต่ในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม (๗)
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือผู้สอนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากห้องเรียนและให้หมดสิทธิเข้ารับการศึกษาอบรมและทดสอบในรุ่นนั้นได้
ข้อ
๘
ให้หน่วยงานในสังกัดกรมการขนส่งทางบกต่อไปนี้เป็นโรงเรียนการขนส่งและมีหน้าที่ความรับผิดชอบ
ดังนี้
(๑)
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับให้การศึกษาอบรมการขับรถตามหลักสูตรระยะยาว
และกำหนดหลักสูตรการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถทุกชนิด
ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดจนออกระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของโรงเรียนการขนส่ง
พร้อมทั้งให้ดำเนินการจัดทำและออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ผ่านหลักสูตรที่กำหนดเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอรับใบอนุญาตโดยไม่ต้องเข้ารับการทดสอบใด
ๆ อีก
(๒)
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
และสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขามีหน้าที่และความรับผิดชอบให้การศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถทุกชนิด
ทุกประเภท แล้วแต่กรณี
หมวด ๒
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้รับรถ
ส่วนที่ ๑
การศึกษาอบรม
ข้อ
๙
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ต้องผ่านการศึกษาอบรมจากโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
หรือโรงเรียนสอนขับรถเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบในการสอนขับรถ
หรือศึกษาอบรมวิชาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับรถจากกรมการขนส่งทางบกและต้องเป็นไปดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ ทดสอบขับรถที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน ๓,๕๐๐
กิโลกรัม ที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสารหรือขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน ๒๐ คน
(๒)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๒ ทดสอบขับรถที่มีน้ำหนักรวมเกิน ๓,๕๐๐
กิโลกรัม ที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสารหรือขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า ๒๐ คน
(๓)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓ ทดสอบขับรถลากจูงพร้อมรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วง
(๔)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔
ต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายและผ่านการทดสอบข้อเขียนตามเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อ
๑๐
หลักสูตรสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ให้เป็นไปดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒
วิชาที่ต้องศึกษาอบรม
ระยะเวลา
๑.
กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
๒.
กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา
๓.
เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย
๔.
หน้าที่ผู้ขับรถและการบำรุงรักษารถ
๕.
มนุษย์สัมพันธ์และมารยาทในการขับรถ
๖.
การส่งเสริมสุขภาพพลานามัย
๗.
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ
๘.
หัวใจของการบริการทางการขนส่ง
๙.
การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน
๑๒ ชั่วโมง
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓
วิชาที่ต้องศึกษาอบรม
ระยะเวลา
๑.
ความรู้เกี่ยวกับรถลากจูงและการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย
๓ ชั่วโมง
(๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔
วิชาที่ต้องศึกษาอบรม
ระยะเวลาอบรม
๑.
ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย
๒.
ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตรายและความรู้เกี่ยวกับหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย
๖ ชั่วโมง
ทั้งนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓
ต้องเข้ารับการศึกษาอบรมและผ่านหลักสูตรตาม (๑) และผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่
๔ ต้องเข้ารับการศึกษาอบรมและผ่านหลักสูตรตาม (๑) และ (๒) มาก่อนแล้ว
ข้อ ๑๑
หลักสูตรสำหรับการศึกษาอบรมผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถให้เป็นไปดังนี้
วิชาที่ต้องศึกษาอบรม
ระยะเวลา
การขับรถอย่างปลอดภัย
๒ ชั่วโมง
ส่วนที่ ๒
การทดสอบ
ข้อ ๑๒
ให้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและทดสอบสมรรถภาพร่างกายสำหรับการดำเนินการต่อไปนี้
(๑) การออกใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ทุกชนิด
(๒) การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกชนิด
ข้อ ๑๓
การทดสอบให้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
(๑) ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย
(๒) ทดสอบข้อเขียน
(๓) ทดสอบขับรถ
ส่วนที่ ๓
การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย
ข้อ ๑๔
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทและทุกชนิดต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายดังต่อไปนี้
(๑) การทดสอบปฏิกิริยา
(๒) การทดสอบสายตา
ข้อ ๑๕
การทดสอบปฏิกิริยา ให้ทดสอบความสามารถในการใช้เบรกเท้ารวม ๓ ครั้ง
หากสามารถเหยียบเบรกได้ในระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๐.๗๕ วินาที สองในสามครั้ง
ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ ในการนี้หากทดสอบ ๒ ครั้งแรกผ่านไม่ต้องทำการทดสอบครั้งที่
๓
ข้อ ๑๖
การทดสอบสายตา ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) การทดสอบสายตาทางกว้าง
ถ้าผู้เข้ารับการทดสอบสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุมกว้าง ๗๕ องศา
สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
(๒) การทดสอบสายตาทางลึก
ให้ทำการทดสอบการมองเห็นในระยะ ๒.๕๐ ๓.๕๐ เมตร รวม ๓ ครั้ง
หากผลการทดสอบห่างจุดที่กำหนดไม่เกินกว่า ๑ นิ้วสองในสามครั้ง
ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
(๓) การทดสอบสายตาบอดสี
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดูสีเขียว สีแดง และสีเหลือง
จากเครื่องทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือเห็นชอบโดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ห่างจากแผ่นภาพทดสอบในระดับสายตาในระยะไม่น้อยกว่า
๓ เมตร แล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบอ่านสีตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดสีละ ๓ ครั้ง
หากอ่านได้ถูกต้องสองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายผู้ใดไม่ผ่านการทดสอบ
ให้มีสิทธิทดสอบแก้ตัวใหม่เฉพาะส่วนที่ทดสอบไม่ผ่านได้อีกครั้งหนึ่งในวันนั้น
หากยังไม่ผ่านอีกให้มาทำการทดสอบแก้ตัวใหม่ในวันทำการถัดไป หรือวันอื่น ภายใน ๙๐
วัน นับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่านครั้งแรก หากพ้นกำหนด ๙๐ วัน
แล้วต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่
ส่วนที่ ๔
การทดสอบข้อเขียน
ข้อ ๑๘
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบข้อเขียนลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี
ที่เข้ารับการทดสอบในสมุดทะเบียนคุม
ข้อ ๑๙
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบข้อเขียนทดสอบความรู้วิชาต่าง ๆ
ที่กำหนดในหลักสูตรตามแบบทดสอบและวัดผลที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ ๗๕
ขึ้นไป จึงให้ถือว่าผ่านการทดสอบข้อเขียน
ข้อ ๒๐
กรณีผู้เข้ารับการทดสอบอ่านและเขียนหนังสือไม่ได้
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการทดสอบอ่านแบบทดสอบให้ผู้เข้ารับการทดสอบฟังแล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบตอบด้วยปากเปล่าและทำเครื่องหมายกากบาทลงในกระดาษคำตอบด้วยตนเอง
และให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการทดสอบบันทึกในกระดาษคำตอบว่า สอบปากเปล่า พร้อมทั้งลงนามกำกับไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้
เพื่อความเหมาะสมให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออื่น ๆ
มาใช้ดำเนินการทดสอบร่วมหรือแทนได้
ข้อ ๒๑
เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบให้รีบตรวจคำตอบและแจ้งผลการทดสอบให้ทราบโดยเร็ว
กรณีไม่ผ่านการทดสอบให้ทดสอบแก้ตัวได้อีกครั้งหนึ่งในวันนั้น
หากยังไม่ผ่านอีกให้มาทำการทดสอบแก้ตัวใหม่ในวันทำการถัดไป หรือวันอื่นภายใน ๙๐
วัน นับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่านครั้งแรก
เว้นแต่มีเหตุอันสมควรให้นายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาให้ทดสอบแก้ตัวก่อนระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวได้เป็นการเฉพาะราย
แล้วแต่กรณี หากพ้นกำหนด ๙๐ วัน ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตใหม่
ส่วนที่ ๕
การทดสอบขับรถ
ข้อ ๒๒
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบขับรถลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี
ที่เข้ารับการทดสอบในสมุดทะเบียนคุม
ข้อ ๒๓
ผู้เข้ารับการทดสอบขับรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
เว้นแต่เป็นรถที่มิได้มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๔
การทดสอบขับรถให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ผู้เข้ารับการทดสอบต้องทดสอบขับรถตามที่กำหนดไว้
สำหรับใบอนุญาตที่ขอรับแต่ละชนิด ดังนี้
(ก) ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑
ทดสอบขับรถด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน ๓,๕๐๐
กิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน ๒๐ คน
(ข) ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๒
ทดสอบขับรถด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๓,๕๐๐
กิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า ๒๐ คน
(ค) ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓
ทดสอบขับรถด้วยรถลากจูงพร้อมรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วง
ข้อ ๒๕
การทดสอบการขับรถให้ใช้ท่าทดสอบและหลักเกณฑ์วิธีการทดสอบและวัดผล ดังนี้
(๑) ท่าที่ใช้ในการทดสอบ
ท่าที่ ๑ การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ท่าที่ ๒ การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
ท่าที่ ๓
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ท่าที่
๔ การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
ท่าที่
๕ การกลับรถ
ท่าที่
๖ การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
การทดสอบขับรถให้ทดสอบรวม
๓ ท่า คือ ท่าที่ ๑ และท่าที่ ๒ เป็นท่าบังคับและเลือกทดสอบอีก ๑ ท่า
ตามความเหมาะสมของสนามทดสอบแต่ละแห่ง
การทดสอบขับรถลากจูงรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วง
ให้ทดสอบท่าที่ ๑ ท่าที่ ๒ และท่าที่ ๓
(๒)
หลักเกณฑ์และวิธีการวัดผลแต่ละท่าให้เป็นไป ดังนี้
ท่าที่
๑ การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การทดสอบท่านี้ผู้เข้ารับการทดสอบต้องขับรถเดินหน้าตั้งแต่เริ่มขับรถอย่างต่อเนื่องไปจนถึงจุดทดสอบที่กำหนดให้หยุดรถ
โดยให้หยุดรถได้เพียงครั้งเดียว ณ จุดที่กำหนดให้หยุดเท่านั้น
๑)
ด้านซ้ายของรถต้องขนานขอบทางและห่างจากขอบทางไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร
๒)
กันชนหน้าหรือล้อหน้าสุดหรือขอบล้อสำหรับรถที่ไม่มีกันชนหน้า ต้องไม่ล้ำเกินจุดหยุดรถข้างทางและต้องอยู่ห่างจากจุดหยุดรถนั้นไม่เกิน
๑ เมตร
๓)
ต้องไม่ขับรถปีนทางเท้าหรือขอบทาง
ท่าที่
๒ การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ให้เลือกทดสอบแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
แบบที่
๑
๑)
ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ในแนวตรงขนานกัน
๒ แถว มีความยาวประมาณ ๒๐ เมตร หลักแต่ละหลักในแถวเดียวกันมีระยะห่าง ๑.๕ เมตร
ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความกว้างสุดของตัวรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีก
๐.๕ เมตร
๒)
ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก
๓)
ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว
๔)
เครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
แบบที่
๒
๑)
ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๔ เมตร ยาว
๒๐ เมตร เป็นระยะคงที่ใช้กับรถทุกขนาด
๒)
ล้อรถต้องไม่ทับเส้น หรือไม่ชนหรือเบียดหลัก
๓)
ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว
๔)
เครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
ท่าที่
๓ การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
๑)
ให้ขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้ายซึ่งประกอบด้วยหลักไม่น้อยกว่า ๙ หลัก
เป็นช่องกว้างเท่ากับความกว้างของรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มข้างละ ๐.๕ เมตร
ความยาวของช่องจอดเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก ๔ เมตร สำหรับผู้ขับรถชนิดที่
๑ และ ๒ และบวกเพิ่มอีก ๖ เมตร สำหรับชนิดที่ ๓
๒)
ตั้งแต่เริ่มเข้าเกียร์ขับรถถอยหลังเข้าจอดจนกระทั่งขับรถเข้าช่องว่างด้านซ้ายต้องเข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน
๗ ครั้ง
๓)
ต้องไม่ชนหรือเบียดหลัก
๔)
ตัวรถต้องขนานกับขอบทางหรือหลักด้านซ้ายและล้อรถต้องไม่ทับเส้นแบ่งช่องทาง
ท่าที่
๔ การหยุดรถและออกรถบนทางลาด (สำหรับรถเกียร์ธรรมดาเท่านั้น)
๑)
ให้ขับรถขึ้นเนินหรือสะพานโค้งแล้วหยุดรถบนเชิงลาดของเนินหรือสะพานโค้งนั้น
โดยให้กันชนหน้าอยู่ที่จุดหยุดรถแล้วออกรถข้ามเนินหรือสะพานโค้งนั้นไปโดยปลอดภัย
๒)
ต้องไม่ขับรถในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นเหตุให้ตัวรถเคลื่อนถอยจากจุดที่หยุดเกินกว่า
๑ เมตร
ท่าที่
๕ การกลับรถ
๑)
ให้กลับรถในช่องทางเดินรถซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ขนานกัน ๒
แถวมีความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร หลักในแต่ละแถวห่างกัน ๔ เมตร
ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความยาวของรถบวกเพิ่มอีก ๖ เมตร
๒)
ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก
๓)
ตั้งแต่เริ่มขับรถเพื่อกลับรถจนกระทั่งกลับรถแล้วเสร็จ ต้องเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน ๗
ครั้ง
ท่าที่
๖ การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
๑)
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบขับรถจากจุดเริ่มต้นขับเดินหน้าเข้าไปในช่องจอดที่เป็นมุมฉาก
ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งเป็นแนวทดสอบ ๒ แถว ขนานกันเป็นช่องเดินรถกว้าง ๑๐ เมตร
ยาวประมาณ ๑๐ ๒๐ เมตร และหลักอีก ๒ แถว ที่ตั้งเป็นแนวช่องจอดที่เป็นมุมฉากกับช่องเดินรถที่มีความกว้างเท่ากับความกว้างของตัวรถรวมกับกระจกมองข้างบอกเพิ่มอีกข้างละ
๑ เมตร ความยาวเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก ๑ เมตร
๒)
ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก
๓)
ให้ขับรถเดินหน้าเข้าช่องจอดได้เพียงครั้งเดียว
๔)
ตัวรถต้องขนานกับขอบทางหรือหลักทั้งสองด้าน
ข้อ
๒๖
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบและให้แจ้งผลการทดสอบขับรถทันทีเมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ
กรณีผู้เข้ารับการทดสอบไม่ผ่านท่าทดสอบท่าใดให้ทดสอบแก้ตัวใหม่เฉพาะท่าที่ไม่ผ่าน
เมื่อพ้นกำหนด ๓ วัน นับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่าน แต่ไม่เกิน ๙๐ วัน
เว้นแต่มีเหตุอันสมควรให้นายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาให้ทดสอบแก้ตัวก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้เป็นการเฉพาะราย
แล้วแต่กรณี หากพ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่านครั้งแรก
ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่
ส่วนที่ ๖
การเปลี่ยนชนิดของใบอนุญาต
ข้อ
๒๗
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถอยู่แล้วประสงค์จะขอเปลี่ยนชนิดของใบอนุญาตให้สูงขึ้นจากเดิม
ต้องปฏิบัติดังนี้
ลำดับที่
ใบอนุญาตเดิม
เป็นชนิดที่
ต้องการเปลี่ยน
เป็นชนิดที่
การศึกษาอบรมภาคทฤษฎี
และทดสอบข้อเขียน
การทดสอบขับรถ
๑.
๑
๒
-
ขับรถตามชนิดที่ ๒
๒.
๑
๓
ความรู้เกี่ยวกับรถลากจูงและการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัยตามข้อ
๑๐ (๒)
ขับรถลากจูง
๓.
๑
๔
(๑)
ความรู้เกี่ยวกับรถลากจูงและการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัยตามข้อ ๑๐ (๒)
(๒)
ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และหลักการบรรทุกวัตถุอันตรายตามข้อ
๑๐ (๓)
ขับรถลากจูง
๔.
๒
๓
ความรู้เกี่ยวกับรถลากจูงและการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัยตามข้อ
๑๐ (๒)
ขับรถลากจูง
๕.
๒
๔
(๑)
ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูงและการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัยตามข้อ ๑๐ (๒)
(๒)
ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย
ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตรายและหลักการบรรทุกวัตถุอันตรายตามข้อ ๑๐ (๓)
ขับรถลากจูง
๖.
๓
๔
ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย
ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และหลักการบรรทุกวัตถุอันตรายตามข้อ ๑๐
(๓)
-
ส่วนที่ ๗
คณะกรรมการดำเนินการทดสอบและวิทยากร
ข้อ
๒๘
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด
และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ภายในสำนักงานจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ คน
เป็นคณะกรรมการในแต่ละคณะดำเนินการทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ดังนี้
(๑)
คณะกรรมการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบข้อเขียนและตรวจข้อสอบ
(๒)
คณะกรรมการทดสอบขับรถ
ในกรณีสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่มีเหตุจำเป็นเนื่องจากอัตรากำลังไม่เพียงพอให้แต่งตั้งหรือมอบหมายข้าราชการในสำนักงานบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพียงคนเดียวเป็นผู้ดำเนินการทดสอบได้
ข้อ
๒๙
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
ขนส่งจังหวัด หรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
แล้วแต่กรณี
มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสำนักงานเป็นวิทยากรสอนวิชาในหลักสูตรการศึกษาอบรมตามที่เห็นสมควรเว้นแต่จะพิจารณาว่าวิชาใดไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้เหมาะสม
ให้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาเป็นวิทยากรสอนได้ ทั้งนี้
โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสมนาคุณวิทยากรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้อ
๓๐
การบันทึกผลการทดสอบและลงนามในแบบบันทึกผลทดสอบให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทดสอบสมรรถภาพร่างกายและการทดสอบข้อเขียนให้กรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายบันทึกผลการทดสอบและลงนามในแบบบันทึกผลการทดสอบด้วย
(๒)
การทดสอบขับรถให้กรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายบันทึกผลการทดสอบพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการทดสอบไว้ในแบบบันทึกผลการทดสอบและลงนามในแบบบันทึกผลการทดสอบทุกท่าด้วย
แบบบันทึกผลการทดสอบให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
หมวด ๓
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถหน้าที่ผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้บริการ
ส่วนที่ ๑
การศึกษาอบรม
ข้อ
๓๑
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถหน้าที่ผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจและผู้บริการต้องผ่านการศึกษาอบรม และจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก ณ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี ตามหลักสูตรการศึกษาอบรม
ดังนี้
หลักสูตรผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถหน้าที่ผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้บริการ
ลำดับที่
วิชาที่ต้องศึกษาอบรม
ระยะเวลา
๑.
ความรู้ด้านปฏิบัติหน้าที่ผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้บริการ
๑ ชั่วโมง
๒.
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
๑ ชั่วโมง
๓.
ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์สำหรับผู้ประจำรถ
๑ ชั่วโมง
๔.
ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย
๑ ชั่วโมง
รวม
๔ ชั่วโมง
ส่วนที่ ๒
การทดสอบ
ข้อ
๓๒
ให้นำหลักเกณฑ์ในการศึกษาอบรมและทดสอบ
และการวัดผลที่ใช้กับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมาใช้บังคับแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ
หน้าที่ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจและผู้บริการ โดยอนุโลม
ข้อ
๓๓
สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถหน้าที่ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ
หรือผู้บริการชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว หากต้องการเปลี่ยนใบอนุญาตเป็นอีกชนิดหนึ่ง
(นายตรวจ หรือผู้เก็บค่าโดยสาร หรือผู้บริการ)
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด
แต่ต้องทำการทดสอบข้อเขียนตามชนิดของใบอนุญาตที่ขอใหม่นั้น
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
๒.
แบบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ศุภชัย/พิมพ์
๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ธัญกมล/ตรวจ
๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๘๖ ง/หน้า ๒๔/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
446244 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของพนักงานตรวจสภาพ พ.ศ. 2547 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของพนักงานตรวจสภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของพนักงานตรวจสภาพเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
และเพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของพนักงานตรวจสภาพ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของพนักงานตรวจสภาพ
พ.ศ. ๒๕๓๗
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การตรวจสภาพรถ
ข้อ
๕
ให้พนักงานตรวจสภาพประจำส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
สำนักงานขนส่งจังหวัด สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจสภาพรถในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ในกรณีที่พนักงานตรวจสภาพจะดำเนินการตรวจสภาพรถนอกเขตท้องที่ความรับผิดชอบของรถนั้นต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
หรือผู้ได้รับมอบหมายที่รถนั้นจะจดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้แล้ว แล้วแต่กรณีก่อน
ข้อ
๖
การตรวจสภาพรถแต่ละคันจะดำเนินการโดยพนักงานตรวจสภาพคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
ในการตรวจสภาพรถให้พนักงานตรวจสภาพผู้รับผิดชอบบันทึกผลการตรวจพร้อมทั้งลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย
ในกรณีที่ตรวจสภาพรถคันเดียวโดยพนักงานตรวจสภาพหลายคน
ให้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็นสัดส่วน
โดยให้แต่ละคนตรวจสภาพรถตามกลุ่มของรายการที่กำหนดไว้ในแบบบันทึกการตรวจรับรองสภาพรถ
พนักงานตรวจสภาพผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสภาพรถตามรายการในกลุ่มใดให้บันทึกผลการตรวจและลงลายมือชื่อกำกับไว้
การมอบหมายและจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจสภาพรถตามวรรคสาม
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
ข้อ
๗
เมื่อพนักงานตรวจสภาพได้รับเรื่องขอให้ตรวจสภาพรถแล้ว
ให้ดำเนินการโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องใด
ๆ ที่ไม่อาจจะดำเนินการได้ ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ
หรือผู้ควบคุมรถทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ
๘
หากรถที่นำมารับการตรวจสภาพจะต้องกำหนดรหัสตรวจสภาพรถ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดรหัสตรวจสภาพรถ
ข้อ
๙
การตรวจสภาพรถต้องตรวจตามรายการในแบบบันทึกการตรวจรับรองสภาพรถทุกรายการ
ในกรณีรถที่ตรวจสภาพเพื่อจดทะเบียนใหม่
ให้ชั่งน้ำหนักรถทุกคัน
ในกรณีรถที่ตรวจสภาพเพื่อต่ออายุทะเบียน
ไม่ต้องชั่งน้ำหนักรถ เว้นแต่เป็นรถที่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง
หรือเพิ่มเติมสภาพเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถนั้น
ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญที่เคยจดทะเบียนไว้ หรือในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการแก้ไข
เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมสภาพเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบอันเป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักรถเพิ่มขึ้นจากเดิม
หมวด ๒
การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๐
ในกรณีที่ตรวจสภาพรถคันเดียวโดยพนักงานตรวจสภาพคนเดียว ให้พนักงานตรวจสภาพนั้นเป็นผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
ในกรณีที่ตรวจสภาพรถคันเดียวโดยพนักงานตรวจสภาพหลายคนให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
(๑)
พนักงานตรวจสภาพซึ่งผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
หรือผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่มอบหมาย
สำหรับรถที่ตรวจสภาพในท้องที่ความรับผิดชอบ
(๒)
พนักงานตรวจสภาพซึ่งขนส่งจังหวัด หรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขามอบหมาย
สำหรับรถที่ตรวจสภาพในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและมาตรฐานการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
หมวด ๓
การทำเครื่องหมาย
ข้อ
๑๑ รถที่ผ่านการตรวจสภาพ
ให้จัดทำเครื่องหมายไว้ที่ตัวถังด้านนอกข้างซ้ายตอนท้ายของรถโดยพ่นสีขาว
หรือสีน้ำเงิน ให้ตัดกับสีตัวรถ ดังนี้
(๑)
รหัสตรวจสภาพรถ
(๒)
น้ำหนักรถ (นร.) น้ำหนักบรรทุก (นบ.) น้ำหนักลงเพลา (นพ.) น้ำหนักรวม (รวม)
จำนวนที่นั่ง (นั่ง) และจำนวนที่ยืน (ยืน) แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ไม่อาจจัดทำเครื่องหมายตาม
(๑) และ (๒) ในตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น
ให้จัดทำเครื่องหมายนั้นไว้ที่ตัวถังด้านนอกข้างซ้ายของรถในตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมได้
ข้อ
๑๒
สำหรับเครื่องหมายที่ต้องจัดทำตามข้อ ๑๑ (๒) ให้มีข้อความ ดังนี้
(๑)
รถบรรทุกทุกลักษณะยกเว้นรถกึ่งพ่วงและรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
นร. ............................... กก.
นบ. .............................. กก.
รวม .............................. กก.
(๒)
รถกึ่งพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
นร. ............................... กก.
นพ. .............................. กก.
(๓)
รถโดยสารทุกมาตรฐาน
นร. ............................... กก.
นั่ง ................................ คน
ยืน ............................... คน
(๔)
รถขนาดเล็ก
นร. ............................... กก.
นบ. .............................. กก.
รวม .............................. กก.
ข้อ
๑๓
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องตอกหมายเลขเครื่องยนต์ หรือหมายเลขตัวถังหรือโครงคัสซี
ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดและตอกหมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังหรือโครงคัสซี
หมวด ๔
การออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
และเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๔
รถที่ผ่านการตรวจสภาพและได้จัดทำเครื่องหมายตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพออกใบรับรองการตรวจสภาพรถให้
ในกรณีการตรวจสภาพรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
รถที่ผ่านการตรวจสภาพและจัดทำเครื่องหมายตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพออกใบรับรองการตรวจสภาพรถและเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถให้
ในกรณีการตรวจสภาพรถตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ให้พนักงานตรวจสภาพผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพออกเฉพาะเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถให้
ในกรณีการตรวจสภาพรถใหม่
รถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ และนำมาแจ้งใช้หรือรถที่เปลี่ยนประเภท
ให้ออกเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถ
ภายหลังจากที่ได้มีการจดทะเบียนรถหรือเปลี่ยนประเภทรถและได้หมายเลขทะเบียนรถแล้ว
ใบรับรองการตรวจสภาพและเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถต้องไม่มีการขูดลบ
หากมีการลงรายการในใบรับรองและเครื่องหมายรับรองดังกล่าวผิดพลาด ให้ขีดฆ่าแล้วให้พนักงานตรวจสภาพ
ผู้ออกใบรับรองและเครื่องหมายรับรองนั้นลงลายมือชื่อกำกับไว้
เครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถ
ให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก และให้พนักงานตรวจสภาพจัดทำสมุดคุมเครื่องหมายรับรองการตรวจสภาพรถไว้ด้วย
ข้อ
๑๕ รถคันใดที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
ให้พนักงานตรวจสภาพผู้วินิจฉัยผลบันทึกข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
และแจ้งข้อบกพร่องนั้นให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถหรือผู้ควบคุมรถนั้นทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ
๑๖ รถคันใดที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
หากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่อง
และนำมาขอรับการตรวจสภาพใหม่ ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่นำรถมาขอรับการตรวจสภาพใหม่ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพให้ตรวจสภาพเฉพาะรายการที่ต้องทำการแก้ไขเท่านั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัยหรือเป็นที่ปรากฏว่าได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในรายการหนึ่งรายการใดที่ได้ผ่านการตรวจสภาพไปแล้วในการตรวจครั้งแรก
ก็ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ
(๒)
ในกรณีที่นำรถมาขอรับการตรวจสภาพใหม่เกินกว่า ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพให้ทำการตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ
การตรวจสภาพรถตาม
(๑) และ (๒)
ให้ใช้แบบบันทึกการตรวจรับรองสภาพรถฉบับใหม่โดยให้แนบบันทึกการตรวจรับรองสภาพรถฉบับเดิมไว้กับเรื่องเดิมด้วย
หมวด ๕
การจัดทำประวัติรถและการรายงานผลการปฏิบัติงาน
ข้อ
๑๗ รถที่ได้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว
ให้จัดทำประวัติรถทุกคัน
ประวัติรถตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้เขียนและพนักงานตรวจสภาพผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย
ในกรณีที่มีการลงรายการในประวัติรถผิดพลาด
ให้ขีดฆ่าแล้วให้พนักงานตรวจสภาพรถผู้วินิจฉัยผลนั้นลงลายมือชื่อกำกับไว้
หรือจัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ
ข้อ
๑๘ ในการจัดทำประวัติรถตามข้อ ๑๗
ให้ถ่ายภาพตัวรถด้านนอกที่เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างซ้ายของรถติดไว้ด้วย
ในกรณีที่ประวัติรถมีภาพถ่ายแล้ว
แต่รถนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์
หรือส่วนควบเกี่ยวกับรูปร่างหรือตัวถังภายนอกให้ถ่ายภาพรถนั้นติดไว้เป็นการเพิ่มเติมด้วย
ข้อ
๑๙
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตรวจสภาพรถตามแบบรายงานสถิติการตรวจสภาพรถเป็นประจำทุกวันตามแบบที่แนบท้ายระเบียบนี้
การรายงานตามวรรคหนึ่ง
สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เสนอผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
หรือผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ แล้วแต่กรณี และสำหรับในเขตจังหวัดอื่น
ให้เสนอขนส่งจังหวัด หรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
หมวด ๖
การขอตรวจสภาพรถในเขตท้องที่อื่น
ข้อ
๒๐
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถซึ่งมีความจำเป็นและไม่สามารถนำรถมาตรวจสภาพในท้องที่ที่รถนั้นจะจดทะเบียน
หรือได้จดทะเบียนไว้ อาจยื่นคำขออนุญาตนำรถไปตรวจสภาพในเขตท้องที่อื่นก็ได้
ข้อ
๒๑ ในการยื่นคำขออนุญาตตามข้อ ๒๐
ผู้ยื่นคำขอต้องชี้แจงแสดงเหตุผลและความจำเป็นประกอบด้วย และให้ยื่นคำขอต่อบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑)
รถที่จะจดทะเบียนใหม่ ให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่รถนั้นจะจดทะเบียน แล้วแต่กรณี
(๒)
รถที่จะต่ออายุทะเบียนและเสียภาษีประจำปี
หรือรถที่ตรวจสภาพตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
ขนส่งจังหวัด หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ที่รถนั้นจดทะเบียนไว้ หรือ ณ ท้องที่ที่รถนั้นใช้งานอยู่ก็ได้
ข้อ
๒๒ การดำเนินการตามข้อ ๒๑ (๒)
ถ้าเป็นกรณีที่ยื่นคำขอ ณ ท้องที่ที่รถนั้นใช้งานอยู่
เมื่อผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
ขนส่งจังหวัด หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
แล้วแต่กรณี ได้อนุญาตแล้ว ให้มีบันทึกแจ้งขอสำเนาประวัติรถไปยังท้องที่ที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่
มาเพื่อประกอบการดำเนินการตรวจสภาพรถต่อไป
เมื่อท้องที่ที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่
ได้รับบันทึกขอสำเนาประวัติรถตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ดำเนินการจัดส่งสำเนาประวัติรถไปให้โดยไม่ชักช้า
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายงานผลการตรวจสภาพรถ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรพิมล/พิมพ์
๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
พัชรินทร์/อมราลักษณ์/ตรวจ
๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๑๔/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
442011 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้าง ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๙
สิงหาคม ๒๕๔๖ ไว้แล้ว นั้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและแบ่งเบาภาระในการชำระภาษีให้แก่เจ้าของรถที่ค้างชำระภาษียิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.
๒๕๔๖ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้าง ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
บรรดาระเบียบ คำสั่ง
หรือหนังสืออื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ภายใต้บังคับระเบียบนี้
๔.๑
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องมีชื่อปรากฏทางทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครองรถที่ค้างชำระภาษี จำนวน ๒๐ คันขึ้นไป
หรือมีภาษีค้างที่ต้องชำระเป็นจำนวนตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๔.๒
ต้องทำความตกลงและชำระภาษีค้างเป็นบางส่วนตามบันทึกความตกลงขอชำระภาษีค้างชำระไว้แล้ว
ข้อ ๕
ผู้ที่ประสงค์จะขอผ่อนชำระภาษีต้องยื่นเรื่องขอผ่อนชำระภาษีค้าง ณ
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
๕.๑
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีเป็นนิติบุคคล
๕.๒
หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
ข้อ ๖ ภาษีที่จะขอผ่อนชำระให้เฉลี่ยเป็นรายงวด ๓
เดือน
และผู้ขอผ่อนชำระภาษีต้องชำระค่าภาษีที่ค้างชำระงวดแรกในวันที่ทำความตกลงขอผ่อนชำระด้วย
ข้อ ๗
การผ่อนชำระภาษีแต่ละงวด ผู้ขอผ่อนชำระภาษีต้องจัดทำบัญชีรถที่ค้างชำระภาษี
ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแนบประกอบการดำเนินการพร้อมหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่ขอชำระภาษี
(ถ้ามี) และต้องชำระเงินค่าภาษีที่ค้างทั้งหมดเป็นรายคันให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว
ข้อ ๘
ผู้ขอผ่อนต้องชำระภาษีที่ค้าง ณ
หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
ข้อ ๙
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องขอผ่อนชำระภาษีค้างแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
๙.๑
จัดทำหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ จำนวน ๒ ฉบับ แยกเป็นต้นฉบับและสำเนา
และให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษีลงลายมือชื่อในหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ
๙.๒
ตรวจสอบจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระในงวดแรกตามบัญชีรถที่ขอชำระภาษีที่ผู้ขอผ่อนชำระแนบประกอบการดำเนินการ
๙.๓
จัดเก็บเงินค่าภาษีค้างงวดแรกและออกใบเสร็จรับเงิน
๙.๔
บันทึกรายการในต้นทะเบียนและหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
สำหรับรถที่ได้ชำระภาษีค้างครบถ้วน
๙.๕
นำเสนอนายทะเบียนลงนามในบัญชีรถที่ขอชำระภาษีและเอกสารตามข้อ ๙.๑ และ ๙.๔
๙.๖
จ่ายสำเนาหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ
พร้อมบัญชีรถที่ขอชำระภาษีและใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
ทั้งนี้
การกำหนดจำนวนงวดและจำนวนเงินที่ขอผ่อนชำระแต่ละงวด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๑๐
ข้อ ๑๐
การกำหนดจำนวนงวดที่จะผ่อนชำระและจำนวนเงินที่จะผ่อนชำระแต่ละงวด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑๐.๑
ให้กำหนดงวดที่ผ่อนชำระเป็นงวดราย ๓ เดือน และระยะเวลาการผ่อนชำระ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
จำนวนเงินภาษีค้าง
ระยะเวลาสูงสุด
ไม่เกิน
๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน
๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน
๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน
๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เกินกว่า
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๕ปี
๖ ปี
๗ ปี
๘ ปี
๙ ปี
๑๐ ปี
๑๐.๒
จำนวนเงินที่จะผ่อนชำระแต่ละงวด
ให้นำจำนวนเงินภาษีค้างที่ต้องชำระไปเฉลี่ยตามระยะเวลาการผ่อนชำระตามข้อ ๑๐.๑ ทั้งนี้
จำนวนเงินที่จะต้องชำระแต่ละงวดต้องไม่ต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท
เว้นแต่งวดสุดท้ายจำนวนเงินอาจจะต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท ได้
ข้อ ๑๑
ถ้าผู้ขอผ่อนผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่ ๒ งวดขึ้นไป
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีหมดสิทธิผ่อนชำระและต้องชำระภาษีที่ค้างอยู่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน
เว้นแต่ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะได้นำเงินงวดที่ผิดนัดทั้งหมดพร้อมกับงวดปัจจุบันมาชำระต่อนายทะเบียน
ณ หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบและจะต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลตามข้อ
๑๓ จึงจะผ่อนชำระภาษีต่อไปได้
ข้อ ๑๒
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่ ๒ งวดขึ้นไป
หรือผิดนัดไม่ผ่อนชำระงวดสุดท้ายเป็นเวลาเกิน ๓ เดือนขึ้นไป
ให้นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับดำเนินการทางทะเบียนใด ๆ เกี่ยวกับรถคันที่ผู้ขอผ่อนชำระภาษียังมิได้ชำระภาษีที่ค้างครบถ้วน
เว้นแต่การแจ้งเลิกใช้รถจนกว่าจะได้ชำระภาษีงวดที่ค้างชำระหรือภาษีงวดสุดท้ายครบถ้วนแล้ว
ข้อ ๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
ผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด
และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
มีอำนาจพิจารณาการกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องชำระแต่ละงวดต่ำกว่าที่กำหนดในข้อ ๑๐.๒
แต่ต้องไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาทและการอนุญาตตามข้อ ๑๑ ได้
ข้อ ๑๔
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ดลธี/พิมพ์
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๔๒/๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ |
441136 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
พ.ศ.
๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ผู้ฝึกสอนขับรถ
หมายถึง ผู้ทำการสอน การอบรม และฝึกหัดขับรถทุกประเภททั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ผู้อนุญาต
หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด
๑
การขอรับอนุญาตและการอนุญาต
ข้อ ๖
ผู้ใดประสงค์จะขอรับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ ณ
ที่ใดให้ยื่นคำขอได้ที่ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการสอนขับรถยนต์
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๗
ผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(๑)
มีความรู้ความสามารถตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๒)
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
(๓)
ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ
(๔) ไม่เป็นผู้ติดสุรา
ยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(๕)
ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักใช้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
(๖)
ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุก
โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับการใช้รถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ
ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์
ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ความผิดฐานยักยอก ความผิดฐานรับของโจร และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
หรือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(๗)
มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
ข้อ ๘
ให้ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง
แล้วแต่กรณี
(๒)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่
หรือหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักรของผู้ยื่นคำขอ
(๓)
ใบรับรองแพทย์ที่รับรองว่าผู้ขออนุญาตไม่เป็นผู้มีโรคประจำตัวอันอาจจะเป็นอันตรายในขณะขับรถ
หรือโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เป็นผู้ติดสุรา
ยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(๔)
ภาพถ่ายหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถตามประเภทหรือชนิดที่ขอรับอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า
๓ ปี ในขณะยื่นคำขอ
(๕) รูปถ่ายขนาด ๓ x
๔ เซนติเมตร จำนวน ๓ รูป เป็นรูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ
เว้นแต่บุคคลซึ่งจำต้องสวมหมวกหรือโพกผ้าตามลัทธิศาสนาของตน
และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
(๖)
ภาพถ่ายแสดงวุฒิการศึกษา
ข้อ ๙ ใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ แบ่งออกเป็น ๔
ประเภท ดังนี้
(๑)
ประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
(๒)
ประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถยนต์
(๓)
ประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถจักรยานยนต์
(๔)
ประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถอื่นๆ ตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำหนด
ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถประเภท
๑ ให้ใช้แทนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถประเภท ๒ ได้
ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถให้เป็นไปตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๐ ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถตามข้อ ๙
ต้องผ่านการอบรมและทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก
หลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถให้มีอายุ ๕ ปี
นับแต่วันออกใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถ
ให้ยื่นคำขอ ณ
สำนักงานที่ออกใบอนุญาตพร้อมด้วยสำเนาใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถหรือใบแทน
ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
ข้อ ๑๒ ในกรณีใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถพร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของสถานีตำรวจ
หรือใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถที่ชำรุดนั้น ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว
หมวด
๒
ข้อปฏิบัติของผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถจะต้องแสดงใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถตลอดเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่
ข้อ ๑๔
ในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้อง
(๑)
แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๒)
ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว
รบกวนหรือเหยียดหยามผู้หนึ่งผู้ใด
หรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะที่ไม่สมควรหรือไม่สุภาพ
(๓)
ไม่เสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
(๔)
ไม่เสพยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(๕)
ไม่สอนขับรถในขณะที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ
(๖)
ไม่บรรทุกผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปด้วยในการฝึกหัดขับรถ
(๗) ไม่กระทำการใดๆ
อันเป็นการละทิ้งหน้าที่การสอนโดยไม่มีเหตุอันควร
ข้อ ๑๕
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องลงนามรับรองรายงานการสอนรายงานการทดสอบและหนังสือรับรองการเรียนของผู้เรียนทุกคน
ข้อ ๑๖
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องไม่เรียก รับ เงินหรือทรัพย์สินใดๆ
จากผู้เรียน
เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใดให้ผิดไปจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ
ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้และระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๑๗
ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนขับรถเสพสุราหรือเสพสารเสพติดอื่นใด
ผู้นั้นต้องยินยอมเข้ารับการตรวจจากสถานพยาบาลตามคำสั่งของผู้อนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง
หมวด
๓
การตักเตือน
พักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๑๘
เมื่อความปรากฏภายหลังว่าผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถขาดคุณสมบัติตามข้อ
๗ ให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถนั้น
ข้อ ๑๙
ผู้ฝึกสอนขับรถที่ไม่ยินยอมเข้ารับการตรวจตามข้อ ๑๗
หรือผลการตรวจปรากฏว่าผู้นั้นเสพสุราหรือมีสารเสพติดในร่างกาย
ให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถนั้น
ข้อ ๒๐
ในกรณีตรวจสอบพบว่าใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถสิ้นอายุ
ให้ผู้อนุญาตสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนนั้นจนกว่าจะได้มีการต่ออายุใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถแล้ว
ข้อ ๒๑
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๓
ข้อ ๑๔ (๑) (๕) (๖) และ (๗) หรือข้อ ๑๕ ให้ผู้อนุญาตตักเตือนเป็นหนังสือ
และหากผู้นั้นกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันซ้ำอีกให้ผู้อนุญาตพักใช้ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนมีกำหนด
๑ เดือน
ข้อ ๒๒
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๔
(๒) (๓) และ (๔) ให้ผู้อนุญาตพักใช้ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนมีกำหนด ๓ เดือน
และหากผู้นั้นกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันซ้ำอีกให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ข้อ ๒๓
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดลงนามในหนังสือรับรองผลการเรียนหรือรายงานการเรียนการสอน
หรือรายงานการทดสอบวัดผลเป็นเท็จให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถนั้น
ข้อ ๒๔
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถผู้ใดทำการสอนขับรถในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ใบอนุญาตของตนให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถนั้น
ข้อ ๒๕
ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถที่ถูกพักใช้
หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตผู้ฝึกสอนขับรถ ต้องส่งคืนใบอนุญาตนั้นภายใน ๗ วัน
นับแต่วันรับทราบคำสั่ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
พรพิมล/พิมพ์
๙
กันยายน ๒๕๔๗
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๒๑
กันยายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๗๗ง/๔๒/๑๕
กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
441134 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ.
๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ ข้อ ๕ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙
แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขสำหรับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
ผู้ออกหนังสือรับรอง
หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสำหรับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตกรุงเทพมหานคร
และขนส่งจังหวัด สำหรับการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ข้อ ๕ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การยื่นคำขอดำเนินการใดๆ
เกี่ยวกับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามระเบียบนี้ให้ยื่น ดังนี้
(๑)
โรงเรียนสอนขับรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการสอนขับรถยนต์ สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
กรมการขนส่งทางบก
(๒)
โรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการสอนขับรถยนต์
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นตั้งอยู่
ให้ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการสอนขับรถยนต์
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยที่ได้รับคำขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถในเขตจังหวัดอื่น
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานพร้อมกับจัดเก็บค่าธรรมเนียมและส่งเรื่องให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถนั้นจะจัดตั้งดำเนินการต่อไป
ข้อ ๗
โรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกที่จะขอให้รับรองต้องเป็นไป
ดังนี้
(๑)
อาคารสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ทำการ ต้องประกอบด้วยห้องเรียนภาคทฤษฎีซึ่งมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า
๓๐ ตารางเมตร และมีสภาพเหมาะสมแก่การเรียนการสอน
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่มีเสียงดังจนเป็นที่รบกวนต่อการเรียนการสอน
ห้องทำการและห้องสุขา
(๒)
มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๓) มีหลักสูตรการสอน
การอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
และการวัดผลไม่ต่ำกว่าหลักสูตรมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
(๔)
ผู้ฝึกสอนขับรถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนจากกรมการขนส่งทางบก
(๕)
มีรถยนต์สำหรับใช้ในการฝึกหัดขับตามประเภทหลักสูตรที่ได้รับการรับรองและต้องจัดให้มีรถฝึกหัดขับที่มีคันบังคับคู่อย่างน้อย
๑ คัน ซึ่งรถนั้นต้องใช้การได้ดีมีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีอุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๖) สนามฝึกหัดขับรถ
ตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๗ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร
ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชัน
ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้งเก้าสิบองศา วงเวียน สะพาน
(ข)
บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย
การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
การถอยหลังเพื่อกลับรถ การฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล
(ค)
เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง)
ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕ ตารางเมตร
ข้อ ๘ โรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถยนต์
ที่จะขอให้รับรองต้องเป็นไป ดังนี้
(๑)
มีหลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
(๒)
มีรถยนต์สำหรับใช้ในการฝึกหัดขับรถที่ใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
และเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๓) สนามฝึกหัดขับรถ
ตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร
ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชัน
ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้งเก้าสิบองศา วงเวียน สะพาน
(ข)
บริเวณฝึกหัดการเบรก การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้าย
การขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างทางตรง ๙๐ องศา การกลับรถทางแคบ
การหยุดรถและออกรถบนทางลาด การถอยหลังเพื่อกลับรถในช่องว่าง
การฝึกหัดขับรถคอร์สรูปตัวแอล
(ค)
เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง)
ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕ ตารางเมตร
ข้อ ๙
โรงเรียนสอนขับรถหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์ ที่จะขอให้รับรองต้องเป็น
ดังนี้
(๑)
มีหลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
(๒)
มีรถจักรยานยนต์สำหรับใช้ในการฝึกหัดขับรถที่ใช้การได้ดี มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
และเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
(๓) สนามฝึกหัดขับรถ
ตามแบบแปลนแผนผังมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
ซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๓๐๐ เมตร
ภายในสนามประกอบด้วย
(ก) ทางลาดชัน
ทางร่วมทางแยก ทางโค้งรูปตัวเอส ทางโค้งเก้าสิบองศา วงเวียน สะพาน
(ข)
บริเวณฝึกหัดการเบรก การทรงตัวบนไม้กระดาน การฝึกขับคอร์สรูปตัวแอล การฝึกขับคอร์สเลขแปด
การควบคุมคันเร่งและความคล่องตัว การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(ค)
เครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามลักษณะของสนามฝึกหัดขับรถ
(ง) ศาลาที่พักระหว่างฝึกหัดขับรถที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า
๑๕ ตารางเมตร
หมวด
๒
การรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๐
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ให้ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานดังนี้
(๑)
กรณีผู้ขอรับหนังสือรับรองเป็นบุคคลธรรมดา
(ก)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือภาพถ่ายบัตรสำคัญอย่างอื่นที่ทางราชการออกให้
(ข)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค)
หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ของโรงเรียนสอนขับรถ
(ง)
แผนที่แสดงที่ตั้งโรงเรียนสอนขับรถ และแบบแปลนแผนผังอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
ตลอดจนสนามฝึกหัดขับรถ
(จ)
หลักสูตรและเนื้อหาประกอบการสอนโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้การศึกษา อบรม
และฝึกหัดขับรถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
และการวัดผลตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(ฉ)
ระเบียบการหรือข้อกำหนดของโรงเรียนสอนขับรถเกี่ยวกับการเปิดดำเนินการจำนวนผู้ที่จะเข้ารับการศึกษา
วิธีการรับผู้เข้าศึกษา
อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
(๒)
กรณีผู้ขอรับหนังสือรับรองเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก)
รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง)
ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอสองรอยตรา (ถ้ามี)
(จ) เอกสารประกอบตาม
(ค) (ง) (จ) (ฉ) ของ (๑)
(๓)
กรณีผู้ขอรับหนังสือรับรองเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ข)
สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ค)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ง) เอกสารประกอบตาม
(ค) (ง) (จ) (ฉ) ของ (๑)
ข้อ ๑๑
เมื่อได้รับคำขอและตรวจสอบเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอพร้อมกับออกใบรับให้ และให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบและพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องเหมาะสมของแผนที่แสดงที่ตั้งแบบแปลนแผนผังอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
สนามฝึกหัดขับรถ หลักสูตรการสอน ระเบียบการหรือข้อกำหนดของโรงเรียนสอนขับรถ
(๒)
รวบรวมข้อมูลที่ได้และดำเนินการ ดังนี้
(ก)
ในกรณีโรงเรียนสอนขับรถที่ขอรับรองนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ให้ดำเนินการออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ขอโดยไม่ชักช้า
(ข)
ในกรณีมีหลักเกณฑ์เกินกว่าหรือผิดไปจากหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ให้พิจารณาสรุปผลพร้อมเสนอความเห็นส่งให้คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกแต่งตั้งพิจารณา
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร
และให้ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการสอนขับรถยนต์ สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
(๑)
กรณีเห็นด้วยกับความเห็นคณะกรรมการ ให้ดำเนินการตามความเห็นและแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒)
กรณีไม่เห็นด้วยกับความเห็นคณะกรรมการ
ให้นำเสนอผู้ออกหนังสือรับรองพิจารณาผลเป็นประการใดให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ ๑๓
กรณีผู้ยื่นคำขอยังไม่มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ สนามฝึกหัดขับรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
ตลอดจนรถที่สำหรับฝึกหัดขับ หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วน
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองพิจารณาอนุญาตในหลักการโดยกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
ในกรณีไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคำขอแสดงเหตุผลอันสมควรเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปได้อีก
๑ คราว แต่ไม่เกิน ๑๘๐ วัน
แต่หากยังไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาดังกล่าวได้
ให้ถือว่าการอนุญาตในหลักการนั้นสิ้นผลไปแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ขอนั้นที่จะยื่นคำขอให้รับรองใหม่
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับแจ้งจากผู้ซึ่งได้รับอนุญาตในหลักการตามข้อ
๑๓ ว่าได้ดำเนินการจัดเตรียมอาคารสถานที่ สนามฝึกหัดขับรถ
อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนรถที่สำหรับฝึกหัดขับครบถ้วนแล้ว
ให้ทำการตรวจสอบหากถูกต้องตามหลักการที่ได้รับอนุญาตให้ออกหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถให้แก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
ข้อ ๑๕
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถจัดส่งสำเนาหนังสือรับรองพร้อมทั้งสำเนาเรื่องเดิมเกี่ยวกับการขอรับรับรองโรงเรียนสอนขับรถและการเปลี่ยนแปลงอื่นส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
หมวด
๓
การต่ออายุหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๖
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ประสงค์จะขอต่ออายุให้ยื่นคำขอ ณ
ที่ทำการที่ออกหนังสือรับรอง
พร้อมด้วยสำเนาหนังสือรับรองหรือใบแทนก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุไม่น้อยกว่า
๖๐ วัน
ข้อ ๑๗ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารตามข้อ ๑๖ แล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมพร้อมกับออกใบรับให้และให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบประวัติการดำเนินการที่ผ่านมา
(ก)
กรณีไม่พบข้อมูลการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนข้อปฏิบัติต่างๆ
หรือถูกระงับใช้หนังสือรับรอง ให้ดำเนินการต่ออายุหนังสือรับรองต่อไปได้
(ข)
กรณีพบข้อมูลการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนข้อปฏิบัติต่างๆ
หรือถูกระงับใช้หนังสือรับรองให้ระงับการต่ออายุหนังสือรับรองนั้นไว้จนกว่าการกระทำผิดหรือการฝ่าฝืนข้อปฏิบัติต่างๆ
ได้สิ้นไปหรือได้รับการแก้ไขแล้ว
หรือระยะเวลาการระงับใช้หนังสือรับรองได้ล่วงพ้นไปแล้ว
จึงจะดำเนินการต่ออายุหนังสือรับรองต่อไปได้
(๒)
ในกรณีที่ไม่สามารถต่ออายุหนังสือรับรองให้ได้
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่หนังสือรับรองนั้นจะสิ้นอายุ
หมวด
๔
ข้อปฏิบัติของโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
จัดให้มีการเรียนการสอน การอบรมตามหลักสูตรในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักสูตรมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก
หรือที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
(๒)
จัดให้มีผู้ฝึกสอนขับรถตามประเภทโรงเรียนที่ได้รับการรับรอง
ซึ่งผู้ฝึกสอนขับรถนั้นต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๓) จัดแสดงหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถหรือใบแทนหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถไว้ในที่เปิดเผย
สามารถมองเห็นได้ง่ายภายในบริเวณโรงเรียนสอนขับรถ
(๔)
จัดให้มีการทดสอบร่างกายเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก่อนการรับสมัคร
(๕)
จัดให้มีการทดสอบผู้เรียนในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักสูตรมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะได้รับใบอนุญาตขับรถก่อนที่จะมีการออกหนังสือรับรองผลการเรียน
(๖)
จัดทำหนังสือรับรองผลการเรียน เพื่อใช้เป็นหลักฐานการขอรับใบอนุญาตขับรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(๗)
จัดทำรายงานการรับสมัครผู้เรียน ประวัติผู้เรียน
บันทึกการเรียนการสอนและผลการทดสอบของผู้เรียนทุกคน
จัดเก็บไว้ที่สำนักงานที่ทำการและให้จัดทำเป็นรายงานประจำเดือนตามแบบที่กำหนดส่งให้กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
กรณีผู้เรียนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ให้จัดทำรายงานตามแบบในวรรคหนึ่งส่งไปยังกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้เรียนนั้นมีภูมิลำเนาด้วย
การส่งรายงานประจำเดือนจะจัดส่งโดยทางสื่ออิเลคทรอนิคส์หรือโดยวิธีใดตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก็ได้
(๘)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
(๙)
จัดส่งบัญชีรถฝึกหัดขับ
และบัญชีรายชื่อผู้ฝึกสอนขับรถพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอน
ให้กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดแล้วแต่กรณี เห็นชอบก่อนดำเนินการสอน
(๑๐)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ
ตามที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๑๙
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมรายละเอียดหลักสูตรการสอนและการอบรม
อัตราค่าธรรมเนียม ระเบียบการหรือข้อกำหนดของโรงเรียน หรือเรื่องใดๆ
ให้แตกต่างไปจากที่ได้รับการรับรอง เช่น การย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียน อาคารเรียน
สนามฝึกหัดขับรถ
ให้ยื่นคำขอเพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข และให้นำความในข้อ
๑๑ (๑) (๒) และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๐
เมื่อผู้ได้รับหนังสือรับรองถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวถูกยกเลิกหนังสือรับรอง
เลิกดำเนินกิจการ หรือลดประเภทหลักสูตรการสอน
เป็นเหตุให้ผู้เรียนไม่ได้รับการศึกษาอบรมต่อเนื่องจนจบหลักสูตร
ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องจัดให้ผู้เรียนนั้นเข้าเรียนต่อเนื่องในโรงเรียนสอนขับรถที่มีมาตรฐานเดียวกันโดยความยินยอมของผู้เข้ารับการศึกษาภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
หมวด
๕
การวาง
เปลี่ยนแปลง คืน และเบิกจ่ายหลักทรัพย์
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องวางหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศ
หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยชนิดที่ขายคืนได้ก่อนครบกำหนดชำระเงินต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันก็ได้
ในกรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองนำพันธบัตรมาวางเป็นหลักทรัพย์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรนั้นให้แก่กรมการขนส่งทางบกด้วย
จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง
ให้อธิบดีประกาศกำหนดตามประเภทหลักสูตรการสอนขับรถและจำนวนผู้เข้าเรียน
ข้อ ๒๒
ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องยื่นขอวางหลักทรัพย์พร้อมด้วยหลักทรัพย์ภายใน ๑๕
วัน นับแต่วันออกหนังสือรับรอง แต่ทั้งนี้ ต้องก่อนเปิดดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ
ในกรณีได้วางหลักทรัพย์ไว้แล้ว
และต่อมาประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ที่วาง
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองยื่นขอพร้อมด้วยหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะนำมาวางแทนหลักทรัพย์เดิม
ข้อ ๒๓ การเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตรให้ลงบัญชีและจัดทำทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
และเก็บรักษาพันธบัตรไว้ในตู้นิรภัย ณ ฝ่ายการเงินและบัญชี กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ในกรณีหลักทรัพย์เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารได้จัดเก็บรักษารวมไว้ในเรื่องการดำเนินการขอรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
หรือแยกจัดเก็บไว้ต่างหากเพื่อป้องกันการสูญหายและให้สามารถค้นหาได้ง่าย
ข้อ ๒๔ การคืนหลักทรัพย์ให้กระทำได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ออกหนังสือรับรองสั่งเพิกถอนหนังสือรับรอง
(๒)
ผู้ได้รับหนังสือรับรองแจ้งเลิกดำเนินการโรงเรียนสอนขับรถ ตามข้อ ๑๙
แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒๕
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่มีความประสงค์จะขอคืนหลักทรัพย์
ให้ยื่นขอพร้อมหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ถ้ากรณีหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์สูญหายให้นำหลักฐานการแจ้งความของสถานีตำรวจมาแสดง
ข้อ ๒๖
การเบิกจ่ายหลักทรัพย์ให้กระทำได้ในกรณีนำไปใช้จ่ายในการจัดการศึกษา อบรม
และฝึกหัดขับรถให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่ยังไม่จบหลักสูตร
ในกรณีที่หลักทรัพย์มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง
ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดไว้
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ข้อ ๒๗
ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยหรือผู้ได้รับมอบหมาย
และขนส่งจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
และพิจารณาตรวจสอบการขอคืนหลักทรัพย์
ข้อ ๒๘
ดอกผลอันเกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตรให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองรับจากผู้ออกพันธบัตรโดยตรง
ข้อ ๒๙ ให้หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
ในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ กรมการขนส่งทางบก
ขนส่งจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในกรณีการวางหลักทรัพย์ ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัด รับผิดชอบในการดำเนินการสำหรับหลักทรัพย์นั้น ดังนี้
(๑)
การรับหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตร
(๒)
การจัดทำและลงรายการในบัญชีและทะเบียนคุมหลักทรัพย์ตามระบบบัญชีของส่วนราชการ
(๓) การเบิกจ่าย
คืนหลักทรัพย์
(๔)
จัดให้ผู้รับวางหลักทรัพย์ลงนามเป็นหลักฐานแสดงการได้รับหลักทรัพย์ไว้ในทะเบียนคุมหลักทรัพย์
หมวด
๖
การตักเตือน
การระงับใช้หนังสือรับรอง และการยกเลิกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓๐
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ดำเนินการสอนและการอบรมไม่เป็นไปตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือที่ได้รับความเห็นชอบหรืออนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนเข้าสอนในโรงเรียนสอนขับรถของตน
หรือไม่จัดให้มีการทดสอบก่อนการรับสมัคร หรือการทดสอบเพื่อวัดผลการเรียนตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือตามที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๖ เดือน
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดถูกระงับใช้หนังสือรับรองชั่วคราวเป็นจำนวน
๒ ครั้ง ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
ข้อ ๓๑
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดไม่จัดทำรายงานการรับสมัครนักเรียน
ประวัตินักเรียน ประวัติการเรียนการสอน ผลการทดสอบ และหนังสือรับรองการเรียน
หรือจัดทำแต่ไม่ครบถ้วน ให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจตักเตือนเป็นหนังสือ
ในกรณีมีการตักเตือนผู้ได้รับหนังสือรับรองในความผิดเดียวกันเป็นจำนวน ๓ ครั้ง
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๓ เดือน
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งในความผิดเดียวกันอีกภายหลังจากถูกคำสั่งระงับใช้หนังสือรับรองชั่วคราว
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
ข้อ ๓๒
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ไม่แสดงหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถหรือใบแทนหนังสือรับรองตามที่กำหนด
หรือไม่จัดส่งรายงานประจำเดือนตามข้อ ๑๘ (๗)
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือ
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งในความผิดเดียวกันอีก
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๑ เดือน
ข้อ ๓๓
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดจัดทำหนังสือรับรองผลการเรียนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอรับใบอนุญาตขับรถอันเป็นเท็จ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
ข้อ ๓๔
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดเปิดหรือจัดให้มีการสอนขับรถหลังจากที่หนังสือรับรองสิ้นอายุและไม่อยู่ระหว่างดำเนินการขอต่ออายุหนังสือรับรอง
หรืออยู่ในระหว่างถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว หรือถูกยกเลิกการรับรองหรือไม่จัดให้ผู้เรียนได้เข้าเรียนต่อเนื่องตามข้อ
๒๐
ให้ผู้นั้นเป็นผู้ถูกตัดสิทธิการขอรับการรับรองโรงเรียนสอนขับรถจากกรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๓๕
ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่เปิดสอนขับรถในระหว่างถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
ข้อ ๓๖
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๑ เดือน
และหากกระทำความผิดเดียวกันซ้ำอีกให้ผู้ออกหนังสือรับรองสั่งยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถนั้น
ข้อ ๓๗
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
หรือมีอุปกรณ์และส่วนควบไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกมาใช้ในการฝึกหัดขับรถ
ให้ผู้ออกหนังสือรับรองตักเตือนเป็นหนังสือ และหากกระทำความผิดเดียวกันซ้ำอีกให้ผู้ออกหนังสือรับรองระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน
๑ เดือน
ข้อ ๓๘
ผู้ได้รับหนังสือรับรองใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และระเบียบนี้ ให้ผู้ออกหนังสือรับรองมีอำนาจตักเตือนเป็นหนังสือ
ระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว หรือยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถได้
ข้อ ๓๙
ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งถูกยกเลิกการรับรองโรงเรียนสอนขับรถต้องส่งคืนหนังสือรับรองภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ยกเลิก
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
หนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
พรพิมล/พิมพ์
๑๔
กันยายน ๒๕๔๗
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๒๑
กันยายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๗๗ง/๒๔/๑๕
กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
438376 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนน ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2547 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมาย
แสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนน
ระหว่างราชอาณาจักรไทย
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
เพื่ออนุวัตให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ที่กำหนดให้รถที่จะนำไปใช้ระหว่างประเทศต้องมีหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและต้องติดเครื่องหมายแสดงประเทศไว้ตลอดเวลาที่ใช้รถนั้น
ดังนั้น
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งความตกลงและให้การปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนน
ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
(๑) รถ หมายความว่า
รถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี
(๒) นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี
(๓) หนังสืออนุญาต หมายความว่า
หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ
ข้อ
๔
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศ
ให้ยื่นคำขอ ณ สถานที่ ดังนี้
(๑) สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ที่รถนั้นจดทะเบียนไว้ แล้วแต่กรณี
(๒)
สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ที่มีเขตพื้นที่ความรับผิดชอบติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ข้อ
๕ การยื่นคำขอตามข้อ ๔
ให้ใช้แบบคำขออื่น ๆ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือใบคู่มือการจดทะเบียนรถที่ไม่ค้างชำระภาษีประจำปี แล้วแต่กรณี
(๒) สำเนาใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก)
(๓) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรอื่นที่ใช้แสดงแทนบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๔) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมิได้มาดำเนินการด้วยตนเอง)
ข้อ
๖ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๕
ให้นายทะเบียนออกหนังสืออนุญาตและเครื่องหมายแสดงประเทศให้โดยไม่ชักช้า
หนังสืออนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกินวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของรถนั้น
ข้อ
๗
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตซึ่งประสงค์จะขอรับอนุญาตต่อไป
ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตก่อนหนังสืออนุญาตนั้นสิ้นสุดลง หรือสิ้นสุดลงแล้วก็ได้ พร้อมด้วยหนังสืออนุญาตเดิมและเอกสารหลักฐานตามข้อ
๕ ต่อนายทะเบียนแห่งใดแห่งหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนบันทึกรายการอนุญาตในหนังสืออนุญาตฉบับเดิม
ข้อ
๘
การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสืออนุญาต เช่น มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือการจดทะเบียนรถ
เป็นต้น ไม่ว่ากรณีใด ๆ
เมื่อได้รับคำขอแล้วให้นายทะเบียนบันทึกรายการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมในหนังสืออนุญาตโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๙
ในกรณีช่องรายการการอนุญาตหรือการตรวจลงตราการนำรถเข้า-ออก ในหนังสืออนุญาตเต็ม
ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสืออนุญาตฉบับเดิม
ในกรณีไม่มีหนังสืออนุญาตเดิมให้แนบหลักฐานตามข้อ ๕
ข้อ
๑๐
ในกรณีหนังสืออนุญาตหรือเครื่องหมายแสดงประเทศชำรุด สูญหาย ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามข้อ
๕ เพื่อขอรับหนังสืออนุญาตหรือเครื่องหมายแสดงประเทศฉบับใหม่ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๑
หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศ ให้มีลักษณะรูปแบบ
ขนาด และข้อความตามตัวอย่างที่แนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๒ หนังสืออนุญาตตามข้อ ๑๑
ให้มีสีของปกเป็น ๓ สี ดังนี้
(๑) สีเขียว
สำหรับรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) สีม่วง
สำหรับรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓) สีฟ้า
สำหรับรถของคณะผู้แทนทางการทูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ
หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
ข้อ
๑๓ หนังสืออนุญาตต้องติดอยู่กับรถตลอดเวลาที่ใช้รถนั้น
ส่วนเครื่องหมายแสดงประเทศให้ติดไว้ที่กระจกหน้ารถในบริเวณที่เห็นได้ง่ายหนึ่งแผ่น
และที่ตัวถังรถด้านหลังในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนอีกหนึ่งแผ่น
ข้อ
๑๔
การออกหรือการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสืออนุญาตสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียม ดังนี้
(๑) การออกหนังสืออนุญาตตามข้อ ๖ และข้อ ๙
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาต เป็นเงิน ๕๕ บาท
(๒) การอนุญาตตามข้อ ๗
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเป็นเงิน ๒๕ บาท
(๓) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ
ในหนังสืออนุญาตตามข้อ ๘ ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมอื่น เป็นเงิน
๒๕ บาท
(๔)
การออกใบแทนหนังสืออนุญาตกรณีชำรุดหรือสูญหายตามข้อ ๑๐
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอและค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสืออนุญาต เป็นเงิน ๓๕ บาท
ข้อ ๑๕
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสืออนุญาตรถต่างประเทศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
มัตติกา/พิมพ์
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
จีระ/สุนันทา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๑๒/๑๕
มีนาคม ๒๕๔๗ |
435830 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2547
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๓ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบดังกล่าว
เพื่อให้การดำเนินการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
และการดำเนินการอื่น ๆ
เกี่ยวกับการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๑
(๒)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
(ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ การยื่นคำขอใด ๆ ตามระเบียบนี้
ให้ยื่น ณ ที่ทำการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
กรมการขนส่งทางบก
(๒)
สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นที่สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก ก็ได้
ข้อ
๖ ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอตามระเบียบนี้
ให้จัดเก็บ ณ ที่ทำการที่รับคำขอ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้จัดเก็บ ณ
ที่ทำการที่ออกใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต
หมวด ๒
การออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๗ ผู้ประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลธรรมดา
(ก)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(ข)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๒)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก)
รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(จ)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๓)
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(ข)
รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๔)
บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(ข)
รายชื่อกรรมการบริษัททุกคน
(ค)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
(ง)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
(จ)
สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
(ฉ)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ช)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
ข้อ
๘ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของคำขอ
และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอและพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้อง
ครบถ้วนของแผนที่แสดงสถานที่ตั้ง แบบอาคาร แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในสถานตรวจสภาพรถ
และแบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ตามเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(๒)
ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ อาคารตรวจสภาพรถ (ถ้ามี)
และเครื่องตรวจสภาพรถพร้อมอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ถ้ามี)
พร้อมทั้งถ่ายภาพสิ่งที่ตรวจสอบไว้ด้วยตามความจำเป็น
(๓)
ถ้าผู้ยื่นคำขอยังไม่มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถและเครื่องตรวจสภาพรถ รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้อง ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานครให้รวบรวมข้อมูลผลการพิจารณานำเสนอนายทะเบียนกลางในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้รวบรวมข้อมูลผลการพิจารณานำเสนอขนส่งจังหวัด เพื่อพิจารณาอนุญาตในหลักการ
โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการจัดเตรียมอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
และจัดหาหรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้ครบถ้วน
ถูกต้อง พร้อมแจ้งผลการดำเนินการดังกล่าวให้ทราบภายในกำหนดเวลา ๑๘๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถฉบับนี้สิ้นสุดลงทันที
หากผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่
เมื่อนายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุญาตในหลักการแล้ว ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบต่อไป
เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ดำเนินการจัดเตรียมรายละเอียดตามวรรคแรกครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ในกรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยทราบ และในกรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบ
แล้วให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ดำเนินการตาม (๒) และเมื่อเห็นว่าผู้ได้รับอนุญาตได้ดำเนินการครบถ้วน ถูกต้อง
แล้วให้ดำเนินการตาม (๔) ต่อไป
(๔)
รวบรวมข้อมูลที่ได้จาก (๑) (๒) และ (๓) (ถ้ามี)
แล้วพิจารณาสรุปผลพร้อมเสนอความเห็น
ส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยเพื่อพิจารณาต่อไป
(๕)
การขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร
แต่ได้ยื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตาม (๑)
แล้วสรุปผลรวบรวมคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ส่งให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นผู้ดำเนินการตาม
(๒) (๓) (ถ้ามี) และ (๔) ต่อไป
(๖)
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยได้รับเรื่องตาม
(๔) แล้ว
ถ้ากรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตรวจสอบตาม
(๒) อีกครั้งหนึ่งก็ได้
ข้อ
๙
เมื่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยได้พิจารณาข้อมูลตามข้อ ๘ (๔) แล้ว
เห็นสมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ตามที่ยื่นคำขอ
ให้นำเสนอนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาอนุญาตแล้ว
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมทั้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบ
โดยให้สำนักงานขนส่งจังหวัดแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
เพื่อมาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
ข้อ
๑๐ เมื่อสำนักงานวิศวกรรมและความปลอดภัยได้พิจารณาข้อมูลตามข้อ
๘ (๔) แล้ว เห็นว่าไม่สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่นคำขอ
ให้นำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลที่ไม่สมควรอนุญาตต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาต่อไป
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาแล้ว
ไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่นคำขอ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่อนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอได้รับทราบ
หรือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่อนุญาตให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบเพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๑
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะขอเลิกกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัดที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตฉบับนั้น
ข้อ
๑๒
การย้ายสถานที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้ถือเสมือนการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถใหม่
โดยขอเลิกกิจการสถานตรวจสภาพรถแห่งเดิมตามข้อ ๑๑
ข้อ
๑๓
การสิ้นสุดของใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็น ดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่เป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย
(๒)
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่เป็นนิติบุคคลได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล
(๓)
เมื่อได้รับแจ้งการขอเลิกกิจการสถานตรวจสภาพรถตามข้อ ๑๑
จากผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(๔)
เมื่อนายทะเบียนกลางสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(๕)
เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(๖)
เมื่อมีการออกใบอนุญาตฉบับใหม่ตามข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔
หมวด ๓
การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๔
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบกพร้อมด้วยสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือใบแทนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า
๓๐ วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอต่ออายุน้อยกว่า ๓๐ วัน
ถ้าประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
สามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถใหม่ได้
หากยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหรือภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันใบอนุญาตสิ้นอายุ
การพิจารณาลักษณะและรูปแบบของอาคารสถานที่และเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมตามที่เคยได้รับใบอนุญาตอยู่
พร้อมทั้งพิจารณาตามข้อ ๑๕ (๒) ประกอบด้วย
หากยื่นคำขอรับใบอนุญาตพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
การพิจารณาลักษณะและรูปแบบของอาคารสถานที่และเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฉบับปัจจุบัน
ในกรณีที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล
ให้ยื่นหลักฐานตามข้อ ๗ (๓) (ก) หรือ (๔) (ก) แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบคำขอด้วย
ข้อ
๑๕ เมื่อได้รับคำขอแล้ว ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(๒)
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับประวัติการดำเนินการที่ผ่านมาในการตรวจสภาพรถ
การใช้อำนาจสถานที่ เครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(๓)
รวบรวมข้อมูลที่ได้จาก (๑) และ (๒)
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้พิจารณาสรุปผลและเสนอความเห็นส่งให้นายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณา
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้พิจารณาสรุปผลและเสนอความเห็นส่งให้ขนส่งจังหวัดเพื่อพิจารณา
กรณีการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
แต่ได้มายื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตาม (๑)
แล้วแจ้งผลการตรวจสอบพร้อมส่งคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอให้กับสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
เพื่อดำเนินการตาม (๒) และ (๓) ต่อไป
ข้อ
๑๖
เมื่อนายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้พิจารณาข้อมูลตามข้อ
๑๕ (๓) แล้ว เห็นสมควร
(๑)
อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ตามที่ยื่นคำขอ ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
พร้อมทั้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
(๒)
ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่นคำขอ ให้แจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่ต่ออายุใบอนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
ข้อ
๑๗
การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้นายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี ออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม และให้ระบุ คำว่า ต่ออายุ ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย
หมวด ๔
การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๑๘
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญหรือสูญหาย
ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่น ๆ ของกรมการขนส่งทางบก
พร้อมด้วยหลักฐานใบอนุญาตที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญหรือหลักฐานการแจ้งความหรือบันทึกถ้อยคำของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ประกอบคำขอด้วย แล้วแต่กรณี
กรณีการขอรับใบแทนใบอนุญาตในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
แต่ได้มายื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยจัดส่งคำขอให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่เพื่อดำเนินการตามข้อ
๑๙ และข้อ ๒๐ ต่อไป
ข้อ
๑๙ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอแล้ว
ให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้นำเสนอนายทะเบียนกลาง
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้นำเสนอขนส่งจังหวัดเพื่อออกใบแทนใบอนุญาตให้ต่อไป
ข้อ
๒๐
การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้นายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิมและให้ระบุ คำว่า ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย
หมวด ๕
การโอนการประกอบกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๒๑
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นบุคคลธรรมดาและถึงแก่ความตาย
ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามแบบของกรมการขนส่งทางบกได้ภายใน
๑ ปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตถึงแก่ความตาย ในอาคารสถานที่เดิมตามที่ได้รับใบอนุญาต
และการออกใบอนุญาตให้ดำเนินการตามข้อ ๒๕
ตามวรรคหนึ่ง
หากมีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายใน ๑ ปี
นับแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตถึงแก่ความตาย
การพิจารณาลักษณะและรูปแบบของอาคารสถานที่และเครื่องมือต่าง ๆ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมตามที่ผู้ถึงแก่ความตายได้รับใบอนุญาตอยู่
หากยื่นคำขอพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
การพิจารณาลักษณะและรูปแบบของอาคารสถานที่และเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฉบับปัจจุบัน
ข้อ
๒๒ ถ้าทายาทประสงค์จะขอรับสิทธิตามข้อ
๒๑ ให้มีสิทธิตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้
(๑)
คู่สมรส
(๒)
บุตร
(๓)
บิดาหรือมารดา
(๔)
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
(๕)
พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(๖)
ปู่ ย่า ตา ยาย
(๗)
ลุง ป้า น้า อา
ถ้าทายาทในลำดับเดียวกันมีหลายคนและบางคนขอสละสิทธิ์
หรือทายาทในลำดับก่อนสละสิทธิ์
ให้ทายาทนั้นแสดงหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อขอสละสิทธิ์ในการยื่นคำขอด้วย
ข้อ
๒๓
ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามข้อ
๒๑ และต่อมาประสงค์จะโอนกิจการดังกล่าว
สามารถโอนให้กับทายาทคนใดในลำดับใดก็ได้หรือบุคคลอื่นที่มิใช่ทายาท
โดยให้ผู้รับโอนยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามแบบของกรมการขนส่งทางบกพร้อมแนบหนังสืออนุญาตให้โอนจากผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมด้วย
โดยให้จัดตั้งในอาคารสถานที่เดิมที่ผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมด้วย
โดยให้จัดตั้งในอาคารสถานที่เดิมที่ผู้จัดการมรดกได้รับใบอนุญาตอยู่
และการออกใบอนุญาตให้ดำเนินการตามข้อ ๒๕
ทั้งนี้
ลักษณะและรูปแบบของอาคารสถานที่และเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ให้เป็นไปตามที่ผู้โอนได้รับใบอนุญาตอยู่เดิมทุกประการ
ข้อ
๒๔ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะโอนกิจการสถานตรวจสภาพรถ
ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามแบบของกรมการขนส่งทางบก
พร้อมแนบหนังสืออนุญาตให้โอนจากผู้ได้รับใบอนุญาตเพิ่มเติมด้วย
โดยให้จัดตั้งในอาคารสถานที่เดิม และการออกใบอนุญาตให้ดำเนินการตามข้อ ๒๕
พร้อมทั้งนำความในข้อ ๒๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๕
การพิจารณาออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามข้อ ๒๑ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ให้ผู้ยื่นคำขอแนบหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(ก)
หลักฐานตามข้อ ๗ ยกเว้นแผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
และแบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(ข)
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(ค)
หลักฐานการเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดก เฉพาะกรณีการโอนตามข้อ ๒๑
(๒)
ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(๓)
รวบรวมข้อมูลที่ได้จาก (๒) และข้อ ๒๖ วรรคสอง
แล้วพิจารณาสรุปผลพร้อมเสนอความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อนำเสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาต่อไป และเมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาแล้ว
เห็นสมควร
(ก)
อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ตามที่ยื่นคำขอ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ๙
วรรคสอง ซึ่งการอนุญาตดังกล่าวให้นายทะเบียนกลางหรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
(ข)
ไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่นคำขอ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่อนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
หรือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่อนุญาตเป็นหนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบ
เพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
กรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครแต่ได้มายื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตาม (๒)
แล้วส่งเรื่องให้กับสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
เพื่อพิจารณาตามข้อ ๒๖ วรรคสอง และดำเนินการตาม (๓) ต่อไป
ข้อ
๒๖ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามข้อ
๒๓ และข้อ ๒๔ ให้ยื่นก่อนวันใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถฉบับเดิมสิ้นสุดลง
การพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามข้อ
๒๓ และข้อ ๒๔
ให้พิจารณาประวัติการดำเนินการที่ผ่านมาในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตรายเดิมประกอบ
หากมีกรณีเรื่องใดอยู่ระหว่างการตรวจสอบหรือพิจารณาเพื่อลงโทษสถานตรวจสภาพรถที่กระทำความผิด
ให้ตรวจสอบและพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อน
แล้วจึงจะพิจารณาเรื่องการออกใบอนุญาตให้กับผู้รับโอนต่อไป
หมวด ๖
การควบคุม
ดูแลและติดตามผลการดำเนินการของ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
๒๗
ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพรถที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง
กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่น
และผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพรถที่สังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ ในการควบคุม
ดูแลและติดตามผลการดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและประกาศ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ศุภชัย/พิมพ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๕
ง/หน้า ๔๕/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ |
568375 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ เพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2545
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ
เพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศอื่น
ยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถซึ่งกันและกัน
เป็นผลให้รถที่จดทะเบียนในประเทศไทย และนำออกไปใช้นอกราชอาณาจักรอาจไม่ต้องรับการตรวจสภาพรถในดินแดนประเทศนั้น
หากแสดงหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถของแต่ละประเทศ ที่ได้ตกลงกัน ดังนั้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่จดทะเบียนในประเทศไทยในการนำรถออกไปใช้นอกราชอาณาจักร
เป็นไปตามหลักการแห่งความตกลง
และให้การปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
(๑)
รถ หมายความว่า รถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี
ที่ใช้เพื่อการขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้า
(๒)
นายทะเบียน
หมายความว่า นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๕
ผู้ประสงค์จะขอหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถเพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักรให้ยื่นคำขอ
ณ สถานที่ ดังนี้
(๑)
สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ที่รถนั้นดำเนินการทางทะเบียนอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ แล้วแต่กรณี
(๒)
สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ที่มีเขตพื้นที่ความรับผิดชอบติดกับต่างประเทศ
ข้อ
๖ การยื่นคำขอตามข้อ ๕
ให้ใช้แบบคำขออื่น ๆ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑)
สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือใบคู่มือจดทะเบียนรถ แล้วแต่กรณี
(๒)
สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ถ้ามี)
(๓)
สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรอื่นที่ใช้แสดงแทนบัตรประจำตัวประชาชน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๔)
หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมิได้มาดำเนินการด้วยตนเอง)
ข้อ
๗ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๖
ให้นายทะเบียนดำเนินการ ดังนี้
(๑)
กรณีคำขอตามข้อ ๕ (๑)
ให้จัดทำหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถตามผลการตรวจสภาพประจำปีของรถนั้นให้โดยไม่ชักช้า
(๒)
กรณีคำขอตามข้อ ๕ (๒)
ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถเพื่อจัดทำหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถตามระเบียบนี้
โดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
สำหรับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถที่ใช้ภายในประเทศ
เมื่อรถผ่านการตรวจสภาพแล้ว
ให้พนักงานตรวจสภาพบันทึกรายงานต่อนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย
เพื่อออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถให้ผู้ยื่นคำขอโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๘ หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ
ให้มีลักษณะ รูปแบบ และข้อความตามตัวอย่างที่แนบท้ายระเบียบนี้
และให้ใช้ได้ไม่เกินวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของรถนั้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประภาศรี/พิมพ์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๒๘/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
419498 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๔๖
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖
และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีค้าง ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสืออื่นใดที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ภาษีที่ขอผ่อนชำระตามระเบียบนี้
หมายถึง รถประจำปีที่ค้างชำระตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้รวมถึงเงินเพิ่มด้วย
ข้อ
๕ การยื่นขอผ่อนชำระภาษีค้าง
เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่จะขอผ่อนชำระภาษีค้างสามารถทำความตกลงเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบพร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
๕.๑
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๕.๒
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีเป็นนิติบุคคล
๕.๓
หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ขอผ่อนชำระภาษีไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง
ข้อ
๖ การขอผ่อนชำระภาษีค้าง
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องขอผ่อนชำระภาษีค้างแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
๖.๑
ตรวจสอบและคำนวณจำนวนเงินภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม (ถ้ามี)
๖.๒
จัดทำหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีค้างชำระ จำนวน ๒ ฉบับ แยกเป็นต้นฉบับและสำเนา
บัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระและบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
และให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษีลงลายมือชื่อในหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีค้างชำระ
การกำหนดจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระบางส่วนขณะทำความตกลงจำนวนงวดที่ผ่อนชำระและจำนวนเงินที่ผ่อนชำระแต่ละงวด
ให้เป็นไปตามความในข้อ ๗
๖.๓
จัดเก็บเงินค่าภาษีค้างบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗.๑
และออกใบเสร็จรับเงิน
๖.๔
บันทึกรายการในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) ด้วยข้อความหรือประทับตรายาง ดังนี้
๖.๔.๑ รถที่ค้างชำระภาษีอยู่ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ให้ใช้ข้อความว่า
อนุญาตให้ผ่อนชำระภาษีค้าง
รวม
.งวด
ตาม ม. ๕ แห่ง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก (ฉบับที่
๑๐)
พ.ศ. ๒๕๔๖
๖.๔.๒ รถที่ค้างชำระภาษีตั้งแต่วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ให้ใช้ข้อความว่า
อนุญาตให้ผ่อนชำระภาษีค้าง
จำนวน
..งวด
ตาม ม. ๘๖/๓ แห่ง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๖.๕
นำเสนอนายทะเบียนลงนามเอกสารในข้อ ๖.๒ และ ๖.๔
๖.๖
จ่ายสำเนาหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีค้างชำระ บัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
ให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
๖.๗
จัดเก็บต้นฉบับหนังสือขอผ่อนภาษีรถประจำปีค้างชำระ หลักฐานในข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ และบัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
แยกไว้ต่างหากจากสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ
๗
การกำหนดจำนวนเงินที่ต้องชำระบางส่วนขณะทำความตกลง จำนวนงวดที่ผ่อนชำระและจำนวนเงินที่ขอผ่อนชำระแต่ละงวด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
๗.๑
ในขณะทำความตกลงผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีค้างบางส่วน
ตามที่ผู้ขอผ่อนชำระภาษีประสงค์จะชำระ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท
๗.๒
ให้กำหนดจำนวนงวดที่ผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
และกำหนดระยะเวลาให้ผ่อนชำระได้สูงสุดไม่เกินสิบสองงวดและอาจขยายเวลาให้ผ่อนชำระได้
แต่รวมกันแล้วไม่เกินสิบแปดงวด ทั้งนี้
จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
ขนส่งจังหวัดหรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
แล้วแต่กรณี
๗.๓
จำนวนเงินภาษีที่ผ่อนชำระในแต่ละงวดต้องไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท
๗.๔
การกำหนดจำนวนเงินที่ผ่อนชำระแต่ละงวด ให้นำจำนวนเงินภาษีรถค้างชำระทั้งหมด
หักด้วยเงินค่าภาษีค้างที่ชำระบางส่วนในขณะทำความตกลงแล้วนำมากำหนดจำนวนงวดตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีค้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ โดยเฉลี่ยเป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ทุกงวด หากมีเศษของจำนวนเงินในแต่ละงวดที่ไม่ครบหนึ่งร้อยบาท
และหรือเศษสตางค์ ให้หักออกแล้วนำไปชำระรวมไว้ในงวดสุดท้ายทั้งหมด
ข้อ
๘ การผ่อนชำระภาษีค้าง
๘.๑
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องแนบบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระประกอบการขอผ่อนชำระด้วย
๘.๒
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องชำระภาษีที่ขอผ่อนงวดแรกภายในไม่เกินวันสิ้นเดือนของเดือนถัดจากเดือนที่มีการชำระเงินค่าภาษีค้างบางส่วน
และงวดถัดไปจะต้องชำระไม่เกินวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน
๘.๓
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะขอชำระในคราวเดียวกันมากกว่าหนึ่งงวดก็ได้
แต่จำนวนเงินที่ขอชำระต้องเพิ่มขึ้นให้ครบเต็มตามจำนวนอัตราภาษีที่ขอผ่อนของงวดถัด
ๆ ไปนั้นด้วย
๘.๔
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่สองงวดขึ้นไป
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีหมดสิทธิผ่อนชำระและต้องชำระภาษีที่ค้างอยู่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน
เว้นแต่ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะได้นำเงินงวดที่ผิดนัดทั้งหมดพร้อมกับงวดปัจจุบันมาชำระต่อนายทะเบียน
ณ สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบและจะต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลตามข้อ ๑๒
จึงจะผ่อนชำระภาษีต่อไปได้
๘.๕
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีผิดนัดไม่ผ่อนชำระภาษีติดต่อกันตั้งแต่สองงวดขึ้นไป
หรือผิดนัดไม่ผ่อนชำระงวดสุดท้ายเป็นเวลาเกินสองเดือนขึ้นไป ให้นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับดำเนินการทางทะเบียนใด
ๆ เกี่ยวกับรถคันดังกล่าว เว้นแต่การแจ้งเลิกใช้รถ หรือการแจ้งไม่เสียภาษี
จนกว่าจะได้ชำระภาษีงวดที่ค้างชำระหรือภาษีงวดสุดท้ายครบถ้วนแล้ว
ข้อ
๙ สถานที่ชำระภาษีที่ขอผ่อน
๙.๑
สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
๙.๒ สำนักงานที่รถนั้นอยู่นอกเขตความรับผิดชอบ
๙.๓
ที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ทุกแห่งทั่วประเทศ
๙.๔
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขาทั่วประเทศ
๙.๕
หน่วยงานอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
การผ่อนชำระภาษีค้าง
ณ สถานที่ตามข้อ ๙.๒ ข้อ ๙.๓ ข้อ ๙.๔ หรือข้อ ๙.๕
ผู้ขอผ่อนชำระภาษีจะต้องไม่ผิดนัดหรือผิดนัดผ่อนชำระภาษีรถได้ไม่เกินหนึ่งงวด
ข้อ
๑๐ การรับชำระภาษีที่ขอผ่อน
๑๐.๑
การรับชำระภาษีที่ขอผ่อน ณ สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ ให้ดำเนินการ
ดังนี้
๑๐.๑.๑ ตรวจสอบจำนวนเงินและงวดที่ขอผ่อนชำระ หากมีงวดที่ค้างผ่อนอยู่ก่อน
ให้รับชำระตามลำดับของงวดที่ค้างไว้ก่อน
๑๐.๑.๒ จัดเก็บภาษีงวดที่ผ่อนชำระหรืองวดที่ค้างผ่อนชำระและออกใบเสร็จรับเงิน
๑๐.๑.๓
บันทึกรายการผ่อนชำระภาษีในบัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระและบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
แล้วนำเสนอนายทะเบียนลงนามพร้อมประทับตรายางชื่อ-สกุล
๑๐.๑.๔ จ่ายบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
และใบเสร็จรับเงินให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
๑๐.๒
การรับชำระภาษีที่ขอผ่อน ณ สำนักงานที่รถนั้นอยู่นอกเขตความรับผิดชอบให้ดำเนินการ
ดังนี้
๑๐.๒.๑ สำนักงานที่รถนั้นอยู่นอกเขตความรับผิดชอบที่รับชำระแทน ให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) ดำเนินการตามข้อ ๑๐.๑.๑ และข้อ ๑๐.๑.๒
(๒)
บันทึกรายการผ่อนชำระภาษีในบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระแล้วนำเสนอนายทะเบียนลงนาม
พร้อมประทับตรายางชื่อ-สกุล
(๓)
จ่ายบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระและใบเสร็จรับเงินให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
(๔)
จัดทำรายงานการผ่อนชำระภาษีค้างต่างสำนักงานส่งให้สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบในวันทำการแรกของสัปดาห์ถัดไป
พร้อมจัดเก็บสำเนาไว้ ๑ ชุด
๑๐.๒.๒ สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) เมื่อได้รับแบบรายงานการผ่อนชำระภาษีค้างต่างสำนักงานตามข้อ
๑๐.๒.๑ (๔) แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องโดยเร็ว
(๒)
ปรับปรุงข้อมูลรายการผ่อนชำระภาษีค้างในบัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
แล้วนำเสนอนายทะเบียนลงนาม พร้อมประทับตรายางชื่อ-สกุล
๑๐.๒.๓ การรับ การนำส่ง และการโอนเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระ ให้ถือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามระเบียบสำนักทะเบียนและภาษีรถว่าด้วยการชำระภาษีรถต่างสำนักงานและการรับส่งต้นทะเบียนรถระหว่างสำนักงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ หรือระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการชำระภาษีรถประจำปีต่างสำนักงานนอกเขตจังหวัดที่รถอยู่ในความรับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๖ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
๑๐.๓
การรับชำระภาษีที่ขอผ่อนทางไปรษณีย์
๑๐.๓.๑ เมื่อผู้ขอผ่อนชำระภาษีแจ้งความจำนง ณ ที่ทำการไปรษณีย์
พร้อมด้วยบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ และซอง ๒ ซอง
โดยจ่าหน้าซองถึงผู้รับในนามสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
จำนวน ๑ ซอง และจ่าหน้าซองถึงผู้ขอผ่อนชำระภาษี จำนวน ๑ ซอง
แล้วให้ที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนเงินและงวดที่ขอผ่อนชำระจากบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
หากมีงวดที่ค้างผ่อนชำระอยู่ก่อนให้รับชำระตามลำดับของงวดที่ค้างไว้ก่อน
(๒)
จัดเก็บเงินภาษีงวดที่ผ่อนชำระหรืองวดที่ค้างผ่อนชำระ
(๓) บันทึกวัน เดือน ปี
ที่ชำระพร้อมลงลายมือชื่อและบันทึกหรือประทับตรา ผ่าน ปณ. ในบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระก่อนจ่ายบัตรคืนให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
(๔) บันทึกรายละเอียดหมายเลขทะเบียนรถ
ประเภทรถและงวดภาษีที่ผ่อนชำระลงในไปรษณีย์ธนาณัติ (สำหรับผู้รับนำไปรับเงิน) (แบบ ธน.๓๑ (๑))
(๕) บันทึกหรือประทับตรา ผ่อนชำระภาษีค้าง ลงบนซองเอกสารที่บรรจุซองเปล่าจ่าหน้าถึงผู้ขอผ่อนชำระภาษีและไปรษณีย์ธนาณัติ
(สำหรับผู้รับนำไปรับเงิน) (แบบ ธน.๓๑ (๑)) ก่อนส่งโดยทางไปรษณีย์รับประกันถึงสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
ภายในเวลาไม่เกิน ๕ วันทำการ นับถัดจากวันที่รับฝาก
(๖)
การโอนเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระในกรณีเป็นรถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน บางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนา และหนองจอก
โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร
สำหรับกรณีรถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แจ้งที่ทำการไปรษณีย์ที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
กำหนดให้ทำหน้าที่ติดต่อการเงินกับสำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาทราบเป็นการล่วงหน้าเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินเป็นแคชเชียร์เช็คขีดคร่อม
ACCOUNT PAYEE ONLY
เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา หรือจ่ายเป็นเงินสดในกรณีที่จำนวนเงินไม่เกิน
๑๐,๐๐๐ บาท
(๗)
จัดส่งซองบรรจุใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
โดยทางไปรษณีย์รับประกันถึงผู้ขอผ่อนชำระภาษี ภายในเวลาไม่เกิน ๕ วันทำการ
นับถัดจากวันที่ได้รับเอกสารคืนจากสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
๑๐.๓.๒
เมื่อสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบรับเรื่องการผ่อนชำระภาษีค้างจากที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด แล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบจำนวนเงินและงวดที่ผ่อนชำระตามไปรษณีย์ ธนาณัติที่ได้รับจากที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด และออกใบเสร็จรับเงิน
(๒)
บันทึกรายการผ่อนชำระภาษีในบัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
แล้วนำเสนอนายทะเบียนลงนาม พร้อมประทับตรายางชื่อ-สกุล
(๓) จัดทำบัญชีจ่ายเงินธนาณัติ
ในกรณีเป็นรถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบจัดทำบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศแจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน
บางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนาและหนองจอก แล้วแต่กรณี
เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร
สำหรับกรณีรถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
จัดทำบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศแจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์ที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย
จำกัด
กำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติเพื่อจ่ายเป็นเงินสดในกรณีที่จำนวนเงินไม่เกิน
๑๐,๐๐๐ บาท หรือออกแคชเชียร์เช็คในกรณีที่จำนวนเงินเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (ในกรณีการขอรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค
สำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการได้ไม่เกินเดือนละ ๔ ครั้ง
สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาไม่เกินเดือนละ ๒ ครั้ง และต้องแจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์ที่บริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด กำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติทราบล่วงหน้า)
(๔)
จัดส่งเอกสารการรับชำระภาษีที่ขอผ่อนไปยังผู้ขอผ่อนชำระภาษีโดยเตรียมการก่อนฝากส่งและดำเนินการทางไปรษณีย์
ดังนี้
(ก)
ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระบรรจุในซองเอกสารที่จ่าหน้าถึงผู้ขอผ่อนชำระภาษี
ปิดผนึกฝาซองให้เรียบร้อยแล้วประทับตราของกรมการขนส่งทางบกกำกับไว้ตามรอยตะเข็บ
หรือรอยต่อของซองทุกแห่ง
จากนั้นให้ใช้เทปใสปิดผนึกทับรอยต่อของซองและตราของกรมการขนส่งทางบกอีกชั้นหนึ่งให้เรียบร้อย
(ข) จัดทำใบรับฝากรวม จำนวน ๓ ชุด
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฝากส่งซองตาม (ก) โดยกรอกรายชื่อ ที่อยู่ผู้รับ หมายเลขทะเบียนรถ และรายละเอียดอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องในใบรับฝากรวมให้เรียบร้อย
รวมทั้งหมายเหตุในใบรับฝากรวมให้ชัดเจนด้วยว่า ส่งคืนเอกสารการชำระภาษีค้างให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษี หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
ใบรับฝากรวมดังกล่าว
อาจใช้แบบพิมพ์ใบรับฝากรวม (ป.๔๘)
ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือจัดทำขึ้นเอง
โดยมีรูปแบบและรายละเอียดทำนองเดียวกับใบรับฝากรวมของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ก็ได้
(ค)
นำซองบรรจุเอกสารพร้อมใบรับฝากรวมไปฝากส่งเป็นจดหมายรับประกันในประเทศ ณ
ที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน บางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนา และหนองจอก แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เป็นรถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร และ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่บริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด กำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินธนาณัติ
ในกรณีที่เป็นรถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
โดยไม่ต้องชำระค่าฝากส่งและให้รับต้นฉบับใบรับฝากรวมคืนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อได้ทำการรับฝากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(๕) การดำเนินการตามข้อ ๑๐.๓.๒ (๑) (๒) (๓) และ (๔) จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ
และส่งคืนให้ที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ภายในเวลาไม่เกิน ๕
วันทำการ นับจากวันที่ได้รับเอกสารตามข้อ ๑๐.๓.๑ (๖)
จากที่ทำการไปรษณีย์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
๑๐.๓.๓
ในกรณีเอกสารที่จัดส่งเกิดการชำรุดหรือสูญหายในระหว่างการจัดส่งของบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
หรือพนักงานที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดำเนินการเพื่อขอให้ออกเอกสารหลักฐานให้ใหม่ และหากสูญหายระหว่างการดำเนินการของนายทะเบียน
ให้สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบไปรษณีย์ธนาณัติที่สูญหายว่าได้มีการออกจริง
โดยทำหนังสือแจ้งที่ทำการไปรษณีย์ที่รับฝากเพื่อออกใบแทนไปรษณีย์ธนาณัติแทนฉบับที่สูญหาย
๑๐.๓.๔ ในการรับเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระทางไปรษณีย์นี้ ให้ถือว่าวันที่รับฝากไปรษณีย์ธนาณัติที่ปรากฏในไปรษณีย์ธนาณัติ
(สำหรับผู้รับนำไปรับเงิน) (แบบ ธน.๓๑ (๑)) เป็นวันที่ได้ชำระภาษีที่ขอผ่อนต่อนายทะเบียนแล้ว
๑๐.๔ การรับชำระภาษีที่ขอผ่อนผ่าน
ธ.ก.ส.
๑๐.๔.๑ เมื่อ ธ.ก.ส. ได้รับเรื่องขอผ่อนชำระภาษีค้างพร้อมบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระแล้ว
ให้ ธ.ก.ส.
ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบจำนวนเงินและงวดที่ขอผ่อนชำระ
หากมีงวดที่ค้างผ่อนชำระอยู่ก่อนให้รับชำระตามลำดับของงวดที่ค้างไว้ก่อน
(๒) จัดเก็บเงินภาษีงวดที่ผ่อนชำระพร้อมออกใบรับฝากเงิน
(PAY-IN) ซึ่งระบุหมายเลขทะเบียนรถ ประเภทรถ
และงวดที่ผ่อนชำระ ให้แก่ผู้ผ่อนชำระภาษีไว้เป็นหลักฐาน
(๓) บันทึกวัน เดือน ปี ที่ชำระ และประทับตรา ผ่าน ธ.ก.ส. ในบัตรรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ พร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้
ก่อนจ่ายคืนให้กับผู้ขอผ่อนชำระภาษี
(๔)
จัดทำรายงานการรับผ่อนชำระภาษีค้างตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
และจัดเตรียมซองเปล่าจ่าหน้าซองถึง ธ.ก.ส. ที่รับเรื่องขอผ่อนชำระภาษีค้าง
สำหรับจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
(๕) นำใบรับฝากเงิน (PAY-IN)
ที่ออกให้ตามข้อ ๑๐.๔.๑ (๒) และเอกสารตามข้อ ๑๐.๔.๑ (๔)
ใส่ซองพร้อมบันทึกหรือประทับตรา ผ่อนภาษีค้าง
ลงบนซองที่บรรจุเอกสารดังกล่าวก่อนส่งให้สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
ภายในเวลาไม่เกิน ๕ วันทำการ นับถัดจากวันที่ผู้ขอผ่อนชำระภาษีมาติดต่อขอชำระ
หาก
ธ.ก.ส.
ที่รับเรื่องจัดส่งเอกสารผิดหน่วยงาน ให้ ธ.ก.ส. รับเรื่องคืน
แล้วนำส่งสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบต่อไป
(๖) การโอนเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระ โดยนำเงินเข้าบัญชี
ดังนี้
(ก) รถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร
(ข) รถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากรุงเทพมหานคร
ให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แล้วแต่กรณี
(๗) จัดส่งหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี (แบบ 41-022)
ให้สำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
(๘)
จัดส่งใบเสร็จรับเงินที่ได้รับคืนจากสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบให้แก่ผู้ขอผ่อนชำระภาษี
ภายในเวลาไม่เกิน ๕ วันทำการ นับถัดจากวันที่ได้รับเอกสารคืนจากสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ
๑๐.๔.๒
เมื่อสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถหรือสำนักงานที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบได้รับเรื่องขอผ่อนชำระภาษีจาก
ธ.ก.ส.
แล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนเงินและงวดที่ผ่อนชำระภาษีจากเอกสารตามข้อ ๑๐.๔.๑ (๕) และ (๗) พร้อมออกใบเสร็จรับเงิน
(๒)
จัดทำบันทึกแจ้งผลการตรวจสอบพร้อมกรอกรายละเอียดรายการลงในต้นฉบับและสำเนาแบบรายงานการรับผ่อนชำระภาษีค้าง
แล้วส่งคืนสำเนาให้ ธ.ก.ส.
ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก
(๓)
บันทึกรายการผ่อนชำระภาษีในบัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระ
แล้วนำเสนอนายทะเบียนลงนาม พร้อมประทับตรายางชื่อ-สกุล
(๔)
นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระใส่ซองที่ได้รับจาก ธ.ก.ส. ปิดผนึกส่งให้ ธ.ก.ส. ที่รับเรื่อง
เพื่อส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ขอผ่อนชำระภาษีต่อไป
(๕) การดำเนินการรับผ่อนภาษีตามข้อ ๑๐.๔.๒ (๑) (๒) และ (๓) จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ และจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ ธ.ก.ส. ภายในเวลาไม่เกิน ๕
วันทำการ นับจากวันที่ได้รับเอกสารตามข้อ ๑๐.๔.๑ (๕) จาก ธ.ก.ส.
๑๐.๔.๓
ในส่วนกลางให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถรับเรื่องการผ่อนชำระภาษีค้างผ่าน ธ.ก.ส.
สำหรับรถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครทั้งหมด และเมื่อรับชำระภาษีที่ขอผ่อนของรถที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่แล้ว
ให้จัดทำและส่งรายงานการผ่อนชำระภาษีค้างต่างสำนักงานให้สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่นั้นดำเนินการปรับปรุงรายการในบัญชีรายการผ่อนภาษีรถค้างชำระต่อไป
๑๐.๔.๔
ตรวจสอบหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีให้ตรงกับจำนวนเงินในแบบรายงานการรับผ่อนชำระภาษีค้างที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกได้ตรวจสอบไว้แล้วในข้อ
๑๐.๔.๒ (๒)
สำหรับสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ให้จัดส่งหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของสำนักงานขนส่งจังหวัด
ภายในวันทำการแรกของสัปดาห์ถัดไป
๑๐.๔.๕ ในการรับเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระผ่าน ธ.ก.ส. นี้ ให้ถือว่าวันที่ ธ.ก.ส. รับชำระเงินค่าภาษีตามที่ปรากฏในใบรับฝากเงิน (PAY-IN) ของ ธ.ก.ส. เป็นวันที่ได้ชำระภาษีที่ขอผ่อนต่อนายทะเบียนแล้ว
ข้อ
๑๑
เมื่อผู้ขอผ่อนชำระภาษีได้ชำระเงินค่าภาษีที่ผ่อนชำระในงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นหรือได้ผ่อนชำระภาษีที่ค้างครบถ้วนก่อนกำหนด
ให้นายทะเบียนบันทึกข้อความว่า ผ่อนชำระภาษีที่ค้างชำระทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ลงในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) และลงนามพร้อมประทับตรายางชื่อ-สกุลกำกับไว้
ข้อ
๑๒
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
ผู้อำนวยการส่วนทะเบียนรถขนส่ง ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
ขนส่งจังหวัดหรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
มีอำนาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน จำนวนงวดที่ขอผ่อนชำระจากที่ตกลงไว้เดิม
ข้อ
๑๓ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
พรพิมล/พิมพ์
๑๒ มกราคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/อรรถชัย/ตรวจ
๑๕ มกราคม ๒๕๔๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่
๙๓/หน้า ๑๗/๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๔๖ |
386857 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถเพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถ
เพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้วางระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถเพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของรถได้รับความสะดวก รวดเร็ว
กรณีการยื่นคำขอสำเนาประวัติรถเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสภาพรถ
ซึ่งผู้ยื่นคำขอจะแนบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถหรือภาพถ่ายด้วยหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) และ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถเพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๙
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถเพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือภาพถ่าย (ถ้ามี)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
หทัยชนก/พิมพ์
๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๖
ศุภสรณ์/อภิสิทธิ์/ผู้จัดทำ
๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๒๙/๘ พฤษภาคม ๒๕๔๖ |
385657 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ไว้แล้วนั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นต้นไป
ข้อ ๓
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดและแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔
รถที่จะรับเสียภาษีประจำปีทางไปรษณีย์ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และประกอบด้วยหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
ประเภทรถที่จะรับเสียภาษีประจำปีทางไปรษณีย์
(ก)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
(ข)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
(ค)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
(ง)
รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
(จ)
รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
(ฉ)
รถบดถนน (รย.๑๔)
(ช)
รถพ่วง (รย.๑๖)
(๒)
เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือรถที่มีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี
หรือเป็นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี
ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕.๑
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕.๑ ยื่นขอเสียภาษีรถประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓
เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี
เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันทีโดยไม่จำกัดระยะเวลา
ข้อ ๖
ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ (๒) แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) จัดทำบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศ
และหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกิน (ถ้ามี)
แจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติเพื่อจ่ายเป็นเงินสดในกรณีที่จำนวนเงินไม่เกิน
๑๐,๐๐๐ บาท หรือออกแคชเชียร์เช็คในกรณีที่จำนวนเงินเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (ในกรณีการขอรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค
สำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการได้ไม่เกินเดือนละ ๔ ครั้ง
สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาไม่เกินเดือนละ ๒ ครั้ง และต้องแจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติทราบล่วงหน้า)
และหรือจัดส่งจำนวนเงินค่าภาษีที่รับชำระไว้เกินตามข้อ ๑๐ (ถ้ามี)
คืนเจ้าของรถทางไปรษณีย์ธนาณัติเป็นจำนวนเงินตามบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศ
และตามหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกิน
พร้อมทั้งดำเนินการทางทะเบียนในส่วนที่เกี่ยวกับการรับเสียภาษีประจำปี
ข้อ ๗
ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
ในกรณีใบแจ้งความไปรษณีย์ธนาณัติและใบคู่มือการจดทะเบียนรถสูญหายระหว่างการดำเนินการของนายทะเบียน
ให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถแทนฉบับที่สูญหาย ดังนี้
(๑)
ให้ตรวจสอบใบแจ้งความไปรษณีย์ธนาณัติฉบับที่สูญหายว่าได้มีการออกจริง
โดยทำหนังสือแจ้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขต้นทางที่รับฝากเพื่อขอออกใบแทนไปรษณีย์ธนาณัติแทนฉบับที่สูญหาย
(๒)
ออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถให้ โดยให้ใช้คำขอและยกเว้นหลักฐานประกอบตามที่กำหนดไว้ในระเบียบเกี่ยวกับการออกใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถ
แล้วให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบชำระค่าธรรมเนียมทั้งหมด ทั้งนี้
ให้บันทึกต้นทะเบียนและใบคู่มือการจดทะเบียนรถว่า ออกใบแทนใบคู่มือฯ
เนื่องจากสูญหายระหว่างดำเนินการชำระภาษีผ่านไปรษณีย์
ข้อ ๘
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
มณฑาทิพย์/พิมพ์
๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๖
สุมลรัตน์/อรรถชัย
แก้ไข
๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๒๘/๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ |
383693 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมาย ว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมาย
ว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ไว้แล้วนั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีปฏิบัติในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของรถได้รับความสะดวกรวดเร็ว
และเพิ่มโอกาสในการจัดเก็บภาษีให้แก่รัฐมากยิ่งขึ้น กรมการขนส่งทางบก
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ และ ข้อ ๑๓
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถให้ยื่นขอได้โดยไม่ต้องใช้แบบคำขอเสียภาษีประจำปีและจะแนบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถด้วยหรือไม่ก็ได้
ข้อ
๑๓
เมื่อได้รับเรื่องขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถตามข้อ ๑๒
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
พนักงานตรวจสภาพตรวจสอบหลักฐานประกอบการขอชำระภาษี เมื่อเห็นว่าถูกต้อง
ให้นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
(๒)
ตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
(๓)
เจ้าหน้าที่งานทะเบียนรถตรวจสอบหลักฐานประกอบการขอชำระภาษีกับผลการตรวจสภาพรถและตรวจสอบอายุใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ตลอดจนการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ. ๑๑
(๔)
จัดเก็บภาษีรถประจำปี
(๕)
บันทึกรายการเสียภาษีประจำปีในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีเสนอนายทะเบียนลงนาม
(๖)
นายทะเบียนพิจารณาลงนามในเอกสารทะเบียนรถ
(๗)
จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) พร้อมเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
ในกรณีที่มีการตรวจสภาพรถจากผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(เอกชน)
ให้นำหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถดังกล่าวแนบเรื่องด้วยและให้ดำเนินการตามขั้นตอนตาม
(๓) (๗) ต่อไป
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
เกษร/ทรงยศ/สราวุฒิ/จัดทำ
๑๙ พฤษภาคม
๒๕๔๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๒๗/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ |
312133 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๔๓
-----------
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๑ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓"
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ
๑๐ และข้อ ๑๑ ของระเบียบ
กรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้
แทน
"ข้อ
๘
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
ตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลธรรมดา
(ก)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคน
ต่างด้าว
(ข)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายใน
บริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีรายละเอียด ขนาดสัดส่วน
พื้นที่ที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่จอดรถ
แผนผังจราจรและการเข้า -
ออกของรถและการจราจรภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ และการ
ใช้พื้นที่ร่วมกันกับกิจการอื่น (ถ้ามี)
(ง)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๒)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก)
รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคน
ต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายใน
บริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีรายละเอียด ขนาดสัดส่วน
พื้นที่ที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่จอดรถ
แผนผังจราจรและการเข้า - ออกของรถและการจราจรภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
และการ
ใช้พื้นที่ร่วมกันกับกิจการอื่น (ถ้ามี)
(จ)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๓)
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ที่นายทะเบียนออกให้
ไม่เกิน ๖ เดือน
(ข)
รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายใน
บริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีรายละเอียด ขนาดสัดส่วน
พื้นที่ที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่จอดรถ
แผนผังจราจรและการเข้า -
ออกของรถและการจราจรภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ และ
การใช้พื้นที่ร่วมกันกับกิจการอื่น (ถ้ามี)
(ง)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๔)
บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน
๖ เดือน
(ข)
รายชื่อกรรมการบริษัททุกคน
(ค)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัว
คนต่างด้าวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
(ง)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน
บริษัท
(จ)
สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
(ฉ)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายใน
บริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีรายละเอียด ขนาดสัดส่วน
พื้นที่ที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่จอดรถ
แผนผังจราจรและการเข้า -
ออกของรถและการจราจรภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ และ
การใช้พื้นที่ร่วมกันกับกิจการอื่น (ถ้ามี)
(ช)
แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
ข้อ
๙
เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถและเอกสาร
หลักฐานประกอบคำขอแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอ และเอกสารหลักฐานประกอบ
คำขอและพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องเหมาะสมของแผนที่แสดงสถานที่ตั้ง
แผนผัง
สิ่งปลูกสร้างภายในสถานตรวจสภาพรถ
โดยมีรายละเอียดขนาดสัดส่วนพื้นที่ที่ตรวจสภาพรถ
พื้นที่จอดรถ แผนผังจราจรและการเข้า - ออกของรถ
และการจราจรภายในบริเวณสถานตรวจ
สภาพรถ และการใช้พื้นที่ร่วมกันกับกิจการอื่น (ถ้ามี)
และความถูกต้องของ แบบ ขนาด และ
รายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ซึ่งผู้ขอแสดงไว้ในเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(๒)
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ อาคาร
ตรวจสภาพรถ (ถ้ามี)
และเครื่องตรวจสภาพรถพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจ
สภาพรถ (ถ้ามี)
พร้อมทั้งถ่ายภาพสิ่งที่ตรวจสอบไว้ด้วยตามความจำเป็น
(๓)
ถ้าผู้ยื่นคำขอยังไม่มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถและเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้องในกรณี
ที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้นำเสนอนายทะเบียนกลาง
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้นำ
เสนอนายทะเบียนประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาอนุญาตในหลักการโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ยื่นคำขอ
ดำเนินการจัดเตรียมอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ พร้อมทั้งจัดหา
หรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้ครบถ้วนถูกต้อง
และแจ้งผลการ
ดำเนินการดังกล่าวให้ทราบภายในกำหนดเวลา ๑๘๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ในกรณี
ที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอยื่นเป็นหนังสือ
เพื่อแสดงเหตุผลอันสมควรเพื่อขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกไปอีก
และให้นายทะเบียน
กลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี
มีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาการดำเนินการ
ออกไปได้ตามความจำเป็น
เมื่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัด
แล้วแต่กรณี พิจารณา
อนุญาตในหลักการแล้ว
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบต่อไป
เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ดำเนินการจัดเตรียมอาคารสถานที่และเครื่องอุปกรณ์
ดังกล่าวครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ในกรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยทราบและในกรณี
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ผู้ได้รับอนุญาต
แจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจ
สภาพรถทราบ แล้วให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี ดำเนินการตาม (๒) และเมื่อเห็นว่า
ผู้ได้รับอนุญาตได้ดำเนินการครบถ้วน
ถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการตาม (๔) ต่อไป
(๔)
รวบรวมข้อมูลที่ได้จาก (๑) (๒) และ (๓) (ถ้ามี) แล้วพิจารณาสรุปผล
พร้อมเสนอความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อรวบรวมนำเสนอ
คณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถพิจารณาต่อไป
กรณีการขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่น
นอกจาก
กรุงเทพมหานคร
แต่ได้ยื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย ให้สำนักวิศวกรรมและ
ความปลอดภัยดำเนินการตาม (๑) แล้วสรุปผลและรวบรวมคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบ
คำขอส่งให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็น
ผู้ดำเนินการตาม (๒) (๓) (ถ้ามี) และ (๔) ต่อไป
ข้อ
๑๐
เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ ได้พิจารณาข้อมูลตาม
ข้อ ๙ (๔) แล้วเห็นสมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ตามที่ยื่นคำขอ
ให้ส่งเรื่องให้
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยนำเสนอนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถต่อไป
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาอนุญาตแล้ว
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
พร้อมทั้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้แจ้ง
ผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจ
สภาพรถทราบ เพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
พร้อมทั้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และ
ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต่อไป
ข้อ
๑๑
เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ ได้พิจารณาข้อมูล
ตามข้อ ๙ (๔) แล้วเห็นว่า ไม่สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่นคำขอ
ให้ส่งเรื่องให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อนำเสนอความเห็นพร้อมเหตุผลที่ไม่สมควร
อนุญาตต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาต่อไป
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาแล้ว
ไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ตามที่ยื่นคำขอ ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผล
ที่ไม่อนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอได้รับทราบ
หรือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่
อนุญาตให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบเพื่อ
แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ แล้วแต่กรณี"
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วย
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๑๔
เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถได้พิจารณาข้อมูลตาม
ข้อ ๑๓ (๓) แล้ว
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยนำผลการพิจารณาดังกล่าวเสนอต่อ
นายทะเบียนกลางพิจารณาต่อไป
และเมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาแล้ว เห็นสมควร
(๑)
อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ได้ตามที่ยื่นคำขอ
ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ๑๐ วรรคสอง
(๒)
ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่นคำขอ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่ต่ออายุใบอนุญาต
เป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
หรือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่ต่ออายุใบอนุญาตเป็น
หนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบ
เพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
ต่อไป แล้วแต่กรณี"
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๑๗
เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบ
คำขอแล้วให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร ให้นำเสนอนายทะเบียนกลาง
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้นำเสนอนายทะเบียน
ประจำจังหวัด เพื่อออกใบแทนใบอนุญาตให้ต่อไป
ข้อ
๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้นายทะเบียน
กลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี
ออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม
และให้ระบุคำว่า "ใบแทน"
ไว้ที่ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย"
ข้อ
๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๑
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วย
การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๒๑
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะขอย้ายสถานที่
จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ซึ่งมิได้เป็นการย้ายข้ามเขตจังหวัด
ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่นๆ
ของกรมการขนส่งทางบก
โดยให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นพร้อมยื่นหลักฐานเกี่ยวกับ
สถานตรวจสภาพรถแห่งใหม่ดังนี้
(๑)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายใน
บริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีรายละเอียด ขนาดสัดส่วน
พื้นที่ที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่จอดรถ
แผนผังจราจรและการเข้า - ออกของรถ
และการจราจรภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ และ
การใช้พื้นที่ร่วมกันกับกิจการอื่น (ถ้ามี)
(๒)
แบบ ขนาด และรายละเอียดเครื่องตรวจสภาพรถ"
ให้ไว้
ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ปรีชา ออประเสริฐ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[รก.๒๕๔๓/พ๑๑๗ง/๑๑/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓]
อัมพิกา/แก้ไข
๒๔/๗/๔๔ |
322963 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2543 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ.
2543
--------------
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ว่าระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถ
ของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2536
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2536 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2537
ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อ
ให้การตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นไปตามความเหมาะสม
และมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นอาศัยตามความในข้อ 4 (2) และ
(3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 37
(พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
2522 กรมการขนส่งทางบก
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
1 ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับ
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2543"
ข้อ
2
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
ข้อ
3 ให้ยกเลิก
(1)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2536
(2)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
ข้อ
4 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือ
ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
5 ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1
บททั่วไป
---------------
ข้อ
6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถดำเนินการตรวจสภาพรถ
เพื่อออก
ใบรับรองการตรวจสภาพรถที่จะต่ออายุทะเบียน
หรือเสียภาษีประจำปี ดังนี้
(1)
รถที่จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการจนส่งทางบกทุกประเภท
(2)
รถที่จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์บางประเภท ทั้งนี้ ตามประเภทที่
นายทะเบียนประกาศกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถดำเนินการตรวจสภาพได้
ข้อ
7 การตรวจสภาพรถตามข้อ 6
ต้องดำเนินการภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถของ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพหรือตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
และให้ทำการตรวจสภาพรถ
ล่วงหน้าได้ภายในกำหนดเวลาสามเดือน
ก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี หรือก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีประจำ
แล้วแต่กรณี
ข้อ
8 ภายใต้บังคับข้อ 6
ระที่จะดำเนินการตรวจสภาพได้ต้องมีขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
กับขนาดและเกณฑ์กำลังของเครื่องตรวจสภาพที่ใช้ภายในสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ
9 ในการดำเนินกิจการตรวจสภาพรถ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ดังนี้
(1)
ให้จัดเก็บคต่าบริการตรวจสภาพรถตามอัตราที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ
(2)
ต้องจัดให้มีข้อความหรือเครื่องหมายดังต่อไปนี้ ซึ่งเห็นได้โดยชัดเจน ณ สถานที่
ตรวจสภาพรถ
(ก)
ป้ายชื่อสถานตรวจสภาพรถ มีข้อความดังต่อไปนี้
"สถานตรวจสภาพรถ.............................................................โดยได้รับใบอนุญาต
จัดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม"
ห้ามมิให้ใช้ข้อความอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าสถานตรวจสภาพรถ
นั้นเป็นสถานตรวจสภาพรถนั้นเป็นสถานตรวจสภาพรถของทางราชการหรือดำเนินการโดยทางราชการ
(ข)
ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงประเภท ลักษณะ หรือขนาดรถที่รับบริการตรวจสภาพ
(ค)
ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงเขตอันตราย สำหรับเดือนมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
เข้าไป
ในบริเวณที่ทำการตรวจสภาพรถ
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอันอาจเกิดขึ้นได้ขณะทำการตรวจสภาพรถ
(ง)
ประกาศแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ วันและเวลาทำการปกติ
(3)
ให้ใช้แบบพิมพ์ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ในบันทึกการตรวจสภาพรถ และรายงาน
การตรวจสภาพรถ
ของกรมการขนส่งทางบก
(4)
ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถซึ่งมีคุณสมบัติตาม
ที่กำหนดในกฎกระทรวง ประจำอยู่ ณ
สถานตรวจสภาพรถตอลดเวลาทำการ
(5)
ต้องแจ้งวันและเวลาทำการปกติตามระบุไว้ใน (2) (ง) เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนกลาง
ณ สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจ
สภาพรถนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและทุกครั้ง
ที่มีการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาดังกล่าว
(6)
ต้องแจ้งรายชื่อพร้อมวุฒิการศึกษาของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่
ตรวจสภาพรถตาม (4)
และรายชื่อผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(ถ้ามี) เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนกลาง ณ
สำนักงานวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก หรือ
สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเริ่มให้บริการ
ตรวจสภาพรถครั้งแรกและทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคบดังกล่าวโดยให้แนบหลักฐานภาพถ่ายวุฒิการ
ศึกษา ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
และภาพถ่ายบัตรระจำตัวประชาชนของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและ
เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถนั้นด้วย
(7)
ต้องส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้ได้รับอนุญาตจัดดดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือตัวอย่างลายมือชื่อ
ผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หรือตัวอย่างลายมือชื่อบุคคลทั้งสอง
แล้วแต่กรณี พร้อมสำเนา จำนวน 200 ชุด หรือตามจำนวนที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
และตัวอย่าง
เครื่องหมายประจำของสถานตรวจสภาพรถ ประกอบด้วยชื่อ
และที่อยู่ของสถานตรวจสภาพรถนั้น จำนวน
200 ชุด
หรือตามจำรนวนที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดต่อนายทะเบียนกลาง ณ สำนักงานวิศวกรรมและ
ความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานจนส่งจัหงวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรก
และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลหรือเครื่องหมายดังกล่าว
(8)
กรณีที่จะเปลี่ยนหรือใช้เครื่องตรวจภาพรถเป็นชนิดหรือรุ้นอื่นที่ไม่เป็นไปตามที่
กรมการขนส่งทางบกกำหนด
หรือกรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบไว้ต้องให้กรมการขนส่งทางบก
ให้ความเห็นชอบก่อน
การขอรับความเห็นชอบจากวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ณ สำนักงานวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจ
สภาพรถนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
(9)
ต้องควบคุมดูแลให้การตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้องตามกฎหมาย
ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
(10)
ห้ามมิให้ลงลายมือชื่อในใบรับรองการตรวจสภาพรถ เว้นแต่การตรวจสภาพรถคันนั้น ๆ
จะได้ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องตามกฎระเบียบและข้อบังคับของทางราชการแล้ว
(11)
ต้องไม่ชักชวนหรือแนะนำ หรือยินยอมให้ผู้อื่นชัดชวนหรือแนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
นำรถไปเข้ารับตรวจซ่อมหรือปรับแต่ง ณ สถานประกอบการแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถจะร้องขอ
คำแนะนำเกี่ยวกับสถานประกอบการที่ตนจะนำรถไปใช้บริการตรวจซ่อมหรือปรับแต่ง
(12)
ต้องไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลตาม (4) เข้าควบคุมการตรวจสภาพรถหรือ
ทำหน้าที่ตรวจสภาพรถ
(13)
ในขณะปฏิบัติหน้าที่จต้องหใผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ
ติดบัตรประจำตัวตามแบบบัตรประจำที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(14)
ต้องอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของทางราชการ ในการเข้าไปในสถานตรวจสอบ
เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ
หมวด 2
การตรวจสภาพรถ
---------------
ข้อ
10 การตรวจสภาพรถ ให้ตรวจตามรายการต่าง ๆ ดังนี้
(1)
กรณีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้ตรวจตามรายการใบแบบบันทึก
การตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(2)
กรณีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ ให้ตรวจตามรายการในแบบบันทึกการตรวจสภาพ
รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องตรวจในรายละเอียดอื่น
ๆ ของรถนอกเหนือจากรายละเอียด
ตามรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในแบบบันทึกการตรวจสภาพรถ
ก็ให้บันทึกรายละเอียดที่ตรวจเพิ่มเติมนั้น
ไว้ในช่องรายการอื่น ๆ
รถคันใดที่ได้กำหนดการตรวจสภาพแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและผู้ควบคุมการ
ตรวจสภาพรถบันทึกผลการตรวจ
หรือบันทึกข้อบกพร่องกรณีที่รถไม่ผ่านการจรวจสภาพรถ (ถ้ามี) และ
ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
11 การตรวจสภาพรถ
ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของรถ ดังนี้
(1)
กรณีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้ตรวจสอบหมายเลข
เครื่องยนต์ เลขตัวถังหรือโครงคัสซี และรายละเอียดอื่น ๆ
ของรถตามที่จดแจ้งไว้ในหนังสือแสดงการ
จดทะเบียนและสำเนาประวัติรถ
พร้อมทั้งลอกกลายหลายเลขตัวถังหรือโครงคัสซีไว้ด้วย
สำเนาประวัติรถที่ใช้สำรหับประกอบการตรวจสอบความถูกต้องของรถต้องเป็นฉบับที่
พนักงานตรวจสภาพได้รับรองความถูกต้องแล้ว
และต้องไม่มีรอยการขูดลบแก้ไขในเอกสารนั้น
(2)
กรณีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ ให้ตรวจสอบหมายเลขเครื่องยนต์
เลขตัวรถ และรายการต่าง ๆ ของรถตามที่จดแจ้งไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถ
พร้อมทั้งลอกลายหมายเลข
ตัวถังรถไว้ด้วย
ข้อ
12
ในการตรวจสภาพรถตามรายการที่กำหนดไว้ในข้อ 10 และการตรวจสอบความ
ถูกต้องของรถตามที่กำหนดไว้ในข้อ 11
หากปรากฏว่าหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวรถ หรือหมายเลข
ตัวถัง หรือหมายเลขโครงคัสซี มีรอบการแก้ไขขูดลบหรือลบเลือนจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระ
สำคัญ
(เฉพาะกรณีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก)
หรือมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถ
หรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในคู่เมือจดทะเบียนรถ
(เฉพาะกรณีรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์)
ให้สถานตรวจสภาพรถระงับการตรวจสภาพรถนั้น
เสีย และแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถไปติดต่อขอนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
ณ สำนักงานขนส่ง หรือสำนักทะเบียนและภาษีรถ
กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในเขตท้องที่
ที่รถนั้นจะต่ออายุทะเบียนหรือเสียภาษีประจำปีต่อไป
แล้วแต่กรณี
ข้อ
13 เมื่อทำการตรวจสภาพรถเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถวินิจฉัยผลการ
ตรวจสอบสภาพรถตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และมาตรฐานว่าด้วยการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ ที่กรมการ
ขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ข้อ
14
รถคัดใดอยู่ในเกณฑ์ผ่านการตรวจสภาพ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถออกใบรับรองการตรวจสภาพตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
หรือในรับรองการ
ตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ แล้วแต่กรณี
ข้อ
15
รถคันใดไม่อยู่ในเกณฑ์ผ่านการตรวจสภาพ ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถแจ้ง
ผลการตรวจสภาพและข้อบกพร้องที่รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ทางบกหรือเจ้าของรถได้รับทราบ
และให้จัดทำสำเนาบันทึกการตรวจสภาพรถซึ่งได้บันทึกข้อบกพร่องไว้แล้ว
มอบให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทางบกหรือเจ้าของรถ
เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานในการนำรถ
มารับการตรวจสภาพใหม่ภายหลังที่ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว
ข้อ
16 รถคัดใดไม่ผ่านการตรวจสภาพ
หากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของ
ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องและนำมาขอรับการตรวจสภาพใหม่ให้ดำเนินการดังนี้
(1)
ในกรณีที่นำรถมาขอรับการตรวจสภาพใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
ให้ตรวจสภาพเฉพาะรายการที่ต้องทำการแก้ไขเท่านั้น ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นได้โดยชัดเจนว่ารถนั้น
มีส่วนที่มีข้อบกพร่องและในส่วนนั้นจะได้ผ่านการตรวจสภาพไปแล้วก็ตาม
ให้ให้ทำการตรวจสภาพในส่วนนั้น
หรือรายการนั้นใหม่ด้วย
(2)
ในกรณีที่นำรถมาขอรับการตรวจสภาพใหม่เกินกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการ
ตรวจสภาพ ให้ทำการตรวจสภาพใหม่หมดทุกรายการ
การตรวจสภาพรถใหม่ตาม
(1) และ (2) ให้ใช้แบบบันทึกการตรวจสภาพรถฉบับใหม่ และ
ให้แนบบันทึกการตรวจสภาพรถฉบับเดิมไว้ด้วย
ข้อ
17
การตรวจสภาพรถที่แก้ไขข้อบกพร่องตามข้อ 16 การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ
และการออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการตรวจสภาพรถในกรณีปกติ
ข้อ
18 ใบรับรองการตรวจสภาพรถ มี 2 ฉบับ
ดังนี้
(1)
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ฉบับที่ 1 เป็นฉบับจริง
(2)
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ฉบับที่ 2 เป็นฉบับสำเนา
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ให้ติดลายหมายเลขตัวรถหรือลาย
หมายเลขตัวถังหรือโครงคัสซีที่ลอกไว้ที่บริเวณส่วนล่างของใบรับรองการตรวจสภาพรถ
พร้อมทั้งให
้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถขีดคร่อมลงลายมือชื่อกำกับและประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถ
บนลายหมายเลขตัวรถหรือโครงคัสซีไว้ด้วย
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ฉบับที่ 1 ให้มอบแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถ
เพื่อนำไปติดต่อขอดำเนินการทางทะเบียนกับทางราชการ
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ฉบับที่ และบันทึกการตรวจสภาพรถ ให้เก็บไว้ที่สถาน
ตรวจสภาพรถเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
ข้อ
19 ใบรับรองการตรวจสภาพรถตาม ข้อ 18
ต้องไม่มีการขูลบแก้ไขและต้องประทับตรา
ของสถานตรวจสภาพรถซึ่งประกอบด้วยชื่อสถานตรวจสภาพรถที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่ใบอนุญาต
และวันสิ้นอายุใบอนุญาตไว้ที่ส่วนบนของใบรับรองการตรวจสภาพอย่างชัดเจนไม่ลบเลือนทุกฉบับ
(1)
การใช้ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ต้องลพดับตามเล่มที่และเลขที่ของใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ได้จากกรมการขนส่งทางบก
(2)
ในกรณีที่มีการลงรายการในใบรับรองการตรวจสภาพรถทีได้รับจากกรมการขนส่ง
ทางบกซึ่งยังมิได้ออกรับรองหรือใบรับรองการตรวจสภาพของ
ฉบับที่ 2 (ฉบับลำเนา) สูญหายผู้ได้รับ
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องแจ้งให้ทางราชการทราบในทันทีโดยสถานตรวจสภาพรถ
ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งนายทะเบียนกลาง ณ
สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการ
ขนส่งทางบก สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตังอยู่ในจังหวัดอื่น
ให้แจ้งสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถาน
ตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
หมวด 3
การทำเครื่องหมายสำหรับรถที่ผ่านการตรวจสภาพแล้ว
---------------
ข้อ
20 รถที่ผ่านการตรวจสภาพแล้ว
ให้สถานตรวจสภาพรถติดเครื่องหมาย (Sticker)
เพื่อแสดงว่ารถนั้นได้ผ่านการตรวจสภาพแล้วด้วย
โดยเครื่องหมายดังกล่าวให้จัดทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร
ภายในมีชื่อสถานตรวจสภาพรถ พร้อมเครื่องหมายประจำ
สถานตรวจสภาพรถ (ถ้ามี) และ วัน เดือน ปี
ที่รถนั้นผ่านการตรวจสภาพ โดยใช้ข้อความว่า "วันที่
ตรวจสภาพ............."
ซึ่งสามารถมองเห็นได้โดยชัดเจนจากภายนอกรถ
การติดเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง
ให้ติดตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ดังนี้
(1)
กรณีรถที่มีกระจกกันลมหน้า ให้ติดตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ดังนี้
(2)
กรณีรถที่ไม่มีกระจกกันลมหน้า เช่น รถพ่วงหรือ รถกึ่งพ่วง
ให้ติดที่ตัวถังรถด้านนอก
ข้างซ้าย ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม
(3) กรณีรถจักรยานยนต์ให้ติดที่ด้านในกระบังลมหน้า
(ถ้ามี) หรอที่ด้านหน้ารถ ณ ตำแหน่ง
ที่เหมาะสม หรือติดที่ตัวถังรถด้านซ้าย ณ
บริเวณถังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือบริเวณอื่นที่เหมาะสม
ข้อ
21
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ผ่านการตรวจสภาพแล้ว หากปรากฏว่า
เครื่องหมายเกี่ยวกับน้ำหนักรถ (นร.) น้ำหนักบรรทุก (นบ.)
น้ำหนักลงเพลา (นพ.) น้ำหนักรวม (รวม) จำนวน
ที่นั่ง (นั่ง) และจำนวนที่ยื่น (ยืน) แล้วแต่กรณี
ที่ทางราชการได้จัดทำไว้ที่ตัวถังด้านนอกข้างซ้ายตอนท้ายของ
รถลบเลือนหรือเห็นได้ไม่ชัดเจน
ให้สถานตรวจสภาพรถจัดทำเครื่องหมายที่ตัวถังรถในตำแหน่งดังกล่าว
เสียใหม่โดยวิธีพ่นสีขาวหรือสีน้ำเงินให้ตัดกับสี่ของตัวรถ
ในกรณีที่ไม่อาจจัดทำเครื่องหมายในตำแหน่งเดิมได้ก็ให้จัดทำไว้ที่ตัวถังด้านนอกข้างซ้าย
ในตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมแทน
ข้อ
22 เครื่องหมายที่ต้องจัดทำตามข้อ 21 ให้มีข้อความ ดังนี้
22.1
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของทุกลักษณะ นอกเว้นรถกึ่งพ่วงและรถกึ่งบรรทุก
วัสดุยาว
นร.
.................................. กก.
นบ.
................................. กก.
รวม.
................................ กก.
22.2
รถกึ่งพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
นร.
.................................. กก.
นพ.
................................. กก.
22.3
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกมาตรฐาน
นร.
.................................. กก.
นั่ง
................................... คน
ยืน
................................... คน
22.4
รถขนาดเล็ก
นร.
.................................. กก.
นั่ง
................................... คน
รวม.
................................ กก.
เครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง
ให้ใช้ตัวอักษรราชการและตัวเลขอารบิคมีขนาดความสูง
3 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ความหนาของเส้นพอสมควร
หมวด 4
การรายงานการตรวจสภาพรถ
---------------
ข้อ
23
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ จัดทำรายงานการตรวจสภาพรถ
ประจำเดือน ดังนี้
(1)
จัดทำรายงานการตรวจสภาพรถประจำเดือน โดยใช้แบบรายงานการตรวจสภาพรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือแบบรายงานการตรวจสภาพรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ ที่กรมการขนส่งทางบกจัดพิมพ์ แล้วแต่กรณี
(2)
ประทับตามของสถานตรวจสภาพรถ ซึ่งประกอบด้วยชื่อสถานตรวจสภาพรถ ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่ใบอนุญาต และวันสิ้นอายุใบอนุญาตไว้ที่ส่วนบนของใบรายงานการตรวจสภาพรถ
อย่างชัดเจน ไม่ลบเลือน ทุกฉบับ
(3)
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทน
ผู้ได้รับใบอนุญาต ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนลงนามกำกับ
และจัดทำสำเนาเก็บไว้ ณ สถานตรวจสภาพรถที่ทำการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
(4)
ให้จัดส่งรายงานการตรวจสภาพรถประจำเดือนต่อทางราชการ ภายในวันที่สิบของ
เดือนถัดไป โดยสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ให้ส่ง ณ สำนักวิศวกรรมและความ
ปลอดภัยกรมการขนส่งทางบก
สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งในจังหวัดอื่น ให้ส่ง ณ สำนักงานขนส่ง
จังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
ให้ไว้
ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2543
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
[รก.2543/พ.28ง/6/27 มีนาคม 2543] |
313917 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมาย ว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมาย
ว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีปฏิบัติในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๑ หมวด ๕
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓๐
และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ในกรณียกเลิกการแจ้งย้ายรถและขอใช้งานในจังหวัดเดิม
ให้จังหวัดต้นทางจัดทำหนังสือยกเลิกการแจ้งย้ายไปยังจังหวัดปลายทาง พร้อมกับบันทึกการยกเลิกการแจ้งย้ายลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๒)
ในกรณียกเลิกการแจ้งย้ายรถและประสงค์จะเปลี่ยนจังหวัดปลายทางที่ขอย้ายไว้เดิมไปยังอีกจังหวัดหนึ่ง
ให้ดำเนินการตาม (๑) ก่อน แล้วจึงดำเนินการย้ายรถออกไปยังจังหวัดใหม่เช่นเดียวกับข้อ
๒๑ ต่อไป
(๓)
ในกรณีหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนล่างสูญหาย
ต้องนำหลักฐานการรับแจ้งความและสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นหลักฐานประกอบคำขอ
และให้จังหวัดต้นทางจัดทำหนังสือสอบถามจังหวัดปลายทางก่อนว่า
ได้รับย้ายรถคันดังกล่าวเข้าที่จังหวัดปลายทางแล้วหรือไม่ อย่างไร
เมื่อได้รับหนังสือตอบจากจังหวัดปลายทางแล้วว่ายังไม่ได้รับย้ายเข้า
จึงให้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ต่อไปได้
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในวรรคแรกของข้อ ๓๒ หมวด
๕
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๒ กรณีการขอแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
หากผู้ประกอบการขนส่งประสงค์จะยกเลิกการแจ้งย้ายรถ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดต่อนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางที่แจ้งย้ายรถนั้นออก
พร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ
๕
ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ประภาศรี/พิมพ์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
หทัยภัทร/ตรวจ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๔๔/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ |
313916 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
| ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ลงวันที่ ๑๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์เสียใหม่ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเขตพื้นที่การให้บริการ
และวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีรถประจำปีที่แก้ไขปรับปรุงใหม่
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ ๓
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๔
รถที่จะรับเสียภาษีประจำปีทางไปรษณีย์ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
และประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ประเภทรถที่จะรับเสียภาษีประจำปีทางไปรษณีย์
(ก) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย. ๑)
(ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย. ๒)
(ค) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย. ๓)
(ง) รถจักรยานยนต์ (รย. ๑๒)
(๒) เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระ
หรือรถที่มีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี
(๓)
เป็นรถที่ได้มีการจัดเก็บภาษีประจำปีไว้ครบถ้วนถูกต้องทุกปี
ข้อ ๕
ให้ผู้ประสงค์จะเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ ยื่นขอเสียภาษีรถประจำปี ณ
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ให้บริการไปรษณีย์ธนาณัติได้ทุกแห่งทั่วประเทศ
โดยดำเนินการ ดังนี้
๕.๑ ยื่นขอเสียภาษีรถประจำปี ล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน
ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี ให้ยื่นได้ทันโดยไม่จำกัดระยะเวลา
ทั้งนี้
ต้องไม่เกินวันสิ้นอายุภาษีของปีถัดไป
๕.๒
ยื่นหลักฐานดังต่อไปนี้เป็นหลักฐานประกอบในการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์
(๑) ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(๒)
หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(สำหรับประเภทรถที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อนการเสียภาษีประจำปี)
(๔) ซองสำหรับบรรจุเอกสารจำนวน ๒ ซอง โดย
(ก) รถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้จ่าหน้าซองถึงผู้รับในนามสำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
๔ แล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ซอง และจ่าหน้าซองถึงเจ้าของรถจำนวน ๑ ซอง
(ข) รถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้จ่าหน้าซองถึงผู้รับในนามสำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ซอง
และจ่าหน้าซองถึงเจ้าของรถจำนวน ๑ ซอง
๕.๓ เสียภาษีประจำปี และเงินเพิ่ม (ถ้ามี)
ตลอดจนค่าธรรมเนียมใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(กรณีที่รายการเสียภาษีในใบคู่มือจดทะเบียนรถเต็ม)
ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดทางไปรษณีย์ธนาณัติ โดย
(๑) รถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่ายในนามของ กรมการขนส่งทางบก
เป็นผู้รับเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสามเสนในบางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนา
หรือหนองจอก แล้วแต่กรณี
(๒) รถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่ายในนามสำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาเป็นผู้รับเงิน ณ
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขการสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติ
๕.๔
ชำระค่าธรรมเนียมการใช้บริการตามอัตราที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด
ข้อ ๖ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทุกแห่งทั่วประเทศ
ที่รับเอกสารหลักฐานการเสียภาษีรถประจำปีตามข้อ ๕.๒ มีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหมายทะเบียนรถในเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องตามใบคู่มือจดทะเบียนรถ
พร้อมทั้งให้ตรวจสอบรายการเสียภาษีที่ผ่านมาทุกปี ตามที่ปรากฏในใบคู่มือจดทะเบียนรถว่าได้มีการจัดเก็บภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
(๒)
คำนวณภาษีประจำปีที่เจ้าของรถต้องชำระตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
(๓) จัดเก็บเงินค่าภาษี และเงินเพิ่ม (ถ้ามี)
ตลอดจนค่าธรรมเนียมใบคู่มือจดทะเบียนรถ
(กรณีที่รายการเสียภาษีในใบคู่มือจดทะเบียนรถเต็ม)
โดยรับฝากส่งทางไปรษณีย์ในนามผู้รับเงิน กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
และจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้บริการจากผู้ยื่นคำร้อง
(๔) จัดส่งเอกสารตามข้อ ๕.๒ และใบแจ้งความไปรษณีย์ธนาณัติสำหรับผู้รับไปขอรับเงิน
(แบบ ธน.๓๑ ท่อนที่ ๒) ตาม (๓)
โดยทางไปรษณีย์รับประกันให้ถึงสำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔
สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี ภายในเวลาไม่เกิน
๕ วันทำการ นับถัดจากวันที่รับฝาก
(๕) ในกรณีเป็นรถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสามเสนใน บางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนา และหนองจอก
โอนเงินตาม (๓) เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร
และหรือจัดส่งจำนวนเงินค่าภาษีที่รับชำระไว้เกินตามข้อ ๑๐ (ถ้ามี)
คืนเจ้าของทางไปรษณีย์ธนาณัติเป็นจำนวนเงินตามบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศ
และตามหนังสือแจ้งการคืนเงิน ค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกินของสำนักทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓
หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ แล้วแต่กรณี พร้อมจัดส่งหลักฐานการโอนเงิน
และหรือหลักฐานการจัดส่งจำนวนเงินที่รับชำระไว้เกินคืนเจ้าของรถดังกล่าว
ให้สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
๓ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ แล้วแต่กรณี
สำหรับกรณีรถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แจ้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ทำหน้าที่ติดต่อการเงินกับสำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาทราบเป็นการล่วงหน้า
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินเป็นแคชเชียร์เช็คขีดคร่อม ACCOUNT PAYEE ONLY
เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
หรือจ่ายเป็นเงินสดในกรณีที่จำนวนเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
และหรือจัดส่งจำนวนเงินค่าภาษีที่รับชำระไว้เกินตามข้อ ๑๐ (ถ้ามี)
คืนเจ้าของรถทางไปรษณีย์ธนาณัติเป็นจำนวนเงินตามบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศ
และตามหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกินของสำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
พร้อมจัดส่งหลักฐานการโอนเงินและหรือหลักฐานการจัดส่งจำนวนเงินค่าภาษีที่รับชำระไว้เกินคืนเจ้าของรถดังกล่าวให้สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
(๖) จัดส่งเอกสารที่ได้รับจากสำนักทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาแล้วแต่กรณี
โดยทางไปรษณีย์รับประกันให้ถึงเจ้าของรถภายในเวลาไม่เกิน ๕ วันทำการ
นับถัดจากวันที่ได้รับเอกสารคืนจากหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกดังกล่าว
(๗)
จ่ายเงินค่าภาษีที่ชำระไว้เกินเป็นจำนวนเงินตามหนังสือที่ได้รับแจ้งจากสำนักทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แล้วแต่กรณี คืนให้แก่เจ้าของรถทางไปรษณีย์ธนาณัติและหากเจ้าของรถไม่มาติดต่อขอรับเงินคืนภายในระยะเวลาที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด
ให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยดำเนินการกับเงินดังกล่าวตามระเบียบที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดต่อไป
ข้อ ๗
เมื่อสำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
๔ แล้วแต่กรณี
รับเอกสารหลักฐานการเสียภาษีรถประจำปีจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน จำนวนเงินค่าภาษีรถ
เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียม (ถ้ามี)
ที่ได้รับจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยตามข้อ ๖ (๔)
(๒)
จัดทำบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศและหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกิน
(ถ้ามี) แจ้งให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสามเสนใน
บางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนา หรือหนองจอก แล้วแต่กรณี)
เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร
และหรือจัดส่งจำนวนเงินค่าภาษีที่รับชำระไว้เกินตามข้อ ๑๐
คืนเจ้าของรถทางไปรษณีย์ธนาณัติเป็นจำนวนเงินตามบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศและตามหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกิน
พร้อมทั้งดำเนินการทางทะเบียนในส่วนที่เกี่ยวกับการรับเสียภาษีรถประจำปี
(๓) จัดส่งเอกสารหลักฐานไปยังเจ้าของรถ
โดยเตรียมการก่อนฝากส่งและดำเนินการทางไปรษณีย์ ดังนี้
(ก) รวบรวมใบคู่มือจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีและใบเสร็จรับเงินบรรจุในซองเอกสารที่จ่าหน้าถึงเจ้าของรถ
ปิดผนึกฝาซองให้เรียบร้อยแล้วประทับตราของกรมการขนส่งทางบกกำกับไว้ตามรอยตะเข็บ
หรือรอยต่อของซองทุกแห่ง จากนั้นให้ใช้เทปใสปิดผนึกทับรอยต่อของซอง และตราของกรมการขนส่งทางบกอีกชั้นหนึ่งให้เรียบร้อย
(ข) จัดทำใบรับฝากรวม จำนวน ๓ ชุด
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฝากส่งซองตาม (ก) โดยกรอกรายการชื่อ ที่อยู่ผู้รับ
หมายเลขทะเบียนรถ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในใบรับฝากรวมให้เรียบร้อย
รวมทั้งหมายเหตุในใบรับฝากรวมให้ชัดเจนด้วยว่า ส่งเอกสารการชำระภาษีให้เจ้าของรถ
หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
ใบรับฝากรวมดังกล่าว อาจใช้แบบพิมพ์ใบรับฝากรวม (ป.๔๘)
ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือจัดทำขึ้นเอง
โดยมีรูปแบบและรายละเอียดทำนองเดียวกับใบรับฝากรวมของการสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ได้
(ค)
นำซองบรรจุเอกสารพร้อมใบรับฝากรวมไปฝากส่งเป็นจดหมายรับประกันในประเทศ ณ
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสามเสนใน บางขุนเทียน ตลิ่งชัน บางนา
หรือหนองจอกแล้วแต่กรณี
โดยไม่ต้องชำระค่าฝากส่งและให้รับต้นฉบับใบรับฝากรวมคืนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเมื่อได้ทำการรับฝากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(๔) การดำเนินการตามข้อ ๗ (๑) (๒) และ (๓)
จะต้องให้แล้วเสร็จและนำไปมอบให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยภายในเวลาไม่เกิน
๕ วันทำการ นับถัดจากวันที่ได้รับเอกสารตามข้อ ๖ (๔)
จากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๘
เมื่อสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา แล้วแต่กรณี
รับเอกสารหลักฐานการเสียภาษีรถประจำปีจากที่ทำทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน จำนวนเงินค่าภาษีรถ
เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียม (ถ้ามี)
ที่ได้รับจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยตามข้อ ๖ (๔)
(๒) จัดทำบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศ
และหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกิน (ถ้ามี)
แจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติเพื่อจ่ายเป็นเงินสดในกรณีที่จำนวนเงินไม่เกิน
๑,๐๐๐ บาท หรือออกแคชเชียร์เช็ค ในกรณีที่จำนวนเงินเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
(ในกรณีการขอรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็คต้องแจ้งให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินไปรษณีย์ธนาณัติทราบล่วงหน้า)
และหรือ จัดส่งจำนวนเงินค่าภาษีที่รับชำระไว้เกินตามข้อ ๑๐ (ถ้ามี)
คืนเจ้าของรถทางไปรษณีย์ธนาณัติเป็นจำนวนเงินตามบัญชีจ่ายเงินธนาณัติในประเทศ
และตามหนังสือแจ้งการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกินโดยดำเนินการไม่เกินเดือนละ ๒
ครั้ง (เฉพาะกรณีการขอรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค)
พร้อมทั้งดำเนินการทางทะเบียนในส่วนที่เกี่ยวกับการรับเสียภาษีประจำปี
(๓)
จัดส่งเอกสารหลักฐานไปยังเจ้าของรถโดยเตรียมการก่อนฝากส่งและดำเนินการจัดส่งทางไปรษณีย์
โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๗ (๓)
เว้นแต่การนำซองบรรจุเอกสารพร้อมใบรับฝากส่งเป็นจดหมายรับประกันในประเทศไทย ให้นำไปฝากส่ง
ณ
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นผู้จ่ายเงินธนาณัติ
(๔) การดำเนินการตามข้อ ๘ (๑) (๒) และ (๓) จะต้องให้แล้วเสร็จและนำไปมอบให้ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยภายในเวลาไม่เกิน
๕ วันทำการ นับถัดจากวันที่ได้รับเอกสารตามข้อ ๖ (๔)
จากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๙
ในกรณีที่เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้สำนักทะเบียนรถและภาษี
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แล้วแต่กรณี แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถจัดส่งหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนแล้ว จึงจะดำเนินการต่อไป
สำหรับในกรณีที่จัดส่งเอกสารไม่ถูกสถานที่
ให้สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ สำนักงานขนส่งจังหวัด
สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี นำเอกสารทั้งหมดบรรจุกลับคืนในซองเดิมแล้วแก้ไขจ่าหน้าซองถึงหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกที่ถูกต้อง
ปิดผนึกซองให้เรียบร้อยและนำไปฝากส่งเช่นเดียวกับการฝากส่งซองบรรจุเอกสารทางทะเบียนรถที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยที่จ่าหน้าซองถึงเจ้าของรถ
ข้อ ๑๐
ในกรณีจำนวนเงินในใบแจ้งความไปรษณีย์ธนาณัติสำหรับผู้รับไปขอรับเงิน (แบบ
ธน. ๓๑ ท่อนที่ ๒) มากกว่าจำนวนเงินค่าภาษีรถที่เจ้าของรถต้องชำระ
ให้สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ สำนักงานขนส่งจังหวัด
สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี รับชำระภาษีและดำเนินการตามข้อ ๗ (๒) และข้อ
๘ (๒) แล้วแต่กรณี
พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถทราบว่าได้มีการชำระเงินค่าภาษีรถไว้เกินและการสื่อสารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดส่งเงินจำนวนนี้คืนให้กับเจ้าของรถทางไปรษณีย์ธนาณัติ
(ตามแบบเอกสารแนบ ๑ ท้ายระเบียบนี้)
โดยจัดส่งหนังสือแจ้งเจ้าของรถดังกล่าวไปพร้อมกับการจัดส่งเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีและใบเสร็จรับเงิน
ข้อ ๑๑
ในกรณีจำนวนเงินในใบแจ้งความไปรษณีย์ธนาณัติสำหรับผู้รับไปขอรับเงิน (แบบ
ธน. ๓๑ ท่อนที่ ๒) น้อยกว่าจำนวนเงินค่าภาษีรถที่เจ้าของรถต้องชำระ
ให้สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ สำนักงานขนส่งจังหวัด
สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถไปดำเนินการชำระเงินค่าภาษีส่วนที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
(ตามแบบเอกสารแนบ ๒ ท้ายระเบียบนี้)
โดยให้นำเงินพร้อมด้วยหนังสือที่ได้รับแจ้งไปชำระเพิ่มเติมได้ ณ
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ให้บริการไปรษณีย์ธนาณัติทุกแห่งทั่วประเทศ
หรือ ณ สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
๒ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๓ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔
สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ในกรณีเอกสารที่จัดส่งเกิดการชำรุดหรือสูญหายในระหว่างทางไปรษณีย์ซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องรับผิดชอบ
ให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือพนักงานที่ได้รับมอบหมายตามที่ได้รับแจ้งจากหัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการเพื่อขอให้ออกเอกสารหลักฐานให้ใหม่ตามระเบียบที่กรมขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๓
ในการรับเสียภาษีรถทางไปรษณีย์นี้ ให้ถือว่าวันที่รับฝากไปรษณีย์ธนาณัติที่ปรากฏในใบแจ้งความไปรษณีย์ธนาณัติสำหรับผู้รับไปขอรับเงิน
(แบบ ธน. ๓๑ ท่อนที่ ๒) เป็นวันรับชำระภาษีของนายทะเบียน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเสียภาษีรถทางไปรษณีย์ให้บุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ดังต่อไปนี้เป็นผู้ประสานงานกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายรถยนต์นั่งไม่เกิน ๗ คน หัวหน้าฝ่ายรถยนต์นั่งเกิน ๗
คนและรถบรรทุก หัวหน้าฝ่ายรถจักรยานยนต์ ประจำสำนักทะเบียนและภาษีรถ
หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถประจำสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔
หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถประจำสำนักงานขนจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
ข้อ ๑๕
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบการคืนเงินค่าภาษีรถที่ชำระไว้เกิน
๒.
แบบขอให้ชำระเงินค่าภาษีรถเพิ่มเติม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปรียนันท์/พิมพ์
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๕
โชติกานต์/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๖๘/๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๒ |
308585 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถเพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2542 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถ
เพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาต
จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถเพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
เพื่อให้การตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ (๒) และ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับประวัติรถ
เพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
ประวัติรถ หมายความว่า
เอกสารแสดงข้อมูลรายละเอียดของรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒
พนักงานตรวจสภาพรถ หมายความว่า
ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง
ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง
ข้อ ๕
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบกรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖
การยื่นขอดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับประวัติรถ หากไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ยื่น ณ สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗
การขอสำเนาประวัติรถ ให้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเท่านั้น
ข้อ ๘
การยื่นขอดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับประวัติรถ
ถ้าผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถไม่มาติดต่อขอดำเนินการด้วยตนเอง
ผู้ยื่นคำขอจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ มาแสดงด้วยทุกครั้ง
หมวด ๒
การขอสำเนาประวัติรถ
ข้อ ๙
ผู้ยื่นคำขอสำเนาประวัติรถ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือภาพถ่าย
(๒) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๑๐
เมื่อได้รับคำขอสำเนาประวัติรถตามข้อ ๙ และพนักงานตรวจสภาพ ตรวจสอบหลักฐาน
เอกสารประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ออกสำเนาประวัติรถ
และรับรองความถูกต้องพร้อมประทับตรายางลงในสำเนาประวัติรถว่า เมื่อตรวจสภาพรถเรียบร้อยแล้ว
ให้เจ้าของรถเก็บสำเนาประวัติไว้เพื่อใช้ตรวจสภาพรถในปีต่อไป ด้วย
(๒) จ่ายสำเนาประวัติรถ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โชติกานต์/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๑๐/๒๖ เมษายน ๒๕๔๒ |
313915 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
(ฉบับที่
๒)
พ.ศ.
๒๕๔๐
----------------------------
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการ
ศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่
๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวให้เหมาะสม
ยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ.
๒๕๓๗) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และเพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการดำเนินการ
อบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้องและใน
แนวทางเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและ
ทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐"
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของหมวด ๑ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่า
ด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้
ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๖ การทดสอบประสาทมือให้ทดสอบโดยใช้เครื่องทดสอบประสาทมือรวม
๓ ครั้ง หากปรากฏสัญญาณไฟแสงสีแดงขึ้นในการทดสอบ
ระหว่างช่องหมายเลข ๗-๑๖ หรือระหว่าง
ช่องหมายเลข ๗-๑๔ (สำหรับเครื่องทดสอบที่มีหมายเลขกำหนดไว้เพียง
๑๔ ช่อง) ไม่เกินกว่า ๑ ครั้ง
ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ"
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของท่าที่ ๔ การกลับรถ ข้อ ๑๒.๓.๓ ของหมวด ๑
แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่
เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๓)
ตั้งแต่เริ่มขับรถเพื่อกลับรถจนกระทั่งกลับรถแล้วเสร็จ ต้องเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน
กว่า ๗ ครั้ง"
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ ของหมวด ๑ แห่งระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และ
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๑๔ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถอยู่แล้ว ประสงค์จะขอเปลี่ยนชนิดของใบ
อนุญาตให้สูงขึ้นจากเดิมจะต้องปฏิบัติดังนี้
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๔๐
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[รก.๒๕๔๑/๔๔ง/๙๖/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑]
พรพิมล/แก้ไข
๒๑/๐๖/๔๕
B+A
(C ) |
313914 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. 2539 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ.
๒๕๓๙
-------------------
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการ
ศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๓๔ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๓๔ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวเสีย
ใหม่ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔
(พ.ศ.
๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และเพื่อให้การปฏิบัติ
ราชการเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้อง
และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรม
และทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ.
๒๕๓๙ "
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับ
ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่
๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับ
ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๓๔ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่ง
ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
----------------------
ส่วนที่ ๑
การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย
ข้อ
๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ทุกประเภทและทุกชนิด ต้องผ่านการ
ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ดังต่อไปนี้
(๑)
การทดสอบประสาทมือ
(๒)
การทดสอบปฏิกิริยา
(๓)
การทดสอบสายตา
ข้อ
๖ การทดสอบประสาทมือให้ทดสอบโดยใช้เครื่องทดสอบประสาทมือรวม ๓
ครั้ง
หากปรากฏสัญญาณไฟแสงสีแดงขึ้นในการทดสอบระหว่างช่องหมายเลข ๗ - ๑๖ ไม่เกินกว่า
หนึ่งครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
ข้อ
๗ การทดสอบปฏิกิริยาให้ทดสอบโดยใช้เครื่องทดสอบปฏิกิริยารวม ๓ ครั้ง
หากปรากฏว่า
(๑)
สำหรับการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบแบบเดิมที่ไม่ใช่เครื่องทดสอบตามข้อ
๗ (๒) ได้รับผลเฉลี่ยไม่เกินกว่า ๐.๗๕ วินาที
ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
(๒)
สำหรับการทดสอบด้วยเครื่อง Porto. - Clinic/Glare ได้รับผลเฉลี่ยไม่เกิน
กว่า ๐.๓๘ วินาที ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
ข้อ
๘ การทดสอบสายตา ให้ดำเนินการ ดังนี้
๘.๑ การทดสอบสายตาทางกว้าง ให้ทำการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบ
ด้วยเครื่องทดสอบแบบเดิม หรือเครื่องทดสอบตามข้อ ๗ (๒)
แล้วแต่กรณีถ้าผู้เข้ารับการทดสอบ
สามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุมกว้างตั้งแต่
๗๕ องศาขึ้นไป ให้ถือว่าผ่านการ
ทดสอบ
๘.๒ การทดสอบสายตาทางลึก ให้ดำเนินการ ดังนี้
(ก)
สำหรับการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบตามข้อ ๗ (๑) ให้ทดสอบ
ในระยะ ๒.๕๐ - ๓.๕๐ เมตร รวม ๓ ครั้ง
หากปรากฏผลเฉลี่ยไม่เกินกว่า ๑ นิ้ว ให้ถือว่าผ่านการ
ทดสอบ
(ข)
สำหรับการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบตาข้อ ๗ (๒) ให้ทดสอบ
ในระยะประมาณ ๒๐ ฟุต (ประมาณ ๗ เมตร) รวม ๓ ครั้ง
หากปรากฏผลเฉลี่ยไม่เกินกว่า ๑ นิ้ว ให้
ถือว่าผ่านการทดสอบ
๘.๓ การทดสอบสายตาบอดสี ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดูสีเขียว สีแดง และ
สีเหลือง
จากแผ่นภาพทดสอบการบอดสีของสายตาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ทั้งนี้ โดยให้ผู้
เข้ารับการทดสอบอยู่ห่างจากแผ่นภาพทดสอบในระดับสายตาในระยะไม่น้อยกว่า
๓ เมตร แล้วให้
ผู้ควบคุมใช้ไม้ชี้สีแต่ละสีให้อ่านในแต่ละจุดแตกต่างกันรวมสีละ
๓ ครั้ง หากอ่านได้ถูกต้องให้ถือว่า
ผ่านการทดสอบ
ข้อ
๙ ในกรณีที่ผู้เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายผู้ใดไม่ผ่านการ
ทดสอบตามข้อ ๕
ให้มีสิทธิสอบแก้ตัวตามวันและเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
ข้อ
๑๐ ในกรณีที่มีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประสงค์จะเข้ารับการศึกษาใน
โรงเรียนสอนขับรถเอกชนซึ่งกรมการขนส่งทางบกรับรอง
ต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพของ
ร่างกายก่อนตามข้อ ๕ จากสำนักทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่ง
จังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาแล้วแต่กรณี
ส่วนที่ ๒
การศึกษาอบรม
---------------
ข้อ
๑๑ ให้หน่วยงานในสังกัดกรมการขนส่งทางบกต่อไปนี้เป็นโรงเรียนการขน
ส่ง กรมการขนส่งทางบก และมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑)
กองสวัสดิภาพการขนส่ง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้การศึกษาอบรม
การขับรถตามหลักสูตรระยะยาว
และการกำหนดหลักสูตรการศึกษาอบรมหลักสูตรระยะยาว หลัก
สูตรระยะสั้น และหลักสูตรพิเศษ
(๒)
สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้การศึกษาอบรมการขับรถตามหลักสูตรระยะยาว
หลัก
สูตรระยะสั้น และหลักสูตรพิเศษ
(๓)
สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้
การศึกษาอบรมการขับรถตามหลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรพิเศษ
สำหรับการศึกษาอบรมการขับรถตามหลักสูตรระยะยาว
หลักสูตรระยะสั้น และ
หลักสูตรพิเศษ
ให้กองสวัสดิภาพการขนส่งเป็นผู้กำหนดหลักสูตรการศึกษาอบรมทั้งภาคทฤษฎี
และภาคปฏิบัติ ระยะเวลาการศึกษาอบรม การทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ตลอดจน
ออกระเบียบและคำสั่งต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของโรงเรียนการขนส่ง พร้อมทั้งให้
ดำเนินการจัดทำและออกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ผ่านการศึกษาและสำเร็จการศึกษาตามหลัก
สูตรระยะยาวเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามภูมิลำเนาของผู้สำเร็จ
การศึกาาตามหลักสูตร โดยไม่ต้องเข้ารับการทดสอบใด ๆ อีก
ข้อ
๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ ต้องผ่านการศึกษาอบรมและจบ
หลักสูตรดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ ชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒ ต้องผ่านการ
ศึกษาอบรมและจบหลักสูตรระยะยาวจากโรงเรียนการขนส่ง
กองสวัสดิภาพการขนส่ง กรมการขน
ส่งทางบก หรือ
(๒)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ ชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ ชนิดที่ ๓ และชนิดที่
๔ ต้องผ่านการศึกษาอบรมและจบหลักสูตรระยะยาว
หลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรพิเศษ แล้วแต่
กรณี ณ สำนักทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือ
(๓)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถใหม่ ชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ ชนิดที่ ๓ และชนิดที่
๔ ต้องผ่านการศึกษาอบรม
และจบหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรพิเศษ แล้วแต่กรณี ณ สำนักงาน
ขนส่งจังหวัดสาขา
หลักสูตรระยะสั้นโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ ชนิดที่ ๓
และชนิดที่ ๔
๑๒.๑
การศึกษาอบรมภาควิชาการ
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
ทั้งนี้
โดยกำหนดชั่วโมงการศึกษาอบรมแตกต่างกันตามชนิดของใบอนุญาตเป็น
ผู้ขับรถ ดังนี้
(ก)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒ ประเภทส่วนบุคคล
และทุกประเภท ต้องเข้ารับการศึกษาอบรม รวม ๙ ชั่วโมงหรือ ๒
วัน
(ข)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓ ประเภทส่วนบุคคลและทุกประเภท
ต้องเข้ารับการศึกษาอบรม รวม ๑๐ ชั่วโมง หรือ ๒ วัน
(ค)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ประเภทส่วนบุคคลและทุกประเภท
ต้องเข้ารับการศึกษาอบรม รวม ๑๖ ชั่วโมง หรือ ๓ วัน
๑๒.๒
การทดสอบและวัดผลภาควิชาการ
๑๒.๒.๑
ในการทดสอบข้อเขียนให้ทำการทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็น
ผู้ขับรถด้วยข้อสอบซึ่งจัดทำขึ้นตามชนิดของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ขอรับ
ข้อสอบตามวรรคหนึ่ง ให้กองสวัสดิภาพการขนส่งพิจารณาจัดทำรูปแบบ
และจำนวนชุดของข้อสอบ
ตลอดจนกำหนดเวลาการทดสอบให้เหมาะสมกับสภาพกาลเวลาโดยข้อ
สอบนั้นให้ครอบคลุมเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรการศึกษาอบรมและให้หมุนเวียนใช้ข้อ
สอบแต่ละชุดตามความเหมาะสม
๑๒.๒.๒
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องได้คะแนนรวมร้อยละ ๗๕ ขึ้นไป จึงให้
ถือว่าผ่านการทดสอบ ในกรณีไม่ผ่านการทดสอบให้ทดสอบแก้ตัวได้
๑๒.๒.๓
ในกรณีผู้เข้ารับการทดสอบอ่านและเขียนหนังสือไม่ได้ ให้เจ้า
หน้าที่ผู้ดำเนินการทดสอบอ่านคำถามให้ฟังแล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบตอบด้วยปากเปล่า
โดยให้
เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการทดสอบเขียนคำตอบตามคำถามของผู้เข้ารับการทดสอบลงในกระดาษคำ
ตอบแทน
สำหรับกรณีการตอบโดยใช้เครื่องหมายให้ผู้เข้ารับการทดสอบทำเครื่องหมายด้วยตนเอง
และให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการทดสอบบันทึกในกระดาษสอบว่า
"สอบปากเปล่า" พร้อมทั้งลงนาม
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
๑๒.๒.๔
เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบให้ประกาศผลการทดสอบภายใน ๓
วันทำการถัดไป
๑๒.๓
การทดสอบและวัดผลภาคปฏิบัติ (ทดสอบขับรถ)
๑๒.๓.๑
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องทดสอบขับรถตามที่กำหนดไว้
สำหรับใบอนุญาตที่ขอรับในแต่ละชนิด ดังนี้
(ก)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ ทดสอบขับรถด้วยรถที่มีน้ำ
หนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร
หรือรถขน
ส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน
(ข)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๒ ทดสอบขับรถด้วยรถที่มีน้ำ
หนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร
หรือรถ
ขนส่งผู้โดยสารเกินกว่ายี่สิบคน
(ค)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓ ทดสอบขับรถด้วยรถลากจูง
พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง
(ง)
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ (รถบรรทุกวัตถุอันตราย) จะ
ต้องเข้ารับการทดสอบการขับรถด้วยรถลากจูงพร้อมรถพ่วง
หรือรถกึ่งพ่วง
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่
๑ อาจใช้รถทดสอบขับเช่นเดียวกับ
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๒ หรือชนิดที่ ๓ ก็ได้
หรือผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่
๒
อาจใช้รถทดสอบขับเช่นเดียวกับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓
ก็ได้เช่นเดียวกัน
๑๒.๓.๒
ในการทดสอบความสามารถการขับรถ ให้ทำการ
ทดสอบขับไม่น้อยกว่า ๓ ท่า ในจำนวน ๗ ท่า โดยให้ใช้ท่าที่ ๓
เป็นท่าบังคับ ดังต่อไปนี้
ท่าที่ ๑
การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ท่าที่ ๒
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
ท่าที่ ๓
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ท่าที่ ๔
การกลับรถ
ท่าที่ ๕
การหยุดรถบนทางราบ
ท่าที่ ๖
การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
ท่าที่ ๗
การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
๑๒.๓.๓
ท่าสำหรับทดสอบขับรถตามข้อ ๑๒.๓.๒ ให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
ท่าที่ ๑
การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(๑)
ตัวถังด้านซ้ายของรถต้องขนานขอบทางและห่างจากขอบ
ทางไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร
(๒)
กันชนหน้ารถต้องไม่ล้ำเกินจุดหยุดรถ และต้องอยู่ห่างจาก
จุดหยุดรถนั้นไม่เกิน ๒ เมตร
(๓)
ต้องไม่ขับรถปีนทางเท้าหรือขอบทาง
ท่าที่ ๒
การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๑)
ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่ง
ประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ในแนวตรงขนานกัน ๒ แถว มีความยาวไม่น้อยกว่า
๒๐ เมตร หลักแต่ละ
หลักในแถวเดียวกันมีระยะห่าง ๔ เมตร
ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความกว้างสุดของตัว
รถบวกอีก ๕๐ เซนติเมตร
(๒)
ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก
ท่าที่ ๓
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
(๑)
ให้ขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้ายซึ่งประกอบด้วย
หลักที่ตั้งไว้ไม่น้อยกว่า ๙ หลัก
โดยมีระยะห่างระหว่างหลักที่ ๑ ถึงหลักที่ ๓ และหลักที่ ๗ ถึงหลัก
ที่ ๙ เท่ากับความกว้างสุดของตัวรถบวกกับอีก ๑ เมตร
ระยะห่างระหว่างหลักที่ ๑ ถึงหลักที่ ๙ และ
หลักที่ ๓ ถึงหลักที่ ๗ เท่ากับความยาวสุดของตัวรถบวกกับอีก
๔ เมตร สำหรับการทดสอบเพื่อขอ
รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒
และบวกกับอีก ๖ เมตร สำหรับการทดสอบเพื่อขอ
รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓
(๒)
ตั้งแต่เริ่มขับรถถอยหลักเข้าจอดจนกระทั่งออกจากที่จอด
ต้องไม่เปลี่ยนเกียร์เกินกว่า ๗ ครั้ง
(๓)
ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก
ท่าที่ ๔
การกลับรถ
(๑)
ให้กลับรถในช่องเดินรถซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ขนานกัน
๒ แถว มีความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร หลักในแต่ละแถวห่างกัน
๔ เมตร ส่วนความกว้างของช่อง
เดินรถเท่ากับความยาวของรถบวกกับอีก ๖ เมตร
(๒)
ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก
(๓)
ตั้งแต่เริ่มขับรถเพื่อกลับรถจนกระทั่งกลับรถแล้วเสร็จ
ท่าที่ ๕
การหยุดรถบนทางราบ
(๑)
ให้ขับรถในทางตรงด้วยความเร็วประมาณ ๒๐ - ๓๐ กม./
ชม. แล้วหยุดรถตรงแนวเส้นที่กำหนด
(๒)
กันชนหน้าต้องไม่ล้ำหรือต่ำกว่าแนวเส้นที่กำหนดเกินกว่า ๑
เมตร
ท่าที่ ๖
การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
(๑)
ให้ขับรถบนเนินหรือสะพานโค้งแล้วหยุดรถบนเชิงลาดของ
เนิน หรือสะพานโค้งนั้นโดยให้กันชนหน้าอยู่ระหว่างกึ่งกลางเนิน
หรือส่วนบนสุดของสะพานโค้ง
แล้วออกรถข้ามเนินหรือสะพานโค้งนั้นไปโดยปลอดภัย
(๒)
ต้องไม่ขับรถในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเลี้ยงคลัชท์
หรือเป็นเหตุให้ตัวรถเคลื่อนถอยจากจุดที่หยุดเกินกว่า ๑
เมตร หรือเครื่องยนต์ดับเกินกว่า ๒ ครั้ง
ท่าที่ ๗
การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ให้ขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรที่กำหนดไว้ตามจุด
ต่าง ๆ บนเส้นทางการสอบขับรถไม่น้อยกว่า ๕ เครื่องหมาย
พร้อมทั้งให้สัญญาณไฟหรือสัญญาณ
มือประกอบด้วย
๑๒.๓.๔
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบขับรถแต่ละข้อตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๒.๓.๓ จึงจะถือว่าผ่านการ
ทดสอบ
ในกรณีไม่ผ่านการทดสอบในท่าใด ให้ทดสอบแก้ตัวสำหรับท่านั้นได้
๑๒.๓.๕
เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบให้ประกาศผลการทดสอบภาย
ใน ๓ วันทำการถัดไป
ข้อ
๑๓ ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ และชนิดที่ ๓ ที่
มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๖ (ม.๖)
หรือชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.๓ หรือ ม.๓ )
หรือเทียบเท่าขึ้นไปให้ได้รับการยกเว้นการเข้ารับการศึกษาอบรมตามข้อ
๑๒ แต่ให้ผ่านการศึกษา
อบรมและจบหลักสูตรพิเศษจากโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก ณ สำนักทะเบียนและ
ภาษีรถสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ดังนี้
หลักสูตรพิเศษโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ ชนิดที่ ๓
๑๓.๑
การศึกษาอบรม
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
๑๓.๒
การทดสอบและวัดผล
ให้นำหลักเกณฑ์การทดสอบและวัดผลภาควิชาการและภาคการทดสอบ
ขับรถตามหลักสูตรการศึกษาระยะสั้นของโรงเรียนการขนส่งกรมการขนส่งทางบก
มาใช้บังคับแก่
การดำเนินการทดสอบและวัดผลภาควิชาการและภาคทดสอบขับรถหลักสูตรพิเศษของโรงเรียน
การขนส่ง กรมการขนส่งทางบกโดยอนุโลม
ข้อ
๑๔ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถอยู่แล้ว ประสงค์จะขอเปลี่ยนชนิดของ
ใบอนุญาตให้สูงขึ้นจากเดิม จะต้องปฏิบัติดังนี้
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
ข้อ
๑๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและภาษีรถ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่ง
เขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัด
หรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณีมอบหมายให้เจ้าหน้า
ที่ในสำนักงานเป็นวิทยากรอบรมวิชาในหลักสูตรการศึกษาอบรมตามที่เห็นสมควร
เว้นแต่ จะ
พิจารณาว่าวิชาใดไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้เหมาะสมจะเป็นวิทยากร
ก็ให้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายในเขต
จังหวัดนั้นมาเป็นวิทยากรอบรมได้ ทั้งนี้
โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสมนาคุณ
วิทยากรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ส่วนที่ ๓
คณะกรรมการดำเนินการทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
---------------------
ข้อ
๑๖ การดำเนินการทดสอบสำหรับเขตท้องที่ความรับผิดชอบของสำนัก
ทะเบียนและภาษีรถให้ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและภาษีรถ
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ส่วนใบอนุญาต
ขับรถ
สำนักทะเบียนและภาษีรถหรือเจ้าหน้าที่จากกองอื่นที่เห็นสมควรและผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
ให้ความเห็นชอบแล้วจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน
เป็นคณะกรรมการดำเนินการทดสอบผู้ขอรับใบ
อนุญาตเป็นผู้ขับรถรวม ๓ คณะ ดังนี้
(๑)
คณะกรรมการควบคุมและดำเนินการทดสอบข้อเขียน
(๒)
คณะกรรมการตรวจข้อสอบ
(๓)
คณะกรรมการดำเนินการสอบขับรถ
ข้อ
๑๗ การดำเนินการทดสอบสำหรับเขตท้องที่ความรับผิดชอบของสำนักงาน
ขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน
ขนส่งเขตพื้นที่ ขนส่งจังหวัดหรือหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
แล้วแต่กรณี แต่งตั้งเจ้าหน้า
ที่ภายในสำนักงานเป็นคณะกรรมการดำเนินการทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรวม
๒ คณะ
ดังนี้
(๑)
คณะกรรมการควบคุมและดำเนินการทดสอบข้อเขียนและตรวจข้อสอบ
(๒)
คณะกรรมการดำเนินการทดสอบขับรถ
หมวด ๒
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้บริการ
----------------------
ส่วนที่ ๑
การศึกษาอบรม
ข้อ
๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องผ่าน
การศึกษาอบรม และจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก ณ สำนักทะเบียน
และภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้ว
แต่กรณี ตามหลักสูตรการศึกษา ดังนี้
หลักสูตรการศึกษาอบรมของโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้บริการ
๑๘.๑
การศึกษาอบรมภาควิชาการ
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
๑๘.๒
การทดสอบและวัดผลภาควิชาการ
ให้นำหลักเกณฑ์การทดสอบและวัดผลภาควิชาการผู้ขอรับใบอนุญาต
เป็นผู้ขับรถหลักสูตรการศึกษาระยะสั้นของโรงเรียนการขนส่งกรมการขนส่งทางบก
มาใช้บังคับแก่
การทดสอบและวัดผลภาควิชาการผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้บริการ
โดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการมีวุฒิ
การศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๖ (ม.๖)
หรือประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ. ๓ หรือ ม. ๓) หรือ
เทียบเท่าขึ้นไปให้ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับการศึกษาอบรมตามข้อ
๑๘ แต่ให้ผ่านการศึกษาอบรมและ
จบหลักสูตรพิเศษ จากโรงเรียนการขนส่งกรมการขนส่งทางบก
ดังนี้
หลักสูตรพิเศษโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ
และผู้บริการ
๑๙.๑
การศึกษาอบรมภาควิชาการ
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
๑๙.๒
การทดสอบและวัดผลภาควิชาการ
ให้นำหลักเกณฑ์การทดสอบและวัดผลภาควิชาการผู้ขอรับใบอนุญาต
เป็นผู้ขับรถตามหลักสูตรการศึกษาอบรมระยะสั้นของโรงเรียนการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก มา
ใช้บังคับแก่การทดสอบและวัดผลภาควิชาการผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ
และผู้บริการ โดยอนุโลม
ข้อ
๒๐ สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายตรวจ ซึ่งเคยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นผู้เก็บค่าโดยสาร หรือผู้บริการ
ให้ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาอบรมและทดสอบ
ใด ๆ ตามข้อ ๑๘
ส่วนที่ ๒
คณะกรรมการดำเนินการทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ ผู้บริการ
ข้อ
๒๑ ให้นำความในข้อ ๑๖ (๑) และ (๒) หรือข้อ ๑๗ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ
แก่การดำเนินการทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
นายตรวจ และผู้
บริการ โดยอนุโลม
หมวด ๓
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
------------------------
ข้อ
๒๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการ
จะต้องปฏิบัติตนในระหว่างที่เข้ารับการศึกษาอบรม ดังนี้
(๑)
ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
(๒)
ต้องเข้าและออกจากห้องเรียนตรงตามเวลา
(๓)
ไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนผู้อื่นในขณะเรียน
(๔)
ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนชำรุด
เสียหาย และหากเกิดความเสียหายจะด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ตาม
ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
(๕)
ต้องแสดงกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย ให้เกียรติและแสดงความคารวะไม่พูด
จาเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว หรือรบกวน ต่อผู้สอน
(๖)
ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่ม หรือรับประทานอาหาร ในขณะเข้าเรียน
(๗)
ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อ
จิตและประสาทในขณะเรียน หรือมีอาการมึนเมาในขณะเรียน
ข้อ
๒๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒๒ (๑) (๒), (๓),
(๔), (๕) และ
(๖)
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือผู้สอนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากห้องเรียนได้ทันที
แต่ในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒๒ (๗)
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือผู้สอนมีอำนาจสั่งให้ผู้
นั้นออกจากห้องเรียนและให้หมดสิทธิ์เข้ารับการศึกษาอบรมในรุ่นนั้นได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[รก.๒๕๔๑/๔๔ง/๗๗/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑]
ธิดาวรรณ
/ แก้ไข
๓๑ ก.ค. ๒๕๔๕
A+B
(C) |
324072 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถและการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ที่ทำงานในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถและการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุด
ในสาระสำคัญ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่ง
ทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ที่ทำงานในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๘[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถและการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ที่ทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗
(กำหนดให้ขยายอายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถจากเดิมหนึ่งปีเป็นสามปี)
และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ (ปรับปรุงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ) สมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ
เสียใหม่ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงดังกล่าว
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบการขนส่งทางบกว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถและการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญสำหรับผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
และการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ทำงานในต่างประเทศ
ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมสำเนา ๒ ชุด ณ
สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ก่อนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือใบแทน
สิ้นอายุไม่เกิน ๖ เดือน พร้อมหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(ก)
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือใบแทน
(ข)
หลักฐานการทำงานกับนายจ้าง
(ค)
รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑ นิ้ว
ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน ๑ ปี จำนวน ๒ รูป
ให้ผู้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา จำนวน ๙ ดอลลาร์
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
และการออกใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ทำงานในต่างประเทศ
ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต พร้อมทั้งขอรับใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมสำเนา ๒ ชุด ณ
สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
ก่อนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือใบแทนสิ้นอายุไม่เกิน ๖ เดือน
พร้อมหลักฐานประกอบคำขอดังนี้
(ก)
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือใบแทน ที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ
(ข)
หลักฐานการทำงานกับนายจ้าง
(ค)
รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑ นิ้ว
ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน ๑ ปี จำนวน ๖ รูป
ให้ผู้ยื่นคำขอต่ออายุและขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุและใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
จำนวน ๑๐ ดอลลาร์
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
และการออกใบแทนอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดได้รับเอกสารหลักฐานและเงินค่าธรรมเนียมซึ่งได้จัดส่งให้ตามข้อ
๖ แล้ว ให้ดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือออกใบแทนใบอนุญาต
โดยถือวันที่ยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นวันยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ทั้งนี้ โดยให้ปฏิบัติตามความในข้อ ๔
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถและการออกใบอนุญาตผู้ประจำรถ
สำหรับกรณีใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ พ.ศ. ๒๕๒๕ และระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตผู้ประจำรถและการออกใบอนุญาตผู้ประจำรถสำหรับกรณีใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้วแต่กรณี และให้จัดส่งใบอนุญาตที่ดำเนินการแล้วคืนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครภายในวันนั้นหรือวันทำการถัดไปเป็นอย่างช้า
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘
ประดัง ปรีชาญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ณัฐดนัย/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศมีวรรณวลัย/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๔ ง /หน้า ๒๗/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
313305 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2539 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเป็นไปด้วยความเหมาะสม
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
หลักฐานทางทะเบียนรถ หมายความว่า
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ตรวจสภาพรถ หมายความว่า
การดำเนินการตรวจสภาพรถตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ตรวจสอบรถ หมายความว่า
การตรวจสอบความถูกต้องของหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังหรือโครงคัสซี น้ำหนักรถ
ขนาดสัดส่วนของรถ และสีรถ ว่าถูกต้องตรงกับรายการในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถหรือไม่
นายทะเบียน หมายความว่า
นายทะเบียนกลางหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนกลางมอบหมาย หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด
ข้อ ๕
ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖
การยื่นขอดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามระเบียบนี้ หากไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ยื่น ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗
กรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งขอวางหลักทรัพย์เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อมายื่นขอดำเนินการทางทะเบียนรถเกี่ยวกับการจดทะเบียนรถ
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถหรือการโอนรถที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการขนส่ง
ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ประกอบการขนส่งผู้รับโอนจะต้องแนบสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้นำมาใช้วางเป็นหลักทรัพย์และผู้ประกอบการขนส่งต้องเอาประกันภัยความเสียหายแก่ชีวิตและร่างกายของบุคคลภายนอกเนื่องจากการขนส่ง
โดยรถของตนที่ใช้ในการขนส่งแต่ละคัน
พร้อมภาพถ่ายสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยประกอบคำขอดังกล่าวด้วย
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งขอวางหลักทรัพย์อย่างอื่นนอกเหนือจากหลักทรัพย์ตามวรรคแรก
หรือนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยมาใช้วางเป็นหลักทรัพย์เมื่อมายื่นขอดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถสำหรับในกรณีขอจดทะเบียนรถ
หรือขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องแนบหลักฐานการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบคำขอดังกล่าวด้วย ทั้งนี้
เว้นแต่การขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถถ้าผู้ประกอบการขนส่งมิได้แนบหลักฐานดังกล่าวประกอบคำขอ
และยืนยันว่าจะขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถไปก่อนแล้วก็ให้ดำเนินการได้
แต่เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้มีหนังสือแจ้งกรมการประกันภัยหรือสำนักงานประกันภัยจังหวัด
แล้วแต่กรณี เพื่อทราบ
กรณีที่มีการนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยรวมของรถที่ใช้ในการขนส่งหลาย
ๆ คันมาแสดง
ให้นายทะเบียนผู้รับเป็นหลักทรัพย์ในครั้งแรกเป็นผู้บันทึกข้อความการรับหลักทรัพย์ไว้ในต้นฉบับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยต้นฉบับ
และรับรองสำเนาสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งที่ยังคงเหลืออยู่ของรถที่ใช้ในการขนส่งทุกคัน
เพื่อมอบให้ผู้ประกอบการขนส่งนั้นนำไปใช้สำหรับการดำเนินการทางทะเบียนสำหรับรถคันอื่น
ๆ ต่อไปด้วย
ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดมีเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจนำต้นฉบับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยมาแสดงได้
เนื่องจากมีข้อบังคับต้องนำต้นฉบับไปประกอบหลักฐานในการเบิกจ่ายตามระบบบัญชีแล้ว
ก็ให้นำสำเนาคู่ฉบับมาแสดงแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้
ต้องมีหนังสือยืนยันถึงเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวมาด้วย
ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดไม่อาจนำต้นฉบับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยมาวางเป็นหลักทรัพย์ได้ในคราวเดียวกันกับการยื่นคำขอจดทะเบียนหรือต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ก็ให้นายทะเบียนใช้ดุลพินิจรับเอกสารหลักฐานอื่นซึ่งแสดงให้เห็นหรือเชื่อได้ว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้จัดทำประกันภัยไว้แล้วจริงก่อนก็ได้ แต่ทั้งนี้
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งรายนั้นต้องมีบันทึกยืนยันหรือรับรองว่าจะนำต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนามาให้ในภายหลัง
แต่อย่างช้าต้องไม่เกินกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันยื่นคำขอ
ข้อ ๘
การดำเนินการใด ๆ ทางทะเบียนและภาษีรถตามระเบียบนี้
ถ้าผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถไม่มาติดต่อขอดำเนินการด้วยตนเอง
ผู้ยื่นคำขอจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ
มาแสดงด้วยทุกครั้ง เว้นแต่การยื่นขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
หมวด ๒
การดำเนินการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๙
ผู้ขอจดทะเบียนรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
จะต้องเป็นผู้ประกอบการขนส่งที่มีสิทธิใช้รถ โดยการมีกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิครอบครองหรือรับเข้าร่วมกิจการขนส่ง
(เฉพาะกรณีที่การประกอบการขนส่งนั้นไม่มีข้อห้ามการเข้าร่วมกิจการขนส่ง)
โดยก่อนการจดทะเบียนรถผู้ประกอบการขนส่งจะต้องบรรจุรถในบัญชี ขส.บ. ๑๑
ของใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้ว จึงยื่นคำขอจดทะเบียนรถตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
๙.๑ รถใหม่ที่ผลิตจากโรงงานภายในประเทศ
หรือรถที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่าย
ก. หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
ข. หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือแจ้งจำหน่ายรถ
สัญญาเช่าซื้อรถ หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ
ค. หลักฐานการชำระราคารถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน
หรือใบกำกับภาษี หรือใบส่งสินค้า (กรณีที่ใบส่งสินค้ามีรายการเกี่ยวกับตัวรถ
ผู้ซื้อ ผู้ขาย ราคาจำหน่าย จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ง. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
จ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง
(กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๒ รถประกอบขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่แจ้งเลิกใช้แล้วภายในประเทศ
ก. ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
หรือสัญญาซื้อขายโครงคัสซี แล้วแต่กรณี
(๑) กรณีโครงคัสซีเก่าของรถที่ได้แจ้งเลิกใช้แล้ว
ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี
(๒) กรณีโครงคัสซีไม่มีหมายเลข
ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตค้าของเก่า และให้ผู้ขายบันทึกยืนยันการจำหน่ายโครงคัสซี
โดยระบุชื่อผู้ซื้อ วัน-เดือน-ปี
ที่มีการซื้อขายพร้อมแบบแสดงขนาดสัดส่วนของโครงคัสซีโดยสังเขป
ข. ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ หรือใบกำกับภาษี
หรือสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี
(๑) กรณีเครื่องยนต์เก่าที่ได้รับการจดทะเบียนรถไว้แล้ว ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่มีรายละเอียดหมายเลขเครื่องยนต์
(๒) กรณีเครื่องยนต์ที่ยังมิได้รับการจดทะเบียนรถ
ให้แนบหนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์สำหรับรถ และหนังสือแจ้งจำหน่ายเครื่องยนต์
ค.
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของ
หรือผู้จำหน่ายโครงคัสซี หรือเครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี
ง. หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถทั้งหมด
และบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
จ. ใบเสร็จรับเงินค่าแรงประกอบรถ
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
ฉ. หลักฐานการได้มาซึ่งอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (ถ้ามี)
ช. ใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก)
หรือใบเสร็จรับเงินค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร) (ถ้ามี)
ซ. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ฌ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๓
รถประกอบขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ก. ใบเสร็จรับเงินค่าโครงคัสซี หรือใบกำกับภาษี
ข. ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาพถ่ายซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
ค. บัญชีแสดงรายการสินค้า (อินวอยซ์) หรือภาพถ่าย
ซึ่งต้องเป็นภาพถ่ายเอกสารแผ่นที่ระบุรายละเอียดหมายเลขโครงคัสซี
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความถูกต้อง
ง. ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า หรือภาพถ่าย
จ. ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ หรือใบกำกับภาษี
หรือสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี
(๑) กรณีเครื่องยนต์เก่าที่ได้รับจดทะเบียนรถไว้แล้ว ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ที่มีรายละเอียดหมายเลขเครื่องยนต์พร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนา
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของหรือผู้จำหน่ายเครื่องยนต์
แล้วแต่กรณี
(๒)
กรณีเครื่องยนต์ที่ยังมิได้รับการจดทะเบียนรถให้แนบหนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์สำหรับรถและหนังสือแจ้งจำหน่ายเครื่องยนต์
ฉ.
หนังสือจากเจ้าของรถยืนยันความถูกต้องในการได้มาซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถทั้งหมด
และบันทึกยืนยันความรับผิดทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ช. ใบเสร็จรับเงินค่าแรงประกอบรถ
(กรณีที่ไม่ได้ประกอบรถขึ้นใช้เอง)
ซ. หลักฐานการได้มาซึ่งอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (ถ้ามี)
ฌ. ใบเสร็จรับเงินค่าหัวเก๋ง (กรณีรถบรรทุก)
หรือใบเสร็จรับเงินค่าตัวถังรถ (กรณีรถโดยสาร) (ถ้ามี)
ญ. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ฎ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๔ รถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซี
หรือรถที่แก้ไขเพิ่มเติมโครงคัสซี โดยมีโครงคัสซีเดิมเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละห้าสิบ
ก. หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข. หลักฐานการได้มาของโครงคัสซีตามข้อ ๙.๒ (ก) หรือ ข้อ ๙.๓
(ก) - (ง) แล้วแต่กรณี
ค. หลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถอื่น ๆ (ถ้ามี)
ง. หลักฐานการเปลี่ยนโครงคัสซี หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงคัสซี
เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรง
จ. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ฉ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๕ รถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
ก. เอกสารการอนุญาตนำรถเข้าของกรมศุลกากร ได้แก่
ใบเสร็จรับเงิน ค่าอากรขาเข้า หรือหลักฐานการยกเว้นอากรขาเข้า
บัญชีแสดงรายการสินค้า (อินวอยซ์) ใบขนสินค้าขาเข้า
พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบรับรองการนำเข้า (แบบที่ ๓๒)
ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เช่น หมายเลขโครงคัสซี หมายเลขเครื่องยนต์
ข. กรณีเป็นรถใช้แล้ว
ต้องมีหนังสืออนุญาตให้นำรถเข้ามาในราชอาณาจักรของกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
ค. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ง. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๖ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงที่ประกอบขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
ก. หนังสือยืนยันการประกอบรถขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง
ข. หลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถต่าง ๆ
ค. หลักฐานการประกอบรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าแรงประกอบรถ
ง. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
จ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๗ รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการ
อันเนื่องมาจากรถเป็นของกลางในคดีอาญาและถูกริบเป็นสมบัติของแผ่นดิน
ก. หนังสือแจ้งการขายทอดตลาด
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับรถที่ขายทอดตลาด
ข. ใบเสร็จรับเงินค่ารถ
ค. หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
ง. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
จ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๘
รถที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของทางราชการในลักษณะรถเก่าชำรุด หรือยานพาหนะชำรุด
โดยไม่มีการโอนทะเบียนรถเดิม
ให้ดำเนินการจดทะเบียนรถในทำนองเดียวกับการจดทะเบียนรถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า
โดยใช้หลักฐานการได้มาของซากรถ
ซึ่งเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้พร้อมทั้งเอกสารอื่น ๆ ดังนี้
ก. หนังสือแจ้งการขายทอดตลาด
ข. ใบเสร็จรับเงินค่าซากรถ
ค. หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
ง. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
จ. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๙ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายรถยนต์
ก. ใบคู่มือจดทะเบียนรถที่ได้แจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้แล้ว
ข. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ค. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๑๐ รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายอื่น
นอกจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ก. หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
ข. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ค. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง
(กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙.๑๑ รถที่มีการเปลี่ยนประเภทการขนส่ง หรือรถที่เปลี่ยนลักษณะจากรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
หรือเปลี่ยนจากรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ก. หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข. หลักฐานการเปลี่ยนลักษณะรถ เช่น ใบเสร็จค่าแรง
ค่าอุปกรณ์ส่วนควบ เป็นต้น
ค. สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
ง. หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๑๐
เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนรถตามข้อ ๙
และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ. ๑๑
(๒) ออกหลักฐานเพื่อนำรถไปตรวจสภาพ (ออก ทภ. ๑)
(๓) ตรวจสภาพรถ และออกใบรับรองการตรวจสภาพรถจดทะเบียนใหม่
(๔) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอการจดทะเบียนรถ
กับผลการตรวจสภาพรถ
(๕) ออกหมายเลขทะเบียนรถ
(๖) จัดเก็บภาษีประจำปี
และค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๗) บันทึกรายการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียน
และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีเสนอนายทะเบียนลงนาม
(๘) นายทะเบียนพิจารณาลงนามในเอกสารทะเบียนรถ
(๙) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๑๐) แจ้งการจดทะเบียนรถไปยังหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ข้อ ๑๑
ภายใต้บังคับแห่งหมวดนี้
(๑) รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าตามข้อ ๙.๒ และ
๙.๓ หรือรถที่มีการเปลี่ยนโครงคัสซีตามข้อ ๙.๔, ๙.๕ หรือ ๙.๘
ก่อนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดจะดำเนินการจดทะเบียนรถ ให้ส่งเรื่องและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนรถไปตรวจสอบหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์รถ
หรือหลักฐานการได้มาของรถกับสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครก่อน
และเมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการรับจดทะเบียนรถตามขั้นตอนปกติต่อไป
(๒) เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งผลการตรวจสอบหลักฐานการขอจดทะเบียนรถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่าตามข้อ
๙.๒ และข้อ ๙.๓ แล้วให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและชำระภาษีรถตามขั้นตอนปกติ
โดยให้ทำบันทึกในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ช่องบันทึกของเจ้าหน้าที่)
และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ มีข้อความว่า รถประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า
และเมื่อจดทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว ให้นายทะเบียนรวบรวมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
และจัดส่งให้กรมสรรพากรหรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน
(ก) ภาพถ่ายใบกำกับภาษีค่าโครงคัสซี
(ข) ภาพถ่ายใบกำกับภาษีค่าเครื่องยนต์
(ค) ภาพถ่ายใบกำกับภาษีค่าหัวเก๋ง (ในกรณีเป็นรถบรรทุก)
หรือภาพถ่ายใบกำกับภาษีค่าตัวถังรถ (ในกรณีเป็นรถโดยสาร) (ถ้ามี)
(ง) ภาพถ่ายใบกำกับภาษีค่าประกอบรถ (ถ้ามี)
(๓) รถที่ติดตั้งถังบรรทุกคลอรีนเหลว
เมื่อทำการตรวจสภาพรถแล้ว ปรากฏว่ารถนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้อง หากเป็นรถจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการขนส่งนำรถไปขอรับการตรวจสอบและรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน
พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อทำการตรวจสอบและรับรองถัง
และอุปกรณ์ความปลอดภัยของรถ
และเมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว
จึงให้รับจดทะเบียนและชำระภาษีรถนั้นต่อไปได้
สำหรับในเขตจังหวัดอื่นให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการขนส่งนำรถไปขอรับการตรวจสอบและรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน
พร้อมทั้งบันทึกแจ้งกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้มีหนังสือแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อทำการตรวจสอบและรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยของรถ
และเมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว จึงให้รับจดทะเบียนและชำระภาษีรถต่อไปได้
(๔) รถบรรทุกวัสดุอันตราย (ก๊าซปิโตรเลียมเหลว)
เมื่อดำเนินการรับจดทะเบียนรถแล้ว หากเป็นรถจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งกรมโยธาธิการ สำหรับในเขตจังหวัดอื่น
ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีหนังสือแจ้งสำนักงานโยธาธิการจังหวัด
เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต่อไป และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวแล้ว
ให้นายทะเบียนบันทึกเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในประวัติรถคันนั้น
ๆ ต่อไปด้วย
(๕) การจดทะเบียนรถตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลตามข้อ ๙.๗
เมื่อดำเนินการจดทะเบียนรถแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งศาลที่ออกหนังสือหรือคำสั่ง
หรือคำบังคับเพื่อทราบผลการดำเนินการทางทะเบียนด้วยทุกครั้ง
(๖)
การจดทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารส่วนบุคคลที่มีที่นั่งผู้โดยสารเกิน ๒๔ คน
ไม่ว่าจะเป็นรถที่เคยจดทะเบียนแล้ว หรือยังไม่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
หรือตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้ขอรับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
ยกเว้นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารของหน่วยงาน ดังนี้
(ก) กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยา
(ข) รัฐวิสาหกิจ
(ค) สภากาชาดไทย หรือสถานพยาบาลของรัฐ
(ง) สถานศึกษาของรัฐ ได้แก่ สถาบัน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย
หรือโรงเรียน เป็นต้น ที่ใช้รับส่งนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนของตน
หมวด ๓
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ข้อ ๑๒
การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๑๓
เมื่อได้รับคำขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถตามข้อ ๑๒ ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) พนักงานตรวจสภาพ ตรวจสอบคำขอและหลักฐานประกอบคำขอ
เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ โดยยังไม่ต้องลงรับคำขอ
(๒) ตรวจสภาพรถ และออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
(๓)
เจ้าหน้าที่งานทะเบียนรถตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอกับผลการตรวจสภาพรถ
และตรวจสอบอายุใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ตลอดจนการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ. ๑๑
(๔) จัดเก็บภาษีรถประจำปี
(๕)
บันทึกรายการเสียภาษีประจำปีในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีเสนอนายทะเบียนลงนาม
(๖) นายทะเบียนพิจารณาลงนามในเอกสารทะเบียนรถ
(๗) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
ในกรณีที่มีการตรวจสภาพรถจากผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(เอกชน) ให้นำหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถดังกล่าวแนบเรื่องด้วย และให้ดำเนินการตามขั้นตอนปกติตาม
(๓) - (๗) ต่อไป
ข้อ ๑๔
ภายใต้บังคับแห่งหมวดนี้
(๑) รถที่ติดตั้งถังบรรทุกคลอรีนเหลว
เมื่อทำการตรวจสภาพรถแล้ว ปรากฏว่ารถนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้อง หากเป็นรถจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการขนส่งนำรถไปขอรับการตรวจสอบและรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน
พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม
เพื่อทำการตรวจสอบและรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยของรถ
เมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองจากกรมโรงงานอุสาหกรรมแล้ว
จึงรับต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถต่อไปได้ สำหรับในเขตจังหวัดอื่น
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการขนส่งนำรถไปขอรับการตรวจสอบ
และรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน
พร้อมทั้งบันทึกแจ้งกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้มีหนังสือแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม
เพื่อทำการตรวจสอบและรับรองถังและอุปกรณ์ความปลอดภัยของรถ
และเมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว
จึงรับต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถต่อไปได้
(๒) รถบรรทุกวัสดุอันตราย (ก๊าซปิโตรเลียมเหลว)
เมื่อยื่นคำขอต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถให้ใช้หลักฐานเพิ่มเติม คือ
ใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากกรมโยธาธิการ
หรือสำนักงานโยธาธิการจังหวัด หรือหนังสือผ่อนผันจากกรมโยธาธิการ
หรือสำนักงานโยธาธิการจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อให้กรมการขนส่งทางบกดำเนินการต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถสำหรับใบอนุญาตที่อยู่ระหว่างการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซ
ในกรณีที่อยู่ระหว่างการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซ
ให้ใช้หนังสือผ่อนผันจากกรมโยธาธิการเท่านั้น
หมวด ๔
การโอนรถ
ข้อ ๑๕
การโอนรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอในแต่ละกรณี
ดังนี้
(๑) การโอนกรรมสิทธิ์รถ
(๑.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๑.๒) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน
สัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
เป็นต้น
(๑.๓) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(๒) การโอนสิทธิการใช้รถ
(๒.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒.๒) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ. ๑๑ ของผู้โอน เฉพาะในกรณีที่ผู้โอนมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
(๒.๓) หลักฐานการโอนสิทธิการใช้รถ เช่น สัญญาเช่าซื้อ
หนังสือโอนสิทธิการเช่าซื้อ สัญญาเข้าร่วมกิจการ
หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสหกรณ์เดินรถซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์เดินรถ
เป็นต้น
(๒.๔) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(๓) การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้รถ
(๓.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓.๒) หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ. ๑๑
ของผู้โอนเฉพาะในกรณีที่ผู้โอนมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
(๓.๓) หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน
สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
(๓.๔) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(๔) การโอนรถโดยการรับมรดก หรือโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(๔.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔.๒) สำเนาหรือภาพถ่ายใบมรณะบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
แล้วแต่กรณี
(๔.๓) หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และหรือผู้จัดการมรดก
ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(๕) การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
(๕.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๕.๒) สำเนาใบมรณะบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
(๕.๓) หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(๖) การโอนรถโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล
หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
(๖.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๖.๒) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือหนังสือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้โอนรถให้กับผู้รับโอน
พร้อมทั้งรายละเอียดของรถคันดังกล่าว
(๖.๓) หลักฐานประจำตัวผู้รับโอน ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๑๖
เมื่อได้รับคำขอโอนตามข้อ ๑๕ ยกเว้นการโอนรถตามข้อ ๑๕ (๕)
และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ. ๑๑
(๒) ตรวจสอบว่าผู้โอนได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.
๑๑ แล้วหรือไม่หากปรากฏว่ายังมิได้ถอนรถ ก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยเสียก่อน
(๓) (ก) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสอบ (ออก ทภ. ๑)
พร้อมประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(ข) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสอบ (ออก ทภ. ๑)
สำหรับกรณีการโอนรถโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือผู้โอนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
(ค) ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์รถโดยการเช่าซื้อ
หรือการซื้อขายโดยมีเงื่อนไขหรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ไม่ต้องนำรถไปตรวจสอบและไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
(๔) ตรวจสอบรถ
(๕) ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอ
พร้อมทั้งตรวจสอบการลงลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่ง
หรือเจ้าของรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ผลการตรวจสอบรถ และการเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(ถ้ามี) เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมการโอน
(๖) บันทึกรายการโอนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี
(กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการขนส่ง) เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๗) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการขนส่ง)
ข้อ ๑๗
การโอนรถตามข้อ ๑๕ (๕)
เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
จัดทำหนังสือไปถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือพนักงานสอบสวนท้องที่ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก
เพื่อขอความร่วมมือให้สอบปากคำบรรดาทายาทของเจ้ามรดกพร้อมทั้งขอให้ดำเนินการประกาศรับโอนมรดกนั้นด้วย
ถ้าปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่อาจดำเนินการสอบปากคำบรรดาทายาท
และประกาศรับมรดกตามที่ขอความร่วมมือไปได้
ให้นายทะเบียนแจ้งผู้รับโอนนั้นไปยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
แล้วนำคำสั่งศาลมาเป็นหลักฐานประกอบการโอนรถ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการโอนรถโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อ
๑๕ (๔)
(๒) เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการตาม (๑) แล้ว
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการโอนรถตามข้อ ๑๖
ข้อ ๑๘
ในการโอนรถ ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันโอน
ในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด ต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้ก่อน
หมวด ๕
การย้ายรถ
ข้อ ๑๙
การแจ้งย้ายรถออก ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ณ
จังหวัดต้นทางที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ หรือที่จังหวัดปลายทางก็ได้ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
๑๙.๑ การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้บรรจุรถคันที่แจ้งย้ายออก เว้นแต่กรณีการแจ้งย้ายรถที่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ หรือยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันไว้แล้ว
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๑๙.๒ การแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าซื้อ,
ใบเสร็จรับเงินค่าซื้อขายรถ เป็นต้น (ถ้ามี)
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๒๐
กรณีแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๑๙.๑
แล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบการลงลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่งในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีประจำปีค้างชำระ ให้จัดเก็บภาษีประจำปีที่ค้างชำระพร้อมเงินเพิ่มให้เสร็จสิ้นก่อน
(๓) ตรวจสอบการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ. ๑๑
หากปรากฏว่ายังมิได้ถอนรถก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยเสียก่อน
(๔) หากปรากฏว่ารถคันที่ขอแจ้งย้ายยังมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในประกอบการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งที่จังหวัดปลายทาง
ให้ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอแจ้งย้ายรถแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ เสียก่อน
ข้อ ๒๑
เมื่อตรวจสอบตามข้อ ๒๐ ถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) จัดทำหนังสือแจ้งย้ายรถตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
และประทับตรากรมการขนส่งทางบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ เซนติเมตร
ตรงรอยต่อระหว่างหนังสือแจ้งย้ายส่วนบนกับส่วนล่างพร้อมกับบันทึกรายการย้ายรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และในประวัติรถให้ครบถ้วน เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๒) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนล่าง ให้ผู้ยื่นคำขอนำไปยื่นขอย้ายเข้าที่จังหวัดปลายทาง
(๓) ส่งหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนบน
พร้อมทั้งสำเนาใบประวัติรถที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทาง
ภายในวันนั้นหรือวันทำการถัดไป
ข้อ ๒๒
เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางได้รับส่วนบนของหนังสือแจ้งย้ายรถโดยทางไปรษณีย์แล้ว
ให้ติดต่อโดยวิทยุไปยังนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางภายใน ๒ วันทำการ
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรายการแจ้งย้าย
ข้อ ๒๓
การย้ายรถเข้า ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) หนังสือแจ้งย้ายรถส่วนล่าง
(๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเดิม
เว้นแต่รถที่ได้แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ หรือรถที่ยกเลิกการจดทะเบียน
เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
(๔) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๒๔
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๒๓ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) นำหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนบน
ซึ่งได้รับจากจังหวัดต้นทางและได้ดำเนินการตามข้อ ๒๒ แล้ว
นำมาแนบรวมไว้กับหลักฐานประกอบคำขอ
(๒) ส่งรถไปตรวจสอบหรือตรวจสภาพ แล้วแต่กรณี
แล้วดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนทำนองเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่
โดยให้บันทึกรายการแจ้งย้ายรถลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และใบประวัติรถ
ข้อ ๒๕
การแจ้งย้ายรถ ณ จังหวัดปลายทางที่ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนั้นประสงค์จะขอย้ายไปใช้งาน
ให้ยื่นคำขอได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) รถที่แจ้งเลิกใช้รถไว้แล้วตามมาตรา ๗๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) รถที่นายทะเบียนอนุญาตให้ยกเลิกการจดทะเบียน
เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ไว้แล้ว
ข้อ ๒๖
ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางตรวจสอบคำขอ
และหลักฐานประกอบคำขอตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙.๒ พร้อมทั้งตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี
ขส.บ. ๑๑ หากปรากฏว่าถูกต้อง
ให้มีบันทึกแจ้งไปยังนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางที่รถนั้นเคยจดทะเบียนอยู่
เพื่อดำเนินการแจ้งย้ายรถออก
เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางได้รับบันทึกแจ้งการย้ายรถจากนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางแล้ว
ให้รีบดำเนินการแจ้งย้ายรถพร้อมกับบันทึกรายการย้ายรถในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น
และจัดส่งหนังสือแจ้งย้ายรถพร้อมภาพถ่ายสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และภาพถ่ายใบประวัติรถไปยังนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทาง
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในวันนั้นหรือวันทำการถัดไป
ข้อ ๒๗
เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางได้รับเอกสารหลักฐานตามข้อ ๒๖
วรรคสองแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของรถให้นำรถมาดำเนินการแจ้งย้ายรถเข้า เมื่อเจ้าของรถมายื่นขอดำเนินการแล้ว
ให้ดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนเดียวกับการย้ายเข้ารถตามข้อ ๒๔ (๑)
และการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
ข้อ ๒๘
เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางได้ดำเนินการแจ้งย้ายรถเข้าตามข้อ ๒๔
หรือจดทะเบียนตามข้อ ๒๗ แล้ว
ให้มีหนังสือแจ้งผลการดำเนินการไปยังนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางที่รถนั้นเคยจดทะเบียนอยู่โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในกำหนด
๓ วัน นับแต่วันดำเนินการย้ายเข้าเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๙
เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางได้รับบันทึกการย้ายรถเข้าหรือแจ้งผลการจดทะเบียนแล้ว
ให้บันทึกข้อความไว้ในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถว่า รถคันนั้น ๆ
ได้ย้ายไปจังหวัดใดเป็นหมายเลขทะเบียนใด
ข้อ ๓๐
กรณีการขอแจ้งย้ายรถที่จังหวัดต้นทาง
หากผู้ประกอบการขนส่งประสงค์จะยกเลิกการแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ต่อนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางที่แจ้งย้ายรถออก
พร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนล่าง
ข้อ ๓๑
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓๐ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ในกรณียกเลิกการแจ้งย้ายรถและขอใช้งานในจังหวัดเดิม
ให้จังหวัดต้นทางจัดทำหนังสือสอบถามจังหวัดปลายทางว่า
ได้ดำเนินการทางทะเบียนรถแล้วหรือไม่ เพียงใด
พร้อมทั้งทำเรื่องยกเลิกการแจ้งย้ายไปด้วย เมื่อได้รับหนังสือตอบจากจังหวัดปลายทาง
ให้บันทึกการยกเลิกการแจ้งย้ายลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเสนอนายทะเบียนลงนาม
(๒)
ในกรณียกเลิกการแจ้งย้ายรถและประสงค์จะเปลี่ยนจังหวัดปลายทางที่ขอย้ายไว้เดิมไปยังอีกจังหวัดหนึ่ง
ให้ดำเนินการตาม (๑) ก่อน แล้วจึงดำเนินการย้ายรถออกไปยังจังหวัดใหม่
เช่นเดียวกับข้อ ๒๑ ต่อไป
ข้อ ๓๒
กรณีการขอแจ้งย้ายรถที่จังหวัดปลายทาง
หากผู้ประกอบการขนส่งประสงค์จะยกเลิกการแจ้งย้ายรถ
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ต่อนายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางที่แจ้งย้ายรถนั้นออก
พร้อมด้วยหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และหนังสือแจ้งย้ายรถส่วนล่าง
ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดปลายทางจัดทำหนังสือถึงจังหวัดต้นทางแจ้งผลการดำเนินการทางทะเบียนของรถคันดังกล่าว
พร้อมทั้งทำเรื่องยกเลิกการแจ้งย้ายไปด้วย
และให้บันทึกการยกเลิกการแจ้งย้ายในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเสนอนายทะเบียนลงนาม
เมื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดต้นทางได้รับหนังสือจากจังหวัดปลายทางแล้ว
ให้บันทึกการยกเลิกการแจ้งย้ายในสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เสนอนายทะเบียนลงนาม
หมวด ๖
การแจ้งเลิกใช้รถ
การแจ้งไม่เสียภาษีและการยกเลิกการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๓๓
การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ กรณีสูญหาย
ให้นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความหายไว้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแสดง
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๓๔
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓๓ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบว่ารถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทาง
และรถขนาดเล็กได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ. ๑๑ แล้วหรือไม่
หากปรากฏว่ายังมิได้ถอนรถ ก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยเสียก่อน
(๓) ตรวจสอบรายการเสียภาษีประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระ ให้จัดเก็บภาษีค้างชำระให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๔) บันทึกการแจ้งเลิกใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๕) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๖)
แจ้งการแจ้งเลิกใช้รถให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อทำการถอนรถคันดังกล่าวออกจากบัญชี
ขส.บ. ๑๑ สำหรับรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล
ข้อ ๓๕
กรณีรถสูญหาย ประสบอุบัติเหตุ หรือถูกเพลิงไหม้จนใช้การไม่ได้ ให้ผู้ประกอบการขนส่งแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน
เพื่อเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ พร้อมสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ผู้ประกอบการขนส่งแจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้ถือเอาวันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความเป็นวันที่ผู้ประกอบการขนส่งประสงค์จะเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ หากผู้ประกอบการขนส่งมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความ ให้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามมาตรา ๑๔๓
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๓๖
การแจ้งใช้รถสำหรับรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙
ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่
โดยให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๓๗
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓๖ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐ และเมื่อจดทะเบียนรถแล้ว
ไม่ต้องออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มใหม่
แต่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
ข้อ ๓๘
การแจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา ๘๙
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ กรณีสูญหาย
ให้นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความหายไว้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแสดง
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๓๙
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓๘ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
หากแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย ให้ดำเนินการสั่งซื้อแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่เสียก่อน
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระให้จัดเก็บภาษีค้างชำระให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓) บันทึกการแจ้งไม่เสียภาษีรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๔) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และใบรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ ๔๐ การแจ้งใช้รถที่ได้แจ้งไม่เสียภาษีรถตามมาตรา
๘๙ ไว้แล้ว ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ใบรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๔๑
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔๐ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสภาพรถ (ออก ทภ. ๑)
(๒) ตรวจสภาพรถ
(๓) ตรวจสอบรายการเสียภาษีประจำปี ดังนี้
(๓.๑) ถ้าภาษีประจำปีที่เสียไว้เดิมสิ้นอายุแล้ว
ให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีรถให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓.๒) ถ้ายังมีอายุภาษีเดิมเหลืออยู่ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุภาษี
(๔) บันทึกการแจ้งใช้รถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๕) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ข้อ ๔๒
การยกเลิกการจดทะเบียนรถ เนื่องจากมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกันให้เจ้าของรถ
(ผู้ให้เช่าซื้อ) ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ กรณีสูญหาย
ให้นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความหายไว้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแสดง
(๓) หนังสือยืนยันความถูกต้องในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน สำเนาสัญญาเช่าซื้อ
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
และใบเสร็จรับเงินสำหรับรถที่ผ่อนชำระไปบ้างแล้ว
(๔) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๔๓
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔๒ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ตรวจรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนให้ถูกต้อง
(๒) ตรวจสอบรายการเสียภาษีประจำปี
หากปรากฏว่ามีภาษีค้างชำระ ให้จัดเก็บภาษีค้างชำระให้ครบถ้วนถูกต้อง
(๓)
บันทึกการยกเลิกการจดทะเบียนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถว่า
ยกเลิกการจดทะเบียนเนื่องจากมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๔) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๕)
แจ้งการยกเลิกการจดทะเบียนให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
เพื่อทำการถอนรถคันดังกล่าวออกจากบัญชี ขส.บ. ๑๑
ข้อ ๔๔
การยกเลิกการจดทะเบียนรถ เนื่องจากมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
กรณีไม่สามารถนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงได้ ให้เจ้าของรถ (ผู้ให้เช่าซื้อ)
ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) หนังสือยืนยันความถูกต้องในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน โดยให้มีข้อความรับรองไว้ด้วยว่า
หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของรถคันที่ยึดมา
ผู้ให้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบทุกประการ
(๒) สำเนาสัญญาเช่าซื้อ
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(๓) หลักฐานที่แสดงถึงการติดตามทวงคืนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๔) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ กรณีสูญหาย
ให้นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความหายไว้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแสดงเป็นหลักฐาน
(๕) หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๔๕
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔๔ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ให้มีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อทราบถึงการขอยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจาก ผู้ให้เช่าซื้อได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
พร้อมทั้งให้นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถไปคืนต่อนายทะเบียนภายในกำหนด ๑๕ วัน
นับจากวันที่ได้รับหนังสือ
(๒)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ดำเนินการยกเลิกการจดทะเบียนให้แก่เจ้าของรถตามขั้นตอนข้อ ๔๓
(๓)
กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาคืนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในรถคันดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินการยกเลิกการจดทะเบียนรถพร้อมทั้งออกใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้แก่เจ้าของรถ
โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจากผู้ให้เช่าซื้อ
(๔)
ให้นายทะเบียนออกคำสั่งยกเลิกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถฉบับเดิมตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบผลการดำเนินการดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔๖
รถที่ได้มีการยกเลิกการจดทะเบียน เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
และเจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรายใหม่ประสงค์จะนำรถคันดังกล่าวไปจดทะเบียนยังจังหวัดอื่น
ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเดิมที่รถจดทะเบียนอยู่ จัดทำหนังสือตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
โดยให้จัดส่งส่วนบนของหนังสือ
พร้อมทั้งแนบภาพถ่ายสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและใบประวัติรถ
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้แก่นายทะเบียนประจำจังหวัดที่เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรายใหม่ประสงค์จะนำรถไปจดทะเบียน
สำหรับส่วนล่างของหนังสือให้มอบแก่เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรายใหม่
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อขอจดทะเบียนครั้งใหม่ต่อนายทะเบียนประจำจังหวัดที่ประสงค์จะนำรถคันนั้นไปจดทะเบียนต่อไป
ข้อ ๔๗
การจดทะเบียนรถที่มีการยกเลิกการจดทะเบียน
เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรถใหม่ โดยให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ส่วนล่างของหนังสือยกเลิกการจดทะเบียนรถ
เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
จากจังหวัดต้นทาง
กรณีรถที่ได้ยกเลิกการจดทะเบียนเป็นรถจดทะเบียนที่จังหวัดอื่นมาก่อน
(๓) สัญญาเข้าร่วมกิจการขนส่ง
เฉพาะกรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง
(๔) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง
และเจ้าของรถผู้เข้าร่วมกิจการขนส่ง (กรณีที่มีการเข้าร่วมกิจการขนส่ง ) ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๔๘
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔๗ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการจดทะเบียนรถใหม่ตามข้อ ๑๐
และขั้นตอนการย้ายรถเข้าตามข้อ ๒๔
เว้นแต่เมื่อจดทะเบียนรถแล้วไม่ต้องออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มใหม่
แต่ให้ใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเล่มเดิมต่อไป
หมวด ๗
การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถ
ข้อ ๔๙
ผู้ประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบที่เป็นสาระสำคัญของรถให้ผิดแผกแตกต่างไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้
ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเพื่อขออนุมัติจากนายทะเบียนก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๕๐
เมื่อผู้ประกอบการขนส่งได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบที่เป็นสาระสำคัญของรถตามที่ได้รับอนุมัติแล้ว
ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องยื่นคำขอแก้ไขรายการที่จดทะเบียนไว้
โดยให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังนี้
(๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๒) ในกรณีที่เปลี่ยนสีรถ ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนสีรถ เช่น
ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำสี เป็นต้น ยกเว้นกรณีผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทำการเปลี่ยนสีด้วยตนเอง
ให้ใช้หนังสือยืนยันว่าได้เป็นผู้ทำสีด้วยตนเอง
(๓) ในกรณีที่เปลี่ยนเครื่องยนต์
ต้องมีหลักฐานการได้มาของเครื่องยนต์ เช่น หนังสือรับรองการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
หนังสือแจ้งจำหน่ายใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ เป็นต้น
(๔) ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงอื่น ๆ นอกจากการเปลี่ยนสี
และเปลี่ยนเครื่องยนต์ต้องมีหลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามรายการที่ขอเปลี่ยน
เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์นั้น เป็นต้น
ข้อ ๕๑
เมื่อได้รับคำขอ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอตามข้อ ๕๐ ประกอบกับผลการตรวจสภาพหรือตรวจสอบรถ
พร้อมชำระค่าธรรมเนียมถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๒) จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๓)
แจ้งผลการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงในบัญชี ขส.บ. ๑๑
หมวด ๘
การออกหลักฐานทางทะเบียนรถแทนที่สูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุด
หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ข้อ ๕๒
เมื่อหลักฐานทางทะเบียนรถสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ผู้ที่สามารถมาดำเนินการขอหลักฐานทางทะเบียนใหม่ทดแทน ได้แก่
(๑) ผู้ประกอบการขนส่ง
(๒) เจ้าของรถ
(๓) ผู้ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น
ผู้เช่าซื้อ เป็นต้น
(๔) ผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบุคคลตาม (๑), (๒) หรือ
(๓)
กรณีแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย
ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ บุคคลตาม (๑), (๒), (๓) หรือ (๔)
จะต้องยื่นคำขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
หากไม่ยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน ให้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามมาตรา ๑๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.๒๕๒๒
ข้อ ๕๓
การขอหลักฐานทางทะเบียนรถแทนที่สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) หลักฐานการรับแจ้งความ
และสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
(๒) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถสูญหาย หรือถูกทำลาย
(๓) หลักฐานประจำตัวผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ
หรือผู้ครอบครองรถที่มาดำเนินการขอหลักฐานทางทะเบียนใหม่ทดแทน ได้แก่
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๕๔
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๕๓ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
หรือค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ แล้วแต่กรณี
(๒) จัดทำใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนหลักฐานเดิม
แล้วแต่กรณี โดยใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดงมีข้อความว่า แทนฉบับสูญหาย
พร้อมกับบันทึกรายการการดำเนินการทางทะเบียนในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ นำเสนอนายทะเบียนพิจารณาอนุมัติและลงนาม
(๓) สำหรับกรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่แทนของเดิม
ให้จัดทำหนังสือ สั่งทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ นำเสนอนายทะเบียนพิจารณาลงนาม
(๔) นายทะเบียนพิจารณาอนุมัติและลงนาม
(๕) จ่ายใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี สำหรับกรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ให้กำหนดนัดวันมารับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถในใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการมาขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถตามกำหนดนัด
ข้อ ๕๕
การขอหลักฐานหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
หรือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ให้ใช้หลักฐาน ดังนี้
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถที่ชำรุด
(ข) ในกรณีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ให้ใช้หลักฐาน ดังนี้
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
- เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่ชำรุด
(ค) ในกรณีแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ ให้ใช้หลักฐาน ดังนี้
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ข้อ ๕๖
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๕๕ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
หรือค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ แล้วแต่กรณี
(๒) จัดทำใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนหลักฐานเดิม แล้วแต่กรณี โดยใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดงมีข้อความว่า
แทนฉบับชำรุด
พร้อมกับบันทึกรายการการดำเนินการทางทะเบียนในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
นำเสนอนายทะเบียนพิจารณาอนุมัติและลงนาม
(๓) สำหรับกรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่แทนของเดิม
ให้จัดทำหนังสือ สั่งทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ นำเสนอนายทะเบียนพิจารณาลงนาม
(๔) นายทะเบียนพิจารณาอนุมัติ และลงนาม
(๕) จ่ายใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี สำหรับกรณีการจัดทำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถใหม่
ให้กำหนดนัดวันมารับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถในใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการมาขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถตามกำหนดนัด
ข้อ ๕๗
กรณีช่องบันทึกรายการเสียภาษีในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเต็มแล้ว
เมื่อมีการเสียภาษีครั้งต่อไป
ให้ออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถฉบับใหม่โดยใช้ตรายางประทับด้วยหมึกสีแดงมีข้อความว่า
ออกให้ใหม่ฉบับเก่ารายการเต็ม
พร้อมทั้งเรียกเก็บหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถฉบับเก่าแนบเรื่องเดิมไว้
โดยไม่ต้องยื่นคำขอและเก็บค่าธรรมเนียม แต่ประการใด
หมวด ๙
การขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนรถ
ข้อ ๕๘
การขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนรถ ให้กระทำได้เฉพาะบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ
หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมาย
(๒) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ศาล หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
(๓) ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดี
(๔) บริษัทประกันภัย
(๕) บุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนเห็นควรอนุญาต
ข้อ ๕๙
ในการขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนรถ ให้ผู้ขอยื่นคำร้องขอเป็นหนังสือ
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอในแต่ละกรณี ดังนี้
(๑) กรณีผู้ประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ
หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมาย
(๑.๑) หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
(๑.๒) ภาพถ่ายบัตรประจำตัว และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
หรือภาพถ่ายหรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(๑.๓) หลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมาย
(๒) กรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ศาล หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ให้แสดงหนังสือที่ขอตรวจสอบ
(๓) กรณีทนายความที่ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดี
(๓.๑) กรณีคดีอาญา
(๓.๑.๑) หนังสือขอตรวจสอบ
(๓.๑.๒) สำเนาใบมอบอำนาจจากคู่ความให้ดำเนินการตามกฎหมาย
(๓.๑.๓)
สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีจากสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
(๓.๑.๔) สำเนาใบอนุญาตทนายความ
(๓.๑.๕) ใบมอบอำนาจ (ถ้ามี)
(๓.๒) กรณีคดีแพ่ง
(๓.๒.๑) หนังสือขอตรวจสอบ
(๓.๒.๒)
สำเนาใบมอบอำนาจจากคู่ความให้ดำเนินการตามกฎหมาย
(๓.๒.๓) สำเนาใบอนุญาตทนายความ
(๓.๒.๔) สำเนาใบแต่งทนายความ
(๓.๒.๕) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้แต่งทนายความ
(๓.๒.๖) ใบมอบอำนาจ (ถ้ามี)
(๔) กรณีบริษัทประกันภัย
(๔.๑) สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
(๔.๒) ใบมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ข้อ ๖๐
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องขอพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอและได้ตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้นำเสนอนายทะเบียนหรือผู้ที่นายทะเบียนมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตก่อน
แล้วจึงให้ทำการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนรถได้ ในกรณีตามข้อ ๕๙ (๑) และ (๒)
ให้ถ่ายภาพพร้อมรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนรถได้
หมวด ๑๐
การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถ
ที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
ข้อ ๖๑
การขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับนำรถที่มีไว้จำหน่ายและยังมิได้จดทะเบียน
ตามมาตรา ๘๑ หรือรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ มาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(๑.๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(๑.๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(๒.๑) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(๒.๒)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(๒.๓) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
-
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(๔.๑)
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(๔.๒)
สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
ข้อ ๖๒
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๖๑ และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) เสนอนายทะเบียนพิจารณาอนุมัติ
(๒) เมื่อนายทะเบียนอนุมัติแล้ว
ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขอรับใบอนุญาตฯ และค่าธรรมเนียมเครื่องหมาย (ป้ายแดง)
ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓) จัดทำใบอนุญาต เสนอนายทะเบียนลงนาม
(๔) จ่ายใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
หมวด ๑๑
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๖๓
การดำเนินการใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้นำวิธีการดำเนินการว่าด้วยการนั้น ๆ ซึ่งกำหนดไว้เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๖๔ คำขอใด
ๆ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ และยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
ให้ถือเป็นคำขอตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
และถ้าคำขอดังกล่าวมีข้อแตกต่างไปจากระเบียบนี้
ให้นายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาสั่งการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอนั้นได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ประดัง ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สุรินทร์/แก้ไข
๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๔
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๓๑/๒ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
301331 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ.2541 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ.
2541
---------
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2540 ไว้แล้วนั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการ
ขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
และการดำเนินการอื่น ๆ
เกี่ยวกับการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเหมาะสมยิ่งขึ้น กรมการขนส่ง
ทางบกจึงได้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2541
ข้อ 2
ให้ยกเลิก
(1)
ระเบียบกรมการขนส่งว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2536
(2)
ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2540
ข้อ 3
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ 4
ในระเบียบนี้
คณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ หมายความว่า คณะกรรมการ
ที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกแต่งตั้ง
ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ฝ่ายวิชาการ)
รักษาการตาม
ระเบียบนี้
หมวด
1
บททั่วไป
ข้อ 6
การยื่นคำขอใด ๆ ตามระเบียบนี้ ให้ยื่น ณ ที่ทำการ
ดังต่อไปนี้
(1)
สำหรับการตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น
ที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
(2) สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจาก
กรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นที่สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก ก็ได้
กรณีการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ และคำขอ
รับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
จะยื่นคำขอที่สำนักงานขนส่งสาขาใน
พื้นที่รับผิดชอบที่สถานที่ตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
หรือที่สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ที่สถานที่
ตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ก็ได้ เมื่อสำนักงานขนส่งสาขา
หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
รับคำขอแล้ว ให้ส่งสำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการต่อไป
การยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในจังหวัดใด ให้ยื่น
คำขอได้เมื่อกรมการขนส่งทางบกประกาศเปิดรับคำขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ในจังหวัดนั้น และต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ 7
ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอตามระเบียบนี้ให้จัดเก็บ ณ ที่ทำการ
ที่รับคำขอ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ค่าธรรมเนียมการต่อ
อายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถ ให้จัดเก็บ ณ
ที่ทำการที่ออกใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต
หมวด
2
การออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ 8
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้ยื่นคำขอรับใบ
อนุญาตตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(1)
บุคคลธรรมดา
(ก)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญ
ประจำตัวคนต่างด้าว
(ข)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแผนผังสิ่งปลูกสร้าง
ภายในบริเวณตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาด
และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(2)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก)
รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญ
ประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแผนผังสิ่งปลูก
สร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(จ) แบบ ขนาด
และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(3)
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ที่นายทะเบียน
ออกให้ไม่เกินหกเดือน
(ข)
รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแผนผังสิ่งปลูกสร้าง
ภายในบริเวณตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาด
และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(4)
บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ที่นายทะเบียนออกให้
ไม่เกินหกเดือน
(ข)
รายชื่อกรรมการบริษัททุกคน
(ค)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญ
ประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
(ง)
ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพันบริษัท
(จ)
สำเนาหนังสือบริคนณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
(ฉ)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแผนผังสิ่งปลูก
สร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ช) แบบ ขนาด
และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
ข้อ 9
เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถและ
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(1)
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐาน
ประกอบคำขอพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องเหมาะสมของแผนที่แสดงสถานที่ตั้ง
และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในสถานตรวจสภาพรถ
และความถูกต้องของแบบ ขนาด
และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
รวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการ
ตรวจสภาพรถ ซึ่งผู้ของแสดงไว้ในเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(2)
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของที่ตั้งสถานที่ตรวจสอบสภาพรถ
อาคารตรวจสภาพรถ (ถ้ามี)
และเครื่องตรวจสภาพรถพร้อมทั้งอุปกรณ์อำนวยความ
สะดวกไว้ด้วยตามความจำเป็น
(3)
รวบรวมข้อมูลที่ได้จาก (1) และ (2) แล้วพิจารณาสรุปผล
พร้อมทั้งเสนอความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อรวบรวมนำเสนอ
คณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสอบรถพิจารณาต่อไป
กรณีการขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
แต่ได้ยื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
ดำเนินการตาม (1)
แล้วสรุปผลและรวบรวมคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ส่งให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็น
ผู้ดำเนินการตาม (2) และ (3) ต่อไป
ข้อ 10 เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ
ได้พิจารณา
ข้อมูลตามข้อ 9(3) แล้ว
เห็นสมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ตามที่
ยื่นคำขอ ให้ส่งเรื่องให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อดำเนินการดังนี้
(1)
กรณีผู้ยื่นคำขอมีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ พร้อมทั้งได้จัดหา
หรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้
ครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้นำเสนอนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถได้ตามที่ยื่นคำขอ
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาอนุญาตแล้ว ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
พร้อมทั้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพ
รถต่อไป
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพ
มหานคร
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอ
ประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบเพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมทั้งให้มา
ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและขอใบอนุญาตและขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจ
สภาพรถต่อไป
(2)
กรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถและเครื่องตรวจ
สภาพรถรวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วน
ถูกต้อง
ให้นำเสนอนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาอนุญาตในหลักการโดยกำหนด
เงื่อนไขให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการจัดเตรียมอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถพร้อมทั้งจัดหา
หรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ให้ครบถ้วนถูกต้อง
และแจ้งผลการดำเนินการดังกล่าวให้ทราบภายในกำหนดเวลา
180 วัน นับแต่วันที่ที่ได้รับอนุญาต
ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน
กำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ผู้ยื่นคำขอแสดงเหตุผลอันสมควรเพื่อขอขยายระยะเวลา
การดำเนินการออกไปอีก และให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจพิจารณาขยายระยะ
เวลาการดำเนินการออกไปได้ตามความจำเป็น
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาอนุญาตในหลักการแล้ว กรณีการจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่น
คำขอทราบ กรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้ง
สถานตรวจสภาพรถทราบเพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบต่อไป
เมื่อผู้ได้รับอนุญาต ได้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่และเครื่องอุปกรณ์
ดังกล่าวครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ในกรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตกรุงเทพ
มหานคร
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยทราบ
และกรณีการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์
จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถทราบ
แล้วให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยหรือสำนัก
งานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการเช่นเดียวกับ ข้อ
9(2) และเมื่อเห็นว่า
ผู้ได้รับอนุญาต ได้ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้ดำเนินการตาม ข้อ 10(1) ต่อไป
ข้อ 11
เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ ได้พิจารณาข้อมูล
ตามข้อ 9 (3) แล้วเห็นว่า
ไม่สมควรอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามที่ยื่น
คำขอให้ส่งเรื่องให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อนำเสนอความเห็นพร้อม
เหตุผลที่ไม่สมควรอนุญาตต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาต่อไป
เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาแล้ว ไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจ
สภาพรถตามที่ยื่นคำขอ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาพร้อม
เหตุผลที่ไม่อนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอได้รับทราบ
หรือแจ้งผลการพิจารณาพร้อม
เหตุผลที่ไม่อนุญาตให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจ
สภาพรถทราบเพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ แล้วแต่กรณี
หมวด 3
การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ 12 ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะขอต่อ
อายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบก
พร้อมด้วยสำเนาภาพถ่าย
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือใบแทน
ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า
30 วัน
ในกรณีที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นหลักฐานตามข้อ 8
(3)(ก) หรือ (4)(ก) แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบคำขอด้วย
ข้อ 13 เมื่อได้รับคำขอแล้ว
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐาน
ประกอบคำขอ
(2)
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับประวัติการดำเนินการ
ที่ผ่านมาในการตรวจสภาพรถ การใช้อาคารสถานที่
เครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์
หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(3)
รวบรวมข้อมูลที่ได้จาก (1) และ (2) แล้วพิจารณาสรุปผลพร้อมเสนอ
ความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
เพื่อรวบรวมนำเสนอคณะกรรมการ
ควบคุมสถานตรวจสภาพรถพิจารณาต่อไป
กรณีการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถในเขตจังหวัดอื่น
นอกจากกรุงเทพมหานคร
แต่ได้มายื่นคำขอที่สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยดำเนินการตาม (1)
แล้วแจ้งผลการ
ตรวจสอบพร้อมส่งคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอให้กับสำนักงานขนส่ง
จังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่เพื่อดำเนินการตาม(2)
และ (3) ต่อไป
ข้อ 14 เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ
ได้พิจารณา
ข้อมูลตามข้อ 13 (3) แล้ว ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
นำผลการพิจารณา
ดังกล่าวเสนอต่อนายทะเบียนกลางพิจารณาต่อไป
และเมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณา
แล้วเห็นสมควร
(1)
อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ตามที่ยื่น
คำขอให้ดำเนินการเช่าเดียวกับข้อ 10 (1) วรรคสอง
(2)
ไม่อนุญาตให้ต่อใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ตามที่ยื่นคำขอ
ให้สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัยแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่ต่อใบอนุญาต
เป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
หรือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลที่ไม่ต่อใบอนุญาต
เป็นหนังสือให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบเพื่อแจ้ง
ให้ผู้ยื่นคำขอทราบต่อไป แล้วแต่กรณี
ข้อ 15 การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้
นายทะเบียนกลาง ออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม
และให้ระบุคำว่า
ต่ออายุ ไว้ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย
หมวด 4
การอออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ 16
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะขอรับ
ใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญหรือสูญหาย
ให้ยื่นคำขอตามแบบ
คำขออื่น ๆ ของกรมการขนส่งทางบก
พร้อมด้วยหลักฐานใบอนุญาตที่ชำรุดหรือลบเลือน
ในสาระสำคัญหรือหลักฐานแจ้งความหรือบันทึกถ้อยคำของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถ ประกอบคำขอด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ 17
เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและเอกสารหลักฐาน
ประกอบคำขอแล้วให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแล้วนำเสนอนายทะเบียน
กลางเพื่อออกใบแทนใบอนุญาตให้ต่อไป
ข้อ 18
การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้นาย
ทะเบียนกลางออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตฉบับเดิม
และให้ระบุคำว่า ใบแทน
ไว้ด้านหน้าใบอนุญาตด้วย
หมวด 5
การเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับใบอนญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ 19
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ เป็นบุคคล
ธรรมดาและถึงแก่ความตาย
ให้ทายาทของบุคคลที่ถึงแก่ความตายนั้น มีสิทธิยื่นคำขอ
รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ได้ภายใน 1
ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาต
ถึงแก่ความตายในอาคารสถานที่เดิมที่ผู้ถึงแก่ความตายได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาน
ตรวจสภาพรถอยู่
ข้อ 20
การพิจารณาออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้แก่ผู้ยื่น
คำขอตามข้อ 19 ให้นำความในหมวด 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด
6
การย้ายสถานที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ 21
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถประสงค์จะขอย้าย
สถานที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ซึ่งมิได้เป็นการย้ายข้ามเขตจังหวัด ให้ยื่นคำขอ
ตามแบบคำขออื่น
ๆ ของกรมการขนส่งทางบกโดยให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น
พร้อมยื่นหลักฐานเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถแห่งใหม่ดังนี้
(1)
แผนที่แสดงสถานที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแผนผังสิ่งปลูกสร้าง
ภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(2) แบบ ขนาด
และรายละเอียดเครื่องตรวจสภาพรถ
ข้อ 22 การพิจารณาให้ย้ายสถานที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้นำ
ความในหมวด 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 23
เมื่อนายทะเบียนกลางอนุญาตให้ย้ายสถานที่จัดตั้ง ให้บันทึก
รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถแห่งใหม่ในใบอนุญาตฉบับเดิม
หมวด 7
การควบคุมดูแลและติดตามผลการดำเนินการของผู้ได้รับ
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ 24 ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพรถ
ที่สังกัดราชการบริหาร
ส่วนกลาง กรมการขนส่งทางบก มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถ
ที่ตั้งอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่น
และผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพรถที่สังกัด
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถ
ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ
การตรวจสภาพรถ
ในการควบคุมดูแลและติดตามผลการดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาต
จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ
คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ
การดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการตรวจสอบดังกล่าว
อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจสอบตามสมควร
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
พงศกร เลาหวิเชียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก |
313913 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาต
จัดตั้งสถานตรวจสภาพรพ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๓๗
----------------------
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้วางระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการ
ตรวจสภาพรถของผู้ได้รับอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ.
๒๕๓๖ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวเพื่อให้
การตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเหมาะสมและ
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔(๒) และ
(๓) ของกฎกระทรวงฉบับที่
๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ
๒๕๒๒ กรมการ
ขนส่งทางบกวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถ
ของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๗"
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๗) ของข้อ ๙ ของระเบียบกรมการขนส่ง
ทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๓๖
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๑) ให้จัดเก็บค่าบริการตรวจสภาพรถตามอัตราที่ทางราชการกำหนดหรือ
ตามอัตราที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ
(๗)
ต้องส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หรือตัวอย่างลายมือชื่อผู้ได้รับมอบอำนาจทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
หรือตัวอย่างลายมือชื่อบุคคลทั้งสอง แล้วแต่กรณี
พร้อมสำเนาจำนวน ๒๐๐ ชุด หรือตามจำนวนที่
กรมการขนส่งทางกำหนดและตัวอย่างเครื่องหมายประจำของสถานตรวจสภาพรถ
ประกอบด้วย
ชื่อและที่อยู่ของสถานตรวจสภาพรถนั้น จำนวน ๒๐๐ ชุด
หรือตามจำนวนที่กรมการขนส่งทางบก
กำหนด ต่อนายทะเบียนกลาง ณ กองวิศวกรรมการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงาน
ขนส่งจังหวัดที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เริ่มให้บริการ
ตรวจสภาพรถครั้งแรก
และทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยบุคคลหรือเครื่องหมายดังกล่าว"
ข้อ ๔
ให้ยกเลิก แบบ สตร./ขส.๒ สตร./รย.๒ และ สตร./รย.๓ ท้ายระเบียบ
กรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้แบบ สตร./ขส.๒ สตร./รย.๒ และ สตร./รย.๓
ท้ายระเบียบนี้แทน
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗
ประดัง ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
[รก.๒๕๓๗/๖๑ง/๒๒/๒ สิงหาคม ๒๕๓๗]
ฐาปนี
/ แก้ไข
๔
กันยายน ๒๕๔๕
A+B(C) |
313912 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2536 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
พ.ศ.
๒๕๓๖
เพื่อให้การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ คณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถ
หมายความว่า คณะกรรมการที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกแต่งตั้ง
ข้อ ๔
ให้รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ฝ่ายวิชาการ) รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
การย่นคำขอใดๆ ที่เกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถตามระเบียบนี้
(๑)
สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองวิศวกรรมการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
(๒)
สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดแห่งท้องที่ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่
หรือที่กองวิศวกรรมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบกก็ได้
ข้อ ๖
ค่าธรรมเนียมคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดเป็นผู้จัดเก็บ แล้วแต่กรณี
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้จัดเก็บ
หมวด
๒
การออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๗
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ
ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(ข) สำเนาทะเบียนบ้านหรือภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
(ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค)
สำเนาทะเบียนบ้านหรือภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(จ) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๓)
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
ที่นายทะเบียนออกให้ไว้ไม่เกิน ๖ เดือน
(ข) รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ง) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
(๔) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก)
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
ที่นายทะเบียนออกให้ไว้ไม่เกิน ๖ เดือน
(ข)
รายชื่อกรรมการของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ค)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ง) สำเนาทะเบียนบ้านหรือภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
(จ)
สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์
(ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ
และแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ
(ช) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ
ข้อ ๘
เมื่อกองวิศวกรรมการขนส่ง หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ได้รับคำขอและหลักฐานประกอบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถแล้ว
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(๒) ตรวจสอบสถานที่และบริเวณที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถว่ามีความเหมาะสมและถูกต้องตรงตามหลักฐานที่แสดงไว้หรือไม่
(๓) พิจารณาเสนอความเห็น
หรือรายงานข้อเท็จจริงอื่นๆ (ถ้ามี)
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(๔) ให้รวบรวมคำขอและหลักฐานประกอบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถพร้อมรายงานผลการดำเนินการ
ความเห็น และข้อเท็จจริงตาม (๑) (๒) และ (๓)
เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถเพื่อพิจารณาต่อไป
กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
แจ้งไว้ในคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถว่า มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
เครื่องตรวจสภาพ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถแล้ว
ให้กองวิศวกรรมการขนส่งไปตรวจสอบความถูกต้องของอาคารสถานที่ เครื่องตรวจสภาพ
อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถนั้น
และสรุปรายงานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถต่อไปด้วย
ข้อ ๙
เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถพิจารณาเอกสารหลักฐานและข้อเท็จจริงตามข้อ
๘ แล้วเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีที่ผู้ขอมีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
พร้อมทั้งได้จัดหาหรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์
และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้กองวิศวกรรมการขนส่ง
บันทึกเรื่องเสนอต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตให้ต่อไป
(๒) กรณีที่ผู้ขอยังไม่มีอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ
หรือยังมิได้จัดหาหรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์
และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้ครบถ้วนถูกต้อง
ให้กองวิศวกรรมการขนส่งบันทึกเรื่องเสนอนายทะเบียนกลางเพื่อแจ้งการอนุญาตในหลักการให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้ผู้ขอทราบและเตรียมดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถและจัดหาหรือติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ
อุปกรณ์
และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถให้ครบถ้วนถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
เมื่อผู้ขอได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกสร้าง
จัดหาหรือติดตั้งเครื่องสภาพรถและสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่งครบถ้วนถูกต้อง
และได้แจ้งผลการดำเนินการให้กรมการขนส่งทางบกทราบแล้ว
ให้กองวิศวกรรมการขนส่งไปตรวจสอบความถูกต้องของอาคารสถานที่ตรวจสภาพรถ อุปกรณ์
และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถนั้น
และสรุปรายงานเพื่อเสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาออกใบอนุญาตให้ต่อไป
หมวด
๓
การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๐
ผู้ได้รับอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ หรือใบแทน
ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ในกรณีที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล
ให้ย่นหลักฐานตามข้อ ๗ (๓) (ก) หรือ (๔) (ก) ประกอบคำขอด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑
เมื่อได้รับคำขอและหลักฐานประกอบคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถแล้วให้กองวิศวกรรมการขนส่ง
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดผู้รับคำขอ ดำเนินการดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำ
(๒) พิจารณาและรายงานเสนอความเห็นว่า
สมควรจะอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานสภาพรถหรือไม่
โดยให้พิจารณาจากพฤติการณ์การดำเนินการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถนั้นๆ ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
(๓)
ให้รวบรวมหลักฐานการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถพร้อมรายงานความเห็นในการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตาม
(๑) และ (๒) เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถเพื่อพิจารณา
ข้อ ๑๒
เมื่อคณะกรรมการควบคุมสถานตรวจสภาพรถพิจารณาเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๑ แล้ว
เห็นสมควรต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใด
ให้นำเสนอนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณาต่อใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอรายนั้น
หมวด
๔
การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ข้อ ๑๓
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตที่สูญหาย
หรือชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่นๆ ของกรมการขนส่งทางบก
พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของสถานีตำรวจ หรือใบอนุญาตที่ชำรุด หรือลบเลือนแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตที่สูญหาย
หรือชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ดำเนินการดังนี้
(ก) กรณีที่ยื่นคำขอ ณ กองวิศวกรรมการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก ให้กองวิศวกรรมการขนส่งเป็นเจ้าของเรื่องในการตรวจสอบและรวบรวมคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเสนอต่อนายทะเบียนกลางเพื่อออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้
(ข) กรณีที่ยื่นคำขอ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ
และบันทึกเรื่องเสนอพร้อมทั้งรวบรวมคำขอหลักฐานประกอบคำขอส่งไปยังกองวิศวกรรมการขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
เพื่อนำเสนอให้นายทะเบียนกลางพิจารณาออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้ต่อไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ศรีพร คำหมาย
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ณัฐดนัย/พิมพ์
๑
พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศมีวรรณวลัย/ตรวจ
๒
พฤษภาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๔ /หน้า ๑๔/๑๓ กันยายน ๒๕๓๖ |
318516 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยรางวัลนำจับ พ.ศ. 2536 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยรางวัลนำจับ
พ.ศ. ๒๕๓๖[๑]
เพื่อให้การปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการแจ้งความนำจับ
การรับแจ้งความนำจับ และการขอรับเงินไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยรางวัลนำจับ
พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยรางวัลนำจับ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔
การรับแจ้งความให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(แบบ ขส.นจ. ๑) และให้ผู้มีอำนาจรับแจ้งความสอบถามผู้แจ้งความนำจับถึง วัน เดือน
ปี เวลา สถานที่และข้อเท็จจริง ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ต่าง ๆ
ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง รวมทั้งลักษณะของรถและรูปพรรณของผู้ประจำรถ
หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือรายละเอียดอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การจับกุมแล้ว
ให้บันทึกรายละเอียดนั้นไว้ในแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับ
และมอบเอกสารส่วนท้ายของแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับให้แก่ผู้แจ้งความนำจับไว้เป็นหลักฐานด้วย
ในกรณีที่ไม่มีแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับ
ให้ผู้มีอำนาจรับแจ้งความทำบันทึกขึ้นมาใหม่ โดยให้มีข้อความในทำนองเดียวกันกับการบันทึกตามวรรคแรก
ข้อ
๕
ในกรณีที่ผู้แจ้งความนำจับไม่อาจนำความไปแจ้งต่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความได้ทันที
ให้ผู้ตรวจการผู้จับกุมทำบันทึกการรับแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ก่อน
โดยจะใช้แบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับหรือไม่ก็ได้
และในกรณีที่มิได้ใช้แบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับให้บันทึกข้อความในทำนองเดียวกันกับการบันทึกในข้อ
๔
เมื่อผู้ตรวจการทำการจับกุมแล้วให้รีบรายงานผลการจับกุมตามแบบรายงานการจับกุมคดีที่มีผู้แจ้งความนำจับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(แบบ ขส.นจ. ๒) ต่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความภายในวันนั้น หรือภายในเวลา ๗๒ ชั่วโมง
นับแต่ส่งตัวผู้ต้องหาแก่พนักงานสอบสวนหรือนับแต่ได้ทำการเปรียบเทียบปรับ
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๖
เมื่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความได้รับรายงานจากผู้ตรวจการผู้จับกุมตามข้อ ๕
แล้ว ให้จดบันทึกรับรองการรับแจ้งความนำจับไว้เป็นหลักฐานอีกชั้นหนึ่ง และลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ข้อ
๗
ในกรณีส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ให้ผู้ตรวจการผู้จับกุมมีหน้าที่ติดตามผลคดีและจัดให้มีการรับรองผลคดีตามข้อ ๑๕
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕
แล้วรีบรายงานผลต่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความทราบตามแบบรายงานการจับกุมคดีที่มีผู้แจ้งความนำจับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(แบบ ขส.นจ. ๒)
ข้อ
๘ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
ให้ผู้ตรวจการผู้ทำการจับกุมจัดให้มีการรับรองผลคดีตามแบบรายงานการจับกุมคดีที่มีผู้แจ้งความนำจับ
(แบบ ขส.นจ. ๒)
โดยจัดให้มีบันทึกการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับกรมการขนส่งทางบกตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(แบบ ขส.นจ. ๓) และบัญชีรายละเอียดการขอรับเงินรางวัลตามแบบแนบท้ายระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อเสนอผู้มีอำนาจรับแจ้งความ
และให้ส่งสำเนาพร้อมเงินค่าปรับให้ฝ่ายเปรียบเทียบ หรือฝ่ายวิชาการขนส่ง
เพื่อนำส่งฝ่ายการเงินและบัญชี สำนักงานเลขานุการกรม กรมการขนส่งทางบก
หรือนำส่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี จำนวน ๑
ฉบับ
ข้อ
๙ การขอรับเงินรางวัล
ให้ผู้แจ้งความนำจับหรือผู้ตรวจการผู้จับกุม
ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและประสงค์จะขอรับเงินรางวัล ยื่นคำขอรับเงินตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(แบบ ขส.นจ. ๔)
ต่อผู้มีอำนาจรับคำขอรับเงินรางวัลนำจับภายในหกสิบวันนับจากวันที่คดีถึงที่สุด
ข้อ
๑๐
เมื่อผู้มีอำนาจรับคำขอรับเงินรางวัลนำจับได้รับคำขอตามข้อ ๙ แล้ว
ให้ทำการตรวจสอบคำขอดังกล่าวกับบันทึกการเปรียบเทียบปรับและบัญชีรายละเอียดการขอรับเงินรางวัลตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
โดยคำขอรับเงินรางวัลจะต้องมีผู้มีอำนาจเปรียบเทียบรับรองมาในคำขอดังกล่าวด้วยว่า
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้แจ้งความนำจับ หรือเป็นผู้ตรวจการผู้จับกุม
และเมื่อเห็นว่าผู้ขอรับเงินรางวัลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามระเบียบกระทรวงการคลังกำหนดแล้ว
ให้บันทึกผลการตรวจสอบในแบบบันทึกผลการตรวจสอบและคำอนุมัติตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
(แบบ ขส.นจ. ๕)
และนำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมาย เพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
สำหรับการขอรับเงินรางวัลในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
เมื่อผู้มีอำนาจรับคำขอเงินรางวัลนับจับทำการตรวจสอบแล้ว
ให้มีบันทึกนำเรียนอธิบดีกรมการขนส่งทางบกและรวบรวมส่งไปยังฝ่ายนิติการ
สำนักงานเลขานุการกรม กรมการขนส่งทางบก
เพื่อตรวจสอบก่อนนำเรียนอธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมาย
เพื่อพิจารณาอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
ข้อ
๑๑
เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายให้เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลแล้ว
ให้ฝ่ายการเงินและบัญชีกรมการขนส่งทางบกหรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี ดำเนินการวางฎีกาเบิกเงินรางวัลรอการจ่าย
เพื่อจ่ายให้แก่ผู้แจ้งความนำจับ
หรือผู้ตรวจการผู้จับกุมที่มีสิทธิรับเงินรางวัลต่อไป
ในกรณีที่ผู้แจ้งความนำจับ
หรือผู้ตรวจการผู้จับกุมที่มีสิทธิรับเงินรางวัลนำจับไม่ได้ยื่นขอรับเงินรางวัลตามข้อ
๒๑
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือมิได้รับอนุมัติให้รับเงินรางวัลนำจับให้ฝ่ายการเงินและบัญชีกรมการขนส่งทางบก
หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ดำเนินการโอนเงินรางวัลรอการจ่ายเป็นรายได้แผ่นดินและเบิกหักผลักส่งนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ศรีพร คำหมาย
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
สรัลพร/พิมพ์
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๔ กันยายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๘๖/หน้า ๓/๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ |
306646 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยรางวัลนำจับ พ.ศ.2535 | ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยรางวัลนำจับ
พ.ศ.
๒๕๓๕
เพื่อให้การปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมและถูกต้องรัดกุม
กรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งความนำจับ
การรับแจ้งความ ตลอดจนการจ่ายเงินรางวัลนำจับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยรางวัลนำจับ
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยรางวัลนำจับ พ.ศ. ๒๕๒๗
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดแล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ การรับแจ้งความตามข้อ ๑๘
แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕
ให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
โดยให้ผู้รับแจ้งความสอบถามผู้แจ้งความนำจับถึง วัน เดือน ปี เวลา
สถานที่และข้อเท็จจริง ลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง
รวมทั้งลักษณะของรถและรูปพรรณของผู้ประจำรถหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหรือรายละเอียดอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การจับกุมแล้วให้บันทึกรายละเอียดนั้นไว้ในบันทึกการรับแจ้งความนำจับ
ในกรณีที่ไม่มีแบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับ
ให้ผู้รับแจ้งความจัดทำบันทึกขึ้น
โดยให้มีข้อความในทำนองเดียวกันกับการบันทึกในวรรคแรก
ข้อ ๕
เมื่อผู้รับแจ้งความจัดทำบันทึกการรับแจ้งความนำจับเรียบร้อยแล้ว
ให้ผู้รับแจ้งความออกเอกสารหลักฐานการรับแจ้งความ
(เอกสารส่วนท้ายของบันทึกการรับแจ้งความนำจับตามข้อ ๔)
ให้แก่ผู้แจ้งความนำจับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๖
ในกรณีที่ผู้แจ้งความนำจับไม่อาจนำความไปแจ้งต่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความได้ทันที
ให้ผู้ตรวจการผู้ทำการจับกุมบันทึกการรับแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ก่อน
โดยจะใช้แบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับหรือไม่ ก็ได้
และในกรณีที่มิได้ใช้แบบบันทึกการรับแจ้งความนำจับให้บันทึกข้อความในทำนองเดียวกันกับการบันทึกในข้อ
๔
เมื่อผู้ตรวจการทำการจับกุมแล้วให้ทำรายงานการจับกุมต่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความภายในวันนั้น
หรือภายใน ๗๒ ชั่วโมง
นับแต่ส่งตัวผู้ต้องหาแก่พนักงานสอบสวนหรือนับแต่ได้ทำการเปรียบเทียบปรับ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗
เมื่อผู้มีอำนาจรับแจ้งความได้รับรายงานจากผู้ตรวจการตามข้อ ๖ แล้ว
ให้บันทึกรับรองการรับแจ้งความนำจับ แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๘ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
ให้ผู้ตรวจการทำการจับกุมจัดให้มีการรับรองผลคดีตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
และจัดให้มีบัญชีรายละเอียดการขอรับเงินรางวัลตามแบบแนบท้ายระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อเสนอผู้มีอำนาจรับแจ้งความ
และให้ส่งสำเนาพร้อมเงินค่าเปรียบเทียบปรับให้ฝ่ายเปรียบเทียบ
หรือฝ่ายวิชาการขนส่ง เพื่อนำส่งฝ่ายการเงินและบัญชี กรมการขนส่งทางบก
หรือนำส่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสำนักงานขนส่งจังหวัดแล้วแต่กรณี จำนวน ๑
ฉบับ
ข้อ ๙ เมื่อฝ่ายการเงินและบัญชี
กรมการขนส่งทางบก หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี
ได้รับสำเนาบัญชีรายละเอียดการขอรับเงินรางวัลพร้อมเงินค่าเปรียบเทียบปรับแล้ว
ให้แบ่งเงินที่ได้รับเพื่อลงบัญชีเป็นรายได้แผ่นดิน
และลงบัญชีเงินรางวัลรอการจ่ายแล้วนำส่ง หรือนำฝากกระทรวงการคลัง หรือคลังจังหวัด
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี
และเมื่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสั่งจ่ายเงินรางวัลแล้ว
ให้เบิกจากบัญชีเงินฝากรางวัลรอการจ่าย โดยการบันทึกรายการตามข้อ ๑๓
ของระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ทำการจ่ายเงินให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ และ ข้อ ๑๗
ของระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินรางวัลมิได้ขอรับเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามข้อ
๒๑
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ฝ่ายการเงินและบัญชี กรมการขนส่งทางบก
หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
ดำเนินการโอนเงินรางวัลรอการจ่ายเป็นรายได้แผ่นดิน
และเบิกหักผลักส่งนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
ข้อ ๑๐
ในกรณีส่งผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ให้ผู้ตรวจการผู้จับกุมมีหน้าที่ติดตามผลคดี และจัดให้มีการรับรองผลคดีตามข้อ ๑๕
ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการเดินเรือ
พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วรายงานผู้มีอำนาจรับแจ้งความต่อไป
ข้อ ๑๑ การขอรับเงินรางวัล ให้ผู้แจ้งความนำจับหรือผู้ตรวจการผู้จับกุม
ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและประสงค์จะขอรับเงินรางวัล
ยื่นคำขอรับเงินรางวัลตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้แนบท้ายระเบียบนี้ต่อผู้มีอำนาจขอรับเงินรางวัลนำจับภายในหกสิบวันนับจากวันที่คดีถึงที่สุด
ข้อ ๑๒ เมื่อผู้มีอำนาจรับคำขอรับเงินรางวัลนำจับได้รับคำขอตามข้อ
๑๑ แล้ว ให้ทำการตรวจสอบคำขอดังกล่าว
และเมื่อเห็นว่าผู้รับเงินรางวัลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลโดยถูกต้องก็ให้นำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมาย
เพื่อพิจารณาอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
สำหรับการขอรับเงินรางวัลในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
เมื่อผู้มีอำนาจรับคำขอรับเงินรางวัลนำจับทำการตรวจสอบแล้ว
ให้รวบรวมส่งไปฝ่ายนิติการ สำนักงานเลขานุการกรม กรมการขนส่งทางบก
เพื่อนำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ยื่นคำขอต่อไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕
ศรีพร คำหมาย
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บันทึกการรับแจ้งความนำจับ
๒.
รายงานการจับกุมคดีที่มีผู้แจ้งความนำจับ
๓.
คำขอรับเงินรางวัลนำจับ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สรัลพร/พิมพ์
๑
พฤษภาคม ๒๕๕๑
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๒
พฤษภาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๑๙/หน้า ๒๐/๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๕ |
395084 | พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในท้องที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เทศบาล
(๒)
กรุงเทพมหานคร
(๓)
เมืองพัทยา
(๔)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๕)
บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖)
เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการขุดดินหรือถมดิน
ถ้าการขุดดินหรือถมดินอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ในท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามวรรคหนึ่งตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
ประกาศตามวรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศไว้โดยเปิดเผยก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
แห่งท้องที่ที่กำหนดไว้ในประกาศ
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
(๑)
นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
(๒)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(๓)
นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
(๔)
ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๕)
หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้นกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น
สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
(๖)
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตท้องที่อื่น นอกจาก (๑) ถึง (๕)
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
มาตรา ๖
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒)
ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔)
วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(๕)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
มาตรา ๗
ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา ๖ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น
เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๘
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา
๖ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นได้
ในกรณีที่ได้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องใดตามวรรคสองแล้ว
ถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องนั้น
ให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงเป็นอันยกเลิก
และให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงยังคงใช้บังคับต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่ตามมาตรา
๘ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
การยกเลิกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามวรรคสาม
ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินการที่ได้กระทำไปแล้วโดยถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
มาตรา ๘
ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา ๖ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องนั้นได้
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดรายละเอียดในเรื่องนั้นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว
(๒)
เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว
เนื่องจากมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น
การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม
(๒)
ให้มีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
คณะกรรมการจะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม
(๒) ให้เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
ถ้าไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นทราบด้วย
ถ้าคณะกรรมการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นแล้ว
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป
ถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
ให้ถือว่ารัฐมนตรีได้อนุมัติตามวรรคสอง
มาตรา ๙
การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น
หรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดิน
และให้ถือว่าผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน
ได้ทราบคำสั่งนั้น เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
มาตรา ๑๐
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
มาตรา ๑๑
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
ประกอบด้วยอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง*เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี
ผู้แทนกรมที่ดิน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมศิลปากร
ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม* ผู้แทนกรมการผังเมือง
ผู้แทนสภาวิศวกร
และผู้แทนสภาสถาปนิกแห่งละหนึ่งคนและผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
เป็นกรรมการ และให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง*
เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๒
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๖
(๒)
ให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)
พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
ในกรณีมีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่ต้องไม่เกินสองคราวติดต่อกัน
มาตรา ๑๔
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๕
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๖
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา
หรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ตลอดจนเชิญบุคคลใด ๆ มาให้ข้อเท็จจริง
คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นได้
ให้นำมาตรา
๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๒
การขุดดิน
มาตรา ๑๗
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
(๔)
วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๘
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามมาตรา ๑๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการขุดดินนั้น
มาตรา ๑๙
ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง
บริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
มาตรา ๒๐
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖
มาตรา ๒๑
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๒๒
การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๑๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
มาตรา ๒๓
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาตรา ๒๔
การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
มาตรา ๒๕
ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้
ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
มาตรา ๒๖
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗ วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๗
ผู้ถมดินตามมาตรา ๒๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
มาตรา ๒๘
ผู้ถมดินตามมาตรา ๒๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๙
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๐ มาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรานี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
มาตรา ๓๐
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามมาตรา ๑๗
หรือการถมดินตามมาตรา ๒๖
ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๓๑
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
มาตรา ๓๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
การอุทธรณ์
มาตรา ๓๔
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกคำสั่งตามวรรคหนึ่งในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๕
ผู้ใดทำการขุดดินตามมาตรา ๑๗ หรือทำการถมดินตามมาตรา ๒๖ วรรคสาม
โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๖
วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามมาตรา
๖ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา ๓๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๓๘
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามมาตรา
๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๓๙
ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๑
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา ๔๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากมาตรา ๓๕ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๔๓[๒] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๔๔
ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๕
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่ใด
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่นั้น
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียม
(๑)
ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร หน้าละ
๕ บาท
ค่าใช้จ่าย
(๑) ค่าพาหนะเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
ขุดดินหรือถมดิน
(๒) ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปตรวจสอบ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบ
สถานที่ขุดดินหรือถมดิน ของทางราชการแก่ผู้ไปทำงาน
เท่าอัตราของทางราชการ
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันมีการขุดดินเพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือเพื่อกิจการอื่นอย่างกว้างขวาง
แต่การขุดดินหรือถมดินดังกล่าวยังไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชนได้
สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินเพื่อให้การขุดดินหรือถมดินในเขตเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และบริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และในท้องที่อื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๓]
มาตรา
๙ ในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า กรมโยธาธิการ เป็น กรมโยธาธิการและผังเมือง คำว่า
อธิบดีกรมโยธาธิการ เป็น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และคำว่า
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เป็น
ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม นั้นแล้ว
และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว
ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๔]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖
และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔
และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น
เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
กีรติกิติ์/ตรวจ
สิงหาคม ๒๕๕๔
คณิตา/ปรับปรุง
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
นุสรา/ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๑/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๒] มาตรา ๔๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769003 | พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้
และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ
(๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช
๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕
และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐
(๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๗) มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒๐) มาตรา ๑๕
แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒๑) มาตรา ๙๒
แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
(๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
(๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๘) มาตรา ๑๑๑
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๓๗
(๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
(๓๕) มาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๘) มาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๒) มาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๔) มาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๖) มาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
(๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๐) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พุทธศักราช ๒๔๗๔
มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒. ประมวลรัษฎากร
มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย
๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา
๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ
อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ.
ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ
อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง
ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า อผศ. ทหารผ่านศึก ผ่านศึก นอกประจำการ หรือคำว่าทหาร เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๑.
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๒.
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๔ .
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น
หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด
ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย
๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๒๔
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐
หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ.
๒๕๒๔
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย
๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา
๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา
๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด
หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
๒๕๓๕
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา
๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา
๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓
มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙
หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.
๒๕๔๑
มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง
หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑
วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗
มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๒
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.
๒๕๔๕
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙
หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘
เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา
๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน
อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.
๒๕๔๘
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา
๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา
๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี
ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑
หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙
ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕
หรือมาตรา ๑๒๘
ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์
หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา
๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๔
มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๕๗
วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769723 | พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/10/2545) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา
๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในท้องที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เทศบาล
(๒)
กรุงเทพมหานคร
(๓)
เมืองพัทยา
(๔)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๕)
บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖)
เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการขุดดินหรือถมดิน
ถ้าการขุดดินหรือถมดินอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ในท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามวรรคหนึ่งตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
ประกาศตามวรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศไว้โดยเปิดเผยก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
แห่งท้องที่ที่กำหนดไว้ในประกาศ
มาตรา
๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด
หรือทราย และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใด ๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า
แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
(๑)
นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
(๒)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(๓)
นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
(๔)
ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๕)
หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้นกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น
สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
(๖)
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตท้องที่อื่น นอกจาก (๑) ถึง (๕)
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๕
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
มาตรา
๖
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒)
ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔)
วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(๕)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
มาตรา
๗
ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา ๖ แล้ว
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๘
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา
๖ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นได้
ในกรณีที่ได้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องใดตามวรรคสองแล้ว
ถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องนั้น
ให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงเป็นอันยกเลิก
และให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงยังคงใช้บังคับต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่ตามมาตรา
๘ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
การยกเลิกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามวรรคสาม
ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินการที่ได้กระทำไปแล้วโดยถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
มาตรา
๘
ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา ๖ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องนั้นได้
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดรายละเอียดในเรื่องนั้นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว
(๒)
เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว
เนื่องจากมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น
การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม
(๒)
ให้มีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
คณะกรรมการจะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม
(๒) ให้เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
ถ้าไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นทราบด้วย
ถ้าคณะกรรมการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นแล้ว
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป
ถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
ให้ถือว่ารัฐมนตรีได้อนุมัติตามวรรคสอง
มาตรา
๙ การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น
หรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดิน
และให้ถือว่าผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน
ได้ทราบคำสั่งนั้น เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
มาตรา
๑๐
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
มาตรา
๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
ประกอบด้วยอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง*เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี
ผู้แทนกรมที่ดิน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมศิลปากร
ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม* ผู้แทนกรมการผังเมือง
ผู้แทนสภาวิศวกร และผู้แทนสภาสถาปนิกแห่งละหนึ่งคนและผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
เป็นกรรมการ และให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง*
เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา
๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๖
(๒)
ให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)
พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา
๑๓
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
ในกรณีมีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่ต้องไม่เกินสองคราวติดต่อกัน
มาตรา
๑๔
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา
๑๕
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๑๖
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา
หรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ตลอดจนเชิญบุคคลใด ๆ มาให้ข้อเท็จจริง
คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นได้
ให้นำมาตรา
๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๒
การขุดดิน
มาตรา
๑๗
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
(๔)
วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๑๘
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามมาตรา ๑๗ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการขุดดินนั้น
มาตรา
๑๙ ในระหว่างการขุดดิน
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง
บริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗
ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
มาตรา
๒๐ ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗
ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
มาตรา
๒๑ ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา
๒๒
การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๑๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
มาตรา
๒๓
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาตรา
๒๔
การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
มาตรา
๒๕ ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้
ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
มาตรา
๒๖
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗ วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา
๒๗ ผู้ถมดินตามมาตรา ๒๖
ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
มาตรา
๒๘ ผู้ถมดินตามมาตรา ๒๖
ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา
๒๙
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๐ มาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรานี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
มาตรา
๓๐
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามมาตรา ๑๗ หรือการถมดินตามมาตรา
๒๖
ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ทั้งนี้
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา
๓๑
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
มาตรา
๓๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๓๓
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
การอุทธรณ์
มาตรา
๓๔ ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง
หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกคำสั่งตามวรรคหนึ่งในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา
๓๕ ผู้ใดทำการขุดดินตามมาตรา ๑๗
หรือทำการถมดินตามมาตรา ๒๖ วรรคสาม
โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๖
วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามมาตรา
๖ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๓๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐
หรือมาตรา ๒๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา
๓๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔
และมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา
๓๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามมาตรา
๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา
๓๙ ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา
๔๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากมาตรา ๓๕ วรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา
๔๓ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
มาตรา
๔๔
ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
มาตรา
๔๕
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่ใด
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แล้วแต่กรณี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่นั้น
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียม
(๑)
ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒)
ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร หน้าละ
๕ บาท
ค่าใช้จ่าย
(๑) ค่าพาหนะเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
ขุดดินหรือถมดิน
(๒) ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปตรวจสอบ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบ
สถานที่ขุดดินหรือถมดิน ของทางราชการแก่ผู้ไปทำงาน
เท่าอัตราของทางราชการ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันมีการขุดดินเพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือเพื่อกิจการอื่นอย่างกว้างขวาง
แต่การขุดดินหรือถมดินดังกล่าวยังไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชนได้
สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินเพื่อให้การขุดดินหรือถมดินในเขตเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และบริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และในท้องที่อื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๒]
มาตรา
๙ ในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า กรมโยธาธิการ เป็น กรมโยธาธิการและผังเมือง คำว่า
อธิบดีกรมโยธาธิการ เป็น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และคำว่า
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เป็น
ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม นั้นแล้ว
และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่
โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว
ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
กีรติกิติ์/ตรวจ
สิงหาคม ๒๕๕๔
คณิตา/ปรับปรุง
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
นุสรา/ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๑/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ |
311565 | พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในท้องที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เทศบาล
(๒)
กรุงเทพมหานคร
(๓)
เมืองพัทยา
(๔)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๕)
บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖)
เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการขุดดินหรือถมดิน
ถ้าการขุดดินหรือถมดินอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล
หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ในท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามวรรคหนึ่งตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
ประกาศตามวรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศไว้โดยเปิดเผยก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
แห่งท้องที่ที่กำหนดไว้ในประกาศ
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
ดิน หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย
และอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่เจือปนกับดิน
พื้นดิน หมายความว่า
พื้นผิวของที่ดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
ขุดดิน หมายความว่า
กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
บ่อดิน หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ
หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน
ถมดิน หมายความว่า การกระทำใดๆ
ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
เนินดิน หมายความว่า
ดินที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน
แผนผังบริเวณ หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน
ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน
รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง
รายการ หมายความว่า
ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
(๑)
นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
(๒)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(๓)
นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
(๔)
ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๕)
หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้นกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น
สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
(๖)
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตท้องที่อื่น นอกจาก (๑) ถึง (๕)
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว
มาตรา ๖
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด
(๑)
บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(๒)
ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน
ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(๓)
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(๔)
วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(๕)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
มาตรา ๗
ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา ๖ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น
เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๘
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา
๖ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นได้
ในกรณีที่ได้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องใดตามวรรคสองแล้ว
ถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องนั้น
ให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงเป็นอันยกเลิก
และให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงยังคงใช้บังคับต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่ตามมาตรา
๘ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
การยกเลิกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามวรรคสาม
ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินการที่ได้กระทำไปแล้วโดยถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
มาตรา ๘
ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา ๖ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องนั้นได้
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดรายละเอียดในเรื่องนั้นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว
(๒)
เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว
เนื่องจากมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น
การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม
(๒)
ให้มีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
คณะกรรมการจะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม
(๒) ให้เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
ถ้าไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นทราบด้วย
ถ้าคณะกรรมการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นแล้ว
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป
ถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นให้ถือว่ารัฐมนตรีได้อนุมัติตามวรรคสอง
มาตรา ๙
การแจ้งหรือการส่งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้แจ้ง
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น
หรือจะทำเป็นหนังสือและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับแทนการส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่มีการขุดดินหรือถมดิน
และให้ถือว่าผู้แจ้ง ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือตัวแทน
ได้ทราบคำสั่งนั้น เมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว
มาตรา ๑๐
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
มาตรา ๑๑
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการการขุดดินและถมดิน ประกอบด้วยอธิบดีกรมโยธาธิการเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี
ผู้แทนกรมที่ดิน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมศิลปากร
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมการผังเมือง ผู้แทนสภาวิศวกร และผู้แทนสภาสถาปนิกแห่งละหนึ่งคนและผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
เป็นกรรมการ และให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการ
เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๒
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๖
(๒)
ให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)
พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
ในกรณีมีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่ต้องไม่เกินสองคราวติดต่อกัน
มาตรา ๑๔
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๕
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๖
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา
หรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ตลอดจนเชิญบุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริง
คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นได้
ให้นำมาตรา
๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๒
การขุดดิน
มาตรา ๑๗
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑)
แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
(๒)
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓)
รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
(๔)
วิธีการขุดดินและการขนดิน
(๕)
ระยะเวลาทำการขุดดิน
(๖)
ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗)
ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
(๘)
ภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
(๙)
เอกสารและรายละเอียดอื่นๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้แจ้งไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับแจ้งให้แก้ไขจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล
ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง
ผู้ได้รับใบรับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๘
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามมาตรา ๑๗ วรรคห้า
ให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการขุดดินนั้น
มาตรา ๑๙
ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผัง บริเวณ และรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้
ถ้าใบรับแจ้งชำรุด
สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ขอรับใบแทนใบรับแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
มาตรา ๒๐
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องทำการขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา
๖
มาตรา ๒๑
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๒๒
การได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๑๗
ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
มาตรา ๒๓
การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร
ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาตรา ๒๔
การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร
เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน
ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
มาตรา ๒๕
ในการขุดดิน ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์
หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา
ให้ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๔
หยุดการขุดดินในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พบและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากรหรือกรมทรัพยากรธรณี
แล้วแต่กรณี ทราบโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้
ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓
การถมดิน
มาตรา ๒๖
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร
หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
และให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทำการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗ วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๗
ผู้ถมดินตามมาตรา ๒๖ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖
มาตรา ๒๘
ผู้ถมดินตามมาตรา ๒๖ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗
และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๙
ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินอันไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๒๐ มาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๗
มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้
เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดินและรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น
ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรานี้
ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย
มาตรา ๓๐
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามมาตรา ๑๗
หรือการถมดินตามมาตรา ๒๖ ว่าได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่
ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ
และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทน หรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๓๑
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดินได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่งให้ผู้ขุดดิน
ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดินหรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน
หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นตามที่เห็นว่าจำเป็นได้
แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบทันที
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งสั่งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้ถือว่าคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตั้งแต่ต้น
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหนังสือสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันสิ้นผล
มาตรา ๓๒
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
การอุทธรณ์
มาตรา ๓๔
ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน
หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง
หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกคำสั่งตามวรรคหนึ่งในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ยื่นคำขอทุเลาพร้อมอุทธรณ์
ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการจะอนุญาตให้ทุเลาโดยมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
หรือจะสั่งให้วางเงินหรือหลักทรัพย์ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการ
แล้วแต่กรณี
พิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๕
ผู้ใดทำการขุดดินตามมาตรา ๑๗ หรือทำการถมดินตามมาตรา ๒๖วรรคสาม
โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๖
วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากการกระทำตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินตามมาตรา
๖ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา ๓๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๓๘
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามมาตรา
๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๓๙
ผู้ขุดดินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๑
ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามมาตรา
๒๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท
ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา ๔๒
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากมาตรา ๓๕ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา
มาตรา ๔๓
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการ
ผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ
ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
มาตรา ๔๔
ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย
เนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๕
ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่ใด
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในท้องที่นั้น
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียม
(๑)
ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒)
ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร หน้าละ ๕ บาท
ค่าใช้จ่าย
(๑)
ค่าพาหนะเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
ขุดดินหรือถมดิน
(๒) ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปตรวจสอบ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบของสถานที่ขุดดินหรือถมดิน ทางราชการแก่ผู้ไปทำงานเท่าอัตราของ
ทางราชการ
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันมีการขุดดินเพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือเพื่อกิจการอื่นอย่างกว้างขวาง
แต่การขุดดินหรือถมดินดังกล่าวยังไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชนได้
สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินเพื่อให้การขุดดินหรือถมดินในเขตเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และบริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
เขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและในท้องที่อื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สุนันทา/แก้ไข
๒๑/๑๒/๔๔
วศิน/แก้ไข
๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒
คณิตา/ปรับปรุง
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
นุสรา/ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๑/๗ มีนาคม ๒๕๔๓ |
471932 | กฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามขุดดินและถมดิน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองหอย และตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ และตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2548
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดบริเวณห้ามขุดดินและถมดิน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองหอย
และตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่
และตำบลท่าวังตาล
และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี
จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ (๑) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการขุดดินและถมดินออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในกฎกระทรวงนี้
แนวเขตควบคุมการขุดดินและถมดิน หมายความว่า พื้นที่บริเวณดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ
จดเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๑ ฟากเหนือ
ทิศตะวันออก
จดเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ฟากตะวันออก
ทิศใต้
จดเส้นตั้งฉากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๖ บรรจบกับถนนสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี ไปทางทิศใต้ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร เส้นแบ่งเขตตำบลท่าวังตาลกับตำบลหนองผึ้ง
และเขตถนนสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี ฟากใต้
ทิศตะวันตก
จดแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก
ทั้งนี้
ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ
๒ ให้กำหนดพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองหอย
และตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่และตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ภายในแนวเขตควบคุมการขุดดินและถมดินตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นบริเวณห้ามขุดดินและถมดิน
ดังต่อไปนี้
(ก)
ภายในบริเวณพื้นที่รอบนอกแนวเขตของวัดเจดีย์เหลี่ยม วัดพระเจ้าเม็งราย วัดป่าตาล
วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดหนานช้าง วัดธาตุขาว วัดพันเลา วัดอีค่าง วัดกุมกาม วัดปู่เปี้ย
วัดอุโบสถ วัดกู่อ้ายหลาน วัดกู่ขาว วัดกุมกาม (หมายเลข ๑) วัดธาตุน้อย วัดหัวหนอง
วัดกุมกามทีปราม วัดกู่ป้าด้อม วัดกู่ต้นโพธิ์ วัดช้างค้ำ (กานโถม) วัดกู่อ้ายสี วัดกุมกามทีปราม
(หมายเลข ๑) วัดกู่มะเกลือ วัดกู่ริดไม้ วัดบ่อน้ำทิพย์ วัดกู่ไม้ซ้ง วัดกู่จ๊อกป๊อก
และโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เป็นระยะ ๕๐ เมตร ห้ามบุคคลใดทำการขุดดินหรือถมดินที่มีความสูงของเนินดินเกินกว่า ๐.๒๕
เมตร จากระดับกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ที่สุด
(ข)
ภายในบริเวณพื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณตาม (ก) ออกไปเป็นระยะ ๕๐ เมตร ห้ามบุคคลใดทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๓ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร หรือทำการถมดินที่มีความสูงของเนินดินเกินกว่า
๐.๒๕ เมตร จากระดับกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ที่สุด
(ค)
ภายในบริเวณพื้นที่อื่นนอกจากบริเวณพื้นที่ตาม (ก) และ (ข) ห้ามมิให้บุคคลใดทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน
๓ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตรหรือทำการถมดินที่มีความสูงของเนินดินเกินกว่า
๐.๔๐ เมตร จากระดับกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ที่สุด
การวัดความลึกของบ่อดินให้วัดจากพื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการขุดดินหรือถมดินที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือการขุดดินหรือถมดินที่ดำเนินการโดยส่วนราชการในการป้องกันน้ำท่วม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
พลอากาศเอก คงศักดิ์
วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามขุดดินและถมดิน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองหอย และตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงมใหม่
และตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ เนื่องจากได้มีการขุดพบเมืองโบราณเวียงกุมกามในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองหอย
และตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ และตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติที่สมควรจะอนุรักษ์ไว้ และโดยที่ควรมีมาตรการในด้านการควบคุมการขุดดินและถมดิน
เพื่อเป็นการป้องกันการพังทลายของดินซึ่งเกิดจากการขุดดิน และป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังโบราณสถานและในพื้นที่โดยรอบโบราณสถานดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชัชสรัญ/จัดทำ
๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๖/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
453546 | กฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ (๒) (๓) (๔) และ (๕) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการขุดดินและถมดินออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
แบบแปลน หมายความว่า แบบแสดงรายละเอียดในการขุดดินหรือถมดิน
รายการประกอบแบบแปลน หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน
ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน ตลอดจนสภาพพื้นที่และบริเวณข้างเคียง
ระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน
รายการคำนวณ หมายความว่า รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน
หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงกันดิน
ข้อ ๒ ในการขุดดินตามมาตรา ๑๗ หรือการถมดินตามมาตรา
๒๖ วรรคสาม ผู้ขุดดินหรือถมดินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงขอบเขตที่ดินที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
และต้องติดตั้งป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบเซนติเมตร
ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดิน และสามารถเห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดินหรือถมดิน
โดยแสดงข้อความดังต่อไปนี้
(๑) เนื้อที่โครงการที่จะทำการขุดดินหรือถมดิน
(๒) ขนาดพื้นที่ปากบ่อดิน
เนินดิน ความลึกหรือความสูงของการขุดดินหรือถมดิน
(๓) วัตถุประสงค์ของการขุดดินหรือถมดิน
(๔) เลขที่ใบรับแจ้งและวันที่สิ้นสุดการขุดดินหรือถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการขุดดินหรือถมดิน
(๗) ชื่อและที่อยู่ของเจ้าของที่ดิน
(๘) ชื่อและที่อยู่ของผู้ดำเนินการขุดดินหรือถมดิน
(๙) ข้อความอื่นตามที่กรมโยธาธิการและผังเมืองประกาศกำหนด
หมวด ๑
การขุดดิน
ข้อ ๓ การขุดดินตามมาตรา ๑๗ จะกระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๔
การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๕ การขุดดินที่มีความลึกเกินยี่สิบเมตร ต้องมีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดการเคลื่อนตัวของดินและต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อดินไม่เกินสี่ตารางเมตร
ข้อ ๖
ในกรณีที่เป็นการขุดดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝังกลบขยะ วัสดุกระจายแพร่พิษหรือรังสี
ให้ผู้ประสงค์จะทำการขุดดินนำหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มายื่นประกอบการแจ้งด้วย
ข้อ ๗
การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๘ ในระหว่างการขุดดิน ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องระบายน้ำบนพื้นดินบริเวณขอบบ่อดินไม่ให้น้ำท่วมขังและต้องไม่ใช้พื้นที่บริเวณขอบบ่อดินเป็นที่กองดินหรือวัสดุอื่นใดในลักษณะที่อาจทำให้เกิดการพังทลายของดินหรืออาจเป็นอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น
ข้อ ๙ ในระหว่างการขุดดินและภายหลังการขุดดินแล้วเสร็จ
ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ เจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินและดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ ๑๐
การขุดดินในบริเวณที่ติดกับที่สาธารณะหรือในที่สาธารณะ ผู้ขุดดิน ต้องจัดให้มีสิ่งกันตกหรือราวกั้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณนั้น
รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ หรือไฟสัญญาณเตือนอันตรายจำนวนพอสมควรในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
ตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
ในกรณีการขุดดินตามวรรคหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าให้แสงสว่าง
ต้องทาสีสิ่งกันตกหรือราวกั้นด้วยสีสะท้อนแสงที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๑๑ ผู้ขุดดินตามมาตรา ๑๗ ต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวร โดยติดตั้งไว้ทุกระยะไม่เกินสี่สิบเมตรรอบบ่อดินในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการขุดดิน
หมวด ๒
การถมดิน
ข้อ ๑๒
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินเกินสองพันตารางเมตร
ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล
ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการถมดิน
(๒) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
(๓) วิธีการถมดินและการระบายน้ำ
(๔) ระยะเวลาทำการถมดิน
(๕) ชื่อผู้ควบคุมงาน
(๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งการถมดิน
(๗) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการถมดิน
ข้อ ๑๓ การถมดินตามมาตรา ๒๖ วรรคสาม จะกระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ถ้าจะกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินเกินห้าเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ต้องมีแบบแปลน
รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๕ การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรนับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง
ต้องมีผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๖ การถมดิน ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๑๗ การถมดินในบริเวณที่ติดกับทางสาธารณะ ผู้ถมดินต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนอันตรายขนาดกว้างไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตรและยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร
ทำด้วยวัสดุถาวรไว้บนเนินดินที่ถมด้านที่ติดกับทางสาธารณะ ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลาทำการถมดิน
ข้อ ๑๘ ในระหว่างการถมดินและภายหลังการถมดินแล้วเสร็จ
ผู้ถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
โภคิน
พลกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ (๒) (๓) (๔) และ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการขุดดินและถมดิน
มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน
ความลึกและขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน
และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอกตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๗/๑๘ มีนาคม ๒๕๔๘ |
417291 | กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๐ มาตรา ๑๗ วรรคห้า และมาตรา ๒๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎหมายกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้
(๑) ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ ๕๐๐
บาท
(๒)
ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร หน้าละ ๑
บาท
ข้อ ๒ ให้กำหนดค่าใช้จ่าย ดังนี้
(๑)
ค่าพาหนะเดินทางในการไปตรวจสอบ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
สถานที่ขุดดินหรือถมดิน
(๒)
ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปตรวจสอบ ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบของ
สถานที่ขุดดินหรือถมดิน ทางราชการแก่ผู้ที่ไปทำงานเท่าอัตรา
ของทางราชการ
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ประมวล รุจนเสรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๗
วรรคห้า และมาตรา ๒๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช่จ่ายในการขุดดินและถมดิน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
จุฑามาศ/จัดทำ
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๑ ก/หน้า ๒๒/๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
343046 | กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมงานในการขุดดินตามกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมงานในการขุดดิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรเป็นผู้ควบคุมงานในการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประมวล รุจนเสรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ
:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ได้กำหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์จะทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ทั้งนี้ โดยจะต้องแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงสมควรที่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมงานในการขุดดินดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
เกษร/พิมพ์
๕
มิถุนายน ๒๕๔๖
ทรงยศ/สราวุฒิ/จัดทำ
๖
มิถุนายน ๒๕๔๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓๐
สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๒๔ ก/หน้า ๑/๒๐ มีนาคม ๒๕๔๖ |
324929 | กฎกระทรวง กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2544 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๓๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๒
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๓
รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้รูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ขนาด ๒.๕ x ๓ เซนติเมตร หน้าตรงไม่สวมหมวก
ข้อ ๔
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่มีอายุตามที่กำหนดไว้ในบัตร แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกบัตร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย
เปี่ยมสมบูรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ท้ายกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๔๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชไมพร/แก้ไข
๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๕/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ |
865201 | ประกาศเทศบาลตำบลบางบาล เรื่อง กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดิน | ประกาศเทศบาลตำบลบางบาล
เรื่อง กำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดิน[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลบางบาล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จึงกำหนดให้ผู้ที่จะทำการขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน ๑ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน
๘๐๐ ตารางเมตร ต้องแจ้งการขุดดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓
ชูเกียรติ
บุญมี
นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
พิไลภรณ์/จัดทำ
๑ กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๑๔ กันยายน ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๓๔/๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ |
751790 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสวัสดิ์
อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ
๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ
๓ ผู้ใดดำเนินการขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้
อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและยังดำเนินการเช่นนั้นต่อไป ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ถือว่าผู้นั้นปฏิบัติตามมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศไว้
ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการกำนัน
และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ที่กำหนดไว้ในประกาศ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๙ มิถุนายน
๒๕๕๙
ชวัลพร/ตรวจ
๒๙ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๒๓/๖ มิถุนายน ๒๕๕๙ |
736367 | ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข เรื่อง การกำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน | ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข
เรื่อง
การกำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข อำเภอศรีณรงค์
จังหวัดสุรินทร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จึงกำหนดความลึกหรือพื้นที่ที่ต้องแจ้งการขุดดิน หรือถมดิน ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังนี้
๑. การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดิน
ตั้งแต่ ๑.๐๐ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อ ตั้งแต่ยี่สิบตารางเมตรขึ้นไป
๒. การถมดินที่มีพื้นที่ตั้งแต่ยี่สิบตารางเมตรขึ้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
บุญร่วม
อินทสุข
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๓๒/๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
683161 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่พัฒนา
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ข้อ ๓ ผู้ใดดำเนินการขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและยังดำเนินการเช่นนั้นต่อไป
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อได้ดำเนินการแล้วถือว่าผู้นั้นปฏิบัติตามมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศไว้
ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ ที่กำหนดไว้ในประกาศ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
จารุพงศ์
เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๖/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๖ |
674117 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
ข้อ ๓ ผู้ใดดำเนินการขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้
อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและยังดำเนินการเช่นนั้นต่อไป
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อได้ดำเนินการแล้วถือว่าผู้นั้นปฏิบัติตามมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศไว้
ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน แห่งท้องที่ที่กำหนดไว้ในประกาศ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยงยุทธ
วิชัยดิษฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๑๖/๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ |
672514 | ประกาศเทศบาลตำบลชัยวารี เรื่อง กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน | ประกาศเทศบาลตำบลชัยวารี
ประกาศเทศบาลตำบลชัยวารี
เรื่อง
กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลชัยวารี
อาศัยอำนาจตามความนัยมาตรา ๔ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ นายกเทศมนตรีตำบลชัยวารี ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จึงกำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ดังนี้
(๑) การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินตั้งแต่ ๒ เมตร
หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินตั้งแต่แปดร้อยตารางเมตรขึ้นไป
(๒) การถมดินที่มีความสูงของเนินดินมากกว่า ๕๐ เซนติเมตร จากระดับถนน
คสล. หรือมีพื้นที่ตั้งแต่แปดร้อยตารางเมตรขึ้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
รัศมี สังวิเศษ
นายกเทศมนตรีตำบลชัยวารี
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ สิงหาคม
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๕ กันยายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๕๐/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
656237 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยงยุทธ
วิชัยดิษฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๔๓/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656235 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง
อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยงยุทธ
วิชัยดิษฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๔๒/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
649383 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามมาตรา
๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและเมื่อได้ดำเนินการแล้ว
ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๔๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
649381 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนรัง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนรัง
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนรัง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนรัง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๓๑ พฤษภาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๔๒/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
647797 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามมาตรา
๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๕๕/๔ เมษายน ๒๕๕๔ |
643426 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และเมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๑๓/๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ |
642850 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗
หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๓๕/๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ |
641742 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ข้อ
๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ข้อ
๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗
หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้ว
ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๔๘/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
628597 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ข้อ
๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี
ข้อ
๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ
๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๗/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
628593 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์
อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อ ๓ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบรับแจ้งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๓๐/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
622578 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพระ
อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประเทศ ณ วันที่ ๑๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๐/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ |
622576 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ข้อ ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.
๒๕๔๓ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี
ข้อ ๓[๑] ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประเทศ ณ วันที่ ๑๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๓
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๓๙/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ |
612351 | ประกาศเทศบาลตำบลโคกสูง เรื่อง กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน
| ประกาศเทศบาลตำบลโคกสูง
ประกาศเทศบาลตำบลโคกสูง
เรื่อง
กำหนดความลึกหรือพื้นที่ ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดิน[๑]
โดยเป็นการสมควรในการกำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดินหรือถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลโคกสูง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
นายกเทศมนตรีตำบลโคกสูงในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงกำหนดความลึกหรือพื้นที่
ที่ต้องแจ้งการขุดดิน หรือถมดิน ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้
๑.
การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินตั้งแต่ ๒.๐๐ เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินตั้งแต่แปดร้อยตารางเมตรขึ้นไป
๒.
การถมดินที่มีความสูงตั้งแต่ ๑.๐๐ เมตร นับจากพื้นผิวดินเดิม
หรือมีพื้นที่ตั้งแต่แปดร้อยตารางเมตรขึ้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เชิดศักดิ์ แวงวรรณ
นายกเทศมนตรีตำบลโคกสูง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ปริยานุช/จัดทำ
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
รชณัฐ/ปรับปรุง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง/หน้า ๗๗/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.