sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
821371 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดปราจีนบุรี
เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต
คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดปราจีนบุรี ออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๖๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดปราจีนบุรี
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอตามเขตท้องที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วรรณนัฑ
หิรัญชุฬหะ
ประมงจังหวัดปราจีนบุรี
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๙ ง/หน้า ๒๔/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
821369 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต
คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ และวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑
นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๙๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังจังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจ
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พรศักดิ์
ศักดิ์ธานี
ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๙ ง/หน้า ๒๒/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
819658 | ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/04/2561) | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เรือประมงตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้เป็นเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิมล จันทรโรทัย
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔]
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๘
มกราคม ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๒๘
มิถุนายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๔
กันยายน ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๘
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๐ ง/หน้า ๒๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๗/๓๑ พฤษภาคม
๒๕๖๐
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๒๕/๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ |
819277 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดพัทลุง เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
กู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๓ ง/หน้า ๕๙/๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
850792 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดชลบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๑
ด้วยสภาพภูมิอากาศของจังหวัดชลบุรีอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม
๒ ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบกับเรือประมงประเภทอวนครอบ
อวนช้อนหรืออวนยกหมึกในพื้นที่จังหวัดชลบุรีขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถออกไปทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งได้
เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมทั้งลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวประมงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๑ วรรคหนึ่ง (๑)และวรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรีโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน
หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) หรือแหล่งจ่ายไฟ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดชลบุรี เว้นแต่การทำการประมงนอกเขตระยะ
๑,๐๐๐ เมตร นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่ง โดยใช้เครื่องมืออวนครอบ
อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่มีขนาดช่องตาไม่ต่ำกว่า ๓.๒ เซนติเมตร และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังไฟฟ้ารวมไม่เกิน
๕ กิโลวัตต์
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ภัครธรณ์ เทียนไชย
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๓ ง/หน้า ๕๘/๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
819232 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดพะเยา เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561
| ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดพะเยา
เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์นน้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยา
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎหมายกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดพะเยาออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๖๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดพะเยา
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอในอำเภอนั้น ๆ รวมถึงอำเภอที่รับผิดชอบ
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สนั่น ปานบ้านแพ้ว
ประมงจังหวัดพะเยา
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๓ ง/หน้า ๕๖/๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
819201 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความใน
๕.๔ ของข้อ ๕ ของประกาศกรมประมง เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งการครอบครอง แบบหนังสือกำกับการจำหน่าย
การนำพยานเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว
การออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อธิบดีกรมประมง
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น วรรคสอง ของข้อ ๑
ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
พ.ศ. ๒๕๖๑
กรณีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
ในเขตท้องที่จังหวัดเพชรบุรี ให้แจ้ง ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานประมงอำเภอเมืองเพชรบุรี
(๒) สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม
(๓) สำนักงานประมงอำเภอท่ายาง
(๔) สำนักงานประมงอำเภอชะอำ
(๕) สำนักงานประมงอำเภอเขาย้อย
(๖) สำนักงานประมงอำเภอแก่งกระจาน
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๒ ง/หน้า ๓๐/๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
818526 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอย
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ
ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้า
พ.ศ. ๒๕๖๐ ไว้แล้ว นั้น
จากการศึกษาข้อมูลวิชาการในเบื้องต้นพบว่าสัตว์น้ำประเภทหอยในอ่าวไทยมีวงจรชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม
ตลอดจนการแพร่กระจายของน้ำจืดจากปากแม่น้ำลงสู่พื้นที่อ่าวไทยตอนบนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการตายของหอยลาย
จึงเห็นควรมีการศึกษาทางวิชาการในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมายชั่วคราวในระหว่างการศึกษาเพื่อมิให้ประชาชนผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายได้รับผลกระทบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้งดเว้นการใช้บังคับความในข้อ ๓ (๒) ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้า
พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นการชั่วคราว
ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือคราดหอยที่มีขนาดช่องซี่คราดต่ำกว่า 1 เซนติเมตร ประกอบเรือกลทำการประมงบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบนในเขตทะเลนอกชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี
สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
ข้อ ๓ ในเขตจังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดตามข้อ ๒
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือคราดหอยที่มีขนาดช่องซี่คราดต่ำกว่า ๑.๒
เซนติเมตร ประกอบเรือกลทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง
ข้อ ๔ การวัดขนาดช่องซี่คราดให้วัดจากด้านในของซี่คราดหนึ่งไปยังด้านในของอีกซี่คราดหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กัน
ข้อ ๕[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
ลักษณ์ วจนานวัช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปุณิกา/ธนบดี/จัดทำ
๐๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๗๗ ง/หน้า ๑/๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
818442 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง ขยายกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ขยายกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาต
และการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ โดยที่สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี
ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ และปิดรับคำขอวันที่
๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ นั้น
เนื่องจากการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังต้องมีเอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตของผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องรอการพิจารณาจากหน่วยงานอื่น สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานีพิจารณาแล้ว
เห็นควรขยายกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาต และอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดอุทัยธานี ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอใบรับอนุญาต
ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ เป็นระยะเวลา ๖๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอใบรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดอุทัยธานี
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
จังหวัดอุทัยธานี
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มายื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน
๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่อนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อนันต์ เหล่าแช่ม
ประมงจังหวัดอุทัยธานี
ปุณิกา/ธนบดี/จัดทำ
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง/หน้า ๓๔/๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
817301 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่พื้นที่เขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดพังงามีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาศัยแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำที่สำคัญ
แต่มีชาวประมงทาการสร้างเครื่องมือทำการประมงประเภทโป๊ะน้ำตื้นซึ่งเป็นประเภทเครื่องมือทำการประมงที่ตั้งอยู่กับที่และจับสัตว์น้ำวัยอ่อนได้ในปริมาณที่มากจนเกินสมควร
รวมทั้งมีการดัดแปลงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่มีลักษณะยึดครองพื้นที่ทำการประมงในทะเลทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงพื้นบ้านประเภทอื่น
หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทาการประมงและวิธีการทำการประมงดังกล่าวอีกต่อไปจะเกิดการทำลายระบบนิเวศของท้องทะเลและส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรง
รวมทั้งเกิดความขัดแย้งของชาวประมงในพื้นที่ ดังนั้น จึงเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วน
สมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทโป๊ะน้ำตื้น
หรือเครื่องมือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกัน
ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดพังงา
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สิทธิชัย
ศักดา
ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖๔ ง/หน้า ๔๗/๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
816860 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.๒๕๖๑
โดยที่ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำใน
หน้าวัดโพธิ์แทน บริเวณท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลโพธิ์แทนอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตามธรรมชาติและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำจืดนานาชนิด
ซึ่งหากปล่อยให้มีการทำประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวต่อไป
จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำในอนาคต จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำรวมทั้งระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้าประกอบกับความในมาตรา
๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำใน
หน้าวัดโพธิ์แทน บริเวณท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์
จังหวัดนครนายก ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้า
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ณัฐพงศ์
ศิริชนะ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ.๒๕๖๑
(ดูภาพจากข้อมูลกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖๑ ง/หน้า ๓๔/๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
816367 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ด้วยที่จับสัตว์น้ำในจังหวัดตราด มีความเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
แพร่ขยายพันธุ์
วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับมีการทำการประมงด้วยเครื่องมือที่หลากหลายเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิต
และส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ดังนั้น จึงมีเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ
ให้อุดมสมบูรณ์และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน จึงเห็นสมควรกำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ดังนี้
เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง
ประกอบมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ สุ่ม แหลน แร้ว แห และอวนติดตา ขนาดช่องตาอวนไม่น้อยกว่า ๓
เซนติเมตร ลำละไม่เกิน ๑๐ แถบ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๑ ตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๑,๗๐๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๑/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้งและอวนจมปู ลอบปู เบ็ดมือ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่
๑ ตำบลห้วงน้าขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๒๖ ไร่
ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๒/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ เก็บหอยด้วยมือ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๒ ตำบลห้วงน้าขาว อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๓/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๓ ตำบลห้วงน้าขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
พื้นที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๔/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น อวนจมปู และลอบปู ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๕ ตำบลห้วงน้าขาว อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๑๒๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๕/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น อวนลอยปลาเห็ดโคน อวนลอยปลากระบอก เบ็ดมือ
และการเก็บหอยขาวโดยไม่ใช้เครื่องมือคราดทุกชนิด ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๑ ตำบลแหลมกลัด
อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๘๒๕ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด
หมายเลข ๖/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ การดำน้ำเก็บหอยหรือยิงปลา โดยไม่ประกอบอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ
ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๒ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด จำนวน ๓
พื้นที่ พื้นที่ละประมาณ ๒ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๗/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ แหลน หลาว ฉมวก แห เดินรุนเคย การดำน้ำเก็บหอยโดยไม่ประกอบอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ
และการเดินเท้า วางอวนลอยปลา ที่มีขนาดช่องตาอวนไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่
๕ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๑,๔๐๐
ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๘/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ แหลน หลาว ฉมวก แห เดินรุนเคย การดำน้ำเก็บหอยที่ไม่ประกอบอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ
และการทำการประมงพื้นบ้านด้วยวิธีเดินเท้าวางอวนลอยปลา ที่มีขนาดช่องตาอวนไม่น้อยกว่า
๓ เซนติเมตร ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๖ และหมู่ที่ ๙ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด
หมายเลข ๙/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๑๐ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๑๕๕ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๑๐/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๒ ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จำนวน
๒ พื้นที่ พื้นที่ละประมาณ ๑๒ ไร่ และ ๖๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด
หมายเลข ๑๑/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่
๖ ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๖๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด
หมายเลข ๑๒/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง และอวนจมปู ลอบปูที่มีขนาดช่องตาอวนโดยรอบไม่เล็กกว่า
๒.๕ นิ้ว การเก็บหอยด้วยมือในที่จับสัตว์น้ำบริเวณหมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๔ ตำบลแหลมงอบ
อำเภอแหลมงอบ พื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๑๓/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทลอบปู
และอวนจมปู ตั้งแต่แนวชายฝั่งออกไปไม่เกินระยะ ๒๐๐ เมตร ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณบ้านคลองมะนาว
หมู่ที่ ๔ ถึงบริเวณปากคลองขุด หมู่ที่ ๓ ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
พื้นที่ประมาณ ๒,๓๓๐ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๑๔/๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกประเภท
ยกเว้น เบ็ดมือ การดำน้ำเก็บหอยและยิงปลาโดยไม่ประกอบอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ
จากแนวชายฝั่งไม่เกินระยะ ๔๐๐ เมตร ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณเกาะระยั้งใน ติดต่อเกาะหมาก
อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๙๖ ไร่ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด
หมายเลข ๑๕/๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.
๒๕๖๑
ประเสริฐ ลือชาธนานนท์
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑/๑๕)
๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๒/๑๕)
๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๓/๑๕)
๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๔/๑๕)
๕. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๕/๑๕)
๖. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๖/๑๕)
๗. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๗/๑๕)
๘. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๘/๑๕)
๙. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๙/๑๕)
๑๐. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑๐/๑๕)
๑๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑/๑๕)
๑๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑๒/๑๕)
๑๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑๓/๑๕)
๑๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑๔/๑๕)
๑๕. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
(แผนที่หมายเลข ๑๕/๑๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ มกราคม
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕๓ ง/หน้า ๒๔/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
816363 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ด้วยที่จับสัตว์น้ำในจังหวัดตราด
มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแพร่ขยายพันธุ์
วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก
หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ
อันจะส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น จึงมีเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วน
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
สมควรกำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ดังกล่าว เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไปนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(๑)
ที่จับสัตว์น้ำ บริเวณทะเลชายฝั่งบ้านแหลมเทียน หมู่ที่ ๑ ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๑/๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
ที่จับสัตว์น้ำ บริเวณหนองวัดไทรทอง หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด หมายเลข ๒/๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๓)
ที่จับสัตว์น้ำ บริเวณเกาะกระ ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนด
หมายเลข ๓/๓ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.
๒๕๖๑
ประเสริฐ ลือชาธนานนท์
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข
๑/๓)
๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข
๒/๓)
๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตราด เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข
๓/๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ มกราคม
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕๓ ง/หน้า ๒๓/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
816192 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๖ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
ข้อ ๒ กรณีที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำผ่านท่าเทียบเรือประมง
โดยมิได้มีการชั่ง ณ ท่าเทียบเรือประมง ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ทุกครั้งที่เรือประมงเข้าใช้บริการในลักษณะดังกล่าวตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศนี้
ให้แล้วเสร็จก่อนจะขนส่งสัตว์น้ำไปทางรถยนต์ โดยกรอกรายการในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ให้ถูกต้องครบถ้วน และจัดส่งหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ดังกล่าว ให้กับผู้ซื้อสัตว์น้ำพร้อมกับสัตว์น้ำเพื่อให้ผู้ซื้อสัตว์น้ำปลายทางทราบชนิดและจำนวนสัตว์น้ำที่ขนส่งมาพร้อมกับรถยนต์
ข้อ ๓ เมื่อมีการชั่งน้ำหนักของสัตว์น้ำ ณ ปลายทาง
ให้ผู้ซื้อสัตว์น้ำตามข้อ ๒ บันทึกน้ำหนักสัตว์น้ำที่ชั่งจริงในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ให้ครบถ้วนพร้อมลงนาม และส่งหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ต้นฉบับให้แก่เจ้าของท่าเทียบเรือประมง หรือผู้ประกอบกิจการแพปลาภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงเมื่อได้มีการบันทึกแล้วเสร็จ
ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาบันทึกข้อมูลและจัดส่งสำเนาหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ที่ได้รับกลับมาจากผู้ซื้อสัตว์น้ำ ส่งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในพื้นที่ภายใน
๗๒ ชั่วโมง นับจากระยะเวลาที่ได้จัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงทุกลำที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือน้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงแล้วเสร็จ
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำผ่านท่าเทียบเรือประมงโดยได้มีการชั่ง
ณ ท่าเทียบเรือประมง ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาจัดทำและจัดส่งหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกรมประมงว่าด้วยการกำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
ข้อ ๕ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาเก็บหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ตามข้อ ๓ ไว้ไม่น้อยกว่า ๓ ปี เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ มกราคม
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔๙ ง/หน้า ๑๑/๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
815076 | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการในการขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำกับองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการในการขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำกับองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค
พ.ศ. ๒๕๖๑
เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในฐานะสมาชิก
และในฐานะไม่เป็นสมาชิกแต่ให้ความร่วมมือ ภายใต้องค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค
(Regional Fisheries Management Organizations ; RFMOs) ได้แก่
คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) ความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) และคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและตอนกลาง
(Western and Central Pacific Fisheries Commission ; WCPFC) เป็นผลให้ประเทศไทยมีสิทธินำเรือเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำภายในเขตพื้นที่ดังกล่าวภายใต้มาตรการควบคุมและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
ประกอบกับมาตรา ๘๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้เรือที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำเมื่อต้องการนำเรือดังกล่าวออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหลวงต้องปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบของ
RFMOs ที่เกี่ยวข้อง อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำไทยที่ประสงค์จะเข้าไปขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตความรับผิดชอบของ
IOTC
(๑)
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเรือเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตให้ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำเขตความรับผิดชอบของ
IOTC ต้องยื่นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ดังต่อไปนี้
(ก)
หนังสือแจ้งความประสงค์ขอนำเรือขึ้นทะเบียน IOTC ถึงอธิบดีกรมประมงและถึงเลขาธิการ
IOTC (ฉบับภาษาอังกฤษ) อย่างละ ๑ ฉบับ
โดยระบุข้อความว่าจะปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์และจัดการประมงที่ IOTC กำหนด และอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์ของ IOTC (IOTC Regional Observer) ขึ้นปฏิบัติงานบนเรือได้
(ข)
สำเนาใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(ค)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำและของผู้ยื่นคำร้อง
(กรณีมอบอำนาจพร้อมหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ จำนวน ๑๐ บาท)
(ง)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(จ)
สำเนาทะเบียนเรือไทยและใบอนุญาตใช้เรือที่ระบุนามเรียกขานวิทยุระหว่างประเทศและหมายเลข
IMO
(ฉ)
รูปถ่ายเรือที่มีความละเอียดสูงมีความสว่างและความเข้มที่เหมาะสม โดยถ่ายไว้ไม่เกิน
๕ ปี ได้แก่
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงกาบเรือด้านขวาทั้งหมดของตัวเรือและองค์ประกอบแสดงโครงสร้างเรือครบถ้วน
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงกาบเรือด้านซ้ายทั้งหมดของตัวเรือและองค์ประกอบแสดงโครงสร้างเรือครบถ้วน
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงภาพถ่ายด้านท้ายเรือ
(ช) ชื่อเดิมของเรือ (ถ้ามี)
(ซ) ชื่อรัฐของธงเดิม (ถ้ามี)
(ฌ) เอกสารแสดงคุณลักษณะของเรืออย่างละเอียด (Specification หรือ Ship Particulars)
(๒) ระยะเวลาการดำเนินการจนแล้วเสร็จขึ้นอยู่กับ IOTC
โดยทำการเพิ่มรายชื่อเรือในเว็บไซต์ IOTC ผู้ประกอบการหรือเจ้าของเรือสามารถตรวจสอบผลการอนุมัติขึ้นทะเบียนได้ที่
http://www.iotc.org/vessels
ข้อ
๒ การขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำไทยที่ประสงค์จะเข้าไปขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตความรับผิดชอบของ
SIOFA
(๑) ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเรือเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตให้ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขต
SIOFA ต้องยื่นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ดังต่อไปนี้
(ก) หนังสือแจ้งความประสงค์ขอนำเรือขึ้นทะเบียน SIOFA
ถึงอธิบดีกรมประมงและถึงเลขาธิการ SIOFA (ฉบับภาษาอังกฤษ) อย่างละ ๑ ฉบับ
(ข) สำเนาใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(ค) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำและของผู้ยื่นคำร้อง
(กรณีมอบอำนาจพร้อมหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ จำนวน ๑๐ บาท)
(ง) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(จ) สำเนาทะเบียนเรือไทยและใบอนุญาตใช้เรือที่ระบุนามเรียกขานวิทยุระหว่างประเทศและหมายเลข
IMO
(ฉ) เอกสารแสดงคุณลักษณะของเรืออย่างละเอียด (Specification หรือ Ship Particulars)
(ช) เอกสารแสดงรายละเอียดระบบ VMS ที่ระบุตราอักษร
รุ่น คุณลักษณะและรหัสอุปกรณ์
(ซ) แบบแปลนห้องเก็บสัตว์น้ำบนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
(ฌ) รูปถ่ายเรือที่มีความละเอียดสูงมีความสว่างและความเข้มที่เหมาะสม
โดยถ่ายไว้ไม่เกิน ๕ ปี ได้แก่
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงกาบเรือด้านขวาทั้งหมดของตัวเรือและองค์ประกอบแสดงโครงสร้างเรือครบถ้วน
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงกาบเรือด้านซ้ายทั้งหมดของตัวเรือและองค์ประกอบแสดงโครงสร้างเรือครบถ้วน
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงภาพถ่ายด้านท้ายเรือ
(ญ) ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ ๑
(๒) ระยะเวลาการดำเนินการจนแล้วเสร็จขึ้นอยู่กับ SIOFA โดยทำการเพิ่มรายชื่อเรือในเว็บไซต์ SIOFA ผู้ประกอบการหรือเจ้าของเรือสามารถตรวจสอบผลการอนุมัติขึ้นทะเบียนได้ที่
http://www.siofa.org/authorised-vessels
ข้อ
๓ การขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำไทยที่ประสงค์จะเข้าไปขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตความรับผิดชอบของ
WCPFC
(๑) ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตให้ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขต
WCPFC ต้องยื่นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ดังต่อไปนี้
(ก) หนังสือแจ้งความประสงค์ขอนำเรือขึ้นทะเบียน
WCPFC ถึงอธิบดีกรมประมงและถึงเลขาธิการ
WCPFC (ฉบับภาษาอังกฤษ) อย่างละ ๑ ฉบับ
โดยระบุข้อความว่าจะปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์และจัดการประมงที่ WCPFC กำหนด และอนุญาตให้ WCPFC Observer ขึ้นปฏิบัติงานบนเรือได้
(ข) สำเนาใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(ค) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำและของผู้ยื่นคำร้อง
(กรณีมอบอำนาจพร้อมหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ จำนวน ๑๐ บาท)
(ง) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(จ) สำเนาทะเบียนเรือไทยและใบอนุญาตใช้เรือที่ระบุนามเรียกขานวิทยุระหว่างประเทศและหมายเลข
IMO
(ฉ) สำเนาใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(ช) รูปถ่ายเรือที่มีความละเอียดสูงมีความสว่างและความเข้มที่เหมาะสม
โดยถ่ายไว้ไม่เกิน ๕ ปี ได้แก่
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงกาบเรือด้านขวาทั้งหมดของตัวเรือและองค์ประกอบแสดงโครงสร้างเรือครบถ้วน
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงกาบเรือด้านซ้ายทั้งหมดของตัวเรือและองค์ประกอบแสดงโครงสร้างเรือครบถ้วน
- รูปภาพดิจิตอล ๑ ใบ แสดงภาพถ่ายด้านท้ายเรือ
(ซ) เอกสารแสดงรายละเอียดระบบ VMS ที่ระบุตราอักษร รุ่น
คุณลักษณะ และรหัสอุปกรณ์
(ฌ) เอกสารแสดงคุณลักษณะของเรืออย่างละเอียด (Specification หรือ Ship Particulars)
(ญ) ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ ๒
(๒) ระยะเวลาการดำเนินการจนแล้วเสร็จขึ้นอยู่กับ WCPFC โดยทำการเพิ่มรายชื่อเรือในเว็บไซต์ WCPFC ผู้ประกอบการหรือเจ้าของเรือสามารถตรวจสอบผลการอนุมัติขึ้นทะเบียนได้ที่
http://www.wcpfc.int/record-fishing-vessel-database
ข้อ
๔ ระยะเวลาในการอนุญาตสำหรับการขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำภายใต้องค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค
ให้นับจากวันที่กรมประมงลงนามในหนังสือแจ้งการขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคเป็นเวลา
๒ ปี
ข้อ
๕ เรือขนถ่ายสัตว์น้ำลำใดที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคอยู่ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้มีระยะเวลาในการอนุญาตตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบการยื่นขอขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำในเขต SIOFA (เอกสารแนบ ๑)
๒.
เอกสารแนบการยื่นขอขึ้นทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำในเขต WCPFC (เอกสารแนบ ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๒๗ กุมภาพันธ์
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔๘ ง/หน้า ๔๑/๕
ตุลาคม ๒๕๖๑ |
815074 | ประกาศกรมประมง เรื่อง การบันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือแปรรูปสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
การบันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ (๕) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
การบันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑
ข้อ
๒ ให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำที่อยู่ในบัญชีรายชื่อโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองสุขลักษณะสถานประกอบการผลิตภัณฑ์ประมงตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองสุขลักษณะ
(GMP) และใบรับรองระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ในสถานประกอบการผลิตภัณฑ์ประมง พ.ศ. ๒๕๔๗ ของกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง
(www.fisheries.go.th/quality/DOF%๒๐list.pdf) ดำเนินการดังนี้
(๑) บันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
ตามประกาศกรมประมงว่าด้วยการกำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบ
การรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง (Thai Flagged Catch Certification System, http://traceability.fisheries.go.th/tds)
(๒) บันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้ถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พรวิภา/จัดทำ
๒๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔๘ ง/หน้า ๔๐/๕
ตุลาคม ๒๕๖๑ |
814277 | ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
เอกสารแนบท้าย
๑. แบบบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ
๒๓๘ ง/หน้า ๖/๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ |
814275 | ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง ใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงและคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
ใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
และคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๑
ของกฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง ใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง และคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ แบบคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
ใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง และคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
เอกสารแนบท้าย
๑. แบบคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
๒. แบบใบจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
๓. แบบคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ
๒๓๘ ง/หน้า ๕/๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ |
813721 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่จับสัตว์น้ำบางพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ
มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการบำรุงรักษา เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
แพร่ขยายพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก
หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ
อันจะส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักป้องกันล่วงหน้า
ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไปนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(๑)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (วังแสง) บริเวณท้องที่บ้านหนองจอก หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองบัวดง
อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑/๑๒
แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (วังหิน) บริเวณท้องที่บ้านตู้ หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด
จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๒/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (วังบักเยา) บริเวณท้องที่บ้านหลักด่าน หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองบัวดง
อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๓/๑๒
แนบท้ายประกาศนี้
(๔)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (กุดผือ) บริเวณท้องที่บ้านดงเค็ง หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด
หมายเลข ๔/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๕)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (ปากห้วยน้ำเค็ม) บริเวณท้องที่บ้านหนองพอก หมู่ที่ ๔ และบ้านทับส่วย หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด
จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๕/๑๒
แนบท้ายประกาศนี้
(๖)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (วังหว้า) บริเวณท้องที่บ้านหนองบัวดง หมู่ที่ ๑
หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๖ ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนดหมายเลข ๖/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๗) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำเสียว (โรงสูบน้ำบ้านทับส่วย)
บริเวณท้องที่บ้านทับส่วย หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๗/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๘)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำมูล (กุดฮี) บริเวณท้องที่บ้านด่าน หมู่ที่ ๕ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล
จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๘/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๙)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำมูล (สถานีสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้า) บริเวณท้องที่บ้านโนนสังข์ หมู่ที่ ๘ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๙/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๐) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำมูล (เลิงนางซาว)
บริเวณท้องที่บ้านดงแดง หมู่ที่ ๙ บ้านดงเจริญ
หมู่ที่ ๑๒ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด
หมายเลข ๑๐/๑๒
(๑๑)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำมูล (กุดเป่ง) บริเวณท้องที่บ้านด่าน หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๑๐
ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑๑/๑๒
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๒)
ที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำวังหิน บริเวณท้องที่ในเขตท้องที่บ้านสร้างบาก หมู่ที่ ๑
ตำบลวังหิน และบ้านดอนพระเจ้า หมู่ที่ ๑๙ ตำบลบุสูง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑๒/๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธวัช
สุระบาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลตามภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๒๙
มีนาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑๕/๑๘
กันยายน ๒๕๖๑ |
813715 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
นอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
พื้นที่แหล่งน้ำแม่น้ำตาปี ในท้องที่เขตอำเภอฉวาง และอำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช
(๒)
พื้นที่อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน ในท้องที่เขตอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
จำเริญ
ทิพญพงศ์ธาดา
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ปุณิกา/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๒๙
มีนาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑๔/๑๘
กันยายน ๒๕๖๑ |
812890 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่จับสัตว์น้ำในบริเวณฝายห้วยตำข่อน
บ้านผาบ่อง หมู่ที่ ๑ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีสภาพพื้นที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
แพร่ขยายพันธุ์วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ
ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีคลองชลประทานเชื่อมต่อบริเวณวัดผาบ่องใต้
มีพันธุ์สัตว์น้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืน
ตามหลักการป้องกันล่วงหน้าประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำ ในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖
แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำฝายห้วยตำข่อน
บริเวณท้องที่บ้านผาบ่อง หมู่ที่ ๑ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สิริรัฐ
ชุมอุปการ
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๑๑/๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ |
812888 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจาจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน เขตท้องที่ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ตามแผนที่หมายเลข
๑/๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
แม่น้ำแควน้อย เขตท้องที่ตำบลจรเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย ตำบลหนองหญ้า ตำบลวังเย็น ตำบลปากแพรก ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมืองกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี ตามแผนที่หมายเลข ๒/๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๓)
แม่น้ำแม่กลอง เขตท้องที่ตำบลเขาน้อย ตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตามแผนที่หมายเลข
๓/๖, ๔/๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๔) แม่น้ำแม่กลอง เขตท้องที่ตำบลท่าล้อ ตำบลเขาน้อย
ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตามแผนที่หมายเลข ๕/๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๕) แม่น้ำแควน้อย เขตท้องที่ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค
จังหวัดกาญจนบุรี ตามแผนที่หมายเลข ๖/๖ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
จีระเกียรติ
ภูมิสวัสดิ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๑๐/๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ |
812751 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ . ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
(๒)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ
๒ ให้เจ้าของเรือที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป
และเจ้าของเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก
อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง
ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงก่อนนำเรือประมงเข้าออกจากท่าเทียบเรือประมง
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางระบบ Single Window 4 Fishing Fleet (http://fpipo.md.go.th) หรือแจ้งโดยตรงตามแบบคำขอแนบท้ายประกาศนี้
ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
กรณีการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมง
เพื่อวัตถุประสงค์ขึ้นคานหรือซ่อมบำรุง เมื่อดำเนินการซ่อมบำรุง ณ
คานเรือหรืออู่ต่อเรือแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือดำเนินการแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่งด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่กรณีการนำเรือประมงออกไปช่วยเหลือเรือหรือผู้ประสบภัยทางทะเล
แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในพื้นที่รับผิดชอบทราบผ่านช่องทางใดก็ได้
ข้อ
๓ เมื่อเจ้าของเรือดำเนินการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมงแล้ว
ให้เจ้าของเรือพิมพ์เอกสารแบบตอบรับการแจ้งที่ระบุหมายเลขการแจ้ง (เลข PO) ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อให้ผู้ควบคุมเรือนำลงเรือประมง
ข้อ
๔ เมื่อเจ้าของเรือได้ดำเนินการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงตามข้อ
๒ แล้ว ห้ามนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงก่อนเวลาที่แจ้งความประสงค์ไว้
กรณีที่มีเหตุขัดข้อง
อันเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงได้ให้เจ้าของเรือแจ้งยกเลิกการแจ้งออก
ข้อ
๕ เมื่อนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว
ห้ามมิให้เข้าท่าเทียบเรือประมงอื่นหรือจอดรอเพื่อกิจกรรมอื่น
เว้นแต่เกิดเหตุสุดวิสัย ทั้งนี้
ให้เจ้าของเรือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบหลังจากนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมงหรือทำกิจกรรมอื่นนั้นแล้วภายในระยะเวลาไม่เกินสามสิบนาที
กรณีนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว
หากพบว่ามีคนบนเรือไม่ตรงกับรายชื่อคนประจำเรือ (LR) ที่แจ้งไว้
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือ แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่ประสงค์จะนำเรือเข้าทราบ
ภายในระยะเวลาไม่เกินสิบสองชั่วโมงนับจากเวลาที่แจ้งความประสงค์จะออกจากท่าเทียบเรือประมงและต้องนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าทันทีและห้ามมิให้มีการทำการประมงภายหลังจากแจ้งเหตุดังกล่าวแล้ว
ข้อ
๖ เมื่อเจ้าของเรือได้ดำเนินการแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมงตามข้อ
๒ แล้ว จะต้องนำเรือประมงเข้าท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาไม่เกินสองชั่วโมงนับจากเวลาที่แจ้งความประสงค์ไว้และห้ามขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงก่อนเวลาที่แจ้งความประสงค์ไว้
และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗
กรณีการแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมงมากกว่าหนึ่งท่าเทียบเรือประมง
ให้ดำเนินการแจ้งไปพร้อมกับการแจ้งเข้าตามข้อ ๒
หากท่าเทียบเรือประมงที่แจ้งเข้านั้นมิได้อยู่ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบเดียวกันของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
เจ้าของเรือจะต้องดำเนินการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมงใหม่เพื่อนำเรือประมงออกไปเพื่อการเช่นว่านั้นโดยเฉพาะ
เมื่อได้มีการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว
ห้ามนำเรือประมงเข้าท่าเทียบเรือประมงอื่น เว้นแต่กรณีเหตุสุดวิสัย
เจ้าของเรือต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่แจ้งเข้าทราบก่อนที่เรือประมงจะเข้าท่าเทียบเรือประมง
หรือทำกิจกรรมอื่นนั้น
ข้อ
๗ การนำเรือประมงเข้าท่าเทียบเรือประมงเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง เจ้าของเรือต้องส่งมอบสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงตามช่องทางและวิธีการที่กำหนดในประกาศกรมประมง
เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง
ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ และในกรณีเรือประมงมีการขนถ่ายสัตว์น้ำกับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
เจ้าของเรือต้องส่งมอบรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
พร้อมกับการส่งมอบสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมง
ข้อ
๘ กรณีที่เรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงแล้ว
เจ้าของเรือประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมง
ให้แจ้งโดยตรงตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ภายในระยะเวลาไม่เกินสามวัน นับจากเวลาที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าท่าเทียบเรือประมง
ข้อ ๙ การดำเนินการตามประกาศฉบับนี้
เจ้าของเรือสามารถมอบหมายให้ผู้ควบคุมเรือหรือบุคคลอื่นดำเนินการแทนได้
ตามแบบที่กรมประมงประกาศกำหนด
ข้อ
๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบคำขอการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมง สำหรับการแจ้งโดยตรง ณ
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย)
๒. แบบตอบรับการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย)
๓.
แบบยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย)
๔.
รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๓/๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ |
812749 | ประกาศกรมประมงเรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเอกสารและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนาเรือประมงพาณิชย์ออกจากท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเอกสารและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนำเรือประมงพาณิชย์ออกจากท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเอกสารและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนำเรือประมงพาณิชย์ออกจากท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ก่อนนำเรือประมง ตามมาตรา ๘๑
ออกจากท่าเทียบเรือประมง เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือต้องนำเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้
ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามลักษณะและประเภทของเรือประมง
(๑) สำเนาทะเบียนเรือไทย
(๒) สำเนาใบอนุญาตใช้เรือ
(๓) สำเนาใบอนุญาตให้ทาการประมง
(๔) จำนวนรายชื่อคนประจำเรือ
(๕) หนังสือคนประจำเรือ
(๖) หลักฐานเกี่ยวกับการจัดระบบความปลอดภัย สุขอนามัย
และสวัสดิภาพในการทางานของคนประจำเรือ
ข้อ
๓ การยื่นเอกสารตามข้อ ๒
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือ ยื่นผ่านระบบด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ทาง Single Window 4 Fishing Fleet (http://fpipo.md.go.th) หรือแจ้งโดยตรงเพื่อเป็นการแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ก่อนนำเรือออกจากท่าเทียบเรือประมง
กรณีเอกสารและหลักฐานมีการเปลี่ยนแปลง
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือยื่นเอกสารและหลักฐานที่เปลี่ยนแปลงนั้นผ่านระบบดังกล่าว
ก่อนนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงในรอบทาการประมงนั้น
ข้อ
๔ เอกสารหลักฐานใดตามข้อ ๒
ที่เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือได้เคยยื่นไว้ต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ไม่ว่าจะเป็นการยื่นเป็นเอกสาร หรือผ่านวิธีอิเล็กทรอนิกส์ทางระบบ Single Window 4 Fishing Fleet (http://fpipo.md.go.th) ตามข้อ ๓ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นเอกสารดังกล่าวในแต่ละครั้งที่มีการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมง
เว้นแต่เอกสารตามข้อ ๒ (๔) ให้ยื่นทุกครั้งที่มีการแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมง
และเมื่อเจ้าของเรือดาเนินการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมงแล้ว
ให้เจ้าของเรือพิมพ์เอกสารรายชื่อคนประจำเรือ (LR) ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
เพื่อให้ผู้ควบคุมเรือนำลงเรือประมง
ข้อ
๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๗
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๑/๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ |
812065 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางพื้นที่ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางพื้นที่
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่พื้นที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งบางพื้นที่ของจังหวัดกระบี่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ พบการแพร่กระจายของสัตว์น้ำบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
มูลค่าสูง มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำซึ่งเป็นแหล่งอาศัยแพร่ขยายพันธุ์ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำและเป็นแหล่งทำการประมงเชิงอนุรักษ์ของชุมชน
แต่มีชาวประมงได้พัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือทำการประมงให้มีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำหรือจับลูกพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก
ซึ่งหากปล่อยให้มีการทำการประมงจะเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำรวมทั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงในพื้นที่
ดังนั้น เพื่อป้องกันและขจัดการทำการประมงที่เกินศักยภาพการผลิตและขีดความสามารถในการทำการประมงส่วนเกินตลอดจนควบคุมมิให้การทำการประมงมีผลบั่นทอนความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำ
จึงเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วนสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสอดคล้องกับแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและหลักป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง
ประกอบมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกชนิดทำการประมงหอยตะเภา
ยกเว้นการเดินเก็บหอยตะเภา ในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งหน้าหาดทุ่งทะเล อำเภอเกาะลันตา
จังหวัดกระบี่ตามจุดพิกัดที่ปรากฏในแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายประกาศหมายเลข ๑
ข้อ
๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงดังต่อไปนี้
ในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งรอบ ๆ เกาะปอ ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา
จังหวัดกระบี่ ตามจุดพิกัดที่ปรากฏในแผนที่แสดงแนวเขตท้ายประกาศหมายเลข ๒
(๑) เครื่องมือทำการประมงทุกชนิดที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ)
(๒) เครื่องมือลอบทุกชนิดที่มีขนาดช่องตาอวนเล็กกว่า ๒.๕
นิ้ว
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พันตำรวจโท
หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข
๑/๒)
๒.
แผนที่ท้ายประกาศประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมง
และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางพื้นที่ พ.ศ.
๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒/๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๔ สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๒๒/๓ กันยายน ๒๕๖๑ |
811856 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดระยะเวลาการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๖ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศกำหนดระยะเวลาในการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
ตามข้อ ๑๓ ของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ
๑๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มายื่นขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือก่อนหนังสือคนประจำเรือหมดอายุ
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑ ตุลาคม
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๐๖ ง/หน้า ๙/๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
811470 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความใน
๕.๔ ของข้อ ๕ ของประกาศกรมประมง เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งการครอบครอง แบบหนังสือกำกับการจาหน่าย
การนำพยานเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว
การออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้ง ณ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พรวิภา/จัดทำ
๑๗ มกราคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๑๓/๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
810569 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทหอยทะเล มายื่นคำขอรับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ประเภทหอยทะเล
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี
ได้ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทหอยทะเล
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตโดยให้ผู้เพาะเลี้ยงหอยแครง หอยกระปุก หรือหอยอื่น ๆ
มายื่นคำขออนุญาต ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑ และผู้เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
หรือหอยนางรม มายื่นคำขออนุญาต ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นั้น
เนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี
ได้รับแจ้งจากสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสงครามว่าได้มีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทหอยทะเล ที่ได้ไปยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสงคราม ตามมาตรา
๑๗๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และต่อมาได้ทราบภายหลังว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงหอยทะเลดังกล่าว
อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี
ประกอบกับเกษตรกรบางรายไม่สามารถได้ภายในกำหนด
รวมทั้งเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาพื้นที่เพาะเลี้ยงหอยทะเลทับซ้อนกันของเกษตรกรบางราย
อาศัยอำนาจตามข้อ
๓
แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดเพชรบุรีจึงออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประเภทหอยทะเลดังกล่าว ในพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีกำหนดไว้
มายื่นคำขออนุญาตในห้วงเวลาระหว่างวันที่ ๑ - ๕ ตุลาคม ๒๕๖๑
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดเพชรบุรี ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม
จังหวัดเพชรบุรี
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
ใบรับคำขออนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(เบื้องต้น)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๕) เอกสารหรือหลักฐานการแจ้งหรือการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณี
ต้องมีการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานอื่น)
(๖) หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๗) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๑๐) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๑) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ประพันธ์
ลีปายะคุณ
ประมงจังหวัดเพชรบุรี
ปุณิกา/จัดทำ
๗
มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๓/๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
810561 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง
พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๗ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดประเภทของเรือประมง
พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ขยายระยะเวลาการห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมง
ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้าไทย ตามความในข้อ ๑ ของประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลากำหนดห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทยตามประกาศดังกล่าว
ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปุณิกา/จัดทำ
๗
มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๑๐/๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
809191 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาต
และการอนุญาตให้ทำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัด
ประกาศห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต
ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับ กิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาต
และอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดอุทัยธานี ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๒๐ วัน
นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอใบรับอนุญาต
เป็นระยะเวลา ๖๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอใบรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดอุทัยธานี
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ
หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
จังหวัดอุทัยธานี
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มายื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจ
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่อนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อนันต์ เหล่าแช่ม
ประมงจังหวัดอุทัยธานี
วิวรรธน์/จัดทำ
๘ สิงหาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๗ ง/หน้า ๖๐/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
809189 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาตใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (เพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดเชียงใหม่ ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๑๕๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดเชียงใหม่
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอในอำเภอนั้น ๆ
รวมถึงอำเภอที่รับผิดชอบ
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖)
สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจ
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อุษณีย์
เอกปณิธานพงศ์
ประมงจังหวัดเชียงใหม่
วิวรรธน์/จัดทำ
๘ สิงหาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๗ ง/หน้า ๕๘/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808822 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘
กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา
๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
นอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
คลองบ่อนนท์ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๔ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข ๑/๙ - ๓/๙
(๒)
คลองท่าสูง หมู่ที่ ๔, ๙, ๑๒ และหมู่ที่ ๑๓ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข ๔/๙ - ๕/๙
(๓)
คลองปากพยิง หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๑๕ ตำบลท่าศาลา หมู่ที่ ๕ ตำบลโพธิ์ทอง
และหมู่ที่ ๑๓ ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข
๖/๙ - ๙/๙
ทั้งนี้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๑
จำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๑/๙
๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๒/๙
๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๓/๙
๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๔/๙
๕. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๕/๙
๖. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๖/๙
๗. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๗/๙
๘. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๘/๙
๙. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ แผนที่หมายเลข ๙/๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ กันยายน
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๓/๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808816 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง ปรับพื้นที่ประกาศเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำทับเสลา พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง
ปรับพื้นที่ประกาศเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำทับเสลา
พ.ศ. ๒๕๖๑
ด้วยที่จับสัตว์น้ำบริเวณ
อ่างเก็บน้ำทับเสลา ในเขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
ซึ่งได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำทับเสลา พื้นที่ ๙,๔๔๕.๓
ไร่ ทำให้ประชาชนที่เข้าไปทำการประมงทำผิดกฎหมายประมง
เนื่องจากพื้นที่ที่ประกาศครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอ่างเก็บน้ำ
จึงต้องปรับพื้นที่ประกาศเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ที่มีศักยภาพเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แพร่ขยายพันธุ์
วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำ
ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก
หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ
อันจะส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
สมควรปรับพื้นที่ประกาศเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำทับเสลาดังกล่าว
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน ๕ แห่ง เนื้อที่รวม ๔,๘๑๐.๕ ไร่ ตามลำดับเขตพื้นที่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำทับเสลา
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื้อที่ ๒,๓๒๒
ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๒๐/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๒ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทับเสลา
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื้อที่ ๙๘๘.๕ ไร่
ตามแผนที่หมายเลข ๒๑/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๓ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณคุ้งน้ำยายหลัด-ตามิน
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื้อที่ ๒๕๕ ไร่
ตามแผนที่หมายเลข ๒๒/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๔ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณคุ้งน้ำกะทะแตก
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื้อที่ ๑,๐๔๕
ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๒๓/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๕ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณคุ้งน้ำทุ่งแฝก
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื้อที่ ๒๐๐ ไร่
ตามแผนที่หมายเลข ๒๔/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๑
แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๐/๒๗)
๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๑/๒๗)
๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๒/๒๗)
๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๓/๒๗)
๕. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๔/๒๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ กันยายน
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑๙/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808812 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง อ่างเก็บน้ำทับเสลา พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง
ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง อ่างเก็บน้ำทับเสลา
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความมาตรา
๗๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงมีอำนาจออกประกาศ
พื้นที่ที่จะให้ใช้เครื่องมือทำการประมงที่ต้องใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง
ถ่วง หรือวิธีอื่นใดอันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำทับเสลา
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
เป็นเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงที่ต้องใช้วิธีลงหลัก ปัก
ผูก ขึง รั้ง ถ่วงหรือวิธีอื่นใดอันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง
เนื้อที่ ๗๕ ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๒๕/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้ที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำทับเสลา
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เป็นเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงที่ต้องใช้วิธีลงหลัก
ปัก ผูก ขึง รั้ง
ถ่วงหรือวิธีอื่นใดอันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง เนื้อที่ ๒๕๐
ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๒๖/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ให้ที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำทับเสลา
เขตท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
เป็นเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงที่ต้องใช้วิธีลงหลัก ปัก
ผูก ขึง รั้ง ถ่วงหรือวิธีอื่นใดอันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง
เนื้อที่ ๒๕๐ ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๒๗/๒๗ แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๑
แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๕/๒๗)
๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๖/๒๗)
๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี
เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่อนุญาตทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒๗/๒๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ กันยายน
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑๘/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808806 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ตออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๑
นรภัทร ปลอดทอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ กันยายน
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑๔/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808804 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครนายก
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดนครนายก ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด
๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต เป็นระยะเวลา ๙๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดนครนายก
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองนครนายก
และสำนักงานประมงอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๑
เรือเอก ธัญญะ ฉุยโรจน์ธรรม
ประมงจังหวัดนครนายก
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ กันยายน
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808408 | ประกาศกรมประมง เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝา พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝา
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อป้องกันอันตรายต่อมนุษย์ในการบริโภคหอยสองฝาในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นแหล่งน้ำทะเลอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๐๐ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
หอยสองฝา (Bivalve Mollusc) หมายความว่า
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในคลาสเพลิไซโปดา (Class Pelecypoda) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) และมีเปลือกที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) แข็งห่อหุ้มตัวที่เรียกว่าฝา
มีสองฝายึดติดกันโดยมีบานพับเป็นเอ็น
สารชีวพิษ (Biotoxin) หมายความว่า
สารพิษที่สร้างจากแพลงก์ตอนพืชชนิดที่สร้างสารพิษซึ่งเมื่อถูกกินโดยหอย
สารชีวพิษจะสะสมในหอย และเมื่อมนุษย์บริโภคอาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษ เช่น ทำให้เกิดอัมพาต
และท้องร่วง เป็นต้น
เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli หรือ E. coli) หมายความว่า แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม
เป็นตัวบ่งชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ข้อ ๒ มาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียที่สะสมในหอยสองฝาต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดตามบัญชีรายการมาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝาแนบท้ายประกาศนี้
กรณีที่สารชีวพิษและแบคทีเรียที่สะสมในหอยสองฝาเกินปริมาณที่กำหนด
อธิบดีอาจห้ามทำการประมงหอยสองฝาในที่จับสัตว์น้ำแห่งนั้น
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีรายการมาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๒ ตุลาคม
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๖๑ ง/หน้า ๔๗/๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
808041 | ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 | ErrorInternal Server Error |
807667 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดหนองบัวลำภู เรื่อง ยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ErrorInternal Server Error |
807663 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดระยอง เรื่อง ขยายกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดระยอง
เรื่อง
ขยายกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกาศกรมประมง เรื่อง
แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาตคำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สำนักงานประมงจังหวัดระยอง
ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๑ และปิดรับคำขอวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
นั้น
เนื่องจากการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตของผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
จึงจำเป็นต้องรอการพิจารณาจากหน่วยงานอื่น
สำนักงานประมงจังหวัดระยองพิจารณาแล้วเห็นควรขยายกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดระยอง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นระยะเวลา ๒๔๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดระยอง
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอวังจันทร์ ที่ว่าการอำเภอเขาชะเมา
หรือสำนักงานประมงอำเภอในท้องที่
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สงกรานต์
แสงจันทร์
ประมงจังหวัดระยอง
ปุณิกา/จัดทำ
๒๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๓๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๕/๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
807106 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดบึงกาฬ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดบึงกาฬ
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่ที่จับสัตว์น้ำในจังหวัดบึงกาฬมีความเหมาะสมต่อการบำรุงรักษาเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแพร่ขยายพันธุ์
วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งหากปล่อยให้มีการทำการประมงได้อย่างเสรีโดยไม่มีพื้นที่ที่เป็นแหล่งหลบซ่อนอาศัยของสัตว์น้ำ
อาจทำให้ปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำลดน้อยถอยลง
และกระทบต่อความสมดุลตามธรรมชาติได้จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์
การบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า ประกอบกับความในมาตรา ๕๖
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดบึงกาฬ
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไปนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(๑) ที่จับสัตว์น้ำหนองกุดทิง บริเวณท้องที่ หมู่ที่
๑ ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด
หมายเลข ๑/๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๒) ที่จับสัตว์น้ำห้วยคำแก้ว บริเวณท้องที่ หมู่ที่
๗ ตำบลคำแก้ว อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๒/๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) ที่จับสัตว์น้ำหนองจันทร์ บริเวณท้องที่ หมู่ที่
๖ ตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๓/๓ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
พิสุทธิ์
บุษยพรรณพงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดบึงกาฬ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดบึงกาฬ เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๒๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
807104 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ด้วยบึงขุนทะเลเป็นแหล่งน้ำจืดที่คล้ายทะเลสาปขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๒๗๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ ตำบลของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี คือ
ตำบลมะขามเตี้ย ตำบลขุนทะเล และตำบลวัดประดู่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้
ประมาณ ๗ กิโลเมตร บึงขุนทะเลจัดเป็นระบบนิเวศแบบระบบเปิด รับน้ำจากคลองสาขา
ระบบน้ำบึงขุนทะเลได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลที่ขึ้นลงและรุกล้ำเข้ามาถึงในเขตบึงโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งเป็นครั้งคราว
ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทมวลสารระหว่างกัน
บึงขุนทะเลมีความสำคัญทั้งในเชิงนิเวศวิทยาและสภาวะเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำชนิดที่สำคัญ เช่น นกเป็ดน้ำ นกชันและนกชนิดอื่น ๆ
อีกเป็นจำนวนมากเป็นแหล่งที่มีปลาน้ำจืดชุกชุม ทัศนียภาพที่สวยงาม
ตลอดจนการจับหาสัตว์น้ำเป็นรายได้
ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่โดยรอบใช้น้ำจากบึงและคลองสาขาเพื่อการเพาะปลูก อุปโภค
และเลี้ยงสัตว์ ความเชื่อมโยงของระบบนิเวศบึงขุนทะเล
กับระบบอื่นทำให้มีโอกาสสูงที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเห็นควรวางมาตราการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า
ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กำหนดเขตพื้นที่ที่จับสัตว์น้ำบึงขุนทะเล
ภายในบริเวณพื้นที่ตามจุดพิกัดที่ปรากฏในแผนที่แสดงแนวเขตท้ายประกาศนี้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ
๒ ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
บึงขุนทะเลตามข้อ ๑ โดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการหรือเพื่อการบำรุงรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
วิชวุทย์
จินโต
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๒๐/๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
807009 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาตคำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑ และประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นระยะเวลา ๓๐ วัน ดังนี้
(๑)
ผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล
(๒)
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์
จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
ใบรับคำขออนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(เบื้องต้น)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๕) เอกสารหรือหลักฐานการแจ้งหรือการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๖) หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๗)
สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๑๐)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๑)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พจนีย์ รักกลิ่น
ประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
806371 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่ที่จับสัตว์น้ำบริเวณท้องที่อ่างเก็บน้ำหนองสามขา
(บริเวณหน้าฝายน้ำล้น) ตำบลรัตนวารี อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการบำรุงรักษาเพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แพร่ขยายพันธุ์
วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์นํ้า
ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้ปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำลดน้อยถอยลงและกระทบต่อความสมดุลตามธรรมชาติได้
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบกับมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำ
บริเวณท้องที่อ่างเก็บน้ำ หนองสามขา (บริเวณหน้าฝายน้ำ ล้น) ตำบลรัตนวารี
อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สิริรัฐ
ชุมอุปการ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๑๙/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
806369 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดยโสธร เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดยโสธร
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดยโสธร ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำ
ขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๑๘๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดยโสธร
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖)
สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.
๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๑)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เดชา รอดระรัง
ประมงจังหวัดยโสธร
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๑๗/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
806363 | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่ทำประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย
ที่ทำประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เนื่องด้วยการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกตามความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงดังกล่าว
กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าวทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่จะต้องปฏิบัติหากเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ พื้นที่และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA)ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒ เรือที่จะทำการประมงมีสัตว์น้ำไว้บนเรือทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำขึ้นจากเรือในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงดังกล่าว
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.siofa.org
เจ้าของเรือและผู้ประกอบการเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการประมงในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) กับเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว
ข้อ
๓ จำกัดการลงแรงประมงสามร้อยวันต่อลำต่อปี
ข้อ
๔ เรือประมงอวนลาก
ให้ทำประมงได้เฉพาะในบริเวณพื้นที่ตามพิกัดแนบท้ายประกาศนี้
หากลากอวนได้ปะการังมีชีวิตมากกว่าหกสิบกิโลกรัมขึ้นไป
หรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าเจ็ดร้อยกิโลกรัมต่อการลากอวนหนึ่งครั้ง
ต้องย้ายตำแหน่งทำการประมงให้ห่างจากที่เดิมอย่างน้อยสองไมล์ทะเล
โดยวัดจากแนวลากอวนด้านใดด้านหนึ่ง
ข้อ
๕ เรือประมงเบ็ดราว หากมีการทำประมงได้ปะการังมีชีวิตหรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าสิบกิโลกรัมต่อเบ็ดจำนวนหนึ่งพันตัวหรือต่อความยาวสายคร่าวหนึ่งพันสองร้อยเมตร
แล้วแต่ว่าจำนวนตัวเบ็ดหรือความยาวสายคร่าวอย่างใดอย่างหนึ่งจะเข้าเงื่อนไขก่อน
ให้ย้ายพื้นที่ทำการประมงจากจุดเดิมออกไปในรัศมีไม่น้อยกว่าหนึ่งไมล์ทะเลนับจากจุดกึ่งกลางของแนวการวางเบ็ด
ข้อ
๖ เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้ลอบที่มีสายคร่าวซึ่งวางต่อเนื่องกัน
หากได้ปะการังมีชีวิตหรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าสิบกิโลกรัมต่อความยาวสายคร่าวหนึ่งพันสองร้อยเมตร
หรือทำการประมงโดยใช้ลอบเดี่ยว หากได้ปะการังมีชีวิตหรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าสิบกิโลกรัมต่อลอบหนึ่งลูก
ให้ย้ายพื้นที่ทำการประมงจากจุดเดิมออกไปในรัศมีไม่น้อยกว่าหนึ่งไมล์ทะเลนับจากจุดกึ่งกลางของสายคร่าวหรือจุดกึ่งกลางของลอบ
ข้อ
๗ ห้ามทำการประมงในเขตพื้นที่ตามพิกัดแนบท้ายประกาศ
ข้อ
๘ ห้ามใช้เครื่องมืออวนลอยขนาดใหญ่
หรืออวนติดตาน้ำลึก ซึ่งเป็นอวนติดตาหรืออวนอื่น ๆ ที่มีขนาดความยาวรวมกันเกินกว่าสองจุดห้ากิโลเมตร
ในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA)
ข้อ
๙ ห้ามทำกิจกรรมใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนเรือประมงที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์การระหว่างประเทศ
ข้อ
๑๐ เรือประมงที่จะทำการขนถ่ายน้ำมัน
เครื่องมือประมง คนประจำเรือ
หรือเสบียงในทะเลจะต้องแจ้งการขนถ่ายดังกล่าวให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมงทราบล่วงหน้า อย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Notification แนบท้ายประกาศนี้
เมื่อดำเนินการขนถ่ายเสร็จสิ้น
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงต้องรายงานการขนถ่ายต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Declaration แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๑๑ ต้องจัดทำเครื่องหมายของเครื่องมือประมง
ซึ่งมีชื่อเรือและสัญญาณเรียกขานและหมายเลขที่เครื่องมือแสดงไว้อย่างชัดเจน
โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) กรณีเครื่องมือที่มีการใช้สายคร่าว
ให้ติดเครื่องหมายที่ปลายของอวนหรือสายคร่าวของเครื่องมือนั้น
ประกอบกับต้องติดทุ่นธงหรือทุ่นเรดาร์ในตอนกลางวัน และติดทุ่นไฟ
โดยต้องสามารถมองเห็นแสงไฟได้ในระยะอย่างน้อยสองไมล์ทะเลในสภาวะการมองเห็นตามปกติ สำหรับตอนกลางคืน ทั้งนี้ ธงหรือทุ่นดังกล่าวต้องสามารถใช้ระบุตำแหน่งและขอบเขตของเครื่องมือประมงได้
(๒) กรณีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยทำการประมงชนิดประจำที่
ซึ่งใช้วัสดุถ่วงกับพื้นทะเล เช่น ลอบเดี่ยว แพล่อสัตว์น้ำ
จะต้องติดทุ่นธงหรือทุ่นเรดาร์ในตอนกลางวัน และติดทุ่นไฟ โดยต้องสามารถมองเห็นแสงไฟได้ในระยะอย่างน้อยสองไมล์ทะเลในสภาวะการมองเห็นตามปกติ
สำหรับตอนกลางคืน ทั้งนี้
ธงหรือทุ่นดังกล่าวต้องสามารถใช้ระบุตำแหน่งและขอบเขตของเครื่องมือประมงได้
ข้อ
๑๒ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ในการนำเครื่องมือประมงที่หลุด
ถูกทิ้ง หรือสูญหายในขณะทำการประมงกลับคืน
ห้ามทิ้งเครื่องมือประมง
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อความปลอดภัยหรืออยู่ในภาวะอันตราย
ในกรณีเครื่องมือประมงหลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย
ไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตามผู้ควบคุมเรือต้องดำเนินการนำเครื่องมือประมงดังกล่าวกลับคืน
หากไม่สามารถนำเครื่องมือดังกล่าวกลับคืนได้ ผู้ควบคุมเรือต้องรายงานต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำกรมประมงทันที
การรายงานตามวรรคสาม
ต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อเรือ และสัญญาณเรียกขาน
(๒) หมายเลข IMO (ถ้ามี)
(๓) ชนิดเครื่องมือประมงที่หลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย
(๔) จำนวนเครื่องมือประมงที่หลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย
(๕) วัน เวลา และพิกัดที่เครื่องมือประมงหลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย
(๖) วิธีการในการนำเครื่องมือประมงกลับคืน
(๗) เหตุการณ์ที่ทำให้เครื่องมือประมงหลุดหรือสูญหาย
หรือเหตุผลความจำเป็นที่ต้องละทิ้งเครื่องมือประมง
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่พบและได้เก็บเครื่องมือประมงซึ่งถูกทิ้งหรือสูญหายของผู้อื่นขึ้นมาบนเรือให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อเรือ และสัญญาณเรียกขานของเรือที่เก็บเครื่องมือประมงนั้นขึ้นมาได้และหมายเลข
IMO (ถ้ามี)
(๒) ชื่อเรือ หมายเลข IMO และสัญญานเรียกขานของเรือที่เป็นเจ้าของเครื่องมือประมงนั้น
(ถ้าทราบ)
(๓) ชนิดเครื่องมือประมงที่เก็บกู้ได้
(๔) จำนวนเครื่องมือประมงที่เก็บกู้ได้
(๕) วัน เวลา และพิกัดที่เก็บกู้เครื่องมือประมง
(๖) ภาพถ่ายของเครื่องมือประมงที่เก็บได้ (ถ้ามี)
ข้อ
๑๔ สัตว์น้ำแช่แข็งที่เก็บไว้บนเรือประมง
ต้องมีฉลากที่ชัดเจนบนกล่องหรือภาชนะที่บรรจุสัตว์น้ำแช่แข็ง
โดยในแต่ละบรรจุภัณฑ์จะต้องมีสัตว์น้ำเพียงชนิดเดียว
ฉลากตามวรรคหนึ่งต้องระบุรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ กลุ่มชนิดสัตว์น้ำ รหัสชนิดสัตว์น้ำตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หรือตามที่คณะกรรมการวิทยาศาสตร์กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
(๒)
วันที่จับสัตว์น้ำ
(๓)
หมายเลขที่สามารถระบุตัวตนของเรือประมงที่จับสัตว์น้ำ
ข้อ
๑๕ เรือประมงที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตของความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) กรณีทำประมงพบสัตว์น้ำอนุรักษ์ต้องบันทึกในแบบบันทึกการติดสัตว์น้ำโดยบังเอิญ
(Incidental catch log sheet of SIOFA) และรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกอง
ข้อ
๑๖ หากพบเห็นเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่มิได้อยู่ในบัญชีเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) กำลังทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว
ผู้ควบคุมเรือต้องแจ้งข้อมูลให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมงทราบ
ข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วย
ชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ สัญญาณเรียกขาน รัฐเจ้าของธง วัน เวลา พิกัดที่พบเรือ
และรูปถ่ายเรือ เป็นต้น
ข้อ
๑๗ การแจ้งและการรายงานตามข้อ ๑๐ ข้อ
๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ และข้อ
๑๖ให้แจ้งหรือรายงานผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
ข้อ
๑๘ เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติขององค์การบริหารจัดการประมงภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลาตามข้อมูลต่าง ๆ
ที่กำหนดจากการประชุมของประเทศสมาชิกผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการประมงในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ
๒ จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
พื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA)
๒.
สัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA)
๓.
SIOFA TRANSFER AT SEA NOTIFICATION
๔.
SIOFATRANSFERAT SEADECLARATION
๕.
พื้นที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนลาก
๖.
พื้นที่ห้ามทาการประมง SIOFA
๗.
แบบบันทึกการติดสัตว์น้าโดยบังเอิญ (Incidental catch log sheet of SIOFA) (กปน. ๑๓A)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๔ มิถุนายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๙/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
806337 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยองออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่คลองลาวน
เขตท้องที่ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สุรศักดิ์
เจริญศิริโชติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเล พ.ศ. ๒๕๖๑
๒.
พิกัดภูมิศาสตร์
(ดูภาพจากข้อมูลกฎหมาย)
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๒/๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
806291 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑ | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดขอนแก่น
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
ตามที่มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาตใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดขอนแก่นออกประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำ
ขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๖๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดขอนแก่น
ให้ยื่น ณ
ที่ว่าการอำเภอท้องที่หรือสำนักงานประมงอำเภอท้องที่ที่ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วิเชียร
วรสายัณห์
ประมงจังหวัดขอนแก่น
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๑ มิถุนายน
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๑๘/๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
805770 | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่
ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงดังกล่าว
กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว
ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่จะต้องปฏิบัติหากเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
พื้นที่และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒
เรือที่เก็บสัตว์น้ำไว้บนเรือทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำขึ้นจากเรือในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงดังกล่าว
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ www.siofa.org
ข้อ ๓
ห้ามทำกิจกรรมใดที่มีลักษณะเป็นการให้การสนับสนุนเรือประมงที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ ๔
เรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่จะทำการขนถ่ายน้ำมัน
เครื่องมือประมง
หรือเสบียงในทะเลจะต้องแจ้งการขนถ่ายดังกล่าวให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมงทราบล่วงหน้าอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Notification แนบท้ายประกาศนี้
เมื่อดำเนินการขนถ่ายเสร็จสิ้น
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงต้องรายงานการขนถ่ายต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Declaration แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕
สัตว์น้ำแช่แข็งที่เก็บไว้บนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ต้องมีฉลากที่ชัดเจนบนกล่องหรือภาชนะที่บรรจุสัตว์น้ำแช่แข็ง
โดยในแต่ละบรรจุภัณฑ์จะต้องมีสัตว์น้ำเพียงชนิดเดียว
ฉลากตามวรรคหนึ่งต้องระบุรายการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
รหัสชนิดสัตว์น้ำตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
หรือตามที่คณะกรรมการวิทยาศาสตร์กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
(๒) วันที่จับสัตว์น้ำ
(๓) หมายเลขที่สามารถระบุตัวตนของเรือประมงที่จับสัตว์น้ำ
ข้อ ๖
หากพบเห็นเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่มิได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) ขณะทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว
ผู้ควบคุมเรือต้องแจ้งข้อมูลให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ทราบ
ข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วย
ชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ สัญญาณเรียกขาน รัฐเจ้าของธง วัน เวลา พิกัดที่พบเรือ
และรูปถ่ายเรือ เป็นต้น
ข้อ ๗
การแจ้งตามข้อ ๔ และข้อ ๖
ให้แจ้งผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงหรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
[email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
ข้อ ๘
เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติขององค์การบริหารจัดการประมงภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement ; SIOFA) มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลาตามข้อมูลต่าง ๆ
ที่กำหนดจากการประชุมของประเทศสมาชิก
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ ๑
จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. พื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสาหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA)
๒. สัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA)
๓. SIOFA TRANSFER AT SEA NOTIFICATION
๔. SIOFA TRANSFERAT SEA DECLARATION
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๕/๗ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
805768 | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่า
แห่งมหาสมุทรอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการดังกล่าวภายใต้มาตรการควบคุมและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าวทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่จะต้องปฏิบัติหากเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
ทุ่นข้อมูล หมายความว่า อุปกรณ์ลอยน้ำ
ทั้งแบบปล่อยลอยหรือยึดอยู่กับที่ ซึ่งใช้งานโดยหน่วยงานรัฐบาล
หรือองค์กรวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ
เพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมและตรวจวัดข้อมูลสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมประมง
ข้อ ๒ พื้นที่และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓
เรือที่เก็บรักษาสัตว์น้ำไว้บนเรือ
ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำขึ้นจากเรือที่ไปขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ
๒
จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ www.iotc.org
ผู้ประกอบการและเจ้าของเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำชนิดตามข้อ
๒
กับเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว
เรือทุกลำต้องแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเรือต้องสงสัยว่าไร้สัญชาติโดยแจ้งผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงหรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
[email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
ข้อ ๔
ห้ามมิให้เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ใช้อากาศยานหรืออากาศยานไร้คนขับสนับสนุนกิจกรรมการประมงของเรือประมงลำอื่น
ข้อ ๕
ห้ามเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
กระทำกิจกรรมในรัศมีหนึ่งไมล์นับจากตัวทุ่นข้อมูล เว้นแต่เป็นการนำทุ่นข้อมูลขึ้นมาบนเรือเมื่อได้รับการอนุญาตหรือร้องขอเป็นการเฉพาะจากเจ้าของผู้รับผิดชอบทุ่น
ข้อ ๖
ห้ามเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ทำการขนถ่ายหรือมีสัตว์น้ำจำพวกวาฬ โลมา พะยูน เต่าทะเล ปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามครีบขาว
(oceanic whitetip sharks)
หรือปลาฉลามหางยาว (thresher sharks)
ไว้ในครอบครอง
ข้อ ๗
การเก็บรักษาปลาฉลามชนิดอื่นนอกเหนือไปจากข้อ
๖ โดยวิธีแช่แข็ง
ห้ามเก็บครีบของปลาฉลามเกินกว่าร้อยละห้าของน้ำหนักปลาฉลามทั้งหมดที่มีอยู่ในเรือจนกว่าเรือจะมาถึง
ณ จุดที่นำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือครั้งแรก
สำหรับการเก็บรักษาปลาฉลามตามวรรคหนึ่งแบบสด
จะต้องเป็นการเก็บรักษาทั้งตัว จนกว่าเรือจะมาถึง ณ
จุดที่นำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือครั้งแรก
ข้อ ๘
เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
สามารถดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ ๒
ได้ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเล จะทำการขนถ่ายสัตว์น้ำได้เฉพาะกับเรือประมง
เบ็ดราวปลาทูน่า
(๒)
กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือ สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำกับเรือประมงได้ทุกประเภท
ข้อ ๙
ก่อนนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือ
ผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต้องบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม IOTC Transhipment Declaration
และส่งให้กับหน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐที่ทำการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าภายในสี่สิบแปดชั่วโมง
ข้อ
๑๐ เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลาตามข้อมูลต่าง ๆ
ที่กำหนดจากการประชุมของประเทศสมาชิก
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ ๒
จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
๒. สัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
๓. IOTC Transhipment Declaration
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๓/๗ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
805765 | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่ทำประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย
ที่ทำประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการดังกล่าวภายใต้มาตรการควบคุมและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าวทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่จะต้องปฏิบัติหากเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
ทุ่นข้อมูล หมายความว่า อุปกรณ์ลอยน้ำ ทั้งแบบปล่อยลอยหรือยึดอยู่กับที่
ซึ่งใช้งานโดยหน่วยงานรัฐบาล
หรือองค์กรวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ
เพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมและตรวจวัดข้อมูลสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมประมง
เรือประมง
หมายความว่า เรือประมงทุกขนาดที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนล้อมจับเบ็ดราวทูน่า
อวนติดตา เบ็ดตวัด เบ็ดมือ หรือเบ็ดลาก
ข้อ ๒ พื้นที่และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓
เรือประมง เรือเสริม
เรือส่งเสบียงและอุปกรณ์หรือเรือสนับสนุนซึ่งทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ
๒ หรือนำสัตว์น้ำชนิดดังกล่าวขึ้นท่าเทียบเรือ
จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์
www.iotc.org
ผู้ประกอบการและเจ้าของเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำชนิดตามข้อ
๒ กับเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว
เรือทุกลำต้องแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเรือต้องสงสัยว่าไร้สัญชาติ
โดยแจ้งต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
ข้อ ๔
ในกรณีที่เรือประมงได้รับอนุญาตให้ทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐชายฝั่งอื่น
ผู้ควบคุมเรือประมงต้องบันทึกข้อมูลลงในสมุดบันทึกการทำการประมง
และจัดส่งสำเนาเฉพาะส่วนที่ได้ทำประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐชายฝั่งนั้นให้กับหน่วยงานบริหารจัดการของรัฐชายฝั่งดังกล่าว
ข้อ ๕
เรือประมงต้องจัดทำเครื่องหมายของเครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมงโดยระบุชื่อเรือและสัญญาณเรียกขานหรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนของเรือประมงแสดงไว้อย่างชัดเจน
การจัดทำเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) กรณีเครื่องมือที่มีการใช้สายคร่าว
ให้ติดเครื่องหมายที่ปลายของอวนหรือสายคร่าวของเครื่องมือนั้นประกอบกับต้องติดทุ่นธงหรือทุ่นเรดาร์ในตอนกลางวัน
และติดทุ่นไฟโดยต้องสามารถมองเห็นแสงไฟได้ในสภาวะการมองเห็นตามปกติสำหรับตอนกลางคืน
ทั้งนี้
ธงหรือทุ่นดังกล่าวต้องสามารถใช้ระบุตำแหน่งและขอบเขตของเครื่องมือประมงได้
(๒) กรณีแพล่อปลาประเภทประจำที่ (Anchored Fish Aggregating Device : AFADs) ให้ติดเครื่องหมายในบริเวณที่เหมาะสมสามารถมองเห็นได้ชัด
สำหรับกรณีแพล่อปลาประเภทปล่อยลอย (Drifting Fish Aggregating Device : DFADs) จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งดาวเทียมด้วย ทั้งนี้
แพล่อปลาประเภทปล่อยลอยและประเภทประจำที่
ต้องมีหมายเลขประจำแพที่ไม่ซ้ำกันโดยเรียงลำดับในแต่ละประเภท
ข้อ ๖
แพล่อปลาประเภทปล่อยลอย (Drifting Fish Aggregating Device : DFADs) สามารถวางอยู่ในพื้นที่ตามข้อ ๒ ได้ไม่เกินสามร้อยห้าสิบแพ
โดยจะสลับการใช้แพได้รวมกันแล้ว ต้องไม่เกินเจ็ดร้อยแพต่อลำต่อปี
การใช้แพล่อปลาตามวรรคหนึ่งต้องรายงานจำนวนทุ่นอุปกรณ์ที่ได้เปิดหรือปิดการใช้งานของปีที่ผ่านมาภายในวันที่
๓๑ มกราคมของทุกปี ต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำกรมประมง
ตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗
เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้แพล่อปลาต้องบันทึกกิจกรรมการทำการประมงที่ใช้แพล่อปลาลงในแบบฟอร์มบันทึกการตรวจและวางแพล่อปลา
(FADs LOGBOOK) แนบท้ายประกาศนี้และส่งให้กับกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ทุกครั้งที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำขึ้นท่า
ข้อ ๘
เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้แพล่อปลาต้องส่งแผนการจัดการการใช้แพล่อปลาของเรือแต่ละลำต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง โดยต้องส่งก่อนเรือแจ้งออกไปทำประมง
รายละเอียดของแผนการจัดการการใช้แพล่อปลาตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามภาคผนวก ก และภาคผนวก ข แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
ห้ามมิให้เรือประมงใช้หรืออาศัยแสงไฟเพื่อวัตถุประสงค์ในการล่อปลาทูน่าและชนิดพันธ์ุคล้ายปลาทูน่า
ข้อ
๑๐ ห้ามมิให้เรือประมงใช้อากาศยานหรืออากาศยานไร้คนขับเป็นเครื่องช่วยในการทำการประมง
ข้อ
๑๑ ห้ามมิให้เรือประมงทำการประมงหรือกระทำกิจกรรมอื่นใดในรัศมีหนึ่งไมล์นับจากตัวทุ่นข้อมูล
เว้นแต่เป็นการนำทุ่นข้อมูลขึ้นมาบนเรือเมื่อได้รับการอนุญาตหรือร้องขอเป็นการเฉพาะจากเจ้าของผู้รับผิดชอบทุ่น
ข้อ
๑๒ ห้ามเรือประมงมีปลาฉลามครีบขาว (oceanic whitetip sharks) และปลาฉลามหางยาว
(thresher sharks) ไว้ในครอบครอง
สำหรับกรณีที่จับปลาฉลามชนิดอื่นได้ ถ้าเป็นปลาฉลามวัยอ่อน
หรือปลาฉลามที่ตั้งท้องต้องปล่อยปลาฉลามดังกล่าว
ข้อ
๑๓ การเก็บรักษาปลาฉลามชนิดอื่นนอกเหนือไปจากข้อ
๑๒ วรรคหนึ่ง โดยวิธีแช่แข็ง ห้ามเก็บครีบของปลาฉลามเกินกว่าร้อยละห้าของน้ำหนักปลาฉลามที่มีอยู่ในเรือจนกว่าเรือจะมาถึง
ณ จุดที่นำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือครั้งแรก
สำหรับการเก็บรักษาปลาฉลามตามวรรคหนึ่งแบบสด
จะต้องเป็นการเก็บรักษาทั้งตัว จนกว่าเรือจะมาถึง ณ
จุดที่นำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือครั้งแรก
ข้อ
๑๔ ห้ามเรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนล้อมจับสัตว์น้ำจำพวกวาฬ
โลมา พะยูน เต่าทะเล หรือปลาฉลามวาฬ
หากมีการพบเห็นหรือทำการประมงครั้งใดติดสัตว์น้ำจำพวกวาฬ
โลมา พะยูน เต่าทะเล หรือปลาฉลามวาฬ
ต้องปล่อยสัตว์น้ำดังกล่าวและบันทึกรายละเอียดการติดสัตว์น้ำตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศนี้
โดยส่งต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
ทุกครั้งเมื่อมีการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำขึ้นท่า
ในกรณีเต่าทะเลที่ได้จากการทำประมง
มีสภาพอ่อนแรงหรือบาดเจ็บ
ต้องนำเต่าทะเลดังกล่าวขึ้นเรือและอนุบาลให้แข็งแรงก่อนที่จะปล่อย
ข้อ
๑๕ เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนล้อมจับ
ต้องเก็บรักษาปลาทูน่า ปลาจรวด (rainbow runner) ปลาอีโต้มอญ (dolphin fish) ปลาวัว
(triggerfish) ปลากระโทงแทง (billfish)
ปลาอินทรี (wahoo) และปลาสาก (barracuda) ไว้บนเรือและนำมาขึ้นท่า
เว้นแต่พิจารณาเห็นว่าปลาดังกล่าวไม่เหมาะต่อการบริโภค
เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนล้อมจับต้องมีสวิงสำหรับตักเพื่อช่วยชีวิตเต่าทะเล
ข้อ
๑๖ เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือเบ็ดราว
ต้องจัดให้มีอุปกรณ์การตัดสายเบ็ดและปลดเบ็ด (line cutters และ de - hookers) เพื่อช่วยในการปล่อยสัตว์น้ำ
ข้อ
๑๗ เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือเบ็ดราวบริเวณละติจูดยี่สิบห้าองศาใต้ลงไป
ต้องปฏิบัติตามมาตรการบรรเทาผลกระทบเพื่อลดการจับนกทะเลอย่างน้อยสองจากสามตามตารางที่
๑ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๑๘ ห้ามใช้เครื่องมืออวนลอยขนาดใหญ่
หรืออวนติดตาน้ำลึก ซึ่งเป็นอวนติดตาหรืออวนอื่น ๆ ที่มีขนาดความยาวรวมกันเกินกว่าสองจุดห้ากิโลเมตร
ข้อ
๑๙ การส่งข้อมูลและการรายงานตามข้อ ๖
ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๑๔
ให้ส่งหรือรายงานโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำกรมประมง
หรือผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
ข้อ
๒๐ เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลาตามข้อมูลต่าง
ๆ ที่กำหนดจากการประชุมของประเทศสมาชิก
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการประมงในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ ๒
จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
๒. สัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)
๓. แบบรายงานจำนวนทุ่นอุปกรณ์ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ด้วยดาวเทียม
๔. ผนวก
ก การจัดทำแผนการจัดการแพล่อปลาแบบปล่อยลอย
๕. ผนวก
ข การจัดทำแผนการจัดการแพล่อปลาแบบประจำที่
๖. ตารางที่
๑ มาตรการบรรเทาผลกระทบและลดการจับนกทะเล
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๙/๗ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
805814 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่ข้อมูลทางวิชาการพบว่าบริเวณทะเลอ่าวไทยตอนในหรืออ่าวไทยรูปตัว
ก ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดมีไข่ วางไข่
และเลี้ยงตัวอ่อนในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี
ดังนั้น
เพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่
๑๕ มิถุนายน ถึง ๑๕ สิงหาคม ของทุกปี ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำในทะเลอ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร บริเวณที่กำหนดขอบเขตโดยเส้นตรงซึ่งเชื่อมจุดพิกัดจากจุดหมายเลข
๑ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงจุดหมายเลข ๓ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ดังนี้
จุดหมายเลข
๑ ละติจูด ๑๒ องศา ๓๖ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๕๗ ลิปดา ๒๐.๐๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
จุดหมายเลข
๒ ละติจูด ๑๒ องศา ๓๖ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
จุดหมายเลข
๓ ละติจูด ๑๓ องศา ๒๘ ลิปดา ๓๔.๒๕๗ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ถึง ๓๐
กันยายน ของทุกปี
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำในทะเลอ่าวไทยตอนในด้านเหนือพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
บริเวณที่กำหนดขอบเขตโดยเส้นตรงซึ่งเชื่อมจุดพิกัดจุดหมายเลข ๓
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ถึงจุดหมายเลข ๗ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ดังนี้
จุดหมายเลข
๓ ละติจูด ๑๓ องศา ๒๘ ลิปดา ๓๔.๒๕๗ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
จุดหมายเลข
๔ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๗ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
จุดหมายเลข
๕ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๗ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๔๕ ลิปดา ๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
จุดหมายเลข
๖ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๓ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๔๕ ลิปดา ๐๐
ฟิลิปดาตะวันออก
จุดหมายเลข
๗ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๓ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๕๖ ลิปดา ๑๐.๕๖๐
ฟิลิปดาตะวันออก
ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ความในข้อ ๑ และข้อ ๒
มิให้ใช้บังคับกรณีการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือวิธีการทำการประมง
และปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑)
เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวขนาดต่ำกว่า ๒๐ ตันกรอส และทำการประมงในเวลากลางคืนนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๒) เครื่องมืออวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
และมีช่องตาอวนตั้งแต่ ๕ เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวอวนไม่เกิน ๒,๐๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ และมิได้ทำการประมงโดยวิธีล้อมติด
หรือวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
(๓) เครื่องมืออวนติดตาชนิด อวนปู อวนกุ้ง อวนหมึก
(๔) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก
ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๕) ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้วขึ้นไป
ใช้ทำการประมงไม่เกิน ๓๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
(๖) ลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้วขึ้นไป
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๗) ลอบหมึกทุกชนิด
(๘) ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
(๙) คราดหอย
โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
(๑๐) อวนรุนเคย
โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา ๖๘
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
(๑๑) จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก
(๑๒) เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
(๑๓) การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง ๒๘๐ แรงม้า โดยใช้เครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือทำการประมงบางประเภทที่ถูกกำหนดเป็นประมงพาณิชย์ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา
๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และต้องมิใช่การใช้เครื่องมือทำการประมงอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก
ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
รวมทั้งเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่ออกตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
การใช้เครื่องมือใน
(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่ออกตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
ทั้งนี้
เครื่องมือทำการประมงที่ใช้ทำการประมงตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา
๖๗ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๔ ความในประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศกรมประมง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่
วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี
สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๗/๖ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
804315 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเล เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทราออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่บริเวณอ่าวไทย เขตท้องที่ตำบลสองคลอง
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแผนที่แนบท้ายประกาศ
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สุวิทย์
คำดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
๑๗
กันยายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจาจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
804299 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
นอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทราออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
พื้นที่บริเวณแม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข ๑/๓
(๒)
พื้นที่บริเวณแม่น้ำบางปะกง เขตท้องที่ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอคลองเขื่อน
ตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข ๒/๓
(๓)
พื้นที่บริเวณแม่น้ำบางปะกง เขตท้องที่ อำเภอบางคล้า อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา
อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข ๓/๓
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สุวิทย์
คำดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
๑๗
กันยายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจาจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
804295 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่ที่จับสัตว์น้ำในจังหวัดนครนายก
เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตามธรรมชาติและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำจืดนานาชนิด
ซึ่งหากปล่อยให้มีการทำประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวต่อไปจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำในอนาคต
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำรวมทั้งระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้าประกอบกับความในมาตรา
๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบกับมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไปนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(๑)
ที่จับสัตว์น้ำคลอง ๒๙ หน้าวัดทวีพูลรังสรรค์ บริเวณท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์
จังหวัดนครนายก ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑/๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
ที่จับสัตว์น้ำคลองหันตะเภา บริเวณท้องที่หมู่ที่ ๙ ตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๒/๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๓)
ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำนครนายก หน้าวัดปากคลองพระอาจารย์ บริเวณท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลบางสมบูรณ์
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๓/๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๔)
ที่จับสัตว์น้ำคลองหัวควาย หน้าวัดสว่างอารมณ์ บริเวณท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลองครักษ์
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๔/๔
แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ณัฐพงศ์
ศิริชนะ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
๑๗
กันยายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจาจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
804289 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดยะลา
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ.
๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดยะลาออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำ
ขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา
อำเภอรามัน และอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ให้ยื่น ณ
สำนักงานประมงอำเภอท้องที่ดังกล่าวทุกอำเภอ
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๗)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ชวพจน์
นกหนู
ประมงจังหวัดยะลา
ปุณิกา/จัดทำ
๑๗
กันยายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจาจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๗/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
804113 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำชี
บริเวณท้องที่เขตบ้านท่าสะแบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง
และบริเวณท้องที่เขตบ้านท่าไคร้ ตำบลกลาง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ประมาณ
๓๑.๒๕ ไร่ มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตามสภาพธรรมชาติ
และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำจืดนานาชนิดซึ่งหากปล่อยให้มีการทำการประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวต่อไปจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำในอนาคตได้
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบกับมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำชี
บริเวณท้องที่เขตบ้านท่าสะแบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง และบริเวณท้องที่เขตบ้านท่าไคร้
ตำบลกลาง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
วันชัย คงเกษม
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
๓
กันยายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจาจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑๔/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
804072 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ.
๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นระยะเวลา ๒๔๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดนครสวรรค์
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ
หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
บุญยืน
พฤกษโชค
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
ปุณิกา/จัดทำ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๒๐/๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803591 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ErrorInternal Server Error |
800652 | ประกาศกรมประมง เรื่อง งดการใช้ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการส่งออกหรือนำผ่านสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 เป็นการชั่วคราว
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
งดการใช้ประกาศกรมประมง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการส่งออกหรือนำผ่านสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑ เป็นการชั่วคราว[๑]
ตามที่กรมประมงได้ออกประกาศ
เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการส่งออกหรือนำผ่านสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการส่งออกหรือนำผ่านสัตว์น้ำ นั้น
เนื่องจากมีผู้ประกอบการจำนวนมากไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวได้เห็นควรให้เจ้าหน้าที่ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการระยะหนึ่งก่อนมีการบังคับใช้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๓๔
และที่แก้ไขเพิ่มเติมอธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้งดการใช้ประกาศกรมประมง เรื่อง
หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการส่งออกหรือนำผ่านสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑
ข้อ ๒ ในระหว่างระยะเวลาตามข้อ ๑
ให้ผู้ประกอบการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำผสมอยู่เกินร้อยละยี่สิบหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยถือปฏิบัติตามประกาศกรมประมง
เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปสหภาพยุโรป พ.ศ.
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ และประกาศกรมประมง เรื่อง
การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปนอกราชอาณาจักร
ยกเว้นส่งออกไปสหภาพยุโรปพ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐
ข้อ ๓ สำหรับกรณีการส่งออกสัตว์น้ำ
หรือซากสัตว์น้ำ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ให้ดำเนินการตามประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการส่งออกหรือนำ
ผ่านสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๒
พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑๓/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800648 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ของเรือประมงพาณิชย์
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๑)
ของข้อ ๒ ของประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑)
แจ้งโดยตรง ทางโทรสาร ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทางระบบ Single
Window
4
Fishing
Fleet
(http://fpipo.md.go.th)
ตามแบบท้ายประกาศนี้ ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ในกรณีที่แจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงเพื่อไปทำการประมงพาณิชย์
เมื่อนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
ให้เจ้าของเรือส่งมอบเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกดังนี้
(๑)
สำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงตามช่องทางและวิธีการที่กำหนดในประกาศกรมประมงเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง
ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
(๒)
สำเนาเอกสารการจัดเวลาพักของคนประจำเรือ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) และรายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) และรายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ กรณีที่เจ้าของเรือที่ได้แจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงตามแบบท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น
ให้ยังคงใช้แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย)
ตามแบบท้ายประกาศกรมประมงดังกล่าวในการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงสำหรับเที่ยวนั้นได้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย)
๒. รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๒
พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑๑/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800644 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงาน
สมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ.
๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ให้เจ้าของเรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยประเภทการใช้ทำการประมงตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามประเภทของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดังนี้
๒.๑
กรณีการใช้เรือประมงประกอบเครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลากคู่ (เรือหลัก) อวนลากแผ่นตะเฆ่
และอวนลากคานถ่าง ให้จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบที่ ๑ ท้ายประกาศนี้
สำหรับกรณีการใช้เรือประมงประกอบเครื่องมือทำการประมงประเภทอื่น
ให้จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบที่ ๒ ท้ายประกาศนี้
๒.๒
กรอกข้อมูลการทำการประมงในสมุดบันทึกการทำการประมงอย่างน้อยในทุกยี่สิบสี่ชั่วโมงนับจากเวลาแจ้งออกทำการประมง
โดยให้ระบุรายละเอียดของการทำการประมงทุกครั้งที่มีการทำการประมง ทั้งนี้
วันใดที่ไม่มีการทำการประมงให้ระบุว่าไม่มีการทำการประมงโดยให้ระบุว่าเดินเรือ
หรือจอดเรือ กรณีจอดเรือให้ระบุจุดจอดเรือให้ชัดเจน
การกรอกข้อมูลการทำการประมงในสมุดบันทึกการทำการประมงให้บันทึกรายละเอียดในการทำการประมงแต่ละครั้ง
ตามกลุ่มเครื่องมือทำการประมงดังนี้
(๑)
เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนล้อมจับ อวนล้อมจับปลากะตัก
อวนช้อนปลาจะละเม็ด อวนติดตา อวนรุนเคย ลอบปลา ลอบปู ลอบหมึก ลอบหมึกสาย เบ็ดราว
แผงยกปูจักจั่น และเบ็ดมือ
ให้บันทึกข้อมูลการทำการประมงเมื่อมีการปล่อยเครื่องมือทำการประมง
และเก็บเครื่องมือทำการประมงขึ้นจากน้ำ
(๒)
เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลากคานถ่าง
และคราดหอยให้บันทึกข้อมูลการทำการประมงเมื่อมีการเริ่มต้นปล่อยเครื่องมือทำการประมงจนถึงเก็บเครื่องมือทำการประมงทั้งหมดขึ้นจากน้ำ
ทั้งนี้
ให้ระบุจำนวนครั้งทั้งหมดที่นำเครื่องมือทำการประมงแต่ละหน่วยปล่อยลงทำการประมงให้ครบถ้วน
(๓)
เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลากคู่ ให้บันทึกข้อมูลการทำการประมงทั้งเรือหลักและเรือรอง
กรณีเรือประมงลำใดมีการเก็บสัตว์น้ำ
ให้บันทึกการเก็บสัตว์น้ำไว้ในสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงลำนั้น
(๔)
เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนครอบปลากะตัก อวนช้อนหรืออวนยกปลากะตัก
และอวนครอบหมึก ให้บันทึกข้อมูลการทำการประมงตั้งแต่เริ่มปั่นไฟเพื่อล่อสัตว์น้ำ จนถึงสิ้นสุดการทำการประมงในตำแหน่งที่เรือประมงทำการประมงเดิมนั้น
โดยต้องระบุจำนวนครั้งที่ทำการประมงครั้งนั้นให้ครบถ้วน
๒.๓
การบันทึกข้อมูลการทำการประมงให้ระบุประเภทและปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลงในสมุดบันทึกการทำการประมง
ในกรณีจับได้สัตว์น้ำประเภทอื่นนอกเหนือจากประเภทสัตว์น้ำที่กำหนดไว้ในสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบท้ายประกาศนี้
ให้ระบุประเภทสัตว์น้ำที่จับได้นั้นในช่องประเภทสัตว์น้ำอื่น ๆ
หากช่องประเภทสัตว์น้ำอื่น ๆ นั้น มีไม่เพียงพอ
ให้ทำการแก้ไขประเภทสัตว์น้ำในส่วนของประเภทสัตว์น้ำที่ไม่มีการจับในรอบทำการประมงนั้น
และระบุเป็นประเภทสัตว์น้ำที่จับได้จริงโดยลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขนั้น
การบันทึกข้อมูลการทำ
การประมงให้ดำเนินการแล้วเสร็จก่อนการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ข้อ ๓ ให้เจ้าของเรือส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงที่ได้บันทึกสำหรับเที่ยวนั้นทุกครั้งเป็นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกดังนี้
๓.๑
กรณีเรือประมงที่ต้องแจ้งเข้าออกต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกให้รายงานปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้รวม
และปริมาณพร้อมชนิดสัตว์น้ำของสัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุดสามอันดับแรกในสมุดบันทึกการทำการประมงลงในแบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงตามประกาศกรมประมงในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
ในกรณีที่สัตว์น้ำที่จับได้มีชนิดของสัตว์น้ำไม่ถึงสามอันดับ
ให้รายงานปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้รวม
และปริมาณพร้อมชนิดของสัตว์น้ำตามที่จับได้จริง
หรือกรณีที่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ไม่ได้มีการคัดแยกชนิดสัตว์น้ำบนเรือประมง
(อวนล้อมจับ) ให้รายงานปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้รวม
และระบุชนิดสัตว์น้ำที่จับได้หลัก
๓.๒
กรณีเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป
ให้ส่งภาพถ่ายสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงที่มีรายการบันทึกแล้ว
ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ทางโทรสารหรือทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม
LINE
ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่จะนำเรือประมงเข้าเทียบท่าตามที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หมายเลขโทรสาร หรือกลุ่มโปรแกรม LINE
ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกกำหนด ก่อนขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงโดยให้ส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงเที่ยวนั้นเป็นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากเรือประมงเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมง
๓.๓
กรณีเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก
อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก
ให้ส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงเที่ยวนั้นเป็นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ก่อนนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง หรือส่งภาพถ่ายสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงที่ได้มีการบันทึกแล้วผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ทางโทรสาร หรือทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม LINE
ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่จะนำเรือประมงเข้าเทียบท่าตามที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หมายเลขโทรสาร หรือกลุ่มโปรแกรม LINE
ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกกำหนด
โดยให้ส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงเที่ยวนั้นเป็นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากเรือประมงเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมง
๓.๔
กรณีเรือประมงขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงสามสิบตันกรอส
ที่มิได้มีกฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งเข้าออกต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ให้จัดส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงเที่ยวนั้นเป็นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ก่อนขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
หรือส่งภาพถ่ายสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงที่ได้มีการบันทึกแล้วผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ทางโทรสาร หรือทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม LINE
ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่จะนำเรือประมงเข้าเทียบท่า
ตามที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หมายเลขโทรสารหรือกลุ่มโปรแกรม LINE
ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกกำหนด ก่อนขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง โดยให้ส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมงเที่ยวนั้นเป็นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภายในสี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากเรือประมงเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมง
ให้เจ้าของเรือเก็บสมุดบันทึกการทำการประมงที่ใช้กรอกข้อมูลสำหรับรอบทำการประมงไว้บนเรือประมง
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ข้อ ๔ สมุดบันทึกการทำการประมงให้จัดพิมพ์เป็นเล่ม
โดยสมุดบันทึกการทำการประมงสำหรับเรือประมงลำใด ให้ใช้เฉพาะสำหรับเรือประมงลำนั้น
ห้ามมีการฉีกหรือแบ่งไปใช้กับเรือประมงลำอื่น ทั้งนี้ หน่วยงาน องค์กร สมาคม ชมรมใด
ประสงค์จะเป็นผู้จัดพิมพ์สมุดบันทึกการทำการประมงต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๔.๑
เสนอขอความเห็นชอบต่อกรมประมง เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์
๔.๒ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
๔.๓
การจำหน่ายสมุดบันทึกการทำการประมงเล่มใดให้แก่เรือประมงลำใดให้จัดทำระบบควบคุมเล่มที่จัดพิมพ์ไว้
และรายงานกองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมงกรมประมงทุกสิ้นเดือน
ข้อ ๕ การดำเนินการตามข้อ ๒ และข้อ ๓
เจ้าของเรืออาจให้ผู้ควบคุมเรือเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้
แต่เจ้าของเรือยังคงเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามที่กำหนดในประกาศนี้
ข้อ ๖ กรณีที่เจ้าของเรือที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับได้จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง
ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์พ.ศ. ๒๕๖๐
ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น
ให้ยังคงใช้ได้สำหรับการทำการประมงเที่ยวนั้นโดยจะต้องส่งรายงานดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกโดยทันทีที่เรือประมงเข้าเทียบท่าแล้ว
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. สมุดบันทึกการทำการประมง
๒. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนลากแผ่นตะเฆ่
๓. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนลากคานถ่าง
๔. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนลากคู่
(เรือหลัก)
๕. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนลากคู่
(เรือรอง)
๖. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนรุนเคย
๗. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนล้อมจับ
๘. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนล้อมจับปลากะตัก
๙. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนครอบหมึก
๑๐. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนครอบปลากะตัก
- อวนช้อน/ยกปลากะตัก
๑๑. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนช้อนปลาจะละเม็ด
๑๒. สมุดบันทึกการทำการประมง อวนติดตา
๑๓. สมุดบันทึกการทำการประมง ลอบปลา
๑๔. สมุดบันทึกการทำการประมง ลอบปู
๑๕. สมุดบันทึกการทำการประมง ลอบหมึก
๑๖. สมุดบันทึกการทำการประมง ลอบหมึกสาย
๑๗. สมุดบันทึกการทำการประมง คราดหอย
๑๘. สมุดบันทึกการทำการประมง เบ็ดราว
๑๙. สมุดบันทึกการทำการประมง เบ็ดมือ
๒๐. สมุดบันทึกการทำการประมง แผงยกปูจักจั่น
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๒
พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๗/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800623 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปทุมธานี เรื่อง ยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปทุมธานี
เรื่อง
ยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่หน้าที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว
และหน้าสถานีตำรวจ อาณาเขต กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๒๔๐ เมตร เขตท้องที่ตำบลระแหง
อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ ถูกกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ตามประกาสจังหวัดปทุมธานี ที่ ๑๐/๒๔๘๕ เรื่อง
กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเพทที่รักสาพืชพันธุ์ ไนท้องที่อำเพอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ส. ๒๔๘๕
ได้มีสภาพทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งส่งผลให้ไม่เหมาะสมในการกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาแล้ว
เห็นควรยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปทุมธานี
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกเขตพื้นที่กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเพทที่รักสาพืชพันธุ์หน้าที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว
และหน้าสถานีตำรวจ อาณาเขต กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๒๔๐ เมตร เขตท้องที่ตำบลระแหง
อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ทั้งหมด ๖ ไร่ ตามประกาสจังหวัดปทุมธานี
ที่ ๑๐/๒๔๘๕ เรื่อง กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเพทที่รักสาพืชพันธุ์
ไนท้องที่อำเพอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ส. ๒๔๘๕
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พินิจ
บุญเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปทุมธานี
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๙
เมษายน ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๙
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๑/๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800621 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดอุตรดิตถ์
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาตคำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นข้อกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๑๒๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดอุตรดิตถ์
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่สำนักงานประมงอำเภอในอำเภอนั้น ๆ รวมถึงอำเภอที่รับผิดชอบ
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกไม่เกิน ๖ เดือน
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
หลักฐานหรือการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นในมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นในมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบการธุรกิจตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นในมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงสถานที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
นิพนธ์
อุปการัตน์
ประมงจังหวัดอุตรดิตถ์
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๙
เมษายน ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๙
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๙/๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800607 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแนวปฏิบัติในการแจ้งข้อมูลการนำเรือประมงที่ทำการประมงพื้นบ้าน โดยรัฐเจ้าของธงที่มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรไทยเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2561
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแนวปฏิบัติในการแจ้งข้อมูลการนำเรือประมงที่ทำการประมงพื้นบ้าน
โดยรัฐเจ้าของธงที่มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรไทยเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ.
๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแนวปฏิบัติในการนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสำหรับเรือประมงที่ทำการประมงพื้นบ้านโดยรัฐเจ้าของธงที่มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ให้เรือประมงที่ทำการประมงพื้นบ้านที่มีขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอสของรัฐเจ้าของธงที่มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรไทย
(สัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชา มาเลเซีย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา)
ที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะนำเรือประมงตามข้อ ๒
เข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งข้อมูลการนำเรือประมงเข้าเทียบท่า
ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้แจ้งข้อมูลการนำเรือประมงเข้าเทียบท่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำ
ตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบสำเนาเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) ใบทะเบียนเรือ
(ข) ใบอนุญาตทำการประมง
(ค)
เอกสารที่รัฐเจ้าของธงรับรองว่าสัตว์น้ำนั้นมิได้มาจากการทำการประมงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(๒) กรณีเป็นเรือประมงสัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชาหรือมาเลเซีย
ต้องแจ้งข้อมูลล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ
สำหรับเรือประมงสัญชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ให้แจ้งข้อมูลล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ
ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลดังกล่าวจะต้องก่อนที่เรือประมงจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๔ เมื่อได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล
หากเห็นว่าสัตว์น้ำนั้นมิได้มาจากการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้แจ้งผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีเป็นเรือประมงสัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชาหรือมาเลเซีย ให้แจ้งภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแจ้งขอเข้าเทียบท่า
หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า
(๒)
กรณีเป็นเรือประมงสัญชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ให้แจ้งภายในสามชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแจ้งขอเข้าเทียบท่า
หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า
ข้อ ๕ เมื่อได้รับใบแจ้งอนุญาตเข้าเทียบท่าตามข้อ
๔ ให้เรือประมงตามข้อ ๒ เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบ
ณ ท่าเทียบเรือที่กำหนดตามบัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว
ให้สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือสามารถดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การเข้าเทียบท่า
ณ ท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ได้ ในกรณีที่เป็นการขอนำเรือประมงมาซ่อมแซมให้สามารถนำไปยังอู่
หรือคานเรือที่นำเรือประมงไปซ่อมแซมได้
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ลักษณ์
วจนานวัช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๘
เมษายน ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐/๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800283 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลาออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
บึงลานควาย เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒) แม่น้ำสายบุรี
เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) แม่น้ำสายบุรี
เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๓
แนบท้ายประกาศนี้
(๔) แม่น้ำสายบุรี
เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๔
แนบท้ายประกาศนี้
(๕) แม่น้ำสายบุรี เขตท้องที่หมู่ที่
๕ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๖) แม่น้ำสายบุรี
เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๗) อ่างเก็บน้ำบ้านซาเมาะ
เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๗
แนบท้ายประกาศนี้
(๘)
สระน้ำบ้านเกาะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ตามแผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๙) คลองสาคอ เขตท้องที่หมู่ที่ ๔
ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๐)
ฝายบ้านสีคง เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข
๑๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๑)
บึงท่าสาป เขตท้องที่ตำบลสะเตง อ.เมืองยะลา จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๒)
อ่างเก็บน้ำบ้านตันหยง เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ตามแผนที่หมายเลข
๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
อนุชิต
ตระกูลมุทุตา
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๑
พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๓๐/๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800281 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมาออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่บริเวณแม่น้ำมูล
เขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑) แม่น้ำมูล
เขตท้องที่ตำบลในเมืองและตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข
๑/๖ - หมายเลข ๕/๖
(๒) แม่น้ำมูล
เขตท้องที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๖/๖
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วิเชียร
จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๑
พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๒๙/๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800279 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมาออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๑๒. และ ๑๓.
ของข้อ ๑ ของประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐
๑๒. เขตท้องที่อำเภอขามสะแกแสง
จังหวัดนครราชสีมา
๑๓. เขตท้องที่อำเภอสีดา
จังหวัดนครราชสีมา
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วิเชียร
จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๑
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๒๘/๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800277 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา ให้มีความครอบคลุมเครื่องมือทำการประมงมากขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันได้มีชาวประมงใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทแหที่ทำการดัดแปลงโดยใช้เชือกร้อยเนื้อแหบริเวณเหนือระดับเพลา
สำหรับดึงรวบตีนแหป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำออกมาได้ขณะทำการประมงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำ
หรือที่เรียกชื่อกันในท้องถิ่นว่า แหขยุ้ม ทำการประมงโดยการเคลื่อนย้ายไปตามอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง
ๆ ในเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจากการสำรวจพบว่าการทำการประมงลักษณะนี้สามารถจับสัตว์น้ำที่รวมกันเป็นฝูงได้ในปริมาณมากจนเกินสมควร
หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมง และวิธีการทำการประมงดังกล่าวอีกต่อไป
จะส่งผลกระทบต่อพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำและความสมดุลของระบบนิเวศในแหล่งน้ำ
รวมทั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนประมงท้องถิ่นที่มีระบบการจัดการ การบำรุงรักษา
การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่นของตนกับชาวประมงต่างถิ่นที่เคลื่อนย้ายมาทำการประมงในแต่ละแหล่งน้ำ
ดังนั้น จึงเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วน
และสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง มาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมาออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง
และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทแหที่เรียกชื่อว่า
แหขยุ้ม หรือเครื่องมือทำการประมงที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ทำการดัดแปลงโดยใช้เชือกร้อยเนื้ออวนด้านล่างสำหรับดึงรวบป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำออกมาได้ขณะทำการประมง
ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา
ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ
ซึ่งกระทำโดยทางราชการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วิเชียร
จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๑
พฤษภาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๒๒
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๒๖/๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ |
800053 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่
วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต
พังงา กระบี่ และตรัง
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่ผลการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของกรมประมงปรากฏชัดว่า
บริเวณทะเลอันดามันในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดมีไข่
วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
ดังนั้น เพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน
ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดภูเก็ต
พังงา กระบี่ และตรัง ตามพื้นที่เส้นล้อมรอบตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อำเภอเมืองภูเก็ต
จังหวัดภูเก็ต ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งกำหนดเป็นจุดหมายเลข
๑ ถึงจุดหมายเลข ๘ ดังนี้
จุดหมายเลข
๑ เส้นละติจูด ๗ องศา ๔๘ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๘ องศา ๒๔ ลิปดา ๔๕ ฟิลิปดาตะวันออก
จังหวัดภูเก็ต แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงจุดหมายเลข ๒
จุดหมายเลข
๒ เส้นละติจูด ๗ องศา ๕๓ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๘ องศา ๓๕ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก
ปลายแหลมหัวล้านของเกาะยาวใหญ่ด้านทิศใต้ จังหวัดพังงา แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ถึงจุดหมายเลข ๓
จุดหมายเลข
๓ เส้นละติจูด ๗ องศา ๓๙ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๘ องศา ๔๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก
ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบิด๊ะนอก จังหวัดกระบี่ แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ถึงจุดหมายเลข ๔
จุดหมายเลข
๔ เส้นละติจูด ๗ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๐๖ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก
ด้านทิศใต้ปลายแหลมเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ถึงจุดหมายเลข ๕
จุดหมายเลข
๕ เส้นละติจูด ๗ องศา ๑๒ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๒๓ ลิป ดา ๒๔ ฟิลิปดาตะวันออก
ด้านทิศใต้ปลายแหลมเกาะตะลิบง จังหวัดตรัง ตัดตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงจุดหมายเลข
๖
จุดหมายเลข
๖ เส้นละติจูด ๗ องศา ๐๕ ลิปดา ๒๔ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๓๔ ลิปดา ๑๒ ฟิลิปดาตะวันออก
หัวแหลมด้านใต้ทางทิศตะวันตกของเกาะสุกร จังหวัดตรัง และตัดตรงไปปลายแหลมเกาะสุกรด้านทิศตะวันออก
ถึงจุดหมายเลข ๗
จุดหมายเลข
๗ เส้นละติจูด ๗ องศา ๐๔ ลิปดา ๔๘ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๓๗ ลิปดา ๑๒ ฟิลิปดาตะวันออก
แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าหาฝั่งถึงจุดหมายเลข ๘
จุดหมายเลข
๘ เส้นละติจูด ๗ องศา ๐๖ ลิปดา ๕๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๔๐ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดาตะวันออก
ปลายแหลมหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุด
ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒ ความในข้อ ๑ มิให้ใช้บังคับกับกรณีการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือ
วิธีการทำการประมงและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑)
เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน ๑๔ เมตรและทำการประมงในเวลากลางคืนนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๒)
เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก เฉพาะในเวลากลางวัน ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๓)
เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ ๔.๗ เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนไม่เกิน
๒,๕๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และเครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่
๔.๗ เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนเกิน ๒,๕๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๔)
เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก
(๕)
เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๖)
ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน ๓๐๐ ลูกต่อเรือประมง
๑ ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้วขึ้นไป
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๗)
ลอบหมึกทุกชนิด
(๘)
ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
(๙)
คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน ๑๘ เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน
๓.๕ เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า ๑.๒ เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน
๓ อัน (หน่วย) ต่อเรือกล ๑ ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
(๑๐)
อวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา ๖๘ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
(๑๑)
จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น
(๑๒)
เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
(๑๓)
การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง
๒๘๐ แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือทำการประมงตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ยกเว้นอวนครอบอวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ) และเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
การใช้เครื่องมือใน
(๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ทั้งนี้
เครื่องมือทำการประมงที่ใช้ทำการประมงตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา
๖๗ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๓ ความในประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ
วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่
เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง พ.ศ.
๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภูมิกิติ/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ |
799634 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชุมพร เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชุมพร
เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ กำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตประกาศกรมประมง
เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดชุมพรออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังนี้
(๑) การเพาะเลี้ยงหอยทะเลในพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร
อำเภอปะทิว อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ให้ยื่น
ณ สำนักงานประมงอำเภอท้องที่ดังกล่าวทุกอำเภอ
(๒) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในพื้นที่จังหวัดชุมพร
ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงอำเภอท้องที่จังหวัดชุมพร
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการขอยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๕) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจติดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๖) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขป แสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ
วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
สิทธิสาร
ศรีชุมพวง
ประมงจังหวัดชุมพร
ภูมิกิติ/จัดทำ
๔
เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๒๐/๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
799178 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙
ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต
คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕
สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ และประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกประกาศกำหนดห้วงเวลา
ให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นระยะเวลา ๓๐ วันดังนี้
(๑)
ผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล
(๒)
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
ใบรับคำขออนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(เบื้องต้น)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๕)
เอกสารหรือหลักฐานการแจ้งหรือการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณี ต้องมีการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานอื่น)
(๖)
หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๗) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๑๐)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๑)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๖๑
ยอดรักษ์ ปลอดอ่อน
ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๐
เมษายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๒๓/๑๒ มีนาคม ๒๕๖๑ |
799106 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๑.๑ ของข้อ ๑
ของประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐
๑.๑ ให้เขตท้องที่อำเภอสามชัย อำเภอฆ้องชัย อำเภอร่องคำ
อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๖๑
ไกรสร กองฉลาด
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
พรวิภา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๐
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓๑/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
799104 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๑
(ฉบับที่ ๒)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒๕) (๒๖) (๒๗) (๒๘)
(๒๙) ของข้อ ๑ ของประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐
(๒๕) ลำน้ำชี จุดบ้านแจ้งจม
เขตท้องที่บ้านแจ้งจม หมู่ที่ ๗ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๑/๕
(๒๖) ลำน้ำชี จุดบ้านหนองมะเกลือ
เขตท้องที่บ้านหนองมะเกลือ หมู่ที่ ๕ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๒/๕
(๒๗) ลำน้ำปาว จุดบ้านโคกศรี
เขตท้องที่บ้านโคกศรี หมู่ที่ ๓ ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๓/๕
(๒๘) ลำน้ำปาว จุดบ้านสีถาน โซน ๑
เขตท้องที่บ้านสีถาน หมู่ที่ ๔ ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๔/๕
(๒๙) ลำน้ำปาว จุดบ้านสีถาน โซน ๒
เขตท้องที่บ้านสีถาน หมู่ที่ ๔ ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๕/๕
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไกรสร กองฉลาด
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่หมายเลข ๑/๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)
๒. แผนที่หมายเลข ๒/๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)
๓. แผนที่หมายเลข ๓/๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)
๔. แผนที่หมายเลข ๔/๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)
๕. แผนที่หมายเลข ๕/๕ แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๙ มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓๐/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798871 | ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิด ตามความในมาตรา 65 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม | ประกาศกรมประมง
เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิด
ตามความในมาตรา ๖๕
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๙
ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก นำผ่าน เพาะเลี้ยง
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำบางชนิด พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖
วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิด ตามความในมาตรา ๖๕
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิดตามความในมาตรา ๖๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๒. ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิดตามความในมาตรา
๖๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๓. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิดตามความในมาตรา
๖๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๐
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒๗/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798785 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา 174 พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนด
หลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามมาตรา ๑๗๔ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดว่า
ผู้ใดทำการประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบห้าตันกรอส
และได้จดทะเบียนเป็นเรือสำหรับทำการประมง
และได้รับอาชญาบัตรอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับอธิบดีจะอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านต่อไปจนกว่าจะเลิกทำการประมงก็ได้
เพื่อให้การอนุญาตเป็นไปตามมาตรานี้ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ผู้ประสงค์จะทำการประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๑๗๔ ยื่นคำขอรับอนุญาต ณ
สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง
(๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่มีอาณาเขตติดชายทะเล
(๓) สถานที่และวิธีตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒
ผู้ขอรับอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๒) ต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย
(๓)
เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเรือประมงที่จะขอรับใบอนุญาต
(๔)
เป็นผู้ที่เคยได้รับอาชญาบัตรหรือใบอนุญาตทำการประมง ในปีการประมง ๒๕๕๘
ข้อ ๓
เรือประมงที่จะใช้ประกอบการขอรับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ต้องเป็นเรือที่มีลักษณะดังนี้
(๑)
เรือประมงต้องจดทะเบียนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
(๒)
เรือประมงต้องมีใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ประเภทการใช้ทำการประมง ซึ่งมีอายุอยู่ในวันที่ยื่นคำขอและในวันที่อนุญาต
หรือมีหลักฐานการยื่นต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือกับกรมเจ้าท่า
(๓)
เรือประมงต้องเป็นเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสแต่ไม่ถึงสิบห้าตันกรอส
(๔) ผ่านการตรวจทำอัตลักษณ์เรือแล้ว
ข้อ ๔
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ ได้แก่
(๑) สำเนาอาชญาบัตร ใบอนุญาตทำการประมง
ในปีการประมง ๒๕๕๘ (เฉพาะกรณีที่ไม่พบข้อมูลการได้รับอนุญาตในฐานข้อมูลกรมประมง)
(๒) หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท)
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ)
(๓) ภาพถ่ายหรือภาพถ่ายดิจิทัลของเรือประมง
๓.๑) ภาพอัตลักษณ์เรือที่เห็นชัดเจน จำนวน ๑
รูป
๓.๒) ภาพหัวเรือที่เห็นชื่อเรือ ทะเบียนเรือ
จำนวน ๑ รูป
๓.๓) ภาพถ่ายเรือเต็มลำด้านซ้ายหรือด้านขวา
จำนวน ๑ รูป
ข้อ ๕
ขั้นตอนการยื่นคำขอและการอนุญาต
(๑) ให้ผู้ประสงค์ขอรับอนุญาต ยื่นคำขอ
ตามแบบคำขอรับอนุญาต ณ สถานที่ตามข้อ ๑
(๒) เมื่อได้รับคำขอรับอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับอนุญาตและดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐานต่าง
ๆ
กรณีที่คำขอรับอนุญาต
เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอรับอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับอนุญาต
หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
กรณีที่ผู้ขอรับอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง
ให้ถือว่าคำขอรับอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งหนังสือให้ผู้รับคำขอรับหนังสืออนุญาตทราบ
(๓)
คำขอรับอนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอเสนอประมงจังหวัดให้ความเห็นเสนออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณา
(๔) อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย จะแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขออนุญาตซึ่งคำขอถูกต้องครบถ้วน
(๕) ผู้ขอรับอนุญาตรับหนังสืออนุญาต ณ
สถานที่ที่ยื่นคำขอ
ข้อ ๖
ผู้รับอนุญาตต้องจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง
ที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้
ข้อ ๗
เงื่อนไขที่ผู้รับอนุญาตต้องถือปฏิบัติ
(๑) หนังสืออนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔
ที่กรมประมงออกให้ไม่สามารถโอนได้
(๒) ปฏิบัติตามประกาศที่ออก ตามมาตรา ๗๑ (๑)
และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้องที่กำหนดเกี่ยวกับการทำการประมงในทะเลชายฝั่ง
(๓)
เมื่อได้มีประกาศกำหนดให้การทำการประมงพื้นบ้านต้องได้รับใบอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วย
(๔)
เงื่อนไขอื่นที่ผู้อนุญาตกำหนดไว้ท้ายหนังสืออนุญาต
ข้อ ๘
คำขอรับหนังสืออนุญาต ใบรับคำขอหนังสืออนุญาต และหนังสืออนุญาต
ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙[๑]
ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือตาม มาตรา ๑๗๔
๒. หนังสืออนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔
๓. บันทึกท้ายใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๔. คำขอรับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๐
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒๔/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798783 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง สำหรับเรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2561
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง
สำหรับเรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๔) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
เครื่องหมายประจำเรือประมง หมายความว่า
เครื่องหมายประจำเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย
เจ้าของเรือ หมายความว่า ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในเรือประมง
ข้อ ๓ ให้เจ้าของเรือประมงนำเครื่องหมายประจำเรือประมงที่กรมประมงออกให้
ซึ่งปรากฏในใบอนุญาตทำการประมง
ไปจัดทำให้ปรากฏเห็นที่เรือประมงลำที่ได้รับใบอนุญาต ด้วยการเขียนหรือพ่นสีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
ในประกาศฉบับนี้
ข้อ ๔ เครื่องหมายประจำเรือประมงมีลักษณะเป็นเครื่องหมายที่ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเลขอารบิคเขียนเรียงกันจากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาตัวเรือ
โดยแบ่งเป็นเครื่องหมายย่อย เพื่อใช้แทนความหมายต่าง ๆ ดังนี้
(๑) เครื่องหมายที่หนึ่งเป็นตัวอักษรหรือชุดตัวอักษรใช้แทนพื้นที่ที่ทำการประมงดังนี้
(ก) น่านน้ำไทยฝั่งอ่าวไทย
ให้ใช้ตัวอักษร
T
(ข)
น่านน้ำไทยฝั่งอันดามัน ให้ใช้ตัวอักษร
A
(๒)
เครื่องหมายที่สองเป็นตัวอักษรใช้แทนขนาดของเรือประมงดังนี้
(ก)
ขนาดไม่ถึงสามสิบตันกรอส ให้ใช้ตัวอักษร
S
(ข) ขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป
แต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ให้ใช้ตัวอักษร
M
(ค)
ขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป
แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอส
ให้ใช้ตัวอักษร
L
(ง)
ขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไป ให้ใช้ตัวอักษร
X
(๓) เครื่องหมายที่สามเป็นตัวเลขหรือชุดตัวเลขแสดงลำดับที่ของใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ตามขนาดของเรือแต่ละกลุ่มตาม
(๒)
(๔)
เครื่องหมายที่สี่เป็นตัวอักษรหรือชุดตัวอักษรใช้แทนประเภทเครื่องมือทำการประมงดังนี้
(ก)
ประเภทเครื่องมืออวนลาก ให้ใช้ตัวอักษร
A
(ข)
ประเภทเครื่องมืออวนล้อมจับ ให้ใช้ตัวอักษร
B
(ค) ประเภทเครื่องมือคราด ให้ใช้ตัวอักษร
C
(ง)
ประเภทเครื่องมืออวนช้อน อวนยก ให้ใช้ตัวอักษร
D
(จ)
ประเภทเครื่องมืออวนครอบ ให้ใช้ตัวอักษร
E
(ฉ)
ประเภทเครื่องมืออวนติดตา ให้ใช้ตัวอักษร
F
(ช)
ประเภทเครื่องมืออวนรุนเคย ให้ใช้ตัวอักษร
G
(ซ) ประเภทเครื่องมือลอบ ให้ใช้ตัวอักษร
H
(ฌ) ประเภทเบ็ดราว ให้ใช้ตัวอักษร
J
(ฎ) ประเภทเครื่องมืออื่น
ๆ ให้ใช้ตัวอักษร
K
(ฏ)
ประเภทเรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ) ให้ใช้ตัวอักษร M
ข้อ ๕ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงดังนี้
(๑) ให้เจ้าของเรือประมงใช้เครื่องหมายประจำเรือประมงตามข้อ
๔ ที่ปรากฏในใบอนุญาตทำการประมง
ไปเขียนหรือพ่นด้วยสีให้ปรากฏเครื่องหมายดังกล่าวที่เรือลำที่ได้รับใบอนุญาต
โดยให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
(๒) แบบของตัวอักษรและตัวเลขให้เป็นไปตามแบบในบัญชีที่
๑ แนบท้ายประกาศฉบับนี้
(๓)
ขนาดของตัวอักษรและตัวเลขให้ใช้ตามขนาดของเรือ ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามรายละเอียดในบัญชีที่ ๒ แนบท้ายประกาศฉบับนี้
(๔)
การใช้สีเพื่อใช้เขียนหรือพ่นเป็นเครื่องหมายประจำเรือประมง
ให้เจ้าของเรือประมงแต่ละลำเลือกใช้สีได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ตัวอักษรและตัวเลขสีขาว
บนพื้นกรอบสีดำหรือน้ำเงินเข้ม
(ข) ตัวอักษรและตัวเลขสีดำหรือน้ำเงินเข้ม
บนพื้นกรอบสีขาว
สีพื้นสำหรับเขียนหรือพ่นเครื่องหมายประจำเรือให้ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยม
โดยให้สีพื้นตัดกับสีของกราบเรือ
(๕) กำหนดตำแหน่งการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงดังนี้
(ก)
เขียนหรือพ่นบริเวณหัวเรือภายนอกทั้งสองด้านโดยใช้พื้นที่ว่างระหว่างเลขทะเบียนเรือหรือชื่อเรือของกรมเจ้าท่าจนถึงบริเวณหน้าตัดเก๋งเรือ
ในกรณีที่เครื่องหมายประจำเรือที่ได้จัดทำตามวรรคหนึ่งลางเลือนไม่ชัดเจน
เจ้าของเรือประมงสามารถจัดทำเครื่องหมายประจำเรือโดยเขียนหรือพ่นบนแผ่นป้ายแล้วยึดหรือติดตั้งไว้บริเวณเก๋งเรือด้านนอกทั้งสองด้านที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
เพิ่มเติมจากที่กำหนดใน (ก) โดยมีรูปแบบเดียวกันกับการจัดทำตามวรรคหนึ่ง
(ข) กรณีเรือต่ำกว่าสิบตันกรอส
ที่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อ (ก) ได้ ให้เขียนหรือพ่นบริเวณถัดจากหรือใต้ชื่อเรือหรือเลขทะเบียนเรือ
ข้อ ๖ ให้เจ้าของเรือประมงดำเนินการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง
ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีที่ ๑ แบบของตัวอักษรและตัวเลข
๒.
บัญชีที่ ๒ ขนาดของตัวอักษรและตัวเลข
๓.
ตัวอย่างการเขียนเครื่องหมายประจำเรือประมง
๔.
หนังสือทำความตกลงในการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๐
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒๑/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798319 | ประกาศกรมประมง เรื่อง การบันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
การบันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ (๕)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำที่อยู่ในบัญชีรายชื่อโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองสุขลักษณะสถานประกอบการผลิตภัณฑ์ประมงตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองสุขลักษณะ
(GMP) และใบรับรองระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
(HACCP) ในสถานประกอบการผลิตภัณฑ์ประมง พ.ศ. ๒๕๔๗
ของกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง (www:fisheries.go.th/quality/DOF%20list.pdf) บันทึกการซื้อขายสัตว์น้ำในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามประกาศกรมประมงว่าด้วยการกำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง
(Thai Flagged Catch Certification System, http://traceability.fisheries.go.th/tds) ให้ถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พรวิภา/จัดทำ
๙ มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๗ ง/หน้า ๑๐/๕ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798238 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2560
| ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง
เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดสมุทรปราการออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดสมุทรปราการ ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ
หรือสำนักงานประมงอำเภอที่มีพื้นที่ติดทะเลชายฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด
(ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีผู้เยาว์)
(๖)
สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบกิจการตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธนาวุฒิ กุลจิตติชนก
ประมงจังหวัดสมุทรปราการ
พัชรภรณ์/จัดทำ
๙
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๒๖/๒ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798234 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทหอยทะเล มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561
| ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ประเภทหอยทะเล
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่กรมประมงได้ประกาศเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน
๒๕๕๙ แจ้งให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ จนถึงวันที่ ๑๑
พฤษภาคม ๒๕๕๙ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต ตามนัยมาตรา
๑๗๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเมื่อคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดในแต่ละพื้นที่ได้ออกประกาศกำหนดพื้นที่ใดให้เป็นเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และสำนักงานประมงจังหวัดได้ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้ว
ให้ผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมายื่นขอรับใบอนุญาตฯ อีกครั้งหนึ่ง
พร้อมแนบเอกสารและหลักฐานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ และดำเนินการตามกฎกระทรวงดังกล่าว นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินการกำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทหอยทะเล เรียบร้อยแล้ว อาศัยอำนาจตามข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดเพชรบุรี
จึงออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าว ระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
จนถึงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ประเภทหอยทะเล
ในพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีกำหนดไว้
มายื่นคำขออนุญาตในห้วงเวลา ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้เพาะเลี้ยงหอยแครง หอยกระปุก หรือหอยอื่น ๆ มายื่นคำขออนุญาต ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑
(๒) ผู้เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
หรือหอยนางรม มายื่นคำขออนุญาต ระหว่างวันที่ ๑๖ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑
กรณีผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเลตาม (๑) และ (๒) อยู่ในแปลงเดียวกันให้มายื่นคำขออนุญาตในห้วงเวลาที่ระบุไว้ตาม (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีพื้นที่เลี้ยงมากกว่าแล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดเพชรบุรี
ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
ใบรับคำขออนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (เบื้องต้น) หรือเอกสาร
หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการแจ้งหรือการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีต้องมีการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานอื่น)
(๕) หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา
๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒) (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ประพันธ์ ลีปายะคุณ
ประมงจังหวัดเพชรบุรี
พัชรภรณ์/จัดทำ
๙
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๒๔/๒ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798006 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2561
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่
๘)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดประเภทของเรือประมง
พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาการห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมง
ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทย ตามความในข้อ ๑ ของประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดประเภทของเรือประมงพื้นที่
และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ต่อจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลากำหนดห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทยตามประกาศดังกล่าว
ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๔
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๕/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797487 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัยประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตพื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑) ลำน้ำแม่มอก เขตท้องที่ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
(๒) แม่น้ำยม เขตท้องที่ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
(๓) แม่น้ำยม เขตท้องที่อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย ๒ ตำบล คือตำบลปากแคว
และตำบลบ้านกล้วย
ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พิพัฒน์ เอกภาพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๒๐/๒๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797475 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2560 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาตประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขออนุญาตคำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสระบุรี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดสระบุรีออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑) ในพื้นที่อำเภอแก่งคอย ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอแก่งคอย หรือสำนักงานประมงอำเภอแก่งคอย
จังหวัดสระบุรี
(๒) ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่อำเภอเมืองสระบุรี และพื้นที่อำเภอเสาไห้
ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธีรทัศน์ ศิริแดง
ประมงจังหวัดสระบุรี
ปุณิกา/จัดทำ
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๑๖/๒๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797142 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำหวัดระยอง เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2559 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำหวัดระยอง
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำหวัดระยอง
เรื่อง
ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ.
๒๕๕๙
ตามที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยองได้ออกประกาศ
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
กำหนดให้พื้นที่คลองลาวน เขตท้องที่ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล นั้น
เนื่องจากพื้นที่ตามประกาศดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ และวันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๔๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำหวัดระยองจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
สุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๖
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑๕/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797070 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลาออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้พื้นที่ของจังหวัดสงขลาดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
๑.๑ อำเภอเทพา
- ตำบลเทพา หมู่ที่ ๑, ๒, ๔
- ตำบลปากบาง หมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๖, ๗, ๘
- ตำบลสะกอม หมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๕
- ตำบลเกาะสะบ้า หมู่ที่ ๓, ๔
๑.๒ อำเภอเมืองสงขลา
- ตำบลเกาะยอ หมู่ที่ ๗
- ตำบลเขารูปช้าง หมู่ที่ ๑, ๓
- ตำบลพะวง หมู่ที่ ๒, ๘
๑.๓ อำเภอกระแสสินธุ์
- ตำบลเกาะใหญ่ หมู่ที่ ๒, ๓
- ตำบลเชิงแส หมู่ที่ ๑, ๓
- ตำบลกระแสสินธุ์ หมู่ที่ ๒
๑.๔ อำเภอควนเนียง
- ตำบลควนโส หมู่ที่ ๖, ๑๐
- ตำบลบางเหรียง หมู่ที่ ๔, ๕, ๖
- ตำบลรัตภูมิ หมู่ที่ ๓
- ตำบลห้วยลึก หมู่ที่ ๖
๑.๕
อำเภอจะนะ
-
ตำบลคลองเปียะ หมู่ที่ ๖,
๑๐
-
ตำบลจะโหนง หมู่ที่ ๑,
๓,
๗,
๑๐
-
ตำบลนาทับ หมู่ที่ ๓,
๔,
๕,
๖,
๗,
๘,
๙,
๑๒,
๑๓,
๑๔
-
ตำบลสะกอม หมู่ที่ ๒,
๓,
๔,
๖,
๗,
๘
-
ตำบลตลิ่งชัน หมู่ที่ ๓
๑.๖
อำเภอระโนด
-
ตำบลแดนสงวน หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕
-
ตำบลคลองแดน หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕,
๖
-
ตำบลท่าบอน หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕,
๖,
๗,
๘,
๙,
๑๐
-
ตำบลบ่อตรุ หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔
-
ตำบลบ้านใหม่ หมู่ที่ ๑,
๔
-
ตำบลปากแตระ หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕,
๖,
๗
-
ตำบลพังยาง หมู่ที่ ๑,
๔
-
ตำบลระโนด หมู่ที่ ๑,
๒,
๔,
๕,
๗
-
ตำบลระวะ หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕,
๖,
๗
-
ตำบลวัดสน หมู่ที่ ๑,
๒,
๕
๑.๗
อำเภอสทิงพระ
-
ตำบลคลองรี หมู่ที่ ๓,
๔,
๕,
๖,
๗,
๘,
๙
-
ตำบลชุมพล หมู่ที่ ๑,
๒,
๓
-
ตำบลท่าหิน หมู่ที่ ๒
-
ตำบลกระดังงา หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕,
๖,
๗
-
ตำบลจะทิ้งพระ หมู่ที่ ๑,
๓,
๔,
๗
-
ตำบลดีหลวง หมู่ที่ ๔,
๖,
๘
-
ตำบลบ่อดาน หมู่ที่ ๑,
๒,
๖
-
ตำบลบ่อแดง หมู่ที่ ๑,
๒,
๓
-
ตำบลวัดจันทร์ หมู่ที่ ๓
-
ตำบลสนามชัย หมู่ที่ ๓,
๔,
๕
๑.๘
อำเภอหาดใหญ่
-
ตำบลคูเต่า หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔,
๕,
๖,
๗
-
ตำบลน้ำน้อย หมู่ที่ ๒,
๕,
๖
๑.๙
อำเภอบางกล่ำ
-
ตำบลบางกล่ำ หมู่ที่ ๕
๑.๑๐
อำเภอสิงหนคร
-
ตำบลทำนบ หมู่ที่ ๑,
๒,
๔
-
ตำบลบางเขียด หมู่ที่ ๒,
๓,
๔
-
ตำบลปากรอ หมู่ที่ ๓,
๔,
๕,
๖
-
ตำบลป่าขาด หมู่ที่ ๑,
๒,
๔,
๕
-
ตำบลสทิงหม้อ หมู่ที่ ๑,
๒,
๓,
๔
-
ตำบลวัดขนุน หมู่ที่ ๗
-
ตำบลม่วงงาม หมู่ที่ ๘
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ดลเดช พัฒนรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๓๑
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๓๖/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797061 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลาออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้เขตท้องที่จังหวัดสงขลา เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ดลเดช พัฒนรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๓๑
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๓๕/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797052 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดแพร่ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2560 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดแพร่
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดแพร่
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙
ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นขอรับใบอนุญาต ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต
ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดแพร่ ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๖๐ วัน
ข้อ ๒
สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดแพร่ ให้ยื่น
ณ ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ หรือสำนักงานประมง อำเภอเมืองแพร่
สำนักงานประมงอำเภอร้องกวาง สำนักงานประมงอำเภอสอง สำนักงานประมงอำเภอลอง
และสำนักงานประมงอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
ข้อ ๓
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖)
สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๕๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สุรัฐพงศ์ อักษรเวช
ประมงจังหวัดแพร่
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๓๑
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๒๔/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796410 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พ.ศ. 2561
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่กรมประมงได้กำหนดมาตรการคุ้มครองสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่
วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในบริเวณที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปีมาเป็นเวลานาน
โดยพื้นที่ซึ่งมีการกำหนดมาตรการมิได้มีการเปลี่ยนแปลง นั้น
จากการติดตามข้อมูลการเคลื่อนย้ายของสัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาทูภายหลังจากการสิ้นสุดฤดูดังกล่าว
พบว่ามีประชากรปลาทูขนาดเล็กจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์เคลื่อนย้ายขึ้นมาด้านบน
นอกเขตที่กำหนดมาตรการอยู่เดิม
จึงเห็นควรกำหนดมาตรการคุ้มครองสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติมอีกระยะหนึ่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม
ถึงวันที่ ๑๔
มิถุนายนของทุกปีห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์ในแผนที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ซึ่งกำหนดเป็นจุดที่ ๑
ถึงจุดที่ ๔ ดังนี้
จากจุดที่ ๑ เส้นละติจูด ๑๒° ๓๖' ๐๐.๐๐๐"
เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๕๗' ๒๐.๐๐๐"
ตะวันออก ท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตัดตรงไปทางทิศตะวันออก ถึงจุดที่ ๒
จากจุดที่ ๒ เส้นละติจูด ๑๒° ๓๖' ๐๐.๐๐๐"
เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๑๐๐° ๑๕' ๐๐.๐๐๐"
ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศใต้ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงจุดที่ ๓
จากจุดที่ ๓ เส้นละติจูด ๑๑° ๔๙' ๔๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๑๐๐° ๑๕' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก ท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตัดตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงจุดที่ ๔
จากจุดที่ ๔ เส้นละติจูด ๑๑° ๔๙' ๔๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๕๐' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก ท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสิ้นสุดจุดที่ ๔
ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่ท้ายประกาศนี้
ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกรณีการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือ
วิธีการทำการประมง และปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่
อวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาว ไม่เกิน ๑๖ เมตร และทำการประมงในเวลากลางคืน
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๒) เครื่องมืออวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอส
และมีช่องตาอวนตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป ยกเว้นที่มีความยาวอวนเกิน ๒,๕๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ ที่ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
(๓) เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง
(๔) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก
ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๕) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก
ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๖) ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้ว ใช้ทำการประมงไม่เกิน ๓๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
ที่ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้ว ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๗) ลอบหมึกทุกชนิด
(๘)
ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
(๙)
คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน ๑๘ เมตร มีความกว้างปากคราด ไม่เกิน ๓.๕ เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า ๑.๒ เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอย
ต้องไม่เกิน ๓ อัน (หน่วย) ต่อเรือกล ๑ ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำ
การประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐
(๑๐) อวนรุนเคย
ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน ๑๔ เมตร
ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้
และบริเวณพื้นที่ในการทำการประมง ที่ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนเคย
ที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
(๑๑) จั่น ยอ แร้ว สวิง
แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก และเครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
(๑๒) การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง ๒๘๐ แรงม้า
ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือตามประเภท
วิธีการทำการประมงที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดให้เป็นประมงพาณิชย์
ทำการประมง ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
การใช้เครื่องมือใน
(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)
จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ทั้งนี้
เครื่องมือทำการประมงที่ใช้ทำการประมงตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา
๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑)
ข้อ
๒ ความในประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.แผนที่ท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๕
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๒๔/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796406 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2561
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่ผลการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของกรมประมงมาเป็นระยะเวลานานปรากฏชัดว่าบริเวณทะเลอ่าวไทยในเขตท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดมีไข่ วางไข่
และอาศัยเลี้ยงตัวอ่อนในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปีโดยเฉพาะปลาทูซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า
มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และแนวโน้มมีปริมาณลดลง อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ
ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากชาวประมงมีการปรับเปลี่ยนเครื่องมือและวิธีการทำการประมง
รวมทั้งมาตรการกำหนดฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่กำหนดไว้เดิมไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมควรปรับปรุงการกำหนดมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงที่มีประสิทธิภาพบางชนิดทำการประมง
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ถึง ๑๕ พฤษภาคมของทุกปี
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึง อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกำหนดเป็นจุดที่
๑ ถึงจุดที่ ๗ ดังนี้
จากจุดที่ ๑ เส้นละติจูด ๑๑° ๔๙' ๔๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๕๐' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก ท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตัดตรงไปทางทิศตะวันออก ถึงจุดที่ ๒
จากจุดที่ ๒ เส้นละติจูด ๑๑° ๔๙' ๔๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๑๐๐° ๑๕' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศใต้ผ่านท้องที่จังหวัดชุมพร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงจุดที่ ๓
จากจุดที่ ๓ เส้นละติจูด ๙° ๑๕' ๐๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๑๐๐° ๑๕' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงจุดที่ ๔
จากจุดที่ ๔ เส้นละติจูด ๙° ๑๕' ๐๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๕๕' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๕
จากจุดที่ ๕ เส้นละติจูด ๙° ๒๒' ๐๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๔๙' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๖
จากจุดที่ ๖ เส้นละติจูด ๙° ๒๒' ๐๐.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๔๔' ๕๒.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศใต้เข้าหาฝั่ง ถึงจุดที่ ๗
จากจุดที่
๗ เส้นละติจูด ๙° ๑๙' ๑๘.๐๐๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° ๔๔' ๕๒.๐๐๐" ตะวันออก ท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งสิ้นสุดจุดที่ ๗
ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่
หมายเลข ๑/๒ ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒ ความในข้อ ๑
มิให้ใช้บังคับกรณีการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือ
วิธีการทำการประมงและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่
อวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน ๑๖ เมตร
และทำการประมงในเวลากลางคืน ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๒) เครื่องมืออวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
และมีช่องตาอวนตั้งแต่สองนิ้ว ยกเว้นที่มีความยาวอวนเกิน ๒,๕๐๐
เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ ที่ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
(๓) เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง
(๔) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๕) ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้ว ใช้ทำการประมงไม่เกิน ๓๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
ที่ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้ว ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๖) ลอบหมึกทุกชนิด
(๗) ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
(๘) คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน
๑๘ เมตร มีความกว้างปากคราด ไม่เกิน ๓.๕ เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า ๑.๒ เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอย ต้องไม่เกิน
๓ อัน (หน่วย) ต่อเรือกล ๑ ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
รูปแบบ
และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐
(๙) อวนรุนเคยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน
๑๔ เมตร ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้
และบริเวณพื้นที่ในการทำการประมง ที่ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนเคย
ที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
(๑๐) จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก
และเครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
(๑๑) การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง ๒๘๐ แรงม้า
ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือตามประเภท
วิธีการทำการประมงที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดให้เป็นประมงพาณิชย์
ทำการประมง ยกเว้นอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก
ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
และที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมงและพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
การใช้เครื่องมือใน
(๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง
และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ.
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ทั้งนี้
เครื่องมือทำการประมงที่ใช้ทำการประมงตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา
๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑)
ข้อ
๓ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๖
พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๔ มิถุนายนของทุกปี ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร และสุราษฎร์ธานีซึ่งกำหนดเป็นจุดที่ ๑ ถึงจุดที่ ๑๓ ดังนี้
จากจุดที่
๑ เส้นละติจูด ๑๑๐ ๔๙' ๔๐.๐๐๐" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๕๐' ๐๐.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๒
จากจุดที่
๒ เส้นละติจูด ๑๑๐ ๔๙' ๔๐.๐๐๐" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๕๗' ๐๖.๕๖๖" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๓
จากจุดที่
๓ เส้นละติจูด ๑๑๐ ๓๕' ๒๔.๘๖๙" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๔๘' ๕๖.๙๐๘" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๔
จากจุดที่
๔ เส้นละติจูด ๑๑๐ ๑๗' ๐๗.๘๓๙" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๔๐' ๓๔.๑๐๕" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๕
จากจุดที่
๕ เส้นละติจูด ๑๑๐ ๐๓' ๒๔.๐๕๕" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๓๖' ๒๖.๗๖๔" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๖
จากจุดที่
๖ เส้นละติจูด ๑๐๐ ๔๔' ๕๓.๗๗๒" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๓๔' ๐๔.๐๘๘" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๗
จากจุดที่
๗ เส้นละติจูด ๑๐๐ ๒๗' ๓๗.๕๘๐" เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด
๙๙๐ ๒๗' ๔๐.๗๖๑" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๘
จากจุดที่
๘ เส้นละติจูด ๑๐๐ ๐๗' ๕๕.๖๒๓" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๑๕' ๕๑.๒๙๙" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๙
จากจุดที่
๙ เส้นละติจูด ๙๐ ๕๕' ๑๗.๓๓๑" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๑๖' ๕๑.๐๕๑" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๑๐
จากจุดที่
๑๐ เส้นละติจูด ๙๐ ๓๗' ๔๔.๖๓๘" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๑๙' ๓๔.๖๐๕" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๑๑
จากจุดที่
๑๑ เส้นละติจูด ๙๐ ๒๔' ๑๓.๒๓๖" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๒๖' ๕๔.๔๓๘" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๑๒
จากจุดที่
๑๒ เส้นละติจูด ๙๐ ๒๖' ๔๗.๗๓๑" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๔๔' ๕๒.๐๐๐" ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๑๓
จากจุดที่
๑๓ เส้นละติจูด ๙๐ ๑๙' ๑๘.๐๐๐" เหนือ
ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙๐ ๔๔' ๕๒.๐๐๐" ตะวันออก ซึ่งสิ้นสุดจุดที่ ๑๓
ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่
หมายเลข ๒/๒ ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔ ความในข้อ ๓
มิให้ใช้บังคับกรณีการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือ
วิธีการทำการประมงและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่างทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๒) เครื่องมืออวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
และมีช่องตาอวนตั้งแต่สองนิ้ว ยกเว้นที่มีความยาวอวนเกิน ๒,๕๐๐
เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ ที่ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
(๓) เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง
(๔) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก
ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๕) ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้ว ใช้ทำการประมงไม่เกิน ๓๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
ที่ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ ๒.๕ นิ้ว ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
(๖) ลอบหมึกทุกชนิด
(๗) ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
(๘) คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน
๑๘ เมตร มีความกว้างปากคราด ไม่เกิน ๓.๕ เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า ๑.๒ เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอย ต้องไม่เกิน
๓ อัน (หน่วย) ต่อเรือกล ๑ ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำ
การประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐
(๙) อวนรุนเคยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน
๑๔ เมตร ยกเว้นที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้
และบริเวณพื้นที่ในการทำการประมง ที่ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนเคย
ที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
(๑๐) จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก
และเครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
(๑๑) การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง ๒๘๐ แรงม้า
ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือตามประเภท
วิธีการทำการประมงที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดให้เป็นประมงพาณิชย์
ทำการประมง ยกเว้นอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก
ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) และที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
การใช้เครื่องมือใน
(๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง
และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ.
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ทั้งนี้
เครื่องมือทำการประมงที่ใช้ทำการประมงตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา
๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑)
ข้อ
๕ ความในประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ข้อ
๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูปลามีไข่ และกำหนดเครื่องมือ วิธีการ
และเงื่อนไขในการทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๑
๒.แผนที่ท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร
และสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๕
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๑๙/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
795795 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์
เป็นเขตห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พิบูลย์ หัตถกิจโกศล
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
พรวิภา/จัดทำ
๒๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๙/๒๖ มกราคม ๒๕๖๑ |
795793 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชัยภูมิ
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖
วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชัยภูมิ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่ตำบลกะฮาด อำเภอเนินสง่า
จังหวัดชัยภูมิเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ข้อ ๒ ให้เขตท้องที่ตำบลบ้านค่าย
อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ณรงค์ วุ่นซิ้ว
ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดชัยภูมิ
พรวิภา/จัดทำ
๒๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๘/๒๖ มกราคม ๒๕๖๑ |
795791 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดมหาสารคาม
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดมหาสารคามออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดมหาสารคาม
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ
หรือสำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่สถานประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมงซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๗)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สุรพงษ์ ศิริเวช
ประมงจังหวัดมหาสารคาม
พรวิภา/จัดทำ
๒๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๖/๒๖ มกราคม ๒๕๖๑ |
795294 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓)
แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น
(๘) ของข้อ ๑ ของประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๑
(๘)
สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร
เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๓
มกราคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑/ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795176 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
พ.ศ.๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓)
แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานในการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์รอบปีการประมง
๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ ดังนี้
(๑) สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา
เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอสทิงพระ และที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอสิงหนคร
จังหวัดสงขลา
(๒) สมาคมการประมงจังหวัดปัตตานีเป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอ
หรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
(๓) สมาคมชาวประมงปากน้ำประแสร์
เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแกลง จังหวัดระยอง
(๔) สมาคมประมงระนอง
เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองระนอง
จังหวัดระนอง
(๕) องค์การบริหารส่วนตำบลสองคลอง
อำเภอบางปะกง เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอบางปะกง
จังหวัดฉะเชิงเทรา
(๖) สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ
เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมือง ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอบางบ่อ
และที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
(๗) ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอคลองใหญ่
เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอเกาะกรูด จังหวัดตราด
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๐ มกราคม - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๓๓/๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ |
795174 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า
ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ
จึงสมควรกำหนดชนิดสัตว์น้ำบางชนิดที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้บุคคลใด
นำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง ซึ่งสัตว์น้ำดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย
(๑) ปลาหมอสีคางดำ Sarotherodon melanotheron RÜppell, ๑๘๕๒
(๒) ปลาหมอมายัน Cichlasoma urophthalmus (GÜnther, ๑๘๖๒)
(๓) ปลาหมอบัตเตอร์ Heterotilapia buttikoferi (Hubrecht, ๑๘๘๑)
การเพาะเลี้ยงตามวรรคหนึ่ง มิให้หมายความรวมถึง กรณีที่สัตว์น้ำตามวรรคหนึ่งจากธรรมชาติหลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงโดยไม่เจตนา
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ลักษณ์
วจนานวัช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๓๒/๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ |
795160 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต คำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ และเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต คำขอใบแทนใบอนุญาต
ทำการประมงพาณิชย์
และเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๒ ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐
ข้อ ๓ แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
คำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
และเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ พ.ศ. ๒๕๖๑
ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๒. ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๓. บันทึกท้ายใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๔. คำขอโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๕.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๖. บันทึกการตรวจคำขอและเอกสารประกอบคำขอ
๗. ใบรับคำขอใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
๘. หนังสือยินยอมให้ใช้เรือประมง
๙.
หนังสือรับรองตนเองกรณีเรือประมงที่จะขอรับโอนใบอนุญาตทำการประมงเคยใช้ในการกระทำความผิด
๑๐.
รูปแบบและพิกัดการจัดวางซั้งประกอบการขออนุญาตทำการประมง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๗๓/๑๗ มกราคม ๒๕๖๑ |
795142 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หมายความว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
คณะกรรมการคัดเลือก
หมายความว่า
คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
สมาคมในด้านการประมงทะเลชายฝั่ง หมายความว่า
สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพทำการประมงในเขตประมงทะเลชายฝั่งเป็นปกติ
สมาคมในด้านการประมงทะเลนอกชายฝั่ง หมายความว่า
สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพทำการประมงในเขตประมงทะเลนอกชายฝั่งเป็นปกติ
สมาคมในด้านการประมงนอกน่านน้ำไทย หมายความว่า
สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นปกติ
สมาคมในด้านการประมงน้ำจืด
หมายความว่า
สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพทำการประมงในเขตประมงน้ำจืดเป็นปกติ
สมาคมในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายความว่า สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ ในการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นปกติ
สมาคมในด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ
หมายความว่า สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพการแปรรูปสัตว์น้ำเป็นปกติ
ข้อ ๕
ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดคน
เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกผู้ที่เหมาะสมและนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบงานด้านการประมง
เป็นประธานกรรมการรองอธิบดีกรมประมงที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กรมประมงผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการประมง กรมประมง
ผู้อำนวยการกองตรวจการประมง กรมประมง ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
จำนวนหนึ่งคน ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวนหนึ่งคน
ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จำนวนหนึ่งคน
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนหนึ่งคน
ผู้แทนกรมเจ้าท่า จำนวนหนึ่งคน
และให้ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๖
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบคน ให้คัดเลือกจากบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) ผู้แทนสมาคมในด้านการประมงทะเลชายฝั่ง
ด้านการประมงทะเลนอกชายฝั่ง ด้านการประมงนอกน่านน้ำไทย ด้านการประมงน้ำจืด
ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ ด้านละหนึ่งคน
(๒)
ผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่เกินสองคน
(๓) นักวิชาการด้านการประมง ไม่เกินสองคน
ข้อ ๗
ให้คณะกรรมการคัดเลือกประกาศรับสมัครบุคคลผู้ประสงค์เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก
ระยะเวลาการรับสมัครและแบบใบสมัครให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครของคณะกรรมการคัดเลือก
ข้อ ๘
ให้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้สมัครเท่านั้น
โดยผู้สมัครคนหนึ่งมีสิทธิสมัครเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านใดด้านหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ
๖ (๑) (๒) และ (๓) ได้เพียงหนึ่งด้าน
กรณีไม่มีผู้มาสมัครด้านใดด้านหนึ่งหรือจำนวนผู้สมัครไม่ครบที่จะทำการคัดเลือกให้ขยายระยะเวลาการรับสมัครออกไปจนกว่าจะมีผู้สมัครครบจำนวนทุกด้าน
ข้อ ๙
ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันสมัคร
(๓) มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์ในด้านใดด้านหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ ๖ (๑) (๒) และ (๓)
(๔)
เป็นผู้แทนของสมาคมด้านใดด้านหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ ๖ (๑)
โดยมีหนังสือรับรองจากสมาคมดังกล่าว กรณีสมัครในฐานะผู้แทนสมาคม
(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือกรรมการ
ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘) ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการ
รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชนไล่ออก ปลดออก
หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ เพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(๙) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
ในการสมัครผู้สมัครต้องรับรองตนเองว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน
พร้อมทั้งความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านที่ตนสมัคร
ข้อ ๑๐
ให้กรมประมงเป็นหน่วยงานธุรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการรับสมัคร
การคัดเลือกและการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามประกาศนี้
ข้อ ๑๑ การส่งใบสมัคร
กระทำได้สองวิธีดังนี้
(๑) ยื่นใบสมัครโดยตรงที่กรมประมง
(๒) ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงกรมประมง
ในกรณีส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ จะถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราเป็นสำคัญ
หากล่วงเลยระยะเวลาที่กำหนด ใบสมัครนั้นจะไม่ได้รับการพิจารณา
ข้อ ๑๒
ให้กรมประมงตรวจสอบคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครตามข้อ
๙ และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครด้านละหนึ่งบัญชีเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณา
กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครให้คณะกรรมการคัดเลือกเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๑๓
ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่กรมประมงนำเสนอให้เหลือจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้านดังนี้
(๑) ผู้แทนสมาคมตามข้อ ๖ (๑) ด้านละไม่เกินสองคน
(๒) ผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามข้อ
๖ (๒) จำนวนไม่เกินสามคน
(๓) นักวิชาการด้านการประมงตามข้อ ๖ (๓) จำนวนไม่เกินสามคน
ข้อ ๑๔
ในการประชุมเพื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีกรรมการคัดเลือกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
โดยกรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
การลงคะแนนเพื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิให้ใช้วิธีลงคะแนนลับ
การประชุมเพื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการคัดเลือกอาจเชิญผู้สมัครมาแสดงวิสัยทัศน์หรือชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาด้วยก็ได้และให้พิจารณาจากคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อดังต่อไปนี้ด้วย
คือ
(๑) วิสัยทัศน์
(๒) ประสบการณ์ทำงานและผลงาน
(๓) ความเชี่ยวชาญในงานด้านที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕
ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกทำการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่กรมประมงนำเสนอแล้วได้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ครบจำนวนหรือไม่ครบด้าน
ให้คณะกรรมการคัดเลือกประกาศรับสมัครบุคคลผู้ประสงค์เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม ทั้งนี้
เฉพาะจำนวนที่ไม่ครบหรือด้านที่ไม่ครบ โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖
เมื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้แล้ว
ให้คณะกรรมการคัดเลือกรายงานผลการคัดเลือกไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้สมควรเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามจำนวนที่กำหนดในข้อ ๖
ข้อ ๑๗
ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระตามมาตรา ๑๖
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลง
โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๘
ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ลักษณ์ วจนานวัช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พัชรภรณ์/จัดทำ
๗ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๑/๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ |
794764 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑) อ่างเก็บน้ำบ้านท่าหัก หมู่ที่ ๕ ตำบลสมอทอง
อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒) คลองใหญ่พุมเรียง หมู่ที่ ๑, ๕ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒
แนบท้ายประกาศนี้
(๓) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑,
๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๕ และแม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าข้าม
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๖) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๒,
๓ และหมู่ที่ ๔ ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๗) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑,
๓ และหมู่ที่ ๕ ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๘) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑,
๔, ๖ และหมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๘
แนบท้ายประกาศนี้
(๙) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๒,
๔ และหมู่ที่ ๕ ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข
๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๐) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๒ และหมู่ที่ ๔ ตำบลบางเดือน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๑) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลตะปาน
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๒) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๑
และหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๓) คลองไต๋กง หมู่ที่ ๑ ตำบลพุนพิน และหมู่ที่ ๖
ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๔) แม่น้ำตาปี เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๕) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๔ และคลองท่าสะท้อน หมู่ที่ ๑
ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๕
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๖) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๒ ตำบลกรูด อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๗) คลองราง หมู่ที่ ๒ ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๘) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๑ ตำบลเคียนซา และหมู่ที่ ๑
ตำบลเขาตอก อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๘
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๙) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๑ ตำบลอิปัน อำเภอพระแสง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๐) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๔ และคลองวน หมู่ที่ ๕
ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๐
แนบท้ายประกาศนี้
(๒๑) คลองพุมดวง หมู่ที่ ๒
ตำบลถ้ำสิงขร หมู่ที่ ๑, ๖ และหมู่ที่ ๗ ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๑
แนบท้ายประกาศนี้
(๒๒) คลองดอนสัก หมู่ที่ ๒, ๕, ๗ และหมู่ที่ ๙ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข
๒๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๓) เกาะนกเภา หมูที่ ๑๑ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๔) เกาะแรต หมู่ที่ ๓ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๕) คลองท่าทอง หมู่ที่ ๑
และหมู่ที่ ๙ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๖) คลองท่าทองใหม่ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๕
ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๒๗) คลองท่าทองใหม่ หมู่ที่ ๔ ตำบลทุ่งกง
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๘) แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๕
ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๙) คลองท่าทอง หมู่ที่ ๓ ตำบลบางกุ้ง
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๐) คลองขวาง หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓ ตำบลบางไทร
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๓๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๑) คลองริ่ว หมู่ที่ ๖
ตำบลบางชนะ หมู่ที่ ๘ ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๓๑ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
วิชวุทย์ จินโต
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศ อ่างเก็บน้ำบ้านท่าหัก หมู่ที่ ๕
ตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒. แผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศ คลองใหญ่พุมเรียง หมู่ที่ ๑, ๕ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓. แผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๔. แผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง
หมู่ที่ ๕ และแม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๕. แผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าข้าม
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(๖) แผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง หมู่ที่
๒, ๓ และหมู่ที่ ๔ ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๗. แผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๓ และหมู่ที่ ๕ ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๘. แผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๔, ๖ และหมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๙. แผนที่หมายเลข ๙ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๒, ๔ และหมู่ที่ ๕ ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๐. แผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศ คลองพุมดวง หมู่ที่ ๑, ๒ และหมู่ที่ ๔ ตำบลบางเดือน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๑. แผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่
๓ ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๒. แผนที่หมายเลข ๑๒ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่
๒ ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๓. แผนที่หมายเลข ๑๓ แนบท้ายประกาศ คลองไต๋กง หมู่ที่ ๑ ตำบลพุนพิน
และหมู่ที่ ๖ ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๔. แม่น้ำตาปี เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข
๑๔ แนบท้ายประกาศนี้
๑๕. แผนที่หมายเลข ๑๕ แนบท้ายประกาศแม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๔
และคลองท่าสะท้อน หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๖. แผนที่หมายเลข ๑๖ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๒ ตำบลกรูด
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๗. แผนที่หมายเลข ๑๗ แนบท้ายประกาศ คลองราง หมู่ที่ ๒ ตำบลลีเล็ด
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๘. แผนที่หมายเลข ๑๘ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๑
ตำบลเคียนซา และหมู่ที่ ๑ ตำบลเขาตอก อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๙. แผนที่หมายเลข ๑๙ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๑ ตำบลอิปัน
อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๐. แผนที่หมายเลข ๒๐ แนบท้ายประกาศแม่น้ำตาปี
หมู่ที่ ๔ และคลองวน หมู่ที่ ๕ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๑. แผนที่หมายเลข ๒๑ แนบท้ายประกาศคลองพุมดวง หมู่ที่ ๒ ตำบลถ้ำสิงขร
หมู่ที่ ๑, ๖ และหมู่ที่ ๗ ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๒. แผนที่หมายเลข ๒๒ แนบท้ายประกาศคลองดอนสัก หมู่ที่ ๒, ๕, ๗ และหมู่ที่ ๙ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๓. แผนที่หมายเลข ๒๓ แนบท้ายประกาศ เกาะนกเภา หมูที่ 11 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๔. แผนที่หมายเลข ๒๔ แนบท้ายประกาศ เกาะแรต หมู่ที่ ๓ ตำบลดอนสัก
อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๕. แผนที่หมายเลข ๒๕ แนบท้ายประกาศ คลองท่าทอง หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่
๙ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๖. แผนที่หมายเลข ๒๖ แนบท้ายประกาศ คลองท่าทองใหม่ หมู่ที่ ๒
และหมู่ที่ ๕ ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๗. แผนที่หมายเลข ๒๗ แนบท้ายประกาศ คลองท่าทองใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งกง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๘. แผนที่หมายเลข ๒๘ แนบท้ายประกาศ แม่น้ำตาปี หมู่ที่ ๕ ตำบลควนศรี
อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๙. แผนที่หมายเลข ๒๙ แนบท้ายประกาศ คลองท่าทอง หมู่ที่ ๓
ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓๐. แผนที่หมายเลข ๓๐ แนบท้ายประกาศ คลองขวาง หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓
ตำบลบางไทร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓๑. แผนที่หมายเลข ๓๑ แนบท้ายประกาศ คลองริ่ว
หมู่ที่ ๖ ตำบลบางชนะ หมู่ที่ ๘ ตำบลคลองฉนาก
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๒
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๓๓/๑๐ มกราคม ๒๕๖๑ |
811973 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประเภทการเลี้ยงหอยทะเล เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา
๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
นอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๒ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
(๑) อ่าวพุมเรียง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๕
พื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแผนที่หมายเลข ๑
แนบท้ายประกาศนี้
(๒) อ่าวท่าฉาง พื้นที่ตำบลเขาถ่าน ตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย
อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) อ่าวท้องปึก อ่าวท่านา อ่าวท้องเขา อ่าวบางอุ่น พื้นที่
ตำบลตะเคียนทอง ตำบลกะแดะ ตำบลพลายวาส ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔) อ่าวบ้านพอด พื้นที่ตำบลชลคราม อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕) อ่าวหน้าเกาะมัดสุม พื้นที่ตำบลตะลิ่งงาม อำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
วิชวุทย์ จินโต
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ อ่าวพุมเรียง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๕
พื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒. แผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๕๖๐ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ อ่าวท่าฉาง
พื้นที่ตำบลเขาถ่าน ตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓. แผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๕๖๐ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ อ่าวท้องปึก อ่าวท่านา อ่าวท้องเขา อ่าวบางอุ่น
พื้นที่ ตำบลตะเคียนทอง ตำบลกะแดะ ตำบลพลายวาส ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๔. แผนที่หมายเลข ๔
แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๕๖๐ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ อ่าวบ้านพอด พื้นที่ตำบลชลคราม อำเภอดอนสัก
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๕.
แผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๕๖๐ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ อ่าวหน้าเกาะมัดสุม พื้นที่ตำบลตะลิ่งงาม อำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๒
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๓๒/๑๐ มกราคม ๒๕๖๑ |
794567 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือและการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ พ.ศ. 2560
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือและการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
พ.ศ.
๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๒ ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือและการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
(๑) หนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว เล่มละ
๑๐๐ บาท
(๒) ต่ออายุหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว ครั้งละ ๑๐๐ บาท
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ลักษณ์ วจนานวัช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๒
พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๓/๘ มกราคม ๒๕๖๑ |
Subsets and Splits