sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
782489
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่พื้นที่เขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดสตูลมีความสำคัญทางด้านระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจุบันพบว่ามีชาวประมงดัดแปลงใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทคราดประกอบกับเรือยนต์ทำการประมงปลิงทะเล และหอยทะเล ซึ่งเครื่องมือและวิธีการทำการประมงนี้มีลักษณะเป็นการขุดพลิกพื้นดินท้องทะเล ทำให้เกิดการทำลายหน้าดิน หญ้าทะเล ปะการัง อันเป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ และก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อชาวประมงซึ่งใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงและวิธีการทำการประมงดังกล่าวอีกต่อไป จะเกิดการทำลายระบบนิเวศของท้องทะเลและส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรง รวมทั้งเกิดความขัดแย้งของชาวประมงในพื้นที่ ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วน ดังนั้น จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูลออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือคราดทุกชนิดประกอบกับเรือยนต์ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดสตูล ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำซึ่งกระทำโดยทางราชการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมายแล้ว ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ภัทรพนธ์ รัตนพิเชฏฐชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๔/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781630
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดภูเก็ต ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๔๖/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781628
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดพังงาเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๔๕/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781622
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่อำเภอเกาะยาว อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วทุ่ง (ยกเว้นตำบลถ้ำ) อำเภอตะกั่วป่า (ยกเว้นตำบลบางไทร ตำบลตำตัว และตำบลโคกเคียน) อำเภอทับปุด (ยกเว้นตำบลโคกเจริญ ตำบลถ้ำทองหลาง ตำบลทับปุด และตำบลบางเหรียง) อำเภอท้ายเหมือง (ยกเว้นตำบลบางทอง และตำบลลำภี) อำเภอเมืองพังงา (ยกเว้นตำบลปากอ ตำบลทุ่งคาโงก ตำบลสองแพรก และตำบลนบปริง) ของจังหวัดพังงา เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๔๔/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781620
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดพังงาเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๔๓/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781610
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดน่าน เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดน่าน ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดน่าน เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดน่านออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดน่าน เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดน่าน ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๖๑/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781606
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดอุทัยธานี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๖๐/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781604
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดอุทัยธานี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุทัยธานี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๕๙/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781561
ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๘ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในการดูแลรักษาสัตว์น้ำและการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือประมง และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจและออกหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการดูแลรักษาสัตว์น้ำ และการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง” หมายความว่า มาตรฐานสุขอนามัยในการดูแลและการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือประมง ตามที่กรมประมงกำหนดแนบท้ายประกาศนี้ “หนังสือรับรอง” หมายความว่า หนังสือที่กรมประมงออกให้เพื่อรับรองว่าเรือประมงลำนั้นมีมาตรฐานสุขอนามัยในเรือประมง ตามที่กรมประมงกำหนด “เรือประมง” หมายความว่า เรือประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือประมงในการจับสัตว์น้ำและเก็บรักษาสัตว์น้ำไว้ในเรือ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเรือที่ใช้สนับสนุนเรือประมง เช่น เรือปั่นไฟ เรือหูของเรือประมงอวนลากคู่ เป็นต้น และให้หมายรวมถึงเรือประมงนอกน่านน้ำด้วย “ผู้มีอำนาจลงนาม” หมายความว่า ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ประมงจังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง หรือหัวหน้าสถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเลภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ “ผู้ตรวจสอบประเมิน” หมายความว่า นักวิชาการประมง หรือเจ้าพนักงานประมงสังกัดกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง หรือสถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ซึ่งผ่านการอบรมทางด้านมาตรฐานสุขอนามัยในเรือประมง แล้ว ข้อ ๓ ผู้ใดจะขอรับหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอตามแบบ สร.๑ ท้ายประกาศนี้ พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๓.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน ๓.๒ กรณีเป็นนิติบุคคล (๑) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีอายุไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นใดของนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี ๓.๓ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอหรือดำเนินการแทนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลให้แนบหนังสือมอบอำนาจมาพร้อมกับคำขอ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ๓.๔ สำเนาใบทะเบียนเรือไทย และสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ ๓.๕ สำเนาใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ๓.๖ กรณีเรือที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ให้ใช้หลักฐานตามข้อ ๓.๑, ๓.๒, ๓.๓, ๓.๔ ข้อ ๔ ผู้ยื่นคำขอตามประกาศนี้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ๔.๑ ต้องเป็นเจ้าของเรือประมงไทย หรือผู้รับมอบอำนาจ ๔.๒ ในกรณีผู้ยื่นคำขอเคยถูกเพิกถอนหนังสือรับรองตามข้อ ๑๔ จะยื่นคำขอหนังสือรับรองได้อีกเมื่อได้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ข้อ ๕ สถานที่ในการยื่นคำขอ (สร. ๑)/รับหนังสือรับรอง (สร. ๓) ๕.๑ ในกรณีที่เรือประมงมีท่าเทียบเรือประจำอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น สร. ๑ และรับสร. ๓ กับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง ๕.๒ ในกรณีเรือประมงมีท่าเทียบเรือประจำอยู่ท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นสร. ๑ และรับ สร. ๓ กับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง หรือสถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเล หรือสำนักงานประมงจังหวัด หรือสำนักงานประมงอำเภอในท้องที่ที่เรือประมงนั้นเทียบท่าอยู่ในเขตความรับผิดชอบ ข้อ ๖ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานตามคำขอนั้น และให้ดำเนินการดังนี้ ๖.๑ หากเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้คืนคำขอกับเอกสารหลักฐานและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องและยื่นใหม่ต่อไป โดยถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ๖.๒ หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งกำหนดวันนัดตรวจเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้แจ้งไปยังผู้ตรวจสอบประเมิน เพื่อตรวจประเมินเรือประมงตามแบบประเมินสุขอนามัยในเรือประมง (สร. ๒) ข้อ ๗ ให้ผู้ตรวจสอบประเมินเข้าตรวจประเมินเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ตามกำหนดวันและเวลานัดหมายที่ได้รับแจ้งตามข้อ ๖.๒ ข้อ ๘ ให้ผู้ตรวจสอบประเมินแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบถึงข้อบกพร่องประการใดของเรือประมงที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง เพื่อทำการแก้ไขหรือปรับปรุง และนัดตรวจใหม่ได้ในเวลาอันสมควร ข้อ ๙ ให้ผู้ตรวจสอบประเมินสรุปและเสนอผลการตรวจประเมินตามแบบ สร.๒ ท้ายประกาศนี้ ต่อผู้มีอำนาจลงนาม ภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันตรวจประเมินแล้วเสร็จ กรณีผลการประเมินเป็นไปตามมาตรฐานให้ผู้ตรวจสอบประเมินจัดทำหนังสือรับรองตามแบบ สร.๓ ท้ายประกาศนี้ เสนอผู้มีอำนาจลงนามเพื่อลงนามหนังสือรับรอง ภายใน ๑ วันทำการ และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ภายใน ๑ วันทำการนับจากวันลงนาม กรณีผลการประเมินไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ให้ผู้ตรวจสอบประเมินนำหนังสือแจ้งพร้อมแสดงเหตุผลเสนอ และให้ผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือนั้น ภายใน ๑ วันทำการ และแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบภายใน ๑ วันทำการนับจากวันลงนาม โดยถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ หนังสือรับรองที่ออกให้ตามประกาศนี้ให้มีอายุ ๒ ปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง ข้อ ๑๐ ให้กรมประมงกำหนดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ใด เพื่อติดไว้ที่เรือประมงที่ได้รับการรับรองนั้น ข้อ ๑๑ ผู้รับหนังสือรับรองของเรือประมงลำใดที่หนังสือรับรองใกล้หมดอายุ ให้ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองฉบับใหม่ พร้อมแนบสำเนาหนังสือรับรองฉบับเดิมก่อนหมดอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เมื่อได้ยื่นคำขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าการรับรองมีผลใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะได้รับหนังสือรับรองฉบับใหม่ ให้นำความในข้อ ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙ มาใช้บังคับกับการยื่นขอหนังสือรับรองฉบับใหม่โดยอนุโลม เว้นแต่กรมประมงเห็นควรยกเว้นวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในข้อใดเพื่อความสะดวกในการขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ดูแลรักษาเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ๑๒.๒ ยินยอมให้ผู้ตรวจสอบประเมินเข้าไปในเรือประมง สำหรับทำการตรวจติดตาม ประเมินผล เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานของการรับรองตามประกาศนี้ ๑๒.๓ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจสอบประเมินในการติดตามตรวจสอบประเมินผล ๑๒.๔ ให้ข้อมูลและเอกสารเกี่ยวกับเรือประมงที่ได้รับหนังสือรับรองเมื่อผู้ตรวจสอบประเมินร้องขอ ๑๒.๕ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ตรวจสอบประเมิน ๑๒.๖ ให้นำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่กรมประมงออกให้เพื่อแสดงว่าเรือผ่านการตรวจประเมินปิดไว้บริเวณด้านหน้าเก๋งเรือ กรณีเรือไม่มีเก๋งให้ปิดไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๓ เมื่อผู้ตรวจสอบประเมินตรวจพบว่าผู้ได้รับหนังสือรับรองมิได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง แนบท้ายประกาศนี้ ให้มีหนังสือแจ้งเตือนผู้นั้นให้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องโดยกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ กรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ปรับปรุงแก้ไข หรือปรับปรุงไม่เป็นไปตามมาตรฐานภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ผู้ตรวจสอบประเมินรายงานต่อผู้มีอำนาจลงนามเพื่อสั่งพักใช้หนังสือรับรองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๑๔ ให้ผู้ตรวจสอบประเมินรายงานต่อผู้มีอำนาจลงนามเพื่อสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองในกรณี ดังต่อไปนี้ ๑๔.๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองเคยถูกพักใช้หนังสือรับรองมาแล้ว ๑ ครั้ง และยังตรวจพบว่ามิได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ๑๔.๒ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบภายหลังว่าเอกสารหลักฐานซึ่งผู้ได้รับหนังสือรับรองนำมายื่นตามประกาศนี้เป็นเอกสารปลอม ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อออกหนังสือรับรอง เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๖ ในกรณีเรือประมงที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือมีใบอนุญาตแล้วแต่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ ให้ยกเว้นรายการตรวจประเมินตามแบบ สร.๒ ในข้อ ๓.๑, ๓.๒, ๓.๓, ๓.๔, ๓.๕, ๔.๑, ๔.๓, ๕.๒, ๕.๓, ๕.๔, ๕.๕, ๕.๖, ๕.๗ และในกรณีเรือประมงมีเครื่องทำความเย็นให้ยกเว้นข้อ ๖.๒ ด้วย และให้ได้รับหนังสือรับรอง (สร. ๓ ฉบับชั่วคราว) ข้อ ๑๗ เรือประมงที่ผ่านการตรวจประเมินโดยได้รับการยกเว้นรายการตรวจประเมินตามข้อ ๑๖ ต้องนำเรือมารับการตรวจประเมินอีกครั้งตามมาตรฐานนี้ภายในระยะเวลา ๖๐ วัน หลังจากได้รับใบอนุญาตทำการประมง เพื่อให้ได้รับหนังสือรับรอง (สร. ๓) กรณีที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ ต้องแจ้งว่ายังมิได้ออกทำการประมง ณ สถานที่ที่เคยยื่นคำขอหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง กรณีผลการตรวจประเมินไม่ผ่านให้นำความในข้อ ๑๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘[๑] ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ๒. แบบคำขอหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (แบบ สร.๑) ๓. แบบฟอร์มรายการตรวจประเมินสุขอนามัยในเรือประมง (แบบ สร.๒) ๔. แบบประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ๕. หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อออกหนังสือรับรอง ๖. หนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (Certificate of Sanitary Fishing Vessel) (แบบ สร.๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๒๐/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781541
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอย ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยเป็นการสมควรปรับปรุงมาตรการที่เกี่ยวกับเครื่องมือประมงคราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ เพื่อให้สอดคล้องการแบ่งเขตทำการประมง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังนี้ ๑.๑ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ให้ผู้มีอาชีพในการประมงมาจดทะเบียนและขออนุญาต ลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ๑.๒ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามทำการประมงหอยแครง ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ๑.๓ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาด ชนิด และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง และกำหนดให้ใช้เครื่องมือคราดหอยที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาด ชนิด และจำนวนเกินกำหนดทำการประมงโดยเด็ดขาด ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือคราดหอยประกอบเรือกลทำการประมง ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณน่านน้ำภายในและทะเลชายฝั่ง ข้อ ๓ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือคราดหอยประกอบเรือกลที่มีรูปแบบของเครื่องมือ ขนาดของเรือประมง ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำในบริเวณทะเลนอกชายฝั่ง (๑) เครื่องมือคราดหอยที่มีความกว้างของปากคราดเกินกว่า ๓.๕ เมตร (๒) เครื่องมือคราดหอยที่มีขนาดช่องซี่คราดต่ำกว่า ๑.๒ เซนติเมตร (โดยวัดจากด้านในของซี่คราดหนึ่งไปยังด้านในของอีกซี่คราดหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กัน) (๓) ความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน ๑๘ เมตร (๔) จำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน ๓ อัน (หน่วย) ต่อเรือกล ๑ ลำ ความใน (๓) มิให้ใช้บังคับกรณีการใช้เครื่องมือคราดหอยของผู้ที่ได้รับอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ก่อนหน้าวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๔[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๔/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781537
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปเพื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๓/๒๕๖๐ วันศุกร์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781054
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 12/06/2560)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงลำใดแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งข้อมูล รหัสกล่อง หรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ หรือหมายเลขทะเบียนเรือ ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในเจ็ดวัน หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า[๑] กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหายต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน โดยต้องมีหนังสือรับรองจากอู่ซ่อมเรือ โดยระบุวันที่เริ่มต้นขึ้นคาน และลงจากคาน (๒) กรณีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม (๓) กรณีเรือประมงอับปาง โดยแนบสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาด้วย ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจะสามารถปิดระบบติดตามเรือได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมงแล้ว และก่อนเรือประมงลงจากคานให้แจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบก่อนสิบสองชั่วโมงด้วย[๒] กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) และ (๓) ให้แจ้งภายในหกชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยให้แนบหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรมประมง หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วแต่กรณี มาให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบภายในสี่สิบแปดชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น[๓] การแจ้งตามวรรคสามและวรรคสี่ ให้ดำเนินการตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้[๔] ข้อ ๓[๕] ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ กรณีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับชนิดเครื่องมือ อวนล้อมจับปลากะตัก ประเภทเครื่องมือ อวนครอบ ชนิดเครื่องมือ อวนครอบปลากะตัก ประเภทเครื่องมือ ช้อน/ยก ชนิดเครื่องมือ อวนช้อน/ยกปลากะตัก ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกสิบห้านาที หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ ข้อ ๔ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ว่าไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือตรวจสอบระบบติดตามเรือที่ติดอยู่กับเรือประมงว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากพบว่ามีข้อขัดข้องให้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือกลับมาใช้งานได้ภายในสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งว่ามีเหตุขัดข้องให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่าแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที[๖] การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว[๗] ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ[๘] ข้อ ๔/๑[๙] กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงเป็นระยะเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก โดยไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือประมงกลับมาใช้งานได้ตามปกติได้ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๒) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสะสมเป็นจำนวนหกครั้ง ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๓) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงซ้ำกันหลายครั้งในการแจ้งออกทำการประมงหลายครั้ง บริเวณแนวแบ่งเขตระหว่างเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง พื้นที่ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามทำการประมง หรือบริเวณแนวแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ (๔) มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงทุกครั้ง ในระหว่างการแจ้งออกทำการประมง ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนหกครั้ง และได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมงกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าด้วยเหตุดังกล่าว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าตามระยะเวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดทันที การนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่า ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งพิกัดปัจจุบัน และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ ๘๒๒๘.๐ KHz ช่องรองความถี่ ๖๒๙๐.๐ KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ ๑๑C ช่องรองความถี่ ๑๒C ทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจาก E-Mail ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ และได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือทางโทรศัพท์ ๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง จนว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือ กรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อได้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกและให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงตามวรรคสองไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ด้วย ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีเหตุขัดข้องอันเกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมงหรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ข้อ ๔/๒[๑๐] การทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมง ตามข้อ ๔/๑ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือประมงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้มีการทดสอบระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมง ณ บริเวณท่าเทียบเรือที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง หากปรากฏว่าระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมงไม่สามารถส่งสัญญาณได้ หรือการส่งสัญญาณนั้นไม่ต่อเนื่อง หรือขาดหาย โดยที่เหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงดำเนินการแก้ไข มิฉะนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่พิจารณาการแจ้งออกทำการประมงในครั้งถัดไป ข้อ ๕[๑๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๑๒] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ๒. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ๓. ใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ๔.[๑๓] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) ๕.[๑๔] ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) ๖.[๑๕] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๗] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๘] ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้[๑๙] ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๐] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๑] ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้แจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงด้วยเหตุตาม (๔) (๖) (๗) ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการแจ้งเปิดสัญญาณระบบติดตามเรือประมงภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๒] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิม หรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ก็ได้ ข้อ ๓ ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนด ตามข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบ ติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๓] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๒ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๒ วรรคสี่ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ข้อ ๒ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ข้อ ๔ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] ข้อ ๔ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] ข้อ ๔ วรรคสี่ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๐] ข้อ ๔/๒ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑๒] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๓] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๔] ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๕] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑๙] ข้อ ๓ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๙/๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๖/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๓๖/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐
781052
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/05/2560)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงลำใดแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งข้อมูล รหัสกล่อง หรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ หรือหมายเลขทะเบียนเรือ ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในเจ็ดวัน หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า[๑] กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหายต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน โดยต้องมีหนังสือรับรองจากอู่ซ่อมเรือ โดยระบุวันที่เริ่มต้นขึ้นคาน และลงจากคาน (๒) กรณีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม (๓) กรณีเรือประมงอับปาง โดยแนบสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาด้วย ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจะสามารถปิดระบบติดตามเรือได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมงแล้ว และก่อนเรือประมงลงจากคานให้แจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบก่อนสิบสองชั่วโมงด้วย[๒] กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) และ (๓) ให้แจ้งภายในหกชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยให้แนบหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรมประมง หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วแต่กรณี มาให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบภายในสี่สิบแปดชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น[๓] การแจ้งตามวรรคสามและวรรคสี่ ให้ดำเนินการตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้[๔] ข้อ ๓ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเรียบร้อยแล้ว ต้องส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ ข้อ ๔ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ว่าไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือตรวจสอบระบบติดตามเรือที่ติดอยู่กับเรือประมงว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากพบว่ามีข้อขัดข้องให้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือกลับมาใช้งานได้ภายในสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งว่ามีเหตุขัดข้องให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่าแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที[๕] การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว[๖] ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ[๗] ข้อ ๔/๑[๘] กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงเป็นระยะเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก โดยไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือประมงกลับมาใช้งานได้ตามปกติได้ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๒) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสะสมเป็นจำนวนหกครั้ง ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๓) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงซ้ำกันหลายครั้งในการแจ้งออกทำการประมงหลายครั้ง บริเวณแนวแบ่งเขตระหว่างเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง พื้นที่ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามทำการประมง หรือบริเวณแนวแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ (๔) มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงทุกครั้ง ในระหว่างการแจ้งออกทำการประมง ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนหกครั้ง และได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมงกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าด้วยเหตุดังกล่าว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าตามระยะเวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดทันที การนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่า ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งพิกัดปัจจุบัน และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ ๘๒๒๘.๐ KHz ช่องรองความถี่ ๖๒๙๐.๐ KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ ๑๑C ช่องรองความถี่ ๑๒C ทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจาก E-Mail ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ และได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือทางโทรศัพท์ ๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง จนว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือ กรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อได้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกและให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงตามวรรคสองไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ด้วย ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีเหตุขัดข้องอันเกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมงหรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ข้อ ๔/๒[๙] การทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมง ตามข้อ ๔/๑ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือประมงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้มีการทดสอบระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมง ณ บริเวณท่าเทียบเรือที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง หากปรากฏว่าระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมงไม่สามารถส่งสัญญาณได้ หรือการส่งสัญญาณนั้นไม่ต่อเนื่อง หรือขาดหาย โดยที่เหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงดำเนินการแก้ไข มิฉะนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่พิจารณาการแจ้งออกทำการประมงในครั้งถัดไป ข้อ ๕[๑๐] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๑๑] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ๒. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ๓. ใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ๔.[๑๒] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) ๕.[๑๓] ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) ๖.[๑๔] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๗] ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๘] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๙] ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้แจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงด้วยเหตุตาม (๔) (๖) (๗) ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการแจ้งเปิดสัญญาณระบบติดตามเรือประมงภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๐] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิม หรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ก็ได้ ข้อ ๓ ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนด ตามข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบ ติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๑] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๒ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๒ วรรคสี่ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ข้อ ๒ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ข้อ ๔ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ข้อ ๔ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] ข้อ ๔ วรรคสี่ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] ข้อ ๔/๒ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑๑] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๒] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๓] ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๔] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๙/๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
780839
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ในทะเลนอกชายฝั่ง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมง ที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ในทะเลนอกชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๕) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป และผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตักซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ในทะเลนอกชายฝั่ง ต้องนำเรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงทุกสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้งออกต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ในกรณีมีเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถนำเรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุดังกล่าวผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8828.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C หรือทางโทรศัพท์ต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่จะเข้าเทียบท่าไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยต้องนำเรือประมงกลับทันทีเมื่อเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติสิ้นสุดลง และห้ามทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลในช่วงที่ประสบเหตุดังกล่าว พร้อมทั้งส่งใบรายงานตามแบบ ศจร. ๕ ท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ภายในหนึ่งชั่วโมง เมื่อเรือกลับเข้าเทียบท่า ข้อ ๓ ในการนำเรือกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือแจ้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมประมงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบรายงานเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติที่ทำให้ไม่สามารถนำเรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือประมง (ศจร. ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๑๗/๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780809
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิษณุโลก ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิษณุโลก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ แม่น้ำน่าน เขตท้องที่ ตำบลจอมทอง ตำบลปากโทก ตำบลพลายชุมพล ตำบลหัวรอ ตำบลบ้านคลอง ตำบลวัดจันทร์ ตำบลท่าทอง ตำบลท่าโพธิ์ ตำบลวัดพริก ตำบลวังน้ำคู้ และตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๒ ให้พื้นที่ แม่น้ำน่าน เขตท้องที่ ตำบลวงฆ้อง ตำบลพรหมพิราม ตำบลท่าช้างตำบลหนองแขม ตำบลมะตูม ตำบลมะต้อง ตำบลศรีภิรมย์ และตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๓ ให้พื้นที่ แม่น้ำน่าน เขตท้องที่ ตำบลบ้านไร่ ตำบลโคกสลุด และตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๔ ให้พื้นที่ แม่น้ำยม เขตท้องที่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลท่างาม ตำบลบางระกำ และตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๕ ให้พื้นที่ แม่น้ำแควน้อย เขตท้องที่ ตำบลคันโช้ง ตำบลหินลาด ตำบลบ้านยาง ตำบลท่างาม ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๖ ให้พื้นที่ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขตท้องที่ ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๗ ให้พื้นที่ คลองยมราช เขตท้องที่ หมู่ที่ ๕, ๗ ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๘ ให้พื้นที่ อ่างเก็บน้ำแก่งหว้าแก่งไฮ เขตท้องที่ ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๙ ให้พื้นที่ คลองโป่งนก เขตท้องที่ ตำบลหนองพรหมพิราม อำเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิษณุโลก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิษณุโลก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๑๘/๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780805
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่อ่าวชลบุรี เขตท้องที่ตำบลคลองตำหรุ หนองไม้แดง บางทราย มะขามหย่ง บางปลาสร้อย บ้านสวน เสม็ด อ่างศิลา และตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. พิกัดภูมิศาสตร์ แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๑๗/๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780700
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบสมุดบันทึกการทำการประมง FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY TRAWLERS ท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบสมุดบันทึกการทำการประมง FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY TRAWLERS ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสมุดบันทึกการทำการประมง FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY TRAWLERS (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๐/๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
779906
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้เรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับ ชนิดเครื่องมือ อวนล้อมจับปลากะตัก ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกสิบห้านาที หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๔/๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
779898
ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปนอกราชอาณาจักรยกเว้นส่งออกไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปนอกราชอาณาจักร ยกเว้นส่งออกไปสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ตามมาตรา ๙๒ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต้องแสดงใบรับรองการจับสัตว์น้ำหรือเอกสารอื่นใดที่แสดงว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปนอกราชอาณาจักร ยกเว้นส่งออกไปสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “สัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์น้ำตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ยกเว้นชนิดสัตว์น้ำที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๖๕ แห่งกฎหมายว่าด้วยการประมง ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ให้ยื่นคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผ่านระบบเชื่อมโยงคำขอกลางและระบบสนับสนุนใบอนุญาตและใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมประมง (Fisheries Single Window : FSW โดยลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ ในกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอผ่านระบบได้ ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ กรณีส่งออกไปสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สหพันธรัฐรัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อแสดงว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต้องแสดงสำเนาคำขอใบรับรองสุขอนามัย และหนังสือรับรองตนเองในการแจ้งแหล่งที่มาของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในการส่งออกตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบประกอบพิธีการส่งออก ข้อ ๕ กรณีส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนอกเหนือจากข้อ ๔ เพื่อแสดงว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต้องแสดงหนังสือรับรองตนเองในการแจ้งแหล่งที่มาของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในการส่งออกตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบประกอบพิธีการส่งออก ข้อ ๖ การส่งออกตามข้อ ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ข้อ ๗ การส่งออกตามข้อ ๕ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ๒. หนังสือรับรองตนเองในการแจ้งแหล่งที่มาของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในการส่งออก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
779896
ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ตามมาตรา ๙๒ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต้องแสดงใบรับรองการจับสัตว์น้ำหรือเอกสารอื่นใดที่แสดงว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “สัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์น้ำตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ยกเว้นชนิดสัตว์น้ำที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๖๕ แห่งกฎหมายว่าด้วยการประมง ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการบริโภคไปสหภาพยุโรป ให้ยื่นคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผ่านระบบเชื่อมโยงคำขอกลางและระบบสนับสนุนใบอนุญาตและใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมประมง (Fisheries Single Window : FSW) โดยลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ ในกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอผ่านระบบได้ ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ เพื่อแสดงว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต้องแสดงสำเนาคำขอใบรับรองสุขอนามัยและสำเนาคำขอใบรับรองการจับสัตว์น้ำ หรือสำเนาคำขอใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ กรณีสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำการประมงและอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ ๐๓ และตอนที่ ๑๖ ยกเว้นสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้มาจากหอยฝาเดียวและหอยสองฝา เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบประกอบพิธีการส่งออก ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๕/๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
779792
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี อัญชลี/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๔๑/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
779790
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์ในกระชัง (๑) แม่น้ำน่าน เขตท้องที่อำเภอท่าปลา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๒) คลองตรอน เขตท้องที่อำเภอทองแสนขัน และอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐,๐๐๐) ๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัญชลี/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๔๐/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
779788
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่แม่น้ำอิงบริเวณเขื่อนยางอิงรอด เขตท้องที่ ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์ในกระชัง ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณรงค์ศักดิ์ เฉลิมเกียรติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยา [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพะเยา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัญชลี/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๓๙/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
779739
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ หรือเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ หรือเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้ระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงและเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เห็นควรให้มีการตรวจสอบระบบติดตามเรือประมงประจำในทุกปี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) และมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ดำเนินการตรวจสอบระบบติดตามเรือประมงทุกปีนับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒ การตรวจสอบระบบติดตามเรือประมง ให้แจ้งนัดหมายกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตรวจสอบระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามแบบประเมินมาตรฐานการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ หากพบว่ามีข้อบกพร่องให้แจ้งผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้ง หากไม่ดำเนินการแก้ไขพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกจะไม่พิจารณาให้แจ้งออกทำการประมง กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกแจ้งให้ดำเนินการแก้ไขเมื่อดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อดำเนินการตรวจสอบระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามแบบประเมินมาตรฐานการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ด้วย ข้อ ๓ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกได้ตรวจสอบระบบติดตามเรือประมงแล้วเสร็จ หรือได้รับแจ้งผลการแก้ไข ให้รายงานผลไปยังศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากการตรวจสอบแล้วเสร็จหรือได้รับแจ้งผลการแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบประเมินมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System, VMS) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัญชลี/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๑๗/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
779731
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ กรณีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับชนิดเครื่องมือ อวนล้อมจับปลากะตัก ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกสิบห้านาที หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง อัญชลี/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๑๖/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
779685
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย ที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จะนำเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ ๓๐๐ ตันกรอสขึ้นไป เปิดระบบ AIS (Automatic Identification System) อยู่ตลอดเวลาขณะอยู่ในน่านน้ำไทย ตามข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อัญชลี/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๓/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
779524
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑/๑ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙ “ข้อ ๑/๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เพื่อขาย แลกเปลี่ยน หรือได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่มีที่ตั้งแน่นอนและเป็นประจำ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการการเพาะพันธุ์ อนุบาล เลี้ยง สัตว์น้ำควบคุม และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งเป็นที่ขายหรือรวบรวมสัตว์น้ำควบคุมด้วย” ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ที่ขาย แลกเปลี่ยนให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จัดทำหนังสือประกอบการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับ และจัดทำรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือประกอบการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ๒. แบบรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๔/๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐
779305
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ กรณีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับชนิดเครื่องมือ อวนล้อมจับปลากะตัก ประเภทเครื่องมือ อวนครอบ ชนิดเครื่องมือ อวนครอบปลากะตัก ประเภทเครื่องมือ ช้อน/ยก ชนิดเครื่องมือ อวนช้อน/ยกปลากะตัก ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกสิบห้านาที หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๓๖/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐
779301
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่ข้อมูลทางวิชาการพบว่าบริเวณทะเลอ่าวไทยตอนในหรืออ่าวไทยรูปตัว ก ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นบริเวณที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญ ซึ่งในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี มีสัตว์น้ำขนาดก่อนเริ่มสืบพันธุ์อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก มีการนำเครื่องมือทำการประมงที่มีประสิทธิภาพสูงไปใช้ทำการประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และพบว่าสัตว์น้ำที่จับได้มีสัดส่วนของสัตว์น้ำขนาดก่อนเริ่มสืบพันธุ์สูงมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองสัตว์น้ำมิให้ถูกจับหรือถูกทำลายมากเกินสมควร และให้ราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน จึงสมควรกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในที่จับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงดังต่อไปนี้ ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี (๑) เครื่องมืออวนล้อมจับที่ใช้ประกอบกับเรือกล (๒) เครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวขนาดต่ำกว่ายี่สิบตันกรอสทำการประมงในเวลากลางคืน (เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น) (๓) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการประมงปลากะตัก (๔) เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน (๕) เครื่องมืออวนติดตาจับปลาทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง ยกเว้นการใช้เครื่องมืออวนติดตาจับปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ ๕ เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวอวนไม่เกิน ๒,๐๐๐ เมตร ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอสทำการประมง กำหนดระยะเวลาและพื้นที่ที่ห้ามทำการประมงตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามรายละเอียดและแผนที่แนบท้ายประกาศดังนี้ (๑) ระหว่างวันที่ ๑๕ มิถุนายน ถึง ๑๕ สิงหาคม ของทุกปี ในที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร บริเวณที่กำหนดขอบเขตโดยเส้นตรงซึ่งเชื่อมจุดพิกัดจากจุดหมายเลข ๑ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงจุดหมายเลข ๓ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ดังนี้ จุดหมายเลข ๑ ละติจูด ๑๒ องศา ๓๖ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๙๙ องศา ๕๗ ลิปดา ๒๐ ฟิลิปดาตะวันออก จุดหมายเลข ๒ ละติจูด ๑๒ องศา ๓๖ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก จุดหมายเลข ๓ ละติจูด ๑๓ องศา ๒๘ ลิปดา ๓๔.๒๕๗ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก (๒) ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม ถึง ๓๐ กันยายน ของทุกปี ในที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนในด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี บริเวณที่กำหนดขอบเขตโดยเส้นตรงซึ่งเชื่อมจุดพิกัดจากจุดหมายเลข ๓ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ถึงจุดหมายเลข ๗ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ดังนี้ จุดหมายเลข ๓ ละติจูด ๑๓ องศา ๒๘ ลิปดา ๓๔.๒๕๗ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก จุดหมายเลข ๔ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๗ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก จุดหมายเลข ๕ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๗ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๔๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก จุดหมายเลข ๖ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๓ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๔๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก จุดหมายเลข ๗ ละติจูด ๑๓ องศา ๑๓ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐ องศา ๕๖ ลิปดา ๑๐.๕๖๐ ฟิลิปดาตะวันออก ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในระยะเวลาที่กำหนด (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๑/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐
779007
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมงและพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงโดยใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงในเขตระยะเจ็ดไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่งทะเลในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดพื้นที่ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงดังกล่าวทำการประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเห็นสมควรกำหนดพื้นที่ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงดังกล่าวในรูปแบบของพิกัดภูมิศาสตร์ในแผนที่แนบท้ายประกาศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมงวิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ห้ามใช้เครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงโดยใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์ในแผนที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) นอกเขตทะเลชายฝั่ง ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๓๙/๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
778812
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนด บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม นอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดยให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบความเค็มต่ำ ในพื้นที่น้ำจืดในเขตพื้นที่ ดังต่อไปนี้ ๑.๑ อำเภอพนม ๑.๒ อำเภอบ้านตาขุน ๑.๓ อำเภอเคียนซา ๑.๔ อำเภอพระแสง ๑.๕ อำเภอเวียงสระ ๑.๖ อำเภอชัยบุรี ๑.๗ อำเภอคีรีรัฐนิคม ๑.๘ อำเภอบ้านนาสาร ๑.๙ อำเภอบ้านนาเดิม ๑.๑๐ อำเภอวิภาวดี ๑.๑๑ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ในเขตพื้นที่ - ตำบลขุนทะเล หมู่ที่ ๑ บ้านนิคม, หมู่ที่ ๓ บ้านดอนเกลี้ยง, หมู่ที่ ๔ บ้านควนยูง, หมู่ที่ ๕ บ้านซอย ๑๐, หมู่ที่ ๖ บ้านห้วยเสียน, หมู่ที่ ๗ บ้านใหม่นิคม, หมู่ที่ ๘ บ้านคลองเรือ - ตำบลวัดประดู่ หมู่ที่ ๕ บ้านสมหวัง, หมู่ที่ ๖ บ้านใหม่พัฒนา, หมู่ที่ ๘ บ้านบางหมาก, หมู่ที่ ๙ บ้านเวียงประสาน ๑.๑๒ อำเภอพุนพิน ในเขตพื้นที่ - ตำบลท่าข้าม, เทศบาลเมืองท่าข้าม, ตำบลพุนพิน, ตำบลบางงอน, ตำบลมะลวน, ตำบลหัวเตย, ตำบลหนองไทร, ตำบลน้ำรอบ, ตำบลท่าโรงช้าง, ตำบลท่าสะท้อน, ตำบลเขาหัวควาย, ตำบลบางมะเดื่อ, ตำบลบางเดือน, ตำบลกรูด, ตำบลตะปานทุกหมู่บ้าน - ตำบลศรีวิชัย หมู่ที่ ๑ บ้านเขาศรีวิชัย, หมู่ที่ ๒ บ้านเขาดิน ๑.๑๓ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ในเขตพื้นที่ - ตำบลคลองสระ, ตำบลทุ่งรัง, ตำบลป่าร่อน, ตำบลทุ่งกง, ตำบลช้างซ้าย, ตำบลช้างขวา, ตำบลกรูด ทุกหมู่บ้าน - ตำบลกระแดะ หมู่ที่ ๒ บ้านดอนยา, หมู่ที่ ๔ บ้านนากรอก, หมู่ที่ ๘ บ้านหนองสวน, หมู่ที่ ๙ บ้านท่าช้าง - ตำบลตะเคียนทอง หมู่ที่ ๑ บ้านดอนยาง, หมู่ที่ ๒ บ้านดอนเค็จ, หมู่ที่ ๗ บ้านหนองจิก - ตำบลท่าทองใหม่ หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งอ่อนใจ - ตำบลท่าอุแท หมู่ที่ ๒ บ้านวัดประดู่, หมู่ที่ ๓ บ้านวังหิน, หมู่ที่ ๔ บ้านท่าแร่, หมู่ที่ ๕ บ้านใน, หมู่ที่ ๖ บ้านคลองนาบน, หมู่ที่ ๗ บ้านคลองนาล่าง, หมู่ที่ ๘ บ้านตัวอย่าง, หมู่ที่ ๙ บ้านกุงหนิง, หมู่ที่ ๑๐ บ้านน้ำฉา - ตำบลพลายวาส หมู่ที่ ๔ บ้านนาเหนือ, หมู่ที่ ๗ บ้านเขาไม้แดง, หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเปล ๑.๑๔ อำเภอดอนสัก ในเขตพื้นที่ - ตำบลปากแพรกทุกหมู่บ้าน - ตำบลไชยคราม หมู่ที่ ๑ บ้านศรีชัยคราม, หมู่ที่ ๒ บ้านวัดนอก, หมู่ที่ ๕ บ้านเลียบ - ตำบลดอนสัก หมู่ที่ ๑ บ้านนาเหนือ, หมู่ที่ ๑๒ บ้านเขาแค, หมู่ที่ ๑๓ บ้านเขากลอย - ตำบลชลคราม หมู่ที่ ๔ บ้านครามบน ๑.๑๕ อำเภอท่าชนะ ในเขตพื้นที่ - ตำบลคลองพา, ตำบลสมองทอง, ตำบลประสงค์ทุกหมู่บ้าน - ตำบลวัง หมู่ที่ ๒ บ้านดินกอง - ตำบลคันธุลี หมู่ที่ ๓ บ้านดอนธูป, หมู่ที่ ๔ บ้านหนองสะบ้า, หมู่ที่ ๕ บ้านแหลมดิน, หมู่ที่ ๗ บ้านเขาชะวาดา, หมู่ที่ ๘ บ้านศรีหลง, หมู่ที่ ๙ บ้านทับชิน, หมู่ที่ ๑๐ บ้านดอนสูง, หมู่ที่ ๑๒ บ้านค่ายเสือ ๑.๑๖ อำเภอไชยา ในเขตพื้นที่ - ตำบลปากหมาก, ตำบลโมถ่าย, ตำบลป่าเว, ตำบลทุ่ง, ตำบลเวียง, ตำบลตลาดไชยา ทุกหมู่บ้าน ๑.๑๗ อำเภอท่าฉาง ในเขตพื้นที่ - ตำบลปากฉลุย และตำบลเสวียด ทุกหมู่บ้าน - ตำบลท่าเคย หมู่ที่ ๕, บ้านหนองกุล, หมู่ที่ ๘ บ้านในพรุ, หมู่ที่ ๑๐ บ้านท่าแซะ - ตำบลคลองไทร หมู่ที่ ๓ บ้านวัดอัมพาราม, หมู่ที่ ๔ บ้านท่าน้ำแห้ง, หมู่ที่ ๖ บ้านควนสุวรรณ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อวยชัย อินทร์นาค ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๙/๗ มิถุนายน ๒๕๖๐
778779
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง และเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ 2) เพิ่มเติม พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง และเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อกำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง และเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) นั้น เนื่องจากขณะนี้ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์ที่ติดตั้งของระบบติดตามเรือรุ่นที่ ๒ อยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากกรมประมง แต่มีกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน จึงทำให้ยังไม่มีอุปกรณ์ตามข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมประมง จำหน่าย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) และมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่ยังไม่มีส่วนประกอบ และอุปกรณ์ที่ติดตั้งของระบบติดตามเรือรุ่นที่ ๒ ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมประมง ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และระบบติดตามเรือประมงนั้น ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือต้องมีการติดตั้งใหม่ สามารถติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปพลางก่อนได้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๑/๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
778184
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/05/2560)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงลำใดแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งข้อมูล รหัสกล่อง หรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ หรือหมายเลขทะเบียนเรือ ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในเจ็ดวัน หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงชำรุด และต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน (๒) กรณีเรือประมงอับปาง (๓) แจ้งยกเลิกการทำการประมง โดยแจ้งคืนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (๔) แจ้งขอหยุดทำการประมงชั่วคราว โดยแจ้งงดใช้เรือชั่วคราวและนำใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์มาฝากไว้ที่สำนักงานประมงจังหวัด (๕) อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ (๖) อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ (๗) มีการแจ้งการงดใช้เรือชั่วคราวต่อกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) (๓) (๔) และ (๗) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) (๕) และ (๖) ให้แจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้[๑] ข้อ ๓ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเรียบร้อยแล้ว ต้องส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ ข้อ ๔ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือบันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้องแนบท้ายประกาศนี้ทุกสองชั่วโมง และให้มีการดำเนินการแก้ไขให้กลับมาใช้การได้โดยเร็ว หากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเรือเข้าเทียบท่าแล้ว[๒] ข้อ ๕[๓] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๔] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ๒. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ๓. ใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ๔.[๕] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๗] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๘] ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๙] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๐] ข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิม หรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ก็ได้ ข้อ ๓ ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนด ตามข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบ ติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๔ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๔] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
778182
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/03/2560)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงลำใดแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งข้อมูล รหัสกล่อง หรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ หรือหมายเลขทะเบียนเรือ ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในเจ็ดวัน หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงชำรุด และต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน (๒) กรณีเรือประมงอับปาง (๓) แจ้งยกเลิกการทำการประมง โดยแจ้งคืนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (๔) แจ้งขอหยุดทำการประมงชั่วคราว โดยแจ้งงดใช้เรือชั่วคราวและนำใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์มาฝากไว้ที่สำนักงานประมงจังหวัด (๕) อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ (๖) อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ (๗) มีการแจ้งการงดใช้เรือชั่วคราวต่อกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) (๓) (๔) และ (๗) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) (๕) และ (๖) ให้แจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้[๑] ข้อ ๓ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเรียบร้อยแล้ว ต้องส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ ข้อ ๔ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือบันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้องแนบท้ายประกาศนี้ทุกสองชั่วโมง และให้มีการดำเนินการแก้ไขให้กลับมาใช้การได้โดยเร็ว หากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเรือเข้าเทียบท่าแล้ว[๒] ข้อ ๕[๓] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ๒. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ๓. ใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ๔.[๔] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๗] ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๘] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๔ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๔] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐
777508
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๓ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ “กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๖/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777506
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๓ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ “กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๕/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777482
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำปาง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำปาง ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำปาง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำปางออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดลำปาง เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สุวัฒน์ พรมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำปาง ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๕/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777480
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ทะเลในอ่าวไทยตอนในเขตจังหวัดเพชรบุรี ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเขตท้องที่ ตำบลบางตะบูน ตำบลบ้านแหลม และตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่หมายเลข ๑/๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แผนที่หมายเลข ๒/๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๔/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777478
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ยกเว้น ที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๓/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777476
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ยกเว้น ที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๒/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777474
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนเพชรเกษม ของทุกอำเภอ และหมู่ที่ ๘ ตำบลท่าไม้รวก และหมู่ที่ ๙ ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ยกเว้น ที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๑/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777472
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิชอเมริกัน (Procambarus clarkii) และกุ้งเครย์ฟิชทุกชนิดในสกุล Cherax (Cherax spp.) พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิชอเมริกัน (Procambarus clarkii) และ กุ้งเครย์ฟิชทุกชนิดในสกุล Cherax (Cherax spp.) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้กุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิชอเมริกัน (Procambarus clarkii) และกุ้งเครย์ฟิชทุกชนิดในสกุล Cherax (Cherax spp.) เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิชอเมริกัน (Procambarus clarkii) และกุ้งเครย์ฟิชทุกชนิดในสกุล Cherax (Cherax spp.) ยกเว้น ที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๐/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777470
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ว่าที่ ร.ต. สุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๙/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777466
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง พื้นที่ทำการประมงและเงื่อนไขอื่นที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง พื้นที่ทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพื้นที่มากกว่า ๑๖,๒๕๐ ไร่ ได้เริ่มเก็บกักน้ำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญทางด้านการเกษตร และแหล่งทำการประมงน้ำจืด ปัจจุบันพบว่ามีชาวประมงอพยพจากนอกเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีจำนวนมากมาทำการจับสัตว์น้ำ โดยใช้เครื่องมือข่ายหรืออวนที่ขนาดช่องตาขนาดเล็กไม่จำกัดความยาว และใช้เครื่องมือประมงทุกชนิด ประกอบเรือยนต์ทำการประมง จับสัตว์น้ำได้ครั้งละมาก ๆ และมีขนาดเล็ก ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ ลักษณะการทำการประมงขาดความเป็นระเบียบ และเมื่อเวลาทำการประมงผ่านไปช่วงหนึ่ง ทรัพยากรประมงลดลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มชาวประมงจะเคลื่อนย้ายไปทำการประมงในแหล่งน้ำที่เปิดใหม่ หากปล่อยให้ทำการประมงในลักษณะดังกล่าว จะเป็นการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรง เป็นเหตุฉุกเฉิน มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องป้องกัน ยับยั้ง มิให้มีการทำการประมงเกินกำลังการผลิต ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ ทรัพยากรสัตว์น้ำได้รับการดูแลรักษาและนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม จึงเห็นควรวางมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่าให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๗๑ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทเครื่องมือข่ายหรืออวนที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า ๕ เซนติเมตร ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทเครื่องมือข่ายทำการประมงต่อครั้ง ต่อเรือประมง ๑ ลำ มีความยาวมากกว่า ๕๐๐ เมตร ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ข้อ ๓ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทเครื่องมือ ลอบ และตุ้ม ทำการประมงเกิน ๔๐ ลูกต่อเรือ ๑ ลำ ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงทุกชนิดประกอบเรือยนต์ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำซึ่งกระทำโดยทางราชการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๗/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777464
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง ยกเลิกที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง ยกเลิกที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่ที่รักษาพืชพันธุ์ที่ออกตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๒ แห่ง ซึ่งได้มีสภาพทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลทำให้ไม่เหมาะสมในการกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่รักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำต่อไป คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้พิจารณาแล้ว เห็นควรยกเลิกประกาศดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยอนุมัติรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศที่ ๖๑๗๓/๒๔๙๒ กำหนดที่จับสัตว์น้ำ ประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลำน้ำปิง หน้าสถานีตำรวจภูธรและที่ว่าการอำเภอฮอด เขตท้องที่ ตำบลฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อาณาเขตกว้างกึ่งหนึ่งของลำน้ำ ยาว ๔๐๐ เมตร ประกาศ ณ วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๙๒ (๒) ประกาศที่ ๖๑๗๓/๒๔๙๒ กำหนดที่จับสัตว์น้ำ ประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลำน้ำปิง หน้าวัดวังลุง เขตท้องที่ ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อาณาเขตกว้างกึ่งหนึ่งของลำน้ำ ยาว ๒๔๐ เมตร ประกาศ ณ วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๙๒ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
777171
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ โดยใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง สำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๓ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำลำใดแล้ว ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำต้องแจ้งข้อมูล รหัสกล่องหรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ หรือหมายเลขทะเบียนเรือ ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในเจ็ดวันหลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำเกิดการชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซมโดยมีการนำเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำขึ้นคาน ต้องมีหนังสือรับรองจากอู่ซ่อมเรือ โดยระบุวันที่เริ่มต้นขึ้นคาน และลงจากคาน (๒) กรณีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม (๓) กรณีเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำอับปาง โดยแนบสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาด้วย ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจะสามารถปิดระบบติดตามเรือได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แล้ว และก่อนเรือประมงลงจากคานให้แจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบก่อนสิบสองชั่วโมงด้วย กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) และ (๓) ให้แจ้งภายในหกชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นโดยให้แนบหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรมประมง หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วแต่กรณี มาให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมงทราบภายในสี่สิบแปดชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นการแจ้งตามวรรคสามและวรรคสี่ ให้ดำเนินการตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามข้อ ๓ แล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ ข้อ ๕ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง กรณีผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ว่าไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำตรวจสอบระบบติดตามเรือที่ติดอยู่กับเรือประมงว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากพบว่ามีข้อขัดข้องให้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือกลับมาใช้งานได้ภายในสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งว่ามีเหตุขัดข้อง ให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่าแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้รับทราบแล้ว ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ข้อ ๖ กรณีที่ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงเป็นระยะเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก โดยไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือประมงกลับมาใช้งานได้ตามปกติได้ในการแจ้งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำครั้งหนึ่ง (๒) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสะสมเป็นจำนวนหกครั้ง ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรกในการแจ้งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำครั้งหนึ่ง (๓) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงซ้ำกันหลายครั้งในการแจ้งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหลายครั้ง บริเวณแนวแบ่งเขตระหว่างเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง พื้นที่ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือบริเวณแนวแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ (๔) มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงทุกครั้ง ในระหว่างการแจ้งออกทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนหกครั้ง และได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนำเรือกลับเข้าเทียบท่าด้วยเหตุดังกล่าว ตามระยะเวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดทันที การนำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำกลับเข้าเทียบท่า ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งพิกัดปัจจุบันและแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจาก E - Mail ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ และได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือทางโทรศัพท์ ๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง จนกว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อได้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกและให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้รับทราบแล้ว ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงตามวรรคสองไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ด้วย ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีเหตุขัดข้องอันเกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมงหรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ข้อ ๗ การทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ตามข้อ ๖ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือประมงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้มีการทดสอบระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมง ณ บริเวณท่าเทียบเรือที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงหากปรากฏว่าระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมงไม่สามารถส่งสัญญาณได้ หรือการส่งสัญญาณนั้นไม่ต่อเนื่องหรือขาดหาย โดยที่เหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำดำเนินการแก้ไข มิฉะนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่พิจารณาการแจ้งออกทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในครั้งถัดไป ข้อ ๘ กฎหมาย หรือประกาศใด ที่อ้างถึง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ถือว่ามีการอ้างถึงประกาศ ฉบับนี้แทน ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนดการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงรุ่นที่ ๒ ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไว้ก่อน หรือภายหลังจากที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ๒. ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (ศฝป. ๔) ๓. ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป. ๗.๑) ๔. ตารางบันทึกตาแหน่งตาบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป. ๗.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776747
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔/๑ และข้อ ๔/๒ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือ และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ “ข้อ ๔/๑ กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมงด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงเป็นระยะเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก โดยไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือประมงกลับมาใช้งานได้ตามปกติได้ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๒) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสะสมเป็นจำนวนหกครั้ง ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๓) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงซ้ำกันหลายครั้งในการแจ้งออกทำการประมงหลายครั้ง บริเวณแนวแบ่งเขตระหว่างเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง พื้นที่ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามทำการประมง หรือบริเวณแนวแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ (๔) มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงทุกครั้ง ในระหว่างการแจ้งออกทำการประมง ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนหกครั้งและได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมงกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าด้วยเหตุดังกล่าว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าตามระยะเวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดทันที การนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่า ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งพิกัดปัจจุบัน และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ ๘๒๒๘.๐ KHz ช่องรองความถี่ ๖๒๙๐.๐ KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ ๑๑C ช่องรองความถี่ ๑๒C ทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจาก E-Mail ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ และได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือทางโทรศัพท์ ๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง จนว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือ กรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อได้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกและให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงตามวรรคสองไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ด้วย ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีเหตุขัดข้องอันเกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมงหรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ข้อ ๔/๒ การทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมง ตามข้อ ๔/๑ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือประมงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้มีการทดสอบระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมง ณ บริเวณท่าเทียบเรือที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง หากปรากฏว่าระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมงไม่สามารถส่งสัญญาณได้ หรือการส่งสัญญาณนั้นไม่ต่อเนื่อง หรือขาดหาย โดยที่เหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงดำเนินการแก้ไข มิฉะนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่พิจารณาการแจ้งออกทำการประมงในครั้งถัดไป” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) ๒. ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776743
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๖/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776741
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง ที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงในส่วนของอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไว้ท้ายประกาศเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ใช้เป็นมาตรฐานในการติดตั้ง นั้น จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาพบการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่สมบูรณ์ของสมรรถนะและระบบต่อพ่วงของอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง จึงเห็นควรปรับปรุงมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงในส่วนของอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำเสียใหม่ อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำอาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิมหรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ ข้อ ๓ ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนดตามข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำหรือผู้ควบคุมเรือที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (รุ่นที่ ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๔/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776737
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงในส่วนของอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงไว้ท้ายประกาศเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ใช้เป็นมาตรฐานในการติดตั้ง นั้น จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาพบการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่สมบูรณ์ของสมรรถนะและระบบต่อพ่วงของอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง จึงเห็นควรปรับปรุงมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงในส่วนของอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเสียใหม่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิม หรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ก็ได้ ข้อ ๓ ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนด ตามข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบ ติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776733
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูที่สัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี และภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ห้ามใช้เครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงโดยใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงในระยะเจ็ดไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่งทะเลในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี นั้น เพื่อให้การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพโดยครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเห็นสมควรกำหนดรูปแบบของเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพิ่มเติมจากเดิมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ห้ามใช้เครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงโดยใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์ในแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยกหมึกที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) นอกเขตทะเลชายฝั่ง ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๐/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776706
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงทุกขนาด ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ต้องดำเนินการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๙/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776636
ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัดระยอง เรื่อง กําหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสําหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเล เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยองออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่คลองลาวน เขตท้องที่ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง/หน้า ๑/๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776610
ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัดหนองคาย เรื่อง กําหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสําหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดหนองคาย ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดหนองคาย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดหนองคายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ท้องที่จังหวัดหนองคาย เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สุชาติ นพวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดหนองคาย ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๑๐/๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776607
ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กําหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสําหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อวยชัย อินทร์นาค ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๙/๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776605
ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรื่อง กําหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสําหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อวยชัย อินทร์นาค ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๘/๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776602
ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กําหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสําหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๗/๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776092
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดเชียงราย เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ บุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๗/๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776090
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยอ่างเก็บน้ำมาบประชัน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ เป็นแหล่งน้ำจืดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการอุปโภคบริโภค ทางด้านการเกษตร และเป็นแหล่งทำการประมงน้ำจืดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี พื้นที่อ่างเก็บน้ำทางด้านทิศเหนือที่มีบริเวณติดกับสวนสาธารณะ เป็นพื้นที่มีความเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ซึ่งหากปล่อยให้มีการทำการประมง จะเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำมาบประชัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ ทรัพยากรสัตว์น้ำได้รับการดูแลรักษาและนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม จึงเห็นควรวางมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กำหนดเขตพื้นที่ที่จับสัตว์น้ำอ่างเก็บน้ำมาบประชัน ภายในบริเวณพื้นที่ตามจุดพิกัดที่ปรากฏในแผนที่แสดงแนวเขตท้ายประกาศฉบับนี้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน ตามข้อ ๑ โดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการหรือเพื่อการบำรุงรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๖/๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
776062
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ ออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) แม่น้ำปิง เขตท้องที่ อำเภอเก้าเลี้ยว ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ เขตท้องที่ อำเภอบรรพตพิสัย ตามแผนที่หมายเลข ๒, ๓ และ ๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) แม่น้ำน่าน เขตท้องที่ อำเภอชุมแสง ตามแผนที่หมายเลข ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓ และ ๑๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) แม่น้ำยม เขตท้องที่ อำเภอชุมแสง ตามแผนที่หมายเลข ๑๕, ๑๖, ๑๗, ๑๘ และ ๑๙ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) แม่น้ำเจ้าพระยา เขตท้องที่ อำเภอพยุหะคีรี ตามแผนที่หมายเลข ๒๐ และ ๒๑ แนบท้ายประกาศนี้ เขตท้องที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๒, ๒๓, ๒๔ และ ๒๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) แม่น้ำน่าน เขตท้องที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๖, ๒๗, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๑ และ ๓๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) คลองบางพระหลวง เขตท้องที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตามแผนที่หมายเลข ๓๓, ๓๔ และ ๓๕ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ธนาคม จงจิระ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕. แผนที่หมายเลข ๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖. แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๗. แผนที่หมายเลข ๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘. แผนที่หมายเลข ๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๙. แผนที่หมายเลข ๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๐. แผนที่หมายเลข ๑๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๑. แผนที่หมายเลข ๑๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๒. แผนที่หมายเลข ๑๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๓. แผนที่หมายเลข ๑๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๔. แผนที่หมายเลข ๑๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๕. แผนที่หมายเลข ๑๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๖. แผนที่หมายเลข ๑๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๗. แผนที่หมายเลข ๑๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๘. แผนที่หมายเลข ๑๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๙. แผนที่หมายเลข ๑๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๐. แผนที่หมายเลข ๒๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๑. แผนที่หมายเลข ๒๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๒. แผนที่หมายเลข ๒๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๓. แผนที่หมายเลข ๒๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๔. แผนที่หมายเลข ๒๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๕. แผนที่หมายเลข ๒๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๖.แผนที่หมายเลข ๒๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๗. แผนที่หมายเลข ๒๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๘. แผนที่หมายเลข ๒๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๙. แผนที่หมายเลข ๒๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓๐. แผนที่หมายเลข ๓๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓๑. แผนที่หมายเลข ๓๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓๒. แผนที่หมายเลข ๓๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓๓. แผนที่หมายเลข ๓๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓๔. แผนที่หมายเลข ๓๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓๕. แผนที่หมายเลข ๓๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๕๔/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
775576
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๕ ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชรตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลทรงธรรม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) แม่น้ำปิง เขตท้องที่ชุมชนเพชรวารินทร์ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๗) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๘) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศนี้ (๙) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๙ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๐) แม่น้ำปิง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๑) คลองโพลง เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๒) สระสาธารณะคลองห้วยทราย เขตท้องที่หมู่ ๙ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๑๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๓) ฝายน้ำล้นประดู่ลาย เขตท้องที่หมู่ ๓ ตำบลคลองแม่ลาย อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนที่หมายเลข ๑๓ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. แผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. แผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕. แผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖. แผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๗. แผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘. แผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๙. แผนที่หมายเลข ๙ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๐. แผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๑. แผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๒. แผนที่หมายเลข ๑๒ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ [เอกสารแนบท้าย] ๑๓. แผนที่หมายเลข ๑๓ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๓๙/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
775123
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของข้อ ๒ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ “ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย ต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน โดยต้องมีหนังสือรับรองจากอู่ซ่อมเรือ โดยระบุวันที่เริ่มต้นขึ้นคาน และลงจากคาน (๒) กรณีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม (๓) กรณีเรือประมงอับปาง โดยแนบสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาด้วย ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจะสามารถปิดระบบติดตามเรือได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมงแล้ว และก่อนเรือประมงลงจากคานให้แจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบก่อนสิบสองชั่วโมงด้วย กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) และ (๓) ให้แจ้งภายในหกชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยให้แนบหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรมประมง หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วแต่กรณี มาให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบภายในสี่สิบแปดชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น การแจ้งตามวรรคสามและวรรคสี่ ให้ดำเนินการตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ ของข้อ ๔ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ “กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ว่าไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือตรวจสอบระบบติดตามเรือที่ติดอยู่กับเรือประมงว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากพบว่ามีข้อขัดข้องให้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือกลับมาใช้งานได้ภายในสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งว่ามีเหตุขัดข้องให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่าแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ” ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้แจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงด้วยเหตุตาม (๔) (๖) (๗) ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการแจ้งเปิดสัญญาณระบบติดตามเรือประมงภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (ศฝป. ๔) ๒. ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป. ๗.๑) ๓. ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป. ๗.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๙/๒๑ เมษายน ๒๕๖๐
774585
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๕/๑๒ เมษายน ๒๕๖๐
774583
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอดอนจาน อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอนาคู อำเภอนามน อำเภอสมเด็จ อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๔/๑๒ เมษายน ๒๕๖๐
774581
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดเกาะมหาราช โซน ๑ เขตท้องที่บ้านหนองสามขา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดเกาะมหาราช โซน ๒ เขตท้องที่บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองบัวชุม โซนเหนือ เขตท้องที่บ้านหนองบัวชุม หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองบัวชุม โซนกลาง เขตท้องที่บ้านหนองบัวชุม หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองบัวชุม โซนใต้ เขตท้องที่บ้านหนองบัวชุม หมู่ที่ ๙ บ้านสว่างศรีมงคล หมู่ที่ ๓ และบ้านโคกครึม หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านทับปลา เขตท้องที่บ้านทับปลา หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๗) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดปากห้วยแดง เขตท้องที่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๘) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านนาอวน โซนเหนือ เขตท้องที่บ้านนาอวน หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศนี้ (๙) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านนาอวน โซนกลาง เขตท้องที่บ้านนาอวน หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๙ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๐) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านนาอวน โซนใต้ เขตท้องที่บ้านนาอวน หมู่ที่ ๕ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๑) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดท่าไร่แม่ไข่พ่อสมรัตน์ เขตท้องที่บ้านหนองสามขา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๒) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดท่าไร่พ่อบุญค้ำ เขตท้องที่บ้านหนองสามขา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๓) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านคำศรี เขตท้องที่บ้านคำศรี หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๔) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองไผ่ โซน ๑ เขตท้องที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเสาเล้า อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๕) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองไผ่ โซน ๒ เขตท้องที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเสาเล้า อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๖) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโคกกลางเหนือ เขตท้องที่บ้านโคกกลางเหนือ หมู่ที่ ๕ ตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๗) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนสมบูรณ์ โซน ๑ เขตท้องที่บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ และบ้านโนนภักดี หมู่ที่ ๙ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๘) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนสมบูรณ์ โซน ๒ เขตท้องที่บ้านโนนภักดี หมู่ที่ ๙ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๘ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๙) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านพักสุขใจ เขตท้องที่บ้านพักสุขใจ หมู่ที่ ๗ ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๙ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๐) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนศาลา - นาขาม โซน ๑ เขตท้องที่บ้านโนนศาลา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๐ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๑) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนศาลา - นาขาม โซน ๒ เขตท้องที่บ้านนาขาม หมู่ที่ ๙ ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๒) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านท่าเรือภูสิงห์ เขตท้องที่บ้านท่าเรือภูสิงห์ หมู่ที่ ๙ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๓) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนปลาขาว เขตท้องที่บ้านโนนปลาขาว หมู่ที่ ๘ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๔) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองฝาย เขตท้องที่บ้านหนองฝาย หมู่ที่ ๕ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๔ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕. แผนที่หมายเลข ๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖. แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๗. แผนที่หมายเลข ๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘. แผนที่หมายเลข ๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๙. แผนที่หมายเลข ๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๐. แผนที่หมายเลข ๑๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๑. แผนที่หมายเลข ๑๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๒. แผนที่หมายเลข ๑๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ [เอกสารแนบท้าย] ๑๓. แผนที่หมายเลข ๑๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๔. แผนที่หมายเลข ๑๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๕. แผนที่หมายเลข ๑๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๖. แผนที่หมายเลข ๑๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๗. แผนที่หมายเลข ๑๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๘. แผนที่หมายเลข ๑๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๙. แผนที่หมายเลข ๑๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังพ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๐. แผนที่หมายเลข ๒๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๑. แผนที่หมายเลข ๒๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๒. แผนที่หมายเลข ๒๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๓. แผนที่หมายเลข ๒๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๔. แผนที่หมายเลข ๒๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๑/๑๒ เมษายน ๒๕๖๐
774440
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กรมประมงได้ออกประกาศ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งเข้าออกของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ โดยมีกำหนดเวลาใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั้น เนื่องจากตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้เรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องติดตั้งระบบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันที่ประกาศมีผลบังคับ จึงมีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำบางลำที่ยังติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวไม่แล้วเสร็จ ไม่สามารถดำเนินการแจ้งเข้าออกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแจ้งเข้าออกของเจ้าของเรือ หรือผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งมอบอุปกรณ์บันทึกข้อมูลวิดีโอที่ติดตั้งประจำเรือของการออกเรือในเที่ยวนั้น ตามข้อ ๑ (ค) ของประกาศฉบับดังกล่าว จนกว่าจะมีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องใส่ข้อมูลระบบการรายงานอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์ในแบบฟอร์มการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
774438
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๒ ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำขอโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้แบบกำหนดท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๖/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
774328
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 22/2560 เรื่อง การจัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงขนาดตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไป
ประกาศกรมเจ้าท่า ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๒๒/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงขนาดตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป[๑] เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน กรมเจ้าท่าจึงได้กำหนดให้จัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงขนาดตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป เพื่อประโยชน์ในการจำแนกตัวเรือการยืนยันตัวเรือ ตลอดจนการตรวจสอบยืนยันเรือประมงได้อย่างถูกต้อง และเทียบเคียงเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงได้ออกประกาศไว้ดังนี้ ๑. ให้เจ้าของเรือหรือผู้ครอบครองเรือประมงที่มีทะเบียนเรือและมีใบอนุญาตที่มีขนาดเรือตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป ยื่นคำร้องเพื่อขอจัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงขนาดตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไปต่อผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาที่เรือประมงลำนั้นจอดหรือใช้งานอยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ภายใน ๙๐ วันนับจากวันที่ประกาศนี้ โดยให้ยื่นคำร้องด้วยแบบ ก.๕ ตามแบบพิมพ์ของกรมเจ้าท่า เป็นรายลำ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังนี้ (๑) สำเนาใบทะเบียนเรือไทย (๒) สำเนาใบอนุญาตใช้เรือ (๓) สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเรือหรือผู้ครอบครองเรือ (๔) สำเนาใบอนุญาตทำการประมง (ถ้ามี) (๕) หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ๒. ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือจัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมง โดยดำเนินการให้ครบถ้วนตามขั้นตอนดังนี้ (๑) ตรวจสอบชื่อเรือ หมายเลขทะเบียนเรือว่าได้ดำเนินการจัดทำไว้ ณ บริเวณหัวเรือ กราบซ้าย กราบขวา ไว้อย่างถูกต้อง (๒) บันทึกภาพถ่ายตัวเรือเต็มลำ และบันทึกภาพถ่ายหัวเรือ ด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งสามารถมองเห็นหมายเลขทะเบียนเรือและชื่อเรือที่จัดทำไว้อย่างชัดเจน (๓) วัดขนาดความยาวตลอดลำ ความยาวฉาก ความกว้างและความลึกของเรือประมง (๔) ตรวจสอบเครื่องจักรใหญ่ ชื่อเครื่องจักรใหญ่ ชนิด จำนวนสูบ กำลังเครื่องยนต์ และหมายเลขเครื่องจักรใหญ่ (๕) ตอกเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือไว้ในตำแหน่งบริเวณหัวเรือด้านในกราบขวาหรือซ้ายตามความเหมาะสม ในกรณีเรือมีเก๋งให้ตอกเครื่องหมายอัตลักษณ์เพิ่มบริเวณขื่อภายในเก๋งตามความเหมาะสม และบันทึกภาพถ่ายเครื่องหมายและตำแหน่งที่ตอกเครื่องหมาย ๓. ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือ บันทึกข้อมูลการจัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงในข้อ ๒ ลงในระบบฐานข้อมูลระบบการรายงานผลการตรวจสอบยืนยันตัวตนของเรือประมงที่กรมเจ้าท่าได้จัดไว้ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วันทำการนับจากวันที่เสร็จสิ้นการทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือของเรือลำนั้น ๆ ๔. เจ้าของเรือหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลเรือประมงที่ได้จัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงแล้วเสร็จ ได้จากเว็บไซต์กรมเจ้าท่า http://ship.md.go.th/uvifv ๕. เรือประมงที่จัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือไว้แล้ว และทะเบียนเรือนั้นยังมีผลใช้งานอยู่ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือรักษาเครื่องหมายดังกล่าวให้ถาวรอยู่เสมอ จะเปลี่ยนแปลงหรือปิดบังไม่ได้ หากมีเหตุจำเป็นที่ทำให้เครื่องหมายดังกล่าวลบเลือนให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือ แจ้งต่อสำนักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาในพื้นที่ที่เรือลำนั้นจอดหรือใช้งานอยู่ ทั้งนี้ หากพบการกระทำละเมิดฝ่าฝืนดังกล่าว และพิสูจน์ได้ว่าเรือลำนั้นจงใจกระทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือ ให้เจ้าพนักงานตรวจเรืองดเว้นการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่อต่อใบอนุญาตใช้เรือแก่เรือลำนั้น และรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดฝ่าฝืนต่อผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาต่อไป ๖. ในกรณีที่เรือประมงไม่มาดำเนินการขอจัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือประมงภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเรือลำนั้นเป็นกลุ่มเรือที่ต้องเฝ้าระวังและต้องตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๑๗/๑๐ เมษายน ๒๕๖๐
774058
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้า สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้า สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๒ วรรคสี่ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์น้ำตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ยกเว้นชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๖๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ “ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำผสมอยู่เกินร้อยละยี่สิบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป “สิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป” หมายความว่า สิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นจากสัตว์น้ำหรือมีชิ้นส่วนสัตว์น้ำเป็นส่วนประกอบและผ่านกรรมวิธีแปรสภาพ พร้อมใช้งานเพื่อการอุปโภค “วันนำเข้า” หมายความว่า วันที่ยานพาหนะหรือสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีการนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เรือประมงไทยจับได้จากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้ยื่นคำขออนุญาตตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีบุคคลธรรมดา ให้แนบสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (๒) กรณีเป็นนิติบุคคล ให้แนบ (๒.๑) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (๒.๒) สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจของนิติบุคคล (๓) ในกรณีที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอแทน ให้แนบหลักฐานต่อไปนี้ด้วย (๓.๑) หนังสือมอบอำนาจ (๓.๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ (๔) เอกสารอื่นใดที่แสดงได้ว่ามิใช่สัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำการประมงหรือได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย (๕) กรณียื่นผ่านระบบเชื่อมโยงคำขอกลางและระบบสนับสนุนใบอนุญาตและใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมประมง (Fisheries Single Window : FSW) ผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้ผ่านการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลเอกสารตาม (๔) ข้อ ๖ การยื่นคำขออนุญาตให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรมประมง หรือศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำ หรือด่านตรวจสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (๒) ในพื้นที่จังหวัดอื่น นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ (ก) ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำ หรือด่านตรวจสัตว์น้ำ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (ข) สำนักงานประมงจังหวัดในกรณีที่ไม่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของด่านตรวจสัตว์น้ำ (๓) ยื่นผ่านระบบเชื่อมโยงคำขอกลางและระบบสนับสนุนใบอนุญาตและใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมประมง (Fisheries Single Window : FSW) (๔) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้แยกการนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำโดยระบุวัตถุประสงค์ในการนำเข้าซึ่งให้พิจารณาจากปริมาณที่นำเข้า หรือวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้ (๑) นำเข้าเพื่อการค้า หมายความว่า การนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ (๒) นำเข้าเพื่อการส่งออก หมายความว่า การนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยไม่มีการจำหน่ายภายในประเทศ แต่เป็นเพียงการนำเข้ามาเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือเปลี่ยนอากาศหรือเปลี่ยนภาชนะบรรจุ (๓) นำเข้าเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หมายความว่า การนำสัตว์น้ำเข้ามาเพื่อเลี้ยงดูเป็นสัตว์น้ำสวยงาม ทั้งนี้ ในปริมาณที่พอสมควร (๔) นำเข้าเพื่อการเพาะเลี้ยง หมายความว่า การนำเข้าสัตว์น้ำขนาดเล็กมาเพื่อการเลี้ยงเพื่อเพิ่มขนาดน้ำหนัก รวมทั้งเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไปด้วย (๕) นำเข้าเพื่อทำพันธุ์ หมายความว่า การนำเข้าสัตว์น้ำขนาดพ่อแม่พันธุ์เข้ามาเพื่อใช้ในการเพาะพันธุ์ (๖) นำเข้ามาเลี้ยงเพื่อการส่งออก หมายความว่า การนำเข้ามาเลี้ยงในช่วงเวลาหนึ่งแล้วส่งออกไปโดยไม่มีการจำหน่ายภายในประเทศ โดยมีหนังสือประทับตรารับรองการตรวจสอบการนำเข้าและส่งออกที่ถูกต้อง (๗) นำเข้าเพื่อการบริโภค หมายความว่า การนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาเพื่อเป็นอาหารหรือใช้ประกอบเป็นอาหาร (๘) นำเข้าเพื่อการศึกษาวิจัย หมายความว่า การนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมาเพื่อทำการศึกษาวิจัย โดยมีโครงการศึกษาวิจัยประกอบการขออนุญาต (๙) นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก หมายความว่า การนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาเพื่อแปรรูปเพื่อการส่งออกทั้งหมดหรือบางส่วน (๑๐) นำเข้าเพื่อการอื่น หมายความว่า การนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (๑) - (๙) ข้อ ๘ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคำขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำก่อนการนำเข้า ๑ วันทำการ เว้นแต่การนำติดตัวเข้ามาให้ขออนุญาตในวันนำเข้าก็ได้ ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นควรอนุญาต ให้ออกใบอนุญาตให้นำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ เมื่อสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมาถึงศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำหรือด่านตรวจสัตว์น้ำให้ผู้นำเข้าแสดงใบอนุญาตและเอกสารการนำเข้าดังต่อไปนี้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเข้าและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้ถูกต้องตามใบอนุญาต ๑๐.๑ การนำเข้าโดยเรือประมง เรือขนถ่ายหรือเรือขนส่งสัตว์น้ำเป็นการเฉพาะต้องแสดงสำเนาแบบรายงานผลการตรวจเรือ (Port inspection Report) หรือใบรับรองการจับสัตว์น้ำ(Catch Certificate) และใบกำกับการซื้อขาย (Invoice) หรือใบตราส่งสินค้าทางทะเล (Bill of lading) (ถ้ามี) ๑๐.๒ การนำเข้าที่มิใช่การนำเข้าตาม ๑๐.๑ ต้องแสดงใบรับรองการจับสัตว์น้ำ(Catch Certificate) หรือสำเนาการแจ้งนำสินค้าออกจากต้นทาง (Custom Clearance) หรือสำเนาใบขนสินค้าขาออก (Custom Declaration) หรือใบรับรองให้ส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ และใบกำกับการซื้อขาย (Invoice) และใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air waybill) หรือใบตราส่งสินค้าทางทะเล (Bill of lading) (ถ้ามี) ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ดังต่อไปนี้ (๑) สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำติดตัวนำเข้าพอสมควร (๒) สินค้าที่ถูกส่งกลับ ข้อ ๑๑ กรณีตรวจสอบสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแล้ว พบว่าถูกต้องครบถ้วน ซึ่งมีเอกสารแสดงได้ว่าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์นั้นได้มาจากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ข้อ ๑๒ ใบอนุญาตที่ออกตามประกาศนี้จะมีผลเป็นการอนุญาตโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมีชนิดพันธุ์ ขนาด จำนวนหรือปริมาณถูกต้องตามที่ระบุในใบอนุญาต ข้อ ๑๓ ใบอนุญาตตามประกาศนี้มีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่อนุญาต ข้อ ๑๔ คำขอรับใบอนุญาตใดที่ได้ยื่นไว้ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นคำขอที่ยื่นตามประกาศนี้โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นผล ข้อ ๑๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบคำขออนุญาตให้นำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ๒. ใบอนุญาตให้นำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑๘/๕ เมษายน ๒๕๖๐
774042
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๔๘ กำหนดให้การทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ทั้งในทะเลหลวงและในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศ จะต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมง แต่โดยที่ปัจจุบันรัฐต่างประเทศไม่มีการอนุญาตให้กองเรือประมงไทยเข้าไปทำการประมง และในทะเลหลวงในมหาสมุทรอินเดียที่กองเรือประมงไทยเข้าไปทำการประมงล้วนอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การระหว่างประเทศ อันได้แก่ คณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย และความตกลงว่าด้วยการทำการประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งกองเรือประมงไทยยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และบางความตกลงประเทศไทยอยู่ระหว่างการสมัครเข้าเป็นสมาชิก จึงเห็นควรมีการควบคุมการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลของกองเรือประมงไทย มิให้เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าวซึ่งเป็นการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสี่ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมง เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทย ไม่ว่าจะเป็นการขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงไปยังเรือประมงหรือเป็นการขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงไปยังเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ เว้นแต่การขนถ่ายสัตว์น้ำ ณ ท่าเทียบเรือบริเวณรัฐชายฝั่งอื่นซึ่งปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐชายฝั่งนั้น และต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑๗/๕ เมษายน ๒๕๖๐
773599
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์ จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์ จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑ ผู้ใดจะนำเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยซึ่งนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่าและยื่นเอกสารประกอบคำร้องล่วงหน้า ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศฉบับนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY (แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า) ๒. เอกสารประกอบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
772316
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เจ้าของเรือ หรือผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนบเอกสารดังนี้ (๑) แจ้งโดยตรงหรือโดยทางโทรสารตามแบบท้ายประกาศนี้ ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ตามรายชื่อท้ายประกาศนี้ (๒) กรณีการแจ้งออก ให้แนบสำเนาแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ (๓) กรณีที่เป็นการแจ้งเข้า ให้เจ้าของเรือหรือผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ส่งมอบเอกสารหลักฐานและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้ (ก) บัญชีรายชื่อและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว สำหรับคนประจำเรือซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย (ข) สำเนาเอกสารการจัดเวลาพักของคนประจำเรือ (ค) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือของการออกเรือในเที่ยวนั้น ข้อ ๒ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลาดังนี้ (๑) กรณีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง (๒) กรณีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งอื่น หรือในทะเลหลวง ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบสองชั่วโมง ข้อ ๓ การเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ จะแจ้งเข้าออกได้แต่เฉพาะท่าเทียบเรือประมงในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้เท่านั้น (๑) จังหวัดสมุทรปราการ (๒) จังหวัดสมุทรสาคร (๓) จังหวัดระนอง (๔) จังหวัดภูเก็ต (๕) จังหวัดตราด (๖) จังหวัดสงขลา ข้อ ๔ เจ้าของเรือ หรือผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ที่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบฟอร์มการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือ (สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย) ๒. รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ๓. แผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๑๔/๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐
772314
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเอกสารและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนำเรือประมงพาณิชย์ออกจากท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเอกสารและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนำเรือประมงพาณิชย์ออกจากท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเอกสารและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนำเรือประมงพาณิชย์ออกจากท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ก่อนนำเรือประมงพาณิชย์ตามมาตรา ๘๑ ออกจากท่าเทียบเรือประมง เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือต้องนำเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามลักษณะและประเภทของเรือประมง (๑) ทะเบียนเรือไทย (๒) ใบอนุญาตใช้เรือ (๓) ใบประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือ (๔) ใบประกาศนียบัตรช่างเครื่องยนต์เรือ (๕) ใบอนุญาตให้ทำการประมง (๖) บัตรประชาชนผู้ควบคุมเรือ (๗) บัตรประชาชนช่างเครื่องยนต์เรือ หรือบัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทย (๘) บัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ (๙) ในกรณีคนประจำเรือไม่มีสัญชาติไทยต้องได้รับใบอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว (๑๐) หลักฐานการติดตั้งเครื่องติดตามเรือ (VMS) (๑๑) หลักฐานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย (๑๒) หลักฐานการตรวจสุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ ข้อ ๓ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือต้องนำเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๒ แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ก่อนนำเรือออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงก่อนออกทำการประมง ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๑๒/๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐
772312
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เจ้าของเรือ หรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนบเอกสารดังนี้ (๑) แจ้งโดยตรงหรือโดยทางโทรสารตามแบบท้ายประกาศนี้ ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทย ตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ (๒) กรณีการแจ้งออก ให้แนบสำเนาแผนการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่บนเรือประมงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของการลงแรงประมงต่อปี และกรณีจะมีการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือบริเวณท่าเทียบเรือประมงของรัฐชายฝั่งอื่น ให้แนบสำเนาแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ (๓) กรณีที่เป็นการแจ้งเข้า ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยส่งมอบเอกสารหลักฐานและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้ (ก) สำเนาบันทึกการทำการประมง (ข) บัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ สำหรับคนประจำเรือซึ่งมีสัญชาติไทย (ค) บัญชีรายชื่อและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว สำหรับคนประจำเรือซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย (ง) สำเนาเอกสารการจัดเวลาพักของคนประจำเรือ (จ) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือของการออกเรือในเที่ยวนั้น ข้อ ๒ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลาดังนี้ (๑) กรณีเรือประมงไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำ ซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง (๒) กรณีเรือประมงไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำ ซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งอื่น หรือในทะเลหลวง ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบสองชั่วโมง ข้อ ๓ การเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย จะแจ้งเข้าออกได้แต่เฉพาะท่าเทียบเรือประมงในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้เท่านั้น (๑) จังหวัดสมุทรปราการ (๒) จังหวัดสมุทรสาคร (๓) จังหวัดระนอง (๔) จังหวัดภูเก็ต (๕) จังหวัดตราด (๖) จังหวัดสงขลา ข้อ ๔ เจ้าของเรือ หรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ที่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบฟอร์มแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือ (สำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำ) ๒. รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก สำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทย ๓. แผนการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่บนเรือประมงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของการลงแรงประมงต่อปี ๔. แผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๑๐/๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐
772310
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือประมงไทย) และรายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในข้อ ๒ (๑) ท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) และรายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป และเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ด้วยวิธีการดังนี้ (๑) แจ้งโดยตรงหรือโดยทางโทรสาร ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ (๒) การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงก่อนการนำเรือเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงตามวรรคแรก พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกผู้มีอำนาจจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงได้ดำเนินการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเพื่อนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงต้องนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาสามชั่วโมงนับจากเวลาที่บันทึกในระบบสารสนเทศการทำการประมง (Fishing Info) หากไม่นำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาดังกล่าว ระบบสารสนเทศการทำประมง (Fishing Info) จะเริ่มนับวันทำการประมง จนกว่าจะมีการแจ้งเหตุขัดข้องเพื่อยกเลิกการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมง การแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมง เมื่อเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงได้ดำเนินการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อนำเรือประมงเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมงแล้ว ในกรณีที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ต้องผ่านการตรวจเรือประมงจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายการที่กำหนดก่อนจึงจะนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงได้” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) ๒. รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๘/๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐
772048
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดพื้นที่ทำการประมง พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดพื้นที่ทำการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการทำการประมงเกินกำลังการผลิต ให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ ทรัพยากรสัตว์น้ำได้รับการดูแลรักษาและนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม จึงเห็นควรวางมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กำหนดพื้นที่ทำการประมงในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๑ เขตท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๑.๑.๑ บริเวณคลองท่าแห เริ่มต้นจากปากคลองหมู่ที่ ๘, ๗, ๕ ตำบลบ้านทาม ถึงหมู่ที่ ๑, ๒, ๖ และ ๕ ตำบลสัมพันธ์ ๑.๑.๒ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี เริ่มต้นจากตำบลหาดยาง ตำบลบางกุ้ง ตำบลสัมพันธ์ ตำบลบ้านทาม ตำบลศรีมหาโพธิ ถึงตำบลท่าตูม ๑.๒ เขตท้องที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๑.๒.๑ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี เริ่มต้นจากเขตติดต่ออำเภอศรีมหาโพธิ กับอำเภอเมืองปราจีนบุรี หมู่ที่ ๕ ตำบลบางบริบูรณ์ และตำบลท่างาม ลงไปทางใต้สุดเขต อำเภอเมืองปราจีนบุรี หมู่ที่ ๘ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๒.๒ บริเวณลำคลองบางพลวง เริ่มต้นจากแยกปากคลองประตูระบายน้ำบางพลวง หมู่ที่ ๔ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ลงไปทางใต้ จนสุดเขต อำเภอเมืองปราจีนบุรี หมู่ที่ ๘ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ติดกับเขตท้องที่ อำเภอศรีมโหสถ ๑.๒.๓ บริเวณลำคลองหัวกรด เริ่มต้นจากสุดเขต อำเภอเมืองปราจีนบุรี หมู่ที่ ๗ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ไปทางทิศตะวันตกถึงแยกปากคลองบางพลวง หมู่ที่ ๕ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๒.๔ บริเวณลำคลองสนามพลี เริ่มจากเขตติดต่อ อำเภอศรีมโหสถ กับอำเภอเมืองปราจีนบุรี หมู่ที่ ๘ ตำบลบางเดชะ ลงไปทางทิศตะวันตก ถึงแยกปากคลองบางพลวง หมู่ที่ ๘ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๒.๕ บริเวณลำคลองช่องแคบ เริ่มจากเขตติดต่อ อำเภอศรีมหาโพธิ กับอำเภอเมืองปราจีนบุรี หมู่ที่ ๖ ตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ไปทางทิศตะวันตก ถึงแยกปากคลองประจันตคาม หมู่ที่ ๕ ตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๒.๖ บริเวณลำคลองบางหอย เริ่มจากแยกแม่น้ำปราจีนบุรี หมู่ที่ ๒ ตำบลบางบริบูรณ์ ไปทางทิศเหนือถึงสะพานทางรถไฟ หมู่ที่ ๗ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๒.๗ บริเวณลำคลองสารภีเริ่มจากแยกแม่น้ำปราจีนบุรี หมู่ที่ ๘ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรีถึงสะพานทางรถไฟ หมู่ที่ ๔ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๒.๘ บริเวณลำคลองไอ้งอน เริ่มจากแยกปากคลองสารภี หมู่ที่ ๑๐ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรีถึงสะพานรถไฟ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ๑.๓ เขตท้องที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๑.๓.๑ บริเวณลำคลองประจันตคาม เริ่มต้นจากหมู่ที่ ๘ ตำบลประจันตคาม ถึงหมู่ที่ ๖ ตำบลประจันตคาม ๑.๓.๒ บริเวณลำคลองบางไผ่ เริ่มต้นจากแยกปากคลองประจันตคาม หมู่ที่ ๙ ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ถึงหมู่ที่ ๑๑ ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ๑.๓.๓ บริเวณคลองช่องแคบ เริ่มต้นจากแยกปากคลองประจันตคาม หมู่ที่ ๙ ตำบลประจันตคาม ๑.๓.๔ บริเวณคลองท่าแห เริ่มต้นจากหมู่ที่ ๘ ผ่านหมู่ที่ ๙, ๗, ๕, ๔ ตำบลบ้านหอย อำเภอประจันตคาม ถึงหมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะลอย อำเภอประจันตคาม ๑.๓.๕ บริเวณคลองสัมพันธ์ เริ่มต้นจากหมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านหอย ถึงหมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะลอย อำเภอประจันตคาม ๑.๔ เขตท้องที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๑.๔.๑ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี เริ่มต้นจากเขตติดต่อ อำเภอเมืองปราจีนบุรี กับอำเภอบ้านสร้าง ท้องที่ตำบลบางพลวง อำเภอเมืองปราจีนบุรี ลงไปทางใต้ ถึงเขตติดต่อแม่น้ำนครนายกกับแม่น้ำบางปะกง บรรจบกันที่ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๒ บริเวณคลองบางพลวง เริ่มต้นจากเขตติดต่อแม่น้ำปราจีนบุรี ท้องที่ตำบลบางพลวง ลงไปทางใต้ จนสุดเขตอำเภอบ้านสร้าง ในท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๓ บริเวณคลองบางไทรน้อย เริ่มต้นจากเขตติดต่อคลองบางพลวง หมู่ที่ ๗ ตำบลบางพลวง ไปทางใต้ ถึงเขตติดต่อคลองบางพลวง ท้องที่ตำบลบางปลาร้า อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๔ บริเวณคลองโพธิ์ เริ่มต้นจากเขตติดต่อคลองบางไทรน้อย หมู่ที่ ๖ ตำบลบางปลาร้า ไปทางทิศตะวันตก ถึงคลองหัวคู้ ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๕ บริเวณคลองหัวคู้ เริ่มต้นจากสะพานหัวคู้ ตำบลบ้านสร้าง ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ถึงคลองหอทอง มาบรรจบกับท้องที่ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๖ บริเวณคลองสารภี เริ่มต้นจากเขตติดต่อแม่น้ำปราจีนบุรี ตำบลบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง ไปทางเหนือถึงคลองลำไอ้งอน ตำบลบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๗ บริเวณคลองลำไอ้งอน เริ่มต้นจากเขตติดต่อคลองสารภี ตำบลบางพลวง ไปทางเหนือถึงประตูระบายน้ำลำไอ้งอน ตำบลบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๘ บริเวณคลองซอยที่ ๒ เริ่มต้นจากเขตติดต่อคลองบางหอย หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านสร้าง ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๙ บริเวณคลองท่ากระทุ่ม เริ่มต้นจากเขตติดต่อคลองบางหอย หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านสร้าง ไปทางตะวันออกถึงเขตติดต่อ อำเภอเมืองนครนายก กับอำเภอบ้านสร้าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๐ บริเวณชวดด้วน เริ่มต้นจากเขตติดต่อคลองซอยที่ ๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านสร้าง ไปทางเหนือถึงคลองท่ากระทุ่ม หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๑ บริเวณคลองบางหอย เริ่มต้นจากประตูระบายน้ำบางหอย หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านสร้าง ไปทางใต้ถึงแม่น้ำนครนายก เขตติดต่อกับ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในท้องที่ตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๒ บริเวณแม่น้ำนครนายก เริ่มต้นจากปากคลองบางหอย ตำบลบางเตย ไปทางใต้ ถึงเขตติดต่อแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำปราจีนบุรี บรรจบกับท้องที่ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๓ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี เริ่มต้นจากเขตติดต่อแม่น้ำปราจีนบุรี กับแม่น้ำนครนายกบรรจบกันไปทางใต้ ถึงเขตติดต่ออำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ท้องที่ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๔ บริเวณคลองเฆ่ เริ่มต้นจากเขตติดต่อแม่น้ำนครนายก ไปถึงแม่น้ำปราจีนบุรี ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๕ บริเวณคลองบางแตน เริ่มต้นจากเขตติดต่อแม่น้ำปราจีนบุรีไปทางใต้ ถึงคลองบางกระดาน ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๔.๑๖ บริเวณคลองหอทอง เริ่มต้นจากเขตติดต่อแม่น้ำปราจีนบุรีไปทางใต้ ติดต่อกับคลองโพธิ์ ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่ทำการประมง สำหรับตั้งเครื่องมือประจำที่ยอขันช่อและกร่ำ ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทเครื่องมือ ยอขันช่อ และกร่ำ ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อุกริช พึ่งโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดพื้นที่ทำการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ เขตท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดพื้นที่ทำการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ เขตท้องที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดพื้นที่ทำการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ เขตท้องที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดพื้นที่ทำการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ เขตท้องที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
772042
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ ด้วยที่จับสัตว์น้ำบริเวณอำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง ในเขตท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แพร่ขยายพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับบริเวณดังกล่าว มีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว ถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ อันจะส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน สมควรกำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำอำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง เขตท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี ๑.๑ เขตท้องที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๑ ตำบล คือ ๑.๑.๑ บริเวณแควพระปรง หน้าวัดสิกขวัฒนาราม (วัดบ้านซ่ง) ตำบลย่านรี ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ๑.๒ เขตท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๖ ตำบล คือ ๑.๒.๑ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดอินทรแบก และหน้าวัดใหม่กรงทอง ตำบลศรีมหาโพธิ ๑.๒.๒ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดประทุมบูชา ตำบลบ้านทาม ๑.๒.๓ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดอรัญไพรศรี ตำบลบ้านทาม ๑.๒.๔ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดอัมพวันครุฑธาวาส ตำบลบางกุ้ง ๑.๒.๕ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดโพธิ์ศรี ตำบลหาดยาง ๑.๒.๖ บริเวณคลองสัมพันธ์ หน้าวัดสัมพันธ์ ตำบลสัมพันธ์ ๑.๒.๗ บริเวณคลองวังทะลุ หน้าวัดใหม่นาบุญ ตำบลกรอกสมบูรณ์ ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ๑.๓ เขตท้องที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๓ ตำบล คือ ๑.๓.๑ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดแก้วพิจิตร และหน้าศาลเจ้าเซียนซือ ตำบลหน้าเมือง ๑.๓.๒ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดสง่างาม ตำบลบางบริบูรณ์ ๑.๓.๓ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ๑.๔ เขตท้องที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ๕ ตำบล คือ ๑.๔.๑ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบ้านสร้าง และหน้าวัดมูลเหล็ก ตำบลบ้านสร้าง ๑.๔.๒ บริเวณแม่นํ้าปราจีนบุรี หน้าวัดบางกระเบา ตำบลบางกระเบา ๑.๔.๓ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบางเตย ตำบลบางเตย ๑.๔.๔ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดอินทราราม ตำบลบางยาง ๑.๔.๕ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบางแตน ตำบลบางแตน ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อุกริช พึ่งโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำแควพระปรง หน้าวัดสิกขวัฒนาราม (วัดบ้านซ่ง) ตำบลย่านรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดอินทรแบก และหน้าวัดใหม่กรงทอง ตำบลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดประทุมบูชา และหน้าวัดอรัญไพรศรี ตำบลบ้านทาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดอัมพวันครุฑธาวาส ตำบลบางกุ้ง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๕. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณคลองสัมพันธ์ หน้าวัดสัมพันธ์ ตำบลสัมพันธ์ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๖. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณคลองวังทะลุ หน้าวัดวังทะลุ (วัดใหม่นาบุญ) ตำบลกรอกสมบูรณ์ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๗. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดโพธิ์ศรี ตำบลหาดยาง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ๘. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดแก้วพิจิตรและหน้าศาลเจ้าเซียนซือ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ๙. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดสง่างาม ตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ๑๐. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ๑๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบ้านสร้างและหน้าวัดมูลเหล็ก ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบางกระเบา ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบางเตย ตำบลบางเตย และหน้าวัดอินทราราม ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ๑๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี หน้าวัดบางแตน ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑๑/๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
772032
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Litopenaeus vannamei พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Litopenaeus vannamei พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Litopenaeus vannamei เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Litopenaeus vannamei ข้อ ๒ ห้ามใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยง เว้นแต่พื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลของความเค็ม ในช่วงที่น้ำทะเลหนุน ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อุกริช พึ่งโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑๐/๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
771708
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิชProcambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๕/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
771706
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
771335
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๒ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ “ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงชำรุด และต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน (๒) กรณีเรือประมงอับปาง (๓) แจ้งยกเลิกการทำการประมง โดยแจ้งคืนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (๔) แจ้งขอหยุดทำการประมงชั่วคราว โดยแจ้งงดใช้เรือชั่วคราวและนำใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์มาฝากไว้ที่สำนักงานประมงจังหวัด (๕) อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ (๖) อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ (๗) มีการแจ้งการงดใช้เรือชั่วคราวต่อกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) (๓) (๔) และ (๗) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) (๕) และ (๖) ให้แจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐
771328
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้นำเรือประมงที่จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำ ต้องแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้งด้วยวิธีการแจ้งโดยตรงหรือโดยทางโทรสาร ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ กรณีเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำโดยใช้เรือประมงขนาดต่ำกว่าสามสิบตันกรอสลงมาอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับให้แจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงตามวรรคแรกภายหลังจากพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงก่อนการนำเรือเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ในกรณีที่เป็นการเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงส่งมอบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ สำหรับคนประจำเรือซึ่งมีสัญชาติไทย (๒) บัญชีรายชื่อและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว สำหรับคนประจำเรือซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย (๓) สำเนาเอกสารการจัดเวลาพักของคนประจำเรือ ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก รวบรวมสำเนาเอกสารหลักฐานตามข้อ ๒ และข้อ ๔ และรายงานผลการตรวจสอบต่อกรมประมงทุกสามสิบวัน ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย) ๒. รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๙/๘ มีนาคม ๒๕๖๐
771323
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่นำเรือประมงออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำ ต้องจัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ กรณีเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำโดยใช้เรือประมงขนาดต่ำกว่าสามสิบตันกรอสลงมาอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้จัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำตามวรรคแรกภายหลังจากพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์นํ้า (Marine Catch Transshipping Document : MCTD) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๘/๘ มีนาคม ๒๕๖๐
771165
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkiiหรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตพื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkii หรือ Cherax spp. (๑) เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ ตำบลลำใหม่ เขตท้องที่ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลลำพะยา เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลบันนังสาเรง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลสะเตงนอก เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๘ ตำบลบุดี เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลยุโป เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลยะลา เขตท้องที่ตำบลสะเตง เขตท้องที่ตำบลพร่อน เขตท้องที่ตำบลหน้าถ้ำ เขตท้องที่ตำบลเปาะเส้ง เขตท้องที่ตำบลลิดล เขตท้องที่ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา (๒) เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลกายูบอเกาะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลกาลอ เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลโกตาบารู เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าธง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลบาลอ เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลตะโละหะลอ เขตท้องที่ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา (๓) เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ ตำบลบาโร๊ะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลบาโงยซิแน เขตท้องที่ตำบลยะหา เขตท้องที่ตำบลตาชี เขตท้องที่ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา (๔) เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบันนังสตา เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ ตำบลบาเจาะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลถ้ำทะลุ เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลตลิ่งชัน เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา (๕) เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ ตำบลยะรม เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ ตำบลตาเนาะแมเราะ เขตท้องที่ตำบลเบตง เขตท้องที่ตำบลอัยเยอร์เวง เขตท้องที่ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (๖) เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๗ ตำบลธารโต เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบ้านแหร เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลแม่หวาด เขตท้องที่ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา (๗) เขตท้องที่ตำบลกรงปินัง เขตท้องที่ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๕/๗ มีนาคม ๒๕๖๐
771161
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนนทบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนนทบุรี ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนนทบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนนทบุรี ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มีมติให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (๑) เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (๒) เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ ตำบลไทรใหญ่ เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๔/๗ มีนาคม ๒๕๖๐
770149
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ด้วยจากการควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังการทำการประมงผ่านระบบติดตามเรือประมงพบว่ามีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงโดยไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุได้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงอันอาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ ที่ได้ติดตั้งในเรือประมงไว้แล้ว จึงเห็นควรมีการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ดังกล่าวมิให้มีการเคลื่อนย้ายนอกจากมีเหตุจำเป็น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
770143
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ด้วยจากการควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังการทำการประมงผ่านระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พบว่ามีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ โดยไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุได้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ อันอาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ ที่ได้ติดตั้งในเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไว้แล้ว จึงเห็นควรมีการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ดังกล่าวมิให้มีการเคลื่อนย้ายนอกจากมีเหตุจำเป็น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนำเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้แจ้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๙/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
770117
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยองในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙ มีมติให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่อ่างเก็บน้ำประแสร์ เขตท้องที่ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ และเขตท้องที่ตำบลชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๕๖/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
770115
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ทวี นริสศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๕๕/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769294
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยกฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนครออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสกลนคร เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๑/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769292
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนครออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสกลนคร เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสกลนคร ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๐/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769290
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) แม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) แม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) แม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) แม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) แม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) แม่น้ำนครนายก เขตท้องที่ตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๗) คลองชลประทาน เขตท้องที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประดิษฐ์ ยมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕. แผนที่หมายเลข ๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖. แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๗. แผนที่หมายเลข ๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘. แผนที่หมายเลข ๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๒๙/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769268
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบของรัฐชายฝั่งนั้น และกฎ หรือระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒ ก่อนดำเนินการขนถ่ายไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแจ้งการขนถ่ายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งตอบรับการแจ้งภายในสิบสองชั่วโมงนับแต่ได้รับแจ้งการขนถ่าย ข้อ ๓ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากการขนถ่ายในแต่ละครั้งแล้วเสร็จ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยจากเรือประมงไทย จัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งรับรองความถูกต้องตามแบบท้ายประกาศนี้ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากการขนถ่ายในแต่ละครั้งแล้วเสร็จ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ กรณีการรับขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย เรือดังกล่าวจะต้องไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยเรียกเอกสารดังต่อไปนี้มาด้วยเพื่อประกอบการขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำ (๑) สำเนาเอกสารการจดทะเบียนเรือจากรัฐเจ้าของธง (๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงจากรัฐเจ้าของธง หรือรัฐชายฝั่ง หรือองค์การระหว่างประเทศ ข้อ ๕ ก่อนนำเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำเข้าท่าเทียบเรือประมงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยจัดทำรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ได้รับขนถ่ายมาเป็นรายลำ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๖ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องจัดส่งหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำตามข้อ ๓ ให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทันทีที่เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือประมง เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของสัตว์น้ำหน้าท่า ข้อ ๗ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยซึ่งปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์นํ้า (Marine Catch Transshipping Document : MCTD) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๖/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769264
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงาน การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงจะทำได้เฉพาะกรณีการขนถ่ายไปยังเรือประมงที่ได้จดทะเบียนให้เป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำหรือเป็นการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบของรัฐชายฝั่งนั้น หรือปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องแล้วเท่านั้น ความในวรรคแรกไม่ใช้บังคับกับกรณีการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ข้อ ๒ ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ให้ผู้ควบคุมเรือที่ทำการประมงแจ้งขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง โดยผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ก่อนทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ แจ้งตอบผลการพิจารณาภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เรือประมงที่จะทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงต้องไม่อยู่ในรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙๔ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือรายชื่อเรือประมงที่ถูกใช้ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒) ชนิดของสัตว์น้ำที่จะขนถ่ายและการขนถ่ายจะต้องไม่ขัดต่อมาตรการอนุรักษ์ของสัตว์น้ำตามกฎเกณฑ์ของรัฐชายฝั่งหรือองค์การระหว่างประเทศ ข้อ ๓ เมื่อดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ควบคุมเรือที่ทำการประมงรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมง โดยผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ทั้งนี้ ให้ผู้ควบคุมเรือที่ทำการประมงจัดทำรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมง ซึ่งรับรองความถูกต้องตามแบบท้ายประกาศนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง เก็บไว้ในเรือเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อเข้าเทียบท่าด้วย ข้อ ๔ ผู้ควบคุมเรือที่ทำการประมงซึ่งปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงาน การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลของเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำ (Transhipment Declaration) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๔/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769260
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมง โดยผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยให้รายงานทุกวันนับแต่วันที่ได้แจ้งออกท่าเทียบเรือประมง โดยแยกตามครั้งของการทำการประมงจนกว่าจะกลับเข้าท่าเทียบเรือประมง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมง ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบท้ายประกาศฉบับนี้และเก็บไว้ในเรือประมงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๓ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยซึ่งปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY GILL NET ๒. FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY TRAWLERS ๓. FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY PURSE SEINERS (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๓/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769258
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงาน สมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามรูปแบบท้ายประกาศนี้ และส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงที่ได้บันทึกสำหรับเที่ยวนั้นให้แก่กรมประมงทุกครั้งที่นำเรือเข้าเทียบท่า โดยยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกโดยทันทีที่เรือเข้าเทียบท่า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ข้อ ๓ การดำเนินการตามข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจให้ผู้ควบคุมเรือเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บันทึกการทาการประมง คราด ๒. บันทึกการทาการประมง เบ็ด ๓. บันทึกการทาการประมง ลอบ ๔. บันทึกการทาการประมง อวนครอบ-ช้อน/ยก ๕. บันทึกการทาการประมง อวนติดตา ๖. บันทึกการทาการประมง อวนล้อมจับ ๗. บันทึกการทาการประมง อวนลาก- อวนรุนเคย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๒/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
768913
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยจากการควบคุม เฝ้าระวังผ่านระบบติดตามเรือประมง และสมุดบันทึกการทำการประมง ปรากฏว่ามีการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทยในบริเวณทะเลหลวงบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลขององค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ Indian Ocean Tuna Commission (IOTC) โดยดูแลกลุ่มปลาทูน่า และ South Indian Ocean Fisheries Agreement (SIOFA) ซึ่งมีการก่อตั้งใหม่ ดูแลสัตว์น้ำชนิดพันธุ์อื่น นอกเหนือจากกลุ่มปลาทูน่า ซึ่งการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลสัตว์น้ำหลายชนิดพันธุ์ในบริเวณนั้นเสี่ยงต่อการไม่ปฏิบัติตามกฎขององค์การระหว่างประเทศดังกล่าว โดยที่ประเทศไทยในฐานะรัฐเจ้าของธงมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จักต้องสามารถดูแลจัดการมิให้กองเรือประมงของไทยไปทำการประมง หรือมีการขนถ่ายสัตว์น้ำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสี่ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ภายในระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงไทยที่ทำการประมงในทะเลนอกน่านน้ำไทย เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไทยที่ออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทย ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทย ไม่ว่าจะเป็นการขนถ่ายจากเรือประมงไปยังเรือประมง หรือเป็นการขนถ่ายจากเรือประมงไปยังเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ หรือยานพาหนะอื่น ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๒/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
768911
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดจะนำเรือประมงออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทย นอกจากจะต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ด้วย ข้อ ๒ ระบบติดตามเรือประมงที่ติดตั้งตามประกาศนี้ จะต้องสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง (VMS) เพื่อส่งสัญญาณรายงานอิเล็กทรอนิกส์ และการเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามข้อ ๑ แล้วเสร็จ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมง รายงานการติดตั้งตามแบบใบรายงานการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ จะนำเรือประมงออกไปทำการประมงได้เมื่อได้รับแจ้งผลผ่านการทดสอบความสมบูรณ์ของระบบจากศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แล้ว ให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แจ้งการพิจารณาผลการทดสอบความสมบูรณ์ของระบบให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงตามวรรคหนึ่งทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยในระหว่างการทดสอบระบบ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการทดสอบระบบด้วย ในกรณีที่ไม่ผ่านการทดสอบระบบ ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แจ้งผลการทดสอบให้ทราบพร้อมข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงด้วย ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยหรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ ให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลาขณะที่ออกทำการประมง ข้อ ๕ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมว่าส่งมาจากเรือประมงหรือเครื่องมือใดต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง และให้มีการดำเนินการแก้ไขให้กลับมาใช้การได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง โดยในระหว่างที่ดำเนินการแก้ไขห้ามมิให้ทำการประมง หากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ให้นำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าทันที และห้ามนำเรือประมงออกไปทำการประมงจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยอยู่แล้วขณะที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ ก่อนนำเรือประมงออกไปทำการประมง ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๐/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
768909
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2560
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดจะนำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย นอกจากจะต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ด้วย ข้อ ๒ ระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ติดตั้งตามประกาศนี้ จะต้องสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง (VMS) เพื่อส่งสัญญาณรายงานอิเล็กทรอนิกส์ และการเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามข้อ ๑ แล้วเสร็จ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำรายงานการติดตั้งตามแบบใบรายงานการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง แนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ จะนำเรือออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำได้เมื่อได้รับแจ้งผลผ่านการทดสอบความสมบูรณ์ของระบบจากศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แล้ว ให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แจ้งการพิจารณาผลการทดสอบความสมบูรณ์ของระบบให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำตามวรรคหนึ่งทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยในระหว่างการทดสอบระบบ ให้ผู้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการทดสอบระบบด้วย ในกรณีที่ไม่ผ่านการทดสอบระบบ ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง แจ้งผลการทดสอบให้ทราบพร้อมข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงด้วย ข้อ ๔ ผู้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำหรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ ให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลาขณะที่ออกทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ข้อ ๕ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมว่าส่งมาจากเรือประมงหรือเครื่องมือใดต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง และให้มีการดำเนินการแก้ไขให้กลับมาใช้การได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง โดยในระหว่างที่ดำเนินการแก้ไขห้ามมิให้ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ หากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และห้ามนำเรือประมงออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ข้อ ๖ ให้ผู้รับการจดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยอยู่แล้วขณะที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแนบท้ายประกาศนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ และการติดตั้งของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๘/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
768887
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศเพื่อกำหนดมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูที่สัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี นั้น จากการติดตามสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำพบว่าในรอบหลายปีที่ผ่านพบว่าประชากรสัตว์น้ำกลุ่มปลาทูลดลงเป็นอันมาก เนื่องจากมีเรือประมงใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ามาทำการประมงในพื้นที่ภายหลังจากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลง ส่งผลให้ลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่เกิดขึ้นในช่วงมาตรการและอาศัยอยู่ในแนวชายฝั่งถูกจับขึ้นมาจำนวนมาก อันทำให้ประชากรสัตว์น้ำในปีถัดไปลดลง จึงควรกำหนดรูปแบบของเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ห้ามใช้เครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงโดยใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงในเขตระยะเจ็ดไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่งทะเล ในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) นอกเขตทะเลชายฝั่ง ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๑๘/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐