sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
794491 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘) - (๑๔)
ของข้อ ๑ ของประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
(๘) เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
(๙)
เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
(๑๐)
เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๒ ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
(๑๑)
เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
(๑๒)
เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
(๑๓)
เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๑ ตำบลระเวียง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์
(๑๔)
เขตท้องที่หมู่ที่ ๙ ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อรรถพร สิงหวิชัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๒๑/๕ มกราคม
๒๕๖๑ |
794489 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดชุมพร
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ครอบคลุมทั้งจังหวัด
โดยต้องเพาะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม และต้องปฏิบัติตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ณรงค์ พลละเอียด
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๒๐/๕ มกราคม
๒๕๖๑ |
794487 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพรออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดชุมพร เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยต้องเพาะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
และต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ณรงค์ พลละเอียด
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดชุมพร
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๑๙/๕ มกราคม
๒๕๖๑ |
800959 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดห้วงเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ สำหรับปีการประมง 2561 – 2562 พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดห้วงเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ
ขั้นตอนและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
สำหรับปีการประมง
๒๕๖๑ - ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๒ ประกอบข้อ ๗ ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ที่จะประสงค์ทำการประมงพาณิชย์
สำหรับปีการประมง ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ถึง ๒๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง
(๒)
จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่มีอาณาเขตติดทะเล
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ยื่นคำขอสามารถยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือของกรมเจ้าท่ามาพร้อมกันได้
(ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมเจ้าท่าประกาศกำหนด)
โดยให้หน่วยงานของกรมประมงที่รับคำขอดำเนินการส่งคำขอให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา
ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดดำเนินการต่อไป
ข้อ
๒ ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๒)
ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาตทำการประมงตามข้อ ๓ และข้อ ๕
แห่งคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๒/๒๕๖๐ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุมเพิ่มเติม
ครั้งที่ ๔ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
(๓)
ต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย
(๔)
เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่จะขอรับใบอนุญาต
(๕)
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เยาว์ การดำเนินการ ต้องกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ปกครอง
โดยแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
ข้อ
๓ เรือประมงที่จะใช้ประกอบการขอรับอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ต้องเป็นเรือที่มีลักษณะ
ดังนี้
(๑)
เรือประมงต้องเป็นเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป หรือเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดหรือเรือที่มีขนาดตํ่ากว่า
๑๐ ตันกรอส ที่ใช้เครื่องมือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๒)
ในกรณีที่เรือประมงเป็นเรือประมงไทย
ต้องเป็นเรือประมงที่จดทะเบียนเป็นเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
และใบอนุญาตใช้เรือสำหรับทำการประมง ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
และมีอายุใบอนุญาตใช้เรือเหลือไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในวันยื่นคำขอ
รวมทั้งต้องมีหมายเลขไอเอ็มโอสำหรับเรือที่มีลักษณะตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
(International Maritime Organization) กำหนด
ในกรณีที่เรือประมงมิใช่เรือประมงไทย
ต้องเป็นเรือประมงที่จดทะเบียนตามกฎหมายของรัฐเจ้าของธงซึ่งสามารถใช้ทำการประมงในเขตการประมงไทยตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย
รวมทั้งต้องมีหมายเลขไอเอ็มโอสำหรับเรือที่มีลักษณะตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
(International Maritime Organization) กำหนด
ข้อ
๔ เงื่อนไขอื่น
(๑)
เรือประมงขนาดตั้งแต่ ๓๐ ตันกรอสขึ้นไป
ต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
ตามมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๒)
เรือประมงขนาดตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไปต้องผ่านการรับรองสุขอนามัยเรือประมง (สร. ๓)
ยกเว้นเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ณ วันที่ยื่นคำขอ
หรือเรือที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศกรมประมง
(๓)
เรือประมงจะต้องไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องนำออกจากระบบ (ทำลาย
เปลี่ยนประเภทการใช้เรือ มอบให้กรมประมง หรือขายไปต่างประเทศ)
อันเนื่องมาจากการควบรวมใบอนุญาตทำการประมงหรือการแลกเปลี่ยนเรือประมง
(๔)
เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา
๖๗ มาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๖๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ
๕ ขั้นตอน
และกรอบระยะเวลาการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ สำหรับปีการประมง ๒๕๖๑
๒๕๖๒
ลำดับ
กิจกรรม
ระยะเวลา
๑
ผู้ประสงค์ทำการประมงพาณิชย์ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
และยื่นคำร้องขอต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือ ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร
หรือสำนักงานประมงอำเภอท้องที่ติดทะเล
วันที่
๒๐ มกราคม - ๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ
๒
การตรวจสอบเรือประมง
๒.๑
เรือที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ที่มีขนาด ๓๐ ตันกรอสขึ้นไป
เรือที่ต่ำกว่า ๓๐ ตันกรอส ใช้เครื่องมือทำการประมง อวนลาก อวนล้อมจับ
อวนล้อมจับปลากะตัก
อวนครอบปลากะตัก
และเรือที่มีขนาด ๑๐
ตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์และถูกตรึงพังงาเรือทำการตรวจ ณ
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง
วันที่
๒๐ มกราคม - ๒๘ กุมภาพันธ์๒๕๖๑
วันที่
๒๐ มกราคม - ๒๘ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
ลำดับ
กิจกรรม
ระยะเวลา
๒.๒
เรือที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ที่ไม่ต้องแจ้งเรือเข้า - ออก
ต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง และเรือขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส
ที่ใช้เครื่องมือทำการประมงพาณิชย์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ทำการตรวจโดยคณะทำงานตรวจเรือ ของ ศปมผ.
๓
กรมประมงพิจารณาจัดสรรใบอนุญาต
วันที่
๑ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
๔
แจ้งผลการพิจารณา
และให้ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการดังนี้
๔.๑
ชำระเงินค่าธรรมเนียมและค่าอากรการประมง และรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ณ
สำนักงานประมงอำเภอที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
๔.๒
ชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตใช้เรือ หรือใบแทนใบอนุญาตใช้เรือ ณ
สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ในจังหวัดที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
วันที่
๑๖ มีนาคม เป็นต้นไป
๕
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
นำเรือพร้อมเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาต มาให้ตรวจสอบก่อนออกไปทำการประมง
ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง
ตั้งแต่วันที่
๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ทั้งนี้
หากไม่ผ่านการตรวจเครื่องมือทำการประมง
จะไม่สามารถออกไปทำการประมงตามที่ได้รับอนุญาตได้
ข้อ
๖ ชนิดเครื่องมือทำการประมงพาณิชย์
ที่จะขอรับอนุญาตใช้ทำการประมงดังนี้
(๑)
อวนลากคู่
(๒)
อวนลากแผ่นตะเฆ่
(๓)
อวนลากคานถ่าง
(๔)
อวนล้อมจับ
(๕)
อวนล้อมจับปลากะตัก
(๖)
อวนครอบปลากะตัก
(๗)
อวนช้อน/ยก ปลากะตัก
(๘)
อวนครอบหมึก
(๙)
อวนช้อนปลาจะละเม็ด
(๑๐)
อวนติดตา
(๑๑)
อวนรุนเคย
(๑๒)
คราดหอยลาย
(๑๓)
คราดหอยแครง
(๑๔)
คราดหอยอื่น
(๑๕)
ลอบปลา
(๑๖)
ลอบปู
(๑๗)
ลอบหมึก
(๑๘)
ลอบหมึกสาย
(๑๙)
เบ็ดราว
(๒๐)
แผงยกปูจักจั่น
(๒๑)
เบ็ดมือ
(๒๒)
เรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ)
ทั้งนี้
การขอใช้เครื่องมือทำการประมงมากกว่า ๑ เครื่องมือ
หรือการขอทำการประมงข้ามฝั่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติกำหนด
ข้อ
๗ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
ได้แก่
(๑)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
แสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง (กรณีที่เป็นนิติบุคคล) มีอายุไม่เกิน ๓
เดือน
(๒)
หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท)
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
(กรณีที่มีการมอบอำนาจ)
(๓) สำเนาหนังสือรับรองสุขอนามัยเรือประมง (สร.๓)
(เฉพาะเรือขนาดตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป) ยกเว้นเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
หรือเรือที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศกรมประมง
(๔)
แบบแจ้งพิกัดการวางซั้ง ประกอบการขออนุญาตทำการประมง
(กรณีขอใช้เครื่องมืออวนล้อมจับ)
(๕)
หนังสือยินยอมให้ใช้เรือประมง กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ใช่เจ้าของเรือ
หรือมีเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
(๖)
หนังสือแสดงความเป็นผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้เยาว์)
(๗)
ภาพถ่ายหรือภาพถ่ายดิจิทัลของเรือประมง อายุไม่เกิน ๓ เดือน จำนวน ๓ รูปดังนี้
๗.๑
ภาพอัตลักษณ์เรือที่เห็นชัดเจน จำนวน ๑ รูป (เฉพาะเรือตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป)
๗.๒
ภาพหัวเรือที่เห็นชื่อเรือ ทะเบียนเรือ และเครื่องหมายประจำเรือชัดเจน
(กรณีเรือที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อยู่เดิม) จำนวน ๑ รูป
๗.๓
ภาพถ่ายเรือเต็มลำด้านซ้ายหรือด้านขวา จำนวน ๑ รูป
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๒/๔ มกราคม
๒๕๖๑ |
794429 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรีออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี
(ตามบัญชีแนบท้าย)
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เฉพาะชนิดกุ้งขาวแวนนาไม
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
นิมิต วันไชยธนวงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐ ในพื้นที่ ๘ อำเภอ เป็นรายตำบล
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑
มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๔/๓ มกราคม
๒๕๖๑ |
806854 | ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 31/05/2560) | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เรือประมงตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้เป็นเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิมล จันทรโรทัย
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๘
มกราคม ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๒๘
มิถุนายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๔
กันยายน ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๐ ง/หน้า ๒๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๗/๓๑ พฤษภาคม
๒๕๖๐ |
796507 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/06/2560)
| ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๘ (๑) และ (๗) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช (Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ตามมาตรา ๗๗ ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ต้องแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดประกาศกำหนดพื้นที่ให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ตามคำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม แนบท้ายประกาศนี้
กรณีเป็นผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.)
ภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจะดำเนินกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ตามคำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๑/๑[๒]
ในประกาศนี้
ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เพื่อขาย แลกเปลี่ยน
หรือได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ตั้งแต่
๒ ตัวขึ้นไป
สถานประกอบกิจการ
หมายความว่า สถานที่ที่มีที่ตั้งแน่นอนและเป็นประจำ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการการเพาะพันธุ์
อนุบาล เลี้ยง สัตว์น้ำควบคุม
และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งเป็นที่ขายหรือรวบรวมสัตว์น้ำควบคุมด้วย
ข้อ
๒ เมื่อได้รับแจ้งตามข้อ ๑
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบหนังสือรับรองการแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ให้กับผู้แจ้ง
ข้อ
๓ ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่น ๆ
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้
(๑)[๓]
กรณีการเลี้ยงในบ่อดิน บ่อปูแผ่นพลาสติก
หรือนาข้าว ต้องดำเนินการจัดทำที่กั้นบริเวณขอบบ่อโดยรอบ
โดยจัดวางเป็นแนวเอียงเข้าหาบ่อ และมีความสูงตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร เพื่อป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
(๒)
กรณีการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต ต้องมีผนังบ่อสูงเหนือระดับเก็บกักน้ำไม่น้อยกว่า ๓๐
เซนติเมตร เพื่อป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
(๓)[๔]
กรณีการเลี้ยงในภาชนะที่ใช้เลี้ยงอื่น ๆ เช่น
ตู้กระจก กล่อง ลังพลาสติก กาละมัง ถัง เป็นต้น ต้องมีที่ปิดมิดชิดสามารถป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
(๔)
ทางระบายน้ำออกจากที่เพาะเลี้ยงต้องมีระบบป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชไม่ให้ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
(๕)
ห้ามนำกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชไปเลี้ยงหรือปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ
ข้อ
๔[๕] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๖]
คำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.)
๒.[๗]
หนังสือรับรองการแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.)
๓.[๘]
หนังสือประกอบการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.)
๔.[๙]
แบบรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐]
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๑]
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ที่ขาย แลกเปลี่ยนให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จัดทำหนังสือประกอบการขาย
แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับ และจัดทำรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๑
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ข้อ ๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๒] ข้อ ๑/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๖๐
[๓] ข้อ ๓(๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ข้อ ๓(๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๓/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๖] คำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๗]
หนังสือรับรองการแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๘] หนังสือประกอบการขาย
แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๙] แบบรายงานการขาย
แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๔/๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ |
793871 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่ และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่
๗)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสาม
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่
และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาการห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมง
เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทย
ตามความในข้อ ๑ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดประเภทของเรือประมง พื้นที่
และระยะเวลาที่ห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ต่อจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลากำหนดห้ามทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ในทะเลนอกน่านน้ำไทยตามประกาศดังกล่าว ออกไปจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๒๑ ง/หน้า ๒๘/๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793867 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า ประมงพาณิชย์ ในมาตรา ๕
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้การทำการประมงโดยใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมง
ดังต่อไปนี้เป็นประมงพาณิชย์
(๑) อวนลากคู่
(๒) อวนลากแผ่นตะเฆ่
(๓) อวนลากคานถ่าง
(๔) อวนล้อมจับ (มีสายมาน)
(๕) อวนล้อมจับปลากะตัก
(๖) คราดทุกชนิดประกอบเรือกล
(๗) เรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เรือปั่นไฟ)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ลักษณ์
วจนานวัช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๒๑ ง/หน้า ๒๕/๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793614 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ 2) เพิ่มเติม ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่
ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) เพิ่มเติม ครั้งที่ ๒
พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ในข้อ ๒ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) ภายในสองปีนับแต่วันประกาศมีผลใช้บังคับ นั้น
เนื่องจากการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงมิได้มีการติดตั้งพร้อมกันทั้งหมด
จึงมีระบบติดตามเรือประมงที่เพิ่งมีการติดตั้งขึ้นใหม่
และอาจมีระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งไปแล้วแต่ยังมีสภาพดีอยู่
เห็นควรให้สามารถใช้ระบบติดตามเรือประมงดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะมีการขัดข้อง
ชำรุด จนต้องมีการปรับเปลี่ยนอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติมอธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
สามารถใช้ระบบติดตามเรือประมงดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะมีการขัดข้อง
หรือชำรุดจนต้องมีการปรับเปลี่ยน
ในกรณีมีการปรับเปลี่ยนหรือติดตั้งระบบติดตามเรือประมงใหม่ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๖ ง/หน้า ๙/๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793419 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร
ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่แม่น้ำชี ลำชีหลง และ
ลำน้ำยัง เขตท้องที่จังหวัดยโสธร ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
เขตที่ ๑ ได้แก่ พื้นที่แม่น้ำชี บริเวณตั้งแต่บ้านแจ้งน้อย ตำบลค้อเหนือ
ถึงบ้านสำราญ ตำบลสำราญ และพื้นที่ลำชีหลง บริเวณตั้งแต่บ้านดอนกลาง ถึงบ้านโนนหัน
ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร
(๒)
เขตที่ ๒ ได้แก่ พื้นที่แม่น้ำชี บริเวณตั้งแต่วัดศรีธรรมาราม ตำบลในเมือง
ถึงบ้านหนองไผ่ ตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร
(๓)
เขตที่ ๓ ได้แก่ พื้นที่ลำน้ำยังบริเวณตั้งแต่บ้านดอนยาง ถึงบ้านเหมือดแอ่
ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิกร สุกใส
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยโสธร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๙ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๒ ง/หน้า ๒๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793193 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้ (เพิ่มเติม)
พ.ศ.
๒๕๖๐
ตามที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศเรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๙ นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ จึงออกประกาศ (เพิ่มเติม)
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗) ของข้อ ๑
ของประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๙
(๗) เขตท้องที่ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง
จังหวัดเชียงใหม่
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ปวิณ ชำนิประศาสน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๒๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๓๐/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
792725 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกตามความในมาตรา ๖
วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
แม่น้ำชี เขตท้องที่ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ตามแผนที่หมายเลข ๑/๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
แม่น้ำชี เขตท้องที่ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย และตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ตามแผนที่หมายเลข ๒/๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๓)
แม่น้ำชี เขตท้องที่ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ตามแผนที่หมายเลข ๓/๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๔)
แม่น้ำชี เขตท้องที่ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ตามแผนที่หมายเลข ๔/๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๕)
แม่น้ำชี เขตท้องที่ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
ตามแผนที่หมายเลข ๕/๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๖)
แม่น้ำชี เขตท้องที่ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
ตามแผนที่หมายเลข ๖/๘ , ๗/๘ และ ๘/๘ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เสน่ห์ นนทะโชติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังพ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๕
ธันวาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๑ ง/หน้า ๑๓/๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
792723 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง การยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี
เรื่อง
การยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
จังหวัดเพชรบุรี
ได้มีการประกาศเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นต้นมา มีจำนวนทั้งสิ้น ๘๘ แห่ง และคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีได้พิจารณาเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำดังกล่าว
พบว่าในปัจจุบันเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำบางแห่งมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทำให้มีสภาพไม่เหมาะสมเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น
เป็นคลองระบายน้ำทิ้ง เป็นแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน
อาศัยตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรีโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกประกาศไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
จำนวน ๔ แห่ง ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณดังนี้
๑)
วัดป้อม ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
๒)
วัดแรก ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
๓)
วัดเขาสมอระบัง ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
๔)
วัดใหม่บางสามแพรก ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (ปัจจุบันชื่อ
วัดใหม่ศิริสามัคคีธรรม ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี)
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๕
ธันวาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๑ ง/หน้า ๑๒/๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
792721 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ทะเลในอ่าวไทยตอนในเขตจังหวัดเพชรบุรี
ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเขตท้องที่ตำบลบ้านแหลม
ตำบลบางตะบูนออก และตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๕
ธันวาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๑ ง/หน้า ๑๑/๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
791972 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสระบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสระบุรี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยกฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา
๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสระบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่แม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่เขตท้องที่หมู่ที่
๓ ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จนถึงเขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเริงราง
อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
บัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสระบุรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสระบุรี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๔
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๒ ง/หน้า ๔๐/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791686 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ให้บริการระบบติดตามเรือปฏิบัติ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม
ที่ให้บริการระบบติดตามเรือปฏิบัติ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๙/๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
ระบบติดตามเรือประมง หมายความว่า
สัญญาณการรับส่งข้อมูลระบบติดตามเรือประมงผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม
โปรแกรมระบบติดตามเรือประมง
โปรแกรมระบบรายงานอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรมระบบการเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์
และอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
ของเรือประมงเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามที่อธิบดีประกาศกำหนดไว้
และเรือประมงที่ใช้สนับสนุนเรือที่ใช้ทำการประมงหรือเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดไว้
ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ หมายความว่า นิติบุคคลที่จำหน่ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
และให้บริการระบบติดตามเรือประมง
หรือให้บริการสัญญาณการรับส่งข้อมูลระบบติดตามเรือประมงผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม
และให้หมายความรวมถึงผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงเฉพาะกรณีที่ต้องปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
ของประกาศฉบับนี้
ผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง หมายความว่า บุคคลที่ให้บริการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง ที่ลงทะเบียนในนามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือกับกรมประมง
ข้อ
๒ เพื่อการให้บริการระบบติดตามเรือประมงและการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีมาตรฐาน
ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือกับกรมประมง
และต้องได้รับการตรวจสอบและความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) จากกรมประมง
ก่อนการจำหน่ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และให้บริการระบบติดตามเรือประมงหรือให้บริการสัญญาณการรับส่งข้อมูลระบบติดตามเรือประมงผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมแก่เรือประมง
ในกรณีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรืออยู่ก่อนหรือในวันประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือตามข้อ
๓ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๓ ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ตามแบบคำขอขึ้นทะเบียน ต่ออายุทะเบียน
และยกเลิกทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ (ศฝป. ๙)
ท้ายประกาศนี้พร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
และกรรมการผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือดังกล่าว
จะต้องไม่เคยมีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการให้บริการระบบติดตามเรือประมง
ข้อ
๔ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมงตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๓ แล้ว เห็นว่าถูกต้องครบถ้วน
ให้เสนออธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมายอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
และออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือตามแบบท้ายประกาศนี้
ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
ทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
ให้มีอายุตามอายุใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือประสงค์ต่ออายุทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอขึ้นทะเบียน ต่ออายุทะเบียนและยกเลิกทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
(ศฝป. ๙)
ท้ายประกาศนี้ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ก่อนทะเบียนจะหมดอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
การดำเนินการต่ออายุทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือให้นำหลักเกณฑ์
วิธีการ
และขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือมาใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๕ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่ประสงค์จะได้รับการตรวจสอบและขอความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ให้ยื่นหนังสือขอนัดหมายเพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นชอบมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
ตามแบบท้ายประกาศนี้ ต่อกองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง
ให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยอธิบดีกรมประมงพิจารณา
หากเห็นว่าระบบติดตามเรือประมงเป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง(รุ่นที่
๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
ให้ออกหนังสือรับรองการตรวจสอบและได้รับความเห็นชอบมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
ตามแบบท้ายประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
ข้อ
๖ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ตามข้อ ๕ สามารถให้บริการระบบติดตามเรือประมงเดิมไปพลางก่อนได้
เมื่อถึงกำหนดเวลาบังคับใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
ทั้งระบบให้ถือว่าทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่ไม่ได้รับการรับรองการตรวจสอบและได้รับความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) สิ้นสภาพ
ข้อ
๗ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่ประสงค์จะยกเลิกเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือกรมประมงมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
ให้ดำเนินการแจ้งผู้ใช้บริการระบบติดตามเรือประมง
และแจ้งแผนการจำหน่ายผู้ใช้บริการระบบติดตามเรือประมงต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนยกเลิกเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือภายในสามสิบวันก่อนวันที่คำสั่งเพิกถอนทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือมีผลใช้บังคับ
ข้อ
๘ ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือมีการจัดการข้อมูลระบบติดตามเรือประมงแบบรวมศูนย์
โดยให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) เป็นหน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง (Central data exchange agent) ของกรมประมง
โดยข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศของกรมประมง
และข้อมูลที่จะแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรมประมงจะต้องกระทำผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
(XA: Exchange Agent) ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
ลดภาระของระบบในการที่ต้องจัดการการรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง
การมีเอกภาพในการบริหารการรับ - ส่งข้อมูลกับระบบสารสนเทศภายนอกและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบการส่งออกและมาถึงของข้อมูลทั้งหมดได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือจัดส่งข้อมูลระบบติดตามเรือประมงที่ได้รับมาจากผู้ให้บริการต่างประเทศไปยังระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
(XA: Exchange Agent) ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(สรอ.) และรับผิดชอบต่อค่าคงสภาพของข้อมูล (data integrity) สำหรับข้อมูลที่ได้รับข้อมูลที่ส่งออก การเก็บบันทึก traffic log, data log ตลอดจน server status log เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ในอนาคต
ข้อ
๙ เมื่อผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือได้ขึ้นทะเบียนตามข้อ
๓ และได้รับการตรวจสอบและความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แล้ว
ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือจัดการอบรมแก่บุคลากรของทางราชการ
และส่งมอบรายการตามข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ดังต่อไปนี้
(๑)
วิธีการกำหนดรหัสผ่านสำหรับตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งาน (Configuration Password) ของ Mobile Transmitting Unit
(๒)
โปรแกรมที่ใช้บันทึกหมายเลขทะเบียนเรือลงใน Mobile Transmitting Unit และวิธีการใช้งาน
(๓)
โปรแกรมที่ใช้ในการอ่าน log ที่บันทึกใน Bridge Unit และวิธีการใช้งาน
(๔)
คู่มือการติดตั้งและเชื่อมต่อ Mobile Transmitting Unit, Bridge Unit และระบบจ่ายไฟโดยละเอียด
(๕)
คุณลักษณะเฉพาะของ Mobile Transmitting Unit, Bridge Unit และระบบจ่ายไฟ
ข้อ
๑๐ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือจะต้องกำกับดูแล
และรับผิดชอบการให้บริการของผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
ผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงจะต้องผ่านการอบรมจากกรมประมงหรือตามหลักสูตรที่กรมประมงกำหนด
และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
โดยให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมงโดยผ่านผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่สังกัด
ตามแบบคำขอขึ้นทะเบียนต่ออายุทะเบียน
และยกเลิกทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง (ศฝป. ๘)
ท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
ข้อ
๑๑ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมงตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐาน เห็นว่าถูกต้องครบถ้วน
ให้เสนออธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมายอนุมัติให้ขึ้นทะเบียน
ทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงให้มีอายุสามปี
เมื่ออธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมายอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนแล้ว
จะออกบัตรประจำตัวผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
ตามแบบท้ายประกาศนี้ให้แก่ผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
ผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงแล้ว
ประสงค์ต่ออายุทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอขึ้นทะเบียน
ต่ออายุทะเบียนและยกเลิกทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง (ศฝป. ๘) ท้ายประกาศนี้
ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมงก่อนทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงจะหมดอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
พร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
การดำเนินการต่ออายุทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ
และขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงมาใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๒ อธิบดีกรมประมงจะถอนทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง สิ้นสภาพบุคคล
หรือจดทะเบียนยกเลิกการเป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(๒)
เมื่อผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
แจ้งยกเลิกทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงตามแบบคำขอขึ้นทะเบียน ต่ออายุทะเบียน
และยกเลิกทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ (ศฝป. ๙)
และแบบคำขอขึ้นทะเบียน ต่ออายุทะเบียน
และยกเลิกทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง (ศฝป. ๘)
ท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ
(๓)
เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
แจ้งข้อมูลหรือแสดงหลักฐานที่ใช้ในการขอขึ้นทะเบียนเป็นเท็จโดยเจตนา
(๔)
เมื่อผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
หรือผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
ไม่ดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้
(๕)
เมื่อผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือให้บริการผิดไปจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ประกอบการให้ความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ไว้แล้ว
ข้อ
๑๓ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือให้บริการระบบติดตามเรือประมงผิดไปจากมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง ดังต่อไปนี้
(๑)
ติดตั้ง แก้ไข หรือดัดแปลงอุปกรณ์ และ firmware ใน Mobile Transmitting Unit
(๒)
ติดตั้ง Mobile Transmitting Unit ในเรือประมง
โดยไม่ผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลตั้งต้น (หมายเลขทะเบียนเรือ)
ทั้งในกรณีที่เป็นการติดตั้งใหม่หรือการติดตั้งทดแทน
โดยให้ข้อมูลแก่เจ้าของเรือว่าเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้
หรือมีเจตนาที่จะส่งข้อมูลจาก Mobile Transmitting Unit ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลตั้งต้น
(หมายเลขทะเบียนเรือ) อันเป็นเหตุให้มีความเข้าใจผิดในพฤติกรรมการใช้เรือประมง
(๓)
เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่บันทึกใน Mobile Transmitting Unit หรือเปลี่ยนแปลง firmware ใน Mobile Transmitting Unit อันเป็นเหตุให้ข้อมูลที่ปรากฏในระบบติดตามเรือประมงมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
จนสามารถตรวจจับได้จากการสังเกต หรือจากผลวิเคราะห์ระบบ
(๔)
เปลี่ยนแปลงข้อมูล (Log) ที่บันทึกใน
Bridge
Unit หรือ Mobile Transmitting Unit หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่มีส่วนถูกใช้งานในระบบเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้บันทึกไว้จริง
(๕)
ส่งข้อมูลระบบติดตามเรือประมงที่ไม่ตรงกับข้อมูลตั้งต้น Mobile Transmitting Unit โดยมีเจตนาให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญของเหตุการณ์
(๖)
เข้าถึง แทรกแซง รบกวน ลดค่า ข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจาก Mobile Transmitting Unit จนถึงการแสดงภาพสถานการณ์ในระบบติดตามเรือประมงของกรมประมง
หรือกระทำการใดอันเป็นการลดความคงสภาพของข้อมูล (Data Integrity) ในระบบ
(๗)
เข้าถึงระบบในความรับผิดชอบของทางราชการในระดับที่สามารถแก้ไขข้อมูล
และตั้งค่าการทำงานของระบบ
โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือกระทำการพยายามล่วงรู้มาตรการอันเป็นการป้องกันการเข้าถึงระบบในความรับผิดชอบของทางราชการ
ความใน
(๑)
มิให้ใช้บังคับกับกรณีการดำเนินการซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงในส่วนที่มีผลกระทบกับ
firmware ใน Mobile Transmitting Unit ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมประมง
ข้อ
๑๔ เมื่อได้รับการร้องขอจากศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง เพื่อตรวจสอบหรือชี้แจงข้อมูลระบบติดตามเรือประมง
ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจัดส่งหลักฐานการรับส่งข้อมูลระบบติดตามเรือประมง
(Traffic Log) และข้อมูลอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๑๕ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปรับปรุงระบบติดตามเรือประมงตามที่กรมประมงร้องขอ
ข้อ ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือกระทำการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ละเลยไม่แก้ปัญหาอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงในความรับผิดชอบตามเหตุสมควรแก่สถานการณ์เมื่อได้รับแจ้งจากศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง
(๒)
แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบติดตามเรือประมง
ข้อ
๑๗ กรณีที่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือประสงค์จะยกเลิกการให้บริการกับผู้ใช้บริการระบบติดตามเรือประมงเป็นการเฉพาะราย
อันเนื่องมาจากการไม่จ่ายค่าใช้บริการ ให้แจ้งเหตุดังกล่าวมายังศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง เพื่อขอความเห็นชอบก่อน
ข้อ
๑๘ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือที่ให้บริการระบบติดตามเรือประมงในรุ่นที่
๑ และไม่ประสงค์จะให้บริการระบบติดตามเรือประมงรุ่นที่ ๒ ให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
โดยสามารถให้บริการระบบติดตามเรือประมงในรุ่นที่ ๑
ได้ตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
และเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(รุ่นที่ ๒) เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เท่านั้น
ข้อ
๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบคำขอขึ้นทะเบียน ต่ออายุทะเบียน และยกเลิกทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
(ศฝป.๙)
๒.
หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการระบบติดตามเรือ
๓.
หนังสือขอนัดหมายเพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นชอบมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) และคุณลักษณะเฉพาะของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
๔.
แบบคำขอขึ้นทะเบียน ต่ออายุทะเบียน และยกเลิกทะเบียนผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
(ศฝป.๘)
๕.
แบบบัตรประจำตัวผู้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
ปวันวิทย์/ตรวจ
๒๘ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๘ ง/หน้า ๑๑/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791278 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้เพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูลออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ชนิดหอยแครง
(๑) อ่าวตำมะลัง เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล
จังหวัดสตูล ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒) อ่าวตำมะลัง เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล
จังหวัดสตูล ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) อ่าวปูยู เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตำปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔) อ่าวปูยู เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตำปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕) อ่าวบากันเคย เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล
จังหวัดสตูลตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๖) อ่าวปูยู เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตำปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามแผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๗) อ่าวตันหยง เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลตันหยงโป อ่าวปูยู อำเภอเมืองสตูล
จังหวัดสตูลตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ภัทรพนธ์ รัตนพิเชฏฐชัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปวันวิทย์/ตรวจ
๒๖ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๒ ง/หน้า ๒๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791083 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย
ที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ.
๒๕๖๐
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น เนื่องจากพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ แทน
ประกอบกับเพื่อให้การควบคุมตรวจสอบเรือประมงและสินค้าประมงต่างประเทศมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงเห็นควรออกประกาศให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร
ลงวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
(๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
(๓) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้าเข้ามาในราชอาณาจักร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะนำเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยเข้ามาในราชอาณาจักร
ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า
และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศฉบับนี้
(๑) เรือประมงที่มีสัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชา
และสหพันธรัฐมาเลเซีย
ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ
ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า
หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า
(๒) เรือประมงที่มีสัญชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า
และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าหกชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ
ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล
และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในสามชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า
หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า
(๓) เรือประมงที่มีสัญชาติสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า
และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ
ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล
และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในหกชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า
หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า
(๔) เรือประมงที่มิใช่ (๑) (๒) และ (๓) ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า
และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบสองชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ
ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล
และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า
หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า
ข้อ ๓
ให้เรือประมงที่ได้รับอนุญาต เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือตามรายชื่อท่าเทียบเรือที่กำหนดแนบท้ายประกาศฉบับนี้
(๑) เรือประมงที่มีสัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชา
สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรให้เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบเรือ
ณ ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว ให้สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำ ณ
ท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ได้
(๒) เรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย
ที่มิได้นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรให้เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบเรือ ณ
ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว
ให้สามารถดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การเข้าเทียบท่า ณ
ท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
หรืออู่ คานเรือที่นำเรือประมงไปซ่อมแซมได้
(๓) เรือประมงที่มิใช่ (๑) ที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรให้เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบ
และจอดเรือ ณ
ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้เท่านั้น
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. (แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า) ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY (กรณียื่นผ่านระบบ)
๒. (แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า) ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY (กรณียื่นด้วยตนเอง)
๓. เอกสารประกอบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า
๔. บัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย
แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกาหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓
กันยายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๐ ง/หน้า ๒/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
790902 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2560
| ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน
พ.ศ.
๒๕๖๐
ด้วยปลาปีกแดง (Hypsibarbus vernayi) เป็นชนิดปลาที่มีมากที่สุดในแม่น้ำน่าน และเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน
ซึ่งในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ปลาชนิดนี้จะมีพฤติกรรมว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่มีลักษณะน้ำตื้นเป็นหาดหรือเป็นโขดหิน
หรือที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์ปลากอง
ทำให้ง่ายต่อการทำการประมง ทั้งนี้
หากปล่อยให้มีการทำการประมงปลาปีกแดงในพื้นที่และช่วงเวลาดังกล่าวต่อไปอีก
อาจส่งผลให้จำนวนทรัพยากรปลาปีกแดงในแม่น้ำน่านลดน้อยลงและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่น
รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศตามธรรมชาติได้
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กำหนดให้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม ถึง สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ในพื้นที่บริเวณแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่านในบริเวณพื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นพื้นที่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนของปลาปีกแดง (Hypsibarbus vernayi)
(๑)
บ้านใหม่ หมู่ที่ ๕ บ้านปอน หมู่ที่ ๖ บ้านป่าเปือย หมู่ที่ ๗ ตำบลปอน
อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๒) บ้านงอบใต้ หมู่ที่ ๘
บ้านใต้ร่มโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข
๒/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) บ้านวังผา หมู่ที่ ๗ ตำบลและ
อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๓/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๔) บ้านดวงคำ หมู่ที่ ๑๓
ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๔/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๕) บ้านส้อ หมู่ที่ ๕ ตำบลเปือ
อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๕/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๖) บ้านหนองผุก หมู่ที่ ๑๐
ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๖/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๗)
บ้านหัวเมือง หมู่ที่ ๕ ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๗/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๘) บ้านท่าวังผา หมู่ที่ ๒
ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๘/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๙) บ้านหาดปลาแห้ง หมู่ที่ ๙
ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๙/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๐) บ้านห้วยยื่น หมู่ที่ ๒ บ้านวังหมอ
หมู่ที่ ๑ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข
๑๐/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๑) บ้านห่างทางหลวง หมู่ที่ ๒
ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๑/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๒) บ้านผาสุก หมู่ที่ ๓
ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๒/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๓) บ้านสบมาง หมู่ที่ ๔
ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๓/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๔) บ้านสบยาว หมู่ที่ ๗
ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๔/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๕) บ้านหาดผาขน หมู่ที่ ๓
ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๕/๑๖
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๖)
บ้านเมืองจังเหนือ หมู่ที่ ๕ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๖/๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่
หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐
พื้นที่บ้านใหม่ หมู่ที่ ๕ บ้านปอน หมู่ที่ ๖ บ้านป่าเปือย หมู่ที่ ๗
ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑/๑๖
๒. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านงอบใต้ หมู่ที่ ๘ บ้านใต้ร่มโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๑๐
ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๒/๑๖
๓. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน
พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านวังผา หมู่ที่ ๗ ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ตามแผนที่หมายเลข ๓/๑๖
๔. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านดวงคำ
หมู่ที่ ๑๓ ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๔/๑๖
๕. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านส้อ
หมู่ที่ ๕ ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๕/๑๖
๖. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านหนองผุก
หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๖/๑๖
๗. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านหัวเมือง
หมู่ที่ ๕ ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๗/๑๖
๘. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านท่าวังผา
หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๘/๑๖
๙. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านหาดปลาแห้ง
หมู่ที่ ๙ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๙/๑๖
๑๐. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านห้วยยื่น
หมู่ที่ ๒ บ้านวังหมอ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข
๑๐/๑๖
๑๑. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านห่างทางหลวง
หมู่ที่ ๒ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๑/๑๖
๑๒. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านผาสุก
หมู่ที่ ๓ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๒/๑๖
๑๓. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านสบมาง
หมู่ที่ ๔ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๓/๑๖
๑๔. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านสบยาว
หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๔/๑๖
๑๕. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านหาดผาขน
หมู่ที่ ๓ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๕/๑๖
๑๖. แผนที่แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำในจังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๖๐ พื้นที่บ้านเมืองจังเหนือ
หมู่ที่ ๕ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตามแผนที่หมายเลข ๑๖/๑๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๑
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๕/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
790898 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ.
๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ (๑)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ.
๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงดังต่อไปนี้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง
(๑) อวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกล
(๒) อวนล้อมจับที่มีสายมาน
(๓) อวนติดตาปลาที่มีความยาวอวนเกินกว่า ๒,๕๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑
ลำ
(๔) อวนปูที่มีความยาวอวนเกินกว่า ๓,๐๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๕) อวนลอยกุ้งสามชั้นที่มีความยาวอวนเกินกว่า ๒,๕๐๐ เมตร
ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๖) อวนหมึกที่มีความยาวอวนเกินกว่า ๒,๕๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๗) ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบเล็กกว่า ๒.๕ นิ้ว
หรือใช้ทำการประมงมากกว่า ๓๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๘) ลอบหมึกที่ใช้ทำการประมงมากกว่า ๑๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๙) ลอบหมึกสายที่ใช้ทำการประมงมากกว่า ๒,๐๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๑๐) อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ)
(๑๑) อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ)
(๑๒) เครื่องมือทำการประมงทุกชนิดที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมง โดยใช้ไฟใต้น้ำเพื่อล่อสัตว์น้ำ
ความใน (๑๐)
มิให้ใช้บังคับกรณีที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดออกประกาศกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓ การวัดขนาดตาอวนลอบปูในข้อ ๒ (๗)
เป็นไปตามรูปแบบ และวิธีการท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รูปแบบและวิธีการวัดขนาดตาอวนลอบปู
แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง
วิธีการทำการประมง
และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๑
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๓/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
790281 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ.
๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
(๒)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้เจ้าของเรือที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป
และเจ้าของเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก
อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตักซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์
ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ด้วยวิธีการดังนี้
(๑)
แจ้งโดยตรง ทางโทรสาร ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรือทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงได้
ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
(๒)
การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง
แต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงก่อนการนำเรือประมงเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง
การแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงด้วยวัตถุประสงค์อื่นนอกจากการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงเพื่อออกไปทำการประมงพาณิชย์
ให้ดำเนินการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงตาม (๑)
ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง
แต่ไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงก่อนนำเรือประมงเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่กรณีการนำเรือประมงออกไปช่วยเหลือเรือประมงหรือผู้ประสบภัยทางทะเล
ที่ได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในพื้นที่รับผิดชอบทราบก่อนการนำเรือประมงเข้าออกท่าเทียบเรือประมงแล้ว
เมื่อได้รับการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่ง
หรือวรรคสอง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรา
๘๒ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติมก่อนนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมง
ข้อ ๓ เมื่อเจ้าของเรือได้ดำเนินการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงเพื่อออกไปทำการประมงพาณิชย์หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกแจ้งว่าจะต้องมีการตรวจสอบเรือประมงเจ้าของเรือจะนำเรือประมงออกไปทำการประมงพาณิชย์ได้เมื่อมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
และต้องนำเรือประมงออกไปทำการประมงพาณิชย์ภายในครึ่งชั่วโมงหลังการตรวจสอบแล้วเสร็จ
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าเจ้าของเรือมิได้นำเรือประมงออกไปทำการประมงภายในเวลาดังกล่าว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการยกเลิกการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงในระบบสารสนเทศการทำประมง
(Fishing Info)
กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกแจ้งว่าไม่ต้องมีการตรวจสอบเรือประมงให้เจ้าของเรือนำเรือประมงออกไปทำการประมงพาณิชย์ภายในหนึ่งชั่วโมง
นับจากเวลาที่เจ้าของเรือประสงค์นำเรือประมงออกไปทำการประมงพาณิชย์ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าเจ้าของเรือมิได้นำเรือประมงออกไปทำการประมงพาณิชย์ภายในเวลาดังกล่าว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการยกเลิกการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงในระบบสารสนเทศการทำประมง
(Fishing Info)
เมื่อได้มีการนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงตามที่ได้มีการแจ้งออกแล้ว
มิให้นำเรือประมงเข้าท่าเทียบเรือประมงอื่น หรือจอดรอเพื่อกิจกรรมอื่น
เว้นแต่กรณีเหตุสุดวิสัย โดยเจ้าของเรือต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่มีการแจ้งออกทำการประมงพาณิชย์ทราบก่อนที่เรือประมงจะเข้าท่าเทียบเรือประมง
หรือทำกิจกรรมอื่นนั้น โดยหากมีกรณีดังกล่าวเจ้าของเรือประมงต้องนำเรือประมงจอดรอการตรวจจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกดังกล่าวก่อนที่จะออกไปทำการประมงพาณิชย์ได้
ระบบสารสนเทศการทำประมง
(Fishing Info) จะเริ่มนับวันทำการประมงหลังจากสามชั่วโมงนับแต่เวลาที่เจ้าของเรือประมงแจ้งออกไปทำการประมงพาณิชย์
ข้อ
๔ เมื่อเจ้าของเรือได้ดำเนินการแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกแล้ว
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกแจ้งว่าจะต้องมีการตรวจสอบเรือประมง
เจ้าของเรือจะดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
หรือดำเนินการในวัตถุประสงค์อื่นใดได้ เมื่อทำการตรวจสอบแล้วเสร็จ
กรณีการแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมงมากกว่าหนึ่งท่าเทียบเรือประมง
จะต้องดำเนินการแจ้งไปพร้อมกับการแจ้งตามข้อ ๒
เมื่อได้มีการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสองแล้ว
ห้ามนำเรือประมงเข้าท่าเทียบเรือประมงอื่นนอกจากท่าเทียบเรือประมงที่ได้มีการแจ้งเข้า
เว้นแต่มีการแจ้งเปลี่ยนท่าเทียบเรือประมงที่จะมีการแจ้งเข้า โดยต้องถือปฏิบัติตามข้อ
๒ (๒) หรือเป็นกรณีการเข้าท่าเทียบเรือประมงอื่นด้วยเหตุสุดวิสัย
โดยเจ้าของเรือต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกที่ได้มีการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงทราบก่อนที่เรือประมงจะเข้าท่าเทียบเรือประมง
หรือทำกิจกรรมอื่นนั้นโดยหากมีกรณีดังกล่าว
เจ้าของเรือประมงต้องนำเรือประมงจอดรอการตรวจจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกดังกล่าวก่อนขนถ่ายสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
หรือนำเรือประมงเข้าท่าเทียบเรือประมงที่ได้แจ้งไว้แล้ว
ข้อ ๕ ในกรณีที่แจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงเพื่อไปทำการประมงพาณิชย์
เมื่อนำเรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือประมง
ให้เจ้าของเรือส่งมอบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาสมุดบันทึกการทำการประมง
(๒)
สำเนาเอกสารการจัดเวลาพักของคนประจำเรือ
ข้อ
๖ การดำเนินการตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔
และข้อ ๕ เจ้าของเรือประมงอาจให้ผู้ควบคุมเรือเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้
แต่เจ้าของเรือประมงต้องเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการของผู้ควบคุมเรือทั้งสิ้น
ข้อ
๗ เจ้าของเรือที่ได้ดำเนินการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทางระบบ
Single Window 4 Fishing Fleet (http://fpipo.md.go.th) ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง
แต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงก่อนการนำเรือเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงให้ถือว่าเป็นการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงตามประกาศฉบับนี้
เอกสารที่ได้จากการดำเนินการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทางระบบ
Single Window 4 Fishing Fleet (http://fpipo.md.go.th) สามารถใช้แทนแบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
(สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) ท้ายประกาศนี้ในการดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงได้
ข้อ
๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบฟอร์มการแจงการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย)
๒.
รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
พัชรภรณ์/ตรวจ
๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง/หน้า ๑๒/๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
790279 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงาน
สมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้เจ้าของเรือที่ใช้เรือประมงขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบท้ายประกาศนี้
และส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงที่ได้บันทึกสำหรับเที่ยวนั้นทุกครั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
โดยจะส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางโทรสาร
หรือทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้
การจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามวรรคหนึ่ง
ให้จัดทำดังนี้
(๑)
จัดทำในทุกยี่สิบสี่ชั่วโมง นับจากเวลาแจ้งออกทำการประมง
โดยให้ระบุรายละเอียดของการทำการประมงทุกครั้งที่มีการทำการประมง ทั้งนี้
วันใดที่ไม่มีการทำการประมงให้ระบุว่าไม่มีการทำการประมง
(๒)
เมื่อมีการจอดเรือในทะเลระหว่างออกทำการประมง ให้ระบุจุดจอดเรือให้ชัดเจน
(๓)
ให้ระบุประเภทและปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ในสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบท้ายประกาศนี้
ให้กรมประมงกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบสมุดบันทึกการทำการประมง
ให้เป็นไปตามมาตรา
๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ
๓ การดำเนินการตามข้อ ๒
เจ้าของเรืออาจให้ผู้ควบคุมเรือเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้แต่เจ้าของเรือยังคงเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและส่งรายงานตามที่กำหนดในประกาศนี้
ข้อ
๔ กรณีที่เจ้าของเรือที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับได้จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามรูปแบบท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง
ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น
ให้ยังคงใช้ได้สำหรับการทำการประมงเที่ยวนั้นโดยจะต้องส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกโดยทันทีที่เรือประมงเข้าเทียบท่าแล้ว
ข้อ
๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บันทึกการทำการประมง อวนลากคู่
๒.
บันทึกการทำการประมง อวนลากแผ่นตะเฆ่
๓.
บันทึกการทำการประมง อวนลากคานถ่าง
๔.
บันทึกการทำการประมง อวนล้อมจับปลากะตัก
๕.
บันทึกการทำการประมง อวนล้อมจับ
๖.
บันทึกการทำการประมง อวนครอบปลากะตัก - อวนช้อน/ยกปลากะตัก
๗.
บันทึกการทำการประมง อวนครอบหมึก
๘.
บันทึกการทำการประมง อวนช้อนปลาจาระเม็ด
๙.
บันทึกการทำการประมง อวนลอย/อวนจม/อวนล้อมติดตา
๑๐.
บันทึกการทำการประมง อวนรุนเคย
๑๑.
บันทึกการทำการประมง คราดหอย
๑๒.
บันทึกการทำการประมง ลอบปลา
๑๓.
บันทึกการทำการประมง ลอบปู
๑๔.
บันทึกการทำการประมง ลอบหมึก
๑๕.
บันทึกการทำการประมง เบ็ดราว เบ็ดมือ
๑๖.
บันทึกการทำการประมง แผงยกปูจักจั่น
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
พัชรภรณ์/ตรวจ
๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง/หน้า ๑๐/๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
789744 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมงสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดลงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมง
สิ่งปลูกสร้าง
หรือสิ่งอื่นใดลงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบเครื่องมือทำการประมง
สิ่งปลูกสร้าง
หรือสิ่งอื่นใดที่มีการติดตั้งปลูกสร้างลงในที่จับสัตว์น้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือได้รับอนุญาตแต่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต หรือปฏิบัติผิดไปจากเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาต
และไม่ปรากฏตัวบุคคลซึ่งติดตั้งเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง
หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังนี้
(๑)
ปิดประกาศแจ้งให้ผู้ติดตั้งหรือปลูกสร้าง เครื่องมือทำการประมง หรือสิ่งอื่นใดนั้น ให้ดำเนินการรื้อถอนภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
(๒) เมื่อครบกำหนดตาม (๑) แล้วไม่มีการดำเนินการ ให้รื้อถอนเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง
หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าว มาเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บรักษาของหน่วยงาน
หรือสถานที่อื่นซึ่งมีความปลอดภัยในการเก็บรักษา โดยให้ถ่ายภาพก่อนการรื้อถอน
ขณะทำการรื้อถอน และภายหลังการรื้อถอนให้ชัดเจน
(๓)
ตรวจนับ จัดทำบัญชี ถ่ายภาพ เครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มีการรื้อถอนมา
โดยแยกตามวัน เวลา สถานที่รื้อถอน จำนวน ตามประเภทของเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง
หรือสิ่งอื่นใดที่มีการรื้อถอนมาดังกล่าว
(๔) นำบัญชี
ภาพถ่ายไปลงรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นหลักฐาน
และร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานสอบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
(๕) จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน
เพื่อใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (ถ้าหากมี)
ข้อ ๒ เมื่อครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการรื้อถอนเครื่องมือทำการประมง
สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าว และไม่มีเจ้าของมาแสดงตนเพื่อขอคืน
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ดำเนินการทำลาย หรือขาย
หรือดำเนินการอื่นใดตามหลักเกณฑ์ และวิธีการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นใดกับเครื่องมือทำการประมง
สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ระบุไว้ท้ายประกาศนี้ ตามระยะเวลาที่เหมาะสมแต่ไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง
การขาย ให้ดำเนินการด้วยวิธีการขายทอดตลาดตามระเบียบของราชการ
และนำส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดิน
การดำเนินการโดยวิธีการอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ฯ
ที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
หรือเป็นชนิดของเครื่องมือทำการประมงที่มิได้ระบุไว้ท้ายประกาศนี้
ให้ขอความเห็นชอบต่ออธิบดีกรมประมงเป็นกรณีไป
(๒)
รายงานให้กรมประมงทราบถึงสภาพของเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด
ทุกหกเดือน
ข้อ ๓ กรณีที่มีเจ้าของมาแสดงตนเพื่อขอคืนเครื่องมือทำการประมง
สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มีการรื้อถอนมา
ให้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ส่วนของกลางดังกล่าวให้เก็บรักษาไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ ๔ เครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง
หรือสิ่งอื่นใด
ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รื้อถอนมาก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ดำเนินการตามประกาศฉบับนี้
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หลักเกณฑ์และวิธีการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมง
สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง/หน้า ๑/๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
789613 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
ซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่
๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
จะแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงได้เฉพาะท่าเทียบเรือประมงในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) จังหวัดสมุทรปราการ
(๒) จังหวัดสมุทรสาคร
(๓) จังหวัดระนอง
(๔) จังหวัดภูเก็ต
(๕) จังหวัดตราด
(๖) จังหวัดสงขลา
ข้อ ๓ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ตามรายชื่อท้ายประกาศนี้
ภายในกำหนดระยะเวลา ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยในเขตของรัฐชายฝั่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย
ให้แจ้งก่อนออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
และในกรณีเข้าเทียบท่าให้แจ้งก่อนเข้าท่าเทียบเรือประมง
ไม่น้อยกว่าสามสิบหกชั่วโมง เว้นแต่เป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่รับสัตว์น้ำ
จากราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา ให้แจ้งก่อนเข้าท่าเทียบเรือประมง
ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
(๒)
กรณีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยในเขตของรัฐชายฝั่งอื่นหรือในทะเลหลวง
ให้แจ้งก่อนออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
และในกรณีเข้าเทียบท่าให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมง
ไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบสองชั่วโมง
(๓) กรณีแจ้งกลับภูมิลำเนา ซ่อมเรือหรือนำเรือเข้าอู่
ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง
แต่ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง
สำหรับกรณีที่ไม่มีสัตว์น้ำติดมากับเรือให้ยกเว้นการตรวจที่ท่าเทียบเรือประมง
(๔) กรณีที่มีการแจ้งเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง ในกรณีอื่น ๆ
ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
ทั้งนี้
เมื่อมีการแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว เจ้าของเรือต้องดำเนินการให้ผู้ควบคุมเรือนำเรือออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในสองชั่วโมง
หากเกินเวลาต้องดำเนินการแจ้งออกใหม่
ข้อ ๔ เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ต้องดำเนินการแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงล่วงหน้า
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ตามแบบท้ายประกาศนี้
การแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่ง ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนเรือไทย
(๒) สำเนาใบอนุญาตใช้เรือ
(๓) สำเนาใบประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย
(๔) สำเนาใบประกาศนียบัตรช่างเครื่องยนต์เรือ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย
(๕) สำเนาใบจดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(๖) สำเนาบัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ
(๗) สำเนาหลักฐานการติดตั้งเครื่องติดตามเรือ
(อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง)
(๘) สำเนาหลักฐานการติดตั้งระบบรายงานอิเล็กทรอนิกส์และระบบการเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์
(๙) สำเนาผังห้องเก็บสัตว์น้ำบนเรือ (Well plan)
(๑๐) สำเนาแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
(๑๑) สำเนาแผนการขอผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่บนเรือ
สำหรับกรณีที่ไปขนถ่าย สัตว์น้ำในทะเล
ข้อ ๕ เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ต้องดำเนินการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงล่วงหน้า
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ตามแบบท้ายประกาศนี้
การแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่ง ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาเอกสารการแจ้งนำเรือออกจากท่าเทียบเรือ (Port Clearance หรือ Custom Clearance) ครั้งล่าสุด ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐที่กำกับควบคุมท่าเรือนั้น
ซึ่งระบุชื่อท่าเรือ รัฐเจ้าของท่าเรือและวันที่ออกจากท่าเรือ
(๒) สำเนาผังการจัดเก็บสัตว์น้ำบนเรือ (Cargo Plan/ Stowage Plan)
ข้อ ๖ เมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เข้าเทียบท่าแล้ว
เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
ต้องส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
(๑) กรณีดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลและบริเวณท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น
(Transshipment at sea and Transshipment at port)
(ก) หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ซึ่งระบุชื่อเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ชื่อเรือประมงที่เรือขนถ่ายรับสัตว์น้ำขึ้นเรือมา พื้นที่ทำการขนถ่าย
ชนิดและปริมาณสัตว์น้ำ ช่วงระยะเวลาทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่รัฐให้การรับรองซึ่งมีหน้าที่กำกับควบคุมท่าเรือนั้น
หรือมีพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐหรือองค์กรบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคซึ่งมีหน้าที่กำกับควบคุมท่าเรือนั้น
ให้การรับรองและในกรณีที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเลให้มีผู้สังเกตการณ์บนเรือให้การรับรองรายงานดังกล่าวด้วย
สำหรับกรณีการรับขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงไทย
ต้องส่งสำเนาหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ พร้อมกับสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมง
(Fishing Logbook)
(ข) สำเนาเอกสารการจดทะเบียนเรือประมงหรือเรือรวบรวมสัตว์น้ำ
ที่ออกโดยรัฐเจ้าของธง (Flag State) ซึ่งยังมีอายุอยู่ขณะทำการประมง
และสำเนาใบอนุญาตทำการประมง หรือสำเนาการขึ้นทะเบียนเรือรวบรวมสัตว์น้ำทุกลำที่เรือขนถ่ายสัตว์น้ำรับมา
ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐเจ้าของธงหรือรัฐชายฝั่ง (Coastal State) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำขึ้นเรือและยังมีอายุอยู่ขณะทำการประมง
(ค) เอกสาร Mate Receipt
(ง) ใบตราส่งสินค้า (Bill of lading (B/L))
(๒)
กรณีรับขนถ่ายสัตว์น้ำที่ผ่านการขึ้นท่าแล้วจากท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น (Loading at port) ต้องส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
(ก) เอกสารบัญชีรายการและราคาสินค้า (Invoice)
(ข) ใบตราส่งสินค้า Bill of lading (B/L)
(ค) รายงานการรับสัตว์น้ำ (Loading declaration)
ข้อ ๗ เมื่อเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยเข้าเทียบท่าพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง จะดำเนินการตรวจสอบบันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าว
ก่อนมีการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
ข้อ ๘ เมื่อเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยดำเนินการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงเสร็จสิ้น
เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต้องส่งมอบอุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าวนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง
ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบฟอร์มการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือ
(สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย)
๒. แผนการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
๓. รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๖๐/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789605 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการเสนอแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำและการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการเสนอแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำและการรายงานการขนถ่าย
สัตว์น้ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๔)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมง
ของรัฐชายฝั่งอื่น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ
หรือระเบียบของประเทศไทยและรัฐชายฝั่งอื่น หรือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมง
ของรัฐชายฝั่งอื่น
ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยจัดทำแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ
เสนอโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] โดยส่งพร้อมกับเอกสารแจ้งออก
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติและส่งหลักฐานการอนุมัติแผนภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง
เว้นแต่เป็นเรือขนถ่ายที่รับสัตว์น้ำจากราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติและส่งหลักฐานการอนุมัติแผนภายในสามชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง
ข้อ ๓ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงหรือเรือรวบรวมสัตว์น้ำ
(collecting vessel หรือ Freezing vessel) ที่มิใช่เรือไทย
เรือดังกล่าวจะต้องไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยส่งเอกสารดังต่อไปนี้
มาพร้อมกับการส่งแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ
(ก)
สำเนาเอกสารการจดทะเบียนเรือประมงหรือเรือรวบรวมสัตว์น้ำที่ออกโดยรัฐเจ้าของธง
ซึ่งยังมีอายุอยู่ขณะทำการประมง
(ข)
สำเนาใบอนุญาตทำการประมงหรือสำเนาการขึ้นทะเบียนเรือรวบรวมสัตว์น้ำทุกลำที่เรือขนถ่ายสัตว์น้ำรับสัตว์น้ำมา
ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐเจ้าของธงหรือรัฐชายฝั่ง
หรือองค์กรบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค หรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ และยังมีอายุอยู่ขณะทำการประมง
ข้อ ๔ ในกรณีแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำไม่ตรงกับการขออนุญาตทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแจ้งปรับแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำพร้อมเอกสารตามข้อ
๑ ข้อ ๒ หรือข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติและส่งหลักฐานการอนุมัติแผนภายในสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง
ข้อ ๕ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำชนิดที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องแจ้งกำหนดการในการขนถ่ายสัตว์น้ำโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวันแต่ไม่เกินสิบสี่วัน ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ
และเมื่อจะดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าวแจ้งการขนถ่ายสัตว์น้ำอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง
ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transshipment At Sea/ In Port Notification แนบท้ายประกาศนี้
ต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
เมื่อดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
ต้องรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transshipment At Sea/ In Port Declaration
แนบท้ายประกาศนี้ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
ข้อ ๖ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลจากเรือประมงเบ็ดราวปลาทูน่าในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องส่งรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำตามแบบฟอร์ม
IOTC Transhipment Declaration แนบท้ายประกาศนี้ ให้กับคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
[email protected] และให้ส่งรายงานดังกล่าวแก่กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] และรัฐเจ้าของธงเรือประมงเบ็ดราวปลาทูน่า
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องส่งรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำตามแบบฟอร์ม
IOTC Transhipment Declaration แนบท้ายประกาศนี้ ต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] และรัฐเจ้าของท่านั้นภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง
หลังจากดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
ข้อ ๗ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำชนิดที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง
(Western Central Pacific Fisheries Commission ; WCPFC) ในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องส่งรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำตามแบบฟอร์ม
WCPFC Transshipment Declaration แนบท้ายประกาศนี้
ให้กับคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง (Western Central Pacific Fisheries Commission ; WCPFC) ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ภายในสิบห้าวัน
หลังจากดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
และให้ส่งรายงานดังกล่าวต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. SIOFA TRANSSHIPMENT AT SEA/ IN PORT NOTIFICATION
๒. SIOFA TRANSSHIPMENT AT SEA/ IN PORT DECLARATION
๓. IOTC Transhipment declaration
๔. WCPFC TRANSSHIPMENT DECLARATION
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๔๐/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789603 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเล หรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงานการขนถ่าย
สัตว์น้ำในทะเล
หรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต
การอนุญาต และการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่นของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยจะทำได้เฉพาะกรณีการขนถ่ายไปยังเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเป็นการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบของประเทศไทยและรัฐชายฝั่งนั้น
และกฎหรือระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓ ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
ไม่ว่าจะเป็นการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของรัฐชายฝั่งอื่น
ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยแจ้งขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ทุกครั้ง โดยผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง
ที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง แจ้งผลการพิจารณาภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง
ข้อ ๔ เมื่อดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของรัฐชายฝั่งอื่นเสร็จสิ้นแล้ว
ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง
ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๕ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) ณ ท่าเทียบเรือ ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยแจ้งขออนุญาตต่อรัฐเจ้าของท่า
ไม่น้อยกว่าสี่สิบแปดชั่วโมง เมื่อดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงดังกล่าวต้องส่งรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ตามแบบฟอร์ม IOTC Transhipment Declaration แนบท้ายประกาศนี้
ให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ภายในสิบห้าวันหลังการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
ข้อ ๖ กรณีทำการขนถ่ายสัตว์น้ำชนิดที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
(Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องแจ้งกำหนดการในการขนถ่ายสัตว์น้ำให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวันแต่ไม่เกินสิบสี่วัน
ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ และเมื่อจะทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงดังกล่าวแจ้งการขนถ่ายสัตว์น้ำ
อย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำโดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transshipment At Sea/ In Port Notification
แนบท้ายประกาศนี้ต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
เมื่อดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำเสร็จสิ้น
เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transshipment At Sea/ In Port Declaration
แนบท้ายประกาศนี้ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
ข้อ ๗ กรณีการขนถ่ายสัตว์น้ำที่อยู่นอกเหนือจากข้อ
๕ และข้อ ๖ ไม่ว่าจะเป็นการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือประมงของรัฐชายฝั่งอื่น
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยจัดทำรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำ
Transshipment Declaration ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ส่งให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ณ ท่าเทียบเรือประมง
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อกลับเข้าเทียบท่า
ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. IOTC Transhipment Declaration
๒. SIOFA TRANSSHIPMENT AT SEA/ IN PORT DECLARATION
๓. แบบรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำ (Transshipment Declaration)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๓๘/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789601 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง (อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง) ของเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง
(อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง)
ของเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย
ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าของเรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยประเภทการใช้ทำการประมงซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยสามารถแจ้งการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงได้มากกว่า
๑ ชุด
โดยแจ้งการติดตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (ศฝป. ๑) ก่อนออกไปทำการประมง
ทั้งนี้
อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต้องผ่านการตั้งค่าเริ่มต้นโดยศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง การติดตั้งจะต้องเป็นไปตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และต้องดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ตามประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๒ กรณีที่เจ้าของเรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยประเภทการใช้ทำการประมง
หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ด้วยเหตุไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมง
ให้ดำเนินการแก้ไขระบบติดตามเรือประมงให้เป็นปกติ ทั้งนี้
หากอยู่ในระหว่างการทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำให้หยุดทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำทันที
เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าการทำการประมงหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำในครั้งนั้นสามารถตรวจสอบผ่านระบบอื่น
เช่น ระบบแสดงตนอัตโนมัติ (AIS) ผู้สังเกตการณ์บนเรือ เป็นต้น
กรณีที่เจ้าของเรือประมงดังกล่าวได้แจ้งการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือเพิ่มเติมตามข้อ
๑ สามารถสลับอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงทดแทนได้ ทั้งนี้
ต้องแจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
โดยส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] และพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
และต้องแจ้งตอบรับการเปลี่ยนแปลงให้เจ้าของเรือประมงดังกล่าวหรือผู้ควบคุมเรือทราบภายในหกชั่วโมง
กรณีระบบติดตามเรือประมงขัดข้องโดยไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติภายในสิบสองชั่วโมง
นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ในครั้งแรก ให้เจ้าของเรือประมงดังกล่าวดำเนินการนำเรือประมงเข้าเทียบท่าทันที
ทั้งนี้
อาจเป็นท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่นหรือท่าเทียบเรือของประเทศไทยก็ได้
โดยการนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าต้องแจ้งพิกัดปัจจุบัน
และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางวิทยุสื่อสารระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือทางวิทยุสื่อสารระบบ
MF/HF (CB 27 MHz) ช่องหลักความถี่ 27.085 MHz (Ch.11 (C-Band)) ช่องรองความถี่ 27.105 MHz (Ch.12 (C-Band)) หรือทางโทรศัพท์
๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ซึ่งได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว
จนกว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือประมงขัดข้อง
(ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง
ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง
ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือประมงขัดข้อง
(ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้
กรณีนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรือของประเทศไทย
ให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกของกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
และให้ดำเนินการซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงทันที
ในกรณีที่ดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จ ให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง
กรณีนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น
ให้ส่งใบรายงานดังกล่าวและเอกสารหลักฐานการแจ้งเข้าเทียบท่าจากหน่วยงานของรัฐเจ้าของท่า
ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] และให้ดำเนินการซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงทันที
ในกรณีที่ดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
จึงสามารถนำเรือออกจากท่าเทียบเรือได้
การแจ้งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่เจ้าของเรือประมงได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือหรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ให้ถือว่ามีการแจ้งและเจ้าของเรือประมงได้รับทราบแล้ว
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสาม
มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง
หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของเจ้าของเรือประมงหรือผู้ควบคุมเรือ
ข้อ ๓ เจ้าของเรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยประเภทการใช้ทำการประมงซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ
๔/๑ และ ๔/๒ ของประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
(ศฝป. ๑)
๒. ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
(VMS) ชั่วคราว Zศฝป. ๔)
๓. ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป. ๗.๑)
๔.
ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.
๗.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๓๕/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789599 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง (อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง) ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง
(อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง)
ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๑)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าของเรือที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยสามารถแจ้งการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงได้มากกว่า ๑ ชุด โดยแจ้งการติดตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง
ตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (ศฝป.๑) ก่อนออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ ทั้งนี้
อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต้องผ่านการตั้งค่าเริ่มต้นโดยศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง การติดตั้งจะต้องเป็นไปตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และต้องดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๒ กรณีที่เจ้าของเรือที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยหรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง
ด้วยเหตุไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงให้ดำเนินการแก้ไขระบบติดตามเรือประมงให้เป็นปกติ
ทั้งนี้
หากอยู่ในระหว่างการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้หยุดทำการขนถ่ายสัตว์น้ำทันที
เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าการขนถ่ายสัตว์น้ำในครั้งนั้นสามารถตรวจสอบผ่านระบบอื่น เช่น
ระบบแสดงตนอัตโนมัติ (AIS) ผู้สังเกตการณ์บนเรือ เป็นต้น
กรณีที่เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าวได้แจ้งการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือเพิ่มเติมตามข้อ
๑ สามารถสลับอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงทดแทนได้ ทั้งนี้
ต้องแจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
โดยส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] และพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
และต้องแจ้งตอบรับการเปลี่ยนแปลงให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าวหรือผู้ควบคุมเรือทราบภายในหกชั่วโมง
กรณีระบบติดตามเรือประมงขัดข้องโดยไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติภายในสิบสองชั่วโมง
นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
ในครั้งแรก ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าวดำเนินการนำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำเข้าเทียบท่าทันที
ทั้งนี้ อาจเป็นท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่นหรือท่าเทียบเรือของประเทศไทยก็ได้
โดยการนำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำกลับเข้าเทียบท่าต้องแจ้งพิกัดปัจจุบัน และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางวิทยุสื่อสารระบบ
HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือทางวิทยุสื่อสารระบบ
MF/HF (CB 27 MHz) ช่องหลักความถี่ 27.085 MHz (Ch.11 (C-Band)) ช่องรองความถี่ 27.105 MHz (Ch.12 (C-Band)) หรือทางโทรศัพท์
๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙, ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑
ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ซึ่งได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว
จนกว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือประมงขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ
ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง
ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงไม่สามารถกระทำ
ได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือประมงขัดข้อง
(ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้
กรณีนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรือของประเทศไทย
ให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกของกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
และให้ดำเนินการซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงทันที ในกรณีที่ดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง
กรณีนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น
ให้ส่งใบรายงานดังกล่าวและเอกสารหลักฐานการแจ้งเข้าเทียบท่าจากหน่วยงานของรัฐเจ้าของท่า
ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] และให้ดำเนินการซ่อมแซมระบบติดตามเรือประมงทันที
ในกรณีที่ดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
จึงสามารถนำเรือออกจากท่าเทียบเรือได้
การแจ้งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือหรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ให้ถือว่ามีการแจ้งและเจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำได้รับทราบแล้ว
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสาม
มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง
หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของเจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือผู้ควบคุมเรือ
ข้อ ๓ เจ้าของเรือที่จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ซึ่งออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ ๖
และ ๗ ของประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
(ศฝป. ๑)
๒. ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (ศฝป. ๔)
๓. ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป. ๗.๑)
๔. ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล
VMS ขัดข้อง (ศฝป. ๗.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๓๒/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789597 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ในเรือขนถ่ายสัตว์น้ำในการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ในเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ในการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๕)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยบริเวณรัฐชายฝั่งอื่นต้องมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ในเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามหลักเกณฑ์ของรัฐชายฝั่ง
ข้อ ๒ การขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยในทะเลหลวงที่องค์การระหว่างประเทศดูแลอยู่ต้องปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการมีผู้สังเกตการณ์ด้วย
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๓๑/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789595 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๗)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
เครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หมายความว่า เครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ได้จดทะเบียนให้เป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
เพื่อให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนำเครื่องหมายดังกล่าวไปจัดทำให้ปรากฏเห็นที่เรือลำที่ได้รับการจดทะเบียนด้วยการเขียนหรือพ่นสีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
ข้อ ๓ เครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำมีลักษณะเป็นเครื่องหมายที่ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเลขอารบิคเขียนเรียงกันจากซ้ายไปขวา
โดยแบ่งเป็นเครื่องหมายย่อยเพื่อใช้แทนความหมายต่าง ๆ ดังนี้
(๑)
เครื่องหมายที่หนึ่งเป็นตัวอักษรหรือชุดตัวอักษรให้ใช้อักษร R แทนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
(๒)
เครื่องหมายที่สองเป็นตัวอักษรหรือชุดตัวอักษรใช้แทนพื้นที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำดังนี้
(ก) ทะเลในน่านน้ำไทย ให้ใช้ตัวอักษร
T
(ข) ทะเลนอกน่านน้ำไทย ให้ใช้ตัวอักษร
O
(๓) เครื่องหมายที่สามเป็นตัวอักษรใช้แทนขนาดของเรือดังนี้
(ก) ขนาดไม่ถึงยี่สิบตันกรอส ให้ใช้ตัวอักษร
S
(ข)
ขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ให้ใช้ตัวอักษร M
(ค)
ขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อย
ห้าสิบตันกรอส ให้ใช้ตัวอักษร
L
(ง)
ขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไป ให้ใช้ตัวอักษร
X
(๔)
เครื่องหมายที่สี่เป็นตัวเลขหรือชุดตัวเลขแสดงลำดับที่ของใบจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามขนาดของเรือแต่ละกลุ่มตาม
(๓)
ข้อ ๔ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังนี้
(๑)
ให้ผู้ได้รับใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำใช้เครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ตามข้อ ๒ ที่ได้รับจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ไปเขียนหรือพ่นด้วยสีให้ปรากฏเครื่องหมายดังกล่าวที่เรือลำที่ได้รับใบจดทะเบียนมองเห็นได้อย่างชัดเจน
(๒) แบบของตัวอักษรและตัวเลขให้เป็นไปตามแบบในบัญชีที่ ๑
แนบท้ายประกาศฉบับนี้
(๓)
ขนาดของตัวอักษรและตัวเลขให้ใช้ตามขนาดของเรือ ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามรายละเอียดในบัญชีที่
๒ แนบท้ายประกาศฉบับนี้
(๔) การใช้สีเพื่อใช้เขียนหรือพ่นเป็นเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำแต่ละลำเลือกใช้สีได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ตัวอักษรและตัวเลขสีขาว บนพื้นสีดำหรือน้ำเงินเข้ม
(ข) ตัวอักษรและตัวเลขสีดำหรือน้ำเงินเข้ม บนพื้นสีขาว
สีพื้นให้อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบตัวอักษรและตัวเลข
(๕) กำหนดตำแหน่งการเขียนเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
โดยให้เขียนที่หัวเรือภายนอกทั้งสองด้าน
ต่อท้ายจากเลขทะเบียนเรือหรือชื่อเรือของกรมเจ้าท่า
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลในเขตของรัฐชายฝั่ง
หรือในเขตที่อยู่ในความควบคุมดูแลขององค์การระหว่างประเทศ
นอกจากต้องจัดทำเครื่องหมายประจำเรือตามข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว
ผู้ได้รับใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำจะต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือของรัฐชายฝั่งหรือองค์การระหว่างประเทศนั้นด้วย
ข้อ ๖ ให้ผู้ที่ได้รับใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำแล้วขณะที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ดำเนินการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
สำหรับผู้ที่ได้รับใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำภายหลังที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ดำเนินการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีที่ ๑ แบบตัวอักษรและตัวเลข
๒. บัญชีที่ ๒ ขนาดของตัวอักษรและตัวเลข
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๙/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789593 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยจะแจ้งได้เฉพาะท่าเทียบเรือประมงในเขตจังหวัด
ดังต่อไปนี้
(๑) จังหวัดสมุทรปราการ
(๒) จังหวัดสมุทรสาคร
(๓) จังหวัดระนอง
(๔) จังหวัดภูเก็ต
(๕) จังหวัดตราด
(๖) จังหวัดสงขลา
ข้อ ๓ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ให้เจ้าของเรือประมงซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยแจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
สำหรับเรือเรือประมงนอกน่านน้ำไทยตามรายชื่อท้ายประกาศนี้ ภายในกำหนดระยะเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีเรือประมงซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในเขตของรัฐชายฝั่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย
ให้แจ้งก่อนออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
และในกรณีเข้าเทียบท่า ให้แจ้งก่อนเข้าท่าเทียบเรือประมง
ไม่น้อยกว่าสามสิบหกชั่วโมง เว้นแต่เป็นเรือประมงที่ออกไปทำการประมง ในราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา
ให้แจ้งก่อนเข้าท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
(๒) กรณีเรือประมงซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในเขตของรัฐชายฝั่งอื่นหรือในทะเลหลวง
ให้แจ้งก่อนออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
และในกรณีเข้าเทียบท่า
ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าเรือประมงไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบสองชั่วโมง
(๓) กรณีแจ้งกลับภูมิลำเนา ซ่อมเรือหรือนำเรือเข้าอู่
ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง
แต่ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง สำหรับกรณีที่ไม่มีสัตว์น้ำติดมากับเรือ ให้ยกเว้นการตรวจที่ท่าเทียบเรือประมง
(๔) กรณีที่มีการแจ้งออกสำ หรับกรณีอื่น ๆ
ให้เจ้าของเรือหรือตัวแทนแจ้งก่อนเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
ทั้งนี้
เมื่อมีการแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว เจ้าของเรือต้องดำเนินการให้ผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในสองชั่วโมง
หากเกินระยะเวลาดังกล่าวต้องดำเนินการแจ้งออกใหม่
ข้อ ๔ เจ้าของเรือประมงซึ่งออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทย
ต้องดำเนินการแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงล่วงหน้า
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ตามแบบท้ายประกาศนี้
การแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่ง ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาแผนการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจำเรือประมง
สำหรับกรณีที่เรือประมงดังกล่าวจะทำการประมงในทะเล
(๒) สำเนาทะเบียนเรือไทย
(๓) สำเนาใบอนุญาตใช้เรือ
(๔) สำเนาใบประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย
(๕) สำเนาใบประกาศนียบัตรช่างเครื่องยนต์เรือ
และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย
(๖) สำเนาใบอนุญาตให้ทำการประมง
(๗) สำเนาบัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ
(๘) สำเนาหลักฐานการติดตั้งเครื่องติดตามเรือ
(อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง)
(๙)
สำเนาหลักฐานการติดตั้งระบบรายงานอิเล็กทรอนิกส์และระบบการเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์
(๑๐) สำเนาผังห้องเก็บสัตว์น้ำบนเรือ (Well plan)
ข้อ ๕ เจ้าของเรือประมงซึ่งออกไปทำประมงนอกน่านน้ำไทย
ต้องดำเนินการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงล่วงหน้า
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ตามแบบท้ายประกาศนี้
การแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงตามวรรคหนึ่ง
ให้แนบสำเนาเอกสารการแจ้งนำเรือออกจากท่าเทียบเรือ (Port Clearance หรือ Custom Clearance) ครั้งล่าสุด ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐที่กำกับควบคุมท่าเรือนั้น ซึ่งระบุ
ชื่อท่าเรือ รัฐเจ้าของท่าเรือ และวันที่ออกจากท่าเรือ
ข้อ ๖ เมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เข้าเทียบท่าแล้ว
เจ้าของเรือประมงซึ่งออกไปทำประมงนอกน่านน้ำไทย
ต้องส่งสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมง
โดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
ข้อ ๗ เมื่อเรือประมงซึ่งออกไปทำประมงนอกน่านน้ำไทยเข้าเทียบท่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง
จะดำเนินการตรวจสอบบันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือประมงดังกล่าวก่อนมีการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
ข้อ ๘ เมื่อเรือประมงซึ่งออกไปทำประมงนอกน่านน้ำไทยดำเนินการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงเสร็จสิ้น
เจ้าของเรือประมงดังกล่าวต้องส่งมอบอุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือประมงนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง
ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๖/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789591 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ กรณีเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ และข้อ ๓ ให้ยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการปฏิบัติเป็นการชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น
ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
ซึ่งอธิบดีมีอำนาจผ่อนผันเป็นรายกรณีตามเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้
ระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ครบกำหนดเวลาตามข้อ
๒ หรือข้อ ๓
ในระหว่างเวลารอการกำหนดระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันจากอธิบดี
และภายในระยะเวลาที่มีการผ่อนผัน
ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสารเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๕/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789589 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมง
ที่เข้าใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
ขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ
๕ ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล
เกี่ยวกับเรือประมง ที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ กรณีเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ และข้อ ๓ ให้ยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการปฏิบัติเป็นการชั่วคราว
โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
ซึ่งอธิบดีมีอำนาจผ่อนผันเป็นรายกรณีตามเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้
ระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ครบกำหนดเวลาตามข้อ
๒ หรือข้อ ๓
ในระหว่างเวลารอการกำหนดระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันจากอธิบดี
และภายในระยะเวลาที่มีการผ่อนผัน
ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสารเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๔/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789587 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์นํ้า
ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยหรือที่รัฐชายฝั่งอื่น
ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบของประเทศไทยและรัฐชายฝั่งนั้น
และกฎหรือระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓ ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำสิบสองชั่วโมง
แต่ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามข้อ ๒
ต้องดำเนินการให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งการขนถ่ายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง
ที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐
ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งตอบรับภายในสิบสองชั่วโมงนับแต่ได้รับแจ้งการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยหรือที่รัฐชายฝั่งอื่น
ข้อ ๔ การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทยหรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ณ ท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามข้อ ๒
ต้องดำเนินการให้ผู้ควบคุมเรือรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้
ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง
ที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย
ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากการขนถ่ายสัตว์น้ำในแต่ละครั้งแล้วเสร็จ
สำหรับกรณีที่การกลับเข้าเทียบท่ามีระยะเวลาน้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
หลังจากการขนถ่ายสัตว์น้ำในแต่ละครั้งแล้วเสร็จ
ให้รายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำตามวรรคหนึ่งก่อนเข้าเทียบท่า
เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามข้อ ๒
ต้องดำเนินการให้ผู้ควบคุมเรือจัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้
และส่งให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ
กรมประมง ทันทีที่เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือประมง
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของสัตว์น้ำหน้าท่า
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ (Marine Catch Transshipping Document : MCTD)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๒/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789585 | ประกาศกรมประมง เรื่อง การจัดทำหลักฐานเพื่อการสืบค้นสำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ ที่นำสัตว์น้ำเข้ามาเป็นวัตถุดิบส่งออกไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
การจัดทำหลักฐานเพื่อการสืบค้นสำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ
ที่นำสัตว์น้ำเข้ามาเป็นวัตถุดิบส่งออกไปสหภาพยุโรป
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ (๕)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อส่งออกไปสหภาพยุโรป
จัดส่งสำเนาใบรับรองการจับสัตว์น้ำตามแบบที่สหภาพยุโรปกำหนด (EU Catch certificate) สำหรับสัตว์ที่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำส่งออกไปสหภาพยุโรป
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำหรือด่านตรวจสัตว์น้ำรับรองชนิดและปริมาณสัตว์น้ำภายในเก้าสิบวันนับจากวันที่ขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือขนถ่ายสัตว์น้ำขึ้นรถบรรทุกคันสุดท้าย
ข้อ ๒ กรณีที่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำมิได้ดำเนินการตามข้อ
๑ ภายในระยะเวลาที่กำหนด กรมประมงจะไม่ออกใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ (Processing Statement) เพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๑/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789579 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ความคุ้มครองความปลอดภัยและการช่วยเหลือด้านการเงินและด้านอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ได้กระทำการ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตจากรัฐในกรณีที่ถูกดำเนินคดี พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
ความคุ้มครองความปลอดภัยและการช่วยเหลือด้านการเงินและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ได้กระทำการ
หรือปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตจากรัฐในกรณีที่ถูกดำเนินคดี
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวง ประกาศ
หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชกำหนดนี้ ให้สันนิษฐานว่าผู้มีหน้าที่กระทำการหรือปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
และได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยและการช่วยเหลือด้านการเงินและด้านอื่นที่เกี่ยวข้องจากรัฐในกรณีที่ถูกดำเนินคดี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕/๑
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประมงถูกกล่าวหาหรือดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญา
โดยที่ส่วนราชการต้นสังกัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีนั้นเป็นการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประมง
และทางราชการมิได้เป็นผู้กล่าวหาหรือฟ้องคดีนั้นเอง
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือในการดำเนินการต่อสู้คดีทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน
พนักงานอัยการ และศาล
การช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยอนุโลม
กรณีที่เจ้าหน้าที่ตามวรรคแรก
ถูกกล่าวหาหรือดำเนินคดีอาญาเป็นกรณีที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
หรือพนักงานอัยการเป็นโจทก์
แต่ส่วนราชการต้นสังกัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีนั้นเป็นการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประมง
และกรณีดังกล่าวมิได้เกิดจากการทุจริต
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือในการดำเนินการต่อสู้คดีทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน
พนักงานอัยการ และศาล โดยสามารถจ้างทนายความเพื่อดำเนินคดีในชั้นศาลได้ ค่าฤชาธรรมเนียมศาล
ค่าใช้จ่ายอื่นอันเกิดขึ้นในการดำเนินการต่อสู้คดี และค่าจ้างทนายความ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง
ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด
ข้อ ๒ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามข้อ
๑ ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีในศาลปกครอง โดยที่ส่วนราชการต้นสังกัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
การกระทำที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีนั้นเนื่องมาจากการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่
ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประมง ให้ส่วนราชการต้นสังกัดจัดนิติกร
หรือผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องในด้านกฎหมายประจำส่วนราชการนั้นให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา
จัดทำคำให้การ คำร้อง คำขอ หรือคำแถลงต่าง ๆ เพื่อต่อสู้คดีในศาลปกครอง และในกรณีจำเป็นอาจขอให้พนักงานอัยการดำเนินการแทนให้ก็ได้
ข้อ ๓ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
อันเกิดขึ้นในการดำเนินการต่อสู้คดีในศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลปกครอง ให้เบิกจ่ายโดยงบประมาณของหน่วยงานต้นสังกัด
เว้นแต่เป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษา
ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง
กรณีเป็นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีจากพนักงานอัยการให้เบิกจ่ายตามที่พนักงานอัยการเรียกเก็บ
กรณีเป็นค่าใช้จ่ายอื่นอันเกิดขึ้นในการดำเนินการต่อสู้คดีนอกเหนือจากนี้ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง
ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด
ข้อ ๔ กรณีที่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย
และเจ้าหน้าที่ของรัฐร้องขอการคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่ให้หน่วยงานต้นสังกัดขอรับความคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายดังกล่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีการย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อความปลอดภัย
ให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการโดยด่วน โดยมิให้เป็นการเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวย้ายไปปฏิบัติหน้าที่หรือช่วยราชการในหน่วยงานใด
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
ในห้วงเวลาที่ต้องมีการย้ายไปปฏิบัติหน้าที่หรือช่วยราชการในหน่วยงานอื่น
ให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามอัตราของราชการโดยถือปฏิบัติตามระเบียบของราชการที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม
กรณีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามวรรคสอง
ที่ระเบียบของราชการที่เกี่ยวข้องไม่ได้กำหนดไว้ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๑๓/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
789021 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเลย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเลย
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเลย
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเลย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่แหล่งน้ำในท้องที่เขตจังหวัดเลย
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
คุมพล บรรเทาทุกข์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเลย
พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๒ ง/หน้า ๒๒/๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788983 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานีออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำเปิดหรือน้ำไหล
ลำน้ำสายหลัก ลำน้ำสาขา แต่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขตามกฎกระทรวง
ประกาศ ระเบียบของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
สำหรับแหล่งน้ำปิด เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายน้ำล้น ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบดูแล
เช่น กรมชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเสียก่อน
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สมศักดิ์ จังตระกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๓๑/๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788977 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา
เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่พื้นที่เขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดพังงามีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาศัยแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำที่สำคัญ
แต่มีชาวประมงทำการสร้างเครื่องมือทำการประมงประเภทโป๊ะน้ำตื้นซึ่งเป็นประเภทเครื่องมือทำการประมงที่ตั้งอยู่กับที่และจับสัตว์น้ำวัยอ่อนได้ในปริมาณที่มากจนเกินสมควร
รวมทั้งมีการดัดแปลงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่มีลักษณะยึดครองพื้นที่ทำการประมงในทะเลทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงพื้นบ้านประเภทอื่น
หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงและวิธีทำการประมงดังกล่าวอีกต่อไปจะเกิดการทำลายระบบนิเวศของท้องทะเลและส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรง
รวมทั้งเกิดความขัดแย้งของชาวประมงในพื้นที่ดังนั้น
จึงเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วน
สมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทโป๊ะน้ำตื้น
หรือเครื่องมือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกัน
ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดพังงา
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ภัคพงศ์ ทวิพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดพังงา
พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๓๐/๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788974 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2560 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓
พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชัยภูมิ
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดชัยภูมิ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๓๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดชัยภูมิ
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ
หรือสำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่สถานประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นตั้งอยู่
ข้อ
๓
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมงซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๗)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
จิรพงศ์ นุตะศะริน
ประมงจังหวัดชัยภูมิ
พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๒๘/๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788971 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (เพิ่มเติม)
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (เพิ่มเติม)
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
รณชัย จิตรวิเศษ
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๒๗/๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788546 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดขนาดเรือประมงที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ.
๒๕๕๙
(๒)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้เจ้าของเรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยประเภทการใช้ทำการประมง
และมีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย วันที่เข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ทำการประมง พื้นที่ในการทำการประมงและตำแหน่งเรือในขณะจับสัตว์น้ำ จุดจอดเรือ
ประเภทและปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้หรือการเททิ้งสัตว์น้ำ การขนถ่ายสัตว์น้ำ
การนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือ และต้องส่งรายงานให้กรมประมงทราบ
ตามระยะเวลาและโดยวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๒)
กรณีเรือที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก
ต้องแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
และในกรณีเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
ต้องส่งมอบสำเนาบันทึกการทำการประมงและเอกสารหลักฐานอื่น ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๓)
จัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๔)
กลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ
๓ ให้เจ้าของเรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยประเภทการใช้ทำการประมงและมีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาให้ระบบดังกล่าว สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๒)
แจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ณ
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
และในกรณีเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
ต้องส่งมอบสำเนาบันทึกการทำการประมง และเอกสารหลักฐานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๓๐
ตุลาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑
กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๕๗ ง/หน้า ๑/๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788350 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็นเรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมง เรือบรรทุกน้ำจืด และเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น
เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมง
เรือบรรทุกน้ำจืด และเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนด
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามข้อ
๑๐ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๒/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ เมษายน
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่กำหนดให้เจ้าของเรือที่จดทะเบียนเป็นเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น
เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมง เรือบรรทุกน้ำจืด
ที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสหรือเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ณ
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังมิให้เรือดังกล่าวไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ เก็บรักษาสัตว์น้ำ
หรือสนับสนุนการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศกำหนดขั้นตอนปฏิบัติในการแจ้งเรือเข้าออกไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ให้เจ้าของเรือที่จดทะเบียนเป็นเรือบรรทุกน้ำจืด
ที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น
เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมง และเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส
ต้องแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้งด้วยวิธีการแจ้งโดยตรงหรือทางโทรสารไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงแต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง
ก่อนการนำเรือเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
กรณีการเข้ามารับน้ำมันของเรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมง
และเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยเข้าออกท่าที่มารับน้ำมัน
ให้ถือว่าการเข้าออกท่าที่เข้ามารับน้ำมันดังกล่าวเป็นการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงที่ต้องมีการแจ้งเข้าออกตามวรรคหนึ่ง
ข้อ
๒ เจ้าของเรือที่จดทะเบียนเป็นเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น
เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมงที่มีขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป
และเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดที่มีขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสแต่ไม่เกินหนึ่งพันตันกรอส
ที่ได้มีการแจ้ง การรายงาน หรือการขออนุญาตใด ๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ
Single Window @ Marine Department (http://nsw.md.go.th) ตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนดไว้
ให้ถือว่าเป็นการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงตามประกาศนี้
เมื่อเจ้าของเรือตามวรรคแรกได้รับการอนุมัติผ่านระบบ
SingleWindow@Marine Department แล้ว
ให้เจ้าของเรือส่งสำเนาการอนุมัติต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่ได้รับการอนุมัติ ด้วยวิธีการส่งโดยตรง ทางโทรสาร
ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ([email protected]) หรือทางเครื่องมือสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงได้
ข้อ
๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกรวบรวมสำเนาเอกสารหลักฐานตามข้อ
๒ และรายงานสรุปผลการตรวจสอบต่อกรมประมงทุกสามสิบวัน
ข้อ
๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น
เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมงเรือบรรทุกน้ำจืด หรือเรือสนับสนุนการประมงที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด)
๒.
รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๕๔ ง/หน้า ๓๓/๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788062 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๖ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กรณีที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำผ่านท่าเทียบเรือประมงโดยมิได้มีการชั่ง
ณ ท่าเทียบเรือประมง
ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ทุกครั้งที่เรือประมงเข้าใช้บริการในลักษณะดังกล่าวตามแบบท้ายประกาศนี้ โดยกรอกรายการในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ให้ถูกต้องครบถ้วน
และจัดส่งหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
ดังกล่าวให้กับผู้ซื้อสัตว์น้ำพร้อมกับสัตว์น้ำ
เพื่อให้ผู้ซื้อสัตว์น้ำปลายทางทราบชนิดและจำนวนสัตว์น้ำที่ขนส่งมาพร้อมกับรถยนต์
ข้อ
๒ เมื่อมีการชั่งน้ำหนักของสัตว์น้ำ
ณ ปลายทาง ให้ผู้ซื้อสัตว์น้ำตามข้อ ๑
บันทึกน้ำหนักสัตว์น้ำที่ชั่งจริงในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
ให้ครบถ้วนพร้อมลงนามและส่งหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
ต้นฉบับให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา
และสำเนาเก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๓ ปี เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ข้อ
๓ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาเก็บหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์) ตามข้อ ๒ ไว้ไม่น้อยกว่า ๓ ปี
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๕๐ ง/หน้า ๑๓/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787979 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2560
| ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง
เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาตใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประมงจังหวัดสมุทรสาครออกประกาศไว้ดังนี้
ข้อ
๑ เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอใบอนุญาตตามแบบคำขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นระยะเวลา
๓๐ วัน
ข้อ
๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาครให้ยื่น ณ
ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรสาคร หรือ สำนักงานประมงอำเภอเมืองสมุทรสาคร
ข้อ
๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีผู้เยาว์)
(๕)
สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๖) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
(เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
ใบอนุญาตประกอบกิจการตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๙)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อำนาจ หนูทอง
ประมงจังหวัดสมุทรสาคร
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๙ ง/หน้า ๑๒/๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787977 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดระยะเวลาการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๖ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศกำหนดระยะเวลาในการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
ตามข้อ ๑๓ ของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ไว้ ดังนี้ต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ
๑๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
มายื่นขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือก่อนหนังสือคนประจำเรือหมดอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๙ ง/หน้า ๑๑/๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787774 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือของผู้มีสัญชาติไทยที่ทำการประมงพื้นบ้านหรือประมงน้ำจืดที่ไม่ถือเป็นเรือไร้สัญชาติ แม้ไม่จดทะเบียนเรือ พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดขนาดเรือของผู้มีสัญชาติไทยที่ทำการประมงพื้นบ้านหรือประมงน้ำจืด
ที่ไม่ถือเป็นเรือไร้สัญชาติ
แม้ไม่จดทะเบียนเรือ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า
เรือไร้สัญชาติ ในมาตรา 5
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เรือของผู้มีสัญชาติไทยที่ทำการประมงพื้นบ้านหรือประมงน้ำจืดซึ่งมีขนาดไม่เกินสามตันกรอสไม่ถือเป็นเรือไร้สัญชาติ
แม้ไม่จดทะเบียนเรือ
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๘ ง/หน้า ๑๓/๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787770 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดขนาดเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำทุกขนาดต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือ และรายงานให้กรมประมงทราบตามระยะเวลาและวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๒) แจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง
ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๓) ต้องได้รับอนุมัติแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ
และต้องรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หลังการดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ
ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๔) กลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๕) จัดทำเครื่องหมายประจำเรือขนถ่ายสัตว์น้ำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๒ ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาให้ระบบดังกล่าวสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๓ ให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำทุกขนาด
ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ในเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
ตามหลักเกณฑ์ของรัฐชายฝั่งหรือขององค์การระหว่างประเทศที่มีเขตอำนาจเหนือพื้นที่ที่ตนเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำกำหนด
หรือตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๘ ง/หน้า ๑๒/๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787664 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ด้วยที่จับสัตว์น้ำบางแห่งในจังหวัดสุรินทร์มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแพร่ขยายพันธุ์
วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก
หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ
อันจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
สมควรกำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำบางแห่งเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามหนังสือกรมประมง ที่ กษ ๐๕๐๒.๒/๑๓๗๙ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ
ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(๒)
ประกาศจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่
๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
(๓)
ประกาศจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๒ ให้ที่จับสัตว์น้ำภายในแผนที่แสดงแนวเขตท้ายประกาศดังต่อไปนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(๑) แม่น้ำมูล
บริเวณหน้าวัดโพธิ์พฤกษาราม อาณาเขตกว้าง ๑๐๐ เมตร ยาว ๑๕๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๙
ไร่ ๓ งาน ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๙ ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(หมายเลข ๑) แนบท้ายประกาศนี้
(๒) แม่น้ำมูล
บริเวณหน้าวัดปทุมทอง อาณาเขตกว้าง ๑๐๐ เมตร ยาว ๑๗๕ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ ๙
งาน ๓๗ ตารางวา ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๒) แนบท้ายประกาศนี้
(๓) บ่อน้ำในบริเวณวัดบ้านนาสาม
อาณาเขตกว้าง ๙๘ เมตร ยาว ๒๐๕ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ๕ งาน ๕๖ ตารางวา
ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๓) แนบท้ายประกาศนี้
(๔) อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง บริเวณหน้าสำนักงานโครงการชลประทานห้วยเสนง
อาณาเขตกว้าง ๒๐๐ เมตร ยาว ๒๕๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๓๑ ไร่ ๒ งาน ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๑๘ ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์ ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๔) แนบท้ายประกาศนี้
(๕) อ่างเก็บน้ำอำปึล
บริเวณหน้าโครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำอำปึล อาณาเขตกว้าง ๑๐๐ เมตร ยาว ๔๐๐ เมตร
เนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ ในเขตท้องที่ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๕) แนบท้ายประกาศนี้
(๖) บ่อน้ำในบริเวณวัดสวายเทพมงคล
อาณาเขตกว้าง ๑๘๐ เมตร ยาว ๒๔๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๘
ตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(หมายเลข ๖) แนบท้ายประกาศนี้
(๗) บ่อน้ำในบริเวณวัดปราสาทเทพนิมิต
อาณาเขตกว้าง ๑๓๕ เมตร ยาว ๒๑๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๒
ตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(หมายเลข ๗) แนบท้ายประกาศนี้
(๘) บ่อน้ำในบริเวณวัดบ้านหนองยาง
อาณาเขตกว้าง ๑๒๐ เมตร ยาว ๑๕๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๑
ตำบลเมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ตามแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๘) แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อรรถพร
สิงหวิชัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๑)
ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๒) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓.
แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๓) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
๔.
แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๔) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
๕. แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
(หมายเลข ๕) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.
แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๖) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
๗.
แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๗) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
๘.
แผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (หมายเลข ๘) ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๘/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787662 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2559 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ทะเลชายฝั่งจังหวัดสมุทรปราการตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พินิจ หาญพาณิชย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๗/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787658 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2559 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้กำหนดให้บริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก (สถานตากอากาศบางปู)
ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ และบริเวณวัดขุนสมุทราวาส
ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์
จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งผลิตหอยแครง โดยดำเนินการปล่อยพ่อแม่พันธุ์หอยแครงเพื่อเป็นแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ในพื้นที่ดังกล่าว
ซึ่งหากปล่อยให้มีการทำการประมงจะเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันยับยั้งการทำการประมงในบริเวณที่เป็นแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของหอยแครง
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการ
การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในที่จับสัตว์น้ำในเขตทะเลชายฝั่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณวัดขุนสมุทราวาส
ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ ๓๔๓ - ๓ -
๐๐ ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๒ ให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน
กรมพลาธิการทหารบก (สถานตากอากาศบางปู) ตำบลบางปูใหม่
อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
เนื้อที่ประมาณ ๙๗๕ - ๒ - ๖๔ ไร่ ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พินิจ หาญพาณิชย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๖/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787654 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สืบศักดิ์
เอี่ยมวิจารณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๕/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787652 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง
และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา
๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง
ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในเขตท้องที่ ตำบลปากพะยูน ตำบลเกาะนางคำ ตำบลเกาะหมาก ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
วันชัย
คงเกษม
ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดพัทลุง
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๔/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787650 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑) ทำนบปลาร่องโป่ง เขตท้องที่ตำบลแดนชุมพล อำเภอสอง
จังหวัดแพร่ ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒) อ่างเก็บน้ำแม่ติ๊ก
เขตท้องที่ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตามแผนที่หมายเลข
๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) อ่างเก็บน้ำแม่ถาง
เขตท้องที่ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตามแผนที่หมายเลข
๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔) แม่น้ำยม เขตท้องที่อำเภอสอง
อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย
อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วัฒนา พุฒิชาติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
๔. แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๓/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787648 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
(๑) เขตท้องที่อำเภอเมืองกระบี่
จังหวัดกระบี่
(๒) เขตท้องที่อำเภอเหนือคลอง
จังหวัดกระบี่
(๓) เขตท้องที่อำเภอคลองท่อม
จังหวัดกระบี่
(๔) เขตท้องที่อำเภอเกาะลันตา
จังหวัดกระบี่
(๕) เขตท้องที่อำเภออ่าวลึก
จังหวัดกระบี่
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พินิจ บุญเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๒/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787375 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือ
คนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า ศูนย์ ของข้อ ๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่
๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของ ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ.
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑ กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
(๑) โรงพยาบาลสมุทรสาคร
(๒) สมาคมประมงจังหวัดระยอง
(๓) สมาคมประมงจังหวัดปัตตานี
(๔) สมาคมประมงจังหวัดระนอง
(๕) สหกรณ์ประมงแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม
(๖) ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๒ สาขาจังหวัดจันทบุรี อำเภอนายายอาม
จังหวัดจันทบุรี
(๗) ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๑ สาขาสมุทรปราการ อำเภอบางเสาธง
จังหวัดสมุทรปราการ
(๘) ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า จังหวัดพังงา
(๙) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมงตรัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
(๑๐) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมงตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด
(๑๑) ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร
(๑๒) สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
สำหรับจังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดที่ระบุไว้ในวรรคแรก
ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอที่จังหวัดกำหนด
ทั้งนี้ บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๔ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๒/๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
787320 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2560
| ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือ
คนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า
ศูนย์ ของข้อ ๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
(๑)
สมาคมประมงจังหวัดระยอง
(๒)
สมาคมประมงจังหวัดสมุทรสาคร
(๓)
สมาคมประมงจังหวัดสงขลา
(๔)
สมาคมประมงจังหวัดปัตตานี
(๕)
สมาคมประมงจังหวัดระนอง
(๖)
สมาคมประมงอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
(๗)
สหกรณ์ประมงแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม
(๘)
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร
(๙)
ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า จังหวัดพังงา
(๑๐)
ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๑ สาขาสมุทรปราการ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
(๑๑)
สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
สำหรับจังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดที่ระบุไว้ในวรรคแรก
ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานประมงจังหวัดและสำนักงานประมงอำเภอที่จังหวัดกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ข้อ
๒ สำหรับการดำเนินการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินการ ณ
สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอ
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๘/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
787318 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่และระยะเวลาให้เจ้าของเรือแจ้งความประสงค์ให้คนต่างด้าวทำงานในเรือประมง พ.ศ. 2560
| ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดสถานที่และระยะเวลาให้เจ้าของเรือแจ้งความประสงค์ให้คนต่างด้าวทำงานในเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๐
อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศกำหนดสถานที่และระยะเวลาให้เจ้าของเรือแจ้งความประสงค์ให้คนต่างด้าว
ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
ถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ให้เจ้าของเรือผู้ประสงค์จะให้คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมงมาแจ้งต่อกรมประมง
ณ ศูนย์
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๗/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
787316 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวมาขอหนังสือคนประจำเรือ พ.ศ. 2560
| ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ
การทำงานของคนต่างด้าวมาขอหนังสือคนประจำเรือ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศกำหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวและประสงค์จะทำงานในเรือประมงมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ นับถัดจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ให้คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีที่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวและประสงค์จะทำงานในเรือประมงมายื่นขอคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมประมง
ณ สำนักงานประมงจังหวัด ทั้งนี้
จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๖/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
787314 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
| ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดแบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๓ วรรคสี่
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดแบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ
๒ หนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าวตามข้อ
๘ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ใช้แบบ ๑ ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ หนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าวตามข้อ
๑๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ใช้แบบ ๒ ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับแรงงานต่างด้าว (แบบ ๑)
๒.
แบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว (แบบ ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๕/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
787312 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้าน
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่สมควรกำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้าน
เพื่อเป็นหลักฐานในการสืบค้นความชอบด้วยกฎหมายของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง
กรมประมงจึงออกประกาศเพื่อกำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้าน
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ผู้ทำการประมงพื้นบ้านจัดทำหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้านตามแบบท้ายประกาศนี้ให้แก่ผู้ซื้อ
และกรอกรายการในหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้านให้ถูกต้องครบถ้วน
ข้อ
๒ ให้ผู้ที่ซื้อสัตว์น้ำจากผู้ทำการประมงพื้นบ้านกรอกข้อมูลในหนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้านตามข้อ
๑ เมื่อขายหรือส่งมอบสัตว์น้ำนั้นให้บุคคลอื่น
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือกำกับการจับและเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำจากเรือประมงพื้นบ้าน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๔/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
787152 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่ทุกอำเภอในจังหวัดชลบุรี
ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นเกาะ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ภัครธรณ์ เทียนไชย
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
ภวรรณตรี/จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๕๒/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
787150 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
| ErrorInternal Server Error |
787147 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่อำเภอพนมทวน และอำเภอท่าม่วง
จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
รณชัย จิตรวิเศษ
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ภวรรณตรี/จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๕๐/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
787070 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2560
| ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือคนประจำเรือการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในเรือประมงอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในเรือประมงที่จะออกไปทำการประมงในทะเล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๓ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐ ให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙
(๒) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
คนต่างด้าว หมายความว่า
บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา
และสัญชาติอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ศูนย์ หมายความว่า
ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และให้หมายความรวมถึงกรมประมง
ที่ทำการสำนักงานประมงจังหวัด ที่ทำการสำนักงานประมงอำเภอ หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
องค์กรพัฒนาเอกชน หมายความว่า
องค์กรที่ไม่แสวงกำไรที่ทำงานด้านการคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงาน
พนักงานตรวจแรงงาน หมายความว่า
พนักงานตรวจแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
เรือประมง หมายความว่า
เรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยตามประเภทการใช้ทำการประมง
ที่จะออกไปทำการประมงในทะเล
ข้อ
๔ คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีผู้ใดประสงค์จะทำงานในเรือประมง
แต่ไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
ให้มาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมประมง
ณ ศูนย์ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
หรือตามเวลาที่กรมประมงประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
และในกรณีมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้ยื่นมาพร้อมคำขอรับหนังสือคนประจำเรือด้วย
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (Non Thai Identification Card)
(๒) สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
(๓) สำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport)
(๔) สำเนาเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
(๕)
สำเนาหนังสือรับรองสถานะบุคคลหรือสำเนาบัตรประจำตัวตามกฎหมายที่ตนมีสัญชาติ
(๖) สำเนาหนังสือสำคัญประจำตัว (Certification Identity)
(๗) สำเนาเอกสารประจำตัวตามกฎหมายที่ตนมีสัญชาติ
ข้อ
๕ การจัดทำทะเบียนประวัติตามข้อ ๔
อย่างน้อยต้องมีการจัดเก็บลายนิ้วมือและถ่ายรูป พร้อมระบุชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ
และในกรณีคนต่างด้าวไม่มีเอกสารหลักฐานตามข้อ ๔ ให้กรมประมงประสานกรมการปกครองเพื่อดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
ข้อ
๖ เจ้าของเรือผู้ใดประสงค์จะให้คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมง
ให้แจ้งต่อกรมประมง ณ
สถานที่และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภทการทำการประมง
ค่าจ้างและสวัสดิการที่จะจัดให้แก่คนประจำเรือ
และจำนวนคนต่างด้าวที่ประสงค์จะรับทำงานในเรือประมง
(๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ และสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ
กรณีเรือประมงมีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
(๓) สำเนาใบทะเบียนเรือไทยและสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ
กรณีเรือประมงมีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส
(๔)
สำเนาใบอนุญาตให้ทำการงานในเรือที่ใช้ทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยสำหรับเรือประมงขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
และบัญชีคนทำการงานในเรือแนบท้ายใบอนุญาตฉบับล่าสุด
ข้อ
๗ ในกรณีเจ้าของเรือมีเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ
๖ ถูกต้องและครบถ้วน ให้กรมประมงจัดทำบัญชีรายชื่อนายจ้างเพื่อให้คนต่างด้าวเลือกสมัครเข้าทำงานและให้เจ้าหน้าที่กำหนดวันและเวลาเพื่อให้เจ้าของเรือมาเจรจาตกลงกับคนต่างด้าว
โดยให้พนักงานตรวจแรงงานและผู้ประสานงานด้านภาษาร่วมกันสัมภาษณ์คนต่างด้าวและตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาจ้างงาน
ทั้งนี้
อาจให้มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน หรือผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วยก็ได้
ในกรณีที่คนต่างด้าวแสดงความประสงค์จะทำงานในเรือประมงและเจ้าของเรือยินยอมจ่ายค่าจ้างและจัดสวัสดิการตามที่ได้ตกลงกัน
ให้เจ้าของเรือพาคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครองอย่างน้อยหนึ่งปี
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘ เว้นแต่คนต่างด้าวมีใบรับรองการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพน้อยกว่าหนึ่งปี
ให้ทำประกันสุขภาพให้มีอายุคุ้มครองครบหนึ่งปี โดยเจ้าของเรือเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ประสงค์จะทำ
งานในเรือประมงหรือไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ ให้กรมประมงแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดำเนินการส่งคนต่างด้าวนั้นออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองต่อไป
เว้นแต่คนต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
ข้อ
๘ ให้อธิบดีออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวเมื่อปรากฏว่า
(๑) เจ้าของเรือจัดทำหนังสือสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล
โดยอย่างน้อยต้องมีการกำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนผ่านบัญชีธนาคาร
โดยเจ้าของเรือเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการชำระค่าตอบแทนผ่านบัญชีธนาคาร และมีพนักงานตรวจแรงงานอย่างน้อยหนึ่งคนลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้าง
(๒)
คนต่างด้าวมีใบรับรองการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครองอย่างน้อยหนึ่งปีตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘
(๓) การจ้างคนประจำเรือซึ่งทำหน้าที่แรงงานประมงไม่เกินจำนวนที่เจ้าของเรือสามารถจ้างได้ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
(๔) การจ้างคนประจำเรือซึ่งทำหน้าที่แรงงานประมงไม่เกินห้าคนสำหรับเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส
ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบแทนตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้
ไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ออกใบแทน โดยเจ้าของเรือจะต้องนำใบแทนมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ
ข้อ ๙ เจ้าของเรือประมงที่มีขนาดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา
๘๑ (๓) ผู้ใดประสงค์จะให้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมงต้องจัดให้ผู้นั้นยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมเจ้าท่าตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ในกรณีที่กรมเจ้าท่าไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ
ข้อ
๑๐ หนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๘
ให้มีอายุไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือหรือใบแทน
หนังสือคนประจำเรือตามข้อ
๙ ให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ข้อ
๑๑ หนังสือคนประจำเรือหรือใบแทนตามข้อ ๘
ให้ถือว่าเป็นการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
ข้อ
๑๒ ในกรณีคนต่างด้าวซึ่งได้รับหนังสือคนประจำเรือเป็นคนต่างด้าวซึ่งไม่มีเอกสารหลักฐานตามข้อ
๔ (๒) ถึง (๗)
ให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้ประสานงานกับประเทศต้นทางเพื่อให้คนต่างด้าวเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติโดยเร็ว
ข้อ
๑๓ คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีผู้ใดมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวและประสงค์จะขอหนังสือคนประจำเรือให้ยื่นคำขอต่อกรมประมง
ณ ศูนย์ ตามเวลาที่กรมประมงประกาศกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
(๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ
สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
(๓) สำเนาใบทะเบียนเรือ
และสำเนาใบอนุญาตให้ใช้เรือสำหรับเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส
(๔)
สำเนาหนังสือสัญญาจ้างให้ทำงานในเรือประมงตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล
ข้อ
๑๔ ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ
๑๓
ถูกต้องและครบถ้วนให้อธิบดีจัดทำทะเบียนประวัติและออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวนั้น
ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ
ข้อ
๑๕ หนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๑๔
ให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งจะหมดอายุภายในวันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ หรือวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือหรือใบรับคำขอ
ข้อ
๑๖ คนต่างด้าวซึ่งได้รับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ
๑๓ ผู้ใดประสงค์จะต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ ให้ยื่นคำขอต่อกรมประมง ณ ศูนย์
ตามเวลาที่กรมประมงประกาศกำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) หนังสือคนประจำเรือที่หมดอายุ
(๒) สำเนาใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
(๓) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ
สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป
(๔) สำเนาใบทะเบียนเรือ
และสำเนาใบอนุญาตให้ใช้เรือสำหรับเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส
(๕) สำเนาหนังสือสัญญาจ้างให้ทำงานในเรือประมงตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ
๑๖ ถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีต่ออายุหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวผู้นั้น
โดยให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
การต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
ให้ประทับตราวันที่ต่ออายุพร้อมกับลงนามในหนังสือคนประจำเรือเล่มเดิม
หรือจะออกเล่มใหม่ก็ได้
ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถต่ออายุหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ
ข้อ
๑๘ ในกรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะเปลี่ยนนายจ้าง
ให้คนต่างด้าวและนายจ้างใหม่ยื่นคำขอแก้ไขรายการในหนังสือคนประจำเรือพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
อธิบดีจะอนุญาตให้เปลี่ยนนายจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑) นายจ้างเลิกจ้างหรือนายจ้างเสียชีวิต
(๒) นายจ้างล้มละลาย
(๓) นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
(๔) นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
(๕)
ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
ให้เจ้าหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนนายจ้างไว้ในหนังสือคนประจำเรือและในทะเบียนประวัติ
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะเพิ่มนายจ้าง
ให้คนต่างด้าวและนายจ้างใหม่ยื่นคำขอแก้ไขในหนังสือคนประจำเรือพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
อธิบดีจะอนุญาตให้เพิ่มนายจ้างได้เมื่อมีหนังสือยินยอมจากนายจ้างเดิม
โดยให้มีการเพิ่มนายจ้างได้ไม่เกินสามคน
ข้อ
๒๐ ในกรณีคนต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
ให้อธิบดีแจ้งการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างตามข้อ ๑๘ หรือข้อ ๑๙ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทราบและแก้ไขใบอนุญาตทำงานให้สอดคล้องกัน
ให้เจ้าหน้าที่บันทึกการเพิ่มนายจ้างไว้ในหนังสือคนประจำเรือและในใบทะเบียนประวัติ
ข้อ
๒๑ ในกรณีหนังสือคนประจำเรือสูญหายหรือเสียหาย
ให้คนต่างด้าวหรือเจ้าของเรือยื่นขอรับใบแทนหนังสือคนประจำเรือที่สูญหายหรือเสียหาย
ณ ศูนย์ ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นหนังสือคนประจำเรือที่เสียหายหรือหลักฐานการแจ้งความในกรณีสูญหายต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหายหรือเสียหาย
ในการออกใบแทนหนังสือคนประจำเรือให้ใช้แบบหนังสือคนประจำเรือเดิม
โดยระบุคำว่า ใบแทน ไว้ที่กึ่งกลางด้านหน้าของหนังสือคนประจำเรือ
ข้อ
๒๒ ผู้ยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ
๔ และข้อ ๑๓ และผู้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๑๖
ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือและการต่ออายุตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ผู้ยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ
๙
ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ข้อ
๒๓ ให้หนังสือคนประจำเรือที่กรมประมงออกตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวหมดอายุ
หรืออีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับแล้วแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่า
ข้อ
๒๔ ในกรณีที่เจ้าของเรือที่มีขนาดต่ำกว่าสามสิบตันกรอสผู้ใดมีคนประจำเรือซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำงานอยู่ในเรือประมงอยู่ก่อนแล้วและผู้นั้นยังไม่มีหนังสือคนประจำเรือ
ให้ดำเนินการยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนประจำเรือนั้นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงานตามข้อ ๔)
๒.
คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีมีใบอนุญาตทำงานตามข้อ ๑๓)
๓.
ใบรับคำขอหนังสือคนประจำเรือ
๔.
ใบแทนหนังสือคนประจำเรือ
๕.
คำขอใบแทน ขอแก้ไขรายการ ขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
๖.
ใบคำขอเพิ่มนายจ้าง
๗.
ใบคำขอเปลี่ยนนายจ้าง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๘/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
787013 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลาและวิธีการส่งรายงาน
สมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงระยะเวลาและวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้เจ้าของเรือที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป
และเจ้าของเรือที่ใช้เรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำ
การประมง ประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์
จัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามรูปแบบท้ายประกาศนี้
และส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงที่ได้บันทึกสำหรับเที่ยวนั้นให้แก่กรมประมงทุกครั้งที่นำเรือเข้าเทียบท่า
โดยยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกโดยทันทีที่เรือเข้าเทียบท่า
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ข้อ
๓ การดำเนินการตามข้อ ๒ เจ้าของเรืออาจให้ผู้ควบคุมเรือเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้
ข้อ
๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บันทึกการทำการประมง อวนลาก - อวนรุนเคย
๒.
บันทึกการทำการประมง อวนล้อมจับ
๓.
บันทึกการทำการประมง อวนจม อวนลอย - อวนติดตา
๔.
บันทึกการทำการประมง อวนครอบ - ช้อน/ยก แผงยกปูจั๊กจั่น
๕.
บันทึกการทำการประมง ลอบ
๖.
บันทึกการทำการประมง คราด
๗.
บันทึกการทำการประมง เบ็ด
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง/หน้า ๑๐/๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ |
786760 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่ปัจจุบันได้มีชาวประมงใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทแหที่ทำการดัดแปลงโดยใช้เชือกร้อยเนื้อแหบริเวณเหนือระดับเพลาสำหรับดึงรวบตีนแหป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำออกมาได้ในขณะทำการประมงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำ
หรือที่เรียกชื่อกันในท้องถิ่นว่า แหขยุ้ม ทำการประมงโดยการเคลื่อนย้ายไปตามอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง
ๆ ในเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจากการสำรวจพบว่าการทำการประมงลักษณะนี้สามารถจับสัตว์น้ำที่รวมกันเป็นฝูงได้ในปริมาณมากจนเกินสมควร
หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมง
และวิธีการทำการประมงดังกล่าวอีกต่อไป จะส่งผลกระทบต่อพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ
และความสมดุลของระบบนิเวศในแหล่งน้ำ รวมทั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนประมงท้องถิ่นที่มีระบบการจัดการ
การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่นของตน กับชาวประมงต่างถิ่นที่เคลื่อนย้ายมาทำการประมงในแต่ละแหล่งน้ำ ดังนั้น
จึงเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วน
และสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ
และระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง มาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทแหที่เรียกชื่อว่า
แหขยุ้ม หรือเครื่องมือทำการประมงประเภทแหที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ทำการดัดแปลงโดยใช้เชือกร้อยเนื้อแหบริเวณเหนือระดับเพลาสำหรับดึงรวบตีนแหป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำออกมาได้ในขณะทำการประมง
ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา
ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำซึ่งกระทำโดยทางราชการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วิเชียร
จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๗ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๒๓/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ |
786758 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
๑. เขตท้องที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
๒. เขตท้องที่อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
๓. เขตท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
๔. เขตท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
๕. เขตท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
๖. เขตท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
๗. เขตท้องที่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
๘. เขตท้องที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
๙. เขตท้องที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
๑๐. เขตท้องที่อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๑๑. เขตท้องที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วิเชียร
จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๗ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๒๒/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ |
786752 | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนดำเนินการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ
ก่อนดำเนินการประกอบกิจการโรงงาน
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐/๑
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมประมง เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนดำเนินการประกอบกิจการโรงงาน
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒
ภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการประมงที่มิได้แจ้งหรือรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งประกอบกิจการอยู่แล้ว ณ
วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ต้องแจ้งให้กรมประมงทราบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อ ๓ และข้อ ๔
กรณีผู้ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการประมงที่มิได้แจ้งหรือรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
และประสงค์จะประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
ต้องแจ้งให้กรมประมงทราบก่อนดำเนินการประกอบกิจการโรงงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อ
๓ และข้อ ๔
ข้อ ๓
ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามข้อ ๒
ยื่นแจ้งการประกอบกิจการโรงงานตามแบบใบแจ้งท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารและหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
๓.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
๓.๒ กรณีเป็นนิติบุคคลให้แนบ
(๑) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และ
(๒)
สำเนาประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นใดของนิติบุคคลนั้น
แล้วแต่กรณี
๓.๓ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแจ้ง
หรือดำเนินการแทนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ให้แนบหนังสือมอบอำนาจมาพร้อมกับใบแจ้งและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
๓.๔ แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงาน
๓.๕ สำเนาหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน
หรือเอกสารยินยอมให้ใช้ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน หรือสัญญาเช่าโรงงาน
ข้อ ๔ การแจ้งการประกอบกิจการให้ยื่นแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
๔.๑ กรณีโรงงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแจ้ง ณ
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง กรุงเทพมหานคร
๔.๒ กรณีโรงงานอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอ ณ
ศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสมุทรสาคร
หรือศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสุราษฎร์ธานี
หรือศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสงขลา หรือสำนักงานประมงจังหวัด
หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่โรงงานนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๕
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามข้อ ๓ แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของใบแจ้ง
และเอกสารและหลักฐาน
กรณีที่ใบแจ้ง หรือเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
ให้แจ้งให้ผู้แจ้งดำเนินการแก้ไข
หรือจัดส่งเอกสารและหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
กรณีที่ผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไข หรือไม่จัดส่งเอกสารและหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนตามระยะเวลากำหนด
ให้ถือว่าใบแจ้งนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้แจ้งทราบ
ข้อ ๖ กรณีที่ใบแจ้ง
และเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับแจ้งตามแบบท้ายประกาศนี้ให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ข้อ ๗[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบแจ้งการประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
๒. หนังสือรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๗ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๑๐/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ |
786378 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2560 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี
เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๐
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ กำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดชลบุรี ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐
วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงหอยทะเลในพื้นที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงอำเภอเมืองชลบุรี ที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ
และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๕) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๖) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
บัญชา สุขแก้ว
ประมงจังหวัดชลบุรี
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๒๐ กันยายน
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๓ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑๑/๑๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
785824 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัด จังหวัดหนองบัวลําภู เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัด จังหวัดหนองบัวลําภู เรื่อง กําหนดฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกกําหนดชนิด ขนาดและวิธีใช้เครื่องมือทําการประมง | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด
จังหวัดหนองบัวลำภู
เรื่อง
ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู
เรื่อง
กำหนดฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกกำหนดชนิด
ขนาดและวิธีใช้เครื่องมือทำการประมง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๑ (๑)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด
จังหวัดหนองบัวลำภู ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำ
จังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู เรื่อง
กำหนดฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก กำหนดชนิด ขนาดและวิธีใช้เครื่องมือทำการประมง
ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธนากร อึ้งจิตรไพศาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด
จังหวัดหนองบัวลำภู
ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๕๒/๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ |
785810 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจําจังหวัดยะลา เรื่อง กําหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสําหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดยะลา
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ดลเดช พัฒนรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา
ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๕๑/๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ |
785794 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กําหนดแบบและรายการหนังสือกํากับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๖ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำระยะเวลาและวิธีการในการส่งสำเนาหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร
และท่าเทียบเรือประมงที่มีการซื้อขายสัตว์น้ำส่งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าสัตว์น้ำแปรรูป
ตามรายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศนี้จัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้
ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ และกรอกรายการในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้ถูกต้องครบถ้วน
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๓ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่นอกเหนือตามข้อ
๒ จัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้
ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ และกรอกรายการในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้ถูกต้องครบถ้วน
ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๔ ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาตามข้อ
๒ และข้อ ๓
ต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง
ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาดังกล่าวจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสาร
จนกว่าจะจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง
ข้อ
๕ กรณีเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ และข้อ ๓ ให้ยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการปฏิบัติเป็นการชั่วคราว
โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
ซึ่งอธิบดีมีอำนาจผ่อนผันเป็นรายกรณีตามเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้
ระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่ครบกำหนดเวลาตามข้อ ๒
หรือข้อ ๓
ในระหว่างเวลารอการกำหนดระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันจากอธิบดี
และภายในระยะเวลาที่มีการผ่อนผัน
ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสารเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marine Catch Purchasing Document: MCPD)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๓๗/๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ |
785790 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กําหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมง ที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนําสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดรายการ
และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมง
ที่เข้าใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
ขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล
และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ
หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
(๒)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล
และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร
และท่าเทียบเรือประมงที่มีการซื้อขายสัตว์น้ำส่งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าสัตว์น้ำแปรรูป
ตามรายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศนี้
บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงทุกลำที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ
นำสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ตามแบบท้ายประกาศนี้
ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง
http://traceability.fisheries.go.th/tds/
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๓ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่นอกเหนือตามข้อ
๒ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงทุกลำที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
ตามแบบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๔ ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาตามข้อ
๒ และข้อ ๓ ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมงให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาดังกล่าวบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสาร
จนกว่าจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง
ข้อ
๕ กรณีเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ และข้อ ๓ ให้ยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการปฏิบัติเป็นการชั่วคราว
โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี
ซึ่งอธิบดีมีอำนาจผ่อนผันเป็นรายกรณีตามเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้
ระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่ครบกำหนดเวลาตามข้อ ๒
หรือข้อ ๓
ในระหว่างเวลารอการกำหนดระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันจากอธิบดี
และภายในระยะเวลาที่มีการผ่อนผัน ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสารเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ
และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ
ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
แบบบันทึกข้อมูลเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ
นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง (Landing Declaration)
๓.
แบบสรุปรายวันบันทึกข้อมูลเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ
นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๓๕/๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ |
785487 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำบริเวณเกาะขามใหญ่ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำบริเวณเกาะขามใหญ่ อำเภอเกาะสีชัง
จังหวัดชลบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่ที่บริเวณด้านทิศเหนือของเกาะขามใหญ่ ตำบลท่าเทววงษ์
อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
มีแนวปะการังอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นระบบนิเวศที่มีความเหมาะสมเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
แหล่งผสมพันธุ์ วางไข่
และเป็นแหล่งเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของปลาการ์ตูนและทรัพยากรสัตว์น้ำอื่น ๆ
แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีชาวประมงนอกพื้นที่เข้ามาทำการประมงอยู่เป็นประจำ
เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น
เพื่อเป็นการอนุรักษ์
และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ
และระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืน ตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
จึงสมควรกำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
และความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใด
จับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรีโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ที่จับสัตว์น้ำบริเวณทิศเหนือของเกาะขามใหญ่
ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนดท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน
๒ แปลง
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ภัครธรณ์
เทียนไชย
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ บริเวณเกาะขามใหญ่ อำเภอเกาะสีชัง
จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๑๑ กันยายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๖๑/๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
785032 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
(๑) อ่าวพุมเรียง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๕
พื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๑
แนบท้ายประกาศนี้
(๒) อ่าวท่าฉาง พื้นที่ตำบลเขาถ่าน ตำบลท่าฉาง
ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) อ่าวท้องปึก อ่าวท่านา
อ่าวท้องเขา อ่าวบางอุ่น พื้นที่ตำบลท่าทองใหม่ ตำบลตะเคียนทอง ตำบลกะแดะ
ตำบลพลายวาส ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๓
แนบท้ายประกาศนี้
(๔) อ่าวบ้านพอด พื้นที่ตำบลชลคราม อำเภอดอนสัก
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕) อ่าวหน้าเกาะมัดสุม พื้นที่ตำบลตะลิ่งงาม
อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อวยชัย
อินทร์นาค
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๗ กันยายน ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๙ ง/หน้า ๑๓/๕ กันยายน ๒๕๖๐ |
785030 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่
ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สฤษดิ์
วิฑูรย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๗ กันยายน ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๙ ง/หน้า ๑๒/๕ กันยายน ๒๕๖๐ |
785028 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือCherax spp. พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สฤษดิ์
วิฑูรย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๗ กันยายน ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๙ ง/หน้า ๑๑/๕ กันยายน ๒๕๖๐ |
784662 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรีออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
(๑) เขตท้องที่ทุกตำบลอำเภอบางแพจังหวัดราชบุรี
(๒) เขตท้องที่ตำบลบัวงาม ตำบลประสาทสิทธิ์ ตำบลดอนคลัง ตำบลบ้านไร่
ตำบลแพงพวย ตำบลดอนกรวย และตำบลขุนพิทักษ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
(๓) เขตท้องที่ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลดอนทราย ตำบลบ้านฆ้อง ตำบลธรรมเสน ตำบลท่าชุมพล ตำบลคลองตาคต ตำบลโพธาราม
และตำบลบางโตนด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
(๔) เขตท้องที่ตำบลหนองอ้อ ตำบลดอนกระเบื้อง ตำบลนครชุมน์ ตำบลกรับใหญ่ และตำบลหนองกบ
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
(๕) เขตท้องที่ตำบลคุ้งกระถิน ตำบลน้ำพุ ตำบลสามเรือน ตำบลคูบัว
และตำบลพิกุลทอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
(๖) เขตท้องที่ตำบลอ่างหิน ตำบลปากท่อ
และตำบลป่าไก่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดราชบุรี
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๓๖/๑ กันยายน ๒๕๖๐ |
784267 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลพบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2559 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลพบุรี
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลพบุรี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘
กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา
๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลพบุรีออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดลพบุรี เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ภานุ แย้มศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดลพบุรี
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๒๗/๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
784263 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ชนิดหอยนางรม ด้วยวิธีปักหลักล่อลูกหอย
(๑)
คลองมะรุ่ย คลองไม้เหลี่ยม คลองสามหาบ คลองทองหลาง เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลอ่าวลึกใต้
อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
คลองท่าปริง เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓) คลองแรด เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก
จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔)
คลองสมิหลัง เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕)
คลองบากัน เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒ ให้พื้นที่อ่าวทุ่งครก
เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๑ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๖
แนบท้ายประกาศนี้
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล ชนิดหอยแครง
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พินิจ บุญเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓.
แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔.
แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕.
แผนที่หมายเลข ๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.
แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๒๖/๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
784259 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
คลองประสงค์ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๔ ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒)
คลองกำ เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓)
คลองจิหลาด เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔)
คลองทับไม้ เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕)
อ่าวทึง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๖)
คลองกรวด เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๗)
คลองในสระ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓ ตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่
จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๘)
คลองไคร เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๙)
คลองไหนหนัง เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๐)
อ่าวท่าทองหลาง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๖ ตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๑)
ทำนบหนองคล้า เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๑๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๒)
คลองเขม้า เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองเขม้า อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๑๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๓)
คลองควนต่อ เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองเขม้า อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๑๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๔)
คลองไสโป๊ะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๑๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๕)
คลองตลิ่งชัน เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๕ ตำบลตลิ่งชัน
อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๑๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๖)
คลองหลังดา เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๑๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๗)
คลองเตาะ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๑๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๑๘) ทะเลชายฝั่งหน้าทุ่งไม้ไผ่ เขตท้องที่หมู่ที่ ๗
ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๑๘
แนบท้ายประกาศนี้
(๑๙)
ทะเลชายฝั่งหน้าบ้านเกาะปู เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๑๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๐)
คลองมูตู เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๑)
คลองหวายเล็ก เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๒)
คลองแรด เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๓)
คลองสองพี่น้อง เขตท้องที่หมู่ที่ ๘ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๔)
ทะเลชายฝั่งบ้านแหลมกรวด เขตท้องที่หมู่ที่ ๘ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๒๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๕)
คลองท่ายาง เขตท้องที่หมู่ที่ ๙ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๖)
คลองเพหลา เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๗)
คลองบากัน เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๘)
คลองทรายขาว เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๒๙)
คลองต้นกอ เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๒๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๐)
คลองมดคัน เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๑)
คลองกะลาเสน้อย เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๒)
คลองทุ่งคา เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๓)
สระน้ำห้วยลึก เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๔)
คลองท่าประดู่ เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๕)
คลองโต๊ะทอก เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๖)
คลองน้ำร้อน เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๗)
คลองยาง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๘)
คลองน้ำท่อ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๓๙)
คลองโต๊ะแรง เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๓๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๐)
คลองไคร เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๔๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๑)
คลองยี่เหร่ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๓ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๔๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๒)
คลองท่าทุกควาย เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๑๐ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๔๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๓)
คลองลัดลิกี เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๖ และหมู่ที่ ๙ ตำบลเกาะกลาง
อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๔๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๔)
คลองลาดปันจอ เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๔๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๕) คลองขุนรายา เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองยาง
หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๔๕
แนบท้ายประกาศนี้
(๔๖)
คลองนา เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๔๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๗)
คลองเกาะยาง เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๕ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๔๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๘) อ่าวเกาะลันตาน้อย เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔
หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๔๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๔๙)
คลองหลังสอด เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๔๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๐)
คลองลัดบ่อแหน คลองโตนด คลองบากันรัง เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๕ ตำบลเกาะลันตาน้อย หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๕
ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๕๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๑)
คลองยาง เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๗ ตำบลคลองยาง อำเภอเกาะลันตา
จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๕๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๒)
คลองลัดบ่อแหน เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลศาลาด่านและคลองทราย เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะลันตาน้อย
อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๕๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๓)
คลองท่าเรือบ้านทุ่งยี่เพ็ง เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา
จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข ๕๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๔)
คลองท่าปริง เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๕๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๕)
คลองเขาเตบ เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๕๕ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๖)
คลองเกาะยอ เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๕๖ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๗) อ่าวเหนา เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก
จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๕๗ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๘)
คลองไสโต๊ะดำ เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๕๘ แนบท้ายประกาศนี้
(๕๙) คลองแรด เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก
จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๕๙ แนบท้ายประกาศนี้
(๖๐)
คลองสมิหลัง เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๖๐ แนบท้ายประกาศนี้
(๖๑)
คลองอ่าวลึกน้อย เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๖๑ แนบท้ายประกาศนี้
(๖๒)
คลองบากัน เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๖๒ แนบท้ายประกาศนี้
(๖๓)
คลองกาโรส เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตามแผนที่หมายเลข
๖๓ แนบท้ายประกาศนี้
(๖๔)
คลองน้ำแดง เขตท้องที่หมู่ที่ ๘ ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๖๔ แนบท้ายประกาศนี้
(๖๕)
สระน้ำผุด เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
ตามแผนที่หมายเลข ๖๕ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พินิจ บุญเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓.
แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔.
แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕.
แผนที่หมายเลข ๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.
แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๗.
แผนที่หมายเลข ๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๘.
แผนที่หมายเลข ๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๙.
แผนที่หมายเลข ๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๐.
แผนที่หมายเลข ๑๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๑.
แผนที่หมายเลข ๑๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๒.
แผนที่หมายเลข ๑๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๓.
แผนที่หมายเลข ๑๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๔.
แผนที่หมายเลข ๑๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๕.
แผนที่หมายเลข ๑๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๖.
แผนที่หมายเลข ๑๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๗.
แผนที่หมายเลข ๑๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๘.
แผนที่หมายเลข ๑๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๙.
แผนที่หมายเลข ๑๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๐.
แผนที่หมายเลข ๒๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๑.
แผนที่หมายเลข ๒๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๒.
แผนที่หมายเลข ๒๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๓.
แผนที่หมายเลข ๒๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๔.
แผนที่หมายเลข ๒๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๕.
แผนที่หมายเลข ๒๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๖.
แผนที่หมายเลข ๒๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๗.
แผนที่หมายเลข ๒๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๘.
แผนที่หมายเลข ๒๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๙.
แผนที่หมายเลข ๒๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๐.
แผนที่หมายเลข ๓๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๑.
แผนที่หมายเลข ๓๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๒.
แผนที่หมายเลข ๓๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๓.
แผนที่หมายเลข ๓๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๔.
แผนที่หมายเลข ๓๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๕.
แผนที่หมายเลข ๓๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๖.
แผนที่หมายเลข ๓๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๗.
แผนที่หมายเลข ๓๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๘.
แผนที่หมายเลข ๓๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๙.
แผนที่หมายเลข ๓๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๐.
แผนที่หมายเลข ๔๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๑.
แผนที่หมายเลข ๔๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๒.
แผนที่หมายเลข ๔๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๓.
แผนที่หมายเลข ๔๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๔.
แผนที่หมายเลข ๔๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๕.
แผนที่หมายเลข ๔๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๖.
แผนที่หมายเลข ๔๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๗.
แผนที่หมายเลข ๔๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๘.
แผนที่หมายเลข ๔๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔๙.
แผนที่หมายเลข ๔๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๐.
แผนที่หมายเลข ๕๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๑.
แผนที่หมายเลข ๕๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๒.
แผนที่หมายเลข ๕๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๓.
แผนที่หมายเลข ๕๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๔.
แผนที่หมายเลข ๕๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๕.
แผนที่หมายเลข ๕๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๖.
แผนที่หมายเลข ๕๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๗.
แผนที่หมายเลข ๕๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๘.
แผนที่หมายเลข ๕๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๕๙.
แผนที่หมายเลข ๕๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๐.
แผนที่หมายเลข ๖๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๑.
แผนที่หมายเลข ๖๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๒.
แผนที่หมายเลข ๖๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๓.
แผนที่หมายเลข ๖๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๔.
แผนที่หมายเลข ๖๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๕.
แผนที่หมายเลข ๖๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๖.
แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๒๑/๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783871 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkia หรือ Cherax
spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑/๑
ของประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช
Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๑/๑ ในประกาศนี้
ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) เพื่อขาย แลกเปลี่ยน หรือได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ทั้งนี้
ไม่หมายความรวมถึง บุคคลหรือนิติบุคคล ที่รวบรวมและขายเพื่อการบริโภค
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า สถานที่ที่มีที่ตั้งแน่นอนและเป็นประจำ
เพื่อใช้ในการประกอบกิจการการเพาะพันธุ์ อนุบาล เลี้ยง สัตว์น้ำควบคุม
และให้หมายความรวมถึง สถานที่ซึ่งเป็นที่ขายหรือรวบรวมสัตว์น้ำควบคุมที่มิใช่เป็นการขายเพื่อการบริโภคด้วย
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
ชวัลพร/อัญชลี/จัดทำ
๒๔ สิงหาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๖ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๙/๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783673 | ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดิน พ.ศ. 2560
| ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต
ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๒ ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
คำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๒. บันทึกการตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต
๓.
ใบรับคำขอใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๔.
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๕.
คำขอโอนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๖.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๖ ง/หน้า ๑๑/๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783506 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/06/2560) | ประกาศกรมประมง
ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์
ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงลำใดแล้ว
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งข้อมูล รหัสกล่อง หรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ
หรือหมายเลขทะเบียนเรือ
ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้
ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
ภายในเจ็ดวัน หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ
ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า[๑]
กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหายต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน
โดยต้องมีหนังสือรับรองจากอู่ซ่อมเรือ โดยระบุวันที่เริ่มต้นขึ้นคาน และลงจากคาน
(๒)
กรณีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์
โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม
(๓)
กรณีเรือประมงอับปาง โดยแนบสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาด้วย
ทั้งนี้
เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑)
ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
โดยจะสามารถปิดระบบติดตามเรือได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมงแล้ว และก่อนเรือประมงลงจากคานให้แจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ทราบก่อนสิบสองชั่วโมงด้วย[๒]
กรณีเหตุการณ์ตาม
(๒) และ (๓) ให้แจ้งภายในหกชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
โดยให้แนบหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรมประมง
หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วแต่กรณี
มาให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
ทราบภายในสี่สิบแปดชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น[๓]
การแจ้งตามวรรคสามและวรรคสี่
ให้ดำเนินการตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้[๔]
ข้อ
๓[๕] ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว
จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกหนึ่งชั่วโมง
หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ
กรณีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับชนิดเครื่องมือ อวนล้อมจับปลากะตัก
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว
จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกสิบห้านาที
หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ
ข้อ
๔ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง
ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C
ต่อศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง
กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ว่าไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือตรวจสอบระบบติดตามเรือที่ติดอยู่กับเรือประมงว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่
หากพบว่ามีข้อขัดข้องให้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว
โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง
(ศฝป. ๗.๑ และ ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง
หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือกลับมาใช้งานได้ภายในสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งว่ามีเหตุขัดข้องให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที
และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่าแล้ว
พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย
หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที[๖]
การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว[๗]
ความในวรรคสอง
มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ[๘]
ข้อ
๔/๑[๙]
กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
(๑) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงเป็นระยะเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง
นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง
กรมประมง ในครั้งแรก
โดยไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือประมงกลับมาใช้งานได้ตามปกติได้ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง
(๒)
ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสะสมเป็นจำนวนหกครั้ง
ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง
นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
ในครั้งแรก ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง
(๓)
ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงซ้ำกันหลายครั้งในการแจ้งออกทำการประมงหลายครั้ง
บริเวณแนวแบ่งเขตระหว่างเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง
พื้นที่ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามทำการประมง หรือบริเวณแนวแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
(๔)
มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงทุกครั้ง
ในระหว่างการแจ้งออกทำการประมง ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนหกครั้ง
และได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมงกรมประมง
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าด้วยเหตุดังกล่าว
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าตามระยะเวลา
และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดทันที
การนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่า
ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งพิกัดปัจจุบัน และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ
HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ ๘๒๒๘.๐ KHz ช่องรองความถี่ ๖๒๙๐.๐ KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ ๑๑C ช่องรองความถี่ ๑๒C ทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
ที่ส่งผ่านมาจาก E-Mail ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้
และได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือทางโทรศัพท์ ๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑
ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
จนว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือ กรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ
ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง
เมื่อได้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกและให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย
หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที
การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว
ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงตามวรรคสองไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง
ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง
(ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่
มิให้ใช้บังคับแก่กรณีเหตุขัดข้องอันเกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมงหรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ
ข้อ
๔/๒[๑๐]
การทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมง ตามข้อ ๔/๑
เพื่อให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือประมงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามมาตรา ๘๑ (๑)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ให้มีการทดสอบระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมง ณ
บริเวณท่าเทียบเรือที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง
หากปรากฏว่าระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมงไม่สามารถส่งสัญญาณได้
หรือการส่งสัญญาณนั้นไม่ต่อเนื่อง หรือขาดหาย โดยที่เหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงดำเนินการแก้ไข
มิฉะนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่พิจารณาการแจ้งออกทำการประมงในครั้งถัดไป
ข้อ
๕[๑๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิมล จันทรโรทัย
อธิบดีกรมประมง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๑๒]
มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒)
๒. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ
๓.
ใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง
๔.[๑๓]
ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔)
๕.[๑๔]
ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑)
๖.[๑๕]
ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๖]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๗]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๘]
ข้อ
๑
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้
เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง
ข้อ
๒
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว
ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย
หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้
เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(๑)
มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง
(๒)
เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม
(๓)
มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่
ทั้งนี้
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป
ข้อ
๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด
เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ
ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ
หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ
กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง
ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง
เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้[๑๙]
ข้อ
๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๐]
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๓
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๑]
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
(๒)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๔
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้แจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงด้วยเหตุตาม
(๔) (๖) (๗) ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ให้ดำเนินการแจ้งเปิดสัญญาณระบบติดตามเรือประมงภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่
๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๒]
ข้อ
๑
ให้ยกเลิกมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
และให้ใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ
๒
ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒)
แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก
ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิม
หรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ
ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ก็ได้
ข้อ ๓
ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนด ตามข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ
ที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้
ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๔
ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
หรือผู้ควบคุมเรือ
ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบ
ติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๕
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๓]
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒)
แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง
(ศฝป. ๗.๑ และศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ
๓
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๔]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๕]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๖]
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
วริญา/จัดทำ
๒๓ พฤษภาคม
๒๕๕๙
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๘ เมษายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๖๐
พรวิภา/เพิ่มเติม
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๒ กรกฎาคม
๒๕๖๐
[๑] ข้อ ๒ วรรคสอง
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๒] ข้อ ๒ วรรคสาม
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๓] ข้อ ๒ วรรคสี่
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๔] ข้อ ๒ วรรคห้า
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๕] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๖] ข้อ ๔ วรรคสอง
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๗] ข้อ ๔ วรรคสาม
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๘] ข้อ ๔ วรรคสี่
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๙] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๐] ข้อ ๔/๒ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๑๒] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง
(รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๓]
ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔)
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๔]
ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๕] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
[๑๙] ข้อ ๓ วรรคสอง
เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง
และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๒๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐
[๒๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๙/๒๑ เมษายน ๒๕๖๐
[๒๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๒๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๒๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๖/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๒๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๓๖/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐
[๒๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๑๖/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ |
783465 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสมุทรปราการ
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ชาติชาย
อุทัยพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๔๒/๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783461 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางบ่อ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ชาติชาย
อุทัยพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๔๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
783459 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสมุทรปราการ
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ชาติชาย
อุทัยพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๔๐/๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
782513 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงหอยทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาครออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่ ตำบลพันท้ายนรสิงห์
ตำบลโคกขาม ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลบางกระเจ้า ตำบลกาหลง
ตำบลนาโคก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล
ข้อ
๒ ให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร
ตามแผนที่ประกาศแนบท้ายเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเลี้ยงหอยทะเล
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ประภัสสร์ มาลากาญจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่อนุญาตเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๕/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782511 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาครออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นเขตห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ประภัสสร์ มาลากาญจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๔/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782509 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาครออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ยกเว้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ประภัสสร์ มาลากาญจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๓/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782507 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้กุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาครออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ยกเว้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ประภัสสร์ มาลากาญจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๒/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782505 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาครออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ในเขตท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ยกเว้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ประภัสสร์ มาลากาญจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๑/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782503 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหารออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดมุกดาหารเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สรสิทธิ์
ฤทธิ์สรไกร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๐/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782499 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหารออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดมุกดาหารเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดมุกดาหาร
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782497 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรังออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดตรัง
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ศิริพัฒ พัฒกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๘/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782495 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรังออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
(๑)
เขตท้องที่อำเภอสิเกา ได้แก่ ตำบลกะลาเส เขาไม้แก้ว บ่อหิน และตำบลไม้ฝาด
(๒) เขตท้องที่อำเภอกันตัง ได้แก่ ตำบลกันตัง กันตังใต้
เกาะลิบง คลองชีล้อม นาเกลือ บ่อน้ำร้อน บางเป้า บางสัก และตำบลวังวน
(๓)
เขตท้องที่อำเภอย่านตาขาว ได้แก่ ตำบลทุ่งกระบือ และตำบลทุ่งค่าย
(๔) เขตท้องที่อำเภอปะเหลียน ได้แก่ ตำบลเกาะสุกร ท่าข้าม
ท่าพญา ทุ่งยาว บ้านนา ลิพัง และตำบลสุโสะ
(๕)
เขตท้องที่อำเภอหาดสำราญ ได้แก่ ตำบลตะเสะ บ้าหวี และตำบลหาดสำราญ
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ศิริพัฒ พัฒกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๗/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782493 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือCherax spp. พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรังออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดตรัง
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ศิริพัฒ พัฒกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๖/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
782491 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดสุโขทัย
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ปิติ แก้วสลับสี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุโขทัย
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๕/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
Subsets and Splits