query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 14
176
| positive_passages
listlengths 1
9
| negative_passages
listlengths 0
14
|
---|---|---|---|
2128 | พระบรมวงศ์ หมายถึงอะไร ? | [
{
"docid": "44939#0",
"text": "พระบรมวงศานุวงศ์ หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุกราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ\nส่วนหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวงถือเป็นสามัญชน ไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์และมิได้จัดอยู่ในพระอนุวงศ์ แต่ถูกจัดอยู่ใน ราชสกุล หรือผู้สืบเชื้อสายในราชสกุล หรือผู้เนื่องในสายราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายลงมาจากหม่อมหลวงจะมีคำนำหน้านามตามปกติสามัญคือ นาย/นางสาว และมีสร้อย ณ อยุธยา ต่อท้ายนามสกุลอันเป็นราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากฝ่ายบิดาเท่านั้น และสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากหม่อมหลวงฝ่ายมารดาสามารถขอร่วมใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลได้ แต่ไม่ต้องเติมคำว่า ณ อยุธยา ดังนั้นจึงพึงระวังในการใช้ เพราะพระราชวงศ์จะสืบราชตระกูลทางฝ่ายหน้าเท่านั้น (ชาย)",
"title": "พระบรมวงศานุวงศ์"
},
{
"docid": "26149#20",
"text": "ดังนั้นความหมายที่ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ มาจากสองคำคือ พระบรมวงศ์ (พระภรรยาเจ้าดำรงสถานะชั้นพระมเหสี, เจ้าฟ้าชั้นเอก-โท และ พระองค์เจ้าชั้นเอก) กับ พระอนุวงศ์ (เจ้าฟ้าชั้นตรี,พระองค์เจ้าชั้นโท-ตรี และ หม่อมเจ้า) ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านาย (เจ้า) ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์\nสกุลยศลำดับที่ 4 และ 5 เป็นเพียงราชนิกุล และเป็นสามัญชน จะไม่นับเป็นเจ้าและเป็นสกุลยศที่ถือกำเนิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตามลำดับ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
}
] | [
{
"docid": "86481#0",
"text": "พระปรมาภิไธย (พระ+ปรม+อภิไธย แปลว่า ชื่ออันประเสริฐยิ่ง) หมายถึง พระนามของพระมหากษัตริย์ราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 และใช้มาจนถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน",
"title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)"
},
{
"docid": "93955#0",
"text": "ราชวงศ์ () คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกัน มักปรากฎอยู่ในบริบทของระบบศักดินาและระบอบราชาธิปไตย แต่ในบางโอกาสก็ปรากฎอยู่ในระบอบสาธารณรัฐที่มีการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ซึ่งตระกูลของผู้ปกครองที่สืบเชื้อสายติดต่อกันมาอาจเรียกว่า \"พระราชวงศ์\" และมีบรรดาศักดิ์เป็นราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ เจ้าชาย ขุนนางศักดินา หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำหรือสมาชิกของตระกูลเกิดมาด้วยฐานันดรเช่นใด นักประวัติศาสตร์หลายคนยังพิจารณาประวัติศาสตร์ของรัฐอธิปไตยแห่ง เช่น อียิปต์โบราณ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หรือจักรวรรดิจีน ภายใต้กรอบแนวคิดของลำดับราชวงศ์ผู้ปกครอง ดังนั้นบริบทของ \"ราชวงศ์\" จึงสามารถใช้อ้างถึงยุคสมัยที่แต่ละตระกูลปกครอง ทั้งยังเป็นบริบทที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ แนวโน้ม และศิลปวัตถุของแต่ละยุคสมัยนั้น ๆ ได้ เช่น แจกันราชวงศ์หมิง ซึ่งบริบทของราชวงศ์มักจะถูกลดทอนลงจากการอ้างอิงคุณศัพท์ดังกล่าว",
"title": "ราชวงศ์"
},
{
"docid": "48356#0",
"text": "ราชาธิปไตย () เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติ และโดยปกติมักให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ก่อนอย่างเป็นทางการ พระมหาษัตริย์มักมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชาหรือพระราชินี อย่างไรก็ดี จักรพรรดิ/จักรพรรดินี, แกรนด์ดยุก/แกรนด์ดัชเชส, เจ้าชาย/เจ้าหญิง และคำอื่น ถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งพระมหากษัตริย์ด้วย แม้คำว่า \"monarch\" จะมาจากคำว่า \"ผู้ปกครองคนเดียว\" แต่โดยประเพณี ประมุขแห่งรัฐที่มีตำแหน่งประธานาธิบดีหรือผู้นำ (premier) ไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ",
"title": "ราชาธิปไตย"
},
{
"docid": "4226#21",
"text": "พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นตรางารูป \"ปทุมอุณาโลม\" หรือ \"มหาอุณาโลม\" หมายถึง ตาที่สามของพระศิวะ ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ \"อุ\" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "515461#0",
"text": "พระโหราธิบดี เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในแวดวงวรรณกรรมในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ทั้งนี้ \"\"พระโหราธิบดี\"\" มิใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ พระโหราธิบดี เป็นตำแหน่งอธิบดีแห่งโหร หรือโหรหลวงประจำราชสำนัก อีกทั้งยังเป็นผู้ควบคุมหรือเป็นหัวหน้าการประกอบพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์อีกด้วย ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่เป็นผู้รู้หนังสือรวมถึงรอบรู้สรรพวิทยาต่าง ๆ",
"title": "พระโหราธิบดี"
},
{
"docid": "636130#0",
"text": "มหาวงศ์ เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ บันทึกเหตุการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป หรือศรีลังกา รจนาขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ 5 โดยพระมหาเถระ มหานามะ โดยใช้ข้อมุลจากพงศาวดาร และตำราต่างๆ ในวัดมหาวิหาร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เนื้อหากล่าวถึงตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าชายวิชัย เดินทางมาจากพังคละ มาถึงลังกาทวีป ปราบชนพื้นเมืองแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครอง จากนั้นพรรณนาวงศ์กษัตริย์ต่างๆ พร้อมกับเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาในลังกาควบคู่กันไป",
"title": "มหาวงศ์"
},
{
"docid": "5759#0",
"text": "พระธรรม หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า \"มุขปาฐะ\" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ",
"title": "พระธรรม (ศาสนาพุทธ)"
},
{
"docid": "158520#0",
"text": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: \"Sacrum Imperium Romanum\", ) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1806 โดย ราชอาณาจักรเยอรมนีถือเป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 962 ดินแดนในจักรวรรดิ รองลงมาคือ ราชอาณาจักรโบฮีเมีย, ราชอาณาจักรบูร์กอญ, ราชอาณาจักรอิตาลี",
"title": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "33187#5",
"text": "พระบรมวงศานุวงศ์ คือ ญาติของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระยศเป็นเจ้า แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ บุคคลนับเนื่องในราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชน",
"title": "พระยศเจ้านายไทย"
}
] |
2131 | น้ำบาดาล เกิดจากอะไร? | [
{
"docid": "298340#1",
"text": "น้ำบาดาลเกิดอยู่ในชั้นหินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของชั้นหินที่จะเก็บน้ำไว้จนอิ่มตัวได้ จึงได้แก่ช่องว่างที่เกิดขึ้นในหิน ช่องว่างในหินมีอยู่หลายประเภท เช่น ช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนที่สะสมกันอย่างในกรณีกรวดหรือทราย ช่องว่างอันเป็นรอยต่อระหว่างชั้นต่อของหิน ช่องว่างที่เกิดจากรอยแตกของหิน ช่องว่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พร้อมๆกับการเกิดหินบางชนิด เช่น หินภูเขาไฟ และช่องว่างประเภทโพรงหินปูน เป็นต้น หินที่จะเก็บน้ำได้ดีมีปริมาณมากจะต้องมีจำนวนช่องว่างมาก ช่องว่างแต่ละช่องต้องมีขนาดใหญ่ และติดต่อถึงกันเพื่อให้น้ำบาดาลไหลถ่ายเทได้ หินที่มีช่องว่างขนาดใหญ่แต่ไม่ติดต่อถึงกัน ถึงแม้เก็บน้ำไว้ได้มากก็ไม่มีประโยชน์ในการเป็นแหล่งน้ำบาดาล เพราะเปรียบเหมือนน้ำที่กักขังอยู่ในแอ่งลำธาร ซึ่งน้ำไม่ไหลในฤดูแล้ง น้ำในแอ่งเหล่านี้เมื่อถูกใช้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะหมดไป ไม่เหมือนน้ำในลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปีมีโอกาสที่จะสูบหรือตักไปใช้ได้ตลอดเวลา",
"title": "ชั้นหินอุ้มน้ำ"
},
{
"docid": "220584#0",
"text": "น้ำบาดาล () คือน้ำที่ถูกกักเก็บหรือสะสมตัวอยู่ใต้ดิน อาจสะสมตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของชั้นหิน หรืออาจสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวด หรือเม็ดทรายใต้ผิวดิน น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลแย่งออกได้เป็น 2 โซนคือ unsaturated zone เป็นโซนที่มีทั้งน้ำและอากาศ และ saturated zone เป็นโซนที่มีแต่น้ำเท่านั้นโดยส่วนนี้จะเป็นส่วนของน้ำใต้ดินที่แท้จริง",
"title": "น้ำบาดาล"
}
] | [
{
"docid": "220584#2",
"text": "วัฏจักรน้ำ () กล่าวถึงการเคลื่อนที่อย่างคงที่ของน้ำทั้งเหนือและใต้ผิวโลก วัฎจักรของน้ำเริ่มจากการระเหยน้ำจากพืช ดินชื้น และทะเล ความชื้นจากการระเหยนี้จะคืนกลับสู่ผิวดิน โดยการกลั่นตัว การกลั่นตัวเกิดได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฝน หิมะ และลูกเห็บ แต่ในแง่น้ำบาดาลจะพิจารณาแต่ฝนเท่านั้น เมื่อฝนตกลงมาสู่ผิวดิน น้ำฝนจะซึมลง (infiltration) ใต้ดิน โดยค่า infiltration จะมีค่ากว้างมากขึ้นกับการใช้งานพื้นที่ ความชื้นของดิน และระยะเวลาที่ได้รับน้ำ เมื่อใดก็ตามที่ฝน (precipitation) ตกในปริมาณที่มากจะเกิดการซึมลง (infiltration) สู่ใต้ดินเพิ่มขึ้น น้ำที่ซึมลงจะไปแทนที่ความชื้นในดิน และค่อยไหลเข้าสู่โซน intermediate และเข้าสู่โซนน้ำอิ่มตัว (saturated zone) น้ำในโซนที่อิ่มตัวจะซึมในลงในแนวดิ่งและแนวราบเป็น discharge ออกจากชั้นน้ำบาดาลเช่น น้ำพุบนภูเขา หรือ น้ำซึมในลำธาร จากนั้นก็จะระเหยกลับเข้าสู่วัฏจักรอีกครั้ง น้ำที่เติมในแม่น้ำ ทั้งจากการไหลบนผิวดินและจาก discharge ของน้ำบาดาลจะไหลลงทะเลทั้งหมดและระเหยกลับเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง",
"title": "น้ำบาดาล"
},
{
"docid": "6700#0",
"text": "บ่อน้ำบาดาล () เกิดจากน้ำที่กักเก็บอยู่ในชั้นเห็นเก็บน้ำใต้ดินภายใต้แรงกดดัน เมื่อมีการขุดบ่อลงไปที่ชั้นกับเก็บน้ำนี้ น้ำจะถูกแรงดันไหลออกมาโดยไม่ต้องใช้แรงสูบ",
"title": "บ่อน้ำบาดาล"
},
{
"docid": "58812#5",
"text": "หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว",
"title": "หินภูเขาไฟ"
},
{
"docid": "301631#11",
"text": "หน่วยหินลำปาง (Lampang unit) เป็นกลุ่มหินยุค ไทรแอสซิก ที่เกิด ในสภาพแวดล้อมทะเล (Marine origin) ประกอบด้วย ดินเหนียว ดินทราย หินปูน หินเถ้าภูเขาไฟและหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ น้ำบาดาลจะกักเก็บอยู่ในรอยแตก รอยเลื่อน และรอยต่อของชั้นหินต่างชนิดกัน โดยทั่วไปบ่อจะให้น้ำในเกณฑ์ 2-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นในหินปูนอาจจะได้น้ำถึง 10-20 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ในภาพรวมจัดเป็นหน่วยหินที่มีศักยภาพน้ำบาดาลต่ำ",
"title": "หน่วยหินทางอุทกธรณี"
},
{
"docid": "320000#15",
"text": "นักธรณีวิทยา เดล แอลเลน ไฟเฟอร์ อ้างว่า ในทศวรรษที่กำลังจะถึงนี้อาจเห็นราคาอาหารผันแปรโดยปราศจากการบรรเทาและการขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ในระดับโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การขาดดุลน้ำ ซึ่งได้กระตุ้นการนำเข้าธัญพืชอย่างหนักในหลายประเทศขนาดเล็ก อาจเกิดขึ้นอย่างเดียวกันกับประเทศขนาดใหญ่ขึ้น อย่างเช่น จีนหรืออินเดีย ระดับพื้นผิวของน้ำบาดาลกำลังลดลงในหลายประเทศ รวมทั้งทางเหนือของจีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เนื่องจากการสูบน้ำขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลายโดยใช้เครื่องสูบน้ำดีเซลและไฟฟ้า ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบรวมไปถึงปากีสถาน อิหร่านและเม็กซิโก ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การขาดแคลนน้ำและการลดปริมาณเก็บเกี่ยวธัญพืช แม้จะมีการสูบน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำขึ้นมาใช้อย่างมาก จีนยังได้ปรากฏว่าขาดดุลธัญพืช ซึ่งส่งผลให้แรงกดดันราคาธัญพืชเพิ่มขึ้น คาดกันว่าประชากรโลกสามพันล้านคนที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อถึงกลางศตวรรษนี้นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดนั้นประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอยู่ก่อนแล้ว",
"title": "ทุพภิกขภัย"
},
{
"docid": "320680#1",
"text": "พรุเกิดขึ้นเมื่อน้ำบนผิวดินเป็นกรดที่อาจจะเป็นเพราะน้ำบาดาลเป็นกรด หรือในบริเวณที่เป็นน้ำที่มาจากฝน น้ำที่ไหลออกจากพรุจะมีสีน้ำตาลที่เกิดจากการละลายแทนนินของพีต พรุมีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ",
"title": "พรุ"
},
{
"docid": "109379#53",
"text": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ธรรมชาติเกิดขึ้นเมื่อแหล่งสะสมแร่ที่อุดมด้วยยูเรเนียมถูกน้ำท่วม เนื่องจากน้ำบาดาลที่ทำหน้าที่เป็นตัวหน่วงนิวตรอน, และปฏิกิริยาลูกโซ่ที่แข็งแกร่งเกิดขึ้น. น้ำที่เป็นตัวหน่วงจะเดือดเมื่อปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น, ทำให้เกิดการชะลอตัวหดตัวกลับลงอีกครั้งและป้องกันการหลอมสลาย. ปฏิกิริยาฟิชชันได้รับการรักษาให้ยั่งยืนมาหลายแสนปี.",
"title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์"
},
{
"docid": "10348#4",
"text": "งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจนเกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ 16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้",
"title": "บั้งไฟพญานาค"
},
{
"docid": "206688#2",
"text": "ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดให้มีการประปาในกรุงเทพฯ โดยใช้แหล่งน้ำผิวดินในคลองประปาเป็นแหล่งน้ำดิบ ในอดีตแหล่งน้ำผิวดินมีเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค เนื่องจากยังไม่มีประชากรหนาแน่นดังเช่นปัจจุบัน ต่อมาภายหลังเมื่อมีการขยายตัวของชุมชน และขยายเขตบริการของการประปา ทำให้มีการเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลมาใช้เป็นน้ำดิบร่วม กับแหล่งน้ำผิวดิน",
"title": "กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"
}
] |
2132 | พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "154258#1",
"text": "พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน",
"title": "ชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "154258#0",
"text": "พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685",
"title": "ชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
}
] | [
{
"docid": "154258#2",
"text": "พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน",
"title": "ชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "153245#0",
"text": "พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1625 จนกระทั่งทรงถูกสำเร็จโทษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ พระองค์ทรงขัดแย้งทางอำนาจการเมืองกับรัฐสภาอังกฤษ ด้วยทรงดำริว่าการเป็นพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจที่รับมอบหมายจากพระเจ้าโดยตรงตามปรัชญาเทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ฝ่ายรัฐสภาต้องการลดพระราชอำนาจของพระองค์ พระองค์ทรงถูกต่อต้านจากประชาชน เนื่องจากการเข้าแทรกแซงในคริสตจักรแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์ รวมทั้งการจัดเก็บภาษีโดยปราศจากการอนุมัติจากรัฐสภา ซึ่งทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นทรราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์",
"title": "พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "153245#3",
"text": "พระเจ้าชาลส์ที่ 1 เป็นพระราชโอรสองที่สองในพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ และพระนางแอนน์แห่งเดนมาร์ก เสด็จพระราชสมภพที่วังดันเฟิร์มไลน์ (Dunfermline Palace) ในไฟฟ์ สกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 พระองค์ทรงผ่านพิธีบัพติศมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1600 โดยบิชอปแห่งรอส ในพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นที่พระราชวังฮอลี่รู้ด และทรงได้รับพระอิสรริยยศดยุกแห่งออลบานี เอิร์ลแห่งออร์มอนด์ เอิร์ลแห่งรอส และลอร์ดอาด์มันนอค",
"title": "พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "154258#7",
"text": "พระเจ้าชาลส์ สจวตพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสกอตแลนด์และไอร์แลนด์และพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังเซนต์เจมส์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 และทรงรับบับติศมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนโดยบิชอปวิลเลียม ลอด จากแองกลิคันผู้ขณะดำรงตำแหน่งเป็นบิชอปแห่งลอนดอน และทรงได้รับการเลี้ยงดูโดยแมรี แซกวิลล์ เคาน์เตสแห่งดอร์เซตผู้เป็นโปรเตสแตนต์ แต่ทรงมีพ่อแม่ทูลหัวเป็นโรมันคาทอลิกที่เป็นพระประยูรญาติทางพระมารดา ที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี เด เมดีชีพระราชมารดาของพระเจ้าหลุยส์ พระองค์ทรงได้รับตำแหน่งดยุกแห่งคอร์นวอลล์และดยุกแห่งรอธเซย์ (Duke of Rothesay) เมื่อประสูติในฐานะที่เป็นพระราชโอรสองค์โตของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 พรรษาก็ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์แต่มิได้มีพิธีแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ",
"title": "ชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "50948#2",
"text": "พระเจ้าเจมส์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ประสูติที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในปี พ.ศ. 2176 และทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นดยุกแห่งยอร์ก ในปี พ.ศ. 2187 ในระหว่างที่เกิดสงครามกลางเมืองในอังกฤษขึ้นทรงพำนักอยู่ที่เมืองอ็อกซฟอร์ด ภายในฐานที่มั่นของผู้สนับสนุนระบอบการปกครองภายใต้พระมหากษัตริย์",
"title": "พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "154258#10",
"text": "พระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระราชบิดาของพระองค์ ทรงถูกจับกุมในปี ค.ศ. 1647 ทรงหลบหนีจากการคุมขังได้แต่ก็มาทรงถูกจับอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1648 แม้ว่าเจ้าชายชาลส์จะทรงพยายามหาทางช่วยทางการทูตในการปลดปล่อยพระองค์แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ก็ทรงถูกปลงพระชนม์ในข้อหากบฏต่อแผ่นดินเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 หลังจากนั้นอังกฤษก็เข้าสู่สมัยสาธารณรัฐ",
"title": "ชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "154258#3",
"text": "หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660",
"title": "ชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "153245#12",
"text": "เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1625 พระเจ้าชาลส์ทรงอภิเษกสมรสทางฉันทะกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชันษาอ่อนกว่าพระองค์ 9 พรรษา ในการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม สมาชิกสภาหลายคนคัดค้านกับการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เพราะความหวาดระแวงที่ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงผ่อนผันกฎหมายที่มีผลบังคับต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นการทำให้สถาบันการปกครองภายในการนำของผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์อ่อนแอลง ถึงแม้ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงประกาศต่อรัฐสภาว่าจะไม่ทรงผ่อนผันกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ต่างกับศาสนาของรัฐบาล () แต่ในทางส่วนพระองค์แล้วกลับทรงหันไประบุนโยบายที่ตรงกันข้ามกับที่ทรงประกาศต่อรัฐสภาเป็นการลับๆ ในสนธิสัญญาการแต่งงานที่ทำกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาลส์ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี และทรงทำพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1626 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แต่มิได้มีเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียพระชายาเข้าร่วมพิธี อาจจะเป็นได้ว่าทรงกลัวว่าถ้าเสด็จก็จะกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ชาร์ลส์และเฮนเรียตตา มาเรียมีพระโอรสธิดาด้วยกัน 9 พระองค์ 6 พระองค์รอดชีวิตมาจนโต",
"title": "พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ"
}
] |
2134 | คณะราษฎรในปี 2469 ก่อตั้งขึ้นเพื่อปฏิวัติใคร ? | [
{
"docid": "43051#0",
"text": "คณะราษฎร (อ่านว่า \"คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน\"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย",
"title": "คณะราษฎร"
}
] | [
{
"docid": "43051#3",
"text": "และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอเมอราร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน โดยมีร้อยโท แปลก ที่สมาชิกคณะราษฎรคนอื่น ๆ เรียกว่า \"\"กัปตัน\"\" เป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ \"ยึดอำนาจโดยฉับพลัน\" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศส",
"title": "คณะราษฎร"
},
{
"docid": "813381#1",
"text": "สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หรือ 4 วันหลังจาก การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในวันนั้นได้มติเห็นชอบให้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้า คณะราษฎร สายพลเรือนเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกโดยที่ทำการสำนักงานเลขาธิการในช่วงแรกตั้งอยู่ภายใน วังปารุสกวัน",
"title": "สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร"
},
{
"docid": "8007#44",
"text": "เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนได้ร่วมกันทำการปฏิวัติ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ในแถลงการณ์ของคณะราษฎรได้กล่าวถึงการปรับปรุงประเทศทางด้านเศรษฐกิจอยู่ด้วย เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติด้วย",
"title": "ประวัติกระทรวงการคลังไทย"
},
{
"docid": "950463#0",
"text": "พรรคราษฎร () พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนจัดตั้ง\nตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 เป็นลำดับที่ ๘/๒๕๑๗ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 มีนาย ไถง สุวรรณทัต อดีตผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อดีตเจ้าของหมู่บ้านเศรษฐกิจ ธนบุรี และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 5 สมัยเจ้าของฉายา ผู้แทนขาเดียว หรือ ไถงขาเดียว เนื่องจากโดนคนร้ายปาระเบิดจนขาขวาขาดเป็นหัวหน้าพรรคและนาย ไพรรัตน์ วิเศษโกสิน เป็นเลขาธิการพรรค",
"title": "พรรคราษฎร (พ.ศ. 2517)"
},
{
"docid": "208246#12",
"text": "ตั้วได้มีบทบาทในทางการเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเข้าร่วมกับคณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเข้าร่วมประชุมก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส โดยเป็นสมาชิกฝ่ายพลเรือน ซึ่งเห็นได้ถึงความปรารถนาของคณะราษฎรในการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตั้วได้ร่วมเดินทางสู่จุดนัดหมายที่บางซื่อ",
"title": "ตั้ว ลพานุกรม"
},
{
"docid": "749#19",
"text": "ในขณะที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อก่อตั้ง \"คณะราษฎร\" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ณ หอพักแห่งหนึ่งย่าน \"Rue Du Sommerard\" กรุงปารีส ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก ขิตตะสังคะ, ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี, ภก.ตั้ว ลพานุกรม, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), นายแนบ พหลโยธิน โดยมีวัตถุประสงค์คือ เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และการดำเนินเพื่อให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ปรีดีร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรที่ประกอบด้วยกลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ หลังจากนั้นคณะราษฎรโดยปรีดี พนมยงค์ ได้จัดให้มีการประชุมระหว่างคณะราษฎร และเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง ขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อชี้แจงจุดประสงค์ หลักการระบอบใหม่ กฎหมายพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยย่อ และขอความร่วมมือในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป",
"title": "ปรีดี พนมยงค์"
},
{
"docid": "416032#2",
"text": "คณะนิติราษฎร์ แถลงข้อเสนอทางวิชาการ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยสรุปดังต่อไปนี้ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะนิติราษฎร์ ร่วมกับ กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ นักเขียน ศิลปิน และปัญญาชน จัดตั้ง \"คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112\" (ครก. 112) เพื่ออธิบายรายละเอียด ของข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรวบรวมรายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา",
"title": "คณะนิติราษฎร์"
},
{
"docid": "191494#8",
"text": "สภานี้ตั้งขึ้นหลังจากปฏิวัติปี 2520 หลังจากปฏิวัติสำเร็จได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๑๙ และความสิ้นสุดของรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร หลังจากนั้นได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ ขึ้นแทน และได้ตั้งสภานโยบายแห่งชาติขึ้นตามมาตรา 17 18 และ19 โดยได้ระบุไว้ว่าให้มีสภานโยบายแห่งชาติประกอบด้วยบุคคลในคณะปฎฺิวัติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 6 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2520 เป็นสมาชิก และบอกไว้อีกว่าให้หัวหน้าคณะปฏิวัติทำหน้าที่ประธานสภา และรองหัวหน้าคณะปฏิวัติทำหน้าที่รองประธานสภาและให้สภาแต่งตั้งสมาชิกสภาเป็นเลขาธิการและรองเลขาธิการตามลำดับ และได้ระบุไว้อีกว่าถ้าประธานสภาไม่อยู่ให้รองประธานสภาทำหน้าที่แทน ประธานสภา และถ้าประธานสภาและรองประธานสภาไม่อยู่ให้เลือกสมาชิก 1 คนขึ้นมาทำหน้าที่แทนประธานสภาสภานี้มีหน้าที่กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐและให้ความคิดเห็นแก่คณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินไปตามแนงนโยบายแห่รัฐและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรและสภานโยบายแห่งชาตินี้ได้สิ้นสุดลงพร้อมกับการสิ้นสุดของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรปี 2520",
"title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520"
},
{
"docid": "636707#0",
"text": "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 เป็นสภาที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ รัฐสภา ตามมาตรา 6 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ภายหลังการปฏิวัติตัวเองของ จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 299 คน เปิดประชุมสภาระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2515 - 16 ธันวาคม 2516 โดยมีพลตรี ศิริ สิริโยธิน เป็นประธานสภา นายทวี แรงขำ เป็นรองประธานคนที่ 1 และพลเรือเอก กมล สีตกะลิน เป็นรองประธานคนที่ 2",
"title": "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2515"
}
] |
2141 | กุหลาบแวร์ซายส์เป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักอย่างดีทั่วโลก ถูกตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารมาร์กาเร็ตของสำนักพิมพ์อะไร? | [
{
"docid": "12546#0",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ () หรือที่รู้จักกันในชื่อของภาษาอังกฤษคือ \"เลดีออสการ์\" \"(Lady Oscar) \" เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องและภาพโดยริโยโกะ อิเคดะ กุหลาบแวร์ซายส์เป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักอย่างดีทั่วโลก ถูกตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารมาร์กาเร็ตของสำนักพิมพ์ชูเออิชา ในปี พ.ศ. 2516 และประสบความสำเร็จในทันทีที่วางจำหน่าย ได้รับการตอบรับจากนักอ่านเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ถูกดัดแปลงเนื้อเรื่องจากการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นละครเวทีภาพยนตร์ชุดการ์ตูนและบัลเลต์ ซึ่งในการแสดงละครเวทีในภาคโอเปร่า ริโยโกะ อิเคดะ ผู้แต่งได้มีส่วนร่วมในการประพันธ์คำร้องสำหรับใช้ในการแสดงละครเวทีในภาคโอเปร่าอีกด้วย",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
}
] | [
{
"docid": "12546#1",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ถูกดัดแปลงเป็นละครเวที ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง และกลายเป็นละครเวทีที่มีการเปิดการแสดงมากรอบที่สุดเช่นกันตามรายงานของนิตยสารทาการาซุกะ รีวิว ในปี พ.ศ. 2526 หนังสือการ์ตูนสองชุดแรกของกุหลาบแวร์ซายส์ ได้รับการแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษโดยเฟรเดริก แอล. ชอดต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสอนภาษาอังกฤษให้กับชาวญี่ปุ่น และยังได้จัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนืออีกด้วย กุหลาบแวร์ซายส์จึงได้ชื่อว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ได้รับการแปลเพื่อการค้าและจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือ",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
},
{
"docid": "48495#2",
"text": "เบอร์เซิร์กได้ชื่อว่าเป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่เนื้อหาและภาพมีความรุนแรงสูง รวมถึงมีลายเส้นของภาพที่มีความละเอียดเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ได้รับความนิยมและมียอดขายมากอันดับต้นๆเช่นกัน ในประเทศญี่ปุ่นลงตีพิมพ์ในนิตยสารยัง แอนิมอล โดยสำนักพิมพ์ฮะคุเซนชะ ส่วนในประเทศไทยมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ซึ่งได้ตีพิมพ์จนถึงฉบับรวมเล่มที่ 37 ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ทางสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้ประกาศหยุดตีพิมพ์หนังสือในเครือฮะคุเซนชะ ทำให้บริษัทสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ได้เข้าถือครองลิขสิทธิ์การตีพิมพ์เรื่องเบอร์เซิร์กฉบับภาษาไทยในปัจจุบัน โดยมีการตีพิมพ์ซ้ำตั้งแต่เล่ม 1 - 37 และ เล่มที่ 38 เป็นต้นไป ส่วนฉบับอนิเมะได้ลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายโดย TIGA",
"title": "เบอร์เซิร์ก"
},
{
"docid": "12546#2",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นอิงประวัติศาสตร์ ที่นำเค้าโครงเรื่องจากเรื่องราวและเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ช่วงก่อนและหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี อองตัวเนต ถ่ายทอดเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ผ่านตัวละครหลักคือ ออสการ์ ฟรังซัวส์ เดอ จาร์เจและ อังเดร กรังดิเออร์ ในแง่มุมของการปกครองประเทศของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กฎระเบียบข้อบังคับในราชการทหาร ระเบียบวินัยและอำนาจหน้าที่ รวมถึงเรื่องราวของความรักฉันชู้สาว มิตรภาพและการต่อสู้ในสงคราม",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
},
{
"docid": "745871#0",
"text": "อัสแซสซิเนชันคลาสรูม () เป็นซีรีส์การ์ตูนญี่ปุ่น ที่แต่งและวาดภาพประกอบโดยยูเซย์ มัตสึอิ ตีพิมพ์ลงนิตยสารการ์ตูน \"โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์\" ของชูเอชะตั้งแต่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึง 25 มีนาคม พ.ศ. 2558 ในประเทศไทยเรี่องนี้ได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ตีพิมพ์ลงนิตยสารการ์ตูน \"ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส\" โดยลงตอนล่าสุดของเรี่องพร้อมกับฉบับภาษาญี่ปุ่น เรี่องนี้ได้ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 20 เล่มในญี่ปุ่น และ 18 เล่มในประเทศไทย ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559",
"title": "อัสแซสซิเนชันคลาสรูม"
},
{
"docid": "24320#0",
"text": "ก้าวแรกสู่สังเวียน (; ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ โจจิ โมริคาว่า เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันยังไม่จบ ซึ่งในประเทศไทยเองก็ได้นำมาตีพิมพ์ลงในนิตยสารเจ้าหนูยอดนักกีฬา ของสำนักพิมพ์ยู.สปอร์ตตูน และ GAMES ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ตั้งแต่สมัยที่การ์ตูนญี่ปุ่นยังไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ภายหลังสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ และทำการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ออกจำหน่ายในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว",
"title": "ก้าวแรกสู่สังเวียน"
},
{
"docid": "536689#0",
"text": "A แชนแนล สี่แสบซ่า บ้าขั้นเอ () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทสี่ช่องจบ โดย บีบี คุโรดะ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนเซเน็น ชื่อ มังงะ ไทม์ คิราระ คารัต และได้รวมเล่ม และวางจำหน่ายเมื่อ 26 ธันวาคม 2552 โดยสำนักพิมพ์โฮบุงฉะ ในส่วนของ อะนิเมะ ถ่ายทำขึ้นโดย โกคุมิ สตูดิโอ และฉายในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 8 เมษายน 2554 - 24 มิถุนายน 2554 จำนวนทั้งสิ้น 12 ตอน และในส่วนของ โอวีเอ ได้ออกจำหน่ายในวันที่ 21 มีนาคม 2555 โดยวางจำหน่ายในรูปแบบ บลูเรย์ และ ดีวีดี จำนวน 2 ตอน",
"title": "A แชนแนล สี่แสบซ่า บ้าขั้นเอ"
},
{
"docid": "710690#0",
"text": "อภิมหาบรรลัยกัลป์ () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เขียนเรื่องโดยเคียว ชิโรไดระ วาดภาพโดย อาริฮิเดะ ซาโนะ และเร็น ไซซากิ ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นกันกันรายเดือน ของสำนักพิมพ์สแควร์อีนิกซ์ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนทั้งหมด 10 เล่ม \n\"อภิมหาบรรลัยกัลป์\" ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ ผลิตโดยบริษัทโบนส์ ออกอากาศระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2556",
"title": "อภิมหาบรรลัยกัลป์"
},
{
"docid": "98035#0",
"text": "รหัสลับ เซเลอร์วี () () เป็นชื่อของการ์ตูนญี่ปุ่นสำหรับผู้หญิง วาดโดยนาโอโกะ ทาเคอุชิ ลงตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารรุน รุน ของสำนักพิมพ์โคดันฉะ ประเทศญี่ปุ่น ส่วนฉบับรวมเล่มมีความยาว 3 เล่มจบ การ์ตูนที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 - 2540 รวมเวลาเป็น 6 ปี แต่ว่าบริษัทวิบูลย์กิจได้ซื้อลิขสิทธิ์เรื่องนี้มา แล้วตั้งชื่อว่า อัศวินดารา เซเลอร์วี ซึ่งตอนแรก ทางสำนักพิมพ์ได้ตั้งชื่อเรื่องว่า \"เรียกข้าว่าเซเลอร์วี\"เมื่อปี พ.ศ. 2538 เซเลอร์วีเคยถูกเสนอให้ทำในรูปแบบ OVA แต่ก็ถูกยกเลิกไป โดยตอนแรกวางแผนโครงการไว้ 4 ตอน",
"title": "รหัสลับ เซเลอร์วี"
},
{
"docid": "4020#0",
"text": "แอร์เกียร์ ขาคู่ทะลุฟ้า () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องและภาพโดยอิโตะ โองุเระ หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า Oh! great เรื่องราวเกี่ยวกับการแข่งขันแอร์เกียร์ ซึ่งคล้าย ๆ กับสเก็ต แต่เป็นรองเท้าสเก็ตที่ติดมอเตอร์แรงสูง ทำให้มีความเร็วสูง และทำให้ไต่กำแพงได้ ซึ่งท่าทางการเล่นต่างๆ จะเรียกว่า \"ทริค\" ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ปัจจุบันตีพิมพ์ลงนิตยสาร KCWeekly ส่วนฉบับอนิเมะ ได้ลิขสิทธิ์จำหน่ายโดย TIGA",
"title": "แอร์เกียร์ ขาคู่ทะลุฟ้า"
}
] |
2157 | ปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้อะไร? | [
{
"docid": "226436#2",
"text": "แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสกา",
"title": "ปะการัง"
}
] | [
{
"docid": "401237#4",
"text": "โดยปกติแล้ว จะกินสัตว์จำพวกหนูขนาดใหญ่ เช่น คาปรีบารา รวมถึงสัตว์ขนาดใหญ่อย่างอื่น เช่น สมเสร็จ, กวาง, หมูป่า, ปลา, เต่า, นก, แกะ, สุนัข และสัตว์เลื้อยคลานในน้ำอย่าง จระเข้ไคแมน ส่วนตัวที่ยังไม่โตเต็มที่จะกินหนูขนาดเล็ก, ลูกไก่, กบ และปลา โดยการใช้อวัยวะรับรู้คลื่นความร้อนหรืออินฟราเรดที่เป็นแอ่งบริเวณหน้าผากตรวจจับ โดยสัญชาตญาณแล้ว เมื่องูอนาคอนดาพบมนุษย์จะหนีไป การตายของมนุษย์ที่เกิดจากงูอนาคอนดาจึงเกิดขึ้นได้ยาก แม้จะเป็นงูขนาดใหญ่และอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร แต่กระนั้นงูอนาคอนดาขนาดเล็กหรือตัวที่อ่อนแอหรือบาดเจ็บก็จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้ออย่างอื่นได้ง่าย เช่น เสือจากัวร์, จระเข้ไคแมน, งูอนาคอนดาด้วยกัน หรือ ปลาปิรันยา",
"title": "งูอนาคอนดา"
},
{
"docid": "611396#1",
"text": "มีลักษณะเด่นต่างจากปลาผีเสื้อสกุลอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนปากและจมูกยื่นแหลมยาวออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้กินได้แต่อาหารขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น เช่น แพลงก์ตอนสัตว์ หรือโพลิปของปะการัง เป็นปลาที่มีลำตัวสีเหลืองสดใส กระจายพันธุ์ตามแนวปะการังในน่านน้ำแถบอินโด-แปซิฟิก",
"title": "ปลาผีเสื้อจมูกยาว"
},
{
"docid": "356087#3",
"text": "งูทะเลเอราบุ มีอุปนิสัยรักสงบ ปกติจะว่ายน้ำช้ามากจนสามารถจับได้ด้วยมือเปล่า กินปลาขนาดเล็กตามแนวปะการังเป็นอาหาร หลบซ่อนอยู่ตามโพงหินหรือในแนวปะการังในเวลากลางวัน ออกหากินในเวลากลางคืน เป็นงูทะเลอีกชนิดหนึ่งที่สามารถขึ้นมาบนบกได้ และเมื่อวางไข่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อวางไข่ในถ้ำหรือโพรงหินที่สงบ ปราศจากการรบกวน ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วง โดยวางไข่ครั้งละ 1-8 ฟอง",
"title": "งูทะเลเอราบุ"
},
{
"docid": "797375#2",
"text": "พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิกกินอาหารได้สองแบบ คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายเซลล์เดียวซูแซนเทลลีที่มีอยู่จำนวนมากที่บริเวณขอบปาก ตลอดจนจับสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ๆ หน้าดินหลายประเภท เช่น กุ้ง, หนอนทะเล, อิคีเนอเดอร์เมอเทอ หรือกระทั่งปลากินเป็นอาหารได้ เมื่อจับเหยื่อได้แล้วเห็ดทะเลหูช้างจะเริ่มกระบวนการย่อยอาหารด้วยเริ่มจากขอบจานไปสู่ปาก โดยเปลี่ยนรูปแบบของอาหารให้กลมเป็นลูกบอล",
"title": "เห็ดทะเลหูช้าง"
},
{
"docid": "226436#3",
"text": "หัวปะการังดูเหมือนจะเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยว ๆ แต่ที่แท้จริงแล้วมันประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ มากมาย โพลิฟเป็นเนื้อเยื่ออ่อนของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่หลากหลายเป็นอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กจนไปถึงปลาตัวเล็ก ๆ",
"title": "ปะการัง"
},
{
"docid": "6841#2",
"text": "บริเวณด้านข้างของเกาะเป็นหินที่ชัน และมีความลึกมากจนแสงส่องลงไปได้น้อย ทำให้ปะการังไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ในบริเวณนี้จึงเป็นที่อยู่ของสัตว์จำพวก กัลปังหา กัลปังหาหวี แส้ทะเล หอยนางรม หอยมือเสือ หอยมือหมี ที่สำคัญคือเป็นแหล่งอาศัยของแพลงตอนซึ่งเป็นธาตุอาหารของสัตว์ทะเล ในบริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยสัตว์น้ำหลายชนิด อาทิเช่น กลุ่มหอยสองฝาชนิดต่าง ๆ ปะการังอ่อน หอยจอบ ฟองน้ำครก ฟองน้ำท่อ สาหร่ายคัน เพรียงหัวหอม เป็นต้น และทั้งยังเป็นแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนของ ปลาทู ปลากะตัก และหมึกทะเล",
"title": "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง"
},
{
"docid": "513988#3",
"text": "กระจายพันธุ์ในแนวปะการังตอนลึกของมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย กินสาหร่ายและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่หลบซ่อนหรือเกาะติดกับหลืบหินปะการังเป็นอาหาร รวมทั้งฟองน้ำด้วย ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ในน่านน้ำไทยพบเฉพาะจุดในฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น",
"title": "ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด"
},
{
"docid": "446843#3",
"text": "เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ไม่กี่ตัวจนถึงหลายร้อยตัวในแนวปะการังร่วมกับสิ่งมีชีวิตอย่างอื่น ปลาในวัยรุ่นมักหลบซ่อนอยู่ตามหญ้าทะเล, สาหร่าย, เม่นทะเล, ดาวขนนก, ปะการัง, ปะการังอ่อน โดยใช้เป็นที่ซ่อนภัยจากผู้ล่า อาศัยอยู่ในความลึกตั้งแต่ 0.5-6 เมตร แต่มักพบในความลึกประมาณ 1.5-2.5 เมตร ออกหากินในเวลากลางวัน โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น แพลงก์ตอน, ครัสเตเชียนขนาดเล็ก เป็นต้น",
"title": "ปลาอมไข่ครีบยาว"
},
{
"docid": "473034#2",
"text": "มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในโพรงหินหรือซอกหินในแนวปะการัง ในความลึกระดับ 1-21 เมตร กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก",
"title": "ปลาตั๊กแตนหินสองสี"
}
] |
2159 | โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน เป็นอนิเมชั่นจากประเทศอะไร? | [
{
"docid": "124482#0",
"text": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กับ บริษัท โฮมรัน เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ผลิตแอนิเมชันโดย บริษัท อัญญาแอนิเมชัน จำกัด (Anya Animation) ออกฉายครั้งแรกที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
}
] | [
{
"docid": "124482#9",
"text": "ในเทอม 2 เธอได้เข้าร่วมในขบวนการ “สี่อภินิหาร” ของกัปตันเจ\nไก่จัง (Kai) เป็นตัวการ์ตูนที่อยู่ใน “โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน” ทั้งชื่อและนิสัยเอาแบบมาจาก “มีสุข แจ้งมีสุข” ซึ่งเป็นพิธีกรรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง”",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#12",
"text": "นิน่าเป็นเด็กหญิงชั้นประถม หนึ่งในสมาชิกของ “โฟร์แองจี” เธอมีนิสัยเรียบร้อย มีความรับผิดชอบสูง ทำให้เธอได้รับความไว้วางใจจากครูและเพื่อนๆให้เป็นหัวหน้าห้อง เธอมีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เวลาได้ยินเสียงเพลงประเภทเพลงเต้น เธอจะไม่สามารถควบคุมตัวเองไว้ได้ และได้เกิดท่า “พายุนิน่า” ซึ่งเป็นท่าที่เธอหมุนตัวด้วยความเร็วสูง ถ้าหากไปถูกใครหรือถูกอะไรเข้า ก็จะทำความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นเพลงช้าจะไม่เป็นไร",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#14",
"text": "ในเทอม 2 เธอได้เข้าร่วมขบวนการ “สี่อภินิหาร” ของกัปตันเจ และได้รับการฝึกฝนจากกัปตันเจ ทำให้เธอสามารถควบคุมท่า “พายุนิน่า” ได้สำเร็จ\nกาละแมร์ เป็นตัวการ์ตูนที่อยู่ในเรื่อง “โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน” ทั้งชื่อและนิสัยเอาแบบมาจาก “พัชรศรี เบญจมาศ” ซึ่งเป็นพิธีกรรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง”",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#11",
"text": "เธอมีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งคือ “พลังเนตรสลายใจ” เวลาที่ใครสบตากับเธอจะทำให้เกิดเคลิบเคลิ้ม และทำตามคำพูดของเธอทุกอย่าง ด้วยพลังนี้นี่เองทำให้เธอได้เข้าร่วมขบวนการ “สี่อภินิหาร” ของกัปตันเจ แต่ว่าในเทอม 2 เธอติดละครเรื่อง “เจ้าหญิงโซอิน” ทำให้เธอใช้พลังนี้ไม่ได้ดั่งใจ\nนิน่า เป็นตัวการ์ตูนจากเรื่อง “โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน” ทั้งชื่อและนิสัยเอาแบบมาจาก “กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์” ซึ่งเป็นพิธีกรรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง”",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#8",
"text": "ปุ้ยเป็นเด็กหญิงชั้นประถม หนึ่งในสมาชิกของ “โฟร์แองจี” มีนิสัยตระหนี่ ชอบเก็บของต่างๆ รวมทั้งของที่เขาทิ้งแล้วมาไว้ในกระเป๋าของตัวเอง เธอมีกระเป๋าใบหนึ่งชื่อว่า “กระเป๋าเก็บตก” สามารถเก็บของได้ทุกอย่าง ไม่ว่าของนั้นจะใหญ่แค่ไหนก็ตาม ด้วยนิสัยที่มีความเป็นผู้ใหญ่สูง ทำให้ถูกเพื่อนร่วมกลุ่มล้อว่าเหมือนป้า และชอบเรียกเธอว่า “ป้าปุ้ย”",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#4",
"text": "ในเทอมแรก ปุ้ย ไก่จัง นิน่า และกาละแมร์ ได้มาเจอกันระหว่างทางไปโรงเรียนประถมแองเจิล แต่ไม่สามารถเข้าโรงเรียนได้เนื่องจากมาสาย ทำให้ทั้งสี่ต้องหาวิธีที่จะเข้าไปในโรงเรียนโดยไม่ถูกครูใหญ่ลงโทษ ทั้งสี่คนได้อยู่ห้องเดียวกัน และได้เป็นเพื่อนกันในเวลาต่อมา จึงเกิดความคิดที่จะรวมกลุ่มและได้ตั้งชื่อกลุ่มของตัวเองว่า “โฟร์แองจี”\nในเทอม 2 “พ่อมดดูฮู” ต้องการจะทำลายโลก ทำให้ “กัปตันเจ” ซึ่งเป็นมนุษย์จากดาวอังคารคนสุดท้ายที่รอดพ้นจากการทำลายล้างของพ่อมดดูฮู ได้เข้ามาแฝงตัวในโลกมนุษย์ โดยแฝงมาเป็นครูในโรงเรียนประถมแองเจิล ใช้ชื่อว่า “นายดนุพร แก้วจาน” หรือ “ครูแจ้” และคอยขัดขวางพ่อมดดูฮูไม่ให้ทำลายโลก แต่ระหว่างการต่อสู้ เข็มขัดที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังของเขาเกิดชำรุด เขาจึงรวบรวม “โฟร์แองจี” มาช่วยต่อสู้ด้วยและตั้งชื่อขบวนการว่า “สี่อภินิหาร” ฉะนั้นในเทอมนี้ ปุ้ย ไก่จัง นิน่า และกาละแมร์ จึงต้องเข้าร่วมขบวนการสี่อภินิหาร",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#1",
"text": "\"โฟร์แองจี\" เป็นชื่อกลุ่มที่ประกอบด้วยเด็กหญิง 4 คน ได้แก่ ปุ้ย ไก่จัง นิน่า และ กาละแมร์ ตัวละครทั้ง 4 นี้ได้ถอดแบบมาจากพิธีกรรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” ซึ่งเป็นรายการที่ออกอากาศทางช่อง 3 โดยตัวละครแต่ละตัวจะใช้ชื่อเล่นของพิธีกรแต่ละคน อุปนิสัยของตัวละครก็เช่นกัน ล้วนแต่มีที่มาจากพิธีกรทั้ง 4 คนด้วย",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#10",
"text": "ไก่จังเป็นเด็กหญิงชั้นประถม หนึ่งในสมาชิกของ “โฟร์แองจี” เธอมีนิสัยเรียบร้อย อ่อนหวาน ในเทอมแรกเธอกลัวตุ๊กตาหมีเป็นที่สุด เพราะตอนเป็นเด็กเล็กเคยถูกตุ๊กตาหมีตัวใหญ่หล่นทับ เวลาเจอตุ๊กตาหมีมักจะเป็นลม แต่ในเทอม 2 ความกลัวตุ๊กตาหมีได้หายไปเพราะถูกหมีแพนด้าช่วยเอาไว้ ทำให้เธอคิดว่าหมีไม่ได้น่ากลัวอะไร",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
},
{
"docid": "124482#15",
"text": "กาละแมร์เป็นเด็กหญิงชั้นประถม หนึ่งในสมาชิกของ “โฟร์แองจี” เธอมีนิสัยกระด้าง ไม่เรียบร้อย ชอบใช้กำลัง ชอบพูดเสียงดัง ไม่เกรงกลัวใคร ถือว่าเป็นตัวละครที่เป็นตัวเด่นตัวหนึ่งของโฟร์แองจี เวลาเรียนชอบหลับ ทำให้ได้คะแนนสอบไม่ค่อยดี เธอมีลักษณะอย่างหนึ่งที่ทำให้เธอรู้สึกเหมือนว่าเป็นปมด้อย ก็คือ ผิวของเธอนั้นคล้ำ ทำให้ถูกหลายคนล้อ แต่ว่ากาละแมร์มีความสามารถพิเศษ เธอสามารถเปล่งเสียงออกมาเป็นตัวอักษรที่แข็งได้ และใช้ความสามารถนี้เป็นอาวุธ จนถูกกลุ่ม X-4 ล้อว่า “ยายเสียงแข็ง”",
"title": "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน"
}
] |
2162 | ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกคนที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "263349#0",
"text": "ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2549 เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และ เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน (ชั้นยศสูงสุดที่ นายกองใหญ่) อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
},
{
"docid": "362887#0",
"text": "ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้อย่างเด่นชัด และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท",
"title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร"
}
] | [
{
"docid": "63252#6",
"text": "ยิ่งลักษณ์เป็นหลานอาของสุเจตน์ ชินวัตร อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสุรพันธ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพลเอก ชัยสิทธิ์เป็นบุตรชายของพันเอกพิเศษ ศักดิ์ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเลิศ ยิ่งลักษณ์ยังเป็นญาติของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านทางคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาของทักษิณอีกด้วย",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "351807#8",
"text": "ส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เขาเป็นแนวร่วมคนหนึ่ง อย่าลืมว่าเราเป็นองค์กรแนวร่วม ชื่อเต็ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน ในนี้มีองค์ประกอบ 60-70% ที่รักคุณทักษิณมาก ส่วนที่เหลือคือเฉย ๆ แต่ไม่ถึงกับเกลียด และอาจจะมีคนที่อยากอยู่ห่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง แต่เราเป็นองค์กรแนวร่วม เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ความรักคุณทักษิณมันมีเหตุผลของมัน เพราะเขารักตัวเขา รักผลประโยชน์ของเขา เขาหวังว่าคุณทักษิณจะเป็นนายกฯ ที่ตอบสนองผลประโยชน์ของเขา ฉะนั้น คนเหล่านี้มี loyalty มีความจงรักภักดี แม้ผ่านไปหลายปีแต่เขายังรู้สึกได้ดี เพราะคนไทยเป็นคนซื่อตรง คนเหล่านี้ยังมีความรักคุณทักษิณ แม้เขารู้ว่าความหวังที่คุณทักษิณจะกลับมามันรางเลือน แต่นี่เป็นนิสัยที่ไม่หักหลังคน ฉะนั้น เมื่อเรามองอย่างนี้ในแนวร่วม เราจึงจำเป็นให้คุณทักษิณอยู่ในฐานะที่มีบทบาทพอสมควร พูดง่ายๆ คือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่คนหนึ่งในแนวร่วมนี้",
"title": "ธิดา ถาวรเศรษฐ"
},
{
"docid": "530858#1",
"text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร)",
"title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "63252#5",
"text": "ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน เช่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "428764#2",
"text": "พล.ต.ท.วินัย ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมและเกี่ยวพันกับตระกูลชินวัตร เนื่องจากภริยามีศักดิ์เป็นหลานสาวของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะที่เกิดการรัฐประหารเกิดขึ้น พล.ต.ท.วินัย ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ ได้รับคำสั่งทางสายโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่นครนิวยอร์ก ให้นำกองกำลังเข้าทำการควบคุมตัว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ อันเป็นบ้านพักส่วนตัว แต่ยังมิทันได้ดำเนินการ เนื่องมีกองกำลังทหารและรถถังเข้าอารักขาไว้หมดแล้ว และในคืนวันนั้น พล.ต.ท.วินัย เองก็ถูกควบคุมตัวด้วย",
"title": "วินัย ทองสอง"
},
{
"docid": "263349#5",
"text": "ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวน 10 คนของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร ธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์ ผู้เป็นธิดาในเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
},
{
"docid": "196355#0",
"text": "คดีระหว่างอัยการสูงสุด กับทักษิณ ชินวัตร และพจมาน ชินวัตร หรือคดีที่ดินรัชดาฯ เป็นคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในความผิดฐาน \"เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงาน และสนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ\" ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2550 และศาลมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550",
"title": "คดีที่ดินรัชดาฯ"
},
{
"docid": "63261#0",
"text": "เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย",
"title": "เยาวเรศ ชินวัตร"
},
{
"docid": "8188#1",
"text": "อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนว่าเป็นผู้ที่สามารถอธิบายกฎหมายได้เข้าใจที่สุด จากการได้รับการยอมรับจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง",
"title": "วิษณุ เครืองาม"
}
] |
2165 | หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "40649#0",
"text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 — 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีชาวไทย ทรงเป็นบุคคลคนแรกที่พบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา จนมีการทวงทับหลังชิ้นกลับคืนสู่ประเทศไทย ทรงเป็นหนึ่งในบุคคลไทยที่ทรงมีคุณูปการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีไทย",
"title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล"
},
{
"docid": "40649#1",
"text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายปาน เป็นพระโอรสลำดับที่ 31 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: สนธิรัตน์) ประสูติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เมื่อทรงพระเยาว์ ช่วงพระชันษา 1-11 ปี ได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล"
}
] | [
{
"docid": "224959#0",
"text": "ท่านหญิง สุมณีนงเยาว์ วินิจฉัยกุล (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสุมณีนงเยาว์ ดิศกุล; ประสูติ: 16 มีนาคม พ.ศ. 2451 - สิ้นชีพิตักษัยประมาณปี พ.ศ. 2546) หรือ ท่านหญิงโสฬส เป็นพระธิดาลำดับที่ 27 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลำดับที่ 6 ที่ประสูติในหม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: วสันต์สิงห์) มีเชษฐาและเชษฐภคินีร่วมมารดา 5 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงแฝด, หม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ, หม่อมเจ้าสิวลีวิลาศ, หม่อมเจ้าทักษิณาธร และหม่อมเจ้านิพัทธ์พันธุดิศ ดิศกุล",
"title": "สุมณีนงเยาว์ วินิจฉัยกุล"
},
{
"docid": "40649#6",
"text": "พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงย้ายจากกรมศิลปากรไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2519-2524 และดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2525-2529 หลังจากทรงเกษียณอายุจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ตั้ง พ.ศ. 2530-2535 เมื่อพ้นจากตำแหน่งนี้แล้วทรงได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานของกรมศิลปากร และยังทรงรับเป็นอาจารย์พิเศษแก่สถาบันต่างๆ ทรงยุติงานค้นคว้าและงานสอนที่ทรงรักทั้งหมดลงใน พ.ศ. 2540 เนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุทำให้ประชวรหนัก",
"title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล"
},
{
"docid": "194880#0",
"text": "หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล (3 สิงหาคม พ.ศ. 2429 — 23 กันยายน พ.ศ. 2521) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมนวม ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนดิศ) มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงใหญ่ เมื่อเยาว์วัยประทับอยู่ในพระราชสำนักของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และมีความสามารถในการทำอาหารเป็นอย่างดี ด้วยความที่เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงมีหน้าที่ดูแลวังวรดิศ และประกอบกรณียกิจแทนพระบิดาขณะที่ไม่ได้ทรงอยู่ในพระนคร นอกจากนี้หม่อมเจ้าจงจิตรถนอมยังมีศักดิ์เป็นหลานย่าของเจ้าจอมมารดาชุ่ม",
"title": "หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล"
},
{
"docid": "179441#0",
"text": "หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล (23 มีนาคม พ.ศ. 2456 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2518) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ณ อยุธยา เสกสมรสกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2490 แต่ไม่มีพระบุตรด้วยกัน มีเพียงบุตรบุญธรรมคือ ฤทธิ์ดำรง ดิศกุล ซึ่งเป็นบุตรของณรงค์ฤทธิ์ บุญ-หลง กับหม่อมราชวงศ์บุศยทิพย์ เทวกุล ซึ่งมีศักดิ์หลานสาวของหม่อมเจ้าอาชวดิศ",
"title": "หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล"
},
{
"docid": "52037#1",
"text": "หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ประสูติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ที่วังสามยอด เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ได้ทรงศึกษาภาษาไทยชั้นต้นกับคุณหญิงวิทยาปรีชามาตย์ (อ่อง) และข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิอีกบางท่าน และทรงศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสกับครูสตรีชาวต่างประเทศเจ้าของภาษานั้น ๆ นอกจากทรงศึกษาความรู้รอบตัวจากพระบิดา และจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์แล้ว ยังทรงศึกษาวิชาสำหรับกุลสตรีจากสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดลอีกด้วย",
"title": "หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล"
},
{
"docid": "287822#0",
"text": "พลตรี หม่อมราชวงศ์ สังขดิศ ดิศกุล (พ.ศ. 2464 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545) อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศมาเลเซีย ประเทศสมาพันธรัฐสวิส และสำนักวาติกัน เป็นโอรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล และเป็นพระปนัดดาสืบตระกูลในพระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร สมรสกับนางมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา) มีบุตรชายคนเดียว คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล",
"title": "หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล"
},
{
"docid": "40649#9",
"text": "พระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี เป็นที่ยกย่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงทรงได้รับเชิญไปร่วมการประชุม และบรรยายในประเทศต่าง ๆ หลายครั้ง ทรงได้รับเชิญไปสอนพิเศษที่มหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียงหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ทรงได้รับรางวัลในฐานะบุคคลสำคัญระหว่างชาติที่ได้ผลิตผลงานด้านวัฒนธรรมและความรู้เกี่ยวกับทวีปเอเชีย จากเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทรงได้รับเชิญให้ร่วมงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆ เช่น เป็นประธานคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เป็นอุปนายกกิตติมศักดิ์ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานมูลนิธิเจมส์ เอส. ดับเบิลยู ทอมป์สัน และนายกสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น",
"title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล"
},
{
"docid": "40649#7",
"text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงได้รับการขนานพระนามจากบรรดาสานุศิษย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรว่า ท่านอาจารย์ เป็นพระนามที่แสดงถึงความเคารพยกย่องและสนิทสนมรักใคร่ เพราะทรงเมตตาศิษย์อย่างเสมอภาคและวางพระองค์เรียบง่ายไม่ถือยศศักดิ์ สามารถเข้ากับบุคคลทั่วไปได้ทุกระดับชั้น ทรงเต็มพระทัยที่จะถ่ายทอดความรู้และเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ทั้งยังประทานคำแนะนำและแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อการศึกษาเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งมาจากการที่ได้ทรงศึกษาค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ทรงนิพนธ์ตำราและบทความวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก เช่น ศิลปะอินเดีย ศิลปะชวา ศิลปะขอม ศิลปะในประเทศไทย เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย เที่ยวเมืองลังกา ศิลปะอินโดนีเซียโบราณ ประติมากรรมขอม ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานหลายแห่ง Art in Thailand, A Brief History และ Thailand ในชุด Archeaological Mundi ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน เป็นต้น นอกจากทรงนิพนธ์ตำราความรู้ทางวิชาการแล้ว ยังทรงจัดหาหนังสือทางวิชาการต่าง ๆ มาประทานแก่ห้องสมุดของคณะโบราณคดีตลอดจนห้องสมุดขององค์การสปาฟา (SPAFA) เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดียิ่งขึ้นด้วย",
"title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล"
}
] |
2176 | อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ เกิดวันที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "329228#1",
"text": "อรรถพันธ์เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 มีพี่น้อง 2 คน โดยอรรถพันธ์เป็นบุตรชายคนโต มีน้องสาว 1 คน อรรถพันธ์จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนอโศกวิทย์อ่อนนุช จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนศรีวิกรม์ และจบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แผนกทัศนศิลป์ และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปัจจุบันได้ย้ายมาเข้าศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง",
"title": "อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์"
}
] | [
{
"docid": "329228#0",
"text": "อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ เคยใช้ชื่อว่า ณัฏฐนันท์ พูลสวัสดิ์ เป็น นักแสดงชาวไทย สังกัดจีเอ็มเอ็มทีวี เริ่มเป็นที่รู้จักจากการแสดงในละครพื้นบ้านเรื่อง \"โกมินทร์\" ปัจจุบันอรรถพันธ์มีชื่อเสียงจากการเล่นละครซีรีส์วัยรุ่นหลายเรื่อง จนทำให้เขามีแฟนคลับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ",
"title": "อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์"
},
{
"docid": "109980#1",
"text": "อรรถพล ประกอบของ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2521 ปีมะเมีย ที่ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของ นางยุพิน วงศ์สุนทร อาชีพ รับราชการครู โดยในวัยเด็ก มารดาได้หย่าร้างกับบิดาเมื่ออายุได้ 2 ปี หลังจากนั้นก็อาศัยอยู่กับมารดาและยาย พอเข้าช่วงอายุวัยรุ่นคุณยายได้เสียชีวิตลง เคยเป็นดีเจและนักร้องตามสถานบันเทิงและร้านอาหารที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะเข้าประกวดรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 2 และ ได้รับตำแหน่งชนะเลิศในที่สุด\nรายชื่อเพลง",
"title": "อรรถพล ประกอบของ"
},
{
"docid": "256817#1",
"text": "ยุทธพงศ์ ภูริสัมบรรณ หรือ รวี โดมพระจันทร์ เกิดที่หนองปลาไหล จังหวัดพิจิตร (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490) บิดาเป็นชาวจีนไหหลำอพยพชื่อนายวา แซ่พัว และมารดามีเชื้อจีนไทย ชื่อนางเฮี๊ยะ แซ่พัว (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วทั้งคู่) ยุทธพงศ์เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 9 คน ครอบครัวเดิมประกอบอาชีพค้าขาย และได้ย้ายมาตั้งรกรากที่พิษณุโลกตั้งแต่ยุทธพงศ์ยังเด็ก \nยุทธพงศ์แต่งงานกับพ.ญ.วารุณี (สดเจริญ) มีบุตรชายหนึ่งคนและบุตรสาวหนึ่งคน และได้ย้ายมาชลบุรีซึ่งเป็นจังหวัดที่ภรรยาทำงานอยู่ เนื่องจากต้องเดินงานไปกลับ กรุงเทพ-ชลบุรีเป็นประจำ ประกอบด้วยการทำงานหนัก และต้องเจอกับควันบุหรี่ในที่ทำงาน ยุทธพงศ์จึงร่างกายอ่อนแอ และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดแม้ว่าไม่เคยสูบบุหรี่เลย ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ก่อนวันเกิดปีที่สี่สิบสองเพียงไม่ถึงเดือนตำแหน่งงานสุดท้ายของยุทธพงศ์ก่อนเสียชีวิตคือเป็นผู้จัดการศูนย์ข้อมูล บ.ตะวันออกแมกกาซีน ในเครือของสนธิ ลิ้มทองกุล ภายหลังที่เขาจากไป บริษัทที่ทำงานได้ก่อตั้ง \"รางวัลรวี โดมพระจันทร์\" จัดประกวดกวีนิพนธ์และนวนิยาย แต่ดำเนินไปได้เพียงสองปีก็ยุติลง ทิ้งไว้เพียงหนังสือรวมบทกวีเล่มสุดท้าย ซึ่งรวบรวมจากผลงานเด่นๆ ของเขาในชื่อ \"ตื่นเถิดเสรีชน\" ในเล่มมีข้อเขียนของกวีใหญ่ และเจ้าพ่อสื่อใหญ่",
"title": "รวี โดมพระจันทร์"
},
{
"docid": "440651#1",
"text": "พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) เกิดเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2422 เป็นชาวกรุงเทพมหานคร ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ คนที่ 17 เมื่อจังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอไปขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม ในเวลาต่อมาได้ลาออกจากราชการ กลับมาใช้ชีวิตอยู่จังหวัดกาฬสินธุ์อีกครั้ง จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2510 รวมอายุได้ 79 ปี",
"title": "พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร)"
},
{
"docid": "307970#1",
"text": "นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (ชื่อเดิม บุญรอด โพธิวสุ) เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ที่แขวงถนนวัดราชบพิต เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรนาย พันตรีหลวงวิสูตรโยธาภิบาล (บุญมา โพธิวสุ) และนางพิศ เป็นบุตรชายคนเดียว แต่มีน้องต่างมารดา 3 คน คือ ร.ต.อ.จำลอง วิสูตรโยธาภิบาล นายเล็ก วิสูตรโยธาภิบาล และนายวิลาศ วิสูตรโยธาภิบาล นายอรรถได้สมรสกับ นางยุพิน วิสูตรโยธาภิบาล (เปรมโยธิน) และมีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คนคือ นายพงศ์อาจ วิสูตรโยธาภิบาล นางพิมพ์ใจ ติปปวงศ์ (สมรสกับ นายสุรพล ติปปวงศ์) นางสาวพนิต วิสูตรโยธาภิบาล และนางกัลยพรรณ วิสูตรโยธาภิบาล (สมรสกับ นายโสตถิกุล คงสวัสดิ์) มีหลานทั้งหมด 5 คน คือ น.ส.อลิสา วิสูตรโยธาภิบาล (สมรสกับ นายนพพร นุชนิยม) น.ส.อณุดา วิสูตรโยธาภิบาล นายอรรถพงศ์ วิสูตรโยธาภิบาล ทั้ง 3 เป็นบุตรธิดานายพงศ์อาจ น.ส.พิรอร ติปปวงศ์ บุตรีนายสุรพลและนางพิมพ์ใจ และนายณุกร วิสูตรโยธาภิบาล บุตรนางกัลยพรรณ นายวิลาศ วิสูตรโยธาภิบาล ได้สมรสกับ นางสำราญ แก้วเปี้ย มีบุตรชาย ชื่อนาย วิชชุราช วิสูตรโยธาภิบาลนายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล เริ่มรับราชการวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็น อักษรเลข (เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัด) จังหวัดลำพูน จากนั้นก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ปลัดอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2479 ปลัดอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2480 และเป็น นายอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2484 พอถึงปลายปี พ.ศ. 2489 นายอรรถ ได้ย้ายกลับมากรุงเทพฯและรับตำแหน่ง หัวหน้าแผนกทะเบียน กองการปกครอง กรมมหาดไทย ในอีก 5 ปีต่อมา นายอรรถ ได้เลื่อนเป็น ข้าหลวงตรวจการกรมมหาดไทย ถัดมาในปี พ.ศ. 2495 รับราชการเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รับตำแหน่งอยู่แค่ 6 เดือน ก็ถูกย้ายให้ไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแทน ตำรงตำแหน่งครบ 2 ปี ก็กลับกรุงเทพฯ รับตำแหน่งเป็น หัวหน้ากองทะเบียน กรมมหาดไทยเหมือนเดิม",
"title": "อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล"
},
{
"docid": "931231#1",
"text": "หลวงพ่อปี่ ท่านมีนามเดิมว่า \" เล่าปี่ \" นามสกุล \" ทองสงวน \" เกิดวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ตรงกับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2433 เกิดที่บ้านสามโคก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี บิดาชื่อ นายอาน มารดาชื่อ นางรอด ทองสงวน\nครั้นเจริญวัยแล้วได้ติดตามบิดามารดามาอยู่ที่บ้านท่าตะกูด ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี บิดาได้ส่งไปเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดกลาง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา",
"title": "พระครูไพศาลสารธรรม (ปี่ อินฺทโชโต)"
},
{
"docid": "69078#1",
"text": "พรไพร เพชรดำเนิน มีชื่อจริงว่า วันชัย เจริญชนม์ เกิดเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ที่ ตำบลขุนพิทักษ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อ ส้มปันนัง มารดาชื่อ นางทองเจือ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน เป็นคนที่ 3 ครอบครัวมีอาชีพทำสวนและค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เขาการศึกษาแค่จบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดหลักหกรัตนาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพราะทางบ้านยากจน",
"title": "พรไพร เพชรดำเนิน"
},
{
"docid": "329228#2",
"text": "อรรถพันธ์มีผลงานในวงการบันเทิงมาแต่เด็ก เขาเข้าวงการครั้งแรกจากเวทีประกวดถ่ายแบบเดอะบอยโมเดล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และด้วยความที่อรรถพันธ์ชื่นชอบการแสดง เขาจึงบอกกับบิดามารดาของเขาว่า เขาอยากจะเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ มารดาของเขาจึงพาไปทดสอบบทที่โรงถ่ายละครลาดหลุมแก้ว บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด และที่แห่งนี้เองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพการแสดงของเขา อรรถพันธ์ได้แสดงเป็นตัวประกอบเล็กๆ ในละครเรื่อง เบญจา คีตา ความรัก, ไฟในวายุ และ ฟ้าใหม่ โดยละครทั้งหมดนี้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นอรรถพันธ์มีโอกาสได้แสดงละครจักร ๆ วงศ์ ๆเรื่อง \"โกมินทร์\" เขารับบทเป็นพระเอกของเรื่องในวัยเด็กที่ชื่อว่าโกมินทร์ เมื่อละครเรื่อง \"โกมินทร์\" ออกอากาศก็ได้กระแสตอบรับที่ดีมาก ทำให้เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงเด็ก หลังจากนั้นเขาได้มีผลงานการแสดงละครหลังข่าวภาคค่ำมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เองถือว่าอรรถพันธ์เจริญรอยตามนักแสดงละครรุ่นพี่ที่เริ่มจากงานแสดงเล็กๆ หรืองานแสดงละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ก่อน แล้วค่อยไปแสดงเป็นตัวละครที่มีบทบาทมากขึ้นในละครหลังข่าวภาคค่ำ อย่างเช่น สุวนันท์ คงยิ่ง, พรชิตา ณ สงขลา, และ กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ เป็นต้น ละครหลังข่าวเรื่องแรกที่เขามีบทบาทในเรื่องมากคือ \"ภูตพิศวาส\" เขาแสดงเป็น แสง ผีเด็กที่เปรียบเสมือนน้องชายของ ดาว (แสดงโดย วรนุช วงษ์สวรรค์) นางเอกของเรื่อง นอกจากนี้เขายังมีงานแสดงอื่นๆ อีกมากมาย เช่น งานพรีเซนเตอร์โฆษณาและงานพิธีกรร่วมในรายการ \"ลูกมดปิ้ง..ปิ้ง\" เป็นต้น",
"title": "อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์"
},
{
"docid": "402463#1",
"text": "อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ (นามสกุลเดิม กุลพงษ์วณิชย์, ชื่อเดิม ต่อพงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ในครอบครัวนักธุรกิจการศึกษา โดยมีพี่ชายทำงานอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน อิทธิพัทธ์จบการศึกษาชั้นอนุบาลและประถมศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ปัจจุบันสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย",
"title": "อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์"
}
] |
2179 | กรมวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและมีหน้าที่พิพากษาตัดสินคดีความใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "103210#22",
"text": "กรมวัง มีออกญาธรรมาธิบดีเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชากรมวัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับความเรียบร้อยของพระราชวัง พระราชสำนัก พระราชพิธีต่างๆ และพิพากษาคดีความของราษฎร เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระอีกด้วย สำหรับหัวเมืองต่างๆ ขุนวังมีอำนาจแต่งตั้งยกกระบัตรไปประจำหัวเมืองต่างๆ เมืองละหนึ่งคน สำหรับรายงานการรักษาความยุติธรรมในเมืองนั้นๆ เพื่อนำเข้ามากราบบังคมทูล ในสมัยต่อมาเปลี่ยนเป็นธรรมาธิกรณ์",
"title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน"
},
{
"docid": "39484#2",
"text": "จากการปฏิรูปการปกครองในประเทศในครั้งนี้เอง โปรดเกล้าฯ ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ปฏิบัติราชการในพระราชสำนัก ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่า กรมวัง หรือ จตุสดมภ์กรมวัง เป็นกระทรวงมีชื่อว่า กระทรวงวัง แต่โปรดเกล้าฯ ให้โอนงานที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีไปขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ ดังนั้นส่วนราชการในจตุสดมภ์กรมวังที่มีชื่อว่า กรมพระตำรวจหลวงว่าความฎีกา อันเป็นกรมหนึ่ง ซึ่งสมัยก่อน ๆ ถือว่าเป็นส่วนราชการที่มีความสำคัญมากถึงกับในบางรัชกาลต้องโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยที่สุดไปทรงกำกับราชการอยู่ เช่น ในรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอฯ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ไปทรงกำกับราชการอยู่นั้น จึงสูญไปจากทำเนียบราชการแต่นั้นมา",
"title": "สำนักพระราชวัง"
},
{
"docid": "103210#1",
"text": "กรมวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและมีหน้าที่พิพากษาตัดสินคดีความ สำหรับหัวเมืองต่างๆ มีขุนวังเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งขุนวังมีอำนาจตั้งยกกระบัตรไปประจำตามเมือง เมืองละคน โดยทำหน้าที่พิพากษาคดีต่างๆที่เกิดขึ้นในเมืองนั้นๆด้วย",
"title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน"
}
] | [
{
"docid": "79176#9",
"text": "กรมราชองครักษ์มีหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยราชองครักษ์และกฎหมายว่าด้วยตำรวจราชสำนัก ได้แก่ การถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พระราชประสงค์และราชประเพณี โดยสรุปก็คือ การถวายความปลอดภัยและการถวายพระเกียรติพระราชบัญญัติ การถวายความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๗",
"title": "กรมราชองครักษ์"
},
{
"docid": "34051#0",
"text": "กรมราชเลขานุการในพระองค์ เดิมคือ สำนักราชเลขาธิการ เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ระดับกรม สังกัดสำนักพระราชวัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในองค์พระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับงานหนังสือที่หน่วยราชการ เอกชนและบุคคลทั่วไปส่งเข้ามา เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบรมราชวินิจฉัยและพระมหากรุณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งทำหน้าที่รับพระราชทานพระราชดำริและพระราชดำรัส เพื่อเชิญไปยังหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐหรือเอกชนและบุคคลทั่วไป ทั้งที่เป็นราชการแผ่นดินและการส่วนพระองค์ ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนนั้นเรียกว่า\"ออฟฟิศไปรเวตสิเกรตารีหลวง\" หรือ\"กรมราชเลขาธิการ\"",
"title": "กรมราชเลขานุการในพระองค์"
},
{
"docid": "902059#9",
"text": "กรมความลับทหารมีหน้าที่หลายประการในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง บางอย่างก็เป็นหน้าที่ธุรการ เช่น ติดตามหนังสือเวียน ตลอดจนจัดกิจกรรม อย่างมหรสพในวัง และการประพาส หน้าที่อย่างอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจก็มี เช่น ร่างราชโองการ และถวายความเห็นเรื่องนโยบายและปัญหาอื่น ความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ราชสำนักชั้นใน และความลับทางราชการ รวมถึงสถานะที่ไม่เป็นทางการ ทำให้กรมความลับทหารมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการปกครองแผ่นดิน ทั้งไม่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานราชสำนักชั้นนอกด้วย",
"title": "กรมความลับทหาร"
},
{
"docid": "237190#20",
"text": "เนื่องจากท่านได้พิจารณาว่าหน่วยงานราชการต่าง ๆ มีหน้าที่โดยตรงในการช่วยเหลือ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน ดังนั้น เมื่อหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สถานีตำรวจภูธร สถานีรถไฟจังหวัด ทัณฑสถานหญิง กรมราชทัณฑ์ มาขอความช่วยเหลือ ถ้าท่านพิจารณาเห็นสมควร ท่านก็จะช่วยเหลือเต็มที่ทั้งอาหารการกิน เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึง การก่อสร้าง เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ มากราบท่าน ท่านก็มักแสดงธรรมเพื่อให้ข้อคิดแก่เจ้าหน้าที่เหล่านั้น เช่น อย่ายึดติดลาภยศสรรเสริญ อย่ากินบ้านกินเมือง อย่าเห็นแก่ตัวให้เห็นประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง",
"title": "พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)"
},
{
"docid": "130192#12",
"text": "ขุนนางนอกจากจะมีอำนาจและหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ บังคับบัญชากรมกองต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายมาแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อย่าง การควบคุมดูแลไพร่พลในกรมกองที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชา และควบคุมดูแลไพร่ในหัวเมืองชั้นในซึ่งถูกแบ่งให้สังกัดกรมกองในเมืองหลวง ไพร่พลเหล่านี้ถือเป็นไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์มิได้ปกครองด้วยพระองค์เอง จำนวนไพร่พลในสังกัดมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและศักดินาของขุนนางผู้นั้น",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "184546#0",
"text": "กรมธนารักษ์ เป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำเหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก การดูแลที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ การประเมินราคาทรัพย์สิน การรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร และการจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของบรมวงศ์",
"title": "กรมธนารักษ์"
},
{
"docid": "369518#3",
"text": "มีหน้าที่วางแผนการปฏิบัติอำนวยการ ประสานงาน ติดตาม กำกับการ พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการ ช่างอากาศทั้งระบบ การพัสดุช่างอากาศ และการพัสดุเชื้อเพลิง กับมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรา กิจการในสายวิทยาการด้านช่างอากาศ มีเจ้ากรมช่างอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ\nเป็นที่บริหารจัดการ และปกครองบังคับบัญชาของเจ้ากรมช่างอากาศ รวมทั้งอำนวยการ ประสานงาน ควบคุม กำกับการ และดำเนินการให้เป็นไปตามภารกิจของกรมช่างอากาศ แบ่งย่อยเป็น\nมีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกเงิน การรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบัญชีและหลักฐานประกอบบัญชีตลอดจนหลักฐานอื่น ๆ ในความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มีหัวหน้านายทหารการเงิน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ\nภารกิจ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดแผน และควบคุม การซ่อมบำรุง การกำหนด มาตรฐาน การแผนแบบ การค้นคว้า วิจัย ตรวจทดลอง ให้คำแนะนำและจัดทำเอกสารเทคนิค เผยแพร่วิทยาการ ตลอดจนตรวจตรากิจการในสายวิทยาการช่างอากาศ มีผู้อำนวนการกองวิทยาการเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ โดยมีหน่วยขึ้นตรง 1 กอง 6 แผนก และ 1 ฝ่าย ได้แก่\n1.กองการซ่อมบำรุง\n2.แผนกแผนแบบ\n3.แผนกวิศวการ\n4.แผนกวิจัยและตรวจทดลอง\n5.แผนกวิทยาการ\n6.แผนกเอกสารเทคนิค\n7.แผนกบริหารกำลังพล\n8.ฝ่ายธุรการ",
"title": "กรมช่างอากาศ"
}
] |
2180 | เกาะฮ่องกงมีพื้นที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "6032#1",
"text": "ฮ่องกงมีพื้นที่รวม 1,096.63 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะฮ่องกง (80.30 ตร.กม.) เกาลูน (46.71 ตร.กม.) เขตดินแดนใหม่ () และเกาะอื่น ๆ (969.62 ตร.กม.) หรือขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้",
"title": "ฮ่องกง"
},
{
"docid": "148946#1",
"text": "เกาะฮ่องกงเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ถัดจากเกาะลันเตา โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 80.4 ตารางกิโลเมตร เกาะฮ่องกงอยู่หากจากแผ่นดินใหญ่ไม่มาก โดยมีอ่าววิคตอเรียกั้นอยู่ระหว่างเกาะฮ่องกงกับเกาลูน",
"title": "เกาะฮ่องกง"
}
] | [
{
"docid": "84656#3",
"text": "ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นบนเกาะขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการถมทะเลระหว่างเกาะเช็คแลปก๊กและเกาะ Lam Chau จนกลายเป็นเกาะเดียว เกาะเดิมทั้ง 2 เกาะนี้ถูกปรับพื้นผิวให้ราบเรียบ ครอบครองพื้นที่ประมาณ 25% ของพื้นที่ท่าอากาศยานทั้งหมดซึ่งมีขนาด 12.48 ตารางกิโลเมตร มีทางเชื่อมต่อกับส่วนเหนือของเกาะลันเตา ใกล้กับหมู่บ้านประวัติศาสตร์ Tung Chung ซึ่งปัจจุบันถูกขยายออกเป็นเมืองใหม่ การปรับปรุงพื้นที่สำหรับท่าอากาศยานแห่งนี้ ทำให้เกิดพื้นดินใหม่เป็นพื้นที่ 1% ของพื้นที่ทั้งหมดของฮ่องกง ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดเพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานไคตั๊กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเกาลูนซิตี ซึ่งจัดว่าไม่ปลอดภัยเนื่องมาจากรันเวย์เดี่ยวที่ยื่นออกไปในอ่าวเกาลูนและพื้นที่ที่ติดกับย่านที่พักอาศัย",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง"
},
{
"docid": "250203#0",
"text": "เกาะฟู้โกว๊ก () เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในอ่าวไทย โดยอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเกียนซาง พื้นที่ 574 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรอยู่ถาวร 85,000 คน เขตการปกครองของเกาะฟู้โกว๊กนั้นประกอบด้วยเกาะใหญ่และเกาะเล็กน้อยอีก 21 เกาะ ศูนย์กลางของเกาะตั้งอยู่ที่เมืองใหญ่ที่สุดคือเซืองโดงทางชายฝั่งตะวันตก และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะอีกด้วย เศรษฐกิจของเกาะขึ้นกับการประมง เกษตรกรรมและการท่องเที่ยว เกาะนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเวียดนาม",
"title": "เกาะฟู้โกว๊ก"
},
{
"docid": "148946#0",
"text": "เกาะฮ่องกง (อักษรจีนตัวเต็ม: 香港島; ภาษาอังกฤษ: Hong Kong Island) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน\nเกาะฮ่องกงเป็นอาณาบริเวณส่วนแรกที่อังกฤษเข้ามาครอบครอง ก่อนที่จะขยายอาณาบริเวณขึ้นไปตามเกาะต่างๆและบนฝั่งจนกลายเป็นพื้นที่ของเขตบริหารพิเศษอย่างในปัจจุบัน",
"title": "เกาะฮ่องกง"
},
{
"docid": "195763#1",
"text": "เกาะลันเตาเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 146 ตารางกิโลเมตร บนเกาะมี Lantau Peak ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะ และเป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของฮ่องกง",
"title": "เกาะลันเตา"
},
{
"docid": "148946#2",
"text": "เกาะฮ่องกงเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากกว่าส่วนอื่นๆในเขตบริหารพิเศษ โดยมีความหนาแน่นประมาณ 15,915 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 1,268,112 คน คิดเป็น 18.5% ของประชากรทั้งหมด",
"title": "เกาะฮ่องกง"
},
{
"docid": "343294#0",
"text": "ภูเก็ตเกาะแห่งหนึ่งชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เป็นเส้นทางการเดินเรือมาตั้งแต่พุทธศรรตวรรต16 รู้กันในชื่อในชื่อ แหลมจังซีลอน หรือ ท่องคา หรือ ทุ่งคา\nภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทยมาตั้งแต่ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (2347-2411) เพราะเกาะน้อยห้าร้อยตารางกิโลเมตรแห่งนี้มีการทำเหมืองเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ซึ่งพัฒนาการการทำเหมืองหาบในช่วงเวลาดังกล่าวต้องใช้แรงงานกุลีจีนจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการอพยพของชาวจีนฮกเกี้ยนเข้ามายังภูเก็ต จนเกิดการผสมทางวัฒนธรรมเรียกว่า ภูเก็ตฮกเกี้ยน หรือ บาบ๋าภูเก็ต",
"title": "ภูเก็ตฮกเกี้ยน"
},
{
"docid": "6032#2",
"text": "ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะฮ่องกง เกาลูนและเขตดินแดนใหม่ จะเป็นแนวเขาทอดตัวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นแนวเขาที่ต่อเนื่องมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและกว่างตงที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากเขตเทือกเขาแต่ครั้งโบราณนั้น ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ จึงเกิดเป็นทัศนียภาพเกาะแก่งเล็ก ๆ ที่มีลักษณะลาดชันผุดโพล่ขึ้นมากมาย",
"title": "ฮ่องกง"
},
{
"docid": "195763#2",
"text": "เกาะลันเตายังมีพื้นที่ป่าอยู่จำนวนมาก ทำให้ถูกเรียกว่าเป็น \"ปอดของฮ่องกง\"",
"title": "เกาะลันเตา"
}
] |
2187 | พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนอะไร? | [
{
"docid": "1001181#0",
"text": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2562 คือรอบของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562"
},
{
"docid": "976463#0",
"text": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2561 คือรอบของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2561"
}
] | [
{
"docid": "539862#0",
"text": "พายุไซโคลนวียารุ หรือที่เคยรู้จักกันในนาม พายุไซโคลนมหาเสน เป็นพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างอ่อนที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตในหกประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พายุนี้ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ จากบริเวณความกดอากาศต่ำเหนืออ่าวเบงกอลตอนใต้ในต้นเดือนพฤษภาคม 2556 พายุค่อนข้างอยู่กับที่ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พายุดังกล่าวมีลมกำลังแรง (gale-force wind) และได้ชื่อว่า พายุไซโคลนมหาเสน ซึ่งเป็นพายุลูกแรกที่มีการตั้งชื่อในฤดูกาลนี้ เนื่องจากสภาพบรรยากาศในทิศทางตรงข้าม ระบบจึงพยายามรักษาการไหลขึ้นของกระแสอากาศที่เป็นระบบขณะเคลื่อนสู่ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย วันที่ 14 พฤษภาคม การไหลเวียนที่ไม่มั่นคงของพายุหันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ วันรุ่งขึ้น สภาพดังกล่าวอีกครั้งทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้น เช้าวันที่ 16 พฤษภาคม พายุไซโคลนทวีความรุนแรงถึงขีดสุดด้วยความเร็วลม 85 กิโลเมตร/ชั่วโมง และความดันบารอมิเตอร์ 988 มิลลิบาร์ ไม่นานหลังจากนั้น พายุมหาเสนขึ้นฝั่งใกล้กับจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ ระบบได้รับการสังเกตล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่เคลื่อนเหนือรัฐนาคาแลนด์ ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย",
"title": "พายุไซโคลนวียารุ"
},
{
"docid": "732437#6",
"text": "แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกนี้มีพายุก่อตัวมากเป็นอันดับสอง และมีอัตราการก่อตัวต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด โดยฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิกนี้ จะมีกิจกรรมในระหว่างวันที่ 15 พฤศภาคม ถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี และครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของกิจกรรมในภูมิภาค ในช่วงปี พ.ศ. 2514 ถึง 2548 จะมีพายุก่อตัวโดยเฉลี่ยดังนี้ คือ 15-16 ลูก เป็นพายุโซนร้อน, 9 ลูก เป็นพายุเฮอร์ริเคน และ 4-5 ลูก เป็นพายุเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่",
"title": "แอ่งพายุหมุนเขตร้อน"
},
{
"docid": "862633#4",
"text": "เมื่อวันที่ 13 เมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณตอนใต้ของอ่าวเบงกอล ภายใต้อิทธิพลของพื้นที่การหมุนเวียนที่ยังคงอยู่ ในระยะเวลา 6 ชั่วโมง ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม การแรงขึ้นอย่างฉับพลันจึงเกิดขึ้น และระบบถูกจัดเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อวันที่ 15 เมษายน ต่อมาในวันเดียวกันนั้น พายุหมุนยังทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว จากนั้นกลายเป็นพายุไซโคลน ได้รัยชื่อว่า มารุทา (Maarutha) มารุทาได้ชักนำให้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่ยังเป็นพายุดีเปรสชันในประเทศศรีลังกา และในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดีย วันที่ 16 เมษายน มารุทาได้พัดขึ้นฝั่งที่ประเทศพม่า ก่อนที่จะสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันรุ่งขึ้น",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "976463#3",
"text": "วันที่ 16 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นในอ่าวเอเดน และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และได้รับรหัสเรียกว่า \"ARB 02\" ในวันถัดมา ระบบพายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า \"สาคร\" ในวันที่ 18 พฤษภาคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นและเริ่มจัดระบบเป็นพายุไซโคลนขนาดเล็กได้ และมีลักษณะของตาอย่างหยาบ ๆ ภายใต้อิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำที่ทอดตัวอยู่เหนือทะเลอาหรับ พายุไซโคลนจึงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ และขึ้นฝั่งประเทศโซมาเลียในระหว่างเวลา 13:30 ถึง 14:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย) ในวันที่ 19 พฤษภาคม",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2561"
},
{
"docid": "732437#19",
"text": "พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในแอ่งนี้ได้ยาก และแอ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นแอ่งพายุหมุนเขตร้อนอย่างเป็นทางการ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนสามารถก่อตัวได้เป็นครั้งคราวได้ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และพายุที่กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างเต็มตัวคือ พายุไซโคลนคาตารินา เมื่อปี พ.ศ. 2547 และพัดเข้าถล่มบราซิล ต่อมาคือพายุโซนร้อนแอนิตา พ.ศ. 2553 ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของริโอแกรนด์โดซูล",
"title": "แอ่งพายุหมุนเขตร้อน"
},
{
"docid": "988190#4",
"text": "ลีอูอาเป็นพายุไซโคลนที่ก่อตัวเร็วที่สุดและได้รับชื่อในแอ่งแปซิฟิกใต้ นับตั้งแต่พายุไซโคลนลูซี ในฤดูกาล 2540ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งใช้เกณฑ์ว่าต้องมีความเร็วลมมากกว่า 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) และมันจะต้องมีพายุเกิดขึ้นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากจุดศูนย์กลาง และพายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งเป็นความรุนแรงประเภทหนึ่งของพายุหมุนเขตร้อน ที่อยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตร ถึง 25°ใต้ และระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก จะได้รับการตั้งชื่อโดย RSMC นันจี ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่อยู่ทางใต้ของ 25°ใต้ และระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก จะได้รับชื่อที่เชื่อมโยงกับ RSMC นันจี โดยศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนเวลลิงตัน หากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนออกจากแอ่ง เข้าสู่ภูมิภาคออสเตรเลียหรือในทางกลับกัน มันจะคงชื่อเดิมไว้",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2561–2562"
},
{
"docid": "32365#43",
"text": "ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2547 พายุไซโคลนคาตารินา ก่อตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ซึ่งเป็นที่โดดเด่นในบราซิล ด้วยความเร็วลมเทียบเท่าประเภทที่ 2 ในมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในฐานะที่พายุลูกนี้เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของศูนย์เตือนภัย ทำให้อุตุนิยมวิทยาบราซิลเป็นผู้ตรวจสอบเป็นครั้งแรกกับระบบที่เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างเต็มตัว แต่ภายหลังถูกจัดให้อยู่ในประเภทพายุหมุนเขตร้อน",
"title": "พายุหมุนเขตร้อน"
},
{
"docid": "756810#0",
"text": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2559 คือรอบในอดีตของพายุหมุนเขตร้อน ที่เคยมีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2559"
},
{
"docid": "539079#0",
"text": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2556 คือรอบปัจจุบันของพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2556"
},
{
"docid": "976463#10",
"text": "วันที่ 19 กันยายน พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของอ่าวเบงกอล และได้รับรหัสเรียกว่า \"BOB 07\" ในไม่ช้า ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) ตามมา ต่อมาในวันที่ 20 กันยายน พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วทางตะวันตกของอ่าวเบงกอล พายุยังทวีกำลังแรงขึ้นอีก และกลายเป็นพายุไซโคลนดะแย ในขณะที่มันอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอลภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกขององค์คณะพายุหมุนเขตร้อนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในนิวเดลี ได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 ชื่อในแอ่งนี้ไม่มีการถอดถอนชื่อพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากรายการชื่อเป็นเพียงการกำหนดไว้ใช้เพียงครั้งเดียว ก่อนที่จะร่างรายชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ถ้าหากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อหกลำดับถัดมาจากที่ใช้เมื่อฤดูกาลก่อน\nตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงปี พ.ศ. 2561 ซึ่งจะระบุชื่อของพายุ, วันที่พายุเริ่มก่อตัว, ความรุนแรง (ตามสเกลของ IMD), ข้อมูลพื้นฐานของพายุ, พื้นที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากพายุ โดยตัวเลขที่แสดงความเสียหายจะถูกระบุเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2018 และความเสียหาย การสูญเสียจากพายุ จะนับตั้งแต่พายุเริ่มรวมตัวจนถึงพายุถึงความรุนแรงสูงสุด",
"title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2561"
}
] |
2197 | พรมผนังบาเยอก็เช่นเดียวกับผ้าปักในสมัยต้นยุดใด? | [
{
"docid": "163651#7",
"text": "พรมผนังบาเยอก็เช่นเดียวกับผ้าปักในสมัยต้นยุคกลางทึ่เรียกว่า \"tapestry\" (พรมผนัง) แม้ว่าจะไม่ใช่พรมผนังตามความหมายของคำที่เป็นการทอลวดลายเข้าไปในเนื้อผ้าแทนที่จะเป็นการปักอย่างพรมผนังบาเยอ",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
}
] | [
{
"docid": "163651#14",
"text": "ผ้าปักเริ่มด้วยฉากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพผู้ไม่มีพระราชโอรสเพื่อการสืบราชสมบัติ และดูเหมือนว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงส่งฮาโรลด์ กอดวินสันผู้เป็นขุนนางคนสำคัญของอังกฤษไปนอร์ม็องดีแต่ผ้าปักมิได้ระบุเหตุผลของการเดินทางของฮาโรลด์ เมื่อไปถึงนอร์ม็องดีฮาโรลด์ก็ถูกจับเป็นนักโทษโดยกีย์ เคานต์แห่งปองทู พอได้รับข่าวดยุควิลเลียมก็สั่งให้กีย์ส่งตัวฮาโรลด์มาให้พระองค์ ดยุควิลเลียมคงทรงมีความประทับใจในตัวฮาโรลด์ กอดวินสันอยู่บ้างเพราะทรงออกสงครามร่วมกับฮาโรลด์ในการต่อสู้กับโคนันที่ 2 ดยุคแห่งเบรอตาญผู้เป็นศัตรูของดยุควิลเลียม ขณะที่เดินผ่านมง-แซ็ง-มีแชลเพื่อไปยังเบรอตาญ ฮาโรลด์ก็ได้ช่วยนายทหารสองคนของดยุควิลเลียม บารอนเอียน เด ลา โกลด์ฟินช์ และหลวงพ่อพอล เลอ คีนให้รอดจากทรายดูด ฮาโรลด์และดยุควิลเลียมไล่ตามโคนันจากโดลเดอเบรอตาญไปจนถึงแรนส์และในที่สุดดินองเมื่อโคนันยอมแพ้ อาจจะเป็นได้ว่าดยุควิลเลียมอาจจะแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวินหลังจากที่ทรงชนะสงครามต่อโคนันแล้วฮาโรลด์ก็สาบานต่อวัตถุมงคลของนักบุญ สันนิษฐานเป็นรากฐานที่ทำให้พงศาวดารของนอร์มันตีความหมายว่าการสาบานของฮาโรลด์ว่าเป็นการประกาศสนับสนุนดยุควิลเลียมในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ แต่ตัวผ้าปักมิได้ระบุดังที่ว่า หลังจากนั้นฮาโรลด์ก็เสด็จกลับอังกฤษและเข้าเฝ้าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้กริ้วที่ฮาโรลด์ไปสาบานต่อดยุควิลเลียม เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตฮาโรลด์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน ในพรมผนังบาเยอฮาโรลด์ กอดวินสันได้รับการสมมงกุฏโดยสไตกานด์ (Stigand) อัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรีผู้ที่ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นที่น่าสงสัย หลักฐานอื่นๆ ของนอร์มันต่างก็กล่าวเช่นเดียวกันทำให้ดูราวกับว่าการสวมมงเกุฏเป็นไปโดยไม่ชอบธรรม แต่หลักฐานอังกฤษกล่าวว่าทรงได้รับการสมมงกุฏโดยเอเดรดอัครบาทหลวงแห่งยอร์กซึ่งทำให้รู้สึกว่าการเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษของฮาโรลด์เป็นไปอย่างถูกต้อง",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#11",
"text": "ผ้าปักค้นพบอึกครั้งเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่บาเยอซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งแสดงปีละครั้งระหว่างการฉลองเทศการวัตถุมงคล ลายสลักบนโลหะ (engraving) ของภาพพิมพ์โดยเบอร์นาร์ด เดอ มงโฟคอง (Bernard de Montfaucon) ในคริสต์ทศศตวรรษ 1730 ต่อมาชาวบาเยอผู้ต่อสู้เพื่อสาธารณรัฐต้องการจะใช้ผ้าคลุมรถขนอาวุธและทนายความที่รู้ถึงความสำคัญของผ้าปักห้ามไว้ทัน ในปี ค.ศ. 1803 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงยึดและนำไปปารีส จักรพรรดินโปเลียนทรงต้องการที่จะใช้ผ้าปักเป็นเครื่องปลุกใจในการวางแผนรุกรานอังกฤษ เมื่อแผนต้องล้มเลิกผ้าปักจึงถูกนำกลับไปบาเยอ เมื่อได้มาชาวเมืองก็เก็บม้วนไว้ ต่อมาผ้าปักก็ถูกยึดไปโดย \"สถาบันการค้นคว้าและการสอนท้องถิ่นเกี่ยวกับที่มาของบรรพบุรุษ\" (Ahnenerbe) ของพรรคนาซี ผ้าปักจึงถูกเก็บรักษาไว้ในห้องใต้ดินในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในปัจจุบันพรมผนังบาเยอตั้งแสดงอยู่ในห้องมืดที่ใช้ไฟที่ออกแบบพิเศษเพื่อไม่ให้เลียสีและป้องกันจากความชำรุดที่เกิดจากแสงและอากาศ ในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2007 พรมผนังบาเยอได้รับเลือกจากองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#0",
"text": "พรมผนังบาเยอ (; ) เป็นผืนผ้ากว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 70 เมตรที่ปักเป็นภาพการนำไปสู่ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษนำโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1066 และเหตุการณ์ระหว่างสงครามเอง คำบรรยายในพรมผนังบาเยอเป็นภาษาละติน ปัจจุบันผ้าผืนนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองบาเยอในประเทศฝรั่งเศส",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#8",
"text": "พรมผนังบาเยอใช้ด้ายขนแกะปักบนผ้าลินิน ใช้วิธีปักสองวิธี: ฝีเข็มแบบ backstitch สำหรับตัวอักษรและตัดขอบรอบสิ่งต่างในภาพที่ปัก ฝีเข็มแบบ couching สำหรับเติมในช่องที่ตัดขอบไว้ ผ้าลินินที่ใช้เป็นผืนเล็กๆ ที่นำมาต่อกัน",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#2",
"text": "ตามตำนานของฝรั่งเศสกล่าวกันว่าพระราชินีมาทิลดา (Matilda of Flanders) พระมเหสีของพระเจ้าวิลเลียมเป็นผู้ทรงสั่งทำและทรงออกแบบพรมผนังบาเยอร่วมกับข้าราชสำนัก ผ้าปักผืนนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า \"ผ้าปักพระราชินีมาทิลดา\" (Tapestry of Queen Matilda) แต่เมื่อผู้เชี่ยวชาญศึกษาผ้าผืนนี้ในศตวรรษที่ 20 ก็สันนิษฐานว่าผู้ที่สั่งทำน่าจะเป็น บาทหลวงโอโดแห่งบาเยอ (Bishop Odo of Bayeux) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าวิลเลียมมากกว่า เหตุผลที่สันนิษฐานกันว่าบาทหลวงโอโดเป็นผู้สั่งก็เพราะมีรูปของผู้ติดตามของโอโดสามคนที่กล่าวถึงใน บันทึกทะเบียนราษฎรดูมสเดย์ (Domesday Book) อยู่บนผืนผ้า; ผ้าผืนนี้พบที่มหาวิหารบาเยอซึ่งบาทหลวงโอโดเป็นผู้สร้าง; และผ้าปักนี้อาจจะสั่งให้ทำพร้อมกับการก่อสร้างมหาวิหารบาเยอเมื่อปีค.ศ. 1070 เพื่อให้เสร็จทันการฉลองการสถาปนาของมหาวิหาร",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#10",
"text": "ในสมัยการรุกรานของนอร์มันในอังกฤษ ตราประจำเหล่า (heraldry) ยังไม่เป็นที่ใช้กัน อัศวินในผ้าปักใช้โล่แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีระบบการใช้ตราประจำตัว (coats of arms) แต่อย่างใด การใช้ ตราประจำเหล่า มาเริ่มใช้กันเป็นมาตรฐานเอาเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#6",
"text": "เมื่อไม่นานมานี้ จอร์จ บีชให้ความเห็นว่าผ้าปักทำที่แอบบีแซ็ง-ฟลอร็องในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ และกล่าวว่ารายละเอียดที่ปักเป็นเรื่องราวของการรณรงค์ในเบรอตาญในหนังสือ \"พรมผนังบาเยอทำในฝรั่งเศสหรือไม่? : กรณีแซ็ง-ฟลอร็องแห่งโซมูร์\" (Was the Bayeux Tapestry Made in France?: The Case for St. Florent of Saumur)",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#5",
"text": "วุล์ฟแกง เกรป ในหนังสือ \"พรมผนังบาเยอ : อนุสรณ์แห่งชัยชนะของนอร์มัน\" (The Bayeux Tapestry: Monument to a Norman Triumph) ที่พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1994 ค้านความเห็นส่วนใหญ่ที่ว่าเป็นงานปักของแองโกล-แซกซัน โดยชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานปักของแองโกล-แซกซันและวิธีปักของบริเวณอื่นๆ ทางเหนือของยุโรป แต่อลิสซาเบ็ธ โคทสเวิร์ธ ผู้เชี่ยวชาญทางผ้าไม่เห็นด้วยกับความเห็นนี้",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "163651#3",
"text": "ถ้าสันนิษฐานว่าบาทหลวงโอโดเป็นผู้สั่งทำ ผ้าผืนนี้ก็คงออกแบบและทำในอังกฤษโดยศิลปินชาวแองโกล-แซกซันเพราะบาทหลวงโอโดมีอำนาจการปกครองในบริเวณเคนต์ คำบรรยายในผืนผ้าที่เป็นภาษาละตินมีเค้าว่าเป็นแองโกล-แซกซัน ลวดลายปักก็มาจากลักษณะการปักของอังกฤษในสมัยเดียวกัน และสีย้อมจากพืชก็พบในผ้าที่ทอที่นั่น",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
}
] |
2198 | ทำเนียบขาวตั้งอยู่จังหวัดใดในอเมริกา ? | [
{
"docid": "38017#0",
"text": "ทำเนียบขาว () เป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการและสถานที่ทำงานหลักของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1600 ถนนเพนซิลเวเนีย เขตตะวันตกเฉียงเหนือ วอชิงตัน ดี.ซี. โดยเป็นสถานที่พำนักของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนตั้งแต่ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ในปี ค.ศ. 1800",
"title": "ทำเนียบขาว"
},
{
"docid": "21256#12",
"text": "วอชิงตัน มีอาณาเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 16 กิโลเมตร โดยใจกลางของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่อยู่ระหว่างทำเนียบขาวและอาคารรัฐสภาสหรัฐ และได้ทำการแบ่งส่วนของเมืองเป็นสี่ส่วน ซึ่งแต่ละเขตจะมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ เขตนอร์ธเวสท์วอชิงตัน เขตนอร์ธอีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์อีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์เวสท์วอชิงตัน โดยมีแกนทั้งสี่ทิศอยู่ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐ ถนนทั้งหมดของเมืองจะตั้งอยู่ในรูปแบบตารางที่มีถนนตะวันออก-ตะวันตกที่มีชื่อเป็นตัวอักษร (เช่น C Street SW) ถนนทางตอนเหนือ-ใต้ที่มีตัวเลข (เช่นถนน 4th Street NW) และถนนในแนวทแยงซึ่งหลายแห่งตั้งชื่อตามรัฐต่างๆ (\"ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนที่เป็นชื่อรัฐต่างๆ ในวอชิงตัน ดี.ซี.)\"",
"title": "วอชิงตัน ดี.ซี."
}
] | [
{
"docid": "730576#0",
"text": "ห้องสมุดทำเนียบขาว ตั้งอยู่ชั้นระดับพื้นดินของทำเนียบขาว ซึ่งเป็นที่พำนักและที่ทำงานอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ห้องมีขนาดความกว้างประมาณ 8.2 เมตร คูณ 7.0 เมตร หรือ 57.4 ตารางเมตร (27 ฟุต คูณ 23 ฟุต หรือ 621 ตารางฟุต) และตั้งอยู่ในส่วนตะวันออกเฉียงเหนือจองตึก ห้องสมุดถูกใช้เป็นส่วนรับรองแขกสำหรับการจิบน้ำชาหรือการพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในช่วงการบูรณะทำเนียบขาวครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ระแนงไม้ของตึกหลังเก่าถูกรื้ออกและนำมาใช้ปูเป็นแนวกำแพงของห้องสมุด ส่วนวัสดุจากตึกหลังเก่าหลายชนิดถูกนำมาใช้ทำกำแพงของห้องในชั้นใต้ดิน",
"title": "ห้องสมุด (ทำเนียบขาว)"
},
{
"docid": "348540#0",
"text": "ทะเลทรายสีขาว () หรือ \"ไวท์แซนด์\" ตั้งอยู่ในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่กว่า 700 ตารางกิโลเมตร หรือ 437,500 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาซาคราเมนโตทางตะวันออก และเทือกเขาซาน อันเดรียส อยู่ระหว่างเทือกเขาทั้งสองทำให้ทะเลทรายสีขาวจึงอยู่ในแอ่งที่ชื่อว่าทูลาโรซา เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา",
"title": "ทะเลทรายขาว"
},
{
"docid": "844843#0",
"text": "ทำเนียบน้ำตาล หรือ บราวเนิสเฮาส์ () เป็นสำนักงานใหญ่แห่งชาติของพรรคนาซี (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei ; NSDAP) ตั้งอยู่ระหว่างจัตุรัสคาโรลิเนินพลัทซ์และเคอนิกส์พลัทซ์ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี เป็นชื่อตามของสีของชุดเครื่องแบบพรรค พรรคนาซีซื้ออาคารหลังนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ซึ่งก่อนหน้าใช้ชื่อว่า \"พาแลบาร์ลอฟ\" (Palais Barlow) อาคารถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "ทำเนียบน้ำตาล (มิวนิก)"
},
{
"docid": "170314#1",
"text": "ไทยทาวน์ คือ ย่านหนึ่งที่อยู่ใกล้กับฮอลลีวู้ด ในนครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ย่านแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นบ้านหลังหนึ่งของคนไทยกว่า 5 หมื่นคนเลยก็ว่าได้ ที่อพยพเข้ามาในประเทศนี้ ด้วยเหตุที่ย่านนี้เป็นเสมือนประตูเข้าสู่ประเทศอเมริกาสำหรับคนไทย ย่านนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นเสมือนจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ครอบครัวคนไทยครอบครัวหนึ่งที่ประกอบกิจการร้านอาหาร ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอด ท่ามกลางสังคมบริโภคนิยมที่มีความเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ในขณะที่ตัวพวกเขาเอง พยายามคงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตัวเองเอาไว้ การต่อสู้ทางวัฒนธรรม ระหว่างความเป็นไทย กับวัฒนธรรมของชาวอเมริกาในย่านชายฝั่งตะวันตก ที่เต็มไปด้วยเพลงฮิพฮอพ ยาเสพติด การแข่งรถบนท้องถนนและความรุนแรงต่างๆ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้แพท (ไมค์ กิ่งโพยม) เด็กหนุ่มคนหนึ่งต้องเสียคน",
"title": "จังหวัด 77"
},
{
"docid": "35128#7",
"text": "หล่มภูเขียว เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีลักษณะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่ราว 1-2 ไร่ มีความลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียวมรกตสวยงาม ความลึกนั้นไม่สามารถระบุได้ สันนิษฐานว่าแอ่งแห่งนี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกในสมัยดึกดำบรรพ์ หรืออาจเกิดจากการยุบตัวของหินปูนซึ่งเคยเป็นเพดานถ้ำมาก่อน แล้วจมลงใต้น้ำ เรียกว่าหลุมยุบ (Sink Hole) ต่อมาจึงกลายเป็นแหล่งรับน้ำ และมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก",
"title": "อำเภองาว"
},
{
"docid": "127593#0",
"text": "ทำเนียบท่าช้าง หรือ วังถนนพระอาทิตย์ ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) บุตรเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี เชื้อสายมอญ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย)เป็นปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นมรดกตกทอดมาถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก 2 ชั้น เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทิธิ์และเจ้าจอมมารดา ต่อมาเรียกอาคารหลักนี้ว่า ตำหนักเดิม",
"title": "ทำเนียบท่าช้าง"
},
{
"docid": "9702#4",
"text": "สำนักงานและจวนของประธานาธิบดีเรียกว่า ทำเนียบขาว (White House) อยู่ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ประธานาธิบดียังได้รับสิทธิ์ในการใช้คณะทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในทำเนียบขาวอย่างเต็มที่ รวมถึงการดูแลทางด้านการแพทย์ การพักผ่อน การดูแบบบ้าน และระบบรักษาความปลอดภัย มีเครื่องบินโบอิงวีซี-25 จำนวนหนึ่งลำ (จากสองลำ) ชื่อ แอร์ฟอร์ซวัน ไว้สำหรับเดินทางระยะไกล เป็นเครื่องบินที่ดัดแปลงอย่างหรูหรามาจากโบอิง 747-200 บี ประธานาธิบดียังได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้น 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยผลประโยชน์อื่น ๆ ในแต่ละปีของการดำรงตำแหน่งอีกด้วย",
"title": "ประธานาธิบดีสหรัฐ"
},
{
"docid": "769121#0",
"text": "ท่าขี้เหล็ก (, ) เป็นเมืองชายแดนตั้งอยู่ในรัฐชาน ทางตะวันออกของประเทศพม่า เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการของจังหวัดและอำเภอท่าขี้เหล็ก เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันออกของรัฐ กล่าวคือ 51,553 คน จากสำมะโนประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2557 นำหน้าเมืองเชียงตุง แต่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของรัฐ",
"title": "ท่าขี้เหล็ก"
},
{
"docid": "266070#2",
"text": "ถ้ำเลเขากอบ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีลักษณะเป็นภูเขาผาหินสูงชันสลับซับซ้อน มีลำคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาบรรทัด เมื่อไหลมาถึงบริเวณเขากอบจะแยกออกเป็น 3 สาย โดยสองสายจะไหลอ้อมภูเขาและอีกสายหนึ่งจะไหลลอดถ้ำใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย ระยะทาง 4 กิโลเมตร \nพื้นที่ถ้ำทั้งหมดประมาณ 200 ไร่ โดยส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบได้สร้างฝายกั้นน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำไว้",
"title": "ถ้ำเลเขากอบ"
}
] |
2202 | น้ำกร่อยคืออะไร? | [
{
"docid": "204983#0",
"text": "น้ำกร่อย () คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน",
"title": "น้ำกร่อย"
}
] | [
{
"docid": "319791#2",
"text": "นอกจากนี้แล้ว ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อยอร่อยแหะยังมีพฤติกรรมการพ่นน้ำใส่แมลงแตกต่างไปจากปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น ๆ โดยมักจะพ่นน้ำในลักษณะมุมตรง สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะสภาพของภูมิประเทศที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำกร่อยมีการสะท้อนแสงกระทบกับผิวน้ำน้อยกว่าแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดหรือแม่น้ำลำคลอง",
"title": "ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย"
},
{
"docid": "426534#0",
"text": "น้ำส้มควันไม้ หรือ กรดไพโรลิกเนียส () เป็นของเหลวใส สีน้ำตาล มีกลิ่นควันไฟ ได้จากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไม้ให้กลายเป็นถ่านในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด โดยมีอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 - 400 องศาเซลเซียส อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80 – 150 องศาเซลเซียส สารประกอบต่างๆ ในไม้จะสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์ เมื่อนำของเหลวที่ได้จากการควบแน่นมาเก็บในที่ร่มประมาณ 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน จะแยกตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นน้ำส้มควันไม้ และน้ำมันดินตกตะกอนอยู่ด้านล่างสุด",
"title": "น้ำส้มควันไม้"
},
{
"docid": "8214#4",
"text": "น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันที่มีเพียงพอต่อชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะที่ความดันบรรยากาศปกติที่ 1 บาร์ (0.98692 บรรยากาศ 100 กิโลปาสกาล 14.5 พีเอสไอ) และอุณหภูมิ 373.15 เคลวิน (100 องศาเซลเซียส 212 องศาฟาเรนไฮต์) การเพิ่มความดันบรรยากาศจะลดจุดหลอมเหลวลงเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ −5 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 600 บรรยากาศ −22 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 2100 บรรยากาศ ผลลัพธ์นี้สัมพันธ์กับหลายสิ่ง ตัวอย่างเช่น สเกตน้ำแข็ง ทะเลสาบแช่แข็งในทวีปแอนตาร์กติกา และการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง (ที่ความดันสูงกว่า 2100 บรรยากาศ จุดหลอมเหลวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง และน้ำแข็งจะมีรูปร่างแปลกที่จะไม่เกิดขึ้นที่ความดันต่ำ)",
"title": "น้ำ"
},
{
"docid": "682575#15",
"text": "สิ่งมีชีวิตชนิดนี้จะกินสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้และใช้สารอินทรีย์ในร่างกายของเป็นแหล่งพลังงานและเป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงานชีวมวลให้ตัวมันเอง สิ่งมีชีวิตน้ำกร่อยจะทนต่อเกลือและอยู่รอดได้ในระบบนิเวศทางทะเล ในขณะเดียวกันสิ่งมีชีวิตที่ทนน้ำเค็มได้เล็กน้อย จะมีบางสายพันธุ์เท่นนั้นที่อยู่ในระบบนิเวศน้ำจืดได้",
"title": "ระบบนิเวศในน้ำ"
},
{
"docid": "112393#0",
"text": "เต่ากระอาน (; ) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง จัดเป็นเต่าน้ำจืด-น้ำกร่อย มีความยาวกระดองมากกว่า 60 เซนติเมตร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และถือว่าเป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ ล่าสุดชาวบ้านในพื้นที่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา พบบริเวณคลองถ้ำเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550",
"title": "เต่ากระอาน"
},
{
"docid": "186875#4",
"text": "ภายใต้บ้านหลังใหม่ อาร์ สยาม กับการทำงานในอัลบั้ม “ น้ำตาไม่ไหลคืน” ซึ่งอัลบั้มนี้เธอประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงทั่วประเทศ โดยเฉพาะเพลง “เรารักกันไม่ได้” ที่สามารถขึ้นชาร์ตอันดับต้น ๆ สถานีวิทยุทั่วประเทศ รวมถึงยังเป็นเพลงฮิตติดท็อปดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งอัลบั้มนี้ยังมีเพลงโดน ๆ หลายเพลงไม่ว่าจะเป็น น้ำตาไม่ไหลคืน, ผู้ชายผีเสื้อ, ดินห่างเท้า เงาห่างตัว",
"title": "อ้อย กะท้อน"
},
{
"docid": "3875#42",
"text": "พลังงานความร้อนทำให้โมเลกุลบางส่วนที่ขอบนอกของบรรยากาศมีความเร็วเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่สามารถหลุดพ้นออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเสียบรรยากาศออกสู่อวกาศอย่างช้า ๆ แต่สม่ำเสมอ เพราะไฮโดรเจนที่ไม่ได้ถูกยึดเหนี่ยวมีมวลโมเลกุลต่ำจึงสามารถขึ้นถึงความเร็วหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและรั่วไหลออกสู่อวกาศภายนอกในอัตราที่สูงกว่าก๊าซอื่น การรั่วของไฮโดรเจนสู่อวกาศได้ช่วยสนับสนุนให้บรรยากาศโลกตลอดจนพื้นผิวเกิดการเปลี่ยนผันจากภาวะรีดิวซ์ในช่วงต้นมาเป็นภาวะออกซิไดซ์อย่างเช่นในปัจจุบัน การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นแหล่งช่วยป้อนออกซิเจนอิสระ แต่ด้วยการเสียไปซึ่งสารรีดิวซ์ดังเช่นไฮโดรเจนนี้เองจึงเชื่อกันว่าเป็นภาวะเริ่มต้นที่จำเป็นต่อการเพิ่มพูนขึ้นของออกซิเจนอย่างกว้างขวางในบรรยากาศ การที่ไฮโดรเจนสามารถหนีออกไปจากบรรยากาศได้จึงอาจส่งอิทธิพลต่อธรรมชาติของชึวิตที่พัฒนาขึ้นบนโลก ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนเป็นจำนวนมากในปัจจุบันนั้น ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นน้ำก่อนมีโอกาสหนีออกไป แต่การเสียไฮโดรเจนส่วนใหญ่นั้นมาจากการสลายของมีเทนในบรรยากาศชั้นบน",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "12927#39",
"text": "สำหรับจระเข้น้ำกร่อย (\"Estuarine crocodila Crocodylus porosus\") สามารถพบเห็นได้ในทางเอเชียใต้ จัดเป็นจระเข้ขนาดใหญ่มาก มักขึ้นฝั่งเพื่อล่าเหยื่อในกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเช่น แพะ แกะ กวาง และนกเป็นอาหาร เมื่อล่าเหยื่อได้จะงับและลากลงไปใต้น้ำ จนกระทั่งเหยื่อขาดอากาศหายใจและตายจึงฉีกกินเป็นอาหาร ในขณะที่แอลลิเกเตอร์ ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดคล้ายจระเข้ แต่มีความดุร้ายน้อยกว่า มักพยายามขึ้นฝั่งเพื่อที่จะส่งเสียงร้องซึ่งเป็นลักษณะที่มีความแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่น เช่น มาเลเซีย",
"title": "สัตว์เลื้อยคลาน"
},
{
"docid": "10348#5",
"text": "น.พ.มนัส กนกศิลป์ กล่าวในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ว่า \"บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ\" เขายังพบว่าความเป็นกรดด่างของน้ำในแม่น้ำโขงสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักมีเทน ซึ่งเขาเคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา เขาบอกว่าในคืนนั้นมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก",
"title": "บั้งไฟพญานาค"
}
] |
2205 | พระราชินีอาลีเยนอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "159473#0",
"text": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ หรือ อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งอากีแตนและแกสโคนี และเคานทเทสแห่งปัวตู (ภาษาอังกฤษ: Eleanor of Aquitaine หรือ Aliénor) (ราว ค.ศ. 1122 - 1 เมษายน ค.ศ. 1204)",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
}
] | [
{
"docid": "159473#26",
"text": "เมื่อเสด็จกลับฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์และพระราชินีอาลีเยนอร์ก็เสด็จกลับคนละลำเรือเพราะความที่ทรงมีความขัดแย้งกัน กองเรือถูกโจมตีโดยกองเรือไบเซ็นไทน์ที่พยายามจะจับทั้งสองพระองค์ แต่ทรงหลบหนีได้ เรือของพระราชินีอาลีเยนอร์โดนพายุจนเลยไปทางฝั่งบาร์บารี เมื่อพระราชินีอาลีเยนอร์มาถึงพาร์เลอร์โมในซิซิลีราวกลางเดือนกรกฎาคม ก็พบว่าผู้คนคิดว่าทั้งสองพระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้วหลังจากทรงหายไปรางสองเดือนโดยไม่มีข่าวคราว แต่พระเจ้าหลุยส์ยังทรงหายไป พระเจ้าโรเจอร์แห่งซิซิลีทรงประทานที่พักอาศัยให้พระราชินีอาลีเยนอร์ ในที่สุดพระเจ้าหลุยส์ก็มาถึงคาลาเบรีย พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงได้รับข่าวการเสียชีวิตของพระปิตุลาเรย์มอนด์ที่ราชสำนักของพระเจ้าโรเจอร์ แทนที่จะเสด็จกลับฝรั่งเศสจากมาร์เซย์ ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จไปเฝ้า\nพระสันตะปาปาที่ทัสคิวลัม (ที่ทรงหนีไปประทับห้าเดือนก่อนหน้านั้นเพื่อหลบหนีจากการปฏิวัติที่โรม) แทนเพื่อจะขอให้ประกาศการแต่งงานเป็นโมฆะ",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#41",
"text": "หลังจากเฮนรียุวกษัตริย์สิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 1183 พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ก็อ้างสิทธิในดินแดนบางส่วนในนอร์มังดีที่อ้างว่าเป็นของมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส เคานท์เทสแห่งอองจู แต่พระเจ้าเฮนรีอ้างว่าดินแดนที่ทรงอ้างแต่เดิมเป็นของพระราชินีอาลีเยนอร์ เมื่อเฮนรีเสียชีวิตดินแดนเหล่านั้นก็กลับไปเป็นของพระราชินีอาลีเยนอร์ตามเดิม ด้วยเหตุผลเช่นที่ว่าพระเจ้าเฮนรีจึงทรงเรียกตัวพระราชินีอาลีเยนอร์มานอร์มังดีเมื่อปลายฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1183 เป็นเวลาราวหกเดือน ทรงเป็นเวลาที่ได้รับอิสระพอสมควรแต่ก็ยังมีผู้คุม สองสามปีหลังจากนั้นพระราชินีอาลีเยนอร์ก็มักจะเสด็จร่วมกับพระสวามีในกิจการที่เกี่ยวกับการปกครองราชอาณาจักรแต่ก็ยังทรงมีผู้ควบคุมจึงมิได้ทรงมีอิสระอย่างเต็มที่",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "301523#5",
"text": "ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 เจ้าชายอาลี เรซา ทรงปลงพระชนม์ด้วยพระแสงปืนในบ้านพักในบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา สาเหตุเกิดจากโรคซึมเศร้าที่มีมายาวนานตั้งแต่การสูญเสียพระราชบิดา และเจ้าหญิงไลลา พระขนิษฐาองค์เล็ก รวมไปถึงการวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองของอิหร่าน สิริพระชนมายุได้ 44 พรรษา",
"title": "เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 2"
},
{
"docid": "159473#39",
"text": "พระเจ้าเฮนรีสูญเสียโรสซามุนด์ คลิฟฟอร์ดพระสนมคนโปรดในปี ค.ศ. 1176 ทรงพบโรสซามุนด์ในปี ค.ศ. 1166 และเริ่มมีความสัมพันธ์กันในปี ค.ศ. 1173 และกล่าวกันว่าทรงคิดที่จะหย่ากับพระราชินีอาลีเยนอร์ โรสซามุนด์เป็นพระสนมคนหนึ่งในหลายคนของพระเจ้าเฮนรีแต่กับคนอื่นๆ จะเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นไปอย่างเงียบๆ แต่กับโรสซามุนด์ไม่ทรงปิดบังและยังทรงออกหน้าออกตาด้วย ความสัมพันธ์กับโรสซามุนด์ทำให้พระลอกหนังสือที่เก่งภาษาละตินเล่นคำว่า “Rosa Immundi” ซึ่งแปลว่า “Rose of Unchastity” พระเจ้าเฮนรีทรงใช้โรสซามุนด์เป็นอาวุธในการยุให้พระราชินีอาลีเยนอร์ขอหย่า ในปี ค.ศ. 1175 ถ้าอาลีเยนอร์ทรงยอมหย่า ตามที่พระเจ้าเฮนรีต้องพระประสงค์ พระเจ้าเฮนรีก็คงอาจจะทรงตั้งให้พระราชินีอาลีเยนอร์ให้เป็นแอบเบสแห่งอารามฟองเทวฟรอด์ ถ้าทำเช่นนั้นอาลีเยนอร์ก็ทรงต้องประกาศสละทรัพย์ทางโลก (vow of poverty) ซึ่งเป็นการยกตำแหน่งและอาณาจักรครึ่งหนึ่งให้พระเจ้าเฮนรีโดยปริยาย แต่พระราชินีอาลีเยนอร์ก็ทรงมีความฉลาดเกินกว่าที่จะทรงทำเช่นนั้น แต่กระนั้นก็มีข่าวลือกันว่าโรสซามุนด์ถูกวางยาพิษโดยพระราชินีอาลีเยนอร์",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#4",
"text": "ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1130 เมื่ออาลีเยนอร์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา วิลเลียมพระอนุชาผู้มีพระชนมายุ 4 พรรษาและพระมารดาก็สิ้นพระชนม์ที่ปราสาททาลมองต์ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของอากีแตน อาลีเยนอร์จึงกลายเป็นทายาทของแคว้นอากีแตนซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และร่ำรวยที่สุดในฝรั่งเศสในเวลานั้น ปัวตูและอากีแตนรวมกันมีเนื้อที่กว่าหนึ่งในสามของฝรั่งเศสปัจจุบัน อาลีเยนอร์มีน้องที่เป็นธิดาในสมรสเพียงองค์เดียวชื่อเอลิธ (Aelith) แต่มักจะเรียกกันว่าเพโทรนิลลาแห่งอากีแตน พระเชษฐาต่างพระมารดา วิลเลียม และ จอสเซแล็ง ยอมรับกันว่าเป็นบุตรของดยุกวิลเลียมที่ 10 แต่มิได้เป็นมิสิทธิเป็นทายาท ต่อมาระหว่างสี่ปีแรกของรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ พระขนิษฐาและอนุชาสามพระองค์ก็เข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนักของพระราชินีอาลีเยนอร์",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#36",
"text": "ถึงแม้ว่าชีวิตการสมรสระหว่างพระราชินีอาลีเยนอร์และพระเจ้าเฮนรีเป็นชีวิตสมรสที่รุนแรงเต็มไปด้วยการต่อปากต่อคำ และแม้ว่าจะมีพระสนมและทรงสั่งกักขังพระราชินีอาลีเยนอร์อยู่เป็นระยะเวลานาน แต่พระราชินีอาลีเยนอร์ก็ยังทรงกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า ชีวิตแต่งงานระหว่างพระองค์กับพระเจ้าเฮนรีเป็นชีวิตที่มีความสุขกว่าชีวิตแต่งงานของพระองค์กับพระเจ้าหลุยส์ พระราชินีอาลีเยนอร์และพระเจ้าเฮนรีทรงมีความรักและนับถือซึ่งกันและกัน และทรงพยายามช่วยกันสมานสามัคคีครอบครัวเข้าด้วยกัน",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "351815#14",
"text": "พระนางสิ้นพระชนม์ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2339 ณ พระราชวังฟรีเดนเบอร์ก พระบรมศพถูกฝังที่มหาวิหารร็อคสไลด์ สิริพระชนมายุ 67 พรรษา พระบรมศพของพระนางถูกผู้มาเยือนชาวเดนมาร์กถ่มน้ำลายรดหลุมศพนานหลายปี ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดเผด็จการสตรีที่มีอำนาจที่สุดในแถบสแกนดิเนเวีย ในปีพ.ศ. 2351 พระเจ้าคริสเตียนเสด็จสวรรคต มกุฎราชกุมารได้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นที่รักใคร่และนับถือในปวงประชาชนชาวเดนมาร์ก",
"title": "ยูเลียนา มารีอาแห่งบราวน์ชไวก์-โวลเฟ่นบึทเท่ล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์"
},
{
"docid": "159473#37",
"text": "ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1173 เฮนรียุวกษัตริย์ หรือ เฮนรีเคานท์แห่งอองจู (พระราชโอรสองค์ที่สอง) ไม่ทรงพอใจที่พระราชบิดาไม่ยอมให้มีอำนาจใดใด และทรงได้รับการยุยงจากผู้เป็นศัตรูของพระเจ้าเฮนรีให้ก่อการปฏิวัติ เฮนรีทรงหลบหนีไปปารีส ที่ปารีสทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส เฮนรีกลับมาอากีแตนอย่างลับๆ เพื่อมาชักชวนพระอนุชาอีกสองพระองค์ ริชาร์ดและเจฟฟรี ที่ยังประทับอยู่กับพระราชินีอาลีเยนอร์ให้เข้าร่วมด้วย พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงส่งพระโอรสทั้งสององค์ไปฝรั่งเศสเพื่อให้ไปช่วยเฮนรีก่อการปฏิวัติต่อพระราชบิดา เมื่อส่งพระโอรสไปแล้วพระราชินีอาลีเยนอร์ก็ยุยงให้ขุนนางทางใต้ให้ลุกขึ้นสนับสนุนพระโอรส ระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมพระราชินีอาลีเยนอร์ก็เดินทางจากปัวตีเยไปปารีสแต่ทรงถูกจับระหว่างทางและถูกส่งไปให้พระเจ้าเฮนรีที่รูออง พระเจ้าเฮนรีก็มิได้ทรงประกาศข่าวการจับอย่างเป็นทางการ ปีต่อมาก็ไม่เป็นที่ทราบว่าที่ประทับของพระราชินีอาลีเยนอร์อยู่ที่ใด เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1174 พระเจ้าเฮนรีก็เสด็จกลับอังกฤษจากบาร์เฟลอร์ทรงนำพระราชินีอาลีเยนอร์กลับไปด้วย เมื่อเรือถึงท่าที่เซาทแธมตันพระราชินีอาลีเยนอร์ก็ถูกนำตัวไปกักขังไม่ที่ปราสาทวินเชสเตอร์ก็ที่ปราสาทเซรัมที่เมืองซอลทบรี",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "159473#27",
"text": "สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3ไม่ทรงยอมให้สองพระองค์ทรงหย่ากันอย่างที่พระราชินีอาลีเยนอร์หวัง นอกจากนั้นยังทรงพยายามให้สองพระองค์คืนดีกันอีกด้วย ทรงเน้นความถูกต้องตามกฎหมายของการเสกสมรสและทรงย้ำว่าการเสกสมรสเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้เป็นโมฆะไม่ได้ไม่ว่าด้วยข้ออ้างใดใด ในที่สุดก็ทรงจัดการให้พระราชินีอาลีเยนอร์และพระเจ้าหลุยส์บรรทมบนพระแท่นเดียวกันที่พระสันตะปาปาทรงเตรียมให้ด้วยพระองค์เอง พระราชินีอาลีเยนอร์และพระเจ้าหลุยส์จึงมีพระราชธิดาองค์ที่สองอลิกซ์แห่งฝรั่งเศส เคานเทสแห่งบลัวส์ (Alix of France, Countess of Blois) แต่การมีพระราชธิดาก็มิได้ช่วยให้สถานะการณ์ระหว่างสองพระองค์ดีขึ้นแต่อย่างใด",
"title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน"
},
{
"docid": "359045#10",
"text": "โดดี ฟาเยด ที่นั่งอยู่ที่เก้าอี้ผู้โดยสารด้านหลังซ้าย ซึ่งเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ แต่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงพยายามกู้ชีพเขา แต่ต่อมาแพทย์ผู้หนึ่งยืนยันว่าเขาเสียชีวิตแล้วเมื่อ เวลา 1.32 น. ส่วนอองรี ปอล คนขับรถ ถูกประกาศว่าเสียชีวิตเมื่อร่างถูกย้ายออกจากซากรถ ศพทั้งสองถูกนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บศพของกรุงปารีส แอ็งสตีตืตท์ เมดีโก-เลกาล ผลการชันสูตรพลิกศพออกมาว่า ทั้งโดดีและอองรี เสียชีวิตจากหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาแตกและกระดูกสันหลังร้าว อองรีไขสันหลังแตก และโดดีเสียชีวิตจากไขสันหลังที่บริเวณต้นคอแตก สภาพของทั้งสองศพแหลกเละจนจำเค้าเดิมไม่ได้",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"
}
] |
2206 | อนิเมชั่นเกมกลคนอัจฉริยะ เป็นอนิเมชั่นประเภทใด? | [
{
"docid": "160819#0",
"text": "เกมกลคนอัจฉริยะ GX หรือ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ส GX (ภาษาญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王 デュエルモンスターズ GX; ภาษาอังกฤษ: Yu-Gi-Oh! Duel Monsters GX) เป็นการ์ตูนแนวแอ็คชั่น ภาคต่อของการ์ตูน เกมกลคนอัจฉริยะ [ยูกิโอ ดูเอลมอสเตอร์] เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่ม ยูกิ จูได ผู้เดินทางมาเข้าโรงเรียนสอนเล่นการ์ดเอกชน \"ดูเอล อาคาเดเมีย\" [ของบริษัท ไคบะคอโปเรชั่น] เพื่อไล่ตามความฝันในการเป็นดูเอลคิง",
"title": "เกมกลคนอัจฉริยะ GX"
}
] | [
{
"docid": "306005#0",
"text": "ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ () เป็นภาพยนตร์อะนิเมะจากหนังสือการ์ตูน เกมกลคนอัจฉริยะ ของ คาซุกิ ทาคาฮาชิ โดยเป็นการรีบู้ตอะนิเมะต่อจาก เกมกลคนอัจฉริยะ โดยเปลี่ยนสตูดิโอทำอะนิเมะจากเดิมคือ โตเอแอนิเมชัน เป็นสตูดิโอ NAS ซึ่งเนื้อหาในภาค ดูเอลมอนสเตอร์ นั้นเป็นเนื้อหาที่เน้นการเล่นการ์ดเป็นหลัก ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2000 ถึงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2004 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียว รวมจำนวนตอนทั้งหมด 224 ตอน โดยในปี2015สตูดิโอ NAS ได้นำภาค ดูเอลมอนส์เตอร์ มาทำการ Remaster แล้วออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียว",
"title": "ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์"
},
{
"docid": "928666#0",
"text": "รายชื่อตอนของการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของประเทศญี่ปุ่นเรื่อง ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ซีรีส์จากยูกิโอ ซึ่งได้ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2000 จนถึงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2004 โดยแบ่งออกเป็น 5 ซีซัน",
"title": "รายชื่อตอนในเกมกลคนอัจฉริยะ (อะนิเมะ)"
},
{
"docid": "547269#0",
"text": "รายชื่อตอนของการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของประเทศญี่ปุ่นเรื่อง เกมกลคนอัจฉริยะ GX ซีรีส์จากยูกิโอ ซึ่งได้ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2004 จนถึงวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2008 โดยแบ่งออกเป็น 4 ซีซัน",
"title": "รายชื่อตอนในเกมกลคนอัจฉริยะ GX"
},
{
"docid": "43292#2",
"text": "ยูกิโอ ภาคอนิเมะนั้นแบ่งออกเป็น 2 ภาค อันได้แก่",
"title": "เกมกลคนอัจฉริยะ"
},
{
"docid": "31504#2",
"text": "ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (TMS Entertainment) ได้นำ \"จอมโจรอัจฉริยะ\" ไปทำเป็นอนิเมะจำนวน 12 ตอน ออกอากาศเมื่อปี 2553-2555 โดยจะอิงเนื้อหาจากมังงะ ในไทยใช้ชื่อว่า \"จอมโจรอัจฉริยะ\" (ทรูสปาร์ก), \"เมจิกไคโตะ\" (การ์ตูนคลับ) และ \"จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล\" (ทีไอจีเอ) ต่อมาเอ-1 พิกเจอส์ (A-1 Pictures) ได้นำมาทำเป็นอนิเมะโทรทัศน์จำนวน 24 ตอน ใช้ชื่อว่า \"เมจิกไคโตะ 1412\" () ออกอากาศช่วงปี 2557-2558 ในไทยใช้ชื่อว่า \"จอมโจรคิด บุรุษรัตติกาล 1412\" เนื้อเรื่องจะต่อยอดและอิงเนื้อหาจากยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ทั้งสองพากย์ไทยโดยทีไอจีเอ",
"title": "จอมโจรอัจฉริยะ"
},
{
"docid": "502927#17",
"text": "โนซากะ มิโฮะ - 'มิโฮะจัง'สาวสวยที่ฮิโรโตะแอบชอบ (ปรากฏในเฉพาะอนิเมะในปี พ.ศ. 2541 และมังงะแค่ตอนที่ 7)",
"title": "รายชื่อตัวละครในเกมกลคนอัจฉริยะ"
},
{
"docid": "421924#3",
"text": "เป็นการทำศึกกับเหล่ามอนสเตอร์และทำการรวบรวมข้อมูลในแต่ละศึก โดยการสวมบทมอนสเตอร์และจะได้รับรางวัลหากชนะการต่อสู้ รวมถึงผองเพื่อนและไอเท็มต่างๆ ข้อมูลที่ทำการบันทึกไว้สามารถนำมาใช้ในอาร์คเดอะแลดภาค 2 (ส่วนเรื่องราวที่ผ่านพ้นจากสองภาคมาแล้วอาจจะไม่ได้ผล) ตามค่าประสบการณ์ที่ได้รับและไอเท็มสามารถใช้ได้โดยตรงตามแต่ละบุคคล",
"title": "อาร์คเดอะแลดมอนสเตอร์เกมวิธคาสิโนเกม"
},
{
"docid": "132471#57",
"text": "อนิเมะชุดซึ่งบริษัทเกียวโตแอนิเมชันดัดแปลงมาจากเกมนี้นั้นได้รับคำชื่นชูเป็นอันมาก อนิเมะฤดูกาลแรกได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทางบวกจนถึงกึ่งบวกกึ่งลบคละกันไป ส่วนฤดูกาลที่สองได้รับการวิจารณ์เชิงแซ่ซ้องเป็นวงกว้าง ในการนี้ เว็บไซต์เด็มอนิเมะรีวิวส์ (THEM Anime Reviews) ให้คะแนนทั้งสองฤดูกาลสี่จากห้า โดยทิม โจนส์ (Tim Jones) นักวิจารณ์จากเว็บไซต์นี้ ว่า อนิเมะฤดูกาลแรกเป็น \"งานภาพยนตร์อันดัดแปลงงานของคีย์ได้สมจริงสมจังและเที่ยงตรงมากที่สุด ณ ขณะนี้\" ส่วนสติก ฮอกเซ็ต (Stig Høgset) จากเว็บไซต์เดียวกัน ว่า ฤดูกาลที่สองนั้น \"จะยังให้รวดร้าวไปกับโศกนาฏกรรมและละครอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นไปได้มากว่าจะนำพาให้ใจคุณสลาย นับเป็นจุดที่กาลเวลาเริ่มผันผ่านไปโดยแท้ อันช่วยให้เศษเสี้ยวอารมณ์ในรายการนี้มีน้ำหนักสมจริงขึ้นพอดู\"",
"title": "แคลนนาด (วิชวลโนเวล)"
},
{
"docid": "100053#0",
"text": "ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย () เป็นอะนิเมะแนวไซไฟ, หุ่นยนต์ เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กไอมาส (IM@S) ของ บันไดนัมโกะเกมส์ โดยมีพื้นฐานตัวละครเบื้องต้นมาจากเกม ดิ ไอดอลมาสเตอร์ บนเครื่องเอกซ์บอกซ์ 360 จัดสร้างเป็นแอนิเมชั่นโดยซันไรส์ ด้วยคำขวัญที่ว่า \"อยากจะเป็นไอดอลของเธอ\" ()",
"title": "ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย"
}
] |
2211 | เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม ค้นพบอะไร? | [
{
"docid": "653579#0",
"text": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม () เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองแอร์ลังเงินในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี) เป็นนักฟิสิกส์ผู้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับความต้านทานไฟฟ้า และเป็นผู้คิดค้นการคำนวณหาความต้านทานของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่รู้จักกันโดยทั่วกันว่าเรียกว่ากฎของโอห์ม",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
}
] | [
{
"docid": "653579#11",
"text": "ในขณะที่เขาทำงานอยู่ที่เนือร์นแบร์คหรือมิวนิก นอกจากนี้จะทำงานด้านการสอนหนักแล้ว โอห์มยังทำงานด้านการค้นคว้าทดลองและพิมพ์ผลงานออกเผยแพร่อยู่เสมอ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของโอห์มก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมเสียงในอาคารให้สามารถฟังได้ชัดเจน และเกี่ยวกับเรื่องของเครื่องดนตรี ซึ่งเป็นการบุกเบิกทางให้แก่นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ แฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์ ที่ค้นพบเกี่ยวกับเรื่องคลื่นเสียง นอกจากนี้โอห์มยังค้นคว้าเกี่ยวกับ Molecular Physics และผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาจัดพิมพ์ขึ้นที่มิวนิก เมื่อ ค.ศ. 1852 และเมื่อ ค.ศ. 1853 คือการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องแสงที่เกิดขึ้นแถบขั้วโลก ที่เรียกกันว่าแสงเหนือและแสงใต้ แต่โอห์มก็ได้พบกับความโชคร้ายอีกเช่นเคย เพราะโอห์มไม่ทราบมาก่อนเลยว่าผลงานชิ้นนี้ของเขา มีนักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ที่ชื่อว่า คริสเตียน บีร์เคอลัน (Kristian Birkeland) เป็นผู้ค้นพบก่อน ผลงานของโอห์มชิ้นนี้จึงไม่ได้รับความสนใจ",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#14",
"text": "ถึงแม้ว่าโอห์มจะจากโลกนี้ไปแล้ว โลกก็ยังรำลึกถึงความสำคัญของเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม ในปี ค.ศ. 1881 ที่ประชุมใหญ่ระหว่างประเทศว่าด้วยไฟฟ้า (International Electrical Congress) ณ กรุงปารีส ได้มีมติยกย่องให้เกียรติแก่โอห์มโดยใช้ชื่อสกุลของเขาเป็นชื่อหน่วยเป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า และขณะเดียวกันก็ใช้ชื่อสกุลของอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นหน่วยชื่อหน่วยกระแสไฟฟ้า และชื่อสกุลของอาเลสซานโดร โวลตา ชาวอิตาลี เป็นชื่อหน่วยของแรงดันไฟฟ้า ดังนั้น กฎของโอห์มที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ว่า I = จึงเขียนได้อีกอย่างหนึ่งว่า Amperes =",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#13",
"text": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม ได้ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยมิวนิกตั้งแต่ ค.ศ. 1849 ถึง ค.ศ. 1854 โดยสอนวิชาฟิสิกส์และทดลองค้นคว้าอย่างหนัก ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพของโอห์มได้ทรุดโทรมลง ในที่สุดเขาก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ด้วยอายุ 67 ปี ที่เมืองมิวนิก สมาพันธรัฐเยอรมัน (ปัจจุบันคือเยอรมนี)",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#1",
"text": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม มีบิดาชื่อ โยฮัน โอห์ม (Johann Ohm) มีอาชีพเป็นช่างทำกุญแจและปืน ด้วยอาชีพของโยฮัน โอห์ม ทำให้ต้องตระเวนเดินทางค้าขายในบริเวณที่เป็นเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ขณะที่ค้าขายอยู่นั้นก็ถือโอกาสศึกษาวิชาปรัชญาและคณิตศาสตร์ไปด้วย จนโยฮันอายุได้ 40 ปี ได้ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองแอร์ลังเงิน แต่งงานและมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ซีม็อน (Simon) และมาร์ทีน (Martin)",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#3",
"text": "แต่ละชาติร่วมมือกันเพื่อต่อต้านนโปเลียน โดยบรรดารัฐเยอรมันได้เข้าร่วมด้วย เป็นเหตุให้คนหนุ่มผู้รักชาติอย่างเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม พยายามที่จะเข้าไปเป็นทหารอาสาสมัครในกองทัพต่อต้านนโปเลียน แต่ถูกบิดาของเขาคัดค้านเพราะเห็นว่าความรู้ที่โอห์มมีจะมีประโยชน์แก่ประเทศชาติมากกว่าที่เขาจะไปออกรบทำศึก เมื่อโอห์มใคร่ครวญดูแล้วก็มีความเห็นตามคำแนะนำของบิดา เขาจึงกลับมาเป็นอาจารย์เช่นดังเดิม ค.ศ. 1817 โอห์มได้ศึกษาค้นคว้าและพิมพ์ผลงานของเขาออกเผยแพร่ ปรากฏว่าผลงานของโอห์มเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย จึงทรงแต่งตั้งให้โอห์มดำรงตำแหน่งอาจารย์วิชาคณิตศาสตร์และวิชาฟิสิกส์ในโรงเรียนเยสุอิตแห่งโคโลญ",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#9",
"text": "ผลงานของโอห์มได้รับการเผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. 1827 แต่ปรากฏว่าแทนที่ผลงานของเขาจะได้รับการยกย่อง กลับถูกต่อต้านเป็นอย่างมากจากชาวเยอรมันเนื่องจากความไม่รู้ไม่เข้าใจ ทำให้ในระหว่างนี้โอห์มได้รับความลำบาก เพราะรัฐมนตรีการศึกษาของเยอรมนีได้พิจารณาว่า เขามีความรู้ขั้นปริญญาเอกแต่ผลิตผลงานที่ไม่มีประโยชน์แก่การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย จะนับได้ว่าเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โชคร้ายที่สุดในรอบคริสต์ศวรรษที่ 18",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#7",
"text": "ในปีต่อมา เขาได้ทดลองต่อไปอีกและพบว่า ถ้าอุณหภูมิของตัวนำสูงขึ้น กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง และถ้าทำให้ศักดาไฟฟ้าระหว่างที่สองแห่งต่างกันมากเท่าไร กระแสไฟฟ้าก็ไหลได้มากขึ้นเท่านั้น ผลงานชิ้นนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า กฎของโอห์ม ซึ่งถือได้ว่าผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานชิ้นเอกของโอห์ม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคำนวณหาความต้านทานของเส้นลวดนำไฟฟ้า ซึ่งเขียนสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ I=",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#12",
"text": "แม้ว่าโอห์มจะไม่ได้รับการยกย่องในบ้านเกิดเมืองนอนของเขา แต่ผลงานของโอห์มกลับได้รับความยกย่องในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่นในฝรั่งเศสและอังกฤษ ในประเทศฝรั่งเศสถึงกับมีการสาธิตผลงานเรื่องกฎของโอห์มตั้งแต่ ค.ศ. 1831 ถึง ค.ศ. 1837 ส่วนในอังกฤษ ราชสมาคมแห่งลอนดอนได้มอบเหรียญรางวัลค็อปลีย์ (Copley Medal) ให้แก่เขาในปี ค.ศ. 1841 ในฐานะที่เขาเป็นคนแรกที่ค้นพบกฎซึ่งมีสาระสำคัญอย่างยิ่งต่อวิชาไฟฟ้ากระแส และในปี ค.ศ. 1842 โอห์มก็รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะทางราชสมาคมแห่งลอนดอนได้คัดเลือกให้โอห์มเป็นสมาชิกชาวต่างประเทศที่มีความสามารถดีเด่นที่สุด",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
},
{
"docid": "653579#2",
"text": "แม้ว่าฐานะทางครอบครัวของโอห์มจะค่อนข้างยากจน แต่โอห์มก็ขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ โอห์มเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในบัมแบร์ค หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว โอห์มได้เข้าศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน และต่อมาโอห์มก็ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย ขณะที่เขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยได้เพียง 3 เทอม เหตุเพราะว่าโอห์มขาดทุนทรัพย์ ไม่มีเงินพอที่จะศึกษาต่อ ทำให้โอห์มต้องประกอบอาชีพเป็นครูตั้งแต่อายุเพียง 18 ปี โอห์มเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่อารามก็อทชตัท (Gottstadt) ซึ่งอยู่ในเขตรัฐแบร์นของสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงแรกที่โอห์มเข้าทำงาน เขาไม่ได้รับความไว้วางใจจากนายจ้าง เนื่องจากไม่เคยเห็นฝีมือการทำงานของโอห์มและเห็นว่าเขายังอายุน้อยเกินไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปนายจ้างได้เห็นฝีมือการทำงานของโอห์ม ก็กลายเป็นบทพิสูจน์ว่าเขาเป็นผู้ที่มีความสามารถจนได้รับการยกย่อง ขณะที่โอห์มทำการสอนหนังสือ เขาได้หมั่นฝึกฝนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ จนต่อมาเขาได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแอร์ลังเงินอีกครั้งหนึ่ง และได้รับปริญญาเอกทางด้านวิชาคณิตศาสตร์ในปี ค.ศ. 1811 ขณะนั้นยุโรปกำลังลุกเป็นไฟ เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสกำลังเรืองอำนาจได้ยกกองทัพไปรุกรานประเทศที่ใกล้เคียง ทำให้แต่ละประเทศได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว",
"title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม"
}
] |
2212 | ประวัติศาสตร์ไทยที่เก่าแก่ที่สุดถูกค้นพบที่ไหน? | [
{
"docid": "5256#0",
"text": "การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
}
] | [
{
"docid": "5256#9",
"text": "การขุดค้นโดยวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "70992#1",
"text": "ความรู้เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกัมพูชานั้นมีอยู่น้อยมาก แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบัน คือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล และแหล่งโบราณคดีสำโรง เซน (Samrong Sen) ซึ่งเชื่อว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราว 230 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล",
"title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา"
},
{
"docid": "5256#8",
"text": "ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก นอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "5256#7",
"text": "ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น \"มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง\" ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "1937#5",
"text": "ความรู้เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกัมพูชานั้นมีอยู่น้อยมาก แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบัน คือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล และแหล่งโบราณคดีสำโรง เซน (Samrong Sen) ซึ่งเชื่อว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราว 230 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "43860#2",
"text": "ในพ.ศ. 2554 เขาได้มีส่วนร่วมในการประสานงานเผยแพร่ตำรามายากลเก่าแก่ ของสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เพิ่งถูกค้นพบ ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี โดยตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2461-2492 โดยมีอยู่ทั้งหมด 12 เล่ม ซึ่งเป็นผลงานเขียนของศาสตราจารย์ชิโอลา โดยเขาได้เปิดเผยว่าเป็นเรื่องน่ายินดี และได้เตรียมจัดพิมพ์เผยแพร่ให้คนไทยได้ศึกษา รวมทั้งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์มายากลของประเทศไทยอีกฉบับหนึ่ง",
"title": "เฉลิมสวรรค์ ไพบูลย์พันธ์"
},
{
"docid": "665#4",
"text": "การค้นพบโครงกระดูกฟันกรามเมาเออร์ 1 (Mauer 1) ได้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีการตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบันมาตั้งแต่ 600,000 ปีที่แล้ว เครื่องไม้เครื่องมือในการล่าสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกถูกค้นพบในเหมืองถ่านหินบริเวณเมืองเชินนิงเงิน ซึ่งได้ค้นพบทวนไม้โบราณสามเล่มที่ฝังอยู่ใต้ผืนดินมาเป็นเวลากว่า 380,000 ปี นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบฟอสซิลมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ \"นีแอนเดอร์ทาล\" เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 40,000 ปี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในถ้ำของเทือกเขาแอลป์ชวาเบินใกล้กับเมืองอุล์ม และยังมีการค้นพบเครื่องเป่าที่ทำจากงาช้างแมมมอธและกระดูกของนกอายุกว่า 42,000 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการค้นพบ นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรูปสลัก \"ไลออนแมน\" ที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโตจากยุคน้ำแข็งเมื่อ 40,000 ปีก่อน ถือเป็นงานศิลปะอุปมาเลียนแบบกายมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีการค้นพบ",
"title": "ประเทศเยอรมนี"
},
{
"docid": "37665#6",
"text": "ในช่วงยุคหินเก่าตอนกลาง (3 แสนปี-3 หมื่นปีมาแล้ว) ได้เกิดยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายขึ้นพร้อมกับวัฒนธรรมของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (\"Homo neanderthalensis\") มีการค้นพบกะโหลกมนุษย์กลุ่มนี้อายุประมาณ 6 หมื่นปีมาแล้วที่ยิบรอลตาร์ รวมทั้งมีการค้นภาพเขียนบนผนังในถ้ำลาร์เบรดาซึ่งเขียนขึ้นในยุคนี้ที่แคว้นกาตาลุญญา และเมื่อประมาณ 16,000 ปีมาแล้ว (ซึ่งอยู่ในช่วงยุคหินเก่าตอนปลาย) วัฒนธรรมแมกดาเลเนียน (Magdalenian; \"Magdaleniense\") ก็ได้กำเนิดขึ้นในแถบแคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย และแคว้นประเทศบาสก์ปัจจุบัน สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณดังกล่าวคือ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงในถ้ำอัลตามีรา ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของศิลปะถ้ำ",
"title": "ประวัติศาสตร์สเปน"
},
{
"docid": "62617#2",
"text": "อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเชียอาคเนย์ทั้งหมด ปรากฏเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ แสดงว่ามอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ\nประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรมอญแบบปัลลวะได้คลี่คลายมาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยมที่เรียกว่าอักษรมอญโบราณและเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนกลายเป็นอักษรมอญปัจจุบันซึ่งมีลักษณะกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลานพยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ เสียงขุ่น) พื้นเสียงเป็นอะ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ เสียงใส) พื้นเสียงเป็นเอียะ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน มีรูปพยัญชนะซ้อน เมื่อเป็นตัวควบกล้ำ",
"title": "อักษรมอญ"
},
{
"docid": "887078#1",
"text": "สัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่สร้างขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร คือ ภาพวาดในถ้ำ ,รูปแบบของภาพบนหิน ,ในยุคหินเก่าปลาย ภาพวาดถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันดีที่ตั้งอยู่ภายใน ถ้ำโชเวต์ ซึ่งเขียนตั้งแต่ 30,000 ปีก่อนคริสตกาล ภาพเหล่านี้มีการเพิ่มจำนวนของข้อมูล ได้แก่ มนุษย์อาจจะสร้างปฏิทินแรกย้อนหลังไปถึง 15,000 ปีก่อน ,การเชื่อมต่อระหว่างรูปวาด และการเขียนที่แสดงต่อไปด้วยภาษาศาสตร์ เช่น ในอียิปต์โบราณ และกรีกโบราณ มีแนวคิด และคำพูดของการวาดภาพ และการเขียนเป็นแบบเดียวกัน",
"title": "ประวัติศาสตร์การสื่อสาร"
}
] |
2217 | เจ้าแก้วมงคลทรงถึงแก่พิราลัย ณ เมืองทุ่งศรีภูมิ เมื่อ พ.ศ.ใด? | [
{
"docid": "511991#6",
"text": "เจ้าแก้วมงคลทรงถึงแก่พิราลัย ณ เมืองทุ่งศรีภูมิ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๘ สิริรวมพระชนม์มายุได้ ๘๔ วัสสา รวมเวลาปกครองเมืองทุ่งศรีภูมิได้ ๑๖ ปี เอกสารบางแห่งกล่าวว่าทรงปกครองเมืองทุ่งศรีภูมิได้ ๗ ปี เจ้ามืดดำดล หรือ ท้าวมืด หรือท้าวมืดซ่ง พระราชโอรสพระองค์โตทรงขึ้นครองราชย์เมืองทุ่งศรีภูมิสืบต่อจากพระองค์ต่อไป",
"title": "เจ้าแก้วมงคล"
},
{
"docid": "59325#15",
"text": "พ.ศ. ๒๒๖๘ เจ้าแก้วมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อ ๘๔ พรรษา มีโอรส ๒ องค์ คือ เจ้ามือดำโดน, เจ้าสุทนต์มณี \nสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงมีพระราชโอการให้ เจ้ามืดดำโดนอุปราช ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ ๒) ให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นอุปฮาดเมืองทุ่งศรีภูมิ เจ้ามืดดำโดนได้ตั้งแต่งตำแหน่งเมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าว เพีย เต็มอัตรากำลังเช่นเมืองหลวงทุกประการ",
"title": "อำเภอสุวรรณภูมิ"
},
{
"docid": "6993#11",
"text": "พ.ศ. ๒๒๖๘ เจ้าแก้วมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อ ๘๔ พรรษา มีโอรส ๒ องค์ คือ เจ้ามือดำโดน, เจ้าสุทนต์มณี สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงมีพระราชโอการให้ เจ้ามืดดำโดนอุปราช ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ ๒) ให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นอุปฮาดเมืองทุ่งศรีภูมิ เจ้ามืดดำโดนได้ตั้งแต่งตำแหน่งเมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าว เพีย เต็มอัตรากำลังเช่นเมืองหลวงทุกประการ",
"title": "จังหวัดขอนแก่น"
},
{
"docid": "511991#0",
"text": "เจ้าแก้วมงคล (ลาว : ເຈົ້າແກ້ວມຸງຄຸນ) หรือ เจ้าแก้วบรม (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๕๖-๒๒๖๘) คนท้องถิ่นออกสำเนียงตามภาษาลาวว่า เจ้าแก้วบูฮม เจ้านายลาวผู้สร้างเมืองท่งหรือเมืองทุ่งศรีภูมิ (ลาว : ທົ່ງສີພູມ) และเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิพระองค์แรกจากราชวงศ์ล้านช้าง (หลังการย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาสู่นครหลวงเวียงจันทน์) ปัจจุบันคือ ตำบลทุ่งศรีเมือง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งต่อมาทายาทได้ย้ายไปตั้งเป็นเมืองใหม่ชื่อ เมืองสุวรรณภูมิ ในเอกสารใบลานเรื่องพงสาวดารเมือง (บั้งจุ้มหรือตำนานเมือง) ออกนามเมืองว่า สีวัลลพูม เจ้าแก้วมงคลทรงเป็นปฐมราชวงศ์เจ้าจารย์แก้วของภาคอีสานซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่งที่แยกมาจากราชวงศ์ล้านช้างในอดีต เนื่องจากทรงเป็นปฐมบรรพบุรุษของเจ้าผู้ปกครองหัวเมืองลาวในภาคอีสานมากกว่า ๒๐ หัวเมืองและภาคเหนืออีกหนึ่งหัวเมือง",
"title": "เจ้าแก้วมงคล"
}
] | [
{
"docid": "511991#3",
"text": "ปี พ.ศ. ๒๒๓๘ สมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์เสด็จสวรรคต พระยาแสนสุรินทรลือชัยไกรเสนาบดีศรีสรราชสงคราม (ท้าวมละ) ตำแหน่งเมืองแสน (อัครมหาเสนาบดี) ชิงเอาราชสมบัติ เป็นเหตุให้เจ้าแก้วมงคลและพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์หนีราชภัยลงมาทางใต้พร้อมด้วยเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๒๕๖ เจ้าแก้วมงคลช่วยเหลือเจ้าหน่อกษัตริย์พระโอรสในเจ้านางสุมังคละ พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงษาธรรมิกราช และช่วยเหลือเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ดสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างฝ่ายใต้สำเร็จ เจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งนครกาลจำบากนาคบุรีศรี (จำปาศักดิ์) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าแก้วมงคลนำกำลังคนในสังกัดของตนข้ามแม่น้ำโขงไปยังบริเวณริมแม่น้ำเสียว ซึ่งเป็นทำเลทุ่งกว้างสำหรับทำนาและให้แหล่งเกลือด้วย แล้วตั้งเป็นเมืองชื่อว่า เมืองทุ่งศรีภูมิ (ปัจจุบันอยู่บริเวณตำบลเมืองทุ่ง และบ้านดงไหม่ ตำบลทุ่งศรีเมือง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ให้เจ้าแก้วมงคลเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการ เมื่อครั้งเดินทางมาถึงบริเวณที่จะตั้งเมืองนั้นเป็นเวลาสว่างพอดีคนทั่วไปจึงเรียกบริเวณนั้นว่า แจ้งเมืองท่ง (แจ้งเมืองทุ่ง) หรือแจ้งบ้านท่ง (แจ้งบ้านทุ่ง) พระองค์จึงโปรดฯ ให้สร้างวัดชื่อว่า วัดจำปานคร (วัดบ้านดงใหม่) บริเวณบ้านดงใหม่ ตำบลทุ่งศรีเมือง ตามนามของเมืองจำปานครบุรีอันเป็นเมืองเก่าซึ่งร้างไปก่อนตั้งเมืองท่ง ยุคต่อมา ทายาทของพระองค์ได้ย้ายเมืองไปตั้งยังสถานที่แห่งใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสถาปนาเมืองท่งศรีภูมิใหม่เป็นเมืองประเทศราชออกนามว่า เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช หรือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์",
"title": "เจ้าแก้วมงคล"
},
{
"docid": "134139#11",
"text": "พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ครองเมืองอุบลราชธานีมาแต่ตั้งเมืองเป็นเวลารวมได้ 17 ปี จนถึง พ.ศ. 2338 จึงถึงแก่พิราลัย สิริรวมชนมายุได้ 85 ปี มีการประกอบพระราชทานเพลิงศพด้วยเมรุนกสักกะไดลิงก์ (เมรุนกสักกะไดลิง) ณ ทุ่งศรีเมือง แล้วเก็บอัฐิธาตุบรรจุในพระธาตุเจดีย์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ณ บริเวณที่เป็นธนาคารออมสิน สาขาอุบลราชธานีทุกวันนี้ ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงย้ายอัฐิไปประดิษฐาน ณ วัดหลวงเมืองอุบลราชธานีจนทุกวันนี้ ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ประดิษฐานอยู่ที่ริมทุ่งศรีเมือง กลางเมืองอุบลราชธานี และทุกวันที่ 10-11 พฤศจิกายนของทุกปี ชาวอุบลราชธานีและหน่วยงานราชการต่างๆ จะมีการจัดงาน สดุดีวีรกรรม พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ขึ้น ซึ่งภายในงานมีการจัดขบวนอัญเชิญเครื่องประกอบพระอิสริยยศเจ้าเมืองอุบลราชธานี พิธีการวางขันหมากเบ็งและเครื่องสักการะ นิทรรศการเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี และการแสดงมหรสพต่างๆ",
"title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"
},
{
"docid": "745623#3",
"text": "เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2465 เจ้าศรีนวล ได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) ได้รับแต่งตั้งให้รั้งนครลำปาง (หมายถึงการรักษาการในตำแหน่งเจ้าหลวง) เนื่องจากเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ไม่มีราชโอรสกับราชเทวี มีเพียงโอรสกับเทวีองค์อื่นๆ ซึ่งโดยหลักการแล้วการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร สมควรจะแต่งตั้งจากเจ้าขันห้าใบ ที่ดำรงฐานันดรชั้นสูงกว่า กล่าวคือ สมควรจะแต่งตั้งเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) แต่ในครั้งนั้นเจ้าศรีนวล ได้มีหนังสือไปยังราชสำนักกรุงเทพ ความตอนหนึ่งว่า",
"title": "เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง"
},
{
"docid": "511991#16",
"text": "ในตำนานเมืองขอนแก่นกล่าวว่า พระองค์ทรงเป็นพระโอรสในเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) บ้านเพี้ยปู่ เมืองธุรคมหงส์สถิต (เมืองทุละคม) ในเขตนครเวียงจันทน์ และยังเป็นพี่น้องกับเพียเมืองแพนหรือพระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี (พัน เสนอพระ) เจ้าเมืองขอนแก่นพระองค์แรกและเจ้าเมืองเพี้ยพระองค์แรก อีกทั้งยังมีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์อีกด้วย ซึ่งในประเด็นนี้พบข้อบกพร่องในเรื่องปี พ.ศ. ที่ไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ เจ้าแก้วมงคลประสูติ ณ ปี พ.ศ. ๒๑๘๔ ส่วนพระนครศรีบริรักษ์เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นในปี พ.ศ. ๒๓๔๐ ระยะเวลาห่างกันถึง ๑๕๖ ปี หากทั้งสองพระองค์เป็นพี่น้องกัน นับว่าพระนครศรีบริรักษ์มีอายุเกือบ ๑๐๐ ปี ในช่วงครองเมืองขอนแก่น และหากเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารซึ่งครองราชย์จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๒ แต่เจ้าแก้วมงคลกลับครองเมืองท่งศรีภูมิจนถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๒๖๘ ซึ่งพระราชนัดดาจะพิราลัยก่อนพระราชอัยกาหรือพระเจ้าสิริบุญสารถึง ๕๘ ปี ไม่ได้ ประเด็นนี้จึงเป็นข้อขัดแย้งกัน",
"title": "เจ้าแก้วมงคล"
},
{
"docid": "719436#4",
"text": "เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2465 ขณะนั้นเจ้าแก้วปราบเมรุ ดำรงฐานันดรเป็น \"เจ้าราชวงศ์\" ซึ่งมีศักดิ์สูงสุดสืบต่อจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง จึงเป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักสยามให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง สืบต่อจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่เนื่องจากเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ธิดาในเจ้าบุญวาทย์ฯ ได้มีหนังสือถึงราชสำนักกรุงเทพ เพื่อขอให้แต่งตั้งเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) ผู้เป็นสวามีให้รั้งตำแหน่งดังกล่าวแทน",
"title": "เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง)"
},
{
"docid": "489753#10",
"text": "เชื้อสายของพระองค์คงเหลือแต่พระราชปนัดดา ชื่อ เจ้าแก้วมงคลที่ทรงบรรพชาอยู่ที่วัดโพนสะเม็ด ภายหลังหนีภัยการเมืองลงมาทางตอนใต้ และเมื่อครั้งสถาปณาอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ใน พ.ศ. 2256 ได้นำไพร่พลของตน ข้ามฟากมาสร้างเมืองท่งศรีภูมิ ยังฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านยันกับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์ ปัจจุบันเมืองนั้นกลายเป็นที่ตั้งของอำเภอสุวรรณภูมิในจังหวัดร้อยเอ็ด ของประเทศไทย",
"title": "พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา"
}
] |
2221 | กรุงเทพมหานครถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "235995#1",
"text": "การเรียกขานเมืองหลวงของประเทศไทย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่ากรุงเทพมหานครนั้น มีที่มาจากชื่อเต็มซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ทดลองนำระบบคณะกรรมการปกครองเมืองหลวงมาใช้อยู่ระยะหนึ่ง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งชาวบ้านก็ยังไม่พร้อม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกเสีย แล้วกลับมาบริหารโดยกรมเวียง ในระบบจตุสดมภ์ตามเดิม ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นกระทรวงเมือง และกระทรวงนครบาล อันมีเสนาบดีทำหน้าที่รับผิดชอบการปกครอง \"มณฑลกรุงเทพมหานคร\" ที่ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและธนบุรี (เป็นเมืองเดียวกัน) รวมถึงนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ธัญบุรี (ปัจจุบันคือ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี) มีนบุรี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในหลายเขตของกรุงเทพมหานคร) และนครเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในอำเภอพระประแดงของจังหวัดสมุทรปราการ) อันเป็นหัวเมืองใกล้เคียง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และข้อบังคับการปกครองหัวเมือง",
"title": "กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)"
},
{
"docid": "559039#1",
"text": "เกาะรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือกรุงเทพมหานครได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเหตุผลดังนี้",
"title": "เกาะรัตนโกสินทร์"
},
{
"docid": "1919#3",
"text": "ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชัน และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรแออัดเรื้อรัง",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
},
{
"docid": "342810#8",
"text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำประกอบใหม่",
"title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์"
},
{
"docid": "1919#6",
"text": "ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313 ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
}
] | [
{
"docid": "16485#23",
"text": "กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองหลวงของชาติมากขึ้นทุกที รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มโครงการพัฒนาทั่วประเทศหลายอย่าง แม้จะประสบปัญหาด้านการเงิน มีถนน สะพาน ทางรถไฟ โรงพยาบาลและโรงเรียนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศด้วยงบประมาณแห่งชาติจากกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งอุปราชที่เพิ่งตั้งใหม่ถูกแต่งตั้งไปประจำมณฑลเทศาภิบาล เป็นผู้แทนของพระมหากษัตริย์คอยกำกับเรื่องการปกครองในจังหวัดต่าง ๆ",
"title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"
},
{
"docid": "936#79",
"text": "ในปี 2553 ประเทศไทยมีการมีลักษณะแบบเมืองร้อยละ 34 ซึ่งต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่มีเครื่องชี้ภาวะการพัฒนาพอ ๆ กัน การเคลื่อนย้ายของประชากรส่วนใหญ่เป็นแบบชั่วคราวตามฤดูกาล กรุงเทพมหานครเป็นตัวอย่างสุดโต่งของความเป็นเอกนคร (urban primacy) โดยในปี 2536 กรุงเทพมหานครมีประชากรมากกว่านครใหญ่ที่สุดสามอันดับถัดมารวมกันระหว่าง 7.5 ถึง 11 เท่า ผู้ย้ายออกชาวไทยส่วนมากเป็นลูกจ้างทักษะต่ำ โดยเดินทางไปประเทศปลายทางเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อยลง แต่ตะวันออกกลางและประเทศตะวันตกเพิ่มขึ้น เมื่อปลายปี 2550 มีประมาณการว่าคนต่างด้าวที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยมี 2.8 ล้านคน ซึ่งจำนวนนี้รวมผู้มีใบอนุญาตทำงานในประเทศ นักเรียนนักศึกษา ผู้มีคู่สมรสชาวไทยและผู้ตั้งถิ่นฐานหลังเกษียณ ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่อยู่เกินวีซ่า\nเมื่อปี 2553 ในประชากรอายุมากกว่า 13 ปี มีผู้สมรส 38,001,676 คน หม้าย 3,833,699 คน หย่า 670,030 คน และไม่เคยสมรส 16,957,651 คน",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "136904#10",
"text": "ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ \"นครหลวงกรุงเทพธนบุรี\" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"กรุงเทพมหานคร\" เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้นมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอย่างผู้ว่าราชการจังหวัด",
"title": "จังหวัดของประเทศไทย"
},
{
"docid": "17494#1",
"text": "บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ซึ่งสถาปนาอาณาจักรขึ้นมาในปีพุทธศักราช 1835 โดยพญามังราย และสถาปนาเมืองหลวงอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ อาณาจักรล้านนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1835 เกิดจากการยุบรวมกันของอาณาจักรในช่วงยุคก่อนหน้า คือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสนและหริภุญชัย",
"title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "1919#0",
"text": "กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น \"เอกนครที่สุดในโลก\" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
},
{
"docid": "9148#3",
"text": "ต่อมาความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในช่วงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 200 ปี ได้เข้ามาเช่าห้องพักอาศัยเพื่อเที่ยวชมเมืองหลวงของไทยในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ และเริ่มมีฝรั่งเข้ามามาถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด โดยมีทีมงานกองถ่ายมาอยู่กันจำนวนมาก ที่มาเช่าที่ เช่าเกสเฮาส์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี ก็ต้องเช่าจากบ้านที่อยู่แถวนั้นซึ่งใช้แบ่งเช่า จึงเป็นที่มาของเกสเฮาส์ เกสต์เฮ้าส์ของชาวต่างชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528-2529 ระยะหลังเริ่มมีคนเข้ามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์รวมของพวกแบ็คแพ็กเกอร์ที่มาท่องเที่ยวประเทศไทย จนเป็นที่โด่งดังในที่สุด ก่อนที่จะมาปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกทีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลายเป็นย่านบันเทิงยามราตรีที่สำคัญของกรุงเทพฯ\nถนนข้าวสารถือเป็นถนนที่ได้รับความนิยมในการเล่นน้ำในวันสงกรานต์ที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลก การเล่นสงกรานต์บนถนนข้าวสารเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2533 เนื่องจากที่ถนนข้าวสารนี้เป็นแหล่งที่พักอาศัยชั่วคราว หรือที่เรียกว่าเกสต์เฮ้าส์ ดังนั้นประเพณีการเล่นน้ำสงกรานต์ของคนไทยจึงถูกใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาพักในถนนข้าวสารเป็นอย่างมาก โดยการเล่นสงกรานต์ถนนข้าวสารในช่วงแรกๆ ก็เป็นแต่เพียงเล่นสาดน้ำกันธรรมดาเท่านั้น",
"title": "ถนนข้าวสาร"
}
] |
2222 | ทฤษฎีเกี่ยวกับความซับซ้อนในการคำนวณ จะสนใจกลุ่มของปัญหาการตัดสินใจใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "4391#7",
"text": "ส่วนใหญ่แล้ว ทฤษฎีเกี่ยวกับความซับซ้อนในการคำนวณ จะสนใจกลุ่มของปัญหาการตัดสินใจ. ซึ่งปัญหาที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะมีคำตอบเพียงสองแบบก็คือ \"ใช่\" และ \"ไม่ใช่\" ยกตัวอย่างเช่นปัญหาที่ถามว่าจำนวนหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่. ปัญหาในกลุ่มนี้อาจมองได้อีกแบบหนึ่งก็คือ มองเป็น ภาษา ซึ่งเป็นเซตของสตริงความยาวจำกัด. สำหรับปัญหาการตัดสินใจปัญหาหนึ่ง เราอาจจะมองว่า มันคือภาษาที่มีสมาชิกในเซตเป็นตัวอย่างปัญหาทั้งหมดที่ให้คำตอบเป็น \"ใช่\".",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "4391#0",
"text": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ () เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณ ที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เวลาและเนื้อที่สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ โดยปกติแล้วคำว่า \"เวลา\" ที่เราพูดถึงนั้น จะเป็นการนับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องของ \"เนื้อที่\" เราจะพิจารณาเนื้อที่ ๆ ใช้ในการทำงานเท่านั้น (ไม่นับเนื้อที่ ๆ ใช้ในการเก็บข้อมูลป้อนเข้า). ในบางกรณีเราอาจจะสนใจการวิเคราะห์ปริมาณอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากพื้นที่กับเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในการประมวลผลแบบขนาน เราอาจจะวิเคราะห์ว่าต้องใช้หน่วยประมวลผลกี่ตัวในการแก้ปัญหาที่กำหนด. ทฤษฎีความซับซ้อนต่างจาก ทฤษฎีการคำนวณได้ ที่จะเน้นไปในการวิเคราะห์ว่าปัญหาสามารถแก้ได้หรือไม่ โดยไม่สนใจทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ปัญหา",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "4665#0",
"text": "กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรที่ต้องการ สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่งๆ ทรัพยากรที่สนใจโดยทั่วไปคือเวลา (ต้องใช้การทำงานกี่ขั้นตอนก่อนจะแก้ปัญหาได้) และเนื้อที่ (ต้องใช้เนื้อที่เท่าใดในการแก้ปัญหา)",
"title": "กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี"
}
] | [
{
"docid": "4391#10",
"text": "ในศาสตร์ของทฤษฎีความซับซ้อนของปัญหานั้น ตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ใช่\" มักจะมีความแตกต่างจากตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ไม่ใช่\" เช่น กลุ่มปัญหาเอ็นพี (NP) ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจทั้งหมดที่ตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ใช่\" สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในทางกลับกัน กลุ่มปัญหาโค-เอ็นพี (co-NP) ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจที่ตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ไม่ใช่\" สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คำว่า co ในที่นี้หมายถึง ส่วนกลับ หรือ complement) ซึ่งส่วนกลับของปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาเดิมที่มีการสลับตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบคือ \"ใช่\" กับตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบคือ \"ไม่ใช่\" ตัวอย่างเช่นปัญหา \"IS-PRIME\" เป็นส่วนกลับของปัญหา \"IS-COMPOSITE\"",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "4391#11",
"text": "ทฤษฎีบทที่สำคัญอันหนึ่งในด้านทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณก็คือ ไม่ว่าปัญหาของเราจะยากขนาดไหน เราจะมีปัญหาที่ยากกว่าเสมอ หากเราพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สามารถแก้ได้ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามกับขนาดของข้อมูลป้อนเข้า เราสามารถอธิบายในจุดนี้ได้ด้วยทฤษฎีลำดับชั้นของเวลา () ที่กล่าวไว้ว่า หากเราให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานด้วยเวลาที่มากขึ้น ปัญหาที่เราสามารถแก้ได้ก็จะเพิ่มขึ้น (นั่นก็คือ มีปัญหาที่แก้ไม่ได้ถ้าไม่มีการเพิ่มเวลา) ทฤษฎีลำดับชั้นของเนื้อที่ (space hierarchy theorem) ก็จะกล่าวในเชิงคล้ายกัน เพียงแต่มุ่งความสนใจในเรื่องของเนื้อที่ที่อนุญาตให้มีการใช้งานได้",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "4391#16",
"text": "ปัญหาของพีและเอ็นพีนั้น ทำให้เกิดการสร้างแนวความคิดที่สำคัญมากในการวิจัยสาขานี้ขึ้นมา ซึ่งก็คือแนวความคิดเกี่ยวกับ \"ความยาก (hardness)\" และ \"ความบริบูรณ์ (completeness)\" เราจะเรียกเซตของปัญหา X ว่ายากสำหรับเซตของปัญหา Y เมื่อปัญหาทุกปัญหาใน Y สามารถลดรูปอย่างง่ายไปเป็นปัญหาบางปัญหาใน X ได้ (สำหรับรายละเอียดการลดรูป ขอละไว้ในที่นี้) สำหรับคำว่า \"ง่าย\" ในการลดรูปนั้นจะมีความหมายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทที่สนใจ เซตที่เป็น \"เซตยาก\" ที่เราสนใจมากที่สุดนั้นก็คือเซต เอ็นพีแบบยาก (NP-hard) และคำว่า \"ง่าย\" ในการลดรูปที่มักจะเป็นที่สนใจก็คือการลดรูปที่ใช้เวลาเป็นฟังก์ชันพหุนามของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "4391#15",
"text": "ปัญหาที่สำคัญที่สุดในด้านทฤษฎีการคำนวณก็คือปัญหาที่ว่ากลุ่มความซับซ้อนของปัญหาพี และ เอ็นพี เป็นเซตที่เท่ากันหรือไม่ ซึ่งทาง ได้ตั้งรางวัลไว้สำหรับผู้ที่แก้ปัญหานี้ได้เป็นมูลค่าสูงถึง หนึ่งล้านดอลลาร์ (ดูรายละเอียดของปัญหาได้ใน กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี และ เครื่องจักรออราเคิล)",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "4391#14",
"text": "กลุ่มความซับซ้อนของปัญหา เอ็นพี (NP) คือเซตของปัญหาการตัดสินใจที่สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เครื่องจักรทัวริงเชิงไม่กำหนดในเวลาพหุนาม ปัญหาที่อยู่ในกลุ่มนี้หลายปัญหาเป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องการเป็นอย่างมากที่จะแก้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของปัญหาในกลุ่มนี้ก็คือ ปัญหาความสอดคล้องแบบบูล (Boolean satisfiability problem) ปัญหาเส้นทางของฮามิลตัน () และ ปัญหาจุดยอดปกคลุม () ปัญหาทุกปัญหาในกลุ่มนี้สามารถตรวจคำตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
},
{
"docid": "8549#4",
"text": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรทางการคำนวณที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาหนึ่งๆ ได้สร้างแบบจำลองของขั้นตอนวิธีแบบสุ่มให้เป็น\"เครื่องจักรทัวริงเชิงความน่าจะเป็น\" ทั้งขั้นตอนวิธีลาสเวกัสและมอนติคาร์โลได้ถูกนำมาพิจารณา รวมถึง \"คลาสของความซับซ้อน\" หลายๆคลาสก็ได้ถูกนำมาศึกษา คลาสของความซับซ้อนแบบสุ่มแบบที่เป็นพื้นฐานที่สุดคือแบบอาร์พี ซึ่งเป็นคลาสของปัญหาการตัดสินใจที่มีขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (หรือเครื่องจักรทัวริงเชิงความน่าจะเป็น) ที่มีประสิทธิภาพ (ทำงานได้ได้ในเวลาโพลิโนเมียล) ที่สามารถตอบว่า \"ไม่\" ได้ถูกต้องเสมอ และสามารถตอบว่า \"ใช่\" ได้ โดยมีโอกาสถูกต้องอย่างน้อย 1/2 คลาสส่วนกลับ (complement) ได้แก่โค-อาร์พี และคลาสของปัญหาซึ่งทั้งคำตอบ \"ใช่\" และ \"ไม่\" สามารถมีค่าความน่าจะเป็นได้ทั้งคู่ (นั่นคือ ไม่ได้บังคับให้ต้องตอบถูกต้องเสมอ) เรียกว่าซีพีพี (ZPP) สำหรับปัญหาซึ่ง (เชื่อกันว่า) อยู่นอกคลาสนี้ เช่นปัญหาเอ็นพีแบบยาก (ซึ่งแม้แต่ขั้นตอนวิธีแบบสุ่มก็ไม่สามารถแก้ได้) จำเป็นต้องแก้ด้วยขั้นตอนวิธีการประมาณ",
"title": "ขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม"
},
{
"docid": "4391#4",
"text": "เราจะนิยาม ความซับซ้อนด้านเวลา (time complexity) สำหรับปัญหาหนึ่ง ๆ ว่าเป็นจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ตัวอย่างปัญหาสำหรับปัญหานั้น ในรูปฟังก์ชันของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า (ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะคิดขนาดเป็นบิต) โดยใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในปัญหา ๆ หนึ่ง สำหรับทุกตัวอย่างปัญหาที่มีขนาด formula_1 บิต ถ้าเราสามารถแก้ตัวอย่างปัญหานี้ได้ภายใน formula_2 ขั้นตอน เราสามารถพูดได้ว่าปัญหานี้มีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น formula_2 ซึ่งในการกล่าวถึงเวลาที่ใช้นั้น แน่นอนว่าเครื่องจักร หรือ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็ใช้เวลาในการคำนวณแตกต่างกันไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความแตกต่างในจุดนี้ เราจะใช้สัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) ปัญหาที่มีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น formula_4 ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง จะมีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น formula_4 บนเครื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าสัญกรณ์โอใหญ่ช่วยเราหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงรายละเอียด ที่เป็นความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์",
"title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ"
}
] |
2228 | ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกเมื่อใด? | [
{
"docid": "671#3",
"text": "ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมห่กษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังมีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยเกิดรัฐประหารหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเล่า จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 20 ฉบับ (นับรวมฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว",
"title": "การเมืองไทย"
},
{
"docid": "11232#2",
"text": "นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กระทั่งได้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป 19 ครั้ง ดังนี้การเลือกตั้งทั้ง 19 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 64 ปี ได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการตราขึ้นมาบังคับใช้ในแต่ละห้วงเวลาแต่ละสมัย โดยฉบับสุดท้ายคือ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522",
"title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "69653#9",
"text": "ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง \"เกิดวังปารุสก์\" เล่ม 2 ความดังนี้",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
},
{
"docid": "43247#0",
"text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก",
"title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475"
}
] | [
{
"docid": "936#34",
"text": "ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "236023#1",
"text": "สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า \"ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข\" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\"สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย",
"title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
},
{
"docid": "6000#11",
"text": "ช่วงเวลาที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2500 -2516 หรือ ในช่วงระบอบสฤษดิ์ และระบอบถนอม-ประภาส นั่นเอง โดยในช่วง พ.ศ. 2502-2506 ที่ได้มีการประกาศธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ทำให้นายกรัฐมนตรี คือจอมพลสฤษดิ์สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 17 ซึ่งบัญญัติข้อความให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในกรณีพิเศษไว้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งสามารถสั่งประหารประชาชนโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ไม่มีเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ และที่สำคัญก็คือ ไม่มีพรรคการเมือง และการเลือกตั้ง อำนาจการเมืองทั้งหมดจึงอยู่ในมือของจอมพลสฤษดิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่แต่งตั้งตนเองเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และอธิบดีกรมตำรวจ การจัดวางความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในสังคมในสายตาของจอมพลสฤษดิ์ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า รัฐบาลต้องมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติ ส่วนระบบราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลโดยเฉพาะจากตัวผู้นำคือจอมพลสฤษดิ์ ภายใต้ตรรกะนี้ ข้าราชการจึงมีหน้าที่หลักเป็นผู้รับใช้รัฐบาล ไม่ใช่รับใช้ประชาชน แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์เป็นการประยุกต์ประเพณีการจัดระเบียบการเมืองการปกครองของไทยแบบพ่อปกครองลูกที่มีพื้นฐานอยู่บนประวัติศาสตร์และจารีตดั้งเดิมในสมัยสุโขทัย แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกขานว่า “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” (ทักษ์, 2552: 226-227) ซึ่งได้กลายเป็นที่มาของวาทกรรม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ที่ใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองท่ามกลางความล้มเหลวในการวางรากฐานประชาธิปไตยของสังคมไทยมาหลายทศวรรษ",
"title": "ลัทธิอำนาจนิยม"
},
{
"docid": "12834#10",
"text": "การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงมีขึ้นเป็นครั้งแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2521 ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบแรกที่นำระบบดังกล่าวมาใช้ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอยู่เพียงแห่งแรกของไทยในขณะนั้น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจึงไม่เป็นที่คุ้นเคยนักสำหรับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 มีการประกาศใช้กฎหมายเทศบาลฉบับใหม่ ทำให้เทศบาลซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ได้เริ่มทดลองใช้ระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง และใช้จริงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 และเรียกระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงในเทศบาลว่า เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี ในขณะที่เทศบาลในรูปแบบเดิมเรียกว่า เทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี ภายหลังต่อมา มีการแก้ไขกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายฉบับ หลายรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2546 - 2547 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดของไทยใช้ระบบการเลือกตั้งบริหารท้องถิ่นโดยตรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา ดังนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบของไทย กำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงแล้วทั้งสิ้น",
"title": "ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17648#53",
"text": "ประเทศไทยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มข้าราชการและประชาชนให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ความคิดที่จะให้มีการปกครองในแนวประชาธิปไตยนี้ ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตก สืบเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวตะวันตกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา",
"title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม"
},
{
"docid": "7892#10",
"text": "อ้างว่าเกาะอาร์วัด (ปัจจุบันคือ ประเทศซีเรีย) ซึ่งชาวฟินิเซียก่อตั้งขึ้นเมื่อสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เป็นตัวอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่พบในโลก ซึ่งที่นั่น ประชาชนถืออำนาจอธิปไตยของตน และอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าเป็นไปได้ คือ ประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกอาจมาจากนครรัฐสุเมเรียน ฝ่ายเวสาลี ซึ่งปัจจุบันคือรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นรัฐบาลแรก ๆ ของโลกที่มีองค์ประกอบอันพิจารณาได้ว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นแห่งแรกของโลก (แต่มีบางคนโต้แย้งว่าการปกครองของเวสาลีนั้นไม่เป็นราชาธิปไตยก็จริง แต่น่าจะมีลักษณะเป็นคณาธิปไตยมากกว่าประชาธิปไตย) และยังปรากฏว่ามีการปกครองที่คล้ายคลึงกับประชาธิปไตยหรือคณาธิปไตยเกิดขึ้นชั่วคราวโดยชาวเมเดส ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล แต่ถึงคราวสิ้นสุดเมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าดาไรอัสมหาราชแห่งราชวงศ์อาร์เคเมนิด ผู้ทรงประกาศว่า ระบอบราชาธิปไตยที่ดีนั้นย่อมเหนือกว่าระบอบคณาธิปไตยและระบอบประชาธิปไตยทุกรูปแบบ",
"title": "ประชาธิปไตย"
},
{
"docid": "17648#6",
"text": "ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่ร.ศ. 103 ตรงกับ พ.ศ. 2427 เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2427",
"title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม"
}
] |
2252 | ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีสูตรทางเคมีว่าอะไร ? | [
{
"docid": "271506#1",
"text": "ในสหรัฐอเมริกา วิธีการทางอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ถึง 4 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งอาหารในระยะไกลทั้งทางอากาศ ทางเรือ รถบรรทุก และรถไฟ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุผลักของภาวะโลกร้อน ก๊าซมีเทนซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการปศุสัตว์และการเผาขยะ สามารถดักความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่า ไนตรัสออกไซด์ที่มาจาการเพาะปลูกและการชลประทานที่มากเกินไป สามารถดักความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 200 เท่า คลอโรฟลูโอโรคาร์บอนถูกปล่อยจากการทำความเย็นและการแช่แข็ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเก็บรักษาอาหารเพื่อขนส่งทางเรือ",
"title": "อาหารคาร์บอนต่ำ"
},
{
"docid": "92211#53",
"text": "มีปัจจัยหลายประการที่อยู่ภายในเกษตรกรรมอุดหนุนการปล่อย CO2 จำนวนมาก ความหลากหลายของแหล่งผลิตตั้งแต่การผลิตเครื่องมือการเกษตรจนถึงการขนส่งของผลผลิตจากการเก็บเกี่ยว ประมาณ 8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติเป็นเพราะแหล่งการเกษตร ในจำนวนนั้น 75% เป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากการผลิตสารเคมีที่ช่วยการเพาะปลูก โรงงานที่ผลิตยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช สารฆ่าเชื้อรา และปุ๋ยเป็นสาเหตุที่สำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความสามารถในการผลิตของฟาร์มเองและการใช้เครื่องจักรเป็นแหล่งที่มาอื่นของการปล่อยก๊าซคาร์บอน เกือบทั้งหมดเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ใช้ในการทำการเกษตรสมัยใหม่ขับเคลื่อนโดยเชื้อเพลิงฟอสซิล เครื่องมือเหล่านี้จะเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลจากจุดเริ่มต้นของกระบวนการจนกระทั่งเสร็จสิ้น รถแทรกเตอร์เป็นรากของแหล่งนี้ มันเผาน้ำมันเชื้อเพลิงและปล่อย CO2 เพียงเพื่อให้มันวิ่งได้ ปริมาณของการปล่อยของเครื่องจักรจะเพิ่มขึ้นเมื่อมันพ่วงอุปกรณ์อื่นเข้าไปด้วยและมันต้องการพลังงานมากขึ้น ระหว่างขั้นตอนการเตรียมดินรถและไถจะถูกใช้ในการทำลายดิน ในช่วงการเจริญเติบโต ปั๊มรดน้ำและหัวพ่นจะใช้ในการทำให้พืชชุ่มน้ำ และเมื่อพืชมีความพร้อมสำหรับเก็บเกี่ยว เครื่องเกี่ยวนวดจะถูกใช้ เครื่องจักรประเภทนี้ทั้งหมดต้องใช้พลังงานเพิ่มเติมซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถแทรกเตอร์ขั้นพื้นฐาน ตัวอุดหนุนสุดท้ายที่สำคัญที่จะปล่อย CO2 ในภาคเกษตรอยู่ในการขนส่งสุดท้ายของผลผลิต เกษตรกรรมในท้องถิ่นได้รับความเดือดร้อนจากการถดถอยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเนื่องจากเงินอุดหนุนฟาร์มจำนวนมาก ส่วนใหญ่ของพืชมีการจัดส่งหลายร้อยไมล์ไปที่โรงงานแปรรูปต่างๆก่อนที่จะสิ้นสุดลงในร้านขายของชำ การจัดส่งเหล่านี้จะทำโดยใช้โหมดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการขนส่ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การขนส่งเหล่านี้จะเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์",
"title": "เกษตรกรรม"
},
{
"docid": "659972#89",
"text": "ในการเผาไหม้ของก๊าซมีเทน, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO) และน้ำจะถูกผลิตขึ้น. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สร้างขึ้นจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มกระบวนการ Sabatier และน้ำจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในขั้นตอนอิเล็กโทรไลซิส. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ก๊าซมีเทนจะหันกลับไปเป็นมีเทน, การผลิตจึงไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก. การผลิต, การจัดเก็บและการเผาไหม้ที่อยู่ติดกันของก๊าซมีเทนจะรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของปฏิกิริยา, เป็นการสร้างวัฏจักรคาร์บอนต่ำ.",
"title": "การเก็บพลังงาน"
},
{
"docid": "3777#0",
"text": "คาร์บอนไดออกไซด์ () หรือ CO เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมาก ๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน",
"title": "คาร์บอนไดออกไซด์"
}
] | [
{
"docid": "4208#69",
"text": "การแพร่กระจายของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในน้ำจะช้ากว่าในอากาศที่ประมาณ 10,000 เท่า เมื่อดินมีน้ำท่วม พวกมันสูญเสียออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็น hypoxic (สภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของ O ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร) และในที่สุดก็จะกลายเป็น anoxic (สภาพแวดล้อมที่ขาด O) อย่างสิ้นเชิงในที่ซึ่งแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในหมู่ราก น้ำยังมีอิทธิพลต่อความรุนแรงและองค์ประกอบสเปกตรัมของแสงเมื่อมันสะท้อนกับพื้นผิวน้ำและอนุภาคที่จมอยู่ใต้น้ำ พืชน้ำแสดงความหลากหลายของการปรับตัวทางสัณฐานวิทยาและทางสรีรวิทยาที่ช่วยให้พวกมันอยู่รอดในการแข่งขันและแพร่กระจายไปในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นรากและลำต้นของพวกมันมีช่องว่างอากาศขนาดใหญ่ (aerenchyma) ที่ควบคุมการขนส่งก๊าซ (เช่น CO และ O) อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ในการหายใจและการสังเคราะห์แสง พืชน้ำเค็ม (halophytes) มีการปรับตัวพิเศษเพิ่มเติม เช่นการพัฒนาของอวัยวะพิเศษสำหรับการสกัดทิ้งเกลือและการควบคุมความเข้มข้นของเกลือภายใน (NaCl) ของพวกมันแบบ osmoregulating เพื่อที่จะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยหรือในมหาสมุทร จุลินทรีย์ดินที่ไม่ใช้อากาศในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจะใช้ไนเตรต ไอออนแมงกานีส ไอออนเฟอริก ซัลเฟต คาร์บอนไดออกไซด์และสารอินทรีย์บางอย่าง; จุลินทรีย์อื่น ๆ เป็นพวกที่เจริญเติบโตได้โดยไม่ใช้ออกซิเจน () และใช้ออกซิเจนในระหว่างการหายใจเมื่อดินแห้ง กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินและคุณสมบัติทางเคมีของน้ำจะช่วยลดศักยภาพการเกิดออกซิเดชันของน้ำ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงเป็นมีเทน (CH) โดยแบคทีเรียที่ผลิตก๊าซชีวภาพ สรีรวิทยาของปลายังถูกดัดแปลงมาเป็นพิเศษเช่นกันเพื่อชดเชยระดับเกลือสิ่งแวดล้อมผ่านการ osmoregulation เหงือกของพวกมันก่อรูปเป็นการไล่ระดับทางไฟฟ้าเคมีที่ไกล่เกลี่ยการขับถ่ายเกลือในน้ำทะเลและดูดซึมในน้ำจืด",
"title": "นิเวศวิทยา"
},
{
"docid": "514345#1",
"text": "สารเคมีนี้ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1873 โดยเบนจามิน บราไดน์ โดยการส่งคาร์บอนมอนอกไซด์ ไปยังกระแสไฟฟ้า เขาอ้างว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดของออกไซด์คาร์บอน ด้วยสูตร CO กล่าวคือ C, CO, CO, CO, CO, ..., และมีการระบุสองครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตามมีเพียง CO เป็นที่รู้จักกัน ในปี 1891 Marcellin Berthelot ตั้งข้อสังเกตทำความร้อนคาร์บอนมอนอกไซด์บริสุทธิ์ที่ประมาณ 550 ° C สร้างจำนวนน้อยของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงร่องรอยของคาร์บอนไม่มีสันนิษฐานว่าออกไซด์ที่อุดมด้วยคาร์บอนที่ถูกสร้างขึ้นแทน ซึ่งเขาเรียกว่า \"ซับ-ออกไซด์\" เขาสันนิษฐานว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกันที่ได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าและเสนอสูตร CO.",
"title": "คาร์บอนซับออกไซค์"
},
{
"docid": "716849#1",
"text": "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความเทียบเท่าก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในบรรยากาศที่มีเกิน 400 ส่วนต่อล้านส่วน (NOAA) (กับก๊าซเรือนกระจก \"ระยะยาว\" ทั้งหมดที่มีเกิน 455 ส่วนในล้านส่วน) (จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ที่ระดับนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยน \"การเปลี่ยนแปลงของปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีอยู่สูงเกินกว่าเกณฑ์ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย โดยเราได้ตกอยู่ในความเสี่ยงของพื้นที่มลพิษในหลายแห่ง ...ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นในปีถัดไปหรือทศวรรษหน้า หากแต่เกิดขึ้นแล้วในตอนนี้\" รายงานจากสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA):",
"title": "ปัญหาสิ่งแวดล้อม"
},
{
"docid": "235121#0",
"text": "คาร์บอนมอนอกไซด์ มีสูตรทางเคมี \"CO\" เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่มีความเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อระบบลำเลียงเลือด โมเลกุลประกอบไปด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอมเชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนต์ อาจจัดได้ว่าเป็นสารประกอบแอนไฮไดรด์อย่างหนึ่งของกรดฟอร์มิก",
"title": "คาร์บอนมอนอกไซด์"
},
{
"docid": "60227#8",
"text": "คาร์บอนเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตบนพื้นดินที่มีความยืดหยุ่นอยู่มากในการสร้างเคมีพันธะโคเวเลนต์ (covalent chemical bonds) ที่มีความหลากหลายของธาตุที่ไม่ใช่โลหะ, อันได้แก่ ไนโตรเจน, ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน เป็นหลัก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นตัวช่วยร่วมกันในการทำให้การจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของน้ำตาลและแป้ง เช่น กลูโคส",
"title": "สิ่งมีชีวิตนอกโลก"
},
{
"docid": "732798#9",
"text": "เบส (เคมี) ที่แข็งแกร่งอื่น ๆ เช่น soda lime, โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, และลิเทียมไฮดรอกไซด์ มีความสามารถที่จะกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกโดยการทำปฏิกิริยาเคมีกับมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิเทียมไฮดรอกไซด์ถูกนำมาใช้บนยานอวกาศ เช่นในโครงการอะพอลโล เพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ มันทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อทำให้เป็นลิเทียมคาร์บอเนต:",
"title": "เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์"
}
] |
2256 | สภาผู้แทนราษฎรมีทุกจังหวัดหรือไม่ ? | [
{
"docid": "130776#2",
"text": "ในขณะนั้นประเทศไทย (ยังคงใช้ชื่อว่า สยาม) แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด มีจังหวัดทั้งสิ้น 70 จังหวัด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แล้ว สามารถเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่หนึ่ง ได้ทั้งหมด 78 คน โดยส่วนใหญ่จะสามารถเลือกผู้แทนฯได้จังหวัดละคน มีบางจังหวัดที่มีผู้แทนฯได้มากกว่าหนึ่งคน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดนครราชสีมา มีผู้แทนฯได้ 2 คน ขณะที่จังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้แทนฯได้ 3 คน ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดอัตราประชากร 200,000 คนต่อการมีผู้แทนฯได้หนึ่งคน",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476"
},
{
"docid": "152224#0",
"text": "สภาผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง",
"title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย"
},
{
"docid": "450253#1",
"text": "การเลือกตั้งในครั้งนี้ ยังคงเป็นรูปแบบทางตรง แบบแบ่งเขตและรวมเขต ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกินกว่า 3 คน และไม่น้อยกว่า 2 คน ถือเกณฑ์ราษฏร 150,000 คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน",
"title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 15"
}
] | [
{
"docid": "487052#0",
"text": "จังหวัดสมุทรปราการ มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 เขต (พ.ศ. 2554) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 7 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "482833#0",
"text": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 เขต (พ.ศ. 2554) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 6 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "9655#2",
"text": "ในการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น จังหวัดที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 1 คนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 1 คน ต้องแบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน และจังหวัดใดที่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่า 1 เขต ต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องให้จำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกันด้วย",
"title": "การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทย"
},
{
"docid": "486063#0",
"text": "จังหวัดสุพรรณบุรี มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 เขต (พ.ศ. 2554) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 5 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี"
},
{
"docid": "476371#0",
"text": "จังหวัดสมุทรสงคราม มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 เขต (พ.ศ. 2554) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 1 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม"
},
{
"docid": "493992#0",
"text": "จังหวัดศรีสะเกษ มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 8 เขต (พ.ศ. 2554) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 8 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "490891#0",
"text": "จังหวัดสุโขทัย มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 เขต (พ.ศ. 2554) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 4 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย"
}
] |
2260 | ราชอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "240635#0",
"text": "ราชอาณาจักรแฟรงก์ () หรือ ฟรังเกีย () เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
}
] | [
{
"docid": "221552#1",
"text": "ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย",
"title": "ราชวงศ์การอแล็งเฌียง"
},
{
"docid": "134544#8",
"text": "การต่อสู้กันเองในราชวงศ์และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มชนรอบข้าง คือ ชาวเบรอตงกับชาวแกสคงทางตะวันตก, ชาวลอมบาร์ดทางตะวันออกเฉียงใต้ และชาวอาวาร์ทางตะวันออก ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างของราชอาณาจักรแฟรงก์ แคว้นทางตะวันออกหลายแคว้นถูกรวมเข้ากับราชอาณาจักรออสเตรเชียที่มีเมืองหลวงอยู่ที่เม็ตซ์ ในทางตะวันตกเกิดนูสเตรียที่มีเมืองหลวงที่แรกอยู่ที่ซวยส์ซงส์และต่อมาย้ายมาเป็นปารีส ในทางใต้ราชอาณาจักรเบอร์กันดีที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ชาลง-ซูร์-ซวนขยายขนาดใหญ่ขึ้น",
"title": "ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง"
},
{
"docid": "240635#2",
"text": "ชาวแฟรงก์โดยดั้งเดิมแล้วคือสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิกทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์ที่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 257 เริ่มรุกรานอาณาเขตของโรมัน พวกเขาเป็นเพียงหนึ่งในสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิกที่มีอยู่มากมายที่สร้างความเสียหายให้กับจักรวรรดิโรมันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 และสร้างความลำบากให้กับจักรพรรดิโรมันในการรับมือกับการโจมตี ทะเลไม่ได้ปลอดภัยจากการโจมตีของชาวแฟรงก์เนื่องจากพวกเขาเป็นโจรสมลัดที่มีความสามารถด้วยเช่นกัน แต่ชาวแฟรงก์ยังมีอิทธิพลในทางบวกต่อโรมจากการผลิตทหารให้กับกองทัพโรมัน และในปี ค.ศ. 358 ชาวซาเลียนแฟรงก์ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิจูเลียนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาเขตของโรมันที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสเกลด์กับแม่น้ำเมิซได้ในฐานะฟอยเดราติ (พันธมิตร) ชาวแฟรงก์ตอบแทนด้วยการให้ความช่วยเหลือจักรวรรดิโรมันด้วยการให้กองทหารแลกกับเอกราชอย่างเด็ดขาดในพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#1",
"text": "ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#7",
"text": "การแบ่งราชอาณาจักรที่ดำเนินต่อไปในหมู่ชาวเมรอวินเจียนส่งผลให้ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์แตกออกเป็นสามส่วน นูเอสเตรียทางตะวันตก, ออสตราเชียทางตะวันออก และเบอร์กันดีทางใต้ พื้นที่รอบนอกอย่างบริตทาเนีย, อากีแตน, อาเลมันนิ, ธูรินเจีย และบาวาเรียมักพยายามกอบกู้เอกราชและการต่อสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างชาวเมรอวินเจียนทำให้พวกเขามีโอกาสทำแบบนั้นได้มากขึ้น ชาวธูรินเจียนได้รับเอกราชหลังการสิ้นพระชนม์ของดาโกแบร์ต์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 639 อากีแตนปฏิเสธที่จะยอมรับการปกครองของเมริวินเจียนหลังการฆาตกรรมชิลเดริกที่ 2 ในปี ค.ศ. 675 รัฐที่เป็นเอกราชอยู่แล้วอย่างบริตทานีกับบาวาเรียปลดปล่อยตนเองจากชาวแฟรงก์ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 สุดท้ายอาเลมันนิหาทางจนได้เอกราชมาในปี ค.ศ. 709 – 712 การพิชิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันเทียบไม่ได้กับส่วนที่สูญเสียไป พื้นที่เล็กๆ ในเทือกเขาแอลป์ถูกพิชิตมาจากชาวลอมบาร์ดในปี ค.ศ. 575 และฟรีสแลนด์ตะวันตกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 689 แต่ชาวฟรีเชียนก็ทำเหมือนกับพื้นที่ที่อยู่รอบนอกแห่งอื่นๆ พยายามกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาหลายครั้ง",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "272303#1",
"text": "ราชรัฐก่อตั้งขึ้นโดยคาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ก เจ้าชายไพรเมตแห่งจักรวรรดิและอดีตอาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ เพราะไมนซ์ถูกผนวกโดยฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาลูเนวิลล์ ดินแดนส่วนใหญ่ของราชรัฐใหม่ประกอบด้วยดินแดนเดิมของราชรัฐมุขนายกเรเกนส์บูร์กที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 739 โดยนักบุญโบนิเฟซ นอกจากนั้นดินแดนก็ยังประกอบด้วยโดเนาชเตาฟ์ เวิร์ทอันเดอร์โดเนา และ โฮเฮนบูร์ก เรเกนส์บูร์ก อารามนักบุญเอมเมอรัม และอารามโอเบอร์มึนเสตอร์ และอารามนีเดอร์มึนเสตอร์ นอกจากนั้นดัลแบร์กก็ยังสามารถรักษาราชรัฐอาชัฟเฟนบูร์กบนริมฝั่งแม่น้ำแม่น้ำไมน์ไว้ได้",
"title": "ราชรัฐเรเกนส์บูร์ก"
},
{
"docid": "240635#11",
"text": "การพิชิตของชาร์เลอมาญนั้นใหญ่มากจนผู้คนมองว่าพระองค์ได้ฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกกลับคืนมา หลังจากนั้นชาร์เลอมาญได้รับการราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโดยพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 แต่ธรรมเนียมการแบ่งราชอาณาจักรกันในหมู่พระโอรสของกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวคงอยู่เพียงชั่วคราว ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ยังเป็นรัฐศักดินาร่วมกับการทำสงครามหาผลประโยช์ด้วยการปล้นประเทศเพื่อนบ้าน เมือราชอาณาจักรขยายอาณาเขตออกไป การปล้นหาผลประโยชน์ก็ลดลงพอๆ กับความจงรักภักดีของขุนนางในยามที่มองไม่เห็นโอกาสที่จะได้รางวัลมากมายจากการรับใช้ จึงทำให้จักรวรรดิของชาวแฟรงก์หลังการสิ้นพระชนม์ของชาร์เลอมาญในปี ค.ศ. 814 พังครืนภายใต้แรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก จนทำให้แตกออกเป็นรัฐศักดินาเล็กๆ จำนวนมากมาย",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#4",
"text": "กษัตริย์เมรอวินเจียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือโคลวิสที่ขึ้นครองบัลลังก์ในราวปี ค.ศ. 482 พระองค์ถูกบีบตั้งแต่ช่วงต้นรัชสมัยให้ต่อสู้กับผู้นำชาวแฟรงก์คู่แข่งที่ถูกพระองค์สังหารอย่างโหดเหี้ยม เศษสุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพิชิตในปี ค.ศ. 486 เมื่อโคลวิสปราบซีอากริอุสที่เคยปกครองกอลตอนเหนือ พื้นที่ส่วนนั้นของราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ถูกเรียกว่าเนอุสเตรีย (ดินแดนใหม่) ตรงข้ามกับออสตราเชีย (ดินแดนตะวันออก) ที่เป็นอาณาเขตใจกลางดั้งเดิมของชาวแฟรงก์ ทว่าการพิชิตของโคลวิสไปไกลกว่านั้นมาก พระองค์โจมตีและปราบสมาพันธ์ชนเผ่าเจอร์มานิกอาเลมันนิในราวปี ค.ศ. 496 เพิ่มอาณาเขตขนาดใหญ่ให้กับอาณาจักรของตน อิทธิพลจากพระราชินีชาวเบอร์กันเดียน โคลทิลดา โน้มน้าวพระองค์ให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์หลังทำสมรภูมิกับชาวอาเลมันนิ การตัดสินใจเข้าร่วมศาสนจักรคาทอลิกแทนที่จะเป็นนิกายอาเรียนของศาสนาคริสต์เหมือนกับชนชาวเจอร์มานิกคนอื่นๆ มีความสำคัญต่อโคลวิสอย่างมาก เนื่องจากทำให้พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชากรในราชอาณาจักรเพื่อนบ้านที่มองว่าชาวอาเรียนเป็นพวกนอกรีต",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
},
{
"docid": "240635#6",
"text": "เมื่อโคลวิสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 511 ราชอาณาจักรถูกแบ่งให้กับพระโอรสทั้งสี่ของพระองค์ รูปแบบดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นซ้ำในช่วงศตวรรษต่อมาและทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์เป็นหนึ่งเดียวกันเพียงช่วงสั้นๆ ทว่ากษัตริย์เมรอวินเจียนชอบการรบราฆ่าฟันและหลายคนสิ้นพระชนม์ก่อนที่จะมีพระโอรสจึงทำให้ราชอาณาจักรไม่แตกออกจากกันอย่างถาวร แต่ผลที่ตามมาหลังการแบ่งคือกษัตริย์เมรอวินเจียนเริ่มต่อสู้กันเองมากกว่าจะต่อสู้กับศัตรูภายนอก ยกเว้นช่วงปี ค.ศ. 531 – 537 ที่ราชอาณาจักรแฟรงก์พิชิตอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลได้อีกครั้ง ราชอาณาจักรของชาวธูรินเจียนถูกทำลายและส่วนหนึ่งถูกพิชิตในปี ค.ศ. 531 ราชอาณาจักรของชาวเบอร์กันเดียนถูกพิชิตในปี ค.ศ. 532 – 534 และผลของการทำสงครามกับชาวออสโทรกอธของจักรพรรดิโรมันตะวันออกทำให้ชาวออสโทรกอธถูกบีบให้ยกส่วนที่เหลืออยู่ของอาเลมันนิกับโพรวองซ์ให้ราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ในปี ค.ศ. 536 – 537 แลกกับการเป็นกลางของชาวแฟรงก์ ในเวลาเดียวกันบาวาเรียถูกบีบให้ยอมรับอำนาจที่เหนือกว่าของชาวแฟรงก์และราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์สร้างความแข็งแกร่งในการควบคุมอากีแตนได้มากขึ้น",
"title": "ราชอาณาจักรแฟรงก์"
}
] |
2268 | สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ ก่อตั้งเมื่อปีใด ? | [
{
"docid": "405160#4",
"text": "ชื่อสนาม \"ซิตีออฟแมนเชสเตอร์\" ตั้งชื่อโดยสภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 แต่ก็มีการใช้ชื่ออื่นอีกหลายชื่อ \"อีสต์แลนด์\" เป็นชื่อเรียกสถานที่ก่อสร้างและสนามกีฬา ก่อนที่จะตั้งชื่อว่า \"สปอร์ตซิตี\" และ \"คอมส์\" ตามลำดับ และเป็นชื่อที่ใช้ประจำ สำหรับสนามกีฬาและโครงการกีฬาทั้งหมด ใช้ชื่อว่า \"สปอร์ตซิตี\" ส่วนชื่อ \"ซิตีออฟแมนเชสเตอร์\" (City of Manchester Stadium) จะย่อเขียนย่อว่า \"CoMS\" และภาษาพูดเรียกว่า \"เดอะบลูแคมป์\" ล้อมาจากชื่อสนามกัมนอว์ ของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา หลังจากที่อาบูดาบียูไนเต็ดกรุปเข้าดูแลสโมสรในปี ค.ศ. 2008 ผู้สนับสนุนบางคนเรียกชื่อสนามติดตลกว่า \"มิดเดิลอีสต์แลนด์\"",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
}
] | [
{
"docid": "95535#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ () เป็นสโมสรฟุตบอลในลีกพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2423 ในชื่อ เซนต์มากส์ (เวสต์กอร์ตัน) และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลอาร์ดวิก ในปี พ.ศ. 2430 และชื่อล่าสุดคือ แมนเชสเตอร์ซิตี ในปี พ.ศ. 2437 โดยใช้ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ซึ่งก่อนหน้านั้นได้ใช้สนาม เมนโรด เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466",
"title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี"
},
{
"docid": "405160#0",
"text": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ () หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาอัลติฮัด () ด้วยเหตุผลตามชื่อผู้สนับสนุน หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า คอมส์ (CoMS) หรือ อีสต์แลนส์ (Eastlands) เป็นสนามกีฬาในเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นสนามกีฬาเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เป็นสนามกีฬาใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทีมพรีเมียร์ลีก และใหญ่เป็นอันดับ 12 ในสหราชอาณาจักร มีจำนวนที่นั่ง 47,805 ที่",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "405160#8",
"text": "สนามกีฬาได้วางศิลาฤกษ์โดยนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 และเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000 สนามกีฬาออกแบบโดยอารัป และก่อสร้างโดยเลียงคอนสตรักชัน ด้วยงบประมาณราว 112 ล้านปอนด์ โดยได้มาจากสปอร์ตอิงแลนด์ 77 ล้านปอนด์ และที่เหลือเป็นการหารายได้จากสภาเทศบาลฯ สำหรับการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ แถวที่นั่งเดี่ยวชั้นล่าง จะวิ่งไปรอบลู่วิ่งทั้ง 3 ด้าน ส่วนแถวที่นั่งชั้นบนจะวิ่งไป 2 ด้าน มีอัฒจันทร์ชั่วคราวไม่มีหลังคาคลุมที่ปลายสุด มีที่นั่งสำหรับการแข่งขันนี้ราว 38,000 ที่นั่ง",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "405160#7",
"text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 สภาเทศบาลฯ ได้เปิดประมูลรับแบบของสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง อีกแบบ โดยได้บริษัทอารัป เป็นผู้ดูแลงาน บริษัทได้ช่วยเลือกอีสต์แลนด์เป็นสถานที่ก่อสร้างด้วย ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 กำหนดให้ซิดนีย์เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในปีต่อมาแมนเชสเตอร์ได้เสนอแบบเดียวให้กับโครงการปรับปรุงเมืองในช่วงสหัสวรรษ มิลเลนเนียมคอมมิสชัน โดยเสนอชื่อเป็น \"มิลเลนเนียมสเตเดียม\" แต่โครงการนี้ก็ตกไป ต่อมาสภาเทศบาลฯ ยังคงเสนอประมูลเจ้าภาพกีฬาเครือจักรภพ 2002 เป็นอีกครั้งที่ได้เสนอในพื้นที่เดิม และผังแบบจากการประมูลโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 และครั้งนี้ก็ประมูลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1996 แบบสนามกีฬาเดียวกันนี้ที่ใช้ในการแข่งขันกับสนามกีฬาเวมบลีย์ ในการหาทุนในการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ แต่งบก็ถูกใช้ในการพัฒนาเวมบลีย์แทน",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "405160#24",
"text": "สนามกีฬานี้เป็นศูนย์กลางในสปอร์ตซิตี ที่มีสถานที่แข่งขันกีฬาหลายแห่ง ถัดจากสนามกีฬาคือ แมนเชสเตอร์รีเจียนนอลอารีนา ที่เป็นสนามอุ่นเครื่องกรีฑาในระหว่างการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ และปัจจุบันมีความจุ 6,178 ที่นั่ง เป็นสถานที่จัดการทดสอบกีฬาระดับชาติหลายชนิด และเคยเป็นสนามของทีมสำรองแมนเชสเตอร์ซิตี มีสนามแมนเชสเตอร์เวโลโดรมและเนชันนอลสควอร์ชเซนเตอร์ ที่อยู่ไม่ไกลจากสนามกีฬา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 แมนเชสเตอร์ซิตีมีแผนที่จะก่อสร้างกังหันลม สูง 85 เมตร ออกแบบโดยนอร์แมน ฟอสเตอร์ โดยตั้งใจไว้ว่าจะให้พลังงานแก่สนามกีฬาและบ้านเรือนใกล้เคียง แต่โครงการนี้ก็ตกไป เพราะกลัวว่าน้ำแข็งบนใบพัดอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง 2009 ได้มีผลงานประติมากรรม \"บีออฟเดอะแบ็ง\" ของโทมัส ฮีเทอร์วิก วางอยู่ด้านหน้าของสนามกีฬา สร้างเพื่อเฉลิมฉลองกีฬาเครือจักรภพ 2002 เป็นประติมากรรมที่สูงที่สุดในสหราชอาณาจักร แต่มีปัญหาด้านโครงสร้าง ทำให้ประติมากรรมนี้แตกออกในปี ค.ศ. 2009",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "405160#30",
"text": "สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์เป็นเจ้าของสนามกีฬาโดยสโมสรฟุตบอลได้เช่าสนามกีฬา จนเมื่อปี ค.ศ. 2008 หลังจากที่เปลี่ยนเจ้าของ สโมสรแห่งนี้อันเป็นสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ก็ได้พิจารณาข้อเสนอการซื้อสนามกีฬาแห่งนี้โดยทันที แมนเชสเตอร์ซิตีได้เซ็นสัญญาตกลงกับสภาเทศบาลฯ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 เป็นเงิน 1 พันล้านปอนด์ในการพัฒนาสนามแห่งนี้ โดยมีสถาปนิกคือ ราฟาเอล บีโญลย์",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "419847#1",
"text": "อาคารที่ใหญ่ที่สุดของสปอร์ตซิตี คือสนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ ที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ในกีฬาเครือจักรภพ 2002 ปัจจุบันเป็นสนามกีฬาเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีแมนเชสเตอร์เวโลโดรม เป็นสำนักงานของสมาคมจักรยานอังกฤษ (British Cycling) และมีสนามกีฬาแห่งชาติบีเอ็มเอกซ์อารีนา (National Indoor BMX Arena) ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2011 สปอร์ตซิตียังมีศูนย์การแข่่งสควอชแห่งชาติและแมนเชสเตอร์รีเจียนนอลอารีนาสำหรับแข่งกรีฑา ในอนาคตแมนเชสเตอร์ซิตีจะลงทุน 50 ล้านปอนด์ในการพัฒนาศูนย์ฝึกสอนและศูนย์สันทนาการ",
"title": "สปอร์ตซิตี"
},
{
"docid": "405160#6",
"text": "แผนการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ในเมืองแมนเชสเตอร์เริ่มมีขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เมืองประมูลในการเป็นผู้จัดการโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ได้เสนอการประมูลแบบสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง บริเวณพื้นที่สีเขียวทางตะวันตกของแมนเชสเตอร์ แต่การประมูลก็ตกไปเมื่อแอตแลนตาได้เป็นเมืองเจ้าภาพ อีก 4 ปีต่อมา สภาเทศบาลฯ ก็ได้ยื่นประมูลเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 แต่ครั้งนี้มุ่งตำแหน่งสนามกีฬาไปที่รกร้างทางตะวันออกของศูนย์กลางเมือง 1.6 กิโลเมตร (0.99 ไมล์) บริเวณเหมืองร้างแบรดฟอร์ดโคลเลียรี หรือรู้จักในชื่อ อีสต์แลนส์ การเปลี่ยนสถานที่ของสภาเทศบาลฯ เกิดจากการออกกฎหมายผลักดันในการบูรณะเขตเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายโครงการ รัฐบาลมีส่วนในการหาเงินและทำความสะอาดสถานที่ของอีสต์แลนส์ ในปี ค.ศ. 1992",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "405160#18",
"text": "สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ อยู่บริเวณชั้นใต้ดิน ใต้อัฒจันทร์ทิศตะวันตก มีครัวที่สามารถรองรับการเสิร์ฟอาหารให้คน 6,000 คน ในวันแข่งขัน มีห้องสื่อมวลชน ห้องเก็บของเจ้าหน้าที่สนาม และห้องกักขังผู้กระทำความผิด ส่วนอุปกรณ์บริการ ครัว สำนักงาน และทางเดิน ออกแบบโดย เคเอสเอสอาร์คิเทกส์ รวมถึงการติดตั้งเคเบิลสื่อสายและระบบการควบคุมการเข้าออกของรถ สนามกีฬายังมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมและมีใบอนุญาตให้การประกอบพิธีแต่งงานอีกด้วย",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
}
] |
2270 | การชันสูตรพลิกศพจะทำในกรณีใด ? | [
{
"docid": "169340#0",
"text": "การชันสูตรพลิกศพ () คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า \"ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล\" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#11",
"text": "ส่วนการชันสูตรพลิกศพโดยการผ่าศพตรวจ เป็นการกระทำเมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อหาสาเหตุการตาย ในกรณีที่การพลิกศพไม่สามารถบ่งบอกสาเหตุการตายได้ชัดเจน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีอาญา มาตรา 151 บัญญัติว่า \"ในเมื่อมีความจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพเพื่อแยกธาตุส่วนใด หรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วนไปยังแพทย์ หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้\" การผ่าศพเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพิสูจน์หาสาเหตุการตาย สามารถตอบปัญหา และข้อสงสัยจากการพลิกศพได้เช่น เมื่อพลิกศพพบบาดแผลเป็นรูลึกเข้าไปในร่างกาย รูลึกนี้อาจเกิดจากกระสุนปืน หรือตะปูขนาดใหญ่ก็ได้ การผ่าศพจะทำให้ทราบว่าบาดแผลนั้นเกิดจากอาวุธหรือวัตถุอะไร และยังทำให้ทราบต่อไปว่าอาวุธหรือวัตถุนั้น ถูกอวัยวะสำคัญอะไรจึงทำให้ตาย หรือในกรณีที่การพลิกศพไม่พบบาดแผลปรากฏภายนอกให้เห็น การผ่าศพจะบอกได้ว่า การตายเกิดจากตับแตก ม้ามแตก ฯลฯ อันเป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง เส้นโลหิตในสมองแตก ฯลฯ อันเป็นโรคภัยไข้เจ็บธรรมดา เป็นต้น",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
}
] | [
{
"docid": "169340#16",
"text": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ระบุว่า \"ในกรณีที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตร หรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา ทำการชันสูตรพลิกศพโดยเร็ว ถ้าแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบของกระทรวง สาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่ และในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้แพทย์ ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวนและแพทย์ดังกล่าวทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพทันที \" ดังนั้นผู้ทำการชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ได้แก่แพทย์ที่ทำการชันสูตรพลิกศพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต้องมีใบชันสูตรบาดแผล ต้องแจ้งตำรวจตำรวจส่งใบชันสูตรมาให้ มีชื่อของผู้ป่วยระบุชื่อของสถานีตำรวจชัดเจน ได้รับอันตรายอย่างไรเกิดเหตุวันไหน มีการลงชื่อของสารวัตรผู้รับผิดชอบคดี ด้านหลังจะเป็นใบชันสูตรบาดแผลของโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลไหนก็ได้ ที่มีแพทย์ทางนิติเวชดูแลอยู่ ถึงแม้ไม่มีแพทย์นิติเวชก็มีแพทย์ธรรมดาดูแลอยู่ สามารถเขียนรายงานใบชันสูตรให้แก่พนักงานสอบสวนได้",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#18",
"text": "เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพแล้ว ต้องเขียนรายงานการชันสูตรพลิกศพ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการระบุสาเหตุการตายเบื้องต้นของผู้ตาย โดยแพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ ต้องมีหน้าที่ต้องส่งรายงานการชันสูตรพลิกศพให้พนักงานสอบสวนภายใน 7 วัน รวมทั้งสรุปข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เช่น สาเหตุการตาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ตายคือใคร ตาย ณ ที่ใด ตายเมื่อใด เป็นต้น และสามารถขอขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน 30 วัน สำหรับพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง มีหน้าที่ออกใบมรณบัตรรับรองการตายให้แก่ญาติผู้ตาย",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#12",
"text": "การผ่าศพ นอกจากจะใช้วิธีผ่าศพตรวจดูด้วยตาเปล่า () แล้ว ยังรวมถึงการตัดเอาก้อนเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ () อีกด้วยอย่างไรก็ตาม การผ่าศพไม่สามารถกระทำได้ในกรณีผู้ตายเป็นอิสลามิกชน เนื่องจากหลักการของศาสนาอิสลามมีว่า \"มนุษย์ทุกคนที่พระองค์อัลลอย์ทรงสร้างมานั้นเป็นสิทธิของพระองค์ มุสลิมจึงเป็นสิทธิของพระผู้เป็นเจ้า ต้องรักษาไว้ในสภาพเดิมทุกประการ หมายถึงศพอยู่ในสภาพใดก็ให้อยู่ในสภาพนั้น ห้ามมิให้ผู้ใดตัด หรือทำลายศพโดยเด็ดขาด\" การยกเว้นผ่าศพชาวไทยอิสลามนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกหนังสือที่ มท 387/2500 ลงวันที่ 31 มกราคม 2500 มีข้อความว่า \"ขอให้งดเว้น การผ่าศพชาวไทยอิสลามที่ถูกฆาตกรรมแทงตาย ยิงตายหรือโดยอุบัติเหตุ หรือถึงแก่กรรมโดยมิได้ปรากฏเหตุ\" และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพฉบับที่ 3 พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ข้อ 319 มีข้อความว่า \"การชันสูตรพลิกศพ ผู้ที่เป็นชาวไทยอิสลาม ถ้าจะต้องทำการดังกล่าวในวรรคก่อน ก็ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการผ่าศพ ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการผิดต่อลัทธิศาสนาอิสลาม\"",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#7",
"text": "ในกรณีที่แพทย์และพนักงานสอบสวนไปทำการชันสูตร ณ สถานที่พบศพ แพทย์และพนักงานสอบสวนต้องระมัดระวังที่จะไม่ทำและก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการตรวจหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงาน ผู้ทำหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย แพทย์สามารถใช้การตรวจสถานที่เกิดเหตุเพื่อสำหรับเป็นข้อมูลที่ช่วยประกอบการผ่าศพ เพื่อที่จะสันนิษฐานพฤติการณ์ตายได้ใกล้เคียงขึ้นดังคำว่า \"การผ่าศพทางนิติพยาธิวิทยาเริ่มตั้งแต่ที่เกิดเหตุ\" แต่ถ้าเจ้าพนักงานสอบสวนทำการชันสูตรศพในเบื้องต้นและรู้สาเหตุการตายแล้ว รวมทั้งพอใจต่อผลของการพิสูจน์ศพในสถานที่เกิดเหตุ ให้ถือว่าการชันสูตรพลิกศพนั้น เสร็จสิ้นตามกฎหมาย",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#1",
"text": "ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า \"เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย\" อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#10",
"text": "วิธีการชันสูตรพลิกศพในประเทศไทย มีด้วยกัน 2 วิธี คือ การชันสูตรพลิกศพโดยไม่ผ่าและการชันสูตรพลิกศพโดยการผ่าศพตรวจ สำหรับการการชันสูตรพลิกศพโดยไม่ผ่าคือ การตรวจสภาพภายนอกของศพ ดูเพศ อายุ เชื้อชาติ สิ่งของติดตัว ฯลฯ เพื่อพิจารณาว่าผู้ตายคือใคร ดูสภาพการเปลี่ยนแปลงของศพภายหลังตาย เพื่อประมาณเวลาตาย ดูลักษณะบาดแผลที่ปรากฏเพื่อสันนิษฐานสาเหตุของการตายการตรวจ ดังกล่าวจะต้องพลิกศพดูทั้งด้านหน้าและด้านหลังของศพ จึงใช้คำว่า \"พลิกศพ\"",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#20",
"text": "วัตถุประสงค์ของการชันสูตรพลิกศพกรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เมื่อแพทย์นิติเวชได้รับแจ้งเหตุกรณีฆ่าตัวตาย การชันสูตรพลิกศพจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ตายตายเพราะฆ่าตัวเอง ไม่ใช่ถูกผู้อื่นฆ่า และแม้เป็นการฆ่าตัวตายจริง ผลการชันสูตรพลิกศพอาจแสดงให้เห็นพฤติการณ์ของการตายว่า มีความเกี่ยวข้องกับผู้อื่นและสามารถนำผู้ที่เกี่ยวข้องไปลงโทษทางอาญาได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 292 เอาผิดแก่ผู้ปฏิบัติทารุณแก่คนที่ต้องพึ่งอาศัยตนเพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตัวเอง หรือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 293 เอาผิดแก่คนที่ช่วยหรือยุยงเด็ก หรือคนที่จิตใจไม่ปกติให้ฆ่าตัวเอง",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "169340#21",
"text": "กรณีถูกผู้อื่นทำให้ตาย หมายถึงกรณีที่การตายเกิดจากการกระทำของผู้อื่น ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาฆ่า หรือไม่มีเจตนาฆ่า หรือโดยประมาท หรือแม้มิได้กระทำโดยประมาทก็เข้ากรณีนี้ เช่น ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนต์ในระยะกระชั้นชิด โดยผู้ขับขี่มิได้ประมาท การชันสูตรพลิกศพจะทำให้ทราบถึงสาเหตุการตายโดยแน่ชัดว่า เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดอาญาอย่างไร หรือบางครั้งมีการขับรถชนแล้วหลบหนีแต่ถ้ามีการเก็บวัตถุพยานต่างๆ จากผู้ตาย หรือผู้บาดเจ็บ ซึ่งได้แก่ สีของรถคันที่ชนอาจติดที่บาดแผลผู้ตาย ,เลือดของผู้ตายอาจติดอยู่ที่บริเวณกันชนหรือดอกยางของรถคันที่ชน ทำให้ตำรวจสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการเชื่อมโยงเหตุการณ์ในการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ส่วนในกรณีถูกสัตว์ทำร้าย หมายถึงการตายที่เป็นผลโดยตรงจากการถูกสัตว์ทำร้าย เช่น ถูกงูกัด ถูกช้างเหยียบ การชันสูตรพลิกศพจะทำให้รู้ว่าการตายนั้นถูกสัตว์กระทำโดยตรง ไม่ใช่เป็นการบาดเจ็บจากการกระทำของมนุษย์",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
}
] |
2281 | โรคตาบอดสีหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "480552#4",
"text": "ผู้ที่เป็นโรคนี้มาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและโอกาสหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดภาวะตาบอดสีในหมู่ญาติ ส่วนผู้ที่มีภาวะตาบอดสีภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อการวางแผนรักษาที่เหมาะสมต่อไป ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติแบบถาวร ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่ถูกต้อง",
"title": "ตาบอดสี"
},
{
"docid": "480552#2",
"text": "โรคตาบอดสี เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่ง ในม่านตาที่มีการตอบสนองความไวต่อสีต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ จนเกิดเป็นความบกพร่องหรือความพิการ ส่งผลให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ แต่ทั้งนี้ ตาบอดสีไม่ได้มีเพียงแต่ข้อเสียเท่านั้น แต่ผู้ที่ตาบอดสีจะมีความสามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ดีกว่าคนปกติ ตัวอย่างเช่น คนตาบอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อน เขียวอมเหลือง ได้ละเอียด และในประเทศอิสราเอลมีการรับ คนที่ตาบอดสีเข้าประจำในกองทัพบก เพราะคนเหล่านี้จะมองเห็นรถถังที่ทาสี พรางตัวอยู่ในภูมิประเทศ ได้ดีกว่าคนที่มีดวงตาเป็นปกติ",
"title": "ตาบอดสี"
},
{
"docid": "480552#0",
"text": "ตาบอดสี () เป็นโรคชนิดหนึ่งของดวงตาเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้การแปรภาพของสีต่าง ๆ ที่มองเห็นผิดเพี้ยนไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ภาวะตาบอดสีนั้น เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและในสังคมมากพอสมควร",
"title": "ตาบอดสี"
}
] | [
{
"docid": "480552#3",
"text": "อาการที่แสดงถึงความผิดปกตินั้นมักเกิดขึ้นจากจอประสาทตาเส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมองถูกทำลาย สาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุเนื้อ งอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา และผลข้างเคียงจากใช้ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม เช่น ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่นั้น",
"title": "ตาบอดสี"
},
{
"docid": "626989#14",
"text": "อาร์พีเป็นโรคที่ปรากฏโดยการสูญเสียเซลล์รับแสง\nที่บุอยู่ที่ด้านหลังของดวงตา\nทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป\nโดยปกติแล้ว เซลล์รูปแท่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นเวลากลางคืน มักจะเกิดความเสียหายก่อน\nซึ่งอธิบายว่า ทำไมความมีตาบอดแสง (nyctalopia) จึงเป็นอาการที่ปรากฏขึ้นก่อน\nการเห็นเวลากลางวันซึ่งสื่อโดยเซลล์รูปกรวยจะรักษาไว้จนกระทั่งระยะหลัง ๆ ของโรค\nความเปรอะเปื้อนของ retinal pigment epithelium ด้วยสีดำ ๆ (เหมือนกระดูกและเข็ม)\nเป็นอาการทั่ว ๆ ไปของ retinitis pigmentosa\nลักษณะที่เห็นได้ในตาอย่างอื่นคือขั้วประสาท (optic nerve head) ปรากฏเป็นสีเหลืองซีด\nเส้นเลือดเกิดตีบแคบ\ncellophane maculopathy (เป็นเยื่อเงา ๆ ที่เกิดปกคลุมจุดเห็นชัด คือ macula ทำให้มองไม่เห็น) Cystoid Macular Edema (จุดเห็นชัดบวมเพราะเหตุถุงน้ำที่เกิดขึ้น)\nและต้อกระจกใต้ถุงหุ้มด้านหลัง (posterior subcapsular cataract)",
"title": "โรคจอตามีสารสี"
},
{
"docid": "469199#25",
"text": "การขาดเซลล์รูปกรวยประเภทต่าง ๆ นั่นแหละเป็นเหตุให้มีความบกพร่องในการเห็นภาพสี ทำให้เกิดตาบอดสีประเภทต่าง ๆ\nคือ บุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ไม่เห็นวัตถุที่มีสีหนึ่ง ๆ \nแต่ไม่สามารถแยกแยะกลุ่มสีสองกลุ่มที่บุคคลผู้เห็นเป็นปกติสามารถแยกแยะได้\nมนุษย์มีเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท (คือมี trichromatic vision มีการเห็นใน 3 สเปกตรัม)\nในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมากไม่มีเซลล์รูปกรวยแดง ดังนั้นจึงมีการเห็นภาพสีที่แย่กว่า (เป็น dichromatic vision มีการเห็นใน 2 สเปกตรัม)\nแต่ว่า ยังมีสัตว์อื่น ๆ อีกที่มีเซลล์รูปกรวย 4 กลุ่ม เช่นมีปลาน้ำจืดประเภทหนึ่ง (trout) ที่มีเซลล์รูปกรวยไวต่อแสงอัลตราไวโอเลต เพิ่มขึ้นจาก 3 ประเภทที่มีในมนุษย์ \nนอกจากนั้นแล้ว ปลาบางประเภทยังไวต่อแสงโพลาไรส์อีกด้วย",
"title": "จอตา"
},
{
"docid": "15754#1",
"text": "มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้นและผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง",
"title": "สี"
},
{
"docid": "164752#7",
"text": "ต่อมา ทางรายการได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการตรวจอาการ ให้ดูมีสาระและดูไม่น่ากลัวมากขึ้น โดยการแบ่งสีออกเป็น 4 สี นั่นคือ แดง ส้ม เหลือง และ เขียว ซึ่งบ่งบาอกลักษณะสุขภาพว่า ยังปลอดภัยจากโรคที่นำเสนอหรือไม่ โดยมีป้ายตามหมายเลขกำกับ เมื่อพิธีกรเปิดป้ายแล้วเป็นแขกรับเชิญคนใด แขกรับเชิญคนนั้นจะมีความเสี่ยงตามป้ายดังกล่าว ในบางครั้งในแต่ละป้ายอาจจะมีมากกว่าหนึ่งคนหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งการแบ่งอัตราความเสียงจะเป็นดังนี้",
"title": "อโรคา ปาร์ตี้"
},
{
"docid": "313219#1",
"text": "เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ในพื้นที่ที่มีความชุกสูง มักพบว่าผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือทารกที่ติดเชื้อจากแม่ในขณะคลอด หรือเด็กที่ได้สัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อ ส่วนในพื้นที่ที่มีความชุกต่ำ ผู้ป่วยที่พบบ่อยได้แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดและผู้ป่วยที่รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (เช่น ทำงานในโรงพยาบาล) การรับเลือด การฟอกเลือด การใช้ชีวิตอยู่กับผู้ติดเชื้อ การเดินทางไปยังประเทศที่มีความชุกของโรคสูง และการเป็นผู้อาศัยในสถานบำบัด ในสมัยคริสตทศวรรษ 1980 มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับเชื้อผ่านการสักและการฝังเข็ม แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีปลอดเชื้อเจริญรุดหน้ามากขึ้นก็พบผู้ติดเชื้อผ่านช่องทางเหล่านี้น้อยลง เชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการจับมือ ใช้อุปกรณ์ในการกินอาหารร่วมกัน การจูบ การกอด การไอ จาม หรือการให้นมบุตร ปัจจุบันสามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุดประมาณ 30-60 วันหลังได้รับเชื้อ การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการตรวจเลือดหาชิ้นส่วนของไวรัส (แอนติเจน) และการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซึ่งสร้างโดยร่างกายของผู้ติดเชื้อ (แอนติบอดี) ไวรัสนี้เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งจากทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี",
"title": "ตับอักเสบ บี"
},
{
"docid": "776850#3",
"text": "ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นมาตรวัด โดยหากมีค่าที่สูงจะหมายถึงความเสี่ยงที่จะถูกแดดเผามากขึ้น (หรืออาจจะส่งผลต่อสุขภาพมากขึ้น) จากการรับรังสียูวี โดยระดับ 0 หมายถึงสภาวะที่ไม่มีรังสียูวี (ตอนกลางคืน) ส่วนระดับ 10 นั้นหมายถึงสภาวะที่มีรังสียูวีมากในตอนกลางวันของฤดูร้อน และ ไม่มีเมฆบนท้องฟ้า เมื่อได้รับการออกแบบขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในโตรอนโต ซึ่งปัจจุบันในช่วงกลางวันของฤดูร้อนในเขตร้อน, ภูเขาสูง หรือพื้นที่ที่มีการลดลงของโอโซน จะมีระดับดัชนียูวีมากกว่าปกติ ส่วนในซันเบด หรือ แทนนิงเบด จะปล่อยอัตราของรังสียูวีที่มากกว่าปกติ สถิติโลกของดัชนีรังสียูวีบนภาคพื้นดินอยู่ที่ระดับ 43.3 ที่ภูเขาไฟลีคันคาบูร์ ในประเทศโบลิเวีย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2546 แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะโต้แย้งว่าระดับนั้นแค่สูงกว่า 26 เท่านั้น",
"title": "ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต"
}
] |
2288 | เมืองหลวงของ เนเธอร์แลนด์ มีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "33479#0",
"text": "อัมสเตอร์ดัม (, ) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) \nอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ \nถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก",
"title": "อัมสเตอร์ดัม"
},
{
"docid": "8191#0",
"text": "เนเธอร์แลนด์ ( \"เนเดอร์ลอนต์\"; ) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ () หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า \"ฮอลแลนด์\" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ",
"title": "ประเทศเนเธอร์แลนด์"
}
] | [
{
"docid": "756436#0",
"text": "อันเดอร์เลคต์ () หรือ อ็องแดร์แล็กต์ (ตามการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส) เป็นเทศบาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ติดต่อกับทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครบรัสเซลส์ ครอบคลุมพื้นที่ 17.74 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 115,000 คน ในแต่ละปีจะมีเทศกาลงานออกร้านซึ่งได้รับการรับรองจากพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 เป็นเทศกาลที่จัดการเฉลิมฉลองในหลายรูปแบบ รวมทั้งการแสดงของสัตว์ นิทรรศการกลางแจ้ง การแสดงดอกไม้ และขบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญกาย ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมือง นอกจากนี้อันเดอร์เลคต์ยังเป็นที่รู้จักจากแอร์.เอส.เซ. อันเดอร์เลคต์ ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันทั้งในระดับทวีปและประเทศ",
"title": "อันเดอร์เลคต์"
},
{
"docid": "378056#2",
"text": "หลังจากยุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ปัจจุบันกือราเซา มีสถานะเป็นประเทศปกครองตนเองที่ขึ้นตรงต่อราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์,อารูบา และซินต์มาร์เติน มีพื้นที่ 444 ตารางกิโลเมตร (171 ตารางไมล์) และมีวิลเลมสตัดเป็นเมืองหลวง จากข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017 มีประชากร 160,337 คน พื้นที่ทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ การกลั่นน้ำมันซึ่งนำน้ำมันดิบมาจากเวเนซุเอลา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว เกาะกือราเซารวมกับเกาะไกลน์กือราเซา (ซึ่งไม่มีคนอาศัยอยู่)",
"title": "กือราเซา"
},
{
"docid": "377253#0",
"text": "มาสทริชท์ หรือ มาสตริคต์ () เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในจังหวัดลิมบูร์ก และเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส ใกล้เขตแดนประเทศเบลเยียม เมืองมาสทริชท์เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และการศึกษา ยังมีชื่อเสียงด้านการค้าขายและพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ กระดาษ แก้ว เครื่องปั้นเผา ซิการ์ เป็นตลาดค้าธัญพืชและเนยเหลว",
"title": "มาสทริชท์"
},
{
"docid": "616146#0",
"text": "ซินต์มาร์เติน (, ) เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) แห่งหนึ่งภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ครอบคลุมเฉพาะตอนใต้ของเกาะเซนต์มาร์ตินในทะเลแคริบเบียน ขณะที่พื้นที่อีกครึ่งทางตอนเหนือมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (มีชื่อว่า แซ็ง-มาร์แต็ง) ซินต์มาร์เตินมีประชากรประมาณ 37,000 คน บนเนื้อที่ 34 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของดินแดนมีชื่อว่า ฟีลิปส์บืร์ค",
"title": "ซินต์มาร์เติน"
},
{
"docid": "274768#0",
"text": "ยูเทรกต์ () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดยูเทรกต์ที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศเนเธอร์แลนด์ ยูเทรกต์เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของเนเธอร์แลนด์ที่มีประชากร 300,030 คนในปี ค.ศ. 2007",
"title": "ยูเทรกต์ (เมือง)"
},
{
"docid": "524562#0",
"text": "อาร์เนม () เป็นเมืองและเทศบาลทางตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ มีประชากรเกือบถึง 150,000 คน (ข้อมูล 1 มกราคม ค.ศ. 2012)",
"title": "อาร์เนม"
},
{
"docid": "526032#0",
"text": "โอรันเยสตัด () เป็นเมืองหลวงของอารูบา ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเนเธอร์แลนด์ มีประชากร 28,294 คน",
"title": "โอรันเยสตัด"
},
{
"docid": "23316#1",
"text": "เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป",
"title": "ประเทศสกอตแลนด์"
}
] |
2291 | อสีติมหาสาวกหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "59529#1",
"text": "คำว่า \"อสีติมหาสาวก\" เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ \"อสีติ\" และ \"มหาสาวก\" คำว่า \"อสีติ\" แปลว่า แปดสิบ ส่วน \"มหาสาวก\" ประกอบด้วยคำว่า \"มหา\" ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่, มาก, สำคัญ และคำว่า \"สาวก\" ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ \"สุ\" (ฟัง) ลง ณฺวุ ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น \"สาวก\" แปลว่า \"ผู้ฟัง\"",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "59529#0",
"text": "พระอสีติมหาสาวก คือ พระสาวกผู้ใหญ่ 80 องค์ของพระพุทธเจ้า",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
}
] | [
{
"docid": "59529#5",
"text": "ทั้งนี้เพราะธัมมปทัฏฐกถา ก็ดี สุมังคลวิลาสินี ก็ดี ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีคำว่า “มหาสาวก” และ ‘อสีติมหาสาวก’ ปรากฏอยู่ล้วนเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในลังกา หรือในยุคที่การศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกากำลังรุ่งเรือง โดยพระอรรถกถาจารย์ผู้มีชื่อเสียงคือพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี พ.ศ. 900-1000 พุทธศาสนิกชนในยุคนั้นและยุคต่อมาทั้งพระและฆราวาส ต่างนิยมยกย่องในตัวพระอสีติมหาสาวกมาก คัมภีร์มหาวงศ์กล่าวว่า",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "59529#3",
"text": "เนื่องจากไม่ปรากฏรายนามพระอสีติมหาสาวกในคัมภีร์ นักวิชาการสมัยหลังจึงตั้งเกณฑ์กำหนดพระอสีติมหาสาวกขึ้นเอง เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงวินิจฉัยไว้ในหนังสือ \"อนุพุทธประวัติ\" ดังนี้\nรวมเป็น 69 องค์ ที่เหลืออีก 11 องค์ ทรงวินิจฉัยเลือกพระสาวกในมัชฌิมโพธิกาลและปัจฉิมโพธิกาลจนได้ครบ 80 องค์",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "59529#4",
"text": "อนึ่ง ในการเลือกพระสาวกแล้วจัดเข้า เป็นพระอสีติมหาสาวกนั้น ยังมีข้อที่น่าศึกษาเพิ่มเติมคือ เกิดมีขึ้นในยุคใด จากเหตุผลที่กล่าวมานี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีเค้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยเห็นได้จากคำเรียกที่ว่า ‘พระสาวกเถระ ผู้มีชื่อเสียง’ ซึ่งเท่าที่ระบุนามไว้ ก็เป็นอสีติมหาสาวกทั้งหมด แต่มาเด่นชัดขึ้นในยุคสมัยของพระอรรถกถาจารย์ในลังกา",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "59529#6",
"text": "พระเจ้าพุทธทาสแห่งลังกามีพระราชบุตร 8 องค์ล้วนทรงสุรภาพแกล้วกล้าการรณรงค์สงคราม ทรงขนานนามพระกุมารนั้นตามพระอัชฌาสัยของพระองค์ให้คงนามพระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย พระเจ้าพุทธทาสองค์นี้ ได้แวดล้อมด้วยพระราชบุตรทั้งหลายอันทรงพระนามตาม พระอสีติมหาสาวกว่า สารีบุตร เป็นอาทิ พระองค์ทรงรุ่งเรืองอยู่ดูประหนึ่งว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "59529#2",
"text": "คำว่า \"อสีติมหาสาวก\" ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ปรากฏอยู่ในหนังสืออรรถกถาต่าง ๆ คือ ธัมมปทัฏฐกถา สุมังคลวิลาสินี และปรมัตถทีปนี โดยไม่ระบุรายนามว่ามีท่านใดบ้าง",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "59529#7",
"text": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงวินิจฉัยรายนาม \"พระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป\" ไว้ในหนังสือ\"พุทธานุพุทธประวัติ\" ดังนี้",
"title": "พระอสีติมหาสาวก"
},
{
"docid": "266466#0",
"text": "พระควัมปติเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยต้นพุทธกาล",
"title": "พระควัมปติเถระ"
},
{
"docid": "266471#0",
"text": "พระยสเถระ หรือ พระยสะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยต้นพุทธกาล",
"title": "พระยสเถระ"
}
] |
2294 | กระบวนพยุหยาตราชลมารค เริ่มตั้งแต่สมัยใด? | [
{
"docid": "33243#0",
"text": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ \"กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง\" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2330 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมสมัยอยุธยา",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "33243#2",
"text": "การเสด็จทางน้ำที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้นมีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า พระร่วงเจ้า (พระมหาธรรมราชา 1) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
}
] | [
{
"docid": "33243#20",
"text": "สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 17 ครั้ง ดังนี้สำหรับกระบวนพยุหยาตราที่มีในปัจจุบันนั้น ส่วนมากจะเป็นการเสด็จไปทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และพิธีสำคัญต่างๆ สำหรับงานเอเปก 2003 และงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นั้น เป็นเพียงการสาธิตแห่กระบวนเรือซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมิได้เสด็จในกระบวน",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "33243#8",
"text": "การจัดการกระบวนพยุหยาตรลมารคในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวมานี้ จัดได้ว่าเป็นริ้วกระบวนใหญ่แสดงความมั่งคั่งของราชสำนักไทยในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับริ้วกระบวนเรือในสมัยต่อมา จะพบว่าค่อยๆ ตัดทอนลงไปเรื่อยๆ เพราะเรือชำรุดไปตามกาลเวลาบ้าง ไม่มีผู้รู้จักทำขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามแผนโบราณบ้างจึงเหลืออยู่เท่าที่พอจะรักษาไว้ได้เท่านั้น จนกระทั่งถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "33243#7",
"text": "ในช่วงปี พ.ศ. 2199-2231 ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ มีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนยิ่งใหญ่ 4 สาย พร้อมริ้วเรือพระที่นั่ง ตรงกลางอีก 1 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ตำกว่า 100 ลำ ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของกระบวนพยุหยาตราฯในสมัยต่อๆ มา",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "33243#15",
"text": "ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างเรือขึ้นใหม่ทั้งชุดแต่ส่วนใหญ่เป็นเรือที่ใช้ในการรบทั้งสิ้น เพราะในสมัยนั้นมีแต่การศึกสงครามโดยมีการแห่เรือสำคัญ คือ ในการพระราชพิธีสมโภชรับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์และมาแห่พักไว้ที่กรุงเก่าคือพระนครศรีอยุธยา มีข้อความในหมายรับสั่งพรรณนากระบวนเรือที่แห่มาจากต้นทางว่ารวมเรือแห่ทั้งปวง 115 ลำ และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมทบที่พระตำหนักบางธรณีกรุงเก่า ความว่ามีเรือแห่มารวมกันเป็นจำนวน 246 ลำ",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "33243#5",
"text": "ระหว่างการเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือพร้อมเครื่องประโคม จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงามและลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น บทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของกาพย์เห่เรือที่ใช้กันในปัจจุบัน",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "717728#5",
"text": "ภาพที่แสดงอัตราการเพิ่มประชากรต่อปีที่ผ่านมา ไม่ปรากฏเหมือนกับจะเป็นแบบยกกำลังในระยะยาว\nคือถ้าเป็นการเพิ่มแบบยกกำลัง เส้นกราฟควรจะตรงและมีค่าเสมอ\nแต่ว่า เส้นกราฟจริง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800-2005 เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มที่ปี ค.ศ. 1920 \nถึงจุดสูงสุดในกลางทศวรรษ 1960\nแล้วค่อย ๆ ลดลงในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา\nส่วนความยึกยักช่วงปี ค.ศ. 1959-1960 เป็นผลจากนโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (ของเหมา เจ๋อตง) และภัยพิบัติธรรมชาติในประเทศจีน \nนอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถเห็นผลของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ สงครามโลกทั้งสองครั้ง และโรคหวัดระบาดทั่วในปี ค.ศ. 1918",
"title": "มหันตภัยมาลธูเซียน"
},
{
"docid": "108007#4",
"text": "ในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มีแต่เพียงการเสด็จฯ โดยกระบวนราบใหญ่จากพระมหามณเทียรไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดารามเท่านั้น จนลุมาถึงการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคเพื่อทรงนมัสการพระพุทธรูปสำคัญ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร",
"title": "กระบวนพยุหยาตราสถลมารค"
},
{
"docid": "33243#21",
"text": "จุดเริ่มต้นของกระบวนเรือนั้นคือบริเวณท่าวาสุกรี โดยจะมีการจอดเรือตั้งแต่หน้าสะพานกรุงธน ไปถึงหลังสะพานพระราม 8 เรือจะเริ่มออกจากสะพานพระราม 8 ผ่านป้อมพระสุเมรุสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ ราชนาวิกสภา พระบรมมหาราชวัง หอประชุม ทร. วัดอรุณราชวราราม และไปจอดเรืออยู่หน้าวัดกัลยาณมิตร",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
}
] |
2308 | พระโคตมพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่าอะไร | [
{
"docid": "80018#0",
"text": "พระโคตมพุทธเจ้า (ออกเสียง: โค-ตะ-มะ) มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า \"ภควา\" (พระผู้มีพระภาคเจ้า)",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "77973#2",
"text": "พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ประสูติในราชตระกูลศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา และทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี จึงเสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการนับปีพุทธศักราช",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "157341#0",
"text": "พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช",
"title": "พระราหุล"
},
{
"docid": "934#2",
"text": "พระพุทธเจ้า พระองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า \"เจ้าชายสิทธัตถะ\" ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของฝ่าย \"เถรวาท\" ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ \"มหายาน\" ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า \"วัชรยาน\" เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มี หลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ",
"title": "ศาสนาพุทธ"
}
] | [
{
"docid": "537795#0",
"text": "พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร มีพระนามเดิมว่า เจ้าอุ่นคำ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และเป็นพระองค์สุดท้ายภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรสยาม ทรงพระราชสมภพ ณ นครหลวงพระบาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2354 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ามันธาตุราชกษัตริย์ล้านช้างหลวงพระบางพระองค์ที่ 8 และพระนางคำมูน ทรงครองราชย์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 ถึงปี พ.ศ. 2430 โดยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง มีพระนามว่า \"เจ้ามหินทรเทพนิภาธร วรวิสุทธธรรมสัตยา มหาปเทศาธิบดี ศรีสัตนาคนหุต วุฒิเกษตราธิฐาน ประชานุบาลมลาวพงษ์ ดำรงนครหลวงพระบางราชธานี เจ้านครหลวงพระบาง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเป็นที่จางวาง มีพระนามว่า \"พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร ขจรสัจธรรมวิสุทธ วรวุฒิกูลวงษ์ มลาวพงษาธิบดีศรีสัตนาคนหุต อุตมเขตรวิเศษศักดิ์ อรรคมหาปธานาธิการ ภูบาลบพิตร จางวางเมืองนครหลวงพระบาง และครองราชย์ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2432 ถึง พ.ศ. 2438 การครองราชย์ของพระองค์สิ้นสุดลงด้วยการที่ลาวตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส",
"title": "พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร"
},
{
"docid": "80018#2",
"text": "พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "154835#2",
"text": "กรมหลวงบาทบริจา ชาววังออกพระนามว่า สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) หรือ เจ้าส่อนหอกลาง หรือ เจ้าครอกหอกลาง มีพระนามเดิมว่า สอน หรือ ส่อน จุลลดา ภักดีภูมินทร์แสดงความเห็นว่าพระองค์น่าจะมีพระนามเดิมว่า \"สอน\" มากกว่า \"ส่อน\" โดยให้เหตุผลว่าคนในอดีตมักใช้วรรณยุกต์พร่ำเพรื่อเกินจำเป็น ทั้งนี้ไม่ทราบบิดามารดาของพระองค์ว่าสืบมาจากสายสกุลใด จึงเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพียงหญิงสามัญซึ่งมิได้มาจากตระกูลใหญ่หรือมีสายสัมพันธ์กับชนชั้นผู้ดีในสมัยอยุธยา ทั้งนี้นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าสินอาจแต่งงานกับสอนก่อนหน้าดำรงตำแหน่งพระยาตาก และมองว่าสอนมิใคร่มีญาติสนิทมากนัก",
"title": "กรมหลวงบาทบริจา"
},
{
"docid": "151314#1",
"text": "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า นาค เสด็จพระราชสมภพในตระกูลคหบดีเชื้อสายมอญ บิดามีนามว่า ทอง มารดามีนามว่า สั้น ทั้งสองเป็นญาติใกล้ชิดกัน บิดานั้นถึงแก่กรรมไปตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ส่วนมารดานั้นมีอายุยืนยาวจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ภายหลังบวชเป็นแม่ชีจนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุราว 90 ปี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาอัฐิขึ้นเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี ถวายพระนามว่าสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี",
"title": "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี"
},
{
"docid": "485164#6",
"text": "ในสมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าในปัจจุบันได้เสด็จอุบัติในตระกูลกษัตริย์พระนามว่า เขมะ ในเขมวดีนคร ได้ถวายบาตรและจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่าง มียาหยอดตาเป็นต้น พร้อมด้วยสมณบริขารอย่างอื่นอีกเป็นจำนวนมาก แก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วมีพระหฤทัยเลื่อมใส ได้ตั้งมั่นอยู่ในสรณคมน์ และเบญจศีลอย่างมั่นคง ในเวลาสิ้นสุดแห่งการถวายมหาทาน พระพุทธองค์ทรงทำการอนุโมทนา แล้วได้พยากรณ์ว่า",
"title": "พระกกุสันธพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "317494#0",
"text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต แม่กองงานพระธรรมทูต",
"title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)"
}
] |
2310 | คุณสมบัติหลักของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนคือ มันมีความสามารถที่จะเก็บภาพเฉพาะบริเวณจุดโฟกัสโดยสามารถเลือกระดับความลึกได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "532367#0",
"text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน () เป็นกล้องจุลทรรน์แบบคอนโฟคอลที่ใช้สำหรับงานที่ต้องการภาพความละเอียดสูงและสามารถเลือกชั้นความลึกที่ต้องการเก็บภาพ ซึ่งคุณสมบัติหลักของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนคือ มันมีความสามารถที่จะเก็บภาพเฉพาะบริเวณจุดโฟกัสโดยสามารถเลือกระดับความลึกได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การตัดด้วยแสง () การบันทึกภาพของกล้องชนิดนี้เป็นการเก็บสัญญาณแสงจากจุดโฟกัสทีละจุดแล้วนำสัญญาณทั้งหมดมาสร้างเป็นภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติ ของวัตถุที่ซับซ้อนขึ้นมาได้ โดยสำหรับวัตถุทึบแสงสามารถใช้กล้องชนิดนี้ศึกษาลักษณะของพื้นผิวใด้ ในกรณีที่เป็นวัตถุโปร่งแสงเราสามารถถ่ายภาพโครงสร้างภายในของวัตถุได้โดยใช้กล้องชนิดนี้ ซึ่งภาพที่ได้จะมีคุณภาพดีกว่าใช้กล้องทั่วไป เพราะภาพที่ได้จากระดับวามลึกที่เราต้องการนั้นจะไม่ถูกซ้อนทับโดยภาพที่ระดับความลึกอื่น ในขณะที่ภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดาจะเป็นภาพของแสงสะท้อนทั้งหมดจากทุกชั้นความลึกที่แสงสามารถทะลุผ่านลงไปได้",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
}
] | [
{
"docid": "532367#3",
"text": "จากที่กล่าวมาข้างต้นแสงที่ได้รับมาจากวัตถุนั้นเป็นแสงสะท้อนจากปริมาตรของจุดโฟกัส โดยแสงสะท้อนนั้นจะกลายเป็นพิกเซล (pixel) ในภาพที่เป็นผลลัพพ์สุดท้าย โดยความสว่างของภาพจะขึ้นอยู่กับความเข้มของสัญญาณแสงสะท้อน ดังนั้นหากเราต้องการภาพหนึ่งภาพ เราจะต้องทำการสแกนแบบจุดต่อจุดให้ทั่วทั้งบริเวณที่เราต้องการ แล้วนำสัญญาณแสงมาแปลงเป็นแต่ละพิกเซล ในการสแกนลำแสงเลเซอร์ให้ทั่วบริเวณที่เราต้องการภาพนั้น เราใช้กระจกที่สามารถปรับได้เพื่อสะท้อนลำแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณที่ต้องการได้ ซึ่งการทำกระจกให้สามารถปรับได้นั้นอาจใช้มอเตอร์มาช่วยเพื่อควบคุมมุมของการสะท้อนของลำแสงเลเซอร์ วิธีการที่ใช้ในการสแกนลำแสงเลเซอร์โดยปกตินั้นเป็นวิธีการที่ตอบสนองช้าและสามารถปรับความเร็วได้ เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์จะเก็บแสงเฉพาะที่ปริมาตรของจุดโฟกัสเท่านั้นทำให้ต้องใช้เวลาในการเปิดหน้ากล้องนานกว่ากล้องแบบปกติ ดังนั้นการที่สแกนช้าจะส่งผลดีต่อภาพคือทำให้อัตราส่วนระดับสัญญาณแสงสะท้อนต่อสัญญาณรบกวน (signal-to-noise ratio) สูงขึ้น ส่งผลให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูงขึ้น",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "532367#7",
"text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นใช้แหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์แบบจุดแล้วโกัสลำแสงเลเซอร์ไปยังชิ้นเนื้อตัวอย่าง ดังนั้นปริมาตรในการสแกนและความเข้มของแสงสะท้อนในการสแกนแต่ละจุดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของจุดโฟกัส (spot size) ของระบบแสง เพราะว่าจุดโฟกัสที่เกิขึ้นจริงไม่ใช่จุดที่มีขนาดเล็กมากเช่นในอุดมคติ แต่มีขนาดแบบ 3 มิติในรูปแบบของการกระจายแสง ในกล้องจุลทรรศน์แบบนั้นขนาดของจุดโฟกัสขึ้นอยู่กับ Numerical Aperture (N.A.) ของเลนส์วัตถุและความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์ที่นำมาใช้ อย่างไรกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นสามารถกำจัดรูปแบบการเบี่ยงเบนลำแสงลำดับสูงๆลำแสง (higher order of difdfraction pattern) ที่มีผลต่อภาพได้ โดยการลดขนาดของรูรับแสงลง อย่างเช่นถ้าเราลดขนาดของรูรับแสงลงเหลือ 1 Airy unit จะทำให้แสงที่ผ่านมายังตัวรับแสงเป็นรูปแบบการเบี่ยงเบนลำแสงลำดับแรก (first order of difraction pattern) เท่านั้น ทำให้ภาพมีความคมชัดสูงขึ้นโดยแลกกับแสงที่มีความเข้มลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในการถ่ายภาพฟลูออเรสเซ็นต์ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวคืออัตราส่วนระดับสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (signal to noise ratio) เพราะว่าแสงที่ผ่านเข้ามายังตัวรับแสงน้อย แต่ก็ยังมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้อยู่คือ ใช้ตัวรับแสงที่มีความไวสูง หรือเพิ่มความเข้มของแหล่งกำเนิดแสง แต่การเพิ่มความเข้มของแหล่งกำเนิดแสงอาจทำให้อายุของการสะท้อนแสงของสีย้อมฟลูออเรสเซ็นหมดลงเร็ว หรืออาจทำลายชิ้นเนื้อได้",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "532367#9",
"text": "การแพทย์ระดับคลีนิค กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนถูกใช้ในการวินิจฉัยโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะถูกใช้ในการถ่ายภาพและวิเคราะห์คุณภาพ รวมทั้งยังถูกใช้ในการระบุตำแหน่งและระบุลักษณะของเชื้อโรคต่างๆ ทำให้สามารถวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้นและสามารถทราบได้แม้จะเป็นในระยะเริ่มแรกก็ตาม เพื่อที่จะได้บำบัดรักษาได้ทันท่วงที",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "532367#2",
"text": "การเกิดภาพของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนเริ่มต้นจากลำแสงเลเซอร์ผ่านช่องของแล่งกำเนิดแสงแบบจุดและถูกโฟกัสด้วยเลนส์วัตถุเป็นปริมาตรของจุดโฟกัส (focal volume) ภายในหรือบนพื้นผิวของชิ้นเนื้อตัวอย่าง แสงสะท้อนจากวัตถุถูกสะท้อนกลับมายังเลนส์วัตถุอีกครั้งโดยแสงสะท้อนนี้มีความยาวคลื่นแตกต่างจากแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงแบบจุด เมื่อแสงสะท้อนเดินทางมาถึงตัวแยกแสง (beam slitter) โดยตัวแยกแสงนี้มีคุณสมบัติคือจะยอมให้แสงความยาวคลื่นหนึ่งผ่านไปได้แต่จะสะท้อนแสงอีกความยาวคลื่นหนึ่ง โดยแสงที่สามารถผ่านไปได้จะเป็นแสงจากแหล่งกำเนิดแสงแต่แสงที่สะท้อนมาจากวัตถุจะถูกสะท้อนอีกครั้งหนึ่งเพื่อผ่านไปยังรูขนาดเล็กด้านตัวรับแสง ซึ่งรูขนาดเล็กนี้จะทำการกำจัดแสงที่ไม่ได้มาจากจุดโฟกัสทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบปกติ และสามารถเก็บภาพเฉพาะชั้นความลึกที่ต้องการเท่านั้น และในที่สุดจะเดินทางไปถึงตัวรับแสงแบบตัวคูณ (Photo Multiplier Tube; PMT) ซึ่งตัวรับแสงแบบตัวคูณจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยส่วนมากจะมีตัวกรองแสง (optical filter) ระหว่างรูขนาดเล็กกับตัวรับแสงเพื่อกรองแสงที่ไม่ต้องการออกอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้น",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "531309#2",
"text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป โดยที่ระบบของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลทุกชนิดพยายามปรับแต่งให้ระบบมีความเหมาะสมทั้งในด้านความเร็วในการบันทึกภาพและความละเอียดของภาพ โดยที่กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นสามารถปรับแต่งความถี่ในการเก็บสัญญาณภาพและความละเอียดในการเก็บสัญญาณภาพ ในขณะที่กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดจานหมุน (จานนิพโค) และกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดอาเรย์ที่สามารถโปรแกรมได้มีความถี่ในการเก็บสัญญาณภาพและความละเอียดในการเก็บสัญญาณภาพคงที่ แต่มีความเร็วในการเก็บสัญญาณภาพสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน ขณะนี้ในท้องตลาดนั้นกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดจานหมุน (จานนิพโค) สามารถเก็บภาพด้วยความเร็วมากกว่า 50 ภาพต่อวินาที ซึ่งความเร็วดังกล่าวเป็นที่ต้องการเมื่อต้องการจับภาพความเคลื่อนไหวของเซลล์สิ่งมีชีวิตขณะมีชีวิตอยู่",
"title": "กล้องคอนโฟคอล"
},
{
"docid": "532367#10",
"text": "ทั้งนี้ยังมีการค้นคว้าเพื่อนำกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนไปใช้เป็น เพื่อใช้ตรวจภายในร่างกาย นอกจากนี้การนำเอาระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาคมาใช้ร่วมกับ endoscope ที่ใช้หลักการแบบเดียวกับกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นเป็นการเพิ่มความสามารถให้กล้อง endoscope ให้มีขนาดเล็กลงและมีความเร็วในการบันทึกภาพสูงขึ้นด้วย",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "532367#5",
"text": "กล้องจุลทรรน์แบบคอนโฟคอลนี้มีความสามารถในการตัดทางแสง (optical sectioning) ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องทำลายตัวอย่างเพื่อทำการศึกษาโครงสร้างภายใน และทำให้ลดระยะและการวางแผนสำหรับการทดสอบต่างๆ รวมทั้งทำให้ภาพถ่ายมีความละเอียดเพิ่มขึ้น ชิ้นเนื้อตัวอย่างในงานชีววิทยานั้นปกติจะถูกย้อมด้วยสีย้อมของฟลูออเรสเซ็นต์ (fluorescent dye) สำหรับการสังเกตเฉพาะสิ่งที่ต้องการเท่านั้น อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงความเข้มข้นของสีย้อมอาจถูกทำให้น้อยลงเพื่อลดการรบกวนในระบบ ดังนั้นกล้องหรือเครื่องมือวัดบางชนิดสามารถจับแสงฟลูออเรสเซ็นต์ได้เพียงโมเลกุลเดียว ดังนั้นจึงมีการใช้ transgenic techniques เพื่อที่จะสร้างโมเลกุลแบบฟลูออเรสเซ็นต์เสมือน (fluorescent chimeric molecules)ขึ้นมา เช่นการนำเอา Green Fluorescent Protein (GFP) มารวมกับโปรตีนชนิดที่เราสนใจในการสังเกตในงานชีววิทยา",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "532367#6",
"text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนใช้เทคนิดในการสแกนชนิดเดียวกันกับกล้อง Scanning Electron Microscope (SEM) ซึ่งเป็นการสแกนแบบแรสเตอร์ (raster scanning) คือ สเแกนเป็นแบบเส้นแนวนอนทีละเส้นหลายๆเส้นจนกระทั่งได้ภาพ 2 มิติ กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นมีข้อดีกว่ากล้อง Atomic Force Microscope (AFM) และ Scanning Tunneling Microscope (STM) คือไม่จำเป็นต้องใช้ปลายแหลมสำหรับทดสอบ(probe) ที่ต้องลอยเหนือชิ้นเนื้อในระดับนาโนเมตรในขณะที่กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนมีระยะห่างระหว่างชิ้นเนื้อกับเลนส์วัตถุ (working distance) ในระดับไมโครเมตรหรือมิลลิเมตร ซึ่งทำให้มีพื้นที่ในการใช้งานได้มากกว่า",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
},
{
"docid": "532367#1",
"text": "หลักการของการถ่ายภาพแบบคอลโฟคอลนั้นได้การจดสิทธิบัตรโดย Marvin Minsky ในปี ค.ศ. 1957 แต่การพัฒนาการของการใช้แสงเลเซอร์นั้นใช้เวลาอีก 30 ปี จึงสามารถนำมาใช้กับกล้องจุลทรรศน์แบบคอลโฟคอล จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1980 กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนได้กลายเป็นเทคนิคอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยในปี ค.ศ. 1978 นั้น Thomas Cremer และ Christoph Cremer ได้ออกแบบกระบวนการใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนแบบทีละจุดโดยใช้จุดโฟกัสของลำแสงเลเซอร์เพื่อให้ได้ภาพ 3 มิติ โดยกล้องคอนโฟคอลที่ใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนและใช้ตัวรับแสงเพื่อสร้างภาพ 3 มิติ ตัวแรกที่ถูกออกแบบนั้นได้ถูกใช้สำหรับถ่ายภาพวัตถุทางชีววิทยาซึ่งถูกเคลือบสารฟลูออเรสเซ็นต์ ในทศวรรตต่อมากล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลทำงานด้วยแสงฟลูออเรสเซ็นได้ถูกพัฒนาอย่างจริงจังโดยกลุ่มนักวิจัย University of Amsterdam และ European Molecular Biology Laboratory (EMBL) และ องกรณ์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ",
"title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน"
}
] |
2320 | อัศวินเทมพลาร์ คืออะไร? | [
{
"docid": "140418#0",
"text": "ทหารผู้ยากแห่งพระคริสต์และพระวิหารแห่งโซโลมอน () หรือที่รู้จักกันในชื่ออัศวินเทมพลาร์ หรือคณะแห่งพระวิหาร () เป็นคณะทหารคริสตชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เป็นองค์กรที่คงอยู่เกือบสองศตวรรษในสมัยกลาง",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
}
] | [
{
"docid": "140418#15",
"text": "เทมพลาร์เป็นคณะนักบวชอารามิกคล้ายกับคณะซิสเตอร์เชียนของแบร์นาร์ ซึ่งสามารถพิจารณาเป็นองค์กรระหว่างประเทศองค์กรแรกในยุโรป โครงสร้างขององค์กรมีโซ่แห่งอำนาจที่แข็งแกร่ง ประเทศหลัก ๆ ที่มีเทมพลาร์ (ฝรั่งเศส, อังกฤษ, อารากอง, โปรตุเกส, ปัวตู, ปูเกลีย, เยรูซาเลม, ตริโปลี, แอนติออก, อ็องฌู, ฮังการี, และ โครเอเชีย) แต่ละประเทศจะมีผู้บังคับการของคณะสำหรับเทมพลาร์ในแต่ละพื้นที่ ผู้บังคับการทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ผู้นำสูงสุดซึ่งดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต ผู้คอยควบคุมทั้งกองกำลังทางทหารของคณะในฝั่งตะวันออกและทางการเงินที่ถือครองอยู่ในฝั่งตะวันตก จำนวนสมาชิกในองค์กรไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่มีการประมาณกันว่าช่วงที่คณะขึ้นสู่จุดสูงสุดน่าจะมีสมาชิกราว 15,000 ถึง 20,000 คน ซึ่งหนึ่งในสิบเป็นอัศวิน",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "328419#0",
"text": "ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำแห่งอัศวินเทมพลาร์ () จะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของ \"ทหารผู้ยากแห่งพระเยซูคริสต์และวิหารแห่งโซโลมอน\" (หรือที่รู้จักกันในชื่อ \"อัศวินเทมพลาร์\") โดยเริ่มจากผู้ก่อตั้งอูกูร์แห่งปายองส์ในปี ค.ศ. 1118 ผู้นำหลายคนเลือกที่จะดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต ผู้นำบางคนออกจากตำแหน่งเพื่อใช้ชีวิตในศาสนาหรือการทูต ผู้นำมักเป็นผู้นำอัศวินเข้าสู่การรบและอันตรายจากการรบทำให้บางคนครองตำแหน่งสั้นมาก",
"title": "ผู้นำของอัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "140418#6",
"text": "ด้วยภารกิจที่ชัดเจนและทรัพยากรที่เพียงพอ คณะได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่อยครั้งที่เทมพลาร์รับบทกองกำลังหน่วยรุกซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการรบของสงครามครูเสด ด้วยความที่เป็นอัศวินเกราะหนักบนม้าศึกจึงใช้โจมตีทำลายแนวต้านทานของข้าศึก หนึ่งในชัยชนะที่สร้างชื่อในปี ค.ศ. 1177 ระหว่างยุทธการที่ม็องต์กิซาร์ด เมื่ออัศวินเทมพลาร์ 500 นายได้ช่วยยัดเยียดความปราชัยแก่กองทัพของศอลาฮุดดีนที่มีทหารมากกว่า 26,000 นาย",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "992261#0",
"text": "แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์ (; ) เป็นองค์กรอาชญากรรมเม็กซิโกที่เดิมประกอบด้วยแก๊งค้ายาลาฟามิเลียมิโชอากานาที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอยู่ในรัฐมิโชอากังของรัฐเม็กซิโก",
"title": "แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "992261#1",
"text": "หลังจากการเสียชีวิตที่ถูกกล่าวหาครั้งแรกของฟรันซิสโก มอนเตส และผู้ร่วมก่อตั้งอย่างนาซาริโอ โมเรโน ที่เป็นผู้นำของกลุ่มแก๊งค้ายาลาฟามิเลียมิโชอากานา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2010 การแบ่งแยกระหว่างผู้นำองค์กรก็ได้อุบัติขึ้น ผู้ร่วมก่อตั้งแก๊งบางคนอย่างพี่น้องมอนเตส; เฟรด มอนเตส เซเอเม และฟรังก์ มอนเตส, เซร์บันโด โกเมซ มาร์ติเนซ และดิโอนิซิโอ โลยา ปลังการ์เต ได้ตั้งตัวเองเป็นผู้นำแก๊งใหม่โดยเรียกตัวเองว่า \"กาบาเยโรสเตมปลาริโอส\" (\"อัศวินเทมพลาร์\") สมาชิกส่วนใหญ่ของลาฟามิเลียได้ออกไปเข้าร่วมกลุ่มอัศวินเทมพลาร์ ในขณะที่โฆเซ เด เฆซุส เมนเดซ บาร์กัส ก้าวขึ้นเป็นผู้นำของ \"ลาฟามิเลียมิโชอากานา\" ซึงมีขนาดเล็กลงมากในเวลานี้ โดยเริ่มมีการต่อสู้กันเองเพื่อชิงอำนาจในรัฐมิโชอากัง",
"title": "แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "140418#10",
"text": "เมื่อภารกิจทางทหารของคณะด้อยความสำคัญลง การสนับสนุนจากองค์กรก็เริ่มลดลง มันเป็นสถานะการณ์ที่ซับซ้อน การดำรงอยู่ของพวกเขาทำให้เทมพลาร์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันตลอดทั้งคริสตจักร ที่ตั้งของเทมพลาร์ขององค์กรกว่าร้อยแห่งกระจายอยู่ทั่วทั้งยุโรปและตะวันออกใกล้ ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ในระดับท้องถิ่น เทมพลาร์ยังคงบริหารจัดการกิจการทั้งหลายของพวกเขา และชาวยุโรปหลายต่อหลายคนได้ติดต่อกับเครือข่ายของเทมพลาร์ในทุก ๆ วัน เช่น ทำงานในไร่นาหรือไร่องุ่นของเทมพลาร์ หรือ ใช้ภาคีต่างธนาคารในการฝากสิ่งของมีค่า คณะยังคงอยู่เหนือรัฐบาลท้องถิ่น สถานภาพของคณะในทุกหนแห่งประหนึ่งเป็น \"รัฐภายในรัฐ (state within a state)\" แม้ว่าจะไม่ได้มีภารกิจที่กำหนดแน่ชัด ทหารประจำการของคณะก็สามารถผ่านพรมแดนได้อย่างอิสระ ซึ่งสถานะการณ์นี้ได้สร้างความตึงเครียดอย่างมากกับขุนนางยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เทมพลาร์แสดงความสนใจที่จะตั้งรัฐอารามขึ้นเหมือนอย่างอัศวินทิวทันกระทำในปรัสเซีย (Prussia) และอัศวินฮอสปิทัลเลอร์กระทำกับโรดส์",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "140418#24",
"text": "สิ่งที่โดดเด่นทางสถาปัตยกรรมของสิ่งก่อสร้างของเทมพลาร์คือการใช้รูปของ \"อัศวินสองนายขี่ม้าตัวเดียวกัน\" ซึ่งเป็นตัวแทนความขัดสนของอัศวิน และสิ่งก่อสร้างทรงกลมที่ออกแบบคล้ายกับโบสถ์แห่งสุสานศักดิ์สิทธิ์ (Church of the Holy Sepulchre) ในเยรูซาเลม",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "140418#26",
"text": "ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ฟรีเมสันได้รวมสัญลักษณ์และพิธีกรรมของภาคีทหารยุคกลางหลายภาคีไว้ในองค์กรเมสันย่อย (Masonic bodies) ต่างๆ ที่โดดเด่นสุดคือ กางเขนแดงแห่งคอนสแตนติน (Red Cross of Constantine) ซึ่งได้แรงบรรดาลใจจาก Military Constantinian Order ภาคีแห่งมอลตา (Order of Malta) ได้แรงบันดาลใจจากอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ และภาคีแห่งวิหาร (Order of the Temple) ได้แรงบันดาลใจจากอัศวินเทมพลาร์ โดยเฉพาะสองภาคีหลังมีชื่อเสียงอย่างมากใน York Rite ทฤษฎีหนึ่งอ้างว่าฟรีเมสันสืบสายตรงมาจากอัศวินเทมพลาร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้อพยพหลบหนีข้อกล่าวหาไปยังประเทศสกอตแลนด์และช่วยโรเบิร์ต เดอะ บรูซ (Robert the Bruce) ให้ได้รับชัยชนะที่แบนน็อคเบิร์น ทฤษฎีนี้ถูกปฏิเสธทั้งจากผู้มีอำนาจในองค์กรเมสันย่อย และนักประวัติศาสตร์ เนื่องจากไม่มีหลักฐาน มีคำพูดของนักวิชาการคนหนึ่งกล่าวว่า \"ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงอัศวินเทมพลาร์เข้ากับฟรีเมสัน\"",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
},
{
"docid": "140418#8",
"text": "จากการผสมผสานกันของการรับบริจาคและธุรกิจการค้า เทมพลาร์ได้สร้างเครือข่ายการเงินไปทั่วคริสตจักร เขาได้มาซึ่งที่ดินขนาดใหญ่ทั้งในยุโรปและตะวันออกกลาง ซื้อและจัดการไร่นาและไร่องุ่น สร้างโบสถ์และปราสาท มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการผลิต นำเข้า และส่งออก มีกองเรือเป็นของตนเอง และณ จุดหนึ่ง พวกเขายังเป็นเจ้าของเกาะทั้งหมดของไซปรัส คณะอัศวินเทมพลาร์มีคุณสมบัติที่จะเป็นบรรษัทข้ามชาติแห่งแรกของโลก\nในตอนกลางของคริสต์ทศวรรษที่ 1100 กระแสสงครามได้พลิกผัน โลกมุสลิมได้เป็นปึกภายใต้ผู้นำที่เก่งกาจอย่างศอลาฮุดดีน และได้เกิดความแตกร้าวท่ามกลางกลุ่มคริสตชนทั้งที่เกี่ยวข้องและในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ บางครั้งอัศวินเทมพลาร์ถูกนำไปเปรียบกับคณะทหารคริสตชนอื่นอีกสองคณะคือคณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์และคณะอัศวินทิวทัน และเป็นทศวรรษแห่งการอาฆาตล้างผลาญกันเองทำให้สถานะภาพของคริสตชนอ่อนแอลงทั้งทางการเมืองและการทหาร หลังจากเทมพลาร์ได้เข้าร่วมทำการรบที่ประสบความล้มเหลวหลายครั้ง รวมถึงยุทธการที่เขาแห่งฮัททิน กำลังศอลาฮุดดีนก็สามารถยึดเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1187 นักรบครูเสดยึดเมืองคืนมาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1229 โดยปราศจากความช่วยเหลือของเหล่าเทมพลาร์ แต่ก็รักษาไว้ได้เพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ในปี ค.ศ. 1244 จักรวรรดิควาริซเมียน (Khwarezmian Empire) ได้เข้ายึดครองเยรูซาเลม และเมืองก็ไม่กลับเป็นของตะวันตกอีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1917 เมื่อบริเตนได้ยึดมันมาจากจักรวรรดิออตโตมัน",
"title": "อัศวินเทมพลาร์"
}
] |
2330 | สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี มีเมืองหลวงชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "2519#0",
"text": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(; ) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (; ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย",
"title": "ประเทศเกาหลีเหนือ"
}
] | [
{
"docid": "33422#2",
"text": "ชื่อ \"คองโก\" (หมายถึง \"นักล่า\") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก () ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น \"คองโก\" ตามเดิม",
"title": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก"
},
{
"docid": "891191#0",
"text": "คณะกรรมาธิการประชาชนชั่วคราวเกาหลีเหนือ เป็นชื่อทางการของรัฐบาลชั่วคราวที่ควบคุมตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1945กองกำลังโซเวียตได้ยึดครองพื้นที่ตอนเหนือของเกาหลีจากญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองขณะที่สหรัฐยึดภาคใต้ของเกาหลีจากญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ และประสบความสำเร็จเป็นกึ่งรัฐบาลประกอบด้วยห้าจังหวัดในปี ค.ศ. 1946 และในปี ค.ศ. 1948 ได้มีการก่อตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี อย่างเป็นทางการ",
"title": "คณะกรรมาธิการประชาชนชั่วคราวเกาหลีเหนือ"
},
{
"docid": "177758#0",
"text": "คิม จ็อง-อิล () มีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า ยูริ อีร์เซโนวิช คิม/Юрий Ирсенович Ким (ตามบันทึกโซเวียต) (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941/2 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011) อดีตผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) เขาเป็นเลขาธิการพรรคกรรมกรเกาหลี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลตั้งแต่ ค.ศ. 1948, ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศแห่งเกาหลีเหนือ และผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเกาหลีสูงสุด ซึ่งเป็นกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสี่ของโลก",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "565869#0",
"text": "รายการต่อไปนี้เป็นบรรดาธงซึ่งใช้ในประเทศจักรวรรดิเกาหลี\" สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และ สาธารณรัฐเกาหลี\"'",
"title": "รายชื่อธงในประเทศเกาหลี"
},
{
"docid": "259202#0",
"text": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551",
"title": "ประเทศเกาหลีเหนือในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008"
},
{
"docid": "445077#0",
"text": "การคมนาคมต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี",
"title": "การขนส่งในประเทศเกาหลีเหนือ"
},
{
"docid": "2568#22",
"text": "สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู ควังจู แตชอน)",
"title": "ประเทศเกาหลีใต้"
},
{
"docid": "302283#0",
"text": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ณ โซล เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2531",
"title": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในโอลิมปิกฤดูร้อน 1988"
},
{
"docid": "938990#112",
"text": "52. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี",
"title": "ฟุตบอลเพื่อมิตรภาพ"
}
] |
2339 | ไมเคิล ฮอลบรูค เพ็นนิแมน เจ.อาร์. มีผลงานโดนเด่นที่สุดคืออะไร ? | [
{
"docid": "127331#0",
"text": "ไมเคิล ฮอลบรูค เพ็นนิแมน เจ.อาร์. () หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไมกา เพ็นนิแมน () เกิดวันที่ ที่ 18 สิงหาคม 2526 เลบานอน เติบโตในลอนดอน และปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักร้องสังกัด Casablanca Records และยูนิเวอร์ซัลมิวสิคกรุ๊ป เริ่มโด่งดังในฐานะนักร้องนักแต่งเพลงตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2006 \nหลังจากบันทึกอีพีแรกที่ชื่อ Dodgy Holiday มิคาได้ประกาศวางจำหน่ายสตูดิโออัลบั้ม Life in Cartoon Motion ภายใต้สังกัดไอส์แลนด์เรเคิดส์ ในปี 2007 อัลบั้ม Life in Cartoon Motion ทำยอดขายได้มากกว่า 5.6 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลกและทำให้มิคาได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริทอวอร์ดและรางวัลแกรมมี่ 2 ปีต่อมา มิกาวางจำหน่ายอีพีชุดที่สอง Songs for Sorrow รุ่นจำกัดจำนวนที่ขายหมดทั่วโลก และไม่กี่เดือนถัดมาสตูดิโออัลบั้มชุดต่อมา The Boy Who Knew Too Much ก็ถูกวางจำหน่ายต่อจากอีพี ขณะนี้มิคาเพื่งเสร็จจากการทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก และเตรียมงานสำหรับสตูดิโออัลบั้มชุดใหม่ ที่เขาพูดถึงว่า เป็นเพลงป็อบที่เนื้อหาเข้าใจง่าย, ไม่ซับซ้อนเหมือนกับอัลบั้มที่แล้ว มิคาจะเริ่มบันทึกเสียงในดือนมีนาคม 2554 นี้",
"title": "มิคา"
}
] | [
{
"docid": "928953#8",
"text": "15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สเปนเซอร์ แอคเคอร์แมน ได้รายงานว่า นักจิตวิทยา บรูซ เจนเซ่น และ เจมส์ มิตเชลล์ ผู้ออกแบบโครงการสอบปากคำที่รุนแรงขึ้น ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อทำลาย อาบู ซูไบดาห์ และต่อมาได้ถูกใช้ต่อผู้ถูกคุมขังคนอื่น ๆ ที่เรือนจำลับของซีไอเอทั่วโลก เจนเซ่น และ มิตเชลล์กำลังถูกฟ้องร้องโดย สุไลมาน อับดุลลาห์ ซาลิม, โมฮัมเหม็ด อาเหม็ด เบน ซูอุด และ โอเบด อุลลาห์ ที่ถูกทรมานโดยนักจิตวิทยา เจนเซ่น และ มิตเชลล์ กำลังพยายามบังคับให้ แฮสเปลและเพื่อนร่วมงานของเธอ เจมส์ โคทเซน่า เพื่อเป็นพยานในฝั่งของพวกเขา",
"title": "จีนา แฮสเปล"
},
{
"docid": "189721#1",
"text": "เมื่อสองหนุ่มสาวที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน \"เจอร์รี่ ชอว์\" (ไชอา เลอบัฟ) และ \"ราเชล ฮอลโลแมน\" (มิเชล โมนาแกน) ถูกดึงให้มาเจอกันด้วยโทรศัพท์ลึกลับจากผู้หญิงคนหนึ่งที่คุกคามทั้งชีวิตและครอบครัวของสองหนุ่มสาว บีบบังคับให้พวกเขาเผชิญกับสถานการณ์อันตรายที่เสี่ยงตายมากขึ้นเรื่อยๆ และใช้เทคโนโลยีที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน คอยตามรอยและบงการทุกความเคลื่อนไหวของพวกเขา",
"title": "อีเกิ้ล อาย แผนสังหารพลิกนรก"
},
{
"docid": "157763#0",
"text": "ฮิว ไมเคิล แจ็กแมน (; เกิด 12 ตุลาคม ค.ศ. 1968) เป็นนักแสดงชาวออสเตรเลีย มีผลงานฮอลลีวูดที่เป็นที่รู้จักอย่างภาพยนตร์เรื่อง \"Van Helsing\" และ \"X-Men\"",
"title": "ฮิว แจ็กแมน"
},
{
"docid": "271880#3",
"text": "ผู้คนในเมือง ‘เอกเขนก’ ต่างไม่เคยหวาดระแวง สงสัยคนต่างถิ่นอย่าง ‘พันหนึ่ง’ เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่เขาพลัดหลงมาจากแดนไกล และจริงๆ ก็มาด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์สักเท่าใดนัก หากแต่ชาวเมืองเอกเขนกต่างให้ความสนใจช่วยกันคนละไม้ละมือซ่อมแซม ‘เฉลียงบ้าน’ ของ ‘พระจันทร์’ ให้กลับคืนมาดังเดิมมากกว่า...ตลอดเวลาที่ ‘พันหนึ่ง’ พำนักอยู่ในเมืองนี้ น้ำใจและมิตรไมตรีที่เขาได้รับ ทำให้หลักการและเหตุผลที่ยึดถืออย่างเคร่งครัดเป็นดั่งสรณะในชีวิต เริ่มคลอนคลาย รู้จักเปิดรับความรู้สึกของคนรอบข้าง ออกตามหา ‘ความฝัน’ และค้นพบ ‘ความงาม’ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจมาเนิ่นนาน จวบจนกระทั่งถึงเวลาต้องเดินทางกลับไปยังเมืองที่จากมา แล้วก็พบว่าผู้นำแห่ง ‘ตรรกะนคร’ กลายเป็นคนกระหายสงคราม ทำให้เขาต้องกลับมาปกป้องดินแดนอันสวยงามนาม ‘เมืองเอกเขนก’ อีกครั้ง",
"title": "เดอะ เลเจนด์ ออฟ เร่ขายฝัน เฉลียง เดอะ มิวสิคัล"
},
{
"docid": "908790#1",
"text": "แมคซิมิเลี่ยน ผีดิบแวมไพร์ตัวเดียวของเผ่าที่ยังเหลือรอดบนหมู่เกาะแคริบเบียน เขาต้องหาผู้สืบทอดทายาท เขาจึงออกเดินทางไปที่บรู๊คลิน แต่พอได้พบ ริต้า ทุกอย่างกลับไม่ง่าย เพราะ จัสติซ ตำรวจสายสืบคู่หูของเธอ ที่แอบมีใจให้เธอตลอด คอยกีดกันไม่ให้เธอไปรู้จักกับชายแปลกหน้าผู้มาจากต่างถิ่นอย่างสุดฤทธิ์ เรื่องราวความฮาจึงเกิดขึ้น",
"title": "แวมไพร์ อิน บรู๊คลิน"
},
{
"docid": "82862#16",
"text": "ทีมผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยโรคดั้งเดิมของเฮาส์ประกอบด้วย นพ. เอริก ฟอร์แมน (โอมาร์ เอพส์) ประสาทแพทย์, นพ. โรเบิร์ต เชส (เจสซี สเปนเซอร์) แพทย์เวชบำบัดวิกฤต และ พญ. แอลลิสัน แคเมอรอน (เจนนิเฟอร์ มอร์ริสสัน) นักวิทยาภูมิคุ้มกัน ในตอน \"แฟมิลี\" ในฤดูกาลที่ 3 ฟอร์แมนประกาศลาออก โดยบอกเฮาส์ว่า \"ผมไม่อยากกลายเป็นคุณ\" ระหว่างตอนสุดท้ายของฤดูกาล เฮาส์บอกเชสว่าเขาเรียนรู้ทุกอย่างที่สามารถแล้ว หรือไม่เรียนรู้เลย และปลดเขาออกจากทีม แคเมอรอนซึ่งชอบพอกับเชสลาออกจากนั้นไม่นาน ทำให้เฮาส์ไม่เหลือทีมในตอนแรกของฤดูกาลที่ 4",
"title": "เฮาส์ เอ็ม.ดี."
},
{
"docid": "609524#0",
"text": "ดิอินดิสเพนซะเบิลคอลเลกชัน () เป็นบ็อกเซตดิจิทอลโดย นักร้องชาวอเมริกัน ไมเคิล แจ็กสัน ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2013 โดย อีพิกเรเคิดส์ และเลกาซีเรเคิดดิงส์ เป็นอัลบั้มที่สิบเอ็ดที่ออกจำหน่ายตั้งแต่การเสียชีวิตของไมเคิล แจ็กสันในปี ค.ศ. 2009 \"ดิอินดิสเพนซะเบิลคอลเลกชัน\" ได้ออกจำหน่ายใหม่โดยประกอบไปด้วยอัลบั้มไมเคิล แจ็กสัน ได้แก่ \"Off the Wall\", \"Thriller\", \"Bad\", \"Dangerous\", \"\", \"\", \"Invincible\" และ\"Live at Wembley July 16, 1988\"",
"title": "ดิอินดิสเพนซะเบิลคอลเลกชัน"
},
{
"docid": "194846#0",
"text": "ไมเคิล สกอฟิลด์ () เป็นตัวละครเอกในซีรีส์อเมริกันทางโทรทัศน์เรื่อง \"แผนลับแหกคุกนรก\" แสดงโดย เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์ อายุ 31 ปี เป็นตัวละครที่ปรากฏตัวในตอนแรกของเรื่องด้วยการปล้นธนาคาร เพื่อที่จะทำให้ตัวเขาเข้าคุกไปที่เดียวกับที่พี่ชายของเขา ลินคอล์น เบอร์โรวส์ (โดมินิก เพอร์เซลล์) ถูกกักขัง โดยเขาได้วางแผนเกี่ยวกับการแหกคุกที่ ฟอกซ์ ริเวอร์ (fox river) ในฤดูกาลแรก เพื่อให้เบอร์โรวส์หนีออกจากคุกที่เขาได้รับโทษประหาร ไมเคิลปรากฏตัวในทุกตอนของซีรีส์เรื่องนี้ ถึงแม้ว่าลินคอล์น เบอร์โรวส์จะเป็นตัวเอกในซีรีส์เรื่องนี้ แต่ไมเคิลก็ดูเป็นตัวหลักมากกว่าลินคอล์น โดยเฉพาะในฤดูกาลแรกและฤดูกาลที่ 3 โดยตัวละครที่แสดงเป็นไมเคิลตอนเด็กชื่อ ดีแลน ไมเน็ตต์",
"title": "ไมเคิล สกอฟิลด์"
},
{
"docid": "189967#0",
"text": "ไมเคิล เจ. ฟอกซ์ () หรือมีชื่อจริงว่า ไมเคิล แอนดรูว์ ฟอกซ์ () เกิดวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1961 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน/แคนาดา มีผลงานโด่งดังจากบทบาท มาร์ตี้ แม็กฟลาย จากเรื่องเจาะเวลาหาอดีต ทั้ง 3 ภาค (1985–1990) ; บทบาทอเล็กซ์ พี. คีตัน จากแฟมิลี ไทส์ (1982–1989) ซึ่งได้รับ 3 รางวัลเอมมีและ 1 รางวัลลูกโลกทองคำ ;บทบาทไม ฟลาเฮอร์ตีจาก สปินซิตี (1996–2000) ที่ได้รับ 1 รางวัลเอมมี 3 รางวัลลูกโลกทองคำ และ 2 รางวัลสกรีนแอ็กเตอร์สไกด์ นอกจากนี้เขายังได้รางวัลบุรุษแห่งปีของนิตยสารจีคิว, รางวัลสมาคมนักแสดง หรือ แซกอวอร์ด 2 รางวัล และรางวัลพีเพิล ชอยส์ อวอร์ด",
"title": "ไมเคิล เจ. ฟอกซ์"
}
] |
2340 | ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์เสียชีวิตเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "7156#19",
"text": "หนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และมานุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา",
"title": "ชาลส์ ดาร์วิน"
}
] | [
{
"docid": "7156#0",
"text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ \n( FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ \"The Origin of Species\" (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์ ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950 การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการรวบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต",
"title": "ชาลส์ ดาร์วิน"
},
{
"docid": "36832#4",
"text": "ฌาคส์ โซนิแยร์ ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และประมุขแห่งสมาคมไพรเออรีออฟไซออน ถูกซิลาส นักบวชผิวเผือกผู้ทำงานให้กับบุคคลลึกลับที่ใช้ชื่อว่า \"ท่านอาจารย์\" ยิงเสียชีวิต มีคนพบร่างเขาในสภาพนอนกางแขนขาคล้ายภาพ \"วิทรูเวียนแมน\" และมีรูปดาวห้าแฉกอยู่บนตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเรียกโรเบิร์ต แลงดอน ศาสตราจารย์ด้านสัญลักษณ์วิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งในขณะนั้นมาบรรยายที่กรุงปารีสมาช่วยไขปริศนา",
"title": "รหัสลับดาวินชี"
},
{
"docid": "11601#7",
"text": "สเตร๊าสส์เสียชีวิตที่กรุงเวียนนา ในปี พ.ศ. 2392 จากโรคไข้แดง (scalett fever) ศพของเขาถูกฝังที่สุสานเมืองโดบลิง (Döbling) ข้างกับแลนเนอร์ เพื่อนของเขา และก่อนปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ศพของทั้งสองได้ถูกย้ายไปที่หลุมฝังศพแห่งเกียรติยศที่เมืองเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ สุสานเมืองโดบลิงได้กลายเป็นสวน สเตร๊าสส์-แลนเนอร์ในปัจจุบัน เอกเตอร์ แบร์ลิออซ ได้ยกย่อง'บิดาของเพลงวอลซ์เวียนนา' ด้วยคำกล่าวที่ว่า 'กรุงเวียนนาที่ปราศจากสเตร๊าสส์ ก็เหมือนออสเตรียที่ปราศจากแม่น้ำดานูบ'",
"title": "โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "303689#3",
"text": "หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็พบรอยไม้ผุที่ทำให้ต้องรื้อคฤหาสน์ลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเฮสติงส์ วิลเลียม แซ็ควิลล์ รัสเซลล์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 12 เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1953 บุตรชายจอห์น โรเบิร์ต รัสเซลล์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 13 ผู้ประสบกับภาษีมรดกจำนวนมหาศาลสำหรับบ้านที่ถูกรื้อไปครึ่งหนึ่งและอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม แต่แทนที่จะยกคฤหาสน์ให้แก่องค์การเพื่อการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญและความสวยงามแห่งชาติ หรือ องค์การอนุรักษ์แห่งชาติ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดก็หาทางนำเงินมาช่วยในทำนุบำรุงและรักษาคฤหาสน์โดยการเปิดคฤหาสน์ให้สาธารณชนเข้าชมเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 เมื่อกลายเป็นนิยมทางคฤหาสน์ก็เพิ่มสิ่งต่างๆ ขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่รวมทั้งอุทยานซาฟารีเบดฟอร์ดที่เปิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970",
"title": "คฤหาสน์โวเบิร์น"
},
{
"docid": "352614#0",
"text": "เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส (ค.ศ. 1911 - 30 มีนาคม ค.ศ. 1960) เป็นชาวอเมริกันที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยทางการรัฐยูทาห์ในข้อหาฆาตกรรมคนงานเหมือง ชาร์ลส์ เมอร์รีฟิลด์ ใน ค.ศ. 1957 เขาได้กล่าวคำสุดท้ายก่อนหน้าการประหารชีวิตใน ค.ศ. 1960 โดยร้องขอเสื้อเกราะกันกระสุน การประหารด้วยทีมยิงของเขานับเป็นการประหารด้วยวิธีดังกล่าวครั้งสุดท้ายในสหรัฐอเมริกาก่อนจะถูกยับยั้งโดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา",
"title": "เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส"
},
{
"docid": "7156#4",
"text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดที่เมืองชรูซบรี ชรอพเชอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่บ้านของตระกูล คือเดอะเมานท์ เขาเป็นบุตรคนที่ห้าในจำนวนทั้งหมด 6 คนของครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน มารดาชื่อ ซูซานนา ดาร์วิน (สกุลเดิม เวดจ์วูด) เขาเป็นหลานของเอรัสมัส ดาร์วิน กับ โจสิอาห์ เวดจ์วูด ทั้งสองตระกูลนี้เป็นคริสตชนยูนิทาเรียน (Unitarian) ผู้เคร่งครัดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ตัวโรเบิร์ต ดาร์วิน นั้นเป็นคนหัวเสรี และให้ชาลส์บุตรชายไปรับศีลในโบสถ์ของนิกายแองกลิกัน แต่ชาลส์กับพี่น้องก็ไปเข้าโบสถ์ของยูนิทาริสต์กับมารดา เมื่อชาลส์อายุ 8 ขวบ ได้หลงใหลในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและเริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเข้าโรงเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1817 มารดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้น นับจากเดือนกันยายน ค.ศ. 1818 เขาก็ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนซรูซบรีอันเป็นโรงเรียนนิกายแองกลิกัน กับพี่ชายของตนคือ เอรัสมัส อัลวีย์ ดาร์วิน",
"title": "ชาลส์ ดาร์วิน"
},
{
"docid": "290810#1",
"text": "ทั้งนี้ เดอะเรฟ เสียชีวืตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ที่บ้านพักของตัวเอง ใน แคลิฟอร์เนียตอนใต้ อย่างไรก็ดีในช่วงที่ ชัลลิแวน เสียชีวิตใหม่ๆ ยังไม่มีใครระบุได้ว่า มือกลอง รายนี้ เสียชีวิตด้วยสาเหตุอะไร แต่ล่าสุดนิตยสาร โรลลิ่ง สโตน อ้างรายงานของ นักพิษวิทยา ซึ่งให้ข้อสังเกตว่า ซัลลิแวน น่าจะเกิดอาการช็อก จากอาการทำงานของยาอย่างเฉียบพลัน ซึ่งในร่างกายของมือกลอง พบการทำงานของสารเคมีหลายประเภท ได้แก่ ออกซิโคโดน (ยาแก้ปวดสกัดจากฝิ่น) ออกซิมอร์ฟีน ยาแก้ปวดที่สกัดจากมอร์ฟีน ไดอะซีแพม/นอร์ดาซีแพม ยาคลายเครียด และเอทานอล",
"title": "เดอะเรฟ"
},
{
"docid": "763676#2",
"text": "ภรรยาคคนแรกของเดวิส ซาราห์ น็อกซ์ เทย์เลอร์ เสียชีวิตจากมาลาเรียสามเดือนหลังการสมรส และเขาเผชิญกับคราวเป็นซ้ำของโรค เขาสุขภาพไม่ดีเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต เมื่ออายุ 36 ปี เขาสมรสอีกครั้งกับวารินา โฮเวลล์วัย 18 ปี คนพื้นเมืองแนตเชสผู้ได้รับการศึกษาในฟิลาเดลเฟียและมีความสัมพันธ์ครอบครัวบ้างในภาคเหนือ ทั้งสองมีบุตรหกคน มีเพียงสองคนที่รอดชีวิต และมีคนเดียวที่แต่งงานและมีบุตร",
"title": "เจฟเฟอร์สัน เดวิส"
},
{
"docid": "948604#5",
"text": "ฟรีดริช ฟอน ชิลเลอร์เสียชีวิตในตอนเย็นของวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1805 ในบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ชาร์ล็อตยังคงอาศัยในบ้านหลังนั้นกับลูกอีก 4 คน จนกระทั่งเมื่อลูกๆ เริ่มออกไปอยู่นอกบ้าน จึงปล่อยห้องให้เช่า ชาร์ล็อตเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1826 ต่อมาในปี ค.ศ. 1827 ลูกๆได้ขายบ้านให้กับนักพฤกษศาสตร์ โยฮัน คริสตอฟ ก็อทโลบ ไวเซอ เขายกบ้านนี้ให้กับภรรยา และของตกแต่งบ้านบางส่วนได้ถูกนำมาขายทอดตลาด",
"title": "บ้านชิลเลอร์ เมืองไวมาร์"
}
] |
2351 | เมืองหนองบัวลุ่มภู คือจังหวัดใดในปัจจุบัน ? | [
{
"docid": "756294#0",
"text": "ชื่อเดิมบ้านลุ่มมีวัดเก่าแก่ชื่อหายโศก มีพระเจ้าใหญ่ศรีวิชัยประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ สมัยรัชกาลที่ 5 มีชื่อเรียกขานขนามนามเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ แต่เปลี่ยนเป็นบ้านลำภู ในภายหลังประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว หมู่บ้านและวัดเก่าแก่ จึงเป็นเหตุให้ตั้งชื่อเป็นหนองบัวลุ่มภู ปัจจุบันเรียกขานนามใหม่เป็นหนองบัวลำภู",
"title": "ตำบลลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู)"
},
{
"docid": "6933#5",
"text": "ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์) ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางเและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง และยกฐานะเป็นเมือง \"เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน\" มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า \"หนองบัวลุ่มภู\" ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง",
"title": "จังหวัดหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "6933#10",
"text": "ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง\"หนองบัวลุ่มภู\"ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขังปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า \"ข้าหลวงเมืองลาวกาว\" เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า \"ข้าหลวงเมืองลาวพวน\" และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า \"ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว\" หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง \"พระวิชดยดมกมุทเขต\" มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า \"เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์\" และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมืองปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทธาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น \"เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน\"ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า \"เมืองอุดรธานี\" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 2491 2. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 3. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 (ส่วนกิ่งอำเภอนาวังแยกออกมาจากกิ่งอำเภอนากลางอีกต่อหนึ่ง) ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536",
"title": "จังหวัดหนองบัวลำภู"
}
] | [
{
"docid": "306689#0",
"text": "เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ในอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ครอบคลุมตำบลลำภูทั้งตำบล บางส่วนของตำบลหนองบัว และบางส่วนของตำบลโพธิ์ชัย รวมพื้นที่ 39.5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 21,613 คน",
"title": "เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "306689#1",
"text": "สำนกงานเทศบาลเมืองหนองบัวลำภูตั้งอยู่ถนนบ้านจิก-ดอนหัน ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่เขตเทศบาลจำนวน 39.5 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 3 ตำบล 33 ชุมชน มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้",
"title": "เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "306689#2",
"text": "สภาพพื้นที่เทศบาลเมืองหนองบัวลำภูพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบางส่วนเป็นที่ลาดต่ำ เชิงเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับภูเขา มีพื้นที่ลาดลงไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ในเขตเทศบาลมีหนองน้ำสาธารณะตั้งอยู่ใจกลางเมือง ซึ่งสร้างเป็นสวนสาธารณะและสวนสุขภาพ หนองบัว มีพื้นที่ 147.6 ไร่ นอกจากนั้นในเขตเทศบาลยังมีห้วย ลำพะเนียง ซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปีและยังมีลำคลองอื่นๆ ซึ่งจะมีน้ำในฤดูฝน เช่น ห้วยเชียง ห้วยโก ห้วยลึก ห้วยใหญ่ ห้วยนาวังเงิน",
"title": "เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "6933#21",
"text": "เครื่องปั้นดินเผา คือ เอาดินเหนียวมาตีและปั้นเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย จังหวัดหนองบัวลำภูมีมรดกทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ประมาณ 3,500 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว จากการขุดค้นโดยชาวบ้านก่อนพุทธศักราช 2514 กรมศิลปกรขุดค้นเพื่อการศึกษาในพุทธศักราช 2538 ที่ป่าพร้าว บ้านกุดคำเมย ตำบลกุดดู่ และบ้านโนนกล้วย (ดอนกลาง) บ้านกุดกวางสร้อย อำเภอโนนสัง ปัจจุบันการปั้นดินเผามีอยู่ที่บ้านโค้งสวรรค์ ตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู เครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวจะทำเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะใช้ประกอบพิธีกรรม",
"title": "จังหวัดหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "6933#12",
"text": "จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 45 ลิปดา ถึง 17 องศา 40 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 57 ลิปดา ถึง 102 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 518 กิโลเมตร จังหวัดหนองบัวลำภู มีขนาดพื้นที่ประมาณ 3,859.062 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,411,928.74 ไร่ ขนาดพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 2.27 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 106,392,250 ไร่ และคิดเป็นร้อยละ 0.75 ของประเทศ) จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลาดตื้นถึงลาดลึก แล้วลาดลงไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร ทางตอนบนของจังหวัดจะเป็นพื้นที่ภูเขาสูง โดยยอดดอยหรือภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด ได้แก่ ดอยผาเวียง ภูสามยอดโดยสูงเฉลี่ย 900 เมตร และเป็นต้นน้ำสายย้อยต่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและลูกรังไม่สามารถเก็บกักน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง",
"title": "จังหวัดหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "6933#1",
"text": "จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง",
"title": "จังหวัดหนองบัวลำภู"
},
{
"docid": "718510#5",
"text": "บริเวณที่ตั้งของตัวอำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน ครั้งอดีตเป็นชุมชนโบราณและเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กนามว่า บ้านไผ่ สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนในเขตการปกครองของเมืองเวียงคุกหรือเวียงคุคำซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญขนาดใหญ่ของราชอาณาจักรล้านช้างในทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมื่อกองทัพสยามยกทัพมาต่อสู้กับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๔๗๑ และตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายพานพร้าว เขตเมืองพันพร้าว ฝั่งตรงข้ามกับนครเวียงจันทน์ ภายหลังจากสยามหลงกลทัพของเจ้าอนุวงศ์จึงละทิ้งค่ายพานพร้าวมาตั้งมั่นที่ ค่ายบกหวาน ซึ่งห่างจากค่ายพานพร้าวมาทางใต้ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ภายหลังเมื่อสยามรบชนะทัพเจ้าอนุวงศ์จึงมีการตั้งเมืองใหม่บริเวณค่ายบกหวานแทนที่เมืองเวียงจันทน์เดิม ซี่งกองทัพไทยได้ทำลายจนไม่เหลือสภาพให้เป็นที่ตั้งมั่นของชาวลาวล้านช้างได้อีกต่อไป สยามเห็นว่าค่ายบกหวานเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมในการย้ายฐานการปกครองจากเมืองเวียงจันทน์มายังชัยภูมิแห่งใหม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำลายราชวงศ์เวียงจันทน์และทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงแล้ว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ว่าที่สมุหนายกมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นแทนที่เมืองเวียงจันทน์ในคราวนั้นด้วย สันนิษฐานว่า โหราจารย์ฝ่ายสยามได้ผูกศัพท์นามเมืองเป็นฤกษ์ชัยโดยใช้ชื่อค่ายบกหวานใกล้บ้านไผ่เป็นนิมิตนามเมือง ค่ายบกหวานเป็นสถานที่ไม่ติดแม่น้ำ ทหารจึงต้องอาศัยน้ำจากหนองบึงค่ายมาอุปโภคบริโภค สันนิษฐานว่าหนองบึงนั้นคงเรียกกันในคราวนั้นว่า บึงค่าย หรือ หนองค่าย ด้วยเป็นสถานที่ตั้งค่ายของกองทัพสยามวึ่งใช้รบชนะทัพเวียงจันทน์ถึงสองครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ และ พ.ศ. ๒๓๗๑ สยามจึงตั้งนามเมืองใหม่แห่งนี้ว่า เมืองหนองค่าย ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น เมืองหนองคาย สยามได้ใช้รูปดอกบัวซึ่งเป็นไม้พุทธอาสน์หรืออาสนะพระพุทธเจ้าและเป็นไม้น้ำตามนิมิตชื่อเมืองหนองค่ายมาเป็นตราประจำเมือง ส่วนราชทินนามของเจ้าเมืองที่ พระปทุมเทวาภิบาล นั้นแปลว่า ดอกบัวที่มีเทวดารักษาอยู่ สันนิษฐานว่า เป็นราชทินนามที่ตั้งให้พ้องกับราชทินนามเจ้าเมืองอุบลราชธานี และให้พ้องกับนามเมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองบรรพบุรุษของพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา)",
"title": "พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)"
}
] |
2356 | พระคัมภีร์ของศาสนาพุทธเรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "806278#2",
"text": "คำสอนของพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในคัมภีร์ที่แบ่งออกเป็น 3 ภาคคือพระไตรปิฎก โดยปิฎกที่สามเป็นพระอภิธรรม พระภิกษุโพธิ (Jeffrey Block) ภิกษุเถรวาทสายศรีลังกาชาวอเมริกันผู้เป็นประธานของ Buddhist Publication Society (สมาคมสิ่งตีพิมพ์พุทธ) ให้ภาพรวมของพระอภิธรรมดังต่อไปนี้ คือ\nการยอมรับคัมภีร์อภิธรรมทางด้านจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ของชาวตะวันตก จึงเริ่มต้นเกินกว่าศตวรรษก่อนเพราะงานของนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษ",
"title": "ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา"
},
{
"docid": "39433#0",
"text": "อรรถกถา (; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา",
"title": "อรรถกถา"
},
{
"docid": "599024#0",
"text": "พระไตรปิฎก (; ) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า \"ไตรปิฎก\" แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ\nคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในยุคแรกเรียกว่าพระธรรมวินัย จนกระทั่งการสังคายนาครั้ง 3 จึงแยกเนื้อที่เกี่ยวกับปรมัตถธรรมออกมาเป็นอีกหมวดหนึ่งเรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก",
"title": "พระไตรปิฎก"
}
] | [
{
"docid": "605144#0",
"text": "อัฏฐสาลินี หรืออรรถสาลินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก ผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรีย์ ซึ่งนอกจากจะอธิบายคำและศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยา เจตสิก รูป นิพพาน ทางพระพุทธศาสนาในธัมมสังคณีแล้ว ยังให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์อีกด้วย ทั้งนี้ คัมภีร์อัฏฐสาลินีเป็นที่นิยมศึกษากันมากในหมู่นักศึกษาพระอภิธรรม และเป็นหนึ่งในผลงานของพระพุทธโฆสะที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด",
"title": "อัฏฐสาลินี"
},
{
"docid": "841202#1",
"text": "สำนักอภัยคีรีวิหารเป็นแหล่งต้นตอในการสร้างหนังสือปกรณ์วิเศษ ชื่อ วิมุตติมรรค อันเป็นคัมภีร์หนึ่งที่มีความสำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท คณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูของสำนักอภัยคีรีวิหาร ชื่อ พระอุปติสสะเถระ ผู้รจนาคัมภีร์วิมุตติมรรคไว้เป็นแบบ และพระสังฆมิตตเถระผู้โต้วาทีมีชัยชนะเหนือคณะสงฆ์สำนักมหาวิหาร และเหตุการณ์ในสมัยนั้นยังปรากฏว่าพระจักรพรรดิจีนได้จัดราชทูตมาทูลขอภิกษุณีสงฆ์สำนักอภัยคีรีวิหารไปเพื่อประดิษฐานพระศาสนาด้วย พระเถรีผู้เป็นหัวหน้าคณะภิกษุณีในครั้งนี้คือพระเทวสาราเถรี พระภิกษุณีสงฆ์ในสายนี้มีการสืบต่อกันเรื่อยมาในชื่อว่านิกายธรรมคุปต์ และได้มีวัดภิกษุณีแห่งแรกในประเทศจีน ที่พระจักรพรรดิถวายนามว่าวัด วินฟุ (Vinfu Monastery)",
"title": "วัดอภัยคีรีวิหาร"
},
{
"docid": "65923#8",
"text": "สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า \"อุปวตฺตนสาลวนํ\" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน",
"title": "วันอัฏฐมีบูชา"
},
{
"docid": "570533#0",
"text": "พระไตรปิฎกทิเบต หมายถึงคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่ได้รับการแปล และเขียนขึ้นในภาษาทิเบต ทั้งนี้ คำว่า พระไตรปิฏกที่ใช้ในบริบทนี้ มิได้หมายความว่า พุทธศาสนาแบบทิเบตแบ่งพระธรรมวินัยออกเป็น 3 หมวดหมู่ หรือ 3 ตะกร้า ตามธรรมเนียมของฝ่ายเถรวาท แต่เป็นการใช้คำว่าพระไตรปิฎกเพื่อเรียกคัมภีร์ทางพุทธศาสนาโดยรวม ที่พุทธศาสนาฝ่ายทิเบต หรือนิกายวัชรยานใช้ศึกษาพระธรรมวินัย อันประกอบด้วยพุทธวจนะ และปกรณ์ที่รจนาโดยพระคันถรจนาจารย์ต่างๆ",
"title": "พระไตรปิฎกภาษาทิเบต"
},
{
"docid": "172534#1",
"text": "ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้มากมายนับไม่ได้ สาเหตุที่ท่านแสดงไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้ปัญญาเจริญนั่นเอง. ในอภิธัมมัตถสังคหะนั้นจัดไว้ ๒ หมวด คือ อัตถบัญญัตติ (กสิณปฏิภาคนิมิตเป็นต้น) กับ นามบัญญัตติ (ชื่อว่า \"ต้นไม้\" เป็นต้น). อนึ่ง นามบัญญัติ ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัททบัญญัติ.ลำดับวาระดังนี้: วาระที่เห็นสี เป็นวาระจักขุทวารวิถี ทางปัญจทวาร, วาระต่อเนื่องกันที่คิดถึงสี เป็นวาระอตีตัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงสีโดยไม่จำแนกรายละเอียด เป็นวาระสมูหัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงกลุ่มก้อนของสี เป็นวาระอัตถัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงคำเรียกขานของสี หรือของกลุ่มก้อนของสี เป็นวาระนามัคคหณวิถี ทางมโนทวาร. อนึ่งวาระทางมโนทวารทั้งหมดข้างต้น สมัยนี้นิยมเรียกว่า \"ตทนุวัตติกะมโนทวาร\".การแปลเรื่องบัญญัติมักมีการแปลที่ผิดหลักความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ คือ แปลให้บัญญัติกลายเป็นปรมัตถ์ เช่น แปลว่า \"บัญญัติอาศัยปรมัตถ์เกิดขึ้น\" เป็นต้น ซึ่งเป็นการแปลที่ขัดกับข้อเท็จจริงตามหลักปัฏฐานที่ว่า บัญญัติเป็นได้แค่อารัมมณปัจจัยเท่านั้น บัญญัติไม่สามารถเป็นปัจจยุปบันได้เลย แต่เมื่อแปลให้เกิดความเข้าใจไปว่า บัญญัติสามารถอาศัยปรมัตถ์ได้ ก็จะทำให้บัญญัติกลายเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ขึ้นมาทันที ทั้งๆ ความจริงแล้วบัญญัติเป็นปัจจยุปบันไม่ได้ตามหลักปัฏฐาน.",
"title": "บัญญัติ (ศาสนาพุทธ)"
},
{
"docid": "598321#3",
"text": "ในด้านผลงานเกี่ยวกับพุทธศาสนา คัมภีร์คันธวงศ์ ระบุว่า พระธัมมปาละเป็นผู้รจนาคัมภีร์ต่าง ๆ ถึง 14 คัมภีร์ ผลงานสำคัญนอกเหนือจากปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกายแล้ว ยังมีคัมภีร์เนตติปกรณ์อรรกถา ซึ่งเป็นงานเขียนอธิบายคัมภีร์เนตติปกรณ์ ซึ่ง แต่งในสมัยพุทธกาล โดยพระมหากัจจายนะ โดยในนิคมคาถาของเนตติปกรณ์อรรกถา ท่านผู้รจนาระบุว่า ได้แต่งคัมภีร์นี้ขึ้นที่วัดธัมมาโศก มหาราชวิหาร ที่เมืองนาคปัตตินัม อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนชี้ว่า วัดแห่งนี้อาจมิได้อยู่ที่เมืองนาคปัตตินัม ในอินเดียใต้ แต่ท่านผู้รจนาหมายถึงวัดดัมบุลละ ในศรีลังกา ซึ่งท่านเคยพำนัก โดยแต่ไรมาผู้คนมักเรียกวัดแห่งนี้ว่ามหาราชวิหาร",
"title": "พระธัมมปาละ"
},
{
"docid": "468711#0",
"text": "พระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท",
"title": "พระพุทธโฆสะ"
},
{
"docid": "20838#59",
"text": "สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า \"อุปวตฺตนสาลวนํ\" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน",
"title": "วันวิสาขบูชา"
}
] |
2357 | เดอะซิมส์ 2 เป็นเกมคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "95098#2",
"text": "เดอะซิมส์ 2 สร้างขึ้นต่อจากเกมเดอะซิมส์เวอร์ชันแรก โดยภาพของเกมนี้จะใช้กราฟิก 3D ช่วยทำให้เกมดูน่าเล่นขึ้นกว่าเดิม วางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และกลายเป็นเกมชุดที่ประสบความสำเร็จตลอดมา โดยสามารถขายเกมนี้ออกได้ 1,000,000 ก๊อปปี้ใน 10 วันแรก ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของเดอะซิมส์ 2 จึง ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ และเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกมเดอะซิมส์ขายออกได้มากกว่า 13 ล้านหน่วยทั่วโลกและเป็นเกมที่ขายดีที่สุดในปี 2004 (พ.ศ. 2547) และเนื่องจากเกมชุดเดอะซิมส์ 2 สามารถขายออกได้มากกว่า 100 ล้านสำเนา จึงได้มีการฉลองยอดขายในเว็บไซต์เดอะซิมส์ 2 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ต่อมา ทาง EA ได้ประกาศถึงการออกวางจำหน่ายของเกมเดอะซิมส์ 3 ภาคต่อของเดอะซิมส์ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และได้กำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) นี้",
"title": "เดอะซิมส์ 2"
}
] | [
{
"docid": "246159#8",
"text": "ภาคเสริมตัวแรกของเดอะซิมส์ 3 มีชื่อว่า เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งพัฒนาโดย The Sims Division ได้วางจำหน่ายแล้ว รวมถึงชุดไอเท็มเสริม ไฮ-เอนด์ ลอฟท์ ซึ่งเป็นชุดไอเท็มเสริมที่ครบรอบ 10 ปี เกมเดอะซิมส์ ได้แถมไอเท็มจากเดอะซิมส์ และเดอะซิมส์ 2 ได้วางจำหน่ายแล้ว และภาคเสริมล่าสุดคือ เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ และนอกจากนี้ยังมีสิ่งของเพิ่มเติมให้ดาวน์โหลดอีกใน The Sims 3 Store",
"title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "246159#3",
"text": "เดอะซิมส์ () เป็นเกมแรกในตระกูลเดอะซิมส์ เดิมวางจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 มีภาคเสริมทั้งหมด 7 ภาค (รวมกับตัวหลักแล้วมีทั้งหมด 8 ภาค) ซึ่งภาคเสริมเหล่านี้ถูกนำไปจัดรวมเป็นกล่องเดียวกับภาคหลัก หรือภาคเสริมด้วยกันในหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการผลิตในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น เพลย์สเตชัน 2, เกมบอย แอดวานซ์ ฯลฯ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 มีรายงานว่าเกมเดอะซิมส์มียอดจำหน่ายไปมากกว่า 6.3 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก และยังเป็น เกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประวัติศาสตร์ แซงหน้าเกมมิสท์ที่มียอดจำหน่ายเท่ากันในเวลานั้นอีกด้วย",
"title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "56147#0",
"text": "เดอะซิมส์ 3 () เป็นเกมจำลองวางแผนการใช้ชีวิต ในเกมชุด เดอะซิมส์ โดยแต่เดิมพัฒนาโดย แม็กซิส วางจำหน่ายสำหรับเครื่อง ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ แมคอินทอช วันที่ 2 มิถุนายน 2009 ในอเมริกาเหนือ , 4 มิถุนายน 2009 ในออสเตรเลีย, และ 5 มิถุนายน 2009 ในยุโรป และเดอะซิมส์ 3 เวอร์ชันคอนโซล ได้แก่เครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, นินเทนโด วี และ นินเทนโด ดีเอส ซึ่งจะวางจำหน่ายในวันที่ 26 ตุลาคม 2010 และ นินเทนโด ทรีดีเอส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งเกมจะแสดงผลเป็นภาพ 3D",
"title": "เดอะซิมส์ 3"
},
{
"docid": "116728#0",
"text": "เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ เป็นภาคเสริมตัวที่ 6 ของเกมส์ \"เดอะซิมส์ 2\" เป็น PC games วางจำหน่ายในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550 ใน อเมริกาเหนือ และออกในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 7 ภาคเสริมนี้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวไปต่างประเทศ เปิดโลกสู่นักท่องเที่ยว ภาคเสริมนี้เปรียบเสมือน \"เดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน\" (The Sims: Vacation) เป็นภาคเสริมเกมต้นตำหรับภาคแรกของเกมเดอะซิมส์แต่เดอะซิมส์ 2 มีภาคเสริมนี้ชื่อว่า \"The Sims 2: Bon Voyage\" และมีคุณสมบัติดังนี้",
"title": "เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์"
},
{
"docid": "95098#0",
"text": "เดอะซิมส์ 2 () เป็นเกมคอมพิวเตอร์ประเภทแบบจำลองชีวิตคน () เป็นเกมส์ภาคต่อจากเกมส์ เดอะซิมส์ ภาคแรก พัฒนาโดย แมกซิส และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอิเล็กโทรนิคอาร์ต () เป็นเกมส์จำลองเช่นเดียวกับภาคแรกซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยมีมาร์ก มาเธอร์สบาฟ เป็นผู้แต่งเพลงประกอบเกมนี้ ตัวละครที่อยู่ในเกมเดอะซิมส์ (ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง) นั้นเรียกว่า ชาวซิมส์",
"title": "เดอะซิมส์ 2"
},
{
"docid": "246159#7",
"text": "\"เดอะซิมส์ 3\" นั้นทางอีเอได้ประกาศอย่างเป็นการแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549. มีวางจำหน่ายไปทั่วโลกและจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอล ดาวน์โหลด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 การผลิตของ \"เดอะซิมส์ 3\" นั้นเริ่มต้นหลังจากที่ \"เดอะซิมส์ 2\"จำหน่ายไปได้ 2 ปีกว่า โดยตัวเกมนั้นจะถูกย้อนไปเมื่อ 25 ปีก่อนจากตัวเกมเดอะซิมส์, โดยเกมนี้ได้เปิดโอกาสให้สามารถเดินไปไหนต่อไหนได้โดยที่ไม่รอยต่อ และได้ปรับปรุงหน้าจอผู้ใช้ ซึ่งในภาคสามนี้จะมีภาคเสริมอื่นๆอีกในอนาคต",
"title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "264905#13",
"text": "'เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม แมนชั่นเคียงสวน' เป็นชุดไอเท็มเสริมตัวที่ 9 และเป็นชุดสุดท้ายของชุดไอเท็มเสริมของเกม \"เดอะซิมส์ 2\" ชื่อแผ่นจะเขียนว่า EP9 และเป็นเกมชุดสุดท้ายที่เกมนี้สามารถเล่นได้บน วินโดวส์ 98 และ วินโดวส์ 2000 ได้วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ส่วนทวีปยุโรปและออสเตรเลีย วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สำหรับชุดไอเท็มเสริมนี้จะเป็นพวกของตกแต่งสวนนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดอกไม้ ป่า และเห็ดยักษ์ นอกจากนี้ยังมีหลังคาแบบใหม่ และมีสิ่งของที่อยู่ตามแบบต่างๆอยู่ 3 รูปแบบคือ : Moroccan, Art Deco, และ Second Empire",
"title": "เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม"
},
{
"docid": "607855#0",
"text": "เดอะซิมส์ 4 () เป็นเกมจำลองชีวิต รุ่นที่ 4 ในตระกูล เดอะซิมส์ ถูกประกาศเริ่มทดสอบระบบในปี พ.ศ. 2556 โดยทางอีเอได้ประกาศที่งานอิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอกซ์โป หรือ E ว่าจะวางจำหน่ายในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557 สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และในโอเอสเทน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 เดอะซิมส์ 4 เป็นเกมพีซีแรกที่ทำยอดขายชนะเกมในเครื่องเล่นคอนโซลชนิดอื่น ๆ ในรอบ 2 ปี และยอดขาย 408,150 ชุด ใน 4 วันแรกนับตั้งแต่วันที่จำหน่าย และในเดือนพฤศจิกายนก็ทำยอดขายได้ทะลุ 1.10 ล้านชุดทั่วโลก ตัวเกมนั้นต่างได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าเดอะซิมส์ภาคก่อนหน้าก็ตาม และยังถูกจัดจากแฟนคลับว่าเป็นเกมส์ที่ชาวซิมส์โดนฆ่ามากที่สุดอีกด้วย",
"title": "เดอะซิมส์ 4"
},
{
"docid": "264905#8",
"text": "เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม ฟู่ฟ่าปาร์ตี้ เป็น\"ชุดไอเท็มเสริม\"ตัวที่สี่ของเกม เดอะซิมส์ 2 จัดจำหน่ายโดย EA. ชุดไอเท็มเสริมฟู่ฟ่าปาร์ตี้ได้ประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยประกาศผ่านใบปลิวที่สอดมากับเกม \"เดอะซิมส์ 2 สี่ฤดูแสบ\" ภาคเสริม จัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 มีคอลเลคชันใหม่รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์และเสื้อผ้าสำหรับงานแต่งงาน และงาน วันเกิด ในชุดไอเท็มเสริมมีบ้านที่เกมสร้างให้ 2 หลัง และมีสิ่งของทั้งหมด 54 ชิ้น และนอกจากนี้ \"ชุดไอเท็มเสริม ฟู่ฟ่าปาร์ตี้\"' ได้ถูกรวมไว้กับชุด ดับเบิล เดอลุกซ์ ซึ่งมาพร้อมกับ \"เดอะซิมส์ 2\" ตัวหลัก และ \"เดอะซิมส์ 2 ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา\" ภาคเสริม",
"title": "เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม"
}
] |
2360 | ภาพยนตร์เรื่องแรกของเจ็ท ลี คืออะไร? | [
{
"docid": "81083#4",
"text": "หลังจากหลี่เป็นโค้ชทีมชาติมานานหลายปี เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี เขาก็ถูกแมวมองดึงให้มาเป็นพระเอกหนังเรื่อง \"Shaolin Temple\" (1982) โดยหนังเรื่องนี้เป็นงานแจ้งเกิดให้เขาอย่างเต็มตัว แต่ภาคต่อของหนังชุดนี้คือ \"Shaolin Temple 2 : Kids from Shaolin\" (1984) และ \"Martial Arts of Shaolin\" (1986) กลับไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นหลี่ก็กำกับหนังของตนเองเป็นครั้งแรกกับเรื่อง \"Born to Defence\" (1988) แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอีก\nพ.ศ. 2553 นิตยสาร TIME จัดให้ Jetli เป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก ประจำปี 2010",
"title": "หลี่ เหลียนเจี๋ย"
}
] | [
{
"docid": "110604#2",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องแรกของบรูซ ลี ที่ได้ฉายโรงในอเมริกาคือ Xi lu xiang หรือ My Son, Ah Chung (1950) ตอนที่เขายังอายุสิบขวบ จากนั้นลีแสดงภาพยนตร์มาตลอด เขาได้เข้าร่วมเป็นดารารับเชิญในทีวีมาตั้งแต่ปี 1966 รวมถึงเรื่อง The Green Hornet หรือ เพชฌฆาตหน้ากากแตน ที่เคยฉายในเมืองไทยสมัยก่อน แต่ภาพยนตร์ที่โด่งดังในอเมริกาคือ Tang shan da xiong หรือ The big boss ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (หนังปี 1971 ฉายในอเมริกาปี 1972)",
"title": "บรูซ ลี"
},
{
"docid": "152948#4",
"text": "ต่อมาในปี 1999 เขาได้ก่อตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ บริษัท เนเชอรัล ไนล่อน ร่วมกับเพื่อนนักแสดงอย่าง จอนนี่ ลี มิลเลอร์, อีวาน แมคเกรเกอร์ และ ฌอน เพิร์ทวี และภรรยาของเขา ฟรอสต์ สร้างภาพยนตร์เรื่องแรกคือ \"eXistenZ\" ซึ่ง ลอว์ แสดงคู่กับ เจนนิเฟอร์ เจสัน ลี และในปีต่อมาเขาได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในฐานะนักแสดงสมทบยอดเยี่ยม จากบท ดิคกี้ กรีนลีฟ เรื่อง \"The Talented Mr. Ripley\" ซึ่งเขาประชันบทกับแมทท์ เดมอน, กวินเน็ธ พัลโทรว์ และเคต แบลนเชตต์",
"title": "จู๊ด ลอว์"
},
{
"docid": "76722#4",
"text": "ต่อมาในปีพ.ศ. 2546 อั้มได้มีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่อง \"เฟค โกหกทั้งเพ\" ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ และละครเรื่อง \"โซ่เสน่หา\" ในบท \"ปราลี\" หญิงสาวที่รับจ้างตั้งท้อง ทำให้เธอได้รับรางวัล ท็อปอวอร์ด 2003 และยังได้รับรางวัลชมเชย จาก Asian Television Awards 2004 ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และในปีพ.ศ. 2548 กับบท \"ปาริฉัตร\" ในละคร \"เพลิงพายุ\" ละครที่มีเนื่อหาเข้มข้นร้อนแรง ถึงขนาดนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นยังพูดถึงบอกว่า จะรีบกลับไปดู บวกกับกระแสวิพากย์วิจารณ์ของสื่อถึงการแต่งตัวของอั้มที่ไม่เหมาะสมในละคร ส่งผลให้ละครเรื่องนี้กลายเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในปีนั้น และทำให้อั้มกลายมาเป็นนางเอกแถวหน้าของวงการ มีผลงานละคร อีเว้นท์ โฆษณา ออกมาไม่ขาด",
"title": "พัชราภา ไชยเชื้อ"
},
{
"docid": "209829#2",
"text": "อลัน ลี และ จอห์น ฮาว ได้ร่วมงานกันเป็นหัวหน้าทีมออกแบบศิลป์ให้กับภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ ปีเตอร์ แจ็คสัน โดยเป็นผู้ออกแบบฉากต่างๆ มากมายในเรื่อง รวมถึงออกแบบวัตถุสิ่งของและอาวุธของตัวละครต่างๆ ด้วย ปี ค.ศ. 2004 อลัน ลี ชนะเลิศรางวัลอคาเดมี (รางวัลออสการ์) สำหรับสาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยมจากผลงานภาพยนตร์ไตรภาคเรื่องนี้ ลียังเป็น conceptual designer ให้กับภาพยนตร์แฟนตาซีอื่นๆ อีกมาก เช่น อีริคเดอะไวกิ้ง คิงคอง และ ตำนานแห่งนาร์เนีย รวมถึงภาพยนตร์ซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง เมอร์ลิน",
"title": "อลัน ลี"
},
{
"docid": "5148#14",
"text": "พ.ศ. 2546 ผลงานเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จคือภาพยนตร์เรื่อง \"องค์บาก\" ซึ่งทำรายได้เฉพาะในประเทศไทย 200 ล้านบาท ติดบ็อกซ์ออฟฟิซ อันดับ 1 หลายประเทศในทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกา, และทวีปยุโรป รวมถึงบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด ทำให้เขาได้รับความสนใจจากบริษัทโกลเด้นฮาร์เวสท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างให้บรูซ ลีมีชื่อเสียง ได้ทาบทามให้มาร่วมงานด้วย ส่งผลให้เขากลายเป็นนักแสดงไทยที่ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัล และมีอิทธิพลด้านต่าง ๆ ในวงการแสดงระดับโลก",
"title": "ทัชชกร ยีรัมย์"
},
{
"docid": "341845#1",
"text": "ในระหว่างการถ่ายทำไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร บรูซ ลี ยังได้รับการเสนอให้เป็นดารานำในภาพยนตร์เรื่องไอ้หนุ่มซินตึ๊ง มังกรประจัญบาน ซึ่งเป็นภาพยนตร์กังฟูเรื่องแรกที่จัดสร้างโดยสตูดิโอฮอลลีวูด ด้วยงบประมาณเป็นประวัติการณ์สำหรับภาพยนตร์แนวนี้ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่บรูซ ลีไม่อาจปฏิเสธได้ แต่บรูซ ลีได้เสียชีวิตลงด้วยอาการสมองบวมก่อนที่จะมีการจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าว ก่อนช่วงระหว่างที่เขาเสียชีวิตไม่นานนี้เอง บรูซ ลีได้มีแผนที่จะจัดถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร อยู่ก่อนแล้ว",
"title": "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร"
},
{
"docid": "993832#1",
"text": "ผลงานชิ้นแรกของเขาคือภาพยนตร์เรื่อง \"\" (2541) ซึ่งเป็นผลงานการกำกับชิ้นแรกของเขาโดยสร้างจากนวนิยายชนะรางวัลของ \"\" จากนั้นเขาไปอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง \"Eviction\" (พ.ศ. 2542), ผีเสื้อร้อนรัก (พ.ศ. 2545), นาค รักแท้ วิญญาณ ความตาย (2548), \"\" (พ.ศ. 2549) และ ซอยคาวบอย (พ.ศ. 2551) ซึ่งได้ถูกคัดเลือกให้ไปฉายในหัวข้อ ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ของเขาคือ \"ศพไม่เงียบ\" () ภาพยนตร์ภาษาไทยแนว ปริศนา-ฆาตกรรม ซึ่งสร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกันโดย Nick Wilgus และ ภาพยนตร์ \"เพชฌฆาต\" (The Last Executioner) (พ.ศ. 2557)",
"title": "ทอม วอลเลอร์"
},
{
"docid": "342255#2",
"text": "อาชีพการแสดงของเขาเริ่มในปลายยุค 1960 เมื่อเขาได้ร่วมงานกับสตูดิโอชอว์บราเธอร์ ในค.ศ. 1969 เขาได้รับบทสำคัญครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง จ้าวยุทธจักร (Raw Courage) ซึ่งกำกับโดยหลอเว่ย ภายหลังจากการปรากฏตัวในภาพยนตร์ของชอว์บราเธอร์เป็นจำนวนมากแล้ว เขาก็ย้ายมาอยู่สังกัดโกลเด้นฮาร์เวสท์ และได้รับแสดงในบทของลูกพี่ลูกน้องของเฉาอันที่ บรูซ ลี แสดงในภาพยนตร์เรื่องไอ้หนุ่มซินตึ๊งในค.ศ. 1971 ตามมาด้วยการรับบทในภาพยนตร์ลำดับต่อไปของบรูซ ลี ซึ่งก็คือไอ้หนุ่มซินตึ๊ง ล้างแค้น และมีความตั้งใจที่จะเป็นดาราสมทบในภาพยนตร์ชุดไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกรด้วยเช่นกัน แต่บทบาทของเขาในภาพยนตร์ดังกล่าวก็ลดลงเนื่องด้วยการเสียชีวิตของบรูซ ลี ในค.ศ. 1973",
"title": "เจมส์ เทียน"
},
{
"docid": "176565#2",
"text": "เขาได้รับโอกาสให้แสดงภาพยนตร์ละครฟอร์มยักษ์เรื่องแรก คือ เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน ฝ่าสมรภูมินรก ก่อนที่จะได้แสดงประกบคู่กับ เบ็น แอฟเฟล็ค ในภาพยนตร์ดราม่าเรือง Boiler Room ก่อนที่เขาจะประสบความสำเร็จอย่างสูงในภาพยนตร์รถแข่งอย่าง \"เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส\" ที่ทำให้เขาขึ้นแท่นกลายเป็นนักแสดงชื่อดังทันที ที่สำคัญยังทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นภาพยนตร์ภาคต่อที่โด่งดังไปทั่วโลกโดยปัจจุบันมีไปแล้วถึง 8 ภาค ซึ่งตลอดทั้ง 8 ภาคนี้เขาไม่ได้แสดงแค่ภาค 2 เท่านั้น ส่วนภาค 3 ก็เป็นตัวประกอบ ที่เหลือเขาคือตัวหลักอย่างแท้จริง นอกจากนี้ก็ยังมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องที่สร้างชื่อให้กับเขา อาทิ XXX, XXX The Return of Xander Cage, A man Apart, The Chronicles of Riddick, The Chronicles of Riddick Dark Fury, The Pacifer, Riddick, Riddick Blindsided, Life is a Dream เป็นต้น",
"title": "วิน ดีเซล"
},
{
"docid": "95047#0",
"text": "โคตรรักเอ็งเลย () ผลงานกำกับภาพยนตรเรื่องแรกของภูพิงค์ พังสะอาด (พิง ลำพระเพลิง) มือเขียนบทละครและภาพยนตร์ชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของประเทศ โดยเล่าเรื่องของความรักในอีกมุมมองหนึ่ง และนำประสบการณ์ชีวิตของตนเองมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยได้เพื่อนรุ่นน้องร่วมสถาบันอย่าง โน้ส-อุดม แต้พานิช และเปิดโอกาสให้เขาเลือกนางเอกเอง โดยได้ ไหม-วิสา สารสาส มารับบทเป็นภรรยาของโน้สในภาพยนตร์",
"title": "โคตรรักเอ็งเลย"
}
] |
2362 | ประเทศอิตาลีติดกับประเทศฝรั่งเศสหรือไม่ ? | [
{
"docid": "1820#1",
"text": "ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย",
"title": "ประเทศฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "9941#2",
"text": "ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุก ๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ โดยอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียอันมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง ในเทือกเขาแห่งนี้มีภูเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก คือภูเขามอนเตบีอังโก () ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งของอิตาลีมีชื่อว่า เทือกเขาแอเพนไนน์ () พาดผ่านจากตอนกลางสู่ตอนใต้ของประเทศ แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลี รองลงมาคือเกาะซาร์ดิเนีย ทั้งสองแห่งสามารถเดินทางได้โดยทางเรือและทางเครื่องบิน",
"title": "ประเทศอิตาลี"
},
{
"docid": "9941#0",
"text": "อิตาลี (; \"อิตาเลีย\") มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (; ) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8",
"title": "ประเทศอิตาลี"
},
{
"docid": "72273#0",
"text": "อุทยานแห่งชาติวานวซ (; ) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสติดกับชายแดนประเทศอิตาลี เป็นอุทยานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดของฝรั่งเศส ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1963 มีเนื้อที่ประมาณ 528 ตารางกิโลเมตร หรือ 330,000 ไร่ ซึ่งติดกับอุทยานแห่งชาติกรันปาราดีโซ ของประเทศอิตาลี ภายในอุทยานประกอบไปด้วยเทือกเขา ธารน้ำแข็ง ทะเลสาบ และภูเขาสูงหลายลูก มีสัตว์นานาชนิดเช่น นก เหยี่ยว สุนัขจิ้งจอก กระต่ายภูเขา",
"title": "อุทยานแห่งชาติวานวซ"
}
] | [
{
"docid": "9941#30",
"text": "ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)",
"title": "ประเทศอิตาลี"
},
{
"docid": "1820#7",
"text": "ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงนิดเดียว ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาพิเรนีสทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี",
"title": "ประเทศฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "373756#11",
"text": "การติดต่อระหว่างกันในระบบการเงินโลกหมายความว่า หากประเทศหนึ่งผิดนัดชำระหนี้สาธารณะหรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมทำให้หนี้เอกชนภายนอกบางส่วนอยู่ในความเสี่ยง ระบบการธนาคารของประเทศเจ้าหนี้ก็เผชิญความสูญเสีย ตัวอย่างเช่น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ขอกู้ชาวอิตาลีเป็นหนี้ธนาคารฝรั่งเศสถึง 366,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สุทธิ) หากอิตาลีไม่อาจจัดหาเงินทุนให้ได้ ระบบการธนาคารและเศรษฐกิจฝรั่งเศสอาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งกรณีดังกล่าวเรียกว่า \"การแพร่ระบาดทางการเงิน\" อีกปัจจัยหนึ่งของการติดต่อระหว่างกัน คือ มโนทัศน์การคุ้มครองหนี้ สถาบันซึ่งเข้าสู่สัญญาเรียกว่า สวอปการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ซึ่งส่งผลให้ต้องจ่ายเงินหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นต่อตราสารหนี้โดยเจาะจง (รวมทั้งพันธบัตรที่รัฐบาลออก) แต่ ด้วยสามารถซื้อสวอปการผิดนัดชำระหนี้ได้หลายอันบนความปลอดภัยเดียวกัน จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความเสี่ยงใดที่ระบบการธนาคารแต่ละประเทศจำต้องสวอปการผิดนัดชำระหนี้",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "381387#2",
"text": "ทะเลลิกูเรียนมีอาณาเขตติดกับฝรั่งเศส อิตาลี และโมนาโก ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลติร์เรเนียน ขณะที่ทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมืองที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้คือเมืองเจนัว ชายฝั่งทะเลของอิตาลีด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศที่งดงามเหมาะแต่การท่องเที่ยว และมีภูมิอากาศทีสบาย",
"title": "ทะเลลิกูเรียน"
},
{
"docid": "9941#14",
"text": "ในกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกและโรมัน โดยเรียกว่า ยุคเรอเนซองส์ และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปยังตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบศักดินา แต่เมื่อเข้าปลายคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 15 อิตาลีได้ตกเป็นสมรภูมิแย่งชิงอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย กล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. 1494 พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้เปิดการโจมตีคาบสมุทร ซึ่งได้ดำเนินเรื่อยมาถึงกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และการโจมตีเพื่อแย่งการเป็นเจ้า ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน",
"title": "ประเทศอิตาลี"
},
{
"docid": "596908#2",
"text": "วันที่ 22 มิถุนายน มีการลงนามการสงบศึกระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ซึ่งส่งผลให้มีการแบ่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเยอรมนีจะยึดครองภาคเหนือและตะวันตก ส่วนอิตาลีควบคุมเขตยึดครองอิตาลีขนาดเล็กทางตะวันออกเฉียงใต้ และเขตที่ไม่มีการยึดครอง หรือเขตเสรี (zone libre) จะปกครองโดยัฐบาลวิชีที่เพิ่งตั้งโดยมีจอมพลเปแตงเป็นผู้นำ แต่ทว่าแม้ฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้สงครามครั้งนี้ แต่นายพลชาลส์ เดอ โกล แห่งกองทัพฝรั่งเศสได้หลบหนีไปอยู่กรุงลอนดอน ได้ตั้งแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศส (France Libre หรือ en:Free French Forces) เพื่อต่อต้านนาซีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะเรื่อยมากระทั่งการปลดปล่อยหลังการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1944",
"title": "ยุทธการที่ฝรั่งเศส"
}
] |
2375 | จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดทางภาคใดของประเทศไทย? | [
{
"docid": "4047#0",
"text": "อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และของประเทศไทย มีประชากรถึง 1.8 ล้านคน ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย สามารถชมปรากฏการณ์ตะวันอ้อมโขงในช่วงฤดูหนาวช่วงก่อนสิ้นปีและปีใหม่ และยังมีภาษาถิ่นวัฒนธรรมและประเพณีที่โดดเด่น คือประเพณีแห่เทียนพรรษาทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานีและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นผาแต้ม ผาชนะได สามพันโบก เสาเฉลียง น้ำตกแสงจันทร์ และ ความงามตามธรรมชาติของแม่น้ำโขง",
"title": "จังหวัดอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "86011#0",
"text": "นครอุบลราชธานี หรือ เทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำมูล มีพื้นที่ประมาณ 29 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล เป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากเทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลนครนครราชสีมา และเทศบาลนครขอนแก่น มีระยะทางจากกรุงเทพมหานครมาถึงตัวเมือง 615 กิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 76,000 คน",
"title": "เทศบาลนครอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "505258#0",
"text": "เขตมิสซังอุบลราชธานี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลอุบลราชธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 7 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ",
"title": "เขตมิสซังอุบลราชธานี"
}
] | [
{
"docid": "4047#1",
"text": "ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือเป็นจังหวัดที่แม่น้ำสายสำคัญทั้งหมดของภาคอีสานทั้งโขงชีมูลไหลมาบรรจบกัน โดยแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมารวมกันที่อำเภอวาริน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสถานีรถไฟหลักและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเช่นจังหวัดอื่นๆทั่วไป ส่วนสถานที่ราชการ ศาลากลางประจำจังหวัด สนามบินอุบลราชธานีอยู่ฝั่งอำเภอเมืองซึ่งเชื่อมกับอำเภอวารินด้วยสะพานรัตนโกสินทร์200ปี และ สะพานเสรีประชาธิปไตย โดยมีแม่น้ำมูลไหลกั้นทุ่งศรีเมืองและอำเภอวารินชำราบ ก่อนจะไหลไปรวมกับแม่น้ำโขงบริเวณจุดชมวิวทางธรรมชาติ โขงสีปูน มูลสีคราม อำเภอโขงเจียมต่อไป\nจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี และแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่ ในตัวอำเภอเมือง กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเมื่อปี 2539 พบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา การทำโลหะผสม กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และแกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่าง 2,500-2,800 ปีมาแล้ว อยู่ในยุคโลหะตอนปลาย\nเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย\nแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร",
"title": "จังหวัดอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "4047#10",
"text": "จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Khorat Basin) โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120-140 เมตร (395-460 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา",
"title": "จังหวัดอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "5549#0",
"text": "อุดรธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง เดิมพื้นที่เมืองอุดรธานีในปัจจุบันคือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง เมืองอุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์บัญชาการการปกครองของมณฑลอุดรอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรี พระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งทรงเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการแทนพระองค์ปกครอง มณฑลอุดร ในสมัยที่มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองอุดรธานีเกิดจากรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือในพื้นที่มณฑลอุดร (มณฑลลาวพวน) คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และบ้านเดื่อหมากแข้ง มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศและของโลก",
"title": "จังหวัดอุดรธานี"
},
{
"docid": "4047#13",
"text": "ทรัพยากร ดิน จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีประชากรมาก ดินเป็นทรัพยากรคิด เป็นร้อยละ 86.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือประมาณ 10,299,063 ไร่ ด้านป่าไม้มีทั้งป่าเต็งรัง หรือป่าแดงมีอยู่ทั่วไป มีเขตป่าดงดิบในเขตอำเภอน้ำยืน และป่าผสม ส่วนป่าเบญจพรรณมีอยู่ในอำเภอเขมราฐ อำเภอบุณฑริก และอำเภอพิบูลมังสาหาร ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตระแบก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เคี่ยม ไม้ชุมแพรก ไม้กันเกรา สภาพพื้นที่ป่าไม้จากการสำรวจเมื่อปี 2538 มีเนื้อป่าประมาณ 2,495 ตร.กม. หรือประมาณ 1.56 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.49 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งได้ดังนี้ ป่าถาวร ตามมติ ครม.จำนวน 1 ป่า เนื้อที่ 77,312.50 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 46 ป่า เนื้อที่ 3,396,009.163 ไร่ พื้นที่ป่า สปก. จำนวน 40 ป่า เนื้อที่ 1,665,543.30 ไร่ ป่าอนุรักษ์ ตาม มติ ครม. จำนวน 10 ป่า เนื้อที่ 1,439,998.402 ไร่ ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย จำนวน 5 ป่า เนื้อที่ 880,220.00 ไร่ สวนป่า จำนวน 15 ป่า เนื้อที่ 20,985.73 ไร่ พื้นที่ป่าธรรมชาติ (รวม จ.อำนาจเจริญ) เนื้อที่ 24,292,656 ไร่",
"title": "จังหวัดอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "7136#0",
"text": "จังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี",
"title": "จังหวัดปทุมธานี"
},
{
"docid": "7043#0",
"text": "จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย",
"title": "จังหวัดบุรีรัมย์"
},
{
"docid": "4047#52",
"text": "จังหวัดอุบลราชธานีมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้ามาเป็นเวลา เห็นได้จากวรรณกรรมโบราณอีสานและประวัติศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอุบลราชธานีได้ปรากฏให้เห็นถึงความประณีตสวยงาม แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้ทอผ้าที่ได้สร้างสรรค์บรรจงด้วยจิตวิญญาณ ออกมาเป็นลวดลายวิจิตรจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน \"ผ้ากาบบัว\" ได้รับการสืบสานเป็นผ้าเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่นิยมในวงการแฟชั่นไทย มีการสวมใส่ตั้งแต่ระดับชั้นของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปจนถึงระดับวัยรุ่นด้วยรูปแบบที่หลากหลาย",
"title": "จังหวัดอุบลราชธานี"
}
] |
2376 | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาอะไร? | [
{
"docid": "997999#0",
"text": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 (; เลออน: ) หรือ พระเจ้าอัลฟอนโซผู้กล้าหาญ (; เลออน: ) เสด็จพระราชสมภพก่อนเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1040 สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1109 ที่โตเลโด ราชอาณาจักรกัสติยา ทรงครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเลออนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1065 และเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาและเลออนที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1072 ต่อมาในปี ค.ศ. 1077 ทรงประกาศตนเป็น \"จักรพรรดิแห่งสเปนทั้งหมด\" การกดขี่ข้าราชบริพารชาวมุสลิมของพระองค์นำไปสู่การรุกรานสเปนในปี ค.ศ. 1086 ของกองทัพอัลโมราวิดที่มาจากแอฟริกาเหนือ",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา"
},
{
"docid": "997958#1",
"text": "อัลฟอนโซเป็นพระโอรสคนที่สองของพระเจ้าซันโชที่ 5 รามิเรซ และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของพระเจ้าเปโดรที่ 1 แห่งอารากอน (พระเชษฐา) พระองค์ทรงได้รับการทาบทามจากพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยาให้แต่งงานกับอูร์รากา ภรรยาม่ายของแรมงแห่งบูร์กอญที่ต่อมากลายเป็นพระราชินีผู้ปกครองกัสติยา เลออน และกาลิเซีย ภายหลังเมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1109 ราชอาณาจักรคริสเตียนทั้งสี่ คือ อารากอน นาวาร์ กัสติยา และเลออน ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแต่เพียงในนาม และอัลฟอนโซที่ 1 สืบทอดตำแหน่งจักรพรรดิต่อจากพระสสุระ ทว่าการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่ประสบผลสำเร็จเพราะเลออนและกัสติยาเกลียดชังจักรพรรดิชาวอารากอน, เพราะอูร์รากาชิงชังพระสวามีคนที่สองของตนเอง และเพราะแบร์นาร์ อาร์ชบิชอปชาวฝรั่งเศสสายกลูว์นีแห่งโตเลโดต้องการให้อัลฟอนโซ รามิเรซ พระโอรสเลี้ยงของพระองค์ (พระโอรสวัยทารกของอูร์รากากับพระสวามีคนแรกชาวบูร์กอญ) ครองบัลลังก์จักรพรรดิ ด้วยการกระตุ้นของแบร์นาร์ สมเด็จพระสันตะปาปาประกาศให้การแต่งงานของอัลฟอนโซกับอูร์รากาเป็นโมฆะ แต่พระเจ้าอัลฟอนโซยังคงมีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองในราชอาณาจักรตอนกลางต่อไปจนกระทั่งยอมวางมือจากการอ้างสิทธิ์เพื่อหลีกทางให้พระโอรสเลี้ยงในท้ายที่สุดหลังการสิ้นพระชนม์ของอูร์รากาในปี ค.ศ. 1126",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 แห่งอารากอน"
}
] | [
{
"docid": "997720#0",
"text": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 (; เลออน: ) หรือ พระเจ้าอัลฟอนโซผู้เป็นจักรพรรดิ (; เลออน: ) เสด็จพระราชสมภพ 1 มีนาคม ค.ศ. 1105 สิ้นพระชนม์ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1157 ที่เฟรสเนดา ราชอาณาจักรกัสติยา เป็นกษัตริย์เลออนและกัสติยาที่ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1126 ถึงปี ค.ศ. 1157 พระองค์เป็นพระโอรสของพระราชินีอูร์รากากับแรมงแห่งบูร์กอญ และเป็นพระนัดดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงอ้างตนเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์สเปนในสมัยกลางจะเข้าใกล้การเป็นจักรวรรดิมากที่สุด และแม้ว่าพระองค์จะเอาชนะชาวมัวร์ได้ แต่พระองค์ยังคงถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่ค่อยมีบทบาทตัวตน",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา"
},
{
"docid": "997999#3",
"text": "การครองราชย์ของอัลฟอนโซในครั้งนี้คือยุคแห่งความสำเร็จของพระองค์ ทรงแย่งชิงมณฑลริโอฆาและมณฑลบาสก์มาได้ และได้การสวามิภักดิ์ตามระบอบศักดินาจากพระเจ้าซันโช รามิเรซแห่งอารากอนและปัมโปลนาในนามแคว้นนาวาร์จนถึงตอนเหนือของแม่น้ำเอโบร ในปี ค.ศ. 1077 พระองค์อ้างตนเป็นจักรพรรดิแห่งสเปนทั้งหมด ซึ่งหมายความว่ากษัตริย์ชาวคริสต์คนอื่น ๆ ได้ยอมรับในตัวพระองค์ จากนั้นพระองค์เริ่มการพิชิตโตเลโดและหลังการปิดล้อมอันยาวนาน พระองค์ยึดโตเลโดได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1085 ซึ่งเป็นการพิชิตที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากทำให้สเปนส่วนคริสต์กลับมาเป็นศูนย์กลางสำคัญทางประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ และวัฒนธรรมของคาบสมุทรอีกครั้ง หลังจากที่ชาวมุสลิมยึดความเป็นศูนย์กลางมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา"
},
{
"docid": "1000826#0",
"text": "อัลฟอนโซที่ 4 หรือ อัลฟอนโซผู้เป็นพระ () สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 933 ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเลออนและอัสตูเรียสตั้งแต่ ค.ศ. 926 ถึง ค.ศ. 932 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 2 และเป็นผู้สืบทอดต่อตำแหน่งของพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 พระปิตุลา ทรงผนวชเป็นพระ, สละราชบัลลังก์ และพยายามกอบกู้บัลลังก์กลับคืนมา รัชสมัยสั้นๆ ของพระองค์คือหนึ่งในความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 932",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งเลออน"
},
{
"docid": "535266#0",
"text": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งโปรตุเกส พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรโปรตุเกส เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1291 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเดนิสแห่งโปรตุเกส พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชอาณาจักรโปรตุเกส กับพระนางเอลิซาเบธแห่งอารากอน เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1325 สวรรคตเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1357 ขณะพระชนม์ได้ 66 พรรษา สิริราชสมบัติได้ 32 ปี",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งโปรตุเกส"
},
{
"docid": "37665#72",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์สเปนให้แก่พระราชโอรส คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 และหลังจากเกิดความวุ่นวายไม่สิ้นสุดในสาธารณรัฐสเปนที่ 1 ชาวสเปนส่วนใหญ่ก็ตกลงใจที่ยอมรับการกลับไปสู่ความมีเสถียรภาพของประเทศภายใต้การปกครองของราชวงศ์บูร์บงอีกครั้ง กองกำลังสาธารณรัฐนิยมในสเปนนำโดยพลจัตวามาร์ตีเนซ กัมโปสที่กำลังปราบปรามการก่อการกบฏของพวกการ์ลิสต์อยู่นั้นได้ประกาศสวามิภักดิ์ต่อเจ้าชายอัลฟอนโซในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1874-1875 ต่อมาสาธารณรัฐสเปนก็สลายตัวไปเมื่อเจ้าชายอัลฟอนโซทรงขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนามพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปน ส่วนอันโตเนียว กาโนบัส เดล กัสตีโย ที่ปรึกษาในพระองค์ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันสิ้นปี ค.ศ. 1874 พวกการ์ลิสต์ถูกปราบลงอย่างราบคาบโดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ซึ่งทรงเข้าไปมีบทบาทในสงครามและทรงได้รับการสนับสนุนจากพสกนิกรส่วนใหญ่ของพระองค์อย่างรวดเร็ว",
"title": "ประวัติศาสตร์สเปน"
},
{
"docid": "997999#1",
"text": "อัลฟอนโซเป็นพระโอรสคนที่สองของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยากับพระมเหสี ซันชา พระองค์ได้รับการศึกษาจากไรมุนโดที่ต่อมาได้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งปาเลนเซีย และเปโดร อันซูเรซ เคานต์แห่งการ์ริออน เมื่อพระเจ้าเฟร์นันโดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1065 พระองค์ทิ้งราชอาณาจักรเลออนและบรรณาการที่ได้จากราชอาณาจักรมุสลิมโตเลโดไว้ให้อัลฟอนโซ ทำให้พระเจ้าซันโชที่ 2 พระเชษฐาที่ได้ราชอาณาจักรกัสติยาและบรรณาการจากซาราโกซาเป็นมรดกตั้งตนเป็นศัตรูด้วยความริษยา อัลฟอนโซพ่ายแพ้พระเชษฐาในการทำสมรภูมิสองครั้ง หลังการพ่ายแพ้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1068 ที่ยันตาดา พระองค์หาทางเอาราชอาณาจักรของตนกลับคืนมาได้ แต่หลังการพ่ายแพ้ที่โกลเปเฆราในปี ค.ศ. 1072 พระองค์ถูกจับกุมตัวและถูกขับไล่ออกจากประเทศ ทรงใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ ในเวลานั้นที่ราชสำนักของอัลมะอ์มูน กษัตริย์มุสลิมแห่งโตเลโด ผู้เป็นข้าราชบริวารของพระองค์ ต่อมาไม่นานอูร์รากา พระเชษฐภคินีของอัลฟอนโซ ก่อกบฏในเลออน พระเจ้าซันโชได้ปิดล้อมพระองค์ไว้ในเมืองซาราโกซาที่มีกำแพงล้อมรอบ ในช่วงที่ทำการปิดล้อม พระเจ้าซันโชถูกสังหาร อาจจะด้วยการยุยงของอูร์รากาซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกับอัลฟอนโซอย่างชัดเจน นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ยังสันนิษฐานว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันแบบผิดทำนองคลองธรรม",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา"
},
{
"docid": "998982#0",
"text": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 (; เลออน: ) หรือ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 () เสด็จพระราชสมภพ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1171 ที่ซาโมรา ราชอาณาจักรเลออน สิ้นพระชนม์ 24 กันยายน ค.ศ. 1230 ที่ซาร์เรีย ราชอาณาจักรกาลิเซีย ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเลออนและกาลิเซีย ทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าอัลฟอลโซที่ 8 แห่งกัสติยา",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน"
},
{
"docid": "1000826#1",
"text": "เมื่อพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 924 ผู้สืบทอดต่อบัลลังก์แห่งเลออนไม่ใช่หนึ่งในพระโอรสแต่กลับเป็นพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 แห่งอัสตูเรียสผู้เป็นพระอนุชา หลังพระเจ้าฟรูเอลาสิ้นพระชนม์ในอีกหนึ่งปีต่อมา สถานการณ์ด้านการสืบทอดตำแหน่งนั้นคลุมเครือ แต่อัลฟอนโซ โฟรอีลัซ พระโอรสของพระองค์ ก็ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ อย่างน้อยก็ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรของพระบิดา ซันโช ออร์ดอนเญซ, อัลฟอนโซ และรามีโร พระโอรสทั้งสามของพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 2 อ้างตนเป็นทายาทโดยชอบธรรมและก่อกบฏต่อลูกพี่ลูกน้องของตน ทั้งสามผลักดันอัลฟอนโซ โฟรอีลัซไปทางชายแดนตะวันออกของอัสตูเรียสโดยมีฆีเมโน การ์เซสแห่งปัมโปลนาให้การสนับสนุน จากนั้นทั้งสามได้แบ่งอาณาจักรกัน อัลฟอนโซ ออร์ดอนเญสได้ราชบัลลังก์เลออน ส่วนซันโชผู้เป็นพระเชษฐาได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ในกาลิเซีย",
"title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งเลออน"
}
] |
2382 | ประเทศกัมพูชามีเมืองหลวงชื่ออะไร ? | [
{
"docid": "25625#0",
"text": "พนมเปญ หรือ ภนุมปึญ ( \"ภฺนุํเพญ\" ออกเสียง: ; ) อีกชื่อหนึ่งคือ \"ราชธานีพนมเปญ\" เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส",
"title": "พนมเปญ"
},
{
"docid": "1937#1",
"text": "ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
}
] | [
{
"docid": "1937#43",
"text": "กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่นส่วนในลาวนั้นก็ตกกำลังอยู่สภาวะเดียวกันเมืองหลวง (\"ราชธานี\") และจังหวัด (\"เขต\") เป็นเขตการปกครองระดับแรกสุดของประเทศกัมพูชา แบ่งเป็น 25 จังหวัด (รวมเมืองหลวง) แต่ละจังหวัดจะแบ่งเป็นเทศบาลและอำเภอ ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับที่สอง มีทั้งหมด 159 อำเภอ และ 26 เทศบาล แต่ละอำเภอและเทศบาลแบ่งเป็นตำบล และแต่ละตำบลแบ่งเป็นหมู่บ้านภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "353070#3",
"text": "น้ำ ข้าว และปลาน้ำจืดเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่ออาหารกัมพูชา แม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางประเทศกัมพูชา เมืองหลวงของประเทศคือพนมเปญตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำบาสัก ทำให้กัมพูชามีปลาน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในปัจจุบันอาหารกัมพูชามีความใกล้เคียงกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านคืออาหารไทยในด้านการใช้พริก น้ำตาลหรือกะทิ และอาหารเวียดนามในด้านที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสเช่นกัน และยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกแกงที่ในภาษาเขมรเรียกว่า \"การี\" (ការី) แสดงถึงอิทธิพลของอาหารอินเดีย และยังมีอิทธิพลบางส่วนจากอาหารโปรตุเกสและอาหารสเปน ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขาย อย่างไรก็ตามอาหารกัมพูชาไม่ได้มีรสจัดเท่าอาหารไทย อาหารลาว และอาหารมาเลเซีย",
"title": "อาหารกัมพูชา"
},
{
"docid": "765205#7",
"text": "พุทธศตวรรษที่ 24 ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดจีน และใน พ.ศ. 2410 กัมพูชาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้อิสรภาพคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชา มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ มีกษัตริย์ครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2483 พระนามว่า พระเจ้านโรดมสีหนุ พระเจ้านโรดมสีหนุสละราชสมบัติให้พระเจ้านโรดมสุรามฤตพระบิดาขึ้นครองราชแทน พระองค์มาตั้งพรรคการเมืองชื่อ สังคมราษฎร์นิยม และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต จึงทรงเป็นประมุขรัฐโดยไม่ได้ครองราชย์ พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงคิดตั้งทฤษฎี พุทธสังคมนิยม โดยการปกครองที่ยึดหลักพุทธธรรมเป็นหลักในการบริหารประเทศ ในช่วงนี้ประเทศแถบเอเซียอาคเนย์กำลังอยู่ในภาวะการต่อสู้ ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ กับลัทธิประชาธิปไตย",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "765205#2",
"text": "ยุคมหานคร เป็นยุคที่ นครวัต นครธม ที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ และอยู่ทางเหนือของเมืองเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา เป็นยุคที่อารยธรรมของขอมเจริญรุ่งเรืองมาก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทางด้านศาสนา ปรากฏ ว่าพุทธ-ศาสนาฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทคงเป็นที่นับถืออยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ส่วนทางชั้นสูง หรือในราชสำนักนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และถือลัทธิพราหมณ์ ในยุคนี้ได้มีธรรมเนียมถือศาสนาคนละอย่างระหว่างพระราชา กับ ปุโรหิต ถ้าพระราชาเป็นพุทธ ปุโรหิตเป็นพราหมณ์ หรือถ้าพระราชาถือพราหมณ์ ปุโรหิตถือพุทธ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือต่อกันมาหลายร้อยปี\nในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เริ่มแต่ปี พ.ศ. 1724 ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เขมร ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทรงย้ายราชธานีไปที่ใดก็จะสร้างวัดวาอารามด้วย พระองค์ทรงเอาใจใส่ในกิจการพระพุทธศาสนามาก ทรงสร้างปราสาท และพระพุทธรูปจำนวนมากมาย ทรงสถาปนาปราสาทตาพรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ถึง 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2,740 องค์ เป็นผู้สอน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังทรงให้ราชกุมารไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วทรงผนวชที่วัดมหาวิหารในปลายยุคมหานคร ศาสนาพราหมณ์ และมหายานเสื่อมถอยลง คงเหลือแต่เถรวาทที่เจริญรุ่งเรือง และได้รับการนับถือจากคนทุกระดับ ตั้งแต่กษัตริย์ลงไป.\nยุคหลังพระนครถือว่าเป็นยุคมืดของกัมพูชาด้วยเหตุผล ของความอ่อนแอทางการเมือง ภายในทำให้กัมพูชาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย รัฐทางทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเวียดนาม และทำให้กัมพูชาต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง ในยุคหลังพระนครนี้ พุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมถอยลงไป คงเหลือแต่พุทธศาสนาเถรวาท และกษัตริย์ในยุคนี้จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาเรื่อยมา กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "807044#0",
"text": "มัสยิดยามิอา นครหลวงเวียงจันทน์ () เป็นมัสยิดกลางของนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ถือเป็นมัสยิดหนึ่งในสองแห่งที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2513 โดยสมาคมมุสลิมลาว (The Muslim Association of Laos) ณ บ้านเชียงยืน เมืองจันทบุรี สัปบุรุษส่วนใหญ่ของมัสยิดนี้มีเชื้อสายเอเชียใต้ คือ ปาทานและทมิฬ ส่วนมัสยิดอีกแห่งในเวียงจันทน์คือมัสยิดอาสาฮาร () บ้านโพนสะหวาดใต้ เมืองศรีโคตรบอง ที่สัปบุรุษส่วนใหญ่เป็นชาวจามจากกัมพูชา",
"title": "มัสยิดยามิอา นครหลวงเวียงจันทน์"
},
{
"docid": "94477#2",
"text": "นักปราชญ์ทั้งหลายสันนิษฐานว่า ระหว่างรัฐตรีปุระซึ่งอยู่ทางเหนือ และเมืองอาระกันซึ่งอยู่ทางใต้ มีแคว้นชื่อรัมมเทศ และมีเมืองหลวงชื่อ ศรีจัฏฏละ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 14 คือ บัณฑิตวิหารคณาจารย์ในรัมมเทศก็ได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ศึกษาเล่าเรียน ดังปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าบัณฑิตวิหารนอกจากจะเป็นศูนย์การค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสังฆิการาม หรือวัด ในพระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งพระสงฆ์จากต่างชาติเข้ามาอาศัยศึกษาในบัณฑิตวิหาร หลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายแล้ว สถาบันแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 300 ปี ในกลางพุทธศตวรรษที่ 15 มีบุตรพราหมณ์เมืองจิตตะกองเป็นอาจารย์ใหญ่ของสถาบันนี้ คือ สิทธะปัญญาภัททะ (ติโลปะ) เป็นพระมหายานแบบตันตระ มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า และเวทมนตร์ต่างๆ ท่านได้แต่งคัมภีร์ไว้ศึกษาในสถาบันนี้จำนวนมาก เช่น ศรีสรัชสำพาราธิษฐาน จัตตุโรปเทศ ปาสันนทีป อาจินตามหามุทรานาม มหามุทโรปเทส โทหโกษ และสฬธัมโมปเทส เป็นต้น",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ"
},
{
"docid": "1937#24",
"text": "ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "154047#8",
"text": "อสูรกายภูมิในเรื่องนี้เป็นภพอสูร มีเมืองเอกอยู่ด้วยกันสี่เมือง คือเมืองอุตรกุรุทางทิศเหนือ เมืองบุรพวิเทหะทางตะวันออก เมืองอมรโคยานทางตะวันตก เมืองชมพูทางใต้ ตรงกลางมีต้นจิตตปาลิ (ต้นแคฝอย) ใหญ่ เป็นต้นไม้หลักทวีป มีคำอธิบายในเรื่องว่า \"พวกอสูรกินผลของจิตตปาลิ ถากเปลือกไม้จิตตปาลิมาสร้างบ้าน แต่กิ่งก้านของมหาพฤกษายังถูกนำมาม้วน แล้วชุบน้ำมันทำเป็นกระบองแน่นเหนียวซึ่งพวกอสูรใช้เป็นอาวุธกันอย่างแพร่หลาย\"",
"title": "ลำนำหกพิภพ"
}
] |
2383 | ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่อง เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร อิงประวัติศาสตร์ในสมัยใด? | [
{
"docid": "40345#1",
"text": "โมะโนะโนะเกะฮิเมะเป็นภาพยนตร์ย้อนยุคซึ่งมีฉากอยู่ในปลายยุคมุโระมะจิของญี่ปุ่น แต่แต่งเติมด้วยองค์ประกอบจากจินตนาการลงไปจำนวนมาก เนื้อเรื่องกล่าวถึงอะชิตะกะซึ่งเป็นคนภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับพลังเหนือธรรมชาติที่ดูแลป่าและผู้คนของโลหะนครซึ่งใช้ทรัพยากรจากป่า ในเรื่องนี้มิได้แสดงถึงฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่วที่เด่นชัด และจุดยืนของผู้สร้างภาพยนตร์ก็เปลี่ยนไปมาระหว่างทั้งสองฝ่าย ไม่มีชัยชนะของใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ชัดเจน มีเพียงความหวังที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติจะดำเนินเป็นวัฎจักรต่อไป",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
}
] | [
{
"docid": "40345#0",
"text": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร หรือ โมะโนะโนะเกะฮิเมะ () เป็นภาพยนตร์อนิเมะแฟนตาซีอิงประวัติศาสตร์ ที่เขียนและกำกับโดยฮะยะโอะ มิยะซะกิแห่งสตูดิโอจิบลิ โมะโนะโนะเกะ () ไม่ใช่ชื่อแต่เป็นคำที่ใช้เรียกภูตผีปีศาจ ภาพยนตร์เรื่องนี้เผยแพร่ในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ตามลำดับ",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
},
{
"docid": "384938#2",
"text": "มีการอ้างอิงถึงโคดามะในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการของญี่ปุ่น เช่น มังงะหรืออนิเมชั่นเรื่อง \"GeGeGe no Kitarō\" และ\"เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร\" ในปี ค.ศ. 1997",
"title": "โคดามะ"
},
{
"docid": "40345#23",
"text": "ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 โมะโนะโนะเกะฮิเมะเป็นภาพยนตร์อนิเมะชันที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ดีภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินเท่าที่ควรในสหรัฐอเมริกา โดยมียอดรายได้ได้ทั้งสิ้น 2,298,191 ดอลลาร์สหรัฐนช่วงแปดสัปดาห์แรก",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
},
{
"docid": "40345#13",
"text": "โมะโนะโนะเกะฮิเมะเป็นภาพยนตร์อนิเมะที่แพงที่สุดที่เคยมีการจัดสร้างมา ด้วยต้นทุนทั้งสิ้นราว 2.35 พันล้านเยน",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
},
{
"docid": "40345#22",
"text": "\" โมะโนะโนะเกะฮิเมะ\" ยังอยู่ในรายการภาพยนตร์อเนิเมชันที่ดที่สุด 50 เรื่องของ เทอร์รี่ กิลเลียม",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
},
{
"docid": "589153#0",
"text": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ หรือ โฟรเซน () เป็นภาพยนตร์เพลงแนวแฟนตาซี-คอเมดีประเภทคอมพิวเตอร์แอนิเมชันสามมิติในปี พ.ศ. 2556 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์และจัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส. ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าเรื่องราชินีหิมะของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน นับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ห้าสิบสามของภาพยนตร์ในชุดแอนิเมชันคลาสสิกของวอลท์ดิสนีย์ โดยเล่าเรื่องเจ้าหญิงผู้กล้าที่ผจญภัยไปกับคนขายน้ำแข็ง กวางเรนเดียร์ และมนุษย์หิมะผู้อับโชค เพื่อค้นหาพี่สาวที่ห่างเหินซึ่งมีพลังน้ำแข็งที่ทำให้อาณาจักรตกอยู่ภายใต้ฤดูหนาวชั่วนิรันดร์โดยไม่ได้ตั้งใจ",
"title": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ"
},
{
"docid": "734840#0",
"text": "มหัศจรรย์พิสูจน์รักถึงยมโลก (อังกฤษ: The Book of Life) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติ กำกับภาพยนตร์โดย จอร์จ กูเตียร์เรซ สร้างโดย Reel FX Creative Studios และจัดจำหน่ายโดย ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ เข้าฉายในอเมริกาเมื่อ 17 ตุลาคม 2014 มีกำหนดการเข้าฉายในประเทศไทยวันที่ 27 พฤศจิกายน 2014 และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 72 (ปี 2015) ในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม",
"title": "มหัศจรรย์พิสูจน์รักถึงยมโลก"
},
{
"docid": "40345#17",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ ในประเทศเหล่านี้มีการตีความกันอย่างกว้างขวางว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่บอกเล่าในรูปแบบตำนานโบราณของญี่ปุ่น มิราแมกซ์ แห่ง ดิสนีย์ ได้ซื้อสิทธิ์การจัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาไปและต้องการจะตัดภาพยนตร์ให้เหมาะกับผู้ชมในสหรัฐอเมริกา (สำหรับการจัดเรตติ้ง PG) อย่างไรก็ตามมิยะซะกิไม่อนุญาตและในที่สุดภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เผยแพร่ในอเมริกาโดยไม่มีการตัดต่อโดยได้รับการจัดเรตติ้ง PG-13 Miramax ได้ลงทุนมหาศาลในการสร้างเสียงภาษาอังกฤษของภาพยนตร์โดยใช้นักพากย์ที่มีชื่อเสียง อย่างไรก็ดีเมื่อถึงเวลาฉายในโรงภาพยนตร์ปรากฏว่าไม่มีการโฆษณาเท่าที่ควร ทำให้จัดฉายในโรงภาพยนตร์ที่จำนวนไม่มากในเวลาอันสั้น ซึ่งต่อมาดิสนีย์ประกาศว่าภาพยนตร์เรื่องทำเงินจากการฉายในโรงได้ไม่ดี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 ภาพยนตร์เรื่องนี้มีกำหนดออกจำหน่าวนรูปแบบ DVD ในสหรัฐอเมริกา แต่มิราแม็กซ์ประกาศว่าจะมีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น แฟนที่คลังไคล้ภาพยนตร์จึงต่อต้าน ด้วยกลัวว่าจะขายไม่ดีมิราแมกซ์จึงต้องจ้างคนแปลซับไตเติ้ล และทำให้ DVD ออกช้ากว่ากำหนดไปเกือบสามเดือน เมื่อ DVD ออกมาในที่สุดก็ปรากฏว่าสามารถขายดีอย่างมาก",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
},
{
"docid": "739114#2",
"text": "ครั้งที่สอง พ.ศ. 2559 โดยใช้ในชื่อ เจ้าสาวเฉพาะกิจ ผลิตโดย บริษัท โชคดีมีสุข จำกัด โดยผู้จัด รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ บทโทรทัศน์โดย นิรมิต กำกับการแสดงโดย ปิยะพงษ์ คำภากุล นำแสดงโดย รัฐภูมิ โตคงทรัพย์, เอมี่ กลิ่นประทุม, ภูริ หิรัญพฤกษ์, ปริศนา กัมพูสิริ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทุกวันพุธ - ศุกร์ เวลา 08.00 น. , 12.30 น. , 19.50 น. , 00.30 น. ต่อจากละครเรื่องคุณหญิงนอกทำเนียบ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ผลิตโดย บริษัท โชคดีมีสุข จำกัด โดยผู้จัด \"ฟิล์ม\" รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ และตั้งแต่ 22 ตุลาคม ได้ปรับเวลาออกอากาศเป็น พฤหัส - ศุกร์ 1 ชั่วโมงครึ่ง เวลา 08.00 น, 15.55 น, 19.45 น. และออกอากาศซ้ำทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 09.00 / 19.15 น. เริ่มตอนแรกวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 – วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560",
"title": "เจ้าสาวเฉพาะกิจ"
}
] |
2384 | นักร้องดูโอ ClariS มีอัลบั้มที่2ชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "531493#0",
"text": "ClariS () คือ นักร้องดูโอและไอดอลสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งวงเมื่อปี 2552 โดย คลาร่า (Clara) และ อลิซ (Alice) จากเมืองฮอกไกโด โดยที่ทั้งสองคนนั้นเรียนอยู่โรงเรียนมัธยมต้น วงดนตรีนี้เดิมชื่อ \"อลิซ★คลาร่า\" ซึ่งเริ่มต้นจากการร้องเพลงโคฟเวอร์เพลงอะนิเมะ และเพลงของกลุ่มโวคาลอยด์ และนำไปเผยแพร่ในวีดีโอสตรีมมิ่งชื่อดังของญี่ปุ่น คือ นิโกะนิโกะโดวกะ () ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2552 และ มิถุนายน 2553 และในเดือนกันยายน 2553 คลาริส ได้ทำสัญญากับค่ายเพลง SME Records และออกซิงเกิลเดบิวท์ ชื่อ \"Irony\" ในเดือนตุลาคม 2554 ระหว่างปี 2554 ถึง 2555 ก็ได้วางจำหน่ายอีก 3 ซิงเกิลและก็ได้ออกอัลบั้มเปิดตัวชื่อ \"Birthday\" โดยอัลบั้ม \"Birthday\" ได้รับรางวัลแผ่นทองคำจาก RIAJ เพราะวางจำหน่ายได้มากกว่า 100,000 ชุดในหนึ่งปี ต่อมาระหว่างปี 2555 ถึง 2557 ก็ได้วางจำหน่ายอีก 6 ซิงเกิล และออกอัลบั้มที่สองในชื่อ \"Second Story\" (2556) และอัลบั้มที่สามในชื่อ \"Party Time\" (2557) ต่อมา อลิซ ก็ได้ลาออกจากวง หลังจากนั้น คลาริส โดยเปิดตัวสมาชิกใหม่ชื่อ \"คาเรน (Karen)\"",
"title": "คลาริส"
}
] | [
{
"docid": "701996#2",
"text": "หลังจากนั้น ป๊อบได้ร่วมกับ วิน (อัศวิน ดุริยางกูร) จนกลายมาเป็น คู่ดูโอ ที่ใช้ชื่อว่า Calories Blah Blah โดยมีผลงานอัลบั้มแรกคือ อัลบั้ม Calories โดยเพลงเด่นคือ คนไม่เข้าตา ได้รับความนิยมมากพอควรในช่วงเปิดตัว โดยหลังจากนั้นมีนักร้องหลายคนเอาไปร้องใหม่มากมาย",
"title": "ปองกูล สืบซึ้ง"
},
{
"docid": "265921#0",
"text": "รักคืออะไร เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวงดิ อินโนเซ็นท์ออกวางแผงครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้ต้อนรับ 2 สมาชิกใหม่ของวงคือไก่ เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์ ในตำแหน่งมือกลองที่เข้ามาแทนโหนก เกรียงศักดิ์ที่ได้ลาออกไปและไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์ จากวงฟอร์เอฟเวอร์ ในตำแหน่งมือคีย์บอร์ดและมือกีตาร์ซึ่งก่อนหน้านั้นไชยรัตน์ได้เข้ามาเป็นนักดนตรีรับเชิญระหว่างออกทัวร์คอนเสิร์ตและแสดงทางโทรทัศน์ในอัลบั้ม เพียงกระซิบ และอัลบั้ม อยู่หอ ก่อนจะเข้ามาเป็นสมาชิกหลักของวงในอัลบั้มชุดนี้",
"title": "รักคืออะไร"
},
{
"docid": "253373#1",
"text": "ฝันดี-ฝันเด่น ฝาแฝดสองพี่น้องจากตระกูลจรรยาธนากร เป็นนักร้องคู่ดูโอจากคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ มีผลงานอัลบั้มทั้งหมด 4 ชุด โดยอัลบั้มแรกได้วางแผงครั้งแรกเมื่อ 24 พ.ค. 2537 โดยใช้ชื่อว่า \"ออกฤทธิ์\" มีเพลงดังได้แก่ เพลงหัวไม่เหน่ง, แกล้งโง่, หมื่นคำลา และลำบากมากไหม",
"title": "ฝันดี-ฝันเด่น"
},
{
"docid": "536047#8",
"text": "เคนนี จีได้รับความสำเร็จอย่างมากกับผลงาน จีฟอร์ต และ แกลฟ์วิตี้ (\"G Force\" and \"Gravity\") และมีอัลบั้มที่ 2 และ 3 ตามมาเป็นลำดับ,ความสำเร็จของเขาคือ แพลตตินั่ม สเตตัส (platinum status) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยอดขายติดอันดับสูงในอัลบั้มที่ 4, ดูโอ้โทน (\"Duotones)\", ถูกขายได้มากกว่า 5 ล้านก๊อปปี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงอย่างเดียว. ในอัลบั้มที่ 6 ของเขา \"\"Breathless\"\", กลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดเท่าที่เคยมี มียอดขายมากกว่า 15 ล้านก๊อปปี้ ซึ่งขายได้ 12 ล้านก๊อปปี้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาทำลายสถิติอีกในอัลบั้มที่เป็นวันหยุดแรกของเขา นั่นคืออัลบั้ม \"\"\"\", ถูกขายได้มากกว่า 13 ล้านก๊อปปี้, ทำให้มันเป็นอัลบั้มคริสมาสต์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน.",
"title": "เคนนี จี"
},
{
"docid": "29836#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2546 โมริกาวะ ได้ร่วมกับ ฟูมิฮิโกะ ทาจิกิ ตั้งวงดนตรีแบบดูโอขึ้นมาในชื่อว่า 2 Hearts โดยมีผลงานออกมาแล้ว 2 อัลบั้ม กับอีก 1 ซิงเกิล",
"title": "โทชิยูกิ โมริกาวะ"
},
{
"docid": "684073#0",
"text": "เลตส์เชียส์ทูดิส () เป็นสตูดิโออัลบั้มเต็มชุดที่สอง โดยวงดนตรีโพสต์ฮาร์ดคอร์ชาวอเมริกัน สลีปปิงวิทไซเรนส์ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผ่านค่ายเพลงไรส์เรเคิดส์ ชื่อเดิมอัลบั้มนี้ คือ \"ฮูอาร์ยูนาว?\" (Who Are You Now?) ได้ตั้งชื่อตามศีลธรรมของชาวคริสต์ แต่ได้เปลี่ยนชื่อ เนื่องจากอัลบั้มนี้ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ๆ เลย อัลบั้มนี้เป็นครั้งแรกที่มีมือกีตาร์ เจสซี ลอว์สัน และแจ็ก ฟาวเลอร์ อัลบั้มนี้ออกซิงเกิลแรก ได้แก่ \"ดูอิตนาวรีเมมเบอร์อิตเลเทอร์\" (Do It Now Remember It Later) เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 มิวสิกวิดีโอเวอร์ชันอะคูสติกของเพลง \"ออลมายฮาร์ต\" (All My Heart) ออกเผยแพร่ในยูทูบ ซึ่งมีเคลลิน ควินน์ และเจสซี ลอว์สัน ทำการแสดงเพลงนี้ด้วย ซิงเกิลที่สอง \"ไฟเออร์\" (Fire) ออกเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 และในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในบัญชีทวิตเตอร์ของเคลลิน ควินน์ ได้ยืนยันว่ากำลังถ่ายทำวิดีโอของเพลง \"อิฟยูแคนต์แฮง\" (If You Can't Hang) และมิวสิกวิดีโอได้ออกเผยแพร่ในยูทูบเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544",
"title": "เลตส์เชียส์ทูดิส"
},
{
"docid": "370484#2",
"text": "ภายหลังการแข่งขัน เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 2 สิ้นสุดลง อั๊ส ชนัญญา ได้ออกอัลบั้มรวมศิลปิน The Star 2 ในชื่ออัลบั้ม Your Stars Your Songs ซึ่งอั๊สได้ฝากเสียงร้องไว้ในเพลง \"ฝัน...ฝันหวาน\" ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 อั๊สได้มีผลงานการแสดงเรื่องแรก และถือเป็นเรื่องเดีบวของเธอด้วย นั่นคือ พรุ่งนี้ไม่สายที่จะรักกัน ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์ แนวโรแมนติกดราม่า ภายใต้สังกัด เอ็กแซ็กท์โดยได้ร้องเพลงประกอบละครไว้ 1 เพลง ชื่อว่า \"จะทำให้ดีที่สุด\" และในปี พ.ศ. 2549 อั๊สได้มีผลงานเพลง ชื่อว่า \"ทุกเวลา\" ซึ่งเป็นเพลงประกอบซิทคอมเรื่อง บ้านนี้มีรัก ถือว่าเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จที่สุดในฐานะนักร้องของ อั๊ส ชนัญญา",
"title": "ชนัญญา ตั้งบุญจิตร"
},
{
"docid": "241314#0",
"text": "แซนด์ - แบงค์ (อังกฤษ: SAND-BANK) เป็นนักร้องดูโอชาย ภายใต้สังกัดอาร์เอส โปรโมชั่น เจ้าของเพลงฮิต \"อะไร...ว้า\"\nแซนด์-พิศุทธิ์ และ แบงก์-พิเศษ นิธิไพศาลกุล เป็นอดีตนักร้องดูโอพี่น้อง อยู่ในสังกัดอาร์เอส โปรโมชั่น เคยออกอัลบั้มเพลงชื่อ \"SAND - BANK\" เพียงชุดเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2542 หลังจากนั้น ทั้งสองก็ออกจากวงการ เพื่อไปศึกษาต่อ และปัจจุบัน ต่างคนก็แยกไปทำธุรกิจส่วนตัว",
"title": "แซนด์-แบงค์"
},
{
"docid": "247628#0",
"text": "ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส () คือสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 3 ของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวเพลงอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ในประเทศไทย และวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ในสหรัฐอเมริกาโดยโคลัมเบียเรเคิดส์ อัลบั้มนี้เปิดตัวอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200ของสหรัฐอเมริกา ทำให้เธอเป็นศิลปินหญิงคนที่ 3 ที่มี 3 อัลบั้มเปิดตัวเป็นอันดับ 1 บนชาร์ตในช่วงทศวรรษนี้ โดยสองคนแรกคือ บริตนีย์ สเปียรส์และอลิเชีย คียส์ อัลบั้มนี้ RIAA จัดให้มียอดขายระดับ 2× แพลตินัม",
"title": "ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส"
}
] |
2388 | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามรับพระราชทานนามจากใคร? | [
{
"docid": "9689#0",
"text": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "9689#2",
"text": "เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดแหลม เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด\nเมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ \nมีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ \nในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า \"สวนดุสิต\" (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
}
] | [
{
"docid": "9689#3",
"text": "เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด ในการนี้มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "572651#3",
"text": "อุปสมบท วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ตรงกับวันแรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีมะโรง ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยมีพระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสรภาณกวี (คอน นนฺทิโย ป.ธ.3 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระมงคลวัตรกวี) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระราชเวที (ดอกไม้ อตฺตรภทฺโท ป.ธ. 6) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์",
"title": "สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)"
},
{
"docid": "9689#5",
"text": "ศาลาสี่สมเด็จ เป็นศาลาจตุรมุขพื้นศิลา หลังคาประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนีอีก 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยพระองค์พระราชทานนามศาลาแห่งนี้ว่า ศาลาสี่สมเด็จ ไว้เป็นที่พักผ่อนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร ปัจจุบัน ศาลาสี่สมเด็จใช้เป็นหอกลอง",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "609820#2",
"text": "พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) บรรพชาเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2479 โดยมีพระธรรมโกศาจารย์ (ปลด กิตฺติโสภโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 โดยมีพระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลวัตรกวี (ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสรภาณกวี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที เป็นพระอนุสาวนาจารย์",
"title": "พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร)"
},
{
"docid": "9689#8",
"text": "หอระฆังบวรวงศ์ เป็นหอระฆังทรงไทยประกอบหินอ่อน สร้างขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายพระราชวังบวร (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า) และข้าราชการ ระฆังภายในหอนั้นนำมาจากวัดบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวังบวรสถานมงคล หน้าบันของหอระฆังจำหลักลายไทยประกอบภาพตราประจำตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยหน้าบันทิศตะวันตกเป็นภาพ \"พระลักษณ์ทรงหนุมาน\" ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งองค์เดิม ส่วนหน้าบันทิศตะวันออก เป็นภาพ \"พระนารายณ์ทรงปืน\" ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งองค์ที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเปิดและฉลองหอระฆังเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2445 พร้อมทั้งพระราชทานามว่า หอระฆังบวรวงศ์",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "9689#4",
"text": "เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย \"ราชวรวิหาร\" ดังเช่นในปัจจุบัน",
"title": "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "609820#6",
"text": "วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มอบคำสั่งเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ให้แต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ให้แก่พระเทพกิตติเวที (ฉ่ำ ปุญฺญชโย) รองเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ให้เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม",
"title": "พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร)"
},
{
"docid": "762509#8",
"text": "“ศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร” นั้น จัดสร้างขึ้นตามพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดปทุมวนารามฯ เมื่อวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรสถานที่ปฏิบัติธรรมชั่วคราว หรือ ศาลามุงจาก ซึ่งพระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์ (ถาวร จิตตถาวโร) ใช้ดำเนินการอบรมสั่งสอนธรรมปฏิบัติแก่พุทธศาสนิกชนอยู่ในขณะนั้น จึงทรงมีพระราชปรารถว่า ‘สมควรสร้างอาคารอันเป็นถาวรวัตถุขึ้น เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ใช้ศึกษาและปฏิบัติ จากพระราชปรารภนั้นเอง คณะศิษยานุศิษย์ในพระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์ (ถาวร จิตตถาวโร) และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาจึงได้ร่วมกันสนองพระราชดำริ โดยจัดตั้ง “มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา” ขึ้น และจัดสร้างพระพุทธรูปบูชา “พระเสริมจำลอง” รวมทั้ง พระกริ่งนวปทุม, พระกริ่งไพรีพินาศ, พระชัยวัฒน์, พระเสริมจำลองเนื้อผง และเหรียญสิริจันโท เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ ในการสมทบทุนสร้างศาลาพระราชศรัทธา โดยได้รับพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญ ‘ตรา ภปร.’ ประดิษฐานไว้ที่หน้าบันศาลา ทั้ง 2 ด้าน และที่ผ้าทิพย์องค์พระพุทธรูปพระเสริมจำลอง ซึ่งอัญเชิญเป็นพระประธาน ตลอดจนวัตถุมงคลต่าง ๆ พร้อมกันนั้น ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ ประกอบพิธีเจิมป้ายและเปิด “ศาลาพระราชศรัทธา” ด้วยพระองค์เองในวันพฤหัสบดี ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2536 โดยอยู่ในการดูแลและการบริหารงานของมูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา, มูลนิธิถาวรจิตฺตถาวโร-วงศ์มาลัย นับจากนั้นศาลาพระราชศรัทธาก็ได้ทำหน้าที่ของพุทธสถานกลางกรุงที่เผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พุทธศาสนิกชนที่อาศัยอยู่กลางกรุงเทพฯ มาโดยตลอด พุทธศาสนิกชนที่ไปฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมในทุกวัน จะมีโรงทานสำหรับรับประทานอาหารทั้งมื้อเช้าและเที่ยงและยังมีอาหารมื้อเย็นแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานภายใต้อุปถัมภ์อีกด้วย กระทั่งถึงวันที่ 5 มกราคม 2561 มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา และมูลนิธิถาวรจิตฺตถาวโร-วงศ์มาลัย จึงได้สิ้นสุดสัญญาเช่าพื้นที่กับสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึงได้ย้ายที่ทำการไปยัง วัดป่าศรีถาวรนิมิต เลขที่ 133 หมู่ที่ 8 บ้านบุ่งแข้ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ปัจจุบันศาลาพระราชศรัทธาอยู่ในการดูแล และการบริหารงานของ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยหลังจากที่ปิดปรับปรุงไประยะหนึ่ง ขณะนี้ได้เปิดดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้ากราบไหว้บูชาพระและปฏิบัติธรรมได้ตามปรกติแล้ว",
"title": "พระเทพวิมลญาณ (ถาวร จิตฺตถาวโร)"
}
] |
2390 | โรคกามวิปริตหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "767586#0",
"text": "โรคกามวิปริต\nหรือ กามวิปริต เป็นประสบการณ์ความตื่นตัวทางเพศระดับสูงต่อวัตถุ สถานการณ์ หรือบุคคลที่ไม่ทั่วไป\nแต่ก็ไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิชาการว่าเส้นแบ่งระหว่างความสนใจทางเพศที่แปลก กับโรคกามวิปริตอยู่ที่ไหน\nมีข้อโต้แย้งที่ยังไม่ยุติว่า กามวิปริตแบบไหน ควรจะมีรายชื่ออยู่ในคู่มือวินิจฉัยทางแพทย์เช่น \"คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต\" (DSM) หรือ บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) หรือถ้าจะต้องมีโดยประการทั้งปวง",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#21",
"text": "ส่วน DSM-IV-TR อธิบายกามวิปริตว่าเป็น \"จินตนาการที่เร้าความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง ความอยากทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศ ที่เกิดซ้ำ ๆ โดยทั่วไปเกี่ยวกับ (1) วัตถุที่ไม่เกี่ยวกับมนุษย์ (2) การได้รับทุกข์หรือการถูกทำให้อับอาย ของตนเองหรือของคู่ (BDSM) และ (3) เด็กหรือคนที่ไม่ยินยอมอื่น ๆ โดยเกิดเป็นระยะเวลา 6 เดือน\" (เกณฑ์ 1) ซึ่ง \"ทำให้เกิดความทุกข์อย่างสำคัญที่จะต้องรักษา หรือเกิดความเสียหายต่อหน้าที่ด้านสังคม อาชีพ หรือด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ\" (เกณฑ์ 2)\nDSM-IV-TR กำหนดความผิดปกติแบบกามวิปริตโดยเฉพาะ 8 ประเภท คือ การแสดงอนาจาร การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ การถูอวัยวะอนาจาร โรคใคร่เด็ก โรคมาโซคิสม์ทางเพศ โรคซาดิสม์ทางเพศ โรคถ้ำมอง และโรคชอบแต่งกายลักเพศ โดยจัดกามวิปริตที่เหลือในหมวดหมู่ \"กามวิปริตที่ไม่ได้กำหนดไว้อย่างอื่น\" (paraphilia not otherwise specified)\nเกณฑ์ที่ 2 จะแตกต่างในโรคต่อไปนี้คือ\nส่วนความตื่นตัวทางเพศต่อวัตถุที่ออกแบบเพื่อประโยชน์ทางเพศไม่มีการวินิจฉัย",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#4",
"text": "เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็ได้เริ่มจัดหมวดหมู่กามวิปริตแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นระบบการอธิบายความชอบใจแบบต่าง ๆ นอกเหนือจากที่มีในด้านกฎหมายและศาสนาในยุคนั้นเกี่ยวกับการร่วมเพศทางทวารหนัก\nและกามวิปริตอื่น ๆ\nในเรื่องคู่มือวินิจฉัยแพทย์ ก่อนที่จะเริ่มใช้คำว่า \"paraphilia\" ใน DSM-III (ค.ศ. 1980) คู่มือ 2 ฉบับแรกได้ใช้คำว่า \"sexual deviation\" แทน\nในปี ค.ศ. 1981 บทความพิมพ์ใน\"วารสารจิตเวชศาสตร์อเมริกัน\" แสดงกามวิปริตว่าเป็น \"จินตนาการที่เร้าความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง ความอยากทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศ ที่เกิดซ้ำ ๆ โดยทั่วไปเกี่ยวกับ\"",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#24",
"text": "คือคณะทำงานของ DSM-5 กลุ่มย่อยเรื่องกามวิปริตได้ถึง \"มติส่วนใหญ่ว่า กามวิปริตไม่จำเป็นที่จะเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างแน่นอน\"\nและเสนอ \"ให้ DSM-V แยกแยะระหว่าง paraphilias (กามวิปริต) และ paraphilic disorders (ความผิดปกติแบบกามวิปริต)\"\nคือแพทย์สามารถ \"ถึงความมั่นใจ\" (ascertain) ว่าผู้ป่วยมีกามวิปริต (ตามลักษณะของความอยาก จินตนาการ หรือพฤติกรรม) แต่จะ \"วินิจฉัย\" ความผิดปกติแบบกามวิปริต (ต่อเมื่อมีมูลเกี่ยวกับความทุกข์ ความบกพร่อง หรือการกระทำสนองที่เสียหาย)\nโดยแนวคิดเช่นนี้ การมีกามวิปริตจะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นแต่ยังไม่พอในการจัดว่ามีความผิดปกติแบบกามวิปริต\nหัวข้อ \"เหตุผล\" (Rationale) ของกามวิปริตทุกอย่างใน DSM-5 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ร่าง กล่าวต่อไปว่า\nศาสตราจารย์ทางชีวจริยธรรมผู้หนึ่งตีความการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ว่า \"เป็นวิธีแยบยลที่จะกล่าวว่า ความสนใจแปลก ๆ ทางเพศไม่มีปัญหาโดยพื้นฐาน ไม่มีปัญหาจนกระทั่งว่า คณะทำงานย่อยไม่ได้พยายามที่จะนิยามกามวิปริต แต่ได้นิยามความผิดปกติแบบกามวิปริต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปก่อให้เกิดทุกข์หรือความบกพร่องต่อบุคคลนั้น หรือมีผลเสียหายต่อผู้อื่น\"\nเมื่อศาสตราจารย์ผู้นี้สัมภาษณ์ ดร.เรย์ แบล็งเชิร์ด ผู้เป็นประธานกลุ่มทำงานย่อยเรื่องกามวิปริต ดร.แบล็งเชิร์ดได้อธิบายว่า \"เราได้พยายามสุดความสามารถเพื่อจะจัดกามวิปริตอ่อน ๆ และไม่มีผลเสียหายให้ไม่เป็นโรค โดยทำอย่างเข้าใจว่า กามวิปริตรุนแรงที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือความบกพร่องต่อบุคคล หรือเป็นเหตุทำร้ายผู้อื่น ได้รับพิจารณาอย่างสมเหตุผลว่า เป็นความผิดปกติ\"",
"title": "โรคกามวิปริต"
}
] | [
{
"docid": "767586#10",
"text": "มีการโต้เถียงกันทั้งทางวิทยาศาสตร์และทางการเมืองเกี่ยวกับการรวมการวินิจฉัยทางเพศเช่นกามวิปริตใน DSM เพราะเหตุว่า การเป็นโรคจิตถือว่าเป็นดวงด่างทางสังคม\nกลุ่มต่าง ๆ ที่ต้องการความเข้าใจและความยอมรับเกี่ยวกับความแตกต่างทางการเพศ ได้วิ่งเต้นให้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายและการแพทย์ของความสนใจและพฤติกรรมทางเพศที่แปลก\nส่วนแพทย์ที่เป็นเสียงให้ต่อชนส่วนน้อยในเรื่องเพศ อ้างว่าการวินิจฉัยเช่นนี้ไม่ควรมีในคู่มือการวินิจฉัย",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#2",
"text": "มีศัพท์หลายอย่างที่หมายถึงความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปต่าง ๆ แต่ก็ยังมีการโต้เถียงเกี่ยวกับความแม่นยำของคำเหล่านั้น และเกี่ยวกับความเข้าใจของอาการต่าง ๆ เหล่านั้น\nนักเพศวิทยา ดร.จอห์น มันนี่ เป็นผู้สร้างความนิยมให้กับคำว่า \"paraphilia\" เพื่อใช้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ใช่เป็นคำดูถูก ของความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไป\nโดยกล่าวถึงกามวิปริตว่า เป็นการตกแต่งเพิ่มรสชาติ หรือเป็นทางเลือก ของข้อปฏิบัติทางเพศทั่วไป\nแต่จิตแพทย์ท่านอื่นก็เขียนไว้ว่า แม้จะมีความพยายามโดยบุคคลต่าง ๆ รวมทั้ง ดร.มันนี่ คำว่า \"paraphilia\" ก็ยังเป็นคำดูถูกในกรณีทั่ว ๆ ไป",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#6",
"text": "โดยกลางคริตส์ศตวรรษที่ 20 แพทย์พยาบาลเกี่ยวกับสุขภาพจิตเริ่มจัดหมวดหมู่กามวิปริตโดยเป็นเพศสภาพที่เบี่ยงเบน (deviant sexuality)\nมีหมายเลขเริ่มต้นเป็น 000-x63 ใน DSM โดยมีรักร่วมเพศอยู่ในอันดับแรก (หมายเลข 302.0) จนกระทั่งสมาคมจิตเวชศาสตร์อเมริกัน (APA) ถอนรักร่วมเพศออกจากความเป็นโรคที่วินิจฉัยในคู่มือในปี ค.ศ. 1974\nจิตแพทย์ผู้ชำนาญในโรคกามวิปริตกล่าวว่า \"ความผิดปกติทางเพศหลายอย่างที่ครั้งหนึ่งพิจารณาว่าเป็นโรคกามวิปริต (เช่น รักร่วมเพศ) เดี๋ยวนี้พิจารณาว่า เป็นความแตกต่างทางเพศสภาพที่ปกติ\"",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#15",
"text": "แพทย์ผู้รักษาจำแนกกามวิปริตเป็นแบบมีก็ได้ (optional) ชอบใจ (preferred) และจำกัดเฉพาะ (exclusive)\nแม้ว่า ศัพท์ภาษาอังกฤษเหล่านี้ยังจะไม่ใช้เป็นมาตรฐาน\nกามวิปริตแบบมีก็ได้ เป็นหนทางการตื่นตัวทางเพศอีกอย่างหนึ่ง\nยกตัวอย่างเช่น ชายที่มีความสนใจทางเพศที่ไม่แปลกอะไรเลย บางครั้งอาจจะหาวิธีปลุกอารมณ์ทางเพศโดยใส่ชุดชั้นในของผู้หญิง\nส่วนแบบชอบใจ เป็นกรณีที่บุคคลชอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับกามวิปริตนั้น มากกว่ากิจกรรมทางเพศทั่วไปอื่น ๆ แม้ว่าจะยังร่วมกิจกรรมทั่ว ๆ ไปอยู่",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#13",
"text": "ส่วนคู่มือ DSM-IV-TR ยอมรับว่า การวินิจฉัยและการจัดหมวดหมู่ของโรคกามวิปริตข้ามวัฒนธรรมและศาสนา \"เกิดความยุ่งยากโดยความจริงว่า สิ่งที่พิจารณาว่าเบี่ยงเบนในวัฒนธรรมหนึ่ง อาจจะยอมรับได้มากกว่าในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง\"\nและก็มีนักวิชาการที่อ้างว่า การพิจารณาว่าอะไรเป็นโรคกามวิปริตควรจะพิจารณาในบริบทของวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล เพราะว่า มีความแตกต่างว่า อะไรยอมรับได้ทางเพศ ในวัฒนธรรมต่าง ๆ",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#23",
"text": "ส่วนคู่มือ DSM-5 แยกแยะระหว่าง \"กามวิปริต\" (paraphilia) และ \"ความผิดปกติแบบกามวิปริต\" (paraphilic disorder) โดยกล่าวว่า กามวิปริตเพียงเท่านั้น ยังไม่จำเป็นที่จะบำบัดรักษาทางจิตเวช และนิยาม \"ความผิดปกติแบบกามวิปริต\" ว่า \"กามวิปริตที่กำลังสร้างความทุกข์หรือก่อความบกพร่องให้กับบุคคลนั้น หรือกามวิปริตที่การสนองมีผลเสียหายต่อผู้อื่น หรือว่าเสี่ยงที่จะให้ผู้อื่นเสียหาย\"",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "773798#4",
"text": "สมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association) ได้จัดหมวดหมู่รูปแบบจินตนาการ ความอยาก และพฤติกรรมแบบถ้ำมองว่าเป็นโรคกามวิปริตใน\"คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต\" (DSM-IV) ถ้าบุคคลนั้นประพฤติตามความอยาก หรือว่าความอยากและจินตนาการทางเพศเช่นนั้น ทำให้เกิดความทุกข์และความขัดข้องในความสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างสำคัญ\nในคู่มือสากลคือ ICD-10 นี้จัดเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับความชอบใจทางเพศ (disorder of sexual preference)\nDSM-IV นิยาม voyeurism ว่าเป็นการดู \"คนที่ไม่สงสัย ปกติเป็นคนแปลกหน้า ที่เปลือย หรือกำลังถอดเสื้อผ้า หรือกำลังมีกิจกรรมทางเพศ\"\nแต่ว่าการวินิจฉัยเช่นนี้ จะไม่ให้ต่อบุคคลที่เกิดอารมณ์ทางเพศปกติ โดยเพียงแต่เห็นความเปลือยหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้น\nคือ จะได้วินิจฉัยเช่นนี้ อาการดังกล่าวต้องเกิดเป็นเวลากว่า 6 เดือน และบุคคลนั้นต้องมีอายุเกินกว่า 18 ปี",
"title": "โรคถ้ำมอง"
},
{
"docid": "767586#27",
"text": "นักจิตวิทยาโดยมากเชื่อว่า ความสนใจทางเพศแบบกามวิปริตไม่สามารถเปลี่ยนได้\nดังนั้น จุดมุ่งหมายของการบำบัดโดยปกติก็เพื่อลดความอึดอัดของบุคคลเกี่ยวกับกามวิปริตของตน และจำกัดไม่ให้มีพฤติกรรมผิดกฎหมาย\nโดยมีทั้งวิธีบำบัดทางจิต (psychotherapy) และวิธีใช้ยา",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#17",
"text": "ในจิตเวชศาสตร์อเมริกัน ก่อนจะมีคู่มือ DSM-I กามวิปริตจัดอยู่ในหมวดหมู่ \"บุคลิกภาพต่อต้านสังคมพร้อมกับเพศสภาพที่เป็นจิตพยาธิ\" (psychopathic personality with pathologic sexuality)\nต่อมาในปี 1952 คู่มือ DSM-I รวม \"ความเบี่ยงเบนทางเพศ\" (sexual deviation) โดยเป็นแบบย่อยของ \"ความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่อต้านสังคม\" (sociopathy)\nส่วนแนวทางวินิจฉัยเดียวที่คู่มือกล่าวถึงก็คือ ความเบี่ยงเบนทางเพศควร \"จำกัดให้กับเพศสภาพที่เบี่ยงเบน ที่ไม่ใช่เป็นส่วนของกลุ่มอาการที่กว้างขวางกว่านั้น เช่น โรคจิตเภทหรือโรคย้ำคิดย้ำทำ\"\nแพทย์รักษาจะเป็นผู้กำหนดบทที่ให้รายละเอียดโดยเฉพาะของความผิดปกติ (supplementary term) ในการวินิจฉัยความเบี่ยงเบนทางเพศนั้น โดยไม่มีกำหนดใน DSM-I ว่า คำนั้นจะเป็นอะไรได้บ้าง\nแต่ว่า มีตัวอย่างที่ให้โดย DSM-I รวมทั้ง \"รักร่วมเพศ โรคชอบแต่งกายลักเพศ (transvestism) โรคใคร่เด็ก การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ (fetishism) และความซาดิสม์ทางเพศรวมทั้งการข่มขืน การทำร้ายทางเพศ การทำให้เสียอวัยวะ\"",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#20",
"text": "ต่อมาคู่มือ DSM-IV ในปี 1994 ก็ยังใช้หมวดหมู่ \"ความผิดปกติทางเพศ\" สำหรับโรคกามวิปริตอยู่ แต่สร้างหมวดหมู่ย่อยที่กว้างกว่าคือ \"sexual and gender identity disorders\" แล้วรวมโรคกามวิปริตใต้หมวดหมู่ย่อยนั้น\nและคู่มือก็ยังมีประเภทต่าง ๆ ของโรคกามวิปริตที่กำหนดใน DSM-III-R รวมทั้งตัวอย่างในหมวดหมู่ paraphilia NOS แม้ว่าจะเปลี่ยนนิยามของโรคโดยเฉพาะ ๆ",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "767586#25",
"text": "แต่ก็มีนักวิชาการท่านอื่นที่ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญอะไร เนื่องจากว่า DSM-IV ก็ยอมรับอยู่แล้วว่า\nโรคกามวิปริตแตกต่างจากความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปแต่ไม่เป็นโรค ซึ่งเหมือนกับข้อเสนอสำหรับ DSM-5 แต่เป็นความแตกต่างที่มักจะมองข้ามไปในการปฏิบัติ\nส่วนนักภาษาศาสตร์ผู้หนึ่งอ้างว่า \"การรวมความสนใจทางเพศบางอย่างเข้าใน DSM แต่ไม่รวมอย่างอื่น ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันขั้นพื้นฐาน และสื่อความรู้สึกเชิงลบต่อความสนใจทางเพศที่รวมอยู่\" แล้วจัดกามวิปริตไว้ในสถานการณ์คล้ายกับความรักร่วมเพศที่ผู้มีรู้สึกเป็นทุกข์ (ego-dystonic homosexuality) ที่ DSM ได้เอาออกจากคู่มือแล้วเพราะว่าไม่ใช่ความผิดปกติ",
"title": "โรคกามวิปริต"
}
] |
2397 | ยุคแห่งการสำรวจเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "274393#0",
"text": "ยุคแห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ () เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศ",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
}
] | [
{
"docid": "274393#22",
"text": "เมื่อสินค้าต่างๆ ที่เคยเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมาจากการสำรวจเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นก็ทำให้ราคางสินค้าเหล่านี้เริ่มคงตัว การค้าขายทางมหาสมุทรแอตแลนติกมาแทนที่อำนาจการค้าขายของอิตาลีและเยอรมนีที่เคยใช้ทะเลบอลติกในการเดินทางขนส่งสินค้ากับรัสเซีย และมาแทนการค้าขายผ่านชาติอิสลาม นอกจากนั้นสินค้าใหม่ก็ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โครงสร้างทางสังคม เมื่อน้ำตาล, เครื่องเทศ, ไหม และเครื่องถ้วยชามของจีนเข้ามาในตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยของยุโรป ความมั่งคั่งที่สเปนประสบประจวบกับภาวะเงินเฟ้อทั้งภายในสเปนและยุโรปโดยทั่วไป ภายในไม่กี่สิบปีการทำเหมืองในทวีปอเมริกาก็มีผลผลิตมากกว่าการทำเหมืองในยุโรปเอง สเปนยิ่งต้องพึ่งรายได้จากการค้าจากทวีปอเมริกาเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็นำไปสู่การล้มละลายของสเปนครั้งแรกในปี ค.ศ. 1557 ที่เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายทางการทหารที่มากขึ้นจนเกินตัว การทวีตัวของราคาเป็นผลให้มีการหมุนเวียนทางการเงินในยุโรปมากขึ้นและทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าในบรรดาชนชั้นกลางในยุโรป ที่มามีอิทธิพลต่อสถานะภาพทั้งทางการเมืองและทางวัฒนธรรมในหลายประเทศในยุโรปโดยทั่วไป",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "274393#5",
"text": "การเดินทางเพื่อการสำรวจหาเส้นทางค้าขายทางทะเลใหม่ไปยังเอเชียมิได้เริ่มขึ้นโดยชายยุโรปอย่างจริงจังจนมากระทั่งเมื่อมีการวิวัฒนาการเรือคาร์แร็ค และต่อมา เรือคาราเวลขึ้น สาเหตุที่กระตุ้นการริเริ่มการสำรวจเกิดขึ้นหลังจากการยึดคอนสแตนติโนเปิลโดยชนเติร์กในปี ค.ศ. 1453 จากนั้นจักรวรรดิออตโตมันก็มีอำนาจควบคุมการค้าขายในบริเวณนั้น และกีดกันชาวยุโรปบจากการใช้เส้นทางเส้นทางสายไหม หรือ การค้าขายไหมและการค้าเครื่องเทศ และเส้นทางการค้าขายผ่านทางแอฟริกาเหนือที่มีความสำคัญสำหรับยุโรปในการเป็นเส้นทางการค้าผสมระหว่างทางบกและทางทะเลผ่านทางทะเลแดงไปยังเอเชีย ทั้งเครื่องเทศและไหมเป็นธุรกิจใหญ่ในยุคนั้น รวมทั้งเครื่องเทศที่ใช้ประโยชน์ทั้งในการถนอมอาหารและปรุงรสซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างน้อยก็สำหรับผู้มีฐานะดีหรือผู้มีอันจะกิน",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "623202#0",
"text": "การทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา เกิดจากยุคแห่งการสำรวจโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ",
"title": "การทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา"
},
{
"docid": "274393#19",
"text": "เส้นทางข้ามมหาสมุทร (Trans-Oceanic) ใหม่นี้เป็นการนำมหาอำนาจยุโรปเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมเมื่อยุโรปเข้ามาควบคุมประเทศต่างๆ เกือบทั้งโลก ความต้องการของยุโรปในการทำการค้าขาย หาวัตถุดิบ ค้าทาส และขยายจักรวรรดิมีผลต่อบริเวณต่างๆ ของโลก สเปนดำเนินนโยบายการทำลายวัฒนธรรมต่างๆ ในทวีปอเมริกาจนวอดวาย และแทนที่วัฒนธรรมเหล่านั้นด้วยวัฒนธรรมของตนเองและบังคับให้ชนท้องถิ่นละทิ้งประเพณีทางศาสนาของตนเองและเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนา พฤติกรรมนี้กลายเป็นมาตรฐานทั่วไปของชาติต่างๆ ในยุโรปในการปฏิบัติต่อดินแดนต่างๆ ที่เข้ายึดครองโดยเฉพาะดัตช์, รัสเซีย, ฝรั่งเศส และอังกฤษ ศาสนาใหม่เข้ามาแทนที่ศาสนาที่ชาวยุโรปถือว่าเป็น “ลัทธิเพกัน” นอกจากศาสนาแล้วก็ยังมีการบังคับใช้ภาษา ระบบการบริหาร และประเพณีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศในบริเวณต่างๆ เช่นอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และ อาร์เจนตินา ชนท้องถิ่นถูกขับออกจากที่อยู่อาศัยเดิมหรือถูกจำกัดให้อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เจ้าของอาณานิคมก่อตั้งให้ ประชากรท้องถิ่นถูกลดจำนวนลงไปเป็นจำนวนมาก และในที่สุดก็กลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่ต้องอาศัยพึ่งพารัฐบาลของอาณานิคมที่เข้ามายึดครอง",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "274393#7",
"text": "จุดมุ่งหมายหลักของเจ้าชายเฮนรีในการเดินทางครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสำรวจฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของแอฟริกา และเขียนแผนที่เดินเรือพอร์โทลาน นอกจากนั้นก็ยังมีเหตุผลข้างเคียงที่รวมทั้งเหตุผลทางการค้า และทางศาสนา เป็นเวลาหลายศตวรรษเส้นทางการค้าขายที่เชื่อมแอฟริกาตะวันตกกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเส้นทางที่ต้องเดินผ่านทางด้านตะวันตกของทะเลทรายซาฮารา เส้นทางนี้เป็นเส้นทางการค้าขายทาสและทองที่ควบคุมโดยรัฐอิสลามในแอฟริกาเหนือ ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของทั้งโปรตุเกสและสเปน พระมหากษัตริย์โปรตุเกสจึงทรงหวังที่จะหาทางเลี่ยงการค้าขายที่ต้องผ่านรัฐอิสลามโดยการค้าโดยตรงกับแอฟริกาตะวันตกทางทะเล และรัฐเหล่านี้อาจจะกลายมาเป็นรัฐคริสเตียนซึ่งทำให้เป็นพันธมิตรในการต่อต้านรัฐอิสลามในมาเกร็บ ในปี ค.ศ. 1434 นักสำรวจชาวโปรตุเกส Gil Eanes ก็สามารถพิชิตอุปสรรคของแหลมโบฮาดอร์ (Cape Bojador) ได้ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1455 พระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ก็ทรงออกพระบัญญัติ “โรมานัสพอนทิเฟ็กซ์” (Romanus Pontifex) ที่ระบุว่าประเทศใดที่พบที่ไกลไปจากแหลมโบฮาดอร์เป็นของโปรตุเกส",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "274393#1",
"text": "ยุคแห่งการสำรวจประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นทาง, การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่, การมีแผนที่ใหม่ และความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่ไปยังเอเชียโดยเลี่ยงอุปสรรคถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทางทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดยโปรตุเกส--เรือคาร์แร็ค (Carrack) และ เรือคาราเวล (Caravel) ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ความปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "274393#17",
"text": "การขยายตัวของยุโรปเหนือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของอำนาจของโปรตุเกสในแอฟริกาและในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ดัตช์, ฝรั่งเศส และอังกฤษส่งเรือไปผ่านไปในดินแดนที่เป็นของโปรตุเกส แต่โปรตุเกสก็ไม่มีหนทางใดที่จะหยุดยั้งได้เพราะขาดกำลังคนและทุนทรัพย์ นอกจากนั้นประเทศเหล่านี้ก็ยังก่อตั้งสถานีค้าขายของตนเองขึ้นมาด้วย ส่วนแบ่งทางการตลาด (market share) ของโปรตุเกสและสเปนก็เริ่มลดลง นอกจากนั้นแล้วยุโรปเหนือก็ขยายการสำรวจไปยังบริเวณที่ยังไม่ได้รับการสำรวจในมหาสมุทรแปซิฟิกและฝั่งทะเลทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ นักสำรวจดัตช์เช่น วิลเล็ม ฟานส์ซุน (Willem Janszoon) และ อาเบล ทัสมันเดินทางไปสำรวจฝั่งทะเลของทวีปออสเตรเลีย ขณะที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักสำรวจชาวอังกฤษเจมส์ คุกเป็นผู้เขียนแผนที่โพลินีเซีย คุกเดินทางไกลไปถึงอะแลสกาโดยทิ้งชื่อต่างๆ ไว้เป็นที่ระลึกเช่นอ่าวบริสตอล หรืออ่าวเล็กคุกในอะแลสกา",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "159247#40",
"text": "นโยบายที่สำคัญอีกประการของประธานาธิบดีแจ็กสันคือ การไม่ต่ออายุธนาคารแห่งชาติสหรัฐที่สอง (Second Bank of the United States) ซึ่งจะหมดอายุในค.ศ. 1836 แจ็กสันมองว่าธนาคารกลางมีอำนาจความคุมการเงินของประเทศเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน และเป็นสถาบันที่เอื้อประโยชน์แก่นายทุนชนชั้นกลางจำนวนเพียงหยิบมือ ซึ่งเมื่อไม่มีธนาคารกลางเศรษฐกิจของสหรัฐจึงปราศจากสถาบันควบคุมนำไปสู่ความตื่นตระหนกปีค.ศ. 1837 (Panic of 1837) ในสมัยของประธานาธิบดีคนต่อมาคือนายมาร์ติน แวน บิวเรน เศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้พรรคเดโมแครตมีความนิยมที่เสื่อมลงและเปิดโอกาสให้พรรควิกหาเสียงไปในทางที่ว่าประธานาธิบดีแจ็กสันเป็นเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้พรรควิกชนะการเลือกตั้งและได้ขึ้นครองประเทศในที่สุด",
"title": "ประวัติศาสตร์สหรัฐ"
},
{
"docid": "2065#34",
"text": "วัตถุประสงค์แกนกลางดั้งเดิมสองประการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปคือการพัฒนาตลาดร่วม ซึ่งต่อมากลายเป็นตลาดเดียว และสหภาพศุลกากรระหว่างรัฐสมาชิก ตลาดเดียวเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีซึ่งสินค้า ทุน บุคคลและบริการภายในสหภาพยุโรป และสหภาพศุลกากรซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้บังคับอากรศุลกากรภายนอกร่วมต่อสินค้าทุกชนิดที่เข้าสู่ตลาดดังกล่าว เมื่อสินค้าถูกรับเข้าตลาดแล้วจะไม่มีการเก็บอากรศุลกากร ภาษีเลือกปฏิบัติหรือโควตานำเข้าอีกเมื่อมีการเคลื่อนย้ายภายใน รัฐสมาชิกที่มิใช่สหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์และสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมในตลาดเดียวแต่ไม่เข้าร่วมสหภาพศุลกากร การค้ากึ่งหนึ่งในสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งสหภาพยุโรปปรับปรุงให้สอดคล้องกัน",
"title": "สหภาพยุโรป"
}
] |
2400 | ภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส มีทั้งหมดกี่ภาค? | [
{
"docid": "442940#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ () เป็นภาพยนตร์ไตรภาคที่มีการวางแผนว่าจะสร้างมาแล้วหลายครั้ง โดยจะเป็นภาคต่อ (ตอนที่ 7-9) ของไตรภาคเดิม (ตอนที่ 4-6) ของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" โดยบริษัทลูคัสฟิล์ม แม้ภาพยนตร์ไตรภาคต้นที่เคยได้รับการพูดถึงในลักษณะเดียวกันมาก่อนจะได้รับการผลิตเป็นภาพยนตร์ออกฉายจริง ๆ ในช่วง ค.ศ. 1999-2005 ก็ตาม แต่ทั้งลูคัสฟิล์มและจอร์จ ลูคัสได้ปฏิเสธอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ว่าจะไม่มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อของสตาร์ วอร์ส และเนื้อเรื่องทั้งหมดของสตาร์ วอร์ส จะมีแค่ภาพยนตร์ 6 ตอนเท่านั้น",
"title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ"
},
{
"docid": "907838#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 9 () เป็นภาพยนตร์ในชุด\"สตาร์ วอร์ส\" ภาพยนตร์มหากาพย์เทพนิยายอวกาศ มี เจ. เจ. แอบรัมส์ เป็นผู้กำกับ อำนวยการสร้าง และร่วมเขียนบท เป็นภาพยนตร์ลำดับที่สามและลำดับสุดท้ายในชุดภาพยนตร์ไตรภาคต่อของ\"สตาร์ วอร์ส\" ต่อจาก \"\" เป็นผลงานร่วมผลิตระหว่างบริษัทลูคัสฟิล์ม และแบดโรบอทโปรดักชันส์ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ของแอบรัมส์ จัดจำหน่ายโดยวอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส มีกำหนดออกฉายวันที่ 20 ธันวาคม 2019",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 9"
}
] | [
{
"docid": "11758#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ ()) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ ออกฉายในปี พ.ศ. 2520 เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับแรกสุดของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ทั้ง 6 ภาค โดยมีภาคต่ออีก 2 ภาค ครบสมบูรณ์เป็นไตรภาคเดิม และภาคก่อนอีก 3 ภาคเป็นไตรภาคต้น รวมเป็นมหากาพย์ 6 ภาค ตามลำดับเวลาในเรื่องแล้วถือเป็นลำดับที่ 4 ของการเดินเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของการใช้เทคนิกพิเศษในการถ่ายทำภาพยนตร์ การตัดต่อแบบแหวกแนว และการเล่าเรื่องแนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและเป็นแรงบันดาลใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งตลอดกาล",
"title": "สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "6939#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น () เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ออกฉายเป็นลำดับที่สี่ของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" เป็นภาคแรกของภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ชุดไตรภาคต้น และเป็นภาพยนตร์ลำดับแรกสุดตามลำดับเหตุการณ์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่เป็นผลงานกำกับของจอร์จ ลูคัส เรื่องแรกในรอบ 22 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคแรกสุด และเป็นผลงานกำกับเรื่องที่สี่ของเขา",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "11751#0",
"text": "สตาร์วอร์ส 2 () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ()) เป็นภาพยนตร์ภาคที่สองในไตรภาคที่สองของภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส ของจอร์จ ลูคัส และเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับที่ 2 ของชุดภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ทั้งหมด ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 มีการฉายใหม่โดยมีการปรับปรุงภาพและเสียงในปี พ.ศ. 2540 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2547 กำกับโดยเออรวิน เคอร์ชเนอร์ เขียนบทโดยลี แบรคเกต และลอว์เรนซ์ แคสแดน ร่วมกับจอร์จ ลูคัส ซึ่งแต่งเรื่อง และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสร้าง เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับที่ 2 ของชุดภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ทั้งหมด",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ"
},
{
"docid": "299451#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส () เป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดทางโทรทัศน์แบบแอนิเมชัน 3 มิติ ผลิตโดย Lucasfilm Animation, Lucasfilm Animation Singapore และ CGCG Inc. ฉายครั้งแรกในช่อง Cartoon Network ของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินเรื่องในจักรวาล\"สตาร์ วอร์ส\" ช่วงเวลาเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูนชุด \"\" ที่เคยฉายในปี พ.ศ. 2546 ดำเนินเรื่องตามเวลาในท้องเรื่องช่วงปีที่ 22-20 ก่อนยุทธการยาวิน แต่ละตอนยาวประมาณ 22 นาที ฉายในช่วง 30 นาทีโทรทัศน์ จอร์จ ลูคัสผู้สร้าง\"สตาร์ วอร์ส\"กล่าวว่า \"จะมีทั้งหมดอย่างน้อย 100 ตอน (ประมาณ 5 ซีซั่น)\" มี Dave Filoni เป็น supervising director ในขณะที่ Genndy Tartakovsky ซึ่งเป็นผู้กำกับของการ์ตูนชุด \"Clone Wars\" ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนชุดนี้ แต่ผู้ออกแบบตัวละคร Kilian Plunkett ใช้การออกแบบตัวละครจากการ์ตูนชุดฉบับ 2D เป็นต้นแบบในการออกแบบตัวละครฉบับ 3D นี้ นอกจากนี้ยังมีหนังสือการ์ตูนออนไลน์เล่าเรื่องสั้นๆ ระหว่างแต่ละตอนด้วย",
"title": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส"
},
{
"docid": "6939#3",
"text": "\"ภัยซ่อนเร้น\"ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 นับเป็นเวลา 16 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคล่าสุดคือ\"การกลับมาของเจได\"ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1983 เสียงตอบรับเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ครอบครองพื้นที่สื่อจำนวนมาก และมีผู้ตั้งตารอคอยภาพยนตร์เรื่องนี้จำนวนมากเนื่องจากผลกระทบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มาจากภาพยนตร์ภาคก่อนๆ เสียงวิจารณ์เป็นไปในทางก้ำกึ่งโดยเสียงชื่นชมมาจากงานภาพและฉากแอกชัน แต่นักวิจารณ์มักชี้ว่ามีจุดบกพร่องในการเขียนบท การสร้างตัวละคร การแสดง และการกำกับการแสดง อย่างไรก็ดีภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 924.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลกจากการฉายครั้งแรก ทำให้เป็นภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ที่มีรายได้สูงที่สุดหากไม่ปรับตามค่าเงินเฟ้อ ปี ค.ศ. 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาปรับปรุงและฉายใหม่อีกครั้งในระบบสามมิติ จึงทำเงินเพิ่มได้อีก 102.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีรายรับรวมทั้งหมดทั่วโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัญฯ กลับมาอยู่ใน 10 อันดับภาพยนตร์รายรับสูงที่สุดตลอดกาล แต่คงอยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่\"อัศวินรัตติกาลผงาด\"จะมาชิงตำแหน่งไป",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "744599#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล () กำกับโดย Steve Binder เป็นภาพยนตร์ในเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\"ที่ผลิตสำหรับออกฉายทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1978 นำแสดงโดยนักแสดงหลักจากรวมทั้งแนะนำตัวละครใหม่เช่นโบบา เฟตต์ ซึ่งจะมีบทบาทในภาพยนตร์ตอนต่อๆ ไป ถือเป็นภาพยนตร์ภาคแยกของ\"สตาร์ วอร์ส\"ตอนแรกอย่างเป็นทางการ ภาพยนตร์ตอนนี้ออกฉายทางโทรทัศน์เพียงครั้งเดียวในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 (หนึ่งสัปดาห์ก่อนเทศกาลขอบคุณพระเจ้า) ทางสถานีโทรทัศน์ CBS ตั้งแต่เวลา 20-22 นาฬิกา EST",
"title": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล"
},
{
"docid": "80020#1",
"text": "ตัวอย่างเช่น จักรวาลขยายของเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\" หมายถึงเรื่องแต่งทั้งหมดที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ นอกเหนือไปจากภาพยนตร์ทั้ง 6 ภาค ที่อำนวยการสร้างโดยจอร์จ ลูคัส นับรวมไปถึงหนังสือ หนังสือการ์ตูน วิดีโอเกม ภาพยนตร์ตอนเดียวจบ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ ของเล่น และสื่ออื่นๆ การมีจักรวาลขยายนี้ทำให้ประวัติศาสตร์ในท้องเรื่องของ\"สตาร์ วอร์ส\" ได้รับการขยายไปจนถึง กว่า 25,000 ปี ก่อนเหตุการณ์ใน\"\" และกว่า 130 ปี หลังเหตุการณ์ใน\"\"",
"title": "จักรวาลขยาย"
},
{
"docid": "299651#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน () เป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันคอมพิวเตอร์แนววิทยาศาสตร์ แอกชัน ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\" ดำเนินเรื่องระหว่างภาพยนตร์\"\" และ\"\" และเป็นภาคปฐมบทของการ์ตูนชุดทางโทรทัศน์ \"\" ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ที่ Grauman's Egyptian Theatre และฉายรอบปกติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ที่ออสเตรเลีย และวันที่ 15 สิงหาคม ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ในทางลบจากนักวิจารณ์ และทำรายได้ไป 68.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทุนสร้าง 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ\nในช่วงสงครามโคลน อัศวินเจไดอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ และอาจารย์เจไดโอบีวัน เคโนบี นำกองทหารโคลนแห่งสาธารณรัฐจำนวนน้อยเข้าต่อสู้กับกองทัพหุ่นยนต์ฝ่ายแบ่งแยกบนดาวเคราะห์คริสทอฟซิส ระหว่างรอกำลังเสริม พาดาวันเจไดอาโซกา ทาโนเดินทางมาบนยานกระสวยพร้อมยืนยันว่าตนเองได้รับมอบหมายจากอาจารย์เจไดโยดาให้มาเป็นผู้ฝึกพาดาวันในความดูแลของอนาคิน อนาคินยอมรับอาโซกาเป็นศิษย์อย่างไม่เต็มใจนัก ทั้งหมดเข้าร่วมต่อสู้โดยอนาคินและอาโซกาสามารถปิดการทำงานของสนามพลังป้องกันฝ่ายแบ่งแยกได้สำเร็จ โอบีวันก็สามารถล่อหลอกผู้บัญชาการดรอยด์เอาไว้ได้ เปิดโอกาสให้สาธารณรัฐได้รับชัยชนะในการต่อสู้ และอนาคินก็เริ่มยอมรับในตัวอาโซกา",
"title": "สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (ภาพยนตร์)"
}
] |
2445 | มาเลเซียติดกับทะเลใด ? | [
{
"docid": "203926#0",
"text": "มาเลเซียตะวันตก () เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง)",
"title": "มาเลเซียตะวันตก"
},
{
"docid": "204408#0",
"text": "มาเลเซียตะวันออก () เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีชายแดนติดต่อกับอินโดนีเซียและบรูไน และมีทะเลจีนใต้กั้นอยู่ระหว่างมาเลเซียตะวันออกและมาเลเซียตะวันตก มาเลเซียตะวันออกเป็นที่ตั้งของรัฐและดินแดนสหพันธ์ 3 แห่ง ได้แก่ รัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวะก์ และดินแดนสหพันธ์ลาบวน",
"title": "มาเลเซียตะวันออก"
},
{
"docid": "1924#0",
"text": "มาเลเซีย (มาเลเซีย: ) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก",
"title": "ประเทศมาเลเซีย"
},
{
"docid": "277281#0",
"text": "พรมแดนมาเลเซีย-ไทย มีทั้งชายแดนระหว่างประเทศทั้งบนบกผ่านคาบสมุทรมลายู และทางน้ำทางช่องแคบมะละกา รวมไปถึง อ่าวไทย/ทะเลจีนใต้ มาเลเซียทอดตัวอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศไทย มีแม่น้ำโก-ลกเป็นพรมแดนระหว่างประเทศ ที่มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตรกั้นประเทศไทยและมาเลเซีย โดยประเทศไทยอยู่ทางเหนือ และประเทศมาเลเซียอยู่ทางใต้",
"title": "ชายแดนมาเลเซีย-ไทย"
}
] | [
{
"docid": "496126#0",
"text": "กรณีพิพาทเปดราบรังกา เป็นความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์ในการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ขนาดเล็กในทะเลจีนใต้ กรณีพิพาทนี้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 เมื่อมาเลเซียตีพิมพ์แผนที่ให้บริเวณนี้อยู่ในบริเวณของตน สิงคโปร์ได้ประท้วงแผนที่ฉบับนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ทั้งสองประเทศได้เจรจากันในช่วง พ.ศ. 2536 – 2537แต่ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ จึงส่งเรื่องให้ศาลโลกพิจารณาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ศาลโลกได้พิพากษาเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ให้เปดราบรังกาเป็นของสิงคโปร์ มิดเดิลร็อกส์เป็นของมาเลเซีย ส่วนเซาท์เลดจ์นั้นให้ขึ้นกับการตกลงแบ่งเขตน่านน้ำทางทะเลระหว่างสองประเทศ",
"title": "กรณีพิพาทเปดราบรังกา"
},
{
"docid": "608624#1",
"text": "เริ่มความพยายามค้นหานานาชาติในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งมองเห็นสัญญาณของเที่ยวบินครั้งสุดท้ายบนเรดาร์สอดส่องดูแลทุติยภูมิ และไม่นานก็ขยายไปช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การวิเคราะห์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างอากาศยานและเครือข่ายคมนาคมดาวเทียมอินมาร์แซทได้ข้อสรุปว่าเที่ยวบินดำเนินไปจนอย่างน้อย 08:19 และบินลงใต้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียใต้ แม้ยังไม่สามารถกำหนดตำแหน่งแม่นยำได้ ออสเตรเลียรับผิดชอบความพยายามค้นหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เมื่อการค้นหาย้ายไปมหาสมุทรอินเดียใต้ วันที่ 24 มีนาคม รัฐบาลมาเลเซียสังเกตว่าตแหน่งสุดท้ายที่กำหนดจากการสื่อสารดาวเทียมอยู่ไกลกว่าที่ลงจอดใด ๆ ที่เป็นไปได้ และสรุปว่า \"เที่ยวบิน MH370 สิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดียใต้\" การค้นหาระยะปัจจุบัน ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใหญ่และแพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน คือ การสำรวจพื้นสมุทรอย่างครอบคลุมประมาณ 1,800 กิโลเมตร (970 ไมล์ทะเล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ธ เวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ไม่พบอากาศยานจนวัที่ 29 กรกฎาคม 2558 เมื่อมีชิ้นส่วนกองเศษทะเลถูกพัดขึ้นฝั่งเกาะเรอูนียง ซึ่งต่อมามีการยืนยันว่าเป็นแฟลปเพอรอน (flaperon) จากเที่ยวบินที่ 370 ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งลำตัวเครื่องได้ ทำให้เกิดทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับการสาบสูญ",
"title": "มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370"
},
{
"docid": "711922#0",
"text": "สายชายฝั่งทะเลตะวันตก () เป็นสายรถไฟในประเทศมาเลเซีย ดำเนินการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) เริ่มต้นจากสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ตำบลปาดังเบซาร์ บนพรมแดนไทย–มาเลเซีย รัฐปะลิส ไปสิ้นสุดปลายทางที่จุดผ่านรถไฟวุดแลนด์ ประเทศสิงคโปร์ ส่วนชื่อ \"สายชายฝั่งทะเลตะวันตก\" ได้มากจากการที่ทางรถไฟตัดผ่านรัฐต่าง ๆ ริมชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซีย สถานีรถไฟหลักที่สำคัญ ได้แก่ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ในกัวลาลัมเปอร์, สถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในรัฐปีนัง และสถานีรถไฟเกมัส รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกได้",
"title": "สายชายฝั่งทะเลตะวันตก (ประเทศมาเลเซีย)"
},
{
"docid": "711924#0",
"text": "สายชายฝั่งทะเลตะวันออก () เป็นสายรถไฟในประเทศมาเลเซีย ดำเนินการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) เริ่มต้นทางจากสถานีรถไฟเกมัส ในรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน (ชุมทางระหว่างสายชายฝั่งตะวันตกกับสายชายฝั่งตะวันออก) ไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีรถไฟตุมปัต ในรัฐกลันตัน ส่วนชื่อ \"สายชายฝั่งทะเลตะวันออก\" ได้มากจากการที่ทางรถไฟตัดผ่านรัฐต่าง ๆ ริมชายฝั่งทะเลตะวันออกของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐปาหัง และรัฐกลันตัน แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะลัดเลาะไปตามป่าเขา จนได้ฉายาว่า รถไฟป่าดงดิบ",
"title": "สายชายฝั่งทะเลตะวันออก (ประเทศมาเลเซีย)"
},
{
"docid": "343281#0",
"text": "เซอลาโงร์ (, อักษรยาวี: ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และล้อมรอบกัวลาลัมเปอร์ไว้ทั้งหมด อาณาเขตของรัฐเซอลาโงร์ ทิศเหนือติดรัฐเปรัก ทิศตะวันออกติดรัฐปะหัง ทิศตะวันตกติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เมืองหลวงของเซอลาโงร์ชื่อ ชะฮ์อาลัม เมืองเจ้าผู้ครองชื่อ กลัง เป็นรัฐทีใหญ่อันดับ 9 ของมาเลเซีย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของเซอลาโงร์คือเปอตาลิงจายา ซึ่งได้รับเป็นสถานะเป็นเมืองดีเด่นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2006",
"title": "รัฐเซอลาโงร์"
},
{
"docid": "3937#3",
"text": "พ.ศ. 2496 องค์การอุทกวิทยาสากลได้กำหนดอณาเขตของมหาสมุทรแต่ถึงอย่างนั้นบางองค์กรก็ไม่ได้ใช้ตามการกำหนดเขตนี้อย่างเช่นเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ทางตะวันตกของแอตแลนติกติดกับทวีปอเมริกา ติดกับมหาสมุทรอาร์กติกบริเวณทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียน ทะเลแบเร็นตส์ ทางตะวันออกติดกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียนบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์(ซึ่งติดกับทะเลดำที่ติดกับทวีปเอเชีย)",
"title": "มหาสมุทรแอตแลนติก"
}
] |
2448 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "76392#0",
"text": "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2523, พ.ศ. 2524 - 2526 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขหลายสมัย เป็นนายแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่ ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
}
] | [
{
"docid": "209899#2",
"text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของขุนแสงสุรพาณิชย์ (จันทร์ แสงวิเชียร) และนางแสงสุรพาณิชย์ (ทรัพย์ แสงวิเชียร*2413 - 2512: 99 ปี) เป็นบุตรคนที่ 6 ของพี่น้อง 7 คน พี่ชาย 4 คน พี่สาว 1 คน น้องชาย 1 คน ท่านเสียชีวิตแล้วเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เมื่ออายุได้ 88 ปี เป็นอาจารย์แพทย์ผู้สร้างความเจริญให้กายวิภาคศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในคณะกรรมการฝ่ายแพทย์ ผู้ชันสูตรพระบรมศพ ผู้เขียนบันทึก เรื่อง \"เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต : หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์\"",
"title": "สุด แสงวิเชียร"
},
{
"docid": "76392#14",
"text": "นายแพทย์เสม ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานกรรมการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย สมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มีการผลักดันให้มีการสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ จำนวน 660 แห่ง สนับสนุนหลักการ “สุขภาพดีทั่วหน้าในปี 2543” (Health for all by the year 2000) สนับสนุนหลัก 10 ประการของการสาธารณสุขมูลฐานให้สุขภาพดีทั่วหน้าในปี 2543 และมีการจัดทำ จ.ป.ฐ. ความจำเป็นพื้นฐาน 8 ตัว ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมใช้เป็นหลัก",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "76392#2",
"text": "เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้ว โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ นายเสมได้เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต เมื่อ ปี พ.ศ. 2478 หลังจบการศึกษาแพทย์ปริญญาแล้ว เสมได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยังได้ไปร่วมประชุมและดูงานในประเทศต่างๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา บราซิล สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรีย นิวซีแลนด์รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเสมยังได้ศึกษาด้านทันตกรรม เพิ่มเติมจากศาสตราจารย์สี สิริสิงห์ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในชนบทได้ด้วย",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "28015#0",
"text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการ\nสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ราษฎรอาวุโส เป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข และนักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งเป็นผู้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิต นายแพทย์ประเวศ วะสี เกิดเมื่อวันที่ ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี ศึกษาชั้นมูลฐานในวัยเยาว์ที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง พ.ศ. 2490 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จบการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร\nนายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่ประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย",
"title": "ประเวศ วะสี"
},
{
"docid": "76392#9",
"text": "เสมเป็นที่รู้จักและเป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงรายอย่างหาที่เปรียบได้ยาก ความมุมานะและความคิดริเริ่มต่างๆทำให้เชียงรายมีความเจริญด้านการแพททย์มากขึ้น จึงนับเป็นข้าราชการที่มีความสามารถสูงผู้หนึ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2494 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ออกคำสั่งย้ายเสมจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง หน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พญาไท (ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลราชวิถี) และได้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นลำดับ ได้แก่ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ ได้ติดต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาขอผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยาศึกษาโรค Thalassemia ในประเทศไทย ได้ร่วมสร้างผลงานจนได้เป็นศาสตราจารย์ไทยที่เป็นผู้ชำนาญการในโรคนี้จนปัจจุบันรู้จักกันทั่วโลก มีการจัดคณะแพทย์และพยาบาลมาช่วยพัฒนาการปฏิบัติการทางด้านศัลยกรรมที่โรงเรียนแพทย์ และร่วมมือกับ ศาสตราจารย์เบน ไอซแมนส์ แต่งตำราศัลยศาสตร์ทั่วไปด้วยเงินทุน M.S.A.",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "76392#7",
"text": "เชียงราย เมื่อ 70 ปีก่อนนั้นขาดแคลนนายแพทย์มาก บ้านเมืองและโครงสร้างพื้นฐานก็ยังไม่พร้อม ข้าราชการ โดยเฉพาะคณะกรมการจังหวัดในสมัยนั้นจึงต้องร่วมมือกันทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพาระหว่าง พ.ศ. 2484-พ.ศ. 2488 เสมต้องทำงานอย่างหนักเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นนายแพทย์ที่ทุกคนต้องพึ่งพา แม้กระนั้น เขาก็ยังสามารถวางรากฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไว้มากพอสรุปได้ดังนี้เมื่อ พ.ศ. 2493 เสมได้จัดตั้งธนาคารเลือดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่จังหวัดเชียงราย ได้จัดทำสถานีอนามัยที่มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วไปทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเป็นครั้งแรกที่กิ่งอำเภอแม่สาย อำเภอเทิง อำเภอเชียงของและอำเภอพะเยา และจัดให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลออกเยี่ยมประชาชนในวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "76392#5",
"text": "หลังจบการศึกษาด้านการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2478 เสมได้ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด โดยไปจัดตั้งโรงพยาบาลเอกเทศขึ้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคอหิวาตกโรคจนโรคสงบลง ในปีต่อมาก็ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทศบาลนครสวรรค์ เป็นเวลา 2 ปี และได้เริ่มงานศัลยกรรมและงานทันตกรรมเป็นครั้งแรกในชนบท",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "43467#0",
"text": "ศาสตราจารย์ สกล พันธุ์ยิ้ม (31 มีนาคม 2486 - ) เกิดที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นในสาขาชีวเคมี อณูชีววิทยา พันธุศาสตร์ และพันธุวิศวกรรม เป็นเจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2528 และรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี พ.ศ. 2549 เป็นนักวิจัยในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2546 เป็นนักวิจัยของประเทศไทยที่ตีพิมพ์บทความซึ่งมีความถี่ของการอ้างอิงมากที่สุด จากผลงานวิจัยเรื่อง High Resolution Arylamide Gel Electrophoresis of Histones ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Biochemistry and Biophysics 130: 337-346 (1969) และได้รับการอ้างอิงสูงสุดมากกว่า 3,500 ครั้ง จัดเป็นบทความ Citation Classic จนได้รับรางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. เมื่อปี พ.ศ. 2542",
"title": "สกล พันธุ์ยิ้ม"
},
{
"docid": "224268#0",
"text": "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ (พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2538) สูตินรีแพทย์ชาวไทย, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นบุตรของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2461 จบแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอแรม แล้วรับราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนเป็นหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ระหว่าง พ.ศ. 2496-2512 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภากาชาดไทย",
"title": "หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์"
},
{
"docid": "76392#13",
"text": "นายแพทย์เสม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย สมัยรัฐบาล ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการจัดโครงสร้างใหม่ในกระทรวงสาธารณสุขและการกระจายอำนาจโดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติด้วยความร่วมมือของ W.H.O. และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
}
] |
2459 | ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะ มีทารกถูกพบอยู่ภายในอะไร? | [
{
"docid": "285193#2",
"text": "วันหนึ่งขณะที่เดินอยู่กลางป่า ชายแก่ผู้มีอาชีพตัดไผ่ชื่อทะเกะโตริ โนะ โอะกินะ ( \"\"ชายแก่ผู้ตัดไผ่ขาย\"\") มองเห็นปล้องไผ่ที่ส่องแสงเรืองรองเข้า ด้วยความสงสัยก็ไปตัดปล้องไผ่ดู ก็พบว่าภายในมีเด็กทารกผู้หญิงขนาดเท่าหัวแม่มือนอนอยู่ ทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะผู้มีความดีใจที่ได้พบเด็กน้อยน่ารักก็นำทารกกลับไปบ้านไปให้ภรรยาเลี้ยงอย่างลูก และตั้งชื่อให้ว่าคะงุยะฮิเมะ ( \"\"เจ้าหญิงแห่งราตรีอันเรืองรอง\"\")",
"title": "ตำนานคนตัดไผ่"
},
{
"docid": "285193#1",
"text": "เรื่องดำเนินไปโดยมีศูนย์กลางคือเด็กหญิงที่ไม่ทราบที่มา ชื่อ คะงุยะฮิมะ (Kaguya-hime) ที่คนตัดไผ่ไปพบเมื่อยังเป็นทารกภายในปล้องไผ่ที่เรืองแสง กล่าวกันว่าคะงุยะมาจากจันทรประเทศ (月の都) และมีผมที่ “เงาวาวเหมือนทอง”",
"title": "ตำนานคนตัดไผ่"
}
] | [
{
"docid": "774117#0",
"text": "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ ( แปล: ตำนานธิดาคะงุยะ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะแนวแฟนตาซีดรามา ผลิตโดยสตูดิโอจิบลิ กำกับและร่วมเขียนบทโดยอิซะโอะ ทะกะฮะตะ โดยอาศัยเค้าโครงจากตำนานคนตัดไผ่ ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลครั้งที่ 87",
"title": "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่"
},
{
"docid": "285193#0",
"text": "ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะ (, ) เป็นตำนานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นตัวอย่างของที่มาของนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์",
"title": "ตำนานคนตัดไผ่"
},
{
"docid": "566326#1",
"text": "ห้าปีก่อน ทุกคนในหมู่บ้านโอทสึกะเสียชีวิตด้วยโรคระบาด แต่มีผู้รอดชีวิต อยู่ 3คน คือ อินุซึกะ ชิโนะ, อินุคะวะ โซสึเกะ และฮามะจิ พวกเขาอาศัยอยู่ที่โบสถ์ใกล้กับหมู่บ้านอื่น ซึ่งใกล้กับป่าที่มืดมิดและอันตราย ที่โบสถ์ตลอดจนผู้รอดชีวิตอย่างเขาทั้งสามถูกจับตามองด้วยความเคลือบแคลงจากชาวบ้าน ศาสนจักรได้มาตามหา มุราซาเมะ ซึ่งเป็นปีศาจที่ได้รวมชีวิตกับชิโนะ ชิโนะและโซสึเกะต้องออกเดินทางไปยังศาสนจักรเพื่อช่วยเหลือฮามะจิ ซึ่งถูกศาสจักรลักพาตัวไป พวกเขาพบกับซาโตมิ ริโอ ซึ่งได้สั่งให้ชิโนะตามหาผู้ครอบครองลูกแก้วคนอื่น ซึ่งมีทั้งหมดแปดคน",
"title": "ตำนานประหลาดสุนัขทั้งแปดแห่งบูรพาทิศ"
},
{
"docid": "608211#9",
"text": "แต่เรื่องราวชีวิตหลังจากนี้ไม่ใคร่มีข้อมูลนัก แต่จากข้อเขียนของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ในอนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ได้ความเพียงว่า \"\"...ก่อนสวรรคตราว 1 ปี คนังก็ออกไปอยู่กับพวกมหาดเล็กทางฝ่ายหน้า ถึงรัชกาลที่ 6 ก็เลยหายสาบสูญไป ได้ยินแต่ว่าเพื่อนชวนเที่ยวจนเป็นโรคตาย... หมอไรท์เตอร์อธิบายว่า คนพวกนี้มักจะฉลาดเมื่อเล็ก ๆ แต่ปัญญาทึบเมื่อโตขึ้น\"\"",
"title": "คะนัง กิราตกะ"
},
{
"docid": "285193#3",
"text": "ตั้งแต่นั้นมาทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็พบว่าเมื่อใดที่ตนตัดปล้องไผ่ ก็จะพบก้อนทองก้อนเล็ก ๆ อยู่ภายในปล้องไผ่ที่ตัด ไม่นานนักทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็มีฐานะร่ำรวยขึ้นมา คะงุยะฮิเมะเองก็เติบโตขึ้นมาเป็นสตรีที่มีขนาดปกติและมีความสวยงามเป็นอันมาก ในระยะแรกทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็พยายามกันไม่ให้ลูกสาวได้พบกับคนแปลกหน้า แต่ไม่นานนักความสวยงามของคะงุยะก็เป็นที่เลื่องลือจนเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป จนกระทั่งมีเจ้าชายห้าพระองค์เสด็จมาขอตัวคะงุยะฮิเมะต่อทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะ และทรงพยายามหว่านล้อมให้ทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะไปบอกให้คะงุยะฮิเมะเลือกเจ้าชายองค์ใดองค์หนึ่งจนกระทั่งสำเร็จ เมื่อทราบว่ามีผู้มาหมายปองคะงุยะฮิเมะจึงวางแผนกันตนเอง โดยตั้งข้อทดสอบต่าง ๆ ที่ยากเกินกว่าที่จะทำให้สำเร็จได้ให้เจ้าชายแต่ละองค์ไปทำ คะงุยะฮิเมะประกาศว่าจะยอมแต่งงานกับเจ้าชายองค์ใดที่สามารถนำสิ่งที่ตนขอมากลับมาได้",
"title": "ตำนานคนตัดไผ่"
},
{
"docid": "457264#3",
"text": "มีรายงานข่าวว่า ในอัคคีภัยคราวนั้น บรรดาพนักงานหญิงที่สวมกิโมโนไม่ยอมกระโดดจากหลังคาลงสู่ฟูกเบื้องล่าง เพราะกระดากอายเกลือกผู้คนจะเห็นว่าไม่นุ่งชั้นใน และยอมตายอยู่ในกองเพลิงแทน ข่าวนี้ชาวยุโรปสนใจเป็นอันมาก ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นเองโจษจันกันจนกลายเป็นตำนานพื้นบ้าน (urban legend) ว่า ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าต้องสั่งให้พนักงานหญิงนุ่งชั้นในหรือกางเกงขาสั้นเมื่อสวมกิโมโน ต่อมา จึงกลายเป็นรสนิยมอย่างใหม่ไป",
"title": "มหาอัคคีภัยชิโระกิยะ"
},
{
"docid": "85934#0",
"text": "พลิกตำนานมาพบรัก () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวเด็กผู้หญิงที่วาดโดย ยู วาตาเซะ โดยมีตัวนำเรื่องคือ ยูกิ มิอากะ เด็กสาวผู้หลงเข้าไปในประเทศจีนยุคโบราณ และได้กลายเป็นธิดาเทพผู้รวบรวมเจ็ดดาวบริวารหงส์ทอง (หงส์แดง หรือ ซูซาคุ) เพื่อปกป้องเมืองโคนันให้พ้นจาการคุกคามของแคว้นเพื่อนบ้าน การเดินทางเพื่อรวบรวมเจ็ดดาวบริวารก่อให้เกิดเรื่องราวมากมาย ทั้งมิตรภาพ การต่อสู้ และความรัก",
"title": "พลิกตำนานมาพบรัก"
},
{
"docid": "285193#4",
"text": "คืนนั้นทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็ทูลเจ้าชายแต่ละพระองค์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่คะงุยะฮิเมะขอให้แต่ละองค์ต้องทรงนำกลับมา เจ้าชายองค์แรกต้องไปทรงนำบาตรหินของพระโคตมพุทธเจ้ามาจากอินเดียกลับมาให้ องค์ที่สองต้องทรงนำกิ่งไม้ประดับอัญมณีจากเกาะเกาะโฮไรในประเทศจีน องค์ที่สามต้องทรงไปนำเสื้อคลุมของหนูไฟจากเมืองจีนกลับมาให้ องค์ที่สี่ต้องทรงไปถอดอัญมณีจากคอมังกรมาให้ และองค์ที่ห้าต้องทรงไปหาหอยมีค่าของนกนกนางแอ่นกลับมา",
"title": "ตำนานคนตัดไผ่"
},
{
"docid": "285193#6",
"text": "ระหว่างฤดูร้อนปีนั้น เมื่อใดเห็นพระจันทร์เต็มดวงตาของคะงุยะฮิเมะก็จะคลอไปด้วยน้ำตา ทั้งทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะและภรรยาก็พยายามถามถึงสาเหตุแต่คะงุยะฮิเมะก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีอะไรผิดปกติ พฤติกรรมของคะงุยะฮิเมะยิ่งแปลกขึ้นจนกระทั่งจนในที่สุดก็ยอมเปิดเผยว่านางนั้นมิได้มาจากโลกนี้ และถึงเวลาแล้วจะต้องเดินทางกลับไปยังบ้านเมืองที่อยู่บนจันทรประเทศ บางตำนานก็กล่าวว่าคะงุยะฮิเมะถูกส่งมายังมนุษยโลกชั่วคราวเพื่อเป็นการลงโทษเพราะไปทำความผิดเข้า แต่บางตำนานก็ว่าถูกส่งตัวมาซ่อนไว้ในโลกเพื่อความปลอดภัยระหว่างสงครามที่เกิดขึ้นบนสรวงสวรรค์",
"title": "ตำนานคนตัดไผ่"
}
] |
2467 | โดชคอยน์ถูกสร้างโดยโปรแกรมเมอร์ชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "627015#1",
"text": "หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายคนบน Twitter พามเมอร์ได้ซื้อโดเมนในชื่อ dogecoin.com และเริ่มใส่ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับโดชคอยน์ซึ่งมีทั้งโลโก้และคำที่กระจายไปอยู่ทั่วทั้งเว็บไซต์ด้วยฟอร์น Comic Sans หลังจากมาร์คัสได้เห็นเว็บไซต์ที่พามเมอร์ได้สร้างขึ้นผ่านทางห้องแชตบน IRC เขาได้ติดต่อพูดคุยกับพามเมอร์แล้วเริ่มต้นที่จะเริ่มสร้างโดชคอยน์ขึ้นมา มาร์คัสได้สร้างโดชคอยน์จากโค้ตของสกุลเงินอื่นที่มีอยู่แล้วนั่นคือ Luckycoin ที่ใช้หลักการสุ่มจำนวนเหรียญที่ได้รับจากการไมนิงในแต่ละบล็อก ถึงแม้ว่าหลังจากนี้วิธีการสุ่มแบบนี้ได้ถูกเปลี่ยนไปในภายหลังในเดือนมีนาคมปี 2014 ก็ตาม Luckycoin นั้นเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Litecoin ที่ใช้ scrypt เป็นการอัลกอริทึมในการ \"ตรวจสอบงาน\" (proof-of-work) ในการใช้ scrypt นั้นทำให้ไมเนอร์ (miner) ไม่สามารถใช้ฮาร์ดแวร์แบบ SHA-256 ที่ใช้ในการไมนิง Bitcoin ได้ ซึ่งทำให้อุปกรณ์แบบ FPGA และ ASIC ที่ใช้ในการไมนิงเหรียญแบบ scrypt สร้างได้ยากขึ้น โดชคอยน์ได้รับการประกาศใช้ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ในตอนแรกนั้นเครือข่ายของโดชคอยน์ได้ถูกออกแบบไว้ให้สร้างเหรียญทั้งหมด 100 พันล้านโดชคอยน์ แต่ในภายหลังได้มีการประกาศว่าเครือข่ายของโดชคอยน์จะสร้างเหรียญออกมาไม่มีจำนวนจำกัด",
"title": "โดชคอยน์"
},
{
"docid": "627015#0",
"text": "โดชคอยน์ (Dogecoin, , code: DOGE, symbol: Ð and D) เป็นสกุลเงินแบบดิจิตัลที่ใช้รูปของสุนัขชื่อโดช(Doge)ที่เป็นอินเทอร์เน็ตมีมของสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์ Shiba Inu เป็นโลโก้ของสกุลเงิน โดชคอยน์ถูกริเริ่มเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เมื่อทำการเปรียบเทียบกับสกุลเงินดิจิตอลอื่น โดชคอยน์มีระยะเวลาการไมนิงจำนวนเหรียญเริ่มต้นเร็วกว่าสกุลเงินอื่น โดยจะมีเม็ดเงินที่เกิดจากการไมนิง 100 พันล้านเหรียญโดยประมาณภายในสิ้นปี 2014 และหลังจากนั้น 5.2 พันล้านเหรียญจะถูกสร้างทุกๆปี ทั้งนี้ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 โดชคอยน์จำนวนกว่า 65 พันล้านเหรียญได้ถูกไมนิงได้ ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีแอปพลิเคชันสำหรับโดชคอยน์ไม่มากนัก แต่จำนวนการใช้โดชคอยน์ผ่านทางระบบการให้ทิปในอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยระบบนี้ทำให้คนบนโลกโซเชียลมีเดียสามารถให้ทิปคนอื่นที่นำเสนอบนความที่น่าสนใจผ่านทางโดชคอยน์ ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนโดชคอยน์และชุมชนอื่นๆใช้ประโยคที่ว่า \"To the moon!\" สำหรับเรียกเวลาราคาเหรียญกำลังสูงขึ้น.\nโดชคอยน์ถูกสร้างโดยโปรแกรมเมอร์ชื่อบิลลี่ มาร์คัส(Billy Markus) จาก Portland, Oregon ในตอนเริ่มต้นนั้นบิลลี่ต้องการสร้างสกุลเงินดิจิตอลที่ตลกเพื่อที่จะเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้มากกว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) นอกจากนี้เขายังต้องการใหโดชคอยน์มีความรู้สึกแตกต่างจากบิตคอยน์ \nที่ในขณะนั้นมีภาพลักษณ์ไม่ดีจากการที่เข้าไปเป็นสกุลเงินกลางที่ใช้ในการซื้อขายใน Silk Road ตลาดยาเสพติดออนไลน์ในขณะนั้น ประจวบเหมาะกับในขณะนั้นเจ็คสัน พามเมอร์ (Jackson Palmer)ผู้ร่วมสร้างโดชคอย์นอีกคนถูกนักศึกษาจาก Front Range Community College สนับสนุนให้สร้างความคิดให้เป็นจริง",
"title": "โดชคอยน์"
}
] | [
{
"docid": "6248#1",
"text": "นักศึกษาปริญญาจากมิชิแกนชื่อ ธอมัส โนล (Thomas Knoll) ได้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับทำภาพสีเฉดเทาขาวดำในชื่อ \"ดิสเพลย์\" (Display) ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโฟโต้ชอปในปัจจุบัน บริษัทอะโดบีได้พัฒนาโฟโตชอปให้สามารถใช้งานกับไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้ ในโฟโตชอปรุ่น 2.5 หลังจากที่พัฒนารุ่นแรกสำหรับเครื่องแมคอินทอชเท่านั้น และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระทั่งรุ่นปัจจุบัน รุ่น PC",
"title": "อะโดบี โฟโตชอป"
},
{
"docid": "427134#0",
"text": "โกสต์ ไรเดอร์ อเวจีพิฆาต () เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่3 มิติ โดยอิงจากหนังสือการ์ตูนแนวแอนตี้ฮีโร่สังกัดมาร์เวลคอมิกส์ซึ่งมีชื่อว่า โกสท์ไรเดอร์ ภาพยนตร์ชุดนี้เป็นภาคต่อของภาพยนตร์ \"โกสต์ ไรเดอร์ มัจจุราชแห่งรัตติกาล\" ซึ่งนำแสดงโดย นิโคลัส เคจ ที่กลับมาแสดงอีกครั้งในบทของ โกสท์ไรเดอร์ (จอห์นนี่ เบลซ) นอกจากนี้ ยังเป็นภาพยนตร์ชุดที่สองที่เปิดตัวภายใต้ชื่อมาร์เวลไนท์ต่อจาก \"สงครามเพชฌฆาตมหากาฬ\" กำกับภาพยนตร์โดย มาร์ค เนเวลดีน และ ไบรอัน เทย์เลอร์ เขียนบทภาพยนตร์โดย เดวิด เอส. โกเยอร์, สก็อตต์ กิมเปิล และ เซธ ฮอฟแมน ทั้งนี้ \"โกสต์ ไรเดอร์ อเวจีพิฆาต\" ได้รับกำหนดการเปิดตัว ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โปรติวเซอร์ของมาร์เวลชื่อ อาวี อาราด ได้ประกาศที่จะพัฒนา \"โกสท์ไรเดอร์ 2\" ในงานแถลงข่าว ปีเตอร์ ฟอนด้า ยังได้แสดงความปรารถนาที่จะกลับมาแสดงอีกครั้งในบทของเมฟิสโตเฟลเลส ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 นิโคลัส เคจยังได้แสดงความสนใจที่จะกลับมาแสดงนำในบทของโกสท์ไรเดอร์",
"title": "โกสต์ ไรเดอร์ อเวจีพิฆาต"
},
{
"docid": "671817#0",
"text": "โยไควอทช์ () เป็นวิดีโอเกมสำหรับเครื่องนินเท็นโด 3DS พัฒนาและผลิตโดยบริษัท เลเวลไฟฟ์ ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่ประเทศญี่ปุ่น และเป็นซีรีส์ครอสโอเวอร์ชุดที่ 3 นับจาก อินาสึมะอีเลฟเวน และ ดันบอลเซนกิ ต่อมาได้ถูกผลิตเป็นสื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือการ์ตูนและแอนิเมชัน โดยหนังสือการ์ตูนถูกผลิตโดยโชงะกุกังจากนิตยสารโคโระโคโระคอมมิกและเชา และได้ฉายในรูปแบบแอนิเมชันทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 รวมถึงสินค้าต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมทั่วประเทศญี่ปุ่น",
"title": "โยไควอทช์"
},
{
"docid": "593789#13",
"text": "เมื่อเสร็จสิ้นการเขียนเนื้อเรื่อง ฮาสโบรและฟอร์สได้ตามหาสตูดิโอสำหรับสร้างแอนิเมชัน, Studio B โปรดักชั่น (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น DHX Media ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2010 จากการร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท DHX) ได้สร้างแอนิเมชันโดยใช้โปรแกรมอะโดบี แฟลช ให้กับแอนิเมชันที่มีสัตว์เป็นจำนวนมาก ทำให้ฟอร์สรู้สึกว่าพวกเขาคือทางเลือกที่ดี Studio B ได้ขอให้ เจย์สัน ธีสเซน เป็นไดเรกเตอร์ ซึ่งฟอร์สก็เห็นด้วย เธอ, ธีสเซน, และเจมส์ วุตตอน สร้างช็อทสั้นๆสองนาทีเพื่อนำเสนอให้กับฮาสโบร ทำให้บริษัทได้อนุมัติการจัดสร้างโชว์อย่างเต็มรูปแบบ โดยฟอร์สได้คาดการณ์ว่าการพัฒนาโชว์ให้ได้รับการอนุมัตินี้ใช้เวลายาวนานมากถึงหนึ่งปี",
"title": "มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ"
},
{
"docid": "627015#3",
"text": "ในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ธนาคารแห่งชาติของประเทศอินเดียได้เตือนนักลงทุนในโดชคอยน์และสกุลเงินดิจิตอลอื่นๆให้ระวังความเสี่ยงที่ทำการซื้อขายค่าเงินดังกล่าว ในวันถัดมาวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นวันคริสมาสต์ การโจรกรรมครั้งใหญ่ครั้งแรกได้เกิดขึ้นกับโดชคอยน์ เมื่อแฮกเกอร์ได้ขโมยโดชคอยน์จำนวนหลายล้านเหรียญจากเว็บไซต์กระเป๋าสตางค์ออนไลน์ของโดชคอยน์ (Dogewallet) โดยแฮกเกอร์ได้เข้าถึงไฟล์ระบบของเว็บไซต์กระเป๋าสตางค์ออนไลน์ดังกล่าวและทำการแก้ไขหน้ารับ/ส่งโดชคอยน์ของเว็บไซต์ให้ทำการส่งเงินที่มีอยู่ทั้งหมดไปยังที่อยู่ของแฮกเกอร์ ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้โดชคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิตอลทางเลือกที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดใน Twitter ในขณะนั้น เพื่อที่จะทำการช่วยเหลือคนที่ถูกขโมยเหรียญไปบน Dogewallet ทางชุมชนโดชคอยน์ได้ริเริ่มโครงการ \"SaveDogemas\" เพื่อรับบริจาคโดชคอยน์สำหรับคนที่ถูกขโมยเงินไป เพียงแค่เวลาประมาณหนึ่งเดือน เงินที่ได้รับจากการบริจาคก็เพียงพอที่จะจ่ายคืนให้กับผู้ที่สูยเสียเหรียญไป ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 จำนวนการซื้อขายของโดชคอยน์ก็ได้สูงกว่าของ Bitcoin และสกุลเงินดิจิตอลอื่นๆรวมกัน ตลาดของโดชคอยน์มีมูลค่ากว่า USD$81 million",
"title": "โดชคอยน์"
},
{
"docid": "728181#1",
"text": "ไซด์คิก เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ บน MS-DOS ที่ได้รับความนิยมในช่วงเดียวกัน โปรแกรมที่ได้รับความนิยมในเวลาต่อมา คือ เทอร์โบซี หลังจากนั้นก็เริ่มไม่ได้รับความนิยมมากนักเช่น เทอร์โบโปรล็อก พาราดอกซ์ ดีเบส ที่ซื้อมาจาก แอชตันเทช และ เวิรด์เพอร์เฟค การลาออกของ ฟิลลิป คานส์ ในปี พ.ศ. 2538 สร้างความตกตะลึงอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ในเวลานั้น เพราะเขาให้เหตุผลการลาออกว่า จะไปเล่นเรือใบ หลังจากนั้นบริษัทนี้ก็กลายเป็น บริษัทเล็กๆเพื่อดูแลซอฟต์แวร์ ที่เหลืออยู่",
"title": "บอร์แลนด์"
},
{
"docid": "182219#0",
"text": "เวิลด์ไวด์เทเลสโคป () หรือ ดับเบิลยูดับเบิลยูที เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ดูภาพอวกาศ มันถูกประกาศเปิดตัวในงานประชุม TED Conference ที่ Monterey รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผู้ใช้สามารถหันกล้องไปรอบอวกาศและซูมขยายพื้นที่ที่ต้องการไปได้ไกลเท่าที่มีข้อมูลบันทึกอยู่ ภาพต่าง ๆ นั้นนำมาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อื่นบนโลกอีกประมาณ 10 ตัว มันสามารถดูท้องฟ้าได้ในความยาวคลื่นหลาย ๆ แบบ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงานโดยใช้เทคโนโลยี Visual Experience Engine ของไมโครซอฟท์",
"title": "เวิลด์ไวด์เทเลสโคป"
},
{
"docid": "42168#0",
"text": "ไทรอัมพ์ส คิงดอม ศิลปินดูโอกลุ่มที่สองจากค่าย โดโจ ซิตี้ เป็นสังกัดย่อยของ เบเกอรี่ มิวสิก ที่สร้างกระแสความโด่งดังในยุคนั้นด้วยสไตล์การแต่งตัวแบบญี่ปุ่นที่หวือหวา จนกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ในเวลานั้นหมู่เด็กสยามและวัยรุ่นที่ตามกระแส พวกเธอคือสัญลักษณ์ที่หากเป็นทุกวันนี้คงต้องเรียกว่า \"ตัวแม่\" แฟชั่นสายเดี่ยว กางเกงขาสั้นของโบ และกระโปรงยาวเกาะอกของจอยซ์ กับรองเท้าส้นตึกแบบสปอร์ตี้ สไตล์วัยรุ่นญี่ปุ่นย่านฮาราจูกุเป็นสิ่งที่หลุดออกมาจากแม็กกาซีน Katch มาโลดแล่นอยู่ในรายการเพลง มิวสิควิดีโอ และเวทีคอนเสิร์ต ในยุคนั้นผู้ใหญ่มองว่าพวกเธอดูแรงเพราะขายความน่ารักปนเซ็กซี่เล็กๆ ผิดกับนักร้องหญิงรุ่นเดียวกันที่ยังแต่งตัวมิดชิด หลังจากนั้น สุรัตนาวี สุวิพร (โบ) ก้าวขึ้นมาเป็นศิลปินเดี่ยวในสังกัดเบเกอรี่มิวสิค ส่วน พรพรรณ รัตนเมธานนท์ (จ๊อยซ์) ต้องออกจากวงการเพราะมีคดีความเกี่ยวกับยาเสพติด โดยถูกศาลพิพากษาให้จำคุก โดยไม่รอลงอาญา หลังจากจ๊อยซ์ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ทั้งคู่ได้ขึ้นแสดงร่วมกันอีกครั้ง ในคอนเสิร์ต BoydKo Family Christmas Together เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2556 ณ อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี",
"title": "ไทรอัมพ์ส คิงดอม"
}
] |
2470 | ภิกษุ คืออะไร? | [
{
"docid": "34081#0",
"text": "ภิกษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก \"นักบวชชาย\" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น)\nและสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า \"วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ\"",
"title": "ภิกษุ"
}
] | [
{
"docid": "45331#5",
"text": "\"ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้ ฯ\"",
"title": "โพธิปักขิยธรรม"
},
{
"docid": "472285#1",
"text": "รามเกียรต์ หรือ รามายณะ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาวรรณกรรมเอเชีย ภาพการขับเคี่ยวที่พิสดารอลังการของฝ่ายพลับพลากับฝ่ายกรุงลงกา เส้นขนานของธรรมะและอธรรมรามและทศกัณฐ์ จึงเป็นขั้วที่ไม่เพียงยืนหยัด อยู่คนฝ่าย แต่ยังเป็น ศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องฟาดฟันกันให้แหลกลาญ “คนที่เป็นศัตรูกันต้องต่อสู้กันตลอดไปจริงหรือ?” กี่พันปีมาแล้วที่ทศกัณฐ์และพระรามเป็นศัตรูกัน กี่พันปีมาแล้วที่ทหาเอกของพระรามอย่างหนุมานต้องทำหน้าท่าปราบอธรรมให้สิ้นซาก คำถามนี้คือ จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ยักษ์” โดย “ประภาส ชลศรานนท์” โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จและฉายในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาสร้าง 6 ปี",
"title": "ยักษ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "55560#0",
"text": "คิลาน (อ่านว่า คิ-ลา-นะ) แปลว่า \"คนเจ็บ, คนป่วย, คนไข้\" แปลว่า \"ปัจจัยสำหรับภิกษุไข้, วัตถุเป็นเครื่องอาศัยของภิกษุไข้\" คือปัจจัยสำหรับภิกษุไข้ ได้แก่ ยารักษาโรค วัตถุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการรักษาโรคและเป็นอุปการะแก่ภิกษุไข้ เช่น หม้อต้มยา กาต้มน้ำ หินบดยา ผ้าปิดฝี นับเป็นคิลานปัจจัยทั้งสิ้น เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔ หรือจตุปัจจัย อันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับดำรงชีวิตอยู่ของภิกษุ ปกตินิยมใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกี่ยวกับคนป่วยไข้โดยเฉพาะก็คือใช้กับภิกษุไข้",
"title": "คิลาน"
},
{
"docid": "954889#0",
"text": "Lopadotemachoselachogaleokranioleipsanodrimhypotrimmatosilphioparaomelitokatakechymenokichlepikossyphophattoperisteralektryonoptekephalliokigklopeleiolagoiosiraiobaphetraganopterygon เป็นอาหารที่แต่งขึ้น ปรากฏอยู่ใน Assemblywomen สุขนาฏกรรมของอริสโตฟานเนส",
"title": "Lopadotemachoselachogaleokranioleipsanodrimhypotrimmatosilphioparaomelitokatakechymenokichlepikossyphophattoperisteralektryonoptekephalliokigklopeleiolagoiosiraiobaphetraganopterygon"
},
{
"docid": "634801#8",
"text": "ภิกษุทั้งหลาย อารยะมรรคอันเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อปัญญาอันยิ่ง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ คืออัษฏังคิมรรคมีองค์ 8 อันได้แก่ สัมยักทฤษฏิ (อธิกะทัศนะ), สัมยักสังกัลปะ (ปติการ), สัมยักวาก, สัมยักการมันตะ, สัมยักอัคชีวะ สัมยักวยายามะ (อุปายะเกาศัลยะ), สัมยักสมฤติ และสัมยักสมาธิ นี่แลเรียกว่า อารยะมรรค",
"title": "ธรรมจักรสูตร"
},
{
"docid": "49539#1",
"text": "สังวาส ในคำวัดใช้หมายถึงการที่ภิกษุเป็นอยู่ขบฉัน ร่วมอุโบสถ ร่วมสังฆกรรมกันกับภิกษุอื่นๆ มี ๒ อย่างคือ การอยู่ร่วมกับภิกษุที่อุปสมบทแบบเดียวกัน เรียกว่า สมานสังวาส การอยู่ร่วมกันกับภิกษุที่อุปสมบทต่างแบบกัน เรียกว่า นานาสังวาส เช่นภิกษุหินยานด้วยกัน หรือภิกษุมหายานด้วยกันถือเป็นสมานสังวาสของกันและกัน แต่ภิกษุที่เป็นหินยานกับภิกษุที่เป็นมหายาน ถือว่าเป็นนานาสังวาสกัน",
"title": "สังวาส"
},
{
"docid": "193619#6",
"text": "อีกฟากของผนังถ้ำฤๅษีนี้มีพระพุทธรูปยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นศิลปะสมัยทวารวดี นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางสมาธิอื่นๆอีกหลายองค์",
"title": "ถ้ำฤๅษีเขางู"
},
{
"docid": "659646#4",
"text": "การสํารวจทางชีวภาพ อาจจะใช้ในการสร้างดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพ (ไอบีไอ) ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนสำหรับทรัพยากรในระบบนิเวศ",
"title": "การสํารวจทางชีวภาพ"
},
{
"docid": "975264#12",
"text": "“ขอเดชะ กุมารีน้อยผู้นี้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบุญญานุภาพและพระบารมีอันยิ่งใหญ่ ต่อไปภายหน้าจักได้เป็นถึงจักรพรรดินีครองแว่นแค้น ปรากฏพระเกียรติยศเกริกไกรไปทั่ว แม้ว่าพระราชาและเจ้าชายพระองค์ใดได้เสกสมรสด้วยก็จักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย รัตนะทั้ง ๗ ประการอย่างแน่นอน”",
"title": "ฤๅษีวาสุเทพ"
}
] |
2475 | ไวรอยด์สามารถจัดจำแนกเป็นกี่วงศ์? | [
{
"docid": "255464#4",
"text": "ไวรอยด์สามารถจัดจำแนกเป็น 2 วงศ์ตามลักษณะโครงสร้างของสารพันธุกรรมและกลไกการเพิ่มจำนวน คือ Avsunviroidae และ Pospiviroidae (ตารางที่ 1) โดยวงศ์ Avsunviroidae ยังจำแนกย่อยออกเป็น 2 สกุลคือ Avsunviroid และ Pelamoviroid ส่วนวงศ์ Pospiviroidae จำแนกย่อยออกเป็น 5 สกุลคือ Pospiviroid Hostuviroid Cocadviroid Apscaviroid และ Coleviroid",
"title": "ไวรอยด์"
}
] | [
{
"docid": "255464#5",
"text": "พืชอาศัยของเชื้อไวรอยด์มีความหลากหลายมาก โดยวงศ์ Avsunviroidae จะมีพืชอาศัยที่แคบกว่าวงศ์ Pospiviroidae มากซึ่งได้แก่ อโวกาโดและพืชชนิดใกล้เคียง เบญจมาส stone fruit (พลัม แอปริคอท เชอร์รี่ และ cinnamon) สาลี่ พืชในวงศ์ Rosaceae เป็นต้น สำหรับเชื้อไวรอยด์ในวงศ์ Pospiviroidae จะมีความหลายหลายของพืชอาศัยสูงมากตามชนิดของเชื้อ เช่น พืชในวงศ์ Cannabaceae (เช่น hop) Palmae (เช่น มะพร้าว และปาล์ม) Solanaceae (เช่น มะเขือเทศ พริก มันฝรั่ง และยาสูบ) Lauraceae (เช่น อโวกาโดและอบเชย) Compositae (เช่น เบญจมาส แอสเตอร์ และทานตะวัน) Boraginaceae (เช่น ดอก forget-me-not) Campanulaceae Caryophyllaceae (เช่น คาร์เนชั่น) Convolvulaceae (เช่น ผักบุ้ง และ morning glory) Dipsaceae Sapindaceae (เช่น เงาะ ลำไย และ ลิ้นจี่) Scrophulariaceae Moraceae (เช่น หม่อน) Valerianaceae Rutaceae (เช่น ส้ม และ มะนาว) Rosaceae (เช่น แอปเปิล และ สาลี่) Vitaceae (เช่น องุ่น) Gesneriaceae Amaranthaceae (เช่น beet) Cucurbitaceae (เช่น แตงโม แตงกวา และเมลอน) และ\nLamiaceae (เช่น โหระพา) นอกจากนี้ยังสามารถเข้าทำลาย แครอท turnip และ ถั่วปากอ้า",
"title": "ไวรอยด์"
},
{
"docid": "556129#1",
"text": "ในระบบการจัดจำแนกก่อนหน้านี้ สปีชีส์ในวงศ์นี้เคยจัดอยู่ในวงศ์ Liliaceae ระบบ APG II ได้จัดให้มีการจัดจำแนกของวงศ์นี้เป็นสองระดับ คือ: Asparagaceae \"sensu lato\" (อย่างกว้าง) โดยรวมวงศ์อื่นอีกเจ็ดวงศ์เข้ามา หรือ Asparagaceae \"sensu stricto\" (อย่างแคบ) ประกอบด้วยไม่กี่สกุล (โดยเฉพาะ \"Asparagus\", และ \"Hemiphylacus\") ในระบบ APG III จะมีแต่อย่างกว้างเท่านั้น โดยประกอบด้วยวงศ์ย่อยจำนวน 7 วงศ์ย่อย ซึ่งมาจากวงศ์เดิมที่รวมกันเข้าเป็นวงศ์นี้ ได้แก่:",
"title": "วงศ์หน่อไม้ฝรั่ง"
},
{
"docid": "220770#5",
"text": "แกรฟโตไลต์ที่มีลักษณะของกิ่งก้านที่แตกแขนงแบบกิ่งไม้ถูกจัดให้เป็นเดนดรอยด์แกรฟโตไลต์ (อันดับ Dendroidea) พบเป็นซากดึกดำบรรพ์รุ่นแรกๆในช่วงยุคแคมเบรียนและโดยทั่วไปจัดให้เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเลด้วยฐานที่มีลักษณะคล้ายราก แกรฟโตไลต์ที่มีกิ่งก้านสาขาน้อยจะวิวัฒนาการมาจากเดนดรอยด์แกรฟโตไลต์ในช่วงต้นของยุคออร์โดวิเชียนซึ่งจัดให้อยู่ในอันดับ Graptoloidea ที่เป็นแกรฟโตไลต์อาศัยลอยอยู่ในน้ำทะเล หรือลอยอย่างอิสระบนพื้นผิวน้ำทะเล หรือยึดเกาะกับสาหร่ายทะเลที่ร่องลอยไปในทะเล ที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ประสพความสำเร็จที่จัดเป็นแพงตรอนสัตว์ที่สำคัญจนกระทั่งได้ล้มตายสูญพันธุ์ไปในช่วงต้นของยุคดีโวเนียน ส่วนเดนดรอยด์แกรฟโตไลต์ดำรงเผ่าพันธุ์จนถึงยุคคาร์บอนิเฟอรัส",
"title": "แกรฟโตไลต์"
},
{
"docid": "255464#2",
"text": "ไวรอยด์เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวที่เป็นวงปิดไม่มีโปรตีนห่อหุ้ม มีขนาดตั้งแต่ 246-399 เบส โดยปกติแล้วอาร์เอ็นเอไวรอยด์จะอยู่ในสภาพโครงสร้างทุติยภูมิที่มีลักษณะเป็น rod-shape (ภาพที่ 1) เนื่องจากการเกิดจับกันของเบสในสายอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรอยด์ด้วยพันธะไฮโดรเจน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความเสถียรมากที่สุด ไวรอยด์เป็นเชื้อปรสิตถาวรในพืชที่ไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้ การเพิ่มปริมาณ การเคลื่อนย้าย และการทำให้อาการผิดปกติจะใช้โปรตีนและสารเคมีต่าง ๆ จากพืชอาศัย โครงสร้างของเชื้อไวรอยด์ประกอบไปด้วย 5 domain (ภาพที่ 2) ได้แก่\n1 Conserved central domain (C domain) ประกอบไปด้วยนิวคลีโอไทด์ประมาณ 95 เบส ซึ่งมีลักษณะอนุรักษ์สูง พบว่าบริเวณดังกล่าวจะเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณอาร์เอ็นเอของไวรอยด์เพื่อสร้างไวรอยด์รุ่นลูก \n2 Pathogenicity domain (P domain) เป็นบริเวณที่มีบทบาทเกี่ยวกับการทำให้พืชเป็นโรค และการแสดงอาการที่รุนแรงในการทำให้เกิดโรคของเชื้อไวรอยด์ P domain เป็นบริเวณที่ทำให้เกิดความแตกต่างของลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อ PSTVd เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสทำให้ลักษณะอาการของโรคเปลี่ยนไป \n3 Variable domain (V domain) เป็นบริเวณที่มีความแปรผันของลำดับเบสมากที่สุด โดยมีระดับความเหมือนกันของบริเวณ V domain ของเชื้อที่มีความใกล้ชิดกันน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ \n4 Terminal domains (T domains) เป็นบริเวณปลายทั้ง 2 ด้านของโครงสร้างไวรอยด์ มีลักษณะเป็นเบสที่อนุรักษ์ในไวรอยด์กลุ่ม PSTVd",
"title": "ไวรอยด์"
},
{
"docid": "440119#2",
"text": "จำแนกออกได้เพียงวงศ์เดียว คือ Erinaceidae 10 สกุล (ดูในตาราง) 24 ชนิด โดยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กมีขนที่เป็นหนามแข็งขนาดเล็กคล้ายเม่นซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคยุโรป สำหรับในประเทศไทยพบ 2 เท่านั้น คือ หนูเหม็น (\"Echinosorex gymnurus\") หรือสาโท ที่มีลักษณะคล้ายหนูแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีกลิ่นตัวเหม็นอย่างรุนแรงคล้ายกับกลิ่นของแอมโมเนีย และหนูผีหางหมู (\"Hylomys suillus\")",
"title": "อันดับเฮดจ์ฮอก"
},
{
"docid": "4434#12",
"text": "สิ่งมีชีวิตแต่ละตระกูลอาจมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดก็ได้ เช่น วงศ์ทานตะวัน วงศ์กล้วยไม้ เป็นวงศ์ใหญ่ที่สุดวงศ์หนึ่งของอาณาจักรพืช มีสมาชิกประมาณ 22,000 ชนิด ส่วนวงศ์ มีสมาชิก 1 สกุล และ 1 ชนิด บางครั้งนำไปรวมไว้กับวงศ์มะยมป่า () และในบางครั้งที่สกุลใด ๆ มีลักษณะอันแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนกับวงศ์ที่สังกัดอยู่ ก็จะมีการแบ่งวงศ์ออกมาใหม่ เช่น วงศ์นกเขียวก้านตอง (Chloropsis) และวงศ์นกแว่นตาขาว แยกออกมาจากวงศ์นกเขียวคราม",
"title": "การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์"
},
{
"docid": "575919#1",
"text": "ลักษณะของสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ย่อย คือ เป็นแอนทีโลปขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขาคู่หน้าจะยาวกว่าขาคู่หลัง ทำให้แผ่นหลังมีลักษณะลาดลง ขายาวใบหน้าแคบและยาว ทำให้เป็นแอนทีโลปที่ดูคล้ายวัวมากที่สุด มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยสัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เช่น วิลเดอบีสต์ หรือกนู และฮาร์ตเตบีสต์",
"title": "วงศ์ย่อยวิลเดอบีสต์"
},
{
"docid": "438451#1",
"text": "ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า \"เคี้ยวเอื้อง\" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร",
"title": "วงศ์วัวและควาย"
},
{
"docid": "425249#4",
"text": "นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นไม่ตรงกันในการการจำแนกชั้นของสัตว์ในวงศ์ลิงใหญ่ \nแผนผังด้านล่างแสดงการจำแนกชั้น\"แบบหนึ่ง\"ของไพรเมต/วงศ์ลิงใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการจำแนกชั้นที่ให้ความสำคัญกับความใกล้เคียงกันทางกรรมพันธุ์ของมนุษย์และลิงชิมแปนซี\nโดยมีชื่อตามอนุกรมวิธาน \nส่วนการจำแนกชั้นมีดังต่อไปนี้ มีการรวมเอาสายพันธุ์มนุษย์ที่สูญพันธุ์ไว้ด้วย ชื่อแรกเป็นชื่อตามอนุกรมวิธาน ชื่อในวงเล็บเป็นชื่อทั่วไป",
"title": "วงศ์ลิงใหญ่"
}
] |
2480 | ธนากร โปษยานนท์เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "224528#0",
"text": "ธนากร โปษยานนท์ (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2515) ชื่อเล่น อู๋ เป็นนักแสดง นักพากย์หนัง ดีเจ นายแบบ พิธีกร และนักบริหารของ 2 บริษัท คือ Spy Soft by BECI บริษัทผู้ผลิตคอนเทนท์ - แอปพลิเคชันบนมือถือ และ Charm Entertainment บริษัทครีเอทีพ โปรดักชั่นเฮ้าส์",
"title": "ธนากร โปษยานนท์"
}
] | [
{
"docid": "534708#1",
"text": "ศาสตราจารย์พิเศษ โกวิทย์ โปษยานนท์ หรือ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.โกวิทย์ โปษยานนท์ เกิดที่ กรุงเทพมหานคร บิดาหลวงจำรูญเนติศาสตร์ มารดานางอรุณ (โปษยจินดา) โปษยานนท์ และเป็นหลานของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาจาก St Edmund's School Canterbury, England ศึกษาต่อที่ เมืองเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ B.A. (Honours) และได้เข้าศึกษา มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรการสืบสวนจากสหรัฐอเมริกา จบหลักสูตรวิชาการป้องกันประเทศ จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นที่ 30) และได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เศรษฐศาสตร์) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "โกวิทย์ โปษยานนท์"
},
{
"docid": "879223#1",
"text": "มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์) เป็นบุตรหลวงวารีราชายุกต์ (โป๊ โปษยานนท์) และท่านเสงี่ยม บุตรพระยาภักดีภัทรากร (ภัทรนาวิก) เกิดเมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2426 ตรงกับวันศุกร์ ขึ่น 6 ค่ำ เดือน 20 จุลศักราช 1245 เวลายํ่ารุ่ง 15 นาที ณ บ้านโปษ์กี่ ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี",
"title": "พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์)"
},
{
"docid": "313525#0",
"text": "ธัญญ์ ธนากร ชื่อจริง ธงชัย วรรณเผือก เกิดวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนักแสดง จบการศึกษามัธยมต้นที่โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี ปวส. จากเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี เป็นชาวอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และปี 2552 ได้เซ็นสัญญาโดยมีผลงานละครทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี 2560 มีผลงานละครบู๊เรื่อง มือเหนือเมฆ ของค่ายไนน์บีเวอร์ฟิล์ม รับบทเป็น บวร ลูกเจ้าพ่อมาเฟีย ปัจจุบันคบหาดูใจกับจีรนันท์ มะโนแจ่ม",
"title": "ธัญญ์ ธนากร"
},
{
"docid": "555253#1",
"text": "ธนากร ศรีบรรจง หรือ โหน เกิดวันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดสมุทรปราการ มีพี่น้อง 3 คน โหนเป็นน้องชายคนเล็ก โดยโหนเป็นผู้เข้ารอบ 20 คนจากเวที เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ที่ 3) ธนากรมีความสามารถพิเศษหลายด้าน อาทิ การแสดง พิธีกร เล่นดนตรี (กลอง/กีตาร์/เบส/คีย์บอร์ด/เปียโน) ร้องเพลง แต่งเพลง งานกำกับ",
"title": "ธนากร ศรีบรรจง"
},
{
"docid": "41895#0",
"text": "ไพฑูรย์ ธัญญา (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 — ) เป็นนามปากกาของ รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ เกิดที่ ต.ท่ามะเดื่อ อ.เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 8 คน ของนายชู และนางคลี่ สังขพันธานนท์ บิดาเป็นครู นามสกุลเดิม คือ ชูแหละ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษมุสลิม\nจบการศึกษา กศ.บ.จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยทักษิณ) จบ กศ.ม.จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก เคยเป็นครูสอนชั้นประถม ในโรงเรียนแถวบ้านเกิดพัทลุงและที่สุโขทัย ก่อนมาสอนวิชาวรรณกรรมวิจารณ์ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เป็น รองศาสตราจารย์ระดับ 9 ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม",
"title": "ไพฑูรย์ ธัญญา"
},
{
"docid": "321726#1",
"text": "ยอดธง เสนานันท์ เกิดวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และมีชื่อตามใบเกิดคือ ตุ๊ย แซ่ผู่ บิดาของเขาเป็นชาวจีนไหหลำ และมีพี่น้อง 6 คน (ชาย 4 คน หญิง 2 คน) โดยเป็นน้องชายของนางเยาวดี ราชเวชชพิศาล สะใภ้ของพันตรีหลวงราชเวชชพิศาล (โต๊ะ เวชอุไร) เขาเป็นผู้ที่ชอบมวยมาตั้งแต่ 4 ขวบ อีกทั้งชื่นชอบกีฬาทุกประเภทที่เป็นการต่อสู้ไม่ว่าจะเป็นปลากัด ไก่ชน จบประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อำเภอเมืองบ้านโป่ง เมื่อมีอายุได้ 13 ปี ก็ย้ายมาอยู่กับพี่สาวที่บ้านของพันตรีหลวงราชเวชชพิศาล (โต๊ะ เวชอุไร) บริเวณแหลมราชเวช อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเริ่มหัดมวยอย่างจริงจังกับครูสิทธิเดช สมานฉันท์ โดยทำการชกมวยครั้งแรกในชื่อ เอราวัณ เดชประสิทธิ์ ที่งานวัดเขาพระบาทบางพระ อำเภอศรีราชา ตั้งแต่อายุ 15 ปี ด้วยค่าตัวเพียง 50 บาท จากนั้นก็ตระเวนชกเรื่อยมา พออายุได้ 17 ปี ครูสุวรรณ เสนานันท์ ได้ชวนมาอยู่ค่ายมวย และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ยอดธง เสนานันท์” ท่านได้เดินสายชกมวยทั่วประเทศ ก่อนเลิกชกเพราะแม่ของภรรยาขอร้อง จึงตั้งค่ายมวยศิษย์ยอดธง ที่มาบตาพุด ก่อนย้ายมาอยู่ที่อำเภอบางละมุง และใช้ชื่อนี้เรื่อยมา จนกระทั่งแขวนนวม",
"title": "ยอดธง เสนานันท์"
},
{
"docid": "521767#1",
"text": "ธนาธร โล่ห์สุนทร เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2519 เป็นบุตรของนายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร กับนางรำไพ โล่ห์สุนทร มีพี่น้องรวม 5 คน คือ ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร กิตติกร โล่ห์สุนทร ศรินทร โล่ห์สุนทร ณฐาพร โล่ห์สุนทร และธนาธร โล่ห์สุนทร จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาจนสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาการเมืองเปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม",
"title": "ธนาธร โล่ห์สุนทร"
},
{
"docid": "566361#0",
"text": "วรรณวลัย สุรีย์เดชะกุล หรือ วรรณวลัย โปษยานนท์ (ชื่อเล่น: น้ำฝน) เกิดในจังหวัดนนทบุรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นนักแสดงและนางแบบ ชาวไทย เข้าสู่วงการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยการแสดงละคร \"ร่วมงานรัก\" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อด้วยแสดงภาพยนตร์เรื่อง \"ล่าระเบิดเมือง\" ปี 2542 หลังจากนั้นก็มีผลงานในวงการบันเทิงมากมายไม่ว่าจะเป็น พรีเซนเตอร์, พิธีกร, งานภาพยนตร์ และละครเวที เป็นต้น",
"title": "วรรณวลัย โปษยานนท์"
},
{
"docid": "162594#1",
"text": "นางสาวธารทอง ทองสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่จังหวัดลำปาง เป็นบุตรสาวคนเดียวของ นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง กับ นางเทียมจันทร์ ทองสวัสดิ์ หรือ เทียมจันทร์ วานิชขจร อดีตรองนางสาวไทย อันดับ 2 ปี พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต (การต่างประเทศและการทูต) เกียรตินิยม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิงห์ดำ รุ่น 20 ปริญญาโท M.P.A. (รัฐประศาสนศาสตร์.) จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทอร์ และ M.A. (เศรษฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก Ph.D. (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา",
"title": "ธารทอง ทองสวัสดิ์"
}
] |
2497 | วรรณกรรมเรื่อง ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "212399#0",
"text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก () ดัดแปลงจาก \"Genji Monogatari\" หรือ \"ตำนานเก็นจิ\" วรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน (ราว ค.ศ. 794-1192) ว่าด้วยเรื่องราวชีวิตรักของท่านฮิคารุ เกนจิ ผู้สูงส่งทั้งชาติสมบัติและรูปสมบัติ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดวรรณกรรมญี่ปุ่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แม้แต่ในหนังสือ Lifetime Reading Plan ของ Clifton Fadiman ก็ยังยกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกที่ทุกคนควรจะได้อ่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต \"ตำนานเกนจิ\"ฉบับนิยายภาพนี้ เขียนโดย ยามาโตะ วากิ ( Yamato Waki ) ผู้ซึ่งใช้เวลาเนิ่นนานหลายปีกับงานชิ้นนี้ทั้งในการศึกษาเตรียมงานและการดัดแปลงถ่ายทอดเป็นภาคการ์ตูน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Mimi ระหว่างปี ค.ศ. 1979-1993 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 13 เล่มจบ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ในประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ถึง 1993 มีจำนวนทั้งหมด 13 เล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นบางเล่ม ในชื่อ The Tale of Genji โดย สจ๊วร์ต แอทคิน และ โยโกะ โทโยซะกิ ( Stuart Atkin and Yoko Toyosaki ) โดยแปลเป็นนิยายภาพ 2 ภาษา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะเช่นกัน \nได้รับการแปลไทยในฉบับไม่มีลิขสิทธิ์ ในชื่อ ฟ้าใต้แสงจันทร์ โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และฉบับลิขสิทธิ์ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน )\nเนื้อหาภายในเรื่องช่วง 10 เล่มแรก เป็นเรื่องราวชีวิตของเกนจิ ส่วน 3 เล่มหลังเป็นเรื่องราวหลังเกนจิเสียชีวิตไปแล้ว โดยตัวละครเด่นคือคาโอรุและองค์ชายนิโออุ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
}
] | [
{
"docid": "567825#0",
"text": "ดั่งดวงหฤทัย เป็นนวนิยายแฟนตาซีรักชวนฝัน บทประพันธ์ของลักษณวดี (นามปากกาของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ) ซึ่งทางผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจจากแต่งนิทานให้ลูกชายขณะเดินทางท่องเที่ยว ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ได้รับลิขสิทธิ์ให้นำบทประพันธ์ดังกล่าวมาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้ง มีการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ถึง 2 ครั้งด้วยกัน (ยกเว้นครั้งที่สองโดยช่อง 7 ไม่ได้สร้างจากนวนิยายของ ลักษณวดี แต่อย่างใด มีเพียงชื่อเรื่องที่เหมือนกันเท่านั้น)\nชื่อพระนามเต็มตัวละครอ้างอิงตามบทประพันธ์ เรียกว่า “รังสิมันตรัตน์” หรือเจ้าหลวงรังสิมันตรัตน์ มิใช่ รังสิมันต์ อย่างที่ได้ยินในทางละครช่อง 7",
"title": "ดั่งดวงหฤทัย"
},
{
"docid": "212399#46",
"text": "ซีรีส์ Asakiyumemishi (ชื่อไทย “ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก” โดย Nation Edutaiment) การ์ตูนผู้หญิงอิงวรรณคดีเก่าแก่ “ตำนานเก็นจิ” มีการประกาศยกเลิกแผนการทำอะนิเมะเดิมที่จะเริ่มฉายในเดือนมกราคมปี 2009 ในไทม์สล็อต Noitamina ของ Fuji TV โดยประกาศอย่างเป็นทางการในเว็บไซต์หลักของอะนิเมะดังกล่าว ซึ่งจะถูกแทนด้วยผลงานอะนิเมะออริจินัลในชื่อเรื่องว่า Genji Monogatari Sennenki: Genji (“เกนจิตำนานพันปี Genji”) แทนในฐานะอะนิเมะครบรอบสหัสวรรษของวรรณคดีต้นฉบับ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "273199#0",
"text": "นวนิยายที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งของ สุวรรณี สุคนธา ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ลลนา ฉบับปฐมฤกษ์ ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2518 โดยสำนักพิมพ์คลังวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อพ.ศ. 2540 และครั้งที่ 3 พ.ศ. 2542 โดยนวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครทางโทรทัศน์ด้วยกัน 2 ครั้ง\nเรื่องราวรักสามเส้าของสามเพื่อนรัก ละเวง บูรพา และ สาวิตรี มีการสอดแทรกเนื้อหาของการดำเนินชีวิต ความเติบโตทางด้านอารมณ์ตามวัยของตัวละครแต่ละตัวอย่างละเอียดอ่อน\nโดยมี ตะวันฉาย/ อินทร /จิตดี \nสามชายหนุ่มที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตละเวงต่างวาระกัน \nแต่มีเพียง อินทร เท่านั้น ที่เปรียบเสมือนคนที่เป็นดั่งคนช่วยพยุงวันเวลาที่ละเวงเหนื่อยล้า \nพบกับความสูญเสียและเสียใจ ทั้งการจากไปของตะวันฉาย \nและความรักระหว่าง บูรพา กับ สาวิตรี \nแม้ว่าในเริ่มแรก ละเวงจะมองอินทร เป็นคนที่ปากร้ายและดูเย็นชา \nแต่ความนิ่งงันและสายตาที่อ่อนโยนของเขา กลับกุมหัวใจเธอได้",
"title": "เก้าอี้ขาวในห้องแดง"
},
{
"docid": "219712#3",
"text": "\"ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก\" หรือ อะซะกิยูเมะมิชิ เป็นผลงานชิ้นยิ่งใหญ่ในชีวิตของวากิ ยามาโตะ เธอใช้เวลาในการสร้างผลงานทั้งชุด 13 เล่มเป็นเวลา 13 ปี (1980-93) ดัดแปลงเรื่องราวจาก ตำนานเก็นจิ ผลงานของมุระซะกิ ชิคิบุโดยศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ยุคเฮอัน และดัดแปลงตัวละครกับเนื้อเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ผลงานชิ้นยังนับว่าเป็นผลงานการ์ตูนที่สะท้อนภาพเกี่ยวกับยุคเฮอันที่ดีเยี่ยมที่สุดเรื่อง และยังได้รับการตีพิมพ์ซ้ำจนถึงปัจจุบัน",
"title": "วากิ ยามาโตะ"
},
{
"docid": "363045#0",
"text": "ด้วยแรงอธิษฐาน เป็นนวนิยายรักจากบทประพันธ์ของ กิ่งฉัตร ที่ผสมผสานระหว่างเรื่องราวของกฎแห่งกรรม การกลับชาติมาเกิด และดวงจิตที่แรงกล้ายามเมื่อลมหายใจสุดท้ายจะหลุดออกจากร่าง ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ตีพิมพ์ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 14) โดยสำนักพิมพ์อรุณ โดยมีการนำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ในพ.ศ. 2539 และ ในปี พ.ศ. 2553 และมีการนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกในปี พ.ศ. 2561 นำแสดงโดย เจษฎาภรณ์ ผลดี และ นิษฐา จิรยั่งยืน ออกอากาศทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.20 - 22.50 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561 ต่อจากละคร นางบาป",
"title": "ด้วยแรงอธิษฐาน"
},
{
"docid": "335604#0",
"text": "ตามรักคืนใจ เป็นนวนิยายผลงานของ กิ่งฉัตร หรือ ปาริฉัตร ศาลิคุปต์ เป็นนิยายที่มีตัวละครพระเอกที่เชื่อมโยงมาจาก ด้วยแรงอธิษฐาน, บ่วงหงส์ พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2539 โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยการผลิตของ บริษัท ยูม่า 99 จำกัด นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์ รับบท สีหนาท (นายสิงห์) และ รามาวดี สิริสุขะ รับบท นารา (หนูนา) และในปี พ.ศ. 2558 ถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยการผลิตของ บริษัท ละครไท จำกัด นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ รับบท สีหนาท (นายสิงห์) และ นิษฐา จิรยั่งยืน รับบทเป็น นารา ทุกวันจันทร์ -อังคาร เริ่มตอนแรกวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - 25 มกราคม พ.ศ. 2559",
"title": "ตามรักคืนใจ"
},
{
"docid": "747313#0",
"text": "สมรภูมิมอดไหม้ เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2553 โดยเจมส์ แดชเนอร์ โดยเป็นนวนิยายเล่มที่สองในชุดเกมล่าปริศนา ต่อจาก\"วงกตมฤตยู\" และเป็นการปูเรื่องสู่ \"ไข้มรณะ\", \"คำสั่งสังหาร\" และ \"เดอะ ฟีเวอร์ โค้ด\" นวนิยายเล่มนี้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ \"เมซ รันเนอร์ สมรภูมิมอดไหม้\" ซึ่งฉายในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 อำนวยการสร้างโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์",
"title": "สมรภูมิมอดไหม้"
},
{
"docid": "187756#2",
"text": "วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ถึง 45 ล้านเล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ 23 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย แมงมุมเพื่อนรัก ฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์โดย ไทยวัฒนาพานิช ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น",
"title": "แมงมุมเพื่อนรัก"
},
{
"docid": "212399#6",
"text": "\"ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก\"",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
}
] |
2503 | มอริส ฮิว เฟรเดอริก วิลคินส์ เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยอะไร? | [
{
"docid": "556442#3",
"text": "มอริสเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยเข้าสังกัดวิทยาลัยเซนต์จอห์น เขาศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์และวิชาโทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ต่อมาได้รับปริญญา\nศิลปศาสตรบัณฑิต",
"title": "มอริส วิลคินส์"
}
] | [
{
"docid": "556442#0",
"text": "มอริส ฮิว เฟรเดอริก วิลคินส์ (15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2547) เป็นนักฟิสิกส์และนักชีววิทยาโมเลกุลชาวอังกฤษ (เกิดที่นิวซีแลนด์) ผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอร่วมกับโรซาลินด์ แฟรงคลิน เรย์มอนด์ กอสลิง เจมส์ วัตสัน และนักวิทยาศาสตร์อีกหลายท่าน นอกจากนี้ยังได้ทำงานวิจัยด้านการวาวแสง การแยกไอโซโทป กล้องจุลทรรศน์ การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ และเรดาร์อีกด้วย",
"title": "มอริส วิลคินส์"
},
{
"docid": "556442#2",
"text": "มอริส วิลคินส์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ที่เมืองปองกะรัว จังหวัดไวราราปา ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นบุตรของนายแพทย์ชื่อเอดการ์ เฮนรี วิลคินส์ (Edgar Henry Wilkins) ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ปู่ของมอริสเป็นครูใหญ่โรงเรียนดับลิน ส่วนตาของมอริสก็เป็นผู้กำกับการตำรวจ ไม่นานนัก ครอบครัววิลคินส์ตัดสินใจย้ายออกจากนิวซีแลนด์ไปยังเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ตอนที่มอริสอายุได้ 6 เดือน เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมไวลด์กรีนคอลเลจ (Wylde Green College) และย้ายมาโรงเรียนมัธยมชายพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในช่วงปี พ.ศ. 2472 - 2478",
"title": "มอริส วิลคินส์"
},
{
"docid": "37473#1",
"text": "ลิวอิสเกิดที่เบลฟัสต์ ประเทศไอร์แลนด์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และได้เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยแม็กดาเลน ออกซฟอร์ด เป็นเวลาเกือบสามสิบปี เขาเป็นสหายสนิทของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้แต่งเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ด้วย ทั้งสองเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีบทบาทในการปฏิรูปหลักสูตรภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย และเป็นกลุ่มผู้ก่อตั้งชมรมอิงคลิงส์ในยุคเริ่มต้น ต่อมาเขาจึงได้มาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในตำแหน่ง Professor of Medieval and Renaissance Literature (ศาสตราจารย์ด้านวรรณกรรมยุคกลางและยุคเรเนสซองส์) คนแรกของเคมบริดจ์",
"title": "ซี. เอส. ลิวอิส"
},
{
"docid": "556442#4",
"text": "มาร์ก โอลิฟันต์ (Mark Oliphant) อาจารย์ของมอริสในขณะนั้น ต่อมาได้เป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม มาร์กได้\nจ้างจอห์น แรนดอล (John Randall) เข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมด้วย จอห์นได้รับมอริสมาเป็นนักศึกษาปริญญาเอก\nในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2488 จอห์นและมอริสได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการวาวแสง (phosphoresence) และการกักอิเล็กตรอนจนได้รับปริญญาเอก",
"title": "มอริส วิลคินส์"
},
{
"docid": "556442#6",
"text": "ครั้นจอห์น แรนดอลได้ขึ้นเป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์เมื่อ พ.ศ. 2488 จอห์นได้จ้างมอริสเป็นผู้ช่วยสอนในภาควิชาของเขา ในขณะเดียวกันจอห์นได้\nเจรจาร่วมมือกับสภาวิจัยการแพทย์ (Medical Research Council;MRC) เพื่อให้ตั้งห้องปฏิบัติการชีวฟิสิกส์ ซึ่งนับว่าเป็นวิชาใหม่มากในสมัยนั้น แต่สภาวิจัยฯ\nกลับบอกว่าการตั้งห้องปฏิบัติการต้องทำที่มหาวิทยาลัยอื่น ปีถัดมาจอห์นได้เป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยมีชื่อตำแหน่งว่า ศาสตราจารย์วีตสโตน\nสาขาฟิสิกส์ (มาจากชื่อของชาลส์ วีตสโตน) โดยมีทุนวิจัยในสาขาชีวฟิสิกส์ด้วย จอห์นกับมอริสผู้เป็นคู่หูกันต่างก็ติดตามกันมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนด้วย โดยให้มอริสเป็น\nผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยวิจัยชีวฟิสิกส์ ณ ที่นี่ ต่อมาราชวิทยาลัยลอนดินได้รับงบประมาณสร้างห้องปฏิบัติการของภาควิชาฟิสิกส์และคณะวิศวกรรมเสียใหม่เพราะเสียหายจากสงคราม หน่วยวิจัยชีวฟิสิกส์รวมถึงห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง ๆ ก็ย้ายเข้าไปที่ห้องใต้ดินใต้วิทยาเขตสแตรนด์ ครั้นแล้ว เฟรเดอริก ลินเดอมานน์ (Frederick Lindemann) ได้ให้เกียรติทำพิธีเปิดห้องปฏิบัติการ บทความในวารสาร Nature ของมอริสได้กล่าวว่าทั้งภาควิชาฟิสิกส์และคณะวิศวกรรมต่างก็รุ่งเรืองภายใต้การนำของเขา",
"title": "มอริส วิลคินส์"
},
{
"docid": "282462#1",
"text": "เมอร์ด็อคได้รัการศึกษาเบื้องต้นที่โฟรเบิลเดมอนสเตรชันในบริสตอลในปี ค.ศ. 1932 จากนั้นก็ศึกษาต่อในสาขาวิชาคลาสสิก, ประวัติศาสตร์โบราณ และปรัชญาที่วิทยาลัยซอมเมอร์วิลล์, ออกซฟอร์ด และต่อบัณฑิตวิทยาในสาขาปรัชญาที่วิทยาลัยนูนแนม, เคมบริดจ์ ที่เมอร์ด็อคเข้าฟังปาฐกถาโดยลุดวิก วิทท์เกนชไตน์หลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1948 เมอร์ด็อคกได้เป็นเฟลโลว์ของวิทยาลัยเซนต์แอนน์, ออกซฟอร์ด หลังจากที่เข้าเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเกรตบริเตนเมื่อต้นปี ค.ศ. 1938\nเมอร์ด็อคเขียนนวนิยายเล่มแรก “\"Under the Net\"” ในปี ค.ศ. 1954 หลังจากที่งานเขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญาได้รับการตีพิมพ์ก่อนหน้านั้น รวมทั้งงานศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษเล่มแรกเกี่ยวกับฌอง ปอล ซาร์ตร์ เมอร์ด็อคพบสามีจอห์น เบย์ลีย์ศาสตราจารย์วรรณคดีอังกฤษที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1956 เมอร์ด็อคเขียนนวนิยายด้วยกันทั้งหมด 25 และงานเขียนอื่นๆ ในสาขาปรัชญา และการละครจนกระทั่งปี ค.ศ. 1995 เมื่อเริ่มมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ ที่เมื่อเริ่มมีอาการเมอร์ด็อคมีความเห็นว่าเป็นเพราะความคิดตันทางการเขียน (writer's block)",
"title": "ไอริส เมอร์ด็อค"
},
{
"docid": "556442#7",
"text": "ที่ราชวิทยาลัยลอนดอน มอริสได้ศึกษาการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอที่ได้จากต่อมไทมัสของลูกวัว โดยมีรูดอล์ฟ ซิกเนอร์ (Rudolf Signer) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสเป็นผู้สกัดดีเอ็นเอ นอกเหนือจากการง่วนกับงานวิจัยสาขาอื่น ๆ มอริสค้นพบว่า ดีเอ็นเอจากห้องปฏิบัติการของซิกเนอร์มีสภาพสมบูรณ์กว่าดีเอ็นเอที่แยกได้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้เขายังพบว่าสามารถผลิตเส้นใยดีเอ็นเอที่เรียงตัวเป็นระเบียบเพื่อนำไปถ่ายภาพผลึกด้วยรังสีเอกซ์ จากการเลือกเส้นใยดีเอ็นเออย่างระมัดระวัง และใส่น้ำตลอดเวลาให้เส้นใยพองตัว มอริสและนักศึกษาปริญญาเอก เรย์มอนด์ กอสลิง ก็สามารถถ่ายภาพรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอได้ จากภาพแสดงให้เห็นว่าโมเลกุลดีเอ็นเอเป็นเพียงภาพผลึกธรรมดา ภาพนี้ถูกนำไปเสนอต่อที่ประชุม จนเจมส์ วัตสันก็เริ่มสนใจในดีเอ็นเอ นอกจากนี้ มอริสยังได้ชักชวนฟรานซิส คริก ให้มาทำงานนี้ด้วยกัน กระนั้น มอริสยังคงคิดว่า หากใช้ดีเอ็นเอบริสุทธิ์ จะต้องใช้เครื่องมือรังสีเอกซ์ที่ดีกว่านี้ จึงได้ตัดสินใจซื้อหลอดรังสีเอกซ์และกล้องเล็กใหม่",
"title": "มอริส วิลคินส์"
},
{
"docid": "22371#2",
"text": "หลังจากเรียนจบ เขาได้ย้ายไปอยู่ที่ โพรวิเดนซ์ รัฐ โรด ไอส์แลนด์ ซึ่งที่นั่นเขาได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย บราวน์ เขามุ่งและตั้งใจเรียนเกี่ยวกับชีววิทยาและการศึกษาเกี่ยวกับงานประพันธ์ด้วย\nในมหาวิทยาลัย เขาเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมนอกสถานที่, เป็นผู้ริเริ่มทำโครงการให้กับเด็กนักเรียนในการออกไปเปิดโลกกว้างในการอยู่ในป่าด้วย รวมทั้งเขายังชอบอาหารจนตั้งห้องเรียนสอนทำอาหารขึ้นในมหาวิทยาลัย เรฟรักการท่องเที่ยวและผจญภัย เริ่มด้วยจากการขับรถตู้กับสมาชิกในครอบครัวของเขา 17 คนตะเวนไปทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันเขาอายุ 22 ปีเขาได้ท่องเที่ยวไปถึง 50 รัฐในสหรัฐอมเริกาและ 14 ประเทศแล้ว นอกจากนั้นเขายังได้ใช้ชีวิตในออสเตรเลียถึง 7 เดือนอีกด้วย เขากล่าวว่า \"คุณจะไม่สามารถไปถึงสถานที่นั้นได้จริงๆ จนกว่าคุณจะนอนและตื่นใต้พระอาทิตย์ ณ สถานที่แห่งนั้น\"",
"title": "เรฟ จัดคินส์"
},
{
"docid": "556442#12",
"text": "มอริสสมรสกับรูท (Ruth) นักศึกษาอักษรศาสตร์ขณะที่เขาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ต่อมามีบุตรและหย่ากัน มอริสสมรสครั้งที่สองกับแพทริเซีย แอนน์ ชิดเกย์เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีบุตรธิดาสี่คนคือ ซาร่าห์ วิลคินส์ จอร์จ วิลคินส์ เอมิลี วิลคินส์ และวิลเลียม วิลคินส์",
"title": "มอริส วิลคินส์"
}
] |
2512 | พ.ศ. 2538 ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย ? | [
{
"docid": "924345#87",
"text": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2538 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร",
"title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย"
},
{
"docid": "6131#13",
"text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้บรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2539",
"title": "บรรหาร ศิลปอาชา"
},
{
"docid": "363134#0",
"text": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เป็น การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 20 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538"
}
] | [
{
"docid": "206982#0",
"text": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คณะรัฐมนตรีไทย คณะนี้ เป็นคณะที่ ประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยาวนานที่สุดตั้งแต่มีกฎหมายฉบับนี้ และนับว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59"
},
{
"docid": "124427#4",
"text": "นอกจากนี้ยังเป็นผู้ร่างคำแถลงลาออกของนายกรัฐมนตรี (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523, เลขานุการเอกสถานทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี., เลขานุการเอกคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ, รองอธิบดีกรมการเมือง และขึ้นเป็นข้าราชการ ระดับ 10 เอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง ปี พ.ศ. 2531, เอกอัครราชทูต สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงปราก ปี พ.ศ. 2533, เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐเชกและสโลวัก ปี พ.ศ. 2534 และเป็น อธิบดีกรมอาเซียน ปี พ.ศ. 2537, อธิบดีกรมเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2538, อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ, อธิบดีกรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2542, กรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544",
"title": "กอบศักดิ์ ชุติกุล"
},
{
"docid": "588515#85",
"text": "นาย คณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ถูกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 75/2558 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 204/2558 และ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ถูกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ย้ายมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีมีผลวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 โดยก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีมีมติย้ายให้เป้นที่ปรึกษาปปง. รวมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศรส.ถูกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ปลดและโยกย้ายหลังรัฐประหาร 3 ราย",
"title": "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557"
},
{
"docid": "133689#1",
"text": "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราว เป็นผู้ลงนามในประกาศคณะรัฐมนตรีคณะนี้ไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรคณะรัฐมนตรีชั่วคราวได้แจ้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ดำเนินการจัดตั้งนายกรัฐมนตรีต่อไป\nและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน\nเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 23"
},
{
"docid": "641817#4",
"text": "การประชุมเริ่มเมื่อเวลา 10 นาฬิกา ตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งได้รับมอบหมายจากมติวิปสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้เป็นผู้เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 โดยมีผู้รับรอง 188 คน และไม่ลงคะแนน 1 คน หลังจากใช้เวลาประมาณ 30 นาที การออกเสียงจึงเสร็จสิ้น ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติ(พรเพชร)ได้ประกาศผลการลงคะแนนออกเสียงมีผู้เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี 191 เสียง เท่ากับว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 3 เสียง คือ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากนี้มีสมาชิกลาป่วย 3 คน ประกอบด้วย กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์, คุณพรทิพย์ จาละ และ พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์",
"title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557"
},
{
"docid": "7440#0",
"text": "จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า \"จอมพล ป.พิบูลสงคราม\" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 15 ปี 24 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย \"รัฐนิยม\" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ \"ประเทศสยาม\" เป็น \"ประเทศไทย\" และเป็นผู้เปลี่ยน \"เพลงชาติไทย\" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "466624#5",
"text": "หลังจากนี้ ได้มีการโหวตกันในรัฐสภา ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เลือก นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ของนายควง ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 แต่ว่าคณะรัฐมนตรีคณะนี้ก็มีอายุอยู่ได้เพียงเดือนเศษ ก็ต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ \"\"พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว\"\" ที่ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาฯทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติฯนั้นได้ เพราะเกรงจะเป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป เนื่องด้วยไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ แต่สภาฯได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 63 รัฐมนตรีทั้งคณะจึงได้กราบถวายบังคมฯ ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งสมาชิกคณะรัฐมนตรีคณะนี้ส่วนหนึ่ง ได้ร่วมกันก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมาในเวลาหลังจากนี้ต่อมาไม่นาน",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489"
},
{
"docid": "363134#3",
"text": "นายบรรหาร จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538"
},
{
"docid": "363134#2",
"text": "ผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ที่นำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยจำนวน 91 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นรัฐบาลได้มาเป็นลำดับต่อมา คือ 86 ที่นั่ง ขณะที่พรรคความหวังใหม่ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สาม 57 ที่นั่ง",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538"
}
] |
2517 | จังหวัดพิษณุโลกมีกี่อำเภอ? | [
{
"docid": "5419#0",
"text": "จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 863,404 คน มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด",
"title": "จังหวัดพิษณุโลก"
},
{
"docid": "5419#24",
"text": "จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดูจังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้",
"title": "จังหวัดพิษณุโลก"
}
] | [
{
"docid": "5419#23",
"text": "จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งทางอุตุนิยมวิทยาในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภาอยู่ในเขตภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 368 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง",
"title": "จังหวัดพิษณุโลก"
},
{
"docid": "118639#3",
"text": "จากนั้นตัดผ่านอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร และเข้าสู่จังหวัดพิษณุโลกในเขตอำเภอบางระกำ จากนั้นจึงเข้าสู่อำเภอเมือง ผ่านสี่แยกหนองอ้อ (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้) แยกถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ สามแยกต้นหว้า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1058 ทางเข้าเมืองพิษณุโลก) และสิ้นสุดที่สี่แยกบ้านคลองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยตัดกับถนนสิงหวัฒน์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) ชื่อเรียกถนนตั้งแต่แยกเอ็กซ-เรย์จนถึงสี่แยกบ้านคลองมีชื่อว่า ถนนสีหราชเดโชชัย",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117"
},
{
"docid": "947327#0",
"text": "แม่น้ำแควน้อย มีต้นกำเนิดจากเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดพิษณุโลก มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นกลุ่มภูเขาในทิวเขาของหลวงพระบางและทิวเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาที่เป็นต้นน้ำ ได้แก่ ภูไก่ห้อย ภูขัด ไหลลงมาในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านที่ราบหุบเขาแควน้อยซึ่งเป็นหุบเขาแคบๆทางตอนเหนือของอำเภอนครไทย ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ มีเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัชกาลที่ 9 กักเก็บน้ำ ผ่านตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม และบรรจบกับแม่น้ำน่านในบริเวณบ้านปากโทกอำเภอเมืองพิษณุโลก รวมความยาวแม่น้ำแควน้อย 185 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำแควน้อย (จังหวัดพิษณุโลก)"
},
{
"docid": "610478#2",
"text": "ดังนั้นมณฑลพิษณุโลกจึงเป็นมณฑลกลุ่มแรกที่ได้รับการโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งขึ้น โดยให้รวมหัวเมืองเหนือ 5 หัวเมืองในลุ่มแม่น้ำยมและลุ่มแม่น้ำน่านซึ่งได้แก่เมืองพิษณุโลก พิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์) พิจิตร สุโขทัย และสวรรคโลกจัดตั้งเป็นมณฑลพิษณุโลก มีเมืองพิษณุโลกเป็นที่บัญชาการมณฑลเทศาภิบาล โดยมีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร \n(เชย กัลยาณมิตร) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นคนแรก",
"title": "มณฑลพิษณุโลก"
},
{
"docid": "5419#25",
"text": "จังหวัดพิษณุโลกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 103 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอรัญญิก, เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้",
"title": "จังหวัดพิษณุโลก"
},
{
"docid": "93910#3",
"text": "เทศบาลนครพิษณุโลกตั้งอยู่ในอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ 18.26 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล อยู่ในบริเวณตอนบนของภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 377 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้พิษณุโลกมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำน่านไหลผ่านกลางเมืองในแนวเหนือ–ใต้ แบ่งพื้นที่เทศบาลออกเป็นสองฝั่ง ได้แก่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ มีพื้นที่ประมาณ 13 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งประกอบธุรกิจ การขนส่ง และการติดต่อสื่อสาร ส่วนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ มีพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร เป็นย่านที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ และสถานศึกษา",
"title": "เทศบาลนครพิษณุโลก"
},
{
"docid": "400929#0",
"text": "การปกครองคณะสงฆ์ระดับจังหวัดเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2534 ที่จัดให้มีการปกครองคณะสงฆ์ระดับต่าง ๆ ลดหลั่นกันไปจนกระทั่งถึงระดับจังหวัด โดยจังหวัดพิษณุโลกอยู่เขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5 ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ โดยจัดแบ่งการปครองภายในเป็น 9 อำเภอ (9 เจ้าคณะเภอ) 98 ตำบล (98 เจ้าคณะตำบล)",
"title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก"
},
{
"docid": "801571#0",
"text": "ตำบลบ้านไร่ มาจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในตำบลหลาย ๆ คน เล่าว่า เมื่อประมาณหลายร้อยปีมาแล้ว ประชาชนได้ย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอกงไกรลาศ มาจับจองที่ทำกินแหล่งใหม่ ในบริเวณที่ราบลุ่ม ริมฝั่งแม่น้ำน่านทั้ง 2 ฝั่ง ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนา เป็นอาชีพหลัก จึงเป็นที่มาของตำบลบ้านไร่\nตำบลบ้านไร่อยู่ในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอระยะห่างจาก อำเภอประมาณ 9 กิโลเมตร",
"title": "องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ (จังหวัดพิษณุโลก)"
}
] |
2519 | ประเทศกัมพูชามีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "486002#0",
"text": "กัมพูชาเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ติดกับอ่าวไทย มีพรมแดนติดกับลาว ไทยและเวียดนาม แนวชายแดนมีความยาวทั้งหมด 2,572 กิโลเมตร โดยติดกับเวียดนาม 1,228 กิโลเมตร ไทย 803 กิโลเมตร และลาว 541 กิโลเมตร เป็นแนวชายฝั่ง 443 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,040 ตารางกิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ใจกลางของประเทศเป็นทะเลสาบโตนเลสาบ และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากเหนือไปใต้",
"title": "ภูมิศาสตร์กัมพูชา"
}
] | [
{
"docid": "17473#1",
"text": "มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และเคยถูกมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย",
"title": "ประเทศคอสตาริกา"
},
{
"docid": "572345#5",
"text": "แขวงจำปาศักดิ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 15,415 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยและกัมพูชา ตำแหน่งที่ชายแดนทั้ง 3 ประเทศบรรจบกันเรียกว่า \"สามเหลี่ยมมรกต\" สภาพพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซโดนบริเวณตอนกลาง มีแนวเทือกเขาสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และติดต่อกับที่ราบสูงบอละเวนทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,500-1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยทั่วไปมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร",
"title": "แขวงจำปาศักดิ์"
},
{
"docid": "181765#0",
"text": "สามเหลี่ยมมรกต หรือ ช่องบก () เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างชายแดนไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร สำหรับพื้นที่ส่วนที่อยู่ในประเทศไทยคือ พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ในเขตประเทศลาวคือเมืองมูลประโมกข์ แขวงจำปาศักดิ์ ส่วนพื้นที่ในประเทศกัมพูชาคือเมืองจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร สามเหลี่ยมมรกตตั้งชื่อเลียนแบบสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของไทย ลาว และพม่า ในภาคเหนือ",
"title": "สามเหลี่ยมมรกต"
},
{
"docid": "353070#3",
"text": "น้ำ ข้าว และปลาน้ำจืดเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่ออาหารกัมพูชา แม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางประเทศกัมพูชา เมืองหลวงของประเทศคือพนมเปญตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำบาสัก ทำให้กัมพูชามีปลาน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในปัจจุบันอาหารกัมพูชามีความใกล้เคียงกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านคืออาหารไทยในด้านการใช้พริก น้ำตาลหรือกะทิ และอาหารเวียดนามในด้านที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสเช่นกัน และยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกแกงที่ในภาษาเขมรเรียกว่า \"การี\" (ការី) แสดงถึงอิทธิพลของอาหารอินเดีย และยังมีอิทธิพลบางส่วนจากอาหารโปรตุเกสและอาหารสเปน ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขาย อย่างไรก็ตามอาหารกัมพูชาไม่ได้มีรสจัดเท่าอาหารไทย อาหารลาว และอาหารมาเลเซีย",
"title": "อาหารกัมพูชา"
},
{
"docid": "41783#0",
"text": "ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ ( \"บึงทนฺเลสาบ\") เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้",
"title": "โตนเลสาบ"
},
{
"docid": "1937#43",
"text": "กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่นส่วนในลาวนั้นก็ตกกำลังอยู่สภาวะเดียวกันเมืองหลวง (\"ราชธานี\") และจังหวัด (\"เขต\") เป็นเขตการปกครองระดับแรกสุดของประเทศกัมพูชา แบ่งเป็น 25 จังหวัด (รวมเมืองหลวง) แต่ละจังหวัดจะแบ่งเป็นเทศบาลและอำเภอ ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับที่สอง มีทั้งหมด 159 อำเภอ และ 26 เทศบาล แต่ละอำเภอและเทศบาลแบ่งเป็นตำบล และแต่ละตำบลแบ่งเป็นหมู่บ้านภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "818933#7",
"text": "จังหวัดไพรแวงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 4,883 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของพื้นที่ประเทศกัมพูชา (181,035 ตารางกิโลเมตร) พื้นที่กว่า 3,100 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63.5 ของพื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนพื้นที่ป่าไม้มีเพียง 194.61 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่จังหวัด นอกเหนือจากนี้เป็นพื้นทีที่มีการตั้งถิ่นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่สาธารณะ แหล่งน้ำ และพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์",
"title": "จังหวัดไพรแวง"
},
{
"docid": "494840#0",
"text": "การทำลายป่าเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของกัมพูชา ทั้งนี้ กัมพูชาเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการสูญเสียป่าไม้สูงมาก โดยเป็นอันดับสามของโลกรองจากไนจีเรียและเวียดนาม ตามรายงานของอาหารและเกษตรกรรมขององค์การสหประชาชาติใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ป่าของกัมพูชาลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จากกว่า 70% ใน พ.ศ. 2513 เหลือ 3.1% ใน พ.ศ. 2550 สูญเสียพื้นที่ป่าของกัมพูชาอยู่ในระดับอันตราย ในภาพรวม กัมพูชามีพื้นที่ป่าปฐมภูมิ 25,000 ตารางกิโลเมตรใน พ.ศ. 2533 จนน้อยกว่า 3,220 ตารางกิโลเมตรใน พ.ศ. 2537.",
"title": "การทำลายป่าในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "391427#19",
"text": "[[ไฟล์:Cambodia-mountainsW5.JPG|thumb|330px|ภูเขาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาทางเหนือของถนนระหว่าง[[ศรีโสภณ]] และอรัญประเทศ พื้นที่หนึ่งที่เขมรแดงซ่อนตัวระหว่างการสู้รบตามแผน k5]] \nกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาจำนวนมากที่[[อำเภออรัญประเทศ]]ถูกผลักดันให้กลับเข้าประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2523 และส่วนใหญ่ต้องเข้าไปอยู่ในเขตควบคุมของเขมรแดง กระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่นิยม[[กัมพูชาประชาธิปไตย]]แต่เข้ามาปรากฏตัวในฐานะอาสาสมัคร รวมทั้งการที่สหรัฐต่อต้านระบอบของเวียดนาม นอกจากนั้น ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยังสนับสนุนให้มีการผลักดันประชาชนให้กลับไปต่อสู้",
"title": "สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา"
}
] |
2527 | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "70645#6",
"text": "เนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการยกฐานะแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนขึ้นเป็น \"คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน\" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญา การใช้อักษรย่อสำหรับปริญญาและครุยวิทยฐานะในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2522 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ดังราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 201 วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2522 และประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ \"ให้มีสำนักงานเลขานุการในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน\" ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522",
"title": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "203504#2",
"text": "ระยะแรก การศึกษาของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แผนกวิชาคือ แผนกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และแผนกวารสารศาสตร์ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัด ตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508 เพิ่มแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ขึ้นมาอีกแผนกหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไป การศึกษาแต่ละแผนกวิชา ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ แผนกวารสารศาสตร์ จึงได้แยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เมื่อ พ.ศ. 2513 และยกฐานะเป็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เมื่อ พ.ศ. 2522 ส่วนแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้แยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2520 และยกฐานะเป็นคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2527 แม้ว่าแผนกวารสารศาสตร์ และแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จะแยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระและยกฐานะเป็นคณะแล้วก็ตาม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ก็ยังพัฒนางานทางด้านบริการการศึกษา บริการทางวิชาการและบริการสังคมด้วยดีมาเป็นลำดับ และใน พ.ศ. 2537 ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 5) ให้แบ่งส่วนราชการในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ออกเป็น 3 ส่วน คือ สำนักงานเลขานุการ ภาควิชาการพัฒนาชุมชน และภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.",
"title": "คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
}
] | [
{
"docid": "70645#1",
"text": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาการด้านสื่อสารมวลชนในระดับปริญญาตรี หรือทั่วไปภายหลังเรียกว่านิเทศศาสตร์ โดยแรกเริ่มนั้น เกิดขึ้นในฐานะแผนกวารสารศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาการสาขาวารสารศาสตร์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 11 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) มีหลักการและเหตุผลโดยย่อว่า",
"title": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "70645#2",
"text": "เพื่อส่งเสริมการศึกษาในด้านการสังคมสงเคราะห์และวารสารศาสตร์ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495 และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ตราข้อบังคับให้แบ่งแยกแผนกวิชาภายในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ออกเป็น 2 แผนก คือ แผนกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และแผนกวารสารศาสตร์ ให้เปิดการศึกษาวิชาทั้งสองแผนกดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2497 (ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแบ่งแยกแผนกวิชาภายในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พ.ศ. 2497 ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) โดยกำหนดเรียกชื่อปริญญาและอักษรย่อไว้ดังต่อไปนี้",
"title": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "70645#0",
"text": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะที่เปิดสอนด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน แห่งแรกของประเทศไทย หรือที่เรียกทั่วไปภายหลังเรียกว่า \"นิเทศศาสตร์\" ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสมาคมวารสารศาสตร์แห่งประเทศไทยด้วย คณะวารสารศาสตร์ฯ ยังเป็นหนึ่งในคณะที่มีคะแนนแอดมิดชั้นกลางและอัตราส่วนการแข่งขันสูงสุดที่ในประเทศไทยโดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นทั้งประเทศสูงสุด 1 ใน 10 ของประเทศทุกๆปี (โดยปี 2559 รับนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ) ปัจจุบันคณะวารสารฯมุ่งพันธกิจอันเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ ที่ผลิตบุคลากร แถวหน้าเพื่อยกระดับวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชนทั้งแวดวงสื่ออิสระและสื่อกระแสหลัก",
"title": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "70645#8",
"text": "ในปี พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรวบรวมการเรียกชื่อปริญญาและสีประจำสาขาวิชาทั้งของสาขาวิชาเดิมและสาขาวิชาใหม่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน และพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้มีการสะกดชื่อปริญญาของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนแตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย โดยตัดเครื่องหมายทัณฑฆาตท้ายคำว่า \"ศาสตร์\" ออก ดังพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 122 วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (7) สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น ได้แก่เพื่อให้การศึกษาและวิจัยทางวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในแขนงต่างๆ แก่นักศึกษา ให้ได้มีความรู้ความชำนาญ สามารถวินิจฉัยและตัดสินปัญหาของสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะไปใช้ในการประกอบวิชาชีพวารสารศาสตร์ มีจริยธรรมและสำนึกต่อสังคม มีความรู้และทักษะในวิชาชีพ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาขาวิชา ดังนี้สำหรับประวัติละคอนวารสารฯนั้น ในปี พ.ศ. 2523 หลังจากที่ทางคณะวารสารศาสตร์ฯ ได้ยกฐานะจากแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็น \"คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน\" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ก็ได้ผลิตและจัดแสดงละครเวทีออกมาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มนับลำดับเรื่องอย่างจริงจัง โดยมีชื่อเรื่อง ดังนี้ละครเวทีทุกเรื่องข้างต้นจะแฝงไปด้วยแก่นสาระ แนวคิดต่างๆของนักศึกษา ที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้ผู้ชมในโรงละครได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ผ่านความบันเทิง โดยสิ่งที่เหล่านี้ล้วนกลั่นกรองมาจากสภาพสังคมและปัญหาในปัจจุบันจากมุมมองในฐานะคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในสังคมไทยและในฐานะนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นกระจกเงาสะท้อนสังคม ซึ่งในบางครั้งความคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาในสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อบนเวทีสาธารณะ นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จและเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ทำละครเวที",
"title": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "70645#5",
"text": "ในปีการศึกษา 2512 มีการปรับปรุงการศึกษาภาคค่ำของแผนกวารสารศาสตร์ใหม่ โดยระงับการรับสมัครเข้าศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำ และเปิดสอนระดับปริญญาตรีแทนในปีการศึกษาเดียวกันนั้น โดยใช้เวลาในการศึกษา 6 ปี ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนวารสารศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรการศึกษา 4 ปี ทุกประการ\nการศึกษาในด้านวารสารศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 แผนกวารสารศาสตร์ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ดังราชกิจจานุเบกษา เล่ม 87 ตอนที่ 116 วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2513 ให้ไว้ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2513",
"title": "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "256488#2",
"text": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมีศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย",
"title": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "504313#0",
"text": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต โดยระยะแรกจัดการเรียนการสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติได้รับโอนมาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนมีครบ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก",
"title": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
},
{
"docid": "139945#3",
"text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 โดยเปิดสอนในระดับอนุปริญญา สังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้น จึงมีการโอนการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยใช้ชื่อคณะว่า \"คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน\" และได้ปรับปรุงหลักสูตรจนสามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรีได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ภายหลังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางด้านนิเทศศาสตร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจะใช้ชื่อคณะที่แตกต่างกัน อาทิเช่น มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้ชื่อ \"คณะการสื่อสารมวลชน\" มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้ชื่อ \"คณะวิทยาการสารสนเทศ\" ขณะที่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยทักษิณ ก็มีเปิดสอนในหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัย",
"title": "นิเทศศาสตร์"
}
] |
2538 | สมเด็จพระจักรพรรดินีมย็องซ็องแห่งเกาหลีเกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "68752#0",
"text": "จักรพรรดินีมย็องซ็องแห่งเกาหลี (, \"มย็องซ็องฮวังฮู\"; 19 ตุลาคม 1851 – 8 ตุลาคม 1895) เป็นพระมเหสีของจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี (พระเจ้าโกจง) พระจักรพรรดินีมย็องซ็องทรงมีบทบาทอย่างมากในการปกครองและปฏิรูปประเทศในช่วยปลายสมัยราชวงศ์โชซอน และเรื่องราวของพระนางยังคงเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญทั้งในด้านการต่อสู้ของวีรสตรีผู้รักชาติ และประวัติศาสตร์อันเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักอาชญวิทยาต่าง ๆ ที่ต่างพยายามค้นหาหลักฐานการสวรรคตที่แท้จริงของพระนาง ซึ่งทั้งฝ่ายเกาหลีเองหรือฝ่ายญี่ปุ่นปิดบังตลอดมา",
"title": "จักรพรรดินีมย็องซ็อง"
},
{
"docid": "68752#1",
"text": "จักรพรรดินีมย็องซ็องประสูติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1851 ที่เมืองยอจู () จังหวัดคย็องกีในปัจจุบัน เป็นธิดาของมินชีรก () ขุนนางชั้นผู้น้อยคนหนึ่ง จากตระกูลมินแห่งยอฮึง ( ตระกูลเดียวกันกับพระมเหสีอินฮยอน) เนื่องจากกฎหมายที่ห้ามการบันทึกพระนามเดิมของพระมเหสีของราชวงศ์โชซอน ทำให้นักประวัติศาสตร์ไม่ทราบว่าพระจักรพรรดินีมย็องซ็องนั้นมีพระนามเดิมว่าอย่างไร (พระนามที่ปรากฏในภาพยนตร์และบทละครนั้นเป็นสิ่งที่ถูกแต่งขึ้น) ค.ศ. 1858 เมื่ออายุได้เจ็ดปีทั้งบิดาและมารดาของนางมินได้เสียชีวิตลง เป็นเหตุให้นางมินต้องกำพร้าบิดามารดาแต่อายุน้อย นางมินจึงไปเป็นธิดาบุญธรรมของมินชีกู () ผู้เป็นญาติห่างๆ",
"title": "จักรพรรดินีมย็องซ็อง"
}
] | [
{
"docid": "68433#0",
"text": "จักรพรรดิยุงฮีแห่งจักรวรรดิเกาหลี () หรือ สมเด็จพระเจ้าซุนจง (สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงเมอยองโดนินซองกุงแห่งจักรวรรดิเกาหลี) () (25 มีนาคม ค.ศ. 1874 – 24 เมษายน ค.ศ. 1926) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาหรือสมเด็จพระจักรพรรดิลำดับที่ 2 แห่งจักรวรรดิเกาหลี เป็นพระประมุข ลำดับที่ 27 ถ้านับจากสมัยราชอาณาจักรโชซอน และเป็นพระประมุขพระองค์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของเกาหลี โดยพระองค์ทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ ในปี ค.ศ. 1908 ซึ่งช่วงนี้เอง จักรวรรดิเกาหลีมีสถานะเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้พระองค์ทรงไม่มีพระราชอำนาจใดๆ เนื่องจากอำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการชาวญี่ปุ่นและองค์ชายแดวอนจนหมดสิ้น อีกทั้งพระองค์มีพระพลานามัยไม่สู้แข็งแรงนัก การที่ญี่ปุ่นยินยอมให้พระองค์ขึ้นเสวยราชย์ก็เพื่อรอเวลาที่จะกลืนจักรวรรดิเกาหลีได้โดยสมบูรณ์เท่านั้น \nในที่สุด อีก 2 ปีถัดมา หรือในปี ค.ศ. 1910 จักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ล้มล้างสถาบันจักรพรรดิของเกาหลีลงและควบคุมเชื้อสายราชวงศ์ลีทั้งหมดไปญี่ปุ่น ทำให้นักประวัติศาสตร์เกาหลีส่วนหนึ่งไม่ถือว่าพระองค์ทรงป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแต่ถือว่าสมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี (พระเจ้าโกจง) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแทนพระราชินี",
"title": "จักรพรรดิซุนจง"
},
{
"docid": "445100#2",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง ในสมเด็จพระจักรพรรดิโกจงแห่งจักรวรรดิเกาหลี มีพระนามเดิมว่ามิน จา-ยอง ซึ่งประสูติในครอบครัวสามัญชนที่จังหวัดคยองกี ขณะเดียวกัน เมื่อพระราชพิธีพระบรมศพของพระเจ้าชอลจงเสร็จสิ้นลง พระพันปีโช พระสนมในพระเจ้าชอลจง ที่ขณะนั้นเป็นผู้ปกครองสูงสุดของฝ่ายใน มีดำริให้จัดหาพระมเหสีเอก เพื่อประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระเจ้าโกจง (พระราชอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น) ซึ่งพระชายามินแห่งยอฮึงในแทวอนกุน พระมารดาในพระเจ้าโกจง เสนอชื่อมิน จา-ยอง เพื่อการนี้ เนื่องจากเป็นญาติห่างๆ ของพระนางเอง โดยพระพันปีโชก็เห็นชอบด้วย ต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการ ประกาศให้มิน จา-ยอง ขึ้นเป็นพระมเหสี",
"title": "เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม"
},
{
"docid": "538121#0",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีซุนมย็องแห่งเกาหลี (1872 – 20 กรกฎาคม 1907) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิเกาหลี พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1872 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงเมื่อ ค.ศ. 1872 และเสด็จสวรรคตไปเมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 พระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็นจักรพรรดินีภายหลังการสวรรคต",
"title": "จักรพรรดินีซุนมย็อง"
},
{
"docid": "85468#0",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) ( 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง",
"title": "จักรพรรดิเจียชิ่ง"
},
{
"docid": "280930#0",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีหม่า (, พ.ศ. 1875-1925) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวฉีเกา เป็นพระอัครมเหสีใน จักรพรรดิหงหวู่ หรือ จูหยวนจาง ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์หมิง พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 1875 มีพระนามเดิมว่า หม่าชิวเซียง เป็นธิดาบุญธรรมของ กัวจื่อซิง หนึ่งในผู้นำกบฏช่วงปลาย ราชวงศ์หยวน เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1925 ขณะพระชนมายุ 50 พรรษา",
"title": "จักรพรรดินีหม่า"
},
{
"docid": "445100#0",
"text": "เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม (ฮันกึล: 명성황후; ฮันจา: 明成皇后; ; The last (Korean) Empress) เป็นละครชุดทางโทรทัศน์ซึ่งผลิตเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยสถานีโทรทัศน์ระบบกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ฮันกึล: 한국 방송 공사, Hanguk Bangsong Gongsa; ; ชื่อย่อ: KBS; เคบีเอส) มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์เกาหลี ว่าด้วยพระประวัติสมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง สมเด็จพระมเหสีเอกในสมเด็จพระจักรพรรดิโกจง พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โชซอน",
"title": "เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม"
},
{
"docid": "525910#0",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเก็มเม (661 – 29 ธันวาคม 721) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 43 ของประเทศญี่ปุ่น พระนางเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเท็นจิ พระนางอภิเสกสมรสกับเจ้าชายคุซะกะเบะโนะมิโกะ พระนางครองราชย์เมื่อ 18 สิงหาคม ค.ศ. 707 ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิมมมุ และผู้ที่มาครองราชย์ต่อจากพระนางคือจักรพรรดินีเก็นโช",
"title": "จักรพรรดินีเก็มเม"
},
{
"docid": "68752#2",
"text": "ค.ศ. 1866 เมื่อพระเจ้าโกจงมีพระชนมายุสิบห้าชันษาถึงเวลาอภิเษกสมรส พระอัยยิกาตระกูลโจ () ผู้สำเร็จราชการแทน และองค์ชายแทวอน ฮึงซอน () พระบิดาของพระเจ้าโกจงเป็นผู้คัดเลือกพระมเหสีองค์ใหม่ เนื่องจากพระมารดาของพระเจ้าโกจงคือ เจ้าหญิงยอฮึง () นั้นเป็นธิดาของมินชีกู เจ้าหญิงยอฮึงจึงแนะนำบุตรสาวของมิชีรกซึ่งมินชีกูบิดาได้รับเลี้ยงไว้เป็นธิดาบุญธรรม ให้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าโกจง ซึ่งเจ้าชายแทวอนฮึงซอนนั้นก็เห็นด้วยเนื่องจากว่าเป็นตระกูลของพระชายาของเจ้าชายแทวอนเอง ซึ่งเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลและบทบาทในราชสำนักน้อย ไม่น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อเจ้าชายแทวอนในอนาคต พิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าโกจงพระชนมายุสิบห้าชันษา และพระมเหสีจากตระกูลมินพระชนมายุสิบหกชันษา มีขึ้นเมื่อค.ศ. 1866 ที่พระราชวังอึนฮยอน () ในโซล",
"title": "จักรพรรดินีมย็องซ็อง"
}
] |
2540 | ความผิดปกติทางบุคลิกภาพคืออาการหนึ่งของโรคจิตใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "773831#10",
"text": "ความผิดปกติในกลุ่มนี้ บ่อยครั้งสัมพันธ์กับโรคจิตเภท (schizophrenia)\nอย่างหนึ่งโดยเฉพาะก็คือความผิดปกติแบบจิตเภท (Schizotypal) ที่คนไข้บ่อยครั้งรู้สึกอึดอัดอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้อื่น มีความบิดเบือนทางประชานหรือการรับรู้ และมีพฤติกรรมที่วิปริตหรือพิกล (eccentric)\nแต่ว่า บุคคลที่มีภาวะกลุ่มนี้ยังเข้าใจความเป็นจริงได้ดีกว่าคนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท\nโดยทั่วไปแล้ว คนไข้อาจจะขี้ระแวง เข้าใจได้ยากเนื่องจากมีการพูดที่แปลกหรือพิกล และปราศจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด\nแม้ว่าการรับรู้ (perception) ของคนไข้อาจจะแปลก แต่ก็สำคัญที่จะแยกแยะการรับรู้เช่นนั้นจากอาการหลงผิด (delusion) และประสาทหลอน (hallucination)\nเพราะว่าบุคคลที่มีอาการสองอย่างนั้น จะได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง\nมีหลักฐานสำคัญที่แสดงนัยว่า บุคคลในอัตราน้อยที่มีความผิดปกติกลุ่มนี้ โดยเฉพาะแบบจิตเภท (schizotypal) มีโอกาสที่จะแย่ลงเป็นโรคจิตเภทหรือความผิดปกติทางจิตเวชอื่น ๆ\nความผิดปกติกลุ่มนี้ มีโอกาสสูงขึ้นในบุคคลที่ญาติใกล้ชิด (first-degree) เป็นโรคจิตเภทหรือมีความผิดปกติกลุ่มนี้",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "773831#0",
"text": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (, ตัวย่อ PD) เป็นหมวดหมู่ของความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบพฤติกรรม รูปแบบทางประชาน และรูปแบบประสบการณ์ทางใจที่ปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม (maladaptive) ที่ยั่งยืน โดยปรากฏในสถานการณ์ต่าง ๆ หลายอย่าง และออกนอกลู่นอกทางอย่างสำคัญจากที่ยอมรับได้ในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคลนั้น\nรูปแบบเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตั้งแต่เบื้องต้นของชีวิต ยืดหยุ่นไม่ได้ และสัมพันธ์กับความทุกข์กับความพิการในระดับสำคัญ\nแต่ว่านิยามที่จำเพาะอาจจะต่างกันได้แล้วแต่ที่มา",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
}
] | [
{
"docid": "773831#2",
"text": "บุคลิกภาพตามนิยามของจิตวิทยา เป็นเซตของลักษณะทางพฤติกรรมและทางจิตที่คงทน ที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนต่างกัน\nดังนั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพจึงกำหนดโดยประสบการณ์ (ทางใจ) และพฤติกรรม ที่ต่างจากมาตรฐานและความคาดหวังของสังคม\nคนผิดปกติเช่นนี้ อาจประสบความยากลำบากทางประชาน (cognition) ความไวอารมณ์ (emotiveness) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal functioning) และการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (impulse control)\nโดยทั่วไปแล้ว คนไข้จิตเวชร้อยละ 40-60 จะได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเช่นนี้ จึงเป็นกลุ่มโรคที่วินิจฉัยบ่อยครั้งที่สุดในบรรดาโรคจิตเวช",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "773831#55",
"text": "คนไข้ในระยะเบื้องต้นและรูปแบบเบื้องต้นของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ จำเป็นต้องมีการรักษาให้เร็วที่สุดและทำแบบมีหลายมิติ\nคือ ความผิดปกติในการพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality development disorder) พิจารณาว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในวัยเด็ก หรือเป็นระยะเบื้องต้น ของความผิดปกติทางบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่\nงานวิจัยแสดงว่าทั้งเด็กและวัยรุ่นมีอาการที่สำคัญทางคลินิกที่คล้ายกับของ PD ในวัยผู้ใหญ่\nและอาการเหล่านี้มีสหสัมพันธ์กับอาการในวัยผู้ใหญ่ และเป็นเหตุให้เกิดผลที่ตามมา",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "773831#18",
"text": "ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย ความรุนแรง คนไข้ และงานเอง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอาจจะสัมพันธ์กับความยากลำบากในการบริหารจัดการรับมืองานหรือที่ทำงาน\nซึ่งอาจมีผลเป็นปัญหากับผู้อื่นโดยรบกวนความสัมพันธ์กับคนอื่น\nผลโดยอ้อมก็มีบทบาทด้วย\nยกตัวอย่างเช่น คนไข้อาจจะมีปัญหาในการศึกษา หรือมีปัญหาอื่น ๆ นอกที่ทำงาน เช่น การติดสารเสพติด หรือโรคจิตที่เกิดร่วมอื่น ๆ (co-morbid)\nแต่ว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพก็สามารถยังให้ทำงานได้ดีกว่าโดยเฉลี่ยอีกด้วย โดยเพิ่มแรงกระตุ้นในการแข่งขัน หรือเป็นเหตุให้คนไข้ฉวยประโยชน์จากเพื่อนร่วมงาน",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "773831#8",
"text": "ยังมีหมวด \"ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบอื่นและแบบผสม\" (Mixed and other personality disorders) กำหนดเป็นอาการที่ทำให้ลำบาก แต่ไม่แสดงรูปแบบของอาการโดยเฉพาะเหมือนกับความผิดปกติที่จำเพาะ\nและที่สุดก็คือหมวด \"การเปลี่ยนแปลงที่ติดต้วของบุคลิกภาพที่ไม่เกิดจากโรคของสมองหรือสมองถูกทำลาย\" (Enduring personality changes, not attributable to brain damage and disease)\nซึ่งมุ่งหมายเอาอาการที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ที่ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นอาการที่ติดตามความเครียดรุนแรงและยาวนาน หรือติดตามโรคทางจิตเวชอื่น",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "909169#0",
"text": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง () หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดข้ึนได้ในหลายเหตุการณ์",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง"
},
{
"docid": "773831#19",
"text": "ในปี 2005 และ 2009 นักจิตวิทยาคู่หนึ่งในสหราชอาณาจักรสัมภาษณ์และให้การทดสอบบุคลิกภาพต่อนักบริหารชั้นสูงชาวอังกฤษ และเปรียบเทียบข้อมูลเฉพาะที่ได้กับคนไข้ที่เป็นอาชญากรในโรงพยาบาลจิตเวชที่มีการรักษาความปลอดภัยสูง\nแล้วพบว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ 3 อย่างจาก 11 อย่างจริง ๆ แล้ว สามัญกับผู้บริหารมากกว่าอาชญากรโรคจิต คือ\nตามนักวิชาการเกี่ยวกับความเป็นผู้นำท่านหนึ่ง เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพบ้าง",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "651255#2",
"text": "คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรับรองความผิดปกตินี้ เพราะความผิดปกติทางบุคลิกภาพคือรูปแบบประสบการณ์ภายในไม่พึงประสงค์และพฤติกรรมพยาธิวิทยาซึ่งแพร่หลาย คงอยู่และไม่ยืดหยุ่น จึงมีความไม่เต็มใจทั่วไปที่จะวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพก่อนวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทว่า บางคนย้ำว่า อาการอาจเลวลงหากไม่รักษาแต่เนิ่น",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง"
},
{
"docid": "773831#14",
"text": "การจัดหมวดหมู่เช่นนี้เกี่ยวข้องกับไอเดียว่า ความขัดข้องทางบุคลิกภาพ (personality difficulty) เป็นระดับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ยังไม่ถึงขีดที่วัดโดยใช้การสัมภาษณ์มาตรฐาน\nและเกี่ยวกับหลักฐานว่า บุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหนักที่สุด มีการแพร่กระจายของความผิดปกติแบบกระเพื่อมน้ำ (ripple effect) ที่แสดงลักษณะความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ เป็นแถว ๆ\nคือสามารถจัดหมวดหมู่เป็น subthreshold (ความขัดข้องทางบุคลิกภาพ), single cluster (ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบกลุ่มเดียว),\nความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบซับซ้อน/แพร่กระจาย (complex/diffuse personality disorder) ที่มีความผิดปกติจากมากกว่า 1 กลุ่ม และความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบรุนแรง (severe personality disorder) ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
},
{
"docid": "773831#39",
"text": "นอกจากปัญหาเหล่านี้แล้ว บุคคลอาจจะไม่เห็นว่าบุคลิกภาพของตนผิดปกติหรือว่าก่อปัญหา\nซึ่งเป็นมุมมองที่อาจจะมีเหตุจากความไม่รู้หรือไม่มีวิจารณญาณเกี่ยวกับสภาวะของตนเอง\nหรือจากการมองปัญหาแบบ ego-syntonic ที่เข้ากับบุคลิกภาพของตนเอง ซึ่งกันไม่ให้ตนเห็นลักษณะบุคลิกภาพของตนในรูปแบบที่ไม่เข้ากับจุดมุ่งหมายและภาพพจน์ของตน\nหรือจากความจริงพื้นฐานว่า ไม่มีเส้นขีดที่ชัดเจนหรือเป็นกลางระหว่างบุคลิกภาพที่ \"ปกติ\" และ \"ผิดปกติ\"\nนอกจากนั้นแล้ว อย่างน้อย ๆ ในสังคมชนตะวันตก ผู้ที่ได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางจิต จะมีรอยด่างทางสังคมและจะถูกเลือกปฏิบัติ",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ"
}
] |
2549 | ใครคือผู้พัฒนาเกมส์โปเกมอน? | [
{
"docid": "747336#0",
"text": "ซะโตะชิ ทะจิริ ( เกิด 28 สิงหาคม ค.ศ. 1965) เป็นนักออกแบบวิดีโอเกมชาวญี่ปุ่น รู้จักกันดีที่สุดในฐานะผู้สร้างแฟรนไชส์\"โปเกมอน\" และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทพัฒนาวิดีโอเกม เกมฟรีก ทะจิริ เป็นผู้ชื่นชอบเกมอาเขต เขาได้เขียนและปรับปรุงแฟนซีนเกี่ยวกับวิดีโอเกมชื่อ เกมฟรีก ร่วมกับ เคน ซุงิโมะริ ก่อนพัฒนาเป็นการก่อตั้งบริษัทในชื่อเดียวกัน ทะจิริกล่าวว่าการเชื่อมต่อเกมบอยสองเครื่องด้วยสายเคเบิลบันดาลใจให้เขาสร้างเกมที่เกิดจากการสะสมแมลง ซึ่งเป็นการสะสมและกิจกรรมที่เป็นเพื่อน ๆ ของเขาในวัยเด็ก เกมใช้เวลา 6 ปีพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ เกิดเป็นเกม\"โปเกมอนภาคเรด\"และ\"โปเกมอนภาคกรีน\" และนำไปสู่แฟรนไชส์ระดับหลายพันล้านที่ช่วยประคับประคองเครื่องเล่นเกมมือถือของบริษัทนินเทนโดไว้ได้ ทะจิริยังคงเป็นผู้บริหารแฟรนไชส์โปเกมอนจนถึงช่วงพัฒนาเกม\"โปเกมอนภาครูบี\"และ\"แซฟไฟร์\" หลังจากนั้นเขาเปลี่ยนมาทำหน้าที่ผู้ควบคุมการผลิตอย่างง่ายแทน",
"title": "ซะโตะชิ ทะจิริ"
},
{
"docid": "107756#2",
"text": "แนวคิดเกี่ยวกับโลกโปเกมอน ทั้งวิดีโอเกมและโลกนิยายของโปเกมอน เกิดมาจากงานอดิเรกสะสมแมลง ซึ่งซะโตะชิ ทะจิริ กรรมการบริหารบริษัทโปเกมอนเคยทำเมื่อยังเด็ก ตัวผู้เล่นในเกมถูกกำหนดให้เป็นโปเกมอนเทรนเนอร์ หรือนักฝึกโปเกมอน และมีเป้าหมายสองประการ (ในเกมโปเกมอนส่วนใหญ่) คือ สะสมโปเกมอนทุกชนิดในภูมิภาคที่เกมกำหนดเพื่อให้เติมเต็มโปเกเด็กซ์ หรือสมุดภาพโปเกมอน และเพื่อฝึกฝนทีมของโปเกมอนที่พวกเขาจับได้ให้เอาชนะทีมโปเกมอนของนักฝึกโปเกมอนคนอื่น และกลายเป็นนักฝึกโปเกมอนที่แข็งแกร่งที่สุดเรียกว่า โปเกมอนมาสเตอร์ รูปแบบการสะสม การฝึก และต่อสู้นั้นพบได้ในแฟรนไชส์โปเกมอนทุกเวอร์ชัน รวมถึงวิดีโอเกม ซีรีส์อนิเมะ และมังงะ และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม (Pokémon Trading Card Game)",
"title": "โปเกมอน"
},
{
"docid": "763662#2",
"text": "เกมชุด\"โปเกมอน\"เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในประเทศญี่ปุ่น พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโด ผู้เล่นรับบทเป็นโปเกมอนเทรนเนอร์ โดยมีเป้าหมายในการจับและฝึกฝนสิ่งมีชีวิตเรียกว่า โปเกมอน ผู้เล่นใช้ความสามารถพิเศษของโปเกมอนต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่น ๆ และความสามารถบางอย่างทำให้ผู้เล่นสามารถสำรวจโลกของเกมได้ในวิธีใหม่ ๆ เช่น การเดินทางถึงที่หมายในทันที",
"title": "MissingNo."
},
{
"docid": "819229#0",
"text": "โปเกมอนภาคซัน และ โปเกมอนภาคมูน (; ) เป็นวิดีโอเกมสวมบทบาทพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโด ออกจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ภูมิภาคหมู่เกาะอะโลล่า ยึดตาม เกาะฮาวาย โปเกมอนเริ่มต้น โมะคุโร่ เนียบี้ อะชิมาริ (ฉลองครบรอบ 20 ปี ซีรีส์โปเกมอน) รองรับ 9 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาเกาหลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น จีนตัวย่อ และ จีนตัวเต็ม",
"title": "โปเกมอน ซันและมูน"
},
{
"docid": "757092#0",
"text": "โปเกมอน โก () เป็นเกมพกพา อิงพิกัดภูมิศาสตร์ (location-based) ผสานกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (augmented reality) เล่นฟรี บนสมาร์ตโฟนที่ต้องมีกล้องหลัง, มีระบบตรวจจับพิกัดตำแหน่งบนโลก (GPS), ตัวจับระดับการหมุน และจอสัมผัส พัฒนาโดยบริษัทไนแอนติก ออกจำหน่ายใน ค.ศ. 2016 บนระบบปฏิบัติการไอโอเอส และแอนดรอยด์ นอกจากเล่นบนมือถือแล้ว ยังสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กเรียกว่า โปเกมอนโกพลัส พัฒนาโดยนินเท็นโด ซึ่งเชื่อมต่อโดยใช้บลูทูธเพื่อแจ้งผู้ใช้ว่ามีโปเกมอนอยู่ใกล้ตัวผ่านแสงแอลอีดี และผ่านเสียงเตือนเบา ๆ เกมจะให้ผู้เล่นจับ ต่อสู้ ฝึกฝน และแลกเปลี่ยนโปเกมอนเสมือนจริงที่จะมีอยู่ทั่วโลก เกมจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จะมีระบบสนับสนุนการซื้อขายในเกม",
"title": "โปเกมอน โก"
},
{
"docid": "107756#0",
"text": "โปเกมอน () หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ต มอนสเตอส์ () เป็นสื่อแฟรนไชส์ที่จัดพิมพ์และเป็นของนินเทนโดบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่นและสร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริ เมื่อปี ค.ศ. 1996 แรกเริ่มออกจำหน่ายวิดีโอเกมแนวบทบาทสมมุติบนเครื่องเล่นสายเกมบอยชนิดเล่นเชื่อมกันได้ระหว่างเครื่องต่อเครื่องพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีค ตั้งแต่นั้นมา โปเกมอนกลายมาเป็นสื่อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จและได้กำไรมากเป็นอันดับ 2 รองจากแฟรนไชส์มาริโอ",
"title": "โปเกมอน"
}
] | [
{
"docid": "190038#3",
"text": "ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า \"โปเกมอน\" ผู้เล่น หรือ \"เทรนเนอร์\" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ออกแบบหลายครั้งโดยทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีก ศิลปินชื่อ อะสึโกะ นิชิดะ เป็นบุคคลหลักที่ออกแบบพิคาชู ซึ่งต่อมาได้ตรวจทานโดยเค็น ซุงิโมะริ จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทะจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง \"pika\" เสียงของประกายไฟฟ้า และ \"chu\" เสียงร้องของหนู แม้ว่าที่มาของชื่อเป็นเช่นนั้น แต่นิชิดะออกแบบพิคาชูรุ่นที่ 1 อ้างอิงกระรอก โดยเฉพาะแก้ม จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน",
"title": "พิคาชู"
},
{
"docid": "778464#5",
"text": "มีข้อยกเว้นใน\"โปเกมอนภาคเยลโลว์\" โดยผู้เล่นจะได้รับพิกะจู โปเกมอนหนูประเภทไฟฟ้าที่มีชื่อเสียงเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน คอยเดินตามหลังผู้เล่น คู่แข่งจะได้รับอีวุย โปเกมอนประเภทปกติ อีวุยจะพัฒนาร่างเป็นหนึ่งในสามร่างที่เป็นไปได้ (ในขณะนั้น) ขึ้นกับเงื่อนไขว่าผู้เล่นต่อสู้ชนะหรือแพ้คู่แข่งอย่างไรในตอนเริ่มเกม",
"title": "ระบบเกมโปเกมอน"
},
{
"docid": "747246#2",
"text": "มิว ไม่เหมือนกับตัวละครอื่น ๆ ในแฟรนไชส์\"โปเกมอน\" การพัฒนาของตัวมิวไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากเคน ซุงิโมะริ แต่ผ่านตรวจสอบโดยโปรแกรมเมอร์ของเกมฟรีก ชิเงะกิ โมะริโมะโตะ โมะริโมะโตะนำมิวใส่ในเกมอย่างลับ ๆ เป็นเรื่องล้อเล่นในหมู่พนักงานก่อนเกมจำหน่ายในญี่ปุ่น โดยตั้งใจจะให้เป็นโปเกมอนตัวเดียวที่พนักงานบริษัทเกมฟรีกรู้จักและได้ครอบครอง มิวถูกใส่ในตอนท้ายของการพัฒนาเกม\"โปเกมอนภาคเรด\"และ\"บลู\"หลังจากการลบส่วนดีบักของเกม โดยเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอที่จะเพิ่มตัวละครดังกล่าวเข้าไป ทั้ง ๆ ที่ตกลงกันไว้ว่าไม่ให้เปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเกมมากไปกว่านั้น แม้ว่านักพัฒนาไม่ได้ตั้งใจจะให้ใครครอบครอง แต่เนื่องจากความผิดพลาดของเกม ผู้เล่นยังสามารถเผชิญหน้ากับมันได้",
"title": "มิว (โปเกมอน)"
},
{
"docid": "748117#12",
"text": "ในระหว่างการสัมภาษณ์สึเนะคาสุ อิชิฮาระประธานบริษัทเครียเจอร์ จำกัดโดยเอบีซี นิวส์ เขาได้ให้ข้อมูลเชิงลึกในการกพัฒนาโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ๆเขาอธิบายว่า\" ความคิดของมอนสเตอร์แต่ละตัวนี้ล้วนมาจากจินตนาการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเกมฟรีก พวกเขานำความคิดนี้มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของพวกเขา ทั้งจากการอ่านมังงะ,ชื่อหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น,ประสบการณ์ที่ไม่ดอนพวกเขายังเป็นเด็ก,การจับแมลง และอื่นๆ ดังนั้น จากประสบการณ์เหล่านี้ในวัยเด็ก ความคิดเหล่านี้จึงได้สร้างสรรค์โปเกมอนชนิดต่างๆออกมา\" ในขณะเดียวกันโปเกมอน ภาคเรดและบลูจะมีมิว และมีโปเกมอนเซเลบีในภาคโกลด์และซิลเวอร์ แต่ก็จะได้มาจากการเข้าโปรโมทเกมในงาน เหตุการณ์แรกอย่างเป็นทางการในการได้เซเลบีมา ในงานนินเท็นโด สเปซเวิลด์ ปีค.ศ.2000 ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม100,000คนจะได้รับโปเกมอนตัวนี้ ในการที่จะได้มา ผู้เล่นต้องส่งโปสการ์ดใส่สลาก100,000ใบรับรองเซเลบี ช่วยให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับมัน",
"title": "โปเกมอน โกลด์และซิลเวอร์"
},
{
"docid": "184994#2",
"text": "นินเทนโดได้มอบหมายให้ กุนเป โยโคอิ นักพัฒนาเกมผู้มีชื่อเสียงผู้ให้กำเนิดเครื่องเกมพกพาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอย่าง\"เกม แอนด์ วอช\" และ \"เกมบอย\" และผู้ให้กำเนิดเกมซีรีส์\"เมทรอยด์\"เป็นผู้พัฒนาเครื่องเกมพกพารุ่นใหม่นี้ โยโคอิได้พัฒนาเครื่องเกมที่อาศัยหลักการมองภาพ 3 มิติของดวงตา โดยผู้เล่นจะต้องมองเข้าไปในกล้องเหมือนสวมแว่นประดาน้ำ และในเครื่องจะมีหน้าจอ 2 ชุดสำหรับดวงตาซ้ายและขวา ภาพจากจอทั้ง 2 จะถูกมองแยกต่างหากจากดวงตาแต่ละข้าง ผลที่ได้คือเกิดภาพลวงตาที่ทำให้ดูเหมือนภาพมีมิติแบบภาพ 3 มิติ",
"title": "เวอร์ชวลบอย"
}
] |
2554 | เลดี้ กาก้ามีชื่อจริงว่าอะไร? | [
{
"docid": "211529#0",
"text": "สเตฟานี โจแอนน์ แอนเจลินา เจอร์มาน็อตตา() หรือที่รู้จักในนาม เลดี้ กาก้า () เป็นศิลปินเพลงป็อบชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 เริ่มแสดงดนตรีครั้งแรกกับวงร็อกในนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 2003 เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะทิสช์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ต่อมาได้อยู่ในสังกัดอินเตอร์สโคป และต่อสัญญากับค่ายสตรีมไลน์ ในเครืออินเตอร์สโคปในปี ค.ศ. 2007 เธอเคยเขียนเพลงให้กับศิลปินร่วมสังกัด ทำให้ความสามารถด้านการร้องเพลงของเธอได้รับความสนใจจาก Akon และได้เซ็นสัญญากับ คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน",
"title": "เลดีกากา"
}
] | [
{
"docid": "562173#0",
"text": "แอพพลอส เป็นซิงเกิลของนักร้องอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้มที่ 3 ของเธอ อาร์ตป็อป(2013) เขียนโดย เลดี้ กาก้า และ DJ White Shadow ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้มอย่างเป็นทางการ ที่ปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการทั่วโลกในวันที่ 12 สิงหาคม 2556 โดยตามจริงแล้วกาก้าได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่า ซิงเกิลจะปล่อยอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 สิงหาคม 2556 โดยค่ายอินเตอร์สโคป แต่เนื่องจากมีผู้เจาะข้อมูลของกาก้า พยายามดึงเพลงนี้ออกมาทีละท่อน จนกาก้าตัดสินใจปล่อยเพลงก่อนกำหนดหนึ่งอาทิตย์เพื่อหลีกเลี่ยงผู้ที่เจาะข้อมูลดังกล่าว",
"title": "แอพพลอส (เพลง)"
},
{
"docid": "211529#8",
"text": "ต่อมาโปรดิวเซอร์เพลง ร็อบ ฟูซารี เป็นคนช่วยเธอแต่งเพลงขึ้นอีกหลายเพลง โดยเขาเปรียบเทียบเสียงร้องของเธอว่าคล้ายกับเสียงของเฟรดดี้ เมอร์คิวรี ฟูซารีเป็นคนที่คิดชื่อในวงการให้เธอว่า เลดี้ กาก้า หลังจากได้ฟังเพลงเรดิโอ-กาก้า ของวงควีน ซึ่งตอนนั้นกาก้ากำลังอยู่ในระหว่างคิดหาชื่อเพื่อใช้ในการแสดง เมื่อฟูซารีส่งความถึงเธอว่า \"Lady Gaga\" สเตฟานีจึงตัดสินใจใช้ชื่อนี้ และเป็นที่รู้จักทั่วไปหลังจากนั้น\nอย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์ รายงานว่า เรื่องที่ฟูซารีอ้างถึงที่มาของชื่อ \"เลดี้ กาก้า\" นั้นไม่เป็นความจริง และจริง ๆ แล้ว ชื่อ \"เลดี้ กาก้า\" ได้มาจากการพบกันทางธุรกิจกับเลดี้สตาร์ไลต์ ศิลปินแสดงสด ในค.ศ. 2007 และกาก้าได้ร่วมงานกับเธอนับแต่นั้นมา สตาร์ไลต์เป็นยังเป็นผู้สร้างสรรค์แฟชั่นบนเวทีการแสดงเองด้วย ทั้งคู่เริ่มงานแสดงที่คลับในดาวน์ทาวน์นิวยอร์ก ชื่อ เมอร์คิวรี่เลานจ์ และเดอะบิตเทอร์เอนด์ รวมไปถึง เดอะร็อกวูดมิวสิกฮอล ด้วยความสามารถในศิลปะการแสดงสดและจำอวดของพวกเธอที่เป็นที่พูดถึงแล้ว ทำให้เป็นที่รู้จักในชื่อ \"การแสดงเบ็ดเตล็ดของเลดี้ กาก้าและสตาร์ไลต์\" โดยถูกยกย่องว่าเป็น \"การแสดงป็อป-เบอร์เลสก์ชุดสุดท้าย\" การแสดงของกาก้าและสตาร์ไลต์มีกลิ่นอายของยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 ทั้งสองได้รับเชิญให้ขึ้นแสดงสดบนเวทีในเทศกาลดนตรีอเมริกันลอลลาพาลูซา ค.ศ. 2007 การแสดงของพวกเธอในครั้งนั้นได้รับการตอบรับดีมาก และได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก ด้วยความสนใจในการทดลองแนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ กาก้าค้นพบความสามารถทางดนตรีในตัวเองเมื่อตอนที่เริ่มผสมทำนองดนตรีป็อปกับเพลงแนวแกลมร็อกของเดวิด โบวี ลงในเพลงที่แต่งเอง\nฟูซารีนำเพลงที่เขาและกาก้าได้แต่งร่วมกัน ส่งให้เพื่อนของเขาที่เป็นโปรดิวเซอร์และผู้บริหารค่ายเพลง ชื่อ วินเซนต์ เฮอร์เบิร์ต เฮอร์เบิร์ตเซ็นสัญญากับกาก้าทันที ภายใต้สังกัดสตรีมไลน์เรคอดส์ ในเครืออินเตอร์สโคป ในช่วงของการก่อตั้งค่ายเพลงค.ศ. 2007 เธอยกย่องเฮอร์เบิร์ตว่าเป็นผู้ชายที่เห็นความสามารถของเธอ และกล่าวว่า \"ฉันรับรู้ว่า เราได้สร้างประวัติศาสตร์ป็อปอีกครั้ง และกำลังทำให้มันเดินต่อไป\" กาก้าได้เป็นนักแต่งเพลงคนใหม่ในค่ายเฟมัสมิวสิกพับลิชชิง แต่ต่อมาตกอยู่ภายใต้ความครอบครองของบริษัทโซนี่/เอทีวีมิวสิกพับลิชชิง ดังนั้นเธอจึงถูกว่าจ้างให้แต่งเพลงให้กับบริทนีย์ สเปียร์ส และนักร้องร่วมค่ายอย่าง นิว คิดส์ออนเดอะบล็อก เฟอร์กี้ และวงพุสซี่แคทดอล ระหว่าการเขียนเพลงให้กับอินเตอร์สโคป เอคอน นักร้องและนักแต่งเพลง ได้เห็นความสามารถในเสียงทรงพลังของเธอ เมื่อได้ร้องเดโมเป็นตัวอย่างสำหรับเพลงในแทร็กของเอคอน หลังจากนั้นเอคอนได้ขอร้องประธานบริษัทอินเตอร์สโคป-เกฟเฟน-เอแอนด์เอ็ม และจิมมี ไอโอวีนซีอีโอของบริษัท ให้เขาร่วมกับบริษัทได้ปั้นกาก้าให้เป็นนักร้องร่วมกัน และให้เธอเซ็นสัญญากับเขาภายใต้ค่าย คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน เอคอนเรียกเธอว่า \"แฟรนไชส์เพลเยอร์\" กาก้ายังคงร่วมงานกับเรดวันต่อไปในสตูดิโอ เพื่อร่วมกันทำอัลบั้มแรกของเธอ พร้อมทั้งเตรียมเพลงใหม่ \"Just Dance\" และ \"Poker Face\" นอกจากนั้นเธอยังได้ร่วมงานกับค่ายเชอร์รี่ทรี สังกัดอินเตอร์สโคป ที่ก่อตั้งขึ้นโดยโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลง มาร์ติน เคียร์เซนบาอัม ทั้งสองได้แต่งเพลงด้วยกันถึง 4 เพลง หนึ่งในนั้นมีเพลงดังอย่าง Eh, Eh (Nothing else I can Say)",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "755639#1",
"text": "ในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2011 เอ็มทีวีเน็ตเวิกส์อินเตอร์เนชันแนล ประกาศชื่อผู้เข้าชิงรางวัล เลดี้ กาก้าเข้าชิง 6 รางวัลในหมวดหมู่หลัก ๆ เคที เพร์รี และบรูโน มาร์ส เข้าชิง 5 รางวัล และบริตนีย์ สเปียส์ เทอร์ตีเซคันส์ทูมาส์ และอะเดล เข้าชิงคนละ 3 รางวัล เลดี้ กาก้าเป็นผู้ชนะรางวัลมากที่สุดถึง 4 รางวัล ผู้ชนะรางวัลคนอื่นได้แก่ เทอร์ตีเซคันส์ทูมาส์ บรูโน มาร์ส และจัสติน บีเบอร์ ได้รับคนละ 2 รางวัล",
"title": "เอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ 2011"
},
{
"docid": "211529#42",
"text": "กลางเดือนเมษายน เลดี้ กาก้า ได้เริ่มเปิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง A Star Is Born ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย รีเมคมาจากเวอร์ชันปี 1937 เธอใช้ชื่อในการแสดงว่า สเตฟานี่ เจอร์มาน็อตตา ซึ่งเป็นชื่อจริงๆของกาก้าเอง โดยเธอรับบทเป็น แอลลี่ นางเอกของเรื่อง ซึ่งแสดงคู่กับแบรดลีย์ คูเปอร์ ซึ่งเป็นผู้กำกับด้วย",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "379180#0",
"text": "ยูแอนด์ไอ () เป็นเพลงโดยศิลปินอเมริกันเลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้มบอร์นดิสเวย์ เขียนโดยเลดี้ กาก้า ผลิตโดย เลดี้ กาก้าและโรเบิร์ต จอห์น ถูกเปิดตัวครั้งแรกเดือนเมษายน 2554 มิวสิกวิดีโอปล่อยในวันที่ 17 สิงหาคม 2011 แต่ในความเป็นจริงเลดี้ กาก้ามีกำหนดจะปล่อยมิวสิกวิดีโอในวันที่ 18 สิงหาคม 2011 แต่รูปภาพจากวิดีโอเพลงของเธอถูกเผยแพ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก เธอจึงโกรธมากเลยปล่อยวิดีโอเร็วก่อนกำหนด\nฉากเริ่มที่กาก้าเดินจากนิวยอร์กเพื่อไปเนบราสก้าเป็นการสะท้อนถึงอดีตที่เธอกำลังมองอนาคตของเธอ กาก้าในชุดแบบ bionic อยู่ในทางที่จะไป Nebraska เพื่อจะกลับไปหา Luc ไม่ว่าเธอจะต้องเสี่ยงขนาดไหนเธอก็จะเดินไป ฉากรถไอศครีมและกาก้าล้มลงบนถนนขณะถือตุ๊กตาก็คือ เธอจะไม่ยึดติดกับอดีตสมัยเธอเป็นเด็กที่ถูกรังแกอีกต่อไป เพราะตอนนี้เธอมีความรักที่มันจะอยู่กับเธอตลอดไปและตลอดกาล ต่อมากาก้าในผมสีน้ำตาลนั่นคือกาก้าสมัยช่วงเป็น Stefani ก่อนอัลบั้ม The fame สมัยที่เธอยังอยู่กับ Luc จากนั้นเริ่มความสู่ช่วง The Fame โดย Luc (ในร่างนักวิทยาศาสตร์) พยายามเปลี่ยนกาก้าซึ่งอยู่ในร่างของเงือก เพราะเธอเริ่มอยู่กับครึ่งนึงในโลกแห่งความจริง และอีกครึ่งในโลกจินตนาการ (จาก twitter ที่กาก้าเคยบอกว่า Yüyi is between half reality and half fantasy)\nฉากตัดมาที่โรงนา น่าจะหมายถึง Luc เคยร้องเพลงต่างๆให้เธอฟัง แล้วตอนนี้กาก้ากลับมาร้องเพลงนี้ เพื่อจะขอให้เค้ากลับมาหาเธอ (ในเพลงจะมีท่อนที่บอกว่า On my birthday you sang me a heart of gold with a guitar humming and no clothes) ถึงตอนนี้ Luc พร้อมที่จะยอมรับเธอดั่งที่เธอเป็นนางเงือกที่อยู่ในครึ่งแห่งความจริง ครึ่งแห่งจินตนาการแล้ว โดยให้เห็นเป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งปลา จะเห็นว่า Luc รับเธอได้ก็เพราะในฉากที่นักวิทยาศาสตร์ ที่แทนตัว Luc มีเซ็กส์กับกาก้าที่เป็นเงือก ตอนนี้กาก้ายอมทำทุกอย่างเพื่อ Luc ตราบเท่าที่เธอยังสามารถเป็นตัวเธอเองเวลาอยู่กับเค้าได้อยู่ และเค้ายอมรับตรงนี้ได้ โดยจะเห็นได้จากเธอยอมเดินจาก New York เพื่อมาหา Luc โดยยังคงใส่ชุดแปลกประหลาดที่เป็นตัวเธอนั่นเอง\nฉากต่อมาเป็น Jo กับกาก้าที่ทุ่งข้าวโพดกับเปียโน หมายถึงกาก้าที่อยู่ตัวคนเดียว กำลังค้นหาตัวเอง ทั้งในฉากที่ Jo สูบบุหรี่และดื่มวิสกี้อย่างหนัก กาก้ายอมไปกับ Jo นั่นหมายถึงเธอรักตัวเธอเอง เธอยอมรับตัวเธอเอง และเธอก็เรียนรู้ว่าจะรักใคร และฉากกลับมาที่นักวิทยาศาสตร์ที่มีกาก้าอยู่ในหลอดแก้วพร้อมเทน้ำใส่ในหลอดนั้นหมายถึง Luc พร้อมที่จะสนับสนุนเธอ แม้ว่าตอนนี้เธอจะอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงหรือจินตนาการ Luc อยู่เคียงข้างไม่ว่าเธอจะเป็นเงือก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขากอดจุบ และมีความสุขดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะต่างยอมรับซึ่งกันและกันแล้ว ซึ่งกาก้าเคยบอกว่า ถ้าจะเป็นแฟนของเธอนั้น จะต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเธอเป็นให้ได้ และในท้ายสุด Luc ก็ทำได้ ที่กาก้ารัก Luc ได้อีกครั้งนั้นก็เพราะความรักที่เธอมีต่อตัวเอง (ในฉาก Jo และกาก้าในทุ่งข้าวโพด) ท้ายสุด กาก้าและ Luc ก็จบแบบมีความสุข พวกเขามีกันและกัน ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงกัน และได้แต่งงานกัน",
"title": "ยูแอนด์ไอ (เพลงเลดี้ กาก้า)"
},
{
"docid": "211529#37",
"text": "เมื่อวันที่ 9 กันยายน เลดี้ กาก้าได้ปล่อยซิงเกิ้ลใหม่จากอัลบั้มชุดที่ 5 ที่มีชื่อว่า เพอร์เฟกต์อิลลูชัน (Perfect Illusion) โดยมีโปรดิวเซอร์หลักคือ มาร์ก รอนสัน เคลวิน ปาร์คเกอร์ และบลัดป๊อบ โดยเพลงนี้ได้ติดอันดับ 1 บน iTunes Chart เกือบ 70 ประเทศ รวมถึงอเมริกาและก็ไทยด้วย และได้เปิดตัวในอันดับที่ 15 ใน Billboard Hot 100 และอันดับ 1 ในประเทศฝรั่งเศส,โดยอัลบั้มใหม่ชื่อว่า โจแอนน์ (Joanne) วางขายในวันที่ 21 ตุลาคม 2016 และเปิดตัวขึ้นอันดับ 1 ใน Billboard 200 ทำให้เป็นอัลบั้มที่ 4 ของเธอที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ , กาก้าได้แสดงซีรีส์ American Horror Story อีกครั้ง ในซีซั่นที่ 6 โดยเธอเล่นบทเป็น Scathach",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "211529#43",
"text": "เมื่อเดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมา เลดี้ กาก้าได้ร่วมสนับสนุนการเดินขบวน มาร์ชฟอร์เอาเออร์ไลฟ์ (The March for Our Lives) ซึ่งเป็นการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการครอบครองอาวุธปืนในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากเหตุการณ์ยิงกันในโรงเรียนมัธยมสโตนแมนดักกลาส ในวอชิงตัน ดี.ซี และเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2018 ที่ผ่านมาเธอได้ปล่อยเพลงโคปเวอร์ของ เอลตัน จอห์น เพลง \"Your Song\" ซึ่งอยู่ในแทร็กลำดับที่ 12 ของอัลบัม",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "211529#44",
"text": "ต้นเดือนสิงหาคม 2018 เลดี้ กาก้า ได้เริ่มโปรโมทโชว์คอนเสิร์ตถาวรเป็นเวลา 2 ปี ที่ ในลาสเวกัส ชื่อโชว์ว่า ซึ่งจะเริ่มทำการแสดงในเดือนธันวาคม ปี 2018 เป็นต้นไป",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "13396#8",
"text": "ฮิบิยะ จิโทเซะ เป็นผู้จัดการดูแลอพาร์ทเม้นต์ที่ ฮิเดกิ พักอาศัยอยู่ เป็นผู้เขียนนิทาน \"เมืองไร้ผู้คน\" และเป็นผู้ที่ร่วมสร้าง เฟย่า และเอลด้า ซึ่งสร้างมาเพื่อเป็นลูกสาวของเธอ เธอเคยมีสามีชื่อ อิจิโร่ มิฮาระ ตัวเธอปรากฏตัวในเรื่อง โคบาโตะ ในนาม มิฮาระ จิโทเซะ (พากย์เสียงโดย คิคุโกะ อิโนอุเอะ)รายชื่อตอนใน ภาคอะนิเมะ มีจำนวนทั้งหมด 26 ตอน เนื้อหาใกล้เคียงกับในภาคหนังสือการ์ตูน มีรายชื่อตอนดังนี้",
"title": "ดิจิทัล เลดี้"
},
{
"docid": "211529#61",
"text": "ปี 2012 ได้มีการค้นพบพืชจำพวกเฟิร์นสายพันธุ์ใหม่โดยองค์กรชีววิทยา ได้ตั้งชื่อเฟิร์นพันธุ์นี้ว่า \"GAGA\" เหตุที่ใช้ชื่อเลดี้ กาก้า เป็นชื่อเฟิร์นชนิดใหม่เนื่องจาก ดีเอ็นเอของเฟิร์นตระกูลนี้ จำแนกออกมาแล้ว เรียงตัวตามลำดับเป็น Guanine, Adenine, Guanine, Adenine, และ เพื่อเป็นเกียรติให้กับนักร้องอเมริกันคนนี้ ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวเกย์และชาวรักร่วมเพศมาโดยตลอด\nอีกเหตุผลหนึ่งคือ \"เลดี้ กาก้า\" เคยสวมชุดที่เป็นแรงบันดาลใจจากเฟิร์น \"เกมีโตไฟท์\" ในการแสดงบนเวที นอกจากนี้ ชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของเลดี้ กาก้า ที่เหมือนกางเกงขอบยื่น เป็นแบบเดียวกับใบอ่อนของเฟิร์นที่ม้วนเป็นก้อนกลม\nมีเฟิร์น 2 สปีชี่ย์ ที่เป็นการค้นพบใหม่ คือ \"กาก้า เจอร์มาน็อตต้า\" พบที่คอสตาริกา และได้ชื่อตามชื่อสกุลของเลดี้กาก้า กับ \"กาก้า มอนสตราพาร์วา\" ที่หมายถึง \"ลิตเติล มอนสเตอร์\" ชื่อที่เลดี้ กาก้า ใช้เรียกสาวกของตนเอง",
"title": "เลดีกากา"
}
] |
2561 | นอร์เวย์ตั้งอยู่ที่ไหน ? | [
{
"docid": "13251#0",
"text": "นอร์เวย์ (; ; ) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (; ; ) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง",
"title": "ประเทศนอร์เวย์"
}
] | [
{
"docid": "328655#1",
"text": "นวร์กตั้งอยู่ 13 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของเกาะแมนฮัตตัน ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณอ่าวนวร์ก นวร์กเป็นเมืองท่าที่ำคัญ ท่าเรือนวร์กเป็นท่าเรือเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าที่สำคัญสำหรับท่าเรือนิวยอร์กและท่าเรือนิวเจอร์ซี ทั้งยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินวร์กลิเบอร์ตี้ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสำคัญในเขตเมืองนิวยอร์ก ทั้งยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรูเด็นเชียล ไฟแนนเชียล",
"title": "นวร์ก (รัฐนิวเจอร์ซีย์)"
},
{
"docid": "13251#8",
"text": "นอร์เวย์เป็นถิ่นอาศัยของกลุ่มคนที่มีพื้นเพหลากหลายมาเป็นเวลายาวนาน ชาวซามีอาศัยอยู่ทางนอร์เวย์ตอนเหนือมาเป็นเวลาสองพันปี และมีคนเดินทางมายังนอร์เวย์เพื่อมาหางานทำนับเป็นร้อยปีมาแล้ว ผู้ย้ายถิ่นฐานชุดแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่มาจากประเทศเพื่อนบ้านและในยุโรปตะวันตก ปัจจุบันประชากรจากกว่า 200 ประเทศอาศัยอยู่ที่นี่",
"title": "ประเทศนอร์เวย์"
},
{
"docid": "13251#1",
"text": "ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้วย",
"title": "ประเทศนอร์เวย์"
},
{
"docid": "13251#7",
"text": "ผู้อพยพชุดล่าสุดของนอร์เวย์คือกลุ่มที่เดินทางไปยังประเทศเขตร้อนและอาศัยอยู่ในระยะเวลาที่ต่างกัน ผู้ชราภาพที่กินบำนาญหลายรายต้องการออกจากพื้นที่เขตหนาวของนอร์เวย์ในช่วงฤดูหนาว หลายคนย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่น เช่น สเปน อย่างถาวร ในขณะที่อีกหลายคนอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ในช่วงฤดูหนาวและกลับมานอร์เวย์ในช่วงฤดูร้อน",
"title": "ประเทศนอร์เวย์"
},
{
"docid": "625336#2",
"text": "ปัจจุบัน เขตสังกัดของนอร์เวย์ทั้งหมดอยู่ในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่\nเป็นดินแดนที่นอร์เวย์ได้จากการรวมกันเป็นสหภาพเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่ดินแดนเหล่านี้ก็ต้องคืนให้เดนมาร์ก หลังจากที่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยุติการมีประมุขร่วมกันในปีค.ศ. 1814",
"title": "รายชื่อการครอบครองของประเทศนอร์เวย์"
},
{
"docid": "269825#0",
"text": "นีเดอร์ไบเอิร์น () หรือชื่อในภาษาอังกฤษคือ โลว์เออร์บาวาเรีย () เป็นหนึ่งในเจ็ดส่วนภูมิภาค (\"เรกีรุงชเบเซิร์ค\") ของรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของบาวาเรีย นีเดอร์ไบเอิร์นยังแบ่งย่อยออกเป็นสามเขต (\"Planungsverband\") คือ ลันด์สฮูท, พัสเซา และโดเนา-วัลด์ บริเวณนี้รวมป่าบาวาเรียซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว",
"title": "นีเดอร์ไบเอิร์น"
},
{
"docid": "266678#0",
"text": "นิเนเวห์ (Nineveh) เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำไทกริส ปัจจุบันอยู่บริเวณตรงข้ามกับเมืองโมซูล ประเทศอิรัก ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอัสซีเรีย เมืองนิเนเวห์เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในรัชสมัยของกษัตริย์เชนนัคคาริบ (Sennacherib) ครองราชย์ 705-681 ปีก่อนคริสตกาล และอาซูร์บานีปาล (Ashurnasirpal) ครองราชย์ 668-327 ปีก่อนคริสตกาล แต่ก็ถูกอาณาจักรบาบิโลเนียและชนชาติอื่น ๆ เข้ายึดครองและทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล",
"title": "นิเนเวห์"
},
{
"docid": "80947#10",
"text": "อาจกล่าวได้ว่า ชาวนอรเวย์ได้แผ่ขยายเข้าไปตั้งถิ่นฐานถึงทางเหนือและตะวันตก เช่น ประเทศไอร์แลนด์ สก็อตแลนด์ ไอซ์แลนด์ และกรีนแลนด์ ชาวเดนมาร์กไปถึงในอังกฤษและฝรั่งเศส ได้ตั้งถิ่นฐานในเดนลอว์ (ภาคเหนือและภาคตะวันออกของอังกฤษ) และแคว้นนอร์ม็องดี และชาวสวีเดนได้ไปถึงตะวันออก พบว่าแผ่ขยายไปถึงจักรวรรดิเคียฟรุส พบว่ามีอักษรรูนของคณะเดินทางชาวสวีเดนได้กล่าวถึงการบุกและการท่องไปถึงยุโรปตะวันตก ตามตำนานเรื่องเล่าของไอซ์แลนด์ไวกิงชาวนอรเวย์ได้เดินทางไปยุโรปตะวันออกด้วยเช่นกัน ในยุคไวกิง ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กยังไม่มีตัวตน ชาวไวกิงส่วนใหญ่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันในวัฒนธรรมและภาษาแม้จะมีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ ชื่อกษัตริย์สแกนดิเนเวียเป็นที่รู้จักเฉพาะหลังยุคไวกิ้งเท่านั้น หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง ดินแดนจึงได้แบ่งเป็นอาณาจักรต่างๆ อย่างช้าๆ ตามสถานะที่แตกต่างกันไปในฐานะประเทศไปพร้อมกับการเข้ารีตเป็นคริสเตียน ดังนั้นการสิ้นสุดของยุคไวกิงสำหรับชาวสแกนดิเนเวียจึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุคกลางของพวกเขา",
"title": "ชาวไวกิง"
},
{
"docid": "581001#0",
"text": "นิวพอร์ต () เป็นเมืองในนิวพอร์ตเคาน์ตี โรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา นิวพอร์ตตั้งอยู่ทิศใต้ของพรอวิเดนซ์ห่างออกไป 37 กิโลเมตร (23 ไมล์) และอยู่ทิศใต้ของบอสตันห่างออกไป 98 กิโลเมตร (61 ไมล์) นิวพอร์ตเป็นที่รู้จักว่าเป็น รีสอร์ทในนิวอิงแลนด์ นิวพอร์ตมีประชากร 24,672 คน ในปี พ.ศ. 2553",
"title": "นิวพอร์ต (รัฐโรดไอแลนด์)"
}
] |
2563 | ภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "221353#1",
"text": "โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย \"โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย\" \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ \"การประกาศของเทพ\" โดยยัน ฟัน ไอก์ \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง",
"title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด"
}
] | [
{
"docid": "214035#16",
"text": "บานหลักเมื่อปิดเป็นภาพแม่พระรับสารตลอดทั้งสี่แผงที่เขียนในลักษณะที่เรียกว่า[[จิตรกรรมเอกรงค์]] ทางด้านซ้ายเป็นคำประกาศของ[[กาเบรียล]] ทางด้านขวาเป็นคำตอบของพระแม่มารีย์ที่เหมือนกับงานแม่พระรับสารอีกชิ้นหนึ่งของ[[ยัน ฟัน ไอก์]]ที่เขียนคว่ำเพื่อให้พระเจ้าอ่านได้ คาดกันว่าทิวทัศน์จากหน้าต่างอาจจะเป็นทิวทัศน์จากที่ที่ฟัน ไอก์ทำงานที่เกนต์ \nโยโดกึส (โยสต์) ไฟต์ [[ภาพเหมือนผู้อุทิศ|ผู้จ้าง]]เป็นพ่อค้าที่มั่งคั่งแต่ไม่มีบุตรธิดา\nระหว่างผู้อุทิศเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมากับ[[ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร]]เป็นรูปปั้นบนแท่นวาดแบบเอกรงค์ ด้านบนเป็น[[เศคาริยาห์ (ผู้เผยพระวจนะชาวฮีบรู)]] และ[[มีคาห์]]มองลงมาดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำนายไว้เป็นจริง ซึ่งเขียนบนแถบลอยอยู่เหนือศีรษะของทั้งสองคน ระหว่างทั้งสองก็เป็นผู้ทำนายการมาของพระเยซู[[หมวดหมู่:ยัน ฟัน ไอก์]]\n[[หมวดหมู่:แท่นบูชา]]\n[[หมวดหมู่:บานพับภาพ]]\n[[หมวดหมู่:จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก]]\n[[หมวดหมู่:จิตรกรรมกอทิก]]\n[[หมวดหมู่:จิตรกรรมในคริสต์ทศวรรษ 1430]]\n[[หมวดหมู่:ศิลปะเกี่ยวกับพระเยซู]]\n[[หมวดหมู่:ศิลปะเกี่ยวกับนักบุญ]]",
"title": "ฉากแท่นบูชาเกนต์"
},
{
"docid": "146195#4",
"text": "บานพับภาพสาม \"การประกาศของเทพแห่งเอ็กซ์\" ที่วาดระหว่างปี ค.ศ. 1441 ถึงปี ค.ศ. 1445 ปัจจุบันถูกแยกเป็นชิ้นๆ ระหว่าง เอ็กซ์-ออง-โปรวองซ์ บรัสเซลส์ อัมสเตอร์ดัม และร็อตเตอร์ดัม บานข้างถูกตัดเป็นสองชิ้น ผู้จ้างงานชิ้นนี้เป็นพ่อค้าผ้าเพื่อนผู้รู้จักพ่อเลี้ยงของบาเธเลมี เป็นงานที่รวมอิทธิพลของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์สมัยต้นของโรแบร์ต แคมแพง และ ยาน ฟาน เอค และงานของเคล้าส์ ซลูเตอร์ (Claus Sluter) ที่ทำงานอยู่ที่ดิจองและ นิโคโล อันโตนิโอ โคลันโตนิโอ (Niccolò Antonio Colantonio) จากเนเปิลส์ แต่บางท่านก็สันนิษฐานว่าสองคนหลังน่าจะเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากบาเธเลมีเสียมากกว่าที่จะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อ รายละเอียดสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ภายในภาพเป็นรายละเอียดที่ละม้ายสัญลักษณ์ของการประกาศของเทพของยาน ฟาน เอคและศิลปินในกลุ่มเดียวกันใช้ เช่นในภาพ\"การประกาศของเทพ\" (วอชิงตัน) ภาพนี้และภาพเหมือนที่เขียนเมื่อปีค.ศ. 1456 (ลิคเค็นชไตน์คอลเล็คชัน, เวียนนา) และเศษภาพพร้อมกับกางเขนที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ เป็นจิตรกรรมแผงเพียงเท่านั้นที่เหลือที่เชื่อกันว่าเป็นงานของบาเธเลมี งานสมัยหลังเป็นงานหนังสือวิจิตรทั้งสิ้นจากการอุปถัมภ์ของพระเจ้าเรอเนแห่งเนเปิลส์",
"title": "บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์"
},
{
"docid": "372131#22",
"text": "เขียนโดย ริก ไรออร์แดน วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เริ่มเรื่องด้วยฉากงานศพของเกรซ คาฮิลล์ ผู้เป็นยายของแดน และเอมี่ คาฮิลล์ เกรซได้มอบทางเลือกให้ญาติแต่ละคนที่มาเข้าร่วมงานศพสองทางเลือก หนึ่งคือรับเงินสองล้านดอลลาร์แล้วกลับบ้านไป และสองคือร่วมเกมปริศนาตามล่าสมบัติที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับยิ่งใกญ่กว่าใครในโลก แดนและเอมี่เลือกที่จะเข้าร่วมเกมในครั้งนี้ ทั้งสองได้พบเงื่อนงำแรกจาก 39 เงื่อนงำ ทั้งสองเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในคฤหาสน์ของเกรซ โดยทั้งคู่ได้พบกับอลิสแตร์ โอลุงชาวเกาหลี ทั้งสามค้นพบห้องสมุดลับในคฤหาสน์และซาลาดิน แมวที่หายไป แต่ไม่ทันไรก็เกิดไปไหม้คฤหาสน์ขึ้น อลิสแตร์หายตัวไป ทิ้งให้เอมี่กับแดนต้องเอาชีวิตรอด เอมี่ค้นพบว่าเงื่อนงำแรกนำไปสู่บุคคลในประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ เบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งภายหลังได้ค้นพบว่าเขาเป็นหนึ่งในสายตระกูลลูเซี่ยน เมื่อสองพี่น้องรอดมาจากการวางเพลิงได้ ทั้งคู่ซมซานไปหาเนลลี่ โกเมซ พี่เลี้ยงของพวกเขา ผู้ใหญ่คนเดียวในตอนนี้ที่ทั้งสองไว้ใจ เงื่อนงำทั้งหมดพาไปสู่ความลับในสุสานกระดูกใต้กรุงปารีส คำไขปริศนาคือ \"\"เหล็กละลาย\"\"",
"title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ"
},
{
"docid": "214035#1",
"text": "บานพับภาพเกนต์จ้างให้ทำโดยโยโดกึสหรือโยสต์ ไฟต์ (Jodocus Vijdt) ผู้เป็นพ่อค้าผู้มีฐานะดี งานเขียนเริ่มโดยฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ (Hubert van Eyck) ผู้เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1426 ขณะที่ยังเขียนภาพนี้อยู่ งานนี้จึงมาเสร็จโดยยัน ฟัน ไอก์ ผู้เป็นน้องชาย บานพับภาพนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเขียนภาพแบบใหม่ซึ่งเป็นการเขียนที่นิยมความเป็นธรรมชาติแทนที่จะเป็นเขียนแบบจินตนาการนิยมศิลปะคลาสสิก",
"title": "ฉากแท่นบูชาเกนต์"
},
{
"docid": "214035#3",
"text": "บนกรอบเคยมีตัวอักษรบ่งว่าฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้ \"เหนือกว่าผู้ใด\" (\"maior quo nemo repertus\") เป็นผู้เริ่มเขียนภาพ และยัน ฟัน ไอก์ เรียกตนเองว่า \"ช่างเขียนมือรอง\" (\"arte secundus\") เป็นผู้เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1432 แต่กรอบที่แกะสลักอย่างสวยงามรอบบานพับถูกทำลายระหว่างการปฏิรูปคริสตจักร สันนิษฐานกันว่าส่วนที่สูญหายไปอาจจะรวมทั้งกลไกที่ใช้ปิดเปิดบานพับซึ่งอาจจะรวมทั้งดนตรีประกอบด้วย",
"title": "ฉากแท่นบูชาเกนต์"
},
{
"docid": "217308#0",
"text": "\"ดูบทความหลักที่ พระแม่มารีและพระบุตร\"\nพระแม่มารีและพระบุตรอ่านหนังสือ () เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของงานจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ วิกตอเรีย เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ \"พระแม่มารีและพระบุตรอ่านหนังสือ\" เสร็จในปี ค.ศ. 1433",
"title": "พระนางพรหมจารีและพระกุมารกำลังอ่าน"
},
{
"docid": "684680#0",
"text": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก เป็นนวนิยายเล่มแรกในชุดปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ประพันธ์โดยริก ไรออร์แดน ตีพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์สกอลาสติก เนื้อเรื่องเริ่มต้นขึ้นที่สองพี่น้องกำพร้า แดนและเอมี่ คาฮิลล์ ทั้งสองค้นพบว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของคาฮิลล์ ตระกูลที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลก ซึ่งสมาชิกในตระกูลต้องฝ่าฟันกันเพื่อค้นหาคำไขปริศนาทั้ง 39 คำ",
"title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก"
},
{
"docid": "140057#0",
"text": "อภินิหารแหวนครองพิภพ () เป็นภาพยนตร์ตอนแรกสุดของภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน และออกฉายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2001 ภาพยนตร์สร้างจากนิยายแฟนตาซีเลื่องชื่อ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยมีชื่อตอนในภาษาอังกฤษเหมือนกันกับฉบับหนังสือ (แต่ฉบับหนังสือของไทยใช้ชื่อว่า มหันตภัยแห่งแหวน) เหตุการณ์ในเรื่องเกิดบนดินแดนในจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ ว่าด้วยเรื่องของจอมมารเซารอน ผู้ค้นหาแหวนเอกธำมรงค์ (แหวนแห่งอำนาจ) ซึ่งบรรจุอำนาจของตนในยามสร้างขึ้นไว้ เพื่อจะควบคุมผู้ครองแหวนอื่นๆ ที่ได้สร้างขึ้น 3 วงแก่เอลฟ์ 7 วงแด่คนแคระ และ 9 วงแด่มนุษย์ แต่ต่อมาแหวนของเขาตกไปอยู่ในมืออิซิลดูร์ผู้ตัดนิ้วของเขา จากนั้นจึงตกไปสู่ห้วงน้ำและถูกพบเจอโดยกอลลัม หลังจากนั้นบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ก็ครอบครองต่อมา แล้วจึงได้ทิ้งให้เป็นสมบัติของฮอบบิท หลานของเขาคือ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และได้เป็นจุดเริ่มต้นของคณะพันธมิตรแห่งแหวน 9 คน ต้องรับภารกิจในการเดินทางไปยังเมาท์ดูม ภูเขาไฟที่อยู่ใจกลางอาณาจักรมอร์ดอร์ อันเป็นสถานที่ๆหลอมแหวนขึ้นมาและเพียงแห่งเดียวที่สามารถเผาทำลายแหวนเอกธำมรงค์ได้",
"title": "อภินิหารแหวนครองพิภพ"
},
{
"docid": "221353#0",
"text": "ฉากแท่นบูชาเมรอด () หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ () เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา",
"title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด"
},
{
"docid": "146819#6",
"text": "ระหว่างปี ค.ศ. 1425-1430 ดูเหมือนว่ากัมปินจะเขียน \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นภาพที่ซับซ้อนจากหัวเรื่อง \"การประกาศของเทพ\" แผ่นกลางที่แปลกออกไปที่อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะที่บรัสเซลส์ทำให้เห็นว่าบานพับภาพเมรอดที่นิวยอร์กไม่ใช่ภาพต้นแบบจริง",
"title": "โรเบิร์ต กัมปิน"
}
] |
2565 | ภาคอีสานของประเทศไทยมีกี่จังหวัด? | [
{
"docid": "13363#3",
"text": "แอ่งโคราช เป็นการแบ่งโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามภูมิศาสตร์ โดยแอ่งโคราชจะอยู่ในโซนอีสานตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ทิศเหนือจะจรดแอ่งสกลนครโดยมีเทือกเขาภูพานกั้นไว้ ทิศตะวันตกกั้นด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทิศใต้กั้นด้วยเทือกเขาพนมดงรัก\nจังหวัดในภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่",
"title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "330764#10",
"text": "ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ มีดินไม่ดีซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยทุ่งนาที่น้ำท่วมถึงและระบายน้ำได้น้อยในการเจริญเติบโต และที่ซึ่งแหล่งน้ำใกล้เคียงสามารถท่วมถึงได้ มักจะเก็บเกี่ยวสองครั้งต่อปี พืชค้า อย่างเช่น อ้อยและมันสำปะหลังมีการเพาะปลูกกันในบริเวณมหาศาล และยาง ในปริมาณที่น้อยกว่าพืชสองชนิดแรก การผลิตไหมเป็นอุตสาหกรรมแถบชนบทและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ภาคอีสานมีฤดูมรสุมสั้น ๆ นำมาซึ่งอุทกภัยในแถบหุบเขาแม่น้ำ ไม่เหมือนกับพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่าของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ภูเขาขนาบภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางตะวันตกและทางใต้ และแม่น้ำโขงไหลกั้นที่ราบสูงโคราชทางเหนือและทางตะวันออก พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล \"Curcuma\" และพืชวงศ์ขิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาค\nภาคอีสานแบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็น 5 เขต ได้แก่",
"title": "ภูมิศาสตร์ไทย"
}
] | [
{
"docid": "13363#4",
"text": "ภูมิประเทศของภาคอีสานเต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดบึงกาฬ โดยมีจุดสูงสุดของภาคอีสานอยู่ที่ ยอดเขาหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับทะเลหมอกปานกลาง ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง (จังหวัดเลย)รายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน 20 อันดับแรก เรียงตามจำนวนประชากร",
"title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "13363#1",
"text": "ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม",
"title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "13363#2",
"text": "ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น",
"title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "13363#0",
"text": "ภาคอีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान \"aiśāna\" แปลว่า \"ตะวันออกเฉียงเหนือ\") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง",
"title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17500#6",
"text": "การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 21 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด) โดยมีพื้นที่ทางเหนือไปจนสุดเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก และทางใต้ลงไปสุดที่อ่าวไทย ยกเว้นจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขา และยกเว้นจังหวัดทางภาคตะวันออก จังหวัดในภาคกลางตามการแบ่งที่เป็นทางการ ประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 21 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดังตารางข้างล่างนี้",
"title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "17494#7",
"text": "จังหวัดทั้ง 9 ของภาคเหนือในการแบ่งเช่นนี้อาจเรียกว่า \"ภาคเหนือตอนบน\" ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามาก่อน (สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดตากเคยเป็นบางส่วน) และมีภาษาถิ่นเป็นคำเมือง ส่วน 8 จังหวัดที่เหลืออาจเรียกว่า \"ภาคเหนือตอนล่าง\" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ปัจจุบันการแบ่งแบบนี้ไม่นิยมใช้อ้างอิงในเอกสารของทางราชการและบทความทางวิชาการอื่น ๆ เนื่องจากราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้จังหวัดเหล่านี้ เป็นจังหวัดในเขตภาคกลาง ยกเว้นจังหวัดตากอยู่ในภาคตะวันตก",
"title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "5114#64",
"text": "ชาวไทอีสานเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทโคราช อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน และบางส่วนของอำเภอคง อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น ชาวไทยอีสานพูดภาษาอีสานท้องถิ่นคล้ายกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน และมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่นตามความเจริญของเศรษฐกิจ ในบางข้อสันนิฐานให้ข้อมูลว่า เดิมชาวโคราชพูดภาษากลางแบบชาวสยาม และมีชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ปะปนกัน จึงเกิดการผสมผสานเป็นภาษาไทโคราช แต่อย่างไรก็ดีชาวไทยอีสานดั้งเดิมมีถิ่นอาศัยอยู่ในภาคอีสานมานานแล้ว มิได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีความพัวพันกับอาณาจักรไทยในอดีต เช่น โคตรบูรณ์ ศรีจะนาศะ ซึ่งเป็นอาณาจักรของศาสนาพุทธ มิใช่พราหม-ฮินดู แบบจักรวรรดิ์เขมร กล่าวได้ว่าชาวไทยอีสานเป็นชนพื้นเมืองเดิมของภาคอีสานมาช้านานแล้ว",
"title": "จังหวัดนครราชสีมา"
},
{
"docid": "17494#2",
"text": "ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย",
"title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)"
}
] |
2566 | ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ไหน? | [
{
"docid": "11345#0",
"text": "ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา () เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า \"สะฮารา\" ในภาษาอาหรับ (, ) หมายถึง \"ทะเลทราย\"",
"title": "ทะเลทรายสะฮารา"
}
] | [
{
"docid": "71574#0",
"text": "ทะเลทรายโกบี (; ) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศมองโกเลียตอนใต้กับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของประเทศจีน โกบีเป็นทะเลทรายที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ทอดตัวเป็นแนวโค้งยาว 1,600 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่พอ ๆ กับรัฐอะลาสกาของสหรัฐอเมริกา ทะเลทรายแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเหนือระดับน้ำทะเล 900-1,500 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินล้วนทางด้านตะวันออก ส่วนด้านตะวันตกเป็นทราย",
"title": "ทะเลทรายโกบี"
},
{
"docid": "482159#0",
"text": "ทะเลทรายธาร์ (ฮินดี:थर मरुस्थल, ; ) หรือเรียกอีกชื่อว่า ทะเลทรายเกรตอินเดียน () เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและปากีสถาน มีพื้นที่มากกว่า 200,000 ตร.กม. (77,000 ตร.ไมล์) ถือเป็นพื้นที่แห้งแล้งที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก",
"title": "ทะเลทรายธาร์"
},
{
"docid": "71575#0",
"text": "ทะเลทรายอาตากามา () ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูไปถึงตอนเหนือของประเทศชิลี เป็นระยะทางกว่า 960 กิโลเมตร กินพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร โดยสูงเฉลี่ย 610 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทะเลทรายแห่งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดของโลก ประกอบไปด้วยแอ่งดินเค็มแห้งแล้งหลายแอ่งติดต่อกัน แม้ว่าเกือบจะไม่มีพืชขึ้นเลย แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไนเตรต ทองแดง ไอโอดีน และบอแรกซ์ เมืองในทะเลทรายอย่างเช่นเมืองกาลามาประสบภาวะแล้งจัดยาวนานกว่า 400 ปี ซึ่งเพิ่งสิ้นสุดเมื่อปี ค.ศ. 1971",
"title": "ทะเลทรายอาตากามา"
},
{
"docid": "340726#0",
"text": "ไบโคนูร์คอสโมโดรม (; ; ) หรือเรียกว่า ไทยูเรตัม () เป็นศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศคาซัคสถาน ห่างจากทะเลอารัลไปทางทิศตะวันออกราว 200 กิโลเมตร ทางเหนือของแม่น้ำเซียร์ดาเรีย ใกล้กับสถานีรถไฟไทยูเรตัม ที่ความสูง 90 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รัฐบาลรัสเซียเช่าศูนย์ดังกล่าวจากรัฐบาลคาซัคสถาน (จนถึง ค.ศ. 2050) และอยู่ภายใต้การบริหารร่วมกันขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียและกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซีย สหภาพโซเวียตสร้างศูนย์ดังกล่าวเมื่อปลายคริสต์ทศวรษ 1950 เป็นฐานปฏิบัติการโครงการอวกาศภายใต้โครงการอวกาศรัสเซียในปัจจุบัน ไบโคนูร์ยังเป็นศูนย์ที่คับคั่ง โดยมีภารกิจทางพาณิชย์ ทางทหารและทางวิทยาศาสตร์ถูกปล่อยจำนวนมากทุกปี",
"title": "ไบโคนูร์คอสโมโดรม"
},
{
"docid": "11345#3",
"text": "ทะเลทรายสะฮารา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ ๆ ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในโลก แต่ทว่าทะเลทรายแห่งนี้ก็ยังมีปรากฏการณ์หิมะตก ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ที่เมืองอินเซฟรา ในแอลจีเรีย มีหิมะตก แต่ทว่าละลายไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น จากนั้นอีก 37 ปีต่อมา ในปลายปี ค.ศ. 2016 ที่เมืองนี้ก็มีหิมะตกนับเป็นครั้งที่สอง โดยคราวนี้คงสภาพอยู่ได้ประมาณหนึ่งวัน ก่อนจะละลายหายไปในที่สุด",
"title": "ทะเลทรายสะฮารา"
},
{
"docid": "675687#2",
"text": "โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์รวมศูนย์เชิงพาณิชย์แห่งแรกสร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือที่โรงไฟฟ้า Ivanpah พลังงานไฟฟ้า 392 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ทะเลทรายโมฮาวี รัฐแคลิฟอร์เนีย โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์รวมศูนย์แห่งอื่น ได้แก่ SEGS (354 เมกะวัตต์) ในทะเลทรายโมฮาวี รัฐแคลิฟอร์เนีย โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์โซลโนวา (150 เมกะวัตต์) และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แอนดาโซล (150 เมกะวัตต์) ในประเทศสเปน โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใช้โฟโตโวลเทอิกแห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ โทแพซโซลาร์ฟาร์ม และเดสเสิร์ตซันไลต์โซลาร์ฟาร์ม ในสหรัฐอเมริกา มีกำลัง 550 เมกะวัตต์ทั้งสองแห่ง",
"title": "พลังแสงอาทิตย์"
},
{
"docid": "309779#0",
"text": "ทะเลทรายทากลามากัน () หรือ ทะเลทรายทากลิมากัน () เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน มีพื้นที่ 268,680 ตารางกิโลเมตร เท่ากับประเทศนิวซีแลนด์ เป็นพื้นที่ในเส้นทางสายไหมระหว่างจีนกับเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก ชื่อทะเลทรายมาจากภาษาอุยกูร์แปลว่า เข้าแล้วออกไม่ได้",
"title": "ทะเลทรายทากลามากัน"
},
{
"docid": "348552#0",
"text": "ทะเลทรายโซนอรัน หรือ ทะเลทรายแอริโซนา () เป็นทะเลทรายในอเมริกาเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างขายแดนของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ในรัฐแอริโซนาและรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโกอย่าง รัฐโซโนรา รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย และรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ ถือเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดและร้อนที่สุดในอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 311,000 ตร.กม. (120,000 ตร.ไมล์) ทะเลทรายมีพืชและสัตว์หลากหลายชนิด เช่น กระบองเพชรประเภทซากัวโร",
"title": "ทะเลทรายโซนอรัน"
},
{
"docid": "27283#4",
"text": "ไนเจอร์เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา มีการพัฒนาด้านมนุษย์ต่ำที่สุด Index (HDI) ในโลก ส่วนใหญ่พื้นที่ ที่ไม่ใช่ทะเลทรายของประเทศถูกคุกคามจากภัยแล้งเป็นระยะและการขยายตัวของทะเลทราย เศรษฐกิจมีความเข้มข้นประมาณยังชีพและการส่งออกสินค้าการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ที่อุดมสมบูรณ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกแร่ยูเรเนียม ไนเจอร์ยังคงย่ำแย่เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลของ ประชาชนขาดการศึกษาที่ดีและยากจน โครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพที่ไม่ดีนักและการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อม",
"title": "ประเทศไนเจอร์"
}
] |
2577 | สาขาบรรพมานุษยวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับอะไร ? | [
{
"docid": "667#1",
"text": "ศึกษากำเนิดและวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ กลุ่มวัฒนธรรม รวมถึงสังคมมนุษย์ ในขั้นพัฒนาการของสังคมด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างทางสังคม ระบบความเชื่อ องค์กรและสถาบันทางการเมือง ประเพณีและพิธีกรรม วัฒนธรรม ความเชื่อ อุดมการณ์ จารีตประเพณี และกฎหมาย บนรากฐานทางเศรษฐกิจ ทั้งที่สอดคล้องต้องกัน และขัดแย้งกัน ทั้งที่ตกผลึกแล้ว หรืออยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน \n\"นักมานุษยวิทยากายภาพ\" ศึกษาความเปลี่ยนแปลงด้านรูปลักษณ์และรูปร่างของมนุษย์และความเป็นมาของวัฒนธรรมและสังคมที่เกี่ยวข้อง : จัดประเภทเผ่าพันธุ์และพัฒนาการทางเผ่าพันธุ์มนุษย์ โดยศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่มาต่างๆ เช่น บันทึกทางประวัติศาสตร์ โบราณสถานและโบราณวัตถุ ชาติพันธุ์วรรณนา และประสบการณ์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะรูปร่างของมนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ที่ยังคงมีซากเหลืออยู่กับกลุ่มเผ่าพันธุ์มนุษย์ในปัจจุบัน อาจเชี่ยวชาญในการศึกษาวัฒนธรรมของมนุษยชาติในสมัยดึกดำบรรพ์และวัฒนธรรมของมนุษย์ในสมัยที่เจริญแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสังคมที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล รวมทั้งการสังเกตเกี่ยวกับความเป็นมาของวัฒนธรรม เช่น พิธีการทางศาสนา วรรณคดี งานฝีมือ และความเป็นมาของสังคม อาจเชี่ยวชาญในเรื่องรูปร่างของมนุษย์ชาติ มนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์ ชีววิทยาของประชากรมนุษย์ และการสืบพันธุ์ อาจเชี่ยวชาญทางด้านภาษาของมนุษยชาติตามสาขาวัฒนธรรมที่สำคัญๆ อาจเชี่ยวชาญทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษยชาติเฉพาะเรื่องที่สำคัญ",
"title": "มานุษยวิทยา"
},
{
"docid": "4218#12",
"text": "หลักฐานของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์มาจากงานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหลายสาขา (ดูรายละเอียดอื่นที่ต้นบทความ)\nแหล่งความรู้หลักของกระบวนการวิวัฒนาการปกติมาจากซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งเริ่มมีการสั่งสมหลักฐานของพันธุ์มนุษย์เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1829 (ดู \"ประวัติการศึกษาสมัยดาร์วิน\")\nแต่เริ่มตั้งแต่มีการพัฒนาด้านพันธุศาสตร์ในสาขาอณูชีววิทยาที่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 (ดู \"ประวัติ-การปฏิวัติทางพันธุศาสตร์\")\nการวิเคราะห์ดีเอ็นเอก็ได้กลายมาเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญพอ ๆ กัน\nส่วนงานศึกษาในเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (ontogeny) วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogeny) และโดยเฉพาะวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเชิงพัฒนาการ (evolutionary developmental biology) ของทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้ให้ความรู้ใหม่ ๆ พอสมควรเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งของมนุษย์\nมีงานศึกษาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดและชีวิตของมนุษย์ ซึ่งก็คือมานุษยวิทยา (anthropology) โดยเฉพาะบรรพมานุษยวิทยา (paleoanthropology) เป็นศาสตร์ที่พุ่งความสนใจไปที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์",
"title": "วิวัฒนาการของมนุษย์"
}
] | [
{
"docid": "667#2",
"text": "การผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ทางมานุษยวิทยาในประเทศไทยมีมากว่า 30 ปี แต่ส่วนใหญ่จะผลิตร่วมกันกับสาขาสังคมวิทยา โดยได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีเพียงมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น ที่ผลิตบัณฑิตทางมานุษยวิทยาโดยตรง นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เป็นเพียงสองมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่ชื่อปริญญาเป็น สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต และวิทยาศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)ตามลำดับ อาจกล่าวได้ว่า สาขามานุษยวิทยา ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก หากเปรียบกับสาขาย่อยต่าง ๆ ในทางสังคมศาสตร์ มีเพียงมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียว ที่จัดการเรียนการสอนทางด้านมานุษยวิทยา",
"title": "มานุษยวิทยา"
},
{
"docid": "729#15",
"text": "สาขาวิชาหลักใหญ่ที่เกี่ยวกับอนุกรมวิธานมี 2 สาขา คือ พฤกษศาสตร์ และสัตววิทยา พฤกษศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวพืช มีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางตั้งแต่การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และวิวัฒนาการของพืช ส่วนสัตววิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ รวมทั้งลักษณะทางสรีรวิทยาของสัตว์ซึ่งอยู่ในสาขากายวิภาคศาสตร์และคัพภวิทยา กลไกทางพันธุศาสตร์และการเจริญของพืชและสัตว์จะศึกษาในสาขาอณูชีววิทยา อณูพันธุศาสตร์ และชีววิทยาของการเจริญ",
"title": "ชีววิทยา"
},
{
"docid": "119979#0",
"text": "มนุษยศาสตร์ () เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น \"นักมนุษยนิยม\" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ",
"title": "มนุษยศาสตร์"
},
{
"docid": "146417#1",
"text": "มหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยได้เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาโทและเอก วิชานี้มีขอบเขตการศึกษากว้างขวาง โดยนำความรู้สาขามานุษยวิทยากายภาพ สาขาแพทย์ศาสตร์และสาขามานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ทางด้านสรีระ ประเพณี วัฒนธรรม และการแพทย์พื้นบ้านของคนแต่ละสังคมกับการแพทย์สมัยใหม่",
"title": "มานุษยวิทยาการแพทย์"
},
{
"docid": "37125#0",
"text": "บรรพชีวินวิทยา () คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิทยา",
"title": "บรรพชีวินวิทยา"
},
{
"docid": "146417#0",
"text": "มานุษยวิทยาการแพทย์ () เป็นสาขาย่อยแขนงหนึ่งของมานุยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม (Social and cultural anthropology) มานุษยวิทยาการแพทย์ก่อตัวขึ้นมาจากงานวิจัยของนักมานุษยวิทยา ที่พยายามหาความสัมพันธ์ของกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงไปสู่ภาวะสุขภาพ (Health) ความเจ็บป่วย (illness) และการดูแลรักษาสุขภาพ (care)",
"title": "มานุษยวิทยาการแพทย์"
},
{
"docid": "211961#0",
"text": "จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ หรือ ฟิสิกส์จักรวาลวิทยา () คือสาขาวิชาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลและพลศาสตร์ของเอกภพของเรา ตลอดจนถึงความเกี่ยวข้องกับปัญหาพื้นฐานในแง่การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ การศึกษาจักรวาลวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ และสาเหตุเริ่มต้นของการเคลื่อนที่เหล่านั้น มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของโคเปอร์นิคัส ที่ว่าวัตถุท้องฟ้าทุกชนิดย่อมอยู่ภายใต้กฎทางฟิสิกส์เดียวกันกับกฎทางฟิสิกส์ที่ใช้บนโลก ส่วนกลศาสตร์นิวตันเป็นการนำเสนอทฤษฎีที่จะทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ ปัจจุบันเรียกกลศาสตร์ทั้งหมดนี้รวม ๆ กันว่า กลศาสตร์ท้องฟ้า (celestial mechanics) สำหรับการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพในยุคปัจจุบันเริ่มขึ้นจากการพัฒนาทฤษฎีใหม่ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป รวมถึงข้อมูลการสังเกตการณ์วัตถุที่อยู่ไกลมาก ๆ ในจักรวาลของเรา",
"title": "จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ"
},
{
"docid": "628876#0",
"text": "มารวิทยา หรือ ปิศาจวิทยา () คือ การศึกษาเกี่ยวกับปิศาจหรือความเชื่อเกี่ยวกับปิศาจ เป็นสาขาหนึ่งของศาสนศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติที่ไม่ใช่เทวดา มีเนื้อหาว่าด้วยสิ่งมีชีวิตฝ่ายดีที่ไม่เป็นที่เคารพบูชาหรือแม้เป็นที่เคารพบูชาแต่ก็มีสถานะด้อยกว่าเทวดา กับทั้งสิ่งมีชีวิตฝ่ายร้ายทุกประเภท ทั้งนี้ ในศาสนศาสตร์ตะวันตกหลังสมัยโฮเมอร์เป็นต้นมานั้น คำว่า \"ปิศาจ\" หมายถึงแต่ สิ่งมีชีวิตฝ่ายดี แต่ในปัจจุบันมักหมายถึง สิ่งมีชีวิตฝ่ายร้าย",
"title": "มารวิทยา"
},
{
"docid": "141519#2",
"text": "เส้นขนานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเกิดขึ้นในสหรัฐฯ กล่าวคือ วิชามานุษยวิทยาสังคม ซึ่งใช้ \"ความเป็นสังคม\" เป็นแนวคิดกลางและที่เน้นจุดรวมไปที่การศึกษาสถานภาพทางสังคมและบทบาท กลุ่ม สถาบันและความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วพัฒนามาเป็นสาขาวิชาการในสหราชอาณาจักร ความหมายของขอบข่ายของ \"มานุษยวิทยาสังคม-วัฒนธรรม\" ทำให้เกิดความแตกต่างในประเพณีของทั้งมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและมานุษยวิทยาสังคม",
"title": "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม"
}
] |
2583 | โรคออทิซึม คืออะไร ? | [
{
"docid": "225795#0",
"text": "โรคออทิซึม () เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า",
"title": "โรคออทิซึม"
}
] | [
{
"docid": "225795#3",
"text": "เป็นที่เชื่อกันมานานว่ามีสาเหตุแรกเริ่มสาเหตุหนึ่งของอาการสำคัญทั้งสามอย่างของโรคออทิซึม โดยสาเหตุอาจเป็นสาเหตุในระดับพันธุกรรม ระดับสติปัญญา หรือระดับเซลล์ประสาท อย่างไรก็ดี ในภายหลังเริ่มเป็นที่สงสัยว่าโรคออทิซึมเป็นโรคที่สาเหตุซับซ้อน โดยอาการแต่ละด้านมีสาเหตุที่แตกต่างกันแต่เกิดและพบร่วมกันบ่อย เป็นต้น",
"title": "โรคออทิซึม"
},
{
"docid": "225795#5",
"text": "การวิจัยกับฝาแฝดได้ผลว่าโรคออทิซึมมีค่าดัชนีการถ่ายทอดอยู่ที่ 0.7 และสำหรับโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคออทิซึมสเปกตรัมมีค่าดัชนีการถ่ายทอดสูงถึง 0.9 คนที่มีพี่น้องเป็นโรคออทิซึมมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 25 เท่า อย่างไรก็ดี ลักษณะการถ่ายทอดของพันธุกรรมโรคออทิซึมนี้ยังไม่เข้ากับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยว (แบบเมนเดล) หรือเกิดจากความผิดปกติที่ตรวจได้ในระดับโครโมโซม แม้แต่โรคทางพันธุกรรมที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดออทิซึมสเปกตรัม ก็ยังไม่พบว่ามีโรคใดที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้โดยจำเพาะ",
"title": "โรคออทิซึม"
},
{
"docid": "225795#4",
"text": "โรคออทิซึมมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมเป็นอย่างมาก ถึงแม้พันธุศาสตร์ของโรคออทิซึมจะมีความซับซ้อน และยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าโรคเหล่านี้เกิดจากการกลายพันธุ์ตำแหน่งเดียวที่พบได้น้อย แล้วการกลายพันธุ์ตำแหน่งเดียวนี้ทำให้เกิดผลหลายๆ อย่างตามมา หรือ เกิดจากการกลายพันธุ์หลายๆ ที่ ที่แต่ละตัวมีโอกาสพบได้บ้าง แต่การเกิดพร้อมๆ กันนั้นพบได้น้อย แล้วปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนหลายๆ ยีนนี้ทำให้เกิดอาการของโรค ความซับซ้อนนี้เกิดจากการที่ยีนแต่ละยีน ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และการถ่ายทอดแบบอีพิเจเนติกส์ (ผลที่เกิดกับลักษณะแสดงออก ที่ถ่ายทอดได้ ที่ไม่ได้มาจากรหัสพันธุกรรม แต่มาจากปัจจัยอื่นๆ ที่ควบคุมการแสดงออกของพันธุกรรม) ต่างมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน การวิจัยด้วยการหาลำดับพันธุกรรมทั้งหมดของผู้ป่วยและญาติ ทำให้มีการค้นพบยีนหลายๆ ยีน ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคออทิซึม แต่เพียงเท่านี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ายีนเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรค",
"title": "โรคออทิซึม"
},
{
"docid": "703105#4",
"text": "ในปี ค.ศ. 1985 มีงานวิจัยที่แสดงว่า เด็กที่มีโรคออทิซึมไม่ใช้ทฤษฎีจิต \nซึ่งแสดงว่า เด็กโรคออทิซึมมีปัญหาในการทำงานที่ต้องเข้าใจความเชื่อของคนอื่น\nปัญหาเหล่านี้ก็ยังมีอยู่แม้เมื่อเทียบกับเด็กปกติที่มีความสามารถในการสื่อสารเท่า ๆ กัน \nและตั้งแต่นั้น การไม่ใช้ทฤษฎีจิตก็ได้มาเป็นตัวกำหนดอย่างหนึ่งของโรคออทิซึม\nคนไข้ที่วินิจฉัยว่ามีโรคออทิซึม มีปัญหาอย่างรุนแรงในการเข้าใจสภาพจิตใจของคนอื่น และดูเหมือนจะขาดสมรรถภาพต่าง ๆ ของทฤษฎีจิต \nนักวิจัยในประเด็นนี้ได้พยายามศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีจิตและโรคออทิซึม\nพวกหนึ่งสมมุติว่า ทฤษฎีจิตมีบทบาทในการเข้าใจจิตของผู้อื่น และในการเล่นสมมุติของเด็ก ๆ \nตามนักวิชาการพวกนี้ ทฤษฎีจิตเป็นสมรรถภาพในการสร้างตัวแทนทางจิตเกี่ยวกับความคิด ความเชื่อ และความต้องการ ไม่ว่าจะในเรื่องจริงหรือเรื่องสมมุติ\nซึ่งสามารถอธิบายว่า ทำไมเด็กโรคออทิซึมจึงมีความบกพร่องอย่างรุนแรงทั้งในทฤษฎีจิตและในการเล่นสมมุติ",
"title": "ทฤษฎีจิต"
},
{
"docid": "225795#2",
"text": "ผู้ป่วยโรคออทิซึมมีความผิดปกติที่หลายส่วนของสมองซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองมักสังเกตอาการผู้ป่วยได้ในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก แม้ว่าการบำบัดด้วยพฤติกรรมและการรับรู้โดยนักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยพัฒนาให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง มีทักษะด้านสังคมและการสื่อสารได้ แต่การรักษาที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้น้อยรายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ประสบความสำเร็จ",
"title": "โรคออทิซึม"
},
{
"docid": "641936#0",
"text": "อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส ( หรือ โรคของเซลล์ประสาทสั่งการ ), โรคชาร์โคต์ () หรือ โรคลู เกห์ริก () เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาทชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่าง มีลักษณะเฉพาะคือเกิดการฝ่อของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็งและอ่อนแรงลงเรื่อยๆ มีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจลำบาก โดย ALS เป็นโรคของเซลล์ประสาทสั่งการที่พบบ่อยที่สุด จากโรคในกลุ่มนี้ 5 โรค",
"title": "อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส"
},
{
"docid": "641936#1",
"text": "อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด โดยเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง เมื่อเซลล์เสื่อมค่อย ๆ ตายไปในที่สุด ในทางการแพทย์มีอีกชื่อว่า \"โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง\" (motor neuron disease; MND) หรือ \"โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม\" ในสหรัฐอเมริกาจะรู้จักกันดีในชื่อว่า \"Lou Gehrig's Disease\" (ลู-เก-ริก) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930 ที่ผ่านมาจะพบนักกีฬาเป็นโรคนี้หลายคน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า นักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากกว่าอาชีพอื่น ๆ",
"title": "อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส"
},
{
"docid": "84284#0",
"text": "ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง หรือ เอสแอลอี () เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเข้าโจมตีเนื้อเยื่อปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายแบบตั้งแต่เล็กน้อยแทบไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต อาการที่พบบ่อยได้แก่ ข้ออักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ผมร่วง แผลในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง ซึ่งมักพบที่บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมักมีระยะที่อาการเป็นมาก อาจเรียกว่าระยะกำเริบ และระยะที่อาการเป็นน้อย เรียกว่าระยะสงบ",
"title": "ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง"
},
{
"docid": "763936#5",
"text": "วารสารถูกตำหนิหลังจากที่พิมพ์บทความในปี 2541 ที่ผู้เขียนเสนอว่า การฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (วัคซีน MMR) สัมพันธ์กับโรคออทิซึม\nต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 วารสารพิมพ์ข้อความจากผู้เขียนดั้งเดิม 10 คนจาก 13 คน ที่ปฏิเสธโอกาสที่วัคซีน MMR จะเป็นเหตุของโรคออทิซึม\nหัวหน้าบรรณาธิการนายริชาร์ด ฮอร์ตัน ต่อมากล่าวไว้เป็นบันทึกประวัติว่า หัวหน้าคณะผู้เขียนดั้งเดิมคือ นพ.แอนดรู เวกฟิลด์ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรุนแรงที่ไม่ได้แจ้งวารสาร\nต่อจากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 วารสารจึงถอนคืนบทความนั้นอย่างสิ้นเชิง หลังจากที่มีการตัดสินว่า นพ.เวกฟิลด์ได้ดำเนินการวิจัยโดยผิดจริยธรรม",
"title": "เดอะแลนซิต"
}
] |
2584 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง?์ | [
{
"docid": "118160#0",
"text": "มีประวัติความเป็นมาการกินเจของศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ยุคแรก เริ่มก่อตั้งโดย กำนันตำบลเหนือคลอง ขุนชลาลัยพิศาล พวกสกุล เจียวก็ก โดยมีนายอังก๋าว เอ่งฉ้วน เป็นผู้จัดการเป็นคนแรกของอ๊ามเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง บ้านเหนือคลอง ประมาณ 140 ปีมาแล้ว สิ่งของที่ชาวบ้านเหนือคลองนำมาจากเมืองจีนทางเรือสำเภา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมกินเจในช่วงสมัยนั้น คือ \n1. เก่ว(เกี้ยว)\n2. ป้ายหนังสือจีน\n3.ป้ายชื่อเทพเจ้า \n4.หัวมังกรและน้ำเต้า \n5.รูปมือ \n6.รูปปั้นเทพเจ้า 3 องค์ คือ จ้อซู้ก๋ง , เล่าจ้อ , ยี่จ้อ\nยุคที2เริ่มมีผู้ดำเนินการจัดให้มีการกินเจ มีการแสดงอยู่ประมาณ 2- 3 คืน ผู้ที่เทพเจ้าเข้าประทับทรง \" ม้าทรง \" มีประมาณ 6 คน ตลอดเวลาศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง จะมีผู้ดูแลจัดการภายในทุกๆด้าน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยความเสียสละตลอดมา คือ 1. นายสิ่ว เอี่ยนเล่ง 2. นายสมนึก เอ่งฉ้วน 3. นายสวัสดิ์ อริยวงศ์ แต่เดิมศาลเจ้าจะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังคามุงจาก กอปรกับจิตเลื่อมใสศรัทธาของชาวกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมกันบริจากทรัพย์ โดยที่ทางศาลเจ้าไม่เคยเรี่ยไรแม้แต่ครั้งเดียว จำนวนผู้คนที่มาร่วมกินเจก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นคนจีน คนไทยเชื้อสายจีน แม้กระทั่งคนไทยแท้ก็มาร่วมกินเจ มีผู้คนหลากหลายสาขาอาชีพ มีทั้นคนรวย มีทั้งคนจน ต่างก็มารับประทานอาหารหม้อเดียวกันในโรงเจ ปัจจุบันศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุก๋ง ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงศรัทธา ทำให้มีอาคารเพิ่มมากขึ้นหลายหลัง มีความสะอาด สะดวก และสบาย พร้อมที่จะต้อนรับทุกท่านได้เป็นอย่างดี ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุก๋ง ได้รับคัดเลือกจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยประกาศเกียรติคุณให้เป็นศาลเจ้าที่บริหารงานดีเด่น ปี 2538 และ ปี 2541 ]]",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
}
] | [
{
"docid": "553377#1",
"text": "สร้างเมื่อใดไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ตามหินศิลาบันทึกของศาลเจ้าบันทึกไว้ว่า สร้างเมื่อวันดี ปีเจียชิ่งเจี้ยจื่อเหนียน เป็นปีที่ 9ในพระจักพรรดิเจียชิ่ง (จีน:嘉慶甲子年) ซึ่งตรงกับ ค.ศ1804 และ พ.ศ.2347 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์\nโดยเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนแซ่โซว (จีน:蘇) จากเมืองจวนจิว มณฑลฮกเกี้ยน ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเปิดโรงเผ่าถ่าน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านบ้านตลาดน้อย ได้นำพาเทพพระเจ้าเฉ่งจุ้ยจ้อซูกง (จีน:清水祖師公) ที่ตนนับถือมาแต่เมืองจีนมาบูชาและได้ตั้งศาลเจ้าให้ท่านได้ประทับ \nเนื่องจากท่านเฉ่งจุ้ยจ้อซูกง มีชาติภูมิกำเนิดเป็นชาวฮกเกี้ยน และในย่านชุมชนจีนตลาดน้อยเดิมเป็นชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน ทำให้ศาลของพระเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงได้รับความนับถือมาก จนเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด จนถึงปัจจุบัน",
"title": "ศาลเจ้าโจวซือกง"
},
{
"docid": "118160#4",
"text": "เริ่มงานกินเจวันแรก",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#11",
"text": "ทางศาลเจ้ามีข้อห้ามมิให้เดินข้ามสะพาน คือ",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#13",
"text": "กิจกรรมทั่วไป",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#3",
"text": "ดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 ดวงคือ \nคนกินเจได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#5",
"text": "พิธีรับพระประธานงานกินเจ",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#8",
"text": "พิธีไหว้ดาว",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#7",
"text": "พิธีลุยไฟ",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
},
{
"docid": "118160#9",
"text": "กำลังเทวดาทั้ง 9 พระองค์",
"title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง"
}
] |
2586 | ศีลธรรม เป็นข้อบังคับหรือไม่ ? | [
{
"docid": "343630#3",
"text": "ศีลธรรมนั้นมีอยู่ในทุกสังคมมาแต่โบราณกาล และเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติอย่างเดียวกับกฎหมายเช่นกัน แต่ก็มี\"ความแตกต่าง\"กับกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ศีลธรรมมีวัตถุประสงค์มุ่งเอาความสมบูรณ์ของจิตใจ เน้นมโนสำนึกเป็นหลัก ส่วนกฎหมายนั้นเน้นรักษาความสงบของส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งบางทีก็ไม่เกี่ยวกับมโนสำนึก เช่น การคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ในใจ กฎหมายไม่ถือว่าผิด แต่ทางศีลธรรมว่าเป็นผิดเป็นชั่ว อย่างไรก็ดี ศีลธรรมกับกฎหมายนั้นก็มี\"ความสัมพันธ์\"กันในฐานะที่เป็นวิวัฒนาการแห่งกัน เป็นต้นว่า มีกฎหมายหลายบทหลายมาตราที่กำหนดว่าการกระทำที่ขัดต่อ \"ศีลธรรมอันดีของประชาชน\"เป็นสิ่งที่กฎหมายไม่รับรู้ แต่กรณีนี้ต้องเป็นศีลธรรมที่คนหมู่ยืดถือร่วมกัน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง และต้องเป็นศีลธรรมอันดีด้วย",
"title": "จารีตและวิถีประชา"
},
{
"docid": "35044#1",
"text": "ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง \"เบญจศีล\" และ \"เบญจธรรม\" คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้",
"title": "ศีลธรรม"
},
{
"docid": "213031#0",
"text": "ศีลธรรมอันดีของประชาชน /สีนทำ-/ () หมายถึง มาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรมซึ่งนิยมกันอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ ไม่ว่าจะโดยความนับถือเช่นจารีตประเพณีทั่ว ๆ ไป เรียกว่าเป็น \"แรงกดดันจากสังคม\" () หรือโดยการบังคับใช้ผ่านกฎหมายหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เรียก \"แรงกดดันจากบ้านเมือง\" () ทั้งนี้ เพื่อเป็นปทัสถานหรือแนวที่สมาชิกในสังคมพึงปฏิบัติต่อสังคมนั้น ๆ รัฐที่ปกครองโดยใช้แนวคิด \"เทวาธิปไตย\" เช่น ไทย มักสั่งสอนประชาชนให้เห็นว่าศีลธรรมอันดีนั้นมีค่าเสมอคำสอนทางศาสนา และทั้งสองสิ่งก็มีค่าบังคับเช่นเป็นกฎหมาย",
"title": "ศีลธรรมอันดีของประชาชน"
}
] | [
{
"docid": "213031#2",
"text": "อันที่จริงแล้ว ความไม่เหมาะสมทั้งหลายต้องนับว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งนั้น ขึ้นกับว่าสังคมนั้นมองว่าอะไรคือความไม่เหมาะสม แต่แน่นอนว่าในการมองของคนทั้งโลก ความฉ้อฉลทางการเมือง การกล่าววาจาโป้ปดต่อสาธารณะ และความเสื่อมเสียทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ก็นับว่าเป็นความไม่เหมาะสมเช่นกันทั้งนั้น ความแตกต่างทางการมองสังคมของแต่ละสังคมนั้น เป็นต้นว่า บางสังคมก็มองว่าการที่ผู้นำประเทศมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น มีภริยาหลายคน หรือไม่จดทะเบียนสมรส เป็นความไม่เหมาะสม ในขณะที่บางสังคมก็มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว จุดนี้เรียกว่าเป็นช่องสีเทาระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องส่วนรวม เพราะเรื่องส่วนตัวของบุคคลบางคนก็อยู่ในความสนใจเป็นอันมากของประชาคม",
"title": "ศีลธรรมอันดีของประชาชน"
},
{
"docid": "213031#1",
"text": "โดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า \"ศีลธรรมอันดีของประชาชน\" เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเหมาะสมทางเพศมากกว่า เช่น เรื่องโสเภณี ความฝักใฝ่เพศเดียวกัน ความเหมาะสมในการแต่งกาย ความโป๊เปลือยหรือเรื่องเร้ากามารมณ์ การท้องก่อนแต่ง และการปกป้องเด็ก เป็นต้น ถือว่าเป็นเหตุผลหลักสำหรับการควบคุมพฤติการณ์ในสังคม และมักนำไปสู่การรณรงค์ต่อต้านผู้ไม่เคารพนับถือพระเจ้าหรืออะไรก็ตามที่มักเคารพนับถือกันอย่างพระเจ้า เช่น กษัตริย์ ราชวงศ์ ฯลฯ ซึ่งนับเป็นคนละฝ่ายกับ \"เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น\" ทีเดียว",
"title": "ศีลธรรมอันดีของประชาชน"
},
{
"docid": "136080#23",
"text": "\"ทุกเรื่องราวล้วนมีแง่คิดบางอย่าง ไม่ว่าผู้เล่าเรื่องประสงค์จะบอกสิ่งนั้นหรือไม่ก็ตาม เรื่องราวจะสอนเกี่ยวกับโลกที่เราเป็นผู้สร้าง สอนเกี่ยวกับชีวิตที่เราดำรงอยู่ สอนอะไรๆ มากกว่าศีลธรรม คำแนะนำหรือสุภาษิต มนุษย์เราไม่ได้ต้องการรายการสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด ไม่ต้องการตารางบอกสิ่งที่ควรทำกับสิ่งที่ห้ามทำ สิ่งที่เราต้องการคือหนังสือ เวลา และความเงียบ แล้วลืมคำว่า \"ห้ามทำ\" ไปเสีย\"\n[[ไฟล์:Cole Thomas Expulsion from the Garden of Eden 1828.jpg|left|thumb|250px|ภาพการล่มสลายของมนุษย์ โดย โธมัส โคล (การเนรเทศจากสวนอีเดน, [[ค.ศ. 1828]]) ในธุลีปริศนาได้กล่าวถึงการล่มสลายนี้ว่าเป็นผลดีกับการเจริญเติบโตเต็มที่ของมนุษย์]]",
"title": "ธุลีปริศนา"
},
{
"docid": "899631#0",
"text": "นมาซวันศุกร์ คือ นมาซที่ชาวมุสลิมจะมารวมตัวกันนมาซแทนนมาซซุฮ์ริในช่วงเที่ยงของทุกๆวันศุกร์ นมาซนี้ต้องทำรวมกันเป็นหมู่คณะ โดยไม่สามารถนมาซตามลำพังได้ ชาวชีอะฮ์ถือว่านมาซวันศุกร์เป็นข้อบังคับประเภทเลือกกระทำ (วาญิบตัคยีรี) กล่าวคือ ไม่เป็นข้อบังคับในยุคการเร้นกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) หมายความว่าผู้ปฏิบัติศาสนกิจ (มุกัลลัฟ)สามารถเลือกที่จะทำนมาซซุฮ์ริหรือนมาซวันศุกร์ได้ แต่ชาวซุนนีถือว่านมาซวันศุกร์เป็นข้อบังคับต้องปฏิบัติ (วาญิบอัยนี) และเป็นข้อบังคับต้องเข้าร่วมการนมาซ",
"title": "นมาซวันศุกร์"
},
{
"docid": "907385#16",
"text": "ผลลัพธ์นับไม่ถ้วนในทฤษฎีจำนวนยกทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิตและคุณสมบัติพีชคณิตของจำนวนคู่ ฉะนั้นทางเลือกข้างต้นจึงมีผลกระทบกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น ข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนบวกมีการแยกตัวประกอบเฉพาะตัว หมายความว่า บุคคลสามารถระบุว่าจำนวนนั้นมีจำนวนตัวประกอบเฉพาะจำนวนคู่หรือคี่ เนื่องจาก 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะหรือมีตัวประกอบเฉพาะ จึงเป็นผลลัพธ์ของจำนวนเฉพาะแตกต่างกัน 0 จำนวน ส่วน 0 เป็นจำนวนคู่ 1 จึงมีจำนวนตัวประกอบเฉพาะแตกต่างกันเป็นคู่ ดังนี้ส่อความว่าฟังก์ชันเมอบีอุสได้ค่า ซึ่งจำเป็นสำหรับการเป็นฟังก์ชันเชิงการคูณ และสูตรผกผันเมอบีอุสให้ใช้ได้",
"title": "ภาวะคู่หรือคี่ของ 0"
},
{
"docid": "213031#3",
"text": "แน่นอนว่าภายในกรอบแห่งศีลธรรมอันดีของประชาชน การพนันและการขันต่อย่อมถูกควบคุมตามปรกติ บ่อนการพนันถูกมองว่าเป็นภัยยิ่งกว่าสลากกินแบ่งหรือการพนันฟุตบอลทั้งที่สองอย่างหลังมีแพร่หลายดาษดื่น นอกจากนี้ ในบางสังคม การร่ำสุรายาเมาในที่สาธารณะและการทำแท้งยังเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ มีการออกกฎหมายควบคุมพฤติกรรมเช่นว่าด้วยโดยเหตุผลเพื่อพิทักษ์ธำรงศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งว่ากันตามประวัติศาสตร์แล้ว กฎหมายดังกล่าวที่มามาทุกยุคทุกสมัยก็ตั้งอยู่บนเหตุผลเดียวกัน ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งอย่างถูกต้องก็ตาม คนก็ยังมองว่าเป็นบาปเป็นความไม่เหมาะสม",
"title": "ศีลธรรมอันดีของประชาชน"
},
{
"docid": "56848#27",
"text": "ตัวอย่างเช่น การทดลองทางความคิดหนึ่งอาจแสดงสถานการณ์ที่นักฆ่าตั้งใจฆ่าคนบริสุทธิ์เพื่อประโยชน์ของคนอื่น ในที่นี้ คำถามประเด็นคือว่า การกระทำนี้ถูกต้องตามศีลธรรมหรือไม่ แต่คำถามที่กว้างกว่านั้นคือ ทฤษฎีศีลธรรมนั้นถูกต้องหรือไม่ที่กล่าวว่าศีลธรรมนั้นวัดได้โดยผลของการกระทำเพียงอย่างเดียว John Searle จินตนาการถึงชายในห้องปิดตายซึ่งได้รับประโยคที่เขียนเป็นภาษาจีน และเขียนประโยคตอบกลับเป็นภาษาจีนตามคู่มือวิธีการเขียนอันเช่ยวชาญ ในที่นี้ คำถามประเด็นคือว่า ชายคนนี้เข้าใจภาษาจีนหรือไม่ แต่คำถามที่กว้างกว่านั้นคือ functionalist theory of mind นั้นถูกต้องหรือไม่",
"title": "การทดลองทางความคิด"
}
] |
2594 | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "4284#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
}
] | [
{
"docid": "4284#3",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า \"นันท\" พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
},
{
"docid": "19587#0",
"text": "มหาอำมาตย์ตรี พันเอกพิเศษ จอมพลเรือ นายกองเอกเสือป่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2435 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร",
"title": "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก"
},
{
"docid": "4284#19",
"text": "นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร\" และอย่างสังเขปว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
},
{
"docid": "70175#0",
"text": "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เดิมคือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สกุลเดิม: สุจริตกุล; ประสูติ: 5 มีนาคม พ.ศ. 2381 - พิราลัย: 13 เมษายน พ.ศ. 2447) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมารดาของพระอัครมเหสีไทยถึงสามพระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา"
},
{
"docid": "4284#17",
"text": "หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
},
{
"docid": "4284#16",
"text": "การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทำให้เกิดปัญหาในการเรียกขานพระนาม เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี แต่ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลว่ายังพอจะสนองพระเดชพระคุณให้สมพระเกียรติได้ ด้วยการเฉลิมพระปรมาภิไธยและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งใช้กางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
},
{
"docid": "4284#15",
"text": "วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
},
{
"docid": "66489#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการลดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง",
"title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล"
},
{
"docid": "4284#20",
"text": "ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ \"อานันทมหิดล\" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
}
] |
2606 | ซิงเกิลแรกของเทกแดตคืออะไร? | [
{
"docid": "75976#4",
"text": "ซิงเกิลแรกของวงนี้คือ \"Do What U Like\" โดยเพลงนี้สามารถขึ้นไปถึงอันดับที่ 82 ในชาร์ตของอังกฤษ ซิงเกิลต่อๆมาของวงอย่าง \"Promises\" และ \"Once You've Tasted Love\" สามารถขึ้นไปถึงอันดับ 38 และ 47 ตามลำดับ\nซิงเกิลแรกที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาคือ \"It Only Takes A Minute\" เป็นเพลงคัฟเวอร์ของวงยุค'70 ชื่อ Tavares ขึ้นชาร์ทในอังกฤษสูงสุดอันดับ 7 ต่อมาเพลง \"I Found Heaven\" สามารถขึ้นไปถึงอันดับ 15 หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยเพลงฮิตอย่าง \"A Million Love Songs\" เป็นเพลงช้าที่แต่งโดย แกรี โดยสามารถขึ้นไปถึงอันดับ 7 ในอังกฤษ จากนั้นก็ปล่อยเพลง \"Could It Be Magic\" เพลงเก่าของ แบรรี แมนิโลว์ และ ดอนน่า ซัมเมอร์ ไต่ชาร์ทไปถึงอันดับ 3 หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ออกอัลบั้มแรก Take That & Party ในปี 1992 โดยอัลบั้มนี้ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ของชาร์ตอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นอัลบั้มเดียวของวงที่ไม่สามารถขึ้นถึงอันดับ 1 โดยอัลบั้มนี้ขายได้ประมาณ 1 ล้านชุด",
"title": "เทกแดต"
}
] | [
{
"docid": "75976#6",
"text": "ปี 1995 วงได้ออกอัลบั้มNobody Else ปล่อยซิงเกิลแรกคือ \"Sure\" สามรถขึ้นถึงอันดับ 1 ได้อีกครั้ง และซิงเกิลที่ 2 คือ \"Back For Good\" เพลงนี้เป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวง โดยเพลงนี้สามารถขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งของชาร์ตซิงเกิลของ 31 ประเทศ ซึ่งเพลงนี้ถือเป็นเพลงฮิตเพลงเดียวในอเมริกาของเทกแดต โดยขึ้นไปถึงอันดับ 7 โดยอัลบั้มนี้ถือเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในทั้งในแแง่ของอัลบั้มและซิงเกิล โดยอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 6 ล้านชุดทั่วโลก และทั้ง 3 ซิงเกิลได้ขึ้นถึงอันดับหนึ่งทั้งหมด",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "75976#8",
"text": "13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 เทกแดต ประกาศยุบวง โดยออกอัลบั้มรวมเพลง Greatest Hits ซึ่งมีเพลง \"How Deep Is Your Love\" (เพลงเก่าของบีจีส์) เป็นซิงเกิ้ลลาของวง ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่ 8 และเพลงสุดท้ายของเทกแดต ยุคแรกที่ไปถึงอันดับหนึ่ง (ทั้งนี้ วงได้ออกอีก 2 ซิงเกิ้ล นั่นคือ \"Every Guy\" ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลโปรโมต และ \"Sunday To Saturday\" ที่ปล่อยเฉพาะในญี่ปุ่น) อัลบั้มนี้ขายได้กว่า 3 ล้านชุดทั่วโลก\nเทกแดต ยังติดสัญญาที่จะต้องออกอัลบั้มอีก 1 อัลบั้ม ถ้าไม่ออกอัลบั้มจะถูกฟ้องร้องจากทางค่ายเพลง ซึ่งเป็นที่มาที่จะต้องออกอัลบั้มรวมเพลงชุดที่ 2 และ การโปรโมทอัลบั้มที่เป็นเงื่อนไขตามมา ฮาวเวิร์ดและเจสัน ตกลงเงื่อนไขทันที ตามมาด้วย มาร์กและแกรี โดยมาร์กได้เข้าไปหาร็อบบี้เพื่อเจรจาเรื่องนี้ โดยทุกคนคิดว่าร็อบบี้คงไม่ตกลง แต่ร็อบบี้ก็ได้สร้างความประหลาดใจ เมื่อเขาตกลงที่จะปรากฏตัวในฟิล์มโฆษณา แต่ต้องไม่พร้อมกับวง",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "196945#8",
"text": "\"เดอะเกรเทสวิว\" (The Greatest View) เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้ โดยออกจำหน่ายล่วงหน้าก่อนออกจำหน่ายอัลบั้มเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2545 ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 3 ในออสเตรเลีย ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ และขึ้นอันดับสูงสุดที่ 4 ในนิวซีแลนด์ และแคนาดา ต่อมาเพลงนี้ได้นำมาออกจำหน่ายใหม่อีกครั้งในอัลบั้ม \"ยังโมเดิร์น\" อัลบั้มต่อมาของวงนี้เพลงนี้ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 36 ในชาร์ตฮอตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ ในนิตยสารบิลบอร์ด ในปี พ.ศ. 2550 จอห์นสประพันธ์เพลง \"เดอะเกรเทสวิว\" เป็นตัวแทนทัศนคติของเขาต่อสื่อในแง่มุมต่างๆ เพลงนี้ไม่ได้มีเจตนาในการแสดงออกถึงความก้าวร้าว แต่เป็นความตรงไปตรงมาในความเห็นเกี่ยวกับความบ้าของสื่อรอบๆ วงของเขาตลอดหลายปีที่ผ่านมา",
"title": "ไดโอรามา (อัลบั้ม)"
},
{
"docid": "877014#4",
"text": "อัลบั้มแรกของเขาใช้ชื่อว่า \"อิตโกส์ไลก์ดิส\" ออกจำหน่ายในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิงเกิลที่สี่ \"เกตมีซัมออฟแดต\" เป็นซิงเกิลอันดับ 1 ซิงเกิลที่สองในต้นปี ค.ศ. 2014 ซิงเกิลที่ห้า \"เมกมีวอนนา\" ออกจำหน่ายสู่คลื่นวิทยุเพลงคันทรีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เพลงขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตคันทรีแอร์เพลย์ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2015 ในระหว่าวสองซิงเกิลนี้ เรตต์ และ จัสติน มัวร์ ร้องรับเชิญให้แบรนต์ลีย์ กิลเบิร์ต ในเพลง \"สมอลทาวน์โทรว์ดาวน์\"",
"title": "โทมัส เรตต์"
},
{
"docid": "75976#18",
"text": "ในวันที่ 21 ตุลาคม 2016 ได้มีการประกาศว่าจะมีอัลบั้มใหม่ออกวางแผงในชื่อ Wonderland โดยออกวางแผงในวันที่ 24 มีนาคม 2017 และจะมีการออกทัวร์ในปีเดียวกัน พร้อมกับออกซิงเกิลแรกของอัลบั้มในชื่อ Giants โดยสามารถขึ้นไปถึงอันดับที่ 13 ของชาร์ตอังกฤษ\nดูบทความหลักที่:ผลงานของเทกแดท และ รายชื่อเพลงที่บันทึกโดยเทกแดต",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "75976#1",
"text": "เทกแดตรวมวงที่เมืองแมนเชสเตอร์ในปี 1990 พวกเขามียอดขายอัลบั้มและซิงเกิลรวมกว่า 30 ล้านก๊อปปี๊ระหว่างปี 1991 - 1996 ในระหว่างปี 1991 อันเป็นปีที่ซิงเกิลแรกของพวกเขาได้เผยแพร่สู่สาธารณชน จนกระทั่งถึงปี 1996 ที่พวกเขาแยกย้ายกันไปนั้น บีบีซีกล่าวถึงเทกแดตว่า \"เป็นวงดนตรีบริติชที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่วงเดอะบีทเทิลส์ อันเป็นที่รักของทั้งผู้สูงอายุ และวัยรุ่นโดยทั่วไป\" เพลงแนวแดนซ์ป๊อป และโซลของเทกแดตขึ้นชาร์ตมากมายในสหราชอาณาจักรในช่วงครึ่งทศวรรษแรกของคริสต์ทศวรรษที่ 1990 อัลบั้ม 2 ชุดที่ขายที่ที่ส่วนของพวกเขาคือ \"Everything Changes\" ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเมอร์คิวรีในปี 1994 และอัลบั้ม \"Greatest Hits\" ซึ่งออกจำหน่ายในปี 1996 โดยออลมิวสิกได้กล่าวไว้ว่า \"ณ เวลานี้พวกเขาคือซูเปอร์สตาร์ในยุโรป คำถามหลักๆไม่ใช่ต้องมุ่งประเด็นที่ทำอย่างไรถึงมีซิงเกิลยอดนิยม แต่ควรถามว่ามีซิงเกิลขึ้นสู่อันดับหนึ่งเท่าไหร่\"",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "41010#3",
"text": "ทันทีหลังจากเป็นผู้ชนะในดิเอกซ์แฟกเตอร์ วอร์ดออกซิงเกิลแรกกับสังกัดไซโคมิวสิก \"แดตส์มายโกล\" ออกขายในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ในสัปดาห์แรกมียอดขาย 742,000 ชุด ซึ่งในวันแรกมียอดขาย 313,000 ก๊อปปี้ และกลายเป็นเพลงอันดับ 1 ในช่วงวันหยุดคริสต์มาส ปี ค.ศ. 2005 ซิงเกิลนี้ขึ้นอันดับ 1 กว่า 4 สัปดาห์และติดอันดับ 75 เพลงยอดนิยม เป็นเวลากว่า 21 สัปดาห์ มันกลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดอันดับ 3 รองจาก \"แคนเดิลอินเดอะวินด์\" ของเอลตัน จอห์น และ \"เอเวอร์กรีน\" ของวิล ยัง ซึ่งขายได้ 685,000 และ 400,000 ก๊อปปี้ ตามลำดับ และเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มียอดขาย 1.3 ล้านชุดในสหราชอาณาจักร วอร์ดยังได้รับรางวัลอิวอร์โนเวลอวอร์ด ในสาขาซิงเกิลเดี่ยวมียอดขายยอดเยี่ยม \"โนพรอมิสเซส\" คือซิงเกิลที่ 2 ออกจำหน่ายวันที่ 10 เดือนเมษายน ค.ศ. 2006 สามารถขึ้นถึงอันดับ 2 ในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "เชน วอร์ด"
},
{
"docid": "712733#0",
"text": "Beautiful World เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ของวงบอยแบนด์อังกฤษเทกแดท โดยในวันที่ 9 พฤษภาคม 2006 เทกแดต กลับมาอีกครั้งโดยเซ็นสัญญากับ Polydor Records ด้วยเงิน 3 ล้านปอนด์ \nโดยได้ออกซิงเกิลแรก \"Patience\" ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เพลงนี้ขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตอังกฤษในทันที ทำให้เป็นเพลงอันดับ 1 เพลงที่ 9 ของวงที่สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งได้ โดยทางวงได้ออกอัลบั้มในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006 ซึ่งอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 2.8 ล้านชุด ทำให้มันกลายเป็นอัลบั้มของวงที่ขายดีที่สุดในอังกฤษ",
"title": "บิวตีฟูลเวิลด์ (อัลบั้มเทกแดต)"
},
{
"docid": "75976#11",
"text": "9 พฤษภาคม 2006 เทกแดต กลับมาอีกครั้งโดยเซ็นสัญญากับ Polydor Records ด้วยเงิน 3 ล้านปอนด์ \nโดยได้ออกซิงเกิลแรก \"Patience\" ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เพลงนี้ขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตอังกฤษในทันที ทำให้เป็นเพลงอันดับ 1 เพลงที่ 9 ของวงที่สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งได้ โดยทางวงได้ออกอัลบั้ม Beautiful World ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006 ซึ่งอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 2.8 ล้านชุด ทำให้มันกลายเป็นอัลบั้มของวงที่ขายดีที่สุดในอังกฤษ",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "712706#0",
"text": "Nobody Else เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของวงบอยแบนด์อังกฤษเทกแดท โดยทางวงได้ปล่อยซิงเกิ้ลแรกคือ \"Sure\" สามรถขึ้นถึงอันดับ 1 ได้อีกครั้ง และซิงเกิ้ลที่ 2 คือ \"Back For Good\" เพลงนี้เป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวง โดยเพลงนี้สามารถขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งของชาร์ตซิงเกิ้ลของ 31 ประเทศ ซึ่งเพลงนี้ถือเป็นเพลงฮิตเพลงเดียวในอเมริกาของเทกแดต โดยขึ้นไปถึงอันดับ 7 และต่อมาทางวงได้ออกซิงเกิ้ลที่สาม \"Never Forget\" ซึ่งยังคงขึ้นถึงอันดับหนึ่งเหมือนเดิม โดยอัลบั้มนี้ถือเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในทั้งในแแง่ของอัลบั้มและซิงเกิ้ล โดยอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 6 ล้านชุดทั่วโลก และทั้ง 3 ซิงเกิ้ลได้ขึ้นถึงอันดับหนึ่งทั้งหมด โดยอัลบั้มนี้ แกรี บาร์โลว์เป็นคนแต่งทั้งหมด (ทั้งนี้ วงได้ออกอีก 2 ซิงเกิ้ล นั่นคือ \"Every Guy\" ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลโปรโมต และ \"Sunday To Saturday\" ที่ปล่อยเฉพาะในญี่ปุ่น)",
"title": "โนบอดีเอลส์"
}
] |
2617 | เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสันเกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "137619#0",
"text": "เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน (; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2533) เป็นนักแสดงหญิง นางแบบ และนักกิจกรรมหญิงชาวบริติช เกิดในปารีสและเติบโตในออกซฟอร์ดไชร์ วอตสันเข้าเรียนโรงเรียนดรากอนสกูลขณะเป็นเด็ก และเรียนการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ สาขาออกซฟอร์ด เธอเป็นที่จดจำจากบทบาทการแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี พอตเตอร์\" ปรากฏตัวในภาพยนตร์\"แฮร์รี พอตเตอร์\"แปดภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 โดยก่อนหน้านั้นเธอเคยแสดงเฉพาะละครในชั้นเรียน แฟรนไชส์ \"แฮร์รี พอตเตอร์\" ทำให้วอตสันมีชื่อเสียงทั่วโลก ได้รับคำยกย่อง และรายได้มากกว่า 10 ล้านปอนด์ เธอยังคงรับงานแสดงนอกจากภาพยนตร์\"แฮร์รี พอตเตอร์\" อีก เรื่องแรกคือพากย์เสียงในภาพยนตร์ \"การผจญภัยของเดเปอโร\" และปรากฏในภาพยนตร์โทรทัศน์ฉบับดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง \"รองเท้าบัลเลต์\" ตั้งแต่นั้นมา เธอได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง \"วัยป่วนหัวใจปึ้ก\" และ\"วัยร้าย วัยลัก\" ได้รับบทเป็นตนเองในฉบับ \"เกินจริง\" ปรากฏตัวชั่วครู่ในภาพยนตร์ \"วันเนี๊ย...จบป่ะ\" และรับบทเป็นบุตรบุญธรรมของตัวละครหลักในเรื่อง \"โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก\"",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
}
] | [
{
"docid": "137619#2",
"text": "เอ็มมา วอตสันเกิดที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เธอเป็นลูกสาวของทนายความชาวอังกฤษชื่อ แจ็กลีน ลิวสบี และคริส วอตสัน วอตสันอาศัยอยู่ในปารีสจนอายุ 5 ขวบ พ่อแม่ของเธอแยกทางกันตั้งแต่เธอยังเด็ก หลังจากพ่อแม่หย่าร้างกัน วอตสันย้ายกลับมาอยู่กับมารดาที่ออกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ และอยู่กับบิดาที่ลอนดอนในวันสุดสัปดาห์ วอตสันเคยกล่าวว่าเธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้บ้าง แม้ว่า \"ไม่คล่องแคล่ว\" เท่าที่เคย หลังจากย้ายไปที่ออกซฟอร์ดกับมารดาและน้องชาย เธอเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรากอนสกูลในออกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 เธออยากเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และเรียนร้องเพลง เต้นรำ และการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์แบบไม่เต็มเวลา",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "56795#1",
"text": "จอห์น โบรดัส วอตสัน เกิดในแทรเวเลอส์เรสต์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นบุตรชายของพิกเกนส์ บัตเลอร์ และ เอ็มมา (สกุลเดิม โร) วอตสัน แม่ของเขา เอ็มมา เป็นคนที่ศรัทธาในนิกายโปรเตสแตนต์ที่เคร่งครัด พ่อของเขา พิกเกนส์ เป็นคนติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เขาทิ้งครอบครัวไปอาศัยอยู่กับหญิงชาวอินเดียสองคน ขณะวอตสันอายุ 13 ปี ด้วยความที่ครอบครัวของเขาขัดสนเงิน แม่ของเขาจึงขายฟาร์มที่มีอยู่ และย้ายไปอาศัยอยู่ในกรีนวิลล์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อให้วอตสันมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ การย้ายจากหมู่บ้านชนบทที่ห่างไกลไปยังกรีนวิลล์ พิสูจน์ให้เห็นว่ามันสำคัญมากสำหรับวอตสัน โดยการให้โอกาสเขาได้สัมผัสกับความหลากหลายของคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งเขายังนำใช้ศึกษาทฤษฎีในด้านจิตวิทยา",
"title": "จอห์น บี. วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#26",
"text": "ในปี พ.ศ. 2548 วอตสันเริ่มงานอาชีพนางแบบด้วยการถ่ายโฟโตชู้ตให้นิตยสาร\"ทีนโว้ก\" และเป็นดาราอายุน้อยที่สุดที่ได้ขึ้นปก สามปีต่อมา สื่อของบริติชรายงานว่าวอตสันจะเป็นพรีเซนเตอร์ของเชอแนลแทนเคียรา ไนต์ลี แต่ทั้งสองคนปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 หลายปีหลังข่าวลือ วอตสันยืนยันว่าเธอจะร่วมกับเบอร์เบอรี เป็นพรีเซนเตอร์ในโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเธอได้รับค่าตอบแทนประมาณหกหลัก เธอยังปรากฏตัวในโครงการโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2553 ของเบอร์เบอรีร่วมกับอเล็กซ์ น้องชายของเธอ จอร์จ เครก และแมตต์ กิลเมอร์ นักดนตรี และแม็กซ์ เฮิร์ด นายแบบ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 วอตสันได้รับรางวัลสไตล์ไอคอนจากนิตยสารแอล มอบโดยวิเวียน เวสต์วูด วอตสันยังคงทำงานโฆษณาแฟชันต่อไปหลังเธอประกาศว่าเธอเป็นพรีเซนเตอร์ให้ผลิตภัณฑ์ลังโคมในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#3",
"text": "เมื่ออายุ 10 ขวบ วอตสันได้แสดงในละครเวทีของโรงเรียนสเตจโคชหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง \"อาร์เธอร์: เดอะยังเยียร์แอนด์เดอะแฮปปีพรินซ์\" แต่เธอไม่เคยแสดงมืออาชีพใด ๆ ก่อนภาพยนตร์ชุดแฮร์รี พอตเตอร์ หลังจบโรงเรียนดรากอนสกูล วอตสันย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเฮดิงตันสกูล ขณะอยู่ที่กองถ่ายภาพยนตร์ เธอและเพื่อน ๆ มีครูสอนพิเศษให้วันละห้าชั่วโมง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เธอเข้าสอบ GCSE 10 วิชา ได้รับเกรด A* 8 วิชา และเกรด A 2 วิชา",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "114244#0",
"text": "โทมัส ครูซ เมโพเธอร์ที่ 4 () เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ที่เมืองซีราคิวส์ รัฐนิวยอร์ก ปัจจุบันอายุ ปี จบการศึกษามัธยมปลาย จากเกลน ไรดจ์ เคยแต่งงานกับดาราสาวมิมิ โรเจอร์ จากนั้นหย่ากัน ก่อนที่จะแต่งงานใหม่กับดาราสาวชาวออสเตรเลีย นิโคล คิดแมน ในปี 1990 และเลิกรากันในปี 2001 ต่อมาได้แต่งงานและมีบุตรสาวกับ เคที โฮล์มส ชื่อซูรี เกิดเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2549 ในแซนตามอนิกา รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะทั้งคู่จะปิดฉากความรัก 6 ปีเต็ม ในเดือนมิถุนายน 2012",
"title": "ทอม ครูซ"
},
{
"docid": "335484#4",
"text": "สตีฟ โรเจอร์ส ถือกำเนิดในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ที่โลเวอร์อีสท์ไซด์ของแมนฮัตตัน ในนิวยอร์ก โดยมีพ่อแม่เป็นชาวไอร์แลนด์ที่อพยพเข้าเมือง ซึ่งมีชื่อว่าซาร่าห์ กับโจเซฟ โรเจอร์ส โจเซฟ โรเจอร์สเสียชีวิตลง โดยที่เหลือเพียงสตีฟซึ่งเป็นบุตรเพียงคนเดียวของซาร่าห์ผู้เป็นมารดา จากนั้นในภายหลัง ซาร่าห์ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคปอดบวมในช่วงที่สตีฟอยู่ในวัยหนุ่ม ในช่วงต้นยุค 1940 ก่อนที่อเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง โรเจอร์สเป็นผู้มีร่างกายสูงแต่ผอมบาง เขาเป็นนักเรียนด้านวิจิตรศิลป์ผู้เชี่ยวชาญภาพประกอบ จากเหตุการณ์ที่คุกคามโดยจักรวรรดิไรช์ที่สามนี้ โรเจอร์สได้พยายามที่จะเข้าร่วมเกณฑ์ เพียงเพื่อต้องการที่จะปฏิเสธความยากจน เนื่องด้วยพลเอกเชสเตอร์ ฟีลิปส์แห่งกองทัพสหรัฐกำลังมองหาการทดสอบอยู่พอดี โรเจอส์จึงมีโอกาสที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการมีส่วนร่วมในโครงการป้องกันความลับสุดยอด โอเปอร์เรชั่น: รีเบิร์ธ หรือโครงการการเกิดใหม่จึงได้เกิดขึ้น ซึ่งได้มีความพยายามในการพัฒนาด้านการสร้างซูเปอร์โซลเยอร์ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านร่างกายอย่างแท้จริง โรเจอร์สอาสาเข้ารับการทดสอบ และภายหลังจากการคัดเลือกอย่างเข้มงวด เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้รับเซรุ่มเพื่อเป็นซูเปอร์โซลเยอร์จากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า ดร.โจเซฟ ไรน์สไตน์ ซึ่งในภายหลังเขาได้เปลี่ยนชื่อรหัสของนักวิทยาศาสตร์มาเป็น อับราฮัม เออร์สไคน์",
"title": "กัปตันอเมริกา"
},
{
"docid": "137619#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันออกฉาย วอตสันรู้สึกพอใจในบทบาทเฮอร์ไมโอนี่ซึ่งเธอแสดงออกอย่างเต็มที่มากขึ้น โดยเธอเรียกตัวละครของเธอว่า \"มีเสน่ห์\" และเป็น \"บทอัศจรรย์\" แม้ว่านักวิจารณ์ตำหนิการแสดงของแรดคลิฟฟ์ มองว่าเขา \"เล่นแข็ง\" แต่พวกเขายกย่องวอตสัน หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมเชยการแสดงของวอตสันว่า \"โชคดีที่คุณแรดคลิฟฟ์ที่ไร้อารมณ์ถูกชดเชยด้วยความอดทนของคุณวอตสัน แฮร์รีได้อวดทักษะพ่อมดที่หลากหลายขึ้น แต่เฮอร์ไมโอนี่ได้รับเสียงปรบมือดังที่สุดจากหมัดปราศจากเวทมนตร์ต่อยเข้าที่จมูกของเดรโก มัลฟอย\" แม้ว่าเรื่องนักโทษแห่งอัซคาบันจะเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในภาพยนตร์ชุด แต่การแสดงของวอตสันจะชนะรางวัลออตโตสองรางวัล และรางวัลการแสดงเด็กแห่งปีจากนิตยสาร\"โททัลฟิล์ม\"",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2542 การคัดเลือกนักแสดงภาพยนตรเรื่อง\"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\"เริ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่ขายดีที่สุดของเจ. เค. โรว์ลิง เจ้าหน้าที่ที่คัดเลือกนักแสดงพบวอตสันผ่านทางครูของเธอที่โรงละครออกซฟอร์ด และโปรดิวเซอร์รู้สึกประทับใจในความมั่นใจในตนเองของเธอ หลังการออดิชันแปดครั้ง โปรดิวเซอร์ เดวิด เฮย์แมน บอกวอตสันและผู้สมัครอีกสองคนคือ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ต กรินต์ว่าพวกเขาได้รับเลือกให้เป็นตัวละครเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ และรอน วีสลีย์ โดยเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน โรว์ลิงสนับสนุนวอตสันตั้งแต่การทดสอบหน้ากล้องครั้งแรก",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#31",
"text": "วอตสันพบและเริ่มคบหากับนักเรียนที่ออกซฟอร์ด วิล แอดาโมวิกซ์ ในปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก เขาไปกับเธอในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีมูวีอะวอดส์ 2013 ซึ่งวอตสันได้รับรางวัลเทรลเบลเซอร์ ทั้งคู่เลิกรากันในต้นปี พ.ศ. 2557 ต่อมาในปีนั้น วอตสันคบหากับนักกีฬารักบี้ของออกซฟอร์ดชื่อ แมทธิว แจนนี ความสัมพันธ์สิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน ผู้แถลงข่าวแทนวอตสันกล่าวว่าทั้งคู่เลิกรากันเนื่องจาก \"ตารางงานไม่มีเวลาว่าง\"",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
}
] |
2620 | งูทะเล มีพิษหรอไม่ ? | [
{
"docid": "82610#3",
"text": "งูทะเลส่วนใหญ่เป็นงูพิษ และเป็นงูพิษร้ายแรงด้วย พิษของงูทะเลเป็นพิษที่ทำลายระบบกล้ามเนื้อ โดยจะออกฤทธิ์เมื่อถูกกัดไปแล้วนานถึงครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง จึงมักมีผู้ถูกงูทะเลกัดเสียชีวิตบ่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว แต่งูทะเลก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ นกอินทรี ที่โฉบงูทะเลกินเป็นอาหาร",
"title": "งูทะเล"
},
{
"docid": "82610#6",
"text": "งูทะเลในน่านน้ำไทยมี 13 สกุล 23 ชนิด แบ่งออกเป็นสองวงศ์ย่อย (Subfamily) คืองูทะเลทุกชนิดมีต่อมพิษ (ยกเว้นงูผ้าขี้ริ้วเป็นงูทะเลชนิดเดียวที่ไม่มีพิษ มีหางกลมไม่แบนเป็นใบพาย) น้ำพิษของงูทะเลจะหลั่งออกมาใน 2 กรณี คือ เมื่อต้องการป้องกันตัว และ ล่าเหยื่อหรือหาอาหาร น้ำพิษจะเข้าไปทำลายหรือหยุดการเคลื่อนไหวของเหยื่อทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตและตายในที่สุด พบว่าพิษของงูทะเลมีความรุนแรงมากกว่าพิษของงูพิษชนิดอื่นๆ (ยกเว้นพิษของงูพิษ Tiger snake ของออสเตรเลีย) น้ำพิษของงูทะเลมีความเป็นพิษสูง 1 หยดของน้ำพิษ (ประมาณ 0.03 มิลลิลิตรหรือประมาณ 10 มิลลิกรัมของน้ำหนักแห้ง) มีพิษมากพอที่จะฆ่าผู้ชายที่โตเต็มวัยได้ถึง 3 คน งูทะเลบางชนิดสามารถส่งผ่านน้ำพิษได้ 7-8 หยดในการกัดเพียงครั้งเดียว",
"title": "งูทะเล"
},
{
"docid": "82610#7",
"text": "น้ำพิษของงูทะเลทุกชนิดประกอบด้วยพิษมากกว่า 1 ชนิดและการรวมกันของพิษหลายชนิดทำให้มีความเป็นพิษที่รุนแรงมากขึ้น พิษของงูทะเลเป็นพิษชนิด Neurotoxin มีลักษณะเป็นของเหลวใสมีสีเหลืองหรือไม่มีสี มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.3 สามารถทนอยู่ในช่วง pH ได้ช่วงหนึ่ง มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ส่งต่อไปยังกล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกาย พิษงูทะเลประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลังถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนังแห้ง และโปรตีนส่วนมากเป็นเอนไซม์โดยจะพบเอนไซม์ 3 ชนิดได้แก่ Proteolytic enzyme, Phospholipase และ Hyaluronidase พิษงูทะเลบางชนิดสามารถทนความร้อน 100 องศาเซลเซียสได้ถึง 5 นาที โดยไม่สูญเสียความเป็นพิษแต่จะถูกทำลายเมื่อผ่านไป 20 นาที นอกจากนี้พบว่าน้ำพิษงูทะเลบางชนิดถูทำลายได้ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียสในเวลา 20 นาทีเท่านั้น",
"title": "งูทะเล"
},
{
"docid": "82610#9",
"text": "พิษงูทะเลเป็นพิษชนิด Neurotoxin เมื่อถูกกัดพิษจะกระจายไปทั่วกล้ามเนื้อต่างๆ และกล้ามเนื้อที่ถูกพิษทำลายนี้จะสามารถซ่อมแซมเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการกัดจนกล้ามเนื้อนั้นกลับมาสมบูรณ์ดังเดิม สำหรับอาการต่างๆ จะเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ ตั้งแต่ 20 นาทีจนถึงหลายชั่วโมง อาการเริ่มแรกที่พบคือ มีอาการเจ็บปวดและเครียดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลิ้นเริ่มแข็งไม่มีความรู้สึก กล้ามเนื้อเริ่มแข็งเกร็งไปทั่วร่างกาย เจ็บตามกล้ามเนื้อเมื่อมีการเคลื่อนไหว รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง จากนั้นเริ่มมีอาการอัมพาตที่ขาภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังถูกกัดและอาการอัมพาตจะผ่านซ่านไปที่หลัง แขนและลุกลามมาที่ต้นคอ กรามจะแข็งขยับปากหรือออกเสียงพูดได้ยาก ม่านตาขยายกว้างมีเหงื่อออก มีอาการชักกระตุกเป็นพักๆ และเริ่มบ่อยครั้งขึ้น สุดท้ายจะมีอาการทางเดินหายใจอย่างเห็นได้ชัด หายใจไม่ออก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด โดยอัตราการเสียชีวิตของคนที่ถูกงูทะเลกัดอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ในการกัดแต่ละครั้ง สำหรับอาการที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทั้งหมดทุกอาการและเวลาในการพัฒนาของอาการต่างๆ ก็แตกต่างกันด้วย",
"title": "งูทะเล"
},
{
"docid": "82610#8",
"text": "งูทะเลมีเขี้ยวพิษสองเขี้ยวอยู่ทั้งสองข้างของขากรรไกรบน แต่มีบางชนิดพบเพียงเขี้ยวเดียวอยู่ในช่องปาก เขี้ยวงูทะเลมีขนาดเล็กมากเฉลี่ยประมาณ 1.3-6.7 มิลลิเมตร มีลักษณะเหมือนกับเขี้ยวของงูเห่าบกแต่มีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับงูขนาดเดียวกัน เขี้ยวพิษ (Venom apparatus) จะเชื่อมต่อกับต่อมพิษ (Venom gland) ซึ่งต่อมนี้จะอยู่สองข้างของหัวและน้ำพิษจะไหลจากโคนเขี้ยวพิษ แรงดันจากการกัดเหยื่อจะส่งน้ำพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อ เนื่องจากเขี้ยวงูทะเลมีขนาดเล็กมากเมื่อถูกกัดจะรู้สึกเหมือนโดนหนามตำหรือเหมือนโดนผึ้งต่อย ร่องรอยจากการถูกกัดนั้นแทบมองไม่เห็นหรืออาจพบมีเลือดออกซิบๆ มีรอยขีดยาว 2-3 เซนติเมตร รู้สึกเจ็บแปลบแล้วหายไปแต่บางครั้งก็อาจมีความรู้สึกเจ็บอยู่ระยะหนึ่งซึ่งไม่นานและไม่รุนแรงนัก อาการเจ็บเมื่อโดนกัดเช่นนี้ทำให้ผู้ที่ถูกงูทะเลกัดมักเข้าใจผิดว่าถูกปูหนีบ ถูกก้อนหินบาด หรือถูกสัตว์ไม่มีพิษขนาดเล็กชนิดอื่นๆ ทำร้าย หากถูกงูทะเลกัดแล้วเขี้ยวของงูทะเลหลุดคาอยู่ในแผลก่อนทำการรักษาต้องบ่งเอาเขี้ยวออกก่อน",
"title": "งูทะเล"
},
{
"docid": "82610#10",
"text": "ก่อนการรักษาต้องวิเคราะห์ก่อนว่าผู้เคราะห์ร้ายถูกงูทะเลกัดในทะเล แหล่งน้ำขัง ชายฝั่ง หรือป่าชายเลน เพราะอาการต่างๆ จะไม่ปรากฏได้โดยง่าย แต่ถ้าถูกกัดในน้ำจืด หนองบึง หรือบริเวณหาดทรายจะสามารถทราบว่าถูกงูทะเลกัดได้เนื่องจากจะมีอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ อาการอัมพาต และปัสสาวะเป็นสีเข้มภายในไม่กี่ชั่วโมง สัตว์หลายชนิดในทะเลสามารถทำอันตรายได้ลักษณะคล้ายกับพิษงูทะเล เช่น เงี่ยงของปลาบางชนิด กลุ่ม Coelenterates กลุ่มเม่นทะเล และกลุ่มหอยเต้าปูน เป็นต้น แต่หากถูกงูทะเลกัดผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บปวดบริเวณที่ถูกกัด",
"title": "งูทะเล"
},
{
"docid": "82610#4",
"text": "งูทะเลที่พบในประเทศไทยมีหลายสิบชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ งูสมิงทะเลปากดำ (\"Laticauda laticaudata\") ที่มีความยาวได้ถึง 2 เมตร และมีพิษร้ายแรงที่สุด และมีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่มีพิษ คือ งูผ้าขี้ริ้ว (\"Acrochordus granulatus\") โดยคนไทยมักจะเรียกชื่องูเหล่านี้รวมกัน เช่น งูผ้าขี้ริ้ว งูคออ่อน งูแสม งูฝักมะรุม งูชายธง เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นงูแต่ละชนิดกัน",
"title": "งูทะเล"
}
] | [
{
"docid": "12927#27",
"text": "ส่วนใหญ่งูชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือใกล้กับเขตร้อนของโลก งูไม่มีพิษจะใช้วิธีฆ่าเหยื่อด้วยการรัดหรือกัดให้ตายแล้วกลืนกิน ซึ่งอาหารส่วนใหญ่คือหนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก รวมถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลา กบและแมลง บางชนิดกินไข่ของสัตว์อื่นเป็นอาหาร งูพิษมีประมาณไม่ถึง 1 ใน 3 ของงูทั้งหมด แบ่งตามลักษณะของเขี้ยวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่",
"title": "สัตว์เลื้อยคลาน"
},
{
"docid": "401040#0",
"text": "งูเขียวหางไหม้ลายเสือ หรือ งูพังกา () เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีพิษอ่อน เมื่อเข้าใกล้จะสั่นหางขู่และฉกกัดอย่างรวดเร็ว ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยบนต้นไม้เป็นพุ่มเตี้ยๆ ตามป่าชายเลน หรือตามริมฝั่งคลองที่ติดกับทะเล พบในประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัม, หมู่เกาะอันดามัน), ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศพม่า, ประเทศไทย, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา)",
"title": "งูเขียวหางไหม้ลายเสือ"
},
{
"docid": "613246#3",
"text": "งูเห่าอินเดีย แม้จะไม่ใช่งูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก แต่พิษของงูเห่าอินเดียก็อาจทำให้เป็นอัมพาต หรืออาจนำไปสู่ทางเดินหายใจล้มเหลวหรือหัวใจวายได้ และจากการศึกษาพบว่า ในแต่ละปีมีประชากรโลกราว 2,000,000 คน ถูกพิษร้ายจากงูเห่าอินเดีย และในจำนวนนี้ประมาณ 50,000 คน ที่ต้องเสียชีวิตจากพิษของงูเห่าอินเดีย จนถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสี่งูพิษที่ร้ายแรงที่สุดที่พบได้ในประเทศอินเดีย และถือเป็นอันดับหนึ่งของงูที่กัดมนุษย์มากที่สุดในอินเดียด้วย",
"title": "งูเห่าอินเดีย"
},
{
"docid": "16614#10",
"text": "นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน",
"title": "นาค"
},
{
"docid": "476351#0",
"text": "งูไทปันโพ้นทะเล (Inland Taipan) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Small Scaled Snake และ Fierce Snake เป็นงูไทปันชนิดหนึ่ง ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย เป็นงูพิษที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จัดอันดับบนพื้นฐานปริมาณแอลดี 50ในหนู แม้ว่ามันจะมีพิษร้ายแรง แต่กลับเป็นสัตว์ขี้อายและสันโดษ และมักจะเลือกหลบหนีมากกว่า (ชื่อ \"fierce (รุนแรง)\" มาจากพิษที่รุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ของมัน)",
"title": "งูไทปันโพ้นทะเล"
}
] |
2622 | ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เริ่มระบาดเมื่อใด? | [
{
"docid": "232651#0",
"text": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นการระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์ใหม่ หรือโดยทั่วไปมักเรียกว่า \"ไข้หวัดหมู\" เริ่มพบการระบาดตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา แม้ว่าไวรัสประกอบด้วยการรวมกันของพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ ในสัตว์ปีก และในสุกร รวมกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรยูเรเซีย ลักษณะที่แปลกประการหนึ่งของเชื้อเอช 1 เอ็น 1 คือ มักจะไม่ค่อยติดต่อสู่คนวัยชราอายุมากกว่า 60 ปี",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
}
] | [
{
"docid": "232651#8",
"text": "นอกเหนือจากโรคระบาดประจำปีเหล่านี้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอยังก่อให้เกิดโรคระบาดทั่วโลกสามครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20: ไข้หวัดใหญ่สเปน ในปี พ.ศ. 2461 ไข้หวัดใหญ่เอเชีย ในปี พ.ศ. 2500 และไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2511-2512 สายพันธุ์ไวรัสเหล่านี้ยังได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงด้านพันธุกรรมครั้งใหญ่ ซึ่งประชากรโลกยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่จำเป็น การศึกษาพันธุกรรมเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เปิดเผยว่า ส่วนพันธุกรรมกว่าสามในสี่หรือหกในแปดของสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว พ.ศ. 2552 เกิดขึ้นมาจากไข้หวัดใหญ่ในสุกรอเมริกาเหนือ ซึ่งได้เริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เมื่อสายพันธุ์ใหม่ถูกระบุชนิดเป็นครั้งแรกในโรงงานฟาร์มในรัฐนอร์ทแคโรไลนา และยังเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่พันทางซึ่งรวมไวรัสกว่าสามสายพันธุ์",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#47",
"text": "จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกออกมารายงานจำนวนตัวอย่าง 190 ตัวอย่าง จากทั้งหมดมากกว่า 15,000 ตัวอย่าง ของการทดสอบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก ได้แสดงให้เห็นว่า เชื้อมีภูมิต้านทานต่อโอเซลทามิเวียร์ (ทามิฟลู) เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 ตามฤดูกาล ซึ่งจากการทดสอบแล้วพบว่า ตัวอย่างเกือบทั้งหมดกว่า 99.6% ได้พัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโอเซลทามิเวียร์ อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังไม่แสดงภูมิคุ้มกันต่อซานามิเวียร์และยาต้านไวรัสอื่นที่หาได้ในปัจจุบัน",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#50",
"text": "ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นมาจากที่ไหนหรือเมื่อไหร่ การวิเคราะห์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเกิดการระบาดอยู่ในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนามาจากสายพันธุ์ที่ค้นพบเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 และแพร่สู่มนุษย์เป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะมีการรับรองอย่างเป็นทางการ และถูกระบุว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#29",
"text": "เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ใน 16 ประเทศ ได้มีการผลิตวัคซีนมากกว่า 65 ล้านโดส; ซึ่งดูเหมือนว่าวัคซีนดังกล่าวจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และน่าจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงซึ่งควรจะสามารถตอบสนองการติดเชื้อได้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในช่วงที่เกิดการระบาดไม่มีผลต่ออัตราการติดเชื้อ เอช 1 เอ็น 1 เนื่องจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีลักษณะที่แตกต่างจากสายพันธุ์ในวัคซีนดังกล่าว ในภาพรวม ความปลอดภัยของวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เหมือนกับความปลอดภัยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และจากข้อมูลจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ก็มีรายงานของการเกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรหลังรับวัคซีนไม่ถึง 12 ราย มีเพียงกรณีจำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้รับรายงานเกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีนเอช 1 เอ็น 1 และมีเพียงอาการเจ็บป่วยชั่วคราวเท่านั้นที่ตรวจพบ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกร ค.ศ. 1976 หลังจากการฉีดวัคซีนขนานใหญ่ในสหรัฐอเมริกาก่อให้เกิดโรคที่มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายกว่า 500 กรณี และมีผู้เสียชีวิต 25 คน",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#1",
"text": "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวมีการพบครั้งแรกในรัฐเวรากรูซ ประเทศเม็กซิโก และมีหลักฐานว่าโรคดังกล่าวได้มีการระบาดเป็นเวลานานนับเดือนก่อนจะมีการรับรองอย่างเป็นทางการ ถึงแม้ว่ารัฐบาลเม็กซิโกจะพยายามจะยับยั้งการระบาดของโรคด้วยการปิดสถานที่ราชการและเอกชนจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่เชื้อก็ได้ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วโลก จนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 องค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ประกาศให้ระดับการระบาดของเชื้อเป็น \"โรคระบาดทั่ว\"",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#28",
"text": "เมโยคลินิกแนะนำมาตรการส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการติดไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งสามารถปรับใช้กับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ คือ ฉีดวัคซีนเมื่อสามารถหาได้ การล้างมือบ่อย ๆ และทั่วถึง การรับประทานอาหารซึ่งมีผลไม้และผักสด ธัญพืชทั้งเมล็ด และโปรตีนไขมันต่ำ รวมทั้งการนอนหลับอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายเป็นกิจวัตร และการหลีกเลี่ยงฝูงชนขนาดใหญ่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผู้เข้ารับการรักษาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่ระบุได้เป็นผู้สูบบุหรี่",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#17",
"text": "อย่างไรก็ตาม ผู้มีอาการของไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นจะต้องทดสอบโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยเฉพาะ เพราะโดยปกติแล้ว ผลการทดสอบมักจะไม่กระทบต่อแนวทางการรักษาที่แพทย์แนะนำแต่อย่างใด CDC แนะนำให้ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ ได้แก่ ผู้ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเนื่องจากต้องสงสัยว่าติดโรคไข้หวัด สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น สำหรับการวินิจฉัยโรคเพิ่มเติมของไข้หวัดใหญ่ นอกเหนือจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สามารถพบได้ในวงกว้างกว่า ซึ่งรวมถึงการทดสอบวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว (RIDT) ซึ่งได้รับผลการทดสอบภายใน 30 นาที และการสอบด้วยวิธีการอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์โดยตรงและโดยอ้อม (DFA และ IFA) ซึ่งใช้เวลาราว 2-4 ชั่วโมง เนื่องจากอัตราการผิดพลาดของการทดสอบ RIDT อยู่ในระดับสูง CDC จึงแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งมีอาการใกล้เคียงกับการติดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่มีผลการทดสอบ RIDT เป็นลบ ควรจะได้รับการรักษาตามการสังเกต ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ โรคประจำตัว ความรุนแรงของอาการ และอัตราเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อน และถ้าหากต้องการตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรจะทดสอบด้วย rRT-PCR หรือการแยกเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#16",
"text": "การวินิจฉัยและยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเกิดจากไข้หวัดใหญ่ เอช 1 เอ็น 1/09 ต้องการการตรวจเยื่อซับคอหอยส่วนจมูกหรือคอหอยส่วนปากจากผู้ป่วย การทดสอบแบบ Real-time RT-PCR เป็นการทดสอบที่ได้รับการแนะนำ เพราะเป็นการตรวจที่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1/09 จากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "232651#21",
"text": "ส่วนในด้านโอกาสความเป็นไปได้หรือประวัติศาสตร์ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอช 1 เอ็น 1 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 บทความในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ได้กล่าวว่า \"เอช 1 เอ็น 2 และแบบชนิดย่อยอื่นอาจสืบเชื้อสายมาจากไวรัสสุกร เอช 3 เอ็น 2 ซึ่งมีการผสมสายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ไวรัสดังกล่าวได้แพร่ไปสู่สุกรรอบโลก และพบว่ามีการติดต่อสู่มนุษย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ประกอบขึ้นสำหรับ นิวรามินิเดสและโปรตีนเมตริกซ์ของไวรัสเอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์ใหม่ในมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกรท้องถิ่นในทวีปยุโรป ซึ่งพบเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1990\"",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
}
] |
2627 | เมืองหลวงของประเทศจีนคืออะไร? | [
{
"docid": "6152#0",
"text": "ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน: , พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก",
"title": "ปักกิ่ง"
}
] | [
{
"docid": "15673#10",
"text": "ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สถาปนาเมืองหลวงของประเทศขึ้น คือ เมืองเสียนหยาง ตั้งอยู่ทางเหนือของซีอานในปัจจุบัน ในอดีตจัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น มีประชากรประมาณ 5 ถึง 6 แสนคน เกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่จอมจักรพรรดิทรงเห็นว่า เมืองหลวง เสียนหยาง ยังมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จึงโปรดให้สร้างเมือง เออฝาง ขึ้นทางใต้ของเมืองเสียนหยาง กล่าวกันว่า หลังจากราชวงศ์ฉินถูกชาวนาโค่นบัลลังก์แล้วบรรดาพระราชวัง และ ตำหนักในเมืองทั้งสองถูกเผาทำลายสิ้น โดยใช้เวลาเผานานถึง 3 เดือน\nสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อ ฉางอาน ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ระหว่างที่ตั้งเมืองหลวงเก่าทั้งสอง ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นที่ตั้งเมืองฉางอานได้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน เมือง ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่นนี้มีอาณาเขตโดยรอบ 25,000 เมตร พื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ตำหนักภายในเมืองมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เล่ากันว่า หลังจากสร้างตำหนักเสร็จแล้ว องค์จักรพรรดิฮั่น ตรัสว่า \"ช่างใหญ่อะไรปานนี้\" 800 ปีหลังจากนั้น จักรพรรดิ ราชวงศ์ สุย ได้สร้างเมืองหลวงอีกเมืองหนึ่งขึ้นทางใต้ของ ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่น ชื่อ ต้าสิ้ง และเปลี่ยน ฉางอาน เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ และเนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์สุยมา",
"title": "ซีอาน"
},
{
"docid": "43419#0",
"text": "มณฑลไหหลำ หรือ ไห่หนาน (ภาษาจีน: 海南, พินอิน: Hǎinán) คือมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ \"ไห่หนาน\" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า \"ไห่หนานเฉิ่ง\" เมืองหลวงคือ เมืองไหโข่ว",
"title": "มณฑลไหหลำ"
},
{
"docid": "15673#0",
"text": "ซีอาน () เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: \"ความสงบสุขทางตะวันตก\") เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์ รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า \"ความสงบสุขชั่วนิรันดร์\" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน",
"title": "ซีอาน"
},
{
"docid": "25769#0",
"text": "ฉางอาน ตามสำเนียงกลาง หรือ เตียงฮัน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (; ) เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งเปลี่ยนชื่อในสมัยราชวงศ์ชิง",
"title": "ฉางอาน"
},
{
"docid": "32031#0",
"text": "เฮโจเกียว หรือ เฮเซเกียว () เป็นเมืองหลวงโบราณของประเทศญี่ปุ่น อีกนัยหนึ่งก็คือเมืองหลวงในยุคนาระนั่นเอง ตั้งอยู่ใน จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น มีรูปทรงเป็นแบบเวียง คือรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าตามแบบจีน หรือตามแบบที่นิยมสร้างกันในอาณาจักรล้านนาและพม่า ซึ่งเฮโจเกียวนี้ได้นำแบบแผนมาจากเมืองซีอานประเทศจีน เมืองหลวงของจีนในขณะนั้น",
"title": "เฮโจเกียว"
},
{
"docid": "227463#0",
"text": "อินซฺวี () คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของราชวงศ์ซาง โดยเป็นเมืองหลวงอยู่ 225 ปี มีจักรพรรดิปกครองอยู่ 12 พระองค์",
"title": "อินซฺวี"
},
{
"docid": "623546#0",
"text": "เสียนหยาง ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ห้ำเอี๋ยง ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน () เป็นเมืองหลวงของประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฉิน บูรณาการในพื้นที่มหานครซีอาน หนึ่งในพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเมืองหลักในประเทศจีน ที่มีมากกว่า 7 ล้านคนที่อาศัยอยู่ มีพื้นที่ 10,213 ตารางกิโลเมตร",
"title": "เสียนหยาง"
},
{
"docid": "86391#0",
"text": "หางโจว (จีน: 杭州; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง",
"title": "หางโจว"
},
{
"docid": "91931#0",
"text": "มณฑลเฮย์หลงเจียง (จีนตัวย่อ: 黑龙江省; จีนตัวเต็ม: 黑龍江省)ชื่อย่อ เฮย (黑)ชื่อ เฮยหลงเจียง มาจากชื่อแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล มีเมืองหลวงชื่อว่า ฮาร์บิน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศแมนจูกัว อดีตที่ประเทศถูกญี่ปุ่นเข้ายึดในปี พ.ศ. 2474 มณฑลเฮย์หลงเจียง มีประชากรประมาณ 39 ล้านคน มีเนื้อที่ 454,000 ตาราง ก.ม.\nมณฑลเฮย์หลงเจียงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้",
"title": "มณฑลเฮย์หลงเจียง"
},
{
"docid": "92367#0",
"text": "มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง\nของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ \nแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่\nทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ\nฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ\nมีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. \nมีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.\nก.ม. จีดีพี 631.0 พันล้านเหรินหมินปี้\nจีดีพีต่อประชากร 10,500 เหรินหมินปี้",
"title": "มณฑลหูเป่ย์"
}
] |
2637 | เคร็ก ดั๊กลาส เบลลามี่ เกิดวันที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "203779#2",
"text": "เคร็ก เบลลามี่ เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ปี1979 ที่โรงพยาบาลเซนต์ เดวิด เมืองคาร์ดิฟฟ์ (เวลส์) และแต่งงานกับแคลร์ แยนเซ่นแฟนสาวที่คบกันมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นในเดือนมิถุนายน ปี 2006 (ก่อนจะแต่งงานกันทั้งคู่มีลูกด้วยกันมาแล้ว) โดยทั้งคู่มีลูกชาย 2คนคือเอลลิส ,คาเมรอน และมีลูกสาว 1 คนคือ เล็กซ์ซี่ ทั้งคู่หย่ากันในปี 2012",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
}
] | [
{
"docid": "203779#0",
"text": "เคร็ก ดั๊กลาส เบลลามี่ () เป็นอดีตนักฟุตบอลชื่อดังชาวเวลส์ และเคยเป็นกัปตันทีมชาติเวลส์ รวมถึงติดทีมชาติสหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (BG) ลงแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปี 2012 ที่กรุงลอนดอนถึงแม้ในช่วงที่ยังเล่นฟุตบอลเคร็ก เบลลามี่จะเป็นนักเตะที่ก่อเรื่องฉาวมากมายแต่ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกองหน้าที่มีความเร็วสูงมากคนหนึ่งในวงการฟุตบอลอังกฤษ ผ่านการเล่นให้กับสโมสรชั้นนำหลายสโมสรเช่นนิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, เวสต์แฮม ยูไนเต็ด ก่อนที่จะแขวนสตั๊ดกับสโมสรคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ หลังจบพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2013 - 2014",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#3",
"text": "\"เอลลิส เบลลามี่\" ลูกชายคนโตของเขา (เกิดปี 1998) เลือกเล่นฟุตบอลในตำแหน่งกองหน้าเหมือนพ่อ และอยู่ในระบบพัฒนาเยาวชนของสโมสรอาชีพ โดยในปี 2012 เอลลิสก้าวขึ้นมาติดทีมชาติเวลส์ ชุดอายุไม่เกิน 16 ปี",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#41",
"text": "ภาพพจน์ของเบลลามี่ดูเหมือนจะดีขึ้นแต่โชคร้ายที่กลับเกิดเรื่องอื้อฉาวอีกครั้ง โดยในวันที่14 มิถุนายน ปี2008 ขณะที่เขาตั้งใจที่จะไปเปิดโรงเรียนสอนฟุตบอลในเซียร์ร่า ลีโอน แต่กลับก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกับเจ้าหน้าที่การกุศลในบ่อนคาสิโนหลังจากเสียพนันในร้าน!colspan=\"3\"|Premier League\n!261!!82!!12!!4!!21!!10!!40!!15!!334!!111\n349||119||13||4||25||12||40||15||425||149\n12||7||3||2||colspan=\"2\"|-||colspan=\"2\"|-||15||9\n361||126||16||6||25||12||40||15||440||158",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#25",
"text": "แม้ตัวเขาจะย้ายมาลิเวอร์พูลแล้วแต่สงครามระหว่างเขาและนิวคาสเซิ่ลต้นสังกัดเก่าดูเหมือนจะยังไม่จบ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ปี 2006 หลังเกมส์ที่ลิเวอร์พูลเปิดบ้านเอาชนะนิวคาสเซิ่ลไปได้ 2-0 เบลลามี่และเทอร์รี่ แม็คเดอม็อตต์ อดีตดาวดังทีมชาติอังกฤษซึ่งเป็นสตาฟฟ์โค้ชของนิวคาสเซิ่ล ได้ก่อเหตุทะเลาะวิวาทถึงขั้นสาวหมัดใส่กันในอุโมงค์ที่สนามแอนด์ฟิลด์ก่อนจะมีคนจับทั้งคู่แยกออกจากกัน",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#4",
"text": "เบลลามี่เริ่มต้นเล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุ9ขวบที่สโมสรบริสตอล โรเวอร์สและเซ็นสัญญาเข้ามาอยู่ในทีมชุดเยาวชนของนอริช ซิตี้ โดยเขาเคยไปทดสอบฝีเท้ากับสโมสรแบร็ดฟอร์ด ซิตี้ โดยในระหว่างการทดสอบฝีเท้ากับแบร็ดฟอร์ด ซิตี้นั้น เขายิงไปถึง7ประตูจากการลงทดสอบ3นัด แต่กลับไม่ได้รับการเซ็นสัญญาด้วยเพราะสโมสรให้เหตุผลว่าเขาไม่เหมาะกับการเป็นนักฟุตบอลอาชีพ",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#26",
"text": "และเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตะลึงในช่วงเวลาระหว่างเขาและลิเวอร์พูลนั้นเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2007 ในขณะที่ทีมกำลังเก็บตัวฝึกซ้อมที่โปรตุเกส\nและมีการสังสรรค์กันที่ร้านคาราโอเกะแห่งหนึ่ง เบลลามี่ได้เซ้าซี้ให้ ยอห์น อาร์เน่ รีเซ่ กองหลังของทีมแข่งร้องคาราโอเกะ แต่กลับถูกรีเซ่ปฏิเสธและตะคอกใส่จึงทำให้เขารู้สึกเสียหน้า จึงนำไม้กอล์ฟไปฟาดขาของรีเซ่ในสภาพมึนเมาควบคุมสติไม่ได้ เหตุการณ์นั้นทำให้ทั้งคู่ถูกปรับเงินกันคนละ2สัปดาห์ และได้ออกมาขอโทษผู้จัดการและเพื่อนร่วมทีมภายหลัง",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#29",
"text": "เคร็ก เบลลามี่เปิดตัวในฐานะนักเตะหมายเลข 10 ของเวสต์แฮม ยูไนเต็ดในวันที่ 10 กรกฎาคม ปี2007 ด้วยค่าตัว 7 ล้าน 5 แสนปอนด์ภายใต้สัญญา 5 ปีและยิงประตูแรกให้ต้นสังกัดได้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2007 ในเกมส์ลีกคัพโดยทีมเอาชนะบริสตอล โรเวอร์สได้ 2-1 จากนั้นเบลลามี่ต้องพบกับอาการบาดเจ็บอย่างหนักในฤดูกาลแรกของเขากับเวสต์แฮม ทำให้ลงสนามได้เพียง 9 นัด และยิงได้ 4 ประตู",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#17",
"text": "หลังจากการให้สัมภาษณ์ครั้งนั้นของเบลลามี่ เขาถูกซูเนสส์เอาคืนด้วยการออกมาประกาศว่าเบลลามี่จะไม่มีวันได้เล่นในสีเสื้อของนิวคาสเซิ่ลอีกต่อไปและเขายังลงโทษปรับเงินค่าเหนื่อยของเบลลามี่อีก2สัปดาห์เป็นเงินถึง8,0000 ปอนด์",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
},
{
"docid": "203779#37",
"text": "ฤดูกาล 2010-2011 โรแบร์โต้ มันชินี่ ได้ตัดเคร็ก เบลลามี่ ออกจากรายชื่อนักเตะที่จะใช้ในยูโรป้า ลีก ทำให้เขาตัดสินใจย้ายไปเล่นให้กับคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ทีมบ้านเกิดของเขาในลีกเดอะ แชมเปี้ยนชิพด้วยสัญญายืมตัว",
"title": "เคร็ก เบลลามี"
}
] |
2638 | ไอแซก นิวตัน เคยสมรสหรือไม่? | [
{
"docid": "2122#13",
"text": "นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ ชาลส์ ฮัตตัน นักเศรษฐศาสตร์ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ และนักฟิสิกส์ คาร์ล เซแกน",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#16",
"text": "ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, ไลบ์นิซ และเฟลมสตีด ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชสมาคมแห่งลอนดอนที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
}
] | [
{
"docid": "2122#18",
"text": "เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#6",
"text": "ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2186 ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเชียร์ ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับปฏิทินเกรกอเรียน ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2185 บิดาของนิวตัน (ชื่อเดียวกัน) ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: \"ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ\" นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#22",
"text": "นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์ เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Nicolas Fatio de Duillier ครั้นปี 2234 ดุยลิเยร์เริ่มต้นเขียน \"Principia\" ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิซ มิตรภาพระหว่างดุยลิเยร์กับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 2236 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "45605#3",
"text": "แมรี แอนน์ได้มานิวยอร์กและพบว่าซิงเกอร์เป็นชายที่แต่งงานแล้ว แต่เธอกับซิงเกอร์ก็ได้กลับไปบัลติมอร์อีกในฐานะคู่สมรสและมีบุตรชายด้วยกันชื่อไอแซก",
"title": "ไอแซก ซิงเกอร์"
},
{
"docid": "2122#5",
"text": "ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#14",
"text": "วอลแตร์ นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า \"ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู่กับเขาตอนที่เขาตาย\" (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่) ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน \"ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย\"",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#32",
"text": "นิวตันยังคงมีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์มาตลอด เห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน (ซึ่งนิวตันเคยเป็นประธาน) เมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยถามว่า ใครเป็นผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์มากกว่ากันระหว่างนิวตันกับไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์แห่งราชสมาคมฯ ให้ความเห็นโดยส่วนใหญ่แก่นิวตันมากกว่า ปี พ.ศ. 2542 มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกปัจจุบัน 100 คน ลงคะแนนให้ไอน์สไตน์เป็น \"นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล\" โดยมีนิวตันตามมาเป็นอันดับสอง ในเวลาใกล้เคียงกันมีการสำรวจโดยเว็บไซต์ PhysicsWeb ให้คะแนนนิวตันมาเป็นอันดับหนึ่ง",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#27",
"text": "เขายังแสดงให้เห็นว่า แสงที่มีสีจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไปไม่ว่าจะถูกกระจายลำแสงออกส่องไปยังพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตาม นิวตันให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแสงนั้นจะสะท้อน กระจาย หรือเคลื่อนผ่านอะไร มันก็ยังคงเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง นอกจากนี้เขาสังเกตว่า สีนั้นคือผลลัพธ์จากการที่วัตถุมีปฏิกิริยากับแสงที่มีสีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวัตถุนั้นสร้างสีของมันออกมาเอง แนวคิดนี้รู้จักในชื่อ ทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton's theory of colour)",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
}
] |
2642 | สูตรโมเลกุลของกรดยูริก คืออะไร? | [
{
"docid": "171522#0",
"text": "กรดยูริก () เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) ที่มีคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยมีสูตรเคมีเป็น CHNO\nมันมีรูปแบบทั้งเป็นไอออนและเกลือที่เรียกว่าเกลือยูเรต (urate) และเกลือกรดยูเรต (acid urate) เช่น ammonium acid urate\nกรดยูริกเป็นผลของกระบวนการสลายทางเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไทด์คือพิวรีน (purine) และเป็นองค์ประกอบปกติของปัสสาวะ\nการมีกรดยูริกในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ และสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน และนิ่วในไตที่เกิดจาก ammonium acid urate",
"title": "กรดยูริก"
}
] | [
{
"docid": "171522#15",
"text": "ในน้ำเลือดมนุษย์ พิสัยอ้างอิงของกรดยูริกปกติจะอยู่ระหว่าง 3.4-7.2 mg/dL (200-430 µmol/L) สำหรับชาย และ 4-6.1 mg/dL (140-360 µmol/L) สำหรับหญิง \nโดย 1 mg/dL จะเท่ากับ 59.48 µmol/L\nความเข้มข้นกรดยูริกในเลือดที่สูงหรือต่ำกว่าพิสัยปกติเป็นอาการที่เรียกว่า ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด (hyperuricemia) และภาวะกรดยูริกต่ำในเลือด (hypouricemia)\nโดยนัยเดียวกัน กรดยูริกที่สูงหรือต่ำกว่าปกติในปัสสาวะเรียกว่า ภาวะกรดยูริกเกินในปัสสาวะ (hyperuricosuria) และภาวะกรดยูริกต่ำในปัสสาวะ (hypouricosuria)\nระดับกรดยูริกในน้ำลายอาจสัมพันธ์กับระดับกรดในเลือด",
"title": "กรดยูริก"
},
{
"docid": "171522#10",
"text": "ระดับความเข้มข้นของกรดยูริก (หรือไอออนไฮโดรเจนยูเรต) ในเลือดมนุษย์อยู่ที่ 25-80 มิลลิกรัม/ลิตร (mg/L) ในชาย และ 15-60 mg/L ในหญิง\nบุคคลหนึ่ง ๆ สามารถมีค่ากรดยูริกสูงถึง 96 mg/L โดยไม่มีโรคเกาต์\nในมนุษย์ ไตเป็นตัวกำจัดกรดยูริก 70% ในแต่ละวัน และในมนุษย์ 5-25% ภาวะไตเสื่อมจะทำให้เกิดภาวะกรดยูริกเกินในเลือด\nการถ่ายกรดยูริกออกในปัสสาวะอยู่ระหว่าง 250-750 mg ต่อวัน เป็นความเข้มข้น 250-750 มิลลิกรัม/ลิตร (mg/L) ถ้าผลิตปัสสาวะ 1 ลิตรต่อวัน ซึ่งเป็นการละลายที่สูงกว่าการละลายได้ของกรดก็เพราะมันอยู่ในรูปแบบของ acid urate ละลาย",
"title": "กรดยูริก"
},
{
"docid": "171522#4",
"text": "การคำนวณดูจะบ่งว่า ในสารละลาย (และในเฟสที่เป็นแก๊ส) รูปแบบที่มีประจุเดียวจะไม่มีไฮโดรเจนบนออกซิเจน และจะไม่มีไฮโดรเจนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นบนไนโตรเจนตำแหน่ง 9 หรือบนไนโตรเจนตำแหน่ง 3\nเทียบกับกรดยูริกที่ไม่ได้แตกประจุซึ่งจะมีไฮโดรเจนอยู่ที่ไนโตรเจนหมดทั้งสี่ตำแหน่ง\n(ในโครงสร้างที่แสดงด้านบนขวา NH ที่บนขวาบนวงแหวนที่มี 6 หน่วยคือ \"1\" ถ้านับตามเข็มนาฬิกาไปรอบ ๆ วงแหวน \"6\" ก็คือคาร์บอนแบบคีโทนที่ยอดของวงแหวน\nส่วน NH บนยอดของวงแหวนมี 5 หน่วยนับเป็น \"7\" เมื่อนับย้อนเข็มนาฬิกาตามวงแหวน NH ด้านล่างก็จะเป็น \"9\")",
"title": "กรดยูริก"
},
{
"docid": "171522#1",
"text": "กรดยูริกเป็นกรดไดพร็อกติก (diprotic acid)\nประเภทหนึ่ง โดยมี p\"K\" = 5.4 และ p\"K\" = 10.3\nดังนั้น ในภาวะที่เป็นด่างมากคือมีค่า pH สูง มันจะอยู่ในรูปแบบไอออนยูเรตเต็มตัวและมีประจุสองหน่วย แต่ที่ค่า pH ในระบบชีวภาพ หรือเมื่อมีไอออนไบคาร์บอเนตอยู่ด้วย มันก็อยู่ในรูปแบบไฮโดรเจนยูเรต (hydrogen urate) หรือไอออนกรดยูเรต ซึ่งมีประจุหน่วยเดียว\nเนื่องจากการแตกตัวเป็นไอออนโดยประจุที่สองเกิดได้ง่ายมาก เกลือยูเรตแบบเต็มตัวจึงแยกสลายด้วยน้ำเป็นไฮโดรเจนยูเรตที่ค่า pH ประมาณกลาง ๆ\nมันเป็นสารประกอบแอโรแมติกเพราะการมี pi bonding ในวงแหวนทั้งสอง",
"title": "กรดยูริก"
},
{
"docid": "102194#14",
"text": "ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นลักษณะพื้นฐานของโรคเกาต์ แต่โรคเกาต์เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเกิดได้โดยไม่ต้องมีภาวะนี้ และคนส่วนใหญ่ที่มีระดับกรดยูริกสูงไม่เคยเป็นโรคเกาต์ ดังนั้น ประโยชน์ของการวินิจฉัยโดยการวัดระดับกรดยูริกจึงถูกจำกัด ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง หมายถึง การมีระดับของกรดยูริกในพลาสมาสูงกว่า 420 μmol/l (7.0 mg/dl)ในเพศชาย และสูงกว่า 360 μmol/l (6.0 mg/dl)ในเพศหญิง การตรวจเลือดอื่น ๆ ที่ดำเนินการกันทั่วไปได้แก่ การตรวจนับเม็ดเลือดขาว อิเล็กโทรไลต์ การตรวจการทำงานของไต และ การตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR) อย่างไรก็ตาม ทั้งอัตราเซลล์เม็ดเลือดขาวและ ESR อาจจะสูงเนื่องจากโรคเกาต์ในกรณีที่ไม่มีการติดเชื้อ เคยมีการบันทึกจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่นับได้สูงถึง 40.0×10/l (40,000/mm)",
"title": "โรคเกาต์"
},
{
"docid": "931571#16",
"text": "ความอิ่มตัวเกินของปัสสาวะร่วมกับการมีสารประกอบก่อผลึกจะขึ้นอยู่กับค่า pH\nยกตัวอย่างเช่น ที่ pH 7.0 ความละลายได้ของกรดยูริกในปัสสาวะอยู่ที่ 158 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร \nถ้าลดค่าเหลือ 5.0 ความละลายได้จะลดลงเหลือน้อยกว่า 8 mg/100 ml\nการเกิดนิ่วกรดยูริกจะต้องมีทั้งกรดยูริกเกินในปัสสาวะ (hyperuricosuria) และค่า pH ของปัสสาวะที่ต่ำ \nภาวะกรดยูริกเกินในปัสสาวะอย่างเดียวไม่สัมพันธ์กับการเกิดนิ่วกรดยูริกถ้าค่า pH ของปัสสาวะเป็นด่าง\nความอิ่มตัวเกินของปัสสาวะจึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นแต่ไม่เพียงพอให้เกิดนิ่ว",
"title": "โรคนิ่วไต"
},
{
"docid": "931554#10",
"text": "การทานน้ำตาลฟรักโทสมากจะมีผลอย่างสำคัญต่อภาวะกรดยูริกเกินในเลือด\nในงานศึกษาขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา การดื่มน้ำอัดลมหวาน ๆ มากกว่า 4 หน่วยต่อวันจะมีผลเป็นอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (odds ratio) มีภาวะกรดยูริกเกินในเลือดที่ 1.82\nเมแทบอลิซึมของฟรักโทสจะรบกวนเมแทบอลิซึมของพิวรีนมีผลให้ผลิตกรดเพิ่มขึ้น\nโดยมีผลสองอย่าง คือ (1) เพิ่มการเปลี่ยน ATP เป็น inosine และจึงเพิ่มกรดยูริก (2) เพิ่มการสงเคราะห์พิวรีน\nฟรักโทสยังห้ามการถ่ายกรดยูริกออก โดยแข่งกับกรดยูริกเพื่อให้ได้โปรตีนขนส่งคือ SLC2A9\nการลดการขับกรดยูริกออกของฟรักโทส จะเพิ่มขึ้นในบุคคลที่เสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการมีภาวะกรดยูริกเกินในเลือด และ/หรือโรคเกาต์",
"title": "ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด"
},
{
"docid": "171522#8",
"text": "เอนไซม์ xanthine oxidase จะเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริกจาก xanthine และ hypoxanthine ซึ่งก็เป็นผลผลิตจากพิวรีนประเภทอื่น ๆ\nxanthine oxidase เป็นเอนไซม์โมเลกุลใหญ่ที่มีตำแหน่งกัมมันต์ซึ่งประกอบด้วยโลหะโมลิบดีนัมยึดอยู่กับกำมะถันและออกซิเจน\nภายในเซลล์ xanthine oxidase อาจอยู่ในรูปแบบ xanthine dehydrogenase และ xanthine oxireductase ซึ่งสามารถกลั่นได้จากนมและม้ามของวัวและควาย\nร่างกายจะหลั่งกรดยูริกออกเมื่อขาดออกซิเจน",
"title": "กรดยูริก"
},
{
"docid": "931554#0",
"text": "ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด\nเป็นภาวะที่กรดยูริกสูงเกินในเลือด\nในระดับ pH ปกติของน้ำในร่างกาย กรดยูริกโดยมากจะอยู่ในรูปแบบของยูเรตซึ่งเป็นไอออน\nปริมาณของยูเรตในร่างกายจะขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปริมาณพิวรีนที่ได้จากอาหาร\nปริมาณยูเรตที่สังเคราะห์ภายในร่างกาย (เช่น ในการผันเวียนของเซลล์)\nและปริมาณของยูเรตที่ถ่ายออกทางปัสสาวะหรือผ่านทางเดินอาหาร\nในมนุษย์ พิสัยด้านสูงปกติอยู่ที่ 360 µmol/L (6 mg/dL) สำหรับหญิงและ 400 µmol/L (6.8 mg/dL) สำหรับชาย",
"title": "ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด"
}
] |
2646 | สแตติน ถูกคิดค้นครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "17616#7",
"text": "ในปี คศ. 1575 นายแพทย์และนักกายวิภาคศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Gabrielle Falloppio ค้นพบการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของหลอดเลือดเป็นครั้งแรก โดยพบการสะสมของหินปูนบริเวณผนังหลอดเลือด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดการเสื่อมสลายของกระดูก (bone degeneration) ส่วนการเกิดคราบพลัคเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดนั้นได้ถูกอธิบายไว้เป็นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยนักกายวิภาคศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ 2 คน ชื่อ Johann Conrad Brunner และ Albrecht von Haller และต่อมาในปี คศ. 1799 Caleb Hillier Parry นายแพทย์ชาวอังกฤษพบว่าการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง (coronary atherosclerosis) จากนั้นก็เริ่มมีการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ว่า arteriosclerosis เพื่อใช้แทนความผิดปกติของหลอดเลือดในรูปแบบดังกล่าว ครั้งแรกในปี คศ. 1835 โดยศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jean Lobstein, ปี คศ. 1904 โดย Felix Marchand พยาธิแพทย์ชาวเยอรมนี และต่อมาในปี คศ. 1843 Julius Vogel แพทย์ชาวเยอรมนีได้ค้นพบว่าส่วนประกอบหลักของคราบหลักที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดนั้นมักเป็นคอเลสเตอรอล ซึ่งบทบาทของคอเลสเตอรอลต่อการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในรูปแบบดังกล่าวนั้นถูกค้นพบภายหลังในปี คศ. 1852 และ 1856 โดย Karl von Rokitansky และ Rudolf Virchow ตามลำดับ ในปี คศ. 1913 Nikolai Anichkov พยาธิแพทย์ชาวรัสเซีย ได้ทำการศึกษาถึงความความสัมพันธ์ระหว่างคอเลสเตอรอลกับการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งในสัตว์ทดลองที่ได้รับการเหนี่ยวนำให้มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผลการทดลองพบว่าสัตว์ทดลองเหล่านั้นเกิดโรคหลอดเลือดแข็งดังเช่นสมมติฐานที่ตั้งไว้",
"title": "สแตติน"
}
] | [
{
"docid": "17616#10",
"text": "ในปี คศ. 1987 ได้มีการผลิต โลวาสแตติน เพื่อจำหน่ายเชิงการค้าเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อการค้า Mevacor ของบริษัท Merck & Co. (หรือ Merck Sharp & Dohme, MSD สำหรับในประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) ซึ่งสแตตินชนิดแรกที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงอุตสาหกรรมการค้า และต่อมาไม่นานนัก บริษัท ไดอิจิ ซังเคียว (Daiichi Sankyo) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเมวาสแตติน ได้พัฒนาสแตตินชนิดใหม่ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของเมวาสแตตินขึ้นมา มีชื่อว่า ปราวาสแตติน ซึ่งมีความแรงและความจำเพาะในการออกฤทธิ์มากกว่าสารต้นแบบเดิม และถูกนำออกจำหน่ายในญี่ปุ่นภายใต้ชื่อการค้า \"Mevalotin\" ในปี คศ. 1988 และปี คศ. 1991 ในสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อการค้า \"Pravachol\" และจากนั้นอีก 2 เดือนถัดมา ซิมวาสแตติน ภายใต้ชื่อการค้า \"Zocor\" ก็ถูกผลิตออกวางจำหน่ายในท้องตลาด ส่วนสแตตินที่ได้จากการสังเคราะห์ชนิดแรกที่ถูกผลิตออกจำหน่ายเชิงการค้า คือ ฟลูวาสแตติน (ชื่อการค้า Lescol) ของบริษัท โนวาร์ติส (Novartis) ในช่วงปี คศ. 1993 และอีก 3 ปีถัดมา บริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ก็ได้ผลิตสแตตินสังเคราะห์อีกชนิดหนึ่งออกจำหน่ายในท้องตลาด คือ อะโทวาสแตติน ภายใต้ชื่อการค้า \"Lipitor\" หลังจากนั้นมาเพียงแค่อีก 1 ปี บริษัท เบเยอ่ร์เอจี (Bayer AG) ก็ได้ผลิตสแตตินสังเคราะห์อีกชนิด คือ เซอริวาสแตติน ออกจำหน่ายในท้องตลาด ภายใต้ชื่อการค้า \"Baycol\" และ \"Lipobay\" ซึ่งต่อมาในวันที่ 8 สิงหาคม คศ. 2001 ตัวยาดังกล่าวถูกทอนทะเบียนออกจากตลาดโดยความสมัครใจของบริษัท (ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา) เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าวนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงคือ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายแบบ rhabdomyolysis จากนั้น ในปี คศ. 2000 บริษัท โนวาร์ติส (Novartis) ได้มีการวางจำหน่ายยากลุ่มสแตตินชนิดใหม่ คือ ฟลูวาสแตติน ภายใต้ชื่อการค้า \"Lescol XL\" และถัดจากนั้นมาอีกแค่ 3 ปี บริษัทโควะ ฟาร์มาซูตคอลส์ (Kowa Pharmaceuticals) ก็ได้มีการผลิตสแตตินตัวใหม่อีก 2 ชนิด ออกจำหน่ายในท้องตลาด คือ พิทาวาสแตติน ภายใต้ชื่อการค้า \"Livalo\" และโรสุวาสแตติน ภายใต้ชื่อการค้า \"Crestor\" และ \"AstraZeneca\"",
"title": "สแตติน"
},
{
"docid": "769313#2",
"text": "สโตรปวาเฟิลถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกที่เมืองเคาดาในสมัยปลายตวรรษที่ 18 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คนอบขนมปังใช้ของเหลือจากการทำเบเกอรี่เช่นเศษขนมปัง ทำให้หวานด้วยน้ำเชื่อม บ้างก็ว่าเคราร์ด กัมป์เฮยเซินเป็นผู้คิดค้นในระหว่าง ค.ศ. 1810 ปีที่เขาเปิดร้านถึง ค.ศ. 1840 นับว่าเป็นสูตรที่เก่าแก่ที่สุดของขนมรังผึ้งน้ำเชื่อม มีประมาณ 100 คนที่ขายขนมรังผึ้งน้ำเชื่อมในศตวรรษที่ 19 ที่เมืองเมืองเคาดา และในศตวรรษที่ 20 เริ่มมีโรงงานผลตเกิดขึ้น ในปี1960 มีทั้งหมด 17 โรงงานเฉพาะในเกาดาและ 4 แห่งยังดำเนินการอยู่จนถึงทุกวันนี้",
"title": "สโตรปวาเฟิล"
},
{
"docid": "26343#8",
"text": "สเตรปโตมัยซินถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส โดยอัลเบิร์ต ชาตซ์ (Albert Schatz) นักศึกษาปริญญาเอกชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นศิษย์ของเซลมัน แวกส์มัน ในโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัทเมอร์ค ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ แวกส์มันและเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการของเขาได้ค้นพบยาปฏิชีวนะหลายนิด ได้แก่ แอคติโนมัยซิน , คลาวาซิน, สเตรปโตธริซิน, กริซีอิน, ฟราดิซิน, นีโอมัยซิน, แคนดิซิดิน, และแคนดิดิน ในจำนวนนี้มีเพียงสเตรปโตมัยซินและนีโอมัยซินเท่านั้นที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยสเตรปโตมัยซินถือเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่สามารถใช้รักษาวัณโรคให้หายขาดได้ และทำให้แวกส์มันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1952 ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบสเตรปโตมัยซิน ซึ่งถือเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ใช้ในการรักษาวัณโรคระยะแสดงอาการ ต่อมาแวกส์มันได้รับการกล่าวโทษจาก อัลเบิร์ต ชาตซ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ทำโครงการดังกล่าวภายใต้การควบคุมดูแลของเขา ว่าตนควรมีส่วนร่วมกับสิ่งที่แวกส์มันได้จากการค้นพบสเตรปโตมัยซินในครั้งนี้",
"title": "สเตรปโตมัยซิน"
},
{
"docid": "635759#1",
"text": "กุหลาบพันธุ์แรกของเขาที่คิดค้นในปี 1963 คือ 'คอนสแตน สปราย' ในปี 1967 และ 1968 เขาเปิดตัวพันธุ์ 'เชียนติ' และ 'ชรอปเชอร์ แลส' ตามลำดับ ซึ่งกุหลาบสายพันธุ์เหล่านี้จะออกดอกเพียงปีละครั้งในฤดูใบไม้ผลิหรือช่วงต้นของฤดูร้อนเท่านั้น และในปี 1969 มีสายพันธุ์รีมอนแมน (ออกดอกดกทั้งปี), รวมถึง 'ไวฟ์ ออฟ บาธ' และ 'แคนเทอบิวรี' (ตั้งชื่อสายพันธุ์ตามหนังสือของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ นักเขียนชาวอังกฤษ) ซึ่งกุหลาบของออสตินกลายมาเป็นกุหลาบสายพันธุ์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปีศตวรรษที่ 20",
"title": "เดวิด ซี. เอช. ออสติน"
},
{
"docid": "14279#2",
"text": "แฟรนเซียมถูกค้นพบโดยมาร์เกอริต เปอแรที่ฝรั่งเศส (ซึ่งได้นำมาตั้งเป็นชื่อธาตุนี้) ในปี พ.ศ. 2482 แฟรนเซียมเป็นธาตุสุดท้ายที่ค้นพบครั้งแรกจากในธรรมชาติ แทนที่ได้จากการสังเคราะห์ นอกห้องปฏิบัติการ แฟรนเซียมหายากมาก พบเป็นปริมาณน้อยมากในสินแร่ยูเรเนียมและทอเรียม ซึ่งแฟรนเซียม-223 เกิดขึ้นและสลายตัวตลอดเวลา ในเปลือกโลกสามารถพบแฟรนเซียม-223 ได้แค่ 20-30 กรัม (1 ออนซ์) ส่วนไอโซโทปอื่น ๆ (ยกเว้นแฟรนเซียม-221) ถูกสังเคราะห์ขึ้นทั้งหมด จำนวนแฟรนเซียมที่ผลิตมากที่สุดในห้องปฏิบัติการคือ 300,000 อะตอม",
"title": "แฟรนเซียม"
},
{
"docid": "84088#3",
"text": "ครอปเซอร์เคิล ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1678 ที่เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ อังกฤษ ไม่มีใครอธิบายได้ว่าใครหรืออะไรทำให้มันเกิดขึ้น แต่หลังจากการค้นพบของชัตเติลวูดกับบอนด์และเฟอร์แล้ว มันนำไปสู่ทฤษฎีแรกคือร่องรอยการลงจอดของยานจากต่างดาว ตามมาด้วยทฤษฎีอุกกาบาตและทฤษฎีพายุทอร์นาโดขนาดเล็ก ในทศวรรษที่ 1980 ได้มีการค้นพบครอปเซอร์เคิลมากขึ้น โดยเฉพาะรอบๆเมืองวอร์มินสเตอร์(Warminster) ในช่วงต้นของทศวรรษนี้รูปทรงของมันก็ยังคงเหมือนเดิม คือเป็นวงกลมหยาบๆ แต่ในกลางทศวรรษรูปทรงของมันซับซ้อนขึ้น คือมีวงแหวนแตกออกไป และมันเริ่มดึงดูดใจคนอังกฤษมากขึ้น \nในทศวรรษนี้เอง ด๊อกเตอร์ เทอร์เรนซ์ มีเดน(Terrence Meaden) ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักอุตุนิยมวิทยาได้พยายามไขปริศนานี้ โดยทำการวิจัยครอปเซอร์เคิลมากกว่า 1,000 แห่ง มีเดนเสนอทฤษฎีว่า ครอปเซอร์เคิลเกิดจากความผิดปกติของอากาศที่เขาเรียกว่า Plasma Vortex ทำให้เกิดลมหมุนวนในระดับสูงแล้วเคลื่อนตัวลงสู่พื้นทำให้พืชแบนราบ",
"title": "วงธัญพืช"
},
{
"docid": "17616#9",
"text": "ในปี คศ. 1973 เอริกะ เอ็นโดะ (Akira Endo) นักชีวเคมีชาวญี่ปุ่น ได้ทำการคัดแยกสารประกอบต่างๆที่ได้จากเชื้อจุลชีพมากกว่า 6000 ชนิด โดยเฉพาะกลุ่มของเชื้อรา และพบว่าสารประกอบ ML-236B (เมวาสแตติน) ที่ถูกสร้างโดยเชื้อ \"Penicillium citrinum\" นั้นมีคุณสมบัติในการลดระดับคอเลสเตอรอลและ LDL ในกระแสเลือดทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ แต่การศึกษาถึงผลของสารดังกล่าวในสัตว์ทดลองต่อมาในภายหลังพบว่ามีความเป็นพิษค่อนข้างสูง ในปี คศ. 1976 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งก็สามารถแยกสารประกอบที่มีชื่อว่า คอมเพคติน (Compactin) ได้จากสารเมทาบอไลต์ของเชื้อรา \"Penicillium brevicompactum\" ซึ่งต่อมาทราบว่าสารดังกล่าวนั้นเป็นสารชนิดเดียวกันกับเมวาสแตติน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กลุ่มดังกล่าวนั้นมุ่งเน้นศึกษาคุณสมบัติในการต้านเชื้อราของสารที่ค้นพบเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งเน้นศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase แต่อย่างใด ต่อมาในปี คศ. 1978 คณะศึกษาของ Alfred Alberts ได้ค้นพบสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับสารประกอบ ML-236B ที่ได้จากกระบวนการการหมักของรา \"Aspergillus terreus\" ซึ่งต่อมาสารดังกล่าวถูกเรียกชื่อว่า Mevinolin และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง เอริกะ เอ็นโดะ ก็สามารถคัดแยกสารประกอบที่มีชื่อว่า Monacolin K ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสแตติน ได้จากรา \"Monascus ruber\" จากนั้นในปี 1979 เอ็นโดะก็ได้รับสิทธิบัตรในการผลิตสารดังกล่าว และในช่วงปลายปีนั้น ก็ได้มีการค้นพบว่า โดยที่จริงแล้ว Monacolin K และ Mevinolin นั้นเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันภายใต้ชื่อว่า โลวาสแตติน",
"title": "สแตติน"
},
{
"docid": "752753#1",
"text": "พิทาวาสแตตินมีจำหน่ายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จากนั้นมีการขยายฐานการตลาดออกไปในประเทศเกาหลีใต้และอินเดียในเวลาต่อมาไม่นานนัก โดยคาดว่ายาชนิดนี้อาจจะได้รับการรับรองให้มีการใช้ในประเทศต่างๆนอกเหนือจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น พิทาวาสแตตินได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration; FDA) ในปี ค.ศ. 2009 โดยมีบริษัท โควะ ฟาร์มาซิวติคอลส์ (Kowa Pharmaceuticals) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายยาพิทาวาสแตตินในสหรัฐอเมริกา",
"title": "พิทาวาสแตติน"
},
{
"docid": "14187#3",
"text": "ธาตุซีนอนถูกค้นพบในประเทศอังกฤษโดยนักเคมี Sir William Ramsey และ M.W.Travers เมือ่ปี ค.ศ.1898 ไม่นานหลังจากการค้นพบองค์ประกอบของธาตุคริปทอน และ นีออน พวกเขาก็ได้คิดค้นธาตุซีนอนขึ้นมาในสภาพที่เป็นกากที่เหลือจากการระเหยส่วนประกอบของอากาศภายในของเหลว \nต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1930 วิศวกรชาวอเมริกัน แฮโรลด์ เอ็ดเคอร์ตัน ได้มีการเริ่มสำรวจแสงแฟลชเทคโนโลยีเพื่อการถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงหลังจากการสำรวจเส็จสิ้นลงทำให้เขาประดิษฐ์ไฟแฟลชของซีนอนที่สร้างโดยกระบวนการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านท่อสั้นๆที่เต็มไปด้วยก๊าซซีนอนขึ้นมา ต่อมาในปี 1934 เอ็ดเกอร์ดันสามารถสร้างไฟกระพริบสั้นๆให้เป็นหนึ่งมิลลิด้วยกระบวนการดังกล่าวได้\nในปี 1939 แพทย์ชาวอเมริกันอัลเบิร์ด จูเนียร์ เริ่มทำการสำรวจสาเหตุของการ\"เมา\" ในการดำน้ำลงไปในระยะทางที่ลึกมาก ทำให้เขาผ่านการทดสอบเนื่องจากสามารถระงับความรู้สึกเมื่ออยู่ใต้น้ำโดยไม่เมาได้และต่อมาพบว่าเกิดจากนักดำน้ำไม่มีการรับรู้หรือไม่รู้สึกอะไรเลยเมื่ออยู่ในน้ำที่ลึก จากผลการทดลองของอัลเบร์ดอาจอนุมานได้ว่าก๊าซซีนอนสามารถนำมาใช้เป็นยาชาได้\nต่อมาซีนอนได้มีการตีพิมพ์ครั้งแรกว่าสามารถระงับความรู้สึกได้ในปี 1946 โดยนักวิจัยทางการแพทย์อเมริกันจอห์นเอชเรนซ์ซึ่งเขาได้ทำการทดลองในสิ่งมีชีวิตจำพวกหนู ซีนอนถูกนำมาใช้ครั้งแรกในฐานะยาสลบในห้องผ่าตัดในปี 1951 โดยนายแพทย์จ๊วร์ตซีคัลเลน ชาวอเมริกันที่ดำเนินการจนประสบความสำเร็จในห้องผ่าตัดผู้ป่วย",
"title": "ซีนอน"
},
{
"docid": "296074#2",
"text": "เลปตอนที่มีประจุตัวแรกคือ อิเล็กตรอน ถูกตั้งทฤษฎีในกลางศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์หลายคน และถูกค้นพบในปี 1897 โดย J. J. Thomson. เลปตอนตัวต่อมาที่ถูกค้นพบคือมิวออน โดย Carl D. Anderson ในปี 1936 ซึ่งในขณะนั้นถูกระบุว่าเป็นมีซอน การศึกษาต่อมาพบว่า มิวออนไม่มีคุณสมบัติของมีซอนอย่างที่คาดไว้ แต่ประพฤฒิตัวเหมือนอิเล็กตรอน เพียงแต่มีมวลมากกว่า ต้องใช้เวลาถึงปี 1947 เพื่อให้ได้หลักการของ \"เลปตอน\" ว่าเป็นครอบครัวหนึ่งของอนุภาคที่จะถูกนำเสนอ นิวทริโน และ อิเล็กตรอนนิวทริโน ถูกนำเสนอโดย Wolfgang Pauli ในปี 1930 เพื่ออธิบายลักษณะที่แน่นอนของ การสลายให้อนุภาคบีตา มันถูกสังเกตเห็นในการทดลองของ Cowan–Reines ที่ดำเนินการโดย Clyde Cowan และ Frederick Reines ในปี 1956. มิวออนนิวทริโน ถูกค้นพบในปี 1962 โดย Leon M. Lederman, Melvin Schwartz และ Jack Steinberger, และ เทา ถูกค้นพบระหว่างปี 1974 ถีงปี 1977 โดย Martin Lewis Perl และเพื่อนร่วมงานจาก Stanford Linear Accelerator Center และ Lawrence Berkeley National Laboratory. ขณะที่ เทานิวทริโน เพิ่งถูกประกาศการค้นพบ เมื่อ กรกฎาคม 2000 โดย DONUT collaboration จาก Fermilab",
"title": "เลปตอน"
}
] |
2651 | วันพ่อแห่งชาติของประเทศไทยตรงกับวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "80250#0",
"text": "วันพ่อ เป็นวันสำคัญ ในการฉลองความเป็นพ่อและบุคคลที่นับถือในการเป็นพ่อ วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี โดยในกว่า 50 ประเทศจะจัดวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน",
"title": "วันพ่อ"
},
{
"docid": "16580#3",
"text": "ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ 2559 ก็ได้มีการประกาศจากรัฐบาลของประเทศไทยว่า \"วันพ่อแห่งชาติ\" ของประเทศไทย จะยังคงไว้ ให้เป็นวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีต่อไปตามเดิม",
"title": "วันพ่อแห่งชาติ"
},
{
"docid": "243886#5",
"text": "แม้ว่าการกำหนดวันสำคัญต่างๆ ของชาติและวันหยุดราชการจะเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร,วันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็นวันหยุดราชการ",
"title": "วันชาติ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "16580#0",
"text": "วันพ่อแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเป็นวันชาติอีกทั้งยังมีเลขมงคลอีกคือเลข9ซึ่งเป็นเลขที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร",
"title": "วันพ่อแห่งชาติ"
}
] | [
{
"docid": "32647#65",
"text": "ตราไปรษณียากรที่ตีพิมพ์ภาพที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวันอาสาฬหบูชาเท่าที่ปรากฏในประเทศไทย คือตราไปรษณียากรที่ระลึกชุดวันเด็กแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2539 โดยในครั้งนั้นตีพิมพ์เป็น 1 ราคา มี 3 แบบ ด้วยกัน โดยแต่ละแบบเป็นรูปภาพเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย คือ ภาพวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ซึ่งภาพที่ตีพิมพ์รูปภาพวันอาสาฬหบูชาในครั้งนั้น เป็นตราไปรษณียากรราคาจำหน่าย 2 บาท เป็นรูปวาดผลงานของเด็กนักเรียนที่ชนะการประกวด โดยเป็นรูปวาดพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี มีรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ด้านซ้ายของรูปบนพระแท่นดอกบัวใต้ร่มไม้ใหญ่ ข้าง ๆ มีรูปกวางแสดงถึงสวนป่าสารนาถตามตำนานป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ด้านขวาล่างมีรูปฤๅษีเบญจวัคคีย์ในชุดฤๅษี 4 ท่าน และรูปพระโกณฑัญญะในชุดพระสงฆ์ 1 องค์ นั่งพนมมือสดับพระปฐมเทศนา แสดงถึงการอุบัติของพระสงฆ์องค์แรกในโลกครบเป็นองค์พระรัตนตรัย ด้านบนกลางภาพเป็นรูปพระธรรมจักรเปล่งรัศมี แสดงถึงการเริ่มประกาศพระสัจจธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขอบด้านซ้ายมีคำว่า \"วันเด็กแห่งชาติ ๒๕๓๙ CHILDREN'S DAT 1996\" มุมขวาล่างมีคำว่า \"2 บาท BAHT\" ทั้งหมดพิมพ์เป็นชนิดราคา 2 บาท มีราคาเดียวเท่านั้น ซึ่งกล่าวได้ว่าแม้ตราไปรษณียากรดังกล่าวจะไม่ใช่ตราไปรษณียากรที่ตีพิมพ์เนื่องในวันอาสาฬหบูชาโดยตรง แต่ก็เป็นตราไปรษณียากรไทยรูปแบบเดียวที่ตีพิมพ์ภาพที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับวันอาสาฬหบูชามากที่สุดเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน",
"title": "วันอาสาฬหบูชา"
},
{
"docid": "227073#7",
"text": "(18 เมษายน) ประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ เป็นประเพณีที่นิยมปฏิบัติต่อๆกันมา ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ณ บริเวณชายหาดเกาะขามใหญ่ ถือได้ว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ที่ปฏิบัติกันมายาวนาน ในโอกาสของเทศกาลที่ทุกคนจะได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา และได้เล่นน้ำด้วยกัน โดยผู้ชายจะเลือกสาวที่ชอบแล้วขออนุญาตอุ้มลงเล่นน้ำทะเล บางครอบครัว ลูกหลานก็จะอุ้มผู้สูงอายุลงน้ำเช่นกัน เสมือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์มิตรไมตรีจิตให้กันและกัน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมมีการร้องรำทำเพลงตามชายหาด กิจกรรมปีนเสาน้ำมัน ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่สร้างความสนุกสนานและสร้างความประทับใจให้กับประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก",
"title": "วันไหล"
},
{
"docid": "310156#6",
"text": "2. ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมในช่วงเดือนเมษายนแล้งมากในทุกจังหวัด แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย และจากการขยายตัวของเมืองและชุมชนทำให้ไม่มีสัตว์น้ำค้างอยู่ตามปลักโคลนหรือทำนบปลาตามทางสัญจร สภาพอากาศที่ร้อนทำให้พันธุ์สัตว์น้ำที่กรมประมงเตรียมมาให้ ประชาชนปล่อยในวันที่ 13 เมษายนมีอัตราการตายสูง ประกอบกับในช่วงวันที่ 13 — 15 เมษายนของทุกปีตรงกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการประจำปี โดยเน้นให้เป็นวันครอบครัว ประชาชนที่อยู่ห่างไกลภูมิลำเนาเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้แต่ละปีมีผู้เข้าร่วมงานวันประมงแห่งชาติไม่มากเท่าที่ควร ผลที่ได้รับจากการจัดงานไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย",
"title": "วันประมงแห่งชาติ"
},
{
"docid": "16577#0",
"text": "วันแม่แห่งชาติ ในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม",
"title": "วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "5256#31",
"text": "ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "16580#1",
"text": "กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของนายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล",
"title": "วันพ่อแห่งชาติ"
}
] |
2655 | หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ก่อตั้งชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "40396#0",
"text": "ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (25 กันยายน 2490 - ) เกิดที่กรุงเทพมหานคร นักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาชีวเคมี และชีวเคมีศึกษา มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับโปรตีนและเอนไซม์ และเน้นการสอนและการวิจัยทางด้านนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี เป็นผู้ก่อตั้งชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี (บริพัตร) และหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ และยังเป็นพระภาติยะใน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต่อมาสมรสกับหม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร วุฒิชัย ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรและหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย มีบุตรสาวสองคน คือ ม.ล. ศศิภา สวัสดิวัตน์ โลว์ และ ม.ล. จันทราภา สวัสดิวัตน์",
"title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์"
}
] | [
{
"docid": "40396#4",
"text": "ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ได้สร้างกลุ่มทีมวิจัยทางด้านโปรตีนและเอนไซม์ที่เข้มแข็งขึ้นในประเทศไทย ทั้งที่ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อมุ่งขยายงานวิจัยทางด้านนี้ให้กว้างขวางขึ้น โดยเน้นศึกษาโปรตีนและเอนไซม์ที่มีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ และที่เกี่ยวข้องกับโรคในมนุษย์ ศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ชนิดต่างๆ เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอนุพันธ์ของเพนนิซิลินที่มีศักยภาพในการนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในโรคต่างๆ รวมทั้งการประยุกต์ใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการรักษาโรคมะเร็งและการหายของแผล ศึกษาการประยุกต์ใช้โปรตีนและเอนไซม์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น โปรตีนและเอนไซม์ย่อยโปรตีนในไหมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย การแยกสกัดเอนไซม์นาริจีเนสจากแหล่งในประเทศไทย สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้เพื่อกำจัดรสขมในน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสนใจด้านการเรียนการสอน และทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนทางด้านชีวเคมีด้วย",
"title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "40396#3",
"text": "ตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ\nตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ ของประเทศไทย\nตำแหน่งในสมาคมและองค์กรระดับนานาชาติศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ มาเป็นเวลากว่า 35 ปี ได้ศึกษาโปรตีนชนิดต่างๆ ของร่างกายหลายชนิด ดังต่อไปนี้",
"title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "40396#2",
"text": "ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2518 รองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2521 และศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2525 เคยปฏิบัติงานวิจัยที่ University of Texas Medical Branch ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2519-2520 ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล",
"title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "40396#1",
"text": "ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยสำเร็จการศึกษาระดับประถม ที่โรงเรียน Cheam School และระดับมัธยมที่โรงเรียน Rugby School จากนั้นได้รับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาชีวเคมี จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2511 ได้รับปริญญาโท สาขาชีวเคมี และปริญญาเอก สาขาอณูชีววิทยา จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี พ.ศ. 2515 โดยทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Dr. César Milstein ที่ MRC Laboratory of Molecular Biology",
"title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "40396#5",
"text": "งานวิจัยเหล่านี้ ได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติกว่า 120 เรื่อง และจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องของกลไกการทำงานของโปรตีนและความสัมพันธ์กับโครงสร้าง ซึ่งจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม และการรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต",
"title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "139326#3",
"text": "ท่านเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ปรเมรุภาพยนตร์ เพื่อสร้างภาพยนตร์ \"สุภาพบุรุษเสือไทย\" ซึ่งอำนวยการสร้างโดยแท้ ประกาศวุฒิสาร โดยท่านเป็นผู้กำกับ และประสบความสำเร็จสูงสุดในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาบริษัทปรเมรุภาพยนตร์ ได้สร้างภาพยนตร์ \"มรดกพระจอมเกล้า\" โดยการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน เพื่อเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล"
},
{
"docid": "204615#3",
"text": "นายชวรัตน์ เริ่มทำงานในสายธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2505 ได้ก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้น ใช้ชื่อว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (STECON) ก่อนจะรับงานสัมปทานระดับ \"เมกะโปรเจกต์\" ของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ พ.ศ. 2537 ผลงานที่สร้างชื่อ เช่น งานก่อสร้างโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ 12,260 ล้านบาท, ก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี วงเงิน 4,325 ล้านบาท, งานโรงงานไฟฟ้าแก่งคอย 2,534 ล้านบาท, การก่อสร้างโรงงานไฟฟ้ากรุงเทพใต้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,360 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ \"สัปปายะสภาสถาน\" วงเงิน 12,000 ล้านบาท",
"title": "ชวรัตน์ ชาญวีรกูล"
},
{
"docid": "179410#1",
"text": "หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ เสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 มีบุตรคือ หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร (สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร) และหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์",
"title": "หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์"
},
{
"docid": "136097#0",
"text": "สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้งบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี พ.ศ. 2545) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ \"สุริโยไท\" และ \"องค์บาก\"",
"title": "สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ"
}
] |
2656 | โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "32375#1",
"text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2514 โดย ศ.ดร. อุบล เรียงสุวรรณ รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ รักษาราชการแทนคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ได้ทำบันทึกถึงรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต ในวันเดียวกันนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยอธิการบดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ( ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ขณะนั้น ) ได้ทรงออกหนังสือถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายบุญถิ่น อัตถากร เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต โดยจะเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และจะมีนักเรียนครบทั้ง 12 ชั้นปี ในปีพ.ศ. 2518 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2514 กระทรวงศึกษาธิการได้มีหนังสือตอบ รับรองผลการศึกษาจากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน\n1 \"โครงการการศึกษาความรอบรู้เฉพาะเรื่อง (SENIOR PROJECT) \" เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงอิสระของนักเรียนแบบรายคน ที่ตนเองสนใจหรือถนัด ใช้ความรู้ที่เรียนมาและประสบการณ์มาผสมผสานด้วยวิธีของกระบวนการวิจัย ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องผ่านโครงการนี้ จึงสามารถจบหลักสูตร",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
}
] | [
{
"docid": "54688#2",
"text": "ในปี พ.ศ. 2523 ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบายที่จะเปิดดำเนินการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อจะได้สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นการส่งเสริมขยายงานทางด้านการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชุมชนด้วย ฉะนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยให้คณะศึกษาศาสตร์เป็นฝ่ายรับผิดชอบในการจัดดำเนินการเรียนการสอน ดังนั้นคณะศึกษาศาสตร์จึงวางเป้าหมายที่จะให้โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ วิทยาเขตกำแพงแสนเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาที่จะทำการวิจัยการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตชนบทไปพร้อมกับการทดลองจัดการเรียนการสอนแบบสมรรถฐานและการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนด้วย",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "240531#4",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2540 โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนการก่อตั้งโรงเรียนได้มีคณะกรรมการศึกษาถึงวิธีการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนสาธิตตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเรียกว่า \"คณะกรรมการโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม\" ประกอบไปด้วยคณาจารย์จากคณะต่างๆ มาร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน ด้วยเหตุที่โรงเรียนก่อตั้งใหม่ นอกจากนี้ยังประสบปัญหา อีกหลายประการ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ไม่มีสถานที่เรียนที่แน่นอน ต้องย้ายที่ทำการบ่อยครั้ง",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "32375#2",
"text": "1 \"โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ\"\nโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์\nให้จัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2532 เริ่มที่โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร - อุบุยามา (ฮิโกไทย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของประเทศไทยและต่างประเทศ อันจะนำมาซึ่งสันติภาพและมีประโยชน์ต่อความร่วมมือและพัฒนาระหว่างประเทศในอนาคต ขณะนี้โรงเรียนได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนใน ต่างประเทศ ดังนี้",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "86217#1",
"text": "\"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร\" ก่อตั้งขึ้นจากความคิดริเริ่มของ มาลี อติแพทย์ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ และรักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดี เมื่อ พ.ศ. 2516 และเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนในปีการศึกษา 2517 โดยใช้อาคารไม้บริเวณโรงเรียนเกษตรกรรมเดิมซึ่งอยู่ทางด้านประตูเพชรเกษมเป็นที่ทำการ ปีแรกรับนักเรียน 2 ชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (มศ.1) ชั้นละ 2 ห้อง หลักสูตรที่ใช้ได้สร้างขึ้นเองโดยคณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์พระพิฆเนศวร ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากรใช้ตราสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระพิฆเนศวร คือเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก โดยด้านล่างมีอักษรว่า \"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร\"",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "39320#2",
"text": "ปี พ.ศ. 2496 โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ได้ก่อตั้งขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น พลเอกมังกร พรหมโยธี และ ศาสตราจารย์ คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ โดยเริ่มวางโครงการดำเนินการจัดการเรียนการสอน กำหนดตั้งเป็นหน่วยสาธิตในแผนกฝึกหัดครูมัธยมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากับวิทยาลัยวิชาการศึกษา พร้อมบริจาคที่ดินจำนวน 19 ไร่ข้างหลังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาบริเวณถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน)ให้วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ)\nเพื่อเป็นที่ฝึกงานของนิสิตกับครูที่ต้องบรรจุฝึกงานก่อนไปสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พร้อม สังกัดกองเตรียมอุดมศึกษา กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ , วิทยาลัยวิชาการศึกษา กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่เรียกชื่อว่า โรงเรียนสาธิต \nมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตปทุมวันในเวลาต่อมา",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน"
},
{
"docid": "32375#10",
"text": "โครงการการศึกษาพหุภาษา (Multilingual Program) โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดให้การศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อที่จะพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความสามารถในการใช้ได้หลายภาษา โดยมีการสอนในวิชาทั่วไปเป็นภาษาไทย โดยใช้หลักสูตรเดียวกับบางเขน ส่วนวิชาภาษาอังกฤษเรียนตั้งแต่ ป.1 กับเจ้าของภาษา และเมื่อนักเรียนขึ้นชั้น ป.4 จะเลือกเรียนภาษาที่ 3 คือ ภาษาจีน หรือ ภาษาญี่ปุ่น โครงการการศึกษาพหุภาษาเริ่มมีนักเรียนครบทั้ง 12 ระดับชั้นในปีการศึกษา 2549",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "54688#1",
"text": "เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีโครงการขยายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแหล่งผลิตบุคลากรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาวิชาการเกษตรและอื่น ๆ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงกำหนดเปิดใช้วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยมีคณะต่าง ๆ เริ่มเปิดดำเนินการ คือ คณะเกษตรคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "54688#3",
"text": "เมื่อคณะศึกษาศาสตร์ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาขึ้นที่วิทยาเขตกำแพงแสน ในปี พ.ศ. 2523 นั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่ง เจนจิต คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ จึงได้ขออนุมัติจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์มาปฏิบัติราชการประจำที่โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ วิทยาเขตกำแพงแสน ในระยะแรกมีทั้งหมด 11 ท่าน เพื่อเตรียมการก่อนเปิดการเรียนการสอนโดยมอบหมายให้อาจารย์อุดร รัตนภักดิ์ ปฏิบัติราชการในหน้าที่แทนอาจารย์ใหญ่ และอาจารย์อีก 10 ท่าน คือ อาจารย์วังสรรค์ สุฉันทบุตร, อาจารย์ธาตรี แตงเที่ยง, อาจารย์นิตยา สอนอาจ, อาจารย์พงษ์ศิริ พานิช, อาจารย์โรจน์วงษ์ นุชสุวรรณ, อาจารย์ปัทมา โอสถเสน, อาจารย์สุนารี หวังไพบูลย์กิจ, อาจารย์สิทธิศักดิ์ นิรทัย, อาจารย์อรวรรณ์ พึ่งงาม และอาจารย์สมเกียรติ ศรีอนันตคม",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "54688#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาที่ให้การศึกษาตั้งแต่ในระดับอนุบาลจนไปถึงมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ และเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตชนบท โรงเรียนตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
}
] |
2658 | สีประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คืออะไร? | [
{
"docid": "41503#2",
"text": "ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้สัญลักษณ์ สิงห์เขียว เป็นตราสัญลักษณ์ของภาควิชา ซึ่งแทนความหมายของนักรัฐศาสตร์ ล้อมรอบด้วยลายรวงข้าวปรียบความหมายเฉกเช่นประชาชน อันเป็นการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างนิสิตและประชาชน ส่วนสีเขียวในตราสัญลักษณ์คือสีประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสิงห์เขียว",
"title": "ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "5229#26",
"text": "สีประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ สีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552",
"title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
}
] | [
{
"docid": "11674#13",
"text": "\"สีเขียวเวอร์ริเดียน\" หรือที่เรียกตามสีไทยโทนว่า \"สีเขียวตั้งแช\" เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นิยมพารุ่นน้องปี 1 ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร\nนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 12 คน ดังรายนามต่อไปนี้",
"title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "132721#4",
"text": "คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้รับการอนุมัติจากมติของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นคณะวิชาที่เกิดจากการแบ่งส่วนราชการภายในของวิทยาเขตศรีราชา ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นิสิต ณ วิทยาเขตศรีราชา มีสีเขียวหัวเป็ด เป็นสีประจำคณะ ต่อมาสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชาในการประชุมครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และได้เปลี่ยนสีประจำคณะเป็นสีน้ำเงิน",
"title": "คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "5229#27",
"text": "ต้นนนทรี เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 เพราะต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวนาน มีใบเขียวตลอดทั้งปี ลักษณะใบเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานในทุกสภาพอากาศของเมืองไทย ดังนั้นที่ประชุมสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 จึงได้เลือกให้ต้นนนทรีเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหลวงอิงคศรีกสิการอธิการบดีในขณะนั้นได้นำข้อสรุปของที่ประชุมกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙",
"title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "6858#7",
"text": "มหาวิทยาลัยทักษิณมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปตำราการศึกษา 3 เล่ม สีเทา (สีประจำมหาวิทยาลัย) สะท้อนปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม และการพัฒนา” ล้อมรอบด้วยอักษรสีฟ้า (สีประจำมหาวิทยาลัย) เป็นภาษาไทย “มหาวิทยาลัยทักษิณ” และภาษาอังกฤษ “THAKSIN UNIVERSITY” ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้ ด้านบนเหนือรูปตำราการศึกษาเป็นมงกุฎเปล่งรัศมีสีฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศและเกียรติยศ ด้วยในปีพุทธศักราช 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ตรงกับวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี",
"title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ"
},
{
"docid": "50748#18",
"text": "เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองและฟ้าเข้มทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี และเส้นมีการจัดสีพื้นกับสีประจำคณะ สีของเส้นที่แสดงระดับของวุฒิคือ ปริญญาตรี 1 เส้น ปริญญาโทและเอกใช้ 2 และ 3 เส้น ตามลำดับนั้นเนื่องจากมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอว่าควรกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นรูปมงกุฎสีทองซึ่งเป็นตราพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ส่วนบนเป็นมงกุฎสีทอง ส่วนกลางมีอักษรย่อพระนาม กว.สีฟ้าน้ำทะเล ส่วนล่างเป็นโบว์สีทองวงซ้อนพับกัน ภายในแถบโบว์มีชื่อ\"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\"สีฟ้าน้ำทะเล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัยและพระราชทานอนุญาต เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 และสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการและต่อมาจึงได้ประกาศ \"พระราชกฤษฎีกากำหนดตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2551\" โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยสมบูรณ์",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "6858#9",
"text": "สีประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ สืบเนื่องมาจากสีประจำวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา คือสีเทา-ฟ้า\nสีเทา - ฟ้า จึงหมายถึง ความคิดที่กว้างไกล หรือคิดอย่างมีวิสัยทัศน์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธศรีศากยมุนินทร์ ศรีนครินทรวิโรฒมงคล” ซึ่งมีความหมายว่า “องค์พระพุทธเจ้า ที่เป็นมิ่งมหามงคล แห่งมหาวิทยาลัย” และมหาวิทยาลัยได้กระทำพิธัอัญเชิญพระพุทธศรีศากยมุนินทร์ศรีนครินทรวิโรฒมงคลมาประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 \nนับแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้,มหาวิทยาลัยทักษิณ มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารมาแล้ว ดังนี้",
"title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ"
},
{
"docid": "49065#2",
"text": "เกิดจากความผสมผสานจากสีประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ เขียวขาวเหลือง ทำให้ได้สีที่ไปทางโทน เหลืองอมเขียว อันเป็นสีเดียวกับแป้งมงคลที่ใช้เจิมหน้าผากนักศึกษาใหม่ ในรุ่งเช้าของวัน \"คลอด\" ซึ่งคณาจารย์ และพี่ศิษย์เก่า ต่างก็ใช้แป้งโทนเขียวอมเหลือง หรือ \"สีไพล\" ใช้เจิมหน้าผากของนักศึกษาทุกคน ซึ่งลูกแม่โจ้ถือว่า เป็นศิริมงคลแก่นักศึกษาใหม่ ทั้งยังเป็นการรับน้องใหม่เข้าสู่สังคมของมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์แล้วนั้นเอง",
"title": "สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้"
},
{
"docid": "13034#21",
"text": "██ สีขาว แทน ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ได้รับการจัดอันดับสารานุกรมไทย ฉบับ มหาลัยโลกจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สาขาดนตรีสากลเป็นอันดับที่ 96 ของเอเชีย",
"title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม"
},
{
"docid": "5229#20",
"text": "ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 (ฉบับที่ 247) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 98 ง โดยตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบ่งเป็น 2 ภาค ได้แก่",
"title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
}
] |
2673 | ภิกษุณี ต้องถือศีลเป็นจำนวนเท่าใด? | [
{
"docid": "34082#8",
"text": "ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริง ๆ เช่น ภิกษุณี เมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง 311 ข้อ มากกว่าพระภิกษุ ซึ่งถือศีลเพียง 227 ข้อ (วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องมีผ้ารัดถัน (ผ้ารัดอก) ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี เป็นต้น)",
"title": "ภิกษุณี"
},
{
"docid": "34082#1",
"text": "ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช",
"title": "ภิกษุณี"
}
] | [
{
"docid": "57553#6",
"text": "ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท",
"title": "สิกขมานา"
},
{
"docid": "34082#15",
"text": "ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท",
"title": "ภิกษุณี"
},
{
"docid": "91797#1",
"text": "ศีล 10 นี้ ประกอบด้วยศีล 5 ข้อแรกเป็นของฆราวาส สำหรับผู้ครองเรือน ส่วนศีล 10 เป็นข้อปฏิบัติของสามเณร สามเณรี และสิกขมานา (ผู้ที่ขอบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งต้องบวชเป็นสามเณรี และไม่ผิดศีลข้อ 1 2 3 4 5 6 เป็นเวลาถึง 2 ปีโดยไม่ขาดศีลทั้ง 6 ข้อโดยไม่ขาดเลย แต่ข้อ 7 8 9 10 ขาดได้บ้าง) รวมทั้งเป็นข้อปฏิบัติของ สมณะนักบวชนอกพระศาสนา (หนึ่งในเทวทูต 4) ก็ถือศีล 10 มาก่อน เป็นศีลขั้นต่ำของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายมีปกติไม่ผิดศีลข้อ 1 ถึงข้อ 9 ตลอดชีวิต และมีปกติรักษาศีลข้อ 10 เป็นธรรมชาติ",
"title": "ทศศีล"
},
{
"docid": "34082#11",
"text": "เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล 6 ข้อครบ 2 ปีแล้ว แล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของ ภิกษุณีสงฆ์ ก่อน แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ (บวชในสงฆ์สองฝ่าย)",
"title": "ภิกษุณี"
},
{
"docid": "158607#7",
"text": "นิกายนี้ถือว่า ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์แล้ว สมาธิ ปัญญาก็ยากจะเกิดขึ้นได้ และได้แบ่งประเภทของศีลออกตามคติมหายาน คือ ตรีวิสุทธิศีล อันได้แก่ ทั้ง 3 ประการนี้ต่างอาศัยกัน เช่น งดเว้นปาณาติบาต จัดเป็นสัมภารสังคหศีล เมื่อไม่ฆ่าจิตก็เป็นกุศล จัดเป็นกุศลสังคหศีล และเมื่อจิตเป็นกุศลก็พลอยมีเมตตากรุณาช่วยเหลือสัตว์ จัดเป็นสัตตวารถกริยาสังคหศีล",
"title": "วินัย (นิกาย)"
},
{
"docid": "34082#9",
"text": "ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น \"สิกขมานา\" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือศีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่",
"title": "ภิกษุณี"
},
{
"docid": "57553#0",
"text": "สิกขมานา เป็นคำเรียกผู้ที่ถือศีล 6 ข้อก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณี, สามเณรี ก็เรียก",
"title": "สิกขมานา"
},
{
"docid": "57553#1",
"text": "ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น \"สิกขมานา\" เสียก่อน สิกขมานาต้องถือศีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่",
"title": "สิกขมานา"
},
{
"docid": "620884#7",
"text": "เนื้อหาหลักของ กล่าวถึง คือศีลอย่างเล็กน้อย หรือจุลศีล ศีลอย่างกลาง หรือมัชฌิมศีล และศีลอย่างใหญ่ หรือมหาศีล จากนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงความคิดเห็น หรือทิฏฐิ 62 ประการของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น คือพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องตั้นของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร (ปุพพันตกัปปิกะ) 18 ประเภท กับพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องต้นสิ่งต่าง ๆ ว่าจะลงสุดท้ายอย่างไร (อปรัตกัปปิกะ) 44 ประเภท รวมเป็น 62 หรือที่เรียว่าทิฏฐิ 62 ประการ",
"title": "พรหมชาลสูตร (เถรวาท)"
}
] |
2681 | ผู้บริหารระดับล่างคืออะไร? | [
{
"docid": "255025#2",
"text": "ผู้บริหารระดับล่าง หมายถึงหัวหน้าแผนกหรือหัวหน้าคนงาน\nทำตามนโยบายที่ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางกำหนดไว้\nทำการตัดสินใจระยะสั้นในการดำเนินงาน\nช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับทีม สร้างแรงจูงใจและสามารถรับผิดชอบแทนผู้ที่อยู่ในแผนกของตนได้",
"title": "ผู้บริหาร"
}
] | [
{
"docid": "255025#1",
"text": "ผู้บริหารระดับกลาง หมายถึง ผู้อำนวยการ หัวหน้าศูนย์ ผู้จัดการแผนก หรือหัวหน้าสายงาน\nดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้\nประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดนโยบายให้ผู้จัดการระดับล่าง ได้นำแผนงานไปปฏิบัติ",
"title": "ผู้บริหาร"
},
{
"docid": "901574#2",
"text": "ด้วยความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือระดับของการบริหารปกครองที่ปรับปรุงใหม่ที่ได้ดำเนินการในสองประเภท เช่นเดียวกับในดินแดนอื่นๆจำนวนมากที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน ผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการได้ถูกกดดันเพื่อดำเนินการตามปกติแบบวันต่อวัน (โดยเฉพาะในระดับกลางและล่าง) แม้ว่าจะอยู่ภายใต่การกำกับดูแลของเยอรมันก็ตาม ในช่วงสงคราม ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในยุโรปตะวันตกและตอนเหนือยังคงรักษาโครงสร้างการบริหารที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ด้านตะวันออกก็ได้มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อย่างเสร็จสมบูรณ์ที่ได้รับการนำเสนอ",
"title": "ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท"
},
{
"docid": "23996#72",
"text": "ศิษย์เก่าที่เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง หรือประกอบอาชีพทางเศรษฐกิจ เช่น วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานบริษัทในเครือเซ็นทรัล, ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์, ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON, ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ, อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ ธนาคารศรีนคร และผู้ก่อตั้ง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, อนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย, ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ฐาปน สิริวัฒนภักดี (AC107) กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น",
"title": "โรงเรียนอัสสัมชัญ"
},
{
"docid": "217398#4",
"text": "สำหรับการบริหารธุรกิจของนายเฉลิมที่เป็นที่รู้จักกันอย่างอย่างกว้างขวางนั่นคือ การดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย เครื่องดื่ม สปาย ไวน์คลเลอร์, เป็นผู้ผลิตไวน์ชื่อ “มอนซูน แวลลีย์” (Monsoon Valley) และ เครื่องดื่มแอปเปิ้ลเปิ้ลไซเดอร์ล่าสุดภายใต้แบรนด์ MOOSE( มูส ) และ [บริหาร Red Bull] ในประเทศอังกฤษ",
"title": "เฉลิม อยู่วิทยา"
},
{
"docid": "255025#0",
"text": "ผู้บริหารระดับสูง หมายถึง ประธานกรรมการจนไปถึงกรรมการผู้จัดการ หรืออาจเรียกว่าผู้ริเร่มก่อตั้งองค์การ \nผู้บริหารประเทศ (government administrator)หมายถึง ผู้นำของรัฐบาล มีอำนนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ\nเป็นผู้ตัดสินใจแผนการระยะยาวที่เกี่ยวกับทิศทางโดยรวมขององค์การ\nกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและกลยุทธ์\nแนะนำทางการจัดการในสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้\n2412",
"title": "ผู้บริหาร"
},
{
"docid": "130990#2",
"text": "ดร.สามารถ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบจราจรเมืองใหญ่ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาโครงการ รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ของ สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับจราจรและขนส่ง ทั้งในและต่างประเทศหลายประเภท เช่น รถไฟฟ้า ทางด่วน สนามบิน และท่าเรือ โดยเป็นที่ปรึกษาโครงการ ให้กับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) และกองทุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจโพ้นทะเล (โออีซีเอฟ) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น \"เจบิก\" หรือ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น",
"title": "สามารถ ราชพลสิทธิ์"
},
{
"docid": "78373#0",
"text": "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 - ) ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กรรมการธนาคารกสิกรไทย อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นนักวิชาการด้านพลังงาน เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกี่ยวกับพลังงานมามากมาย ทั้งยังได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์",
"title": "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"
},
{
"docid": "4942#4",
"text": "ปัจจุบันมีผู้บริหารระดับสูงคือ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นประธานกรรมการบริหาร นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล เป็นรองประธานกรรมการบริหาร นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล เป็นรองประธานกรรมการบริหาร นายธานินทร์ บูรณมานิต เป็นกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร",
"title": "เซเว่น อีเลฟเว่น"
},
{
"docid": "909607#0",
"text": "ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจขนาดย่อม เป็นผู้บังคับบัญชาของสำนักงานบริหารธุรกิจขนาดย่อมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ประกาศยกฐานะผู้อำนวยการฯให้เทียบเท่ารัฐมนตรี ตำแหน่งนี้ไม่มีการแต่งตั้งล่าสุดคือในสมัยการบริหารของประธานาธิบดี บิล คลินตัน",
"title": "ผู้อำนวยการการธุรกิจขนาดย่อม"
}
] |
2695 | ใครเป็นแกนนำของคณะกู้ชาติ? | [
{
"docid": "34347#0",
"text": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย () หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง",
"title": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"
}
] | [
{
"docid": "208935#2",
"text": "สมบัติ เป็นแกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ ต่อต้านรัฐประหารและรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คมช. โดยก่อนหน้านั้นเป็นหนึ่งในแกนนำเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร และต่อมาได้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ โดยมีชื่อกลุ่มที่ตั้งใหม่ว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยสมบัติเป็นแกนนำ นปก.รุ่น 2 ภายหลังแกนนำ นปก.รุ่นแรก ถูกคุมขัง อีกทั้งยังเป็นผู้เสนอการรณรงค์ \"แดงไม่รับ\" เป็นสีตรงข้ามกับสีเขียวรับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้ผู้ที่ต่อต้านรัฐประหาร โดยเฉพาะคณะรัฐประหารของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน นิยมใส่เสื้อสีแดงมาร่วมชุมนุมหรือกิจกรรมการเมืองจนถึงปัจจุบัน",
"title": "สมบัติ บุญงามอนงค์"
},
{
"docid": "108829#34",
"text": "สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ อดีดแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แกนนำกลุ่มแดงสยามถูกจับกุมข้อหากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยจากการกล่าวปราศัยในหลาย ๆ สถานที่ซึ่งตำรวจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลตัดสินจำคุกตามคดีหมายเลขแดง อ.503/2555, อ.504/2555, อ.505/2555, อ.1088/2555 ซึ่งศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลย 4 สำนวนเป็นเวลา 10 ปี คดีหมายเลขดำที่ อ.3444/2553ซึ่งศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลย 2 ปี 6เดือนรวม 12 ปี 6 เดือน เขาขัด คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 57/2557 จนกระทั่งศาลทหารออกหมายจับ",
"title": "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ"
},
{
"docid": "125612#3",
"text": "ปัจจุบัน นายไทกรยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในลักษณะการเคลื่อนไหวภาคประชาชน ร่วมกับนายอธิวัฒน์ บุญชาติ แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ (อดีตโฆษกสหพันธ์นักศึกษาแห่งชาติ ม.รามฯ) ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2551-2552 การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม(ม็อบเสธอ้าย) ปี พ.ศ. 2555 โดยมักจะเคลื่อนไหวออกมาเป็นระยะ ๆ และได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น ปลายปี พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และยังเป็นประธานชมรมไทยเป็นหนึ่งเดียว ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งล่าสุดในนามพรรครักษ์สันติ\nล่าสุดนายไทกร ได้เข้าร่วมชุมนุมกับคณะเสนาธิการร่วม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ",
"title": "ไทกร พลสุวรรณ"
},
{
"docid": "32631#22",
"text": "ส่วนในกรณี นพ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แกนนำกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา และชาวบ้านอีก 6 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่จังหวัดตรัง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ",
"title": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง"
},
{
"docid": "206982#14",
"text": "ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ แนะรัฐบาลถวายคืนพระราชอำนาจ ให้กองทัพเร่งกู้ชาติหยุดปราบประชาชน พร้อมยืนยันจุดยืนยุติปัญหาต้อง ตั้งการปกครองเฉพาะกาล โดยเอาคู่ขัดแย้งออกจากสถานการณ์การเมืองที่มุ่งแย้งชิงอำนาจ ส่วนกรณีที่แกนนำ นปช.และกลุ่มนักวิชาการออกมาเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามาเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ และ ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักร มีความมั่นคงทางทหาร การที่มีการนำเสนอแนวทางนี้หากเกิดขึ้นจริง จะเป็นคนแรกที่จะไปขับไล่ทันที",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59"
},
{
"docid": "28723#2",
"text": "ผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญก็คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ที่มีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ที่ดำเนินมาพร้อมกับการแสวงหาประโยชน์ อย่างผู้ที่ถือตนว่ามีพัฒนาการและอำนาจเหนือกว่าชาติทางแถบเอเชีย โดยได้โปรดให้ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมแบบแผนหลายๆ อย่างให้เหมาะแก่กาลสมัย และสอดคล้องกับความเป็นสากลนิยม ตามแบบชาติตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจอยู่ ณ เวลานั้น",
"title": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย"
},
{
"docid": "108829#6",
"text": "หลังจากแกนนำ นปช.ชุดที่วีระเป็นประธาน เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังประกาศยอมยุติการชุมนุม ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทางกลุ่มจึงว่างเว้นจากการมีแกนนำไประยะหนึ่ง โดยในช่วงเวลาดังกล่าว สมบัติ บุญงามอนงค์ มักมีบทบาทเป็นผู้นำมวลชน ในการนัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน จึงมีการตั้งคณะกรรมการ นปช. ชุดรักษาการขึ้น โดยมีธิดา ถาวรเศรษฐ ภรรยานายแพทย์เหวง รักษาการในตำแหน่งประธาน",
"title": "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ"
},
{
"docid": "108829#37",
"text": "วราวุธ ฐานังกรณ์ ปัจจุบันใช้ชื่อ สุชาติ นาคบางไทร แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รุ่นที่ 2 ถูกจับกุมข้อหากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยจากการกล่าวปราศรัยบนเวที นปช.ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551เขาถูกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2557 เรียกให้ไปรายงานตัวในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557\nสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รุ่นที่ 2 ถูกจับกุมข้อหากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยในฐานะที่เป็นเจ้าของนิตยสารเสียงทักษิณซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่านิตยสารดังกล่าวจงใจที่จะกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยศาลอาญาอนุมัติหมายจับ ตามความผิด มาตรา 112 หมายจับของศาลอาญา ที่ 131/2554 ลงวันที่ 15 ก.พ.2554 ตำรวจจับกุมแล้วที่อำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้วเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 ศาลตัดสินจำคุก 10 ปี รวมกับคดีหมิ่นประมาทสพรั่ง กัลยาณมิตรตามคดีอาญาหมายเลขแดง อ.1078/2552อีก 1 ปี รวม 11 ปี",
"title": "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ"
},
{
"docid": "198644#25",
"text": "สำหรับการจัดงานมีแกนนำขึ้นเวที ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายจักรภพ เพ็ญแข นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายขวัญชัย ไพรพนา นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง พร้อมกับ นางไพจิตร อักษรณรงค์ ศิลปินชื่อดัง และอีกหลายคนไปร่วมขับกล่อม จากนั้นนางสาวจีรนันท์ได้ขึ้นเวทีกล่าวต้อนรับพร้อม โดยนายวีระได้เป็นประธานเปิดตัวสถานีวิทยุชุมชน พร้อมกล่าวปราศรัยถึงการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนได้รับรู้ และมีส่วนร่วมในบทบาททางการเมือง ซึ่งทางแกนนำได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยโจมตีรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์",
"title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน"
},
{
"docid": "34347#39",
"text": "ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีมติของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ซึ่งถือเป็นกลุ่มแนวร่วมที่สำคัญของกลุ่มพันธมิตรฯ ให้นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสาวิทย์ แก้วหวาน ซึ่งเป็นแกนนำรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ถอนตัวออกมาจากการเป็นแกนนำ โดยอาจจะไปร่วมชุมนุมด้วยเฉพาะในประเด็นที่สำคัญเท่านั้น และจะไม่ขึ้นเวทีปราศรัย สืบเนื่องมาจากการเห็นต่างกันในเรื่องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ของทางพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ทางกลุ่มพันธมิตรฯก่อตั้งขึ้นมา โดยมีนายสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งในเรื่องนี้ทำให้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำรุ่นที่ 1 ได้โจมตีนายสมศักดิ์อย่างรุนแรงในเวลาต่อมา โดยที่ทางกลุ่มพันธมิตรฯมีมติให้รณรงค์โหวตโน คือ การกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนให้ใคร ในการเลือกตั้งครั้งนี้",
"title": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"
}
] |
2698 | ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่เป็นภาษากลางภาษาแรกของโลกใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "2008#5",
"text": "ภาษาอังกฤษใหม่ ที่บางครั้งมีผู้อธิบายว่าเป็นภาษากลางภาษาแรกของโลก เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดหรือในบางกรณี เป็นภาษาระหว่างประเทศที่ต้องใช้ในการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจ การเดินเรือ การบิน การบันเทิง วิทยุและการทูต ภาษาอังกฤษเริ่มแพร่ออกนอกหมู่เกาะอังกฤษจากการเติบโตของจักรวรรดิอังกฤษ และเมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาษาอังกฤษก็ไปทั่วโลกอย่างแท้จริง หลังการยึดอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาเด่นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาและสถานภาพอภิมหาอำนาจตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยิ่งเร่งการแพร่ของภาษาไปทั่วโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นของผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางวิทยาศาสตร์แทนภาษาเยอรมันในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นเทียบเท่าและอาจแซงหน้าภาษาฝรั่งเศสในทางการทูตตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19",
"title": "ภาษาอังกฤษ"
}
] | [
{
"docid": "2008#0",
"text": "ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ",
"title": "ภาษาอังกฤษ"
},
{
"docid": "2008#8",
"text": "มีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่งราว 360 ล้านคน ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษอาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน อย่างไรก็ดี เมื่อรวมผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และมิใช่ภาษาแม่แล้ว ภาษาอังกฤษก็อาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก แม้อาจน้อยกว่าผู้พูดภาษาจีนรวมกัน (ขึ้นอยู่กับว่านับรวมเป็น \"ภาษา\" หรือนับแยกเป็น \"ภาษาถิ่น\")",
"title": "ภาษาอังกฤษ"
},
{
"docid": "2008#4",
"text": "เนื่องจากการกลมกลืนคำจากภาษาอื่นมากมายตลอดประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษใหม่จึงมีคำศัพท์ใหญ่มาก โดยมีการสะกดที่ซับซ้อนและไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสระ ภาษาอังกฤษใหม่ไม่เพียงแต่กลมกลืนคำจากภาษาอื่นของยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมภาษาอื่นทั่วโลกด้วย พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดแสดงรายการคำไว้กว่า 250,000 คำ ซึ่งยังไม่รวมศัพท์เทคนิค วิทยาศาสตร์และสแลง",
"title": "ภาษาอังกฤษ"
},
{
"docid": "2008#3",
"text": "การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้ภาษาอังกฤษยืมคำมาจากภาษานอร์มันอย่างมาก และสัญนิยมคำศัพท์และการสะกดเริ่มให้ลักษณะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาโรมานซ์ แก่ภาษาที่ต่อมากลายเป็นภาษาอังกฤษกลาง การเลื่อนสระครั้งใหญ่ (Great Vowel Shift) ซึ่งเริ่มขึ้นทางตอนใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดของภาษาอังกฤษใหม่จากภาษาอังกฤษกลาง",
"title": "ภาษาอังกฤษ"
},
{
"docid": "2008#1",
"text": "ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค",
"title": "ภาษาอังกฤษ"
},
{
"docid": "33847#2",
"text": "ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซกซันอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอังกฤษขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรก ๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาเดนมาร์กในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซกซันมาปกครองได้ ในปี ค.ศ. 1066 ภาษาของชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสตระกูลหนึ่ง ก็เข้ามาแทนที่ภาษาอังกฤษโดยกลายเป็นภาษาที่ชนชั้นปกครองใช้พูดกัน ในระยะนี้ภาษาอังกฤษจึงได้รับอิทธิพลจากภาษาแองโกล-นอร์มันอย่างมหาศาล และเป็นจุดเริ่มไปสู่จุดสิ้นสุดของยุคของภาษาอังกฤษเก่า โดยอิทธิพลของชาวนอร์มันที่มีต่อภาษาอังกฤษเก่า ทำให้เกิดวิวัฒนาการของภาษาอังกฤษสมัยกลางขึ้น",
"title": "ภาษาอังกฤษเก่า"
},
{
"docid": "862571#2",
"text": "ภาษาอังกฤษสมัยกลาง มีความแตกต่างกับภาษาอังกฤษเก่า ตรงที่ว่า ภาษาอังกฤษเก่า มีการตามมาตรฐานการเขียนการสะกด ในรูปแบบภาษาแซกซอนตะวันตกตอนปลาย ซึ่งเป็นยุคสมัยก่อนที่ ชาวฝรั่งเศสนอร์มันจะยึดครองอังกฤษไม่นาน หลังจากนั้น ภาษาอังกฤษ เริ่มมีการสะกดหลากหลายรูปแบบ (แล้วก็มีหลากหลายสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย) อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างหลากหลายของรูปแบบการเขียนการสะกดของภาษาอังกฤษสมัยกลางเหล่านั้น ไม่ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า เราสามารถพบเจอรูปแบบภาษาอังกฤษที่ชาวอังกฤษใช้พูดสื่อสารก่อน ค.ศ. 1066 แต่ความแตกต่างหลากหลายนี้ บ่งชี้ให้เห็นว่า เวสเซ็กซ์ไม่ได้เป็นสถานที่ที่เดียว ที่ผลิตเอกสาร และวรรณกรรมภาษาอังกฤษ ซึ่งมีเมืองอื่น ๆ นอกเหนือจากเวสเซ็กซ์ ที่มีการขีดเขียนภาษาอังกฤษ แต่เขียนในสำเนียงของตนเอง จึงทำให้มีการเขียนการสะกดที่แตกต่างกัน เมื่อวันเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เมืองหรือแคว้นต่าง ๆ เช่น นอร์ทธัมเบรีย อีสต์แองกเลีย และลอนดอน ก็ค่อย ๆ กลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตเอกสาร หรือวรรณกรรมภาษาอังกฤษ โดยมีรูปแบบการเขียนการสะกดที่แตกต่างกันไป",
"title": "ภาษาอังกฤษสมัยกลาง"
},
{
"docid": "862571#0",
"text": "ภาษาอังกฤษสมัยกลาง () เป็นชื่อที่นักภาษาศาสตร์ใช้เรียกภาษาอังกฤษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งใช้พูดสื่อสารตั้งแต่สมัยชาวนอร์มันพิชิตอังกฤษ ใน ค.ศ. 1066 และช่วงหลังของศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ภาษาอังกฤษในลอนดอน มีการเขียนตามมาตรฐานแชนเซอรี (Chancery Standard) โดยมาตรฐานการใช้ภาษาอังกฤษนี้ ได้กลายเป็นมาตรฐานการใช้ภาษาอังกฤษในราชอาณาจักรอังกฤษ",
"title": "ภาษาอังกฤษสมัยกลาง"
},
{
"docid": "924352#1",
"text": "ภาษาพื้นฐานของอ็อกเดน และมโนทัศน์ภาษาอังกฤษเรียบง่าย มีการเผยแพร่มากที่สุดหลังฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นวิธีการบรรลุสันติภาพโลก แม้ภาษาอังกฤษพื้นฐานมิได้สร้างเข้าโปรแกรม แต่มีการทบทวนการทำให้เรียบง่ายคล้ายกันสำหรับการใช้ของนานาชาติหลายอย่าง ผู้ช่วยของอ็อกเดน ไอ. เอ. ริชาดส์นำเสนอการใช้ในโรงเรียนในประเทศจีน ต่อมา มีอิทธิพลต่อภาษาอังกฤษพิเศษ (Special English) ของวอยซ์ออฟอเมริกา สำหรับการแพร่สัญญาณข่าว และภาษาอังกฤษเทคนิคง่าย (Simplified Technical English) เป็นภาษาควบคุมที่ยึดภาษาอังกฤษที่ออกแบบมาเพื่อเขียนคู่มือเทคนิค",
"title": "ภาษาอังกฤษพื้นฐาน"
}
] |
2702 | การสำรวจคืออะไร ? | [
{
"docid": "851047#0",
"text": "การสำรวจ () คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่",
"title": "การสำรวจ"
}
] | [
{
"docid": "10853#42",
"text": "๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้\nจากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "307830#0",
"text": "การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน () เป็นรูปแบบการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์อย่างหนึ่งซึ่งใช้หลักการของวิทยาแผ่นดินไหวในการประมาณสิ่งที่อยู่ใต้ผิวของโลกจากคลื่นแผ่นดินไหวที่สะท้อนกลับมา การสำรวจด้วยวิธีการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานกำเนิดแผ่นดินไหวที่อยู่ภายใต้การควบคุม เช่น ไดนาไมต์ เป็นต้น โดยการจดบันทึกเวลาที่ใช้ในการสะท้อนกลับเข้าสู่ตัวรับคลื่น ทำให้การประมาณความลึกของพื้นผิวซึ่งทำให้เกิดการสะท้อนนั้นเป็นไปได้ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับโซนาร์และการหาตำแหน่งของวัตถุโดยใช้เวลาและทิศทาง",
"title": "การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน"
},
{
"docid": "3875#42",
"text": "พลังงานความร้อนทำให้โมเลกุลบางส่วนที่ขอบนอกของบรรยากาศมีความเร็วเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่สามารถหลุดพ้นออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเสียบรรยากาศออกสู่อวกาศอย่างช้า ๆ แต่สม่ำเสมอ เพราะไฮโดรเจนที่ไม่ได้ถูกยึดเหนี่ยวมีมวลโมเลกุลต่ำจึงสามารถขึ้นถึงความเร็วหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและรั่วไหลออกสู่อวกาศภายนอกในอัตราที่สูงกว่าก๊าซอื่น การรั่วของไฮโดรเจนสู่อวกาศได้ช่วยสนับสนุนให้บรรยากาศโลกตลอดจนพื้นผิวเกิดการเปลี่ยนผันจากภาวะรีดิวซ์ในช่วงต้นมาเป็นภาวะออกซิไดซ์อย่างเช่นในปัจจุบัน การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นแหล่งช่วยป้อนออกซิเจนอิสระ แต่ด้วยการเสียไปซึ่งสารรีดิวซ์ดังเช่นไฮโดรเจนนี้เองจึงเชื่อกันว่าเป็นภาวะเริ่มต้นที่จำเป็นต่อการเพิ่มพูนขึ้นของออกซิเจนอย่างกว้างขวางในบรรยากาศ การที่ไฮโดรเจนสามารถหนีออกไปจากบรรยากาศได้จึงอาจส่งอิทธิพลต่อธรรมชาติของชึวิตที่พัฒนาขึ้นบนโลก ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนเป็นจำนวนมากในปัจจุบันนั้น ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นน้ำก่อนมีโอกาสหนีออกไป แต่การเสียไฮโดรเจนส่วนใหญ่นั้นมาจากการสลายของมีเทนในบรรยากาศชั้นบน",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "38305#0",
"text": "การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือ อัตกาม () หรือที่มักเรียกว่าการช่วยตัวเอง คือการกระตุ้นอวัยวะเพศของตนเองเพื่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือความพอใจอื่น ๆ ปกติจะทำจนถึงความเสียวสุดยอดทางเพศ การกระตุ้นอาจใช้มือ นิ้วมือ วัตถุในชีวิตประจำวัน เซ็กซ์ทอย หรือหลายอย่างร่วมกัน การสำเร็จความใคร่ร่วมกัน (กระตุ้นทางเพศด้วยตนเองร่วมกับผู้อื่น) สามารถแทนการสอดใส่ได้ จากการศึกษาพบว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองพบมากในมนุษย์ทุกเพศ และทุกวัย กิจกรรมการสำเร็จความใคร่นับว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์และจิตวิทยา ยังไม่มีความสัมพันธ์เหตุภาพระหว่างการสำเร็จความใคร่กับความผิดปกติทางจิตหรือทางร่างกายใด ๆ",
"title": "การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง"
},
{
"docid": "8514#68",
"text": "การสำรวจความยากจนทั่วประเทศครั้งล่าสุด (หรือที่เรียกอีกอย่างว่า การสำรวจครัวเรือน) เป็นการวัดร้อยละของประชากรที่มีงานทำกับไม่มีงานทำโดยการสุ่มตัวอย่าง ผลการสำรวจจะถูกคูณด้วยจำนวนประชากรเพื่อหาค่าประมาณการของอัตราการจ้างงาน การสำรวจแบบนี้ได้เปรียบกว่าการสำรวจการจ่ายเงินค่าจ้าง เนื่องจากรวมการจ่ายเงินค่าจ้างให้ตัวเองไว้ด้วย แต่ก็ให้ผลรวมที่แม่นยำน้อยกว่า (เนื่องจากต้องมีการประมาณการจำนวนประชากร) และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรทั่วประเทศจำนวนน้อยมาก (60,000 ครัวเรือน รวมกับอีก 400,000 บริษัทเอกชน) ไม่ว่าจะดีหรือแย่กว่าก็ตาม การสำรวจครัวเรือนนับจำนวนงานหลายๆงานที่ประชากรคนหนึ่งทำว่าเป็นเพียงงานเดียว อันรวมถึงงานในภาครัฐ ภาคเกษตรกรรม การทำงานในครอบครัวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และคนทำงานที่ลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้าง การสำรวจครัวเรือนระบุว่าอัตราร้อยละของประชากรที่มีงานทำ ลดลงจาก 64.4% ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2000 และเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 เป็น 62.1% ในเดือนสิงหาคม และกันยายน ค.ศ. 2003 และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 62.9% เท่านั้น ตัวเลขต่างๆระบุว่าอัตราการมีงานทำลดลงนั้นสอดคล้องกับตำแหน่งงานที่ลดลง หนึ่งล้านหกแสนตำแหน่ง และได้เพิ่มขึ้นอีก สี่ล้านเจ็ดแสนตำแหน่งภายใต้การบริหารประเทศของบุช",
"title": "จอร์จ ดับเบิลยู. บุช"
},
{
"docid": "201757#15",
"text": "การสำรวจอวกาศนั้นมีข้อดีหลายประการไม่ว่าจะเป็นการที่รู้ข้อมูลของดาวเคราะห์ต่างๆ\nเพื่อนำไปใช้ในการตั้งถิ่นฐานนอกโลก การสังเกตการณ์สิ่งที่จะเข้าพุ่งชนโลกหรือการทำนาย\nวันเวลาที่อุกกาบาตหรือดาวหางพุ่งชนโลกหรือการสังเกตจุดดำบนดวงอาทิตย์ในการทำนายความรุนแรงของพายุสุริยะ\nเพื่อที่จะได้เตรียมการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ล่วงหน้า",
"title": "การสำรวจอวกาศ"
},
{
"docid": "265921#0",
"text": "รักคืออะไร เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวงดิ อินโนเซ็นท์ออกวางแผงครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้ต้อนรับ 2 สมาชิกใหม่ของวงคือไก่ เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์ ในตำแหน่งมือกลองที่เข้ามาแทนโหนก เกรียงศักดิ์ที่ได้ลาออกไปและไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์ จากวงฟอร์เอฟเวอร์ ในตำแหน่งมือคีย์บอร์ดและมือกีตาร์ซึ่งก่อนหน้านั้นไชยรัตน์ได้เข้ามาเป็นนักดนตรีรับเชิญระหว่างออกทัวร์คอนเสิร์ตและแสดงทางโทรทัศน์ในอัลบั้ม เพียงกระซิบ และอัลบั้ม อยู่หอ ก่อนจะเข้ามาเป็นสมาชิกหลักของวงในอัลบั้มชุดนี้",
"title": "รักคืออะไร"
},
{
"docid": "201757#0",
"text": "การสำรวจอวกาศ คือการใช้วิทยาการด้านดาราศาสตร์และอวกาศเพื่อสำรวจและศึกษาห้วงอวกาศภายนอก การศึกษาอวกาศในทางกายภาพสามารถทำได้ทั้งโดยยานอวกาศที่ควบคุมโดยมนุษย์หรือโดยหุ่นยนต์",
"title": "การสำรวจอวกาศ"
},
{
"docid": "203400#0",
"text": "วิศวกรรมสำรวจ เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และ การใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้เข้าใจลักษณะแบบจำลองของปรากฏการณ์ทางกายภาพต่าง ๆ และสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงมาเป็นข้อมูลรูปแผนที่ที่มีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือทางตำแหน่งและข้อมูลอธิบายปรากฏการณ์นั้น ๆ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้วย",
"title": "วิศวกรรมสำรวจ"
}
] |
2704 | สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทวีปอะไร ? | [
{
"docid": "2032#0",
"text": "ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (; ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1400 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า",
"title": "ประเทศจีน"
},
{
"docid": "558879#0",
"text": "สาธารณรัฐจีน (; ) เป็นรัฐในเอเชียตะวันออกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 ถึงปี ค.ศ. 1949 ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912 หลังจากที่สามารถโค้นล้มราชวงศ์ชิง (การปฏิวัติซินไฮ่ 辛亥革命) ได้สำเร็จ และสิ้นสุดลงหลังสงครามกลางเมืองจีน ด้วยความพ่ายแพ้ของพรรคก๊กมินตั๋งหรือจีนคณะชาติ ซึ่งได้ลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันและก่อตั้งสาธารณรัฐจีนขึ้นมาใหม่ ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นฝ่ายได้ชัยชนะได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่จีนในปัจจุบัน\nสาธารณรัฐจีนมีประธานาธิบดีคนแรกคือ ซุน ยัตเซ็น ดำรงตำแหน่งหน้าที่เพียงระยะเวลาอันสั้น พรรคของซุนต่อมาได้นำโดย ซ่ง เจี่ยวเริน ซึ่งชนะการเลือกตั้งรัฐสภาที่จัดขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1912 อย่างไรก็ตามกองทัพนำโดยประธานาธิบดียฺเหวียน ชื่อไข่ยังคงควบคุมรัฐบาลแห่งชาติในปักกิ่งต่อไป ตั้งแต่ปลายปี 1915 ถึงต้นปี 1916 หยวนได้รื้อฟื้นระบอบจักรพรรดิจีนที่เรียกว่าจักรวรรดิจีนขึ้นมาใหม่ และสถาปนาตนเองเป็น \"จักรพรรดิหงเซียน (洪憲皇帝)\" แต่จักรวรรดิใหม่ของหยวนกลับดำรงอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ หลังหยวนได้เสียชีวิตลง ผู้นำกองกำลังท้องถิ่นตามแคว้นต่างๆซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นเหล่าขุนศึก และได้ประกาศตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติอีกต่อไป ทำให้จีนเข้าสู่ยุคขุนศึกในเวลาต่อมา",
"title": "สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)"
}
] | [
{
"docid": "558879#30",
"text": "รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนและหลักลัทธิไตรราษฎร์ ซึ่งระบุว่า \"(สาธารณรัฐจีน) จะเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยของประชาชน จะถูกปกครองร่วมกันโดยประชาชนและเพื่อประชาชน\" โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวาทะของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น ที่ว่า ประชาธิปไตยเป็น การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน",
"title": "สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)"
},
{
"docid": "2032#23",
"text": "สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล และถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 ของตน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีอำนาจการปกครองเหนือไต้หวันซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกคัดค้านโดยสาธารณรัฐจีน นอกจากนี้ยังแบ่งเขตการปกครองเป็นเขตปกครองตนเอง 5 แห่ง แต่ละแห่งมีชื่อตามชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่นั้น เทศบาลนคร 4 แห่ง และเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง ซึ่งมีสิทธิ์ปกครองตนเองอยู่ในระดับหนึ่ง ดินแดนเหล่านี้อาจถูกเรียกรวมกันว่า \"จีนแผ่นดินใหญ่\" ซึ่งมักยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า",
"title": "ประเทศจีน"
},
{
"docid": "610022#4",
"text": "ต่อมาในปี 1949 สงครามกลางเมืองส่งผลให้พรรคสังคมนิยม (; Communist Party) ได้เป็นใหญ่ในประเทศจีน พรรคสังคมนิยมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบสังคมนิยม และเรียกประเทศเสียใหม่ว่า \"สาธารณรัฐประชาชนจีน\" พรรคชาตินิยมจึงหนีไปยังเกาะไต้หวัน และจัดตั้งการปกครองบนพื้นที่ไต้หวันแยกเป็นประเทศต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกว่า \"สาธารณรัฐจีน\" แต่พรรคสังคมนิยมยังคงถือว่า พื้นที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทั้งสาธารณรัฐจีนเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนปัจจุบัน",
"title": "เขตการปกครองของประเทศไต้หวัน"
},
{
"docid": "2295#36",
"text": "สาธารณรัฐจีนเคยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในฐานะสมาชิกก่อตั้ง โดยได้อยู่ในตำแหน่งของประเทศจีนในคณะมนตรีความมั่นคงจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ถูกขับออกโดย \"มติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2758 (General Assembly Resolution 2758)\" และตำแหน่งทั้งหมดในองค์การสหประชาชาติก็ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางสาธารณรัฐจีนได้แสดงความพยายามหลายครั้งเพื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ (ดูที่ จีนและองค์การสหประชาชาติ)",
"title": "ประเทศไต้หวัน"
},
{
"docid": "959326#0",
"text": "สภารัฐกิจ (; ) หรือชื่อเต็มว่า สภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน (; ) บางทีเรียก รัฐบาลกลางของประชาชน (; ) เป็นหน่วยงานหลักทางปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประธาน คือ นายกรัฐมนตรี และมีกรรมการ คือ ข้าราชการระดับรัฐมนตรี ปัจจุบัน ประกอบด้วยสมาชิก 35 คน คือ นายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารคนหนึ่ง, รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายอื่นอีกสามคน, กรรมการอื่นอีกห้าคน (สองคนเป็นรัฐมนตรี), รัฐมนตรีอื่นอีก 25 คน, และหัวหน้าหน่วยงานหลักอื่น ๆ ในการเมืองจีน รัฐบาลกลางของประชาชนเป็นหนึ่งในอำนาจสามฝ่ายที่คาบเกี่ยวกัน อีกสองฝ่าย คือ พรรคสังคมนิยม (共产党) และกองทัพปลดปล่อยประชาชน (人民解放军) รัฐบาลกลางของประชาชนมีหน้าที่ควบคุมรัฐบาลท้องถิ่นในมณฑลต่าง ๆ โดยตรง และในทางปฏิบัติแล้วมีสมาชิกภาพชั้นสูงในพรรคสังคมนิยม",
"title": "สภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน"
},
{
"docid": "897044#0",
"text": "บัตรประจำตัวประชาชน (, , คำอ่าน: จฺวีหมินเซินเพิ่นเจิ้ง แปลตรงตัวว่าบัตรประจำตัวผู้พักอาศัย) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเอกสารที่ออกให้แก่ประชาชนชาวจีนอายุ 16 ปีขึ้นไป โดยกระทรวงตำรวจ (ที่สถานีตำรวจ) สำหรับถือติดตัวแสดงว่าเป็นคนจีน เริ่มใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2527 ตามนัยแห่งรัฐกำหนดว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国居民身份证试行条例) ในปีต่อมา รัฐกำหนดดังกล่าวยกฐานะเป็น ซึ่งบังคับใช้สืบมาจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 จึงได้ปรับปรุงกฎหมายให้เจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานทหาร และบุคคลอายุต่ำกว่า 16 ปี มีสิทธิ์ทำบัตรได้",
"title": "บัตรประจำตัวประชาชนจีน"
},
{
"docid": "82277#7",
"text": "ใน พ.ศ. 2492 สาธารณรัฐจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์นี้มีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาจึงไม่อาจอยู่ได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะแรกพรรคคอมมิวนิสต์เป็นว่าพระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของประชาชนจึงไม่ใช้ความรุนแรง",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศจีน"
},
{
"docid": "2295#34",
"text": "หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งถอยหนีมาอยู่บนเกาะไต้หวัน ประเทศส่วนใหญ่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเอาไว้ แต่การรับรองสถานะก็ลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเมื่อในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีหลายประเทศได้เปลี่ยนไปรับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน ในปัจจุบัน สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันยังคงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก 17 รัฐ จาก 193 รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งนอกจากทำเนียบสันตะปาปาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในแถบอเมริกากลางและแอฟริกา ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายที่จะไม่สานสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศที่รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีน และทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยจะต้องมีแถลงการณ์รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน",
"title": "ประเทศไต้หวัน"
}
] |
2706 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสียชีวิตเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "37241#0",
"text": "พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และเป็นพระอัยกาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับละครและภาพยนตร์ รวมทั้งทรงพระนิพนธ์เรื่องและคำร้องเพลงประกอบหลายเรื่อง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี พ.ศ. 2492 อีกทั้งโปรดการสะสมโบราณวัตถุด้วย",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล"
},
{
"docid": "37241#5",
"text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 พระชันษา 85 ปี",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล"
}
] | [
{
"docid": "37241#1",
"text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาใน สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระโสทรกนิษฐภาดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระอนุชา 2 พระองค์ คือ",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล"
},
{
"docid": "47992#7",
"text": "ภายหลังจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต สิ้นพระชนม์ได้ 6 เดือน หม่อมมณี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ก็ได้สมรสใหม่กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาแท้ๆของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต และมีพระธิดา คือ หม่อมราชวงศ์อรมณี ภาณุพันธุ์ แต่ก็หย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2493 ต่อมาได้สมรสกับนายแพทย์ปชา สิริวรสาร และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า เป็น \"คุณหญิงมณี สิริวรสาร\" เมื่อ พ.ศ. 2532 และเสียชีวิตเมื่อต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต"
},
{
"docid": "287205#2",
"text": "ครั้นสิ้นสุดเสียงประโคม พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลตามลำดับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสตอบจบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ชาวม่านปิดพระวิสูตร เจ้าพนักงานชูพุ่มดอกไม้ทองให้สัญญาณ ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี จากนั้นจึงเสด็จขึ้น พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางพระทวารเทวราชมเหศวร์",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ 5 ธันวาคม 2518"
},
{
"docid": "37241#12",
"text": "ทรงได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2540 บุคคลยอดเยี่ยมแห่งวงการภาพยนตร์ไทย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และ สักกะ จารุจินดา)",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล"
},
{
"docid": "37241#13",
"text": "ไทยฟิล์ม",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล"
},
{
"docid": "46470#2",
"text": "1.หม่อมเจ้านิพันธุ์ภาณุพงศ์ ภาณุพันธุ์ ต่อมาคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธุ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล"
},
{
"docid": "34735#1",
"text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริประชวรด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและถุงลมโป่งพองสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 สิริพระชันษาได้ 84 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศและเฉลิมพระนาม \"หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์\" ขึ้นเป็น \"พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ\" เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ"
},
{
"docid": "47842#16",
"text": "ม.ร.ว. มาลินี จักรพันธุ์ ผู้รวบรวมประวัติของท่าน ส่งท้ายไว้อย่างงดงามว่า \" ดวงพระวิญญาณลอยละล่องขึ้นสู่สรวงสวรรค์ พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างโดดเดี่ยว เพียงแค่จดหมายภาษาไทยหนึ่งฉบับที่ทรงทิ้งไว้เพื่อส่งท้ายให้ได้ทราบว่าพระองค์คือใคร เทพส่งพระองค์ท่านลงมาจุติอย่างงามสง่า พระนามขจรขจายก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปทั่วโลก และเทพได้นำพระองค์ท่าน \"เจ้าดาราทอง\" เสด็จกลับขึ้นไปอย่างเดียวดาย เหมือนสวรรค์แกล้งให้โลกลืม\"",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช"
}
] |
2710 | วัดศรีชมภูองค์ตื้อก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "168924#2",
"text": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2105 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2105 มีเขตวิสุงคามสีมา ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร โบราณวัตถุในวัดที่สามารถพบได้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้พระพุทธรูปองค์นี้ได้ก่อสร้างมาแต่ดึกดำบรรพ์มีพระรูปงดงามน่าเลื่อมใส สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชครองเมืองเวียงจันทร์ พระสงฆ์ในวัดศรีชมภูองค์ตื้อได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ลงมติจะหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในบ้านน้ำโมง (เดิมเรียกว่าบ้านน้ำโหม่ง) เพื่อเป็นที่เคารพสักการะแก่อนุชนรุ่นหลังต่อ ๆ มา เมื่อตกลงกันแล้วจึงได้ชักชวนบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อเรี่ยไรทองเหลืองบ้าง ทองแดงบ้าง ตามแต่ผู้ที่มีจิตศรัทธาจากท้องที่อำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ได้ทองหนักตื้อหนึ่ง (มาตราโบราณภาคอีสานถือว่า 100 ชั่งเป็นหมื่น 10 หมื่นเป็นแสน 10 แสนเป็นล้าน 10 ล้านเป็นโกฏิ 10 โกฏิเป็นหนึ่งกือ 10 กือเป็นหนึ่งตื้อ) พระสงฆ์และชาวบ้านจึงพร้อมกันหล่อ เป็นส่วน ๆ ในวันสุดท้ายเป็นวันหล่อตอนพระเกศ ในตอนเช้าได้ยกเบ้าเทแล้วแต่ไม่ติด เมื่อเอาเบ้าเข้าเตาใหม่ ทองยังไม่ละลายดีก็พอดีเป็นเวลาจวนพระจะฉันเพล พระทั้งหมดจึงทิ้งเบ้าเข้าเตาหรือทิ้งเบ้าไว้ในเตาแล้วก็ขึ้นไปฉันเพลบนกุฏิฉันเพลเสร็จแล้วลงมาหมายจะเทเบ้าที่ค้างไว้กลับปรากฏเป็นว่ามีผู้เทติด และตอนพระเกศสวยงามกว่าที่ตอนจะเป็น เป็นอัศจรรย์สืบถามได้ความว่า (มีชายผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาวมายกเบ้านั้นเทจนสำเร็จ) แต่ด้วยเหตุที่เบ้านั้นร้อนเมื่อเทเสร็จแล้ว ชายผู้นั้นจึงวิ่งไปทางเหนือบ้านน้ำโมงมีผู้เห็นยืนโลเลอยู่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งแล้วหายไป (หนองน้ำนั้นภายหลังชาวบ้านเรียกว่าหนองโลเลมาจนถึงปัจจุบันนี้ และชายผู้นั้นก็เข้าใจกันว่าเป็นเทวดามาช่วยสร้าง) เมื่อได้นำพระพุทธรูปที่หล่อแล้วมาประดิษฐานไว้ในวัด มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่แห่งเมืองเวียงจันทร์มาเที่ยวบ้านน้ำโมงสองท่านชื่อว่า ท่านหมื่นจันทร์ กับ ท่านหมื่นราม ทั้งสองท่านนี้ได้เห็นพระเจ้าองค์ตื้อก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสที่จะช่วยเหลือ จึงได้ช่วยกันก่อฐาน และทำราวเป็นการส่งเสริมศรัทธาของผู้สร้าง ครั้นเมื่อขุนนางทั้งสองได้กลับถึงเมืองเวียงจันทร์แล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งครองเมืองเวียงจันทร์ในเวลานั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จมาทอดพระเนตรก็ทรงเกิดศรัทธาจึงได้สร้างวิหารประดิษฐานกับแบ่งปันเขตแดนให้เป็นเขตข้าทาสบริวารของพระเจ้าองค์ตื้อดังนี้",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "126888#22",
"text": "ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง ตำบลน้ำโมง หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2105 โดยใช้ทองเหลืองและทองแดงหนัก 1 ตื้อ (ประมาณ 12,000 กิโลกรัม) แล้วหล่อเป็นส่วน ๆ โดยหล่อพระเกศเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อหล่อเสร็จประกอบเป็นองค์พระแล้วได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดโกสีย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีชมภูองค์ตื้อ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงทราบและได้เสด็จมาทอดพระเนตรแล้วเกิดศรัทธา จึงได้ทรงสร้างพระวิหารเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์ตื้อ และปันเขตแดนให้เป็นเขตของพระเจ้าองค์ตื้อพร้อมทั้งมีบริวาร 13 หมู่บ้าน",
"title": "อำเภอท่าบ่อ"
}
] | [
{
"docid": "168924#10",
"text": "ในหลักศิลาจารึกข้อที่ 1 ว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 105 นั้น ขัดต่อความเป็นจริง เพราะพระพุทธศาสนาเริ่มแพร่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 300 ล่วงแล้วเลข พ.ศ. ข้างหน้าที่ลบเลือนนั้นคงจะเป็น พ.ศ. 2150 เพราะในระหว่าง พ.ศ. 2105 อยู่ในระยะรัชสมัยของพระไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นระยะไล่เลี่ยกันกับที่พระไชยเชษฐา ได้ร่วมกับกรุงศรีอยุธยาสร้างเจดีย์ ศรีสองรักษ์ขึ้นที่อำเภอด้านซ้าย ในจังหวัดเลย ปัจจุบันนี้ก็ยังคงอยู่พอจะอนุมานได้ว่า ผู้สร้างวัดศรีชมภูองค์ตื้อ คงเป็นพระเจ้าชัยเชษฐาแน่",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#25",
"text": "ในอดีตพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์ล้านช้างผู้สร้างพระเจ้าองค์ตื้อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์\nทรงสถาปนาและทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ มากมาย พุทธศิลป์ในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากล้านนามาก รวมทั้งพระเจ้าองค์ตื้อ พระพุทธรูปทองสำริดขนาดใหญ่ที่วัดองค์ตื้อ นครเวียงจันทน์ และวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย\nสิทธิพร ณ นครพนม อธิบายไว้ในเอกสารประกอบการสัมมนาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จังหวัดหนองคายว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” พระพุทธรูปขนาดใหญ่หนัก 1 ตื้อ (ประมาณ 12,000 กิโลกรัม ตื้อเป็นมาตรวัดของคนล้านนา) ศิลปะล้านนา สร้างเมื่อพ.ศ. 2105 เชื่อกันว่า เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระนางยอดคำทิพย์ พระบรมราชชนนีของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทั้งกำหนดเป็นพระราชพิธีที่กษัตริย์เวียงจันทน์ต้องเสด็จมานมัสการ พระเจ้าองค์ตื้อทุกเดือน 4 เสด็จพร้อมขบวนช้าง ม้า มาสักการะจากวัดท่าคกเรือ อำเภอท่าบ่อถึงวัดพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ถนนนี้จึงมีชื่อว่า “จรดลสวรรค์” มาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#26",
"text": "เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาทินัดดามาศ เสด็จเป็นองค์ประธานยกช่อฟ้าขึ้นสู่วิหารประดิษฐานหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ (ม.ว.ก.) ขึ้นประดิษฐานที่หน้าบรรณของวิหารหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ และได้ทรงมอบพระนามาภิไธยของทั้งสองพระองค์จารึกลงในแผ่นศิลาหินอ่อนไว้ด้านหน้าของตัววิหารหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อด้วย\n(สามสิบล้านบาทถ้วน)\n(ห้าแสนบาทถ้วน)\n(หนึ่งล้านบาทถ้วน)\nมูลค่าการก่อสร้าง 853,000 บาท (แปดแสนห้าหมื่นสามพันบาทถ้วน)",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#5",
"text": "งานด้านสาธารณูปการ \nวัดศรีชมภูองค์ตื้อ ได้บูรณะ ซ่อมแซม ก่อสร้าง เสนาสนะ ถาวัตถุต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น วิหารประดิษฐานหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ศาลาการเปรียญพระครูสังวรกัลยาณวัตร หอพระไตรปิฎก ศาลาเอนกประสงค์ ศาลากองอำนวยการ ห้องน้ำพระภิกษุสงฆ์ กุฏิสงฆ์ ศาลาเอนกประสงค์ริมแม่น้ำโมง เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเป็นศูนย์อุทยานแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น และเป็นแหล่งสร้างบุญกุศลในทางพระพุทธศาสนา",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#3",
"text": "พลเมืองที่อยู่ในเขตข้าทาสของพระเจ้าองค์ตื้อตั้งแต่เดิมมาต้องเสียส่วยสาอากรให้แก่ทางราชการ แต่เมื่อตกเป็นข้าทาสของพระเจ้าองค์ตื้อ โดยผู้ใดประกอบอาชีพทางใดก็ให้นำสิ่งนั้นมาเสียส่วยให้แก่วัดศรีชมพูองค์ตื้อทั้งสิ้น เช่น ผู้ใดเป็นช่างเหล็กก็ให้นำเครื่องเหล็กมาเสีย ผู้ใดทำนาก็ให้นำข้าวมาเสีย ผู้ใดทำนาเกลือก็ให้เอาเกลือมาเสียทางวัดก็มีพนักงานคอยเก็บรักษาและจำหน่ายประจำเสมอ ที่ด้านหน้าของพระวิหารมีตัวหนังสือไทยน้อยหรือหนังสือลาวเดี๋ยวนี้อยู่ด้วย แต่เวลานี้เก่าและลบเลือนมากอ่านไม่ได้ความติดต่อกัน พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ฝีมือช่างฝ่ายเหนือและล้านช้างผสมกัน นับเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก เป็นพระประธานซึ่งสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 3 เมตร 29 เชนติเมตร สูง 4 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภู องค์ตื้อ ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง เคารพนับถือมาก",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#6",
"text": "การบริหารการปกครอง \nวัดศรีชมภูองค์ตื้อ มีการบริหารปกครองเป็นแบบสังฆสภา ประชาธิปไตย โดยยึดหลักธรรมาธิปไตย มีคณะกรรมการบริหาร จัดการ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อยังศรัทธาให้เกิดแก่อุบาสกอุบาสิกา พุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งใกล้และไกล ซึ่งมีพระภิกษุจำพรรษา ไม่ต่ำกว่า 15 รูป สามเณรไม่ต่ำกว่า 17 รูป ทุกปี",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#0",
"text": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 8 บ้านน้ำโมง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
},
{
"docid": "168924#13",
"text": "ในศิลาจารึกข้อ 4 ชื่อวัดว่า “วัดโกศีล”นั้นน่าจะเป็นโกสีย์มากกว่า แต่ปัจจุบันนี้ ชื่อวัดศรีชมภูองค์ตื้อ",
"title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ"
}
] |