query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 14
176
| positive_passages
listlengths 1
9
| negative_passages
listlengths 0
14
|
---|---|---|---|
3279 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท ไมโครซอฟท์? | [
{
"docid": "13548#0",
"text": "วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกา และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน",
"title": "บิล เกตส์"
},
{
"docid": "4697#4",
"text": "หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.ในขณะที่ บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา",
"title": "ไมโครซอฟท์"
}
] | [
{
"docid": "617855#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ โมบาย () เป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยเกิดจากการที่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนชื่อโนเกียเป็นไมโครซอฟท์ โมบาย ซึ่งจะเป็นในฐานะบริษัทลูก",
"title": "ไมโครซอฟท์ โมบาย"
},
{
"docid": "230186#1",
"text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
},
{
"docid": "4697#19",
"text": "27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 บิล เกตส์ ได้เลิกทำภารกิจต่างๆ ในบริษัท หลังจากบทบาทของหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ของเขาลดลงเป็นเวลากว่า 2 ปี และตำแหน่งดังกล่าวได้ถูกแทนที่โดย เรย์ โอสซีย์ แต่เขาก็ยังอยู่ในบริษัทในฐานะประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาโครงการจากนั้น วินโดวส์ วิสตา ก็ได้เปิดตัวในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 โดยมียอดการจำหน่ายวันแรกสูงถึง 140 ล้านชุดและได้เปิดตัวพร้อมกับไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 โดยมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบใหม่คือริบบอน",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "136097#0",
"text": "สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้งบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี พ.ศ. 2545) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ \"สุริโยไท\" และ \"องค์บาก\"",
"title": "สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ"
},
{
"docid": "133183#1",
"text": "นายอุเทน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สุรามหาคุณ ที่ได้สัมปทานในการผลิตและจำหน่ายสุราของโรงงานสุราบางยี่ขัน ในชื่อ “แม่โขง” และ “กวางทอง” เมื่อ พ.ศ. 2502 ก่อนจะสูญเสียธุรกิจนี้ไปจากการพ่ายแพ้การประมูลให้แก่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี นอกจากนี้นายอุเทนยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท วังเพชรบูรณ์ ผู้ก่อสร้างโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ปัจจุบัน คือ เซ็นทรัลเวิลด์)",
"title": "อุเทน เตชะไพบูลย์"
},
{
"docid": "47116#3",
"text": "ประชัยก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน มีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่จังหวัดระยอง ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ",
"title": "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"
},
{
"docid": "15635#2",
"text": "\"บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด\" จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 มีที่มาจากชื่อบิดา (มา) และมารดา (บุญครอง) ของศิริชัย บูลกุล ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ โดยในระยะเริ่มแรก ประกอบกิจการโรงสีข้าว และจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง เครื่องหมายการค้า\"มาบุญครอง\" (ต่อมาโอนกิจการไปให้บริษัทลูกคือ บมจ.ปทุมไรซมิลแอนด์แกรนารี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อนุมัติให้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2521",
"title": "เอ็มบีเคเซ็นเตอร์"
},
{
"docid": "4697#3",
"text": "อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้แถลงว่ายังเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์มีประวัติการช่วยเหลือผู้ใช้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ และรางวัลไมโครซอฟท์ เอ็มวีพี สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยเหลือลูกค้าเป็นประจำ",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "18805#2",
"text": "แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1969, โดยกลุ่มผู้บริหารเดิมจาก Fairchild Semiconductor, ประกอบด้วย เจอรี่ แซนเดอร์ เอ็ดวิน เทอร์นี่, จอห์น คาเรย, สเวน ซิมอนเซน, แจ๊ค กิฟฟอร์ด และ สมาชิก 3 คนในกลุ่มของแจ๊ค, แฟรงค์ บ๊อทเต้, จิม ไจลส์, และ แลรี่ สเตรนเจอร์.โดยที่บริษัทเริ่มผลิต ลอจิกชิป , ต่อมาจึงเข้าสู่ธุรกิจการผลิตแรมในปี 1975. และในปีเดียวกันนี้เอง พวกเขาก็เริ่มจำหน่ายสิ่งที่ได้จากการทำสถาปัตยกรรมย้อนกลับซึ่งเป็นสิ่งที่เลียนแบบมาจาก หน่วยประมวลผล Intel 8080. ในช่วงเวลานั้น,เอเอ็มดีก็ได้ออกแบบและสร้างหน่วยประมวลผลในซีรีส์ (Am2900, Am29116, Am293xx) ซึ่งถูกนำมาใช้แพร่หลายในการออกแบบวงจรของมินิคอมพิวเตอร์เวลาต่อมา, เอเอ็มดีก็พยายามที่จะทำให้โปรเซสเซอร์เล็กลง โดยการรวม AMD 29K processor, ให้เข้ากับ อุปกรณ์กราฟิกและเสียง เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบ EPROM. โดยมันเสร็จในช่วงกลางปี 1980 เรียกกันว่า AMD7910 and AMD7911 \"World Chip\" โดยเป็นอุปกรณ์แรกๆที่ ครอบคลุมทั้ง Bell และCCITT. โดย AMD 29K ยังเป็น embedded processor อีกด้วย และ เอเอ็มดี ยังแยกให้ Spansion ออกไปเพื่อสร้าง หน่วยความจำแฟลช. เอเอ็มดี ยังตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแนวทางสู้กับหน่วยประมวลผลจาก อินเทล โดยวางให้เป็นธุรกิจหลัก และให้ตลาดหน่วยความจำแฟลชเป็นตลาดรอง",
"title": "เอเอ็มดี"
}
] |
3285 | ลักษณะสืบสายพันธุ์ที่แชร์ร่วมกันระหว่างอวัยวะไวแสงทั้งหมด รวมกลุ่มโปรตีนไวแสงที่เรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "922697#10",
"text": "ลักษณะสืบสายพันธุ์ที่แชร์ร่วมกันระหว่างอวัยวะไวแสงทั้งหมด รวมกลุ่มโปรตีนไวแสงที่เรียกว่า อ็อปซิน (opsin)\nซึ่งแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม และมีอยู่แล้วในเคลด urbilaterian ซึ่งเป็น บรรพบุรุษร่วมกันหลังสุดของสัตว์ที่ข้างซ้ายขวาสมมาตรกัน (ไบลาทีเรีย)\nนอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือทางพันธุกรรมเพื่อจัดตำแหน่งตาซึ่งสามัญในสัตว์ทั้งหมด คือ ยีน PAX6 ซึ่งควบคุมว่าตาจะพัฒนาขึ้นที่ตรงไหนในสัตว์ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หมึก\nจนถึงหนูหริ่งและแมลงวันทอง",
"title": "วิวัฒนาการของตา"
}
] | [
{
"docid": "470362#1",
"text": "ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในไฟลัมย่อยนี้คือ ไม่มีกราม และไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลทอแรกซ์ และส่วนท้อง เซฟาโลทอแรกซ์เป็นส่วนที่รวมส่วนหัวและส่วนอกเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเปลือกแข็งชิ้นเดียวคลุมอยู่เรียก คาราเพช ระยางค์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยระยางคู่แรกเป็นระยางค์หนีบ ระยางค์คู่ที่ 2 คือ เพดิพาลพ์ ช่วยในการฉีกอาหาร ระยางค์อีก 4 คู่ เป็นขาเกิน ส่วนท้องไม่มีระยางค์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่",
"title": "เชลิเซอราตา"
},
{
"docid": "912582#10",
"text": "ทฤษฎีนี้เสนอว่า ลักษณะสืบสายพันธุ์เช่นนี้ช่วยให้สามารถหาผลไม้สุกได้ง่ายขึ้นในระหว่างต้นไม้ที่มีใบแก่\nงานวิจัยได้พบว่า ความต่างของสเปกตรัมระหว่างเซลล์รูปกรวยแบบ L และ M จะเป็นไปตามสัดส่วนการเห็นผลไม้ในท่ามกลางใบไม้ได้ดีที่สุด\nงานศึกษาหนึ่งตรวจสเปกตรัมของแสงสะท้อนจากผลไม้และใบไม้ที่ลิงโลกใหม่พันธุ์ \"Alouatta seniculus\" กิน แล้วพบว่า ความไวสีของเซลล์แบบ L และ M จะทำให้สามารถเห็นผลไม้ในท่ามกลางใบไม้ได้ดีสุด",
"title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต"
},
{
"docid": "996607#1",
"text": "ท่ามิชชันนารีส่วนใหญ่ได้เกี่ยวข้องกับการสอดใส่อวัยวะเพศ(Sexual penetration) หรือการร่วมเพศแบบไม่สอดใส่(จากตังอย่างเช่น การร่วมเพศระหว่างขา(Intercrural sex)) และลักษณะอวัยวะเพศชาย-ช่องคลอดเป็นตัวอย่างของกิจกรรมการสืบพันธุ์แบบเวนโทรและเวนทอล(ventro-ventral-หน้าต่อหน้า) การเปลี่ยนมาเป็นท่านี้จะช่วยเพิ่มระดับการกระตุ้นคริตอริส การทะลวงลึกของการสอดใส่ การมีส่วนร่วมบนตัวผู้หญิง และความเป็นไปได้และความเร็วของจุดสุดยอด",
"title": "ท่ามิชชันนารี"
},
{
"docid": "553365#1",
"text": "ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า\nเขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ\nสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม\nและในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait)\nคือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ",
"title": "การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง"
},
{
"docid": "38417#8",
"text": "ต่อมาการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ภายในและภายนอกกำหนดโดยฮอร์โมนสร้างจากต่อมบ่งเพศของทารกในครรภ์ (รังไข่หรืออัณฑะ) ส่งผลให้เซลล์ตอบสนองตาม อวัยวะเพศของทารกในครรภ์ตอนแรกมีลักษณะเหมือนอวัยวะเพศหญิง โดยมี \"รอยพับอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ (urogenital fold)\" คู่หนึ่งและท่อปัสสาวะอยู่ด้านหลังส่วนที่ยื่นออกมาตรงกลาง หากทารกมีอัณฑะ และหากอัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และหากเซลล์ของอวัยวะเพศตอบรับต่อเทสโทสเตอโรน รอยพับจะขยายตัวและเชื่อมต่อกันในเส้นผ่ากลางกลายเป็นถุงอัณฑะ ส่วนที่ยื่นออกมาขยายใหญ่ข้นและตั้งตรงกลายเป็นองคชาต ส่วนขยายอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะด้านในโตขึ้นห่อรอบองคชาต และเชื่อมต่อกันตรงเส้นกลางเป็นท่อปัสสาวะ",
"title": "อวัยวะเพศ"
},
{
"docid": "879375#8",
"text": "ความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่การปรับตัว ไม่สามารถอธิบายด้วยปรากฏการณ์วิวัฒนาการเบนเข้า\nและดังนั้น จึงเป็นตัวสนับสนุนที่น่าเชื่อถือสำหรับทฤษฎีการสืบเชื้อสายร่วมกันสากล\nหลักฐานเช่นนี้มาจากกรดอะมิโนและลำดับดีเอ็นเอ\nคือโปรตีนที่มีโครงสร้างสามมิติเช่นเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีลำดับกรดอะมิโนที่เหมือนกัน\nดังนั้น ความคล้ายคลึงกันที่ไม่จำเป็นของลำดับจึงเป็นหลักฐานว่าสืบทอดเชื้อสายมาร่วมกัน",
"title": "การสืบเชื้อสายร่วมกัน"
},
{
"docid": "38417#1",
"text": "มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยวะเพศ",
"title": "อวัยวะเพศ"
},
{
"docid": "400128#4",
"text": "การสืบพันธุ์มีทั้งแบบปฏิสนธิภายในและปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ตัววัยอ่อนมีรูปร่างเหมือนวัยรุ่นและตัวเต็มวัย แต่มีเหงือกและมีโครงสร้างของร่างกายบางประการที่เกี่ยวข้องกับการอาศัยอยู่ในน้ำอยู่ เช่น มีครีบหาง มีช่องเปิดเหงือก และไม่มีเปลือกตา ไม่มีกระดูกแมคซิลลา และโครงสร้างเนื้อเยื่อชั้นผิวหนังแตกต่างจากตัวเต็มวัย ซึ่งทั้งหมดนี้จะแปรสภาพเป็นของตัวเต็มวัยเมื่อวัยอ่อนเปลี่ยนรูปร่าง เพดานปากของวัยอ่อนแปรเปลี่ยนสภาพเมื่อเปลี่ยนรูปร่างเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตวครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับนี้",
"title": "ซาลาแมนเดอร์"
},
{
"docid": "879375#12",
"text": "หลักฐานสำคัญอีกอย่างก็คือมันเป็นไปได้ที่จะสร้างต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic trees) หรือ \"พงศาวลี\" ของสปีชีส์อย่างละเอียดลออ\nที่แสดงหมวดหมู่และบรรพบุรุษร่วมกันของสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด\nเช่น งานศึกษาปี 2553 วิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมที่มีอยู่โดยใช้สถิติ\nแล้วสร้างต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ ซึ่งแสดง \"หลักฐานเชิงปริมาณที่เข้มแข็ง โดยการทดสอบแบบรูปนัย สำหรับความเป็นเอกภาพของชีวิต\"\nอย่างไรก็ดี มีนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างว่าเป็น \"การทดสอบแบบรูปนัย\"\nเพราะไม่พิจารณาวิวัฒนาการเบนเข้า แม้เจ้าของงานจะได้ตอบโต้ข้อคัดค้านการใช้คำนี้\nทั่วไปแล้ว ต้นไม้เยี่ยงนี้จะสร้างโดยใช้การเปรียบเทียบทางสัณฐานวิทยา เช่น รูปร่างที่ปรากฏ สภาพของเอ็มบริโอ เป็นต้น\nแต่เร็ว ๆ นี้ ก็ยังสามารถสร้างต้นไม้ด้วยข้อมูลโมเลกุล คือเทียบความคล้ายความต่างของลำดับยีนและลำดับโปรตีน\nวิธีการเหล่านี้ทั้งหมดแสดงผลที่คล้ายกันถึงแม้ความแตกต่างของยีนจะไม่มีผลต่อสัณฐานรูปร่างภายนอก\nความเข้ากันได้ของต้นไม้ที่สร้างโดยข้อมูลต่าง ๆ จึงเป็นหลักฐานที่เข้มแข็งของการสืบทอดเชื้อสายร่วมกันที่เป็นมูล",
"title": "การสืบเชื้อสายร่วมกัน"
}
] |
3291 | สงครามกลางเมืองกาแลกติกฝ่ายใดได้รับชัยชนะครั้งแรก? | [
{
"docid": "187942#16",
"text": "กาเลน มาเรก เปลี่ยนชะตาของกาแลกซี พันธมิตรกบฏของเขาอยู่รอดและเปลี่ยนกาแลกซีไปตลอดกาล พันธมิตรกบฏนี้ชนะสงครามกลางเมืองกาแลกติกในท้ายที่สุด สาธารณรัฐกาแลกติกได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาเป็นสาธารณรัฐกาแลกติกใหม่ และต่อมาได้สถาปนาใหม่เป็นสหพันธ์กาแลกติก",
"title": "กาเลน มาเรก"
}
] | [
{
"docid": "70836#2",
"text": "ความขัดแย้งเริ่มต้นจากความไม่ลงรอยในสภากาแลกติกในช่วงสงครามโคลนที่มีต่อสมุหนายกพัลพาทีน ถึงแม้จะไม่มีการสู้รบเกิดขึ้นจากความไม่ลงรอยนี้ก็ตาม แต่ในช่วงเวลาไม่นานหลังการสถาปนาอำนาจใหม่และการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ก็เกิดการปะทะกันครั้งแรกระหว่างฝ่ายกบฏและจักรวรรดิ ในช่วงแรกจักรวรรดิเห็นว่าพวกกบฏเป็นเพียงกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ไม่มีกำลังทางทหาร แต่เมื่อลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพวกกบฏ ได้ทำลายดาวมรณะดวงแรกลงเป็นผลสำเร็จในยุทธการยาวิน กองกำลังกบฏก็เริ่มเอาจริงเอาจังมากขึ้น และจักรวรรดิก็เริ่มตระหนักว่ากองกำลังกบฏนี้เป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริง",
"title": "สงครามกลางเมืองกาแลกติก"
},
{
"docid": "11195#42",
"text": "การทัพเวอร์จิเนียเหนือ จบลงในปลายฤดูร้อนด้วยชัยชนะของฝ่ายสมาพันธรัฐในยุทธการบูลรันครั้งที่สอง\nแม็คเคลแลนแข็งขืนคำสั่งของผู้บัญชาการทัพใหญ่ เฮนรี ฮัลเล็ค ไม่ยอมส่งกองหนุนไปช่วยกองทัพเวอร์จิเนียของจอห์น โป๊ป ทำให้ฝ่ายสหภาพแพ้กองทัพของลี แม้ว่าจะมีกำลังรบรวมกันมากกว่าฝ่ายสมาพันธรัฐถึงสองเท่า ผลของความพ่ายแพ้ทำให้ นายพลจอห์น โป๊ป ถูกถอดจากการบังคับบัญชา และกองทัพเวอร์จิเนียถูกยุบไปรวมกับทัพใหญ่ ชัยชนะในศึกบูลรันครั้งที่สอง ทำให้ฝ่ายสมาพันธรัฐฮึกเหิมมาก และเตรียมทัพเพื่อขึ้นโจมตีทางเหนือครั้งแรกทันที โดยในวันที่ 5 กันยายน นายพลลีนำกองทัพเวอร์จิเนียเหนือ มีกำลังพล 45,000 นาย ข้ามแม่น้ำโพโทแม็คเข้าสู่แมรีแลนด์ ทางฝ่ายแม็คเคลแลนเมื่อได้คืนกำลังพลมาจากกองทัพของโป๊ปแล้ว ก็ยกทัพใหญ่ของสหภาพ - กองทัพโพโทแม็ค - เข้าสู้รบกับนายพลลี ในศึกแอนตีแทม ใกล้กับเมืองชาร์ปสเบิร์ก รัฐแมรีแลนด์ โดยเป็นการรบกันวันเดียวที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกามาตราบจนทุกวันนี้; แม้แม็คเคลแลนจะพลาดโอกาสที่จะรุกไล่ติดตามเพื่อทำลายกองทัพของลี \"ศึกแอนตีแทม\" ก็ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายสหภาพ เพราะเป็นยุทธการที่สามารถยับยั้งแผนการบุกขึ้นเหนือของลีเอาไว้ได้ การถอยทัพของลีเปิดโอกาสให้ ปธน. ลินคอล์นประกาศเลิกทาส\nและถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม",
"title": "สงครามกลางเมืองอเมริกา"
},
{
"docid": "11195#48",
"text": "นายพลแบร็กซ์ตัน แบร็กก์ นำฝ่ายสมาพันธรัฐเข้ารุกรานรัฐเคนทักกีครั้งที่สอง แต่จบลงด้วยชัยชนะที่ไม่มีความหมายในยุทธการเพอร์รีวิลล์ โดยแบร็กก์ต้องหยุดการรุกรานเคนทักกีและถอนกำลัง เพราะไม่มีแรงสนับสนุนจากทางสมาพันธรัฐ การทัพสโตนส์ริเวอร์สิ้นสุดลง เมื่อกองทัพของแบร็กก์พ่ายให้กับ พลตรีวิลเลียม โรสครานส์ในยุทธการสโตนส์ริเวอร์รัฐเทนเนสซี",
"title": "สงครามกลางเมืองอเมริกา"
},
{
"docid": "221996#37",
"text": "โดยทั่วไปแล้วครึ่งแรกของสงครามฝ่ายกษัตริย์นิยมเป็นฝ่ายได้เปรียบ จุดเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 ที่ทำให้สามารถกลับเข้ากรุงลอนดอนได้ นอกจากนั้นทางฝ่ายรัฐสภาก็ยังได้รับชัยชนะในยุทธการวินซบีย์ทำให้มีอำนาจในการควบคุมลิงคอล์น ในการพยายามเพิ่มจำนวนทหารในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาพระเจ้าชาลส์ก็ทรงหันไปต่อรองการยุติสงครามในไอร์แลนด์เพื่อจะได้นำกำลังทหารกลับมาต่อสู้ในอังกฤษ ขณะที่ทางฝ่ายรัฐสภาไปหาทางตกลงกับสกอตแลนด์ในการขอความช่วยเหลือ\nเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากสกอตแลนด์ รัฐสภาก็ได้รับชัยชนะในยุทธการมารสตันมัวร์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1644 ซึ่งทำให้มีอำนาจควบคุมในบริเวณยอร์คและทางเหนือของอังกฤษ การเป็นผู้นำในการสู้รบของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในยุทธการต่างๆ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสามารถของการเป็นทั้งผู้นำทั้งในทางการทหารและทางการเมือง แต่การพ่ายแพ้ของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการลอสวิเธล (Battle of Lostwithiel) ในคอร์นวอลล์เป็นการพ่ายแพ้ที่ทางฝ่ายรัฐสภาได้รับความเสียหายอย่างหนักในการต่อสู้ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ การประจันหน้าต่อมาที่ยุทธการนิวบรีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1644 แม้ว่าจะไม่มีผลแน่นอนทางการรณรงค์แต่ทางด้านการยุทธศาสตร์ฝ่ายรัฐสภาเป็นฝ่ายได้เปรียบ",
"title": "สงครามกลางเมืองอังกฤษ"
},
{
"docid": "70836#3",
"text": "การปะทะขั้นแตกหักเกิดขึ้นในยุทธการเอนดอร์ เมื่อกองยานกบฏปะทะกับกองยานจักรวรรดิและสามารถเอาชนะได้เป็นผลสำเร็จด้วยการทำลายดาวมรณะดวงที่สองและตัวจักรพรรดิเอง จากจุดนี้ทำให้จักรวรรดิเริ่มค่อยๆ เสื่อมสลายลงจนกลายเป็นเพียงเดนจักรวรรดิ เศษซากที่เหลือจากความยิ่งใหญ่ของตัวเอง สงครามจบลงในปีที่ 19 หลังยุทธการยาวิน เมื่อเดนจักรวรรดิลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งได้ปกครองตัวเองอย่างสมบูรณ์ ก่อนที่จะถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์กาแลกติกในที่สุด",
"title": "สงครามกลางเมืองกาแลกติก"
},
{
"docid": "221996#36",
"text": "ในปี ค.ศ. 1643 กองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมได้รับชัยชนะที่ยุทธการแอดวาลตันมัวร์ และได้อำนาจในการควบคุมบริเวณยอร์เชอร์เกือบทั้งหมด ทางมิดแลนด์สกองทัพฝ่ายรัฐสภานำโดยเซอร์จอห์น เจลล์ บารอนเน็ตที่ 1 เข้าล้อมและยึดเมืองลิชฟิลด์ (Lichfield) ได้ หลังจากการเสียชีวิตของผู้นำคนเดิม ลอร์ดบรุ้ค กองนี้ต่อมาสมทบกับเซอร์จอห์น เบรเรตันในการต่อสู้ในยุทธการฮอพตันฮีธที่ไม่มีผู้ใดแพ้ผู้ใดชนะเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1643 ที่เอิร์ลแห่งนอร์ทแธมตันแม่ทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมเสียชีวิต ต่อมาในการต่อสู้ทางตะวันตกฝ่ายกษัตริย์นิยมก็ได้รับชัยชนะในยุทธการแลนสดาวน์และยุทธการราวนด์เวย์ดาวน์ เจ้าชายรูเปิร์ตทรงยึดบริสตอล ในปีเดียวกันโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ก็ก่อตั้งกองทหารม้า “Ironside” ซึ่งเป็นกองทหารที่มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้นำทางการทหารของครอมเวลล์ และเป็นการทำให้ไดัรับชัยชนะในยุทธการเกนสบะระห์ในเดือนกรกฎาคม",
"title": "สงครามกลางเมืองอังกฤษ"
},
{
"docid": "70836#1",
"text": "สงครามกลางเมืองกาแลกติกเกิดขึ้นตามเวลาในท้องเรื่องระหว่างปีที่ 19 ก่อนยุทธการยาวิน ถึงปีที่ 19 หลังยุทธการยาวิน โดยเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ภายในกาแลกซีระหว่างจักรวรรดิกาแลกติกและพันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐซึ่งเป็นกองกำลังกบฏที่ต้องการจะฟื้นฟูสาธารณรัฐกาแลกติกที่ถูกจักรวรรดิเข้าแทนที่",
"title": "สงครามกลางเมืองกาแลกติก"
},
{
"docid": "11195#45",
"text": "เกตตีสเบิร์กถือเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกลางเมืองอเมริกา การเข้าชาร์จของพิกเก็ตต์ในวันที่ 3 กรกฎาคม แสดงถึงจุดพีคของศักยภาพของกำลังการรบฝ่ายใต้ ซึ่งหลังจากนั้นก็ไม่อาจกลับมามีแนวโน้มที่จะชนะสงครามได้อีก อย่างไรก็ดี นายพลจอร์จ มี้ด ล้มเหลวในการสกัดกั้นการถอยทัพของลี ปล่อยให้ลีหนีไปได้อีกครั้ง ซึ่งทำให้การทัพในฤดูใบไม่ร่วงยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ และทำให้ลินคอล์นไม่พอใจ ลินคอล์นเสาะหาผู้นำทัพคนใหม่ ในแนวรบด้านตะวนตกขณะนั้น กองกำลังป้องกันที่มั่นของฝ่ายใต้ที่ วิคสเบิร์ก ยอมจำนนต่อกองทัพปิดล้อมฝ่ายสหภาพ ทำให้ฝ่ายสหภาพสามารถเข้าควบคุมแม่น้ำมิสซิสซิปปีได้ในที่สุด ส่งผลให้ฝ่ายสมาพันธรัฐฝั่งตะวันตกถูกโดดเดี่ยว และให้กำเนิดผู้นำทัพคนใหม่ที่ลินคอล์นต้องการ: นายพลยูลิสซิส เอส. แกรนต์",
"title": "สงครามกลางเมืองอเมริกา"
},
{
"docid": "70836#12",
"text": "จุดเปลี่ยนเล็กน้อยของสงครามนั้นเกิดขึ้นในยุทธการทูร์คานา เมื่อกองทัพจักรวรรดิเข้าโจมตีกองยานกบฏ แต่กลับถูกโต้กลับด้วยยานรบใหม่ของพันธมิตรกบฏ คือยาน T-65 X-wing starfighter จากการตอบโต้ครั้งนี้เองทำให้จักรวรรดิดำเนินปฏิบัติการสไตรค์เฟียร์ ดาวเคราะห์และระบบดาวเคราะห์ที่เป็นสมาชิกของพันธมิตรกบฏอย่างรูดริก บริเกีย และโอไรออน 4 ถูกโจมตีทำลายล้างอย่างหนัก โชคยังดีที่ความผิดพลาดของนายทหารจักรวรรดิ คริกซ์ มาดีน และการเข้าเป็นพันธมิตรกับชาวซุลลุสทาน ทำให้พันธมิตรกบฏสามารถทำลายยานธงของปฏิบัติการสไตรค์เฟียร์คือยานพิฆาตดารา\"อินวินซิเบิล\"ได้เป็นผลสำเร็จ",
"title": "สงครามกลางเมืองกาแลกติก"
}
] |
3293 | ไนโตรเจนคืออะไร? | [
{
"docid": "2771#1",
"text": "ไนโตรเจนเป็นธาตุอโลหะที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี 3.0 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 5 อิเล็กตรอน ไนโตรเจนบริสุทธิ์ประกอบด้วยอะตอมของไนโตรเจน 500 อะตอม มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบรรยากาศโลก เนื่องจากมีปริมาณมากถึง 1000 เปอร์เซนต์ของแก๊สทั้งหมด ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ไนโตรเจนจะควบแน่นเป็นไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ 77 เคลวิน และแข็งตัวที่อุณหภูมิ 63 เคลวิน",
"title": "ไนโตรเจน"
},
{
"docid": "2771#0",
"text": "ไนโตรเจน () เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไนด์",
"title": "ไนโตรเจน"
},
{
"docid": "12521#1",
"text": "แหล่งกำเนิดหลักของไนโตรเจนนั้นมาจากอากาศ ซึ่งอยู่ในรูปของ N ในอากาศอยู่ประมาณ 78% ก๊าซไนโตรเจนนี้คือส่วนสำคัญในกระบวนการทางชีววิทยาหลายกระบวนการ เช่นการที่ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในกรดอะมิโน (ที่จริงแล้วคำว่า \"อะมิโน\" มาจากก๊าซซึ่งมีไนโตรเจนประกอบเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่) , เป็นองค์ประกอบในโปรตีน และเป็นสารหลักๆ ในสารทั้ง 4 ที่อยู่ในกรดนิวคลีอิกต่างๆ เช่น DNA วัฏจักรไนโตรเจนเป็นส่วนที่จำเป็นในการแปลงสภาพจากไนโตรเจนในรูปของก๊าซไปสู่รูปแบบสารที่สิ่งมีชีวิตสามารถนำไปใช้ได้",
"title": "วัฏจักรไนโตรเจน"
}
] | [
{
"docid": "530856#0",
"text": "ไนโตรเจนไดออกไซด์ () เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตรเคมี เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ของไนโตรเจนออกไซด์ เป็นระดับกลางในการสังเคราะห์อุตสาหกรรมของกรดไนตริก นับล้านตันที่ผลิตในแต่ละปี แก๊สพิษสีน้ำตาลแดงนี้มีลักษณะคมกัดกลิ่นและมลพิษทางอากาศที่โดดเด่น ไนโตรเจนใดออกไซด์เป็นโมเลกุลพาราแมกเนติก โค้งด้วย C กลุ่มจุดเชื่อมสมมาตร",
"title": "ไนโตรเจนไดออกไซด์"
},
{
"docid": "476897#0",
"text": "ไดไนโตรเจน เทโตรไซด์ หรือ ไนโตรเจน เทโตรไซด์ เป็นสารประกอบโดยมีสูตรเคมีว่า NO สารตัวนี้เป็นสารที่มีประโยชน์ในการสังเคราะห์สารเคมี มันเป็นส่วนผสมที่สมดุลกับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ไดไนโตรเจน เทโตรไซด์ เป็นออกซิไดเซอร์ที่มีประสิทธิภาพ",
"title": "ไดไนโตรเจน เทโตรไซด์"
},
{
"docid": "408616#0",
"text": "ไนโตรเจนออกไซด์ () หรือ กลุ่มก๊าซที่มี (Highly reactive gases) เป็นก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่น ๆ ในอากาศ จะเห็นคล้ายตดเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง",
"title": "ไนโตรเจนออกไซด์"
},
{
"docid": "14917#0",
"text": "ธาตุหมู่ไนโตรเจน หรือ นิโคเจน หรือ นิกโทเจน () คืออนุกรมเคมีของธาตุเคมีในหมู่ 15 ของตารางธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมเท่ากับ 5 โดยอิเล็กตรอน 2 ตัวอยู่ในวงโคจรย่อยเอส (s subshell) อีก 3 ตัวอยู่ในวงโคจรย่อยพี (p subshell) ดังนั้นธาตุเหล่านี้จึงมีอิเล็กตรอน 3 ตัวอยู่ในวงโคจรนอกสุด และ 3 ตัว ในภาวะที่อะตอมไม่อยู่ในระดับไอโอไนส์ (non-ionized state) สารประกอบของธาตุเหล่านี้ เรียกว่า นิกไทด์ (pnictides)",
"title": "นิกโทเจน"
},
{
"docid": "12521#4",
"text": "เมื่อก๊าซไนโตรเจนถูกตรึงโดยสิ่งมีชีวิต จะอยู่ในรูปแอมโมเนียมอิออน ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการสร้างสารอินทรีย์ ส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรท์ และไนเตรต โดยแบคทีเรีย \"Nitrosomonas\" และ \"Nitrobactor\" ตามลำดับ กระบวนการนี้เรียกว่าไนตริฟิเคชัน ในขณะที่ไนโตรเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์เมื่อถูกย่อยสลายจะได้แอมโมเนียมอิออนเช่นเดียวกัน",
"title": "วัฏจักรไนโตรเจน"
},
{
"docid": "408616#2",
"text": "ภาพแสดงการจับตัวของก๊าซในกลุ่มไนโตรเจนออกไซด์\nด้วยอัตราส่วนผสมที่แตกต่างในแต่ละตัวของไนโตรเจน จึงส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และก๊าซในกลุ่มนี้สามารถเคลื่อนที่ไปจากแหล่งกำเนิดได้เป็นระยะทางไกลกว่าร้อยกิโลเมตร",
"title": "ไนโตรเจนออกไซด์"
},
{
"docid": "427458#1",
"text": "แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่อย่างเป็นอิสระในดินหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้โดยไม่ต้องอาศัยคาร์โบไฮเดรตหรือแหล่งพลังงานจากพืช จุลินทรีย์พวกนี้อาศัยแหล่งพลังงานจากอินทรียวัตถุที่อยู่ในดิน ดังนั้นกิจกรรมของจุลินทรีย์พวกนี้จึงไม่ต้องการภาวะอยู่ร่วมกับพืช (non-symbiotic) ได้แก่ \"Azotobacter\" ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทดีและ \"Clostridium\" ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในสภาพอับอากาศ (anaerobic bacteria)",
"title": "แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้"
}
] |
3298 | พระธรรมวิสุทธิมงคล เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดอะไร? | [
{
"docid": "237190#0",
"text": "พระธรรมวิสุทธิมงคล นามเดิม บัว โลหิตดี ฉายา ญาณสมฺปนฺโน หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงตามหาบัว หรือ หลวงตาบัว (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุดรธานี เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) เป็นวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย ศิษย์ของพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ซึ่งมีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา",
"title": "พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)"
}
] | [
{
"docid": "952205#0",
"text": "พระมงคลศีลาจารย์ (หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดวังหว้า และอดีตเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ อดีตเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ ท่านเป็นพระที่มีอายุยืนยาว และมีเมตตาธรรมสูง ท่านพัฒนาวัดวังหว้า จนมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน และให้ความสำคัญของการศึกษากับโรงเรียนวัดวังหว้าเป็นอย่างมาก เช่น ไปตัดไม้มาเพื่อสร้างอาคารเรียน และบริจาคเงินเพื่อการศึกษาต่างๆ มากมาย",
"title": "พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ ยโสธโร)"
},
{
"docid": "119609#0",
"text": "พระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม สุวณฺโณ) (นามเดิม: กลม นิยมเดช) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอยท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ \" (พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2492) \" เป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักยิ่งรูปหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมสมัยกับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า \" (เกจิอาจารย์ยุคก่อน พ.ศ. 2500) \" ก่อนหน้าหลวงปู่ พระนิมมานโกวิท (หลวงปู่ทองดำ ฐิตวณฺโณ) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ในยุคหลัง ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านเป็นที่เลื่องลือในด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน",
"title": "พระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม สุวณฺโณ)"
},
{
"docid": "938558#0",
"text": "พระครูธรรมกิจโกวิท (หลวงพ่อยงยุทธ ธมฺมโกสโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาไม้แดง ท่านผู้ริเริ่มสร้างวัดเขาไม้แดง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองชลบุรี มีเมตตาธรรมสูง มักน้อยถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลังอาคมที่แก่กล้า นามของท่านจึงขจรขจายไปไกลทั่วภาคตะวันออก หลวงพ่อยงยุทธสังขารท่านไม่เน่าเปื่อย ทางวัดได้นำสังขารท่านเก็บไว้ในรูปหล่อยืนธุดงค์ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้สักการะตลอดไป",
"title": "พระครูธรรมกิจโกวิท (ยงยุทธ ธมฺมโกสโล)"
},
{
"docid": "131686#15",
"text": "หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท หรือพระมงคลวุฒ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ เป็นพระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒนาที่ชาวอีสานใต้ต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธากันเป็นอย่างดียิ่ง ด้วยความเป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมขั้นสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เข้มขลังในวิทยาคมศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจแก่ผู้ประสบทุกข์ร้อนเดือดร้อนทั้งหลาย",
"title": "อำเภออุทุมพรพิสัย"
},
{
"docid": "394583#0",
"text": "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตโต) (2474-2553) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวก (ธรรมชาน์) และเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ท่านเป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี",
"title": "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)"
},
{
"docid": "371441#0",
"text": "พระมงคลสุนทร (โถม กลยาโณ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย เป็นพระเกจิคณาจารย์ชาวสุโขทัย หลวงปู่โถม เป็นพระที่มีวิชาแก่กล้า เก่งทั้งทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม ทั้งยังมีความรู้ในเรื่องของการปั้นพิมพ์และการหล่อพระแบบโบราณ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลออกมาจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่นิยมแสวงหากันมากในหมู่ศิษย์ ด้วยเพราะมีพุทธานุภาพสูงด้านเมตตามหานิยม และคงกระพันแคล้วคลาด หลวงปู่โถมมีลูกศิษย์มากมายในจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดในแถบหัวเมืองภาคเหนือแทบทุกจังหวัด",
"title": "พระมงคลสุนทร (โถม กลยาโณ)"
},
{
"docid": "593139#0",
"text": "พระสุนทรธรรมประพุทธ์ (เกษร ฐานิสฺสโร) (19 ตุลาคม พ.ศ. 2481- ปัจจุบัน) พระภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะมหานิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอยางตลาดและอดีตเจ้าอาวาสวัดอร่ามมงคล อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์และเจ้าอาวาสวัดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน\nตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ(สย.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖",
"title": "พระสุนทรธรรมประพุทธ์ (เกษร ฐานิสฺสโร)"
},
{
"docid": "608464#0",
"text": "พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต) เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร",
"title": "พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)"
},
{
"docid": "28453#0",
"text": "พระเทพวิสุทธิมงคล หรือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม",
"title": "พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)"
},
{
"docid": "608622#0",
"text": "หลวงปู่เพียร วิริโย พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงตามหาบัวว่าเป็นผู้มีวัตรเรียบร้อย ปฏิบัติเอาจริงเอาจรัง ไม่มีด่างพร้อย",
"title": "หลวงปู่เพียร วิริโย"
}
] |
3299 | ในเดือนตุลาคม 1998คะระ โนะ เคียวไก นิยายชุดนี้ได้ถูกเริ่มตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์อะไร? | [
{
"docid": "218127#1",
"text": "ในเดือนตุลาคม 1998 นิยายชุดนี้ได้ถูกเริ่มตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์ ทะเคะโบวคิ () ซึ่งเป็นเว็บไซต์โดจิน ของนะสุ และ ทะเคะอุจิ โดยตีพิมพ์ลงได้เพียง 5 ตอน ส่วน 2 ตอนสุดท้ายนั้นได้ถูกตีพิมพ์และวางจำหน่ายในงาน คอมิเก็ต 56 ในเดือนสิงหาคม 1999 ก่อนที่พวกเขาจะก่อตั้งกลุ่ม ไทป์-มูน ขึ้น ในปี 2001 ได้มีการจำหน่ายตัวอย่างของ \"ซึกิฮิเมะ พลัส-ดิสก์\" ซึ่งเป็นแฟนดิกส์ของ \"ซึกิฮิเมะ\" ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนทำให้มีการทำเป็น โดจินชิ ขึ้นในงานคอมิเก็ต 61 ในวันที่ 30 ธันวาคม 2001",
"title": "คะระ โนะ เคียวไก"
}
] | [
{
"docid": "218127#2",
"text": "ในเดือนพฤศจิกายน 2002 ได้มีการวางจำหน่าย ดราม่า ซีดี ประกอบนิยายขึ้น และในวันที่ 6 สิงหาคม 2004 สำนักพิมพ์ โคดันฉะ ได้รับสิทธิ์ตีพิมพ์และวางจำหน่ายนิยาย คะระ โนะ เคียวไก ในรูปแบบจำนวนจำกัด 5000 ชุด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนจำหน่ายได้หมดตั้งแต่เริ่มวางจำหน่าย ซึ่งนิยาย \"คะระ โนะ เคียวไก\" ทั้งสองรูปแบบนั้นได้ถูกตีพิมพ์และจำหน่ายไปมากกว่า 500,000 ก๊อปปี้ ในปี 2009 Del Rey Manga ได้ประกาศว่าจะมีการตีพิมพ์นิยาย \"คะระ โนะ เคียวไก\" ลงในนิตยสาร \"Faust\" ฉบับแรก ซึ่งเนื้อหาภายในเรื่องจะเป็นเหตุการณ์คู่ขนานและเกี่ยวข้องกับ \"ซึกิฮิเมะ\" ซึ่งเป็นอีกผลงานหนึ่งของ ไทป์-มูน โดยมีตัวเอกของเรื่องคือ เรียวกิ ชิกิ ผู้มีความสามารถเช่นเดียวกันกับ โทโนะ ชิกิ ซึ่งเป็นตัวเอกใน \"ซึกิฮิเมะ\" นอกจากนั้นยังมีตัวละคร อาโอซากิ โทโกะ ซึ่งเป็นพี่สาวของ อาโอซากิ อาโอโกะ (ที่มีบทบาทใน \"ซึกิฮิเมะ\") อีกด้วย",
"title": "คะระ โนะ เคียวไก"
},
{
"docid": "218127#3",
"text": "นอกจากนั้น \"คะระ โนะ เคียวไก\" ยังได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่น จำนวน 7 ตอนอีกด้วย ซึ่งเป็นผลงานของสตูดิโอ ufotable โดยตอนแรกมีชื่อว่า \"ทิวทัศน์ที่ถูกมองข้าม\" () ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2007 ตามมาด้วยตอนที่ 2 - 6 โดยทั้งหมดมีชื่อตอนเรียงตามลำดับว่า \"ตามหาฆาตกร (ช่วงที่ 1) \" () , \"ความเจ็บปวดที่ไม่จางหาย\" () , \"อารามที่ว่างเปล่า\" () , \"เกลียวที่ขัดกัน\" () , \"บันทึกความทรงจำที่เลือนลาง\" () โดยแต่ละตอนได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่เรียงตามลำดับตอน ตอนที่ 2 เข้าฉายวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตามมาด้วย 26 มกราคม 2008, 24 พฤษภาคม 2008, 16 สิงหาคม 2008 และ 20 สิงหาคม 2008 ตามลำดับ สำหรับตอนที่ 7 \"ตามหาฆาตกร (ช่วงที่ 2) \" () ได้มีการออกฉายในปี 2009 และเนื่องจากได้มีการฉายภาพยนตร์ นิยาย \"คะระ โนะ เคียวไก\" จึงได้มีการพิมพ์ใหม่ขึ้น เป็นสามเล่ม พร้อมภาพประกอบในรูปแบบใหม่",
"title": "คะระ โนะ เคียวไก"
},
{
"docid": "229946#49",
"text": "ในประเทศไทย นิยายไลท์โนเวลกินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์ วางจำหน่ายเล่มที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ปัจจุบันตีพิมพ์ครบ 7 เล่มแล้ว ซึ่งมีชื่อเรื่องดังนี้นอกจากนี้ ยังมีฉบับนิยายของภาพยนตร์ ที่เขียนโดยโทโมฮิโตะ โอซากิเช่นเดียวกัน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่น นิยายฉบับนี้ยังไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยปัจจุบันมีการตีพิมพ์ไกด์บุ๊คกินทามะแล้ว 3 เล่ม สำหรับมังงะ 2 เล่ม และอนิเมะ 1 เล่ม ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่มแรก มีชื่อว่า \"Gintama Official Character Book - Gin Channel\" () ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตัวหนังสือประกอบด้วยข้อมูลตัวละคร บทสัมภาษณ์ฮิเดอากิ โซราจิ และสติกเกอร์ตัวละคร ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่ม 2 มีชื่อว่า \"Gintama Official Character Book 2 - Fifth Grade\" () ตีพิมพ์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเล่มที่เพิ่มข้อมูลของตัวละครใหม่เพิ่มเติมจากเล่มแรก ไกด์บุ๊คสำหรับอนิเมะมีชื่อว่า \"Gintama Official Animation Guide \"Gayagaya Box\"\" () ตีพิมพ์ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสกินทามะออกอากาศถึงตอนที่ 100 มีข้อมูลเกี่ยกวับนักพาย์ผู้พากย์เป็นตัวละครในกินทามะ",
"title": "กินทามะ"
},
{
"docid": "112565#1",
"text": "ในกลุ่ม ไทป์-มูน มีสมาชิกเพียงสองคนคือแต่ออกกลุ่มโดจินในนาม ไทป์-มูน กับ ทาเกะโบคิ ไปพร้อมๆกัน ในส่วนของเนื้อเรื่อง ผลงานโนเวลชิ้นแรกของพวกเขาคือนิยายเรื่อง \"คาระ โนะ เคียวไค\" ที่ได้ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 1999 โดยจำหน่ายแค่เพียงเนื้อเรื่องบทที่ 5-6 เท่านั้น ส่วนบทที่ 1-4 นั้นได้มีการแจกจ่ายบทเว็บส่วนตัวในเดือนตุลาคม 1998 และได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งในปี 2001 และได้รับการติดต่อซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัท คาโดคาวะ มาทำเป็นไลท์โนเวล อีกทีในปี 2004 \nในเดือนสิงหาคม ปี 1999 กลุ่ม ไทป์-มูน ได้ทำแผ่นดิสท์แจกเกี่ยวการทำวิลช่วลโนเวลของพวกเขา และในเดือนธันวาคม ปี 2000 ไทป์-มูน ได้ออกผลงานเกมวิชช่วลโนเวล เอโรเกะ \"ซึกิฮิเมะ\" สำหรับเล่นบนเครื่องPC ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากแฟนๆ เป็นอย่างดีมากและเป็นที่รู้จักกันในทันที นั่นเป็นเพราะเนื้อหาที่ชวนให้หลงใหลล้ำลึกน่าติดตาม ตามแบบฉบับของคิโนโกะ นาสุ บวกกับงานภาพที่ดูดีของทาเคอุจิ ทาคาชิ \nต่อมาซึกิฮิเมะได้ถูกนำไปสร้างเป็นแอนิเมชันในปี 2003 ภายใต้ชื่อว่า ชินเก็ตสึทัน ซึกิฮิเมะ โดย J.C.Staff และจัดจำหน่ายโดย Geneon นอกจากนั้นยังมีในรูปแบบมังงะ ซึ่งอยู่ในนิตยสาร เด็งเก็งคิ ไดโอ ของค่าย มีเดียเวิร์ค ซึ่งใช้ชื่อเหมือนกับฉบับแอนิเมชัน และได้วางจำหน่ายในปี 2004",
"title": "ไทป์-มูน"
},
{
"docid": "783910#0",
"text": "นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ หรือ นารูโตะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนินจา เขียนเรื่องและภาพโดย มะซะชิ คิชิโมะโตะ ตีพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2542 ในนิตยสาร \"โชเนนจัมป์\" ในประเทศญี่ปุ่น และจบลงในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 รวมทั้งหมด 700 ตอน 72 เล่ม หลังจากนั้นได้มีการตีพิมพ์นิยายประเภทไลต์โนเวลออกมา 2 ชุด คือชุดฮิเด็น (เปิดตำนานลับ) และชินเด็น แม้ว่านิยายแต่ละเล่มเขียนภาพโดย มะซะชิ คิชิโมะโตะ เหมือนกัน แต่นิยายแต่ละเล่มเขียนเรื่องโดยผู้เขียนต่างกัน",
"title": "นิยายนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ"
},
{
"docid": "218127#0",
"text": "คะระ โนะ เคียวไก () เป็นนิยายชุด จากประเทศญี่ปุ่น ประพันธ์โดย นะสุ คิโนะโกะ ภาพประกอบโดย ทาเคอุจิ ทะคะชิ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อเล่นว่า รัคเคียว () และในอีกชื่อว่า \"The Garden of Sinners\"",
"title": "คะระ โนะ เคียวไก"
},
{
"docid": "135195#2",
"text": "ในประเทศไทย คินดะอิจิยอดนักสืบ ตีพิมพ์โดยบลิส พับลิชชิ่ง ในหมวดหมู่ J-Suspense ตีพิมพ์ครั้งแรกเล่มที่ 1 คือฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 แปลบทประพันธุ์จากภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับเป็นภาษาไทยโดยเสวนีย์ นวรัตน์จำรุญ, ชมนาด ศีติสาร, บุษบา บรรจงมณี และรัตน์จิต ทองเปรม ปัจจุบันคินดะอิจิยอดนักสืบ ตีพิมพ์มาจนถึงเล่มที่ 32 ซึ่งถือว่าพิมพ์จนจบแล้ว (โดยบางเล่ม จะรวมคดีสั้นๆเข้าไปด้วย) สำหรับรายชื่อเล่มที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยแล้ว มีดังนี้",
"title": "คินดะอิจิยอดนักสืบ"
},
{
"docid": "622017#0",
"text": "คุโรโกะ โนะ บาสเก็ต () ชื่อไทย นายจืดพลิกสังเวียนบาส หรือ ยอดดาวรุ่ง ทีมปาฏิหาริย์ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ ทาดาโทชิ ฟูจิมากิ ตีพิมพ์ในนิตยสาร โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2550 ปัจจุบันมีฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 30 เล่ม (ญี่ปุ่น) และต่อมาถูกสร้างเป็นอนิเมะซีซันแรก ออกฉายในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2555 (ญี่ปุ่น), ซีซันสองในเดือนตุลาคม ปี 2556 (ญี่ปุ่น) และซีซันสามหรือซีซันสุดท้ายในวันที่ 10 มกราคม ปี 2557 นอกจากนี้ยังมีโอวีเอ, แฟนดิสก์ และอื่น ๆ ออกมาอีกมาก",
"title": "คุโรโกะ นายจืดพลิกสังเวียนบาส"
},
{
"docid": "150432#3",
"text": "คาโนค่อน ในฉบับมังงะ นั้นได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนเซเน็น \"\" เป็นครั้งแรกในวันที่ 27 มิถุนายน 2006 ในเครือของ โดยฉบับมังงะนั้นได้ใช้เนื้อเรื่องจากนิยายเป็นหลัก และได้ มาวาดภาพประกอบ และใน เล่มแรกก็ได้วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม 2007 และในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2007 มังงะเล่ม 3 ก็ได้ถูกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกตามออกมา \nซึ่งในไทยสำนักพิมพ์ รักพิมพ์ ได้ลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์และจำหน่ายในชื่อว่า คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด โดย เล่มที่ 1 วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2008 ขณะนี้ (มีนาคม 2011) ได้พิมพ์มังงะฉบับภาษาไทยเล่มที่ 9 ซึ่งเป็นเล่มจบออกมาแล้ว",
"title": "คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด"
}
] |
3304 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เกิดเมื่อใด ? | [
{
"docid": "50876#1",
"text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2420",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
},
{
"docid": "50876#0",
"text": "พลเอก นายพลเสือป่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (2 เมษายน พ.ศ. 2420 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำกบฏบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2476",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
}
] | [
{
"docid": "873440#1",
"text": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจำเริญ ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2393 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ พระองค์ประสูติในขณะที่พระราชบิดายังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อแรกประสูติจึงดำรงพระยศเป็น \"หม่อมเจ้าจำเริญ\" หลังจากพระราชบิดาได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วจึงเลื่อนเป็น \"พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าจำเริญ\"",
"title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจำเริญ"
},
{
"docid": "854479#1",
"text": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรเทิง ประสูติเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2372 เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู ธิดาพระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต) ภายหลังจากทรงประสูติไม่กี่วันเจ้าจอมมารดาภูก็ถึงแก่กรรม ทำให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระราชบิดาของพระองค์ต้องพระราชทานพระองค์ให้เจ้าจอมมารดาพัน เจ้าจอมมารดาของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทวงศ์ เป็นผู้ชุบเลี้ยง ชาววังในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหลายจึงขานพระองค์พระองค์ว่า \"\"พระองค์กำพร้า\"\"",
"title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรเทิง"
},
{
"docid": "153174#0",
"text": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2343 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 8 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วังหน้าในรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาสำลี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายหน้าพระองค์เดียวที่เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ข้างต้น",
"title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช"
},
{
"docid": "50876#3",
"text": "ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขตกับเจ้าแม่พิมพา กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2445 จากนั้นทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี หม่อมเจ้าบวรเดชได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462 และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
},
{
"docid": "50876#8",
"text": "ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ถือเป็นเจ้านายระดับสูงเพียงไม่กี่พระองค์ที่ไม่ถูกควบคุมองค์ไว้ในฐานะองค์ประกัน แต่ในเวลาราว 23.00 น. ของคืนวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อันป็นวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ คณะราษฎรได้ยึดกุมเอาไว้เป็นสถานที่บัญชาการ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ก็ยังได้ไปปรากฏพระองค์ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงแจ้งความประสงค์ว่า จะขอพบกับหัวหน้าคณะผู้ก่อการ เมื่อได้พบแล้ว พระองค์ท่านได้สนทนาเพียงสั้น ๆ ว่า ทำอะไรกัน ทำไมไม่บอกให้รู้กันก่อน เมื่อหัวหน้าผู้ก่อการ คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทูลตอบว่า จะให้ทรงทราบไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่สำเร็จ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช จึงกล่าวว่า เมื่อทำแล้ว ก็ขอให้ทำให้ถึงที่สุด เสร็จแล้วก็เสด็จกลับ",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
},
{
"docid": "299990#1",
"text": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี ประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2328 เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย (บ้างออกนามว่า น้อยแขก) ต่อมาพระองค์เจ้าดาราวดีได้เป็นพระชายาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ชาววังออกพระนามว่า \"เจ้าข้างใน\" หรือ \"ทูลกระหม่อมข้างใน\" มีพระโอรสหนึ่งพระองค์คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ (พ.ศ. 2363-2404) ต้นราชสกุลอิศรศักดิ์ ณ อยุธยา",
"title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี"
},
{
"docid": "873450#1",
"text": "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2405 เป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญประสูติแต่จอมมารดากรุด ทรงเป็นพระราชธิดาเพียงพระองคืเดียวที่ประสูติก่อนที่พระราชบิดาจะได้อุปราชาภิเษก เมื่อแรกประสูติจึงมีพระยศเป็น \"หม่อมเจ้าปฐมพิสมัย\" ต่อมาเมื่อพระราชบิดาได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้วจึงเลื่อเป็น \"พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย\"",
"title": "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย"
},
{
"docid": "179211#0",
"text": "นายร้อยตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2432 ปีฉลู พระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมแม้น บุนนาค สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ขณะศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมัน พระชันษา 20 ปี",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช"
},
{
"docid": "181127#1",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 1217 ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ เจ้าจอมมารดาเที่ยง มีพระพี่น้องร่วมพระอุทรได้แก่ พระองค์เจ้าโสมาวดี, พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ, พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์, พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา, พระองค์เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม, พระองค์เจ้าไชยานุชิต, พระองค์เจ้าไขแขดวง, พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช และพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ"
}
] |
3313 | ประเพณี หมายความว่าอะไร ? | [
{
"docid": "64009#1",
"text": "พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี",
"title": "ประเพณี"
},
{
"docid": "64009#0",
"text": "ประเพณี () เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ",
"title": "ประเพณี"
},
{
"docid": "64009#3",
"text": "โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแปลกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ",
"title": "ประเพณี"
},
{
"docid": "64009#2",
"text": "คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป",
"title": "ประเพณี"
}
] | [
{
"docid": "286257#0",
"text": "มรสุม (/มระสุม/) เป็นศัพท์กฎหมายไทย โดยเป็นคำพายุ หมายความว่า \"ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง\"",
"title": "อุทลุม"
},
{
"docid": "514704#0",
"text": "หมายเหตุ หรือ เชิงอรรถ คือข้อความที่วางอยู่ที่ตำแหน่งล่างสุดของหน้าในหนังสือหรือเอกสาร หรือที่ตำแหน่งจบบท จบเล่ม หรือข้อความทั้งหมด เนื้อหาของหมายเหตุสามารถใส่ความเห็นของผู้แต่งจากข้อความหลัก หรือการอ้างอิงงานเขียนที่สนับสนุนข้อความ หรือทั้งสองอย่าง การระบุหมายเหตุตามปกติกระทำโดยกำกับตัวเลขแบบตัวยกตามหลังส่วนของข้อความที่อ้างถึงหมายเหตุทันที ตัวอย่างเช่น",
"title": "หมายเหตุ"
},
{
"docid": "23385#0",
"text": "อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากล ใช้เขียนสกัดข้างหน้าและข้างหลังของ อักษร คำ วลี หรือประโยค ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ให้ดูแตกต่างจากข้อความที่อยู่รอบข้าง ลักษณะคล้ายลูกน้ำแต่เขียนไว้ข้างบน (บางภาษาเขียนไว้ข้างล่างก็มี) มักเขียนเป็นคู่เรียกว่า \"อัญประกาศคู่\" ข้างหน้าเขียนหัวคว่ำ ข้างหลังเขียนหัวหงาย ( “ ” ) หรือปรากฏเป็น \"อัญประกาศเดี่ยว\" ( ‘ ’ ) บางครั้งอาจพบการใช้ขีดตั้งเล็ก ๆ เพื่อความสะดวก ( \" \" หรือ ' ' )ถ้ามีส่วนที่เน้นซ้อนกันสองชั้น ชั้นนอกที่สุดให้ใช้อัญประกาศคู่ \"...\" ส่วนชั้นในให้ใช้อัญประกาศเดี่ยว '...' ไม่ควรใช้ซ้อนกันมากกว่าสองชั้น เพราะอาจทำให้สับสนได้ ตัวอย่างเช่น :-\nนักเรียนคนหนึ่งเล่าให้ครูฟังว่า \"ผมมีน้องชาย 2 คน เป็นเด็กช่างพูดทั้งคู่ พอเห็นผม กลับไปบ้าน น้องคนเล็ก มักพูดกับคุณแม่ว่า 'คุณแม่ครับ, พี่แป๊วกลับจากโรงเรียนแล้วครับ' แล้วแกก็วิ่งมารับผม และขอให้ผมเปิดรูปภาพในหนังสือให้แกดู\"",
"title": "อัญประกาศ"
},
{
"docid": "673358#2",
"text": "เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ที่ความรู้สึกของใครซักคน (หรืออาจจะทั้งคู่) ก้าวข้ามนิยามคำว่าเพื่อนไปมากกว่านั้นเมื่อไหร่ ก็มักจะมีสัญญาณ (Sign) อะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น อาทิเช่น คิดถึงอยากบอกให้รู้ (แต่ไม่กล้าบอก) สบตามองหน้ากันแล้วหวั่นไหว หัวใจเต้นด้วยจังหวะที่ไม่เหมือนเดิม อ่อนไหว อยากเทคแคร์เอาใจใส่ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้รู้ไว้เถอะว่า หัวใจได้ยึดอำนาจการปกครองสมองไปเรียบร้อย (รักประหาร)",
"title": "สัญญาณ (เพลงเจ็ตเซ็ตเตอร์)"
},
{
"docid": "896345#24",
"text": "อิจมาอ์ ตามความหมายพจนานุกรม หมายถึง ความมุ่งมั่นและความเห็นเป็นมติเอกฉันท์ ส่วนความหมายเชิงวิชาการด้านอิลมุลอุซูล หมายถึง มติเอกฉันท์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง\nแม้ว่าอิจมาอ์จะเป็นหนึ่งในเหตุผลทั้งสี่ข้างต้น แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นเหตุผลที่เป็นเอกเทศน์เสียเลยทีเดียว คำกล่าวของบรรดามะอ์ซูมนั้นเป็นพยานยืนยัน(ฮุจญัต) ได้ แต่อิจมาอ์สามารถเป็นพยานยืนยันได้ก็ต่อเมื่อพบความมั่นใจว่ามาจากคำกล่าวของบรรดามะอ์ซูม (อ.) ฟุกอฮาบางท่านจึงให้นิยามอิจมาอ์ว่า คือมติเอกฉันท์ของบรรดาฟะกีฮ์กลุ่มหนึ่งที่ควบคู่ไปกับบรรดามะอ์ซูม (อ.) \nประเภทของอิจมาอ์",
"title": "ตักลีด"
},
{
"docid": "28284#13",
"text": "พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้น ชั่วไก่กินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป",
"title": "หลวงปู่ขาว อนาลโย"
}
] |
3315 | ไมกา เพ็นนิแมน เริ่มต้นอาชีพนักร้อง นักแต่งเพลงเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "127331#0",
"text": "ไมเคิล ฮอลบรูค เพ็นนิแมน เจ.อาร์. () หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไมกา เพ็นนิแมน () เกิดวันที่ ที่ 18 สิงหาคม 2526 เลบานอน เติบโตในลอนดอน และปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักร้องสังกัด Casablanca Records และยูนิเวอร์ซัลมิวสิคกรุ๊ป เริ่มโด่งดังในฐานะนักร้องนักแต่งเพลงตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2006 \nหลังจากบันทึกอีพีแรกที่ชื่อ Dodgy Holiday มิคาได้ประกาศวางจำหน่ายสตูดิโออัลบั้ม Life in Cartoon Motion ภายใต้สังกัดไอส์แลนด์เรเคิดส์ ในปี 2007 อัลบั้ม Life in Cartoon Motion ทำยอดขายได้มากกว่า 5.6 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลกและทำให้มิคาได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริทอวอร์ดและรางวัลแกรมมี่ 2 ปีต่อมา มิกาวางจำหน่ายอีพีชุดที่สอง Songs for Sorrow รุ่นจำกัดจำนวนที่ขายหมดทั่วโลก และไม่กี่เดือนถัดมาสตูดิโออัลบั้มชุดต่อมา The Boy Who Knew Too Much ก็ถูกวางจำหน่ายต่อจากอีพี ขณะนี้มิคาเพื่งเสร็จจากการทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก และเตรียมงานสำหรับสตูดิโออัลบั้มชุดใหม่ ที่เขาพูดถึงว่า เป็นเพลงป็อบที่เนื้อหาเข้าใจง่าย, ไม่ซับซ้อนเหมือนกับอัลบั้มที่แล้ว มิคาจะเริ่มบันทึกเสียงในดือนมีนาคม 2554 นี้",
"title": "มิคา"
}
] | [
{
"docid": "282192#1",
"text": "เริ่มมีผลงานโดยการเป็นนักร้องเกิร์ลกรุป ภายใต้ชื่อวง มด-นุ่น-เนย สังกัด เออร์ซ่า เมเจอร์ โดยออกอัลบั้ม \"หัวหมุน\" เมื่อปีพ.ศ. 2542 ร่วมกับ เนย (พิชชาภา พงษ์พยอม) และ จิ๊บ เบญจณัฏฐ์ อักษรนันทน์(ก่อนหน้าใช้ชื่อ นุ่น กุลธิดา อักษรนันทน์) และในปี พ.ศ. 2545 ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกวงในในนามทรีจี สังกัดเมกเกอร์เฮด ในเครือแกรมมี่ มีสมาชิกทั้งหมด 3 คนคือ กัลยา จิรชัยศักดิ์เดชา, อิสรีย์ นำพาเจริญ และ จุทามาศ วชิรเขื่อนขันธ์ ส่วนเพลงที่ทำชื่อเสียงให้กับวงคือเพลง \"ห่วง\"",
"title": "กัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชา"
},
{
"docid": "379367#1",
"text": "อดีต หัวหน้านักร้องเพลงสากล ของชมรมดนตรีทียู แบนด์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการเป็นนักร้องไกด์ให้กับศิลปินในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จากนั้นก็มีผลงานออกมาในชื่อ \"สตูดิโอโตโม่\" มีเพลง \"ไม่มีสิ่งไหน\" เป็นที่รู้จัก เมื่อ รัฐ อภิรัฐ สุขจิตร์ และ ใหญ่ กิตติศักดิ์ โคตรคำ จาก Loso และ เชษฐ์ พิเชษฐ์ เครือวัลย์ จาก วายน็อตเซเว่น ได้ตั้งวงดนตรีใหม่ ชื่อ ฟาเรนไฮธ์ ทรายจึงได้เข้ามาเป็นนักร้องนำ มีเพลงฮิตๆ อย่าง ผิดไหม น้ำตาคือคำตอบ เป็นต้น ปัจจุบัน เธอได้แยกตัวออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว โดย มีเพลงประกอบละคร และ งานเพลงเก่าที่นำมาร้องใหม่ออกมาเป็นระยะ",
"title": "พิราพร พรานมนัส"
},
{
"docid": "748356#3",
"text": "แอมมี่เริ่มแต่งเพลงครั้งแรกในชีวิตตอนเรียน ป.6 เขากล่าวว่า \"ผมรักดนตรีตั้งแต่เด็ก ๆ กีตาร์นี่ถือเป็นเพื่อนสนิทที่ผมขาดไม่ได้ ผมจะพกไปไหนมาไหนด้วยตลอด เพราะเวลาว่าง ๆ ผมก็มักจะเกากีตาร์ และได้เพลงใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ\" ต่อมาได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มีโอกาสได้ทำแผ่นซีดีขายเองในงาน Fat Festival, Indy in town และอีกหลาย ๆ งาน รวมถึงลองส่งเพลงไปเปิดที่คลื่น Fat Radio ต่อมาผลงานของแอมมี่ได้เข้ารอบ Bedroom Artist of the Year ในงาน Fat Award ครั้งที่ 5 ถือเป็นจุดพลิกผันของชีวิตซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ",
"title": "ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์"
},
{
"docid": "258888#3",
"text": "นาธานเข้าสู่วงการบันเทิง ด้วยการถ่ายนู้ดแฟชั่นนิตยสารอย่างอิมเมจ ลิปส์ ป๊อบทีน จากนั้นก้าวมาเป็นศิลปินนักร้องค่ายอาร์เอส มีอัลบั้มแรกในสไตล์ป็อปร็อกที่ชื่อ \"Nathan\" ต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งจากหนังสือพิมพ์และทางโทรทัศน์ที่เชิญไปสัมภาษณ์เหตุการณ์รอดชีวิตจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ หลังจากนั้น 2 ปีออกผลงานอัลบั้มชุดที่ 2 คือ \"สิ่งที่เรียกว่าหัวใจ\" ที่มีแนวดนตรีได้กลิ่นอายของเนปาล รวมถึงในมิวสิกวิดีโอด้วยเช่นกัน จากนั้นได้เปิดบริษัททำทัวร์ไปเที่ยวประเทศเนปาล และออกผลงานเขียนหนังสือเรื่อง \"ผมมันเด็กหลังเขา (หิมาลัย)\" และ \"โลกนี้น่าอยู่ (Not A Lonely Planet)\"",
"title": "นาธาน โอร์มาน"
},
{
"docid": "211359#0",
"text": "มาร์วิน เพนต์ซ เกย์ จูเนียร์ () (2 เมษายน ค.ศ. 1939 - 1 เมษายน ค.ศ. 1984) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน สามารถเล่นดนตรีได้หลายประเภทอย่างเช่น กลอง เปียโน เขามีเสียงร้อง 3 อ็อกเทฟ เริ่มต้นอาชีพจากการเป็นสมาชิกวงแนวดู-ว็อป ที่ชื่อ เดอะ มูนโกลว์ส ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 จากนั้นออกผลงานเดี่ยวหลังจากวงแตกในปี 1960 เขาเซ็นสัญญากับค่ายโมทาวน์ ร่วมกับแทมรา หลังจากนั้น เกย์ติดอันดับศิลปินเดี่ยวขายดีที่สุดของค่ายในช่วงทศวรรษ 1960",
"title": "มาร์วิน เกย์"
},
{
"docid": "283832#1",
"text": "เริ่มแรกปริศนา พรายแสง ได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องในค่าย VIP เของเศรษฐา ศิระฉายา แต่เนื่องจากค่ายเพลงปิดตัวไปทำให้ไม่มีอัลบั้มเพลงออกมา หลังจากนั้นได้ส่งเดโมไปที่ค่ายเพลงอาร์เอส.โปรโมชั่น และผ่านการคัดเลือกให้เซ็นสัญญา โดยเริ่มผลงานแรกในวงการบันเทิงด้วยการแสดงมิวสิคซีรีส์ในอัลบั้มชุดแรกของศรราม เทพพิทักษ์ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2538 ซึ่งมิวสิคซีรีส์ดังกล่าวถูกนำมาตัดต่อเป็นมิวสิควิดีโอเพลง \"อย่าใส่ใจ\" หลังจากนั้นช่วงกลางปี พ.ศ. 2538 ได้ร้องเพลงประกอบละครเรื่องเงาราหูทางช่อง 3 ในเพลง \"คงมีสักวัน\" ซึ่งถือเป็นผลงานเพลงแรกในฐานะนักร้อง",
"title": "ปริศนา พรายแสง"
},
{
"docid": "650293#0",
"text": "เมแกน อลิซาเบธ เทรนเนอร์ () เป็นนักร้อง และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เริ่มต้นการแสดงดนตรีครั้งแรกให้กับวงท้องถิ่น และเป็นนักแต่งเพลงกับค่ายบิ๊กเยลโลด็อกมิวสิค ก่อนที่เธอจะมาจดสัญญากับค่ายเพลงอีพิกเรเคิดส์ พร้อมกับปล่อยซิงเกิล \"All About That Bass\" ที่สามารถขึ้นเป็นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 จนเธอกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย",
"title": "เมแกน เทรนเนอร์"
},
{
"docid": "167310#4",
"text": "เมื่อเข้าเป็นนักร้องในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แก้มออกซิงเกิลแรก \"ความผูกพัน (ซื้อความรักไม่ได้)\" กลางปี 2551 และออกอัลบั้มแรกชื่อ \"GAM\" ตุลาคม 2551 มีเพลงโปรโมทแรก คือ \"ไม่สวยเลือกได้\" เสมือนเป็นตัวแทนผู้หญิงที่มีความมั่นใจว่า แม้ไม่สวย แต่ก็มีสิทธิ์เลือก จากนั้นแก้มร้องเพลงประกอบละครครั้งแรก เพลง \"แสงและเงา\" ประกอบละครเงาอโศก ซึ่งได้รับรางวัล \"เพชรในเพลง\" การขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จากกรมศิลปากร",
"title": "วิชญาณี เปียกลิ่น"
},
{
"docid": "511654#3",
"text": "ด้วยความที่เติบโตมาในครอบครัวคริสเตียน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้หันมาชอบดนตรีอย่างจริงจัง เมื่อพ่อให้เริ่มเล่นกีตาร์เพื่อนำไปเล่นกับวงในโบสถ์ โดยเริ่มเรียนดนตรีมาตั้งแต่อายุ 11 ปี และตอนอายุ 15 ปี เคยประกวด TPI Star Challenge ได้ที่ 1 (ร้องเพลง \"Home\" ของธีร์-ไชยเดช) แม็กซ์เคยมีวงดนตรีร่วมกับเพื่อนชื่อวง Nick of Time นอกจากนั้นยังสามารถเล่นเปียโนได้เป็นอย่างดี และยังสามารถตีกลองชุดได้อีกด้วย แนวเพลงที่ถนัดและชื่นชอบเป็นพิเศษ คือ เพลงสากล แนว Country Blues ศิลปินในดวงใจอย่างเช่น KEANE, Mumford & Sons หรือจะเป็น Michael Bublé เจ้าของเพลง Home ที่เลือกมาร้องในรอบ The Blind Audition",
"title": "ณัฐวุฒิ เจนมานะ"
},
{
"docid": "127331#2",
"text": "ซิงเกิ้ลแรกของมิคาคือเพลง Relax, Take it easy (2006) วางจำหน่ายในรูปแบบแผ่นเสียงขนาด 7 นิ้วและดิจิตอลดาวน์โหลดจำนวนจำกัด ซิงเกิ้ลนี้ออกอากาศครั้งแรกบนสถานีวิทยุ BBC 1 ในสหราชอาณาจักร ต่อมาได้มีจำหน่ายอีพีในชื่อ Dodgy Holiday ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลดและเพลง Billy Brown สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีบนร้านค้าออนไลน์ไอทูนส์ ส่วนเพลงเก่าอย่าง Overrated ที่บันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2004 ก็ได้ถูกวางขายในร้านค้าไอทูนส์อย่างไม่เป็นทางการ",
"title": "มิคา"
}
] |
3321 | แกะโคลนตัวแรกของโลกชื่ออะไร? | [
{
"docid": "841364#0",
"text": "ดอลลี () (5 กรกฎาคม 2539 – 14 กุมภาพันธ์ 2546) เป็น แกะเลี้ยงเพศเมีย และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวแรกที่ถูกโคลนจากเซลล์โซมาติก (somatic cell) ของสัตว์โตเต็มวัย โดยใช้วิธีถ่ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer) ดอลลีถูกโคลนโดย เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) คีธ แคมป์เบล (Keith Campbell) และผู้ร่วมงาน ณ สถาบันรอสลิน (Roslin Institute) ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ PPL Therapeutics ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเอดินบะระ เงินทุนในการโคลนดอลลีมาจากบริษัท PPL Therapeutics และกระทรวงการเกษตรของสหราชอาณาจักร มันเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และตายด้วยโรคทางปอดเมื่ออายุได้ 6 ปี 7 เดือน หลายสื่อ เช่น BBC News และ \"Scientific American\" ยกย่องให้มันเป็น \"แกะดังที่สุดในโลก\"",
"title": "ดอลลี (แกะ)"
},
{
"docid": "430653#1",
"text": "คำว่า \"โคลน\" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า κλών (klōn, “กิ่ง”) โดยหมายถึง ขั้นตอนซึ่งพืชต้นใหม่สามารถถูกสร้างขึ้นจากกิ่งได้ โดยสิ่งมีชีวิที่ได้รับการโคลนตัวแรกของโลกก็คือ \"แกะ\" ชื่อว่าดอลลี่",
"title": "การโคลน"
},
{
"docid": "24736#1",
"text": "เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เช่นการโคลนนิ่ง ซึ่งการโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตครั้งแรกคือการโคลนนิ่งแกะดอลลี่\nโดยจะนำเซลล์ไข่ของแกะดอลลี่ตัวหนึ่งมาแล้วนำนิวเคลียสออก จากนั้นก็นำนิวเคลียสจากตัวต้นแบบมาใส่แทน เมื่อได้แล้วก็นำไปถ่ายฝากในครรภ์ของแกะตัวเมียอีกตัวหนึ่ง เมื่อได้ลูกแกะดอลลี่ออกมาแล้วจะมีลักษณะเหมือนตัวต้นแบบทุกประการ",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่"
}
] | [
{
"docid": "3875#72",
"text": "มนุษย์คนแรกที่ได้โคจรรอบโลกคือ ยูริ กาการิน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 1961)ref name=kuhn2006/> หากนับรวมทั้งหมดจนถึง 30 กรกฎาคม 2010 มีมนุษย์ทั้งสิ้นราว 487 คนเคยเยือนอวกาศและในจำนวนนี้ สิบสองคนเคยเดินบนดวงจันทร์ ปกติมนุษย์ในอวกาศมีเฉพาะที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเท่านั้น ลูกเรือของสถานีมีจำนวนทั้งสิ้นหกคนซึ่งจะมีการผลัดเปลี่ยนการปฏิบัติภารกิจทุกหกเดือน ระยะทางที่ไกลที่สุดที่มนุษย์เคยเดินทางออกไปจากโลกคือ โดยเกิดขึ้นในระหว่างภารกิจ อะพอลโล 13 ในปี 1970",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "841364#6",
"text": "ใน พ.ศ. 2559 นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าไม่พบข้อบกพร่องในแกะโคลนทั้งสิบสามตัว ซึ่งในนั้นมีสี่ตัวที่มาจาก เซลล์ไลน์เดียวกับดอลลี งานวิจัยแรกที่รวบรวมผลทางสุขภาพระยะยาวของการโคลน ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับโรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ นอกจากตัวอย่างไม่กี่ตัวอย่างเกี่ยวกับอาการข้ออักเสบ",
"title": "ดอลลี (แกะ)"
},
{
"docid": "303360#2",
"text": "มังกรโคโมโดเป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวโลก เมื่อพันตรีปีเตอร์ เอาเวินส์ ทหารชาวดัตช์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาและสวนพฤกษศาสตร์ชวาที่เมืองเบยเตินซอร์ค (ปัจจุบันคือโบโกร์) ได้ยินเรื่องราวของมันและต้องการข้อมูลของมัน ดังนั้นในปี ค.ศ. 1910 เขาได้ติดต่อไปยังข้าหลวงของเกาะโฟลเร็ซ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะโกโมโด ข้าหลวงซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่นคนหนึ่งรับปากว่าจะหาข้อมูลมาให้",
"title": "มังกรโกโมโด"
},
{
"docid": "451888#22",
"text": "ยานอวกาศลำแรกของมนุษย์ที่ส่งออกไปนอกโลกคือ สปุตนิก 1 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 โดยสาธารณโซเวียต-รัสเซีย (ปัจจุบันคือประเทศรัสเซีย) ทำการโคจรอยู่ในวงโคจรของโลกอยู่จนถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2501 จาการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นไปทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพบรรยากาศของโลกมากขึ้น จากนั้นมนุษย์จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศกันอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบๆ โลกราว 5,000 ดวง และมียานอวกาศขึ้นลงจำนวนมาก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเดินทางสู่อวกาศของมนุษย์มีหลายเหตุการณ์ดังตัวอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญดังตาราง\nยูริ เอ กาการิน ชาวรัสเซีย นักบินอวกาศคนแรกที่ขึ้นไปสู่วงโคจร และเดินทางรอยโลกด้วยยานวอสตอค 1 ต่อมาสหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ด้วยยานอพพอลโล 11 จากนั้นมนุษย์ได้พัฒนาโครงการยานขนส่งอวกาศขึ้นมาเพื่อการใช้งานซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการให้จรวดในการเดินทางสู่อวกาศ",
"title": "เทคโนโลยีอวกาศ"
},
{
"docid": "491858#4",
"text": "ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ได้มีการค้นพบนกอ้ายงั่วเผือกตัวแรกของโลก ที่มีทั้งตัวเป็นสีขาวล้วน บริเวณวัดห้วยจันทร์ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หลังจากนั้นอีกไม่นาน ไม่มีใครพบนกอ้ายงั่วเผือกตัวนี้ซึ่งเชื่อว่ามีเพียงตัวเดียวในโลกอีกเลย",
"title": "วงศ์นกอ้ายงั่ว"
},
{
"docid": "39780#2",
"text": "หลังจากการโคจรของยูริ กาการิน ความคิดที่จะให้มีนักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกได้เกิดขึ้นเพื่อสงครามโฆษณาชวนเชื่อระหว่างสองค่ายลัทธิ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 วาเลนตีนาก็ได้รับการคัดเลือกเป็นสตรีหนึ่งในห้าคนจากผู้สมัครสตรีมากกว่า 400 คน ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการกระโดดร่ม รวมทั้งการมีอายุต่ำกว่า 30 ปีและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 70 กิโลกรัมและที่สำคัญคือการมีพื้นเพจากชนชั้นกรรมาชีพและมีบิดาเป็นวีรชนเสียชีวิตในการต่อสู้กับพวกนาซี",
"title": "วาเลนตีนา เตเรชโควา"
},
{
"docid": "147908#8",
"text": "คันตอสที่ 1-10 : ว่าด้วยไวแนเมยเนน ตอนที่หนึ่ง บรรยายความถึงการสร้างโลก มนุษย์คนแรกของโลก การประจันหน้าระหว่าง ไวแนเมยเนน กับ โยวกาไฮเนน โยวกาไฮเนนสัญญายกน้องสาวให้แก่ไวแนเมยเนนเพื่อแลกกับชีวิตตัว ไอโน (น้องสาวของโยวกาไฮเนน) เดินไปสู่ทะเล โยวกาไฮเนนแก้แค้น ไวแนเมยเนนได้รับบาดเจ็บและลอยไปถึงดินแดน\"โปห์โยลา\" (แผ่นดินเหนือ) ไวแนเมยเนนพบกับแม่หญิงแห่งแดนเหนือ และตกลงมอบ\"ซัมโป\" ให้แก่มารดาของนางเป็นของขวัญวิวาห์ ไวแนเมยเนนหลอกให้นายช่างอิลมาริเนนไปยัง\"โปห์โยลา\" เพื่อสร้าง\"ซัมโป\"ขึ้นที่นั่น",
"title": "กาเลวาลา"
}
] |
3330 | ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คืออะไร? | [
{
"docid": "156168#0",
"text": "ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ () เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์",
"title": "ราชวงศ์แลงคัสเตอร์"
},
{
"docid": "156168#4",
"text": "ราชวงศ์แลงคัสเตอร์สืบเชื้อสายมาจากจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา กอนท์มิได้รับมรดกจำนวนมากเท่าใด แต่ไปสร้างความมั่งคั่งโดยการแต่งงานกับบลานซแห่งแลงคัสเตอร์ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากจากอาณาจักรดยุคแห่งเลสเตอร์ และอาณาจักรดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ ทำให้กอนท์กลายเป็นเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งที่สุดรองจากพระเจ้าแผ่นดิน กอนท์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “ดยุคแห่งเลสเตอร์” โดยพระนัดดาพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 และมีอิทธิพลในทางการเมืองในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เป็นอันมาก แต่หลังจากเสียชีวิต ที่ดินต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าของก็ถูกยึดคืนหมด",
"title": "ราชวงศ์แลงคัสเตอร์"
},
{
"docid": "156009#1",
"text": "เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
}
] | [
{
"docid": "156173#0",
"text": "ราชวงศ์ยอร์ค () เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค",
"title": "ราชวงศ์ยอร์ก"
},
{
"docid": "156168#1",
"text": "ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament)",
"title": "ราชวงศ์แลงคัสเตอร์"
},
{
"docid": "156009#12",
"text": "ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มขึ้นเมื่อพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดยเฮนรี โบลลิงโบรก ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกันในปี ค.ศ. 1399 ก่อนหน้านั้นรัฐบาลของพระเจ้าริชาร์ดก็ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนและขุนนางอยู่แล้ว ความตั้งใจแรกของเฮนรี โบลลิงโบรกเมื่อเดินทางกลับมาจากการลี้ภัยก็เพื่อที่จะมาอ้างสิทธิในการเป็นดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ของตนเอง แต่เมื่อมาถึงโบลลิงโบรคก็ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางส่วนใหญ่ให้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โบลลิงโบรกจึงทำการโค่นราชบัลลังก์และราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 4",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#2",
"text": "แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "155893#0",
"text": "ราชันย์เคืองแค้น เป็นมารศาสตราที่สร้างจากมุกอสูรของมารฟ้าดึกดำบรรพ เป็นตัวแทนของความแค้นเคือง โดยถึงเอาอารมณ์แค้นมาจากโจ้วอ๋องและวิญญาณ ฮ่องเต้ ราชวงศ์ซาง (อิน) ทั้ง 32 พระองค์ ในตอนครั้งที่ โจ้วอ๋องฮ่องเต้คนสุดท้ายของราชวงค์ซาง (อิน) เผาตัวเองตายใน ลานสุสานกษัติย์ เพราะทำศึกพ่ายแพ้ต่อโจวอู่อ๋อง (จีฟา) แห่งราชวงศ์โจว ถือกำเนิดโดยวัสดุประกอบเป็นเถ้าถ่านของรูปปั้นองค์กษัติย์ในราชวงค์ซาง (อิน) เกราะมงกุฏของโจ้วอ๋อง เลือดเนื้อของโจ้วอ๋อง เป็นอาวุธธาตุไฟ ที่ถูกสร้างขึ้นพร้อมคำสาปแช่งราชวงศ์โจว และราชสกุลจี ของโจวอู่อ๋อง จีฟา ที่แม้กระทั่งเจียงจื่อหยา ราชครูแห่งราชวงศ์โจวยังเกรงภัยที่อาจเกิดจากพลังแห่งความคับแค้นนี้ จึงผนึกมันไว้เขตอาคมเพื่อป้องกันมิให้อาวุธชิ้นนี้หลุดไปทำร้ายใครได้",
"title": "ราชันย์เคืองแค้น"
},
{
"docid": "123572#6",
"text": "ไข่ในปัจจุบันเป็นสมบัติของราชวงศ์โรมานอฟที่ยังเหลือรอดอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน ทั้งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เครมลินอาร์มอร์รี่ (Armoury Museum) ในกรุงมอสโก และที่ประมูลกลับมาที่จัดแสดงในมูลนิธิของเวคเซลเบิร์ก (Vekselburg) รวมถึงส่วนจัดแสดงใน (The Link of Times-Collection Russia) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กโดยจะกล่าวถึงสไตล์ความหมายที่มาวัสดุที่ใช้ในงานของแฟเบอร์เช โดยมีผลงานที่จัดแสดงในมอสโกและเซนต์ปีเตอร์เบิร์กดังนี้",
"title": "ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช"
},
{
"docid": "156009#7",
"text": "นอกจากนั้นแล้วชื่อของทั้งสองราชวงศ์ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับเมืองยอร์กและเมืองแลงแคสเตอร์ หรือเทศมณฑลยอร์กเชอร์และแลงคาเชอร์แม้ว่าการแข่งขันคริกเกตหรือรักบีระหว่างสองเทศมณฑลนี้จะใช้คำว่า “สงครามดอกกุหลาบ” ก็ตาม อันที่จริงแล้วอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องกับดัชชีแลงแคสเตอร์ส่วนใหญ่อยู่ในกลอสเตอร์เชอร์ นอร์ธเวลส์ และเชสเชอร์ ขณะที่อสังหาริมทรัพย์และปราสาทของดัชชียอร์กตั้งอยู่ทั่วไปในอังกฤษแม้ว่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภูมิภาคชายแดนเวลส์ระหว่างเวลส์และอังกฤษ",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
}
] |
3334 | ยอดของเจดีย์ชเวดากอง เคยหักลงมาเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "33487#3",
"text": "แผ่นดินไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่อยมาทำให้เจดีย์ได้รับความเสียหาย และเมื่อปี ค.ศ. 1768 ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก ทำให้ยอดของเจดีย์หักถล่มลงมา แต่ได้มีการบูรณะให้สูงขึ้นถึง ฉัตรองค์ใหม่สำหรับประดับยอดเจดีย์ได้รับการถวายจากพระเจ้ามินดง เมื่อปี ค.ศ. 1871 หลังการผนวกดินแดนพม่าตอนล่างโดยอังกฤษ แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงปานกลางในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1970 ทำให้เพลาฉัตรบนยอดองค์เจดีย์ได้รับความเสียหาย มีการสร้างโครงและซ่อมแซมครั้งใหญ่",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
}
] | [
{
"docid": "634041#3",
"text": "ในขณะที่ระบบการลดจุดเมื่อถูกโจมตีของหนึ่งชีวิตจากสองระบบอาเขดได้รับการสงวนไว้ โดยจะมีโบนัสชีวิตจำนวนมากซ่อนอยู่ตลอดทั้งเกม เมื่อจบด่าน ผู้เล่นจะเข้าสู่โบนัสสเตจโดยเขาจะกระโดดลงมาจากอาคารและปาอาวุธใส่กองทัพนินจาฝ่ายศัตรู 50 คนที่กระโดดมาจากฝั่งตรงข้ามของเขา หลังจากสิ้นสุดโบนัสสเตจ ผู้เล่นจะได้รับจุดพลังหรือชีวิตพิเศษจำนวนหนึ่ง",
"title": "ชาโดว์แดนเซอร์: เดอะซีเครตออฟชิโนะบิ"
},
{
"docid": "33487#26",
"text": "อุปปาตสันติเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเนปยีดอ เมืองหลวงของประเทศพม่า เป็นเจดีย์ที่จำลองมาจากเจดีย์ชเวดากองสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2009 โดยมีรูปแบบลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความสูงน้อยกว่าเจดีย์ชเวดากองเล็กน้อย",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#4",
"text": "เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม ค.ศ. 2012 มีเทศกาลเฉลิมฉลองประจำปีของเจดีย์ชเวดากองเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 หลังถูกห้ามโดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ที่ปกครองประเทศในขณะนั้น เทศกาลเจดีย์ชเวดากองเป็นเทศกาลเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนตะบอง (Tabaung) ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ตามปฏิทินพม่าแบบดั้งเดิม",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#22",
"text": "เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 พระภิกษุและตี่ละฉิ่น กว่า 20,000 รูป (การประท้วงครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี) ได้เดินขบวนไปยังเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ต่อมาในวันจันทร์มีประชาชนกว่า 30,000 คนและพระสงฆ์ 15,000 รูป เดินขบวนจากเจดีย์ชเวดากองและผ่านสำนักงานพรรคฝ่ายค้านของนางอองซาน ซูจี คือ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) นักแสดงตลกและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซากะนา กับ จอ ตู มีการนำอาหารและน้ำมาถวายแด่พระสงฆ์ ในวันเสาร์มีพระสงฆ์เดินทางไปทักทายนางอองซานซูจีซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมในบ้านพัก ต่อมาวันอาทิตย์มีแม่ชีจำนวน 150 คนเข้าร่วมเดินขบวน เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2007 พระสงฆ์และผู้สนับสนุน 2,000 คนขัดขืนคำขู่ของคณะผู้บริหารประเทศ เดินขบวนในถนนย่างกุ้งไปยังเจดีย์ชเวดากอง ท่ามกลางรถบรรทุกทหารและคำเตือนของ พลจัตวา มยิน มอง ไม่ให้พุทธศาสนิกชนละเมิดกฎระเบียบและข้อบังคับ",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#27",
"text": "เจดีย์ชเวดากองจำลองขนาด ณ อุทยานลุมพินี ในเมืองเบอราสตากี, จังหวัดสุมาตราเหนือ, ประเทศอินโดนีเซีย สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2010 วัสดุก่อสร้างของเจดีย์นี้ถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#12",
"text": "รัดยาร์ด คิปลิง ได้บรรยายในปี ค.ศ. 1889 ถึงการเยี่ยมชมเจดีย์ชเวดากอง อีกสิบปีต่อมาได้ลงพิมพ์ในหนังสือ \"From Sea to Sea and Other Sketches, Letters of Travel\"",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#18",
"text": "ในปี ค.ศ. 1938 คนงานเหมืองบ่อน้ำมันได้หยุดงานประท้วง และทยอยเดินทางออกจากเหมืองบ่อน้ำมันเมืองเชาะและเยนานยองบริเวณตอนกลางของพม่าไปยังเมืองย่างกุ้ง เพื่อจัดค่ายประท้วงบริเวณเจดีย์ชเวดากอง การประท้วงครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและนักศึกษา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'การปฏิวัติ 1300' เจ้าหน้าที่ตำรวจของบริติชได้สวมรองเท้าบูทบุกเข้าจู่โจมค่ายผู้ประท้วงบริเวณเจดีย์ ขณะที่ชาวพม่าล้วนต้องถอดรองเท้าก่อนขึ้นเจดีย์ทั้งสิ้น",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#23",
"text": "วันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2007 มีการปะทะกันระหว่างกองกำลังรักษาความปลอดภัยกับพระสงฆ์และผู้ประท้วงหลายพันคน มีผู้ประท้วงที่เสียชีวิตอย่างน้อย 5 รายจากกองกำลังรักษาความปลอดภัย ตามรายงานเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมอย่างสันติของพระสงฆ์จำนวนมากรอบ ๆ เจดีย์ชเวดากอง",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#25",
"text": "เจ้าหน้าผู้มีอำนาจได้ประกาศสั่งให้ฝูงชนสลายการชุมนุมประท้วง แต่พยานในที่เกิดเหตุกล่าวว่าพระสงฆ์นั่งลงและเริ่มสวดภาวนาต่อสู้กับการห้ามชุมนุมของรัฐบาลทหาร กองกำลังรักษาความปลอดภัยที่เจดีย์ได้โจมตีผู้ชุมนุม มีการทำร้ายพระสงฆ์และผู้สนับสนุนอีกหลายร้อยราย พระสงฆ์ถูกพาขึ้นไปยังรถบรรทุกโดยหน่วยงานท่ามกลางประชนหลายร้อยคนที่เห็นเหตุการณ์ มีรายงานว่าบางส่วนได้เลี่ยงและมุ่งหน้าไปยังเจดีย์ซูเลแทน ซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนสถานพุทธที่ตั้งอยู่ในใจกลางกรุงย่างกุ้ง",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
}
] |
3339 | มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งโดยใคร ? | [
{
"docid": "12651#1",
"text": "วิทยาลัยไทยสุริยะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 เป็น 1 ใน 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดย ดร.สุข พุคยาภรณ์",
"title": "มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
}
] | [
{
"docid": "342932#0",
"text": "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นหน่วยงานระดับคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเป็นไปตามปณิธานของ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาบัยศรีปทุม ที่ให้ความสำคัญดับการพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการพัฒนาบ้านเมือง คณะฯ มุ่งเน้นและพัฒนาการเรียนการสอน โดยการออกแบบ \n1 หลักสูตรใหม่ ที่มีวิธีการสอนและกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างจากสถาบันการศึกษาที่อื่น ที่เรียกว่าระบบ \"House System\"\n2 กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง พื้นที่จริง และตัวจริง หรือ สำนักงานออกแบบที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลระดับนานาชาติ ที่เรียกระบบนี้ว่า \" Firm Base Learning\"\n3 สร้างและพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะด้าน เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อส่งต่อให้กับนักศึกษา และสร้างจุดเด่นให้กับนักศึกษาที่จบไปนอกจากความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมที่เป็นพื้นฐาน รวมถึงการเรียนรู้บนพื้นที่จริงๆที่เรียนรู้ผ่านชุมชนและผู้ใช้ (users) ในชุมชนนั้นๆ ที่เรียกว่า \"Area Base Learning\"\n4 สร้างกิจกรรมทางการศึกษาและกิจกรรมที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของผู้ทำกิจกรรมนั้นๆ",
"title": "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "800674#0",
"text": "คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม () เดิมชื่อคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดสอนทั้งหมด 3 แห่งคือ \nคณะบริหารธุรกิจ มีประวัติและวิวัฒนาการควบคู่กับมหาวิทยาลัยศรีปทุมมาโดยตลอด โดยได้จัดตั้งพร้อมกับการสถาปนา “วิทยาลัยไทยสุริยะ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2515 วิทยาลัยไทยสุริยะ ได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “วิทยาลัยศรีปทุม” พร้อมทั้งทรงพระกรุณาให้ความหมายชื่อวิทยาลัยว่า “วิทยาลัยศรีปทุม” มาจากคำว่า “ศรี” กับ “ปทุม” มีความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว” และกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2515 ด้วยผลงานของการพัฒนาด้านต่างๆ และปณิธานที่แน่วแน่มั่นคง ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น “มหาวิทยาลัยศรีปทุม” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2530",
"title": "คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "12651#5",
"text": "ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีปทุมขออนุมัติทบวงมหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) จัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนานักบริหาร โดยเปิดสอนครั้งแรก ณ อาคารเอ็กซิม (อาคารบุญผ่องเดิม) ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท ต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาเปิด ณ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 17 และชั้น 20 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท เพื่อเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักบริหาร (ปัจจุบันไม่มีการสอนที่วิทยาคารพญาไทแล้ว)",
"title": "มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "856903#1",
"text": "คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษาในศาสตร์แห่งการสื่อสารมวลชน ศิลปะการแสดงและแฟชั่นดีไซน์ได้ มีความรู้ความสามารถในการนำวิทยาการนิเทศศาสตร์ไปใช้ปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง หน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ และต้องการเผยแพร่นวัตกรรมด้านวิชาชีพนิเทศศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในปีการศึกษา 2543 ได้เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และต่อมาในปีการศึกษา 2556 ได้เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น เป็นแห่งล่าสุด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมจะแบ่งสีครุยวิทยฐานะออกเป็น 2 สี ได้แก่",
"title": "คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "856915#1",
"text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ถือกำเนิดจากคณะโปลีเทคนิค ซึ่งได้รับอนุญาตจัดตั้งขึ้นเป็นคณะเริ่มต้นพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2513 ในระยะแรกเปิดดำเนินการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ดังนั้น คณะโปลีเทคนิค จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพการจัดการศึกษาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน",
"title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "342932#1",
"text": "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งขึ้นและดำเนินการสอน \"หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต\" (สถ.บ.) สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมี ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ ราชบัณฑิต เป็นคณบดีคนแรก เพื่อผลิตสถาปนิกที่มีความสามารถ และมีทักษะทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ระดับสากล เป็นผู้ใฝ่รู้ มีจินตนาการสูง มีจรรยาบรรณ และคุณธรรมสามารถสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมที่ดี สนองประโยชน์ใช้สอย และเหมาะกับสภาพแวดล้อม มีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงถึงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย และได้รับการรับรองหลักสูตรโดยทบวงมหาวิทยาลัย (สกอ.ในปัจจุบัน)ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536",
"title": "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "856915#0",
"text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม () เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 เพื่อทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์",
"title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "12279#1",
"text": "นีสรมหาวิทยาลัยกรุงเทพถือกำเนิดขึ้น จากการก่อตั้ง \"วิทยาลัยไทยเทคนิค\" () ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยสุรัตน์ และปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (เจ้าของกิจการกลุ่มโอสถสภา) ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของทั้งสอง ภายในซอยบ้านกล้วยใต้ ริมถนนพระรามที่ 4 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตกล้วยน้ำไท) ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นถนนลูกรังอยู่ แต่เป็นย่านค้าขายของเหล่าบรรดานายห้างต่างชาติ รวมถึงท่าเรือสินค้าที่คลองเตยด้วย\nต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ผู้บริหารเปลี่ยนชื่อสถาบันแห่งนี้เสียใหม่เป็น \"วิทยาลัยกรุงเทพ\" () แต่เนื่องจากเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก ที่เปิดสอนในระดับปริญญา ผู้บริหารจึงขอความร่วมมือทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสัน (Fairleigh Dickinson University) สหรัฐอเมริกา ให้เป็นผู้รับรองวิทยฐานะของปริญญา โดยในสมัยนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกรุงเทพ จะมีปริญญาสองใบคือ จากวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสันด้วย",
"title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"
},
{
"docid": "961268#0",
"text": "คณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม () เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2561 เป็นคณะวิชาที่สามารถเลือกเรียนได้ทุกวิชาที่เปิดสอนภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้",
"title": "คณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
},
{
"docid": "6858#14",
"text": "เป็นหน่วยงานบริการทางวิชาการมีฐานะเทียบเท่าคณะ มีประวัติการก่อตั้งสำนักคอมพิวเตอร์ ก่อตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เริ่มต้นจากการเป็น “ศูนย์บริการการศึกษาและประมวลผลไมโครคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา” ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาเขต ได้อนุมัติให้ใช้เงินสำรองของมหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้น เป็นโครงการเงินทุนหมุนเวียน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์คอมพิวเตอร์มศว สงขลา” และ “ศูนย์คอมพิวเตอร์ มศว ภาคใต้” ตามลำดับการดำเนินงานใช้รูปแบบคณะกรรมการดำเนินการประจำศูนย์คอมพิวเตอร์และดำเนินงานด้วยค่าใช้จ่ายจาก เงินงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย",
"title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ"
}
] |
3352 | สิงโตปรากฏตัวในทวีปยุโรปครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "11219#2",
"text": "สิงโตเป็นสปีชีส์ในสกุล \"Panthera\" และเป็นญาติใกล้ชิดกับสปีชีส์อื่นในสกุลเดียวกันคือ: เสือโคร่ง เสือจากัวร์ และเสือดาว \"Panthera leo\" มีวิวัฒนาการในทวีปแอฟริการะหว่าง 1ล้านถึง 800,000 ปีมาแล้ว ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคซีกโลกตอนเหนือ สิงโตปรากฏตัวในทวีปยุโรปครั้งแรกเมื่อ 700,000 ปีก่อน ซึ่งมีการค้นพบสิงโตชนิดย่อย \"Panthera leo fossilis\" ที่อีแซร์เนีย (Isernia) ในประเทศอิตาลี จากสิงโตชนิดนี้ก็กลายเป็นสิงโตถ้ำ (\"Panthera leo spelaea\") ในภายหลัง ปรากฏตัวขึ้นเมื่อ 300,000 ปีมาแล้ว ระหว่างปลายสมัยไพลสโตซีน สิงโตได้แพร่กระจายสู่อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้และวิวัฒนาการเป็นสิงโตอเมริกา (\"Panthera leo atrox\") สิงโตได้สูญหายไปจากตอนเหนือของทวีปยูเรเชียและทวีปอเมริกาในช่วงจุดจบของการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งที่สองของมหพรรณสัตว์ (megafauna) ในสมัยไพลสโตซีน",
"title": "สิงโต"
}
] | [
{
"docid": "354530#2",
"text": "สิงโตบาร์บารีในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกล่าเมื่อปี ค.ศ. 1922 ในบริเวณเทือกเขาแอตลาส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการเลี้ยงสิงโตสายพันธุ์นี้อยู่โรงแรม หรือคณะละครสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป ในช่วงยุคกลางมีการเลี้ยงสิงโตบาร์บารี่ในบริเวณหอคอยลอนดอน ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการย้ายสิงโตออกจากหอคอยลอนดอนไปยังสวนสัตว์ลอนดอน โดยสิงโตบาร์บารี่ตัวที่มีชื่อเสียงที่สุด ชื่อ สุลต่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนในปี ค.ศ. 1896",
"title": "สิงโตบาร์บารี"
},
{
"docid": "11219#10",
"text": "มีรายงานถึงสิงโตเพศผู้ที่ไม่ปรากฏขนแผงคอในประเทศเซเนกัลและอุทยานแห่งชาติซาโวตะวันออกในประเทศเคนยา และสิงโตขาวเพศผู้ตัวแรกเริ่มจากทิมบาวัตติ (Timbavati) นั้นก็ไม่มีแผงคอด้วยเช่นกัน ฮอร์โมน เทสโทสเตอโรนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญของขนแผงคอ ดังนั้นสิงโตที่ได้รับการทำหมันนั้นบ่อยครั้งที่มีแผงขอเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เนื่องจากไปการนำเอาต่อมบ่งเพศที่เป็นแหล่งสร้างเทสโทสเตอโรนออกไป สิงโตที่ไม่มีขนแผงคออาจพบในประชากรสิงโตที่มีการผสมพันธุ์ในเชื้อสายที่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการเจริญพันธุ์ต่ำ",
"title": "สิงโต"
},
{
"docid": "109962#4",
"text": "ลัทธิสโตอิก เริ่มปรากฏในเอเธนส์ในยุคเฮลเลนิก ประมาณ พ.ศ. 242 โดยการเริ่มต้นของเซโน แห่ง ซิติอุม ซึ่งทำการสอนในสโตอา พออิไคล์ (เฉลียงประดับภาพเขียน) อันมีชื่อเสียง ที่ซึ่งกลายเป็นชื่อของลัทธิในเวลาต่อมา หัวใจของคำสอนของเซโนอยู่ที่ว่ากฎของศีลธรรมอยู่คู่กับธรรมชาติ ในช่วงเริ่มต้นเผยแพร่ ลัทธิสโตอิกโดยทั่วไปยังเป็นเพียงขบวนการกลับสู่ธรรมชาติที่ต้านการเชื่อโชคลางและสิ่งต้องห้าม ปรัชญญาของการไม่ร่วมแนวยังเกี่ยวพันถึงความเจ็บปวดและความโชคร้าย รวมทั้งความมีชีวิตและความตาย เซโนมักท้าทายข้อห้าม ธรรมเนียมและประเพณี คำสอนอีกอย่างหนึ่งของลัทธิสโตอิกได้แก่การเน้นให้ทุกคนมีความรักในทุกสิ่ง",
"title": "ลัทธิสโตอิก"
},
{
"docid": "11219#29",
"text": "สิงโตถูกกำจัดหมดสิ้นไปจากปาเลสไตน์ในสมัยกลาง และจากส่วนที่เหลือของทวีปเอเชียหลังจากการมาถึงของอาวุธปืนที่พร้อมใช้งานในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 สิงโตได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 สิงโตหายไปจากประเทศตุรกีและพื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่ของประเทศอินเดีย ขณะที่ มีการพบเห็นสิงโตอินเดียที่ยังมีชีวิตครั้งสุดท้ายในประเทศอิหร่านในปี ค.ศ. 1941 (ระหว่างชีราซและจาห์รอม (Jahrom) จังหวัดฟาร์ส) แม้ว่ามีการพบศพสิงโตตัวเมียบนฝั่งแม่น้ำการูน (Karun river) จังหวัดคูเซสตาน (Khūzestān) ในปี ค.ศ. 1944 ต่อมาไม่มีรายงานที่เชื่อถือได้จากประเทศอิหร่านอีก สิงโตอินเดียหลงเหลือแค่เพียงในและรอบป่ากีร์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียเท่านั้น มีสิงโตราว 300 ตัวอาศัยในพื้นที่เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า ในรัฐคุชราต ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของป่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเป็นไปอย่างช้าๆ",
"title": "สิงโต"
},
{
"docid": "746761#3",
"text": "ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน",
"title": "ประวัติศาสตร์สิงคโปร์"
},
{
"docid": "37665#7",
"text": "มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ (\"Homo sapiens\") รุ่นแรก (เช่น โคร-มาญง) ปรากฏขึ้นตั้งแต่ 15,000 ปีมาแล้ว ส่วนมนุษย์สองพวกแรกที่เกิดขึ้นก่อนนั้นก็เริ่มสูญพันธุ์ไป จนเมื่อ 3,700 ปีมาแล้ว คาบสมุทรไอบีเรียก็เริ่มเข้าสู่ยุคหินกลาง มนุษย์สมัยนี้รู้จักการทำเกษตรกรรมมากขึ้น ส่วนวิถีชีวิตที่เร่ร่อนของชนเผ่าค่อย ๆ ลดลงเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไปถึงประมาณ 3,000 ปี-2,500 ปีมาแล้ว จึงปรากฏชุมชนที่มีวัฒนธรรมแบบยุคโลหะ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองที่วัฒนธรรมแก้วทรงระฆัง (Bell-Beaker culture; \"Cultura del Vaso Campaniforme\") ได้เกิดขึ้นและเจริญต่อมาในช่วงปลายยุคทองแดงต่อต้นยุคสำริด",
"title": "ประวัติศาสตร์สเปน"
},
{
"docid": "305249#7",
"text": "แรดอินเดีย เชื่อว่าปรากฏขึ้นในดินแดนยูเรเชียครั้งแรกในช่วงปลายยุคอีโอซีน (33.5-37 ล้านปีก่อน) และแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ในยุคเพลอิสโตซีน (1-2 ล้านปีก่อน) หลังจากที่สัตว์กลุ่มแรดมีวิวัฒนาการขึ้นเมื่อประมาณ 60-65 ล้านปีก่อน หรือในยุคอีโอซีนจากกลุ่มสัตว์เท้ากีบคี่",
"title": "แรดอินเดีย"
},
{
"docid": "472975#3",
"text": "การสำรวจกล้วยไม้ในไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ. 2310-2325) โดยนักสำรวจชาวเดนมาร์กชื่อ Johann Grhard Kӧnig เดินทางมาสำรวจพรรณพืชในไทย ซึ่งครั้งนั้นได้พบกล้วยไม้ 24 ชนิด และ ในจำนวนนั้นมีกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาอยู่ 3 ชนิด คือ\nในจำนวนนี้ชิ้นที่ 17 คือ Epidendrum flabellum veneris หรือ Bulbophyllum flabellum veneris ในปัจจุบัน เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของโลก และเป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้สิงโตกลอกตาครั้งแรกของไทยอีกด้วย ส่วน Epidendrum longiflorum ต่อมามีชื่อว่า Bulbophyllum vaginatum และ Epidendrum sessile มีชื่อว่า Bulbophyllum clandestinum \nการสำรวจพรรณไม้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่ยอดดอยสุเพท จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตัวอย่างพืชราว 20,000 ชิ้น ในจำนวนนั้นมีสกุลสิงโตกลอกตารวมอยู่ด้วย ส่วนหนึ่งได้รับการจำแนกชื่อพฤกษศาสตร์และเก็บเป็นหลักฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืช สวนพฤกษศาสตร์คิวหรือสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว ประเทศอังกฤษ อีกสวนหนึ่งคงเก็บไว้ในไทยที่พิพิธภัณฑ์พืช กรมวิชาการเกษตร แม้บางส่วนไม่สามารถตรวจสอบชื่อพฤกษศาสตร์ได้ แต่ยังคงเก็บรักษาชิ้นตัวอย่างไว้เป็นหลักฐานสำคัญ หลังจากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1958-1965 เอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ของไทยก็ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก คือ “ The Orchids of Thailand : A Preliminary List ” จัดทำโดยสยามสมาคม ซึ่งเป็นการศึกษาร่วมกันของศาสตราจารย์ Gunnar Seidenfaden และศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ โดยตีพิมพ์เป็น 4 ฉบับ เป็นหนังสือที่กล่าวสรุปเบื้องต้นถึงการสำรวจกล้วยไม้ป่าในไทย รวมถึงสกุลสิงโตกลอกตาด้วย หลังตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ Gunnar Seidenfaden ได้นำตัวอย่างกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาทั้งหมดมาศึกษาเพิ่มเติม และตีพิมพ์อีกครั้งในวารสารทางพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อว่า DANSKBOTANISK ARKIV ปี ค.ศ 1979 เรื่อง “Orchid Genera in Thailand VII, Bulbophyllum Thou.” ซึ่งมีกล้วยม้ที่สามารถตรวจสอบจนได้ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง หลายชนิดตั้งขึ้นเป็นสิงโตกลอกตาชนิดใหม่ของโลก รวมทั้งสิงโตกลอกตาที่ระบุว่า B. sp. GT 2821 เก็บตัวอย่างจากดอยหลวงเชียงดาวก็ตั้งเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของด้วยเช่นกัน โดยบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์ว่า “Bulbophyllum trivial” หรือที่รู้จักในชื่อ “สิงโตแคระเชียงดาว”",
"title": "สิงโตกลอกตา"
},
{
"docid": "122446#1",
"text": "ยีนส์เริ่มมีครั้งแรกที่เมืองเจโนวา เมืองท่าของประเทศอิตาลี โดยจุดประสงค์เพื่อกะลาสีชาวเจนัว ไว้ใส่เพื่อรองรับต่อสภาพแห้งหรือเปียกได้ดี และสามารถถกขากางเกงได้ขณะอยู่บนดาดฟ้าเรือ \nผ้ายีนส์ที่ทำขึ้นมาในนครเจโนอา กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งทางประเทศอังกฤษสั่งนำเข้าผ้าชนิดนี้ ด้วยความทึ่งในความทนทาน และเรียกผ้านี้รวมๆว่า Fustian ซึ่งแปลว่าผ้าสีเนื้อหยาบ ต่อมาระหว่างที่เรือขนส่งสินค้าเดินทางจากอิตาลีมาอังกฤษ ต้องผ่านประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคนเมืองเรียกเมืองเจนัวว่า แชน (Gênes) และเรียกสินค้าจากเจนัวว่า ชีน (Jene) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น ชอง (Jean) พอมาถึงอังกฤษ ชาวอังกฤษจะอ่านคำว่า Jean ว่า จีน หรือยีน เช่นเดียวกับคนอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อคนนำผ้ายีนส์นี้ไปตัดกางเกง ก็ต้องเป็นคำที่เติม s จึงเรียกว่า Jeans ยีนส์",
"title": "ยีนส์"
}
] |
3355 | เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เป็นบุตรของใคร? | [
{
"docid": "118510#0",
"text": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ () หรือ เจ้าชายเฮนรี ชาลส์ อัลเบิร์ต เดวิด (; ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2527) ทรงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เจ้าชายแฮร์รี () เป็นพระโอรสพระองค์เล็กในเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์และไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พระองค์ทรงอยู่ในอันดับที่ 6 ของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษและดินแดนในเครือจักรภพอังกฤษ",
"title": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์"
}
] | [
{
"docid": "118510#5",
"text": "เจ้าชายแฮร์รีประสูติเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 ณ โรงพยาบาลเซนต์แมรี เขตแพดดิงตัน ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน และได้ทรงเข้ารับบัพติศมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ในปีเดียวกัน ณ โบสถ์เซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์ จากดร. โรเบิร์ต รันซี อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี โดยมีพระบิดาและพระมารดาทูนหัว คือ ดยุกแห่งยอร์ก พระปิตุลา เลดีซาราห์ แชตโต เลดีเวสทีย์ นางวิลเลียม บาร์โธโลมิว ช่างเขียนภาพเหมือนประจำราชวงศ์ นายไบรอัน ออร์แกน และ นายเจอรัลด์ วอร์ด\n \"แฮร์รี\" (Harry) เป็นชื่อลำลองตามธรรมเนียมของบุคคลที่ชื่อ \"เฮนรี\" (Henry)",
"title": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์"
},
{
"docid": "118510#4",
"text": "ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 มีการประกาศว่าเจ้าชายแฮร์รีทรงหมั้นกับเมแกน มาร์เกิลแล้ว พระราชพิธีเสกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เช้าวันนั้นเอง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงสถาปนาเจ้าชายเฮนรี เป็น เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์",
"title": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์"
},
{
"docid": "85657#9",
"text": "วิกตอเรีย → เอ็ดเวิร์ดที่ 7 → จอร์จที่ 5 → เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์\nดยุกแห่งกลอสเตอร์ (เจ้าชายริชาร์ด; \"ประสูติ\" 26 สิงหาคม พ.ศ. 2487) พระโอรสในเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์\nอเล็กซานเดอร์ วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์ (\"เกิด\" 24 ตุลาคม พ.ศ. 2517) พระโอรสในดยุกแห่งกลอสเตอร์\nแซน วินด์เซอร์ ลอร์ดคัลโลเดน (\"เกิด\" 12 มีนาคม พ.ศ. 2550) บุตรชายของเอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์\nเลดี้ โคซิมา วินด์เซอร์ (\"เกิด\" 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) บุตรสาวของเอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์\nเลดี้ ดาวินา ลิวอิส (\"เกิด\" 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520) พระธิดาองค์โตในดยุกแห่งกลอสเตอร์\nเทน ลิวอิส (\"เกิด\" 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) บุตรชายของเลดี้ ดาวินา ลิวอิส\nเซนนา ลิวอิส (\"เกิด\" 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553) บุตรสาวของเลดี้ ดาวินา ลิวอิส\nเลดี้ โรส กิลแมน (\"เกิด\" 1 มีนาคม พ.ศ. 2523) พระธิดาองค์เล็กในดยุกแห่งกลอสเตอร์\nรูฟัส กิลแมน (\"เกิด\" พ.ศ. 2555) บุตรชายของเลดี้ โรส กิลแมน\nไลลา กิลแมน (\"เกิด\" 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) บุตรสาวของเลดี้ โรส กิลแมน",
"title": "ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "916090#0",
"text": "เจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต์ ()\nเจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ทรงเป็นพระบุตรพระองค์ที่ 4 และพระโอรสพระองค์ที่ 2 ใน เจ้าชายเฮนรี เคานต์แห่งปารีส (ประสูติ พ.ศ. 2476) และ ดัชเชสมาเรีย-เทเรซาแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค พระชายาพระองค์แรก โดยพระองค์ทรงเป็นรัชทายาทในการสืบพระอิสริยยศ เคานต์แห่งปารีส ดยุกแห่งฝรั่งเศส แทนที่ เจ้าชายฟร็องซัว เคานต์แห่งเคลมอนต์ พระเชษฐาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา",
"title": "เจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต์"
},
{
"docid": "118510#3",
"text": "เจ้าชายเฮนรีนั้น จัดอยู่ในลำดับที่ 2 ของบรรดาเยาวราชนิกุลที่ทรงได้รับความนิยมมากสุดในโลก",
"title": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์"
},
{
"docid": "854065#0",
"text": "เจ้าชายเฮนรีแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชสวามี ดยุคเแห่งเม็คเล็นบูร์ก-ชเวริน (, ) () ทรงเป็นเจ้าชายพระราชสวามีแห่งเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นพระราชสวามีใน สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ทั้ง 2 มีพระราชธิดาร่วมกันเพียงพระองค์เดียว คือเจ้าฟ้าหญิงยูเลียนา ต่อมาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์",
"title": "ดยุกเฮนดริกเแห่งเม็คเล็นบูร์ก-ชเวริน"
},
{
"docid": "118510#2",
"text": "พระอิสริยยศเดิมในแบบเต็มของเจ้าชายแฮร์รีคือ เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince Henry of Wales) แม้ว่ามีพระนามเรียกโดยทั่วไปว่า เจ้าชายแฮร์รี พระองค์ทรงใช้นามสกุล \"เวลส์\" เช่นเดียวกับพระเชษฐา เมื่อทรงเข้ารับการฝึกอบรมทางทหาร ราชสกุลแบบทางการของพระองค์คือ \"วินด์เซอร์\" ตามพระบรมราชโองการของพระอัยยิกาในปี พ.ศ. 2503 แต่เชื้อสายของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 บางพระองค์ดูเหมือนจะใช้ราชสกุล \"เมานต์แบ็ตเต็น-วินด์เซอร์\" ให้เป็นสิทธิเฉพาะบุคคล",
"title": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์"
},
{
"docid": "174017#0",
"text": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์ (\"เฮนรี วิลเลียม เฟรเดอริค อัลเบิร์ต\" \"ประสูติ\" 31 มีนาคม พ.ศ. 2443 \"สิ้นพระชนม์\" 10 มิถุนายน พ.ศ. 2517) พระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีมารี เป็นพระราชอนุชาในพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์คือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6",
"title": "เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์"
},
{
"docid": "279372#0",
"text": "เจ้าฟ้าชายเซบัสเตียง อ็องรี มารี กีโยมแห่งลักเซมเบิร์ก (ประสูติ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 ลักเซมเบิร์ก) พระบุตรองค์ที่ 5 และองค์เล็กในแกรนด์ดยุกอ็องรีที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก กับแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก พระบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์คือ แกรนด์ดยุกกีโยม รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก กับอาร์คดัชเชสแอสตริดแห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าหญิงแห่งเบลเยียม",
"title": "เจ้าชายเซบัสเตียงแห่งลักเซมเบิร์ก"
}
] |
3363 | ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองมีเนื้อที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "5761#2",
"text": "ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ทดม.) ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 24 กิโลเมตร ดอนเมืองได้รับการขยายพื้นที่ตลอดมา โดยการขอซื้อที่ดินของกรมรถไฟหลวงที่มีพื้นที่ติดต่อกับสนามบินดอนเมืองบ้าง และซื้อจากเอกชนบ้าง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2538 พื้นที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 3,881 ไร่ โดยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ที่ดิน และการบริการอากาศยานพาณิชย์อย่างเป็นทางการ คือ กองทัพอากาศไทย และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)",
"title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง"
},
{
"docid": "5761#4",
"text": "พื้นที่สนามบินดอนเมืองในสมัยเริ่มแรก จากการสำรวจเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 มีพื้นที่ 1,770 ไร่ พื้นดินเป็นสนามหญ้า มีผิวดินชนิดดินปนทรายแดง เครื่องบินขนาดใหญ่ของสายการบินพาณิชย์ไม่สามารถจะใช้ขึ้นลงได้ในฤดูฝน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลจึงอนุมัติให้กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันดำเนินการสร้างทางวิ่งเป็นคอนกรีตและลาดยางแอสฟัลต์ พร้อมกับให้สร้างถนนเชื่อมระหว่างสนามบินดอนเมืองกับพระนคร (ถนนพหลโยธิน) ทางวิ่งดังกล่าวแล้วเสร็จเรียบร้อยเปิดใช้การได้ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2478",
"title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง"
}
] | [
{
"docid": "5761#0",
"text": "ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี",
"title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง"
},
{
"docid": "5761#12",
"text": "ปัจจุบันเที่ยวบิน XJ620/XJ621 นาอากาศยานหมายปลายทางที่ใช้ระยะเวลาเดินทางนานที่สุดและไกลที่สุดของท่าอากาศยานดอนเมืองในการให้บริการเชิงพาณิชย์นานาชาติดอนเมือง มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538",
"title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง"
},
{
"docid": "59536#0",
"text": "ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต หรือ สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ เหนือสุดของเกาะภูเก็ตเป็นท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่สามของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศ บินมาลงทุกวัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมาตรฐานทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 222 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 32 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 94,800 ตารางเมตร แท๊กซี่เวย์ 8 จุด ทิศเหนือเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นสวนยางพารา ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6,500,000 คนต่อปี โดยในปี พ.ศ. 2557 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะขยายสนามบินแห่งนี้ ซึ่งจะช่วยให้สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12,500,000 คนต่อปี ปัจจุบันส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแห่งใหม่ได้เปิดใช้บริการแล้ว ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ต รับผู้โดยสารทั้งหมด 25 ประเทศทั่วโลก ได้แก่",
"title": "ท่าอากาศยานภูเก็ต"
},
{
"docid": "1919#74",
"text": "แต่ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลได้มีมติให้ท่าอากาศยานดอนเมืองกลับมาเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์อีกครั้งหลัง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มัลดีฟส์ พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน อินเดีย กัมพูชา ฮ่องกง มาเก๊า ประเทศฟิลิปปินส์ และ ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานดอนเมืองรับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ประเทศเนปาล ต่อมาวันที่ 14 ธันวาคม 2561รับเที่ยวบินไปประเทศศรีลังกาเป็นประเทศล่าสุดในการให้บริการรวม 15 ประเทศ",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
},
{
"docid": "32263#8",
"text": "ถนนสายรองในพื้นที่ได้แก่\nทางน้ำมีคลองถนน คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร คลองตาอูฐท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง 24 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี\nเกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน\nเริ่มมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหารของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน",
"title": "เขตดอนเมือง"
},
{
"docid": "63591#17",
"text": "ภายหลังเหตุการณ์ปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง รัฐบาลได้เห็นความจำเป็นในการเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา–พัทยา ให้มากขึ้น จึงได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยใช้รูปแบบใกล้เคียงกับท่าอากาศยานพิษณุโลก เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด อาคารเหล่านี้จะเริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2558 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2563",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)"
},
{
"docid": "5761#1",
"text": "เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศมัลดีฟส์ ฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ มาเก๊า ประเทศเนปาล และล่าสุดประเทศศรีลังกา รวม 15 ประเทศ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศสำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองมีเที่ยวบินภายในประเทศบริการบินไปกลับ จาก ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ซึ่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว ใน 13 จังหวัดดังกล่าวมีเที่ยวบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น",
"title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง"
},
{
"docid": "899170#0",
"text": "ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอ () ชื่อเดิม ท่าอากาศยานจ่าน้อก เป็นท่าอากาศยานในเมืองเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2011 งบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บนเนื้อที่ 20,750 ตารางเมตร (223,400 ตารางฟุต) มีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5 ล้านคนต่อปี และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอ"
},
{
"docid": "1919#75",
"text": "ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศที่มีบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้นได้แก่เที่ยวบินไปกลับ ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด ท่าอากาศยานชุมพร ซึ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
}
] |
3365 | ธรรมยุติกนิกาย หมายถึงอะไร ? | [
{
"docid": "60540#0",
"text": "ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย",
"title": "ธรรมยุติกนิกาย"
},
{
"docid": "764962#1",
"text": "ธรรมยุติกนิกายเป็นพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นเมื่อพระองค์ยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ต่อมาในปี ค.ศ. 1864 สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) ได้ขอพระราชทานธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระอมรภิรักขิต (เกิด) พระมหาปาน ปญฺญาสีโล (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี พระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติ) และพระสงฆ์ 8 รูป อุบาสก 4 คน เดินทางไปสืบศาสนายังกรุงกัมพูชา สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดีได้ทรงอาราธนาพระมหาปานให้จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลาคู่ (วัดอ์พิลปี) กรุงอุดงค์มีชัย พุทธศาสนาแบบธรรมยุติกนิกายจึงเริ่มมีขึ้นในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ครั้งนั้น",
"title": "ธรรมยุติกนิกายในประเทศกัมพูชา"
}
] | [
{
"docid": "764962#2",
"text": "การนำเอาธรรมยุตินิกาย (ซึ่งเน้นที่การทำให้พระธรรมวินัยบริสุทธิ์ตามที่มีมาในพระไตรปิฎก) จากสยามเข้ามาเผยแพร่ ได้ทำให้พุทธศาสนาเถรวาทในกัมพูชาเกิดการแบ่งแยกเป็น 2 คณะ โดยคณะสงฆ์เถรวาทเดิมได้ชื่อว่า คณะมหานิกาย เช่นเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศสยาม คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์เช่นเดียวกับที่เป็นในสยา มแต่คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชากลับมีส่วนนำความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยมาสู่ชาวกัมพูชาที่ไม่ใช่เจ้านายและชนชั้นสูง อีกทั้งไม่ได้มีมีบทบาทในการนำความทันสมัยมาสู่สังคมกัมพูชาดังเช่นที่เป็นในสยาม ในขณะที่มหานิกายซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมซึ่งมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยน้อยกว่า กลับมีบทบาทที่โดดเด่นกว่าคณะธรรมยุติกนิกาย",
"title": "ธรรมยุติกนิกายในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "764962#0",
"text": "ธรรมยุติกนิกายเข้าสู่กัมพูชาในปี พ.ศ. 2398 โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ได้อาราธนาพระมหาปาน ปญฺญาสีโล ซึ่งเป็นภิกษุชาวกัมพูชาที่เข้ามาบวชในคณะธรรมยุตให้กลับตั้งคณะธรรมยุตที่กัมพูชา ต่อมาพระมหาปานได้เป็นพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายพระองค์แรกของกัมพูชา \nปัจจุบันสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (บัวร์ กรี) ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายพระองค์ที่ 2 แห่งกัมพูชา พำนักอยู่ที่วัดปทุมวดีราชวราราม กรุงพนมเปญ",
"title": "ธรรมยุติกนิกายในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "84186#17",
"text": "ทำให้มีการแบ่งแยกเรียกนิกายของคณะสงฆ์ใหม่ ตามศัพท์บัญญัติของพระวชิรญาณเถระ ว่า \"ธรรมยุติกนิกาย\" และเรียกกลุ่มพระสงฆ์เถรวาทลังกาวงศ์พื้นเมืองที่มีมาอยู่แต่เดิมว่า \"มหานิกาย\" สืบมาจนปัจจุบันนี้แบบการครองจีวรของภิกษุเดิมในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ชัดเจน มีในเสขิยวัตรว่า \"\"ให้ทำความสำเหนียกว่า จักนุ่งจักห่มให้เป็นปริมณฑล คือเรียบร้อย ... พึงนุ่งปิดสะดือและปกหัวเข่าให้เรียบร้อย พึงทำชายทั้งสองให้เสมอกัน ห่มให้เรียบร้อย ในการแสดงเคารพหรือทำวินัยกรรม \"ให้ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า\"\"\" ซึ่งก็คือห่มจีวรเฉวียงบ่า",
"title": "มหานิกาย"
},
{
"docid": "907419#4",
"text": "ท่านพนฺธุโล (ดี) ถือเป็น \"ปุราณสหธรรมิก\" พระภิกษุรวมสำนักในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระองค์ทรงผนวชและได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ \"[[ธรรมยุติกนิกาย]\" ]ขึ้นในประเทศไทย ต่อมา\"ท่านพนฺธุโล (ดี)\" ได้นำขนบธรรมเนียมประพฤติปฎิบัติของคณะสงฆ์[[ธรรมยุติกนิกาย]]มาเผยแผ่ที่[[จังหวัดอุบลราชธานี]] โดยมี \"พระพรหมราชวงศา (กุทอง)\" เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 ได้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระสงฆ์ \"คณะธรรมยุต\" จึงได้สร้าง[[วัดสุปัฏนารามวรวิหาร]]ให้เป็นสำนักของ \"ท่านพนฺธุโล (ดี)\" และคณะ จึงถือได้ว่า [[วัดสุปัฏนารามวรวิหาร]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] เป็นวัดแรกของคณะสงฆ์[[ธรรมยุต]]หรือ[[ธรรมยุติกนิกาย]]ในภาคอีสาน และเป็นการเริ่มต้นของคณะสงฆ์[[ธรรมยุติกนิกาย]]ในภาคอีสานอีกด้วย หลังจากนั้นคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายจึงได้แพร่หลายใน[[จังหวัดอุบลราชธานี]]และ[[ภาคอีสาน (ประเทศไทย)|ภาคอีสาน]]สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "วัดสระแก้ว"
},
{
"docid": "824838#0",
"text": "พระธรรมวิโรจนเถร นามเดิม พลับ ฉายา ฐิติกโร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย รูปแรกของภาคใต้ อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชาและอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ธรรมยุต) อดีตประธานกรรมการคณะจังหวัดสงขลา และอดีตเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา)",
"title": "พระธรรมวิโรจนเถร (พลับ ฐิติกโร)"
},
{
"docid": "60540#4",
"text": "1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเอาวินัยวงศ์ คือ ธรรมเนียมประพฤติปฏิบัติทางพระวินัยแบบรามัญมาเป็นข้อปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ จ.ศ. 1187 ตรงกับ พ.ศ. 2368 อันเป็นปีที่ 2 แห่งการผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเอาวินัยวงศ์แบบรามัญนิกายมาเป็นแบบปฏิบัตินั้น เป็นการเริ่มต้นแก้ไขการประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยของพระองค์ ซึ่งยังผลให้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามจนเกิดเป็นพระสงฆ์คณะหนึ่งในเวลาต่อมา",
"title": "ธรรมยุติกนิกาย"
},
{
"docid": "84186#0",
"text": "มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกายหรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ \nเดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้น จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย",
"title": "มหานิกาย"
},
{
"docid": "60540#1",
"text": "ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย",
"title": "ธรรมยุติกนิกาย"
}
] |
3368 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง ค่ายมาร์เวล? | [
{
"docid": "217876#1",
"text": "มาร์ติน กูดแมน ได้ก่อตั้งบริษัทซึ่งต่อมาที่รู้จักกันดีในนามของมาร์เวลคอมิกส์ ภายใต้ชื่อไทม์ลีพับลิเคชั่นส์ ในปี ค.ศ. 1939 เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือการ์ตูนภายใต้สำนักพิมพ์ไทม์ลีคอมิกส์ กู๊ดแมน ผู้เผยแพร่นิตยสารเยื่อกระดาษที่ได้เริ่มต้นผลิตนิยายตะวันตกเยื่อกระดาษในปี ค.ศ. 1933 ได้ขยายตัวในตลาด และได้รับความนิยมอย่างสูงในรูปแบบใหม่ปานกลางของหนังสือการ์ตูน การเปิดตัวของเขาจากสำนักงานของบริษัท ที่มีอยู่ที่เลขที่ 330 ตะวันตก ถนนที่ 42 นครนิวยอร์ก เขาได้จัดตั้งบรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร และผู้จัดการธุรกิจอย่างเป็นทางการ ที่มีอับราฮัม กูดแมน เป็นผู้เผยแพร่ที่ระบุอย่างเป็นทางการ",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "217876#0",
"text": "บริษัท มาร์เวลเวิลด์ไวด์ () หรือเรียกทั่วไปว่า มาร์เวลคอมิกส์ () และชื่อก่อนหน้านีนี้บริษัท มาร์เวลพับลิชิง () และ มาร์เวลคอมิกส์กรุป () เป็นค่ายการ์ตูนและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโรของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1939 โดย มาร์ติน กูดแมน ในนามของไทม์ลีคอมิกส์ มีนักเขียน นักวาดคนสำคัญ เช่น สแตน ลี แจ็ก เคอร์บี สตีฟ ดิตโก เป็นต้น\nมาร์เวลคอมิกส์ มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันดี เช่น เอ็กซ์เมน สไปเดอร์-แมน ฮัลก์ กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ธอร์ เป็นต้น และศัตรูที่โด่งดังและรู้จักกันดี เช่น กรีนก็อบลิน แม็กนีโต ด็อกเตอร์ดูม โลกิ กาแล็กตัส และเรดสกัล เป็นต้น\nมาร์เวลคอมิกส์ และคู่แข่งสำคัญมายาวนานคือดีซีคอมิกส์ ร่วมหุ้นกันไป 80 % ของตลาดหนังสือการ์ตูนอเมริกันในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบันมาร์เวลคอมิกส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
}
] | [
{
"docid": "230186#1",
"text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
},
{
"docid": "80026#2",
"text": "ชัชวิทย์ ก่อตั้งเกียรติกุล (เอก ชื่อเดิม เอกชัย) นายทุนและหุ้นส่วนใหญ่ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ไทยแวร์ดอตคอม จบการศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี รุ่น 34 และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาควิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการและ ผู้ก่อตั้ง บริษัทไทยแวร์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547",
"title": "ไทยแวร์"
},
{
"docid": "412716#2",
"text": "บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1837 โดยนายวิลเลียม พรอคเตอร์ ช่างทำเทียนไขชาวอังกฤษ และนายเจมส์ แกมเบิล ช่างทำสบู่ชาวไอร์แลนด์ ชายทั้งคู่อพยพเข้ามาอาศัยที่เมืองซินซินแนติ แต่งงานกับพี่น้องชื่อโอลิเวียร์ และเอลิซาเบท นอริส และได้รับคำแนะนำจากนายอะเล็กซานเดอร์ นอริส ที่เป็นพ่อตาของคนทั้งสองให้ร่วมดำเนินธุรกิจ ก่อตั้งกิจการ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1837",
"title": "พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล"
},
{
"docid": "84380#7",
"text": "ผู้บัญชาค่ายคนแรกคือคาร์ล ออทโท คอค ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการค่ายระหว่าง พ.ศ. 2480-2484 ภรรยาคนที่สองชื่ออิลเซอ คอค ได้สร้างพฤติกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น \"แม่มดแห่งบูเคินวัลท์\" เนื่องจากพฤติกรรมที่ชอบกระทำการทารุณโหดร้ายกับนักโทษ เธอเคยใช้นักโทษสร้างสวนสัตว์ในค่ายไว้ให้ลูก ๆ ดู ออทโทถูกทางการนาซีจับลงโทษฐานคอร์รัปชันและเอาเปรียบนักโทษคนงานและค้าตลาดมืดและถูกตัดสินประหารชีวิตที่ค่ายนี้เมื่อ พ.ศ. 2488 ส่วนภรรยาถูกตัดสินจำคุก 4 ปี และได้ลดโทษเหลือ 2 ปีหลังสงคราม แต่ต่อมาเมื่อพบความผิดเพิ่ม รัฐบาลเยอรมันหลังสงครามดำเนินคดีใหม่ คราวนี้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ต่อมาเธอได้ฆ่าตัวตายในคุกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2510",
"title": "ค่ายกักกันบูเคินวัลท์"
},
{
"docid": "955815#2",
"text": "ในปี 1924 ปีแยร์ เวิร์ตไทเมอร์ได้ก่อตั้งบริษัทพาร์ฟูมส์ชาเนลขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำหอมร่วมถึงเครื่องสำอาง นับตั้งแต่ก่อตั้งพาร์ฟูมส์ชาเนลได้มีผู้บริหาร 4 คน คือเครื่องสำอางค์เป็นผลิตภัณฑ์ของชาแนลที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด โดยมีเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้าทั่วโลกรวมถึงแฮร์รอดส์ แกลเลอรีลาฟาแยต์ ฮัดสันเบย์ เดวิดโจนส์ ฯลฯ",
"title": "ชาเนล"
},
{
"docid": "220594#1",
"text": "เจ เอส แอล ก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2522 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 1 แสนบาท โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ นางลาวัลย์ ชูพินิจ (กันชาติ) นางจำนรรค์ อัษฎามงคล (ศิริตัน) และ นายสมพล สังขะเวส นักแปลนวนิยายชื่อดัง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ และจัดรายการทางวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จนกระทั่งคุณสมพลขอลาออก ได้มีการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการและหุ้นส่วนคนสำคัญเป็น นายเสรี ชยามฤต และ นายสมพงษ์ วรรณภิญโญ ตามลำดับ ภายหลังคุณสมพงษ์และบุคลากรจำนวนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปก่อตั้งบริษัท ทีวี ธันเดอร์ เจ เอส แอลจึงได้ นายปริพันธ์ หนุนภักดี เป็นรองประธานกรรมการ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด เพื่อให้เข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารไร้พรมแดนซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยมี \"นางรติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์\" เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และมีบริษัทในเครือ อาทิ เอไอไทยแลนด์ และ เฮ้าส์ ออฟ การ์ตูน รวมทั้งยังมีบริการให้เช่า กล้อง ห้องตัดต่อ ห้องลงเสียงและสตูดิโอ",
"title": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย"
},
{
"docid": "47116#3",
"text": "ประชัยก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน มีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่จังหวัดระยอง ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ",
"title": "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"
},
{
"docid": "318058#0",
"text": "บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งโดยนายอาลก โลเฮีย นักธุรกิจชาวอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในบริษัทระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีขั้นกลาง และขนสัตว์ บริษัทมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ไอวีแอลผลิตแบ่งได้เป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่ สารตั้งต้น (Feedstock) พลาสติกโพลีไธลีน เทเรฟธาเลท (PET), และ เส้นใยโพลีเอสเตอร์ ปัจจุบัน ไอวีแอลเป็นเจ้าของบริษัทย่อยในกลุ่มจำนวน 66 แห่ง ใน 21 ประเทศ ใน 4 ทวีป ได้แก่ ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา และเอเชีย",
"title": "อินโดรามา เวนเจอร์ส"
}
] |
3375 | สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป มีอีกชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "249616#0",
"text": "สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (, ) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี ค.ศ. 300 ถึงปี ค.ศ. 700 ในทวีปยุโรป, ที่เป็นช่วงที่คาบระหว่างยุคโบราณตอนปลายไปจนถึงยุคกลางตอนต้น การโยกย้ายครั้งนี้มีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสถานะภาพของจักรวรรดิโรมันและที่เรียกว่า “พรมแดนบาร์บาเรียน” ชนกลุ่มที่อพยพโยกย้ายในยุคนี้ก็ได้แก่ชนกอธ, แวนดัล, บัลการ์, อาลัน, ซูบิ, ฟรีเซียน และ แฟรงค์ และชนเจอร์มานิค และ ชนสลาฟบางกลุ่ม",
"title": "สมัยการย้ายถิ่น"
}
] | [
{
"docid": "321346#0",
"text": "ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน () เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์”",
"title": "ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน"
},
{
"docid": "273871#8",
"text": "ประวัติศาสตร์ยุโรปประสบกับเหตุการณ์ทำนองเดียวกับการพลัดถิ่นหลายครั้ง ในสมัยโบราณการค้าและการล่าดินแดนของกลุ่มชนกรีกกลุ่มต่างๆ จากคาบสมุทรบอลข่าน และ เอเชียไมเนอร์เป็นการโยกย้ายของชนที่มีวัฒนธรรมและใช้ภาษากรีกไปทั่วบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ และไปทำการก่อตั้งนครรัฐกรีกในซิซิลี, อิตาลีใต้, ตอนเหนือของลิเบีย, ทางตะวันออกของสเปน, ทางฝรั่งเศสใต้ และฝั่งทะเลดำ ชาวกรีกไปก่อตั้งอาณานิคมในภูมิภาคต่างๆ ถึงกว่า 400 บริเวณ การพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชในจักรวรรดิอคีเมนียะห์เป็นการเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสติคซึ่งเป็นการเริ่มสมัยการตั้งอาณานิคมกรีกในเอเชียและแอฟริกาโดยชนชั้นปกครองกรีก ที่รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานในอียิปต์โดยราชวงศ์ทอเลมี, ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย\nการโยกย้ายที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ หลายครั้งระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปก็เป็นเพียงตัวเดียวของการพลัดที่เกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ช่วงการโยกย้ายครั้งแรกเกิดขึ้นราวระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500 รวมการโยกย้ายของชาวกอธ (ออสโตรกอธ และ ชาววิซิกอธ), แวนดัล, แฟรงค์, กลุ่มชนเจอร์มานิคต่างๆ (ชาวเบอร์กันดี, ลอมบาร์ด, แองเกิลส์, แซ็กซอน, จูท, ซูบิ, อลามานนิ, วารันเจียน และ นอร์มัน), อลัน และชนสลาฟกลุ่มต่างๆ การโยกย้ายครั้งแรกเกิดขึ้นราวระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 900 เป็นการโยกย้ายของสลาฟ, เตอร์กิค และชนเผ่าต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตะวันออกและทำให้บริเวณนี้กลายเป็นบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานหลักของชนสลาฟ ที่มีผลต่ออนาโตเลียและคอเคซัสเมื่อชนเตอร์กิคกลุ่มแรก (อวาร์, บัลการ์, ฮั่น, คาร์ซาร์, เพเชเน็ก และอาจจะรวมทั้ง มาจยาร์) มาถึง การโยกย้ายครั้งสุดท้ายของสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปเป็นสมัยที่ชาวมาจยาร์และไวกิงขยายตัวออกจากบริเวณสแกนดิเนเวียเข้ามาในยุโรปและหมู่เกาะบริติช ที่รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานในกรีนแลนด์และไอซ์แลนด์",
"title": "การพลัดถิ่น"
},
{
"docid": "291058#8",
"text": "สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปมักจะเรียกกันผิดๆ ว่าเป็น “ยุคมืด” โดยนักประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก หรือ “Völkerwanderung” (สมัยชนเร่ร่อน) โดยนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน คำว่า “ยุคมืด” อาจจะมาหมดความนิยมใช้กันตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง สาเหตุหนึ่งก็เพราะความหมายของคำทำให้เกิดความเข้าใจผิดถึงสภาวะโดยทั่วไปของยุค และจากการค้นคว้าทางโบราณคดีเมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่าตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปที่ว่าเป็นสมัยที่ล้าหลังทางด้านศิลปะ เทคโนโลยี การปกครอง และระบบสังคม",
"title": "ต้นสมัยกลาง"
},
{
"docid": "227033#8",
"text": "ส่วนทางฝ่ายชนบริติชเองก็เริ่มมีการย้ายถิ่นฐานออกจากเกาะอังกฤษข้ามช่องแคบอังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 และไปตั้งถิ่นฐานทางแหลมด้านตะวันตก (อาร์มอริคา (Armorica)) ของกอล และก่อตั้งเป็นบริตตานี หลังจากนั้นก็มีหลักฐานที่เชื่อกันว่ามีการโยกย้ายถิ่นฐานต่อมาอีกครั้งจากบริเวณเดวอนและคอร์นวอลล์ บางกลุ่มก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานทางด้านเหนือของสเปนในบริเวณที่เรียกว่าบริโตเนีย (Britonia) ในบริเวณกาลิเซียปัจจุบัน แต่การโยกย้ายถิ่นฐานเหล่านี้ควรจะศึกษาร่วมกับการการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวยุโรปโดยทั่วไปในยุคเดียวกัน และจากหลักฐานทางพันธุกรรมและทางโบราณคดีทำให้เกิดความเคลือบแคลงกันถึงขนาดการโยกย้ายถิ่นฐานของชนแองโกล-แซกซันมายังบริเตน (Anglo-Saxon migration to Britain)",
"title": "อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน"
},
{
"docid": "249616#1",
"text": "การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คน--แม้ว่าจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ “สมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน” โดยตรง--ก็ยังคงดำเนินต่อไปจนหลังจาก ค.ศ. 1000 โดยการรุกรานไวกิง, แมกยาร์, ชนเตอร์คิค และการรุกรานของมองโกลในยุโรปซึ่งมีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทางตะวันออกของยุโรป",
"title": "สมัยการย้ายถิ่น"
},
{
"docid": "249616#5",
"text": "ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้ามตั้งถิ่นฐานของชนสลาฟกลุ่มต่างๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในบริเวณเจอร์มาเนีย ชนบัลการ์ที่อาจจะมีรากฐานมาจากกลุ่มชนเตอร์กิคที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 พิชิตดินแดนทางตะวันตกของบอลข่านของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนชนลอมบาร์ดที่มาจากชนเจอร์มานิคก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีในบริเวณที่ปัจจุบันคือลอมบาร์ดี",
"title": "สมัยการย้ายถิ่น"
},
{
"docid": "249026#1",
"text": "หลังจากที่จักรวรรดิโรมันเสื่อมโทรมลง ยุโรปก็เข้าสู่สมัยของการโยกย้ายและการตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่รวมทั้งชนเจอร์มานิค บริเวณนี้ก็ไปรวมอยู่ในมุขมณฑลบัมแบร์คและกลายมาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวสลาฟ",
"title": "บัมแบร์ค"
},
{
"docid": "321346#10",
"text": "สถาบันศาสนาในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปตอนต้นกลายมาเป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนของอำนาจของชาติในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน สถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่เป็นองค์ประกอบของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นสถาบันเดียวที่ยังเหลืออยู่ที่ทำการอนุรักษ์วัฒนธรรมคลาสสิกเอาไว้ เมื่อการเปลี่ยนชนเจอร์มานิคในยุโรปตะวันตกให้มานับถือคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ใกล้จะสิ้นสุดลง สถาบันศาสนาก็กลายมามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะ, จ้างงานเขียนหนังสือวิจิตรและวัสดุอุปกรณ์สิ่งของทางศาสนา หลักฐานระบุว่าลักษณะงานแบบเจอร์มานิคเสื่อมถอยลงไป ขณะที่ลักษณะแบบเมดิเตอเรเนียนเริ่มมีอิทธิพลให้เห็นมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในบรรดาชาวกอธในอิตาลีและสเปน แต่ช้ากว่าทางตอนเหนือของยุโรป ที่เห็นได้จาก “\"หนังสือประกอบพิธีเจลาเซียน\"” เมโรแว็งเชียงของคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่ไม่มีร่องรอยของแบบสแกนดิเนเวีย II แต่แสดงอิทธิพลของแบบเมดิเตอเรเนียน",
"title": "ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน"
},
{
"docid": "321346#1",
"text": "ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง",
"title": "ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน"
}
] |
3377 | จังหวัดหนองคาย ติดกับประเทศลาวหรือไม่ ? | [
{
"docid": "7858#6",
"text": "จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ (นับเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคอีสาน โดยพื้นที่ทั้งหมดก่อนที่จังหวัดบึงกาฬจะแยกตัวไป มีประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร) ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 - 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้สภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายมีลักษณะทอดยาวตามลำน้ำโขง จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีอาณาเขตติดกับกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยมีพื้นที่ทอดขนานยาวไปตามลำน้ำโขง ความกว้างของพื้นที่ทอดขนานไปตามลำน้ำโขงโดยเฉลี่ยประมาณ 20 – 25 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดอยู่ที่อำเภอเฝ้าไร่ และช่วงที่แคบที่สุดอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายมีอำเภอที่อยู่ติดกับลำน้ำโขง 6 อำเภอ คือ อำเภอสังคม อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอเมือง อำเภอโพนพิสัย และอำเภอรัตนวาปี และมีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศลาว คือ แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "7858#12",
"text": "เนื่องจากจังหวัดหนองคายมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวกว่า 200.82 กิโลเมตร และเป็นเมืองหน้าด่านในการทำสงครามในสมัยก่อน จึงทำให้มีการกวาดต้อนอพยพผู้คนจากทั้งฝั่งประเทศลาวและไทย (ในปัจจุบัน) ข้ามไปมา จึงทำให้มีกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ในจังหวัดหนองคาย แต่อย่างไรก็ตามในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ได้บ่งบอกว่ามีกลุ่มคนที่อาศัยเป็นเมืองอยู่ในบริเวณนี้อยู่เดิม ได้แก่ เมืองพานพร้าว (อำเภอศรีเชียงใหม่) เมืองปากห้วยหลวง (อำเภอโพนพิสัย) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรล้านช้างในปัจจุบันกลุ่มคนที่อพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย ได้มีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กลมกลืนกับชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมจนแทบไม่เห็นความแตกต่าง ทั้งการแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณีต่าง ๆ จะสังเกตได้เฉพาะสำเนียงของภาษาพูด ที่ยังคงเหลือเค้าให้ทราบว่า เดิมเป็นชนเผ่าไหน ซึ่งพอจำแนก ได้ดังนี้",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "171950#0",
"text": "เทศบาลเมืองหนองคาย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงและมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เชื่อมต่อจากเมืองหนองคายไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ เทศบาลเมืองหนองคายเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ 35.15 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 47,949 คน ทำให้เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดหนองคาย",
"title": "เทศบาลเมืองหนองคาย"
},
{
"docid": "157951#0",
"text": "สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (; ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558",
"title": "สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)"
}
] | [
{
"docid": "171950#5",
"text": "ดวงตราเทศบาลเมืองหนองคายเป็นดวงตรารูปวงกลมซ้อนกันสองชั้นวงในด้านขวามือมีรูปกอไผ่อยู่ในหนองน้ำด้านซ้ายมือมีรูปพระธาตุ ตรงกลางมีหนองน้ำและดอกบัว ด้านหลังมีภูเขาและก้อนเมฆอยู่ ส่วนวงนอกมีข้อความรอบรูปด้านบนว่า \"เทศบาลเมืองหนองคาย\" และด้านล่างมีข้อความว่า \"จังหวัดหนองคาย\"\nและมีถนนสายหลัก 4 สาย คือ ถนนมีชัย ถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนแก้ววรวุฒิ และถนนพนังชลประทานเป็นถนนเรียบแนวเขตเทศบาลเมืองหนองคาย และมีถนนสายสั้น ๆ ที่เรียบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโขง มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นพื้นที่นันทนาการ ชมทัศนียภาพของแม่น้ำโขงและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว",
"title": "เทศบาลเมืองหนองคาย"
},
{
"docid": "6470#37",
"text": "จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพรมแดนติดกับเมืองปากลาย แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทางอำเภอบ้านโคกและน้ำปาด เมือปี 2552 ทางคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกระดับช่องภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก เป็นด่านชายแดนสากล ดังนั้นในปัจจุบัน การเดินทางผ่านแดนเข้าออกสู่ประเทศลาวสามารถทำได้อย่างสะดวก ณ ที่ทำการด่าน ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศลาว",
"title": "จังหวัดอุตรดิตถ์"
},
{
"docid": "71830#16",
"text": "\"...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้\"",
"title": "จังหวัดบึงกาฬ"
},
{
"docid": "7858#0",
"text": "หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นจังหวัดชายแดนและเป็นจังหวัดที่เงียบสงบ น่าอยู่และน่าท่องเที่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "7858#11",
"text": "อันจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย อยู่ชายแดน ตามภูมิแผนที่ตั้งริมฝั่งโขง ภาคอีสานเรืองอร่ามเรืองอร่ามงามจรรโลง เกียรติดังโด่ง เป็นเมืองด่านบานประตู ชาวหนองคาย หนองคาย พี่น้องผองไทยกาจ ล้วนสามารถแสดงประจักษ์เป็นนักสู้ เคยชิงชัยห้าวหาญต้านศัตรู มิให้จู่โจมบุกรุกแดนไทย อันพี่น้องหนองคายชายก็ชาญ หญิงสะคราญหมดจดสวยสดใส ทุกคนเอื้ออารีมีนำใจ ถึงอยู่ไกลไมตรีสนิท เป็นมิตรเอย",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "157951#4",
"text": "ในระหว่างวันที่ 4 ถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ณ หาดจอมมณี จังหวัดหนองคายได้ร่วมมือกับนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศออสเตรเลีย จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ทางจังหวัดหนองคาย กำหนดจัดการเฉลิมฉลองวันครบรอบ 20 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ และการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ โดยในงานมีการจุดดอกไม้ไฟอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจุดดอกไม้ไฟตรงกึ่งกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ระหว่างเขตประเทศไทยและเขตประเทศลาว และการแสดงต่าง ๆ ภายในงานด้วย เช่น การแสดงศิลปะวัฒนธรรมของไทย และลาว เป็นต้น",
"title": "สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)"
}
] |
3378 | สงครามดอกกุหลาบเป็นการรบกันตั้งแต่ปีใด? | [
{
"docid": "156009#0",
"text": "สงครามดอกกุหลาบ () เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#2",
"text": "แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
}
] | [
{
"docid": "156009#8",
"text": "สงครามเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนนางหรือชนชั้นเจ้านาย ทหารผู้อยู่ในอารักขา และทหารรับจ้างจากต่างประเทศ ผู้สนับสนุนของแต่ละฝ่ายก็ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับราชวงศ์เช่นอาจจะเป็นญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการเสกสมรสระหว่างขุนนางกับราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งผู้ไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจ และ การมอบหรือการยึดตำแหน่งขุนนางและที่ดิน",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#21",
"text": "ในปี ค.ศ. 1450 ก็เกิดการปฏิวัติในเค้นท์ที่เรียกว่าการปฏิวัติของแจ็ก เคด (Jack Cade) ข้อร้องทุกข์ของผู้ปฏิวัติคือการถูกขูดรีดจากข้าราชสำนักบางคนของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพของราชสำนักในการปกป้องสิทธิของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าในระดับใด ผู้ปฏิวัติเข้ามายึดบางส่วนของลอนดอนแต่ถูกประชาชนลอนดอนขับไล่ออกไปเพราะเที่ยวมาปล้นขโมย ฝ่ายก่อการสลายตัวไปหลังจากได้รับคำสัญญาว่าจะไม่ถูกลงโทษรวมทั้งเคด แต่เคดถูกประหารชีวิตต่อมา",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#75",
"text": "ระหว่างสงครามก็แทบจะไม่มีการยุบเลิกตำแหน่งขุนนางใดใด เช่นในระหว่าง ค.ศ. 1425 ถึง ค.ศ. 1449 ก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นก็มีการยุบตำแหน่งขุนนางไป 25 ตำแหน่ง พอพอกับ 24 ตำแหน่งที่ยุบไประหว่างการต่อสู้ระหว่าง ค.ศ. 1450 ถึง ค.ศ. 1474 แต่ขุนนางที่มีความทะเยอทะยานสูงเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก มาถึงสมัยต่อมาก็แทบจะไม่มีขุนนางที่เต็มใจที่จะสละชีพในการต่อสู้ที่ไม่มีผลที่จะทราบได้แน่นอน",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#68",
"text": "นักประวัติศาสตร์หลายคนถือว่าการขึ้นครองราชบัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เป็นการสิ้นสุดของสงครามดอกกุหลาบ แต่นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าสิ้นสุดหลังจากยุทธการสโตคฟิลด์ในปี ค.ศ. 1487 เมื่อเด็กหนุ่มชื่อแลมเบิร์ต ซิมเนลผู้มีหน้าตาคล้ายเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 บุตรของดยุกแห่งแคลเรนซ์ มาอ้างตัวว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์ แต่ก็เป็นแผนการณ์ที่มีข้อบกพร่องตรงที่ตัวเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ทจริงยังคงมีชีวิตอยู่และอยู่ในการอารักขาของพระเจ้าเฮนรีเอง พระเจ้าเฮนรีจึงทรงนำเอ็ดเวิร์ด แพลนแทเจเนตไปแสดงตัวรอบลอนดอนเพื่อให้เห็นว่าซิมเนลเป็นตัวปลอม ในยุทธการที่สโตกฟิลด์พระเจ้าเฮนรีก็ทรงสามารถเอาชัยชนะต่อกองกำลังของจอห์น เดอ ลา โพล เอิร์ลที่ 1 แห่งลิงคอล์น ผู้ที่พระเจ้าริชาร์ดทรงแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทซึ่งเป็นการกำจัดผู้เป็นปฏิปักษ์ฝ่ายยอร์กคนสุดท้าย ซิมเนลได้รับพระราชทานอภัยโทษ",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "592937#4",
"text": "เมื่อสิ้นมังรายกะยอชวาแล้ว ทั้งพม่าและมอญก็เหนื่อยหน่ายกับสงคราม การรบสองครั้งหลังจากนั้นมา คือ ช่วงปี 1417 ถึง 1418 และช่วงปี 1423 และ 1424 เป็นไปอย่างอิดเอื้อน ในช่วงปี 1421 ถึง 1422 ผู้นำของทั้งสองฝ่าย คือ พระเจ้าราชาธิราชและพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็สวรรคตทั้งสองพระองค์ การรบหนสุดท้ายมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1423 เมื่อ มังศรีสู โอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง เสด็จขึ้นสืบราชสมบัติต่อ ทรงพระนาม \"พระเจ้าฝรั่งมังศรี\" หรือ \"พระเจ้าสีหตูแห่งอังวะ\" แล้วกรีธาทัพล่วงมายังอาณาจักรมอญระหว่างที่ยังวุ่นวายกันเรื่องสืบราชบัลลังก์ พระนางเชงสอบู จึงยอมสมรสกับพระเจ้าฝรั่งมังศรีเพื่อหย่าศึก ทัพพม่าถอยคืนไปในต้นปี 1424 เป็นอันยุติสงครามยาวนานสี่สิบปี",
"title": "สงครามสี่สิบปี"
},
{
"docid": "796406#0",
"text": "สงครามยมคิปปูร์, สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม (; ' หรือ מלחמת יום כיפור ') เป็นสงครามรบกันระหว่างแนวร่วมรัฐอาหรับซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำต่ออิสราเอลตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 25 ตุลาคม 2516 การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ดินแดนซึ่งอิสราเอลยึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี 2510 ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต ยังต้องการเปิดคลองสุเอซอีกครั้ง ทั้งสองประเทศมิได้วางแผนเจาะจงทำลายอิสราเอล แต่ผู้นำอิสราเอลไม่อาจมั่นใจได้",
"title": "สงครามยมคิปปูร์"
},
{
"docid": "156009#70",
"text": "แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะยังคงโต้แย้งกันถึงความกระทบกระเทือนของความขัดแย้งของสงครามดอกกุหลาบต่อชีวิตในยุคกลางของอังกฤษ แต่ที่แน่คือสงครามครั้งนี้เป็นสงครามที่สร้างความระส่ำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่งที่ได้รับผลกระทบกระเทือนมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทที่มาแทนที่ด้วยผู้นำของราชวงศ์ทิวดอร์ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในปีต่อๆ มา หลังจากสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีแล้วราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทที่ยังพอมีเหลืออยู่บ้างแต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะอ้างได้ว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์โดยตรงได้ โดยเฉพาะเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงหนุนหลังให้ฝักฝ่ายย่อยขัดแย้งกันเอง",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#73",
"text": "สงครามดอกกุหลาบไม่ได้ช่วยอิทธิพลของอังกฤษในฝรั่งเศสที่เริ่มลดลงอยู่แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นสงครามดินแดนที่เคยได้มาระหว่างสงครามร้อยปีก็ไม่มีเหลืออยู่อีกเลยนอกไปจากคาเลส์ซึ่งก็มาเสียให้แก่ฝรั่งเศสระหว่างรัชสมัยของพระนางแมรี แม้ว่าพระมหากษัตริย์อังกฤษจะพยายามรณรงค์ในยุโรป แต่อังกฤษก็ไม่สามารถยึดดินแดนใดใดที่เสียไปคืนมาได้ ดัชชี และราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปมีบทบาทโดยตรงต่อผลของความพยายามของอังกฤษ โดยเฉพาะเมื่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและดยุกแห่งเบอร์กันดียุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้มีความขัดแย้งกันเองโดยการสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือทางการทหาร หรือให้ที่พำนักแก่พระราชวงศ์ ขุนนาง หรือผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ผู้มาลี้ภัย ซึ่งเป็นสร้างสถานการณ์ที่ช่วยเพิ่มความแตกแยกขึ้นในอังกฤษซึ่งเป็นผลทำให้อ่อนแอลง",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
}
] |
3384 | สงครามดอกกุหลาบใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ในการรบ? | [
{
"docid": "156009#0",
"text": "สงครามดอกกุหลาบ () เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
}
] | [
{
"docid": "156009#72",
"text": "แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งการชี้ให้เห็นถึงความเสียหายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบก็อาจจะเป็นเครื่องมือที่พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงใช้ในการช่วยแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ในการนำมาซึ่งความสันติในบั้นปลายก็เป็นได้ แต่จะอย่างไรก็ตามผลกระทบกระเทือนต่อชนชั้นพ่อค้าและแรงงานในการเป็นสงครามอันยืดเยื้อในการล้อมเมืองหรือปล้นเมืองก็ยังน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสหรือประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ประสบกับสงครามอันยาวนาน แม้ว่าจะมีการล้อมที่เนิ่นนานอยู่บ้างเช่นการล้อมปราสาทฮาร์เล็ค แต่ก็เป็นการล้อมสถานที่ที่ไกลผู้ไกลคน ในบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นถ้ามีการสู้รบกันขึ้นก็จะสร้างความเสียหายอันไม่ควรค่าให้แก่ทั้งสองฝ่าย ฉะนั้นการต่อสู้ส่วนใหญ่จึงเป็นการต่อสู้ที่มีการนัดกันล่วงหน้าในการเลือกจุดที่จะทำการต่อสู้ (pitched battle)",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#6",
"text": "แม้ว่าดอกกุหลาบจะใช้บ้างบางครั้งระหว่างสงคราม แต่ผู้เข้าร่วมสงครามส่วนใหญ่แล้วจะติดตราของเจ้าของที่ดินผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เป็นทางการที่เจ้าของที่ดินสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองผู้ที่ทำมาหากินในที่ดินโดยการให้ใช้ตราและสัญลักษณ์ การขยายตัวของระบบนึ้ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมลงและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามขึ้น ตัวอย่างของการใช้สัญลักษณ์ก็ได้แก่กองกำลังของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ที่บอสเวิร์ธที่ใช้ธงมังกรแดง และกองกำลังยอร์คที่ใช้สัญลักษณ์หมีขาว ความสำคัญของดอกกุหลาบมาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 7 หลังจากยุติสงครามแล้วทรงรวมดอกกุหลาบแดงและขาวเป็นดอกกุหลาบแดงขาวดอกเดียวที่เรียกว่า “กุหลาบทิวดอร์”",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#23",
"text": "ความขัดแย้งในราชสำนักก็เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศที่ตระกูลขุนนางต่างก็เกิดความขัดแย้งกันเป็นการส่วนตัวและไม่ยอมรับอำนาจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขณะ กรณีที่มีชื่อเสียงคือความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ ในหลายกรณีเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนนางเก่ากับขุนนางใหม่ที่เพิ่งได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นและอิทธิพลขึ้นมาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างตระกูลเพอร์ซีย์หรือเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ซึ่งเป็นตระกูลเก่ากับตระกูลเนวิลล์ที่เพิ่งรุ่งเรืองขึ้นมาก็เป็นความขัดแย้งเช่นที่ว่านี้ อีกกรณีหนึ่งก็คือความขัดแย้งระหว่างตระกูลคอร์เทเนย์สและตระกูลบอนวิลล์สในคอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์ ปัจจัยหนึ่งของปัญหานี้คือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับมาหลังจากการพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส ขุนนางที่มีปัญหาความขัดแย้งก็ใช้ทหารเหล่านี้ในการโจมตี หรือใช้ในการข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามหรือเข้าไปข่มขู่เจ้าหน้าที่หรือผู้พิพากษาในศาล",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156009#11",
"text": "กองทหารก็เป็นผู้ถืออาวุธของขุนนางที่ประกอบด้วยนายขมังธนูและทหารราบ บางครั้งก็จะมีทหารรับจ้างจากต่างประเทศเข้าร่วมพร้อมกับปืนใหญ่และปืนพก การใช้ทหารม้าเป็นไปอย่างจำกัดเช่นในการใช้ลาดตระเวน การต่อสู้ส่วนใหญ่ก็เป็นการต่อสู้ตัวต่อตัวของทหารราบ บางครั้งขุนนางก็อาจจะลงจากหลังม้าลงมาเข้าร่วมต่อสู้กับไพร่พล เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นการกำจัดข่าวลือที่ว่าผู้มีตำแหน่งสูงเมื่อเพลี่ยงพล้ำอาจจะถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ขณะที่ทหารธรรมดาไม่มีค่าตัวแต่อย่างใดก็จะถูกสังหาร",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "110167#17",
"text": "ณ ช่วงใดช่วงหนึ่ง มีทหารจากอังกฤษและเครือจักรภพประจำอยู่ที่แนวรบด้านตะวันตกราว 1.1 ถึง 1.2 ล้านนายตลอดเวลา ทหารกว่าหนึ่งพันกองพัน ครอบครองพื้นที่เป็นแนวยาวจากทะเลเหนือจนถึงแม่น้ำออร์น และใช้ระบบหมุนเวียนสี่ขั้นนานหนึ่งเดือน เว้นแต่ขณะอยู่ระหว่างการโจมตี แนวรบนั้นเป็นแนวสนามเพลาะยาวกว่า 9.600 กิโลเมตร แต่ละกองพันจะประจำอยู่ในพื้นที่เป็นเวลาราวหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะถูกส่งกลับไปยังเส้นทางส่งกำลังบำรุงและจากนั้นถอยกลับไปยังแนวสนับสนุนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนเปลี่ยนเวน ซึ่งใช้กันมากในเขตโพเพริงและอแมนส์ของเบลเยียม",
"title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "156009#75",
"text": "ระหว่างสงครามก็แทบจะไม่มีการยุบเลิกตำแหน่งขุนนางใดใด เช่นในระหว่าง ค.ศ. 1425 ถึง ค.ศ. 1449 ก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นก็มีการยุบตำแหน่งขุนนางไป 25 ตำแหน่ง พอพอกับ 24 ตำแหน่งที่ยุบไประหว่างการต่อสู้ระหว่าง ค.ศ. 1450 ถึง ค.ศ. 1474 แต่ขุนนางที่มีความทะเยอทะยานสูงเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก มาถึงสมัยต่อมาก็แทบจะไม่มีขุนนางที่เต็มใจที่จะสละชีพในการต่อสู้ที่ไม่มีผลที่จะทราบได้แน่นอน",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "438434#20",
"text": "สำนักงานธนานุเคราะห์ได้กำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาทรัพย์จำนำของผู้ใช้บริการในแต่ละรายไว้เป็นเวลา 4 เดือน 30 วัน หรือประมาณ 5 เดือน ถ้าหากผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลากว่า 4 เดือน และไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่สถานธนานุเคราะห์ประกาศบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ย ทรัพย์จำนำนั้นก็หลุดเป็นสิทธิของสถานธนานุเคราะห์",
"title": "สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ"
},
{
"docid": "4542#28",
"text": "อาณาจักรอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 1893-2310 ใช้เวลาถึง 417 ควรมีสุริยุปราคาครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าแบบบางส่วน แบบวงแหวน แบบเต็มดวง และแบบผสม หลายครั้งแนวคราสก็พาดผ่านเข้ามาในเขตสยาม แต่หากเจาะจงเฉพาะเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ความน่าจะเป็นที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่าน มีอย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพราะโดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 360 ปีถึงจะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงในจุดเดิมอีกครั้ง แต่จากการตรวจสอบด้วยคณิตกรณ์ มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่แนวคราสพาดผ่านเกาะเมืองอยุธยาถึง 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แต่กลับไม่มีในบันทึกประวัติศาสตร์เลยสักครั้ง",
"title": "สุริยุปราคา"
},
{
"docid": "11387#9",
"text": "ตามธรรมเนียมแล้วการสร้างกระบี่แสงจะใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน สิ่งนี้ยังรวมทั้งการประกอบชิ้นส่วนด้วยมือและพลัง และการนั่งสมาธิเพื่อหาคริสตัล เจไดมักใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรวมมันเข้าด้วยกัน ทำให้แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนทำงานได้สมบูรณ์ และยังรวมทั้งการเลือกความยาว สี ความถี่ของดาบ ถึงกระนั้นในช่วงที่สงครามโคลนดุเดือดมีการรายงานว่ามีคนที่สามารถสร้างกระบี่แสงได้ภายในสองวันเท่านั้น",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "765572#3",
"text": "คราสบดบังลึกที่สุดครั้งนี้กินระยะเวลา 2 นาที 41.6 วินาทีที่ ในอุทยานแห่งรัฐไจแอนท์ซิตี ทางใต้ของเมืองคาร์บอนเดล รัฐอิลลินอยส์ และเงาคราสมีขนาดใหญ่ที่สุดที่ ใกล้กับหมู่บ้านของเซรูเลียน รัฐเคนทักกี อยู่ระหว่างเมืองโฮปคินส์วิลล์ และพรินซ์ตัน นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่มองเห็นได้จากสหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สุริยุปราคาเต็มดวง 7 มีนาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งมองเห็นได้แต่ที่รัฐฟลอริดา",
"title": "สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560"
}
] |
3388 | รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ? | [
{
"docid": "634923#1",
"text": "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (และต่อมาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้\nปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใข้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"
},
{
"docid": "741532#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง พ.ศ. 2557–2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"
}
] | [
{
"docid": "69653#6",
"text": "รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับใช้บังคับเป็นเวลานาน เช่น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐประหารจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้บังคับเป็นเวลา 9 ปีเศษ แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลายฉบับใช้บังคับในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีหลักการสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองซึ่งไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง ทว่าตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรจึงมักถูกยกเลิกโดยรัฐประหาร โดยคณะผู้นำทางทหาร เมื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วจึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มุ่งใช้บังคับถาวรแล้วก็จะมีการเลือกตั้ง และตามด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่งก็จะถูกรัฐประหาร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจัดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่อีก หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับหลายสิบปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
},
{
"docid": "28664#1",
"text": "รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น \"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน\" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"
},
{
"docid": "965695#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย โดยหากเทียบรัฐธรรมนูญสี่ฉบับก่อนหน้าถือได้ว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเอง รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี เศษ\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาโดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 100 คน",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492"
},
{
"docid": "671#6",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกกันว่า \"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน\" ได้มีการประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) อย่างไรก็ตาม มีการอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เป็นต้นเหตุของความยุ่งยากทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความโดดเด่นในด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับความเป็นประชาธิปไตยในตัวกฎหมาย นอกจากนี้ยังบัญญัติให้สมาชิกของทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีการรับรองสิทธิมนุษยชนจำนวนมากตามกฎหมาย และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ขณะที่มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา",
"title": "การเมืองไทย"
},
{
"docid": "679256#0",
"text": "รัฐธรรมนูญในประเทศลาวมีที่ประกาศใช้มาแล้ว 2 ฉบับคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรลาว และรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน\nรัฐธรรมนูญฉบับแรกของลาว เขียนโดยฝรั่งเศส และปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประกาศใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีสถานะเป็นรัฐเอกราชในเครือสหภาพฝรั่งเศส ต่อมาได้มีการแก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 โดยตัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหภาพฝรั่งเศสออกไป รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันที่เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์\nในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นเวลา 16 ปีหลังจากจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาประชาชนสูงสุดซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติบัญญัติสูงสุดของรัฐ ได้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ การร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้เริ่มต้นอย่างช้าๆตั้งแต่พ.ศ. 2518 แต่ก็ไม่มีความก้าวหน้าจนการประชุมพรรคครั้งที่สามจึงได้เร่งรัดการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ทำงานอย่างไม่เป็นทางการโดยมีประธานคือสีสมพน โลวันไซ ซึ่งเป็นคณะกรรมการโพลิตบูโร มีที่ปรึกษาจากเยอรมันตะวันออก การมอบหมายงานอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527",
"title": "รัฐธรรมนูญลาว"
},
{
"docid": "763012#1",
"text": "รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ฉบับปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในโลกที่กำหนดสิทธิทางสังคม ใช้เป็นตัวแบบสำหรับรัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ. 1919 และรัฐธรรมนูญรัสเซีย ค.ศ. 1918 บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดบางข้อ ได้แก่ มาตรา 3, 27 และ 124 ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งในปรัชญาการเมืองเม็กซิโกซึ่งช่วยกำหนดกรอบฉากหลังทางการเมืองและสังคมแก่ประเทศเม็กซิโกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาตรา 3 มุ่งจำกัดคริสตจักรโรมันคาทอลิกในเม็กซิโก และสถาปนาฐานสำหรับการศึกษาแบบฆราวาสภาคบังคับให้เปล่า มาตรา 27 นำมาซึ่งรากฐานสำหรับการปฏิรูปที่ดิน และมาตรา 123 ออกแบบมาเพื่อเสริมอำนาจภาคแรงงาน ซึ่งกำเนิดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และสนับสนุนกลุ่มแยกที่เป็นฝ่ายชนะในการปฏิวัติเม็กซิโก",
"title": "รัฐธรรมนูญเม็กซิโก"
},
{
"docid": "741532#1",
"text": "สืบเนื่องจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ผ่านมา ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดแรก จำนวน 36 คน ซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด มีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการฯ ทำให้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ จำนวน 21 คน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และมีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยนับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยได้รับเสียงเห็นชอบท่วมท้นถึง 16.8 ล้านเสียง ต่อเสียงคัดค้าน 10.5 ล้านเสียง",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"
},
{
"docid": "19824#7",
"text": "การปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2538 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2548\nประกอบด้วยประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและผู้นำรัฐบาล ส่วนนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ในการช่วยเหลือประธานาธิบดีในการดูแลคณะรัฐมนตรี",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "121276#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของไทย จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยรัฐประหารของคณะรัฐประหารอันมี พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีพฤฒิสภา (วุฒิสภา) ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 80 คน",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489"
}
] |
3390 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสียชีวิตจากสาเหตุใด ? | [
{
"docid": "50876#5",
"text": "พระชนชีพในบั้นปลาย หลังจากที่เสด็จกลับสู่ประเทศไทยหลังจากที่ทรงลี้ภัยทางการเมืองนานถึง 16 ปี ทรงตั้งโรงงานทอผ้าขึ้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทอผ้าโขมพัสตร์ขึ้นจำหน่ายได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ทรงมีพระอาการประชวรกระเสาะกระแสะ ได้เสด็จไปประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราช ที่สุดก็สิ้นพระชนม์ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ขณะมีพระชนมายุ 76 พรรษา และได้รับพระราชทานพระเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2497",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
}
] | [
{
"docid": "50876#12",
"text": "เมื่อที่มั่นแห่งสุดท้ายคือสถานีปากช่องถูกยึด และแม่ทัพเสียชีวิต พระองค์เจ้าบวรเดชและพระชายาจึงเสด็จหนีโดยทางเครื่องบินจากฐานบินโคราช มีหลวงเวหนเหิรเป็นนักบิน ไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยโดยรถยนต์เข้าทางอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี พร้อม หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระชายา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2491หลังจากที่รัฐบาลในขณะนั้นได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมืองทุกคดี โดยพระชนชีพที่ไซง่อนและกัมพูชา ทรงเปิดโรงงานทอผ้าและค้าขายถ่าน รวมระยะเวลาที่ทรงลี้ภัยนานถึง 16 ปี",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
},
{
"docid": "47842#13",
"text": "กินเวลาถึง 7 วันก่อนจะรู้และแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ในลอนดอนว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เจ้าดาราทองผู้โด่งดังที่สุดเมื่อ 50 ปีก่อนสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระชนม์ 71 พรรษา BBC ออกข่าวโทรทัศน์ทั่วประเทศทั้งเช้า กลางวัน เย็น ถือเป็นข่าวใหญ่ ITV ออกข่าวไปทั่วโลก ข่าวสิ้นพระชนม์ลงข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยทุกฉบับ รวมทั้งนสพ.อังกฤษและประเทศอื่นๆที่เคยทรงทำชื่อเสียงไว้",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช"
},
{
"docid": "34735#1",
"text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริประชวรด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและถุงลมโป่งพองสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 สิริพระชันษาได้ 84 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศและเฉลิมพระนาม \"หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์\" ขึ้นเป็น \"พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ\" เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ"
},
{
"docid": "50876#0",
"text": "พลเอก นายพลเสือป่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (2 เมษายน พ.ศ. 2420 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำกบฏบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2476",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
},
{
"docid": "869528#4",
"text": "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาส สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุหม้อน้ำเรือกลไฟไชยโชติวงษแตกกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสิงห์บุรี พร้อมกับพระโอรส และ หม่อมราชวงศ์พวงประภา ศิริวงศ์ พระชายา, หม่อมแสง ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (หม่อมในพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์) และ หม่อมราชวงศ์รัษฎามาตย์ ศิริวงศ์ เมื่อวันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2440 พระชันษา 22 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2441",
"title": "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาส"
},
{
"docid": "122336#1",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2525 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยากรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2526 มีพระชนมายุยืนยาวถึง 91 ปี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นพระธิดาบุญธรรมพระองค์เดียวที่มีพระชนมชีพอยู่จนได้จัดการพระบรมศพของสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง คือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ทรงอภิบาลพระองค์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตราบจนสิ้นพระชนม์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร"
},
{
"docid": "50876#8",
"text": "ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ถือเป็นเจ้านายระดับสูงเพียงไม่กี่พระองค์ที่ไม่ถูกควบคุมองค์ไว้ในฐานะองค์ประกัน แต่ในเวลาราว 23.00 น. ของคืนวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อันป็นวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ คณะราษฎรได้ยึดกุมเอาไว้เป็นสถานที่บัญชาการ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ก็ยังได้ไปปรากฏพระองค์ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงแจ้งความประสงค์ว่า จะขอพบกับหัวหน้าคณะผู้ก่อการ เมื่อได้พบแล้ว พระองค์ท่านได้สนทนาเพียงสั้น ๆ ว่า ทำอะไรกัน ทำไมไม่บอกให้รู้กันก่อน เมื่อหัวหน้าผู้ก่อการ คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทูลตอบว่า จะให้ทรงทราบไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่สำเร็จ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช จึงกล่าวว่า เมื่อทำแล้ว ก็ขอให้ทำให้ถึงที่สุด เสร็จแล้วก็เสด็จกลับ",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
},
{
"docid": "41851#3",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ประชวรพระโรคบังคนเบาพิการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ณ วังถนนขาวสามเสน สิริพระชันษาได้ 59 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑป และโปรดให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2459",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ"
},
{
"docid": "858410#8",
"text": "พระองค์เจ้าปัทมราชสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อพ.ศ. 2408 พระชันษา 78 ปี พระอัฐบรรจุในโกศโถทรงกาไหล่ทองคำ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เก็บไว้ที่วิหารสามจอม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับพระอัฐิและอัฐิของสกุลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเจ้านายสกุล ณ นคร เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) เป็นต้น",
"title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช"
}
] |
3406 | ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "829975#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นฤดูกาลที่สงบในแง่ของดัชนีเอซีเอและมีพายุไต้ฝุ่นน้อยที่สุดนับแต่ปี 2554 ฤดูกาลนี้มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นจำนวน 27 ลูก ในจำนวนนี้ 11 ลูกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น และมีพายุเพียงสองลูกที่ทวีกำลังไปถึงระดับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ทั้งพายุส่วนมากยังมีช่วงชีวิตสั้นและมีกำลังอ่อน ส่งผลให้ดัชนีเอซีอีมีค่าต่ำมาก ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2560 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560"
}
] | [
{
"docid": "914491#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 เป็นอดีตเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2561 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พายุลูกแรกของฤดูนี้ชื่อว่า บอละเวน ก่อตัวขึ้นในวันที่ 3 มกราคม พายุไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูคือ เจอลาวัต ทวีกำลังแรงถึงระดับพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม และกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของปีด้วย",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561"
},
{
"docid": "751916#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2559 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี ระบบพายุแรกก่อตัวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ทำให้ฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกในยุคดาวเทียมฤดูนี้ มีพายุก่อตัวช้าที่สุดหนึ่งในห้า โดยมีเพียงฤดูกาล พ.ศ. 2516 2526 2527 และ 2541 เท่านั้นที่มีพายุก่อตัวช้ากว่าฤดูนี้",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559"
},
{
"docid": "585238#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557 เป็นฤดูกาลที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2557 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557"
},
{
"docid": "669185#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2558 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558"
},
{
"docid": "490892#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 เป็นฤดูกาลที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2556 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556"
},
{
"docid": "669185#4",
"text": "ฤดูกาลปี พ.ศ. 2558 นี้เริ่มต้นด้วยพายุโซนร้อนชังมีที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซันดากัน, มาเลเซีย ซึ่งเป็นพายุที่ต่อเนื่องมาจากฤดูกาลก่อน ซึ่งส่งผลกระทบกับประเทศมาเลเซียและสลายตัวไปในวันต่อมา วันที่ 2 มกราคม มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของบรูไน แต่ระบบไม่มีการพัฒนาและสลายตัวไปในที่สุด สำหรับพายุโซนร้อนลูกแรกของปีนี้คือพายุโซนร้อนกำลังแรงเมขลา ซึ่งมีผลกระทบกับฟิลิปปินส์ สำหรับพายุไต้ฝุ่นลูกแรกของปีนี้คือพายุฮีโกส ซึ่งกลายเป็นพายุที่แข็งแกร่งที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ แม้ความรุนแรงของมัน จะไม่ส่งผลกระทบใดๆ อย่างมีนัยสำคัญกับทวีปและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ช่วงท้ายของเดือนมีนาคม พายุไต้ฝุ่นไมสักก่อตัว และมีกำลังแรงสูงสุดเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ตามมาตรา SSHW ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในเดือนเมษายน ต่อมาในเดือนพฤษภาคมพายุไต้ฝุ่นโนอึล และ ดอลฟิน ก็ทวีกำลังแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ลูกที่สองและสามของฤดูกาลตามลำดับ นอกจากนี้ชื่อ ดอลฟิน ยังเป็นชื่อพายุที่เก่าแก่ที่สุดในบันทึกของแอ่งนี้ โดยถูกใช้มาทั้งหมด 7 ครั้ง และยังเป็นครั้งแรกที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อตัวในเดือนพฤษภาคม",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558"
},
{
"docid": "411248#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 เป็นช่วงของปีที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2555 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555"
},
{
"docid": "914491#22",
"text": "ในวันสิ้นปี มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตอนใต้ของทะเลจีนใต้ โดยศูนย์เตือยไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัส \"36W\" กับพายุดีเปรสชัน ต่อมาพายุดีเปรสชันดังกล่าว ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ \"ปาบึก\" (\"Pabuk\") จาก RSMC โตเกียว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2562 พร้อมได้รับรหัสพายุว่า \"1901\" ทำให้พายุนี้กลายเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561"
},
{
"docid": "1001149#0",
"text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนที่กำลังดำเนินอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2562 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562"
}
] |
3412 | ฉัตรปตี ศิวาจีราเช โภสเล เกิดเมื่อไหร่ ? | [
{
"docid": "871939#1",
"text": "ฉัตรปตี ศิวาจีราโช โภสเล หรือพระนามเดิม ศิวาจี โภสเล ประสูติเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1630 (บ้างว่า 6 เมษายน ค.ศ. 1627) ณ ป้อมภูเขาศิวเนรี ใกล้เมืองจุนนา เขตปูเน รัฐมหาราษฏระ ในปัจจุบัน พระนามของพระองค์มีที่มาจากเทพเจ้าศิวาอีซึ่งพระนางชีชาบาอีได้บูชาอยู่ตลอดเวลาที่ทรงครรภ์ศิวาจีอยู่ โดยพระบิดามีพระนามว่า ศาหจี โภสเล เป็นนักรบมราฐีผู้รับใช้อาณาจักรสุลต่านทักขิน (เดคกัน) พระมารดามีพระนามว่า ชีชาบาอี (หรือ ชีชาไบ) บุตรีของราชาลาขุชีราว ชาธัวแห่งสินทเขท ในเวลานั้น อำนาจในแผ่นดินทักขินถูกปกครองร่วมโดยอาณาจักรอิสลาม 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรพีชปุร , อาณาจักรอาเหม็ดนคร และ อาณาจักรโคลโกณทา ศาหจีมักจะเลือกจงรักภักดีอยู่ระหว่าง นิซัมชาห์ฮี แห่ง อาเหม็ดนคร, อทิลศาห์ แห่ง พีชปุร และจักรวรรดิมุคัล แต่ก็ยังครอบครองชาคีร์ (เขตศักดินา) และกองทัพไว้กับตัวอยู่ตลอด",
"title": "จักรพรรดิศิวาจี"
},
{
"docid": "871939#0",
"text": "ฉัตรปตี ศิวาจีราเช โภสเล (; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1630 – 3 เมษายน ค.ศ. 1680) เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่ง จักรวรรดิมราฐา ครองราชย์ตั้งแต่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1674 ถึง 3 เมษายน ค.ศ. 1680 เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดชาตินิยมต่อ มหาตมา คานธี และนักสู้เพื่ออิสรภาพชาวอินเดียอีกหลาย ๆ คน",
"title": "จักรพรรดิศิวาจี"
}
] | [
{
"docid": "400045#2",
"text": "หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล ท่านมีนามเดิมว่า เขียน ภูสาหัส ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ณ บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายสังข์ และนางค้อม ภูสาหัส เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านได้ออกบรรพชาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และอุปสมบทเมื่อมีอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ออกศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน จนท่านสามารถสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ. 2485 \nในปี พ.ศ. 2487 หลวงปู่เขียน ได้เข้ากราบฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคใหม่ ๆ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้นำไปฝาก ทั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้หลวงปู่ท่านได้เป็นศาสนทายาทที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งด้านปริยัติธรรมและด้านปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรในภายภาคหน้า หลังจากที่ท่านได้ฟังธรรมและปฏิบัติได้ดีแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ กัมมัฏฐานไปตามป่าเขาลำเนาไพรในจังหวัดต่างๆ จนออกไปถึงประเทศลาว และแวะเวียนมาเข้ากราบฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นระยะ ๆ",
"title": "พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)"
},
{
"docid": "396066#0",
"text": "พระสมุห์เจือ ปิยสีโล หรือ หลวงปู่เจือ ปิยสีโล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านท้ายคุ้ง ต.ไทยยาวาส อ. นครชัยศรี จ.นครปฐม บิดา-มารดา ชื่อ นายแพและนางบู่ เนตรประไพ เมื่อครั้นวัยเยาว์ ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดประชานาถ (วัดโคกแขก) แล้วมาช่วย ครอบครัวทำนา หาเลี้ยงชีพ จนกระทั่งเมื่อมีอายุ 26 ปีจึงกราบลาบิดามารดาไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมี (พระครูพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญญวสโน) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระธรรมธรมูล วัดกลางบางแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพุทธไชยศิริ (ผูก) วัดใหม่สุประดิษฐาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วท่านก็มา ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างมุ่งมั่น สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก และได้รับตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วเมื่อปี พ.ศ. 2528 หลงจากที่ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าอาวาสมาครั้งหนึ่ง หลวงปู่ท่านได้สร้างวัตถุมงคลมากมาย มีทั้งเบี้ยแก้ และทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ป้องกันคุณไสยต่าง ๆ นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ แจกให้กับลูกศิษย์ เช่น หลวงปู่เจือ รุ่น 1 พ.ศ. 2534 เนื้อเงิน เนื้อกะไหล่ทอง รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชา พระพิฆเนศวรบูชา พระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ พระพิมพ์ปรกโพธิ์เนื้อผง พระนางพญาสะดุ้งกลับเนื้อผงขมิ้นเสก และเนื้อดินเผา พระพิมพ์เศียรโล้น พระพิมพ์ซุ้มแหลม พระขุนแผนเคลือบ เหรียญหล่อหลวงปู่เจือ พระปิดตา เนื้อผง ผ้ายันต์และยาจินดามณี แต่น่าเสียดายที่ท่านได้ถึงแก่มรณภาพอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ปัจจุบัน รวมสิริอายุได้ 84 ปี 58 พรรษา",
"title": "พระสมุห์เจือ ปิยสีโล"
},
{
"docid": "945155#1",
"text": "พระพุทธิสารโสภณ รองศาสตราจารย์ ดร. นามเดิม เดช นามสกุล ศาลา ฉายา กตปุญฺโญ เป็นบุตรของนายทอก กับนางใบ ศาลา เกิดเมื่อวันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2493 บ้านเลขที่ 33 อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2506 วัดสุทธิมงคล อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2513 วัดสามัคคีบำเพ็ญผล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม (พุฒิ ยโส) วัดคามวาสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิจิตรธรรมสาร (วิสุธรรม จนฺทสาโร) วัดมัชฌันติการาม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิทิตคุณาภรณ์ (เกิ่ง วิทิโต) วัดสามัคคีบำเพ็ญผล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์",
"title": "พระพุทธิสารโสภณ (เดช กตปุญฺโญ)"
},
{
"docid": "396545#1",
"text": "หลวงพ่อสวัสดิ์ ปุณณสโล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2451 ตรงกับปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 5 อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 25 ปี ตรงกับวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ พัทธสีมา วัดดอกไม้ ตำบลคลองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิสต์ โดมีหลวงพ่อกล่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ 2 พรรษา แล้วออกเดินธุดงค์สั่งสมประสบการณ์ในทางธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ก่อนข้ามไปศึกษาวิชาในเขมร จนถึงปี พ.ศ. 2479 เข้าจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพง ก่อนที่จะเป็นเจ้าอาวาสวัดซากนิมิตรวิทยา อำเภอบ้านบึง พอถึงปี พ.ศ. 2528 ได้สร้างสำนักวิปัสสนาเม้าสุขา จากนั้นปี พ.ศ. 2530 ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงบวรสถิตย์และเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านบึงจนถึงปี พ.ศ. 2542 หลวงพ่อท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ในแผ่นดินรัชกาลปัจจุบัน รวมสิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 70",
"title": "พระครูพิศาลพรหมจรรย์ (สวัสดิ์ ปฺณณสีโล)"
},
{
"docid": "104440#4",
"text": "โต๋เกิดเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นบุตรชายคนโตของนคร เวชสุภาพร กับธนภรณ์ เวชสุภาพร มีน้องชาย 1 คนชื่อ พรรศักดิ์ เวชสุภาพร (เต๋) จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง จากคณะบริหารธุรกิจ เอกบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ) นอกจากนี้เขายังแต่งเพลงประกอบละคร ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน, ใยเสน่หา, พระจันทร์แสนกล และ พ่อตัวจริงของแท้ และยังเป็นโปรดิวซ์เซอร์เพลง “บทเพลงในสายลม” และ “เสียงในใจ” อัลบั้ม \"Dangerous Tata\" ของทาทา ยังโครงการดนตรีบำบัดเด็กป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2548 โต๋และครอบครัวได้เดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดขอนแก่น และได้ไปเยี่ยมแฟนคลับของคุณพ่อที่เป็นแพทย์ในโรงพยาบาล จึงได้ทราบว่ามีน้องๆ ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวนมากที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษา โต๋จึงอยากจะช่วยน้องๆ เหล่านั้น ด้วยการจัดคอนเสิร์ตการกุศลหารายได้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษาซีรีส์\n▪น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ รับบท โต๋",
"title": "ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร"
},
{
"docid": "853740#1",
"text": "ฉัตรดาว สิทธิผล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการแคสติ้งเป็นนักแสดงในสังกัด ช่อง 7 เอชดี และมีผลงานละครแจ้งเกิดจากบทร้าย ในละครเรื่อง อกธรณี รับบทเป็น โลมตา การศึกษาเรียนจบมัธยมปลายจากโรงเรียนราชินีบน และปัจจุบันสำเร็จการศึกษาที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 พระราชทานปริญญาบัตร เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโท คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "ฉัตรดาว สิทธิผล"
},
{
"docid": "161117#1",
"text": "ส่ง เทภาสิต เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีกุน ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 ที่บ้านถนนบ้านหม้อ อำเภอคลองกระแชง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายสอนและนางถิ่น เทภาสิต จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นสอบได้ประกาศนียบัตรครูมัธยม และเริ่มรับราชการครูที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอยู่ 2 ปี และได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2463 ไปศึกษาต่อวิชาครู และวิชาภาษาสันสกฤต ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ",
"title": "ส่ง เทภาสิต"
}
] |
3425 | ขุนศึกโจโฉ เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "19644#0",
"text": "เฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (; ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利) เป็นขุนศึกและอัครมหาเสนาบดีลำดับรองสุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้เถลิงอำนาจช่วงปลายราชวงศ์ ทั้งเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุดในสมัยสามก๊ก และเป็นผู้วางรากฐานรัฐเว่ย์/วุย (魏) เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าอู่ (武王) หรือ จักรพรรดิอู่ (武帝)",
"title": "โจโฉ"
}
] | [
{
"docid": "613708#0",
"text": "เฉา ชง ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจฉอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (; ค.ศ. 196–208) ชื่อรองว่า ชางชู () เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้เป็น อายหวัง (; \"องค์ชายอาย\") เป็นบุตรชายคนหนึ่งของเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกชาวจีนซึ่งเถลิงอำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและวางรากฐานให้รัฐเว่ย์/วุย (魏) ในสมัยสามก๊ก",
"title": "โจฉอง"
},
{
"docid": "941761#0",
"text": "ยุทธการที่เงียบกุ๋น (, ) สงครามที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 204 ในปลายยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นการต่อสู้กันระหว่างขุนศึก เฉาเชา หรือ โจโฉ และ อ้วนซง บุตรชายและผู้สืบทอดของคู่แข่งของโจโฉ ยฺเหวียนเซ่า หรือ อ้วนเสี้ยว ในเมืองที่เป็นฐานอำนาจของตระกูลอ้วน เมืองเงียบกุ๋น (ปัจจุบันคือ หานตาน มณฑลเหอเป่ย์) โจโฉเป็นพันธมิตรกับพี่ชายต่างมารดาของอ้วนซง อ้วนถำ ซึ่งก่อกบฏเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องการสืบตำแหน่งและด้วยการร้องขอของอ้วนถำทำให้โจโฉยกทัพเข้าปิดล้อมเมืองเงียบกุ๋นซึ่งการปิดล้อมเมืองเงียบกุ๋นประสบความสำเร็จทำให้อ้วนซงสูญสิ้นอำนาจใน กิจิ๋ว และโจโฉในเวลาต่อมาได้ใช้เมืองเงียบกุ๋นเป็นฐานอำนาจทางการทหารของเขา",
"title": "ยุทธการที่เงียบกุ๋น"
},
{
"docid": "665835#2",
"text": "กงเต็กจุนอ๋อง ( 廣澤尊王 )\nวันที่ 22 ค่ำ เดือน 2จีน ปีพุทธศักราช 1466 เป็นชาวเมืองจ๋วนจิว ถิ่นกำเนิด ที่หมู่บ้านซีซัว อำเภอหลำอัว เป็นลูก ชาวนา ยากจน เมื่อต้องกำพร้า บิดาแต่เยาว์วัย ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ท่านและมารดาจึงได้ ย้ายมายัง หมู่บ้านกิมก๊ก อำเภออานโคย อาศัยอยู่กับครอบครัวตระกูลเอี๋ยว โดยทำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงวัว เลี้ยงแกะ ในวัยเยาว์ท่านเป็นเด็กที่ขยันขันแข็ง มีคุณธรรม เคารพบิดรมารดา มีความกตัญญูเมื่อท่านได้นำสัตว์ เหล่านั้น ขึ้นภูเขาไปเลี้ยงพร้อม กับเด็กคนอื่นท่านก็เริ่มฉายแววความ ฉลาด มีลักษณะ ความเป็นผู้นำ ทำให้เด็กเหล่านั้นเชื่อฟัง และทำตาม ในขณะนั้นท่านเริ่มจะมี ญาณวิเศษ สามารถทำบางสิ่งที่ปุถุชนทั่วไปไม่ สามารถกระทำได้ท่านและเพื่อนๆ มักเล่น เป็นกษัตริย์และข้าราชบริพาร ตาม ประสาเด็ก จนเมื่อโตขึ้นทางบ้าน ได้เชิญซินแสท่านหนึ่งมาดูฮวงจุ้ยภาย ในบ้าน เมื่อซินแสท่านนั้นพบกับท่าน ก็มองออกถึง ความมีวาสนา ท่านได้ รับมอบหมายให้ ปรณนิบัติซินแส ซึ่งทำได้เป็นอย่างดี ซินแสท่านจึงเอ็นดู ได้ชี้แนะตำแหน่งฮวงจุ้ย ภายในบ้าน ที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นตำแหน่งของ บุญบารมี แห่งกษัตริย์ พร้อมแนะนำให้ ท่านนำ เถ้ากระดูกของบิดามาฝังไว้ ณ. ตำแหน่งนี้ แล้วชีวิตท่านจะสมปรารถนา ทุกประการ และเมื่อท่านจำต้องจากบ้าน ตระกูลเอี๋ยว เพราะต่อหัวเสือได้เข้ามา ทำร้ายกัดต่อยแกะและวัวตายหมดคอก เจ้าของบ้านจึงไม่พอใจ ท่านและมารดา จึงจำต้องออกจากบ้านตระกูลเอี๋ยวท่านคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ ได้ แล้วซินแสก็อำลาจากไประหว่าง ทางที่ ท่านได้เดินทางพร้อมมารดา พลันคิดว่า จะไป ณ ที่แห่งใดนั้น ปรากฏฝนตกหนัก มีซือกง ท่านหนึ่ง เดินตากฝนเอา ฉาบตีที่ ทำด้วยทองแดง กั้นครอบศีรษะ พลันเห็น เด็กหลบฝนใต้ ท้องวัว พลันน้ำบ่าเป็น สีแดงคลั่กและ ชาวบ้านตกปลาหลบใต้ ต้นไม้ นำปลาที่ตกได้แขวนไว้บนต้นไม้ ปลาดิ้นพราดๆ คำปริศนาทั้ง 4 จึงถูกค้นพบและชักนำให้ท่านมาพำนักที่ #ห่องหองซัว เมื่ออายุ 16 ปี ครั้งหนึ่งท่านได้ขึ้นไป เก็บกิ่งไม้แห้ง นั่งบนตั่งยอดไม้ โดยเด็ก เลี้ยงวัว เก็บไม้อยู่ข้างล่าง แต่แล้วท่าน ก็นิ่งไป เป็นที่ผิดสังเกต เมื่อมารดา มา พบเข้าก็ พลันตกตะลึง พบท่านตัวแข็งทื่ ออยู่ใน ลักษณะนั่งบนยอดไม้ หน้าแดงกล่ำ ดวงตาเบิกกว้าง ปากกว้าง ตั้งคอตรง ขายกขัดสมาตรทั้ง 2 ข้าง มารดาจึงดึง ขาท่านได้เพียง 1 ข้าง ขาอีกข้างยังอยู่ ในลักษณะเดิมกล่าวว่าท่านละทิ้งสังขาร #สำเร็จธรรม ในวันที่ 22 เดือน 8 (จีน)\nในลักษณะท่าทางเช่นกิมซิ้นที่นิยมบูชา ด้วยคอที่ตั้งตรงและดวงตาที่เบิกกว้าง เพราะต้องการมองเห็นได้ไกล เหตุการณ์ นี้ล่ำลือไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ต่อมามีผู้นับถือ ท่านมากขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงสร้างศาล ให้ท่านอยู่ แรกเริ่มผู้คนมักแต่งกาย ให้ท่าน อยู่ใน ชุดทหาร ชาวบ้านจึงเรียกศาลท่านว่า #จงกุนสี่ ต่อมาจึงเรียกเป็น #ห่องซานสี่ เนื่องจากตั้งศาลอยู่บนเนิน #ห่องซัว\nแรกเริ่มชาวบ้านเรียกท่านว่า #โก๊ยเซ่งอ๋อง ต่อมามีผู้สร้างศาลให้ท่าน ที่หมู่บ้านกิมก๊ก อำเภออานโคย บ้าน ตระกูลเอี๋ยว เดิมที่ท่าน เคยพำนักอาศัย ในตำแหน่งจุดฮวงจุ้ยที่ ซินแส เคย ชี้แนะ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับตำแหน่ง หลุมฝังศพของบิดาท่านเรียกว่า #ไท้อ๋องเหลง ต่อมาในภายหลังมีเรื่อง ตำนานกล่าวถึงการสร้าง #กิมซิ้นเซ่งโบ้ ในตำแหน่งภรรยาของท่านในศาลเดียวกันซึ่งไม่ปรากฏว่าในช่วงที่ท่านมีชีวิต ได้ แต่งงานมีภรรยากล่าวว่า #เซ่งโบ้ ท่านนี้ ชื่อ เดิมคือ #เอี๋ยวเชียนกิม เป็นลูกสาวของ เต๋าซือ ท่านหนึ่งซึ่งนาง ได้ฝันเห็น ชายหนุ่ม รูปงามในความฝัน อยู่บ่อยครั้งเป็นอาจิน จนล่วงรู้ถึง #เต๋าซือ ซึ่งท่านก็ไม่สบายใจ และไม่ไว้วางใจจึงได้เร่งรัดให้ลูกสาว ต้อง แต่งงานกับบุตรชายตระกูลลี่ โดย ระหว่าง ทางผ่านหน้า #ศาลพระโก๊ยเซ่งอ๋อง เจ้าสาวเกิด หายไปจากเกี้ยวและกลับกลาย เป็น กิมซิ้นอยู่ข้างกายท่านนับจากบัดนั้น จากนั้นกล่าวว่าท่านมีบุตรชายรวม ทั้งสิ้น 13 คนเรียก #จับซาไท้จื้อหรือจับซาไท้โป้ ซึ่งต่าง ได้รับมอบหมายให้ประจำดูแลแห่ง หนตำบลสถานที่ต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน\nโดยในศาลท่านของท่าน #โก้ยเซ่งอ๋อง มักมีขุนพลข้างกาย 2 องค์",
"title": "โกยเซ่งอ๋อง"
},
{
"docid": "842125#1",
"text": "นางเปียนสีเกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 159 ที่ไป่ถิงในครอบครัวที่มีฐานะยากจนทำให้นางต้องไปทำงานเป็นนางคณิกากระทั่ง โจโฉ ได้มาไถ่ตัวนางออกจากหอนางโลมจนกระทั่ง ค.ศ. 187 ขณะอายุได้ 28 ปีนางได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ 2 ของโจโฉแต่เป็นบุตรชายคนแรกของนางคือ โจผี ทำให้ในปีต่อมาคือ ค.ศ. 188 โจโฉได้รับนางเป็นอนุภรรยาอย่างเป็นทางการ",
"title": "เปียนสี"
},
{
"docid": "529894#1",
"text": "นายโอบูจิ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดกุมมะ เป็นบุตรคนที่สองของ นายโคเฮ และนางชิโยะ โอบูจิ ทำธุรกิจโรงงานปั่นด้าย เข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ กรุงโตเกียว ขณะศึกษานั้นโอบูจิมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเช็คสเปียร์ แต่สถานการณ์พลิกผันเมื่อนายโคเฮ โอบูจิ ผู้บิดา ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งนายโคเฮเคยได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2492 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งในอีกสามครั้งต่อมา หลังได้รับการเลือกตั้งนายโคเฮ เสียชีวิตลงในอีกเพียง 3 เดือนต่อมา ด้วยเหตุนี้ทำให้ โอบูจิ ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องก้าวสู่การเมือง ต่อจากบิดา และได้ปฏิญาณตนอย่างซื่อสัตย์ที่จะ \"สืบทอดงานของบิดา และตอบแทนบุญคุณของ ผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้\" และเมื่อโอบูจิมีอายุครบ 25 ปี ก็ได้ก้าวเข้าสู่วงการเมืองอย่างเต็มตัว",
"title": "เคโซ โอบูจิ"
},
{
"docid": "81069#2",
"text": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 นับแบบเก่า นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2472 (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง) ณ บ้านเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือกำเนิดในครอบครัวชาวจีนไหหลำ เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 7 คน ของนายอุ้ยเลี้ยน แซ่โหย่ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี แซ่โหย่ (ยี โชคชัย) ครอบครัวโชคชัยมีอาชีพทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันทายาทสกุลโชคชัยหรือแซ่โหย่เปลี่ยนนามสกุลนั้นเป็น โชคคณาพิทักษ์",
"title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)"
},
{
"docid": "831242#0",
"text": "จงป้า () มีชื่อรองว่า เซวียนเกา เป็นบุคคลใน ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อ ค.ศ. 162 โดยเป็นขุนศึกของ วุยก๊ก แต่เดิมรับใช้ โตเกี๋ยม จนกระทั่งโตเกี๋ยมเสียชีวิตจึงย้ายมาอยู่กับ ลิโป้ และสุดท้ายจึงมารับใช้ โจโฉ จนกระทั่งถึงรัชสมัย พระเจ้าโจยอย จึงถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 230 ขณะอายุได้ 68 ปี",
"title": "จงป้า"
},
{
"docid": "19644#6",
"text": "โจโฉมีบุตรชายทั้งหมด 5 คน คนแรกชื่อโจงั่ง ซึ่งเกิดจากนางเล่าฮูหยิน แต่เสียชีวิตเมื่อครั้งเกิดศึกสงครามกับเตียวสิ้วพร้อมกับภรรยาอีกคนหนึ่งคือนางเอียนสี โจโฉยังมีบุตรชายกับภรรยาคนที่สองซึ่งภายหลังกลายเป็นภรรยาเอกคือนางเปี้ยนสี อีก 4 คนคือโจผี โจเจียง โจสิด และ โจหิม โจหิมป่วยหนัก และเสียชีวิตแต่ยังหนุ่ม บุตรชายที่เหลือทั้ง 3 ได้รับราชการและสร้างผลงานเอาไว้ชัดเจน ในบั้นปลายชีวิตโจโฉป่วยเป็นโรคประสาท มักปวดหัวเป็นประจำ ว่ากันว่าเกิดขึ้นหลังจากแม่ทัพกวนอูแห่งจ๊กก๊กได้ถูกตัดหัวด้วยฝีมือของซุนกวนแห่งง่อก๊ก ซุนกวนก็คิดที่จะส่งหัวของกวนอูไปให้โจโฉเพื่อให้เล่าปี่หันไปล้างแค้นกับโจโฉแทนที่จะมาล้างแค้นตน เมื่อกล่องใส่หัวของกวนอูมาถึงมือโจโฉ โจโฉเปิดกล่องมองดูหัวของกวนอูก็หัวเราะและทักทายแต่แล้วจู่ๆหัวของกวนอูก็เบิกตาโพลงอ้าปากค้างทำให้โจโฉตกใจจนตกจากเก้าอี้ หลังจากนั้นเมื่อได้ฟังเรื่องลิบองถูกวิญญาณของกวนอูเข้าสิงลุกขึ้นด่าซุนกวนจนกระอั่งเลือดตายก็เกิดความกลัวจนพูดว่า \"ขนาดกวนอูตอนเป็นยังดูน่ากลัว ตอนตายก็ดูน่ากลัวเข้าไปใหญ่อีก\"(และโจโฉก็รู้แผนของซุนกวนว่าปัดภัยมาให้ตน) จึงสั่งให้สลักร่างกายด้วยไม้หอมให้แก่กวนอูและฝังศพกวนอูทางทิศใต้ของเมืองลกเอี๋ยงและแต่งตั้งกวนอูเป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋ว ตนก็จะไปเซ่นไหว้ให้แก่กวนอู หลังจากงานศพของกวนอูผ่านไป จิตใจของโจโฉก็อยู่ไม่เป็นสุขทุกคืนจึงคิดจะสร้างตำหนักใหม่แต่ขาดเสาเอก แต่ก็ได้พบมีศาลแห่งหนึ่งที่มีต้นสาลี่ใหญ่สูงกว่า 100 ศอกเหมาะที่จะเอามาทำเป็นเสาเอก โจโฉสั่งให้โค่นลงแต่คนตัดไม้ไม่สามารถโค่นลงได้จึงไปรายงานให้กับโจโฉ โจโฉจึงไปดูต้นสาลี่ด้วยตัวเอง เมื่อสำรวจแล้วก็สั่งให้คนตัดไม้โค่นอีกแต่ก็ได้รับเสียงค้ดคานจากชาวบ้านว่าต้นสาลี่นั้นศักดิ์สิทธิ์มีเทพคุ้มครองอยู่โค่นไม่ได้ แต่โจโฉหาได้ใส่ใจไม้และบอกกับชาวบ้านว่า\"ข้ากร่ำศึกมากกว่าสี่สิบปี ไม่เคยกลัวผู้ใด มีแต่ไพร่สามัญจนถึงฮ่องเต้ล้วนเกรงกลัวข้า ภูตผีที่ไหนกล้าขวางข้า\" จึงชักดาบฟันต้นสาลี่ทำให้มียางไม้ที่มีสีคล้ายเลือดพ่นออกมาถูกเสื้อ โจโฉก็เผ่นหนีไปด้วยความหวาดกลัว จากนั้นก็อาการปวดหัวหนักขึ้น ต่อมาหมอฮัวโต๋ได้มาทำการตรวจอาการของโจโฉก็พบว่าลมในสมองมันตีบซึ่งต้นเหตุมันอยู่ในกะโหลกและเสนอการรักษาด้วยการให้ผ่ากะโหลกศีรษะ โจโฉกลับคิดว่าฮัวโต๋จะฆ่าตนจึงสั่งให้จับไปขังคุกและทรมานสอบสวน แม้จะได้รับการคัดค้านจากที่ปรึกษาก็ไม่ฟัง ฮัวโต๋ก็ถูกจับขังคุกจนตาย ต่อมาโจโฉได่ก็ได้จัดงานเลี้ยงแม้จะปวดหัวก็ยังทนได้และได้รับจดหมายจากซุนกวนว่าขอให้โจโฉขึ้นมาเป็นฮ่องเต้ ปราบปรามเล่าปี่พิชิตเสฉวน เมื่อปราบได้ก็จะมาสวามิภักดิ์แต่โจโฉกลับไม่เชื่อ แต่เหล่าที่ปรึกษาและทหารของท่านก็กลับเห็นด้วยได้พากันอ้อนวอนขอให้ขึ้นมาเป็นฮ่องเต้แต่โจโฉไม่รับและขอเป็นวุยอ๋องก็พอแล้ว หลังจากนั้นอาการของโจโฉก็ทรุดหนักขึ้นเรื่อยๆจนซบเซานอนลงบนเตียง แต่ในขณะที่หลับฝันเห็นวิญญาณที่ตนเคยฆ่ามาก่อนตามทวงเอาชีวิตจนสะดุ้งตื่นขึ้นชักดาบจนทำให้เหล่านางกำนัลต้องเผ่นหนีกระเจิงไป ที่ปรึกษาก็ได้แนะนำให้เชิญนักพรตลัทธิเต๋ามาช่วยทำพิธีปัดรังควาน แต่โจโฉก็ได้พูดว่าฟ้าได้ลงโทษแล้ว ไม่อาจฏีกาหรือขอขมาได้เลย ตนหมดบุญเพียงเท่านี้แล้วไม่อาจช่วยได้แล้ว",
"title": "โจโฉ"
},
{
"docid": "845612#2",
"text": "แต่สามก๊กฉบับวรรณกรรมของ ล่อกวนตง ได้กล่าวไว้ว่าก่อนเกิด ศึกผาแดง ใน ค.ศ. 208 โจโฉได้สั่งประหารเตียวอุ๋นซึ่งเป็นแม่ทัพเรือของวุยก๊กพร้อมกับ ชัวมอ แม่ทัพเรืออีกคนหนึ่งตามแผนของ จิวยี่ แม่ทัพใหญ่ของ ง่อก๊ก อันนำไปสู่ความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของโจโฉในสงครามครั้งนั้น",
"title": "เตียวอุ๋น"
}
] |
3448 | อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "194337#1",
"text": "ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง UPN เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 โดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 10 คน ในรอบ 5 คนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ ได้ไปแข่งขันต่อที่ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส และผู้ชนะจะได้เซ็นสัญญากับบริษัท Wilhelmina ได้รับการสัญญาการทำงานกับบริษัทเครื่องสำอาง Revlon และถ่ายแบบขึ้นปกนิตยสาร Marie Claire",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 1"
}
] | [
{
"docid": "427956#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 เป็นฤดูกาลที่ 18 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555\nโดยในฤดูกาลนี้ จะได้ผู้เข้าแข่งขัน 7คน จาก บริเทน เน็กซ์ ท็อป โมเดล ซึ่งได้แข่งขันในฤดูกาลที่ผ่านมาแล้ว มาร่วมแข่งขันกับ นางแบบหน้าใหม่ของ สหรัฐอเมริกา",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18"
},
{
"docid": "35751#2",
"text": "ในสหรัฐอเมริกา อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล ออกอากาศทางช่อง UPN ก่อนที่จะย้ายมาออกอากาศในช่อง The CW ในปี 2006 เนื่องจากการรวมตัวกันของช่อง UPN และช่อง The WB เช่นเดียวกับละครและเรียลลิตี้โชว์เก่าของ The WB อย่างสมอลล์วิลล์, ซูเปอร์เนเจอรัล โดยทำเรตติ้งคนดูในทุกฤดูกาลเป็นอันดับที่ 1 ของสถานีมาตลอดนับตั้งแต่ออกฉาย และจะยังคงออกฉายต่อไปจนถึงปี 2009-10 เป็นอย่างน้อย",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "903745#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24 เป็นฤดูกาลล่าสุด ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561 และเป็นฤดูกาลที่สอง ที่จะออกอากาศ ทางช่อง VH1 โดยในฤดูกาลนี้จะยังคงรับสมัครเฉพาะผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลนี้จะเป็นครั้งแรก ที่ไม่จำกัดอายุในการรับสมัครของผู้เข้าแข่งขัน ไทรา แบงส์ จะกลับมาทำหน้าที่เป็นกรรมการหลักและพิธีกรให้กับฤดูกาลนี้อีกครั้ง หลังจากที่ฤดูกาลที่แล้ว เป็นนักร้องสาวชื่อดัง ริต้า โอรา ในขณะที่คณะกรรมการจะยังคงประกอบไปด้วย สุดยอดนางแบบไซส์ใหญ่ แอชลีย์ เกรแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช อยู่เช่นเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24"
},
{
"docid": "35751#4",
"text": "ในประเทศไทย อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล ออกอากาศทุกคืนวันพุธ เวลาประมาณ 22.00 น. ทางช่องทรูอินไซด์ ของสถานีเคเบิลโทรทัศน์ทรูวิชั่นส์ ปัจจุบันออกอากาศฤดูกาลที่ 10 จบไปแล้ว ซึ่งต่อมาช่อง Channel [V] Thailand ได้ซื้อลิขสิทธิ์ฤดูกาลที่ 11 มาออกอากาศทุกคืนวันเสาร์ เวลาประมาณ 21.00 น. โดยฉายจบไปแล้วเช่นกัน จากนั้นในฤดูกาลที่ 12 เป็นต้นมาก็ถูกนำกลับมาออกอากาศที่ช่องทรูอินไซด์ตามเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "391196#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17 เป็นฤดูกาลที่ 17 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ได้จะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยในฤดูกาลนี้จะเป็นการรวบรวมผู้เข้าแข่งขันจากฤดูกาลต่างๆที่ผ่านมาทั้งหมด ที่มีบุคลิกโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งหมด 14คน มาแข่งขันกัน",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17"
},
{
"docid": "300471#47",
"text": "ตอนพิเศษที่รวมภาพที่ไม่เคยออกอากาศในทั้งหมด 11 ตอน ตั้งแต่การมีปัญหาของสาวๆในบ้านอย่าง อเลเชีย แองเจลี อันสลีย์ และคริสต้า รวมถึงการแข่งขัน กิน มาร์ชแมลโลว์ ระหว่าง อเล็กซานดร้า กับเจสสิก้า ที่เรียกว่า \"กระต่ายตัวอ้วน\"ภาษาที่เรน่าใช้ประจำ และตอนสุดท้ายที่ประกาศว่า คริสต้า ได้เป็น อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14"
},
{
"docid": "357935#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 16 เป็นฤดูกาลที่ 16 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 16"
},
{
"docid": "467054#2",
"text": "อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล เริ่มฉายในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ทางช่อง ลิวิง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในปีเดียวกัน บริเตนก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาได้สำเร็จ สำหรับฤดูกาลแรกของบริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั้นยังได้ออกอากาศพร้อมกับ อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5 อีกด้วย",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "813778#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23 เป็นฤดูกาลที่จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทางช่อง VH1 ซึ่งได้ถูกนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ถูกยกเลิกการผลิตไปในช่อง The CW ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยในฤดูกาลนี้จะกลับมาผลิตเป็นรูปแบบดั้งเดิมของรายการอีกครั้ง ที่รับสมัครผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยจะยกเลิกการสมัครจากผู้ชาย อีกทั้ง ฤดูกาลนี้ยังจะได้ นักร้องและนักแสดงสาวชาวอังกฤษชื่อดัง ริต้า โอรา มาเป็นกรรมการหลักคนใหม่ แทนที่ ไทรา แบงส์ รวมถึง คณะกรรมการยังได้ทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยจะประกอบไปด้วย สุดยอดนางแบบไซส์ใหญ่ แอชลีย์ เกรแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช แทนที่กรรมการชุดเก่าคือ เคลลี่ ครูโทน และผู้ฝึกสอนการเดินแบบ มิส เจ.อเล็กซานเดอร์ โดย ไทร่า จะยังคงทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการผลิต อยู่เช่นเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23"
}
] |
3455 | กลุ่มคนเสื้อเหลือง มีแกนนำคือใคร ? | [
{
"docid": "34347#0",
"text": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย () หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง",
"title": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"
}
] | [
{
"docid": "316785#7",
"text": "ภายหลังเกิดวิกฤติการทางการเมือง นายพายัพ ปั้นเกตุ มีบทบาทในการเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 นายพายัพ ปั้นเกตุ ได้นำมวลชนกลุ่มคนเสื้อแดงบุกปิดล้อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนเป็นที่มาของการต่อต้านกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ทำให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงต้องออกมาประกาศปฏิเสธว่าการกระทำของนายพายัพ ปั้นเกตุ ไม่ใช่มติของกลุ่ม นปช.",
"title": "พายัพ ปั้นเกตุ"
},
{
"docid": "339774#1",
"text": "กลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ เป็นการต่อยอดกลุ่มการเมืองจากเว็บบอร์ดราชดำเนิน พันทิป จากการรวบรวมกลุ่ม \"คนรักทักษิณ\" มาเป็น \"คนผ่านฟ้า\" แตกตัวมาเป็นกลุ่มวายุภักษ์ ในห้วงเวลาที่มี \"ม็อบคาราวานคนจน\" ที่จตุจักร สมาชิกเริ่มแรกมีประมาณ 1,200 คน ตอนเริ่มเปิดตัวกลุ่ม คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ช่วงแรกมี \"ชนาพัทธ์ ณ นคร\" เป็นหัวหอก แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น สุชาติ นาคบางไทร เป็นแกนนำ",
"title": "กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ"
},
{
"docid": "730032#2",
"text": "ทั้ง 7 เป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยตอนที่โดราเอมอนยังมีหูตัวสีเหลือง (ในตอนนั้นมีหน้าตาเหมือนโดราเดอะคิดตอนที่ไม่ใส่เสื้อผ้า) และทุกคนมี การ์ดมิตรภาพ () เผื่อเอาไว้ใช้เรียกรวมตัวเวลามีภัย\n=ตัวละคร=\nกลุ่มโดราเอมอน 7 ตัว ที่มีสีตัวเสื้อผ้ากับสัญชาติที่แตกต่างกันไป โดยทั้ง 7 ตัวมีอาวุธเหมือนกัน คือกระเป๋า 4 มิติที่หยิบของวิเศษออกมา แต่ของบางคนจะเป็นแบบอื่นเช่นหมวก ผ้าพันคอ แขนเสื้อ 4 กับมีอาวุธสุดท้ายคือหัวที่แข็งเหมือนกันในการใช้พุ่งชนทะลุทุกสิ่ง โดยทั้ง 7 ใช้บัตรโทรศัท์มิตรภาพ เรียกหากันข้ามผ่านแต่ละยุค ด้วยพลังมิตรภาพจาก เมื่อคนไหนมีภัยร้ายจะเรียกทุกคนให้มา เมื่อใช้พลังมิตรภาพของทั้ง 7 ในที่เดียวกัน จะแสดงพลังมิตรภาพเป็นไพ่ตาย เพิ่มพลังให้ของวิเศษ หรือ เพิ่มพลังให้กับอะไรก็ได้ให้มีพลังรุนแรงมากกว่าเดิม และในยุคสมัยอดีตแต่ละยุคที่พวกตนอาศัยอยู่ ใช้ชีวิตในฐานะทานุกิพูดได้ ซึ่งทุกคนพอโดนทักแบบนี้ จะโกรธกันมากๆ\n\"นี่เป็นแค่ข้อมูลในเรื่องแก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอนเท่านั้น หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมดู โดราเอมอน\"\nโดราเอมอน ()หัวหน้าแก๊ง ชอบกินโดรายากิแบบสูตรต้นตำหรับ ตะกละมากที่สุด แต่กลัวหนูเป็นที่สุด มีกระเป๋า 4 มิติอยู่ที่หน้าท้อง มีความเป็นผู้นำมากที่สุด ถึงแม้ว่าพลังจะอ่อนแอสุดก็ตาม โดยร่างตอนอยู่โรงเรียนหุ่นยนต์ในสมัยก่อนเป็นตัวสีเหลืองเหมือนโดราเดอะคิด แต่ไม่ใส่เสื้อผ้า กับมีหู แต่ปัจจุบันตัวสีฟ้ากับไร้หู\nโดรา เดอะ คิด (;)หุ่นยนต์แมวตัวสีเหลืองใส่ชุดคาวบอย มีนิสัยใจร้อน ขี้โมโห พอโกรธยิงมั่วไปหมดถึงกับพังยานอวกาศได้สบาย โดยยิงปืนแม่นที่สุด เก่งพอๆกับโนบิตะ แต่ตนใช้ปืนใหญ่อากาศ กับเป็นโรคกลัวความสูง ขนาดสูงแค่ 1 ชั้นมองลงล่างยังกลัวมาก ตอนใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่ต้องให้คนช่วยจับพาบิน เพราะกลัวตกเป็นที่สุด มีอาชีพคือตำรวจกาลเวลาเพราะถูกรับเลี้ยงมา โดยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริการัฐนิวยอร์ก เวลากินโดะระยะกิมักจะราดมัสตาร์ดและเค็ดชัพ เป็นแฟนกับโดเรมี(น้องสาวโดราเอมอน) หยิบของวิเศษออกมาจากหมวก 4 มิติ\nโดราเหม็ด รุ่นที่ 3 (;;;)หุ่นยนต์แมวตัวสีชมพูใส่ชุดอาบังสีเขียวผู้ชอบใช้เวทมนตร์คาถา มีคาถาประจำตัว คือ \"โอม โรตีมะตะบะ\" สัญชาติซาอุดีอาระเบียในอาหรับ กับควบคุมให้ของวิเศษลอย กลัวน้ำสุดๆ เพราะว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ค่อยชอบวิชาพลศึกษา เพราะบางครั้งจะได้เรียนว่ายน้ำ แบบแค่โดนปืนฉีดน้ำยิงใส่ยังกลัว หรือถ้ามีเรื่องจวนตัวแบบมีใครจมน้ำจริงๆ จะโดดลงไปช่วยโดยไม่คิดชีวิต จนว่ายน้ำได้ดีมากแค่เฉพาะตอนจวนตัวเท่านั้น คือโดราเอมอนตัวเดียวที่ไม่มีระบบหายใจในน้ำ ปกติเป็นคนใจดี แต่ถ้าโกรธจะขยายร่างเป็นยักษ์ กับต่อสู้ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋าวิเศษ 4 มิติ ตรงหน้าท้อง ถูกรับเลี้ยงโดยลูกหลานของเศรษฐีในทะเลทรายกับย้อนอดีตมาดูแลอาละดินที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าของ\nหวังโดรา(;) หุ่นยนต์แมวตัวสีส้ม ใส่ชุดกังฟูสีแดง ฉลาดล้ำเลิศที่สุดในกลุ่ม ร่ำเรียนวิชาแพทย์ที่เมืองจีนมารยาทงาม แถมยังเป็นยอดฝีมือกังฟู ใช้อาวุธเป็นกระบอง 2 ท่อน กับชอบออกเดินทางฝึกวิชา เป็นคนที่เพอร์เฟ็กต์ทุกอย่าง แต่แพ้ผู้หญิง พบผู้หญิงตัวหญิง สวยน่ารักทีไรจะเขินอายจนเป็นบ้าทำอะไรไม่ถูกทันที กับมีปมเรื่องขาสั้น ทั้งที่จริงขนาดตัวตัวเท่ากับแก๊งป่วนทุกคน ตอนสู้จึงไม่เน้นลูกเตะ เป็นแฟนของมิมิโกะจัง (หุ่นพยาบาลโดยหวังโดราไม่กล้าคุยด้วย) โดะระยะกิสูตรโปรดจะใส่น้ำส้มสายชูและโชยุ หยิบของวิเศษออกมาจากแขนเสื้อ 4 มิติ มีเอล มาตาโดราเป็นไม้เบื่อไม้เมากันตลอด แต่ก็สนิทกันเป็นเหมือนคู่หู ถูกเลี้ยงโดยโรงฝึกกังฟู\nโดรานิญโญ่() หรือ โดรารีเนียล หุ่นยนต์แมวตัวสีเขียวใส่ชุดนักบอลสีเหลือง เตะบอลเก่งมาก ยกเว้นตำแหน่งโกลด์เท่านั้น มีมินิโดราเป็นลูกทีม โดยตนวิ่งเร็วที่สุดในกลุ่ม ขนาดโดราเอมอนตอนกลัวหนูยังวิ่งตามไม่ทัน มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ นิสัยขี้ลืมตลอด อาศัยอยู่ในบราซิล และมีเพื่อนที่บราซิลชื่อว่า โนบีนิญโญ่ โดยเป็นครูฝึกกับนักกีฬาของทีม เวลากินโดรายากิมักจะราดทาบาสโก้ชุ่มๆ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ใต้ชุด ถูกรับเลี้ยงโดยเจ้าของสมาคมฟุตบอลหุ่นยนตร์บราซิลในโปรลีค\nโดรานิคอฟ() หุ่นยนต์แมวตัวสีน้ำตาล แต่งตัวเหมือนคนรัสเซียตอนฤดูหนาว มีทักษะดมกลิ่นที่ดีที่สุด อาศัยอยู่ในรัสเซียที่หนาวเหน็บ แต่เจ้าตัวกลับกลัวความหนาว เขาเป็นคนเงียบๆ พูดไม่ได้จึงได้แต่ร้องเหมือนหมา โดยคนที่ฟังออกมีแต่พวกหุ่นพี่เลี้ยงเหมือนกันเท่านั้น ใช้ผ้าพันคอปิดปากไว้ตลอดเวลา เวลามองพระจันทร์เต็มตัว หรืออะไรที่กลท เช่นลูกบอล แต่ต้องมีขนาดที่มองเห็นได้ จะถอดผ้าพันคอออก หน้ากลายเป็นมนุษย์หมาป่า โจมตีด้วยการวิ่งไล่กัด หรือตอนกินของเผ็ดก็เปลี่ยนร่างได้แถมพ่นไฟได้ด้วย แต่ถ้ามองของกลมที่มีขนาดเล็กที่มือไร้นิ้วหรือจมูกกับหางจะไม่แปลงร่าง หยิบของวิเศษออกมาจากผ้าพันคอ 4 มิติ ทำงานถ่ายสตูดิโอภาพยนตร์ เพราะถูกรับเลี้ยงมา\nเอล มาตาโดราหุ่นยนต์แมวตัวสีแดงใส่ชุดมาทาดอร์ กับมีเขาบนหัวแทนที่จะเป็นหูเหมือนหุ่นทุกตัว จอมพลังที่สุดในกลุ่ม ใฝ่ฝันอยากจะเป็นมาทาดอร์ผู้เก่งกาจ สู้วัวกระทิงซึ่งเป็นกีฬาที่สืบทอดมากกว่า 300 ปีของสเปน จุดอ่อนคือ ขี้เกียจ มักนอนหลับทันที หรือเห็นที่พัก แค่ป้ายพักไม่ก็ที่โล่งๆ ก็นอนพัก เหมือนโนบิตะ ทำงานอยู่ในร้านอาหารคารูมิน เพราถูกรับเลี้ยงมาโดยลูกหลาน แต่ตนเป็นคนส่งอาหารกับปลอมเป็นไดเค็ทสึโดราได้ ฮีโร่ผดุงคุณธรรม คอยปราบเหล่าร้ายกับแข่งสู้วัวกระทิง กับปกปิดไม่ให้ใครรู้ คนที่รู้มีแค่ลูกสาวเจ้าองร้าน กับพวกแก๊งป่วนกับโนบิตะเท่านั้น (ในโดราเอมอนแอนด์เดอะแกงค์ฉบับภาษาไทยได้กำหนดให้มาตาโดราพูดภาษาถิ่นอีสาน) หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ชอบเป็นไม้เบื่อไม้เมากับหวังโดรา แต่เวลาร่วมมือกันจะสนิทกันมาก",
"title": "แก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอน"
},
{
"docid": "23149#5",
"text": "หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ตนเองเป็นเหมือน ชาวนา ในนิทานอีสป เรื่อง \"\"ชาวนากับงูเห่า\"\" ที่เก็บงูเห่าที่กำลังจะตายจากความหนาวเย็น มาไว้ในอกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่น แต่ต่อมา งูเห่า นั้นก็ฉกชาวนาตาย ซึ่งนายสมัคร เปรียบเทียบงูเห่า กับแกนนำของ ส.ส. ทั้ง 12 คน โดยเฉพาะ ส.ส.กลุ่มปากน้ำ ของนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเดิมสังกัด พรรคชาติไทย แต่หลังจากมีความขัดแย้งกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค จึงไม่มีพรรรคสังกัด จนในที่สุดมาเข้าสังกัด พรรคประชากรไทย ที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาก็มีการกระทำ ที่ขัดต่อมติพรรคดังกล่าว ทำให้ต่อมา สื่อมวลชน เรียก ส.ส. 12 คนนี้ตามคำพูดของนายสมัครว่า \"กลุ่มงูเห่า\" อยู่เป็นเวลานาน",
"title": "กลุ่มงูเห่า"
},
{
"docid": "211660#7",
"text": "ส่งผลให้กลุ่มคนเสื้อแดง เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้ประกาศให้ประชาชนที่สนับสนุนคนเสื้อแดง ออกมาร่วมชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล หากไม่สามารถเข้ามาในกรุงเทพมหานครได้ ขอให้ไปร่วมชุมนุม ที่ศาลากลางของทุกจังหวัด และหากมีการระงับสัญญาณสถานีประชาธิปไตยจริง มวลชนเสื้อแดงจะใช้มาตรการตอบโต้รัฐบาล ด้วยการชุมนุมปิดกั้นประเทศไทย ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง",
"title": "ดี-สเตชัน (บริษัท)"
},
{
"docid": "208935#2",
"text": "สมบัติ เป็นแกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ ต่อต้านรัฐประหารและรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คมช. โดยก่อนหน้านั้นเป็นหนึ่งในแกนนำเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร และต่อมาได้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ โดยมีชื่อกลุ่มที่ตั้งใหม่ว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยสมบัติเป็นแกนนำ นปก.รุ่น 2 ภายหลังแกนนำ นปก.รุ่นแรก ถูกคุมขัง อีกทั้งยังเป็นผู้เสนอการรณรงค์ \"แดงไม่รับ\" เป็นสีตรงข้ามกับสีเขียวรับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้ผู้ที่ต่อต้านรัฐประหาร โดยเฉพาะคณะรัฐประหารของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน นิยมใส่เสื้อสีแดงมาร่วมชุมนุมหรือกิจกรรมการเมืองจนถึงปัจจุบัน",
"title": "สมบัติ บุญงามอนงค์"
},
{
"docid": "311468#22",
"text": "วันที่ 25 มีนาคม สุภรณ์ อัตถาวงศ์ พร้อมแกนนำคนอื่น อาทิ วันชนะ เกิดดี, เจ๋ง ดอกจิก รวมทั้งผู้ชุมนุมทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กที่สมัครใจได้ทำการโกนศีรษะเพื่อประท้วงนายกรัฐมนตรีและขับไล่รัฐบาล รวมทั้งทำพิธีสาปแช่งนายกรัฐมนตรี โดยมีอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโกนผมให้สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ขณะที่พระสงฆ์ประมาณ 15 รูป โกนผมให้แก่ผู้ชุมนุม บนเวทีหลักสะพานผ่านฟ้าลีลาศ",
"title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "198644#19",
"text": "ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวถึงมาตรการต่อจากนี้ว่า กลุ่ม นปช.จะสลายการชุมนุมเช้าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และได้กล่าวถึงมาตรการในการดำเนินการต่อว่าคนเสื้อแดงขอสงวนสิทธิในการแสดงออกอย่างเปิดเผย เพื่อขับไล่รัฐบาลในทุกกรณี โดยปราศจากอาวุธ และจะจัดตั้งเครือข่ายแนวร่วม ให้แดงทั้งแผ่นดิน โดยจะใช้เวลาหนึ่งเดือนนับจากนี้ ขณะที่แกนนำก็จะลงพื้นที่ในทุกภาค เพื่อรวบรวมมวลชน และหลังจากนี้หนึ่งเดือนจะกลับมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล แบบยืดเยื้อ ไม่กลับบ้าน ไม่ชนะไม่เลิก",
"title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน"
},
{
"docid": "540084#2",
"text": "ณ บ้านนาแกลบ กำนันแผน เศรษฐีที่รวยที่สุดในหมู่บ้านมีลูกชายอยู่ 2 คนคือ เก่ง ลูกชายคนเล็กและ กล้า ลูกชายคนโต เก่งมีสมุนอยู่สองคนคือ ห้าว สมุมมือขวาและ อ่าง สมุมมือซ้ายมา ถึงบ้านปรุงใจน้ำแข็งถึงกับปากค้าง ปลิวลมเห็นสีหน้าน้ำแข็งจึงบอกให้เธอเปลี่ยนใจ แต่น้ำแข็งบอกว่าจะอยู่ต่อ เพราะต้องการไปอยู่กับโอเว่น",
"title": "สะใภ้ไม่ไร้ศักดินา"
}
] |
3456 | ราชาคินนิคุเจ้าชายดาวคินนิคุ วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "224314#0",
"text": "คินนิคุแมน () \nเป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นซึ่งเป็นผลงานของ ยูเดะทามาโกะ \nตีพิมพ์ตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 1979 ถึง มีนาคม ค.ศ. 1987",
"title": "คินนิคุแมน"
}
] | [
{
"docid": "931199#28",
"text": "หลังจบศึกสุดท้าย คินนิคุแมนกลับดาวไปเป็นราชาคินนิคุอีกครั้ง แต่รู้สึกถึงภัยร้ายในอนาคต จึงอยู่บนโลกต่อ ร่วมมือกับคิโคสึแมน สร้างตู้ไทม์แคปซูล เพื่อจำศีลตัวเอง เพื่อคอยช่วยเหลือยอดมนุษย์จากภัยร้ายในอนาคต แม้จะถูกเตือนว่ากลับมามีชีวิตเหมือนเดิมอีกไม่ได้ ก็ไม่สน",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#87",
"text": "หลังจากคินนิคุแมนเป็นราชา ครึ่งปีต่อมาแต่งงานกับคินนิคุแมน กับเป็นราชินีคินนิคุ คนแรกในประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใส่หน้ากากเหมือนรุ่นก่อน คอยต่อว่าไม่ให้คินนิคุแมนทำตัวเหลวไหล กับหลายปีผ่านไป ทั้งคู่มีลูกด้วยกันชื่อมันทาโร่",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#65",
"text": "ราชวงที่เป็นผู้ปกครองดาวมาหลายชั่วอายุคน เป็นตระกูลที่เจ้าชายเมื่อทำผลงานจนถูกยอมรับ เพื่อจะได้ขึ้นเป็นราชา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภายอดมนุษย์ แล้วจากนั้นต้องได้รับการทักทายจากเทพทั้ง 105 องค์ กับต้องถูกทั้ง 105 องค์ยอมรับทั้งหมด เมื่อเทพทั้งหมดยอมรับ ตัวเจ้าชายจะได้เป็นราชาอย่างเต็มตัว",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#3",
"text": "พอได้เป็นราชาลำดับที่ 58 ของดาวคินนิคุก็แข่งตัดสินกับเทอรี่ผลเสมอ เพื่อสร้างความทรงจำดีๆ ด้วยกัน ครึ่งปีต่อมาก็ แต่งงานกับบิบิมบา แต่หนีกลับมาโลกหลอกว่าขายคินนิคุเฮาส์ โดยล่อให้เพื่อนๆ มาเพื่อขอท้าสู้เป็นของขวัญงานแต่ง กับถูกเตือนสติจนเข้าใจกลับไปแต่งงาน",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#86",
"text": "ในศึกชิงรัชทายาท ปลอมตัวเป็นทหารยาม เพื่อช่วยราชากับราชินีคินนิคุ กับมีท แต่ทั้ง 4 ถูกทีมฟีนิกซ์ที่เหลือจับเป็นตัวประกัน พอเห็นว่าคินนิคุแมนกับฟีนิกซ์สู้กันเกินไป ตนก่อเรื่องคิดฆ่าตัวตาย แต่ถูกเศษวิญญาณของอาตารุช่วยเอาไว้ จนรอด แต่หน้ากระแทรกพื้นจนพกช้ำอัปลักษณ์ คินนิคุแมนใช้เฟสแฟลชรักษาจนหายดีในทันที",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "224314#9",
"text": "อาชูร่าแมนกับซันไชน์หนีไปสร้างกล่องวูดู ทำลายมิตรภาพฝ่ายธรรมะ แยกไปสร้างทีมกันเอง กับเกิดศึกแทคทีมขึ้นมา คินนิคุแมนที่ตัวคนเดียวถูกปรินซ์ คาเมาฮาเมชวนจับคู่ลงแข่งคินนิคุแมนเลื่อนกลับดาว เพราะเทอรี่ขอท้าสู้ตัดสินกัน ทั้งคู่แยกตัวไปฝึกฝน 5 วัน ทางเทอรี่กลับอเมริกาไปฝึก มีวอร์สกับบัฟฟาโร่แมนมาเป็นคู่ซ้อม ทางคินนิคุแมนฝึกกับทหารคินนิคุ ช่วงใกล้กำหนด นัตสึโกะนักข่าวญี่ปุ่นที่กำลังจะแต่งงานกับเทอรี่ ประสบอุบัติเหตุจนโคม่า พวกเทอรี่ พอรู้ข่าวจึงไปเยี่ยม พอนัตสึโกะฟื้น บอกให้ไปแข่ง ทั้ง 3 ที่พลาดตั๋วเที่ยวบิน จึงว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรไปญี่ปุ่น 1 วันเต็ม พอไปถึงเหลือเวลา 10 นาที จึงแข่งท่ามกลางสายฝน ผลคือเสมอ เพราะเวลาหมดลง ทั้งคู่ได้บอกลากัน กับนำเสื้อฝากให้มีทเก็บดูแลรักษา เป็นหลักฐานบ่งบอกให้คนรุ่นหลังรู้ว่ามีการแข่งเกิดเหตุ ที่ปราสาทคินนิคุ,ฐานฝ่ายอธรรมกับเพอร์เฟ็ค ถูกกางบาเรียขังแกนนำทั้ง 3 ฝ่าย",
"title": "คินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#9",
"text": "หลังจากคินนิคุแมนเป็นราชา ก็ไปท้าแข่งตัดสิน โดยมีวอร์สกับบัฟฟาโร่แมนเป็นคู่ซ้อม แต่ก่อนแข่งนัตสึโกะประสบอุบัติเหตุ จึงไปเยี่ยมจนพลาดตั๋วไปญี่ปุ่น พอนัตสึโกะฟื้น ทั้ง 3 ว่ายน้ำไปญี่ปุ่น แข่งทัน ผลเสมอ กับบอกลากัน",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#7",
"text": "หลังจบศึกชิงหน้ากากทองคำ แยกทีมกับคินนิคุแมนไป หาทางคืนชีพเจโรนิโม่สร้างทีมนิวแมชชีนกัน แต่ตนมอบดาวขอยอมแพ้ เพื่อช่วยเจโรนิโม่ กับถูกเกรทคนแรกปกป้องจนเสียชีวิต พอรู้ตัวจริงจึงสืบทอดเป็นเกรทคนที่ 2 แข่งต่อ แต่รอบชิงถูกแฉ ได้ดาวคืนจากอาชูร่าแมน คืนดีกับคินนิคุแมนอีกครั้ง",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
},
{
"docid": "931199#89",
"text": "พอพี่ชายเป็นราชาคอยมาเยี่ยมกับหาทางให้ตนพ้นผิด แต่ล้มเหลวตลอด หลายปีผ่านไป มายูมิกับฮาราโบเตในวัยเด็กมาพบตนพูดคุยกัน โดยตนเป็นคนชักจูงให้ทั้งคู่เป็นใหญ่ในวงการยอดมนุษย์ จากนั้นตนก็แหกคุกหนีไปที่วิหารยอดมนุษย์ในตำนานบนโลกมนุษย์ พบกับมิราจแมนที่เป็นผู้เฝ้า สู้กันสูสี ตนได้ฟังเรื่องต้นกำเนิดตระกูลคินนิคุ ถูกมิราจแมนมอบพลังให้กลายเป็นเนเมซิส",
"title": "รายชื่อตัวละครในคินนิคุแมน"
}
] |
3462 | ขี้หูมีอันตรายหรือไม่ ? | [
{
"docid": "673730#7",
"text": "แม้งานศึกษาที่ทำจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 จะไม่พบหลักฐานสนับสนุนว่าขี้หูมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย\nแต่งานศึกษาต่อ ๆ มาก็พบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียบางสายพันธุ์\nรวมทั้ง \"Haemophilus influenzae\" (เป็นเหตุการติดเชื้อหลายชนิด), \"Staphylococcus aureus\" (เป็นเหตุการติดเชื้อผิวหนัง ทางเดินลมหายใจ และอาหารเป็นพิษ) และ \"Escherichia coli\" บางสายพันธุ์ (โดยบางอย่างเป็นเหตุอาหารเป็นพิษ) บางครั้งช่วยฆ่าเชื้อถึง 99%",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#1",
"text": "ขี้หูประกอบด้วยเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วลอกหลุดออกพร้อมกับสารคัดหลั่งของต่อมขี้หูและของต่อมไขมัน (sebaceous gland) ภายในช่องหูภายนอก\nองค์ประกอบทางเคมีรวมทั้งทั้งแบบอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว, แอลกอฮอล์, squalene และคอเลสเตอรอล\nขี้หูที่มากเกินหรืออัดแน่นอาจกดทับแก้วหู อุดช่องหู อุดเครื่องช่วยฟัง แล้วทำให้ไม่ได้ยิน",
"title": "ขี้หู"
}
] | [
{
"docid": "673730#27",
"text": "หน่วยประกันภัยที่ไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของนิวซีแลนด์มีกรณีเรียกร้องเพราะปัญหาเอาขี้หูออก 25% ในบรรดากรณีเรียกร้องเกี่ยวกับหูคอจมูก โดยแก้วหูทะลุเป็นปัญหาความพิการซึ่งสามัญที่สุด\nแม้มีอัตราสูงแต่ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะการล้างขี้หูออกเป็นหัตถการที่ทำอย่างสามัญ\nนักวิชาการได้ประเมินว่า มีการล้างขี้หูออก 7,000 ครั้งต่อประชากร 100,000 คนต่อปีอาศัยการประมาณค่านอกช่วงของข้อมูลที่ได้จากเมืองเอดินบะระ",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#21",
"text": "ผู้สนับสนุนเชื่อว่า เศษสีเข้ม ๆ ที่เหลือจากการทำเช่นนี้เป็นขี้หูที่ดูดออกมา เป็นข้อพิสูจน์ว่าได้ผล\nแต่งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า เศษสีเข้มที่พบเป็นส่วนเหลือของการจุดเทียน ซึ่งมีไม่ว่าจะใส่เข้าในหูหรือไม่ \nเพราะเทียนทำจากใยฝ้ายและขี้ผึ้งซึ่งมีเศษเหลือเมื่อไหม้\nแต่เศษเหลือที่ว่านี้จะมีสีน้ำตาลเหมือนกับขี้หู (ของบางคน) ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นขี้หู\nและเพราะเทียนเป็นแท่งกลวง ขี้ผึ้งร้อน ๆ อาจตกใส่ในช่องหูแล้วทำอันตรายแก่แก้วหู",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#20",
"text": "เทียนดูดหู เป็นขี้ผึ้งแท่งกลวงซึ่งจุดไฟที่ปลายข้างหนึ่ง และเอาปลาย (กลวง) อีกข้างหนึ่งใส่เข้าในหูเพื่อดูดสิ่งที่อยู่ในหูออก แพทย์ทางเลือกอาจอ้างว่า มันสามารถทำให้สุขภาพดี\nแต่แพทย์ปัจจุบันแนะนำไม่ให้ทำเพราะเสี่ยงอันตรายและไม่มีผลอะไร",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#18",
"text": "ขี้หูสามารถเอาออกด้วยช้อนแคะหูหรือไม้แคะหู โดยใช้แคะให้ขี้หูหลุดออกจากผนังแล้วตักมันออกมาจากช่องหู\nในประเทศตะวันตก มืออาชีพด้านสาธารณสุขเท่านั้นจะใช้ไม้แคะหู\nแต่ก็เป็นเรื่องปกติในยุโรปโบราณ และยังเป็นเรื่องปกติในเอเชียปัจจุบัน (รวมทั้งประเทศไทย)\nเพราะคนเอเชียโดยมากมีขี้หูแบบแห้ง\nจึงสามารถใช้ไม้ขูดเบา ๆ ทำให้ขี้หูหลุดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ที่แห้ง ๆ",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#2",
"text": "ช่องหูแบ่งเป็นสองส่วน ส่วน 1/3 ภายนอกเป็นกระดูกอ่อน ส่วน 2/3 ภายในเป็นกระดูก ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนเป็นส่วนที่ผลิตขี้หู\nซึ่งเป็นน้ำเหนียวที่ต่อมไขมันหลั่ง \nและน้ำเหนียวยิ่งกว่านั้นที่ต่อมซึ่งวิวัฒนาการมาจากต่อมเหงื่อ (modified apocrine sweat glands) คือต่อมขี้หูหลั่ง\nองค์ประกอบหลักก็คือผิวหนังที่ลอกหลุดออก โดยเฉลี่ย 60% จะเป็นเคราติน (keratin), 12-20% เป็นกรดไขมันลูกโซ่ยาวทั้งแบบอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว, แอลกอฮอล์, squalene และ 6-9% คอเลสเตอรอล",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#3",
"text": "มีขี้หูสองแบบโดยกรรมพันธุ์ คือ แบบเปียกซึ่งเป็นยีนเด่น (dominant) และแบบแห้งซึ่งเป็นยีนด้อย (recessive)\nจนกระทั่งว่า นักมานุษยวิทยาสามารถใช้รูปแบบขี้หูเพื่อติดตามการย้ายถิ่นของมนุษย์ เช่น ของคนเอสกิโม\nคนเอเชียตะวันออกและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐมักมีขี้หูแบบแห้ง (สีเทา เป็นแผ่น ๆ) คนแอฟริกาและคนเชื้อสายยุโรปมักมีแบบเปียก (สีน้ำผึ้งจนถึงสีน้ำตาลเข้ม เปียก และเหนียว ๆ)\nในญี่ปุ่น คนไอนู (Ainu) มักจะมีแบบเปียก เทียบกับคนยะมะโตะ (Yamato) โดยมากของประเทศที่มีแบบแห้ง\nขี้หูแบบเปียกต่างจากแบบแห้งโดยมีเม็ดเล็ก ๆ (granule) ที่เป็นลิพิดและสารสีมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น แบบเปียกมีลิพิด 50% แต่แบบแห้งมีแค่ 20%",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#11",
"text": "แม้มีวิธีเอาขี้หูออกหลายอย่าง แต่ข้อดีข้อเสียก็ยังไม่เคยเปรียบเทียบ\nมีสารที่ทำให้ขี้หูนิ่ม\nแต่นี่อย่างเดียวยังไม่พอ\nวิธีเอาขี้หูออกที่สามัญที่สุดก็คือฉีดน้ำอุ่นด้วยกระบอกฉีดยา\nแพทย์หูคอจมูกอาจใช้ช้อนแคะหู (curette) ถ้าขี้หูอุดช่องหูเป็นบางส่วนและไม่ได้ติดอยู่กับผิวหนังของช่องหู\nส่วนไม้ปั่นสำลีโดยมากจะดันขี้หูเข้าไปในช่องหูให้ลึกขึ้น และเอาขี้หูออกได้แต่ตรงปลาย ๆ ที่ติดกับสำลีเท่านั้น",
"title": "ขี้หู"
},
{
"docid": "673730#6",
"text": "ขี้หูช่วยหล่อลื่นผิวหนังของช่องหูป้องกันไม่ให้แห้งสนิท\nคือต่อมไขมันจะหลั่งไขซึ่งมีลิพิดมากเป็นตัวหล่อลื่น\nในขี้หูแบบเปียกเป็นอย่างน้อย ลิพิดเช่นนี้มีคอเลสเตอรอล, squalene, กรดไขมันลูกโซ่ยาวหลายอย่าง และแอลกอฮอล์",
"title": "ขี้หู"
}
] |
3466 | ฮอร์โมนเพศชายเรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "638514#25",
"text": "ฮอร์โมนเพศชาย (Aromatase) และสาร 17beta-hydroxysteroid dehydrogenase คือ แสดงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในเนื้องอก แสดงให้เห็นว่าเนื้องอกสามารถที่จะเปลี่ยนแปลหมุนเวียนแอนโดรสตีนไดโอน(Androstenedione นั่นคือสารกระตุ้นฮอร์โมนที่เป็นสารแนะนำของฮอร์โมนเพศชาย) ในเอสตาไดออล(estradiol คือระดับฮอร์โมนในเพศหญิง) กลไกที่คล้ายกันเป็นปฏิบัติการที่ขยายความในเรื่องโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis) และโรคเยื่อบุโพรงมดลูกอื่น ๆ การยับยั้งการทำางานของเอนไซม์ของฮอร์โมนเพศชายที่มีหน้าที่เปลี่ยนแอนโดรเจนเป็นเอสโตรเจน คือปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาบางอย่างในทางที่เป็นไปได้ที่จะยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้องอกในขณะที่มันยังไม่ใหญ่นักแต่ก็มีผลกระทบต่อการผลิตรังไข่ของฮอร์โมนแอสโตรเจน (และระดับของระบบของร่างกาย) ฮอร์โมนเพศชายจะใช้วิธีการตรวจเพื่อตรวจสอบว่าถ้ายีนใดมีความผิดปกติยีนนั้นจะสร้างโปรตีนมากกว่าปกติที่เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงแอฟริกาอเมริกัน",
"title": "เนื้องอกมดลูก"
},
{
"docid": "144489#2",
"text": "ต่อมบ่งเพศชายหรืออัณฑะนั้นสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (androgens) และสร้างสเปิร์ม ฮอร์โมนเพศชายหลักๆ คือเทสโทสเตอโรน (testosterone)",
"title": "ต่อมบ่งเพศ"
},
{
"docid": "615934#0",
"text": "เทสโทสเตอโรน () เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก\nมีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว\nนอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข\nตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน\nระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก\nฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด\nเนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด\nเทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ\nซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์\nฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์",
"title": "เทสโทสเตอโรน"
}
] | [
{
"docid": "767586#30",
"text": "ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogens) ใช้ในกรณีที่อาการหนัก\nคล้ายกับการถูกตอน ยานี้ทำงานโดยลดฮอร์โมนเพศชาย และดังนั้น ชาวตะวันตกบางครั้งจึงเรียกว่า การตอนทางเคมี (chemical castration)\nยาต้านฮอร์โมน cyproterone acetate พบว่าช่วยลดจินตนาการทางเพศและพฤติกรรมเป้าหมายอย่างสำคัญ\nส่วนยา medroxyprogesterone acetate และ gonadotropin-releasing hormone agonist (เช่น leuprolide acetate) พบว่าสามารถช่วยลดความต้องการทางเพศ\nเนื่องจากมีผลข้างเคียง สหพันธ์สมาคมชีวจิตเวชศาสตร์ (World Federation of Societies of Biological Psychiatry) จึงแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนเมื่อมีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมความรุนแรงทางเพศ หรือว่าเมื่อวิธีอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล\nส่วนการตอนด้วยการผ่าตัดไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน เนื่องจากทางเลือกโดยใช้ยาเหล่านี้ได้ผลคล้ายกันและไม่มีผลเสียอย่างอื่น",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "615934#4",
"text": "ในไตรมาสที่สอง ระดับแอนโดรเจนจะขึ้นอยู่กับเพศ\nไตรมาสนี้มีผลต่อการสร้างบุรุษภาพและสตรีสภาพของทารก และเป็นตัวพยากรณ์พฤติกรรมเพศหญิงหรือชาย ได้ดียิ่งกว่าระดับฮอร์โมนแม้ในตัวเองเมื่อเป็นผู้ใหญ่\nเช่น ระดับเทสโทสเตอโรนของมารดาระหว่างมีครรภ์จะมีสหสัมพันธ์กับพฤติกรรมตามเพศของลูกสาว ที่มีกำลังยิ่งกว่าระดับฮอร์โมนของตัวลูกสาวเองเมื่อเป็นผู้ใหญ่",
"title": "เทสโทสเตอโรน"
},
{
"docid": "447112#0",
"text": "อาโรน (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ ฮารูน (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (; \"Ahărōn\"; \"Hārūn\") เป็นพี่ชายของโมเสส และเป็นผู้เผยพระวจนะของพระยาห์เวห์ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นปุโรหิตประจำเผ่าเลวี และเป็นมหาปุโรหิตองค์แรกของวงศ์วานอิสราเอล เมื่อโมเสสยังศึกษาอยู่ในราชสำนักอียิปต์จนกระทั่งลี้ภัยไปอยู่มีเดียน อาโรนกับมีเรียมพี่สาวยังอาศัยอยู่กับญาติที่ภาคตะวันออกของอียิปต์และเริ่มมีชื่อเสียงมากจากการใช้วาทศิลป์ เมื่อคราวที่โมเสสขอให้ฟาโรห์ปล่อยตัวชาวอิสราเอลจากการเป็นเชลย อาโรนก็ได้ทำหน้าที่เป็นนบี (โฆษก) ให้กับพี่ชายของตนเมื่อต้องพูดกับชาวอิสราเอลและเจรจากับฟาโรห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดนักว่าอาโรนมีชีวิตอยู่เมื่อใด แต่คาดว่าราว 1600 ถึง 1200 ก่อนคริสต์ศักราช",
"title": "อาโรน"
},
{
"docid": "615934#1",
"text": "ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า\nต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย\nโดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่\nเพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า\nหญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้วย",
"title": "เทสโทสเตอโรน"
},
{
"docid": "82855#1",
"text": "เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศผู้อื่นส่วนมาก จีโนมของผู้ชายตรงแบบรับโครโมโซม X จากมารดาและโครโมโซม Y จากบิดา ทารกในครรภ์ชายผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าและเอสโตรเจนน้อยกว่าทารกในครรภ์เพศหญิง ความแตกต่างในปริมาณสัมพัทธ์ของสเตอรอยด์เพศเหล่านี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของความแตกต่างทางสรีรวิทยาซึ่งแยกผู้ชายกับผู้หญิง ระหว่างวัยเจริญพันธุ์ ฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศชายส่งผลให้ผู้ชายเป็นสิ่งมีชีวิตที่คิดได้และเจ็บเป็นเหมือนเธอมีพัฒนาการของลักษณะเพศทุติยภูมิ ฉะนั้นจึงยิ่งแสดงความแตกต่างระหว่างเพศเด่นชัดขึ้น",
"title": "ผู้ชาย"
},
{
"docid": "242400#22",
"text": "นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงคือเอสโทรเจน มีหลักฐานว่าเป็นเหตุของความผิดปกติเกี่ยวกับความซึมเศร้าเพราะว่าหญิงมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นหลังจากถึงวัยเจริญพันธุ์ ระหว่างตั้งครรภ์ก่อนคลอด และมีอัตราโรคที่ลดลงเมื่อถึงวัยทอง (menopause)\nแต่ว่านัยตรงกันข้ามกัน คือ ในช่วงก่อนระดูหรือหลังคลอดที่มีระดับเอสโทรเจนต่ำ ก็สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน\nนอกจากนั้นแล้ว การขาดยา (withdrawal) ความผันผัว หรือระยะที่มีระดับเอสโทรเจนต่ำยังสัมพันธ์กับอารมณ์เศร้าอย่างสำคัญ\nการสร้างความเสถียรหรือความคืนสภาพของระดับเอสโทรเจนสามารถรักษาความซึมเศร้าหลังคลอด ระหว่างวัยทอง และหลังวัยทองได้",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "480213#4",
"text": "คำนี้ยังไม่มีการแปลเป็นไทยอย่างตรงตัว แต่หากพูดให้เข้าใจก็คือกระบวนการข้ามเพศ\nแต่เดิมคำว่า \"ผู้ชายข้ามเพศ\" (Transman, Transsexual male) จะใช้เรียกเฉพาะผู้ที่ข้ามเพศจากหญิงเป็นชายที่มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายด้วยฮอร์โมนและ/หรือการผ่าตัด แต่ในระยะหลังมานี้ คำจำกัดความของ \"กระบวนการข้ามเพศ\" (Transition) นั้นขยายกว้างรวมไปถึงการพัฒนาทางด้านจิตใจ การยอมรับและเข้าใจตนเอง",
"title": "ทรานส์แมน"
}
] |
3469 | เมืองหลวงของจีนปัจจุบันคือ ? | [
{
"docid": "6152#0",
"text": "ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน: , พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก",
"title": "ปักกิ่ง"
}
] | [
{
"docid": "25771#0",
"text": "หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง () เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม",
"title": "หนานจิง"
},
{
"docid": "640987#6",
"text": "บริเวณเจียงหนานยังมีความสำคัญด้านที่มีเมืองหลวงของราชวงศ์จีนโบราณอยู่หลายสมัย เช่น ในยุคสามก๊ก เมืองเจียงเย่ (ปัจจุบันคือ เมืองหนานจิง) เป็นเมืองหลวงของง่อก๊ก ในช่วงศตวรรษที่ 3 มีชาวจีนจากตอนเหนือของประเทศย้ายมายังเจียงหนานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 10 มีการก่อต้งอาณาจักรอู๋เย่ว์ (Wuyue; 吳越) โดยจักรพรรดิเฉียนหลิว (อังกฤษ: Qian Liu; จีนตัวย่อ: 钱镠; พินอิน: Qián Liú) ทำให้บริเวณเจียงหนานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากยุคนั้นมาจนปัจจุบัน \nในช่วงปลายรัชสมัยของราชวงศ์หยวน เจียงหนานถูกแย่งชิงโดยกลุ่มกบฏสองฝ่าย คือระหว่างฝ่ายจูหยวนจาง หรือต่อมาคือ หงหวู่ตี้ หรือสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ (อังกฤษ: Hongwu Emperor; จีน: 洪武帝; พินอิน: \"Hóngwǔ\" \"หงหวู่ตี้\" ) แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองหนานจิง (หรือนานกิง) และกลุ่มของจางซื่อเฉิง (อังกฤษ: Zhang Shicheng; จีน: 张士诚; พินอิน: \"Zhāng Shìchéng\") ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในเมืองซูโจวของแคว้นอู๋ หลังจากการต่อสู้แย่งชิงยาวนานนับสิบปี หมิงไท่จู่ (หรือ จูหยวนจาง (朱元璋; เป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่)) จึงสามารถเข้าโจมตีและยึดครองเมืองซูโจวจากกลุ่มของจางซื่อเฉิงได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1367 และรวบรวมเจียงหนานเข้าด้วยกัน ในภายหลังจูหยวนจางได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ และทรงใช้พระนามว่า หมิงไท่จู่ (明太祖) หรือสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ ในวันปีใหม่จีน (20 มกราคม) ในปี ค.ศ. 1368 เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ทรงยกทัพขับไล่ชาวมองโกลทางตอนเหนือของจีนได้สำเร็จ เมืองหนานจิงจึงเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์หมิงจากนั้นมา จนถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 15 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (Yongle) กษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์หมิงทรงมีพระราชดำริให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงไปยังเมืองปักกิ่ง",
"title": "เจียงหนาน"
},
{
"docid": "92282#14",
"text": "หนานจิง เป็นเมืองหลวงเก่าลำดับที่ 5 ของจีน (นครหลวงของ จีนในประวัติศาสตร์ตามลำดับได้แก่ กรุงอันหยาง ซีอาน ลั่วหยาง ไคฟง หนานจิง หางโจวและ ปักกิ่ง) นครหนานจิงมีชื่อ ปรากฏในพงศาวดารมาเกือบ 2,000 ปี และเคยถูกสถาปนา เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีนหลายสมัยคือ",
"title": "มณฑลเจียงซู"
},
{
"docid": "6152#7",
"text": "ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่แย่นจิงในปี 2239 (ค.ศ. 1696) โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงในปี 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2492 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมาก มาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีน และของโลก",
"title": "ปักกิ่ง"
},
{
"docid": "15673#10",
"text": "ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สถาปนาเมืองหลวงของประเทศขึ้น คือ เมืองเสียนหยาง ตั้งอยู่ทางเหนือของซีอานในปัจจุบัน ในอดีตจัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น มีประชากรประมาณ 5 ถึง 6 แสนคน เกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่จอมจักรพรรดิทรงเห็นว่า เมืองหลวง เสียนหยาง ยังมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จึงโปรดให้สร้างเมือง เออฝาง ขึ้นทางใต้ของเมืองเสียนหยาง กล่าวกันว่า หลังจากราชวงศ์ฉินถูกชาวนาโค่นบัลลังก์แล้วบรรดาพระราชวัง และ ตำหนักในเมืองทั้งสองถูกเผาทำลายสิ้น โดยใช้เวลาเผานานถึง 3 เดือน\nสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อ ฉางอาน ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ระหว่างที่ตั้งเมืองหลวงเก่าทั้งสอง ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นที่ตั้งเมืองฉางอานได้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน เมือง ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่นนี้มีอาณาเขตโดยรอบ 25,000 เมตร พื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ตำหนักภายในเมืองมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เล่ากันว่า หลังจากสร้างตำหนักเสร็จแล้ว องค์จักรพรรดิฮั่น ตรัสว่า \"ช่างใหญ่อะไรปานนี้\" 800 ปีหลังจากนั้น จักรพรรดิ ราชวงศ์ สุย ได้สร้างเมืองหลวงอีกเมืองหนึ่งขึ้นทางใต้ของ ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่น ชื่อ ต้าสิ้ง และเปลี่ยน ฉางอาน เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ และเนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์สุยมา",
"title": "ซีอาน"
},
{
"docid": "631911#2",
"text": "กบฏไท่ผิงเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิงระหว่าง ค.ศ. 1850 – 1864 เป็นกบฏชาวนาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์จีน เริ่มก่อการในอำเภอกุ้ยผิง ภูมิภาคปกครองตนเองก่วงซี หรือกวางสี หลังจากนั้นไดเข้ายึดครองพื้นที่หลายมณฑล จนสามารถตั้งเมืองหลวงขึ้นที่เมืองนานกิง หรือหนานจิง (อังกฤษ: Nanjing; จีน: 南京; พินอิน: \"Nánjīng\") เมืองหลวงของมณฑลเจียงซูในปัจจุบัน มีอุดมการณ์ในการก่อตั้ง \"\"ประเทศสวรรค์เปี่ยมสันติ (ไท่ผิงเทียนกั๋ว; 太平天国)\"\" สถานที่ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจวในปัจจุบันจึงมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 19",
"title": "พิพิธภัณฑ์เมืองซูโจว"
},
{
"docid": "86391#0",
"text": "หางโจว (จีน: 杭州; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง",
"title": "หางโจว"
},
{
"docid": "25772#1",
"text": "ในภายหลังได้มีการค้นพบทางประวัติศาสตร์มากขึ้น ทำให้จำนวนเมืองหลวงในประวัติศาสตร์นั้นเพิ่มเป็น 7 เมือง โดยเพิ่มไคฟง, หางโจว และอันหยาง ใน ค.ศ. 2004 ทางการจีนได้เพิ่มเจิ้งโจวเป็นเมืองที่ 8",
"title": "เมืองหลวงเก่าของจีน"
},
{
"docid": "6152#2",
"text": "ปักกิ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองหลวงเก่าของจีน และได้รับเลือกให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2551 อีกด้วย มหานครปักกิ่งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับแต่ สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน ปักกิ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน กำแพงเมืองจีน พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังต้องห้าม เป็นต้น มีประวัติความเป็นมา เริ่ม ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมี การขุดค้นพบกะโหลก มนุษย์ปักกิ่งตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้ปักกิ่งมีความเจริญ รุ่งเรืองมานับแต่ คริสศตวรรษที่ 13 ในปี พ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) จักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ทำการก่อสร้างและออกแบบผังเมืองใหม่และย้ายฐานราชการชั่วคราวในขณะนั้นจาก เมืองหนานจิงมายัง เป่ย์จิง หรือปักกิ่งในปัจจุบัน",
"title": "ปักกิ่ง"
}
] |
3472 | มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งอะไร ? | [
{
"docid": "310646#3",
"text": "เมื่อสำเร็จการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงมหาดไทย (ภายหลังโรงเรียนแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนข้าราชการพลเรือน และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ใน พ.ศ. 2443 ก็เริ่มรับราชการเป็นปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
}
] | [
{
"docid": "310646#0",
"text": "มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (20 มิถุนายน พ.ศ. 2422 - 20 กันยายน พ.ศ. 2487) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกและคนสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้เป็นต้นสกุล \"ณ ป้อมเพชร์\"",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "310646#12",
"text": "พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น มหาอำมาตย์ตรี \"พระยาเพชร์ชฎา\" อันเป็นนามบรรดาศักดิ์ที่พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค ณ ป้อมเพชร์) ผู้เป็นบิดาเคยได้รับพระราชทานเมื่อครั้งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำมหันตโทษ (เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร) ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตรา “พระราชบัญญัติจัดตั้งกรมราชทัณฑ์” ขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ มหาอำมาย์ตรี พระยาเพชร์ชฎา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรก",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "310646#5",
"text": "พ.ศ. 2450 ในระหว่างที่รับราชการเป็นข้าหลวงมหาดไทย มณฑลราชบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสพระแท่นดงรัง หลวงวิชิตสรไกร (ขำ) ได้มีหน้าที่จัดการรับเสด็จ จัดการปรุงแต่งทางที่จะเสด็จไปสู่พระแท่น และจัดสร้างพลับพลาที่ประทับจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ก่อนเสด็จกลับได้พระราชทานซองบุหรี่เงินรูปหีบไฟ มีพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. แกะเป็นรัศมีล้อม ต่อมาหลวงวิชิตสรไกรได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดมณฑลอิสาน ประจำจังหวัดสุรินทร์",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "310646#13",
"text": "เมื่อเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ท่านได้จัดวางรูปแบบราชการให้มีความเป็นระบบระเบียบ เช่น ได้จัดรวบรวมพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ข้อบังคับ คำสั่ง เข้าเป็นเล่มเดียวกันทำนองประมวลการราชทัณฑ์ นอกจากนี้ได้วางระเบียบเรื่องการใช้แรงงานนักโทษ การโบยนักโทษ โดยกำหนดอำนาจผู้สั่งโบยและให้มีแพทย์ตรวจก่อนโบย ในส่วนการคลังนั้น ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง โดยขอข้าราชการกระทรวงการคลังมาเป็นหัวหน้ากองคลัง โดยข้าราชการผู้นั้นยังอยู่ในกระทรวงการคลัง การประสานงานวิธีนี้เป็นมาโดยเรียบร้อย นอกจากการจัดระบบงานดังได้กล่าวมาแล้ว พระยาเพชร์ชฎาได้จัดอบรมนักโทษเช่นเดียวกับการฝึกวิชาชีพ และการใช้แรงงานนักโทษทำงานสาธารณะ หารายได้นำส่งกระทรวงการคลัง จัดการก่อสร้างเรือนจำถาวรและชั่วคราวขึ้นหลายแห่ง",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "103439#0",
"text": "ศาสตราจารย์วิสามัญ มหาอำมาตย์ตรี พระยามานวราชเสวี (นามเดิม ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (18 กันยายน พ.ศ. 2433 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 เป็นเวลา 15 ปี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อดีตอธิบดีกรมอัยการ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีและองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 และศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง",
"title": "พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)"
},
{
"docid": "749#14",
"text": "ปรีดีสมรสกับ พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ ธิดา มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (สุวรรณศร) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือ",
"title": "ปรีดี พนมยงค์"
},
{
"docid": "310646#6",
"text": "พ.ศ. 2454 หลวงวิชิตสรไกรได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสมุทรปราการ และได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น อำมาตย์เอก \"พระสมุทบุรานุรักษ์\" ถือศักดินา 3,000",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "682140#2",
"text": "พ.ศ. 2448 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น\"รองอำมาตย์เอก หลวงรักษ์นรกิจ\" ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์และยศเป็น\"อำมาตย์ตรี พระตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์\" ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โท ก่อนที่จะมาได้รับตำแหน่งที่จังหวัดตราด ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอไชยา (จังหวัดสุราษฏร์ธานี) สมัยที่ยังเรียกว่าอำเภอภุมเรียง ท่านรับราชการที่จังหวัดตราดได้ประมาณ 8 ปี ท่านมาในตำแหน่ง “ผู้ว่าราชการเมืองตราด” และจากไปในขณะที่ท่านอยู่ในตำแหน่ง “ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด” เนื่องจากมีการประกาศเปลี่ยนแปลงคำว่า “เมือง” มาเป็น “จังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการเมือง” มาเป็น “ผู้ว่าราชการจังหวัด” ในปี พ.ศ.2459 จากจังหวัดตราดท่านได้ย้ายไปเป็นปลัดมณฑลอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2465 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น\"พระยาปทุมเทพภักดีศรีอุบลราชธานินทร์\"",
"title": "พระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา)"
},
{
"docid": "310646#11",
"text": "ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับแรม ณ เมืองสมุทรปราการ ใน พ.ศ. 2457 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พระสมุทรบุรานุรักษ์ (ขำ) ให้เป็น \"พระยาวรุณฤทธีศรีสมุทรปราการ\" ถือศักดินา 3,000 ซึ่งการพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งนี้ถือเป็นกรณีพิเศษเพราะไม่ปรากฏอยู่ในทำเนียบบรรดาศักดิ์มาแต่เดิม (บรรดาศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสมุทรปราการจะมีปรากฏว่า \"พระสมุทบุรานุรักษ์\") เนื่องจากได้ทรงพระราชดำริให้สมกับเหตุการณ์ที่ประจักษ์แก่พระองค์ โดยขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ พลับพลาที่ประทับ ได้เกิดพายุพัดแรงจัดและฝนตกหนักผิดปกติ ทำให้เครื่องกันฝนที่พลับพลาชำรุด พระสมุทรบุรานุรักษ์ (ขำ) ได้อำนวยการซ่อมแซมเครื่องกันฝนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ป้องกันมิให้พายุฝนทำความเสียหายแก่พลับพลาที่ประทับ วันรุ่งขึ้นได้มีพระบรมราชโองการให้เข้าไปเฝ้าที่พลับพลาและพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาวรุณฤทธีศรีสมุทรปราการ ซึ่งหมายความว่า \"มีอำนาจเหนือฝน\" อันเป็นศิริแก่จังหวัดสมุทรปราการ",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "310646#1",
"text": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา มีนามเดิมว่า \"ขำ\" เป็นบุตรของพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) อดีตผู้รักษากรุงเก่า กับหม่อมราชวงศ์หญิงลำเจียก (สกุลเดิม: ภุมรินทร์) เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2422 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่เกาะบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่บิดารับราชการอยู่ ณ พระราชวังบางปะอิน",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
}
] |
3473 | มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อตั้งขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "307409#0",
"text": "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร () เป็นคณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร) มีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร",
"title": "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "192231#1",
"text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในระยะแรกได้มีการจัดตั้งคณะวิชาทางด้านศิลปะและโบราณคดีรวมทั้งสิ้น 4 คณะ ณ วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อผู้แทนของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น",
"title": "คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "11674#1",
"text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร\" ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น \"โรงเรียนศิลปากร\" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ร่วมกับ ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศิลปากร\" เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่าง ๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา",
"title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร"
}
] | [
{
"docid": "86217#1",
"text": "\"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร\" ก่อตั้งขึ้นจากความคิดริเริ่มของ มาลี อติแพทย์ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ และรักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดี เมื่อ พ.ศ. 2516 และเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนในปีการศึกษา 2517 โดยใช้อาคารไม้บริเวณโรงเรียนเกษตรกรรมเดิมซึ่งอยู่ทางด้านประตูเพชรเกษมเป็นที่ทำการ ปีแรกรับนักเรียน 2 ชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (มศ.1) ชั้นละ 2 ห้อง หลักสูตรที่ใช้ได้สร้างขึ้นเองโดยคณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์พระพิฆเนศวร ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากรใช้ตราสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระพิฆเนศวร คือเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก โดยด้านล่างมีอักษรว่า \"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร\"",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "16233#1",
"text": "\"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร\" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 นับเป็น คณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมี ประโชติ เปล่งวิทยา ดำรงตำแหน่งคณบดีในสมัยนั้น นับเป็นคณบดีผู้ประศาสน์การ ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในสายงานเภสัชกรรมและสายงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงการพัฒนาให้เกิดภารกิจเชิงรุกในการให้บริการด้านเภสัชศาสตร์",
"title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "84724#1",
"text": "วิทยาลัยนาฏศิลป เดิมมีชื่อว่า \"โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์\" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 นับเป็นสถาบันของชาติแห่งแรกที่ให้การศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลป ขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2478 ทางการมีความประสงค์ที่จะให้วิชาศิลปทางโขน ละคร และดนตรี มารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน จึงได้โอนครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ กับศิลปินประจำราชสำนักของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเครื่องดนตรี เครื่องโขน เครื่องละครของหลวงบางส่วนจากกระทรวงวัง (สำนักพระราชวัง ในปัจจุบัน) ให้มาสังกัดกรมศิลปากร กรมศิลปากรจึงได้แก้ไขปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ได้มีคำสั่งตั้งโรงเรียนศิลปากร (มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปัจจุบัน) สอนวิชาช่างปั้น ช่างเขียน และช่างรักขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร และให้โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ไปรวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนศิลปากร เรียกชื่อเฉพาะแผนกนี้ว่า \"โรงเรียนศิลปากรแผนกนาฏดุริยางค์\" ให้การศึกษาวิชาศิลปทางดนตรี ปี่พาทย์ และละคร แต่ยังไม่มีโขน ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ได้ยุบกองโรงเรียนและให้ \"แผนกช่าง\" ของโรงเรียนศิลปากรไปขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยศิลปากร และโอนกรมศิลปากรไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2485 กรมศิลปากรปรับปรุงกองดุริยางคศิลป์ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองการสังคีต และโอนแผนกนาฏดุริยางค์จากโรงเรียนศิลปากรขึ้นกับกองการสังคีต เปลี่ยนเป็น \"โรงเรียนสังคีตศิลป\" ขึ้นอยู่กับแผนกนาฏศิลป แต่เนื่องจากอุปสรรคและสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งราชการได้คืนสถานที่ไปใช้ราชการอย่างอื่น ระหว่าง พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487 การศึกษาของโรงเรียนสังคีตศิลปจึงหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง",
"title": "วิทยาลัยนาฏศิลป"
},
{
"docid": "307928#1",
"text": "\"คณะดุริยางคศาสตร์\" เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ \"โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร\" โดยดำริของ ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีผู้อำนวยการคนแรก คือ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ",
"title": "คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "307409#1",
"text": "\"คณะจิตรกรรมและประติมากรรม\" คือคณะวิชาแรกที่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยในระยะเริ่มต้น เปิดให้มีการเรียนการสอนศิลปะหลักสูตรภาควิชาจิตรกรรมและภาควิชาประติมากรรม ซึ่งสืบต่อมาจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โดยมี ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคนแรก และเป็นผู้ส่งต่อองค์ความรู้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี ตามมาตรฐานหลักวิชาการศิลปะตะวันตก (academic art) จากสถาบันศิลปะฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี สู่เยาวชนไทยในรั้วของคณะจิตรกรรมและประติมากรรม",
"title": "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "62007#1",
"text": "เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า \"คณะมัณฑนะศิลป์\" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น \"คณะมัณฑนศิลป์\" และศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)",
"title": "คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "11674#25",
"text": "วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นวันที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศิลปากร\"\nด้วยคุณูปการที่ ศิลป์ พีระศรี มีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า \"วันศิลป์ พีระศรี\" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี พร้อมไปกับการร้องเพลงซานตาลูชีอา และเพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้\nเป็นบุคคลที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน ท่านมีคุณปการด้านการศึกษาที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา ในวาระครบ 100 ปีเกิดของท่าน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446",
"title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "180062#1",
"text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในปี พ.ศ. 2532 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้เสนอให้ปรับโครงสร้างศูนย์ฯ ด้วยการจัดรระบบรูปแบบที่ไม่ต้องขึ้นกับระบบราชการ ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542",
"title": "ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)"
}
] |
3478 | สิทธัตถะ โคตมะ เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "80018#3",
"text": "ในคืนที่พระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้น ขณะทรงพระครรภ์แก่ ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิ เพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระนางได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าลุมพินีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อประสูติแล้ว พระราชกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าวทันที พร้อมทั้งเปล่งอาสภิวาจา ว่า \"เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว\" อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
}
] | [
{
"docid": "80018#0",
"text": "พระโคตมพุทธเจ้า (ออกเสียง: โค-ตะ-มะ) มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า \"ภควา\" (พระผู้มีพระภาคเจ้า)",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "57615#1",
"text": "ศาสตราจารย์ สิทธิชัย โภไคยอุดม หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เป็นชาวนครราชสีมา ศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนศิริวิทยากร จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครที่โรงเรียนเซนต์จอห์น ระหว่างที่ศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนเซนต์จอห์นได้รับทุน American Field Service Scholarshipไปศึกษาชั้นปี 12 ที่ โรงเรียนไฮสคูลเบลแอร์ ในเมืองเบลแอร์ ที่ตั้งอยู่ใน เคาน์ตีฮาร์ฟอร์ด รัฐแมริแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดมยังเป็นสมาชิกของ National Honors Society สหรัฐอเมริกา และ ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดมจบการศึกษาชั้น มศ.5 จากโรงเรียนเซนต์จอห์น กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ประมาณสองเดือน แต่เนื่องจากได้ทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศจึง สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมจาก มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย โดยได้เกียรตินิยมอันดับ 1 และได้ทุนการศึก Colombo Plan ขณะกำลังศึกษาปริญญาตรี และจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับ Solid State Electronics โดยขณะศึกษาได้รับทุน Dean's Scholarship ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์",
"title": "สิทธิชัย โภไคยอุดม"
},
{
"docid": "364279#1",
"text": "ซากาโมโตะ เรียวมะเกิดในปี ค.ศ. 1836 ตรงกับศักราชเท็มโป ปีที่ 6 ณ เมืองโคจิ แคว้นโทซะ (ปัจจุบันแคว้นนี้ได้แก่พื้นที่จังหวัดโคจิ บนเกาะชิโกกุ) เขาเป็นบุตรของครอบครัวตระกูลซามูไรชั้นโกชิ ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชนชั้นพ่อค้าทำอาชีพกลั่นสาเกขาย และได้เลื่อนขึ้นเป็นซามูไรโดยการซื้อตำแหน่ง (ซามูไรประเภทนี้นับเป็นซามูไรระดับต่ำที่สุดในระบบศักดินาญี่ปุ่น) มีพี่สาวชื่อ ซากาโมโตะ โอโตเมะ ในวัยเด็กนั้นเรียวมะมักถูกรังแกเวลาอยู่ที่โรงเรียน พี่สาวคนหนึ่งของเรียวมะจึงย้ายให้เขาไปเรียนอยู่ในสำนักดาบแทน จนกระทั่งเมื่อเจริญวัยขึ้น เขาก็ได้เป็นครูดาบอยู่ในแคว้นโทซะแห่งนั้น",
"title": "ซากาโมโตะ เรียวมะ"
},
{
"docid": "442713#1",
"text": "เช้าตรู่วันที่ 27 พฤษภาคม 2540 ชาวเมืองโคเบะพบศีรษะของจุง ฮะเซะ (; เกิดราวปี 2529) ซึ่งเป็นนักเรียนศึกษาพิเศษ (พิการ) ที่โรงเรียนประถมศึกษาไทโนะฮะตะ (Tainohata Elementary School) ถูกตัดโยนทิ้งไว้หน้าประตูเข้าโรงเรียนดังกล่าวก่อนเริ่มเรียนในวันนั้น เจ้าพนักงานชันสูตรแล้วเห็นว่า ศีรษะถูกตัดออกจากร่างกายด้วยเลื่อย แล้วทิ้งไว้ตรงนั้นเพื่อให้นักเรียนเห็นเมื่อมาโรงเรียนกันในเวลาเช้า ทั้งอวัยวะอื่นน่าจะถูกเฉือนออกจากร่างกายด้วย ปากศพมีกระดาษใบหนึ่งยัดเอาไว้ กระดาษนั้นมีข้อความเขียนด้วยหมึกแดงว่า \"เกมมันเพิ่งเริ่ม...เจ้าพวกตำรวจเอ๋ย จับได้ก็มาจับซี...อยากจะเห็นคนตายใจจะขาดอยู่แล้ว ฆ่าคนนี่มันตื่นเต้นเสียจริงนะ ความทุกข์ระทมที่ฉันเจอมาหลายปีมันต้องล้างด้วยคำตัดสินเปื้อนเลือด\" และลงชื่อว่า \"ซะกะกิบะระ\" เจ้าพนักงานตำรวจตั้งข้อสังเกตว่า วิธีที่คนร้ายฆ่าเด็กชายฮะเซะกับข้อความที่คนร้ายทิ้งไว้นั้นชวนให้นึกถึงนักฆ่าจักรราศี (Zodiac Killer) ซึ่งก่อคดีในนครซานฟรานซิโกเมื่อหลายสิบปีก่อนหน้า",
"title": "เซโตะ ซะกะกิบะระ"
},
{
"docid": "386656#1",
"text": "ฮิจิกาตะ โทชิโซ มีชื่อจริง (อิมินะ) ว่า \"โยชิโตโยะ\" เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1835 ที่หมู่บ้านอิชิดะ ตำบลทามะ แคว้นมูซาชิ (พื้นที่เมืองฮิโนะ จังหวัดโตเกียวในปัจจุบัน) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน โดยเขาเป็นคนสุดท้อง พ่อของเขาเป็นชาวนาผู้ขยันขันแข็ง ซึ่งเสียชีวิตหลังจากฮิจิกาตะเกิดได้เพียง 3 เดือน ต่อมาเมื่ออายุได้ 6 ปี แม่ของเขาเสียชีวิตลงอีกคนหนึ่ง ซ้ำร้ายพี่ชายคนโตก็เกิดตาบอด ฮิจิกาตะจึงต้องไปอยู่ในความอุปการะของพี่ชายคนรองและพี่สะใภ้",
"title": "ฮิจิกาตะ โทชิโซ"
},
{
"docid": "62242#3",
"text": "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า \"โต\" เป็บบุตรคนที่ 3 จากพี่น้องจำนวน 5 คน บิดาและมารดาเป็นชาวจีนอพยพตระกูลแซ่พัว โดยบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนในร้านเครื่องก่อสร้าง มารดาประกอบอาชีพขายอาหารตามโรงเรียน สมศักดิ์ได้บรรยายเรื่องของครอบครัวภายหลังการเสียชีวิตของมารดาผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวใน พ.ศ. 2560 ว่าครอบครัวมีฐานะยากจนทำให้ต้องย้ายบ้านและโรงเรียนหลายครั้ง สมศักดิ์จบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนพลับพลาไชยและเข้าศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยใน พ.ศ. 2514 โดยถือเป็นนักเรียนสวนกุหลาบรุ่นที่ 90 รุ่นเดียวกับเนวิน ชิดชอบ วัฒนา เมืองสุข และวีระ สมความคิด",
"title": "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล"
},
{
"docid": "290842#0",
"text": "สุทิศา พัฒนุช หรือเดิมชื่อ อุทิศ พัฒนุช เกิดวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นนักแสดงชาวไทย ชาวตำบลท่าตะโก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นรองนางสาวไทยปี 2508 รุ่นเดียวกับคุณจีรนันท์ เศวตนันท์ ชัชฎาภรณ์ รักษณเวช จากนั้นมีผลงานโฆษณารถจักรยานยนต์ฮอนด้า และได้รับการติดต่อจากหม่อมปริม บุนนาค จากอัศวินภาพยนตร์ ให้มาแสดงภาพยนตร์ รับบทเป็นนางเอกเรื่อง \"เป็ดน้อย\" คู่กับไชยา สุริยัน ทำให้เธอแจ้งเกิด และมีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อย ๆ อย่างเรื่อง \"บัวหลวง\" \"สาวบ้านแต้\" \"สันกำแพง\" \"กินรี\" \"ละครเร่\" \"นางพญา\" \"แสงเดือน\" \"พญาโศก\" \"เรารักกันไม่ได้\" \"กิ่งแก้ว\" \"ล่าพระกาฬ\" \"ทะเลฤๅอิ่ม\" \"น้ำผึ้งขม\" ฯลฯ จากนั้นเธอได้แต่งงานมีครอบครัว จึงค่อย ๆ หายไปจากวงการ จนกระทั่งแกรมมี่สร้างภาพยนตร์เรื่อง \"คู่กรรม\" (ฉบับธงไชย แมคอินไตย์) เธอกลับมาแสดงบทแม่นางเอก และไม่ได้คืนวงการอีกเลย",
"title": "สุทิศา พัฒนุช"
},
{
"docid": "316011#0",
"text": "โจะเซ โทะดะ () เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2443 ใน จังหวัดอิชิกะวะเป็นนายกสมาคมโซกา งัคไค ท่านที่ 2 เป็นอาจารย์ของไดซาขุ อิเคดะ ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อสมาคม และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะ วัดใหญ่ไทเซขิจิ ร่วมกับลูกศิษย์ คือ ดร.ไดซาจุ อิเคดะ และสมาชิกสมาคมสร้างคุณค่า ให้มีสภาพที่ดีขึ้นหลังจากตกต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 จนถึงแก่มรณกรรมวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2501",
"title": "โจะเซ โทะดะ"
},
{
"docid": "80018#9",
"text": "เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถากล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยจนมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาแล้ว ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูรณ์ จนวันหนึ่งได้เสด็จประพาสอุทยาน ครั้งนั้นเทวดาได้เนรมิตเทวทูต 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง 4 ก็ทรงบังเกิดความสังเวชในพระทัย และใคร่เสด็จออกผนวชเป็นสมณะ",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "621321#1",
"text": "เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ปีมังกร (นับตามปฏิทินจีน) ชื่อเดิมคือ เฮงเทียม แซ่ลี้ เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวนทั้งสิ้น 8 คน ของนายฮกเปี้ยว แซ่ลี้ และ นางสอน แซ่ลี้ บิดาเป็นชาว จีนโพ้นทะเลมาจากตำบลเตี๋ยชู้เลี้ยง อำเภอโผวเล้ มณฑล แต้จิ๋ว ส่วนมารดานั้นเป็นลูกจีนซึ่งเกิดในเมืองไทย สมรสเมื่อตอนอายุ 17 ปี กับ นางสายพิณ โชควัฒนา มีบุตร-ธิดา ด้วยกันทั้งสิ้น 8 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 2 คน\nคือ คุณบุญเอก คุณบุญปกรณ์ คุณบุณยสิทธิ คุณศิริยล คุณศิรินา คุณณรงค์ คุณบุญชัย คุณบุญเกียรติ โชควัฒนา\nเริ่มการศึกษา ครั้งแรกที่โรงเรียนเผยอิง ถนนทรงวาด จนกระทั่งอายุ 15 ปี ก่อนตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนมาเป็นคนงานในร้านขายของชำของที่บ้าน และเมื่อเริ่มมีโอกาสก็ได้ไปเรียนภาคค่ำซึ่งคล้ายกับโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่",
"title": "เทียม โชควัฒนา"
}
] |
3479 | หนังสือการ์ตูนเรื่อง ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน มีทั้งหมดกี่เล่ม? | [
{
"docid": "108172#5",
"text": "มังงะของ ฮายาเตะ แต่งเรื่องและวาดภาพโดย เค็นจิโร ฮะตะ เป็นเนื้อหาต้นแบบพื้นฐานของอนิเมะทั้ง 2 Season ตอนนี้มีฉบับรวมเล่มแล้ว 30\nเล่มในประเทศญี่ปุ่น เนื้อหาโดยรวมจะแบ่งออก เป็น 4 ช่วงในขณะนี้ฮายาเตะ มีในรูปแบบอนิเมะ ด้วยกัน 4 ชุด ได้แก่",
"title": "ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
}
] | [
{
"docid": "108172#0",
"text": "ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน () () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลกและต่อสู้ แต่งเรื่องและวาดภาพโดย เค็นจิโร ฮะตะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหนุ่มผู้ขยันขันแข็งนามว่า \"อายาซากิ ฮายาเตะ\" แต่มีพ่อแม่ที่เอาแต่เล่นการพนัน จนเป็นหนี้และชดใช้โดยการขายลูกชายให้พวกมาเฟีย แต่จับพลัดจับผลูไปเจอกับ \"ซันเซนอิง นางิ\" คุณหนูของตระกูลอภิมหาเศรษฐี จนได้มาเป็นพ่อบ้านตระกูลซันเซนอิงเพื่อใช้หนี้",
"title": "ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
},
{
"docid": "381059#0",
"text": "ฮายาเตะ พ่อบ้านสั่งได้ () (旋風管家/Xuan Feng Guan Jia) เป็นละครแนวโรแมนติกคอมเมดี ที่อิงเนื้อหาจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ของ เค็นจิโร ฮะตะ ถ่ายทำและเขียนบทใหม่โดยประเทศไต้หวัน โดยมีการปรับเนื้อหาและตัวละครให้เหมาะสมกับการทำเป็นละคร มีการออกอากาศในประเทศไต้หวันและประเทศเกาหลี จากนั้นจึงออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในภายหลัง โดยใช้ชื่อตัวละครตามมังงะต้นฉบับของญี่ปุ่น",
"title": "ฮายาเตะ พ่อบ้านสั่งได้"
},
{
"docid": "158196#8",
"text": "Hayate no Gotoku! Drama CD 1 - Hermione Ayasaki And The Private Lessons ดราม่าซีดีชุดแรกของ ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน วางจำหน่ายเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีเนื้อหาล้อเลียนแฮร์รี่ พอตเตอร์Hayate no Gotoku! Drama CD 2 - Shissou! Hakuou Gakuin Bus Tour to Maria-san no Hitorigoto ดราม่าซีดีชุดที่ 2 ของ ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน วางจำหน่ายเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไปเที่ยวบนรถทัวร์ของนักเรียนโรงเรียนฮัคคุโอHayate no Gotoku! Drama CD3 - Hatsukoi ดราม่าซีดีชุดที่ 3 ของ ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน วางจำหน่ายเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551อะนิเมะเรื่อง ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ได้มีอัลบั้มเพลงบรรเลงประกอบ 2 ชุด คือ",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
},
{
"docid": "158196#9",
"text": "Hayate no Gotoku! Original Soundtrack 1 อัลบั้มเพลงบรรเลงประกอบชุดแรกของ ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน บรรเลงโดย โคทาโร่ นาคางาว่าHayate no Gotoku! Original Soundtrack 2 อัลบั้มเพลงบรรเลงประกอบชุดที่ 2 ของ ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน บรรเลงโดย โคทาโร่ นาคางาว่าอะนิเมะเรื่อง Hayate no Gotoku!! 2nd Season ได้มีอัลบั้มเพลงเปิด - ปิด 4 ชุด โดยเป็นเพลงเปิด 2 ชุด และเพลงปิด 2 ชุด ในอัลบั้ม จะมีเพลงอีก 1 เพลงที่ไม่ได้ใช้ในอะนิเมะด้วย ยกเว้นเพลงปิดแรกที่มีเพลงเพิ่มเติมอีก 2 เพลง นอกจากนั้น ยังมีเพลงในแบบ Karaoke ด้วยทุกเพลง",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
},
{
"docid": "172932#21",
"text": "Original Disc\n(เพลงจากอัลบั้ม Niji iro no Sneaker/Koi no Scramble Race ของ เมงุมิ ฮายาชิบาระ)\n(เพลงเปิดแรกของการ์ตูนเรื่อง อิกโคคุ บ้านพักหรรษา)\n(เพลงเปิดแรกของการ์ตูนเรื่อง อีวานเกเลียน)\n(เพลงประกอบการ์ตูนเรื่อง สี่แสบฝ่าแดนทมิฬ ของวงดนตรี Godiego)\n(เพลงเปิดแรกของการ์ตูนเรื่อง Mashin Hero Wataru)\n(เพลงของวงดนตรี จากรายการวิทยุ \"\" ในญี่ปุ่น)\n(เพลงปิดของการ์ตูนเรื่อง Trapp Family Story)\n(เพลงเปิดภาค OVA ของการ์ตูนเรื่อง โอ้เทพธิดา)\n(เพลงปิดภาพยนตร์เรื่องขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน ของ ฮิโรโนบุ คาเงยามะ)\n(เพลงปิดที่ 4 ของเรื่องฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน จากอัลบั้ม Oto no nai Yozora ni/Ko no me kaze)",
"title": "รายชื่ออัลบั้มประจำตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
},
{
"docid": "108172#7",
"text": "ในประเทศไทย ทางบริษัทโรส แอนิเมชัน ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์ของ ฮายาเตะ มาจำหน่ายในประเทศไทย โดยลิขสิทธิ์ที่ได้มานั้น เป็นภาพรูปแบบสำหรับฉายทางโทรทัศน์ หรือ เบต้าเทป และมีขนาดอัตราส่วนลักษณะของภาพในแบบ 4:3 ทั้งในรูปแบบ VCD และ DVD ซึ่งแตกต่างจาก DVD ที่วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ที่มีการปรับปรุงภาพให้ดีขึ้น ปรับเปลี่ยนฉากบางฉาก ให้แตกต่างจากโทรทัศน์ และมีขนาดอัตราส่วนลักษณะของภาพในแบบ 16:9 เนื่องจากลิขสิทธิ์เบต้าเทปในอัตราส่วนลักษณะ 4:3 นั้นมีค่าลิขสิทธิ์ถูกกว่า ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นกับแฟนการ์ตูนเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ทางบริษัทโรสได้ออกมาขอโทษ พร้อมทั้งประกาศว่าเรื่องหลังจากนี้ไปจะพยายามทำให้มีขนาดสัดส่วนของภาพในแบบ 16:9 เท่าที่จะทำได้",
"title": "ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
},
{
"docid": "411855#1",
"text": "นางิ ฮายาเตะ มาเรีย คายุระ ฮินะกิคุ อายุมุ จิฮารุ และ 3 สาวกรรมการนักเรียน เดินทางมาพักผ่อนในฤดูร้อนที่ต่างจังหวัดตามคำเชิญชวนของอายุมุ ถึงตอนแรกคุณหนูจะยอมมาด้วยดี แต่เมื่อมาถึง ก็เริ่มออกอาการงอแงเพราะไม่มีทั้งโทรทัศน์และเกมใดๆทั้งสิ้น ขณะที่ฮายาเตะเชิญชวนให้คุณหนูนางิลองมาชมทัศนียภาพของดอกทานตะวัน ก็ได้พบกับสาวน้อยผมสีเงินในชุดมิโกะสีขาวมาบอกกล่าวอะไรบางอย่าง แล้วหายตัวไปแบบทันทีทันใด ฮายาเตะจึงนึกเอะใจอะไรบางอย่างขึ้นมา คืนนั้น หลังหมดกิจกรรมเล่าเรื่องผีแล้วเข้านอน คุณหนูนางิเกิดอาการอยากเข้าห้องน้ำ แต่เพราะความกลัว จึงได้ร้องเรียกฮายาเตะออกมา ฮายาเตะได้ยินเข้าก็ชักชวนคุณหนูออกมาดูดาวซึ่งตามปกติจะหาดูไม่ได้ในเมือง ทันใดนั้นเอง สาวน้อยผมสีเงินก็ปรากฏตัวอีกครั้ง พร้อมกับนำพาฮายาเตะไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความทรงจำของฮายาเตะ...",
"title": "ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน! เดอะ มูฟวี่ รักกวน ๆ ป่วนถึงสวรรค์"
},
{
"docid": "158196#29",
"text": "เป็นอัลบั้มพิเศษที่ได้นำตัวละครจากสองเรื่องที่โด่งดังในนิตยสาร โชเน็งซันเดย์ คือเรื่อง ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน และ เซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ ซึ่งทั้งสองเรื่องได้ถูกสร้างเป็นอะนิเมะ โดยค่าย Manglobe เหมือนกัน",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
},
{
"docid": "153786#2",
"text": "ตัวเอกของเรื่อง มีร่างกายทนทานเป็นอมตะ มีทักษะต่างๆดีเลิศ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด มีความรู้รอบตัวสูง แต่เป็นผู้อับโชคสุดๆ ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็ก\nโกงอายุเพื่อเข้าทำงานพิเศษบ่อยๆ มีพ่อแม่เป็นคนเหลวแหลก ไม่ทำการงาน เอาแต่เล่นการพนัน จนสุดท้ายหนีไปแล้วทิ้งหนี้ไว้ให้ฮายาเตะ 156,804,000 เยน โดยได้ทำการชดใช้โดยการขายฮายาเตะผู้เป็นลูกไป แต่โชคชะตาทำให้มาเจอ กับ คุณหนู ซันเซนอิน นางิ โดยตอนแรก ฮายาเตะคิดจะลักพาตัวเรียกค่าไถ่จากคุณหนูนางิ แต่นางิกลับคิดว่าฮายาเตะสารภาพรักตน จนได้มาเป็นพ่อบ้านตระกูลซันเซนอิง ความฝันในอนาคตของเขาคือ การได้ที่อยู่อาศัยขนาด 3LDK เป็นของตัวเอง ฮายาเตะมีความหลัง กับ อาเธน่า เทนนอส เกี่ยวกับเรื่องความรัก ทำให้ปัจจุบัน ฮายาเตะไม่กล้าที่จะคบกับใคร เพราะว่า อาเธน่า เทนนอส เคยบอกว่า \"คนที่จะคบคนอื่นได้ ต้องดูแลชีวิตคนรักได้\" ในวัยเด็ก",
"title": "รายชื่อตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน"
}
] |
3486 | เทกแดต มีการรวมวงกันขึ้นที่ใด? | [
{
"docid": "75976#0",
"text": "เทกแดต () คือกลุ่มศิลปินแนวป๊อปจากอังกฤษ สมาชิกวงประกอบไปด้วยมาร์ก โอเวน, ฮาวเวิร์ด ดอนัลด์, แกรี บาร์โลว์ และอดีตสมาชิกวง ร็อบบี้ วิลเลียมส์ และ เจสัน ออเรนจ์ ภายหลังที่พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 จึงแยกย้ายกันไป แล้วกลับมารวมตัวกันอีกครั้งในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 2000",
"title": "เทกแดต"
}
] | [
{
"docid": "75976#8",
"text": "13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 เทกแดต ประกาศยุบวง โดยออกอัลบั้มรวมเพลง Greatest Hits ซึ่งมีเพลง \"How Deep Is Your Love\" (เพลงเก่าของบีจีส์) เป็นซิงเกิ้ลลาของวง ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่ 8 และเพลงสุดท้ายของเทกแดต ยุคแรกที่ไปถึงอันดับหนึ่ง (ทั้งนี้ วงได้ออกอีก 2 ซิงเกิ้ล นั่นคือ \"Every Guy\" ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลโปรโมต และ \"Sunday To Saturday\" ที่ปล่อยเฉพาะในญี่ปุ่น) อัลบั้มนี้ขายได้กว่า 3 ล้านชุดทั่วโลก\nเทกแดต ยังติดสัญญาที่จะต้องออกอัลบั้มอีก 1 อัลบั้ม ถ้าไม่ออกอัลบั้มจะถูกฟ้องร้องจากทางค่ายเพลง ซึ่งเป็นที่มาที่จะต้องออกอัลบั้มรวมเพลงชุดที่ 2 และ การโปรโมทอัลบั้มที่เป็นเงื่อนไขตามมา ฮาวเวิร์ดและเจสัน ตกลงเงื่อนไขทันที ตามมาด้วย มาร์กและแกรี โดยมาร์กได้เข้าไปหาร็อบบี้เพื่อเจรจาเรื่องนี้ โดยทุกคนคิดว่าร็อบบี้คงไม่ตกลง แต่ร็อบบี้ก็ได้สร้างความประหลาดใจ เมื่อเขาตกลงที่จะปรากฏตัวในฟิล์มโฆษณา แต่ต้องไม่พร้อมกับวง",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "712711#0",
"text": "Greatest Hits เป็นอัลบั้มเพลงฮิตชุดแรกของวงบอยแบนด์อังกฤษเทคแดท โดยอัลบั้มนี้ทางวงได้ออกเพลง \"How Deep Is Your Love\" (เพลงเก่าของบีจีส์) เป็นซิงเกิ้ลลาของวง ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่ 8 และเพลงสุดท้ายของเทกแดต ยุคแรกที่ไปถึงอันดับหนึ่ง ก่อนที่จะแยกวงกันไป อัลบั้มนี้ขายได้กว่า 3 ล้านชุดทั่วโลก",
"title": "เกรเทสต์ฮิตส์ (อัลบั้มของเทกแดต)"
},
{
"docid": "712742#0",
"text": "Progress เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวงบอยแบนด์อังกฤษเทกแดท วันที่ 15 กรกฎาคม 2010 ร็อบบี วิลเลียมส์ได้กลับมาอยู่ในวง ทำให้เทก แดท มีสมาชิกครบ 5 คนอีกครั้ง โดยทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่หกในวันที่ 15 พฤศจิกายน โดยได้ออก 2 ซิงเกิ้ล ได้แก่ The Flood (เข้าชาร์ตในอันดับที่ 2) และ Kidz (อันดับ 28) แม้จะไม่มีซิงเกิ้ลไหนที่ขึ้นถึงอันดับ 1 เลย แต่ตัวอัลบั้มนั้นทำยอดขายได้กว่า 4 ล้านชุด อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีที่สุดของวง และยังเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในอังกฤษประจำปี 2010 อีกด้วย ต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน 2011 ทางวงได้ออกอัลบั้มพิเศษ Progressed โดยเทกแดตได้ออกผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เอ็กซ์เมน รุ่น 1 ชื่อเพลง Love Love (อันดับ 15) โดยในเวลาต่อมาได้ออกผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ The Three Musketeers (สามทหารเสือ ดาบทะลุจอ) ชื่อ When We Were Young (อันดับ 88) ด้วย โดยในอัลบั้มนี้ ทางวงได้ออกซิงเกิ้ลเพื่อเป็นการโปรโมตงาน Red Nose Day ประจำปี 2011 ของมูลนิธิ Comic Relief ในชื่อ Happy now (อันดับ 52) และทางวงได้ออกซิงเกิ้ลเพื่อโปรโมตการทัวร์คอนเสิร์ต Progress Live ของพวกเขาในชื่อ Eight Letters (อันดับ 176)\nทั้งนี้ เพลง SOS สามารถขึ้นไปถึงอันดับที่ 91 ในชาร์ตของอังกฤษ ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงเดียวของวงที่สามารถขึ้นไปถึง 100 อันดับแรกของชาร์ต ทั้งๆที่ไม่ใช่ซิงเกิ้ล\nในปี 2011 เทกแดตได้รางวัลบริท อะวอร์ดสในสาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม โดยในอัลบั้มนี้ยังได้เข้าชิงในสาขาอัลบั้มยอดเยี่ยมด้วย",
"title": "โพรเกรสส์ (อัลบั้มเทกแดต)"
},
{
"docid": "75976#16",
"text": "วันที่ 15 กรกฎาคม 2010 ร็อบบี้ วิลเลียมส์ได้กลับมาอยู่ในวง ทำให้เทก แดท มีสมาชิกครบ 5 คนอีกครั้ง โดยทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่หกProgressในวันที่ 15 พฤศจิกายน\nโดยได้ออก 2 ซิงเกิล ได้แก่ The Flood (เข้าชาร์ตในอันดับที่ 2) และ Kidz (อันดับ 28) แม้จะไม่มีซิงเกิลไหนที่ขึ้นถึงอันดับ 1 เลย แต่ตัวอัลบั้มนั้นทำยอดขายได้กว่า 4 ล้านชุด อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีที่สุดของวง และยังเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในอังกฤษประจำปี 2010 อีกด้วย ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน 2011 ทางวงได้ออกอัลบั้มพิเศษ Progressed โดยเทกแดตได้ออกผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง X-Men: First Class ชื่อเพลง Love Love (อันดับ 15) โดยในเวลาต่อมาได้ออกผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ The Three Musketeers ชื่อ When We Were Young (อันดับ 88) ด้วย โดยในอัลบั้มนี้ ทางวงได้ออกซิงเกิลเพื่อเป็นการโปรโมตงาน Red Nose Day ประจำปี 2011 ของมูลนิธิ Comic Relief ในชื่อ Happy Now (อันดับ 52) และทางวงได้ออกซิงเกิลเพื่อโปรโมตการทัวร์คอนเสิร์ต Progress Live ของพวกเขาในชื่อ Eight Letters (อันดับ 176)\nทั้งนี้ เพลง SOS สามารถขึ้นไปถึงอันดับที่ 91 ในชาร์ตของอังกฤษ ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงเดียวของวงที่สามารถขึ้นไปถึง 100 อันดับแรกของชาร์ต ทั้งๆที่ไม่ใช่ซิงเกิล\nหลังจากที่ร็อบบี วิลเลียมส์ได้ทำงานกับวงเป็นครั้งสุดท้ายในปี 2012 และเจสัน ออเรนจ์ได้ออกจากวงในปี 2014 ทำให้เทกแดตมีสมาชิกเพียงสามคนเท่านั้น โดยในวันที่ 14 พฤศจิกายน ทางวงได้ออกซิงเกิลที่ทีชื่อว่า These Days โดยตัวซิงเกิลนั้นขึ้นไปอยู่ในอันดับ 1 ได้สำเร็จ ทำให้มันกลายเป็นซิงเกิลที่ 12 ที่สามารถขึ้นไปถึงอันดับที่ 1 ได้สำเร็จ และได้ออกอัลบั้มในวันที่ 28 พฤศจิกายน โดยทางวงได้ออกงานเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง คิงส์แมน โคตรพิทักษ์บ่มพยัคฆ์ ชื่อว่า Get Ready For It ในวันที่ 2 มีนาคม 2015 ทางวงได้ออกซิงเกิลที่สองของอัลบั้ม ชื่อ Let In The Sun และในวันที่ 8 มิถุนายน ก็ได้ออกซิงเกิลที่สามในชื่อ Higher Than Higher ในวันที่ 20 พฤศจิกายน เทกแดทได้ออกอัลบั้มเวอร์ชันใหม่ โดยได้ออกซิงเกิล Hey Boy ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม เพลงนี้ขึ้นถึงอันดับที่ 56",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "75976#14",
"text": "หลังจากเทกแดตได้ทัวร์เสร็จ ทางวงได้ทำการเซ็นสัญญากับ พาราเมาท์ พิกเจอร์ส เพื่อแต่งเพลง Rule the World เพลงสำหรับภาพยนตร์เรื่อง \"Stardust\" นำแสดงโดย ชาร์ลี คอกซ์ แคลร์ เดนส์ โรเบิร์ต เดอนิโร และ เซียนนา มิลเลอร์ กำกับโดย แมทธิว วอห์น ถือเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงแรกของเทกแดต เพลงนี้เข้าถึงอันดับที่ 2 ของชาร์ตอังกฤษ",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "712733#0",
"text": "Beautiful World เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ของวงบอยแบนด์อังกฤษเทกแดท โดยในวันที่ 9 พฤษภาคม 2006 เทกแดต กลับมาอีกครั้งโดยเซ็นสัญญากับ Polydor Records ด้วยเงิน 3 ล้านปอนด์ \nโดยได้ออกซิงเกิลแรก \"Patience\" ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เพลงนี้ขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตอังกฤษในทันที ทำให้เป็นเพลงอันดับ 1 เพลงที่ 9 ของวงที่สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งได้ โดยทางวงได้ออกอัลบั้มในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006 ซึ่งอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 2.8 ล้านชุด ทำให้มันกลายเป็นอัลบั้มของวงที่ขายดีที่สุดในอังกฤษ",
"title": "บิวตีฟูลเวิลด์ (อัลบั้มเทกแดต)"
},
{
"docid": "75976#11",
"text": "9 พฤษภาคม 2006 เทกแดต กลับมาอีกครั้งโดยเซ็นสัญญากับ Polydor Records ด้วยเงิน 3 ล้านปอนด์ \nโดยได้ออกซิงเกิลแรก \"Patience\" ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เพลงนี้ขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตอังกฤษในทันที ทำให้เป็นเพลงอันดับ 1 เพลงที่ 9 ของวงที่สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งได้ โดยทางวงได้ออกอัลบั้ม Beautiful World ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006 ซึ่งอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 2.8 ล้านชุด ทำให้มันกลายเป็นอัลบั้มของวงที่ขายดีที่สุดในอังกฤษ",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "75976#6",
"text": "ปี 1995 วงได้ออกอัลบั้มNobody Else ปล่อยซิงเกิลแรกคือ \"Sure\" สามรถขึ้นถึงอันดับ 1 ได้อีกครั้ง และซิงเกิลที่ 2 คือ \"Back For Good\" เพลงนี้เป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวง โดยเพลงนี้สามารถขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งของชาร์ตซิงเกิลของ 31 ประเทศ ซึ่งเพลงนี้ถือเป็นเพลงฮิตเพลงเดียวในอเมริกาของเทกแดต โดยขึ้นไปถึงอันดับ 7 โดยอัลบั้มนี้ถือเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในทั้งในแแง่ของอัลบั้มและซิงเกิล โดยอัลบั้มนี้ขายได้กว่า 6 ล้านชุดทั่วโลก และทั้ง 3 ซิงเกิลได้ขึ้นถึงอันดับหนึ่งทั้งหมด",
"title": "เทกแดต"
},
{
"docid": "75976#7",
"text": "เริ่มต้นจาก กรกฎาคม 1995 เมื่อร็อบบี้ต้องการที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตัวเองที่ดูสดใส และเริ่มคบหา สังสรรค์กับวงโอเอซิส เป็นสาเหตุของข้อขัดแย้ง ทำให้ร็อบบี้ต้องออกจากวงไปในที่สุด แต่ เทกแดต ก็ยังคงโปรโมท เพลงซิงเกิ้ลถัดมา \"Never Forget\" (รีมิกซ์โดย จิม สไตน์แมน)ซึ่งยังคงขึ้นถึงอันดับหนึ่งเหมือนเดิม",
"title": "เทกแดต"
}
] |
3487 | รัชนก อินทนนท์ จบการศึกษาจากที่ไหน ? | [
{
"docid": "467087#4",
"text": "รัชนกสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนกสิณธรอาคาเดมี่ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
}
] | [
{
"docid": "467087#2",
"text": "รัชนก อินทนนท์เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของวินัสชัย อินทนนท์ และคำผัน สุวรรณศาลา มีน้องชาย 1 คนคือ รัชพล อินทนนท์ เมื่ออายุ 3 เดือน รัชนกย้ายเข้ากรุงเทพมหานครตามบิดาและมารดา ซึ่งมาทำงานที่โรงงานทำขนมบ้านทองหยอด และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น นับแต่นั้น รัชนกยังมีกมลา ทองกร เจ้าของโรงงานบ้านทองหยอด เป็นมารดาบุญธรรมอีกด้วย",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
},
{
"docid": "467087#3",
"text": "รัชนกเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตัน เมื่ออายุได้ 6 ปี เนื่องจากกมลา ทองกร เกรงว่ารัชนกจะวิ่งเล่นซุกซนภายในโรงงานจนเกิดอุบัติเหตุได้ จึงได้นำเธอมาหัดเล่นแบดมินตันตั้งแต่บัดนั้น หนึ่งปีต่อมาเธอได้ลงแข่งขันเป็นครั้งแรก ในรายการอุดรธานี โอเพ่น และได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นครั้งแรก",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
},
{
"docid": "467087#0",
"text": "รัชนก อินทนนท์ ชื่อเล่น เมย์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย อดีตนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2559 และเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้นในปี 2556 เธอได้คว้าแชมป์โลกและสร้างสถิติเป็นแชมป์โลกแบดมินตันอายุน้อยที่สุด",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
},
{
"docid": "165676#2",
"text": "ดร.สาทิส อินทรกำแหง จบการศึกษาระดับมัธยม ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จากนั้นเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมแพทยศาสตร์ ร่วมกับแผนกวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคสมทบ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อทางจิตวิทยาทดลอง (Experimental Psychology) ที่มหาวิทยาลัยออริกอน รัฐออริกอน, มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และวิทยาลัยแนสซอในมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก ของสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งเข้าอบรมศึกษาในหลักสูตรพิเศษต่างๆ เช่นโภชนาการ ชีวโมเลกุล แมโครไบโอติกส์ การฝังเข็ม การแพทย์แผนจีน การแพทย์ทางเลือก เป็นต้น ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งของสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั่งจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ทางสังคมวิทยาและวิทยาศาสตร์การอาหาร จากมหาวิทยาลัยออริกอน และมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก",
"title": "สาทิส อินทรกำแหง"
},
{
"docid": "658557#1",
"text": "ประกายเพชร อินทุโสภณ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 6 รุ่นเดียวกับเชาวน์ ณศีลวันต์ ณัฐ ภมรประวัติ เติมศักดิ์ กฤษณามระ ประยูร จินดาศิลป์ ปรีดา พัฒนถาบุตร สวัสดิ์ โชติพานิช อนันต์ กรุแก้ว และปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นคนแรก และเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "ประกายเพชร อินทุโสภณ"
},
{
"docid": "333643#2",
"text": "การศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเตรียมอุดมศึกษา (รุ่นเดียวกับ ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์), ปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2540 และปริญญาโท 3 ใบ จากวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2542 ด้านเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต และ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม จาก มหาวิทยาลัยเยล ปี พ.ศ. 2546",
"title": "ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต"
},
{
"docid": "712933#2",
"text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนสตรีจุลนาค หลานหลวง แต่เรียนได้ปีเดียวสงครามโลกครั้งที่สองก็เกิดขึ้น จนทำให้ครอบครัวตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่จังหวัดพัทลุง และเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่สอง ที่โรงเรียนโสภณพัทลุงกุล(ปัจจุบันคือโรงเรียนสตรีพัทลุง) แต่เมื่อคุณพ่อเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคโลหิตในสมองแตกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 ขณะที่ยังเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง ทำให้ชีวิตครอบครัวถึงจุดเปลี่ยนแปลงคุณแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกๆ ภายหลังจบชั้นประถมศึกษา ศ.เกียรติคุณ ดร. แถมสุข เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสตรีพัทลุงจนจบมัธยมปีที 6 และได้รับทุนจากมูลนิธิฟุลไบร้ท์ จากโครงการรุ่นแรกที่ให้แก่นักเรียนต่างจังหวัดที่เรียนดีแต่ขาดแคลนมาเข้าเรียนเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยเลือกเรียนสายอักษรศาสตร์ และจบมัธยมปีที่ 8 รุ่น พ.ศ. 2495 โดยสอบได้ที่ 9 ของประเทศ และเข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส ในฐานะได้คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์\nภายหลังจบการศึกษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. แถมสุข ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่แผนกวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ก่อนได้รับทุนของมูลนิธิเอเชียที่ให้แก่บัณฑิตในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปศึกษาปริญญาโท วิชาประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮ่องกง สำเร็จการศึกษาปริญญาโทในปี พ.ศ. 2504 ด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง พัฒนาการของรัฐไทรบุรี-ปะลิส ค.ศ. 1909 – ค.ศ. 1941 ก่อนมาเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกครั้งหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะได้รับทุนบริติช เคาน์ชิล ไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2509 จากการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเจรจาทางการทูตระหว่างสยามกับอังกฤษ ค.ศ. 1900 -ค.ศ. 1909",
"title": "แถมสุข นุ่มนนท์"
},
{
"docid": "78373#3",
"text": "ดร.ปิยสวัสดิ์ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นศึกษาต่อระดับไฮสกูลที่ โรงเรียน Bryanston Public School ประเทศอังกฤษ โดยเรียน 4 ปี ได้ระดับเกรด A ในปี พ.ศ. 2515 สอบเข้า Brasenose College มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ London School of Economics มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ (ได้รับทุนรัฐบาลอังกฤษ)",
"title": "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"
},
{
"docid": "467087#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2553 รัชนกเริ่มก้าวเข้าสู่การแข่งขันในระดับทั่วไปในรายการที่ใหญ่ขึ้น และสามารถทำผลงานได้ดีในหลายรายการ ในเดือนตุลาคม ด้วยวัย 15 ปี รัชนกสามารถคว้าแชมป์แรกในระดับกรังด์ปรีซ์ และกรังด์ปรีซ์ โกลด์ ให้กับตัวเอง ได้ที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียตามลำดับ และในรอบปีนั้น ยังทำผลงาน เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศได้ในรายการไชน่า ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์, ฮ่องกง ซูเปอร์ซีรีส์, ไชนีส ไทเป กรังด์ปรีซ์โกลด์ และโคเรีย กรังด์ปรีซ์โกลด์",
"title": "รัชนก อินทนนท์"
}
] |
3495 | เบลารุสมีเมืองหลวงชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "17203#0",
"text": "เบลารุส ( \"บฺแยลารูสฺย\"; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (; ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกัยรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสก์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ เบรสต์ กรอดโน กอเมล และวีเซียบสค์",
"title": "ประเทศเบลารุส"
},
{
"docid": "84985#0",
"text": "มินสค์ (; ; ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี",
"title": "มินสค์"
}
] | [
{
"docid": "431818#0",
"text": "ฮาราเร (ก่อน พ.ศ. 2525 ชื่อ ซอลส์บรี) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศซิมบับเว ใน พ.ศ. 2552 มีการประเมินประชากรไว้ที่ 1,606,000 คน โดยมี 2,800,000 คนในเขตปริมณฑล (พ.ศ. 2549) ในทางการปกครอง ฮาราเรเป็นนครอิสระมีฐานะเทียบเท่าจังหวัด เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางการปกครอง พาณิชย์และการสื่อสารของประเทศซิมบับเว นครนี้เป็นศูนย์กลางการค้ายาสูบ ข้าวโพด ฝ้ายและผลไม้สกุลส้ม การผลิตมีทั้งสิ่งท่อ เหล็กกล้าและเคมีภัณฑ์ ตลอดจนมีการขุดทองในพื้นที่ ฮาราเรตั้งอยู่ที่ความสูง 1,483 เมตรจกระดับน้ำทะเล และภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทอุณหภูมิอบอุ่น",
"title": "ฮาราเร"
},
{
"docid": "541563#8",
"text": "เนื่องจากที่อัคบาราบัดนี้เป็นเมืองที่สำคัญที่สุดในอินเดียภายใต้จักรวรรดิโมกุล จึงมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างสำคัญมากมาย สมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ ผู้สถาปนาราชวงศ์โมกุล ได้วางแบบแผนสวนแบบเปอร์เซียในบริเวณริมฝั่งของแม่น้ำยมุนา สวนนี้มีชื่อว่า \"อารัม บักห์\" (Arām Bāgh) แปลว่า สวนแห่งความผ่อนคลาย พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร ได้สร้างป้อมปราการสีแดงขึ้นมา นอกจากนั้นยังทำให้อัคระเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ศิลปะ การค้า และศาสนา ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีการสร้างเมืองแห่งใหม่บริเวณปริมณฑลของอัคระที่มีชื่อว่า \"ฟาเตห์ปูร์ สิครี\" ซึ่งสร้างในรูปแบบของป้อมค่ายทหารซึ่งสร้างจากหิน",
"title": "อัคระ"
},
{
"docid": "589981#0",
"text": "เบรสต์ ( Берасце, \"Bierascie\"; ; , earlier name \"Lietuvos Brasta\" (literally, 'Lithuanian Ford'); ; , Берестя \"Berestia\"; \"Brisk\"), เดิมชื่อ Brest-on-the-Bug (\"Brześć nad Bugiem\" ในภาษาโปแลนด์) และ เบรสท์-ลีตอฟสก์ (\"Brześć Litewski\" ในภาษาโปแลนด์) เป็นเมืองในประเทศเบลารุส มีประชากร 310,800 คน ในปี ค.ศ. 2010 เมืองอยู่ใกล้ชายแดนประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบุก เป็นเมืองหลวงของ เบรสต์โวบลาสต์",
"title": "เบรสต์ (เบลารุส)"
},
{
"docid": "17203#4",
"text": "เบลารุสมีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน โดยทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิก มีไวยากรณ์ ระบบเสียง และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ประชากรโดยมากใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักและใช้เป็นภาษาแรกโดยมีผู้พูดประมาณ 6,670,000 คน ส่วนภาษาเบลารุส มีผู้พูดประมาณ 2,220,000 คน (ตรวจสอบเมื่อ ค.ศ. 2009)",
"title": "ประเทศเบลารุส"
},
{
"docid": "380708#0",
"text": "วีเต็บสค์ () หรือ วีตเซียบสค์ (; ; ) เป็นเมืองในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนประเทศรัสเซีย เป็นเมืองหลวงของวีเต็บสค์โอบลาสต์ ในปี ค.ศ. 2004 มีประชากร 342,381 คน ทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญผลิตเครื่องมือกล มีโบสถ์สร้างในสมัยกลางหลายแห่ง",
"title": "วีเต็บสค์"
},
{
"docid": "94477#2",
"text": "นักปราชญ์ทั้งหลายสันนิษฐานว่า ระหว่างรัฐตรีปุระซึ่งอยู่ทางเหนือ และเมืองอาระกันซึ่งอยู่ทางใต้ มีแคว้นชื่อรัมมเทศ และมีเมืองหลวงชื่อ ศรีจัฏฏละ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 14 คือ บัณฑิตวิหารคณาจารย์ในรัมมเทศก็ได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ศึกษาเล่าเรียน ดังปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าบัณฑิตวิหารนอกจากจะเป็นศูนย์การค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสังฆิการาม หรือวัด ในพระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งพระสงฆ์จากต่างชาติเข้ามาอาศัยศึกษาในบัณฑิตวิหาร หลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายแล้ว สถาบันแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 300 ปี ในกลางพุทธศตวรรษที่ 15 มีบุตรพราหมณ์เมืองจิตตะกองเป็นอาจารย์ใหญ่ของสถาบันนี้ คือ สิทธะปัญญาภัททะ (ติโลปะ) เป็นพระมหายานแบบตันตระ มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า และเวทมนตร์ต่างๆ ท่านได้แต่งคัมภีร์ไว้ศึกษาในสถาบันนี้จำนวนมาก เช่น ศรีสรัชสำพาราธิษฐาน จัตตุโรปเทศ ปาสันนทีป อาจินตามหามุทรานาม มหามุทโรปเทส โทหโกษ และสฬธัมโมปเทส เป็นต้น",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ"
},
{
"docid": "181918#0",
"text": "อาลัมบรา () คือพระราชวังและป้อมปราการตั้งอยู่ที่เมืองกรานาดาในแคว้นอันดาลูซิอา ทางภาคใต้ของประเทศสเปน สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1248-1354 โดยกษัตริย์มุสลิมชาวมัวร์ สุลต่านมุฮัมมัดที่ 1 อิบน์ นัสร์แห่งราชวงศ์นาสริด ซึ่งเป็นราชวงศ์ของชาวมุสลิมราชวงศ์สุดท้ายในสเปน คำว่า \"อาลัมบรา\" มาจากคำในภาษาอาหรับว่า \"อัลฮัมรออ์\" (, ) แปลว่า \"(สิ่ง) ที่มีสีแดง\" เนื่องจากตัวป้อมปราการนั้นก่อสร้างด้วยหิน ดิน และอิฐสีแดง ส่วนอาคารอื่น ๆ ซึ่งสร้างด้วยใช้ปูนขาวเป็นส่วนประกอบก็จะเห็นเป็นสีออกแดง ๆ เช่นกัน",
"title": "อาลัมบรา"
},
{
"docid": "5947#58",
"text": "\"เมืองหลวงอยู่ที่ อเล็กซานเดรีย ดูบทความหลักใน ราชวงศ์ทอเลมี\"\nคลีโอพัตราที่ 7 กับเผด็จการแห่งโรมันจูเลียส ซีซาร์และนายพลโรมันมาร์ค แอนโทนีได้ร่วมมือในการปกครองอียิปต์ แต่หลังจากนั้นไม่นานจนกระทั่งการฆ่าตัวตาย (หลังจากที่มาร์ค แอนโทนีแพ้อ็อกตาเวียน ซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิออกัสตัส) อียิปต์กลายเป็นมณฑลแห่งกรุงโรมในปี 30 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาจักรพรรดิได้รับชื่อของฟาโรห์แม้ว่าเฉพาะในขณะที่ในอียิปต์ รายชื่อกษัตริย์อียิปต์พระองค์หนึ่งระบุว่าจักรพรรดิโรมันเป็นฟาโรห์ขึ้นและรวมถึงจักรพรรดิเดซิอุส ดูรายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน",
"title": "รายพระนามฟาโรห์"
}
] |
3509 | การประมวลผลสัญญาณ หมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "23811#0",
"text": "การประมวลผลสัญญาณ หมายถึงการประมวลผล การขยาย และการแปลสัญญาณ รวมทั้งการวิเคราะห์และเปลี่ยนแปลงสัญญาณ",
"title": "การประมวลผลสัญญาณ"
}
] | [
{
"docid": "698#1",
"text": "แนวความคิดและเทคนิค ในการประมวลผลสัญญาณ สำหรับสัญญาณ 1 มิตินั้น สามารถปรับมาใช้กับภาพได้ไม่ยาก แต่นอกเหนือจาก เทคนิคจากการประมวลผลสัญญาณแล้ว การประมวลผลภาพก็มีเทคนิคและแนวความคิดที่เฉพาะ (เช่น connectivity และ rotation invariance) ซึ่งจะมีความหมายกับสัญญาณ 2 มิติเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคบางอย่าง จากการประมวลผลสัญญาณใน 1 มิติ จะค่อนข้างซับซ้อนเมื่อนำมาใช้กับ 2 มิติ",
"title": "การประมวลผลภาพ"
},
{
"docid": "718#0",
"text": "การประมวลผลสัญญาณเสียง หรือ การประมวลเสียง เป็นกระบวนการเกี่ยวกับ 'ตัวแทนสัญญาณเสียง' หรือ เสียง\nตัวแทนนี้อาจจะอยู่ในรูปดิจิทัลหรืออนาล็อก ตัวแทนในแบบอนาล็อกมักจะอยู่ในรูปไฟฟ้า โดยความต่างศักย์ไฟฟ้าจะแทนความดันอากาศของคลื่นเสียง ในทำนองเดียวกัน ตัวแทนแบบดิจิทัล จะแทนความดันนั้นด้วยชุดของสัญลักษณ์ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปคือเลขฐานสอง",
"title": "การประมวลผลสัญญาณเสียง"
},
{
"docid": "720904#13",
"text": "แบบจำลองที่ใช้ผ่าน ๆ มา เป็นการประมวลข้อมูลไปตามลำดับชั้น ซึ่งอธิบายการประมวลผลทางตาระยะต้น ๆ ว่า เป็นไปในทางเดียว คือ ผลการเห็นที่ประมวลจะส่งไปยังระบบความคิด (conceptual system) แต่ระบบความคิดจะไม่มีผลต่อกระบวนการทางตา \nแต่ในปัจจุบันนี้ ผลงานวิจัยปฏิเสธแบบจำลองนี้ และบอกเป็นนัยว่า ข้อมูลความคิดสามารถมีผลโดยตรงต่อการประมวลผลทางตาชั้นต้น ๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สร้างความโน้มเอียงให้กับระบบการรับรู้เท่านั้น",
"title": "ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล"
},
{
"docid": "684280#6",
"text": "การตั้งใจไว้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร (Implementation intention) เป็นแผนงานที่เป็นรูปธรรม ที่ตั้งแผนไว้ว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน\nงานทดลองหลายงานได้แสดงแล้วว่า การตั้งใจไว้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรช่วยเราให้ระลึกถึงเป้าหมายของงานโดยทั่วไปได้ดีขึ้น และช่วยให้เห็นผลที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมด\nแม้ว่า ในตอนต้นแล้ว วิธีเช่นนี้ทำการพยากรณ์ให้เป็นไปในแง่ดีเพิ่มขึ้นอีก\nแต่ว่า เชื่อกันว่า การตั้งใจไว้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร \"จะสร้างแรงจูงใจอย่างชัดแจ้ง\" ทำให้เราทุ่มตัวเพื่อความสำเร็จของงาน\nผลที่พบในงานทดลองก็คือ ผู้ที่มีการตั้งใจไว้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร เริ่มทำงานก่อน\nมีเรื่องขัดจังหวะน้อยกว่า \nและการพยากรณ์ที่ตามมาภายหลังมีระดับมองในแง่ดีที่ลดลงเทียบกับผู้ที่ไม่มีการตั้งใจ\nงานทดลองพบด้วยว่า การลดเรื่องขัดจังหวะลงเป็นตัวสื่อระดับที่ลดลงของการมองในแง่ดี",
"title": "เหตุผลวิบัติในการวางแผน"
},
{
"docid": "169340#1",
"text": "ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า \"เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย\" อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง",
"title": "การชันสูตรพลิกศพ"
},
{
"docid": "207410#0",
"text": "การประมวลผล หมายถึงกระบวนการคิด หรือ การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจใช้สูตร ทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ วิธีการต่าง ๆเหล่านี้ ทำได้โดย อาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น",
"title": "การประมวลผล"
},
{
"docid": "593770#8",
"text": "สมมุติฐานนี้ให้คำอธิบายเป็นที่พอใจเกี่ยวกับความเป็นไปของกระบวนการของการเรียนรู้แบบสัมพันธ์ง่าย ๆ เช่นในการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning)\nคือ ทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายการปรับสภาวะให้เกิดความกลัวว่า เมื่อมีการกระตุ้นวงจรประสาทด้วยตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข (conditioned stimuli) และตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข (unconditioned stimuli) พร้อม ๆ กัน และตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขนั้นมีผลให้เกิดความกลัวโดยธรรมชาติคือก่อให้เกิดการลดขั้ว (depolarization) ที่มีกำลังในอะมิกดะลาด้านข้าง ความเป็นไปอย่างนี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในไซแนปส์ที่เชื่อมต่อกันระหว่างวงจรประสาทที่แปลผลตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข กับอะมิกดะลาด้านข้าง จนในที่สุด การกระตุ้นวงจรประสาทด้วยตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข ก็ส่งผลให้มีการตอบสนองในอะมิกดะลาด้านข้างซึ่งตอนแรกตอบสนองต่อตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขเท่านั้น ส่งผลให้เกิดความกลัวเนื่องมาจากตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข \nเชื่อกันว่าสภาพพลาสติกแบบเฮ็บเบียนมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยรับความรู้สึกที่มีปฏิกิริยากับสาร N-methyl-d-aspartate (คือหน่วยความรู้สึกที่มีตัวย่อว่า NMDARs) ซึ่งส่วนของนิวรอนหลังไซแนปส์ของอะมิกดะลาด้านข้าง\nNMDARs เป็นสิ่งที่รู้กันว่า เป็นตัวตรวจจับการบรรจวบ (coincidence detector) ของการทำงานก่อนไซแนปส์และการลดขั้วหลังไซแนปส์\nคือ ได้พบว่า ตัวรับสัญญาณเข้าทางการได้ยินเป็น NMDARs ที่อยู่ในอะมิกดะลาด้านข้าง ซึ่งใช้กลูตาเมตเป็นสารสื่อประสาท \nและมีการทดสอบแล้วว่า เมื่อเขตในอะมิกดะลาที่ได้รับสัญญาณการได้ยิน รับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข ในขณะที่มีการฉีดสารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ NMDARs ที่อะมิกดะลาด้านข้าง ก็จะเกิดการขัดขวางต่อการเรียนรู้ที่ให้เกิดความกลัว\nดังนั้น NMDARs จึงเป็นหน่วยรับความรู้สึกที่ขาดไม่ได้ในวิถีประสาทเพื่อการประมวลผลที่ทำให้เกิดความรู้สึกกลัว",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "698#0",
"text": "การประมวลผลภาพ () คือ เป็นการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลสัญญาณบนสัญญาณ 2 มิติ เช่น ภาพนิ่ง (ภาพถ่าย) หรือภาพวีดิทัศน์ (วิดีโอ) และยังรวมถึงสัญญาณ 2 มิติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาพด้วย",
"title": "การประมวลผลภาพ"
},
{
"docid": "23811#1",
"text": "การประมวลผลสัญญาณอาจแบ่งได้ตามประเภทสัญญาณ เช่น",
"title": "การประมวลผลสัญญาณ"
}
] |
3511 | แม่น้ำเจ้าพระยามีความยาวเท่าไหร่? | [
{
"docid": "9927#1",
"text": "จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท",
"title": "แม่น้ำเจ้าพระยา"
}
] | [
{
"docid": "22912#2",
"text": "เนื่องจากสายทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ส่วนหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณวัดไทร ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำมีขนาดค่อนข้างกว้าง (ประมาณ 500 เมตร) และสองฝั่งแม่น้ำจะมีโกดังเก็บสินค้า ช่วงกลางแม่น้ำจะเป็นทุ่นจอดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่รับ-ส่ง สินค้า ซึ่งกรมเจ้าท่าได้กำหนดว่าถ้าจะสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำบริเวณดังกล่าวจะต้องมีตอม่ออยู่ในแม่น้ำลึกไม่เกิน 2.00 เมตร วัดจากระดับน้ำต่ำสุด (-1.73 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง \"รทก\") และ ท้องสะพานจะต้องสูงกว่าระดับสูงสุด (+2.17 \"รทก\") ไม่ต่ำกว่า 41.00 เมตร บริษัท Peter Fraenkel International Ing. Dr. Ing. Hellmut Homberg ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา และบริษัทออกแบบ ได้ออกแบบสะพานโดยมีตัวสะพานยาว 782 เมตร มีช่วงกลาง (Main Span) ยาว 450 เมตร ตัวสะพานมีความกว้าง 31-33 เมตร มีสายเคเบิลขึงเป็นแบบระนาบเดี่ยว (Single Plane) จำนวนฝั่งละ 17 คู่ มีเสาตอม่อฝั่งละ 4 ต้น แต่ละต้นจะสูง 35-40 เมตร เสาขึงเคเบิล (Pylon) ตั้งอยู่บนตอม่อริมน้ำสูง 87 เมตร ความลาดของสะพาน (Gradient) สูงสุด 5 เปอร์เซ็นต์ และเอียงออกด้านข้าง (Grossfall) 2.5 เปอร์เซ็นต์ ท้องสะพานสูงจากระดับน้ำสูงสุด 41 เมตร ทั้งสองข้างของตัวสะพานจะมีเชิงลาด (Bridge Approaches) ยาว 650 เมตร สำหรับฝั่งพระนคร และ 630 เมตร สำหรับฝั่งธนบุรี การออกแบบเชิงลาดของสะพานเป็นรูป Double T เป็นคอนกรีตอัดแรงมีความยาวช่วงละ 50 เมตร กว้าง 15 เมตร 2 เส้นทางคู่กัน",
"title": "สะพานพระราม 9"
},
{
"docid": "9927#3",
"text": "ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้",
"title": "แม่น้ำเจ้าพระยา"
},
{
"docid": "164529#0",
"text": "แม่น้ำหวางเหอ, หวง หรือ แม่น้ำฮวง, ฮวงโห ( แปลว่า \"แม่น้ำเหลือง\") เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากแม่น้ำแยงซี และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีความยาว 3,395 ไมล์ หรือ 5,464 กิโลเมตร สูงเหนือระดับน้ำทะเล ถึง 5,400 เมตร (ยาวกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 15 เท่า) ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ผ่านมณฑลชิงไห่, เสฉวน, กานซู, หนิงเซี่ย, มองโกเลียใน, ซานซี, เหอหนาน และออกสู่ทะเลโป๋ (โป๋ไห่) ใน มณฑลซานตง ซึ่งเป็นทะเลในอ่าวทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน",
"title": "แม่น้ำหวง"
},
{
"docid": "172777#1",
"text": "ลุ่มน้ำวัง เป็นลุ่มน้ำในลำดับที่ 7 จากจำนวนลุ่มน้ำทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศมีพื้นที่ประมาณ 10,791 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,746,250 ไร่ เป็นแควที่มีขนาดเล็กและสั้นที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวตามลำน้ำประมาณ 460 กิโลเมตร เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ บริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย",
"title": "แม่น้ำวัง"
},
{
"docid": "977572#5",
"text": "โค้งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบางกะเจ้าซึ่งมีความยาวราว 20 กิโลเมตร ช่วยชะลอน้ำเค็มและเป็นที่พักตะกอนต่าง ๆ จากสภาพพื้นดิน ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้บริเวณบางกะเจ้ามีความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีน้ำขังในพื้นที่อยู่ประมาณ 2.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเป็นแหล่งพักน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในเขตชุมชนของกรุงเทพ",
"title": "บางกะเจ้า"
},
{
"docid": "189634#1",
"text": "แม่น้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น 145 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี มีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ตอนที่ไหลผ่านอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า \"คลองสีกุก\" หรือ\"แควสีกุก\" หรือตอนที่ไหลผ่านอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน เรียกว่า \"แม่น้ำแควผักไห่\" เป็นต้น และยังมีแควสาขาเป็นคลองสายต่าง ๆ ที่ไหลและแยกตัวกันอีก เช่น คลองบางปลากด คลองศาลาแดง คลองไชโย เป็นต้น",
"title": "แม่น้ำน้อย"
},
{
"docid": "22894#3",
"text": "สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และความลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งกระบวนพยุหยาตราชลมารค",
"title": "สะพานพระราม 8"
},
{
"docid": "194644#0",
"text": "แม่น้ำลพบุรี เป็นลำน้ำสาขาที่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนไหลไปรวมเข้ากับแม่น้ำป่าสัก มีความยาวทั้งหมด 85 กิโลเมตร บางแห่งว่ามีความยาว 95 กิโลเมตร บางแห่งว่า 305 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำลพบุรี"
},
{
"docid": "172777#0",
"text": "แม่น้ำวัง () เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพระยา",
"title": "แม่น้ำวัง"
}
] |
3515 | เชียงใหม่ มีกี่อำเภอ ? | [
{
"docid": "5262#1",
"text": "จังหวัดเชียงใหม่มีเขตเมืองที่จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร มีประชากรในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน (พ.ศ. 2553) จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย",
"title": "จังหวัดเชียงใหม่"
}
] | [
{
"docid": "85557#0",
"text": "แม่ริม () เป็นอำเภอหนึ่งในเขตปริมณฑลของนครเชียงใหม่ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความพร้อมทุก ๆ ด้าน จนเป็นอำเภอขนาดใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอที่ตั้งของศูนย์ราชการที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ มีการขยายตัวของชุมชนเมืองที่รองรับความเจริญเติบโตของนครเชียงใหม่ ปัจจุบันมีการขยายตัวของการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรมและรีสอร์ตที่ถือว่ามากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งอำเภอแม่ริมเป็นอำเภอที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่เพื่อขยายไปยังศูนย์กลางความเจริญทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นทางผ่านเพื่อไปยังอำเภอปาย ทำให้อำเภอแม่ริมมีสภาพเศรษฐกิจดี มีการคมนาคมที่คับคั่ง รองจากอำเภอหางดง และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุด",
"title": "อำเภอแม่ริม"
},
{
"docid": "236585#0",
"text": "ตำบลช้างเผือก เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีทั้งส่วนที่เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก เทศบาลตำบลช้างเผือก ()) และบางส่วนยังอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดเจ็ดยอด อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เป็นต้น",
"title": "ตำบลช้างเผือก (อำเภอเมืองเชียงใหม่)"
},
{
"docid": "276781#3",
"text": "วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีไทยเห็นว่าพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่แดด และตำบลแจ่มหลวง แห่งอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่การท่องเที่ยว มีเนื้อที่ 674.58 ตารางกิโลเมตร และประชากร 10,561 คน มีการจัดตั้งโครงการพระราชดำริหลายโครงการ มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าและภูเขาสูงชัน ทุรกันดาร การคมนาคมติดต่อเพื่อขอรับบริการต่างๆ จากหน่วยงานของรัฐ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม เป็นไปด้วยความยากลำบาก การให้บริการของเจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาด้านความสงบเรียบร้อย เรื่องยาเสพติด และปัญหาด้านการลักลอบการตัดไม้ทำลายป่า จึงเห็นชอบให้แยกพื้นที่ดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นอำเภอใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเฉพาะ",
"title": "อำเภอกัลยาณิวัฒนา"
},
{
"docid": "6830#7",
"text": "สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของเวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแอ่งที่ราบแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีอาณาบริเวณครอบคลุมเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนรวม 13 อำเภอ (โดย 10 อำเภออยู่ในจังหวัดเชียงใหม่คือ แม่แตง แม่ริม สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง เมือง สารภี หางดง สันป่าตอง และจอมทอง และอีก 3 อำเภออยู่ในจังหวัดลำพูนคือ เมือง (ลำพูน) ป่าซาง และบ้านโฮ่ง) โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 940,000 ไร่",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "5262#15",
"text": "จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลัง 2 แห่งที่พาดผ่านจังหวัด ได้แก่ \"รอยเลื่อนแม่จัน\" ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด พาดผ่านอำเภอฝางและอำเภอแม่อายในทิศตะวันออก-ตะวันตก และ \"รอยเลื่อนแม่ทา\" พาดผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดในทิศเหนือ-ใต้ ผ่านอำเภอพร้าว ดอยสะเก็ด แม่ออน เชียงดาว แม่แตง แม่ริม สันทราย เมืองเชียงใหม่ สารภี หางดง สันป่าตอง และแม่วาง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนอื่นของจังหวัดก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นเช่นกัน โดยแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 มีจุดเหนือศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอใกล้เคียงปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 25 อำเภอมีดังนี้",
"title": "จังหวัดเชียงใหม่"
},
{
"docid": "5262#8",
"text": "จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (อำเภอฝาง) สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว (อำเภอเชียงดาว) สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ (อำเภอเมืองเชียงใหม่) สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ",
"title": "จังหวัดเชียงใหม่"
},
{
"docid": "5262#7",
"text": "จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอำเภอเมือง) ตั้งอยู่ ณ ละติจูด 18 องศาเหนือ ลองติจูด 98 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตรจังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ",
"title": "จังหวัดเชียงใหม่"
},
{
"docid": "74294#3",
"text": "ชุมชนเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนกลางเชิงดอยสุเทพ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านใจกลางเมืองในแนวเหนือ–ใต้ ส่วนชุมชนดั้งเดิมหรือบริเวณเมืองเก่าตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อชุมชนได้พัฒนาให้มีความเจริญขึ้น โดยมีการขยายตัวข้ามแม่น้ำปิงมาทางฝั่งตะวันออก และภายหลังจากที่ได้มีการตัดถนนอ้อมเมือง ชุมชนได้พัฒนาออกไปหลายทิศทางตามเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายสาธารณูปโภค ธุรกิจการพัฒนาที่ดินและที่พักอาศัยได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก สภาพที่แท้จริงของชุมชนเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันไม่ได้คงอยู่แต่เฉพาะในเขตเทศบาลเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปตามบริเวณชานเมืองและชนบทโดยรอบ อย่างเช่น เขตอำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง และอำเภอแม่แตง เป็นต้น",
"title": "เทศบาลนครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "55422#0",
"text": "เมืองเชียงใหม่ ( \"เมืองเจียงใหม่\") เป็นศูนย์กลางการบริหาร ความเจริญศูนย์กลางธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของจังหวัดและของภาคเหนือ และเป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพมหานคร อำเภอเมืองเชียงใหม่มีเขตนครเชียงใหม่และปริมณฑลล้อมรอบ ได้แก่ เมืองลำพูน หางดง สันกำแพง สารภี แม่ริม สันทราย สันป่าตอง ฯลฯ",
"title": "อำเภอเมืองเชียงใหม่"
}
] |
3517 | บริษัทเอ็กแซ็กท์ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "230186#1",
"text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
}
] | [
{
"docid": "468705#1",
"text": "บริษัทก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901 ที่เมืองโบมอนต์ รัฐเทกซัส สืบเนื่องมาจากการขุดพบบ่อน้ำมันสปินเดิลท็อป ทางตอนใต้ของเมือง บริษัทมีการเติบโตขึ้นจนเป็นบริษัทน้ำมันบริษัทเดียว ที่ทำตลาดสถานีน้ำมันในชื่อเดียวกันทั้ง 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา และยังได้ร่วมทุนกับโซแคล (สแตนดาร์ดออยล์แห่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งต่อมาก็คือ เชฟรอน) จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งบริษัท แคลิฟอร์เนียเท็กซัสออยล์คัมปานี (California Texas Oil Company) ขึ้นในปี ค.ศ. 1936 ปัจจุบันบริษัทร่วมทุนนี้คือ คาลเท็กซ์",
"title": "เท็กซาโก"
},
{
"docid": "18805#2",
"text": "แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1969, โดยกลุ่มผู้บริหารเดิมจาก Fairchild Semiconductor, ประกอบด้วย เจอรี่ แซนเดอร์ เอ็ดวิน เทอร์นี่, จอห์น คาเรย, สเวน ซิมอนเซน, แจ๊ค กิฟฟอร์ด และ สมาชิก 3 คนในกลุ่มของแจ๊ค, แฟรงค์ บ๊อทเต้, จิม ไจลส์, และ แลรี่ สเตรนเจอร์.โดยที่บริษัทเริ่มผลิต ลอจิกชิป , ต่อมาจึงเข้าสู่ธุรกิจการผลิตแรมในปี 1975. และในปีเดียวกันนี้เอง พวกเขาก็เริ่มจำหน่ายสิ่งที่ได้จากการทำสถาปัตยกรรมย้อนกลับซึ่งเป็นสิ่งที่เลียนแบบมาจาก หน่วยประมวลผล Intel 8080. ในช่วงเวลานั้น,เอเอ็มดีก็ได้ออกแบบและสร้างหน่วยประมวลผลในซีรีส์ (Am2900, Am29116, Am293xx) ซึ่งถูกนำมาใช้แพร่หลายในการออกแบบวงจรของมินิคอมพิวเตอร์เวลาต่อมา, เอเอ็มดีก็พยายามที่จะทำให้โปรเซสเซอร์เล็กลง โดยการรวม AMD 29K processor, ให้เข้ากับ อุปกรณ์กราฟิกและเสียง เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบ EPROM. โดยมันเสร็จในช่วงกลางปี 1980 เรียกกันว่า AMD7910 and AMD7911 \"World Chip\" โดยเป็นอุปกรณ์แรกๆที่ ครอบคลุมทั้ง Bell และCCITT. โดย AMD 29K ยังเป็น embedded processor อีกด้วย และ เอเอ็มดี ยังแยกให้ Spansion ออกไปเพื่อสร้าง หน่วยความจำแฟลช. เอเอ็มดี ยังตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแนวทางสู้กับหน่วยประมวลผลจาก อินเทล โดยวางให้เป็นธุรกิจหลัก และให้ตลาดหน่วยความจำแฟลชเป็นตลาดรอง",
"title": "เอเอ็มดี"
},
{
"docid": "51429#0",
"text": "บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเบเกอรี่ภายใต้เครื่องหมายการค้า S&P โดยมีสาขาแรกเป็นร้านเบเกอรี่และไอศกรีมเล็ก ๆ อยู่ในซอยประสานมิตร (สุขุมวิท 23) เปิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (ตรงกับเหตุการณ์ 14 ตุลา) โดยพี่น้องตระกูลไรวา และตระกูลศิลาอ่อน และได้ขยายธุรกิจเติบโตขึ้นเป็นลำดับ และได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2532 ในหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เครื่องหมายในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า \"S&P\"",
"title": "เอส แอนด์ พี ซินดิเคท"
},
{
"docid": "39683#2",
"text": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยสาระ และความบันเทิง ซึ่งในระยะเริ่มต้น มีบุคลากรเพียง 10 คน จนกระทั่งปัจจุบัน มีบุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ มากกว่า 1,000 คน เพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 และใช้ชื่อย่อในการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ว่า “WORK”",
"title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์"
},
{
"docid": "533042#0",
"text": "บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ( ชื่อย่อ:APX) บริษัทจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2531 เพื่อดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ในการปลูกและผลิตแปรรูปมะเขือเทศ และข้าวโพด เพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออก ต่อมาในปี 2536 บริษัทได้ขยายกิจการไปยังธุรกิจค้าและแปรสภาพเศษเหล็กโดยจัดตั้งบริษัทย่อยคือ บริษัท ซันเทคสแครปโพรเซสซิ่ง จำกัด เพื่อผลิตเศษเหล็กแปรสภาพ (Processed Scrap) ป้อนเป็นวัตถุดิบให้แก่ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2536",
"title": "เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์"
},
{
"docid": "532894#0",
"text": "บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด (มหาชน) ( ชื่อย่อ:ACAP) ก่อตั้งและเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 เดิมชื่อบริษัท เอเชี่ยน แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอร์ส จำกัด ปัจจุบันบริษัทดำเนินกิจการด้านการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ",
"title": "เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่"
},
{
"docid": "6051#1",
"text": "บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง หรือชื่อการค้า ห้างเซ็นทรัล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 โดย เตียง จิราธิวัฒน์ (นี่เตียง แซ่เจ็ง) และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (ฮกเส่ง แซ่เจ็ง) บุตรชายคนโต เป็นร้านค้าตึกแถวครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นขนาด 1 คูหา ปากตรอกกัปตันบุช (ปัจจุบันคือซอยเจริญกรุง 30) ย่านสี่พระยา จำหน่ายหนังสือ รวมทั้ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และ เครื่องสำอาง ทั้งสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเซ็นทรัล เป็นกิจการใหม่ ที่สานต่อจากกิจการร้านชำ เข่งเซ่งหลี ย่านบางขุนเทียน ของเตียง",
"title": "กลุ่มเซ็นทรัล"
},
{
"docid": "412716#2",
"text": "บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1837 โดยนายวิลเลียม พรอคเตอร์ ช่างทำเทียนไขชาวอังกฤษ และนายเจมส์ แกมเบิล ช่างทำสบู่ชาวไอร์แลนด์ ชายทั้งคู่อพยพเข้ามาอาศัยที่เมืองซินซินแนติ แต่งงานกับพี่น้องชื่อโอลิเวียร์ และเอลิซาเบท นอริส และได้รับคำแนะนำจากนายอะเล็กซานเดอร์ นอริส ที่เป็นพ่อตาของคนทั้งสองให้ร่วมดำเนินธุรกิจ ก่อตั้งกิจการ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1837",
"title": "พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล"
},
{
"docid": "532462#1",
"text": "บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจการเงิน ทั้งนี้บริษัทไม่ทำธุรกิจของตนเอง (Non – Operating Holding Company) แต่จะเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นเพื่อการมีอำนาจควบคุมกิจการ",
"title": "แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป"
},
{
"docid": "230186#0",
"text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เดิม: บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ ให้กับช่องวัน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีช่องวันในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จาก กสทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ กลุ่มของนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประกอบไปด้วย ถกลเกียรติ วีรวรรณ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ต่อ 49% ด้วยทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,275,000,000 บาท และได้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มปราสาททองโอสถ ของ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,810,000,000 บาท",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
}
] |
3520 | การที่ผมของคนเราตั้งขึ้นโดยสัมผัสอากาศเกิดจากไฟฟ้าสถิตใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "786915#5",
"text": "อิเล็กตรอนสามารถแลกเปลี่ยนกันระหว่างวัสดุโดยการสัมผัส วัสดุที่มีอิเล็กตรอนผูกพันอย่างอ่อนมีแนวโน้มที่จะสูญเสียพวกมันในขณะที่วัสดุที่มีวงรอบนอกมีที่ว่างมีแนวโน้มที่จะได้รับพวกมัน ธรรมชาตินี้เรียกว่าผลกระทบไทรโบอิเล็กตริก และเป็นผลให้วัสดุหนึ่งกลายเป็นมีประจุบวกและอีกวัสดุหนึ่งมีประจุลบ ขั้วและความแข็งแรงของประจุบนว้สดุทั้งสองทันทีที่พวกมันถูกแยกออกจากกันจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สัมพันธ์กันระหว่างพวกมันในไฟฟ้าสถิต#ชุดของไทรโบอิเล็กตริก ผลกระทบไทรโบอิเล็กตริกเป็นสาเหตุหลักของการผลิตไฟฟ้าสถิตที่สังเกตได้ในชีวิตประจำวัน และในการสาธิตตามโรงเรียนมัธยมทางวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการถูวัสดุที่แตกต่างเข้าด้วยกัน (เช่นขนสัตว์กับแกนอาคริลิค) การแยกประจุที่เหนี่ยวนำโดยการสัมผัสเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมของคุณตั้งขึ้นและทำให้เกิดการ \"เกาะติดจากไฟฟ้าสถิต\" (ตัวอย่างเช่นบอลลูนเมื่อขัดถูกับผมจะกลายเป็นมีประจุลบ เมื่ออยู่ใกล้กับกำแพงบอลลูนที่มีประจุจะดูดกับอนุภาคประจุบวกในผนังและสามารถ \"เกาะติด\" กับมัน ปรากฏให้เห็นว่ามันถูกแขวนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก)",
"title": "ไฟฟ้าสถิต"
}
] | [
{
"docid": "508292#1",
"text": "เชื้อโรคคอตีบติดต่อจากคนสู่คนผ่านอากาศที่มีเชื้อซึ่งออกมาจากการไอหรือจามของผู้ป่วย เมื่อคนทั่วไปหายใจเอาอากาศที่มีละอองเชื้อนี้เข้าไปก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การสัมผัสรอยโรคบนผิวหนังของผู้ป่วยก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งของการรับเชื้อ แต่พบได้น้อยกว่า การติดเชื้อทางอ้อมอาจเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ป่วยไปสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุ แล้วเชื้อแบคทีเรียเกิดตกค้างอยู่บนพื้นผิวนั้น แล้วมีคนมาสัมผัสต่อ หลักฐานบางแหล่งสนับสนุนว่าเชื้อแบคทีเรียอาจติดต่อไปยังสัตว์และติดต่อกลับมายังคนได้ เนื่องจากพบว่ามีเชื้อ \"Corynebacterium ulcerans\" ในสัตว์บางชนิด แต่สมมติฐานนี้ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน",
"title": "โรคคอตีบ"
},
{
"docid": "469199#58",
"text": "ความแตกต่างกันของเรตินาระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ชั้นเซฟาโลพอดเป็นปริศนาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสายวิวัฒนาการซึ่งยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน\nจากมุมมองทางวิวัฒนาการ โครงสร้างซับซ้อนเช่นเรตินาแบบผกผันอาจเกิดขึ้นได้จากผลของกระบวนการ 2 อย่าง คือ\nแต่ว่า การเห็นเป็นสมรรถภาพสำคัญที่เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง\nดังนั้น ถ้าเป็นความจริงว่า เรตินามีโครงสร้างที่ไม่ดี (จากมุมมองของทัศนศาสตร์)\nอาจจะสมควรที่จะสืบหาความได้เปรียบทางสรีรภาพที่สำคัญยิ่งของเรตินาแบบนี้\nข้อเสนอหนึ่งก็คือว่า การขยายแสงของเซลล์รับแสงในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม\nต้องใช้พลังงานมาก\nและดังนั้น จึงต้องมีระบบหล่อเลี้ยงที่ใหญ่และสม่ำเสมอ\nและเป็นความจริงว่า ระบบเครือข่ายเส้นเลือดที่ไม่เหมือนกับในสัตว์อื่น มีสมรรถภาพดีในการหล่อเลี้ยงชั้นเซลล์รับแสงด้วยเลือดเป็นจำนวนมาก\nซึ่งแสดงว่า เรตินากลับด้านเป็นการปรับตัวเพื่อให้สามารถส่งออกซิเจนเป็นจำนวนมากไปให้เรตินา\nสมกับความต้องการทางพลังงานที่สูง\nและช่วยป้องกันเซลล์ของ retinal pigment epitheliam จากความเสียหายที่เกิดจากแสงและกระบวนการออกซิเดชั่น, \nซึ่งแม้ว่า อาจจะดูเหมือนเป็นการทำให้สถานการณ์แย่ลงเพราะเลือดสมบูรณ์ไปด้วยออกซิเจนใน choroid\nแต่ความจริง มีการกำจัดออกโดยกระบวนการที่ retinal pigment epithelium (RPE) แปรใช้ opsin disc ใหม่\nและกระบวนการสุดท้ายนี้ทำให้เซลล์รับแสงสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวเป็นทศวรรษได้",
"title": "จอตา"
},
{
"docid": "706383#2",
"text": "เหตุผลวิบัตินี้มักเกิดขึ้นเมื่อเรามีข้อมูลเป็นจำนวนมาก\nแล้วเพ่งความสนใจไปที่เพียงกลุ่มน้อย ๆ ของข้อมูลที่มีนั้น\nกลุ่มที่เพ่งดูนั้นอาจจะมีลักษณะอะไรบางอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไรอย่างอื่น \nซึ่งไม่ตรงกับเหตุที่เราเสนอ\nดังนั้น โดยสาระก็คือ ถ้าเราพยายามที่จะอธิบายเหตุของลักษณะข้อมูลที่เหมือนกันกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่มีมาก โดยแสดงเหตุที่ไม่เป็นจริง (เช่นแสดงกลุ่มลูกปืนที่ยิงเข้าใกล้ ๆ กันโดยบังเอิญว่ามีเหตุจากความที่เราเป็นนักแม่นปืน) เราก็อาจจะกำลังสร้างเหตุผลวิบัตินี้อยู่",
"title": "เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส"
},
{
"docid": "601935#24",
"text": "แขนขาต่างดาวที่เกิดจาก\"สมองด้านหลัง\"อาจมีอาการ \"ลอยขึ้นไปในอากาศ\" คือมีการดึงแขนขาออกจากการสัมผัสพื้นผิวของวัตถุโดยการใช้กล้ามเนื้อที่ต่อต้านแรงโน้มถ่วง\nและมือต่างดาวที่เกิดจากสมองด้านหลังอาจจะปรากฏท่าทางที่เป็นแบบอย่างอย่างหนึ่ง\nคือ จะมีการยืดนิ้วทั้งหมดออกไปโดยมีการยืดข้อระหว่างนิ้ว (interphalangeal) ออก, มีการยืดในระดับสูง (hyper-extension) ซึ่งข้อที่โคนนิ้ว (metacarpophalangeal) ออก,\nและมีการดึงฝ่ามือออกจากผิววัตถุต่าง ๆ ที่เข้ามาใกล้หรือดึงขึ้นมาไม่ให้กระทบกับผิวของพื้น\nถึงอย่างนั้น การเคลื่อนไหวแบบต่างดาวก็ยังปรากฏโดยมีเป้าหมาย ซึ่งเป็นอาการที่แยกกลุ่มอาการนี้จากการเคลื่อนไหวแขนขานอกอำนาจจิตใจอย่างอื่น ๆ เช่น athetosis, chorea, หรือกล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus)",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "601935#34",
"text": "มีสมมุติฐานว่า อาการมือต่างดาวเกิดขึ้นเมื่อมีการขาดความเชื่อมต่อกันระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย \nคือ เขตต่าง ๆ ในสมองสามารถที่จะสั่งการเคลื่อนไหว แต่ไม่สามารถที่จะสร้างความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้น\nดังนั้น จึงเกิดความเสียหายหรือความสูญเสียของความรู้สึกว่าเป็นตน (sense of agency) ที่ปกติเกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจ \nคือ มีการแยกออกระหว่างกระบวนการที่ทำการปฏิบัติการเคลื่อนไหวอวัยวะทางกายภาพจริง ๆ และกระบวนการที่สร้างความรู้สึกภายในว่า เป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้นโดยเจตนา\nโดยที่กระบวนการหลังนี้ปกติก่อให้เกิดความรู้สึกภายในใจว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่มีการเกิดขึ้น การควบคุม และการปฏิบัติการโดยตนเองที่กำลังกระทำการเคลื่อนไหวนั้นอยู่",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "601935#9",
"text": "กลุ่มอาการนี้ ซึ่งเรียกว่า utilization behavior มักเกิดขึ้นเมื่อคนไข้มีความเสียหายในสมองกลีบหน้าอย่างกว้างขวาง และอาจจะคิดได้ว่า เป็นกลุ่มอาการมือต่างดาวที่เกิดขึ้นทั้งในสองด้านของร่างกาย\nคือคนไข้ถูกควบคุมพฤติกรรมอย่างไม่สามารถระงับใจได้โดยตัวแปรในสิ่งแวดล้อม (เช่นมีแปรงผมอยู่บนโต๊ะข้างหน้าทำให้คนไข้เริ่มแปรงผม) \nและไม่สามารถยับยั้งหรือห้ามโปรแกรมปฏิบัติการในสมองที่สัมพันธ์กับวัตถุภายนอกที่อยู่รอบ ๆ ตัว\nยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นในสมองกลีบหน้าทั้งสองซีก และเกิดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก\nคนไข้อาจสูญเสียความสามารถในการกระทำที่มีความตั้งใจที่เกิดขึ้นในตน และต้องอาศัยตัวแปรต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมอย่างสิ้นเชิงเพื่อที่จะช่วยนำการกระทำของคนไข้ในสังคมสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป\nซึ่งเป็นอาการที่เรียกว่า กลุ่มอาการต้องอาศัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Dependency Syndrome)",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "59089#4",
"text": "โดยมีอาการหลอนทางประสาทสัมผัสเกิดร่วม ได้แก่ หลอนว่าตัวลอยหรือบินได้ หรือเหมือนกำลังออกจากร่าง หมุนเคว้ง หลอนทางสัมผัสกาย เช่น มีใครมากดทับหน้าอก หรือ มีใครมาสัมผัสตัว หรือ ดึงตัวเอาไว้กับเตียง บางทีก็รู้สึกว่าผ้าคลุมเตียงเคลื่อนไหว บางคนก็โดนเขย่าตัว หรือ มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น หลอนทางการได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงย่างเท้า เสียงเคาะประตู เสียงหายใจ เสียงคุย เสียงกระซิบ เสียงฮัม เสียงหึหึ หลอนทางการมองเห็น เช่น เห็นหมอกควัน หรือ ความมืดคลึ้ม เห็นเป็นร่างคน สัตว์ หรืออสุรกาย บางทีก็มีการโต้ตอบทั้งทางกายหรือวาจากับสิ่งที่เห็นนั้น อย่างเป็นเรื่องเป็นราว หลอนทางการได้กลิ่น เช่น ได้กลิ่นเครื่องหอม กลิ่นเหม็นสาบ เป็นต้น",
"title": "ผีอำ"
},
{
"docid": "601935#22",
"text": "ในนัยตรงกันข้าม ในอาการที่เกิดจาก\"สมองด้านหลัง\" จะมีการหลีกเลี่ยงการกระทบสัมผัสที่ฝ่ามือหรือหน้านิ้วโดยการคลายนิ้วและถอนฝ่ามือออก เป็นกระบวนการสัญญาณป้อนกลับเชิงลบ\n(นั่นก็คือ ตัวกระตุ้นก็ดี หรือแม้แต่การคำนึงถึงตัวกระตุ้นก็ดี ที่ฝ่ามือ \nก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวมือและนิ้วที่ลด ขัดขวาง และกำจัดตัวกระตุ้นที่เริ่มกระบวนการนั้น\nหรือ ในกรณีที่เป็นเพียงแต่การคำนึงถึงการกระทบที่ฝ่ามือหรือนิ้ว ก็จะลดโอกาสที่จะทำให้เกิดการกระทบสัมผัสอย่างนั้น)",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "763867#22",
"text": "งานวิจัยในปี 2007 เสนอว่า คนซึมเศร้าเอนเอียงมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีผลเป็น \"สัจนิยมเหตุซึมเศร้า\" และจึงประเมินความจริงได้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้\nงานวิจัยในปี 2005 และ 2007 พบว่า การประเมินเกินความจริงของคนที่ไม่ซึมเศร้า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเวลาระหว่างการแสดงเหตุการณ์กับการประเมินผลนานเพียงพอ\nซึ่งบอกเป็นนัยว่า เป็นอย่างนี้เพราะว่าบุคคลปกติจะรวมเอาข้อมูลของเหตุการณ์ด้านอื่น ๆ เข้าในการพิจารณาด้วยโดยไม่เหมือนกับคนซึมเศร้า คือคนซึมเศร้าไม่สามารถประมวลข้อมูลได้เหมือนกับคนปกติ",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก"
},
{
"docid": "613876#1",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิดอาจเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสใดก็ได้ในมนุษย์\nแต่ภาพลวงตาเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีความเข้าใจกันมากที่สุด\nที่มีความสนใจในภาพลวงตามากก็เพราะว่า การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีอิทธิพลมากที่สุด\nซึ่งเห็นได้ในตัวอย่างเช่น คนที่กำลังดูการพูดดัดเสียง (ventriloquism) ได้ยินเสียงว่ามาจากหุ่นที่อยู่ที่มือของคนพูด\nเนื่องจากว่า เห็นหุ่นนั้นขยับปากตามเสียงคำพูด (แต่ไม่เห็นคนพูดขยับปาก)",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
}
] |
3532 | การหลอกลวงตัวเอง ถือเป็นโรคทางจิตใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "770260#13",
"text": "มีทฤษฎีว่า มนุษย์เสี่ยงต่อการหลอกตัวเองเพราะว่าคนโดยมากมีความติดข้องทางอารมณ์กับความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องอาจจะไร้เหตุผล\nมีนักชีววิทยาวิวัฒนาการ เช่น ศ.ดร.รอเบิร์ต ทริเวอร์ ที่เสนอว่า\nการหลอกตัวเองเป็นส่วนสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ และแม้ของสัตว์โดยทั่วไป\nคือ บุคคลจะหลอกตัวเองให้เชื่ออะไรบางอย่างที่ไม่จริง เพื่อจะให้สามารถยังให้คนอื่นเชื่อเรื่องนั้นได้ดีกว่า\nเพราะว่า เมื่อบุคคลยังให้ตัวเองเชื่อเรื่องที่ไม่จริง ก็จะสามารถซ่อนอาการหลอกลวงได้ดีกว่า",
"title": "การหลอกลวงตัวเอง"
}
] | [
{
"docid": "770260#16",
"text": "แต่ก็สามารถอ้างได้ว่า ความสามารถในการหลอกลวงหรือหลอกลวงตัวเอง ไม่ใช่เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือก แต่เป็นผลข้างเคียงของลักษณะที่ทั่วไปยิ่งกว่านั้นคือ ความคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking)\nซึ่งทำให้มีความได้เปรียบทางวิวัฒนาการหลายอย่างเช่น พฤติกรรมที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ และการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ\nแต่เนื่องจากว่า การโกหกเป็นพฤติกรรมทางนามธรรม กระบวนการทางจิตที่สร้างเรื่องเท็จ สามารถเกิดในสัตว์ที่สมองซับซ้อนเพียงพอที่จะให้เกิดความคิดเชิงนามธรรมได้เท่านั้น\nการหลอกตัวเองเป็นการลดเรื่องที่ต้องคิด (หรือลดการประมวลข้อมูลในสมอง) ซึ่งก็คือ มันซับซ้อนน้อยกว่าที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหรือคิดในรูปแบบที่แสดงว่าเป็นความจริง ถ้าบุคคลนั้นเชื่อว่าเรื่องนั้นเป็นจริง\nเพราะว่า สมองก็จะไม่ต้องคิดถึงเรื่องจริงและเรื่องเท็จเสมอ ๆ โดยเพียงแค่เชื่อว่า สิ่งที่เป็นเท็จเป็นเรื่องจริง",
"title": "การหลอกลวงตัวเอง"
},
{
"docid": "974660#19",
"text": "อาการสำรอกขึ้นเป็นภาวะที่มีผลต่อการทำงานของกระเพาะและหลอดอาหาร โดยรวมอยู่ในหมู่โรคที่เรียกว่า \"functional gastrointestinal disorder\"\nในคนไข้ที่มีประวัติโรคทางจิตเวชคือความผิดปกติในการทานอาหาร (eating disorder) กลุ่มอาการนี้จะรวมอยู่ในหมู่เดียวกับความผิดปกติในการทานอาหารอื่น ๆ เช่น โรคทานแล้วขับออก (bulimia) และอาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร (pica) ซึ่งโดยพวกมันเองก็รวมกลุ่มอยู่ใต้ความผิดปกติทางจิตที่ไม่ใช่วิกลจริต (non-psychotic mental disorder)\nแต่ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่พิการทางใจ อาการนี้พิจารณาว่าเป็นความผิดปกติทางการบีบตัวของทางเดินอาหาร ไม่ใช่ความผิดปกติในการทานอาหาร เพราะคนไข้ปกติจะไม่สามารถควบคุมการเกิดขึ้นของอาการแลไม่มีประวัติความผิดปกติการทานอาหาร",
"title": "กลุ่มอาการสำรอก"
},
{
"docid": "909169#4",
"text": "คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต พิมพ์ที่ 5 (DSM-5) ระบุว่าบุคคลที่เป็นโรคหลงตัวเองมักมีอาการบางข้อหรือทุกข้อต่อไปนี้:\nโรคหลงตัวเองมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือช่วงเข้าสู่ผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายกับโรคหลงตัวเองทว่ามักเป็นการชั่วคราว และไม่เข้าขายของการวินิจฉัยโรค อาการที่แท้จริงของโรคมักเกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์ และไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาผ่านไป DSM-5 ระบุว่าผู้ป่วยต้องแสดงอาการที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นอาการของโรคหลงตัวเอง",
"title": "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง"
},
{
"docid": "57347#23",
"text": "“สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”\nการที่จะหายจาก โรคทางวิญญาณ ได้โดยเด็ดขาด คือ การว่างจากการยึดถือใน เรา และ ของเรา และมุ่งไปสู่ “ความว่างที่สุด” (นิพพาน)\nท่านพุทธทาสเห็นว่า อำนาจต้านทานโรค (Immunity) อย่างสูงสุด หรือ หัวใจของพุทธศาสนา ที่จะทำลายพิษร้าย และ นำจิตเราไปสู่ความว่างที่สุด หรือ นิพพาน นั้น คือประโยคสั้นๆว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” (สัพเพ ธรรมา นาลัง อภินิวาสายะ)",
"title": "แก่นพุทธศาสน์"
},
{
"docid": "568311#4",
"text": "กลุ่มอาการคะกราส์ได้รับการพิจารณาในยุคต้น ๆ ว่า เป็นโรคทางจิตเวช คือ เป็นอาการของโรคจิตเภท และเป็นโรคในหญิงเท่านั้น (แม้ว่า ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ไม่ใช่เป็นแบบนี้) โดยเป็นอาการของโรคฮิสทีเรีย คำอธิบายเกี่ยวกับกลุ่มอาการคะกราส์ที่ได้รับการเสนอหลังจากคำอธิบายของคะกราส์และเรอโบล-ลาชอซ์ เป็นคำอธิบายทางจิตเวชโดยมาก เมื่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เท่านั้น ที่ความสนใจในเหตุเกิดของกลุ่มอาการคะกราส์จึงเริ่มเปลี่ยนไปยังรอยโรคในสมอง ซึ่งความจริงปรากฏร่วมกับโรคมาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ได้รับการพิจารณาว่า ไม่มีความสัมพันธ์ หรือเป็นความบังเอิญเท่านั้น ทุกวันนี้ เราเข้าใจกลุ่มอาการคะกราส์แล้วว่า เป็นความผิดปกติทางประสาท ซึ่งอาการหลงโดยหลักเกิดขึ้นจากรอยโรค หรือความเสื่อมในสมอง",
"title": "อาการหลงผิดคะกราส์"
},
{
"docid": "935035#0",
"text": "โรคกลัวการขาดมือถือ () หรือ โนโมโฟเบีย เป็นชื่อที่มีการเสนอของโรคกลัวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยกลัวการไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือการไม่ได้สัมผัสมือถือ แม้ว่าโรคนี้จะไม่มีอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 (DSM-5) แต่เบียนชิและฟิลลิปส์ได้อธิบายไว้ว่ามีปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการใช้มือถือมากเกินไป คนที่มีความภูมิใจแห่งตนต่ำอาจใช้มือถือเพื่อสร้างความมั่นใจ และบุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยอาจใช้มือถือมากเกินไป เป็นไปได้ที่อาการของโนโมโฟเบียอาจเกิดจากอาการทางจิตที่มีอยู่แล้ว และบุคคลที่มีความเสี่ยงมักเป็นโรคกลัวสังคม หรือโรควิตกกังวลเมื่อเข้าสังคม ความวิตกกังวลสังคม และโรคตื่นตระหนก",
"title": "โรคกลัวการขาดมือถือ"
},
{
"docid": "840937#11",
"text": "ในสัตว์บางชนิด การกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารดูเหมือนจะเป็นลักษณะการปรับตัว (adaptive trait) แต่ในสัตว์อื่น ดูเหมือนจะเป็นโรคจิตดังที่พบในไก่\nคือ ไก่จะกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเมื่อให้อดอาหาร (เช่น อุตสาหกรรมไข่ไก่จะจำกัดอาหารเพื่อบังคับให้สลัดขน)\nโดยเพิ่มการจิกกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารที่อยู่รอบ ๆ ตัวเช่น ไม้ หรือสายไฟ หรือรั้ว หรือขนของไก่อื่น\nเป็นการตอบสนองโดยปกติที่เกิดเมื่อจำกัดหรือไม่ให้อาหารเลย\nซึ่งอาจเป็นพฤติกรรมทดแทนการหาอาหารปกติ",
"title": "จิตพยาธิวิทยาสัตว์"
},
{
"docid": "770260#5",
"text": "นักปรัชญาผู้หนึ่งได้ให้แสงสว่างเกี่ยวกับความขัดแย้งกัน (หรือปฏิทรรศน์) ที่สำคัญของการหลอกลวงตนเอง\nซึ่งมีสองอย่าง อย่างแรกเป็นเรื่องภาวะทางจิตของผู้หลอกตัวเอง และอย่างที่สองเป็นปฏิสัมพันธ์แบบพลวัตของการหลอกลวงตนเอง โดยมีชื่อบัญญัติว่า ปฏิทรรศน์สถิต (static paradox) และปฏิทรรศ์พลวัต (dynamic paradox) ตามลำดับ",
"title": "การหลอกลวงตัวเอง"
},
{
"docid": "770260#12",
"text": "โดยเปรียบเทียบกัน นักปรัชญาพวกที่สองมักจะเชื่อว่า แม้กรณีต่าง ๆ ของการหลอกลวงตนเองจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดโดยบังเอิญ แต่ก็เกิดจากความต้องการ ความวิตกกังวล และอารมณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับ \"p\"\nซึ่งเป็นแนวคิดที่แยกแยะการหลอกตัวเองจากความเข้าใจผิด\nยังมีคำถามและการโต้เถียงที่ยังไม่ยุติมากมายเกี่ยวปฏิทรรศน์ของการหลอกตัวเอง และทฤษฎีที่สามารถมีมติร่วมกันได้ก็ยังไม่ปรากฏ",
"title": "การหลอกลวงตัวเอง"
},
{
"docid": "770260#1",
"text": "มติส่วนใหญ่ว่าการหลอกตัวเองคืออะไรอย่างแน่นอนยังเป็นปัญหาสำหรับนักปรัชญาในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบแบบปฏิทรรศน์ และตัวอย่างสำคัญ ๆ แต่ไม่ชัดเจนของปรากฏการณ์\nนอกจากนั้นแล้ว การหลอกลวงตัวเองยังมีมิติต่าง ๆ มากมาย เช่นมิติด้านญาณวิทยา จิตวิทยา เชาวน์ปัญญา บริบททางสังคม และศีลธรรม\nดังนั้น คำนี้ยังถกเถียงกันไม่จบสิ้น และบางครั้งก็อ้างว่า เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นไปไม่ได้",
"title": "การหลอกลวงตัวเอง"
}
] |
3534 | นครมะดีนะหฺ เป็นสถานที่ทำฮัจห์ของมุสลิมหรือไม่ ? | [
{
"docid": "16785#0",
"text": "การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ",
"title": "ฮัจญ์"
}
] | [
{
"docid": "65923#8",
"text": "สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า \"อุปวตฺตนสาลวนํ\" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน",
"title": "วันอัฏฐมีบูชา"
},
{
"docid": "942443#4",
"text": "ในช่วงปีแรกที่มุสลิมอาศัยอยู่ที่เมืองมะดีนะฮ์ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)อนุญาตให้โจมตีที่กองคาราวานของมักกะฮ์. โดยซุฮัยล์ ฮาชิมีย์ ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับข้อพิพาทนี้ เขากล่าวว่า “เกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ มีทัศนะที่แตกต่างกันระหว่างนักประวัติศาสตร์ยุคก่อน และนักบูรพาคดียุคหลัง ตามแบบฉบับของนักเขียน” นักประวัติศาสตร์มุสลิมส่วนใหญ่ในยุคก่อนเชื่อว่า มุฮัมหมัดได้มีนโยบายทางการเมืองใหม่เพื่อต่อต้านชาวมักกะฮ์. การทำสงครามกับชาวมักกะฮ์ก็เพื่อตอบโต้ และเพื่อให้ชดใช้กับสิ่งที่พวกเขาทำไว้กับมุสลิม และตามคำกล่าวของนักบูรพาคดีส่วนมาก กล่าวว่าการโจมตีเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชดเชยความยากจนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาการอพยพของมุสลิมจากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์. บางท่านกล่าวว่า “การปะทะกันนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในนโยบายการพึ่งพาด้วยการต่อสู้ของท่านศาสดา ซึ่งตรงกับการกำหนดโองการแห่งสงคราม” แต่ Mohamed Hassanein Heikal กล่าวว่า “การปะทะกันนี้ไม่ใช่จุดประสงค์หลักทางทหาร แต่เป็นแค่การโจมตีเล็กๆ ที่มุ่งเป้าเพื่อให้ชาวมักกะฮ์เกิดความอ่อนแอลง และเพื่อแสดงอำนาจใหม่ของมุสลิม และพิสูจน์ถึงความจำเป็นในการสร้างสันติภาพและการประนีประนอมกับชาวมุสลิม”. ในความเห็นของฮาชิมีย์ เขาคิดว่าทั้งสองมุมมองนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานการคาดเดาเท่านั้นเอง. และการปฏิบัติการทางทหารก็เพื่อให้มีการยุติการสังหารและทำร้ายมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ในมักกะฮ์ และปิดเส้นทางกองคาราวานของชาวมักกะฮ์ไปยังเมืองชาม(หรืออีกนัยหนึ่งคือ ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจต่อมักกะฮ์) เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ในการปฏิบัติต่อชาวมักกะฮ์.",
"title": "ยุทธการที่บะดัร"
},
{
"docid": "754626#5",
"text": "และสถานที่แห่งหนึ่งของอำเภอบางบัวทอง ซึ่งมีแต่ป่าดงพงไพร เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพรรณน้อยใหญ่ โดยมีคลองอ้ายรี (คลองลำรีในปัจจุบัน) และคลองอ้ายรีน้อย เป็นแหล่งน้ำ ซึ่งไร้ผู้คนอาศัย ภายหลังได้มีพี่น้องจากชุมชนมุสลิมบ้านท่าอิฐ คือ แชร์ซาและห์ และแชร์บะห์เรน (นายเซ็น) ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้เดินเท้าบ้าง พายเรือบ้าง เพื่อเข้ามาทำการถากถางพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจับจองพื้นที่ ด้วยความเป็นพี่น้องที่รักกัน แชร์ซาและห์ ซึ่งมีพื้นที่ในสถานที่ดังกล่าว จำนวน 80 ไร่ แต่แชร์บะห์เรน มีที่ ๆ ครอบครอง อยู่ที่ชุมชนคลองใหญ่ (เขตมัสยิดนะฮ์ฏอตุลอิสลาห์ หรือสุเหร่าปากคลองลำรี ในปัจจุบัน) จำนวน 16 ไร่ ภายหลังสองพี่น้องได้แลกที่กัน โดยแชร์ซาและห์ ได้ที่ครอบครองของแชร์บะห์เรน ที่ชุมชนคลองใหญ่ จำนวน 16 ไร่ และแชร์บะห์เรนได้ที่ครอบครองของแชร์ซาและห์ ที่คลองอ้ายรี จำนวน 80 ไร่ไป โดยมีข้อแม้ต่อกันว่า ในพื้นที่ ๆ ได้แลกกันนั้นต้องสร้างสถานที่ละหมาดไว้ด้วย (ตามคำบอกเล่าของมารดาของนางมาลัย หรือฮัจยะห์รอฟีอะห์ สุขไสใจ(นิมา) ซึ่งเป็นชาวคลองใหญ่เดิม (6 พ.ศ. 2477 - ปัจจุบัน)) ซึ่งแสดงเห็นความรักใคร่ สามัคคีกันในพี่น้อง และความหนักแน่นต่อศาสนา ภายหลังเมื่อแชร์ซาและห์ ได้กลับไปอยู่ที่ชุมชนคลองใหญ่ และเป็นอิหม่ามของชุมชนคลองใหญ่ (มัสยิดนะฮ์ฏอตุลอิสลาห์ หรือสุเหร่าปากคลองลำรี ในปัจจุบัน) จึงถือได้ว่านายเซ็น หรือแชบะห์เรน เป็นผู้ก่อตั้งชุมชนมุสลิมมลายูสุเหร่าเขียว และได้สร้างที่พัก หรือบ้านขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมกับบาแล เพื่อใช้ในการนมาซ หรือละหมาดต่อพระเจ้า",
"title": "มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม"
},
{
"docid": "248445#4",
"text": "ฝ่ายอับดุลวะฮาบ แห่งเผ่าตะมีม ผู้เป็นบิดาของเชค อัลนัจญ์ดีย์ นั้นเป็นผู้รู้แห่งนครมะดีนะหฺ และสุลัยมานพี่ชายของเขา รวมทั้งเหล่านักปราชญ์ในเมืองมะดีนะหฺก็ได้ประกาศต่อต้านลัทธิของ เชค อัลนัจญ์ดี เพราะขัดแย้งกับคำสั่งสอนของอิสลามหลายประการ เมื่อได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย เชค อัลนัจญ์ดี ก็ได้ตกลงกับ มุฮัมมัด บุตรสะอูด ในปี ฮ.ศ. 1143 (พ.ศ. 2273) ว่า ผู้ใดที่ไม่ยอมรับลัทธิวะฮาบีย์ เขาก็ไม่ใช่มุสลิมที่แท้จริง เขาเป็นผู้ตั้งภาคี ควรแก่ฆ่าทิ้ง หรือทำสงครามปล้นเอาทรัพย์สินของเขาได้ 7 ปีต่อมา เขาทั้งสองก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น จัดทัพออกทำศึกสงครามปล้นสะดมหมู่บ้าน ตำบล และเมือง ที่ไม่ยอมรับลัทธิวะฮาบีย์ ผู้คนที่เข้าลัทธิวะฮาบีย์เรียกกันว่า อัลอิควาน (ภราดร) ปี 2337 และ 2339 พวกวะฮาบีย์โจมตีเริ่มโจมตีคูเวตหลายครั้ง เพื่อยึดเมืองให้ขึ้นกับตระกูลสะอูด",
"title": "มุฮัมมัด บินอับดิลวะฮาบ"
},
{
"docid": "962663#0",
"text": "มัสยิดตะโละมาเนาะ () หรือ มัสยิดวาดีลฮูเซ็น () เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลามแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส บริเวณเชิงเขาบูโด มัสยิดแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ดั้งเดิมที่มีความงดงามและเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกมลายู () ภายในเป็นที่เก็บรักษาพระคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเขียนด้วยลายมือของวันฮุซเซน อัซซานาวี อิหม่ามคนแรกของมัสยิด และยังเป็นมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างมลายู ไทย และจีน",
"title": "มัสยิดตะโละมาเนาะ"
},
{
"docid": "999138#0",
"text": "มัสยิดอันนะบะวี (, \"มัสยิดของท่านศาสดา\") เป็นมัสยิดที่สร้างโดยท่านศาสดามุฮัมมัด โดยสร้างที่บริเวณเมืองมะดีนะฮ์ แคว้นฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย นี่เป็นมัสยิดที่สามที่ถูกสร้างในประวัติศาสตร์อิสลาม และเป็นหนึ่งในมัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รองจากมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ในศาสนาอิสลาม โดยเปิดตลอดเวลา ไม่เว้นวันหยุด",
"title": "มัสยิดอันนะบะวี"
},
{
"docid": "899631#30",
"text": "นมาซวันศุกร์ในกรุงเตหะราน เมืองเตหะราน เมืองกุม และเมืองมัชฮัด เป็นเมืองที่มีความพิเศษอันโดดเด่น และเมืองใหญ่ๆที่เป็นศูนย์กลาง ก็จะมีการทำนมาซวันศุกร์กัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมาทำกันที่ มัสญิดกลาง (มัสญิดญาเมี้ยะอ์)\nในรอบหนึ่งสัปดาห์มวลมุสลิมจะมารวมตัวกันเพื่อทำนมาซนี้ ซึ่งเป็นนมาซที่สำคัญในประวัติศาสตร์อิสลามแห่งอิหร่าน เป็นสถานที่ปราศรัยของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศ เพื่อกล่าวนโยบายทางด้านการเมืองและการบริหารประเทศของรัฐบาล มุฮัมหมัดคอรัซชาฮ์ กล่าวบรรยายธรรมในนมาซวันศูกร์เมื่อวันที่ 24 เดือน เมษายน ค.ศ. 1220 ว่า มองโกลคือบททดสอบหนึ่งแห่งฟากฟ้าล แต่ละคนต้องไปหรือจำนน นับตั้งแต่ยุคกษัตริย์ อิสมาอีล ที่หนึ่งแห่งราชวงศ์ซอฟะวีย์ การนมาซวันศุกร์ค่อยๆกลายเป็นที่ปราศัยอย่างเป็นทางการในสังคมชีอะฮ์แห่งอิหร่าน บรรดานักการศาสนาโดยเฉพาะ ท่านมุฮักกิก กะระกี ท่านคือบุคคลแรกที่ทำนมาซวันศุกร์ขึ้นอย่างเป็นทางการในมัสญิดกลางอะตีกแห่งเมืองอิสฟาฮาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของบรรดาฟะกีฮ์ส่วนใหญ่ หลังจากการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเมื่อ 1357 การนมาซวันศุกร์ก็เบ่งบานมากขึ้น มีการจัดตั้งหน่วยงานและองค์กรเพื่อทำหน้าที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ ท่านผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้บรรยายถึงความสำคัญของการนมาซวันศุกร์เอาไว้ ถือกันว่าวันที่ 5 เดือนโมรดอด ปี 1358 ตรงกับวันที่ 27กรกฎาคม 1979 หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เป็นวันแรกที่มีการนมาซวันศุกร์ขึ้นอย่างเป็นทางการในกรุงเตหะราน ซึ่งนำนมาซโดย มะห์มูด ฏอลิกอนี ที่มหาวิทยาลัยเตหะราน",
"title": "นมาซวันศุกร์"
},
{
"docid": "16977#2",
"text": "เสียชีวิตที่กรุงมะดีนะหฺ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 634 ก่อนสิ้นชีวิตได้สั่งให้อุษมานเขียนคำพินัยกรรมให้สหายสนิท คืออุมัร เป็นคอลีฟะหฺคนต่อไป ร่างของท่านอบูบักรได้ถูกฝังใกล้กับท่านนบีและท่านอุมัร ณ มัสยิดอันนะบะวียฺ นครมะดีนะหฺ",
"title": "อะบูบักร์"
},
{
"docid": "315817#3",
"text": "อุมัรเสียชีวิตที่กรุงมะดีนะหฺเนื่องจากถูกอะบูลุลุอะหฺ ทาสจากเปอร์เซีย สังหาร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 644 ร่างของท่านอุมัรถูกฝังที่มัสยิดนะบี นครมะดีนะหฺ ใกล้กับที่ฝังของท่านบีมุฮัมมัด (ศ) และท่านอะบูบักรฺ (ร)",
"title": "อุมัร"
},
{
"docid": "995796#1",
"text": "ขาวมุสลิมได้ทำตามศาสดามุฮัมหมัดให้ขุดสนามเพลาะตามคำแนะนำของซัลมาน ฟารซี และปราการธรรมชาติในมะดีนะฮ์ทำให้ทหารม้า (รวมถึงม้าและอูฐ) ของสมาพันธ์ไร้ประโยชน์ และได้ชักชวนเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ให้โจมตีฝ่ายมุสลิมทางตอนใต้ แต่อย่างไรก็ตาม แผนทางการทูตของมูฮัมหมัดได้ทำให้ฝ่ายสมาพันธ์แตกแยกโดยสิ้นเชิง พร้อมกับสภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้สงครามนี้สิ้นสุดลง",
"title": "ยุทธการสนามเพลาะ"
}
] |
3549 | เหตุการณ์ 14 ตุลา มีผู้เสียชีวิตกี่คน? | [
{
"docid": "24830#0",
"text": "เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก",
"title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา"
},
{
"docid": "40190#2",
"text": "หนึ่งในประติมากรรมที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ สถูปวีรชน 14 ตุลา เป็นรูปกรวยคว่ำ สูง 14 เมตร จารึกรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 72 คนและบทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รูปกรวยคว่าเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณการมนุษย์ ส่วนปลายยอดกรวยที่ดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จแทนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพที่ยังต้องดำเนินต่อไป\nการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีประวัติอันยาวนาน เริ่มตั้งแต่มีการเสนอให้มีการสร้างอนุสาวรีย์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14-16 ตุลาคม 2516 ผ่านคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่กว่าที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาจะปรากฏเป็นรูปธรรมดังที่เห็น หนทางก็เต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2544 อนุสรณ์สถานแห่งนี้จึงจะสามารถสร้างได้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ก็ด้วยแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องจากขบวนการนิสิตนักศึกษา อดีตนักศึกษาในสมัย 14 ตุลา นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย \nงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้มาจากเงินบริจาคของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และในโอกาสครบรอบ 28 ปี 14 ตุลา รวมกับเงินบริจาคของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรุงเทพมหานคร และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีมูลนิธิ 14 ตุลา เป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดสร้าง และร่วมดำเนินกิจการของอนุสรณ์สถานฯ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า",
"title": "อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา"
}
] | [
{
"docid": "24830#5",
"text": "ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ \"บันทึกลับจากทุ่งใหญ่\" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ \"มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ\" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ",
"title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา"
},
{
"docid": "24830#13",
"text": "หลังจากนั้นการเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นโดย ในวันที่ 24 มกราคม 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีผู้เสียชีวิต 3 รายเหตุการณ์ครั้งใหญ่ได้แก่เหตุการณ์จลาจลแยกพลับพลาไชย ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 การจลาจล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และเหตุการณ์ร้ายแรงที่รองลงมาเกิดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ศาลากลางจังหวัดพังงา ได้มีผู้ก่อการร้ายโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วง ส่งผลให้ มีประชาชนเสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 17 ราย และในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2519 มีการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชนนับแสนคน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่ถนนวิทยุ กรณีนี้ได้กลายเป็นเหตุรุนแรงเมื่อคนร้ายโยนระเบิดใส่ขบวนแถวของประชาชนเมื่อเคลื่อนไปถึงหน้าบริเวณโรงภาพยนตร์สยาม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน",
"title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา"
},
{
"docid": "24830#19",
"text": "ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ \"\"ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย\"\" และ \"\"พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด\"\" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ยังได้กล่าวอีกว่า พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา",
"title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา"
},
{
"docid": "33634#41",
"text": "มีการกล่าวหาว่าตำรวจและขบวนการกระทิงแดงข่มขืนนักศึกษาหญิงทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิต ตัวเลขอย่างเป็นทางการบ่งว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน และบาดเจ็บ 167 คน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขณะนั้น ให้ตัวเลขประมาณผู้เสียชีวิตอย่างไม่เป็นทางการกว่า 100 คน โดยอิงแหล่งข้อมูลนิรนามในสมาคมจงหัวแห่งประเทศไทย (Chinese Benevolent Association) ซึ่งกำจัดศพ",
"title": "เหตุการณ์ 6 ตุลา"
},
{
"docid": "356246#1",
"text": "เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นอุบัติเหตุครั้งที่สามและครั้งที่เลวร้ายที่สุดในสัพริมลา วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2495 ผู้ศรัทธาในเทพไอยปัณณ์ 66 คนถูกไฟคลอกเมื่อดอกไม้เพลิงเกิดติดไฟขึ้น ขณะที่ในวันเดียวกันของ พ.ศ. 2542 ผู้แสวงบุญ 52 คนเสียชีวิตหลังจากเกิดเหตุเหยียบกันเสียชีวิตขึ้นขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา",
"title": "เหตุเหยียบกันเสียชีวิตในสัพริมลา พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "880013#0",
"text": "เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17:20 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+2) มีผู้ขับรถตู้พุ่งชนผู้สัญจรบนทางเท้าในย่านท่องเที่ยวลารัมบลา เมืองบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 100 คน นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันอีก 2 แห่งในเวลา 3 วัน ได้แก่ในเมืองท่ากัมบริลส์ มีผู้เสียชีวิต 1 คน และในเทศบาลอัลกานา",
"title": "เหตุโจมตีในกาตาลุญญา พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "588515#104",
"text": "เกิดเหตุยิงปืนและขว้างระเบิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ได้แก่ นางพิศตะวัน อุ่นใจ ด.ญ.ฬิฬาวัลย์ พรหมชัย ด.ญ.ณัฐยา รอสูงเนิน และบาดเจ็บ 34 คนในจังหวัดตราดในเย็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีผู้ยิงเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ ใกล้ที่ชุมนุม กปปส.แยกราชประสงค์ มีรายงานว่า การระเบิดของระเบิดมือ 40 มิลลิเมตรทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน เป็นเด็ก 2 คนและหญิง 1 คน ได้แก่ นางสาวฐิพาพรรณ สุวรรณมณี เด็กชายกรวิชญ์ ยศอุบล และ เด็กหญิงพัชรากร ยศอุบล ชายขับรถตุ๊กตุ๊กคนหนึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา หลังจากนั้น ผู้ประท้วง กปปส. ในกรุงเทพมหานครพยายามขัดขวางกิจกรรมของธุรกิจตระกูลชินวัตรในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่กรมศุลกากรในเขตคลองเตย สถานีวอยซ์ทีวี และหลายกระทรวง เช่น กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพลังงาน",
"title": "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557"
},
{
"docid": "65583#8",
"text": "เหตุระเบิดทั้งหมดทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวไทย ได้แก่ นายสงกรานต์ กาญจนะ อายุ 36 ปี, นายเอกชัย เรือพุ่ม วัย 26 ปี ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และนายสุวิชัย นาคเอี่ยม วัย 61 ปี ที่เขตคลองเตย นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 38 คน เนื่องจากไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดระเบิดขึ้น ในจำนวนนี้มีชาวต่างประเทศ 8 คนได้รับบาดเจ็บ: ชาวอังกฤษ 2 คน ชาวฮังการี 3 คน ชาวเซอร์เบีย 2 คน และชาวอเมริกัน 1 คน",
"title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549"
}
] |
3558 | นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เคยเป็นนายกหรือไม่ ? | [
{
"docid": "16719#0",
"text": "นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน (30 มีนาคม พ.ศ. 2504 —) เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์, อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 สมัย",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
}
] | [
{
"docid": "16719#11",
"text": "นายอภิรักษ์มีปู่คือ พันโทจมื่นศักดิ์สงคราม (นายร้อยเอกนายไกรพลแสน) รับราชการในกรมทหารรักษาวังของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างระบบราชการ เพื่อลดจำนวนคนจากหน่วยงานต่าง ๆ ลง ปู่จึงลาออกจากราชการ มาเก็บค่าเช่าจากที่ดินและตึกแถว",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "58857#6",
"text": "ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และอดีตที่ปรึกษาและโฆษก กทม.สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พร้อมกับการเป็นสื่อมวลชนอิสระ นักเขียนอิสระ ผลงานได้แก่ \"ฝันให้ไกลไปให้ถึง ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน\", \"เบื้องลึก เบื้องหลังรัฐบาลโอบามาร์ค\" และ \"ชีวิตที่เลือกได้ พ.ต.อ.สวัสดิ์ จำปาศรี\"",
"title": "ถนอม อ่อนเกตุพล"
},
{
"docid": "16719#1",
"text": "นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เกิดวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดในยุคกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) นายอภิรักษ์มีชื่อเล่นว่า \"ต้อม\" เป็นบุตรคนโตของ นายบุญลักษณ์ โกษะโยธิน และ นางอมรา โกษะโยธิน (สกุลเดิม จามรมาน) มีน้องสาว 1 คนคือ อภิสรา โกษะโยธิน (ทำงานที่ ธนาคารนครหลวงไทย)นายอภิรักษ์ สมรสกับ นางปฏิมา โกษะโยธิน (สกุลเดิม พงศ์พฤกษทล) มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ อนรรฆ โกษะโยธิน (พี)",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#10",
"text": "ตลอดการทำงานด้วยความตั้งใจจนครบวาระ 4 ปี นายอภิรักษ์ได้สร้างผลงานโดดเด่นมากมาย ด้วยประสบการณ์ด้านการบริหาร และผลงานการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้นายอภิรักษ์ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนโหวตเกือบ 1 ล้านคะแนน\nนายอภิรักษ์ได้ประกาศลาออกในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้แจ้งผิดกรณีรถดับเพลิงตระกูลโกษะโยธิน สืบเชื้อสายมาจาก หลวงพินิจปรีชา (คลัง) โดยนามสกุล \"โกษะโยธิน\" (Kosayodhin) เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2962 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และเนื่องจากเป็นสกุลทหารบก จึงมีคำว่า \"โยธิน\" ประกอบในนามสกุล",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#12",
"text": "รุ่นถัดมาคือบิดาของนายอภิรักษ์ ที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยรับราชการ ที่กรมชลประทาน ก่อนจะออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ในขณะที่ลุงของนายอภิรักษ์คือ พันเอกพิเศษทำนุ โกษะโยธิน รับราชการเป็นทหารจนเกษียณอายุ ส่วนป้า ของนายอภิรักษ์ คือ ร้อยเอกหญิงกานดา โกษะโยธิน เคยเป็นอาจารย์ในโรงเรียนเตรียมทหารจนได้ยศร้อยเอกหญิงนำหน้าชื่อ ก่อนจะย้ายไปเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#2",
"text": "นายอภิรักษ์มีฉายาจากสื่อมวลชนว่า \"หล่อเล็ก\" คู่กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีฉายาว่า \"หล่อใหญ่\" และต่อมามีนักการเมืองพรรคเดียวกันได้รับฉายาทำนองนี้อีกเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคที่ได้รับฉายา \"หล่อโย่ง\" และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคที่มีฉายาว่า \"หล่อจิ๋ว\"",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "190250#1",
"text": "เมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีผู้สมัครเปิดตัวกันหลายคน เช่น ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ และนางลีนา จังจรรจา ในนามผู้สมัครอิสระ ทั้งนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์มีมติให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 อีกด้วย โดยนายอภิรักษ์ได้ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยให้ นายพงษ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน",
"title": "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551"
},
{
"docid": "16719#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2553 นายอภิรักษ์ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเขต 2 กรุงเทพมหานคร แทนที่ นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส. ไปด้วยเหตุถือครองหุ้นส่วนของบริษัทไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งนายสมเกียรติก็ไม่ขอลงสมัครอีกเนื่องจากอายุมากแล้ว ทางพรรคจึงได้มีมติเลือกนายอภิรักษ์ให้ลงสมัครแทน และนายอภิรักษ์ก็ได้รับคะแนน 71,072 คะแนน ชนะ นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 30,506 คะแนน และได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#3",
"text": "นายอภิรักษ์เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง เริ่มจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 การลงคะแนนเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้ นายอภิรักษ์ เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547\nหลังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมานายอภิรักษ์ได้รับเลือกตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
}
] |
3560 | นอร์แมน แอบรามสัน คือใคร? | [
{
"docid": "42409#2",
"text": "ในปี ค.ศ. 1970 นอร์แมน แอบรามสัน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวายได้พัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางคอมพิวเตอร์แบบไร้สายขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ในชื่อ ALOHAnet โดยใช้คลื่นวิทยุคล้ายค้อนแบบต้นทุนต่ำ โดยตัวระบบได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด 7 ตัวกระจายไปยัง 4 เกาะแล้วทำการสื่อสารมาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์กลางที่เกาะโออาฮู โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์เลย",
"title": "แลนไร้สาย"
}
] | [
{
"docid": "295772#1",
"text": "ทรูแมน เบอร์แบงค์ (จิม แคร์รี) เป็นหนุ่มชาวอเมริกันธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ที่มีวิถีชีวิตปกติสุข เขามีภรรยาที่แสนดี (ลอร่า ลินนีย์) ที่เป็นนางพยาบาล เป็นคู่ชีวิต แต่แล้ววันหนึ่ง ก็มีไฟที่ใช้ในสตูดิโอตกลงมาจากฟ้า เขาจึงตั้งข้อสงสัย ต่อมาเขาได้พบความผิดปกติขึ้นเรื่อย ๆ ในชีวิตประจำวันของเขา แต่คนรอบข้างเขาไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ภรรยาหรือเพื่อน ๆ ก็พยายามปลอบใจว่าไม่มีอะไร จนกระทั่งวันหนึ่ง ทรูแมนได้พบกับ ลอเรน ซิลเวียร์ (นาตาชา แมคเอลฮอล) อดีตคนรัก เธอพยายามบอกทรูแมนว่า ชีวิตของเขานั้นไม่ใช้คนธรรมดา แต่แล้วเธอก็ดูเหมือนถูกคุกคามจากกลุ่มคนลึกลับ จนในที่สุด ทรูแมนก็พบว่า ชีวิตของเขานั้นเป็นเพียงตัวละครตัวหนึ่งในรายการเรียลลิตี้ที่ชื่อ \"Truman Show\" ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ที่มียอดคนดูมากที่สุดในโลก โดยมี คริสตอฟ (เอ็ด แฮร์ริส) เป็นผู้กำกับ ซึ่งได้กำหนดชีวิตให้เขามาตั้งแต่ก่อนเขาจะเกิดซะอีก ซึ่งทำให้ทรูแมนพยายามจะหนีออกจากโลกสมมติใบนี้ให้ได้",
"title": "ชีวิตมหัศจรรย์ ทรูแมน โชว์"
},
{
"docid": "175734#0",
"text": "ไอรอนแมน ( อ่านในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันว่า \"ไอเอิร์นแมน\") เป็นตัวละครส่วนหนึ่งของมาร์เวลคอมิกส์ เป็นที่รู้จักกันดีในหน้าของนักรบใส่เกราะซึ่งมักจะใส่เกราะ แดง-เหลือง เป็นชุดประจำตัวอยู่เสมอ เขาเป็นคนที่ร่ำรวยมาก ในคฤหาสน์มีที่เก็บชุดเกราะมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งใช้ในงานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะออกรบ ไปต่อสู้กับศัตรู หรือไปทำสงคราม ไอรอนแมนปรากฏตัวใน อเวนเจอร์ ซึ่งเป็นที่รวมกลุ่มคนที่เป็นยอดมนุษย์",
"title": "ไอรอนแมน"
},
{
"docid": "963420#2",
"text": "ดอกเตอร์ สเวน ลาร์เซน เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนและอดีตนักศึกษาของ ดร.ไนลส์ เคาล์เดอร์ แต่พวกเขาก็มีเรื่องมีราวหลังจากที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนขโมยความคิดของเขาสำหรับรังสีป้องกันการสลายตัว ลาร์เซนได้รับพลังอำนาจมหาศาลหลังจากที่ตกลงไปในตู้กรดอะมิโน เขาใช้พลังของเขาเพื่อแก้แค้นเคาล์เดอร์และดูมพาโทรล แต่ดูมพาโทรลได้ชนะลาร์เซนและสามารถถอดพลังของเขาได้ ทว่า หลังจากนั้นเขาก็ฟื้นและต่อสู้กับดูมพาโทรลอีกครั้ง",
"title": "แอนิมัล-เว็จเทอะเบิล-มิเนอรัลแมน"
},
{
"docid": "232904#3",
"text": "นอรา เวกแมน () เป็นคนที่สร้างเจนนี่ขึ้นมา เธอจึงเป็นแม่ของเจนนี่ คนส่วนใหญ่จะเรียกนอราว่า “คุณ เวกแมน” หรือจะรียกว่า “ดร.เวกแมน” ก็ได้\nทัก คาร์บังเคิล () เป็นน้องชายของแบรด เขาตัวเล็ก ผมและตาสีดำ ไม่ปรากฏอายุ คาดว่าน่าจะอยู่ชั้นอนุบาล มักจะเห็นเขาอยู่ด้วยกันกับแบรด ทักเป็นตัวละครที่เด่นอีกตัว บางครั้งเขาก็ช่วยเจนนี่ แต่ก็เคยทำเรื่องปวดหัวให้เจนนี่อยู่เหมือนกัน",
"title": "รายชื่อตัวละครในจักรกลสาวใส ใจวัยทีน"
},
{
"docid": "348713#10",
"text": "นอร์แมน เบตส์ ได้ชื่อว่าเป็นฆาตกรโรคจิตหรือตัวละครฝ่ายร้ายอันดับต้น ๆ เช่นเดียวกับ ฮันนิบาล เล็กเตอร์ จากเรื่อง \"The Silence of the Lambs\" (ค.ศ. 1992) ที่นักวิจารณ์และนักชมภาพยนตร์ชื่นชอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นตัวละครที่มีอายุมาจนถึงปัจจุบันนี้นานหลายสิบปีแล้วก็ตาม",
"title": "นอร์แมน เบตส์"
},
{
"docid": "270149#0",
"text": "นอร์แมน เออร์เนสต์ บอร์ล็อก () (25 มีนาคม ค.ศ. 1914 - 12 กันยายน ค.ศ. 2009) นักวิชาการการเกษตรชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรส์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น \"บิดาแห่งการปฏิวัติสีเขียว\" ในฐานะที่เป็นผู้นำการคิดค้น และนำเสนอเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตอาหารจากการเกษตรในเม็กซิโก อินเดีย และปากีสถาน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 การคิดค้นของบอร์ล็อก ทำให้ประเทศผู้ผลิตสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้เป็นสองเท่า และประมาณการว่าสามารถช่วยเหลือประชากรโลกจากความอดอยากได้มากกว่าพันล้านคน และช่วยชีวิตคนได้มากกว่า 245 ล้านคน เสียชีวิตแล้วที่บ้านพักในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัสเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2552 ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคมะเร็ง ขณะอายุ 95 ปี",
"title": "นอร์แมน บอร์ล็อก"
},
{
"docid": "795168#0",
"text": "เซอร์ โจเซฟ นอร์แมน ล็อกเยอร์ (; 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1920) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองรักบี้ หลังเรียนจบจากสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ล็อกเยอร์รับราชการที่สำนักการสงคราม และย้ายไปที่เมืองวิมเบิลดันหลังแต่งงานกับวินิเฟรด เจมส์ ล็อกเยอร์เป็นนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่สนใจในดวงอาทิตย์ ในปี ค.ศ. 1868 เขาพบแถบสีเหลืองในสเปกตรัมใกล้ขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 588 นาโนเมตร ล็อกเยอร์สันนิษฐานว่าแถบสีเหลืองเกิดจากธาตุชนิดหนึ่ง เขาจึงร่วมกับนักเคมีชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด แฟรงค์แลนด์ ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า \"ฮีเลียม\" โดยมาจากคำในภาษากรีกโบราณ \"hḗlios\" ที่แปลว่า \"ดวงอาทิตย์\" เมื่อเกิดสุริยุปราคาในปีเดียวกัน ปิแอร์ จองส์ชอง นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ศึกษาแถบสีเหลืองดังกล่าวและค้นพบธาตุฮีเลียมเช่นกัน ล็อกเยอร์และจองส์ชองจึงถือว่าเป็นผู้ค้นพบธาตุฮีเลียมร่วมกัน",
"title": "นอร์แมน ล็อกเยอร์"
},
{
"docid": "348713#11",
"text": "มีการวิเคราะห์กันว่าป้ายทะเบียนรถของแมเรียน คือ NFB 418 ซึ่งในภาพยนตร์ได้ตอกย้ำด้วยการโคลสอัพให้เห็นชัดเจนหลายครั้ง ย่อมาจากชื่อของ นอร์แมน และชื่อของ นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี (Saint Francis of Assisi) ที่สามารถสื่อสารกับนกได้ ด้วยต้องการสื่อเป็นนัย เพราะในห้องพักส่วนตัวของนอร์แมนหลังออฟฟิศ มีซากนกสตั๊ฟฟ์ไว้มากมาย ซึ่งนอร์แมนเปิดเผยกับแมเรียนว่า การสต๊ฟฟ์สัตว์ที่ตายไปแล้วอย่างนก เป็นงานอดิเรกที่เขาชื่นชอบ ซึ่งเป็นการตอกย้ำความวิปริตที่ซ่อนอยู่ในใจนอร์แมน อีกทั้ง การที่นอร์แมนได้ฆาตกรรมแมเรียน ก็คือ การที่วางเหยื่อ (เบตส์-bait) ล่อนกกระเรียน (เครน-crane) ให้มาติดกับ ซึ่งเมื่อนอร์แมนในสภาพปกติวิ่งมาดูสภาพห้องน้ำ\nหลังเกิดเหตุแล้ว เขาก็เอามือปิดปากเหมือนจะอาเจียน ทำให้ไปโดนภาพวาดนกที่แขวนบนผนังตกลงมา ซึ่งนกนั่นก็หมายถึง แมเรียน",
"title": "นอร์แมน เบตส์"
},
{
"docid": "652807#0",
"text": "นรเทพ มาแสง (ชื่อเล่น ; นอ เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517) เป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวไทย เป็นที่รู้จักการเป็นมือเบส โดยเริ่มเข้าวงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เพื่อมาเป็นมือเบสให้กับ บอย โกสิยพงษ์ ในค่ายเบเกอรี่มิวสิค และหัวหน้าวง พอส และต่อมากับวง เครสเชนโด้ อีกทั้งยังเป็นมือเบสหลากหลายวง อาทิเช่น ทีโบน, โยคี เพลย์บอย, ทูเดย์ส อะโกคิดส์, ธีร์ ไชยเดช, บอย โกสิยพงษ์ ฯลฯ และนรเทพเคยเป็นอาจารย์สอนดนตรีอยู่ที่ มหาวิทยาลัยพายัพ, จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเคยเป็นครูสอนดนตรีที่ปราชญมิวสิคด้วย",
"title": "นรเทพ มาแสง"
}
] |
3566 | กุหลาบแวร์ซายส์ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นอิงประวัติศาสตร์ ที่นำเค้าโครงเรื่องจากเรื่องราวและเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประเทศใด? | [
{
"docid": "12546#2",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นอิงประวัติศาสตร์ ที่นำเค้าโครงเรื่องจากเรื่องราวและเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ช่วงก่อนและหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี อองตัวเนต ถ่ายทอดเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ผ่านตัวละครหลักคือ ออสการ์ ฟรังซัวส์ เดอ จาร์เจและ อังเดร กรังดิเออร์ ในแง่มุมของการปกครองประเทศของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กฎระเบียบข้อบังคับในราชการทหาร ระเบียบวินัยและอำนาจหน้าที่ รวมถึงเรื่องราวของความรักฉันชู้สาว มิตรภาพและการต่อสู้ในสงคราม",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
},
{
"docid": "12546#3",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ เป็นเรื่องราวของออสการ์ ฟรังซัวส์ เดอ จาร์เจ ตัวละครหลักของเรื่อง ในยุคของการปฏิวัติและการเกิดจลาจลภายในประเทศฝรั่งเศส ออสการ์เป็นทายาทคนสุดท้ายของนายพลชาร์เวอเลีย เดอ จาร์เจ ขุนนางแห่งฝรั่งเศสที่มีบุตรสาวถึง 6 คน นายพลจาร์เจตั้งความหวังถึงบุตรที่ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งต้องเป็นบุตรชายเท่านั้นเพื่อสืบทอดตระกูลจาร์เจต่อไปในอนาคต แต่นายพลจาร์เจต้องผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อบุตรคนเล็กถือกำเนิดขึ้นมาเป็นหญิง จึงตัดสินใจที่จะเลี้ยงดูบุตรสาวคนเล็กในแบบชายชาตรีและให้ชื่อว่า \"ออสการ์\" รวมทั้งสั่งสอนและฝึกฝนในเรื่องศิลปะการต่อสู้ วิชาทางด้านการทหาร การใช้ดาบและปืนให้แก่ออสการ์",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
}
] | [
{
"docid": "12546#0",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ () หรือที่รู้จักกันในชื่อของภาษาอังกฤษคือ \"เลดีออสการ์\" \"(Lady Oscar) \" เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องและภาพโดยริโยโกะ อิเคดะ กุหลาบแวร์ซายส์เป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักอย่างดีทั่วโลก ถูกตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารมาร์กาเร็ตของสำนักพิมพ์ชูเออิชา ในปี พ.ศ. 2516 และประสบความสำเร็จในทันทีที่วางจำหน่าย ได้รับการตอบรับจากนักอ่านเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ถูกดัดแปลงเนื้อเรื่องจากการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นละครเวทีภาพยนตร์ชุดการ์ตูนและบัลเลต์ ซึ่งในการแสดงละครเวทีในภาคโอเปร่า ริโยโกะ อิเคดะ ผู้แต่งได้มีส่วนร่วมในการประพันธ์คำร้องสำหรับใช้ในการแสดงละครเวทีในภาคโอเปร่าอีกด้วย",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
},
{
"docid": "12546#1",
"text": "กุหลาบแวร์ซายส์ถูกดัดแปลงเป็นละครเวที ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง และกลายเป็นละครเวทีที่มีการเปิดการแสดงมากรอบที่สุดเช่นกันตามรายงานของนิตยสารทาการาซุกะ รีวิว ในปี พ.ศ. 2526 หนังสือการ์ตูนสองชุดแรกของกุหลาบแวร์ซายส์ ได้รับการแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษโดยเฟรเดริก แอล. ชอดต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสอนภาษาอังกฤษให้กับชาวญี่ปุ่น และยังได้จัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนืออีกด้วย กุหลาบแวร์ซายส์จึงได้ชื่อว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ได้รับการแปลเพื่อการค้าและจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือ",
"title": "กุหลาบแวร์ซายส์"
},
{
"docid": "745871#0",
"text": "อัสแซสซิเนชันคลาสรูม () เป็นซีรีส์การ์ตูนญี่ปุ่น ที่แต่งและวาดภาพประกอบโดยยูเซย์ มัตสึอิ ตีพิมพ์ลงนิตยสารการ์ตูน \"โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์\" ของชูเอชะตั้งแต่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึง 25 มีนาคม พ.ศ. 2558 ในประเทศไทยเรี่องนี้ได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ตีพิมพ์ลงนิตยสารการ์ตูน \"ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส\" โดยลงตอนล่าสุดของเรี่องพร้อมกับฉบับภาษาญี่ปุ่น เรี่องนี้ได้ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 20 เล่มในญี่ปุ่น และ 18 เล่มในประเทศไทย ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559",
"title": "อัสแซสซิเนชันคลาสรูม"
},
{
"docid": "386407#0",
"text": "เอ็กซอร์ซิสต์พันธุ์ปีศาจ () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ คะซุเอะ คะโต โดยเริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารจัมป์สแควร์ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ต่อมาได้รับการดัดแปลงบทเป็นอนิเมะ ซึ่งในประเทศไทย ถือลิขสิทธิ์ที่โดย เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์\nในโลกที่การดำรงอยู่ของปีศาจเป็นเรื่องปกติ โอคุมูระ ริน และ โอคุมูระ ยูคิโอะ ทั้งสองเป็นพี่น้องที่ถูกเลี้ยงดูมาจากบาทหลวงฟุจิโมโตะ ซึ่งเป็นพ่อบุญธรรมของทั้งสองคน ทั้งสองคนเป็นบุตรของซาตาน จอมมารแห่งขุมนรก ทำให้มีพลังปีศาจอยู่ในตัว โดยที่รินคนพี่ มีเปลวไฟสีฟ้าสัญลักษณ์ของบุตรแห่งซาตานคลุมตัวอยู่ตลอด และมีพลังในการทำลายล้างที่รุนแรง ขณะที่ยูคิโอะคนน้องไม่มีเนื่องจากร่างกายอ่อนแอ เพื่อปกปิดศาสนจักรถึงตัวตนของเด็กทั้งสอง บาทหลวงฟุจิโมโตะจึงทำการผนึกเปลวไฟของรินไว้ในดาบสยบมาร ยามใดก็ตามที่ดาบถูกดึงออกจากฝัก ผนึกก็จะคลายออก",
"title": "เอ็กซอร์ซิสต์พันธุ์ปีศาจ"
},
{
"docid": "253999#0",
"text": "ศึกศิลามหัศจรรย์ อัลบาทรอส () () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวต่อสู้, แฟนตาซีและสงคราม แต่งเรื่องและวาดภาพโดย วากากิ ทามิกิ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหนุ่มผู้เข้าไปพัวพันกับเหล่า \"โมโนไบล์\" สิ่งมีชีวิตจากต่างโลกผู้เผาผลาญ \"แร่ธาตุ\" เป็นพลังงาน และกำลังต่อสู้กันเป็นสงครามเพื่อแย่งชิง \"ไอโซโทปแห่งศิลาศักดิ์สิทธ์\" คอนเซปต์ของตัวละครจะอิงไปตามธาตุต่างๆในตารางธาตุ",
"title": "ศึกศิลามหัศจรรย์ อัลบาทรอส"
},
{
"docid": "222066#0",
"text": "พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์แซด (; ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะ ซึ่งได้ต้นแบบมากจากเรื่อง พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ ที่ โตเอแอนิเมชัน ได้ซื้อลิขสิทธิ์จากการ์ตูนเน็ตเวิร์ค โดยปรับเปลี่ยนโครงร่างจากต้นฉบับและปรับตัวละครแนวสไตล์ญี่ปุ่น ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ออกอากาศทั้งหมด 52 ตอนโดยในแต่ละวันจะถูกแบ่งเป็น 2 ตอน แต่ภายหลังปรับเป็นตอนเดียวจบ",
"title": "พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์แซด"
},
{
"docid": "183754#0",
"text": "ครัชเกียร์ เทอร์โบ หรือในชื่อญี่ปุ่น เงคิโตะ! ครัชเกียร์ เทอร์โบ () เป็นภาพยนตร์อนิเมะที่ผลิตโดยซันไรส์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2001 ถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮีและงาโงยะ ทีวี ในประเทศญี่ปุ่น รวมจำนวนทั้งหมด 68 ตอน และมีตอนพิเศษทางภาพยนตร์อีก 1 ตอน ส่วนประเทศไทยนั้นเคยออกฉายช่อง 9 อ.ส.ม.ท กลางปี พ.ศ. 2546 และกลับมาฉายอีกครั้งที่ช่องเวิร์คพอยท์ในปี พ.ศ. 2559",
"title": "ครัชเกียร์ เทอร์โบ"
},
{
"docid": "36332#0",
"text": "แชโดว์ออฟเดอะโคลอสซัส (; ; , Wangda yu Juxiang; ซึ่งแปลได้ว่า \"แวนเดอร์กับมหายักษา\") เป็นวิดีโอเกมจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ผลิตโดยบริษัท โซนี่ คอมพิวเตอร์ เอนเตอร์เทนเมนต์ อินเตอร์เนชั่นนัล โปรดัคชั่น สตูดิโอ 1 หรือที่รู้จักกันในชื่อที่ว่า ทีม ไอโค ออกขายที่สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่ยุโรปเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และสำหรับประเทศไทยเริ่มออกขายตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. 2548 เช่นเดียวกับทางสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น",
"title": "แชโดว์ออฟเดอะโคลอสซัส"
}
] |
3575 | ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติที่ใด ? | [
{
"docid": "19590#2",
"text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 เวลา 23.28 น. ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัตพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ \"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี\" โดยพระนามของพระองค์มาจากพระนามและนามของพระประยูรญาติหลายพระองค์ อันได้แก่ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงตรัสเรียกว่า \"เป้\" อันเป็นคำลดรูปของคำว่า \"ลาปูเป\" () ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ตุ๊กตา ส่วนพระราชวงศ์และบุคคลอื่น ๆ จะเรียกพระองค์ว่า \"ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่\" ส่วนพระอนุชาและพระขนิษฐาจะเรียกพระองค์ว่า \"พี่หญิง\"",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
}
] | [
{
"docid": "19590#0",
"text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน 2494) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระเชษฐภคินีพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
},
{
"docid": "19590#15",
"text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระปรีชาในกีฬาเรือใบ และเคยทรงลงแข่งกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อแปรพระราชฐานยังพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ ทรงเคยเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในฐานะนักกีฬาทีมชาติ ที่งานกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และทรงทำคะแนนรวมได้เป็นที่ 1 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงร่วมการแข่งขันเช่นกัน จึงได้รับพระราชทานเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
},
{
"docid": "19590#20",
"text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาทรงถ่ายรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับพระองค์เป็นประจำ ตามคำกราบทูลเชิญคณะบุคคลต่าง ๆ เพื่อออกเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะรายการที่พระองค์ทรงออกรายการทางโทรทัศน์อยู่เป็นประจำเป็นรายการที่มีความรู้และสาระต่าง ๆ ที่ประชาชนได้รับชมอยู่จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 รายการ มีดังนี้เมื่อ พ.ศ. 2551 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงถ่ายภาพยนตร์เรื่อง \"หนึ่งใจเดียวกัน\" เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในพระองค์ จากบทพระนิพนธ์ \"เรื่องสั้นที่...ฉันคิด\" ทำรายได้ 50 ล้านบาท ต่อมา ยังทรงแสดงในภาพยนตร์เรื่อง \"มายเบสต์บอดีการ์ด\" และ \"พระนางจามเทวี\" ภาพยนตร์ทั้งสามได้เข้าฉายในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ โดยเสด็จมาทรงร่วมในพิธีเมื่อ พ.ศ. 2551, 2552 และ 2553",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
},
{
"docid": "19590#6",
"text": "เมื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น บางปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จมาเยี่ยมบ้าง และพระองค์เสด็จนิวัตประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งได้ทรงร่วมงานพระราชพิธีต่าง ๆ พร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดาดังนี้เมื่อทรงหย่ากับปีเตอร์ แลด เจนเซน เมื่อ พ.ศ. 2541 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จนิวัตประเทศไทยและประทับอยู่เป็นการถาวรเมื่อ พ.ศ. 2544",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
},
{
"docid": "175119#0",
"text": "มูลนิธิคุณพุ่ม ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ด้วยพระอัจฉริยภาพจากการทรงงานพัฒนาสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของพสกนิกรชาวไทยตามรอยเบื้อง พระยุคลบาท ควบคู่ไปกับพระปรีชาสามารถ และความเข้าใจในฐานะพระมารดาที่ดูแลเอาใจใส่ และพัฒนาการเรียนรู้ของ พระโอรสของอย่างใกล้ชิด ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ผู้พระราชทานกำเนิดมูลนิธิคุณพุ่ม ทรงเล็ง เห็นว่า บุคคลที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ หรือบุคคลออทิสติก ยังไม่ได้รับโอกาสในด้านต่างๆอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม อีกทั้งยังทรงห่วงใยเด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และยากไร้ทางสังคม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์ ส่วนพระองค์ เป็นเงินทุนแรกเริ่มสำหรับจดทะเบียน ก่อตั้งเป็นมูลนิธิคุณพุ่ม ทะเบียนเลขที่ กท 1410 เมื่อวันที 14 มกราคม 2548 เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงคุณพุ่ม พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยทรงดำรง ตำแหน่งองค์ประธานกรรมการมูลนิธิ และได้รับการรับรอง เป็นองค์การกุศลสาธารณประโยชน์ ลำดับที่ 573 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548",
"title": "มูลนิธิคุณพุ่ม"
},
{
"docid": "19590#13",
"text": "ต่อมา รัฐบาลสหรัฐแม็กซิโกได้กราบทูลเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในงานประชุมเยาวชนโลก (World Youth Conference) ประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก โดยเม็กซิโกให้ความสนใจโครงการทูบีนัมเบอร์วันและให้การยกย่องว่า เป็นต้นแบบในการป้องกันเยาวชนติดยาเสพติดเป็นผลสำเร็จ และต่างชื่นชมในความเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
},
{
"docid": "19590#11",
"text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระดำริให้มีและทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการ \"TO BE NUMBER ONE\" เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน \"ทุกคนเป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งยาเสพติด\" มุ่งหมายให้เยาชนใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก นอกจากนี้ ยังมี \"ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น\" ซึ่งให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของเยาวชน เช่น ปัญหาครอบครัว และปัญหายาเสพติด มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่มากถึง 31 ล้านคน หรือครึ่งประเทศ",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
},
{
"docid": "278135#4",
"text": "ปี พ.ศ. 2555 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานในพระราชดำริของ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ภายในกิจการพระราชดำริ \"มูลนิธิ มิราเคิล ออฟไลฟ์ (Miracle of Life)\" โดยมีความเป็นมา กล่าวคือ อันเนื่องมาจากพระอัจฉริยะภาพที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาทางด้านคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชนและประชาชนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนโอกาสในด้านต่างๆ ที่จะพัฒนาความสามารถเหล่านั้นให้สูงขึ้นและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมไทย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จึงทรงมีพระดำริถึงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้กับเยาวชนและประชาชนให้ได้รับโอกาสในการดำรงชีวิต ได้มีพื้นที่ในการแสดงออกตามความสามารถและตามความสนใจได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม โดยคุณเอกชัยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการทำนุบำรุงวัฒนธรรมชาติ",
"title": "เอกชัย ศรีวิชัย"
},
{
"docid": "19590#4",
"text": "เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน ในพระบรมหาราชวังตามราชประเพณี และเสด็จประทับอยู่สหรัฐอเมริกา ทั้งทรงเปลี่ยนพระนามเป็น จูลี เจนเซน () ทั้งสองมีโอรส-ธิดา 3 คน ทั้งหมดเกิดในสหรัฐอเมริกา ได้แก่",
"title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
}
] |
3579 | คาซูโร อิโนอุเอะ เกิดที่ไหน ? | [
{
"docid": "385096#0",
"text": "คาซูโตะ อิโอกะ () เป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1989 ที่เมืองซาไก จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โตเกียว",
"title": "คาซูโตะ อิโอกะ"
}
] | [
{
"docid": "32552#0",
"text": "คิกุโกะ อิโนะอุเอะ () เป็นนักพากย์หญิงชาวญี่ปุ่น เริ่มเข้าสู่วงการนักพากย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยผลงานเรื่องแรกเป็นบทตัวประกอบเล็กๆในเรื่อง ฮาย อักโกะเดสึ ต่อมาก็ได้แจ้งเกิดจากบทของ เท็นโด้ คาซึมิ พี่สาวที่แสนอ่อนโยนในเรื่อง รันม่า ½ และจากบทนี้นี่เองที่ทำให้เธอมีชื่อเล่นในวงการว่า \"โอเน่จัง\" (พี่สาว) จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 อิโนอุเอะก็ได้รับบทเป็น เบลดันดี้ ในเรื่อง โอ้! เทพธิดา ส่งผลให้ชื่อเสียงของเธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ถึงแม้อิโนอุเอะจะได้พากย์แต่บทสาวหวานๆ สไตล์อ่อนโยนเสียมาก แต่บางครั้งก็ได้พากย์เสียงสาวสไตล์โหดดิบ เช่น แพนเธอร์ ใน เซเบอร์มาริโอเน็ต J และ โลเบเลีย ใน ซากุระไทเซ็น 3 ด้วยเช่นกัน สัญลักษณ์ประจำตัวของเธอคือ ปลาพระอาทิตย์สีแดง",
"title": "คิกุโกะ อิโนะอุเอะ"
},
{
"docid": "645224#1",
"text": "อิโนอูเอะ เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1993 ที่เมืองซามะ จังหวัดคานางาวะ เริ่มต้นการชกมวยจากมวยสากลสมัครเล่น ผ่านการชกมวยสากลสมัครเล่นมาอย่างโชกโชน โดยได้เหรียญทองจากรายการเพรสซิเดนท์คัพ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และตกรอบ 3 ในรายการมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก 2011 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยรวมสถิติการชกมวยสากลสมัครเล่นทั้งหมด ชนะ 75 ครั้ง แพ้ 6 ครั้ง (ชนะน็อกหรืออาร์เอสซี 48 ครั้ง",
"title": "นาโอยะ อิโนอูเอะ"
},
{
"docid": "889996#0",
"text": "เคียวโกะ อิโนอูเอะ (; ; 22 เมษายน ค.ศ. 1969 — ) เป็นนักมวยปล้ำอาชีพหญิงชาวญี่ปุ่น เธอเป็นแชมป์รายการดับเบิลยูดับเบิลยูดับเบิลยูเอ เวิลด์ซิงเกิลแชมเปียนชิพสามสมัย และเป็นผู้หญิงคนแรกที่ชนะการแข่งรายการของผู้ชายในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้ก่อตั้่ง\"โจชิ\"โปรโมชัน นีโอเจแปนเลดีส์โปรเวรสลิง และภายหลังออกจากงานของนีโอในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 อิโนะอุเอะก็ได้ก่อตั้งเวิลด์วูแมนโปร-เวรสลิงไดอานาโปรโมชันในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 ทั้งนี้ เคียวโกะ อิโนอูเอะ ได้รับการฝึกสอนจากจากัวร์ โยโกตะ ซึ่งเป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น",
"title": "เคียวโกะ อิโนอูเอะ"
},
{
"docid": "290537#2",
"text": "โอเอะผู้เกิดที่หมู่บ้านบนเกาะชิโกะกุในประเทศญี่ปุ่นเป็นลูกคนหนึ่งในบรรดาพี่น้องเจ็ดคน บิดาเสียชีวิตเมื่อโอเอะอายุได้เก้าขวบ พออายุได้สิบแปดปีโอเอะก็เริ่มศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยโตเกียวโดยเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับงานเขียนของฌอง ปอล ซาร์ตร์ โอเอะเริ่มมีงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาซึ่งเป็นงานที่ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากงานเขียนร่วมสมัยของฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา",
"title": "เค็นซะบุโร โอเอะ"
},
{
"docid": "342457#0",
"text": "โก อิโนะอุเอะ () เป็นนักพากย์ชายชาวญี่ปุ่น บ้านเกิดอยู่ที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เกิดวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1978 กรุ๊ปเลือดเอ",
"title": "โก อิโนะอุเอะ"
},
{
"docid": "23130#0",
"text": "ทาเกฮิโกะ อิโนอูเอะ () เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2510 ที่จังหวัดคาโงชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เขาเริ่มเป็นนักวาดการ์ตูนและได้รับรางวัล \"Tezuka Prize\" จากผลงานเรื่อง \"Kaede Purple\" ในปี 1988 จากนั้นในปี 1989 \"คาเมเลียนเจล\" ผลงานเรื่องยาวเรื่องแรกซึ่งเป็นแนวสืบสวนเบาสมองของเขาก็ได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นรายสัปดาห์ ทว่าตีพิมพ์ได้เพียง 12 สัปดาห์ก็ถูกตัดจบ",
"title": "ทาเกฮิโกะ อิโนอูเอะ"
},
{
"docid": "707295#0",
"text": "มาโอะ อิโนอูเอะ () (เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2530) เธอเดบิวต์เป็นไอดอล U-15 ในปี 2542 เธอเป็นที่รู้จักในบทอากาเนะ อิมาอิ () จาก Kid war(キッズ・ウォー Kizzu Uo) และในบทสึกูชิ มากิโนะ () นางเอกซีรีส์เรื่องรักใสใสหัวใจเกินร้อย (Hana yori dango)",
"title": "มาโอะ อิโนอูเอะ"
},
{
"docid": "368369#0",
"text": "นะโอะเอะ คะเนะซึกุ () (พ.ศ. 2103-พ.ศ. 2163) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 เป็นลูกชายคนโตของฮิงุจิ คาเนะโตะโยะ ตระกูลของคะเนะซึกุเป็นข้ารับ\nใช้ของ ไดเมียวอุเอะสึงิ ถึงสองรุ่นด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้ถูกใช้ตั้งเป็นชื่อของศาลเจ้า \"โยมาชิโระ โน คามิ\"(山城守) หรือตอนเด็กเขาใช้ชื่อ ฮิงุจิ คะเนะซึกุ\nคาเนะซึกุถวายการรับใช้ครั้งแรกเป็น โคโช(小姓) ให้กับท่าน Uesugi Kenshin หลังจากท่านเคนชินเสียชีวิต เขาได้เข้าเป็นข้ารับใช้ของบุตรบุญธรรมของท่านเคนชิน คาเกะคัทสุ Kagekatsu น้องชายของคาเนะซึกุ โอคุนิ ซาเนะฮิโระ เป็นทนายความชื่อดังของอุเอะสึงิ",
"title": "นะโอะเอะ คะเนะสึงุ"
},
{
"docid": "669931#0",
"text": "โคโตเอะ อิโนอูเอะ (; ; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 – ) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวญี่ปุ่น ผู้ทำหน้าที่ร่วมสังกัดเจที มาร์เวลลัส",
"title": "โคโตเอะ อิโนอูเอะ"
},
{
"docid": "896347#0",
"text": "คูซูโมโตะ อิเนะ (, 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1827 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1903) เดิมมีชื่อว่าชีโมโตะ อิเนะ () เป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่น เป็นบุตรีของคูซูโมโตะ ทากิ หญิงบริการจากเมืองนางาซากิ กับฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ แพทย์ชาวเยอรมันซึ่งทำงานที่เดจิมะ เกาะสำหรับชาวต่างชาติในช่วงที่ญี่ปุ่นปิดประเทศ อิเนะยังเป็นที่รู้จักในชื่อโออิเนะ และต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น อิโตกุ () ในญี่ปุ่นมักเรียกเธอว่า โอรันดะ โอเนะ (\"Dutch O-Ine\") เธอยังเป็นแพทย์หญิงแผนตะวันตกคนแรกของญี่ปุ่น",
"title": "คูซูโมโตะ อิเนะ"
}
] |
3582 | ซิตคอม เรื่องเป็นต่อ ยุติการออกอากาศที่ช่อง3 เมื่อไหร่? | [
{
"docid": "218835#0",
"text": "รายชื่อตอนในเป็นต่อ ละครแนวซิตคอม (Situation Comedy) ออกอากาศครั้งแรกทาง ช่อง 3 ทุกวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ 23:15 น. - 00:15 น. (ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2547 - 9 กุมภาพันธ์ 2555) และกลับมาฉายอีกครั้งทางช่อง GMM ONE โดยมีเนื้อเรื่องต่อจากตอนเดิมในชื่อเรื่อง เป็นต่อ ขั้นเทพ\nออกอากาศวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น. - 23.00 น. รีรันทุกวันศุกร์ เวลา 09.00 น. , 16.00 น. และทุกวันเสาร์ เวลา 11.00 น. (ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2555 - 13 มิถุนายน 2556) และกลับมาออกอากาศตอนแรกของซีซั่นใหม่ทาง ช่องวัน 31 ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน",
"title": "รายชื่อตอนในเป็นต่อ"
},
{
"docid": "45027#1",
"text": "ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ออกอากาศตอนสุดท้ายทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีซิตคอมเรื่องใหม่ชื่อ \"เป็นข่าว\" มาออกอากาศแทน หลังจากที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ออกกล่องสัญญาณดาวเทียม \"จีเอ็มเอ็มแซต\" มาขายในช่วงฟุตบอลยูโร มีข่าวออกมาว่าซิตคอมเป็นต่อจะกลับมาฉายอีกครั้งโดยมีเนื้อเรื่องต่อจากตอนเดิมในชื่อเรื่อง \"เป็นต่อ ขั้นเทพ\" เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทางช่องจีเอ็มเอ็มวัน (ปัจจุบันคือช่องวัน 31) ออกอากาศครั้งสุดท้ายวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556",
"title": "เป็นต่อ"
}
] | [
{
"docid": "916645#0",
"text": "ด้านล่างนี้คือรายชื่อตอนของซิตคอม บ้านสราญแลนด์ ที่สร้างโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ โดยเป็นเรื่องราวความอลวนของ 4 ครอบครัวพร้อมก๊วนเพื่อนบ้านตัวจี๊ดที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ชื่อว่า “บ้านสราญแลนด์” ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน เวลา 19.00 - 19.55 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา และตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2561 - 27 กันยายน 2561 ซิทคอมบ้านสราญแลนด์เรื่องที่จะออกอากาศเป็นตอนอวสาน คือ ศึกรักข้ามรั้ว สุภาพบุรุษสุดซอย ฤดูกาลที่ 1 ชะนีหนีคาน และรักล้นๆ คนเต็มบ้าน ส่วนสุภาพบุรุษสุดซอย ฤดูกาลที่ 2 จะย้ายวันและเวลาใหม่เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 -18.00 น. เริ่ม 7 ตุลาคม 2561",
"title": "รายชื่อตอนในบ้านสราญแลนด์"
},
{
"docid": "293812#0",
"text": "หกตกไม่แตก เป็นละครซิตคอม ทางช่อง 7ที่ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 จนถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สร้างโดยค่าย เอ็กแซ็กท์ เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ของวงการซิตคอมไทย ที่นำวงยูเอชที มาเล่นละครเรื่องนี้ ซึ่งในแต่ละตอนเพลงไตเติลจบมักจะมีรูปแบบไม่ซ้ำกัน ถือว่าเป็นมิติใหม่แห่งวงการซิตคอมไทย",
"title": "หกตกไม่แตก"
},
{
"docid": "146298#1",
"text": "ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 ซิตคอม ผู้กองเจ้าเสน่ห์ ได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องวัน หลังจากสิ้นสุดการออกอากาศตามระยะเวลาที่ขอต่อไว้เพิ่มเติมที่ ช่อง 3 โดยจะเริ่มออกอากาศทางช่องวัน ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น.- 12.00 น. เริ่มออกอากาศวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้กองเจ้าเสน่ห์ ได้ย้ายเวลามาออกอากาศ เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 11.00 น. เช่นเดียวกับ เฮง เฮง เฮง\n=เนื้อเรื่องย่อ=\nเรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อตำรวจหนุ่ม ผู้กองมานะ ย้ายที่ปีละครั้ง มาประจำการอยู่ที่สน.สำราญโรจน์ในวันแรก ทำคดี 2 คดีจนเป็นที่รู้จัก คือ ช่วยอาวุธกับจับป้าใหม่ ได้พบกับ ผู้กองเข็ม ตำรวจหญิงที่เป็นเพื่อนสมัยเด็ก โดนล้อเรื่องอกแบนประจำ ร่วมด้วยจ่าดำเกิง ลุงตำรวจจราจร ที่ในอดีตเมียหนีไปอยู่กับชู้ฝรั่ง จึงลูกสาวที่คอยแรดไปวันๆ แต่กลับมีความสุขที่ลูกสาวขึ้นคานกับขายข้าวแกง,หมวดหมูตำรวจลูกแหง่ จอมซุ่มซ่าม,ผู้กองสมาร์ท ลูกทรพีของผีพนัน คู่ปรับของผู้กองมานะ ใช้พลังอัปมงคลจนเรื่องอลหม่านกว่าเดิม, 2 จ่าคู่หูคู่ฮา ยอดกับสิงห์",
"title": "ผู้กองเจ้าเสน่ห์"
},
{
"docid": "425866#0",
"text": "เป็นข่าว เป็นละครแนวซีรีส์ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ 23:15 น. - 00:15 น. เริ่มออกอากาศ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 แต่เนื่องจากกระแสตอบรับจากผู้ชมไม่ดีเท่าที่ต้องการ ซึ่งซิตคอมซีรีส์เรื่องเป็นข่าวจึงกำลังจะหลุดจากผังรายการช่อง 3 ภายในสิ้นปีนี้ ซิตคอมเรื่องเป็นข่าวได้ออกอากาศมาถึงตอนสุดท้ายชื่อว่า \"อย่าหยุดฝัน\" ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นการปิดซิตคอมเรื่องเป็นข่าว\nเป็นข่าว เป็นซีรีส์ของคนช่างฝัน ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวสุดมันส์ของคนวงการบันเทิง โดยเล่าผ่าน \"บริษัทดูแลดาว\" บริษัทคนปั้นฝันที่เกิดขึ้นจากเมื่อ 10 กว่าปีก่อน โอม (แท่ง ศักดิ์สิทธิ์) ชายหนุ่มผู้มีความฝันอยากเข้าวงการบันเทิง แต่ความสามารถทางการแสดงไม่ถึง จึงต้องทิ้งความฝัน และเปลี่ยนมาทำหน้าที่ผลักดันปั้นฝันคนที่อยากเข้าวงการบันเทิงให้เป็นจริง โดยชวน พลอย (พิมพ์ พิมพ์มาดา) รุ่นน้องที่สนิทมาเปิดบริษัทดูแลดาว ซึ่งมีคนเบื้องหลังหลากหลายความคิด ไม่ว่าจะเป็น เฟี๊ยต (เจมส์ เรืองศักดิ์) หนุ่มหล่อนักขายมือทองจอมกะล่อน, อั้น (ฟลุค ศิครินทร์) แมวมองสุดซ่าส์หลานชายของโอม, นุ้ย (อุ้ม ขจรกิติ์) ฝ่ายแคสติ้งสุดฮา และลุงแดง (ถนอม นวลอนันต์) พ่อบ้านประจำบริษัท ที่มีประวัติเป็นดาราตกรุ่นยุคเก่าแต่เก๋าวงการ\nนอกจากนี้ยังมีเหล่าคนเบื้องหน้าอย่าง เมย์ (แป้ง อรจิรา) นางฟ้าของวงการ แต่เป็นนางมารร้ายในชีวิตจริง, แยม (เกรซ เดอะสตาร์) นางร้ายหน้าใหม่ที่พยายามทำทุกทางเพื่อให้ได้เป็นนางเอก หรือ ท๊อป (นิว ชัยพล) พระเอกดาวรุ่งพุ่งแรง คาสโนว่าสุดแสบ ตลอดจนคนนอกวงการจอมป่วนทั้ง ยอร์ช (เจี๊ยบ เชิญยิ้ม) เพื่อนสนิทของโอมที่แวะเวียนมาหาประจำ รวมไปถึง เจ๊เพ็ญ (เหมี่ยว ปวันรัตน์) เจ้าของร้านอาหารผู้บ้าดาราเป็นชีวิตจิตใจเพลงเปิด",
"title": "เป็นข่าว"
},
{
"docid": "286019#5",
"text": "ทั้งนี้ ซิทคอม เนื้อคู่ประตูถัดไป ซีซั่นใหม่ จะออกอากาศให้ได้ชมกันทางช่อง GTH ON AIR กล่อง GMMZ ช่อง 11/ 409 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ภายใต้ชื่อ เนื้อคู่ The Final Answer\nเรื่องราวระหว่าง 6 เดือนผ่านมา หลังเหตุการณ์ระทึกขวัญ โจ (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) ถูกยิงจนกลายเป็นเจ้าชายนิทรา นอนอยู่บนเตียงโดยมีเพียงเครื่องช่วยหายใจเท่านั้น ทำเอา ขวัญใจ (พอลล่า เทเลอร์) รู้สึกผิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก แม้จะคอยดูแลไม่ห่าง แต่ก็หมดหวังที่โจจะฟื้นขึ้นมา บรรดาเพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็น ธิดา (โอปอล์-ปาณิสรา พิมพ์ปรุ), คุณวี (โบ-ธนากร ชินกูล) และคู่แฝด ต่อ-ต้นข้าว (เอก มณีประเสิร์ฐสิทธิ์-เอ๋ มณีประเสิร์ฐสิทธิ์) ต่างแวะเวียนมาดูแลประคบประหงมคนป่วยอย่างใกล้ชิด เมื่ออาการดีขึ้นโจถูกจับนั่งรถเข็น แล้วเพื่อนๆก็พาโจไปตามที่ต่างๆ เพื่อให้โจได้อยู่ใกล้ชิดกับทุกคน ทั้งๆที่โจยังคงหลับอยู่อย่างนั้น ไม่สามารถรับรู้เรื่องราวใดๆทั้งสิ้น ตั้งแต่เกิดเรื่องที่โจถูกยิง แต่ละคนก็ไปเจอเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ล้วนมีมรสุมชีวิตที่ซัดเข้ามาคนละแบบ แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นทุกคนก็ยังห่วงใยและรักโจไม่ยอมเปลี่ยนแปลง",
"title": "เนื้อคู่อยากรู้ว่าใคร"
},
{
"docid": "644193#0",
"text": "ยีนเด่น เป็นละครโทรทัศน์แนวซิตคอมออกอากาศทางช่องวัน ผลิตโดยซีเนริโอ กำกับการแสดงโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล เดิมมีความยาวตอนละ 30 นาที และออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 19:00 น. – 19:30 น. ออกอากาศตอนแรกวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และวันเสาร์ เวลา 19.00 - 19.30 น. ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เนื่องจากกระแสตอบรับที่ดี จึงได้เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 45 นาที และย้ายมาออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18:30 - 19:15 น. ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558\nยีนเด่นหลุดจากผังของช่องวัน โดยออกอากาศตอนสุดท้ายในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงแม้จะมีกระแสตอบรับและคำวิจารณ์ที่ดีในโลกออนไลน์ก็ตาม แต่เนื่องด้วยเหตุผลเรื่องเรตติ้งและต้นทุนการผลิต ทำให้ยีนเด่นมีการออกอากาศรวมทั้งหมดเพียง 41 ตอน และมีตอนพิเศษ 1 ตอน คือ ยีนเด่น Holiday โดยทางช่องจะนำละครซิตคอมเรื่องมือปราบกุ๊กกุ๊กกู๋มาฉายแทน",
"title": "ยีนเด่น (ละครซิตคอม)"
},
{
"docid": "180481#0",
"text": "รักต้องซ่อม เป็นละครซิตคอม ผลิตโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 14.00 น. ต่อมาย้ายเวลาออกอากาศเป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00 น. ทางช่อง 5 ออกอากาศตอนแรก วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ต่อจากละคร โคกคูนตระกูลไข่ และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ละครก็หลุดออกจากผังรายการของสถานี พร้อมรายการอื่นในเครืออีก 4 รายการเนื่องจากความผิดพลาดในการสื่อสารและประสานงานกันของบริษัทกับสถานี โดยตอนสุดท้ายที่ออกอากาศคือตอนพิเศษ \"รักวุ่นวายของนายต้องซ่อม\" ออกอากาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551\nปี 1",
"title": "รักต้องซ่อม"
},
{
"docid": "541084#0",
"text": "ซิตคอมในประเทศไทย กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2519 นักแสดงชื่อดังยุคนั้นคือ ภัทราวดี มีชูธน วางมือจากงานภาพยนตร์มาจับงานผู้จัดละครโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 นอกจากริเริ่มการแสดงละครโดยไม่มีการบอกบท ยังจัดละครประเภทซิตคอมตอนสั้นๆ ออกอากาศต่อเนื่อง ได้รับความนิยมสูง กวาดคะแนนถล่มทลายก่ายกองคือ \"ตุ๊กตาเสียกบาล\" ที่ภัทราวดีรับบทนำเป็น เจี๊ยบ สาวปัญญาอ่อน เพราะความที่เป็นซิตคอมเรื่องแรกและความแตกต่างจากละครทั่ว ๆ ไปทำให้ซิตคอมเรื่องต่อ ๆ มา ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ละครภัทราวดี” โฆษณาหลั่งไหลเข้าถึงตอนละ 18 นาที ทำให้เวลาละครเหลือเพียง 12 นาที นับแต่นั้นจึงต้องมีการกำหนดเวลาโฆษณาเหลือ 5 นาทีต่อรายการความยาว 30 นาที",
"title": "รายชื่อซิตคอมไทย"
}
] |
3593 | กัมพูชาตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "70992#21",
"text": "กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยามยามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในเวียดนาม โดยปรับปรุงการเก็บภาษี ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวกัมพูชา และยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส และเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม",
"title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา"
},
{
"docid": "1937#25",
"text": "กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยามยามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในเวียดนาม โดยปรับปรุงการเก็บภาษี ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวกัมพูชา และยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส และเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "374237#5",
"text": "การปกครองกัมพูชาในช่วงแรกของฝรั่งเศส (พ.ศ. 2406 - 2427) ฝรั่งเศสไม่ได้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในกัมพูชามากนัก บทบาทในช่วงนี้ของฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้สถานะของกษัตริย์มั่นคงขึ้น เช่นการปราบกบฏสวาระหว่างพ.ศ. 2408 - 2410 และการปราบกบฏชาวนาที่นำโดยพูกอมโบเมื่อ พ.ศ. 2410 ในช่วงนี้ ฝรั่งเศสควบคุมด้านการทหาร การต่างประเทศ และการคลังเป็นหลัก นอกจากนั้นได้แต่งตั้งให้พระสีสุวัตถ์ที่เคยมีข้อขัดแย้งกับพระนโรดมก่อนขึ้นครองราชย์ให้เป็นอุปราชของกัมพูชา",
"title": "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "374237#11",
"text": "ไม่นานหลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสสร้างความฝันว่ากัมพูชาจะเป็น\"สิงคโปร์แห่งอินโดจีน\" แต่สภาพเศรษฐกิจของกัมพูชาก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิมมากนัก ฝรั่งเศสเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในสภาพเศรษฐกิจระดับหมู่บ้านของกัมพูชา ชาวกัมพูชากลายเป็นกลุ่มที่เสียภาษีมากที่สุดในอินโดจีน การปฏิรูปภาษีทำให้ชาวนากัมพูชากว่าหมื่นคนเข้ามายังพนมเปญเพื่องร้องเรียนต่อกษัตริย์ให้ลดภาษีเมื่อ พ.ศ. 2458 - 2459 แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ใน พ.ศ. 2468 ชาวกัมพูชาได้ฆ่าเจ้าหน้าที่เก็บภาษีของฝรั่งเศส",
"title": "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"
}
] | [
{
"docid": "374237#1",
"text": "การติดต่อระหว่างฝรั่งเศสและกัมพูชาครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อคณะทูตของมงติญี กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เข้ามาทำสนธิสัญญากับไทยแบบเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริงของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2399 เมื่อเดินทางออกจากไทย มงติญีได้เดินทางต่อไปยังกัมพูชา แต่พระองค์ด้วงกษัตริย์ในกัมพูชาขณะนั้นตอบว่ากัมพูชาเป็นเมืองน้อยไม่อาจทำสัญญาได้ตามลำพัง ต้องปรึกษาสยามก่อน คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ของเวียดนาม",
"title": "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "765205#7",
"text": "พุทธศตวรรษที่ 24 ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดจีน และใน พ.ศ. 2410 กัมพูชาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้อิสรภาพคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชา มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ มีกษัตริย์ครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2483 พระนามว่า พระเจ้านโรดมสีหนุ พระเจ้านโรดมสีหนุสละราชสมบัติให้พระเจ้านโรดมสุรามฤตพระบิดาขึ้นครองราชแทน พระองค์มาตั้งพรรคการเมืองชื่อ สังคมราษฎร์นิยม และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต จึงทรงเป็นประมุขรัฐโดยไม่ได้ครองราชย์ พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงคิดตั้งทฤษฎี พุทธสังคมนิยม โดยการปกครองที่ยึดหลักพุทธธรรมเป็นหลักในการบริหารประเทศ ในช่วงนี้ประเทศแถบเอเซียอาคเนย์กำลังอยู่ในภาวะการต่อสู้ ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ กับลัทธิประชาธิปไตย",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "22707#15",
"text": "ในปี 1886 เกาะมอเอลี ก็ตกอยู่ใต้อารักขาจากฝรั่งเศสโดยการยินยอมจากราชินีซาลิมา มาชิมบ้า และในปีเดียวกัน หลังจากที่ได้รวบรวมเกาะกร็องด์ กอมอร์เข้าไว้ด้วยกัน สุลต่านซะอีด อะลีก็ได้ยินยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองต่อ แต่พระองค์ก็ยังมีอำนาจต่อไปจนถึงปี 1909 ซึ่งในปีนั้นพระองค์ก็ได้ทรงสละราชสมบัติเพื่อให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาวางกฎอย่างเต็มที่ เกาะคอโมโรสตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปี 1912 และตกอยู่ใต้การปกครองของผู้ว่าราชการอาณานิคมโพ้นทะเลของฝรั่งเศสแห่งมาดากัสการ์ในปี ค.ศ.1914",
"title": "ประเทศคอโมโรส"
},
{
"docid": "70992#0",
"text": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา เริ่มตั้งแต่ยุคของอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ พัฒนามาสู่ยุคเมืองพระนคร ซึ่งมีความยิ่งใหญ่จนสามารถสร้างนครวัด นครธม เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร จนกระทั่งพ่ายแพ้แก่อยุธยากลายเป็นรัฐบรรณาการของอยุธยา จนเมื่อฝรั่งเศสเข้ามามีอำนาจในอินโดจีน กัมพูชากลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลก กัมพูชาได้เป็นประเทศเอกราช แต่เกิดความสับสนวุ่นวายภายในประเทศเนื่องจากความขัดแย้งภายใน ประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขมรแดงอยู่ระยะหนึ่ง จนกองกำลังของเฮงสัมรินที่มีเวียดนามหนุนหลังเข้ามาขับไล่เขมรแดงออกไป และการเข้ามาไกล่เกลี่ยของสหประชาชาติ เพื่อยุติสงครามกลางเมือง",
"title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา"
},
{
"docid": "374237#6",
"text": "หลัง พ.ศ. 2426 ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ฝรั่งเศสเปลี่ยนนโยบายในการปกครองกัมพูชา เริ่มจาก พ.ศ. 2427 ข้าหลวงทอมสันเสนอให้มีการปฏิรูปในกัมพูชาครั้งใหญ่ ทั้งด้านการเก็บภาษี การตำรวจและการยกเลิกระบบไพร่ทาส แต่พระนโรดมไม่ให้ความร่วมมือ พยายามร้องเรียนไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส จนข้าหลวงทอมสันนำเรือปืนเข้ามาทอดสมอริมพระราชวังและข่มขู่ให้พระนโรดมลงพระนามาภิไธย พระนโรดมจึงทรงลงพระนามาภิไธยเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2427",
"title": "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "250203#4",
"text": "หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ได้เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเกาะนี้ ก่อนได้รับเอกราช ฌูล เบรวีเย (Jules Brévié) ข้าหลวงประจำอินโดจีนฝรั่งเศส ได้กำหนดเส้นเบรวีเยพื่อบ่งเขตการปกครองของเกาะในอ่าวไทย โดยด้านเหนือของเส้นให้อยู่ในเขตกัมพูชา ด้านใต้เป็นของโคชินจีน โดยเป็นการกำหนดเพื่อความสะดวกในการบริหารและการทำงานของตำรวจ แต่ไม่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดน ผลจากเส้นนี้ทำให้เกาะฟู้โกว๊กอยู่ในเขตโคชินจีน",
"title": "เกาะฟู้โกว๊ก"
},
{
"docid": "374237#2",
"text": "อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะทูตของมงติญีกลับไปไม่นาน พระองค์ด้วงได้ส่งหนังสือไปยังกงสุลฝรั่งเศสของสิงคโปร์เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองกัมพูชาให้พ้นจากอำนาจของสยามและเวียดนาม ต่อมา ใน พ.ศ. 2406 หลังจากที่ฝรั่งเศสดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนเวียดนาม พลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ได้เป็นข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อให้กัมพูชาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส ในสมัยนั้น กษัตริย์กัมพูชาคือพระนโรดม พระโอรสของพระองค์ด้วง ได้ตกลงใจทำสนธิสัญญาดังกล่าว",
"title": "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"
}
] |
3597 | เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสคือเมืองใด? | [
{
"docid": "5951#0",
"text": "ปารีส ( \"ปารี\") เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแม่น้ำแซน บริเวณตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส บนใจกลางแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (\"Île-de-France\" หรือ \"Région parisienne (RP) \") ภายในกรุงปารีสมีประชากรประมาณ 2,167,994 คน เขตเมืองปารีส (\"Unité urbaine\") ซึ่งมีพื้นที่ขยายเกินขอบเขตอำนาจการปกครองของเมืองนั้น มีประชากรกว่า 9.93 ล้านคน (พ.ศ. 2547) ในขณะที่เขตมหานครปารีส (Agglomération parisienne) มีประชากรเกือบ 12 ล้านคนและเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป",
"title": "ปารีส"
}
] | [
{
"docid": "302078#0",
"text": "แม็ส (, , ฟังเสียง) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรน เมืองหลักของจังหวัดโมแซลในประเทศฝรั่งเศส เมืองแม็สตั้งอยู่ทางตรงที่แม่น้ำโมแซลมาบรรจบกับแม่น้ำแซย์ และเป็นนครหลวงโบราณของอาณาจักรออสเตรเซียของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมเป็นโบราณสถานซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเมืองย้อนไปกว่า 3000 ปี รวมไปถึงศิลปกรรมในยุคที่ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมนีช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งปรากฏชัดบริเวณย่านจักรวรรดิ (Le quartier impérial) แม้ว่าในประวัติศาสตร์น็องซีจะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดยุคแห่งลอแรน แต่แม็สได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรนที่ตั้งขึ้นใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะความที่เคยเป็นเมืองหลวงของโลทาริงเกีย",
"title": "แม็ส"
},
{
"docid": "452770#0",
"text": "แซ็งเตเตียน (, ) เป็นเมืองทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของจังหวัดลัวร์ มีประชากรราว 178,530 คน (ค.ศ. 2007) เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสิ่งทอและการฟอกย้อม ผลิตเหล็กกล้าเจืออาวุธและกระสุน เป็นเมืองแรก ๆ ของฝรั่งเศสที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม",
"title": "แซ็งเตเตียน"
},
{
"docid": "271946#0",
"text": "น็องต์ (; ) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดลัวรัตล็องติกในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ราว 50 กิโลเมตรจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก น็องต์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่หกของฝรั่งเศส ขณะที่เป็นลำดับที่แปดเมื่อนับจำนวนประชากร 804,833 คนในปี ค.ศ. 2008",
"title": "น็องต์"
},
{
"docid": "521269#0",
"text": "นีม (, ) หรือ นีเมส () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดการ์ ในแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง ประเทศฝรั่งเศส เมืองนีมเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปี นับตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันเป็นต้นมา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักอีกแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสด้วย",
"title": "นีม"
},
{
"docid": "272073#0",
"text": "ลีล () หรือ ไรเซิล () เป็นเมืองหลวงของแคว้นนอร์-ปาดกาแล และเป็นเมืองบริหารของจังหวัดนอร์ในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ลีลเป็นเมืองเอกของนครลีล (Lille Métropole) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสี่ของเมืองมหานคร รองจากปารีส ลียง และมาร์แซย์ ลีลตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเดิล ติดกับพรมแดนประเทศเบลเยียม",
"title": "ลีล"
},
{
"docid": "756436#0",
"text": "อันเดอร์เลคต์ () หรือ อ็องแดร์แล็กต์ (ตามการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส) เป็นเทศบาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ติดต่อกับทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครบรัสเซลส์ ครอบคลุมพื้นที่ 17.74 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 115,000 คน ในแต่ละปีจะมีเทศกาลงานออกร้านซึ่งได้รับการรับรองจากพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 เป็นเทศกาลที่จัดการเฉลิมฉลองในหลายรูปแบบ รวมทั้งการแสดงของสัตว์ นิทรรศการกลางแจ้ง การแสดงดอกไม้ และขบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญกาย ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมือง นอกจากนี้อันเดอร์เลคต์ยังเป็นที่รู้จักจากแอร์.เอส.เซ. อันเดอร์เลคต์ ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันทั้งในระดับทวีปและประเทศ",
"title": "อันเดอร์เลคต์"
},
{
"docid": "272109#0",
"text": "แกลร์มง-แฟร็อง (, ฟังเสียง) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดปุย-เดอ-โดมในแคว้นโอแวร์ญในประเทศฝรั่งเศส เมืองแกลร์มง-แฟร็องตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนมาทางด้านใต้ของฝรั่งเศส นที่ราบลีมาญ (Limagne) ในมาซิฟซ็องทราล (Massif Central) ที่ล้อมรอบด้วยบริเวณอุตสาหกรรม แกลร์มง-แฟร็องมีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เดิมเป็นแนวภูเขาไฟที่เรียกว่าแนวภูเขาไฟเดอปุย (Chaîne des Puys) ปุย-เดอ-โดม (13 กิโลเมตรจากแกลร์มง-แฟร็อง) เป็นยอดที่สูงที่สูงที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของบริเวณนี้ ที่มองเห็นได้แต่ไกล",
"title": "แกลร์มง-แฟร็อง"
},
{
"docid": "321089#0",
"text": "ลียง (; ; ) เป็นเมืองอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโรน และเมืองหลวงของแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ตั้งอยู่ระหว่างปารีสกับมาร์แซย์ โดยอยู่ห่างจากปารีส 470 กิโลเมตร, ห่างจากมาร์แซย์ 320 กิโลเมตร, ห่างจากเจนีวา 160 กิโลเมตร, ห่างจากตูริน 280 กิโลเมตร และห่างจากมิลาน 450 กิโลเมตร ประชากรเมืองลียงมีชื่อว่า ลียงเน่ส์",
"title": "ลียง"
},
{
"docid": "305337#0",
"text": "เลอปุย-อ็อง-เวอแล (, Puy-en-Velay#fr ฟังเสียง; ) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโอต-ลัวร์ในแคว้นโอแวร์ญในประเทศฝรั่งเศส เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแลตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ชาวเมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล เรียกว่า \"Ponots\"",
"title": "เลอปุย-อ็อง-เวอแล"
}
] |
3605 | การย้ำคิดทางเพศรวมทั้งความคิดแทรกซอนหรือจินตภาพเพื่อ "จูบ จับ ลูบไล้เคล้าคลึงเป็นความคิดทางเพศใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "864684#10",
"text": "การย้ำคิดทางเพศรวมทั้งความคิดแทรกซอนหรือจินตภาพเพื่อ \"จูบ จับ ลูบไล้เคล้าคลึง การร่วมเพศทางปาก การร่วมเพศทางทวารหนัก และการข่มขืน\"\nกับคนต่าง ๆ รวมทั้ง \"คนแปลกหน้า คนคุ้นเคย พ่อแม่ เด็ก สมาชิกครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน สัตว์ และบุคคลในศาสนา\" โดยเป็น \"เรื่องรักต่างเพศ หรือรักร่วมเพศ\" กับคนอายุเท่าไรก็ได้\nเหมือนกับความคิดหรือจินตภาพแทรกซอนที่ไม่ต้องการอื่น ๆ ทุกคนมีความคิดทางเพศที่ไม่สมควรเป็นครั้งคราว แต่คนไข้ OCD อาจให้ความสำคัญต่อความคิดทางเพศที่ไม่ต้องการ แล้วเกิดวิตกกังวลและความทุกข์\nความกังขาที่มากับ OCD ทำให้รู้สึกไม่แน่ใจว่า ตนจะปฏิบัติตามความคิดแทรกซอนนั้นหรือไม่ ทำให้ตำหนิหรือเกลียดตัวเอง",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
}
] | [
{
"docid": "864684#2",
"text": "แต่เมื่อความคิดแทรกซอนเกิดร่วมกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คนไข้สามารถไม่สนใจในความคิดที่ไม่น่าพอใจน้อยกว่า และอาจสนใจพวกมันอย่างไม่ควร เป็นเหตุให้เกิดความคิดบ่อยขึ้นและทำให้ทุกข์มากขึ้น\nความคิดอาจจะเกิดย้ำ ๆ เป็นเหตุให้ทำอะไรไม่ได้ เกิดรุนแรง และมีอยู่ตลอด โดยอาจเป็นความคิดเกี่ยวกับความรุนแรงหรือทางเพศ จนถึงความดูหมิ่นศาสนา\nสิ่งที่ไม่เหมือนกับคนปกติก็คือ ความคิดแทรกซอนพร้อมกับ OCD จะสร้างความวิตกกังวล ระงับไม่ได้ และคงยืน",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "864684#11",
"text": "ความคิดแทรกซอนทางเพศที่ค่อนข้างสามัญอย่างหนึ่งคือความสงสัยในเอกลักษณ์ทางเพศ (sexual identity) ของคนย้ำคิด\nในกรณีการย้ำคิดทางเพศ คนไข้อาจรู้สึกอายแล้วจึงใช้ชีวิตตัวคนเดียว โดยพบว่ายากที่จะพูดถึงความกลัว ความสงสัย และความกังวลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางเพศของตน\nคนที่มีความคิดแทรกซอนทางเพศอาจรู้สึกอาย\n\"กระดากใจ รู้สึกผิด ทุกข์ทรมาน กลัวว่าจะปฏิบัติตามความคิดหรือแรงกระตุ้นที่มี และสงสัยว่า ตนได้ประพฤติเช่นนั้นแล้วหรือไม่\"\nความซึมเศร้าอาจเป็นผลของการเกลียดตนเอง โดยขึ้นอยู่ว่า OCD รบกวนชีวิตประจำวันหรือทำให้ทุกข์มากแค่ไหน",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "864684#3",
"text": "การตอบสนองอาจเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อไรความคิดจะกลายเป็นเรื่องรุนแรง เกิดย้ำ ๆ หรือจำเป็นต้องรักษา\nความคิดแทรกซอนสามารถเกิดพร้อมหรือไม่ กับการกระทำย้ำ ๆ\nแม้ว่าการทำย้ำ ๆ อาจช่วยลดความวิตกกังวล แต่ทุกครั้งที่เกิดก็จะทำให้รู้สึกว่าต้องทำมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งช่วยเสริมแรงความคิดแทรกซอน\nตามนักวิชาการ การห้ามความคิดก็จะมีผลแค่ทำให้มันแรงขึ้น และการยอมรับอย่างเข้าใจว่า ความคิดไม่ดีไม่ได้หมายความว่าตนเป็นคนชั่วจริง ๆ เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเอาชนะมัน",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "864684#0",
"text": "ความคิดแทรกซอน () เป็นความคิดแบบไม่ได้ตั้งใจและไม่พึงประสงค์ เป็นความคิดที่ไม่น่าพอใจซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องย้ำคิด ทำให้ว้าวุ่นหรือทุกข์ใจ และรู้สึกว่าจัดการหรือหยุดได้ยาก\nเมื่อความคิดสัมพันธ์กับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคซึมเศร้า (MDD) โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (BDD) และบางครั้ง โรคสมาธิสั้น (ADHD) ก็อาจทำให้ทำอะไรไม่ได้ วิตกกังวล หรืออาจคงยืน\nความคิดอาจสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งความจำอาศัยเหตุการณ์, ความวิตกกังวลหรือความจำที่ไม่ต้องการเพราะ OCD,\nความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD), โรควิตกกังวลอื่น ๆ, โรคเกี่ยวกับการรับประทาน (eating disorder), หรือโรคจิต (psychosis)\nอาการต่าง ๆ รวมทั้งความคิด แรงกระตุ้นให้ทำ และจินตภาพแทรกซอน จะเป็นไปในเรื่องที่ไม่เหมาะสม เกิดในเวลาที่ไม่เหมาะสม และทั่วไปจะเป็นไปในทางก้าวร้าว เกี่ยวกับทางเพศ หรือดูหมิ่นศาสนา",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "732403#1",
"text": "การถูกครอบงำทางความคิดคือภาวะที่ความคิดถูกครอบงำอยู่ตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยมีความพยายามจะกำจัดและเผชิญหน้ากับความคิดนั้น ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมักกระทำพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการของความคิดซึ่งถูกครอบงำ ความคลุมเครือของการถูกครอบงำทางความคิดอาจรวมถึงความรู้สึกสับสนและเครียด เนื่องจากมีความคิดว่าชีวิตของตนไม่สามารถเป็นปรกติได้อีกต่อไป ความคิดที่ถูกครอบงำซึ่งมีพลังแรงกล้าขึ้นอาจจะเป็นความคิดจดจ่ออยู่กับภาพของบุคคลใกล้ตัวหรือญาติกำลังเสียชีวิต หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ การถูกครอบงำทางความคิดอื่น ๆ นั้นรวมถึงความคิดที่ว่าผู้มีอำนาจเหนือตน อาทิ เทพเจ้า, ภูติผีปีศาจ, หรือโรคร้าย จะทำอันตรายต่อตนเองหรือบุคคุลที่ตนเองรัก ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกว่าบางอย่างที่มองไม่เห็นกำลังไหลออกมาจากร่างกายของเขา",
"title": "โรคย้ำคิดย้ำทำ"
},
{
"docid": "864684#19",
"text": "งานศึกษาขนาดใหญ่ปี 2548 พบว่า ความหมกมุ่นที่ก้าวร้าว เรื่องทางเพศ หรือเรื่องศาสนา สัมพันธ์อย่างกว้าง ๆ กับ โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าที่เกิดร่วมกัน (comorbid)\nส่วนความคิดแทรกซอนที่เกิดในคราวกำเริบของโรคจิตเภท จะต่างจากความคิดหมกมุ่นที่เกิดกับ OCD หรือโรคซึมเศร้า เพราะว่าความคิดของคนไข้โรคจิตเภทไม่ใช่เรื่องจริงหรือเป็นความเชื่อที่หลงผิด",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "864684#1",
"text": "คนจำนวนมากประสบกับความคิดไม่ดีหรือที่ไม่พึงประสงค์ คล้ายกับความคิดแทรกซอนที่สร้างปัญหา แต่โดยมากสามารถเลิกคิดได้\nคือ สำหรับคนโดยมาก ความคิดเช่นนี้ เป็นเพียงเรื่องน่ารำคาญประเดี๋ยวเดียว\nนักจิตวิทยาชาวแคนาดาคนหนึ่ง (Stanley Rachman) ใช้แบบสอบถามกับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ปกติแล้วพบว่า \nเกือบทุกคนกล่าวว่า คิดเช่นนี้เป็นครั้งคราว\nรวมทั้งความคิดเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ, การลงโทษทางเพศ, กิจกรรมทางเพศ \"ที่ไม่เป็นธรรมชาติ\", ปฏิบัติการทางเพศที่ทำให้เจ็บปวด, จินตภาพที่ดูหมิ่นศาสนาหรือลามก, ความคิดทำร้ายคนแก่หรือบุคคลใกล้ ๆ ตัว, ความรุนแรงต่อสัตว์หรือเด็ก ๆ, และการระเบิดพูดคำหยาบคายหรือคำมุทะลุ\nความคิดไม่ดีเช่นนี้เป็นเรื่องทั่วไปในมนุษย์ และ \"แทบแน่นอนว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์มาตลอดกาล\"",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "864684#12",
"text": "ความกังวลเกี่ยวกับความคิดเช่นนี้อาจทำให้ตรวจดูสรีระของตนเพื่อกำหนดว่าความคิดทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศหรือไม่\nแต่ว่า แม้แต่การใส่ใจที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็อาจมีผลเป็นความรู้สึกที่ตรงนั้น ดังนั้น การทำเช่นนั้นสามารถลดความมั่นใจและเพิ่มความกลัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแรงกระตุ้น\nส่วนหนึ่งของการรักษาความคิดแทรกซอนทางเพศก็คือช่วยคนไข้ให้ยอมรับความคิดและหยุดพยายามสร้างความมั่นใจโดยการเช็คสรีระร่างกาย",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
},
{
"docid": "864684#18",
"text": "ความคิดแทรกซอนสัมพันธ์กับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive personality disorder)\nแต่ก็สามารถเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ได้ด้วย\nเช่น ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)\nโรคซึมเศร้า (MDD)\nความซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)\nและความวิตกกังวล\nอาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง\nมักจะมีในบุคคลที่ความคิดแทรกซอนได้ถึงระดับรุนแรงที่ควรรักษา (clinical level)",
"title": "ความคิดแทรกซอน"
}
] |
3615 | แชคิล ราชอน โอนีลมีส่วนสูงเท่าไหร่? | [
{
"docid": "22214#34",
"text": "วันที่ 1 มิถุนายน 2011 แช็คประกาศรีไทร์ทางทวิตเตอร์ \"เราสามารถทำมันได้ ,19 ฤดูกาล ผมขอบคุณมาก นั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากบอกคุณเป็นคนแรก ผมจะรีไทร์แล้ว รักและขอบคุณทุกคนนะ แล้วเราไว้คุยกัน\"โอนีลมีร่างกายที่พิเศษ ความสูง 7 ฟุต 1 นิ้วและน้ำหนัก 320 ปอนด์ทำให้เขามีพละกำลังมาก และสำหรับคนรูปร่างขนาดนั้น แชคเป็นคนที่คล่องแคล่ว ท่า drop step ของเขาคือ เริ่มด้วยยืนหันหลังให้แป้นและผู้เล่นตั้งรับทีมตรงข้าม จากนั้นหมุนตัวและเอาตัวดันเพื่อทำสแลมดังก์ เป็นท่าที่ยากที่จะป้องกันได้ เขายังเป็นคนส่งลูกที่ดีและเล่นตั้งรับได้มีประสิทธิภาพ การที่มีคนอย่างเขาบริเวณใต้แป้นทำให้ทีมต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการรุกและรับ หากจะป้องกันแชคโดยเอาผู้เล่นสองหรือสามคนมาประกบก็กลับทำให้เพื่อร่วมทีมสามารถชู้ตลูกได้ง่าย ๆ โดยไม่มีใครมาประกบ",
"title": "แชคิล โอนีล"
},
{
"docid": "22214#0",
"text": "แชคิล ราชอน โอนีล () (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2515 ในเมืองนีวอร์ค รัฐนิวเจอร์ซีย์) เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า แชค (Shaq) เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลเอ็นบีเอที่แข็งแกร่งที่สุดคนหนึ่ง โอนีลเริ่มเล่นให้กับออร์แลนโด แมจิก ต่อมาเซ็นสัญญากับลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ ก่อนจะถูกเทรดย้ายไปไมอามี ฮีท, ฟีนิกส์ ซันส์ และ คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ ตามลำดับ มีชื่อเสียงเรื่องตัวใหญ่ด้วยความสูง 7 ฟุต 1 นิ้ว (2.16 ม.) หนัก 340 ปอนด์ (154 กก.) และใส่รองเท้าเบอร์ 22 (ของทางสหรัฐ) มีชื่อเล่นหลายชื่อ เช่น ดีเซล (Diesel) บิ๊กอริสโตเติล (Big Aristotle) ซูเปอร์แมน (Superman) และล่าสุดเมื่อได้รับปริญญาโทบริหารธุรกิจคือ ดอกเตอร์แชค (Doctor Shaq) ซึ่งส่วนใหญ่แชคเป็นคนตั้งเอง เขาเริ่มเล่นในเอ็นบีเอตั้งแต่อายุ 20 ปี และตลอดเวลาการเล่น 13 ปี สร้างผลงานที่เยี่ยมยอดและหลายคนถือว่าเขาเป็นเซ็นเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่เคยมีมาทีเดียว",
"title": "แชคิล โอนีล"
}
] | [
{
"docid": "22214#36",
"text": "จุดอ่อนอีกอย่างหนึ่งของเขาคือเรื่องน้ำหนัก โอนีลมักปรากฏตัวในแคมป์ฝึกซ้อมก่อนฤดูกาลด้วยน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ในช่วงสองสามปีสุดท้ายกับทีมลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ เขาหนักประมาณ 350 ปอนด์ (160 กิโลกรัม) เมื่อแชคมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เขามักมีปัญหาการบาดเจ็บโดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่โป้งเท้าข้างขวา เขามีอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่ข้อต่อนิ้วโป้งเท้าขวาจากการวิ่ง กระโดด และดังก์ ด้วยน้ำหนักตัวที่สูงเป็นเวลามากกว่าสิบปี",
"title": "แชคิล โอนีล"
},
{
"docid": "22214#1",
"text": "แชคิล ราชอน (Shaquille Rashaun มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า นักรบน้อย) เป็นชื่อที่บิดาแท้ ๆ คือ โจเซฟ โทนี (Joseph Toney) เป็นคนตั้งให้ แต่โอนีลก็ไม่ได้ใกล้ชิดกับพ่อมากนัก มารดาของเขา ชื่อ ลูซีลล์ โอนีล แฮริสัน (Lucille O'Neal Harrison) แต่งงานใหม่กับทหารอเมริกันชื่อ ฟิลิป แฮริสัน (Phillip Harrison) ซึ่งแชคเห็นเขาเป็นบิดาที่แท้จริง แชคได้ใช้ชีวิตวัยเด็กส่วนหนึ่งในประเทศเยอรมนี ที่ที่พ่อ (ฟิลิป) ของเขาประจำการอยู่ และได้เรียนรู้วิธีการเล่นบาสเกตบอลที่นั่น",
"title": "แชคิล โอนีล"
},
{
"docid": "22214#9",
"text": "หลังจากฤดูกาล 1995-96 ของเอ็นบีเอ (ตรงกับ พ.ศ. 2538-39) โอนีลเข้าร่วมทีมลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ด้วยสัญญาเจ็ดปีมูลค่าสูงถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เขาและโคบี ไบรอันต์ กลายเป็นคู่การ์ดและเซ็นเตอร์ที่เล่นได้ประสิทธิภาพที่สุดคู่หนึ่งในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองจะไม่ราบรื่นและเกิดเรื่องผิดใจกันบ่อยครั้ง",
"title": "แชคิล โอนีล"
},
{
"docid": "28680#4",
"text": "ผู้เล่นที่สูงที่สุดเท่าที่เคยเล่นในเอ็นบีเอ คือ จอร์จ มูเรซาน (Gheorghe Muresan) สูง 7 ฟุต 7 นิ้ว (2.31 เมตร) ส่วนผู้เล่นที่สูงที่สุดในประวัติดับบลิวเอ็นบีเอคือ มาร์โก ไดเด็ก (Margo Dydek) สูง 7 ฟุต 2 นิ้ว (2.18 เมตร) เธอยังสูงกว่าแชคิล โอนีลด้วยซ้ำ",
"title": "เซ็นเตอร์ (บาสเกตบอล)"
},
{
"docid": "22214#38",
"text": "จุดอ่อนสำคัญประการล่าสุดชองแชคตอนนี้คือ อายุ ตามสถิติของเอ็นบีเอแล้ว ผู้เล่นที่มีความสูงเกินกว่า 7 ฟุต (ประมาณ 213 เซนติเมตร) จะมีค่าเฉลี่ยต่างๆลดลงหลังจากอายุ 30 ปี โดยเฉพาะการทำคะแนนที่จะต่ำกว่า 20 คะแนนต่อเกม ซึ่งแชคก็ไม่สามารถหนีสถิตินี้พ้นเช่นเดียวกัน",
"title": "แชคิล โอนีล"
},
{
"docid": "22214#20",
"text": "โอนีล เล่นไม่ดีในช่วงต้นฤดูกาล 2007–08 ทำคะแนน รีบาวด์ และ บล็อก เฉลี่ยต่ำสุดเท่าที่เคยเล่น บทบาทในการทำคะแนนของเขาลดลงมาก เขาพยายามชู้ตแค่ 10 ครั้งต่อเกม เที่ยบกับค่าเฉลี่ยตลอดอาชีพการเล่นที่ 17 อีกทั้งมีปัญหาเรื่องการฟาล์ว มีช่วงหนึ่งที่ทำฟาล์วจนต้องออกจากการแข่งขันติดต่อกัน 5 เกม จากผลงานที่ได้ดีและมีปัญหาบาดเจ็บบ่อย โอนีล พลาดการเล่นในเกมรวมดาราเอ็นบีเอ ทำให้สถิติการเล่นเกมรวมดาราถึง 14 ปีติดต่อกันของ โอนีล ก็จบลงในฤดูกาลนี้",
"title": "แชคิล โอนีล"
},
{
"docid": "220474#7",
"text": "ร็อคกี้ มาร์เซียโน่ ถูกจารึกในฐานะแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทร่างเล็ก เพราะว่าเมื่อดูจากรูปร่างแล้ว แทบไม่น่าเชื่อ ด้วยความสูงเพียงแค่ 5 ฟุต 11 นิ้ว หนักไม่ถึง 190 ปอนด์ (เต็มพิกัดรุ่นเฮฟวี่เวท) แถมช่วงชกยังสั้นเพียง 68 นิ้ว อันเป็นช่วงชกที่ถือว่าสั้นที่สุดในบรรดาแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว แต่กลับมีพลังหมัดที่หนักปานภูผาหิน และอีกไม่ถึง 8 เดือนต่อมา มาร์เซียโน่ก็เปิดโอกาสให้วัลค็อทท์ได้แก้มืออีกครั้ง คราวนี้ มาร์เซียโน่ไม่ปล่อยให้เสียเวลาการชกมากเหมือนครั้งแรก ก็เร่งปิดฉากน็อกวัลค็อทท์ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ด้วยเวลาเพียง 2 นาทีเศษของยกแรกเท่านั้น หลังจากนั้นมาร์เซียโน่ก็ขึ้นป้องกันตำแหน่งอีก 5 ครั้งชนะรวด กลายเป็นขวัญใจชาวอเมริกัน โดยเฉพาะชาวผิวขาว เพราะถือได้ว่าเป็นนักมวยที่เชิดหน้าชูตาชาวผิวขาวได้ เป็นนักมวยผู้เรียกศรัทธาแฟนมวย สามารถเรียกผู้ชมเต็มสนามได้ทุกครั้งที่ขึ้นชก",
"title": "รอคกี มาร์ซีอาโน"
},
{
"docid": "745871#7",
"text": "มีชื่อจริงๆว่า โคโระไนเซนเซย์หรือ อาจารย์ที่ฆ่าไม่ได้ มีรูปร่างสูงประมาณ 3 เมตร มีความเร็วถึง 20มัค เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความฉลาด ว่องไว แต่ถึงกระนั้นกลับมีจุดอ่อนเต็มไปหมด.. เริ่มต้นเรื่อง เขาประกาศว่ามีเป้าหมายจะทำลายโลกในเดือนมีนาคมปีถัดไป โดยเขาได้เสนอตัวเข้าไปสอนหนังสือให้กับเด็กม.3 ห้อง E โรงเรียน คุนุกิกาโอกะ ก่อนจะถึงเวลานั้น",
"title": "อัสแซสซิเนชันคลาสรูม"
}
] |
3621 | สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เกิดขึ้นปีอะไร ? | [
{
"docid": "232564#11",
"text": "สงครามอุบัติใน พ.ศ. 2090 เหตุแห่งสงครามระบุว่าเป็นความพยายามของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่าเพื่อขยายอาณาเขตไปทางทิศตะวันออกหลังวิกฤตการณ์การเมืองในกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนความพยายามหยุดการรุกล้ำของอยุธยาเข้าชายฝั่งตะนาวศรีตอนบน พงศาวดารพม่าระบุว่า ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2090 ทหารอยุธยา 6,000 นายยึดเมืองทวายในชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนซึ่งพระองค์ถือเป็นพระราชอาณาเขตของพระองค์ เมื่อชายแดนในยุคก่อนสมัยใหม่มีการนิยามน้อยกว่าและมักทับซ้อนกัน \"การยึดครอง\" ดังกล่าวนี้จึงอาจเป็นความพยายามของอยุธยาที่จะเสริมกำลังเมืองชายแดนที่ตองอูอ้างสิทธิ์ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ทรงส่งทหารขนาดใหญ่พอสมควร 12,000 นาย (ทัพบก 8,000 ทัพเรือ 4,000) โดยมีเจ้าลครอิน อุปราชแห่งมะตะบัน เป็นผู้นำมาชิงทวายเมื่อประมาณเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน พ.ศ. 2090 การโจมตีร่วมทัพบก-ทัพเรือต่อทวายขับกองทัพอยุธยาซึ่งมีเจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นผู้นำไปตะนาวศรีตอนล่าง",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
}
] | [
{
"docid": "232564#7",
"text": "อีกหกปีถัดมา ตองอูง่วนสู้รบกับพันธมิตรของอาณาจักรหงสาวดี ได้แก่ ปยี (แปร) (พ.ศ. 2085) สมาพันธ์รัฐฉาน (พ.ศ. 2085–2087) และพันธมิตรของปยีคือ มรัคอู (อาระกัน) (พ.ศ. 2089–2090) ในปี พ.ศ. 2090 ก่อนสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ตองอูควบคุมภูมิภาคพม่าตอนล่างตั้งแต่พุกามทางทิศเหนือจดมะละแหม่งในทิศใต้",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#0",
"text": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ หรือ สงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย เป็นสงครามครั้งแรกระหว่างราชวงศ์ตองอูแห่งพม่ากับอาณาจักรอยุธยา และเป็นสงครามพม่า–ไทยครั้งแรกซึ่งจะดำเนินมาจนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 สงครามนี้ขึ้นชื่อว่านำมาซึ่งการสงครามสมัยใหม่ตอนต้นในภูมิภาค และขึ้นชื่อในประวัติศาสตร์ไทยว่าสมเด็จพระสุริโยทัยสมเด็จพระราชินีสวรรคตในยุทธหัตถี",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#18",
"text": "เกิดการยุทธ์ตามมาแต่สองบันทึกเล่าต่างกัน พงศาวดารพม่าว่า แม่ทัพพม่าจัดกองทัพซึ่งมีพระตะโดธรรมราชา อุปราชปยี (แปร) เป็นตัวล่อ และสองกองทัพคืบเข้าทางปีกเพื่อล้อมกองทัพอยุธยาที่ล้ำเกิน ซึ่งเป็นไปตามแผน ทหารทัพหน้าของอยุธยาไล่กองทัพของพระตะโดธรรมราชา ทำให้กองทัพของบุเรงนองที่คอยอยู่ทางปีกซ้ายล้อมทัพอยุธยาซึ่งต่อมาถูกกวาดสิ้น กองทัพของพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ที่อยู่ปีกขวาขับทัพอยุธยาที่เหลือกลับเข้าพระนคร",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#6",
"text": "ใน พ.ศ. 2077 พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และอุปราชาบุเรงนองซึ่งขณะนั้นมีอายุ 18 ปีทั้งคู่เปิดฉากการทัพแรกต่อราชอาณาจักรหงสาวดี การทัพนั้นเป็นชุดสงครามโดยกองทัพตองอูซึ่งจะดำเนินสืบเนื่องในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ทางตะวันตกและกลางไปอีก 80 ปีข้างหน้า ใน พ.ศ. 2081–2082 ตองอูที่เพิ่งตั้งตนยึดกรุงพะโคเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีได้ และยังยึดเมืองมะตะบันและมะละแหม่งได้อีกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2084 จึงเป็นครั้งแรกที่พม่าและอยุธยามีพรมแดนติดต่อกันในชายฝั่งตะนาวศรีตอนบน",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#33",
"text": "ชัยชนะของอยุธยาครั้งนี้ทำให้พม่าได้ประสบการณ์สำคัญในการยุทธ์กับอยุธยาในอนาคต การบุกครองครั้งต่อไปเกิดในรัชกาลพระเจ้าบุเรงนอง ผู้คุ้นเคยกับการรบกับชาวอยุธยาและการเคลื่อนทัพผ่านภูมิประเทศของอาณาจักรอยุธยา ความไม่สงบภายในพม่าชะลอการบุกครองครั้งต่อไปออกไป 15 ปี จนสงครามช้างเผือก (พ.ศ. 2106–2107)",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#34",
"text": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ชื่อว่า \"สุริโยไท\" ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เนื้อหาในภาพยนตร์กล่าวถึงตั้งแต่การสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ซึ่งนำไปสู่สงครามและยุทธหัตถีซึ่งนำไปสู่การสวรรคตของสมเด็จพระสุริโยทัย ภาพยนตร์ใช้ต้นทุนสร้าง 350 ล้านบาท",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#1",
"text": "เหตุแห่งสงครามมีว่าพม่าพยายามขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกหลังมีความวุ่นวายทางการเมืองในอยุธยา ตลอดจนพยายามหยุดการรุกล้ำเข้าชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนของอยุธยา พม่าว่าสงครามนี้เริ่มในเดือนมกราคม 2090 เมื่อกำลังของอยุธยาพิชิตเมืองชายแดนทวาย ในปีเดียวกันกองทัพพม่านำโดยแม่ทัพเจ้าลครอิน ยึดฝั่งตะนาวศรีตอนบนลงไปถึงทวายคืนได้ ในปีถัดมาคือ ตุลาคม 2091 กองทัพพม่าสามกองโดยมีพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และอุปราชบุเรงนองเป็นผู้นำบุกอยุธยาทางด่านเจดีย์สามองค์ กองทัพพม่าเจาะลึกถึงพระนครอยุธยาแต่ไม่อาจหักเอานครที่มีป้อมปราการหนาแน่นได้ หนึ่งเดือนหลังเริ่มล้อม การตีโต้ตอบของอยุธยาแก้การล้อมได้และขับกำลังฝ่ายบุกครอง แต่พม่าเจรจาการถอยทัพอย่างปลอดภัยโดยแลกกับการคืนองค์เจ้านายสำคัญสองพระองค์ คือ พระราเมศวร พระรัชทายาท และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งพิษณุโลก ที่ถูกจับเป็นเชลย",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#14",
"text": "วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2091 กองทัพพม่าสามกองออกจากมะตะบันเพื่อเริ่มการบุกครอง กองทัพเลาะแม่น้ำอัตทะรันมุ่งด่านเจดีย์สามองค์ เข้าสู่อาณาจักรอยุธยาตามแม่น้ำแควน้อยถึงเมืองไทรโยค แล้วยกตัดแผ่นดินมุ่งแม่น้ำแควใหญ่ จากที่นั่น กองทัพล่องเรือมุ่งเมืองกาญจนบุรี พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เสด็จพระราชดำเนินโดยมีข้าราชบริพารและช้างจำนวนมหาศาล ช้างเหล่านี้หลายเชือกบรรทุกปืนคาบศิลาและปืนใหญ่บรอนซ์ซึ่งเก็บรักษาใกล้องค์พระมหากษัตริย์ ช้างหลวงถูกขนแพข้ามแม่น้ำ ส่วนช้างศึกธรรมดาเดินทวนน้ำไปบริเวณจุดข้าม พระองค์ทรงมีบุเรงนอง มกุฎราชกุมาร และนันทบุเรง พระโอรสวัย 13 พรรษาของบุเรงนอง และขุนนางที่แต่งกายหรูหราหลายคนตามเสด็จ คนงานหลายร้อยคนเดินล่วงหน้าข้าราชบริพารของพระมหากษัตริย์ เพื่อตั้งค่ายไม้ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม มีการลงสีและเลื่อนสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงใช้ และมีการรื้อและตั้งค่ายที่ตำแหน่งใหม่ทุกวัน",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
},
{
"docid": "232564#5",
"text": "ใน พ.ศ. 2074 พระเจ้าเมงจีโยเสด็จสวรรคต พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้สืบราชสมบัติจากพระราชบิดาเป็นพระมหากษัตริย์ตองอู เสถียรภาพของตองอูยังดึงดูดกำลังคนจากภูมิภาคแวดล้อม โดยเฉพาะหลัง พ.ศ. 2076 เมื่อสมาพันธ์รัฐฉานโจมตีปยี (แปร) อดีตพันธมิตร บัดนี้ตองอูที่ขนาดยังเล็กเป็นราชอาณาจักรที่มีชาติพันธุ์พม่าเป็นผู้นำเพียงแห่งเดียว รายล้อมด้วยราชอาณาจักรที่ใหญ่กว่ามาก โชคดีแก่ตองอูที่สมาพันธ์รัฐฉานถูกรบกวนจากข้อพิพาทผู้นำภายใน และราชอาณาจักรหงสาวดี ซึ่งขณะนั้นเป็นราชอาณาจักรทรงพลังที่สุดในบรรดาราชอาณาจักรยุคหลังราชวงศ์พุกามมีผู้นำอ่อนแอ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ตัดสินพระทัยไม่คอยที จนราชอาณาจักรใหญ่เป็นฝ่ายหันความสนใจมายังพระองค์",
"title": "สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้"
}
] |
3622 | ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "2122#6",
"text": "ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2186 ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเชียร์ ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับปฏิทินเกรกอเรียน ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2185 บิดาของนิวตัน (ชื่อเดียวกัน) ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: \"ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ\" นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#34",
"text": "ในช่วงชีวิตของนิวตัน มีการใช้งานปฏิทินอยู่ 2 ชนิดในยุโรป คือ ปฏิทินจูเลียน หรือ'ปฏิทินแบบเก่า' กับ ปฏิทินเกรกอเรียน หรือ 'ปฏิทินแบบใหม่' ซึ่งใช้กันในประเทศยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิก และที่อื่นๆ ตอนที่นิวตันเกิด วันที่ในปฏิทินเกรกอเรียนจะนำหน้าปฏิทินจูเลียนอยู่ 10 วัน ดังนั้น นิวตันจึงเกิดในวันคริสต์มาส หรือ 25 ธันวาคม 2185 ตามปฏิทินจูเลียน แต่เกิดวันที่ 4 มกราคม 2186 ตามปฏิทินเกรกอเรียน เมื่อถึงวันที่เสียชีวิต ปฏิทินทั้งสองมีความแตกต่างกันเพิ่มเป็น 11 วัน นอกจากนี้ ก่อนที่อังกฤษจะรับเอาปฏิทินเกรกอเรียนเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2295 วันขึ้นปีใหม่ของอังกฤษเริ่มในวันที่ 25 มีนาคม (หรือ 'วันสุภาพสตรี' (Lady Day) ทั้งตามกฎหมายและตามประเพณีท้องถิ่น) มิใช่วันที่ 1 มกราคม หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น วันที่ทั้งหลายที่ปรากฏในบทความนี้จะเป็นวันที่ตามปฏิทินจูเลียน",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#0",
"text": "เซอร์ไอแซก นิวตัน () (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นัก คณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "617485#0",
"text": "ไอแซก นิวตัน (25 ธันวาคม 1642 – 20 มีนาคม 1727) เป็นนักศาสนศาตร์ที่มีความรู้และความเชียวชาญ (ตามความเห็นของบุคคลที่อยู่ในยุคเดียวกัน). เขาเขียนผลงานขึ้นหลายฉบับซึ่งปัจจุบันอาจถูกจัดได้ว่าเป็น การเรียนรู้เกี่ยวกับเวทมนตร์ และ บทความทางด้านศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการตีความคัมภีร์ไบเบิล.",
"title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน"
}
] | [
{
"docid": "2122#33",
"text": "อนุสาวรีย์นิวตัน (2274) ตั้งอยู่ในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ด้านทิศเหนือของทางเดินสู่เวทีนักร้องของโบสถ์ ใกล้กับที่ฝังศพของเขา ศิลปินผู้แกะสลักคือ ไมเคิล ไรส์แบร็ค (2237-2313) ทำด้วยหินอ่อนสีขาวและเทา ออกแบบโดยสถาปนิก วิลเลียม เคนท์ เป็นรูปปั้นนิวตันกำลังนอนเอนอยู่เหนือหีบศพ ศอกขวาตั้งอยู่บนหนังสือสำคัญหลายเล่มของเขา มือซ้ายชี้ไปยังม้วนหนังสือที่ออกแบบในเชิงคณิตศาสตร์ เหนือร่างเขาเป็นพีระมิดกับโดมท้องฟ้า แสดงสัญลักษณ์จักรราศีและเส้นทางเดินของดาวหางใหญ่แห่งปี 2223 ด้านข้างมียุวเทพกำลังใช้เครื่องมือหลายอย่างเช่นกล้องโทรทรรศน์และปริซึม",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#7",
"text": "นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่คิงส์สกูล แกรนแธม (มีลายเซ็นที่เชื่อว่าเป็นของเขาปรากฏอยู่บนหน้าต่างห้องสมุดโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้) ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2202 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#16",
"text": "ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, ไลบ์นิซ และเฟลมสตีด ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชสมาคมแห่งลอนดอนที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#19",
"text": "กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น \"ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน ในจดหมายที่ไอแซก แบร์โรว์ ส่งไปให้จอห์น คอลลินส์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ \"De analysi per aequationes numero terminorum infinitas\" ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "2122#18",
"text": "เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา",
"title": "ไอแซก นิวตัน"
},
{
"docid": "617485#2",
"text": "นิวตันถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวที่นับถือนิกายแองกลิกันสามเดือนหลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิต, พ่อของเขาเป็นชาวนาที่ร่ำรวยและชื่อไอแซ็ค นิวตันเช่นกัน. เมื่อนิวตันอายุสามปี แม่ของเขาแต่งงานกับพระอธิการซึ่งอาศัยอยู่ใกล้บ้านในย่านนอร์ธ วิทแฮม และได้ย้ายไปอาศัยกับสามีใหม่ของเธอ, ชื่อหลวงพ่อบารนาบัส สมิธ, โดยปล่อยให้ลูกของเธออยู่ในความเลี้ยงดูของแม่ยาย, มาร์เจรี่ ไอสคอช. ไอแซคนั้นเห็นได้ชัดว่าไม่ชอบหลวงพ่อสมิธและไม่มีความสัมพันธ์กับเขาในช่วงวัยเด็ก. ลุงของไอแซค, พระอธิการผู้รับใช้ในเบอร์ตัน ค็อกเกิ้ลส์, มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูไอแซคขึ้นมา. บาทหลวงไอสคอชเคยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยตรินิตี้.",
"title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน"
}
] |
3626 | อัลดริช เฮเซน เอมส์ เกิดที่ไหน ? | [
{
"docid": "441264#2",
"text": "อัลดริช เอมส์เกิดที่เมืองริเวอร์ฟอลส์ รัฐวิสคอนซิน เป็นบุตรของคาร์ลตัน เซซิล เอมส์ บิดา และเรเชล เมส์ (อัลดริช) มารดา บิดาของเขาเป็นอาจารย์วิทยาลัย ส่วนมารดาของเขาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในไฮสคูล อัลดริชเป็นบุตรของโตจากทั้งหมดสามคนและเป็นบุตรชายเพียงคนเดียว ใน ค.ศ. 1952 คาร์ลตัน เอมส์ เริ่มทำงานให้กับหน่วยอำนวยการปฏิบัติการณ์ของ CIA ในเวอร์จิเนีย และใน ค.ศ. 1953 ได้รับมอบหมายให้ประจำการที่ภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลาสามปีพร้อมกับครอบครัว คาร์ลตันได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในแง่ลบเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาติดสุราเรื้อรัง ทำให้เขาถูกส่งกลับไปอยู่ที่สำนักใหญ่ CIA ตลอดอาชีพที่เหลือ",
"title": "อัลดริช เอมส์"
}
] | [
{
"docid": "441264#0",
"text": "อัลดริช เฮเซน เอมส์ (; เกิด 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ต่อต้านการข่าวกรองและนักวิเคราะห์ของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) ซึ่งใน ค.ศ. 1994 ถูกตัดสินให้มีความผิดในข้อหาเป็นสายลับให้กับสหภาพโซเวียตและรัสเซีย จนกระทั่งการจับกุมตัวโรเบิร์ต แฮนเซ็นในอีก 7 ปีต่อมา เอมส์เป็นคนที่ทำให้สายของ CIA ต้องตกอยู่ในอันตรายมากกว่าสายลับโซเวียตทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา",
"title": "อัลดริช เอมส์"
},
{
"docid": "463789#8",
"text": "มือปืนผู้ต้องหาชื่อ เจมส์ อีแกน โฮมส์ () เกิดวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1987 และเติบโตขึ้นมาในชุมชนแรนโชเพนญาสควิโทส เมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สำเร็จการศึกษาระดับไฮสกูลจากโรงเรียนไฮสกูลเวสต์วิวในชุมชนทอร์รีย์ไฮแลนส์ เมืองแซนดีเอโก ในปี 2006 ต่อมา เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตริเวอร์ไซด์ ในปี 2010 แล้วจึงเข้าสมัครเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด วิทยาเขตการแพทย์แอนสชุตซ์ ที่เมืองออโรรา ซึ่งเขาได้รับทุนจากรัฐบาลกลางและเป็นหนึ่งในนักศึกษาเพียง 6 คนที่ได้รับทุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ในปี 2012 ผลการเรียนของเขาตกต่ำลงและเขาทำคะแนนได้ไม่ดีในการสอบความเข้าใจ แม้ว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้มีแผนที่จะปลดเขาออกจากความนักศึกษา แต่โฮมส์ก็ได้ดำเนินการ และกำลังอยู่ในกระบวนการถอนวิชาออกจากวิทยาลัย โฮมส์ไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน",
"title": "เหตุยิงกันในออโรรา ค.ศ. 2012"
},
{
"docid": "441264#3",
"text": "อัลดริช เอมส์เรียนไฮสคูลที่โรงเรียนไฮสคูลแม็คลีน ที่เมืองแม็คลีน รัฐเวอร์จิเนีย เริ่มต้นใน ค.ศ. 1957 ขณะที่เขาอยู่ปีสอง เอมส์ทำงานให้ CIA เป็นเวลาสามฤดูร้อน ในตำแหน่งนักวิเคราะห์บันทึกระดับต่ำ (GS-3) โดยมีหน้าที่ทำเครื่องหมายเอกสารลับเพื่อนำไปเก็บ ในปี 1959 เอมส์เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยชิคาโก โดยวางแผนที่จะเรียนวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ต่างชาติ แต่ความปรารถนาที่มีมาเนิ่นนานในการแสดงละครทำให้ผลการเรียนของเขาตกต่ำลง ทำให้เขาเรียนไม่จบปีสอง เอมส์ทำงานที่ CIA ในฤดูร้อนของปี 1960 ในตำแหน่งผู้ใช้แรงงานและช่างทาสี จากนั้นเขาก็ผันตัวเองมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับด้านเทคนิคที่โรงละครชิคาโกจนกระทั่งปี 1962 เขาก็กลับมายังละแวกวอชิงตัน แล้วทำงานเต็มเวลาให้กับ CIA อีกครั้ง ในตำแหน่งเชิงเสมียน ทำนองเดียวกับที่เขาทำสมัยไฮสคูล",
"title": "อัลดริช เอมส์"
},
{
"docid": "401919#0",
"text": "แซมูเอล ฮิวสตัน () หรือที่รู้จักกันว่า แซม ฮิวสตัน (, 2 มีนาคม ค.ศ. 1793 - 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1863) เป็นรัฐบุรุษ นักการเมืองและทหารชาวอเมริกันในคริสต์ศวรรษที่ 19 เขาเกิดในทิมเบอร์ริจในหุบเขาชีนันโด รัฐเวอร์จิเนีย โดยมีเชื้อสายสกอต-ไอริช ฮิวสตันกลายมาเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เท็กซัส และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเท็กซัสคนแรกและคนที่สาม และสมาชิกวุฒิสภารัฐเท็กซัสหลังเท็กซัสเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ว่าการรัฐในท้ายที่สุด เขาปฏิเสธจะสาบานความจงรักภักดีต่อฝ่ายสมาพันธรัฐเมื่อเท็กซัสแยกตัวออกจากฝ่ายสหภาพ และลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือด เขาปฏิเสธข้อเสนอของกองทัพฝ่ายสหภาพเพื่อปราบปรามกบฏสมาพันธรัฐ และเขาหันไปเกษียณในฮันท์สวิลล์ เท็กซัส ที่ซึ่งเขาถึงแก่อนิจกรรมก่อนสงครามกลางเมืองอเมริกันยุติ",
"title": "แซม ฮิวสตัน"
},
{
"docid": "140191#1",
"text": "อเล็กซานเดอร์ ไซม่อน เรนเดลล์ เกิดที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นบุตรของนายเบนจามิน และนางดวงสมร เรนเดลล์ มีพี่ชาย 1 คน และพี่สาว 1 คน ชื่อไซม่อน และโบนิต้า โดยอเล็กซ์เกิดที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากบิดาเป็นเชฟอยู่ที่นั่น จนเมื่ออายุ 4 ขวบ จึงได้ย้ายมาอยู่ประเทศไทยถาวร เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 4 ปี ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาคภาษาอังกฤษ)และกำลังศึกษาต่อ",
"title": "อเล็กซานเดอร์ เรนเดลล์"
},
{
"docid": "91704#1",
"text": "แซนเดอส์เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 ที่เฮนรีวิล รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา โดยเขาเป็นลูกชายคนโตจากลูกทั้ง 3 คนของ วิลเบอร์ เดวิด แซนเดอส์ กับ มาร์กาเร็ท แอน แซนเดอส์ พ่อของแซนเดอส์ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่เขาอายุเพียง 5 ปี แซนเดอส์ได้อาศัยอยู่กับแม่มาโดยตลอดและได้เรียนรู้วิธีทำอาหารจากแม่ที่ต้องทำอาหารเลี้ยงน้องๆของเขา แซนเดอส์มีฝีมือด้านการทำอาหารมาก เขาสามารถชนะเลิศการประกวดทำอาหารประจำหมู่บ้านเมื่อมีอายุเพียง 7 ปีเท่านั้น แต่ด้านการเรียนของเขาอาจไม่ราบรื่นนักเมื่อเขาต้องออกจากโรงเรียนกลางคันโดยเรียนไม่จบ",
"title": "ผู้พันแซนเดอส์"
},
{
"docid": "430555#2",
"text": "ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ เกิดที่เมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี บิดาชื่อ กุสทัฟ แฟร์ดีนันท์ แฮทซ์ (ชื่อเดิม ดาวิท กุสทัฟ แฮทซ์; พ.ศ. 2370–2457) เป็นนักเขียนและสมาชิกวุฒิสภา มารดาคือ อันนา เอลีซาเบ็ท เพ็ฟเฟอร์คอร์น\nระหว่างที่เรียนอยู่ที่โยฮันน็อยม์ในฮัมบวร์ค แฮทซ์ได้แสดงความสามารถด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ดีเทียบเท่ากับการเรียนภาษาอาหรับและภาษาสันสกฤต ได้เรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในเดรสเดิน มิวนิก และเบอร์ลิน ที่ที่ได้เรียนกับกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ และแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "822259#0",
"text": "เซลมัน อับราฮัม แวกส์มัน (; 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1888 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1973) เป็นนักชีวเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายยิว เกิดที่เขตเคียฟ จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน) เป็นบุตรของยาคอบ แวกส์มันและเฟรเดีย ลอนดอน แวกส์มันย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1910 และได้รับสัญชาติอเมริกันในอีก 6 ปีต่อมา เขาเรียนปริญญาตรีสาขาเกษตรศาสตร์และปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ที่วิทยาลัยรัตเจอส์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยรัตเจอส์) ระหว่างเรียนปริญญาโท แวกส์มันทำงานเป็นผู้ช่วยยาคอบ กูเดล ลิปมันที่สถานีทดลองการเกษตรนิวเจอร์ซีย์ ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ แวกส์มันเรียนจบปริญญาเอกสาขาชีวเคมีที่นั่นในปี ค.ศ. 1918",
"title": "เซลมัน แวกส์มัน"
},
{
"docid": "758215#0",
"text": "แฮนส์ เครสตีแยน โยแอคิม กรัม (; 13 กันยายน ค.ศ. 1853 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) เป็นนักวิทยาแบคทีเรียชาวเดนมาร์ก เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน เขาเป็นบุตรของเฟรดเรก แทร์เคิล ยูลียุส กรัม กับลุยเซอ เครสตีแยเนอ รอว์ลอน กรัมเรียนที่โรงเรียนนครบาลโคเปนเฮเกนและช่วยงานศาสตราจารย์ยาเพทุส สเตนสโตรป ต่อมาเขาเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ในปี ค.ศ. 1884 กรัมพัฒนาวิธีย้อมสีกรัม ซึ่งเป็นวิธีจำแนกแบคทีเรียออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ วิธีนี้ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี ค.ศ. 1891–1900 เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเภสัชวิทยาและต่อมาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ กรัมเกษียณตัวเองในปี ค.ศ. 1923 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1938",
"title": "แฮนส์ เครสตีแยน กรัม"
}
] |
3638 | ใครเป็นผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล? | [
{
"docid": "5446#2",
"text": "สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลเริ่มต้นขึ้น เมื่อกลุ่มคนงานของโรงงานผลิตอาวุธรอยัลอาร์เซนอลในแขวงวูลิช กรุงลอนดอน ก่อตั้งทีมฟุตบอลของตนเองขึ้นมาเมื่อปลายปี ค.ศ. 1886 ในชื่อ ไดอัล สแควร์ การแข่งขันแรกของทีมคือเกมที่สามารถเก็บชัยชนะเหนือทีมอีสเทิร์น วันเดอเรอร์ส 6-0 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1886 หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนชื่อเป็น รอยัลอาร์เซนอล และยังคงแข่งขันในเกมอุ่นเครื่องและรายการท้องถิ่นต่อไป จากนั้นได้ก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแล้วหันมาใช้ชื่อ วูลิชอาร์เซนอลในปี 1891 สโมสรแห่งนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรกในปี 1893 ในดิวิชั่น 2 จากนั้นในปี 1904 ก็ได้ก้าวขึ้นมาอยู่ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ในทางภูมิศาสตร์นั้นจะเห็นว่าสโมสรแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวเกินไป ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้ชมมีน้อยกว่าสโมสรอื่นจนกระทั่งทีมต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนนำไปสู่การยุบทีมในปี 1910 เมื่อเฮนรี นอร์ริสได้เข้ามาเทคโอเวอร์ นอร์ริสพยายามมองหาแนวทางที่จะย้ายที่ตั้งของสโมสรไปอยู่ที่อื่นจนกระทั่งในปี 1913 หลังจากที่ตกชั้นดิวิชั่น 1 มาอยู่ดิวิชั่น 2 เหมือนเดิมนั้น อาร์เซนอลก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อาร์เซนอลสเตเดียมในย่านไฮบิวรี่ บริเวณลอนดอนเหนือ ในปีต่อมา สโมสรได้ตัดสินใจตัดคำว่า \"วูลิช\" ออกจากชื่อสโมสรจนเหลือเพียง อาร์เซนอล เท่าที่เห็นในปัจจุบัน หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ลีกดิวิชั่น 1 ก็เพิ่มจำนวนทีมเป็น 22 ทีม อาร์เซนอลได้อันดับ 5 ของดิวิชั่น 2 ในปี 1919 แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับเลือกให้กลับขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 อีกครั้งหนึ่ง และอาร์เซนอลก็ไม่เคยถูกลดชั้นหรือตกชั้นเลยนับตั้งแต่นั้นมา",
"title": "สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล"
},
{
"docid": "5446#1",
"text": "อาร์เซนอลก่อตั้งในปี ค.ศ. 1886 ที่วูลิช โดยกลุ่มคน 15 คน ช่วยกันบริจาคเงินคนละ 6 เพนซ์ เป็นค่าตั้งสโมสร ที่รอยัลโอ๊คผับ (ซึ่งความหมายนี้ได้ปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์สโมสรในวาระครบรอบ 125 ปีของการก่อตั้ง) และในปี ค.ศ. 1893 เป็นสโมสรแรกจากลอนดอนใต้ที่ร่วมในฟุตบอลลีก ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 สโมสรได้ย้ายมายังลอนดอนเหนือ ย้ายสนามมายังอาร์เซนอลสเตเดียมในไฮบรี ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สโมสรครองแชมป์ลีกแชมเปียนชิป 5 สมัยและเอฟเอคัพ 2 สมัย และในยุคหลังสงครามชนะในลีกและเอฟเอคัพทั้งสองถ้วยในฤดูกาล 1970–71 และในคริสต์ทศวรรษ 1990 และคริสต์ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ครองสองถ้วยในฤดูกาลเดียว 2 ครั้ง และสามารถเข้าสู่รอบตัดสินในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี ค.ศ. 2006 อาร์เซนอลมีทีมคู่ปรับร่วมเมืองในนอร์ทลอนดอน คือทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่เรียกการแข่งขันว่า นอร์ทลอนดอนดาร์บี อาร์เซนอลเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลก ในปี ค.ศ. 2012 โดยมีมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญดอลลาร์",
"title": "สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล"
}
] | [
{
"docid": "187125#0",
"text": "ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เป็นทีมสำรองที่อยู่ในลีกทีมสำรองทางภาคใต้ของประเทศอังกฤษตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาในปี ค.ศ. 1999 สนามเหย้าคือ อันเดอร์ฮิลล์สเตเดียม ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เนตอีกด้วย ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นเยาวชนของสโมสรที่อายุไม่เกิน 21 ปี ส่วนผู้เล่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจะได้ไปอยู่ในทีมเยาวชนแทน ในบางครั้ง นักเตะรุ่นพี่ในทีมชุดใหญ่ก็จะมาเล่นในทีมสำรองเป็นบางครั้งบางครั้ง อย่างเช่นกรณีที่เพิ่งหายจากอาการบาดเจ็บมาใหม่ๆ",
"title": "ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล"
},
{
"docid": "52285#8",
"text": "ในปี พ.ศ. 2548 ทางสโมสรฯ ได้ลงนามในสัญญา ร่วมกับ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ใน พรีเมียร์ลีก ก่อตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจด้านฟุตบอลโดยเฉพาะขึ้นมา ซึ่งมี ร้านขายของที่ระลึก ที่ เซ็นทรัลเวิลด์ และได้มีการเปลื่ยนแปลงอัตลักษณ์ของสโมสรฯ ใหม่ทั้งหมด โดยโลโก้ของสโมสรนั้น ทางสโมสรอาเซน่อล เป็นผู้ออกแบบให้ และ ชุดแข่งของสโมสรให้มีความคล้ายคลึงกับทางสโมสรอาเซน่อล อีกด้วย\nและในปีนั้น สโมสรได้เปลื่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็น เดวิด บูท และเสริมนักฟุตบอลไทยที่มีชื่อเสียงอย่าง พิพัฒน์ ต้นกันยา, ปรัชญ์ สมัคราษฎร์, คัมภีร์ ปิ่นฑะกูล เป็นต้น และยังได้ตัว ไนออล ควินน์ อดีตนักฟุตบอลของ ซันเดอร์แลนด์ และ แมนเชสเตอร์ ซิตี มาร่วมทีม ทำให้สโมสรฯจบด้วยอันดับ 3",
"title": "สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร"
},
{
"docid": "187125#2",
"text": "อาร์เซนอลมีทีมสำรองตั้งแต่ช่วงแรกๆของการก่อตั้งเป็นรอยัลอาร์เซนอล โดยทีมสำรองเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี 1887 ในช่วงแรกจะเล่นเฉพาะแมตช์กระชับมิตรและรายการชิงถ้วยเท่านั้น โดยในฤดูกาล 1889-90 นั้น ก็สามารถคว้าแชมป์เคนท์จูเนียร์คัพได้ ต่อมาในฤดูกาล 1895-96 วูลิชอาร์เซนอล (เปลี่ยนเป็นชื่อนี้ในปี 1891) ชุดสำรองก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน\"เคนท์ลีก\" โดยสามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาลต่อมา แต่ได้ออกจากการแข่งขันในปี 1900 หรืออาจจะหลังจากนั้นเล็กน้อย",
"title": "ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล"
},
{
"docid": "194417#5",
"text": "อนุชา ไชยเทศ ผู้บริหารระดับสูงของ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นชาวอีสานและชื่นชอบกับกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่เด็ก ได้รับสิทธิในการบริหาร สโมสรฟุตบอลการบินไทย-บ้านบึง ที่ตกชั้นจากไทยลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2552 และมีแนวคิดในการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลของชาวอีสาน จากกลุ่มชาวอีสานที่รักและชื่นชอบฟุตบอล ซึ่งได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในกรุงเทพมหานครเพื่อเข้ามาทำงานหรือเรียนหนังสือ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีสโมสรฟุตบอลที่เป็นศูนย์รวมของชาวอีสาน จึงได้ก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2552 โดยเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเยาวชน และผู้ที่สนใจทางด้านการกีฬาฟุตบอล และส่งทีมลงแข่งขันเป็นครั้งแรกในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 ภายใต้ชื่อ \"สโมสรฟุตบอลการบินไทย-ลูกอีสาน\"",
"title": "สโมสรฟุตบอลลูกอีสาน"
},
{
"docid": "53778#1",
"text": "สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 ในสมัยที่ จอมพลอากาศเฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยทางผู้บังคับบัญชาท่านให้การสนับสนุน ถึงขนาดที่ท่านลงมาดูแลการซ้อมและควบคุมด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้สโมสรทหารอากาศประสบความสำเร็จอย่างมากมาย โดยในยุคนั้นจะมีสโมสรต่างๆเช่น ทีมธนาคารรวม ทีมมุสลิม ทีมชายสด ทีมกรมมหรสพ ที่ลงเล่นอยู่ในฟุตบอล ถ้วยพระราชทานประเภท ก. แต่สโมสรก็สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ก. มากที่สุดถึง 14 ครั้ง และในจำนวนนี้เป็นการชนะเลิศติดต่อกัน 7 สมัยซ้อน ซึ่งยังเป็นสถิติที่ไม่มีสโมสรใดทำลายได้ จนถึงปัจจุบัน และรวมไปถึงการชนะเลิศฟุตบอลถ้วยพระราชทานครบ 4 ระดับเป็นสโมสรฯแรกๆในประเทศ",
"title": "สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล"
},
{
"docid": "148589#1",
"text": "เดวิด ดีน เป็นหนึ่งในผู้บริหารของ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ในปี ค.ศ. 1983 ถึง ค.ศ. 2007 เขาได้ก้าวเข้ามาเป็นชุดบริหารของ อาร์เซนอล นี้ เมื่อเขาซื้อหุ้น 16.6% ของสโมสร เป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท (ภายหลังได้ขายส่วนแบ่งให้กับผู้ร่วมบริหารแดนนี่ ฟิซแมน) แม้การซื้อนี้จะก่อให้เกิดความยุ่งยากด้านการเงินเมื่อเทียบกับประสบการณ์ด้านนี้ของเขาในสมัยนั้น; แต่ในปีต่อมา เขาได้รับหน้าที่เป็นถึงรองประธานสโมสร โดยดูแลความเคลื่อนไหวต่างๆในวงการฟุตบอลของสโมสร และมีบทบาทในการเจรจาซื้อขายนักเตะรวมไปถึงการปรับค่าเหนื่อยนักเตะในทีม เดวิด ดีน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก้าวเข้ามารับตำแหน่งของบุคคลไร้ชื่อเสียงในสมัยนั้นอย่าง อาร์แซน เวนเกอร์ เป็นผู้จัดการทีมในปี 1996 จนกระทั่งคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก 3 สมัย เอฟเอคัพ 4 สมัยภายใต้การคุมทีมของเวนเกอร์ คนนี้ และนอกจากนั้น ยังช่วยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่อีกด้วย",
"title": "เดวิด ดีน"
},
{
"docid": "57399#4",
"text": "เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1899 ฌูอัน กัมเป ได้ลงประกาศโฆษณาใน \"โลสเดปอร์เตส\" ว่ามีความต้องการที่จะก่อตั้งสโมสรฟุตบอล โดยได้รับการตอบรับอย่างดีในการนัดพบกันที่คิมนาเซียวโซเล เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีผู้เล่น 11 คนมาร่วมได้แก่ วอลเตอร์ ไวลด์ (ผู้บริหารคนแรกของสโมสร), ลุยส์ ดีออสโซ, บาร์โตเมว เตร์ราดัส, ออตโต กุนเซิล, ออตโต แมเยอร์, เอนริก ดูกัล, เปเร กาบอต, กาเลส ปูคอล, ชูเซป โยเบต, จอห์น พาร์สันส์ และ วิลเลียม พาร์สัน ทำให้ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ก็ถือกำเนิดขึ้นมา",
"title": "สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา"
},
{
"docid": "353735#1",
"text": "ผู้เล่นในรุ่นใหญ่จากทีอายุไม่เกิน 18 ปีบางคนก้ได้เล่นให้กับทีมสำรองของอาร์เซนอล ในปัจจุบันมีโค้ชคือ อดีตกองหลังอาร์เซนอล ที่ชื่อ สตีฟ โบลด์ ขณะที่ทีมที่อายุน้อยกว่ามีโค้ชคือ รอย แมสซีย์และสตีฟ แกตติง ส่วนอดีตกองหลังอาร์เซนอล เลียม เบรดี ดูแลเรื่องการจัดการการพัฒนาเยาวชนห้กับสโมสร โดยมีผู้ช่วยคือ เดวิด คอร์ต",
"title": "สถาบันสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล"
}
] |
3666 | มาร์เวลคอมิกส์ ก่อตั้งโดยใคร ? | [
{
"docid": "217876#0",
"text": "บริษัท มาร์เวลเวิลด์ไวด์ () หรือเรียกทั่วไปว่า มาร์เวลคอมิกส์ () และชื่อก่อนหน้านีนี้บริษัท มาร์เวลพับลิชิง () และ มาร์เวลคอมิกส์กรุป () เป็นค่ายการ์ตูนและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโรของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1939 โดย มาร์ติน กูดแมน ในนามของไทม์ลีคอมิกส์ มีนักเขียน นักวาดคนสำคัญ เช่น สแตน ลี แจ็ก เคอร์บี สตีฟ ดิตโก เป็นต้น\nมาร์เวลคอมิกส์ มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันดี เช่น เอ็กซ์เมน สไปเดอร์-แมน ฮัลก์ กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ธอร์ เป็นต้น และศัตรูที่โด่งดังและรู้จักกันดี เช่น กรีนก็อบลิน แม็กนีโต ด็อกเตอร์ดูม โลกิ กาแล็กตัส และเรดสกัล เป็นต้น\nมาร์เวลคอมิกส์ และคู่แข่งสำคัญมายาวนานคือดีซีคอมิกส์ ร่วมหุ้นกันไป 80 % ของตลาดหนังสือการ์ตูนอเมริกันในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบันมาร์เวลคอมิกส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "217876#1",
"text": "มาร์ติน กูดแมน ได้ก่อตั้งบริษัทซึ่งต่อมาที่รู้จักกันดีในนามของมาร์เวลคอมิกส์ ภายใต้ชื่อไทม์ลีพับลิเคชั่นส์ ในปี ค.ศ. 1939 เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือการ์ตูนภายใต้สำนักพิมพ์ไทม์ลีคอมิกส์ กู๊ดแมน ผู้เผยแพร่นิตยสารเยื่อกระดาษที่ได้เริ่มต้นผลิตนิยายตะวันตกเยื่อกระดาษในปี ค.ศ. 1933 ได้ขยายตัวในตลาด และได้รับความนิยมอย่างสูงในรูปแบบใหม่ปานกลางของหนังสือการ์ตูน การเปิดตัวของเขาจากสำนักงานของบริษัท ที่มีอยู่ที่เลขที่ 330 ตะวันตก ถนนที่ 42 นครนิวยอร์ก เขาได้จัดตั้งบรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร และผู้จัดการธุรกิจอย่างเป็นทางการ ที่มีอับราฮัม กูดแมน เป็นผู้เผยแพร่ที่ระบุอย่างเป็นทางการ",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
}
] | [
{
"docid": "217876#2",
"text": "การตีพิมพ์ครั้งแรกของไทม์ลีโดยหนังสือการ์ตูน \"มาร์เวลคอมิกส์\" ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 1939) รวมทั้งการปรากฏตัวครั้งแรกของซุเปอร์ฮีโรแอนดรอยด์ของคาร์ล บูร์กอส ชื่อฮิวแมนทอร์ช และการปรากฏตัวครั้งแรกของแอนตีฮีโรของบิลล์ อีเวอเรตต์ชื่อ กะลาสีนามอร์ ประสบความสำเร็จที่ดี และพิมพ์ครั้งที่สองต่อมาขายต่อเดือนรวมเกือบ 900,000 เล่ม ในขณะที่เนื้อหาของมันมาจากบรรจุด้านนอกของ บริษัท ฟันนีส์ ไทม์ลีในปีต่อไปมีพนักงานของตัวเอง",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "772023#2",
"text": "ฟาวเซ็ทได้ประกาศหยุดตีพิมพ์กัปตันมาร์เวลในปี 1953 เนื่องจากเกิดคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับดีซีคอมิกส์ ซึ่งกล่าวหาว่ากัปตันมาร์เวลมีต้นแบบมาจากซูเปอร์แมน ในปี 1972 ดีซีได้รับอนุญาตให้นำมาร์เวลแฟมิลี่จากฟาวเซ็ท กลับมาตีพิมพ์อีกครั้ง โดยปี 1991 ดีซีได้รับสิทธิเหนือตัวละครทั้งหมดและได้นำกัปตันมาร์เวลและมาร์เวล แฟมิลี่เข้าสู่จักรวาลดีซี และเนื่องจากความขัดแย้งกับชื่อตัวละครอีกตัวที่ชื่อว่า\"กัปตันมาร์เวล\"ซึ่งเป็นตัวละครของมาร์เวลคอมิกส์ ดีซีจึงใช้เครื่องหมายการค้า \"ชาแซม!\" ในการโฆษณา ทำให้หลายคนเข้าใจว่าคำนี้เป็นชื่อของตัวละคร จนเมื่อปี 2011 ดีซีจึงเปลี่ยนชื่อตัวละครนี้เป็น \"ชาแซม\" อย่างเป็นทางการ",
"title": "กัปตันมาร์เวล (ดีซีคอมิกส์)"
},
{
"docid": "217876#3",
"text": "เป็นครั้งแรกบรรณาธิการแท้จริงของบริษัท นักเขียน-นักวาด ชื่อโจ ไซมอน ร่วมทีมกับบริษัทอุตสาหกรรมในตำนานที่ประสบความสำเร็จ แจ็ค เคอร์บี ในการสร้างสรรค์ครั้งแรกกับซุเปอร์ฮีโรชื่อกัปตันอเมริกา ในหนังสือการ์ตูน \"Captain America Comics\" ฉบับที่ 1. (มีนาคม 1941) มันเกินกว่าพิสูจน์ฮิตยอดขายสำคัญที่มียอดขายเกือบ 1 ล้านฉบับ",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "217876#5",
"text": "กูดแมน ได้รับการว่าจ้างญาติของภรรยาของเขาสแตนลี่ย์ ลีเบอร์ เป็นผู้ช่วยสำนักงานทั่วไปในปี ค.ศ. 1939 เมื่อบรรณาธิการไซมอนออกจากบริษัทในช่วงปลายปี ค.ศ. 1941 กู๊ดแมนได้สร้างลีเบอร์โดยเขียนนามปากกาว่า \"สแตน ลี\" บรรณาธิการชั่วคราวของลายเส้นภาพการ์ตูน ตำแหน่งที่อยู่หลายสิบปีของลียกเว้นสามปีในระหว่างการรับราชการทหารของเขาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ลี ได้เขียนครอบคลุมไทม์ลีที่เอื้อต่อการจำนวนของชื่อเรื่องที่แตกต่างกัน",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "940008#0",
"text": "กัปตันมาร์เวล () เป็นภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีเค้าโครงจากตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ชื่อ แคโรล แดนเวอส์ / กัปตันมาร์เวล สร้างโดยมาร์เวลสตูดิโอส์ และจัดจำหน่ายโดยวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเจอส์ เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ยี่สิบเอ็ดในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล เขียนและกำกับโดยอันนา บอเดน และ ไรอัน เฟล็ก ร่วมกับเม็ก เลอโฟฟว์, นิโคล เพิร์ลแมน, เจนีวา รอเบิร์ตสัน-ดวอเร็ต, ลิซ ฟลาไฮฟ์ และคาร์ลี เมนซ์",
"title": "กัปตันมาร์เวล (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "957052#0",
"text": "โกสต์ () เป็นตัวละครของมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเดวิด มิเชลินีและบ็อบ เลย์ตัน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ไอรอนแมน\" เล่มที่ 219 (มิถุนายน 1987) เดิมเขาเคยเป็นวิศวกรบริษัทออมนิเซเพียนต์ (Omnisapient) แต่ภายหลังถูกบริษัทหลอกใช้และทรยศ ทำให้เขากลายเป็นตัวร้ายที่ใช้ความสามารถในการเจาะระบบคอมพิวเตอร์และชุดที่มีเทคโนโลยีล่องหนและตรวจจับไม่ได้ในการทำลายบริษัทยักษ์ใหญ่ รวมถึงสตาร์กอินดัสตรีส์ โกสต์จึงเป็นศัตรูกับไอรอนแมน ต่อมาโกสต์เข้าร่วมทีมธันเดอร์โบลส์และช่วยทีมอเวนเจอร์สสู้กับบริษัทออสคอร์ปของนอร์แมน ออสบอร์นและบริษัทแฮมเมอร์อินดัสตรีส์ของจัสติน แฮมเมอร์",
"title": "โกสต์ (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "673374#0",
"text": "รายชื่อของตัวละครในจักรวาลมาร์เวล ที่ถูกสร้างขึ้นและเป็นลิขสิทธิ์ของมาร์เวลคอมิกส์",
"title": "รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "422562#0",
"text": "มาร์เวลพินบอล () เป็นวิดีโอเกมพินบอล ที่ได้รับการพัฒนาโดยเซ็นสตูดิโอ เกมนี้มีโต๊ะพินบอลรูปแบบมาร์เวลคอมิกส์ โดยสามารถเล่นได้ในระบบเพลย์สเตชัน 3 กับเพลย์สเตชันเน็ตเวิร์ก และสามารถดาวน์โหลดรายการได้สำหรับ \"พินบอลเอฟเอ็กซ์ 2\" ในระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ เอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟ์อาเขต เกมนี้เป็นเกมพินบอลอันดับสองสำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3 ภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากเกม \"เซ็นพินบอล\" เกมได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3",
"title": "มาร์เวลพินบอล"
}
] |
3667 | พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบิดาชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "4226#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง \"\"หลวงยกกระบัตร\"\" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
}
] | [
{
"docid": "28051#4",
"text": "สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป",
"title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"
},
{
"docid": "4226#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "16485#8",
"text": "รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ พระมหาอุปราช พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม 43 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 73 พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำานจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. 2356 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูสถานะเดิม",
"title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"
},
{
"docid": "53234#1",
"text": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที 7 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หลังพระราชพิธีปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ ถึงปี พ.ศ. 2346 จึงเลื่อนเป็นกรมหลวงเสนานุรักษ์",
"title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์"
},
{
"docid": "126732#29",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ แต่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ที่ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าต่างกรมทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในมีจำนวนทั้งสิ้น 17 พระองค์ ในจำนวนนี้เป็นพระราชโอรส 15 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์ โดยพระราชโอรสพระองค์แรกที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนพระราชธิดาพระองค์แรกที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี และพระราชบุตรพระองค์สุดท้ายที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต ซึ่งได้รับการสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"
},
{
"docid": "18659#1",
"text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ มีพระราชปรารภว่า ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆ มา ทรงหล่อพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงเป็นบรมกษัตริย์ขึ้นไว้สักการบูชา ด้วยอาศัยปรารภเหตุทั้งสองอย่างนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาสร้างพระพุทธรูปใหญ่ หุ้มด้วยทองคำ เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เมื่อทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังผนวช จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปความมีความสูงในราวหกศอก จึงได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง อย่างจักรพรรดิราช 2 องค์ จารึกพระนามองค์หนึ่งว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช จักรพรรดินารถบพิตร อีกพระองค์หนึ่งจารึกพระนามว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนารถธรรมิกราชบพิตร ซึ่งเดิมเรียกว่า แผ่นดินต้น แผ่นดินกลาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงหวั่นวิตกว่าประชาชนจะเรียกแผ่นดินของพระองค์ว่า \"แผ่นดินปลาย\" ซึ่งหมายถึงสิ้นสุดสมัยรัตนโกสินทร์ อันจะเป็นอัปมงคล จึงมีพระบรมราชโองการให้ตั้งนามแผ่นดินตามพระพุทธปฏิมากรทั้ง 2 พระองค์ แผ่นดินต้นให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แผ่นดินกลางให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น “นภาลัย”",
"title": "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
},
{
"docid": "852215#0",
"text": "เจ้าจอมบุญนาก หรือมีสมญาว่า บุญนากสีดา เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าจอมบุญนากมีบิดาเป็นชาวจีน กับมารดาชาวญวน แต่ไม่ทราบว่าบิดามารดามีจากตระกูลใดหรือประกอบกิจอันใดมา เธอได้สนองพระเดชคุณเป็นที่พอพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นอย่างยิ่งจึงได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดถึง 10 ชั่ง แต่มิได้ให้ประสูติพระราชโอรสธิดาแต่อย่างใด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งอยู่ร่วมสมัยและได้ทันเห็นเจ้าจอมบุญนากนี้ ได้ตรัสเล่าถึงเจ้าจอมท่านนี้ไว้ว่า",
"title": "เจ้าจอมบุญนาก ในรัชกาลที่ 1"
},
{
"docid": "175868#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต (13 มิถุนายน พ.ศ. 2341 - 30 มกราคม พ.ศ. 2390) เป็นโอรสพระองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เจ้าจอมมารดากลิ่น (ธิดาของพระยาพัทลุงและคุณหญิงแป้น) เมื่อทรงพระเยาว์ชาววังเรียกพระองค์ว่า พระองค์โต เนื่องจากทรงมีวรกายที่สูงใหญ่ ประสูติเมื่อ วันพุธ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2341 ทรงเป็นต้นราชสกุลสุทัศน์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต"
},
{
"docid": "84473#5",
"text": "เมื่อเกิดการผลัดแผ่นดินขึ้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ คุณบุญรอดก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าทรงพระนาม \"สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด\" ทรงประทับอยู่พระตำหนักแดงในพระบรมมหาราชวัง ทั้งนี้ทรงสนิทสนมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย",
"title": "สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี"
}
] |
3671 | ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 มีใครเป็นเจ้าของ ? | [
{
"docid": "34424#0",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า \"สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7\" (\"ททบ.7\") หรือ \"ช่อง 7\" (\"ขาว-ดำ\") ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "34424#1",
"text": "ราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับ ว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์\nจากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ\"โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท\nสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 จากอาคารสวนอัมพร เป็นภาพขาวดำ ใช้ระบบเอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ จึงเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งที่สอง ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน)\nต่อมา เมื่อก่อสร้างของอาคารสถานีเสร็จสมบูรณ์ จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์และวันศุกร์ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมากเป็นสารคดีและภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณ เริ่มจากถ่ายทอดการฝึกทหารในยามปกติ ซึ่งมีชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ เริ่มจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย\nพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทอดพระเนตรกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508\nนอกจากนี้ ททบ.5 ยังเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในปีเดียวกันนี้ โดยในระยะแรกเป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ. และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 แห่งในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดนครราชสีมา โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไมโครเวฟแทน\nจากนั้น ททบ.5 ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีในระบบพาล (Phase Alternation Line - PAL) เป็นครั้งแรกด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต และต่อมา ททบ.5 จึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสถานี และยังมีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งด้วย\nเมื่อปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย พร้อมตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มจัดทำห้องส่งส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี อนึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ ททบ.ดำเนินการขยายสถานีเครือข่ายในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้\nนอกจากนี้ ททบ.5 ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ของสถานีฯ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยใช้โดเมนเนม www.tv5.co.th พร้อมทั้งจัดทำระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2539 ททบ.เป็นผู้ริเริ่มใช้เฮลิคอปเตอร์ที่ติดตั้งกล้องวิดีโอ และรถถ่ายทอดเคลื่อนที่ผ่านระบบดาวเทียม (Digital Satellite News Gathering ชื่อย่อ: D-SNG) มาใช้กับการถ่ายทอดสดและรายงานข่าว เป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นสถานีแรกของประเทศไทย ที่ดำเนินการผลิตและควบคุมการออกอากาศ ด้วยระบบดิจิตอล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 และยังเริ่มต้นออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงเป็นสถานีแรกของไทย\nต่อมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ททบ.5 ดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในระบบดิจิตอลไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก ตามโครงการ โดยปัจจุบันสามารถรับชมในกว่า 170 ประเทศ และในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. ปีเดียวกันนั้นเอง การก่อสร้างอาคารที่ทำการ และอาคารหลักของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งรวมส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุนไว้ในอาคารเดียวกัน รวมทั้งมีห้องส่งโทรทัศน์อันทันสมัย จำนวน 4 ห้อง ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ททบ.เริ่มดำเนินงานก่อสร้าง อาคารสำนักงานเพิ่มเติม และอาคารจอดรถ กำหนดแล้วเสร็จในวาระครบรอบ 50 ปีของ ททบ.5 คือ พ.ศ. 2551\nโดยในปีดังกล่าว ททบ.จัดซื้อระบบออกอากาศภายในห้องส่งใหม่ ประกอบด้วยโรงถ่ายเสมือนจริง (Virtual Studio) และกำแพงวิดีทัศน์ (Video Wall) พร้อมทั้งใช้สีแดง ประกอบการนำเสนอข่าวของสถานีฯ ในปีต่อมา (พ.ศ. 2552) ททบ.5 เปลี่ยนไปใช้สีเขียว เป็นหลักในการนำเสนอข่าว โดยให้มีนัยสื่อถึงกองทัพบก ล่าสุด ททบ.ดำเนินงานก่อสร้าง อาคารชุดอเนกประสงค์แห่งใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557\nคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกันทดลองออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยมอบหมายให้ ททบ.5 เป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่เวลา 13:00 น. ของวันศุกร์ที่ 25 มกราคม จนถึงเวลา 12:59 น. ของวันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในย่านความถี่ยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 36 ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ช่องรายการคือ 6 ช่องทวนสัญญาณจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial) ด้วยความละเอียดมาตรฐานตามปกติ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 , สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สำหรับอีก 2 ช่องรายการ จะทดลองออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง กล่าวคือ ช่องหนึ่งจะกระจายเสียงและแพร่ภาพ รายการโทรทัศน์ความละเอียดสูงซึ่งผลิตโดย ททบ. ส่วนอีกช่องหนึ่งจะทวนสัญญาณ จากช่องรายการของไทยพีบีเอส ซึ่งออกอากาศในระบบความละเอียดสูงผ่านดาวเทียมอยู่แต่เดิม โดยมีรัศมีรอบเสาส่งสัญญาณบนยอดอาคารใบหยก 2 เป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล\nต่อมา กสทช.อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแก่ ททบ.5 โดยเริ่มนำสัญญาณภาพและเสียง ออกอากาศคู่ขนานไปจาก โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกทางช่อง 5 เดิม พร้อมกับผู้ประกอบการส่วนมาก ในประเภทบริการทางธุรกิจ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ต่อมา ททบ.5 ตั้งชื่อช่องรายการที่ออกอากาศในระบบดิจิทัลว่า ทีวี 5 เอชดี1 (TV5 HD1) (วิธีอ่าน อ่านว่า \"ทีวีไฟว์ เอชดีวัน\") พร้อมกับการปรับเปลี่ยนการปรากฏตราสัญลักษณ์ของสถานีแต่เพียงเล็กน้อย ด้วยการเพิ่มตัวอักษรคำว่า \"HD1\" สีเทาเงิน ประดับติดกับสัญลักษณ์ไว้ทางด้านขวาตรงกลาง โดยเพื่อใช้สำหรับการปรากฏตราสถานีฯไว้อยู่ที่มุมขวาของหน้าจอโทรทัศน์ เมื่อขณะที่กำลังออกอากาศรายการต่างๆอยู่ ทั้งระบบแอนะล็อกและดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้มาจนกระทั่งพฤษภาคม พ.ศ. 2561 จึงได้ปรับอัตลักษณ์บนหน้าจอใหม่ให้ใหญ่และโดดเด่นขึ้น",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
}
] | [
{
"docid": "467502#0",
"text": "ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม เป็นละครชุดประเภทจบในตอน ผลิตโดย โพลีพลัส ออกอากาศทุกคืนวันเสาร์เวลา 20.20 - 21.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยเริ่มตอนแรกวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555 ออกอากาศตอนจบไปเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ภายหลังได้มีการนำละครเรื่องนี้กลับมาออกอากาศซ้ำอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2559 ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 น. และทุกคืนวันศุกร์ เวลา 22.00 น. โดยออกอากาศทาง ไทยรัฐทีวี เริ่มวันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 (แต่การออกอากาศซ้ำครั้งนี้จะเริ่มออกอากาศตั้งแต่ตอน เจ้าที่เจ้าทาง เป็นต้นไป) อำนวยการผลิตโดย อรพรรณ วัชรพล ลงเสียงประกอบโดย ปั้น-ปั้น ร่วมเขียนบทโทรทัศน์โดย ทิพสุดา ดวงมะวงศ์/ณัฏฐพล เกษบุญชู/เพียงพัชร/พิมพ์ทิพย์/สุธิสา วงศ์อยู่/ปั้นให้เป๊ะ/สถาพร สุชาติ/กฤษฎา เตชะนิโลบล และอีกมากมาย กำกับการแสดงโดย กฤษฎา เตชะนิโลบล/หลักเขต วสิกชาติ/วัชรา สังข์สุวรรณ และ กิฟท์ สุภานันท์ต่อไปนี้จะเป็นรายชื่อตอนในละครชุด ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม พร้อมข้อมูลวันออกอากาศเมื่อครั้งที่ฉายในสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ชื่อตอนที่มีการพิมพ์ตัวหนาคือตอนที่ได้รับการออกอากาศซ้ำในช่อง ไทยรัฐทีวี ด้วย)",
"title": "ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม"
},
{
"docid": "487943#2",
"text": "เจ้าแม่จำเป็นออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศตอนแรกวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 แต่หลังจากที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้มีการจัดผังรายการประจำปี 2556 ใหม่ โดยได้ทำการยืดช่วงเวลารายการของเอ็กแซ็กท์จากเดิม 1 ชั่วโมงต่อวันมาเป็น 1 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน ทำให้เอ็กแซ็กท์มีเวลาในการฉายละครต่อตอนเพิ่มมากขึ้น เอ็กแซกท์จึงเริ่มเปลี่ยนเวลาออกอากาศมาเป็นทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.10 - 21.40 น. ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556 - 22 มกราคม 2556 ส่วนในวันพุธ-พฤหัส เอ็กแซ็กท์ได้นำละครเรื่อง บ่วงวันวาร มาฉายเพิ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 จึงทำให้ละครหลังข่าวของเอ็กแซ็กท์มี 2 เรื่องต่ออาทิตย์ไปในที่สุด",
"title": "เจ้าแม่จำเป็น"
},
{
"docid": "681750#4",
"text": "ในช่วงละครเรื่อง เจ้าแม่จำเป็น ออกอากาศ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้มีการจัดผังรายการประจำปี 2556 ใหม่โดยได้ทำการยืดช่วงเวลารายการของเอ็กแซ็กท์จากเดิม 1 ชั่วโมงต่อวันมาเป็น 1 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน ทำให้เอ็กแซ็กท์มีเวลาในการฉายละครต่อตอนเพิ่มมากขึ้น เอ็กแซ็กท์จึงเริ่มเปลี่ยนเวลาออกอากาศมาเป็นทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.10 - 21.40 น. ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556 - 22 มกราคม 2556 ส่วนในวันพุธ-พฤหัส เอ็กแซ็กท์ได้นำละครเรื่อง บ่วงวันวาร มาฉายเพิ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 จึงทำให้ละครหลังข่าวของเอ็กแซ็กท์มี 2 เรื่องต่ออาทิตย์ไปในที่สุด",
"title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "870546#0",
"text": "มือปราบเจ้าหัวใจ เป็นละครในชุด \"ภารกิจรัก\" แนวแอ็คชั่น โรแมนติก ดราม่า สอดแทรกแนวคิด ความรัก มิตรภาพ และ การเสียสละเพื่อประเทศชาติ ของทางสถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถ่ายทอดเรื่องราวรักระหว่างรบ ของผู้ชายในเครื่องแบบ 4 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน เริ่มตอนแรกวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560-18 สิงหาคม พ.ศ. 2560“เป็นตำรวจมืออาชีพ เพื่อความผาสุกของประชาชน”\nร.ต.อ.คณินทร์ เวโรจน์ (ศรัณย์ ศิริลักษณ์) มือปราบหนุ่มบ้าดีเดือด สังกัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษเสือดาว กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยอุดมการณ์มุ่งมั่นในการทำลายล้างองค์กรค้ายาเสพติดข้ามชาติ เพราะบิดาอดีตตำรวจถูกหัวหน้าหน่วยเครือข่ายองค์กรยาเสพติดข้ามชาติฆ่าตาย จึงกลายเป็นแรงขับในการทำหน้าที่ กับภารกิจที่ต้องหาตัวหัวหน้าแก๊งที่ไม่มีใครเคยพบหน้าในนาม ”คุณ” บุคคลปริศนาที่เขาต้องการลากคอมาดำเนินคดีให้ได้ โดยมีทีมสนับสนุนได้แก่ ร.ต.อ.ปรมัตถ์ (รัชชานนท์ สุประกอบ) เพื่อนของคณินทร์และเป็นคู่แข่งมาตั้งแต่สมัยเรียนนายร้อยตำรวจ หมวดมาโนช (เติมเศวตชัย นาคสุข) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี หมวดสุจิตรา(รัญดภา มันตะลัมพะ) หมวดสาวสวยที่มีฝีมือในการต่อสู้ ภายใต้การบัญชาการ ของ พ.ต.อ.เจษฎา (ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล) หัวหน้าเฉพาะกิจชุดนี้\nมินตรา(อุษามณี ไวทยานนท์) นักข่าวสาวมีอุดมการณ์เดียวกับคณินทร์ สนใจทำสกู๊ปเรื่องค้ายาให้สังคมได้รับรู้ แต่ บ.ก.เจ๊อุมา (เปรมสุดา สันติวัฒนา) ไม่อนุญาตให้มินตราทำ มินตราก็ยังแอบทำเพราะ ไมค์ (ชญานิน เต่าวิเศษ) น้องชายของเธอ ถูกคนเมายาบ้าจับเป็นตัวประกันและฆ่าตาย เหลือเพียง จันทรา (ปนัดดา โกมารทัต) ผู้เป็นยาย ที่ต้องรักษาตัวจากอาการอัลไซเมอร์ มินตราสะกดรอยจนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ปราบปรามไล่ล่าอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้คณินทร์ไม่พอใจที่มินตราเข้ามาวุ่ยวายกับทีมและมีปากเสียงกัน ปรมัตถ์จึงอาสาให้ข้อมูลและคอยเทคแคร์มินตราจนชอบมินตรา คณินทร์ได้เบาะแส นายวาทิศ พงศ์พล (พูลภัทร อัตถปัญญาพล) เจ้าของธุรกิจมูลค่าเป็นพันล้าน และคิดว่านายวาทิศคือ “คุณ” ที่กำลังสืบหา แต่ก็ไม่สามารถหาหลักฐานมัดตัวได้ วาทิศท้าทายและฟ้องคณินทร์ข้อหาหมิ่นประมาท ทำให้คณินทร์ถูกพักงาน และปรมัตถ์มาดูแลคดีแทน มินตราจึงชวนให้คณินทร์มาช่วยหาเบาะแสคนร้ายจนสนิทสนมและมีโอกาสได้ไปเยี่ยมยายจันทราและได้รู้จักกับ คุณตาณรงค์ (สมภพ เบญจาทิกุล) ผู้ใจดีซึ่งสนิทสนมกับยายจันทรา คณินทร์ได้เบาะแสว่าจะมีการขนยาเสพติดล็อตใหญ่เข้าประเทศแล้วลงเรือต่อไปยังประเทศที่ 3 ภูริชนำข่าวมาบอกว่า ”คุณ” ตัวจริงไม่ใช่นายวาทิศ ในที่สุดยาล็อตใหญ่ก็ถูกยึดเอาไว้ได้ คนร้ายเกือบทั้งหมดไม่ถูกยิงตายก็ถูกจับ คณินทร์ถูกลอบฆ่าโดยมีมินตราอยู่ในเหตุการณ์ ทั้งคู่รอดมาได้และได้รู้ว่าต่างมีใจให้กัน ทำให้ปรัมัตถ์รู้สึกเจ็บปวด เพราะแพ้คณินทร์ทุกเรื่องแม้กระทั่งความรัก จึงแปรพรรคไปหนอนบ่อนไส้และถูกคณินทร์จับได้ ปรมัตถ์หนีการจับกุมไปอยู่กับแก๊งวาทิศ โดยที่คณินทร์ไม่รู้เลยว่า ทุกอย่างมี พ.ต.อ.เจษฎาอยู่เบื้องหลัง คณินทร์สืบหาข้อมูลจนรู้ว่า “คุณ” ที่ตามหานั้น แท้จริงแล้วคือ คุณตาณรงค์ การไล่ล่าในครั้งนี้ต้องใช้กองกำลังจากทั้ง 4 เหล่าทัพ ได้แก่ คณินทร์ ภูริช ต้นกล้า และกรัณย์ เพราะ”คุณ”ตาณรงค์กำลังหลบหนีกับเงินและยาล็อตใหญ่ที่กำลังจะถูกส่งออกนอกประเทศ พร้อมทั้งจับตัวมินตราไปด้วย มินตราจะต้องเผชิญกับอะไรต่อไป และคณินทร์จะสามารถช่วยมินตรากลับมาได้หรือไม่การตอบรับของละครเรื่องนี้ทั้งหมด 10 ตอนที่ได้ออกอากาศไป (เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560) Nielsen ได้วัดค่าเฉลี่ยเรตติ้งละครจากผู้ชมทั่วประเทศไทยอยู่ที่ 6.56",
"title": "มือปราบเจ้าหัวใจ"
},
{
"docid": "377754#19",
"text": "ดุสิต ศิริวรรณ และนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ \"เช้าวันนี้ที่เมืองไทย\" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และ \"สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน\" ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์",
"title": "ดุสิต ศิริวรรณ"
},
{
"docid": "583513#1",
"text": "ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีโทรทัศน์ ททบ. 5 HD1 ทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 20:25–21:40 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้ปรับเวลามาเป็น 20:10-21:25 น. และล่าสุดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:25 น.โดยออกอากาศต่อจากละครเรื่อง คุ้มนางครวญ",
"title": "เล่ห์นางฟ้า"
},
{
"docid": "364822#1",
"text": "ล่าสุดในปี พ.ศ. 2554 บริษัทเอ็กแซ็กท์ ได้นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ทุก วันศุกร์ (20.30 น.) และ วันเสาร์ วันอาทิตย์ (20.15 น.) กำกับการแสดงโดย บรรเจิด พุทธโศภิษฐ์ นำแสดงโดย ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์, วรนุช ภิรมย์ภักดี, รพีภัทร เอกพันธ์กุล, พิชญา เชาวลิต, อนุชิต สพันธุ์พงษ์, อภิษฎา เครือคงคา และมี พิศมัย วิไลศักดิ์ มาร่วมแสดง แถมเคยแสดงในบทกล้วย รจเรข มาแล้ว ในรูปแบบภาพยนตร์มาแล้ว ในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งเริ่มออกอากาศ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554",
"title": "ค่าของคน"
},
{
"docid": "528100#1",
"text": "ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:40 นาฬิกา ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556–9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 และออกอากาศรีรันทางแอ็กซ์ แชนแนล ทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 09:00, 18:30, 22:30 นาฬิกา ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556–6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และล่าสุดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:25 น.",
"title": "เรือนเสน่หา"
},
{
"docid": "368843#1",
"text": "จากนั้นทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 บอร์ดคณะกรรมการพิจารณาการบริหารช่อง 7 ได้อนุมัติ ได้นำบทประพันธ์นี้มาทำเป็นละครซึ่งผู้จัด บริษัท ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น จำกัด ตอนแรกวางตัวบทพระเอกไว้ที่ ณัฐวุฒิ สกิดใจ แต่ด้วยเหตุที่ว่า ณัฐวุฒิ สกิดใจได้ย้ายไปอยู่กับสถานีไทยทีวีสีช่อง 3 แทน ต่อมาบทดังกล่าวเป็นของวีรภาพ สุภาพไพบูลย์ ประกบคู่กับนางเอกของช่อง 7 มากมาย เช่น จีรนันท์ มะโนแจ่ม,ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์, อคัมย์สิริ สุวรรณศุข, มรกต กิตติสาระ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนักแสดงอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แซมมี่ เคาวเวลล์, เขตต์ ฐานทัพ, ภาณุ สุวรรณโณ, ดนัย สมุทรโคจร ออกอากาศในคืนวันพุธ-พฤหัสบดี ระหว่างวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ในเวลา 20.25 น. และออกอากาศอีกครั้ง วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 - 14.55 น.",
"title": "ลุย"
},
{
"docid": "679726#0",
"text": "เจ้านาง เป็นบทประพันธ์ของ ทองพริ้ม แนวพีเรียด - แฟนตาซี - สยองขวัญ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ โดยครั้งแรกออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อปีพ.ศ. 2537 กำกับการแสดงโดย อดุลย์ บุญบุตร นำแสดงโดย จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์, กวินนา สุวรรณประทีป, อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร และณัฐสิมา คุปตะวาทิน ส่วนในครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2558 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กำกับการแสดงโดย เอกภพ ตันหยงมาศกุล นำแสดงโดย อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ ,ธนพล นิ่มทัยสุข และนักแสดงอีกมากมาย ซึ่งทั้งสองครั้งผลิตโดย กันตนา",
"title": "เจ้านาง"
}
] |
3673 | ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "593774#1",
"text": "ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า \"somesthetic senses\" โดยที่คำว่า \"somesthesis\" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
}
] | [
{
"docid": "605037#0",
"text": "ภาวะขยายความรู้สึกจากกาย (, ตัวย่อ SA) เป็นแนวโน้มที่จะรับรู้ความรู้สึกปกติจากกาย (somatic) และจากอวัยวะภายใน (visceral) ว่ารุนแรง ก่อกวน หรือมีอันตราย\nเป็นอาการสามัญในโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriasis ICD-10 F45.2), เป็นอาการที่พบบ่อย ๆ ในโรคไฟโบรไมอัลเจีย โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลบางประเภท กลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ และ alexithymia \nวิธีสามัญในการวัดภาวะนี้ทางคลินิกเรียกว่า Somatosensory Amplification Scale (แปลว่า ระดับการขยายความรู้สึกทางกาย, ตัวย่อ SSAS)",
"title": "ภาวะขยายความรู้สึกจากกาย"
},
{
"docid": "593774#24",
"text": "ความไม่รู้อากัปกิริยา (คือตำแหน่งของอวัยวะในร่างกายหรือการเคลื่อนไหวของอวัยวะเหล่านั้น) หรือไม่สามารถแยกแยะจุดสัมผัส (two point tactile discrimination) ในด้านหนึ่งของกาย จะแสดงความเสียหายในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในด้านตรงกันข้าม \nผลอาจเป็นการขาดความรู้สึกในทั้งอวัยวะเช่นแขนขา หรือว่าในทั้งร่างกาย ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหาย \nความผิดปกติชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ (Astereognosis) เป็นความไม่สามารถใช้ความรู้สึกสัมผัสเพื่อระบุสิ่งของที่อยู่ในมือ\nยกตัวอย่างเช่น ถ้าความเสียหายอยู่ในเขตมือของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิในสมองซีกเดียว คนไข้ที่ปิดตาจะไม่สามารถรู้ถึงตำแหน่งนิ้วในมือด้านตรงข้ามกับสมองที่เสียหาย และจะไม่สามารถระบุวัตถุสิ่งของที่อยู่ในมือเช่นกุญแจหรือโทรศัพท์มือถือ",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "593774#7",
"text": "กลไกการทำงานของการถ่ายโอนความรู้สึกของตัวรับความรู้สึก (ปลายประสาท) ในระบบรับความรู้สึกทางกายจะคล้าย ๆ กันโดยทั่วไป คือสิ่งเร้าที่เหมาะสมจะเปิดปิดช่องไอออนของปลายประสาท ทำให้แคตไอออนเช่น Na และ/หรือ Ca ไหล เข้าไปในเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก ซึ่งเมื่อถึงขีดเริ่มเปลี่ยนในที่สุดก็จะทำให้เกิดการสร้างศักยะงาน แล้วส่งไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "593774#17",
"text": "อย่างไรก็ดี ในความรู้สึกแต่ละประเภท กลไกการทำงานของการถ่ายโอนความรู้สึกของตัวรับความรู้สึก (ปลายประสาท) ในระบบรับความรู้สึกทางกายจะคล้าย ๆ กันโดยทั่วไป คือสิ่งเร้าที่เหมาะสมจะเปิดปิดช่องไอออนของปลายประสาท ทำให้แคตไอออนเช่น Na และ/หรือ Ca ไหล เข้าไปในเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก ซึ่งเมื่อถึงขีดเริ่มเปลี่ยนในที่สุดก็จะทำให้เกิดการสร้างศักยะงาน แล้วส่งไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมองเป็นจุดเริ่มต้น โดยอัตราของศักยะงานจะมีสัดส่วนเข้ากับการลดขั้ว ซึ่งก็จะเข้ากับลักษณะตัวกระตุ้นด้วย",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "593774#23",
"text": "มีการชักอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Jacksonian seizure ซึ่งปรากฏเป็นความรู้สึกผิดปกติที่กำหนดตำแหน่งที่ผิวหนังได้ แต่ไม่ปรากฏตัวกระตุ้นที่ชัดเจน\nความรู้สึกผิดปกติอาจแพร่ไปตามแขนขา ซึ่งส่องถึงการยิงสัญญาณผิดปกติของนิวรอนในรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งเป็นที่ที่การชักกำลังเป็นไป\nเหตุการณ์และความรู้สึกที่คนไข้จำได้ในช่วงชัก จะเป็นประโยชน์เพื่อวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายได้\nถ้าคนไข้สามารถชี้แจงถึงลักษณะของการชักและความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงที่ชักได้",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "974698#13",
"text": "มันเชื่อมานานแล้วว่า อารมณ์เชิงลบ เช่น ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า อาจมีอิทธิพลต่อโรคกาย ซึ่งก็จะมีผลต่อกระบวนการทางชีวภาพอันอาจทำให้เสี่ยงโรคเพิ่มขึ้นในที่สุด\nแต่งานศึกษาต่าง ๆ ก็ได้แสดงว่า นี่ไม่จริงเป็นบางส่วน\nคือแม้ความเครียดดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่ดี แต่ความรู้สึกว่า ความเครียดเป็นอันตรายก็จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก\nยกตัวอย่างเช่น เมื่อเครียดอย่างเรื้อรัง ก็จะเสี่ยงเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรทางสรีรภาพ ทางอารมณ์ และทางพฤติกรรม\nซึ่งอาจก่อโรค\nความเครียดเรื้อรังเป็นผลของเหตุการณ์เครียดเป็นระยะเวลานาน เช่น การดูแลคู่ชีวิตที่สมองเสื่อม หรือเป็นผลของเหตุการณ์เครียดชั่วคราวแต่รู้สึกเครียดเป็นระยะเวลานาน เช่น การถูกทำร้ายทางเพศ",
"title": "ความเครียด (จิตวิทยา)"
},
{
"docid": "593774#22",
"text": "การชักบางประเภทสัมพันธ์กับระบบรับความรู้สึกทางกาย\nคือ ความเสียหายในคอร์เทกซ์อาจทำให้รู้สึกร้อนไม่ได้ หรือทำให้ชี้จุดที่เจ็บปวด (pain discrimination) ไม่ได้\nและสัญญาณบอกเหตุ (aura) เป็นความรู้สึกร้อนหรือความเจ็บปวด ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏอย่างหนึ่งก่อนชักในโรคลมชัก (epileptic seizure) หรือการชักเหตุสมองส่วนเดียว (focal seizure)",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "912564#36",
"text": "ระบบรับความรู้สึกทางกายจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ผิวหนัง (รวมทั้งแรงดัน แรงสั่น และอุณหภูมิ) ตำแหน่งของแขนขา (kinaesthetic) และอากัปกิริยา\nความไวสัมผัสและขีดเริ่มเปลี่ยนการรู้สิ่งเร้าจะต่างกันทั้งในระหว่างบุคคลต่าง ๆ และในบุคคลคนเดียวกันในช่วงชีวิต\nและตัวบุคคลก็จะไวสัมผัสต่างกันระหว่างมือซ้ายและขวา\nซึ่งอาจเป็นเพราะความด้านที่ผิวหนังของมือที่ถนัด ซึ่งกั้นสิ่งเร้าจากตัวรับความรู้สึก\nหรืออาจเป็นเพราะความแตกต่างของการทำงานหรือสมรรถภาพระหว่างสมองซีกซ้ายขวา",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "469192#10",
"text": "ระบบรับความรู้สึกทางกายประกอบด้วยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ, วิถีประสาทที่แล่นไปสู่เขตรับความรู้สึก, และเขตรับความรู้สึกทางกาย S1 ซึ่งเป็นเขตสมองที่รับความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้นว่า สัมผัส แรงกดดัน (pressure) อุณหภูมิ ความเจ็บปวด (ซึ่งรวมทั้งความคันและความรู้สึกจั๊กจี้) ความสั่นสะเทือน และความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและตำแหน่งข้อต่อ (รวม ๆ กันเรียกว่าการรับรู้อากัปกิริยา)",
"title": "ระบบรับความรู้สึก"
},
{
"docid": "586043#14",
"text": "การรับรู้การทรงตัว (balance) หรือเรียกว่า vestibular sense หรือเรียกว่า การรับรู้ความสมดุล (equilibrioception) เป็นความรู้สึกที่ยังสิ่งมีชีวิตให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของกาย ทิศทางการเคลื่อนไหว และความเร่ง เพื่อที่จะรักษาความสมดุลของท่าทางในร่างกาย\nอวัยวะที่รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวของกายเป็นต้นเหล่านี้ก็คือ ปลายประสาทของ vestibular system ที่อยู่ในอวัยวะ 5 อย่างในหูชั้นในแต่ละข้าง \nอวัยวะเหล่านี้มีหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสองอย่างคือ ความเร่งของโมเมนตัมเชิงมุม และความเร่งเชิงเส้น (ซึ่งเป็นอันเดียวกับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง) โดยเรียกรวม ๆ กันว่าการรับรู้ความสมดุล (equilibrioception)",
"title": "ประสาทสัมผัส"
}
] |
3675 | ตับเป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "36508#0",
"text": "ตับ () เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ () (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ () อาจช่วยได้ในระยะสั้น",
"title": "ตับ"
}
] | [
{
"docid": "36508#18",
"text": "ตับเป็นอวัยวะภายในของมนุษย์เพียงอย่างเดียวที่สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหายได้ตามธรรมชาติ เนื้อเยื่อของตับที่เหลือเพียง 25% สามารถฟื้นฟูได้ใหม่ทั้งหมด แต่ไม่ได้เป็นการงอกใหม่จริง เพียงแต่เป็น'การเติบโตแบบชดเชย'ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พูของตับที่ถูกตัดออกไปไม่ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่แต่ตับจะฟื้นฟูการทำงานของมันที่ไม่ใช่รูปแบบเดิม นี่ตรงข้ามกับการงอกขึ้นใหม่จริงที่ทั้งหน้าที่และรูปแบบที่เป็นของเดิมจะถูกสร้างกลับคืน ในสายพันธุ์ที่ต่ำกว่าเช่นปลา ตับจะได้รับการงอกใหม่ที่แท้จริงด้วยการคืนทั้งรูปร่างและขนาดของอวัยวะ ในตับ พื้นที่ขนาดใหญ่ของเนื้อเยื่อจะรวมตัวกันเป็นรูปร่าง แต่สำหรับการก่อตัวของเซลล์ใหม่ จะต้องมีปริมาณที่เพียงพอของวัสดุเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดสะดวกขึ้น",
"title": "ตับ"
},
{
"docid": "844992#6",
"text": "ถ้าคลี่อวัยวะรูปหอยโข่งออก\nก็จะพบส่วนต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อความถี่เสียงโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดและสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก\nโดยส่วนที่ตอบสนองต่อความถี่สูงสุดจะอยู่ใกล้ช่องรูปไข่ (oval window) มากที่สุด ที่ตอบสนองต่อความถี่ต่ำสุดจะอยู่ไกลสุด และความถี่ที่ตอบสนองจะอยู่ในรูปฟังก์ชันยกกำลัง\nในสัตว์บางสปีชีส์ เช่น ค้างคาวและโลมา จะมีบางความถี่ที่ตอบสนองเป็นพิเศษเพื่อสนับสนุนการใช้โซนาร์",
"title": "ระบบการได้ยิน"
},
{
"docid": "988890#3",
"text": "ขากรรไกของสัตว์มีกระดูกสันหลังน่าจะวิวัฒนาการขึ้นในยุคไซลูเรียน ซึ่งปรากฏในปลามีเกราะ แล้วหลายหลากยิ่งขึ้นในยุคดีโวเนียน\nส่วนโค้งคอหอยหน้าสุดสองชุดเชื่อว่าได้กลายเป็นขากรรไกรและส่วนโค้งกระดูกไฮออยด์ (hyoid arch) ตามลำดับ\nระบบกระดูกไฮออยด์แขวนขากรรไกรไว้กับกระดูกหุ้มสมอง ทำให้ขยับขากรรไกรได้อย่างสะดวก\nแม้จะไม่มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ แต่ก็เข้ากับสิ่งที่เห็นว่า สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร (อินฟราไฟลัม Gnathostomata) มีส่วนโค้งคอหอยเพียงแค่ 7 ชุด แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไร้ขากรรไกร (ปลาไม่มีขากรรไกร) มี 9 ชุด",
"title": "ขากรรไกร"
},
{
"docid": "11220#0",
"text": "สัตว์มีกระดูกสันหลัง \" (Vertebrate) \" สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง \"Vertebrate\" เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ",
"title": "สัตว์มีกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "882499#8",
"text": "ในสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายอย่าง ลิ้นเป็นอวัยวะลิ้มรสหลัก\nโดยเป็นกล้ามเนื้อในปาก มันจึงสามารถบริหารจัดการแยกแยะองค์ประกอบของอาหารในระยะแรกของการย่อยอาหาร\nลิ้นนั้นสมบูรณ์ไปด้วยหลอดเลือด ซึ่งช่วยตัวรับเคมีที่ผิวด้านบนให้ส่งสัญญาณการรู้รสไปสู่สมอง\nต่อมน้ำลายในปากยังช่วยโมเลกุลให้ไปถึงตัวรับเคมีในรูปแบบสารละลาย",
"title": "ตัวรับรู้สารเคมี"
},
{
"docid": "605030#36",
"text": "แม้ระบบการทรงตัวจะเป็นประสาทสัมผัสที่เร็วพอให้เกิดปฏิกิริยารีเฟล็กซ์เพื่อรักษาเสถียรภาพของการเห็นและอิริยาบถ\nแต่เมื่อเปรียบเทียบกับประสาทสัมผัสอื่นเช่นการเห็น การสัมผัส และการได้ยิน\nการรับรู้ที่เกิดขึ้นเพราะระบบการทรงตัวนั้น ช้ากว่า\nระบบที่วิวัฒนาการขึ้นในช่องหูก่อนในสัตว์มีกระดูกสันหลังไม่ใช่ระบบการได้ยิน แต่เป็นระบบเพื่อประสานการทำงานของอวัยวะในร่างกาย (เช่นของตา) การทรงตัว และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิที่เป็นสามมิติ แล้วต่อมาภายหลังจึงเกิดวิวัฒนาการระบบการได้ยินที่อยู่ใกล้ ๆ กัน\nระบบการทรงตัว เป็นระบบที่มีใช้ในสัตว์มีกระดูกสันหลังแล้วประมาณ 500 ล้านปี",
"title": "ระบบการทรงตัว"
},
{
"docid": "36508#2",
"text": "ตับของผู้ใหญ่ปกติจะมีน้ำหนักราว 1.3 ถึง 3.0 กิโลกรัม และมีจะลักษณะนุ่ม มีสีชมพูอมน้ำตาล ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากผิวหนัง และเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับจะวางตัวอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้อง และอยู่ใต้กะบังลม นอกจากนี้บางส่วนของตับยังวางอยู่บนกระเพาะอาหาร ปลายทางด้านซ้ายสุดของตับจะชี้ไปทางม้าม และบนพื้นผิวด้านล่างของตับยังมีถุงน้ำดีวางตัวอยู่อีกด้วย",
"title": "ตับ"
},
{
"docid": "168680#1",
"text": "อวัยวะที่สำคัญหลายชิ้นอยู่ภายในลำตัว ในช่องอกจะมีหัวใจและปอดซึ่งมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องอยู่ และส่วนช่องท้องจะมีอวัยวะที่สำคัญต่อการย่อยอาหาร เช่น ตับทำหน้าที่ผลิตน้ำดีซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยย่อยอาหาร ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ทวารหนักซึ่งทำหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระ ไส้ตรง (rectum) ทำหน้าที่กักอุจจาระก่อนขับถ่าย ถุงน้ำดีซึ่งเก็บน้ำดีและช่วยให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น ท่อไต (ureter) เป็นทางผ่านของปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะที่ทำหน้าที่เก็บปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra) ซึ่งเป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำอสุจิผ่านถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicle) และเชิงกรานซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะเพศชายและหญิง",
"title": "ลำตัว"
},
{
"docid": "864648#11",
"text": "ซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มสัตว์เหล่านี้มีอายุประมาณ 320-315 ล้านปีก่อน\nแต่โชคไม่ดีเพราะแน่ใจได้ยากว่าแต่ละกลุ่มวิวัฒนาการขึ้นมาเมื่อไร เพราะว่าซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังจากปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัสมีน้อยมาก และดังนั้น การเกิดขึ้นจริง ๆ ของสัตว์แต่ละกลุ่มอาจจะโบราณกว่าซากที่พบแล้ว",
"title": "วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม"
}
] |
3679 | พฤติกรรมมนุษย์เกิดขึ้นจากการสั่งการของสมองใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "5920#48",
"text": "สมองของมนุษย์ อันเป็นจุดรวมระบบประสาทส่วนกลางในมนุษย์ ควบคุมระบบประสาทส่วนนอก นอกเหนือไปจากควบคุมกิจกรรมนอกอำนาจจิตใจที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเป็นหลัก เช่น การหายใจและการย่อยอาหารแล้ว ยังเป็นที่คั้งของคำสั่งที่ \"สูงกว่า\" เช่น ความคิด การให้เหตุผลและภาวะนามธรรม ขบวนการที่เกี่ยวกับการคิดนี้ซึ่งประกอบด้วยจิตและพฤติกรรม มีการศึกษาในสาขาจิตวิทยา",
"title": "มนุษย์"
},
{
"docid": "12075#1",
"text": "สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้",
"title": "สมอง"
}
] | [
{
"docid": "868067#24",
"text": "อีกอย่างหนึ่ง นี้อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมปัจจุบัน\nนอกจากนั้นแล้ว มีหลักฐานว่า พัฒนาการทางสมองที่เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ โดยเฉพาะส่วน prefrontal cortex มีเหตุจาก \n\"การเร่งวิวัฒนาการ metabolome (สารเคมีมีโมเลกุลเล็กที่พบในตัวอย่างชีวภาพ) อย่างผิดธรรมดา...ขนานกับการลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างสุดขีด\nการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมในสมองและกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วตามที่เห็น \nพร้อมกับทักษะทางประชานของมนุษย์ที่พิเศษและกล้ามเนื้อที่มีแรงน้อย \nอาจสะท้อนถึงกลไกวิวัฒนาการของมนุษย์แบบขนาน\"",
"title": "มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน"
},
{
"docid": "601935#30",
"text": "โดยประมวลผลงานวิจัยที่ใช้ fMRI ทั้งสองนี้ ก็จะสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่า พฤติกรรมต่างดาวที่ไม่เป็นไปพร้อมกับความรู้สึกว่าเป็นตน \nเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานที่เกิดขึ้นเองของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ ที่เป็นอิสระจากอิทธิพลก่อนการสั่งการเคลื่อนไหวของ premotor cortex ที่ปกติมีความสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของความรู้สึกว่าเป็นตนเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวนั้น",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "139709#6",
"text": "เทเลนเซฟาลอนทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ดังกล่าวเริ่มต้นภายในไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) และบริเวณอื่นๆ ในบริเวณสั่งการของกลีบสมองด้านหน้า เมื่อสมองส่วนนี้เสียไป สมองจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทไปยังเส้นประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า \"Motor Neurone Disease\" การเสื่อมของสมองประเภทนี้ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง และขาดความแม่นยำ มากกว่าทำให้เกิดอัมพาตทั้งตัว",
"title": "สมองใหญ่"
},
{
"docid": "601935#48",
"text": "เพราะฉะนั้น ทฤษฎีนี้ จึงสามารถอธิบายการเกิดขึ้นของพฤติกรรมต่างดาวในแขนขาที่ไม่ถนัด และความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันระหว่างแขนขาทั้งสอง เมื่อมีความเสียหายต่อ corpus callosum\nและอาการมือต่างดาวที่ต่าง ๆ กันที่เกิดจากความเสียหายในสมองกลีบหน้าส่วนหน้าด้านใน, และ/หรือในส่วนเชื่อมต่อของสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง และสมองกลีบท้ายทอย ส่วนหลังด้านข้าง \nสามารถอธิบายได้โดยความเสียหายในซีกสมองเฉพาะส่วนซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบ\"ผู้กระทำ\"ส่วนหน้า หรือส่วนหลัง \nโดยที่อาการต่าง ๆ ของมือต่างดาวที่สัมพันธ์กับความเสียหาย ที่เฉพาะเจาะจง ย่อมเกิดขึ้นที่แขนขาด้านตรงกันข้ามของซีกสมองที่มีความเสียหาย",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "593770#5",
"text": "ส่วนความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมประเภทที่กล่าวถึงบ่อย ๆ ก็คือ พฤติกรรมเศร้าซึมที่เกิดจากวิธีการทดลองเช่นนี้\n่เช่น นักวิจัยชื่อว่า ฟิชเช่อร์ ได้ทำความเครียดให้เกิดขึ้นกับหนูทดลองโดยวิธีต่าง ๆ ทุก ๆ วัน ในสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน\nและภายหลังจากให้หนูอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดอย่างนั้นเป็นเวลา 4 วัน จึงได้ทดสอบพฤติกรรมการสำรวจสถานที่และการอยู่ร่วมกับหนูอื่นในวันที่ 5 ภายในสิ่งแวดล้อมเดียวกันหรือในสิ่งแวดล้อมใหม่\nหนูทดลองปรากฏว่ามีพฤติกรรมในระดับลดลงในสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม\nนอกจากนั้นแล้ว การฉีดยา propranolol ซึ่งเป็นสารต้าน beta-adrenergic receptor ให้หนูอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่ายับยั้งความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่กล่าวถึง (เพราะเข้าไปยับยั้ง LTP และดังนั้นจึงยับยั้งการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว) แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเหมือนกัน ความเป็นไปอย่างนี้เป็นการแสดงสหสัมพันธ์ของระบบชีวเคมีของระบบประสาทกับกระบวนการ LTP ที่จะกล่าวถึงต่อไป",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "601935#34",
"text": "มีสมมุติฐานว่า อาการมือต่างดาวเกิดขึ้นเมื่อมีการขาดความเชื่อมต่อกันระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย \nคือ เขตต่าง ๆ ในสมองสามารถที่จะสั่งการเคลื่อนไหว แต่ไม่สามารถที่จะสร้างความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้น\nดังนั้น จึงเกิดความเสียหายหรือความสูญเสียของความรู้สึกว่าเป็นตน (sense of agency) ที่ปกติเกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจ \nคือ มีการแยกออกระหว่างกระบวนการที่ทำการปฏิบัติการเคลื่อนไหวอวัยวะทางกายภาพจริง ๆ และกระบวนการที่สร้างความรู้สึกภายในว่า เป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้นโดยเจตนา\nโดยที่กระบวนการหลังนี้ปกติก่อให้เกิดความรู้สึกภายในใจว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่มีการเกิดขึ้น การควบคุม และการปฏิบัติการโดยตนเองที่กำลังกระทำการเคลื่อนไหวนั้นอยู่",
"title": "กลุ่มอาการมือแปลกปลอม"
},
{
"docid": "563389#20",
"text": "ความตื่นตัวของพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติเป็นสภาวะที่มีเหตุมาจากการเลิกสุราหรือบาบิทเชอริท โรคสมองอักเสบเฉียบพลัน การบาดเจ็บในสมองถึงภาวะโคม่า การชักแบบเฉพาะที่ในโรคลมชัก ความผิดปกติของเมแทบอลิซึมที่เกิดจากความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ โรคอัลไซเมอร์ โรคพิษสุนัขบ้า รอยโรคในสมองของโรคหลอดเลือดสมองและโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส",
"title": "สภาวะตื่นตัว"
},
{
"docid": "81659#0",
"text": "เหตุผล เป็นพฤติกรรมที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้นและจะเกิดมากในมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีสมองและประสาทที่เจริญมากกว่าสัตว์อื่นๆ จึงเกิดการเรียนรู้แบบนี้ได้ดีกว่าสัตว์อื่น การใช้เหตุผลคือการใช้ความสามารถของสัตว์ตอบโต้ต่อสิ่งเร้า หรือสิ่",
"title": "เหตุผล"
},
{
"docid": "5920#20",
"text": "ถึงแม้ว่าการเชื่อมต่อถึงกันระหว่างมนุษย์ช่วยให้เกิดการเติบโตทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การสนทนา และเทคโนโลยี แต่ก็เกิดการปะทะกันของวัฒนธรรม เกิดการพัฒนาและการใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง อารยธรรมมนุษย์ได้นำไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดมลภาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตอื่น เรียกว่า เหตุการณ์สูญพันธุ์โฮโลซีน (holocene extinction event) ซึ่งอาจเร่งให้เกิดเร็วขึ้นโดยปรากฏการณ์โลกร้อนในอนาคต",
"title": "มนุษย์"
}
] |
3686 | ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด? | [
{
"docid": "613299#0",
"text": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน (; ) เป็นชื่อเรียกกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศไต้หวัน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา และประชาชนซึ่งรวมกำลังกันยึดสถานที่ราชการตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2014 โดยเริ่มเข้าควบคุมที่ทำการสภานิติบัญญัติ และต่อมาจึงลุกลามไปยังสำนักงานสภาบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ทั้งนี้ เพื่อต่อต้านการที่สภานิติบัญญัติ ซึ่งพรรคชาตินิยม (; Kuomintang) ครองเสียงข้างมาก จะให้สัตยาบันแก่ความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบ (; Cross-Strait Service Trade Agreement) ที่สภาบริหารได้ทำไว้กับประเทศจีน โดยไม่พิจารณาเป็นรายข้อ",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
}
] | [
{
"docid": "613299#3",
"text": "ผู้ประท้วงเรียกตนเองว่า \"ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน\" เพราะเห็นว่า ดอกทานตะวันเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวัง โดยเริ่มนิยมใช้คำนี้ตั้งแต่ร้านดอกไม้ร้าน 1 ส่งดอกทานตะวัน 100 ต้นมาเป็นกำลังใจให้เหล่านักศึกษา ณ ที่ทำการสภานิติบัญญัติ",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#2",
"text": "ความเคลื่อนไหวนี้นับเป็นคราวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไต้หวันที่สภานิติบัญญัติถูกประชาชนบุกยึด และสำนักข่าวบีบีซีเห็นว่า เป็นการชี้ชะตาไต้หวัน เพราะจะช่วยให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งจะทวีการพิทักษ์ประโยชน์ประชาชน มิใช่ประโยชน์ของพรรคการเมือง",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#4",
"text": "ชื่อ \"ทานตะวัน\" ยังเป็นการอ้างถึงขบวนการนักศึกษาลิลลีป่า (; Wild Lily Student Movement) เมื่อปี 1990 ซึ่งเป็นหมุดหมายแห่งการเปลี่ยนไต้หวันให้เป็นประชาธิปไตย",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#12",
"text": "ประธานาธิบดียืนยันตลอดมาว่า จะไม่พูดคุยกับผู้ชุมนุมเป็นการส่วนตัว แต่วันที่ 25 มีนาคม 2014 เขาเรียกผู้แทนนักศึกษามาที่จวนเพื่อสนทนาเรื่องความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบกับประเทศจีน หลิน เฟย์ฟัน (; Lin Fei-fan) ผู้นำนักศึกษา ตกลงจะไป และกล่าวว่า นักเรียนนักศึกษาประสงค์จะสนทนาเรื่องไต้หวันควรมีสมาชิกสภานิติบัญญัติชุดใหม่เพื่อกำกับดูแลการทำความตกลงระหว่างช่องแคบทั้งหลายหรือไม่ และความตกลงฉบับที่เป็นปัญหานั้นควรค้างไว้จนกว่าจะมีสภานิติบัญญัติชุดใหม่หรือไม่มากกว่า",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#9",
"text": "วันที่ 22 มีนาคม 2014 เจียง อีฮว่า ไปพบผู้ชุมนุมนอกที่ทำการสภานิติบัญญัติ และแถลงว่า สภาบริหารไม่ประสงค์จะล้มเลิกความตกลงฉบับนั้น ฝ่ายประธานาธิบดีก็แถลงข่าวในวันถัดมาว่า เขาปรารถนาจะให้ความตกลงได้รับการอนุมัติ แต่ยืนยันว่า เขาไม่ได้กำลังรับสนองคำสั่งจากกรุงปักกิ่ง",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#7",
"text": "วันที่ 18 มีนาคม 2014 ราว 21:00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ผู้ชุมนุมปีนรั้วที่ทำการสภานิติบัญญัติขึ้นเพื่อเข้าไปภายใน การรบรันพันตูระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเหตุให้ที่ทำการเสียหายเล็กน้อย แต่เจ้าพนักงานตำรวจหลายรายได้รับบาดเจ็บสาหัส สภานิติบัญญัติส่งสมาชิกผู้ 1 มาเจรจากับผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมซึ่งเข้าไปในที่ทำการได้ประมาณ 300 คนแล้วเข้าควบคุมสถานที่ไว้เป็นผลสำเร็จ ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่สามารถขับพวกเขาออกไปได้ ขณะที่ผู้ชุมนุมที่เหลือซึ่งมีหลายร้อยคนยังตั้งมั่นอยู่นอกที่ทำการ บรรดาผู้ชุมนุมเรียกให้สภานิติบัญญัติพิจารณาความตกลงเป็นรายข้ออีกครั้ง มิฉะนั้น จะยึดที่ทำการไปจนถึงวันที่ 21 มีนาคม อันเป็นวันที่สภานิติบัญญัติกำหนดให้ลงมติเกี่ยวกับความตกลง เจ้าหน้าที่จึงตัดน้ำตัดไฟในที่ทำการ ณ คืนวันที่ 18 นั้นเพื่อบีบให้ผู้ชุมนุมออกไป ส่วนเจียง อีฮว่า (; Jiang Yi-huah) นายกรัฐมนตรี สั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าขับไล่ผู้ชุมนุม แต่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#10",
"text": "การแถลงข่าวข้างต้นเป็นผลให้ผู้ชุมนุมแห่ไปยึดสำนักงานสภาบริหารในเวลาประมาณ 19:30 นาฬิกาของวันที่ 23 มีนาคม 2014 นั้นเอง เจ้าพนักงานตำรวจใช้ปืนแรงดันน้ำขับผู้ชุมนุมไปเสียจากสำนักงานได้อย่างราบคาบในเวลา 05:00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น แต่ไม่ช้าผู้ชุมนุมก็จับกลุ่มกันอีกครั้งตรงถนนจงเซี่ยวฝั่งตะวันออก (; Zhongxiao East Road) เจ้าพนักงานตำรวจราว 100 คนจึงใช้เวลา 10 ชั่วโมงพยายามสลายผู้ชุมนุมโดยใช้แรงดันน้ำฉีดไล่และใช้ไม้พลองฟาดศีรษะ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ใช้กำลังเกินเหตุ มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 150 คนและถูกจับอีก 61 คน",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "613299#5",
"text": "ขบวนการครั้งนี้มีชื่ออื่นอีก คือ \"ขบวนการนักศึกษา 18 มีนาฯ\" (; March 18 Student Movement) และ \"ปฏิบัติการยึดสภาฯ\" (; Occupy Taiwan Legislature)",
"title": "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน"
},
{
"docid": "588130#0",
"text": "ทัศนศึกษา เป็นกระบวนการเรียนการสอน/วิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยผู้เรียนจะได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรง การลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจและจดจำสิ่งที่ได้พบเห็นในเวลาอันรวดเร็วและเป็นเวลานาน และการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้เป็นการใช้แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด สำหรับในประเทศไทยนั้นได้แบ่งการจัดทัศนศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบคือ การจัดทัศนศึกษาไม่ค้างคืน การจัดทัศนศึกษาแบบค้างคืนและการจัดทัศนศึกษาภายนอกราชอาณาจักร\nสำหรับจุดประสงค์หลักในการจัดทัศนศึกษานั้นเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน ซึ่งหัวข้อในการเรียนรู้นั้นจะมีความหนักเบาไม่มากเท่ากับการเรียนในห้องเรียน นอกจากนี้แล้วยังมีจุดประสงค์แฝงเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสรู้จักซึ่งกันและกัน ได้มีประสบการณ์ทางสังคมด้วย รวมทั้งได้มีโอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย ทั้งนี้รวมไปถึงการเกิดความตระหนักในตนเอง ทักษะกระบวนการการเรียนรู้เป็นกลุ่มและเกิดการเรียนรู้ในเรื่องราวของระบบนิเวศและสิ่งรอบตัวที่พบเห็นอีกด้วย อย่างไรก็ตามโรงเรียนจะไม่อนุญาตให้ไปทัศนศึกษาหากไปเพียงเฉพาะการท่องเที่ยวและไม่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ทั้งนี้ยกเว้นแต่การไปทัศนศึกษาเพื่อฉลองการจบการศึกษาหรือนักเรียนเป็นผู้จัดการเดินทางด้วยตนเอง",
"title": "ทัศนศึกษา"
}
] |
3694 | ใครคือผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลักจุฬาลงกรณ์? | [
{
"docid": "32975#5",
"text": "อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรือที่เรียกติดปากว่า \"เทวาลัย\" เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ให้เป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ออกแบบโดย ดร.คาร์ล เดอห์ริง (Dr. Karl Dohring) นายช่างชาวเยอรมัน ซึ่งรับราชการในกระทรวงมหาดไทย และนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Mr. Edward Healey) นายช่างชาวอังกฤษ ซึ่งรับราชการในกระทรวงธรรมการ โดยนำศิลปะไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาคิดปรับปรุงขึ้นเป็นแบบของอาคาร ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่กำลังก่อสร้างเพื่อทรงวางศิลาพระฤกษ์ หลังจากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา \"โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว\" ขึ้นเป็น \"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" อาคารดังกล่าวใช้เป็นสำนักงานบริหารและเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า \"ตึกบัญชาการ\" ต่อมาอาคารดังกล่าวก็เปลี่ยนชื่อเป็น \"ตึกอักษรศาสตร์ 1\" และ \"อาคารมหาจุฬาลงกรณ์\" ตามลำดับ ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2530",
"title": "คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#0",
"text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน\" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ \"พระเกี้ยว\" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า \"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 17 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#9",
"text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ ซึ่งเป็นไปตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ผู้มาร่วมงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 เวลา 16 นาฬิกา 7 นาที ดังนี้",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "5519#7",
"text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับวันขึ้นปีใหม่แบบไทยคือ พ.ศ. 2441) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์ และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไปในอนาคต ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พระราชวงศ์ และข้าราชการซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ความตอนหนึ่งดังนี้",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
}
] | [
{
"docid": "5519#72",
"text": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้นในสมัย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นที่รับรองพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายกับพระอุโบสถของวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำ พ.ศ. 2545 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์\nพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล หรือ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดและพระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเสาธงประจำมหาวิทยาลัย ถูกออกแบบให้เป็นจุดสนใจทางภูมิสถาปัตยกรรม (Focal Point) ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "77043#1",
"text": "ดร.จั๊คส์ อัมโยต์ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรก (พ.ศ. 2514-2517) สถาบันวิจัยสังคม บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหาร และคณะผู้บริหารสถาบัน นำโดยผู้อำนวยการสถาบันฯ เน้นการทำงานในลักษณะของการประสานงานและความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐและเอกชน ในลักษณะของเครือข่ายทางวิชาการ และงานพัฒนาในระดับประเทศ รวมถึงระดับนานาชาติ อีกทั้งให้บริการฐานข้อมูลทางด้านสังคมแก่ผู้สนใจ ตั้งแต่ก่อตั้งมีผู้อำนวยการทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่ ดร.จั๊ค อัมโยต์ (2514-2517), ศ.ดร.พัทยา สายหู (2517-2521), รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ (2521-2529), ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (2529-2536, 2540-2545), ศ.ดร.ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ (2536-2540), รศ.ดร.สุวัฒนา ธาดานิติ (2546-2550), รศ.สุริชัย หวันแก้ว (2550-2552) ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี (2552-2555) และผู้อำนวยการสถาบันคนปัจจุบัน คือ รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ (2555- ปัจจุบัน)",
"title": "สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "14949#2",
"text": "พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล",
"title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี"
},
{
"docid": "32955#7",
"text": "ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) หรือ ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ โดยขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม \"คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่ แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และ แผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ และได้เปิดการภาคเรียนเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีนักศึกษาปีแรก 67 คน (ขณะอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ใช้คำเรียกผู้ศึกษาว่า\"นักศึกษา\")",
"title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "62446#2",
"text": "ศ.ดร.ทศพร เป็นผู้ริเริ่มและก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ปลาทะเลขึ้นในกรมประมง และพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานชิ้นสำคัญที่สุด คือ งานความหลากหลายทางธรรมชาติวิทยาเกี่ยวกับปลาหลังเขียว - ปลาแมวและปลากะตักที่ปรากฏอยู่ในงานชุด \"FAO Species Identification Guide for Fisheries Purposes\" เรื่อง \"The Living Marine Resources of the Western Central Pacific\" Vol.3 หน้า 1698 – 1821 ซึ่งจัดพิมพ์โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ในปี พ.ศ. 2542 นอกจากนี้ ศ. ดร. ทศพร วงศ์รัตน์ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิตยสถาน ในปี พ.ศ. 2532 เป็นศาสตราจารย์ในสาขาสัตววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2535 และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยที่ได้รับ พระราชทานขั้นสูงสุด คือ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือกและมหาวชิรมงกุฏ รวมทั้งได้รับการประกาศเกียรติคุณจาก สภาวิจัยแห่งชาติให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี พ.ศ. 2537 และเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "ทศพร วงศ์รัตน์"
},
{
"docid": "12339#86",
"text": "ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้แทนกรมการศาสนา (นายศิริ ศิริบุตร รองอธิบดีกรมการศาสนา) ได้มีหนังสือรายงานผลการประชุมที่รัฐสภาต่อนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีได้ทำบันทึกท้ายหนังสือว่ามอบให้ ดร.รุ่ง แก้วแดง อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นผู้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในฐานะที่ ดร.รุ่ง แก้วแดง เป็นประธานคณะทำงานนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ทำบันทึกแยกต่างหาก มอบหมายงานปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แก่ ดร.รุ่ง แก้วแดงว่า",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "32949#2",
"text": "หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ ขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการกองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 ใน พ.ศ. 2479 พยายามติดต่อกับศาสตราจารย์ นายแพทย์ แอลเลอร์ เอลลิส อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นถึงเรื่องการจัดตั้งโรงเรียนทันตแพทย์ และได้เสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนทันตแพทย์สำหรับราชการทหารไปยัง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการตามโครงการที่เสนอนั้นได้ในกรมแพทย์ทหารบก และได้อนุมัติให้ ศาสตราจารย์ พ.อ.หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ เดินทางไปดูงานเกี่ยวกับการจัดโรงเรียนทันตแพทย์ในต่างประเทศ เมื่อ หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ เดินทางกลับจากดูงานในต่างประเทศนั้น ประจวบกับเป็นเวลาที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เข้าดำรงตำแหน่งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ด้วย จึงเปลี่ยนนโยบายจากการจัดตั้งโรงเรียนทันตแพทย์ในกรมแพทย์ทหารบก มาดำริที่จะจัดตั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "14949#6",
"text": "ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน",
"title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี"
},
{
"docid": "32949#3",
"text": "ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 จอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งแผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ พันเอก หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนก นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ขึ้นในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ โดยใช้ตึกวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นที่ทำการสอนในระยะเริ่มแรก มีนิสิตสำเร็จการศึกษารุ่นแรก 8 คน",
"title": "คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
}
] |
3701 | ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ มีเค้าโครงมาจากเรื่องอะไร? | [
{
"docid": "589153#0",
"text": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ หรือ โฟรเซน () เป็นภาพยนตร์เพลงแนวแฟนตาซี-คอเมดีประเภทคอมพิวเตอร์แอนิเมชันสามมิติในปี พ.ศ. 2556 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์และจัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส. ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าเรื่องราชินีหิมะของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน นับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ห้าสิบสามของภาพยนตร์ในชุดแอนิเมชันคลาสสิกของวอลท์ดิสนีย์ โดยเล่าเรื่องเจ้าหญิงผู้กล้าที่ผจญภัยไปกับคนขายน้ำแข็ง กวางเรนเดียร์ และมนุษย์หิมะผู้อับโชค เพื่อค้นหาพี่สาวที่ห่างเหินซึ่งมีพลังน้ำแข็งที่ทำให้อาณาจักรตกอยู่ภายใต้ฤดูหนาวชั่วนิรันดร์โดยไม่ได้ตั้งใจ",
"title": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ"
}
] | [
{
"docid": "641410#2",
"text": "ในปี 2008 Chris Buck ได้เสนอเรื่องราวของราชินีหิมะในรูปแบบของเขาเองกับดิสนีย์ ชื่อ \"Anna and the Snow Queen\" ซึ่งได้มีการวางแผนให้สร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวทั่วไป แต่เรื่องราวนี้แตกต่างจาก \"ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ\" อย่างสิ้นเชิง โดยที่บทประพันธ์นี้มีความใกล้เคียงกับเรื่องราชินีหิมะมากกว่า และมีตัวละครโอลาฟที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง\nอย่างไรก็ตามในต้นปี 2010 โครงการนี้ก็ได้หยุดไปอีกครั้ง ในวันที่ 22 ธันวาคม 2011 ดิสนีย์ได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า\"ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ\" ซึ่งในเวลาต่อมาจะได้ออกฉายในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2013 และยังได้เปลี่ยนทีมสร้างภาพยนตร์ใหม่อีกด้วย บทอันใหม่นั้นมีแนวคิดเหมือนเดิม แต่มีการเขียนใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานของบทประพันธ์ของ Andersen โดยถ่ายทอดความสัมพันธ์ของตัวละคร แอนนา และ เอลซ่า ในฐานะพี่น้อง",
"title": "โอลาฟ (ดิสนีย์)"
},
{
"docid": "684680#1",
"text": "เริ่มเรื่องด้วยฉากงานศพของเกรซ คาฮิลล์ ผู้เป็นยายของแดน และเอมี่ คาฮิลล์ เกรซได้มอบทางเลือกให้ญาติแต่ละคนที่มาเข้าร่วมงานศพสองทางเลือก หนึ่งคือรับเงินสองล้านดอลลาร์แล้วกลับบ้านไป และสองคือร่วมเกมปริศนาตามล่าสมบัติที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับยิ่งใหญ่กว่าใครในโลก แดนและเอมี่เลือกที่จะเข้าร่วมเกมในครั้งนี้ ทั้งสองได้พบเงื่อนงำแรกจาก 39 เงื่อนงำ ทั้งสองเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในคฤหาสน์ของเกรซ โดยทั้งคู่ได้พบกับอลิสแตร์ โอลุงชาวเกาหลี ทั้งสามค้นพบห้องสมุดลับในคฤหาสน์และซาลาดิน แมวที่หายไป แต่ไม่ทันไรก็เกิดไปไหม้คฤหาสน์ขึ้น อลิสแตร์หายตัวไป ทิ้งให้เอมี่กับแดนต้องเอาชีวิตรอด เอมี่ค้นพบว่าเงื่อนงำแรกนำไปสู่บุคคลในประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ เบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งภายหลังได้ค้นพบว่าเขาเป็นหนึ่งในสายตระกูลลูเซี่ยน เมื่อสองพี่น้องรอดมาจากการวางเพลิงได้ ทั้งคู่ซมซานไปหาเนลลี่ โกเมซ พี่เลี้ยงของพวกเขา ผู้ใหญ่คนเดียวในตอนนี้ที่ทั้งสองไว้ใจ เงื่อนงำทั้งหมดพาไปสู่ความลับในสุสานกระดูกใต้กรุงปารีส คำไขปริศนาคือ \"\"เหล็กละลาย\"\"",
"title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก"
},
{
"docid": "589153#1",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ผ่านช่วงการเรียบเรียงร่างบทภาพยนตร์มาหลายปีก่อนที่จะได้รับการอนุมัติให้เดินหน้าต่อใน พ.ศ. 2554 โดยมีเจนนิเฟอร์ ลี เป็นผู้เขียนบท และลีกับคริส บัก เป็นผู้กำกับ นอกจากนี้ยังได้ คริสเตน เบลล์, ไอดินา แมนเซล, โจนาธาน กรอฟฟ์, จอร์ช แกด และซานติโน่ ฟอนทาน่า มาเป็นผู้พากย์เสียงตัวละคร คริสโตฟ เบค ผู้ร่วมงานกับดิสนีย์ในภาพยนตร์สั้น Paperman เป็นผู้เรียบเรียงทำนองออร์เคสตรา และโรเบิร์ต โลเปซ กับคริสเตน แอนเดอร์สัน-โลเปซ คู่สามีภรรยานักแต่งเพลงเป็นผู้แต่งเพลงประกอบเรื่อง",
"title": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ"
},
{
"docid": "641410#0",
"text": "โอลาฟ () เป็นตุ๊กตาหิมะจากภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 53 ของวอล์ท ดิสนีย์ แอนิเมชัน สตูดิโอ เรื่อง \"ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ\" (\"Frozen\") ซึ่งฉายในปี 2013",
"title": "โอลาฟ (ดิสนีย์)"
},
{
"docid": "239916#9",
"text": "เป็นการจำลองอาณาจักรเอเรนเดลล์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง \"ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ\" จะเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2564",
"title": "ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์"
},
{
"docid": "589153#4",
"text": "เมื่อกลับสู่พระราชวัง เพื่อซ่อนเรื่องนี้เป็นความลับ พระราชาทรงสั่งให้มีการปิดประตูวัง ไม่ให้บุคคลทั้งภายนอกและภายในเข้าออก สองพี่น้องต้องถูกเลี้ยงดูแยกจากกัน การควบคุมพลังของเอลซ่านับวันมีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ พระราชาต้องมอบถุงมือพิเศษให้เอลซ่า เพื่อให้เธอควบคุมพลังของเธอได้ง่ายขึ้น ในขณะที่อันนาแม้จะได้ใช้ชีวิตอย่างปกติธรรมดา แต่ก็ต้องอยู่กับโดดเดี่ยวตลอดหลายปี จากการที่เอลซ่าไม่ยอมพูดคุยกับเธอ แม้เธอจะยังจดจำความสนุกสนานที่เคยมีด้วยกันตอนเด็กๆได้ จนกระทั่งจุดพลิกผันมาถึงชีวิตของทั้งสองเมื่อพระราชาและพระราชินีทรงสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันขณะเดินทางออกทะเล",
"title": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ"
},
{
"docid": "167310#8",
"text": "แก้มได้รับงานใหญ่หลายงานในปี 2556 อาทิ พากย์ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมของดิสนีย์ เรื่อง ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (Frozen) รับบทนำเป็น \"ราชินีเอลซ่า\" (Elsa) และร้องเพลง \"ปล่อยมันไป\" ซึ่งเป็นเวอร์ชันภาษาไทยของเพลง \"Let It Go\" ที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย ปลายปี 2556 แก้มได้รับเลือกให้ร้องเพลงในงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ทำเนียบรัฐบาล จากนั้นแก้มได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ครั้งแรก เพลง \"ขวัญของเรียม\" ประกอบภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ในปี 2557",
"title": "วิชญาณี เปียกลิ่น"
},
{
"docid": "589153#11",
"text": "ฮานส์ถูกส่งตัวกลับไปยังอาณาจักรของเขาเพื่อรับโทษ เอลซ่าประกาศตัดขาดทางการค้ากับเมืองวีเซิลตันท่ามกลางคำคัดค้านที่ไร้ผลของดยุค อันนาซื้อรถเลื่อนคันใหม่ให้คริสตอฟฟ์ชดใช้คันที่เสียไป ก่อนที่คริสตอฟฟ์จะจูบเธอด้วยความดีใจ เอลซ่าใช้พลังของเธอเปลี่ยนพื้นที่ในวังเป็นให้เป็นลานน้ำแข็งให้ชาวเมืองได้เพลิดเพลินกันอย่างมีความสุข และบอกอันนาว่าพวกเธอจะไม่มีวันปิดประตูวังอีกต่อไป",
"title": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ"
},
{
"docid": "589153#5",
"text": "สามปีหลังจากกการสิ้นพระชนม์ของพระราชาและพระราชินี เอลซ่าก็มีมีอายุครบกำหนดที่จะเข้าพิธีราชาภิเษก ในวันพิธีนั้น ประตูวังจึงได้เปิดออกหลังจากปิดมานานหลายปี อันนาซึ่งใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวมานานจึงออกจากวังเพื่อไปสำรวจบ้านเมือง ก่อนจะได้เจอกับเจ้าชายฮานส์ บุตรชายคนที่สิบสามของพระราชาแห่งหมู่เกาะทะเลใต้ และด้วยใบหน้าที่หล่อเหลาของเขา ทำให้อันนาตกหลุมรักฮานส์อย่างรวดเร็ว ส่วนเอลซ่าเธอเกรงว่าเธอจะปล่อยพลังของเธอออกมาในงานราชาภิเษก และเธอพยายามควบคุมมันไว้จนได้",
"title": "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ"
}
] |
3744 | ราชทินนามหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "40647#2",
"text": "คือ นามสกุลที่ตั้งขึ้นมาโดยมีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ราชทินนาม มีความหมายคือ นามที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุนหมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ",
"title": "นามสกุลพระราชทาน"
},
{
"docid": "240177#0",
"text": "ราชทินนาม คือ นาม หรือชื่อที่ได้รับพระราชทานซึ่งแสดงถึงตำแหน่ง หน้าที่ของขุนนางด้วย โดยราชทินนามนั้นจะอยู่ต่อท้าย บรรดาศักดิ์ไทย เช่น",
"title": "ราชทินนาม"
},
{
"docid": "130192#5",
"text": "ราชทินนามมักเป็นภาษามคธหรือสันสกฤตล้วนๆ หรือผสมกับภาษาไทยสั้นๆ เป็นการบ่งบอกหน้าที่ของขุนนางนั้นๆ เพราะหน้าที่ตำแหน่งต่างๆ จะมียศและราชทินนามกำกับไว้ เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นยศและราชทินนามประจำตำแหน่งสมุหนายก เป็นต้น ขุนนางในตำแหน่งต่างๆ จึงย่อมมีราชทินนามเฉพาะไว้เพื่อให้ทราบหน้าที่",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
}
] | [
{
"docid": "130192#3",
"text": "การกำหนด ยศ หรือ บรรดาศักดิ์ และ ราชทินนาม เป็นของคู่กัน กษัตริย์พระราชทานพร้อมกันในคราวเดียวกัน ยศหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางในตอนต้นอยุธยาเท่าที่ปรากฏหลักฐานพบว่า ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงสุดคือ \"ขุน\" เป็นยศที่ขึ้นอยู่กับระบบบริหารของเมืองหลวง โดยเป็นยศสำหรับขุนนางในระดับเสนาธิบดีประจำจตุสดมภ์ ได้แก่เวียง วัง คลัง นา ส่วนยศทีรองมาคือ หมื่น พัน นายร้อย นายสิบ",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "240177#1",
"text": "นอกจากนี้ ราชทินนามยังใช้สำหรับประกอบสมณศักดิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานมาให้",
"title": "ราชทินนาม"
},
{
"docid": "111914#8",
"text": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ปรึกษากับคณะค้นหาและลงความเห็นว่า อักษร “อ” น่าจะหมายถึง แคว้นอัมโด ซึ่งเป็นแคว้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของธิเบต ซึ่งเป็นทิศที่พระพักตร์หันไป จึงส่งคณะค้นหาไปตามทิศทางนั้น เมื่อมาถึง วัดกุมบุม ซึ่งตรงกับอักษรตัวที่สองคือ “ก” คณะผู้ค้นหาก็เริ่มมั่นใจว่ามาถูกทาง เมื่อเห็นลักษณะของวัดกุมบุมซึ่งมีลักษณะเป็นตึก 3 ชั้น มีหลังคาสีฟ้าตรงตามที่เห็นในสมาธิ และสิ่งที่พวกเขาต้องค้นหาต่อไปคือบ้านหลังเล็กๆที่มีรางน้ำรูปร่างแปลกๆ ซึ่งน่าจะอยู่ไม่ไกลจากวัดกุมบุมนัก พวกเขาเริ่มค้นหาในหมู่บ้านระแวกใกล้เคียงกับวัดกุมบุม จนกระทั่งมาถึงบ้านหลังเล็กๆหลังหนึ่งมีไม้สนคดงอเป็นรูปร่างแปลกๆใช้ทำเป็นรางน้ำตรงกับที่เห็นในสมาธิ พวกเขาเริ่มมั่นใจยิ่งขึ้นว่า ดาไลลามะองค์ที่ 13 ที่จะอวตารกลับชาติมาเกิดนั้นคงจะอยู่ในบ้านหลังนี้หรือไม่ก็คงจะอยู่ไม่ไกลจากที่นั่นเป็นแน่",
"title": "ทะไลลามะ"
},
{
"docid": "892813#0",
"text": "พระนลคําหลวง เป็นพระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระนลเป็นนิทานแทรกอยู่ในมหาภารตะ ซึ่งรจนาโดยฤาษีกฤษณไทวปายน หรือ ฤาษีวยาส มีชื่อเรื่องว่า \"นโลปาขยานัม\" ซึ่งเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลความจากต้นฉบับโศลกภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์นี้ พระราชนิพนธ์เป็นวรรณกรรมคำหลวง ประกอบด้วยคำประพันธ์หลายชนิด ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่องพระนลคำหลวงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เสร็จลงเมื่อวันเสาร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงตรวจสอบแก้ไขและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระนลคำหลวงเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือแต่งดีประเภทกวีนิพนธ์",
"title": "พระนลคําหลวง"
},
{
"docid": "130192#11",
"text": "บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม ตำแหน่งและศักดินาซึ่งแสดงถึงความสูงศักดิ์ของขุนนาง มิใช่สิ่งที่จะสืบทอดกันในวงศ์ตระกูลและไม่ใช่สิ่งถาวร กล่าวคือ 4 สิ่งนี้อาจจะหมดไปได้ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงถอดถอนหรือขุนนางผู้นั้นลาออกจากตำแหน่งความสูงศักดิ์จะดำรงอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ขุนนางยังดำรงตำแหน่ง แต่อาจมีข้อยกเว้นบ้าง เช่นขุนนางที่ลาออกและมีบ่าวไพร่จะเหลือศักดินา 1 ใน 3 ของศักดินาเดิม หรือขุนนางบางคนที่มีความดีความชอบอาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้คงรักษาบรรดาศักดิ์เดิมไว้หลังจากที่ลาออก ในสมัยอยุธยาขุนนางจะอยู่ในตำแหน่งได้ตลอดชีวิตหากไม่ประพฤติผิดและถูกกษัตริย์ถอดถอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "20266#4",
"text": "ความหมายที่แท้จริงของ \"คำหยาบ\" หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาจาเท่านั้นไม่ ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกว่า \"คำสามัญ\" มากกว่า เช่น คำว่า ตีน, กิน, เดิน, นอน ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไร แต่การนำคำเหล่านี้ไปใช้พูดกับผู้คนที่อาวุโสกว่า คำเหล่านั้นจะถือเป็น \"คำหยาบ\" ต้องเปลี่ยนใช้คำอื่น เช่น จะพูดว่า \"ตีน\" ก็ต้องเปลี่ยนเป็นคำว่า \"เท้า\" เป็นต้น",
"title": "ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)"
},
{
"docid": "505586#5",
"text": "คำถามแดนบริสุทธิ์คืออะไร ตอบเนื้อกายคือนครแห่งนี้มีประตูนอก 4 ประตู คือ ตา หู จมูก ลิ้น ประตูใน 1 ประตู คืออำนาจการปรุงแต่งความนึกคิด ถ้าจิตเดิมแท้ยังอยู่แสดงว่าเจ้าแผ่นดินยังปกครองดินแดนแห่งนี้ หากจิตเดิมแท้ออกไป คือเจ้าแผ่นดินไม่อยู่ กายใจของเราก็ได้ชื่อว่าสาบสูญ ภายในมณฑลแห่งจิตมี ตถาคตแห่งการตรัสรู้ คอยส่องแสงทำความสะอาดประตูและควบคุมให้บริสุทธิ์",
"title": "สูตรของเว่ยหล่าง"
}
] |
3747 | จักรวรรดิโรมัน ล่มสลายเมื่อสมัยใด? | [
{
"docid": "77808#2",
"text": "จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453",
"title": "จักรวรรดิโรมัน"
},
{
"docid": "249334#2",
"text": "จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์",
"title": "โรมโบราณ"
},
{
"docid": "357548#27",
"text": "การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอย่างช้าๆ กินเวลายาวนานจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 ไปอีกหลายศตวรรษ ประกอบกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาคริสต์จากดินแดนตะวันออกกลางสู่ดินแดนตะวันตก ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกตกอยู่ภายใต้การนำของอนารยชนชาวเยอรมันในคริตศตวรรษที่ 5 ในที่สุด องค์กรทางการเมืองต่างแตกกระจายเป็นรัฐจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กับคริสตจักรโรมันคาทอลิกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จักรวรรดิโรมันบางส่วนบริเวณเมดิเตอเรเนียนตะวันออกแตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ อีกหลายศตวรรษต่อมามีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 962 ทำให้ยุโรปตะวันตกกลับมารวมตัวกันได้อย่างชั่วคราว ซึ่งกินบริเวณประเทศเยอรมนี ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี และฝรั่งเศสบางส่วนในปัจจุบัน",
"title": "ประวัติศาสตร์โลก"
},
{
"docid": "322876#1",
"text": "จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก",
"title": "ปลายสมัยโบราณ"
},
{
"docid": "158520#5",
"text": "หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 จากการสละราชสมบัติของจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ดินแดนของชาวโรมันก็แตกออกเป็นดินแดนน้อยใหญ่มากมาย สามร้อยกว่าปีให้หลัง ชาร์เลอมาญก็สามารถรวบรวมดินแดนของโรมันกลับมาเป็นหนึ่งได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 800 โดยมีชื่อในระยะแรกนี้เพียงแค่ว่า \"จักรวรรดิโรมัน\" (Roman Empire) มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1157 ต่อมาเมื่อจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 สามารถปกครองอิตาลีและวาติกันได้ จักรวรรดิก็ถูกเรียกว่า \"จักรวรรดิอันศักดิ์สิทธิ์\" (Holy Empire) ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นคำว่า \"จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์\" ที่เริ่มปรากฏตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา",
"title": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "80088#19",
"text": "ในค.ศ. 395 จักรวรรดิโรมันได้แยกเป็นจักรวรรดิโรมันตะวันตกและตะวันออกอย่างเป็นทางการโดยแต่ละฝ่ายมีจักรพรรดิ เมืองหลวงและรัฐบาลของตัวเองแม้ว่าทั้งสองฝ่ายยังคงถือเป็นหนึ่งอาณาจักร การสลายตัวของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (ซึ่งเกิดในปีค.ศ. 476 และจบลงในปีค.ศ. 500) ทำให้เหลือเพียงจักรวรรดิโรมันตะวันออก อย่างไรก็ดีการยึดครองจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ล่มสลายโดยกลุ่มชนเจอร์แมนิก และการปกครองในระบบพระสันตะปาปาโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ซึ่งเป็นการรวมอำนาจทางการเมืองและทางจิตวิญญาณที่ไม่สามารถพบได้ในอารยธรรมของกรีก) ในเวลาต่อมาส่งผลให้การใช้ภาษาละตินร่วมกับการมีแนวคิดแบบกรีกมีอันต้องให้แยกออกจากกัน ซึ่งถือเป็นจุดแตกแยกระหว่างคริสต์จักรโรมันคาทอลิกและชาวคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ถือเป็นการยืนยันข้อสมมติฐานนี้",
"title": "โลกตะวันตก"
},
{
"docid": "152565#2",
"text": "สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages)",
"title": "สมัยโบราณ"
},
{
"docid": "77808#0",
"text": "จักรวรรดิโรมัน (; ; ) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่",
"title": "จักรวรรดิโรมัน"
}
] | [
{
"docid": "77808#3",
"text": "นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งแยกช่วงการปกครองของจักรวรรดิโรมันเป็นสมัยผู้นำ (Principate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิออกุสตุสจนถึงวิกฤติการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และสมัยครอบงำ (dominate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิไดโอคลีเชียนจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งในสมัยผู้นำ จักรพรรดิจะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่ในสมัยครอบงำ อำนาจของจักรพรรดิได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยมงกุฎทองและพิธีกรรมที่หรูหรา และเมื่อเร็วๆ นี้ นักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่ารูปแบบการปกครองนี้ได้ใช้ต่อจนถึงช่วงเวลาของจักรวรรดิไบแซนไทน์",
"title": "จักรวรรดิโรมัน"
},
{
"docid": "158520#0",
"text": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: \"Sacrum Imperium Romanum\", ) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1806 โดย ราชอาณาจักรเยอรมนีถือเป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 962 ดินแดนในจักรวรรดิ รองลงมาคือ ราชอาณาจักรโบฮีเมีย, ราชอาณาจักรบูร์กอญ, ราชอาณาจักรอิตาลี",
"title": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "192920#12",
"text": "หลังจากจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เนเปิลส์ถูกยึดครองโดยชาวออสโตรกอทซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของเผ่าชนเจอร์มานิกตะวันออก และควบรวมเข้ากับราชอาณาจักรออสโตรกอท ต่อมาใน พ.ศ. 1079 นายพล Belisarius แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ (หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าจักรวรรดิโรมันตะวันออก) สามารถยึดเนเปิลส์กลับคืนได้หลังจากเข้าเมืองผ่านทางลำรางส่งน้ำ",
"title": "เนเปิลส์"
}
] |
3751 | ประเทศเยอรมันนีมีเมืองหลวงชื่ออะไร ? | [
{
"docid": "6357#17",
"text": "เบอร์ลินเป็นเมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเป็นที่อยู่ของประธานาธิบดีแห่งเยอรมนี ซึ่งมีที่อาศัยอย่างเป็นทางการที่วัง \"Schloss Bellevue\" ตั้งแต่การรวมเยอรมนีเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เบอร์ลินก็กลายเป็นหนึ่งในสามนครรัฐ เคียงคู่กับ ฮัมบูร์ก และ เบรเมน, ในทั้งหมด 16 รัฐของเยอรมนี\nสภาสหพันธ์ (Bundesrat) เป็นตัวแทนของรัฐสหพันธ์ (Bundesländer) ทั้งหลายของเยอรมนี และมีที่ตั้งที่อยู่ที่อาคาร Herrenhaus ซึ่งเคยเป็นสภาขุนนางของปรัสเซียในอดีต\nแม้กระทรวงส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเบอร์ลิน แต่บางส่วน รวมถึงกรมเล็ก ๆ ก็ตั้งอยู่ที่บอนน์ เมืองหลวงเก่าของเยอรมนีตะวันตก\nสหภาพยุโรปลงทุนในหลายโครงการภายในเมืองเบอร์ลิน โดยส่วนใหญ่แล้วแผนงานด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และสังคม จะได้ทุนสนับสนุนร่วมจากงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเชื่อมแน่นของอียู (EU Cohesion Fund)",
"title": "เบอร์ลิน"
},
{
"docid": "665#0",
"text": "เยอรมนี (; \"ดอยฺชลันฺท\") หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (; ) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รัวร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนท์และเอ็สเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิช เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์ และเนือร์นแบร์ก",
"title": "ประเทศเยอรมนี"
}
] | [
{
"docid": "17369#0",
"text": "ทาลลินน์ (; เยอรมัน; สวีเดน: Reval \"เรวัล\" เป็นชื่อประวัติศาสตร์ในภาษาเยอรมัน และ ภาษาสวีเดน) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าหลักของประเทศเอสโตเนีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลบอลติกทางด้านเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเฮลซิงกิ (เมืองหลวงของประเทศฟินแลนด์) 80 กิโลเมตร",
"title": "ทาลลินน์"
},
{
"docid": "900928#0",
"text": "ไฮเดินไฮม์ () หรือชื่อเต็มคือ ไฮเดินไฮม์อันแดร์เบร็นซ์ () เป็นเมืองชนบทในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองอาเลินราว 17 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่อันดับสามในภาคตะวันออกของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ปรากฎหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในบริเวณไฮเดินไฮม์ตั้งแต่ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล อุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองนี้คือการผลิตกังหันอุตสาหกรรม ตลอดจนอุตสาหกรรมกระดาษ",
"title": "ไฮเดินไฮม์"
},
{
"docid": "86959#0",
"text": "สาธารณรัฐไวมาร์ () เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปีค.ศ. 1919 ถึง 1933 ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลงหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐไวมาร์คือ ไรช์เยอรมัน ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกอภิสิทธิของขุนนางเยอรมันทิ้ง ลูกหลานของขุนนางเยอรมันไม่สามารถสืบตำแหน่งได้อีกต่อไป สืบได้เพียงทรัพย์สินและนามสกุลเท่านั้น",
"title": "สาธารณรัฐไวมาร์"
},
{
"docid": "269825#0",
"text": "นีเดอร์ไบเอิร์น () หรือชื่อในภาษาอังกฤษคือ โลว์เออร์บาวาเรีย () เป็นหนึ่งในเจ็ดส่วนภูมิภาค (\"เรกีรุงชเบเซิร์ค\") ของรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของบาวาเรีย นีเดอร์ไบเอิร์นยังแบ่งย่อยออกเป็นสามเขต (\"Planungsverband\") คือ ลันด์สฮูท, พัสเซา และโดเนา-วัลด์ บริเวณนี้รวมป่าบาวาเรียซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว",
"title": "นีเดอร์ไบเอิร์น"
},
{
"docid": "900873#0",
"text": "โรเซินไฮม์ () เป็นเมืองในส่วนภูมิภาคโอเบอร์ไบเอิร์น รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ถือเป็นเมืองใหญ่สุดทางตอนใต้ของโอเบอร์ไบเอิร์น ตั้งอยู่กึ่งกลางของทางด่วนหมายเลข 8 ซึ่งเชื่อมนครมิวนิกกับเมืองอินส์บรุคและซาลซ์บูร์กในประเทศออสเตรีย เมืองโรเซินไฮม์ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตะวันตกของแม่น้ำอินน์ (Inn) แม่น้ำสายสำคัญซึ่งไหลลงสู่ประเทศออสเตรีย โรเซินไฮม์ยังเป็นบ้านเกิดของจอมพลไรช์ แฮร์มันน์ เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันสมัยนาซี",
"title": "โรเซินไฮม์"
},
{
"docid": "908818#0",
"text": "อีดาร์-โอเบอร์ชไตน์ () เป็นเมืองชนบทในรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บริเวณชายขอบทางใต้ของทิวเขาฮุนส์รึคริมสองฝั่งแม่น้ำนาเออ ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในทิวเขาฮุนส์รึค เทศบาลนี้เกิดจากการควบรวมเทศบาลหลายเทศบาลเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 1933 และ ค.ศ. 1969 เมืองแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านหินอัญมณี",
"title": "อีดาร์-โอเบอร์ชไตน์"
},
{
"docid": "911828#0",
"text": "ไอเซนัค () เป็นเมืองชนบทในรัฐทือริงเงิน ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแฟรงก์เฟิร์ตไปราว 200 กิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของทือริงเงินระหว่างศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ปราสาทวาร์ทบูร์กในเมืองนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก อุตสาหกรรมหลักของเมืองคืออุตสาหกรรมยานยนต์ เมืองไอเซนัคเป็นบ้านเกิดของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค คีตกวีในยุคบาโรก",
"title": "ไอเซนัค"
},
{
"docid": "249150#0",
"text": "ชไปเออร์ () เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในรัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนตของประเทศเยอรมนี เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำไรน์ตอนบน และเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี ที่มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คน ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไรน์ประมาณ 25 กิโลเมตรจากลุดวิจส์ฮาเฟินและมันน์ไฮม์ ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า \"Civitas Nemetum\" เป็นเมืองหลวงที่ตั้งขึ้นโดยชนเนเมเทอร์ (Nemeter) ซึ่งเป็นชนในกลุ่มชนทิวทันที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ประมาณ ค.ศ. 500 ชื่อ Spira ที่เป็นชื่อเมืองก็เริ่มปรากฏในงานเขียนที่ยังคงถูกใช้แทนชื่อ Speyer ในภาษาฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ในยุคกลางชไปเออร์เป็นเมืองอิสระและเป็นเมืองที่มีความสำคัญของ Heiligen Romischen Reiches Deutscher Nation",
"title": "ชไปเออร์"
},
{
"docid": "846593#0",
"text": "อาเลิน () เป็นเมืองทางตะวันออกของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คในประเทศเยอรมนี ในอดีตมีสถานะเป็นเสรีนครของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ห่างจากนครชตุทท์การ์ทไปทางตะวันออกราว 70 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค มีประชากรราว 66,000 คน ประชากรราวกึ่งหนึ่งนับคือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อาเลินเป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายน้อยมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การโจมตีอาเคินเกิดขึ้นสั้นๆในไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายของสงครามเท่านั้นซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 59 คน",
"title": "อาเลิน"
}
] |
3756 | หนังสือการ์ตูนเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ มีกี่เล่ม | [
{
"docid": "4570#0",
"text": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ( ; ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น (มังงะ) แนวแฟนตาซี แอ็กชัน ผจญภัย เขียนโดย ฮิโรฮิโกะ อารากิ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ในเครือสำนักพิมพ์ชูเอฉะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 - 2547 ทั้งหมด 6 ภาคจบ ส่วนลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของ บริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด ซึ่งตีพิมพ์จบสมบูรณ์ทั้ง 6 ภาคแล้ว ด้วยจำนวนเล่มตั้งแต่ภาคที่ 1 ถึง 5 จำนวน 63 เล่มจบ และภาคที่ 6 (ซึ่งพิมพ์นับจำนวนเล่มใหม่) 17 เล่มจบ",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ"
}
] | [
{
"docid": "927653#0",
"text": "โจโจ้ โจ๋ซ่าส์ ล่าข้ามศตวรรษ () เป็นภาพยนตร์แนวต่อสู้ กำกับและเขียนบทโดย ทาคาชิ มิอิเกะ ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง\"โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ\" ภาค 4 \"เพชรแท้ไม่มีวันสลาย\" ผลงานของฮิโรฮิโกะ อารากิ ภาพยนตร์นำแสดงโดย เคนโตะ ยามาซากิ, ริวโนะสุเกะ คามิกิ, นานะ โคมัตซึ, มาซากิ โอคาดะ, แมคเคนยู, ทาคายูกิ ยามาดะ และ ยูสุเกะ อิเซยะ เผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทโทโฮและวอร์เนอร์บราเธอส์ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560",
"title": "โจโจ้ โจ๋ซ่าส์ ล่าข้ามศตวรรษ"
},
{
"docid": "398132#0",
"text": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 8 หรือ โจโจเลียน (; ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เขียนโดยฮิโระฮิโกะ อะระกิ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ และได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารอุลตร้าจัมพ์ ฉบับเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 (จัดจำหน่ายในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2011) และเป็นผลงานลำดับที่ 8 ของซีรีส์\"โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ\" โดยเรื่องราวในภาคนี้ได้เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกันกับที่ปรากฏใน\"โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 4\" ซึ่งเป็นเมืองโมริโอ และมีตัวละครที่ต้องคำสาปปรากฏอยู่ในเรื่อง",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 8"
},
{
"docid": "8446#0",
"text": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 3 : นักรบประกายดาว () เป็นตอนหนึ่งของการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ของฮิโรฮิโกะ อารากิ และว่ากันว่าเป็นภาคที่ได้รับความนิยมมากที่สุด",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 3"
},
{
"docid": "4567#1",
"text": "ในทุกๆภาคของโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ผู้เขียนจะสอดแทรกคอนเซ็ปต์หรือแนวความคิดหลักของแต่ละภาคไว้ สำหรับในภาค 6 นี้อาราคิได้ประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายๆ แขนงมาโยงรวมเข้ากับเนื้อเรื่องแต่ละตอนได้อย่างน่าทึ่ง เป็นต้นว่าการใช้เลขฐานสองในหลักคณิตศาสตร์มาจัดการกับศัตรู หรือการอธิบายเรื่องการเกิดของโอโซน และปรากฏการณ์ซับลิมินอล ซึ่งเป็นที่มาของพลังพิเศษของตัวละครในเรื่อง ทำให้โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษภาค 6 \"สโตนโอเชี่ยน\" มีรสชาติที่แปลกไปจากภาคอื่นๆ พอสมควร",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค Stone Ocean"
},
{
"docid": "4570#2",
"text": "อย่างไรก็ตามในภาคที่ 7 : สตีล บอล รัน ช่วงแรกผู้เขียนตั้งใจจะให้เป็นเนื้อเรื่องแยกออกมาจากเนื้อเรื่องเดิม โดยเปรียบเสมือนเป็นโลกคู่ขนานของซีรีส์หลัก (หรือจะเรียกว่า Reboot ก็ได้) เนื้อหาเกี่ยวกับการแข่งม้าข้ามทวีปอเมริกาที่ชื่อ สตีล บอล รัน แต่ในภายหลังก็ตัดสินใจยกให้เป็นโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาคที่ 7 (เริ่มตั้งแต่รวมเล่ม 5) และนำแนวคิดของความสามารถสแตนด์กลับมาใช้ในเรื่องเหมือนเดิม",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ"
},
{
"docid": "8447#0",
"text": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 4 : เพชรแท้ไม่มีวันสลาย () เป็นตอนหนึ่งของการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ของฮิโรฮิโกะ อารากิ",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 4"
},
{
"docid": "8448#0",
"text": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 5 : สายลมทองคำ () เป็นตอนหนึ่งของการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ของฮิโรฮิโกะ อารากิ",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 5"
},
{
"docid": "4570#3",
"text": "ปัจจุบันโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษได้ดำเนินเรื่องมาจนถึงภาคที่ 8 แล้วในชื่อภาค โจโจเลี่ยน (Jojolion) ซึ่งเป็นภาคที่มีเหตุการณ์ต่อจากภาค 7 เนื้อเรื่องได้ดำเนินไปในปี 2011 ที่ประเทศญี่ปุ่นในเมืองที่สมมติชื่อขึ้นมาว่า \"โมริโอ\" ซึ่งเหมือนกับในภาคที่ 4 แต่ว่าเมืองโมริโอในภาค 4 กับภาค 8 นั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ"
},
{
"docid": "4567#0",
"text": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 6 : สมุทรศิลา () เป็นตอนหนึ่งของการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ของฮิโรฮิโกะ อารากิ",
"title": "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค Stone Ocean"
}
] |
3759 | ดาวเทียมไทยคม เริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปีใด ? | [
{
"docid": "74481#3",
"text": "ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก \nส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 \nมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) \nไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก \nส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 \nมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552) \nไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก \nมีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน \nส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 \nมีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ\nไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา \nเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง \nไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม \nมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน \nส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 \nมีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี และครอบคลุม 18 แห่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก \n) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)\nส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "128991#7",
"text": "ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)",
"title": "ดาวเทียมสื่อสาร"
}
] | [
{
"docid": "74481#14",
"text": "ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2553 จะเป็นช่วงหมดอายุการใช้งานของดาวเทียมไทยคม 2 ดวง ได้แก่ ดาวเที่ยมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ซึ่งในสัญญาสัมปทานระบุให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานจากภาครัฐ ต้องทำการจัดสร้างดาวเทียมและส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้บริการทดแทนตลอดอายุสัมปทาน แต่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอระงับการจัดสร้างดาวเทียมใหม่ทดแทน โดยเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) เป็นการเช่าดาวเทียมของประเทศอื่นแทนการสร้างใหม่ โดยอ้างเรื่องการลงทุนที่สูง แม้กระทรวงไอซีทีไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่เมื่อดาวเทียมใกล้หมดอายุใช้งานจึงจำเป็นต้องอนุญาตเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ดาวเทียม โดยให้เป็นการเช่าชั่วคราวและยืนยันให้ผู้รับสัมปทานยังต้องทำแผนจัดสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม 6 ตามสัญญาสัมปทาน",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "128991#5",
"text": "วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965 COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1” หรือในชื่อว่า EARLY BIRD ส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ถือว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการพานิชย์ดวงแรกของโลก ในระยะหลังมี่่อินโดนีเซีย ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ \"ไทยคม\" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 7 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง ดังนี้",
"title": "ดาวเทียมสื่อสาร"
},
{
"docid": "74481#15",
"text": "นับแต่เริ่มใช้งานเป็นต้นมา มีบันทึกว่าดาวเทียมไทยคม 5 ประสบปัญหาทางเทคนิค จนไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ มาแล้วสองครั้งคือ เมื่อเวลาประมาณ 16:10 น.ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 \nอีกครั้ง เมื่อเวลาประมาณ 23:25 น.ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งสายเคเบิลใยแก้ว ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสถานีดาวเทียมไทยคม กับสถานีโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกทรูวิชันส์ (Fiber link) เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคบางส่วน จนส่งผลให้บางช่องรายการของทรูวิชันส์ ไม่สามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ในขณะนั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "4817#26",
"text": "ดาวเทียมของสหรัฐดวงแรกเพื่อการสื่อสารอยู่ในโครงการ SCORE เมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 ซึ่งใช้ เทปบันทึกเสียงในการจัดเก็บและส่งต่อข้อความเสียง มันถูกใช้ในการส่งคำอวยพรคริสมาสต์ ไปทั่วโลกจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ ในปี ค.ศ. 1960 นาซ่าส่ง ดาวเทียม Echo; บอลลูนฟิล์ม PET อะลูมิเนียมยาว 100 ฟุต (30 เมตร) ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแบบพาสซีฟสำหรับการสื่อสารวิทยุ ดาวเทียม Courier 1B สร้างโดย Philco, ก็ถูกส่งขึ้นไปในปี 1960 เช่นกัน โดยเป็นดาวเทียมทวนสัญญาณแบบแอคทีฟดวงแรกของโลก",
"title": "โทรคมนาคม"
},
{
"docid": "74481#8",
"text": "สถานะ : ปลดระวาง\nบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา เวลา 01.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ด้วยจรวดขนส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (Space Exploration Technologies Corporation- SPACE X) ณ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสิทธิในวงโคจรของไทย พร้อมช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ไทย ด้วยการเพิ่มปริมาณช่องสัญญาณเพื่อรองรับความต้องการใช้งานและการเติบโตของโทรคมนาคมในประเทศ พร้อมขยายศักยภาพในฐานะบริษัทดาวเทียมไทยเพื่อให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั้งในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลีย",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "74481#6",
"text": "ไทยคม8 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไทยคม 8 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เดียวกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง ทั้ง (High Definition TV) และ (Ultra High Definition TV)",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "4817#27",
"text": "ดาวเทียมเทลสตาเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้งานถ่ายทอดโดยตรงในเชิงพาณิชย์ เป็นของ AT & T ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างชาติ ระหว่าง AT & T, Bell Telephone Laboratories, นาซ่า, การไปรษณีย์อังกฤษ และการไปรษณีย์แห่งชาติฝรั่งเศส เพื่อพัฒนาการสื่อสารดาวเทียม Relay 1 ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 13 ธันวาคม 1962 และกลายเป็นดาวเทียมดวงแรก ที่จะส่งสัญญาณออกอากาศข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อ 22 พฤศจิกายน 1963 .",
"title": "โทรคมนาคม"
},
{
"docid": "154330#0",
"text": "ดอกบัวคู่ เริ่มกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยเริ่มแรกเป็นห้างขายสมุนไพรเล็กๆ ที่ผลิตและจัดจำหน่ายยาสมุนไพร และหลังจากนั้น บุญกิจ ลีเลิศพันธ์ผู้ก่อตั้ง เห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิตรายใดที่ผลิตยาสีฟันสมุนไพรขึ้นมา จะมีแต่ยาสีฟันที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเท่านั้น และยาสีฟันที่เป็นสมุนไพรล้วน จะมีราคาสูง จึงผลิตยาสีฟันที่ผลิตจากสมุนไพรของไทยกว่า 10 ชนิด ใช้ชื่อว่า ยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่ ภาพใต้สโลแกนที่ว่า \"ดอกบัวคู่ ความบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้บอกต่อ\"",
"title": "ดอกบัวคู่"
}
] |
3764 | จังหวัดมุกดาหาร มีกี่อำเภอ ? | [
{
"docid": "2854#1",
"text": "การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 526 หมู่บ้าน\nแบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 30 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล\nโรงเรียนอนุบาลมุกดาหารมุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
}
] | [
{
"docid": "129659#0",
"text": "นิคมคำสร้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร เดิมเป็นตำบลคำสร้อย ขึ้นกับอำเภอมุกดาหาร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ยกฐานะเป็นอำเภอนิคมคำสร้อย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522 แบ่งการปกครองเป็น 7 ตำบล 77 หมู่บ้าน มีประชากร 40,475 คน",
"title": "อำเภอนิคมคำสร้อย"
},
{
"docid": "435465#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2450 ได้มีการปรับปรุงการปกครองในมณฑลอุดร เป็นจังหวัด จึงถูกยุบลงเป็น อำเภอมุกดาหาร ขึ้นตรงกับ จังหวัดนครพนม และในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีพระราชบัญญัติ จัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุก และขยายอิทธิพล ของระบบสังคมนิยม ของค่าสังคมนิยมในลาว ซึ่งได้เปลี่ยนการ ปกครองจาก ระบบประชาธิปไตย เป็นสังคมนิยม ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2518 ทำให้ชุมชนสุขาภิบาลมุกดาหาร ได้รับการยกฐานะ เป็นเทศบาลเมือง ตามการจัดตั้ง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 หน้า 63 ลงวันที่ 21 เมษายน 2526) นายกเทศมนตรีคนแรก คือ นายนิรันดร์ ยิ่งอรุณธรรม เข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "435465#0",
"text": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ได้รับยกฐานะมาจากเทศบาลตำบลมุกดาหาร มีเขตรับผิดชอบ ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรืองทั้งตำบล และ บางส่วนของตำบลมุกดาหาร",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "114522#10",
"text": "ถนนช่วงสมเด็จ–มุกดาหาร เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 หรือ ทางหลวงแผ่นดินสายสี่แยกสมเด็จ–มุกดาหาร เริ่มจากอำเภอสมเด็จ ผ่านอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ เข้าเขตจังหวัดมุกดาหาร ผ่านอำเภอหนองสูง และไปตัดที่ถนนชยางกูร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212) ในอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นไปสิ้นสุดที่เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร รวมระยะทาง 122 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "2854#0",
"text": "มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทยด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ ด้านตะวันตกเป็นผืนป่าบนทิวเขาภูพาน ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "129664#2",
"text": "อำเภอเมืองมุกดาหารแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 149 หมู่บ้าน ได้แก่\nท้องที่อำเภอเมืองมุกดาหารประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ระตับ ได้แก่ เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 10 แห่ง กับองค์การบริหารส่วนตำบล 2 แห่ง คือ",
"title": "อำเภอเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "435465#3",
"text": "เทศบาลเมืองมุกดาหารได้ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบลของอำเภอเมืองมุกดาหาร (ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่) ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง รวมทั้งตำบลมุกดาหารบางส่วน รวมเนื้อที่ปัจจุบัน 35.55 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 34 ชุมชน ดังนี้เทศบาลเมืองมุกดาหารมีสถาบันการศึกษาในสังกัดดังนี้",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "850541#1",
"text": "โรงเรียนมุกดาหาร เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2491 เริ่มเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยอาศัยบริเวณโรงเรียนมุกดาลัย (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ) และในปี พ.ศ. 2525 (จากราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2525) อำเภอมุกดาหารได้แยกออกจากจังหวัดนครพนม ก่อตั้งเป็นจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดที่ 73 ของประเทศ เหตุนี้จึงทำให้โรงเรียนมุกดาหารเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดโดยพฤตินัย ปัจจุบันได้ทำการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษ 3 หลักสูตร คือ หลักสูตร Mini English Program (MEP), หลักสูตร Intensive English Program (IEP), และหลักสูตรส่งเริมคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โรงเรียนมุกดาหารยังได้เข้าร่วมโครงการสร้างหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์มาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย",
"title": "โรงเรียนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "129664#0",
"text": "เมืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร",
"title": "อำเภอเมืองมุกดาหาร"
}
] |
3771 | ศาสนาพุทธมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอะไร? | [
{
"docid": "77973#0",
"text": "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
}
] | [
{
"docid": "765205#12",
"text": "พระพุทธศาสนาได้รับอิทธิพลด้านนิกายแต่เดิมเป็นในแบบพุทธศาสนามหายาน และเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถานการก่อสร้างปราสาทนครธม ที่เป็นอุดมคติและแนวคิดอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในเวลาเดียวกันพุทธศาสนาในแบบเถรวาทก็ซ้อนทับอยู่กับพุทธมหายาน และศาสนาพราหมณ์และค่อย ๆ พัฒนาตัวเองจนกระทั่งกลายเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาพร้อมกับการศูนย์หายไปของพุทธศาสนามหายานในประเทศกัมพูชา แต่ในเวลาเดียวกันพระพุทธศาสนาเถรวาทก็กลายเป็นศาสนาหลักของชาวกัมพูชา จนกระทั่งเมื่อมีการก่อตั้งพุทธศาสนาแบบธรรมยุตินิกาย ด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครองระหว่างไทย กัมพูชา พระพุทธศาสนาในแบบไทย ที่เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย พัฒนา และปฏิรูป ที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย และชนชั้นปกครองกัมพูชาก็เชื่อและคาาดหวังอย่างนั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชารับพระพุทธศาสนาในแบบธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่ในกัมพูชา และกลายเป็นศาสนาสำหรับราชสำนักในกัมพูชาไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้ศาสนานิกายเดิมซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่กลายเป็นอีกนิกายหนึ่งในสังคมกัมพูชาไปโดยปริยาย",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "765205#0",
"text": "กัมພູມາาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ เป็นมากว่าพันปี โดยแต่เดิมเป็นดินแดนของกลุ่มชาติพันธ์มอญ-เขมร ที่มีหลักฐานว่าอพยพมาจากอินเดีย ในฐานะพ่อค้า หรือเพื่อการค้า ผ่านเข้ามาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน และตั้งถิ่นฐาน ผสมผสานกับคนในท้องถิ่นเดิม และกับคนที่อพยพมาทีหลัง ทั้งในชาติพันธุ์ และทางวัฒนธรรมมีความเจริญเพิ่มขึ้นตามลำดับ ต่อมาได้มีชนอินเดียเข้ามาติดต่อค้าขาย และได้นำเอา วัฒนธรรมอินเดียมาเผยแผ่ด้วย ทำให้กัมพูชารับเอาวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งก็คือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "923512#10",
"text": "จากประวัติศาสตร์บางตอนพบว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าในราวพุทธศตวรรษที่ 6 เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อว่า ตารนาถ เสนอว่าพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้ามาสู่พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้มีพระสงฆ์ฝ่ายมหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิตันตระ เข้าไปเผยแผ่ ในครั้งนั้นพม่ามีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง มีชื่อเรียกชาวพม่าว่า \"มรัมมะ\" ส่วนชาวมอญ ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ \"สะเทิม\" และถิ่นใกล้เคียงรวมๆ เรียกว่า รามัญประเทศ หรือ อาณาจักรสุธรรมวดี จนพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่เข้ามาก่อนและแบบมหายานที่เข้ามาทีหลังเจริญรุ่งเรืองในพม่าเป็นเวลาหลายร้อยปี",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศพม่า"
},
{
"docid": "77973#36",
"text": "พุทธศาสนานิกายวัชรยาน หรือ พุทธศาสนาลัทธิตันตระ กำเนิดขึ้นครั้งแรกทางตะวันออกของอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 700 - 1200 บางครั้งจัดเป็นส่วนหนึ่งของมหายานแต่บางครั้งก็แยกตัวเองออกมาต่างหาก หลักปรัชญาของวัชรยานเป็นแบบเดียวกับมหายาน แต่มีวิธีการหรือ \"อุปาย\" ต่างไป โดยมีการใช้ญาณทัศน์และโยคะอื่น ๆ เข้ามา การฝึกเหล่านี้ได้อิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู วัชรยานในทิเบต ก่อตั้งโดยท่านปัทมสัมภวะ",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "78585#35",
"text": "แรกเริ่มนั้นประเทศไทยก็เคยมีนิกายมหายานมาช้านาน ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีอิทธิพลทางตอนใต้ของประเทศและจักรวรรดิขอมซึ่งมีอิทธิพลทางตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และมีหลักฐานอย่างชัดเจนเช่น เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งซึ่งขุดพบที่อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี หรือพระพิมพ์ดินดิบต่างๆที่มีศิลปะขอมหรือศรีวิชียที่พบได้ในแหล่งโบราณคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ 2อาณาจักรนี้ หลังจากที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาถนิกายลังกาวงศ์ ได้เผยแพร่แล้ว บวกกับการนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทดั้งเดิมก่อนนิกายมหายานจะมีอิทธิพลในสมัยนั้น จึงทำให้ความนิยมของนิกายมหายานเสื่อมถอยลงและสาปสูญไป จนต่อมาในยุคธนบุรี ชาวญวณ ได้อพยพจากเวียดนามเนื่องจากเกิดสงครามมา(ต่อมาได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นนั่นก็คือคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ในอาณาจักรรัตนโกสินทร์) และต่อมาใน อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ก็มีชาวจีนได้อพยพมาก็เนื่องจากสงคราม และได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้น ซึ่งมีชื่อว่าจีนนิกาย จวบจนปัจจุบัน และในประเทศไทยนั้นมีนิกายและกลุ่มคณะสงฆ์ต่างๆ ดังนี้",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "78585#8",
"text": "เมื่อกษัตริย์ขอม(กัมพูชา)เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากพม่าเช่นเดียวกัน คือ เมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ 4 มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพุกามแบบพม่า",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "570393#1",
"text": "ตามที่ปรากฏในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา และคัมภีร์ต่างๆ ระบุว่า พุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาถึงแผ่นดิสุวรรณภูมิเมื่อครั้งที่พระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อช่วงพุทธศตวรรษที่ 300 ทรงอาราธนาให้พระโสณะและพระอุตตระ เป็นพระธรรมทูตเดินทางมาประกาศพระศาสนายังแผ่นดินแห่งนี้ ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับสถานที่ตั้งอันแท้จริงของสุวรรณภูมิ แต่โดยสรุปแล้วภูมิภาคดังกล่าวควรมีอาณาบริเวณครอบคลุมตั้งตั้งแต่ชายฝั่งอ่าวเมาะตะมะจนถึงอ่าวไทย อันเป็นอาณาเขตของอารยะธรรมทวาราวดี หรือภาคกลางของไทยในปัจจุบัน",
"title": "คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "923512#1",
"text": "พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 236 ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ ประเทศต่าง ๆ รวม 9 สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วยและชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม อาณาจักรมอญทางตอนใต้ของพม่า จากประวัติศาสตร์ทราบได้ว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าราวพุทธศตวรรษที่ 6 เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี และจารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศพม่า"
},
{
"docid": "101691#0",
"text": "พุทธศาสนาในประเทศนิการากัว เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 มีการอพยพของชาวจีนโพ้นทะเลมาตั้งถิ่นฐานในประเทศนิการากัว ในปัจจุบันในประเทศนิการากัวมีชาวพุทธประมาณ 0.1% ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก และบางส่วนก็ได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศนิการากัว"
},
{
"docid": "105705#1",
"text": "ต่อมาอีกหลายศตวรรษได้มีชาวญี่ปุ่น ลังกา เกาหลี อินเดีย และไทย เดินทางเข้าไปทำงาน ศึกษา หรือท่องเที่ยว และได้มีการถ่ายทอดความรู้หลักธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาต่างๆให้แก่ชาวอียิปต์ แต่ก็มีชาวพุทธอียิปต์ไม่เกิน 1 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองไคโร และเมืองอเล็กซานเดรีย นอกจากนั้น ชาวพุทธต่างถิ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ ในช่วงวันวิสาขบูชาจะปฏิบัติศาสนกิจด้วยการเวียนเทียนกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และมีการแสดงหลักธรรมเป็นเวลาสั้นๆ ส่วนการเผยแผ่ศาสนานั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นสังคมเล็กๆท่ามกลางสังคมมุสลิมจำนวนมาก การเผยแผ่จึงเป็นไปได้ยาก",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศอียิปต์"
}
] |
3783 | อาร์ชดยุกรูดอล์ฟแห่งออสเตรียมีพระมเหสีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "215247#0",
"text": "เจ้าชายอะเมเดโอแห่งเบลเยียม อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสเต (พระนามเต็ม: \"อะเมเดโอ มารี โฌแชฟ คาร์ล ปีแยร์ ฟีลิป เปาลา มาร์คุส ดาวีอาโน\") ประสูติเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529) เป็นพระโอรสในอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสเต และอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเต เป็นพระราชนัดดา (หลานตา) ในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และพระราชภาคิไนยในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียม",
"title": "เจ้าชายอะเมเดโอแห่งเบลเยียม อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสเต"
},
{
"docid": "171939#0",
"text": "อาร์ชดยุกอ๊อตโต้ ฟรานซ์แห่งออสเตรีย (พระนามเต็ม:อาร์ชดยุกอ๊อตโต้ ฟรานซ์ โจเซฟ คาร์ล ลุดวิก มาเรีย) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในอาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิกแห่งออสเตรียและพระชายาพระองค์ที่ 2 ของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย แอนนันซิเอต้าแห่งทู ซิชิลีส์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449\nพระองค์ทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2429กับเจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟ่าแห่งแซ็กโซนี พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ แห่งแซ็กโซนี อาร์ชดยุกอ๊อตโต้ ฟรานซ์และเจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟ่าแห่งแซ็กโซนีมีพระโอรส 2 พระองค์",
"title": "อาร์ชดยุกออทโท ฟรันซ์แห่งออสเตรีย"
},
{
"docid": "151828#3",
"text": "เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสเตฟานี่แห่งเบลเยียม พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม ทั้ง 2 พระองค์ทรงอภิเษกสมรส ณ มหาวิหารเซนต์ ออกัสติน กรุงเวียนนา ซึ่งงานอภิเษกสมรสครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นอย่างเอิกเกริก หรูหรา ท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีของประชาชน ทั้ง 2 พระองค์มีพระธิดาเพียง 1 พระองค์ คือ",
"title": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี"
}
] | [
{
"docid": "151828#0",
"text": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟแห่งออสเตรีย ( ) (พระนามเต็ม: รูดอล์ฟ ฟรานซ์ คาร์ล โจเซฟ, Rudolf Franz Karl Joseph von Habsburg-Lothringen) เป็นพระราชโอรสองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 และสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย และนอกจากนี้ ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี จนถึงสิ้นพระชนม์เนื่องจากทรงปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เองด้วยพระแสงปืนพร้อมกับนางสนมของพระองค์บารอนเนสแมรี่ เว็ทเซร่า",
"title": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี"
},
{
"docid": "151828#12",
"text": "ส่วนลำดับการสืบสันตติวงศ์แห่งราชบัลลังก์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีนั้น ได้เลื่อนจากรัชทายาทลำดับที่ 2 ขึ้นมาเป็นองค์รัชทายาทแทน ซึ่งก็คือ อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิก พระราชอนุชาของพระองค์ แต่อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิกทรงปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งองค์รัชทายาท โดยทรงมอบตำแหน่งให้กับพระโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ดังนั้น อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทองค์ใหม่ โดยทรงเป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heir Presumptive) ทรงดำรงตำแหน่งจนถึงการลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อันเป็นสาเหตุนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1",
"title": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี"
},
{
"docid": "151102#2",
"text": "แต่เมื่ออาร์ชดยุกรูดอล์ฟ ได้ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหันด้วยพระแสงปืน ทำให้พระองค์ได้ทรงถูกเลื่อนมาอยู่ในลำดับที่ 1 อีกครั้ง แต่พระองค์ได้ทรงปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งองค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยพระองค์ได้ทรงโอนมอบตำแหน่งองค์รัชทายาทให้กับพระโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ดังนั้น อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ก็ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาทตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา",
"title": "อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิจ แห่งออสเตรีย"
},
{
"docid": "151828#1",
"text": "มกุฎราชกุมารรูดอล์ฟประสูติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2401 ณ พระราชวังแล็กเซ็นบูร์ก กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย (พระโอรสในอาร์ชดยุกฟรานซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย และเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย) และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย (พระธิดาในดยุกแม็กซีมีเลียน โจเซฟแห่งบาวาเรีย และเจ้าหญิงลูโดวิก้าแห่งบาวาเรีย) เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาจากเฟอร์ดินานด์ วอน ฮอชสเต็ทเทอร์ อาจารย์ที่ได้มาสอนตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชชนก ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการแห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอิมพีเรียลแห่งกรุงเวียนนา โดยพระองค์ทรงมีความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยพระองค์ทรงเริ่มสะสมแร่ธาตุตั้งแต่ทรงพระเยาว์ (หลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ แร่ธาตุส่วนใหญ่ที่พระองค์ทรงสะสม ได้ถูกนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในคณะเกษตรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนา)",
"title": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี"
},
{
"docid": "73299#4",
"text": "เมื่อปีพ.ศ. 2432 ชีวิตของพระองค์ถูกเปลี่ยนดังละคร เมื่อพระญาติของพระองค์ อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหันจากการฆ่าตัวตายที่ คฤหาสน์ล่าสัตว์ที่มาเยอร์ลิ่ง รัฐนีเดอร์เอิสเทอร์ไรช์ จักรวรรดิออสเตรีย ทำให้อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิก พระบิดาของพระองค์เป็นรัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี และตัวอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟรดีนันด์กลายเป็นรัชทายาทลำดับ 2 ต่อมาพระบิดาของพระองค์ทรงสละสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติ ทำให้อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดินันด์ทรงเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 แต่ทรงเป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย ไม่มีการสถาปนาอย่างเป็นทางการ",
"title": "อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย"
},
{
"docid": "151974#1",
"text": "อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ ประสูติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2426 ณ เมืองแล็กเซนบูร์ก ประเทศออสเตรีย เป็นพระธิดาเพียงพระองค์เดียวในอาร์ชดยุกรูดอล์ฟ และอาร์ชดัชเชสสเตฟานี่ มกุฎราชกุมาร และมกุฎราชกุมารีแห่งออสเตรีย-ฮังการี พระองค์ได้รับการทำพิธีรับศีลล้างบาป ณ มหาวิหารเซนต์ ออกัสติน กรุงเวียนนา ซึ่งเป็นสถานที่ที่อาร์ชดยุก และเจ้าหญิงสเตฟานี่ทรงอภิเษกสมรสกัน เมื่อทรงพระเยาว์ พระบรมวงศานุวงศ์ทรงเรียกพระนามเล่นว่า เออร์ซี่ (Erzsi) โดยพระองค์เป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของสมเด็จพระอัยกาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ",
"title": "อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ มารีแห่งออสเตรีย"
},
{
"docid": "151102#1",
"text": "อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิจ ประสูติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2376 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นพระโอรส และพระราชบุตรองค์ที่ 3 ในอาร์ชดยุกฟรานซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย เมื่อทรงพระเยาว์ อาร์ชดยุกฟรานซ์ โจเซฟ พระเชษฐาของพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ทำให้พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่ 1 แห่งจักรวรรดิออสเตรีย (อาร์ชดยุกเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน พระเชษฐาไม่ได้ทรงอยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ เพราะว่าทรงไปเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก) แต่เมื่ออาร์ชดยุกรูดอล์ฟ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟได้ประสูติ พระองค์ก็ทรงถูกเลื่อนไปอยู่ในลำดับ 2 ในลำดับการสืบสันตติวงศ์",
"title": "อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิจ แห่งออสเตรีย"
},
{
"docid": "145261#0",
"text": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟแห่งออสเตรีย (พระนามเต็ม: รูดอล์ฟ ซีรินกัส ปีเตอร์ คาร์ล ฟรานซ์ โจเซฟ โรเบิร์ต อ๊อตโต้ แอนโตนิอุส มาเรีย พิอุส เบเนดิกต์ อิกเนเชียส ลอว์เรนเชียส จัสติเนียนิ, ภาษาอังกฤษ: Rudolph Syringus Peter Karl Franz Joseph Robert Otto Antonius Maria Pius Benedikt Ignatius Laurentius Justiniani von Habsburg-Lorraine) ประสูติเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2462 ณ เมืองนีญง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 และพระราชบุตรองค์ที่ 6 ในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรียและเจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บอง-ปาร์มา",
"title": "อาร์ชดยุกรูดอล์ฟแห่งออสเตรีย (ค.ศ. 1919–2010)"
}
] |
3794 | เมืองลิเวอร์พูลตั้งอยู่ทางตอนใดของอังกฤษ ? | [
{
"docid": "223079#0",
"text": "เมืองลิเวอร์พูล () เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครและเป็นเมืองเมโทรโพลิตันของเมอร์ซีย์ไซด์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ ลิเวอร์พูลตั้งอยู่ทางตะวันออกของปากน้ำเมอร์ซีย์ (Mersey Estuary) ลิเวอร์พูลก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1207 และได้รับฐานะเป็น “นคร” ในปี ค.ศ. 1880",
"title": "ลิเวอร์พูล"
}
] | [
{
"docid": "404543#0",
"text": "แบล็กพูล () เป็นเทศบาลและเมืองชายทะเล และเป็นพื้นที่รัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของแลงคาเชียร์เคาน์ตี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ บนฝั่งทะเลไอริช ห่างจากเมืองลิเวอร์พูลไปทางทิศเหนือ 45 กิโลเมตร เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเล มีประชากร 142,900 คน เป็นเมืองที่มีประชากรเป็นอันดับ 3 ของตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ และมีความหนาแน่นของประชากรเป็นอันดับ 4 ในอังกฤษและเวลส์ นอกเหนือจากนครลอนดอนและปริมณฑล",
"title": "แบล็กพูล"
},
{
"docid": "223079#2",
"text": "ในทางประวัติศาสตร์ของมณฑลเดิมลิเวอร์พูลเป็นส่วนหนึ่งของแลงคาสเชอร์ ความรุ่งเรืองของลิเวอร์พูลมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญ ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 การติดต่อค้าขายกับแคริบเบียน, ไอร์แลนด์ และแผ่นดินใหญ่ยุโรป และความสะดวกในการติดต่อค้าขายกับการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค (Atlantic Slave Trade) ยิ่งทำให้เศรษฐกิจเติบโตมากยิ่งขึ้น ภายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 40% ของการค้าขายในโลกต้องผ่านเมืองท่าลิเวอร์พูลซึ่งทำให้ลิเวอร์พูลกลายเป็นเมืองสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งของอังกฤษ",
"title": "ลิเวอร์พูล"
},
{
"docid": "489132#0",
"text": "มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล () เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ในสหราชอาณาจักรที่มีเปิดสอนในระบบที่อิงฐานการเรียนการสอนในห้องเรียนและบนพื้นฐานของการทำวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1881 ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย (University College) โดยเปิดสอน 3 คณะ (Faculty) ที่ประกอบด้วยภาควิชา (Department) และสำนักวิชา (School) ต่างๆรวมแล้ว 35 สาขาวิชา มหาวิทยาลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้านนวัตกรรมงานวิจัย โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ใน 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มความร่วมมือด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของสหราชอาณาจักรอีกด้วย มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยอิสระในประเทศจีนและเป็นมหาวิทยาลัยจีน-บริติชแห่งแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่เปิดสอนสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ (Oceanography) การออกแบบเมือง (Civic Design) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) และชีวเคมี (Biochemistry) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมีเงินสนับสนุนรายปีกว่า 410 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วบงบประมาณที่สนับสนุนด้านงานวิจัยถึง 150 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง",
"title": "มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล"
},
{
"docid": "515632#0",
"text": "สถานีรถไฟถนนไลม์ลิเวอร์พูล () เป็นสถานีรถไฟปลายทางที่ให้บริการใจกลางเมืองลิเวอร์พูล ,ประเทศอังกฤษ สถานีรถไฟยุติสาขาของชายฝั่งตะวันตกสายหลักจากยูสตันลอนดอน และรถไฟด่วนทรานส์เพนไนน์ ผ่านเมืองสถานีรถไฟใต้ดินสายวิร์รอล จากเครือข่ายเมอร์เซย์รอล สามารถเข้าถึงได้ผ่านสถานีหลัก ถนนไลม์ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเมืองลิเวอร์พูล และเป็นหนึ่งใน 18 สถานีบริหารงาน โดยเครือข่ายรถไฟ",
"title": "สถานีรถไฟถนนไลม์ลิเวอร์พูล"
},
{
"docid": "13777#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล () เป็นสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองลิเวอร์พูล เทศมณฑลเมอร์ซีไซด์ ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอังกฤษครองแชมป์ดิวิชัน 1 ถึง 18 ครั้ง ครองแชมป์ยูโรเปียนคัพ 5 ครั้ง ยูฟ่าคัพ 3 ครั้ง ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 3 ครั้ง และฟุตบอลลีกคัพซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศอังกฤษ อีก 8 ครั้ง",
"title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล"
},
{
"docid": "57904#0",
"text": "ร็อกวิลล์ (Rockville) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลมอนต์โกเมอรี (Montgomery County) ในรัฐแมริแลนด์ มีพิกัดที่ตั้งโดยประมาณ ณ เส้นรุ้งที่ 39 องศาเหนือ 5 ลิปดา 11 พิลิปดา และเส้นแวงที่ 77 องศาตะวันตก 8 ลิปดา 54 พิลิปดา มีพื้นที่รวม 34.8 ตารางกิโลเมตร มีประชากรสำรวจเมื่อปีพุทธศักราช 2548 จำนวน 57,402 คน เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของรัฐแมริแลนด์ (Maryland) รองจากเมืองบัลติมอร์ (Baltimore City) เฟดเดอริกซิตี (Federick City) และเกตเตอร์สเบอร์ก (Gaithersburg)",
"title": "ร็อกวิลล์"
},
{
"docid": "215811#0",
"text": "คอร์นวอลล์ () หรือ แคร์นอว์ () เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร",
"title": "คอร์นวอลล์"
},
{
"docid": "534673#0",
"text": "เบอร์เคนเฮด () เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ บริเวณปากแม่น้ำเมอร์ซีย์ ตรงข้ามกับเมืองลิเวอร์พูล จากการสำรวจสำมโนประชากรในปี ค.ศ. 2001 เมืองมีประชากร 83,729 คน อาจเป็นที่รู้จักจากการเป็นศูนย์กลางการต่อเรือ เป็นเมืองท่า และมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เมืองมีอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำ ความยาว 3.4 กม. เชื่อมกับเมืองลิเวอร์พูล เป็นเมืองแห่งแรกในทวีปยุโรปที่มีรถราง",
"title": "เบอร์เคนเฮด"
},
{
"docid": "924494#2",
"text": "เมืองนี้ตั้งอยู่ในภาคกลางของพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และน่าจะเป็นศูนย์กลางของอำนาจฟาโรห์ภายใต้ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม ในแผ่นหินสลักที่ค้นพบในแม่น้ำไนล์ที่เจเบล บาร์กัล ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับฟาโรห์ปิเยได้พิชิตฟาโรห์ลูพุตที่ 2 ผู้ปกครองเมืองลีออนโทโพลิส สตราโบเป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองลีออนโทโพลิส และอาจเป็นที่มาหรือความสำคัญ",
"title": "ลีออนโทโพลิส"
}
] |
3797 | สมัยพระเวทมีอายุประมาณกี่ปีก่อนคริสต์ศักราช? | [
{
"docid": "130015#2",
"text": "2. สมัยพระเวท (ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย\nสมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์",
"title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย"
}
] | [
{
"docid": "401620#3",
"text": "สมัยที่พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1 ได้ทรงอุบัติในโลกมนุษย์ ในเวลานั้น คนมีอายุขัยประมาณ 8 หมื่นปี พระพุทธองค์ทรงออกผนวช เมื่อพระชนมายุได้ 4 หมื่นปี หลังจากผนวชแล้วเป็นเวลาอีก 2 หมื่น ปี จึงได้ทรงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ อีกประมาณ 2 หมื่นปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน",
"title": "พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1"
},
{
"docid": "241344#3",
"text": "เวลาที่สร้างก็สันนิษฐานกันว่าอาจจะประมาณระหว่างราว 160 ปีไปจนถึงราว 20 ปีก่อนคริสต์ศักราช คำจารึกที่พบที่ลินดอส (Lindos) ในโรดส์กล่าวถึงอเจซานเดอร์แห่งโรดส์ และ เอธีโนโดรอส ในช่วง 42 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งทำให้ช่วงเวลาระหว่าง 42 ถึง 20 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุผลที่สุดสำหรับเวลาที่ใช้ในการสร้างงานชิ้นนี้ อีกข้อหนึ่งที่ยังไม่ทราบกันคือไม่ทราบว่าเป็นงานต้นฉบับหรือเป็นงานก็อปปีจากงานต้นฉบับที่สร้างก่อนหน้านั้น มีผู้เสนอว่าประติมากรทั้งสามคนที่กล่าวเป็นนักก็อปปีผู้อาจจะก็อปปีจากประติมากรรมสัมริดจากเพอร์กามอน (Pergamon) ที่สร้างราว 200 ก่อนคริสต์ศักราช ในหนังสือ \"Natural History\" (XXXVI, 37) พลินิกล่าวว่าเป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่ที่พระราชวังของจักรพรรดิไททัส และอ้างต่อไปอีกว่าเป็นงานที่แกะสลักจากหินอ่อนก้อนเดียว แต่ต่อมาพบว่าเป็นงานที่แกะสลักจากหินอ่อนเจ็ดก้อนที่ผสานกันอย่างแนบเนียน.\nประติมากรรมชิ้นนี้อาจจะเป็นงานต้นฉบับที่ถูกสั่งให้ทำสำหรับบ้านของชาวโรมันผู้มั่งคั่งที่หายไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่มาพบอีกครั้งในปี ค.ศ. 1506 ไม่ไกลจากพระราชวังทอง (Domus Aurea) ของจักรพรรดิเนโรผู้ครองจักรวรรดิโรมันระหว่างปี ค.ศ. 54 ถึงปี ค.ศ. 68 อาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นงานที่เป็นของพระองค์เอง เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ผู้เป็นนักสะสมงานศิลปะกรีกโรมันตัวยงได้งานชิ้นนี้มาเป็นเจ้าของ พระองค์ก็ได้นำไปตั้งไว้ที่สวนเบลเวเดียร์ในวังวาติกันที่ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์วาติกัน ในปี ค.ศ. 2005 ลินน์ แค็ทเทอร์สันเสนอว่าเป็นงานปลอมที่แกะสลักโดยไมเคิล แอนเจโล แต่ริชาร์ด บริลเลียนท์ผู้ประพันธ์ \"เลออโคออนของฉัน\" ค้านว่าข้อเสนอนี้ \"ไม่มีมูลใดใดทั้งสิ้น\"",
"title": "เลออโคออนและบุตร"
},
{
"docid": "48108#19",
"text": "สำหรับความเป็นไปของต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้นั้น ต้นแรกเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดในวันเดียวกับวันที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ) มีอายุมาได้ 352 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกทำลายโดยพระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรักและหวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จนไม่สนใจพระนาง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สองนั้น ปลูกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชจากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นเดิม และมีอายุยืนมาประมาณ 871-891 ปี จนถูกทำลายในประมาณปี พ.ศ. 1143-1163 ด้วยน้ำมือของพระราชาฮินดูแห่งเบงกอลพระนามว่า ศศางกา ซึ่งพระองค์อิจฉาพระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองมาก จึงทรงแอบนำกองทัพเข้ามาทำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามนั้นปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ และต้นที่สามนี้มีอายุยืนมากว่า 1,258-1,278 ปี จึงล้มลงในสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สี่ ที่ยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อ พ.ศ. 2423",
"title": "สังเวชนียสถาน"
},
{
"docid": "32367#1",
"text": "นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่าง ๆ",
"title": "พระเวท"
},
{
"docid": "48120#8",
"text": "สำหรับความเป็นไปของต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้นั้น ต้นแรกเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ) มีอายุมาได้ 352 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกทำลายโดยพระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรักและหวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จนไม่สนใจพระนาง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สองนั้น ปลูกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชจากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นเดิม และมีอายุยืนมาประมาณ 871-891 ปี จนถูกทำลายในประมาณปี พ.ศ. 1143-1163 ด้วยน้ำมือของพระราชาฮินดูแห่งเบงกอลพระนามว่า ศศางกา ซึ่งพระองค์อิจฉาพระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองมาก จึงทรงแอบนำกองทัพเข้ามาทำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามนั้นปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ และต้นที่สามนี้มีอายุยืนมากว่า 1,258-1,278 ปี จึงล้มลงในสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สี่ ที่ยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อ พ.ศ. 2423",
"title": "พุทธคยา"
},
{
"docid": "88105#0",
"text": "วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (; ) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา",
"title": "ยุควสันตสารท"
},
{
"docid": "684155#4",
"text": "สมัยไพลสโตซีนได้นิยามว่าเป็นระยะช่วง 2.588 ล้านปี (±.005) จนถึง 11,700 ปีก่อนสมัยปัจจุบัน และบางครั้งที่สุดกำหนดเป็น 10,000 ปีโดยการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (carbon-14)\nซึ่งรวมช่วงเวลาเกิดธารน้ำแข็งซ้ำ ๆ กันล่าสุดรวมทั้งระยะเวลาที่เรียกว่า Younger Dryas\nซึ่งไปสุดที่ 11,654 ปีก่อนปัจจุบัน\nในปี 2552 สหภาพธรณีวิทยาสากล (IUGS) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงช่วงธรณีกาลของสมัยไพลสโตซีน โดยเปลี่ยนระยะเริ่มต้นจาก 1.806 ล้านปีไปที่ 2.588 ล้านปีก่อนสมัยปัจจุบัน และยอมรับช่วงอายุหิน Gelasian ว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของสมัยไพลสโตซีน กำหนดโดย GSSP (Global Boundary Stratotype Section and Point) ที่ Monte San Nicola ในเกาะซิซิลี\nแต่ IUGS ยังไม่ได้กำหนดช่วงต่อระหว่างสมัยไพลสโตซีน/สมัยโฮโลซีน คือช่วงที่สุดของสมัยไพลสโตซีน ตัวกำหนดคือ type section และ GSSP ที่เสนอ ก็คือ แกนน้ำแข็งของ North Greenland Ice Core Project ที่มีพิกัดโลกอยู่ที่ 75° 06' N 42° 18' W.\nส่วนตัวกำหนดชั้นหินด้านล่างของ สมัยไพลสโตซีนกำหนดโดยลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลเป็นฐานของ chronozone Matuyama (C2r), isotopic stage 103\nสูงจากจุดนี้จะเห็นซากดึกดำบรรพ์ที่ได้เปลี่ยนเป็นแคลเซียมแล้วของสาหร่ายพันธุ์ \"Discoaster pentaradiatus\" และ \"Discoaster surculus\" ที่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว",
"title": "สมัยไพลสโตซีน"
},
{
"docid": "20838#47",
"text": "สำหรับความเป็นไปของต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้นั้น ต้นแรกเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดในวันเดียวกับวันที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ) มีอายุมาได้ 352 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกทำลายโดยพระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรักและหวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จนไม่สนใจพระนาง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สองนั้น ปลูกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชจากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นเดิม และมีอายุยืนมาประมาณ 871-891 ปี จนถูกทำลายในประมาณ พ.ศ. 1143-1163 ด้วยน้ำมือของพระราชาฮินดูแห่งเบงกอลพระนามว่า ศศางกา ซึ่งพระองค์อิจฉาพระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองมาก จึงทรงแอบนำกองทัพเข้ามาทำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามนั้นปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ และต้นที่สามนี้มีอายุยืนมากว่า 1,258-1,278 ปี จึงล้มลงในสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สี่ ที่ยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อ พ.ศ. 2423",
"title": "วันวิสาขบูชา"
},
{
"docid": "32367#5",
"text": "รดาพระเวททั้งสี่ นับเป็นคัมภีร์ฮินดูที่สำคัญและเก่าแก่มาก เนื้อหาส่วนที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความสำคัญและความเก่าแก่รองจากคัมภีร์ฤคเวท เนื้อหาประกอบด้วยรวมบทสวด (สังหิตา) และร้อยกรองอื่น ๆ โดยนำมาจากฤคเวท (ยกเว้น 75 บท) เพื่อใช้เป็นบทร้องสวดเป็นทำนองตามพิธีกรรม เรียกว่า \"สามคาน\" สวดโดยนักบวชที่เรียกว่า \"อุทคาตา\" ขณะทำพิธีคั้น กรอง และผสมน้ำโสม เพื่อถวายเทพเจ้า",
"title": "พระเวท"
}
] |
3798 | ผลของความเอนเอียงนี้ก็คือว่า งานที่มีการตีพิมพ์อาจจะไม่เป็นตัวแทนที่ดีของงานวิจัยทั้งหมดที่ได้กระทำใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "645959#6",
"text": "ผลของความเอนเอียงนี้ก็คือว่า งานที่มีการตีพิมพ์อาจจะไม่เป็นตัวแทนที่ดีของงานวิจัยทั้งหมดที่ได้กระทำ\nและความเอนเอียงนี้อาจทำงานวิเคราะห์งานวิจัย (meta-analysis) และงาน systematic review \nที่วิเคราะห์ผลงานวิจัยจำนวนมากให้ผิดเพี้ยน\nซึ่งเป็นวิธีสองอย่างที่การแพทย์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) เป็นต้นใช้ในการแสดงเหตุผลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ\nปัญหานี้อาจมีนัยสำคัญโดยเฉพาะเมื่องานวิจัยได้รับทุนจากองค์กรที่ต้องการได้ผลที่เป็นบวกเพราะเหตุผลประโยชน์ทางการเงินและเหตุสนับสนุนคตินิยม",
"title": "ความเอนเอียงในการตีพิมพ์"
}
] | [
{
"docid": "710583#12",
"text": "หลักฐานชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับความเอนเอียงประเภทนี้ในวงการแพทย์ มาจากงานวิจัยที่ศึกษางานวิจัยอื่น ๆ สำรวจในช่วงที่ได้ทุนหรือได้รับอนุมัติทางจริยธรรม \nคือ พบว่า \"ผลบวก\" เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตีพิมพ์ผลงาน\nเพราะว่า นักวิจัยบอกว่า เหตุที่ตนไม่เขียนและส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ ปกติก็เพราะว่า ตน \"ไม่สนใจ\" ผลที่ได้ ซึ่งหมายความว่า การไม่พิมพ์ผลงาน โดยปกติไม่ใช่เพราะว่าถูกปฏิเสธโดยวารสาร",
"title": "ความเอนเอียงโดยการรายงาน"
},
{
"docid": "710583#13",
"text": "แม้นักวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเบื้องต้น เป็นบทคัดย่อ (abstract) สำหรับงานประชุม ก็ยังมีโอกาสน้อยกว่าที่จะพิมพ์ผลงานที่สมบูรณ์ ถ้าผลไม่แสดงนัยสำคัญ \nนี้เป็นเพราะว่า ข้อมูลที่แสดงในบทคัดย่อมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้น หรือในท่ามกลาง ดังนั้น อาจจะไม่ได้เป็นตัวแทนที่ดีของข้อมูลทั้งหมดที่ได้ในการทดลอง \nนอกจากนั้นแล้ว บทคัดย่อไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ไม่ว่าจะโดยผ่าน MEDLINE (ฐานข้อมูลการแพทย์ที่เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย) หรือฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายอื่น ๆ \nเพราะว่า บทเหล่านั้นเผยแพร่ทางเอกสารงานประชุม หรือทางแผ่นซีดี ซึ่งมีให้สำหรับผู้ร่วมงานประชุมเท่านั้น\nปัจจัยหลักของการไม่พิมพ์ผลงานก็คือ การได้ผลลบหรือว่าง (null) \nการทดลองมีกลุ่มควบคุมที่มีข้อมูลสมบูรณ์ จะตีพิมพ์รวดเร็วกว่าถ้าแสดงผลบวก \nความเอนเอียงนี้ทำให้งานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analyis) ประเมินผลของการรักษาพยาบาลเกินความจริง ซึ่งสามารถทำให้แพทย์และผู้มีอำนาจตัดสินใจอื่น ๆ เชื่อว่า การรักษาพยาบาลนั้นได้ผลเกินความจริง\nเป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้วว่า ความเอนเอียงประเภทนี้สัมพันธ์กับแหล่งเงินทุนของงานศึกษานั้น",
"title": "ความเอนเอียงโดยการรายงาน"
},
{
"docid": "645959#1",
"text": "ความเอนเอียงนี้มักจะเป็นไปในทางการรายงานผลที่มีนัยสำคัญ\nแม้ว่าจริง ๆ แล้วงานทดลองที่แสดงนัยสำคัญไม่ได้มีคุณภาพการออกแบบการทดลองที่ดีกว่างานทดลองที่แสดงผลว่าง \nคือ ได้เกิดการพบว่า ผลที่มีนัยสำคัญมีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์มากกว่าผลที่แสดงผลว่างมากกว่าถึง 3 เท่า \nและก็มีการพบด้วยว่า เหตุผลสามัญที่สุดของการไม่ตีพิมพ์ผลงานก็คือผู้ทำงานวิจัยปฏิเสธที่จะเสนอผลงานเพื่อพิมพ์\nซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงบทบาทของนักวิจัยในปรากฏการณ์ความเอนเอียงในการตีพิมพ์นี้",
"title": "ความเอนเอียงในการตีพิมพ์"
},
{
"docid": "645959#8",
"text": "ดังนั้น ผู้ที่ทำงานวิเคราะห์งานวิจัยและงาน systematic reviewต้องออกแบบวิธีเลือกงานวิจัยที่จะรวมเข้าในการวิเคราะห์โดยเผื่อความเอนเอียงเช่นนี้\nวิธีหนึ่งที่ใช้ในการลดระดับความเอนเอียงนี้ก็คือ ต้องตรวจหาผลงานวิจัยที่ไม่ได้รับการพิมพ์อย่างถี่ถ้วน\nและใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น Begg's funnel plot หรือ Egger's plot เพื่อแสดงค่าของความเอนเอียงในการตีพิมพ์ที่อาจจะมี\nการทดสอบความเอนเอียงแบบนี้ตั้งอยู่บนทฤษฎีว่า งานวิจัยที่มีตัวอย่างทางสถิติน้อย (และมี variance คือค่าแปรปรวนสูง) จะเสี่ยงต่อควาเอนเอียงนี้\nในขณะที่งานวิจัยที่มีตัวอย่างมากจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับรู้โดยสาธารณชนและมีโอกาสสูงที่จะได้รับตีพิมพ์ไม่ว่าผลจะมีนัยสำคัญหรือไม่\nและดังนั้น เมื่อวาดกราฟใช้ค่าประเมินทั่วไปร่วมกับค่าแปรปรวน (variance ซึ่งแสดงขนาดตัวอย่าง) มักจะเป็นรูปกรวยที่สมดุลเมื่อไม่มีความเอนเอียงนี้\nในขณะที่รูปกรวยที่ไม่สมดุล อาจจะแสดงความมีอยู่ของความเอนเอียงในการตีพิมพ์",
"title": "ความเอนเอียงในการตีพิมพ์"
},
{
"docid": "645959#0",
"text": "ความเอนเอียงในการตีพิมพ์ (ผลงานวิจัย) () เป็นความเอนเอียง (bias) ในประเด็นว่า ผลงานวิจัยอะไรมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับการตีพิมพ์ ในบรรดางานทั้งหมดที่ได้ทำ\nความเอนเอียงโดยธรรมชาติแล้วไม่ได้เป็นปัญหาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงในการที่จะไม่ตีพิมพ์เรื่องไม่จริงเป็นความเอนเอียงที่พึงปรารถนา\nแต่ความเอนเอียงที่เป็นปัญหาก็คือความโน้มน้าวที่นักวิจัย บรรณาธิการ และบริษัทผลิตยา\nมักจะมีความประพฤติกับผลงานทดลองที่เป็น \"ผลบวก\" (คือ แสดงว่าประเด็นการทดลอง\"มี\"ความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) แตกต่างจากงานทดลองที่เป็น \"ผลลบ\" (null result หรือผลว่าง คือ ประเด็นการทดลอง\"ไม่มี\"ความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) หรือว่าไม่มีความชัดเจน\nซึ่งนำไปสู่ความเอนเอียงที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องนั้น ที่มีในบรรดางานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมด",
"title": "ความเอนเอียงในการตีพิมพ์"
},
{
"docid": "680848#10",
"text": "วิธีการตรวจจับความเอนเอียงในการตีพิมพ์เป็นเรื่องที่ยังไม่มีที่ยุติ เพราะมักจะมีกำลังทางสถิติต่ำในการตรวจจับ และสามารถแม้จะให้ผลบวกที่ไม่เป็นจริงในบางกรณี \nยกตัวอย่างเช่น ในงานที่มีขนาดผลต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันในระเบียบวิธีระหว่างงานที่มีขนาดตัวอย่างน้อยและงานที่มีขนาดตัวอย่างมาก\nอาจทำให้เกิดความแตกต่างกันของขนาดผลที่ดูเหมือนจะเป็นความเอนเอียงในการตีพิมพ์ \nนอกจากนั้นแล้วยังมีวิธี \"Tandem Method\" ที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ และสามารถลดระดับผลบวกที่ไม่จริง \nเป็นวิธีที่มี 3 ขั้นตอน",
"title": "การวิเคราะห์อภิมาน"
},
{
"docid": "710583#11",
"text": "ในสองทศวรรษที่ผ่านมา มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า การไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย รวมทั้งงานวิจัยทางคลินิกที่ตรวจสอบอิทธิผลของการรักษาพยาบาล เป็นปัญหาที่มีอยู่ทั่วไป \nปัญหาเกี่ยวกับการตีพิมพ์เกือบทั้งหมด เกิดจากผู้ทำงานวิจัยไม่ส่งผลงาน (ต่อวารสารวิชาการเป็นต้น) \nมีเพียงแต่ส่วนน้อยที่ไม่ได้พิมพ์เพราะถูกปฏิเสธโดยวารสาร",
"title": "ความเอนเอียงโดยการรายงาน"
},
{
"docid": "710583#15",
"text": "ความเอนเอียงโดยการตีพิมพ์หลายรอบ (Multiple publication bias) เป็นความเอนเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัยรอบเดียว หรือหลายรอบ ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผล\nนักวิจัยอาจจะพิมพ์ผลงานเดียวกันหลายรอบ โดยใช้รูปแบบของการตีพิมพ์ซ้ำหลายอย่าง \nการตีพิมพ์ซ้ำบ่อยครั้งทำในส่วนเพิ่มเติมของวารสาร (journal supplement) ซึ่งอาจเข้าถึงได้ยาก\nและเพราะว่า ผลบวกพิมพ์ซ้ำกันบ่อยครั้งกว่า ดังนั้น ค่าประเมินผลของการรักษาพยาบาลอาจจะเกินความเจริง",
"title": "ความเอนเอียงโดยการรายงาน"
},
{
"docid": "720942#9",
"text": "งานวิเคราะห์อภิมานของงานวิจัยต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 2014 รายงานว่ามีความเอนเอียงหลายประเภท ซึ่งทำให้มีปัญหาขึ้นว่า งานวิจัยที่ใช้การสร้างภาพทางสมองเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ นักวิเคราะห์เสนอว่า ความเอนเอียงในการตีพิมพ์ อาจทำให้มีการรายงานผลที่มีนัยสำคัญมากเกินไป\nและว่า ความแตกต่างทางสมองที่สำคัญ ที่พบในผู้เจริญกรรมฐาน อาจจะเป็นความแตกต่างกันทางสมองที่มีอยู่แล้ว\nและจะต้องมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นอีก ก่อนที่จะมีข้อสรุปที่ดีได้ในเรื่องนี้",
"title": "การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ"
}
] |
3800 | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคือนายกคนที่เท่าไหร่ของไทย ? | [
{
"docid": "60402#0",
"text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกราชบัณฑิตยสถาน และ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและระบบสมองของไทย บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย",
"title": "อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "5133#0",
"text": "ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือชื่อเกิดว่า มาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ละติน: Mark Abhisit Vejjajiva, เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507) เป็นนักการเมืองไทยผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2551−2554 เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 และ เป็นอดีตอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์",
"title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "423491#1",
"text": "นิสสัย เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของนายโฆสิต เวชชาชีวะ น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นพี่ชายของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของไทย ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางมารินา เวชชาชีวะ มีบุตรชายคือ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ",
"title": "นิสสัย เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "58850#0",
"text": "รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม: ศกุนตาภัย; เกิด: 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507) อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภรรยาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร",
"title": "พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ"
}
] | [
{
"docid": "5133#10",
"text": "อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน",
"title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "5133#12",
"text": "อภิสิทธิ์เป็นหลาน รองศาสตราจารย์ ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด อดีตรองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นลูกพี่ลูกน้องพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรีกับศุภกรณ์ เวชชาชีวะ กรรมการ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับวรกร จาติกวณิช ภริยาของกรณ์ จาติกวณิช หากนับจากญาติฝ่ายมารดา",
"title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "60402#1",
"text": "ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เกิดวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 10 คนของนายโฆสิต เวชชาชีวะ น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีพี่ชายคือนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นบิดาของนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ นักการเมืองพรรคไทยรักไทย และเป็นพี่ชายของนายวิทยา เวชชาชีวะ ที่เป็นอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศเช่นกัน",
"title": "อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "5133#13",
"text": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ปราง เวชชาชีวะ และปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปัณณสิทธิ์นั้นเป็นโรคออทิซึมมาแต่กำเนิด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของอภิสิทธิ์ผู้เป็นบิดาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2555",
"title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "206982#0",
"text": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คณะรัฐมนตรีไทย คณะนี้ เป็นคณะที่ ประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยาวนานที่สุดตั้งแต่มีกฎหมายฉบับนี้ และนับว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59"
},
{
"docid": "206893#1",
"text": "นายแพทย์หลง เวชชาชีวะ เป็นชาวจังหวัดจันทบุรีอยู่บ้านแหลมแสม ตำบลโขมง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นบุตรคนโต ในจำนวน 3 คนของนาย ย็อก นางจีน ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีน จากซัวเถามาขึ้นเรือที่ อำเภอไชยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี)น้องชายคนที่ 2 ชื่อ นายแหยง คนที่ 3 ชื่อนายแหยม เพชรแก้ว และประกอบอาชีพค้าขาย ศึกษาวิชาแพทย์ และเข้ารับราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี และเป็นผู้รับพระราชทานนามสกุล \"เวชชาชีวะ\" จากรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2462",
"title": "พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)"
}
] |
3809 | นรกภูมิ มีกี่ขุม ? | [
{
"docid": "195826#3",
"text": "ตามจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ นรกเป็นดินแดนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุษยโลกลงไป และมี 8 ชั้นหรือที่เรียกว่า \"ขุม\" สำหรับลงทัณฑ์ต่างๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิด ประกอบไปด้วยมหานรก 8 ขุม ยมโลก 320 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม และ อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม สัตว์นรกเมื่อถูกลง ทัณฑ์ทรมานแล้วก็จะเกิดขึ้นใหม่ถูกทรมานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะหมดกรรม รายละเอียดของนรกแต่ละแบบได้แก่",
"title": "นรกภูมิ"
}
] | [
{
"docid": "195826#13",
"text": "โลกันตนรก เป็นนรกขุมใหญ่พิเศษซึ่งอยู่นอกจักรวาล มืดมนไม่มีแสง มองไม่เห็นอะไรเลยและเต็มไปด้วยทะเลน้ำกรดเย็น ที่ตั้งอยู่ระหว่างโลกจักรวาล 3 โลก เหมือนกับวงกลม 3 วงติดกัน บริเวณช่องว่างของวงทั้ง 3 สัตว์นรกที่มาเกิดในนรกชั้นนี้จะมีรูปร่างสูงใหญ่และมีกงเล็บแหลมคมมักจะห้อยหัวจากเพดานเหมือนค้างคาว ด้วยการมองอะไรไม่เห็นเพราะความมืดสนิททำให้สัตว์นรกต้องไต่ไปมาอย่างไร้จุดหมาย และมีจำนวนมาก ถ้าสัตว์นรกไปเจอสัตว์นรกด้วยกันเองก็จะคิดว่าเป็นอาหารก็จะเข้าต่อสู้โรมรัมเพื่อหมายจะจับกินเป็นอาหาร เมื่อสัตว์นรกได้ตกลงไปในทะเลน้ำกรด น้ำกรดก็จะกัดร่างกายจนแหลกเหลวและได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างมาก แต่ไม่ตายเสียทีเดียวก็จะเกิดขึ้นมาใหม่และมาห้อยหัวบนเพดานเหมือนเดิมและต้องคอยเสาะหาอาหารต่อไป สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกขเวทนาเป็นเวลา 1 พุทธันดร จากผลกรรมชั่ว คือ เป็นผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ หรือ เห็นผิดเป็นชอบอย่างมืดมน ทรมานประทุษร้ายต่อบิดามารดา และผู้ทรงศีล ทรงธรรม ฆ่าตัวตาย เป็นต้น",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#5",
"text": "1. สัญชีวมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้จะถูกเหล่านายนริยบาลจับตรึงกับพื้นแล้วนายนริยบาลก็ใช้ มีด หอก ดาบ ฟันแทงร่างกายสัตว์นรกจนฉีกขาดเป็นชิ้นๆ สัตว์นรกต้องทนทุกข์ทรมานเวียนตายเวียนเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้น บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติ มีจิตใจทารุณโหดเหี้ยม ทำบาปกรรมฆ่าสัตว์เป็นอาจิณ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสี่พันห้าร้อยล้าน (4,500,000,000) ปีมนุษย์ หรือ 500 ปีนรก",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "321755#0",
"text": "ปากนรกภูมิ () คือทางเข้าสู่ขุมนรกที่เป็นภาพปากที่อ้ากว้างของยักษาตัวใหญ่ ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่เริ่มเขียนกันขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลปะแองโกล-แซ็กซอน และต่อมาก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรป และเป็นภาพที่นิยมวาดเป็นองค์ประกอบของภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” และ “ลงสู่ขุมนรก” (Harrowing of Hell) จนกระทั่งมาถึงปลายยุคกลาง และบางครั้งก็เลยมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและหลังจากนั้น การเขียน “ปากนรกภูมิ” มาฟื้นฟูกันอีกครั้งในภาพพิมพ์สมัยนิยม (Popular print) หลังการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เมื่อรูปลักษณ์ของผู้ที่เป็นศัตรูจะเป็นผู้ที่กำลังจะถูกกลืนหายเข้าไปในปาก งานชิ้นสำคัญในสมัยหลังเป็นงานเขียนสองชิ้นของเอลเกรโกที่เขียนราวปี ค.ศ. 1578 หรือการ์ตูนล้อการเมืองที่เป็นภาพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 นำหน้ากองทัพไปสู่ความหายนะในปากนรก",
"title": "ปากนรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#11",
"text": "7. มหาตาปนมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้จะถูกเหล่านายนิรยบาลทั้งหลายใช้หอกไล่แทงสัตว์นรกให้ปีนขึ้นไปบนภูเขาไฟนรก แต่พอขึ้นไปถึงยอดภูเขาแล้ว มีลมนรกเกิดขึ้น เป็นลมพัดมาโดยรอบจนทำให้ สัตว์นรกเหล่านั้นตกลงมาจากยอดภูเขานั้น แต่พอตกลงมายังไม่ทันถึงพื้นดิน หลาวเหล็กร้อนก็ผุดขึ้นเสียบร่างกายสัตว์นรกเหล่านั้นจนแหลกเหลวและตายในที่สุด บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืนมัวเมาในอบายมุขทุกชนิด สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาครึ่งกัลป์หรือคือเวลาอันประมาณมิได้",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#10",
"text": "6. ตาปนมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้เมื่อมาสู่ในนรกกรรมก็จะบันดาลให้มีฝน อุปกรณ์การเล่นพนัน เหรียญและธนบัตร ที่เป็นเหล็กร้อนมีความคม ตกใส่ร่างสัตว์นรกจนแหลกเหลวและตาย ในที่สุด บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติ มีเป็นที่ติดการเล่นการพนันอย่างเป็นอาจิณ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลา สองพันเก้าร้อยสี่สิบเจ็ดล้านสามแสนเก้าหมื่นสองพันล้านล้านปีมนุษย์ (2,947,392,000,000,000) หรือ 16,000 ปีนรก",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#9",
"text": "5. มหาโรรุวมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้จะถูกเหล่านายนริยบาลจับตรึงกับพื้นแล้วนายนริยบาลก็นำกระบวยเหล็กร้อนที่ตักจากลำธารน้ำกรดสีดำร้อน มากรอกใส่ปากของสัตว์นรกจนเต็มท้องน้ำกรดก็จะกัดกินร่างของสัตว์นรกจนแหลกเหลวและตายในที่สุด บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติ มีเป็นคนชอบดื่มสุราเมรัยหรือยาเสพติดเป็นอาจิณ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาเจ็ดหมื่นสามพันล้านเจ็ดแสนสองหมื่นแปดพันล้านล้าน (73,000,728,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือ 8,000 ปีนรก",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#7",
"text": "3. สังฆาฏมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้จะถูกเหล่านายนริยบาลใช้มีดตัดหรือแทงเข้าไปในอวัยวะเพศของสัตว์นรกจนตาย บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติ มีเป็นคนมักมากในกาม เป็นคนเจ้าชู้ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น ชอบประพฤติผิดในกามเป็นอาจิณ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสองแสนเก้าหมื่นล้าน (290,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือ 2,000 ปีนรก",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#8",
"text": "4. โรรุวมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้จะถูกเหล่านายนริยบาลใช้คีมเหล็กร้อนกระชากลิ้นออกมาตัดแล้วเฆี่ยนตีด้วยแส้เหล็กร้อนจนตาย บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติ มีเป็นคนชอบพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบเป็นอาจิณ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลา เก้าแสนสามหมื่นหกพันล้าน (936,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือ 4,000 ปีนรก",
"title": "นรกภูมิ"
},
{
"docid": "195826#6",
"text": "2. กาฬสุตมหานรก : สัตว์นรกในนรกขุมนี้จะถูกนายนริยบาลนำเลื่อยเหล็กร้อนตัดที่มือทั้งสองของสัตว์นรกจนตาย บาปกรรมที่ทำให้ตกนรกขุมนี้เนื่องมาจากในอดีตชาติ มีเป็นคนโลภมาก ชอบลักขโมยของของผู้อื่นโดยเจ้าของมิได้ให้เป็นอาจิณ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสามหมื่นหกพันล้าน (36,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือ 1,000 ปีนรก",
"title": "นรกภูมิ"
}
] |
3811 | จังหวัดศรีสะเกษ สถาปนาก่อตั้งเป็นจังหวัดเมื่อไหร่ ? | [
{
"docid": "7821#1",
"text": "มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์ และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481",
"title": "จังหวัดศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "412713#4",
"text": "พ.ศ. 2481 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์เป็นจังหวัดศรีสะเกษ \"สาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์\" จึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ\" และ \"สุขศาลาจังหวัดขุขันธ์\" ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ\" หลังจากนั้นระหว่าง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2485 เกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น จังหวัดศรีสะเกษได้รับการกำหนดให้เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง จึงได้มีการก่อสร้างฐานบินและสนามบินทหารขึ้น (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ในปัจจุบันและพื้นที่โดยรอบ) บริเวณสุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษได้เป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงของกองทัพอากาศและที่พักของหน่วยทหาร สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษจึงมีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับในการรักษาผู้เจ็บป่วยทั้งทางทหารและพลเรือนตลอดช่วงภาวะสงคราม",
"title": "โรงพยาบาลศรีสะเกษ"
}
] | [
{
"docid": "7821#6",
"text": "การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 ในระยะนั้น เดิมเมืองขุขันธ์ หรือพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน มีกลุ่มชนเผ่าที่ถูกราชสำนักกรุงเทพ เรียกว่า เขมรป่าดง จำนวน 6 กลุ่ม อาศัยอยู่กันมานานแล้วและได้ตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้ ชุมชนชาวเขมรป่าดงดังกล่าวได้อยู่อาศัยเรื่อยมาจนล่วงเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2302 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์(หรือพระที่นั่งสุริยามรินทร์)พญาช้างเผือกมงคลในราชสำนักแตกโรงมาจากจากกรุงศรีอยุธยา หนีเข้าป่าไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงรัก ตากะจะหรือตาไกรและเชียงขัน พร้อมด้วยหัวหน้าชนเผ่าเขมรป่าดงได้รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้แล้วนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ \"ตากะจะ\" หรือ \"ตาไกร\" เป็น \"หลวงแก้วสุวรรณ\" ตำแหน่งหัวหน้านายกอง ปกครองหมู่บ้าน โดยโปรดให้ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น เมือง \"ขุขันธ์\" ซึ่งอยู่ที่บริเวณใกล้ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน จนล่วงปีพุทธศักราช 2306 หลวงแก้วสุวรรณนำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้หลวงแก้วสุวรรณ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ตำแหน่ง \"เจ้าเมือง\"ขุขันธ์คนแรก",
"title": "จังหวัดศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "58537#1",
"text": "การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษเริ่มดำเนินการตั้งแต่ใน พ.ศ. 2537 ตามข้อเสนอของจังหวัดศรีสะเกษและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมาก ในแต่ละปีจึงมีนักเรียนนักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเป็นจำนวนมากแต่ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาภายในจังหวัดเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับเป็นจังหวัดทีมีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม โดยมีความพร้อมทั้งที่ดินและงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง \"สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ\" ขึ้น และในปี พ.ศ. 2542 \"โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ\" ได้เริ่มรับนักศึกษาเป็นปีแรก โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนในระยะแรกจาก สถาบันราชภัฏสุรินทร์",
"title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "131686#0",
"text": "อุทุมพรพิสัย (ในอดีตเขียน \"อุทุมพรพิไสย\") เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดศรีสะเกษ (แรกเริ่มการก่อตั้งจังหวัดศรีสะเกษมี 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอราษีไศล และอำเภออุทุมพรพิสัย) เป็นอำเภอที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเคยเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟเยี่ยมพสกนิกรเมื่อครั้งอดีต เป็นอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ มีอำเภอที่แยกจากอำเภออุทุมพรพิสัยไปแล้ว 4 อำเภอ คือ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองจันทร์ และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ",
"title": "อำเภออุทุมพรพิสัย"
},
{
"docid": "412713#5",
"text": "พ.ศ. 2491 นายแพทย์ขุนวิชิตภัยพยาธิ (นายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์) ได้ย้ายมารับราชการที่จังหวัดศรีสะเกษ และได้แบ่งส่วนงานสาธารณสุขออกเป็นกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ส่วนขุนสุขวิชวรการ ได้ไปดำรงตำแหน่งอนามัยจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกรมอนามัย \"สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ\" ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงพยาบาลศรีสะเกษ\" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาโรงพยาบาลศรีสะเกษขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีนายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลแห่งนี้",
"title": "โรงพยาบาลศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "412713#0",
"text": "โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการริเริ่มของ ขุนเวชการบริรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ ตั้งแต่เมื่อครั้งจังหวัดศรีสะเกษ ยังใช้ชื่อเดิมว่า \"จังหวัดขุขันธ์\" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น \"จังหวัดศรีสะเกษ\" ใน พ.ศ. 2481 หลังจากนั้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดศรีสะเกษจึงใช้ชื่อว่า \"โรงพยาบาลศรีสะเกษ\" ตามชื่อจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่",
"title": "โรงพยาบาลศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "414995#2",
"text": "อนึ่ง วัดปราสาทเยอเหนือ เป็นวัดโบราณมีอายุเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษหรือจังหวัดขุขันธ์ ในอดีต วัดแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1313 หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14 ตั้งแต่สมัยทวารวดีและสมัยขอม อันเป็นช่วงเวลาก่อนการตั้งเมืองศรีนครลำดวน (ต้นเค้าเมืองขุขันธ์ที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ) ใน พ.ศ. 2302 ถึง 989 ปี ปัจจุบัน ภายในวัดยังคงปรากฏซากปราสาทหินสมัยขอมซึ่งมีสภาพชำรุดมากแล้วคือ ปราสาทเยอ",
"title": "พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ)"
},
{
"docid": "7821#3",
"text": "หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาเขียน จารึกเรื่องราวต่างๆในสังคมมนุษย์) ตอนปลาย ในสมัยเหล็ก(ยุคเหล็ก)(Iron Age) ราว 2,500 ปีมาแล้ว เช่น แหล่งภาพสลักบริเวณผาเขียน-ผาจันทน์แดง ในเขตอำเภอขุนหาญ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นอกจากนั้นยังร่องรอยชุมชนสมัยเหล็กอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด เช่น กลุ่มชุมชนโบราณในเขตอำเภอราษีไศล ซึ่งปรากฏร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ ที่ได้รับการฝังศพพร้อมกับวัตถุอุทิศอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กและภาชนะดินเผา ตลอดจนแบบแผนพิธีกรรมฝังศพแบบวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี หรือที่เรียกว่า\"วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้\"",
"title": "จังหวัดศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "7821#5",
"text": "ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17(ประมาณ 1,300 - 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย ใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน , ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ), ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า \"เมืองปรางค์ร้อยกู่\" หรือ \"นครร้อยปราสาท\"",
"title": "จังหวัดศรีสะเกษ"
}
] |
3813 | วงเดอะบีเทิลส์มีสมาชิกทั้งหมดกี่คน ? | [
{
"docid": "100687#3",
"text": "อ้างจากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) เดอะบีเทิลส์ได้รับการยืนยันว่าเป็นศิลปินที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในสหรัฐอเมริกา ด้วยยอดจำหน่ายราว 178 ล้านก็อปปี้ บีเทิลส์ยังมีซิงเกิลฮิตอันดับ 1 บนบิลบอร์ดชาร์ทอังกฤษและทำยอดจำหน่ายซิงเกิลที่สูงสุดตลอดกาล ในปี 2008 เดอะบีเทิลส์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารบิลบอร์ดให้เป็นวงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาล ต่อเนื่องกันในปี 2015 บีเทิลส์ได้รับการบันทึกสถิติซิงเกิลฮิตอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 กว่า 20 ซิงเกิล พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมีถึง 10 รางวัล รางวัลออสการ์สาขา \"คะแนนเพลงดั้งเดิมที่ดีที่สุด\" (Best Original Song Score) รางวัลอิวอร์โนเวลโลกว่า 15 รางวัล นิตยสารไทม์ ยังได้ทำการใส่ชื่อพวกเขาในหัวข้อ \"100 บุคคลที่มีอิทธิพลแห่งศตวรรษที่ 20\" ปัจจุบันเดอะบีเทิลส์ถือเป็น \"วงที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์\" ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 600 ล้านก็อปปี้ทั่วโลก พวกเขายังได้ถูกบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี 1988 ร่วมกับสมาชิกทั้ง 4 คน ซึ่งได้รับต่างหาก จากช่วงปี 1994 ถึง 2015",
"title": "เดอะบีเทิลส์"
}
] | [
{
"docid": "221626#1",
"text": "สมาชิกประกอบด้วย นักร้อง-นักดนตรี-นักแต่งเพลง อย่างไบรอัน วิลสัน, น้องชายของเขา คาร์ลและเดนนิส, ลูกพี่ลูกน้องของเขา ไมค์ เลิฟ และเพื่อนของเขา อัล จาร์ดีน สมาชิกหลักทั้ง 5 คนก็ยังมีสมาชิกในช่วงแรกอย่าง เดวิด มาร์ก และบรูซ จอห์นสัน พวกเขายังมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 1988 ชื่อของเดอะบีชบอยส์ มักจะถูกเรียกว่า \"วงแห่งอเมริกัน\" และทางเว็บไซต์ออลมิวสิก ยังกล่าวไว้ว่า \"ด้วยความสามารถของวงที่เที่ยงตรง...ทำให้พวกเขาเป็นวงร็อกอเมริกันที่ดีที่สุดวงแรก\" พวกเขามีเพลงฮิตติดในท็อป 40 ในสหรัฐอเมริกา อยู่ 36 เพลง (มากที่สุดในบรรดาวงร็อกอเมริกัน) และ 56 เพลงฮิตในชาร์ทฮ็อต 100 รวมถึงมีซิงเกิลอันดับ 1 ถึง 4 ซิงเกิล นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับพวกเขาอยู่ใน 100 อันดับศิลปินที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล นอกจากนี้นิตยสารบิลบอร์ด ในแง่ของยอดขายซิงเกิลและอัลบั้ม เดอะบีชบอยส์เป็นวงอเมริกันที่มียอดขายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ตลอดกาล",
"title": "เดอะบีชบอยส์"
},
{
"docid": "76701#28",
"text": "จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวงในเครือ 48 กรุ๊ป เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2017 วงมีสมาชิกทั้งหมด 136 คน แบ่งออกเป็นทีมเอ (Team A) 16 คน, ทีมเค (Team K) 17 คน, ทีมบี (Team B) 15 คน, ทีมโฟร์ (Team 4) 19 คน, และทีมเอต (Team 8) 47 คน โดยในทีม 8 นั้นมีสมาชิก 3 คนที่กำลังควบวงน้องสาววงอื่นอยู่ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 25 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 6 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 19 คน มียุย โยะโกะยะมะ เป็นสมาชิก หัวหน้าวง และผู้จัดการวงในเครือ 48 กรุ๊ป",
"title": "เอเคบีโฟร์ตีเอต"
},
{
"docid": "840008#24",
"text": "จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากมีการเปิดรับสมาชิกรุ่นใหม่ การจบการศึกษา และการแลกเปลี่ยนสมาชิกกับวงพี่น้อง ปัจจุบันวงมีสมาชิกทั้งหมด 51 คน แบ่งออกเป็นสมาชิกทีมบีทรี (BⅢ) 22 คน และสมาชิกฝึกหัด 29 คน โดยมีเฌอปราง อารีย์กุล เป็นหัวหน้าวง และปัญสิกรณ์ ติยะกร เป็นหัวหน้าทีมบีทรี",
"title": "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต"
},
{
"docid": "777094#0",
"text": "เดย์ซิกซ์ (; ) เป็นวงดนตรีชายล้วน ภายใต้สังกัด JYP Entertainment สัญชาติเกาหลีใต้ ก่อนเดบิวต์ใช้ชื่อว่า 5LIVE มีสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 5 คน ประกอบไปด้วย ซองจิน เจ ยองเค วอนพิล จุนฮย็อก ตอนเดบิวต์ได้มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน โดยคนที่เข้ามาเป็นคนที่ 6 คือ โดอุน โดยได้มีการอัพคลิปลงในเว็บไซต์ยูทูป และจุนฮย็อกได้ถอนตัวออกจากวงไปในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 โดยมินิอัลบั้มของพวกเขาชื่อว่า \"เดอะเดย์\" ซึ่งจำหน่ายในวันที่ 7 กันยายน 2015 \nในตอนแรกทางเจวาพีเอนเตอร์เทนเมนต์ จะประกาศเปิดตัว 5 สมาชิก ในชื่อของ 5 LIVE ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย ซ็องจิน, เจ, ย็องเค ,จูฮย็อก และว็อนพิล ในปี 2014 วงได้เริ่มโปรโมตโดยปรากฏตัวในตอนที่ 4 ของรายการ Who is Next: Win ออกอากาศทาง เอ็มเน็ต ซึ่งเป็นรายการเซอร์ไวเวิลของทางค่ายวายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และได้ปล่อยเพลง \"Lovely Girl\" ซึ่งประกอบเพลงละครเรื่อง \"พริตตี้ แมน\".",
"title": "เดย์ซิกซ์"
},
{
"docid": "911473#0",
"text": "สมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอตอาจการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวง AKB48 กับวงน้องสาว วงเอเคบีโฟร์ตีเอตมีสมาชิกทั้งหมด 125 คน แบ่งออกเป็นทีมเอ (Team A) 21 คน, ทีมเค (Team K) 26 คน, ทีมบี (Team B) 25 คน, ทีมโฟร์ (Team 4) 25 คน, และทีมเอต (Team 8) 46 คน โดยในทีม 8 นั้น สมาชิกทุกคนควบทีมกับทีมเอ เค บี และโฟร์อยู่ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 18 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 13 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 5 คน มี ยุย โยะโกะยะมะ เป็นหัวหน้าวงโดยรวม",
"title": "รายชื่อสมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต"
},
{
"docid": "908236#0",
"text": "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เป็นกลุ่มไอดอลหญิงของประเทศไทย และเป็นวงน้องสาวของกลุ่มไอดอลญี่ปุ่นเอเคบีโฟร์ตีเอต มีสมาชิกทั้งหมด 51 คน โดยแบ่งออกเป็นสมาชิกทีมบีทรี (Team BIII) 22 คน และสมาชิกเค็งกีวเซ (เด็กฝึก) อีก 29 คน มีเฌอปราง อารีย์กุลเป็นหัวหน้าวง ซึ่งทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของวง และมีปัญสิกรณ์ ติยะกร กับเจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ หัวหน้าและรองหัวหน้าทีมบีทรี คอยดูแลการแสดงต่าง ๆ ภายในโรงละครของวง",
"title": "รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต"
},
{
"docid": "345905#2",
"text": "สมาชิกดั้งเดิมของกลุ่ม ประกอบด้วย นักร้องเทเนอร์ที่สอง โอทิส วิลเลียมส์, นักร้องเทเนอร์แรก เอลบริดจ์ \"อัล\" ไบรอันต์ (ทั้ง 2 คนมาจากวงเดอะดิสแทนส์) และเสียงเบส เมลวิน แฟรงคลิน และอีกสองสมาชิกที่มาจากวงเดอะไพรม์ส เสียงเทเนอร์/ฟอลเซตโต เอ็ดดี้ เคนดริกส์ และเทเนอร์ที่ 2/แบริโทน พอล วิลเลียมส์ (ไม่ได้เป็นญาติกับโอทิส วิลเลียมส์) ส่วนนักร้องนำในภายภาคหน้าที่มีชื่อเสียงอาทิ เดวิด รัฟฟิน และเดนนิส เอ็ดเวิร์ดส (ทั้งคู่ต่อมาเป็นศิลปินเดี่ยว), ริชาร์ด สตรีต, เดม่อน แฮร์ริส, เกล็น ลีโอนาร์ด, รอน ไทสัน, อาลี-ออลลี วูดสัน, ธีโอ พีเพิลส์ และ จี.ซี. แคเมรอน เช่นเดียวกับวงอื่นพวกเขาได้เปลี่ยนสมาชิกวงต่อมาอีกหลายครั้ง",
"title": "เดอะเทมป์เทชันส์"
},
{
"docid": "840008#13",
"text": "วงได้ประกาศและเปิดเผยสมาชิกรุ่นแรกจำนวน 29 คนเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน รินะ อิซึตะ สมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอต ประกาศว่าจะเข้าร่วมวงด้วย ทำให้สมาชิกในวงทั้งหมดเพิ่มเป็น 30 คน ก่อนที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 มิถุนายน พร้อมกับซิงเกิลแรกในชื่อ \"อยากจะได้พบเธอ\" ซึ่งประกอบด้วยเพลง 3 เพลงด้วยกัน ได้แก่ \"อยากจะได้พบเธอ\", \"ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ\" และ \"365 วันกับเครื่องบินกระดาษ\" พร้อมกับประกาศสมาชิกเซ็มบัตสึชุดแรกจำนวน 16 คน ซึ่งวงได้เปิดขายแผ่นซีดีของซิงเกิลนี้ในเฉพาะระยะเวลาสั้น ๆ โดยออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม และขายได้ 13,500 ชุด นอกจากนี้ วงยังได้จัดกิจกรรมงานจับมือเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ที่เซ็นทรัลพลาซา บางนา มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 4,000 คน",
"title": "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต"
},
{
"docid": "627553#26",
"text": "ปัจจุบัน สมาชิกทั้ง 6 คนของวงวิกซ์ ได้แก่ เอ็น,เลโอ,เคน,ราวี,ฮงบิน และฮยอก \nได้มีการยืนยันจากต้นสังกัดว่า วิกซ์จะมีซับยูนิตขึ้น และได้ปล่อยเพลงเดบิวท์ในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 มีสมาชิก ดังนี้หลังจากที่ปล่อยเพลง On and On วงวิกซ์ก็เริ่มได้รับความนิยมมากจากแฟนคลับเกาหลี และเป็นที่สนใจของแฟนคลับต่างชาติมากขึ้น ส่งผลให้วิกซ์ได้ออกรายการวาไรตี้ และเรียลลิตี้มากมาย และพบเห็นทางโทรทัศน์ กับรายการวิทยุบ่อยขึ้น และสมาชิกในวงก็เริ่มได้รับงานต่างๆมากขึ้นเช่นเดียวกัน ผลงานต่างๆตั้งแต่เดบิว์จนถึงปัจจุบันของวงวิกซ์ มีดังนี้ผลโหวตไอดอลประจำเดือนที่เกิด วิกซ์สามารถเอาใจแฟนคลับได้ทุกคน ดังนี้",
"title": "วิกซ์"
},
{
"docid": "811552#0",
"text": "วอนนาบี (เกาหลี : 워너비 อังกฤษ : WANNA.B ) เป็นเกิลกรุ๊ปค่าย Zenith Media Contents ปัจุบันมีสมาชิก 5 คน\nเปิดตัว : 17 พฤศจิกายน 2014 ซิงเกิ้ล My Type เดบิวต์อย่างเป็นทางการ \nค่ายได้ทำการเพิ่มสมาชิกเข้าไป 5 คน คือ ซียอง เซจิน โซยุน อึนซอม และ อามิ รวมกับสมาชิกที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวคือ จีอู ก็เป็น 6 คน เพลง Attention,Hands Up\nต่อมาโซยุนก็ได้ออกจากวงไป ค่ายได้เพิ่มสมาชิกใหม่ 2 คน คือ โรอึน และ ลินอา ทำให้วอนนาบีปัจจุบันตอนนี้มีทั้งหมด 7 คน คือ เซจิน อึนซอม อามิ โรอึน และ ลินอา เพลง Why? เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา Facebook Page ของ WANNA.B OFFICIAL ได้โพสต์ว่าจีอูและซียองได้ออกจากวงแล้ว สมาชิก WANNA.B ที่เหลือ 5 คน คือ เซจิน อามิ อึนซม ลินอา และ โรอึน",
"title": "วอนนาบี (วงดนตรี)"
}
] |
3825 | ธงชาติประเทศมาเลเซียมีความหมายว่าอย่างไร? | [
{
"docid": "110140#0",
"text": "ธงชาติมาเลเซีย หรือ จาลูร์เกอมีลัง ( มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า \"บินตังเปอร์เซกูตัน\" (\"Bintang Persekutuan\") หรือ \"ดาราสหพันธ์\"",
"title": "ธงชาติมาเลเซีย"
},
{
"docid": "110140#1",
"text": "แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กัวลาลัมเปอร์ ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย",
"title": "ธงชาติมาเลเซีย"
}
] | [
{
"docid": "110140#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการปรับแก้แบบธงชาติให้เป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มแถบแดงสลับขาวเป็น 14 แถบ และรัศมีดาราแห่งสหพันธ์เป็น 14 แฉกเพื่อแทนรัฐในสหพันธ์ทั้ง 14 รัฐ เนื่องจากมาเลเซียได้รับเอารัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวะก์ และรัฐสิงคโปร์เข้าร่วมสหพันธ์ด้วย แม้ต่อมาสิงคโปร์จะแยกตัวเป็นเอกราชในปี พ.ศ. 2508 ก็ตาม แต่ริ้วธงและรัศมีของดาราแห่งสหพันธ์ยังคงมีจำนวนอยู่เท่าเดิม เนื่องจากได้เปลี่ยนความหมายของรัฐสุดท้ายจากรัฐสิงคโปร์เป็นรัฐบาลกลางที่กัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ",
"title": "ธงชาติมาเลเซีย"
},
{
"docid": "110140#3",
"text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการเปลี่ยนธงชาติสหพันธรัฐมาเลเซียมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบ ประกอบด้วยพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์ 11 แฉกในพื้นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน เพื่อแทนรัฐทั้ง 11 รัฐ คือ ปะลิส ไทรบุรี เประก์ กลันตัน ตรังกานู ปะหัง เนอเกอรีเซิมบีลัน เซอลาโงร์ ปีนัง ยะโฮร์ และมะละกา ธงนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่หน้าพระราชวังเซอลาโงร์ (Istana Selangor) และได้ชักขึ้นเป็นธงรัฐเอกราชครั้งแรกที่หน้าจัตุรัสเอกราช (Merdeka Square) ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500",
"title": "ธงชาติมาเลเซีย"
},
{
"docid": "132393#0",
"text": "ธงชาติมอนต์เซอร์รัต ใช้ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร (Blue Ensign) มีตราแผ่นดินอยู่ที่ด้านชายธง เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ตราแผ่นดินนั้นเป็นรูปหญิงสาวพรหมจารีย์ดีดพิณยืนเกาะไม้กางเขน บนพื้นโล่รูปทะเล โดยมือขวาเกาะไม้กางเขน และมือซ้ายดีดพิณ ตรามีความหมายถึง หญิงพรหมจารีย์ที่ถูกส่งมาจากไอร์แลนด์โดย โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ มีหมู่บ้านที่ตั้งบนเกาะอยู่ 2 แห่ง คือ คินเซลล์และแฮริส",
"title": "ธงชาติมอนต์เซอร์รัต"
},
{
"docid": "195166#6",
"text": "การให้นิยามความหมายของธงชาติเอสโตเนียมีอยู่หลายแบบ หากตีความตามประวัติศาตร์เอสโตเนียนั้น สีฟ้าจะหมายถึงอิสรภาพในอดีตกาล สีดำหมายถึงสมัยที่ประเทศสูญเสียเอกราช และสีขาวหมายคำสัญญาต่ออนาคตอันสดใสของชาติ แต่ถ้าจะกล่าวตามคำนิยามที่ได้รับคำนิยมทั่วไปซึ่งกวีชื่อมาร์ติน ลิปป์ (Martin Lipp) ได้ให้ไว้ จะมีความหมายดังนี้",
"title": "ธงชาติเอสโตเนีย"
},
{
"docid": "174577#0",
"text": "ธงชาติสาธารณรัฐมาซิโดเนีย เป็นธงพื้นสีแดง กลางธงเป็นรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมีแปดทิศจดขอบธงชาติ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง สัญลักษณ์ในธงดังที่กล่าวมามีความหมายว่า \"ดวงตะวันดวงใหม่แห่งเสรีภาพ\" ดังปรากฏวลีนี้ในบทแรกของเพลงชาติมาซีโดเนียในปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อว่า \"\"Denes nad Makedonija\"\" (แปลว่า \"วันนี้ทั่วแผ่นดินมาซีโดเนีย\") ดังนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2487 - 2535 มาซิโดเนียมีฐานะเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมภายใต้การปกครองของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ธงชาติมีลักษณะเป็นธงสีแดงเกลี้ยงมีรูปดาวแดงขอบสีทองที่มุมธงบนด้านคันธง",
"title": "ธงชาติสาธารณรัฐมาซิโดเนีย"
},
{
"docid": "110140#2",
"text": "ธงชาติมาเลเซียแบบแรกสุดคือธงชาติสหพันธรัฐมาลายา ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแถบสี 4 สีขนาดเท่ากันเรียงจากบนลงล่าง คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง และดำ ตรงกลางผืนธงมีตราเสือเผ่นบนพื้นวงกลมสีขาว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2439 โดยธงนี้จะต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรด้วย",
"title": "ธงชาติมาเลเซีย"
},
{
"docid": "112826#5",
"text": "นอกจากนี้ยังมีประวัติของธงชาติอินโดนีเซียอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อธงชาติเนเธอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์สายนี้กล่าวว่า ในสมัยภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์นั้นทุกพื้นที่การปกครองของอินเดียตะวันออกของดัตช์จะต้องชักธงสามสีของเนเธอร์แลนด์เป็นเครื่องหมายสำคัญ ธงใดๆ ก็ตามที่หมายถึงอินโดนีเซียจะเป็นธงต้องห้ามทั้งหมด เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความต้องการขับไล่ชาวดัตช์ นักชาตินิยมและขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินโดนีเซียกลุ่มต่างๆ จึงทำลายธงชาติเนเธอร์แลนด์โดยการฉีกเอาส่วนล่างสุดที่เป็นสีน้ำเงินออก คงไว้แต่เฉพาะสีแดงกับสีขาวเท่านั้น เหตุผลสำคัญคือสีน้ำเงินของธงชาติเนเธอร์แลนด์ในความคิดของพวกชาตินิยมคือเครื่องหมายของ \"พวกอภิชนเลือดน้ำเงิน\" ผู้กดขี่คนพื้นเมือง ในทางกลับกัน สีแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์เลือดในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ส่วนสีขาวนั้นอาจมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ของชาวอินโดนีเซีย",
"title": "ธงชาติอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "1924#42",
"text": "ในปี ค.ศ. 2010 เศรษฐกิจมาเลเซียเจริญเติบโตอย่างมาก ธนาคารของมาเลเซียมีเงินทุนที่มั่นคง ใช้การบริการแบบอนุรักษนิยม ไม่มีนโยบายให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งสัมพันธ์กับวิกฤติซับไพร์ที่เกิดในอเมริกา ธนาคารแห่งชาติมีนโยบายรักษาสภาพคล่องในการลงทุน ห้ามลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงตามระแสการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงและหนี้ต่างประเทศต่ำ",
"title": "ประเทศมาเลเซีย"
}
] |
3839 | เชอร์ล็อก โฮมส์ ตอนแรกที่ลงตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual คือ ตอน อะไร? | [
{
"docid": "48260#5",
"text": "\"เชอร์ล็อก โฮมส์\" ตอนแรกที่ลงตีพิมพ์ใน \"Beeton's Christmas Annual\" คือ ตอน \"แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) \" โดยบทแรกเล่าถึงการพบกันครั้งแรกระหว่างโฮมส์กับวอตสัน ทั้งสองมาเช่าห้องพักร่วมกันที่บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1881 แต่เนื้อเรื่องใน \"แรงพยาบาท\" เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "48260#42",
"text": "\"เชอร์ล็อก โฮมส์\" ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในหนังสือพิมพ์ \"Beeton's Christmas Annual\" ค.ศ. 1887 โดยตอนแรกที่พิมพ์ คือ \"แรงพยาบาท\" หลังจากนั้น จึงได้ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร\"สแตรนด์\" ปี ค.ศ. 1892 เรื่องสั้นที่โคนัน ดอยล์ เขียนลงใน\"สแตรนด์\" ได้นำมาพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์ George Newnes ใช้ชื่อหนังสือว่า \"\"The Adventures of Sherlock Holmes\"\" ต่อมา ฉบับรวมเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา โดยสำนักพิมพ์ Harper & Brothers นครนิวยอร์ก ปี ค.ศ. 1892 เช่นเดียวกัน",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
}
] | [
{
"docid": "48260#48",
"text": "ปี ค.ศ. 2007 หนังสือพิมพ์ Beeton's Christmas Annual 1887 ซึ่งตีพิมพ์เรื่อง \"เชอร์ล็อก โฮมส์\" ตอนแรกสุด ได้รับประมูลไปในราคา 156,000 ดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "48260#1",
"text": "โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง \"เชอร์ล็อก โฮมส์\" ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน \"Beeton's Christmas Annual\" ในปี ค.ศ. 1887 และ \"Lippincott's Monthly Magazine\" ในปี ค.ศ. 1890 แต่หลังจากที่ชุดเรื่องสั้นลงพิมพ์เป็นคอลัมน์ประจำใน \"นิตยสารสแตรนด์\" เมื่อปี ค.ศ. 1891 นิยายเรื่องนี้ก็โด่งดังเป็นพลุ เหตุการณ์ในนิยายอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1878 ถึง ค.ศ. 1903 และคดีสุดท้ายเกิดในปี ค.ศ. 1914",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "48260#4",
"text": "เมื่อโคนัน ดอยล์ เรียนจบและออกไปประกอบอาชีพ เขาเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับนิตยสาร เนื่องจากการงานอาชีพแพทย์ไม่ค่อยสร้างรายได้ดีนัก เขาใช้เวลาว่างระหว่างรอคนไข้เริ่มเขียนนวนิยาย โดยใช้นายแพทย์เบลล์ อาจารย์ของเขาเองเป็นต้นแบบในการสร้างตัวละครเอก คือ เชอร์ล็อก โฮมส์ แล้วสร้างตัวละครรองเป็นนายแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกันกับวิชาชีพของเขา และเรื่องแรกที่โคนัน ดอยล์ เขียนคือ \"แรงพยาบาท (A Study in Scarlet)\" พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ \"Beeton's Christmas Annual\" ในปี ค.ศ. 1887 หลังจากที่ถูกปฏิเสธอยู่หลายครั้งหลายหน หลังจากนั้น โคนัน ดอยล์ จึงทยอยเขียนเรื่องสั้นเกี่ยวกับนักสืบโฮมส์และเพื่อนนายแพทย์ของเขา ผลตอบรับจากการเขียนนวนิยายนักสืบชุดนี้ดีจนคาดไม่ถึง และโคนัน ดอยล์ ต้องแต่งเรื่องส่งให้สำนักพิมพ์อยู่เรื่อย ๆ จนเป็นที่ยอมรับ",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "157239#0",
"text": "เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย () เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดแรกของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ โดยโลดโผนของเชอร์ล็อก โฮมส์ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 12 เรื่อง ฉบับแรกมีภาพวาดประกอบโดย Sidney Paget นำเรื่องสั้นทั้ง 12 เรื่องที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ (Strand Magazine) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1891 ถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1892 ประกอบด้วยเรื่องดังนี้",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด ผจญภัย"
},
{
"docid": "48260#60",
"text": "\"เชอร์ล็อก โฮมส์\" เป็นตัวละครจากนิยายคนแรกที่มีการนำมาดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์ โดยตอน \"พินัยกรรมประหลาด (The Three Garridebs) \" ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 จากเวที Radio City Music Hall ในนครนิวยอร์กโดยสมาพันธ์เครือข่ายวิทยุอเมริกัน (American Radio Relay League) ภาพการแสดงสดจะนำมาประกอบกับบทบรรยายข้างใต้ก่อนออกอากาศ หลุยส์ เฮคเตอร์ แสดงเป็นนักสืบโฮมส์ และวิลเลียม พอดมอร์ แสดงเป็นหมอวอตสันเพื่อนคู่หู",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "48260#20",
"text": "ในช่วงปีหลัง ๆ ระหว่างที่โฮมส์หยุดพักผ่อนที่ซัสเซกซ์ดาวน์ (ในตอน \"รอยเปื้อนที่สอง (The Second Stain) \") เขาได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเพื่อบันทึกการสังเกตเรื่องวิถีชีวิตของผึ้ง ชื่อ \"Practical Handbook of Bee Culture\" นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนด้านวิชาการอื่น ๆ ของโฮมส์อีกหลายเล่ม เช่น \"Upon the Distinction Between the Ashes of the Various Tobaccos\" (การแยกแยะรายละเอียดระหว่างขี้เถ้าของยาสูบชนิดต่าง ๆ) หรือ บทความสองเรื่องเกี่ยวกับ \"หู\" ที่ได้เผยแพร่ใน Anthropological Journal เป็นต้น",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "157265#0",
"text": "เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด คืนชีพ () หรือในฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า \"การกลับมาของเชอร์ล็อก โฮมส์\" คือนวนิยายเรื่องสั้นชุดที่ 3 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 13 เรื่องตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905 ประกอบด้วยเรื่องสั้นดังนี้",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด คืนชีพ"
},
{
"docid": "48260#35",
"text": "ในเรื่อง \"ลาโรง\" โฮมส์เกษียณตนเองไปอยู่ในฟาร์มเล็ก ๆ ที่ซัสเซกซ์ดาวน์ ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่าย้ายไปเมื่อใด แต่ประมาณว่าน่าจะเกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1904 เพราะมีการเล่าย้อนความหลังในเรื่อง \"รอยเปื้อนที่สอง\" ซึ่งตีพิมพ์ในปีนั้น ที่ฟาร์มนี้เขาเลือกงานอดิเรกในการเลี้ยงผึ้งมาเป็นงานประจำ และได้เขียนหนังสือ \"คู่มือว่าด้วยวัฒนธรรมของผึ้ง และผลสังเกตการณ์บางส่วนในการแยกอยู่กับนางพญา\" เนื้อเรื่องเล่าถึงโฮมส์กับวอตสันที่หยุดชีวิตเกษียณชั่วคราวเพื่อช่วยเหลืองานทางทหารในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้มีนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเกษียณ คือ \"ขนคอสิงห์\" ซึ่งโฮมส์เป็นคนเล่าเรื่องเอง ไม่มีรายละเอียดว่าโฮมส์เสียชีวิตเมื่อใด",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
}
] |
3855 | จังหวัดลำปาง อยู่ทางภาคใดของประเทศไทย ? | [
{
"docid": "93464#0",
"text": "นครลำปาง หรือ เทศบาลนครลำปาง เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลนครที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่สองในภาคเหนือ ถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและความเจริญของจังหวัดลำปางและภาคเหนือ เป็นประตูสู่ดินแดนห้าเชียง อันได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, เชียงตุง (พม่า), เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา), และเชียงทอง (หลวงพระบาง)",
"title": "เทศบาลนครลำปาง"
},
{
"docid": "5525#0",
"text": "จังหวัดลำปาง () เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง",
"title": "จังหวัดลำปาง"
},
{
"docid": "17494#8",
"text": "จังหวัดในภาคเหนือที่แบ่งตามราชบัณฑิตยสถานมี 9 จังหวัด ได้แก่\nพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ทำให้เกิดลักษณะของตัวอักษรและสำเนียงเฉพาะถิ่น เรียกว่าอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) และภาษาถิ่นพายัพ (กำเมือง)",
"title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)"
}
] | [
{
"docid": "344474#4",
"text": "เมืองบางขลัง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฝากระดาน หรือ ลำน้ำแม่มอก ซึ่งมีแหล่งกำเนิดต้นน้ำ มาจากตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากจังหวัดสุโขทัยประมาณ ๕๐ กิโลเมตร อยู่ห่างจากท่าอากาศยานสุโขทัยประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองเคียงข้าง ดังต่อไปนี้",
"title": "เมืองบางขลัง"
},
{
"docid": "198620#2",
"text": "ที่หยุดรถไฟบ่อแฮ้ว เป็นที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตชุมชนตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 647.12 กิโลเมตร ในอดีตเป็นสถานีรถไฟที่มีขบวนรถไฟจอดรับ-ส่งผู้โดยสารอยู่ประจำ แต่ภายหลังถูกยุบลงเหลือเป็นเพียงที่หยุดรถไฟและปัจจุบันไม่มีขบวนใด ๆ จอดที่นี่แล้ว",
"title": "สถานีรถไฟนครลำปาง"
},
{
"docid": "5487#0",
"text": "สุโขทัย (, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ)",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "5525#3",
"text": "พื้นที่ของภาคเหนือประกอบด้วยภูเขากระจายอยู่ 3 ใน 4 ของภาค นั่นได้ตัดแบ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำให้กระจายออกจากกันไม่เป็นผืนใหญ่เหมือนที่ราบในภาคกลางหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำปางเป็นที่ราบ ที่อยู่ระหว่างทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเป็นทิวเขาที่มีลักษณะซับซ้อน โดยแนวของทิวเขาเอง ต่างเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายอยู่ทางซีกตะวันออกของภาคเหนือ",
"title": "จังหวัดลำปาง"
},
{
"docid": "5525#10",
"text": "พบแหล่งภูเขาไฟบริเวณตอนกลางของลำปาง ในเขต อำเภอเมืองลำปาง-อำเภอแม่ทะ และเกาะคา-อำเภอสบปราบ โดยกลุ่มหินบะซอลต์ ที่เกิดจากลาวาของภูเขาไฟลำปางไหลอาบออกมาปกคลุมพื้นที่ มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา และอำเภอสบปราบ เรียกรวมกันว่า บะซอลต์สบปราบ มีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง และอำเภอแม่ทะ รวมเรียกว่า บะซอลต์แม่ทะ ซึ่งได้แก่ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู กลุ่มนี้ให้ลาวาคลุมพื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร ภูเขาไฟลำปางเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนลึก (Deepseated fault) ขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ เป็นช่องทางให้หินหนืดภายใต้ผิวโลก ทะลักล้นออกมาในแนวรอยเลื่อนนี้เกิดเป็นปล่องภูเขาไฟเรียงตัวในแนวนี้ด้วย",
"title": "จังหวัดลำปาง"
},
{
"docid": "6419#5",
"text": "จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 17.70 ถึง 18.84 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 555 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของพื้นที่ประเทศ จัดเป็นพื้นที่จังหวัดขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 59 กิโลเมตร (วัดจากตะวันออกสุดของอำเภอเมืองตะวันตกสุดของอำเภอลอง ) มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร (วัดจากเหนือสุดของอำเภอสอง ใต้สุดของอำเภอวังชิ้น ) ปัจจุบัน ที่ตั้งของจังหวัดแพร่นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือที่ติดต่อไปยังจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ จึงเรียกได้ว่าจังหวัดแพร่เป็น ประตูสู่ล้านนาจังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีภูเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ ดอยขุนสถาน (บางชื่อเรียกว่าดอยธง) สูง 1,630 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยทั่วไปพื้นที่ราบจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-200 เมตร สำหรับตัวเมืองแพร่มีความสูง 161 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำยมเป็นลำน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา\nการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 645 หมู่บ้าน",
"title": "จังหวัดแพร่"
},
{
"docid": "5525#53",
"text": "จังหวัดลำปางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 600 กิโลเมตร จากเส้นทางสายเอเชีย (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่ลำปาง ถนนเป็นถนนสี่เส้นทางการจราจรตลอดทาง หรือใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แยกจากถนนพหลโยธิน ที่จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ เข้าสู่ลำปาง สิ้นสุดปลายทางที่เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางรถส่วนตัวประมาณ 7-8 ชั่วโมง",
"title": "จังหวัดลำปาง"
}
] |
3860 | พระพุทธเจ้า คือใคร? | [
{
"docid": "881343#1",
"text": "\"พระเจ้าสุทโธทนะ” กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ อยากมีทายาทมาก จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้พระมเหสีมีประสูติกาล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ก็ทรงมุ่งหวังให้พระโอรสได้เป็นมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ จึงให้เจ้าชายร่ำเรียนวิชาการรบ กวาดต้อนคนเจ็บคนแก่ออกจากเมือง เพื่อสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้เจ้าชายมีแต่ความสุข ไม่พบเจอความทุกข์ใดๆ",
"title": "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก"
},
{
"docid": "673#0",
"text": "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ \"พระโคตมพุทธเจ้า\" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท",
"title": "พระพุทธเจ้า"
}
] | [
{
"docid": "107590#14",
"text": "พระพุทธเจ้านั้นมีคุณความดี คือมีพระปัญญาปรีชาฉลาด รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นทั้งคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ตลอดถึงอริยสัจจ์ ๔ ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน ส่วนนี้พระปัญญาคุณ ทรงละสิ่งที่เป็นโทษ คืออาสวกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้หมด กับทั้งวาสนา คือกิริยา กาย วาลาที่กิเลสอบรมมานาน ทรงบริบูรณ์ด้วยความดีที่เป็นคุณธรรมโดยอเนกประการ ส่วนนี้เป็นพระบริสุทธิคุณ มีพระบวรสันดานที่เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ในหมู่สัตว์ซึ่งเร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลสและกองทุกข์ ทรงแสดงธรรมสั่งสอนให้สัตว์ได้ฟังแล้วปฏิบัติตาม ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์เสียได้ มิได้ทรงเห็นแก่ความลำบากทุกข์ยากเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ ส่วนนี้พระกรุณาธิคุณ ฯ",
"title": "ประเพณีปอยส่างลอง"
}
] |
3866 | เพลงแรกของ ผ่องศรี วรนุช คืออะไร? | [
{
"docid": "97307#1",
"text": "ปี 2491 เริ่มร้องเพลงกับวงดนตรีจารกุนก โดยมีผลงานเพลง ฟ้ามัวใจหมอง เสียงสะอื้นที่บางแสน อนาถเมื่อขาดรัก เป็นต้น\nปี 2495 สอบเข้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ได้ที่ 1 พร้อมกับศรีสุดา รัชตะวรรณ ซึ่งได้ที่ 2 และ พูลศรี เจริญพงษ์ ซึ่งได้ที่ 3\nครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้แต่งเพลงในลีลาหวานๆเย็นๆ เศร้าๆ ให้วรนุช อารีย์ ขับร้อง ซึ่งเหมาะสมกับเสียงของเธอเป็นอย่างยิ่ง เพลงแรกที่เธอได้ร้องออกอากาศทางวิทยุ คือเพลง เมื่อเธอกลับมา ส่วนเพลงแรกที่เธอบันทึกเสียงคือเพลง นางครวญ \nวรนุช อารีย์ ได้รับความไว้วางใจจากครูเอื้อ สุนทรสนาน ให้เป็นผู้จัดเก็บเพลงทั้งหมดของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงที่ครูเอื้อยังรับราชการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกดนตรีสากลกรมประชาสัมพันธ์",
"title": "วรนุช อารีย์"
}
] | [
{
"docid": "64154#6",
"text": "ช่วงนั้น วงการเพลงลูกทุ่งกำลังอยู่ในช่วงของการปูทางเริ่มต้น นักร้องที่ฉายแววโดดเด่น ได้แก่ สุรพล สมบัติเจริญ, ก้าน แก้วสุพรรณ เมื่อสุรพล ผู้ซึ่งกำลังเป็นนักร้องลูกทุ่งที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นได้ฟังเพลง “หัวใจไม่มีใครครอง” ที่ผ่องศรีเป็นผู้ขับร้องแล้ว ก็เกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ในปี 2502 ครูสุรพล สมบัติเจริญจึงได้ เขียนเพลง “ไหนว่าไม่ลืม” ร่วมกันครูสำเนียง ม่วงทองให้คุณผ่องศรีร้องบัน ทึกแผ่นเสียงเพื่อแก้กับเพลง “ลืมไม่ลง” ที่สุรพลได้ขับร้องเอาไว้ก่อนแล้วเมื่อปี 2501 แล้วแต่ไม่ดัง ปรากฏว่าเมื่อเพลงนี้ได้ออกเผยแพร่ทางวิทยุแล้วก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงยิ่ง ทำให้ผ่องศรีมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่เพลง “ลืมไม่ลง “ ก็กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยเช่นกัน ในยุคนั้นเห็นจะไม่มีเพลงตอบโต้เพลงไหน จะโด่งดังและได้รับความนิยมจากแฟนเพลงมากเท่ากับเพลง “ ลืมไม่ลง “ กับ “ ไหนว่าไม่ลืม “จนทำให้ทั้งสองคนกลายมาเป็นนักร้องขวัญใจเพลงแก้คู่ชายหญิงคู่แรกของเมืองไทยไป",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "64154#5",
"text": "และด้วยแรงผลักดันของนายวัลลภ วิชชุกรประกอบกับมงคล อมาตยกุล เมตตาสงสาร และด้วยน้ำเสียงอันโดดเด่น ทำให้ผ่องศรี ได้มีโอกาสขึ้นร้องเพลงรับเชิญตามวงดนตรีต่างๆทั้งๆที่ยังไม่ดังยังไม่มีชื่อและยังไม่มีงานบันทึกแผ่นเสียง ทำให้ผ่องศรีมีรายได้เลี้ยงชีพ และสามารถเก็บเล็กผสมน้อยจนได้เงินจำนวนหนึ่ง และได้นำเงินก้อนนี้ไปซื้อเพลง “หัวใจไม่มีใครครอง” ของสุรพล พรภักดี เพื่อบันทึกแผ่นเสียงของตนเองเป็นเพลงแรกในชีวิตเมื่อปี 2498 โดยมีมงคลเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานให้",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "64154#13",
"text": "ชีวิตของผ่องศรีรุ่งโรจน์ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 2508 ก็ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานเป็นครั้งแรกจากการขับร้องเพลง “กลับบ้านเถิดพี่” ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของ สมโภชน์ ล้ำพงษ์ เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดังเต็มที่ และเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองไทยแล้ว ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของตนเองขึ้น และประสบความสำเร็จได้รับการต้อนรับจากประชาชนอย่างอบอุ่นยิ่ง เพราะนักร้องหัวหน้าวงมีผลงานที่ประชาชนให้การยอมรับ และนับเป็นวงดนตรีลูกทุ่งวงแรกของเมืองไทยที่มีหัวหน้าเป็นผู้หญิง",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "64154#14",
"text": "ภายหลังจากที่ครูสุรพล สมบัติเจริญ ถูกลอบยิงจนเสียชีวิตเมื่อปี 2511 บรรดาสื่อมวลชนทั้งหลายต่างพากันขนานนามเพื่อเป็นเกียรติแก่ยอดศิลปินเพลงลูกทุ่งผู้วายชนม์ท่านนี้ให้เป็น “ราชาเพลงลูกทุ่ง” และเนื่องจากสุรพล และผ่องศรี วรนุช เป็นนักร้องคู่ขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงลูกทุ่งไทย สื่อมวลชนจึงได้ขนานนามให้คุณผ่องศรีเป็น “ราชินีเพลงลูกทุ่ง” ไปด้วย",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "84900#2",
"text": "บันทึกเสียง ครั้งแรก พ.ศ. 2518 คือเพลง \" ผู้ผิดหวัง \" งานประพันธ์ของ โผผิน พรสุพรรณ นักประพันธ์มือฉมังในสมัยนั้น งานเพลงที่บันทึกเสียงตามมา ไม่ว่าจะเป็น รักใครไม่เท่าน้อง ป่าลั่น พบนางบ้านนา แอ่วเอื้องเมืองเหนือ นะจังงัง ตีคล้องร้องเป่า รักก่อนคนเก่า โหมโรง หนาวอีกแล้ว เปรียบน้องเหมือนรถเก๋ง รำมะนาหาคู่ คนหลายแฟน ดีกรีรัก แอ่วสาวเหนือ เสียงไก่ขัน ป่าลั่น",
"title": "สร้อยเพชร พรสุพรรณ"
},
{
"docid": "64154#11",
"text": "\"เลิศชาย คชยุทธ\" เล่าถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ของวงการเพลงลูกทุ่งของคู่นักร้องขวัญใจชาวไทยไว้ว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อผ่องศรี ได้รับเชิญให้ไปร้องเพลงร่วมกันกับวงดนตรีของสุรพลที่นครราชสีมา สุรพลไม่เต็มใจต้อนรับ ทั้งยังบอกลูกวงไม่ให้ไหว้ผ่องศรีอีกด้วย การแสดงบนเวทีวันนั้น หลังจากปล่อยนักร้องไปได้ครึ่งชั่วโมง พิธีกรบนเวทีก็ประกาศว่า “ ต่อไปนี้ พบกับ ผ่องศรี วรนุช ราชินีลูกทุ่ง และสุรพล สมบัติเจริญ ราชาลูกทุ่ง ผู้เป็นคู่รักคู่แค้นจะมาเจอกันในวันนี้ วันนี้จึงเป็นวันสำคัญ แห่งประวัติศาสตร์ของวงการเพลงที่เขาและเธอจะได้เผชิญหน้ากัน\"\nผ่องศรีก็ให้รายละเอียดของเหตุการณ์อันน่าระทึกใจในวันนั้นไว้อีกว่า \"คนมันก็ฮือซิ โอ้โห...ตานี้ไม่นั่งดูแล้วคนดู มันยืนกันแทบโรงหนังจะแตก คนอยากรู้ว่าเราสองคนจะเผชิญหน้ากันอย่างไร พี่พลเขาร้องเพลง “ ลืมไม่ลงก่อน “ ร้องจบไปปุ๊บ เขาก็เดินข้างๆ แต่ยังไม่เข้าโรง ดนตรีก็ขึ้นเพลง “ ไหนว่าไม่ลืม “ เราเดินไป ขณะที่ร้อง คนดูก็พูดกันใหญ่ แซดเลย บอกว่าเข้าหากัน เข้าหากัน ให้ดีกันซะ ให้ดีกัน อะไรอย่างนี้ โอ๊ย... เจี๊ยวเลย หูเราไม่ได้ยินเสียงดนตรีได้ยินแต่เสียงประชาชนคนดู พูดอยู่ตลอดเวลาว่าให้ดีกันซะ อย่าโกรธกัน อย่าแสนงอน เขาว่าสุรพลนี่แสนงอน ผ่องศรีเขามาง้อแล้ว\" \"ร้องเพลงยังไม่ทันจบเพลง คนฮือขึ้นมาบนเวทีเลย หมายจะจับให้เราดีกัน เพราะพี่พลเขาเดินหนีตลอด เราก็เดินเข้าหา พอเราเดินตาม แกก็เดินหนีตลอดเวลา จะไม่ยอมดีด้วย คนก็ไปฮือบนเวที มีคนเอาน้ำแข็งปาไปบนเวที โป๊ะๆๆๆ ขึ้นไป มีเสียงคนพูด เดี๋ยวเถอะๆ เดี๋ยวน่าดู อะไรอย่างนี้ พี่พลเขาก็ยักคิ้วหลิ่วตาเล่นกับคนดู แต่เขารู้ว่าคนดูไม่โกรธ ต้องการให้เราคืนดีกัน ให้กลับมาร่วมหัวจมท้ายอะไรอย่างนี้ พี่พลก็ไม่ยอม\"",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "64154#10",
"text": "แต่ต่อมา สุรพลกับผ่องศรีมีเหตุผิดใจกันในภายหลัง เนื่องจากสุรพล ไม่สามารถออกตระเวนเล่นดนตรีได้ เพราะเป็นข้าราชการทหารอากาศ ตามนโยบายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ผ่องศรีจึงขออนุญาตไปร้องเพลงกับวงดนตรีคณะอื่น เมื่อวงดนตรีสุรพลกลับมาเล่นได้ใหม่ แต่ผ่องศรีไม่สามารถปลีกตัวจัดคิวไปร้องได้ จึงเกิดความบาดหมางกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา\nผ่องศรี วรนุช เล่าว่า...\"เมื่อมาตามเราที่บ้านไม่เจอ เจอแต่แม่ แม่บอกว่าผ่องศรีไปนครสวรรค์อาทิตย์หนึ่ง พี่พลแกโกรธ ด่าเราฉิบหายวายป่วงเลย...โกรธกันหลายปี จนกระทั่งพี่พลตายจากกัน แกไม่เคยรับไหว้เราเลย และไม่เคยยกโทษให้เราด้วย\"\nนอกจากนี้ เมื่อเวลาที่สุรพลไปจัดรายการทางสถานีวิทยุ ก็จะต่อว่าต่อขานอยู่ตลอดเวลา และยังแต่งเพลงด่าอีกด้วย \"พี่พลแต่งเพลง “แก้วลืมดง “ ด่าเรา เราก็ตอบโต้เพลง “ สาลิกาลืมไพร “ เพลงนั้นดังใหญ่เลย ใครไม่รู้คิดว่าเราทรยศเขา ทั้งๆ ที่บอกเขาว่า ถ้าหากไม่มีงาน หนูก็ไปร้องคณะอื่นนะ\"",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "64154#20",
"text": "สำหรับชีวิตครอบครัว ผ่องศรี วรนุช เคยใช้ชีวิตอยู่กับเทียนชัย สมยาประเสิรฐ นักร้องนักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ก่อนที่จะเลิกรากันไป และต่อมาได้มาอยู่กินกับ ราเชนทร์ เรืองเนตร นักดนตรีชื่อดัง จนราเชนทร์ เสียชีวิตไปในปี 2541 โดยไม่มีทายาทแต่ประการใด ปัจจุบัน พักอยู่ที่บ้านย่านพุทธมณฑล สาย 5",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
},
{
"docid": "64154#9",
"text": "จากนั้นมา บรรดานักร้องชายทั้งหลายต่างปรารถนาที่จะได้ร้องเพลงร่วมกับผ่องศรีด้วยกันทั้งสิ้น เพราะโอกาสที่เพลงนั้นๆ จะดังตามเพลงของผ่องศรีไปด้วยมีสูงมาก ทำให้มีนักร้องชายที่โด่งดังเกิดขึ้นในวงการมากมาย",
"title": "ผ่องศรี วรนุช"
}
] |
3873 | กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือบิดาแห่งกฎหมายไทยใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "37917#0",
"text": "มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่าพระบิดาแห่งกฎหมายไทย",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
}
] | [
{
"docid": "37917#2",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ มีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการอภิบาลจากเจ้าจอมมารดาตลับ หม่อมราชวงศ์ พึ่งบุญ และพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "37917#10",
"text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เอกอัครราชทูตสยามประจำประเทศฝรั่งเศสจัดการถวายพระเพลิง ณ กรุงปารีส ตามที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์รับสั่งไว้ หลังจากนั้นหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ เสด็จไปรับและอัญเชิญพระอัฐิของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์มาถึงประเทศไทยในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ในคราวนั้นเจ้าเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)หวนระลึกถึงรับสั่งของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ตรัสไว้ก่อนที่เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศสว่า",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "37917#20",
"text": "นักกฎหมายได้ถือเอาวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันรพีเพื่อเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพีที่อนุสาวรีย์พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "37917#8",
"text": "พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม ร.ศ. 115 เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัด ทั่วประเทศ, ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย ประมวลขึ้นเป็นกฎหมายอาญาฉบับ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการสอนกฎหมาย ทรงรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดิน",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "37917#17",
"text": "พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โดยมีเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) เป็นที่ปรึกษา และพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าสอนเป็นประจำ ต่อมาได้จัดให้มีการสอบไล่ขึ้นด้วย ในปีแรกที่มีการสอบปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเพียง 9 คนจากจำนวนกว่าร้อยคน และแม้ใน 14 ปีแรกมีผู้สอบผ่านเพียง 129 คนเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการผลิตนักกฎหมายที่มีคุณภาพให้สังคมเป็นอย่างมาก ต่อมายังทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย, กรรมการตรวจตัดสินความฎีกา และกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญาอีกด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "37917#15",
"text": "เมื่อพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปการศาล ซึ่งปัญหาสำคัญสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในยุคนั้น เป็นที่รู้กันว่าชาวต่างชาติเหล่านี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เมื่อเกิดคดีความหรือข้อโต้แย้ง ชาวไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักจะอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบชาวไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลของไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆ ในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยนอกจากนั้น ยังทรงปฏิรูปการศาลในด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "37917#9",
"text": "ในปี พ.ศ. 2462 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประชวรด้วยพระโรคที่ต่อมลูกหมากและมีการแทรกซ้อนต่อไปยังพระวักกะ (ไต) จึงทรงขอลาพักราชการในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 เพื่อรักษาพระองค์แต่อาการยังไม่ทุเลา ต่อมาจึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่พระโรคที่พระวักกะก็ยังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเกินที่แพทย์จะเยียวยาได้ จนกระทั่งถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา จึงสิ้นพระชนม์ สิริพระชันษา 45 ปี 9 เดือน 17 วัน",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
},
{
"docid": "103439#2",
"text": "หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พ.ศ. 2456 ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรม ไปศึกษาต่อกฎหมายที่โรงเรียนอินเนอร์เทมเปิล (Inner Temple) ประเทศอังกฤษ",
"title": "พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)"
},
{
"docid": "37917#21",
"text": "เมื่อ พ.ศ. 2498 คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาได้มีมติจัดสร้างอนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขึ้น โดยได้จัดการเรี่ยไรเงินจำนวน 500,000 บาท ต่อมาวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ได้รับเงินบริจาครวมทั้งหมดเป็นจำนวน 296,546.75 บาท ซึ่งก็ยังไม่ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ แต่แม้จำนวนเงินบริจาคนั้นจะยังไม่ครบ แต่ในส่วนของตัวอนุสาวรีย์นั้นได้มีการปั้นเสร็จในปี พ.ศ. 2506 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์พระรูปพระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์"
}
] |
3876 | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "4226#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง \"\"หลวงยกกระบัตร\"\" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "126732#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๒๗๙ - พ.ศ. ๒๓๕๒ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒) รัชกาลที่ ๑ แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 10 แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา ๓ ยาม ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม \"ทองดี\") และพระอัครชายา (พระนามเดิม \"หยก\"หรือ ดาวเรือง)\nพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา ปลาทอง ดร",
"title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"
}
] | [
{
"docid": "175868#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต (13 มิถุนายน พ.ศ. 2341 - 30 มกราคม พ.ศ. 2390) เป็นโอรสพระองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เจ้าจอมมารดากลิ่น (ธิดาของพระยาพัทลุงและคุณหญิงแป้น) เมื่อทรงพระเยาว์ชาววังเรียกพระองค์ว่า พระองค์โต เนื่องจากทรงมีวรกายที่สูงใหญ่ ประสูติเมื่อ วันพุธ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2341 ทรงเป็นต้นราชสกุลสุทัศน์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต"
},
{
"docid": "53234#1",
"text": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที 7 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หลังพระราชพิธีปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ ถึงปี พ.ศ. 2346 จึงเลื่อนเป็นกรมหลวงเสนานุรักษ์",
"title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์"
},
{
"docid": "4232#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
},
{
"docid": "4226#12",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นำทัพในการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 7 ครั้งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "6104#1",
"text": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติกาลแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นท้าวทรงกันดาล) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี ผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชันษาได้ 12 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2345 ผนวชเป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงศึกษาหนังสือไทยและภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์ จนมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก",
"title": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส"
},
{
"docid": "4226#14",
"text": "ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทไปสกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพตั้งแต่เหนือจรดใต้ในสงครามครั้งนี้ ทัพพม่าเตรียมเสบียงอาหารและเส้นทางเดินทัพอย่างดีที่สุด โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากศึกครั้งก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ มาตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงยกทัพหลวงเข้าตีพม่าที่ค่ายดินแดงพร้อมกับให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ หลังจากรบกันได้ 3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไปทุกค่าย และพระองค์ยังได้ทำสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่าง ๆ ขยายราชอาณาเขต ทำให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ดินแดนล้านนา ไทใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเประก์หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แก่สยาม ก็ส่งผลทำให้เมืองขึ้นทั้งหลายของพม่า เช่น เมืองเชียงรุ้งและเชียงตุง เกิดกระด้างกระเดื่อง ตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าปดุงจึงสั่งให้ยกทัพมาปราบปราม รวมถึงเข้าตีลำปางและป่าซาง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบเรื่องจึงสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 6,000 นาย มาช่วยเหลือและขับไล่พม่าไปเป็นผลสำเร็จครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เกณฑ์ไพร่พล 20,000 นาย ยกทัพไปตีเมืองทวาย แต่สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่ง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร รี้พลก็บาดเจ็บจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพในครั้งนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกทัพไปช่วยป้องกันเมือง แต่เมื่อพระเจ้าปดุงยกทัพมาปราบปรามเมืองทั้งสามก็หันกลับเข้ากับทางพม่าอีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพฯเนื่องจากสงครามในครั้งก่อน ๆ พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย ยกทัพมาอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ขึ้นไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น 40,000 นาย ระดมตีค่ายพม่าเพียงวันเดียวเท่านั้นทัพพม่าก็แตกพ่ายยับเยินในครั้งนั้นพระเจ้ากาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองสาด หัวเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยกทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่เพื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ และสงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายไทย",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#18",
"text": "ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงสร้างอุทิศถวาย และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เพิ่มพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า \"\"พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก\"\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
}
] |
3877 | สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "3981#0",
"text": "สืบ นาคะเสถียร (31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 - 1 กันยายน พ.ศ. 2533) เป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย มีชื่อเสียงจาการพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
}
] | [
{
"docid": "3981#1",
"text": "สืบมีชื่อเดิมว่า \"สืบยศ\" มีชื่อเล่นว่า \"แดง\" เกิดที่ตำบลท่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายสลับ นาคะเสถียร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กับนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมดสามคน ตนเองเป็นคนโต ได้แก่ กอบกิจ นาคะเสถียร เป็นน้องชายคนกลาง และกัลยา รักษาสิริกุล เป็นน้องสาวคนสุดท้อง",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#8",
"text": "ในปี พ.ศ. 2528 สืบได้ติดตามนักวิจัยชาวต่างชาติซึ่งได้รับทุนจากนิตยสาร \"เนชั่นแนล จีโอกราฟิก\" พร้อมด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าไปสำรวจกวางผา สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ในดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้น ชาวบ้านจุดไฟล่าสัตว์จนเกิดไฟป่า คณะของสืบหนีไฟป่าเป็นโกลาหล และคำนึง ณ สงขลา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ตกหน้าผาถึงแก่ความตาย",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "596783#0",
"text": "พงศา ชูแนม (เกิด 9 เมษายน 2507) หรือที่รู้จักกันในนาม นายหัวพงศา หรือ สืบ นาคะเสถียร แห่งต้นน้ำพะโต๊ะ เกิดที่ ตำบลป่าเว อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายพงศา ชูแนม เป็นบุตร คนที่ 3 ของนางบุญเฝ้า ศรีสุวรรณ(ทองเพชร)กับนายครัน ชูแนม มีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งสิ้น 6 คนพี่น้อง เป็นข้าราชการป่าไม้ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ อำเภอพะโต๊ะ (จังหวัดชุมพร) ส่วนจัดการทรัพยากรต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม \nพงศา ชูแนมเคยต้องต่อสู้กับอิทธิพลในท้องที่พะโต๊ะในปี 2543 เคยโดนย้ายไปจากพะโต๊ะ แต่เนื่องด้วยการทำงานในพื้นที่มานานจึงเป็นที่รู้จักในพื้นที่ ประชาชนในท้องที่และเครือข่ายอนุรักษ์จึงออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับพงศา ชูแนม จนส่งผลให้ข้าราชการระดับสูงในจังหวัดชุมพรหลายคนถูกโยกย้าย ทำ",
"title": "พงศา ชูแนม"
},
{
"docid": "3981#9",
"text": "ในปี พ.ศ. 2529 สืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) บริเวณแก่งเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สืบได้ช่วยอพยพสัตว์ป่าที่ตกค้างอยู่ในแก่งเพราะปัญหาการสร้างเขื่อนจนเกิดน้ำท่วม ช่วยเหลือสัตว์ได้ 1,364 ตัว ส่วนมากที่เหลือถึงแก่ความตาย สืบจึงเข้าใจว่า งานวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยพิทักษ์ป่าซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติได้ ในภายหลังจึงได้ร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น คัดค้านรัฐบาลในการที่จะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี สืบยังได้รายงานผลการอพยพสัตว์ต่อสาธารณชนเพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักภัยป่า โดยยืนยันว่าการสร้างเขื่อนมีโทษมากกว่าคุณ เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ชดเชยภายหลังมิได้ แต่ความพยายามของสืบนั้นไร้ผล จนกระทั่งนักอนุรักษ์ได้รวมกลุ่มสนับสนุนสืบ โครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนจึงระงับไป",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#19",
"text": "มีการจัดวันที่สืบเสียชีวิต วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี เป็นวันสืบนาคะเสถียร ขึ้น",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "179987#1",
"text": "พระสารประเสริฐ เกิดที่ตำบลถนนตรีเพชร อำเภอพาหุรัด จังหวัดพระนคร (เขตการปกครองสมัยนั้น) เป็นบุตรของหลวงพิพิธวิรัชการ (เทียน นาคะประทีป) และนางสวน เมื่อเป็นเด็กเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบไล่ได้ประโยค 2 อย่างเก่าและชอบภาษาบาลีเป็นอย่างมาก จึงขออนุญาตผู้ปกครองบวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 17-18 ปีก็ได้เปรียญธรรม 7 ประโยคมีหน้าที่สอนภาษาบาลีในสำนักวัดที่บวชคือวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระมหาตรี” พระมหาตรีมีความเชี่ยวชาญภาษาเป็นอย่างดีและแม้ไม่ชำนาญในภาษาสันสกฤตแต่ก็ยังอ่านอักษรเทวนาครีได้ เพราะเคยติดตามพระอาจารย์คือพระราชาคณะคือพระธรรมนิเทศทวยหาญไปเกาะลังกา เมื่อขุนโสภิตอักษรการเจ้าของ “โรงพิมพ์ไท” ที่จัดพิมพ์หนังสือดีมีคุณภาพในสมัยนั้นต้องการพิมพ์หนังสือหิโตปเทศ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้แนะนำให้พระยาอนุมานราชธนรู้จักกับพระมหาตรีให้เป็นผู้ช่วยตรวจ เนื่องจากเกรงว่าอาจเพี้ยนไปจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทั้งสองท่านก็ได้มีความสัมพันธ์ทั้งในด้านการงานและการส่วนตัวร่วมกันสร้างสรรค์งานด้านอักษรศาสตร์เป็นมรดกแก่ประเทศมาจนตลอดชีวิต",
"title": "พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)"
},
{
"docid": "3981#7",
"text": "คุณสืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่มากกว่าหนึ่งแสนไร่ แต่มีงบประมาณเริ่มต้นเพียงแปดแสนบาท ไม่มีการอนุมัติอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์ป่า แต่สืบมิได้ย่อท้อคงพยายามทำงานและศึกษาข้อมูลทั้งทางหนังสือและพรานท้องถิ่น",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#18",
"text": "สองสัปดาห์ต่อมา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สืบได้พยายามขอให้ประชุมมาแล้วหลายครั้ง จึงมีผู้กล่าวว่า ถ้าไม่มีเสียงปืนในวันนั้น ก็ไม่มีการประชุมดังกล่าว",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#16",
"text": "ด้วยความที่ต้องรับแรงกดดันกดดันหลาย ๆ ด้าน และเป็นการเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ใส่ใจต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง สืบจึงตัดสินใจประท้วงด้วยการฆ่าตัวตายด้วยอาวุธปืนในบ้านพักของสืบที่ห้วยขาแข้ง",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
}
] |
3881 | ศาลโลกตั้งอยู่ที่ใด ? | [
{
"docid": "203565#24",
"text": "ศาลย้ายเข้าที่ทำการถาวรเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ตั้งอยู่ ณ Oude Waalsdorperweg 10 ในกรุงเฮก อันเป็นอาณาบริเวณที่เรียก Alexanderkazerne ซึ่งเดิมเป็นฐานทัพทหาร อยู่ใกล้กับเนินทรายแถบเหนือของเมือง เขตเดียวกับองค์การระหว่างประเทศแห่งอื่น ๆ เช่น วังสันติของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, สำนักประสานงานบังคับใช้กฎหมายสหภาพยุโรป (ยูโรโพล), คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, องค์การห้ามอาวุธเคมี, และสภาโลก",
"title": "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
}
] | [
{
"docid": "108649#7",
"text": "หรือ ป้อมกลาง (The Citadel) เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการทหารในวงกตยิ่งใหญ่ อันเป็นที่อยู่ของเซอร์พฤหัสบดี มันตั้งอยู่ในตำแหน่งที่คงที่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวงกตยิ่งใหญ่ มีแกนเป็นป้อมปราการ และคูรูปครึ่งวงกลมซ้อนกันสี่ชั้น ตามกำแพงและเชิงเทินต่างๆ ติดตั้ง ปืนใหญ่ และ ปืนคาบศิลา ทางเข้าป้อมถูกป้องกันด้วยเครื่องยิงลูกไฟ ภายในวงชั้นที่สามคิอป้อมกลางชั้นใน และค่ายดวงดาว และมีเนินดินสำหรับปืนใหญ่ขนาดใหญ่ 16 กระบอก ขนาดกลาง 32 กระบอก และขนาดเล็กหรือซัคเกอร์ 72 กระบอก นอกจากนั้นยังมีแนวป้องกันน้ำตะวันออก ซึงเป็นตำแหน่งคงที่อีกแห่งหนึ่ง ห้องที่ปรากฏอยู่ในหนังสือมีดังนี้เป็นห้องสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ภายในศูนย์บัญชาการของจอมพลยามเที่ยง มีขนาดเล็กกว่าห้องประชุมในห้องกลางวันของวันจันทร์ พื้นเป็นไม้ขัดเงา มีโต๊ะทำงานที่มีขาที่ค่อนข้างบอบบางตั้งอยู่มุมหนึ่ง มีฉากกั้นชักเงาสีดำซึ่งมีแผนที่ติดอยู่ บนกำแพงมีอาวุธมากมาย มีหัวสัตว์ประหลาดที่ดูคล้ายปลาปิรันย่ายาวสามสิบฟุตประดับอยู่บนกำแพงด้วยเช่นกันมีขนาด \"เล็กจนน่าแปลกใจ\" มีความกว้างเพียง 30 ฟุต และยาวเพียง 50 ฟุตเท่านั้น ในสายตาของอาเธอร์ดูเหมือนห้องเก็บอาวุธมากกว่าห้องทำงาน เพราะผนังทุกด้านตกแต่งด้วยอาวุธ มีภาพวาดและภาพพิมพ์ฉากสงคราม ซึ่งมีรูปของยามเที่ยงอยู่ทุกภาพ กลางห้องมีโต๊ะไม้มะฮอกกานีตัวใหญ่ตั้งอยู่บนฐานสามฐาน บนโต๊ะมีเพียงคทาจอมพลเลี่ยมทองและงาช้างวางอยู่อยู่ภายในถ้าที่ขุดจากหินใต้ป้อมดวงดาว มีอาวุธและเกราะราวแล้วราวเล่าเรียงกันเป็นแถวยาวอย่างน้อยก็ร้อยหลา มีอาวุธทุกอย่างเตรียมพร้อมเป็นห้องวงกลม มีหลังคาโค้งเป็นโดม ตอนที่อาเธอร์กับเซอร์พฤหัสบดีโผล่พรวดเข้ามานั้น เต็มไปด้วยทหารจากกรมต่างๆ มากมาย ทั้งนายทหารจากกองบัญชาการ (เครื่องแบบสีแดง) และนายทหารจากกองพลตระเวนชายแดน (เครื่องแบบสีเขียว) ใน\"ศุกร์รัตติกาล\" ภายหลังจากที่อาเธอร์อ้างสิทธิ์แล้ว เขาตื่นขึ้นมาและมาพบคุณหญิงพรีมัสที่นี่ มีโต๊ะสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ซึ่งใช้บอกรายละเอียดของแต่ละแห่งในวงกตเป็นห้องนอนที่กว้างใหญ่มาก ปูพรมสีแดงส้มจากเปลวไฟที่ทอเป็นลายฉากการรบกับพวกนิทลิ่ง มีเตียงสี่เสาทำจากไม้มะฮอกกานี เสาทั้งสี่ต้นสลักลวดลายของฉากการรบ ผ้าห่มเป็นผ้าซาตินผืนหนา มีเก้าอี้นวมหนานุ่มกะไหล่ทองหลายตัว มีอ่างล้างหน้าเป็นอ่างทองคำแท้และผ้าขนหนูฟูนุ่มหลายผืน รวมทั้งตู้เสื้อผ้าแบบวอล์คอินสำหรับใส่เครื่องแบบและเครื่องเคียงของแต่ละกองร้อย กองพัน และกรมในกองทัพ",
"title": "พฤหัสเจ้าศาสตรา"
},
{
"docid": "315583#16",
"text": "เป็นหมู่อาคารขนาดใหญ่ที่จำลองมาจากหมู่บ้านฮอกส์มี้ดในภาพยนตร์ ประกอบด้วยร้านค้า ร้านอาหาร และสถานีรถไฟจำลอง หลังคาของอาคารมีหิมะปกคลุมตลอดปี ในส่วนนี้จะมีทางเดินหินอยู่ตรงกลาง สองด้านข้างเป็นร้านรวงต่างๆ ในฮอกส์มี้ด ทางเข้าเป็นซุ้มหินโค้ง เมื่อเข้าสู่ฮอกส์มี้ดนักท่องเที่ยวจะพบกับสถานที่ตามลำดับ ดังนี้เอลเลน เดเจนาราส นักแสดงหญิงและพิธีกรรายการ The Ellen Show ได้พาเด็กชาย 2 คนชื่ออเล็กซ์กับนิโคลัสเที่ยวชมสวนสนุกแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในช่วง Ellen Experiences ต่อมาได้ถูกโพสต์ลงในยูทูป ความยาวประมาณหกนาที",
"title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)"
},
{
"docid": "524887#2",
"text": "อนุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียตั้งตระหง่านอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าพระราชวังบักกิงแฮม ขณะที่ประตูแอดมีรัลตีอาร์ชตั้งตระหง่านอยู่ก่อนถึงจัสตุรัสทราฟัลการ์ในฝั่งตรงข้าม ความยาวของถนนนับตั้งแต่ประตูแอดมีรัลตีอาร์ชถึงอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียนั้นยาวทั้งสิ้น พอดิบพอดี สวนสาธารณะเซนต์เจมส์ตั้งอยู่ฝั่งทิศใต้ของถนนตรงข้ามกันกับสวนสาธารณะกรีนและพระราชวังเซนต์เจมส์ในฝั่งทิศเหนือ ใกล้กับปลายสุดถนนด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของลานฮอร์สการ์ดพาเหรด (Horse Guards Parade) ซึ่งใช้ในพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษา",
"title": "เดอะมอลล์ (ถนน)"
},
{
"docid": "315583#1",
"text": "สวนสนุกแฮร์รี่ พอตเตอร์ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 20 เอเคอร์ (81,000 ตารางเมตร) ประกอบด้วยเครื่องเล่น 3 ตัว กับร้านค้าและร้านอาหารที่สมมุติเป็นหมู่บ้านฮอกส์มี้ด โดยนักท่องเที่ยวที่คาดหวังอยู่ระหว่างอายุ 7-67 ปี และคาดว่าจะได้รายได้ราว 235-265 ดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)"
},
{
"docid": "3875#35",
"text": "บรรยากาศของโลกไม่มีขอบเขตชัดเจนโดยจะค่อย ๆ บางลงและเลือนหายไปสู่อวกาศ สามในสี่ของมวลบรรยากาศอยู่ในระยะ 11 กิโลเมตรแรกเหนือพื้นผิว มีชั้นล่างสุดเรียกโทรโพสเฟียร์ พลังงานจากดวงอาทิตย์จะทำให้ชั้นนี้รวมถึงพื้นผิวเบื้องล่างร้อนขึ้น ส่งผลให้อากาศเกิดการขยายตัว อากาศความหนาแน่นต่ำจะลอยขึ้น อากาศความหนาแน่นสูงกว่าและเย็นกว่าจะเข้ามาแทนที่ เกิดเป็นการหมุนเวียนของบรรยากาศซึ่งขับเคลื่อนสภาพอากาศและภูมิอากาศผ่านการกระจายพลังงานความร้อน",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "534807#4",
"text": "บริเวณมุขทางเข้าขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายแขนกางเขนฝั่งทิศใต้ได้สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 และในช่วงเดียวกันนั้น ได้มีการสร้างหอประชุมนักบวชขึ้นที่บริเวณทิศตะวันตก และห้องเก็บสมบัติบริเวณทิศตะวันออก รวมถึงโบสถ์น้อยขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณปลายสุดของบริเวณร้องเพลงสวดอีกด้วย",
"title": "อาสนวิหารดอล-เดอ-เบรอตาญ"
},
{
"docid": "228390#0",
"text": "หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลและพิพิธภัณฑ์ () เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนชายหาดของทะเลสาบอีรี ในตัวเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับดนตรี วงการเพลง ประวัติศาสตร์วงการแผ่นเสียง ที่มีบันทึกเรื่องราวของศิลปินที่เป็นที่รู้จักที่สุด โปรดิวเซอร์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรี โดยมากมักแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับร็อกแอนด์โรล พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในพื้นที่ North Coast Harbor",
"title": "หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล"
},
{
"docid": "3875#44",
"text": "ส่วนหลักของสนามแม่เหล็กโลกสร้างขึ้นในแก่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระบวนการไดนาโมอันเปลี่ยนพลังจลน์ของการเคลื่อนพาของไหลไปเป็นพลังงานไฟฟ้าและพลังงานสนามแม่เหล็ก ตัวสนามแผ่ออกจากบริเวณแก่นผ่านชั้นเนื้อโลกและขึ้นสู่ผิวโลกอันเป็นตำแหน่งที่ประมาณได้อย่างหยาบ ๆ เป็นแม่เหล็กขั้วคู่ ขั้วของแม่เหล็กขั้วคู่มีตำแหน่งใกล้เคียงกับขั้วโลกภูมิศาสตร์ ที่เส้นศูนย์สูตรของสนามแม่เหล็กมีความเข้มสนามแม่เหล็กที่พื้นผิวเท่ากับ และมีโมเมนต์ขั้วคู่แม่เหล็กโลกที่ การเคลื่อนที่พาในแก่นนั้นมีความยุ่งเหยิงทำให้ขั้วแม่เหล็กมีการเขยื้อนและเปลี่ยนแปลงแนวการวางตัวเป็นระยะ ๆ เป็นสาเหตุของการกลับขั้วสนามแม่เหล็กตามช่วงเวลาอย่างไม่สม่ำเสมอเฉลี่ยไม่กี่ครั้งในทุก ๆ ล้านปี โดยการกลับขั้วครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อราว",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "336859#2",
"text": "ห้าง IN SQUARE เป็นห้างที่เป็นที่ตั้งของ ITEN Creative Mall ตั้งอยู่บริเวณ ถนน กำแพงแพชร ตรงข้าม ตลาดนัดจตุจักร ติดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกำแพงแพชร (ไม่ถึง 100 เมตร) ตรงข้ามองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) สถานที่ตั้งอาคารอยู่ใจกลางฝูงชนผู้มาเยือนตลาดนัดจตุจักร ตัวอาคารเป็นอาคารปรับอากาศหรูทันสมัยเด่นที่สุดในบริเวณ ตลาดนัดจตุจักร ตัวอาคาร สูง 8 ชั้น จอดรถได้ 970 คัน มีสะพายลอยขนาดใหญ่ข้ามถนน จากอาคารไปฝั่งตรงข้ามติดบันไดเลื่อน เพื่อเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ในแต่ละชั้นจัดสินค้าเป็นกลุ่มสินค้าอย่างเป็นระเบียบ",
"title": "ไอเท็น ครีเอทีฟมอลล์"
}
] |
3887 | คิม จง-ฮย็อน เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "531255#0",
"text": "คิม จง-ฮย็อน (8 เมษายน ค.ศ. 1990 – 18 ธันวาคม ค.ศ. 2017) รู้จักกันในชื่อที่ใช้ในวงการคือ จงฮยอน เป็นนักร้องนักแต่งเพลงชาวเกาหลีใต้ นักจัดรายการวิทยุ และนักเขียน เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกและนักร้องเสียงหลักของวงบอยแบนด์เกาหลีใต้วง ชายนี ที่ได้เข้าร่วมกับโปรเจกต์กลุ่มนักร้องบัลลาด S.M. THE BALLAD และยังได้เดบิวต์เป็นศิลปินเดี่ยวภายใต้ค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์",
"title": "คิม จง-ฮย็อน"
}
] | [
{
"docid": "531255#7",
"text": "ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2017 ได้มีรายงานว่าจงฮย็อนได้เช่าอพาร์ตเมนต์ห้องหนึ่งในแขวงช็องดัม, เขตคังนัมในกรุงโซลเป็นจำนวนสองวันด้วยกัน เขาได้เช็คอินเข้าห้องพักในเวลาเที่ยงตรงตามเวลาท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2017 และภายในวันเดียวกันนั้นเองเวลา 16:42 น. พี่สาวแท้ ๆ ของจงฮย็อน คิม โซ-ดัม ได้ทำการติดต่อสายด่วนเหตุฉุกเฉินเพราะคิดว่าจงฮย็อนได้คิดฆ่าตัวตาย เนื่องจากเธอได้รับข้อความจากน้องชายของเธอผ่านแอปพลิเคชันแชท คาคาโอทอล์ก โดยเนื้อความบางส่วนนั้นได้มีเนื้อหาทำนองว่า “ลาครั้งสุดท้าย” และ “บอกสิว่าผมทำดีแล้ว” จงฮย็อนถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในร้านสะดวกซื้อบริเวณใกล้เคียงอพาร์ตเมนต์ที่เขาเช่า",
"title": "คิม จง-ฮย็อน"
},
{
"docid": "531255#9",
"text": "การจากไปของจงฮย็อนถูกเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้าโดยสื่อสาธารณะและข้อมูลในอดีตต่าง ๆ มากมาย ภายหลังจากการเสียชีวิตของเขา นักร้องชาวเกาหลีใต้ที่ชื่อว่า Nine9 จากวง Dear Cloud ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของจงฮย็อน ได้โพสต์ถึงจงฮย็อนลงบนแอคเคาท์อินสตาแกรมส่วนตัวรวมถึงได้เปิดเผยจดหมายจากจงฮย็อนที่คาดว่าจะเป็นจดหมายลาครั้งสุดท้ายของเขา ซึ่งถูกส่งให้เธอราว ๆ สองถึงสามวันก่อนการแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวของจงฮย็อนในวันที่ 9 ธันวาคม ข้อความภายในจดหมายกล่าวโดยสรุปนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การ \"ถูกกลืนกิน\" โดยความหดหู่จากโรคซึมเศร้า การรักษาที่ไม่เห็นผลและไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังภายในสังคม รวมถึงความทรมานของเขาในขณะที่ตนเองมีสถานะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง Nine9 เปิดเผยว่าเธอกังวลกับข้อความที่ได้รับมาก ทางต้นสังกัดของเธอเองก็ได้แนะนำให้พยายามคอยติดต่อกับจงฮย็อนไว้ เธอพยายามที่จะช่วยเขาแล้ว แต่ทั้งหมดนี้เองการจากไปของจงฮย็อนก็เกิดเพียงจากการสะสมมาเป็นระยะเวลานานซึ่งไม่ได้รับการปกป้อง และเป็นความล่าช้าของการช่วยเหลือเท่านั้น",
"title": "คิม จง-ฮย็อน"
},
{
"docid": "860941#1",
"text": "ประวัติส่วนตัวของเขาไม่เป็นที่ทราบและมีปรากฏอยู่น้อยนิด ทราบเพียงว่าเขาเกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 ณ เทศมณฑลแทดง จังหวัดพย็องอัน อาณาจักรโชซ็อน บิดาชื่อ คิม โบ-ฮย็อน (; ; พ.ศ. 2414–2498) กับมารดาชื่อ รี โบ-อิก (; ; พ.ศ. 2419–2502) เขาเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนซ็องชิล (Sungshil School) อันเป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน หลังจบการศึกษาจึงประกอบกิจเป็นครูและเป็นหมอพื้นบ้านค้ายาสมุนไพร เขาเสียชีวิตด้วยแผลหิมะกัดระดับที่สาม",
"title": "คิม ฮย็อง-จิก"
},
{
"docid": "593662#0",
"text": "คิม ซู-ฮย็อน() (เกิด 16 กุมภาพันธ์ 2531) เป็นนักแสดงและนายแบบชาวเกาหลีใต้ และมีผลงานละครเด่นหลายเรื่องเช่น ดรีมไฮ ผู้ชายมาจากดวงดาว และที่เด่นที่สุดคือ\"Moon Embracing the Sun\".เป็นละครแนวอ้างอิงประวัติศาสตร์เกาหลี",
"title": "คิม ซู-ฮย็อน"
},
{
"docid": "435713#1",
"text": "(; เกิด 6 มิถุนายน 1986) เป็นนักแสดงชาวเกาหลีใต้และเป็นสมาชิกวงSS501 . คิม ฮย็อน-จุง เป็นที่รู้จักกันดีในบทบาทของเขาในฐานะ ยุน จี ฮู(Yoon Ji Hoo) ในละครเกาหลีปี 2009 เรื่อง Boys Over Flowers ซึ่งทำให้คิมได้รับรางวัล PaekSang Arts Awards และละครเกาหลีในปลายปี 2010 เรื่อง แกล้งจุ๊บให้รู้ว่ารักในบทบาท Baek Seung Jo",
"title": "คิม ฮย็อน-จุง"
},
{
"docid": "910618#0",
"text": "คิม จง-ฮย็อน (มักรู้จักกันในชื่อที่ใช้ในวงการคือ จงฮย็อน) เป็นนักร้องนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีใต้ เขาได้เริ่มเส้นทางสายดนตรีนี้โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกและเป็นนักร้องเสียงหลักของวงบอยแบนด์เกาหลีใต้วง ชายนี ในปี ค.ศ. 2008 อีกทั้งยังได้เข้าร่วมกับโปรเจกต์กลุ่มนักร้องบัลลาด S.M. THE BALLAD และยังได้เดบิวต์เป็นศิลปินเดี่ยวภายใต้ค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ อีกด้วย",
"title": "รายชื่อเพลงที่เขียนโดย คิม จง-ฮย็อน"
},
{
"docid": "531255#4",
"text": "ในวันที่ 20 ตุลาคม ปี 2010 จงฮย็อนและนักแสดงสาว ชิน เซ-คย็อง ถูกพบเห็นโดยสื่อในขณะที่กำลังออกเดทกันในที่สาธารณะ โดยมีภาพบางส่วนของทั้งคู่ได้ถูกปล่อยออกมา ทางบริษัทของทั้งสองคนได้ออกมายืนยืนในความสัมพันธ์ของทั้งคู่ว่าที่กำลังคบหาดูใจกันอยู่นั้นเป็นความจริงในวันที่ 26 ตุลาคม หลังจากระยะเวลา 9 เดือนที่คบหากัน จงฮย็อน และ ชิน เซ-คย็อง ก็ได้เลิกรากันในที่สุด ทั้งคู่ได้ลดสถานะเหลือเพียงเพื่อนที่ดีต่อกันด้วยเหตุผลที่ว่าตารางงานและเวลาของทั้งสองคนนั้นไม่ตรงกัน ข่าวการเลิกราของจงฮย็อน และ ชิน เซ-คย็อง ถูกปล่อยมาในเดือนมิถุนายน ปี 2011",
"title": "คิม จง-ฮย็อน"
},
{
"docid": "531255#3",
"text": "หลังจากใช้ชีวิตเป็นเด็กฝึกในค่ายอยู่ตั้งแต่อายุ 13 ปี จงฮย็อนได้เข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของวงเคป็อปชื่อดังอย่าง ชายนี (SHINee) ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 5 คนได้แก่ จงฮย็อน, อนยู, คีย์, มินโฮ และ แทมิน พวกเขาได้รับการเปิดตัวเป็นศิลปินใหม่ของค่ายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ในปี ค.ศ. 2008 ด้วยเพลงโปรโมทที่มีเนื้อหาน่ารักสมวัยอย่างเพลง “\"Replay“\" ที่ถูกปล่อยสู่สายตาสาธารณชนในวันที่ 23 พฤษภาคมภายในปีเดียวกัน หลังจากได้เดบิวต์ในนามวงชายนีแล้ว จงฮย็อนได้มีส่วนร่วมในการเขียนเนื้อร้องและทำนองเพลงมากมาย หากพูดถึงอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีที่มีศิลปินและกลุ่มนักร้องไอดอลเพิ่มขึ้นอย่างนับไม่ถ้วนตั้งแต่ช่วงแรกที่ชายนีเดบิวต์จนถึงปัจจุบันแล้วนั้นก็ถือได้ว่า จงฮย็อน คือศิลปินที่มีความสามารถในด้านดนตรีรอบด้านและได้รับการยอมรับจากคนมากมาย เป็นกำลังหลักสำคัญให้กับวงจนประสบความสำเร็จจงฮย็อนออกจากโรงเรียนตอนเทียบชั้นได้เกรด 10 หรือ มัธยมปลายปีที่ 4 เพื่อทำตามความฝันและย้ายเข้าไปเรียนในโรงเรียนทางเลือกที่สอนศาสตร์ทางด้านดนตรีโดยเฉพาะ",
"title": "คิม จง-ฮย็อน"
},
{
"docid": "586280#0",
"text": "คิม อู-บิน (; ) นายแบบ, นักแสดงและพิธีกร ชาวเกาหลีใต้ ชื่อจริงคือ คิม ฮย็อน-จุง (; ) เกิดวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากละครเรื่อง \"The Heirs 2013, School 2013\" ของช่องเอสบีเอส และเรื่อง \"The Heirs\"",
"title": "คิม อู-บิน"
}
] |
3894 | รายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "73009#12",
"text": "เวอร์ชันต้นฉบับของ \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" คือเวอร์ชันของสหรัฐอเมริกา ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 โดยในเดิอนตุลาคม ค.ศ. 2005 ซีบีเอส ให้เอกสิทธิ์ประเทศอื่นในการทำ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เป็นของตนเอง โดยบัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก (BVITV-AP) และ โซนี่ พิกเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนต์ เอเชีย (บริษัทแม่ของ เอเอกซ์เอ็น เอเชีย) ได้ผลิตดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันเอเชีย โดยมีชื่อว่า ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชียในเดือนเดียวกันนั้นเอง โดยซีซั่นแรกเริ่มรับสมัครตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ จนถึงปลายเดือน มีนาคม ค.ศ. 2006 เริ่มถ่ายทำในเดือนมิถุนายน และฤดูกาลแรกออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ถึง 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นเองยังมี \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย\" ตามอีก 2 ฤดูกาล",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ"
},
{
"docid": "189590#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 1 () เป็นฤดูกาลที่ 1 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส สำหรับฤดูกาลที่ 1 นี้ออกอากาศวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2544",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 1"
},
{
"docid": "73009#1",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา สร้างโดย อลิส ดอร์แกนเลอร์ และ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ และได้ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 มีพิธีกรชื่อดังระดับรางวัลเอ็มมี ชาวนิวซีแลนด์ ฟิล คีโอแกน เป็นพิธีกรของรายการตั้งแต่ซีซั่นแรก และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ระดับ ฮอลลีวูด เจอร์รี บรัคไฮเมอร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างหลักของรายการ นอกจากนี้รายการนี้ยังมีการซื้อลิขสิทธิ์ ไปสร้างในหลาย ๆ ประเทศ โดยยังคงรูปแบบหลัก ๆ ของรายการอยู่ ส่วนเนื้อหาในบทความนี้จะใช้เกณฑ์และเนื้อหาของฉบับอเมริกาเป็นส่วนใหญ่",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ"
}
] | [
{
"docid": "351636#3",
"text": "\"ดิ อะเมซิ่ง เรซ 18\" ใช้เวลาถ่ายทำ 23 วันและจะเป็นฤดูกาลแรกของเวอร์ชันอเมริกาที่จะถ่ายทำและออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง ในขณะที่หลายๆ รายการในช่วงพรามไทม์ได้เปลี่ยนการออกอากาศเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงแล้ว ดิ อะเมซิ่ง เรซ ยังคงใช้โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐานอยู่ เนื่องจากปัญหาหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านค่าใช้จ่ายหรือแม้กระทั่งความยากลำบากในการถ่ายทำและภาพที่อยู่ในแฟ้มภาพไม่ได้เป็น HD จึงใช้เวลาเป็นอันมากกว่าจะสามารถทำให้เป็นระบบ HD ได้ อย่างไรก็ตามถึงจะช้าไปบ้างนี่ก็จะเป็นฤดูกาลแรกของ \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" ที่จะออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 18"
},
{
"docid": "186328#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย () เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ\nในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สถานีโทรทัศน์ ซีบีเอส ให้โอกาสประเทศอื่นในการทำ \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" เป็นของตนเอง และเครือข่ายทีวีของเอเชีย เอเอ็กซ์เอ็น เอเชีย ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตแรก ๆ ที่ได้สิทธิ์ในการผลิด \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" สำหรับประเทศของตนเอง รายการนี้ผลิตโดยบริษัทผลิตรายการของออสเตรเลีย ActiveTV สำหรับเอเอ็กซ์เอ็น โดยความร่วมมือของบัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก (BVITV-AP) พิธีกรของรายการคือนักแสดงชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน-อเมริกัน อลัน วู",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย"
},
{
"docid": "195995#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 7 () เป็นฤดูกาลที่ 7 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 7"
},
{
"docid": "351636#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 18 () เป็นฤดูกาลที่ 18 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในฤดูกาลนี้ทำลักษณะแบบ \"ทีมรวมดารา\" โดยเอาทีมต่างๆ จากฤดูกาลที่ 12-17 มาแข่งขันกันใหม่ จากฤดูกาลที่ 11 ใช้ชื่อว่า The Amazing Race : All-Stars (ดิ อะเมซิ่ง เรซ รวมดารา) แต่ในฤดูกาลนี้จะใช้ชื่อว่า The Amazing Race : Unfinished Business (ดิ อะเมซิ่ง เรซ ธุรกิจนี้ยังสะสางไม่เสร็จ) ซึ่งซีบีเอสได้โปรโมทฤดูกาลนี้ทันที โดยอยู่ภายในตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 17 เลยและรวมถึงฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่จะถ่ายทำในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกด้วย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารายการนี้ถ่ายทำยากมาก เนื่องจากช่างกล้องจะต้องวิ่งตามผู้เข้าแข่งขันตลอดและภาพบางภาพในรายการใช้การตัดต่อหรือดึงภาพจากแฟ้มข้อมูลที่เคยมีไว้มาตัดต่อลงไปทำให้อาจมีภาพแบบขนาดความละเอียดมาตรฐานปนอยู่บ้าง โดยทางผู้ผลิตได้กล่าววาจะจัดการปัญหาตรงจุดนี้ให้เหมาะสมอย่างสมดุลและออกอากาศในแบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างแน่นอน",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 18"
},
{
"docid": "196005#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 9 () เป็นฤดูกาลที่ 9 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 9"
},
{
"docid": "498318#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 22 () เป็นฤดูกาลที่ 22 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 9 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 22"
},
{
"docid": "193465#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 () เป็นฤดูกาลที่ 13 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 13"
},
{
"docid": "357620#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 19 () เป็นฤดูกาลที่ 19 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส",
"title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 19"
}
] |
3902 | เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 มีผู้รอดชีวิตกี่คน? | [
{
"docid": "383929#1",
"text": "ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานถึงอุบัติเหตุ ที่เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ปฏิบัติหน้าที่จับกุมผู้บุกรุกป่าไม้ เนื่องด้วยสภาพอากาศปิด ได้ส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวตกลงไปในบริเวณตะเข็บชายแดน ในวันที่ 17 กรกฎาคม มีรายงานการพบศพผู้เสียชีวิต 5 นาย ซึ่งต่อมา ในวันที่ 18 กรกฎาคม ทางกองทัพบกไทยได้ส่งทีมช่วยเหลือไปรับศพโดยใช้เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์กเป็นพาหนะ และเนื่องด้วยสภาพอากาศปิด จึงเลื่อนภารกิจดังกล่าวออกไปหนึ่งวัน จนมาถึงในวันที่ 19 กรกฎาคม ได้มีการส่งทหาร 8 นายและนักข่าว 1 นายเดินทางไปรับศพ ผลปรากฏว่าเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กได้ตกลงไปในป่า การกระแทกกับพื้นส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์แตกกระจาย และผู้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวเสียชีวิตทั้ง 9 ราย ในเบื้องต้น ได้มีการลำเลียงศพมาบางส่วน และในวันที่ 24 กรกฎาคม ทางหน่วยได้ส่งทีมไปรับศพผู้สูญเสียเจ็ดรายที่เหลือ โดยได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 212 (ฮ.ท.212) (เบลล์ 212) จำนวน 3 ลำ ปรากฏว่าลำสุดท้ายได้ตกลงไปในป่า และเพลิงลุกไหม้ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวสามราย และรอดชีวิตหนึ่งราย ซึ่งทีมช่วยเหลือได้ประสานงานโดยการนำรถไปรับศพมาเพื่อทำพิธีทางศาสนาที่จังหวัดกาญจนบุรีอย่างสมเกียรติ",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
}
] | [
{
"docid": "383929#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 เป็นอุบัติเหตุครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำต่อเนื่องกันในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต และนำมาซึ่งความโศกเศร้าของบุคคลในครอบครัว",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#3",
"text": "ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานความคืบหน้าในการกู้ซากแบล็กฮอว์ก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สูนย์ประสานงาน ได้รับรายงานว่ามีการพบ ELT 96 สีส้ม หรือ กล่องดำ ที่บันทึกการบินของเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กที่ประสบอุบัติเหตุแล้ว โดยสันนิษฐานว่า จากสภาพของแบล็กฮอว์กที่ตกจนชิ้นส่วนแตกกระจายแต่ล้อยางไม่แตกนั้น อาจเกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์ตกลงไปแบบหงายท้องเนื่องด้วยหลงสภาพการบิน ส่วนในวันที่ 24 กรกฎาคม ได้มีการชี้แจงว่าเฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเหมือนเฮลิคอปเตอร์ที่ตก 2 ลำแรก หากแต่เกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 เสียการทรงตัว และเกิดการสูญเสียการบังคับ เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 จึงตกลงมา",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#5",
"text": "อีกทั้ง ในเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งแรก เมื่อพบศพผู้เสียชีวิตแล้วทั้งหมด 5 ศพ แต่ไม่พบชิ้นส่วนศีรษะที่ขาดหายไป และเมื่อจะนำศพขนกลับ ไม่สามารถกระทำได้เพราะมีฝนตกลงมา เชื่อว่าเป็นเพราะยังหาชิ้นส่วนของร่างกายไม่ครบ นอกจากนี้แล้ว ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เมื่อ พล.ต.ตะวัน เรืองศรี หัวหน้าหน่วยที่ค้นหาเหตุอุบัติเหตุครั้งแรก ก่อนขึ้นเครื่องเริ่มปฏิบัติการณ์ได้เอ่ยประโยคที่เสมือนเป็นลางบอกเหตุว่า \"\"เดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อนำน้อง ๆ ทั้ง 5 กลับมาให้ได้ในวันนี้ (19 ก.ค.) เพราะญาติ ๆ ของพวกเขารออยู่\" \" และเมื่อสื่อมวลชนได้พยายามติดตามขอเข้าไปทำข่าวในพื้นที่ด้วย ปรากฏว่า พล.ต.ตะวัน ได้กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า \"\"อย่าไปเลย เดี๋ยวก็ตกกันหมด\"\"",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#6",
"text": "ทางด้านนักโหราศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ย มีความเห็นว่าบริเวณพื้นที่ป่าแก่งกระจานนั้น มีลักษณะฮวงจุ้ยคล้ายกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพถ่ายของอุบัติเหตุครั้งที่ 3 ที่เมื่อเผยแพร่ออกมาแล้ว มีรูปของสิ่งที่ดูคล้ายคน 2 คน นั่งอยู่ในจุดเกิดเหตุท่ามกลางเปลวไฟ อย่างไรก็ตาม ทางกองทัพบกได้ปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้ทำให้กำลังพลของกองทัพเสียขวัญ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจได้มีการทำพิธีทำบุญครั้งใหญ่",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "123507#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับคณะนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ จำนวนประมาณ 60 คนที่เดินทางไปตั้งค่ายพักแรม เพื่อฉลองวันเกิด และใช้อาวุธสงครามล่าสัตว์ป่าภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ. 2516 ทั้งที่มีความพยายามขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่อุทยาน สื่อมวลชนและนิสิตนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยหนึ่งในผู้ร่วมคณะ มี พันเอกณรงค์ กิตติขจร และดาราสาว เมตตา รุ่งรัตน์ รวมอยู่ด้วย ต่อมาคณะข้าราชการนี้ได้เดินทางกลับกรุงเทพมหานครด้วยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก จำนวน 2 ลำ แต่เฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง หมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกระหว่างทาง ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่า โดยเฉพาะซากกระทิง เป็นจำนวนมาก",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516"
},
{
"docid": "24830#5",
"text": "ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ \"บันทึกลับจากทุ่งใหญ่\" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ \"มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ\" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ",
"title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา"
},
{
"docid": "123478#0",
"text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524 เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2524 เฮลิคอปเตอร์แบบเบลล์ 205A-1 ของกรมตำรวจ นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการหลวง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องเกิดขัดข้องจนตกในหุบเขา ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง และไม่มีผู้รอดชีวิต",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524"
},
{
"docid": "383929#4",
"text": "นายทหารทุกนาย ต่างได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และได้รับการเลื่อนยศจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น แยกเป็น 7 ขั้นที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจการบินทางอากาศ และทุกนายได้ถูกบรรจุกำลังในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ตลอดจนปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ทั้งออกสนามมากกว่า 6 เดือน จึงได้รับเพิ่มอีก 1 ขั้น รวมเป็น 8 ขั้น รวมถึงครอบครัวต่างได้รับการช่วยเหลือทางสวัสดิการประมาณรายละกว่า 2 ล้านบาท และครอบครัวของช่างภาพผู้สูญเสียชีวิตนั้นได้รับการช่วยเหลือจากทางการในระดับเดียวกัน และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งมีดังนี้:\nนอกจากนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ยังได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลการกุศลของชมรมผู้สื่อข่าวการเมือง ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวช่างภาพประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 นี้เช่นกันในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีความเชื่อว่า ที่เฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ผู้เสียชีวิตมากมายนั้น เป็นเพราะแรงอาถรรพ์หรือคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนั้น โดยชาวกะเหรี่ยงอาวุโสที่มีอายุกว่า 103 ปี ที่มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า ปู่คออี๋ ซึ่งเป็นผู้นำจิตวิญญาณและเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องคาถาอาคม กล่าวว่าเป็นเพราะแรงคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เจ็บแค้นที่ถูกทหารไทยขับไล่ที่อยู่อาศัยจนมีผู้บาดเจ็บและล้มตาย เมื่อปี พ.ศ. 2538 อีกทั้งมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 17 ศพ ซึ่งเลข 7 เป็นเลขอาถรรพ์ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากเลข 7 เมื่อเขียนกลับหัวแล้วจะคล้ายกับคำว่าตายในภาษากะเหรี่ยงโบราณ",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "383929#2",
"text": "ในลำที่ 3 นี้ มีผู้รอดชีวิต 1 นายคือ สิบเอกพัฒนพร ต้นจันทร์ (ช่างเครื่อง)",
"title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554"
}
] |
3903 | นิวซีแลนด์ มีเมืองหลวงชื่ออะไร ? | [
{
"docid": "238060#0",
"text": "เวลลิงตัน () เป็นเมืองหลวงของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ \"เวลลิงตัน เมืองแห่งสายลม\" เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีสายลมพัดผ่านมากที่สุดของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ปลายสุดของเกาะเหนือ ระหว่างช่องแคบคุกกับ Rimutaka Range ชื่อของเมืองหลวงแห่งนี้มาจากชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแด่ อาร์เธอร์ เวลเลสลีย์ (Arthur Wellesley) มีประชากรทั้งสิ้น 430,000 คน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากโอ๊คแลนด์ เวลลิงตันเป็นที่ตั้งของรัฐสภา สถานทูต และกงสุลต่างๆ เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมและความมีชีวิตชีวา ในเมืองจะเต็มไปด้วยร้านอาหารรสเลิศ ร้านกาแฟ และกิจกรรมยามค่ำคืน นอกจากการเป็นเมืองหลวงแล้ว เวลลิงตันยังมีความสำคัญ คือเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่ใช้สัญจรผ่านไปสู่เกาะใต้ ตามแนวเขาลาดชันชายฝั่ง จะเห็นสิ่งปลูกสร้างไม้สไตล์วิคตอเรียขึ้นอยู่เป็นทิวแถว อุณหภูมิอบอุ่นกำลังดีระหว่าง 9-13 องศาเซลเซียสในหน้าหนาว ส่วนหน้าร้อนประมาณ 17-22 องศาเซลเซียส",
"title": "เวลลิงตัน"
},
{
"docid": "2614#0",
"text": "นิวซีแลนด์ (; มาวรี: Aotearoa หมายถึง \"ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว\" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน",
"title": "ประเทศนิวซีแลนด์"
}
] | [
{
"docid": "30689#0",
"text": "รัฐนิวแฮมป์เชียร์ (, ) เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาในเขตนิวอิงแลนด์ เมืองหลวงของรัฐชื่อ คองคอร์ด เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือ แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์มีชื่อเล่นรัฐว่า \"รัฐแกรนิต\" เนื่องจากมีชั้นหินแกรนิตเป็นจำนวนมาก การท่องเที่ยวในนิวแฮมป์เชียร์ที่สำคัญได้แก่สกีในหน้าหนาว และการปีนเขาในหน้าร้อน รัฐนิวแฮมป์เชียร์เป็นที่ตั้งของ สนามแข่งรถนานาชาตินิวแฮมป์เชียร์ () สนามแข่งรถที่ยาวที่สุดในสหรัฐอเมริกา ใช้ในการแข่งขันรถ ลาวดอนคลาสสิก",
"title": "รัฐนิวแฮมป์เชียร์"
},
{
"docid": "34529#0",
"text": "นิวอิงแลนด์ () เป็นเขตหนึ่งในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีเมืองบอสตัน เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขต เขตนิวอิงแลนด์ประกอบด้วย 6 รัฐ ได้แก่ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐนิวแฮมป์เชียร์ รัฐเมน รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเวอร์มอนต์ นิวอิงแลนด์มีทีมกีฬาที่สำคัญคือ นิวอิงแลนด์ เพทริออตส์ ทีมอเมริกันฟุตบอลจากเมืองฟอกซ์โบโร และทีมฟุตบอล นิวอิงแลนด์ เรฟโวลูชัน",
"title": "นิวอิงแลนด์"
},
{
"docid": "342086#0",
"text": "พรอวิเดนซ์ () เป็นเมืองหลวงของเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในรัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองแรกๆ ที่ก่อตั้งในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในพรอวิเดนซ์เคาน์ตีบนปากแม่น้ำพรอวิเดนซ์ ตอนเหนือของอ่าวนาราแกนเซตส์ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในเขตนิวอิงแลนด์ ใน ค.ศ. 2010 มีประชากรประมาณ 178,042 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 37 ของประเทศ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบราวน์ มหาวิทยาลัยชื่อดังในไอวีลีก",
"title": "พรอวิเดนซ์"
},
{
"docid": "2614#10",
"text": "นิวซีแลนด์นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ ทวิน เจตด้า เปตโต้(Twin Jadda Phetto) ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า และได้พบกับชาวเมารีที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นมิตรจึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวทิงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจนชนเผ่าเมารีลดลง ทางอังกฤษจึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวตางี ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอปสัน",
"title": "ประเทศนิวซีแลนด์"
},
{
"docid": "2614#6",
"text": "ปัจจุบัน นิวซีแลนด์อยู่ห่างจากออสเตรเลียทางตอนใต้ราว 1,000 ไมล์ แต่ทว่าความหลากหลายทางชีวภาพมีความแตกต่างจากออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เกิดจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เดินทางมาสู่นิวซีแลนด์ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นทวีปซีแลนเดีย จนกระทั่งเมื่อราว 700 ปีก่อน มนุษย์กลุ่มแรกก็เดินทางมาถึงนิวซีแลนด์คือชาวชาวมาวรี อันเป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน",
"title": "ประเทศนิวซีแลนด์"
},
{
"docid": "958996#1",
"text": "คาบสมุทรเป็นบ้านของผู้คน 262,410 คน ราวร้อยละ 51 ของประชากรในนิวฟันด์แลนด์ จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรแคนาดาปี ค.ศ. 2011 คาบสมุทรยังเป็นที่ตั้งของเมืองเซนต์จอนส์ เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ สามารถติดต่อกับพื้นที่ใหญ่กับเกาะโดยผ่านคอคอดแอวาลอน ที่มีความกว้าง บริเวณคาบสมุทรยังเป็นแหล่งจับปลาใกล้กับแกรนด์แบงส์ ยังมี 4 อ่าวสำคัญคือ อ่าวทรินิตี, อ่าวคอนเซปชัน, อ่านเซนต์แมรี และอ่านแพลเซนเทีย ที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมจับปลาของนิวฟันด์แลนด์",
"title": "คาบสมุทรแอวาลอน"
},
{
"docid": "629533#39",
"text": "ปีก่อนหน้านี้ เมืองไครสต์จัดเป็นเมือง 1 ใน 2 เมืองที่เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนักของนิวซีแลนด์ เช่น บริษัทแอนเดอร์สัน ผู้ผลิตงานเหล็กสำหรับสร้างสะพาน อุโมงค์และเขื่อนพลังงานไฟฟ้าในช่วงแรกๆของการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันนี้การผลิตส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์หลอดไฟ ไฟฟ้าโดยมีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียโดยมีบริษัทผู้บุกเบิกจากตระกูลสจ๊วต ซึ่งมีพนักงานเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้าที่โรงงานผลิตเสื้อขนาดใหญ่ได้ย้ายฐานการผลิตไปแถบเอเซีย เมืองไครสต์เชิร์ชมีโรงงานผู้ผลิตรองเท้าถึง 5 โรงงานแต่ก็ยกเลิกผลิตและใช้วิธีนำเข้าจากต่างประเทศแทน ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมที่เน้นทางเทคโนโลยีเป็นหลักได้เติบโตมากขึ้นในไครสต์เชิร์ช \"แองกัส เทส\" ผู้ก่อตั้งอิเลคทรอนิกส์เทส(ผู้ผลิตมือถือและสัญญาณวิทยุ) ส่วนบริษัทอื่นที่มีการหมุนเวียนหลังจากนี้ก็มีบริษัสวิตซ์เทคของนายเดนิส แชปแมน โดยแชปแมนถือเป็นผู้ดูแลบริษัทอิเลคทรอนิกส์เทสด้วย. ในส่วนบริษัซอฟต์แวร์ กิล ซิมสัน ผู้ก่อตั้งบริษัท LINC ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Jade ต่อมาบริษัทเหล่านี้ได้ผันมาเป็นคณะไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยทางด้านวิศวกรรมแห่งแคนเทอเบอรี่ รวมไปถึง \"Pulse data\" ได้พัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ที่เรานำไปใช้ได้ (อุปกรณ์ช่วยในการอ่านและคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอดที่มีข้อจำกันในการมองเห็น) และการสื่อสารแบบ CES(การเข้ารหัสข้อมูล) ผู้ค้นพบ \"Pulse data\" ได้ย้ายจากมหาวิทยาลัยทางด้านวิศวกรรมแห่งแคนเทอเบอรี่ไปทำงานที่บริษัทวอร์มาลย์เมื่อพวกเขาได้สร้างบริษัท \"Pulse data\" โดยบริหารการจัดการผ่านตัวกลางที่ทำหน้าที่ดูแลแทนพวกเขา",
"title": "ไครสต์เชิร์ช"
},
{
"docid": "491894#0",
"text": "นิวเฮเวน () เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา เป็นรองเมืองบริดจ์พอร์ต และใหญ่เป็นอันดับ 6 ของนิวอิงแลนด์ มีประชากร 129,779 คน (ค.ศ. 2010) เมืองตั้งอยู่ริมอ่าวนิวเฮเวน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1638 โดยพวกเพียวริตัน และตั้งชื่อว่า ควินนิพิแอก ภายใต้การนำของจอห์น แดเวนพอร์ตและทีโอฟิลัส อีตัน เมืองได้รับชื่อปัจจุบันเมื่อ ค.ศ. 1640 รวมเข้ากับอาณานิคมคอนเนตทิคัตใน ค.ศ. 1664 เป็นเมืองหลวงของคอนเนตทิคัตร่วมกับเมืองฮาร์ตฟอร์ดระหว่าง ค.ศ. 1701-1875 ในสงครามปฏิวัติอเมริกาถูกพวกจงรักภักดีอังกฤษบุกเข้าทำลายเมื่อ ค.ศ. 1779 สถาปนาเป็นเมืองเมื่อ ค.ศ. 1784 ต่อมาในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ",
"title": "นิวเฮเวน"
}
] |
3904 | กรีก มีเมืองหลวงชื่อว่าอะไร ? | [
{
"docid": "6384#0",
"text": "เอเธนส์ (; \"อธีนา\") เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก",
"title": "เอเธนส์"
}
] | [
{
"docid": "924499#0",
"text": "ซาอิส (อาหรับ: صاالحجر; กรีกโบราณ: Σάϊς; คอปติก: ⲥⲁⲓ) หรือ ซา เอล ฮาการ์ เป็นเมืองของอียิปต์โบราณในแถบแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันตกบนดินดอนปากแม่น้ำไนล์ มันเป็นเมืองหลวงของเมือง ซาป-เมฮ์ ในอียิปต์ล่าง และกลายเป็นเมืองหลวงศูนย์รวมอำนาจในราชวงศ์ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์โบราณ (732-720 ปีก่อนคริสตกาล) และราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์โบราณ (664- 525 ปีก่อนคริสตกาล) ในช่วงยุคปลาย ชื่ออียิปต์โบราณเรียกเมืองนี้ว่า ซาอู",
"title": "ซาอิส"
},
{
"docid": "249220#0",
"text": "อักกราเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐกานา อยู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศและด้านเศรษฐกิจ ผลผลิตในประเทศประมาณร้อยละ 70 ผลิตในเมืองนี้ อักกราได้เป็นเมืองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2420 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกานา ซึ่งได้เก็บรักษามรดกที่สำคัญของประเทศไว้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยปัจจุบัน โรงละครแห่งชาติกานาซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยปัจจุบัน",
"title": "อักกรา"
},
{
"docid": "431818#0",
"text": "ฮาราเร (ก่อน พ.ศ. 2525 ชื่อ ซอลส์บรี) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศซิมบับเว ใน พ.ศ. 2552 มีการประเมินประชากรไว้ที่ 1,606,000 คน โดยมี 2,800,000 คนในเขตปริมณฑล (พ.ศ. 2549) ในทางการปกครอง ฮาราเรเป็นนครอิสระมีฐานะเทียบเท่าจังหวัด เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางการปกครอง พาณิชย์และการสื่อสารของประเทศซิมบับเว นครนี้เป็นศูนย์กลางการค้ายาสูบ ข้าวโพด ฝ้ายและผลไม้สกุลส้ม การผลิตมีทั้งสิ่งท่อ เหล็กกล้าและเคมีภัณฑ์ ตลอดจนมีการขุดทองในพื้นที่ ฮาราเรตั้งอยู่ที่ความสูง 1,483 เมตรจกระดับน้ำทะเล และภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทอุณหภูมิอบอุ่น",
"title": "ฮาราเร"
},
{
"docid": "468718#2",
"text": "ชานักกาเล อยู่ห่างจากกรุงอิสตันบูล เมืองหลวงของตุรกีด้วยการเดินทางทางรถยนต์ประมาณ 4 ชั่วโมง และนั่งเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากไป ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอย ที่ปรากฏในสงครามกรุงทรอย ปัจจุบัน มีซากของกำแพงเมืองที่เป็นหินหนาปรากฏอยู่ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งทางทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง \"Troy\" ในปี ค.ศ. 2004 ได้มอบม้าไม้ที่ใช้ในเรื่อง ให้แก่เมือง ซึ่งปัจจุบัน ได้ตั้งแสดงอยู่ และมีการผลิตเป็นของที่ระลึก",
"title": "ชานักกาเล"
},
{
"docid": "923846#0",
"text": "อวาริส (/ ævərɪs /; อียิปต์โบราณ: ḥw.twꜥr.t บางครั้งแปลว่า \"ฮัต-วาเรต\" กรีก: Αὔαρις, Auaris) เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ภายใต้การปกครองของชาวฮิกซอส ตั้งอยู่ในปัจจุบันบอก เอล-ดับ'อา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปากแม่น้ำไนล์ ในฐานะที่เป็นเส้นทางหลักของแม่น้ำไนล์อพยพไปทางทิศตะวันออกตำแหน่งที่ศูนย์กลางของอียิปต์ ทำให้มันเป็นเมืองหลวงการบริหารที่สำคัญของชาวฮิกซอส มันถูกครอบครองจากประมาณ 1783 ถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล หรือจากราชวงศ์สิบสามของอียิปต์ผ่านช่วงกลางที่สองจนกว่าชาวฮิกซอสจะถูกชับไล่โดยฟาโรห์อาโมสที่ 1 ฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบแปด ชื่อในภาษาอียิปต์โบราณเมื่อพันปีก่อนคริสต์ศักราชอาจออกเสียง ฮาอัต-วูรัต หมายความว่า 'บ้านใหญ่' และหมายถึงเมืองหลวงของเขตปกครอง ในปัจจุบันยังมีชื่อเมืองที่คล้ายกันคือ เมืองฮาวารา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตไฟยุม หรือชาวอเล็กซานเดรียเรียกชื่อเมืองนี้ว่า \"อาไทน์รา\"",
"title": "อวาริส"
},
{
"docid": "248134#2",
"text": "ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, \"คู\", ตุรกี: \"Kandiye\") ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit)",
"title": "ครีต"
},
{
"docid": "151138#0",
"text": "ลิเดีย ( ; อัสซีเรีย: \"Luddu\" ; กรีก: \"Λυδία\") เป็นอาณาจักรโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอานาโตเลีย (หรือ เอเชียไมเนอร์) มีเมืองหลวงชื่อ ซาร์ดิส ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดอิชมีร์และจังหวัดมานิสา ในประเทศตุรกีในปัจจุบัน",
"title": "ลิเดีย"
},
{
"docid": "944672#0",
"text": "เพลลา () เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตอนกลางของมาเซโดเนีย ประเทศกรีซ รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในสมัยกรีซโบราณ และเป็นสถานที่ประสูติของทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ชื่อ \"เพลลา\" ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง \"ก้อนหิน\"",
"title": "เพลลา"
},
{
"docid": "578891#4",
"text": "เมืองหลวงคาดกันว่าเป็นเมืองสาคละ (sagala) เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในภาคเหนือของรัฐปัญจาบ (เชื่อกันว่า ปัจจุบันคือเมือง สิอาลกอต (Sialkot) ในปากีสถาน ต่อมาพระองค์เดินทางไปทั่งภาคเหนือของอินเดีย และเยี่ยมชมเมืองปัฏนะ เมืองหลวงของจักรวรรดิราชวงศ์เมารยะ แผนการบางอย่างในการพิชิตเมืองปัฏนะถูกเสนอพระเจ้ายูคราติทส์ (eucratides) ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีก – อาณาจักรบักเตรีย เริ่มทำสงครามอินเดีย – กรีกในทางชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ พระองค์เป็นหนึ่งในไม่กี่คน ของกษัตริย์บักเตรียที่ถูกกล่าวถึงโดยนักเขียนชาวกรีก ในสมาคมนักประวัติศาสตร์แห่งเมืองอาร์เตมิต้า (apolodorus of artemita) ถูกกล่าวถึงโดยสตราโบ เขาอ้างว่า กษัตริย์ชาวกรีกจากแคว้นบักเตรียเป็นผู้พิชิตที่ยิ่งใหญ่กว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และบอกว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นกษัตริย์บักเตรียหนึ่งในสองพระองค์ อีกพระองค์คือ พระเจ้าเดเมตริอุสพระองค์ขยายอำนาจเข้าไปในอินเดียไกลมากที่สุด \n—สตราโบ นักภูมิศาสตร์\nทั้งสตราโบยังได้บอกว่า พวกชาวกรีกพิชิตได้กระทั่งเมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนะ) ในภาคเหนือของอินเดีย:",
"title": "พระเจ้ามิลินท์"
}
] |