query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
11
185
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
1
30
3391
ฮ่องกงเป็นเกาะหรือไม่ ?
[ { "docid": "148946#0", "text": "เกาะฮ่องกง (อักษรจีนตัวเต็ม: 香港島; ภาษาอังกฤษ: Hong Kong Island) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "6032#4", "text": "ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะฮ่องกง เกาลูนและเขตดินแดนใหม่ จะเป็นแนวเขาทอดตัวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นแนวเขาที่ต่อเนื่องมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและกว่างตงที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากเขตเทือกเขาแต่ครั้งโบราณนั้น ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ จึงเกิดเป็นทัศนียภาพเกาะแก่งเล็ก ๆ ที่มีลักษณะลาดชันผุดโพล่ขึ้นมากมาย", "title": "ฮ่องกง" } ]
[ { "docid": "822158#0", "text": "ฮ่องกงของบริเตน (; ) หรือเรียกอย่างง่ายว่า ฮ่องกง เป็นช่วงสมัยที่ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ถึง 1997 (ยกเว้นช่วงที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่าง ค.ศ. 1941 ถึง 1945) เมื่อแรกจัดตั้งมีสถานะเป็นอาณานิคมในพระองค์ ก่อนที่ในปี 1981 จะมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน ราชวงศ์ชิงจำยอมต้องยกเกาะฮ่องกงให้แก่บริเตนใหญ่ภายหลังจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และจำยอมต้องยกคาบสมุทรเกาลูนให้อีกเมื่อพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ในที่สุดก็มีการทำสนธิสัญญาใหม่ขึ้นในค.ศ. 1898 ซึ่งให้สิทธิการเช่าเกาะฮ่องกงเป็นเวลา 99 ปี ทางสหราชอาณาจักรได้ส่งคืนเกาะฮ่องกงแก่จีนเมื่อสัญญาเป็นอันสิ้นสุดลงในค.ศ. 1997 การส่งมอบเกาะฮ่องกงในครั้งนั้นถูกมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดจักรวรรดิบริเตน", "title": "ฮ่องกงของบริเตน" }, { "docid": "425034#42", "text": "อีกทั้งเธอยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนของเกาะฮ่องกง และอุทิศตัวให้แก่งานการกุศลด้วย เช่น การเป็นทูตของอ๊อกแฟม (Oxfam) สาขาฮ่องกง ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการช่วยเหลือในแหล่งยากจนทั่วโลก เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการต่อต้านโรคมะเร็งแห่งฮ่องกง รวมถึงเป็นประธานสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อโทรทัศน์แห่งฮ่องกงรางวัลสำคัญที่ได้รับ\nรางวัลทางด้นดนตรี", "title": "วาง หมิงฉวน" }, { "docid": "195763#1", "text": "เกาะลันเตาเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 146 ตารางกิโลเมตร บนเกาะมี Lantau Peak ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะ และเป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของฮ่องกง ", "title": "เกาะลันเตา" }, { "docid": "148946#10", "text": "ฮ่องกง กเฮ่องกง", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "837606#0", "text": "ยุทธการที่ฮ่องกง(08-25 ธันวาคม 1941)ยังเป็นที่รู้จักคือ การป้องกันฮ่องกงและการยึดครองฮ่องกงเป็นหนึ่งในครั้งแรกของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง.เช้าในวันเดียวกันกับการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์,กองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีคราวน์โคโลนีของบริเตนของเกาะฮ่องกง.การโจมตีในการละเมิดกฎหมายต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นไม่ได้ประกาศสงครามกับจักรวรรดิอังกฤษ.การโจมตีของฝ่ายญี่ปุ่นนั้นก็ต้องพบการต่อต้านจากทหารในฮ่องกงประกอบไปด้วยกองกำลังท้องถิ่นอย่างทหารอังกฤษ,แคนาดาและอินเดีย.ภายในสัปดาห์ กองกำลังฝ่ายป้องกันได้ถูกทอดทิ้งจากแผ่นดินใหญ่และน้อยกว่าสองสัปดาห์ต่อมา,กองกำลังฝ่ายการป้องกันบนเกราะนั้นไม่สามารถป้องกันได้,อาณานิคมจึงได้ยอมจำนนและถูกยึดครองในที่สุด", "title": "ยุทธการที่ฮ่องกง" }, { "docid": "149106#1", "text": "รัฐบาลจีนกำหนดให้มีธงประจำเขตบริหารพิเศษฮ่องกงขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการเตรียมการส่งมอบเกาะฮ่องกงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2539 และชักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ในพิธีส่งมอบอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน", "title": "ธงฮ่องกง" }, { "docid": "6032#10", "text": "ผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาประจำยังเกาะฮ่องกง ท่านลอร์ด Palmerston เคยขนานนามเกาะแห่งนี้ไว้ว่า \"หินไร้ค่า\" แต่สหราชอาณาจักรได้ช่วยวางรากฐานการศึกษา การปกครอง และผังเมืองให้ฮ่องกงเป็นอย่างดี เพียง ชั่วพริบตาเดียว ฮ่องกงได้กลับกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชย์และยังเป็นประตูเปิดสู่ประเทศจีน", "title": "ฮ่องกง" }, { "docid": "6032#3", "text": "ฮ่องกงมีพื้นที่รวม 1,096.63 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะฮ่องกง (80.30 ตร.กม.) เกาลูน (46.71 ตร.กม.) เขตดินแดนใหม่ (New Territories) และเกาะอื่น ๆ (969.62 ตร.กม.) หรือขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้", "title": "ฮ่องกง" }, { "docid": "353462#6", "text": "ใน ค.ศ. 1841 ต้นร่างคร่าว ๆ ของสนธิสัญญาถูกส่งไปเพื่อขอคำชี้แนะจากอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ชาร์ลส์ อีเลียต โดยฉบับร่างดังกล่าวมีข้อความว่า \"การยกเกาะ [islands] _____\" พอตทิงเจอร์ส่งฉบับร่างเก่าของสนธิสัญญาขึ้นฝั่ง โดยมีอักษร s ถูกตัดออกจากคำว่า \"เกาะ\" (เปลี่ยนจากพหูพจน์เป็นเอกพจน์) และคำว่า \"ฮ่องกง\" ได้ถูกเติมลงไปในช่องว่างดังกล่าว โรเบิร์ต มอนต์โกเมรี มาร์ติน เสนาบดีการคลังฮ่องกง ได้เขียนในรายงานอย่างเป็นทางการว่า:", "title": "สนธิสัญญานานกิง" }, { "docid": "148946#7", "text": "เกาะฮ่องกงยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือเฟอร์รี่ฮ่องกง-มาเก๊า(Hong Kong-Macau Ferry Pier) ซึ่งให้บริการเรือโดยสารระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับเขตบริหารพิเศษมาเก๊าและเมืองต่างๆในมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน[2][3][4]", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "148946#6", "text": "เกาะฮ่องกงเชื่อมต่อกับฝั่งเกาลูนด้วยอุโมงค์สำหรับรถยนต์ 2 แห่ง อุโมงค์สำหรับรถไฟฟ้าใต้ดิน(MTR) 2 แห่ง(สาย Tsuen Wan และ Tung Chung) และอุโมงค์สำหรับรถยนต์และรถไฟฟ้าใต้ดินใช้ร่วมกันอีก 1 แห่ง(สาย Tseung Kwan O) เกาะฮ่องกงไม่มีสะพานข้ามไปฝั่งเกาลูน แต่มีสะพานข้ามไปยังเกาะอาเบอร์ดีน ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะฮ่องกง นอกจากทางบกแล้ว ระหว่างเกาะฮ่องกงและฝั่งเกาลูนยังมีเรือเฟอร์รี่บริการอีกด้วย", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "6032#18", "text": "ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งตึกสูงระฟ้า อาคารทันสมัย ตลาดขายของพื้นเมือง ตลาดขายของเก่า วัดวาอาราม หรือแม้แต่แปลงปลูกผัก จากความหลากหลายเหล่านี้ จึงทำใหฮ่องกงมีมนต์เสน่ห์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมากมาย นักท่องเที่ยวสามารถพบกับสิ่งที่น่าสนใจและหลากหลาย โดยเราสามารถแบ่งเขตท่องเที่ยวสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลักๆ ออกเป็น 3 เขต คือ เกาะฮ่องกง ฝั่งเกาลูน เขตนิวเทอร์ริทอรี่ส์ และหมู่เกาะต่างๆ", "title": "ฮ่องกง" }, { "docid": "84656#3", "text": "ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นบนเกาะขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการถมทะเลระหว่างเกาะเช็คแลปก๊กและเกาะ Lam Chau จนกลายเป็นเกาะเดียว เกาะเดิมทั้ง 2 เกาะนี้ถูกปรับพื้นผิวให้ราบเรียบ ครอบครองพื้นที่ประมาณ 25% ของพื้นที่ท่าอากาศยานทั้งหมดซึ่งมีขนาด 12.48 ตารางกิโลเมตร มีทางเชื่อมต่อกับส่วนเหนือของเกาะลันเตา ใกล้กับหมู่บ้านประวัติศาสตร์ Tung Chung ซึ่งปัจจุบันถูกขยายออกเป็นเมืองใหม่ การปรับปรุงพื้นที่สำหรับท่าอากาศยานแห่งนี้ ทำให้เกิดพื้นดินใหม่เป็นพื้นที่ 1% ของพื้นที่ทั้งหมดของฮ่องกง ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดเพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานไคตั๊กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเกาลูนซิตี ซึ่งจัดว่าไม่ปลอดภัยเนื่องมาจากรันเวย์เดี่ยวที่ยื่นออกไปในอ่าวเกาลูนและพื้นที่ที่ติดกับย่านที่พักอาศัย", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง" }, { "docid": "148722#33", "text": "ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน", "title": "สงครามแปซิฟิก" }, { "docid": "6032#11", "text": "สหราชอาณาจักรเช่าฮ่องกงทั้งหมด เป็นเวลา 99 ปี โดยกำหนดวันหมดสัญญาไว้วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยได้ทำพิธีส่งคืนเกาะฮ่องกง ให้แก่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ไปเรียบร้อย ทั้งนี้เคยมีการเจรจาระหว่างสหราชอาณาจักรโดย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ นายเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำฝ่ายจีน เพื่อเจรจาขอเช่าเกาะฮ่องกงต่อ แต่ได้รับการปฏิเสธ และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 26 กันยายน ผู้นำทั้งสองจึงเปิดเจรจาอีกครั้งและลงนามในสัญญา โดยมีสาระสำคัญว่า สหราชอาณาจักรจะยอมส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน และจีนได้ให้สัญญาว่าจะยอมให้ฮ่องกง อยู่ในฐานะ \"เขตปกครองตนเอง\" ภายใน 50 ปี", "title": "ฮ่องกง" }, { "docid": "545611#12", "text": "ตามกฎหมายหลักฮ่องกง (Basic Law of Hong Kong) ประชาชนจีนที่เกิดในเกาะฮ่องกงมีสิทธิการอยู่อาศัยในดินแดนเกาะฮ่องกง กล่าวคือ มีสิทธิทั่วไปอย่างชาวฮ่องกง คดีระหว่างอธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมือง กับจวง เฟิงหยวน \"(Director of Immigration v. Chong Fung Yuen)\" ใน ค.ศ. 2001 ยืนยันให้สิทธินี้แก่บุตรของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ไม่ใช่ผู้มีสิทธิอาศัยในเกาะฮ่องกง ด้วยเหตุนี้จึงมีหญิงมีครรภ์ชาวจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางมาคลอดบุตรในเกาะฮ่องกงเพื่อให้บุตรของตนมีสิทธิอาศัยในเกาะดังกล่าว ใน ค.ศ. 2009 มีทารกถึง 36% ที่เกิดในเกาะฮ่องกงที่มีบิดามารดามาจากจีนแผ่นดินใหญ่ กรณีนี้ได้สร้างกระแสต่อต้านและก่อให้เกิดความกังวลต่อระบบรัฐสวัสดิการรวมถึงการศึกษาของเกาะฮ่องกง ความพยายามที่จะจำกัดสิทธิโดยกำเนิดในกรณีดังกล่าวถึงปฏิเสธโดยศาล ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยอย่างมา กระทั่งได้ลุกขึ้นประท้วงต่อต้านเมื่อต้น ค.ศ. 2012", "title": "การท่องเที่ยวเพื่อคลอดบุตร" }, { "docid": "135331#5", "text": "ในวงการภาพยนตร์ หลิว เต๋อหัว เป็นนักแสดงที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นหนึ่งในราชาภาพยนตร์ หรือ King Boxoffice ของวงการหนังฮ่องกง และวงการภาพยนตร์เอเชีย สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติฮ่องกงได้รวบรวมสถิติรายได้ภาพยนตร์ในช่วงรุ่งเรืองตั้งแต่ปี 1985 - 1997 ก่อนประเทศอังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องคืนสู่จีนแผ่นดินใหญ่ หลิว เต๋อหัว เป็นนักแสดงชายที่มียอดรายได้ภาพยนตร์ (Box Office) สูงถึง 1,200 ล้านเหรียญฮ่องกง(HKD) จากภาพยนตร์ที่เขานำแสดง(Actor) จำนวน 80 เรื่อง สูงสุดเป็นอันดับ 1 แห่งยุคนั้น ต่อมาในปี 2005 มีการประมวลยอดรายได้ภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1985 - 2005 (รอบ 20 ปี) ก่อนที่เกาะฮ่องกงจะเป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่โดยสมบูรณ์(หนึ่งประเทศ สองระบบเศรษฐกิจ) หลิว เต๋อหัว เป็นนักแสดงชายที่มียอดรายได้ภาพยนตร์ (Box Office) สูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ 1,733,275,816 ล้านเหรียญฮ่องกง(HKD) จากภาพยนตร์ที่เขานำแสดง(Actor) จำนวน 108 เรื่อง อันดับ 2 ได้แก่ โจว ซิงฉือ ราชาตลกคอมมาดี้ จำนวน 1,317,452,311 ล้านเหรียญฮ่องกง(HKD) อันดับ 3 คือ เฉินหลง ราชานักบู้ชื่อก้องโลก จำนวน 894,090,962 ล้านเหรียญฮ่องกง(HKD) ต่อมาในปี 2007 หลิว เต๋อหัว ได้รับยกย่องให้เป็น ดารายอดนิยมแห่งเอเชีย หรือ Box Office Star of Asia อีกด้วย ", "title": "หลิว เต๋อหัว" }, { "docid": "148946#2", "text": "เกาะฮ่องกงเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ถัดจากเกาะลันเตา โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 80.4 ตารางกิโลเมตร เกาะฮ่องกงอยู่หากจากแผ่นดินใหญ่ไม่มาก โดยมีอ่าววิคตอเรียกั้นอยู่ระหว่างเกาะฮ่องกงกับเกาลูน", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "148946#3", "text": "เกาะฮ่องกงเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากกว่าส่วนอื่นๆในเขตบริหารพิเศษ โดยมีความหนาแน่นประมาณ 15,915 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 1,268,112 คน คิดเป็น 18.5% ของประชากรทั้งหมด[1]", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "148946#4", "text": "เกาะฮ่องกงและเกาะเล็กน้อยข้างเคียงเป็นที่ตั้งของเขตการปกครองของเขตบริหารพิเศษ 4 เขตด้วยกัน", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "294743#0", "text": "เกาะเช็คแลปก๊ก (; Jyutping: cek3 laap6 gok3; ) เป็นเกาะทางตะวันตกของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เกาะเช็คแลปก๊กถูกเชื่อมกับเกาะลันเตาด้วยการถมทะเลเพื่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ทำให้ท่าอากาศยานมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า \"ท่าอากาศยานเช็คแลปก๊ก\"", "title": "เกาะเช็กล้าปก๊อก" }, { "docid": "458738#2", "text": "การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งตะวันออกไกล ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่สนามกีฬาคาร์นิวัล (ปัจจุบันคือ ศูนย์กีฬาไรซัลอนุสรณ์ หรือ Rizal Memorial Sports Complex) เขตมาลาเต ในกรุงมะนิลา บนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในอารักขาของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) โดยฟอร์บส์เป็นผู้ประกาศเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีทั้งสิ้น 8 วัน และ 6 ประเทศเข้าร่วม ประกอบด้วย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ฯ สาธารณรัฐจีนฯ จักรวรรดิญี่ปุ่น หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของบริเตน (British East Indies Islands; ปัจจุบันคือ มาเลเซีย) ราชอาณาจักรสยาม (ชื่อประเทศจนถึง พ.ศ. 2482; ปัจจุบันคือราชอาณาจักรไทย) และ หมู่เกาะฮ่องกงของบริเตน (ปัจจุบันคือ เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) สมาคมฯ เปลี่ยนชื่อเป็น \"สมาคมกีฬาแห่งตะวันออกไกล\" และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันมาเป็น\"กีฬาชิงชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล\" โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในการแข่งขันครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นที่นครเซียงไฮ ของสาธารณรัฐจีนฯ", "title": "กีฬาตะวันออกไกล" }, { "docid": "746611#0", "text": "วิกตอเรียพีก (, หรือเดิม ) หรือ ภูเขาออสติน (Mount Austin) หรือชื่อท้องถิ่นคือ เดอะพีก (The Peak) เป็นภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะฮ่องกง เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะ มีความสูง 552 เมตร (1,811 ฟุต) และอยู่ในอันดับที่ 31 ของภูเขาที่สูงสุดในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (จุดที่สูงที่สุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงคือ ไทโมชาน สูง 957 เมตร (3,140 ฟุต))", "title": "วิกตอเรียพีก" }, { "docid": "131346#67", "text": "เดือนกันยายน ค.ศ. 1982 นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต แทตเชอร์เดินทางเยือนกรุงปักกิ่งเพื่อเจรจากับรัฐบาลจีนเรื่องอนาคตของฮ่องกงซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลใหญ่สุดท้ายและมีประชากรมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญานานกิง ค.ศ. 1842 เกาะฮ่องกงถูกยกให้บริเตนตลอดกาล แต่อาณานิคมส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากนิวเทอร์ริทอรีส์ซึ่งได้มาภายใต้การเช่า 99 ปีใน ค.ศ. 1898 ซึ่งจะหมดอายุใน ค.ศ. 1997 แทตเชอร์ซึ่งมองเห็นความคล้ายกับหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ทีแรกปรารถนาถือครองฮ่องกงและเสนอการปกครองของบริติชโดยอยู่ภายใต้เอกราชของจีน แต่ถูกจีนปฏิเสธ มีการบรรลุข้อตกลงใน ค.ศ. 1984 ภายใต้เงื่อนไขของปฏิญญาร่วมจีน-บริเตน ฮ่องกงจะเป็นเขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยธำรงวิถีชีวิตเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี มีพิธีส่งมอบใน ค.ศ. 1997 ซึ่งหลายคนซึ่งรวมถึงเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งทรงร่วมพิธีด้วย ว่า \"จุดจบของจักรวรรดิ\"", "title": "จักรวรรดิบริติช" }, { "docid": "148946#8", "text": "การคมนาคมขนส่งภายในเกาะนั้น จะมีรถไฟฟ้าใต้ดิน 1 สายซึ่งให้บริการอยู่ภายในเกาะโดยเฉพาะ(สาย Island) โดยรถไฟฟ้าใต้ดินสายดังกล่าวจะวิ่งเป็นแนวตะวันออก-ตะวันตกอยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของเกาะเท่านั้น รถรางภายในเกาะมีทั้งรถรางธรรมดาและรถรางที่ขึ้นไปยัง The Peak และก็มีรถโดยสารประจำทางให้บริการเหมือนเมืองใหญ่ทั่วไป เกาะฮ่องกงมีระบบบันไดเลื่อนและทางเดินเลื่อนให้บริการแก่คนเดินเท้า เพราะเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีเนินเขาสูงอยู่มาก", "title": "เกาะฮ่องกง" }, { "docid": "239916#0", "text": "ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ () เป็นสวนสนุกที่ตั้งอยู่บนเพนนีส์เบย์ เกาะลันเตา ในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต เจ้าของคือฮ่องกงอินเตอร์เนชันแนลธีมพาร์ก ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เปิดให้เข้าชมเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2548 ดิสนีย์พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากชาวจีน จึงออกแบบให้มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมจีน ออกแบบการวางโครงสร้างต่าง ๆ ตามหลักของฮวงจุ้ย", "title": "ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์" }, { "docid": "357519#2", "text": "สะพานแห่งนี้เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมย่านธุรกิจในฮ่องกง กับเกาะลันเตา เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงบนเกาะเช็คแลปก๊ก", "title": "สะพานซิงหม่า" }, { "docid": "148946#1", "text": "เกาะฮ่องกงเป็นอาณาบริเวณส่วนแรกที่อังกฤษเข้ามาครอบครอง ก่อนที่จะขยายอาณาบริเวณขึ้นไปตามเกาะต่างๆและบนฝั่งจนกลายเป็นพื้นที่ของเขตบริหารพิเศษอย่างในปัจจุบัน", "title": "เกาะฮ่องกง" } ]
2826
ประเทศบัลแกเรียมีเมืองหลวงชื่ออะไร ?
[ { "docid": "265666#0", "text": "โซเฟีย () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐบัลแกเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 47 ของสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ทางตะวันตกของบัลแกเรีย บริเวณตีนเขาวิโตชา เป็นเมืองศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าทางบกที่สำคัญของคาบสมุทรบอลข่าน", "title": "โซเฟีย" } ]
[ { "docid": "3625#18", "text": "บัลแกเรียถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายตัวได้อีกมากของไทย และเป็นประเทศที่อยู่ในระหว่างการปฏิรูปและมีลู่ทางที่จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของยุโรปต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียยังเป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจทะเลดำ (Black Sea Economic Cooperation) รวมทั้ง บัลแกเรียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550 บัลแกเรียมีทำเลที่ตั้งเป็นเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล อาทิ มาซิโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น อีกทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หากได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นตัวเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง ปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น", "title": "ประเทศบัลแกเรีย" }, { "docid": "749593#1", "text": "ประเทศบัลแกเรียมีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 15 แห่ง", "title": "รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศบัลแกเรีย" }, { "docid": "250237#3", "text": "ชนบัลการ์นำวิธีการก่อสร้างใหม่ๆ และยุทธวิธีในการสงครามมาสู่ยุโรป เมืองบัลแกเรียเมืองแรกๆ สร้างด้วยหินซึ่งต่างจากการสร้างป้อมปราการด้วยอิฐของโรมัน เมืองหลวงพลิสคา (Pliska) ที่มีเนื้อที่ 27 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในยุโรป ตัวเมืองมีระบบสาธารณูปโภคและพื้นอุ่นมานานก่อนเมืองเช่นปารีสและลอนดอน หลังจากรับนับถือคริสต์ศาสนาในปี ค.ศ. 864 แล้วบัลแกเรียก็กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของยุโรปสลาฟ วัฒนธรรมยิ่งวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นเมื่อมีการประดิษฐ์อักขระซิริลลิคในเพรสลาฟ ที่บางแหล่งเชื่อกันว่าโดยผู้คงแก่เรียนบัลแกเรียชื่อเคลเมนต์แห่งโอห์ริด (Clement of Ohrid) นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าสถานศึกษาแห่งเพรสลาฟและโอห์ริดเป็นสองมหาวิทยาลัยที่สองที่ก่อตั้งขึ้นในยุโรปหลังจากมหาวิทยาลัยคอนสแตนติโนเปิล", "title": "จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1" }, { "docid": "3625#0", "text": "บัลแกเรีย () หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย () เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซีย", "title": "ประเทศบัลแกเรีย" }, { "docid": "431818#0", "text": "ฮาราเร (ก่อน พ.ศ. 2525 ชื่อ ซอลส์บรี) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศซิมบับเว ใน พ.ศ. 2552 มีการประเมินประชากรไว้ที่ 1,606,000 คน โดยมี 2,800,000 คนในเขตปริมณฑล (พ.ศ. 2549) ในทางการปกครอง ฮาราเรเป็นนครอิสระมีฐานะเทียบเท่าจังหวัด เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางการปกครอง พาณิชย์และการสื่อสารของประเทศซิมบับเว นครนี้เป็นศูนย์กลางการค้ายาสูบ ข้าวโพด ฝ้ายและผลไม้สกุลส้ม การผลิตมีทั้งสิ่งท่อ เหล็กกล้าและเคมีภัณฑ์ ตลอดจนมีการขุดทองในพื้นที่ ฮาราเรตั้งอยู่ที่ความสูง 1,483 เมตรจกระดับน้ำทะเล และภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทอุณหภูมิอบอุ่น", "title": "ฮาราเร" }, { "docid": "3625#2", "text": "เป็นอาณาจักรในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 632 ในบริเวณใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูป (Danube Delta) และสลายตัวลงเมื่อปี ค.ศ. 1018 หลังจากที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิบัลแกเรียครอบคลุมบริเวณตั้งแต่บูดาเปสต์ ไปจนถึงทะเลดำ และจากแม่น้ำนีพเพอร์ในยูเครนปัจจุบันไปจนถึงทะเลเอเดรียติค จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 มาแทนที่ด้วยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 ชื่อทางการของประเทศตั้งแต่ตั้งมาคือ “บัลแกเรีย”[1]", "title": "ประเทศบัลแกเรีย" }, { "docid": "3625#11", "text": "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 บัลแกเรียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 จังหวัด (provinces - \"oblasti\") หลังจากที่เดิมแบ่งเป็น 9 จังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยที่แต่ละแห่งตั้งชื่อตามเมืองหลวงของจังหวัด โดยที่เมืองหลวงประจำประเทศเป็นจังหวัดหนึ่งแยกต่างหาก", "title": "ประเทศบัลแกเรีย" }, { "docid": "143577#0", "text": "บัลปาราอิโซ (, \"หุบเขาสวรรค์\") เป็นหนึ่งในเมืองท่าที่สำคัญที่สุดและศูนย์กลางวัฒนธรรมที่เริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นเรื่อย ๆ ของประเทศชิลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองหลักของแคว้นบัลปาราอิโซ โดยในขณะที่ซานเตียโกเป็นเมืองหลวงของประเทศนั้น บัลปาราอิโซก็มีความสำคัญในฐานะเป็นที่ตั้งรัฐสภา ซึ่งเมืองนี้ก็เช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ในชิลีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้นล่าสุดในปี ค.ศ. 1906 ได้ทำลายตัวเมืองและคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 20,000 ราย", "title": "บัลปาราอิโซ" }, { "docid": "3625#16", "text": "บัลแกเรียประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2533 ภายหลังที่ COMECON (องค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก) ล่มสลายลงพร้อมกับการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต เศรษฐกิจของบัลแกเรียฟื้นตัว เป็นครั้งแรกภายหลังวิกฤตการณ์ในปี พ.ศ. 2537 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 บัลแกเรียได้ทำความตกลง Stand-by Arrangement กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีระยะเวลา 2 ปี ภายใต้วงเงิน 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจนถึงปัจจุบัน บัลแกเรียได้กู้เงินจาก IMF ภายใต้ความตกลงดังกล่าว จำนวน 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ", "title": "ประเทศบัลแกเรีย" }, { "docid": "3625#13", "text": "บัลแกเรียให้ความสำคัญแก่การสร้างเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน ทั้งนี้ บัลแกเรียมองว่า ประเทศของตนเป็น stabilizing force ทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน และเป็นประเทศทางผ่านสินค้า (transit) ในภูมิภาค โดยจากกรุงโซเฟีย มีทางรถยนต์เชื่อมกรุงเบลเกรด และกรุงอิสตันบูล และเป็นเส้นทางจากยุโรปเหนือไปกรุงเอเธนส์ ผ่านเมือง Skopje และ Salonica ในกรีซ", "title": "ประเทศบัลแกเรีย" } ]
1620
กองพิสูจน์หลักฐาน สังกัดหน่วยงานใด?
[ { "docid": "647907#5", "text": "กองพิสูจน์หลักฐาน และ กองทะเบียนประวัติอาชญากร เกิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503 โดยยุบเลิกกองวิทยาการ และแยกงานด้านการพิสูจน์วัตถุพยาน และงานตรวจสอบพิสูจน์ค้นคว้าในด้านดัวบุคคลออกจากกัน และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานทั้งสองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยยังคงสังกัดอยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเช่นเดิม", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "156242#0", "text": "กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับงานทางด้านธุรการ งานทางด้านเอกสารสารบรรณ งานประชาสัมพันธ์ รวมถึงงานด้านการช่วยอำนวยการและงานด้านเลขานุการของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ", "title": "กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ" }, { "docid": "647907#0", "text": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (Office of Police Forensic Science) หน่วยงานระดับกองบัญชาการ ส่วนงานสนับสนุนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นที่รู้จักในชื่อ กองพิสูจน์หลักฐาน , สำนักงานวิทยาการตำรวจ มีภารกิจในการสนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยใช้วิทยาการสมัยใหม่ในการตรวจหาและเพิ่มน้ำหนักพยานหลักฐานในทางคดีให้มีประสิทธิภาพ", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "156283#1", "text": "กองทะเบียนประวัติอาชญากร เป็นหน่วยงานหนึ่งของ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2475 แต่เดิมกองทะเบียนประวัติอาชญากรเป็นหน่วยงานทางด้านงานวิทยการตำรวจ ร่วมกับกองพิสูจน์หลักฐานหรือสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจในปัจจุบัน มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจภูธร ทำให้มีปัญหาในหลาย ๆ ด้านของการปฏิบัติงาน เช่น การสรรหาบุคลากรเข้ามาปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร และการรักษาไว้ซึ่งจำนวนบุคลากรที่ขาดแคลน เนื่องจากการปฏิบัติงานทางด้านวิทยาการตำรวจ เป็นการปฏิบัติงานที่ขาดทั้งขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าในด้านหน้าที่การงานในชีวิตข้าราชการตำรวจ", "title": "กองทะเบียนประวัติอาชญากร" } ]
[ { "docid": "156242#6", "text": "การแยกหน่วยงานทางด้านการพิสูจน์วัตถุพยานและหลักฐาน รวมทั้งงานทางด้านการตรวจพิสูจน์ค้นคว้าในด้านวัตถุบุคคลออกจากกัน เป็นการปรับปรุงและขยายขอบเขตของหน่วยงานทั้งสองให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ดังนั้นกองพิสูจน์หลักฐานและกองทะเบียนประวัติอาชญากร จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ โดยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการสอบสวนกลาง ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา", "title": "กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ" }, { "docid": "647907#7", "text": "ในปีพ.ศ. 2523 ในสมัยของ พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ไปตรวจราชการในส่วนภูมิภาค ได้พบว่างานด้านวิทยาการขาดประสิทธิภาพ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงวิทยาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานวิทยาการในส่วนภูมิภาคให้สามารถปฏิบัติ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากลักษณะงานของวิทยาการอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย วิทยาการตำรวจในส่วนกลาง คือ กองทะเบียนประวัติอาชญากร และกองพิสูจน์หลักฐาน มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจภูธร อันเป็นปัญหาทั้งทางด้านการสรรหาคนเข้ามาปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน เนื่องมาจากการขาดขวัญและกำลังใจ ความก้าวหน้าในชีวิตราชการต่ำอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงานบุคคล และองค์การโดยตรง จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง โดยรวมเอาหน่วยงานวิทยาการตำรวจในส่วนกลางและภูมิภาคไว้ด้วยกัน จัดตั้งเป็น \"สำนักงานวิทยาการตำรวจ\" ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 โดยแบ่งส่วนราชการเป็น 7 กองบังคับการ ดังนี้", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "647907#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2484 จึงได้มีการปรับปรุงและขยายงานของกรมตำรวจโดยจัดตั้ง กองสอบสวนกลาง พร้อมทั้งแยกงานทางด้านวิทยาการจากกองตำรวจสันติบาลมาขึ้นตรงต่อกองสอบสวน กลาง ในปี พ.ศ. 2489 เปลี่ยนชื่อจากกองสอบสวนกลางเป็น กองตำรวจสอบสวนกลาง และในปี พ.ศ. 2491 กิจการของกองตำรวจสอบสวนกลางได้เจริญรุดหน้า จึงยกฐานนะขึ้นเป็นกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางนั้น มีกองกำกับการหรือเรียกว่า \"กองพิเศษ\" \nในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 กองวิทยาการได้ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย โดยมีฐานะเป็นกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีการยุบ \"กองพิเศษ\" ไปรวมกับ \"กองวิทยาการ\" ที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อต้องการให้ดำเนินงานทางด้าน พิสูจน์วัตถุพยาน ซึ่งเป็นงานของกองพิสูจน์หลักฐาน และการตรวจพิสูจน์ค้นคว้าตัวบุคคล ซึ่งเป็นงานของกองทะเบียนประวัติอาชญากร กองวิทยาการ แบ่งออกเป็น 3 กองกำกับการ คือ", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "647907#8", "text": "สำนักงานวิทยาการตำรวจได้รับการปรับปรุงหน่วยงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อรองรับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยเปลี่ยนชื่อจาก สำนักงานวิทยาการตำรวจ เป็น สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ในช่วงแรก ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 โดยยังคงการแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการไว้เช่นเดิม จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการในส่วนกลางดังต่อไปนี้\nในส่วนภูมิภาคได้ยุบเลิกกองวิทยาการภาคทั้งหมด และยกฐานะกองกำกับการวิทยาการเขตต่าง ๆ ให้ขึ้นมาเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ และเรียกชื่อใหม่ว่า ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค ได้แก่", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "617987#3", "text": "ภูมิร่วมกับมูลนิธิไททัศน์ก่อตั้ง ผู้ก่อการดี เพื่อเปิดโปงผู้มีอิทธิพล น้ำเย็นเป็นคนที่ถูกส่งตัวเข้าไปแทรกซึมในบริษัทของ พลพิพัฒน์ แฟรงค์ เรียกประชุมคนในองค์กรฯวางแผนกำจัดขบวนการผู้ก่อการดี โดยวางระเบิดทั่วกรุง ภูมินำทีมคลี่คลายวิกฤติกู้ระเบิดได้เกือบครบทุกที่ องค์กรแฟรงค์ออกประกาศจะระเบิดทำลายทำเนียบรัฐบาลในวันขึ้นปีใหม่ เหยี่ยวสืบรู้ว่าแพรวาเป็นสมาชิกองค์กร แฟรงค์ เหยี่ยว ยื่นคำขาดให้แพรวากลับตัวเป็นคนดี แต่เหยี่ยวก็ถูกลอบยิงตายพร้อมแผ่นซีดีที่กำลังส่งให้แพรวา เมื่อแพรวาเปิดซีดีถึงกับสะเทือนใจ เพราะเหยี่ยวสารภาพรักเธอ", "title": "คมฅน" }, { "docid": "186293#14", "text": "เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เคลื่อนไหวชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยมีการจัดตั้งเวที่ปราสรัยที่ บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษณ์ นำโดย นาย อธิวัฒน์ บุญชาติแกนนำเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ และ มีเหตุการณ์ขว้างระเบิดในที่ชุมนุม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน\n12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการจัดตั้ง ชุมชนบ้านสันปันน้ำเป็นหมู่บ้านเชิงสัญลักษณ์ ที่ชายแดนพนมดงรัก สุรินทร์ - ปัจจุบัน.\nเวทีแนวร่วมเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ จัดเวทีนับสิบครั้งในหลายจังหวัด และมาปิดเวทีสุดท้าย วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่เวทีลานหิน ชุมชนบ้านสันปันน้ำ พนมดงรักสุรินทร์ โดยมีการเคลื่อนมวลชนเดินทางไปยังปราสาทตาเมือนธม และ มีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านหนองคันนา ก่อนที่ นาย วีระ สมความคิด จะพาคณะเดินทางกลับมาร่วมเวที่ เกาะติดปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ชุมชนบ้านสันปันน้ำ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องเอฟเอ็มทีวี ก่อนที่นายวีระ สมความคิด จะถูกทหารกัมพูชาจับในครั้งแรก", "title": "กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา" } ]
4081
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยคืออะไร?
[ { "docid": "9097#0", "text": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[1] (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/[2]) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด<b data-parsoid='{\"dsr\":[1544,1563,3,3]}'>ราชวรมหาวิหาร[3] และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[4] และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ", "title": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" } ]
[ { "docid": "1847#23", "text": "ตามการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จาก สกอ. ในปี 2549 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับการจัดอันดับที่โดดเด่น ดังนี้ อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเกษตร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเรียนการสอน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" }, { "docid": "191454#8", "text": "องค์กร, หน่วยงานราชการ\nกองทัพบก, กองทัพอากาศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงพลังงาน, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, กรมสุขภาพจิต, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรมประชาสัมพันธ์, สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สถาบันดำรงราชานุภาพ, วิทยาลัยปกครอง, สถาบันการประชาสัมพันธ์, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, การเคหะแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร, สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, การไฟฟ้าแห่งผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, องค์การเภสัชกรรม, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ศูนย์อาเซียนศึกษา, สภากาชาดไทย \nองค์กร, หน่วยงานเอกชน\nกลุ่ม ปตท., บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด, บริษัท สยามไวเนอรี่ จำกัด, Asia Business Connect Asia Business Forum Asia Dyna Forum (ADF), Business & Manufacturing Network Media (BMN), The Executive Alliance, สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย, สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย, สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย, สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย, สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย, สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย, ชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารไทย \nสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย\nจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยเกริก, มหาวิทยาลัยรังสิต", "title": "พจน์ ใจชาญสุขกิจ" }, { "docid": "357161#0", "text": "การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น", "title": "อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" }, { "docid": "86785#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย () เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "5114#154", "text": "กีฬาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2541 กีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 \"ราชมงคลเกมส์\" ประจำปีการศึกษา 2540 แข่งขันระหว่างวันที่ 24 – 31 มกราคม 2541 ณ สนามกีฬาวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2548 จัดกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 (สุรนารีเกมส์) จัดการแข่งขันวันที่ 8- 15 มกราคม พ.ศ. 2548 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2557 จัดกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 “อีสานเกมส์” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2557 พ.ศ. 2560 จัดกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระหว่างวันที่ 21กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2560", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "295825#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39 เป็นการแข่งกีฬาของนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 1-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เดิมกำหนดจัดระหว่างวันที่ 14-24 มกราคม แต่ด้วยอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง ทำให้มหาวิทยาลัยและ กกมท. ตัดสินใจเลื่อนการจัดการแข่งขัน) ในครั้งนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพ โดยเป็นครั้งที่สองที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ แต่เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยใช้วิทยาเขตหาดใหญ่เป็นศูนย์แข่งขันหลัก", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39" }, { "docid": "12121#12", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\" โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 26 ของประเทศไทย และภาพรวมในด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของประเทศ", "title": "มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" }, { "docid": "5353#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\" โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย", "title": "มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "560194#1", "text": "เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาและได้รับเชิญให้เป็นกรรมการกีฬาระดับชาติและนานาชาติหลายครั้ง และมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งสนามการแข่งขัน การคมนาคม การบริการ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกภายในมหาวิทยาลัย สถานที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยมีมติให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 การรับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ครั้งที่ 2 ของวิทยาเขตกำแพงแสน ก่อนหน้านี้ซึ่งเคยรับเป็นเจ้าภาพมาก่อนแล้วในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20(พ.ศ. 2536) ณ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และครั้งที่ 26 (พ.ศ. 2542) ณ วิทยาเขตกำแพงแสน", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42" }, { "docid": "28864#2", "text": "สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด, CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด", "title": "อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย" }, { "docid": "13543#26", "text": "ผลจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก “Webometrics Ranking of World Universities\" หรือ \"Ranking Web of World Universities\" เว็บไซด์การจัดอันดับชื่อดังของประเทศสเปน ได้ทำการสำรวจมาตรฐานของมหาวิทยาลัยทั่วโลก รวมถึงมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ในการจัดทำ Ranking นี้ มีกลุ่มเป้าหมายสำคัญอยู่ที่บรรดาผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ web performance ของสถาบันการศึกษาใด ได้ลำดับที่ต่ำกว่าความคาดหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันนั้นๆ ผู้บริหารของสถาบันควรมีการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายด้านการจัดทำเว็บไซต์เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตของสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ทางวิชาการ ในรูปแบบ electronic publications ให้มากยิ่งขึ้น จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทย Life on campus ได้ทำการแยกย่อยออกมาเป็นส่วนของ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” โดยเฉพาะ จัดเป็น 10 อันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นนำในประเทศไทย โดยเรียงจากอันดับในประเทศ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ลำดับที่ 9", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์" }, { "docid": "11668#19", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\"[12]โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 47.27% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 78.68% จากคะแนนเต็ม 100%[13]", "title": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "73261#29", "text": "กีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ ยูเนียนเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมือของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ปัจจุบันมีถึง 15 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "964393#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่เคยเป็นเสนอตัวเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 41 (พ.ศ. 2557) และ ครั้งที่ 46 (พ.ศ. 25ุ62) แต่ติดปัญหาความพร้อมของสนามที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ จึงไม่ได้รับการคัดเลือก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 สกอ.มีมติให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเจ้าภาพจัดการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 พ.ศ. 2564 หลังจากที่พลาดเป็นเจ้าภาพถึง 2 ครั้ง และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ แห่งที่สอง ที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ ต่อจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48" }, { "docid": "73261#32", "text": "ลักษณะกิจกรรม การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาพื้นบ้านของไทย และการประกวดกองเชียร์ - ผู้นำเชียร์ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีแก่นิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของแต่ละสถาบัน มีสมาชิกทั้งหมด 14 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า\nงานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ Colony Games เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาจุลชีววิทยา จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และมีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพไปยังสถาบันต่าง ๆ", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "11668#1", "text": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\" เมื่อปี พ.ศ. 2549[3][4]", "title": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "836846#2", "text": "ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ออกแบบโดยธานี เหมือนนุชโดยมีมีองค์ประกอบจากช่อดอกปีบทอง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผสมผสานกับเลข 44 ๔๔ ที่สามารถมองได้ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย สื่อถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 คบเพลิงพลิ้วขึ้นสู่เบื้องบน และห่วง 5 ห่วง สื่อถึง พลังแห่งความสามัคคีและมิตรภาพ ที่จะเกิดขึ้นในการแข่งขันครั้งนี้ มากกว่าชัยชนะในเกมส์กีฬาของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ 5 กลุ่ม และ สีแสด-ทอง สื่อถึง สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และยังหมายถึง ความรุ่งโรจน์ สำเร็จบรรลุถึงจุดหมาย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44" }, { "docid": "465634#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2527) และ ครั้งที่ 17 (พ.ศ. 2532) หลังจากนั้นก็ไม่ได้เป็นเจ้าภาพอีกเลย แต่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เสนอชื่อ เพื่อชิงเป็นเจ้าภาพกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 หลังจากที่ไม่ได้เป็นเจ้าภาพนานกว่า 25 ปี", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41" }, { "docid": "295810#4", "text": "เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาและได้รับเชิญให้เป็นกรรมการกีฬาระดับชาติและนานาชาติหลายครั้ง และมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งสนามการแข่งขัน ด้านการแพทย์ การคมนาคม การบริการ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกรอบมหาวิทยาลัย สถานที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา[3] ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยเป็นประธานในที่ประชุม มีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 โดยไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพแข่งขัน[4] การรับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเคยรับเป็นเจ้าภาพมาก่อนแล้วในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2518), ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2527) และครั้งที่ 21 (พ.ศ. 2537)", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38" }, { "docid": "5374#59", "text": "ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\"[56] โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 61.11% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 1 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 100.00% จากคะแนนเต็ม 100%[57]", "title": "มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "11994#5", "text": "นอกจากการให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเล็งเห็นถึงแนวโน้มและความสำคัญของนวัตกรรมที่จะมาช่วยผลักดันภาคเศรษฐกิจและธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังจะกลายเป็นกระแสระดับโลก เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สภาหอการค้าไทย เป็นผู้นำและสื่อกลางในการประสานกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา และวางรากฐานแนวคิดนี้ในประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เข้าร่วมโครงการ MIT REAP (Regional Entrepreneurship Acceleration Program) โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เพื่อศึกษาแนวทางกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยอาศัยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม ", "title": "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" }, { "docid": "714526#33", "text": "วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย และแสดงบรรยายพิเศษ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และตอบคำถามอื่น ๆ จากผู้เข้าร่วมงาน โดยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดกิจกรรมครั้งนี้และถือเป็นการทำหน้าที่รับรองผู้นำรัฐบาลต่างประเทศครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[24][25]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "292739#2", "text": "ปัญหาที่พบในการจัดการแข่งขัน คือ เรื่องงบประมาณในการจัดการแข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยและศาสตราจารย์อรุณ สรเทศน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าภาพในการจัดการแข่งขันได้เข้าพบจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เพื่อของบประมาณสนับสนุน นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินจากรายได้ของกองสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 40,000 บาท เพื่อให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งแนะนำให้คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยขึ้นตรงกับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณสมทบการจัดการแข่งขันให้เป็นประจำทุกปี", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2" }, { "docid": "5229#112", "text": "ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20", "title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "73261#21", "text": "กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ อะตอมเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้มีการตื่นตัวในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง นิสิต-นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศในกลุ่มองค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) โดยในปี 2558 จะเป็นการจัดกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ครั้งที่ 24 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 22 มหาวิทยาลัยสำหรับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอล และ ฟุตบอล เป็นประเพณีด้วย ประกอบไปด้วย 2 งานกีฬาคือ", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "5519#74", "text": "Accounting & Finance (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้) Architecture / Built Environment Environmental Sciences Geography (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้) Modern Languages Pharmacy & Pharmacology Politics & International Studies (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "669#36", "text": "ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\"[35]โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 6 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 8 ในด้านการวิจัยของประเทศไทย[36]", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "560194#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 หรือ นนทรีเกมส์ จัดที่จังหวัดนครปฐม โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพื่อเฉลิมฉลองวาระที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 72 ปี[1] ระหว่างวันที่ 15 - 24 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยเป็นเจ้าภาพเดี่ยวมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 1 ครั้ง คือ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 8 - 15 มกราคม พ.ศ. 2536 และ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 1 ครั้ง คือ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 นนทรีเกมส์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[2]", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42" }, { "docid": "290867#11", "text": "พิธีปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 จัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยจัดการแสดงจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ชุด ได้แก่ บ้านเราแสนสุขใจและสามัคคีที่แดนโดม นอกจากนี้ยังมีการจัดการแสดงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งหน้าอีกด้วย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37" }, { "docid": "73261#12", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างเหล่านิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน 8 มหาวิทยาลัย มีการจัดการแข่งขันมาแล้วรวม 37 ครั้ง โดยปัจจุบันในครั้งที่ 38 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" } ]
3826
ใครเป็นผู้ก่อตั้ง สโมสรลิเวอร์พูล?
[ { "docid": "13777#4", "text": "จอห์น โฮลดิง นักธุรกิจชาวเมืองลิเวอร์พูลได้เช่าพื้นที่บริเวณ แอนฟีลด์ โรด เพื่อใช้สร้างสนามฟุตบอล และเมื่อสร้างเสร็จได้ให้เอฟเวอร์ตัน เช่าเป็นสนามแข่งขันฟุตบอล และเมื่อทีมเอฟเวอร์ตันได้เข้าสู่สมาชิกฟุตบอลลีก จอห์น โฮลดิง พยายามจะเข้าไปบริหารงานในทีมเอฟเวอร์ตันและได้เพิ่มค่าเช่าสนามที่ทีมฟุตบอลได้เช่าอยู่ใน ฝ่ายกลุ่มผู้บริหารของเอฟเวอร์ตันจึงยกเลิกสัญญาเช่าสนามฟุตบอล และทีมเอฟเวอร์ตันได้ย้ายสนามไปอีกฝากของสวนสาธารณะสแตนลีย์พาร์ก เพื่อไปสร้างสนามเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อสนามว่า กูดิสันพาร์ค ดังนั้น จอห์น โฮลดิง จึงต้องการสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมา และ จอห์น โฮลดิง จึงไปชวนเพื่อนสนิทของเขาชื่อ จอห์น แมคเคนน่า มาทำหน้าที่ประธานสโมสรและได้ตั้งชื่อทีมฟุตบอลนี้ว่า Liverpool Football Club", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" } ]
[ { "docid": "521497#7", "text": "ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2015 โกชิญญูได้จ่ายบอลให้เพื่อนทำ 2 ประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 2-0[13] ต่อมา ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 โกชิญญูได้ตัดสินใจต่อสัญญาระยะยาวกับสโมสรลิเวอร์พูล[14] ต่อมา ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 เอฟเอคัพ รอบสี่ นัดรีเพลย์ โกชิญญูได้ทำประตูชัยให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ โบลตันวอนเดอเรอส์ ที่มาครอน สเตเดียม 2-1 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 5 เอฟเอคัพ ได้สำเร็จ[15] ต่อมา ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 โกชิญญูได้ทำประตูที่ 3 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เซาแทมป์ตัน ที่เซนต์แมรีส์สเตเดียม 2-0[16] ต่อมา ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2015 โกชิญญูได้ทำประตูชัยให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี 2-1[17] ต่อมา ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2015 เอฟเอคัพ รอบหก นัดรีเพลย์ โกชิญญูได้ทำประตูชัยให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ที่อีวู้ด ปาร์ค 1-0 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ เอฟเอคัพ ได้สำเร็จ[18] [19] ต่อมา ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2015 เอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ โกชิญญูได้ทำประตูให้ ลิเวอร์พูล ขึ้นนำ แอสตันวิลลา 1-0 แต่สุดท้ายก็แพ้ไป 1-2 ทำให้ ลิเวอร์พูล ต้องตกรอบ เอฟเอคัพ ไปในที่สุด[20] ต่อมา โกชิญญู ได้ติด 1 ใน 6 เข้าชิงรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ รวมถึงเข้าชิงราวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2015 โกชิญญู นักเตะของลิเวอร์พูลคนเดียวที่ได้ติดทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของพีเอฟเอ ต่อมา ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 โกชิญญูได้ทำประตูที่ 5 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 2-1[21] ต่อมา ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 โกชิญญูคว้า 4 รางวัลของสโมสรลิเวอร์พูล ได้แก่ รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี จากการโหวตของเพื่อนร่วมทีมลิเวอร์พูล, รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี จากการโหวตของแฟนๆ, รางวัลประตูยอดเยี่ยมแห่งปี จากลูกยิงไกล ในเกมกับ เซาแทมป์ตัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และ รางวัลฟอร์มยอดเยี่ยมแห่งปี ในเกมกับ แมนเชสเตอร์ซิตี จากงานประกาศรางวัล Players' Awards 2015 โดยงานประกาศรางวัลจัดขึ้นที่ เอ็คโค่ อารีน่า[22] จบฤดูกาล โกชิญญูยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้ 5 ประตูจาก 35 นัด", "title": "ฟีลีปี โกชิญญู" }, { "docid": "325892#17", "text": "ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซัวเรซ ได้ทำแฮตทริกที่ 5 ของเขาให้กับ ลิเวอร์พูล โดย ซัวเรซ ได้ยิง 4 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ นอริชซิตี 5-1 ทำให้ ซัวเรซ สร้างประวัติศาสตร์ เป็นนักเตะคนแรกของสโมสรลิเวอร์พูล ที่ทำแฮตทริกใส่คู่ต่อสู้ทีมเดียวกันได้ถึงสามครั้ง ต่อมา ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซัวเรซ ได้ยิง 2 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 4-1 ต่อมา ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซัวเรซ ได้สวมปลอกแขนกัปตันทีม ลิเวอร์พูล แทน สตีเวน เจอร์ราร์ด ที่ไม่ได้ลงสนามและได้ยิง 2 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่ไวต์ฮาร์ตเลน 5-0 ต่อมา ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซัวเรซ คว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาพันธ์ผู้สนับสนุนกีฬาฟุตบอล หรือ FSF Award โดยงานประกาศรางวัลจัดขึ้นที่เอมิเรตส์ สเตเดียม สนามของอาร์เซนอล ในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซัวเรซ ได้รับการต่อสัญญาจากสโมสรออกไปอีก จนถึง ปี 2018 และรับค่าเหนื่อยเพิ่มเป็น 200,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ทำให้เขากลายเป็นนักเตะที่รับค่าเหนื่อยมากที่สุดของประวัติศาสตร์ของสโมสร ต่อมา ในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ซัวเรซ ได้ยิง 2 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ คาร์ดิฟฟ์ซิตี 3-1 ทำให้ ซัวเรซ เป็นนักเตะคนแรกที่ยิงได้ 10 ประตูในเดือนเดียว ด้วยผลงานยอดเยี่ยมทำให้ ซัวเรซ ได้รางวัลผู้เล่นยอดเยื่ยมประจำเดือนธันวาคม ของ พรีเมียร์ลีก โดยยิงได้ 10 ประตูจาก 7 นัด ", "title": "ลุยส์ ซัวเรซ" }, { "docid": "325892#19", "text": "ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซัวเรซ ได้ลงสนามนัดที่ 100 ในพรีเมียร์ลีก และทำประตูที่ 24 ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เซาแทมป์ตัน ที่เซนต์แมรีส์สเตเดียม 3-0 ต่อมา ในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซัวเรซ ได้ทำประตูที่ 25 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด 3-0 ต่อมา ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซัวเรซ ได้ทำแฮตทริกที่ 6 ของเขาให้กับ ลิเวอร์พูล โดย ซัวเรซ ได้ยิง 3 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ คาร์ดิฟฟ์ซิตี ที่คาร์ดิฟฟ์ซิตีสเตเดียม 6-3 ต่อมา ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซัวเรซ ได้ทำประตูที่ 29 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดบ้านเอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 4-0 ด้วยผลงานยอดเยี่ยมทำให้ ซัวเรซ ได้รางวัลผู้เล่นยอดเยื่ยมประจำเดือนมีนาคม ของ พรีเมียร์ลีก ร่วมกับ สตีเวน เจอร์ราร์ด ต่อมา ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2014 ซัวเรซ ได้ทำประตูที่ 30 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ นอริชซิตี ที่แคร์โรว์โรด 3-2 ทำให้ ซัวเรซ เป็นนักเตะคนแรกของสโมสรลิเวอร์พูล ที่ยิงประตูครบ 30 ประตู ในฤดูกาลเดียว ต่อจาก เอียน รัช ที่ทำได้ในปี 1987 และเป็นนักเตะคนที่ 7 ที่ยิงประตูในพรีเมียร์ลีกครบ 30 ประตู ในฤดูกาลเดียว", "title": "ลุยส์ ซัวเรซ" }, { "docid": "370974#1", "text": "ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2017 เอฟเอคัพ รอบสาม นัดรีเพลย์ ลูกัสทำประตูแรกให้กับสโมสรนับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2010 ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ พลีมัธ อาร์ไกล์ 1-0 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบสี่ เอฟเอคัพ ได้สำเร็จ จบฤดูกาลทำให้ ลูกัสประสบความสำเร็จเป็นปีที่สิบในฐานะนักเตะลิเวอร์พูล ในการเฉลิมฉลองลูกัสได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา และได้รับรางวัล Recognition Award จาก เคนนี แดลกลีช ตำนานสโมสรลิเวอร์พูล ที่งานพิธีมอบรางวัล Players' Awards 2017 ของลิเวอร์พูล", "title": "ลูกัส เลย์วา" }, { "docid": "324709#0", "text": "สนามฟุตบอลแอนฟีลด์ () เป็นสนามของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในเขตแอนฟีลด์ เมืองลิเวอร์พูล แอนฟีลด์สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2427 เริ่มแรกเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 เอฟเวอร์ตันย้ายสนามไปกูดิสันพาร์ก หลังจากก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล แอนฟีลด์จึงกลายเป็นสนามเหย้าของลิเวอร์พูลนับแต่นั้นมา", "title": "แอนฟีลด์" }, { "docid": "13777#1", "text": "ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1892 และได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกในปีต่อมา ลิเวอร์พูลใช้สนามแอนฟีลด์ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือช่วงทศวรรษ 1970 - 1980 เมื่อบิลล์ แชงคลีและบ็อบ เพลสลี่ย์พาทีมคว้าแชมป์ลีก 11 ครั้ง และคว้าถ้วยรางวัลยูโรเปียน 7 ใบ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "940891#0", "text": "จอห์น โฮลดิง () เป็นนักธุรกิจ, นักการเมืองชาวอังกฤษจากเมืองลิเวอร์พูล และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล", "title": "จอห์น โฮลดิง" }, { "docid": "446536#0", "text": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล เป็นสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองลิเวอร์พูล มณฑลเมอร์ซีไซด์ โดยมีสนามเหย้าคือ แอนฟิลด์ ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1892", "title": "รายชื่อผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "325892#15", "text": "ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2013 ลิเวอร์พูล เปิดรังแอนฟิลด์เจอกับ เชลซี โดยในครึ่งหลัง ซัวเรซ ทำแฮนด์บอลและเสียจุดโทษ ก่อนที่ เอแดน อาซาร์ จะยิงจุดโทษให้ เชลซี ขึ้นนำ 2-1 แต่สุดท้าย ซัวเรซ ก็ทำประตูตีเสมอ 2-2 ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บนาทีสุดท้าย ช่วยให้ ลิเวอร์พูล รอดตายหวุดหวิด ก่อนจะจบด้วยผลเสมอกัน 2-2 แต่มีเหตุการณ์อื้อฉาวคือ ซัวเรซ ไปกัดที่แขนของ บรานิสลาฟ อีวานอวิช โชคดีที่ ซัวเรซ รอดพ้นจากการโดนใบแดงไล่ออกจากสนาม แต่หลังจากนั้น ซัวเรซ ก็ไม่รอดหลังจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) เปิดฉากสอบสวนก่อนจะสั่งลงโทษแบนยาวถึง 10 นัด ทำให้ ซัวเรซ หมดสิทธิ์ลงสนามใน 4 นัดที่เหลือ รวมถึงไม่สามารถลงสนาม 6 นัดแรกในฤดูกาลหน้าได้ จบฤดูกาล ซัวเรซ ยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้ 23 ประตู จาก 33 นัด รวมทุกรายการ ยิงได้ทั้งหมด 30 ประตู จาก 44 นัด ทำให้ ซัวเรซ เป็นนักเตะคนที่ 12 ของ ลิเวอร์พูล ที่ยิงประตูครบ 30 ประตู รวมทุกรายการ ในฤดูกาลเดียว ต่อจาก เฟร์นันโด ตอร์เรส ที่ทำได้ในฤดูกาล 2007-08 ด้วยผลงานยอดเยี่ยมทำให้ ซัวเรซ ได้รางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาล 2012-13 ไปครอง ต่อมา ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ลุยส์ ซัวเรซ ได้ออกมาบอกว่าต้องการย้ายออกจากถิ่นแอนฟีลด์ เนื่องจากไม่มีความสุขการค้าแข้งในอังกฤษ และต้องการลงเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2013–14 โดยที่มี อาร์เซนอล และ เรอัลมาดริด สนใจดึงตัวเขาไปร่วมทีม ต่อมา ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2013 จอห์น ดับเบิลยู เฮนรี่ เจ้าของสโมสรลิเวอร์พูล ได้ออกมายืนยันว่า ซัวเรซ ไม่ได้มีไว้ขายและจะอยู่กับทีมต่อไป หลังจากนั้น ซัวเรซ ถูกทางสโมสรจับแยกซ้อมเดี่ยว แต่สุดท้าย ซัวเรซ ได้กลับมาซ้อมกับเพื่อนร่วมทีมอีกครั้ง หลังจากได้ขอโทษสโมสรและเพื่อนร่วมทีม สุดท้าย ซัวเรซ ได้ตัดสินใจอยู่กับ ลิเวอร์พูล ต่อไป", "title": "ลุยส์ ซัวเรซ" }, { "docid": "446536#1", "text": "รายชื่อต่อไปนี้คือ รายชื่อคนที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมคนแรกของลิเวอร์พูลตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1892 โดยจะแสดงระยะเวลาได้ดำรงตำแหน่งและบันทึกการแข่งขันของสโมสรโดยรวม (ในแง่ของการแข่งขันที่ชนะ, เสมอและแพ้), เกียรติประวัติและความสำเร็จที่สำคัญในขณะที่ดำรงตำแหน่ง รวมถึง ผู้จัดการทีมชั่วคราว โดยจะเน้นในตาราง นับตั้งแต่ก่อตั้งถึงฤดูกาล 2008-09, สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลมีผู้จัดการทีม 17 คน ที่ดำรงตำแหน่งได้ครบวาระ", "title": "รายชื่อผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "521497#4", "text": "ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 โกชิญญูได้ลงเล่นให้กับ ลิเวอร์พูล เป็นครั้งแรก โดยโกชิญญูถูกส่งลงมาเป็นตัวสำรอง ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์ พ่ายแพ้ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน คาบ้าน 0-2[2] ต่อมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 โกชิญญูได้ลงสนามเป็นตัวจริงนัดแรกและทำประตูแรกให้กับ ลิเวอร์พูล ในนัดที่เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ สวอนซีซิตี 5-0[3] ต่อมา ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2013 โกชิญญูได้จ่ายบอลให้เพื่อนทำ 2 ประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ วีแกนแอธเลติก ที่ ดีดับเบิลยูสเตเดียม 4-0 ต่อมา ในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2013 โกชิญญูได้ทำประตูตีไข่แตกให้ ลิเวอร์พูล ไล่ เซาแทมป์ตัน มาเป็น 1-2 แต่สุดท้ายก็แพ้ไป 1-3 ต่อมา ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 นัดสุดท้ายของพรีเมียร์ลีก โกชิญญูได้ทำประตูชัยให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์ เอาชนะ ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 1-0 จบฤดูกาล โกชิญญูยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้ 3 ประตู จาก 13 นัด และได้จ่ายบอลให้เพื่อนทำประตู ได้ถึง 7 ลูก ด้วยผลงานยอดเยี่ยมทำให้ โกชิญญู ได้รางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมของสโมสรลิเวอร์พูลประจำฤดูกาล 2012-13 ไปครอง ทำให้ โกชิญญูได้เป็นขวัญใจของสาวกเดอะค็อปได้อย่างเต็มตัว", "title": "ฟีลีปี โกชิญญู" }, { "docid": "359612#5", "text": "ในช่วงฤดูกาล 1984-85 โจ เฟแกน ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในช่วงปี 1983-85 ได้ขอลาออกจากสโมสรเพราะเรื่องของการเมืองในประเทศของเขา ประธานสโมสรก็ไม่รู้ว่าจะเอาใครมาเป็นผู้จัดการทีมดี โดยเขาได้จัดตั้งกิจกรรมการเลือกโหวตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลขึ้นให้แฟนเดอะค็อปได้คิดกัน แล้วมีเดอะค็อปกลุ่มหนึ่งได้เสนอ เคนนี แดลกลีช มาเป็นผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล โดยประธานของสโมสรก็ได้เห็นด้วยจึงเลยเรียกตัว เคนนี แดลกลีช เข้ามาคุมทีม โดยการคุมครั้งแรกของแดลกลีชนั่นทำผลงานไปได้สวยเมื่อเข้ามาคุมทีมนัดแรกเก็บชัยชนะได้โดยบุกไปเยือน สโมสรฟุตบอลเชลซี โดยลิเวอร์พูลชนะไป 1-0 และคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของอังกฤษมาครองได้เป็นครั้งที่ 15 ในฤดูกาล 1987-88 แดลกลีชได้ซื้อนักฟุตบอลที่ชื่อ ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ มาเล่นในตำแหน่ง กองหน้าจากสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมของ สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด แล้วแดลกลีชก็หวังจะปั้นเขาให้เก่งเหมือนตน และในปีนี้แดลกลีชนำหงส์แดงคว้าแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของอังกฤษ และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ มาได้และในช่วงฤดูกาล 1988-89 แดลกลีชได้นำทีมลิเวอร์พูลไปคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ ได้สำเร็จโดยชนะสโมสรคู่เมือง คือ สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ไป 3-2 และในช่วงฤดูกาล 1989-90 และ 1990-91 แดลกลีชได้นำทีมลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวชั่น 1 ของอังกฤษ และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ มาได้ก่อนที่เขาจะลาออกจากผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล โดยในนัดสุดท้ายที่เขานำทีมลิเวอร์พูลไปเยือน สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในรอบชิงคอมมิวนิตีชิลด์ โดยเสมอไป 1-1 แต่คว้าแชมป์ได้ด้วยการยิงจุดโทษชนะไป 6-5", "title": "เคนนี แดลกลีช" }, { "docid": "869143#4", "text": "ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 18 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี 4-3 ต่อมา ในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2018 เอฟเอคัพ รอบสี่ เศาะลาห์ทำประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์พ่ายแพ้ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 2-3 ทำให้ ลิเวอร์พูล ต้องตกรอบ เอฟเอคัพ ไปในที่สุด ด้วยประตูนี้ทำให้ เศาะลาห์ยิงไป 25 ประตูจาก 32 นัด ทำให้เขาเป็นนักเตะที่ทำประตูถึง 25 ประตูเร็วที่สุดในรอบ 102 ปี มีเพียง จอร์จ อัลเลน (1895-96) และเฟร็ด แพ็กแนม (1914-15) ที่ทำได้ด้วยจำนวนเกมน้อยกว่าเขาในประวัติศาสตร์ของสโมสร ต่อมา ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 19 ในพรีเมียร์ลีกด้วยลูกจุดโทษในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ ที่สนามกีฬาจอห์นสมิท 3-0 ต่อมา ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ยิง 2 ประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เสมอกับ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2-2 ต่อมา ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 22 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เซาแทมป์ตัน ที่เซนต์แมรีส์สเตเดียม 2-0 ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย นัดแรก เศาะลาห์ทำประตูที่ 7 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ โปร์ตู จากโปรตุเกส 5-0 ด้วยประตูนี้ทำให้ เศาะลาห์ยิงไป 30 ประตูจาก 36 นัด ทำให้เขาเป็นนักเตะคนแรกของลิเวอร์พูลที่ยิงได้ 30 ประตูต่อหนึ่งฤดูกาล หลังจาก ลุยส์ ซัวเรซ เคยทำเอาไว้เมื่อฤดูกาล 2013-14 (31 ลูก) และทำให้เขาเป็นนักเตะที่ยิง 30 ประตูได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ 125 ปีของสโมสรเป็นอันดับ 2 มีเพียง จอร์จ อัลเลน (27 เกม) ที่ทำได้ไวกว่าเศาะลาห์ (36 เกม) ตามมาด้วย แดเนียล สเตอร์ริดจ์ (37), เฟร็ด แพ็คแนม (39) และเฟร์นันโด ตอร์เรส (42) ต่อมา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 23 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 4-1 ต่อมา ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 24 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2-0 ด้วยผลงานยอดเยี่ยมทำให้ เศาะลาห์ได้รางวัลผู้เล่นยอดเยื่ยมประจำเดือนกุมภาพันธ์ของพรีเมียร์ลีก ต่อมา ในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำแฮตทริกครั้งแรกของเขาให้กับ ลิเวอร์พูล โดย เศาะลาห์ยิง 4 ประตูในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ วอตฟอร์ด 5-0 ต่อมา ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 29 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ คริสตัลพาเลซ ที่เซลเฮิสต์พาร์ก 2-1 ต่อมา ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2018 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดแรก เศาะลาห์ทำประตูที่ 8 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี 3-0 ต่อมา ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2018 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดที่ 2 เศาะลาห์ทำประตูที่ 9 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี ที่เอติฮัดสเตเดียม 2-1 รวมผลสองนัด ลิเวอร์พูล เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี 5-1 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้สำเร็จ เศาะลาห์กลายเป็นนักเตะลิเวอร์พูล ที่ยิงประตูต่อฤดูกาลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรตั้งแต่เข้าสู่ยุคพรีเมียร์ลีก หลังทำไปแล้ว 39 ประตูในทุกรายการ ทุบสถิติของ ร็อบบี ฟาวเลอร์ เคยทำไว้ 36 ลูก เมื่อฤดูกาล 1995–96 ด้วยผลงานยอดเยี่ยมทำให้ เศาะลาห์ได้รางวัลผู้เล่นยอดเยื่ยมประจำเดือนมีนาคมของพรีเมียร์ลีก และทำให้เขาเป็นนักเตะคนแรกที่คว้ารางวัลผู้เล่นยอดเยื่ยมประจำเดือนของพรีเมียร์ลีกได้ถึงสามครั้งในฤดูกาลเดียวกัน ต่อมา ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 30 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ บอร์นมัท 3-0 ต่อมา ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2018 เศาะลาห์ทำประตูที่ 31 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เสมอกับ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน ที่เดอะฮอว์ทอนส์ 2-2", "title": "มุฮัมมัด เศาะลาห์" }, { "docid": "370848#0", "text": "รอเบอร์ท เบอร์นาร์ด 'ร็อบบี' ฟาวเลอร์ () เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1975 ในท็อกซ์เทท ประเทศอังกฤษ เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษ เป็นที่จดจำมากที่สุดในครั้งเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลใน 2 ช่วงเวลา และเขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดเป็นอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์ของพรีเมียร์ลีก ฟาวเลอร์ยิงประตูรวม 183 ประตูสำหรับลิเวอร์พูล โดย 128 ประตูในพรีเมียร์ลีกสำหรับลิเวอร์พูล (162 ประตูรวม กับทุกสโมสร) ต่อมาเขาย้ายทีมไปเล่นในสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด และ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีก่อนจะกลับมายังลิเวอร์พูลในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006", "title": "ร็อบบี ฟาวเลอร์" }, { "docid": "13777#0", "text": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (English: Liverpool Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองลิเวอร์พูล เทศมณฑลเมอร์ซีไซด์ ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอังกฤษครองแชมป์ดิวิชัน 1 ถึง 18 ครั้ง ครองแชมป์ยูโรเปียนคัพ 5 ครั้ง ยูฟ่าคัพ 3 ครั้ง ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 3 ครั้ง และฟุตบอลลีกคัพซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศอังกฤษ อีก 8 ครั้ง", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "13777#33", "text": "เจ้าของ: เฟนเวย์ สปอร์ต กรุ๊ป ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์: เดวิด มัวร์ส ทูต: เอียน รัช, ร็อบบี ฟาวเลอร์, ไมเคิล โอเวน[66] สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และ แอธเลติก กราวน์ ลิมิตเต็ด[67] เจ้าของ: จอห์น ดับเบิลยู เฮนรี่ ประธาน: ทอม เวอร์เนอร์ รองประธาน: เดวิด กินสเบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร: ปีเตอร์ มัวร์ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการพาณิชย์: บิลลี โฮแกน[68] หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน: ฟิลิป แนช สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ผู้อำนวยการ: จอห์น ดับเบิลยู เฮนรี, ทอม เวอร์เนอร์, เดวิด กินสเบิร์ก, เอียน อายร์, ไมเคิล กอร์ดอน, ไมเคิล อีแกน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร: เคนนี แดลกลีช[69] กรรมการฝ่ายดำเนินการ: แอนดรูว์ พาร์คินสัน[70] หัวหน้าคนดูแลสนามกีฬา: เดฟ แม็คโคลัช ผู้จัดการสนาม: เก็ด โพอินตัน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร: ซูซาน แบล็ก[71] ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อ: แมตธิว เบ็กซ์เตอร์[72] หัวหน้าฝ่ายจัดหางาน: เดฟ ฟอลโลวส์[73] หัวหน้าฝ่ายแมวมอง: แบร์รี ฮันเตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์แทคติก: ไมเคิล เอ็ดวอร์ดส ผู้ฝึกสอนและทีมแพทย์[31] ดูเพิ่มเติม รายชื่อผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ผู้จัดการทีม: เยือร์เกิน คล็อพ ผู้ช่วยผู้จัดการทีมที่หนึ่ง: เซลจ์โก บูวัค ผู้ช่วยผู้จัดการทีมที่สอง: ปีเตอร์ คราเวียทซ์ หัวหน้าวิเคราะห์การออกกำลังกายและสภาพนักเตะ: ไรเลนด์ มอร์แกน ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู: จอห์น อาชเตอร์เบิร์ก ผู้ฝึกสอนทีมชุดพัฒนา: เปปิจ์น ลิจ์นเดอร์ส หัวหน้ากายภาพบำบัด: คริส มอแกน ผู้ฝึกสอนกายภาพบำบัด: จอร์แดน มิลซัม นักนวด: พอล สมอล, ซัลแวน ริชาร์ดสัน ประสานงานเกี่ยวกับการจัดการอุปกรณ์: ลี เรดคลิฟฟ์, กราแฮม คาร์เตอร์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา: แบร์รั ดรัสท์ ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ: เจมส์ มอร์ตัน ผู้ช่วยดูแลการฟื้นฟูสมรรถภาพและความแข็งแรง: เดวิด ไรดิงส์ นักกายภาพบำบัด: แมตต์ โคโนปินสกิ, รูเบ็น ปอนส์ บำบัดโรคกีฬา: เปโดร ฟิลลิปโป นักวิเคราะห์สมรรถภาพ: เจมส์ เฟรนช์", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "365712#1", "text": "บิยาร์เรอัล มีฉายาว่า \"El Submarino Amarillo\" หรือในภาษาอังกฤษ คือ \"Yellow Submarine\" ที่แปลได้ว่า \"เรือดำน้ำสีเหลือง\" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับเพลงที่ได้รับความนิยมของเดอะบีเทิลส์ โดยมีที่มาที่ไปมาจากเมื่อปลายยุคทศวรรษที่ 60 ขณะนั้นสโมสรอยู่ในระดับลีกภูมิภาค และกำลังจะถูกเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในระดับดิวิชัน 3 มีบาทหลวงรูปหนึ่งซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสโมสร คิดจะหาสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสโมสรกับบรรดาผู้สนับสนุน ขณะนั้นบิยาร์เรอัลมีกำหนดจะลงเล่นกับลิเวอร์พูล สโมสรระดับใหญ่ของอังกฤษ บาทหลวงรูปนี้จึงได้เปิดเพลง \"Yellow Submarine\" ของเดอะบีเทิลส์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีกำเนิดในเมืองลิเวอร์พูล จากตู้เพลงในบาร์ในคืนวันที่มีการแข่งขัน ซึ่งสีเหลืองก็เป็นสีที่ตรงกับชุดแข่งขันของสโมสรด้วย จึงกลายมาเป็นฉายามาจนถึงปัจจุบัน", "title": "สโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล" }, { "docid": "823498#0", "text": "เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บี () เป็นชื่อเรียกการแข่งขันฟุตบอลของสองสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ คือ ลิเวอร์พูล กับเอฟเวอร์ตัน ซึ่งเป็นสโมสรร่วมเมืองเดียวกัน คือ ลิเวอร์พูล ที่มีลุ่มแม่น้ำเมอร์ซีย์ไหลผ่าน โดยชื่อนี้ถูกเรียกขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 ขณะที่บรรดาผู้สนับสนุนของสองสโมสรเรียกว่า ดาร์บีมิตรภาพ (The friendly derby) เพราะถือว่าเป็นเพียงการแข่งดาร์บีไม่กี่นัด ที่บรรดาผู้สนับสนุนไม่มีความขัดแย้งหรือแข่งขันกันดุเดือดจนเลยเถิดเกินไป", "title": "เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บี" }, { "docid": "851795#0", "text": "ประวัติสโมสรลิเวอร์พูล (ค.ศ. 1892–1959) () เริ่มต้นเมื่อมีการก่อตั้งสโมสรใน ค.ศ. 1892 จนกระทั่งถึงการแต่งตั้ง บิลล์ แชงคลี เป็นผู้จัดการทีมใน ค.ศ. 1959", "title": "ประวัติสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (ค.ศ. 1892—1959)" }, { "docid": "13777#31", "text": "สำหรับในประเทศไทย ลิเวอร์พูล ถือได้ว่าเป็นสโมสรที่มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากสโมสรหนึ่ง โดยในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 มีการสำรวจผ่านการติดตามทางโปรแกรมทวิตเตอร์พบว่า ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชาวไทยเป็นผู้สนับสนุนมากที่สุดในบรรดาสโมสรฟุตบอลของอังกฤษทั้งหมด[55]", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "22564#1", "text": "สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1878 โดยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลเซนต์โดมิงโกตามชื่อโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล และเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันในปี 1884 และใช้สนามแอนฟีลด์โรดเป็นสนามเหย้า โดยมี จอห์น โฮลดิง ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลิเวอร์พูลและสมาชิกสภาผู้แทนพรรคอนุรักษนิยมเป็นประธานสโมสร", "title": "สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน" }, { "docid": "13777#21", "text": "ในปี ค.ศ. 2015 มีการสำรวจความนิยมจากแฟนฟุตบอลทั่วโลกผ่านทางโปรแกรมทวิตเตอร์ พบว่าในประเทศไทย มีผู้นิยมลิเวอร์พูลมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 29.6 ในขณะที่สโมสรรองลงไป คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คิดเป็นร้อยละ 19.77 และเชลซี คิดเป็นร้อยละ 18.95 ส่วนในประเทศอังกฤษ ลิเวอร์พูล คือสโมสรที่มีผู้นิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.21[30]", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "788490#1", "text": "เจฟเฟอส์ เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1981 ที่เมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ เริ่มต้นการเป็นนักฟุตบอลจากการเป็นผู้เล่นของเอฟเวอร์ตัน สโมสรประจำเมืองลิเวอร์พูล สร้างชื่อขึ้นมาจากการเป็นผู้เล่นดาวรุ่งที่มีความรวดเร็วและสัญชาตญาณการทำประตูของกองหน้าอย่างครบถ้วน จนได้รับฉายาว่า \"\"จิ้งจอกแดนหน้า\"\" (Fox in the Box) และถูกนำไปเปรียบเทียบกับไมเคิล โอเวน กองหน้าของลิเวอร์พูล สโมสรคู่ปรับร่วมเมืองของเอฟเวอร์ตัน ด้วยความเป็นกองหน้าดาวรุ่งเหมือนกัน โดยได้ลงเล่นให้กับเอฟเวอร์ตตันชุดใหญ่ ในวันเปิดกล่องของขวัญ ค.ศ. 1997 พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ขณะที่มีอายุเพียง 16 ปี", "title": "ฟรานซิส เจฟเฟอส์" }, { "docid": "940891#2", "text": "และเขาเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จที่สุดในอังกฤษ ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2445", "title": "จอห์น โฮลดิง" }, { "docid": "38909#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[3]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20 ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่ง 6 นัด ไม่ชนะใครเลย แพ้ 5 เสมอ 1 ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007 โดยการแพ้ทีมชาติเวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์คัพอีกรายการหนึ่ง โดยดวลจุดโทษแพ้ ทีมชาติเดนมาร์ก จากเหตุการณ์ดังกล่าว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ปีเตอร์ รีด จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งรวมทั้งอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีดมีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสรฟุตบอลสโตกซิตี โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี พูลิส ผู้จัดการทีมสโตกซิตี", "title": "ฟุตบอลทีมชาติไทย" }, { "docid": "13777#27", "text": "ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรในปี 1892, ผู้เล่น 45 คน ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมสโมสรลิเวอร์พูล[46] แอนดิว ฮานนาห์ ได้เป็นกัปตันทีมคนแรกหลังจากแยกตัวออกจาก เอฟเวอร์ตัน อเล็กซ์ เรสเบค เป็นกับตันทีมในปี 1899 ถึง 1909 เป็นกัปตันทีมนานที่สุดก่อนที่ สตีเวน เจอร์ราด ซึ่งอยู่กับลิเวอร์พูลถึง 12 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2003–04[46] กัปตันทีมคนปัจจุบันคือ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ซึ่งมาแทนที่เจอร์ราด ในฤดูกาล 2015–16 หลังจากที่เจอร์ราดย้ายไปแอลเอ กาแลคซี[47][48]", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "13777#2", "text": "สโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกที่โศกนาฏกรรมเฮย์เซลเมื่อปี ค.ศ. 1985 แฟนฟุตบอลทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันส่งผลให้อัฒจันทร์พังลงมา มีผู้เสียชีวิต 39 คน เป็นแฟนบอลยูเวนตุสชาวอิตาลี 32 คน, เบลเยียม 4 คน, ฝรั่งเศส 2 คน, และไอร์แลนด์ 1 คน และส่งผลให้ลิเวอร์พูลถูกสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปแบนเป็นเวลา 6 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 เกิดโศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร แฟนบอลของลิเวอร์พูล 96 คนเสียชีวิต เนื่องจากมีคนแออัดเข้ามาชมเกมมากเกินความจุจึงทำให้อัฒจันทร์ยืนได้พังลงมา", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "44018#0", "text": "ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ () มีฉายาว่าเจ้าหลอเล็ก เริ่มค้าแข็งกับ สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ก่อนย้ายมาร่วมทีมลิเวอร์พูล ด้วยค่าตัว 1.9 ล้านปอนด์ อันเป็นค่าตัวในการย้ายสโมสรภายในเกาะอังกฤษที่สูงที่สุด ช่วงอยู่กับสโมสรลิเวอร์พูล เขาผลึกกำลังกับ จอร์น อัลดริด และจอร์น บาร์น สร้างตำนานสามประสานแห่งแอนฟิลส์ หลังจากยิ่งใหญ่อยู่กับลิเวอร์พูล สโมสรมีการเปลี่ยน แปลง ผู้จัดการทีม จาก เคนนี่ เดกกลิช มาเป็น แกรม ซูเนส ปีเตอร์ เบีร์ดสลีย์ ถูกขายไปให้กับ เอฟเวอร์ตัน สโมสรคู่รักคู่แค้นร่วมเมืองลิเวอร์พูล\nก่อนจบชีวิตการค้าแข้ง กับสโมสรนิวคาสเซิล ทีมที่เขาเริ่มค้าแข้ง", "title": "ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์" }, { "docid": "13777#15", "text": "สนามฟุตบอลแอนฟีลด์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1884 ติดกับแสตนลีย์ ปาร์ค เริ่มแรกเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่เอฟเวอร์ตันย้ายสนามไปกูดิสันพาร์ค หลังจากขัดแย้งในเรื่องค่าเช่าพื้นที่สนามกับจอห์น โฮลดิง ผู้เป็นเจ้าของแอนฟีลด์ หลังจากนั้นโฮลดิ้งได้ก่อตั้งสโมรสรลิเวอร์พูลขึ้นเมื่อปี 1892 และแอนด์ฟีลด์จึงกลายเป็นสนามเหย้าของลิเวอร์พูลนับแต่นั้นมา ในขณะนั้นมีความจุของสนามทั้งสิ้น 20,000 คน ถึงแม้จะมีเพียงผู้ชม 100 คนเข้าชมการแข่งขันครั้งแรกของลิเวอร์พูลที่แอนฟีลด์", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "439806#9", "text": "ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ร็อดเจอส์เซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ในฐานะผู้จัดการทีมเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมาแทนที่การถูกปลดของ เคนนี ดัลกลิช อดีตตำนานของลิเวอร์พูลที่ทำได้แค่คว้าแชมป์ลีกคัพและจบอันดับ 8 ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2011–12 โดยเกมแรกของร็อดเจอส์คือฟุตบอลอุ่นเครื่องกับ สโมสรฟุตบอลโทรอนโต ในอเมริกา ต่อมา ร็อดเจอส์ คุมทีมลิเวอร์พูลนัดแรกใน พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2012–13 ในนัดที่พ่าย เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 0-3 โดย 5 นัดแรกในพรีเมียร์ลีก ลิเวอร์พูล เสมอ 2 แพ้ 3 ไม่ชนะใครเลย แต่ในนัดที่ 6 ร็อดเจอส์ ชนะนัดแรกในการคุมทีมลิเวอร์พูล ในพรีเมียร์ลีก โดยชนะ นอริชซิตี 5-2 พร้อมกับแฮตทริก ของ หลุยส์ ซัวเรซ อีกด้วย ต่อมา ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ร็อดเจอส์ ได้คุมทีมกลับมาเจอทีมเก่า สวอนซีซิตี ที่แอนฟีลด์ ในลีกคัพ รอบที่ 4 แต่สุดท้าย ลิเวอร์พูล ก็พ่ายแพ้ไป 1-3 ต่อมา ในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ร็อดเจอส์ ได้พา ลิเวอร์พูล เข้ารอบ 32 ทีมสุดท้าย ในยูฟ่ายูโรปาลีก หลังจากพาทีมเอาชนะ อูดิเนเซ 1-0", "title": "เบรนดัน ร็อดเจอส์" } ]
1980
ใครเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ?
[ { "docid": "5708#0", "text": "ไทยรัฐ (English: Thai Rath) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย นำเสนอข่าวทั่วไป ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดยกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท", "title": "ไทยรัฐ" } ]
[ { "docid": "5708#9", "text": "1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 2 บาท (เป็น 5.00 บาท) และวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องเฮลล์ ในระบบรับส่งภาพสีระยะไกล ไทยรัฐสร้างปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฉบับประจำวันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นพิเศษ จำนวน 108 หน้า เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 40 ปี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และครบรอบวันเกิด 70 ปี ของนายกำพล ในฐานะผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ไทยรัฐมียอดพิมพ์อยู่ในระดับ 1,000,000 ฉบับเศษ โดยเฉพาะวันที่ 19 พฤษภาคม เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,428,624 ฉบับ", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "251453#0", "text": "ระวิ โหลทอง นักธุรกิจสื่อมวลชนและกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอล ผู้ก่อตั้งบริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ซึ่งริเริ่มนำเสนอกีฬาฟุตบอลอังกฤษในประเทศไทย และขยายไปสู่ฟุตบอลลีกดังของโลก เช่นเซเรียอา ของอิตาลี, บุนเดสลีกาของเยอรมนี และลาลีกาของสเปน ระวิเริ่มงานจากการเป็นผู้สื่อข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าข่าวกีฬา ก่อนจะลาออกตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เพื่อทำธุรกิจหนังสือพิมพ์กีฬาของตัวเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ระวิเป็นผู้เสนอให้ปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยร่วมกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก่อตั้งการแข่งขันระบบลีกสูงสุดในชื่อไทยลีก (ปัจจุบันคือ ไทยพรีเมียร์ลีก) ปัจจุบันระวิดำรงตำแหน่งเจ้าของสโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด", "title": "ระวิ โหลทอง" }, { "docid": "78263#0", "text": "คุณหญิง ประณีตศิลป์ วัชรพล (นามสกุลเดิม ทุมมานนท์) ประธานกรรมการบริษัท วัชรพล จำกัด, ประธานกรรมการมูลนิธิไทยรัฐ และภรรยานายกำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2475", "title": "ประณีตศิลป์ วัชรพล" }, { "docid": "37722#4", "text": "ต่อมา ได้ย้ายไปทำงานในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์บางกอกรายวัน (ผู้ก่อตั้ง)หนังสือพิมพ์เอกราช หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยเบื้องหลังข่าว หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยรายวัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ หนังสือพิมพ์กิตติศัพท์ หนังสือพิมพ์ไทยใหม่ยุคใหม่ และ หนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ในปัจจุบัน)", "title": "อิศรา อมันตกุล" }, { "docid": "622642#120", "text": "สันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งวารสารการเงินธนาคาร เจ้าของนามปากกา ลม เปลี่ยนทิศ ผู้เขียนคอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เขียนว่ารัฐประหารของ คสช. ครั้งนี้ประสบความสำเร็จและ คสช. ได้รับความชื่นชมจากประชาชนและนักธุรกิจทุกภาคส่วนมากขึ้น ควรที่ผู้นำชาติตะวันตกจะมาศึกษา ประชาชนรู้สึกดีต่อผู้นำที่มาจากรัฐประหาร เพราะไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลจากการเลือกตั้งซึ่งมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและเรียกสินบนจากเอกชน รัฐประหารครั้งนี้เป็นการเรียกศรัทธาและความสุขให้คนไทย เขาหวังให้ประยุทธ์ปฏิรูปประเทศไทยด้วยระบบคุณธรรมและยุติธรรม อย่าปล่อยทิ้งไว้เหมือนรัฐประหารครั้งก่อน[205]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "5708#4", "text": "เมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ออกวางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ โดยกองบรรณาธิการชุดเดิมของเสียงอ่างทอง หนังสือพิมพ์เสียงอ่างทองถูกสั่งปิดอีกครั้ง ผลกระทบจากการเสนอข่าวการเมือง จึงทำให้หนึ่งในเบื้องหลังผู้บริหารขณะนั้น ต้องทำการขอเปิดหนังสือพิมพ์ในหัวใหม่ [4]เปลี่ยนสถานที่จัดพิมพ์ เปลี่ยนบรรณาธิการบริหาร[6] โดยใช้คำขวัญในยุคแรกว่า หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน มีจำนวนพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาท[7] ต่อมา ในราวปลายปี พ.ศ. 2508 ไทยรัฐเริ่มจัดพิมพ์ฉบับพิเศษในวันอาทิตย์ ให้ชื่อว่า ไทยรัฐสารพัดสี จำนวน 20 หน้า ราคาเท่าเดิม ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ฉบับ", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "611413#6", "text": "เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เดินทางกลับมาทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวันตามเดิม แล้วออกมาพร้อมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน และนายเสถียร จันทิมาธร ไปทำงานที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายวันระยะหนึ่ง แล้วร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ก่อตั้ง<b data-parsoid='{\"dsr\":[5377,5397,3,3]}'>โรงพิมพ์พิฆเนศ กระทั่งหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเริ่มออกหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายสัปดาห์ ซึ่งต่อมาเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[5490,5511,3,3]}'>ประชาชาติรายวัน โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการในระยะแรก แต่ถูกสั่งปิดในระยะต่อมา จึงไปช่วยก่อตั้งสำนักพิมพ์การเวกจัดพิมพ์หนังสือต่าง ๆ ออกจำหน่าย จากนั้นได้ก่อตั้งโรงพิมพ์เรือนแก้วเป็นของตัวเอง ออก<b data-parsoid='{\"dsr\":[5707,5737,3,3]}'>หนังสือการะเกดรายสัปดาห์ ก็เลิกล้มไปอีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2522 ริเริ่มทำนิตยสารศิลปวัฒนธรรมรายเดือน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้อ่านกว้างขวาง จึงรับหน้าที่บรรณาธิการเรื่อยมา จนภายหลังได้มอบหมายให้นายฐากูร บุนปาน ทำหน้าที่นี้แทน ขณะเดียวกันก็เขียนบทความแนวประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมในนามจริง สุจิตต์ วงษ์เทศ และใช้นามปากกา \"ทองเบิ้ม บ้านด่าน\" ไปพร้อม ๆ กับงานร้อยกรอง ด้วยความรักในกาพย์ กลอน นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ยังคงสร้างผลงานกวีนิพนธ์ร่วมสมัยสะท้อนสภาพสังคมเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นบทกลอนสั้น ๆ ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันประจำทุกวันอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน", "title": "สุจิตต์ วงษ์เทศ" }, { "docid": "5708#13", "text": "จากนั้นเมื่อวันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2518 กำพลจดทะเบียนก่อตั้งนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดขึ้น ในชื่อบริษัท วัชรพล จำกัด (English: Vacharaphol Company Limited) เพื่อเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการก่อสร้างโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั้ง 101 แห่ง[13] โดยตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ภริยาของกำพล ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท มีพนักงานทั้งสิ้น 1,800 คน (เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552) เฉพาะกองบรรณาธิการ 262 คน (เมื่อ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552)[13] อาคารทั้งหมด 13 หลัง บนพื้นที่ 39 ไร่ 9 ตารางวา และศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาค 35 แห่ง[13] ทั้งนี้ บจก.วัชรพล มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท จากนั้น มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกหลายครั้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "49829#39", "text": "เมื่อกลางดึกของวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นวมทอง ไพรวัลย์ได้ผูกคอเสียชีวิตบนสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดีรังสิต หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พร้อมด้วยจดหมายประท้วงรัฐบาลโดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า \"เหตุที่ผมกระทำการพลีชีพครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเอง เพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก คปค. (พันเอก อัคร ทิพย์โรจน์) ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า 'ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้'\"", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549" }, { "docid": "34462#18", "text": "เคยเป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งและติวเตอร์ภาษาอังกฤษประจำสถาบันบาลานซ์ (ติวเตอร์หมู) เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ \"เปิดฟ้าส่องโลก\" ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์รายการ \"เปิดเลนส์ส่องโลก\" ทางช่อง 3", "title": "นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย" }, { "docid": "78264#0", "text": "นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ บุตรสาวคนโต ของ นายกำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กับ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ประธานกรรมการ บริษัท วัชรพล จำกัด", "title": "ยิ่งลักษณ์ วัชรพล" }, { "docid": "526583#2", "text": "นอกจากนี้แล้วในแวดวงการศึกษาและการกีฬา ยังถือว่าเป็นปูชนียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง จนได้ชื่อเรียกขานว่า ครูชุม จากนายกำพล วัชรพล สื่อมวลชนผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ซึ่งเป็นโรงเรียนพาณิชยการเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2505 และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต หรืออาร์แบ็ค และในแวดวงกีฬาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ อาทิ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย, นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นต้น", "title": "ประชุม รัตนเพียร" }, { "docid": "294871#0", "text": "เลิศ อัศเวศน์ (30 มีนาคม พ.ศ. 2465 - ) เกิดเมื่อวันที่ นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ", "title": "เลิศ อัศเวศน์" }, { "docid": "5708#36", "text": "หมวดหมู่:หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:เว็บไซต์ข่าวในประเทศไทย", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "78248#1", "text": "\"มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ\" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2522 อันเป็นวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 60 ปีของกำพล วัชรพล ซึ่งใช้ทุนส่วนตัวในการก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าว เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิ ต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) และได้รับใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิ เลขที่ ต.131/2523 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 ต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ \"มูลนิธิไทยรัฐ\" จนถึงปัจจุบัน", "title": "มูลนิธิไทยรัฐ" }, { "docid": "23827#0", "text": "จ่าโท กำพล วัชรพล (27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เสียงอ่างทอง, ข่าวภาพ, มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนแรก", "title": "กำพล วัชรพล" }, { "docid": "5712#6", "text": "หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์คำให้สัมภาษณ์หลังเวทีของ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในฉบับประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกล่าวในทำนองว่า หากผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดของพระราชกฤษฎีกาแล้ว จะให้ใครรับผิดชอบ ซึ่งทำให้ประชาชนฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายสนธิ และหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นจำนวนมาก ในหลายพื้นที่", "title": "คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)" }, { "docid": "5708#1", "text": "27 ธันวาคม 2492 บริษัทข่าวภาพบริการ จำกัด ยื่นคำขอจดทะเบียน เป็นเจ้าของกิจการ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1662,1685,2,2]}'>หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ (English: The Weekly Pictorial) ซึ่งถือเป็นวันขึ้นรอบปีของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ที่กำพลเป็นเจ้าของอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ต่อมาจึงออกวางแผงเป็นรายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2493[1] และในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 กำพล วัชรพล, เลิศ อัศเวศน์ และวสันต์ ชูสกุล ผู้ร่วมก่อตั้งข่าวภาพ ปรับเวลาออกหนังสือพิมพ์ให้เร็วขึ้น จากรายสัปดาห์เป็นรายสามวัน[2]", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "78248#0", "text": "มูลนิธิไทยรัฐ (Thairath Foundation) หรือ \"มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ\" (Thairath Newspaper Foundation) เป็นมูลนิธิเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นที่รู้จักของสังคมในฐานะ หน่วยงานอุปถัมภ์โรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั้ง 101 แห่งทั่วประเทศไทย ก่อตั้งโดยกำพล วัชรพล ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนแรก", "title": "มูลนิธิไทยรัฐ" }, { "docid": "186392#0", "text": "บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (; ชื่อเดิม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามสปอร์ต พับลิชชิง และ บริษัท สยามสปอร์ต พรินติง จำกัด) เป็นผู้ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน ประเภทกีฬาและสันทนาการหลายชนิดคือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อประสม (Multimedia) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยระวิ โหลทอง อดีตหัวหน้าข่าวกีฬาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เริ่มจัดพิมพ์นิตยสารกีฬาสยามขึ้นเป็นฉบับแรก และมีนิตยสารสตาร์ซอคเก้อร์รายสัปดาห์ กับหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่บริษัทฯ ปัจจุบันมีวิลักษณ์ โหลทอง บุตรชายของระวิ เป็นประธานกรรมการ", "title": "สยามสปอร์ตซินดิเคท" }, { "docid": "65583#31", "text": "หลังเหตุการณ์ระเบิดเมื่อเวลา 18.00 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องยังคงถ่ายทอดรายการตามปกติ มีเพียงตัววิ่งด้านล่างจอโทรทัศน์ ยกเว้น สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เนชั่นแชนแนล และเอเอสทีวี ที่รายงานข่าวอย่างใกล้ชิด [41] นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศยกเลิก งานเฉลิมฉลอง เพื่อนับถอยหลัง (เคานท์ดาวน์) เข้าสู่ปีใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานครทุกงาน พรรคไทยรักไทย ได้ออกมาแถลงว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ได้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ตามที่มีข่าวลือออกมา [42] นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ในขณะนั้น) ฟันธงว่า เหตุการณ์ระเบิดดังกล่าว เกิดจาก ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี [43] พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร รวมถึงยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน [44]", "title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549" }, { "docid": "307385#5", "text": "นายแสง เหตระกูล ได้รับการยกย่องอย่างมากจากแวดวงสื่อมวลชนในประเทศไทยในฐานะนักหนังสือพิมพ์รุ่นบุกเบิกคนแรก ๆ ที่ต่อสู้ทุกรูปแบบกับอำนาจเผด็จการ ความไม่ถูกต้อง เพื่อเรียกร้องให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพ มีความเป็นประชาธิปไตย จนได้รับการยกย่องให้เป็น \"ราชาหนังสือพิมพ์เมืองไทย\" จากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับ นายกำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ", "title": "แสง เหตระกูล" }, { "docid": "37716#0", "text": "เปลว สีเงิน เป็นนามปากกาของ โรจน์ งามแม้น ประธานกรรมการบริหารบริหารหนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส ผู้เขียนบทความวิเคราะห์การเมืองและสังคม ตีพิมพ์ในหน้า 5 ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ชื่อคอลัมน์ \"คนปลายซอย\" เคยเขียนบทความวิเคราะห์ปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ชื่อคอลัมน์ \"สะบัดปากกา ตีแสกหน้า\" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2534 ใช้นามปากกา \"เปลว สีเงิน\" ก่อนจะลาออกมาร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ และไทยโพสต์ในเวลาต่อมา", "title": "เปลว สีเงิน" }, { "docid": "37716#3", "text": "โรจน์เริ่มใช้นามปากกา \"เปลว สีเงิน\" เมื่อเขียนคอลัมน์ \"เตะผ่าหมาก\" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก่อนจะลาออกไปรับตำแหน่งหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเขียนคอลัมน์ \"สะบัดปากกา ตีแสกหน้า\" ต่อมา พ.ศ. 2534 รับตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการ และเขียนคอลัมน์ \"ระหว่างบรรทัด\" ในหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยในเครือบางกอกโพสต์ และลาออกไปก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ", "title": "เปลว สีเงิน" }, { "docid": "92513#2", "text": "ชัยเริ่มทำงานด้านหนังสือโดยการเป็นฝ่ายศิลป์ให้หนังสือกีฬา ชื่อ เดอะเกม และเข้าสู่แวดวงข่าวการเมืองหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กับหนังสือพิมพ์การเมือง ชื่อ ธงไชย และหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์ ซึ่งชัยได้เริ่มต้นการเขียนการ์ตูนการเมืองชิ้นแรก ชื่อ “ใครจะเอากระพรวนไปแขวนคอแมว” ซึ่งหลังเหตุการณ์ต้องลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานถึง 2 ปี จึงกลับสู่ประเทศไทยเมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สงบลง จากนั้นได้วาดภาพประกอบ 'งิ้วการเมือง' และสร้างผลงานผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ในหนังสือพิมพ์รายวัน เดลินิวส์ และ ไทยรัฐ", "title": "ชัย ราชวัตร" }, { "docid": "5708#15", "text": "ต่อมาในวันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 บจก.วัชรพล ก่อตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[11274,11304,2,2]}'>บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ขึ้นเป็นกิจการในเครือ สำหรับดำเนินธุรกิจสื่อประสม ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือเว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์ (www.thairath.co.th), บริการข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่, สื่อดิจิตอลหลายรูปแบบ รวมถึงให้บริการรับส่งข้อมูลภาพและเสียง, บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารหลัก[14] และมีการจัดทำแอปพลิเคชัน สำหรับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาได้แก่ ไอโอเอส แอนดรอยด์ แบล็คเบอร์รี โอเอส วินโดวส์โฟน รวมถึงวินโดวส์ 8 และวินโดวส์ อาร์ทีอีกด้วย โดยแอปพลิเคชันไทยรัฐในอุปกรณ์ไอแพด ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการประกาศผลรางวัลสื่อดิจิตอลยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ในการสัมมนาสื่อดิจิตอลแห่งเอเชีย ซึ่งจัดโดยสมาคมหนังสือพิมพ์และผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์โลก", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "78265#0", "text": "นายสราวุธ วัชรพล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ บุตรชายคนกลาง ของ นายกำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กับ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ประธานกรรมการ บริษัท วัชรพล จำกัดจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล", "title": "สราวุธ วัชรพล" }, { "docid": "6744#29", "text": "กำพล วัชรพล – ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ – อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี , สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 , ช่องวัน - ปัจจุบันเป็นโฆษกพรรคไทยรักษาชาติ", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "165676#4", "text": "สาทิสพาครอบครัวกลับมายังประเทศไทยเป็นการถาวร หลังจากที่เขาเกษียณอายุงาน ด้วยปณิธานในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับ การแพทย์แบบผสมผสาน (Integrated Medicine) เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่ชาวไทยในการดูแลสุขภาพ และกลายเป็นผู้ให้กำเนิดแนวทางสุขภาพแบบชีวจิตในประเทศไทย ต่อมาร่วมกับชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท อมรินทร์พรินติงแอนด์พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งนิตยสาร\"ชีวจิตรายปักษ์\" โดยสาทิสเป็นบรรณาธิการที่ปรึกษาและคอลัมนิสต์ประจำ ตลอดจนมีงานเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ รวมถึงร่วมกับสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ บริษัท เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโทรทัศน์ \"กินอยู่อย่างชีวจิต\" นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรพิเศษเกี่ยวกับชีวจิต ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและที่สนใจ", "title": "สาทิส อินทรกำแหง" } ]
1671
พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย คืออะไร?
[ { "docid": "60368#0", "text": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วัน ปัจจุบันประกอบการพระราชพิธีในเทวสถานสำหรับพระนคร 2 หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร (สถานใหญ่ หรือโบสถ์ใหญ่) สถานพระมหาวิฆเนศวร (สถานกลาง หรือโบสถ์กลาง) โดยมีกำหนดพิธี เริ่มตั้งแต่คณะพราหมณ์ผู้ประกอบ พระราชพิธี เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเทวรูปหลวง ประกอบด้วย พระอิศวร พระอุมา และมหาวิฆเนศ ระหว่างนั้น คณะพราหมณ์ผูกพรต กระทำ การสวดบูชาสรรเสริญ และยกอุลุบ (การถวายเครื่องบูชาใส่โตก สวดคำถวาย) เป็นการพิเศษทุกคืน โดยมีเครื่องถวายสักการะ ประกอบด้วย ข้าวตอก กล้วย ส้ม เป็นต้น", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" } ]
[ { "docid": "7747#5", "text": "พิธีโล้ชิงช้า เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวรซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงสู่โลกในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว", "title": "เสาชิงช้า" }, { "docid": "547750#2", "text": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5และสมเด็จพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงเดลีเพื่อพระราชพิธีบรมราชภิเษกเป็นจักรพรรดินี้ เพื่อแสดงพระองค์ต่อหน้าเจ้าชายแห่งอินเดียพระองค์ต่างๆ แต่เพียงแค่พระองค์และสมเด็จพระราชินีนั้นไม่ได้ถูกสวมมงกุฎในระหว่างพระราชพิธี เนื่องจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ในขณะนั้น คิดว่าไม่เหมาะสมที่จะทำพิธีอย่างชาวคริสเตียนในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูและมุสลิม และนอกจากนั้น พระราชพิธีบรมราชภิเษกที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษนั้นถือว่าเป็นการเสวยราชย์สำหรับอาณาเขตหรือแผ่นดินต่างๆภายในจักรวรรดิในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ในพระราชพิธี พระองค์เพียงทรงมงกุฎนี้ในขณะเสด็จพระราชดำเนินเข้าบริเวณพิธี และพระราชพิธีนั้นเป็นเพียงการประกาศถึงพระราชพิธีบรมราชภิเษกที่เกิดขึ้นไปแล้วในอังกฤษ", "title": "มงกุฎแห่งอินเดีย" }, { "docid": "20838#93", "text": "พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชานี้มีปรากฏในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย โดยได้ทรงกล่าวถึงการพระราชพิธีในเดือนหก คือพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลในวันวิสาขบูชาไว้ เรียกว่า \"พิธีไพศาขย์ จรดพระราชนังคัล\" (คือในเดือน 6 มีพระราชพิธีสำคัญสองพระราชพิธีคือ \"พระราชพิธีวิสาขบูชา\" (ในหนังสือพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนใช้ศัพท์สันสกฤต) และ\"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ\")[54] ปัจจุบันนี้โดยปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฯ และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำนักพระราชวังจะออกหมายกำหนดการประกาศการพระราชพิธีนี้ให้ทราบทั่วไปเป็นประจำทุกปี ในอดีตจะใช้ชื่อเรียกการพระราชพิธีในราชกิจจานุเบกษาแตกต่างกัน บางครั้งจะใช้ชื่อ \" การพระราชกุศลวิสาขบูชา และกาลานุกาล\"[55] หรือ \" การพระราชกุศลกาลานุกาลวิสาขบูชา\"[56] หรือแม้ \"วิสาขบูชา\" [57] ส่วนในรัชกาลปัจจุบัน สำนักพระราชวังจะใช้ชื่อเรียกหมายกำหนดการที่ชัดเจน เช่น \"หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2551[58]", "title": "วันวิสาขบูชา" }, { "docid": "10761#5", "text": "เดือน 1 พระราชพิธีไล่เรือ เดือน 2 พระราชพิธีบุษยาภิเษก พระราชพิธีตรียัมพวาย (ตรีปวาย) เดือน 3 พิธีธานยเทาะห์ พิธีศิวาราตรี เดือน 4 พิธีรดเจตร พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เดือน 5 พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (ถือน้ำ) พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน พิธีทอดเชือก พิธีสงกรานต์ เดือน 6 พระราชพิธีพืชมงคล พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีวิสาขบูชา เดือน 7 พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท เดือน 8 พระราชพิธีเข้าพรรษา เดือน 9 พิธีตุลาภาร พระราชพิธีพรุณศาสตร์ เดือน 10 พระราชพิธีสารท พิธีกวนข้าวทิพย์ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เดือน 11 พระราชพิธีแข่งเรือ เดือน 12 พระราชพิธีจองเปรียงการพระราชพิธีเดือน 12 ซึ่งมีมาในกฎมนเทียรบาลว่าพิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคม ตรวจดูในความพิสดารในกฎหมายนั้นเองก็ไม่มีข้อความใดกล่าวถึงเสาโคมและการจุดโคมอย่างหนึ่งอย่างใดชัดเจน หรือจะเป็นด้วยเป็นการจืด ผู้ที่แต่งถือว่าใครๆก็เห็นตัวอย่างอยู่แล้ว ไม่ต้องกล่าว มีความแปลกออกไปนิดเดียว แต่การที่ว่าการพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม และเติม “ลงน้ำ” เข้าอีกคำหนึ่ง คำที่ว่า “ลงน้ำ” นี้จะแปลว่ากระไรก็สันนิษฐานยาก จะเข้าใจว่าเอาโคมที่เป็นโครงไม้ไผ่หุ้ม ผ้าที่ชักอยู่บนเสามาแต่ต้นเดือนลดลงแล้วไปทิ้งลงน้ำ ก็ดูเคอาะไม่ได้การเลย หรืออีกอย่างหนึ่งจะเป็นพิธีที่ว่าเมื่อลดโคมแล้ว ลอยกระทง สมมติว่าเอาโคมนั้นลอยไปตามลัทธิพราหมณ์ ที่พอใจลอยอะไรๆจัดอยู่ เช่นกับลอยบาปล้างบาป จะถือว่าเป็นลอนเคราะห์ลอนโศกอย่างใดไปได้หลอกกระมัง การก็ตรงกับลอยกระทง ลางทีจะสมมุติว่าลอยโคม ข้อความตามกฎมนเทียรบาลมีอยู่แต่เท่านี้", "title": "พระราชพิธีสิบสองเดือน" }, { "docid": "4249#4", "text": "เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่[4] รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้อำนวยการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงษ์อิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร\"[5] ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "32647#64", "text": "การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา[48] ซึ่งเดิมก่อน พ.ศ. 2501 เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา[49] แต่หลังจากมีการกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2501 แล้ว[5] สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดเพิ่มวันอาสาฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมา[50] การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล[51] และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน[52] โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และภายในพระบรมมหาราชวัง การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธนามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังจำนวน 150 รูป ทุกปี[53] เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน", "title": "วันอาสาฬหบูชา" }, { "docid": "60368#6", "text": "อีกตำนานหนึ่งเชื่อว่า พระพรหมเมื่อสร้างโลกแล้ว ได้เชิญให้พระอิศวรทดสอบความแข็งแรงของโลก พระอิศวรจึงใช้วิธีการเช่นเดียว กันกับข้างต้น ในการทดสอบ คตินี้สอนเรื่องการไม่ประมาท", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "814997#40", "text": "คณะรัฐมนตรีได้กำหนดการพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพ โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม[95]", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "60368#1", "text": "จากนั้น จึงเชิญกระดานแกะสลักรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระธรณี ลงวางในหลุม หมายถึงการเชิญเทวดาเหล่านั้นมารับเสด็จ เดิมมีกำหนด วันสำหรับโลกบาลทั้งสี่ (นาลิวัน) กระทำการโล้ชิงช้าถวาย และมีการรำเสนงสาดน้ำเทพมนต์", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "60368#4", "text": "แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมปวายจะจัดในเดือนอ้าย (ธันวาคม) ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ (มกราคม) พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "60368#9", "text": "หมวดหมู่:พิธีกรรมในศาสนาฮินดู ตรียัมพวาย ตรีปวาย หมวดหมู่:พระอิศวร หมวดหมู่:พระวิษณุ", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "362516#4", "text": "อิทธิพลของศาสนาและความเชื่อในประเทศไทยสะท้อนออกมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ตราแผ่นดินหรือตราประจำหน่วยงานที่มักเป็นเทพเจ้าในศาสนพราหมณ์-ฮินดู การใช้ปีพุทธศักราช (แต่ยึดปฏิทินสุริยคติตามระบบเกรโกเรียน) การใส่ภาพวัดในพุทธศาสนาลงในเหรียญกษาปณ์และธนบัตร การตั้งศาลพระภูมิในหน่วยงานราชการ การบูชาพระรัตนตรัยก่อนเริ่มพิธีการ การกำหนดวันสำคัญในศาสนาพุทธเป็นวันหยุดราชการ รวมถึงรัฐพิธีที่เป็นความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย\nประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ซึ่งในปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศไทยได้ผสมผสานเข้ากับความเชื่อพื้นบ้าน อย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ การถือฤกษ์ นอกจากนี้จำนวนประชากรชาวไทย-จีนขนาดใหญ่ที่อพยพเข้ามาในประเทศก็นับถือทั้งศาสนาพุทธและประเพณีดั้งเดิม วัดพุทธในประเทศมีเอกลักษณ์ที่เจดีย์สีทองสูง และสถาปัตยกรรมพุทธในประเทศไทยคล้ายคลึงกับในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาและลาว ซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน", "title": "ศาสนาในประเทศไทย" }, { "docid": "60368#8", "text": "หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "853762#6", "text": "คณะรัฐมนตรีรับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯ กำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งพิจารณาหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไว้เป็นที่เรียบร้อย[27][1] โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม[28]", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "796873#1", "text": "ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยเป็นพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศของ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ซึ่งพระราชพิธีในครั้งนั้นมิได้จัดขึ้น ณ พระราชวังหลวงเคียวโตะ แต่ได้จัดขึ้นที่ พระราชวังหลวงโตเกียว หรือ พระราชวังอิมพีเรียล แทนโดยครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีราชาภิเษกผ่านทางโทรทัศน์", "title": "พระราชพิธีราชาภิเษกของจักรพรรดิญี่ปุ่น" }, { "docid": "574091#5", "text": "สำหรับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระราชพิธีอัญเชิญพระศพออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ พระราชพิธีอัญเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร ณ เสาวภาประดิษฐาน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หลังจากงานพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมพระเมรุจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2555 แต่จะไม่มีการจัดนิทรรศการภายในบริเวณพระเมรุ เหมือนงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยจะมีการจัดนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจที่พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "76513#0", "text": "พระราชพิธีราชาภิเษกพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร เป็นพระราชพิธีซึ่งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดจนรัฐในเครือจักรภพ รวมทั้งคู่อภิเษกสมรสของพระองค์ จะทรงประกอบเพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดเหนือประเทศเหล่านั้น พระราชพิธีราชาภิเษกนี้มีจัดขึ้นในทุกประเทศที่ปกครองโดยมีระบบกษัตริย์เป็นประมุข แม้แต่พระสันตะปาปาแห่งนครรัฐวาติกันก็ทรงประกอบพิธีนี้เช่นกัน พระราชพิธีนี้โดยมากมักจะจัดขึ้นหลังจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคตไปแล้วพอสมควร เพื่อที่จะได้มีเวลาพอสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพสำหรับกษัตริย์พระองค์ก่อน และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับกษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วย ดังเช่นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 แต่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496, ", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "60368#7", "text": "พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบ พระราชพิธีนี้จะกระทำภายในเทวสถานเท่านั้น", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "60368#2", "text": "ปัจจุบัน วันสุดท้ายของพระราชพิธี มีการเชิญเทวรูปขึ้นภัทรบิฐบูชากลศ สังข์ เบญจคัพย์ แล้วจึงเชิญขึ้นหงษ์ ทำช้าหงษ์ส่งพระเป็นเจ้า รุ่งขึ้น เชิญเครื่องบูชาพวกข้าวตอก กล้วย ส้ม เข้าไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการยกอุลุบ สวดถวายพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับหน้าเทวรูป เป็นเสร็จการพระราชพิธี", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "60368#3", "text": "ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีตรียัมพวายให้พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยตั้งเครื่องบูชา ข้าวตอก กล้วย ส้ม เช่นตั้งหน้าเทวรูปในเทวสถาน และให้ราชบัณฑิตสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ และยกอุลุบถวายเช่นในเทวสถาน แต่เปลี่ยนคำเป็น การถวายบูชาพระพุทธเจ้า", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "10761#8", "text": "การพระราชพิธีกะติเกยา ตามคำพระมหาราชครู(พระมหาราชครูคนชื่ออาจ) ได้กล่าวว่าการพระราชพิธีนี้แต่ก่อนได้เคยทำในเดือนอ้าย แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนลงมาในเดือนสิบสอง การซึ่งจะกำหนดทำพระราชพิธีเมื่อใดนั้น เป็นพนักงานของโหรต้องเขียนฎีกาถวาย ในฎีกานั้นว่าโหรมีชื่อได้คำนวณพระฤกษ์พิธีกะติเกยากำหนดวันนั้นๆ พระมหาราชครูพิธีจะทำการราชพิธีเช่นนั้นๆ ลงท้ายว่าจะมีคำทำนาย แต่ไม่ปรากฏว่าได้รับคำทำนายขึ้นมากราบเพ็ดกราบทูลอันใดต่อไปอีก ชะรอยจะเป็นด้วยทำนายดีทุกปีจนทรงจำได้ แล้วรับสั่งห้ามเสีย ไม่ให้ต้องกราบทูลแต่ครั้งใดมาไม่ทราบเลย การซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนพิธีมาทำในเดือนสิบสองนั้น คือกำหนดเมื่อพระจันทร์เสวยฤกษ์กัตติกาเต็มบริบูรณ์เวลาไร เวลานั้นเป็นกำหนดพระราชพิธี การซึ่งถวายกำหนดเช่นนี้ก็แปลมาจากชื่อพิธีนั้นเอง การที่พระมหาราชครูพิธีว่าเมื่อก่อนทำเดือนอ้ายนั้น เป็นการเลื่อนลงมาเสียดอก แต่เดิมมาทำเดือนสิบสอง ครั้งเมื่อพิธีตรียัมพวายเลื่อนไปทำเดือนยี่แล้ว การพิธีนี้จึงเลื่อนตามลงไปเดือนอ้าย เพราะพระราชพิธีนี้เป็นพิธีตามเพลิงคอยรับพระเป็นเจ้าจะเสด็จลงมา ดูเป็นพิธีนำหน้าพิธีตรียัมพวาย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กลับขึ้นไปทำเดือนสิบสองนั้น ก็เพราะจะให้ถูกกับชื่อพิธีดังที่ว่ามาแล้ว พระราชพิธีนี้คงตกอยู่ในระหว่างกลางเดือนสิบสอง เคลื่อนไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้างเล็กน้อย คงจะเกี่ยวกับพระราชพิธีจองเปรียงอยู่เสมอ การทำที่นั้น คือปลูกเกยขึ้นที่หน้าเทวสถานสามเกย สถานพระอิศวรเกย ๑ สถานมหาวิฆเนศวรเกย ๑ สถานพระนาราณ์เกย ๑ เกยสูง๔ศอกนั้น ที่ข้างเกยเอามูลโคกับดินผสมกันก่อเป็นเขาสูงศอกหนึ่งทั้ง ๔ ทิศ เรียกว่าบัพพโต แล้วเอาหม้อใหม่ ๓ ใบ ถักเชือกรอบนอกเรียกว่าบาตรแก้ว มีหลอดเหล็กวิลาศร้อยไส้ด้ายดิบเก้าเส้น แล้วมีถุงข้าวเปลือกถั่วงาทิ้งลงไว้ในหม้อนั้นทั้ง ๓ หม้อ แล้วเอาไม้ยาว ๔ ศอก เรียกว่าไม้เทพทัณฑ์ ปลายพันผ้าสำหรับชุบน้ำมันจุดไฟ ครั้งเวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีบูชาไม้เทพทัณฑ์และบาตรแก้ว แล้วอ่านตำหรับจุดไฟในบาตรแก้ว แล้วรดน้ำสังข์จุณเจิมไม้นั้น ครั้งจบพิธีแล้วจึงได้นำบาตรแก้วและไม้เทพทัณฑ์ออกไปที่หน้าเทวสถาน เอาบาตรแก้วตั้งบนหลักริเกย เอาปลายไม้เทพทัณฑ์ที่หุ้มผ้าชุบน้ำมันจุดไฟ พุ่งไปที่บัพพโตทั้ง ๔ ทิศ เป็นการเสียงทาย ทิศบูรพาสมมติว่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทิศทักษิณสมมติว่าเป็นสมณพราหมณ์ ทิศประจิมว่าเป็นอำมาตย์มนตรี ทิศอุดรว่าเป็นราชฎร พุ่งเกยที่หนึ่งแล้วเกยที่สองที่สามต่อไป จนครบทั้งสามเกยเป็นไม้สิบสองอัน แล้วตามเพลิงในบาตรแก้วไว้อีกสามคืน สมมติว่าตามเพลิงคอยรับพระเป็นเจ้าเสด็จงมาเยี่ยมโลก เมื่อพุ่งไม้แล้วกลับเข้าไปสวดบูชาข้าวตอก บูชาบาตรแก้วที่จุดไฟไว้หน้าเทวสถานทั้ง ๓ สถาน ต่อไปนั้นอีกสองวันก็ไม่เป็นพิธีอันใด วันที่สามนำบาตรแก้วเข้าไปในเทวสถานรดน้ำสังข์ดับเพลิง เป็นเสด็จพระราชพิธี การพระราชพิธีกะติเกยานี้ เป็นพิธีพราหมณ์แท้ และเหตุผลที่เลื่อนลอยมาก จนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่รู้ที่จะทรงเติมการพิธีสงฆ์หรือแก้ไขเพิ่มเติมอันใด ได้แต่เปลี่ยนกำหนดให้ถูกชื่ออย่างเดียว คงอยู่ด้วยเป็นพิธีราคาถูกเพียง ๖ บาทเท่านั้น(ในสมัยรัชการที่ ๔)", "title": "พระราชพิธีสิบสองเดือน" }, { "docid": "726113#3", "text": "วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น \"พระยากำแหงสงคราม รามราชภักดีพิริยพาห\" ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา ถือศักดินา 10,000 ถึงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2456 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น \"พระยาราชนกูล วิบูลยภักดีพิริยพาห\" ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย คงถือศักดินา 10,000และยังได้ทำหน้าที่เป็นพระยายืนชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย(พระราชพิธีโล้เสาชิงช้า)ในปี พ.ศ. 2458", "title": "เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)" }, { "docid": "7747#0", "text": "เสาชิงช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม", "title": "เสาชิงช้า" }, { "docid": "574091#0", "text": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ระหว่างวันที่ 8 - 12 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งพระราชพิธีจะมีขึ้น ณ พระเมรุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีเชิญพระโกศออกพระเมรุ และพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ ๙ เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน และพระราชพิธีเชิญพระอัฐิประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร ในวันที่ 12 เมษายน", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18164#25", "text": "ธงทองเป็นผู้มีความรอบรู้ ชอบอ่านหนังสือ จึงสามารถให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) จึงเชิญให้เป็นผู้บรรยายประกอบ ในการต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องในพระราชสำนัก มาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยงานแรกคือ การบรรยายสารคดีพระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2530-2539 ทรท.ก็มอบหมายขึ้นเป็นหัวหน้าผู้บรรยายประกอบ ในการถ่ายทอดพระราชพิธีทางโทรทัศน์ ทั้งระดับพระราชพิธีประจำปี เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และทั้งระดับพระราชพิธีพิเศษเฉพาะกาล เช่น พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้น และล่าสุดการเป็นการผู้บรรยายพระราชพิธีผ่านทางโทรทัศน์ในการถ่ายทอดพระราชพิธีบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในช่วงพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร 7 วัน พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "ธงทอง จันทรางศุ" }, { "docid": "60368#5", "text": "พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาค ไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น 'ต้นพุทรา' ช่วงระหว่างเสาคือ'แม่น้ำ' นาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ'พญานาค' โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ", "title": "พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย" }, { "docid": "285066#6", "text": "หม่อมเจ้าปุสาณ ยังทรงปฏิบัติกรณียกิจแทนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในครั้งทีมีพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเสด็จออกแทนพระองค์ในพิธีต่างๆ อาทิ พิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 การถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น", "title": "หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "944112#0", "text": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นพระราชพิธีที่ พระมหากษัตริย์ไทย ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการด้วยการถวายน้ำอภิเษกและการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎโดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้แบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "944112#1", "text": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมเนียมของ ศาสนาฮินดู และ ศาสนาพุทธ ซึ่งต้องย้อนกลับไปหลายศตวรรษโดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประกอบไปด้วย พระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษก พระราชพิธีถวายน้ำอภิเษก พระราชพิธีถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และ การสถาปนาพระราชินีและพระราชวงศ์ ส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นโดยเหล่าสมาชิกของราชวงศ์ใน พระบรมมหาราชวัง", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย" } ]
3772
เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็นกี่ประเภท?
[ { "docid": "290569#1", "text": "เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือ", "title": "เครื่องเป่าลมไม้" } ]
[ { "docid": "290569#0", "text": "เครื่องเป่าลมไม้ ()เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง", "title": "เครื่องเป่าลมไม้" }, { "docid": "290569#2", "text": "ฟลูต () เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง \nปัจจุบันเครื่องคนตรีในตระกูลคอนเสิร์ตฟลุต (Western concert flute) มีหลายประเภท ได้แก่", "title": "เครื่องเป่าลมไม้" }, { "docid": "290569#28", "text": "คลาริเนต () เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส", "title": "เครื่องเป่าลมไม้" }, { "docid": "290569#34", "text": "ในปี ค.ศ. 1840 อดอล์ฟ แซก ได้รับการว่าจ้างจากหัวหน้าวงโยธวาทิต ให้ผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต (Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้ว เรียกว่าแตรออพิคเลียด (Ophicleide) มาถอดที่เป่าอันเดิมออก แล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตมาใส่แทน จากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก", "title": "เครื่องเป่าลมไม้" } ]
1410
บริษัทซัมซุง ก่อตั้งโดยใคร ?
[ { "docid": "107581#1", "text": "ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน", "title": "ซัมซุง" } ]
[ { "docid": "137039#1", "text": "อี ได้ก่อตั้งบริษัทการค้าซัมซุงขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ในเมืองแทกู หลังจากนั้นก็ได้ก่อตั้งบรัษัทซัมซุงโปรดักส์ บริษัทสิ่งทอ และ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาที่เค้าได้ทำคุณประโยชน์นานัปการให้กับประเทศเกาหลีใต้ เขาจึงกลายเป็นต้นแบบทีมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อแวดวงธุรกิจในยุคสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2504 เขาได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักธุรกิจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิวัฒนธรรมซัมซุงขึ้น ด้วยแนวคิดที่ต้องการจะอนุรักษ์และรับผิดชอบต่อสังคม", "title": "อี บย็อง-ช็อล" }, { "docid": "670267#0", "text": "แทจ็อนซัมซุงไฟร์บลูแฟงส์ (; )เป็นทีมวอลเลย์บอลระดับอาชีพของประเทศเกาหลีที่ได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1995 และเปลี่ยนเป็นระดับอาชีพในปี ค.ศ. 2005 ทีมนี้ตั้งอยู่ ณ เมืองแทจ็อนและเป็นสมาชิกแห่งสหพันธ์วอลเลย์บอลเกาหลี (KOVO) โดยมีสนามเหย้าของสโมสรแห่งนี้คือ ชุงมู ยิมเนเซียม ในแทจ็อน", "title": "แทจ็อนซัมซุงไฟร์บลูแฟงส์" }, { "docid": "137039#0", "text": "อี บย็อง-ช็อล (; ; 12 กุมภาพันธ์ 2453 — ) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซัมซุงบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ อี บย็อง-ช็อล เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 ในเมืองอึย-รย็อง มนฑลคยองซังนัม", "title": "อี บย็อง-ช็อล" }, { "docid": "443734#5", "text": "บริษัทเช่น ฮุนไดมอเตอร์ ซัมซุงแอลซีดี และซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์มีโรงงานอยู่ที่เมืองอาซัน และมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 14 แห่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานประกอบรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และโรงงานอื่น ๆ", "title": "อาซัน" }, { "docid": "736336#0", "text": "ซัมซุง เอสจีเอช-ที409เป็นโทรศัพท์ประเภทฝาพับ นำเสนอโดย T-Mobile (สหรัฐอเมริกา) ในปี 2550 ที่ผลิตบริษัทซัมซุง", "title": "ซัมซุง เอสจีเอช-ที409" }, { "docid": "478165#37", "text": "ซัมซุงคาดว่า ปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 เอส 3 จะถูกวางขายบน 296 ผู้ให้บริการเครือข่ายใน 145 ประเทศ[4] และมากกว่า 10 ล้านที่ถูกขายไปแล้ว[129] ชิน จอง-กยุน ประธานแผนกการสื่อสารของซัมซุง ได้ยืนยันว่าในวันที่ 22 กรกฎาคม เอส 3 ถูกขายไปแล้ว 10ล้านเครื่อง[130] ตามการประเมินโดย ยูบีเอส (UBS) บริษัททางการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ ซัมซุงวางขายเอส 3 จำนวน 5–6ล้านเครื่อง ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2555 และ 10–12ล้านเครื่อง ต่อไตรมาส ในช่วงเวลาที่เหลือของปี และยิ่งกว่านั้น บีเอ็นพี ปารีบาส (BNP Paribas) บริษัททางการเงินในปารีส กล่าวว่าเอส 3 นั้นจะถูกขาย 15ล้านเครื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2555[131] ส่วน โนมุระ (Nomura) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินในประเทศญี่ปุ่น คิดว่าน่าจะถูกวางขายมากถึง 18ล้านเครื่อง[132] และเอส 3 จะถูกขาย 40ล้านเครื่องภายในสิ้นปี[133] เพื่อความต้องการสูง ซัมซุงจำเป็นที่ต้องจ้างพนักงาน 75,000 คน และโรงงานในประเทศเกาหลีใต้นั้นสามารถผลิตได้สูงสุด 5ล้านเครื่องต่อเดือน[119][134]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "740397#0", "text": "ซัมซุง กาแลคซี อี5 เป็นสมาร์ตโฟนประเภทแอนดรอยด์ ผลิตโดยบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ วางจำหน่ายในช่วงเดือนมกราคม 2015", "title": "ซัมซุง กาแลคซี อี5" }, { "docid": "478165#6", "text": "การคาดเดาของผู้คนและเว็บไซต์ต่าง ๆ ก่อนจะที่จะมีการเปิดตัวหลายเดือนก่อนหน้า ซึ่งมีข่าวที่ค่อนข้างมากพอสมควร ก่อนจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส ในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน มีข่าวลือออกมาก่อนแล้วว่า จะใช้หน่วยประมวลผลควอด-คอร์ 1.5จิกะเฮิรตซ์ ส่วนจอจะมีความละเอียด 1080p (1,920×1,080 พิกเซล) และมีกล้องหลัก 12 ล้านพิกเซล และใช้จอแสดงผล จอสัมผัส เอชดี ซูเปอร์อโมเลดพลัส[33][34] ส่วนข่าวลืออื่น ๆ นั้นก็รวมไปถึง แรม 2จิกะไบต์, พื้นที่เก็บข้อมูล 64จิกะไบต์, 4 จี แอลทีอี, จอขนาด 4.8 นิ้ว, กล้องหลัก 8 ล้านพิกเซล และความหนาของเครื่อง 9 มิลลิเมตร[33][34] ซัมซุงได้ยืนยันถึงการผลิตรุ่นต่อของ กาแลคซีเอส 2 ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555 แต่ยังไม่ระบุถึงชื่อทางการ จนในช่วงปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โรเบิร์ต ยี่ รองประธานอาวุโสของบริษัทซัมซุง ได้ยืนยันว่ามันจะมันจะมีชื่อว่า \"ซัมซุง กาแลคซีเอส 3\" (Samsung Galaxy S III)[35][36]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "848293#4", "text": "ตัวเครื่องของเอส 8 และเอส 8+ ได้ใช้แบตเตอรีที่ไม่สามารถถอดได้ขนาด 3000 และ 3500 mAh ตามลำดับ ซึ่งซัมซุงได้กล่าวไว้ว่าได้ใช้เวลาปรับปรุงและทดลองแบตเตอรีสำหรับรุ่นเหล่านี้นานกว่ารุ่นก่อน ๆ ที่ผ่านมา กาแลคซีเอส 8 รองรับ AirFuel Inductive (สมัยก่อนคือ PMA) และมาตรฐานการชาร์จไร้สาย Qi สืบเนื่องจากเหตุการณ์การเรียกคืนของซัมซุง กาแลคซี โน้ต 7 ซัมซุงกล่าวในงานแถลงข่าวว่า บริษัทมุ่งมั่นที่จะควบคุมคุณภาพและขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมากขึ้นในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทในอนาคต", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 8" }, { "docid": "473908#0", "text": "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด () เป็นคดีในศาลแรกในชุดที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างบริษัทแอปเปิล กับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด ว่าด้วยแบบผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนขายเกินครึ่งทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2554 แอปเปิลเริ่มฟ้องร้องซัมซุงในคดีการละเมิดสิทธิบัตร ขณะที่แอปเปิลกับโมโตโรล่าโมบิลิตีได้มีการฟ้องร้องมาแล้วก่อนหน้านี้ การฟ้องร้องสิทธิบัตรเทคโนโลยีในหลายชาติของแอปเปิลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ \"สงครามสิทธิบัตรอุปกรณ์เคลื่อนที่\" ซึ่งเป็นการฟ้องร้องอย่างกว้างขวางในการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้บริโภคของโลก", "title": "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด" }, { "docid": "856403#0", "text": "ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ต () เป็นชุดของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับสูงที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ซึ่งมือถือรุ่นนี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหลักไปทางปากกาคอมพิวเตอร์ โดยซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ตทุกเครื่องประกอบด้วยปากกาสไตลัส และสามารถรองรับแรงกดปากกาได้ด้วย ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ตทุกเครื่องยังมีซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติรองรับปากกาสไตลัสได้ เช่น note-taking และ digital scrapbooking และมีมัลติสกรีนด้วย", "title": "ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ต (ชุด)" }, { "docid": "486496#23", "text": "ซัมซุงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดในเมือง ความจริงแล้วซัมซุงมีโรงงานหลักอยุ่ที่โซล แต่ในช่วงเริ่มต้นของสงครามเกาหลี สิ่งของหลายอย่างของซัมซุงได้รับความเสียหาย ผู้ก่อตั้ง อี บย็อง-ช็อล (이병철) ได้ฝืนทำธุรกิจอีกครั้งในปี พ.ศ. 2494 ส่วนซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ได้ก่อตั้งที่เมืองซูว็อนในปี พ.ศ. 2512 และปัจจุบันได้เป็นสำนักงานใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรมกลางใจเมือง ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆก็ประกอบด้วยเอสเค, ซัมซุงอิเล็กทริกส์, ซัมซุงแอลอีดี, ซัมซุงเอสดีไอและอื่นๆอีกมากมาย", "title": "ซูว็อน" }, { "docid": "499542#0", "text": "ซัมซุงแอพ () เป็นร้านค้าแอพลิเคชันสำหรับมือถือซัมซุงและผู้ใช้โทรทัศน์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังจากที่บริษัทได้รับการวางจำหน่ายของ ซัมซุงเวฟสมาร์ตโฟน", "title": "ซัมซุงแอพ" }, { "docid": "523393#0", "text": "ทัชวิซ (หรือ ซัมซุง ทัชวิซ) เป็นส่วนติดต่อประสานกับผู้ใช้ สร้างและพัฒนาโดยบริษัทซัมซุง อิเล็คทรอนิกส์ มีคุณสมบัติเป็นส่วนติดต่อประสานกับผู้ใช้ในระบบสัมผัส ทัชวิซนั้นใช้งานได้เฉพาะบนอุปกรณ์ซัมซุง บางครั้งทัชวิซมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอีกหนึ่งระบบปฏิบัติการ ทัชวิซสามารถพบเห็นได้ในสมาร์ตโฟน ฟีเจอร์โฟนและแท็บเล็ตจากซัมซุง และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตจากภายนอกได้ ทัชวิซเวอร์ชันแอนดรอยด์ยังมาพร้อมกับ Galaxy Apps ซึ่งเป็นร้านค้าแอปพลิเคชันที่ซัมซุงทำเองด้วย", "title": "ทัชวิซ" }, { "docid": "515410#0", "text": "ซัมซุง กาแลคซี () เป็นชุดของ สมาร์ตโฟน ที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ โดยผลิตภัณฑ์ก็มีชุดของซัมซุง กาแลคซีเอส ที่เป็นสมาร์ทโฟนที่มีความฉลาดสูงสุด, ซัมซุง กาแลคซี แท็บ ที่เป็นแท็บเล็ต, ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เป็นแฟบเล็ตที่มีฟังก์ชันปากกาสไตลัสเพิ่มเข้ามา และซัมซุง กาแลคซี เกียร์ ที่เป็นนาฬิกาอัจฉริยะ", "title": "ซัมซุง กาแลคซี" }, { "docid": "478165#7", "text": "หลังจากมีการเชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมงานในช่วงกลางเดือนเมษายน ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวกาแลคซีเอส 3 ในระหว่างงานซัมซุงโมบายล์อันแพ็ก 2012 (Samsung Mobile Unpacked 2012) ที่ เอิร์ลคอร์ตเอ็กซ์ฮีบีชันเซ็นเตอร์ ใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 แทนที่จะมีการเปิดตัวในช่วงต้นปีในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส หรือ คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์โชว์[12][37] ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้เพราะซัมซุง ต้องการเวลาสำหรับความพร้อมในการเปิดตัว[38] การอธิบายในการเปิดตัวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดย ลอสเย เดอ รีเซ ผู้อำนวยการตลาดของบริษัทซัมซุงเบลเยียม[39]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "949975#1", "text": "เสียงตอบรับต่อซัมซุง กาแลคซีเอส 9 มีหลากหลาย จอห์น แมคแคนจาก \"เทคเรดาร์\" ชื่นชมการปรับปรุงของกล้องและตำแหน่งตัวสแกนลายนิ้วมือ แต่วิจารณ์ข้อจำกัดของ AR Emoji และภาพรวมที่คล้ายกับรุ่นก่อน \"คอมพิวเตอร์เวิลด์\" ให้การตอบรับในแง่บวกโดยกล่าวว่าเอส 9 \"ดีกว่ารุ่นก่อน\" แต่วิจารณ์ว่าฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาไม่ได้ทำให้รู้สึก \"ตื่นตาตื่นใจ\" แดน ไซเฟิร์ตจาก \"เดอะเวิร์จ\" ให้คะแนน 8.5 โดยกล่าวว่าพึงพอใจกับการออกแบบและประสิทธิภาพ แต่วิจารณ์เรื่องแบตเตอรี บิกซ์บีและการอัปเดตจากทางซัมซุง ไอฟิกซ์อิต บริษัททำสื่อสอนการซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คะแนนซัมซุง กาแลคซีเอส 9 4 เต็ม 10 โดยกล่าวชมชิ้นส่วนภายในส่วนใหญ่ที่เป็นมอดูล แต่วิจารณ์ด้านหน้าและด้านหลังที่เป็นกระจก ซึ่งอาจเสียหายได้เมื่อเริ่มถอดชิ้นส่วน", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 9" }, { "docid": "591385#0", "text": "ซัมซุง เอสจีอาร์-เอ1 () เป็นหุ่นยนต์ทหารคุ้มกันสัญชาติเกาหลีใต้ โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อแทนที่แรงงานมนุษย์ในเขตปลอดทหารที่ชายแดนประเทศเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ มันเป็นหุ่นยนต์ระบบประจำที่ฝ่ายป้องกันของบริษัทซัมซุงเทควินซึ่งเป็นบริษัทย่อยของซัมซุง", "title": "ซัมซุง เอสจีอาร์-เอ1" }, { "docid": "473908#1", "text": "จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 แอปเปิลและซัมซุงได้ฟ้องร้องกันแล้ว 19 คดีใน 9 ประเทศ เมื่อถึงเดือนตุลาคม ได้มีการฟ้องร้องเพิ่มในอีกประเทศหนึ่ง รวมเป็น 10 ประเทศ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ศาลสหรัฐสั่งให้ประธานบริหารของแอปเปิลและซัมซุงเจรจาระงับคดีเพื่อจำกัดหรือแก้ไขข้อพิพาทด้านสิทธิบัตร จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสองบริษัทยังพัวพันอยู่ในกว่า 50 คดีทั่วโลก โดยทั้งสองมีการเรียกร้องค่าเสียหายหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อกัน", "title": "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด" }, { "docid": "523779#0", "text": "บริษัทแอลจี อิเล็คทรอนิกส์ () หรือที่เรียกกันทั่วไปสั้น ๆ ว่า แอลจี (LG) เป็นบริษัทประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในเกาหลีใต้ รองจากซัมซุง, ฮุนได และ กลุ่มเอสเค. มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Yeouido-dong, ในโซล, ประเทศเกาหลีใต้. แอลจีประกอบธุรกิจใน 4 ส่วนด้วยกัน คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่, ความบันเทิงภายในบ้าน, เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, เครื่องปรับอากาศ และการประหยัดพลังงาน แอลจีเป็นบริษัทผลิตโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก (ซัมซุงครองอับดับหนึ่ง) และยังเป็นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่มียอดขายมากที่สุดอันดับห้า ในไตรมาสที่สอง ในปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย", "title": "แอลจี อีเลคทรอนิคส์" }, { "docid": "772669#0", "text": "ซัมซุง เอสพีเอส-เอ็ม810 (รู้จักกันในชื่อ อินสติงต์ เอส30 หรือ อินสติงต์ มินิ) เป็นโทรศัพท์มือถือจากบริษัทซัมซุง ในรูปแบบของจอสัมผัส และมีปุ่มกด 3 ปุ่ม(จากซ้ายไปขวา - [ย้อนกลับ], [ปุ่มโฮม], และ [ปุ่มโทรศัพท์]) ซัมซุง อินสติงต์ วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2009", "title": "ซัมซุง อินสติงต์ เอส30" }, { "docid": "478165#8", "text": "วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แอปเปิลดำเนินคดีฟ้องเบื้องต้นในศาลแขวง เขตตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กับบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ โดยอ้างว่ากาแลคซีเอส 3 ได้ละเมิดสิทธิบัตรอย่างน้อย 2 อย่าง โดยขอให้ศาลรวมคดีเก่ากับซัมซุงด้วย (ดูเพิ่มที่ \"คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด\") และให้ศาลสั่งห้ามขายกาแลคซีเอส 3 ซึ่งจะมีการวางจำหน่ายในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ในสหรัฐอเมริกา[40] แอปเปิลอ้างว่าการละเมิดข้อกล่าวหาจะทำให้เกิดอันตรายและไม่สามารถแก้ไขได้ในประโยชน์ทางการค้า[41] โดยซัมซุงทำการต่อต้านให้ศาลเห็นว่า \"กาแลคซีเอส 3 นั้นเป็นวัตกรรมที่โดดเด่น\" และอยากให้การวางขายในวันที่ 21 มิถุนายน เป็นไปตามแผนที่วางไว้[41] ในวันที่ 11 มิถุนายน ลูซี โก ผู้พิพากษาเห็นว่า ขอให้แอปเปิลนั้น เลิกคำร้องขอในการห้ามขายของกาแลคซีเอส 3 ในวันที่ 21 มิถุนายน[42]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "992324#0", "text": "บริษัทแพร่สัญญาณทงยาง หรือ ทีบีซี (; ) เป็นอดีตบริษัทที่ประกอบกิจการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 - 2523 โดยมี ลี เบียงชอล ผู้ก่อตั้งบริษัทซัมซุง เป็นผู้บริหาร", "title": "บริษัทแพร่สัญญาณทงยาง" }, { "docid": "490195#0", "text": "ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น (; ) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ย่าน Abeno-ku ทางใต้ของโอซะกะ บริษัทก่อตั้งในปี ค.ศ. 1912 โดยใช้ชื่อบริษัทตามชื่อผลิตภัณฑ์ \"เอเวอร์-ชาร์ป\" เป็นดินสอกดที่ออกแบบโดย โทะกุจิ ฮะยะคะวะ (早川 徳次) ผู้ก่อตั้งบริษัท และวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1815 ปัจจุบันชาร์ป คอร์ปอเรชั่นเป็นผู้ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์รายใหญ่อันดับสี่ของโลก รองจากซัมซุง แอลจี และโซนี่ ", "title": "ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น" }, { "docid": "324813#0", "text": "สโมสรฟุตบอลซูว็อนซัมซุงบูลวิงส์ (수원 삼성 블루윙즈) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศเกาหลีใต้ เล่นอยู่ในเคลีก ตั้งอยู่ที่เมืองซูว็อน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่งในเกาหลีใต้", "title": "ซูว็อนซัมซุงบลูวิงส์" }, { "docid": "738222#0", "text": "ซัมซุง กาแลคซี วิน () หรือบางแห่งใช้ชื่อ \"กาแลคซีแกรนด์ควอทโตร\" () เป็นสมาร์ตโฟนที่พัฒนาโดยบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 ซัมซุงกาแลคซีวินมีแกนรูปสี่เหลี่ยม Cortex-A5 ประมวลผล 1.2 GHz และ RAM 1 GB มีหน่วยความจำภายใน 8 GB การ์ดหน่วยความจำ micro-SD สูงสุดได้ถึง 32 GB อุปกรณ์ยังรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน 2G และ 3G และการเชื่อมต่อไวไฟ รวมถึงระบบนำทาง A-GPS ด้วย Google Maps ระบบปฏิบัติการเครื่อง Android 4.1 (Jelly Bean)", "title": "ซัมซุง กาแลคซี วิน" }, { "docid": "478165#17", "text": "ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ภายใต้บริษัทซัมซุงแอปโพรฟฟอร์เอ็นเทอร์ไพรซ์ (Samsung Approved For Enterprise) หรือ เอสเอเอฟอี (SAFE) โดยมุ่งมั่นที่จะให้อุปกรณ์แอนดรอยด์สามารถใช้สำหรับพนักงานบริษัทในภาคเอกชนได้ หรือที่เรียกว่า Bring Your Own Device หรือการนำอุปกรณ์มาเอง[67] โดยเอส 3 รุ่นสำหรับองค์กรนี้สามารถรองรับ เออีเอส-256 (AES-256) ซึ่งเป็นการเข้ารหัส ชนิดหนึ่ง, เครือข่ายส่วนตัวเสมือน และ การจัดการโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึง ไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ แอคทีฟซิงก์[68] โดยมีกำหนดการวางขายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นรุ่นสำหรับองค์กรที่คิดว่าน่าจะโดดเด่นโดยรีเสิร์ชอินโมชัน บริษัทผู้ผลิต แบล็คเบอร์รี หลังจากการปล่อยรุ่นสำหรับองค์กรในรุ่นกาแลคซี โน้ต, กาแลคซีเอส 2 และ กาแลคซี แท็บ ซึ่งเป็นแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์[68][69]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "107581#0", "text": "ซัมซุง หรือ ซัมซอง (อังกฤษ: Samsung ; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้", "title": "ซัมซุง" }, { "docid": "107581#10", "text": "หมวดหมู่:บริษัทของเกาหลีใต้ หมวดหมู่:ธุรกิจเครื่องใช้ในครัวเรือน หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2481 หมวดหมู่:ซัมซุง หมวดหมู่:บริษัทนานาชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกาหลีใต้", "title": "ซัมซุง" } ]
3029
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดคืออะไร?
[ { "docid": "3708#42", "text": "ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุดนอกไปจากดวงอาทิตย์ คือดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 39.9 ล้านล้านกิโลเมตร (10 กิโลเมตร) หรือประมาณ 4.2 ปีแสง แสงจากดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าใช้เวลาเดินทาง 4.2 ปีจึงจะมาถึงโลก ถ้าเดินทางด้วยความเร็ววงโคจรของกระสวยอวกาศ (ประมาณ 5 ไมล์ต่อวินาที หรือประมาณ 30,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จะต้องใช้เวลาประมาณ 150,000 ปีจึงจะไปถึงดาวแห่งนั้น ระยะทางที่เอ่ยถึงนี้เป็นระยะทางภายในจานดาราจักรซึ่งครอบคลุมบริเวณระบบสุริยะ หากเป็นบริเวณใจกลางของดาราจักรหรือในกระจุกดาวทรงกลม ดาวฤกษ์จะอยู่ใกล้ชิดกันมากกว่านี้", "title": "ดาวฤกษ์" }, { "docid": "3708#49", "text": "ดาวฤกษ์ต่าง ๆ อยู่ห่างจากโลกมาก ดังนั้นนอกจากดวงอาทิตย์แล้ว เราจึงมองเห็นดาวฤกษ์ต่าง ๆ เป็นเพียงจุดแสงเล็ก ๆ ในเวลากลางคืน ส่องแสงกะพริบวิบวับเนื่องมาจากผลจากชั้นบรรยากาศของโลก ดวงอาทิตย์ก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง แต่อยู่ใกล้กับโลกมากพอจะปรากฏเห็นเป็นรูปวงกลม และให้แสงสว่างในเวลากลางวัน นอกเหนือจากดวงอาทิตย์แล้ว ดาวฤกษ์ที่มีขนาดปรากฏใหญ่ที่สุดคือ R Doradus ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมเพียง 0.057 พิลิปดา", "title": "ดาวฤกษ์" }, { "docid": "3708#3", "text": "ดาวฤกษ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารยธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมานับแต่อดีตกาล โดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา เป็นองค์ประกอบสำคัญในศาสตร์ของการเดินเรือ รวมไปถึงการกำหนดทิศทาง นักดาราศาสตร์ยุคโบราณส่วนใหญ่เชื่อว่าดาวฤกษ์อยู่นิ่งกับที่บนทรงกลมสวรรค์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากความเชื่อนี้ทำให้นักดาราศาสตร์จัดกลุ่มดาวฤกษ์เข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาวต่าง ๆ และใช้กลุ่มดาวเหล่านี้ในการตรวจติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ รวมถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ตำแหน่งการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง (และเส้นขอบฟ้า) นำมาใช้ในการกำหนดปฏิทินสุริยคติ ซึ่งสามารถใช้เพื่อกำหนดกิจวัตรในทางการเกษตรได้ ปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งใช้กันอยู่แพร่หลายในโลกปัจจุบัน จัดเป็นปฏิทินสุริยคติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมุมของแกนหมุนของโลกโดยเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ ดวงอาทิตย์", "title": "ดาวฤกษ์" } ]
[ { "docid": "624419#0", "text": "ดาวเวกา () หรือแอลฟาพิณ () เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับห้าในท้องฟ้าราตรี และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองในซีกฟ้าเหนือ รองจากดาวอาร์คตุรุส ดาวเวกาอยู่ค่อนข้างใกล้โลก ระยะห่างจากโลก 25 ปีแสง และดาวเวกา กับดาวอาร์คตุรุสและดาวซิริอุส เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในย่านดวงอาทิตย์", "title": "ดาวเวกา" }, { "docid": "3746#62", "text": "มีดาวฤกษ์อยู่ค่อนข้างน้อยในช่วงระยะ 10 ปีแสง (ประมาณ 95 ล้านล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือระบบดาวสามดวง แอลฟาคนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างออกไป 4.4 ปีแสง แอลฟาคนครึ่งม้า เอ และ บี เป็นดาวคู่ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ มีดาวแคระแดงขนาดเล็กชื่อ แอลฟาคนครึ่งม้า ซี (หรือดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า) โคจรรอบดาวคู่ทั้งสองนั้นที่ระยะห่าง 0.2 ปีแสง ดาวฤกษ์อื่นที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ในลำดับถัดออกไปได้แก่ดาวแคระแดงบาร์นาร์ด (5.9 ปีแสง) ดาววูลฟ์ 359 (7.8 ปีแสง) และ ดาวลาลังเดอ 21185 (8.3 ปีแสง) ดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่สุดในระยะ 10 ปีแสงจากดวงอาทิตย์ได้แก่ ดาวซิริอุส เป็นดาวฤกษ์สว่างบนแถบลำดับหลักที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ราว 2 เท่า มีดาวแคระขาวชื่อ ซิริอุส บี โคจรอยู่รอบ ๆ ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราไป 8.6 ปีแสง ระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระยะ 10 ปีแสงได้แก่ ระบบดาวแคระแดงคู่ ลูยเทน 726-8 (8.7 ปีแสง) ดาวแคระแดงเดี่ยว รอส 154 (9.7 ปีแสง) สำหรับดาวฤกษ์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ เทาวาฬ อยู่ห่างออกไป 11.9 ปีแสง มันมีมวลประมาณ 80% ของมวลดวงอาทิตย์ แต่มีความส่องสว่างเพียง 60% ของดวงอาทิตย์เท่านั้น ดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ใกล้ที่สุดเท่าที่รู้จัก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบดาวของ เอปไซลอนแม่น้ำ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ค่อนข้างหรี่จางและมีสีแดงกว่าดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไป 10.5 ปีแสง มีดาวเคราะห์ในระบบที่ได้รับการยืนยันแล้ว 1 ดวง คือ เอปไซลอนแม่น้ำ บี มีขนาดราว 1.5 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี คาบโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของมันใช้เวลา 6.9 ปี", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "3708#48", "text": "ดาวฤกษ์ที่มีองค์ประกอบธาตุเหล็กต่ำที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบ คือดาวแคระ HE1327-2326 โดยมีองค์ประกอบเหล็กเพียง 1 ใน 200,000 ส่วนของดวงอาทิตย์ ในด้านตรงข้าม ดาวฤกษ์ที่มีโลหะธาตุสูงมากคือ μ Leonis ซึ่งมีธาตุเหล็กสูงกว่าดวงอาทิตย์เกือบสองเท่า อีกดวงหนึ่งคือ 14 Herculis ซึ่งมีดาวเคราะห์เป็นของตนเองด้วย มีธาตุเหล็กสูงกว่าดวงอาทิตย์เกือบสามเท่า นอกจากนี้ยังมีดาวฤกษ์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีอันแปลกประหลาดอีกหลายดวงซึ่งสังเกตได้จากเส้นสเปกตรัมของมัน โดยที่มีทั้งโครเมียมกับธาตุหายากบนโลก", "title": "ดาวฤกษ์" }, { "docid": "359195#1", "text": "นับถึง ค.ศ. 2009 มีดาวเคราะห์นอกระบบที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าโคจรรอบดาวฤกษ์เอกในระบบดาวคู่นี้ คือ 55 ปู เอ (ดาวแคระเหลือง) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 ดวง เชื่อว่าดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ในสุดเป็น \"ซูเปอร์เอิร์ธ\" หรือดาวเคราะห์คล้ายโลก ซึ่งมีมวลขนาดใกล้เคียงกับดาวเนปจูน ขณะที่ดวงนอกสุดเชื่อว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี โดยมีมวลใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี ปัจจุบันระบบดาว 55 ปู เป็นหนึ่งในสี่ระบบดาวที่มีดาวเคราะห์ในระบบอย่างน้อย 5 ดวง และอาจมีมากกว่านั้น ดาวฤกษ์ 55 แคนซรี เอ อยู่ในอันดับที่ 63 ในจำนวน 100 อันดับดาวฤกษ์เป้าหมายในโครงการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก (Terrestrial Planet Finder) ขององค์การนาซ่า", "title": "55 ปู" }, { "docid": "276477#0", "text": "ดาวฤกษ์สว่างที่สุด จัดว่าเป็นดาวฤกษ์สว่างเนื่องจากมีความส่องสว่างมาก และ/หรือ มันอยู่ใกล้โลกมาก รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อดาวฤกษ์เดี่ยว 91 ดวงที่สว่างที่สุดเมื่อมองจากโลก ภายใต้การสังเกตคลื่นที่ตามองเห็น (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50) หากนับความสว่างที่ต่ำลงกว่านี้จะได้รายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก แผนภาพท้องฟ้าโดยมากจัดทำโดยนับรวมดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏถึง +11 ในคลื่นที่ตามองเห็น การสำรวจอย่างต่อเนื่องทำให้เราบันทึกรายชื่อดาวฤกษ์ที่มีความสว่างน้อยลงได้มากขึ้นเรื่อยๆ", "title": "รายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ" }, { "docid": "216162#1", "text": "ดาวฤกษ์ชนิด ที วัว เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในสภาวะก่อนเข้าสู่แถบลำดับหลัก คือดาวฤกษ์อายุน้อยที่สุดที่มองเห็นได้ ในระดับสเปกตรัมเอฟ จี เค และเอ็ม (มีมวลน้อยกว่า 2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) อุณหภูมิพื้นผิวมีค่าใกล้เคียงกับดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักที่มีมวลใกล้เคียงกัน แต่มีความส่องสว่างมากกว่าอย่างมากเพราะรัศมีของมันใหญ่กว่า อุณหภูมิในใจกลางยังค่อนข้างต่ำสำหรับฟิวชั่นของไฮโดรเจน พลังงานของมันมาจากการปลดปล่อยพลังงานแรงโน้มถ่วงเพื่อเข้าสู่แถบลำดับหลัก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 100 ล้านปี โดยทั่วไปดาวฤกษ์กลุ่มนี้มักหมุนรอบตัวเองในเวลาระหว่าง 1-12 วัน ขณะที่ดวงอาทิตย์ของเราใช้เวลาหมุนรอบตัวเองราว 1 เดือน", "title": "ดาวฤกษ์ชนิด ที วัว" }, { "docid": "3708#77", "text": "นับถึงปี ค.ศ. 2006 ดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่รู้จัก คือ LBV 1806-20 ที่ค่าแม็กนิจูด -14.2 ดาวฤกษ์ดวงนี้มีความส่องสว่างสูงกว่าดวงอาทิตย์อย่างน้อย 5,000,000 เท่า ดาวฤกษ์ที่มีความส่องสว่างต่ำที่สุดเท่าที่รู้จักตั้งอยู่ในกระจุกดาว NGC 6397 ดาวแคระแดงอันหรี่จางในกระจุกดาวนี้มีค่าแม็กนิจูด 26 ส่วนอีกดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาวมีค่าแม็กนิจูด 28 ดาวเหล่านี้จางแสงมากเทียบได้กับแสงจากเทียนวันเกิดที่จุดไว้บนดวงจันทร์และมองจากบนโลก", "title": "ดาวฤกษ์" }, { "docid": "3753#49", "text": "ดาวอังคารมีความเอียงของแกนเท่ากับ 25.19 องศา สัมพัทธ์กับระนาบการโคจรซึ่งคล้ายคลึงกับความเอียงของแกนโลก เป็นผลให้ดาวอังคารมีฤดูกาลคล้ายโลกแม้ว่าแต่ละฤดูบนดาวอังคารจะยาวเกือบสองเท่าเพราะคาบการโคจรที่ยาวนานกว่า ณ ปัจจุบัน ขั้วเหนือของดาวอังคารมีการวางตัวชี้ไปใกล้กับดาวฤกษ์เดเนบ ดาวอังคารผ่านจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในเดือนมกราคม 2013 จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดถัดไปคือมกราคม 2014 และจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดถัดไปคือธันวาคมปีเดียวกัน", "title": "ดาวอังคาร" }, { "docid": "3708#76", "text": "ดวงอาทิตย์มีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ -26.7 แต่มีค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์เพียง +4.83 ดาวซิริอุสซึ่งเป็นดาวสว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามราตรีเมื่อมองจากโลก มีความส่องสว่างสูงกว่าดวงอาทิตย์ถึง 23 เท่า ขณะที่ดาวคาโนปุส ดาวฤกษ์สว่างอันดับสองบนท้องฟ้ายามราตรี มีค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์เท่ากับ -5.53 นั่นคือมีความส่องสว่างสูงกว่าดวงอาทิตย์ถึง 14,000 เท่า ทั้ง ๆ ที่ดาวคาโนปุสมีความส่องสว่างสูงกว่าดาวซิริอุสอย่างมาก แต่เมื่อมองจากโลก ดาวซิริอุสกลับสว่างกว่า ทั้งนี้เนื่องจากดาวซิริอุสอยู่ห่างจากโลกเพียง 8.6 ปีแสง ขณะที่ดาวคาโนปุสอยู่ห่างจากโลกออกไปถึงกว่า 310 ปีแสง", "title": "ดาวฤกษ์" }, { "docid": "3708#9", "text": "วิลเลียม เฮอร์เชล เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่พยายามตรวจหาการกระจายตัวของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1780 เขาได้ทำการตรวจวัดดวงดาวในทิศทางต่าง ๆ มากกว่า 600 แบบ และนับจำนวนดาวฤกษ์ที่มองเห็นในแต่ละทิศทางนั้น ด้วยวิธีนี้เขาพบว่า จำนวนของดาวฤกษ์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอไปทางด้านหนึ่งของท้องฟ้า คือในทิศทางที่มุ่งเข้าสู่ใจกลางของทางช้างเผือก จอห์น เฮอร์เชล บุตรชายของเขาได้ทำการศึกษาซ้ำเช่นนี้อีกครั้งในเขตซีกโลกใต้ และพบผลลัพธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกเหนือจากผลสำเร็จด้านอื่น ๆ แล้ว วิลเลียม เฮอร์เชลได้รับยกย่องจากผลสังเกตของเขาครั้งนี้ว่า มีดาวฤกษ์บางดวงไม่ได้อยู่บนแนวเส้นสังเกตอันเดียวกัน แต่มีดาวอื่นใกล้เคียงซึ่งเป็นระบบดาวคู่", "title": "ดาวฤกษ์" } ]
1460
ลีกออฟเลเจนด์ เป็นเกมโมบา 3 มิติที่ออกแบบให้เล่นในมุมมองบุคคลที่ 3 ตัวละครหลักของลีกออฟเลเจนด์นั้น คือ อะไร?
[ { "docid": "700421#2", "text": "ลีกออฟเลเจนด์ เป็นเกมโมบา 3 มิติที่ออกแบบให้เล่นในมุมมองบุคคลที่ 3 ตัวละครหลักของลีกออฟเลเจนด์นั้น คือ แชมเปี้ยน (Champion)[6] ที่จะถูกบังคับ โดย ผู้เล่น หรือปัญญาประดิษฐ์ และจะแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมละ 5 คน รูปแบบการเล่นที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ แบบ คลาสสิค (Classic) ซึ่งแต่ละทีมนั้นเริ่มต้นโดยมี สิ่งก่อสร้างอันหนึ่งที่เรียกว่า เน็คซัส (Nexus) อยู่ตรงกลาง ขณะที่โดยปกป้องโดย ป้อมปราการ เป้าหมายของแต่ละเกมส์คือร่วมมือกันกับเพื่อนร่วมทีมสร้างช่องโหว่ที่ฐานของทีมตรงข้าม และทำลายเน็คซัสของพวกเขา ในขณะเดียวกันแต่ละเน็คซัสนั้นจะสร้างลูกสมุนที่เรียกว่า มินเนี่ยนส์ (Minions) ที่จะเดินทางบนเลน (Lanes) ไปสู่ฐานของศัตรู ช่องว่างระหว่างเลนส์นั้นจะมีพื้นที่ป่า (Jungle) ซึ่งสัตว์ประหลาดไร้ฝ่ายอาศัยอยู่ ทั้งสองทีมสามารถที่จะฆ่าสัตว์ประหลาดเหล่านี้เพื่อเอาเงินและประสบการณ์ได้", "title": "ลีกออฟเลเจนด์" } ]
[ { "docid": "700421#1", "text": "ตั้งแต่เปิดตัว ลีกออฟเลเจนด์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2012ลีกออฟเลเจนด์ เป็นเกมส์คอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเล่นมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปเมื่อนับชั่วโมงในการเล่น[4] จากสถิติเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 มีคนเล่นเกมส์ ลีกออฟเลเจนด์ ถึง 67 ล้านคนต่อหนึ่งเดือน 27 ล้านคนต่อวัน และมากกว่า 7.5 ล้านคนต่อหนึ่งชั่วโมงในชั่วโมงใช้สูงสุด[5]", "title": "ลีกออฟเลเจนด์" }, { "docid": "77388#1", "text": "เกมโซนิครัชในภาพในเกมกับฉากต่างๆและวิธีการเล่นเป็นสองมิติเหมือนกับเกมภาคต้นฉบับ แต่ตัวละครหลักและบอสกับฉากบอสได้ใช้กราฟิก 3 มิติมาแทน แต่ยังคงลักษณะและท่าทางเหมือนกับแบบสองมิติ เกมนี้ได้ใช้ระบบสองจอในการเอื้อยอำนวยต่อการเล่น ในการเล่นปกติจอบนและจอล่างจะแสดงฉากในเกมแนวตั้ง ซึ่งถือเป็นลูกเล่นสำคัญในภาคนี้ที่ผู้เล่นจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวละครในเกมได้วิ่งทะลุมาอีกจอหนึ่ง ในฉากโบนัสจอล่างจะใช้ควบคู่กับสไตลัส ส่วนจอบนจะแสดงสถานภาพ ส่วนในฉากบอสจอล่างจะแสดงพลังของบอสและจอบนจะเป็นฉากในเกม\nในเกมนี้โซนิคจะต้องรวบรวมคาออสเอเมอรัลด์ โดยผู้เล่นจะต้องหาแท่นหมุนวงกลมที่มีรูปดาวอยู่ตรงกลาง ซึ่งผู้เล่นต้องสะสมพลังงานไว้บางส่วน จากนั้นเกาะแท่นหมุนตัวแล้วกด Y ค้าง ถ้ามีเงื่อนไขถึงที่กำหนดก็จะสามารถเข้าฉากโบนัสได้ ซึ่งใช้ปากกาในการลากโซนิค โดยรูปแบบการเล่นจะคล้ายคลึงกับโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก 2 ซึ่งโซนิคจะอยู่ในฉากท่อผ่าครึ่งและต้องคอยเก็บแหวนและหลบหลีกระเบิด (ซึ่งจะทำให้เสียแหวน) นอกจากนั้นยังมีโบนัสกดตามลำดับเมื่อผู้เล่นสัมผัสลูกโป่ง", "title": "โซนิครัช" }, { "docid": "255409#5", "text": "ผู้เล่นที่หนึ่งจะได้รับบทเป็นบิล ส่วนผู้เล่นที่สองจะได้รับบทเป็นแลนซ์ ตัวเกมเป็นรูปแบบการวิ่งและยิง หรือที่เรียกว่า \"รันแอนด์กัน\" (Run & Gun) มุมมองด้านข้างเคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่า \"ไซด์ สโครลิ่ง\" (Side Scrolling) ผู้เล่นควบคุมตัวละครเอกให้เดินหน้า เดินกลับหลัง เงยหน้า นอนยิง ด้วยปุ่มลูกศร กระโดดและยิงปืน ด้วยปุ่มกระทำ ตัวละครเอกจะต้องเดินจากด้านซ้ายของฉากไปยังด้านขวาสุดของฉาก และปราบศัตรูที่แข็งแกร่งที่สุดของด่านนั้นไปให้ได้เพื่อผ่านไปฉากต่อไป\nจะมีบางช่วงที่เกมเป็นมุมมองบุคคลที่สาม ผู้เล่นจะเห็นด้านหลังของตัวละครเอกในเกม ผู้เล่นจะต้องยิงทำลายดวงไฟซึ่งให้พลังงานกับรั้วเลเซอร์ และเดินไปข้างหน้าต่อไป และเลี้ยวซ้ายหรือขวาตามที่แผนที่กำหนด จนกว่าจะสุดทาง และปราบศัตรูที่แข็งแกร่งที่สุดลงอีก จนกว่าผู้บงการเหล่าร้ายจะถูกปราบ\nสำหรับอาวุธในเกมนี้ นอกจากปืนเล็กยาวซึ่งเป็นอาวุธหลักของตัวละครในเกมนี้แล้ว ยังมีปืนรูปแบบอื่นๆให้เก็บสำหรับยิงต่อสู้ศัตรู เช่น ปืนลูกซอง, ปืนยิงลำแสง, ปืนยิงลูกไฟ, และปืนกลอเนกประสงค์ เป็นต้น", "title": "คอนทรา (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "513894#3", "text": "\"ไมน์คราฟต์\" เป็นเกมแซนด์บ็อกซ์สามมิติที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย คือผู้เล่นมีอิสระในการเลือกว่าจะเล่นเกมอย่างไร อย่างไรก็ตามก็มีระบบอะชีฟเมนต์ (Achievement) เกมการเล่นโดยค่าเริ่มต้นจะเป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่ง แต่ผู้เล่นก็สามารถปรับเป็นมุมมองบุคคลที่สามได้ เกมการเล่นหลัก ๆ ของเกมนี้จะเกี่ยวกับการทำลายและวางบล็อก โดยโลกของเกมนี้ประกอบไปด้วยวัตถุที่เป็น 3 มิติ (โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกบาศก์) จัดเรียงในรูปแบบของตารางและบล็อกเหล่านั้นจะแทนเป็นวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน หิน แร่ต่าง ๆ น้ำ ลาวา ลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น ในขณะที่ผู้เล่นสามารถเดินทางได้อย่างอิสระรอบ ๆ โลก แต่วัตถุต่าง ๆ จะสามารถถูกวางไว้ในรูปแบบของตารางที่กำหนดไว้เท่านั้น ผู้เล่นสามารถเก็บวัตถุเหล่านี้และวางมันในที่ที่ผู้เล่นต้องการได้", "title": "ไมน์คราฟต์" }, { "docid": "836313#0", "text": "สไนเปอร์ อีลีต 3 () เป็นวิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่สามที่พัฒนาโดย Rebellion Developments และเผยแพร่โดย 505 Games เป็นวิดีโอเกมภาคที่สามของสไนเปอร์ อีลีต โดยภาคนี้เป็นภาคต่อจาก \"สไนเปอร์ อีลีต วี 2\" โดย Karl Fairburne เจ้าหน้าที่ของสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ที่ได้ไปเข้าร่วมในการทัพแอฟริกาเหนือที่แนวรบด้านเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อทำลายรถถังลันด์ครอยเซอร์ พี.1000 รัตต์อาวุธลับของกองทัพแอฟริกา คอร์ของนาซีเยอรมนี", "title": "สไนเปอร์อีลีต 3" }, { "docid": "700421#8", "text": "ระหว่างในเลนของทั้งสองฝั่ง จะมีพื้นที่ที่เป็นป่าและแม่น้ำ ซึ่งในป่าจะแบ่งเป็น 4 ควอดรันต์ และจะมีตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่น และมีพลังที่มากกว่ามินเนียนส์ ซึ่งเรียกว่า มอนสเตอส์ โดยแม่น้ำจะแบ่งแผนที่ระหว่างฝั่งบนซ้ายและฝั่งล่างขวาเป็นส่วนเท่า ๆ กัน โดยในแม่น้ำนั้นจะมีมอนสเตอส์ป่า 3 แบบ คือ สคัตเทิลแครบ (Scuttle Crab), มังกร (Dragon) และ ริฟต์เฮราลด์ (Rift Herald) หรือ บารอนนาชอร์ (Baron Nashor)", "title": "ลีกออฟเลเจนด์" }, { "docid": "748951#1", "text": "ภาค<i data-parsoid='{\"dsr\":[1876,1887,2,2]}'>ไฟร์เรด</i>และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1890,1901,2,2]}'>ลีฟกรีน</i>เป็นหนึ่งในเกมแนวสวมบทบาทชุด โปเกมอน ผู้เล่นควบคุมตัวละครผู้เล่นจากมุมมองเหนือศีรษะ และต่อสู้แบบเทิร์นเบสเช่นเดียวกับภาคแรก อย่างไรก็ตาม มีคุณสมบัติใหม่ ช่น เมนูช่วยเหลือ และภูมิภาคใหม่เพิ่มเข้ามา ตลอดทั้งเกม ผู้เล่นจับและเลี้ยงดูโปเกมอนเพื่อใช้ต่อสู้", "title": "โปเกมอน ไฟร์เรดและลีฟกรีน" }, { "docid": "526820#18", "text": "ใน ค.ศ. 1994 ริเวอร์ฮิลล์ซอฟต์ออกจำหน่ายเกม \"ดอกเตอร์เฮาเซอร์\" เกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดภาพสามมิติเต็มรูปแบบเกมแรก สำหรับเครื่อง 3DO ทั้งตัวละครผู้เล่นและสิ่งแวดล้อมถูกเรนเดอร์ให้เป็นรูปหลายเหลี่ยม ให้ผู้เล่นสามารถสลับมุมมองได้ 3 มุมมอง ได้แก่ มุมมองบุคคลที่สาม มุมมองบุคคลที่หนึ่ง และมุมมองเหนือศีรษะ ความแตกต่างจากเกมแนวสยองขวัญเอาชีวิตแรกยุคก่อนและหลังคือ \"ดอกเตอร์เฮาเซอร์\" ไม่มีศัตรู แต่สิ่งคุกคามอย่างเดียวคือบ้านที่เล่นกับความรู้สึกซึ่งเป็นสถานที่ในเกม โดยผู้เล่นต้องรับมือกับกับดักและแก้ปริศนา เกมยังใช้เสียงประกอบ เช่น ดนตรีเบื้องหลัง ที่คอยเพิ่มความตึงเครียดและจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และเสียงสะท้อนจากฝีเท้าของตัวละครที่เปลี่ยนแปลงได้ตามพื้นผิว ต่อมานำมาใช้กับเกม\"เรซิเดนต์อีวิล\" ปัจจุบันถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการสรรค์สร้างเกมแนวสยองขวัญเอาชีวิตรอด และนำมาปรับปรุงในเกม\"อะโลนอินเดอะดาร์ก\" ", "title": "สยองขวัญเอาชีวิตรอด" }, { "docid": "700421#0", "text": "ลีกออฟเลเจนด์ ([League of Legends]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help),[리그 오브 레전드]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help),[リーグ・オブ・レジェンド]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help) ,ย่อ: LoL) เป็นเกมแนว โมบา (MOBA) พัฒนาโดย ไรออตเกมส์ เล่นได้บนระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์[3] และ แมคโอเอส", "title": "ลีกออฟเลเจนด์" }, { "docid": "818167#4", "text": "คิมมิชลงแข่งให้บาเยิร์นมิวนิกครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (2015) ในรายการเดเอฟเบโพคาล รอบแรก พบกับเอฟเซ เนิททิงเงิน และเอาชนะไปได้ 1:3 เขาลงแข่งในรายการบุนเดสลีกาครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 กันยายน ปีเดียวกัน (วันที่ 4 ของรายการ) ซึ่งบาเยิร์นมิวนิกเปิดบ้านพบกับเอฟเซ เอาก์สบูร์ก จากการเปลี่ยนตัวกับฟิลิปป์ ลาห์มในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ นัดนั้นบาเยิร์นเอาชนะเอาก์สบูร์กไปได้ 2:1 คิมมิชลงแข่งครั้งแรกในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เมื่อวันที่ 16 กันยายน ปีเดียวกัน ในนัดที่บาเยิร์นมิวนิกไปเยือนโอลิมเปียกอส เขาได้ลงในนาทีที่ 76 จากการเปลี่ยนตัวกับชาบี อาลอนโซ ซึ่งบาเยิร์นเอาชนะไปได้ คิมมิชลงเล่นเป็น 11 ตัวจริงครั้งแรกในบุนเดสลีกาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558 ในนัดเยือนสโมสรเอสเฟา ดาร์มชตัดท์ 98 และชนะไปด้วยประตู 3:0 และลงเล่นเป็น 11 ตัวจริงครั้งแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเมื่อวันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกัน ในนัดเปิดบ้านพบกับดีนาโมซาเกร็บ และเอาชนะไปได้ 5:0 วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เมื่อใกล้สิ้นฤดูกาลบุนเดสลีกา (วันที่ 33 จาก 34 วันของรายการ) เป็นที่ทราบกันแล้วว่าบาเยิร์นมิวนิกสามารถคว้าแชมป์บุนเดสลีกาได้อีกสมัย ทำให้คิมมิชได้รับรางวัลนี้เป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน บาเยิร์นมิวนิกพร้อมทั้งคิมมิชก็สามารถเอาชนะโบรุสเซียดอร์ทมุนด์ในรายการถ้วยเดเอฟเบโพคาลซึ่งจัดขึ้นในกรุงเบอร์ลิน คิมมิชได้ลงเป็นผู้เล่น 11 ตัวจริงในนัดดังกล่าวและได้เป็นหนึ่งในผู้ดวลลูกโทษ และยังเอาชนะไปด้วยประตู 4:3 ถือเป็นครั้งแรกของคิมมิชที่ได้รับแชมป์ในรายการใหญ่ของประเทศ 2 รายการในปีเดียว", "title": "โยชูอา คิมมิช" }, { "docid": "513894#16", "text": "มาร์คัส แพร์สสัน เริ่มพัฒนาเกมนี้เหมือนโครงงานโครงงานหนึ่ง เขาได้แรงบันดาลใจที่จะสร้าง \"ไมน์คราฟต์\" จากหลาย ๆ เกม เช่น \"วาร์ฟฟอร์เทรส\", \"ดันเจียนคีปเปอร์\" และ \"อินฟินิไมเนอร์\" ในเวลานั้นเขามองเห็นว่าสิ่งก่อสร้าง 3 มิตินั้นเป็นแรงบันดาลใจของเขาและผสมผสานกันระหว่างความคิดต้นแบบของเขา \"อินฟินิไมเนอร์\" มีอิทธิพลอย่างมากกับรูปแบบเกมการเล่น รวมไปถึงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง รูปแบบของภาพ และบล็อกพื้นฐานของเกมนี้ อย่างไรก็ตามก็ไม่เหมือนกับ \"อินฟินิไมเนอร์\" แพร์สสันอยากให้ \"ไมน์คราฟต์\" มีองค์ประกอบของเกมเล่นตามบทบาท (Role-playing game หรือ RPG)", "title": "ไมน์คราฟต์" }, { "docid": "942731#5", "text": "การเล่นของเกมนี้มีความคล้ายคลึงกับเกม \"ลีกออฟเลเจนด์\"ซึ่งเป็นเกมจากเทนเซ็นต์เหมือนกัน ซึ่งวิธีการเล่น ROV เราต้องมาทำความรู้จักกับตำแหน่งต่างๆของตัวละครในเกมและหน้าที่ของตัวละครในสายต่างๆ..", "title": "อารีนาออฟเวเลอร์" }, { "docid": "397344#4", "text": "\"เดียโบล III\" มีรูปแบบที่คล้ายกับ เดียโบล II ในภาคก่อน การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเอนจินจะรวมเข้ากับรูปแบบของบลิซซาร์ดกับลักษณะอินเฮาส์ โดยเปลี่ยนจากเอนจินการใช้งานเดิมของ ฮาร์วอค และการทำลายสภาพแวดล้อมด้วยเอฟเฟ็กต์การสร้างความเสียหายภายในเกม ซึ่งผู้พัฒนามีเป้าหมายเพื่อให้เกมสามารถทำงานได้หลากหลายตามระบบที่มี และมีการกล่าวว่าจะไม่จำเป็นต้องใช้ ไดเรกต์เอกซ์ 10 \"เดียโบล III\" จะใช้รูปแบบเกม 3 มิติ เพื่อนำเสนอมุมมองแบบข้ามศีรษะสำหรับผู้เล่น ในลักษณะที่มีมุมมองในไอโซเมตริกเดียวกันที่ใช้ในเกมชุดก่อนหน้า โดยเหล่าศัตรูจะใช้ประโยชน์จากสภาพ 3 มิตินี้เช่นกัน เช่นดังรูปแบบการมีรูปแบบของกำแพงด้านข้างที่แสดงความลึกของพื้นที่สนามรบ", "title": "เดียโบล 3" }, { "docid": "52281#0", "text": "ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 ( ; ) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์มที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมแฟมิคอม เป็นภาคต่อของเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 2 ของปี ค.ศ. 1988 และเป็นเกมลำดับที่สามของเกมชุดซูเปอร์มาริโอ เกมออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 เกมนำเสนอมุมมองบุคคลที่สามแบบสองมิติที่ผู้เล่นสามารถควบคุมตัวละครเอกในจอ (มาริโอ หรือลุยจิ ตัวใดตัวหนึ่ง) เกมมีกลไกคล้ายกับเกมภาคก่อนหน้า \"ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์\" \"\" และ\"ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 2\" แต่มีสิ่งของใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย นอกจากจะวิ่งและกระโดดได้อย่างแต่ก่อน ผู้เล่นสามารถบินและลอยได้ด้วยไอเทมช่วยเหลือต่าง ๆ สามารถลื่นลงทางลาดชัน และกระโดดท่าใหม่ ๆ ได้", "title": "ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3" }, { "docid": "139317#2", "text": "เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งเป็นเกมยิงสามมิติรูปแบบหนึ่ง ที่เสนอมุมมองบุคคลที่หนึ่ง โดยผู้เล่นจะเห็นการกระทำผ่านสายตาของตัวละครผู้เล่น พวกเขาจะไม่เหมือนกับเกมยิงมุมมองบุคคลที่สามที่ผู้เล่นจะเห็นตัวละครที่เขาควบคุมได้ได้ (ปกติเห็นจากด้านหลัง) องค์ประกอบหลักของเกมแนวนี้คือการโจมตี โดยหลักแล้วจะเกี่ยวพันกับอาวุธปืน", "title": "วิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง" }, { "docid": "705750#1", "text": "ตัวเกม<b data-parsoid='{\"dsr\":[3312,3335,3,3]}'>แกรนด์เธฟต์ออโต Vนั้นสามารถเล่นได้ในรูปแบบมุมมองบุคคลที่สาม หรือ บุคคลที่หนึ่ง(มีเฉพาะเวอร์ชันรีมาสเตอร์) โลกใน<i data-parsoid='{\"dsr\":[3429,3450,2,2]}'>แกรนด์เธฟต์ออโต Vนั้นสามารถสำรวจได้ด้วยการเดินหรือใช้พาหนะต่างๆภายในเกม โดยที่ผู้เล่นสามารถเล่นได้ถึงสามตัวละครสลับไปมาระหว่างการเล่นหรือทำภารกิจและสลับเพื่อทำภารกิจที่มีตัวละครใดๆเป็นเงื่อนไข เนื้อเรื่องหลักของแกรนด์เธฟต์ออโต V นั้นมุ่งไปยังวงวนของการโจรกรรม โดยบางภารกิจนั้นต้องใช้อาวุธขณะขับพาหนะเกมไปด้วย และผู้เล่นที่ทำผิดกฎหมายในเกมนั้นจะถูกลงโทษผ่านการให้ดาว ซึ่งแสดงถึงระดับความผิดที่ทำลงไปพร้อมความรุนแรงในการลงโทษจากตำรวจภายในเกมที่เพิ่มขึ้น ส่วนในระบบการเล่นหลายคนของแกรนด์เธฟต์ออโต V มีชื่อเรียก แกรนด์เธฟต์ออโต ออนไลน์ ซึ่งรองรับผู้เล่นได้ 30 คนในแบบโอเพ่นเวิร์ดและการเล่นแบบมีส่วนร่วมต่อกันและกัน", "title": "แกรนด์เธฟต์ออโต V" }, { "docid": "856271#8", "text": "ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 แบคฮยอนได้แสดงละครโทรทัศน์แนวอิงประวัติศาสตร์เรื่อง \"ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์\" ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนเรื่อง \"ปู้ปู้จิงซิน\" การแสดงของเขาในเรื่องทำให้เขาได้รับรางวัลดาวดวงใหม่จากงานเอสบีเอสดราม่าอะวอดส์ 2016 เขายังบันทึกเสียงร่วมกับสมาชิกจากเอ็กโซคือ เฉิน และซิ่วหมิน สำหรับเพลงประกอบละครที่มีชื่อว่า \"ฟอร์ยู\" ก่อนที่พวกเขาทั้งสามคนจะเป็นสมาชิกในยูนิตย่อยวงแรกอย่างเป็นทางการของเอ็กโซ เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์ โดยเปิดตัวพร้อมกับเอกซ์เทนเดดเพลย์ที่มีชื่อว่า \"เฮย์มามา!\" ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2016 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 แบคฮยอนเข้าร่วมการแข่งขัน\"ลีกออฟเลเจนด์\" ของทางสังกัดเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ชื่องานว่า \"2016 เอสเอ็มซูเปอร์เซเลบลีก\" โดยเขาและเพื่อนร่วมทีมในสังกัต คิม ฮีชอล ต้องเล่นเกมแข่งขันกับผู้เล่นที่ชำนาญและแฟนคลับจากเกาหลีใต้และจีน", "title": "พย็อน แบ็ก-ฮย็อน" }, { "docid": "1001487#0", "text": "โซนิคเจเนอเรชัน () เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์ม พัฒนาโดยโซนิคทีม และจัดจำหน่ายโดยเซก้า โดยเกมในซีรีส์ \"โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก\" ซึ่งเป็นเกมที่ผลิตขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของซีรีส์นี้ โดยที่มีโซนิคและเพื่อนสนิทของเขาเทลส์ เมื่อพวกเขารวมตัวเป็นพันธมิตรกับตัวเองในอดีตเพื่อหยุดยั้งความชั่วร้ายจากการลบตลอดเวลา ตัวเกมมีรูปแบบการเล่นสองแบบคือแบบ \"คลาสสิก\" ซึ่งเล่นจากมุมมองด้านข้างแบบเลื่อนได้จากรูปแบบเกมโซนิคในเครื่องเซก้าเจเนซิสดั้งเดิม และ \"สมัยใหม่\" 3 มิติ ระดับจะคล้ายกับในเกม \"โซนิคอันลีช\" และ \"โซนิคคัลเลอร์ส\"", "title": "โซนิคเจเนอเรชัน" }, { "docid": "700421#3", "text": "ในทุกโหมด ผู้เล่นจะควบคุมตัวละคร หรือที่เรียกว่า \"แชมเปียนส์\" โดยการเลือกหรือการสุ่มในทุก ๆ เกม โดยแต่ละตัวละครจะมีความสามารถที่ต่างกันไป[7] ซึ่งในทุก ๆ เกม แชมเปียนส์จะเริ่มต้นด้วยเลเวลที่ต่ำที่สุด (เลเวล 1 สำหรับซัมมอนเนอส์ริฟต์ และ ทวิสต์ทรีไลน์, เลเวล 3 สำหรับคริสตัลสการ์ และ ฮาวลิงอาบิสส์) และหลังจากนั้นจะเก็บค่าประสบการณ์จนเต็มที่เลเวล 18 โดยเมื่อเลเวลเพิ่ม 1 เลเวลในเกม จะทำให้ผู้เล่นสามารถปลดล็อกความสามารถของแชมเปียนส์ได้ โดยผู้เล่นจะเริ่มต้นเกมด้วยทองที่ต่ำ และสามารถเก็บทองได้จากหลายทาง เช่น การฆ่าตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่น หรือที่เรียกว่า มินเนียนส์ และ มอนสเตอร์, การฆ่าศัตรูหรือช่วยเหลือในการฆ่า, การทำลายสิ่งก่อสร้าง, ทองจะเพิ่มอัตโนมัติตามเวลา และไอเทมเพิ่มทอง หรือ ความสามารถของแชมเปียนส์นั้น ๆ ซึ่งทองสามารถนำไปซื้อไอเทม หรือ สิ่งของภายในเกม เพื่อทำให้ตัวละครมีความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยการเก็บค่าประสบการณ์, การได้รับทอง, การซื้อไอเทม ของตัวละคร จะส่งผลต่อทีมในเกมนั้นด้วย", "title": "ลีกออฟเลเจนด์" }, { "docid": "139317#5", "text": "เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งจะเกี่ยวข้องกับอวตาร อาวุธพิสัย และศัตรูจำนวนมาก เช่นเดียวกับเกมยิงปืนส่วนใหญ่ เกมมีความสมจริงมากกว่าเกมยิงแบบสองมิติ เนื่องจากเกมดำเนินเรื่องในสภาพแวดล้อมสามมิติ และมีแรงโน้มถ่วง แสง เสียง และการถล่มทลายที่ถูกต้องแม่นยำกว่า เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่เล่นในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมักควบคุมด้วยคีย์บอร์ดและเมาส์ กล่าวกันว่าการควบคุมในคอมพิวเตอร์ทำได้ดีกว่าการควบคุมในคอนโซลเกม ซึ่งใช้ก้านอะนาล็อก อันหนึ่งใช้สำหรับวิ่งและไปด้านข้าง ส่วนอีกอันหนึ่งใช้มองและเล็ง ปกติเกมจะแสดงมือและอาวุธของตัวละครในมุมมองหลัก โดยมีผลแสดงเหนือศีรษะแสดงพลังชีวิต อาวุธยุทธภัณฑ์ และรายละเอียดสถานที่ บ่อยครั้งเป็นไปได้ว่ามีแผนที่บริเวณรอบ ๆ แสดงซ้อนอยู่ด้วย", "title": "วิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง" }, { "docid": "139317#0", "text": "เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง () เป็นวิดีโอเกมประเภทหนึ่งที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่อาวุธปืนและการโจมตีโดยใช้อาวุธผ่านมุมมองบุคคลที่หนึ่ง กล่าวคือ ผู้เล่นจะพบกับการกระทำผ่านดวงตาของตัวเอก และในบางครั้งอาจเป็นดวงตาของปฏิปักษ์ เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งมีคุณสมบัติเดียวกันกับเกมยิงประเภทอื่น ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นเกมแอ็กชันประเภทหนึ่งเช่นกัน จากจุดเริ่มต้นของเกมประเภทดังกล่าว กราฟิกสามมิติขั้นสูงและเสมือนสามมิติเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการพัฒนาฮาร์ดแวร์ และได้รวมเอาระบบผู้เล่นหลายคนเข้าไว้ด้วย", "title": "วิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง" }, { "docid": "169314#4", "text": "ใน คิงดอมฮาตส์ II ผู้พัฒนาได้พยายามปรับปรุงจุดด้อยจากระบบการเล่นของภาคก่อนหน้า แต่ยังคงมีระบบที่คล้ายคลึงกับ คิงดอมฮาตส์ ผู้เล่นจะควบคุมโซระโดยตรงจากมุมมองของกล้องแบบบุคคลที่ 3 หรือสามารถปรับเปลี่ยนเป็นมุมมองแบบบุคคลที่ 1 ก็ได้ การเล่นส่วนใหญ่จะอยู่บน interconnected field map ที่มีการต่อสู้เกิดขึ้น เกมจะดำเนินไปแบบเส้นตรงจากเหตุการณ์หนึ่งไปสู่เหตุการณ์ต่อไป ซึ่งปกติแล้วจะแสดงในรูปของคัตซีน และยังมีเควสต์เสริมมากมายที่จะมีโบนัสสำหรับตัวละคร", "title": "คิงดอมฮาตส์ II" }, { "docid": "373868#0", "text": "ไซเลนต์ฮิลล์ () เป็นวิดีโอเกมแนวสยองขวัญเอาชีวิตรอดสำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน จำหน่ายโดยโคนามิ และพัฒนาโดยทีมไซเลนต์ จากโคนามิคอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนต์โตเกียว เกมภาคแรกของเกมชุด\"ไซเลนต์ฮิลล์\"นี้ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือในเดือนมกราคม ค.ศ. 1999 และในญี่ปุ่นและยุโรปภายหลังในปีเดียวกัน \"ไซเลนต์ฮิลล์\"ใช้มุมมองบุคคลที่สามและสิ่งแวดล้อมสามมิติเรียลไทม์ นักพัฒนาเกมใช้หมอกและความมืดเพื่อทำให้กราฟิกดูหมองมัวเนื่องจากข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ เกมนี้แตกต่างจากเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดก่อนหน้านี้ที่เน้นตัวเอกที่ต้องฝึกฝนการต่อสู้ แต่ตัวละครผู้เล่นในเกมไซเลนต์ฮิลล์เป็น \"คนธรรมดาทั่วไป\" (everyman)", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์ (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "747944#1", "text": "ผู้เล่นได้ควบคุมตัวละครหลักจากมุมมองด้านบนและพาเขาท่องภูมิภาคคันโตในภารกิจเพื่อเป็นสุดยอดนักต่อสู้โปเกมอน เป้าหมายของเกมคือการเป็นแชมเปียนของโปเกมอนลีกโดยเอาชนะหัวหน้ายิม 8 คน และโปเกมอนเทรนเนอร์ยอดเยี่ยม 4 คนในภูมิภาค หรือเรียกว่าจตุรเทพทั้งสี่ (Elite Four) อีกเป้าหมายหนึ่งของเกมคือเติมเต็มสมุดภาพโปเกมอนหรือโปเกเดกซ์ (Pokédex) สารานุกรมภายในเกมให้สมบูรณ์ โดยครอบครองโปเกมอนให้ครบ 150 ตัว ทีมร็อกเก็ตเป็นกองกำลังปฏิปักษ์ เช่นเดียวกับคู่แข่งวัยเด็กของตัวละครผู้เล่นด้วย ภาค\"เรด\"และ\"บลู\"มีอุปกรณ์เสริมคือสายเกมลิงก์เคเบิล สำหรับเชื่อมต่อเครื่องเล่นสองเครื่องและสามารถแลกเปลี่ยนโปเกมอนหรือต่อสู้ระหว่างกันได้ เกมทั้งสองภาคเป็นอิสระจากกันแต่มีเนื้อเรื่องเหมือนกัน และขณะที่ผู้เล่นสามารถเล่นแยกกันได้ ผู้เล่นจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนโปเกมอนกันเพื่อครอบครองให้ได้ครบ 150 ตัว โปเกมอนตัวที่ 151 (มิว) จะได้มาผ่านความผิดพลาดหรือกลิตช์ (glitch) ในเกมหรือการจำหน่ายอย่างเป็นทางการจากนินเท็นโด", "title": "โปเกมอน เรดและบลู" }, { "docid": "700421#7", "text": "ซัมมอนเนอส์ริฟต์ (English: Summoner's Rift) เป็นแผนที่ยอดนิยมที่สุดในเกม โดยในแผนที่นี้ ทั้ง 2 ทีมที่มีทีมละ 5 คน จะต้องแข่งขันกันทำลายสิ่งก่อสร้างของฝ่ายตรงข้ามที่เรียกว่า \"เน็กซัส\" (Nexus) ซึ่งจะถูกป้องกันโดยสิ่งก่อสร้าง, ป้อมปราการ รวมไปถึงผู้เล่นของฝ่ายตรงข้าม[10] โดยจะมีเน็กซัสตั้งอยู่ในฐานของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งจะตั้งอยู่ในมุมซ้ายล่างและมุมขวาบนของแผนที่ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นจะผลิตตัวละครที่มีความอ่อนแอกว่าผู้เล่น หรือที่เรียกว่า มินเนียนส์ โดยมันจะเดินไปจนถึงฐานของฝ่ายตรงข้ามใน 3 ทิศทาง: บน, ล่าง และ กลาง ซึ่งผู้เล่นจะต้องพามินเนียนส์ไปยังฐานของฝ่ายตรงข้าม โดยจะต้องทำลายสิ่งก่อสร้าง, ทำลายเน็กซัส เพื่อที่จะชนะเกม", "title": "ลีกออฟเลเจนด์" }, { "docid": "674768#0", "text": "อีสปอร์ต () หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ () คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก", "title": "อีสปอร์ต" }, { "docid": "460821#3", "text": "ต่อมา พ.ศ. 2545 เกม วอร์คราฟต์ 3 ก็มีเครื่องมือในการสร้างแผนที่โดยผู้เล่นกันเอง เช่นกัน ผู้สร้างแผนที่ (modder) ชื่อ Eul สร้างแผนที่ชื่อ Defense of Ancients (DotA) โดยดัดแปลงจาก Aeon of Strife ให้เขากับระบบเกมของ วอร์คราฟต์ 3 และมีผู้สร้างแผนที่ต่อมาอีกหลายคนหลายรุ่น ในชื่อ DotA: AllStars เติมแต่งฮีโร่ตัวละคร และกลไล จนกระทั่ง ผู้สร้างแผนที่ชื่อ ได้ปรับปรุงกลไกการเล่น ให้มีมิติที่สนุกสนาน มีการใช้ทักษะ และไอเท็ม ที่ปรับแต่งได้ จนเป็นที่ยอมรับ จนได้รับความนิยมทั่วโลก จนกลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนที่เล่นวอร์คราฟต์ 3 ที่ไม่ต้องควบคุมเกมแบบกองทัพ แต่ควบคุมเพียงตัวฮีโร่ตัวเดียว แล้วร่วมทีมละ 5 คน ต่อสู้กันสองทีม โดยที่ทีมที่สามารถทำลายฐานฝ่ายตรงข้ามได้เป็นทีมที่ชนะ", "title": "โมบา" }, { "docid": "64614#8", "text": "ภาคล่าสุดของเกมชุดนี้ ซึ่งเป็นภาคต่อจากสามภาคแรก วางตลาดบนเครื่องคอมพิวเตอร์, เอ็กซ์บ็อกซ์ 360,นินเทนโด วี,เพลย์สเตชัน 2 และ เพลย์สเตชัน 3 (ในชื่อ Alone in the Dark Inferno) แรกเริ่มเดิมทีใช้ชื่อเกมว่า Alone in the Dark: Near Death Investigation เนื้อเรื่องกล่าวถึงเมืองนิวยอร์กในยุคปัจจุบัน (เกมไม่ได้ระบุว่าปีใด) ซึ่งเอ็ดเวิร์ดตื่นขึ้นมาโดยมีกลุ่มคนพยายามสังหารเขา ขณะเขาสูญเสียความทรงจำทั้งหมด ตัวเกมจะมีมุมมองบุคคลที่หนึ่งและบุคคลที่สาม และเน้นการเปิดกว้างในใช้สิ่งของต่างๆมากกว่าเกมภาคก่อนหน้า\nเอนจินของเกมถูกสร้างโดย Frédérick Raynal ซึ่งเป็นโครงการเล็กๆขณะเขาทำงานอยู่ที่ Infogrames โดยความช่วยเหลือของ Didier Chanfray สร้างโมเดล 3มิติ พวกเขาสามารถสร้างห้องใต้หลังคา (ห้องแรกของเกม) เป็นผลสำเร็จ โดยได้ Yaël Barroz มาช่วยทำงานศิลป์เพิ่มเติม จากนั้นพวกเขาทั้งหมดก็เสนอโครงการนี้ต่อบริษัทโดย Frédérick Raynal เป็นผู้ดูแลโคงการนี้", "title": "อะโลนอินเดอะดาร์ก (ชุดเกม)" }, { "docid": "460821#1", "text": "เกมประเภทนี้มีที่มาจาก \"อีออนออฟสไตรฟ์\" (Aeon of Strife) แผนที่ดัดแปลงของ\"สตาร์คราฟต์\", \"ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์\" (Dota) แผนที่ซึ่งอิง\"อีออนออฟสไตรฟ์\" ใน\"\" และ\"\" เป็นหนึ่งในเกมโมบาหลักเกมแรก โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนเกม (mod) กลายเป็นเกมโหมดใหม่ อ้างอิงท่าไม้ตายและภาพลักษณ์ตัวละครจาก วอร์คราฟต์ 3 เกมโมบารุ่นต่อมาได้แก่ League of Legends และ Horoes of Newerth ซึ่งเป็นเกมที่เล่นได้บนคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็มีผู้พัฒนาเกมภาคต่อ Dota 2 (ซึ่งปรับเกมและการออกแบบโดยอ้างอิง วอร์คราฟต์ 3 น้อยลง หลีกเลี่ยงเรื่องลิขสิทธิ์) ในขณะที่ทาง บลิซซาร์ด เองก็ได้ผลิตเกมโมบา ของตนเองชื่อ Heroes of the Storm ต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา เกมประเภทนี้กลายเป็นเกมสำคัญในอีสปอตส์", "title": "โมบา" } ]
3067
สนามแรงบิด เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในด้านใด?
[ { "docid": "500057#0", "text": "สนามแรงบิด ( ชื่อพ้อง: Axion field, Spin field, Spinor field, Microlepton field) เป็นวิทยาศาสตร์เทียมด้านพลังงาน ซึ่งกล่าวถึงสภาพการหมุนเชิงควอนตัมของอนุภาคสามารถทำให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลผ่านห้วงสุญญากาศด้วยความเร็วพันล้านเท่าของแสงโดยไม่ใช้มวลและพลังงาน ทฤษฎีถูกตั้งขึ้นในสหภาพโซเวียตโดยกลุ่มนักฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1980 โดยอ้างอิงทฤษฎีไอน์สไตน์-คาตานแบบหลวม ๆ และใช้ผลลัพธ์ดัดแปลงจากสมการของแมกซ์เวลล์ อนาโตลี อาคิมอฟ (, ) และเกนนาดี้ ชือปอฟ (, ) เป็นหัวหอกนำคณะวิจัยโดยใช้ทุนจากรัฐภายใต้ชื่อองค์กร ศูนย์เทคโนโลยีทางเลือก (Center of Nontraditional Technologies) อย่างไรก็ตาม คณะทำงานดังกล่าวถูกยุบลงใน ค.ศ. 1991 เมื่อศาสตราจารย์อเลกซานดรอฟ (Ye. B Aleksandrov) เปิดโปงคณะทำงานของชือปอฟว่าเป็นงานหลอกลวงต้มตุ๋นขโมยเงินทุนของรัฐ แต่โดยไม่ทราบสาเหตุ อาคิมอฟ และ ชือปอฟ ได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยสนามแรงบิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ระหว่างช่วง ค.ศ. 1992-1995 และจาก กระทรวงกลาโหมระหว่างช่วง ค.ศ. 1996-1997 และยังมีการได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องมาเป็นการลับในฐานะบริษัทเอกชนใช้ชื่อว่า The International Institute for Theoretical and Applied Physics ซึ่งเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น บริษัท ยูวิเตอร์ จำกัด (UVITOR) ในภายหลังบริษัทจดทะเบียนที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่ ค.ศ. 2005 โดยมีการให้บริการสินค้าเวชภัณฑ์ในที่ตั้งเดียวกันด้วย ในประเทศไทยงานวิจัยสนามแรงบิดได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน รวมถึงมีการให้ทุนทำวิจัยในมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานให้ทุนวิจัยภาครัฐ", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#2", "text": "ในทางฟิสิกส์ สนามเป็นการบ่งชี้ของปริมาณ (เวกเตอร์, การบิด - Tensor หรือ การหมุน - Spinor) ต่อทุกจุดบนอวกาศที่มีมันอยู่ข้างใน คำว่า Torsion ที่แปลว่าการบิด หมายถึงตัวแปรใด ๆ ก็ตามที่แสดงถึงการบิดหมุน ดังนั้น สนามแรงบิดจึงมีอยู่จริง ตัวอย่างเช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการ Polarized เป็นรอบวง หรือความเครียดจากแรงบิดของวัตถุแข็งภายใต้แรงเครียดบิด (Stress tensor) ก็สามารถแสดงอธิบายออกมาในรูปของสนามแรงบิดได้ แม้ในการใช้งานจริงเราจะไม่ใช้ศัพท์นี้เท่าไร สนามการหมุน โดยเฉพาะใน Fermionic field อันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามคอนเซปต์ของฟิสิกส์อนุภาค และทฤษฎีสนามควอนตั้ม\nเมื่อก้าวล่วงจากส่วนงานวิจัยที่เป็นระเบียบแบบแผนตามข้างต้น ก็มีกลุ่มคนที่นำลักษณะของสนามการหมุนหรือสนามการบิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ไปใช้อ้างว่า Spin-Spin interaction (ที่เป็นปรากฏการณ์เชิงควอนตัมที่มีการศึกษามาแล้วเป็นอย่างดี) สามารถส่งผ่านห้วงว่างอวกาศคล้ายกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่มีการนำมวล หรือพลังงาน เป็นการส่งผ่านเฉพาะข้อมูลล้วน ๆ และเดินทางด้วยความเร็ว 10 เท่าของความเร็วแสง ในขณะเดียวกัน คนกลุ่มนี้ยังอ้างด้วยว่า Spin-Spin interaction ถูกนำพาด้วยนิวตริโน ซึ่งมีมวลเพียงน้อยนิด มีพลังงานมหาศาล และไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสสาร แต่ในขณะเดียวกัน สามารถผลิตขึ้น และตรวจจับได้อย่างง่ายดาย", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" } ]
[ { "docid": "500057#10", "text": "โครงการมีการใช้พื้นที่ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดสัมมนาระดมทุน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยถึงความเกี่ยวพันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการวิจัยสนามแรงบิด อย่างไรก็ตาม ทางคณะวิทยาศาสตร์จุฬา ก็ได้มีข้อสังเกตถึงความผิดปรกติของงานวิจัยสนามแรงบิดนี้ และได้มีการสืบค้น ส่งจดหมายเวียนภายในองค์กร เพื่อเตือนถึงข้อน่าสงสัย ว่างานวิจัยสนามแรงบิดที่ใช้พื้นที่ของจุฬาเพื่อจัดสัมมนานี้ มีลักษณะน่าสงสัยจะเป็นวิทยาศาสตร์เทียม และหลีกเลี่ยงการเข้าไปข้องเกี่ยว", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#9", "text": "ในประเทศไทย สภาวิจัยแห่งชาติ (วช. หรือ NRCT) อนุมัติงบประมาณ 4 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2554 เพื่อสนับสนุนการวิจัย โครงการ การศึกษา ทดสอบ ประเมินผล และ สาธิตความเป็นไปได้ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสนามแรงบิด โดยมี โดยมี ดร. สุธีวัน โล่สุวรรณ เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการมีขอบเขตการศึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงทฤษฎี และด้านปฏิบัติในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสนามแรงบิดในด้านพลังงาน ระบบการเดินทางขนส่ง และวิวัฒนาการทางการแพทย์ และสาธิตการประยุกต์ด้วยแบบจำลองระดับ ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง (Bench หรือ Pilot Scale) ซึ่งภายหลังได้ปรับลดขอบเขตการวิจัยโดยได้ตัดประเด็นเรื่องการแพทย์ลงและเน้นไปที่ด้านพลังงาน", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#11", "text": "ประเด็นงานวิจัยสนามแรงบิด ได้รับการติดตามต่อเนื่องในเว็บไซต์พันทิป.คอม ห้องหว้ากอ นำโดย ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนนำมาสู่ความสนใจของสื่อกระแสหลัก โดยในรายการ คมชัดลึก ตอน พลังงาน สูญตา...สูญเงิน ? ได้มีการสัมภาษณ์ รศ. พิชัย โตวิวิชญ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี จุฬาฯ ผู้เป็น ประธานชุดตรวจสอบ งานวิจัยของ วช. และ เลขาธิการมูลนิธิวิทยาศาสตร์ไอน์สไตน์และเทสล่า และมี ข้อบ่งชี้เบื้องต้นว่า ผู้รับทุนวิจัยครั้งนี้ คือ ดร. สุธีฯ และยืนยันความสัมพันธ์ได้ว่า กลุ่มบุคคล ผู้ขอทุน ผู้ตรวจสอบการให้ทุน และผู้ร่วมทำการวิจัย มีความเกี่ยวพันกัน และ อาจ มีความไม่โปร่งใสในการดำเนินการขอทุนในครั้งนี้", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#6", "text": "ผู้นำเสนอทฤษฎีสนามแรงบิดมีความพยายามเข้าหาเพื่อทำสัญญาโครงการขนาดใหญ่กับรัฐและการทหารหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1987 มีการร้องขอทุนจากกระทรวงกลาโหมของสหภาพโซเวียตเพื่อพัฒนา อุปกรณ์ตรวจจับอาวุธทางยุทธศาสตร์ประสิทธิภาพสูง (มิสไซล์ข้ามทวีป เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ยานบิน ฯลฯ) อุปกรณ์ทำลายอาวุธทางยุทธศาสตร์ของศัตรูระยะไกลแบบไร้การสัมผัส; แผงช่องทางสื่อสารป้องกันการดักฟังไปกับวัตถุในอวกาศ บนโลก ใต้พิภพ และใต้น้ำ อุปกรณ์มือถือที่ทำงานบนหลักแรงโน้มถ่วง การใช้ผลสัมพันธ์ทาง จิตวิทยา-กายภาพ และ ชีวภาพ-ยา ในการสร้างผลกระทบต่อทหารและประชากร รัฐบาลโซเวียด ให้เงินทุน 500 ล้านรูเบิ้ลสำหรับงานวิจัยนี้ (ประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐตามอัตราแลกเปลี่ยนใน ค.ศ. 1987)", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#3", "text": "แม้ว่าจะมีการบ่งชี้ข้อขัดแย้งต่อสมมุติฐานของทฤษฎีเหล่านี้ออกมาหลายข้อ (และถึงกับมีถ้อยแถลงต่อทฤษฎีดังกล่าวในระดับว่าเป็นเรื่องไร้สาระ สำหรับวิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน) ทฤษฎีสนามแรงบิดถูกใช้ในฐานะคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ต่อ ธรรมชาติบำบัด เทเลพาธี เทเลไคเนซิส การต้านแรงโน้มถ่วง การหายตัวล่องหน เอสเปอร์ และปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอื่น ๆ การผูกทฤษฎีสนามแรงบิดเข้าไปทำให้สามารถอ้างอะไร ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่การเครื่องอุปกรณ์รักษามหัศจรรย์ เช่นเครื่องรักษาโรคพิษสุรา) จนถึงการทำงานของเครื่องจักรกลนิรันดร์ ประตูสารพัดสถานที่ (Stargates) กลไกการขับเคลื่อนของจานบิน รวมถึง อาวุธมหาประลัย (Weapon of Mass Destruction-WMD) อุปกรณ์บางชิ้น เช่น กล่องวิเศษรักษาสารพัดโรค ได้รับการจดสิทธิบัตร ผลิต และขาย", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#7", "text": "อีกตัวอย่างหนึ่งของการขอทุนวิจัยเช่นการทดลองใน ค.ศ. 1994 โดยกลุ่มวิจัยอิสระของรัสเซียภายใต้ชื่อ \"VENT\" (VEnture for Non-traditional Technologies) ซึ่งอ้างว่าสามารถลดความต้านทานไฟฟ้าของทองแดงลงเหลือ 1/80 ของค่าความต้านทานตั้งต้นเมื่อนำมันไปผ่านเครื่องกำเนิดสนามแรงบิด (Torsion Field Generator) กลุ่มดังกล่าวได้ยื่นขอทุนจากรัฐบาลสหภาพรัสเซียเพื่อเปิดโรงงาน และสัญญาว่าจะสามารถประหยัดการใช้พลังงานลงได้จำนวนมาก ตัวอย่างของทองแดงที่ผ่าน และ ไม่ผ่านเครื่องกำเนิดสนามแรงบิดถูกนำไปทดสอบต่างหากภายใต้การสังเกตการณ์ของตัวแทนของ VENT และพบว่า ความต้านทานไฟฟ้าของทั้งสองตัวอย่างนอกจากจะเท่ากันแล้ว [ (2.08+/-0.02) ×10 Ωm และ (2.05+/-0.02) ×10 Ωm] ค่าความต้านทานของทั้งสองตัวอย่างยังเลวกว่าทองแดงที่ใช้ในอุตสาหกรรมเสียอีกด้วย (1.7×10 Ωm)", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#5", "text": "ศ. ดร. รูบาคอฟ () ได้มีข้อบ่งชี้สำหรับทฤษฎีสนามแรงบิด โดยเฉพาะส่วนที่นำเสนอโดย ชือปอฟ ว่า ซือปอฟ นำเสนองานแค่ในระดับกลศาสตร์นิวตันซึ่งได้มีการเรียนการสอนในคาบเรียนฟิสิกส์ระดับโรงเรียนกัน โดยนำเสนอว่าโมเมนตัมนั้นไม่อนุรักษ์ ขัดแย้งกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ซึ่งเป็นเรื่องน่าขบขัน เด็กนักเรียน ม. 4 ของรัสเซียสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดการทดลองของ ชือปอฟ ได้ไม่ยาก เมื่อลงลึกไปในส่วนทฤษฎี งานของ ชือปอฟ มีการสรุปพลาดในระดับสมการ มีการขัดแย้งกันเองหลายส่วนมาก งานเขียนของ ชือปอฟ นั้นไม่มีค่าที่จะถูกรีวิวใน Uspekhi Fizicheskikh Nauk เลย ถ้าไม่ใช่เพราะ ชือปอฟ และพรรคพวก พยายามโฆษณาทฤษฎีของเขาให้สาธารณชนชวนเชื่อ", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "500057#4", "text": "ทฤษฎีสนามแรงบิด บางครั้งถูกนำเสนอในลักษณะการทดแทนทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เช่น ทฤษฎี ไอน์สไตน์-คาร์ตาน, gauge theories of gravitation for the Poincaré and the affine groups ซึ่งหาวิธีเพิ่มการบิดของกาลอวกาศเข้าไปกับสภาพความโค้งของแรงโน้มถ่วง และใช้ในการทำนายผลกระทบทางฟิสิกส์ในหลากหลายระดับ อย่างไรก็ตาม ผลของการทำนายของทฤษฎีทดแทนเหล่านี้ มันจะได้ผลในระดับไม่มีนัยสำคัญ หรือขัดแย้งต่อหลักฐานจากการทดลอง มันอาจต้องบ่งชี้ไว้ว่าความโค้งของกาลอวกาศและการบิดเป็นทฤษฎีทางเลือกที่ใช้อธิบายสนามแรงโน้มถ่วงและอาจสามารถใช้ทดแทนกันได้ ในขณะที่ความพยายามที่จะรวมผลของมันมาใช้ด้วยกันกลับส่งผลกลายเป็นความเบี่ยงเบน", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" } ]
1423
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่?
[ { "docid": "818770#0", "text": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดในสังกัดสภากาชาดไทย ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย สร้างขึ้นตามพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" }, { "docid": "818770#3", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา อธิบดีกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ เสด็จประกอบพิธีเปิดสถานพยาบาลนี้ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 มีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า “โรงพยาบาลศรีมหาราชา” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า “โรงพยาบาลสมเด็จ”", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" } ]
[ { "docid": "818770#1", "text": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา กำเนิดขึ้นจากพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หลังจากพระองค์เสด็จประพาสและประทับพักฟื้น ณ พระตำหนัก ตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2441 ในการนี้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้จัดสร้างเรือนไม้ยื่นลงในทะเลตำบลศรีราชา เพื่อเป็นพระตำหนักแห่งใหม่และเชิญเสด็จจากตำบลบางพระมาประทับที่นี่ แต่พระตำหนักเรือนไม้ดังกล่าวอยู่ในน้ำ คับแคบและไม่แข็งแรง ราว 1 ปีหลังสร้างเสร็จ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจึงทรงพระดำริเลือกหาพื้นที่บนชายฝั่งตำบลศรีราชาสำหรับสร้างพระตำหนัก จนกระทั่งพระองค์พอพระทัยพื้นที่บริเวณเนินเขาชายทะเลด้านทิศใต้ของพระตำหนักไม้เดิม พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์และเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถวายความเห็น ต่อมามีพระกระแสรับสั่งให้จัดสร้างพระตำหนักใหญ่ 3 ชั้นขึ้นหลังหนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับและเรือนหลังย่อมๆอีก 4-5 หลัง", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" }, { "docid": "37967#56", "text": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เดิมชื่อว่า โรงพยาบาลสมเด็จ เป็นโรงพยาบาลที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงจัดสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2445 ทางโรงพยาบาลได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นภายในโรงพยาบาล นอกจากนี้ อาคารต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลนั้นยังได้รับพระราชทานนามตามพระนามของพระองค์ ได้แก่ ตึกพระพันวัสสา ตึกสว่างวัฒนา ตึกศรีสวรินทิรา ตึกบรมราชเทวี ตึกอัยยิกาเจ้า และตึกศรีสมเด็จ นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ณ ตึกพระพันวัสสา เพื่อจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ และเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพระองค์", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "818770#6", "text": "แรกเริ่มสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงฝากโรงพยาบาลสมเด็จสมเด็จนี้ไว้ในสังกัดโรงพยาบาลศิริราช จนถึงปี พ.ศ. 2461 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงพยาบาลนี้ไปอยู่ภายในการกำกับดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ) 10 ปีให้หลังในเดือนเมษายน พ.ศ. 2471 จึงโปรดเกล้าฯให้โอนโรงพยาบาลจากกระทรวงธรรมการไปสังกัดสภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองของสภากาชาดไทยแต่มีอายุมากกว่าโรงพยาบาลแห่งแรกคือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึง 12 ปี", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" }, { "docid": "818770#5", "text": "ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลด้านกายภาพทั้งเงินค่าก่อสร้าง ค่าซ่อมแซม รวมถึงค่าใช้สอยประจำโรงพยาบาลจำพวก ค่าเวชภัณฑ์ ค่าครุภัณฑ์ ค่าอาหารเลี้ยงคนเจ็บไข้ ตลอดจนเงินเดือนแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เป็นเงินส่วนพระองค์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทั้งสิ้น พระองค์พระราชทานตลอดมาทุกปี เป็นเงินราวปีละ 15,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มเป็น 20,000 บาท ตลอดพระชนมายุ ต่อจากนั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานเงินส่วนนี้เสมอมาทุกปี เพื่อเป็นที่รำลึกถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โรงพยาบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา\"", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" }, { "docid": "818770#8", "text": "สภากาชาดไทยเห็นถึงปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในระดับภูมิภาคของประเทศไทย จึงรับนโยบายผลิตแพทย์เพิ่มของรัฐบาล ตามแผนลงทุนเสริมสร้างโครงสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ พ.ศ.2549-2552 ตามมติการประชุมคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 293 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงเป็นองค์ประธานการประชุม ได้มีมติอนุมัติโครงการร่วมผลิตแพทย์ชั้นคลินิก(นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4-6) ระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" }, { "docid": "433049#2", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศ ในเอเชียอาคเนย์ ณ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) เขตบางกอกน้อย ใน วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2551 และพระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์", "title": "โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์" }, { "docid": "818770#2", "text": "ระหว่างที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าประทับอยู่ที่ตำหนักแห่งนี้ มีข้าราชบริพารและเจ้าหน้าที่รักษาพระองค์เป็นจำนวนมากที่เจ็บป่วย ประชาชนในเขตตำบลนี้ย่อมต้องเจ็บป่วยเช่นเดียวกัน ด้วยพระทัยเต็มไปด้วยการกุศลสาธารณะจึงทรงมีดำริให้สร้างสถานพยาบาลขึ้นในบริเวณใกล้เคียงพระตำหนักของพระองค์ ในช่วงก่อตั้งมีพระบำบัดสรรพโรค(หมอเอช. อาดัมสัน) เป็นผู้ช่วยในการวางแผนผังการก่อสร้าง โดยสร้างเป็นเรือนหลังคามุงจาก 2 ชั้นขึ้นก่อน 1 หลัง แล้วเพิ่มขึ้นอีก 4 หลังเป็นกลุ่มอาคารเดียวกันยื่นลงไปในทะเล การก่อสร้างสถานพยาบาลใหม่นี้แล้วเสร็จในต้นเดือน กันยายน พ.ศ. 2445", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" }, { "docid": "818770#9", "text": "ต่อมาวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง เรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ระหว่างสภากาชาดไทยและมหาวิทยาลัยบูรพา ในข้อตกลงความร่วมมือการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทร่วมกันโดยยืนยันเป็นพันธะร่วมกัน ที่จะรับผิดชอบดำเนินการร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการแพทย์ การสาธารณสุขของประเทศ และประชาชนในชนบทเป็นสำคัญ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้จัดพิธีมอบเสื้อกาวน์และปฐมนิเทศนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่นิสิตแพทย์รุ่นแรกได้เข้ามาอยู่ในความดูแลของโรงพยาบาล อย่างเป็นทางการ", "title": "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา" } ]
983
เอชไอวี พบครั้งแรกที่ประเทศใด ?
[ { "docid": "20779#3", "text": "การศึกษาวิจัยทางพันธุศาสตร์ชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกากลางตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรคเอดส์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ใน ค.ศ. 1981 ส่วนสาเหตุของโรคและเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นค้นพบในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980", "title": "เอดส์" } ]
[ { "docid": "518018#0", "text": "เอดส์แวนคูเวอร์ () เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรและองค์กรอนามัยชุมชนที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1983 ที่มีภารกิจคือบรรเทาความเสี่ยงต่อเอชไอวีและเอดส์ผ่านการสนับสนุน, การศึกษาจากภาครัฐ และการวิจัยชุมชน องค์กรนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อเยียวยาทั้งชีวิตของผู้คนมีชีวิตอยู่กับเอชไอวีและเอดส์ และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเอชไอวีโดยการริเริ่มการศึกษา องค์กรนี้ตั้งอยู่ในแวนคูเวอร์ ซึ่งเป็นองค์กรบริการโรคเอดส์และเอชไอวีที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของแวนคูเวอร์", "title": "เอดส์แวนคูเวอร์" }, { "docid": "297624#6", "text": "สจ๊วตสายการบินแคนาดาชื่อ Gaëtan Dugas ได้รับการเรียกถึงในชื่อ \"Patient 0\" (\"ผู้ป่วยหมายเลข 0\") ในงานวิจัยเกี่ยวกับเอดส์ในยุคแรกๆ ของ Dr. William Darrow แห่ง Centers for Disease Control หลายคนเชื่อว่า Dugas เป็นผู้ที่นำเชื้อเอชไอวีมายังอเมริกาเหนือ ซึ่งไม่เป็นความจริงเนื่องจากเชื้อเอชไอวีได้แพร่ระบาดอยู่แล้วก่อนที่ Dugas จะทำอาชีพนี้เสียอีก ข่าวลือนี้อาจมีที่มาจากหนังสือ \"And the Band Played On\" ของ Randy Shilts ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2530 (รวมถึงภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือนี้ซึ่งกล่าวถึง Dugas ว่าเป็น Patient 0 ของโรคเอดส์) แต่ทั้งหนังสือและภาพยนตร์ก็ไม่ได้ระบุว่า Dugas เป็นคนแรกที่นำเชื้อเอชไอวีมาสู่อเมริกาเหนือ สาเหตุที่ Dugas ถูกเรียกว่าเป็น \"Patient Zero\" เนื่องจากมีคนจำนวนอย่างน้อย 40 คนจากที่ติดเชื้อเอชไอวี 248 คนในปี พ.ศ. 2526 ที่มีเพศสัมพันธ์กับ Dugas หรือคนที่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเขา", "title": "ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์" }, { "docid": "297624#1", "text": "มีเชื้อเอชไอวีสองชนิดที่ติดต่อมายังมนุษย์ คือเอชไอวี-1 และเอชไอวี-2 โดย เอชไอวี-1 นั้นเป็นอันตรายมากกว่า ติดต่อง่ายกว่า และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่บนโลกนี้ เชื้อเอชไอวี-1 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสที่พบในลิงชิมแปนซี และการศึกษาทาง molecular phylogenetics ก็บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี-1 ปรากฏขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1884-1924 ในแอฟริกาเขตเส้นศูนย์สูตร เชื้อเอชไอวี-2 นั้นติดต่อกันได้ยากกว่าและส่วนใหญ่พบอยู่ในแอฟริกาตะวันตกร่วมกับเชื้อใกล้ชิดอื่นๆ ได้แก่ไวรัสที่พบใน Sooty Mangabey (\"Cercocebus atys\") ซึ่งเป็นลิงโลกเก่าใน Guinea-Bissau, Gabon และ Cameroon", "title": "ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์" }, { "docid": "20779#24", "text": "การตรวจเอชไอวีส่วนมากใช้ตรวจกับเลือดจากหลอดเลือดดำ ห้องตรวจทางปฏิบัติการหลายแห่งใช้วิธีการตรวจคัดกรองเอชไอวี \"รุ่นที่สี่\" ซึ่งตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชไอวี (แอนติ-เอชไอวี - anti-HIV) ทั้งที่เป็น IgG และ IgM และแอนติเจนเอชไอวี p24 การตรวจพบแอนติบอดีหรือแอนติเจนต่อเอชไอวีในผู้ป่วยที่ทราบอยู่เดิมว่าผลเป็นลบนั้นถือเป็นหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวี สำหรับคนที่สิ่งตรวจครั้งแรกตรวจพบหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวีนั้นจะได้รับการตรวจซ้ำในตัวอย่างเลือดที่สองเพื่อยืนยันผลการตรวจ", "title": "เอดส์" }, { "docid": "76497#31", "text": "ดังนั้น ในที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงจากสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ไปสู่การเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นับเป็นการสิ้นสุดลงของการเป็นสถานีโทรทัศน์เสรีในประเทศไทย ซึ่งมีมานานเกือบ 12 ปี ภายใต้คลื่นความถี่ระบบยูเอชเอฟ (UHF) ที่เป็นความถี่เดียวกัน และเครื่องส่งโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 26 และช่อง 29 ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเคยออกอากาศในนามของ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539", "title": "สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี" }, { "docid": "914088#12", "text": "ในระหว่างการร่วมเพศทางทวารหนักในแต่ละครั้งความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากคู่นอนทีี่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยมีประมาณ 1 ใน 120 คน ในกลุ่มคนที่ใช้ถุงยางอนามัยความเสี่ยงของคู่นอนลดลงเป็น 1 ใน 550 ซึ่งลดลงถึง 4-5 เท่า ในกรณีที่ไม่ทราบสถานะทางเชื้อเอชไอวีของคู่นอน \"ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแบบป้องกันกับ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและที่ทราบว่าติดเชื้อซึ่งรวมถึงตอนที่ถุงยางอนามัยล้มเหลวอยู่ที่ประมาณ 2 ใน 3 ของความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับคู่นอนเหล่านั้นแบบไม่ได้ป้องกัน", "title": "การร่วมเพศอย่างปลอดภัย" }, { "docid": "20779#31", "text": "การศึกษาแบบ randomized controlled trial หลายอันแสดงให้เห็นว่าการขลิบอวัยวะเพศชายลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์แบบชายหญิงได้สูงสุด 60%[31] จึงน่าเชื่อว่าการขลิบจะได้รับการแนะนำให้ทำกันมากขึ้นในหลายๆ ประเทศที่ได้รับผลจากเอชไอวี ถึงแม้การแนะนำนั้นจะต้องเจอกับปัญหาประเด็นทางการทำได้จริง วัฒนธรรม และทัศนคติอีกมาก อย่างไรก็ดีโครงการที่กระตุ้นการใช้ถุงยางอนามัยรวมทั้งการแจกฟรีให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยนั้นเชื่อว่ามีความคุ้มค่าในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีใน sub-Saharan Africa มากกว่าการขลิบถึงประมาณ 95 เท่า[32]", "title": "เอดส์" }, { "docid": "67880#0", "text": "การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี, สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ชื่อเดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ว่ารายการใดที่มีความเหมาะสมต่อตัวเองและคนรอบข้าง อาทิเช่น รายการใดที่เด็กควรดู รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้ความแนะนำ หรือรายการที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน", "title": "การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย" }, { "docid": "20779#38", "text": "เป้าหมายทั่วไปของการรักษาโดยสูตรยา HAART คือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน และลดจำนวนไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือดให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่ตรวจวัดได้ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ เมื่อหยุดยาแล้วเชื้อเอชไอวีก็สามารถเพิ่มจำนวนกลับมาก่อโรคได้ และเชื้อที่เพิ่มจำนวนขึ้นมานี้มักดื้อต่อยาต้านไวรัส[46][47] ทั้งนี้เวลาที่ต้องใช้ในการกำจัดไวรัสให้หมดไปจากร่างกายด้วยการใช้ยาต้านไวรัสนั้นก็นานกว่าอายุขัยของคนปกติ[48] อย่างไรก็ดีผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายคนรู้สึกได้ถึงสุขภาพทั่วไปและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการตายและอัตราการเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี[49][50][51] ในขณะที่หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผู้ป่วยจะมีการดำเนินโรคจากการติดเชื้อเอชไอวีไปยังการเป็นเอดส์ด้วยมัธยฐานระหว่าง 9-10 ปี และ median survival time หลังจากดำเนินเป็นโรคเอดส์แล้วที่ 9.2 เดือน[52] เชื่อกันว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตร HAART ทำให้เพิ่มอายุขัยได้ระหว่าง 4-12 ปี[53][54]", "title": "เอดส์" }, { "docid": "78740#1", "text": "เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด", "title": "เอชไอวี" }, { "docid": "754962#6", "text": "ในปี 2547 ในกรณีที่แพร่หลายมาก นักแสดงหญิงงานลามกมือใหม่ ลารา ร็อกซ์ (Lara Roxx) ได้รับโรคติดต่อหลายชนิดรวมทั้งเอชไอวีจากดาร์เรน เจมส์ (Darren James) ขณะถ่ายทำฉากที่มีการหลั่งในทวารหนัก เจมส์ได้รับเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแบบไม่ป้องกันกับหญิงคนหนึ่งขณะเดินทางไปประเทศบราซิล ผลการทดสอบเอชไอวีของเขาให้ผลลบหลังเขาเดินทางกลับครั้งนั้น และแพร่เชื้อให้นักแสดงหญิง 3 จาก 13 คนที่เขาทำงานด้วยก่อนการทดสอบให้ผลบวกในการทดสอบครั้งถัดมาและเลิกแสดง", "title": "การหลั่งใน" }, { "docid": "297317#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2550 เว็บไซต์ aidstruth.org นำโดยนักวิจัยเรื่องเอชไอวีเพื่อต่อต้านคำอ้างของกลุ่มผู้มีแนวคิดปฏิเสธได้แสดงรายชื่อส่วนหนึ่งของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ที่เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ตัวอย่างเช่น นิตยสาร Continuum ซึ่งเคยปฏิเสธการมีอยู่ของเอชไอวีและเอดส์มาตลอดต้องปิดตัวลงหลังจากบรรณาธิการของนิตยสารต่างเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ทั้งหมด ในทุกรายที่เสียชีวิตนั้น ชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ต่างลงความเห็นว่าเป็นการเสียชีวิตที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือจากการใช้ยาบางอย่างโดยลับ หรือความเครียด แทนที่จะเป็นจากเอชไอวีหรือเอดส์ เช่นเดียวกันมีอดีตผู้คัดค้านที่มีเชื้อเอชไอวีหลายคนถูกขับออกจากชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์หลังจากที่มีอาการของเอดส์และเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส", "title": "แนวคิดปฏิเสธเอดส์" }, { "docid": "68123#5", "text": "ในประเทศไทย สิทธิ์การถือครองช่องเอชบีโอตั้งแต่แรกเป็นของ ยูทีวี หรือ ทรูวิชันส์ ในปัจจุบัน แต่เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 บริษัท ทรูวิชันส์ กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นขอถอดช่องเอชบีโอทั้งหมด 6 ช่อง ออกจากช่องรายการของบริษัทเนื่องจาก เอชบีโอ เอเชีย ไม่ยินยอมต่อสัญญากับบริษัทฯ ด้วยเหตุผลคือกลุ่มทรูต้องการเพียงเอชบีโอเอชดีเพียงช่องเดียว แต่กลับกันทางเอชบีโอต้องการที่จะขายทั้งหมด 6 ช่อง ทำให้เกิดเป็นข้อพิพาทระหว่าง ทรูวิชันส์ กสทช. และสมาชิกขึ้นมาระยะหนึ่ง ภายหลัง เอชบีโอได้ขึ้นแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่าสิทธิ์การถือครองช่องเอชบีโอในปัจจุบันตกเป็นของ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น บริษัทลูกของเอไอเอส โดยเอดับบลิวเอ็นวางแผนเปิดให้ชมช่องเอชบีโอผ่านโทรทัศน์อินเทอร์เน็ต เอไอเอส เพลย์บ็อกซ์ และผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เอไอเอส เพลย์ ที่ให้บริการโดย บริษัท ไมโม่เทค จำกัด", "title": "เอชบีโอ เอเชีย" }, { "docid": "50904#46", "text": "หลังจากการที่ถูก สปน.บอกเลิกสัญญาสัมปทานว่าด้วยการบริหารกิจการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟไปแล้วนั้น ทำให้ปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่ได้ประกอบธุรกิจหรือกิจการใดๆ​เลยทั้งสิ้น ส่วนในด้านของกิจการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ คือสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้น ก็ได้โอนกิจการย้ายไปสังกัดที่กรมประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ตามลำดับ (ผลที่ตามมาก็คือสถานีโทรทัศน์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และในปัจจุบันใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) นอกเหนือจากนี้แล้ว เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีมติให้เพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทฯที่เคยทำการซื้อขาย ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้บริษัทฯต้องพ้นจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว[11]", "title": "ไอทีวี" }, { "docid": "297317#2", "text": "แม้จะไม่ได้รับการยอมรับจากวิทยาศาสตร์ แนวคิดปฏิเสธเอดส์กลับมีผลกระทบทางการเมืองไม่น้อย โดยเฉพาะในประเทศแอฟริกาใต้ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Thabo Mbeki นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้พยายามเตือนถึงผลเสียต่อมนุษย์ที่เกิดจากแนวคิดปฏิเสธเอดส์ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่มารับการรักษาจากวิธีการรักษาที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล นักวิจัยทางสาธารณสุขในแอฟริกาใต้และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดต่างศึกษาผลกระทบจากแนวคิดปฏิเสธเอดส์โดยเป็นอิสระจากกัน ประมาณการว่าผลจากการยอมรับแนวคิดปฏิเสธเอดส์ของรัฐบาลแอฟริกาใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์เพิ่ม 330,000 ถึง 340,000 คน ติดเชื้อเอชไอวี 171,000 คน และมีทารกแรกเกิดติดเชื้อเอชไอวี 35,000 คน", "title": "แนวคิดปฏิเสธเอดส์" }, { "docid": "212367#0", "text": "ไรอัน เวย์น ไวต์ (; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1971 — 8 เมษายน ค.ศ. 1990) เป็นวัยรุ่นชาวอเมริกันจากโคโคโม รัฐอินดีแอนา ผู้เป็นตัวแทนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์บนภาพโปสเตอร์ระดับประเทศในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ถูกขับออกจากโรงเรียนเพราะการติดเชื้อ เดิมไรอันป่วยด้วยโรคฮีโมฟิเลีย อันเป็นโรคทางพันธุกรรมที่การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เขาจำเป็นต้องรับแฟ็กเตอร์ VIII จากเลือดบริจาคมาช่วยให้เลือดแข็งตัว จนในที่สุดเขาติดเชื้อเอชไอวีจากรับเลือดปนเปื้อน ในปี ค.ศ. 1984 ไรอันถูกวินิฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีและจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 6 เดือน ", "title": "ไรอัน ไวต์" }, { "docid": "297624#2", "text": "นักวิจัยเรื่องเอชไอวีส่วนใหญ่ยอมรับว่าเชื้อเอชไอวีวิวัฒนาการมาจากเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในลิงหรือเอสไอวี (Simian Immunodeficiency Virus - SIV) และเชื้อเอชไอวีแพร่มาจากไพรเมทที่ไม่ใช่มนุษย์ในอดีต (แบบโรครับจากสัตว์ - zoonosis) งานวิจัยในเรื่องนี้ทำโดยใช้ความรู้ทาง molecular phylogenetics เพื่อเปรียบเทียบลำดับจีโนมของไวรัสเพื่อหาความเกี่ยวข้องกัน\nเนื่องจากชนิดส่วนใหญ่ของเอชไอวี-1 นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสายพันธุ์เชื้อเอสไอวีที่ติดต่อในลิงชิมแปนซีสายพันธุ์ \"Pan troglodytes troglodytes\" (SIVcpz) นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเชื้อเอชไอวีมีขึ้นครั้งแรกในประชากรชิมแปนซีป่าใน West-Central Africa จะเป็นในป่าฝนทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของแคเมอรูน (modern East Province) ใกล้แม่น้ำ Sanaga หรือตอนใต้ลงไปกว่านั้นใกล้ Kinshasa ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกนั้นยังเป็นประเด็นสนทนาในแวดวงวิทยาศาสตร์อยู่\nจากการตรวจลำดับพันธุกรรมเชื้อเอชไอวี-1 ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ในตัวอย่างเชื้อร่วมกับการประมาณอัตราการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณพบว่าการติดเชื้อข้ามจากชิมแปนซีมาสู่มนุษย์เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดยอาจเป็นช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1915-1941 งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2008 ได้ทำการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมของไวรัสที่ได้จากชิ้นเนื้อปี ค.ศ. 1960 ที่เพิ่งได้รับการค้นพบเทียบกับลำดับสารพันธุกรรมที่ทราบอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เชื่อว่าน่าจะมีบรรพบุรุษของเชื้อร่วมกันช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1884 ถึง ค.ศ. 1924", "title": "ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์" }, { "docid": "20779#41", "text": "การวิจัยใหม่ชี้ว่าอาจหยุดการติดเชื้อได้ถ้าตรวจพบตั้งแต่สัปดาห์แรกของการรับเชื้อแล้วรีบให้ยาต้านไวรัสทันที จะทำให้สามารถดักเชื้อไม่ให้ฝังตัวในเซลล์เพื่อขยายพันธุ์ในระยะยาวได้ และมีแนวโน้มที่จะรักษาได้หายขาดและหยุดยาต้านไวรัสได้ในอนาคต แต่ว่าผลการวิจัยนี้ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ [60] [61] และจริงๆ แล้วไม่ใช่การรักษาโรคเอดส์ แต่เป็นการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ยังไม่มีจุดใดในงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าสามารถรักษาโรคเอดส์ที่หมายถึงภาวะติดเชื้อเอชไอวีจนมีภูมิคุ้มกันต่ำได้แต่อย่างใด", "title": "เอดส์" }, { "docid": "20779#37", "text": "ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยการให้ยาต้านไวรัสด้วยวิธี highly active antiretroviral therapy หรือ HAART[42] ซึ่งวิธีการรักษาแบบ HAART ที่ใช้ยา protease inhibitor ได้ใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 และได้ผลดีมากต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี[43] สูตรยาต้านไวรัสแบบ HAART ที่ดีที่สุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นการผสมยาต้านไวรัสอย่างน้อยสามชนิดในกลุ่มยาต้านไวรัสอย่างน้อยสองกลุ่ม สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยยาในกลุ่ม nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitor (NRTR หรือ NARTI) สองตัว ร่วมกับยาในกลุ่ม protease inhibitor หรือ non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินโรคของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กดำเนินไปอย่างรวดเร็วกว่าในผู้ใหญ่ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างก็ไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของการดำเนินโรคได้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การรักษาที่แนะนำสำหรับเด็กจึงเป็นสูตรยาที่แรงกว่าในผู้ใหญ่[44] ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีการใช้สูตรยา HAART นั้น แพทย์จะเป็นผู้สั่งตรวจระดับ viral load, ความรวดเร็วในการลดจำนวนลงของเซลล์ CD4 และความพร้อมของผู้ป่วยในการเลือกรับการรักษา ก่อนที่จะเริ่มการรักษา[45]", "title": "เอดส์" }, { "docid": "20779#42", "text": "หากไม่ได้รับการรักษาแล้วผู้ป่วยจะมี median survival time หลังติดเชื้อเอชไอวีจะอยู่ที่ประมาณ 9-11 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเอชไอวีที่ได้รับ[62] และ median survival rate หลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคเอดส์ในพื้นที่ที่ไม่มียารักษาอยู่ระหว่าง 6-19 เดือน ตามแต่ละการศึกษาวิจัย[63] ในพื้นที่ที่มายารักษาเข้าถึงได้ทั่วไปนั้นการใช้ยาต้านไวรัสแบบ HAART เป็นการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ที่ได้ผลและลดอัตราการตายจากโรคลงได้ 80% เพิ่มอายุขัยของผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้เป็นประมาณ 20 ปี[64]", "title": "เอดส์" }, { "docid": "20779#18", "text": "การวินิจฉัยโรคเอดส์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยดูว่าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงตามที่กำหนดหรือไม่ ตั้งแต่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1981 มีการให้คำนิยามของเอดส์หลายคำนิยามใช้เพื่อจัดตั้งการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดอย่างบทนิยาม Bangui (Bangui definition) และบทนิยามผู้ป่วยเอดส์โดยองค์การอนามัยโลก ฉบับเพิ่มเติม ค.ศ. 1994 (1994 expanded World Health Organization AIDS case definition) อย่างไรก็ดีเป้าหมายของระบบเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อการแบ่งแยกระดับทางคลินิกของผู้ป่วยเอดส์ และก็ไม่มีความไว (sensitive) หรือความจำเพาะ (specific) แต่อย่างใดด้วย สำหรับในประเทศกำลังพัฒนานั้นองค์การอนามัยโลกได้สร้างระบบแบ่งระดับผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามอาการทางคลินิกและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนในประเทศพัฒนาแล้วจะใช้ระบบจำแนกประเภทของศูนย์ควบคุมโรค (Centers for Disease Control - CDC)", "title": "เอดส์" }, { "docid": "297317#6", "text": "แม้สมาชิกชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จะรวมตัวกันด้วยความเข้าใจร่วมกันคือการไม่เห็นด้วยว่าเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ รายละเอียดของแนวคิดก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ผู้มีแนวปฏิเสธปฏิเสธจะอ้างข้อมูลหลายอย่าง เช่น เอชไอวีไม่มีจริง เอชไอวีไม่เคยได้รับการเพาะเชื้ออย่างเหมาะสม เอชไอวีไม่เป็นไปตาม[[สมมติฐานของโคช]] [[การตรวจเอชไอวี]]ไม่มีความแม่นยำ และแอนติบอดีต่อเอชไอวีสามารถป้องกันไวรัสไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สาเหตุอื่นของโรคเอดส์ที่มีการเสนอไว้มีหลายอย่างเช่น การใช้ยาเสพติด ภาวะทุพโภชนาการ รวมถึงตัว[[ยาต้านเรโทรไวรัส|ยาต้านไวรัส]]ที่ใช้รักษาโรคเองด้วย", "title": "แนวคิดปฏิเสธเอดส์" }, { "docid": "914088#13", "text": "การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ บางครั้งได้รับการส่งเสริมเป็นวิธีหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อทางเพศถึงแม้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจถูกส่งผ่านวิธีการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเพศ หรือการร่วมเพศโดยไม่สมัครใจ เอชไอวีอาจถูกส่งผ่านเข็มที่ปนเปื้อนที่ใช้ในการทำรอยสัก การเจาะตัวหรือการฉีดยา ขั้นตอนทางการแพทย์หรือทันตกรรมที่ใช้เครื่องมือที่ปนเปื้อนยังสามารถแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์บางคนได้รับการติดเชื้อเอชไอวีจากการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานโดยไม่ตั้งใจด้วยเข็ม หลักฐานไม่สนับสนุนการใช้การงดเว้นในเพศศึกษา โปรแกรมการศึกษาที่เน้นการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างเดียวพบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศที่พัฒนาแล้วและการท้องอย่างไม่ได้ตั้งใจ", "title": "การร่วมเพศอย่างปลอดภัย" }, { "docid": "518310#0", "text": "มาเธอร์ส2มาเธอร์ส () เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรระหว่างประเทศที่อุทิศขึ้นเพื่อป้องกันเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยการให้การศึกษาและการสนับสนุนสำหรับสตรีมีครรภ์และมารดาคนใหม่ที่ใช้ชีวิตอยู่กับเอชไอวี", "title": "มาเธอร์ส2มาเธอร์ส" }, { "docid": "20779#28", "text": "การติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันระหว่างคู่นอนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี การติดต่อของเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ในโลกเป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและหญิง[26][27][28]", "title": "เอดส์" }, { "docid": "76080#5", "text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เริ่มดำเนินโครงการ สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีการเปิดประมูลรับสัมปทาน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2538 โดย กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น (แปรรูปเป็น บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เมื่อได้รับอนุมัติสัมปทานแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) เป็นผู้ได้รับอนุมัติสัมปทานดังกล่าว โดยใช้ชื่อสถานีว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV-Independent Television) นับเป็น สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟแห่งแรกของประเทศไทย แพร่ภาพออกอากาศทางช่อง 26 และเปลี่ยนมาเป็นช่อง 29 ในภายหลัง โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และได้เปลี่ยนแปลงเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีในปี 2550 และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตามลำดับ ในปี 2551", "title": "ยูเอชเอฟ" }, { "docid": "394080#0", "text": "เอชไอวี/เอดส์ เป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขและสาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรจำนวนมากในแอฟริกาเสียชีวิต มีการประเมินว่าแอฟริกามีผู้ป่วยเอชไอวีมากถึง 67% ของโลก และผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 72% ทั่วโลกใน พ.ศ. 2552 อยู่ในแอฟริกา", "title": "เอชไอวี/เอดส์ในแอฟริกา" }, { "docid": "12813#1", "text": "ตึกใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมี พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ ก่อสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ชื่อในขณะนั้นของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งเป็นระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่องไอทีวีออกอากาศ (ต่อมาใช้ชื่อว่า ทีไอทีวี และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ไทยพีบีเอส) ซึ่งตึกใบหยก 2 นับว่าเป็น ตึกระฟ้า หลังแรกของ ประเทศไทย ที่มีความสูงเกิน 300 เมตร", "title": "อาคารใบหยก 2" }, { "docid": "941443#5", "text": "รัฐบาลเริ่มพัฒนาการสนับสนุนต่อผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ และจัดหาทุนแก่กลุ่มสนับสนุนเอชไอวี มีการเริ่มโครงการสาธารณะเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง แต่ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยอยู่ รัฐบาลจัดทุนสนับสนุนโครงการยาต้านรีโทรไวรัส และในเดือนกันยายน 2549 มีผู้ป่วยกว่า 80,000 คนได้รับยาดังกล่าว", "title": "สาธารณสุขในประเทศไทย" }, { "docid": "941443#4", "text": "นับแต่มีรายงานเอชไอวี/เอดส์ครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2527 มีผู้ใหญ่ป่วย 1,115,415 คนจนถึงปี 2551 และมีผู้เสียชีวิต 585,830 คนตั้งแต่ปี 2527 ในปี 2552 ความชุกของเอชไอวีในผู้ใหญ่คิดเป็นร้อยละ 1.3 ในปี 2552 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความชุกของเอชไอวีสูงสุดในทวีปเอเชีย", "title": "สาธารณสุขในประเทศไทย" } ]
2439
สีประจำของมหาวิทยาลัยมหิดล คือสีอะไร?
[ { "docid": "5374#13", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีน้ำเงิน เป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512", "title": "มหาวิทยาลัยมหิดล" } ]
[ { "docid": "11674#13", "text": "\"สีเขียวเวอร์ริเดียน\" หรือที่เรียกตามสีไทยโทนว่า \"สีเขียวตั้งแช\" เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นิยมพารุ่นน้องปี 1 ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร\nนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 12 คน ดังรายนามต่อไปนี้", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "6858#7", "text": "มหาวิทยาลัยทักษิณมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปตำราการศึกษา 3 เล่ม สีเทา (สีประจำมหาวิทยาลัย) สะท้อนปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม และการพัฒนา” ล้อมรอบด้วยอักษรสีฟ้า (สีประจำมหาวิทยาลัย) เป็นภาษาไทย “มหาวิทยาลัยทักษิณ” และภาษาอังกฤษ “THAKSIN UNIVERSITY” ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้ ด้านบนเหนือรูปตำราการศึกษาเป็นมงกุฎเปล่งรัศมีสีฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศและเกียรติยศ ด้วยในปีพุทธศักราช 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ตรงกับวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "41065#11", "text": "สีขาวนวล (Ivory) หมายถึงความสว่างและความอบอุ่น เปรียบได้กับ “ความรู้” (แสงสว่างทางปัญญา) ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นกิจกรรมนักศึกษาโดยทั่วไปแล้วจัดการ ดูแล และรับผิดชอบโดยสโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ\nกิจกรรมค่ายรับน้อง 3 วัน 2 คืน ที่จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งทำความรู้จักเพื่อนใหม่ รุ่นพี่ คณะศิลปศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยกิจกรรมสันทนาการ นันทนาการ และกิจกรรมแนะนำคณะและมหาวิทยาลัย รับผิดชอบกิจกรรมโดยนักศึกษาชั้นปีที่สองภายใต้การกำกับของรุ่นพี่ คณาจารย์ และบุคลากร จัดขึ้นในช่วงปักษ์แรกของเดือนสิงหาคม\nกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษารุ่นพี่สอนนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งร้องเพลงประจำคณะศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างความภาคภูมิใจต่อคณะของตน และยังเป็นการฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแสดงแสตนด์ประจำปีในกิจกรรมประชุมเชียร์ที่จัดขึ้นโดยสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล อย่างไรก็ดี หลังจากมีการรณรงค์เรื่องการรับน้องอย่างเท่าเทียมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการตะคอกใส่รุ่นน้องหรือพี่ว้ากไปแล้ว รวมถึงได้ยกเลิกการบังคับนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งให้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ในปัจจุบันนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ตามความสมัครใจ นอกจากนี้ สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตรยังเล็งที่จะปรับรูปแบบกิจกรรมให้สอดรับกับแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคกัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักศึกษาและผู้ปกครองว่ากิจกรรมนักศึกษาของคณะฯ จะปราศจากการรับน้องด้วยความรุนแรงทั้งทางกายภาพและสุขภาพจิตด้วย\nกิจกรรมค่ายแนะแนว 3 วัน 2 คืน แนะนำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจและ/หรือต้องการเข้าศึกษาต่อที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยกิจกรรมแนะนำคณะและมหาวิทยาลัย และหลักสูตรที่เปิดสอนในคณะฯ พร้อมทั้งจัดติววิชาที่จำเป็นในการศึกษาต่อ เช่น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสันทนาการและนันทนาการเพื่อให้นักเรียนมัธยมปลายได้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษาภายในคณะฯ รวมถึงได้ทำความรู้จักกับเพื่อนจากต่างโรงเรียนด้วย รับผิดชอบกิจกรรมโดยนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งภายใต้การกำกับของรุ่นพี่คณาจารย์ และบุคลากร จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงปักษ์แรกของเดือนกุมภาพันธ์\nกิจกรรมประจำปีของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้แนวคิดหลักคือ งานวัด มีกิจกรรมภายในงานมากมาย ได้แก่ คอนเสิร์ตจากศิลปินดังและนักศึกษา การแสดงจากชุมนุมต่างๆ ในคณะศิลปศาสตร์ ร้านค้า ซุ้มเกม (เช่น สาวน้อยตกน้ำ) และบ้านผีสิง ซึ่งมีชื่อเสียงมากในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมจัดขึ้นด้วยความร่วมมือของนักศึกษาทุกชั้นปี อาจารย์ และบุคลากรหน่วยต่างๆ ของคณะฯ\nกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม\nกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาชนบทโดยชุมนุมจิตอาสาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นมาแล้วมากกว่า 10 ครั้ง เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และคณะอื่นๆ ได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนพัฒนาโรงเรียนในชนบทห่างไกล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นอนาคตของชาติสืบไป กิจกรรมมีทั้งกิจกรรมสร้าง สอน ซ่อมบำรุง และส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน จัดขึ้นในช่วงต้นของทุกช่วงปิดภาคเรียน\nในโครงการ \"เล่าขานตำนานศาลายา ครั้งที่ 9\" นั้น มีการแสดงละครเวทีเรื่อง \"คู่กรรม 'พากษ์' ใหม่\" กำกับการแสดงโดย อาจารย์ ดร.ปวลักขิ์ สุรัสวดี ซึ่งดัดแปลงบทจาก วรรณกรรมเรื่องคู่กรรม ของ ทมยันตี และบทละครคือผู้อภิวัฒน์ ๒๔๗๕ ของ คำรณ คุณะดิลก โดยละครเรื่องนี้ได้เสนอมุมมองของ 'วนัส' ซึ่งเป็นคนรักของอังศุมาลิน ได้ไปเข้าร่วมกับเสรีไทยเพื่อต่อต้านการรุกรามของชาวญี่ปุ่น (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)", "title": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "50748#18", "text": "เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองและฟ้าเข้มทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี และเส้นมีการจัดสีพื้นกับสีประจำคณะ สีของเส้นที่แสดงระดับของวุฒิคือ ปริญญาตรี 1 เส้น ปริญญาโทและเอกใช้ 2 และ 3 เส้น ตามลำดับนั้นเนื่องจากมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอว่าควรกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นรูปมงกุฎสีทองซึ่งเป็นตราพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ส่วนบนเป็นมงกุฎสีทอง ส่วนกลางมีอักษรย่อพระนาม กว.สีฟ้าน้ำทะเล ส่วนล่างเป็นโบว์สีทองวงซ้อนพับกัน ภายในแถบโบว์มีชื่อ\"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\"สีฟ้าน้ำทะเล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัยและพระราชทานอนุญาต เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 และสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการและต่อมาจึงได้ประกาศ \"พระราชกฤษฎีกากำหนดตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2551\" โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยสมบูรณ์", "title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "6858#9", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ สืบเนื่องมาจากสีประจำวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา คือสีเทา-ฟ้า\nสีเทา - ฟ้า จึงหมายถึง ความคิดที่กว้างไกล หรือคิดอย่างมีวิสัยทัศน์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธศรีศากยมุนินทร์ ศรีนครินทรวิโรฒมงคล” ซึ่งมีความหมายว่า “องค์พระพุทธเจ้า ที่เป็นมิ่งมหามงคล แห่งมหาวิทยาลัย” และมหาวิทยาลัยได้กระทำพิธัอัญเชิญพระพุทธศรีศากยมุนินทร์ศรีนครินทรวิโรฒมงคลมาประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 \nนับแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้,มหาวิทยาลัยทักษิณ มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารมาแล้ว ดังนี้", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "12279#6", "text": "ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ \"สีม่วง\" และ \"สีแสด\" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยการเปลี่ยนแปลงสีประจำมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อเป็นเกียรติกับสองบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากสีม่วงเป็นสีประจำวันเสาร์ และสีแสดเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี", "title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" }, { "docid": "49065#2", "text": "เกิดจากความผสมผสานจากสีประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ เขียวขาวเหลือง ทำให้ได้สีที่ไปทางโทน เหลืองอมเขียว อันเป็นสีเดียวกับแป้งมงคลที่ใช้เจิมหน้าผากนักศึกษาใหม่ ในรุ่งเช้าของวัน \"คลอด\" ซึ่งคณาจารย์ และพี่ศิษย์เก่า ต่างก็ใช้แป้งโทนเขียวอมเหลือง หรือ \"สีไพล\" ใช้เจิมหน้าผากของนักศึกษาทุกคน ซึ่งลูกแม่โจ้ถือว่า เป็นศิริมงคลแก่นักศึกษาใหม่ ทั้งยังเป็นการรับน้องใหม่เข้าสู่สังคมของมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์แล้วนั้นเอง", "title": "สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้" }, { "docid": "12279#5", "text": "ที่มาของสีสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนั้น จากหลักฐานและบันทึกทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แต่เดิมมหาวิทยาลัยใช้ \"สีเขียวอมฟ้า\" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จาก ปกเสื้อครุยของบัณฑิตรุ่นแรก ๆ ที่เป็นสีเขียวอมฟ้า และจากเพลงมาร์ชของมหาวิทยาลัย ที่ยังคงมีเนื้อร้องว่า \"ธงเขียวเชิดให้เด่นไกลนานเนาว์\" มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" }, { "docid": "11719#55", "text": "เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีตามสีประจำ\nมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีแดงชาด ติดแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 3 เซนติเมตร ทั้งสองข้างโดยติดห่างจากขอบสักหลาดสีแดงชาด 0.5 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสร้อยทำด้วยโลหะสีทองพร้อมด้วยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง ยึดติดกับครุยประมาณร่องหัวไหล\nเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ไม่มีสร้อย", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "61536#8", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัย\nสีน้ำตาลทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน เปรียบได้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นฐานความพร้อมในการเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้สืบไป", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่" } ]
2523
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร สามารถพบได้ที่ใด?
[ { "docid": "63068#17", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกเฉพาะถิ่น (endermic) ที่พบได้เพียงแห่งเดียวในโลกคือที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จากรายงานการพบเห็นในปี พ.ศ. 2515, 2520 และ 2523 และก็ไม่มีการพบเห็นอีกเลยจนปัจจุบัน แม้จะมีรายงานว่าพบนกในปี พ.ศ. 2529 แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (2540) จัดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง มีการประมาณจำนวนของนกชนิดนี้ว่าลดลงหรือจะลดลงถึง 80% ภายในสามรุ่น IUCN จะไม่พิจารณาว่านกชนิดสูญพันธุ์จนกว่าได้ดำเนินการสำรวจเป้าหมายครอบคลุมแล้ว แต่นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทยหรือจากโลก", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#15", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรพบในบริเวณบึงบอระเพ็ด เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม คาดว่าถิ่นอาศัยในช่วงฤดูหนาวจะเป็นบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งน้ำจืดที่เปิดโล่งเพื่อสำหรับหาอาหาร และมีอ้อและพืชน้ำสำหรับจับคอนนอนในเวลากลางคืน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจเป็นนกอพยพ แต่พื้นที่แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ยังไม่เป็นที่ทราบ อาจเป็นหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่านอย่างภาคเหนือของประเทศไทยหรือทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน อย่างไรก็ตามมีการอ้างว่าลักษณะของนกชนิดนี้ในม้วนภาพเขียนจีนนั้นคล้ายกับนกแอ่นทุ่งใหญ่ (\"Glareola maldivarum\") มีการเสนอว่าเป็นไปได้ที่ประเทศกัมพูชาและพม่าเป็นถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ และยังมีข้อสงสัยว่ามันจะเป็นนกอพยพเสียทั้งหมดหรือไม่", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#1", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่นกวัยอ่อนไม่ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ คาดว่าเหมือนนกนางแอ่นชนิดอื่นที่บินจับแมลงกินกลางอากาศ และเกาะคอนนอนตามพืชน้ำในฤดูหนาว", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#0", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (, ชื่อวิทยาศาสตร์ : \"Pseudochelidon sirintarae\" หรือ \"Eurochelidon sirintarae\") เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#20", "text": "มีการลดจำนวนลงอย่างมากของประชากรนกนางแอ่นในบึงบอระเพ็ดจากหนึ่งแสนตัวในราวปี พ.ศ. 2513 เหลือเพียง 8,000 ตัวที่นับได้ในฤดูหนาวของปี พ.ศ. 2523-2524 แม้ว่าจะยังไม่แน่ใจ แต่เหตุการณ์นี้คือการแสดงถึงการลดลงหรือเปลี่ยนถิ่นเนื่องมาจากการถูกรบกวน สาเหตุอื่นที่ทำให้นกชนิดนี้ลดจำนวนลงประกอบด้วย จากการรบกวนบริเวณตลิ่งทรายแม่น้ำ การสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การแก้ไขอุทกภัย การประมง การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยเพื่อการเกษตร อย่างน้อยนกนางแอ่นก็ยังชอบจับคอนตามพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดมากกว่าตามไร่อ้อย แต่ก็ไม่ค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรในฝูงนกจับคอนเหล่านั้น", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" } ]
[ { "docid": "63068#12", "text": "แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรนั้นยังไม่มีการค้นพบ จึงไม่ทราบในชีววิทยาการขยายพันธุ์ของนกเลย แต่คาดกันว่ามันน่าจะคล้ายกับนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาโดยทำรังตามโพรงบริเวณตลิ่งทรายริมแม่น้ำ วางไข่ชุดละ 2-3 ฟอง อาจเป็นในเดือนเมษายน-พฤษภาคมก่อนฝนจากมรสุมจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น แต่ความแตกต่างทางกายวิภาคของรูปร่างเท้าและขาทำให้รู้ว่ามันไม่สามารถขุดโพรงได้ ในฤดูหนาวพบว่ามันเกาะนอนอยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อและใบสนุ่น บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบและนกจาบปีกอ่อน", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#19", "text": "ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดโบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แม้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย แต่ก็ยังถูกจับไปพร้อม ๆ กับนกนางแอ่นชนิดอื่นในฤดูหนาวของแต่ละปีเพื่อขายเป็นอาหารหรือเป็นนกปล่อยทำบุญในพุทธศาสนา และหลังจากการค้นพบ มีการดักจับนกได้ถึงเกือบ 120 ตัวเพื่อขายให้กับผู้อำนวยการสถานีประมงนครสวรรค์ และแน่นอนว่าไม่สามารถรักษาชีวิตของนกเหล่านั้นไว้ได้ และด้วยเพราะมีจำนวนประชากรเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายนัก แต่อาจมีรายงานที่ไม่ยืนยันว่าพบเห็นนกในประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2547", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#21", "text": "บึงบอระเพ็ดได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์เพื่อพยายามจะปกป้องนกชนิดนี้ แต่จากการสำรวจค้นหานกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่เหลือรอดซึ่งประกอบด้วยการสำรวจที่บึงบอระเพ็ดหลายครั้ง การค้นหานกชนิดนี้ การสำรวจแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำวังในภาคเหนือของประเทศไทยปี พ.ศ. 2512 และการสำรวจของแม่น้ำในภาคเหนือของประเทศลาวในปี พ.ศ. 2539 กลับประสบความล้มเหลว", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#7", "text": "จากการตรวจสอบขั้นต้นยังไม่สามารถที่จะจำแนกนกชนิดนี้เข้ากับนกสกุลใด ๆ ของประเทศไทยได้ กิตติจึงได้เก็บตัวอย่างของตัวเบียน คือ เห็บ เหา และไร ของนกส่งไปให้สถาบันสมิธโซเนียนและพิพิธภัณฑ์บริติชช่วยตรวจและวิเคราะห์หาชนิดของนกดังกล่าว ผลก็คือมันมีเหาชนิดเดียวกับนกนางแอ่นแม่น้ำสกุล \"Pseudochelidon\" ซึ่งพบในแถบลุ่มน้ำคองโกของแอฟริกา และจากนั้นได้ทำการเปรียบเทียบลักษณะอวัยวะต่าง ๆ ภายในของนกตัวนี้กับตัวอย่างนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (\"Pseudochelidoninal eurystominal\") จึงลงความเห็นได้ว่านกตัวนี้จะต้องเป็นนกในสกุล \"Pseudochelidon\" อย่างแน่นอน แต่เนื่องจากว่านกในสกุลนี้เคยมีเพียงชนิดเดียวคือนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา ดังนั้นนกที่ค้นพบที่บึงบอระเพ็ดนี้ นักปักษีวิทยาทั่วโลกจึงยอมรับว่าเป็นนกสกุล \"Pseudochelidon\" ชนิดใหม่ของโลก", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326762#12", "text": "มีรายงานการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิริธรในปี ค.ศ. 1972, 1977 และ 1980 และก็ไม่มีการพบเห็นอีกเลยจนปัจจุบัน แม้จะมีรายงานว่าพบนกจากประเทศไทยในปี ค.ศ. 1986 และจากประเทศกัมพูชาในปี ค.ศ. 2004 แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง มีการประมาณจำนวนของนกชนิดนี้ว่าลดลงหรือจะลดลงถึง 80% ภายในสามรุ่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ IUCN จะไม่พิจารณาว่านกชนิดสูญพันธุ์จนกว่าได้ดำเนินการสำรวจเป้าหมายครอบคลุม แม้มีการปกป้องด้วยกฎหมายภายใต้บัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) นกยังคงถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่นในฤดูหนาวของแต่ละปีเพื่อขายเป็นอาหารหรือเป็นนกปล่อยทำบุญในพุทธศาสนา และหลังจากการค้นพบ มีการดักจับนกได้ถึงเกือบ 120 ตัวเพื่อขายให้กับผู้อำนวยการสถานีประมงนครสวรรค์ และแน่นอนว่าไม่สามารถรักษาชีวิตของนกเหล่านั้นไว้ได้ อาจด้วยเพราะมีจำนวนประชากรเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆทำให้ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายนัก", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "63068#14", "text": "พาเมลา ซี. รัสมูสเซน (Pamela C. Rasmussen) เสนอว่าด้วยดวงตาที่ใหญ่ผิดปกติ นกชนิดนี้อาจหากินเวลากลางคืนหรืออย่างน้อยก็ช่วงพลบค่ำหรือรุ่งเช้า ด้วยปัจจัยนี้จึงทำให้มันดูลึกลับและอธิบายได้บางส่วนว่าทำไมนกที่เหลือถึงไม่พบเห็นมาเป็นเวลานานแล้ว แม้ว่าข้อเท็จจริงที่คาดว่าตัวอย่างแรกจับมาได้ขณะเกาะคอนในเวลากลางคืนในพงอ้ออาจจะขัดแย้ง แต่อาจเป็นไปได้ว่ามันไม่ได้ถูกจับขณะเกาะคอน หรือพฤติกรรมของมันอาจจะสามารถหากินได้ทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืนขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือสภาวะแวดล้อม", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#16", "text": "ถ้าถิ่นอาศัยของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเหมือนกับนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา ถิ่นอาศัยจะเป็นป่าในหุบเขาที่มีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่าน มีตลิ่งทรายและเกาะสำหรับทำรัง และมีป่าไม้มากพอที่นกจะสามารถจับแมลงกินได้", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" } ]
2296
วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ.ใด?
[ { "docid": "8184#2", "text": "วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1038 ในสมัยของไท่เหอเจ้าผู้ครองรัฐวุ่ยเหนือ ในปี พ.ศ. 929 - พ.ศ. 1077 เนื่องจากตั้งอยู่บนยอดเขาเส้าซื่อ () ทางด้านทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน () ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่เกือบทั้งหมดด้วยป่าหรือ \"หลิน\" () ในภาษาจีนกลาง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ วัดเส้าหลิน ในยุคสมัยบุกเบิกยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง ภายหลังจากสร้างขึ้นมาได้ประมาณ 32 ปี ในปี พ.ศ. 1070 พระโพธิธรรมเถระหรือตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว หรือ ต๋าหมอในสำเนียงจีนกลาง คำเรียกในภาษาจีนทั้งสองสำเนียงมาจากคำว่า (โพธิ)\"ธรรมะ\" ในภาษาสันสกฤต )พระภิกษุจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก อีกทั้งแลเห็นว่าวัดเส้าหลินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมตามนัยของพุทธศาสนานิกายเซน (เซน เป็นสำเนียงญี่ปุ่น ตรงกับคำว่า ฉาน ในสำเนียงจีนกลาง หรือ เซี้ยง ในสำเนียงแต้จิ๋ว รากศัพท์มาจากคำว่า ธยานะ ในภาษาสันสกฤต หรือ ฌาน ในภาษาบาลีนั่นเอง) ปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงเข้าพำนักและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์แรก ทำให้ชื่อเสียงของวัดเส้าหลิน อยู่ในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในประเทศจีน กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น", "title": "วัดเส้าหลิน" } ]
[ { "docid": "8184#7", "text": "ในปี พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822 วิชากังฟูเส้าหลินได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขีดสุด จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง ในปี พ.ศ. 2159 - พ.ศ. 2454 และในปี พ.ศ. 2270 หลังการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงได้ประมาณ 5 ปี จากเหตุผลทางด้านการเมือง ราชสำนักได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการลดบทบาทของวัดเส้าหลินลง แม้ว่าหลวงจีนจะถูกห้ามไม่ให้ฝึกกังฟู แต่ยังคงมีการลักลอบแอบฝึกกังฟูกันอย่างลับ ๆ ทั้งในบริเวณวัดและตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้วิชากังฟูเส้าหลินไม่สูญหายไปตามกาลเวลา และได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "วัดเส้าหลิน" }, { "docid": "630608#2", "text": "วัดบ้านหินลับ มีประวัติกล่าวไว้ตามหลักฐานบันทึกของกรมการศาสนา (ของที่ตั้งเดิม) ว่า สร้างวัด เมื่อปี พ.ศ.ใด ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ตั้งอยู่ตรงหน้าสถานีรถไฟหินลับ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2521 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบติดภูเขา 3 ด้าน มีศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย 2 ชั้นฯ", "title": "วัดบ้านหินลับ" }, { "docid": "218850#0", "text": "วัดเจ็ดลิน เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนปีพุทธศักราช 2060 จากเอกสารการค้นคว้าของคุณวัลลภ นามวงศ์พรหม คณะกรรมการประสานงานพัฒนาวัดเจ็ดลินและโคลงนิราศหริภุญไชย\nตามประวัติกล่าวว่า กษัตริย์ราชวงศ์มังรายก่อนจะขึ้นเสวยราชย์ทุกพระองค์ จะทรงผ้าชุดขาว (นุ่งขาวห่มขาว) ณ วัดผ้าขาว จากนั้นจะเสด็จ ไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และจะเสด็จมาประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก ณ หนองน้ำวัดเจ็ดลิน ซึ่งจะมีรางน้ำ เรียกว่า \"ลิน\" ทำด้วยทองคำ หลั่งน้ำพุทธาภิเษกจากสุวรรณหอยสังข์ หล่อลงรางลินทำด้วยคำทั้ง 7 เพื่อสรงพระวรกาย แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไป", "title": "วัดเจ็ดลิน" }, { "docid": "8184#17", "text": "จุดเริ่มต้นจากรากฐานของวิทยายุทธ มีความแตกต่างจากสำนักอื่น โดยเฉพาะศิลปะการต่อด้วยสู้มือเปล่า เป็นที่เลื่องลือมากที่สุดในกระบวนท่าทั้งหมด เกิดจากการประยุกต์ขึ้นจากธรรมชาติแวดล้อมผนวกกับวิทยายุทธลมปราณที่เกิดจากการนั่งสมาธิวิปัสสนา กลายเป็นกำลังภายในที่มีองค์ประกอบพื้นฐานอยู่หลายอย่างอันเป็นเอกลักษณ์ได้แก่ รากฐานกังฟูเส้าหลินได้แก่ พลังลมปราณและวิทยายุทธ ให้กำเนิดโดยตั๊กม้อ สาเหตุสำคัญของการฝึกกังฟูนอกเหนือจากการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงแล้ว เหตุผลสำคัญอีกประการในการฝึกกังฟู มาจากสถานที่ตั้งของวัดเส้าหลินซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาซงซาน รายล้อมด้วยป่าไม้จำนวนมาก รวมทั้งในป่ารอบ ๆ วัดเส้าหลินมีสัตว์ร้ายนานาชนิด หลวงจีนวัดเส้าหลินจึงจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกวิทยายุทธไว้สำหรับต่อสู้ป้องกันตัว และได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งรากฐานกังฟูวัดเส้าหลินแต่โบราณ มีที่มาจากท่วงท่าการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของสัตว์เช่น หงเฉวี๋ยน หรือเพลงหมัดตระกูลหงส์ เป็นการเลียนแบบท่าทางของหงส์ เป็นต้น", "title": "วัดเส้าหลิน" }, { "docid": "204431#1", "text": "วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2394 โดยลูกหลานของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (แพ บุนนาค) ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดประสบภัยทางอากาศได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในปลายปี พ.ศ. 2488 ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พร้อมกับการสร้างวัด ในปี พ.ศ. 2394 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย (ปัจจุบันโรงเรียนสมาคมพิทยากร ได้เป็นชื่อของโรงเรียนวัดวิมุตพิทยาราม) และมีวัดสร้อยทองที่นามพ้องกันอีกแห่งในจังหวัดปทุมธานี โดยชาวบ้านเรียกว่า วัดเสด็จ", "title": "วัดสร้อยทอง" }, { "docid": "363800#7", "text": "ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2435 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้สร้างสำนักสงฆ์ วัดเลียบ ขึ้น ซึ่งเดิมเป็นบริเวณป่าด้านหน้าวัดใต้ อันเป็นที่สงบเงียบเหมาะสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนา ได้รับพระทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ 87/303 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2434 ตรงกับ ร.ศ. 115 อันเป็นปีที่ 29 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้สร้าง \"พระพุทธจอมเมือง\" เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี", "title": "พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)" }, { "docid": "45224#5", "text": "พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง \"พระอารามหลวง\" โดยโปรดเกล้าให้สร้าง \"พระเจดีย์ทรงลังกา\" ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478", "title": "วัดสวนดอก (พระอารามหลวง)" }, { "docid": "870997#3", "text": "วัดบ้านสร้าง,เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย   สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๓๗๕   เดิมชื่อว่า “วัดบ้านขวางปากน้ำกรงเหล็ก”แล้วมากลายสภาพเป็นวัดร้าง,     และต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่ง  ชื่อหลวงตา “แย๋ว” (ไม่ปรากฏนามสกุล  และภูมิลำเนาเดิม ว่ามาจากที่ใด)  ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ท่านได้พัฒนา  และบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ      ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   ราวปี พ.ศ. ๒๓๘๐ ฯ", "title": "วัดบ้านสร้าง" }, { "docid": "8184#60", "text": "การเปิดเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับทางวัดเพื่อขายสินค้า ตลอดจนการก่อตั้งบริษัทและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2551 ในชื่อ \"บริษัทเส้าหลิน\" การเริ่มนำสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ โดยเฉพาะการเริ่มดำเนินกิจการของวัดในรูปแบบของธุรกิจ มีการจดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อ \"\"Shaolin\"\" และ \"\"Shaolin Temple\"\" ทำให้ถูกสื่อต่าง ๆ เพ่งเล็งว่าวัดเส้าหลินเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน จากเดิมเป็นวัดพุทธ นิกายเซน ที่ได้รับการยกย่องอย่างแพร่หลายจากชาวจีนและชาวต่างประเทศ ให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมชั้นสูง เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาการต่อสู้ป้องกันตัวโดยเฉพาะกังฟูที่โด่งดังไปทั่วโลก ปัจจุบันกลายเป็นวัดในแง่ของธุรกิจและการค้าเชิงพาณิชย์ ทำให้ ซือ หย่งซิน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ถูกชาวจีนจำนวนมากที่เริ่มเสื่อมศรัทธาต่อวัดเส้าหลิน ตั้งฉายาล้อเลียนว่า \"นักธุรกิจในคราบพระ\" และ \"พระซีอีโอ\" (\"CEO Monk\")", "title": "วัดเส้าหลิน" } ]
3791
โตโยต้า โคโรลล่า ออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อใด?
[ { "docid": "150672#2", "text": "เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2509 รหัสตัวถัง KE10 โดยในช่วงแรก ผลิตเพียงตัวถังแบบ Sedan 2 ประตู แล้วตัวถังแบบ Sedan 4 ประตูเริ่มมีใน พ.ศ. 2510 และตัวถัง station wagon 4 ประตู ก็เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2511 และตามด้วยรถ coupe 2 ประตูปิดท้ายรุ่น โดยรถคูเป้ 2 ประตู โคโรลล่าได้ตั้งชื่อเฉพาะให้ว่า โคโรลล่า สปรินเตอร์ รหัสตัวถัง KE15 โดยในระหว่างโฉมแรกนี้ มี 2 ขนาดเครื่องยนต์ให้เลือก คือ 1.1 ลิตรในช่วงแรก และ 1.2 ลิตรในช่วง พ.ศ. 2512 เป็นต้นไป", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" } ]
[ { "docid": "150672#70", "text": "รุ่นเก๋งของโตโยต้า โคโรลล่าได้เผยโฉมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ที่เมืองคาร์เมล-บาย-เดอะ-ซี แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา และประเทศจีนที่งานแสดงรถยนต์นานาชาติกวางโจวโดยพร้อมกัน โดยแบ่งจำหน่ายเป็นสองรุ่น คือ เพรสทีช (Prestige) และรุ่น สปอร์ตที (Sporty)[4][5][6][7][8][9]", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#18", "text": "เมื่อความนิยมในการซื้อรถโคโรลล่าโฉมที่ 5 ไปถึงจุดอิ่มตัว ก็ได้มีการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 6 ใน พ.ศ. 2530 และส่งเข้าตีตลาดขายแทนโฉมที่ 5 ในปีพ.ศ. 2531 โฉมนี้ เป็นโฉมที่รถโคโรลล่า ได้เลื่อนขั้นจากรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) เป็นรถขนาดเล็ก (Compact) โฉมนี้ ระบบขับเคลื่อนล้อหลังหายไป ได้มีการเพิ่มการผลิตรูปแบบตัวถัง hatchback 5 ประตู", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "308846#2", "text": "โตโยต้า วิช รุ่นแรก ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โค้ดเนม \"760N\" โดยทีมนักพัฒนาภายใต้การนำของวิศวกรชื่อ ทาเคชิ โยชิดะ (Takeshi Yoshida:คนเดียวกับที่ออกแบบ โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นที่ 9 หรือที่คนไทยรู้จักในชื่ออัลติส) และเปิดตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในงาน Tokyo Motor Show 2002 และเริ่มการผลิตจริงใน พ.ศ. 2546", "title": "โตโยต้า วิช" }, { "docid": "150672#14", "text": "โฉมนี้ เลิกผลิตในปีเดียวกับการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 5 ใน พ.ศ. 2526", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#0", "text": "โตโยต้า โคโรลล่า (Toyota Corolla) (คำว่า Corolla แปลว่า กลีบดอกไม้) เป็นรถโตโยต้ารุ่นที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการขายและการเป็นที่นิยมมายาวนาน โดยเฉพาะในเมืองไทยรู้จักรถโคโรลล่านี้มาอย่างกว้างขวางและยาวนาน โดยเฉพาะในปัจจุบัน นิยมเอารถโตโยต้า โคโรลล่า อัลติส (Toyota Corolla Altis) มาทำรถแท็กซี่ในเมืองไทย โดยรถโตโยต้า โคโรลล่า จัดอยู่ในระดับรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact) ในโฉมที่ 1-5 ส่วนโฉมที่ 6 เป็นต้นมา จัดอยู่ในระดับรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact)", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#20", "text": "นอกจากนี้ ในช่วงโฉมนี้ โคโรลล่า เลวิน, โคโรลล่า ทรูโน และโคโรลล่า สปรินเตอร์ ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และโฉมนี้ พ่อค้าเต๊นท์รถในประเทศไทยนิยมเรียกว่า \"โฉมโดเรมอน\" ด้วยรูปทรงหน้าตาที่ละม้ายคล้ายคลึงตัวการ์ตูนอย่างโดเรม่อน ผสานเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม ทนทาน และล้ำสมัยในสมัยนั้น", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#30", "text": "โฉมนี้ ในประเทศไทย โคโรลล่าได้มีการออกรุ่นใหม่ คือ LIMO (ลิโม) โดยจะเป็นรถโคโรลล่า ที่มี Options ต่างๆ น้อย แต่รถจะมีราคาถูกกว่าโคโรลล่าทั่วไป และโคโรลล่า อัลติส อย่างมาก อย่างไรก็ตาม LIMO จะไม่มีขายเป็นรถนั่งส่วนบุคคล โตโยต้าประเทศไทย ขาย LIMO โฉมนี้ เพื่อทำเป็นแท็กซี่เท่านั้น", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#27", "text": "โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2538 โฉมนี้มีชื่อเรียกกันว่า โฉมตองหนึ่ง แต่กว่าจะได้โด่งดังแทนที่โฉมสามห่วง ก็ล่วงไปถึง พ.ศ. 2541 ทางโตโยต้า ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้มีความหลากหลายและสร้างความเป็นที่นิยมให้ประสบความสำเร็จสูงเหมือนโฉมสามห่วง ดังนั้น ผลการปรับปรุงคือ โฉมที่ 8 แตกแขนงออกเป็น 2 รุ่นย่อย คือ รุ่นตูดเป็ด ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540 , รุ่นไฮทอร์ก เริ่มผลิตเมื่อ พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 ซึ่งโฉมไฮทอร์กนี้ได้สร้างความนิยมโดยมีคนซื้อไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ ในช่วงโฉมไฮทอร์กนี้ โคโรลล่า ยังได้เปิดตัวเนื้อหน่อใหม่ในตระกูลโคโรลล่า ที่เป็นที่นิยมในไทยจนถึงปัจจุบัน 2รุ่นนั่นคือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[11710,11723,3,3]}'>โซลูน่า (Soluna) 1500 ซีซี เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2540 (ต่อมาเปลี่ยนเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[11787,11806,3,3]}'>โซลูน่า วีออส (Soluna Vios) เมื่อ พ.ศ. 2545) และ โคโรลล่า อัลติส (Corolla Altis) ซึ่งเปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2543 (ปีที่มีการเปิดตัว 2 รุ่นดังกล่าวนี้เป็นปีที่เปิดตัวในประเทศไทย) โดย Altis จะเป็นรถที่มีความหรูหรา มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย Options ต่างๆ ดีกว่า รูปโฉมตัวรถจะคล้ายโคโรลล่าทั่วไป แต่เมื่อโคโรลล่า อัลติสเริ่มจำหน่ายครั้งแรกในไทย ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร โฉมที่ 8 นี้ ระงับการผลิตรูปแบบตัวถังประเภท hatchback 5 ประตู liftback 3 ประตู และ station wagon 4 ประตู แต่ได้เอา liftback hatchback และ station wagon 5 ประตูมาผลิตแทน โดยในโฉมที่ 8 นี้ โตโยต้า ได้เปิดตัวโคโรลล่า WRC สำหรับการแข่งขันเวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพโดยเฉพาะ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยมีคู่แข่งคือซูบารุ อิมเพรสซ่า เปอโยต์ 206 WRC ฟอร์ด เอสคอร์ท RS Cosworth/โฟกัส WRC และมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชันเป็นคู่แข่งรายสำคัญ และในปีพ.ศ. 2542 โตโยต้าก็คว้าแชมป์ เวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพ ในประเภทผู้ผลิตแต่โตโยต้ากลับถอนตัวจากเวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรถสูตรหนึ่งในปีพ.ศ. 2545 แทน", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#69", "text": "โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นสเตชันวากอนเรียกว่า โคโรลล่า ทัวริง สปอร์ต ถูกเปิดตัวที่งานแสดงรถยนต์ปารีสประจำปี 2018[2][3] รูปภาพอย่างเป็นทางการของโคโรลล่า ทัวริง สปอร์ตเผยโฉมเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#15", "text": "โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 เป็นโฉมแรกของโคโรลล่า ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า รหัสเครื่องยนต์ AE80 แต่ยกเว้น โคโรลล่า เลวิน และโคโรลล่า สปรินเตอร์ ทรูโน ที่ยังเป็นขับเคลื่อนล้อหลัง ใช้รหัสตัวถัง AE86 โฉมนี้ โคโรลล่าได้ปรับรูปแบบตัวถังใหม่ ได้แก่ coupe 2 ประตู , hatchback 3 ประตู , sedan และ station wagon 4 ประตู , liftback 5 ประตู และโฉมนี้ เป็นโฉมแรกที่โคโรลล่า มีการผลิตรถที่ใช้น้ำมันดีเซล(สำหรับเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร) และใช้เบนซิน (สำหรับเครื่องยนต์ 1.3 และ 1.6 ลิตร) พร้อมๆ กัน โดยโฉมนี้ มีระบบเกียร์เหลือให้เลือก 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 3 สปีด และธรรมดา 5 สปีด ลักษณะโฉมแบบนี้ วงการรถไทยมักเรียกว่า \"โฉมท้ายตัด\"", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#73", "text": "ตลอดเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2550 รถโคโรลล่าถูกขายไปมากกว่า 30 ล้านคัน เฉลี่ยแล้ว จะมีรถโคโรลล่า 1 คัน ถูกซื้อทุกๆ 40 วินาที นับเป็นรถที่ประสบความสำเร็จสูงมากของโตโยต้า", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#75", "text": "Media related to โตโยต้า โคโรลล่า at Wikimedia Commons", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#4", "text": "ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการโดยโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยเป็นรถนำเข้าจากต่างประเทศ ยังไม่มีการประกอบในประเทศไทยแต่อย่างใด", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#17", "text": "โฉมนี้ เลิกผลิตในปีเดียวกับการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 6 ใน พ.ศ. 2530", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#6", "text": "เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2513 รหัสตัวถัง KE20 โดยรถรุ่นโคโรลล่า สปรินเตอร์ (Corolla Sprinter) มีการเพิ่มรูปแบบตัวถัง sedan เข้าไปในเมนูผลิต และมีการเปิดตัวรถรุ่น โคโรลล่า เลวิน (Corolla Levin) และ โคโรลล่า สปรินเตอร์ ทรูโน (Corolla sprinter Trueno) โดยนำตัวถังแบบ coupe GT มาใช้ และทางโตโยต้า เห็นว่า รถโคโรลล่าประสบความสำเร็จสูงมาก จึงแยกธุรกิจการขายรถโตโยต้า โคโรลล่า ออกเป็น 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจขายรถโคโรลล่า สปรินเตอร์ , โคโรลล่า สปรินเตอร์ ทรูโน กับ ธุรกิจขายรถโคโรลล่า , โคโรลล่า เลวิน", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#28", "text": "โฉมที่ 8 เลิกผลิตในปี พ.ศ. 2545ในสหรัฐอเมริกา สองปีหลังการเปิดตัวของรถโคโรลล่า โฉมที่ 9 แบบแคบในญี่ปุ่น และหนี่งปีหลังการเปิดตัวของโคโรลล่า โฉมที่ 9 แบบกว้างที่เรียกว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[12994,13015,3,3]}'>โคโรลล่า อัลติส</b>ในประเทศไทย", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#25", "text": "รูปแบบตัวถังมี 6 รูปแบบ เหมือนโฉมโดเรมอน ได้แก่ sedan 4 ประตู , hatchback 3 กับ 5 ประตู , coupe 2 ประตู , liftback 3 ประตู และ station wagon 4 ประตู โฉมนี้ พ่อค้ารถในไทย เรียกว่า \"โฉมสามห่วง\" เพราะเป็นโฉมแรกของโคโรลล่า ที่ตราสัญลักษณ์วงรีไขว้สามวง(สามห่วง)ถูกนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของโตโยต้า (ก่อนหน้านี้ใช้เขียนเป็นอักษร TOYOTA ไม่ใช่สัญลักษณ์สามห่วง) โฉมสามห่วง เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตระกูลโคโรลล่า เพราะก่อนนี้ โคโรลล่าจะมีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ แต่โฉมนี้ จะเริ่มเปลี่ยนจากความเหลี่ยม เป็นความโค้งมน และรถตั้งแต่โฉมสามห่วงเป็นต้นมา ก็มีความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ และโคโรลล่าโฉมนี้ เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ในรถเก๋งค่อยๆ หายไป จนในที่สุดก็เลิกผลิตไป กลายเป็นแบบหัวฉีดทั้งหมด", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "159514#0", "text": "โตโยต้า เทอร์เซล เป็นรถรุ่นหนึ่งของโตโยต้า เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ถูกออกแบบมาจากการผสมผสานสไตล์แบบของรถรุ่น โตโยต้า โคโรลล่า กับรถรุ่น โตโยต้า สตาร์เลต ซึ่งรถรุ่นนี้แบ่งออกเป็น 5 โฉม ตามช่วงระยะเวลา ซึ่งในโฉมที่ 1-4 ไม่เป็นที่รู้จักของคนไทย แต่เมื่อถึงโฉมที่ 5 คนไทยรู้จักรถรุ่นนี้มากขึ้น เพราะโตโยต้า นำรถรุ่นนี้มาดัดแปลงลักษณะรถเล็กน้อย และขายในชื่อ โตโยต้า โซลูน่า", "title": "โตโยต้า เทอร์เซล" }, { "docid": "150672#74", "text": "โตโยต้า โคโรลล่า Generation ที่ 7 มีการออกแบบในรูปแบบไฟท้ายสองชั้น มีทั้งหมด 3 แบบ คือ 1.ท้ายแดง 2.ท้ายเทา 3.ท้ายแดงเหลือง ซึ่งแบบที่นิยมที่สุด คือ ท้ายแดง ซึ่งทางล้อแม็กมีการออกแบบเป็นรูปดอกไม้ โดยวงการรถไทยมักเรียกว่า \"โฉมสามห่วง\" ซึ่งนิยมมากในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ รวมไปถึง สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ประเทศอื่นๆ", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#26", "text": "โฉมสามห่วง เลิกผลิตในปี พ.ศ. 2540 ในสหรัฐอเมริกา สองปีหลังการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 8 แต่โฉมสามห่วงในประเทศไทย เลิกผลิตหนึ่งปีหลังการเปิดตัวโคโรลล่า โฉมที่ 8", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#76", "text": "โคโรลล่า หมวดหมู่:ยานพาหนะที่ได้รับการแนะนำในปี พ.ศ. 2509", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#68", "text": "โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นที่สิบสองในรูปแบบแฮทช์แบ็กได้เผยโฉมที่งานแสดงรถยนต์เจนีวาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ในชื่อว่าออริส[1] รุ่นโคโรลล่า แฮทช์แบ็กเวอร์ชันอเมริกาเหนือได้เผยโฉมที่งานแสดงรถยนต์นานาชาตินิวยอร์กประจำปี 2018 อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 โคโรลล่า แฮทช์แบ็กเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในชื่อว่า โคโรลล่า สปอร์ต โคโรลลา แฮทช์แบ็กเริ่มจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกากลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2018 และต่อมาได้เปิดตัวในออสเตรเลียในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#23", "text": "โฉมนี้ เลิกผลิตใน พ.ศ. 2535 ในประเทศไทย หนึ่งปีหลังจากการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 7 และในสหรัฐอเมริกาเลิกผลิตใน พ.ศ. 2536", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#3", "text": "ระบบเกียร์ในสมัยนั้น ไม่เน้นการประหยัดน้ำมัน และเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า ระบบเกียร์ในรถโคโรลล่า จึงมี 2 ระบบให้เลือก คือ เกียร์ธรรมดาเพียง 4 สปีด และเกียร์อัตโนมัติเพียง 2 สปีด แต่การที่มีเครื่องยนต์ลูกสูบขนาดเล็ก ทำให้รถประหยัดน้ำมัน ชดเชยการที่เกียร์มีไม่กี่สปีด", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#29", "text": "โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2543 แต่กว่าจะเป็นอันดับหนึ่งแทนโฉมที่ 8 ก็ล่วงไปถึง พ.ศ. 2546 และเป็นครั้งแรกที่เวอร์ชันทำตลาดของโคโรลล่ามี 2 ตัวถังคือ แบบแคบและแบบกว้าง ในญี่ปุ่นจะใช้แบบแคบ เพื่อลดการเสียภาษี แต่สำหรับทั่วโลกจะใช้แบบกว้าง เหมือนที่เคยใช้ในการออกแบบ Toyota Camry generation ที่ 3 เมื่อได้รับความนิยมแล้ว ก็มีชื่อเสียงมาถึงปัจจุบัน เมื่อทางโตโยต้า ตัดสินใจผลิตโคโรลล่า อัลติสต่อในโฉมที่ 9 และยังมีการปรับปรุงทั้งขนาด ความสะดวก และสิ่งอื่นๆอีกมาก โดยรุ่นที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยมากที่สุดก็ยังเป็น อัลติส และโฉมที่ 9 ยกเลิกการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และยกเลิกการผลิตตัวถัง coupe 2 ประตู และ liftback 5 ประตู แล้วเอาแบบ van และ hatchback 5 ประตูมาผลิตแทน และยังคงผลิตรุ่นเครื่องดีเซล ขนาดเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย) ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน ก็เป็น 1.4 , 1.5 , 1.6 , 1.8 ลิตรเหมือนเดิม โฉมนี้ กลุ่มพ่อค้ารถในไทยมักเรียก \"โฉมหน้าหมู\" หรือ \"โฉมตาถั่ว\" เพราะไฟหน้ามีลักษณะคล้าย เมล็ดถั่ว โดยในประเทศไทยมีนักแสดงชื่อดัง แบรด พิตต์ (English: Brad Pitt) เป็นพรีเซ็นเตอร์อีกด้วย", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#37", "text": "ส่วน LIMO ในโฉมนี้ มีการผลิตรถรุ่น LIMO CNG ซึ่งเป็นรถลิโม ที่ติดระบบการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ มาตั้งแต่ในโรงงานโตโยต้า และ LIMO โฉมนี้ ได้เปิดขายให้กับประชาชนทั่วไปอยู่ช่วงหนึ่งด้วย ก่อนที่จะกลับไปขายทำแท็กซี่โดยเฉพาะเหมือนเดิม โดยโตโยต้าได้ทำรถรุ่น Advanced CNG มาขายให้ประชาชนทั่วไปแทน LIMO CNG", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#1", "text": "โคโรลล่า เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า ซีวิค นิสสัน ซันนี่/ทีด้า เชฟโรเลต ออพตร้า และ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในฐานะที่เป็นรถที่ไม่เล็กเกินไปในการใช้เป็นรถครอบครัว แต่ไม่เทอะทะสำหรับการใช้เป็นรถส่วนตัว ใช้งานได้หลากหลาย รถรุ่นโคโรลล่าเป็นรถที่พบเห็นได้ค่อนข้างมากบนท้องถนนไทยในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แบ่งเป็น 11 รูปโฉม ได้แก่", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#5", "text": "เลิกผลิตใน พ.ศ. 2513 เนื่องจากมีการเปิดตัว โคโรลล่า โฉมที่ 2", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#71", "text": "รุ่นเพรสทีชใช้กระจังหน้าที่แตกต่างจากรุ่นอื่น ซึ่งไปคล้ายกับกระจังหน้าของ คัมรี่ รหัส XV70 รุ่นนี้จำหน่ายในประเทศจีน (ในชื่อว่าโคโรลล่า) ยุโรป และประเทศอื่น ๆ", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" }, { "docid": "150672#67", "text": "โตโยต้า โคโรลล่า (E210) รุ่นที่สิบสอง สร้างจากพื้นฐาน Toyota New Global Architecture (TNGA)", "title": "โตโยต้า โคโรลล่า" } ]
3697
ความเสี่ยง คืออะไร?
[ { "docid": "2938#0", "text": "ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ", "title": "ความเสี่ยง" } ]
[ { "docid": "308056#41", "text": "พันธุกรรมอาจมีส่วนในการทำให้บางคนเสี่ยงต่อการมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางมากกว่าคนอื่น โดยจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-5 เท่าในผู้ที่มีญาติสายตรงอันดับที่หนึ่งป่วยด้วยมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง[4] อย่างไรก็ได้ปัจจัยเสี่ยงที่มาจากวิธีการดำเนินชีวิตมีผลต่อความเสี่ยงโดยรวมมากกว่า[2] ความเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันเลือดสูง และการดื่มสุรา[14] ผู้ที่เคยสูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่เคยสูบ[2] มีข้อมูลที่ไม่ชัดเจนนักว่าปัจจัยบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ปัจจัยเหล่านี้เช่น การมีเชื้อชาติคอเคเชียน การได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน เบาหวาน และการมีระดับคอเลสเตอรอลมากกว่าปกติ[2] ประมาณ 4% ของการมีเลือดออกจากหลอดเลือดโป่งพองเกิดขึ้นหลังการมีเพศสัมพันธ์ และผู้ป่วยเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง 10% เริ่มมีอาการขณะที่กำลังก้มตัวหรือยกของหนัก", "title": "เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง" }, { "docid": "684188#2", "text": "ความเอนเอียงนี้มักจะวัดโดยตัวกำหนดความเสี่ยงสองอย่าง คือ\nมีปัญหาหลายอย่างในการวัดค่าสัมบูรณ์เพราะว่ายากมากที่จะกำหนดสถิติความเสี่ยงจริง ๆ ของคน ๆ หนึ่ง \nดังนั้น การวัดค่าในงานวิจัยมักจะเป็นแบบเปรียบเทียบ โดยเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบโดยตรงหรือโดยอ้อม \nการเปรียบเทียบโดยตรงจะถามว่าตนมีโอกาสเสี่ยงในการประสบเหตุการณ์หนึ่ง ๆ น้อยกว่า มากกว่า หรือเท่ากับคนอื่น ๆ \nในขณะที่การเปรียบเทียบโดยอ้อมจะเป็นการประเมินทั้งความเสี่ยงของตนในการประสบเหตุการณ์ และความเสี่ยงของคนอื่นในการประสบเหตุการณ์อย่างเดียวกัน", "title": "ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี" }, { "docid": "77809#1", "text": "เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือความเสี่ยง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ และความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ", "title": "ความเสี่ยงจากการลงทุน" }, { "docid": "2938#12", "text": "ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงานและการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก (External Factor Risks) และความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน (Internal Factor Risks)", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "2938#6", "text": "ความเสี่ยง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ และความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "974595#15", "text": "อาการน่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งก็คือการมีปัจจัยเสี่ยงหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นรวมทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก (มากกว่า 3.5 แก้วต่อวัน) โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และอายุมาก (มากกว่า 50 ปี)\nปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเหตุร้ายแรงที่ทำให้หูเจ็บ เช่น มะเร็งหรือการติดเชื้อที่รุนแรง\nโดยเฉพาะก็คือ การอยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่อาจเพิ่มความเสี่ยงหูอักเสบอย่างฉับพลันในเด็ก\nอนึ่ง การว่ายน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งสำคัญที่สุดสำหรับหูชั้นนอกอักเสบ แม้ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ รวมทั้งช่องหูชื้น ผิวหนังอักเสบออกผื่น (eczema) และ/หรือการบาดเจ็บที่หู", "title": "อาการเจ็บหู" }, { "docid": "308056#40", "text": "แม้ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางจะเป็นกลุ่มอายุที่น้อยกว่าการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดอื่นๆ[2] แต่ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นตามอายุไม่ต่างกัน ผู้ที่มีอายุน้อยมีโอกาสเกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนด้วยอัตราส่วนความเสี่ยง (risk ratio) 0.1 หรือ 10%[51] ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุโดยผู้มีอายุมาก (มากกว่า 85 ปี) เสี่ยงกว่าผู้มีอายุ 45 - 55 อยู่ 60%[51] ผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปีมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชายอายุเท่ากันประมาณ 25% ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่เป็นผลมาจากการหมดประจำเดือน เช่นการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นต้น[51]", "title": "เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง" }, { "docid": "481145#4", "text": "เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา มีผู้คิดจะเอาพระเสี่ยงไปไว้ที่กรุงเทพฯ แต่ในสมัยนั้นรถไม่มี จึงได้อัญเชิญพระเสี่ยงขึ้นหลังช้าง พระเสี่ยงก็ได้แสดงอภินิหารให้ช้างหนักจนไปไม่ได้ พระเสี่ยงตกจากหลังช้าง เป็นเหตุให้หูหัก เกศคต ทำชาวบ้านมีความเห็นว่าท่านไม่อยากไปอยู่ที่อื่นก็เป็นได้", "title": "พระเสี่ยง" }, { "docid": "2938#14", "text": "ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) เป็นอีกประเภทของความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อบริษัทและองค์กรทั่วไป ความเสี่ยงด้านการเงินนี้ประกอบด้วยความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) และ ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks)", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "806364#29", "text": "การใช้ SSRI เมื่อมีครรภ์สัมพันธ์กับความเสี่ยงการแท้งบุตรเองที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.7 เท่า\nแต่การใช้ SSRI ของมารดาอาจจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำกว่าต่อการคลอดบุตรก่อนกำหนด และต่อการผ่าท้องทำคลอด\nงานปริทัศน์เป็นระบบปี 2555 ที่ตรวจความผิดปกติแต่กำเนิดที่สำคัญของทารกที่มารดาใช้ยาแก้ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (3%-24%) ของสภาพวิรูปสำคัญ (major malformation) แต่ความเสี่ยงความผิดปกติหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดไม่ต่างจากมารดาที่ไม่ได้ใช้\nงานศึกษาหญิงมีครรภ์ที่ใช้ฟลูอ๊อกซิตินงานหนึ่ง พบความเสี่ยงของสภาพวิรูปสำคัญเพิ่มขึ้น 12% ที่เกือบถึงขีดนัยสำคัญทางสถิติ\nงานอื่น ๆ พบความเสี่ยงความผิดปกติหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดเพิ่มขึ้นในบรรดามารดาที่ซึมเศร้าแต่ไม่ได้รักษาโดย SSRI ซึ่งแสดงว่างานต่าง ๆ อาจมีความเอนเอียงในการสุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่กังวลอาจจะให้ตรวจดูทารกของตนเองมากกว่า\nส่วนอีกงานหนึ่งไม่พบความเสี่ยงความผิดปกติหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดที่เพิ่มขึ้น\nแต่พบความเสี่ยงสภาพวิรูปสำคัญที่เพิ่มขึ้น 27% ในบรรดาหญิงมีครรภ์ที่ใช้ SSRI", "title": "Selective serotonin re-uptake inhibitors" }, { "docid": "2948#0", "text": "การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง () คือ การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์() ประเมิน() ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident )", "title": "การจัดการความเสี่ยง" }, { "docid": "2938#4", "text": "กรอบความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk Model Framework) นั้นจะช่วยให้หน่วยงานทุกระดับภายในบริษัทสามารถระบุถึงความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น โดยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "2938#15", "text": "ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ (Information Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในด้านสารสนเทศหรือข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน การรายงานต่าง ๆ ทางการเงิน ความเสี่ยงด้านภาษี รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งความเสี่ยงด้านสารสนเทศนี้สามารถแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ประเภท คือ ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks) ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operational Risks) และ ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Technological Risks)", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "684188#23", "text": "นโยบายป้องกันความเสี่ยงนั้นมักจะเน้นที่เด็กวัยรุ่น\nเพราะเด็กวัยรุ่นมีความรู้สึกเสี่ยงที่บิดเบือน จึงมักจะมีพฤติกรรมเสี่ยง ๆ ทางสุขภาพบ่อย ๆ เช่นการสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด และเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน\nและถึงแม้จะรู้ถึงความเสี่ยง ความรู้นี้ก็ไม่ได้ช่วยเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมของเด็ก \nส่วนวัยรุ่นที่มีความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีต่อพฤติกรรมเสี่ยง ๆ ก็จะมีความเอนเอียงนี้สูงด้วยในวัยผู้ใหญ่", "title": "ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี" }, { "docid": "994772#23", "text": "ข้อมูลจากงานศึกษาเด่น คือ Framingham Heart Study แสดงว่า ถ้าค่า LDL อยู่นิ่ง อัตราความเสี่ยงโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า ถ้า HDL เปลี่ยนจากสูงไปเป็นต่ำ\nแต่ในนัยกลับกัน เมื่อค่า HDL นิ่ง อัตราความเสี่ยงจะเพิ่ม 3 เท่า เมื่อ LDL เปลี่ยนจากต่ำไปสูง \nเช่น ถ้า HDL อยู่นิ่งที่ 85 mg/dl ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน (coronary artery disease, CAD) จะอยู่ที่ 1/10 ของค่าปกติเมื่อ LDL ต่ำ (100 mg/dl) และยังคงอยู่ที่ 3/10 ของค่าปกติเมื่อ LDL สูง (220 mg/dl)\nกล่าวอีกอย่างก็คือ ข้อมูลแสดงนัยว่า HDL เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีกำลังกว่า LDL\nเพราะถ้า HDL สูง (85 mg/dl) ความเสี่ยง CAD ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแม้เมื่อ LDL สูง\nดังนั้น การลดระดับ LDL ในบุคคลที่มี HDL สูง แม้จะมีประโยชน์บ้าง แต่ก็เพียงลดความเสี่ยงที่ต่ำอยู่แล้วให้ต่ำมาก\nและบุคคลที่แม้มี LDL ต่ำมากก็ยังเสี่ยงสูงกว่าถ้าค่า HDL ไม่สูงพอ", "title": "ไลโพโปรตีนหนาแน่นสูง" }, { "docid": "17616#52", "text": "ระดับความเสี่ยงลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ป่วยLDL เป้าหมาย (mg/dl)LDL เป้าหมาย (mmol/l)สูงมาก ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งโดยการวินิจฉัยโดยการสอดใส่เครื่องมือ หรือไม่สอดใส่เครื่องมือ (เช่น coronary angiography, scintigraphy, stress echocardiography, ultrasound), โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary syndrome), ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีความจำเป็นต้องทำการเปิดหลอดเลือด (coronary revascularization; เช่น percutaneous coronary intervention, coronary artery bypass), และได้รับการสอดใส่อุปกรณ์ถ่างหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2) ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป หรือเกิดความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวเนื่อง (เช่น เกิดภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย ( Microalbuminuria ): 30–300mg/24 h) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรุนแรง (GFR <30 ml/min/1,73 m²) คะแนนความเสี่ยง ≥10%<70<1,8สูง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรุนแรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพียง 1 ปัจจัยเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือไม่เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในที่เป็นผลมาจากเบาวหวาน (organ damaged) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง (GFR 30–59 ml/min/1,73 m²) คะแนนความเสี่ยง ≥5% – <10%<100<2,5ปานกลาง คะแนนความเสี่ยง ≥1% – <5%<115<3,0น้อย คะแนนความเสี่ยง <1%ไม่สามารถระบุได้", "title": "สแตติน" }, { "docid": "684188#22", "text": "ในทางสุขภาพ ความเอนเอียงนี้มักจะทำให้เราไม่สนใจที่จะกระทำการป้องกันต่าง ๆ เพื่อมีสุขภาพที่ดี \nดังนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องรู้จักความเอนเอียงนี้ และกระบวนการที่ความเอนเอียงขัดขวางไม่ให้มนุษย์ กระทำการป้องกันในการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ \nยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจของตนเองโดยเปรียบเทียบต่ำเกินไป จะมีความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจน้อยกว่า\nและแม้หลังจากอ่านบทความเกี่ยวกับโรค ก็จะยังไม่สนใจในเรื่องความเสี่ยงต่อโรคหัวใจของตน \nเพราะว่า ความเอนเอียงนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจ\nจึงสำคัญที่จะรู้ว่า ความรู้สึกว่าเสี่ยงไม่เสี่ยงเกิดขึ้นได้อย่างไร \nและว่า อย่างไรจึงจะมีผลเป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมการป้องกันความเสี่ยง\nความรู้สึกเสี่ยงมีอิทธิพลที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมส่วนบุคคล เช่นการออกกำลังกาย ไดเอ็ต และการใช้ครีมกันแดด", "title": "ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี" }, { "docid": "754671#0", "text": "การแตกเป็นเสี่ยง () เป็นกระบวนการหนึ่งที่ชิ้นส่วนของวัสดุจะถูกดีดออกมาจากร่างกายใด ๆ เนื่องจากการกระทบหรือความเครียด ในบริบทของกลศาสตร์การกระทบมันจะอธิบายการดีดออกหรือการระเหยของวัสดุจากเป้าหมายระหว่างการกระทบจากวัตถุวิถีโค้ง ในฟิสิกส์ของดาวเคราะห์ การแตกเป็นเสี่ยงจะอธิบายการกระทบจากอุกกาบาตบนพื้นผิวของดาวเคราะห์และผลกระทบของลมดวงดาวในบรรยากาศของดาวเคราะห์ ในบริบทของการทำเหมืองแร่หรือธรณีวิทยา การแตกเป็นเสี่ยงอาจหมายถึงชิ้นส่วนของหินที่แตกออกจากผิวหน้าของหินเนื่องจากความเครียดภายในหินนั้น โดยทั่วไปมันเกิดขึ้นบนผนังปล่องเหมือง ในบริบทของมานุษยวิทยา, การแตกเป็นเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ใช้ในการทำเครื่องมือหินเช่นหัวลูกศรโดยการเคาะหรือทุบ ในฟิสิกส์นิวเคลียร์ การแตกเป็นเสี่ยงเป็นกระบวนการที่นิวเคลียสหนักปลดปล่อยนิวคลีออนออกมาเป็นจำนวนมากเป็นผลมาจากการถูกชนด้วยอนุภาคย่อยพลังงานสูง ดังนั้นน้ำหนักอะตอมจึงลดลงอย่างมาก", "title": "การแตกเป็นเสี่ยง (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "717748#3", "text": "นักปรัชญาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ดร. นิก บอสตรอม จัดประเภทความเสี่ยงตามขอบเขตและความรุนแรง \nเขาพิจารณาความเสี่ยงที่มีขอบเขตอย่างน้อย \"ทั่วโลก\" (global) และมีความรุนแรงอย่างน้อย \"ยังทนได้\" (endurable) ว่าเป็นความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก\nส่วนความเสี่ยงที่มีขอบเขตอย่างน้อย \"หลายชั่วคน\" (trans-generational) และมีความรุนแรงอย่างน้อย \"เป็นจุดจบ\" (terminal) ว่าเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอด\nคือ แม้ว่าความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก อาจจะฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่มนุษย์ก็ยังอาจจะฟื้นคืนได้\nแต่ว่า ความเสี่ยงต่อการอยู่รอด จะทำลายมนุษย์ทั้งหมด หรือจะขัดขวางไม่ให้เกิดอารยธรรมได้อีกในอนาคต\nดร. บอสตรอม พิจารณาความเสี่ยงต่อการอยู่รอด ว่าเป็นเรื่องสำคัญกว่ามาก", "title": "ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก" }, { "docid": "242400#81", "text": "สำหรับเด็ก วัยรุ่น และอาจผู้ใหญ่ในระหว่าง 18-24 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงในการคิดและพฤติกรรมเรื่องฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ถ้าใช้ยา SSRI[215][216] สำหรับผู้ใหญ่ ไม่ชัดเจนว่า SSRI มีผลต่อความเสี่ยงฆ่าตัวตายหรือไม่ งานทบทวนวรรณกรรมงานหนึ่งไม่พบหลักฐานอะไร[217] อีกงานหนึ่งพบความเสี่ยงที่สูงขึ้น[218] และอีกงานหนึ่งไม่พบความเสี่ยงในบุคคลอายุระหว่าง 25-65 ปี และความเสี่ยงที่ลดลงในผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี[219] องค์การอาหารและยาสหรัฐบังคับให้บริษัทยาติดป้ายเตือนในปี 2550 สำหรับยาแก้ซึมเศร้ารวมทั้ง SSRI ว่าเพิ่มโอกาสเสี่ยงการฆ่าตัวตายสำหรับคนไข้อายุต่ำกว่า 24 ปี[220] กระทรวงสาธารณสุขของประเทศญี่ปุ่นก็ทำเช่นกัน[221]", "title": "โรคซึมเศร้า" }, { "docid": "718488#20", "text": "ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักจากภายหลังจากการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีน้อยกว่า 10% -- ในขณะที่อาการชักมักจะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินของโรค ผุ้ป่วยที่เป็นโรคสมองอักเสบจากเริมมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักสูงถึง 50% และมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคลมชักได้ถึง 25% การติดเชื้อซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อตัวตืดในระบบประสาทส่วนกลาง เป็นสาเหตุประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคลมชักซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เฉพาะถิ่นของพยาธิ โรคลมชักอาจเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อในสมองอื่นๆเช่น โรคมาลาเรียขึ้นสมอง และ การดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานานๆเพิ่มความเสี่ยงของโรคลมชัก โดยผู้ที่ดื่มหกต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมชักประมาณสองเท่าครึ่ง ความเสี่ยงอื่นๆได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ทูเบอรัส สเคลอโรซิส และ การได้รับการฉีดวัคซีนไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมชัก ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคลมชักในประเทศกำลังพัฒนา แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นสาเหตุโดยตรงหรือทางอ้อม ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตสมองใหญ่จะมีความเสี่ยงเพิ่มต่อการเป็นโรคลมชัก โดยมีการพบว่าครึ่งหนึ่งของป่วยอัมพาตสมองใหญ่ชนิด และ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก", "title": "โรคลมชัก" }, { "docid": "44422#41", "text": "ต่อมา ได้เปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยมีกล่องเสี่ยงเซียมซีเลือกแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีจำนวนเงินแตกต่างกัน โดยมีเงินรางวัลสูงสุดถึง 500,000 บาท และจะมีป้ายพิเศษที่ทวีคูณเงินเป็นสองเท่า ผู้เข้าแข่งขันจะได้เสี่ยงเซียมซี 2 ครั้ง ซึ่งต้องเสี่ยงดวงด้วยการเสี่ยงเซียมซี ถ้าไม้เสี่ยงทายออกหมายเลขใด ก็จะได้รับเงินรางวัลไปตามนั้น การทำแจ็กพอตแตกคือ การเสี่ยงได้ป้าย 500,000 บาท และ ทวีคูณสองเท่า", "title": "เกมวัดดวง" }, { "docid": "42680#22", "text": "ปัจจัยของอาหารยังมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. การบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานด้วยน้ำตาลส่วนเกินจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ชนิดของไขมันในอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ, ด้วยไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันทรานส์จะเพิ่มความเสี่ยงและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและหลายเชิงช่วยลดความเสี่ยง. การบริโภคข้าวขาวจำนวนมากดูเหมือนจะยังมีบทบาทในการเพิ่มความเสี่ยง การขาดการออกกำลังกายเชื่อว่าจะทำให้เกิด 7% ของกรณี", "title": "เบาหวาน" }, { "docid": "365720#112", "text": "ในปี 2013 องค์การอนามัยโลกรายงานว่าผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการอพยพได้สัมผัสกับรังสีที่มีปริมาณน้อยมากเสียจนกระทั่งรังสีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าระดับที่สามารถตรวจพบได้ ความเสี่ยงต่อสุขภาพมีการคำนวณโดยใช้สมมติฐานอย่างอนุรักษ์ รวมทั้งรูปแบบไม่มีเกณฑ์เชิงเส้นอนุรักษ์ () ของการสัมผัสกับรังสี ซึ่งเป็นโมเดลหนึ่งที่ถือว่าแม้แต่จำนวนน้อยที่สุดของการสัมผัสรังสีจะทำให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพได้ รายงานระบุว่าสำหรับทารกเหล่านั้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ความเสี่ยงจากโรคมะเร็งตลอดช่วงอายุจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1% รายงานคาดการณ์ว่าประชากรในพื้นที่ปนเปื้อนมากที่สุดต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เกี่ยวกันในการพัฒนาไปสู่มะเร็งต่อมไทรอยด์สูงขึ้น 70% สำหรับสตรีที่สัมผ้สตอนเป็นทารกและความเสี่ยงที่เกี่ยวกันของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่สูงขึ้น 7% ในเพศชายที่สัมผัสตอนเป็นทารก และมีความเสี่ยงที่เกี่ยวกันของมะเร็งเต้านมที่สูงขึ้น 6% ในเพศหญิงที่สัมผ้สตอนเป็นทารก หนึ่งในสามของคนงานฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องจะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงโรคมะเร็งสำหรับทารกในครรภ์มีความคล้ายคลึงกับทารกที่มีอายุ 1 ปี ความเสี่ยงโรคมะเร็งในเด็กและผู้ใหญ่คาดว่าจะต่ำกว่าทารก", "title": "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง" }, { "docid": "2938#5", "text": "1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) 2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ(Operational Risk) 3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) 4. ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Hazard Risk)", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "2938#3", "text": "ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ", "title": "ความเสี่ยง" }, { "docid": "684188#3", "text": "หลังจากที่ได้ค่าประเมินต่าง ๆ นักวิจัยจะกำหนดว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่\nระหว่างค่าประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของบุคคล เทียบกับค่าประเมินความเสี่ยงเฉลี่ยของบุคคลอื่น (ที่อยู่ในวัยและเพศเดียวกันเป็นต้น)\nโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ในเหตุการณ์เลวร้าย ค่าประเมินความเสี่ยงเฉลี่ยของบุคคลจะต่ำกว่าค่าประเมินความเสี่ยงที่ให้กับคนอื่น \nซึ่งใช้เป็นหลักฐานว่ามีความเอนเอียงนี้\nความเอนเอียงนี้สามารถกำหนดได้ในระดับกลุ่มเท่านั้น เพราะค่าประเมินเชิงบวกเทียบกับคน ๆ เดียวอาจจะถูกต้องตามความเป็นจริง \nนอกจากนั้นแล้ว ยังมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับการวัดค่าความเสี่ยง เพราะว่ายากที่จะกำหนดว่า ใครมองในแง่ดี ใครมองถูกต้องตามความเป็นจริง และใครมองในแง่ร้าย \nมีงานวิจัยที่เสนอว่า ความเอนเอียงมาจากการประเมินค่าความเสี่ยงของกลุ่มเปรียบเทียบเกินความจริง ไม่ใช่เป็นการประเมินค่าเสี่ยงของตนต่ำเกินไป", "title": "ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี" }, { "docid": "717748#14", "text": "ความเสี่ยงต่อการอยู่รอดที่เป็นไปได้บางอย่าง มีเหตุจากเทคโนโลยีของมนุษย์\nในปี ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ตั้งโปรเจ็กต์ \"The Cambridge Project for Existential Risk (โปรเจ็กต์เคมบริดจ์สำหรับความเสี่ยงต่อการอยู่รอด)\" ที่ตรวจสอบภัยต่อมนุษยชาติ ที่เกิดจากเทคโนโลยี \nจุดมุ่งหมายของโปรเจ็กต์ ก็เพื่อจะตั้งศูนย์วิจัยสหศาสตร์ คือ Centre for the Study of Existential Risk (ศูนย์เพื่อการศึกษาความเสี่ยงต่อการอยู่รอด) อุทิศให้กับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และการบรรเทา ความเสี่ยงต่อการอยู่รอด ที่มาจากเทคโนโลยีมนุษย์", "title": "ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก" }, { "docid": "813101#46", "text": "งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2555 ที่ตรวจความผิดปกติแต่กำเนิดที่สำคัญของทารกที่มารดาใช้ยาแก้ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (3%-24%) ของสภาพวิรูปสำคัญ (major malformation) แต่ความเสี่ยงความผิดปกติหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดไม่ต่างจากมารดาที่ไม่ได้ใช้\nงานศึกษามารดามีครรภ์ที่ใช้ฟลูอ๊อกซิตินงานหนึ่ง พบความเสี่ยงของสภาพวิรูปสำคัญเพิ่มขึ้น 12% ที่เกือบถึงขีดนัยสำคัญทางสถิติ\nงานอื่น ๆ พบความเสี่ยงความผิดปกติหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดเพิ่มขึ้นในบรรดามารดาที่ซึมเศร้าแต่ไม่ได้รักษาโดย SSRI ซึ่งแสดงว่างานต่าง ๆ อาจมีความเอนเอียงในการสุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่กังวลอาจจะให้ตรวจดูทารกของตนเองมากกว่า\nส่วนอีกงานหนึ่งไม่พบความเสี่ยงความผิดปกติหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดที่เพิ่มขึ้น \nแต่พบความเสี่ยงสภาพวิรูปสำคัญที่เพิ่มขึ้น 27% ในมารดามีครรภ์ที่ใช้ SSRI", "title": "ยาแก้ซึมเศร้า" }, { "docid": "2938#13", "text": "ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่ทุกธุรกิจจะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของธุรกิจตามปกติ แต่ธุรกิจจะต้องหาวิธีการในการจัดการป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้น ถ้าหากธุรกิจปล่อยให้มีความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการเกิดขึ้นมาก ผลการดำเนินงานของธุรกิจอาจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงด้วย", "title": "ความเสี่ยง" } ]
2828
คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า อะไร?
[ { "docid": "11140#1", "text": "คำว่า \"คันจิ\" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า \"ฮั่นจื้อ\" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語 (จีนตัวเต็ม),汉语 (จีนตัวย่อ) hànyǔ) เช่นกัน", "title": "คันจิ" } ]
[ { "docid": "11140#15", "text": "เสียงอง () แปลว่า อ่านเอาเสียง เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นตามเสียงภาษาจีน เสียงคุน () แปลว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นในภาษาญี่ปุ่น", "title": "คันจิ" }, { "docid": "191569#11", "text": "จุดประสงค์เพียงอย่างเดียวของจู้อินในการเรียนในชั้นประถมศึกษา คือเพื่อสอนให้เด็กๆ รู้จักการอ่านภาษาจีนกลางแบบมาตรฐาน (ซึ่งต่างกับพินอินในแง่ของการศึกษาโดยชาวต่างชาติและการทับศัพท์) ตำราชั้น ป.1 ของทุกวิชาจะถูกจัดพิมพ์เป็นจู้อินทั้งหมด หลังจาก ป.1 อักษรจีนจะเข้ามาแทนที่จู้อิน แต่ก็ยังมีจู้อินกำกับไว้ข้างๆ ในช่วง ป.4 การปรากฏของจู้อินจะลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งจะเหลือเพียงแค่ส่วนของการสอนอักษรจีนตัวใหม่ และเมื่อเด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้อักษรต่างๆ ได้ ก็จะสามารถถอดเสียงอ่านที่ให้ไว้ในพจนานุกรมภาษาจีนได้ และยังสามารถค้นหาว่าคำๆ หนึ่งเขียนอย่างไรโดยที่ทราบเพียงแค่เสียงอ่านของมัน", "title": "จู้อิน" }, { "docid": "152782#1", "text": "ฟูริงานะอาจปรากฏอยู่บนคันจิตัวต่อตัว หรืออาจจะอยู่ตรงกลางของด้านบนของคำหรือวลีก็ได้ วิธีหลังเป็นที่นิยมกว่าเนื่องจากภาษาญี่ปุ่นมีคำอยู่หลายคำที่มีเสียงอ่านเฉพาะตัว นั่นคือเสียงของทั้งคำไม่สอดคล้องกับเสียงของคันจิแต่ละตัว", "title": "ฟูริงานะ" }, { "docid": "35921#6", "text": "ภายหลังจากการทับศัพท์ เสียงต้นฉบับของคำอาจจะมีการสูญหายไป เนื่องจากมีการพัฒนาระบบของแต่ละภาษาแตกต่างกันไป หรือมีการนำคำศัพท์เดิมในรูปแบบตัวอักษรไปเขียนและอ่านในภาษาใหม่แทนที่ เช่น คำว่า \"ฌาน\" ในภาษาบาลี หรือ \"ธฺยาน\" ในภาษาสันสกฤต เขียนในอักษระละตินว่า Dhyāna ต่อมาได้ทับศัพท์ในภาษาจีนว่า \"ฌาน\" (禪) และชาวญี่ปุ่นได้นำศัพท์ภาษาจีน ไปใช้ในรูปแบบของอักษรคันจิของภาษาญี่ปุ่นในอักษรเดิมแต่อ่านว่า เซน (禅, ゼン) หลังจากนั้นภาษาอังกฤษได้มีการนำศัพท์คำว่า เซน จากภาษาญี่ปุ่นทับเป็นคำว่า \"zen\" ซึ่งคำต้นฉบับคือคำว่า \"dhyāna\" ได้เปลี่ยนเป็น \"Zen\" ในการทับศัพท์หลายครั้ง", "title": "การถอดเสียง" }, { "docid": "152781#1", "text": "คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นใช้โอะคุริงะนะเพื่อบอกกาล และความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ซึ่งจะมีรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น คันจิ 高 (อ่านว่า \"taka\") ความหมายหลักของมันแปลว่าสูง แต่ข้อมูลเกี่ยวกับมันสามารถดูได้จากโอกูริงานะที่ตามหลังดังนี้กริยาในภาษาญี่ปุ่นก็มีรูปแบบเดียวกัน เราสามารถดูความหมายหลักได้ที่ตัวคันจิ และเราสามารถดูกาล ความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ความสุภาพ และอื่น ๆ ได้จากโอกูริงานะที่ตามหลังคำกริยาข้างล่างนี้มีความหมายที่สุภาพกว่าโอกูริงานะช่วยลดความกำกวมของคันจิที่มีหลายคำอ่านได้ โดยเฉพาะคันจิที่มีหลายความหมายและหลายคำอ่าน โอกูริงานะจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนตั้งใจสื่อได้", "title": "โอกูริงานะ" }, { "docid": "11140#49", "text": ", โปรแกรมจาวา แผ่นช่วยจำ แบบออนไลน์ เพื่อการศึกษาและฝึกหัด คันจิ รวมทั้ง การอ่านเสียงอง เสียงคุน และ ความหมาย โฮมเพจ เวปค้นหาโจโยคันจิ 1945 ตัว พร้อมแสดงคำศัพท์ทั้งญี่ปุ่นไทย และญี่ปุ่นอังกฤษ เรียนคันจิ ภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง แสดงลิสต์คันจิ และเก็บคันจิที่ต้องการเรียน ไว้ในมายคันจิได้", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#22", "text": "ในภาษาจีน อักษรจีนหนึ่งตัวส่วนมากจะอ่านได้เพียงเสียงเดียว ยกเว้น อักษรบางตัวอ่านได้หลายเสียงและให้ความหมายต่างกัน หรือเป็นคำพ้องรูป (ภาษาจีนกลาง: 多音字, duōyīnzì) เช่น 行 (พินอิน: háng แปลว่า แถว, มืออาชีพ หรือ xíng แปลว่า เดินทาง, ปฏิบัติ) (ภาษาญี่ปุ่น: gō, gyō) ซึ่งคุณลักษณะนี้ ได้ถ่ายทอดสู่ภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#24", "text": "เสียงองมักจะอยู่ในคำประสมที่เขียนด้วยคันจิสองตัว (熟語, Jukugo) โดยชาวญี่ปุ่นได้ยืมคำภาษาจีนเหล่านี้มาใช้ ซึ่งเหมือนกับการที่ภาษาไทย ยืมคำภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรมาใช้ การยืมภาษาอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ภาษาดั้งเดิมยังไม่มีคำให้เรียกสิ่งนั้น ยืดยาวไม่กระชับ ไม่เฉพาะเจาะจง หรือไม่ไพเราะ คำยืมจะให้ความรู้สึกไพเราะ เป็นทางการ และหรูหรามากหว่า แต่หลักการอ่านคำประสมนี้ไม่ครอบคลุมถึงการอ่านชื่อของชาวญี่ปุ่นทั่วไป ที่นามสกุล หรือชื่อ หรือทั้งนามสกุลและชื่อ ประกอบด้วยอักษรคันจิสองตัว แต่จะอ่านด้วยเสียงคุน (อย่างไรก็ตาม เสียงองก็ยังพบได้ในชื่อตัว โดยเฉพาะชื่อตัวของผู้ชาย)", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#21", "text": "การอ่านคันจิตามเสียงองส่วนมาก จะเป็นเสียงคันอง สำหรับโกะอง จะอยู่ในศัพท์ทางพุทธศาสนา เช่น 極楽 (gokuraku, สวรรค์) และอยู่ในคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน (คังโกะ) ยุคแรก เช่น ตัวเลข เป็นต้น ส่วนโทองนั้น อยู่ในคันจิยุคหลังๆบางคำ เช่น 椅子 (isu, เก้าอี้) 布団 (futon, ฟูกปูนอน) และ 行灯 (andon, โคมกระดาษ) เป็นต้น", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#19", "text": "โกะอง () หรือ เสียงอู๋ เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ของจีน หรืออาณาจักรแพกเจของเกาหลี ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 และคริสต์ศตวรรษที่ 6 \"โกะ\" หมายถึง แคว้นอู๋ หรือง่อก๊ก (บริเวณใกล้เคียงเมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน) แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนอู๋แต่อย่างใด คันอง () หรือ เสียงฮั่น เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์ถัง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 9 ส่วนใหญ่มาจากสำเนียงของเมืองหลวงในเวลานั้น คือ ฉางอาน (長安) ซึ่งปัจจุบันคือเมือง ซีอาน (西安) คำว่า \"คัน\" หมายถึง ชนชาติฮั่น (漢) อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน โทอง () หรือ เสียงถัง เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในช่วงราชวงศ์หลังๆ ของจีน เช่น ราชวงศ์ซ่ง (宋) และ ราชวงศ์หมิง (明) การอ่านคันจิในยุคเฮอัง และยุคเอะโดะ จะอ่านตามสำเนียงนี้ หรือเรียกกันว่า \"โทโซอง\" (唐宋音, tōsō-on). คันโยอง () แปลตามศัพท์ได้ว่า เสียงอ่านที่เป็นที่ยอมรับ เป็นการอ่านที่ออกเสียงผิดมาตั้งแต่เริ่มใช้คำคำนั้น แต่ได้ใช้กันต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในที่สุด", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#3", "text": "ในสมัยที่อักษรจีนเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ภาษาญี่ปุ่นเองยังไม่มีตัวอักษรไว้เขียน อักษรจีนหรือคันจิจะถูกเขียนเป็นภาษาจีน และอ่านเป็นเสียงภาษาจีนทั้งหมด ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้ระบบคัมบุน (漢文 kanbun) คือ การใช้อักษรจีนร่วมกับเครื่องหมายแสดงการออกเสียง (Diacritic) เพื่อช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถออกเสียงตัวอักษรจีนนั้นๆได้ เมื่ออ่านออกเสียงได้แล้ว ชาวญี่ปุ่นก็จะสามารถเรียงประโยคใหม่ และเติมคำช่วยตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นที่ตนเองเข้าใจ และสามารถเข้าใจประโยคภาษาจีนนั้นได้ในที่สุด", "title": "คันจิ" }, { "docid": "20888#8", "text": "คำว่า องเมียว (陰陽) ในภาษาญี่ปุ่น เขียนเหมือนกับคำว่า \"หยินหยาง\" (陰陽) ในภาษาจีน ซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือศาสตร์เกี่ยวกับโหราศาสตร์และศาสตร์ของเต๋า ในประเทศญี่ปุ่น ใช้ คำว่า องเมียวโด (คันจิ: 陰陽道, ฮิรางานะ: おんみょうどう ,โรมะจิ: Onmyōdō) ซึ่งหมายถึง วิชาเกี่ยวกับองเมียว (โดย \"โด\" หมายถึงวิชา เหมือน ยูโด หรือ เคนโด) และ องเมียวจิ (คันจิ: 陰陽師, ฮิรางานะ: おんみょうじ, โรมะจิ: Onmyōji) คือ บุคคลที่ฝึกฝนวิชาองเมียว นอกจากนี้ คำอ่านคำว่า องเมียวโด (陰陽道) ในภาษาญี่ปุ่นเขียนที่เขียนในตัวอักษรคันจิสามารถอ่านได้สองแบบคือ องเมียวโด และ องโยโด (おんようどう, โรมะจิ: On'yōdō) และเช่นเดียวกับ องเมียวจิ กับ องโยจิ", "title": "องเมียว" }, { "docid": "746803#2", "text": "ตัวอักขระที่แปลว่าปราสาท '城' ที่อ่านว่า \"ชิโระ\" (คันจิในภาษาญี่ปุ่น) เมื่อเขียนติดกับคำคำหนึ่งจะอ่านเป็น \"โจ\" (คันจิที่แผลงจากภาษาจีน) เช่นในชื่อปราสาท ตัวอย่างเช่น ปราสาทโอซะกะ เรียกว่า \"โอซะกะโจ\" (大阪城) ในภาษาญี่ปุ่น ", "title": "ปราสาทญี่ปุ่น" }, { "docid": "71009#1", "text": "คำว่า \"อิงลิช\" มีที่มาจากการที่ภาษาญี่ปุ่นใช้เสียง R และเสียง L แทนด้วยตัวอักษรเสียงเดียวกันคือ \"แถวระ\" ซึ่งทำให้คำที่ใช้ตัวอักษร L ถูกแทนด้วยเสียง R หมด เช่นคำว่า English จะถูกอ่านเหมือน Engrish เป็นต้น ซึ่งการออกเสียง R และ L นั้นเป็นปัญหาในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกรวมถึงจีน หรือแม้แต่ในไทยเองที่ออกเสียง R และ L ไม่ได้ ถึงแม้ว่าการแทนเสียงเหล่านี้จะแยกกันต่างหากก็ตาม (ในภาพยนตร์เรื่อง คนมหากาฬ (Lethal Weapon) มีการล้อเลียนการสั่งข้าวผัด (fried rice) ว่า \"flied lice\") และนอกจากนี้ในภาษาจีนและไทยจะไม่มีคำที่ลงท้ายด้วยเสียง L (เว้นจากคำยืมจากภาษาอื่น) ทำให้การออกเสียงถูกเปลี่ยนเป็นเสียงอื่น เช่น ball ถูกอ่านว่า บอน, Brazil ถูกอ่านว่า บรา-ซิน, หรือ email ถูกอ่านว่า อี-เมว ส่วนภาษาเกาหลีจะไม่มีคำที่ลงท้ายด้วยเสียง R ซึ่งชาวเกาหลีมักจะออกเสียงผิดเป็นเสียง L แทน", "title": "อิงริช" }, { "docid": "13972#1", "text": "ภาษาแต้จิ๋ว (潮州) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน หมิ่น-หนาน จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของจีน คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดหลากหลาย) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)", "title": "ภาษาแต้จิ๋ว" }, { "docid": "11140#29", "text": "การอ่านคันจิด้วยภาษาท้องถิ่นของญี่ปุ่น ก็จัดอยู่ในเสียงคุนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาริวกันอัน ในแถบหมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#8", "text": "เนื่องจากอักษรจีนนั้น มีจำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้ยากต่อการเรียนรู้และจดจำ กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้ประกาศชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji) ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักจะจดจำอ่านออกเสียงได้ ส่วนอักษรคันจินอกเหนือจากนี้ จะเขียนกำกับเสียงด้วยอักษร ฟุริงะนะ (振り仮名 Furigana) ซึ่งเป็นอักษรฮิระงะนะตัวเล็กๆ กำกับเสียงของอักษรคันจิแต่ละตัว เพื่อให้ทราบความหมายและอ่านออกเสียงได้", "title": "คันจิ" }, { "docid": "11140#14", "text": "เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ", "title": "คันจิ" }, { "docid": "17455#14", "text": "ในประเทศไทย ได้มีการแปลชื่อของ ซง โกคู ไปหลากหลายชื่อ ซึ่งรวมถึง \"ซง โงกุน\" และ \"ซง หงอคง\" ซึ่ง \"ซง โงกุน\" เป็นการแปลที่ผิดไปจากต้นฉบับดั้งเดิม โดยชื่อจากภาษาญี่ปุ่น เขียนในคันจิว่า 孫悟空 นั้นหากอ่านตาม การอ่านชื่อคนในแบบญี่ปุ่น (เสียงคุง ซึ่งจะอ่านตามตัว) จะอ่านว่า ซง โกคู", "title": "ซง โกคู" }, { "docid": "422132#17", "text": "คูโนจิเต็งใช้เขียนแทนคานะ หรือคันจิกับคานะ ที่ซ้ำกันอย่างน้อยสองตัว เช่น\nเมื่อพยางค์ที่ซ้ำมีเสียงก้อง ก็จะใช้คูโนจิเต็งแบบมีดากูเต็ง\nในกรณีที่พยางค์ต้นแบบเป็นเสียงก้องอยู่แล้ว คูโนจิเต็งอาจจะเติมดากูเต็งหรือไม่ก็ได้\nถ้ามีการอ่านซ้ำสามครั้ง คูโนจิเต็งจะถูกใช้สองครั้ง และถ้ามีการอ่านสี่ครั้ง คูโนจิเต็งจะถูกใช้ ณ เสียงอ่านครั้งที่สองกับครั้งที่สี่ ", "title": "โอโดริจิ" }, { "docid": "422132#4", "text": "โดโนจิเต็ง () คือเครื่องหมายซ้ำลักษณะดังนี้ (U+3005) มีรูปร่างคล้ายอักษรจีน (หรือคันจิ) โดยทฤษฎีหนึ่งว่าแปรมาจากคำว่า แปลว่า \"เหมือนกัน\" อีกทฤษฎีหนึ่งว่าแปรมาจากจุดสองจุด (หรือขีดสองขีด) จุดประสงค์หลักของเครื่องหมายนี้เพื่อย่อการเขียนคันจิ ตัวมันเองไม่มีเสียงอ่าน นั่นคือเวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม", "title": "โอโดริจิ" }, { "docid": "131231#0", "text": "สือดิบผู้จ่อง(古壮字 gǔ Zhuàngzì หรือ 方块壮字 fāngkuài Zhuàngzì,)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของชาวจ้วงซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจากอักษรจีนแบบเดียวกับอักษรจื๋อโนมที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า \"นา\" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า \"หน่า\" ผสมกับตัวที่อ่านว่า \"หลาย\"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า \"นา\" เป็นต้น", "title": "สือดิบผู้จ่อง" }, { "docid": "11140#25", "text": "คุนโยะมิ () หรือ เสียงคุน แปลตามตัวอักษรได้ว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการอ่านคันจิโดยใช้คำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือยะมะโตะโคะโตะบะ (大和言葉 Yamato kotoba) ที่มีความหมายใกล้เคียงกับตัวอักษรจีนนั้น คันจิหนึ่งตัวสามารถมีเสียงคุนได้หลายเสียงเช่นเดียวกับเสียงอง แต่คันจิบางตัวไม่มีเสียงคุนเลยก็ได้", "title": "คันจิ" }, { "docid": "322738#3", "text": "อักษรจีนซึ่งใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ มาจากคำว่า 善 อ่านว่า \"ซ่าน\" (shàn) ในภาษาจีนกลางหรือ \"เสียง\" ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึง การทำบุญ, กุศลกรรม, ความดี", "title": "มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง" }, { "docid": "11140#16", "text": "ตัวอย่างเช่น 泉 จากคำว่า 温泉 (onsen) มีเสียงองคือ せん (sen) ส่วนเสียงคุนคือ いずみ (izumi) มีความหมายว่าน้ำพุ อย่างไรก็ตามมีหลายคำในภาษาญี่ปุ่นที่อ่านออกเสียงไม่ตรงกับคันจิที่เขียน ซึ่งเป็นการอ่านแบบพิเศษ โดยผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องจดจำข้อยกเว้นเหล่านี้เอง เนื่องจากการใช้คันจิสื่อความหมายมากกว่าเสียง ตัวอย่างเช่น 上手 อ่านว่า じょうず (jouzu) แปลว่า เก่ง, เชี่ยวชาญ โดยประกอบจากคันจิ 2 ตัวคือ 上 หมายความว่า \"ข้างบน, เหนือ\" และ 手 หมายความว่า \"มือ\" ทั้งที่ปกติแล้ว 手 จะไม่อ่านออกเสียงว่า ず (zu)", "title": "คันจิ" }, { "docid": "152782#2", "text": "โดยทั่วไปแล้ว ฟูริงานะจะเขียนแทนด้วยฮิรางานะ แต่ในกรณีที่ต้องการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นกับเสียงอ่านแบบจีน ตัวอย่างเช่นพจนานุกรมคันจิ จะเขียนเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นด้วยฮิรางานะ และเสียงอ่านแบบจีนด้วยคาตากานะ", "title": "ฟูริงานะ" }, { "docid": "11140#17", "text": "องโยะมิ () หรือ เสียงอง เป็นการอ่านคันจิในเสียงภาษาจีนแต่สำเนียงญี่ปุ่น ใช้สำหรับคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน หรือ \"คังโกะ\" (漢語 Kango) ซึ่งคำเหล่านี้นำเข้ามาใช้ในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลากหลายภูมิภาคและยุคสมัยของจีน คำเดียวกันจึงออกเสียงต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สำหรับอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่นเอง จะไม่มีเสียงอง ยกเว้นคันจิบางตัว เช่น 働 ซึ่งแปลว่า ทำงาน นั้นมีทั้งเสียงองและเสียงคุน เสียงอง คือ dō และเสียงคุน คือ hatara(ku) ส่วน 塀 แปลว่า รั้ว มีทั้งเสียงองและเสียงคุนเช่นเดียวกัน เสียงอง คือ hei และเสียงคุน คือ kaki แต่ 腺 ที่แปลว่า ต่อม เป็นคันจิที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์เอง แต่มีแต่เสียงอง คือ sen ไม่มีเสียงคุน", "title": "คันจิ" }, { "docid": "3175#3", "text": "เนื่องจากตัวคันจิซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภาษาจีนมีจำนวนมาก บางครั้งมีการใช้ตัวอักษรที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ กระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรฐานของตัวคันจิ ซึ่งเรียกว่า โจโยคันจิ ประกอบด้วยตัวอักษร 2,136 ตัว เป็นตัวคันจิที่คนญี่ปุ่นทั่วไปทราบกันดี โดยไม่จำเป็นต้องเขียนคำอ่านกำกับ", "title": "ภาษาญี่ปุ่น" }, { "docid": "2417#7", "text": "ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (), ยาพัน (), ฌาปง (), ฆาปอน () รวมถึงคำว่า ญี่ปุ่น ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า \"ยิดปุ่น\" (ฮกเกี้ยน) หรือ \"หยิกปึ้ง\" (แต้จิ๋ว) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่า \"จีปังกู\" แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว () หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น () ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า \"อิลบน\" (; 日本 \"Ilbon\") และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า \"เหญิ่ตบ๋าน\" (, 日本) จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง", "title": "ประเทศญี่ปุ่น" } ]
3561
ปฏิบัติการเอนเทบเบ หรือ ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ เป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันที่เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร ?
[ { "docid": "969906#0", "text": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ (English: Operation Entebbe) หรือ ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ (English: Operation Thunderbolt) เป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการโดยหน่วยคอมมานโดของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 [7]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" } ]
[ { "docid": "969906#20", "text": "มูกิ เบตเซอร์ กล่าวในการสัมภาษณ์ในภายหลังว่า นักสืบมอสสาดได้สัมภาษณ์ตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาอย่างครอบคลุม เขากล่าวว่าผู้โดยสารชาวฝรั่งเศส-ยิว มีพื้นฐานทางทหารและ\"ความจำยอดเยี่ยม\"โดยให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอาวุธที่ถือโดยผู้คุมตัวประกัน[62] หลังจากที่เบตเซอร์รวบรวมข่าวกรองและวางแผนไว้หลายวันแล้ว เครื่องบินขนส่งซี-130 เฮอร์คิวลิสของกองทัพอากาศอิสราเอลสี่ลำได้ลอบบินสู่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในตอนเที่ยงคืนโดยไม่มีการตรวจพบโดยการควบคุมการจราจรทางอากาศของเอนเทบเบ", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#2", "text": "กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับจากมอสสาดซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของประเทศอิสราเอล ผู้ก่อการขู่ว่าจะสังหารตัวประกันหากไม่ได้ทำการปล่อยตัวนักโทษ และภัยคุกคามนี้ได้นำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการกู้ภัย[18] แผนเหล่านี้รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการต่อต้านอาวุธจากกองทหารยูกันดา[19]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "310527#24", "text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 อามินยอมให้เครื่องบินของสายการบินแอร์ฟรานซ์ที่ถูกสมาชิกขบวนการปลดแอกปาเลสไตน์-ปฏิบัติการนอกดินแดน (PFLP-EO) และสมาชิกกลุ่มปฏิวัติเยอรมนี (RZ) จี้กลางอากาศลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเอนเทบเบ ตัวประกัน 156 คนที่ไม่ได้ถือหนังสือเดินทางประเทศอิสราเอลถูกปล่อยตัวและได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ส่วนชาวยิวและพลเมืองชาวอิสราเอล 83 คนกับพนักงานเครื่องบินและพวกที่เหลืออีก 20 คนยังคงเป็นตัวประกันอยู่ ในภายหลังทางอิสราเอลได้เข้าช่วยเหลือตัวประกันในปฏิบัติการณ์ที่ชื่อว่า \"ปฏิบัติการณ์สายฟ้า (Thunderbolt Operation)\" หรือรู้จักกันในชื่อ \"ปฏิบัติการณ์เอนเทบเบ\" ตัวประกันเกือบทั้งหมดรอดเป็นอิสระ แต่ตัวประกัน 3 คนเสียชีวิตและอีก 10 คนบาดเจ็บ ผู้ก่อการร้าย 6 คน, ทหารยูกันดา 45 คนและทหารอิสราเอล 1 คนคือโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu) ถูกสังหาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับนานาประเทศของยูกันดาย่ำแย่ลง ทางบริเตนทำการถอนข้าหลวงออกจากประเทศยูกันดาทันที", "title": "อีดี อามิน" }, { "docid": "969906#29", "text": "หลังจากการโจมตี ทีมโจมตีอิสราเอลกลับไปที่เครื่องบินของพวกเขาและเริ่มบรรทุกตัวประกัน ทหารยูกันดายิงใส่พวกเขาในช่วงดำเนินการ ส่วนหน่วยคอมมานโดอิสราเอลก็สวนกลับไปโดยใช้เอเค 47 ของพวกเขา[70] ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายในฝ่ายยูกันดา ในระหว่างการสู้รบสั้น ๆ แต่เข้มข้นนี้ ทหารยูกันดาได้ยิงออกมาจากหอควบคุมสนามบิน หน่วยคอมมานโดอย่างน้อยห้ารายได้รับบาดเจ็บ และโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยของอิสราเอลถูกสังหาร หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลยิงปืนกลเบาและอาร์พีจีกลับไปที่หอควบคุมเพื่อยับยั้งการยิงของฝ่ายยูกันดา อ้างอิงจากบุตรชายคนหนึ่งของอีดี อามิน เผยว่า ทหารที่ยิงเนทันยาฮูนั้น เป็นลูกพี่ลูกน้องของครอบครัวอามิน ได้ถูกฆ่าตายในการยิงกลับดังกล่าว[71] ต่อมา ฝ่ายอิสราเอลอพยพตัวประกันเสร็จสิ้น รวมถึงบรรทุกร่างของเนทันยาฮูในเครื่องบินลำหนึ่ง และออกจากท่าอากาศยาน[72] ปฏิบัติการทั้งหมดใช้เวลา 53 นาที – ซึ่งการโจมตีใช้เวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น มีสลัดอากาศทั้งหมด 7 ราย และทหารยูกันดาระหว่าง 33 ถึง 45 รายถูกสังหาร[25] ส่วนเครื่องบินรบมิก-17 และมิก-21 ที่สร้างขึ้นโดยโซเวียตสิบเอ็ดลำ[6] ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลายลงบนพื้นที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ[4][73] จากตัวประกัน 106 ราย 3 คนถูกสังหาร, 1 คนถูกทิ้งไว้ในยูกันดา (โดรา บลอค อายุ 74 ปี) และประมาณ 10 คนได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวประกัน 102 คนที่ได้รับการช่วยเหลือได้บินสู่ประเทศอิสราเอลผ่านกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ไม่นานหลังจากการโจมตี[22]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "761246#1", "text": "เขาเกิดในกรุงเทลอาวีฟ มีบิดามารดาเป็นชาวยิวโลกิยะ เนทนยาฮูเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เกิดในประเทศอิสราเอลหลังการสถาปนารัฐ เนทันยาฮูเข้าร่วมกำลังป้องกันอิสราเอลไม่นานหลังสงครามหกวันในปี 2510 และเป็นหัวหน้าทีมในหน่วยรบพิเศษซาเยเรตแมตคาล เขาเข้าร่วมหลายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วยปฏิบัติการอินเฟอร์โน (ปี 2511), ปฏิบัติการกิฟต์ (ปี 2511) และปฏิบัติการไอโซโทป (ปี 2525) ซึ่งระหว่างนั้นเขาถูกยิงที่ไหล่ เขาต่อสู้ในแนวหน้าในสงครามการบั่นทอนกำลัง และสงครามยมคิปปูร์ในปี 2516 โดยร่วมกับกำลังพิเศษตีโฉบฉวยตามคลองสุเอซ แล้วนำการโจมตีของคอมมานโดลึกเข้าดินแดนซีเรีย เขาได้ยศร้อยเอกก่อนได้รับการปลด หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เขาได้รับสรรหาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่บอสตันคอนซัลทิงกรุป เขากลับประเทศอิสราเอลในปี 2521 เพื่อก่อตั้งสถาบันต่อต้านการก่อการร้ายโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu Anti-Terror Institute) ซึ่งได้ชื่อตามโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้เสียชีวิตขณะเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบเบ เนทันยาฮูรับราชการเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2531", "title": "เบนจามิน เนทันยาฮู" }, { "docid": "969906#15", "text": "อัมนอน ไบรัน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของภารกิจ ได้ระบุในภายหลังว่าไม่ทราบรูปแบบที่ถูกต้องของท่าอากาศยาน รวมถึงตำแหน่งที่แน่นอนของตัวประกัน และไม่ทราบด้วยว่าอาคารนั้นจะเตรียมวัตถุระเบิดไว้ด้วยหรือไม่[46]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#13", "text": "ขณะที่เกิดวิกฤติขึ้น มีความพยายามที่จะเจรจาปล่อยตัวประกัน ตามเอกสารทางการทูตที่ไม่เป็นความลับ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้ซาดาต พยายามเจรจากับทั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และรัฐบาลยูกันดา[51][52] โดยประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ส่งฮานิ อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยการเมืองของเขาไปยังประเทศยูกันดาในฐานะทูตพิเศษเพื่อเจรจากับผู้จับตัวประกันและอามิน[8] อย่างไรก็ตาม สลัดอากาศฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ปฏิเสธที่จะพบเขา[53]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#41", "text": "แฝดไม่ปรานี (ค.ศ. 1986) มีปฏิบัติการช่วยชีวิตตัวประกันโดยได้รับแรงบันดาลใจจากปฏิบัติการเอนเทบเบ[108] ซามีน (ค.ศ. 2003) เป็นภาพยนตร์แอ็กชันบอลลีวูดที่นำแสดงโดยอชัย เทวคัน และอภิเษก พัจจัน ผู้วาดแผนเพื่อช่วยเหลือตัวประกันของสายการบินอินเดียที่ถูกจี้เครื่องบินโดยกลุ่มก่อการร้ายของปากีสถานที่อิงจากโครงสร้างพื้นฐานของปฏิบัติการเอนเทบเบ เที่ยวบินนรกเอนเทบเบ้ (ค.ศ. 2018)", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#34", "text": "ส่วนโรงแรมแฟร์มอนต์เดอะนอร์ฟอล์ก ที่เป็นเจ้าของโดยสมาชิกสำคัญของชุมชนชาวยิวในประเทศ ได้ถูกวางระเบิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1980 ระเบิดทำลายปีกตะวันตกของโรงแรม โดยสังหารผู้คนไป 20 ราย ของหลายเชื้อชาติ และได้รับบาดเจ็บอีก 87 ราย เชื่อกันว่าเป็นการกระทำของการแก้แค้นโดยกลุ่มก่อการร้ายโปรปาเลสไตน์สำหรับบทบาทสนับสนุนของเคนยาในปฏิบัติการเอนเทบเบ[94][95][96]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#26", "text": "ฝ่ายอิสราเอลทิ้งรถไว้และวิ่งไปที่เทอร์มินอล ตัวประกันอยู่ในห้องโถงใหญ่ของอาคารสนามบิน ซึ่งติดกับรันเวย์โดยตรง ในการเข้าสู่เทอร์มินอล หน่วยคอมมานโดได้ตะโกนผ่านโทรโข่ง \"หมอบลง! หมอบลง! เราเป็นทหารอิสราเอล\" ทั้งในภาษาฮีบรูและอังกฤษ ทว่า ฌ็อง-ฌัก มีมัวนี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสอพยพไปยังอิสราเอลอายุ 19 ปี ได้ลุกขึ้นยืนและถูกฆ่าตายเมื่อมูกิ เบตเซอร์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายอิสราเอลและทหารอีกคนหนึ่งเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสลัดอากาศและได้ยิงเขา[26] ส่วนปัสโก โคเอน ซึ่งเป็นตัวประกันอายุ 52 ปีอีกคนหนึ่ง ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการยิงโดยหน่วยคอมมานโด[67] นอกจากนี้ ไอดา โบโรโชวิช ซึ่งเป็นตัวประกันคนที่สามที่มีอายุ 56 ปี ชาวยิวรัสเซียผู้อพยพไปยังอิสราเอล ได้ถูกสังหารโดยสลัดอากาศจากการอยู่ท่ามกลางการต่อสู้[68]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#32", "text": "ส่วนประเทศตะวันตกกล่าวสนับสนุนการโจมตีโฉบฉวย โดยเยอรมนีตะวันตกกล่าวถึงการโจมตีว่า \"การป้องกันตัวเอง\" สวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสยกย่องการปฏิบัติการ ตัวแทนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐให้การสรรเสริญอย่างมีนัยสำคัญ โดยเรียกการโจมตีเอนเทบเบว่า \"ปฏิบัติการที่เป็นไปไม่ได้\" บางคนในสหรัฐตั้งข้อสังเกตว่าตัวประกันได้รับการปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับ 200 ปีหลังจากการลงนามประกาศเอกราชของสหรัฐ[85][86][87] ในการสนทนากับดีนิทซ์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอล เฮนรี คิสซินเจอร์ ได้ออกเสียงวิจารณ์สำหรับการใช้อุปกรณ์ของสหรัฐระหว่างปฏิบัติการของอิสราเอล แต่คำวิจารณ์ดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนในขณะนั้น[88] นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1976 เรือสหรัฐ<i data-parsoid='{\"dsr\":[51319,51331,2,2]}'>เรนเจอร์ (ซีวี-61) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่และฝ่ายคุ้มกันเรือดังกล่าวได้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียและดำเนินการปิดชายฝั่งเคนยา เพื่อตอบโต้การคุกคามทางทหารโดยกองกำลังจากยูกันดา[89]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#11", "text": "ในเส้นตายของวันที่ 1 กรกฎาคม[47] คณะรัฐมนตรีอิสราเอลเสนอให้เจรจากับสลัดอากาศเพื่อขยายกำหนดสู่วันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งอามินเองก็ยังขอให้พวกเขาขยายเวลาจนถึงวันที่ดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถเดินทางทางการทูตไปยังพอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส เพื่อส่งมอบตำแหน่งประธานขององค์การเอกภาพแอฟริกาแก่ซีวูซากูร์ รามกูลัม อย่างเป็นทางการ[48] การขยายเส้นตายของตัวประกันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กองกำลังอิสราเอลมีเวลาพอที่จะเดินทางไปเอนเทบเบได้[25]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#22", "text": "หน่วยคำสั่งพื้นดินและควบคุม กลุ่มเล็ก ๆ นี้ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติการและผู้บัญชาการภาคพื้นดินโดยรวม พลจัตวา แดน ชอมรอน, ตัวแทนกองทัพอากาศ พันเอก อามี อายาลอน และบุคลากรการสื่อสารรวมถึงการสนับสนุน หน่วยโจมตี หน่วยจู่โจม 29 คน นำโดยพันโท โยนาทัน เนทันยาฮู – กองกำลังนี้ประกอบด้วยคอมมานโดจากซาเยเรตแมตคาล และได้รับภารกิจหลักในการโจมตีเทอร์มินอลเก่าและช่วยเหลือตัวประกัน พันตรีเบตเซอร์เป็นผู้นำหนึ่งในทีมโจมตีของหน่วย และรับคำสั่งหลังพันโทเนทันยาฮูถูกสังหาร หน่วยคุ้มกัน กองกำลังพลร่ม นำโดยพันเอก มาทัน วิลไน – ได้รับมอบหมายด้านการคุ้มกันบริเวณท่าอากาศยานพลเรือน, ทำทางให้โล่งและคุ้มกันบริเวณรันเวย์ ตลอดจนการป้องกันและการเติมเชื้อเพลิงเครื่องบินอิสราเอลในเอนเทบเบ กองกำลังโกลานี นำโดยพันเอก อูรี ซากิ – ได้รับมอบหมายให้คุ้มกันเครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส สำหรับการโยกย้ายตัวประกัน โดยนำมาจอดให้ใกล้กับเทอร์มินอลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และพาตัวประกันขึ้นเครื่อง รวมถึงทำหน้าที่เป็นกองหนุนทั่วไป กองกำลังซาเยเรตแมตคาล นำโดยพันตรี ชอล โมฟัซ – ได้รับมอบหมายให้ทำทางขึ้นลงสำหรับเครื่องบินทหารให้โล่ง และทำลายฝูงเครื่องบินรบมิกบนพิ้นดิน เพื่อป้องกันการแทรกแซงที่เป็นไปได้โดยกองทัพอากาศยูกันดา รวมถึงกองกำลังภาคพื้นดินที่เป็นศัตรูจากเมืองเอนเทบเบ", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#42", "text": "โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์ เป็นเกมตู้ ค.ศ. 1988 \"แบล็กธอร์น\" (ค.ศ. 2001) ซึ่งเป็นส่วนเสริมของ ทอม แคลนซี เรนโบว์ซิกส์: โรกสเปียร์ ได้รวมถึงด่านที่มีการสร้างขึ้นใหม่ของปฏิบัติการ ทูเพย์เดอะไพรซ์ เป็นบทละคร ค.ศ. 2009 โดยปีเตอร์-เอเดรียน โคเฮน ที่อิงส่วนหนึ่งจากจดหมายของโยนาทัน เนทันยาฮู[109] เป็นละคร ที่แสดง ณ โรงละครรัฐนอร์ทแคโรไลนา หรือโรงละครบรอดเวย์ขนาดเล็กที่นิวยอร์กในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 ช่วงเทศกาลละครและมโนคติชาวยิว[110] ฟอลโลมี: เดอะโยนี เนทันยาฮู สตอรี (ค.ศ. 2011) เป็นหนังสือเล่าชีวิตของโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้บัญชาการการตีโฉบฉวย", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#1", "text": "โดยในวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า เครื่องบินของแอร์ฟรานซ์ซึ่งมีผู้โดยสาร 248 คนถูกจี้โดยสองสมาชิกของฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) ภายใต้คำสั่งของวะดี ฮัดดัด (ผู้ที่ได้แตกหักก่อนหน้านี้จากองค์การพีเอฟแอลพี ของจอร์จ ฮาบาช)[8] และสองสมาชิกของหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน สลัดอากาศมีเป้าหมายที่จะปลดปล่อยชาวปาเลสไตน์และผู้ทำสงครามที่อยู่ในสังกัด 40 คนที่ถูกคุมขังในอิสราเอลและนักโทษอีก 13 คนในอีก 4 ประเทศเพื่อแลกกับตัวประกัน[9] เที่ยวบินที่มาจากเทลอาวีฟเดิมมีจุดหมายปลายทางที่กรุงปารีส ถูกเบี่ยงเบนไปหลังจากหยุดพักระหว่างทางในกรุงเอเธนส์ผ่านเบงกาซีสู่เอนเทบเบ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศยูกันดา โดยรัฐบาลยูกันดาสนับสนุนการจี้เครื่องบิน และจอมเผด็จการอีดี อามิน ได้ต้อนรับพวกเขาเป็นการส่วนตัว[10] อามินได้รับแจ้งเรื่องการจี้เครื่องบินตั้งแต่เริ่มแรก[11] หลังจากย้ายตัวประกันทั้งหมดจากเครื่องบินไปยังอาคารสนามบินที่ไม่ได้ใช้แล้ว พวกสลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิวอิสราเอลจำนวนมากทั้งหมดออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบังคับให้พวกเขาเข้าไปในห้องแยกต่างหาก[12][13][14] ในอีกสองวันต่อมา 148 ตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลได้รับการปล่อยตัวและบินสู่ปารีส[13][14][15] ส่วนเก้าสิบสี่คนที่เหลือ เป็นชาวอิสราเอล ที่เป็นผู้โดยสาร พร้อมกับลูกเรือ 12 คนของแอร์ฟรานซ์ยังคงเป็นตัวประกันและถูกขู่เข็ญด้วยความตาย[16][17]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#9", "text": "เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน สลัดอากาศได้ปล่อยตัวตัวประกัน 48 ราย กลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลได้รับการปลดปล่อยออกมา – ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ป่วย และมารดาที่มีบุตร สี่สิบเจ็ดคนดังกล่าวได้บินสู่ปารีส และผู้โดยสารคนหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งวัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม หลังจากที่รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศข้อตกลงการเจรจา ผู้จับตัวประกันยื่นคำร้องถึงเที่ยงวันในวันที่ 4 กรกฎาคม และปล่อยกลุ่มผู้ถูกกักขังที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลอีก 100 คน ที่บินสู่ปารีสอีกครั้งในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ในบรรดา 106 ตัวประกันที่อยู่ข้างหลังกับผู้จับกุมที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ เป็นลูกเรือของแอร์ฟรานซ์ 12 คนผู้ปฏิเสธที่จะออกไป[41] ผู้โดยสารวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสประมาณสิบคน และกลุ่มชาวอิสราเอลประมาณ 84 คน[1][7][26][42]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#6", "text": "ที่เอนเทบเบ สลัดอากาศที่เข้าร่วมอย่างน้อยสี่คน ได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังของประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน[28] พวกสลัดอากาศย้ายผู้โดยสารไปยังฮอลล์การขนส่งของเทอร์มินัลสนามบินเก่าที่ถูกทิ้งร้าง ที่พวกเขากักขังตัวประกันไว้ภายใต้การเฝ้าระวังสำหรับวันต่อ ๆ ไป อามินมาเยี่ยมตัวประกันเกือบทุกวัน มีข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าของพวกเขา และสัญญาว่าจะใช้ความพยายามของเขาเพื่อให้พวกตัวประกันเป็นอิสระผ่านข้อต่อรอง[23]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#24", "text": "เครื่องบินโบอิง 707 จำนวนสองลำบินตามเครื่องบินบรรทุกสินค้า โบอิงลำแรกมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์และได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ส่วนเยกูเทียล อดัม ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของปฏิบัติการ ได้ขึ้นเครื่องโบอิงลำที่สอง ซึ่งวนไปรอบ ๆ ท่าอากาศยานเอนเทบเบระหว่างการโจมตี[50]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "987209#0", "text": "โยนาทัน \"โยนี\" เนทันยาฮู (; ; 13 มีนาคม ค.ศ. 1946 – 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976) เป็นนายทหารกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ผู้บัญชาการหน่วยคอมมานโดซาเยเรตแมตคาลระหว่างปฏิบัติการเอนเทบเบ ซึ่งเป็นปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อปี ค.ศ. 1976 ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จ โดยตัวประกัน 102 คนจากทั้งหมด 106 คนได้รับการช่วยชีวิต แต่เนทันยาฮูเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่—ซึ่งเป็นกองกำลังป้องกันอิสราเอลเพียงรายเดียวที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติการ", "title": "โยนาทัน เนทันยาฮู" }, { "docid": "969906#39", "text": "โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์: เอนเทบเบ เป็นสารคดีเกี่ยวกับการจี้เครื่องบินและภารกิจช่วยชีวิตในเวลาต่อมา[104] ไรส์แอนด์ฟอลออฟอีดี อามิน (ค.ศ. 1980) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของเผด็จการยูกันดาซึ่งมีการโจมตี การช่วยชีวิตที่เอนเทบเบ เป็นตอนที่ 12 จากชุดสารคดี อะเกนสต์ออลออดส์: อิสราเอลเซอไวส์ ปี ค.ศ. 2005 โดยไมเคิล กรีนสแปน โคเฮนออนเดอะบริดจ์ (ค.ศ. 2010) เป็นสารคดีโดยผู้กำกับ แอนดรูว์ เวินรีบ ผู้ที่ได้รับการเข้าถึงหน่วยคอมมานโดและตัวประกันที่รอดตาย ไลฟ์ออร์ดายอินเอนเทบเบ (ค.ศ. 2012) โดยผู้กำกับ อียัล โบเออส์ เป็นการติดตามการเดินทางของโยนาทัน คายัต เพื่อเปิดเผยสถานการณ์ของการเสียชีวิตของฌ็อง-ฌัก มีมัวนี ผู้เป็นลุงของเขาในการจู่โจม[105][106] \"แอสซอลท์ออนเอนเทบเบ\" เป็นตอนหนึ่งของสารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟิกแชนแนลชุดคริติคอลซิทูเอชัน โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์ เป็นตอนที่ห้าในชุดสารคดีมิลิทารีแชนแนล ค.ศ. 2012 ซีรีส์<i data-parsoid='{\"dsr\":[59003,59017,2,2]}'>แบล็คออพส์[107]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#14", "text": "เมื่อหน่วยงานของอิสราเอลล้มเหลวในการเจรจาทางการเมือง พวกเขาตัดสินใจว่าทางเลือกเดียวของพวกเขาคือการโจมตีเพื่อช่วยเหลือตัวประกัน พันโท โจชัว ชานี นักบินนำของปฏิบัติการ กล่าวในภายหลังว่าชาวอิสราเอลเริ่มคิดแผนกู้ภัยในขั้นต้น ที่เกี่ยวข้องกับการหย่อนหน่วยคอมมานโดกองทัพเรือเข้าทะเลสาบวิกตอเรีย หน่วยคอมมานโดจะต้องขี่เรือยางไปยังท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบ พวกเขาวางแผนที่จะสังหารสลัดอากาศ และหลังจากปลดปล่อยตัวประกัน พวกเขาจะขอร้องอามินเพื่อเดินทางกลับบ้าน ทว่า ฝ่ายอิสราเอลละทิ้งแผนนี้เพราะมีเวลาที่จำเป็นไม่เพียงพอ และเพราะพวกเขาได้รับข่าวว่าทะเลสาบวิกตอเรียเป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้แม่น้ำไนล์[54]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#38", "text": "ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 ทางการยูกันดาและอิสราเอลได้ไว้อาลัยการจู่โจมในพิธีที่ฐานของหอคอย ณ ท่าอากาศยานเอนเทบเบเก่า ที่โยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย ยูกันดาและอิสราเอลกลับมามีความมุ่งมั่นถึง \"การต่อสู้กับการก่อการร้ายและการทำงานเพื่อมนุษยชาติ\"[103] นอกจากนี้ ได้มีการวางพวงมาลา, จัดช่วงสงบนิ่ง, กล่าวสุนทรพจน์ และท่องบทกวี โดยมีธงของยูกันดาและอิสราเอลโบกอยู่ข้าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ และที่ข้าง ๆ ยังมีแผ่นจารึกแสดงประวัติการโจมตี พิธีนี้มีผู้เข้าร่วมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมสัตว์รัฐยูกันดา ไบรท์ รวามิรามา และรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอล ดาเนียล อายาลอน ผู้วางพวงมาลา ณ สถานที่เกิดเหตุการณ์[103] สี่สิบปีนับจากวันที่ปฏิบัติการช่วยเหลือ เบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล และเป็นน้องชายของโยนาทัน เนทันยาฮู สมาชิกหน่วยคอมมานโดซาเยเรตแมตคาลของอิสราเอลที่ถูกสังหาร ได้เข้าเยี่ยมเอนเทบเบกับคณะผู้แทนของอิสราเอล และวางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอิสราเอล–แอฟริกาใต้สะฮาราเพิ่มเติม", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#19", "text": "มอสสาดสร้างภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ของตัวประกัน, จำนวนของสลัดอากาศ และการมีส่วนร่วมของกองทัพยูกันดาจากการปล่อยตัวประกันในปารีส[60] นอกจากนี้ บริษัทตัวแทนอิสราเอลมีส่วนร่วมในการสร้างโครงการในแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 และในขณะที่เตรียมการโจมตีโฉบฉวยกองทัพอิสราเอลได้ปรึกษากับโซเลลโบเนห์ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของอิสราเอลที่สร้างเทอร์มินอลที่คุมตัวประกันไว้[61] ขณะที่กำลังวางแผนปฏิบัติการทางทหาร กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้สร้างแบบจำลองบางส่วนของอาคารผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลเรือนผู้ช่วยสร้างต้นฉบับ", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#4", "text": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ มีชื่อรหัสทางทหารคือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[10228,10257,3,3]}'>ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ บางครั้งอ้างถึงในฐานะ<b data-parsoid='{\"dsr\":[10297,10320,3,3]}'>ปฏิบัติการโยนาทัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หัวหน้าหน่วยที่ชื่อโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นพี่ชายของเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน[22]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "987209#13", "text": "เนทันยาฮูเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ขณะบัญชาการภารกิจกู้ภัยในระหว่างปฏิบัติการเอนเทบเบ เขาเป็นทหารอิสราเอลคนเดียวที่ถูกสังหารในระหว่างการโจมตี (พร้อมทั้งตัวประกันสามคน, สมาชิกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ทั้งหมด และทหารยูกันดาอีกหลายสิบคน) เรื่องเล่าที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปของการเสียชีวิตของเขาคือการที่โยนาทันยิงทหารยูกันดา และถูกยิงโต้ตอบโดยชาวแอฟริกันจากหอควบคุมของท่าอากาศยาน ครอบครัวของเขาปฏิเสธที่จะยอมรับคำตัดสินนี้ และยืนยันว่าเขาถูกสังหารโดยชาวเยอรมันผู้บัญชาการสลัดอากาศ เนทันยาฮูถูกยิงนอกอาคารแบบโหมกระหน่ำ จากนั้นไม่นานเขาก็เสียชีวิตในอ้อมแขนของเอเฟรม สเนห์ ผู้บัญชาการหน่วยแพทย์ของภารกิจ ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จ และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น\"มิฟต์ซาโยนาทัน\" (\"ปฏิบัติการโยนาทัน\" ในภาษาไทย) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา", "title": "โยนาทัน เนทันยาฮู" }, { "docid": "969906#40", "text": "วิคตอรีแอทเอนเทบเบ (ค.ศ. 1976): ร่วมกับแอนโทนี ฮ็อปกินส์, เบิร์ต แลนแคสเตอร์, เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ และริชาร์ด เดรย์ฟัส ผู้กำกับ: มาร์วิน เจ. ชอมสกี เรดออนเอนเทบเบ (ค.ศ. 1977): ร่วมกับปีเตอร์ ฟินช์, ฮอสท์ บุชโฮลส์, ชาร์ล บรอนสัน, จอห์น แซกซอน, ยาเฟ็ต ค็อตโต และเจมส์ วูดส์ ผู้กำกับ: เออร์วิน เคอร์ชเนอร์ ผู้อำนวยการสร้าง: เอ็ดการ์ เจ. เชริก โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์ (ค.ศ. 1977): ร่วมกับเยโฮแรม กอน รับบทเป็นนายพันเนทันยาฮู, ซีบิล ดันนิง และเคลาส์ คินสกี รับบทเป็นสลัดอากาศ ผู้กำกับ: มีนาเฮม โกแลน เผด็จการแผ่นดินเลือด (ค.ศ. 2006): การจู่โจมที่เกิดขึ้นเป็นฉากหนึ่งในเรื่องราวเกี่ยวกับอีดี อามิน เที่ยวบินนรกเอนเทบเบ้ (ค.ศ. 2018): ผู้กำกับ: โจเซ ปาดีลญา", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#27", "text": "ตัวประกันชื่อไอลัน ฮาร์ทัฟ เปิดเผยว่า วินฟรีด เบอเซ เป็นสลัดอากาศเพียงคนเดียวหลังจากเริ่มปฏิบัติการ ที่ได้เข้าห้องโถงตัวประกัน ตอนแรกเขาใช้ไรเฟิลคาลาชนิคอฟส่องไปที่ตัวประกัน แต่ \"ทันทีที่มาถึงความประสาทสัมผัสของเขา\" ก็ได้สั่งให้พวกเขาหากำบังในห้องน้ำ ก่อนที่จะถูกสังหารโดยหน่วยคอมมานโด ตามที่ฮาร์ทัฟเปิดเผย เบอเซยิงเฉพาะทหารอิสราเอลและไม่ได้ยิงตัวประกัน[8]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#36", "text": "อันเป็นผลมาจากปฏิบัติการ กองทัพสหรัฐได้พัฒนาทีมกู้ภัยที่จำลองแบบตามหน่วยที่ใช้ในการกู้ภัยเอนเทบเบ[99] หนึ่งในความพยายามที่จะเลียนแบบที่มีชื่อเสียงคือปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตที่ล้มเหลวของเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันจำนวน 53 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ณ กรุงเตหะรานในช่วงวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน[100][101]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#3", "text": "การดำเนินการเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เครื่องบินขนส่งของอิสราเอล บรรทุกคอมมานโด 100 คนกว่า 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์) ไปยังประเทศยูกันดาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ การปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการวางแผน ใช้เวลา 90 นาที จากตัวประกันที่เหลือ 106 คนนั้น 102 คนได้รับการช่วยเหลือ และสามคนถูกฆ่าตาย ส่วนตัวประกันอีกรายที่อยู่ในโรงพยาบาลได้ถูกสังหารในภายหลัง คอมมานโดอิสราเอลห้าคนได้รับบาดเจ็บ และคอมมานโดยศพันโทอีกหนึ่งนายคือโยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย สลัดอากาศทั้งหมดและทหารยูกันดาสี่สิบห้ารายถูกสังหาร ส่วนมิก-17 และมิก-21 สิบเอ็ดลำ[5][6] ที่สร้างโดยโซเวียตของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[4] แหล่งข่าวเคนยาให้การสนับสนุนอิสราเอล และผลที่ตามมาของปฏิบัติการ อีดี อามิน ออกคำสั่งเพื่อแก้แค้นและฆ่าชาวเคนยาที่อยู่ในประเทศยูกันดาหลายร้อยคนหลังจากนั้น[20] โดยชาวเคนยาในประเทศยูกันดา 245 คนถูกฆ่าตายและ 3,000 คนได้หนีไป[21]", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" } ]
1938
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ค้นพบครั้งแรกเมื่อใด ?
[ { "docid": "273157#4", "text": "คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ค้นพบโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อราวปี ค.ศ.1864 ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ใช้ได้จริง ในปี ค.ศ.1887 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที หรือเท่ากับความเร็วแสง", "title": "วิทยุสื่อสาร" }, { "docid": "273157#1", "text": "ทำงานโดยแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กแบ่งเป็นภาครับ \nและภาคส่งแผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ \nคลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกคิดค้นโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อสามร้อยกว่า \nปีมาแล้ว(ปี ค.ศ.1864) ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) เป็นผู้ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็น", "title": "วิทยุสื่อสาร" } ]
[ { "docid": "48281#2", "text": "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดเมื่ออนุภาคมีประจุถูกเร่ง แล้วคลื่นเหล่านี้จะสามารถมีอันตรกิริยากับอนุภาคมีประจุอื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาพลังงาน โมเมนตัมและโมเมนตัมเชิงมุมจากอนุภาคแหล่งกำเนิดและสามารถส่งผ่านคุณสมบัติเหล่านี้แก่สสารซึ่งไปทำอันตรกิริยาด้วย ควอนตัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรียก โฟตอน ซึ่งมีมวลนิ่งเป็นศูนย์ แต่พลังงานหรือมวลรวม (โดยสัมพัทธ์) สมมูลไม่เป็นศูนย์ ฉะนั้นจึงยังได้รับผลจากความโน้มถ่วง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้นซึ่งสามารถแผ่ตนเองได้โดยปราศจากอิทธิพลต่อเนื่องของประจุเคลื่อนที่ที่ผลิตมัน เพราะรังสีนั้นมีระยะห่างเพียงพอจากประจุเหล่านั้นแล้ว ฉะนั้น บางทีจึงเรียกรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าว่าสนามไกล ในภาษานี้สนามใกล้หมายถึงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใกล้ประจุและกระแสที่ผลิตมันโดยตรง โดยเจาะจงคือ ปรากฏการณ์การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต", "title": "รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "207785#1", "text": "ประวัติศาสตร์ของเรดาร์สามารถกล่าวย้อนไปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปี ค.ศ. 1886 Heinrich Hertz ได้สาธิตคุณสมบัติการสะท้อนของคลื่นวิทยุ ในปี ในปี ค.ศ. 1904 วิศวกรชาวเยอรมัน Hülsmeyer ประสบความสำเร็จในการทดลองตรวจจับเรือที่อยู่ทามกลางหมอกทึบได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามเขายังไม่สามารถระบุตำแหน่งของเรือได้ ต่อมาค.ศ. 1917 นิโคลา เทสลาได้อธิบายหลักการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจจับและวัดความเร็วของวัตถ ในปี ค.ศ. 1922 Albert H. Taylor และ Leo C. Young แห่ง U.S.Naval Research Laboratory (NRL) สาธิตการตรวจจับตำแหน่งของเรือโดยใช้เรดาร์ และต่อมาในปี ค.ศ. 1930 Lawrence A. Hyland แห่งห้องทดลอง NRL เช่นกัน เป็นคนแรกที่สามารถตรวจจับเครื่องบิน(โดยบังเอิญ) โดยใช้เรดาร์ได้สำเร็จ จากความสำเร็จนี้ส่งผลให้มีการจดสิทธิบัตรเรดาร์ชนิด Continuous Wave (CW) ในปี ค.ศ. 1934", "title": "เรดาร์" }, { "docid": "46694#6", "text": "หลักสัมพัทธภาพ ซึ่งกล่าวว่าไม่มีกรอบอ้างอิงที่อยู่กับที่ นั้นสืบเนื่องมาจากกาลิเลโอ และถูกรวมเข้ากับฟิสิกส์ของนิวตัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้นักฟิสิกส์เสนอแนวคิดว่า เอกภพเต็มไปด้วยสารที่รู้จักในนาม \"อีเทอร์\" ซึ่งทำตัวเป็นตัวกลางยามที่การสั่นของคลื่นเคลื่อนไป อีเทอร์ถูกตั้งขึ้นเพื่อการมีกรอบอ้างอิงสัมบูรณ์ต้านกับหลักที่ว่าอัตราเร็วของกรอบอ้างอิงใด ๆ สามารถวัดได้ กล่าวอีกอย่างคือ อีเทอร์เป็นสิ่งเดียวที่ถูกตรึงหรือไม่เคลื่อนที่ในเอกภพ อีเทอร์ถูกสมมุติให้มีคุณสมบัติอันอัศจรรย์: มันยืดหยุ่นพอที่จะรองรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นนั้นต้องสามารถมีการกระทำกับสสาร ในขณะที่ตัวอีเทอร์เองต้องไม่มีความต้านทานในการเคลื่อนที่สำหรับวัตถุที่ทะลุผ่านมันไป ผลการทดลองต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองของไมเคิลสันและเมอร์เลย์ ชี้ให้เห็นว่าโลก 'อยู่กับที่' -- ซึ่งเป็นอะไรที่ยากจะอธิบายได้ เพราะโลกอยู่ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ผลลัพธ์อันสละสลวยของไอน์สไตน์ล้มล้างแนวคิดเรื่องอีเทอร์และการอยู่นิ่งสัมบูรณ์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษถูกเขียนขึ้นไม่ใช่แค่ถือว่ากรอบอ้างอิงเฉพาะใด ๆ นั้นพิเศษ แต่ว่าในสัมพัทธภาพ กรอบหนึ่ง ๆ ต้องสังเกตพบกฎทางฟิสิกส์แบบเดียวกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของผู้สังเกต กล่าวให้ชัดคือ อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศต้องวัดได้ c เสมอ แม้ว่าจะวัดโดยระบบต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่าง ๆ (แต่คงที่)", "title": "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ" }, { "docid": "19816#11", "text": "เนื่องจาก สนามทั้งสองไม่สามารถแยกจากกันได้ จึงควรรวมให้เป็นอันเดียวกัน เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ เป็นผู้รวมสนามไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็กเข้าด้วยกันด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ เพียงสี่สมการ ที่เรียกว่า สมการของแมกซ์เวลล์ ทำให้เกิดการพัฒนาฟิสิกส์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19เป็นอย่างมาก และนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น แสงนั้น อธิบายได้ว่าเป็นการสั่นของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกไป หรือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง ความถี่ของการสั่นที่แตกต่างกันทำให้เกิดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เช่น คลื่นวิทยุเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ แสงที่มองเห็นได้เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ปานกลาง รังสีแกมมาเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง", "title": "ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "64580#3", "text": "ใน ปี 1827 Anyos Jedlik ชาวฮังการีเริ่มทดลองกับอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าหมุน ซึ่งเขาเรียกว่า แม่เหล็กไฟฟ้าใบพัดหมุนเอง, ตอนนี้เรียกว่าไดนาโมของ Jedlik ในเครื่องต้นแบบของตัวสตาร์ตเตอร์เสาไฟฟ้าเดียว(เสร็จระหว่างปี 1852 ถึงปี 1854 )ทั้งชิ้นส่วนอยู่กับที่และชิ้นส่วนหมุนเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า เขาคิดสูตรที่เป็นแนวคิดของไดนาโมไว้ไม่น้อยกว่า 6 ปีก่อนซีเมนส์และ Wheatstone แต่ไม่ได้จดสิทธิบัตรเพราะเขาคิดว่าเขาไม่ได้เป็นคนแรกที่รับรู้ถึงเรื่องนี้ ในสาระสำคัญ แนวคิดคือแทนที่จะใช้แม่เหล็กถาวร สองแม่เหล็กไฟฟ้าวางตรงข้ามกันเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็กรอบโรเตอร์ มันยังเป็นการค้นพบหลักการของการกระตุ้นตัวเองอีกด้วย", "title": "เครื่องกำเนิดไฟฟ้า" }, { "docid": "336885#14", "text": "พัลซาร์เป็นแหล่งรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังสูง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาในเวลาสั้น ๆ ด้วยความถี่ที่รวดเร็วหลายครั้งต่อวินาที พวกมันเป็นปริศนาที่ยิ่งใหญ่เมื่อครั้งถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2510 และทีมนักดาราศาสตร์ถึงกับคิดว่ามันอาจเป็นสัญญาณจากอารยธรรมที่เจริญแล้วทีเดียว อย่างไรก็ตาม การค้นพบว่ามันเป็นแหล่งคลื่นวิทยุที่มีการปลดปล่อยออกมาเป็นจังหวะที่ใจกลางของเนบิวลาปู ได้กลายมาเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ว่าพัลซาร์ถือกำเนิดขึ้นมาจากซูเปอร์โนวา ปัจจุบันนี้เป็นที่เข้าใจกันว่ามันเป็นดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง ซึ่งมีสนามแม่เหล็กกำลังแรงที่รวมการปลดปล่อยรังสีออกมาเป็นลำแคบ ๆ", "title": "เนบิวลาปู" }, { "docid": "48613#39", "text": "การค้นพบของนายเออสเตดในปี 1821 ที่[[สนามแม่เหล็ก]]จะปรากฏรอบเส้นลวดที่มีกระแสไหลได้ชี้ให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก นอกจากนี้การมีปฏิสัมพันธ์ดูเหมือนแตกต่างจากแรงโน้มถ่วงและแรงไฟฟ้าสถิต-สองแรงของธรรมชาติที่รู้จักกันตอนนั้น แรงบนเข็มของเข็มทิศไม่ได้ชี้นำเข็มไปทางลวดหรือผลักมันไปไกลจากลวดนำกระแส แต่กระทำเป็นมุมฉากกับเข็ม เออสเตดได้พูดอย่างคลุมเครือเล็กน้อยว่า \"ไฟฟ้​​ากระทำแบบขัดแย้งในลักษณะการหมุน\" แรงยังขึ้นอยู่กับทิศทางของกระแสอีกด้วย เพราะถ้ากระแสไหลกลับทาง แรงก็จะกลับทางด้วย", "title": "ไฟฟ้า" }, { "docid": "298996#51", "text": "Alexander Muirhead ถูกรายงานว่าได้ติดสายไฟกับข้อมือของผู้ป่วยเพื่อจะบันทึกการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยในขณะที่เรียนวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (สาขาไฟฟ้า) ในปี 1872 ที่โรงพยาบาลเซนต์บาร์โธโลมิว. กิจกรรมนี้ได้รับการบันทึกและมองเห็นได้โดยตรงโดยการใช้ Lippmann capillary electrometer โดยนักสรีรวิทยาชาวอังกฤษ John Burdon Sanderson. คนแรกที่เข้าใกล้หัวใจจากมุมมองของไฟฟ้าเป็น Augustus Waller, ขณะที่เขาทำงานในโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ใน Paddington, ลอนดอน. เครื่อง electrocardiograph ของเขาประกอบด้วย Lippmann capillary electrometer ติดอยู่กับโปรเจกเตอร์. ร่องรอยจากการเต้นของหัวใจถูกฉายลงบนแผ่นถ่ายภาพไฟฟ้าตัวมันเองจับอยู่กับรถไฟของเล่น การทดลองนี้ได้ยอมให้การเต้นของหัวใจถูกบันทึกในเวลาจริง. ในปี 1911 เขาก็ยังคงเห็นการประยุกต์ใช้ทางคลินิกเล็กๆน้อยๆสำหรับการทำงานของเขา", "title": "การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ" } ]
1099
ใครเป็นผู้แปลวรรณกรรมเรื่อง ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ฉบับภาษาไทย?
[ { "docid": "212399#0", "text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก () ดัดแปลงจาก \"Genji Monogatari\" หรือ \"ตำนานเก็นจิ\" วรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน (ราว ค.ศ. 794-1192) ว่าด้วยเรื่องราวชีวิตรักของท่านฮิคารุ เกนจิ ผู้สูงส่งทั้งชาติสมบัติและรูปสมบัติ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดวรรณกรรมญี่ปุ่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แม้แต่ในหนังสือ Lifetime Reading Plan ของ Clifton Fadiman ก็ยังยกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกที่ทุกคนควรจะได้อ่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต[1] \"ตำนานเกนจิ\"ฉบับนิยายภาพนี้ เขียนโดย ยามาโตะ วากิ ( Yamato Waki ) ผู้ซึ่งใช้เวลาเนิ่นนานหลายปีกับงานชิ้นนี้ทั้งในการศึกษาเตรียมงานและการดัดแปลงถ่ายทอดเป็นภาคการ์ตูน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Mimi ระหว่างปี ค.ศ. 1979-1993 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 13 เล่มจบ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ในประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ถึง 1993 มีจำนวนทั้งหมด 13 เล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นบางเล่ม ในชื่อ The Tale of Genji โดย สจ๊วร์ต แอทคิน และ โยโกะ โทโยซะกิ ( Stuart Atkin and Yoko Toyosaki ) โดยแปลเป็นนิยายภาพ 2 ภาษา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะเช่นกัน ได้รับการแปลไทยในฉบับไม่มีลิขสิทธิ์ ในชื่อ ฟ้าใต้แสงจันทร์ โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และฉบับลิขสิทธิ์ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน ) เนื้อหาภายในเรื่องช่วง 10 เล่มแรก เป็นเรื่องราวชีวิตของเกนจิ ส่วน 3 เล่มหลังเป็นเรื่องราวหลังเกนจิเสียชีวิตไปแล้ว โดยตัวละครเด่นคือคาโอรุและองค์ชายนิโออุ", "title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก" } ]
[ { "docid": "10022#0", "text": "กระบี่ใจพิสุทธิ์ (; \"A Deadly Secret\", \"เหลียน เฉิง เจ่ว์\") มีชื่อเดิมเป็นภาษาแต้จิ๋วว่า \"ซู้ซิมเกี้ยม\" ซึ่งแปลว่า \"กระบี่ใจพิสุทธิ์\" (ชื่อเรื่องภาษาไทย ได้ชื่อมาจากการแปลฉบับเดิม) พิมพ์ครั้งแรกลงในวารสาร Southeast Asia Weekly ในปี พ.ศ. 2506 ก่อนที่จะเปลี่นชื่อเป็น \"เหลียนเฉิงเจ่ว์\" เช่นปัจจุบัน นิยายเรื่องนี้เป็นผลงานประพันธ์ของกิมย้ง ผู้มีฉายา \"จอมอักษราแห่งบูรพาทิศ\" ที่เขียนได้สะเทือนอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นเรื่องราวของตัวเอกที่ถูกใส่ร้าย จนต้องถูกจองจำในคุกและถูกแย่งชิงหญิงที่ตนรักไป ถูกทัณฑ์ทรมาน จนกลายเป็นคนพิการ แต่ยังมีวาสนาในคราเคราะห์ ได้พบพานยอดคนภายในคุก สุดท้ายหนีออกมาได้ แต่กลับถูกชาวยุทธตามล่า ด้วยเพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพรรคมาร เรื่องนี้แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตอันทรงคุณค่า ฉบับแปลของ น.นพรัตน์ เดิมใช้ชื่อว่า หลั่งเลือดมังกร แล้วเปลี่ยนเป็น \"กระบี่ใจพิสุทธิ์\" ส่วนฉบับแปลของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อว่า มังกรแก้ว", "title": "กระบี่ใจพิสุทธิ์" }, { "docid": "85248#0", "text": "วินน์-ดิ๊กซี่ สุนัขร้านชำ ทำเหตุ () เป็นวรรณกรรมเยาวชนเขียนโดยเคท ดิคามิลโล และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อ ค.ศ. 2005 กำกับโดย Wayne Wang วรรณกรรมเรื่องนี้ได้ถูกตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2000 และได้รับรางวัล Newbery Hornor ใน ค.ศ. 2001 ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม แปลโดยวาริน นิลศิริสุข พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม พ.ศ. 2545", "title": "วินน์-ดิ๊กซี่ สุนัขร้านชำ ทำเหตุ" }, { "docid": "187756#2", "text": "วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ถึง 45 ล้านเล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ 23 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย แมงมุมเพื่อนรัก ฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์โดย ไทยวัฒนาพานิช ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น", "title": "แมงมุมเพื่อนรัก" }, { "docid": "526413#1", "text": "ฮหว่ายเริ่มเขียนนวนิยายใน พ.ศ. 2531 โดยนวนิยายเรื่องแรกคือ “\"สารจากสวรรค์\"” () ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักในสังคมเวียดนาม โดยเปรียบเทียบระหว่างหญิงสาวฝาแฝดสองคน คนหนึ่งอยู่ในวังวนของชื่อเสียงและอำนาจ อีกคนตกอยู่ในโลกที่บริสุทธิ์ของเด็กที่ไม่ยอมโต นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษาฟินแลนด์ นอกจากนั้น เรื่องสั้นเรื่อง “\"ร้านตัดเสื้อไซ่ง่อน\"” ของฮหว่ายยังเป็นการสะท้อนภาพของเศรษฐกิจหลังนโยบายโด๋ยเม้ยที่เยาวชนพากันทิ้งบ้านในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง\nความโดดเด่นของงานวรรณกรรมของฮหว่ายคือ ตัวละครหญิงของฮหว่ายจะกำหนดชีวิตของตนเอง ไม่ใช่หญิงที่อ่อนหวาน เสียสละแบบในวรรณกรรมดั้งเดิมของเวียดนาม นอกจากนั้น ฮหว่ายยังเป็นนักแปล โดยแปลนวนิยายจากภาษาเยอรมันมาเป็นภาษาเวียดนาม\nมนธิรา ราโท. วรรณกรรมเวียดนามหลังปี ค.ศ. 1975. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. หน้า 199–204.", "title": "ฝั่ม ถิ ฮหว่าย" }, { "docid": "388707#0", "text": "สำนักพิมพ์แจ่มใส เป็นสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งใน พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่นิยายรักโรแมนติกสำหรับวัยรุ่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยผู้อ่านส่วนมากเป็นผู้หญิงวัยรุ่น ที่ในแต่ละปีจะมีการรวมตัวกันในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเป็นจำนวนมาก เป็นสำนักพิมพ์ที่สร้าง นักเขียนที่มีชื่อเสียง นักแปล และผลงานวรรณกรรมชุดมาแล้วหลายเรื่อง รวมทั้งมีงานแปลวรรณกรรม จากภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน นอกจากนี้ สำนักพิมพ์แจ่มใส ยังมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการกุศลต่อสังคมในบางโอกาส", "title": "สำนักพิมพ์แจ่มใส" }, { "docid": "743196#2", "text": "เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "42563#4", "text": "นิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น (เรื่องพระวัชรมกุฎกับพุทธิศรีระ) ภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด เอฟ เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่อง ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นอักษรเทวนาครี ภาษาสันสกฤต จนครบ 25 เรื่อง และภายหลังวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับการแปลแปลงในหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการ์ตูนคอมมิคชื่อ \"เวตาล\" ซึ่งเป็นผลงานของ ภาณุ นทีนันท์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จนกระทั่งเวตาลได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี", "title": "นิทานเวตาล" }, { "docid": "4054#51", "text": "ภาษาไทยถิ่นเหนือ: พญาพรหมโวหาร กวีเอกของล้านนาแปล พระอภัยมณีคำกลอน เป็นค่าวซอตามความประสงค์ของเจ้าแม่ทิพเกสร แต่ไม่จบเรื่อง ถึงแค่ตอนที่ศรีสุวรรณอภิเษกกับนางเกษรา[41] ภาษาเขมร: ผลงานของสุนทรภู่ที่แปลเป็นภาษาเขมรมีสามเรื่องคือ[41] พระอภัยมณี ไม่ปรากฏชื่อผู้แปล แปลถึงแค่ตอนที่นางผีเสื้อสมุทรลักพระอภัยมณีไปไว้ในถ้ำเท่านั้น ลักษณวงศ์ แปลโดย ออกญาปัญญาธิบดี (แยม) สุภาษิตสอนหญิง หรือสุภาษิตฉบับสตรี แปลโดยออกญาสุตตันตปรีชา (อินทร์) ภาษาอังกฤษ: ผลงานของสุนทรภู่ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้แก่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงแปลเรื่อง พระอภัยมณี เป็นภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง เมื่อปี พ.ศ. 2495[42] นิราศเมืองเพชร ฉบับไทย-อังกฤษ เป็นหนังสือฉบับพกพาสองภาษา ไทย-อังกฤษ แปลเป็นภาษาอังกฤษโดยเสาวณีย์ นิวาศะบุตร พิมพ์ครั้งแรกในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2556 จัดจำหน่ายโดยบริษัทเคล็ดไทย จำกัด", "title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)" }, { "docid": "743196#0", "text": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "317158#2", "text": "ต้นส้มแสนรักฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยสำนักพิมพ์ดวงกมล แปลโดยมัทนี เกษกมล มีสุชาติ สวัสดิ์ศรีเป็นบรรณาธิการ อีกสำนวนหนึ่ง แปลโดยสมบัติ เครือทอง สำหรับฉบับแปลภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า \"My Sweet Orange Tree\" ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1971 นวนิยายภาคต่อ ชื่อ Vamos Aquecer o Sol ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1974 ส่วนฉบับภาษาไทยใช้ชื่อว่า ต้นส้มแสนรัก ภาค 2 ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น แปลโดย สมบัติ เครือทอง", "title": "ต้นส้มแสนรัก" }, { "docid": "136761#2", "text": "ต่อมา หมอกต้องไปขายตัวเพื่อหาเงิน อิฐเป็นห่วงเมฆ จึงตามไปถึงที่บ้าน ทรายจึงได้รับรู้เรื่องหมดทุกอย่าง แม่ของเมฆและหมอกก็ผูกคอตาย เมื่อหมดสิ้นแล้วทุกอย่าง เมฆจึงตัดสินใจบุกเดี่ยวไปฆ่าทั้งท่านและเฮีย โดยที่อิฐตามไปทีหลังด้วยความเป็นห่วง\"เพื่อน...กูรักมึงว่ะ\" เป็นภาพยนตร์รัก-ดราม่าของไทยเรื่องแรก ๆ ที่กล่าวถึงชีวิตรักของเกย์ และประชาสัมพันธ์อย่างโจ่งแจ้งว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับชายรักร่วมเพศ", "title": "เพื่อน...กูรักมึงว่ะ" }, { "docid": "479782#1", "text": "ผลงานทางวรรณกรรมที่สำคัญของบู ได้แก่ ละครวิทยุเรื่อง เพลิงรักภักดี รวมกวีนิพนธ์เรื่อง มรรคาแห่งสุข (មារជាសុខ) และแปลวรรณกรรมภาษาเวียดนามเป็นภาษาเขมรสองเรื่องคือ ผู้ยืนยามอยู่ทางแยกและปากทางที่แคบ", "title": "ยู บู" }, { "docid": "1865#1", "text": "ความสนุกของเรื่องนี้ก็คือ ผู้อ่านไม่สามารถคาดเดาเนื้อเรื่องอะไรได้เลย เรียกได้ว่าทุกอย่างดำเนินไปอย่างไร้เหตุผล แต่ก็ยังมีโครงเรื่องและการผูกเรื่องซ่อนอยู่ จัดอยู่ในประเภทการ์ตูนตลกได้. ลายเส้นของการ์ตูนเรื่องนี้ ผู้เขียน คือ ฮิโรยูกิ เอโต้ วาดออกมาได้อย่างน่ารัก ลายเส้นสะอาด การออกแบบเสื้อผ้า และสัตว์ประหลาดต่างๆ ในเรื่อง ก็ทำออกมาได้น่ารักปนตลกขบขัน ตามธีมของเรื่องในขณะนั้น พูดได้ว่าเป็นการ์ตูนที่ตัวเอกใช้เสื้อผ้าเปลืองที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว การ์ตูนเล่มฉบับแปลภาษาไทยจัดทำโดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจนอกจากนี้ยังมีทำเป็นการ์ตูนทีวีด้วย", "title": "กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง" }, { "docid": "168241#1", "text": "ความสุขแห่งชีวิต ถูกนำมาแปลเป็นฉบับภาษาไทย โดย มัทนี เกษกมล นักแปลที่ทำงานเกี่ยวกับวรรณกรรมเยาวชนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งเป็นผู้แปล “ต้นส้มแสนรัก” วรรณกรรมเยาวชนที่ทำให้ผู้อ่านซาบซึ้งและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงตลอดจนได้รับการยกย่องว่าเป็น \"วรรณกรรมเยาวชนอมตะ\" อีกด้วย", "title": "ความสุขแห่งชีวิต" }, { "docid": "94097#12", "text": "วรรณกรรมท้องถิ่นไทยลานนาโคลงพระลอสอนโลก (ลงพิมพ์ในวารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520) คำเรียกขวัญเมืองเหนือ (ลงพิมพ์ในวารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2520) การศึกษาตัวบทและปริบทของคติชน (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ธันวาคม 2532) ภาษิต (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2533) ลีลากาเขียนของนาคะประทีป (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 10 ธันวาคม 2536) วรรณกรรมไทดำ (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 13 ธันวาคม 2539) คำบาลีสันสกฤตและคำเขมรในมหากาพย์เรื่องท้าวเจือง (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 14 ธันวาคม 2540) ย่าขวัญข้าว: ความสัมพันธ์ทางด้านวรรณกรรมและภาพสะท้อนการประนีประนอมของพระพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมในล้านนา (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 15 ธันวาคม 2541) ภาพพระมหากษัตริย์ไทยจากวรรณคดียอพระเกียรติ (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ฉบับเฉลิมวรรณราชย์ ปีที่ 16 ธันวาคม 2542) คนไทกับธรรมชาติ: ภาพสะท้อนจากพิธีกรรมและบทคำวัญข้าวขวัญควาย (ลงพิมพ์ในวารสาราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2543) ความเป็นมาของผู้ปกครองในตำนานไทย-ไท ถึง ไตรภูมิพระร่วง (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 17 ธันวาคม 2543) สายน้ำกับความเชื่อและวรรณกรรมไทย-ไท (ลงพิมพ์ในวารสารไทยศึกษา ฉบับวิถีไทย 72 ปี อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ปี่ที่ 1 ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2548) นิทานพระรามในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา (ลงพิมพ์ในวารสาราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2548)", "title": "ประคอง นิมมานเหมินท์" }, { "docid": "9800#111", "text": "แปลโดย นายวรรณไว พัธโนทัย เป็นสามก๊กฉบับแรกที่พยายามแปลจากต้นฉบับสามก๊กภาษาจีนของ หลอก้วนจง ทำให้เป็นสามก๊กฉบับแปลไทยฉบับแรกที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับภาษาจีนและภาษาอังกฤษของ บริเวตต์ เทย์เลอร์ สามก๊กฉบับวรรณไว พัธโนทัย ยังเป็นฉบับที่ถือว่าแปลตามลักษณะของนิยายตะวันตกคือแปลคำต่อคำ โดยไม่ได้ดัดแปลงสำนวนภาษาแต่อย่างใด จึงค่อนข้างอ่านง่าย สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีรสทางวรรณกรรมเทียบเท่ากับสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ซึ่งใช้สำนวนเป็นภาษาชาววังโบราณ ส่วนฉบับนี้ภาษาที่ใช้ก็เป็นสำนวนปกติทั่วไป [24] อีกจุดหนึ่งที่สามก๊กฉบับนี้ยังคงไว้จากต้นฉบับคือ บทร้อยกรองต่าง ๆ และเนื้อหาของฎีกาหรือข้อความบรรยายบางจุดที่ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตัดออก ในฉบับนี้ก็ยังมีอยู่ครบ แต่กระนั้นก็ยังมีบางจุดที่แปลผิดพลาดอยู่บ้าง[25]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "17410#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี" }, { "docid": "211131#71", "text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ( 1-13 ) แปลเป็นภาษาไทยจาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง asakiyumemishi เขียนโดย ยามาโตะ วากิ (Yamato Waki ) โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน ) ตำนานรัก GENJI ( 1 ) แปลเป็นภาษาไทยโดย พิมพ์ทรีย์ จาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง Genji Monogatari เขียนโดย MIOU Serina โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ จัดพิมพ์โดย บริษัท บงกช พับลิชชิ่ง จำกัด", "title": "ตำนานเก็นจิ" }, { "docid": "147448#0", "text": "โทรโพสเฟียร์ () (คำว่าโทรโพ (Tropo) มาจากภาษากรีกแปลว่า หมุน หรือ ผสม) บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ยกม.ละ 6.5 องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพายุ  มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ มีไอน้ำมหาศาล ก่อให้เกิดเมฆ หมอก พายุ และฝน", "title": "โทรโพสเฟียร์" }, { "docid": "516436#1", "text": "หนังสือเรื่องมูซาชิ เล่าว่า มูซาชิเป็นบุตรของนักรบที่เกิดในเขต ฮาริมา มีชื่อเดิมว่า ทาเกโซ เกิดในตระกูล ชินเม็ง เหตุการณ์การต่อสู้ในท้องทุ่งพิฆาต เซกิงาฮารา กลับกลายและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ชื่อที่เป็นที่รู้จักของเขาคือ มิยาโมโต้ มูซาชิ เขาเป็นนักดาบที่มีชื่อเสียง ถึงกระทั่งบั้นปลายของชีวิตก็บรรลุผลสูงสุด ด้วยการเป็นครูทางจิตใจ มูซาชิ เป็นนักต่อสู้ธรรมดา ที่ต่อสู้เพื่อชนะ แต่ชีวิตของเขาเป็นทั้งเรื่องจริง ทั้งเป็นนิยายอย่างยิ่ง ที่ระดับวรรณกรรม และระดับโลก มูซาชิผ่านการต่อสู้ด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันมากกว่า 60 ครั้ง เขามีความสามารถที่จะรบชนะ และมีความสูงสุดในวิชาการต่อสู้มากกว่าความเชี่ยวชาญในวิชาคัมภีร์ดาบแบบเก่า นิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมูซาชิ ในภาษาไทย ประชาชนให้ความรู้จักและเรียกชื่อว่า หนังสือ มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลโดยนักเขียนที่ชำนาญวิชาการต่อสู้และภาษาญี่ปุ่น จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คบไฟ ตามประวัติในหนังสือ เชื่อว่ามูซาชิมีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1584-1645 และบันทึกคัมภีร์ห้าห่วงก็เช่นกัน ได้ถูกเขียนขึ้น ในปีเดียวกันกับปีที่เขาเสียชีวิต เรื่องราวของมูซาชิในหนังสืออมตะนิยายเป็นเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจ เร้าใจ และเป็นที่นิยมกันอย่างล้นหลาม หนังสือมูซาชิฉบับอมตะนิยาย ของ โยชิคาว่า เอญิ ได้รับการแปลอย่างมาก ในเรื่องการต่อสู้ของสำนักโยชิโอกะ และการต่อสู้แบบซามูไรกับ ซาซากิ โคยิโร่ เพราะความนิยมจิตใจแบบซามูไร กระทั้งคำประพันธ์ ในหนังสือก็ได้รับการยกย่องและได้รับการยอมรับว่างดงามดุจดอกซากุระที่มีจิตวิญญาณทางอุดมคติที่แข็งแกร่ง และวิถีบูชิโดของนักรบเอง ก็ได้รับความนับถือมาจาก เรื่องมูซาชิ ซึ่งมีทั้งเรื่องจริง และที่ออกมาเป็นนิยายแบบวรรณกรรม", "title": "มูซาชิ" }, { "docid": "371967#0", "text": "บารัก โอบามา () เป็นการ์ตูนเกาหลีที่เล่าถึงชีวประวัติของบารัก โอบามา โดยมี อี แทซู เป็นผู้เขียนภาพและเรื่องประกอบ และเจเน็ต เจแวน ชิน เป็นผู้แปลในฉบับภาษาอังกฤษจากต้นฉบับภาษาเกาหลีอีกทอดหนึ่ง จัดพิมพ์โดย เจ.อี.แช แอนด์บริตานีโปเกอ-โมฮัมเหม็ด ในเวอร์ชันสหรัฐ ส่วนฉบับภาษาไทยจัดแปลโดย วลี จิตจำรัสรัตน์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์", "title": "บารัก โอบามา (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "92846#18", "text": "แม้โครงเรื่องเทพนิยายของซินเดอเรลล่าจะปรากฏในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมาแต่เดิมในชื่อต่าง ๆ กัน แต่ฉบับที่โด่งดังที่สุดคือฉบับของ ชาร์ลส์ แปร์โรลต์ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ ซินเดอเรลล่า ขึ้นด้วย ซินเดอเรลล่าได้ตีพิมพ์พร้อมกับเทพนิยายเรื่องอื่น ๆ ของแปร์โรลด์ในปี ค.ศ. 1697 หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายและมีการแปลไปเป็นภาษาอื่น ๆ มาก โดยเฉพาะเรื่อง ซินเดอเรลล่า ถือเป็นเทพนิยายที่มีการนำไปทำซ้ำมากที่สุด[9] นักแปลผู้มีชื่อเสียงผู้หนึ่งคือ แองเจล่า คาร์เตอร์ ผู้ได้รับสมญาว่า \"เจ้าแม่แห่งเทพนิยาย\"[10] ได้แปลผลงานของแปร์โรลด์ไว้มากมายหลายเรื่อง ซินเดอเรลล่านับเป็นผู้บุกเบิก เรื่องราวของสตรีในเทพนิยาย[11] และพลิกแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในวรรณกรรม รวมถึง \"คุณค่า\" ของสตรีซึ่งต้องมีกำเนิดมาจาก \"ความดีงาม\" ของเธอ[12] แม้ว่าในตอนท้าย ความสุขสบายในชีวิตของสตรียังคงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายชายอยู่ดี (คือการได้แต่งงานกับเจ้าชาย)", "title": "ซินเดอเรลล่า" }, { "docid": "620675#0", "text": "ลาม็อง (; ) เป็นนวนิยายอัตชีวประวัติของมาร์กูริต ดูราส นักเขียนและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1984 แปลเป็นภาษาอื่น 43 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งฉบับภาษาไทยในชื่อเรื่อง \"แรกรัก\" และสร้างเป็นภาพยนตร์อีโรติกเรื่อง \"กลัวทำไมถ้าใจเป็นของเธอ\" (The Lover) ในปี ค.ศ. 1992 กำกับโดยชาก-ช็อง อันโน นำแสดงโดยเหลียง เจียฮุย และเจน มาร์ช", "title": "ลาม็อง" }, { "docid": "220416#1", "text": "ใน มะคุระ โนะ โซชิ นั้น เซ โชนะงน ได้เขียนรวบรวม รายนามของสิ่งต่างๆ ความคิดส่วนตัว เหตุการณ์น่าสนใจในราชสำนักเฮอัน บทร้อยกรอง ข่าวซุบซิบ ถึงจะเป็นเหมือนงานเขียนเรื่องส่วนตัว ทว่า ความปราดเปรื่องในเชิงกวีของเธอ ทำให้ผลงานชิ้นนี้กลายเป็น วรรณกรรม และมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนหนึ่งของงานเขียนนี้ได้ถูกเปิดเผยโดยบังเอิญขณะที่เธอยังมีชีวิตอยู่ในราชสำนัก ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในอังกฤษในปี ค.ศ. 1889 โดย ที เพอร์เชล และ ดับบลิวจี แอสตัน (T. Purcell and W.G. Aston) และ ฉบับแปลภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงอีกฉบับหนึ่งคือ ฉบับที่แปลโดย อิแวน มอร์ริส (Ivan Morris ) ในปี 1967 และ ฉบับที่แปลโดย เมเรดิธ แมคคินนีย์ (Meredith McKinney)ในปี ค.ศ. 2006", "title": "มะกุระโนะโซชิ" }, { "docid": "178655#4", "text": "หรือ (โคลม โดคุโร่) ในฉบับภาษาไทย เธอเป็นผู้ถูกเลือกให้เป็นผู้ถือครอง “แหวนแห่งสายหมอก” เธอเคยประสบอุบัติเหตุ ทำให้สูญเสียตาข้างขวา และ อวัยวะอีกหลายส่วน (แถมยังโดนพ่อกับแม่ทิ้งอีก)แต่เธอก็ฟื้นขึ้นมาได้ เพราะ ร่างกายของเธอในตอนนี้นั้นถูกสร้างและควบคุมจากพลังภาพลวงตาของมุคุโร่ จึงไม่แปลกใจที่เธอจะเคารพมุคุโร่ ยิ่งกว่าใครๆ ความฝันของเธอนั้นคือ อยากจะคุยกับมุคุโร่ด้วยภาษาอิตาเลี่ยน เธอเป็นผู้ครองแหวนแห่งสายหมอก", "title": "รายชื่อตัวละครในครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!" }, { "docid": "523079#7", "text": "เด็กชายวัย 4 ขวบ หลานของเมฆ ลูกชายของธีร์ แต่ธีร์เสียไปตั้งแต่หมอกยังจำความไม่ได้ หมอกจึงเรียกเมฆว่าพ่อ เป็นเด็กน่ารักอารมณ์ดี เข้ากับคนง่าย ไม่ดื้อไม่ซนถ้าหากคนที่เข้ามาหาเป็นค\nพ่อของตะวันฉาย เป็นคนรักลูก รักครอบครัว รวบรวมเงินเก็บ ลงทุนทำรีสอร์ทจนประสบความสำเร็จ จนอยากให้ลูกสาวคนเดียวเจริญรอยตาม นิสัยเป็นคนขี้เล่น แต่เรื่องงานจะเอาจริงเอาจัง ขยันหมั่นเพียร มีความโอบอ้อมอารี รักลูกน้อง และเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี", "title": "ตะวันฉายในม่านเมฆ" }, { "docid": "9800#106", "text": "ในประเทศไทย สามก๊กได้รับการแปลและเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการตีพิมพ์ ดังนั้นเมื่อนำสามก๊กของหลัว กวั้นจงซึ่งเป็นต้นฉบับ นำมาเปรียบเทียบเคียงกับภาษาไทยที่แปลโดย สังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นการแปลออกมาในรูปแบบของตำราพิชัยสงคราม หรือสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ หรือฉบับสามก๊ก ฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ จะเห็นว่าเนื้อและความหมายของบทประพันธ์ในหลายตอนมีคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการคลาดเคลื่อนของความหมายในสามก๊กนั้นเกิดจากผู้แปลโดยตรง[18] อย่างไรก็ดี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 วรรณคดีสโมสร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ได้ตัดสินให้ \"สามก๊ก\" เป็นวรรณคดีประเภทเรียงความยอดเยี่ยมประเภทนิทาน เสมอกับเรื่องราชาธิราช เนื่องจากมีการใช้สำนวนภาษาที่สละสลวย เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและทอดแทรกแฝงแง่คิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยถือว่าสามก๊กนั้น เป็นตำราสำหรับใช้ในการศึกษากลยุทธ์ในการทำสงครามและประวัติศาสตร์ของจีนได้เป็นอย่างดี[19]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "212399#72", "text": "ซีรีส์ Asakiyumemishi (ชื่อไทย “ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก” โดย Nation Edutaiment) การ์ตูนผู้หญิงอิงวรรณคดีเก่าแก่ “ตำนานเก็นจิ” มีการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[15457,15475,3,3]}'>ประกาศยกเลิก</b>แผนการทำอะนิเมะเดิมที่จะเริ่มฉายในเดือนมกราคมปี 2009 ในไทม์สล็อต Noitamina ของ Fuji TV โดยประกาศอย่างเป็นทางการในเว็บไซต์หลักของอะนิเมะดังกล่าว ซึ่งจะถูกแทนด้วยผลงานอะนิเมะออริจินัลในชื่อเรื่องว่า Genji Monogatari Sennenki: Genji (“เกนจิตำนานพันปี Genji”) แทนในฐานะอะนิเมะครบรอบสหัสวรรษของวรรณคดีต้นฉบับ", "title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก" }, { "docid": "212399#3", "text": "และในฉากสุดท้ายของเล่ม 10 ตอนจบภาค 1 มีการกล่าวถึงกลอนอิโระฮะบทนี้ โดยแปลเป็นไทยไว้ว่า", "title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก" } ]
3420
ชาวไทยในพม่าพวกเขายังคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยไว้ ทั้งภาษา, ศาสนา, การใช้สกุลเงินไทย และการใช้นามสกุลอย่างคนไทยใช่หรือไม่?
[ { "docid": "77751#0", "text": "ชาวไทยในพม่า พม่าเรียก ฉ่า หรือเป็นไทยมุสลิมจะเรียก ฉ่าปะซู คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเชื้อสายเดียวกับไทยสยามในประเทศไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศพม่า แต่เป็นคนละกลุ่มกับชาวโยดายา โดยมากอาศัยอยู่บริเวณเขตตะนาวศรีทางตอนใต้ของประเทศพม่า มีประวัติการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมายาวนาน ก่อนที่ดินแดนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่าในปัจจุบัน[7] พวกเขายังคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยไว้ ทั้งภาษา, ศาสนา, การใช้สกุลเงินไทย และการใช้นามสกุลอย่างคนไทย[8][9]", "title": "ชาวไทยในพม่า" } ]
[ { "docid": "5964#31", "text": "ชาวจันทบุรีใช้ภาษาไทยแบบภาคกลางเป็นภาษาทางราชการและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาษาไทยที่ชาวจันทบุรีใช้พูดนั้นจะมีสำเนียงและหางเสียงที่แปลกจากภาษาไทยภาคกลาง[75] มีคำบางคำที่เป็นภาษาถิ่นเฉพาะ เช่น การใช้คำว่า ฮิ เป็นคำสร้อย การเรียกยายว่า แมะ เป็นต้น[76] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังพบภาษาท้องถิ่นในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกที่สำคัญอีก 1 ภาษา คือ ภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาที่พูดโดยชาวชอง ส่วนใหญ่แล้วชาวชองมักตั้งถิ่นฐานในอำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอเขาคิชฌกูฎ[77] [78] ในปัจจุบันภาษาชองกำลังตกอยู่ในภาวะสูญหาย เนื่องจากพลเมืองชาวชองประมาณ 6,000 คน มีผู้ที่สามารถพูดภาษาชองได้เพียงแค่ 500 คนเท่านั้น[79] ในส่วนของภาษาอื่น ๆ ที่มีประชากรในจังหวัดใช้สื่อสารในครัวเรือนเกิน 1,000 คนขึ้นไป ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาลาว ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ[80]", "title": "จังหวัดจันทบุรี" }, { "docid": "77751#9", "text": "คริสต์ศตวรรษที่ 17 ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาทางการของมะริดและตะนาวศรี ทั้ง ๆ ที่มีชุมชนไทยเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กในนั้น แต่ประชากรส่วนใหญ่ล้วนเป็นพม่าหรือมอญ[18] ปัจจุบันชาวไทยในเขตตะนาวศรีเกือบทั้งหมดยังคงใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับชาวไทยทางภาคใต้ของประเทศไทย[27] ยกเว้นที่บ้านท่าตะเยี๊ยะที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน[1]และชาวไทยมุสลิมบางส่วนพูดภาษามลายูไทรบุรี ส่วนชาวไทยในรัฐกะเหรี่ยงจะใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับชาวไทยวนในภาคเหนือของไทย[2] ชาวไทยทั้งสองกลุ่มมีการเล่าเรียนภาษาไทยมาตรฐาน โดยชาวไทยในรัฐกะเหรี่ยงจะมีการสอนภาษาไทยแก่บุตรหลานช่วงปิดเทอมโดยพระสงฆ์ บ้างก็เข้าเรียนในโรงเรียนไทยในจังหวัดตาก[25] ขณะที่ชาวไทยในเขตตะนาวศรีเล่าเรียนภาษาไทยจากพระสงฆ์ในวัด[27] สามารถพบการติดตั้งป้ายภาษาไทยอย่างโดดเด่นตามศาสนสถาน[28] รวมทั้งนิยมสิ่งพิมพ์ภาษาไทย และสื่อโทรทัศน์ภาษาไทย ด้วยมีจินตนาการร่วมกับรัฐไทยมากกว่าพม่า[29]", "title": "ชาวไทยในพม่า" }, { "docid": "13972#14", "text": "ภาษาแต้จิ๋วในไทยมีคำใช้ที่ใช้เฉพาะภาษาแต้จิ๋วในไทยเท่านั้น แต่คนแต้จิ๋วในจีนไม่นิยมใช้หรือไม่มีใช้กันอาทิเช่น แปะเจี้ย—เงินกินเปล่าที่แลกกับสิทธิบางประการ, โต่ยจี๊—การบริจาคเงินเพื่อการกุศลด้วยจิตศรัทธา, จ่อซัว—คนรวยมั่งมีเงินทอง (เจ้าสัว), เจี๊ยะฮวงฉู่—บ้านพักตากอากาศต่อมาได้ขยายความเป็นบ้านเดี่ยวหรูหราตามชานเมือง, ซึงกาเกี้ย หรือ ซึงกา—มะนาว, ซึงตู๊—ตู้เย็น, ซัวปา—คนต่างจังหวัดนอกกรุงเทพฯ, ซัวปานั้ง—พวกบ้านนอก, เค้กเกี้ย—แขกอินเดีย—ปากีสถาน, เหลาเกี้ย—ชาวอีสานและชาวลาว[3]", "title": "ภาษาแต้จิ๋ว" }, { "docid": "72832#35", "text": "ในกาลต่อมาลูกหลานชาวโยดายาเริ่มละทิ้งภาษาไทยและออกเสียงแปร่ง รับอิทธิพลอย่างสูงจากภาษาพม่าโดยเฉพาะไวยากรณ์ ดังกรณีมหาโคและมหากฤช ซึ่งมหาโคเป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าราวสี่สิบปี ส่วนมหากฤชเป็นบุตรชายที่เกิดในพม่า ทั้งสองอพยพกลับเข้ามาแผ่นดินสยามในยุครัตนโกสินทร์ แต่พูดไทยไม่ชัดเจน จนต้องให้ทั้งสองพูดภาษาพม่าแล้วให้ล่ามพม่ามาแปลภาษาให้ ล่วงมาในปัจจุบันลูกหลานชาวโยดายาเลิกใช้ภาษาไทยดังกล่าวไปแล้ว โดยหันไปพูดภาษาพม่าแทน ภาษาไทยจึงมิได้ตกทอดสู่คนรุ่นหลัง ๆ แต่มีชาวโยดายาบางส่วนที่ยังอนุรักษ์ภาษาไทยเอาไว้ เช่นที่บ้านซูกา (มาจากคำบาลีว่า สุขะ) จะใช้คำศัพท์ของภาษาไทยเป็นภาษาลับใช้สื่อสารกันภายในหมู่บ้าน เช่นคำว่า พ่อ เรียกว่าอะบ๊ะ, ขนม เรียกขนม, กล้วย เรียกก้วย, อ้อย เรียกน้าออ, กินข้าว เรียกกินข้าวหรือปุงกิน ซึ่งเหลือเพียงคนรุ่นเก่าเท่านั้นที่จะเข้าใจคำเหล่านี้ได้ ทั้งนี้พวกเขาไม่สามารถพูดภาษาโยดายาให้เป็นประโยคได้อีกต่อไป เพราะแทบไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน", "title": "ไทยโยเดีย" }, { "docid": "44000#6", "text": "แต่ก็มีข้อแย้งเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ ศ.เฟดเดอริก โมต หรือ ชาร์ลส์ แบกคัส รวมทั้งนักวิชาการชาวไทย ดร.วินัย พงษ์ศรีเพียร มีความเห็นว่าไม่น่าจะใช่เป็นคนไทย โดยอ้างว่าภาษาที่ใช้ในอาณาจักรน่านเจ้าที่ปรากฏในหนังสือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 มีลักษณะคล้ายภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า มากกว่า และมีส่วนที่คล้ายภาษาไทยซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาไทกะไดน้อยมาก และวัฒนธรรมการเอาพยางค์สุดท้ายของพ่อมาตั้งเป็นชื่อพยางค์แรกของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ เป็น โก๊ะล่อฝง ก็เป็นวัฒนธรรมร่วมกับวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ด้วยเช่นกัน", "title": "อาณาจักรน่านเจ้า" }, { "docid": "17119#22", "text": "ไทยมีรากฐานเศรษฐกิจดี มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อเกษตรกรรม เมื่อเว้นว่างจากศึกสงคราม เสบียงอาหารก็บริบูรณ์ขึ้นดังเดิม ฝ่ายคนจีนและคนไทยบางส่วนได้เอาเงินและทองที่บรรพชนเก็บไว้ในพระพุทธรูปไป บ้างก็ทำลายพระพุทธรูปและพระเจดีย์เสียเพื่อเอาเงิน บาทหลวงคอร์ระบุว่า \"การที่ประเทศสยามกลับตั้งแต่ได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงไม่มีเงินใช้เป็นแน่\"[22]", "title": "อาณาจักรธนบุรี" }, { "docid": "72832#32", "text": "แต่เดิมชาวโยดายาจะใช้ภาษาไทยสำเนียงอยุธยา ซึ่งจะออกเหน่อกว่าภาษาไทยมาตรฐานในปัจจุบัน และมีหลักฐานบ่งว่ายังใช้ภาษาไทยพูดอยู่จนถึงช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการค้นพบจารึกภาษาไทยอยุธยาหลังพระพุทธรูปขนาดน้อยในวัดยาดะนา เมืองอังวะ บันทึกไว้ว่า \"ลูกปลีก มีขาพ พราม\" แปลว่า \"การทำบุญจากหมู่บ้านพะราม\" และพบอักษรไทยใต้ภาพนรกภูมิภายในกู่วุดจีกูพญาภายในสำนักสงฆ์หมั่นกินจอง เมืองมินบู เขียนอธิบายใต้ภาพไว้ว่า \"สังคาตตนรก\" จากหลักฐานทั้งสอง แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของภาษาและอักษรไทยในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีชาวสยามคนหนึ่งชื่อนายจาดออกจากแผ่นดินสยามในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปสอนภาษาไทยแก่บุตรธิดาขุนนางพม่าในรัชกาลพระเจ้ามินดง ดังปรากฏในคำให้การนายจาด ที่ยังระบุว่าในช่วงเวลานั้นยังมีการใช้ภาษาไทยในหมู่พระสงฆ์ แต่พบว่าคนโยดายาเริ่มพูดไทยไม่ได้แล้ว ดังปรากฏความตอนหนึ่ง ความว่า", "title": "ไทยโยเดีย" }, { "docid": "42753#24", "text": "พระเจ้ามังระให้คนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปลำดับเรื่องราวในพงศาวดารไทยจดบันทึกไว้และพระองค์ได้เป็นผู้ให้ปากคำเรื่องประวัติศาสตร์อยุธยาแก่พม่า ต่อมาเมื่ออังกฤษยึดพม่าในปี พ.ศ. 2492 พบหนังสือเล่มนี้อยู่ในหอหลวงพระราชวังมัณฑะเลย์ มีชื่อว่า \"คำให้การขุนหลวงหาวัด\" ต้นฉบับเดิมเป็นภาษามอญ ได้นำมาไว้ที่หอสมุดเมืองร่างกุ้ง ต่อมาหอวชิรญาณได้ขอคัดลอกมาแปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยใช้ชื่อว่า คำให้การชาวกรุงเก่า เพราะเห็นว่าเป็นคำให้การของคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปหลายคน ไม่ใช่เจ้าฟ้าอุทุมพรเพียงพระองค์เดียว[52]", "title": "สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร" }, { "docid": "382845#3", "text": "แม้ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในไทยจะไม่ติดต่อกับชาวญวนในเวียดนามเลยนานนับศตวรรษ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็อยู่กันตามเชื้อชาติโดยแยกต่างหากจากคนไทย ทำให้พวกเขายังสามารถรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้ ทั้งนี้พวกเขามีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเขา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่กระตือรือร้นที่จะเป็นคนไทยหรือปรับตัวเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานแออัดกันรอบ ๆ โบสถ์ และการแต่งงานกับคนที่นับถือศาสนาและเชื้อชาติเดียวกัน ", "title": "ไทยเชื้อสายญวน" }, { "docid": "18273#10", "text": "ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะแหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย \nคนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเอง\nชาวกะเหรี่ยงพุทธที่อยู่ในประเทศไทยและแนวชายแดน มีความเชื่อและศรัทธาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยการบอกเล่าถึงการร่วมกันต่อสู้ในสงครามกับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรีในปัจจุบัน ล้วนสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นนักรบในกองทัพชาวสยามที่เรียกว่า กองเสือป่าแมวเซา กองอาทมาต และกองอาสา จึงมีความสัมพันธุ์อย่างแน่นแฟ้นในฐานะกัลยาณมิตรกับชาวไทยและชาวมอญที่เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภาร มาแต่ครั้งรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งมีศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในวิชาดาบ และวิชามวย ใกล้เคียงกันจนอาจกล่าวได้ว่ามีการผสมกลมกลืนสืบทอดกันมานานหลายร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเชื่อว่า ชาวกะเหรี่ยง มีหน้าที่ดูแลรักษาแผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นกันชนตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าในปัจจุบัน", "title": "ชาวกะเหรี่ยง" }, { "docid": "938#5", "text": "ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า \"หรั่ว เซม\" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า \"สยาม\" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า สิแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในภาษาเขมร คำว่า \"สยาม\" หมายถึง \"ขโมย\" โดยออกเสียงว่า \"ซี-เอม\" เมืองเสียมราฐ ซึ่งอยู่ใกล้กับนครวัด จึงมีความหมายว่า \"พวกขโมยพ่ายแพ้\" ดังนั้น ความหมายของคำว่า \"สยาม\" ในภาษาเขมรจึงหมายถึง \"พวกขโมยป่าเถื่อน\" เนื่องจากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ มีคนไทที่อพยพมาจากทางเหนือเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของเขมรซึ่งอาจเข้ามาโดยการกวาดต้อนของชาวเขมรเองเพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างปราสาทหินต่างๆ คำว่า \"สยาม\" จึงเป็นคำเขมรที่ใช้เรียกกลุ่มคนไทซึ่งในเวลานั้นชาวเขมรยังมองว่าเป็นแค่คนป่า บนรูปสลักฝาผนัง ณ นครวัด ประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงกำลังพลจากอาณาเขตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาร่วมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีภาพกองกำลังกองหนึ่งที่มีคำบรรยายใต้ภาพว่า \"เนะ สยฺมกุก\" (เนะ สยำกุก) [6] ซึ่งแปลได้ความว่า \"นี่ เสียมกุก\" เป็นกองกำลังต่างหากจากกองกำลังจากอาณาจักรละโว้ ซึ่งรูปสลักฝาผนังได้สลักแยกไว้พร้อมคำบรรยายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นคนไท-ลาวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเป็นที่ยอมรับกัน ในภาษาพม่านั้น เรียกคนไทยว่า \"เซี้ยน\" ซึ่งถ้าดูจากการเขียน จะใช้ตัวสะกดเป็นตัว ม (ซย+ม) แต่ในภาษาพม่านั้นอ่านออกเสียงตัวสะกดตัว ม เป็นตัว น จึงทำให้เสียงเรียกคำว่า \"สยาม\" เพี๊ยนเป็น \"เซี้ยน\" ในปัจจุบัน คนในประเทศพม่ามักจะเรียกชนกลุ่มที่พูดภาษา ไท-กะได ต่างๆว่า \"เซี้ยน\" หรือ ชื่อประเทศหรือพื้นที่ตามด้วยเซี้ยน เช่นเรียกคนไทยว่า \"โย้ตะย้าเซี้ยน\" (คนสยามโยธยา ซึ่งเมื่อก่อน อยุธยาเป็นเมืองหลวง) หรือไท้เซี้ยน (คนสยามไทย), เรียกคนลาวว่า \"ล่าโอ่เซี้ยน\" (คนสยามลาว), เรียกคนชนกลุ่มไตในจีนว่า \"ตะโย่วเซี้ยน\" (คนสยามจีน ซึ่งคำว่า \"ตะโย่ว\" ในภาษาพม่าแปลว่า \"จีน\") และเรียกคนไทใหญ่ในรัฐฉานว่า ต่องจยี๊เซี้ยน (สยาม ต่องกี๊ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในปัจจุบัน และจริงๆแล้วคำว่า \"รัฐฉาน\" นั้นมันคือ \"รัฐสยาม\" แต่พม่าออกเสียงเพี้ยนเป็น \"เซี้ยน ปี่แหน่\" เขียนเป็นอังกฤษว่า Shan State แล้วคนไทยก็ออกเสียงเพี้ยนจากคำอังกฤษ \"Shan\" เป็น \"ฉาน\" จึงกลายเป็นรัฐฉานตามการเรียกของคนไทยในปัจจุบัน) และทางการรัฐบาลพม่ากำหนดให้ คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี มีสัญชาติเป็น เซี้ยน เช่นเดียวกับคนไทใหญ่ในรัฐฉาน ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร \"เซียน\" (暹国; น่าจะหมายถึง สยาม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร \"ร้อยสนม\" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร \"หลัววอ\" (羅渦国; น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร \"เซียน\" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร \"หลัววอ\" จนในที่สุด อาณาจักร \"เซียน\" และอาณาจักร \"หลัววอ\" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหม่ที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร \"เซียนหลัว\" (暹罗国; ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน=\"เซียนหลัวกว๋อ\" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = \"เสี่ยมล้อก๊ก\") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น \"ไท่กว๋อ\" (泰国) นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของคนไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย สยาม เป็นคำเรียกของชาวตะวันตก ที่มาทำการค้า การเดินทางมาทางเรือต้องผ่านพม่าก่อน ชาวพม่าบอกชาวตะวันตกว่า เซียม ชาวไท ออกเสียงเป็น เซียน ซึ่งปัจจุบันเป็น ฉานเนื่องจากชาวพม่าออกเสียง น.หนู ไม่ได้ จึงเพี้ยนเป็น ม.ม้า ฉานชาวพม่าหมายถึง รัฐฉาน ในประเทศพม่า, อาณาจักรล้านนา ในไทย, ลาว ,ภาคอีสานตอนเหนือ ในไทย, ตอนใต้ของยูนนาน ในจีน,ด้านตะวันตกของภาคเหนือในเวียดนาม ชาติไทยนั้นกลัว อินเดีย เพราะว่าอินเดียเคยล้มอาณาจักรไชยาได้ ซึ่งไทยสู้ไม่ได้ในยุคนั้น จึงมีภาษาของอินเดียปะปนอยู่มาก ทั้งในภาษาไทยและศาสนาพุทธด้วย", "title": "สยาม" }, { "docid": "353155#0", "text": "ชาวพม่าเชื้อสายจีน () ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของประเทศพม่า ปัจจุบันมีตัวเลขจากทางการรัฐบาลพม่าว่าชาวพม่าเชื้อสายจีนมีจำนวนเพียงร้อยละ 3 แต่ตัวเลขที่แท้จริงเชื่อว่าน่าจะมีชาวพม่าเชื้อสายจีนมากกว่าจำนวนดังกล่าว เนื่องจากชาวจีนส่วนใหญ่ได้สมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวพม่าและกลุ่มชนพื้นเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ชาวจีนนับหมื่นคนได้อพยพเข้ามาทางตอนบนของพม่าอย่างผิดกฎหมาย และอาจจะไม่ได้นับรวมด้วย อันเนื่องมาจากการทำสำมะโนครัวที่ขาดความน่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันกลุ่มชนที่มีเชื้อสายจีนที่อาศัยในภาคตะนาวศรีทางตอนใต้ของพม่าใกล้ชายแดนประเทศไทย มักมีจินตนาการและมิติวัฒนธรรมร่วมกับชาวไทยในฝั่งไทย เช่นการใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ การตั้งเข็มนาฬิกาตรงกับเวลาในประเทศไทย การทำบุญและการบวชแบบไทย เป็นต้น", "title": "พม่าเชื้อสายจีน" }, { "docid": "72832#36", "text": "ในปี พ.ศ. 2359 นายแพทย์แอดอนีแรม จัดสัน (Adoniram Judson) และแอนน์ แฮเซลไทน์ \"แนนซี\" จัดสัน (Ann Hazeltine Judson) มิชชันนารีแบปทิสต์ชาวอเมริกันซึ่งเข้าไปเผยแผ่ศาสนาในย่างกุ้ง ได้ศึกษาภาษาไทยจากเชลยสยามซึ่งถูกกวาดต้อนเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในเวลาเดียวกันนั้นจอร์จ เอช. ฮอฟ (George H. Hough) ช่างพิมพ์ ได้เข้ามาตั้งโรงพิมพ์ในประเทศพม่า และได้หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2359 โดยใช้ต้นแบบจากที่นางจัดสันศึกษา ก่อนตีพิมพ์พระกิตติคุณมัทธิวขึ้นแต่บัดนี้ไปสูญหายไปแล้ว ถือได้ว่าชาวโยดายาในพม่าอาจเป็นผู้ทำให้เกิดตัวพิมพ์อักษรไทยยุคแรก ๆ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นอักษรไทยที่ใช้ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน", "title": "ไทยโยเดีย" }, { "docid": "135680#3", "text": "ส่วนในประเทศไทยสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่ชาวจีนที่ใช้แซ่เจิ้งหรือแซ่แต้ได้มาตั้งรกรากและมีครอบครัวในเมืองไทย โดยหนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งพระราชสกุลเดิมคือแซ่แต้สืบแต่บิดา แต่ในปัจจุบันลูกหลานของผู้ใช้ แซ่แต้ ส่วนมากได้เปลี่ยนเป็นนามสกุลให้เป็นไทย แต่จะขึ้นต้นด้วย \"เต\" และ \"เตชะ\" ตัวอย่างนามสกุลที่มีในประเทศไทย เช่น เตชะไพบูลย์ เตชะรัตนประเสริฐ เตชะมนตรีกุล เตชะภาณุรักษ์ และอื่น ๆ ยังเป็นแซ่ที่มีคนใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย 25,922 คน", "title": "แซ่แต้" }, { "docid": "77751#6", "text": "ตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยส้าน, บ้านแม่แปป, บ้านปางกาน, บ้านหนองห้า, บ้านแม่กาใน, บ้านผาซอง, บ้านปะล้ำปะตี๋ และบ้านไฮ่ เมืองเมียวดี ([Myawaddy]error: {{lang}}: unrecognized language tag: roman (help)) รัฐกะเหรี่ยง รวมทั้งหมด 7 หมู่บ้าน มีประชากรราว 20,000 คน[2] ชาวไทยกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า ไต เป็นชาวไทยวนที่อพยพมาจากอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก อำเภองาว จังหวัดลำปาง บ้างก็มาจากจังหวัดลำพูน, เชียงใหม่หรือน่านก็มี โดยเข้าทำงานเป็นคนงานตัดไม้ของบริษัทอังกฤษราวร้อยปีก่อน[24] บ้างก็ว่าหนีการเสียภาษีจากรัฐบาลสยาม[2] จึงเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว ปัจจุบันพวกเขายังใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือ และนับถือศาสนาพุทธ[2] รวมทั้งมีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยอย่างดี[25] ชาวไทยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งอพยพกลับประเทศไทยราว 30 ปีก่อน อาศัยอยู่อำเภอแม่สอดและอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดยไม่มีสัญชาติไทย[25]", "title": "ชาวไทยในพม่า" }, { "docid": "13241#13", "text": "ฮ่อ เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่าและประเทศลาว ชาวจีนฮ่อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือทั้งในเมืองและบนดอย หนึ่งในกลุ่มชนที่สำคัญคือชาวจีนหุย (回族 ; ภาษาจีนกลาง: Huízú) ซึ่งเป็นชาวจีนที่มีลักษณะเหมือนชาวจีนฮั่นทุกอย่างเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวฮ่อในประเทศไทย 1 ใน 3 นับถือศาสนาอิสลาม นอกนั้นนับถือบรรพบุรุษ", "title": "ไทยเชื้อสายจีน" }, { "docid": "7266#10", "text": "ในจังหวัดประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในจำนวนนี้มีประชากรร้อยละ 9.9 อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายู โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในสตูลมีความแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบปัตตานี แต่จะมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับชาวมลายูในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และได้รับการผสมผสานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย ชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูแต่เดิมใช้ภาษามลายูเกดะห์ ในการสื่อสาร แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้เช่นเดียวกับเยาวชนในตัวเมืองปัตตานีและยะลา แต่ยังเหลือประชาชนที่ยังใช้ภาษามลายูถิ่นได้ 13 หมู่บ้าน ใน 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิด นอกนั้นในชีวิตประจำวันชาวสตูลนิยมพูดภาษาไทยมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสที่ร้อยละ 80 ยังใช้ภาษามลายูได้ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นกลุ่มสังคมเมืองซึ่งพูดมลายูได้เล็กน้อยหรือพูดปนภาษาไทย", "title": "จังหวัดสตูล" }, { "docid": "858386#3", "text": "กะเหรี่ยงไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน กะเหรี่ยงต่างกลุ่มไม่ได้มีประวัติศาสตร์ร่วมกันภายในราชอาณาจักรก่อนที่พม่าจะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ชาวกะเหรี่ยงบางคนทำหน้าที่เป็นเสนาบดีภายในราชอาณาจักรอื่น ๆ เช่น ราชอาณาจักรหงสาวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ชาวกะเหรี่ยงอื่น ๆ อยู่ในป่าตามแนวชายแดนไทย ชาวกะเหรี่ยง 20% เป็นชาวคริสต์ ในขณะที่อีก 75% เป็นชาวพุทธ มีชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเล็ก ๆ ที่นับถือผีอยู่ในพื้นที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และมีกลุ่มเล็ก ๆ เรียกกะเหรี่ยงดำเป็นมุสลิม กะเหรี่ยงโปว์คิดเป็น 80% ของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมด และเป็นชาวพุทธเป็นส่วนใหญ่ ผู้พูดภาษากะเหรี่ยงโปว์อยู่ในที่ราบตอนกลางและตอนล่างของพม่า และมีระบบสังคมคล้ายชาวมอญ ทำให้บางครั้งเรียกกะเหรี่ยงมอญ (Talaing Kayin) ส่วนกะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีระบบสังคมคล้ายชาวพม่า บางครั้งเรียกกะเหรี่ยงพม่า (Bama Kayin) กลุ่มนี้ถูกผลักดันให้มาอยู่ตามแนวชายแดนไทย ชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในเทือกเขาดอว์นาและตะนาวศรีในพม่าตะวันออก พวกเขาได้พัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง ในปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีราว 3 ล้านคน มีวิถีชีวิตเป็นชาวนา ชุมชนชาวกะเหรี่ยงมีความแตกต่างกันทั้งทางศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์", "title": "ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง" }, { "docid": "350745#4", "text": "ชาวพม่าเชื้อสายมลายู ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสารคือภาษามลายูไทรบุรีหรือมลายูสตูล ที่ใช้ในแถบตะวันตกของประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะที่รัฐเกดะห์และรัฐปะลิส และมีจำนวนหนึ่งใช้สำเนียงเประ แต่ในปัจจุบันพวกเขาต้องเรียนรู้ภาษาพม่าควบคู่ไปด้วยเช่นเดียวกับชาวไทยพลัดถิ่น เนื่องจากภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ อย่างไรก็ตามภาษาของพวกเขาก็ได้ทิ้งอิทธิพลไว้กับภาษาพม่าแถบเมืองมะริดที่มีสำเนียงใกล้เคียงกับภาษามลายู โดยวัฒนธรรมของคนที่นี่ยังเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมเมื่อครั้งคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวพม่าเชื้อสายมลายูที่สูงอายุสามารถอ่านอักษรยาวี พูดภาษามลายู และเขียนอักษรอาหรับได้ (ขณะที่มาเลเซียได้หันมาใช้อักษรรูมี) ชาวปะซูส่วนหนึ่งได้ตั้งถิ่นฐานรวมกับชาวไทยมุสลิม มีสมรสข้ามชาติพันธุ์กับมุสลิมกลุ่มอื่น บรรดาวัยรุ่นที่สืบเชื้อสายมลายูส่วนมากได้รับการศึกษาจากสถานศึกษาของรัฐบาลพม่า มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนา ชาวพม่าเชื้อสายมลายูนับถืออิสลามแนวทางซุนนีย์ แต่เป็นมัซฮับซาฟีอี ซึ่งแตกต่างกับมุสลิมกลุ่มอื่นในพม่าที่เป็นมัซฮับฮานาฟี", "title": "พม่าเชื้อสายมลายู" }, { "docid": "570393#8", "text": " ข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในไทยเริ่มมีความชัดเจนอีกครั้ง หลังพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยเมื่อราว พ.ศ. 1800 พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมากษัตริย์ในอาณาจักรสุโขทัยทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์มาประกาศพระศาสนายังตอนเหนือของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา การมาถึงของคณะสงฆ์ลังกาในแผ่นดินไทยมิใช่ครั้งแรก เพราะเคยมีการติดต่อกันสมัยหริภุญไชย และทวราวดี แต่การมาครั้งนี้ ถือเป็นการสิ้นสุดของคณะนิกายอื่นๆ ที่เคยแพร่หลายในดินแดนนี้ ดังจะเห็นได้ว่า พระสงฆ์นิกายในแถบนี้อาจสังวัธยายพระธรรมเป็นภาษาสันสกฤต แต่พวกนิกายลังกาวงศ์สังวัธยายเป็นภาษามคธ จึงเกิดความขัดแย้งกันขึ้น กว่าจะเป็นเอกภาพได้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง", "title": "คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "984827#9", "text": "ขณะที่ชาวซัมซัมในจังหวัดสตูลและสงขลาต่างไปจากสามจังหวัด เพราะพวกเขามีบรรพบุรุษเลือดผสมจากไทยและมลายู แม้จะนับถือศาสนาอิสลามแต่ยังรักษาวัฒนธรรมไทยได้ในหลายมิติ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้ภาษาไทยเป็นพื้น และหลายคนพูดภาษามลายูไทรบุรีไม่ได้เลย ความอดทนอดกลั้นต่อนโยบายที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาลไทยของชาวซัมซัมในสตูลและสงขลา ทำให้พวกเขาได้รับความไว้วางใจจากส่วนกลาง และกลายเป็นบทเรียนแก่รัฐบาลไทยในการทำเพื่อส่วนรวม", "title": "ชาวซัมซัม" }, { "docid": "517553#3", "text": "คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า \"คุณ\" ก่อนชื่อ", "title": "วัฒนธรรมไทย" }, { "docid": "199280#5", "text": "ชาวปากีสถานเชื้อสายไทยกลุ่มนี้ คนรุ่นแรกที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปยังสามารถพูดภาษาไทยได้ แต่สำเนียงแปร่งไปบ้าง และไม่นิยมใช้สื่อสารกัน ส่วนคนรุ่นหลังที่เป็นลูกหลานของคนกลุ่มแรก ๆ ที่เกิดในประเทศปากีสถาน จะพูดไทยได้น้อย และหลายคนพูดไทยไม่ได้เลย ส่วนมากใช้ภาษาพัชโต เนื่องจากสืบเชื้อสายจากชาวพัชโตหรือปาทานอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังพูดภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศ รวมทั้งสามารถใช้ภาษาอาหรับได้เพราะเป็นภาษาทางศาสนา พบมากในกลุ่มนักศึกษา", "title": "ปากีสถานเชื้อสายไทย" }, { "docid": "59408#13", "text": "หลังจากการเสียดินแดนบริเวณเขตตะนาวศรี ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงกลายเป็นประชาชนชาวพม่าไป โดยในปลายปี พ.ศ. 2549 ได้มีคนเชื้อสายไทยกว่า 3,000 คน อพยพเข้าสู่ฝั่งไทย แต่อย่างก็ตามพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับสัญชาติไทย และใช้ชีวิตเช่นเดียวกับแรงงานชาวพม่าทั่วไป", "title": "เขตตะนาวศรี" }, { "docid": "938#1", "text": "ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะเปลี่ยนชื่อประเทศไทย กลับไปเป็นสยาม แต่จะเห็นว่าคนไทยเดิมไม่เรียกตัวเองว่า สยาม กลับเป็นคนกลุ่มมอญ-เขมร ที่เรียกคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาว เดี๋ยวนี้ชาวบรู (มอญ-เขมร) ในเขตมุกดาหาร เรียกพวกผู้ไทว่า \"เซียม\" รวมถึงในเขตจีน-พม่า คนไท มักถูกพวกละว้า เรียกว่าเซียม และโดยลักษณะการเรียกชื่อชนชาติอื่น เหมือนที่จีนเรียกพวกไท ว่า ไป่เยว่ หรือลาว เรียกพวกที่พูดภาษามอญ-เขมร ในลาว ว่า \"ข่า\" เป็นต้น", "title": "สยาม" }, { "docid": "13241#36", "text": "ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญของจีนฮ่อคือมัสยิดบ้านฮ่อ นอกจากชาวจีนฮ่อแล้วก็มีชาวจีนกลุ่มอื่นที่นับถือศาสนาอิสลาม อาทิ ชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านกรือเซะในจังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร โดยมุสลิมเชื้อสายจีนที่บ้านกรือเซะนั้น บางส่วนนับถือเจ้าแม่ลิ้มกอเนียวด้วย บ้างก็ขอพรบ้างก็บนบาน เมื่อมีงานมงคลก็ต้องมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ด้วยเชื่อว่าหากไม่กระทำเช่นนั้นก็จะเกิดเภทภัย ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสาม ชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึงท่าน", "title": "ไทยเชื้อสายจีน" }, { "docid": "382845#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2500 ชาวเวียดนามสูงอายุที่อาศัยอยู่ในสามเสน และจันทบุรียังคงการใช้ภาษาเวียดนามอยู่แต่เป็นสำเนียงเวียดนามใต้ ซึ่งเป็นภาษาเวียดนามเก่าซึ่งในประเทศเวียดนามไม่ได้ใช้แล้วจึงทำให้ไม่สามารถติดต่อกับชาวเวียดนามได้ง่าย รวมไปถึงคำศัพท์และสำนวนหลายคำนั้นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไทย พวกเขามีคำสวดที่ใช้ทุกวัน และหนังสือสอนศาสนาเป็นภาษาเวียดนามอักษรโกว๊กหงือ (Quốc Ngữ) ภาษาเวียดนามในไทยปัจจุบันนั้นมีคำไทยปะปนอยู่มาก ทั้งสำเนียงก็ยังเป็นแบบไทย การสนทนาระหว่างคนญวนจากประเทศเวียดนามกับคนญวนในไทยจึงต้องอาศัยล่ามช่วยอธิบาย ดังนั้นราวหนึ่งหรือสองช่วงคน หรืออีก 50 ปีเป็นอย่างมาก คนญวนในไทยจะถูกผสมกลมกลืนทางภาษาได้สำเร็จ", "title": "ไทยเชื้อสายญวน" }, { "docid": "770444#4", "text": "ชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งจำนวนประมาณ 14% ของประชากรไทยทั้งหมด เคยถูกเลือกปฏิบัติจากคนไทยในอดีตเช่นกัน โดยมีช่วงหนึ่งที่โรงเรียนสอนภาษาจีนถูกปิด และพวกที่มีต้นตระกูลจีนยังถูกบังคับให้เปลี่ยนนามสกุลให้เหมือนภาษาไทย อย่างไรก็ดีชาวจีนในประเทศไทยปัจจุบัน ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งในสังคมและทางเศรษฐกิจ ", "title": "คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย" }, { "docid": "858386#33", "text": "ชาวกะเหรี่ยงเริ่มข้ามพรมแดนมายังไทยใน พ.ศ. 2527 ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายสี่ตัดของกองทัพพม่า ในราว พ.ศ. 2538 มีชาวกะเหรี่ยงนับหมื่นคนอาศัยในค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย หลังจากมาเนอปลอว์แตกใน พ.ศ. 2538 มีชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากข้ามพรมแดนมายังไทย การนำวิถีพม่าสู่สังคมนิยมมาใช้ทำให้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงเพิ่มฐานทางการเงินของตนเอง จากการค้าผ่านแนวชายแดนกับไทย โดยเก็บภาษีขาเข้าและขาออก สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงติดอาวุธอื่นๆใช้ค่ายผู้อพยพในไทยเป็นแหล่งสนับสนุนวัตถุดิบ ", "title": "ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง" } ]
1382
อาเลสซานโดร โวลตา คือใคร?
[ { "docid": "366546#0", "text": "อาเลสซานโดร จูเซปเป อันโตนิโอ อนาสตาซิโอ โวลตา (Italian: Alessandro Giuseppe Antonio Anastasio Volta; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 — 5 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นนักฟิสิกส์ชาวลอมบาร์ดี ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าคิดค้นแบตเตอรี (เซลล์ไฟฟ้าเคมี) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1800", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" } ]
[ { "docid": "366546#16", "text": "ทองแดงไม่ทำปฏิกิริยา แต่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรดสำหรับกระแสไฟฟ้า", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "355991#2", "text": "ในปั 1780 นายลุยจิ กัลวานี ค้นพบว่าเมื่อโลหะสองชนิดที่แตกต่างกัน (เช่นทองแดงและสังกะสี) ถูกนำมาแตะกับส่วนต่าง ๆ ของเส้นประสาทของขากบในเวลาเดียวกัน ขาของกบจะหดตัว[2] เขาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า \"ไฟฟ้าจากสัตว์\" ต่อมานายแอเลสซานโดร โวลตา ได้ประดิษฐ์เซลล์โวลตาวางซ้อน (English: voltaic pile) ในปี 1800 มันประกอบด้วยหลายเซลล์ที่คล้ายกับเซลล์กัลวานีวางซ้อนกันเป็นชั้น อย่างไรก็ตาม โวลตาสร้างมันขึ้นมาทั้งหมดจากวัสดุที่ไม่ใช่ชีวภาพเพื่อที่จะท้าทายทฤษฎีไฟฟ้าจากสัตว์ของกัลวานี (และนักทดลองต่อมานาย Leopoldo Nobili) เพื่อตอบสนองกับความพอใจในทฤษฎีสัมผัสไฟฟ้าโลหะต่อโลหะของตัวเขาเอง[3] นายคาร์โล Matteucci ได้เปลี่ยนมาสร้างแบตเตอรี่ที่ปราศจากวัสดุชีวภาพโดยสิ้นเชิงเพื่อสนองตอบต่อนายโวลตา[4] การค้นพบเหล่านี้ปูทางไปสู่แบตเตอรี่ไฟฟ้าทั้งหลาย; เซลล์ของโวลตาเป็นชื่อในลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของ IEEE ในปี 1999[5]", "title": "เซลล์กัลวานี" }, { "docid": "366546#3", "text": "อาเลสซานโดร ได้เก้าอี้นักประสบการณ์ทางฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Pavia มาเกือบ 40 ปีและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากนักเรียนของเขา", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#8", "text": "Volta ยังได้เรียนรู้สิ่งที่เราเรียกว่าความจุไฟฟ้าการพัฒนาวิธีการแยกเพื่อศึกษาทั้งศักยภาพทางไฟฟ้า (V) และประจุ (Q) และค้นพบว่าวัตถุที่กำหนดจะมีสัดส่วน Volta ได้เรียกสิ่งนี้ว่า กฎของความจุไฟฟ้า และผลงานชิ้นนี้ ได้ถูกตั้งชื่อว่า โวลต์", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#11", "text": "ด้วยวิธีนี้เขาได้ค้นพบชุดเคมีไฟฟ้าและกฎหมายว่าแรงดึงดูด (emf) ของเซลล์ไฟฟ้าประกอบด้วยอิเล็กตรอนคู่ที่แยกจากกันโดยอิเลคโตรไลท์ คือความแตกต่างระหว่างศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าทั้งสอง ( อิเล็กโทรไลต์ทั่วไปให้ศูนย์ emf สุทธิ ) นี่อาจเรียกว่ากฎไฟฟ้าเคมีของโวลต้า", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "22013#7", "text": "อาเลสซานโดร โวลตา ได้สร้างและได้อธิบายแบตเตอรี่ไฟฟ้าเคมีตัวแรก voltaic pile ในปี 1800. นี่เป็นชั้นซ้อนกันของแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสี คั่นโดยจานกระดาษชุ่มด้วยน้ำเกลือ มันสามารถผลิตกระแสที่คงที่ได้เป็นเวลานานทีเดียว โวลตาไม่ได้พอใจที่โวลเตจเกิดจากปฏิกิริยาเคมี เขาคิดว่าเซลล์ของเขาเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ไม่หมด และการกัดกร่อนที่กระทบต่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองเป็นเพียงสิ่งรบกวน มากกว่าจะเป็นผลตามมาที่ไม่อาจเลี่ยงได้ของการปฏิบัติงานของพวกมัน อย่างที่ ไมเคิล ฟาราเดย์ แสดงให้เห็นในปี 1834.", "title": "แบตเตอรี่" }, { "docid": "366546#12", "text": "ในปีค.ศ. 1800 เนื่องจากความไม่เข้ากันของ Galvanic ทำให้ Galvani และ Volta ได้ทำการคิดค้น voltaic ขึ้นมาซึ่งเป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง Volta ได้กำหนดให้คู่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของโลหะที่แตกต่างกันในการผลิตไฟฟ้าคือสังกะสีและทองแดง ตอนแรกเขาทดลองกับแต่ละเซลล์ในชุดแต่ละเซลล์เป็นถ้วยไวน์ที่เต็มไปด้วยน้ำเกลือที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองต่างถูกจุ่มลง กอง voltaic แทนถ้วยกับกระดาษแข็งแช่ในน้ำเกลือ.", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#21", "text": "อาเลสซานโดรยกฐานะคาทอลิกและตลอดชีวิตของเขายังคงรักษาความเชื่อของเขาเพราะบางครั้งเขาก็ไม่ได้รับการบวชเป็นนักบวชตามที่ครอบครัวของเขาคาดไว้บางครั้งเขาก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนไร้ศาสนาและบางคนก็สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นที่นับถือศาสนาในแบบของเขาโดยเน้นว่า \" เขาไม่ได้เข้าร่วมศาสนจักร หรือว่าเขาแทบไม่สนใจ คริสตจักรเลย \" อย่างไรก็ตามเขาได้ขจัดข้อสงสัยในการประกาศศรัทธาซึ่งเขากล่าวไว้ว่า", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#7", "text": "ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1776 ถึง ค.ศ. 1778 Volta ศึกษาเกี่ยวกับเคมีของก๊าซ เขาค้นคว้าและได้ค้นพบก๊าซมีเทนหลังจากอ่านบทความของ Benjamin Franklin แห่งสหรัฐอเมริกาในหัวข้อ \"อากาศติดไฟ\" ( flammable air ) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1776 เขาค้นพบก๊าซมีเทนที่ทะเลสาบ Maggiore และในปีค.ศ. 1778 เขาได้หาวิธีการแยกก๊าซมีเทน เขาได้คิดค้นวิธีการทดลองการเผาไหม้ของมีเทนโดยใช้ไฟฟ้าในเรือขนส่ง", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#2", "text": "อาเลสซานโดร ได้รับการชื่นชมจาก Napoleon Bonaparte สำหรับการประดิษฐ์ของเขาและได้รับเชิญให้ไปที่สถาบันฝรั่งเศสเพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งประดิษฐ์ของเขาแก่สมาชิกของสถาบัน Volta ความสุขที่ได้ใกล้ชิดกับจักรพรรดิตลอดชีวิตของเขาและเขาก็ได้รับพระราชทานเกียรติยศมากมาย", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#13", "text": "แบตเตอรีที่โวลตาผลิตได้รับยกย่องเป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีเซลล์แรก ประกอบด้วยสองอิเล็กโทรด อันหนึ่งทำจากสังกะสี อีกอันหนึ่งทำจากทองแดง อิเล็กโทรไลต์เป็นกรดซัลฟิวริกผสมน้ำหรือน้ำเกลือเข้มข้นทะเลรูปหนึ่ง อิเล็กโทรไลต์มีอยู่ในรูป 2H+ และ SO42− สังกะสีซึ่งมีศักยะอิเล็กโทรต (electrode potential) สูงกว่าทองแดงและไฮโดรเจน ทำปฏิกิริยากับซัลเฟต (SO42−) ซึ่งมีประจุลบ ไอออนไฮโดรเจน (โปรตอน) ซึ่งมีประจุบวกจับอิเล็กตรอนจากทองแดง ก่อให้เกิดฟองแก๊สไฮโดรเจน H2 ทำให้แท่งสังกะสีเป็นอิเล็กโทรตลบและแท่งทองแดงเป็นอิเล็กโทรดบวก ฉะนั้น มีสองปลาย และกระแสไฟฟ้าจะไหลหากเชื่อมต่อกัน ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์โวตาอิกนี้เป็นดังนี้", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#5", "text": "อาเลสซานโดร เกิดที่เมืองโกโม เมืองในปัจจุบันในตอนเหนือของอิตาลีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 และในปี ค.ศ. 1794 Volta ได้แต่งงานกับสตรีชั้นสูงชื่อ Teresa Peregrini และเขาก็ได้ให้กำเนิดบุตรชาย 3 คน ซึ่งเขาได้ยกลูกชายทั้งสามคน ได้แก่ Zanino, Flaminio และ Luigi และพ่อของเขา Filippo Volta ให้เป็นขุนนาง รวมถึงแม่ของเขา Donna Maddalena ที่มาจากครอบครัว Inzaghis", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#4", "text": "แม้จะเขาประสบความสำเร็จในวิชาชีพของเขา Volta มักจะเป็นคนมีปัญหาในเรื่องครอบครัวและชัดเจนมากขึ้นในปีต่อๆมา ในเวลานี้เขามักจะมีชีวิตที่สันโดษจากชีวิตสาธารณะ และในชีวิตอยู่กับครอบครัวมากขึ้น จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1827 จากอาการเจ็บป่วยที่เขาเป็นตั้งแต่ปีค.ศ. 1823 หน่วย SI ที่มีศักยภาพทางไฟฟ้าตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในฐานะโวลต์ (volt)", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "783818#3", "text": "หลังจากปัสกาลแล้ว อินวิเดียได้พัฒนาสถาปัตยกรรมถัดไป มีชื่อว่า \"โวลตา\" ตั้งตาม อาเลสซานโดร โวลตา นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีในช่วงหลังยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18", "title": "จีฟอร์ซ 10 ซีรีส์" }, { "docid": "366546#18", "text": "ในปี ค.ศ. 1809 Volta กลายเป็นสมาชิกของ ราชบัณฑิตยสถานแห่งเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นเกียรติแก่งานของเขา Volta ได้รับเกียรติเข้าเฝ้า Napoleon Bonaparte ในปี ค.ศ. 1810", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#17", "text": "ทว่า เซลล์นี้ยังมีข้อเสียบ้าง คือ จัดการได้ไม่ปลอดภัย เพราะกรดซัลฟิวริก แม้เจือจางแล้ว ยังเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ กำลังของเซลล์เสื่อมลงตามเวลาเพราะแก๊สไฮโดรเจนไม่ถูกปล่อยออก แต่สะสมบนผิวของอิเล็กโทรตสังกะสีและก่อเป็นแถบขวางระหว่างสังกะสีและสารละลายอิเล็กโทรไลต์", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "783166#6", "text": "แหล่งที่มาของแรงเคลื่อนไฟฟ้าอาจจะคิดได้ว่าเป็นชนิดหนึ่งของ\"ปั้มประจุ\"ที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายประจุบวกจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำผ่านตัวมันเองไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าที่สูงกว่า ... โดยวิธีการทางเคมี, ทางกลไกหรือทางอื่น ๆ แหล่งที่มาของแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะทำงาน \"dW\" บนประจุนั้นเพื่อที่จะเคลื่อนย้ายประจุไปยังขั้วที่มีศักยภาพสูง แรงเคลื่อนไฟฟ้า \"ℰ\" ของแหล่งที่มาจะถูกกำหนดให้เป็นงาน \"dW\" ที่ทำบนประจุ \"dq\" ดังนั้น \"ℰ\" = \"dW/dq\"\nราวปี 1830 ไมเคิล ฟาราเดย์ระบุว่าปฏิกิริยาในแต่ละรอยต่อสองรอยต่อระหว่างขั้วไฟฟ้ากับสารอิเล็กโทรไลต์จะให้ \"EMF\" สำหรับเซลล์ไฟฟ้า นั่นคือ ปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นตัวขับเคลิ่อนกระแสและไม่ได้เป็นแหล่งที่มาของพลังงานที่ไม่มีที่สิ้นสุดอย่างที่ติดไว้แต่แรก ในกรณีของวงจรเปิด การแยกตัวของประจุจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งสนามไฟฟ้าจากประจุที่ถูกแยกตัวมีปริมาณเพียงพอที่จะหยุดปฏิกิริยา หลายปีก่อนหน้านี้ อาเลสซานโดร โวลตา ผู้ที่วัดความต่างศักย์ของจุดสัมผัสระหว่างโลหะกับโลหะ (ขั้วไฟฟ้ากับอิเล็กโทรด) ของเซลล์ของเขา เขาได้ให้ความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องที่ว่าจุดสัมผัสเพียงอย่างเดียว (โดยไม่คำนึงถึงปฏิกิริยาทางเคมี) เป็นต้นกำเนิดของ EMF", "title": "แรงเคลื่อนไฟฟ้า" }, { "docid": "366546#22", "text": "“ ฉันไม่เข้าใจว่าทุกคนสามารถสงสัยความจริงใจและความมั่นคงของสิ่งที่แนบไปกับศาสนาที่ฉันยอมรับศาสนาโรมันคาทอลิคและเผยแพร่ศาสนาซึ่งฉันเกิดมาและเติบโตขึ้นและที่ฉันเคยสารภาพผิดทั้งภายนอกและภายใน . ฉันมีและบ่อยครั้งมากเท่านั้นที่ล้มเหลวในการแสดงผลงานที่ดีเหล่านี้ซึ่งเป็นเครื่องหมายของคริสเตียนคาทอลิกและฉันได้รับความผิดบาปมากมาย แต่ด้วยความเมตตากรุณาของพระเจ้าฉันไม่เคยเท่าที่ ฉันรู้ว่า วอกแวก ในความเชื่อของฉัน ... ในความเชื่อนี้ฉันรู้จักของขวัญบริสุทธิ์ของพระเจ้าเป็นพระคุณเหนือธรรมชาติ; แต่ฉันไม่ได้ทอดทิ้งวิธีการของมนุษย์ที่ยืนยันความเชื่อและโค่นข้อสงสัยซึ่งในบางครั้งเกิดขึ้น ฉันศึกษาอย่างรอบคอบบริเวณและพื้นฐานของศาสนาผลงานของ ผู้แก้ตัว และ ผู้ป้ายร้าย เหตุผลและต่อต้านและฉันสามารถพูดได้ว่าผลของการศึกษาดังกล่าวคือการแต่งตัวศาสนาด้วยเช่นระดับความน่าจะเป็นแม้สำหรับเหตุผลธรรมชาติเพียง ว่าวิญญาณทุกอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจโดยความบาปและความหลงใหลวิญญาณทุกคนในโลกนี้ต้องรักและยอมรับมัน ขอให้คำสารภาพนี้ได้รับการขอร้องจากข้าพเจ้าและข้าพเจ้ายินดีที่จะมอบหนังสือเขียนและสมัครด้วยมือข้าพเจ้าด้วยอำนาจที่จะแสดงให้ทุกคนเห็นว่าข้าพเจ้าไม่ละอายต่อข่าวประเสริฐ” หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2288 หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลอมบาร์เดีย", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "653579#17", "text": "ถึงแม้ว่าโอห์มจะจากโลกนี้ไปแล้ว โลกก็ยังรำลึกถึงความสำคัญของเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม ในปี ค.ศ. 1881 ที่ประชุมใหญ่ระหว่างประเทศว่าด้วยไฟฟ้า (International Electrical Congress) ณ กรุงปารีส ได้มีมติยกย่องให้เกียรติแก่โอห์มโดยใช้ชื่อสกุลของเขาเป็นชื่อหน่วยเป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า และขณะเดียวกันก็ใช้ชื่อสกุลของอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นหน่วยชื่อหน่วยกระแสไฟฟ้า และชื่อสกุลของอาเลสซานโดร โวลตา ชาวอิตาลี เป็นชื่อหน่วยของแรงดันไฟฟ้า ดังนั้น กฎของโอห์มที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ว่า I = จึงเขียนได้อีกอย่างหนึ่งว่า Amperes =", "title": "เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม" }, { "docid": "366546#6", "text": "ในปี ค.ศ. 1774 เขาเป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ที่โรงเรียนโรยัลในเมืองโกโม ( Royal School in Como ) หนึ่งปีต่อมาเขาได้ปรับปรุงอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต ( electrophorus ) ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้ใช้หลักการของนักวิเคราะห์ชาวสวีเดนชื่อ Johan Wilcke ซึ่งเขาได้อธิบายไว้ในปี ค.ศ.1762 และอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในปีค.ศ. 1777 เขาได้เดินทางผ่านสวิสเซอร์แลนด์กับเพื่อนสนิทของเขาที่ชื่อ H. B. de Saussure.", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#10", "text": "Luigi Galvani นักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียนค้นพบสิ่งที่เขาเรียกว่า \"ไฟฟ้าสัตว์\" เมื่อมีโลหะสองชนิดที่เชื่อมต่อกันอยู่ในชุดที่มีขากบและอีกอันหนึ่ง Volta ตระหนักว่าขากบทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทั้งสองตัว (สิ่งที่เราเรียกว่า electrolyte) และเป็นเครื่องตรวจจับกระแสไฟฟ้า เขาแทนที่ขากบด้วยกระดาษที่เปียกชุ่มและตรวจพบการไหลของกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการอื่นที่คุ้นเคยกับเขาจากการศึกษาก่อนหน้านี้", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#20", "text": "มรดกของ Volta ได้ถูกเก็บไว้ที่ Tempio Voltiano ( วิหารโวลต้า ) ที่ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะริมทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาซึ่งจัดแสดงอุปกรณ์บางอย่างที่ Volta ใช้เพื่อทำการทดลอง สถานที่ใกล้เคียง Villa Olmo ซึ่งเป็นที่ตั้งของมูลนิธิโวลเทียน ซึ่งเป็นองค์กรที่ส่งเสริมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#19", "text": "Volta เกษียณในปี ค.ศ. 1819 ที่เมือง Camnago ซึ่งเป็นเขตปกครองของ Como ประเทศอิตาลี ชื่อ \"Camnago Volta\" ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เขาเสียชีวิตที่นั่น 5 มีนาคม ค.ศ. 1827 ซึ่งในตอนนั้นเขามีอายุได้ 82 ปี ร่างของ Volta ถูกฝังอยู่ในที่เมือง Camnago Volta", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#1", "text": "อาเลสซานโดร เป็นผู้บุกเบิกการผลิตไฟฟ้าและพลังงานซึ่งเป็นเครดิตในฐานะ ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าและผู้ค้นพบก๊าซมีเทน เขาได้คิดค้นกองเชื้อเพลิงในปี ค.ศ. 1799 และได้รายงานผลการทดลองของเขาในปี ค.ศ. 1800 ในจดหมายฉบับที่สองถึงประธานาธิบดีแห่งราชสมาคมด้วยการประดิษฐ์นี้ Volta พิสูจน์ให้เห็นว่ากระแสไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้ทางเคมีและหักล้างทฤษฎีที่แพร่หลายว่ากระแสไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์เท่านั้น สิ่งประดิษฐ์ของ Volta กระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นทางวิทยาศาสตร์และนำไปสู่การทดลองอื่น ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาด้านไฟฟ้าเคมีในที่สุด", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#14", "text": "สังกะสี Zn → Zn2+ + 2e−", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "51301#16", "text": "ในจดหมายถึง Royal Society เมื่อ ค.ศ. 1800 อเลสซานโดร โวลตา ได้บรรยายงานประดิษฐ์ แบตเตอรี่ไฟฟ้า ของเขา นั่นเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างกระแสไฟฟ้าคงที่ และเปิดสาขาใหม่ของฟิสิกส์สำหรับการค้นคว้าต่อไป", "title": "ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์" }, { "docid": "366546#9", "text": "ในปีค.ศ. 1779 ได้เป็นอาจารย์นักประสบการณ์ทางฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Pavia มาเกือบ 40 ปี", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "366546#15", "text": "กรดซัลฟิวริก 2H+ + 2e− → H2", "title": "อาเลสซานโดร โวลตา" }, { "docid": "48613#10", "text": "ในปีค.ศ. 1791 ลุยจิ กัลวานีได้ตีพิมพ์การค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพของเขาที่แสดงให้เห็นว่าไฟฟ้าเป็นตัวกลางที่ผ่านสัญญาณจากเซลล์ประสาทไปสู่กล้ามเนื้อ[14] แบตเตอรี่ของอาเลสซานโดร โวลตา หรือเซลล์ซ้อนของโวลตาในคริสต์ทศวรรษ 1800 ที่ทำจากชั้นที่สลับซ้อนกันของสังกะสีและทองแดง เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์มากกว่าเครื่องจักรไฟฟ้าสถิต (English: Electrostatic machine) ที่เคยใช้กันอยู่ก่อนหน้านี้ [14] การยอมรับในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ถึงความเป็นหนึ่งเดียวของปรากฏการณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กเป็นผลงานของ ฮันส์ คริสเทียน เออสเตดและอังเดร มารี แอมแปร์ในปี 1819-1820, ไมเคิล ฟาราเดย์ได้ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้าในปีค.ศ. 1821 และจอร์จ ไซมอน โอห์มได้ใช้คณิตศาสตร์วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าในปีค.ศ. 1827[14] ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (และแสงสว่าง) ถูกเชื่อมกันในทางนิยามโดยเจมส์ เคริก แมกซเวลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลงาน \"บนเส้นกายภาพของแรง\" ของเขาในปี 1861 และปี 1862[15]", "title": "ไฟฟ้า" } ]
3409
ประเทศโรมาเนีย ตั้งอยู่ที่ทวีปอะไร?
[ { "docid": "5360#0", "text": "โรมาเนีย (; , ) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย () เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้วย", "title": "ประเทศโรมาเนีย" }, { "docid": "560869#0", "text": "ราชอาณาจักรโรมาเนีย ( (เรกาตูล โรมือเน่); ) เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก ที่อยู่ในระหว่าง 13 มีนาคม ค.ศ. 1881 และ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 และมีการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง ในปี (1866, 1923, 1938) ราชอาณาจักรโรมาเนียก่อตั้งขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ประกาศเอกราชของโรมาเนียจากจักรวรรดิออตโตมัน และสิ้นสุดเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย สละราชสมบัติ ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 และรัฐสภาได้ประกาศให้ประเทศโรมาเนียเป็นสาธารณรัฐ", "title": "ราชอาณาจักรโรมาเนีย" }, { "docid": "5360#1", "text": "โรมาเนียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดใน ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และมีเทือกเขาคาร์เปเธียนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีที่ราบทางตอนใต้ของเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์เป็นที่ทางการเกษตรเรียกว่า วอลลาเชีย", "title": "ประเทศโรมาเนีย" } ]
[ { "docid": "5360#14", "text": "ประเทศโรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 41 เทศมณฑล (counties) กับ 1 เทศบาลนคร (municipality) ได้แก่\nโรมาเนียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยกว่า 3 ปี ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2543 จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา โรมาเนียประสบปัญหาหลัก 4 ประการ คือ (1) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชน (2) ปัญหาค่าเงินเลตกต่ำ (3) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ (4) ปัญหาระบบธนาคาร ซึ่งรัฐบาลโรมาเนียได้พยายามดำเนินมาตรการจำเป็นต่างๆ เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และระบบราชการ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย ปัญหาด้านศุลกากร และปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนจากต่างประเทศ", "title": "ประเทศโรมาเนีย" }, { "docid": "189043#0", "text": "เขตฝั่งโรมาเนีย (, ) เป็นดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน ระหว่างการบุกครองโปแลนด์ ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1939 ผู้บัญชาการกองทัพโปแลนด์ จอมพลเอ็ดเวิร์ต ริดซ์ สมิกลี่ ออกคำสั่งให้กองทัพโปแลนด์ทั้งหมดถอยมาทำการสู้รบทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวิสตูล่า และหลบหนีไปทางแนวเขาที่ติดกับชายแดนโรมาเนียและสหภาพโซเวียต", "title": "หัวสะพานโรมาเนีย" }, { "docid": "33171#14", "text": "รายชื่อของรีโอนีทั้งหมดในยุคใหม่ มีดังต่อไปนี้โรมตั้งอยู่ในแคว้นลัตซีโยทางตอนกลางของอิตาลี ริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ นิคมแรกเริ่มตั้งขึ้นบนเนินเขาที่หันหน้าไปทางบริเวณน้ำตื้นด้านข้างเกาะไทเบอร์ ซึ่งเป็นบริเวณน้ำตื้นตามธรรมชาติเพียงแห่งเดียวตามลำน้ำในพื้นที่นี้ Rome of the Kings สร้างขึ้นบนเนินเขาเจ็ดแห่ง ได้แก่ เนินเขา Aventine เนินเขา Caelian เนินเขา Capitoline เนินเขา Esquiline เนินเขา Palatine เนินเขา Quirinal และเนินเขา Viminal นอกจากนี้ โรมในยุคใหม่ยังมีพื้นที่พาดผ่านแม่น้ำอานีเอเน ที่บรรจบกับแม่น้ำไทเบอร์บริเวณทางเหนือของศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์", "title": "โรม" }, { "docid": "8109#0", "text": "ประเทศสโลวีเนีย ( ; ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene: , abbr.: \"RS\") เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา", "title": "ประเทศสโลวีเนีย" }, { "docid": "560869#6", "text": "ในฐานะประเทศรัฐใหม่ ราชอาณาจักรโรมาเนียมีอาณาเขตที่ถูกกดดันบีบคั้นระหว่างจักรวรรดิออตโตมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี, และ จักรวรรดิรัสเซีย, ด้วยการมีประชากรชาวสลาฟอยู่ทางทิศใต้, ทิศตะวันตกเฉียงใต้, ชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ, ทะเลดำซึ่งอยู่ทางตะวันออก และชาวฮังการี ในฐานะปรแทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ", "title": "ราชอาณาจักรโรมาเนีย" }, { "docid": "258261#0", "text": "อัปเปอร์เจอร์เมเนีย () หรือ เกร์มาเนียซูเปรีออร์ () เป็นหนึ่งในจังหวัดของจักรวรรดิโรมัน ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำของโลว์เออร์เจอร์เมเนีย ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ บริเวณเทือกเขาฌูว์รา และแคว้นอาลซัสของฝรั่งเศส และทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนีในปัจจุบัน เมืองสำคัญได้แก่ เบอซ็องซง (ในสมัยโรมันเรียกว่าเบซอนตีโอ), สทราซบูร์ (อาร์เกนโตราเต) และวีสบาเดิน (อาไกวมัตตีอาไก) โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ไมนซ์ (โมกุนตีอากุม) อาณาบริเวณของจังหวัดยังครอบคลุมตอนกลางของแม่น้ำไรน์ที่ติดกับพรมแดนเยอรมัน และจังหวัดรีเชียในเทือกเขาแอลป์ทางตะวันออกเฉียงใต้", "title": "อัปเปอร์เจอร์เมเนีย" }, { "docid": "5255#2", "text": "ฮังการีตั้งอยู่กลางทวีปยุโรปแถบที่ราบเทือกเขาคาร์เปเทียน (Kárpát-medence) มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ คือ โรมาเนีย ออสเตรีย สโลวาเกีย ยูเครน เซอร์เบีย โครเอเชีย และสโลวีเนีย รูปร่างประเทศฮังการีคล้ายรูปไต มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 93,000 ตารางกิโลเมตร", "title": "ประเทศฮังการี" } ]
2728
การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด?
[ { "docid": "1915#0", "text": "ไข้หวัดนก (English: Avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก ไข้วก ไข้หวัดนก เอาอีก เริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461(ค.ศ.1918-1920) เรียกว่า \"ไข้หวัดใหญ่สเปน\" (Spanish Flu) เริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก และข้ามมาสู่ฝั่งแปซิฟิกภายในระยะเวลา2เดือน มีการประมาณผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50-100 ล้านคน หรือเท่ากับคนจำนวน1ใน3ของประชากรของทวีปยุโรป", "title": "ไข้หวัดนก" } ]
[ { "docid": "1915#5", "text": "มีนาคม พ.ศ. 2550 เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเป็ดอายุ 45 วัน ในจังหวัดวินห์ลอง บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยเป็ดเหล่านั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1และ ทางการเวียดนามได้สั่งฆ่าเป็ดไปแล้ว 800 ตัว และสั่งฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดที่อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 140 กม.[3] พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ดอีกแห่งนอกเมืองไฮฟอง ทำให้ลูกเป็ดอายุ 14 วัน ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนล้มตาย 2,120 ตัว และผลตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 นับเป็นการระบาดของไข้หวัดนกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ดังกล่าว [4] และเวียดนามพบการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกที่จังหวัดเงียอาน ของเวียดนาม [5]", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "842874#9", "text": "การค้นพบไวรัสเวสต์ไนล์ในซีกโลกตะวันตกถูกประกาศโดยการระบาดของโรคในนกกาและนกป่าชนิดอื่นๆ โรคได้แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์และความเสี่ยงในมนุษย์ รวมไปถึง ฝีดาษลิง (Monkeypox) กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) และไข้หวัดนก ในขณะที่กาฬโรคระบาด หนูเริ่มตายก่อนมนุษย์", "title": "สปีชีส์เฝ้าระวัง" }, { "docid": "1915#10", "text": "สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550[11] ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล [12]", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "489582#4", "text": "ยุคล ลิ้มแหลมทอง ได้รับการคัดเลือกจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ให้ได้รับรางวัล OIE Meritorrious Award เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลระดับโลกในครั้งนี้ จากผลงานโดดเด่นในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้หวัดนกในช่วงที่มีการระบาดในประเทศไทยและระบาดทั่วโลก", "title": "ยุคล ลิ้มแหลมทอง" }, { "docid": "253178#0", "text": "โรคนิวโมคอคคัส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี” ซึ่งทำให้มีอัตราการเกิดโรคปอดบวมสูง ชื่อของเชื้อนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 ต่อมาได้มีการค้นพบยาเพนนิซิลิน ที่ใช้รักษาโรคนี้ได้เป็นอย่างดีในปี 1940 แต่ในระยะหลังเชื้อเกิดอาการดิ้อยาชนิดนี้ และยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆด้วย ทำให้ยากต่อการรักษา เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถพบได้ทุกแห่ง ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในโพรงจมูกและคอของคนทั่วไป บางคนอาจจะมีเชื้อนี้แต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งเรียกว่าพาหะ เชื้อสามารถแพร่กระจายสู่บุคคลอื่นได้ เหมือนโรคไข้หวัด โดยการ ไอ จาม หรือทางอื่นๆที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายออกมาเป็นละออง สิ่งสำคัญที่เป็นตัวการในการติดเชื้อส่วนใหญ่คือ มือ ดังนั้น การล้างมือบ่อยๆก็เป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง ชื้อนิวโมคอคคัส สามารถทำให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่างๆได้ อาทิเช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดบวม โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายมากในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น กลุ่มบุคคลส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้จะเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ที่ตัดม้ามออกหรือม้ามทำงานผิดปกติ ", "title": "โรคนิวโมคอคคัส" }, { "docid": "232651#11", "text": "ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังได้ก่อให้เกิดภัยโรคระบาดทั่วหลายครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา รวมทั้งโรคระบาดทั่วแบบไม่แท้ในปี พ.ศ. 2490 (ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากแม้จะติดต่อกันไปทั่วโลก แต่ก็มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนน้อย) [49] การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกร และไข้หวัดใหญ่รัสเซีย ในปี พ.ศ. 2520 ล้วนเกิดขึ้นจากไวรัสเอช 1 เอ็น 1 ทั่วโลกได้เพิ่มระดับการเฝ้าระวังนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคซาร์สในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เกิดจากโคโรนาไวรัส ซาร์ส) [50] ระดับของการเตรียมพร้อมได้เพิ่มขึ้นอีกและรับมือกับการแพร่ระบาดของ \"ไข้หวัดนก\" หรือไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 5 เอ็น 1 เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่สายพันธุ์ดังกล่าวมีอัตราการติดต่อจากคนสู่คนหรืออัตราการแพร่ระบาดในระดับโลกต่ำ[51]", "title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" }, { "docid": "309939#1", "text": "กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรทุกรูปแบบเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านแอนติเจนจากภายนอก (เช่น เชื้อโรค) แต่ภูมิคุ้มกันที่สร้างกลับไปทำลายเนื้อเยื่อประสาทของผู้ป่วยแทน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า \"molecular mimicry\" เป้าหมายที่ถูกระบบภูมิคุ้มกันทำลายเชื่อว่าเป็นสารประกอบที่พบได้เป็นปริมาณมากในเนื้อเยื่อประสาทส่วนปลายของมนุษย์ชื่อว่า แกงกลิโอไซด์ (ganglioside) เชื้อโรคที่ชักนำให้เกิดภาวะผิดปกติทางภูมิคุ้มกันดังกล่าวที่พบบ่อยที่สุดคือเชื้อแบคทีเรีย \"Campylobacter jejuni\" รองลงมาคือเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (cytomegalovirus; CMV) อย่างไรก็ตามมีจำนวนผู้ป่วยร้อยละ 60 ที่ไม่พบว่าเกิดจากการติดเชื้อใดนำมาก่อน ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการกระตุ้นจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบว่ามีอุบัติการณ์ของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรเพิ่มขึ้นหลังจากการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในช่วงระหว่างการเกิดโรคไข้หวัดหมูระบาดทั่วในปี ค.ศ. 1976-1977 แต่จากการศึกษาทางระบาดวิทยาในภายหลังพบว่าการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีอัตราเสียงที่จะชักนำให้การเกิดกลุ่มอาการนี้เพิ่มขึ้นน้อยมาก (คือเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1 รายในการให้วัคซีน 1 ล้านคน) หรือแทบไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเลย", "title": "กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร" }, { "docid": "153885#4", "text": "ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าไปแก้ไขภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเป็นผลสำเร็จ โดยกำหนดมาตรการป้องกันและรักษาเชิงรุก เร่งรัดพัฒนาห้อง lab ของโรงพยาบาลในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ให้มีประสิทธิภาพในการชันสูตรโรคด้วยความแม่นยำและรวดเร็ว\nศาสตราจารย์ สุชัย ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา(Mr. Michael Leavitt),ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก(Dr. Lee Jong - Wook)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมาร่วมประชุมกำหนดนโยบายในหัวข้อเรื่อง International Partnership on Avian and Pandemic Influenza ที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2548 ทำให้มีการกำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโลก ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกาในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่เป็นแนวทางปฏิบัติมาจนถึงป้จจุบัน", "title": "สุชัย เจริญรัตนกุล" }, { "docid": "114963#8", "text": "กาฬโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis) ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนูในแถบตอนกลางของเอเชีย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ใด ที่เริ่มมีการระบาดร้ายแรงในช่วงศตวรรษที่ 14 ทฤษฎีหนึ่งที่น่าเชื่อถือ กล่าวไว้ว่า ในทุ่งกว้างแถบเอเชีย ประมาณช่วงตอนบนของประเทศจีน จากที่นั่นเดินทางมาจากทั้งทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตกทาง ไปตามเส้นทางสายไหม ซึ่งพวกกองทัพและพ่อค้ามองโกล สามารถใช้เส้นทางการค้านี้ได้ฟรี จากบารมีของจักรวรรดิมองโกล ภายใต้สนธิสัญญาแพค มองโกลลิกา (Pax Mongolica) ที่จะรับรองความปลอดภัย ซึ่งมีคำเปรียบเปรยไว้ว่า \"แม้หญิงใดเดินเปลือยกายผ่านเส้นทางนี้ก็จะปลอดภัย แม้ชายใดถือทองคำ ใส่กระจาดทูนไว้บนหัวก็จะไม่ถูกปล้น\"", "title": "แบล็กเดท" }, { "docid": "474398#11", "text": "เอนเทอโรไวรัส เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและ ลำไส้ และ จะขยายเพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณ ลำไส้ ซึ่งมีเชื้อนี้อยู่ และ เชื้อจะออกมากับอุจจาระ ดังนั้น การติดต่อจึงมักเกิดจาก การกินเชื้อเข้าสู่ปากโดยตรวจจากมือที่ปนเปื้อน อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก หรือ น้ำในตุ่มพอง หรือ แผล ของผู้ป่วย หรืออาจเกิดจากการ ไอ จาม รดกัน (การแพร่ ติดต่อ มักเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก) ส่วนการติดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดได้น้อย และ โรคนี้ไม่ติดต่อโดยการหายใจ\nเชื้อเอนเทอโรไวรัส เกิดขึ้นทั่วโลก มีลักษณะเกิดกระจัดกระจายหรือระบาดเป็นครั้งคราว มักมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน ( พฤษภาคม - มิถุนายน ) มักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ค่อยพบในวัยรุ่น การระบาดมักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล กลุ่มเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี และ พบสูงสุดในเด็กกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อยู่กันอย่างแออัด และ มีฐานะยากจน และ ถ้ามีการระบาดเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่เด็กที่มีอายุมากขึ้นจนถึงวัยรุ่น และ ความรุนแรงของโรคก็จะเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคจาก enterovirus ทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่มิถุนายน 2541 โดยสำนักระบาดวิทยาทำการสอบสวนโรคและเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งในระยะแรกเป็นการเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ใน 14 โรงพยาบาล และ ขยายเป็นการเฝ้าระวังทั่วประเทศใน พ.ศ. 2544 \nความไวรับและความต้านทานต่อโรค : โดยทั่วไปจะไวรับต่อการติดเชื้อได้ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะจำเพาะต่อเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโดยที่อาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่ไม่ทราบช่วงเวลา การติดเชื้อครั้งที่สองอาจเกิดได้จากการติดเชื้อ คอกแซคกี เอ ชนิดที่ต่างไป ซึ่งโรคที่พบมากที่สุด คือ", "title": "เอนเทอโรไวรัส" }, { "docid": "1915#9", "text": "ไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3-4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ [10] นอกจากนี้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ยังได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักวิจัยชาวไทยเพื่อพัฒนาชุดตรวจวินัจฉัยไข้หวัดนกโดยใช้หลักการไบโอเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นชุดตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกที่มีความจำเพาะสูงกับไวรัสกลุ่ม H5 มีความไวสูงกว่าวิธีปัจจุบัน (IC) 100 เท่า ทราบผลภายใน 15 นาที และสามารถเก็บตัวอย่างได้นาน 1 เดือน ก่อนนำมาอ่านผลด้วยเครื่องเซนเซอร์อีกด้วย", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "1915#6", "text": "มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ .2547 โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปีนั้นกล่าวคือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดโดยมากถึง 60 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2548พบพื้นที่ระบาดรองลงมา 21 จังหวัด ในปีพ.ศ. 2549พบเพียงสองจังหวัด ในปี พ.ศ. 2550 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัด และปีที่พบเป็นปีสุดท้ายได้แก่ พ.ศ. 2551 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี[6]", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "91454#49", "text": "วัคซีนสามารถป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบีได้ 99-100% ของบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสที่หมดฤทธิ์แล้วสองโดสมีภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอไม่ได้รับการอนุมัติสำหรับเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งปี[63] วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้มีให้ใช้ได้มาตั้งแต่ปี 1986 และได้รับการรวมกลุ่มเข้ากับโปรแกรมการฉีดวัคซีนแห่งชาติสำหรับเด็กอย่างน้อย 177 โปรแกรม ภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันได้มากกว่า 95% ของเด็กและเยาวชนที่ได้รับวัคซีนไวรัสผสมปริมาณสามโดส การฉีดวัคซีนภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเกิดสามารถป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อได้ ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมีภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนลดลง องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่เด็กทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกแรกเกิดในประเทศที่มีไวรัสตับอักเสบบีระบาดเพื่อที่จะป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูก[64]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "19056#4", "text": "เมื่อเร็วๆนี้ พบว่าฟาร์มเป็ดไก่ในประเทศจีนใช้อะมันตาดีนป้องกันไข้หวัดนก (avian flu) 2600 ล้านโดส เป็นเหตุให้ ไข้หวัดนก ที่เกิดจากเชื้อ เอชไฟฟ์เอ็นวัน (H5N1) ในประเทศจีนและประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ดื้อต่อยาอะมันตาดีน", "title": "อะแมนตาดีน" }, { "docid": "1915#3", "text": "ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 [1]", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "107302#8", "text": "การศึกษาพาหะนำโรคที่สำคัญอีกชนิด คือ ค้างคาว ขณะนี้ได้มีการสำรวจค้างคาวใน 8 จังหวัด และมีเป้าหมายที่จะสำรวจให้ครอบคลุมทั้งประเทศไทย เพื่อศึกษาสภาวะการติดเชื้อ และความสามารถของค้างคาวที่จะนำและแพร่เชื้อไวรัสในตระกูลพิษสุนัขบ้า และไวรัสนิปาห์ซึ่งเคยเกิดระบาดครั้งใหญ่ในประเทศมาเลเซียและออสเตรเลียมาแล้ว", "title": "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" }, { "docid": "1915#11", "text": "โดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18 – 20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60% [13]", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "84540#8", "text": "อีกกลวิธีการแทรกอารมณ์ขันคือการนำเหตุการณ์สำคัญในช่วงที่เขียนการ์ตูนมาล้อเลียน เช่น สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น", "title": "สามก๊ก มหาสนุก" }, { "docid": "26342#2", "text": "การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20[10] พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด [11][12][13] พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ[2][14] ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น \"ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม\"[15]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "769724#0", "text": "วัคซีนโรคหัด เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากในการป้องกันโรคหัด การสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนหนึ่งเข็มของเด็กอายุเก้าเดือนคือ 85% และของเด็กอายุมากกว่าสิบสองเดือนคือ 95% คนเกือบทั้งหมดที่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก ก็มักจะสร้างภูมิคุ้มกันได้หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง เมื่อกลุ่มประชากรมีอัตราของผู้ที่ได้รับวัคซีนจำนวนมากกว่า 93% การแพร่ระบาดของโรคหัดก็มักจะไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโรคอาจเกิดขึ้นได้อีกเมื่ออัตราการได้รับวัคซีนมีจำนวนลดลง ประสิทธิภาพของวัคซีนนี้จะคงอยู่เป็นเวลานานหลายปี แต่ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าประสิทธิภาพของวัคซีนนี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นแล้วเมื่อให้วัคซีนนี้หลังจากการติดเชื้อเพียงไม่กี่วันวัคซีนนี้ก็ยังสามารถหยุดยั้งโรคนี้ได้ด้วย", "title": "วัคซีนโรคหัด" }, { "docid": "537778#6", "text": "นอกจากโรคเอดส์แล้ว ยังมีโรคอื่นๆ หลายโรคมีมีการแพร่ระบาดเยอะ เช่น โรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีทั้งหมด 21 ประเทศที่มีการแพร่ระบาด เช่น ประเทศชาด ประเทศไนเจอร์ และประเทศไนจีเรีย เป็นต้น โดยรวมเรียกพื้นที่เหล่านี้ว่าเป็นเขต \"African meningitis belt\" ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักคือ ชนิดย่อย A ส่วนการระบาดครั้งใหญ่สุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 โดยพบผู้ป่วยมากถึง 300,000 กว่าราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30,000 ราย ซึ่งในภาพรวมของสุขภาพประชากรแล้ว อยู่ในระดับต่ำ โดยวัดได้จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือบางประเทศไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้ เช่น ประเทศโซมาเลีย ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์", "title": "แอฟริกาใต้สะฮารา" }, { "docid": "636946#0", "text": "การระบาดกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ของโรคไวรัสอีโบลา เริ่มในประเทศกินีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 และยังมีการเสียชีวิตอย่างสำคัญเรื่อยมาเป็นเวลาสองปี จนกำลังมีการประกาศว่ายุติในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โรคระบาดกระจุกอยู่ในหลายประเทศแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ ประเทศไลบีเรีย กินีและเซียร์ราลีโอน โดยมีการระบาดขนาดเล็กที่อื่น โรคมีอัตราตายสำคัญ โดยอัตราป่วยตายที่รายงานถึง 70% และโดยเฉพาะ 57–59% ของผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล มีการอธิบายโรคไวรัสอีโบลาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ในการระบาดพร้อมกันสองครั้งในเซาท์ซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แต่ครั้งนี้เป็นการระบาดของอีโบลาครั้งแรกในอนุทวีปแอฟริกาตะวันตก การระบาดเริ่มในกินีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 แล้วลามไปไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน เกิดการระบาดเล็กในประเทศไนจีเรียและมาลี และมีผู้ป่วยเดี่ยวในประเทศเซเนกัล สหราชอาณาจักรและซาร์ดีเนีย ผู้ป่วยจากนอกประเทศในสหรัฐอเมริกาและสเปนนำสู่การติดเชื้อทุติยภูมิของบุคลากรทางการแพทย์ แต่มิได้แพร่ไปอีก วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยรวม 28,638 คน และเสียชีวิต 11,315 คน แม้องค์การอนามัยโลก เชื่อว่าตัวเลขนี้ประเมินขนาดของการระบาดครั้งนี้ต่ำกว่าจริงมากพอควร องค์การอนามัยโลกยังเตือนว่าอาจเกิดการระบาดเล็กอีกในอนาคต และควรระมัดระวังต่อไป", "title": "การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก" }, { "docid": "281195#6", "text": "\"ปี พ.ศ. 2552\" กับคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งที่สอง ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ในชื่อคอนเสิร์ตว่า เลิฟมากมาย () ซึ่งคอนเสิร์ตครั้งนี้สามารถเปิดขายบัตรได้ถึง สองรอบเต็มเช่นกัน แม้ว่าในช่วงวันที่ทำการแสดงคอนเสิร์ตเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 () อย่างหนัก แต่การแสดงคอนเสิร์ตมิได้ถูกยกเลิกแต่อย่างใด และยังมีผู้เข้าร่วมชมคอนเสิร์ตอย่างเนืองแน่นทั้งสองรอบ", "title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว" }, { "docid": "37665#75", "text": "การที่สเปนรักษาความเป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้ได้และเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและเสบียงให้กับประเทศคู่สงครามทั้ง 2 ฝ่ายนั้นส่งผลดีอย่างมากกับประเทศ กล่าวคือ เศรษฐกิจเฟื่องฟูขึ้นทันที เกิดการพัฒนาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ทั้งคนรวยและคนจนต่างก็มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปนทั้งในประเทศและที่อื่น ๆ ในโลก รวมทั้งสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกก็สร้างความเสียหายให้กับสเปนอีก โดยต้องตกอยู่ในสภาวะเป็นหนี้ การนัดหยุดงานของผู้ใช้แรงงานถูกปราบปรามในปี ค.ศ. 1919", "title": "ประวัติศาสตร์สเปน" }, { "docid": "636946#1", "text": "ครั้งนี้เป็นการระบาดของอีโบลาครั้งแรกที่แตะสัดส่วนโรคระบาด การระบาดครั้งก่อน ๆ สามารถควบคุมได้ในไม่กี่สัปดาห์ ความยากจนสุดขั้ว ระบบสาธารณสุขที่ทำหน้าที่บกพร่อง ข้าราชการที่ไม่ไว้วางใจหลังการขัดกันด้วยอาวุธนานหลายปี และความล่าช้าในการสนองตอบการระบาดเป็นเวลาหลายเดือนทั้งหมดล้วนส่งเสริมให้การควบคุมโรคระบาดล้มเหลว ปัจจัยอื่นมีขนบธรรมเนียมฝังศพของท้องถิ่นที่ชำระศพหลังเสียชีวิตและการแพร่ไปนครที่มีประชากรอยู่หนาแน่น เมื่อโรคระบาดแพร่กระจาย หลายโรงพยาบาลซึ่งขาดแคลนเจ้าหน้าที่และเวชภัณฑ์ ไม่สามารถแบกรับภาระไหวและปิด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขบางคนแถลงว่า ความไร้สามารถรักษาความต้องการทางการแพทย์อื่นอาจทำให้ \"ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่ม[ซึ่ง]เป็นไปได้ว่าอาจสูงกว่าโรคระบาดเอง\" เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลซึ่งทำงานใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งที่ติดต่อทางสัมผัสของผู้เป็นโรค เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นพิเศษต่อการรับเชื้อ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 องค์การอนามัยโลก รายงานว่า ร้อยละ 10 ของผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 มีการประมาณว่า ขีดความสามารถของประเทศสำหรับการรักษาผู้ป่วยอีโบลานั้นขาดเทียบเท่า 2,122 เตียง ในเดือนธันวาคม มีจำนวนเตียงเพียงพอรักษาและแยกผู้ป่วยอีโบลาที่มีรายงานทั้งหมด แม้การกระจายของผู้ป่วยที่ไม่สม่ำเสมอส่งผลให้มีการขาดแคลนอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานว่า เป็นครั้งแรกนับแต่สัปดาห์ที่ 29 มิถุนายน 2557 ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยยืนยันใหม่น้อยกว่า 100 คนในสามประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากนั้นการสนองตอบโรคระบาดเคลื่อนไประยะที่สอง เมื่อความสนใจเปลี่ยนจากการชะลอการแพร่เชื้อเป็นการหยุดโรคระบาด วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานว่ามีผู้ป่วยยืนยันรวมเพียง 30 คน และการปรับรายสัปดาห์ของวันที่ 29 กรกฎาคมรายงานผู้ป่วยเพียง 7 คน วันที่ 7 ตุลาคม 2558 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดทั้งสามประเทศบันทึกว่าไม่มีผู้ป่วยใหม่ในสัปดาห์นั้นเป็นครั้งแรก ทว่า เมื่อปลายปี 2558 แม้การระบาดขนาดใหญ่จะยุติลงแล้ว แต่ยังมีผู้ป่วยใหม่เกิดห่าง ๆ เกิดอยู่ ซึ่งขัดขวางความหวังที่จะสามารถประกาศว่าโรคระบาดสิ้นสุดลงแล้ว", "title": "การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก" }, { "docid": "543226#1", "text": "ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่25 ธันวาคม ค.ศ. 2029 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้เกิดเหตุการ์ณแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัส Apocalypse Virus แพร่กระจายทั่วประเทศ เหตุการ์ณนี้ถูกเรียกว่า\"Lost Christmas\" เหตุการ์ณดังกล่าวทำให้องค์กรระหว่างประเทศนามว่าGHQเข้ามายับยั้งแพร่ระบาดในการยับยั้งเชื้อไวรัสชนิดนี้ ในเวลาต่อมา องค์กรดังกล่าวได้ควบคุมประเทศญี่ปุ่นโดยการใช้กำลังกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรง ทำให้กลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจการกระทำขององค์กรนี้ซึ่งมีนามว่า\"ผู้ฝังศพ\" ได้ลุกฮือต่อต้านองค์กรดังกล่าว", "title": "ปฏิวัติหัตถ์ราชัน" }, { "docid": "62697#0", "text": "อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า () คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย \"Vibrio cholerae\" ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า \"ลงราก\" จึงเรียกโรคนี้ว่า \"โรคลงราก\" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก \"กลี\" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้", "title": "อหิวาตกโรค" }, { "docid": "232651#0", "text": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นการระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์ใหม่ หรือโดยทั่วไปมักเรียกว่า \"ไข้หวัดหมู\" เริ่มพบการระบาดตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา แม้ว่าไวรัสประกอบด้วยการรวมกันของพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ ในสัตว์ปีก และในสุกร รวมกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรยูเรเซีย[1] ลักษณะที่แปลกประการหนึ่งของเชื้อเอช 1 เอ็น 1 คือ มักจะไม่ค่อยติดต่อสู่คนวัยชราอายุมากกว่า 60 ปี[2]", "title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" }, { "docid": "232651#25", "text": "เป็นที่เชื่อกันว่า การแพร่ระบาดของไวรัสเอช 1 เอ็น 1 เกิดขึ้นในวิธีเดียวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โดยส่วนใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดจากคนสู่คนผ่านทางการไอหรือการจามของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ในบางครั้ง ก็อาจรวมไปถึงการสัมผัสกับบางสิ่งซึ่งมีไวรัสไข้หวัดใหญ่อยู่บริเวณนั้น แล้วไปสัมผัสกับปากหรือจมูกของตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย[9] ค่าความเร็วในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส (ค่าตัวเลขซึ่งระบุว่ามีผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้มากเพียงใด ในประชากรซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค) ต่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอช 1 เอ็น 1 พ.ศ. 2552 ถูกประเมินไว้ที่ 1.75[74]", "title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" } ]
2058
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "63252#0", "text": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (; เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28, นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยวัย 44 ปี จัดว่าเป็นนายกรัฐมนตรีไทยซึ่งอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[1][2], กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และ เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองใหญ่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "63252#6", "text": "ยิ่งลักษณ์เป็นหลานอาของสุเจตน์ ชินวัตร อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสุรพันธ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพลเอก ชัยสิทธิ์เป็นบุตรชายของพันเอกพิเศษ ศักดิ์ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเลิศ ยิ่งลักษณ์ยังเป็นญาติของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านทางคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาของทักษิณอีกด้วย[6]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#7", "text": "Family of Main Page 16. เช้า แซ่คู8. ง่วนเส็ง แซ่คู4. ชุนเชียง แซ่คู2. เลิศ ชินวัตร5. แสง สมณะ1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร6. เจริญ ทุ่งซิ้ว3. ยินดี ระมิงวงศ์28. เจ้าน้อยรถ ณ เชียงใหม่14. เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)29. เจ้าเอื้องผึ้ง ณ เชียงใหม่7. เจ้าจันทร์ทิพย์ ณ เชียงใหม่15. หม่อมอุษา ณ เชียงใหม่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "33621#133", "text": "การเข้ามาบริหารประเทศ ของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สร้างความไม่พอใจกับประชาชน ที่เคยคัดค้านระบอบทักษิณ บรรยากาศโดยรวมเกิดแรงกดดันมีการเคลื่อนไหวใต้ดิน จนในที่สุด ก็เกิดการรวมตัวของกลุ่มต่างๆที่ใช้ชื่อว่า องค์การพิทักษ์สยามเปิดตัวขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่ท้องสนามหลวง โดยมี พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ (เสธ.อ้าย) ประธานศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นประธาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีเหตุผลหลัก คือ รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล เป็นต้น", "title": "รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี" }, { "docid": "622642#49", "text": "คืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทหารจับกุมนักการเมืองเพิ่มเติม รวมทั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[76] วันรุ่งขึ้น คสช. เรียกสมาชิกพรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตร รวมทั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[77][78] นิวัฒน์ธำรงและยิ่งลักษณ์มารายงานตัวต่อ คสช. ในเช้าวันนั้น[79]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "107037#5", "text": "เขมนิจ มีแรงบันดาลใจในวัยเด็กว่าอยากเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เนื่องมาจากมารดาของเขมนิจเคยทำงานที่การบินไทย ในวัยเด็กประมาณ 2 ปี บิดาและมารดาของเขมนิจได้พาเขมนิจไปยังสหรัฐอเมริกาด้วย เมื่อครั้งไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ซึ่งการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ทำให้ครอบครัวจามิกรณ์ได้รู้จักกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันเดียวกัน และเช่าบ้านหลังเดียวกันกับครอบครัวจามิกรณ์ เขมนิจจึงรู้จักยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในฐานะเพื่อนรุ่นน้องของบิดาและมารดาของเขมนิจ และเขมนิจได้เรียกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่า \"อาปู\" ด้วยความสนิทสนมชิดเชื้อกันอยู่บ้างแล้ว", "title": "เขมนิจ จามิกรณ์" }, { "docid": "63252#4", "text": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นบุตรของเลิศ และยินดี ชินวัตร (สกุลเดิม ระมิงค์วงศ์) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย[5] เข้ารับพระราชทานปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "489537#0", "text": "พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชุดที่ 3 อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10", "title": "พฤณท์ สุวรรณทัต" }, { "docid": "63252#10", "text": "หลังจากสกุลชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ก็ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้น เธอขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 เพื่อไปบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือ บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวชินวัตรโดยตรง ด้วยการเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 และยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เมื่อปี พ.ศ. 2550 ในยุคที่ทักษิณเป็นประธานสโมสรฯ[10] นอกจากนี้ ยังเป็นอดีตที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ ของวุฒิสภา[11] ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม เพื่อการศึกษาของเยาวชนและสาธารณกุศลต่าง ๆ ที่ทักษิณเป็นผู้ก่อตั้ง", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#39", "text": "พ.ศ. 2554 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนแก่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็น นายกองใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ในฐานะนายกรัฐมนตรี หัวหน้าของผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน และ หัวหน้ารัฐบาล[77]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#46", "text": "วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546 วีไอเอฟสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.เอสซีแอสเสทฯ ในราคาพาร์ให้บุตรสาวสองคนของทักษิณ ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้น มีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย เป็นเหตุให้วีไอเอฟต้องเสียผลประโยชน์ จากส่วนต่างของราคาหุ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2547 บจก.วินมาร์คขายหุ้นบริษัทของครอบครัวชินวัตร 5 แห่ง ให้พิณทองทา ชินวัตร และบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัทรวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดย บจก.วินมาร์คไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุน ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสงสัยว่า บจก.วินมาร์ค วีไอเอฟ โอจีเอฟ และโอดีเอฟ อาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (นอมินี) ของทักษิณและครอบครัว[96] อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าความเป็นธุรกิจของครอบครัวชินวัตร กับความวุ่นวายของคดีความที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเอสซีแอสเสทหรือไม่ ยิ่งลักษณ์ตอบว่า \"90% ของลูกค้าที่เข้าชมโครงการ รับรู้อยู่แล้วว่าธุรกิจเราเป็นของใครตั้งแต่ทำมา เพิ่งมีลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอเงินคืน หลังจากที่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะไม่มั่นใจว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร\"[97]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "185387#1", "text": "ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ นักธุรกิจเจ้าของโรงภาพยนตร์แห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ กับแม่นายเต็ม ณ เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับยินดี ชินวัตร (มารดาของทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ธวัชวงศ์ มีพี่สาวคือ ช่อแก้ว วิสุทธิ์เสรีวงศ์", "title": "ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่" }, { "docid": "263349#0", "text": "ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2549 เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และ เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน (ชั้นยศสูงสุดที่ นายกองใหญ่) อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร[2]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "371185#7", "text": "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และต่อมาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ในเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค แทนนายสุพล ฟองงามที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากนั้นจึงได้ลาออกจากการเป็น ส.ส.ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)", "title": "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" }, { "docid": "63252#11", "text": "เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ในราวปลายปี พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้นก็มี ส.ส.กับสมาชิกพรรคจำนวนมาก ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ก็เป็นทางเลือกแรกของทักษิณ ที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธโดยกล่าวว่า ตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรี และเพียงแต่สนใจจะทำธุรกิจของตนเท่านั้น โดยเธอจะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้ง เฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น[12] ยงยุทธ วิชัยดิษฐจึงได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแทน และในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมกับพวกอีก 28 คน ในคดีโครงการรับจำนำข้าว โดยมีข้อกล่าวหาว่าปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตโดยไม่ยับยั้ง ซึ่งศาลได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 9.00 น. ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ได่เดินทางไปฟังคำพิพากษาจนกระทั่งนำไปสู่การออกหมายจับ กลายเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[13]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "306281#0", "text": "เลิศ ชินวัตร (พ.ศ. 2462-23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ เป็นบิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ", "title": "เลิศ ชินวัตร" }, { "docid": "237288#4", "text": "มีการวิจารณ์จากสื่อมวลชนว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามที่จะตอบแทนตำแหน่งให้เนื่องจากในสมัยที่นาย ชัยเกษม นิติสิริ ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ฟ้องร้อง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและยังเป็นหนึ่งในฐานะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้ร่วมทำคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 568-569/2549 เกี่ยวกับโครงการสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวรวมทั้งสั่งไม่ฟ้อง การทุจริตในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และตำแหน่ง ประธานกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556", "title": "ชัยเกษม นิติสิริ" }, { "docid": "120487#19", "text": "ณัฐวุฒิได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555[8] แทนนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[9]", "title": "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" }, { "docid": "530858#1", "text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร) ", "title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "6131#27", "text": "ใน พ.ศ. 2554 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากทั้งสองพรรคมีความเป็นศัตรูกันอย่างชัดเจนโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่างประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้กับนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามส่งผลให้เกิดคดี นักการเมืองจากทั้งสองพรรค ถูกศาลออกหมายจับ ในข้อหาทำผิดกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก ในขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาได้ผลประโยชน์จากการร่วมงานกับทั้งสองพรรคกล่าวคือ ชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "781740#4", "text": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ซึ่งเขามีส่วนในการตัดสินคดีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากเขาเป็นตุลาการเสียงข้างมากที่มีมติให้คำสั่งย้ายนาย ถวิล เปลี่ยนศรี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้มีคำสั่งคุ้มครองย้อนไปในอดีตตั้งแต่ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้ นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังจากการตัดสินคดีนี้ ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มนปช. และนักการเมืองพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้น เขาเคยมีส่วนในการตัดสิน คดีเขาพระวิหาร โดยมีมติเสียงข้างมากถอดถอนมติคณะรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและ คดีมาบตาพุด", "title": "หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล" }, { "docid": "117172#10", "text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เขาถูกวิจารณ์อีกครั้งภายหลังที่เขาโพสต์ขอโทษ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องมาจากการส่อเสียดในรายการสายล่อฟ้าโดยปรากฎคำพูดออกรายการในขณะนั้นว่า ยิ่งลักษณ์ เอาอยู่ โดย นาย ศิริโชค เจตนาให้ผู้ชมเข้าใจคำว่า เอาอยู่ ในลักษณะที่หมิ่นประมาทว่า ยิ่งลักษณ์ กำลังมีเพศสัมพันธ์ อยู่ ณ โรงแรมโฟร์ซีซันส์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ ห้าหมื่นบาท และคดีกำลังเข้าสู่ศาลฎีกา ปรากฎว่า นายศิริโชคขอไกล่เกลี่ยเป็นการขอโทษผ่านเฟสบุ๊ค ภายหลัง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นถอนฎีกาแล้ว ปรากฎว่า เขาลบข้อความขอโทษออกทันที ซึ่งได้รับคำวพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนสุดท้ายเขาขอประกาศลงคำขอโทษไว้ 7 วัน", "title": "ศิริโชค โสภา" }, { "docid": "63252#44", "text": "ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปครั้งประวัติศาสตร์กว่า 70,000 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เพื่อขจัดข้อครหาผลประโยชน์แฝง ในการบริหารประเทศของทักษิณ[93] ที่ถูกกล่าวหาว่าอาศัยอำนาจทางการเมือง เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัว[94]นั้น พบว่าระดับราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่า ผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปก็มีการขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่า กรณีที่ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในชินคอร์ปจำนวน 20 ล้านหุ้น ซึ่งได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็ก ไปพร้อมกับครอบครัวนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548-มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจรจาการซื้อขายหุ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วงเดือนเศษ มีการเทขายหุ้น บมจ.เอไอเอส 11 ครั้ง เป็นจำนวน 278,400 หุ้น ในระดับราคาตั้งแต่ 101-113 บาทต่อหุ้น ในกรณีนี้ถือเป็นข้อกังขาว่า ยิ่งลักษณ์ใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือไม่ เพราะยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในผู้ที่ตกลงขายหุ้นให้แก่เทมาเส็ก ยอมรับทราบข้อมูลการเจรจาตกลงเป็นอย่างดี การที่ขายหุ้น บมจ.เอไอเอสอย่างต่อเนื่องเช่นนั้น ในขณะที่ต่อมาทางกลุ่มผู้ซื้อ ประกาศทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น บมจ.เอไอเอส ในราคาเพียงหุ้นละ 72.31 บาท[95]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#29", "text": "การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หลังช่วงที่การเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพนานสองปี จนวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ประกาศทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาขอยุบสภาผู้แทนราษฎร[57] โดยคณะรัฐมนตรีจะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#47", "text": "ยิ่งลักษณ์ยังถูกกล่าวหาว่า ช่วยทักษิณปกปิดทรัพย์สิน โดยยิ่งลักษณ์ได้รับหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น 0.68% จาก ทั้งหมด 46.87% ที่ทักษิณและคุณหญิงพจมานมีอยู่ เมื่อปี พ.ศ. 2542[98] และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ระบุว่ายิ่งลักษณ์ทำธุรกรรมเท็จ โดยเธอกล่าวว่า \"ครอบครัวของเธอตกเป็นเหยื่อทางการเมือง\"", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#5", "text": "ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน เช่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#53", "text": "ในระหว่างพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ยิ่งลักษณ์ยืนก้มหน้าและใช้มือกดโทรศัพท์มือถือ จนเป็นที่วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมระหว่างรอเข้าสู่พิธีการสำคัญ[106] โดยพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของยิ่งลักษณ์ ชี้แจงแทนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า เธอกำลังปิดโทรศัพท์ก่อนเริ่มพิธีฯ เนื่องจากในภาพ ตำแหน่งของยิ่งลักษณ์ยืนอยู่หลังผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่ตามตำแหน่งริ้วขบวนในพิธี เธอจะต้องยืนอยู่หน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพ[107]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#1", "text": "ยิ่งลักษณ์เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลัง เป็นประธานบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "386578#2", "text": "ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้วนั้น บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60" } ]
1343
ในดวงตาประกอบไปด้วยกี่ชั้น ?
[ { "docid": "934473#6", "text": "ตาแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ซึ่งล้อมรอบโครงสร้างทางกายวิภาคต่าง ๆ ชั้นนอกสุดเรียกว่า fibrous tunic ซึ่งประกอบด้วยกระจกตาและส่วนตาขาว (sclera) ชั้นกลางเรียกว่า vascular tunic หรือ uvea ซึ่งประกอบด้วยคอรอยด์ (choroid), ซิลิอารีบอดี (ciliary body), iris pigment epithelium, และม่านตา (iris) ชั้นในสุดคือจอตา ซึ่งได้ออกซิเจนจากหลอดเลือดของคอรอยด์ด้านหลังและจากเส้นเลือดจอตาด้านหน้า", "title": "ตามนุษย์" } ]
[ { "docid": "509259#2", "text": "ซึ่งลีเมอร์หนูแทบจะไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างไปเลยจากเมื่อ 80 ล้านปีก่อน โดยมีขนาดลำตัวรวมทั้งส่วนหางยาวน้อยกว่า 27 เซนติเมตร (11 นิ้ว) ซึ่งสามารถเอามาวางไว้บนฝ่ามือมนุษย์ได้ มีใบหูและดวงตากลมโตขนาดใหญ่เหมือนกาเลโก เป็นลีเมอร์เพียงไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลง, แมง รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอกไม้, ผลไม้ และรวมถึงน้ำต้อย และยางไม้ของต้นไม้ใหญ่ด้วย นับได้ว่าลีเมอร์หนูเป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการผสมเกสรของพืช", "title": "ลีเมอร์หนู" }, { "docid": "194873#7", "text": "ทาคาสุ ริวจิ () ให้เสียงโดย - จุนจิ มาจิมะ (ญี่ปุ่น), ภัทรวุฒิ สมุทรนาวี (ไทย) ริวจิเป็นชายหนุ่มอายุ17ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายปี 2 ห้อง C ผู้มีเอกลักษณ์ประจำตัวคือ ดวงตาที่ดูน่ายำเกรงเหมือนนักเลง (ได้รับกรรมพันธุ์มาจากบิดา) ซึ่งทำให้เขามักเปรียบเทียบตนเองกับมังกรอยู่บ่อยๆ และด้วยภาพลักษณ์นี้เอง ใครๆมักจะไม่กล้าเข้ามาสุงสิงกับริวจิ ทั้งๆที่ความจริงริวจิมีนิสัยที่อ่อนโยนมาก และแทบจะไม่เคยมีเรื่องชกต่อยกับใครเลย ริวจิมีพรสวรรค์ในการทำอาหารและการทำความสะอาดบ้าน อยู่บ้านเช่าเล็กๆสไตล์ญี่ปุ่นสองคนกับมารดา และนกแก้วอัปลักษณ์อีกหนึ่งตัว บ้านเช่าของริวจิ อยู่ข้างๆอพาร์ทเมนต์ของไทกะ ริวจิคอยช่วยเหลือไทกะในเรื่องทั่วๆไปที่ไทกะทำไม่เป็น (เช่น ปลุกทุกเช้า เตรียมอาหาร ทำความสะอาดบ้าน) ส่วนที่โรงเรียนนั้นริวจิเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่สามารถหยุดเสือน้อยไทกะได้", "title": "โทระโดระ! ยายเสือใสกับนายหน้าโหด" }, { "docid": "75331#2", "text": "ดวงตาชอบร้องเพลงมากมาตั้งแต่วัยเด็ก ตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนไปประกวดร้องเพลง ขณะศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนหนองบ้านเก่าสามัคคี แล้วได้รางวัลชนะเลิศ โดยมีอาจารย์ธวัชชัย กองสี อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนคอยให้การดูแลและฝึกสอนให้ จากนั้นเธอก็เริ่มหัดร้องเพลงจริงจังมากขึ้น และมีโอกาสได้เข้าร่วมประกวดตามสถานที่ต่างๆ และได้รางวัลมากมาย ในวัยเพียง 10 ขวบ เธอประกวดมาทั้งหมดประมาณ 30 ครั้ง ", "title": "ดวงตา คงทอง" }, { "docid": "58200#1", "text": "ประกอบไปด้วย\nทูตสวรรค์ในพันธสัญญาเดิม รากศัพท์มาจากคำว่า seraph อันแปลว่าลุกไหม้ ที่ได้ชื่อนี้เพราะมีแสงสว่างอันเจิดจ้า ราวกับกำลังจะลุกไหม้ มีร่างกายสูงใหญ่ มี 6 ปีก 1 คู่สำหรับบิน 1 คู่สำหรับปกป้องดวงตาจากการมองพระเป็นเจ้าโดยตรง และอีก1 คู่สำหรับปกคลุมเท้า เสราฟิมมักจะอยู่รายรอบบัลลังค์แห่งพระเจ้า ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าที่เรียกว่า \"the Thrice Holy\" เป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า\nเครูบมีหน้าที่ดูแลและสนับสนุนบัลลังก์แห่งพระเจ้า หรือทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองดูแล ปรากฏในหนังสือเอเสเคียล (the book of Ezekiel) ว่าเป็นผู้ค้ำจุนบัลลังก์แห่งพระเจ้า และ กองทหารรถศึกของพระเจ้า ปรากฏในหนังสือปฐมกาล ในฐานะผู้ดูแลสวนเอเดน และป้องกันไม่ให้มนุษย์กลับมายังสวนอีเดนอีกครั้ง บางครั้งทูตสวรรค์ในระดับนี้ก็ปรากฏตัวในรูปแบบของความเมตตากรุณาด้วย ในคติความเชื่อของยิวและคริสต์ เครูบ เป็นทูตสวรรค์ระดับถัดมาจากเสราฟิมมี 4 ปีก 4 ใบหน้า ได้แก่ มนุษย์ วัว สิงโต อินทรี โดยปกติจะสวมชุดยาวสีน้ำเงิน ในขณะที่เสราฟิม สวมสีแดง", "title": "ลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์" }, { "docid": "76741#1", "text": "เมื่อยางามิ ไลท์ (คิระ) ได้เข้ามาในการสืบสวนคดีคิระ เขาก็พยายามหาทางฆ่าแอล อีกด้านหนึ่ง อากาเนะ มิสะ ได้ถูกโจรไล่ตามฆ่า แต่ทันใดนั้น โจรคนนั้นก็ล้มตายลงเพราะอาการหัวใจวาย แล้วสมุดเดทโน้ตเล่มที่ 2 ก็ตกลงมา เมื่อมิสะได้หยิบสมุดเดทโน้ตเล่มนั้นขึ้นมา เธอก็เห็นเรม (ยมทูตของมิสะ) แล้วมิสะก็แลกดวงตายมทูตกับเรม แล้วตั้งตัวขึ้นมาเป็นคิระคนที่ 2 แล้วอัดเทปส่งให้ทางสถานีซากุระให้ฉายไปทั่วญี่ปุ่น มีตอนหนึ่ง เทปในนั้นได้บอกว่า \"หากคุณเป็นคิระ โปรดมาหาฉันที่สถานีซากุระด่วนด้วย\" ไลท์จึงอ้างว่าจะไปช่วยซายุให้พ้นจากอันตราย แล้วก็ไปกับยางามิ โซอิจิโร่ (พ่อของไลท์) พอไปถึง มิสะก็ใช้ดวงตายมทูตมองคนแล้วคนเล่า จนกระทั่งเจอกับยางามิ ไลท์ เมื่อมิสะมองไป ก็ไม่เห็นอายุขัยของไลท์ (ดวงตายมทูต สามารถมองเห็นชื่อและอายุขัยของคนได้ แต่จะไม่สามารถเห็นอายุขัยของคนที่ครอบครองเดทโน้ตได้) เธอจึงรีบหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่ไลท์เรียนอยู่ แล้วไปที่บ้านไลท์ ไลท์รู้ว่าหากใช้มิสะช่วยในการหาชื่อจริงของแอล แล้วตัวเขาเองจะสามารถฆ่าแอลได้ ส่วนทางมิสะก็ไม่ขัดขืนอยู่แล้ว เพราะเธอหลงรักไลท์ตั้งแต่ตอนที่เจอกันที่สถานี เรมบอกไลท์ไว้ว่าหากไลท์ทำให้มิสะตกอยู่ในอันตรายเมื่อไร เขาจะลงมือฆ่าไลท์ด้วยตัวของเขาเอง ไลท์จึงยอมเป็นแฟนกับมิสะ และจะพาเธอไปพบกับริวซากิให้เร็วที่สุด เช้าวันหนึ่ง แอลได้มาหาไลท์ขณะที่ไลท์เรียนอยู่ แล้วก็บอกว่า \"ชั้นจะติดตามนายไปตลอด จนกว่าชั้นจะแน่ใจว่านายไม่ใช่คิระ\" พอไลท์พาแอลมาข้างนอก มิสะก็มาเห็นไลท์พอดี จึงเดินมาหาไลท์ แล้วก็เปิดหน้ากากของแอลออก แล้วมิสะมิสะก็มองด้วยสีหน้าแปลกๆ แล้วถามว่าชื่อริวซากิหรอ แล้วแอลก็นำหน้ากากคืนมาแล้วก็ใส่ไว้ด้านข้าง แล้วผู้คนก็แห่กันมาดูมิสะมิสะ แล้วพอเธอจากไป แอลก็เดินออกไป แล้วไลท์ก็โทรหามิสะมิสะ แต่เสียงของคนที่รับก็คือเสียงของริวซากิ แล้วไลท์ก็เดินมาหาแอล แล้วแย่งมือถือของมิสะมาไว้ในมือ", "title": "อวสานสมุดมรณะ" }, { "docid": "109026#64", "text": "โคลม โดคุโร - อาวุธกล่องวองโกเล่ธาตุหมอก 1 กล่อง (เสริมพลังให้นกฮูกสายหมอกและหอกของโคลม) ได้รับมาจาก อิริเอะ โชอิจิ มีนกฮูกสายหมอก (กูฟอร์ ดิ เนบเปีย) ที่ถูกโรคุโด มุคุโร่ สิงอยู่ เมื่อแคนดิโอ ฟอร์มม่าจะกลายเป็นเลนส์ปีศาจของเดม่อน สเปโด้ (D spede devil lens) ว่ากันว่าใครก็ตามที่ถูกผู้พิทักษ์แห่งหมอกรุ่นแรกมองผ่านเลนส์นี้จะถูกสาป และกลายเป็นร่างไร้วิญญาณลอยอยู่กลางทะเลอีกไม่กี่วันต่อมา ทว่าหากเป็นอาวุธกล่อง จะใช้ในการเปิดเผยความสามารถของศัตรูและมองทะลุมายาที่ศัตรูใช้ได้ โดยจะเป็นเลนส์ใหญ่สองวงลอยอยู่เหนือดวงตา และเลนส์เล็กอีกหนึ่งอันที่มีสัญลักษณ์ตัว I ลอยอยู่ตรงกลางระหว่างเลนส์ใหญ่", "title": "ครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!" }, { "docid": "53707#7", "text": "นอกจากนี้ชาวอาหมยังนับถือผีบรรพบุรุษด้วย โดยบุราณจีภาคสวรรค์ได้กล่าวถึง แสงก่อฟ้า กษัตริย์พระองค์หนึ่ง เมื่อสวรรคตไปแล้วกลายเป็นผีเรือนคอยดูแลทุกข์สุขของคนในครอบครัว ความว่า \"\"แสงก่อฟ้า...ตายเป็นด้ำผีเรือนช่วยคุ้ม\"\" ส่วนอาหมบุราณจีภาคพื้นดินได้กล่าวถึง ผีด้ำ ซึ่งตามพจนานุกรมอาหมแปลว่า คนที่ตายไปแล้ว และคำว่า ด้ำเรือน มีความหมายว่า บรรพบุรุษที่ตายไปแล้วกลายเป็นผีเฝ้าเรือน โดยในอาหมบุราณจีภาคพื้นดิน ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า \"\"เจ้าฟ้าจึงมาเมืองมาตักแขก (เคารพบูชา) ผีด้ำที่ว่านี้\"\" และกล่าวถึงกษัตริย์อาหมประกอบพิธีเมด้ำเมผี ชาวอาหมถือว่าบรรพบุรุษที่เหนือเราไปชั้นแรกๆ หรือผู้ที่ตายไปไม่กี่ชั่วอายุคนจะคอยปกป้องครอบครัวญาติพี่น้องที่ยังอยู่ แต่หากตายไปนานมากแล้วก็จะขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นฟ้าไม่ลงมาช่วยเราอีก โดยความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษที่คอบปกป้องดูแลลูกหลานยังมีอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบัน ที่มีหิ้งบูชาในเรือน โดยบนหิ้งนั้นถือเป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษหลายซับหลายซ้อน หรือหลายชั่วอายุคนจนนับไม่ได้ ", "title": "อาหม" }, { "docid": "756320#0", "text": "ทูอายส์ (; ) เป็นเกิร์ลกรุ๊ปที่อยู่ใต้สังกัดของ SidusHQ ประกอบด้วยสมาชิก 5 คน เปิดตัวพร้อมกับซิงเกิ้ลแรก Don't mess with me ในปี 2556 ด้วยคอนเซปของ “สาวดุดัน” (fierce girl)ซึ่งปล่อยออกมาใน วันที่ 20 มิถุนายน 2556 ด้วยเอ็มวีเพลงดังกล่าว พร้อมเวอร์ชันดราม่าที่ได้ คิม วู-บินมาเล่นประกอบ ชื่อวงนั้นหมายถึงการสื่อสารผ่านดนตรีผ่านทางดวงตาของแต่ละคน ซึ่งคนที่ติดตามเคป๊อปอย่างใกล้ชิดอาจจะพอคุ้นเคยกับ 2EYES มาบ้างแล้วจากผลงานของพวกเธอในการร้องเพลงประกอบละคร สายลมรักในฤดูหนาว ชื่อเพลง A Winter Story เวอร์ชันผู้หญิง ", "title": "ทูอายส์" }, { "docid": "751595#0", "text": "ปืนนกไส้ (; ) หรือ กี่นกไส้ หรือ หญ้าก้นจ้ำขาว เป็นวัชพืชในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน ใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่นที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้นแยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้นสีขาวไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อนสีน้ำตาลเข้ม มีแพปพัส (กลีบเลี้ยงลดรูป) เป็นหนามสั้น 2 อัน", "title": "ปืนนกไส้" }, { "docid": "684155#19", "text": "แต่จริง ๆ แล้ว ช่วงฝนชุกไม่มีความสัมพันธ์กับยุคน้ำแข็ง\nนอกจากนั้นแล้ว ช่วงฝนชุกในที่ต่าง ๆ ก็ไม่ได้สอดคล้องกันแบบทั่วทั้งโลก ไม่เหมือนกับยุคน้ำแข็ง\nดังนั้น การสอดคล้องเข้ากันในบางที่ความจริงก็เป็นเรื่องบังเอิญเท่านั้น\nมีเพียงชื่อฝนชุกในที่ไม่กี่เขตเท่านั้นที่มีการกำหนดประกอบพร้อมกับชั้นหิน", "title": "สมัยไพลสโตซีน" }, { "docid": "61417#0", "text": "ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; ) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ", "title": "ปลากระดูกอ่อน" }, { "docid": "194873#4", "text": "โทระโดระ! เปิดเรื่องในวันขึ้นไฮสคูลปีสองของริวจิ เขามาถึงโรงเรียนด้วยความดีใจ เมื่อพบว่าได้อยู่ห้องเดียวกับเพื่อนสนิท คิทามุระ ยูซาคุ ชายหนุ่มสวมแว่นตา นิสัยดี หนึ่งในไม่กี่คนผู้มองเห็นความอ่อนโยน ภายใต้ดวงตาที่น่ากลัวของริวจิ นอกจากนี้เขายังได้อยู่ห้องเดียวกันกับ คุชิเอะดะ มิโนริ สาวสวยผมแดงตาโตร่าเริง ผู้ไม่ค่อยจะอยู่นิ่ง (พูดคุย-เล่นกีฬา-งานชมรม-ทำงานพิเศษตลอด) และเป็นผู้หญิงที่ริวจิ แอบหลงรัก", "title": "โทระโดระ! ยายเสือใสกับนายหน้าโหด" }, { "docid": "924510#1", "text": "ขนมหนวดมังกร มีที่มาตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว กล่าวกันว่า พ่อครัวคนหนึ่งซึ่งเพลินเพลินในการทำขนมแบบใหม่กับพระจักรพรรดิ์ ด้วยการยืดส่วนผสมแบบแป้งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ซึ่งแลดูคล้ายกับหนวดหรือเคราที่สามารถติดอยู่กับใบหน้าผู้คน การที่ได้ชื่อว่า \"หนวดมังกร\" อาจเป็นเพราะมังกรเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิ์ ในสมัยโบราณ ขนมหนวดมังกรถือเป็นของที่ทำเพื่อถวายแด่พระจักรพรรดิ์และชนชั้นสูงในราชสำนักเท่านั้น ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ขนมหนวดมังกรถูกห้ามจากยุวชนแดง ตามคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ห้ามประชาชนประกอบกิจกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ฮั่น การทำขนมหนวดมังกรถือเป็นศิลปะละเอียดอ่อนอย่างหนึ่ง จึงทำให้หาผู้สืบทอดได้ยาก อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เทศกาลตามถนนสายต่าง ๆ และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ไกลถึงจุดหมายปลายทางของผู้เชี่ยวชาญ", "title": "ขนมหนวดมังกร" }, { "docid": "352947#10", "text": "ในการเตรียมการสำหรับการปล้น คราซินได้ช่วยผลิตระเบิดเพื่อใช้โจมตียานพาหนะ แก๊งของคาโมลักลอบนำระเบิดเข้าไปในติฟลิสโดยซุกซ่อนไว้ในโซฟา เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้าการปล้น คาโมจุดระเบิดหนึ่งในระเบิดของคราซินโดยอุบัติเหตุระหว่างที่พยายามติดตั้งสายชนวน แรงระเบิดได้ทำให้ดวงตาของคาโมได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้เขามีแผลเป็นถาวร คาโมไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้เป็นเวลาหนึ่งเดือนเนื่องจากความเจ็ดปวดอย่างแรง และยังไม่หายดีเมื่อถึงเวลาลงมือปล้น ในขณะที่ทางกลุ่มวางแผนสำหรับการปล้น ทางการรัสเซียก็ได้ทราบว่าจะเกิดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่ได้รับการวางแผนโดยกลุ่มปฏิวัติในติฟลิส แม้ว่าจะไม่ทราบถึงรายละเอียดก็ตาม และด้วยสาเหตุดังกล่าว ทางการจึงได้ประจำฝ่ายรักษาความปลอดภัยเพิ่มในจัตุรัสหลักของเมือง", "title": "การปล้นธนาคารในติฟลิส ค.ศ. 1907" }, { "docid": "59000#1", "text": "ชื่อ \"วงตาวัน\" ตั้งโดยคุณสันติ เศวตวิมล หรือว่าที่ทุกคนรู้จักในนามปากกา \"กรวิก\" นักแต่งเพลงอาวุโสที่ทางวงเคารพนับถือ มีความหมายว่า โค้งตะวัน. วง ในที่นี้ หมายถึง วงโค้ง (ไม่ใช่ วงดนตรี), ตาวัน เขียนแบบโบราณ หมายถึง ดวงตาของวัน ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์นั่นเอง. มีไม่กี่คนที่รู้ความหมายนี้ และส่วนใหญ่เข้าใจกันผิดมาโดยตลอดว่า เป็นวงดนตรีที่ชื่อ ตาวัน", "title": "วงตาวัน" }, { "docid": "59333#1", "text": "หลังจากที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดาซึ่งไปบังเกิดเป็นสันดุสิตเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อตอบแทนพระคุณ ท้าวสักกเทวราชมีความปีติยินดี รีบป่าวประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้มาฟังพระธรรมเทศนา ในที่สุดพุทธมารดาได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน", "title": "ปางโปรดพุทธมารดา" }, { "docid": "222293#2", "text": "การ์ด แฟรกโมโคน และโปร-ออสทราคัม เป็นสิ่งที่อยู่ภายในของตัวเบเลมไนต์ที่มีชีวิตเหมือนดังเป็นโครงกระดูกที่ถูกห่อหุ้มด้วยกล้ามเนื้อโดยรอบทั้งหมด ตัวมีชีวิตจริงๆจึงมีขนาดใหญ่กว่าเปลือกกระดองที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์และมีรูปร่างยาวที่ลู่ไปตามน้ำพร้อมด้วยดวงตาที่โดดเด่น การ์ดจะอยู่ต่อจากส่วนท้ายของตัวเบเลมไนต์โดยมีแฟรกโมโคนอยู่ด้านหลังของส่วนหัวที่ชี้ปลายไปทางด้านหลัง \nการ์ดของเบเลมไนต์ “เมกะทิวธิส จิแจนตี” ที่พบในยุโรปและเอเชียวัดความยาวได้ถึง 46 ซม. ทำให้ประมาณได้ว่าตัวเบเลมไนต์มีชีวิตจะมีความยาวของลำตัวได้ถึง 3 เมตร \nพบชิ้นตัวอย่างจำนวนมากของเบเลมไนต์ที่มีส่วนเนื้อเยื่ออ่อนของสัตว์ที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ บางที่มีการพบส่วนของการ์ดรูปร่างคล้ายกระสุนสะสมตัวกันอย่างหนาแน่นซึ่งเรียกกันอย่างกึ่งทางการว่า “สมรภูมิเบเลมไนต์ (belemnite battlefield)” (ที่ประกอบไปด้วยพวกออร์โธเซอแรส) การสะสมตัวกันดังกล่าวนี้ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะหมายถึงเหตุการณ์ตายหมู่ครั้งใหญ่ที่กองทับถมกันเป็นแผ่นหนาซึ่งก็พบได้ในเซฟาโลพอดในปัจจุบันและรวมถึงพวกเซเมลพาเรียสอื่นๆ\nเบเลมไนต์บางชนิด (อย่างเช่นสกุล “เบเลมไนต์”) ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดหินชอร์คยุคครีเทเชียสของยุโรปที่ช่วยให้นักธรณีวิทยาทราบอายุของชั้นหินได้", "title": "เบเลมไนต์" }, { "docid": "845748#5", "text": "อาคารสูง 20 ชั้น และมีพื้นที่ทั้งหมด 23,506 m² (253,016 ft²). ด้วยชั้นที่สูงขึ้นลดระดับลงเรื่อยๆ (Setback) ในชั้นที่ 4 8 12 16 และ 18 ซึ่งนับว่าเป็นการออกแบบอาคารอย่างแนบเนียนกับข้อกฎหมายผังเมืองในตัวเมืองที่ต้องมีถอยร่นจากถนน ซึ่งสุเมธใช้การทำ เซตแบ็ก ตามมุม 18 องศาถอยร่นจากแนวเส้นขอบพอดี ในอาคาร ชั้นแรกมีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น ซึ่งเป็นส่วนของโถงต้อนรับ ด้านการตกแต่งภายใน ในส่วนของโถง เกิดจากความร่วมมือของบริษัทต่างๆ รวมแล้ว 7 บริษัท โดยยังคงสื่อถึงความเป็นหุ่นยนต์ตามที่สุเมธได้วางแนวคิดไว้ และยังมีรูปปั้นของ ซึ่งแกะสลักจำนวน 4 รูปโดยทวีชัย นิติประภา ศิลปินชาวไทย ในส่วนชั้นลอย ตั้งอยู่ในด้านข้างของโถง ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ และห้องประชุม ในชั้นที่สอง ประกอบด้วยโถงอเนกประสงค์ สำนักงาน และห้องฝึกอบรม ส่วนชั้นถัดไป เป็นส่วนของพื้นที่สำนักทั้งหมด ในส่วนของอาคารจอดรถ เป็นอาคารแปดชั้นตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหลัก\nภายนอกอาคารมีรูปลักษณ์แบบหุ่นยนต์ แม้ว่าจุดประสงค์หลักคือเพื่อตอบสนองการใช้งานก็ตาม ซึ่งได้แก่เสาอากาศ 2 ต้นใหญ่ บนดาดฟ้าของอาคาร ซึ่งใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารและเป็นสายล่อฟ้าควบคู่กัน ในส่วนเปลือกอาคาร (Facade) ข้างบน เป็นส่วนของห้องประชุมหลักและห้องรับประทานอาหารของผู้บริหาร ประกอบด้วยดวงตาสองดวงขนาด 6 m (19.7 ft) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน้าต่าง. กระจกในดวงตานั้น ใช้วัสดุเป็นกระจกสะท้อนแสง โดยมีฝาครอบกระจกทำเป็นบานเกล็ดโลหะ ลูกน็อตที่ประดับตกแต่งข้างอาคาร ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กแก้ว โดยลูกน็อตที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 3.8 m (12.5 ft) จำนวนสองข้าง ซึ่งทำให้กลายเป็นลูกน็อตที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น ในส่วนผนังด้านตะวันออกและตก (ด้านข้างหุ่นยนต์) ซึ่งเจาะช่องเปิดน้อยมาก ซึ่งเป็นการป้องกันแดดกลางวันได้อย่างดี รวมถึงเป็นการลดใช้พลังงานในอาคารลงอีกด้วย และส่วนด้านทิศเหนือและใต้ (ด้านหน้าและหลังอาคาร) ใช้กระจกพ่นสีน้ำเงินสว่าง ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารเอเซีย", "title": "ตึกหุ่นยนต์" }, { "docid": "93605#3", "text": "แล้วโบลเฟลด์ก็ไม่ปรากฏตัวอีกไปจนถึงตอนที่ 12 เจาะดวงตาเพชฌฆาต ผู้รับบทโบลเฟลด์คือ จอห์น ฮอลลิส (John Hollis) แต่ครั้งนี้เป็นการแสดงเงียบอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้มาพากย์เสียงโบลเฟลด์คือ โรเบิร์ต ริตตี้ (Robert Rietty) ครั้งนี้ โบลเฟลด์โผล่มาเป็นช่วงสั้นๆ แค่ช่วงแอ๊คชั่นเปิดเรื่องไม่กี่นาที แล้วโบลเฟลด์ก็ไม่มีการปรากฏตัวในภาพยนตร์ของค่ายอีโอเอ็นอีกเลย แต่เจมส์ บอนด์ ฉบับไม่เป็นทางการเรื่อง พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ ที่ค่ายภาพยนตร์ Warner Bros. ทำขึ้นมา โบลเฟลด์ได้ปรากฏตัวอีกครั้งหนึ่ง ในเรื่องนี้ ผู้รับบทคือ แม็กซ์ วอน ซีโดว์ เจมส์ บอนด์เรื่องนี้ไม่มีการซ่อนหน้าโบลเฟลด์ แล้วโบลเฟลด์ ก็ไม่ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องใดอีกเลยจนถึงปัจจุบัน เว้นแต่ถูกล้อเลียนในภาพยนตร์การ์ตูนหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนเท่านั้น เช่นเรื่อง Austin Powers", "title": "เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์" }, { "docid": "382718#10", "text": "เบอร์เกอร์มีล หุ่นยนต์รูปแบบแฮมเบอร์เกอร์ เมื่อทำการติดตั้งแอสโทร สวิทช์ 6 เข้าไป จะใช้ในการสอดแนม บันทึกภาพ และฉายภาพเหตุการณ์ที่ได้จากการบันทึกภาพ เมกะ เบอร์เกอร์มีล เบอร์เกอร์มีล รูปแบบพิเศษโดยเพิ่มส่วนชีสและมี 5 ชั้น มีลักษณะคล้ายกับบิ๊กแมค ของ แมคโดนัลด์ สร้างโดยนาเดชิโกะ โปเตช็อกกิง หุ่นยนต์รูปแบบเฟรนซ์ฟราย เมื่อทำการติดตั้งแอสโทร สวิทช์ 11 เข้าไป จะใช้ในช่วยตัดสิ่งของ ฟลาเชคกี้ หุ่นยนต์รูปแบบโฟลต เมื่อทำการติดตั้งแอสโทร สวิตซ์ 17 เข้าไป จะทำการปล่อยแสงที่ตาของฟลาเชคกี้ ใช้ในการค้นหาสิ่งของในที่มืด และ ใช้ในการหลบศัตรูด้วยการสาดแสงใส่ดวงตาของศัตรู ฮอลวันคอฟ หุ่นยนต์รูปแบบฮ็อทด็อก (ไส้กรอกแดง) เมื่อทำการติดตั้ง แอสโทร สวิตซ์ 29 เข้าไป จะทำการแปลงร่างเป็นรถตักดินขนาดเล็ก ใช้ในการค้นหาสิ่งของด้วยการตักดิน ซอฟท์เนีย หุ่นยนต์รูปแบบซอฟท์ครีม (ไอศกรีม) เมื่อทำการติดตั้ง แอสโทร สวิตซ์ 32 เข้าไป จะทำการแปลงร่างเป็นพัดลมขนาดเล็กและปล่อยไอเย็นในการแช่แข็ง นักเก็ตไจโรเกอร์ หุ่นยนต์รูปแบบกล่องโฟม เมื่อทำการติดตั้ง แอสโทร สวิตซ์ 37 เข้าไป จะทำการแปลงร่างเป็นหุ่นยนต์ใช้ในการบรรทุกหุ่นยนต์ขนาดเล็ก สึนักเก็ต หุ่นยนต์รูปแบบนักเก็ตไก่ โดยแต่ละตัวมีความแตกต่างเพียงแค่สีของดวงตาและกริยาที่แสดงออกทางดวงตา ในเวลาปกติจะอยู่ใน นักเก็ตไจโรเกอร์ สึนักเก็ตมีทั้ง 4 ตัว ได้แก่ นักเกโรปา (ナゲロパ) สึนักเก็ต ดวงตาสีบานเย็น แสดงสีหน้าตกใจ ชื่อมาจาก ยูโรปา นักเกอิโอ (ナゲイオ) สึนักเก็ต ดวงตาสีเขียว แสดงสีหน้าเศร้า ชื่อมาจาก ไอโอ นักเกมีด (ナゲメデ) สึนักเก็ตสีเหลือง แสดงสีหน้ายิ้มแย้ม ชื่อแผลงจากคำว่า แกนีมีด นักเกสต์ (ナゲスト) สึนักเก็ต สีแดง แสดงสีหน้าโกรธเกี้ยว ชื่อแผลงจากคำว่า คัลลิสโต", "title": "มาสค์ไรเดอร์โฟร์เซ" }, { "docid": "75331#5", "text": "ด้านชีวิตส่วนตัว เคยคบหาดูใจกับ วราวุธ ประกอบการ หรือ โอ อดีตนักร้องเพลงลูกทุ่ง และเจ้าของค่ายเพลงควอลิตี้ แต่ภายหลังได้เลิกรากันไป", "title": "ดวงตา คงทอง" }, { "docid": "405923#0", "text": "\"ดวงตาในดวงใจ\" เป็นบทประพันธ์ของ ฬีฬา เขียนบทโทรทัศน์โดย พลพล กำกับการแสดงโดย ปกาสิต กิ่งศักดิ์ ผลิตโดย บริษัท ควิซ แอนด์ เควส จำกัดเพลงประกอบละคร ดวงตาในดวงใจ ได้นำบทเพลงที่มีชื่อเสียงของศิลปินหลายคน มาทำทำนองใหม่และร้องใหม่โดยนักร้องที่มีชื่อเสียงจากค่าย แกรมมี่โกลด์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่", "title": "ดวงตาในดวงใจ" }, { "docid": "222042#20", "text": "ตาแบบโฮโลโครอัลประกอบไปด้วยเลนส์จำนวนมาก (อาจมากกว่า 15,000 ชิ้น) ขนาดเล็ก (30-100 ไมครอน พบขนาดมากกว่า 100 ไมครอนน้อยมาก) เลนส์ทั้งหลายมีรูปทรงหกเหลี่ยมอยู่ชิดติดกันแน่นซึ่งกันและกันโดยมีแผ่นคอร์เนียแผ่นหนึ่งปกคลุมเลนส์ทั้งหมด ตาแบบโฮโลโครอัลไม่มีตาขาว (sclera) อย่างที่พบเป็นแผ่นผนังสีขาวปกคลุมดวงตาของอาร์โธพอดปัจจุบันทั้งหมด ตาแบบโฮโลโครอัลมีลักษณะเก่าแก่โบราณของไทรโลไบต์และพบได้ทั่วไปในไทรโลไบต์เกือบทุกอันดับ จนถึงปัจจุบันเรารู้จักประวัติความเป็นมาของดวงตาแบบโฮโลโครอัลเพียงเล็กน้อย ด้วยไทรโลไบต์ยุคแคมเบรียนตอนต้นและตอนกลางพบลักษณะผิวดวงตาถูกเก็บรักษาไว้ได้ยาก \nตาแบบชิสโซโครอัลปรกตอแล้วจะประกอบไปด้วยเลนส์จำนวนน้อยกว่า (ประมาณ 700 ชิ้น) มีเลนส์ขนาดใหญ่กว่าตาแบบโฮโลโครอัลและพบได้เฉพาะในไทรโลไบต์ฟาคอบพิดา เลนส์ต่างๆแยกออกจากกันและเลนส์แต่ละเลนส์จะมีแผ่นคอร์เนียเฉพาะของมันเองซึ่งแผ่ขยายออกเข้าไปในแผ่นผนังสีขาวที่ค่อนข้างใหญ่ ตาแบบชิสโซโครอัลพัฒนาขึ้นอย่างทันทีทันใดในช่วงต้นยุคดีโวเนียนและเชื่อว่าวิวัฒนาการมาจากตาแบบโฮโลโครอัลที่เก่าแก่โบราณกว่า พื้นที่การมองเห็น ตำแหน่งที่ตั้งของดวงตา และพัฒนาการที่ควบคู่กันไปของกลไกลการปรับทิศทางที่มีประสิทธิภาพชี้ให้เห็นว่าเป็นระบบดวงตาของระบบการเตือนป้องกันตัวเบื้องต้นมากกว่าจะเป็นเครื่องช่วยโดยตรงในการหาอาหาร ตาของสัตว์ปัจจุบันที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกับตาแบบชิสโซโครอัลคือตาของแมลงชนิด “ซีนอส เพคกิไอ” ", "title": "ไทรโลไบต์" }, { "docid": "224864#1", "text": "ดวงตา ตุงคะมณี เป็นลูกคนที่สองในจำนวน 4 คนของคุณเฉลิม และ คุณแน่งน้อย ตุงคะมณี เรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลลอออุทิศ จากนั้นจึงเรียนชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นเธอจึงเดินทางไปศึกษาต่อในด้านแฟชั่นและการดีไซน์ที่ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี หลังเรียนจบกลับมายังประเทศไทย จึงเข้าพิธีสมรส และเริ่มอาชีพในวงการแฟชั่น โดยทำงานเป็นนางแบบแฟชั่น นางแบบผม แต่งหน้า ถ่ายภาพลงในนิตยสาร ภาพโฆษณา โฆษณาทางโทรทัศน์ และเดินแบบในงานแสดงเสื้อผ้า", "title": "ดวงตา ตุงคะมณี" }, { "docid": "830919#0", "text": "ตาสัมผัสผี () เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทละครชุด ผลิตโดย บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด บริหารงานสร้างโดย บริษัท บูมเมอแรง มีเดีย จำกัด และดำเนินงานสร้างโดย บริษัท ภาคภูมิใจ จำกัด บทโทรทัศน์โดย โกวิทย์ วาจาสิทธิ์, ข้าวปุ้น, กิติพร ฉิมพลอย, อำนาจ แตงสมบูรณ์ และพรเทพ เบญจศิริกุล กำกับการแสดงโดย ภาคภูมิ วงษ์จินดา รอการออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล MONO29 นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, กรกมล เจริญชัย, สุรวุฑ ไหมกัน, ชญาญ์นันท์ พิพัฒน์ชยกุล, รัชชานนท์ เรือนเพ็ชร์, ณัฐธิดา ตรีชัยยะ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เรื่องราวเกิดขึ้นจาก“ผู้กองเพชร ภูมิไท”ตำรวจหนุ่มผู้ทำงานสืบสวนสอบสวนพิเศษในหน่วยงานลับๆที่มีชื่อว่า “DEI” ถูกลอบทำร้ายโดยฝ่ายไม่ดีจนสูญเสียดวงตาข้างซ้ายไป แต่มีผู้ใจบุญคนหนึ่งบริจาคดวงตาให้ และดวงตานี้เป็นดวงตาวิเศษที่ทำให้สามารถมองเห็นดวงวิญญาณได้ ผู้กองเพชรจึงใช้ดวงตานี้เป็นตัวช่วยในการคลี่คลายคดีต่างๆ โดยออกอากาศวันแรกวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ที่ช่อง โมโน 29 ทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลาประมาณ 22.40 - 23.40 น. และติดตามชมย้อนหลังได้ที่ https://seeme.mthai.com/ch/diamondeyes", "title": "ตาสัมผัสผี" }, { "docid": "18464#1", "text": "จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ", "title": "จันทรุปราคา" }, { "docid": "522696#3", "text": "ในธรรมชาติหมึกสายเป็นหมึกที่อาศัยอยู่ตามลำพังไม่เป็นฝูงเหมือนหมึกกล้วยหรือเป็นคู่เหมือนหมึกกระดอง โดยหลบซ่อนตัวอยู่ตามรูหรือโพรงใต้น้ำ นอกจากนี้แล้ว ร่างกายของหมึกสายนั้นสามารถรอดรูเล็ก ๆ ที่มีความกว้างเพียงไม่กี่เซนติเมตรได้ จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พบว่าหมึกสายสามารถรอดรูเล็ก ๆ ได้ ด้วยการใช้หนวดวัดขนาดความกว้างของรูก่อน ก่อนที่จะใช้หนวดทั้งหมดค่อย ๆ มุดรอดไป และส่วนหัวจะเป็นส่วนสุดท้ายที่จะมุดรอดออกมา แต่หมึกสายก็ไม่สามารถที่จะมุดรอดรูที่มีความกว้างเพียง 1.5 นิ้วได้ ซึ่งเป็นความกว้างที่น้อยกว่าความกว้างระหว่างดวงตาทั้งคู่ของหมึกสาย ที่จะมีกระดูกชิ้นเล็ก ๆ ระหว่างนั้น อีกทั้งหมึกสายยังสามารถที่จะคืบคลานไปมาบนบกได้ โดยอยู่ได้โดยปราศจากน้ำได้นานถึง 1 ชั่วโมง", "title": "หมึกสาย" }, { "docid": "546611#1", "text": "แมงมุมหว่านแห มีรูปร่างที่แปลกแตกต่างออกไปจากแมงมุมทั่วไป โดยมีส่วนขาที่ยาว มีดวงตาคู่หนึ่งที่ใหญ่โต มีประสิทธิภาพในการมองเห็นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนสูง อันเป็นเวลาที่ออกหากิน โดยจะมีพฤติกรรมสาวใยเส้นหนาแต่บางเบา และเหนียวให้เป็นลักษณะเหมือนกับร่างแห หรือตาข่ายรูปสี่เหลี่ยม และยึดไว้ด้วยขาคู่หน้าที่ยาวมากเหมาะสำหรับยืดกางออกให้กว้างที่สุด ส่วนขาคู่หลังทำหน้าที่เกาะยึดเส้นใยเพียงไม่กี่เส้น เหนือพื้นดินระยะใกล้ที่จะยึดแหลงมาถึง และเฝ้ารอเหยื่อที่ผ่านมาด้วยการมองจากดวงตา เมื่อมีเหยื่อผ่านมาจะทำการเอาเส้นใยเข้าคลุม โดยกางขาออกให้เต็มที่ แม้จะไม่เหมือนกับการที่มนุษย์ทอดแหหาปลา แต่ก็นับว่าเป็นพฤติกรรมการล่าเหยื่อที่แปลก", "title": "แมงมุมหว่านแห" }, { "docid": "903481#1", "text": "จากคัมภีร์ของทั้งสองศาสนา ทำให้พอจะอนุมานได้ว่าอัศราเอลเป็นทูตสวรรค์ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นที่สามจากเจ็ดชั้น เขามีสี่พักตร์และปีกอีกสี่พันข้าง ร่างกายของเขานั้นเต็มไปด้วยดวงตาและลิ้นมากมายเท่ากับจำนวนผู้คนบนโลกมนุษย์ เขาคอยบันทึกและลบรายชื่อการเกิดและดับในโลกมนุษย์ในหนังสือขนาดยักษ์", "title": "อัศราเอล" }, { "docid": "222042#19", "text": "แม้ว่าไทรโลไบต์รุ่นแรกสุดจะมีดวงตาที่ซับซ้อน เป็นตาประกอบ เลนส์ทั้งหลายเกิดจากแร่แคลไซต์ และถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของตาไทรโลไบต์ทั้งหลาย นี้ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าตาของอาร์โธพอดและอาจรวมถึงสัตว์อื่นๆได้พัฒนาขึ้นแล้วมาตั้งแต่เริ่มยุคแคมเบรียน การปรับปรุงสายตาทั้งของนักล่าและเหยื่อในสภาพแวดล้อมทะเลอาจเป็นหนึ่งที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการต่อไปอย่างรวดเร็วเป็นรูปแบบใหม่ๆอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงของการเกิดการแตกแขนงวิวัฒนาการครั้งใหญ่ในยุคแคมเบรียน\nดวงตาของไทรโลไบต์เป็นลักษณะเฉพาะของตาประกอบ เลนส์ตาแต่ละอันเป็นแท่งปริสซึมรูปรี จำนวนเลนส์ของดวงตาแต่ละดวงมีความแปรผัน ไทรโลไบต์บางชนิดมีเพียงเลนส์เดียวขณะที่บางชนิดมีเป็นพันๆเลนส์ ในตาประกอบนี้เลนส์มีการเรียงตัวเป็นรูปหกเหลี่ยม ซากดึกดำบรรพ์ของตาไทรโลไบต์มีความสมบูรณ์และจำนวนมากเพียงพอที่จะศึกษาในเชิงวิวัฒนาการตลอดช่วงเวลา ซึ่งสามารถชดเชยการขาดหายไปของส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนิ่มด้านใน \nเลนส์ของตาไทรโลไบต์ทำขึ้นจากแร่แคลไซต์ (แคลเซี่ยมคาร์บอเนต CaCO) แคลไซต์บริสุทธิมีความโปร่งใสและไทรโลไบต์บางกลุ่มได้มีการเรียงเลนส์ใสๆทั้งหลายในทางผลึกศาสตร์ในดวงตาแต่ละดวงของมัน ลักษณะดังกล่าวนี้แตกต่างไปจากอาร์โธพอดอื่นๆที่มีดวงตาที่เกิดจากสารไคตินอ่อนนุ่ม\nแท่งเลนส์ที่กระด้างของแร่แคลไซต์ในดวงตาของไทรโลไบต์หนึ่งๆควรจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนระยะชัดเหมือนเลนส์ตาอ่อนๆอย่างของมนุษย์ อย่างไรก็ตามในไทรโลไบต์บางชนิดจะดวงตามีโครงสร้างแท่งเลนส์เป็นแบบแท่งเลนส์คู่ที่มีผิวเลนส์ต่างระดับกันทำให้เกิดความชัดต่างระดับได้ ซึ่งก็ได้มีการค้นพบเพิ่มเติมอีกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส (เรเน่ เดสการ์ต) และนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ (คริสเตียน ฮุยเจนส์) หลายปีต่อมา มีสัตว์ปัจจุบันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเลนส์ตาคล้ายกันนี้คือในตาของดาวทะเล (บริตเทิลสตาร์ โอฟิโอโคมา เวนด์ติไอ) ในไทรโลไบต์กลุ่มอื่นๆที่เลนส์แบบฮุยเจนส์ดูเหมือนจะขาดหายไป เลนส์ที่มีดัชนีเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดดัชนีหักเหของแสงที่เปลี่ยนแปลงไปตามแนวแกนศูนย์กลาง ", "title": "ไทรโลไบต์" } ]
2110
สามก๊กเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศใด?
[ { "docid": "9800#6", "text": "สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นน", "title": "สามก๊ก" } ]
[ { "docid": "882845#59", "text": "ใน\"จดหมายเหตุสามก๊ก\" บทชีวประวัติโจโฉได้บันทึกว่าโจโฉเสียชีวิตที่เมืองลกเอี๋ยงในปี ค.ศ. 220 ขณะอายุได้ 66 ปี (นับอายุแบบจีน). ส่วนบทชีวประวัติฮัวโต๋ได้บันทึกว่าโจโฉสั่งประหารฮัวโต๋เมื่อฮัวโต๋ปฏิเสธที่จะรักษาอาการปวดศีรษะเรื้อรังของโจโฉ ต่อมาโจโฉเสียใจที่สั่งประหารฮัวโต๋ไป เพราะบุตรของโจโฉชื่อโจฉอง (เฉาชง) ป่วยเสียชีวิตขณะอายุยังน้อย และโจโฉเชื่อว่าถ้าฮัวโต๋ยังอยู่คงสามารถรักษาโจฉองได้ บทชีวประวัติฮัวโต๋ไม่ได้ระบุปีที่ฮัวโต๋เสียชีวิต แต่อนุมานได้ว่าฮัวโต๋เสียชีวิตก่อนปี ค.ศ. 208 ซึ่งเป็นปีที่โจฉองเสียชีวิต ดังนั้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวรรณกรรม\"สามก๊ก\"จึงเป็นเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นมา", "title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก" }, { "docid": "165509#2", "text": "ตันซิ่วได้เขียนและรวบรวมหนังสือชุด \"ชีวประวัติและผลงานของ จูกัดเหลียง ขงเบ้ง\" เมื่อเสนาบิดีเตียวหัวได้อ่านแล้วก็ชื่นชอบมาก จึงนำขึ้นภวายให้พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ เมื่อทรงอ่านแล้วก็โปรดปรานและรู้สึกทึ่งกับเรื่องราวของจูกัดเหลียง จึงมีบัญชาให้เรียกตัวตันซิ่วเข้าเฝ้า แล้วสั่งให้เขารวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสามก๊กอย่างละเอียด ตันซิ่วจึงเริ่มรวบรวมประวัติศาสตร์ตั้งแต่ในสมัยที่พระเจ้าเลนเต้ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 711 ไปจนถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้รวบรวมแผ่นดินจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวใน พ.ศ. 823 อย่างละเอียด เพื่อเอากลศึกสงครามต่าง ๆ ที่เกิดในยุคนี้ให้เป็นตำราสงครามให้แก่คนรุ่นหลัง สามก๊กฉบับแรกนี้มีชื่อว่า \"ซานกั๋วจื้อ\" ", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "743196#2", "text": "เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "9800#118", "text": "ภายในศาลมีการแบ่งแยกพื้นที่ออกเป็นหลายส่วน รวมทั้งมีการแยกศาลต่าง ๆ ออกเป็นเฉพาะบุคคลคือศาลเล่าปี่ จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กและราชวงศ์ฮั่น ศาลเจ้ากวนอูที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของ 5 ทหารเสือฝ่ายบู๊ กวนอูเป็นตัวแทนของความซื่อสัตย์และกตัญญู จนได้รับการยกย่องจากชาวจีนให้เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์และโชคลาภ ศาลเจ้าจูกัดเหลียงที่มีความโด่งดังในด้านของสติปัญญาและความฉลาดเฉลียว ภายในศาลมีรูปปั้นจูกัดเหลียงขนาดใหญ่มีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี ชาวจีนเรียกกันว่า \"ทาสอุ้มทรัพย์\" ตามความเชื่อต่อ ๆ กันของชาวจีน ถ้าผู้ใดได้ลูบที่รูปปั้นจูกัดเหลียงแล้วจะมีโชคลาภ จูกัดเหลียงได้ชื่อว่าเป็นกุนซือหรือที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ที่มีความเฉลียวฉลาด วางแผนการรบและกลศึกต่าง ๆ ที่มีความสลับซับซ้อน ชาวจีนส่วนใหญ่จะนับถือจูกัดเหลียงมากกว่าศาลเจ้าเล่าปี่และศาลเจ้ากวนอู จนมีการเรียกศาลเจ้าสามก๊กเป็นศาลเจ้าจูกัดเหลียงแทน นอกจากศาลเจ้าเล่าปี่ กวนอูและจูกัดเหลียงแล้ว ภายในบริเวณศาลยังมีรูปปั้นประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญในสมัยราชวงศ์สู่ เรื่องราวต่าง ๆ จากตำนานอันยิ่งใหญ่ของสามก๊กของบุคคลอื่น ๆ อีกเช่น โจโฉ เตียวหุย และอีก 14 เสนาธิการทหารเอก", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "178114#3", "text": "ซึ่งทำให้ผู้ชมไม่ทราบว่าจูล่งตายหรือไม่สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร เป็นสามก๊กฉบับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 เช่นเดียวกับ \"สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ\" ของจอห์น วู แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ไปทางลบ เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้เจาะเฉพาะตัวละครเอกคือ จูล่ง เพียงคนเดียว โดยเล่าเรื่องราวของจูล่งตั้งแต่หนุ่มยันแก่ อีกทั้งเนื้อเรื่องก็มิได้เป็นไปตามวรรณกรรมด้วย มีตัวละครหลายตัวที่ถูกแต่งขึ้นมา เช่น โจอิง หรือ หลอผิงอัน เป็นต้น อีกทั้งหลายส่วนในเรื่องก็ไม่เป็นไปตามวรรณกรรม เช่น ชุดเกราะของจูล่งที่ในวรรณกรรมระบุว่าสวมเกราะสีเงิน แต่ในภาพยนตร์กลับสวมเกราะที่มีลักษณะคล้ายเกราะของซามูไรมากกว่า จึงทำให้ในเว็บไซต์ IMDb ให้เครดิตภาพยนตร์เรื่องนี้เพียง 5.7 ดาว จาก 10 ดาวเท่านั้น", "title": "สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร" }, { "docid": "226330#0", "text": "สามก๊กฉบับวณิพก เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของยาขอบ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงเรื่องราวของตัวละครเอกจากสามก๊ก เช่น โจโฉ ผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ,เตียนอุย ผู้ใช้ศพเป็นอาวุธ,จิวยี่ ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า,จูล่ง สุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน กวนอู มนุษย์ผู้กลายเป็นเทพเจ้า ฯลฯ", "title": "สามก๊กฉบับวณิพก" }, { "docid": "186256#19", "text": "Template:CJKV) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพเมื่อใด ต้องรีบฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูกลับมาแข็งแกร่งดั้งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้าโจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยไปใช้ได้แก่ลกซุนที่แนะนำซุนกวนให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนนำกำลังทหารไปตีลกเอี๋ยง[6]", "title": "กลศึกสามก๊ก" }, { "docid": "9800#111", "text": "แปลโดย นายวรรณไว พัธโนทัย เป็นสามก๊กฉบับแรกที่พยายามแปลจากต้นฉบับสามก๊กภาษาจีนของ หลอก้วนจง ทำให้เป็นสามก๊กฉบับแปลไทยฉบับแรกที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับภาษาจีนและภาษาอังกฤษของ บริเวตต์ เทย์เลอร์ สามก๊กฉบับวรรณไว พัธโนทัย ยังเป็นฉบับที่ถือว่าแปลตามลักษณะของนิยายตะวันตกคือแปลคำต่อคำ โดยไม่ได้ดัดแปลงสำนวนภาษาแต่อย่างใด จึงค่อนข้างอ่านง่าย สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีรสทางวรรณกรรมเทียบเท่ากับสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ซึ่งใช้สำนวนเป็นภาษาชาววังโบราณ ส่วนฉบับนี้ภาษาที่ใช้ก็เป็นสำนวนปกติทั่วไป [24] อีกจุดหนึ่งที่สามก๊กฉบับนี้ยังคงไว้จากต้นฉบับคือ บทร้อยกรองต่าง ๆ และเนื้อหาของฎีกาหรือข้อความบรรยายบางจุดที่ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตัดออก ในฉบับนี้ก็ยังมีอยู่ครบ แต่กระนั้นก็ยังมีบางจุดที่แปลผิดพลาดอยู่บ้าง[25]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "23803#10", "text": "ละครโทรทัศน์ เรื่อง สามก๊ก ของประเทศจีน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องวรรณกรรมอมตะของจีนเรื่องสามก๊ก ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวของเล่าปี่ตั้งแต่ยังเป็นสามัญชนจนกระทั่งสวรรคตที่เมืองเป๊กเต้ โดย ซุนกวินจ้าน นักแสดงชาวจีนที่รับบทเล่าปี่ สามก๊ก เป็นละครที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2553 มีการถ่ายทอดเรื่องราวของเล่าปี่ตั้งแต่สาบานเป็นพี่น้องกับกวนอูเตียวหุยจนกระทั่งเสียชีวิต แสดงโดย Yu Hewei", "title": "เล่าปี่" }, { "docid": "9800#116", "text": "ศาลเจ้าสามก๊ก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดอู่โหวซื่อ ที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน สร้างขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์จิ้นตะวันตก ด้านหลังของวัดเป็นที่ตั้งสุสานของพระเจ้าเล่าปี่และจูกัดเหลียง ซึ่งเป็นตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในสามก๊ก ซึ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจีน เรื่องราวต่าง ๆ ในสามก๊กเริ่มต้นในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เนื่องจากในขณะนั้นเล่าปี่ปกครองและแต่งตั้งเสฉวนเป็นราชธานี โดยมีจูกัดเหลียงเป็นที่ปรึกษา ราษฏรใช้ชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุข แต่เมื่อเล่าปี่สวรรคตแล้ว ประชาชนต่างให้การยอมรับและนับถือจูกัดเหลียงมากกว่า จึงร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้นมาเพื่อเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่นานทางรัฐบาลจีนเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงมีคำสั่งให้สร้างศาลเล่าปี่ขึ้น รวมทั้งให้มีรูปปั้นขุนนาง 14 ท่านภายในศาลเจ้า", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#21", "text": "ซันกั๋วจือผิงฮว่า เป็นการนำเอาหลักการความเชื่อในด้านศาสนาและลัทธิเต๋าของจีนมาผสมผสานไว้ในเนื้อเรื่อง ผูกโยงร่วมกับนิทานพื้นบ้านของจีนเรื่องไซ่ฮั่น โดยสมมุติเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในซันกั๋วจือผิงฮว่าใหม่ทั้งหมด ซึ่งตัวละครในแต่ละตัวจะพบผลกรรมที่ตนเองได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้ในยุคไซ่ฮั่นเช่น มีการแต่งเนื้อเรื่องเพิ่มเติมว่าฮั่นสินได้กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นโจโฉ เล่าปังหรือพระเจ้าฮั่นโกโจ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นพระองค์แรก กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ เนื่องจากในชาติที่แล้ว เล่าปังได้เนรคุณฮั่นสินที่มีบุญคุณต่อตนเองภายหลังจากได้ช่วยให้ครอบครองแผ่นดินได้สำเร็จ เมื่อกลับมาเกิดใหม่เป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้จึงถูกฮั่นสินที่กลับมาเกิดเป็นโจโฉกดขี่ข่มเหงและกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา หรือแม้แต่สุมาต๋ง ก็ได้หวนกลับมาเกิดใหม่เป็นสุมาอี้ ผู้วางรากฐานจีนแผ่นดินใหญ่และการรวบรวมก๊กต่าง ๆ ทั้งสามก๊กให้เป็นแผ่นดินเดียวกันได้สำเร็จ", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#126", "text": "สามก๊ก เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีผู้นำไปตีความในแง่มุมต่าง ๆ เกิดเป็นหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับสามก๊กอีกมากมาย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนหนังสือชุด \"สามก๊ก ฉบับนายทุน\" ขึ้นเป็นทำนองล้อเลียนฉบับวณิพกของยาขอบ โดยตีความเรื่องราวในวรรณกรรมสามก๊กไปในทางตรงกันข้าม ด้วยสมมุติฐานว่าผู้เขียนเรื่องสามก๊กตั้งใจจะยกย่องฝ่ายเล่าปี่เป็นสำคัญ หากผู้เขียนเป็นฝ่ายโจโฉเรื่องก็อาจบิดผันไปอีกทางหนึ่ง งานเขียนที่สืบเนื่องจากสามก๊กของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ได้แก่ โจโฉนายกตลอดกาลและ เบ้งเฮ็กผู้ถูกกลืนทั้งเป็น ซึ่งในหนังสือเล่มหลังนี้นำเสนอแนวคิดว่าแท้จริงแล้วเบ้งเฮ็กอาจจะเป็นบรรพบุรุษของคนไทยที่อพยพหนีลงมาจากสงครามก็ได้", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#8", "text": "บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจือ (All {{zh-xx}} templates have been merged into {{zh}}, which can do anything. Consult that template's documentation for more details.", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#137", "text": "สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกรนำแสดงโดย หลิวเต๋อหัว, แม็กกี้ คิว, หงจินเป่า, แวนเนส วู, แอนดี้ อัง, ตี้หลุง กำกับการแสดงโดย แดเนียล ลี ความยาว 102 นาที ออกฉายเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551 ในประเทศไทยฉายวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกรได้รับเสียงวิจารณ์ไปทางลบเป็นอย่างมาก เนื่องจากเนื้อเรื่องของภาพยนตร์เป็นการเจาะเฉพาะตัวละครเอกของเรื่องคือจูล่งเพียงคนเดียว โดยเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติของจูล่งตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงวัยชรา รวมทั้งเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ก็ไม่ได้เป็นไปตามวรรณกรรมอีกด้วย และมีตัวละครหลายตัวที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะเช่น โจอิง หรือ หลอผิงอัน เป็นต้น และอีกหลายส่วนในเรื่องก็ไม่เป็นไปตามวรรณกรรมเช่นชุดเกราะของจูล่งที่ในวรรณกรรมระบุว่าสวมเกราะสีเงิน แต่ในภาพยนตร์กลับสวมเกราะที่มีลักษณะคล้ายเกราะของซามูไรมากกว่า จึงทำให้ในเว็บไซต์ IMDb ให้เครดิตภาพยนตร์เรื่องนี้เพียง 5.7 ดาว จาก 10 ดาวเท่านั้น", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#7", "text": "ซึ่งจีนในขณะนั้นบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์วุ่นวายระส่ำระสาย เกิดการแตกแผ่นดินออกเป็นก๊กต่าง ๆ รวมสามก๊กด้วยกัน รวมทั้งมีการทำสงครามอันยาวนานนับ 100 ปี และสุดท้ายจีนที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่าก็กลับมารวมเป็นจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งในสมัยราชวงศ์จิ้นขึ้นปกครองประเทศจีนต่อ ภายหลังได้มีการชำระประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตในยุคนั้น โดยนักปราชญ์ชาวจีนชื่อตันซิ่ว(เฉินโซ่ว/Chen Sou)[4]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#26", "text": "นอกจากนี้ เผย์ซงจือยังแก้ไขในเรื่องของระยะเวลาที่มีความขัดแย้งในตัวเองของจดหมายเหตุสามก๊กและเพิ่มเติมความคิดเห็นบางส่วนของตนลงไป โดยที่ไม่ตัดทอนรายละเอียดและเรื่องราวต่าง ๆ ของจดหมายเหตุสามก๊กออกแต่อย่างใด จึงนับได้ว่าการชำระจดหมายเหตุสามก๊กของเผย์ซงจือทำให้ซันกั๋วจือเป็นที่กล่าวขานครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง[8]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "165509#0", "text": "จดหมายเหตุสามก๊ก (; ) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดย เฉินโซ่ว (ตันซิ่ว, Chen Shou) บัณฑิตและขุนนางชาวเสฉวน มีตัวตนจริงอยู่ในสมัยยุคสามก๊ก โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยบิดาของเฉินโซ่ว ", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "9800#11", "text": "เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสามก๊ก เคยมีผู้นำมาเล่าเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน และนำมาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีน จนกระทั่งหลัว กวั้นจง นักปราชญ์จีนในสมัยยุคราชวงศ์หมิง ในปี พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 2186 ได้นำสามก๊กมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้งในรูปแบบของหนังสือ ต่อมาภายหลังเม่าจงกังและกิมเสี่ยถ่าง (จิ้นเสิ้งทั่น) ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนของสามก๊กและนำไปตีพิมพ์ในจีน หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อของ \"สามก๊ก\" ได้กลายเป็นวรรณกรรมอมตะที่ได้รับการกล่าวขานและแพร่หลายในจีน รวมทั้งอีกหลาย ๆ ประเทศและได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบภาษาต่าง ๆ หลายภาษา[5]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "882845#22", "text": "ระหว่างการเดินทาง กวนอูได้พบคนมากมายที่ต่อมาได้มาเป็นลูกน้องในบังคับบัญชา ได้แก่ เลียวฮัว จิวฉอง และ กวนเป๋ง (ซึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของกวนอู) \nใน\"จดหมายเหตุสามก๊ก\" บทชีวประวัติกวนอู มีการบันทึกถึงเรื่องที่กวนอูลาจากโจโฉไป รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่กวนอูจะจากไป แต่ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่กวนอูฝ่าห้าด่าน รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวนายด่านทั้งหกคน (ขงสิ้ว ฮันฮก เบงทัน เปี๋ยนฮี อองเซ็ก และจินกี๋) ก็ไม่มีการกล่าวถึง", "title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก" }, { "docid": "19644#15", "text": "สามก๊ก ฉบับละครโทรทัศน์ ของประเทศจีน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องวรรณกรรมอมตะของจีนเรื่องสามก๊ก ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวของโจโฉตั้งแต่รับราชการเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยจนกระทั่งเสียชีวิต โดย เปากั๊วอัน นักแสดงชาวจีนที่รับบทโจโฉ สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ชุดใหม่) เป็นละครที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2553 มีการถ่ายทอดเรื่องราวของโจโฉตั้งแต่รับราชการและคิดฆ่าตั๋งโต๊ะไปจนถึงเสียชีวิต แสดงโดยเฉินเจี้ยนปิน", "title": "โจโฉ" }, { "docid": "9800#114", "text": "เรียบเรียงโดย เรืองวิทยาคม มีทั้งสิ้น 655 ตอน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ในเครือผู้จัดการ เหตุในการเรียบเรียงสามก๊กฉบับนี้ มาจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมด้วยปัญหาทางการเมืองควบคู่กัน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเรียบเรียงสามก๊กฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งในเนื้อหาเจตนาผู้เขียนมิได้กระทบกระเทียบเสียดสีผู้ใดในบ้านเมือง[26]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#5", "text": "สามก๊กมีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน[3] ภาพโดยรวมของสามก๊กกล่าวถึงประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก ในปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 โดยจุดเริ่มต้นของสามก๊กเริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. 726 ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง รวมทั้งการแย่งและช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นของก๊กต่าง ๆ อันประกอบด้วยวุยก๊กหรือก๊กเว่ย (魏) จ๊กก๊กหรือก๊กสู่ (蜀) และง่อก๊กหรือก๊กหวู (吳) จนถึงการสถาปนาราชวงศ์จิ้นโดยสุมาเอี๋ยน รวมระยะเวลาประมาณ 60 ปี นอกจากนี้ สามก๊กยังเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับไซอิ๋ว ซ้องกั๋งและความฝันในหอแดง ซึ่งนักอ่านหนังสือจำนวนมากยกย่องสามก๊กเป็นบทเรียนตำราพิชัยสงครามภาคปฏิบัติ การบริหารและเศรษฐกิจ", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#29", "text": "Template:CJKV) เป็นสามก๊กฉบับนิยายที่ประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง นักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์หมิง ผู้เป็นศิษย์เอกของซือไน่อัน หลัว กวั้นจงเป็นผู้นำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ โดยแต่งเสริมเพิ่มเติมในบางส่วนจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ในแบบฉบับของตนเอง รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจีนให้กลายเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นการต่อสู้กันเองระหว่างฝ่ายคุณธรรมและฝ่ายอธรรมตามแบบฉบับของงิ้ว ที่จะต้องมีการกำหนดตัวเอกและตัวร้ายอย่างชัดเจนในเนื้อเรื่อง", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "882845#31", "text": "ปราสาทตั้งเซ็กไต๋หรือปราสาทนกยูงทองแดง (銅雀臺) ถูกสร้างขึ้นในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 210 สามปีหลังศึกเซ็กเพ็ก และบทกวีของโจสิด \"ชมปราสาทตั้งเซ็กไต๋\" ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 212 สองปีหลังจากปราสาทได้ถูกสร้างขึ้น นอกจากนี้ในวรรณกรรม \"สามก๊ก\"ยังได้เพิ่มเติมบทกวีไปอีก 7 วรรคที่ไม่มีในบทกวีที่ปรากฏในบทชีวประวัติโจสิดใน \"จดหมายเหตุสามก๊ก\" ดังนั้นเรื่องราวในวรรณกรรม\"สามก๊ก\"ที่ขงเบ้งใช้บทกวียั่วยุจิวยี่ให้โกรธโจโฉจึงเป็นเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นมา", "title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก" }, { "docid": "888568#0", "text": "เอสดี กันดั้ม ศึกตำนานสามก๊ก (อังกฤษ SD Gundam Sangokuden Brave Battle Warriors) เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2010 กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมของ หลอ กว้านจง เรื่อง สามก๊ก นำแสดงโดย ยูกิ คาจิ, ฮิโรกิ ยาสุโมโตะ, มาซายูกิ คาโต้,ซาโตรุ อิโนะอุเอะ ออกอากาศทางช่อง การ์ตูนคลับ ในไทย", "title": "เอสดี กันดั้ม ศึกตำนานสามก๊ก" }, { "docid": "9800#124", "text": "ภายในอุทยานสามก๊ก มีระเบียงจิตรกรรมบนกระเบื้องกังไสจีน เป็นการจัดแสดงฉากจากพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก จำนวน 56 ตอน ความยาว 240 เมตร เป็นการคัดย่อวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเฉพาะในส่วนตอนที่สำคัญตั้งแต่ตอนต้นเรื่องคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย สามวีรบุรุษร่วมสาบานในสวนท้อ กระทั่งถึงตอนสุดท้ายที่สุมาเอี๋ยนได้รวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ถือได้ว่านอกจากอุทยานสามก๊กจะได้ย่อตำนานพงศาวดารจีนที่มีความยาวเป็นอย่างมากไว้ภายในอุทยานแล้ว ยังได้นำเสนอเรื่องราวของสามก๊กผ่านระเบียงจิตรกรรม นอกจากนั้นยังมีตัวละครเอกในรูปแบบของรูปปั้นกังไสกระเบื้องประดับภายในอุทยานอีกด้วย ซึ่งอุทยานสามก๊กจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้นำเอาศิลปะความเป็นจีน นำเสนอผ่านทางรูปแบบของสถาปัตยกรรมจีนร่วมสมัยอีกด้วย", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "165509#3", "text": "อย่างไรก็ตาม ซานกั๋วจื้อ ก็มีอุปสรรคในการเขียนมาก และเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในฐานะของจดหมายเหตุราชสำนัก มีลักษณะเป็นบันทึกชีวประวัติบุคคลต่างๆ ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จนสิ้นสุดยุคสามก๊ก เรื่องราวในซานกั๋วจื้อไม่ได้แพร่หลายมากนักในระยะแรก แต่ก็เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กฉบับแรกที่ถูกนักเขียนในรุ่นหลังนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง จนกระทั่งในสมัยราชวงศ์หมิง นักประพันธ์คนสำคัญคือ หลอกว้านจง (ล่อกวนตง) ก็ได้นำจดหมายเหตุสามก๊กมาใช้เป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊ก ซึ่งต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง สองพ่อลูกนักประพันธ์คือ เหมาหลุน และ เหมาจงกัง ก็ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้กระชับและสมบูรณ์ขึ้น จนกลายเป็นสามก๊กที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งก็คือต้นแบบของ วรรณกรรมสามก๊ก ซานกั๋วเหยี่ยนอี้ นั่นเอง", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "9800#125", "text": "สามก๊กเป็นวรรณกรรมจีนที่เป็นอมตะ ได้รับการกล่าวขานถึงการเป็นสุดยอดวรรณกรรมจีนที่ให้แง่คิดในเรื่องต่าง ๆ แม้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมานานแล้วในหลายยุคสมัย แต่ชื่อของตัวละคร สถานที่หรือลักษณะท่าทางต่าง ๆ ยังเป็นที่จดจำและกล่าวขานต่อ ๆ กันมาทุกยุคสมัย ในปัจจุบันสามก๊กกลายเป็นชื่อที่คุ้นหูคนไทยมาโดยตลอดและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับสามก๊กออกมาตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นหนังสือ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ รวมทั้งเกมวางแผน ซึ่งได้หยิบยกเรื่องราวและตอนสำคัญบางส่วนของสามก๊กนำมาทำเป็นเกมจำนวนมาก ซึ่งกล่าวได้ว่าสามก๊กนั้นเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อเนื่องตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#142", "text": "หงสาจอมราชันย์ เป็นการ์ตูนฮ่องกง เรื่องโดยเฉินเหมา นักเขียนการ์ตูนชาวฮ่องกง ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เรื่องราวหยิบยกเอาเหตุการณ์ในสามก๊ก จากทั้งวรรณกรรมและพงศาวดารมาเป็นโครงเรื่อง ซึ่งบางส่วนมีการตีความลักษณะของตัวละครขึ้นมาใหม่จากความคิดของเฉินเหมาเอง โดยมีสุมาอี้และเหลี่ยวหยวนหว่อหรือจูล่งเป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก ปัจจุบันนอกจากฮ่องกงกับไต้หวันแล้ว หงสาจอมราชันย์ยังถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปตีพิมพ์ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม สิงคโปร์ และไทย", "title": "สามก๊ก" } ]
98
ล้านนากับล้านช้างคืออาณาจักรเดียวกันหรือไม่ ?
[ { "docid": "72960#12", "text": "ในรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2090) พระโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินให้เกิดความเป็นปึกแผ่นประกาศยกเลิกไม่ให้ประชาชนนับถือผีสางให้มายึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดวาอารามต่างๆ มากมาย ให้การช่วยเหลือเวียดนามและเจริญสัมพันธไมตรีกับล้านนา (เชียงใหม่) ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ. 2091 พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสารราชเจ้าซึ่งประสูติกับพระมเหสีที่มีพระนามว่า “พระนางยอดคำทิพย์” (หรือเจ้านางหลวงคำผาย:พระธิดาในกษัตริย์ล้านนา) ได้ทรงขึ้นครองราชย์ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในรัชสมัยของพระองค์เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า กรุงสีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง แห่งนี้ชัยภูมิไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงอีกต่อไปเพราะอยู่ใกล้กับศัตรู เมื่อพวกพม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้วต่อไปภายภาคหน้าก็อาจยกทัพมารุกรานลาวล้านช้างก็เป็นได้ พระองค์จึงทรงย้ายเมืองหลวงจาก หลวงพระบาง มาสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ และสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่โดยพระราชทานนามว่า กรุงศรีสัตตนาคะนะหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ นับได้ว่าเป็นรัชสมัยแห่งความรุ่งเรืองในด้านศิลปะและวรรณกรรมต่าง ๆ ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ได้ทรงประกาศห้ามให้มีการบูชาผีต่างๆ และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง โดยมีการรับอิทธิพลด้านพุทธศาสนามาจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับล้านช้างในเวลานั้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้อักษรธรรมล้านนาเป็นเครื่องมือศึกษาพระพุทธศาสนา (อักษรดังกล่าวนี้ได้พัฒนาเป็นอักษรธรรมล้านช้างในเวลาต่อมา)", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" } ]
[ { "docid": "72960#0", "text": "อาณาจักรล้านช้าง (Lao: ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "480013#0", "text": "อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นอาณาจักรทางตอนกลางของประเทศลาว และ ภาคอีสานตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ครอบคลุม ภาคอีสานตอนบน แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ กรุงเวียงจันทน์ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศและบริเวณใกล้เคียง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ติดกับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เมื่อถึง พ.ศ. 2436 อาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 ส่วนจึงได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเป็นพระราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2496 รวมลาวอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นเวลา 60 ปี", "title": "อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์" }, { "docid": "143512#5", "text": "ก่อนหน้านี้อาณาจักรล้านนามีความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรล้านช้างและกลายเป็นรัฐเครือญาติกันผ่านการอภิเษกสมรสระหว่างนางยอดคำพระราชธิดาในพระเมืองเกษเกล้า กับพระยาโพธิสาลราชพระเจ้าล้านช้าง มีพระราชโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งคือเจ้าเชษฐวงษ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอุปโยวราช[17] เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสด็จสวรรคต ล้านนาเกิดกลียุคมีสงครามยาวนาน พระนางจิรประภาเทวีจึงเสวยราชย์ ช่วงนั้นได้เกิดกบฏชาวไทใหญ่และการรุกรานของอาณาจักรอยุธยา ทั้งขุนนางแห่งล้านนาเองก็มีอำนาจเหนือกษัตริย์เสียด้วย[4] ล้านช้างที่ขณะนั้นกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจึงเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือล้านนาจนฝ่ายอยุธยาพ่ายแพ้ไป พระยาโพธิสาลราชในฐานะผู้ปกป้องล้านนาจึงมีความชอบยิ่งนัก ได้นำพระราชโอรสคือเจ้าเชษฐวงษ์ผู้เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของพญามังรายทางฝ่ายมารดาขึ้นครองล้านนา มหาเทวีจิรประภาจึงสละราชสมบัติให้พระอุปโยวราชครองราชย์ในปี พ.ศ. 2089[4] ทรงพระนาม<i data-parsoid='{\"dsr\":[6172,6198,2,2]}'>พระเป็นเจ้าอุปปโยวราชะ", "title": "พระเมกุฏิสุทธิวงศ์" }, { "docid": "72960#14", "text": "ต่อมาเมื่อพระเมืองเกษเกล้าแห่งล้านนาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2088 อาณาจักรล้านนาก็เกิดความวุ่นวายจากการสรรหาผู้เหมาะสมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ เหล่าขุนนางแห่งล้านนาจึงได้อัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารและเจ้าหญิงเชื้อสายล้านนา ให้เสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 2089 เพื่ออาศัยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างคานอำนาจกับอาณาจักรตองอูที่นับวันจะกล้าแข็งขึ้นเรื่อย ๆ", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "72960#9", "text": "ในรัชสมัยของพระยาอุ่นเฮือน (พ.ศ. 1899 – 1916) และอีกสองรัชสมัยต่อมา คือในรัชสมัยของพระเจ้าสามแสนไทยไตรภูวนาถ (พ.ศ. 1916 – 1959) และพระยาล้านคำแดง (พ.ศ. 1959 – 1971) เป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างปลอดจากการรุกรานจากภายนอก เนื่องด้วยการเสื่อมอำนาจลงของอาณาจักรเขมรเป็นสำคัญ อีกทั้งฝ่ายสุโขทัยที่เข้มแข็งขึ้นก็มุ่งอยู่กับการปราบปรามอำนาจของเขมรที่เคยมีเหนือดินแดนตน ทางอาณาจักรจามปาซึ่งเพิ่งพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิมองโกลก็ยังไม่เข้มแข็ง การแข่งขันกันสร้างเสริมความมั่นคงของสุโขทัยและล้านนาอันเป็นอาณาจักรที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้อาณาจักรล้านช้างก็ต้องพยายามเสริมสร้างความมั่นคงของตนด้วย โดยได้มีการจัดทำบัญชีไพร่พลและปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ ซึ่งด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "223156#1", "text": "เมื่อพญามังรายมีอำนาจเหนือล้านนา ทรงแต่งตั้งให้ขุนมาครองนครลำปางสืบต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีได้กรีฑาทัพยึดล้านนาไว้ได้ทั้งหมด จึงสิ้นสุดยุคราชวงศ์มังรายในนครลำปาง ตลอดระยะที่พม่าได้ครอบครองอาณาจักรล้านนามาเป็นเวลา 200 ปีนั้น ได้กดขี่ข่มเหงชาวบ้านอย่างมากมาย จนเกิดกบฏหลายครั้ง จนกระทั่งหนานทิพย์ช้างได้ชัยชนะเหนือท้าวมหายศแห่งนครลำพูน(ซึ่งอยู่ในอำนาจของพม่า) และชาวเมืองพร้อมใจสถาปนาหนานทิพย์ช้างเป็นพระญาสุลวะฤๅไชยสงคราม และเริ่มต้นยุคราชวงศ์ทิพย์จักร หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในนครลำปาง ลูกหลานของพระญาสุลวะฤๅไชยได้ให้ความร่วมมือกับกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ในการขจัดอิทธิพลพม่าออกจากอาณาจักรล้านนาได้ทั้งหมด และสิ้นสุดยุคประเทศราชของพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนได้ครองนครลำปางจนถึง พ.ศ. 2465 ในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต", "title": "รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง" }, { "docid": "75432#11", "text": "ในช่วงเวลานี้ตำนานของขุนบรม ได้ถูกเขียนบันทึกต้นฉบับไว้บนใบลานและมหากาพย์สังข์ศิลป์ชัยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นด้วยเช่นกัน พุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติและเวียงจันทน์กลายเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนา อิทธิพลทางวัฒนธรรมนอกเหนือจากนี้ก็มาจาก ชาวมอญ และ ชาวเขมร การรวมล้านนาไทยเข้ากับอาณาจักรล้านช้างเกิดช่วงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช () (ค.ศ. 1548–1572) นำไปสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมและศิลปะจำนวนมาก ในด้านศิลปะได้เลียนแบบศิลปะของล้านนา การรับเอาวัฒนธรรมล้านนามาใช้ในอาณาจักรล้านช้างรวมไปถึงวัฒนธรรมทางปัญญาด้วย เช่น หอสมุดของล้านนาถูกคัดลอก รวมทั้งวรรณกรรมทางศาสนามาก นี้อาจนำไปสู่การยอมรับหรืออาจนำมาประยุกต์ใช้ใหม่ของตัวเมืองที่มาจากภาษามอญ นำมาใช้ในอาณาจักรล้านช้างสำหรับงานเขียนด้านศาสนา", "title": "ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)" }, { "docid": "143512#6", "text": "ครั้นในปี พ.ศ. 2090 พระยาโพธิสาลราชสวรรคตกะทันหัน พระเป็นเจ้าอุปปโยวราชะจึงเสด็จกลับไปครองราชย์ล้านช้างในปีนั้น ทรงพระนามว่า<i data-parsoid='{\"dsr\":[6324,6350,2,2]}'>สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช และได้นำมหาเทวีจิรประภาและพระแก้วมรกตไปล้านช้างด้วย อาณาจักรล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างขุนนางกลุ่มต่าง ๆ ช่วงปี พ.ศ. 2091-2094 ล้านนาได้เข้าสู่กลียุคอีกครั้ง[4] สุดท้ายขุนนางล้านนามีมติว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชคงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงเห็นควรให้อัญเชิญพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ เจ้านายเมืองนายผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์มังรายมาเสวยราชย์แทน[4] ซึ่งจากจารึกวัดเชียงสา จะพบว่าเนื้อหาเขียนว่าพระองค์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนล้านช้างเสียด้วย[2]", "title": "พระเมกุฏิสุทธิวงศ์" }, { "docid": "35698#0", "text": "พระอุปภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (; ) ถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติลาว ทรงเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทน์ให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระองค์เป็นพระญาติหรือพระนัดดาในพระนางจิรประภาเทวีเจ้านางหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา", "title": "สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช" }, { "docid": "368906#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2250 อาณาจักรล้านช้างแตกเป็น3ฝ่าย คืออาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง, อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์, และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เมืองหลวงพระบางจึงกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ไม่ขึ้นตรงต่ออาณาจักรลาวเวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ และได้มีการซ่อมแซมวัดเชียงทองเรื่อยมาทุกๆรัชกาล จึงเกิดลวดลายที่มีเอกลักษณ์ต่างจากนครเวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ วัดเชียงทองจึงถึงถือเป็นวัดประจำราชวงศ์ลาวหลวงพระบาง และเป็นสุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมลาวล้านช้าง มีลวดลายที่วิจิตรตระการตา", "title": "วัดเชียงทอง" }, { "docid": "35698#2", "text": "ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือเชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา เมื่อปี พ.ศ. 2089 ทรงครองราชเป็นกษัตย์เป็นพระองค์ที่ 15 เมื่อพระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคต พ.ศ. 2090 ด้วยถูกช้างล้มทับขณะประพาสป่า ทรงกลับนครได้เพียง 3 สัปดาห์ก็สวรรคต เมื่อสวรรคตแล้ว พระโอรสทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 ฝ่ายคืออาณาจักรฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่งล้านนา จึงยกทัพตีกรุงล้านช้าง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดบุปผาราม เชียงใหม่ รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วขาวไปด้วย เมื่อเสด็จถึงล้านช้าง ทรงยึดราชสมบัติจากเจ้าครองนครทั้งสองได้ ด้วยความเกรงกลัวของเจ้าครองนครทั้งสอง จึงทรงครองนครทั้งสองซึ่งเรียกว่า กรุงศรีสัตนาคตหุต พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่ 2 ของลาว ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระนามว่า \"พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช\"", "title": "สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช" }, { "docid": "94961#16", "text": "เนื่องจากในปีนั้นมีข้าศึกมาติดพันอยู่ตลอดมหาเทวีจิรประภาจึงได้ขอกำลังจากล้านช้างซึ่งเป็นอาณาจักรของพระเจ้าโพธิสารราช พระชามาดา (ลูกเขย) ของพระนางเอง ซึ่งอาณาจักรล้านช้างกำลังเจริญรุ่งเรือง ซึ่งการรวมกันของล้านช้างและล้านนา ได้สร้างความหวั่นวิตกต่อสมเด็จพระไชยราชาธิราช โดยเฉพาะการแทรกแซงล้านนา กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ขึ้นมาปราบเชียงใหม่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2089 โดยเฟอร์ดินานด์ เมนเดส ปินโต นักเดินทางชาวโปรตุเกสได้บันทึกไว้ว่า มีกำลังพล 400,000 คน เรือ 300 ลำ ช้าง 4,000 เชือก เกวียนสำหรับบรรทุกปืนใหญ่ 200 เล่ม และมีทหารรับจ้างโปรตุเกสไปร่วมรบด้วย 120 คน[note 2][11] ในครั้งนี้กรุงศรีอยุธยาสามารถตีเมืองลำพูนแตก แต่เชียงใหม่ก็ป้องกันตัวเองสำเร็จผลของสงครามคือกรุงศรีอยุธยาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงต้องกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บสาหัส ทหารฝ่ายล้านนาและล้านช้างได้อาวุธยุทโธปกรณ์ ช้าง ม้า และเชลยศึกจำนวนมาก", "title": "พระนางจิรประภาเทวี" }, { "docid": "158684#0", "text": "ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ คืออาณาจักรลาวล้านช้างที่ตั้งอยู่ทางต้นใต้ของประเทศลาวในปัจจุบัน ดำรงอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2256 ถึง พ.ศ. 2489 เป็นเวลา 236 ปี อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ตกเป็นประเทศราชของไทยจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาครอบครองบริเวณประเทศลาวทั้งหมด จำปาศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง กลายมาเป็นราชอาณาจักรลาว เมื่อปี พ.ศ. 2489", "title": "อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์" }, { "docid": "72960#52", "text": "ลำดับกษัตริย์ลาว ธรรมเนียมการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง ประเทศลาว อาณาจักรล้านนา", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "1942#4", "text": "ภายหลังเมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น ไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกันในลักษณะนี้ ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในปี พ.ศ. 2321", "title": "ประเทศลาว" }, { "docid": "37698#3", "text": "ปัจจุบันพระพุทธเจ้าเก้าตื้อ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดสวนดอก ซึ่งเป็นวัดสำคัญของล้านนา เนื่องจากในประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นที่ตั้งของคณะสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์ ที่พญากือนาได้ส่งราชทูตไปขอพระราชทานมาจากพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้โปรดให้พระมหาสุมนเถระ นำตั้งมั่นเผยแพร่พระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ยังอาณาจักรล้านนา ตามที่พระเจ้ากือนาทูลขอ พระมหาสุมนเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาด้วยหนึ่งองค์ เมื่อพระมหาเถระเดินทางมาถึงล้านนา จึงได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระเจ้ากือนา ในครั้งนั้นพระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ แบ่งออกเป็น 2 องค์ พระเจ้ากือนาได้มีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างอารามบุบผาราม เป็นที่จำพรรษาของพระมหาสุมนเถระ และสร้างพระสถูปเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์หนึ่งนั้น ได้โปรดให้อัญเชิญขึ้นไว้บนหลังช้าง แล้วอธิษฐานเสี่ยงทายสถานที่สมควรจะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว ครั้งนั้นช้างมงคลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เดินขึ้นไปบนดอยสุเทพ เมื่อถึงบนยอดดอยแล้ว ช้างได้คุกเข่าลงไม่ยอมเดินต่อ พระเจ้ากือนามหาธรรมิกราชจึงมีพระราชดำรัสให้สร้างพระบรมธาตุขึ้นบนดอยสุเทพ ซึ่งปัจจุบันคือ วัดพระธาตุดอยสุเทพ", "title": "พระเจ้าเก้าตื้อ" }, { "docid": "368906#1", "text": "ปีพ.ศ. 2042 ราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนาเกิดว่างกษัตริย์ พระนางจิระประภามหาเทวีผู้เป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์หญิงเพียง1ปี บ้านเมืองก็เกิดระส่ำระส่าย ถูกอาณาจักรรอบข้างรุกราน และในยุคที่บุเรงนองเป็นผู้ชนะ10ทิศ พระนางจิระประภาจึงเชื่อมสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านช้างให้แน่นแฟ้น แต่พระองค์ครองราชย์ได้เพียง1ปีจึงสละราชบัลลังก์ และทูลเชิญพระไชยเชษฐาจากเมืองหลวงพระบางแห่งอาณาจักรล้านช้างลงมาปกครองแทน เนื่องจากพระนางยอดคำทิพย์พระอัครมเหสีในพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง หรือผู้เป็นแม่ของพระไชยเชษฐา พระราชธิดาของพระนางจิระประภา จึงเห็นว่าหลานชายของตนมีสายเลือดล้านนา จึงให้มาปกครองเชียงใหม่ แต่พระไชยเชษฐาปกครองได้เพียง1ปี พระราชบิดาเกิดสวรรคตกระทันหัน พระไชยเชษฐาจึงต้องกลับไปเถลิงราชสมบัติครองราชย์ล้านนา พระองค์จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่กลับไปหลวงพระบางด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็เริ่มสร้างวัดเชียงทองขึ้นในใจกลางกรุงหลวงพระบาง ", "title": "วัดเชียงทอง" }, { "docid": "16978#1", "text": "ล้านนา หมายถึง ดินแดนที่มีนานับล้าน หรือมีที่นาเป็นจำนวนมาก คู่กับล้านช้าง คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว เมื่อปี พ.ศ. 2530 คำว่า \"ล้านนา\" กับ \"ลานนา\" เป็นหัวข้อโต้เถียงกัน ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธาน ได้ให้ข้อยุติว่า \"ล้านนา\" เป็นคำที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ใช้กันในวงวิชาการ[2]", "title": "อาณาจักรล้านนา" }, { "docid": "16978#18", "text": "แคว้นล้านนา แคว้นเชียงใหม่ อาณาจักรล้านช้าง", "title": "อาณาจักรล้านนา" }, { "docid": "395832#1", "text": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางหล้าสร้อยเทวีแห่งนครเวียงจันทน์ เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) พระราชบิดาของพระองค์พระนามว่า เจ้าองค์ไชย ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๖ และพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๑ ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์เวียงจันทน์ ฝ่ายพระมารดาของพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) นั้นเป็นพระนัดดาในเจ้าผ้าขาว (เจ้าปะขาว) ผู้สร้างเมืองผ้าขาวและเมืองพันนา (เมืองพนาง) ในจังหวัดสกลนคร สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) ทรงเป็นพระราชนัดดา (หลานอา) ในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๒ และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าต่อนคำพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๑ ฝ่ายเจ้าผ้าขาว (เจ้าปะขาว) นั้นทรงเป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เช่นเดียวกัน ดังนั้น พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) จึงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองกาฬสินธุ์และเป็นเจ้านายฝ่ายหัวเมืองลาว-อีสานที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์อีกสายหนึ่ง", "title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)" }, { "docid": "194384#1", "text": "ล้านนา เดิมเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรศที่ 19 มีอาณาเขตกว้างขวาง ในยุคทองของอาณาจักรล้านนานั้น มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไปจนถึง รัฐไทใหญ่, สิบสองปันนา, ล้านช้าง, พม่า และ สุโขทัย การขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาทำให้เกิดความขัดแย้งกับอาณาจักรอยุธยา จนเกิดสงครามกันหลายครั้ง ถึงแม้ยามล้านนาอ่อนแอ ก็ไม่เคยตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอย่างแท้จริง", "title": "นครเชียงใหม่" }, { "docid": "72960#36", "text": "เมื่ออาณาจักรล้านช้างแตกเป็น 3 อาณาจักร แต่ละอาณาจักรต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับหลวงพระบางและเวียงจันทน์แล้ว ทั้งสองอาณาจักรนี้ล้วนถือว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูเลยทีเดียว ต่างก็จ้องหาทางทำลายล้างต่อกันด้วยการอาศัยกำลังทหารพม่าที่มีอำนาจในล้านนาอยู่ตลอด", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "28724#2", "text": "หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว", "title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" }, { "docid": "62383#5", "text": "ราชอาณาจักรล้านช้าง ได้แตกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ ได้แก่ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว" }, { "docid": "96705#8", "text": "สถานะทางการเมืองในช่วงต้นของพระเมืองเกษเกล้าเป็นที่ยอมรับทางการเมืองระหว่างรัฐ โดยเฉพาะอาณาจักรล้านช้าง ดังพบว่า พระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์แห่งล้านช้างได้ทูลขอ นางยอดคำ หรือ พระนางยอดคำทิพย์(เจ้านางหลวงคำผาย) ธิดาของพระเมืองเกศเกล้าเป็นพระอัครมเหสี เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร และผนึกกำลังตอบโต้การขยายตัวของอาณาจักรอยุธยา แต่อย่างไรก็ตามหลังจาก พ.ศ. 2077 ระบอบกษัตริย์และขุนนางของอาณาจักรล้านนาก็เสียสมดุล และเกิดเหตุการณ์การถอดพระองค์ออกจากราชสมบัติ การยกพระราชโอรสของพระองค์ครองราชย์ต่อและถูกลอบปลงพระชนม์ ต่อมาเมื่อพระองค์ครองราชย์อีกครั้งก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์ในท้ายที่สุด", "title": "พระเมืองเกษเกล้า" }, { "docid": "6471#6", "text": "ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344", "title": "จังหวัดน่าน" }, { "docid": "72960#13", "text": "การที่ล้านช้างมีความสัมพันธ์กับล้านนาอย่างใกล้ชิดก็ด้วยเหตุผลด้านการเมืองเป็นหลัก กล่าวคือ ในขณะนั้นอาณาจักรล้านนาได้อ่อนแลลงจากการทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ภัยธรรมชาติ และความล้มเหลวในการรุกรานเมืองเชียงตุง เปิดช่องให้อาณาจักรข้างเคียงอย่างล้านนา ตองอู และอยุธยาสร้างอิทธิพลแทรกแซงภายในอาณาจักร โดยล้านช้างได้เข้าเกี่ยวดองกับล้านนาผ่านการเสกสมรสของเจ้านายในเครือญาติของทั้งสองฝ่าย", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "72960#15", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าโพธิสารราชทรงตกช้างระหว่างเสด็จประพาสคล้องช้างป่าและเสด็จสวรรคต เจ้าศรีวรวงษาราชกุมาร (เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา) และเจ้ากิจธนวราธิราช (เจ้าท่าเรือ) ผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองต่างพยายามจะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ขุนนางล้านช้างจึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมานครหลวงพระบางเพื่อรับเถลิงถวัลยราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น โดยพระองค์ยังได้เชิญพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของล้านนามาสถิต ณ นครหลวงพระบางด้วย ขุนนางแห่งล้านนาจึงถวายราชสมบัติกษัตริย์ล้านนาให้แก่พระเมกุฏิ เจ้านายล้านนาเชื้อสายมังรายจากเมืองนายขึ้นปกครองแทน", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "22895#10", "text": "สวัสดีครับผมครูไปรท์จะมาสอนเรื่องล้านช้างครับ สมัยล้านช้างแตกพักพวก\nในสมัยนั้น อาณาจักรล้านช้าง ได้แบ่งเป็น 3 อาณาจักรมั้ง ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และ จำปาศักดิ์\nสาเหตุ เนื่องจากล้านช้างมีปัญหาภายในราชวัง ล้านช้างได้แตกพักพวก จึงเกิดมี 3 อาณาจักร ที่ขัดแย้งกัน ทำให้อาณาจักร ล้านช้างอ่อนกำลังลง\nพระเจ้าตากสินได้ท่า ก็เลยหาข้ออ้างทำศึกกับล้านช้าง การทำศึกเกิดขึ้นจากการทำศึก 2 ครั้ง ดังนี้ล้านช้างก็เลยกลายเป็นประเทศราชของไทย", "title": "ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี" } ]
2709
ประเทศฝรั่งเศส มีระบอบการปกครองแบบกษัตริย์หรือไม่ในปัจจุบัน ?
[ { "docid": "1820#9", "text": "ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกล (Gaul)ในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" } ]
[ { "docid": "81945#2", "text": "แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส", "title": "มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์" }, { "docid": "18223#1", "text": "นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนที่เป็นราชรัฐอันดอร์ราในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมต่าง ๆ อาทิ Franks, Visigoths และอาหรับ ในสมัยของกษัตริย์ Charlemagne ของฝรั่งเศส ในปลายศตวรรษที่ 9 ได้มีการจัดตั้ง เขตปกครองในเทือกเขาพีรีนิส ซึ่งรวมเขตอันดอร์ราขึ้นภายใต้ชื่อ Marca Hispanica ต่อมาเชื่อกันว่ากษัตริย์ Charlemagne ยอมให้อันดอร์รามีอิสรภาพโดยเอกสารชื่อ Carta de Fundacio d? Andorra แต่หลังจากกษัตริย์ Charlemagne สิ้นพระชนม์ อันดอร์รากลับตกไปอยู่ใต้อำนาจของ Count of Urgell ซึ่งต่อมาได้ยินยอมยกดินแดนให้ Bishop of Urgell ในปีค.ศ. 1113 ซึ่งได้สืบทอดสิทธิและเป็นเจ้าของเหนือดินแดนนี้เรื่อยมาในนามของ Church of Urgell ในปี ค.ศ. 1159 มีการสู้รบแย่งชิงดินแดนระหว่าง Church of Urgell กับ Count of Foix จนถึงปี \nค.ศ. 1278 จึงได้มีการลงนามระหว่าง Church of Urgell และ Count of Foix (Roger Bernard) ในสนธิสัญญา Pariatges อันมีผลให้ราชรัฐอันดอร์ราเป็นดินแดนที่มีสถานะเป็นราชรัฐร่วม (coprincipality) ระหว่าง Church of Urgell และ Count of Foix โดย Bishop of Urgell ได้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน และ Count of Foix มีอำนาจด้านการเมือง การศาล และการทหาร ต่อมา Count of Foix ได้สมรสกับ Viscount of Bearn รัชทายาทแห่งแคว้น Navarre ผู้นำฝรั่งเศสจึงได้สืบทอดการปกครองดังกล่าวจนถึงสมัยของ Henry IV ซึ่งดำรงตำแหน่ง Count of Foix ที่ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ดังนั้น อันดอร์ราจึงกลายเป็นราชรัฐร่วมระหว่าง Church of Urgell ของสเปนกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1419 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ให้สัตยาบันแก่ Council of the Land ในการจัดตั้ง General Council หรือรัฐสภาของราชรัฐอันดอร์ราในปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ. 1866-68 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ประกาศ Nova Reforma (New Reform) เป็นแนวทางในการจัดระบบการเมืองและการบริหารในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และเริ่มยุคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วันที่ 15 มกราคม \nค.ศ. 1981 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ออกกฤษฎีกาจัดตั้ง ระบบการปกครองราชรัฐอันดอร์ราใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1993 ได้มีการลงประชามติให้ราชรัฐอันดอร์รามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญปกครองฉบับแรก (ซึ่งฝรั่งเศสและสเปนได้ยกร่างร่วมกัน) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม \nค.ศ. 1993 รัฐธรรมนูญดังกล่าวกำหนดให้อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร แบ่งแยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน และยังคงมอบอำนาจให้ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและ Bishop of Urgell แห่งสเปน ดำรงตำแหน่งประมุขร่วมกัน", "title": "ประเทศอันดอร์รา" }, { "docid": "856460#6", "text": "ประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดด่างพร้อยระหว่างไทยและลาวคือเหตุการณ์ กบฏเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งไทยมองว่าเจ้าอนุวงศ์คือกบฏ แต่ลาวมองว่าเจ้าอนุวงศ์คือวีรบุรุษผู้กู้อิสรภาพ แม้ในช่วงยุคอาณานิคม ลาวจะไม่ได้ต่อต้านไทยเท่ากับฝรั่งเศส และความสัมพันธ์หลังได้รับเอกราชจะไปด้วยดี แต่หลังจากที่ลาวกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2518 ด้วยเหตุผลทางระบอบการปกครองและความมั่นคง จึงทำให้รัฐบาลลาวในยุคปัจจุบัน ต้องเชิดชูเจ้าอนุวงศ์ในฐานะวีรบุรุษมากกว่ากษัตริย์องค์อื่นๆ เพื่อเป็นการลดอิทธิพลของไทยในประเทศลาว และโดยมุมมองของชาวลาวส่วนหนึ่งที่เป็นชาตินิยมคอมมิวนิสต์ มองว่าไทยได้นำเอา แผ่นดินฝั่งขวา และ พระแก้วมรกต ไปจากลาว และยังเคยให้อเมริกาทิ้งระเบิดลงประเทศลาวเป็นจำนวนมาก ", "title": "การต่อต้านความเป็นไทย" }, { "docid": "1820#13", "text": "ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "13251#31", "text": "นอร์เวย์มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐของนอร์เวย์คือพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 บทบาทของกษัตริย์ในปัจจุบัน จำกัดอยู่เพียงด้านพิธีการและสัญลักษณ์", "title": "ประเทศนอร์เวย์" }, { "docid": "23861#0", "text": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (English: absolute monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "75071#1", "text": "กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง", "title": "ราชวงศ์บูร์บง" }, { "docid": "240397#0", "text": "ฝรั่งเศสสมัยใหม่ตอนต้น () คือประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยที่เรียกว่าสมัยใหม่ตอนต้น (early modern period) ของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 18 (หรือตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส ไปจนถึงจุดสูงสุดของการปฏิวัติฝรั่งเศส) ระหว่างช่วงนี้ฝรั่งเศสวิวัฒนาการจากระบบศักดินา (feudalism) มาเป็นราชอาณาจักรที่มีการปกครองจากศูนย์กลางที่นำโดยพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองโดยใช้ปรัชญาเทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์โดยการสนับสนุนของสถาบันโรมันคาทอลิก", "title": "ฝรั่งเศสสมัยใหม่ตอนต้น" }, { "docid": "936#37", "text": "ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "4496#2", "text": "ในช่วงท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระบอบกษัตริย์และเจ้าขุนมูลนายถูกล้มล้างในการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสและประวัติศาสตร์โลกไปตลอดกาล ประเทศฝรั่งเศสถูกปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยระบอบจักรวรรดิเมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ต ประกาศตนเป็นจักรพรรดิ ตามมาด้วยความพ่ายแพ้ของนโปเลียนในสงครามนโปเลียน ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหลายครั้ง เช่น การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์, การสถาปนาระบอบสาธารณรัฐครั้งที่สองช่วงสั้นๆ ตามมาด้วยจักรวรรดิที่สอง จนไปสิ้นสุดลงที่สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามซึ่งสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1870 ", "title": "ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส" }, { "docid": "311108#2", "text": "แม้ว่าปัจจุบันในประเทศแอลเบเนียเองได้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ลงแล้ว และปกครองในระบอบสาธารณรัฐแล้ว แต่ก็ยังมีการสืบทอดอำนาจภายในราชวงศ์โซกูต่อไป โดยอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของประเทศแอลเบเนียจนถึงปัจจุบัน โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์องค์ปัจจุบันคือ เจ้าชายเลก้า มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย โดยพระองค์ก็เรียกตัวเองว่าพระองค์เป็นกษัตริย์และอ้างว่าพร้อมที่จะปกครองประเทศแอลเบเนียอยู่เสมอ", "title": "ราชวงศ์โซกู" }, { "docid": "2051#14", "text": "ในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ", "title": "ประเทศกรีซ" }, { "docid": "67201#3", "text": "เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นในกลางศตวรรษที่ 21 โดยสมมติให้ประเทศสาธารณรัฐเกาหลียังคงปกครองในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเรื่องเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าชายรัชทายาทลีชิน มกุฎราชกุมารแห่งเกาหลี และสาวน้อยร่าแริงสดใส ชิน แชยอง พระชายา ซึ่งเพิ่งทรงอภิเษกสมรสกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในปัจจุบันเกาหลีปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ล้มล้างราชวงศ์เกาหลีไปแล้ว เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา" }, { "docid": "43051#4", "text": "และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอเมอราร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน โดยมีร้อยโท แปลก ที่สมาชิกคณะราษฎรคนอื่น ๆ เรียกว่า \"กัปตัน\" เป็นประธานในการประชุม[3] ที่ประชุมมีมติตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ \"ยึดอำนาจโดยฉับพลัน\" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย[4] ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศส[5]", "title": "คณะราษฎร" }, { "docid": "28311#0", "text": "กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์", "title": "พระมหากษัตริย์" }, { "docid": "28600#1", "text": "อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น", "title": "อำนาจอธิปไตย" }, { "docid": "53239#1", "text": "มีหลักฐานปรากฏว่า มีผู้คนอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์มาเป็นเวลา 2000 ปีมาแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกันและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของดีโอกู ดีอัช นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี พ.ศ. 2340-2404 แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการปกครองในปี พ.ศ. 2438 และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ระบอบกษัตริย์ถูกทำลายทำให้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2439กษัตริย์องค์สุดท้ายคือสมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ และต่อมาปี พ.ศ. 2501 มีการลงประชามติให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2503", "title": "ประเทศมาดากัสการ์" }, { "docid": "80405#3", "text": "ระบอบกึ่งประธานาธิบดีมีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารและเป็นประมุขของประเทศ รวมทั้งสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้\nในระบอบนี้ พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจสมบูรณ์และทรงสืบทอดอำนาจผ่านทางราชวงศ์กลุ่มผู้ปกครองในระบอบนี้จะปกครองประเทศเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน โดยผู้ปกครองสามารถเป็นบุคคลสามัญได้ \nประเทศเหล่านี้กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และยังไม่สามารถถูกจำแนกอย่างชัดเจนได้", "title": "รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง" }, { "docid": "13542#0", "text": "รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น", "title": "รัฐสภา" }, { "docid": "48356#3", "text": "ราชาธิปไตยเคยเป็นระบอบการปกครองที่แพร่หลายที่สุดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ปัจจุบันมิได้แพร่หลายอีกต่อไป อย่างน้อยก็ในระดับชาติ ประเทศซึ่งยังปกครองแบบราชาธิปไตยอยู่ ปัจจุบันมักพบในรูปของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงถือบทบาททางกฎหมายและพิธีกรรมเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่ทรงใช้หรือใช้อำนาจทางการเมืองอย่างจำกัดตามรัฐธรรมนูญหรือประเพณีซึ่งจัดสรรรฝ่ายปกครองที่อื่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ แต่อำนาจอธิปไตยอยู่ที่ประชาชน (ปรมิตตาญาสิทธิราชย์) พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ถูกสถาปนาขึ้นตามจารีตประเพณีหรือตามประมวลกฎหมายเพื่อไม่ให้มีอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริง บางประเทศ พระมหากษัตริย์อาจทรงมีอำนาจอยู่บ้าง แต่ก็ถูกจำกัดไว้ด้วยความเห็นชอบของประชาชนหรือบรรทัดฐานของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ", "title": "ราชาธิปไตย" }, { "docid": "679256#0", "text": "รัฐธรรมนูญในประเทศลาวมีที่ประกาศใช้มาแล้ว 2 ฉบับคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรลาว และรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน\nรัฐธรรมนูญฉบับแรกของลาว เขียนโดยฝรั่งเศส และปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประกาศใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีสถานะเป็นรัฐเอกราชในเครือสหภาพฝรั่งเศส ต่อมาได้มีการแก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 โดยตัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหภาพฝรั่งเศสออกไป รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันที่เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์\nในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นเวลา 16 ปีหลังจากจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาประชาชนสูงสุดซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติบัญญัติสูงสุดของรัฐ ได้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ การร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้เริ่มต้นอย่างช้าๆตั้งแต่พ.ศ. 2518 แต่ก็ไม่มีความก้าวหน้าจนการประชุมพรรคครั้งที่สามจึงได้เร่งรัดการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ทำงานอย่างไม่เป็นทางการโดยมีประธานคือสีสมพน โลวันไซ ซึ่งเป็นคณะกรรมการโพลิตบูโร มีที่ปรึกษาจากเยอรมันตะวันออก การมอบหมายงานอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ", "title": "รัฐธรรมนูญลาว" }, { "docid": "7891#0", "text": "สาธารณรัฐ () เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น \"กิจสาธารณะ\" () มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า \"สาธารณรัฐ\" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ", "title": "สาธารณรัฐ" }, { "docid": "1820#11", "text": "ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16ในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "28600#7", "text": "นับได้ว่า ฌ็อง บอแด็ง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 คนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่าอำนาจอธิปไตย ในความหมายที่เข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือในความหมายที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่รัฐทั้งหลายในโลกปกครองโดยระบอบที่มีกษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดหรือสมบรูณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้คติความเชื่อทางการปกครองอันไม่แตกต่างกันมากนักว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอาณัติอำนาจจากสวรรค์ หรือจุติจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก (Divine Rights of King)", "title": "อำนาจอธิปไตย" }, { "docid": "594872#1", "text": "ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงมีการพัฒนาสถาบันขึ้นมาหลายแห่งเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการทางานของสภา เพื่อให้สภามีความเข้มแข็ง\nศตวรรษที่ 17 กษัตริย์ฝรั่งเศสมีความต้องการใช้เงินจำนวนมากมีคนชั้นสูงต้องการมีตำแหน่งในสภา จึงนำไปสู่การซื้อตำแหน่งๆ โดยการทำการกตกลงกับกษัตริย์เพื่อเป็นการยืนยันว่าจะได้รับตำแหน่งเหล่านั้นอย่างแน่นอนการกระทำดังกล่าวจะเป็นตำแหน่งของชนชั้นสูงที่เรียกว่าอีลีท (Elite) ปีค.ศ. 1604 มีการสร้างระบบภาษีใหม่ขึ้นมาที่มีชื่อว่าภาษีพอเล็ต (the paulette tax) ซึ่งจะสนับสนุนให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของสภาสามารถตั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีนี้ในนามของสภาได้เพื่อส่งเงินให้กับรัฐบาลกษัตริย์โดยถือว่าสิทธิ์ในการตั้งสานักงานเก็บภาษีสามารถสืบทอดมรดกกับตระกูลโดยผู้ตั้งสำนักงานจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการจัดทำสำนักงานวิธีการนี้ดำเนินมาจนถึงศตวรรษที่ 18 เจ้าของสำนักงานในนามสภาจะได้รับสถานะทางสังคมผ่านการรับสิทธิในการแต่งงานกับตระกูลขุนนางกลุ่มขุนนางที่เป็นตระกูลเก่าแก่อันเป็นกลุ่มที่ทาหน้าที่ปกป้องบ้านเมืองสาเหตุนี้ปีค.ศ. 1700 สมาชิกของสภาส่วนใหญ่จึงกลายสภาพเป็นผู้ที่ร่ำรวย\nช่วงระยะเวลาการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ปกครองระหว่างช่วงปีค.ศ. 1715-1774) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 (ปกครองระหว่างช่วงปีค.ศ. 1774-1792) ได้มีที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรีในปัจจุบันเพื่อกำหนดนโยบายของรัฐและเสนอโครงการต่างเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมืองแก่พระเจ้าแผ่นดินที่สมควรกล่าวถึงในที่นี้คือตูร์กอและเนแก ทั้งสองท่านนี้เป็นผู้ที่เสนอแนะให้มีการปฏิรูปปรับปรุงระบบภาษีของฝรั่งเศสใหม่โดยให้ทำการจัดเก็บภาษีจากชนชั้นสูงแต่วิธีนี้ไม่ความสำเร็จเกิดการประท้วงต่อต้านจากสภาหรือสภากฎหมายซึ่งสมาชิกของสภานี้ได้มาด้วยการคอรัปชั่นตำแหน่งเพื่อได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ฝรั่งเศส\nปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นกับท้องพระคลังกษัตริย์ฝรั่งเศสต้องขึ้นภาษีโดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้วางแผนดำเนินการทั้งหมดช่วงศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ฝรั่งเศสมีข้อบกพร่องในเรื่องการขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาของประเทศและขาดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามนโยบายต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพดำเนินการมาตั้งแต่สมัยการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นับตั้งแต่ช่วงระยะเวลาสงครามกับสเปนหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้นำฝรั่งเศสได้เปลี่ยนไปใช้นโยบายในการหลีกเลี่ยงการขยายตัวของความขัดแย้งต่างๆที่จะนำไปสู่ความรุนแรงขนาดใหญ่ปีค.ศ. 1740 รัสเซียบุกเข้าโจมตีออสเตรียฝรั่งเศสถูกดึงเข้าสู่สงครามเพื่อช่วยเหลือต้านทานกองกาลังปรัสเซียเวียนนาและอังกฤษที่ร่วมเป็นพันธมิตรและเป็นศัตรูกับราชวงศ์ฮับเบิร์ก (Habsburg) มาแต่เดิมการสงครามใช้เวลานานถึง 8 ปีโดยสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1748 ปีค.ศ. 1754 ฝรั่งเศสก็ทำสงครามอีกกับอังกฤษในบริเวณอเมริกาเหนือขณะเดียวกันบริเวณภายในทวีปยุโรปรัสเซียได้ทำสัมพันธไมตรีกับบริเตนโดยร่วมมือกันบังคับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ให้ยกเลิกวัฒนธรรมที่เคยมีมาในอดีตเพื่อเป็นพันธมิตรกับออสเตรียโดยการปฏิวัติทางการเมืองหรือที่เรียกว่า \"diplomatic revolution\" เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1756 ซึ่งนำไปสู่สงครามเจ็ดปี กองทัพของพระเจ้าเฟ็ดเดอริคมหาราชเข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศสในขณะที่อังกฤษบุกเข้ายึดดินแดนฝรั่งเศสในคานาดา (Canada) บริเวณคาริบเบียนและอินเดียช่วงการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ปกครองระหว่างช่วงปีค.ศ. 1715-1774) ยังคงมีสงครามเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอีกหลายครั้งถึงแม้ว่าบางอันจะมีมีผลกับการทำสัญญาสันติภาพแล้วก็ตามสาเหตุที่ทำให้ฝรั่งเศสต้องสูญเสียอินเดียและคานาดารวมทั้งสูญเสียตำแหน่งความเป็นผู้นำของยุโรปที่เคยเป็นมาในอดีตเหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นจากการทำสัญญาสงบศึกปารีสในปีค.ศ. 1763 ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงเริ่มเกิดการต่อต้านระบบการปกครองแบบกษัตริย์และวิธีการต่างๆที่ใช้ในการบริหารประเทศการปฏิวัติที่เริ่มต้นก่อตัวขึ้นในการเมืองส่วนหนึ่งมาจากความอ่อนแอของระบบศาลฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งมาจากการไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและไม่มีศาลสูงสุดที่มีอำนาจเด็ดขาดไม่มีรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ทบทวนพระราชบัญญัติต่างๆแต่จะใช้ระบบที่ประณีประนอมเข้าแทนการปฏิวัติฝรั่งเศสนำไปสู่การล่มสลายระบอบกษัตริย์หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการจลาจลมีกลุ่มการเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้นมากมายโดยแต่ละกลุ่มต่างมีความขัดแย้งกันต่อมามีการก่อตั้งศาลยุติธรรมเพื่อการปฏิวัติ (Revolutionary Tribunal) ณกรุงปารีสได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทั่วไปขึ้นมาโดยใช้ตำรวจเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ\nนอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนในบทบาทของความเห็นของสาธารณที่เรียกว่า “public opinion” ในประเด็นที่ว่ากลไกในการแสดงออกความคิดเห็นของประชาชนมีที่มาอย่างไรได้มีการสะท้อนความเห็นของสาธารณต่อนโยบายของรัฐบาลคณะปฏิวัติ\nยุคการปกครองสมัยนโปเลียนโบนาปาร์ด (ปีค.ศ. 1804-1870)การปฏิวัติฝรั่งเศสครั้งแรกสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1799 เมื่อนโปเลียนโบนาปาร์ดนำทหารบุกเข้ากรุงปารีสเพื่อปราบจลาจลและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ในปีค.ศ. 1799 นโปเลียนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ I แห่งฝรั่งเศส (Napoleon I) ทำการปกครองฝรั่งเศสระหว่าง 15 สิงหาคมค.ศ. 1799 – 5 พฤษภาคมค.ศ. 1821 เป็นผู้นำทางการทหารและการเมือง ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 การกระทำของเขามีผลต่อการการปฏิรูปการเมืองยุโรปทั้งหมดชื่อเสียงของเขาจึงปรากฏขึ้นในช่วงที่ฝรั่งเศสได้กลายเป็นสาธารณรัฐครั้งที่ I เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวางแผนเพื่อให้ฝรั่งเศสบรรลุตามเป้าหมายแห่งความรุ่งเรืองปีค.ศ. 1799 ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลฝรั่งเศสและแต่งตั้งตนเองเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคนแรก (First Consul) หลังจากนั้นรัฐสภาฝรั่งเศส (French Senate) ได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส\nรัฐบาลฝรั่งเศสมีความพยายามที่จะทำระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นรายได้ให้แก่รัฐเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาลภาษีทัลลี (taille) เป็นแหล่งที่มาของรายได้หลักของราชวงศ์โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ได้แก่กลุ่มนักบวชชนชั้นสูงที่เป็นพวกขุนนางและพนักงานที่ทำงานให้กับมงกุฏราชกุมารบุคลากรทางด้านการทหารผู้พิพากษาอาจารย์มหาวิทยาลัยและมีเมืองที่ได้รับการยกเว้นคือปารีสการประเมินภาษีที่ต้องเสียและการจัดเก็บภาษีกษัตริย์ฝรั่งเศสได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับความไว้วางใจสำหรับการกำหนดภาษีที่จัดเก็บจะมีลักษณะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่ได้รับการมอบหมายเป็นผู้กำหนดโดยใช้วิจารณาญาณของพวกเขาเป็นคนกำหนดเช่นในบริเวณเขตบริททานีแลงกัวด็อกและเบอร์กันดี\nสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงสร้างระบบภาษีเพิ่มเติมที่เรียกว่าคาปิเตชั่น (capitation) ใช้ครั้งแรกในปีค.ศ. 1695 ซึ่งทำให้ทุกคนต้องจ่ายภาษีรวมไปถึงพวกชนชั้นสูงที่เรียกว่าขุนนางและกลุ่มนักบวชนิกายโรมันคาทอลิกแต่กลุ่มชนชั้นสูงจะได้เปรียบในการจ่ายภาษีมากกว่าชนชั้นอื่นๆ\nปีค.ศ. 1749 ช่วงการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้มีการทำฐานภาษีใหม่ที่ยึดพื้นฐานบนการคิดสัดส่วนที่ต้องจ่ายให้รัฐในสัดส่วน 1/20 เท่าของผลผลิตที่ทำขึ้นเพื่อมาช่วยลดการขาดดุลค่าใช้จ่ายของราชวงศ์และระบบภาษีนี้ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระบอบการปกครองแบบเก่าที่เรียกว่า “the ancien régime” การหาเงินของรัฐยังมีแหล่งที่มาของรายรับอื่นๆอีกได้แก่การเก็บค่าธรรมเนียมจากตำแหน่งต่างๆของรัฐเช่นการเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกของสภา พนักงานของศาลแขวงและเจ้าหน้าที่การเงินของรัฐ\nต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชย์หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคต พระองค์บริหารราชการแผ่นดินโดยการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะราชการต่างๆแก่พระองค์เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นกับท้องพระคลังกษัตริย์ฝรั่งเศสจำเป็นต้องขึ้นภาษีกษัตริย์ฝรั่งเศสได้มอบหมายให้รัฐมนตรีคลังเป็นผู้วางแผนดำเนินการทั้งหมดซึ่งรัฐมนตรีคลังนั้นไม่ได้มีรากฐานมาจากชนชั้นสูงแต่ดั้งเดิม", "title": "การบริหารคลังสาธารณะประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "977088#2", "text": "ในปี ค.ศ. 1332 พระเจ้าฟิลิปที่ 6 พระราชทานดัชชีเป็นดินแดนตามศักดินาให้พระโอรส จอห์น ที่กลายเป็นพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1350 พระองค์พระราชทานดัชชีเป็นดินแดนตามศักดินาให้พระโอรส ชาร์ลส์ ที่จะกลายเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1364 ในปี ค.ศ. 1465 พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ถูกบีบบังคับให้พระราชทานดัชชีให้พระอนุชา ชาร์ลส์ เดอ วาลัวส์ ดยุกแห่งแบร์รี ชาร์ลไม่สามารถรักษาดัชชีไว้ในและในปี ค.ศ. 1466 ดัชชีกลายเป็นที่ดินส่วนพระมหากษัตริย์อีกครั้งอย่างถาวร ก่อนที่ระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศสจะถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1792ในหมู่เกาะแชนเนล พระมหากษัตริย์ของบริเตนเป็นที่รู้จักในฐานะ ดยุกแห่งนอร์ม็องดี แม้พระมหากษัตริย์คนปัจจุบัน พระราชินีอลิซาเบธ จะเป็นผู้หญิง แต่หมู่เกาะจงรักภักดีต่อพระองค์ในฐานะดยุกของพวกตน หมู่เกาะแชนเนลเป็นพื้นที่สุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ของดัชชีนอร์ม็องดีในอดีตที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ของบริเตน", "title": "ดยุกแห่งนอร์ม็องดี" }, { "docid": "220636#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเออเฌนี เดอ มอนตีโค (ยูเจนีแห่งฝรั่งเศส) (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2463) ( ออกเสียง) ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย และเป็นพระชายาในสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ประสูติ ณ แคว้นเกรนาดา, สเปน พระองค์จึงทรงเป็นชาวสเปนโดยกำเนิด มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือมกุฎราชกุมารนโปเลียน ยูเจนีแห่งฝรั่งเศส รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดลงในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2414 จากการปฏิวัติ ทำให้ระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศสสิ้นสุดลงเป็นครั้งที่ 3 หลังจากประเทศต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมายในการปกครองระหว่างระบบสาธารณรัฐกับระบอบกษัตริย์จากการปฏิวัติฝรั่งเศส", "title": "เออเฌนี เดอ มอนตีโค" }, { "docid": "106805#0", "text": "ราชอาณาจักรลาว เป็นชื่อของประเทศลาวตั้งแต่ พ.ศ. 2496 จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถล้มกษัตริย์และสามารถสถาปนาสปป.ลาวได้สำเร็จ โดยได้รับสิทธิปกครองตนเองจากประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ใช้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข", "title": "ราชอาณาจักรลาว" }, { "docid": "31375#6", "text": "นอกจากนี้ในเมืองดุสิตธานีมีการออกหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์ และเสนอข่าวในเมืองจำลอง เพื่อเพียรพยายามปลูกฝังหัดการปกครองระบอบรัฐสภา กระนั้นก็ตามมีผู้วิจารณ์ว่า\nการสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เหมือนกับทรงเล่นละครเรื่องอื่น พระองค์ทรงหาได้ตั้งใจที่จะก่อตั้งรูปการปกครองแบบประชาธิปไตยที่จะก่อตั้งรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยอย่างจริงจังหรือไม่\nสถานการณ์ช่วงนั้น นับวันผู้ที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลาหลายคนมีความเห็นและให้ทัศนะไปในทางเดียวกันว่า\nการปกครองระบอบราชาธิปไตย ที่องค์พระมหากษัตริย์ใช้ในทางนิติบัญญัติ ใช้ในทางบัญญัติ ใช้ในทางบริหารและใช้ในทางตุลาการแต่พระองค์เองนั้น เป็นการพ้นสมัยเสียแล้ว\nไม่อาจพารัฐก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็นไป โดยกลุ่มคนยุคใหม่(ในสมัยนั้น) ได้ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ประเทศฝรั่งเศสได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ราชาธิราช\nในปี ค.ศ. 1689เป็นต้น แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในเอเชียด้วยกันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง", "title": "ดุสิตธานี" } ]
478
ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่เท่าไหร่ในเพศหญิง?
[ { "docid": "405824#4", "text": "ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย[17] ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น \"เพื่อน\"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า[18] ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง[18][19][20](โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ[21] แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว[22][23] และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก[22][24][25]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" } ]
[ { "docid": "405824#64", "text": "ทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในสังคมชาวตะวันตก[180] แต่อัตราความแพร่หลายยากที่จะกำหนดให้ชัด[181][182][183] งานวิจัยในอเมริกาเหนือสรุปว่า ประมาณ 15-25% ของหญิง และ 5-15% ของชาย ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็ก[18][19][184] ในสหราชอาณาจักร งานศึกษาปี 2010 ประเมินความแพร่หลายที่ 5% สำหรับเด็กชาย และ 18% สำหรับเด็กหญิง[185] (ซึ่งไม่ต่างจากงานปี 1985 ที่ประเมินที่ 8% สำหรับเด็กชาย และ 12% สำหรับเด็กหญิง[186]) มีรายงานตำรวจกว่า 23,000 กรณีในสหราชอาณาจักรระหว่างปี 2009-2010 เด็กหญิงมีโอกาส 6 เท่าของเด็กชายที่จะถูกทำร้าย คือ 86% เป็นหญิงและที่เหลือเป็นชาย[187][188] องค์กรพิทักษ์เด็กองค์กรหนึ่งประเมินว่า เหยื่อ 2 ใน 3 เป็นหญิง และที่เหลือเป็นชาย และเป็นห่วงว่า เหยื่อเด็กชายอาจจะถูกละเลยไม่มีการดูแลป้องกันอย่างทั่วถึง[189]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#13", "text": "เพราะว่าทารุณกรรมในเด็กบ่อยครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับปัจจัยที่อาจเป็นตัวแปรกวนอื่น ๆ เช่น สถานการณ์ในครอบครัวที่ไม่ดีและการทารุณทางกาย[69] นักวิชาการบางพวกอ้างว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องควบคุมตัวแปรกวนเหล่านั้นในงานศึกษาที่วัดผลของทารุณกรรมทางเพศ[28][54][70][71] งานทบทวนวรรณกรรมปี ค.ศ. 1998 กล่าวว่า \"สมมติฐานที่เสนอในงานนี้ก็คือ ในกรณีโดยมากแล้ว ความเสียหายหลักของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก มีเหตุจากสมรรถภาพการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมทั้งความไว้วางใจ ความใกล้ชิด ความเป็นตัวของตัวเอง และสภาวะทางเพศ ส่วนปัญหาโรคจิตในวัยผู้ใหญ่ที่สัมพันธ์กับประวัติทารุณกรรมทางเพศ เป็นผลชั้นทุติยภูมิ\"[72] แต่ก็มีงานศึกษาอื่น ๆ ที่พบความสัมพันธ์ระหว่างทารุณกรรมทางเพศกับปัญหาโรคจิตที่เป็นอิสระจากปัจจัยดังกล่าว[11][28][54]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "770239#9", "text": "งานศึกษาปี 2554 ในประเทศอังกฤษแสดงว่า การเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศทางอินเทอร์เน็ต แพร่หลายที่สุดในเด็กวัย 13-17 ปี (99%) โดยเฉพาะเด็กอายุ 13-14 ปี (48%)\nโดยส่วนใหญ่เป็นหญิง\nและส่วนใหญ่เกิดขึ้นทางโทรศัพท์มือถือ\nเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาพฤติกรรม เช่น ต้องการความสนใจสูง จะมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนอื่น ๆ", "title": "การเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศ" }, { "docid": "764126#3", "text": "ความแพร่หลายของทารุณกรรมประเภทนี้ไม่รู้โดยแน่นอน ซึ่งเหมือนกับเหตุการณ์ที่ทำโดยผู้ใหญ่ มันมักจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้รายงาน เพราะสาธารณชนไม่รู้อย่างแพร่หลายว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง\nและบ่อยครั้งเกิดขึ้นนอกการดูแลของผู้ใหญ่\nและแม้ว่าบางครั้งผู้ใหญ่จะรู้ ก็อาจจะไม่สนใจคิดว่าเป็นเรื่องไม่เสียหาย เพราะไม่เข้าใจผลที่ตามมา\nโดยเฉพาะก็คือ ทารุณกรรมระหว่างพี่น้องเป็นเรื่องที่รายงานน้อยยิ่งกว่าทารุณกรรมระหว่างผู้ปกครอง-เด็ก\nและการเปิดเผยเรื่องการร่วมประเวณีกับญาติสนิทโดยเหยื่อในวัยเด็ก เป็นเรื่องที่มีน้อยมาก", "title": "การทารุณเด็กทางเพศโดยเด็ก" }, { "docid": "405824#6", "text": "การทารุณเด็กทางเพศสามารถมีผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งโรคจิตต่าง ๆ ต่อ ๆ มาในชีวิต[15][28] อาการและผลรวมทั้งภาวะซึมเศร้ารุนแรง[10][29][30] ความวิตกกังวล[11] ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorders)[31] การมีความเคารพตน (self-esteem) ต่ำ[31] การเกิดโรคกายเหตุจิต (somatization)[30] ความผิดปกติในการนอน (sleep disturbances)[32][33] โรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative identity disorder), และโรควิตกกังวล รวมทั้งความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)[12][34] แม้ว่าเด็กอาจจะแสดงพฤติกรรมย้อนวัยเช่น การดูดนิ้วหัวแม่มือ และการถ่ายรดที่นอน แต่อาการที่ชัดเจนที่สุดของการถูกทารุณกรรมทางเพศก็คือ การเล่นเลียนแบบทางเพศ และการมีความรู้ความสนใจทางเพศที่ไม่สมควรต่อวัย[35][36] เด็กอาจจะไม่สนใจไปโรงเรียนหรือเล่นกับเพื่อน[35] และมีปัญหาด้านการเรียนการประพฤติหลายอย่างรวมทั้งการกระทำทารุณโหดร้ายต่อสัตว์[37][38][39][40] การมีสมาธิสั้น (ADHD) ความผิดปกติทางความประพฤติ (conduct disorder) และความผิดปกติแบบท้าทายชอบทำตรงกันข้าม (oppositional defiant disorder)[31] ในช่วงวัยรุ่น อาจจะเกิดตั้งครรภ์และพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง[41] เหยื่อทารุณกรรมแจ้งการทำร้ายตนเองเกือบถึง 4 เท่าของปกติ[42]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#34", "text": "ปัจจัยหลักที่มีผลต่อโรคและการตอบสนองต่อการรักษารวมทั้งรูปแบบและความรุนแรงของการกระทำผิดทางเพศ ความถี่ของเหตุการณ์ วัยที่เหตุการณ์เกิดขึ้น และพื้นเพของครอบครัวเด็ก ในปี 1983 แพทย์ท่านหนึ่งกำหนดระยะต่าง ๆ ที่เด็กจะตอบสนองต่อทารุณกรรมทางเพศ เรียกว่า Child Sexual Abuse Accommodation Syndrome (อาการอำนวยทารุณกรรมทางเพศของเด็ก ตัวย่อ CSAAS) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เด็กพยายามแก้ปัญหาจนแสดงเป็นอาการต่าง ๆ รวมทั้ง การเก็บความลับ (secrecy) ความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ (helplessness) ความรู้สึกว่าติดกับดัก (entrapment) การอำนวยความต้องการ (accommodation) การเปิดเผยที่ช้าและไม่ลงรอย (disclosure) และการถอนคำพูด (recantation)[119] แต่นี่เป็นระยะขั้นตอนที่นักวิชาการบางพวกไม่เห็นด้วย โดยมีท่านหนึ่งกล่าวในหนังสือปี 2004 ว่า เป็นขั้นตอนที่สามารถใช้เป็นเหตุผลสำหรับทุกอย่างที่เด็กพูดเพื่ออ้างว่ามีเหตุการณ์ทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กจริง ๆ เพราะการเปิดเผยทันทีก็ใช้เป็นตัวบ่งว่ามีเหตุการณ์ หรือแม้การเปิดเผยแบบชักช้า หรือแม้แต่การยืนยันปฏิเสธ[120] แต่ก็มีนักวิชาการท่านอื่นอีกที่เขียนไว้ในวารสารวิชาการทางกฎหมายในปี 2009 ว่า มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ที่สนับสนุนทั้งความสมเหตุสมผลทางวิทยาศาสตร์ของ CSAAS และความโน้มเอียงที่เด็กผู้ถูกทารุณกรรมทางเพศจะถอนคำพูดว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริง ๆ[121]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#66", "text": "งานสำรวจปี 1992 ที่ศึกษาการสมสู่ร่วมสายโลหิตระหว่างพ่อ-ลูกสาวในประเทศฟินแลนด์รายงานว่า สำหรับเด็กไฮสกูลอายุ 25 ปีที่ให้คำตอบ ในบรรดาที่อยู่กับพ่อจริง ๆ 0.2% รายงานประสบการณ์ทางเพศกับพ่อ ในบรรดาที่อยู่กับพ่อเลี้ยง 3.7% รายงานประสบการณ์ทางเพศ เป็นงานที่นับแต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-ลูกสาว และไม่ได้รวมเอารูปแบบอื่นของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก งานสำรวจสรุปว่า \"ความรู้สึกของเด็กหญิงเกี่ยวกับประสบการณ์การสมสู่ร่วมสายโลหิต ไม่ดีอย่างท่วมท้น\"[198] มีนักวิชาการอื่น ๆ ที่อ้างว่า อัตราความแพร่หลายสูงมากยิ่งกว่านั้น และมีกรณีหลายกรณีที่ไม่มีการแจ้ง งานวิจัยหนึ่งพบว่า ผู้มีอาชีพเกี่ยวกับเด็ก ไม่รายงานทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กที่พบในกรณี 40%[199] ส่วนงานอีกงานหนึ่งแสดงว่า เด็กจำนวนมากที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ \"มีการระบุโดยปัญหาทางกายที่ภายหลังวินิจฉัยว่าเป็นกามโรค...และเพียงแค่ 43% จากที่วินิจฉัยว่าเป็นกามโรค เปิดเผยทารุณกรรมทางเพศในการสอบถามเบื้องต้น\"[199]:7 งานวิทยาการระบาดปี 1993 เกี่ยวกับทารุณกรรมต่อเด็กทางเพศ พบว่า ไม่มีลักษณะทางประชากร (demographic) หรือทางครอบครัวของเด็กที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ระบุว่าเด็กถูกทารุณกรรมทางเพศ[181]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#36", "text": "การถูกทารุณกรรมทางเพศ สัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมที่ยังไม่นับว่าเป็นอาการ (sub-clinical) เช่น ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่ออีกในวัยรุ่น ความต้องการทางเพศที่กลับไปกลับมาระหว่างมากกับไม่มี และความคิดบิดเบือนกี่ยวกับทารุณกรรมทางเพศ (เช่น เป็นเรื่องสามัญและเกิดกับทุกคน) เมื่อมาหาหมอครั้งแรก คนไข้อาจจะตระหนักถึงเหตุการณ์ทารุณกรรม แต่ประเมินเหตุการณ์อย่างบิดเบือน เช่นเชื่อว่า เป็นเรื่องไม่แปลกอะไร บ่อยครั้ง เหยื่อจะไม่เชื่อมการถูกทารุณกรรมกับโรคที่เป็นอยู่ปัจจุบัน", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#0", "text": "การทารุณเด็กทางเพศ[1] (English: Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, English: child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ[2] หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ[3] เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา[4] ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ[5][6] มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร[5][7][8]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#68", "text": "การแจ้งทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กชายโดยผู้ทำผิดทั้งชายและหญิงเชื่อว่า ต่ำจากความจริงโดยสำคัญ เนื่องจากปัญหาการเหมารวมเรื่องเหยื่อทางพศ การปฏิเสธความจริงของสังคม การลดความสำคัญของเหยื่อผู้ชาย และงานวิจัยในเรื่องนี้ที่มีน้อย[202] การตกเป็นเหยื่อของแม่หรือญาติผู้หญิงเป็นเรื่องที่ศึกษากันน้อยและมีการแจ้งน้อย แต่ว่า ทารุณกรรมของเด็กหญิงโดยแม่ ญาติหรือคนอื่นที่เป็นหญิง ก็ยังเริ่มจะมีการวิจัยและรายงานแม้ว่าทารุณกรรมของหญิงต่อเด็กหญิงจะเป็นเรื่องต้องห้ามทางสังคม ในงานศึกษาที่ถามนักเรียนเรื่องการละเมิดทางเพศ นักเรียนรายงานผู้ทำผิดเพศหญิงในระดับที่สูงกว่าการรายงานของผู้ใหญ่[203] มีการอ้างว่ารายงานที่ต่ำกว่าความจริงเช่นนี้ มีเหตุมาจากการปฏิเสธทางสังคมว่ามีทารุณกรรมทางเพศที่ทำโดยหญิง[204] เพราะว่า \"ผู้ชายถูกเลี้ยงให้เชื่อว่าตนควรจะรู้สึกภาคภูมิใจหรือชอบใจความสนใจทางเพศจากผู้หญิง\"[128] นักข่าวในเรื่องสิทธิสตรีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งกล่าวว่า การแจ้งต่ำกว่าความจริง มีส่วนจากการที่ผู้คนรวมทั้งลูกขุน ไม่สามารถมองผู้ชายว่าเป็น \"เหยื่อจริง ๆ\"[205]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "339055#12", "text": "ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยาหลายท่านยืนยันว่า ความจำเรื่องการถูกทารุณกรรมจะดำเนินต่อไปตราบเท่าที่ยังมีภาพเช่นนั้นดำรงอยู่ หรือมีการดู หรือมีการฉวยประโยชน์อย่างวิปริต\nส่วนงานวิจัยปี 2554 พบว่า \"อัตราการทารุณเด็กทางเพศได้ลดลงอย่างสำคัญจากกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่กระจายของสื่อลามกอนาจารเด็กออนไลน์\"\nความโน้มเอียงที่พบเช่นนี้ในงานหลายงาน มักจะบั่นทอนข้ออ้างว่า เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีการแจ้งเหตุการณ์น้อยลง หรือมีการเปลี่ยนวิธีการสืบสวนหรือการเก็บสถิติ\nจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการทารุณเด็กทางเพศ ตามการขยายความแพร่หลายของสื่อลามกเด็กออนไลน์\"", "title": "สื่อลามกอนาจารเด็ก" }, { "docid": "405824#60", "text": "เด็กทั้งหมดในโลก 19% อยู่ในประเทศอินเดีย[171][172] เป็นอัตราประชากร 42% ของอินเดีย[173] ในปี ค.ศ. 2007 กระทรวงพัฒนาหญิงและเด็กตีพิมพ์บทความ \"Study on Child Abuse: India 2007 (งานศึกษาเรื่องทารุณกรรมต่อเด็กในอินเดียปี 2007)\" ซึ่งสุ่มตัวอย่างเด็ก 12,447 คน เยาวชน 2,324 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ 2,449 คนในรัฐ 13 รัฐ แล้วตรวจสอบรูปแบบต่าง ๆ ของทารุณกรรมต่อเด็กรวมทั้ง ทารุณกรรมทางกาย ทารุณกรรมทางเพศ ทารุณกรรมทางจิต และการละเลยไม่ใส่ใจเด็กหญิง ในกลุ่ม 5 กลุ่ม คือ เด็กในครอบครัว เด็กในโรงเรียน เด็กในที่ทำงาน เด็กตามถนน และเด็กในสถาบันต่าง ๆ สาระหลักที่พบรวมทั้ง[171] เด็ก 53.22% รายงานทารุณกรรมทางเพศ และในบรรดาเด็กเหล่านั้น 52.94% เป็นชาย และ 47.06% เป็นหญิง รัฐอานธรประเทศ อัสสัม พิหาร และเมืองเดลี รายงานเปอร์เซนต์ทารุณกรรมทางเพศสูงสุดในทั้งเด็กชายเด็กหญิง และมีการทำร้ายทางเพศ (sexual assault) ในระดับสูงสุด 21.90% ของเด็กที่ตอบงานสำรวจประสบกับทารุณกรรมแบบรุนแรง 5.69% ถูกทำร้ายทางเพศ (sexual assault) และ 50.76% รายงานทารุณกรรมทางเพศแบบอื่น ๆ เด็กตามถนน ในที่ทำงาน และที่ดูแลโดยสถาบัน รายงานการถูกทำร้ายทางเพศ (sexual assault) ในระดับสูงสุด งานวิจัยแสดงว่า คนทำร้าย 50% เป็นคนรู้จัก หรืออยู่ในสถานะที่ควรจะเชื่อใจได้หรือที่รับผิดชอบเด็ก และเด็กส่วนมากไม่ได้รายงานเรื่องที่เกิดขึ้นกับใครอื่น เกี่ยวกับกฎหมายทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กโดยเฉพาะที่ปฏิบัติต่อเด็กแยกจากผู้ใหญ่ในกรณีกระทำผิดทางเพศ แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายเช่นนี้เป็นเวลานาน แต่ต่อมารัฐสภาอินเดียก็ได้ผ่าน \"กฎหมายการป้องกันเด็กจากการกระทำผิดทางเพศ\" ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2012 ซึ่งมีผลต่อมาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2012[174]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#52", "text": "งานวิเคราะห์อภิมานปี 2011 ที่วิเคราะห์งานวิจัย 217 งานที่ผู้ร่วมการทดลองแจ้งข้อมูลเอง ประเมินความแพร่หลายของการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กทั่วโลกที่ 12.7-18% สำหรับเด็กหญิง และ 7.6% สำหรับเด็กชาย โดยรายละเอียดของอัตราสำหรับแต่ละทวีปดังต่อไปนี้[157]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#19", "text": "งานบางงานพบว่า การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศหรือทางกาย อาจจะนำไปสู่การทำงานเกินของระบบลิมบิกที่มีพัฒนาการต่ำกว่าปกติ[84] งานของ Teicher et al ในปี 1993[83] ใช้รายการเช็คระบบลิมบิกที่เรียกว่า Limbic System Checklist-33 หรือตัวย่อว่า LSCL-33 เพื่อวัดอาการคล้ายลมชักในสมองกลีบข้างของผู้ใหญ่ 253 คน การถูกทารุณกรรมทางเพศที่ผู้ร่วมการทดลองรายงานเอง สัมพันธ์กับคะแนน LSCL-33 ที่เพิ่มขึ้น 49% จากปกติ เทียบกับการถูกทารุณกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น 11% และเทียบกับการถูกทารุณกรรมทั้งทางกายและทางเพศ ที่เพิ่มขึ้น 113% โดยคล้ายกันทั้งหญิงและชาย[83][86]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#1", "text": "ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า \"อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด\"[9]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#57", "text": "ประเทศแอฟริกาใต้มีจำนวนการข่มขืนเด็ก (รวมทั้งทารก) ที่สูงที่สุดในโลก[163] งานสำรวจปี 2002 พบว่า เด็กชาย 11% และเด็กหญิง 4% ยอมรับว่า ได้บังคับคนอื่นให้มีเพศสัมพันธ์กับตน[163] ในงานสำรวจทำในเด็ก 1,500 คน เด็กชาย 1 ใน 4 ที่สัมภาษณ์กล่าวว่า การข่มขืนเรียงคิวเป็นเรื่องสนุก[164] มีกรณีข่มขืนและทารุณกรรมเด็กกว่า 67,000 รายงานในปี 2000 ในประเทศแอฟริกาใต้ เทียบกับ 37,500 กรณีในปี 1998 กลุ่มสงเคราะห์เด็กต่าง ๆ เชื่อว่า กรณีที่ไม่ได้รายงานอาจเป็นจำนวน 10 เท่าของตัวเลขเหล่านั้น การประทุษร้ายเด็กเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์กับพรหมจารี เป็นเรื่องที่สามัญอย่างยิ่งในประเทศ ซึ่งมีจำนวนประชากรติดเอชไอวีมากที่สุดในโลก นักสังคมสงเคราะห์ท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า \"ผู้ประทุษร้ายเด็กบ่อยครั้งเป็นญาติของผู้เสียหาย แม้แต่พ่อหรือผู้ดูแลของเด็กเอง\"[165]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#51", "text": "ตามรายงานปี 2010 ของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เด็กนักเรียนหญิงชาวคองโก 46% ยืนยันว่า ตนเป็นเหยื่อของการก่อกวนทางเพศ ทารุณกรรมทางเพศ และความรุนแรงทางเพศอื่น ๆ ที่ทำโดยครูหรือบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน[156] ในประเทศโมซัมบิก งานศึกษาของกระทรวงการศึกษาพบว่า ผู้ที่ตอบงานสำรวจเพศหญิง 70% รู้จักครูที่บังคับให้ร่วมเพศก่อนที่จะเลื่อนชั้นให้แก่นักเรียน[156] งานสำรวจหนึ่งในจังหวัดคิวูเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกพบว่า เด็กหญิง 16% กล่าวว่าตนถูกบังคับให้ร่วมเพศกับครู[156] ตามรายงานของ UNICEF ครูในประเทศมาลีใช้การข่มขู่ด้วยปากกาแดง คือให้คะแนนแย่ ๆ ถ้าเด็กหญิงไม่ยอมตอบรับทางเพศ[156] ตามองค์การ \"Plan International\" เด็ก 16% ในประเทศโตโกสามารถบอกชื่อของครูที่เป็นพ่อของเด็กในครรภ์ของเพื่อนร่วมห้อง[156]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#23", "text": "ความแพร่หลายของการทารุณเด็กทางเพศโดยผู้ปกครองยากที่จะประเมินเพราะการเก็บความลับและการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยมีคนประเมินว่า คนอเมริกัน 20 ล้านคนเป็นเหยื่อของทารุณกรรมรูปแบบนี้ในวัยเด็ก[91]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#65", "text": "ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีค่าประเมินต่าง ๆ กัน งานทบทวนวรรณกรรม 23 งานพบอัตราระหว่าง 3-37% สำหรับชาย และ 8-71% สำหรับหญิง และดังนั้นค่าเฉลี่ยก็คือ 17% สำหรับเด็กชาย และ 28% สำหรับเด็กหญิง[190] ในขณะที่งานวิเคราะห์สถิติโดยใช้ข้อมูลจากงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) ประเมินค่าที่ 7.2% สำหรับชาย และ 14.5% สำหรับหญิง[184] กระทรวงบริการสุขภาพและชีวิตมนุษย์ (US Department of Health and Human Services) รายงานกรณีทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กที่มีมูล 83,600 กรณีในปี 2005[191][192] และการรวมกรณีที่ไม่ได้รายงานก็จะทำให้ตัวเลขรวมสูงยิ่งกว่านั้น[193] ตามนักวิชาการคู่หนึ่งในปี 2005 \"งานศึกษาระดับชาติหลายงานพบว่า เด็กแอฟริกันอเมริกันและเด็กผิวขาวที่ไม่ใช่คนเชื้อสายสเปน ประสบทารุณกรรมทางเพศในระดับใกล้ ๆ กัน\"[194] แต่ว่างานศึกษาอื่นพบว่า ทั้งคนผิวดำ คนเชื้อสายสเปน และคนเชื้อสายลาตินอเมริกา มีโอกาสเสี่ยงตกเป็นเหยื่อมากกว่าคนพวกอื่น[195][196] งานสำรวจปี 1981 พบว่า ประมาณ 20-33% ของหญิงทั้งหมดรายงานประสบการณ์ทางเพศกับผู้ใหญ่ในวัยเด็ก[197]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "162222#34", "text": "มากกว่า 67,000 คดี ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ถูกรายงานในปี 2000, ในอาฟริกาใต้ กลุ่มสวัสดิการเด็ก เชื่อว่าจำนวนตัวเลขที่ไม่ได้ถูกรายงานเข้ามาน่าจะมากกว่าจำนวนตัวเลขที่มี 10 เท่า ความเชื่อที่เป็นสากลของอาฟริกาใต้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับสาวพรหมจารีย์จะช่วยรักษาผู้ชายจาก HIV หรือโรคเอดส์ได้ อาฟริกาใต้มีจำนวนประชากรติดเชื้อ HIV สูงที่สุดในโลก สืบเนื่องจากตัวเลขของทางการ 1 ใน 8 ของชาวอาฟริกามีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว Edith Kriel, นักสังคมสงเคราะห์ ที่ช่วยผู้ถูกกระทำเด็ก ในแหลมตะวันออก กล่าวว่า “ การกระทำทารุณกรรมเด็กทางเพศมักจะทำโดยญาติของเด็กเอง อาจเป็นพ่อหรือคนที่หาเลี้ยงครอบครัว”", "title": "การข่มขืนกระทำชำเรา" }, { "docid": "764140#16", "text": "มีคนหลายพวกที่เกี่ยวข้องกับการฉวยประโยชน์จากเด็กทางเพศ เช่นต้องใช้คนหลายคนในการดำเนินงานของซ่อง มีการแบ่งชนที่เกี่ยวข้องกับการขายเด็กออกเป็น 4 จำพวก คือ ผู้ทำผิด ผู้ขาย ผู้อำนวย และเด็ก ผู้ทำผิดคือคนที่เข้าร่วมเซ็กซ์ทัวร์ หรือมีส่วนในการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์ บ่อยครั้งเป็นชายที่หาเรื่องแก้ตัวที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก[6] ผู้ขายคือคนที่ซื้อและเป็นแมงดาของเด็ก ผู้พยายามหาผลกำไรให้มากที่สุด ซึ่งถ้าปราศจากชนกลุ่มนี้จะไม่มีการค้าเด็ก ผู้อำนวยก็คือคนที่อำนวยอนุญาตให้การค้าเด็กเป็นไปได้ ผู้ปกครองที่ขายลูกสาวจัดอยู่ในประเภทนี้ เด็กเป็นคนสำคัญที่สุดในกระบวนการนี้ แต่คำว่า \"เด็ก\" มีกำหนดที่ไม่แน่นอน เพราะมีนิยามต่าง ๆ กันทั่วโลก การแยกแยะว่ากรณีไหนเป็นทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก กรณีไหนเป็นการค้าประเวณีเด็ก เป็นเรื่องยาก นอกจากนั้นแล้ว วัฒนธรรมต่าง ๆ ก็ต่างกันในการพิจารณ์ว่า เมื่อไรเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "405824#71", "text": "ส่วนสภายุโรป (Council of Europe) ได้ตกลงใช้ อนุสัญญาการป้องกันเด็กจากการฉวยผลประโยชน์และทารุณกรรมทางเพศ (Council of Europe Convention on the Protection of Children against Sexual Exploitation and Sexual Abuse) เพื่อป้องกันทารุณกรรมที่เกิดในบ้านหรือครอบครัว ส่วนในสหภาพยุโรป เรื่องทารุณกรรมตกอยู่ใต้กลุ่มกฎหมายที่เรียกว่า คำสั่งสหภาพยุโรป (Directive)[213] ซึ่งมีกฎหมายเกี่ยวกับรูปแบบทารุณกรรมต่อเด็กทางเพศหลายอย่าง รวมทั้งการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (commercial sexual exploitation of children)", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "764126#0", "text": "การทารุณเด็กทางเพศโดยเด็ก () หรือ ทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กโดยเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการทารุณเด็กทางเพศที่เด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ถูกทารุณทางเพศโดยเด็กหรือเด็กวัยรุ่นอื่น ๆ ที่ผู้ใหญ่ไม่มีส่วนร่วม\nมีนิยามว่าเป็นกิจกรรมทางเพศระหว่างเด็ก ที่เกิดขึ้นโดย \"ไม่ยินยอม ไม่เท่าเทียม หรือโดยบีบบังคับ\"\nซึ่งรวมทั้งสถานการณ์ที่เด็กคนหนึ่งใช้กำลังกาย คำข่มขู่ การหลอกลวง หรือกลอุบายทางจิตวิทยา เพื่อให้เหยื่อร่วมมือ\nเป็นกิจกรรมที่ต่างจากการเล่นทางเพศ ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศ และการสำรวจทางเพศของเด็กปกติ (เช่น เล่นเป็นหมอ)\nเพราะว่าเป็นการจงใจเพื่อกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ รวมถึงการให้ถึงความเสียวสุดยอด\nในหลายกรณี เด็กผู้ริเริ่มจะฉวยประโยชน์อาศัยความไร้เดียงสาของเด็กอีกคนหนึ่งที่เป็นเหยื่อ ผู้ไม่รู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น\nเป็นเรื่องที่สามารถทำโดยพี่น้องของเหยื่อ โดยเป็นทารุณกรรมระหว่างพี่น้อง (intersibling abuse)", "title": "การทารุณเด็กทางเพศโดยเด็ก" }, { "docid": "764140#26", "text": "ส่วนสำนักงานบริการเด็กและครอบครัวของรัฐนิวยอร์กประเมินในปี 2550 ว่า นครนิวยอร์กมีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศกว่า 2,000 คน และเด็กเช่นนั้นทั่วรัฐ 85% เคยติดต่อกับระบบสวัสดิการของเด็ก โดยมากผ่านกระบวนการยุติธรรมเรื่องถูกทารุณกรรมหรือถูกละเลย ในนครนิวยอร์ก เด็กเหล่านี้ 75% เคยอยู่ใต้การดูแลของครอบครัวที่รับเลี้ยงดูเด็ก (foster care)[23] แต่ว่า มีเจ้าหน้าที่ดูแลความยุติธรรมที่ให้กับเด็ก ตั้งความสงสัยกับค่าประเมินนี้ว่า \"พวกเราเชื่อว่า ตัวเลขนี้ต่ำกว่าความจริง\"[24] ซึ่งยืนยันโดยองค์กร SNRG-NYC ที่แจ้งว่าจำนวนเด็กเช่นนั้นในนครนิวยอร์กปี 2551 อยู่ที่ 3,946 คน มีผู้ช่วยเหลือเด็กหญิงจากการค้าเซ็กซ์คนหนึ่งกล่าวว่า อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มค้าประเวณีอยู่ที่ 12 ขวบในรัฐนิวยอร์ก โดยผู้ทำการเชื่อว่า \"ชายหลายคนที่ซื้อเซ็กซ์จากเด็กไม่คิดว่าตนเป็นพวกคนใคร่เด็ก พวกเขาไม่ใช่ไปเที่ยวเสาะหาวัยรุ่นอายุวัย 12 เพียงแต่ว่า พวกเขาไม่สนใจ (ว่าเป็นเด็กอายุเพียงแค่ 12)\" แต่ว่า งานของ SNRG-NYC ก็คัดค้านอายุเฉลี่ยนี้เหมือนกัน คือ งานพบว่า จากโสเภณีไม่ถึงอายุ 249 คน (48% เด็กหญิง และ 45% เด็กชาย) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตีพิมพ์ผลงาน อายุเฉลี่ยในการเริ่มค้าประเวณีอยู่ที่ 15.29 ปี", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "405824#7", "text": "ผลลบระยะยาวที่มีหลักฐานแสดงอย่างชัดเจนก็คือ การตกเป็นเหยื่อแบบซ้ำ ๆ หรือเพิ่มขึ้นในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่[14][44] การถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุ กับโรคจิตต่าง ๆ ในวัยผู้ใหญ่ที่เป็นผล เช่น อาชญากรรม และการฆ่าตัวตาย[18][45][46][47][48][49] รวมทั้งการติดสุราและยาเสพติด[43][44][50] ชายที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็ก มักจะปรากฏในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม มากกว่าในสถาบันบำบัดโรคจิต[35] งานศึกษาหนึ่งที่เปรียบเทียบหญิงกลางคนที่ถูกทารุณกรรมในวัยเด็กกับหญิงที่ไม่ถูกพบว่า หญิงถูกทารุณกรรมต้องมีการดูแลทางสุขภาพในระดับที่สูงกว่า[30][51] ยังพบผลต่อคนรุ่นต่อไปอีกด้วย คือ เด็กลูกของเหยื่อมักจะมีปัญหาทางพฤติกรรม ทางสังคม และทางจิตมากกว่าเด็กอื่น ๆ[52]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "764178#45", "text": "ความแพร่หลายของโรคใคร่เด็กในประชากรทั่วไปไม่ชัดเจน[13][30] แต่ประเมินว่าน้อยกว่า 5% ในผู้ใหญ่ชาย[13] ความแพร่หลายในหญิงยิ่งมีข้อมูลน้อยยิ่งกว่านั้น แม้ว่า จะมีรายงานเกี่ยวกับผู้หญิงที่มีจินตนาการทางเพศและอารมณ์เพศต่อเด็ก[14] ผู้ทำผิดทางเพศต่อเด็กโดยมากเป็นชาย และในบรรดาผู้ถูกตัดสินว่าผิดโดยศาลจะมีหญิงประมาณ 0.4-4% แต่ก็มีงานหนึ่งที่ประเมินอัตรา 10 ต่อ 1 ของชายต่อหญิงผู้ทำร้ายเด็กทางเพศ[16] ตัวเลขจริงของหญิงผู้ทำร้ายเด็กทางเพศอาจจะมีน้อยเกินจริงในข้อมูลประเมินที่มี เพราะเหตุผลรวมทั้ง \"ความโน้มเอียงของสังคมที่จะไม่สนใจผลลบของความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างเด็กชายและหญิงผู้ใหญ่ รวมทั้งการที่ผู้หญิงเข้าถึงเด็กเล็ก ๆ ผู้ไม่สามารถรายงานทารุณกรรม ได้ง่ายกว่า (ผู้ชาย)\"[16]", "title": "โรคใคร่เด็ก" }, { "docid": "405824#21", "text": "การสมสู่ร่วมสายโลหิตระหว่างเด็กหรือวัยรุ่น กับผู้หใญ่ที่เป็นญาติ เป็นรูปแบบทารุณกรรมต่อเด็กทางเพศที่แพร่หลายที่สุด ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่จะทำให้เด็กเสียหาย[16] ในภาษาอังกฤษเรียกได้ด้วยว่า child incestuous abuse (การทารุณเด็กทางเพศโดยญาติสายโลหิต)[88] นักวิจัยท่านหนึ่งกล่าวว่า ผู้กระทำผิดทั่วไปต่อเด็ก 70% เป็นคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด หรือเป็นคนที่สนิทกับคนในครอบครัวมาก[89] ในขณะที่นักวิจัยอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า ผู้กระทำผิด 30% เป็นญาติของเหยื่อ 60% เป็นคนรู้จักกับคนในครอบครัว เช่น เพื่อนบ้าน พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนของคนในบ้าน และ 10% เป็นคนแปลกหน้า[18] การทารุณเด็กทางเพศที่ผู้กระทำเป็นญาติ จะเป็นโดยสายเลือดหรือโดยการแต่งงานก็ดี เป็นรูปแบบการสมสู่ร่วมสายโลหิตที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า \"intrafamilial child sexual abuse\" (การทารุณเด็กทางเพศโดยคนในครอบครัว)[90]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#55", "text": "ความแพร่หลายของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กในแอฟริกา ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องไม่จริงว่า เพศสัมพันธ์กับพรหมจารีจะรักษาให้หายขาดจากเอชไอวีหรือโรคเอดส์ ซึ่งเป็นเรื่องที่แพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้ ซิมบับเว[159] แซมเบีย และไนจีเรีย และเป็นเหตุที่ทำให้อัตราทารุณกรรมต่อเด็กเล็ก ๆ สูงในเขตเหล่านั้น[160]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "405824#20", "text": "งานวิจัยปี 2006 พบว่า คะแนน SAT วิชาเลขที่รายงานเอง ของหญิงตัวอย่างที่มีประวัติถูกทารุณกรรมทางเพศซ้ำ ๆ ในวัยเด็ก ต่ำกว่าหญิงอื่นอย่างสำคัญ แต่เพราะว่า คะแนนวิชาภาษาสูง นักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า คะแนนเลขที่ต่ำอาจ \"เกิดจากความบกพร่องในการทำงานร่วมกันของซีกสมองทั้งสองข้าง\" งานวิจัยยังพบความสัมพันธ์ที่มีกำลังระหว่างความบกพร่องในความจำระยะสั้นในเรื่องทุกเรื่องที่ตรวจสอบ (คือ ทางภาษา ทางการเห็น และทั่วไป) กับระยะเวลาที่ถูกทารุณกรรม[87]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" } ]
723
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "109228#0", "text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์", "title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" } ]
[ { "docid": "194527#0", "text": "การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส พ.ศ. 2501 () เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 เพื่อให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสออกเสียงแสดงความเห็นชอบหรือไม่ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของตน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างขึ้นโดยนายชาลส์ เดอ โกล รัฐบุรุษชาวฝรั่งเศส มีสาระสำคัญเป็นการสถาปนาระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศสให้เป็นสาธารณรัฐ เรียกว่า \"สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5\"", "title": "การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1958" }, { "docid": "11232#8", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นผลพวงมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 อันนำไปสู่กระแสเรียกร้องต้องการให้มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างจริงจัง จนในที่สุดมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งมาตรา 211 ด้วยการเพิ่มหมวด 12 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบตามจำนวน (99 คน)", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "21707#0", "text": "วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน", "title": "วันรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "761106#3", "text": "สำหรับประเทศไทยนั้นเริ่มกล่าวถึงเสรีภาพต่าง ๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ในมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของ ชนชาวสยามความว่า \n“บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการ ถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และย่อมมีเสรีภาพ ในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความนับถือของตน เมื่อไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” แนวความคิดการให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการ นับถือศาสนานี้เกิดจากคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าการให้เสรีภาพในประเทศไทยไม่มีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งไม่อาจเป็นการให้หลักประกันของประชาชนได้ จึงจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่าผู้ปกครองจะละเมิดมิได้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญไทยฉบับ หลัง ๆ ทุกฉบับก็ได้วางหลักประกันสิทธิเสรีภาพ ในศาสนาตลอดมา ", "title": "เสรีภาพทางศาสนา" }, { "docid": "28664#1", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น \"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน\" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" }, { "docid": "69653#6", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับใช้บังคับเป็นเวลานาน เช่น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐประหารจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้บังคับเป็นเวลา 9 ปีเศษ แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลายฉบับใช้บังคับในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีหลักการสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองซึ่งไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง ทว่าตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรจึงมักถูกยกเลิกโดยรัฐประหาร โดยคณะผู้นำทางทหาร เมื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วจึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มุ่งใช้บังคับถาวรแล้วก็จะมีการเลือกตั้ง และตามด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่งก็จะถูกรัฐประหาร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจัดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่อีก หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับหลายสิบปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "633983#0", "text": "สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ () คือชื่อของรัฐชาติเยอรมันซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง กรกฎาคม ค.ศ. 1867 ถึง ธันวาคม ค.ศ. 1870 สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือสิ้นสุดลงเมื่อมีการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ และตามรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น \"จักรวรรดิเยอรมัน\"", "title": "สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ" }, { "docid": "741532#1", "text": "สืบเนื่องจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ผ่านมา ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดแรก จำนวน 36 คน ซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด มีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน[1] แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการฯ[2] ทำให้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ จำนวน 21 คน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และมีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน[3] โดยนับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยได้รับเสียงเห็นชอบท่วมท้นถึง 16.8 ล้านเสียง ต่อเสียงคัดค้าน 10.5 ล้านเสียง[4]", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" }, { "docid": "69653#7", "text": "แม้จะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจากจอมพล ถนอม กิตติขจรรัฐประหารให้แก่ตนเอง เพราะขณะรัฐประหารนั้น จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามวงจรการเมืองของไทยที่เคยเป็นมา ก็เกิดกระบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด จนทำให้จอมพล ถนอม กิตติขจรต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศ และแม้ต่อมาจะมีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งมีหลักการที่เป็นประชาธิปไตยมากฉบับหนึ่ง แต่ในที่สุดก็มีรัฐประหารอีก แล้วก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้วงจรการเมืองไทยหมุนกลับไปสู่วงจรเดิม คือ รัฐประหาร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร จัดให้มีการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซ้ำซากไม่จบสิ้น เฉลี่ยแล้ว รัฐธรรมนูญไทยเปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี ต่างจากกรณีสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียว ซึ่งนับตั้งแต่ประกาศใช้ 7 มาตรา 55 อนุมาตรา ใน พ.ศ. 2332 ก็มีแต่การแก้ไขให้ทันสมัยเท่านั้น", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "636609#4", "text": "สื่อต่างประเทศวิจารณ์สภานี้ว่าเป็นสภาตรายาง เพราะมีสมาชิกที่เป็นทหารจำนวนมาก ด้านภายในประเทศสภานิติบัญญัติถูกวิจารณ์ในการเพิ่มอำนาจให้กับพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้ง สถาปนาและถอดถอน สมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมรวมทั้งอำนาจให้พระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตรยฺ์ และ เลขานุการในคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ยังนับเป็นสภาแรกที่ออกกฎหมายมากถึง 325 ฉบับโดยไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 4 ฉบับ", "title": "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557" }, { "docid": "98888#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550" }, { "docid": "232523#3", "text": "จัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญนี้ถูกยกเลิกไปในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 จากนั้นต่อมาอีก 9 ปีจึงเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งยกเลิกรัฐธรรมนูญในขณะนั้นและนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ \"ฉบับใต้ตุ่ม\" หรือ \"ฉบับตุ่มแดง\" มาใช้แทน", "title": "พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476" }, { "docid": "8836#8", "text": "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุด พ.ศ. 2549 ได้สิ้นสภาพไปพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้บัญญัติขึ้นตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่แทน", "title": "ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "108845#5", "text": "หลายประเทศมีการออกเสียงประชามติเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ประเทศไทยเคยมีการนำเอาการออกเสียงประชามติมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2492 ฉบับ พ.ศ. 2511 ฉบับ พ.ศ. 2517 ฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 โดยสามฉบับแรกกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิออกเสียงประชามติในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนฉบับ พ.ศ. 2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีสามารถขอให้ประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องที่อาจกระทบถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่เคยมีการดำเนินการออกเสียงประชามติตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้จนกระทั่ง พ.ศ. 2550 ที่มีการออกเสียงให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550", "title": "การออกเสียงประชามติ" }, { "docid": "296168#7", "text": "ประเทศไทยนั้นกล่าวถึงสิทธิพลเมืองขึ้นครั้งแรกภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ได้เปลี่ยนสถานภาพคนไทยจาก “ไพร่” มาเป็น “พลเมือง” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อำนาจนั้น “เป็นของราษฎรทั้งหลาย” (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475) เพราะภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฐานที่มาของความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐได้เปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน คือจากตัวพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นจากเบื้องล่าง คือจากประชาชนชาวไทยทุกๆ คน ผ่านระบบตัวแทนจากการเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม (free and fair elections) โดยมีการกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของประชาชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนตั้งแต่ไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก (คือรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) ดังจะเห็นจากมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า", "title": "สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง" }, { "docid": "112910#1", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490", "title": "สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "671#4", "text": "ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และประมุขฝ่ายบริหาร ในปี พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่", "title": "การเมืองไทย" }, { "docid": "763012#1", "text": "รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ฉบับปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในโลกที่กำหนดสิทธิทางสังคม ใช้เป็นตัวแบบสำหรับรัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ. 1919 และรัฐธรรมนูญรัสเซีย ค.ศ. 1918 บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดบางข้อ ได้แก่ มาตรา 3, 27 และ 124 ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งในปรัชญาการเมืองเม็กซิโกซึ่งช่วยกำหนดกรอบฉากหลังทางการเมืองและสังคมแก่ประเทศเม็กซิโกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาตรา 3 มุ่งจำกัดคริสตจักรโรมันคาทอลิกในเม็กซิโก และสถาปนาฐานสำหรับการศึกษาแบบฆราวาสภาคบังคับให้เปล่า มาตรา 27 นำมาซึ่งรากฐานสำหรับการปฏิรูปที่ดิน และมาตรา 123 ออกแบบมาเพื่อเสริมอำนาจภาคแรงงาน ซึ่งกำเนิดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และสนับสนุนกลุ่มแยกที่เป็นฝ่ายชนะในการปฏิวัติเม็กซิโก", "title": "รัฐธรรมนูญเม็กซิโก" }, { "docid": "936#36", "text": "ในปี 2560 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ นับเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมืองสูงและมีรัฐประหารหลายครั้ง หลังเปลี่ยนรัฐบาลสำเร็จ รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการเปลี่ยนสมดุลอำนาจฝ่ายการปกครองเรื่อยมา ประเทศไทยมีรัฐประหารมากที่สุดในโลกในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย[48] ในปี 2559 \"ประเทศไทยมีทหารหรืออดีตทหารเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศไทยเป็นเวลา 57 จาก 85 ปีนับแต่ล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี 2475\"[49]", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "69653#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย</b>เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "28664#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" }, { "docid": "634923#1", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (และต่อมาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้\nปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใข้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557" }, { "docid": "487832#34", "text": "ในปี 2492 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สถาปนาวุฒิสภาซึ่งรัฐบาลแต่งตั้ง แต่ในปี 2494 รัฐบาลเลิกรัฐธรรมนูญของตนเองแล้วกลับไปใช้แบบปี 2475 รัฐสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกต่อไป ทำให้เกิดการคัดค้านอย่างหนักจากมหาวิทยาลัยและสื่อ และมีการพิจารณาคดีและปราบปรามรอบใหม่ ทว่า รัฐบาลได้รับการช่วยเหลือจากเศรษฐกิจบูมซึ่งเกิดขึ้นตลอดคริสต์ทศวรรษ 1950 อันเนื่องจากการส่งออกข้าวและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐ เศรษฐกิจไทยเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ประชากรและการกลายเป็นเมืองเพิ่มขึ้น", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)" }, { "docid": "95709#3", "text": "แม้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรีจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 แต่ก็มิได้กำหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสถาปนา เนื่องจากได้ถือตามความเป็นจริงว่าส่วนงานของนายกรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ตามการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนแรกโดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ตามรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย สำนักนายกรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 28 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยได้กำหนดให้สีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สีดำ", "title": "สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)" }, { "docid": "23112#10", "text": "ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานอยู่แต่เดิมที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทยในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่เมื่อถึงเวลาก็มิได้พระราชทานเนื่องจากอภิรัฐมนตรีสภากราบบังคมทูลทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรจึงได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย", "title": "รัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "82899#1", "text": "ระบบกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้อาจพิจารณาได้ตั้งแต่การริเริ่มให้มีรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีและการประกาศให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐเอกราช ตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งประเทศเกาหลีใต้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติม และถูกยกร่างขึ้นใหม่หลายครั้งด้วยกัน ซึ่งครั้งล่าสุดที่มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่คือปี พ.ศ. 2530 ในระยะเริ่มแรกของยุคสาธารณรัฐที่หก (Sixth Republic)\nรัฐบัญญัติจัดตั้งศาลแห่งประเทศเกาหลีได้ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2492 ได้จัดตั้งระบบศาลของประเทศเกาหลีใต้ให้มีลักษณะเป็น 3 ชั้น และเป็นอิสระจากกัน\nในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2530 ก็ได้บัญญัติรับรองให้ผู้พิพากษาจะไม่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยวิธีใด ๆ เว้นแต่จะถูกถอดถอนโดยกระบวนการถอดถอน (Impeachment) การกระทำความผิดอาญา หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ นอกจากนี้มาตรา 103 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2530 ได้บัญญัติรับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ดังนี้ “ผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการวินิจฉัยคดีตามสามัญสำนึกและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”\nนอกจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 1987 ได้บัญญัติรับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศเกาหลีใต้มีองค์กรสำหรับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ [1]", "title": "กฎหมายเกาหลีใต้" }, { "docid": "49464#2", "text": "รัฐธรรมนูญนิยม มีหลายความหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงกลุ่มของแนวความคิด ทัศนคติ และรูปแบบพฤติกรรมที่สาธยายเกี่ยวกับหลักการที่การใช้อำนาจของรัฐมาจากกฎหมายสูงสุดและถูกจำกัดอำนาจด้วยกฎหมายสูงสุด \nรัฐธรรมนูญนิยม นิยาม รัฐธรรมนูญนิยม หรือ ระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หมายถึง ความเชื่อทางปรัชญาความคิดที่นิยมหลักการปกครองรัฐด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นแนวความคิดที่มุ่งหมายจะใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution) เป็นหลักในการกำหนดรูปแบบ กลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุด (อมร จันทรสมบูรณ์, 2537: 9; Alexander, 1999: 16; Bellamy, 2007: 4-5; Sartori, 1962: 3) ที่มา แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อต่อต้าน คัดค้านรูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolutism) ของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปขณะนั้น จนมาปรากฏชัดเจนขึ้นหลังจากการประชุมเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1787 (McIlwain, 1977: 17) ซึ่งทำให้แนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้น แนวคิดเรื่องลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เมื่อเกิดขึ้นในขั้นต้น จึงไม่ได้มีความหมายกลางๆ แต่อย่างใด หากแต่มีความหมายที่โน้มเอียงไปในด้านการจำกัดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะนั้น และเน้นหนักในการพยายามสร้างสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพลเมืองภายในรัฐ โดยเรียกร้องให้มีการนำสิ่งที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” มาใช้เป็นหลักในการวางกรอบของประเด็นดังกล่าว จากลักษณะข้างต้นจึงทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในประเทศตะวันตกนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยไปในที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำหรับประเทศตะวันตกแล้ว หากจะมีรัฐธรรมนูญก็ควรจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง (Bellamy, 2007: 93) ท่ามกลางกระแสเสรีประชาธิปไตยซึ่งยังคงเป็นกระแสหลักของประเทศส่วนใหญ่ในตะวันตก จึงได้ทำให้คำว่าลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายกลางๆ ที่มองรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือทางกฎหมายอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาใช้วางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดแหล่งที่มาของอำนาจ การเข้าสู่อำนาจ และการใช้อำนาจของผู้ปกครองในทุกๆ ระบอบการปกครอง (McIlwain, 1977) โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงระบอบประชาธิปไตยอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้รัฐสมัยใหม่ “ทุกรัฐ” ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยหรือไม่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่ยึดรูปแบบการปกครองของระบอบรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ทั้งสิ้น กล่าวคือ ทุกๆ รัฐต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางอำนาจและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศนั้นๆ (เสน่ห์, 2540: 17) โดยปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ประเทศที่สหประชาชาติให้การรับรองนั้นมีทั้งสิ้น 196 ประเทศ (แต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติเพียง 193 ประเทศ) ในขณะที่รัฐธรรมนูญที่เป็นทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในโลกนี้มีทั้งสิ้นกว่า 203 ฉบับ ทั้งนี้เพราะในรัฐโพ้นทะเลบางแห่งอย่างเช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน (British Virgin Islands or BVI) ของอังกฤษ หรือ เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กนั้นต่างก็เป็นรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองในฐานะเป็นดินแดนที่มีการปกครองตนเอง แม้ว่าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (absolute territorial sovereignty) นั้นจะเป็นของประเทศเจ้าเอกราชก็ตาม ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ประเทศไทยเองก็รับเอาลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เข้ามาใช้อย่างเป็นทางการภายหลังจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรกของคณะราษฎร แม้ว่าขบวนการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นจะสามารถสร้างระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นในประเทศไทยได้ แต่ผลจากการที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากการต่อสู้กันเฉพาะภายในกลุ่มชนชั้นนำบางส่วนของไทย ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดที่มีคนเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อของลูกชายนายทหารผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (ปรีดี, 2543) ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือต่อสู้บนพื้นฐานของความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพและการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชน ดังเช่นที่ประชาชนชาติตะวันตกได้ต่อสู้ด้วยความยากลำเค็ญเพื่อก่อร่างสร้างระบอบรัฐธรรมนูญในประเทศของพวกเขา ดังนั้น ระบอบรัฐธรรมนูญของไทยที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงสามารถก่อรูปได้ก็แต่เพียงหลักการในการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำให้แหล่งที่มาของอำนาจต้องอ้างอิงกับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ตามหลักการทุกประการ แต่จากการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้มากนักจึงทำให้พวกเขาไม่สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกให้เข้ากับรัฐธรรมนูญได้ แม้จะมีบทบัญญัติถึงหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐธรรมนูญขาดความศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จึงกลายเป็นผลลัพธ์และการรอมชอมจากการต่อสู้ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ของไทย ซึ่งสามารถถูกฉีกทิ้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนในภายหลังได้อย่างง่ายดาย (เสน่ห์, 2540: 31-35) อย่างไรก็ดี หลังจากเหตุการณ์การเรียกร้องให้มีการใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย ได้แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า คนส่วนหนึ่งของสังคมได้เริ่มตระหนักรู้และเข้าใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยสูงสุดของปวงชน และเป็นเครื่องมือที่จะนำไปใช้จำกัดอำนาจของผู้ปกครองจากการใช้อำนาจอันมิชอบ (abuse of power) ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมที่ถูกรับรองไว้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างถ้วนหน้า ซึ่งเป็นแก่นของระบอบรัฐธรรมนูญนั่นเอง (เสน่ห์, 2540: 316) จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่จะสร้างกลไกทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ จำกัดอำนาจผู้ปกครอง และสร้างเสรีภาพให้แก่พลเมืองให้มากที่สุด จึงทำให้แนวคิดนี้เติบโตออกไปจากเดิมมาก แม้ช่วงเวลาหลังจากการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับยุคที่รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบก็ตาม และด้วยกระแสลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมที่เติบโตขึ้นจึงทำให้ท้ายที่สุดในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้ชื่อว่าประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง และจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุดฉบับหนึ่ง ซึ่งถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้แค่เพียง 9 ปีก่อนจะเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 แต่จะเห็นได้ว่าการฉีกรัฐธรรมนูญของคณะทหารในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะครั้งนี้ได้เกิดกระแสต่อต้านคณะรัฐประหารที่ทำลายรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีของประเทศไทยที่ประชาชนเริ่มผูกโยงความสำคัญของตัวรัฐธรรมนูญเข้ากับการมีอยู่ของสิทธิและเสรีภาพของตนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษรที่จารึกไว้ในกระดาษ หากแต่เป็นเจตนารมณ์ของตัวรัฐธรรมนูญที่คอยปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกรัฐธรรมนูญในระบอบรัฐธรรมนูญ (every constitutionalism’s constitution) นั้นพึงมี\nความหมายของรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับของโลก เป็นความหมายที่ เดวิด เฟลล์แมน เมธีด้านรัฐศาสตร์และรัฐธรรมนูญแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้อธิบายไว้ว่า", "title": "รัฐธรรมนูญนิยม" }, { "docid": "101720#0", "text": "รายนามผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย ตำแหน่งประธานาธิบดีนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงของการก่อตั้งประเทศอันเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมการสืบสวนเพื่องานเตรียมความพร้อมสำหรับเอกราช (เบเปอูเปกา) ซึ่งเป็นธรรมนูญฉบับร่างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย เคยใช้ในปี พ.ศ. 2488 จากนั้นในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับเอกราชอินโดนีเซีย (เปเปกาอี) อันเป็นฉบับที่ถูกร่างขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ก็ได้ถูกนำมาใช้อย่างถาวรแทนที่ฉบับเดิม โดยในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้เลือกซูการ์โนขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นคนแรกของประเทศ", "title": "รายนามประธานาธิบดีอินโดนีเซีย" }, { "docid": "673043#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 4 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย หรือ ผู้บัญชาการทหารบก ในปัจจุบันเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490" }, { "docid": "671#3", "text": "ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมห่กษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังมีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยเกิดรัฐประหารหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเล่า จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 20 ฉบับ (นับรวมฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว", "title": "การเมืองไทย" } ]
2455
สมองมีหน้าที่อะไร?
[ { "docid": "12075#1", "text": "สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้", "title": "สมอง" }, { "docid": "608094#1", "text": "ส่วนของสมองนี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งที่คนอื่นกำลังเพ่งดูอยู่ (ที่เรียกว่า joint attention) \nและดังนั้นจึงมีความสำคัญในการกำหนดว่า ผู้อื่นกำลังมีอารมณ์ความรู้สึกเพ่งเล็งไปที่อะไร \nนอกจากนั้นแล้ว ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้การเคลื่อนไหวทางชีวภาพ (biological motion) \nและในบุคคลปกติผู้ไม่มีโรคออทิซึม \"ร่องสมองกลีบขมับส่วนบน\"จะเริ่มทำงานถ้าได้ยินเสียงมนุษย์", "title": "ร่องสมองกลีบขมับส่วนบน" }, { "docid": "610775#5", "text": "ซีกสมองมีการเชื่อมต่อกันโดย corpus callosum\nทำให้สื่อสารและทำงานร่วมกันได้\nการสื่อสารนั้นสำคัญเพราะว่าสมองแต่ละซีกทำหน้าที่บางอย่างโดยเฉพาะที่อีกข้างหนึ่งไม่ทำ\nเช่นสมองซีกขวามีหน้าที่เฉพาะเกี่ยวกับการทำการงานที่ไม่ต้องอาศัยคำพูดที่ต้องมีการเคลื่อนไหวภายในปริภูมิ\nในขณะที่สมองซีกซ้ายเป็นหลักในการกระทำที่ใช้ภาษาเช่นการพูดหรือการเขียน\nถึงแม้ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานเฉพาะอย่างแบบนี้ในสมองยังไม่สมบูรณ์\nแต่ก็มีทฤษฎีที่เกิดขึ้นแล้วว่า ความแตกต่างระหว่างซีกสมองทั้งสองข้างก็คือ ซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ (analytical) ที่เป็นไปตามเหตุผล (logical)\nในขณะที่ซีกขวาทำหน้าที่โดยอาศัยความเข้าใจแบบองค์รวม (holistic) หรือแบบรู้เอง (intuitive)", "title": "Split-brain" }, { "docid": "168928#0", "text": "ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย () เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ (spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา", "title": "สมองน้อย" }, { "docid": "139709#6", "text": "เทเลนเซฟาลอนทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ดังกล่าวเริ่มต้นภายในไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) และบริเวณอื่นๆ ในบริเวณสั่งการของกลีบสมองด้านหน้า เมื่อสมองส่วนนี้เสียไป สมองจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทไปยังเส้นประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า \"Motor Neurone Disease\" การเสื่อมของสมองประเภทนี้ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง และขาดความแม่นยำ มากกว่าทำให้เกิดอัมพาตทั้งตัว", "title": "สมองใหญ่" }, { "docid": "560074#5", "text": "งานวิจัยอื่นจากที่กล่าวมาแล้วเพิ่มความเป็นไปได้ว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวามีหน้าที่ยิ่งไปกว่าการรู้จำภูมิลักษณ์ การทดลองที่ทำโดยกลุ่มนักวิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย นำโดยแคเทอริน แรงกิน แสดงว่า รอยนูนอาจจะมีบทบาทสำคัญในการระบุสถานการณ์รวมๆทางสังคม (social context) ด้วย รวมทั้งการสื่อสารนอกเหนือคำพูด (ปรลักษณ์ภาษา) เมื่อมีการพูดคุยกัน ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของแรงกินเสนอว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวา ทำให้สามารถจับคำพูดประชดเหน็บแหนม (sarcasm) ได้", "title": "รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส" } ]
[ { "docid": "178207#14", "text": "สำหรับผู้เห็นว่า เปลือกสมอง (cortex cerebri) เป็นเพียงส่วนเดียวในร่างกายที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ มักเห็นว่าการสิ้นสุดลงของกิจกรรมทางศักย์ดังกล่าวควรใช้เป็นที่ตัดสินว่าบุคคลตายแล้วเพียงประการเดียว อย่างไรก็ดี มีหลายกรณีที่เลือดไม่ไปหล่อเลี้ยงสมองเพราะความกดดันในกะโหลกศีรษะ อันเป็นผลให้สมองทั้งส่วนไม่ทำงาน และร่างกายขาดการรับรู้ในที่สุด ซึ่งหมายความว่าไม่ได้มีแค่เปลือกสมองเท่านั้นที่อาจส่งผลต่อการรับรู้ของร่างกาย", "title": "ภาวะสมองตาย" }, { "docid": "934473#14", "text": "ระบบการเห็นในสมองมนุษย์ช้าเกินที่จะประมวลข้อมูล ถ้าภาพวิ่งข้ามจอตาได้เร็วกว่าไม่กี่องศาต่อวินาที\nดังนั้น เพื่อให้มองเห็นเมื่อกำลังเคลื่อนไหว สมองจะต้องชดเชยการเคลื่อนไหวของศีรษะโดยกลอกตา\nสัตว์ที่มีตาหันไปทางด้านหน้ามจะมีบริเวณเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในจอตาที่เห็นได้ชัดมาก คือ รอยบุ๋มจอตา\nซึ่งครอบคลุมมุมการมองเห็นประมาณ 2 องศาในมนุษย์\nเพื่อจะให้เห็นได้ชัด สมองจะต้องกลอกตาให้ภาพของวัตถุเป้าหมายตกลงที่รอยบุ๋มจอตา\nความล้มเหลวในการเคลื่อนตาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เห็นภาพได้ไม่ดี", "title": "ตามนุษย์" }, { "docid": "654839#1", "text": "เปลือกสมองมนุษย์เป็นชั้นเนื้อเยื่อประสาทหนาที่คลุมสมองส่วนใหญ่ ชั้นนี้พับเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวซึ่งสามารถจุในปริมาตรเท่าที่มี รูปแบบการพับเหมือนกันในแต่ละบุคคล แม้มีการแปรผันเล็กน้อยอยู่มาก เปลือกสมองแบ่งเป็นสี่ \"กลีบ\" เรียก กลีบหน้า กลีบข้าง กลีบขมับและกลีบท้ายทอย (ระบบจำแนกบางระบบยังรวมกลีบลิมบิกและถือเปลือกอินซูลาร์ [insular cortex] เป็นกลีบหนึ่งด้วย) ในแต่ละกลีบมีพื้นที่เปลือกจำนวนมาก แต่ละพื้นที่กลีบสัมพันธ์กับหน้าที่เฉพาะ ซึ่งรวมการเห็น การควบคุมสั่งการและภาษา เปลือกสมองฝั่งซ้ายและขวาโดยคร่าว ๆ มีรูปทรงคล้ายกัน และพื้นที่กลีบส่วนมากมีซ้ำกันทั้งสองขวา ทว่า บางพื้นที่มีเฉพาะข้างหนึ่งอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษา ในคนส่วนมาก ซีกซ้าย \"เด่น\" สำหรับภาษา ขณะที่ซีกขวามีบทบาทเพียงเล็กน้อย มีหน้าที่อื่นเช่น มิติสัมพันธ์ ซึ่งซีกขวาโดยปกติเด่น", "title": "สมองมนุษย์" }, { "docid": "363706#22", "text": "การตรวจที่สำคัญที่สุดในการยืนยันหรือแยกการวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการวิเคราะห์น้ำหล่อสมองไขสันหลังที่ได้จากการเจาะหลัง. อย่างไรก็ดีการเจาะหลังนั้นห้ามทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือมีก้อนในสมอง ซึ่งก้อนนี้อาจเป็นเนื้องอกหรือฝีก็ได้ เนื่องจากหากเจาะหลังไปอาจทำให้สมองถูกกดทับ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะมีก้อนหรือมีความดันในกะโหลกศีรษะสูง (เช่น ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ มีปัญหาภูมิคุ้มกันอยู่เดิม มีอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ หรือมีหลักฐานจากการตรวจร่างกายแสดงถึงการมีความดันในกะโหลกศีรษะสูง) มีคำแนะนำว่าควรได้รับการตรวจซีทีหรือเอ็มอาร์ไอก่อนที่จะเจาะหลัง ซึ่งผู้ป่วยจำนวนนี้นับเป็น 45% ของผู้ป่วยผู้ใหญ่ทั้งหมด หากจำเป็นจะต้องทำซีทีหรือเอ็มอาร์ไอก่อนเจาะหลัง หรือน่าจะเจาะหลังยาก แนวทางเวชปฏิบัติแนะนำว่าควรให้ยาปฏิชีวนะก่อนเพื่อไม่ให้การรักษาต้องล่าช้าออกไป โดยเฉพาะหากคาดว่าจะใช้เวลาเกินกว่า 30 นาที ส่วนใหญ่ซีทีและเอ็มอาร์ไอจะทำในระยะหลังๆ เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ", "title": "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" } ]
2502
เกาหลีใต้ใช้ภาษาอะไร ?
[ { "docid": "2623#0", "text": "ภาษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV)", "title": "ภาษาเกาหลี" }, { "docid": "2623#4", "text": "ภาษาเกาหลีมีสำเนียงท้องถิ่นมากมาย ภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีใต้คือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่บริเวณโซล และภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีเหนือคือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้บริเวณกรุงเปียงยาง สำเนียงท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสำเนียงท้องถิ่นบนเกาะเชจูที่มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสำเนียงท้องถิ่นแต่ละแห่งคือ การเน้นเสียง สำเนียงท้องถิ่นของโซลจะเน้นเสียงน้อยมาก และไม่ค่อยมีความสูงต่ำในการเปล่งเสียง ในทางกลับกัน สำเนียงท้องถิ่นของ คย็องซัง มีความสูงต่ำของการออกเสียงอย่างมากจนคล้ายกับภาษาทางยุโรป อย่างไรก็ตามเราสามารถจำแนกสำเนียงท้องถิ่นของภาษาเกาหลีออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ได้ดังตาราง โดยพิจารณาจากขอบเขตของภูเขาและทะเล", "title": "ภาษาเกาหลี" }, { "docid": "2623#18", "text": "ในภาษาเกาหลี ได้มีการกำหนดระบบในการถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมันไว้ โดยเป็นที่นิยมมาก 2 ระบบ คือ ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ระบบที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศเกาหลีใต้ปัจจุบัน และ ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ ใช้ในประเทศเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน และเคยใช้ในเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการในช่วง พ.ศ. 2527-2543", "title": "ภาษาเกาหลี" }, { "docid": "2623#3", "text": "ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุงมัล (한국말) หรือ ฮันกูกอ (한국어) หรือ กูกอ (국어; \"ภาษาประจำชาติ\") บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นว่า อูรีมัล (แปลว่า \"ภาษาของเรา\"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้) หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ))", "title": "ภาษาเกาหลี" } ]
[ { "docid": "342846#0", "text": "ภาษาโครยอ-มาร์ (ฮันกึล: 고려말; ; ภาษาเกาหลีมาตรฐาน: 중앙아시아 한국어, ความหมาย \"ภาษาเกาหลีเอเชียกลาง\") เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาเกาหลีที่ใช้พูดโดยชาวโครยอ-ซารัม กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งชาวเกาหลีกลุ่มนี้มีบรรพบุรุษอาศัยในเขตฮัมกยอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเกาหลีเหนือ แต่ภาษานี้เข้าใจได้ยากเมื่อใช้พูดคุยกับภาษาเกาหลีมาตรฐาน ซึ่งอาจเป็นเพราะภาษาโครยอ-มาร์รับคำยืมจากภาษารัสเซีย และชาวโครยอ-ซารัมก็นิยมที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่ มากกว่าใช้ภาษาโครยอ-มาร์เอง", "title": "ภาษาโครยอ-มาร์" }, { "docid": "856310#0", "text": "ภาษาเกาหลีไซนิจิ เป็นภาษาเกาหลีที่ใช้โดยชาวเกาหลีไซนิจิ คือชาวเกาหลีที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากชาวเกาหลีที่เข้ามาอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นรุ่นแรก ๆ มาจากทางตอนใต้ของคาบสมุทร อาทิ จังหวัดคย็องกี จังหวัดช็อลลาเหนือ-ใต้ และจังหวัดเชจูจึงมีพื้นฐานของภาษาเกาหลีภาคใต้ และจากการที่แยกออกมาจากแผ่นดินแม่ ภาษาเกาหลีไซนิจิจึงรับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นเข้ามาค่อนข้างมากจนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาที่ต่างออกไปจากภาษาเกาหลีที่ใช้ในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้", "title": "ภาษาเกาหลีไซนิจิ" }, { "docid": "342846#3", "text": "ภาษาโครยอ-มาร์ เป็นภาษาที่ไม่อยู่ระบบการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในหลายโรงเรียน ขณะที่ภาษาเกาหลีมาตรฐานทั้งของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างใช้สอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วไปในอดีตสหภาพโซเวียตกับครูผู้สอนที่มาจากประเทศนั้น ๆ และมีอาจารย์จากเกาหลีใต้คนหนึ่งที่พยายามสอนภาษาโครยอ-มาร์ให้แก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยอัลมาตีในประเทศคาซัคสถาน แต่ก็ล้มเหลวอย่างมาก", "title": "ภาษาโครยอ-มาร์" }, { "docid": "856928#0", "text": "สำเนียงฮัมกย็อง () บ้างเรียก ภาษาเกาหลีตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเกาหลี มีผู้ใช้สำเนียงดังกล่าวในจังหวัดฮัมกย็องเหนือ จังหวัดฮัมกย็องใต้ และจังหวัดรยังกังของประเทศเกาหลีเหนือ และยังพบผู้ใช้ในเขตจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีหยันเปียน มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน ถือเป็นสำเนียงถิ่นที่มีความต่างเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาเกาหลีสำเนียงมาตรฐานไม่ว่าของเกาหลีใต้หรือแม้แต่สำเนียงมาตรฐานของเกาหลีเหนือเอง อาทิ ไวยากรณ์ เสียงสูงต่ำ และความหมาย", "title": "สำเนียงฮัมกย็อง" }, { "docid": "856928#2", "text": "นอกจากนี้สำเนียงฮัมกย็องยังส่งอิทธิพลต่อภาษาโครยอ-มาร์ อันเป็นภาษาที่ชาวเกาหลีที่อาศัยในอดีตสหภาพโซเวียตใช้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประชากรกลุ่มดังกล่าวมีบรรพบุรุษอพยพมาจากจังหวัดฮัมกย็องไปตะวันออกไกลเมื่อศตวรรษที่ 19 พจนานุกรมภาษาเกาหลีของยุโรปฉบับแรกเป็นพจนานุกรมภาษาเกาหลี-รัสเซียของพุตซิลโล ที่ทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1874 ส่วนใหญ่คำศัพท์มีพื้นฐานมาจากสำเนียงฮัมกย็อง ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นขณะที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ในวลาดีวอสตอค", "title": "สำเนียงฮัมกย็อง" }, { "docid": "342846#1", "text": "ภาษาโครยอ-มาร์ ไม่นิยมในการเขียนคำประพันธ์ด้วยอักษรเกาหลี และได้รับอิทธิพลของอักษรซิริลลิกจากโซเวียต แม้ว่าโซเวียตจะล่มสลายไปแล้วก็ตาม ขณะที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เองก็ต่างมีการเขียนอักษรเกาหลีอย่างมีระบบแบบแผน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักเขียนชาวโครยอ-ซารัมที่มีชื่อเสียง อย่าง ลัฟเรนติ ซ็อน () ได้เขียนเรื่องสั้นภาษาโครยอ-มาร์ โดยได้ใช้อักษรฮันกึลในการเขียน", "title": "ภาษาโครยอ-มาร์" } ]
2643
ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวิน เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "7156#0", "text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ (English: Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์[1][2] ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950[3][4] การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการรวบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต[5][6]", "title": "ชาลส์ ดาร์วิน" } ]
[ { "docid": "7156#4", "text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดที่เมืองชรูซบรี ชรอพเชอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่บ้านของตระกูล คือเดอะเมานท์[16] เขาเป็นบุตรคนที่ห้าในจำนวนทั้งหมด 6 คนของครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน มารดาชื่อ ซูซานนา ดาร์วิน (สกุลเดิม เวดจ์วูด) เขาเป็นหลานของเอรัสมัส ดาร์วิน กับ โจสิอาห์ เวดจ์วูด ทั้งสองตระกูลนี้เป็นคริสตชนยูนิทาเรียน (Unitarian) ผู้เคร่งครัดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ตัวโรเบิร์ต ดาร์วิน นั้นเป็นคนหัวเสรี และให้ชาลส์บุตรชายไปรับศีลในโบสถ์ของนิกายแองกลิกัน แต่ชาลส์กับพี่น้องก็ไปเข้าโบสถ์ของยูนิทาริสต์กับมารดา เมื่อชาลส์อายุ 8 ขวบ ได้หลงใหลในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและเริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเข้าโรงเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1817 มารดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้น นับจากเดือนกันยายน ค.ศ. 1818 เขาก็ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนซรูซบรีอันเป็นโรงเรียนนิกายแองกลิกัน กับพี่ชายของตนคือ เอรัสมัส อัลวีย์ ดาร์วิน[17]", "title": "ชาลส์ ดาร์วิน" }, { "docid": "7998#4", "text": "\"ความอดทนและอดกลั้น ต่ออุปสรรคและการดูถูกเหยียดหยาม เป็นเสมือนเสื้อกันความหนาวให้กับเรา อากาศยึ่งเย็นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากยึ่งขึ้นเท่านั้น...\"", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "36832#3", "text": "บริษัทโคลัมเบียพิคเจอร์สได้สร้างภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องนี้ ออกฉายเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยทอม แฮงส์ นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์ รับบทเป็นโรเบิร์ต แลงดอน ชื่อที่ใช้ฉายในประเทศไทยคือ \"รหัสลับระทึกโลก\"", "title": "รหัสลับดาวินชี" }, { "docid": "267963#0", "text": "คฤหาสน์โรเบิร์ต เอ็ม. แลมพ์ () ที่ตั้งอยู่ที่ แมดิสันในรัฐวิสคอนซินในสหรัฐอเมริกา ตัวสิ่งก่อสร้างออกแบบและสร้างโดยแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์สถาปนิกคนสำคัญชาวอเมริกันในแบบสถาปัตยกรรมแพรรีซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบแรกที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอเมริกัน คฤหาสน์โรเบิร์ต เอ็ม. แลมพ์ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1903", "title": "คฤหาสน์โรเบิร์ต เอ็ม. แลมพ์" }, { "docid": "785010#0", "text": "รอเบิร์ต วิลเลียม ฮอลลีย์ (; 28 มกราคม ค.ศ. 1922 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองเออร์แบนา รัฐอิลลินอยส์ เป็นบุตรของชาลส์ ฮอลลีย์และวิโอลา ฮอลลีย์ (นามสกุลเดิม วูลฟ์) เรียนที่โรงเรียนไฮสกูลเออร์แบนา ก่อนจะเรียนต่อปริญญาตรีด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์และเรียนปริญญาเอกด้านเคมีอินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฮอลลีย์ทำงานกับวินเซนต์ ดู วิกโนดที่วิทยาลัยแพทย์ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ก่อนจะเรียนจบปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1947", "title": "รอเบิร์ต ดับเบิลยู. ฮอลลีย์" }, { "docid": "837011#0", "text": "แอนสท์-โรเบิร์ต กราวิทซ์ (; 8 มิถุนายน 1899 - 24 เมษายน 1945) เป็นแพทย์ชาวเยอรมัน (และเป็นเจ้าหน้าที่เอสเอสในหน่วย Reichsarzt \"Arzt\" แปลความหมายว่า \"แพทย์\") ในเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเกิดในชาล็อตเทนเบิร์ก และเสียชีวิตในพอสดัม-บาเบลเบิร์ก (Potsdam-Babelsberg)", "title": "แอนสท์-โรเบิร์ต กราวิทซ์" }, { "docid": "252916#3", "text": "ในปี ค.ศ. 1066 พระบิดาของโรเบิร์ต วิลเลียมที่ 3 ดยุคแห่งนอร์มองดี บุกอังกฤษและปราบกษัตริย์แองโกลแซกซันคนสุดท้าย พระเจ้าแฮโรลด์ กอดวินสัน ที่สมรภูมิเฮสติงส์ ดยุคแห่งนอร์มองดีกลายเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนที่การแบ่งดินแดนจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1087 โรเบิร์ตกับพระอนุชามีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก นักพงศาวดารในยุคนั้น ออร์เดอริค วิตาลิส เขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เลเกลอในนอร์มองดีในปี ค.ศ. 1077 ว่าวิลเลียม รูฟัสกับเฮนรีเบื่อกับการเล่นทอยลูกเต๋าและหันไปเล่นซนด้วยการราดน้ำใส่พระเชษฐา โรเบิร์ต จากหอศิลป์ที่อยู่ด้านบน โรเบิร์ตโกรธมาก พระบิดาของทั้งสามเข้ามาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ความสงบกลับคืนมา ทรงโกรธที่พระบิดาไม่ลงโทษพระอนุชา โรเบิร์ตกับผู้ติดตามจึงพยายามจะปิดล้อมปราสาทรูออง (นอร์มองดี) แต่ถูกบีบให้หนีเมื่อดยุคแห่งนอร์มองดีโจมตีค่ายของพระองค์ เรื่องนี้นำไปสู่ความห่างเหินเป็นเวลา 3 ปีระหว่างโรเบิร์ตกับครอบครัวที่จบลงด้วยการไกล่เกลี่ยของพระมารดาของโรเบิร์ต", "title": "รอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดี" }, { "docid": "194268#1", "text": "ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2432 ขณะที่พลตำรวจลุก แฮงส์ (Police Constable Luke Hanks) กำลังสอบสวนโจรรายหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมได้จากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลางแห่งกรุงลอนดอนนั้น พลตำรวจลุกได้ค้นตัวชายวัยสิบห้าปีคนหนึ่งผู้เกี่ยวพันกับคดีนี้ด้วย ชื่อ ชาลส์ โทมัส สวินสกาว (Charles Thomas Swinscow) พบว่านายชาลส์มีเงินในครอบครองจำนวนสิบสี่ชิลลิง ซึ่งโดยปรกติแล้วนายชาลส์ต้องทำงานรับจ้างส่งหนังสือพิมพ์หลายสัปดาห์จึงจะมีเงินเท่านี้ได้ และขณะนั้นมีกฎข้อบังคับห้ามผู้รับจ้างส่งหนังสือพิมพ์พกพาเงินสดในระหว่างทำงานเพื่อมิให้ไหลไปปนกับเงินของลูกค้า นายชาลส์ยอมรับว่าตนได้รับเงินนี้มาจากการรับจ้างให้บริการทางเพศที่สถานค้ากามชายแห่งหนึ่งบนถนนเคลฟแลนด์ ซอยสิบเก้า (19 Cleveland Street) อันมีนายชาลส์ แฮมมอนด์ (Charles Hammond) เป็นผู้ดำเนินกิจการ นายชาลส์ โทมัส สวินสกาว กล่าวต่อว่านายเฮนรี นิวเลิฟ (Henry Newlove) ผู้ทำงานเป็นเสมียน ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขดังกล่าว เป็นผู้แนะนำตนให้แก่นายชาลส์ แฮมมอนด์ นอกจากนี้ ชายวัยสิบเจ็ดปีสองคนซึ่งทำงานเป็นลูกจ้างของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขนี้ ได้แก่ นายจอร์จ อาลมา ไรท์ (George Alma Wright) และนายชาลส์ เออร์เนสต์ ทิกบรูม (Charles Ernest Thickbroom) ยังได้ร่วมกับตนรับจ้างให้บริการทางเพศอีกด้วย", "title": "สถานค้ากามชายแห่งถนนเคลฟแลนด์" }, { "docid": "848898#1", "text": "ลาฟตันมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ 56 เรื่อง ระหว่างปี 1928–1962 ภาพยนตร์ยอดนิยมของเขาได้แก่ \"The Barretts of Wimpole Street\", \"Mutiny on the Bounty\", \"Ruggles of Red Gap\", \"Jamaica Inn\", \"The Hunchback of Notre Dame\" และ \"The Big Clock\" นอกจากอาชีพการแสดงแล้ว เขายังเป็นผู้กำกับให้กับละครบรอดเวย์หลายเรื่องเช่น \"The Caine Mutiny Court-Martial\" และ \"George Don Juan\" ของจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เขายังมีผลงานกำกับภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องคือ \"The Night of the Hunter\" (1955) ที่นำแสดงโดยโรเบิร์ต มิตชัมและแชลลี วินเทอร์ส", "title": "ชาลส์ ลาฟตัน" }, { "docid": "36832#4", "text": "ฌาคส์ โซนิแยร์ ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และประมุขแห่งสมาคมไพรเออรีออฟไซออน ถูกซิลาส นักบวชผิวเผือกผู้ทำงานให้กับบุคคลลึกลับที่ใช้ชื่อว่า \"ท่านอาจารย์\" ยิงเสียชีวิต มีคนพบร่างเขาในสภาพนอนกางแขนขาคล้ายภาพ \"วิทรูเวียนแมน\" และมีรูปดาวห้าแฉกอยู่บนตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเรียกโรเบิร์ต แลงดอน ศาสตราจารย์ด้านสัญลักษณ์วิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งในขณะนั้นมาบรรยายที่กรุงปารีสมาช่วยไขปริศนา", "title": "รหัสลับดาวินชี" }, { "docid": "556206#4", "text": "ผู้ออกแบบและผู้กำกับคือ คิม กาวินและเอส เดฟวลินที่เป็นผู้ได้รับมอบหมายการออกแบบ เดวิด อาร์โนลด์เป็นผู้กำกับด้านเพลง หลังจากที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเดวิด อาร์โนลได้รับหน้าที่นี้ในพิธีปิด ทำให้เขาได้รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากและเป็นโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตของเขา ในขณะที่กาวินนั้นไม่ต่างกัน เขารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้เป็นเกียรติในการทำงานนี้ ส่วนเดฟวลินก็รู้สึกดีใจที่เธอได้เป็นส่วนหนึ่งของ \"โชว์ที่ยิ่งใหญ่\" (greatest show on earth) ฮูจ โรเบิร์ตสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬาและโอลิมปิกรู้สึกปลาบปลื้มที่ได้มีทีมเวิร์คคุณภาพสูงมาร่วมในพิธีปิดนี้ บอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้กล่าวว่าเรามีประชากรบริติชที่สามารถสร้างการแสดงที่ดีที่สุด สตีเฟ่น ดาลดรีรับหน้าที่ผู้อำนวยการผลิตและมาร์ค ฟิชเชอร์ได้รับบทบาทในผู้ออกแบบการผลิต โดยพิธีปิดนี้ใช้เงินราว 20 ล้านยูโร ซึ่งแบ่งจ่ายให้ศิลปินเพียง 1 ยูโรสำหรับการว่าจ้างสัญญา และนักแสดงที่มีทั้งหมดที่แสดงโชว์ถึง 4,100 คน ประกอบไปด้วยอาสาสมัครประเภทผู้ใหญ่ 3,500 คน, นักเรียน 380 คน จากโรงเรียนทั้ง 6 แห่ง และอีก 250 คนสำหรับมืออาชีพในงาน และมีการฝึกซ้อมโชว์ถึง 15 ครั้งในทรีมิลส์ สตูดิโอและฝึกซ้อมสถานที่จริงในดาเกนแฮมทางตะวันออกของกรุงลอนดอน", "title": "พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012" }, { "docid": "143585#2", "text": "นอกจากนั้นใบปิดก็ยังใช้ในการพิมพ์ภาพจิตรกรรมของศิลปินคนสำคัญ ๆ หรือภาพถ่าย เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะการค้าที่ทำรายได้ดีให้ทั้งพิพิธภัณฑ์และบริษัทการค้าหรือร้านทางอินเทอร์เน็ต เช่นภาพเขียนของโคลด โมเนท์ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรืองานของช่างภาพอเมริกันโรเบิร์ต เมเปิลธอร์พ (Robert Mapplethorpe) ", "title": "ใบปิด" }, { "docid": "533952#0", "text": "สาส์นลับที่สาบสูญ () เป็นนวนิยายแนวลึกลับ/ระทึกขวัญ เขียนโดย แดน บราวน์ เนื้อหาเกี่ยวกับการผจญภัยครั้งที่ 3 ของ โรเบิร์ต แลงดอน ศาสตราจารย์ด้านสัญลักษณ์วิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หลังสร้างชื่อในเล่มก่อนหน้า คือ \"รหัสลับดาวินชี\"", "title": "สาส์นลับที่สาบสูญ" }, { "docid": "7156#6", "text": "เมื่อขึ้นปีสอง ดาร์วินเข้าร่วมสมาคมพลิเนียน (Plinian Society) ซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ เขาช่วยเหลือโรเบิร์ต เอ็ดมอนด์ แกรนท์ ในการสำรวจศึกษาลักษณะทางกายภาพและวงจรชีวิตของสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังในเฟิร์ธออฟฟอร์ธ วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1827 เขานำเสนอการค้นพบของตนต่อสมาคมพลิเนียนว่า จุดสีดำที่พบในเปลือกหอยนางรมนั้นเป็นไข่ของปลิง วันหนึ่ง แกรนท์ยกย่องแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการของ ชอง-แบบติสต์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ดาร์วินถึงกับตะลึง แต่ก่อนหน้านั้นเขาเคยอ่านแนวคิดคล้ายคลึงกันนี้จากเอรัสมัสผู้เป็นปู่ และเห็นว่ามันไม่ต่างกัน[19] ดาร์วินค่อนข้างเบื่อหน่ายกับวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติของโรเบิร์ต เจมสัน ซึ่งวุ่นวายกับธรณีวิทยา รวมถึงการโต้แย้งกันระหว่างทฤษฎีการเกิดของน้ำ (Neptunism) กับทฤษฎีการเกิดพลูตอน (Plutonism) เขาได้เรียนรู้การจัดอันดับของพืช และได้ช่วยงานด้านการเก็บรักษาในรอยัลมิวเซียม ซึ่งเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในเวลานั้น[20]", "title": "ชาลส์ ดาร์วิน" }, { "docid": "779490#0", "text": "ชาลส์ วัตสัน-เว็นท์เวิร์ธ มาสวิสที่ 2 แห่งร็อกกิงแฮม () เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวอังกฤษ เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองวาระ แต่ละวาระดำรงตำแหน่งสั้นๆ เนื่องจากเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นๆ จึงไม่ได้มีผลงานโดดเด่นในตำแหน่งนี้ซักเท่าไหร่ เขายังเป็นผู้อุปถัมภ์และผู้นำของของพรรควิก", "title": "ชาลส์ วัตสัน-เว็นท์เวิร์ธ มาร์ควิสที่ 2 แห่งร็อกกิงแฮม" }, { "docid": "85657#9", "text": "วิกตอเรีย → เอ็ดเวิร์ดที่ 7 → จอร์จที่ 5 → เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์\nดยุกแห่งกลอสเตอร์ (เจ้าชายริชาร์ด; \"ประสูติ\" 26 สิงหาคม พ.ศ. 2487) พระโอรสในเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์\nอเล็กซานเดอร์ วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์ (\"เกิด\" 24 ตุลาคม พ.ศ. 2517) พระโอรสในดยุกแห่งกลอสเตอร์\nแซน วินด์เซอร์ ลอร์ดคัลโลเดน (\"เกิด\" 12 มีนาคม พ.ศ. 2550) บุตรชายของเอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์\nเลดี้ โคซิมา วินด์เซอร์ (\"เกิด\" 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) บุตรสาวของเอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์\nเลดี้ ดาวินา ลิวอิส (\"เกิด\" 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520) พระธิดาองค์โตในดยุกแห่งกลอสเตอร์\nเทน ลิวอิส (\"เกิด\" 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) บุตรชายของเลดี้ ดาวินา ลิวอิส\nเซนนา ลิวอิส (\"เกิด\" 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553) บุตรสาวของเลดี้ ดาวินา ลิวอิส\nเลดี้ โรส กิลแมน (\"เกิด\" 1 มีนาคม พ.ศ. 2523) พระธิดาองค์เล็กในดยุกแห่งกลอสเตอร์\nรูฟัส กิลแมน (\"เกิด\" พ.ศ. 2555) บุตรชายของเลดี้ โรส กิลแมน\nไลลา กิลแมน (\"เกิด\" 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) บุตรสาวของเลดี้ โรส กิลแมน", "title": "ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "144992#0", "text": "โรเบิร์ต ดาลินเซ (Roberto Dalisay) นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ เกิดเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 สถิติการชก 53 ครั้ง ชนะ 22 (น็อค 7 ) เสมอ 5 แพ้ 26 ", "title": "โรเบิร์ต ดาลินเซ" }, { "docid": "36832#0", "text": "รหัสลับดาวินชี () เป็นนวนิยายแนวลึกลับ-สืบสวนของแดน บราวน์ วางจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีฉบับแปล 44 ภาษา และมียอดขายทั่วโลกรวมกันมากกว่า 80 ล้านเล่ม (ข้อมูลปี พ.ศ. 2552) รหัสลับดาวินชีเป็นผลงานลำดับที่สองในชุดที่มีโรเบิร์ต แลงดอน เป็นตัวเอก สำหรับหนังสือฉบับภาษาไทยนั้น จัดพิมพ์โดยแพรวสำนักพิมพ์ แปลโดยอรดี สุวรรณโกมล ", "title": "รหัสลับดาวินชี" }, { "docid": "335598#14", "text": "\"กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก\" ออกฉายวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 และกำกับโดยสองพี่น้องรัสโซอีกครั้ง อีแวนส์ โจแฮนส์สัน สแตน และแม็กกี กลับมารับบทเดิมจากภาค\"มัจจุราชอหังการ\" และร่วมแสดงโดยโรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ รับบท โทนี สตาร์ก หรือ ไอรอนแมน พอล เบ็ตทานี รับบท วิชัน เจเรมี เรนเนอร์ รับบท คลินต์ บาร์ตัน หรือ ฮอว์กอาย ดอน ชีเดิล รับบท เจมส์ \"โรดี\" โรดส์ หรือ วอร์มะชีน เอลิซาเบธ โอลเซน รับบท วานดา แม็กซิมอฟ หรือ สการ์เลต วิตช์ พอล รัดด์ รับบท สกอตต์ แลง หรือ แอนต์แมน และวิลเลียม เฮิร์ต รับบท แทดเดียส \"ทันเดอร์โบลต์\" รอสส์ ทั้งหมดรับบทเดิมในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล", "title": "กัปตันอเมริกา: อเวนเจอร์ที่ 1" }, { "docid": "7998#2", "text": "เลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ที่เขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนาย<i data-parsoid='{\"dsr\":[2168,2192,2,2]}'>แซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "815527#0", "text": "โรเบิร์ต ดีรอย วินแดม (Robert Deroy Windham) (26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 – 7 เมษายน ค.ศ. 2016) เป็นที่รู้จักในชื่อบนสังเวียนการปล้ำ แบล็กแจ็ก มูลลิแกน (Blackjack Mulligan) เป็นนักมวยปล้ำอาชีพ, นักประพันธ์, และนักเล่นอเมริกันฟุตบอล เป็นพ่อของนักมวยปล้ำ แบร์รี วินแดม และ เคนแดล วินแดม, พ่อเขยของ ไมค์ โรทันดา และตาของ เบรย์ ไวแอ็ตต์ และโบ ดัลลัส", "title": "แบล็กแจ็ก มูลลิแกน" }, { "docid": "314094#4", "text": "ฌาคส์ โซนิแยร์ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ถูกซิลาส นักบวชผิวเผือกเค้นถามถึง \"หลักศิลา\" กุญแจซึ่งนำไปสู่จอกศักดิ์สิทธิ์ก่อนจะถูกฆ่า ตำรวจพบร่างของโซนิแยร์อยู่ในลักษณะคล้ายภาพ \"วิทรูเวียนแมน\" เบซู ฟาช สารวัตรของกรมตำรวจฝรั่งเศสเชิญตัวโรเบิร์ต แลงดอน ศาสตราจารย์ด้านสัญลักษณ์วิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่พักอยู่ในปารีสมาที่เกิดเหตุ แลงดอนพบลำดับเลขฟีโบนัชชีที่ซ่อนอยู่ ต่อมาโซฟี เนอเวอ นักถอดรหัสจากกรมตำรวจและหลานสาวของโซนิแยร์บอกแลงดอนว่าฟาชแอบติดเครื่องติดตามที่ตัวแลงดอนเพราะสงสัยว่าแลงดอนเป็นคนฆ่าโซนิแยร์ เนื่องจากมีข้อความที่โซนิแยร์เขียนไว้ก่อนตายว่า \"ตามหาโรเบิร์ต แลงดอน\" และฟาชลบออกก่อนที่แลงดอนจะมาถึง แลงดอนและโซฟีทำลายเครื่องติดตามและตามลำดับเลขไปที่ผลงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี จนแลงดอนอนุมานได้ว่าโซนิแยร์เป็นประมุขของสมาคม \"ไพรเออรีออฟไซออน\" ด้านซิลาสที่ทำงานให้กับบิชอปอาริงกาโรซา ประมุขนิกายโอปุสเดอีและบุคคลลึกลับนามว่า \"ท่านอาจารย์\" หลบซ่อนตัว", "title": "รหัสลับระทึกโลก" }, { "docid": "132126#0", "text": "ธีโอดอร์ โรเบิร์ต 'เท็ด' บันดี (Theodore Robert 'Ted' Bundy) เป็นฆาตกรต่อเนื่องชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2521 เท่าที่ทางการพบ บันดีข่มขืนและฆาตกรรมหญิงสาวในรัฐ โคโลราโด, ฟลอริดา, ยูทาห์, วอชิงตัน, ออริกอน, ไอดาโฮ ไปทั้งสิ้น 36 ราย", "title": "เท็ด บันดี" }, { "docid": "824091#0", "text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย", "title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่" }, { "docid": "893042#0", "text": "สถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ () เป็นรูปแบบหรือการเคลื่อนไหวทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อต่อต้านความเคร่งครัด ความเป็นแบบแผน และการขาดความหลากหลายของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาปัตยกรรมแบบสากล ( international style) โดยการนำของเลอกอร์บูซีเยและลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ การเคลื่อนไหวนี้ได้มีการถ่ายทอดโดยสถาปนิกและนักทฤษฎีสถาปัตยกรรม โรเบิร์ต เวนทูรี ในหนังสือปี ค.ศ. 1966 ชื่อ \"Complexity and Contradiction in Architecture\" รูปแบบสถาปัตยกรรมนี้แพร่หลายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลงานของโรเบิร์ต เวนทูรี, ฟิลิป จอห์นสัน, ชาลส์ มอร์ และไมเคิล เกรฟส์ จนปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีแนวโน้มสถาปัตยกรรมแบบใหม่ อย่าง สถาปัตยกรรมไฮเทค สถาปัตยกรรมคลาสสิกใหม่ และคตินิยมเปลี่ยนแนว", "title": "สถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่" }, { "docid": "328988#10", "text": "สาวๆ เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการเรียนเต้นรำ สาวๆ จะได้เรียนรู้การเต้นแบบต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เอมิเลียชื่นชอบและทำออกมาได้เป็นอย่างดีในขณะที่ดาโกต้าไม่ค่อยที่จะให้ความร่วมมือเท่าไหร่ โดยเธออ้างว่าเธอมาเพื่อเป็นนางแบบไม่ใช่มาเป็นแดนซ์เซอร์ ในวันต่อมาสาวๆ ได้ไปที่โรโทรัว เพื่อแข่งกันโพสท่าในลูกบอลขนาดยักษ์ สาวๆ ต่างก็พยายามทำกันอย่างทุลักทุเลและผู้ที่ทำออกมาได้อย่างพริ้วไหวและงดงามที่สุดคือคอร์ทเนย์ และรางวัลของเธอก็คือการไปนวดทำสปาสุดหรู", "title": "นิวซีแลนด์เน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2" }, { "docid": "655585#0", "text": "อัจฉริยบุคคล คือบุคคลที่แสดงความสามารถทางปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดริเริ่ม ในระดับที่เกิดจากเชาว์ปัญญาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง อาจหมายถึงมุมมองเฉพาะของแต่ละบุคคล อาจเป็นนักวิชาการในหลายสาขา (เช่น กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี) หรือนักวิชาการในสาขาเดียว (เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือ ชาลส์ ดาร์วิน) ไม่มีคำนิยามของอัจฉริยบุคคลทางวิทยาศาสตร์ และคำถามที่ว่าในตัวความนึกคิดเองมีความหมายที่แท้จริงหรือไม่นั้น ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่", "title": "อัจฉริยบุคคล" }, { "docid": "892904#8", "text": "ชาลส์ แวน ราลเต (Charles van Raalte) ซื้อเกาะและปราสาทบราวน์ซีต่อจากบัลโฟร์เพื่อใช้เป็นบ้านพักวันหยุด มีบุคคลสำคัญอาทิ กูลเยลโม มาร์โกนี แวะมาพักอาศัยที่ปราสาท โรเบิร์ต เบเดน-โพเอลล์ ทหารกองทัพอังกฤษ สมาชิกสภาขุนนาง และเพื่อนสนิทของแวนราลเตขอใช้เกาะเป็นสถานที่จัดค่ายลูกเสือกับเด็กชายอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมาจากพื้นเพทางสังคมรวมไปถึงถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน บางส่วนมาจากกโรงเรียนชายล้วนในกรุงลอนดอน บางส่วนมาจากคนในท้องถิ่น เช่นจากตำบลปาร์กสโตน อำเภอพูล และ ตำบลวินตัน อำเภอบอร์นมัท ค่ายถูกจัดระหว่างวันที่ 1 - 8 สิงหาคม พ.ศ.2450 บรรดาเด็ก ๆ ถูกกำหนดให้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง อาทิ การอยู่ค่ายพักแรม การสังเกตการณ์ พืชพรรณและนานาสัตว์ การช่วยชีวิต และอุดมการณ์ความรักชาติ เมื่อค่ายนี้ประสบผลสำเร็จตามความปรารถนา ปีต่อมาเบเดน-โพเอลล์ได้เผยแพร่หนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย (Scouting for Boys) เป็นผลให้เกิดกองลูกเสือในหลายประเทศ บนเกาะนั้นมีการตั้งค่ายลูกเสือเป็นประจำทุกปีสืบเนื่องจนถึง พ.ศ.2477 ดังเหตุผลที่จะอธิบายต่อไป", "title": "เกาะบราวน์ซี" }, { "docid": "41373#9", "text": "นอกจากนี้ เขายังค้นพบ\"ลำดับฟีโบนักซี\" คือ 1 1 2 3 5 8 13 21 โดยที่เลขสองตัวข้างหน้าบวกกันกลายมาเป็นผลลัพธ์ ของอีกตัวหนึ่งทางด้านขวา เช่น 2+3 =5 ไปเรื่อยๆ อย่างเช่น ในหนังสือ รหัสลับดาวินซี ที่ \"โซนิแยร์\"ทิ้งไว้ให้โรเบิร์ต แลงดอน และ โซเฟีย ที่ปรากฏในวรรณกรรม รหัสลับดาวินชี", "title": "เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี" } ]
3445
เกมแจกเก๋ง ออกอากาศที่สถานีโทรทัศน์ใด?
[ { "docid": "679482#0", "text": "เกมแจกเก๋ง เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันมีโอกาสได้เป็นเจ้าของ \"รถเก๋งป้ายแดง\" ได้ง่าย ๆ เพียงแค่นั่งอยู่บนเก้าอี้ให้ได้จนจบเกมโดยที่ไม่ \"หงายเก๋ง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 19:00 - 19:40 น. และออกอากาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 11:20 - 12:00 น. ของวันถัดไป โดยมีสัญญา คุณากรเป็นผู้ดำเนินรายการ \nในการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 5 คน โดยเป็นแชมป์เก่าจากรอบการแข่งขันที่แล้ว 1 คน และผู้เข้าแข่งขันใหม่อีก 4 คน ทุกคนจะนั่งอยู่บนเก้าอี้ที่เรียกว่า \"เก้าอี้หงายเก๋ง\" ซึ่งเป็นเก้าอี้กลไกที่พร้อมจะหงายผู้เข้าแข่งขันออกจากการแข่งขันทันทีที่ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นตกรอบ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการแข่งขันเกมในแต่ละรอบดังต่อไปนี้", "title": "เกมแจกเก๋ง" } ]
[ { "docid": "95351#0", "text": "จับเวลาแจก เป็นรายการเกมโชว์ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7ทุกวันจันทร์ถึงวันอังคารเวลา 15.30-16.00 น. ผลิตรายการโดย บริษัท เจ เอส แอล จำกัด มีผู้ดำเนินรายการ 2 ท่าน ได้แก่ สันติสุข พรหมศิริ และ วรรธนะ กัมทรทิพย์ โดยมีรางวัลแจ็คพอตคือ รถจักรยานยนต์ 1 คัน", "title": "จับเวลาแจก" }, { "docid": "679482#4", "text": "เกม \"ปริศนาหน้าเกลี้ยง\" เป็นเกมใหม่ที่ถูกบรรจุเข้ามาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา เกมนี้จะมีภาพใบหน้าของบุคคลปริศนาที่จะเริ่มต้นจากใบหน้าเกลี้ยง ๆ และจะค่อย ๆ ปรากฏส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าออกมาทีละส่วน ในระหว่างนั้นผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนจะต้องแย่งกันกดสัญญาณไฟเพื่อชิงสิทธิ์ในการตอบโดยสามารถกดได้ทันทีที่มั่นใจว่าตอบได้ เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งกดสัญญาณไฟตอบ ภาพจะหยุดปรากฏส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า หากตอบได้ถูกต้องจะผ่านเข้ารอบทันที แต่ถ้าหากตอบผิดผู้เข้าแข่งขันคนนั้นก็จะหมดสิทธิ์เล่นต่อในภาพนั้น ๆ ทันทีเช่นกัน และผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะมีสิทธิ์แย่งกันกดสัญญาณไฟตอบกันต่อไป ในกรณีคนที่กดไฟตอบผิดกันหมด คนสุดท้ายที่ยังไม่ได้กดไฟจะได้สิทธิ์ตอบโดยจะเห็นชิ้นส่วนของใบหน้าเพิ่มอีก 2 ชิ้นส่วน แต่ถ้าตอบผิด จะเล่นต่อไปจนกว่าจะมีคนตอบถูก หลังจากที่ภาพปรากฏทุกส่วนของใบหน้าจนครบแล้ว ยังไม่มีใครตอบได้ จะเล่นต่อจนกว่าจะมีผู้เข้าแข่งขันตอบถูกเช่นเดียวกัน จนกระทั่งเหลือคนสุดท้ายที่ยังตอบไม่ได้เลยที่จะ \"หงายเก๋ง\" ตกรอบ", "title": "เกมแจกเก๋ง" }, { "docid": "722597#0", "text": "มือปราบกุ๊กกุ๊กกู๋ เป็นละครโทรทัศน์ประเภทซิตคอม ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด หรือฝ่ายบริหารละครโทรทัศน์และซิตคอม สถานีโทรทัศน์ช่องวัน อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ กำกับการแสดงโดย พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ ออกอากาศทางช่องวัน ทุกวันเสาร์ เวลา 18:20 - 19:20 น. ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 23 มกราคม พ.ศ. 2559 รวมทั้งหมด 31 ตอน สถานีโทรทัศน์เมียวดี สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ (MWD TV) ซื้อลิขสิทธิ์นำไปออกอากาศที่ ประเทศเมียนมาร์ ออกาอากาศครั้งแรกวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน", "title": "มือปราบกุ๊กกุ๊กกู๋" }, { "docid": "170932#0", "text": "คู่กิ๊กพริกกะเกลือ เป็นละครแนวซิตคอม ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สร้างโดย บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด กำกับการแสดงโดย บุญชู พิทักษ์เลิศกุล ซึ่งมาแทนละครเรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ ที่สิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 นำแสดงโดย รังสิต ศิรนานนท์, คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์, ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์, แซมมี่ เคาวเวลล์ ในช่วงแรกๆ จะไม่มีแขกรับเชิญมาร่วมแสดงมากนัก แต่ในตอนต่อๆมา เริ่มมีแขกรับเชิญมาร่วมแสดงมาในแต่ละตอนเป็นระยะๆ และจะไม่มีแขกรับเชิญในบางตอน", "title": "คู่กิ๊กพริกกะเกลือ" }, { "docid": "176402#0", "text": "เกาะแก้วพิสดาร เป็นรายการเกมโชว์ไทย แนว ตลก ผจญภัย ออกอากาศเทปแรกวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ และวันจันทร์ - พุธ เวลา 17.45 - 18.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท จันทร์ 25 จำกัด ดำเนินการผลิตและสร้างสรรค์เกมโดย บริษัท สาระแน แปซิฟิค จำกัด ดำเนินรายการโดย วิลลี่ แมคอินทอช และ เสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค", "title": "เกาะแก้วพิสดาร" }, { "docid": "879781#0", "text": "กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง รายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ มิวสิกโชว์ผลิตรายการโดยบริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด และบริษัท ทริปเปิ้ลทู จำกัด ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22:30 – 23:55 น. ดำเนินรายการโดยซูโม่กิ๊ก เกียรติ กิจเจริญ และดู๋ สัญญา คุณากร โดยออกอากาศครั้งแรกวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งออกอากาศต่อเนื่องจากกิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้านในสัปดาห์ที่แล้ว", "title": "กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง" }, { "docid": "69143#0", "text": "แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต () หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า J.A.K.Q. Dengekitai เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ ลำดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศทางสถานี ทีวีอาซาฮี ทุกวันเสาร์ เวลา 19.30-20.00 น. ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 เมษายน ถึง 24 ธันวาคม พ.ศ. 2520 รวมความยาวทั้งสิ้น 35 ตอนและมีตอนพิเศษสำหรับออกฉายในโรงภาพยนตร์อีก 2 ตอน\n1.4 ไพ่ ผู้กล้าหาญนามนั้นคือ JAKQ (4カード!! 切り札はJAKQ)", "title": "แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต" }, { "docid": "334810#0", "text": "หนูน้อย กู้อีจู้ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่แสดงความสามารถของหนูน้อยในวัยต่างๆ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยมีพิธีกรคือ ปัญญา นิรันดร์กุล ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 18.00-18.30 น. เริ่มออกอากาศวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และสิ้นสุดวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้นกลับมาออกอากาศอีกครั้งทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.20 - 19.10 น.", "title": "หนูน้อย กู้อีจู้" }, { "docid": "19260#0", "text": "แดจังกึม () เป็นละครชุดออกอากาศทางโทรทัศน์ช่อง MBC ของเกาหลีใต้ เมื่อ พ.ศ. 2546 โดยนำมาแพร่ภาพออกอากาศในประเทศไทย ชื่อว่า \"แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง\" เมื่อ พ.ศ. 2548 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท. ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.00 - 20.00 น. และได้ออกอากาศซ้ำใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 16.30 - 17.30 น. ก่อนรายการข่าวเรื่องเด่นเย็นนี้ และในพ.ศ. 2553 ได้นำมาออกอากาศซ้ำอีกครั้งในช่วงเวลาตำนานรักดอกเหมย ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 - 14.00 น. ซึ่งถือเป็นการออกอากาศซ้ำครั้งที่ 3 และได้นำมาออกอากาศซ้ำเป็นครั้งที่ 4 แต่ได้เปลี่ยนไปออกอากาศที่ช่อง 3 แฟมิลี่ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 12:00-13:00 และรีรันเวลา 19:15-20:15 นับเป็นละครเกาหลีเรื่องเดียวในไทยที่ทำสถิติออกอากาศซ้ำมากที่สุดและเป็นละครเกาหลีเรื่องเดียวที่ออกอากาศบนทีวีดิจิตอลของไทย", "title": "แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง" } ]
1643
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "317494#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พระชนกชื่อนับ ประสัตถพงศ์ พระชนนีชื่อตาล ประสัตถพงศ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน มีพระอนุชาหนึ่งในนั้นคือพระเทพสุเมธี (ไสว วฑฺฒโน) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร จังหวัดราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลูจนจบชั้น ป. 4 ในปี พ.ศ. 2400080", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)" } ]
[ { "docid": "6116#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่ามัทรี นิลประภา ภายหลังเปลี่ยนพระนามเป็น วาสน์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2440 เวลา 19.33 น. ที่ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนโตของพระชนกผาดและพระชนนีบาง นิลประภา", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน)" }, { "docid": "45908#1", "text": "ในปัจจุบันมีพระภิกษุได้รับสถาปนาเป็น \"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ\" รวมทั้งสิ้น 9 รูป/พระองค์ ดังนี้", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" }, { "docid": "6112#5", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในพระเศียรอุดตัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 เวลา 02.20 น. สิริพระชันษา สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศให้สถานที่ราชการลดธงครึ่งเสาและข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย)" }, { "docid": "6106#8", "text": "ปี พ.ศ. 2434 ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จนตลอดพระชนมชีพ ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเพิ่มอิสริยยศให้เป็นพิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อนมา คือทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ นับว่าเป็น พระมหาเถระรูปที่ 2 ที่ได้รับสถาปนาในพระราชทินนามนี้ อันเป็นพระราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เมื่อพระองค์ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2436 พระองค์ไม่ได้รับพระราชนามพระสุพรรณบัฏใหม่ คงใช้พระสุพรรณบัฏเดิม แต่ได้รับพระราชทานใบกำกับพระสุพรรณบัฏใหม่ และมีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ 16 ตำแหน่ง (ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่พิเศษ เพราะปกติจะมี 15 ตำแหน่งเท่านั้น)", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)" }, { "docid": "6111#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ปลด เกตุทัต ฉายา กิตฺติโสภโณ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี 1 เดือน 13 วัน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริพระชันษา 73 ปี", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ)" }, { "docid": "6109#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม แพ ฉายา ติสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ขณะพระชันษาได้ 89 ปี", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)" }, { "docid": "6113#8", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สิ้นพระชนม์โดยอุบัติเหตุทางรถยนต์ในท้องที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เวลา 10:05 น. สิริพระชันษา คณะปฏิวัติประกาศให้สถานที่ราชการลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน และข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน เพื่อถวายความอาลัย และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ หน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2515", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี)" }, { "docid": "6113#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม จวน ศิริสม ฉายา อุฎฺฐายี เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 7 ปี สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สิริพระชันษา 74 ปี", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี)" }, { "docid": "317494#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[1] โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม[2] เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต แม่กองงานพระธรรมทูต", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)" }, { "docid": "6113#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มีพระนามเดิมว่า ลำจวน ศิริสม ภายหลังเปลี่ยนพระนามเป็น จวน ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2440 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อพระชันษาได้ 9 ปี ได้เข้ามาศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดคฤหบดี จังหวัดธนบุรี จนจบชั้น ป. 3 แล้วกลับภูมิลำเนา ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี)" }, { "docid": "6106#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2436 ถึงปี พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 87 พรรษา เคยเป็นสามเณรนาคหลวง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้ขณะยังเป็นสามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น \"สามเณรอัจฉริยะ\" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)" }, { "docid": "6116#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม วาสน์ นิลประภา ฉายา วาสโน เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในตำแหน่ง 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิริพระชันษา 91 ปี ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน)" }, { "docid": "6116#11", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปับผาสะอักเสบ พระหทัยวาย ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 เวลา 16:50 น. สิริพระชันษา สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศถวายความอาลัยโดยให้สถานราชการทุกแห่งลดธงลงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน และข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา 15 วัน ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2532 ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน)" }, { "docid": "581251#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร และวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่)" }, { "docid": "6112#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม อยู่ ช้างโสภา ฉายา าโณทโย เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี สิ้นพระชนมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 สิริพระชันษา 90 ปีเศษ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย)" }, { "docid": "6115#15", "text": "\"\"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2516 ด้วยพระอาการเวียนพระเศียร ความจำทรงเสื่อมลง พระวรกายทางซีกขวาอ่อนเคลื่อนไหวไม่ได้ คณะแพทย์ลงความเห็นว่า พระอาการทั่วไปทั้งหมด เนื่องมาจากการที่พระองค์ทรงประชวรเป็นเนื้องอกในปอดข้างซ้าย ซึ่งคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาด้วยรังสีโคบอลท์ พระอาการดีขึ้นบ้าง\"", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)" }, { "docid": "581251#4", "text": "ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส เป็นกรมสมเด็จพระ ดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และทรงสถาปนาพระพิมลธรรม (อู่) เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ มีสำเนาที่ทรงตั้ง ดังนี้ ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่)" }, { "docid": "6115#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม ปุ่น สุขเจริญ ฉายา ปุณฺณสิริ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดำรงพระยศอยู่ 1 ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สิริพระชันษาได้ 77 ปี", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)" }, { "docid": "6117#13", "text": "เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า \"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ\" บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม \"สมเด็จพระญาณสังวร\" สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ (ในพระนามใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)", "title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)" }, { "docid": "317494#5", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2490 ทรงย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพโมลี (วาสน์ วาสโน) และภายหลังอุปสมบท พระองค์ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. 2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)" }, { "docid": "55585#9", "text": "ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) \nตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป", "title": "ฐานานุกรม" }, { "docid": "847258#1", "text": "ในทำเนียบ \"ตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่า\" ปรากฏชื่อสมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี อยู่วัดหน้าพระธาตุ เป็นเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแก้ไขเป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ แต่ก็เป็นมติส่วนพระองค์อาจจะผิดก็ได้ ส่วนใน \"เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1\" ปรากฏราชทินนามสมเด็จพระอริยวงษญาณครั้งแรกในราชทินนามของสมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแปลงราชทินนามเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) เป็นรูปแรก", "title": "สมเด็จพระอริยวงษญาณ" }, { "docid": "6112#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มีพระนามเดิมว่า อยู่ ช้างโสภา (นามสกุลเดิม \"แซ่ฉั่ว\") ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2417 ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี พระชนกชื่อตรุษ พระชนนีชื่อจันทน์ ทรงรับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักของบิดา และพระอาจารย์ช้างที่วัดสระเกศ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย)" }, { "docid": "581251#5", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) ถึงแก่มรณภาพในรัชกาลที่ 4 เมื่อ ณ วันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เวลาเช้า ตรงกับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2401 เข้าโกศวันพุธ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย ครองวัดสุทัศนเทพวราราม ได้ 14 ปี มีอายุพรรษาเท่าไรไม่ปรากฏ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่)" }, { "docid": "55585#7", "text": "ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ", "title": "ฐานานุกรม" }, { "docid": "45908#0", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นโดยปรับจากราชทินนาม \"สมเด็จพระอริยวงษญาณ\" ซึ่งใช้มาแต่เดิม และพระราชทานแก่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) เป็นรูปแรก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามเดิม \"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ\" จึงใช้เป็นราชทินนามของสมเด็จพระสังฆราชไทยที่เป็นสามัญชนมานับแต่นั้น", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" }, { "docid": "6111#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า ปลด เกตุทัต ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ตรงกับแรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู ณ บ้านในตรอกหลังตลาดพาหุรัด ติดกับวัดราชบุรณราชวรวิหาร[1] เป็นบุตรขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต) กับนางปลั่ง พระชนกของพระองค์เป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจึงได้กราบทูลลาออกก่อนที่จะทรงกรมหลวง", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ)" }, { "docid": "581251#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ นามเดิมของท่านว่า อู่ ส่วนประวัติชั้นบวชเรียนและเปรียญนั้นไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ไม่ได้ความปรากฏ กล่าวกันว่าท่านเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระปริยัติธรรมเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค ถึงปีเถาะ พ.ศ. 2374 วันพฤหัสบดีขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระธรรมไตรโลก มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้ \"\"ให้เลื่อน พระราชกระวี เป็นพระธรรมติโลกาจารย์ ญาณวิสารทนายก ติปิฏกธรา บวรสังฆาราม คามวสี สถิต ณ วัดเกาะวรวิหาร พระอารามหลวง\"\"", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่)" }, { "docid": "6115#20", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน องค์ที่ 11 เป็นเวลา 26 ปี 8 เดือน 30 วัน ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน 18 วัน สิริพระชันษา 77 ปี", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)" }, { "docid": "6109#1", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี พระชนกชื่อนุตร พระชนนีชื่ออ้น สกุล พงษ์ปาละ", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)" } ]
1234
จังหวัดศรีสะเกษ มีกี่อำเภอ ?
[ { "docid": "7821#37", "text": "จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองเป็น 2,557 หมู่บ้าน, 206 ตำบล, 22 อำเภอ ได้แก่", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" } ]
[ { "docid": "128674#0", "text": "ขุนหาญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ ตามลำดับ และเป็นหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกเงาะ ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย", "title": "อำเภอขุนหาญ" }, { "docid": "7821#45", "text": "ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านเขตอำเภอศิลาลาด,อำเภอราษีไศล,อำเภอเมืองศรีสะเกษ,อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ เป็นระยะทางยาวประมาณ 120 กิโลมเตร บริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115-130 เมตร [31]", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "273205#1", "text": "ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงได้ได้แบ่งออกเป็นหลาย 4 กลุ่ม ย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่ กลุ่มแรก เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองปราสาทเยอ ซึ่งในปัจจุบัน คือบ้านปราสาทเยอ ตั้งอยู่ใน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 2 ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใน อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอห้วยทับทัน ส่วนกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 อาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านขมิ้น อยู่ใน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ และบ้านโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ", "title": "เยอ" }, { "docid": "7821#31", "text": "อำเภอเมืองขุขันธ์ (อำเภอห้วยเหนือ) อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอราษีไสล (อำเภอคง) อำเภอรัตนบุรี (ต่อมาถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์) อำเภอกันทรลักษ์ (อำเภอน้ำอ้อม) อำเภออุทุมพรพิไสย อำเภอเดชอุดม (ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีใน พ.ศ. 2472) กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (หรืออีกชื่อหนึ่งคือกิ่งอำเภอโพนงาม ซึ่งแยกออกมาจาก อำเภอเดชอุดม ใน พ.ศ. 2466 ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับอำเภอเดชอุดม)[23]", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "388860#0", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 สายศรีสะเกษ–ขุขันธ์ เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษซึ่งเชื่อมต่อจากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปยัง อำเภอขุขันธ์ โดยเริ่มจากแยกจากถนนขุขันธ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221) ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 294 (ถนนเลี่ยงเมืองศรีสะเกษ) ผ่าน อำเภอวังหินและอำเภอขุขันธ์ ทางหลวงหมายเลข 220 จะไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ห่างจากสี่แยกขุขันธ์ประมาณ 7 ก.ม.) รวมระยะทางทางหลวงหมายเลข 220 คือ 56 กิโลเมตร ", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220" }, { "docid": "7821#74", "text": "ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคนิคกันทรารมย์ วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ วิทยาลัยสารพัดช่างศรีสะเกษ วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ วิทยาลัยการอาชีพขุขันธ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกันทรารมย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการราษีไศล วิทยาลัยเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจศรีสะเกษ กันทรลักษ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณี อำเภออุทุมพรพิสัย วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย ขุขันธ์ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ โรงเรียนอนุบาลวัดพระโต โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ) โรงเรียนอนุบาลกันทรารมย์ โรงเรียนอนุบาลอุทุมพรพิสัย โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย โรงเรียนประจำจังหวัด ชาย ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ โรงเรียนประจำจังหวัด หญิง ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอกันทรลักษ์ โรงเรียนกันทรารมณ์ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอกันทรารมย์ โรงเรียนขุขันธ์ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอขุขันธ์ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอขุนหาญ โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอน้ำเกลี้ยง โรงเรียนโนนค้อวิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอโนนคูณ โรงเรียนบึงบูรพ์ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอบึงบูรพ์ โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเบญจลักษ์ ระดับมัธยมศึกษา (ต่อ) โรงเรียนปรางค์กู่ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอปรางค์กู่ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอไพรบึง โรงเรียนพยุห์วิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอพยุห์ โรงเรียนโพธิ์ศรีสุวรรณวิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ โรงเรียนภูสิงห์ประชาเสริมวิทย์ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอภูสิงห์ โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเมืองจันทร์ โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอยางชุมน้อย โรงเรียนราษีไศล โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอราษีไศล โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอวังหิน โรงเรียนศิลาลาดวิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอศิลาลาด โรงเรียนศรีรัตนวิทยา โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอศรีรัตนะ โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอห้วยทับทัน โรงเรียนกำแพง โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภออุทุมพรพิสัย", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "412142#0", "text": "เทศบาลตำบลกำแพง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดกลาง อยู่ในเขตพื้นที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 111 ถนนสุขาภิบาล 1 หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน ถือเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษและในประเทศไทย เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนบนของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกโดยทางรถยนต์ประมาณ 24 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานการบริหารราชการระดับภูมิภาคอื่นๆ ของอำเภออุทุมพรพิสัย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารของอำเภอ ", "title": "เทศบาลตำบลกำแพง" }, { "docid": "117650#0", "text": "บึงบูรพ์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ทางทิศเหนือและทิศตะวันตก จัดเป็นอำเภอที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ โดยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอบึงบูรพ์เมื่อปี พ.ศ. 2537 ", "title": "อำเภอบึงบูรพ์" }, { "docid": "537070#1", "text": "ห้วยสำราญ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ก่อนที่จะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่พื้นที่ตำบลน้ำคำกับตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ห้วยสำราญไหลผ่านพื้นที่ต่างๆดังนี้", "title": "ห้วยสำราญ" }, { "docid": "7821#63", "text": "กลุ่มชาติพันธุ์เขมร มีภาษาพูดที่จัดเป็นภาษาเขมรถิ่นไทย หรือเขมรสูง(ขแมร์เลอ) เนื่องจากมีสำเนียงและคำศัพท์หลายคำแตกต่างไปจากภาษาพูดของชาวเขมรในประเทศกัมพูชาซึ่งจัดเป็นชาวเขมรลุ่มหรือเขมรต่ำ(ขแมร์กรอม) อย่างไรก็ดี จากผลการวิจัยของทั้ง2สำเนียงคือภาษาเขมรถิ่นไทยและภาษาเขมรถิ่นกัมพูชา ภาษาเขมรถิ่นไทยหรือเขมรสูงสามารถใช้พูดสื่อสารกับชาวเขมรในประเทศกัมพูชาได้ แต่ภาษาเขมรลุ่มในประเทศกัมพูชามักไม่ค่อยเข้าใจภาษาเขมรสูง โดยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมรสูงอาศัยอยู่หนาแน่นในอำเภอภูสิงห์, อำเภอขุขันธ์, อำเภอขุนหาญ, อำเภอกันทรลักษ์, รวมทั้งบางส่วนของอำเภอศรีรัตนะ, อำเภอไพรบึง, อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทัน ซึ่งประชากรในกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทยนี้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ20 ของประชากรทั้งจังหวัดศรีสะเกษ [3] [36]", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "7821#57", "text": "ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัด เป็นแหล่งทรายและกรวดแม่น้ำเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง โดยแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่พื้นที่ฝั่งแม่น้ำมูลในหลายอำเภอ เช่น อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ นอกจากนั้น พื้นที่ทางตอนเหนือยังเป็นแหล่งแร่เกลือหินและโพแทซ ซึ่งมีปริมาณสำรองเพียงพอและมีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ แร่ดังกล่าวพบมากในเขตอำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และบางส่วนของอำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "7821#85", "text": "ดังนั้น ในเดือนมิถุนายนของทุกปี จังหวัดศรีสะเกษจึงกำหนดเป็นช่วงเทศกาล เงาะ ทุเรียน และของดีศรีสะเกษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัด รวมทั้งการเผยแพร่ชื่อเสียงของผลไม้และพืชผลทางการเกษตรจากศรีสะเกษ มีขบวนรถบุปผาชาติประดับด้วยผลไม้ กิจกรรมคาราวานการท่องเที่ยวชมสวนและชิมผลไม้ไปตามสวนในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ เช่น ในเขตอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญ รวมทั้งการจำหน่ายผลไม้และพืชผลทางการเกษตรคุณภาพดี ราคาย่อมเยาว์ [40]", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "425653#0", "text": "เทศบาลอุทุมพรพิสัย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน", "title": "เทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย" }, { "docid": "412347#0", "text": "เทศบาลตำบลห้วยทับทัน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 306 หมู่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนบนของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกโดยทางรถยนต์ประมาณ 37 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานการบริหารราชการระดับภูมิภาคอื่นๆ ของอำเภอห้วยทับทัน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารของอำเภอ ", "title": "เทศบาลตำบลห้วยทับทัน" }, { "docid": "97959#1", "text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม", "title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" }, { "docid": "7821#6", "text": "ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17(ประมาณ 1,300 - 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่[8] ปราสาทหินสระกำแพงน้อย[9] ใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน[10] , ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ)[11], ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า \"เมืองปรางค์ร้อยกู่\" หรือ \"นครร้อยปราสาท\" [3] [12]", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "410836#0", "text": "เทศบาลตำบลไพรบึง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษโดยเป็น 1 ในบรรดาเทศบาลตำบลจำนวน 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ มีสำนักงานตั้งอยู่หมู่ที่ 20 ถนนเทศบาล 30 ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ", "title": "เทศบาลตำบลไพรบึง" }, { "docid": "131702#0", "text": "วังหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอำเภอที่มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษผ่าน", "title": "อำเภอวังหิน" }, { "docid": "131714#0", "text": "เมืองศรีสะเกษ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด", "title": "อำเภอเมืองศรีสะเกษ" }, { "docid": "615364#2", "text": "หมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอห้วยทับทัน อยู่ห่างจากอำเภอห้วยทับทันประมาณ\n14 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 54 กิโลเมตรบ้านนาทุ่ง ได้อพยพมาจากบ้านหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ\nโดย นายอ้วน วงษ์ภักดีพร้อมญาติๆและเพื่อนๆ ได้มาตั้งรกรากและจับจองพื้นที่ แต่เดิมพื้นที่\nแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า หนองเซียงแมว ต่อมาได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อว่า บ้านนาทุ่ง เนื่องจาก\nเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ใกล้ลำห้วย โดยขึ้นกับอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมา\nได้มาขึ้นกับตำบลห้วยทับทัน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จนกระทั่งตำบลห้วยทับทันได้\nแยกจากอำเภออุทุมพรพิสัย มาเป็นอำเภอห้วยทับทัน บ้านนาทุ่งจึงได้ขึ้นกับตำบลผักไหม อำเภอ\nห้วยทับทัน จนปัจจุบัน เมื่อปี 2546 บ้านนาทุ่งได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองหมู่บ้าน ชื่อว่า\nบ้านนาทุ่งเหนือ หมู่ที่ 16 ", "title": "บ้านนาทุ่ง" }, { "docid": "7821#55", "text": "แม่น้ำมูล ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็นในท้องที่[[อำเภอปักธงชัย [[จังหวัดนครราชสีมาไหลเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอราษีไศล ไหลผ่านอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์ แล้วไหลไปบรรจบ[[แม่น้ำชีที่จังหวัดอุบลราชธานีพื้นที่ทางทิศเหนือของแม่น้ำมูลลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีสภาวะน้ำท่วมขังในฤดูฝน ห้วยทับทัน ไหลมาจากอำเภอบัวเชด [[จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย ไหลลงไปบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณ[[อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ห้วยสำราญ ไหลมาจากเขตอำเภอปรางค์กู่ ผ่านอำเภอเมืองศรีสะเกษ แล้วไหลลงแม่น้ำมูล ที่เขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ ห้วยศาลา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ดัดแปลงทำเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ไหลมาจากห้วยสำราญและมีต้นน้ำจากห้วยพนมดงรัก สามารถบรรจุน้ำได้สูงสุด 52.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ทำการชลประทาน จำนวน 20,400 ไร่ มีน้ำตลอดปี เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอน ตั้งอยู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำในปี พ.ศ. 2536", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "131686#0", "text": "อุทุมพรพิสัย (ในอดีตเขียน \"อุทุมพรพิไสย\") เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดศรีสะเกษ (แรกเริ่มการก่อตั้งจังหวัดศรีสะเกษมี 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอราษีไศล และอำเภออุทุมพรพิสัย) เป็นอำเภอที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเคยเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟเยี่ยมพสกนิกรเมื่อครั้งอดีต เป็นอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ มีอำเภอที่แยกจากอำเภออุทุมพรพิสัยไปแล้ว 4 อำเภอ คือ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองจันทร์ และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ", "title": "อำเภออุทุมพรพิสัย" }, { "docid": "412085#0", "text": "เทศบาลตำบลสิ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนล่างของจังหวัดศรีสะเกษใกล้ชายแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 62 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวอำเภอขุนหาญไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร ", "title": "เทศบาลตำบลสิ" }, { "docid": "306664#0", "text": "เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทเทศบาลเมือง ระดับเทศบาลขนาดใหญ่ มีพื้นที่ครอบคลุม 7 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งหน่วยงานการบริหารของอำเภอเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการบริหาร สถาบันการศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข เศรษฐกิจ ตลอดจนการคมนาคมขนส่งของจังหวัดศรีสะเกษ", "title": "เทศบาลเมืองศรีสะเกษ" }, { "docid": "412415#0", "text": "เทศบาลตำบลปรางค์กู่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่ถนนวัชรพล 3 หมู่ที่ 4 ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลาง ด้านตะวันตกของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยทางรถยนต์ประมาณ 60 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานการบริหารราชการระดับภูมิภาคอื่นๆ ของอำเภอปรางค์กู่ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารของอำเภอ ", "title": "เทศบาลตำบลปรางค์กู่" }, { "docid": "615366#3", "text": "บ้านนาทุ่ง ได้อพยพมาจากบ้านหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ\nโดย นายอ้วน วงษ์ภักดีพร้อมญาติๆและเพื่อนๆ ได้มาตั้งรกรากและจับจองพื้นที่ แต่เดิมพื้นที่\nแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า หนองเซียงแมว ต่อมาได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อว่า บ้านนาทุ่ง เนื่องจาก\nเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ใกล้ลำห้วย โดยขึ้นกับอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมา\nได้มาขึ้นกับตำบลห้วยทับทัน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จนกระทั่งตำบลห้วยทับทันได้\nแยกจากอำเภออุทุมพรพิสัย มาเป็นอำเภอห้วยทับทัน บ้านนาทุ่งจึงได้ขึ้นกับตำบลผักไหม อำเภอ\nห้วยทับทัน จนปัจจุบัน เมื่อปี 2546 บ้านนาทุ่งได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองหมู่บ้าน ชื่อว่า\nบ้านนาทุ่งเหนือ หมู่ที่ 16", "title": "บ้านนาทุ่งเหนือ" }, { "docid": "7821#58", "text": "นอกเหนือจากแร่ข้างต้นแล้ว หลายพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ ยังเป็นแหล่งแร่ศิลาแลงหรือดินแลงและแร่ดินเหนียว ซึ่งมีปริมาณสำรองและศักยภาพเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างรวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมอิฐและดินเผา แหล่งแร่ที่สำคัญครอบคลุมพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษ์ (อ้างอิง: กรมทรัพยากรธรณี.การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2553., สรุปข้อมูลจังหวัด จัดทำโดยศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ เข้าถึงออนไลน์ทาง )", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "365248#1", "text": "นายพิชัย มุขสมบัติ ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดศรีสะเกษในขณะนั้น ได้จัดตั้งและหาสถานที่ โดยมอบหมายให้นายสุธี ชินชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดศรีสะเกษขณะนั้น เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการสภาตำบลโพธิ์ นำโดย นายสมบูรณ์ วรรณทวี กำนันตำบลโพธิ์ นายอนันต์ เหล่าแค ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ ชาวบ้านโนนกอง บ้านโนนจานและทุกหมู่บ้านในตำบลโพธิ์ ตลอดจนนายสุรพล ชาลีกุลศึกษาธิการอำเภอเมืองศรีสะเกษ นายจรัญ วิมาลา นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ นายชนก ศรีวงษ์รัตน์ ป่าไม้อำเภอเมืองศรีสะเกษและนายจิโรจน์ โชติพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในขณะนั้น จนได้รับอนุมัติและประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙", "title": "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ" }, { "docid": "76649#1", "text": "ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม; อำเภอชุมพลบุรีและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์; อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย และอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด; อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ; อำเภอค้อวังและอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์; อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย และอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด; อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ; อำเภอค้อวังและอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร", "title": "ทุ่งกุลาร้องไห้" }, { "docid": "7821#2", "text": "มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์ [3][6][7] และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อ<b data-parsoid='{\"dsr\":[4274,4292,3,3]}'>เมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481 [1]", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" } ]
219
เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553สโมสรฟุตบอลนครปฐมเตะกับสโมสรอะไร?
[ { "docid": "353947#0", "text": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553 เป็นเหตุการณ์ที่แฟนบอลสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน ในการแข่งขันฟุตบอลในนัดที่รับการมาเยือนของสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษระหว่างการแข่งขันเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก ผลปรากฏว่าเสมอกัน 0-0 ประตู เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทางสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมถูกลงโทษปรับ 160,000 บาท และห้ามเข้าร่วมการแข่งขันของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#17", "text": "วันที่ 26 ธันวาคม แฟนคลับสโมสรนครปฐมได้ออกแถลงการณ์ขอโทษแฟนบอลทีมศรีสะเกษผ่านเว็บไซต์ของสโมสร มีใจความว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน ขอให้แฟนบอลทีมศรีสะเกษและทุกทีมเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกเสียใจและอยากกล่าวคำว่า \"ขอโทษจากใจ ให้แฟนบอลศรีสะเกษ ทุกท่าน\" วันที่ 27 ธันวาคม แฟนสโมสรนครปฐมได้ออกรายการเจาะข่าวเด่นทางช่อง 3 กล่าวขอโทษถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันว่าผู้ที่ก่อเรื่องเป็นแฟนบอลพลัดถิ่น ไม่ใช่แฟนบอลนครปฐม ส่วนทางด้านไชยา สะสมทรัพย์และการ์ดไม่มีเจตนาอื่นนอกจากต้องการเข้าไปยุติเหตุการณ์เท่านั้น", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#3", "text": "การแข่งขันนัดดังกล่าว จัดขึ้นที่สนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมรับการมาเยือนของสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ มีผู้เข้าชมการแข่งขันจำนวนหลายพันคน", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "488611#3", "text": "ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2553 รอบเพลย์ออฟระหว่างสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมกับสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดเหตุแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสิน ซึ่งอภิสิทธิ์ได้รับบาดเจ็บและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเขาได้ถูกกล่าวหาว่ารับเงินจากสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ แต่ทางอภิสิทธิ์ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้รับสินบนจากทีมดังกล่าว ในขณะที่แฟนบอลที่ได้รับการตั้งข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้ตัดสินที่มามอบตัวก็ปฏิเสธว่ามิได้ทำร้ายอภิสิทธิ์แต่อย่างใด ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพกฎกติกาการแข่งขัน หากการตัดสินผิดพลาดจริง ก็ยินดีให้ตรวจสอบตามขั้นตอนที่วางไว้ เพื่อเป็นการยกมาตรฐานวงการฟุตบอลให้สูงขึ้น", "title": "อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์" }, { "docid": "353947#6", "text": "หลังจบการแข่งขัน กองเชียร์นครปฐมนับร้อยคนได้เข้าไปรุมทำร้าย อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์ ผู้ตัดสิน รวมทั้งผู้ช่วยผู้ตัดสินและผู้ประเมินการแข่งขัน โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นสารวัตรทหาร 10 นาย และตำรวจอีก 10 นายเท่านั้น เจ้าหน้าที่ต้องนำผู้ตัดสินหนีออกจากสนามทางฝั่งกองเชียร์ทีมศรีสะเกษ ผู้ตัดสินรายดังกล่าวได้รับบาดเจ็บตาขวาแตก ตาซ้ายบวม ใบหน้าช้ำ ได้นำตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์ให้เย็บประมาณ 10 เข็ม แฟนบอลและเจ้าหน้าที่ทีมนครปฐมที่ไม่พอใจผลการตัดสินได้ไล่ทำร้ายร่างกายผู้ตัดสินและผู้เล่นทีมศรีสะเกษ ตลอดจนเข้าไปตะลุมบอนกับกองเชียร์ศรีสะเกษนานถึง 20 นาที ทำให้แฟนบอลทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บรวมกว่า 50 คน กองเชียร์ศรีสะเกษติดค้างอยู่ในสนามกีฬากว่าชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีชายคนหนึ่งชักปืนออกมากลางสนามอีกด้วย", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#1", "text": "ทั้งสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมและสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษอยู่ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลรอบเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก กลุ่ม เอ โดยทีมนครปฐม แข่งแล้ว 3 นัด มี 6 แต้ม และศรีสะเกษ แข่ง 2 นัด มี 4 แต้ม ผลจากการแข่งขันรอบเพลย์ออฟ หากทีมใดเป็นผู้นำของกลุ่มก็จะได้สิทธิ์แข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลหน้า ซึ่งทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีมติให้เพิ่มจำนวนทีมในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีกจาก 16 ทีม เป็น 18 ทีม จึงมีการจัดการแข่งขันเพื่อหาอีก 2 ทีม โดยทีมแรกที่ได้รับสิทธิ์คือ สโมสรฟุตบอลทหารบก", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" } ]
[ { "docid": "353947#14", "text": "วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 คณะพิจารณามารยาทและข้อประท้วง ที่มีพลตำรวจโทวรพงษ์ ชิวปรีชาเป็นประธาน ได้มีมติลงโทษสโมสรนครปฐม ตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้นทุกรายการเป็นเวลา 2 ปี ปรับรวมเป็นเงิน 160,000 บาท พร้อมทั้งห้ามธนากร ขำโขมะ กองหลังทีมนครปฐม ลงเล่น 1 นัด จากพฤติกรรมด่าทอผู้ตัดสินอย่างหยาบคาย ด้านพรีเมียร์ลีกพร้อมในกรณีที่ต้องจัดโปรแกรมแข่งขันโดยมี 17 ทีม หากนครปฐมผ่านเข้าเล่นในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลหน้า และหากพ้นกำหนดโทษแล้ว ยังมีพฤติกรรมเช่นนี้อีก อาจลงโทษยุบทีมเพราะกระทำความผิดซ้ำซากได้", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#12", "text": "วันที่ 28 ธันวาคม วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริหารไทยพรีเมียร์ลีก กล่าวถึงการพิจารณาบทลงโทษทีมนครปฐมว่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามารยาทและวินัย โดยจะมีการประชุมสรุปหลักฐาน วิชิตได้เปิดเผยถึงข้อสรุปที่จะเสนอแก่คณะกรรมการ โดยพบว่ามีการทำผิดหลายกรณี ได้แก่ นักฟุตบอลใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับผู้ตัดสิน และทำร้ายผู้ตัดสิน บทลงโทษเบื้องต้นคือ ปรับเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายผู้ตัดสิน 100,000 บาท และกองเชียร์ที่ก่อเหตุอีก 50,000 บาท", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#19", "text": "ส่วนเฉลิมศักดิ์ แก้วสุขแท้ กองหลังทีมนครปฐม ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก แสดงความสะใจจากเหตุทำร้ายอภิสิทธิ์ อ้นรักษ์ ทั้งนี้ได้ประกาศว่า ตนและเพื่อนร่วมทีมไม่ผิด และผู้ตัดสินตัดสินไม่เป็นธรรม ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมา โดยมีข้อความบางตอนว่า \"สะใจสุด ๆ สมควรโดนมานานและ อุตส่าออกสื่อไปนานแล้วนะ ว่านครปฐมมือปืนเยอะ …… ยังไม่ฟังอีก สะจัยสาตตตต\" และ \"ไม่รู้สึกต่อเหตุการณ์แต่อย่างใด และถ้าหากว่าถูกลงโทษ ก็จะย้ายทีม\"", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "52862#3", "text": "ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุอื้อฉาวแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสินระหว่างเล่นรอบเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก 2554 ทำให้ทีมได้รับโทษปรับ 160,000 บาท และห้ามแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี เพราะความยั่วและโกงหรือการจ้างกรรมการให้ตัดสินเข้าข้าง อีสาน ยูไนเต็ด มีหลายจังหวะที่กังขาที่นครปฐมที่จะได้จุดโทษและทดเวลา 4 นาที ก่อนเป่านกหวีดจบเกมใน 2 นาที ด้านไชยา สะสมทรัพย์ ออกมายืนยันว่าผู้ตัดสินตัดสินไม่เหมาะสม และยืนยันไม่ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อมา ได้ประกาศว่าจะยุบทีม และจะพิจารณาทำทีมฟุตซอลลีกหรือลาวลีกแทน", "title": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด" }, { "docid": "353947#11", "text": "ต่อมา ได้มีแฟนบอลนครปฐมที่มีส่วนในเหตุการณ์จำนวน 6 คนเข้าให้ปากคำกับทางตำรวจ ประกอบด้วย ฐานุพงษ์ รังสิไตรพงษ์, ชัยศิริ สกลพันธุ์, กิตติศักดิ์ ศรีมนทก, ยุมมาคาร คเกเคล, นิคม ทองหอม และวิศาล ลักษณ์ในธรรม เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจโดยยังไม่ได้รับหมายเรียกจากตำรวจ และพร้อมให้การในชั้นศาล ซึ่งทั้งหกคนให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำร้ายร่างกายกรรมการอย่างที่ถูกกล่าหา โดยถูกตั้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ ทำให้จนถึงขณะนี้มีผู้เข้ามาพบตำรวจแล้ว 7 ราย คงเหลือผู้ที่ถูกออกหมายเรียกอีก 3 ราย\nส่วนทางฝ่ายผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ได้สอบปากคำไปแล้ว 8 ราย ได้แก่ ผู้ตัดสินทั้งห้าคน ประกอบด้วย อภิสิทธิ์ อันรักษ์, สุเมธ สายแวว, พรไพรัช โพยกระโทก, สุรพล สว่างจิตต์ และโสภณ มหาบุญ และกองเชียร์อีกสามคน ประกอบด้วย อภิรักษ์ โนนทอง, นันทพนธ์ ศริเตชะวรากูล และสมศักดิ์ ศรีสะอาด", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" } ]
2025
คาบสมุทรอิตาลี ตั้งอยู่ที่ใด ?
[ { "docid": "70066#0", "text": "คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Italian: Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" } ]
[ { "docid": "9941#0", "text": "อิตาลี (English: Italy; Italian: Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (English: Italian Republic; Italian: Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "258407#1", "text": "สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งบริเวณคาบสมุทรอิตาลีทางตอนเหนือจะติดกับเทือกเขาแอลป์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลแอเดรียติกและทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน โดยแม่น้ำโปเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดในอิตาลีและมีต้นกำเนิดจากเทือก เขาแอลป์ไหลเข้าสู่ประเทศอิตาลีทางทิศเหนือและไหลออกสู่ทะเลแอเดรียติกทาง ทิศตะวันออก", "title": "แม่น้ำโป" }, { "docid": "135239#0", "text": "คาร์โบนารี หรือคาร์โบนีเรีย (Carboneria) เป็นชื่อสมาคมลับของชาวอิตาลีซึ่งยึดหลักอุดมการณ์เสรีนิยมสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐและเน้นความรักชาติ สมาคมนี้เริ่มต้นจากขบวนการต่อต้านการปกครองฝรั่งเศสในรัฐเนเปิลส์ระหว่างสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ.1803-1815) และต่อมาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบบอนุรักษนิยมตลอดจนอำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรียในคาบสมุทรอิตาลี เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการรวมชาติ\nคาร์โบนารีเป็นคำในภาษาอิตาลีแปลว่าคนเผาถ่าน โดยสมาคมได้จัดการชุมนุมครั้งแรกขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลีประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็ขยายบทบาทไปทางตอนเหนือสู่แคว้นมาร์เชส (Marches) และโรมัญญา (Romagna) ใน ค.ศ.1814 ผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกจะต้องผ่านพิธีกรรมและมีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สลับซับซ้อน ตลอดจนใช้คำพูดที่เป็นรหัสในการติดต่อสื่อสารกัน สมาชิกส่วนใหญ่มาจากชนชั้นขุนนาง ข้าราชการ และเจ้าของที่ดินรายย่อย หลัง ค.ศ.1815 สมาคมฯขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะกลุ่มชนชั้นกลางที่ได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างที่อยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสไม่พอใจกับสภาพทางการเมือง\nที่เป็นผลจากข้อตกลงของการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) โดยเฉพาะหลักการการชดใช้แก่ผู้ชนะ (Compensation for the Victors) และหลักการการสืบสันตติวงศ์ (Legitimacy)", "title": "สมาคมคาร์โบนารี" }, { "docid": "269239#0", "text": "พระมหากษัตริย์อิตาลี (, , ) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับประมุขผู้ครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดที่ปกครองคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดมาจนถึง สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1870 แม้ว่าจะมีกษัตริย์บางพระองค์ก่อนหน้านั้นที่ทรงอ้าง", "title": "พระมหากษัตริย์อิตาลี" }, { "docid": "262993#0", "text": "ชาวอิตาลี (, ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี", "title": "ชาวอิตาลี" }, { "docid": "70066#1", "text": "คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิลส์", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" }, { "docid": "46997#0", "text": "ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน", "title": "ยุโรปใต้" }, { "docid": "848030#0", "text": "อิสเตรีย (; โครเอเชีย, สโลวีเนีย: \"Istra\"; Istriot: \"Eîstria\"; เยอรมัน: \"Istrien\") หรือชื่อเก่าในภาษาละตินคือ \"Histria\" เป็นคาบสมุทรขนาดกลางในทะเลเอเดรียติก คาบสมุทรเป็นที่ตั้งสำคัญของอ่าวในทะเลเอเดรียติกคือ Gulf of Trieste และ Kvarner Gulf คาบสมุทรอิสเตรียเป็นดินแดนของสามประเทศคือ ประเทศโครเอเชีย, ประเทศสโลวีเนีย, และ ประเทศอิตาลี.", "title": "อิสเตรีย" }, { "docid": "252329#0", "text": "ราชอาณาจักรอิตาลี (, ) เป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นโดยชนลอมบาร์ดผู้เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลีหลังจากที่ราชอาณาจักรออสโตรกอธถูกทำลายในปี ค.ศ. 568 อาณาจักรลอมบาร์ดเป็นอาณาจักรที่มีความมั่นคงกว่าราชอาณาจักรออสโตรกอธก่อนหน้านั้น แต่ในปี ค.ศ. 774 ชนแฟรงค์ที่นำโดยชาร์เลอมาญก็เข้ามารุกรานโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการป้องกันสถาบันพระสันตะปาปาและได้รับชัยชนะต่ออาณาจักรลอมบาร์ด ชนแฟรงค์รักษาบริเวณอิตาลี-ลอมบาร์ดแยกจากจักรวรรดิของตนเอง แต่อาณาจักรลอมบาร์ดก็ประสบกับการแบ่งแยกเขตแดน สงครามกลางเมือง และวิกฤติการณ์สืบราชบัลลังก์เช่นเดียวกับที่จักรวรรดิคาโรแล็งเชียงต้องประสบมาจนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่ออาณาจักรอิตาลีได้รับอิสรภาพแต่ก็ยังเป็นอาณาจักรที่ปกครองแบบกระจายอำนาจ ในปี ค.ศ. 951 สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็นพระมหากษัตริย์เยอรมนีอยู่แล้วก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อิตาลี ราชบัลลังก์อิตาลีและเยอรมนีรวมกันกลายเป็นพื้นฐานของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐบาลกลางในอิตาลีสูญหายไปอย่างรวดเร็วในยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages) แต่ปรัชญาของความเป็นอาณาจักรยังมีอยู่ เมื่อมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาความคิดนี้ก็เป็นเพียงความคิดที่ไม่มีมูลและในสัญญาสงบศึกเวสต์เฟเลีย (Peace of Westphalia) (ค.ศ. 1648) ความคิดเรื่องอาณาจักรก็หายไปทั้งทางปรัชญาและทางกฎหมาย แต่อาจจะยังหลงเหลืออยู่เพียงในนามมาจนเมื่อจักรวรรดิถูกยุบในปี ค.ศ. 1806 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็ได้ก่อตั้งราชอาณาจักรของพระองค์เองขึ้น “ราชอาณาจักรอิตาลี (นโปเลียน)” (Regno d'Italia) ที่ไม่มีส่วนใดที่หลงเหลือมาจากอาณาจักรในยุคกลาง", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี (ยุคกลาง)" }, { "docid": "192924#0", "text": "คัมปาเนีย () เป็นแคว้นทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี มีประชากรราว 5.8 ล้านคน มากเป็นอันดับสองของประเทศ มีพื้นที่ 13,590 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นแคว้นที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี พื้นที่ของแคว้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีหมู่เกาะเฟลเกรเอและกาปรีเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองของแคว้นด้วย เมืองหลักของแคว้นคือเนเปิลส์ (นาโปลี) ", "title": "แคว้นคัมปาเนีย" }, { "docid": "70066#3", "text": "อิตาลี หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์อิตาลี หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" }, { "docid": "9941#2", "text": "ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุก ๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ โดยอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียอันมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง ในเทือกเขาแห่งนี้มีภูเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก คือภูเขามอนเตบีอังโก (Italian: Monte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งของอิตาลีมีชื่อว่า เทือกเขาแอเพนไนน์ (Italian: Appennini) พาดผ่านจากตอนกลางสู่ตอนใต้ของประเทศ แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ[1] โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลี รองลงมาคือเกาะซาร์ดิเนีย ทั้งสองแห่งสามารถเดินทางได้โดยทางเรือและทางเครื่องบิน", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "9941#8", "text": "คาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนอันและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "858129#4", "text": "นั้นทำให้ยุโรปถูกเรียกว่าคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีสแกนดิเนเวียทางเหนือของยุโรปเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งถูกแบ่งด้วยทะเลบอลติกและทวีปยุโรปยังมีคาบสมุทรเล็กๆอีกสามแห่งคือคาบสมุทรอิตาลี, คาบสมุทรไอบีเรียและคาบสมุทรบอลข่านซึ่งจะอยู่ทางใต้ของทวีป", "title": "ภูมิศาสตร์ยุโรป" }, { "docid": "192295#9", "text": "การสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีเป็นผลมาจากความพยายามแสวงหาจุดร่วมระหว่างนักชาตินิยมอิตาลีกับผู้สนับสนุนระบอบราชาธิปไตยซึ่งภักดีต่อราชวงศ์ซาวอย เพื่อก่อตั้งสหราชอาณาจักรปกครองดินแดนคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมด", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "858129#5", "text": "คาบสมุทรบอลข่านนั้นถูกแยกออกมาจากทวีปเอเชียโดยทะเลดำและทะเลอีเจียน ส่วนคาบสมุทรอิตาลีถูกแยกจากคาบสมุทรบอลข่านด้วยทะเลเอเดรียติกและคาบสมุทรไอบีเรียถูกแยกจากคาบสมุทรอิตาลีด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นยังเป็นทะเลที่แยกยุโรปกับแอฟริกาออกจากกันอีกด้วย", "title": "ภูมิศาสตร์ยุโรป" }, { "docid": "249838#2", "text": "ยุโรปอยู่ทางตอนเหนือที่รวมทั้งคาบสมุทรใหญ่สามคาบที่รวมทั้งคาบสมุทรไอบีเรีย, คาบสมุทรอิตาลี และ คาบสมุทรบอลข่าน โดยมีแนวเทือกเขาเป็นที่กั้นเขตแดนทางตอนเหนือที่รวมทั้งเทือกเขาพิเรนีสที่แยกสเปนจากฝรั่งเศส, เทือกเขาแอลป์ที่แยกอิตาลีจากยุโรปกลาง, เทือกเขาไดนาริคแอลป์ตามแนวตะวันออกของทะเลเอเดรียติค และเทือกเขาบอลข่าน กับ เทือกเขาราดาพี (Rhodope Mountains) ของคาบสมุทรบอลข่านที่แยกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากบริเวณแบบภาคพื้นทวีปของยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก", "title": "บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน" }, { "docid": "9941#10", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอีทรัสคันได้มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป จนถึงบริเวณเมืองนาโปลี และดินแดนรอบ ๆ กรุงโรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็นนครรัฐขึ้น เพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีทรัสคันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญในการต่อต้านอำนาจเหล่านี้ได้แก่พวกละติน หรือโรมัน ซึ่งเมื่อถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินก็ได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลี เกาะซาร์ดิเนียและซิซิลี ทั้งหมดแล้ว", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "287103#1", "text": "ภายในห้าสิบปีหลังจากที่นอร์มันได้รับชัยชนะ ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวนอร์มันก็ตามมาตั้งเมืองตั้งกลุ่มการปกครองขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี", "title": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้" }, { "docid": "287103#0", "text": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ () การพิชิตอิตาลีตอนใต้ของนอร์มันเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นหลายครั้งโดยผู้เข้าร่วมหลายฝ่าย ที่ต่างก็ได้ดินแตนมาเป็นของตน จนกระทั่งต่อมาเท่านั้นบริเวณนี้จึงได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรซิซิลีที่ไม่แต่จะประกอบด้วยเกาะซิซิลีแต่รวมทั้งดินแดนหนึ่งในสามของทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (ยกเว้นเบเนเวนโตที่ยึดได้สองครั้ง) และกลุ่มเกาะมอลตา และบางส่วนของแอฟริกาเหนือ", "title": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้" }, { "docid": "192920#0", "text": "เนเปิลส์ (), นาโปลี () หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: ) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์", "title": "เนเปิลส์" }, { "docid": "4496#64", "text": "นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) เป็นชาวเกาะคอร์ซิกา มาเป็นทหารในฝรั่งเศส แต่งงานกับโจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ (Josephine de Beauharnais) แม่หม้ายลูกติดสอง นโปเลียนนำทัพเข้าบุกอิตาลีเพื่อต้านทานทัพที่จะมาบุกทางอิตาลี จนยึดคาบสมุทรอิตาลีได้ ตั้งรัฐบริวารมากมาย เช่น สาธารณรัฐซิสอัลไพน์ (Cisalpine) สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐพาร์เธโนเปีย (Parthenopian Republic) จนในค.ศ. 1797 ออสเตรียทำสนธิสัญญาคัมโป-ฟอร์มิโอ (Campo-Formio) ยอมยกเบลเยียมและอิตาลีให้ฝรั่งเศส ", "title": "ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส" }, { "docid": "240892#0", "text": "ราชอาณาจักรเนเปิลส์ () เป็นอาณาจักรที่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (Italian peninsula) หรือบางครั้งก็รู้จักกันอย่างสับสนกับ “ราชอาณาจักรซิซิลี” ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่ก่อตั้งหลังจากการแยกตัวของซิซิลีจากราชอาณาจักรซิซิลีเดิมที่เป็นผลมาจากกบฏซิซิเลียนเวสเปิร์ส (Sicilian Vespers) ของปี ค.ศ. 1282 ระหว่างการเป็นราชอาณาจักร ราชอาณาจักรเนเปิลส์ปกครองสลับกันปกครองโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหรือพระมหากษัตริย์สเปน ขึ้นอยู่กว่าผู้ใดจะมีอำนาจมากกว่า", "title": "ราชอาณาจักรเนเปิลส์" }, { "docid": "263541#0", "text": "ทะเลเอเดรียติก () เป็นทะเลที่แยกคาบสมุทรอิตาลีจากคาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาแอเพนไนน์จากเทือกเขาดินาริกแอลป์และเทือกเขาที่ติดกัน ทะเลเอเดรียติกเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเลคืออิตาลีขณะที่ฝั่งตะวันออกเป็นประเทศโครเอเชีย, มอนเตเนโกร, แอลเบเนีย, สโลวีเนีย และ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา", "title": "ทะเลเอเดรียติก" }, { "docid": "192295#0", "text": "ราชอาณาจักรอิตาลี (Italian: Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "269239#2", "text": "แต่การยึดอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เป็นไปเพียงระยะเวลาอันสั้น ในปี ค.ศ. 568 ชนลอมบาร์ดก็เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลี และก่อตั้งราชอาณาจักรอนารยชนเพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ราชอาณาจักรส่วนใหญ่อยู่ในอิตาลีโดยเฉพาะในลอมบาร์เดีย ยกเว้นอาณาจักรบริวารราเวนนา (Exarchate of Ravenna) และอาณาจักรดยุคต่างๆ ที่รวมทั้งโรม, เวเนเชีย, เนเปิลส์ และทางตอนใต้ ระหว่างสองศตวรรษต่อมาลอมบาร์ดและไบแซนไทน์ก็ต่อสู้แย่งอำนาจกันในคาบสมุทรอิตาลี", "title": "พระมหากษัตริย์อิตาลี" }, { "docid": "70066#2", "text": "ประเทศอิตาลี ประเทศซานมารีโน นครรัฐวาติกัน", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" }, { "docid": "192295#44", "text": "ด้วยการสนับสนุนการทวงคืนพื้นที่จากออสเตรีย-ฮังการีอย่างเหนียวแน่นจากกลุ่มชาตินิยม อิตาลีจึงเริ่มเจรจากับกลุ่มไตรภาคีจนการเจรจาสำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 เมื่อสนธิสัญญาลอนดอน ได้ถูกลงนามกับรัฐบาลอิตาลี สนธิสัญญานี้รับรองสิทธิ์ของอิตาลีในการเรียกคืนดินแดนที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่จากออสเตรีย-ฮังการีตามความต้องการ แม้แต่ดินแดนบนคาบสมุทรบอลข่านหรือดินแดนอาณานิคมของเยอรมันในแอฟริกา ข้อเสนอนี้ได้เติมเต็มความปรารถนาของนักชาตินิยมและนักจักรวรรดินิยมในอิตาลี รัฐบาลอิตาลีจึงได้เข้าร่วมกลุ่มไตรภาคีและสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีอย่างเต็มตัว", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "9941#6", "text": "ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลิกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา[1] พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน", "title": "ประเทศอิตาลี" } ]
894
การทัพนอร์เวย์ หรือปฏิบัติการเวแซร์รืบุง จัดตั้งขึ้นปีใด ?
[ { "docid": "174812#2", "text": "ทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต่างก็ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือทางทหารกับโปแลนด์ และอีกสองวันหลังจากการรุกรานโปแลนด์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทั้งสองประเทศก็ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งสองก็มิได้เปิดแนวรบด้านตะวันตก และมิได้เกิดการรบกันครั้งสำคัญใด ๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายเดือนที่เรียกกันว่า สงครามลวง", "title": "การทัพนอร์เวย์" } ]
[ { "docid": "869673#0", "text": "กองทัพเรือนอร์เวย์ (, \"the naval defence (forces)\") เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนอร์เวย์ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของ ประเทศนอร์เวย์ ในปี 2008 กองทัพเรือนอร์เวย์ มีกำลังพลประมาณ 3,700 นาย และมีเรือรบในประจำการ 70 ลำแบ่งเป็น เรือฟรีเกรตหนัก 5 ลำ, เรือดำน้ำ 6 ลำ, เรือตรวจการ 14 ลำ และ เรือเก็บกวาดทุ่นระเบิด 4 ลำ", "title": "กองทัพเรือนอร์เวย์" }, { "docid": "961471#2", "text": "โดยวันที่ 31 กรกฎาคม กองทัพน้อยที่ 19 ได้ทำลายกองกำลังสุดท้ายที่ต่อต้านกองทัพที่หนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากรั้วต้นไม้ การเสริมกำลังได้เคลื่อนไปทางตะวันตกโดยจอมพล กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและได้ใช้ในการโจมตีตอบโต้ต่างๆ, ที่ใหญ่ที่สุดซึ่ง, ปฏิบัติการลึททิช (ปฏิบัติการลีแยฌ) ได้เปิดฉากขึ้น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ระหว่างมอร์เทนและ Avranches แม้ว่านี้จะนำไปสู่ช่วงการนองเลือดที่สุดในการรบ มันได้ถูกจัดตั้งโดยหน่วยทหารที่หมดเรี่ยวแรงและไม่แข็งแกร่งพอและเป็นความล้มเหลวที่ราคาแพง เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม กองกำลังทหารที่เคลื่อนพลมาใหม่ๆของกองทัพสหรัฐที่สามได้เข้ายึดเมือง เลอ ม็อง ก่อนหน้านี้เป็นกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพเยอรมันที่ 7 ปฏิบัติการคอบราได้เปลี่ยนความรุนแรงของการรบทางภาคพื้นดินของนอร์มังดีมาเป็นยุทธวิธีการทำสงครามอย่างรวดเร็วและนำไปสู่การสร้างวงล้อมฟาเลส์ และการสูญเสียตำแหน่งเยอรมันในทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส", "title": "ปฏิบัติการคอบรา" }, { "docid": "174812#45", "text": "การยึดครองนอร์เวย์ของเยอรมนีนั้นได้สร้างความยุ่งยากให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากมีสนามบินระยะไกลในนอร์เวย์ ทำให้ฝูงบินอังกฤษจำนวนมากต้องถูกเก็บรักษาไว้ทางตอนเหนือของอังกฤษระหว่างยุทธภูมิบริเตน และเครื่องบินทิ้งระเบิดเยอรมันสามารถใช้นอร์เวย์เป็นฐานและบินออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างปลอดภัย หลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ฐานบินในนอร์เวย์ได้ถูกใช้เพื่อให้เครื่องบินไปจมขบวนเรือพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร และได้ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#1", "text": "เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาวังเงร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "953383#1", "text": "ในปลายปี ค.ศ. 1941 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งต่อกองบัญชาการสูงสุดกองทัพเรือเยอรมัน(OKM) เพื่อวางแผนปฏิบัติการเพื่อการเดินทางกลับของกองเรือไปยังฐานทัพเยอรมัน เพื่อตอบโต้กลับที่น่าจะเป็นไปได้ของการรุกรานนอร์เวย์ของอังกฤษ การประชุมได้ถูกจัดขึ้นในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 สำหรับการวางแผนขั้นตอนสุดท้ายของปฏิบัติการ เส้นทางที่สั้นที่สุดบนช่องแคบอังกฤษได้เป็นที่นิยมเพื่อเป็นทางอ้อมบนรอบเกาะอังกฤษ เพื่อใช้ประโยชน์จากความประหลาดใจและจากการคุ้มกันทางอากาศโดยลุฟท์วัฟเฟอและเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1942 ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งจากปฏิบัติการให้ดำเนินการ", "title": "การตีฝ่าช่องแคบ" }, { "docid": "174812#21", "text": "ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นไม่เห็นด้วยกับการใช้ปฏิบัติการเรือหลวงอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้จะเป็นการวางทุ่นระเบิดตามแนวแม่น้ำไรน์ ฝ่ายอังกฤษสนับสนุน แต่ว่าฝรั่งเศสคัดค้าน เนื่องจากประชาชนชาวฝรั่งเศสไว้ใจในแนวป้องกันตามแม่น้ำไรน์และหวาดกลัวกับการแก้แค้นของเยอรมนี จากความล่าช้านี้ ปฏิบัติการวิลเฟรดจึงต้องเลื่อนจากวันที่ 5 เมษายนไปเป็นวันที่ 8 เมษายนเมื่ออังกฤษตกลงใจที่จะวางทุ่นระเบิดในน่านน้ำนอร์เวย์โดยไม่สนใจกับฝรั่งเศสอีก", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#40", "text": "ปฏิบัติการครั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะขั้นเด็ดขาดของเยอรมนี ทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์ได้ถูกยึดครองโดยที่มีความสูญเสียเพียงเล็กน้อย ทหารเยอรมันเสียชีวิตประมาณ 3,800 นายและบาดเจ็บอีก 1,600 นาย การโจมตีได้ก่อให้เกิดความประหลาดใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เดนมาร์ก และมีเพียงการรบในพื้นที่แถบเมืองท่านาร์วิกเท่านั้นที่เป็นปัญหา ทำให้สูญเสียเครื่องบินรบ<i data-parsoid='{\"dsr\":[17945,17959,2,2]}'>ลุควาฟเฟิล</i>ไปกว่า 100 ลำ ซึ่งคิดเป็น 10% ของกองทัพอากาศเยอรมันที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติการ", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "351132#1", "text": "ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ได้รับการฝึก ให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไปเข้าปฏิบัติการทำลายกองเรือและสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่น ๆ ซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้วแต่ภารกิจของหน่วยรบพิเศษก็ไม่ได้จบสิ้นไปด้วย ตรงกันข้ามกลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธี สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหม ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพกับกรมตำรวจไปประชุม เรื่อง การจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ร่วมกับ จนท.ทร.สหรัฐฯ ประจำหน่วย MAAG (MILITARY ASSISTANCE ADVISORY GROUP) การประชุมคราวนั้นที่ประชุมมีมติให้ กองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึก และจากการหารือระหว่าง กองทัพเรือ กับ MAAG ซึ่งได้แนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยฝึก", "title": "หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ" }, { "docid": "174812#20", "text": "แผนการของเชอร์ชิลล์ในการวางทุ่นระเบิด ปฏิบัติการวิลเฟรด ได้ถูกนำออกมาใช้ แผนการดังกล่าวมีแนวคิดที่จะทำให้เรือบรรทุกขนส่งจำเป็นต้องแล่นเข้าสู่น่านน้ำสากลซึ่งเรือรบอังกฤษสามารถทำลายทิ้งได้ ประกอบด้วยแผน อาร์ 4 ซึ่งอังกฤษจะตอบโต้ในทันทีที่เยอรมนีเข้าขัดขวาง ยึดเมืองทรอนเฮล์มและเบอร์เก้นจากนั้นก็ทำลายสนามบินโซลา", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "962125#0", "text": "ซอร์ด ยังเป็นที่รู้จักกันคือ หาดซอร์ด เป็นรหัสนามที่มอบให้กับหนึ่งในห้าส่วนของพื้นที่การยกพลขึ้นหลักทั่วชายฝั่งนอร์ม็องดีในช่วงการโจมตีแรก ปฏิบัติการเนปจูนของปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองของเยอรมันที่ดำเนินการเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 การยืดขยาย 8 กิโลเมตร(5.0 ไมล์)จาก Ouistreham ถึง Saint-Aubin-sur-Mer หาดนี้เป็นส่วนการยกพลขึ้นบกบนสุดทางตะวันออกของการรุกราน การได้ซอร์ดเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกองทัพอังกฤษด้วยการขนส่งทางทะเล, กวาดทุ่นระเบิด และการระดมยิงจากกองเรือที่ดำเนินการโดยราชนาวีอังกฤษ เช่นเดียวกับส่วนหนึ่งจากกองทัพเรือของโปแลนด์ นอร์เวย์ และฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆ", "title": "หาดซอร์ด" }, { "docid": "174812#22", "text": "ดูบทความหลักได้ที่ ปฏิบัติการเวแซร์รืบุง", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "891035#1", "text": "ในช่วงเช้าวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 (Wesertag; \"Weser Day\") เยอรมนีได้บุกเข้ายึดครองเดนมาร์กและนอร์เวย์ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการป้องกันในการวางแผน และเปิดประชุมหารือว่า ฝรั่งเศสและอังกฤษได้เข้ายึดนอร์เวย์ ภายหลังการบุกครอง นักการฑูตเยอรมันได้แจ้งต่อรัฐบาลเดนมาร์และนอร์เวย์ว่า ทางกองทัพเวร์มัคท์ได้เข้าเพื่อปกป้องความเป็นกลางของประเทศเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสและอังกฤษ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางภูมิศาสตร์ สถานที่ และสภาพอากาศระหว่างทั้งสองประเทศทำให้การปฏิบัติการทางทหารที่เกิดขึ้นจริงนั้นไม่เหมือนกัน.", "title": "ปฏิบัติการเวแซร์รืบุง" }, { "docid": "891035#0", "text": "ปฏิบัติการเวแซร์รืบุง ()เป็นรหัสนามจากเยอรมันในการโจมตีเดนมาร์กและนอร์เวย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นเปิดปฏิบัติการของการทัพนอร์เวย์.ชื่อรหัสนามนั้นมาจากภาษาเยอรมันสำหรับปฏิบัติการเวเซอร์-เอ็กเซอร์ไซค์ (\"Unternehmen Weserübung\"), เวเซอร์เป็นชื่อของแม่น้ำเยอรมัน", "title": "ปฏิบัติการเวแซร์รืบุง" }, { "docid": "174812#0", "text": "การทัพนอร์เวย์ หรือปฏิบัติการเวแซร์รืบุง (9 เมษายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940) นั้นเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "148709#5", "text": "ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกยังคงเงียบสงบในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1940 การสู้รบระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมัน ได้มีการเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในการทัพนอร์เวย์ เมื่อฝ่ายเยอรมันได้เริ่มปฏิบัติการแวร์เซอร์รีบุง,เยอรมันได้บุกยึดครองเดนมาร์กและนอร์เวย์.ในการทำเช่นนี้,ฝ่ายเยอรมันจะชนะสงครามไว้ได้;ฝ่ายสัมพันธมิตรได้วางแผนที่จะยกพลขึ้นบกในสิ่งที่พวกเขาจะได้เริ่มที่จะโอบล้อมเยอรมนี,ทำการตัดการขนส่งของวัตถุดิบจากประเทศสวีเดน.อย่างไรก็ตาม,เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้จู่โจมและยกพลขึ้นบกในนอร์เวย์ภายหลังจากการยึดครองของเยอรมัน,ฝ่ายเยอรมันได้ขับไล่พวกเขาและกำจัดกองทัพนอร์เวย์,ที่กำลังหลบหนีออกนอกประเทศ,ถึงกระนั้น, กองทัพเรือครีกซมารีเนอ,ได้ประสบความเสียหายอย่างหนักในระหว่างสองเดือนจากการสู้รบตามความต้องการในการยึดครองแผ่นดินนอร์เวย์เอาไว้ท้งหมด.", "title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)" }, { "docid": "174812#41", "text": "อย่างไรก็ตาม การรบในทะเลประสบความล้มเหลว การรณรงค์กดังกล่าวได้ทำให้กองทัพเรือเยอรมันสูญเสียอย่างมากจนถึงขั้นเป็นอัมพาต เรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ ถูกจมไป 1 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 6 ลำ ถูกทำลายไป 2 ลำ เรือพิฆาตตอร์ปิโดจาก 20 ลำ เหลือเพียง 10 ลำ รวมไปถึงเรืออูอีก 6 ลำ นอกจากนั้นยังมีเรือที่ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนที่เหลือของกองทัพเรืออ่อนแอตลอดช่วงฤดูร้อน ส่งผลให้การรุกรานองักฤษในปฏิบัติการสิงโตทะเลไม่อาจเป็นความจริงได้", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "852180#0", "text": "กองทัพบกสหรัฐ () เป็นเหล่าที่ใหญ่ที่สุดในกองทัพสหรัฐ และดำเนินการปฏิบัติการทางทหารบก เป็นหนึ่งในเจ็ดของเหล่าทัพสหรัฐ โดยถูกกำหนดให้เป็นกองทัพบกสหรัฐ ในรัฐธรรมนูณสหรัฐ มาตราที่ 2 หมวด 2 วรรค 1 ในฐานะที่เป็นเหล่าที่ใหญ่และอาวุโสที่สุดในกองทัพสหรัฐ เดิมทีกองทัพสหรัฐมีรากฐานมาจากกองทัพภาคพื้นทวีป สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1775 เพื่อรบในสงครามปฏิวัติอเมริกา ก่อนที่สหรัฐจะรวมตัวเป็นประเทศ ภายหลังจากสงครามปฏิวัติอเมริกา สภาแห่งสมาพันธ์รัฐ ได้จัดตั้ง กองทัพบกสหรัฐ ขึ้นมาแทนกองทัพภาคพื้นทวีป เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1784 กองทัพบกสหรัฐนั้นคิดว่าตัวเองสืบเชื้อสายมากองทัพภาคพื้นทวีป และวันที่สถาปนาเริ่มต้นจากต้นกำเนิดของกองทัพในปี ค.ศ. 1775", "title": "กองทัพบกสหรัฐ" }, { "docid": "900125#1", "text": "กองทัพอากาศสหรัฐได้ตั้งฐานทัพอากาศเค-16 ในช่วงสงครามเกาหลี และได้จัดตั้งหน่วยงานดังนี้:ฐานทัพได้เป็นของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี มีกองพันทหารราบที่ 2 ของกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก ฐานทัพอากาศกรุงโซลได้เป็นที่จัดมหกรรมการแสดงทางอากาศทุกปี ฐานทัพอากาศกรุงโซลเป็นสนามบินพิเศษสำหรับต้อนรับประธานาธิบดี และประมุขของรัฐต่างๆ", "title": "ฐานทัพอากาศกรุงโซล" }, { "docid": "171961#3", "text": "ได้มีการประชุมของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะส่งกองทัพไปยังสแกนดิเนเวียตอนเหนือ แต่ว่ายังมิได้รับการยินยอมจากประเทศเป็นกลางเหล่านั้น และเหตุการณ์อัทมาร์กในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ได้ส่งสัญญาณเตือนแก่กองทัพเรือเยอรมันและประเทศเยอรมนี เนื่องจากต้องการที่จะคุกคามแหล่งโลหะและสินแร่ และสามารถยึดครองพื้นที่แถบชายฝั่งนอร์เวย์ เยอรมนีได้โจมตีเดนมาร์กและนอร์เวย์ในปฏิบัติการเวแซร์รืบุง เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน กองทัพสัมพันธมิตรได้ขึ้นบกที่นอร์เวย์ แต่ว่าภายในสองสัปดาห์ นอร์เวย์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในมือของเยอรมัน กองทัพสัมพันธมิตรที่เหลือได้ถอนตัวออกจากนอร์เวย์", "title": "สงครามลวง" }, { "docid": "891035#2", "text": "เวลาในการยกพลขึ้นเพื่อบุกเข้ายึดครอง—Weserzeit (\"Weser Time\") ถูกกำหนดเป็นเวลา 05:15 นาฬิกา", "title": "ปฏิบัติการเวแซร์รืบุง" }, { "docid": "174812#6", "text": "การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร เมื่อนอร์เวย์ยังคงดำรงตนเป็นกลาง โดยไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอร์เวย์ก็จะยังคงไม่เป็นพิษภัย แต่ความอ่อนแอในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์ และความไร้ความสามารถของกองทัพบกที่จะต่อกรกับศัตรูที่เข้มแข็งกว่า นายพลเรือรีดเดอร์ได้ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความเป็นอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ เมื่ออังกฤษฉวยโอกาสที่จะรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมืองท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้ เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือเยอรมันที่ประจำอยู่ในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "906618#1", "text": "แผนความทรหดทั้งสองแผนได้มีส่วนร่วมในการสร้างฐานทัพทหารปลอม(ฐานทัพในเอดินบะระและตอนใต้ของอังกฤษ) ซึ่งๆได้ลวงว่าจะมีการรุกรานที่นอร์เวย์(แผนความทรหดเหนือ)และปาดกาแล(แผนความทรหดใต้) ปฏิบัติการได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหันเหความสนใจของฝ่ายอังษะจากนอร์ม็องดีและ หลังจากการรุกราน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 เพื่อชะลอการเสริมกำลังโดยให้ความโน้มน้าวแสดงให้เห็นแก่เยอรมันว่า การยกพลขึ้นบกนั้นเป็นการโจมตีที่เบี่ยงเบนความสนใจได้อย่างหมดจด", "title": "ปฏิบัติการความทรหด" }, { "docid": "362249#46", "text": "วันที่ 25 มีนาคม นาโตประกาศว่า จะเข้าบังคับบัญชาปฏิบัติการเขตห้ามบิน หลังมีการโต้เถียงดุเดือดหลายวันว่าใครควรจะควบคุมปฏิบัติการในลิเบีย สหรัฐย้ำตลอดว่า ตนปรารถนาจะส่งมอบการบัญชาการแก่องค์การระหว่างประเทศ[149] การโจมตีทางอากาศดำเนินต่อไประหว่างวัน เครื่องบินเอฟ-16 ของกองทัพอากาศนอร์เวย์สองลำทำลายรถถังรัฐบาลลิเบียหลายคัน เครื่องบินเจ็ตฝรั่งเศสทำลายกลุ่มปืนใหญ่ (battery) นอกอัจดาบิยาห์ และเครื่องบินเจ็ตอังกฤษและฝรั่งเศสดำเนินภารกิจร่วมนอกอัจดาบิยาห์ ซึ่งทำลายรถถังฝ่ายรัฐบาลได้เจ็ดคัน[150] วันเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขลิเบียรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 114 คน และได้รับบาดเจ็บ 445 คน นับแต่การทัพทิ้งระเบิดเริ่มขึ้น[151] อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทางการวาติกันในกรุงตริโปลี รายงานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ว่า การโจมตีทางอากาศของกำลังผสมสังหารพลเรือนไปอย่างน้อย 40 คน ในกรุงตริโปลี[152]", "title": "สงครามกลางเมืองลิเบีย" }, { "docid": "985539#4", "text": "ด้วยการเริ่มต้นของการปกครองของสหราชอาณาจักร ได้มีมาตรการเพื่อปรับปรุงสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พวกเขาเริ่มขึ้นในช่วงการปกครองของกองทัพสหราชอาณาจักร และยังคงเติบโตร่วมกับการจัดตั้งอาณัติของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 ในเยรูซาเลม กองขยะสะสมได้ถูกนำออก และถังขยะสาธารณะได้รับการติดตั้ง ประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ และสระน้ำรวมทั้งอ่างเก็บน้ำได้รับการปกป้องด้วยยากันยุงในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อขจัดโรคมาลาเรีย ในปี ค.ศ. 1929 คณะกรรมาธิการไซออนิสต์และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสหราชอาณาจักรได้ส่งนักระบาดวิทยาชาวยิวชื่อกิเดียน เมอร์ ไปรอชปินนาเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการสำหรับการวิจัยโรคมาลาเรีย ห้องปฏิบัติการของเมอร์เป็นหน่วยงานย่อยในการกำจัดโรค การรณรงค์ต่อต้านโรคมาลาเรียจัดการโดยฮาดัสซาห์จนกระทั่ง ค.ศ. 1927 เมื่อองค์กรหันมารับผิดชอบหน่วยงานผ่านเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ การบริหารอาณัติยังดำเนินการกรมอนามัยที่ดำเนินการโรงพยาบาล, คลินิก และห้องปฏิบัติการของตัวเอง กรมอนามัยดูแลบุคลากรของสหราชอาณาจักรที่ประจำการในอิสราเอลและให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวอาหรับ การลงทุนในด้านสุขภาพของชาวยิวมีเพียงเล็กน้อย โดยสันนิษฐานว่ายีชูฟมีความสามารถในการจัดการระบบการดูแลสุขภาพของตนเอง ร่วมกับการขยายตัวของยีชูฟผ่านอาลียาห์ครั้งที่สามและครั้งที่สี่ จำนวนสิ่งอำนวยความสะดวกการแพทย์ของชาวยิวจึงเพิ่มมากขึ้น จำนวนเตียงโรงพยาบาลฮาดัสซาห์เพิ่มขึ้นสามเท่า โรงพยาบาลยิวและกองทุนประกันสุขภาพก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ ผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลรายใหญ่รายอื่นนอกเหนือจากฮาดัสซาห์คือสหพันธ์แรงงานฮิสตาดรุต ซึ่งมีกองทุนป่วยไข้ของตนเอง และภายในปี ค.ศ. 1946 ได้ดำเนินการโรงพยาบาลสองแห่ง รวมถึงคลินิกและศูนย์สุขภาพหลายร้อยแห่ง นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์เอกชนบางแห่งและกองทุนเพื่อสุขภาพได้รับการจัดตั้งขึ้น", "title": "การดูแลสุขภาพในประเทศอิสราเอล" }, { "docid": "174812#30", "text": "เยอรมนีเริ่มต้นการบุกในวันที่ 3 เมษายน 1940 เมื่อเรือขนเสบียงได้ออกจากฝั่งเพื่อการรุกของกองกำลังหลัก ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มต้นแผนการในวันต่อมา เรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนสิบหกลำได้รับคำสั่งให้ไปประจำยังเมือง Skagerrak และ Kattegat เพือใช้ตรวจการและแจ้งเตือนกองทัพเยอรมันในการเตรียมตัวเข้าสู่แผนปฏิบัติการวิลเฟรด ซึ่งได้ออกตามมาหลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน โดยมีเรือรบอังกฤษสิบสามลำ", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#37", "text": "กองทัพเรือและกองทัพอากาศนอร์เวย์ได้ลงหลักปักฐานใหม่ในอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เหลือจากการทัพนอร์เวย์ ไม่นานหลังจากนั้น กองกำลังเหล่านี้ก็เข้าไปมีส่วนในการรบแบบขบวนเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกและสงครามทางอากาศเหนือทวีปยุโรป จำนวนทหารนั้นเพิ่มขึ้นจากการเข้ามาอย่างต่อเนื่องของผู้ลี้ถัยชาวนอร์เวย์ และได้รับยุทโธปกรณ์เป็นเรือและเครื่องบินจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และยังได้ออกปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรด้วย", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "652458#2", "text": "รางวัลนี้ริเริ่มมาตั้งแต่โอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของอาเบล โดยนักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ โซฟัส ลี (Sophus Lie) ได้มีแนวคิดให้มีการจัดตั้งรางวัลนี้ขึ้นหลังทราบว่ารางวัลโนเบลจะไม่มีสาขาคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม แนวคิดก็ถูกล้มเลิกไปหลังลีเสียชีวิตและการแยกตัวของสหภาพสวีเดน-นอร์เวย์\nแนวคิดในการจัดตั้งรางวัลนี้ถูกเสนอขึ้นอีกครั้ง โดยในเดือนสิงหาคม ปี 2001 รัฐบาลนอร์เวย์ได้ประกาศว่ารางวัลอาเบลจะมีการมอบรางวัลเป็นครั้งแรกในปี 2002 เพื่อเป็นเกียรติแก่โอกาสครบรอบ 200 ปี ชาตกาลของอาเบล แต่มีพิธีมอบจริงๆ ในปี 2003 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Jean-Pierre Serre เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนี้เป็นคนแรก (เขายังเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์สอีกด้วย)", "title": "รางวัลอาเบล" }, { "docid": "174812#46", "text": "นอกจากนั้น การยึดครองนอร์เวย์ยังเป็นภาระหนักสำหรับเยอรมนี แนวชายหาดขนาดใหญ่ของนอร์เวย์นั้นเป็นโอกาสสำหรับหน่วยคอมมานโดในปลายปีนั้น การยึดครองนอร์เวย์จำเป็นต้องมีกองกำลังขนาดใหญ่กำกับดูแล ในปี 1944 มีทหารเยอรมันในนอร์เวย์กว่า 400,000 นาย และไม่สามารถถูกย้ายไปสู้รบในฝรั่งเศสหลังปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด หรือถูกดึงไปสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกซึ่งเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "623292#2", "text": "ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ประธานาธิบดี ตรันวันมินห์ แห่งเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย โดยขอให้ฝึกหัดนักบินของกองทัพอากาศเวียดนามใต้ ที่ส่งเข้ามาฝึกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากไทยเพิ่มเติม โดยขอให้จัดส่งเรือไปช่วยปฏิบัติการลำเลียง และเฝ้าตรวจบริเวณชายฝั่ง ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลให้แก่ เวียดนามใต้ และในปีเดียวกัน ก็ได้ขอกำลังจากกองทัพบกไทย เพื่อช่วยยับยั้งการคุกคามของเวียดนามเหนือ นอกจากรัฐบาลไทยแล้วเวียดนามใต้ก็ได้ขอร้องทำนองเดียวกันไปยังประเทศฝ่ายโลกเสรีอื่น ๆ \nคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติ อนุมัติหลักการให้ความ ช่วยเหลือทางทหารแก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้น เรียกว่า \"กรมทหารอาสาสมัคร\" (กรม อสส.) มีภารกิจในการรบเป็นหลัก และปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนเป็นรอง ถือว่าเป็นกองกำลังทหารไทยหน่วยแรก ที่ปฏิบัติการรบในเวียดนาม ได้สมญานามว่า \"จงอางศึก\"(Queen's Cobras Regiment) หลังจากที่ กรมทหาร อาสาสมัคร เดินทางไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นเวลา ๑ ปี กองทัพบกได้ มอบให้คณะกรรมการพิจารณา เตรียมการส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัคร และเพิ่มเป็น ๑ กองพลทหารอาสาสมัคร ", "title": "กองพลทหารอาสาสมัคร" }, { "docid": "280056#17", "text": " ปี ค.ศ. 1700 เดนมาร์ก-นอร์เวย์ โปแลนด์-ลิทัวเนีย-แซกโซนี และรัสเซียเปิดฉากสงครามด้วยการกรีฑาทัพเข้าล้อมป้อมทิวนิ่ง โดยทั้งสามกองกำลังเข้าตีป้อมทางหน้าทั้งสามด้าน ส่วนกองทัพเดนมาร์ก-นอร์เวย์เข้าโจมตีโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ปและทัพราชวงศ์ของจักรวรรดิสวีเดน และนำไปสู่การวางทัพล้อมป้อมทิวนิ่งในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1700 จนกระทั่งถูกทัพเรือสวีเดนเข้าตลบหลังกะทันหันด้วยการเปลี่ยนรูปแบบทัพไปโจมตีด้านหน้าจากกรุงโคเปนเฮเกน ทำให้พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 ต้องถูกถอนกำลังออกจากสงครามด้วยสนธิสัญญาสันติภาพทราเวนดอล ( ; )ในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1700 โดยมีเนื้อหาดังนี้ด้วยเหตุนี้กองทัพเดนมาร์กจึงต้องถอนตัวออกจากสงครามไปถึง 8 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ. 1709 การพ่ายแพ้ของจักรวรรดิสวีเดนในยุทธการโปลตาวามาเยือน ทำให้สัญญาเสื่อมสภาพลง เดนมาร์ก-นอร์เวย์จึงกรีฑาทัพเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายพันธมิตรอีกครั้ง\nการเทียบท่าแห่งฮัมเลเบก () เกิดจากการนำทัพราชนาวีสวีเดนเข้าเทียบฝั่งเดนมาร์กโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 12 ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1700 ถือเป็นการโต้กลับครั้งแรกของฝ่ายสวีเดน ในเวลานั้นแม้จะมีเพียงสวีเดนแค่ฝ่ายเดียว แต่ยุทธการการบุกเข้าโจมตีโดยกะทันหันก็ทำให้เดนมาร์กคาดไม่ถึงเช่นกัน นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เดนมาร์กพ่ายแพ้สวีเดนในยุทธการทิวนิ่งไปในที่สุด", "title": "มหาสงครามเหนือ" } ]
2677
พอลิเมอร์ คือพลาสติกใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "8314#2", "text": "พอลิเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือพลาสติก ซึ่งเป็นคำที่ใช้อ้างถึงกลุ่มของวัสดุธรรมชาติและสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกัน พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นชแล็กและอำพันที่ใช้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิกที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ พอลิเมอร์ธรรมชาติอื่นๆ เช่นเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดาษและไม้ พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บาเกไลต์, นีโอพรีน, ไนลอน, พีวีซี, พอลิสไตรีน, พอลิอคริโลไนไตรล์ และพีวีบี การศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้แก่ เคมีพอลิเมอร์, ฟิสิกส์พอลิเมอร์และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์", "title": "พอลิเมอร์" } ]
[ { "docid": "105148#1", "text": "การผลิตยางสังเคราะห์เป็นจะผลิตโดยการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (polymerization) ซึ่งการพอลิเมอไรเซชันคือ ปฏิกิริยาการเตรียมพอลิเมอร์ (polymer) จากมอนอเมอร์ (monomer) โดยพอลิเมอร์ ในที่นี้คือ ยางสังเคราะห์ที่ต้องการผลิต ในส่วนของมอนอเมอร์คือสารตั้งต้นในการทำปฏิกิริยานั่นเอง", "title": "ยางสังเคราะห์" }, { "docid": "8314#14", "text": "การจำแนกหน่วยย่อยที่ประกอบเป็นพอลิเมอร์เป็นลักษณะแรกและสำคัญที่สุดของพอลิเมอร์ หน่วยที่ซ้ำกันจะพบซ้ำๆตลอดสายและใช้ในการจำแนกพอลิเมอร์ พอลิเมอร์ที่มีหน่วยย่อยเหมือนกันหมดเรียกว่าโฮโมพอลิเมอร์ ส่วนพอลิเมอร์ที่มีหน่วยย่อยหลายชนิดผสมกันเรียกโคพอลิเมอร์ พอลิสไตรีนเป็นตัวอย่างของโฮโมพอลิเมอร์ เอทิลีน-ไวนิลอะซีเตตเป็นตัวอย่างของโคพอลิเมอร์ พอลิเมอร์ทางชีวภาพบางชนิดประกอบด้วยหน่วยย่อยต่างกันแต่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันเช่นพอลินิวคลีโอไทด์ที่มีหน่วยย่อยเป็นนิวคลีโอไทด์ พอลิเมอร์ที่มีหน่วยย่อยที่มีประจุจะเรียกว่าพอลิอิเล็กโทรไลต์ หน่วยย่อยของพอลิเมอร์ชนิดนี้เรียก ไอโอโนเมอร์", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "15244#7", "text": "เป็นสารประกอบที่มีวงแหวนที่ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิด (heteroatom) กัน ซึ่งอะตอมเหล่านี้อาจเป็น \nออกซิเจนไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือกำมะถัน สารประกอบประเภทนี้ได้แก่พอลิเมอร์เป็นโมเลกุลชนิดพิเศษมีขนาดใหญ่ประกอบด้วยโมเลกุลย่อยๆ ต่อเรียงกัน ถ้าโมเลกุลย่อยเป็นชนิดเดียวกันจะเรียกพอลิเมอร์นี้ว่า\"โฮโมพอลิเมอร์\" (homopolymer) และถ้าโมเลกุลย่อยเป็นต่างชนิดกันจะเรียกพอลิเมอร์นี้ว่า\"เฮตเทอโรพอลิเมอร์\" (heteropolymer) พอลิเมอร์จำแนกได้ดังนี้", "title": "เคมีอินทรีย์" }, { "docid": "100392#0", "text": "ตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์ (อังกฤษ:crosslinker)", "title": "ตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์" }, { "docid": "14874#3", "text": "เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของพอลิเมอร์ (cross linking among polymer chains) เหตุนี้หลังจาก พลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ การทำพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดด้วย เทอร์โมเซตติงพลาสติก ได้แก่คณะอนุกรรมการเทคนิคคณะที่ 2 โครงการฉลากเขียว, 2539", "title": "พลาสติก" }, { "docid": "14874#2", "text": "เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) หรือเรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อย มาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน มีสมบัติพิเศษคือ เมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก ได้แก่", "title": "พลาสติก" }, { "docid": "53559#7", "text": "SCG เข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ผลิตและจำหน่าย เคมีภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ ขั้นกลาง ได้แก่ \nสไตรีนมอนอเมอร์ พีทีเอ และเอ็มเอ็มเอ และขั้นปลาย ได้แก่ เม็ดพลาสติกหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ โพลิเอททีลีน โพลิโพรไพลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ และพอลิสไตรีน โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด", "title": "ปูนซิเมนต์ไทย" }, { "docid": "15360#1", "text": "พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ (monomer) โดยกระบวนการพอลิเมอไรเซชั่น (polymerization) คุณสมบัติของพอลิเมอร์เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้", "title": "เคมีพอลิเมอร์" }, { "docid": "15360#0", "text": "เคมีพอลิเมอร์ หรือ แมคโครโมเลกุลาร์เคมี () เป็นศาสตร์หลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ทางเคมี (chemical synthesis) และคุณสมบัติทางเคมีของพอลิเมอร์ (polymer) หรือแมคโครโมเลกุล (macromolecule) แมคโครโมเลกุลแบบเก่าจะหมายถึงโซ่โมเลกุล และเป็นกลุ่มของเคมี ส่วนพอลิเมอร์จะอธิบายถึงคุณสมบัติรวมๆของวัสดุพอลิเมอร์ซึ่งจะเป็นขอบเขตของฟิสิกส์พอลิเมอร์ \n(polymer physics) ซึ่งเป็นสาขาย่อยของวิชาฟิสิกส์ พลาสติก (Plastics) เช่น พอลิเอทิลีน (polyethylene) จะเป็นกลุ่มย่อยของพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มูลค่าในเชิงพาณิชย์ ไบโอพอลิเมอร์ (Biopolymer) เช่น โปรตีน (protein) เป็นกลุ่มย่อยของพอลิเมอร์ที่พบในธรรมชาติ", "title": "เคมีพอลิเมอร์" }, { "docid": "293951#2", "text": "อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เริ่มต้นจากน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ไปสู่กระบวนการผลิตสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง และพัฒนาไปสู่วัสดุพอลิเมอร์ เส้นใย หรือพลาสติกชนิดต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มานานกว่าร้อยปี", "title": "พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ" }, { "docid": "8314#17", "text": "หมวดหมู่:ไฮโดรคาร์บอน หมวดหมู่:พอลิเมอร์", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "8314#7", "text": "การสังเคราะห์พอลิเมอร์เป็นกระบวนการของการรวมโมเลกุลขนาดเล็กๆที่เป็นหน่วยย่อยเข้าด้วยกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ในระหว่างกระบวนการเกิดพอลิเมอร์ หมู่ทางเคมีบางตัวจะหลุดออกจากหน่วยย่อย หน่วยย่อยในพอลิเมอร์จะเป็นหน่วยซ้ำๆกัน", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "3644#25", "text": "วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมเครื่องมือ วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมสารสนเทศ วิศวกรรมสื่อสาร วิศวกรรมชายฝั่ง วิศวกรรมสมุทรศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต วิศวกรรมระบบควบคุม วิศวกรรมการวัดคุม วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมอวกาศยาน วิศวกรรมพลาสติก วิศวกรรมพอลิเมอร์ วิศวกรรมต่อเรือ วิศวกรรมการจัดการ วิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย", "title": "วิศวกรรมศาสตร์" }, { "docid": "8314#1", "text": "พอลิเมอร์มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer) ตัวอย่างของ โพลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ ส่วนพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดนี้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เราต้องใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ และพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติต่างกัน จึงนำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกันได้", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "8314#16", "text": "คุณสมบัติในการขนส่ง เป็นคุณสมบัติของอัตราการแพร่หรือโมเลกุลเคลื่อนไปได้เร็วเท่าใดในสารละลายของพอลิเมอร์ มีความสำคัญมากในการนำพอลิเมอร์ไปใช้เป็นเยื่อหุ้ม จุดหลอมเหลว คำว่าจุดหลอมเหลวที่ใช้กับพอลิเมอร์ไม่ใช่การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวแต่เป็นการเปลี่ยนจากรูปผลึกหรือกึ่งผลึกมาเป็นรูปของแข็ง บางครั้งเรียกว่าจุดหลอมเหลวผลึก ในกลุ่มของพอลิเมอร์สังเคราะห์ จุดหลอมเหลวผลึกยังเป็นที่ถกเถียงในกรณีของเทอร์โมพลาสติกเช่นเทอร์โมเซตพอลิเมอร์ที่สลายตัวในอุณหภูมิสูงมากกว่าจะหลอมเหลว พฤติกรรมการผสม โดยทั่วไปส่วนผสมของพอลิเมอร์มีการผสมกันได้น้อยกว่าการผสมของโมเลกุลเล็กๆ ผลกระทบนี้เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่าแรงขับเคลื่อนสำหรับการผสมมักเป็นแบบระบบปิด ไม่ใช่แบบใช้พลังงาน หรืออีกอย่างหนึ่ง วัสดุที่ผสมกันได้ที่เกิดเป็นสารละลายไม่ใช่เพราะปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมเลกุลที่ชอบทำปฏิกิริยากันแต่เป็นเพราะการเพิ่มค่าเอนโทรปีและพลังงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาตรที่ใช้งานได้ของแต่ละส่วนประกอบ การเพิ่มขึ้นในระดับเอนโทรปีขึ้นกับจำนวนของอนุภาคที่นำมาผสมกัน เพราะโมเลกุลของพอลิเมอร์มีขนาดใหญ่กว่าและมีความจำเพาะกับปริมาตรเฉพาะมากกว่าโมเลกุลขนาดเล็ก จำนวนของโมเลกุลที่เกี่ยวข้องในส่วนผสมของพอลิเมอร์มีค่าน้อยกว่าจำนวนในส่วนผสมของโมเลกุลขนาดเล็กที่มีปริมาตรเท่ากัน ค่าพลังงานในการผสมเปรียบเทียบได้ต่อหน่วยปริมาตรสำหรับส่วนผสมของพอลิเมอร์และโมเลกุลขนาดเล็ก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของพลังงานอิสระในการผสมสารละลายพอลิเมอร์และทำให้การละลายของพอลิเมอร์เกิดได้น้อย สารละลายพอลิเมอร์ที่เข้มข้นพบน้อยกว่าที่พบในสารละลายของโมเลกุลขนาดเล็ก ในสารละลายที่เจือจาง คุณสมบัติของพอลิเมอร์จำแนกโดยปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายและพอลิเมอร์ ในตัวทำละลายที่ดี พอลิเมอร์จะพองและมีปริมาตรมากขึ้น แรงระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายกับหน่วยย่อยจะสูงกว่าแรงภายในโมเลกุล ในตัวทำละลายที่ไม่ดี แรงภายในโมเลกุลสูงกว่าและสายจะหดตัว ในตัวทำละลายแบบธีตา หรือสถานะที่สารละลายพอลิเมอร์ซึ่งมีค่าของสัมประสิทธิ์วิเรียลที่สองเป็นศูนย์ แรงผลักระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์กับตัวทำละลายเท่ากับแรงภายในโมเลกุลระหว่างหน่วยย่อย ในสภาวะนี้ พอลิเมอร์อยู่ในรูปเกลียวอุดมคติ การแตกกิ่ง การแตกกิ่งของสายพอลิเมอร์มีผลกระทบต่อคุณสมบัติทั้งหมดของพอลิเมอร์ สายยาวที่แตกกิ่งจะเพิ่มความเหนียว เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของความซับซ้อนต่อสาย ความยาวอย่างสุ่มและสายสั้นจะลดแรงภายในพอลิเมอร์เพราะการรบกวนการจัดตัว โซ่ข้างสั้นๆลดความเป็นผลึกเพราะรบกวนโครงสร้างผลึก การลดความเป็นผลึกเกี่ยวข้องกับการเพิ่มลักษณะโปร่งใสแบบกระจกเพราะแสงผ่านบริเวณที่เป็นผลึกขนาดเล็ก ตัวอย่างที่ดีของผลกระทบนี้เกี่ยวข้องกับขอบเขตของลักษณะทางกายภาพของพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงมีระดับการแตกกิ่งต่ำ มีความแข็งและใช้เป็นเหยือกนม พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ มีการแตกกิ่งขนาดสั้นๆจำนวนมาก มีความยืดหยุ่นกว่าและใช้ในการทำฟิล์มพลาสติก ดัชนีการแตกกิ่งของพอลิเมอร์เป็นคุณสมบัติที่ใช้จำแนกผลกระทบของการแตกกิ่งสายยาวต่อขนาดของโมเลกุลที่แตกกิ่งในสารละลาย เดนไดรเมอร์เป็นกรณีพิเศษของพอลิเมอร์ที่หน่วยย่อยทุกตัวแตกกิ่ง ซึ่งมีแนวโน้มลดแรงระหว่างโมเลกุลและการเกิดผลึก พอลิเมอร์แบบเดนดริติกไม่ได้แตกกิ่งอย่างสมบูรณ์แต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเดนไดรเมอร์เพราะมีการแตกกิ่งมากเหมือนกัน การเติมพลาติไซเซอร์ การเติมพลาสติซิเซอร์มีแนวโน้มเพิ่มความยืดหยุ่นของพอลิเมอร์ พลาสติซิเซอร์โดยทั่วไปเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับพอลิเมอร์และเข้าเติมในช่องว่างของพอลิเมอร์ที่เคลื่อนไหวได้ดีและลดปฏิกิริยาระหว่างสาย ตัวอย่างที่ดีของพลาสติซิเซอร์เกี่ยวข้องกับพอลิไวนิลคลอไรด์หรือพีวีซี พีวีซีที่ไม่ได้เติมพลาสติซิเซอร์ใช้ทำท่อ ส่วนพีวีซีที่เติมพลาสติซิเซอร์ใช้ทำผ้าเพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่า", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "110073#4", "text": "เทคนิคพอลิเมอไรเซชันนี้จะมีหยดเล็ก ๆ ของมอนอเมอร์กระจายอยู่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.01-0.05 ซม. อยู่ในน้ำ การจะทำให้มอนอเมอร์กระจายเป็นหยดเล็ก ๆ จะต้องกวนหรือปั่นอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเติมดิสเพอร์สแซนต์ (dispersant) เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ เมธิลเซลลูโลส ซึ่งต้องเป็นสารที่ละลายน้ำ โดยสารตัวนี้จะป้องกันไม่ให้มอนอเมอร์รวมตัวเป็นหยดใหญ่ ส่วนตัวริเริ่มเป็นสารที่ละลายได้ในมอนอเมอร์ เช่น เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ พอลิเมอไรเซชันแบบแขวนลอยนี้จะคล้ายกับพอลิเมอไรเซชันแบบบัลค์ (bulk polymerization) เพราะต่างก็มีตัวริเริ่ม ต่างกันตรงที่มอนอเมอร์จะแยกจากกันเป็นหยดเล็กแขวนลอยอยู่ในตัวกลางเท่านั้นเทคนิคพอลิเมอไรเซชันนี้จะใช้สบู่ซึ่งใช้เป็นตัวอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) เพื่อลดความตึงผิวของตัวกลางที่เป็นน้ำ และตัวริเริ่มที่ใช้ เช่น โพแทสเซียมเพอร์ซัลเฟต (K2S2O8) จะละลายอยู่ในน้ำไม่ใช่ละลายอยู่ในมอนอเมอร์ และขนาดของหยดมอนอเมอร์จะมีขนาดที่เล็กมาก ประมาณ 0.01- 0.04 ซม. ทำให้พอลิเมอร์ที่ได้มีขนาดเล็กมาก", "title": "พอลิเมอไรเซชัน" }, { "docid": "201394#0", "text": "พอลิสไตรีน () เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากปิโตรเลียม ถูกผลิตออกขายครั้งแรกในช่วงปี 1930 - 1939 ช่วงแรกสไตรีนที่ผลิตขึ้นมาถูกนำไปใช้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นหลัก หลังจากสงครามจบลงจึงเปลี่ยนมาผลิตเป็นพลาสติกพอลิสไตรีนออกขายแทน ในการผลิตพอลิสไตรีนยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมด้วยได้แก่ เบนซีน เอทิลีน และบิวทาไดอีน", "title": "พอลิสไตรีน" }, { "docid": "100392#1", "text": "เป็นตัวเชื่อมสายโซ่พอลิเมอร์ ด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่เชื่อมระหว่าง 2 สายพอลิเมอร์ ทำให้พอลิเมอร์มีสมบัติเป็นเทอร์มอเซต พอลิเมอร์ (thermosetting polymer)", "title": "ตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์" }, { "docid": "100392#2", "text": "ในทางชีววิทยา มีการประยุกต์การเชื่อมโยงข้ามของพอลิอะคริลาไมด์ (polyacrylamide) ในกระบวนการ gel electrophoresis และ โปรตีน ตัวเชื่อมโยงข้ามขัดขวางการจับตัวกันอย่างหนาแน่นของสายโซ่พอลิเมอร์ และป้องกันการเกิดบริเวณที่จัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ", "title": "ตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์" }, { "docid": "421849#6", "text": "เม็ดพลาสติกพอลิเมอร์ ประเภท HDPE LLDPE LDPE และ PS สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกได้หลายประเภท เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติ ให้ความทนทาน แข็งแรง\nเอทิลินออกไซด์ ", "title": "พีทีที โกลบอล เคมิคอล" }, { "docid": "19743#1", "text": "คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล", "title": "มวลโมเลกุล" }, { "docid": "8314#10", "text": "เส้นใย เป็นพอลิเมอร์กลุ่มที่แข็งแรงที่สุด เนื่องจากพื้นที่หน้าตัดของเส้นใยนั้นมีขนาดที่เล็กมาก ตัวพอลิเมอร์เองจึงจำเป็นต้องรับแรงในแนวแกนเส้นใยให้ได้สูงสุด เส้นใยจึงมีลักษณะทางกายภาพที่ดูเบาบาง แต่มีความแข็งแรงสูง พลาสติก มีความแข็งแรงรองจากเส้นใย แม้ว่าการใช้งานพลาสติกนั้น จะมีมิติความกว้าง ยาว สูง มากกว่าเส้นใยหลายเท่า ทำให้ดูเหมือนว่าแข็งแรงกว่าเส้นใย แต่ถ้าลองนำพลาสติกไปฉีดให้มีความบางเท่าเส้นใย จะพบว่ามันแข็งแรงน้อยกว่ามาก ยาง มีจุดเด่นคือความยืดหยุ่นสูง เราจึงไม่เปรียบเทียบเรื่องความแข็งแรง แต่มักจะคำนึงถึงค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัวก่อนขาด (elongation at break) และแรงดึงที่จุดขาด (load at break) แทน นอกจากนี้พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีการคืนตัวกลับได้ดีด้วย (recovery property) จึงต้องมีการเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโซ่โมเลกุลด้วยการเชื่อมขวาง (crosslink) ซึ่งจุดที่เชื่อมขวางนี้ควรจะอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม เนื่องจากหากถี่เกินไป ยางที่ได้จะมีลักษณะแข็งไม่ยืดหยุ่น ในขณะที่ถ้าห่างเกินไป ก็จะได้ยางที่มีลักษณะนิ่มเกินไป สารละลายและลาเทกซ์ ใช้งานในรูปของพอลิเมอร์ที่กระจายตัวในของเหลวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวทำละลายของพอลิเมอร์เอง หรือกระจายตัวเป็นอิมัลชันในน้ำ ลักษณะการใช้งานคือเป็น กาว สีทาบ้าน เชลแล็ค หรือ สารเคลือบผิวอื่น ๆ พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ควรจะกระจายตัวได้ดี และมีความสามารถในการเชื่อมขวางได้ในสภาวะที่มีแสง หรือแก๊สออกซิเจนได้ หรือไม่ก็สามารถที่จะนำตัวเองไปเกี่ยวพัน (entanglement) กับวัสดุอื่น ๆ ได้", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "302045#0", "text": "โคพอลิเมอร์ หรือ เฮเทอโรพอลิเมอร์ () คือพอลิเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์สารมอนอเมอร์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มีความหมายโดยทั่วไปตรงข้ามกับโฮโมพอลิเมอร์ซึ่งสังเคราะห์จากมอนอเมอร์เพียงชนิดเดียว กระบวนการสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ (Copolymerization) ยังอ้างอิงไปถึงวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีในการสังเคราห์โคพอลิเมอร์", "title": "โคพอลิเมอร์" }, { "docid": "8314#13", "text": "คุณสมบัติทางโครงสร้างของพอลิเมอร์เกี่ยวข้องกับการจัดตัวทางกายภาพของลำดับโมโนเมอร์ตลอดแกนหลักของสาย โครงสร้างมีอิทธิพลต่อคุณสมบัติอื่นๆ ของพอลิเมอร์ ตัวอย่างเช่น พอลิเมอร์สายตรงอาจจะละลายหรือไม่ละลายในน้ำขึ้นกับว่าหน่วยย่อยนั้นมีขั้วหรือไม่ แต่ในกรณีของยางธรรมชาติ ยางธรรมชาติสองชนิดอาจจะแสดงความทนทานต่างกันแม้จะมีหน่วยย่อยเหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์พยายามพัฒนาวิธีการเพื่ออธิบายทั้งธรรมชาติของหน่วยย่อยและการจัดเรียงตัว", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "8314#4", "text": "มีการเรียกชื่อพอลิเมอร์หลายวิธี พอลิเมอร์ที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ใช้ชื่อสามัญที่เคยใช้ในอดีตมากกว่าชื่อที่ตั้งตามแบบมาตรฐาน ทั้งสมาคมเคมีอเมริกันและไอยูแพกได้กำหนดการตั้งชื่อแบบมาตรฐานซึ่งมีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด ชื่อที่เป็นมาตรฐานทั้งสองระบบเป็นชื่อที่แสดงถึงชนิดของหน่วยย่อยที่ประกอบเป็นพอลิเมอร์มากกว่าจะบอกถึงธรรมชาติของหน่วยที่ซ้ำๆกันในสาย ตัวอย่างเช่น พอลิเมอร์ที่สังเคราะห์จากเอทิลีนเรียกว่าพอลิเอทิลีน ยังคงลงท้ายด้วย –อีน แม้ว่าพันธะคู่จะหายไประหว่างกระบวนการเกิดพอลิเมอร์", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "97837#0", "text": "รศ.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย (6 พฤศจิกายน 2509-) เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาฟิสิกส์พอลิเมอร์ ประจำปี พ.ศ. 2543 เป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยด้านพอลิเมอร์ โดยเฉพาะเส้นใยพอลิเอทิลีนความแข็งแรงสูง และการผลิตวัสดุคอมพอสิทจากเส้นใยนี้ รวมทั้งมีผลงานการประดิษฐ์คิดค้น ต้นแบบเกราะกันกระสุนที่พัฒนาเส้นใยพอลิเอทิลีนจากวัตถุดิบภายในประเทศ\nรศ.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย หรือ รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย จบปริญญาตรี สาขาเคมีอุตสาหกรรม จากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์พอลิเมอร์ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ Leeds ประเทศอังกฤษ ", "title": "ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย" }, { "docid": "8314#0", "text": "พอลิเมอร์[1][2] (English: polymer) ความหมายของพอลิเมอร์นั้นก็มาจากรากศัพท์กรีกสำคัญ 2 คำ คือ Poly (จำนวนมาก) และ Meros (ส่วน หรือ หน่วย) พอลิเมอร์เป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) พอลิเมอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยซ้ำกัน (repeating unit) ของมอนอเมอร์ (Monomer) หลายๆหน่วยมาทำปฏิกิริยากัน มอนอเมอร์นี้จัดเป็นสารไมโครโมเลกุล (Micromolecule) ชนิดหนึ่ง พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด จัดเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[734,753,3,3]}'>โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) แต่ถ้ามีมอนอเมอร์ต่างกันตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป จัดเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[820,837,3,3]}'>โคพอลิเมอร์ (Copolymer) สารบางอย่างที่มีสมบัติอย่างพอลิเมอร์ เช่น สารพวกไขมันที่มีแต่ละหน่วยที่ไม่ซ้ำกันนั้นจะเป็นเพียงแค่สารแมคโครโมเลกุลเท่านั้น ไม่จัดเป็นพอลิเมอร์", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "8314#12", "text": "Thermoplastic polymers เป็นพอลิเมอร์สายตรงหรือกิ่ง ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุล ส่งผลให้สายโซ่โมเลกุลขยับตัวง่ายเมื่อได้รับแรงหรือความร้อน สามารถหลอมและไหลได้เมื่อได้รับความร้อน เป็นส่วนประกอบหลักในพลาสติกอ่อน เช่น Polyethylene ในถุงพลาสติก Elastomers เป็นพอลิเมอร์ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุลเล็กน้อย ซึ่งทำหน้าที่ดึงสายโซ่โมเลกุลกลับมาให้อยู่ในสภาพเดิม เมื่อปล่อยแรงกระทำ Thermosetting polymers เป็นพอลิเมอร์ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุลอย่างหนาแน่น ส่งผลให้สายโซ่โมเลกุลขยับตัวยากเมื่อได้รับแรงหรือความร้อน วัสดุที่มีพอลิเมอร์ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบหลัก จึงรับแรงได้ดี และไม่หลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน อย่างไรก็ตาม เมื่อความร้อนสูงถึงอุณหภูมิสลายตัว (Degradation temperature) วัสดุจะสลายตัวไปเนื่องจากพันธะเคมีแตกหัก พอลิเมอร์ชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบหลักในพลาสติกแข็ง เช่น ถ้วยชามเมลามีน หลังคาไฟเบอร์ (Thermosets เสริมใยแก้ว)", "title": "พอลิเมอร์" }, { "docid": "8314#15", "text": "ชนิดของคุณสมบัติของพอลิเมอร์แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็นหลายหมวดขึ้นกับความละเอียด ในระดับนาโนหรือไมโครเป็นคุณสมบัติที่อธิบายลักษณะของสายโดยตรงโดยเฉพาะโครงสร้างของพอลิเมอร์ ในระดับกลาง เป็นคุณสมบัติที่อธิบายสัณฐานของพอลิเมอร์เมื่ออยู่ในที่ว่าง ในระดับกว้างเป็นการอธิบายพฤติกรรมโดยรวมของพอลิเมอร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติในระดับการใช้งาน", "title": "พอลิเมอร์" } ]
2286
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "908995#0", "text": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (27 มกราคม พ.ศ. 2432 - 8 กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี พระป่ากรรมฐานศิษย์องค์สำคัญของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" } ]
[ { "docid": "908995#2", "text": "หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นามเดิมชื่อ สิงห์ บุญโท ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู เอกศก จุลศักราช 1251 ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2432 ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในปัจจุบันคือ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ บิดาชื่อ \"เพียอินทวงษ์ (อ้าน บุญโท)\" มารดาชื่อ \"หล้า บุญโท\" ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน (บุตรคนที่ 5 คือ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.ธ.5 พระน้องชายของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#4", "text": "ปี พ.ศ. 2449 เมื่อท่านอายุ 17 ปี ได้ย้ายไปอยู่ วัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ให้ยิ่งขึ้น และได้บวชซ้ำเป็นสามเณรธรรมยุตในสำนักพระครูสมุห์โฉม ณ วัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในปัจจุบันคือ วัดสุทัศนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#9", "text": "ปี พ.ศ. 2463 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ธุดงค์วิเวกไปพักจำพรรษาเพียงลำเพียงรูปเดียว ณ ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เมื่อได้โอกาสดีจึงเร่งความเพียรแต่ต้นพรรษา จนถึงกลางเดือน 9 ได้เกิดความอัศจรรย์ทางจิต เกิดความรู้ความเห็นแจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย จึงเร่งความเพียรต่อไปตลอดไตรมาส ได้เกิดความเข้าใจว่า \"\"พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชวาที (ผู้จำแนกธรรม) ตรัสจำแนกขันธ์ 5 ในตัวเรา หรือ กายกับใจ ออกเป็นพระธรรมวินัยถึง 84000 พระธรรมขันธ์ เมื่อกล่าวความจริงแล้ว ตัวคนเรา หรือ กายกับใจ นี้เป็นตัวอริยสัจทั้ง 4 คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รวมกันเป็นธรรมแท่งเดียว\"\" ในตอนนี้ท่านบันทึกต่อว่า \"\"ความรู้ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ละเอียดเฉียบแหลมคมคายมาก รู้จักตัดสินพระธรรมวินัยได้เด็ดขาด ทำให้การปฏิบัติพระธรรมและพระวินัยเป็นไปอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคงและกล้าหาญ\"\"", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#5", "text": "ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านอายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 โดยมี \"พระศาสนดิลก (อ้วน ติสฺโส)\" ต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่ \"สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)\" เป็นพระอุปัชฌาย์ \"พระมหาเสน ชิตเสโน\" ต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่ \"พระสาสนดิลก\" เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ \"พระปลัดทัศน์\" เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้พำนักจำพรรษา ณ วัดสุทัศน์ เมืองอุบลราชธานี แห่งนี้ ในปัจจุบันคือ วัดสุทัศนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#6", "text": "ปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับจากเขาสาริกา จังหวัดนครนายก ไปพักจำพรรษา ณ วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า ท่านได้สำเร็จธรรมจากเขาสาริกา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้ไปศึกษากรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านให้กรรมฐาน \"กายคตาสติ\" ข้อ \"ปัปผาสะ ปัญจกะ\" (คือ \"หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ\") ให้เป็นบทบริกรรม ในช่วงปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมกับเพื่อนสหธรรมิกคือ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้ฝึกทำสมาธิกับครูบาอาจารย์ จิตใจสงบดี มีความสังเวชสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในการประกอบคันถธุระ เชื่อแน่ว่ายังไม่หมดเขตสมัยมรรคผลนิพพาน เพราะหนทางการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ จึงตกลงบำเพ็ญด้านวิปัสสนาธุระสืบไป และได้ออกธุดงค์ติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับแต่นั้นมาไป ซึ่งท่านได้ธุดงค์วิเวกตามป่าเขาสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#24", "text": "ปี พ.ศ. 2489 ในขณะที่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กลับไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา นั้น พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ณ ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้บัญชาให้จัดพิธีฌาปนากิจโดยไม่ชักช้า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้จัดพิธีฌาปนากิจ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2489", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#7", "text": "ปี พ.ศ. 2460 หลังออกพรรษา พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับ \"เด็กชายเทสก์ เรี่ยวแรง\" เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของพี่ชายและน้องชาย ต่อมาพี่ชายได้ถึงแก่กรรม ส่วนน้องชาย คือ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล หายป่วยและได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#21", "text": "ปี พ.ศ. 2485 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น เพื่อรับสรีระสังขาร หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งได้มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประกอบพิธีฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#23", "text": "ปี พ.ศ. 2487 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจาก พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระน้องชายอาพาธและพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญแห่งนี้ อีกทั้ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ก็อาพาธและได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯก็ได้บัญชาให้ท่านมาอยู่พำนักจำพรรษาในที่ใกล้ๆไปมาเยี่ยมเยียนกันได้ง่าย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#10", "text": "หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2463 ท่านได้เดินทางไปหาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งพำนักอยู่ที่จังหวัดสกลนคร และธุดงค์ติดตามต่อไปในเขตจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และในช่วงนี้ได้ท่านได้พำนักกับ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกด้วย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#13", "text": "ปี พ.ศ. 2470 ในวันเพ็ญ เดือน 3 ก่อนเข้าพรรษา คณะพระธุดงค์กรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปักหลักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดประชุมคณะสงฆ์ขึ้นในช่วงวันมาฆบูชา ซึ่งในการนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ปรารภถึงการออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังเพื่อพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติอันเป็นธรรมอันสูงสุด และได้มอบภารธุระทุกอย่างให้แก่ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ศิษย์อาวุโสเป็นผู้บริหารปกครองหมู่คณะสงฆ์ แนะนำพร่ำสอน ตามแนวทางที่ท่านได้ให้ไว้แล้วต่อไป", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#14", "text": "ปี พ.ศ. 2471 \"พระครูพิศาลอรัญเขต\" ในกาลต่อมาก็คือ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้ทำหนังสือไปนิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์อาวุโสในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ให้มาช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาธรรมปฏิบัติให้แก่ประชาชนจังหวัดขอนแก่น ท่านจึงได้กราบเรียนปรึกษาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อเห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว จึงมอบให้เป็นหน้าที่ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม รับนิมนต์", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#20", "text": "ในปีนี้ ช่วงที่พำนักอยู่ \"วัดป่าไพโรจน์\" พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นประธานในการจัดงานถวายมุทิตาจิต หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล อายุครบ 80 ปี โดยจัดขึ้น ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" } ]
1993
คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารใช่หรือไ่ม่?
[ { "docid": "65750#2", "text": "คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้องอพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่ กับการแสวงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อ การอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มีด และเข็ม เป็นต้น", "title": "ยุคหินเก่า" } ]
[ { "docid": "462153#4", "text": "หมีแว่น เป็นหมีที่กินผลไม้เป็นอาหารหลัก ที่ชื่นชอบมากที่สุดคือ พืชในวงศ์มะม่วง และพืชในวงศ์สับปะรดที่เกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในยอดไม้ โดยเฉพาะส่วนของก้านใบที่สดช่ำ และก็กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง เป็นอาหารเสริมได้ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีคำกล่าวอ้างจากชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่ของหมีแว่น ยืนยันว่า หมีแว่นเป็นสัตว์ที่ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหารด้วย เช่น ปศุสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงแมวป่าด้วย จึงทำให้หมีแว่นถูกล่าจากเหตุนี้ รวมถึงการถูกล่าเพื่อนำไปเป็นอาหารและการค้าด้วย", "title": "หมีแว่น" }, { "docid": "175829#1", "text": "โคกพนมดีเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายเกาะที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม มีรูปร่างค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๓๐ เมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒๘ ไร่ จุดสูงสุดจากพื้นที่โดยรอบประมาณ ๑๒ เมตร อยู่ในตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม ผลการศึกษาพบว่า โคกพนบดีเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่สามารถสร้างเครื่องมือหิน (ขวานหินขัด หินลับ หินบด ค้อนหิน หินกรวดสำหรับขัดผิว ภาชนะและกำไลหิน) เครื่องมือที่ทำจากกระดูกสัตว์เช่น ฉมวก เครื่องมือที่ทำจากหอยเช่น มีด สิ่ว เครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย และภาชนะดินเผาแบบเชือกทาบ เป็นชุมชนที่อพยพ และเปลี่ยนแปลงมาจากสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งมักอาศัยอยู่ในที่สูงดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และแสวงหาอาหารจากธรรมชาติ ต่อมาอพยพลงมาอยู่ที่โคกพนบดี ซึ่งในครั้งนั้นเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งจากป่าและทะเล มีผู้เสนอข้อคิดเห็นว่าเนินดินแห่งนี้เป็น shell Mound สมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเซียอาคเนย์ ต่อมาผู้คนเหล่านั้นก็เริ่มพัฒนาการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกแบบเริ่มแรก ควบคู่กันไปกับการแสวงหาอาหารจากทะเล และล่าสัตว์", "title": "โคกพนมดี" }, { "docid": "156950#0", "text": "ชุมชนตำบลคูเต่า ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มตอนปลายของคลองอู่ตะเภาและส่วนหนึ่งติดชายฝั่งทะเลสาบสงขลา มีที่ราบลุ่มผืนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาในอดีต และมีพื้นที่ทำสวนอยู่เล็กน้อยจากสภาพการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ดังกล่าวจึงทำให้คนส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำการเกษตร ทำนา ทำสวน และการประมงหาปลา แต่ในอดีตผู้คนจะทำมาหากิน เพื่อการเลี้ยงชีพเป็นส่วนใหญ่ เช่น เลี้ยงวัวไว้ไถนา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไว้กินเศษอาหารในครัวเรือน ทำนาเก็บข้าวไว้กิน ปลูกพืชผักไว้กินในครัวเรือน แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีผลผลิตที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในครัวเรือน หาปลาแลกข้าว เลี้ยงหมูไว้แบ่งปันกันกิน เป็นต้น ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนจะอยู่แบบเรียบง่าย มีการพึ่งพาอาศัยกันสูงมาก ฐานะของคนในชุมชน จึงเป็นลักษณะพออยู่พอกิน", "title": "เทศบาลตำบลคูเต่า" }, { "docid": "11611#83", "text": "โดยทั่วไป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปกับการเสาะแสวงหาอาหาร ซึ่งสภาพภูมิอากาศจะมีผลกระทบต่อการหาอาหารด้วยเช่นกัน ในเขตอบอุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงของอาหารตามฤดูกาล มีความเด่นชัด เช่นช่วงฤดูร้อน อาหารจะอุดมสมบูรณ์ สามารถหาได้ง่ายต่อการดำรงชีวิต แต่ในฤดูหนาว อาหารจะเริ่มหายากและขาดแคลน ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดที่กินสัตว์เป็นอาหาร ต้องออกเดินทางเพื่อเสาะแสวงหาอาหารเพื่อการอยู่รอด ทำให้ต้องเดินทางไกลเพื่อหลีกหนีจากสภาพการขาดแคลนอาหาร", "title": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม" }, { "docid": "487298#2", "text": "มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง อาจถึง 200-300 ตัว มีตัวผู้ขนาดใหญ่เป็นจ่าฝูง หากินผลไม้ เมล็ดพืช ตลอดจนสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมงป่องและแมงมุมโดยการพลิกก้อนหินหา หรือแม้กระทั่งล้มสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ไก่ฟ้า หมูป่า หรือแอนทิโลปที่เป็นตัวลูกหรือตัวขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ ลิงบาบูนขึ้นชื่อว่าเป็นลิงที่มีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เนื่องจากเป็นลิงที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก โดยอาจโจมตีทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย แต่กระนั้นก็ยังมีผู้นำมาฝึกให้เล่นละครลิงหรือละครสัตว์ได้", "title": "ลิงบาบูน" }, { "docid": "856053#5", "text": "กวางมูสหรือเอลก์สูญพันธุ์ไปจากเกาะบริเตนใหญ่ตั้งแต่ยุคสำริดซึ่งโครงกระดูกที่พบในประเทศสกอตแลนด์นั้นมีอายุถึง 3,900 ปีแต่คำว่า elkก็ยังใช้เป็นชื่อกวางชนิดอื่นอยู่จนพจนานุกรมของศตวรรษที่ 18 ได้อธิบายว่าความหมายของคำว่า elk ว่าเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่เท่าม้ากวางมูสเป็นสัตว์กินพืชสมุนไพรและสามารถกินพืชหรือผลไม้ได้หลายชนิด กวางตัวเต็มวัยโดยเฉลี่ยนั้นจะต้องการกินอาหารมากกว่า 9,770 กิโลแคลโลรี่ (40.9 MJ) ต่อวันเพื่อรักษาน้ำหนักตัว พลังงานของกวางส่วนใหญ่ได้มาจากพืชซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หญ้าแต่จะเป็นยอดสดจากต้นไม้ เช่น วิลโลว์, เบิร์ช พืชเหล่านี้มีโซเดียมค่อนข้างต่ำจึงทำให้พวกมันต้องไปกินพืชน้ำที่จะให้โซเดียมเพิ่ม", "title": "กวางมูส" }, { "docid": "92211#20", "text": "ประเภทที่สำคัญของพืช ได้แก่ซีเรียลและ pseudocereals(ซีเรียลที่ไม่ใช่พืชตะกูลหญ้า) เมล็ดพืชที่กินได้ (เช่น เมล็ดถั่ว) อาหารสัตว์ และผักและผลไม้ พืชเฉพาะอย่างถูกปลูกในภูมิภาคที่กำลังเติบโตที่แตกต่างกันทั่วโลก หน่วยเป็นล้านตันโดยการประมาณการของ FAO", "title": "เกษตรกรรม" }, { "docid": "136685#18", "text": "แรดชวาเป็นสัตว์กินพืชและกินได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะ หน่อ กิ่ง ใบ และผลไม้ที่ตกลงบนพื้นดิน พืชหลายชนิดเติบโตในบริเวณพื้นที่โล่ง ป่าโปร่ง ป่าไม้พุ่ม แรดจะรื้อไม้หนุ่มลงมาเพื่อหาอาหารและคว้าจับด้วยริมฝีปากบน มันไม่ใช่นักกินที่ปรับตัวเก่งเหมือนแรดชนิดอื่น แรดชวาเป็นสัตว์เล็มกินและอาจเป็นทั้งสัตว์เล็มกินและสัตว์เล็มหญ้า แรดกินอาหารประมาณ 50 กก.ต่อวัน แรดชวาเหมือนกับกระซู่ มันจำเป็นต้องกินเกลือเป็นอาหาร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นดินโป่ง แต่ไม่ใช่แรดในอูจุงกูลน แรดชวาที่นั่นดื่มน้ำทะเลที่มีสารอาหารที่มันต้องการเหมือนกับดินโป่งแทน", "title": "แรดชวา" }, { "docid": "674066#4", "text": "อีกทั้งฮิปโปโปเตมัสแคระ ยังมีอุปนิสัยและพฤติกรรมต่างจากฮิปโปโปเตมัสอีกด้วย กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่รักสันโดษ อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ขี้อาย และหวาดกลัวมนุษย์ เป็นสัตว์ที่แม้ประสาทการมองเห็นไม่ดี แต่ประสาทการดมกลิ่นนั้นดีเยี่ยม กินอาหารจำพวก พืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น มันเทศ, ผลไม้ที่หล่นตามพื้น, หญ้า รวมถึงกินดินโป่งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ร่างกายเหมือนกับสัตว์กินพืชชนิดอื่นด้วย โดยจะพบกระจายพันธุ์ได้เฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำในป่าดิบชื้นของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น คือ แถบประเทศไลบีเรีย, กินี, เซียร์ราลีโอน และโกตดิวัวร์ พฤติกรรมโดยทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด รวมถึงมีภาพบันทึกความเป็นอยู่ในธรรมชาติทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้น เท่าที่ทราบ คือ เป็นสัตว์หากินกลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวหรือแช่น้ำ จะรวมตัวกันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ มีแหล่งอาศัยโดยใช้เขี้ยวคู่หน้าที่แหลมยาวขุดโพรงดินริมตลิ่งน้ำใช้เป็นที่อยู่อาศัย ในที่ ๆ มีกิ่งไม้หรือรากไม้หรือวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ มาปกปิดไว้ ความยาวของโพรงอาจยาวได้ถึง 9 เมตร นับว่าใหญ่กว่าขนาดตัวของฮิปโปโปเตมัสแคระมาก และอาจมีทางเข้ามากกว่าหนึ่งทาง โดยจะดำน้ำเข้าไป และเชื่อว่าใช้เป็นที่เลี้ยงดูลูกอ่อนด้วย\nแม้ฮิปโปโปเตมัสแคระจะเป็นสัตว์ที่สันโดษ อยู่อาศัยและหากินเพียงตัวเดียว แต่จากการศึกษาก็พบว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระสามารถใช้เส้นทางการหากินร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวได้ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย แม้จะไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ฮิปโปโปเตมัสแคระมีการประกาศอาณาเขตด้วยการถ่ายปัสสาวะและมูลโดยใช้หางสะบัดใส่ตามโคนต้นไม้หรือตามทางเดินหาอาหาร และมีทฤษฎีว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระมีพฤติกรรมในการปล่อยฟีโรโมนคล้ายแมว เมื่อฮิปโปโปเตมัสแคระตัวเดิมเดินมาพบกับฟีโรโมนของตัวเอง จะเป็นแรงกระตุ้นให้รู้สึกสดชื่นและคึกคัก", "title": "ฮิปโปโปเตมัสแคระ" }, { "docid": "126418#3", "text": "หมีกริซลี สามารถกินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืช, ผักผลไม้เป็นอาหาร เช่น ผลไม้จำพวกเบอร์รี แต่อาหารหลักของหมีกริซลีแล้วจะเป็นปลา", "title": "หมีกริซลี" }, { "docid": "838434#4", "text": "ความคิดทางด้านโภชนาการของเบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์ตรงข้ามกับความเชื่อในสมัยนั้น ความคิดหลายอย่างของเขามาจากการสังเกตโดยไม่ได้ผ่านการทดลองและการวิเคราะห์ ด้วยเหตุนี้ เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์จึงถูกวิจารณ์อย่างหนักและไม่ค่อยได้รับความเคารพในฐานะนักโภชนาการ บทวิจารณ์หนึ่งในหนังสือสูตรอาหารของเขากล่าวว่า มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถรับประทานแค่ผักและผลไม้สดอย่างที่เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์แนะนำ เพราะว่าคนไม่ใช่สัตว์กินพืช", "title": "มักซีมีเลียน เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์" }, { "docid": "83597#4", "text": "พืชพรรณของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น\nป่าดงดิบ เป็นป่าผืนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันประกอบด้วยป่าดิบชื้นในพื้นที่ต่ำและป่าดิบชื้นเชิงเขา มีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เช่น ยางปาย ยางแดง ตะเคียนทอง พะยอม ไข่เขียว กระบาก สยา มะคะ มะหาดรุม ทุ้งฟ้า มะม่วงป่า จวง แซะ เต่าร้าง หมากพน ไม้เถาและพืชชั้นล่างประกอบด้วย หวายเล็ก หวายกำพวน และเฟินแผง เป็นต้น\nพื้นป่าดงดิบของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน เป็นที่อยู่ของซาไกหรือเงาะป่า เจ้าของสมญา “ราชันย์แห่งพงไพร”เผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งสัมผัสและรู้จักผืนป่าทุกตารางนิ้ว ชำนาญการใช้พื้นป่าในการดำรงชีวิตและรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชในลักษณะของยารักษาโรค และอาหารเหนือเผ่าพันธุ์มนุษย์เผ่าใด ๆ การดำรงชีพจะอาศัยผลไม้พืชผักที่มีอยู่ในป่าเป็นอาหารไม่รู้จักการเพาะปลูก นิยมการล่าสัตว์โดยการใช้กระบอกตุดหรือบอเลาคู่กับลูกดอกอาบยางน่องหรือบิลา ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึกมีอุปนิสัยชอบเร่ร่อนและรักสงบทำที่พักจากใบไม้ในป่าที่พักเรียกว่าทับ เมื่อใบไม้ที่มาทำทับเหี่ยวก็จะเร่ร่อนหาแหล่งที่อยู่ใหม่ต่อไป\nในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีซาไกอยู่กลุ่มเดียวมีสมาชิกจำนวน 9 คน ปัจจุบันวิธีชีวิตของซาไกได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจากการได้สัมผัสกับสังคมของคนเมืองมากขึ้นและส่วนหนึ่งจากการดำรงชีวิตในป่าเริ่มฝืดเคืองขึ้น เนื่องจากป่าถูกบุกรุกและถูกทำลาย แต่อย่างไรก็ตามซาไกก็ยังเป็นชนเผ่าดั้งเดิมเผ่าสุดท้ายที่มีอยู่ในป่าทะเลบัน\nป่ารุ่นหรือป่าเหล่า อยู่บริเวณตอนกลางเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบันแถบทุ่งหญ้าวังประ มีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีหญ้าคาขึ้นอยู่หนาแน่น มีไม้เบิกนำขึ้นผสมกับพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พันธุ์พืชที่สำคัญได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ส้าน ปออีเก้ง โมกมัน มังตาน ผ่าเสี้ยน ยางมันหมู เสม็ดชุน กล้วยไม้ป่าชนิดต่าง ๆ และพืชชั้นล่าง เช่นไผ่ไร่ ไผ่หลอด และหญ้าชนิดต่าง ๆ เป็นต้น\nป่าชายเลน พบบริเวณชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน พันธุ์พืชที่พบได้แก่ โกงกาง ประสัก แสม โปรงขาว ตาตุ่มทะเล ถั่วขาว ตีนเป็ดทะเล เป้งทะเล ปรงทะเล และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น ในบึงน้ำจืดทะเลบันพรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกได้แก่ เทียนนา บอน บากง ผักบุ้ง ขี้เหล็กย่าน บัวสาย กกกอ หญ้าคมบาง กูดขม แขม และสาคู เป็นต้น", "title": "อุทยานแห่งชาติทะเลบัน" }, { "docid": "126854#1", "text": "พื้นที่ที่เป็นอำเภอโนนสังปัจจุบัน ได้ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มานับพันปีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือก่อนที่มนุษย์จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ เริ่มจากการดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน ตั้งชุมชนอยู่ที่ราบสูง ในถ้ำและริมฝั่งแม่น้ำ แสวงหาอาหารด้วยการจับปลา ล่าสัตว์ และพืชผักตามธรรมชาติ และมีการเลี่ยนแปลงทางสังคมมาเรื่อยๆ จนมาถึงการดำรงชีวิตในสังคมกสิกรรม อยู่รวมกันเป็นชุมชน มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องประดับ และหล่อโหะแบบต่างๆ หลักฐานที่ปรากฏในยุคแรกๆ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยและกุดค้อเมย ตำบลบ้านถิ่นและตำบลกุดดู่ ซึ่งพบโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ เศษภาชนะดินเผา เศษเครื่องประดับสำริด รวมทั้งเครื่องมือเหล็กต่างๆ ที่มีอายุร่วมสมัยกีบแหล่งโบรารคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี", "title": "อำเภอโนนสัง" }, { "docid": "11611#82", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น นม แรคคูน มนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ในอันดับไพรเมต ซึ่งตามปกติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินสัตว์ด้วยกันเป็นอาหารหลายชนิด จะใช้การกินพืชผักผลไม้เช่นลูกเบอรี่แทนในเวลาที่อาหารขาดแคลน เช่นสุนัขจิ้งจอกจะกินหนูและสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก หรือนกตัวเล็ก ๆ เป็นอาหาร แต่ถ้าอาหารภายในป่าเกิดการขาดแคลน ก็จะเปลี่ยนมากินผลไม้เช่นแอปเปิล มะเดื่อหรือข้าวโพดแทนเพื่อการอยู่รอด", "title": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม" }, { "docid": "142692#5", "text": "ในการเดินป่า นอกเหนือจากน้ำและผักผลไม้ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพแล้ว การล่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน ในเพชรพระอุมาพนมเทียนได้นำทักษะและความรู้ในการล่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหารสำหรับใช้ในการเดินทาง และสะท้อนมุมมองในการล่าสัตว์ด้วยอาวุธชนิดต่าง ๆ เช่น การใช้ปืนลูกซองสำหรับการล่าสัตว์ปีกเช่น นก ไก่ป่า การใช้ปืนลูกกรดสำหรับล่าสัตว์ขนาดเล็กเช่นเป็ดป่า เม่น หรือแม้แต่การใช้ปืนไรเฟิล สำหรับล่าสัตว์ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่เช่นกวาง เลียงผา เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนที่สุดคือสัตว์แทบทุกชนิดเช่น แย้ งู ช้าง ลิง ค่าง หมูป่า นก วัวป่า กิ้งก่า แรด ทุกประเภทในป่า สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้โดยผ่านการทำให้สุกและสะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ", "title": "การเดินป่าในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "3812#8", "text": "ผลไม้เป็นรังไข่ของพืชที่สุกแล้ว รวมทั้งเมล็ดที่อยู่ข้างใน พืชจำนวนมากมีผลไม้วิวัฒนาแล้วซึ่งมีลักษณะดึงดูดเป็นแหล่งอาหารแก่สัตว์ เพื่อที่ว่าสัตว์จะได้กินผลไม้นั้นและขับถ่ายเอาเมล็ดพืชไกลออกไป ดังนั้น ผลไม้จึงเป็นส่วนสำคัญในอาหารหลายวัฒนธรรม ผลไม้สวนครัว อย่างมะเขือเทศ มะละกอ และมะเขือ กินเหมือนผัก", "title": "อาหาร" }, { "docid": "11611#55", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์ที่มีแหล่งอาหารหลากหลายรูปแบบ บางชนิดต้องการอาหารเฉพาะอย่าง บางชนิดต้องการอาหารแล้วแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย แต่โดยรวมลักษณะนิสัย การกินอาหารและการล่าเหยื่อ รวมทั้งโครงสร้างทางสรีรวิทยา จะมีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก โดยการปรับตัวเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการจู่โจมเหยื่อและการป้องกันตัว ความสามารถในการเสาะแสวงหาอาหารตามต้องการ การล่าเหยื่อ การกลืนกินและการเคี้ยวรวมถึงการย่อยอาหาร ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปร่างและลักษณะนิสัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม", "title": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม" }, { "docid": "438689#3", "text": "ไฮแรกซ์ เป็นสัตว์กินพืช สามารถกินพืชได้หลากหลายประเภท ทั้งเมล็ดหรือหญ้า และยังกินพืชที่มีหนามและมีพิษได้อีกด้วย และเป็นสัตว์ที่สามารถปีนป่ายก้อนหินหรือโขดหินได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบอาบแดดในเวลาเช้าแล้วจึงออกหาอาหาร โดยจะกินอย่างรวดเร็วและหันหลังชนกันและหันหน้าออกเพื่อจะคอยระวังสัตว์กินเนื้อ นอกจากนี้แล้วไฮแรกซ์ยังไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะออกมาหาอาหารใกล้ ๆ กับชุมชนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่เสมอ ๆ ", "title": "อันดับไฮแรกซ์" }, { "docid": "777656#2", "text": "ตามสมมติฐานวิ่งทน (endurance running hypothesis) การวิ่งระยะไกล ๆ เพื่อตามล่าสัตว์ ซึ่งยังเป็นวิธีที่มนุษย์นักล่า-เก็บพืชผลในปัจจุบันยังใช้อยู่ น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนวิวัฒนาการของลักษณะมนุษย์บางอย่าง\nซึ่งเป็นสมมติฐานที่ไม่ได้ขัดแย้งกับสมมติฐานบริโภคซากสัตว์ กลยุทธ์การดำรงชีวิตทั้งสองอาจจะได้ใช้ ไม่ว่าจะสืบต่อกัน สลับกัน หรือแม้แต่พร้อม ๆ กัน\nการล่า-เก็บพืชผลเชื่อว่าเป็นกลยุทธ์พอดำรงชีวิตที่ใช้ในสังคมมนุษย์เริ่มตั้งแต่ 1.8 ล้านปีก่อน โดยมนุษย์พันธุ์ \"Homo erectus\" และเริ่มตั้งแต่ 200,000 ปีก่อนโดยมนุษย์พันธุ์ปัจจุบันคือ \"Homo sapiens\"\nเป็นวิธีการพอดำรงชีวิตอย่างเดียวจนกระทั่งที่สุดของยุคหินกลางประมาณ 10,000 ปีก่อน ซึ่งหลังจากนี้สังคมเกษตรกรรมจึงค่อย ๆ แพร่กระจายออกไปทั่วโลก\nคือ เริ่มตั้งแต่ระหว่างยุคหินเก่าตอนกลางและตอนปลายประมาณ 70,000-80,000 ปีก่อน สังคมกลุ่มต่าง ๆ ก็เริ่มจะมีความชำนาญพิเศษในการล่าสัตว์ที่ใหญ่กว่าแต่เป็นจำนวนพันธุ์ที่น้อยกว่า และเก็บพืชผลเป็นจำนวนพันธุ์ที่น้อยกว่าด้วย\nซึ่งมีผลให้สร้างอุปกรณ์เฉพาะงาน เช่นอวนปลา เบ็ดปลา และฉมวกที่ทำด้วยกระดูก\nส่วนการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ยุคหินใหม่ต่อมา เป็นการพัฒนาเทคนิคทางเกษตรกรรมเบื้องต้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน\nสังคมเกษตรกรรมจึงเกิดขึ้นและกระจายไปจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ รวมทั้งในตะวันออกกลาง เอเชีย เมโสอเมริกา และเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่ 12,000 ปีก่อน", "title": "นักล่า-เก็บของป่า" }, { "docid": "142692#4", "text": "พนมเทียนได้นำเอาทักษะและการเรียนรู้เกี่ยวกับการแสวงหาพืชผักผลไม้สอดแทรกไว้ในเพชรพระอุมา ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเดินป่าเช่นเดียวกับแหล่งน้ำตามธรรมชาติ สำหรับผักและผลไม้นั้นเป็นอาหารที่มีความสำคัญในการดำรงชีพในป่า พนมเทียนจึงได้กำหนดให้รพินทร์ ไพรวัลย์ แงซาย และตัวละครอื่น ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้ ว่าชนิดใดสามารถรับประทานได้ ชนิดใดเป็นพิษต่อร่างกาย เช่นกล้วยป่าที่มีร่องรอยการกัดแทะของสัตว์ขนาดเล็กเช่น กระรอก กระแต ค้างคาว สามารถนำมากินได้ หรือเป็นการอาศัยความคุ้นเคยในการกินอยู่ทั่วไป เช่นเผือก มัน มันมือเสือที่แงซายไปขุดหามาให้แก่หม่อมราชวงศ์ดาริน วราฤทธิ์ หรือการแยกแยะเห็ดชนิดต่าง ๆ เช่นเห็ดโคนที่ขึ้นตามโคนต้นไม้ที่สามารถรับประทานได้ หรือเห็ดเมาที่ทานแล้วจะมีพิษต่อร่างกาย ทำให้วิงเวียนศีรษะและมึนงง", "title": "การเดินป่าในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "11307#4", "text": "กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่ หญ้าและพืชผักชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายตามธรรมชาติจะอยู่ที่ 2-3 ปี หรือเต็มที่ก็ 5-10 ปี แต่กระต่ายเลี้ยงมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 7-12 ปี โดยอาหารได้แก่ หญ้าแห้ง80-90% อาหารเม็ด5-10% และผักผลไม้5% ", "title": "กระต่าย" }, { "docid": "11437#1", "text": "จากการค้นคว้าทางโบราณคดีพบว่ามีผู้อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นกว่า 100,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย คนโบราณที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคหินได้หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่ามาเป็นอาหาร อีกทั้งเมื่อประมาณ 30,000 กว่าปีก่อนได้มีวัฒนธรรมการทำหินเป็นมีดและการประดิษฐ์อาวุธเช่นหอกเข้ามาจากภาคพื้นทวีปมาสู่ดินแดนญี่ปุ่น ยุคนี้ยังคงดำรงเรื่อยมากระทั่งสิ้นสุดยุคน้ำแข็งสุดท้ายที่ได้สิ้นสุดลงในช่วงประมาณ 12,000 - 11,000 ปี ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ดินแดนญี่ปุ่นเว้นแต่หมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้จึงสิ้นสุดยุคหินเข้าสู่ยุคโจมง", "title": "ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น" }, { "docid": "777656#1", "text": "ในคริสต์ทศวรรษ 1950 มีนักโบราณคดีทรงอิทธิพลชาวอเมริกันท่านหนึ่งที่เสนอว่า มนุษย์ในยุคต้น ๆ ความจริงบริโภคซากสัตว์เป็นอาหาร ไม่ใช่ได้เนื้อโดยการล่า\nคือมนุษย์ในต้นยุคหินเก่าได้อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง จึงสามารถเก็บอาหารทะเล ไข่ ถั่ว และผลไม้ บวกกับการบริโภคซากสัตว์ได้\nตามทฤษฎีนี้ แทนที่จะฆ่าสัตว์ใหญ่ มนุษย์ได้เนื้อจากสัตว์ที่ถูกฆ่าโดยสัตว์ล่าเหยื่ออื่นหรือที่ตายด้วยเหตุธรรมชาติ\nและข้อมูลทางโบราณคดีและพันธุกรรมก็แสดงนัยว่า กลุ่มบรรพบุรุษมนุษย์ปัจจุบันที่เป็นนักล่า-เก็บพืชผลในยุคหินเก่ามีชีวิตอยู่ในป่าโปร่ง และแพร่กระจายไปในเขตที่อุดมสมบูรณ์อื่น ๆ โดยหลีกเลี่ยงป่าทึบ", "title": "นักล่า-เก็บของป่า" }, { "docid": "3648#49", "text": "การกินอาหารของคนในตะวันออกกลางจะมีความแตกต่างมากกับคนในเอเชียเราและอาหารหลักของทุกชนชั้นของคนอียิปต์ นั้น คือ ขนมปัง หัวหอม พวกผักต่างๆ แล้วก็ปลาแห้ง นอกจากนี้ คนอียิปต์จะมีน้ำเชื่อมซึ่ง ทำจากผลไม้ อาทิเช่นพวก องุ่น เพื่อให้ได้รสหวานและจะกินกับขนปังซึ่งจะใช้ขนมปังจิ้มกับน้ำเชื่อม และนอกจากนั้น ยังมีการใช้ในน้ำผึ้ง เกลือ กระเทียม หัวหอม ในการปรุงรสให้อร่อยด้วย และนอกจากขนมปังแล้วเขาจะกินโยเกิตย์พร้อมๆกับเมนูอาหารหลักอีกด้วยส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้ก็มี สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อแกะ แพะ และเนื้อวัว", "title": "ประเทศอียิปต์" }, { "docid": "777656#19", "text": "แม้ว่า การล่าสัตว์-เก็บพืชผลจะเป็นวิธีการพอดำรงชีพของมนุษย์ทั่วยุคหินเก่า ถึงกระนั้น สังเกตการณ์ในกลุ่มนักล่าสัตว์-เก็บพืชผลในปัจจุบันอาจจะไม่สะท้อนถึงสังคมในยุคหินเก่าจริง ๆ\nเพราะว่า สังคมเช่นนี้ที่ตรวจสอบในสมัยปัจจุบัน มีการติดต่อกับอารยธรรมอื่น ๆ และไม่ได้อยู่ในสถานะที่ \"บริสุทธิ์\" โดยขาดการติดต่อกับโลกปัจจุบัน", "title": "นักล่า-เก็บของป่า" }, { "docid": "142692#2", "text": "การหาอาหารสำหรับการดำรงชีพในป่าตลอดระยะเวลาในการเดินทาง เป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดของพรานนำทาง พรานป่าและนักเดินป่าที่นิยมท่องเที่ยวสัมผัสกับธรรมชาติในป่า พนมเทียนได้นำเอาส่วนสำคัญที่สุดในการเดินป่าของพรานล่าสัตว์ คือการเสาะแสวงหาอาหาร สอดแทรกผ่านทางตัวละครในเพชรพระอุมาอย่างละเอียดและมีความชัดเจน เช่นการหาเสาะแสวงหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติสำหรับดื่มกินและชำระร่างกาย การเสาะแสวงหาพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตลอดจนการล่าสัตว์ ดังนี้", "title": "การเดินป่าในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "185392#31", "text": "ด้านการดำรงชีพ ด้านอาหารอาศัยฐานทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งแหล่งน้ำและผืนป่าที่สมบูรณ์มากไปด้วย ทั้งพืชผักอาหารป่า ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์ป่า โดยการจับปลาใช้วิธีง่าย ๆ คือการใช้เบ็ด แห ฉมวก ยอ สุ่ม สวิง ฯลฯ การเป็นพรานป่าดักสัตว์ ด้วยการล่าเป็นอาหารเป็นหลัก ด้วยในอดีตบริเวณนี้มากไปด้วยสัตว์ป่า เช่น เก้ง หมูป่า ไก่ป่า ฯลฯ การจับสัตว์ป่าใช้ปืนแก๊ป ใช้แร้วดักสัตว์ เป็นต้น นอกจากนั้นก็เก็บหาของป่าเช่น เห็ดต่าง ๆ ดอกกระเจียว และสมุนไพร หน่อไม้ตามป่าริมน้ำ ผักต่าง ๆ จากในป่า ซึ่งมีอยู่อย่างมากมายหากินได้ตลอดทั้งปี\nจนถึงขนาดที่เรียกว่าชั่วหม้อน้ำเดือด หมายถึงว่า เมื่อชาวบ้านอยากกินอาหารป่าต้มเห็ด ต้มปลา พ่อบอกลูกชาย ลูกสาว ให้ตั้งหม้อต้มน้ำ เตรียมเครื่องปรุงรอ สักครู่พ่อออกไปที่ป่า หาเห็ด หรือปลา ก็กลับมาพร้อมกับของป่า ขณะที่หม้อน้ำที่ตั้งไฟเตรียมทำอาหารยังไม่ทันเดือด จนเป็นความภาคภูมิใจของคนที่ร่วมสมัยที่มีชีวิตอยู่เล่าเป็นตำนานบอกกับลูกหลานตนเอง ด้วยความภูมิใจและโหยหาอดีต ที่บ่งบอกสภาพความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น", "title": "ตำบลทุ่งมน (อำเภอปราสาท)" }, { "docid": "291098#5", "text": "มนุษย์ในยุคแรกๆ นิยมอาศัยอยู่ในถ้ำหรือตามโตรกผาต่างๆ เพื่อกันลมและฝน รวมไปถึงสายฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้องอีกด้วย เนื่องจากมนุษย์ในอดีตยังไม่เข้าใจหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หรือเกษตรกรรม จึงไม่รู้จักการสร้างบ้าน (มนุษย์ยุคหลังจากนั้นนิยมสร้างบ้านเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่สะอาดและสะดวกสบายกว่าถ้ำ และมักสร้างริมแม่น้ำเพื่อสะดวกในการเพาะปลูก) หรือการปลูกพืช เพียงแค่ล่าสัตว์และเก็บพืชผักสะสมอาหารเพื่อเอาชีวิตรอดเท่านั้น แต่ในช่วงยุคหลังๆมนุษย์เริมเข้าใจในหลักวิทยาศาสตร์ เลิกกลัวลมฟ้าอากาศ และเริ่มเข้าใจเรื่องระบบนิเวศ การเกษตรและการปศุสัตว์ จึงเริ่มหันมาปลูกบ้านเป็นที่อยู่ถาวร เลิกเร่ร่อนล่าสัตว์หรือเก็บของป่า แล้วมาเพาะปลูกพืชต่างๆแทน รวมไปถึงเริ่มรู้จักประโยชน์ของแม่น้ำ และสร้างบ้านใกล้แหล่งน้ำเพื่อเพาะปลูกและใช้อาบกิน", "title": "ปัจจัยสี่" }, { "docid": "11611#74", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินพืช จะมีการปรับตัวเพื่อการกินอาหารหลากหลายประการ เซลลูโลสซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตของพืช ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยของกลูโคลสจะเรียงตัวจับกันเป็นสายยาวด้วยพันธะทางเคมี ซึ่งจะมีน้ำย่อยอยู่เพียงไม่กี่ชนิดที่จะสามารถย่อยให้แตกสลายได้ สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดจะไม่มีเอมไซม์สำหรับย่อยสลายเซลลูโลส ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนอยู่ภายในส่วนของระบบทางเดินอาหาร ที่มีการหมักอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ แบคทีเรียจะทำหน้าที่ย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกรดไขมัน น้ำตาลและแป้ง เพื่อให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินพืชสามารถดูดซืมไปใช้เลี้ยงร่างกาย", "title": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม" } ]
2532
ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง มีรูปปั้นเทพเจ้ากี่องค์?
[ { "docid": "118160#0", "text": "หมวดหมู่::มีประวัติความเป็นมาการกินเจของศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ยุคแรก เริ่มก่อตั้งโดย กำนันตำบลเหนือคลอง ขุนชลาลัยพิศาล พวกสกุล เจียวก็ก โดยมีนายอังก๋าว เอ่งฉ้วน เป็นผู้จัดการเป็นคนแรกของอ๊ามเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง บ้านเหนือคลอง ประมาณ 140 ปีมาแล้ว สิ่งของที่ชาวบ้านเหนือคลองนำมาจากเมืองจีนทางเรือสำเภา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมกินเจในช่วงสมัยนั้น คือ 1. เก่ว(เกี้ยว) 2. ป้ายหนังสือจีน 3.ป้ายชื่อเทพเจ้า 4.หัวมังกรและน้ำเต้า 5.รูปมือ 6.รูปปั้นเทพเจ้า 3 องค์ คือ จ้อซู้ก๋ง , เล่าจ้อ , ยี่จ้อ ยุคที2เริ่มมีผู้ดำเนินการจัดให้มีการกินเจ มีการแสดงอยู่ประมาณ 2- 3 คืน ผู้ที่เทพเจ้าเข้าประทับทรง \" ม้าทรง \" มีประมาณ 6 คน ตลอดเวลาศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง จะมีผู้ดูแลจัดการภายในทุกๆด้าน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยความเสียสละตลอดมา คือ 1. นายสิ่ว เอี่ยนเล่ง 2. นายสมนึก เอ่งฉ้วน 3. นายสวัสดิ์ อริยวงศ์ แต่เดิมศาลเจ้าจะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังคามุงจาก กอปรกับจิตเลื่อมใสศรัทธาของชาวกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมกันบริจากทรัพย์ โดยที่ทางศาลเจ้าไม่เคยเรี่ยไรแม้แต่ครั้งเดียว จำนวนผู้คนที่มาร่วมกินเจก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นคนจีน คนไทยเชื้อสายจีน แม้กระทั่งคนไทยแท้ก็มาร่วมกินเจ มีผู้คนหลากหลายสาขาอาชีพ มีทั้นคนรวย มีทั้งคนจน ต่างก็มารับประทานอาหารหม้อเดียวกันในโรงเจ ปัจจุบันศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุก๋ง ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงศรัทธา ทำให้มีอาคารเพิ่มมากขึ้นหลายหลัง มีความสะอาด สะดวก และสบาย พร้อมที่จะต้อนรับทุกท่านได้เป็นอย่างดี ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุก๋ง ได้รับคัดเลือกจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยประกาศเกียรติคุณให้เป็นศาลเจ้าที่บริหารงานดีเด่น ปี 2538 และ ปี 2541 ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" } ]
[ { "docid": "118160#15", "text": "[[หมวดหมู่:จะมีขึ้นประมาณคืนที่ 7 ของงาน คณะกรรมการได้จัดเตรียมสถานที่ ดอกไม้ธูปเทียน และเหรียญ (ตามกำลังเทวดาประจำวันวันเกิด) เพื่อนำสิ่งของทั้งหมดไปบูชาดาวประจำตัว พิธีนี้ ถือว่าเป็นพิธีสำคัญเช่นกัน เพราะทุกคนจะมีดาวประจำตัวของตนเอง ในปีหนึ่งๆเราควรไหว้เทพเจ้าประจำวัน ที่ปกป้องคุ้มครองเราอยู่สักครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์มีดังนี้ 1.ไต้ซวยเอี้ยงเม้งทัมหลั่งไท้แชกุน 2.ไต้เจียกกิมเจ็กมิ้งง้วนแชกุน 3.ไต้ควงจิงหยิ๊งอกชุ้นกุน 4.ไต้เฮ้งเยี่ยงเม้งยุ้งเคียกนิวกุน 5.ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยมเจงกังแชกุน 6.ไต้ปั้งเก็กบู๊เคียกกี่แชกุน 7.ไต้เพียงเทียนกานผั่วกวงแชกุน 8.ตั่งเม้งงั่วหูแชกุน 9.อุ้นกอไล่เพี๊ยกแชกุน]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#6", "text": "คนกินเจได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#2", "text": "[[หมวดหมู่:ณ สิวาลัยรัตนสถาน เป็นที่ประชุมของเหล่าเทพทั้งปวง พระมัญชูศรีมหาโพธิสัตว์ ได้ทูลถามต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า \"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทพสัตตเคราะห์ทั้ง 7 พระองค์ ได้มีกุศลสะสมมาอย่างไร จึงได้เสวยทิพย์ผลพร้อมเพรียบไปด้วยยศ และอำนาจในเทวภพนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระราชดำรัสตอบว่า ดูกรมัญชูศรี อันดาวสัตตเคราะทั้ง 7 นั้น แท้จริงเป็น พระอวตารอดีตพระพุทธเจ้า 7พระองค์ ทรงแบ่งภาคมากับ พระมหาโพธิสัตว์ อีก 2 องค์ เป็นดาวพระราหู และดาวพระเกตุ รวมเป็นดาวพระเคราะทั้ง 9 เรียกว่า \"นพราชา\" หรือพระกิวอ๋อง การกินเจเดือน 9 นี้ เป็นเพราะชาวจีนเชื่อว่า ช่วง 10 วันตอนต้นเดือน 9 เป็นช่วงที่ \"ฮุดโจ้วเฮี้ยง\" ที่สุด แปลว่า เป็นช่วงที่พระพุทธศักสิทธ์ที่สุด จึงเชื่อกันว่า ช่วงนี้ใครอธิษฐานขออะไร ก็มักสมปรารถนา แต่ต้องตั้งจิตให้บริสุทธิ์และถือศีลกินเจ ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#4", "text": "[[หมวดหมู่:มนุษย์ ถ้าหากไม่มี ธาตุลมก็ต้องตาย มัจฉาชาติ ถ้าหากไม่มีธาตุน้ำ ก็ต้องตาย พฤๅษาชาติ ถ้าหากไม่มีธาตุดิน ก็ต้องอับเฉากิ่งใบแห้งเหี่ยวตาย สัตว์โลก ถ้าหากสูญสิ้นธาตุไฟ ในร่างกายก็อยู่ไม่ได้ เศรษฐกิจการค้า เป็นหัวใจสำคัญยิ่งของมนุย์ทั่วโลกในสมัยปัจจุบัน ถ้าหากขาดธาตุทอง ก็ไม่สามารถดำเนินกิจการลุล่วงไปได้แล้วเทพเจ้าทั้งเก้า ก็ได้ทรงแบ่งภาคต่อจากภาคของการเป็นเทพเจ้าลงไปเป็นดาวพระเคราะห์ 9 ดวง เพื่อการบริหารธาตุทั้งห้าที่ประกอบกันเป็นจักรราศีแห่งดวงชะตา ที่ว่าการหมุนหรือเคลื่อนตัวของแต่ละดวงดาวมีผลต่อโลก เช่น น้ำขึ้นน้ำลง หากดวงดาวใดหยุดหมุนหยุดทำงานโลกคงเกิดโลกาวินาศ ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#10", "text": "พิธีรับพระประธานงานกินเจ", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#19", "text": "[[หมวดหมู่:วันที่ 8 ของงานกินเจ นับว่าเป็นวันที่สำคัญของงานกินเจ ที่ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง ผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วทุกอำเภอ และจากต่างจังหวัดมาร่วมเดินข้ามสะพานโกยฮั่น เป็นจำนวนมาก ทำให้ศาลเจ้าที่กว้างขวางพอสมควรคับแคบไปทันที ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้องเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้มหาชนเหล่านั้นละความศรัทธาได้ ในอดีตศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋งมีเพียงสะพานไม้แคบๆให้คนเดินผ่านได้เพียงไม่กี่คน แต่ปัจจุบัน(ตามรูปข้างบน) แรงศรัทธาของประชาชนทำให้ได้สร้างสะพานคอนกรีตที่แข็งแรง ทนทาน และสวยงามเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่เล่าขานว่าเป็นศาลเจ้าที่มีสะพานสะเดาะเคราะห์ที่สวยงามที่สุด มีลักษณะถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ย บนราวสะพานมีรัศมี ประจำปีเกิดทั้ง 12 ราศี มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ผู้ทีเดินข้ามสะพาน เหมือนเดินอยู่ท่ามกลางเทพเจ้า สวรรค์เปิด ฟ้า ดิน รับรู้ ก่อนเดินสะพานโกยฮั่น ทางศาลเจ้าจะมีรูปแทนตัวทำด้วยกระดาษลงเส้นสีชัดเจนว่าเป็น ชาย หรือ หญิง เสียบธูป 3 ดอก บนรูปแทนตัวให้เขียน ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด พร้อมทั้งตัดเศษผม เศษเล็บมือ เล็บเท้า และเศษชายเสื้อผ้า ใส่ในรูปแทนตัวของแต่คน ถือเดินข้ามสะพาน ขณะเดินก็ให้ทำจิตใจให้ผ่องใส มีสมาธิ ตั้งจิตอฐิษาน ขอให้หมดทุกข์หมดโศก ปราสจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายทั้งปวง หากผู้ใดมีเคราะห์ร้าย หรือมีสิ่งไม่ดีที่แอบแฝงอยู่ในตัว ก่อนเดินข้ามจนสุดสะพานก็จะล้มลงไป บางรายยังเดินไม่ถึงครึ่งทางของสะพานก็ลมลงแล้ว ซึ่งทุกๆปี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะเยอะมาก แต่ไม่ต้องกลัวเพราะมีเจ้าหน้าที่ทางศาลเจ้าคอยดูแลอยู่ จะช่วยกันอุ้มเข้าไปบนศาลเจ้า ให้เทพเจ้าทำพิธีปัดเป่าให้เป็นรายๆไปโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เมื่อเดินมาสุดสะพานจะมีเจ้าหน้าที่ศาลเจ้าคอยเก็บรูปแทนตัวท่านนำมารวบรวมกัน และทำพิธีเผาหลังจากปิดสพานในเวลา 23.59 น. แล้วนำเถ้าถ่านนั้น จะนำไปใส่หม้อดินปิดผ้าแดง เพื่อนำเคราะห์ของท่านไปลอยกลางทะเล ปัจจุบันการเดินสะพานโกยฮั่น มิใช่มีเพียงเฉพาะผู้ที่มากินเจเท่านั้น แต่จะเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ใครก็ตามที่มีความเชื่อ ความศรัทธา ก็สามารถเดินข้ามสะพานโกยฮั่นได้ทั้งสิ้น เพราะสิ่งที่ได้รับคือ ความสุขกาย ความสุขใจ ความสะบายใจ จิตใจผ่องใส]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#5", "text": "ดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 ดวงคือ [[หมวดหมู่: 1. พระอทิตย์ คือ ไท้เอี๊ยงแช 2. พระจันทร์ คือ ไท้อิมแช 3. ดวพระอังคาร คือ ฮวยแช 4. ดาวพระพุธ คือ จุ๊ยแช 5. ดาวพระฤหัสบดี คือ บั๊กแช 6. ดาวพระศุกร์ คือ กิมแช 7. ดาวพระเสาร์ คือ โท้วแช 8. ดวพระราหู คือ ล่อกิมแช 9. ดาวพระเกตุ คือ โกยโต้วแช โดยที่ทุกปีเมื่อถึงวันที่ 1-9 ของเดือน 9 จะเป็นกำหนดวันที่เทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ แต่ละองค์จะผลัดกันเสด็จลงมาเยือนโลกมนุย์ เพื่อประทนพรแต่ผุ้ปฏิบัติดี เมื่อถึงเทศการกินเจ จึงมีการกราบไหว้เพื่อขอพรจากท่าน และเป็นการขอบคุณที่ทรงมีคุณตอโลกที่ทรงไว้ ซึ่งธาตุทั้งห้า และจักรราศีแห่งดวงดาว ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#18", "text": "พิธีเดินข้ามสพานสะเดาะพระเคราะห์ (พิธีโกยฮั่น)", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#22", "text": "[[หมวดหมู่:เจ้าหน้าที่จะจัดเตรีมเก่ว เพื่ออัญเชิญพระกิวอ๋องกลับสู่สวรรค์ เมื่อขบวนแห่ผ่านไปตามถนน สองข้างทางที่มีบ้านเรือนอยู่ จะตั้งโพร้อมเครื่องเส้นไหว้ที่หน้าบ้าน มีการจุดประทัด พลุ และดอกไม้ไฟ ผู้ที่ไม่สามารถไปรวมงานได้ก็จะออกมายืนส่งพระกิวอ๋อง ทั้งสองข้างทางเป็นทิวแถว แต่ละคนก็จะถือธูปเทียนและกระดาษทอง เผาไฟหลังจากท่านผ่านไปแล้ว ขบวนแห่พระกิวอ๋องจะไปหยุดที่สะพานเจ้าฟ้า มีเรือเตรียมพร้อมที่ท่าเทียบเรือ ขวนแห่จากเหนือคลอง จะไปสมทบกับประชาชนชาวเมืองกระบี่และผู้มีจิตศรัทธาที่มาจากจังหวัดใกล้เคียงที่รอเตรียมส่งพระกิวอ๋องอยู่ก่อนแล้ว ทุกคนนุ่งขาวห่มขาว ในมือถือธูปเทียน แสงธูปเทียนสว่างไสวแลดูสวยงามยิ่งนัก เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าบางส่วนได้นำหม้อ \" เชี้ยโหย \" (หม้ออัญเชิญดวงวิญญาณ) และหม้อที่ใส่เถ้าถ่านรูปแทรตัวที่เผาในคืนเดินข้าวสะเดาะเคราะห์เพื่อนำไปลอยในทะเลใหญ่ จึงอัญเชิญพระกิวอ่องกลับสู่สวรรค์ ณ จุดนั้นหมายถึง ท่านได้นำเอา ความทุกข์ ความโศก โรคภัยต่างๆ ทั้งปวงไปด้วย คงเหลือไว้แต่ความสงบสุข ความโชคดีทุก ๆ ครัวเรือน เมื่อส่งพระกิวอ๋องเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่มากินเจจะต้องกลับมาไหว้พระ ณ ศาลเจ้าด้วยธูป 3 ดอก 9 ดอก หรือกลับมาไหว้พระที่บ้านของตนเองก็ได้ ถือว่าเป็นการบอกกล่าวและเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นสีทั่วไปจากนั้นจึงรับประทานอาหารคาวได้ ในวันรุ่งขึ้น (ขึ้น 10 ค่ำ) จะมีพิธี \" หาวเจียง \" คือ พิธีเลี้ยงอาหารคาวหวาน แก่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่มาร่วมกิเจ พิธีจะเริ่มในเวลาประมาณ 15.00 น. หน้าศาลเจ้า โดยชาวบ้านจะนำอาหารไปร่วมในพิธี เมื่อเสร็จพิธี \" หาวเจียง \" ก็จะทำพิธียกเสาโกเต็งลง เป็นอันจบพิธีกินเจ ธง ทั้ง 3 ผืนที่อยู่บนยอดเสาโกเต็ง ผู้ที่ประมูลได้ก็จะอัญเชิญกลับไปบูชาที่บ้าน เพื่อความสุข ความเจริญ เป็นศิริมงคล กับทุกคนในครอบครัว]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#25", "text": "[[หมวดหมู่: 1. จิตใจสงบ เยือกเย็น สุขุม บังเกิดเมตาจิตอย่างเต็มเปี่ยม อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่โกรธง่าย เป็นพื้นฐานเบื้องต้นแก่การบำพ็ญบารมีธรรมยิ่งๆขึ้นไป 2. หยุดเวร ตัดกรรมผูกพัน ไม่มีศัตรูทั้งมนุษย์ และสัตว์ที่คิดมุ่งร้ายพยาบาท อาฆาต ติดตามจองเวร 3. มีสติมั่นคง ทั้งในขณะยังมีชีวิตและยามที่จิตวิญญาณจะละทิ้งสังขารออกจากร่างไป ไม่หวั่นไหวตื่นตระหนก หวาดผวาตกใจกลัวง่ายต่อเหตุการณ์ต่างๆ สามารถรอดพ้นจากเภทภัยทั้งหลายได้แก่ ภัยจากธรรมชาติ , ภัยจากสัตว์ร้าย , ภัยจากเคราะห์กรรม เป็นต้น 4. ตนเอง ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนถึงบริวารจะบังเกิดความสุขความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต มีเหตุให้เกิดอยู่ในอารยประเทศอันอุดมสมบูร ชีวิตไม่ต้องตกอยู่ในท่ามกลางการรบราฆ่าฟัน ไม่ประสบเหตุการณ์ที่โหดร้าย ประหัตประหารล้างผลาญย่ำยีซึ่งกันและกัน 5. บรรดาเหล่าพรหม เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงต่างสรรเสริญยินดี อวยพร ให้การอารักขาคุ้มครองตลอดเวลา ไม่มีช่องทางให้วิญญาณชั้นต่ำทุกประเภทเข้าแอบแฝงแทรกสิงทำอันตรายใดๆได้ ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#13", "text": "[[หมวดหมู่:วันที่ 3 ของงานกินเจ คณะผู้จัดการศาลเจ้า ต้อง เลี้ยงอาหารทหารเทพทั้ง 5 เหล่าทัพ \"เป้งสิน\" เนื่องจากการกินเจ จะต้องอัญเชิญเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่มาประทับทรง ทหารเทพก็จะมาคอยดูแลอารักขาประจำที่ศาลเจ้า ดังนั้นการจัดเลี้ยงก็จะมีอาหารเจนานาชนิดและผลไม้ตามฤดูกาล นอกจากนั้น ก็จะมีอาหารเลี้ยงม้าของเหล่าแม่ทัพต่างๆอีกด้วยเช่น หญ้า ถั่วเขียว ข้าวสาร ข้าวเปลือก และเกลือ ทหารทั้ง 5 เหล่าทัพ ซึ่งเป็นกองทัพองค์รักษ์ 1.กองทัพธงดำ มีกำลังพลทหาร 999,999 องค์ 2.กองทัพธงเขียว มีกำลังพลทหาร 888,888 องค์ 3.กองทัพธงแดง มีกำลังพลทหาร 777,777 องค์ 4.กองทัพธงขาว มีกำลังพลทหาร 666,666 องค์ 5.กองทัพธงเหลือง มีกำลังพลทหาร 555,555 องค์ พิธีเลี้ยงอาหารทหารเทพ จะมี 3 ครั้งด้วยกัน คือ ขึ้น 3 ค่ำ 6ค่ำ และ 9 ค่ำ เมื่อเสร็จพิธีก็จะส่งออกไปรักษาความสงบตามอาณาเขตของศาลเจ้า เทพเจ้าออกอวยพรลูกหลาน วันที่ 4 ของงานกินเจ เทพเจ้าออกอวยพรชาวเหนือคลอง และ วันที่ 5 เทพเจ้าออกอวยพรชาวตลาดเก่า และในตัวเมืองกระบี่ จะมีการจัดขบวนแห่ไปตามถนนต่างๆ ผู้มีจิตศรัทธาจะตั้งโต๊ะไว้หน้าบ้าน ซึ่งปูด้วยผ้าสีแดง มีกระถางธูป เทียน ดอกไม้ น้ำชา ข้าวสารผสมเกลือ (เกียมบี้) และผลไม้ต่างๆ นอกจากนั้นจะมีการเผาไม้หอม ( ไม้จันทน์ ) ให้ควันอบอวลไปทั่วบ้าน เทพเจ้าจะเข้ามาอวยพรขจัดปัดเป่าให้โชคดี และอยู่เย็นเป็นสุข สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การจุดประทัดให้ดังสนั่นทั่วทั้งบ้าน]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#17", "text": "[[หมวดหมู่: 1.ไท้เอี้ยงแช ดาวพระอาทิตย์ 6 องค์ 2.ไท้อิมแช ดาวพระจันทร์ 15 องค์ 3.ฮวยแช ดาวพระอังคาร 8 องค์ 4.จุ๊ยแช ดาวพระพุธ 17 องค์ 5.ปั๊กแช ดาวพฤหัสบดี 19 องค์ 6.กิมแช ดาวพระศุกร์ 21 องค์ 7.ไท้วแช ดาวพระเสาร์ 10 องค์ 8.ล่อกาแช ดาวพระราหู 12 องค์ 9.โกยโต้วแช ดาวพระเกตุ 9 องค์ สำหรับศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง นอกจากมีพิธีไหว้ดาว ยังมีการไต่บันไดมีด สวดมนต์ต์ต์ให้พรและส่งสัญญาณให้เทวดาฟ้าดินได้รับรู้ถึงการกินเจ ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "123466#5", "text": "ต่อมาได้เกิดไฟไหม้จากบริเวณบ้านเรือนจึงลามมายังบริเวณศาลเจ้า ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญเฮี้ยวโห้ย ( ไฟศักดิ์สิทธิ์ ) มาฝากไว้ยังศาลเจ้าปุดจ้อ และเมื่อถึงเวลากินผักก็จะอัญเชิญมายังศาลเจ้าชั่วคราวที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้น ณ สวนพูข้างศาลเจ้าปุดจ้อ (普吉平陽山觀音廟) ต่อมาเจ้าของสวนพูได้ถวายที่ดินแปลงนี้ให้ \"กิวอ๋องไต่เต่\" (九皇大帝)สร้างเป็นศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย ซึ่งหลังแรกได้สร้างด้วยเป็นหลังคามุงจาก ในปี พ.ศ. 2454 ต่อมาเมื่อในปี พ.ศ. 2525 ชาวบ้านเข้าร่วมพิธีถือศีลกินผักมากขึ้น จึงได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์เพื่อพัฒนาศาลเจ้ามาตราบจนปัจจุบัน และเปลี่ยนมาเป็น มูลนิธิ จุ้ยตุ่ย เต้าโบ้เก้ง (水碓斗母宮基金會)", "title": "ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย" }, { "docid": "118160#20", "text": "ทางศาลเจ้ามีข้อห้ามมิให้เดินข้ามสะพาน คือ", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "553377#0", "text": "ศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย หรือ ซูนเฮงเกียงเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงเบี้ยวตั๊ดลัดอา ( จีน: 順興宮清水祖師公廟噠叻仔 \"Shùn xìng gōng qīngshuǐ zǔshī gōng miào dā lè zǐ\" , Pe̍h-ōe-jī: sūn-hing-kiong-tshing-tsuí-tsóo-su-kong-biō-ta̍t-la̍t-á ศาลเจ้าเก่าแก่อายุประมาณ 200 ปี ณ​ ตลาดน้อย ย่านยาวราช มีชื่อเสียงด้านการจัดประเพณีกินเจได้ยิ่งใหญ่ตามประเพณีจีนโบราณ เป็นศูนย์กลางของชาวจีนฮกเกี้ยนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย", "title": "ศาลเจ้าโจวซือกง" }, { "docid": "118160#12", "text": "พิธีเลี้ยงอาหารทหารเทพ (พิธีโกกุ้น)", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#7", "text": "[[หมวดหมู่:กินเนื้อก็ต้องตาย กินเจก็ต้องตาย เหมือนกัน กินเนื้อตายแล้ว ยังมีหนี้เวรกรรมติดตามตัวไป ต้องชดใช้ กินเจ ตายไปแล้ว ไม่มีหนี้สินเวรกรรมเป็นอิสระ แล้วเราจะเลือกอยางใหน ? ฉะนั้น ผู้ที่กินเจถือว่า ไม่ประมาท ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า ทานที่เกี่ยวกับชีวิตทุกอย่าง ไม่ว่าจะงดเว้นจากการฆ่า งดเว้นจากการกิน หรือ บอกให้ผู้อื่น งดกิน งดฆ่า จึงเป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในโลกใบนี้ ผู้ที่ทำผิดมีทนายคอยแก้ต่างให้ แต่ในกฎแห่งกรรม มีตัวเราเองเท่านั้น ที่เป็นทนายให้ตัวเอง ทำดีได้รับผลดี ทำชั่ว ก็ย่อมได้รับผลชั่ว มโนกรรม ได้แก่ กรรมที่กระทำทางใจ นับเป็นความชั่ว ร้ายแรงที่สุดตามคำสอนของพระพุทธศาสนา มิจฉาทิฏิ ที่แปลว่า ความเห็นผิด จากธรรมนองคลองธรรม คือ เห็นว่า กรรมดี กรรมชั่ว นรก สวรรค์ ไม่มี]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#8", "text": "เริ่มงานกินเจวันแรก", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#14", "text": "[[หมวดหมู่:ราววันที่ 6 ของงาน เจ้าหน้าที่จะทำพิธีก่อกองไฟล่วงหน้า 1 คืน เมื่อถึงเวลา เทพเจ้าจะทำพิธีปัดเป่าอีกครั้งหนึ่ง และจะเริ่มลุยไฟก่อน ถัดมาก็จะเป็นลูกหลานที่ถือศีลกินเจ การลุยไฟ คือ การเดินเหยียบกองไฟที่ลุกโชน และเป็นกองไฟที่ผ่านการทำพิธีมาแล้ว เป็นการทำความดี ไม่เบียดเบียนสัตว์ มีจิตใจบริสุทธิ์ จะไม่มีสิ่งใดมาทำร้ายตัวเองได้ แม้แต่ความร้อนของไฟ ถือว่าเป็นการขจัดปัดเป่า และทำลายล้างสิ่งไม่ดี สิ่งชั่วร้ายที่แอบแฝงมาให้ออกไปจากตัวผู้ลุยไฟเอง เป็นการล้างตัวให้บริสุทธิ์ พิธีไหว้ดาว เทพเจ้า 9 พระองค์]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#1", "text": "เบื้องต้นแห่งพิธีกรรมกิวอ๋องเจ", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#24", "text": "การรับประทานอาหารเจ ให้ผลทางด้านจิตใจ ดังนี้", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#21", "text": "[[หมวดหมู่: 1. ผู้หญิงมีครรภ์ 2. ผู้ที่ไว้ทุข์ (สวมชุดดำ หรือ ขาวดำ) 3. ผู้ที่มีกำลังประจำเดือน 4. ห้ามสวมรองเท้าเดินข้ามสะพาน 5. ห้ามนำส่งของที่มีค่าติดตัวมาในขณะเดินสะพาน (เนื่องจากผู้คนมาร่วมงานเยอะมากทางศาลเจ้าอาจดูแลไม่ทั่วถึงและป้องกันพวกมิฉาชีพที่แอบแฝงปะปนเข้ามาภายในงาน) และในเวลา 24.00 น. (ขึ้น 8 ค่ำ) จะมีพิธีส่งยกอ๋อง (เทวดา) กลับสู่สวรรค์ พิธีส่งพระกิวอ๋อง ]] คืนสุดท้ายของการกินเจ", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#16", "text": "กำลังเทวดาทั้ง 9 พระองค์", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#9", "text": "[[หมวดหมู่:คณะกรรมการได้จัดหาต้นไม้ไผ่ตง ขนาดเหมาะเจาะมา 2 ต้น เพื่อทำเป็นเสาโกเต็งหรือเสาเทวดา สำหรับห้อยดวงไฟ 9 ดวงกับตะเกียงอีก 1ดวง ก่อนยกเสาโกเต็ง ต้องทำพิธีไหว้เจ้าที่ และเชิญสี่ไท้อ๋อง ทั้ง 4 ทิศ ธงที่ผูกติดบนยอดเสาโกเต็ง คือ - ธงเล่งกี๋ (ธงสัญญาณกินเจ) - ธงกิ๋วอ๋อง (ธงประธานในการกินเจ) - ธงเป้งอั้น (ธงอวยพรพรลูกหลานให้โชคดี) เมื่อชาวบ้าน อ.เหนือคลองและผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันยกเสาโกเต็งขึ้น พิธีกินเจนับว่าได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#11", "text": "[[หมวดหมู่:พระประทานในงานกินเจ คือ พระกิวอ๋อง ผู้ที่กินเจจะจัดขบวนแห่ไปรับพระกิวอ๋อง ณ หาดนพรัตน์ธาราเป็นจำนวนมาก โดยจะทำพิธีบวงสรวง ดิน น้ำ ลม ไฟ เพื่ออัญเชิญดวงวิญญาณพระกิวอ๋องจากสวรรค์ ซึ่งต้องลงมาถึงที่ที่มีน้ำเท่านั้น เพราะท่านจะไม่เหยียบพระแม่ธรณี ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าจะลงไปอัญเชิญดวงวิญญาณของท่านใส่ในหม้อพิธี ภายในนั้นจะมีเครื่องหอมบรรจุอยู่ เช่น ไม้จันทน์หอม ต่อจากนั้นก็จะอัญเชิญเข้าขบวนแห่มาประทับที่ศาลเจ้า จะมีการประโคมเสียงดนตรีเช่น กลอง ผ่าง ฉาบ ในบวนแห่ไปทางใหนผู้มีศรัทธาตั้งโต๊ะบูชาจุดประทัดเป็นระยะๆตลอดทาง เมื่อขบวนมาถึงศาลเจ้า ผู้จัดการศาลเจ้าจะถวายรายงานเป็นภาษาจีน ว่าการกินเจปีนี้เป็นปีที่เท่าไร มีผู้ที่มากินเจกี่คน เหตุการณ์เป็นอย่างไรบ้าง เมื่อรายงานเสร็จจึงอัญเชิญพระกิวอ๋องเข้าประทับในศาลเจ้า ดวงไฟบนยอดเสาก็ถูกจุดขึ้น และดวงไฟทุกดวงในบริเวณศาลเจ้าก็สว่างไสวไปตลอดทั้งงานเลย]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "118160#3", "text": "นพราชา (พระกิวอํอง) เกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างไร", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "44327#1", "text": "จากการแปลตราสาร ขออนุญาตตั้งศาลเจ้า ศาลเจ้าไท้เพ่งอ๊วงกง ที่เขียนไว้เป็นภาษาจีน ว่า \nตราสารฉบับนี้ส่วนหนึ่งเป็นประวัติการสร้างศาลเจ้า กล่าวถึง ค่ายบางกุ้ง และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช \nความว่าทหารพม่าล้อมค่ายบางกุ้งนานถึง 41วัน เมื่อ เดือนยี่ แรม 6 ค่ำ ชาวบ้านและทหารไทย-จีน ที่อยู่ในค่ายได้รับความลำบากมากข้าวปลาอาหารขาดแคลนพวกชาวบ้านคนชรายอมอดอาหาร เพื่อเอาอาหารให้ทหารไทย-จีนกิน ฝ่ายไต้ก๋งเจียม คือ ออกหลวงเสนาสมุทร ซึ่งเป็นผู้ดูแลเมืองแม่กลองในสมัยนั้น ได้แจ้งไปยังกรุงธนบุรี ขอกำลังช่วยรบกับพม่า หลังจากตีพม่าแตกพ่ายแล้ว ก่อนพระเจ้าตากสินเสด็จกลับ ได้มีบัญชาให้ทหารไทยจำนวนหนึ่งช่วยรักษาเมืองแม่กลอง โดยให้อยู่ร่วมกับทหารจีน โดยมีพระบรมราโชวาทให้อยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกือกูลกัน อย่าได้รังเกียจเดียดฉันท์ พสกนิกรชาวจีนให้ความเคารพสักการะพระองค์ประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ถือกันว่าแผ่นดินตรงไหน พระองค์เสด็จไปถึง และพระบาทขอพระองค์ประทับลงตรงที่นั้นประชาชนจะได้รับแต่ความสุขความเจริญ สงบสันติทั่วทั้งภูมิภาคนั้น ดังนั้น ภายหลังพสกนิกรชาวจีนจึงได้สร้างศาลบูชาขึ้น ตรงที่พระออกเสด็จออกเรือ ท้ายค่ายบางกุ้ง เพื่อเป็น สถานที่เคารพบูชาของชาวจีนโดยทั่วไป โดยได้ถวายนามเป็นภาษาจีนว่า \"ไท้เพ่งอ๊วงกง\" แปลเป็น ภาษาไทย ว่า \"เทพเจ้าแห่งสันติ\" ตรงเหนือบานประตูด้านในศาลเจ้า มีง้าว แขวนอยู่ 1เล่ม ภายในมีพระประทาน พร้อมทั้งพระโมคคัลลา พระสารีบุตร ทั้งยังมีรูปปั้นจีนและเซียนมากมาย ที่สำคัญ คือ มีรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งอยู่บนแท่นบูชา", "title": "ศาลเจ้าไท้เพ่งอ๊วงกง" }, { "docid": "118160#23", "text": "[[หมวดหมู่:ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการที่จัดงานกินเจในแต่ละปี พยายามหากิจกรรมอื่นๆ มาเสริมให้เทศกาลกินเจ เพื่อเป็นศูนย์รวมของบุคคลในท้องถิ่น เสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ไห้เกิดขึ้นในชุมชน ผู้อื่นที่มาศาลเจ้าจะได้มีความประทับใจ รู้สึกสุขกาย สบายใจ กิจกรรมที่มีการจัดขึ้น เช่น ตระกร้อ บาสเก็ตบอล ฟุตบอลประตูเล็ก 7 คน การเสดงของเยาวชน การจัดกิจกรรมเหล่านี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั้งในท้องถิ่น และต่างอำเภอ เป็นอย่างดีเสมอมา ]]", "title": "ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซุ้ก๋ง" }, { "docid": "553377#1", "text": "สร้างเมื่อใดไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ตามหินศิลาบันทึกของศาลเจ้าบันทึกไว้ว่า สร้างเมื่อวันดี ปีเจียชิ่งเจี้ยจื่อเหนียน เป็นปีที่ 9ในพระจักพรรดิเจียชิ่ง (จีน:嘉慶甲子年) ซึ่งตรงกับ ค.ศ1804 และ พ.ศ.2347 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์\nโดยเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนแซ่โซว (จีน:蘇) จากเมืองจวนจิว มณฑลฮกเกี้ยน ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเปิดโรงเผ่าถ่าน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านบ้านตลาดน้อย ได้นำพาเทพพระเจ้าเฉ่งจุ้ยจ้อซูกง (จีน:清水祖師公) ที่ตนนับถือมาแต่เมืองจีนมาบูชาและได้ตั้งศาลเจ้าให้ท่านได้ประทับ \nเนื่องจากท่านเฉ่งจุ้ยจ้อซูกง มีชาติภูมิกำเนิดเป็นชาวฮกเกี้ยน และในย่านชุมชนจีนตลาดน้อยเดิมเป็นชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน ทำให้ศาลของพระเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงได้รับความนับถือมาก จนเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด จนถึงปัจจุบัน", "title": "ศาลเจ้าโจวซือกง" } ]
3857
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเป็นผู้ประพันธ์เรื่อง เดอะฮอบบิท ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "5622#0", "text": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเต็มว่า จอห์น โรนัลด์ รูล ทอลคีน (John Ronald Reuel Tolkien; นามปากกาว่า J. R. R. Tolkien ) (3 มกราคม พ.ศ. 2435 – 2 กันยายน พ.ศ. 2516) เป็นกวี นักประพันธ์ นักภาษาศาสตร์ และศาสตราจารย์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์นิยายแฟนตาซีระดับคลาสสิก เรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" } ]
[ { "docid": "5622#3", "text": "หลังจากโทลคีนเสียชีวิต ลูกชายของเขา คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้นำเรื่องที่บิดาของตนแต่งค้างไว้หลายเรื่องมาเรียบเรียงและตีพิมพ์ รวมถึงเรื่องซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ชิ้นนี้ประกอบกับเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมกันได้สร้างให้เกิดโลกจินตนาการซึ่งกอปรด้วยเรื่องเล่า ลำนำ บทกวี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภาษาประดิษฐ์ ในโลกจินตนาการที่ชื่อว่า อาร์ดา และแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งเป็นฐานของงานประพันธ์ปกรณัมทั้งมวลของโทลคีน", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "52045#1", "text": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจากบทประพันธ์เรื่อง เดอะฮอบบิท ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1937 จนทางสำนักพิมพ์ต้องขอให้โทลคีนเขียนนิยายใหม่ส่งมาอีก ในตอนแรกโทลคีนพยายามส่งเรื่อง ซิลมาริลลิออน ที่เป็นผลงานที่เขารักและทุ่มเทประพันธ์มาโดยตลอด ให้สำนักพิมพ์พิจารณา แต่สำนักพิมพ์ไม่ชอบ สำนักพิมพ์บอกว่าผู้อ่านต้องการเรื่อง 'การผจญภัย' และขอให้โทลคีนแต่งภาคต่อของเดอะฮอบบิท แต่โทลคีนไม่ต้องการเขียนเรื่องผจญภัยแบบเด็กๆ แบบนั้นอีก ในที่สุดโทลคีนก็วางโครงเรื่องใหม่ โดยใช้แหวนที่บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ตัวเอกในเรื่องเดอะฮอบบิท ได้มาด้วยความบังเอิญในระหว่างการเดินทาง มาใช้เป็นแกนของเรื่องใหม่ และนำเอาเรื่องราวตำนานในซิลมาริลลิออน มาเป็นฉากหลังของเรื่อง เขาวางพล็อตให้นิยายเรื่องใหม่มีความจริงจังมากขึ้น จนเมื่อผ่านไป 17 ปี นิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จึงได้ปรากฏโฉมสู่บรรณพิภพ", "title": "ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์" }, { "docid": "143251#0", "text": "\"สม็อก\"' (Smaug) เป็นชื่อมังกร ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง \"เดอะฮอบบิท\" ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า \"สม็อกมังกรทอง\" หรือ \"สม็อกผู้เรืองรอง\" มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้", "title": "สม็อก (ตัวละคร)" }, { "docid": "5622#59", "text": "บลูพลาค หรือแผ่นป้ายโลหะสีฟ้า เป็นป้ายพิเศษที่รัฐบาลอังกฤษจัดทำติดไว้ตามสถานที่สำคัญของประเทศที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ในจำนวนนี้มีอยู่ 6 ป้ายที่ติดตั้งไว้ในสถานที่เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่โทลคีน ป้ายหนึ่งอยู่ที่ออกซฟอร์ด[42] ป้ายหนึ่งอยู่ที่แฮร์โรเกต และอีกสี่ป้ายอยู่ในเบอร์มิงแฮม[43] ติดตั้งอยู่ที่บ้านในวัยเด็กของโทลคีนก่อนที่เขาจะเข้ามหาวิทยาลัย ได้แก่ 1. ที่โรงสีแซร์โฮล 2. ที่บ้านเลขที่ 1 ดัชเชสเพลส ตำบลเลดี้วู้ด 3. ที่บ้านเลขที่ 4 ถนนไฮฟิลด์ Edgbaston และ 4. ที่ Plough and Harrow ถนนแฮกลี่ย์ เมืองเบอร์มิงแฮม ป้ายที่ออกซฟอร์ดติดไว้ที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งโทลคีนเคยอาศัยอยู่ เป็นสถานที่เขียนนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท และเขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ส่วนป้ายที่แฮร์โรเกตติดตั้งไว้ที่บ้านพักซึ่งโทลคีนนอนพักฟื้นไข้หลังจากกลับมาจากการรบ และเริ่มงานปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเขาขึ้นเป็นครั้งแรก", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "122795#0", "text": "ดาบสติง () เป็นอาวุธชนิดหนึ่งปรากฏในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ เดอะฮอบบิท ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ เป็นผู้พบดาบเล่มนี้ในถ้ำของโทรลล์ พร้อมกับดาบอีกสองเล่มคือ ดาบแกลมดริง และ ดาบออร์คริสต์ ซึ่งอันที่จริงแล้ว สติง กับ ออร์คริสต์ เป็นเพียงแค่มีดสั้นของพวกเอลฟ์ แต่สำหรับชาวฮอบบิทแล้ว มันกลายเป็น 'ดาบ' ที่เหมาะมือทีเดียว บิลโบตั้งชื่อนี้ให้กับดาบหลังจากเขาใช้มันต่อสู้กับแมงมุมในป่าเมิร์ควู้ด", "title": "ดาบสติง" }, { "docid": "5620#0", "text": "เดอะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ \"The Hobbit\" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า \"There and Back Again\") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1937", "title": "ฮอบบิท (หนังสือ)" }, { "docid": "132776#0", "text": "กอลลัม (Gollum) เป็นตัวละครเอกในจินตนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชนเผ่าฮอบบิท มีชื่อเดิมว่า สมีโกล ปรากฎตัวครั้งแรกในเดอะฮอบบิท และปรากฎตัวในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอนหอคอยคู่พิฆาต", "title": "กอลลัม" }, { "docid": "593356#0", "text": "ธรันดูอิล (อังกฤษ : Thranduil) เป็นตัวละครในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท ภาคต้นของ เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน กษัตริย์พรายองค์สุดท้ายแห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธ เป็นเอลฟ์ชาวซินดาร์ที่ปกครองเอลฟ์ป่าชาวซิลวัน เป็นพระบิดาของเลโกลัสผู้เป็นเจ้าชายแห่งป่าเมิร์ควู้ด และมีบทบาทเป็นหนึ่งในคณะพันธมิตรแห่งแหวน ", "title": "ธรันดูอิล" }, { "docid": "5622#14", "text": "ฤดูร้อนปี 1911 โทลคีนได้ไปเยือนสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในจดหมายฉบับหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1968 (เป็นเวลาผ่านไปถึง 57 ปี) ว่า การผจญภัยของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ในเทือกเขามิสตี้ ในเรื่อง เดอะฮอบบิท มาจากการเดินทางของเขาในเทือกเขาแอลป์คราวนั้น และยอดเขาจุงเฟรา กับซิลเบอร์ฮอร์น ก็เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างยอดเขาซิลเวอร์ไทน์ (เคเล็บดิล) นั่นเอง[7]", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "210458#1", "text": "จอห์น ฮาว มีชื่อเสียงจากการสร้างผลงานจากวรรณกรรมต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยเฉพาะเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขายังเป็นผู้วาดภาพประกอบให้กับเกมกระดานชุดลอร์ดออฟเดอะริงส์ของ Reiner Knizia ด้วย ระหว่างปี ค.ศ. 1996-2003 ฮาวได้วาดภาพมากมายเกี่ยวกับลอร์ดออฟเดอะริงส์ แผนที่มิดเดิลเอิร์ธ ภาพในเดอะฮอบบิท และซิลมาริลลิออน นอกเหนือจากนี้เขายังวาดภาพจากตำนานปรัมปรา เช่นตำนานวีรบุรุษแองโกล-แซกซอน เรื่อง เบวูล์ฟ และวรรณกรรมแฟนตาซีต่างๆ อีกมาก", "title": "จอห์น ฮาว" }, { "docid": "5622#50", "text": "ในเวลาว่าง โทลคีนจะสนุกสนานกับการแต่งนิทานแฟนตาซีเพื่อเล่าให้ลูกๆ ของเขาฟัง (แม้แต่ เดอะฮอบบิท ก็มีที่มาจากการแต่งเรื่องให้เด็กๆ ฟัง) เขาเขียนจดหมายในวันคริสต์มาสทุกปี สมมุติว่าเป็นจดหมายจากซานตาคลอสส่งมาให้เด็กๆ จนหลายปีต่อมามันกลายเป็นชุดเรื่องสั้น เรียกชื่อว่า จดหมายจากคุณพ่อคริสต์มาส นิทานเรื่องอื่นๆ ก็เช่น Mr.Bliss, Roverandom, Smith of Wootton Major และ พระราชาชาวนา ในจำนวนนี้มีเรื่อง Roverandom และ Smith of Wootton Major ที่นำโครงเรื่องบางส่วนมาจากปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เช่นเดียวกับเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[33462,33476,2,2]}'>เดอะฮอบบิท", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "5622#70", "text": "พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) บทกวีและลำนำแห่งมิดเดิลเอิร์ธ (Poems and Songs of Middle-earth) พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) JRR Tolkien Reads and Sings his The Hobbit & The Lord of the Rings (บันทึกเสียงอ่านเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน)", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "28083#0", "text": "เลโกลัส () เป็นตัวละครในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเป็นพระโอรสของกษัตริย์ธรันดูอิลเป็นหนึ่งในคณะพันธมิตรแห่งแหวนซึ่งรับหน้าที่นำแหวนเอกไปทำลายที่ภูมรณะ ในฐานะตัวแทนของเผ่าพันธุ์เอลฟ์ อีกทั้งยังมีการเพิ่มบทบาทของเลโกลัสลงใน ภาพยนตร์เดอะฮอบบิท ของ ปีเตอร์ แจ็คสัน อีกด้วย", "title": "เลโกลัส" }, { "docid": "5621#0", "text": "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ () เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง \"There and Back Again\" หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า \"เดอะฮอบบิท\" แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า \"เดอะฮอบบิท\" มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2480 - 2492 (ค.ศ. 1937 - 1949) และได้วางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1954-1955 โดยแบ่งตีพิมพ์ออกเป็น 3 ตอน เนื่องจากหนังสือมีความยาวมากจนสำนักพิมพ์เห็นว่าไม่สามารถตีพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกันได้ นิยายเรื่องนี้ได้แปลไปเป็นภาษาต่างๆ มากมายไม่น้อยกว่า 38 ภาษา และได้รับยกย่องให้เป็นนิยายที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 20", "title": "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์" }, { "docid": "5622#4", "text": "แม้ว่านิยายแฟนตาซีจะมีกำเนิดมาก่อนหน้านั้นแล้ว ทว่าความสำเร็จอย่างสูงของ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในสหรัฐอเมริกานำมาซึ่งกระแสความนิยมของนิยายแนวนี้ขึ้นมาใหม่ และทำให้โทลคีนได้รับขนานนามว่า บิดาแห่งวรรณกรรมแฟนตาซีระดับสูงยุคใหม่ (father of the modern high fantasy genre)[2] ผลงานของโทลคีนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่งานแฟนตาซียุคหลังรวมถึงศิลปะแขนงอื่นที่เกี่ยวข้องมากมาย ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) นิตยสารไทมส์จัดอันดับโทลคีนอยู่ในลำดับที่ 6 ใน 50 อันดับแรกของ \"นักประพันธ์ชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ยุคหลังปี 1945\"[3]", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "5622#52", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 คริสโตเฟอร์ได้รวบรวมงานเขียนที่กระจัดกระจายอยู่ บางส่วนยังอยู่ในระหว่างการแก้ไข และยังเขียนไม่จบ เกิดเป็นหนังสือ Unfinished Tales หรือ เกร็ดตำนานอันจารไม่จบแห่งนูเมนอร์และมิดเดิลเอิร์ธ หนังสือเหล่านี้ได้รับการตอบรับอย่างไม่น่าเชื่อ แม้ว่าผู้ประพันธ์จะเสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลาหลายปี ดังนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2526-2539 คริสโตเฟอร์จึงได้รวบรวมผลงานในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของพ่อ เรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือชุดใหญ่จำนวน 12 เล่ม ได้แก่หนังสือชุดประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งรวบรวมต้นฉบับ ต้นร่าง แนวคิด และงานเขียนชิ้นล่าสุดในปกรณัมของโทลคีน รวมทั้งเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในต้นร่างเหล่านี้ยังมีเนื้อความที่ขัดแย้งกันอยู่จำนวนหนึ่ง เนื่องจากโทลคีนยังคงแก้ไขรายละเอียดในปกรณัมของเขาอยู่ตลอดเวลา และยังไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดทั้งหมดให้สอดคล้องไปในทางเดียวกัน[35]", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "93893#1", "text": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจากบทประพันธ์เรื่อง เดอะฮอบบิท ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1937 จนทางสำนักพิมพ์ต้องขอให้โทลคีนเขียนนิยายใหม่ส่งมาอีก ในตอนแรกโทลคีนพยายามส่งเรื่อง ซิลมาริลลิออน ที่เป็นผลงานที่เขารักและทุ่มเทประพันธ์มาโดยตลอด ให้สำนักพิมพ์พิจารณา แต่สำนักพิมพ์ไม่ชอบ สำนักพิมพ์บอกว่าผู้อ่านต้องการเรื่อง 'การผจญภัย' และขอให้โทลคีนแต่งภาคต่อของเดอะฮอบบิท แต่โทลคีนไม่ต้องการเขียนเรื่องผจญภัยแบบเด็กๆ แบบนั้นอีก ในที่สุดโทลคีนก็วางโครงเรื่องใหม่ โดยใช้แหวนที่บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ตัวเอกในเรื่องเดอะฮอบบิท ได้มาด้วยความบังเอิญในระหว่างการเดินทาง มาใช้เป็นแกนของเรื่องใหม่ และนำเอาเรื่องราวตำนานในซิลมาริลลิออน มาเป็นฉากหลังของเรื่อง เขาวางพล็อตให้นิยายเรื่องใหม่มีความจริงจังมากขึ้น จนเมื่อผ่านไป 17 ปี นิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จึงได้ปรากฏโฉมสู่บรรณพิภพ", "title": "ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาต" }, { "docid": "5622#56", "text": "นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2501 โทลคีนเขียนวิจารณ์บทภาพยนตร์ของ มอร์ตัน เกรดี้ ซิมเมอร์แมน ที่ดัดแปลงจากเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ แบบฉากต่อฉากทีเดียว ถึงกระนั้นเขาก็ยินดีให้มีการดัดแปลงหนังสือเป็นบทภาพยนตร์ โทลคีนขายสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ ละครเวที และสินค้าประกอบของเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ให้แก่ United Artists ในปี พ.ศ. 2511 แต่ UA ไม่เคยสร้างเป็นภาพยนตร์ขึ้นมาเลย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 สิทธิ์ในการสร้างจึงได้ขายให้กับ Tolkien Enterprises ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งอยู่ในบริษัท Saul Zaentz หลังจากนั้นจึงได้มีการสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี พ.ศ. 2521 เป็นภาพยนตร์การ์ตูนของราล์ฟ บัคชิ ปี พ.ศ. 2520 Rankin/Bass ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง เดอะฮอบบิท ออกฉายทางโทรทัศน์ และต่อมาได้สร้าง The Return of the King เป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกฉายทางโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2523", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "92143#1", "text": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจากบทประพันธ์เรื่อง เดอะฮอบบิท ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1937 จนทางสำนักพิมพ์ต้องขอให้โทลคีนเขียนนิยายใหม่ส่งมาอีก ในตอนแรกโทลคีนพยายามส่งเรื่อง ซิลมาริลลิออน ที่เป็นผลงานที่เขารักและทุ่มเทประพันธ์มาโดยตลอด ให้สำนักพิมพ์พิจารณา แต่สำนักพิมพ์ไม่ชอบ สำนักพิมพ์บอกว่าผู้อ่านต้องการเรื่อง 'การผจญภัย' และขอให้โทลคีนแต่งภาคต่อของเดอะฮอบบิท แต่โทลคีนไม่ต้องการเขียนเรื่องผจญภัยแบบเด็กๆ แบบนั้นอีก ในที่สุดโทลคีนก็วางโครงเรื่องใหม่ โดยใช้แหวนที่บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ตัวเอกในเรื่องเดอะฮอบบิท ได้มาด้วยความบังเอิญในระหว่างการเดินทาง มาใช้เป็นแกนของเรื่องใหม่ และนำเอาเรื่องราวตำนานในซิลมาริลลิออน มาเป็นฉากหลังของเรื่อง เขาวางพล็อตให้นิยายเรื่องใหม่มีความจริงจังมากขึ้น จนเมื่อผ่านไป 17 ปี นิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จึงได้ปรากฏโฉมสู่บรรณพิภพ", "title": "ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน" }, { "docid": "5622#55", "text": "แต่สำหรับผลงานของศิลปินบางคนที่สร้างขึ้นในระหว่างที่เขายังมีชีวิตอยู่ โทลคีนกลับไม่ค่อยชอบใจนัก และบางครั้งถึงกับวิจารณ์อย่างรุนแรง เช่นในปี พ.ศ. 2489 โทลคีนบอกปัดผลงานวาดภาพของ ฮอรัส เอนเจลส์ ที่วาดประกอบ เดอะฮอบบิท ฉบับภาษาเยอรมัน โดยบอกว่า \"บิลโบจมูกย้อยเกินไป และแกนดัล์ฟก็ดูเหมือนตัวตลกดื่นดาษมากกว่าโอดินผู้พเนจรในความคิดของผม\"[37] ปี พ.ศ. 2497 โทลคีนส่งต้นร่างปกนอกของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฉบับพิมพ์อเมริกันคืน พร้อมหมายเหตุว่า \"ขอบคุณที่ส่ง 'งานชิ้นเอก' มาให้ แต่ผมขอส่งคืน ชาวอเมริกันไม่ค่อยยอมรับคำวิจารณ์และไม่ค่อยยอมแก้ไขอะไร แต่ผมเห็นว่างานชิ้นนี้แย่เกินไปจนผมไม่อาจฝืนตัวเองไปแก้ไขมัน\"[38]", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "210459#0", "text": "เท็ด แนสมิธ () เป็นศิลปินนักวาดภาพชาวแคนาดา มีชื่อเสียงจากการวาดภาพประกอบผลงานวรรณกรรมต่างๆ ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ได้แก่ ซิลมาริลลิออน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ เดอะฮอบบิท", "title": "เท็ด แนสมิธ" }, { "docid": "5622#49", "text": "กล่าวได้ว่า ซิลมาริลลิออน เป็นงานเขียนแห่งชีวิตของโทลคีน เขาใช้เวลาทั้งชีวิตในการประพันธ์มหากาพย์ชุดนี้ ในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) เมื่อโทลคีนบังเอิญมีโอกาสได้ตีพิมพ์ เดอะฮอบบิท และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงจนต้องเขียนภาคต่อออกมากลายเป็น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนก็นำทั้งเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ มาวางลงบนโครงปกรณัมชุดใหญ่ของเขาและถักทอเข้าจนเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด[22] นอกจากนี้ยังมีตำนานอีกชุดหนึ่งคือ การล่มสลายของนูเมนอร์ หรือ อคัลลาเบธ ซึ่งโทลคีนประพันธ์ขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจมาจากการล่มสลายของอาณาจักรแอตแลนติส ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวงล้อประวัติศาสตร์ของปกรณัมชุดนี้ด้วย[22]", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "136628#0", "text": "เอรู อิลูวาทาร์ เป็นชื่อภาษาเอลฟ์ของ \"พระเจ้า\" แห่งปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะเป็นพระผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว เป็นผู้สร้างเหล่าเทพไอนัวร์ เป็นผู้สร้าง เออา หรืออาร์ดา และสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนั้น แม้จะเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุด แต่ก็มิได้ถูกเอ่ยถึงเลยในนิยายซึ่งสร้างชื่อเสียงฉบับแรกๆ ของเขา คือ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (มีกล่าวถึงในภาคผนวกของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เล็กน้อยด้วยคำว่า \"พระผู้เป็นหนึ่ง\")", "title": "อิลูวาทาร์" }, { "docid": "135815#0", "text": "เอเรียดอร์ (Eriador) เป็นชื่อดินแดนที่ปรากฏในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หลายๆ เรื่อง เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดอะฮอบบิท ซิลมาริลลิออน เป็นต้น คำว่า เอเรียดอร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง 'แผ่นดินร้าง' อาณาเขตของเอเรียดอร์สังเกตได้จากแนวเทือกเขาที่ขนาบอยู่ทางด้านตะวันตก คือเทือกเขาเอเร็ดลูอิน และด้านตะวันออก คือเทือกเขามิสตี้ หรือ ฮิธายเกลียร์", "title": "เอเรียดอร์" }, { "docid": "5632#0", "text": "บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ () เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในฐานะผู้ครองแหวนคนที่ห้า ", "title": "บิลโบ แบ๊กกิ้นส์" }, { "docid": "5622#57", "text": "ล่วงถึงปี พ.ศ. 2544-2546 นิวไลน์ ซีนีม่า ได้สร้างภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน และถ่ายทำในประเทศนิวซีแลนด์ทั้งเรื่อง ภาพยนตร์ชุดนี้เป็นชุดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ปลายปี พ.ศ. 2550 นิวไลน์ ซีนีม่า ร่วมกับปีเตอร์ แจ็กสัน ได้ประกาศการสร้างภาพยนตร์ เดอะฮอบบิท แบ่งออกเป็นไตรภาค มีกำหนดออกฉายในปี พ.ศ. 2555-2557", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "143240#0", "text": "ธอริน โอเคนชิลด์ () เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เรื่อง \"เดอะฮอบบิท\" งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นกษัตริย์ของคนแคระแห่งมิดเดิลเอิร์ธ สายวงศ์ของดูริน เป็นบุตรของธราอินที่ 2 และเป็นหลานของกษัตริย์ธรอร์", "title": "ธอริน โอเคนชิลด์" }, { "docid": "5622#19", "text": "ปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) โทลคีนได้กลับไปยังออกซฟอร์ดถิ่นเก่า ในฐานะศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยเพมโบรค ระหว่างที่อยู่เพมโบรค โทลคีนได้เขียนเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ 2 ตอนแรก ที่บ้านบนถนนนอร์ธมัวร์ ในเขตออกซฟอร์ดเหนือ ซึ่งปัจจุบันมีป้าย Blue Plaque ติดเอาไว้ในฐานะสถานที่สำคัญของประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1936 โทลคีนได้ตีพิมพ์งานวิชาการสำคัญชิ้นหนึ่ง เรื่อง \"เบวูล์ฟ: บทวิเคราะห์แง่มุมของปีศาจ\" (Beowulf: the Monsters and the Critics) ซึ่งเป็นงานที่ทำให้แนวทางศึกษาวรรณกรรมโบราณเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง[8] โทลคีนให้ความสำคัญกับเนื้อหาและความเป็นมาของโคลงโบราณนี้ มากกว่าแง่มุมด้านภาษาซึ่งเป็นจุดด้อยของโคลงเมื่อเทียบกับมหากาพย์เรื่องอื่น เขากล่าวว่า \"เบวูล์ฟ เป็นแหล่งข้อมูลอันทรงคุณค่ายิ่งแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า...\" แนวคิดนี้ได้สะท้อนให้เห็นปรากฏอยู่มากในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในยุคที่โทลคีนนำเสนอแนวคิดนี้ เหล่าบัณฑิตล้วนดูถูกโคลงเบวูล์ฟว่าเป็นนิทานหลอกเด็ก ไม่มีความสมจริงในทางการยุทธ์ แต่โทลคีนโต้แย้งว่า ผู้ประพันธ์เรื่องเบวูล์ฟไม่ได้เน้นเรื่องโชคชะตาของวีรบุรุษ หรือแม้ความเป็นชนเผ่าต่างๆ ในดินแดนนั้นเลย หัวใจสำคัญของเรื่องคือเหล่าปีศาจต่างหาก", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "209829#1", "text": "ผลงานของลีจะเป็นงานจากวรรณกรรมแฟนตาซีมากมาย งานที่โดดเด่นที่สุดคืองานที่เกี่ยวเนื่องกับงานประพันธ์ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เช่น ลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับครบรอบ 100 ปี เดอะฮอบบิท ตำนานบุตรแห่งฮูริน สำหรับผลงานภาพประกอบอื่นๆ ได้แก่ Lavondyss ของ Robert Holdstock, Castles และ Tolkien's Ring ของเดวิด เดย์, The Mirrorstone ของ Michael Palin เป็นต้น เขายังวาดภาพประกอบให้แก่งานดัดแปลงของ Rosemary Sutcliff เรื่อง อิเลียด และ โอดิสซีย์ (ฉากกองเรือดำหน้าเมืองทรอย และการผจญภัยของโอดิซูส) ลีได้รับเหรียญรางวัล Kate Greenaway Medal สำหรับการวาดฉากกองเรือดำหน้าเมืองทรอยในปี ค.ศ. 1993 และได้รับรางวัลศิลปินยอดเยี่ยม (Best Artist Award) จาก World Fantasy Awards ในปี ค.ศ. 1998", "title": "อลัน ลี" } ]
189
เกมทศกัณฐ์ มีพิธีกรกี่คน?
[ { "docid": "213416#1", "text": "ปัญญา นิรันดร์กุล (1 เมษายน พ.ศ. 2546 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)", "title": "เกมทศกัณฐ์" } ]
[ { "docid": "213416#17", "text": "ผู้เข้าแข่งขันมี 60 วินาทีในการตอบ หากตอบถูกจะได้รับเงินรางวัลตามอัตราข้างต้น คูณกับจำนวนคนที่มีในรอบนั้น (ฉะนั้น รางวัลแจ๊คพ็อตคือ 30,000,000 บาท) แต่หากผู้เข้าแข่งขันตอบผิด จะตกรอบในทันที หากไม่มั่นใจ ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิ์ยกธงขาว (ยอมแพ้) โดยจะไม่ได้รางวัลแจ๊คพ็อต แต่ยังคงได้เล่นเกมต่อไป", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "675310#6", "text": "ช่วงนี้สนับสนุนโดยสบู่ฮาร์โมนี ในรอบเทกระจาดนี้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นดารารับเชิญจะมาแข่งขันเกมกับพิธีกรหลัก (ติ๊ก กลิ่นสีและธงชัย ประสงค์สันติ ต่อมาในเทปวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้เหลือพิธีกรหลักคนเดียวจากการตัดสินโดยหมุนวงล้อในรอบแรก) ผู้เข้าแข่งขันและพิธีกรหลักจะอยู่บนสไลด์เดอร์ซึ่งพิธีกรหลักจะอยู่ฝั่งซ้าย ผู้เข้าแข่งขันจะอยู่ฝั่งขวา หรือบางเทปอาจเป็นพิธีกรหลักอยู่ฝั่งขวา ผู้เข้าแข่งขันอยู่ฝั่งซ้าย ในเกมนี้จะให้ดารารับเชิญเป็นผู้เลือกคำถาม โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 15 แผ่นป้าย เมื่อผู้เข้าแข่งขันเลือกคำถามแล้ว พิธีกรจะถามคำถามที่เลือก และลงท้ายด้วยคำว่า ใช่ หรือ ไม่ และให้ผู้เข้าแข่งขันตอบภายในเวลา 5 วินาที ทั้งนี้ถ้าหากดารารับเชิญไม่ตอบภายในเวลา 5 วินาที ทางรายการมีสิทธิให้ฟาวล์ได้ ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันตอบถูก สไลด์เดอร์ของฝั่งพิธีกรจะยกขึ้น แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันตอบผิด ฝั่งดาราจะยกขึ้น โดยทั้ง 2 ฝ่ายต้องพยายามเกาะอยู่ในสไลด์เดอร์ให้ได้ ผู้ที่ตกลงมายังบ่อแป้งก่อนถือว่าเป็นผู้แพ้และเกมจะยุติลง (ในเทปวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนเป็นน้ำแทนจนถึงเทปสุดท้าย) ซึ่งเกมนี้จะคล้ายกับรอบเหมืองมรณะในรายการเกมจารชน และรอบเสือตกถังในรายการจารบีปีเสือ แต่ที่แตกต่างกันคือในจารบีสีชมพู และจารบีปีเสือให้ดาราเป็นผู้เลือกคำถามเอง แต่ในเกมจารชนผู้เข้าแข่งขันจะผลัดกันเลือกคำถาม จนกว่าจะมีผู้แพ้ สำหรับดารารับเชิญหากเป็นผู้ชนะ จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท (ผู้สนับสนุนเงินรางวัล คือ สบู่ฮาร์โมนี) แต่ถ้าเป็นผู้แพ้จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทแทน", "title": "จารบีสีชมพู" }, { "docid": "206434#28", "text": "และเมื่อมีการยกเลิกเกมทายดาราสามช่ารับเชิญไป ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สามช่ารับเชิญจะมาจากการเปิดตัวโดยพิธีกรซึ่งเป็นผู้แนะนำ โดยการเปิดตัวจะมีรูปแบบเดียวกันกับในเกมทายดาราสามช่ารับเชิญ คือการออกมาร้องเพลงนั่นเอง และโดยเฉพาะในข้อที่ 2 ของเกม (ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 จนถึงปี พ.ศ. 2552)ได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับผี และวิญญาณของดาราเจ้าของเรื่อง ซึ่งรูปแบบเกมจะเป็นเช่นเดียวกันกับข้อแรก โดยเจ้าของเรื่องก็จะเป็นผู้มาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับผีและวิญญาณว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นจะมีแก๊งสามช่า (หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง) ออกมาด้วยเพื่อสร้างความตกใจให้กับในห้องส่งและผู้ชมทางบ้าน ต่อมา นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2552 นั้น หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะวิเคราะห์เรื่องประสบการณ์น่ากลัวของดาราเจ้าของเรื่องว่าน่ากลัวขนาดไหนพร้อมกับบอกด้วยว่าจะให้รางวัลกี่กะโหลกแก่ดาราเจ้าของเรื่องนั้น ซึ่งรางวัลจะเป็นถ้วยรูปหัวกะโหลกเล็กๆแต่ต่างจำนวนกัน โดยขึ้นอยู่กับความน่ากลัวของเนื้อหา เช่น ความน่ากลัวอยู่ในระดับปานกลางจะให้ 3 กะโหลก ความน่ากลัวอยู่ในระดับเสียวสันหลังจะได้ 4 กะโหลก และความน่ากลัวระดับขวัญผวาจะได้ 5 กะโหลก ซึ่งถ้วย 5 กะโหลกถือเป็นคะแนนสูงสุด แต่ส่วนใหญ่ หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะให้รางวัลแค่ 4 กะโหลก แต่ในบางครั้ง แก๊งสามช่า มอบหลอดไฟซิลวาเนียเป็นของขวัญ เพื่อสำหรับคนกลัวผีอีกด้วย ซึ่งในรอบนี้ถ้าตอบถูกก็จะได้รับข้อละ 1 คะแนน", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "213416#13", "text": "กติกาในการทายใบหน้านั้นเหมือนเดิม แต่ในเกมทศกัณฐ์ยกทัพนั้น จะแข่งขันในแบบทีม ทีมละ 3 คน โดยจะถูกแบ่งออกเป็นทีม<b data-parsoid='{\"dsr\":[5371,5382,3,3]}'>สีแดง</b>และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[5385,5400,3,3]}'>สีน้ำเงิน ทั้ง 2 ทีมจะถูกสุ่มไฟขึ้นมา โดยเริ่มแรกนั้น ทั้ง 2 ทีมจะส่งตัวแทนออกมาทีมละ 1 คนเพื่อเล่นเกม โดยจะมีภาพใบหน้าของบุคคลให้ก่อน 2 ภาพ ภาพละครึ่งใบหน้า เมื่อภาพขึ้นมาแล้ว ทั้ง 2 ทีมจะต้องชักธงรบ (เหมือนการกดปุ่มไฟ) ไฟติดที่ทีมไหน จะได้เลือกใบหน้าที่จะเล่นและมีสิทธิ์ที่จะเลือกเล่นครึ่งหน้าหรือเต็มหน้า (การทายครึ่งหน้าจะชนะการทายเต็มหน้า) เมื่อเล่นครบทั้งสองคน คนที่แพ้จะต้องลงจากเวที ทีมไหนตกรอบทั้งทีมก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้ไป ทีมที่ชนะจะได้เป็นแชมป์และเข้าไปเล่นรอบแจ๊คพอต ทั้งนี้ ทั้ง 2 ทีมจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "425074#8", "text": "ต่อมาในปีพ.ศ. 2516 คุณแม่ของเธอได้ผลักดันสนับสนุนให้เธอเข้าร่วมประกวดนางงามฮ่องกง (Miss Hong Kong pageant 1973) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดการประกวดโดย สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ด้วยความสวยและคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าผู้เข้าประกวดคนอื่น ๆ ทำให้ในปีนั้นเธอเป็นหนึ่งในหญิงสาวไม่กี่คนที่ได้เป็นตัวเกร็งว่าจะครองมงกุฎนางงามฮ่องกง และในรอบการประกวดชุดว่ายน้ำ ทำให้เธอมีคะแนนนำโด่ แต่น่าเสียดายที่เธอกลับดันมาพลาดในรอบของการตอบคำถาม ซึ่งในคืนนั้นพิธีกรได้ถามคำถามเธอ เกี่ยวกับทางด้านแฟชั่น ซึ่งเธอไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไหร่ ส่งผลให้เธอกดดันและเครียดมากเกินไป เลยตอบคำถามออกมาได้ไม่ดีพอ ทำให้เธอได้รับคะแนนในรอบการตอบคำถาม นั้นน้อยมากและเธอมาแพ้คะแนนในส่วนนี้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรวมคะแนนทุกรอบผลปรากฏว่าเธอสามารถคว้าตำแหน่งรองอันดับ 3 มาครองได้\nโดยเธอได้รับรางวัลคือมงกุฎเพชร, นาฬิกาหรู , เงินสด $1000 ดอลลาร์ฮ่องกง และเธอยังเป็นแค่คนเดียวของกลุ่มนางงามในปีนั้น ที่ได้มีโอกาสเซ็นสัญญาเข้าเป็นนักแสดงในสังกัดของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี อีกด้วย แต่ทว่า...เธอก็ยังคงทำงานที่สายการบินอยู่เหมือนเดิม จึงทำให้เธอมีผลงานไม่มากนักในช่วงแรก เพราะเธอต้องทำงานทั้ง 2 ที่ โดยงานชิ้นแรกของเธอในวงการบันเทิงคืองานเบื้องหลัง โดยเธอได้ไปเป็นผุ้ช่วยผู้กำกับบท ถันเจียหมิง เพราะเธอต้องการที่จะเรียนรู้ทุกอย่างของระบบการทำงานในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ จากการเป็นผู้ช่วยผู้กำกับจึงทำให้เธอได้เริ่มต้นจากการทำงานขั้นพื้นฐานก่อนเลย โดยแรกเริ่มเธอต้องเรียนรู้เกี่ยวกับงานหลายด้านทั้งงานในฝ่ายการผลิต, ฝ่ายผู้ช่วยคณะกรรมการ รวมไปถึงงานในฝ่ายจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากเสื้อผ้า และอื่น ๆ ซึ่งเธอสามารถเรียนรู้ทุกอย่างได้อย่างรวดเร็วในเวลาที่สั้นมาก จนสามารถที่จะเข้าใจโปรแกรมและขั้นตอนในการดำเนินงานได้อย่างละเอียดทั้งหมด หลังจากได้เรียนรู้งานเบื้องหลังทั้งหมดแล้ว ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบีได้ย้ายเธอไปอยู่ฝ่ายรายการวาไรตี้โดยมอบหมายให้เธอรับหน้าที่เป็นพิธีกรในรายการเกมส์โชว์รายการหนึ่ง ที่ชื่อว่า เกมส์สนุกสุดหรรษา เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะของเธอในวงการบันเทิง ", "title": "จ้าว หย่าจือ" }, { "docid": "727084#6", "text": "ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ได้เพิ่มกติกาใหม่ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายจากแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 15 แผ่นป้าย โดยพิธีกรหลักที่ทำหน้าที่อยู่ในขณะนั้นจะเปิดแผ่นป้ายก่อนว่าสไลด์เดอร์จะยกกี่ขั้นในการตอบคำถามนั้นๆ ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1-3 ขั้น อย่างละ 5 แผ่นป้าย ซึ่งสไลด์เดอร์ของดารารับเชิญหรือพิธีกรหลักก็จะยกตามจำนวนขั้นที่เปิดได้ (เช่นหากเปิดได้ 3 และดารารับเชิญตอบถูก ฝ่ายพิธีกรก็จะยก 3 ขั้น) ทำให้ดารารับเชิญมีโอกาสในการจบเกมเร็วยิ่งขึ้นหากตอบคำถามถูก", "title": "จารบีปีเสือ" }, { "docid": "146940#0", "text": "เกมทศกัณฐ์ ยกสยาม (เดิมชื่อ เกมทศกัณฐ์ ยกสยาม) เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ที่เน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ถ่ายทอดผ่านเกมได้อย่างสนุกสนาน เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 18.30 น. ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล", "title": "ยกสยาม" }, { "docid": "679482#8", "text": "ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2558 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาในรอบที่ 3 เป็น ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน จะผลัดกันตอบคำถามคนละ 1 ข้อเพื่อสะสมคะแนนภายในจำนวนคำถามที่จำกัดเพียง 30 ข้อ แต่ละข้อมีเวลา 10 วินาทีในการตอบเช่นเดิม สามารถตอบได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง หากตอบถูกจะได้คะแนนในข้อนั้นไป หากผู้เข้าแข่งขันยังตอบไม่ได้ สามารถใช้สิทธิ์ \"ข้ามคำถาม\" ข้อนั้นได้ โดยจะต้องบอกว่า \"ข้าม\" ก่อนที่เวลา 10 วินาทีจะหมดลง แล้วผู้เข้าแข่งขันลำดับถัดไปจะได้ตอบคำถามข้อนั้นแทนและถ้าตอบถูกก็จะได้คะแนนในข้อนั้นไปเช่นกัน และถ้าหากผู้เข้าแข่งขันบอก \"ข้าม\" คำถามข้อนั้นจนครบทุกคน พิธีกรจะทำการเฉลยคำตอบพร้อมกับเปลี่ยนคำถามใหม่ หลังจากครบ 30 ข้อแล้ว ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะ \"หงายเก๋ง\" ตกรอบ แต่ทั้งนี้ยังคงมีเงื่อนไขเดิมคือหากผู้เข้าแข่งขันคนใดที่ยังตอบไม่ได้แล้วเวลา 10 วินาทีหมดลงเมื่อใด เกมจะจบลงและผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะต้อง \"หงายเก๋ง\" ตกรอบทันทีโดยไม่สนว่าจะตอบถูกมาก-น้อยแค่ไหนหรือพิธีกรถามไปแล้วกี่ข้อก็ตาม (ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนไดัน้อยที่สุดมีเท่ากันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะต้องทำการแข่งขันต่อด้วยชุดคำถามพิเศษเพื่อตัดสินโดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะไม่มีสิทธิ์ \"ข้ามคำถาม\" ได้เหมือนในรอบปกติ ผู้เข้าแข่งขันคนใดที่ตอบไม่ได้ภายในเวลา 10 วินาทีจะต้อง \"หงายเก๋ง\" ตกรอบ)", "title": "เกมแจกเก๋ง" }, { "docid": "213416#24", "text": "เกมทศกัณฐ์ คุณสุรีย์พร แป้นคุ้มญาติ แชมป์ทศกัณฐ์ 25 สมัยที่ได้พิชิต 10 หน้าเป็นคนแรกของรายการ พร้อมเงินรางวัล 2,465,000 บาท ถูกโค่นแชมป์โดย คุณบวรศักดิ์ คุณบวรศักดิ์ แชมป์ทศกัณฐ์ 9 สมัย รับเงินรางวัล 95,000 บาท คุณน้ำผึ้ง เพทายรำลึก แชมป์ทศกัณฐ์ 15 สมัย รับเงินรางวัล 220,000 บาท คุณไพโรจน์ กลั่นวารี แชมป์ทศกัณฐ์ 18 สมัย รับเงินรางวัล 235,000 บาท คุณวีสวัส กระต่ายทอง แชมป์ทศกัณฐ์หญิงคนแรกที่อยู่ยาวนานถึง 48 สมัย และ โค่นสถิติแชมป์อย่าง คุณสุรีย์พรลงได้ พร้อมเงินรางวัล 1,270,000 บาท คุณพินิจ ศิระถิรกุล แชมป์ทศกัณฐ์ชายคนแรกที่สามารถโค่นสถิติแชมป์อย่าง คุณวีสวัสลงได้ และเป็นแชมป์ยาวนานที่สุดถึง 49 สมัยและถูกโค่นแชมป์โดย คุณสมพร พิณตะคุ พร้อมเงินรางวัล 1,275,000 บาท คุณสมพร พิณตะคุ แชมป์ทศกัณฐ์ 17 สมัย เป็นคนที่ 2 ต่อจากคุณสุรีย์พร แป้นคุ้มญาติที่ได้พิชิต 10 หน้า และได้แจ็กพอต 10 ล้านบาทเป็นคนแรกของรายการ เกมทศกัณฐ์ พร้อมเงินรางวัล 10,230,000 บาท เกมทศกัณฐ์ปางใหม่ คุณวิน เภรีฤกษ์ แชมป์ทศกัณฐ์ 39 สมัย เป็นคนที่ 3 ต่อจากคุณสุรีย์พร และคุณสมพรที่ได้พิชิต 10 หน้า และได้แจ็กพอต 10 ล้านบาทเป็นคนที่ 2 ต่อจากคุณสมพร และเป็นคนแรกในรูปแบบปางใหม่ ที่สำคัญเป็นเจ้าของสถิติเงินรางวัลสูงสุดของรายการเกมทศกัณฐ์ทุกแบบ รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น 10,530,000 บาท เกมทศกัณฐ์หน้าทอง คุณชิดพงศ์ แก้วผสม แชมป์ทศกัณฐ์ 14 สมัย ที่ได้เป็นแชมป์ทศกัณฐ์หน้าทอง รางวัลทศกัณฐ์หน้าทองคำมูลค่า 1,000,000 บาท และ เงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้นมูลค่า 1,215,000 บาท รวมถึงยังทำสถิติทายถูกติดต่อกันได้สูงสุดถึง 39 หน้า เกมทศกัณฐ์ยกทัพ ทัพเด็กสร้างบ้าน ประกอบด้วย ศรีวรา/วรรวณิชย์/พิชญ์ปิยา สามารถเป็นแชมป์ทศกัณฐ์ยกทัพ และเป็นทัพแรกที่อยู่ยาวนานที่สุดถึง 114 สมัย พร้อมเงินรางวัล 1,560,000 บาท [1] , [2] ทัพเล็กชิ้นสด ประกอบด้วย เมตไตร/โตมร/ปริญญา เป็นแชมป์ทศกัณฐ์ยกทัพถึง 76 สมัย เป็นทัพที่ 2 ที่อยู่ยาวนานที่สุด พร้อมเงินรางวัล 800,000 บาท [3] ทัพพลพลคนหน้าเหมือน เป็นแชมป์ทศกัณฐ์ยกทัพถึง 41 สมัย เป็นทัพที่สาม ที่อยู่ยาวนานสุด พร้อมเงินรางวัล 650,000 บาท [4] เกมทศกัณฐ์จำแลง คุณสุภัค ทองธรรมโชติ แชมป์ทศกัณฐ์จำแลงคนแรกที่อยู่ยาวนานถึง 28 สมัย คุณชมพู ทองธรรมโชติ เป็นลูกสาวของ คุณสุภัค ทองธรรมโชติ และเป็นแชมป์ทศกัณฐ์จำแลงคนที่สองที่อยู่ยาวนานถึง 56 สมัย เกมทศกัณฐ์ช่วยครูใต้ ดารารับเชิญที่มาร่วมตอบคำถามไปช่วยครู 3 จังหวัดชายแดนใต้ทั้งหมด 15,295,025 บาท ยกสยาม ยกสยามปี 1 จังหวัดระนองเป็นแชมป์ยกสยามปี 1 ที่ฝ่าฟันทั้ง 76 จังหวัดและคว้าแชมป์ยกสยามปีในปีแรกได้สำเร็จ พร้อมรับพระราชทานแผ่นเกียรติยศจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารและเงินรางวัลจากทรูมูฟมูลค่า 10,000,000 บาท ยกสยามปี 2 จังหวัดนนทบุรีเป็นแชมป์ยกสยามปี 2 ที่สามารถเอาชนะจังหวัดทั่วทั้งประเทศในยกสยามปี 2 ได้สำเร็จ พร้อมรับพระราชทานแผ่นเกียรติยศ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารและเงินรางวัลจากทรูมูฟมูลค่า 1,000,000 บาท (แชมป์แต่ละภาคทั้งหมด 5 ภาคจะได้ไปก่อนทีมละ 1,000,000 บาท ก่อนที่จะเข้ามาแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ) ยกสยาม ๑๐๐ ข้อ ทีมอาจารย์และลูกศิษย์จากสถาบันกวดวิชาเดอะติวเตอร์ สามารถคว้ารางวัลรถยนต์ นิสสัน มาร์ช มูลค่า 537,000 บาทได้สำเร็จ จากการตอบคำถามถูกต้องทั้ง 15 ข้อติดต่อกัน ยกสยาม ๑๐ ข้อ ศุภักษร ไชยมงคล และ ชาลิสา บุญครองทรัพย์ (แจ๊คพอต - เงินสด 1,000,000 บาท จาก ทรูมูฟ) กรรชัย กำเนิดพลอย และ เมย์ เฟื่องอารมย์ (แจ๊คพอต - รถยนต์โตโยต้า วีออส จำนวน 1 คัน มูลค่า 714,000 บาท) นภัทร อินทร์ใจเอื้อ และ วาโย อัศวรุ่งเรือง (แจ๊คพอต - เงินสด 1,000,000 บาท จาก ทรูมูฟ) รวมรางวัลแจ็คพอตทั้งสิ้น 2,714,000 บาท", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "213416#19", "text": "รูปแบบการเล่นในเกมทศกัณฐ์จำแลง จะเป็นการทายใบหน้าจากคำใบ้ที่กำหนด โดยจะสุ่มผู้เข้าแข่งขันขึ้นมาเล่น ในเกมนี้จะแข่งกัน 2 คน โดยกติกาเริ่มแรกสุดคือทั้ง 2 ฝ่ายต้องแข่งกดไฟเพื่อชิงสิทธิ์เล่นก่อน โดยจะมีคำใบ้ปรากฏบนหน้าจอของตัวเอง มาคำใบ้มาแล้ว ต้องแข่งกันกดไฟ ใครกดได้ก่อน มีสิทธิ์ได้เล่นในคำใบ้นี้ จากนั้นจะปรากฏใบหน้า 3 ใบหน้าเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันทาย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายให้ถูกว่าคำใบ้ที่ได้มาหมายถึงบุคคลใดใน 3 คนนี้ ถ้าตอบถูกจะได้ 1 คะแนน และมีสิทธิ์เล่นในข้อต่อไป หากตอบผิด เกมจะหยุดลงทันที หากผู้เข้าแข่งขันไม่มั่นใจสามารถโยนได้ 1 ครั้ง ซึ่งหลักการโยน มีลักษณะเช่นเดียวกับเกมทศกัณฐ์ในรูปแบบแรก นั่นคือ หากโยนมาแล้วอึกฝ่ายหนึ่งตอบถูก เกมของผู้ที่โยนมาต้องหยุดลงทันที แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งตอบผิด ผู้ที่โยนมาจะมีสิทธิ์เล่นต่อไป โดยที่ใบหน้าที่โยนไปจะไม่มีผลต่อคะแนน เมื่อฝ่ายหนึ่งเล่นเสร็จ อีกฝ่ายหนึ่งจะได้เล่นในกติกาเดียวกัน เมื่อจบการแข่งขันของทั้ง 2 ฝ่าย ใครมีคะแนนมากกว่า จะได้เป็นแชมป์", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "472285#1", "text": "รามเกียรต์ หรือ รามายณะ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาวรรณกรรมเอเชีย ภาพการขับเคี่ยวที่พิสดารอลังการของฝ่ายพลับพลากับฝ่ายกรุงลงกา เส้นขนานของธรรมะและอธรรมรามและทศกัณฐ์ จึงเป็นขั้วที่ไม่เพียงยืนหยัด อยู่คนฝ่าย แต่ยังเป็น ศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องฟาดฟันกันให้แหลกลาญ “คนที่เป็นศัตรูกันต้องต่อสู้กันตลอดไปจริงหรือ?” กี่พันปีมาแล้วที่ทศกัณฐ์และพระรามเป็นศัตรูกัน กี่พันปีมาแล้วที่ทหาเอกของพระรามอย่างหนุมานต้องทำหน้าท่าปราบอธรรมให้สิ้นซาก คำถามนี้คือ จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ยักษ์” โดย “ประภาส ชลศรานนท์” โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จและฉายในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาสร้าง 6 ปี", "title": "ยักษ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "34358#1", "text": "หมากรุกไทย มีประวัติเริ่มในอินเดีย โดยมาจากตำนานของรามเกียรติ์ ตามตำนานกล่าวว่า ฝ่ายทศกัณฐ์นั้น เมื่อมีศึกเข้าประชิด นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ เห็นทศกัณฐ์เครียดกับการศึกจึงคิดหาเกมให้สวามีได้ผ่อนคลาย โดยคิดเป็นเกมหมากรุกขึ้น โดยแต่เดิมใช้คนเล่น 4 คน เรียกว่า จตุรังกา แต่ในภายหลังได้รับการปรับปรุงจนสามารถใช้ผู้เล่นเพียง 2 คนได้", "title": "หมากรุกไทย" }, { "docid": "148402#38", "text": "ในปี พ.ศ. 2559 รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองนั้นจะมีกล่องอยู่ 4 ใบด้วยกัน ซึ่งในกล่องจะมีทองคำแท่งในจำนวนที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 0-9 แท่ง โดยให้ผู้เข้าแข่งขันที่สะสมแต้มจาก 3 เกมที่ผ่านมามากที่สุดได้เลือกกล่องก่อน ตามด้วยผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนรองลงมาตามลำดับ จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะตรวจสอบกล่องของตัวเองที่เลือกว่ามีทองกี่แท่ง เรื่มจากผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยที่สุดตามลำดับ และเมื่อครบทั้ง 3 คนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีสิทธิ์แลกกล่องกับใครก็ได้ หรือจะไม่แลกก็ได้ เรื่มจากผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยที่สุดตามลำดับ โดยหลังจากการแลกทุกครั้ง ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองที่แลกกล่องสามารถตรวจสอบกล่องใหม่ของตัวเองว่ามีทองกี่แท่ง โดยผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนรวมมากที่สุดจะได้รับสิทธิพิเศษ คือสามารถแลกกล่องของตัวเองกับกล่องที่ไม่ถูกเลือกได้ (หลังจากเทปแรก ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้รับทองเพื่มอีก 1 แท่งด้วย) หลังจากผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนแลกกล่องเรียบร้อยแล้ว พิธีกรจะเปิดกล่องของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน โดยผู้เข้าแข่งขันที่มีทองในกล่องของตัวเองมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ และได้รับทองคำมูลค่า 30,000 บาทเป็นรางวัล (ในกรณีที่มีผู้แข่งขันที่มีทองแท่งมากที่สุดเท่ากัน 2 คน ทองคำมูลค่า 30,000 บาทจะถูกแบ่งให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน) ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 25,000 บาท", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "213416#0", "text": "เกมทศกัณฐ์ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี สร้างสรรค์และควบคุมการผลิตโดย รุ่งธรรม พุ่มสีนิล", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "213416#3", "text": "เกมทศกัณฐ์ (1 เมษายน 2546 - 31 มีนาคม 2548) รวม 1 ปี 11 เดือน 30 วัน ทศกัณฐ์ยกทัพ (31 ตุลาคม 2548 - 29 ธันวาคม 2549) รวม 1 ปี 1 เดือน 28 วัน ทศกัณฐ์จำแลง (1 มกราคม 2550 - 15 มิถุนายน 2550) รวม 6 เดือน 14 วัน ทศกัณฐ์ยกสยาม (18 กุมภาพันธ์ 2551 - 25 กุมภาพันธ์ 2553) รวม 2 ปี 7 วัน ยกสยาม ๑๐๐ ข้อ (1 มีนาคม 2553 - 2 มิถุนายน 2553) รวม 3 เดือน 1 วัน ยกสยาม ๑๐ ข้อ (3 มิถุนายน 2553 - 28 กุมภาพันธ์ 2554) รวม 8 เดือน 25 วัน", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "461175#14", "text": "เป็นรายการที่ล้อเลียนรายการเกมโชว์ควิซโชว์ชื่อดังในขณะนั้นอย่าง เกมทศกัณฐ์ ของ ปัญญา นิรันดร์กุล เป็นการล้อเลียนการทายใบหน้าบุคคล ทั้งนี้มีบางหน้าที่ปรากฏออกมาให้เรียกเสียงฮาของผู้ชม โดยมีผู้ดำเนินรายการที่ใช้ชื่อว่า คุณปั้นหยา (แต่ผู้แสดงเป็นคนละคนกับรายการแฟนพันธุ์ทองแท้)", "title": "ทีวีเบลอเบลอ" }, { "docid": "850480#1", "text": "จารชนฝึกหัดทั้ง 4 คนจะถูกมัดไว้และจะต้องผลัดกันทายตัวเลข 0-99 ตามลำดับ โดยพิธีกรจะบอกใบ้ว่าเลขที่ตอบไปนั้นใกล้เคียงเลขอันตรายหรือไม่ ถ้าพิธีกรบอกว่าตัวเลขที่ทายออกมามากไปหรือน้อยไป ตัวเลขที่ทายพร้อมทั้งตัวเลขที่อยู่ในช่วงที่พิธีกรใบ้จะถูกตัดออก เช่น หากผู้แข่งขันคนแรกทายว่า 25 แล้วพิธีกรบอกว่า น้อยไป ตัวเลขตั้งแต่ 0-25 จะถูกตัดออก และผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปจะทายเลขต่อ ๆ ไปจนกระทั่งมีผู้ทายตัวเลขตรงกับเลขอันตราย จารชนฝึกหัดคนนั้นจะถูกยิงด้วยกระสุนแป้งและจะโดนบทลงโทษซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์และไม่ได้คะแนนในรอบนี้ไป ส่วนจารชนฝึกหัด 3 ท่านจะได้คะแนนสะสมคนละ 1 คะแนน แต่ถ้าจารชนฝึกหัดคนนั้นเลือกเลขแล้วโดนพิฆาตคนแรก เกมจะจบทันทีในรอบนี้จะมีคำปริศนาอยู่ 4 คำ โดยในแต่ละคำ จารชนฝึกหัดแต่ละคนจะต้องไปเป็นตัวประกันอยู่ด้านบนสไลเดอร์ แล้วเลือกคำปริศนา 1 คำ จากนั้นพิธีกรจะกำหนดตัวอักษรที่ตัวประกันจะต้องใบ้คำสำหรับคำปริศนานั้น (เช่น ถ้าพิธีกรกำหนดตัวอักษร \"ด\" ตัวประกันจะต้องใบ้เป็นเสียงพยัญชนะ ด.เด็กเท่านั้น หากใบ้เป็นเสียงพยัญชนะอื่น จะถือว่าฟาล์ว) โดยตัวประกันจะมีสิทธิ์ใบ้คำ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 วินาที หลังจากใบ้เสร็จ จารชนฝึกหัดอีก 3 คนที่เหลือจะมีสิทธิ์กดไฟ ไฟติดที่ใคร คนนั้นจะมีโอกาสตอบ 1 คำตอบ ถ้าตอบถูกจะถือว่าช่วยตัวประกันได้สำเร็จ แต่ถ้าตอบไม่ถูก ตัวประกันจะต้องออกมาใบ้เพิ่มอีก 1 ครั้ง", "title": "เกมจารชน คู่หูอันตราย" }, { "docid": "815535#1", "text": "เกมจารชนนับเป็นรายการแรกของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่ได้ถูกซื้อลิขสิทธิ์จากอินโดนีเซีย หลังจากได้รับรางวัลเอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2544ในรอบแรกจะมีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 5 คน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จะถูกมัดเข้ากับเสาโดยสมมุติบทบาทเป็นจารชนที่ถูกจับตัวได้ เมื่อเกมเริ่มต้น ผู้เข้าแข่งขันทายตัวเลข 0-99 โดยพิธีกรจะบอกใบ้ว่าใกล้เคียงเลขอันตรายหรือไม่ ถ้าพิธีกรใบ้ว่า ตัวเลขที่ทายออกมาไม่ใช่เลขอันตรายซึ่งพิธีกรจะบอกว่ามากไปหรือน้อยไป ตัวเลขที่ทายพร้อมทั้งตัวเลขที่อยู่ในช่วงที่พิธีกรใบ้จะถูกตัดออก เช่น หากผู้แข่งขันคนแรกทายว่า 25 แล้วพิธีกรบอกว่า \"น้อยไป\" ตัวเลขตั้งแต่ 0-25 จะถูกตัดออก และผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปจะทายเลขต่อ ๆ ไปจนกระทั่งมีผู้ทายตัวเลขตรงกับเลขอันตราย (หากเหลือจำนวนตัวเลขน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน พิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกเลขที่เหลือคนละตัวตามลำดับการเล่น จากนั้นจะเฉลยเลขอันตรายทันที) ผู้เข้าแข่งขันที่ทายตรงกับเลขอันตราย จะถูกยิงด้วยกระสุนแป้งและตกรอบทันที (ในเทปสงกรานต์จะใช้น้ำ+แป้งในขันสาดผู้เข้าแข่งขัน)", "title": "เกมจารชน" }, { "docid": "206266#6", "text": "ในยุคแรกนั้น (ตั้งแต่ 17 มกราคม 2533 ถึง 29 มกราคม 2535) เกมในช่วงนี้จะเหลือผู้เข้าแข่งขันเพียง 3 คู่เท่านั้น แล้วแต่ละทีมก็จะมีแท่งคะแนนอยู่ทีมละ 4 แท่ง (ต่อมาเหลือทีมละ 2 แท่ง) ผู้แข่งขันคู่ที่มีคะแนนมากที่สุดจากรอบชิงบ๊วย จะมีสิทธิ์เลือกว่าจะแข่งกับคู่ใดก่อน แล้วหลังจากนั้นพิธีกรจะมีข้อมูลหรือคำถามให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่ว่าในข้อมูลหรือคำถามนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือคำถามนั้น (ในปี 2533 แผ่นคำถามจะอยู่ที่พิธีกร โดยคุณปัญญาจะเป็นคนถามคำถามให้กับผู้เล่นคู่แรกก่อน และคุณมยุราจะเป็นคนถามคำถามให้กับผู้เล่นอีกคู่หนึ่ง ต่อมาในปี 2534-2535 จะมีแผ่นคำถาม 1-10 ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือก) แล้วให้ใครคนใดคนหนึ่งในคู่นี้ผลัดกันตอบในเวลาเพียง 10 วินาที ถ้าตอบสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องหรือตอบซ้ำกันจะมีเสียงสัญญาณว่าผิด และถ้าพูดซ้อนกันว่าถือว่าแพ้ฟาล์ว ถ้าใครคนใดคนหนึ่งเกิดคิดไม่ออกนึกไม่ออกว่าจะตอบอะไรให้พูดคำว่า \"ชิงร้อยชิงล้าน\" ซึ่งหมายถึงให้ผ่านหรือข้ามนั่นเอง (ตั้งแต่ 17 มกราคม 2533 ถึงพฤษภาคม 2536 นั้นกลายเป็นคำวลีฮิต \"ถ้าหากคิดไม่ออก บอกชิงร้อยชิงล้าน\") โดยคู่ที่เล่นเสร็จก่อนจะมีสิทธิ์เลือกว่า จะใช้แท่งคะแนนในคู่ของตนเองโจมตีอีกคู่หนึ่งกี่แท่งคะแนน และอีกคู่หนึ่งจะต้องทำคะแนนให้มากกว่าเพื่อเอาแท่งคะแนนที่โจมตีนั้น แต่ถ้าอีกคู่ทำคะแนนน้อยกว่า จะต้องเสียแท่งคะแนนให้กับคู่ที่เล่นก่อนหน้านั้นไปแล้ว แต่ถ้าเสมอกันจะไม่มีใครเสียแท่งคะแนน คู่ใดที่เสียแท่งคะแนนไปจนหมดเลยจะตกรอบทันที จนกระทั่งเหลือ 1 คู่ที่มีแท่งคะแนนมากที่สุด คู่นั้นจะผ่านเข้ารอบ Jackpot หรือ รอบชิงล้านนั่นเอง", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก)" }, { "docid": "674776#27", "text": "เพลงฮิตผิดเนื้อ แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม วงดนตรีจะเล่นเพลงโดยร้องเนื้อท่อนสุดท้ายผิด คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าท่อนสุดท้ายที่ถูกต้องร้องว่าอะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ ต่อตาตั้ง แต่ละทีมจะต้องผลัดกันนำลูกเต๋าที่มีหน้าซุป'ตาร์มาวางตั้งเรียงกันตามคำใบ้ของพิธีกรให้ถูกต้องตามลำดับ หากเรียงผิด ตรงฐานวางจะมีสปริงดีดทำให้ลูกเต๋าหล่นลงมา ผู้เล่นที่เรียงผิดจะต้องเรียงใหม่ตั้งแต่ต้น มีเวลา 120 วินาที เพลงเพราะ ไมค์เพี้ยน แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาร้องเพลงโจทย์ให้เพื่อนร่วมทีมทาย โดยเสียงจะเพี้ยนผิดคีย์ไปตามแต่ทางรายการจะปรับไว้ให้ เพื่อเพิ่มความยากในการทาย เพื่อนร่วมทีมคนไหนตอบถูก จะต้องวิ่งออกมาร้องเพลงต่อไปแทน มีเวลาเล่น 90 วินาที ซุป'ตาร์ มาเป็นภาพ ในเกมนี้จะเป็นเกมใบ้ชื่อซุป'ตาร์ รูปแบบของคำถามจะคล้ายคลึงกับคำถามของรายการ Davinci เกมถอดรหัส และคำถามของรายการ ดารามหาชน ในช่วง \"ดารามาเป็นภาพ\" เมื่อทายถูกก็จะผ่านไปยังคำใบ้ชุดต่อไป มีเวลา 90 วินาที นักวาดมือไว ในเกมนี้ทุกคนจะมีกระดานแขวนคอไว้คนละ 1 กระดาน พร้อมม่านบังเพื่อไม่ให้เห็นกระดานตัวเอง พิธีกรจะมีหมวดหมู่มาให้ จากนั้นผู้เล่น 1 คน ของแต่ละทีมจะเป็นผู้วาด โดยต้องวาดโดยห้ามมองว่าตัวเองวาดอะไรลงไปบ้าง ให้เพื่อนร่วมทีมทาย หากทายถูกจะได้คะแนน ผู้เล่นของแต่ละทีมคนถัดไปจะขึ้นมาเป็นผู้วาดแทน ถอดภาพทายเพลง แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะเปิดภาพปริศนาที่จะสื่อถึงเพลงนั้นๆ คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าภาพปริศนานี้สื่อถึงเพลงที่มีชื่อว่าอะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ หากยังไม่มีใครตอบได้ พิธีกรจะมีคำใบ้ให้ โอบ อุ้ม อึด แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนเป็นคนถือลูกบอล จากนั้นพิธีกรจะเชิญผู้แข่งขันที่เหลือมาจับคู่ตอบคำถามจากภาพปริศนา ซึ่งจะเป็นรูปดารา โดยจะให้คำใบ้เป็นชื่อเล่นดารา พร้อมกับคำใบ้ปริศนา ซึ่งคำตอบจะเป็นชื่อจริงของดาราบวกกับคำตอบของคำใบ้ปริศนา ซึ่งทั้งชื่อจริงดาราและคำใบ้ปริศนาจะต้องออกเสียงคล้ายกัน คนที่กดปุ่มก่อนจะมีสิทธิ์ตอบก่อน หากตอบถูกจะได้คะแนน และทีมตรงข้ามจะต้องถือลูกบอลเพิ่ม หากทีมใดทำลูกบอลตก เกมจะยุติทันที และทีมที่ยังคงถือลูกบอลได้อยู่จะได้คะแนนเพิ่ม 5 คะแนน กล่องลับวิลลี่ แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม แล้วพิธีกรจะถามคำถามที่มีคำตอบเป็นตัวเลข คนที่กดปุ่มจะมีสิทธิ์ตอบ ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนไป และคนที่อยู่ทีมตรงข้ามจะต้องมาหมุนกล่องเป็นจำนวนตามคำตอบของคำถามแต่ละข้อ ในกรณีที่คนที่กดปุ่มตอบผิด คนที่กดปุ่มจะต้องมาหมุนกล่องเอง ถ้าหมุนกล่องแล้วกล่องเปิดเป็นหน้าพิธีกร ผู้แข่งขันจะต้องยุติการเล่นและไปนั่งที่เคาน์เตอร์บาร์ ในกรณีที่หมุนกล่องออกมาเป็นหุ่นพิธีกร เกมจะยุติทันที และแต่ละทีมจะได้คะแนนเพิ่มตามจำนวนสมาชิกในทีม ดวลใบ้ไร้มือ ในเกมนี้จะให้หัวหน้าทีมเป็นคนทายคำ จากการใบ้ของเหล่าดาราแต่ละคนซึ่งจะถูกมัดมือและห้ามใช้เสียงในการใบ้ หากทายถูกจะได้คะแนน ในเกมนี้จะมีการใบ้คำอยู่ 2 หมวดหมู่ โดยหมวดหมู่แรกจะให้มือที่โดนมัดอยู่ด้านหน้า และหมวดหมู่ที่สองจะให้มือที่โดนมัดอยู่ด้านหลัง", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "213416#2", "text": "รายการ เกมทศกัณฐ์ ออกอากาศทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์รายการแรกที่รางวัลแจ๊คพอตที่มีเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ล้านบาทนับถือว่าเป็นรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุดในวงการของรายการเกมโชว์โทรทัศน์ไทยและในเอเชีย (โดยเฉพาะ \"เกมทศกัณฐ์ยกทัพ\" ที่มีรางวัลแจ๊คพอตสูงถึง 30 ล้านบาท) เพียงตอบคำถามใบหน้าของบุคคลที่มีชื่อเสียงสำคัญ ๆ ของคนทั่วทั้งโลก ตอบถูกครบ 10 หน้า รับไปเลยรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุด 10 ล้านบาทและนับตั้งแต่ออกอากาศเกมทศกัณฐ์จนไปถึงยกสยาม เป็นเวลาเกือบ 8 ปีทางรายการได้แจกรางวัลไปทั้งหมดเกือบ 70 ล้านบาท", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "953968#2", "text": "กติกาในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนต้องแย่งกันกดสัญญาณไฟเพื่อตอบคำถามของพิธีกรให้ถูกต้อง 1 ข้อ เพื่อเข้ารอบถาม-ตอบ โดยรอบนี้ต้องการผู้เข้ารอบ 2 คน ถ้าเกิดมีผู้เข้าแข่งขันกดสัญญาณไฟได้แล้วตอบผิด พิธีกรจะเฉลยคำถามข้อที่ตอบผิดแล้วเริ่มถามคำถามข้อใหม่ โดยที่ผู้เข้าแข่งขันที่ตอบผิดเมื่อแย่งกดสัญญาณไฟแล้วไม่สามารถตอบผิดได้อีก ถ้าตอบผิดอีกครั้งตกรอบทันที (ยกเว้นเกมจิ๊กซอว์, คุณสมบัติ, และเกมประเภทวีดีโอบางเกมที่เมื่อใครตอบผิด พิธีกรจะไม่ถามคำถามข้อใหม่ โดยจะต้องเล่นต่อจนกว่าจะมีผู้ตอบถูก)", "title": "แฟนพันธุ์แท้ 2018" }, { "docid": "213416#4", "text": "ทศกัณฐ์ ศึกทศกัณฐ์หน้าทอง (1 เมษายน 2548 - 28 ตุลาคม 2548) รวม 9 เดือน 27 วัน ทศกัณฐ์ช่วยครูใต้ (18 มิถุนายน 2550 - 15 กุมภาพันธ์ 2551) รวม 8 เดือน 27 วัน", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "251327#13", "text": "ทีมดารารับเชิญจะเลือกแผ่นป้ายตัดสินคะแนน ซึ่งคะแนนที่ได้จากการแข่งขันจะตัดสินจำนวนป้ายว่าจะเปิดกี่ป้าย โดยถ้าฝ่ายใดได้คะแนนจากทั้ง 2 เกม จะได้เปิด 2 แผ่นป้าย อีกทีมหนึ่งจะได้เลือก 1 แผ่นป้าย แต่ถ้าทั้งสองทีมชนะทีมละเกม จะมีสิทธิ์เลือกทีมละ 1 แผ่นป้าย\nโดยแผ่นป้ายป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย มีแผ่นป้าย 0-9 อย่างละ 1 ป้าย แผ่นป้ายโชคดีเป็นรูปใบหน้าคนยิ้มและแผ่นป้ายโชคร้ายเป็นรูปหัวกะโหลกอย่างละ 1 แผ่นป้าย ทีมดารารับเชิญจะต้องเลือกแผ่นป้าย ให้ทีมพิธีกรก่อนแล้วค่อยเลือกให้ทีมตัวเอง (ยกเว้นในกรณีที่พิธีกรได้เลือก 2 แผ่นป้าย ทีมดารารับเชิญจะต้องเลือกให้ตัวเองก่อน)\nวิธีการตัดสินคือ ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าจะได้มิสิทธิ์เป็นฝ่ายเลือกล้วงลับฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายตัวเอง อีกกรณีหนึ่ง ถ้าฝ่ายใดได้รูปโชคดี จะเป็นฝ่ายชนะและสามารถเลือกล้วงลับฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายตัวเองได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเจอป้ายโชคร้าย จะเป็นฝ่ายแพ้ไป อีกฝ่ายจะมีสิทธิ์เลือกล้วงลับฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายตัวเองได้ โดยเลือกใครคนหนึ่งหรือทั้งสามคนมาล้วงความลับ", "title": "ล้วงลับตับแตก" }, { "docid": "139354#12", "text": "ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้แข่งขัน 3 ท่าน จะต้องแข่งกันตอบคำถามสะสมเงินรางวัล โดยแต่ละคำถามนั้นจะมาจากละครที่พิธีกรทั้ง 4 คนได้เล่นกัน ซึ่งเกี่ยวกับของดีสี่ภาค หรือเคล็ดลับ โดยจะมีดาราหรือนักร้องมารับเชิญร่วมเล่นละครกับพิธีกร บางครั้งอาจจะให้พิธีกรปรัศนี 3 คน (จ๋า, เทพ และ ถนอม สามโทน) มาร้องเพลงแล้วให้ผู้แข่งขันทายว่า ใครร้องเพลงได้ถูกต้องที่สุด หรือบางครั้งจะเป็นการแข่งขันเกมแบบทีมระหว่างผู้เข้าแข่งขันกับทีมพิธีกร ซึ่งเกมจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์", "title": "มาสเตอร์คีย์" }, { "docid": "134806#20", "text": "รูปแบบแรก เป็นรูปแบบของเกมวางระเบิด ที่ใช้ในรายการมาตลอด คือจะมีแผ่นป้ายลูกระเบิด ซึ่งจำนวนแผ่นป้ายทั้งหมดขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เล่นคือแขกรับเชิญ และพิธีกรร่วม (ยกเว้นพิธีกรหลัก) แต่ละแผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดแตกต่างกันไป (2539 – 2540 มี 4 แผ่นป้าย ,2540 – 2542 มี 5 แผ่นป้าย ,2542– 2546 มี 6 แผ่นป้าย ,2548 – 2552 มี 8 แผ่นป้าย )เมื่อนำจำนวนลูกระเบิดทุกป้ายกับจำนวนลูกระเบิดของพิธีกรหลัก (1 ลูก) มารวมกัน ก็จะได้เท่ากับจำนวนแผ่นป้าย (ลูกระเบิด) ทั้งหมดในรอบเกมถอดสลักระเบิด คือ 18 ลูก(ปี 2541 – 2542 มีเพียง 15 ลูก) จะมีกติกาการเลือกโดยดารารับเชิญ จะต้องเลือกแผ่นป้ายให้กับตัวเอง และพิธีกรร่วมทั้งหมด ยกเว้นพิธีกรหลักซึ่งลูกระเบิดอยู่แล้ว 1 ลูก (ในยุคแรกๆคือช่วงวันที่ 7 เมษายน – 10 พฤษจิกายน 2539 พิธีกรหลักคือมยุราจะไม่มีลูกระเบิด ) เมื่อเลือกได้ครบทุกคนแล้วจะทำการเปิดดูแต่ละแผ่นป้ายซึ่งเป็นป้ายดึงแบบยางยึด(ในช่วงวันที่ 5 กรกฎาคม - 26 ตุลาคม 2540 ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการเปิดป้ายยางยืดมาเป็นดึงแท่นระเบิดหรือที่เรียกกันว่าคลังแสงระเบิดแทนชั่วคราว) เพื่อดูว่ามีลูกระเบิดที่ซ่อนไว้ทั้งหมดกี่ลูก (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบถอดสลักระเบิด) และในวันที่ 7 มกราคม 2550 - 13 กันยายน 2552 ได้ดัดแปลงกติกาเล็กน้อยคือถ้าดารารับเชิญเลือกแผ่นป้ายให้พิธีกรร่วมและตัวเองหมดแล้ว จะเหลืออยู่ 1 แผ่นป้าย โดยแผ่นป้ายนั้นจะเป็นบอมหมู่คือผู้เล่นทุกคนจะเข้าโดมระเบิดทั้งหมด ยกเว้นพิธีกรหลัก", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "213416#6", "text": "ผู้เข้าแข่งขันที่สมัครเข้ามาร่วมเล่นในรายการจะนั่งอยู่บนอัฒจรรย์ โดยทางรายการจะสุ่มไฟ ไฟติดที่ด้านหน้าของผู้เข้าแข่งขันคนใด ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้ลงมาเล่นเกมบนเวที เกมจะเริ่มขึ้นโดย ผู้เข้าแข่งขันทั้งสอง จะต้องเอามือวางบนจอมอนิเตอร์ด้านหน้าของตน เมื่อใบหน้าปรากฏบนจอ (โดยจะมีใบหน้าที่ต้องตอบ และใบหน้าถัดใบที่มีเพียงครึ่งเดียว) ผู้ที่กดไฟได้ก่อนจะมีสิทธิ์ตอบ (หากผู้เข้าแข่งขันกดปุ่มก่อนที่ภาพจะขึ้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเล่นทั้ง ๆ ที่ไม่มีภาพ) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบ<b data-parsoid='{\"dsr\":[3229,3292,3,3]}'>ชื่อเล่น, ชื่อจริง, นามสกุลจริง, ชื่อที่รู้จักเป็นวงกว้าง</b>อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ของบุคคลในภาพให้ถูกต้อง (ในกรณีที่ตอบเฉพาะชื่อจริงเพียงอย่างเดียว จะต้องระบุด้วยว่าเขาหรือเธอมีอาชีพอะไร และหากตอบเป็นชื่อตัวละครที่บุคคลนั้นแสดงจะถือว่าตอบผิด)", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "213416#12", "text": "ศึกทศกัณฐ์หน้าทอง คือการแข่งขันของ 10 แชมป์ของเกมทศกัณฐ์ โดยจะแข่งขันแบบพบกันหมด ผู้ที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท และ รางวัลทศกัณฐ์หน้าทองคำ และใครตอบใบหน้าสะสมได้มากที่สุดรับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "658489#3", "text": " ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการแสบคูณสองนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือยุคแรก (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2540) ยุคที่สอง (พฤษภาคม 2540 - มีนาคม 2542) ยุคแสบคูณสอง แลกหมัด (เมษายน 2542 - 2543) และยุคแสบคูณสอง ยกแก๊ง (2543 - มกราคม 2544) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อยๆ\nผู้เข้าแข่งขันในยุคแรกของรายการ มีทั้งหมด 3 คน โดยจะเล่นเกมดังต่อไปนี้\nช่วงนี้สนับสนุนโดยเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปโคคา เป็นเกมในรอบแรกซึ่งจะเล่นทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องปิดตาก่อนแล้ว จากนั้นนักแสดงในรายการจะเป็นผู้นำของปริศนาออกมา (ในยุคแรกนั้น เท่ง เถิดเทิง เป็นผู้นำของปริศนาออกมา ทว่าตั้งแต่เทปวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา จึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแสดงตลกสั้น นำโดยคุณติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่น ซึ่งเป็นนักแสดงให้กับละครแสบและละครพันหน้าจนถึงต้นปี พ.ศ. 2547) เมื่อเริ่มการแข่งขัน พิธีกรจะให้คำใบ้ และให้ผู้เข้าแข่งขันตอบตามลำดับโดยการถามคำถาม (ใช่หรือไม่ เช่น สิ่งของนี้มีรูปร่างกลมใช่หรือไม่) ถ้าถามแล้วพิธีกรบอกว่าใช่ ก็จะมีสิทธิ์ถามคำถามไปเรื่อยๆ แต่ถ้าบอกว่าไม่ใช่ ผู้เล่นคนต่อไปจะมีสิทธิ์ถามคำถาม (ใช่หรือไม่) หากมีผู้ตอบของปริศนาได้ถูกต้องจะเข้ารอบทันที ถ้าทั้ง 3 คนตอบไม่ได้ พิธีกรจะให้คำใบ้เพิ่มจนกว่าจะมีใครตอบถูกต้อง เกมนี้จะคัดหาผู้เข้ารอบ 2 คน ส่วนอีก 1 คนจะตกรอบ และได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท แต่ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2540 ได้ยกเลิกการให้เงินรางวัล 10,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบในรอบนี้อีก", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "213416#15", "text": "ในทุก ๆ ครั้งที่เป็นแชมป์ (หรือทุก ๆ 10 สมัยในกติกาใหม่) ทีมแชมป์จะได้เล่นรอบแจ๊คพ็อต ซึ่งจะมีใบหน้าที่ถูกตัดและสลับเป็น 5 ส่วน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกว่าจะเป็นภาพกี่ส่วน โดยจะมีเงินรางวัลต่างกันดังนี้", "title": "เกมทศกัณฐ์" } ]
2528
ใครเป็นผู้สั่งสร้าง พระราชวังบางปะอิน?
[ { "docid": "28335#0", "text": "พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองลงมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร[1] เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง", "title": "พระราชวังบางปะอิน" } ]
[ { "docid": "28335#22", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระป้ายพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์เป็นภาษาจีนโดยให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต และพระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน เพื่อบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว [16] ต่อมา ในรัชกาลที่ 7 ได้มีการสร้างพระป้ายพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน [2]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "177787#1", "text": "รับราชการในรัชกาลที่ ๖ โดยเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๖๑ มหาดเล็กวิเศษ แจ๋ว บุนนาค ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ ขุนวิจารณ์ภัณฑกิจ สังกัดกรมชาวที่ ขึ้นกับกรมมหาดเล็กหลวง ก่อนได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวง ในราชทินนามเดียวกัน ได้เป็น รองหุ้มแพร ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกรักษาวังปารุสกวัน ท่าวาสุกรี สวนจิตรลดา สวนกุหลาบ และสนามหญ้านอกกำแพงพระราชวังดุสิต\nในรัชกาลที่ ๗ ได้เป็น รองเสวกโท หัวหน้าแผนกรักษาสวนและสนามนอกกำแพงวัง สังกัดกองรักษาพระราชวังดุสิต (กรมมหาดเล็กหลวง รวมเข้าในสังกัดกระทรวงวัง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๖๙) ต่อมา ได้เป็น หัวหน้าแผนกรักษาพื้นที่ในบริเวณกำแพงพระราชวังดุสิต ตำแหน่งสุดท้าย เป็น ผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน (แผนกรักษาพระราชวังบางปะอิน สังกัดกองมหาดเล็กชาวที่) ก่อนจะออกรับพระราชทานบำนาญประมาณปี ๒๔๘๐ (ในรัชกาลที่ ๘)", "title": "หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค)" }, { "docid": "28335#5", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2175 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระมารดา และได้พระราชทานนามว่า \"วัดชุมพลนิกายาราม\" [4] และได้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเพื่อฉลองการที่พระราชเทวีประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชทานนามว่า \"พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์\" [5] พระราชวังบางปะอินจึงเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในฤดูร้อนสืบเนื่องกันมา จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 ซึ่งทำให้พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างไป", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "176854#0", "text": "วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หัวเกาะบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกับเขตอุปจาระพระราชวังบางปะอิน มีอาณาเขตติดกับพระราชวังบางปะอิน", "title": "วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "28335#14", "text": "พระราชวังบางปะอินมีประตูต่างๆดังนี้", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "29803#0", "text": "พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ตรงข้ามกับสระทางด้านตะวันออก ของพระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งองค์นี้สร้างด้วยไม้ สไตล์ยุโรป แบบสวิสชาเล่ต์ 2 ชั้น มีกำแพงแก้ว จดหมายเหตุได้กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงิน 90 ชั่งเพื่อสร้างพระที่นั่งองค์นี้ และรั้วพระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2420 ", "title": "พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร" }, { "docid": "97698#0", "text": "พระตำหนักฝ่ายใน ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังบางปะอิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในเพื่อเป็นที่ประทับเมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมา ณ พระราชวังแห่งนี้ โดยมีดังต่อไปนี้", "title": "พระตำหนักฝ่ายใน (พระราชวังบางปะอิน)" }, { "docid": "28335#2", "text": "ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#8", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บางปะอินเป็นเกาะกลางน้ำ มึความเงียบสงบ มีเส้นทางการเดินเรือได้หลายทาง สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นสถานที่เสด็จประพาสของพระบรมชนกนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สำหรับแปรพระราชฐานดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้[2]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#26", "text": "พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวันในเวลาระหว่าง 08.00 - 17.00 น. โดยต้องแต่งกายในชุดสุภาพ และขณะเข้าชมผู้ชมไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#9", "text": "พื้นที่ของพระราชวังบางปะอินนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#1", "text": "หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งโดยสุนทรภู่ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#16", "text": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นพระราชธิดา ลำดับที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการให้จัดเรือพระที่นั่งเพื่อเสด็จประพาสพระราชวังบางปะอินพร้อมพระมเหสีทุกพระองค์ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงติดพระราชกิจ ไม่อาจเสด็จพระราชดำเนินไปตามกำหนดได้ จึงโปรดฯ ให้เรือพระที่นั่งของพระมเหสีเคลื่อนขบวนไปก่อน ระหว่างทางนั้น เรือพระประเทียบของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระยศขณะนั้น) ประสบอุบัติเหตุล่ม ทำให้พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในพระครรภ์ (เวลานั้นทรงพระครรภ์ได้ 5 เดือน) หลังจากนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้น ณ พระราชวังบางปะอิน เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์[7]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#29", "text": "นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟอำเภอบางปะอิน หรือเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง มาลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วต่อรถโดยสารเข้าไปยังพระราชวังบางปะอิน", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#11", "text": "หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือ ศาลพระเจ้าปราสาททอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2415 - 2419 มีลักษณะเป็นปรางค์ศิลา ซึ่งจำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ ณ ริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทโดยจำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระบรมรูปหล่อสำริดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบกเพื่อนำมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งองค์นี้จนถึงปัจจุบัน พระที่นั่งวโรภาษพิมาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 เพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ และใช้เป็นที่ประทับ เป็นตึก 2 ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดอร์ ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน สภาคารราชประยูร เป็นตึกสองชั้น ตั้งอยู่ริมน้ำ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายฝ่ายหน้า ปัจจุบัน ใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังบางปะอิน กระโจมแตร เป็นกระโจมขนาดกลางแบบ Gazebo สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่เยื้องกับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เรือนแพพระที่นั่ง รัชกาลที่5ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเป็นเรือนแพแบบไทยสร้างด้วยไม้สักทองหลังคามุงด้วยจากภายในจัดแบ่งห้องเป็นสัดเป็นส่วนรัชกาลที่5ใช้เป็นที่ประทับพักแรมในการเสด็จประพาสต้นและทรงสำราญพระอิริยาบถทางน้ำ โดยพระองค์เคยประทับเรือนแพพระที่นั่งไปทรงรับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจากเมืองเชียงใหม่ด้วย", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#19", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระราชธิดาคู่ทุกข์คู่ยากของรัชกาลที่ 5 หลังจากการทรงกรมเป็น \"กรมขุนสุพรรณภาควดี \"[9] ได้เพียง 1 ปี ก็สิ้นพระชนม์[10] รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ[11] ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง[2]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "97924#0", "text": "วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเลียนแบบโบสถ์คริสต์ ", "title": "วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร" }, { "docid": "28335#27", "text": "การเดินทางมายังพระราชวังบางปะอินนั้น สามารถทำได้หลายทาง เช่น การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้มาตามถนนพหลโยธิน เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก หลังจากนั้น ให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน หรืออีกเส้นทางต้องผ่านเข้ามายังตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้มให้เลี้ยวซ้ายซึ่งจะผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลและวัดพนัญเชิง เมื่อถึงสถานีรถไฟบางปะอินให้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางจนถึงพระราชวังบางปะอิน", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#7", "text": "ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงศรีอยุธยา ประพาสผ่านพระราชวังบางปะอิน ทอดพระเนตรเห็นความร่มรื่นโดยรอบเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย อีกทั้งยังเป็นเขตพระราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระราชวังบางปะอิน โดยสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเป็นที่ประทับ เรือนแถวสำหรับเจ้านายฝ่ายในหนึ่งหลัง พลับพลาริมน้ำ และพลับพลากลางเกาะ พร้อมทั้งปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามขึ้นใหม่ [2]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "29760#0", "text": "หอวิฑูรทัศนา ตั้งอยู่ระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นภายในพระราชวังบางปะอิน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2424 พร้อมทั้งได้พระราชทานนามหอนี้ว่า \"หอวิฑูรทัศนา\" ใช้สำหรับเป็นที่เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรภูมิประเทศโดยรอบของพระราชวัง กล่าวกันว่าเมื่อแรกสร้างนั้น ยังมองเห็นช้างป่าเป็นโขลง ๆ เดินอยู่ตามชายทุ่ง หรือถ้าขึ้นไปดูในช่วงฤดูทำนาก็จะเห็นความงามของทุ่งนาในช่วงต่าง ๆ จนมีคำกล่าวว่า \"ดูนาที่ไหนเล่า ไม่เท่าที่บางปะอิน\" ", "title": "หอวิฑูรทัศนา" }, { "docid": "37967#45", "text": "พระราชวังบางปะอินเป็นพระราชฐานตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จแปรพระราชฐานประทับ ณ พระราชวังบางปะอินอยู่เสมอ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจึงทรงมีพระตำหนักส่วนพระองค์อยู่ที่พระราชวังบางปะอินด้วยเช่นเดียวกัน", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "28335#6", "text": "พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เมื่อสุนทรภู่ได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งได้เดินทางผ่านพระราชวังบางปะอิน และได้ประพันธ์ถึงพระราชวังแห่งนี้ในนิราศพระบาท ว่า [2] [6]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "172368#19", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังบางปะอินก่อนล่วงหน้า 1 วัน เมื่อพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดีมาถึงสถานีรถไฟบางปะอินในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ รอรับพระศพ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้าในเรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชยเพื่อเชิญพระศพไปยังพระราชวังบางปะอิน การจัดขบวนเรือครั้งนี้ โปรดฯ ให้จัดขบวนเรือยาวอย่างขบวนเรือถวายผ้าพระกฐิน หลังจากขบวนเรือถึงพระราชวังบางปะอินแล้ว เจ้าหน้าที่เชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เหนือแว่นฟ้าทองคำ 1 ชั้น มีฐานเขียวรอง มีบัวกลุ่มรองพระโกศ ห้อยฉัตรตาดทอง 5 ชั้น แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง[16]", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี" }, { "docid": "28335#13", "text": "พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระราชวังบางปะอิน เดิมเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกัน แต่เกิดไฟไหม้พระที่นั่งทั้งองค์ระหว่างการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถจึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่ประทับในการเสด็จแปรพระราชฐาน และรับรองพระราชอาคันตุกะ หอวิฑูรทัศนา สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง เป็นหอสูง 3 ชั้น ทาสีเหลืองสลับแดง เก๋งบุปผาประพาส สร้างขึ้นในรัชกาลที่5 ทรงใช้เป็นที่พักผ่อนพระราชอิริยาบถภายในพระราชอุทยาน พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยชาวสยามเชื้อสายจีนฮากกาเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ 5 พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายจนถึงปัจจุบัน พระตำหนักฝ่ายใน เป็นหมู่พระตำหนัก ตำหนัก และเรือนของพระบรมวงศ์ฝ่ายใน เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกชั้นเดียว และสองชั้น เรียงรายกัน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการรื้อตำหนักลงบางส่วน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสวรรคตในระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชวังบางปะอิน อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในปีเดียวกัน", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "29832#1", "text": "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นอนุสาวรีย์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของพระราชวังบางปะอิน ถัดจากหอวิฑูรทัศนา โดยมีลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ด้านทั้ง 4 ประกอบด้วยเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จทิวงคต ในระหว่างทางเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์แห่งความรักแห่งนี้ขึ้น พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 ซึ่งตรงกับวันที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จทิวงคตครบรอบ 3 ปี", "title": "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์" }, { "docid": "28335#4", "text": "ในระหว่างประทับอยู่ ณ ที่นี้ สมเด็จพระเอกาทศรถได้หญิงชาวเกาะเป็นบาทบริจาริกา มีนามว่า \"อิน\" จึงเป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกเกาะนี้ต่อมาว่า \"เกาะบางปะอิน\" ต่อมาเมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พระองค์ก็ทรงพานางอินนี้กลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย นางอินผู้นี้จึงเป็นพระสนมในเวลาต่อมา และมีพระราชโอรสด้วยกัน เล่ากันว่าพระราชโอรสพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[3]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#17", "text": "พระราชวังบางปะอิน ใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะหลายพระองค์ โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการต้อนรับแกรนด์ดุ๊กซาร์วิตส์แห่งรัสเซีย (พระยศขณะนั้น) ณ พระราชวังบางปะอิน ในระหว่างวันที่ 20 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งงานรับเสด็จในครั้งนั้นเป็นงานที่ใหญ่มาก จนกระทั่ง เกิดคำพูดสำหรับคนที่ทำอะไรใหญ่ ๆ โต ๆ ว่า \"ยังกับรับซาร์แห่งรัสเซีย\"[8]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#24", "text": "ถึงแม้ว่าพระราชวังบางปะอินยังคงใช้เป็นสถานที่เสด็จแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงเป็นสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ อย่างไรก็ตาม พระราชวังบางปะอินก็ยังเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมภายในพระราชวังได้", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "28335#28", "text": "การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ถ้ามาจากกรุงเทพฯ สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) นั่งรถสายกรุงเทพฯ-บางปะอิน มาลงที่บขส.บางปะอิน (สุดสาย) จากนั้นนั่งรถสามล้อเครื่องไปลงที่พระราชวังบางปะอิน[18]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" } ]
2978
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)ก่อตั้งเมื่อไหร่?
[ { "docid": "268309#0", "text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ประกาศจัดตั้งเมื่อ 24กุมภาพันธ์2540โดยนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1140,1201,2,2]}'><b data-parsoid='{\"dsr\":[1142,1199,3,3]}'>โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2552 เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school)", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" } ]
[ { "docid": "268309#139", "text": "โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ฐานปั้น \"นักเทคโนโลยี\" ระดับหัวกะทิของประเทศ", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#2", "text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวิทยาลัยการอาชีพพานทอง(เดิม) เลขที่ 37 หมู่3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20160 มีอาณาเขต 64 ไร่ โดยความร่วมมือสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอพานทอง และประชาชนชาวอำเภอพานทอง", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#136", "text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับทักษะด้านช่างเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#62", "text": "ภายใต้โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(นำร่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#106", "text": "เมื่อเริ่มจัดตั้งโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบของโรงเรียนประจำที่นักเรียนจะต้องอยู่หอพัก แต่เดิมนั้นทางโรงเรียนยังไม่มีหอพักนักเรียนให้นักเรียนเข้าพักได้ทันกำหนดการรับนักเรียนเข้าศึกษาของนักเรียนรุ่นที่ 1 จึงทำให้นักเรียนรุ่นที่ 1 ต้องอาศัยอยู่ที่หอพักเอกชนภายนอกและมีรถรับส่งนักเรียนแทน หลังจากนั้นภายในปีการศึกษา ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงอาคารอำนวยการและอาคารเรียนหลังเก่า ที่ตั้งอยู่ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 เป็นหอพักนักเรียน และเริ่มรับนักเรียนรุ่นที่ 2 เข้าศึกษา ต่อมาทางโรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างหอพักนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 หลัง แล้วเสร็จในปี 2557 ปัจจุบันหอพักนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 3 อาคาร คืออาคารหอพักนักเรียนชาย(หอบุษกร) อาคารหอพักนักเรียนหญิง(หอขจรรัตน์) และหอพักใหม่(สร้างเมื่อปีการศึกษา 2559) ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต 2 โดยชื่อที่ใช้เรียกนั้น เป็นชื่อหอที่เคยใช้เรียกกันตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่หอพักเดิม ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 โดยมีรูปแบบอาคารที่เหมือนกัน คือ เป็นอาคาร 4 ชั้น บริเวณชั้นล่างมีพื้นที่ส่วนกลาง คือห้อง common room ที่ใช้ในการทำกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมนั้นทนาการ การจัดการประชุม เป็นต้น", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#70", "text": "ภายใต้โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(นำร่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#125", "text": "บูมฐานวิทย์ฯ ได้เปิดการบูมขึ้นเป็นครั้งแรก ในงาน Bye’nior นักเรียนรุ่นที่1 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ณ สนามกีฬา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 โดยผู้เข้าร่วมการบูมครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บูมคือนักเรียนรุ่นที่2และ3 บูมให้นักเรียนรุ่นพี่ รุ่นที่1 ซึ่งได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเสียงบูม ที่ดังกึกก้องกัมปนาท แฝงด้วยความรัก ความเคารพ และความภาคภูมิใจในการเป็น “นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์”", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#126", "text": "นับแต่นั้นเป็นต้นมา บูมฐานวิทย์ฯ จึงเป็นบูมประจำโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ที่ได้นำมาใช้ในงานสำคัญต่างๆ ด้วยเนื้อหาความหมายที่ผู้ประพันธ์ได้รวบรวม “หัวใจหลักแห่งเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” ผ่านบทประพันธ์ทั้งหมดนี้ บูมฐานวิทย์ฯจึงเป็นบูมที่สถิตอยู่ในใจของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ทุกคนตลอดชั่วกาลนาน", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#58", "text": "ประธานกรรมการวิชาการโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#45", "text": "กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) (ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดูแลและสนับสนุนโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ต่อมาทางกระทรวงได้เปลี่ยนให้ สวทน. เป็นผู้ให้การดูแลและสนับสนุนแทน) กระทรวงอุตสาหกรรม โดย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#22", "text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทการดำเนินงานของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพพานทองได้มีหนังสือ(ที่ ศธ 0661.15 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552) แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยฯ ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2552 เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#24", "text": "โครงการนี้ ถือเป็นโครงการใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เพื่อบ่มเพาะนักเรียนระดับ ปวช. ที่มีศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school) และนำร่องแห่งแรกที่ “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)” การดำเนินการในช่วงแรกจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน และยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ แต่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานพันธมิตรจากภายนอก เช่น สถาบันอุดมศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้ง การทุ่มเทของผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาลัยฯ จนสามารถการสามารถขับเคลื่อนได้ในปีการศึกษา 2551 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#15", "text": "ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งขยายฐานการศึกษาเพื่อบ่มเพาะและสร้างนักเทคโนโลยีที่สามารถผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับทักษะด้านช่างเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับภาคการผลิตและบริการของประเทศต่อไปในอนาคต โดยเร่งพัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับการสร้างบุคลากรกลุ่มนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีฐานกำลังคนที่ครบถ้วนและเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง จ.ชลบุรี เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก และโครงการนำร่องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#39", "text": "ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#20", "text": "พ.ศ. 2551 เปิดรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ตามโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#42", "text": "ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#3", "text": "โดยมีพื้นที่การศึกษา แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 เขต คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)เขต1 (ฝั่งโรงฝึกทักษะพื้นฐานและบ้านพักครู) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)เขต2 (ฝั่งอาคารอำนวยการ อาคารเรียนและหอพักนักเรียนโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์)", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#93", "text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) มีอาคารสถานที่ที่สำคัญ ดังนี้", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#59", "text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)รายนามผู้อำนวยการวาระการดำรงตำแหน่ง1. นายเด่นดวง คำตรงพ.ศ. 2541-2547 (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)2. นายนเรศ บุญมีพ.ศ. 2547-2551 (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)3. นางจุรี ทัพวงษ์พ.ศ. 2551-25544. นายปริวัฒน์ ถานิสโรพ.ศ. 2554-25545. นายจิระ เฉลิมศักดิ์พ.ศ. 2554-25596. นายนิติ นาชิตพ.ศ. 2559-25607. นายพีรพงษ์ พันธ์โสดาพ.ศ. 2560-ปัจจุบัน", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#41", "text": "ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#56", "text": "ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#23", "text": "โดยกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น \"วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)\" ชื่อภาษาอังกฤษ Science Based Technology Vocational College(Chonburi) ตัวย่อ (SBTVC) จากเดิมคือ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ชื่อภาษาอังกฤษ Panthong Industrial and Community Education College ตัวย่อ วก.พานทอง", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "850500#2", "text": "ปี พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการและระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกันทำ \"โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง\" เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทักษะด้านช่าง ในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทองเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school) ", "title": "สถาบันการอาชีวศึกษา" }, { "docid": "268309#105", "text": "ประกอบด้วยห้องพยาบาล และสำนักงานองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับหน่วยวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#51", "text": "เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#141", "text": "โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#11", "text": "ที่อยู่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เลขที่ 37 หมู่3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20160", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#16", "text": "การดำเนินโครงการนำร่องที่วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)สามารถรับนักเรียนรุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 29 คน และพัฒนาหลักสูตรแล้วเสร็จ 1 หลักสูตร ในระดับ ปวช. สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่มีการเรียนการสอนแบบ project-based โดยวิทยาลัยฯ จัดสถานที่พักให้กับนักเรียนเพื่ออยู่ประจำ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) และ สอศ. จัดสรรอัตราบุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูพี่เลี้ยง จำนวน 8 คน เพื่อดูแลนักเรียนทั้งด้านวิชาการและชีวิตความเป็นอยู่อย่างใกล้ชิด สำหรับวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สอนโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย (มจธ. มทส. มทร. สจล. และจุฬาฯ) และในปีการศึกษา 2552 มีเป้าหมายรับนักเรียน 1 ห้อง ประมาณ 30 คน แม้ว่า ในช่วงแรกโครงการนำร่องจะมีนักเรียนจำนวนไม่มากนัก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครูพี่เลี้ยงยังขาดประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning การประชาสัมพันธ์ยังไม่เข้มข้นและทั่วถึง ทัศนคติและความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง รวมทั้งค่านิยมของสังคมที่มีต่อการเรียนสายอาชีวศึกษา จนเป็นอุปสรรคต่อการจูงใจนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม สอศ. และ สวทน. ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะจัดการกับข้อจำกัดที่มีอยู่ โดยร่วมกันยกร่างแผนแม่บทโครงการในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) เพื่อวางกรอบการขับเคลื่อนให้เกิดผลเต็มประสิทธิภาพ ทั้งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาความสามารถของครูพี่เลี้ยง แนวทางการคัดสรรนักเรียนที่มีศักยภาพและการปรับระบบบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในขณะเดียวกัน จำเป็นต้องขยายผลการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าวไปยังสถานศึกษาอื่นที่มีศักยภาพของ สอศ. ด้วย ภายใต้ชื่อ “โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” เพื่อขยายฐานการผลิตกำลังคนที่มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนเป็นหัวรถจักรของการอาชีวศึกษาซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการผลิตและบริการต่อไปในอนาคต โดยนำประสบการณ์ที่ได้จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) ปรับใช้ในการจัดการศึกษาระบบนักเรียนประจำของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดซึ่งมีผลต่อการผลิต และพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการรองรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต สิ่งสำคัญคือต้องเร่งพัฒนาขยายพื้นที่ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยบริการ เพิ่มปริมาณวัสดุครุภัณฑ์ทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัย รวมถึงหอพักอาศัยของนักเรียนและครูผู้ควบคุมดูแล รวมทั้งการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการจัดการเรียนการสอน โดยปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิสังคม ภูมิอาชีพ และสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตลอดจนพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้หลากหลาย เพื่อเป็นรองรับการการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่สถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ โครงการของสำนักตรวจและประเมินผล เพื่อใช้เป็นแผนในการปฏิบัติงานประจำปีต่อไป", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" }, { "docid": "268309#21", "text": "พ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทอง เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)", "title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก" } ]
681
ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ออกอากาศครั้งแรกวันที่เท่าไหร่ ?
[ { "docid": "82514#4", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536) ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret (22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537) ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538) ชิงร้อยชิงล้าน Super Game (3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551) และ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554) 1 ชิงร้อยชิงล้าน 20th Century Tuck (2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 28 เมษายน พ.ศ. 2552) ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day (1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558) ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" } ]
[ { "docid": "182281#1", "text": "รายการนี้ นับเป็นรายการแรกที่ พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ หรือ เท่ง เถิดเทิง ได้มาร่วมงานกับทางเวิร์คพอยท์ ก่อนที่ต่อมา เท่ง จะถูกเรียกตัวให้มาเป็นตลกร่วมกับ หม่ำ จ๊กมก ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game", "title": "ฮากลางแดด" }, { "docid": "206434#47", "text": "ในกลางปี พ.ศ. 2549 ถึงต้นปี พ.ศ. 2552 ถูกปรับเปลี่ยนโดยในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) และแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่มีรูปถังแตกอีก 6 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอผู้สนับสนุนหลักครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก ป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกเป็นถังแตก ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ เกมนี้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) ถึงปี พ.ศ. 2552 (ในยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก)", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "206426#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน Super Game เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อจากชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตโดยออกอากาศวันพุธเวลา 22:15 - 00:15 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206426#1", "text": "หลังจากชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตจบลง ชิงร้อยชิงล้านก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่และฉากใหม่ในชื่อ \"ชิงร้อยชิงล้าน Super Game\" โดยปรับปรุงฉากใหม่และรูปแบบรายการที่น่าสนุกยิ่งขึ้นพร้อมเพิ่มระยะเวลาในการออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมงนับเป็นรายการเกมโชว์แรกในเมืองไทยที่ออกอากาศถึง 2 ชั่วโมงและเอกลักษณ์ของชิงร้อยชิงล้าน Super Game คือตัว G (มกราคม 2539 จะเป็นสีแดง กุมภาพันธ์ 2539-กุมภาพันธ์ 2541 จะเป็นสีเขียว) และไตเติ้ลรายการคล้ายกับพินบอลและเป็นยุคแรกที่รายการชิงร้อยชิงล้านเริ่มมีวงดนตรีมาบรรเลงดนตรีเพื่อสร้างสีสันให้กับรายการ", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206434#40", "text": "ใน<b data-parsoid='{\"dsr\":[26749,26777,3,3]}'>ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้นยังคงใช้รูปแบบเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน Super Game โดยมี 2 รอบและ 2 เกมด้วยกันในยุคแรก ยุคกลาง และยุคสุดท้าย ต่อมาในยุคสุดท้ายเหลือเกมเดียวแต่สะสม 2 รอบ แต่ถูกปรับปรุงมาหลายครั้งด้วยกันโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "206434#48", "text": "เกมนี้เป็นการจับคู่กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ ซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่มาจากยุค ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ช่วงที่ย้ายจากช่อง 7 มาช่อง 3 โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของกาแฟ 2 รส รสละ 6 แผ่นป้าย [โรบัสต้าและมิลค์กี้คอฟฟี่ (ภายหลังเป็นซูเปอร์เบลนด์)] โดยให้เลือกมา 8 แผ่นป้าย โดยจะต้องเปิดให้ได้โรบัสต้าหรือซูเปอร์เบลนด์ (มิลค์กี้คอฟฟี่) 3 ใน 4 ของแผ่นป้ายทั้งหมด ถ้าหากจับคู่ได้ถูกต้องจะได้คู่ละ 20,000 บาท ถ้าไม่ถูกต้องจะไม่ได้เงินรางวัลใดๆ ถ้าหากจับคู่ได้โรบัสต้าหรือซูเปอร์เบลนด์ (มิลค์กี้คอฟฟี่) 3 ใน 4 จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาททันที ถ้าหากจับคู่ได้อย่างละ 2 ใน 4 จะได้รับเงินรางวัล 80,000 บาทแต่แจ็คพอตจะไม่แตก เกมนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2541 (ใช้ต่อจากยุค ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ช่วงที่ย้ายจากช่อง 7 มาช่อง 3) และยกเลิกในปีเดียวกัน โดยไม่มี Jackpot แตกเลย แต่เคยมีเหตุการณ์ที่เกือบแจ๊กพอตแตก เมื่อเทปวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541 โดยจับคู่ได้เบอร์ดี้ รสโรบัสต้า 2 คู่ เบอร์ดี้ รสซูเปอร์เบลนด์ 1 คู่ แต่คู่สุดท้ายจับคู่ไม่สำเร็จ เพราะเปิดได้เบอร์ดี้ รสโรบัสต้าและรสซูเปอร์เบลนด์อย่างละ 1 แผ่นป้าย โดยได้เงินรางวัลสะสมในรอบนี้ 60,000 บาท", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "206442#11", "text": "ในชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กนั้นยังคงรูปแบบมาจากชิงร้อยชิงล้าน Super Game และชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha แต่ถูกปรับปรุงมาหลายครั้ง โดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก" }, { "docid": "82514#2", "text": "ตลอดระยะเวลากว่า 28 ปีที่ออกอากาศมานี้ มีการปรับปรุงรูปแบบรายการ และเวลาการออกอากาศอยู่หลายครั้ง ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่รายการมีเพียง 1 ชั่วโมง โดยออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 22:00 - 23:00 น. ในชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก) จนถึงยุค ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ต่อมาได้ขยายเวลาออกอากาศเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง ตั้งแต่วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 ในยุคของ ชิงร้อยชิงล้าน Supergame เป็นต้นมา จนกระทั่งในยุคของ ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ได้มีการเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศเป็นทุกวันอังคาร เวลา 22:25 - 00:20 น. ตั้งแต่วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแต่เดิมออกอากาศทุกวันพุธมาโดยตลอด 19 ปีเต็ม จนกระทั่งในยุคของ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ได้มีการมีเปลี่ยนแปลงวันและเวลาออกอากาศใหม่ เป็นทุกบ่ายวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะชิงร้อยชิงล้านได้ออกอากาศในเวลากลางคืนหลังเวลา 22:00 น. มาตลอดระยะเวลา 22 ปี", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "206426#8", "text": "ทั้งนี้ คำถามในเกมจริงหรือไม่ ของชิงร้อยชิงล้าน Super Game จะถูกลดเหลือ 3 ข้อ จากเดิม 6 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบคำถามทั้งหมด 2 ข้อด้วยกัน และให้ทายว่าเรื่องคนนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้นๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่างๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมีหม่ำ จ๊กมก, เอ๊ดดี้ ผีน่ารัก และ เท่ง เถิดเทิง มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยการล้อเลียนดารารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องในช่วงนั้นๆ", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206266#12", "text": "ในชิงร้อยชิงล้านนั้นมีในช่วงแรก (2533 - 2534) จะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คนต่อทีม โดยส่วนมากจะเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง รวมไปถึงคนดังในแวดวงอื่นๆ ด้วย แต่บางครั้งจะให้ผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านมาเล่นไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือพี่น้องเป็นต้น โดยจะมี 4 ทีมในเกม แต่ในเกมชิงร้อยชิงล้าน (ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 - 15 กันยายน 2536) นั้นมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เข้าแข่งขันโดยเหลือ 3 ทีม ทีมละ 2 คน (เช่นเดียวกันกับ ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) โดยทางรายการจะเชิญดาราที่เป็นเพื่อนสนิท, คู่พระเอก-นางเอก, พ่อ-ลูก, แม่-ลูก ด้วยตามโอกาสของรายการ", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก)" }, { "docid": "207875#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (วันปิยมหาราช) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงเวลาเดิมของรายการ ระเบิดเถิดเทิง วันหยุด และเมื่อรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ย้ายมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด ก็ย้ายมาออกอากาศทางช่องเดียวกันด้วย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2549 (วันจักรี) และในช่วงปี พ.ศ. 2552 รายการได้ปรับเปลี่ยนชื่อโดยตัดคำว่า \"ฮา\" ออก เหลือแต่เพียง ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด เท่านั้น และออกอากาศเรื่อยมาจนถึง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (วันชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) กระทั่งเมื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ย้ายมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด จึงได้ย้ายไปออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วย พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555 (วันมาฆบูชา) ในเวลา 10.40 - 11.40 น. แต่ภายหลังได้มาออกอากาศในเวลา 10.00 - 11.00 น. จนถึงปัจจุบัน ", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์" }, { "docid": "206426#23", "text": "รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการชิงร้อยชิงล้าน Super Game นั้น ในช่วงแรกจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้ายด้วยกัน โดยมีแผ่นป้ายเลข 0 จะมี 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท ส่วนแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือแป้งเย็นตรางู เซ็นลุกซ์ นิวชอยซ์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นวีโอวิสกี้) ซึ่งจะมีตัวเลข 20,000 ซึ่งเป็นมีเงินรางวัล 20,000 บาท 3 แผ่นป้าย แต่อีก 3 แผ่นป้ายเป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากเปิดสามารถป้าย 0 ได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท (ผู้สนับสนุนเงินรางวัลคือ ง่วนเชียง) โดยจะให้คนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้าเปิดได้สปอนเซอร์หลักในการชิงโชคได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยที่แขกรับเชิญจะได้รับแค่ฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายผู้โชคดีจากการมอบโชคก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติ ในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตกทีมแรกและทีมเดียวคือพล ตัณฑเสถียร และอัษฎาวุธ เหลืองสุนทร ได้รับเงินรางวัลรวม 1,010,000 บาท เป็นการเปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนหลักทั้ง 6 แผ่นป้าย", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206426#21", "text": "เกมเปิดป้ายคะแนนของชิงร้อยชิงล้าน Super Game ในปี 2539 - 2540 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นทีมผู้ที่มีคะแนนสูงที่สุดได้เปิดป้าย 3 แผ่นป้าย (แต่เดิมมี 2 ป้าย) ส่วนทีมผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะเปิด 2 แผ่นป้าย (เดิมเพียงป้ายเดียว) และป้ายหม่ำซึ่งเป็นป้ายตกรอบนั้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นป้าย 0 คะแนนแทน (แต่เมื่อเปิดป้ายอื่นๆ ก็สามารถเข้ารอบได้เช่นกัน) อย่างไรก็ดีตั้งแต่กลางปี 2540 - 2541 ได้ใช้กฎกติกาเกมเปิดป้ายคะแนนแบบเดียวกับยุค Top Secret, ครั้งหนึ่งในชีวิต อยู่เหมือนเดิม คือป้ายหม่ำหมายถึงตกรอบทันที", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206282#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต เป็นรายการเกมโชว์ที่ปรับรูปแบบชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ออกอากาศทุกวันพุธตั้งแต่เวลา 22.15-23.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต" }, { "docid": "206270#14", "text": "เกมเปิดแผ่นป้ายชิงเงินล้านนี้ ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปี 2555 (ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์) โดยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกติกาของเกมเลย แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น เปลี่ยนจากรูปหม่ำ จ๊กมกเป็นผู้สนับสนุนหลักที่มีทั้งป้ายเปล่าและมีเลข 20,000 กำกับในยุค Super Game ใช้ตั้งแต่ปี 2539-2549 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้งในยุค ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ในช่วงกลางปี 2549 โดยให้การเปิดป้าย 0 หรือป้ายที่ใกล้เคียง (แบคทีเรีย 3 หัว ,สมาชิกแก๊ง 3 ช่า ในยุคปี 2552-2555) ไม่มีเงินรางวัล ลดเงินรางวัลป้ายผู้สนับสนุนหลักเหลือ 10,000 บาทเป็นต้น และถูกยกเลิกในช่วงต้นปี 2555 โดยใช้การสุ่มหยิบลูกบอลแทน", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ท็อป ซีเคร็ต" }, { "docid": "206426#2", "text": "ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game ได้ปรับปรุงเกมจากยุคต่างๆทั้งหมดและได้เพิ่มเกมอีก 2 เกม", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206442#12", "text": "ในเกมถังแตกเป็นเกมที่อยู่คู่รายการชิงร้อยชิงล้านมาตั้งแต่ยุค Super Game แต่ถูกปรับปรุงในยุค Cha Cha Cha ทั้งในปี 2541 และปี 2549 ซึ่งในยุคทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ใช้รูปแบบเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ปี 2549 - 2551 ทั้งนี้ มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งออกเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ กาแฟเบอร์ดี้) และแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่มีรูป ถังแตก อีก 6 แผ่นป้าย ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายเป็นผู้สนับสนุนหลัก แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมหยุดทันทีและได้รับเงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าหากเปิดป้ายแรกเป็นถังแตก ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้ายจะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก" }, { "docid": "82514#17", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ปี 2533-2536 ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ในปลายปี 2536 ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) ปี 2537 ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ปี 2539 ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha (ยุคแรก) ปี 2541 ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha (ยุคสอง) ปี 2545", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "415551#1", "text": "รายการชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ออกอากาศเป็นครั้งสุดท้ายทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้นเมื่อขึ้นปี พ.ศ. 2555 รายการชุดชิงร้อยชิงล้านก็เปลี่ยนชื่อเป็น \"ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์\" รวมถึงปรับปรุงรูปแบบและฉากใหม่ โดยย้ายไปออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในทุกวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 14.50 - 16.40 น. นับเป็นครั้งแรกที่รายการชุดชิงร้อยชิงล้านภาคปกติ ออกอากาศในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากที่ผ่านมา ออกอากาศในช่วงกลางคืน หลังจากเวลา 22:00 น. มาตลอดระยะเวลา 22 ปี ในกลางปี พ.ศ. 2558 ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ก็ได้การออกอากาศจากช่อง 3 ไปยังช่องเวิร์คพอยท์ทีวี เพราะว่า \"เวิร์คพอยท์มีบ้านของตัวเอง รายการก็ต้องกลับมาอยู่ที่บ้าน เหมือนอย่างค่ายอื่นที่มีช่องของตัวเอง ก็ออกมาจากช่องต่างๆ เพื่อกลับมาอยู่ที่ช่องตัวเองแล้วเหมือนกัน\"", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์" }, { "docid": "206442#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อจาก ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยออกอากาศทุกวันพุธเวลา 22:30 - 00:25 น. และย้ายเวลาการออกอากาศเป็นทุกวันอังคาร เวลาเดิม ตั้งแต่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก" }, { "docid": "206270#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อจากรายการชิงร้อยชิงล้านออกอากาศตั้งแต่ 22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ออกอากาศทุกวันพุธเวลา 22.15-23.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ท็อป ซีเคร็ต" }, { "docid": "206426#24", "text": "ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game นั้นจะมีทีมอยู่ 3 ทีมต่อสัปดาห์ (เช่นเดียวกันกับ ชิงร้อยชิงล้าน ช่วงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 - 15 กันยายน 2536) แต่ละทีมจะมีอยู่ 2 คนซึ่งในแต่ละสัปดาห์ทางรายการจะเชิญผู้เข้าแข่งขันชายและผู้เข้าแข่งขันหญิงโดยแต่ละสัปดาห์จะมีทีมชาย 2 ทีม ทีมหญิง 1 ทีม หรือทีมชาย 1 ทีม ทีมหญิง 2 ทีมเว้นสัปดาห์", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม" }, { "docid": "206434#76", "text": "มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายเลข 0 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัล 10,000 บาท และป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2549 คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า) โดยในการเปิดแผ่นป้าย จะมี 3 แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักที่มีตัวเลข 20,000 กำกับซึ่งมีเงินรางวัล 20,000 บาท แต่อีก 3 ป้ายเป็นป้ายเปล่าถือว่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้าย 0 ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่ง 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมส่งมานั่นเอง แต่ถ้าหากเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเพียงฝ่ายเดียว ส่วนผู้โชคดีทางบ้านก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติเช่นเดียวกับยุค ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ต่อมาถูกปรับเปลี่ยนเป็นได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาททั้ง 2 รูปแบบ แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 ชิ้นส่วน เมื่อจบการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันท่านใดเข้ารอบแจ็คพอดผู้โชคดีทางบ้านรับไปเลยเงินรางวัล 1,000,000 บาท ส่วนอีก 2 ท่านที่เหลืออาจจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทหรือผลิตภัณฑ์มาม่าไปรับประทานฟรี 1 ปีแล้วแต่ยุค อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ก็มี Jackpot แตกซึ่งได้ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "206434#41", "text": "เกมถังแตกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2549 โดยใช้รูปแบบเดียวกันกับชิงร้อยชิงล้าน Super Game ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย ในแต่ละป้ายจะมีป้ายผู้สนับสนุนหลักในรอบถังแตกอยู่ 8 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการแจกเงิน 100,000 บาท คือตู้เซฟลีโก้ ต่อมาเป็นผงชูรสอายิโนะทะกะระ ตราภูเขา ผงปรุงรสรสหนึ่ง และกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) และป้ายถังแตกอีก 4 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 8 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลเพียง 80,000 บาทเท่านั้น ถ้าเปิดป้ายผู้สนับสนุนหลักแล้วป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกเป็นถังแตก แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีพร้อมรับเงินรางวัล 10,000 บาทไปด้วย (ซึ่งสถิติในการเปิดป้ายเจอผู้สนับสนุนหลักมากที่สุดคือ 6 ใบ) โดยในรอบนี้มีแจ็คพอตแตกถึง 4 ครั้ง", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "206282#7", "text": "ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ ในทีมที่สามารถเปิดได้ 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นปัญญาและมยุราคู่กัน ทีมนั้นจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นเงินรางวัล 100,000 บาท และเมื่อทีมที่สามารถเลือกเปิดป้าย 2 แผ่นป้ายและเปิดป้ายคะแนนรวมคะแนนเท่ากันเป็น 10 คะแนนพอดีโดยที่ไม่เกิน 10 (เช่นเปิดได้ 4 และ 6 ,3 และ 7 ,2 และ 8 ,1 และ 9) หรือเปิดป้ายปัญญา-มยุราแต่อย่างใดก็จะได้รับรางวัลพิเศษคือแพคเกจทัวร์เดินทางไปยัง น้ำตกหวางกว่อฉู้ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน จากบริษัทนำเที่ยววีคเอนด์ ทัวร์อีกด้วย (รางวัลพิเศษจะเห็นได้ชัดในช่วงปี 2538 จนถึงยุค Super Game)", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต" }, { "docid": "206434#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นรายการเกมโชว์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และตั้งแต่วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชื่อที่เรียกใช้ในรายการจะเหลือแค่คำว่า ชิงร้อยชิงล้าน เท่านั้น และในปี พ.ศ. 2555 ได้ย้ายกลับไป สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง ในชื่อใหม่ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ฉากใหม่และวันเวลาใหม่", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "207875#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทปกิณกะบันเทิง ที่รวบรวมเอาฉากสำคัญจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ที่เคยออกอากาศไปแล้วมารวบรวม และนำเสนอ ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (วันปิยมหาราช) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยใช้ชื่อว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด ประมาณปี พ.ศ. 2552 และใช้ชื่อดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน ทั้งนี้ รายการชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 - 11.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์" }, { "docid": "206442#13", "text": "ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2552 เกมถังแตกได้ถูกยกเลิกเปลี่ยนมาเป็นเกม ลุ้นยิ้มลุ้นโชค แต่กติกายังคงเหมือนกับเกมถังแตกทุกประการ ในเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคนั้น จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย และจะมีรูปใบหน้าของเหล่าสมาชิกแก๊งสามช่าทั้ง 3 ได้แก่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง ในอิริยาบถยิ้มและอิริยาบถเศร้าอย่างละ 6 แผ่นป้าย โดยป้ายอิริยาบถยิ้มมีค่าป้ายละ 10,000 บาท และป้ายอิริยาบถเศร้า เป็นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถยิ้ม แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถเศร้า จะถือว่าเกมหยุดทันทีและได้รับเงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถเศร้าเป็นแผ่นป้ายแรก ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถยิ้มครบทั้ง 6 แผ่นป้ายจะได้รับเงินรางวัลสะสมเป็น 100,000 บาท ตั้งแต่เริ่มมีเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคมาเป็นเกมในรอบสะสมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท แทนเกมถังแตกที่อยู่คู่กับชิงร้อยชิงล้านมานานกว่า 13 ปีนั้น (ตั้งแต่ยุค Super Game) ไม่มีผู้เข้าแข่งขันท่านใดที่สามารถสะสมเงินรางวัลจากเกมนี้ได้เลยเป็นเวลา 1 เดือน 3 สัปดาห์ติดต่อกัน (4 มีนาคม - 14 เมษายน พ.ศ. 2552) โดยสัปดาห์แรกที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถสะสมเงินรางวัลจากรอบนี้ได้ อยู่ในเทปวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายหน้ายิ้มเป็นรูปโหน่งที่เป็นอิริยาบถยิ้มได้ 1 แผ่นป้าย รับเงินรางวัลสะสม 10,000 บาท จนถึงเทปสุดท้ายของ ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ก็ไม่มีผู้เข้าแข่งขันท่านใดสามารถสะสมเงินรางวัลจากรอบนี้ได้เป็นครั้งที่สอง จนกระทั่งเกมนี้ได้ถูกยกเลิกไปในปีเดียวกัน ในยุค Cha Cha Cha (ครั้งที่ 2)", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก" }, { "docid": "720180#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก ชิงร้อยชิงล้าน Sunshineday รวมถึงปรับปรุงรูปแบบและฉากใหม่ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14:30 - 17.00 น. และออกอากาศซ้ำในวันจันทร์ เวลา 21:30 - 24:00 น. เนื่องจากตามคำเรียกร้องที่อยากให้ชิงร้อยชิงล้านกลับมาออกอากาศกลางคืนอีกครั้ง", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว" } ]
1606
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ถือสัญชาติอะไร ?
[ { "docid": "112256#0", "text": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม (เกิด 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2525) เป็นดาราลูกครึ่งออสเตรเลีย-ลาว เข้าวงการเมื่ออายุ 14 ปี โดยคำชักชวนของมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กับภาพยนตร์เรื่องแรก อันดากับฟ้าใส และ 303 กลัว/กล้า/อาฆาต หลังจากไม่มีผลงานบันเทิงระยะหนึ่ง ได้กลับมาอีกครั้งกับละครเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[1438,1452,2,2]}'>ทะเลฤๅอิ่ม ของหม่อมน้อย หลังจากนั้นก็มีผลงานการแสดงเรื่อยมา จนใน พ.ศ. 2547 อนันดาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2547 หรือ สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 จากเรื่อง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ [1] และจากภาพยนตร์เรื่อง Me Myself อนันดาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 6 สถาบัน ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 อนันดามีผลงานการแสดงภาพยนตร์ถึง 10 เรื่อง และในปี พ.ศ. 2552 อนันดาได้รางวัลด้านการแสดงในสาขานักแสดงนำจาก 6 สถาบัน จากผลงานภาพยนตร์เรื่อง แฮปปี้เบิร์ธเดย์", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" } ]
[ { "docid": "876938#0", "text": "\"ภวังค์รัก\" () เป็นภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2557 เขียนบทและกำกับโดย ลี ชาตะเมธีกุล นำแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม, เจนสุดา ปานโต, อภิญญา สกุลเจริญสุข และประวิทย์ ฮันสเตน กำหนดออกฉายในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557", "title": "ภวังค์รัก" }, { "docid": "112256#14", "text": "ส่วนความสนใจตั้งแต่เด็ก คือ อยากเป็นนักชีววิทยาทางทะเล ชอบดำน้ำ ชอบทะเล[46] และยังมีโครงการอีกหลายโครงการเช่น เรื่องการเรียน เรื่องธุรกิจ ส่วนในยามว่างอนันดาชอบการท่องเที่ยว เคยขี่มอเตอร์ไซค์ไปประเทศลาวกับ กมล สุโกศล แคลปป์ มาแล้ว [44] สถานที่อนันดาหลงใหลมากคือที่ประเทศเนปาล[47]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "112256#28", "text": "The above discussion is preserved as an archive of the debate. Please do not modify it. Subsequent comments should be made on the appropriate discussion page (such as the template's talk page or in a deletion review).", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "112256#24", "text": "อนันดาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโฆษณาจักรยานยนต์ ซูซูกิ รุ่น “มาโช โชกุน 125”[57] และเป๊ปซี่ แม็กซ์ กับอีก 4 พรีเซนเตอร์ ด้วยแต่ละคนให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตและดูแลตัวเองในทุก ๆ ด้าน[58] โดยอนันดาเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงรสชาติเต็มที่ของเป๊ปซี่ แมกซ์[59] อนันดา ยังเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้กับโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่า สำหรับผลิตภัณฑ์ตระกูล MOTORAZR[60] อนันดาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์เม็ดอม ดับเบิ้ลมินต์ มินต์[61] และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าสำหรับผู้ชาย การ์นิเย่[62]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "385991#7", "text": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รับบท ขุนศึกเจ้าหล้าฟ้า", "title": "อุโมงค์ผาเมือง" }, { "docid": "112256#23", "text": "ทางด้านธุรกิจ ได้ร่วมกันทำธุรกิจกับผู้จัดการส่วนตัว พี่เจี๊ยบ นภัสริญญ์ พรหมพิลา ตั้งบริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จำกัดเปิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 รับทำงานอีเวนต์เกี่ยวกับงานศิลปะ[9] อีกทั้งยังเคยมีธุรกิจร้านอาหารกึ่งผับกึ่งรีสอร์ตที่เกาะเสม็ด (ปิดไปแล้ว) [46] อนันดามีผลงานถ่ายภาพบันทึกเรื่องราวการเดินทาง โดยใช้ชื่อว่า “99 Days- Photobook กับ อนันดา เอเวอริงแฮม ” (โฟโต้บุ๊ก ไดอารี่ “99 วัน”) [56]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "112256#21", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 อนันดาได้รับรางวัลพระเอกภาพยนตร์ขวัญใจประชาชน ที่จัดขึ้นโดยนิตยสารทีวีพูล[52] และยังได้รับรางวัลเซเวนทีนชอยส์แอ็กเตอร์ จากการแจกรางวัลของนิตยสารเซเวนทีน[53]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "104264#14", "text": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รับบท ส่างหม่อง เฌอมาลย์ บุณยศักดิ์ รับบท ยุพดี ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ รับบท พะโป้ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท ทิพย์", "title": "ชั่วฟ้าดินสลาย" }, { "docid": "112256#18", "text": "เอกชัย ผู้กำกับเรื่อง โลงต่อตาย พูดถึงอนันดาว่า \"เขาทำงานง่าย เป็นคนที่แคร์กับคาแร็กเตอร์ เข้าใจว่าตัวละครตัวนี้ เลือดเนื้อวิญญาณของมันคืออะไร\"[50]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "176631#0", "text": "อันดากับฟ้าใส เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยแกรมมี่ฟิล์ม กำกับโดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล นำแสดงโดย สินจัย หงษ์ไทย, พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง ,ชลธิชา นวมสุคนธ์ และ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม", "title": "อันดากับฟ้าใส" }, { "docid": "112256#29", "text": "หมวดหมู่:นักแสดงไทย หมวดหมู่:นักแสดงชายชาวไทย หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายออสเตรเลีย หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายลาว หมวดหมู่:นักแสดงเด็กชาวไทย หมวดหมู่:ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนบางกอกพัฒนา หมวดหมู่:นักเดินทาง", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "185846#0", "text": "เมมโมรี่ รักหลอน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นำแสดงโดย ใหม่ เจริญปุระ, อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม, ซัน คัมภิรานนท์, ภารุจีร์ เข็มสวัสดิ์, ราชวัติ ขลิบเงิน, อดุลย์ ดุลยรัตน์ กำกับโดยต่อพงศ์ ตันกำแหง สร้างโดย เอ.จี. เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กับคำเปรยโฆษณาว่า \"รักไม่มีวันตาย\" ทำรายได้รวม 30 ล้านบาท", "title": "เมมโมรี่ รักหลอน" }, { "docid": "112256#2", "text": "อนันดาเกิดในประเทศไทย เป็นลูกชายของจอห์น เอเวอริงแฮม ช่างภาพชาวออสเตรเลีย กับแก้ว สิริสมพร หญิงชาวลาว[2] ปัจจุบันอนันดาถือสัญชาติไทย[3] (เดิมถือสัญชาติออสเตรเลีย) เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย หลังจากนั้นกลับมาประเทศไทยเมื่ออายุได้ 9 ปี เข้าศึกษาที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา และกลับไปบริสเบนระหว่างปิดภาคเรียนที่ประเทศไทย[4] สมัยเด็ก ๆ เป็นคนดื้อมาก เรียนหนังสือเก่งแต่ไม่ยอมเรียน จนเมื่ออายุได้ 13 - 14 ปี โดนไล่ออกจากโรงเรียน ทำให้คุณพ่อต้องการดัดนิสัยโดยจะส่งไปเรียนโรงเรียนประจำที่ประเทศอินเดีย แต่มีวันหนึ่งขณะรอเดินทางไป อนันดาได้ช่วยงานร้านอาหารอินเดียชื่อ “หิมาลัย ชา ช่า”[5] ที่บิดาเปิดอยู่ย่านสุริวงศ์ ได้พบมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เข้ามาถามว่าต้องการเป็นดาราหรือไม่ และด้วยความที่ไม่อยากไปอินเดียจึงตอบตกลง อนันดาจึงเข้าสู่วงการบันเทิงโดยเริ่มงานกับแกรมมี่ เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ จากนั้นก็ได้มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ อันดากับฟ้าใส[6]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "112256#22", "text": "ชื่อเสียงของอนันดายังดังข้ามไปยังต่างประเทศ คาเรน ม็อก นักแสดงชื่อดังชาวฮ่องกงที่ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง โลงต่อตาย ก็รู้ว่าเขามีชื่อเสียง ส่วนอากิ ชิบูยะ นักแสดงชาวญี่ปุ่นที่ร่วมงานกับภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน ก็เล่าว่า \"อนันดา เขาดังมากที่ญี่ปุ่น\"[54] นอกจากความโด่งดังแล้วยังมีดารานักแสดงชื่นชอบอนันดา คือ มาริโอ้ เมาเร่อ ที่ชอบวิธีการพูดจา การดำเนินชีวิต และแนวคิดของเขา[55]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "787502#0", "text": "ขุนพันธ์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในปี พ.ศ. 2559 ที่อิงจากเรื่องราวชีวิตของขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) ผู้เป็นนายตำรวจ นำแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม และ กฤษดา สุโกศล แคลปป์ กำกับโดยก้องเกียรติ โขมศิริ โดยมีภาคต่อชื่อ \"ขุนพันธ์ 2\"", "title": "ขุนพันธ์" }, { "docid": "112256#25", "text": "ด้านงานช่วยเหลือสังคม ในปี พ.ศ. 2551 อนันดา ได้เข้าร่วมกับเอ็มทีวี เอ็กซิท เป็นแอมบาสเดอร์ประจำประเทศไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์[63] ด้านวงการวิทยุ อนันดา เอเวอริงแฮม ขึ้นแท่นบริหารนำทีม บริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จำกัด ร่วมมือกับบริษัท อินดิเพนเด้นท์ คอมมิวนิเคชั่น เนทเวิร์ค จำกัด บริหารคลื่น CLICK RADIO FM.102.5 CHIANG MAI ซึ่งได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 และได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "181080#2", "text": "ในเหตุการณ์วันนั้น ปารี (อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม) เด็กที่ลอยมาจากทะเลซึ่งพ่อแม่ของเขาตายจากฝีมือของอีกาดำ โดยมีลิ่มเคี่ยมซึ่งช่วยชีวิตปารีในครั้งนั้นไว้ได้ เมื่อเขาเติบโตเป็นหนุ่มชาวเล เขาและลิ่มเคี่ยมที่ประดิษฐ์อาวุธพิสดารมากมาย และตั้งกลุ่มก่อกวนตัดกำลังโจรสลัดขึ้น", "title": "ปืนใหญ่จอมสลัด" }, { "docid": "112256#27", "text": "โครงการ \"มหาสมุทร\" (MahaSamutr) ของ เพส ดีเวลล็อปเม้นท์ (Pace Development)", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "186296#6", "text": "เอกชัย เลือกที่จะทำงานกับคนคุ้นเคย อย่าง อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ที่เขาเคยทำงานร่วมกันใน \"Pleasure Factory\" มาก่อนโดยไม่สนว่าเขาจะมีผลงานภาพยนตร์ถึง 10 เรื่องในปีเดียว เขาพูดว่า \"ผมเป็นคนไม่ชอบใช้ดารา อยากจะใช้คนที่เล่นเป็น แต่เผอิญอนันดาเขาเล่นได้ แล้วก็เป็นดาราด้วย ก็ถือว่าเป็นโบนัส\"", "title": "โลงต่อตาย" }, { "docid": "333410#13", "text": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รับบท ส่างหม่อง", "title": "ชั่วฟ้าดินสลาย (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2553)" }, { "docid": "743345#33", "text": "ทีมที่ชนะแคมเปญ: ทีมคริส ผู้ที่ถูกส่งเข้ามาในห้องคัดออก: แพรว ลิลลดา, มะปราง จุติพร และ นัตโตะ ณัฐฐาสิณี ผู้ที่ถูกคัดออก: นัตโตะ ณัฐฐาสิณี แขกรับเชิญพิเศษ: เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์, สมบัษร ถิระสาโรช (ตือ) และ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม", "title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2" }, { "docid": "112256#17", "text": "อนันดาพูดถึงตัวเอง เกี่ยวกับการใช้เงินว่า ถึงแม้จะมีผลงานภาพยนตร์มาหลายเรื่อง แต่อนันดาก็บอกว่า \"ตนเองใช้เงินเก่ง\"[49]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "112256#6", "text": "ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 อนันดามีผลงานการแสดงภาพยนตร์ถึง 10 เรื่อง โดยเริ่มรับแสดงเรื่อง The Coffin ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และต่อด้วย ปืนใหญ่จอมสลัด แต่เนื่องจากรอเปิดกล้องอยู่นานไม่ได้ถ่ายทำ จึงไปรับถ่ายเรื่อง The Leap Years[22] ซึ่งใช้เวลาถ่ายทำนานกว่า 3 ปี[23]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "112256#16", "text": "อนันดาเป็นคนมีโลกส่วนตัว เป็นคนตรงไป ตรงมา เกลียดการโกหก ไม่ชอบอยู่ในสถานที่ที่คนเยอะ[37] และเป็นคนเครียด จากบุคลิกที่ไม่ปล่อยวางอะไรง่าย เขาเล่าว่าที่เขาคิดเยอะ เพราะมีเรื่องต้องรับผิดชอบเยอะ อีกทั้งชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งอนันดาเคยไปปรึกษาจิตแพทย์มาแล้ว 2 ครั้ง ใน 4 ปี[48]", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "138403#17", "text": "มิตร ชัยบัญชา (พ.ศ. 2502-พ.ศ. 2513) สิงหา สุริยง (พ.ศ. 2520) กรุง ศรีวิไล (พ.ศ. 2523) เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ (พ.ศ. 2540) อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม (พ.ศ. 2553) อรรคพันธ์ นะมาตร์ (พ.ศ. 2562)", "title": "อินทรีแดง" }, { "docid": "615676#7", "text": "ล่าสุด กับการหวนคืนสู่ตำแหน่ง ผู้กำกับมิวสิควิดีโอในรอบ 20 ปี เพลง \"เธอ\" วง Cocktail โดยได้ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม และ โยเกิร์ต รวิวรรณ บุญประชม มาเล่นเป็นพระนางให้ในมิวสิควิดีโอเพลงนี้", "title": "วิเชียร ฤกษ์ไพศาล" }, { "docid": "551777#3", "text": "ด้านชีวิตส่วนตัว เคยคบหาดูใจกับ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม แต่ท้ายสุด ในเดือนมกราคม 2553 ทั้งคู่ก็ออกมายอมรับว่าเลิกกัน หลังคบกันมานานถึง 4 ปี ปัจจุบัยได้คบหาดูใจกับแฟนไฮโซขลุ่ย ธนา เชาวนปรีชา มานานกว่า 5 ปีแล้ว", "title": "แสงทอง เกตุอู่ทอง" }, { "docid": "112256#3", "text": "ภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง อันดากับฟ้าใส กำกับโดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล[7] ในตอนนั้นอนันดายังพูดภาษาไทยไม่ได้เลย แต่อนันดาก็เล่าถึงตัวเองว่า ผมเข้าใจภาษาไทยนะ แต่ว่าไม่ได้ใช้และเพื่อนฝูงเป็นฝรั่งหมด[8] หลังจากนั้นอนันดาก็มีงานเข้ามาเรื่อย และเป็นที่รู้จัก แต่ด้วยความเป็นคนรักในการท่องเที่ยว จึงหายไปจากวงการช่วงหนึ่ง", "title": "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม" }, { "docid": "439723#1", "text": "ในปี พ.ศ. 2556 ทรูวิชั่นส์ได้ทำในรูปแบบละครไทย โดยมี อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม เป็นผู้กำกับโครงการ “TrueAsianSeries รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์” มี เจษฎาภรณ์ ผลดี และ สุชาร์ มานะยิ่ง เป็นตัวเอกในเรื่อง", "title": "รักนี้ชั่วนิรันดร์" } ]
2087
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลายประสาทเมอร์เกิลมีอยู่อย่างกว้างขวาง โดยพบในชั้นฐานอะไร?
[ { "docid": "885632#3", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลายประสาทเมอร์เกิลมีอยู่อย่างกว้างขวาง โดยพบในชั้นฐาน (basal lamina) ของหนังแท้ใต้หนังกำพร้า ที่ผิวหนังทั้งเกลี้ยงทั้งมีผม/ขน, ในปุ่มรากผม (hair follicle), และในเยื่อเมือกทั้งในปากและที่ทวารหนัก \nในมนุษย์ เซลล์เมอร์เกิล (ร่วมกับ Meissner's corpuscle) จะอยู่ติดใต้หนังกำพร้า (0.5-1.0 มม. ใต้ผิวหนัง) โดยที่มือจะล้อมท่อต่อมเหงื่อใต้สันลายมือ/นิ้ว เทียบกับตัวรับแรงกลอย่างอื่นบางอย่าง เช่น Pacinian corpuscle และ Ruffini ending ที่อยู่ในหนังแท้ (2-3 มม. ใต้ผิวหนัง) และเนื้อเยื่อที่ลึกกว่านั้น", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" } ]
[ { "docid": "885632#7", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การบันทึกกระแสไฟฟ้าด้วยอิเล็กโทรดจากใยประสาทนำเข้าเส้นเดียวแสดงว่า \nปลายประสาทเมอร์เกิลจะตอบสนองอย่างกระฉับกระเฉงในช่วงที่ปรากฏสิ่งเร้า (dynamic - พลวัต) แล้วก็ตอบสนองต่อไปในช่วงที่สิ่งเร้าไม่เปลี่ยนแปลงด้วย (static - นิ่ง)\nการตอบสนองในช่วงนิ่งสามารถคงยืนกว่า 30 นาที\nระยะระหว่างอิมพัลส์ (inter-spike) ในช่วงที่ยิงสัญญาณอย่างคงยืนจะสม่ำเสมอ เทียบกับรูปแบบที่ไม่สม่ำเสมอถ้าได้จากตัวรับแรงกลที่ปรับตัวช้า ๆ แบบ II (คือ Ruffini ending)", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "568350#4", "text": "ในเปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อเทาที่หุ้มเนื้อขาว ประกอบด้วยชั้นเซลล์ประสาทต่าง ๆ เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนาประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ส่วนจำนวนของชั้นเซลล์ประสาทนั้น เหมือนกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด แต่ว่า มีจำนวนต่าง ๆ กันไปภายในคอร์เทกซ์ ส่วนในคอร์เทกซ์ใหม่ จะสามารถสังเกตเห็นชั้นทั้ง 6 ของคอร์เทกซ์ได้ แม้ว่า เขตหลายเขตอาจจะมีจำนวนชั้นบกพร่องไปบ้าง เช่นในเขต archipallium และ paleopallium", "title": "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" }, { "docid": "860308#6", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ คือ โมโนทรีม (อิคิดนาและตุ่นปากเป็ด) ไม่มีคอเคลียที่ขดเป็นก้นหอย แต่มีรูปคล้ายลูกกล้วยยาวประมาณ 7 มม.\nเหมือนกิ้งก่ากับงูและสัตว์ปีกกับจระเข้ อวัยวะจะมี lagena และเยื่อบุผิวที่เป็นอวัยวะรับรู้การทรงตัว (vestibular sensory epithelium) ที่ปลาย\nเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นเธอเรีย (คือ สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องและสัตว์มีรก) ที่มีคอเคลียขดเป็นก้นหอย 1.5-3.5 รอบ\nเทียบกับโมโนทรีม ที่มีแถวของเซลล์ขนด้านใน (IHC) และ เซลล์ขนด้านนอก (OHC) หลายแถวในอวัยวะของคอร์ติ ในเธอเรีย IHC จะมีแค่ 1 แถว และทั่วไปจะมี OHC 3 แถว", "title": "วิวัฒนาการของคอเคลีย" }, { "docid": "586043#23", "text": "สัตว์หลายชนิดรวมทั้งซาลาแมนเดอร์ สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางประเภทมีอวัยวะที่เรียกว่า vomeronasal organ \nซึ่งอยู่ติดกันกับช่องปาก\nในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อวัยวะนี้ใช้ในการตรวจจับ pheromones หรือในการทำเครื่องหมายอาณาเขต เส้นทาง หรือภาวะทางเพศ\nส่วนสัตว์เลื้อยคลานเช่นงูและสัตว์วงศ์เหี้ย ใช้อวัยวะนี้เป็นอวัยวะดมกลิ่น โดยส่งโมเลกุลมีกลิ่นไปที่อวัยวะด้วยปลายลิ้นที่แฉก\nเป็นอวัยวะที่เรียกว่า Jacobsons organ ในสัตว์เลื้อยคลาน\nในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นี้เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า flehman response ซึ่งปรากฏโดยการม้วนหรือยกริมฝีปากด้านบนขึ้น ซึ่งส่ง pheromone ไปที่ vomeronasal organ", "title": "ประสาทสัมผัส" }, { "docid": "844951#3", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กำเนิดประสาทในผู้ใหญ่ (adult neurogenesis) พบว่าเกิดในเขตหลัก ๆ 3 เขตในสมอง คือ dentate gyrus ของฮิปโปแคมปัส, subventricular zone ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ผนังด้านข้างตลอดโพรงสมองข้าง, และ olfactory bulb ซึ่งเป็นโครงสร้างประสาทเกี่ยวกับการได้กลิ่น\nแต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางอย่าง กำเนิดประสาทเพื่อทดแทนเซลล์เก่าก็เกิดได้ด้วยเหมือนกัน\nและโดยนัยเดียวกัน ยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างพบว่าเพิ่มอัตรากำเนิดประสาทในฮิปโปแคมปัส", "title": "กำเนิดประสาท" }, { "docid": "885632#0", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิล\nเป็นปลายประสาทรับแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำชนิดหนึ่งที่พบใต้หนังกำพร้าและที่ปุ่มรากผม (hair follicle)\nโดยมีหนาแน่นที่สุดที่ปลายนิ้วและริมฝีปาก\nและที่มือของไพรเมตจะอยู่ใต้สันลายมือ/นิ้วที่ฐานของ primary epidermal ridge\nเป็นใยประสาทที่ปรับตัวอย่างช้า ๆ แบบ 1 (SA1)\nหุ้มด้วยปลอกไมอีลินหนา (กลุ่ม Aβ) และมีเซลล์เยื่อบุผิวหุ้มเป็นแคปซูล (encapsulated) ค่อนข้างแข็งที่ปลาย ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ไมโครเมตร\nและให้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงดัน ตำแหน่ง และสัมผัสนิ่ง ๆ ที่กดลงลึก เช่น รูปร่างหรือขอบวัสดุ", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "912564#27", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งเร้าคือรสชาติจะรับรู้อาศัยเซลล์รับความรู้สึกที่ไม่มีแอกซอนซึ่งอยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ที่ลิ้นและคอหอยเป็นต้น\nเซลล์รับรสจะกระจายข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทต่าง ๆ ซึ่งก็จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับรสชาติหนึ่ง ๆ ไปยังนิวเคลียสประสาทเดียว คือ nucleus of the solitary tract ในเมดัลลา (medulla)\nระบบการตรวจจับฟีโรโมนก็มีส่วนในการรับรสด้วย\nแต่เป็นระบบที่ต่างจากการรับรส โดยมีโครงสร้างเหมือนกับระบบการได้กลิ่น", "title": "แบบสิ่งเร้า" }, { "docid": "928346#4", "text": "เซลล์ไมทรัลเป็นเซลล์ประสาทประเภทหนึ่งในป่องรับกลิ่นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และต่างจากเซลล์ประเภทอื่น ๆ โดยตำแหน่งของตัวเซลล์ที่อยู่เป็นแถวอย่างเป็นระเบียบในชั้นเซลล์ไมทรัลของป่องรับกลิ่น\nปกติจะมีเดนไดรต์หลักเพียงแค่อันเดียว ซึ่งส่งไปยังโกลเมอรูลัสอันเดียวในชั้นโกลเมอรูลัส และมีเดนไดรต์ด้านข้าง (lateral) 2-3 อัน ที่ส่งไปทางข้าง ๆ ไปตามชั้น external plexiform\nเซลล์ไมทรัลสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเซลล์รีเลย์ประเภทที่สองในป่องรับกลิ่นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เรียกว่า tufted cell", "title": "เซลล์ไมทรัล" }, { "docid": "38417#6", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก เพศเมียมีรูเปิดของอวัยวะสืบพันธุ์สองรู (ช่องคลอดและท่อปัสสาวะ) ส่วนเพศผู้มีเพียงแค่รูเดียวคือท่อปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเมียมีปลายประสาทจำนวนมากส่งผลให้รู้สึกดีเมื่อถูกสัมผัส ในสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ถือคติอนุรักษนิยม มองการแสดงอวัยวะเพศว่าเป็นการแสดงลามกอนาจาร", "title": "อวัยวะเพศ" } ]
3089
พระนิคเคนโชนิน เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "312652#0", "text": "พระนิคเคนโชนิน (阿部日顕, Abe Nikken หรือ 日顕上人, Nikken Shonin ; 19 ธันวาคม ค.ศ. 1922 - ปัจจุบัน) เป็นพระสังฆราชของพุทธศาสนานิกาย นิชิเรนโชชู องค์ที่ 67 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิกายสำคัญของศาสนาพุทธนิกายนิชิเรน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดใหญ่ไทเซขิจิ ณ ชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น สานุศิษย์นิชิเรนโชชูจะขนานนามท่านว่า พระนิคเคนโชนิน, นิคเคนโชนิน เกอิคะ, โกะอิซน โชนิน, โกอินซนซะมะ หรือ โกอิรเคียวซะมะ แต่มักจะเรียกอย่างเป็นทางการว่า \"พระสังฆราชองค์ที่ 67 พระนิคเคนโชนิน\"(67th High Priest Nikken Shōnin.)", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" } ]
[ { "docid": "312652#2", "text": "พระนิคเคนโชนิน ประสูติวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1922 ในโตเกียว มีนามในวัยเด็กว่า ชิโบุ อาเบะ เป็นบุตรชายของ โฮอุน อาเบะ ซึ่งได้เป็นเจ้าอาวาสของวัดโจเซ็นจิ ในซุมิดะ, โตเกียว และในภายหลังได้ดำรงตำแหน่งป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 50 พระนิชิไค โชนิน ชิโนบุ ได้บวชเป็นพระสงฆ์ในปี ค.ศ. 1928 และเปลี่ยนชื่อเป็น พระชินโน (信雄) พระชินโนสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยริชโช ในปี ค.ศ. 1943 ภายหลังจากการร่วมรบในฐานะทหารเรือญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดสำคัญๆ ถึงสามวัดด้วยกันคือ วัดฮนเกียวจิ (โตเกียว ค.ศ. 1947) เฮอันจิ (เกียวโต ค.ศ. 1963) และภายหลังวัดโจเซ็นจิ (โตเกียว) และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานของ เคียวกะบุคุ (แผนกที่รับผิดชอบการศึกษาธรรมและรักษาความดั้งเดิมของหลักธรรม) ในปี ค.ศ. 1961 ในตำแหน่งนี้ ท่านจึงเป็นหนึงใน พระสงฆ์สองท่านแรกที่ได้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อทำพิธีรับศีล (Gukujai โกคุไจ) กับสมาชิกผู้นับถือใหม่ต่างประเทศ ขณะเดียวันสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นได้ตั้งนามใหม่ให้ท่านว่า เอ็ตสุโยะ (越洋: \"บุรุษที่ข้ามทะเล\") ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็น นิชิเรนโชชู โซคัน หรือตำแหน่งสูงสุดอันดับที่สองของพระสงฆ์นิกายนิชิเรนโชชูในปี ค.ศ. 1979 และในที่สุดท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระสังฆราช ภายหลังจากการดับขันธ์ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 66 พระนิททัตสุโชนิน ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 ในช่วงเวลานั้นท่านได้เปลี่ยนชื่อนิชิโกะ (ชื่อซึ่งเริ่มต้นด้วย นิชิ ซึ่งเป็นชื่อที่พระสงฆ์ทุกๆรูปจะต้องมี แต่จะใช้เฉพาะในโอกาสเป็นทางการหรือใช้กับพระสงฆ์อาวุโสเท่านั้น) ของท่านจาก นิชิจิ (日慈) เป็น นิคเคน (日顕)", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312652#8", "text": "เมื่อพระนิคเคนโชนินขึ้นดำรงตำแหน่งสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู ในขณะนั้น สมาคมโซกา งัคไค ก็อยู่ภายใต้การนำของ ไดซาขุ อิเคดะ โดยในระหว่างนั้นนั่นเอง สมาคมโซกา งัคไค จะเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้นับถือทั่วโลกกับวัดใหญ่ไทเซขิจิ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชนิคเคนโชนิน ได้พบเห็นพฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลของ ประธานอิเคดะ และคณะผู้บริหาร ทั้งในเรื่องเงินบริจาคจากสมาชิกทั่วโลกที่มหาศาล และในเรื่องการบิดเบือนคำสอน และวิถีการปฏิบัติ รวมทั้งการปลอมแปลงโงะฮนซน(สิ่งสักการบูชาสูงสุด) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากที่สุด โดยในเรื่องการปลอมแปลงโงะฮนซนนี้ว่ากันว่าถูกจับได้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสังฆราชนิตทัทสุ โชนิน มาก่อนแล้ว แต่สมเด็จพระสังฆราชได้อภัยโทษให้ แต่อย่างไรก็ตามพระนิคเคน โชนิน ได้ตัดสินใจคว่ำบาตร ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมโซกา งัคไคในปี ค.ศ. 1991 และต่อมาในปี ค.ศ. 1997 สมาชิกของสมาคมโซกา งัคไค ทุกๆคนจำนวน กว่า 10 ล้านคนทั่วโลก ได้ถูกคว่ำบาตรออกจากการเป็นนิชิเรนโชชูอย่างเป็นทางการ", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "328132#0", "text": "พระนิชิคัน (ค.ศ. 1665 - ค.ศ. 1726) หรือ พระนิชิคัน โชนิน เป็นประมุขสงฆ์ของพุทธศาสนานิกายนิชิเรนโชชู เป็นผู้ที่ทำให้พุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน มีความเจริญรุ่งเรือง นอกเหนือจากพระนิกโคโชนินและพระนิชิโมขุโชนินแล้ว พระนิชิคันโชนินนับว่าเป็นประมุขสงฆ์อันดับ 1 ของการศรัทธาที่ขึ้นตรงต่อพระนิชิเรนไดโชนิน พระนิชิคันโชนินเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในฐานะเป็น บรรพบุรุษแห่งการฟื้นฟูพุทธธรรม กล่าวคือ หลังจากที่พระนิชิเรนไดโชนินดับขันธ์แล้วประมาณ 400 ปี ท่านก็ได้เป็นผู้ทำลายคำสอนต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นที่บิดเบือนไปจากพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน ท่านได้ชี้ชัดให้เห็นถึงความถูกต้องของพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนินทั้งภายในและภายนอกนิกาย แล้วยังได้จัดให้มีการศึกษาที่ถูกต้องโดยกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของพระนิชิเรนไดโชนิน ดังนั้น ท่านได้สมญานามว่า ท่านคันที่เคารพยิ่ง มาตั้งแต่สมัยนั้น ท่านได้รับการยกย่องว่ามีความศรัทธาและผลงานที่ยิ่งใหญ่", "title": "พระนิชิกัง" }, { "docid": "315165#0", "text": "พระนิทตัตสุ โชนิน (日達, Nittatsu Shonin ; 15 เมษายน ค.ศ. 1902 - 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1979) เป็นพระสังฆราชของพุทธศาสนานิกาย นิชิเรนโชชู องค์ที่ 66 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิกายสำคัญของศาสนาพุทธนิกายนิชิเรน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดใหญ่ไทเซขิจิ ณ ชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ท่านเป็นพระสังฆราชที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นพระสังฆราชผู้เมตตา เนื่องด้วยมักจะปรากฏออกสาธารณชนด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มต่อสานุศิษย์เสมอ", "title": "พระนิตตะสึ" }, { "docid": "312652#13", "text": "กรณีรูปภาพพระนิคเคนโชนิน ร่วมกับหญิงเกอิชา", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312652#11", "text": "โซกางัคไค กล่าวว่า: พระนิคเคนโชนินได้กระทำการดู่หมิ่นธรรมขั้นร้ายแรงโดยการสร้างและทำพิธีเปิดหลุมศพของบิดามารดาของท่าน ในวัดนิกายเซน ณ วัดฮะคุซันจิ ใน ฟุคุชิมะ ซึ่งถือเป็นนิกายนอกรีตสำหรับนิชิเรนโชชู พลังของปิศาจมารจากนิกายนอกรีตจะทำลายความศรัทธาของผู้นับถือนิชิเรนโชชู จึงทำให้พระนิคเคนนั้น สูญเสียความศรัทธาที่ถูกต้องแท้จริงไป", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312561#2", "text": "ว่ากันว่าพระนิกโค เข้าเป็นศิษย์ของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ระหว่างปี ค.ศ. 1258 และ ปี ค.ศ. 1260 ซึ่งไม่ระบุเวลาที่แน่ชัด ท่านได้ตามรับใช้พระนิชิเรนอย่างใกล้ชิด จนถึงวันที่ท่านดับขันธ์ จากบันทึกของนิชิเรนโชชู พระนิกโคยังได้โดนเนรเทศพร้อม ๆ กับพระนิชิเรนถึงสองครั้ง และยังเป็นผู้ทำการเก็บรักษาบทธรรมนิพนธ์ที่พระนิชิเรนเขียนไว้อย่างมหาศาล โดยได้ทำการเก็บรักษาอย่างดีและระมัดระวัง", "title": "พระนิกโก" }, { "docid": "312561#0", "text": "พระนิกโค (日興 \"Nikkō\") (ค.ศ. 1246 - ค.ศ. 1333) หรือ พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งนิกายย่อยของศาสนาพุทธ นิกายนิชิเรน ซึ่งคือ นิชิเรนโชชู นามแบบเต็มของท่านคือ ฮะวะคิ-โบะ เบียวคุเร็น อาจาริ นิกโค (伯耆房 白蓮阿闍梨 日興 \"Hawaki-bō Byakuren Ajari Nikkō\")", "title": "พระนิกโก" }, { "docid": "312652#14", "text": "โซกางัคไค กล่าวว่า: พระนิคเคนโชนิน นั้นได้กระทำผิดอย่างมหันต์ด้วยการคบชู้สู่สาวกับหญิงเกอิชา ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรงสำหรับพระสงฆ์ และเป็นความผิดอย่างร้ายแรงสำหรับพระสังฆราช โดยได้อ้างรูปภาพที่พระนิคเคนโชนินถ่ายรูปร่วมกับเหล่าหญิงเกอิชา", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312652#4", "text": "ในรัชสมัยของพระนิคเคนโชนิน นั้นเป็นสมัยที่เต็มไปด้วยความสำเร็จและการขัดแย้ง พระนิคเคนได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบการจากไปของพระนิชิเรนครบ 700 ปี ในปี ค.ศ. 1981, 650 ปี ครบรอบการจากไปของผู้ก่อตั้งวัดใหญ่ไทเซขิจิพระนิกโค โชนิน และ พระนิชิโมขุ โชนิน (ค.ศ. 1982), ครบรอบ 700 ปีการก่อตั้งวัดใหญ่ไทเซขิจิ (ค.ศ. 1990) และ 750 ปีของการก่อตั้งนิกายนิชิเรนโชชู (ค.ศ. 2004)", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312652#12", "text": "นิชิเรนโชชูกล่าวว่า: โซกางัคไค ได้เข้าใจผิดมหันต์เกี่ยวกับหลุมฝังศพดังกล่าว สุสานของบิดามารดาของพระนิคเคนโชนินนั้นอยู่ที่ วัดใหญ่ไทเซขิจิ ไม่ใช่วัดฮะคุซันจิ หลุมศพของครอบครัวอะเบะที่อยู่ในวัดฮะคุซันจินั้นเป็นหลุมศพของญาติของพระนิคเคนโชนิน มิใช่ของบิดามารดาของพระสังฆราชแต่อย่างใด แต่ในจังหวัดฟุคุชิวะนั้นเป็นบ้านเกิดของท่าน ครอบครัวอะเบะที่ได้อาศัยอยู่ในขณะนี้คือ นายเค็นโซ อะเบะ เป็นสมาชิกนิชิเรนโชชู ซึ่งเป็นญาติของท่าน และได้ยกคำกล่าวของนายโจเซอิ โทดะ ประธานคนที่สองของโซกางัคไค ว่าด้วยเรื่องการตั้งหลุมฝังศพในวัดนิกายอื่นว่า ซึ่งนิชิเรนโชชูได้อ้างว่าไม่ใช่สิ่งที่ผิดที่จะจ่ายเงินค่าเช่าให้กับที่ดินที่คุณทำการเช่า", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "315165#3", "text": "โดยพระนิทตัตสุ โชนิน ได้มีกล่าวดังนี้ในที่ประชุม ในการประชุมกลุ่มฮอกเคะโขะ ในเมษายน ปี ค.ศ. 1947 ที่วัดไทเซขิจิ", "title": "พระนิตตะสึ" }, { "docid": "312652#6", "text": "หลังจากการคว่ำบาตรสมาคมสร้างคุณค่า พระนิคเคนโชนิน ได้ทำการเปิดวัดนิกายนิชิเรนโชชูในต่างประเทศจำนวนมาก (วัดล่าสุดคือที่สิงคโปร ในธันวาคม 2005 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งสังฆราช) และเปิดศูนย์เผยแผ่ธรรมใน แอฟริกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้ รวมไปถึง ยุโรป และ อเมริกาเหนือ และแต่งตั้งพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิรุ่นใหม่เป็นผู้ดูแล อีกทั้งยังมีหลายครั้งที่พระนิคเคน โชนิน ได้เดินทางไปเยี่ยมผู้นับถือในต่างประเทศด้วยพระองค์เอง ด้วยพระชนมายุที่มากขึ้น", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "328132#5", "text": "อาจารย์โจเซอิ โทดะ นายกสมาคมโซคา งัคไก ท่านที่ 2 ได้กล่าวว่า การศึกษาของพระนิชิคันโชนิน เป็นการศึกษาที่เกิดจากความศรัทธาที่ลึกซึ้งมีกล่าวว่า ในช่วงเวลา 7 ปี พระนิชิคันโชนินได้สวดไดโมขุ 20 ล้านคำอุทิศให้กับบิดามารดาเพื่อทดแทนคุณเป็นการกระทำที่สมกับเป็นผู้ยึดถือโงะฮนซนเป็นหลัก พระนิชิคันโชนินมีแนวคิดที่ขึ้นตรงต่อพระนิชิเรนไดโชนิน โดยยึดโงะฮนซนและธรรมนิพนธ์เป็นหลัก และได้ยึดถือแนวทางการเผยแผ่ธรรมไพศาลเป็นอันดับหนึ่งมาโดยตลอด พระนิชิคันโชนินได้กล่าวว่า ผู้ที่เกียจคร้านนั้นไม่ใช้ศิษย์ของอาตมา ซึ่งจะเป็นเห็นจากบันทึกที่บันทึกไว้ในบทนิพนธ์เรื่องการประกอบพิธีในนิกาย ว่า เมื่อบวชเป็นสงฆ์แล้ว โกนศีรษะ สวมจีวร แล้ว ยังเกียจคร้าน จะไม่ใช้เป็นศิษย์ของอาตมา แต่จะเป็นศิษย์ของพวกนอกพุทธศาสนา", "title": "พระนิชิกัง" }, { "docid": "312532#1", "text": "ตั้งแต่อายุได้ 16 ปี ถึง 32 ปี พระนิชิเร็งไดโชนินได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ นับไม่ถ้วนในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ ภูเขาฮิเออิ และภูเขาโคยะ โดยในช่วงเวลานั้นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอยู่ เมือง นาระ และ เกียวโต พระนิชิเร็งไดโชนินได้ประกาศว่า คำสอนที่ถูกต้องแท้จริงของพระพุทธเจ้าพระศากยมุนีพุทธะ คือ พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ตลอดช่วงชีวิตของพระนิชิเร็งไดโชนิน ได้ทำการโต้วาทีธรรม และโจมตีหักล้างคำสอนของศาสนาพุทธนิกายอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ว่าเป็นคำสอนนอกรีต และไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะกับ นิกายสุขาวดี และ นิกายเซ็น ซึ่งสมัยนั้นเป็นนิกายที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมญี่ปุ่น ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ริชโซ อันโคคุรอน หรือการยึดถือคำสอนที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศเกิดสันติ เมื่อ ค.ศ. 1260 เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาลทหารคามาคูระซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของผู้สำเร็จราชการลำดับที่ 5 โฮโจ โทขิโยริ", "title": "นิจิเร็ง" }, { "docid": "328132#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1718 พระนิชิคันโชนินก็ได้รับการสืบทอดจากพระนิชิยูโชนิน (ประมุขสงฆ์ลำดับที่25) และได้เป็นประมุขสงฆ์ลำดับที่ 26 ท่านอยู่ในตำแหน่งประมุขสงฆ์เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1720 ท่านก็ได้มอบทุกสิ่งทุกอย่างให้กับพระนิชิโยโชนิน แล้วท่านก็กลับไปอยู่ที่หอศึกษาธรรมอีกครั้งหนึ่ง ท่านก็ได้ทำการสอนคำอธิบายธรรมนิพนธ์ แต่พระนิชิโยโชนิน ก็อยู่ตำแหน่งประมุขสงฆ์ได้แค่ 4 ปีก็ได้มรณภาพ ดังนั้นพระนิชิคันโชนินจึงต้องกลับมาเป็นประมุขสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง และอยู่ตำแหน่งนี้ 4 ปี ท่านได้สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ในการฟื้นฟูพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน อย่างมากมาย และท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบในปี ค.ศ. 1726 ตอนนั้นท่านอายุ 62 ปี", "title": "พระนิชิกัง" }, { "docid": "328132#3", "text": "เมื่อพระนิชิคันโชนิน อายุได้ 15 ปี ได้ไปทำงานที่บ้านของเจ้านายคือท่าน ทาดะมิเนะ ซาคาอิ ที่เมืองเอโดะ จนถึงช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1683 ขณะนั้นอายุได้ 19 ปี ก็ได้มีโอกาสฟังพุทธธรรมของพระชิเรนไดโชนิน จึงเกิดความเลื่อมใสแล้วตัดสินใจบวช จึงได้ขอลาออกจากการรับราชการ แต่เจ้านายไม่ยินยอมให้ลาออกในตอนนั้น จนกระทั่งเดือนธันวาคมในปีเดียวกันท่านจึงได้สมปรารถนาที่ต้องการ โดยสามารถออกบวชได้ ท่านได้พยายามภายใต้การดูแลของพระนิชิเออิโชนิน (ประมุขสงฆ์ลำดับที่24) และในปี ค.ศ. 1711 พระนิชิเออิโชนิน ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งท่านเป็นหัวหน้าฝ่ายการศึกษาอันดับที่ 6 หลังจากนั้นท่านก็ได้พยายามส่งเสริมให้การศึกษาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น เช่น ท่านได้บรรยายธรรมนิพนธ์ เขียนคำอธิบายธรรมนิพนธ์ที่สำคัญยิ่ง5ฉบับ และยังได้เขียนบทนิพนธ์ 6 ม้วน เป็นต้น ", "title": "พระนิชิกัง" }, { "docid": "312591#0", "text": "พระนิชิโมขุ (日目, ค.ศ. 1260- ค.ศ. 1333) หรือ พระนิชิโมขุ โชนิน เป็นสาวกและศิษย์ของพระนิชิเรน ซึ่งได้อยู่ฝั่งพระนิกโค ในการก่อตั้งนิชิเรนโชชู พระนิชิโมขุได้รับการแต่งตั้งจากพระนิกโคให้เป็น พระสังฆราชองค์ที่ 3 แห่งนิชิเรนโชชู", "title": "พระนิชิโมะกุ" }, { "docid": "312561#1", "text": "ในปี ค.ศ. 2015 นี้ จะเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 770 ปี ของการประสูติของพระนิกโค โชนิน โดยนิกาย นิชิเรนโชชู", "title": "พระนิกโก" }, { "docid": "312652#17", "text": "โซกางัคไค กล่าวว่า: พระนิคเคนโชนิน นั้นได้อิจฉานายไดซาขุ อิเคดะ ที่สามารถรวบรวมเงินบริจาคจากสมาชิกจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาสร้างสิ่งปลูกสร้างอันยิ่งใหญ่นี้ จึงได้จัดการทำลายเสีย แล้วแสดงให้เห็นว่าตนเองก็สามารถจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน โดยไม่พึ่งโซกางัคไค", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "315165#1", "text": "ในสมัยของพระนัทตัตสุ โชนิน นี้ เป็นสมัยเริ่มแรกที่เกิดความพิพาทระหว่าง โซกา งัคไค และ นิชิเรนโชชู จนนำไปสู่การคว่ำบาตรใน สมัยพระสังฆราชองค์ต่อไป พระนิคเคน โชนิน", "title": "พระนิตตะสึ" }, { "docid": "312652#7", "text": "พระนิคเคนโชนิน เป็นพระสังฆราชองค์แรกและองค์เดียวของนิกายนิชิเรนโชชู ที่อยู่ในตำแหน่งสังฆราชจนถึงอายุ 80 พรรษา และได้ทำการสละตำแหน่งสังฆราชหลังจากดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลานานถึง 27 ปี พระองค์เป็นผู้ฟื้นฟูวัดใหญ่ไทเซขิจิ ในด้านพิธีกรรมและประเพณีแบบดั้งเดิมทั้งหมดซึ่งมีหลายสิ่งที่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัยของโซกางัคไค ในแง่มุมของผู้นับถือนิกายนิชิเรนโชชู พระนิคเคนโชนินได้ยึดมั่นว่า หลักธรรมของนิชิเรนโชชูน้นไม่อาจสามารถตีความเองโดยผู้นับถือได้ตามอำเภอใจ แต่ต้องยึดแบบดั้งเดิมตามแบบฉบับของพระนิชิเรนไดชนิน พระนิคเคนโชนิน ยังมีพระชนม์ชีพยืนยาวและได้คว่ำบาตรกลุ่มผู้นับถือที่ได้ตัดสินใจเลือกตีความหลักธรรมของนิชิเรนโชชูตามความคิดของตนถึง 3 กลุ่ม", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312352#10", "text": "ในปี ค.ศ. 1991 พระนิคเคน โชนิน ประมุขสงฆ์แห่งพุทธศาสนานิชิเร็นโชชู ได้ประกาศการคว่ำบาตรต่อ ประธานสมาคมโซคากักไก ซึ่งเป็นสมาคมผู้นับถือที่ใหญ่ที่สุด โดยได้ให้เหตุผลว่า การปฏิบัติ คำสอน ของผู้นับถือจากสมาคมนี้นั้นถูกเบี่ยนเบนไปโดยผู้นำ หรือประธานสมาคม และพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้ฟ้องร้องประธานสมาคมกรณีสิ่งพิมพ์สมาคมโซคาเปิดเผยพฤติกรรมเสื่อมเสียของประมุขสงฆ์ ประมุขสงฆ์งดการมอบโงะฮนซนซึ่งเป็น สิ่งสักการบูชาของผู้นับถือนิชิเร็นโชชูให้กับสมาชิกสมาคม ซึ่งโดยปกติแล้วโงะฮนซนถูกคัดลอกจากวัดใหญ่ไทเซขิจิโดยมีการทำพิธีโดยพระประมุขสงฆ์ที่วัดใหญ่ เมื่อสมาคมนำแบบพิมพ์เก่าของพระนิชิคันโชนินสังฆราชลำดับ 26 ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพผู้ทำการรวบรวมฟื้นฟูพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินมาคัดลอกให้สมาชิกจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นโงะฮนซนปลอม และในที่สุดในปี ค.ศ. 1997 ผู้นับถือทั้งหมดที่ตัดสินใจยังคงเข้ากับสมาคมโซคากักไกทั้งหมดทั่วโลก ก็ได้ถูกคว่ำบาตรออกจากการเป็นผู้นับถือพุทธศาสนานิชิเร็นโชชูด้วยเช่นกัน สมาชิกสมาคมโซคากักไกต้องงดการเดินทางไปยังวัดไทเซขิจิ เพื่อนมัสการไดโงะฮนซน ซึ่งเป็นสิ่งสักการบูชาสูงสุด โดยชักชวนให้ถอนตัวจากสมาคมโซคากักไก และกลับมาเข้ากับนิกายนิชิเรนโชชูดังเดิม ซึ่งจะต้องผ่านพิธีสำนึกผิดโดยพระสงฆ์", "title": "สมาคมสร้างคุณค่า" }, { "docid": "312652#1", "text": "พระนิคเคนโชนินเป็นผู้ทำการคว่ำบาตรผู้นับถือนับล้านคนทั่วโลกที่เข้ากับ โซกา งัคไค หรือ สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ซึ่ง ถูกคว่ำบาตรและขับไถ่ออกจากการเป็นผู้นับถือ นิชิเรนโชชู และยุคของท่านยังเป็นสมัยที่ดุเดือดที่สุดในการพิพาทระหว่างวัดใหญ่ และสมาคมโซกา งัคไค", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "328132#2", "text": "พระนิชิคันโชนิน เกิดเมื่อ ค.ศ. 1665 เป็นบุตรของท่านอิโตโจเอ็น ซึ่งเป็นคนรับใช้ของท่านซาคาอิ ซึ่งเป็นหัวหน้าการเมืองฝ่ายการบันเทิง และเป็นเจ้าผู้ครองนครทาเตบายาชิ เมืองโจชู (ปัจจุบันคือจังหวัดกุมมะ) ", "title": "พระนิชิกัง" }, { "docid": "341358#0", "text": "พระนิชโช โชนิน (24 กันยายน ค.ศ. 1879 - 14 ตุลาคม ค.ศ. 1957) เป็นพระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู องค์ที่ 64 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่ไทเซขิจิด้วย", "title": "พระนิชโช (นิชิเร็งโชชู)" }, { "docid": "312652#9", "text": "แม้พระนิคเคนโชนิน จะดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู ก็ตามแต่ผู้นับถือจากโซกางัคไค ได้ออกมาแสดงตนและกล่าวหาว่าพระนิคเคนโชนินนั้น มีพฤติกรรมที่เบี่ยนเบน และไม่เหมาะสมกับตำแหน่งพระสังฆราช ทำให้ศาสนจักรเสื่อมเสีย สมาชิกจากโซกางัคไคจะเรียกนิกายนิชิเร็นโชชู ในปัจจุบันว่า นิกายนิคเคน และกล่าวหาพระนิคเคน โชนิน ว่าเป็นสงฆ์ที่ชั่วร้าย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำให้พระนิคเคน โชนิน เสียหายและถูกประณามจากผู้นับถือจากโซกา งัคไคด้วย", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312652#5", "text": "พระนิคเคน โชนิน ยังได้ทรงทำพระราชกรณียกิจที่จะฟื้นฟูความศรัทธาของนิกายนิชิเรนโชชู ซึ่งได้สูญลายไปในระหว่างที่นิกายนิชิเรนโชชูได้ติดต่อกับองค์กร โซกางัคไค และ เอสจีไอ ซึ่งเคยเป็นองค์กรฆราวาสของนิกายนิชิเรนโชชู และทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมในฐานะฆราวาส หลังจากที่นิกายนิชิเรนโชชูได้ทำการขับไล่สมาคมสร้างคุณค่าออกจากนิกายแล้วนั้น พระนิคเคนโชนิน ยังได้ทำลายสิ่งปลูกสร้างคอนกรีตซึ่งได้ถูกสร้างถวายโดยสมาชิกของโซกางัคไค และแทนที่ด้วยวิหารที่เหมาะกับบรรยากาศ และความปลอดภัยที่สูงขึ้น โดยยึดหลักความดั้งเดิมของศาสนาพุทธญี่ปุ่น", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" }, { "docid": "312652#15", "text": "นิชิเรนโชชู กล่าวว่า: ภาพดังกล่าวนั้นเกิดจากการตัดต่อทางคอมพิวเตอร์โดยสมาชิกของโซกางัคไคที่ไม่หวังดีต่อพระนิคเคนโชนิน มิใช่ภาพถ่ายจริงแต่อย่างใด", "title": "พระนิกเก็ง โชนิง" } ]
3274
เกมส์โดกาปอง มีต้นกำเนิดจากประเทศใด ?
[ { "docid": "53838#1", "text": "โดกาปอง ถูกผลิดเป็นครั้งแรกโดยบริษัท แอสมิค-เอส และบริษัท สตริง (Sting) ประเทศญี่ปุ่น ลักษณะส่วนใหญ่ของเกมนี้มักจะเน้นไปที่วัยเด็กเป็นหลัก เพราะลักษณะรูปภาพจะเน้นออกไปทางสีสันที่น่ารัก ๆ", "title": "โดกาปอง" } ]
[ { "docid": "65690#0", "text": "กาโปเอย์รา () เป็นศิลปะป้องกันตัวแขนงหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากประเทศบราซิล เกิดจากการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ การเต้น ดนตรี กายกรรม ปรัชญา กาโปเอย์ราเกิดโดยทาสชาวแอฟริกาในบราซิล เริ่มในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีข้อถกเถียงกันว่า กาโปเอย์รานั้นอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในแอฟริกา", "title": "กาโปเอย์รา" }, { "docid": "53838#15", "text": "ภายในเกมจะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "633272#0", "text": "เปอเจิล () เป็นอาหารพื้นเมืองประเภทยำของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ใช้ซอสที่ใส่พริกและถั่วลิสง ต้นกำเนิดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และมีหลายเมืองที่อ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของเปอเจิล แต่ที่เป็นไปได้มากที่สุดคือมาจากแถบเมืองมาดียุนในจังหวัดชวาตะวันออก ซอสที่ใช้ในเปอเจิลเป็นแบบเดียวกับซอสของสะเต๊ะไก่ และคล้ายกับซอสของกาโดกาโด ในมาเลเซีย อาหารชนิดนี้เรียกว่า เปอจัล () โดยผู้อพยพชาวชวาเป็นผู้นำเข้าไปเผยแพร่", "title": "เปอเจิล" }, { "docid": "53838#8", "text": "หลังจากนั้น จะเป็นการเลือกท่าต่อสู้ โดยที่ผู้เล่นจะต้องเดาว่า ฝ่ายตรงข้ามจะออกท่าโจมตีหรือป้องกันแบบใด สำหรับคำสั่งการต่อสู้ทั้งสองฝ่ายจะมี 4 คำสั่งให้เลือกตามตารางนี้", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "93199#3", "text": "อาชีพในเกม เริ่มต้นคือ Mage Priest Theif Fighter และยังสามารถupgradeอาชีพนั้นได้โดยเมื่อเราทำการต่อสู้กับมอนเตอร์ จะมีโอกาสสุ่มได้ดาว 1 ดวง เมื่อครบ 5 ดาว\n(สามารถCheck ดาวของอาชีพได้โดยคำสั่งOption แล้วดูข้อมูลของตัวละคร จะปรากฏดาวในช่อง Job)ก็สามารถupgradeอาชีพขั้นสูงต่อไปได้ ดังนี้", "title": "โดกาปองรอบโลก" }, { "docid": "53838#16", "text": "ผู้เล่นในเกมโดกาปองนั้นถือเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[7744,7757,3,3]}'>ผู้กล้า</b>ในเกม ระบบของผู้เล่นเป็นระบบค่าพลังแบบเกมภาษา ซึ่งประกอบไปด้วย", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "51111#3", "text": "เป็นที่เชื่อกันว่าเกมไพ่ดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีนในคริสต์ทศวรรษ 1970 และได้กลายมาเป็นเกมไพ่ที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการเพิ่มเติมกฎและรูปแบบของเกมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่เชื่อกันอีกเช่นกันว่าสลาฟเป็นเกมไพ่ต้นกำเนิดโดยตรงของเพรซิเดนท์ ซึ่งเป็นเกมไพ่ที่ได้รับความนิยมทางตะวันตกในอีกไม่กี่ปีถัดมา", "title": "สลาฟ (เกมไพ่)" }, { "docid": "895913#2", "text": "ชีวิตวัยเด็กของมิกนั้นคลุกคลีกับร้านเกมอยู่เป็นประจำ เพราะคุณแม่ของมิกอนุญาตให้เล่นเกมตั้งแต่เด็ก ๆ คือเกม คอนทรา ซึ่งคุณแม่ของมิกทำอาชีพเป็นคนขายประกันจึงฝากให้มิกอยู่ร้านเกม พอตกเย็นแม่ก็จะรับเขากลับบ้าน โดยคุณแม่จะต้องมีงานทำอยู่ตลอดเวลาเลยทำการฝึกให้มิกสามารถที่จะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองตั้งแต่เด็ก ๆ โดยมิกกี้เองได้เริ่มการแข่งขันเกมครั้งแรกเมื่อเขาอายุ 14 ปี หลังจากนั้นได้รางวัลกลับมาจึงทำให้เขาคิดว่า \"การเอาเวลาว่างไปเล่นเกมนั้นจะมีประโยชน์มากขึ้น ถ้าหากเราได้ไปแข่งขัน\" นับตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มต้นการแข่งขันแบบจริงจังมากขึ้น", "title": "ปองภพ รัตนแสงโชติ" }, { "docid": "895913#8", "text": "เริ่มต้นการแข่งขันภายในประเทศไทยด้วยรายการแข่งขัน โอเวอร์วอตช์ไทยแลนด์: เดอะ เฟิร์ส ทัวร์นาเมนต์ เป็นการแข่งขันเกมนี้ครั้งแรกในไทยและทีมวีดไทม์ก็ได้รางวัลชนะเลิศของรายการนี้ ต่อมาก็ได้แข่งขัน ทีอีเอสแอล: โอเวอร์วอตช์ รีคอล ทัวร์นาเมนต์ก็ได้รางวัลชนะเลิศเป็นรายการที่สองและรายการในประเทศล่าสุดนั่นคือ โอเวอร์วอตช์ไทยแลนด์ทัวร์นาเมนต์ 2016 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งได้รางวัลชนะเลิศถึงสามรายการติดต่อกัน หลังจากนั้นในช่วงเดือนกันยายน โอเวอร์วอตช์เองก็ได้มีรายการแข่งขันระดับโลกอย่าง \"โอเวอร์วอตช์เวิลด์คัพ 2016\" ซึ่งมิกกี้ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนทีมชาติไทยที่ได้เข้าร่วมแข่งขัน รวมถึง โอเวอร์วอตช์เวิลด์คัพ 2017 ที่เป็นอีกปีของการเป็นตัวแทนทีมชาติไทยอีกหนึ่งครั้ง แต่ด้วยทั้งสองครั้งนี้ก็ยังไม่สามารถฝ่าฟันไปถึงรอบเพลย์ออฟได้", "title": "ปองภพ รัตนแสงโชติ" }, { "docid": "53838#0", "text": "โดกาปอง (English: Dokapon ; () เป็นเกมภาษาแบบเล่นกระดาน ซึ่งใช้ผู้เล่น 3 ถึง 4 คนของการเล่นเกมนี้ และเป็นเกมที่เรียกความสนุกสนานและเสียงหัวเราะให้ผู้เล่นในโลกแห่งแฟนตาซี ที่ชิงความเป็นหนึ่งในการครอบครองสมบัติ ด้วยการออกผจญภัยปราบศัตรูต่าง ๆ ในเกม พร้อมทั้งเล่นร่วมกับผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่ร่วมผจญภัยอีกด้วย", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "53838#3", "text": "เกมโดกาปองในแต่ละภาคจะมีลักษณะการเล่นและองค์ประกอบคล้าย ๆ กัน วิธีการเล่นหลัก ๆ จะเป็นเหมือนแบบเล่นกระดานซึ่งเป็นช่องให้ผู้เล่นเดินด้วยการโยนลูกเต๋าแล้วเดินตามจำนวนเลข แต่ในโดกาปองนี้จะใช้การเดินด้วยการหมุนเข็มทิศแล้วเดินตามเลขที่ปรากฏ หยุดช่องไหนจะได้พบเหตุการณ์ต่าง ๆ จากช่องนั้น สำหรับวิธีการเล่นเบื้องต้นจะเป็นดังนี้", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "429116#6", "text": "กาก้าประเมินคอนเสิร์ตของเธอว่าเป็นแบบ electro-metal pop-opera \"เรื่องของการเริ่มต้นการกำเนิดอาณาจักรแห่งเกียรติยศ\" ในเดือนกุมภาพันธ์ กาก้าได้ปล่อยแบบเวทีคอนเสิร์ตออกมาผ่านทางทวิตเตอร์ที่ออกแบบและสร้างสรรค์โดยทีมงาน Haus of Gaga และเธอได้ทวิตว่า \"I'm so excited. The Haus has been working so hard, we can't wait for you to see it!! Love you Little Monsters, have the time of your life.\" ฉันตื่นเต้นมา ทีมงานได้ทำงานหนักขึ้น พวกเราไม่สามารถรอได้ที่จะได้ให้คุณเห็นมัน รักคุณมอนสเตอร์น้อย มีเวลาในชีวิตคุณ\" โดยแบบที่กาก้าเผยให้ดูนั้นเป็นลักษณะของปราสาทขนาดใหญ่ มีทางเดินที่ยื่นออกมาที่กาก้าเรียกมันว่า\"มอนสเตอร์พิท\" ที่ให้สำหรับแฟนคลับที่แต่งตัวมาจัดเต็มที่สุด และมารอเข้าคอนเสิร์ตนานที่สุด ถ้าหากมีแฟนคลับคนใดโชคดีมารอชมคอนเสิร์ตนานที่สุดไม่ว่า จะมาตั้งเต้นท์นอนรอเป็นเวลาหลายวันหรือมารอชมก่อนการแสดงตั้งแต่เช้าก็จะได้รับ\"มอนสเตอร์พิทคีย์\" ที่เป็นกุญแจรูปหัวกะโหลกกาก้ามอบให้ และให้มอนสเตอร์ผู้โชคดีเขียนความรู้สึกของตนเองลงในกุญแจมอนสเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเตรียมไว้เพื่อแฟนคลับผู้โชคดีแต่ละประเทศได้เขียนความรู้สึกของตนเองลงในกุญแจขนาดใหญ่นี้", "title": "บอร์นดิสเวย์บอล" }, { "docid": "988591#0", "text": "แม่น้ำกาปูวัซ () เป็นแม่น้ำในประเทศอินโดนีเซียบนเกาะบอร์เนียว ที่บริเวณศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร (Maritime Southeast Asia) มีความยาว เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นหนึ่งในแม่น้ำบนเกาะที่ยาวที่สุดในโลก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขามึลเลอร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของเกาะและไหลไปทางทิศตะวันตกลงสู่ทะเลจีนใต้และยังก่อให้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองปนตียานัก เมืองหลักของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก ยังมีแม่น้ำกาปูวัซอีกสายหนึ่งที่มีจุดกำเนิดจากทิวเขาเดียวกันแต่คนละฝั่ง ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะบอร์เนียว ไหลไปทางทิศใต้ แล้วไปรวมกับแม่น้ำบารีโตไหลลงทะเลชวา", "title": "แม่น้ำกาปูวัซ" }, { "docid": "65690#7", "text": "การเล่นกาโปเอย์ราเริ่มจากการยืนกันเป็นวงกลม ซึ่งเรียกว่า \"รอดา\" () โดยที่มีเครื่องดนตรีอยู่ตรงหัววง การเล่นจะเริ่มต้นโดยที่ผู้ที่เล่นเบริงเบา () เริ่มเล่นและหลังจากนั้นเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็จะเล่นตามมา เมื่อผู้เล่นเบริงเบาส่งสัญญาณว่าให้เริ่มเล่นได้ ผู้เล่น 2 คนก็จะเดินมาหยุดตรงหน้าของผู้เล่นเบริงเบา จับมือกัน และเริ่มต้นเล่น โดยในขณะเดียวกันคนอื่น ๆ รอบ ๆ วงก็จะตบมือพร้อมทั้งร้องเพลง โดยมีผู้เล่นเบริงเบาเป็นผู้นำ เมื่อคู่ที่เล่นอยู่ต้องการที่จะหยุดก็จะทำการจับมือกัน เพื่อเป็นสัญญาณว่ายุติการเล่นของคู่นั้น ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเกิดคนใดคนหนึ่งรอบ ๆ วงมีความต้องการจะเล่นกับคนใดคนหนึ่งในคู่ที่กำลังเล่นอยู่ก็สามารถทำได้ ซึ่งเราเรียกว่า การซื้อเกม โดยคน ๆ นั้น จะหาจังหวะเข้าไปแทรกกลางระหว่างคู่ที่กำลังเล่นอยู่ โดยผู้ที่แทรกนั้นหันหน้าไปทางผู้ใดก็คือ ต้องการที่จะเล่นกับคน ๆ นั้น ในการเล่นนั้นจะไม่มีการปะทะหรือกระทบกระทั่งกันรุนแรงนัก เพื่อมิให้เกิดอันตรายและการบาดเจ็บแต่ตัวผู้เล่น", "title": "กาโปเอย์รา" }, { "docid": "53838#18", "text": "ภายในเกมโดกาปองจะมีช่องเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "53838#22", "text": "เกมโดกาปองมีต้นกำเนิดการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สร้างขึ้นมาให้ผู้เล่นมากกว่าสองคนเล่นร่วมกันได้ ในส่วนนี้จะระบุชื่อเกมพร้อมกับรายละเอียดคร่าว ๆ ของเกมโดกาปองในแต่ละภาค โดยมีพื้นฐานการเล่นทั้งหมดในบทความนี้ สำหรับรายชื่อภาคต่าง ๆ ในโดกปองมีตามรายละเอียดด้านล่างนี้ [1]", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "895913#3", "text": "มิกกี้ได้เริ่มต้นแข่งขันเกมครั้งแรกเมื่อตอนเขาอายุ 14 ปี โดยคว้าอันดับที่สองในรุ่น Junior ของการแข่งขัน ATC2008 จากเกมเต้นอย่างออดิชั่น แล้วได้เป็นตัวแทนแข่งขันใน E-Star Seoul 2009 ต่อจากนั้นก็ได้อันดับหนึ่งของประเทศไทยใน ATC2009 ประเภทเดี่ยว, อันดับหนึ่งของประเทศไทยใน ATC2010 Normal Mode, อันดับสามของประเทศไทย ATC2011 ประเภท FAM และผลงานล่าสุดของเกมนี้คือ ATC2012 ประเภท FAM และอันดับหนึ่ง ATC2013 ประเภท FAM ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ได้เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับกิจกรรมแดนซ์ดันดาวประจำเดือนตุลาคมให้กับเกมดังกล่าวอีกด้วย", "title": "ปองภพ รัตนแสงโชติ" }, { "docid": "53838#26", "text": "หมวดหมู่:วิดีโอเกมแอ็กชัน หมวดหมู่:วิดีโอเกมเล่นตามบทบาท", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "53838#4", "text": "ก่อนที่จะเริ่มเดินช่อง ผู้เล่นสามารถใช้อุปกรณ์(ไอเท็ม) หรือหนังสือเวทมนตร์ก่อนได้ ผู้เล่นหมุนเข็มทิศ เมื่อเข็มหยุดไปอยู่ตรงหมายเลขใดจะต้องเดินตามหมายเลขนั้น (จะเดินมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นไม่ได้) เมื่อเดินไปจนหยุดที่ช่องที่ต้องการแล้ว ผู้เล่นจะกระทำกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกม จบรอบแล้วรอผู้เล่นคนอื่นเดินช่องให้ครบก่อนจนกว่าจะถึงรอบของตัวเอง", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "31486#0", "text": "สาเก () เป็นคำเรียกของคำว่า \"สุรา\" ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถหมายถึงเหล้าได้หลายชนิด โดยทั่วไป สาเกจะหมายถึงเหล้าที่ทำมาจากข้าว ในขณะที่บางท้องที่จะหมายถึงเหล้าที่กลั่นจากมันสำปะหลังหรืออ้อย หรือในบางครั้งจะหมายถึงโชจูหรือที่รู้จักในชื่อ \"วอดกาญี่ปุ่น\" ต้นกำเนิดของสาเกมีกล่าวไว้หลายทฤษฎี ได้แก่ นำเข้าจากจากประเทศจีนสู่ประเทศญี่ปุ่น หรืออีกทฤษฎีว่ามีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นเอง คำว่า สาเก ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษมักจะเรียกผิดเป็น \"สากี\"", "title": "สาเก (สุรา)" }, { "docid": "382207#3", "text": "หลังจากล้มจุน และอายส์โดแพนท์ลงได้ เค้าตั้งเป้าหมายมาที่การเปลี่ยนประชาชนในเมืองฟูโตะซึ่งเป็นเมืองต้นกำเนิดไกอาเมมโมรี่ ให้กลายเป็นแบบพวกเขาให้หมดด้วยพลังของ T2 เมมโมรี่ทั้ง 26 ชิ้น ในภารกิจแรกที่เขาลักลอบขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของกองทุน X เขาได้เลือกหยิบ T2 เอเทอร์นัลเมมโมรี่ออกมา และแปลงร่างเป็นไรเดอร์เอเทอร์นัลบลูแฟลร์ เพื่อต่อกรกับเหล่ามาสค์ไรเดอร์แห่งเมืองฟูโตะ", "title": "มาสค์ไรเดอร์เอเทอร์นัล" }, { "docid": "53838#6", "text": "การต่อสู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นไปหยุดอยู่บนช่องธรรมดา (ช่องที่ทำให้ต่อสู้หรือพบเหตุการณ์พิเศษ) เมื่อไม่พบเหตุการณ์พิเศษจะมีศัตรูออกมาให้ผู้เล่นได้ต่อสู้ แต่ถ้ามาหยุดอยู่กับผู้เล่นด้วยกันเองจะต้องต่อสู้กับผู้เล่นทันที การต่อสู้ในเกมโดกาปองจะมีลักษณะและขั้นตอนดังนี้", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "11321#1", "text": "ชื่อประเทศกานามีต้นกำเนิดมาจากจักรวรรดิกานา (แม้ว่าอาณาเขตของจักรวรรดิดังกล่าวไม่เคยติดกับประเทศกานาในปัจจุบันเลยก็ตาม)", "title": "ประเทศกานา" }, { "docid": "53838#14", "text": "ในระหว่างการทำภารกิจในหมวดเนื้อเรื่อง อาจพบเหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น เหตุการณ์บนพื้นที่ เหตุการณ์ประจำสัปดาห์ และกิจกรรมพิเศษ ที่สร้างสีสันและความสนุกสนานภายเกมนี้", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "53838#2", "text": "ลักษณะของเกมเป็นเกมภาษาที่สร้างขึ้นมาตามจินตนาการในโลกแบบแฟนตาซี โดยมีหมวดเนื้อเรื่องที่พระราชาไปขอร้องผู้กล้า 3 - 4 คน (ซึ่งเป็นผู้เล่น) ไปปราบศัตรูที่ออกมาสร้างความปั่นป่วนในอาณาจักร ถ้าสามารถเอาชนะศัตรูจะได้ครอบครองทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เงิน หมู่บ้าน หรืออะไรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเงิน โดยมีวัตถุประสงค์หลักว่า ผู้ที่ครอบครองทรัพย์สินซึ่งคิดเป็นเงินได้มากที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะของเกม ทำให้ภายในเกมมีการกลั่นแกล้งกันเองระหว่างผู้เล่นด้วยกัน เพราะถือว่าผู้กล้าที่ร่วมเดินทางเป็นคู่แข่งที่จะต้องแข่งขันเพื่อชิงความเป็นหนึ่งในโดกาปอง</b>ภาคนั้น ๆ", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "53838#23", "text": "ドカポン王国IV~伝説の勇者たち~ (อาณาจักรโดกาปองที่ 4 - เหล่าผู้กล้าในตำนาน) วางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2536 บนเครื่องเกมซูเปอร์แฟมิคอม ドカポン3・2・1~嵐を呼ぶ友情~ (โดกาปอง 3-2-1) วางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2537 บนเครื่องเกมซูเปอร์แฟมิคอม ドカポン外伝~炎のオーディション~ วางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2538 บนเครื่องเกมซูเปอร์แฟมิคอม ドカポン!怒りの鉄剣 (โดกาปอง! ดาบเหล็กแห่งความโกรธ) วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 บนเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน ドカポンDX ~ わたる世界はオニだらけ ~ (โดกาปองเดลักซ์ มีแต่ยักษ์เท่านั้นที่ครอบครองโลก) วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 บนเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 2 และ เกมคิวป์ ドカポン・ザ・ワールド (โดกาปองรอบโลก) วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 บนเครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 2 ドカポンキングダム (โดกาปอง คิงดอม - Dokapon Kingdom) วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 บนเครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 2 และ นินเทนโด้ วี ドカポンジャーニー! ~なかよくケンカしてっ♪~ (โดกาปองผจญภัย -ทะเลาะวันละนิดจิตแจ่มใส-) วางจำหน่ายครั้งแรก ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 บนเครื่องเล่น นินเทนโด้ DS", "title": "โดกาปอง" }, { "docid": "2694#90", "text": "กาชาปอง คือ หุ่นโมเดลยางขนาดเล็ก ที่ถูกบรรจุอยู่ในภาชนะรูปไข่หรือแคปซูล ซึ่งมีความสวยงามสมจริงในระดับหนึ่ง ของเล่นชนิดนี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น[43] เมื่อเราหยอดเหรียญลงในตู้ของเล่นที่บรรจุอยู่ในแคปซูลก็จะร่วงหล่นลงมา ในประมาณปลายปี พ.ศ. 2546 บริษัท บิ๊กวัน ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอบ่างเป็นทางการโดยได้นำเข้าสินค้าในรูปแบบของตู้กดหยอดเหรียญมาจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ ทั่วประเทศ [43]", "title": "เซนต์เซย์ย่า" }, { "docid": "34930#20", "text": "ซอฟต์บอล เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ นับเป็นกีฬาประจำชาติอย่างหนึ่งของชาวอเมริกันประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้เล่นเบสบอลต้องการที่จะเล่นเบสบอลต่อไปในฤดูหนาวด้วย จึงทำให้เกิดเบสบอลในร่มขึ้น แต่ก็ประสบปัญหา เพราะสนามในร่มที่ใหญ่ที่สุดเพียงใดก็ยังเล็กกว่าสนามเบสบอลกลางแจ้งทั่วไป จึงมีความจำเป็นต้องดัดแปลงลูกบอลให้ใหญ่พอดี เพื่อให้ตีไปได้ไกลเท่ากับลูกบอลขนาดธรรมดากฎกติกาต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมที่จะเล่นในร่ม อย่างไรก็ตาม เบสบอลในร่มก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ลักษณะทั่วไปของเกมและวิธีการเล่นส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเกมเบสบอลจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เบสบอลในร่ม (Indoor Basebell) เพราะสามารถปรับปรุงให้เล่นในที่แคบหรือภายในห้องยิมฯ ได้ ต้นกำเนิดของการเล่นซอฟต์บอลอันเชื่อถือได้นั้น ตามบทความในหนังสือ Indoor Baseball Guide พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2449 โดย American Sports Publishing Company กล่าวไว้อย่างละเอียดว่า เกมเบสบอลในร่มได้กำเนิดขึ้นที่เมืองชิคาโก กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2430 สมาชิกสโมสรแล่นเรือ ชื่อ Farragut Boat Club ได้นัดประชุมกันในโรงยิมฯ แห่งหนึ่งในเมืองนี้ เนื่องในเทศกาลขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) พวกเด็กๆ ซึ่งติดตามบิดามารดามาด้วยในครั้งนี้ ต่างพากันเล่นอยู่ภายในโรงยิมฯ นอกห้องประชุม และได้เก็บเอานวมเก่าๆ (ใช้ชกมวย) ที่ทิ้งอยู่ภายในโรงยิมฯ ขว้างรับกันไปมารอบๆ ห้องอย่างสนุกสนาน ในขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่งถือด้ามไม้กวาดเก่าๆ แล้วตีนวมกลับไปทางคนที่โยนมาให้ เขาทำเลียนแบบการตีลูกเบสบอลซึ่งเขาเคยได้เห็นการแข่งขันเกมนี้มาก่อนแล้ว ขณะนั้น George W. Hancock ซึ่งเป็นผู้นำทางสันทนาการในวันหยุดประจำโรงยิมฯ แห่งนี้ ขณะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการเล่นของเด็ก ได้เกิดแนวความคิดใหม่ขึ้นมาโดยฉับพลัน จึงอุทานขึ้นว่า \"Say, Boys, Let's play ball\" ดังนั้นเขาและพวกเด็กๆ ได้ช่วยกันยกเบาะมวยปล้ำมาวางทำเป็นเบส หลังจากนั้นการเล่นก็เริ่มขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา โดยใช้ด้ามไม้กวาดซึ่งหักออกเป็นสองท่อนขนาดยาวพอเหมาะทำเป็นไม้ตี ใช้นวมชกมวยเก่าๆ แทนลูกบอล และเบาะมวยปล้ำแทนเบส เย็นวันเสาร์ต่อมาอีกอาทิตย์หนึ่ง G.W. Hancock นัดให้เด็กเหล่านั้นมาร่วมเล่นกันอีกครั้ง ซึ่งในวันนี้เขาได้จัดเตรียมไม้ตีที่หุ้มด้วยยาง และลูกบอลใหญ่ที่นิ่มมากกว่าไว้ให้ พร้อมทั้งตั้งกติกาง่ายๆ บางข้อไว้ด้วย ครั้นเย็นของวันเสาร์ดังกล่าวตามนัดมาถึง นาย G.W. Hancock จึงจัดแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย และอ่านกติกาการเล่นพร้อมอธิบายวิธีเล่นให้ แล้วจึงเริ่มเล่นกันอย่างสนุกสนาน ต่อมา G.W. Hancock ได้แก้ไขกติกาการเล่นเกี่ยวกับลูกบอล และไม้ตีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่โรงยิมฯ ในที่สุดจึงเรียกเกมนี้ว่าเบสบอลในร่ม โดยใช้ลูกบอลที่มีน้ำหนักเบาขนาดเส้นรอบวง 16 นิ้ว และใช้ไม้ตี", "title": "ซอฟต์บอล" }, { "docid": "93199#0", "text": "โดกาปองรอบโลก () วางจำหน่ายเมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547\nเป็นเกมในซีรีส์ Dokapon โดยกราฟิกในเกมภาคนี้ ตัวละครต่างๆจะเป็นลักษณ์ 2D คล้ายๆเหมือนตัววาดละครต่างลงกระดาษแล้วตัดให้เป็นรูปร่างของตัวละครนั้นๆ", "title": "โดกาปองรอบโลก" } ]
524
บริษัทหัวเหว่ยอยู่ประเทศอะไร ?
[ { "docid": "375855#0", "text": "หัวเว่ยเทคโนโลยี (simplified Chinese:华为技术有限公司; traditional Chinese:華為技術有限公司; pinyin:Huáwèi Jìshù Yǒuxiàn Gōngsī; English: Huawei Technologies) เป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน[1] ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของจีน และเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์และติดตั้งงานโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ในปี ค.ศ. 2012[2]", "title": "หัวเว่ย" } ]
[ { "docid": "792175#1", "text": "พานเหว่ยป๋อ หรือ วิล พาน เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1980 ปัจจุบันอายุ 36 ปี เกิดที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนียร์ ในสหรัฐอเมริกา พออายุได้ 7 ขวบเขาก็ย้ายมาอยู่ที่ไต้หวัน แล้วก็เข้าเรียนที่โรงเรียนนานาชาติ ไทเป อเมริกัน และจบการศึกษาในปี 1999 จากนั้นก็ไปเรียนต่อระดับอุดมศึกษาที่ California Polytechnic State University\nในปี 2000 พานเหว่ยป๋อมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันร้องเพลงของ NMG และ BMG ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลบุคลิกภาพยอดเยี่ยม ต่อมาในปี 2001 เขาก็เดินทางกลับไต้หวันมาชิมลางงานละครเรื่องแรก 《麻辣鲜师》 ซึ่งเรื่องนี้พานเหว่ยป๋อได้รับเสียงตอบรับดีมาก จากนั้นเขาก็มีโอกาสทำอัลบั้มเพลงชุดแรก 《壁虎漫步》 พานเหว่ยป๋อนับว่าเป็นนักร้องไต้หวันที่มีผลงานเพลงออกมาอย่างสม่ำเสมอเลยทีเดียว โดยเพลงที่สร้างชื่อให้กับเขามากที่สุดก็คือเพลง “ปู้เต๋อปู้อ้าย” 《不得不爱》 นอกจากร้องเพลงเล่นละครแล้ว พานเหว่ยป๋อก็เคยเป็น VJ ให้กับ Channel V ด้วยTrack 3 — 我不怕 Wo Bu Pa (I'm Not Afraid)\nTrack 5 — How Are You\nTrack 4 — 我對天空說 Wo Dui Tian Kong Shuo (I Told The Sky)ฯลฯ", "title": "พาน เหว่ยป๋อ" }, { "docid": "18568#3", "text": "หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองทวีวัฒนาและคลองนราภิรมย์ระหว่าง พ.ศ. 2420-2423 จึงเริ่มมีชาวเมืองนนทบุรีและชาวบ้านจากถิ่นอื่นเข้าไปจับจองที่ดินชายป่ากระทุ่มมืดด้านใต้ตามสองฝั่งคลองนั้น จากนั้นพระราชาภิมณฑ์ (เพ็ง) ได้ขุดคลองพระราชาภิมณฑ์ (ปัจจุบันเรียกว่าคลองพระพิมล) จากคลองบางบัวทองตอนปลายตรงเข้าไปในป่ากระทุ่มมืด ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2433-2442 ระหว่างนั้นยังคงมีราษฎรเข้าไปตั้งหลักแหล่งและบุกเบิกแผ้วถางป่าอย่างไม่ขาดสาย ป่ากระทุ่มมืดที่กว้างใหญ่ค่อย ๆ เปลี่ยนสภาพเป็นผืนนาและเกิดชุมชนชาวนากระจายอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีผลให้อาณาเขตของเมืองนนทบุรีขยายลึกเข้าไปในแขวงเมืองประทุมธานี เมืองนครปฐม และกรุงเก่าเดิมอีกด้วย", "title": "อำเภอไทรน้อย" }, { "docid": "307269#1", "text": "มหาวิทยาลัยนิวยอร์กได้รับการจัดอันดับโดย Global University Ranking ให้อยู่ในอันดับที่ 22 ของโลก Shanghai Jiao Tong University's world's top 500 universities จัดให้มหาวิทยาลัยนิวยอร์กอยู่ที่อันดับ 32 ของโลก และนิตยสารยูเอสนิวส์ (US News & World Report) จัดให้หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 32 ของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในระหว่างพ.ศ. 2547-2550 มหาวิทยานิวยอร์กได้รับเลือกให้เป็นมหาวิทยาลัยในฝันอันดับที่ 1 ของนักเรียนมัธยมปลายจากผลสำรวจของ Princeton Review Top 10 Dream Colleges ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) มหาวิทยาลัยนิวยอร์กได้รับเลือกให้เป็นมหาวิทยาลัยในฝันอันดับที่ 5 ของประเทศ", "title": "มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก" }, { "docid": "231688#4", "text": "กำกับการแสดงโดย แอนดริว เลา หรือ หลิว เหว่ยเฉียง ที่ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านั้นจากภาพยนตร์แนวเดียวกัน \"The Storm Riders\" ในปี ค.ศ. 1998 ก่อนจะมาล้มเหลวกับรายได้และคำวิจารณ์จาก \"A Man Called Hero\" ในปี ค.ศ. 1999 แต่ว่าในเรื่องนี้ได้เปลี่ยนบริษัทผู้สร้างมาเป็น Win's Entertainment ซึ่ง 2 เรื่องก่อนหน้านั้นเป็นบริษัท Golden Harvest", "title": "พายุดาบดวลสะท้านฟ้า" }, { "docid": "2568#3", "text": "ในยุคแรกดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ เผ่าแรกที่ปรากฏคือเผ่าโชซ็อนโบราณ ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ เรืองอำนาจในช่วงพ.ศ. 143 – 243 ส่วนเผ่าอื่นได้แก่เผ่าพูยอ อยู่บริเวณปากแม่น้ำซุงคารีทางแมนจูเรียเหนือ เผ่าโคกูรยออยู่ระหว่างแม่น้ำพมาก และแม่น้ำอัมนก เผ่าอกจออยู่บริเวณมณฑลฮัมกย็อง เผ่าทงเยอยู่บริเวณมณฑลคังว็อน และเผ่าสามฮั่นคือ มาฮั่น ชินฮั่น และพยอนฮั่น ที่อยู่บริเวณแม่น้ำฮั่นและแม่น้ำนักดง ทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี", "title": "ประเทศเกาหลีใต้" }, { "docid": "718707#19", "text": "และแล้วเรื่องราวในความทรงจำที่หายไปก็พรั่งพรูไหลออกมา ในที่สุดโลแกนก็จำได้ว่าในคืนนั้นก่อนที่เขาจะได้รับบาดเจ็บเขาได้ติดตามสืบเรื่องเกี่ยวกับการตายของพ่อแม่ และน้องสาวไปจนรู้ความจริงว่าเหว่ยซานคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องทั้งหมด เหว่ยซานเริ่มไหวตัวทัน และมั่นใจว่าโลแกนจะไม่แต่งงานกับนีล่าแน่ เขาจึงตัดสินใจสั่งฆ่าโลแกน แต่บังเอิญที่นีล่าได้ยินแผนของพ่อนีล่าตกใจจึงรีบไปบอกโลแกนให้ระวังตัว โลแกนจึงคิดซ้อนแผนหาทางจัดการกับเหว่ยซาน แต่เขาไม่ต้องการฆ่าใคร เขาจึงวางแผนที่จะจับเหว่ยซานโดยให้เดนนิสขอชามินต์แต่งงานท่ามกลางสายตาคนมากมายเพื่อทำให้เหว่ยซานเชื่อ นีล่า ช็อกเพราะความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับเดนนิสกำลังไปได้สวย เธอไม่คิดว่าเขา และชามินต์จะหักหลังเธอ แต่คุณหนูลูกสาวมาเฟียอย่างเธอไม่ใช่ผู้หญิงคร่ำครวญ เธอจึงเชิดหน้ามางานแต่งของทั้งสอง ภายใต้ความเจ็บปวดที่ถูกซ่อนไว้ในใจ", "title": "พิรุณพร่ำรัก" }, { "docid": "705453#10", "text": "ในปี ค.ศ. 2012 แอร์โครยอได้กลับมาเปิดเที่ยวบินกัวลาลัมเปอร์อีกครั้ง พร้อมกับการขยายเที่ยวบินไปยังเมืองฮาร์บิน ประเทศจีน[15][16] และในปีเดียวกัน บริษัทชูเช ซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยว ก็ได้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือโดยเครื่องบินส่วนตัว เครื่องบินที่ให้บริการได้แก่ อิล-76, มิล-17, อาน-24, ตู-134 และตู-154 ส่วนเที่ยวบินระหว่างประเทศ ใช้เครื่องบิน ตู-204 หรือไม่ก็ อิล-62", "title": "แอร์โครยอ" }, { "docid": "391138#4", "text": "ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2016 หลี่ เหลียงเหว่ยได้สร้างความฮือฮาเมื่อได้ถ่ายโฆษณาทางโทรทัศน์ในประเทศไทยให้กับผลิตภัณฑ์รังนกยี่ห้อหนึ่งคู่กับ อุรัสยา เสปอร์บันด์ นักแสดงสาวชาวไทยที่กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากด้วยวัยกว่า 60 แล้ว แต่ทว่า หลี่ เหลียงเหว่ยยังคงรักษารูปร่างไว้ได้อย่างดีเยี่ยมเหมือนสมัยยังเป็นหนุ่ม โดยในงานแถลงข่าวเปิดตัวทั้งคู่ยังได้ร้องเพลงประกอบละครโทรทัศน์เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ร่วมกัน และยังได้ถ่ายแบบให้กับนิตยสารอิมเมจฉบับเดือนเมษายนคู่กันอีกด้วย", "title": "หลี่ เหลียงเหว่ย" }, { "docid": "422962#4", "text": "ในปี ค.ศ. 2011 หลิว เหว่ยเฉียง มีโครงที่จะนำเอา \"Water Margin\" หรือ \"108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน\" ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน มาสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยมีการวางตัวนักแสดงไว้ เช่น หลิว เต๋อหัว, เหลียง เฉาเหว่ย, ทาเคชิ คาเนชิโร่, ซูฉี เป็นต้น", "title": "หลิว เหว่ยเฉียง" }, { "docid": "961031#7", "text": "ช่วงปีพ.ศ. 2533-2534\nเป็นช่วงท้าย ๆ ที่เธอเล่นละครให้กับสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ก่อนที่จะหันไปเล่นละครให้กับ คู่แข่งอย่าง สถานีโทรทัศน์เอทีวี ถึงแม้ว่าละครช่วงหลัง ๆ ของเธอมักจะได้รับบทเป็นตลก สลับ กับบทดราม่าหนักๆ แต่เธอก็สามารถเล่น บทบาทดังกล่าว ออกมาได้ดี เป็นช่วงที่เธอแสดงฝีมือการแสดงออกมาชัดเจน แต่ทว่าเรตติ้งกลับไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก อาทิเช่นละครตลกเรื่อง \"ฟ้าสั่งให้รวย\" เล่นคู่ กัวจิ้นอัน, ละครชีวิตเรื่อง \"ชีวิตมืด\" เป็นการพลิกบทบาทมารับบทดราม่า สาวเรียบร้อยผู้ทรนงและเย็นชา ร่วมแสดงกับ อู๋เจิ้นยี่ และ เฉินหมิ่นเอ๋อ แต่ละครตลกเรื่อง \"เศรษฐีเมืองใหม่\" ที่มีดาราร่วมแสดงอย่าง \"เฉินถิงเว่ย\" และ จางเหว่ยเจี้ยน กลับได้รับความนิยมขึ้นมา เพราะละครเรื่องนี้ทำให้เจิงหัวเชี่ยนพบรักใหม่กับ เฉินถิงเว่ย หลังจากที่เลิกลากับ เหลียงเฉาเหว่ยมาได้พักหนึ่ง และกลับมารับบทชีวิตหนัก ๆ ในเรื่อง \"รอยรักรอยแค้น\" ร่วมแสดงโดยหลอเจียเหลียง และ เจิ้งเฮ่าหนาน และละครชีวิต\nเรื่อง \"อำนาจโหด\" ที่มีโอกาสเล่นกับ ดาราสาว\nหลี เหม่ยเสียน และ เจิ้งเหว่ยฉวน\nหลังจากนั้น เธอก็หมดสัญญากับทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบี และหันไปเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงกับทางสถานีโทรทัศน์เอทีวี แทนเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ ศ. 2534.", "title": "เจิ้ง หัวเชียน" }, { "docid": "5331#22", "text": "จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จากการประมาณในไตรมาสแรกในปี 2553 ของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ราชบุรีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) คิดเป็นมูลค่า 120,200 ล้านบาท[2] มากเป็นอันดับ 17 ของประเทศ และมีรายได้ต่อประชากร (GPP PER CAPITA) สูงถึง 144,062 บาท เป็นอันดับที่ 13 ของประเทศ จังหวัดราชบุรีมีการลงทุนทางอุตสาหกรรมถึง 1,100 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคมีธุรกิจการค้าประเภทสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร เป็นโครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจ โดยมีศูนย์กลางตลาดผักผลไม้ในภูมิภาค โดยเป็นหนึ่งในตลาดกลางสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีตลาดสดและตลาดนัดในท้องที่ต่าง ๆ ควบคู่กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และโรงงานอาหารสัตว์ ที่มีมากในเขตอำเภอปากท่อ และอำเภอโพธาราม และยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น โดยจังหวัดราชบุรีเป็น 1 ใน 14 จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศไทยศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญจะกระจายอยู่ใน พื้นที่เมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองราชบุรี และเมืองบ้านโป่ง เป็นต้น โดยเป็นที่ตั้ง ศูนย์ และสำนักงานสาขาในเขตภูมิภาค ของบริษัทชั้นนำหลายๆ แห่ง เช่น ปตท. โตโยต้า เป็นต้น อีกทั้งเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ 5-6 % ทำให้มีการลงทุนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น ศูนย์การค้า โครงการที่อยู่อาศัย บริษัท ห้างร้านต่างๆ เป็นต้น", "title": "จังหวัดราชบุรี" }, { "docid": "464727#1", "text": "อาสนะประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กต้ังอยู่ภายในมหาวิหารยอร์กกลางนครยอร์ก อาร์ชบิชอปคนปัจจุบันคือ ศาสนาจารย์ ดร.จอห์น เซนทามู ชาวยูกันดา ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2005", "title": "อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก" }, { "docid": "469046#2", "text": "ปัจจุบันเหว่ยใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001", "title": "เซว เหว่ย" }, { "docid": "498191#0", "text": "ทรานส์นีสเตรีย () หรือ พรีดเนสโตรวี () เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งของประเทศมอลโดวา ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับชายแดนมอลโดวา (ด้านที่ติดกับประเทศยูเครน) ปัจจุบันบริเวณนี้ถูกปกครองโดย สาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวี () ซึ่งมีอยู่เพียงสามประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรองเอกราช ได้แก่ อับฮาเซีย, เซาท์ออสซีเชีย และสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (สามประเทศนี้ ประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้การรับรองเช่นกัน) รัฐบาลมอลโดวาถือว่าทรานส์นีสเตรียอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของตน โดยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แม้ว่ารัฐบาลมอลโดวาจะไม่มีอำนาจปกครองในดินแดนนี้แล้วก็ตาม", "title": "ทรานส์นีสเตรีย" }, { "docid": "788087#6", "text": "แมดอฟฟ์จัดตั้งบริษัทในปี 2503 เป็นบริษัทขายหุ้นราคาถูก (penny stock) มีเงินทุนจัดตั้ง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้มาจากการทำงานเป็นเจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคนตกน้ำ และคนติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำ\nบริษัทของเขาเริ่มเติบโตด้วยความช่วยเหลือจากพ่อตาของเขา นักบัญชีซาอูล อัลเพิร์น ซึ่งแนะนำเพื่อนและญาติให้ทำธุรกิจกับแมดอฟฟ์ แต่เดิมบริษัทดูแลสภาพคล่องโดยการให้บริการแจ้งราคาซื้อและขายระหว่างผู้ซื้อและขายหุ้นผ่าน OTC Pink Sheets ต่อมา เพื่อแข่งขันกับบริษัทที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในชั้นของตลาดหุ้น บริษัทเขาจึงเริ่มใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าในการแจ้งราคา หลังทดลองแล้ว เทคโนโลยีที่บริษัทช่วยพัฒนาได้กลายเป็นแนสแด็ก ณ จุดหนึ่ง Madoff Securities เป็น \"ผู้ดูแลสภาพคล่อง\" ซื้อและขายใหญ่สุดที่แนสแด็ก", "title": "เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์" }, { "docid": "877240#0", "text": "เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น () เป็นบริษัทเอกชนในเครืออเมริกันที่มีสำนักงานใหญตั้งอยู่ที่ ทรัมป์ทาวเวอร์ ในไมด์ทาวน์ แมนแฮตตัน, นครนิวยอร์ก โดยทำหน้าที่เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นในการดำเนินกิจการทั้งหมดในปัจจุบันของ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 ,ดอนัลด์ ทรัมป์", "title": "เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น" }, { "docid": "923153#0", "text": "อุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งหมดในอิหร่านอยู่ในการดูแลของรัฐบาลและบริหารโดยบริษัทโทรคมนาคมของประเทศอิหร่าน  การขยายตัวของสายโทรศัพท์ในปี 2004 มีการพัฒนาเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคนี้ ประชาการ 100 คนต่อ 22 สายโทรศัพท์ สถิติสูงกว่าอียิปต์ซึ่งอยู่ที่ 14 และซาอุดิอารเบียซึ่งอยู่ที่ 15 แม้ว่าสถิติจะต่ำกว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ กับจำนวน 27 สาย อย่างไรก็ตรงตามมาตรฐานภูมิภาค ในอิหร่านปี 2012 จำนวนประชากรทุกคนมีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง", "title": "การสื่อสารในประเทศอิหร่าน" }, { "docid": "578850#47", "text": "ในประเทศอิสราเอล รถยนต์บิวอิคก์ถูกนำเข้าโดยบริษัทยูนิเวอร์แซล มอเตอร์ส จำกัด (English: Universal Motors, Ltd.) ซึ่งก็เป็นผู้นำเข้ารถยนต์จีเอ็มรุ่นอื่น ๆ ด้วย สำหรับรุ่นปี ค.ศ. 2004 - 2005 รถยนต์ที่มีจำหน่ายคือรถบิวอิคก์ เลอเซเบอร์และรานดะวู ส่วนในรุ่นปี ค.ศ. 2006 - 2007 รถบิวอิคก์ ละครอสและลูเซิร์นถูกขายอยู่กับรถบิวอิคก์ รานดะวู ในรุ่นปี ค.ศ. 2008 รถยนต์ที่มีจำหน่ายคือรถบิวอิคก์ ละครอสและลูเซิร์น รถยนต์บิวอิคก์มีจำหน่ายอยู่ทั่วทุกที่ในตะวันออกกลางจนกระทั่งรถบิวอิคก์ โรดมาสเตอร์ถูกยกเลิกการผลิตไป", "title": "บิวอิคก์" }, { "docid": "558011#1", "text": "หัวหน้าละครสัตว์หญิงสาวชื่อ เหว่ยเหวย ใช้ชีวิตอยู่กับลิงกอริลลาชื่อหลิงหลิง ที่ชอบเล่นไม้เบสบอล ซึ่งได้กลายเป็นสมาชิกครอบครัวและเพื่อนเพียงคนเดียวของเธอ เมื่อคุณปู่ของเธอได้เสียชีวิตลงเนื่องด้วยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในมณฑลเสฉวน โดยทิ้งหนี้สินจำนวนหนึ่งไว้เบื้องหลัง เมื่อนายทุนหน้าเลือดขู่ว่าจะขายหลิงหลิง และเด็ก ๆ ในคณะละครสัตว์เพื่อชดใช้หนี้ เหว่ยเหวยจึงไม่มีทางเลือกนอกจากให้หลิงหลิง ได้แสดงผลงานในลีกเบสบอลเกาหลี โดยการสนับสนุนของแมวมองผู้มีหัวทุนนิยมชื่อ ซอง ชุงซู ณ เวลานี้ หลิงหลิงได้รับการขนานนามว่า \"มิสเตอร์โก\" และได้กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ในทันที กับการนำแฟน ๆ และทีมดูซานแบร์สก้าวสู่การเป็นแชมป์อย่างปาฏิหาริย์เพลงธีมประกอบภาพยนตร์ชื่อ \"บาย\" ขับร้องโดยคิม แท-ย็อน ผู้เป็นสมาชิกของเกิลส์เจเนอเรชัน ประพันธ์บทเพลงโดยอี แจ-ฮัก โดยเพลง \"บาย\" มีทั้งในเวอร์ชันภาษาเกาหลีและภาษาจีน รวมถึงได้ทำการบันทึกเสียงโดยฮอลลีวูดซิมโฟนีออร์เคสตราที่ห้องบันทึกเสียงดนตรีของโซนี่พิคเจอร์สในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย", "title": "มิสเตอร์คิงคอง" }, { "docid": "191424#0", "text": "ซีเอสไอ: นิวยอร์ก () เป็นรายการซีรีส์ออกฉายทางโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการทำงานของตำรวจที่เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา ที่ผลิตโดยช่อง CBS ร่วมกับบริษัทกิจการบันเทิง Alliance Atlantis, ออกฉายในสหรัฐอเมริกา ที่มีเนื้อเรื่องคาบเกี่ยวมาจาก CSI: Crime Scene Investigation หรือ ซีเอสไอ ไครม์ซีนอินเวสติเกชั่น และ CSI: Miami หรือ ซีเอสไอ ไมอามี่ (ในประเทศไทย ซีรีส์ชุดนี้ถูกเรียกว่า ทีมปฏิบัติการล่าความจริง นิวยอร์ก ตามที่ออกฉายในช่อง AXN ของ True Visions และถูกเรียกว่า ไขคดีปริศนา นิวยอร์ก ตามที่ออกเป็นสื่อบันเทิงตามบ้าน ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท เอสทีจี มัลติมีเดีย จำกัด) รายการนี้มีศูนย์กลางของเรื่องอยู่ที่ทีมนักนิติเวชวิทยา ซึ่งตั้งอยู่ใน นิวยอร์ก ", "title": "ซีเอสไอ: นิวยอร์ก" }, { "docid": "523460#0", "text": "อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง () หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาแห่งแปร์ปีญ็อง (; ) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งอาสนะของมุขนายกประจำมุขมณฑลแปร์ปีญ็อง-แอลน์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแปร์ปีญ็อง จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหารจากการย้ายอาสนะของมุขนายกจากมุขมณฑลแอลน์ (เดิมอาสนะตั้งอยู่ที่อาสนวิหารแอลน์) มารวมอยู่ที่มุขมณฑลแปร์ปีญ็องเมื่อปี ค.ศ. 1602 ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8", "title": "อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง" }, { "docid": "2899#15", "text": "ซีเรียมุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับเป็นสำคัญ นอกจากนั้น การที่ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ซีเรียมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในระดับหนึ่ง แต่ไม่แน่นแฟ้นเหมือนกับความสัมพันธ์ที่เลบานอนมีต่อฝรั่งเศส", "title": "ประเทศซีเรีย" }, { "docid": "170636#11", "text": "...เมื่อเจ้าจอมแว่นมาอยู่ในทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว ท่านผู้หญิง (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ก็หึงหวงมาก มีปากเสียงกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเรื่องคุณแว่นนี้อยู่บ่อยๆ จนคืนวันหนึ่ง ท่านผู้หญิงถือดุ้นแสมไปยืนดักคอยอยู่ในที่มืด บนนอกชานเรือน พอคุณแว่นเดินออกมาจากเรือนหลังใหญ่ อันเป็นที่อยู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านผู้หญิงก็เอาดุ้นแสมตีหัว คุณแว่นก็ร้องขึ้นว่า เจ้าคุณขา คุณหญิงตีหัวดิฉัน สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็โกรธยิ่งนัก ฉวยได้ดาบออกจากเรือนจะมาฟันท่านผู้หญิง ฝ่ายท่านผู้หญิงก็วิ่งเข้าเรือนที่ท่านอยู่ แล้วปิดประตูลั่นดาลไว้ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็เอาดาบฟันประตูอยู่โครมๆ... [15]", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "959161#6", "text": "\"สำนักงานใหญ่\" ตั้งอยู่ใน กรุงปักกิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งใกล้กับ จงหนานไห่ (Zhongnanhai) คือ \"ทำเนียบประธานาธิบดีจีน\" ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ \"พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน\" สภาแห่งรัฐและ สำนักงานอธิการบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักข่าวซินหัวตั้งขึ้น เป็น บริษัท ในเครือแห่งแรกในต่างประเทศในปีพ.ศ. 2490 ใน กรุงลอนดอน โดยมี \"ซามูเอล Chinque\" เป็นผู้จัดพิมพ์ ขณะนี้มีการเผยแพร่ข่าวใน เอเชียตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และ แอฟริกา ผ่าน บริษัท ในเครือกว่า 150 แห่ง โดยสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคใน ฮ่องกง มอสโก ไคโร บรัสเซลส์ นครนิวยอร์ก เม็กซิโกซิตี้และ ไนโรบี รวมทั้ง สำนักงานสหประชาชาติ. ", "title": "สำนักข่าวซินหัว" }, { "docid": "964331#0", "text": "มังกรหยก ภาค1 () หรือ มังกรหยก ตอน กำเนิดก๊วยเจ๋ง เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมชิ้นเอกของ กิมย้ง เรื่อง มังกรหยก นำแสดงโดย จาง จื้อหลิน, จู อิน, หลอ เจียเหลียง, กวน เป่าฮุย, หลิน เจียหัว, เจิ้ง เหว่ยฉวน ออกอากาศทางช่อง TVB ในประเทศฮ่องกง เป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยดัง เพราะตอนที่ออนแอร์ละครชุดนี้ ปรากฏว่าเรตติ้งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุเพราะผู้ชมละครส่วนใหญ่ ยังคงประทับใจ กับเวอร์ชันเก่า \"มังกรหยก ภาค1(2526)\" อยู่มาก.\nส่วนในประเทศไทย เคยออกอากาศทางช่อง 3มาแล้วครั้งหนึ่ง ในปัจจุบันก็ยังกลับมาออกอากาศใหม่ในช่อง 3 แฟมิลี่ โดยออกอากาศในวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 15.30 น.", "title": "มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)" }, { "docid": "608124#3", "text": "หวัง เลิ่ง ได้รับรู้ว่าแท้จริงแล้วทั้งตนและไห้ ตู่ ต่างถูกราชสำนักหลอกใช้ โดยที่ทางฮ่องเต้ซึ่งต้องการจะทำให้ราชวงศ์ชิงรุ่งเรืองและได้รับการยอมรับจากสากล จึงต้องเก็บสมาชิกหน่วยจักรโลหิตไปทีละคน ๆ เพราะไม่ต้องการให้ประวัติของตนมัวหมอง อีกทั้งกำลังจะมีหน่วยปืนกลไฟ ซึ่งใช้เทคโนโลยีปืนไฟซึ่งมีอานุภาพและยิงได้ไกลกว่าจักรโลหิตมาแทนที่ โดยใช้ไห้ ตู่ เป็นผู้จัดการ ขณะที่กบฏอย่างสิคาล ยอมรับในสิ่งที่ตนเป็น แต่หวัง เลิ่งปล่อยให้รูปลักษณ์และฐานะภายนอกเป็นตัวตัดสินเสียมากกว่า\"The Guillotines\" เป็นภาพยนตร์กำลังภายในที่ใช้ทุนสร้างมหาศาลถึง 450 ล้านบาท โดยมีปีเตอร์ ชาน เป็นผู้อำนวยการสร้าง และได้หลิว เหว่ยเฉียง หรือแอนดรูว์ เลา ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ที่ซึ่งมีผลงานโด่ดเด่นอย่าง \"Infernal Affairs\" ในปี ค.ศ. 2002 มาทำหน้าที่เป็นผู้กำกับฯ โดยเป็นการรีเมคจากภาพยนตร์เรื่องดังในอดีต คือ \"The Flying Guillotines\" ของบริษัทชอว์บราเดอส์ อีกทั้งยังได้ออกฉายในระบบสามมิติ หรือ 3D ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนาเทคนิคพิเศษในเรื่องนานถึงครึ่งปี และยังได้นักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ในฮ่องกง ,จีนแผ่นดินใหญ่ และไต้หวันมารับบทบาทมากมาย ทั้ง หวง เสี่ยวหมิง, หร่วน จิงเทียน, หยู เหวินเล่อ และหลี่ ยู่ชุน โดยในฉากแอ๊คชั่นโลดโผนทั้งหมดต้องแสดงเอง โดยไม่ได้ใช้สตั๊นน์แมน รวมทั้งได้หวัง หยู่ อดีตนักแสดงชื่อดังในภาพยนตร์กำลังภายในชื่อดังในอดีตอย่าง \"One-Armed Swordsman\" รับบทเป็นขุนนางผู้เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยจักรโลหิตด้วย", "title": "พยัคฆ์ร้ายกิโยติน" }, { "docid": "4554#36", "text": "สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160) (ค.ศ. 581-617)", "title": "ประวัติศาสตร์จีน" }, { "docid": "237542#19", "text": "ในปี ค.ศ. 1604 คาราวัจโจได้รับจ้างให้วาดภาพนี้โดยนายธนาคารของพระสันตะปาปาและผู้อุปถัมภ์ศิลปะอ็อตตาวิโอ คอสตาผู้เป็นเจ้าของภาพ “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟิร์นเนส” และภาพ “มาร์ธาและแมรี แม็กดาเลน” ของคาราวัจโจอยู่แล้ว คอสตาตั้งใจจะส่งภาพนี้ไปใช้เป็นฉากแท่นบูชาสำหรับชาเปลเล็กๆ ในแคว้นคอนเซ็นเต (Conscente) ซึ่งเป็นแคว้นเล็กของตนเอง แต่เมื่อเสร็จคอสตาก็ชอบภาพนี้มากจนเก็บเอาไว้ดูเองและส่งก็อปปีไปให้แคว้นแทนที่ ในปัจจุบันภาพเขียนนี้เป็นของพิพิธภัณฑ์เนลสัน-แอ็ทคินส์ที่แคนซัสซิตีในสหรัฐอเมริกา", "title": "ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)" }, { "docid": "314289#0", "text": "วิกฤตการเงินปี 1907 () หรือวิกฤตนิกเกอร์บอกเกอร์ เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงสามสัปดาห์เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม เมื่อตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กลดลงเกือบ 50% ของมูลค่าสูงสุดในปีก่อนหน้า เกิดความตื่นตระหนกเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย และมีการแห่ถอนเงินจากธนาคารและบริษัททรัสต์ต่าง ๆ สุดท้ายวิกฤตการเงินปี 1907 ลามไปทั่วประเทศเมื่อธนาคารและธุรกิจระดับรัฐและท้องถิ่นจำนวนมากล้มละลาย สาเหตุหลักของการแห่ถอนเงิน ได้แก่ ธนาคารในนครนิวยอร์กจำนวนหนึ่งลดสภาพคล่องของตลาดและผู้ฝากเสียความเชื่อมั่น ซึ่งแย่ลงเมื่อมีการพนันโดยไม่มีการวางระเบียบในตลาดมืดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย วิกฤตครั้งนี้มีชนวนจากเหตุที่บริษัทยูไนเต็ดคอปเปอร์พยายามควบคุมราคาหุ้นในเดือนตุลาคม 1907 แต่ล้มเหลว เมื่อความพยายามล้มเหลว ธนาคารซึ่งให้ยืมเงินเพื่อดำเนินแผนควบคุมราคานี้ก็ถูกผู้ฝากแห่ถอนเงินออกเป็นจำนวนมาก ที่ภายหลังแพร่ไปธนาคารและบริษัททรัสต์ในเครือเช่นกัน จนทำให้ในสัปดาห์ต่อมานิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ ซึ่งเป็นบริษัททรัสต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของนครนิวยอร์กล้ม การล่มสลายของนิกเกอร์บอกเกอร์ทำให้ความหวาดกลัวกระจายไปทั่วบริษัททรัสต์ในนครเพราะธนาคารภูมิภาคต่าง ๆ พากันถอนเงินสดสำรองออกจากธนาคารในนครนิวยอร์ก ความตื่นตระหนกกระจายต่อไปทั่วประเทศเมื่อคนจำนวนมากพากันถอนเงินฝากออกจากธนาคารภูมิภาคของตนด้วย", "title": "วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907" }, { "docid": "961031#11", "text": "ในช่วงปีพ.ศ. 2537-2538 หลังจากรับงานแสดงที่ไต้หวัน อยู่พักหนึ่ง เธอก็ได้กลับมารับงานแสดง ที่ฮ่องกง กับค่าย \"ทีวีบี\" อีกครั้ง แต่ทว่า..กลับไม่ได้รับความนิยมเหมือนเคย ทั้งเรื่อง \"หน่วยล่าไอซีเอซี\" ร่วมแสดงโดย หลิวสงเหยิน กับ กัวจิ้นอัน และละครเรื่อง \"รักข้ามศตวรรษ\" ที่ได้แสดงร่วมกับ \"ทัง เจิ้นจง\" (พี่ชายของ ทังเจิ้นเยี่ย) ร่วมด้วย โอวหยังเจิ้นหัว และหลีเหม่ยฟ่ง ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนเธอได้ประกาศหยุดรับงานแสดง และหันไปทำหน้าที่เป็นพีธีกรแทน และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชื่อเสียงของเธอก็เริ่มห่างหายไปจากวงการละคร.\nในปีพ.ศ. 2525 เจิ้ง หัวเชี่ยน ได้พบกับนักแสดงเหลียงเฉาเหว่ย ที่ผับแห่งหนึ่ง ในตอนนั้นเธอยังเรียนการแสดงอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ทั้งคู่ถูกชะตากันมากและต่อมาก็คบกันเป็นแฟน ความรักของทั้งคู่มีสีสันมาก และมักเป็นข่าวฉาวทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อย ๆ ทั้งคู่รัก ๆ เลิก ๆ กันถึง 3 ครั้ง เพราะนิสัยขี้วีน เอาแต่ใจ ของเธอที่ทำให้ฝ่ายชายเอื่อมระอา อีกทั้งเหลียงเฉาเหว่ยเองก็มักมีข่าวพัวพันกับดาราสาวคนอื่นมากมาย ทั้งข่าวที่จริง และไม่จริง อาทิเช่น หลันเจี๋ยอิง, จางม่านอวี้, องเหม่ยหลิง แต่โดยเฉพาะข่าวฉาวกับดาราสาว หลี เหม่ยเสียน และ หลิวเจียหลิง นั้นโด่งดังสุดอื้อฉาวเป็นอย่างมาก จนในครั้งนั้นความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน ระหว่าง เจิ้งหัวเชียน หลิวเจียหลิง และ หลีเหม่ยเสียน ถึงขั้นแตกร้าว \nจนในที่สุดความรักของคนทั้งคู่ก็จบลงอย่างถาวรประมาณกลางปีพ.ศ. 2531 เหลียงเฉาเหว่ยได้หันไปคบกับ หลิวเจียหลิง อย่างจริงจัง", "title": "เจิ้ง หัวเชียน" } ]
105
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีอยู่ กี่แห่งทั่วประเทศ?
[ { "docid": "1847#0", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (English: Rajamangala University of Technology) เป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" } ]
[ { "docid": "1847#23", "text": "ตามการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จาก สกอ. ในปี 2549 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับการจัดอันดับที่โดดเด่น ดังนี้ อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเกษตร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเรียนการสอน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" }, { "docid": "299703#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 (ราชมงคลตะวันออกเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี และสนามกีฬาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 27" }, { "docid": "330421#1", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย ส่งผลให้วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ ได้รับรวมเข้ากับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ และวิทยาเขตพระนครใต้ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ปัจจุบันไม่มีสถานะเป็นวิทยาเขต", "title": "วิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ" }, { "docid": "318286#4", "text": "การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 ทำให้วิทยาเขตสุรินทร์ ได้โอนมาสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ดังเช่นปัจจุบัน", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์" }, { "docid": "68018#1", "text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เดิมก่อตั้งในนาม \"คณะวิชาวิศวกรรมโยธาและคณะวิชาสถาปัตยกรรม\"สังกัด สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา ตาม พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พุทธศักราช 2532 จากการยกฐานะสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พุทธศักราช 2548 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา ยุบรวมเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีผลให้คณะวิชาวิศวกรรมโยธาและคณะวิชาสถาปัตยกรรมปรับเปลี่ยนเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามโครงสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะวิศวกรรมศาสตร์\" มีการแยกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีดังต่อไปนี้", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "619559#2", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี พร้อมกันกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอื่นๆ ทั่วประเทศ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น" }, { "docid": "411784#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 (ศรีวิชัยเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 28" }, { "docid": "15121#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจักตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศไทย รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และในปีเดียวกันจึงได้ผ่านการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์เป็นคนแรก", "title": "อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์" }, { "docid": "298580#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 (ราชมงคลเกมส์ 48) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 ถึง 29 มกราคม พ.ศ. 2549 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 22" }, { "docid": "297981#3", "text": "และจากนั้นตามด้วยการแสดงในชุดแรกมีชื่อว่า \"องค์อินทราอำนวยชัย\" การแสดงชุดที่ 2 ในชื่อชุด \"ศิลปะไทยในสยาม\" เป็นการแสดงศิลปะของแต่ละภาค เพื่อเป็นต้อนรับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่เดินทางมาจากทุกภาคทั่วประเทศ และการแสดงชุดสุดท้าย มีชื่อว่า \"ดอกบัวสวรรค์งามมิ่งขวัญราชมงคล\" ซึ่งดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นการแสดงถึงพลังสามัคคีของชาวราชมงคลทั้ง 9 แห่ง", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26" }, { "docid": "509063#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 (ราชมงคลธัญบุรีเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 29" }, { "docid": "185664#2", "text": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 23 ประจำปีการศึกษา 2549 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์ 2550 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน (จัดแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้) จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 10 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ ตะกร้อลอดห่วงสากล เปตอง กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตซอล และหมากล้อม ภายใต้ชื่อการแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล “ราชมงคลเกมส์’23 ธัญบุรี 2006” และมีความสำคัญประจำการแข่งขันว่า “ราชมงคลร่วมใจเป็นหนึ่ง” ในปีนี้เองที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ได้รับเหรียญทองสูงสุด คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "298576#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 (ราชมงคลเกมส์ 23 ธัญบุรี 2006) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3 ถึง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 23" }, { "docid": "298314#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (สาทรเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เขตสาทร กรุงเทพ", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24" }, { "docid": "258906#1", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล นับเป็นวิทยาเขตที่ 30 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 โดยเหตุผลสำคัญของการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในศุภดิถีทรงเจริญพระชนมายุครบ 90 พรรษา และขยายการศึกษาระดับวิชาชีพชั้นสูงในพื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร ตามนโยบายรัฐบาลในขณะนั้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งของโรงเรียนวังไกลกังวล จัดการศึกษา พร้อมทั้งพระราชทานชื่อใหม่ว่า วิทยาเขตวังไกลกังวล", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล" }, { "docid": "297981#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 (รัตนโกสินทร์เกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐม", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26" }, { "docid": "318546#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการยุบรวมหน่วยงานในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งทั่วประเทศ โดยวิทยาเขตศรีวิชัย ถูกจัดให้รวมอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 จึงได้มีประกาศกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549 ให้จัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการขึ้นแทนวิทยาเขตศรีวิชัย ", "title": "วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย" }, { "docid": "12760#0", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Isan) เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่จัดการเรียนการสอนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น สกลนคร และสุรินทร์ โดยได้รับการยกฐานะจากวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย ", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน" }, { "docid": "592887#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 (อีสานเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา\nการแข่งขันกีฬาราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 30 (อีสานเกมส์) มีสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันเป็นรูปคน\nแนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ใช้องค์ประกอบในการสื่อความหมาย ซึ่งมีความหมายดังนี้", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 30" }, { "docid": "357598#2", "text": "วินิจ โชติสว่าง เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เคยได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะเกษตรศาสตร์บางพระ และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ต่อมาหลังจากมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 จัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศไทย ดร.วินิจ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 แต่ถึงแม้ว่าจะครบวาระลงในปี พ.ศ. 2552 แต่เนื่องจากปัญหาในการสรรหาอธิการบดี จึงทำให้ ดร.วินิจ โชติสว่าง ยังต้องรักษาราชการแทนในตำแหน่งต่อมาจนถึง พ.ศ. 2555", "title": "วินิจ โชติสว่าง" }, { "docid": "666663#1", "text": "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เดิมก่อตั้งในนาม \"คณะวิชาวิศวกรรมโยธาและคณะวิชาสถาปัตยกรรม\"สังกัด สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา ตาม พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พุทธศักราช 2532 จากการยกฐานะสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พุทธศักราช 2548 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา ยุบรวมเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีผลให้คณะวิชาวิศวกรรมโยธาและคณะวิชาสถาปัตยกรรมปรับเปลี่ยนเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามโครงสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 มีประกาศกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ใหม่ โดยแยกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีดังต่อไปนี้", "title": "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "12757#1", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ในสายตาของคนทั่วไป แต่ความจริงแล้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และจัดเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพมาเป็นเวลาช้านาน จากเดิมที่รวมอยู่กับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสายวิชาชีพ อันประกอบด้วยวิทยาเขตต่าง ๆ มากกว่า 35 วิทยาเขตทั่วประเทศ และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนสถานภาพจาก สถาบัน มาเป็น มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้มีการรวมกลุ่มวิทยาเขตในสังกัดแยกออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย และหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่แยกอิสระออกมา ก็คือ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร”", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร" }, { "docid": "641953#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 (พระนครเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 31" }, { "docid": "326379#3", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งทั่วประเทศ วิทยาเขตสุพรรณบุรี จึงได้โอนกิจการมาสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ", "title": "คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "259155#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย หรือ \"ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25\" เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2551 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในชื่อว่า \"ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25\" มีพิธีเปิดในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยมี ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นประธานในพิธีเปิด โดยนักกีฬาที่จุดคบเพลิง คือ นายดรัณภพ ประเสริฐชัย และ น.ส.เปรมฤทัย รอดผจญ นักกีฬาว่ายน้ำ ผู้แทนผู้ตัดสิน คือ นายชัยรัตน์ ศรีเพ็ชรดี ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา และมีพิธีปิดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขัน", "title": "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25" }, { "docid": "12760#10", "text": "ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างประเทศ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดังนี้การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อยู่ในอันดับที่ 3,124 ของโลก อันดับที่ 38 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน" }, { "docid": "13825#38", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระดับประเทศของนักศึกษาจากทั้ง 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2552 จากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เป็นครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 7 สมัย คือ ระหว่างปี 2549 - 2551[21][22][23] และปี 2554 - 2557", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา" }, { "docid": "1847#15", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันมีจำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นอาณาจักรทางการศึกษาที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตมากว่าหลายหมื่นคนต่อปี เป็นเครื่องบงชี้ได้ว่า กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานอย่างแท้จริง โดยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ดำรงภารกิจในการผลิตบัณฑิตที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลิตบัณทิตในสายวิชาชีพเพื่อออกมารับใช้ประเทศชาติ พัฒนาประเทศชาติมาเนิ่นนานกว่าสามทศวรรษแล้ว สมดังคำนิยามที่ให้ไว้กับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า “บัณฑิตนักปฏิบัติ”", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" }, { "docid": "73261#11", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระดับมหาวิทยาลัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ มีกำหนดจัดเป็นประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" } ]
3895
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "28166#1", "text": "พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" } ]
[ { "docid": "396120#11", "text": "ในปี พ.ศ. 2534 เมื่อท่านได้บริหารกิจการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เจริญขึ้นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ \"วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)", "title": "พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)" }, { "docid": "28166#26", "text": "หมวดหมู่:พระราชาคณะชั้นเทพ หมวดหมู่:เจ้าอาวาส หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หมวดหมู่:ภิกษุชาวไทยที่มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี‎‎", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "105722#1", "text": "จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้และฝึกวิชชาธรรมกายกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนียกย่องจันทร์ว่า \"ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง\" ต่อมา อุบาสิกาจันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย อุบาสิกาจันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย", "title": "จันทร์ ขนนกยูง" }, { "docid": "28166#6", "text": "เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงเริ่มปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากับพระอนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#13", "text": "จุดนั้นค่อยๆ ขยายขึ้นและโตเท่ากับดวงเดิม ดวงเก่าหายไป ท่านมองไปเรื่อยๆ ก็เห็นดวงใหม่ลอยขึ้นมาแทนที่ เหมือนน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาแทนที่กันนั่นแหละ ต่างแต่ใสยิ่งขึ้นกว่าดวงเดิม ในที่สุดก็ เห็นกายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาจนถึงธรรมกาย เป็นพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่า พระพุทธรูปบูชาองค์ใด เสียงพระธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า \"ถูกต้องแล้ว\" เท่านั้นแหละ ความปีติสุขก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านถึงกับรำพึงออกมาเบาๆ ว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "116829#3", "text": "อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี \nเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสมณธรรมสมาทาน เป็นกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “วรปุญฺโญ”", "title": "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)" }, { "docid": "28166#22", "text": "เมื่อมาถึงวัดปากน้ำ ท่านพบว่าวัดอยู่ในสภาพกึ่งวัดร้าง ภายในวัดมีสภาพทรุดโทรม ในสมัยนั้น ที่นี่เป็นสวนพลู สวนหมาก สวนมะพร้าว สวนเงาะ มีศาลาที่เก่ามาก มีโรงครัวเล็กๆ กุฏิก็มีไม่กี่หลัง เป็นกุฏิเล็กๆ ยกพื้น ปลูกด้วยไม้สัก พักได้รูปเดียว อยู่ตามร่องสวน พระภิกษุที่อยู่ก่อนมีจำนวน 13 รูป มักย่อหย่อนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ท่านต้องพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนตั้งแต่วันแรกที่มาถึง แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ท่านกลับมีความคิดที่จะฟื้นฟูวัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีกด้วย", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "65106#3", "text": "พ.ศ. 2506 เมื่อขณะศึกษาอยู่ชั้น ม. 8 (เทียบเท่า ม. 6 ปัจจุบัน) กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้อ่านพบหนังสือชื่อ \"วิปัสสนาบันเทิงสาร\" ลงเรื่องแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งได้ศึกษาวิชชาธรรมกายมาจากพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงได้ไปขอเรียนการปฏิบัติธรรมจากแม่ชีท่านนี้", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "351941#7", "text": "1. \"กรณีศึกษา เรื่อง กฎแห่งกรรม\" ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของบุคคลจริงที่ส่งเรื่องราวของตนเองและครอบครัวถึงพระเทพญาณมหามุนี ด้วยต้องการทราบถึงบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น โดยพระเทพญาณมหามุนีเรียกวิธีการที่ทำให้ทราบบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น ว่า \"ฝันในฝัน\" ตามอย่างคำกล่าวของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงสมาธิชั้นสูงและการใช้วิชชาธรรมกายเพื่อศึกษาความเป็นมาเป็นไปของสรรพสัตว์", "title": "โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา" }, { "docid": "28166#11", "text": "เมื่อท่านตั้งความปรารถนาแล้ว ก็เริ่มนั่งขัดสมาธิเข้าที่ภาวนา พอดีนึกถึงมดขี้ที่อยู่ในระหว่างช่องแผ่นหินซึ่งกำลังไต่ไปมา จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าด เอานิ้วมือจุ่ม เพื่อจะเขียนวงให้รอบตัวกันมดรบกวน แต่พอจรดนิ้วที่พื้นหินยังไม่ถึงครึ่งวง ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า ชีวิตสละได้ แต่ทำไมยังกลัวมดขี้นอยู่เล่า นึกละอายตัวเอง จึงวางขวดน้ำมันลง แล้วนั่งเข้าที่ได้ประมาณครึ่งหรือค่อนคืน เมื่อใจหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็มองเห็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ซึ่งยังติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายจากเมื่อเพล ยิ่งมองยิ่งใสสว่างมากขึ้น และขยายใหญ่ขนาดเท่าดวงอาทิตย์ ดวงใสยังคงสว่างอยู่อย่างนั้น โดยที่ท่านก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะทุกสำนักที่ท่านได้ศึกษามาไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้มาก่อน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#16", "text": "นับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่ เพื่อค้นคว้าหาที่สุดแห่งธรรม ยิ่งค้นก็ยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปทุกที ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้อีกประมาณเดือนเศษ จนออกพรรษา เมื่อรับกฐินแล้ว ก็ลาเจ้าอาวาสวัดบางคูเวียงไปพักอยู่ที่วัดบางปลาม้า เพื่อไปสอนธรรมที่ท่านได้รู้ได้เห็นแล้ว ท่านสอนอยู่ประมาณ 4 เดือน มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติธรรมตามอย่างท่านได้ 3 รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์ พระภิกษุแบน และพระภิกษุอ่วม รวมทั้งคฤหัสถ์อีก 4 คน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#9", "text": "\"เอ...แต่ก่อนเราไม่เคยรู้สึกเช่นนี้เลย พอตั้งสัจจะลงไปว่า ถ้ากลองเพลไม่ดังจะไม่ลุกจากที่ เหตุใดมันจึงเพิ่มความกระวนกระวายใจมากมายอย่างนี้ ผิดกว่าครั้งก่อนๆ ที่นั่งภาวนา เมื่อไรหนอ กลองเพลจึงจะดังสักที\" คิดไปจิตก็ยิ่งแกว่งและซัดส่ายมากขึ้น จนเกือบจะเลิกนั่งหลายครั้ง แต่เมื่อได้ ตั้งสัจจะไปแล้วท่านก็ทนนั่งต่อไป ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อย แล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ในใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก ความปวดเมื่อยหาย ไปไหนไม่ทราบ ในเวลาเดียวกันนั้นเสียงกลองเพลก็ดังขึ้น", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "39464#1", "text": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ ต่อมาอุปสมบทในปี พ.ศ. 2500 ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมีพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ \nช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา เคยกล่าวว่า \"ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป\" ซึ่งถูกฝ่ายขวา อันได้แก่ นวพล กลุ่มกระทิงแดง ในสมัยนั้นนำไปใช้เป็นวาทกรรม โจมตีฝ่ายซ้าย และยุยงให้คนไทยเกลียดชังนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมต่อต้านการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำไปสู่การสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519", "title": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ)" }, { "docid": "28166#0", "text": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกายชาวไทย ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ \"หลวงพ่อวัดปากน้ำ\" เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของการปฏิบัติกรรมฐานพุทธานุสติที่เรียกว่า วิชชาธรรมกาย ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "396124#2", "text": "ในปลายปี 2529 มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย โดยศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ (อดีตประธานศาลฎีกา) ประธานมูลนิธิฯ ได้ยื่นคำขอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขออนุญาตสร้างวัด บนที่ดิน 72.5 ไร่ ภายในบริเวณที่ดินของมูลนิธิ/สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ริมถนนสายดำเนินสะดวก-บางแพ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2530 และในวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้เป็นผู้เจิมแผ่นศิลาฤกษ์ เพื่อประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอุโบสถ เมื่อการก่อสร้างอุโบสถจวนจะแล้วเสร็จ รวมทั้งมีเสนาสนะ พระภิกษุ สามเณร อยู่จำพรรษาศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามสมควร ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ ประธานมูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ก็ได้ขออนุญาตตั้งเป็นวัด และกระทรวงศึกษาธิการ (โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2534) จึงได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ \"วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติและสอนภาวนาถึงธรรมกายและพระนิพพานตามพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่ตั้งสถาบันฯ ซึ่งเป็นเวลาที่ อาจารย์พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล (ปัจจุบันคือ หลวงพ่อ พระราชญาณวิสิฐ) อุปสมบทได้ 5 พรรษา อายุได้ 62 ปี ได้ศึกษาภาคปริยัติจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนสำเร็จ เปรียญธรรม 3 ประโยค และ นักธรรมเอก เป็นพระมหาเปรียญ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ท่านจึงได้กราบลาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อจากนั้น ท่านยังได้ศึกษาภาคปริยัติแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค เมื่อต้นปี พ.ศ. 2537 (เมื่ออายุ 65 ปี) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมสืบต่อวัตถุประสงค์ของ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย เพื่อสืบบวรพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ที่พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สั่งสอนและถ่ายทอดไว้ ให้วัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้นไป ตราบชั่วกาลนาน.", "title": "วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม" }, { "docid": "258375#6", "text": "วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้ให้การอบรมสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย” และโดยได้ยึดหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร วิ. อดีตรองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตลอดถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เจ้าสำนักและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.) ", "title": "วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว" }, { "docid": "28166#14", "text": "การค้นพบวิชชาธรรมกายอันเป็นของจริงของแท้ เป็นทางบรรลุธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลุแล้ว เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ท่านจึงมาคำนึงว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#21", "text": "เมื่อถึงวันครบกำหนด ท่านเดินทางจากวัดพระเชตุพนฯ โดยเรือยนต์หลวงที่กรมการศาสนาจัดถวาย เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอารามหลวง มีพระเถรานุเถระจากวัดพระเชตุพนฯ เดินทางมาส่ง และมีพระภิกษุติดตามท่านมาด้วย 4 รูป ทางด้านวัดปากน้ำ มีพระเถระผู้ใหญ่ในอำเภอนั้น พร้อมทั้งญาติโยมจำนวนมากมารอต้อนรับคณะของท่าน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#24", "text": "เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[14230,14245,2,2]}'>พระครูสมุห์ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2464 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสมณธรรมสมาทาน[1] 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เลื่อนพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระภาวนาโกศลเถร[2] พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี สุทธศีลพรตนิเวฐ เจษฎาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3] 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#2", "text": "เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#5", "text": "เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่าจนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือ วัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถธุระต่อที่กรุงเทพฯ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#18", "text": "เมื่อออกจากวัดประตูสาร ท่านได้ไปรับพระภิกษุหมก พระภิกษุปลดและพระภิกษุพล (พระครูโสภณราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรฯ (ลาสิกขาบทแล้ว)) และพระภิกษุฮั้ว วัดป่าพฤกษ์ ที่วัดสองพี่น้อง กลับลงมากรุงเทพฯ ไปอยู่ที่สำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#19", "text": "ในสมัยนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ต้องเผชิญกับความไม่เข้าใจของสังคมและพระเถรานุเถระในวงการพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการกล่าวอ้างถึงคำว่า \"ธรรมกาย\" อยู่มิได้ขาด ซึ่งคำว่า \"ธรรมกาย\" นั้น มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก หลักศิลาจารึก และคัมภีร์ต่างๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณมาก่อนแล้ว หากเพียงแต่ว่ามิได้รับการขยายความจากพระวิปัสนาจารย์ท่านอื่นๆ เพราะส่วนมากท่านเหล่านั้นไม่ชำนาญภาษาบาลีในระดับสูง จึงแนะนำการปฏิบัติที่รับต่อมาจากครูบาอาจารย์ถ่ายทอดให้ตนเท่านั้น ฯ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "849377#0", "text": "วิชชาธรรมกาย เป็นวิธีเจริญกรรมฐานที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ค้นพบในปี พ.ศ.2459 ต่อมาจึงแพร่หลายในประเทศไทยและขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ใช้คำบริกรรมว่า \"สัมมาอะระหัง\" ขณะเจริญกรรมฐาน จึงเรียกสำนักกรรมฐานสายนี้ว่าสายบริกรรม สัมมา–อรหัง ถือเป็นหนึ่งในห้าสายปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ", "title": "วิชชาธรรมกาย" }, { "docid": "28166#10", "text": "วันนั้นท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสก็ยังเห็นติดอยู่ตรงศูนย์กลางกายตลอดเวลา ในช่วงเย็น หลังจากได้ร่วมลงฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนภิกษุ ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า \"แม้เลือดเนื้อจะ แห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต\" เมื่อ ตั้งจิตอธิษฐานเสร็จ จึงเริ่มนั่งและตั้งจิตอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#12", "text": "ขณะที่ใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น ก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาจากจุดกลางดวงนั้นว่า \"มัชฌิมาปฏิปทา\" แต่ขณะที่เสียงนั้นดังแผ่วขึ้นมาในความรู้สึก ก็เห็นจุดเล็กๆ เรืองแสง สว่างวาบขึ้นมาจากกลางดวงนั้น เสมือนจุดศูนย์กลางของวงกลม ความสว่างของจุดนั้นสว่างกว่าดวงกลมรอบๆ ท่านมองเรื่อยไป พลางคิดในใจว่า นี่กระมังทางสายกลาง จุดเล็กที่เราเพิ่งจะเห็นเดี๋ยวนี้อยู่กึ่งกลางพอดี ลองมองดูซิจะเกิดอะไรขึ้น", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#23", "text": "เมื่อท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำใหม่ๆ ท่านกล่าวว่า \"สร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่สิ่งสำคัญต้องสร้างคนก่อน\" ดังนั้น ในเบื้องต้นท่านมุ่งไปที่ความประพฤติของพระภิกษุ สามเณรในวัด ท่านต้องการให้ทุกรูปมีข้อวัตรปฏิบัติที่ดี ประพฤติตนตามพระธรรมวินัย จึงเรียกประชุมพระภิกษุ สามเณรที่อยู่มาก่อนทั้งหมดและให้โอวาทว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#15", "text": "ท่านยังคงนั่งเจริญภาวนาทบทวนอย่างนี้ต่อไปอีกประมาณ 30 นาที ก็เกิดภาพในสมาธิ เป็นภาพของวัดบางปลาปรากฏขึ้น ความรู้สึกขณะนั้นเหมือนตัวท่านอยู่ที่วัดนั้น ทำให้คิดว่าธรรมที่รู้เห็นได้ยากนั้น ที่วัดบางปลาจะต้องมีผู้ที่สามารถบรรลุธรรมได้แน่นอน ภาพของวัดบางปลาจึงปรากฏขึ้นในสมาธิ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "400286#11", "text": "คฤหัสถ์วีระเมื่อได้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว จึงได้ตัดสินใจสละเพศคฤหัสถ์เข้าครองผ้ากาสาวพัสตร์ เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 โดยมีพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นที่พระภาวนาโกศลเถร เป็นองค์อุปัชฌาย์ และมีท่านพระครูปัญญาภิรัต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับท่านพระครูพิพัฒน์ธรรมคณี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า คณุตฺตโม ภิกฺขุ", "title": "พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)" } ]
3454
เอลฟ์ มีรากศัพท์มาจากภาษาอะไร?
[ { "docid": "33547#13", "text": "เอลฟ์ ในภาษาแซกซอนโบราณเรียก \"alf\" เยอรมันยุคกลางชั้นสูงเรียก \"alb\" หรือ \"alp\" (พหูพจน์ \"elbe, elber\") ส่วนในภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก \"alb\" (ตามที่ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 13) เอลฟ์ดั้งเดิมในตำนานเยอรมันยุคคนเถื่อนนอกศาสนา เป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่องสว่างอาศัยอยู่บนสวรรค์ ทั้งนี้อาจหมายรวมถึงพวกเอลฟ์มืดและคนแคระที่อาศัยอยู่ใต้พิภพด้วย (ดังที่เข้าใจว่าคล้ายคลึงกับพวก \"álfr\" ในตำนานนอร์สโบราณ) ในลำนำพื้นบ้านหลังยุคคริสเตียน เริ่มมีการพรรณนาถึงพวกเอลฟ์ว่าเป็นกลุ่มชนซุกซนชอบเล่นแผลงๆ นำความเจ็บป่วยมายังผู้คนและสัตว์เลี้ยง รวมถึงนำเอาฝันร้ายมาใส่ผู้นิทราด้วย คำในภาษาเยอรมันที่หมายถึงฝันร้าย คือ \"Albtraum\" มีความหมายตรงตัวว่า \"ฝันของเอลฟ์\" คำเก่าแก่กว่านั้นคือ \"Albdruck\" มีความหมายว่า \"แรงกดของเอลฟ์\" เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ฝันร้ายเกิดจากการที่เอลฟ์มานั่งทับอยู่บนทรวงอกของผู้ฝัน ความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในตำนานเยอรมนี้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับความเชื่ออย่างหนึ่งในตำนานสแกนดิเนเวียเกี่ยวกับ มารา คือจิตภูตสตรีผู้ร้ายกาจที่บันดาลให้เกิดฝันร้าย นอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับตำนานว่าด้วย incubi และ succubi ด้วย", "title": "เอลฟ์" }, { "docid": "33547#16", "text": "คำว่า \"เอลฟ์ (elf) \" เป็นคำภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งนำมาจากภาษาอังกฤษเก่าว่า \"ælf\" (พหูพจน์ \"ælfe\") คำนี้มาสู่บริเตนได้โดยผ่านชาวแองโกล-แซกซอน ยังมีคำที่หมายถึง นางพรายน้ำ (nymph) ในตำนานกรีกและโรมัน ที่แปลมาโดยปราชญ์ชาวแองโกลแซกซอนว่า \"ælf\" และเพี้ยนเสียงไปเป็นคำต่างๆ", "title": "เอลฟ์" } ]
[ { "docid": "91920#1", "text": "โทลคีนมักกล่าวเสมอว่า การตั้งชื่อต่าง ๆ ในผลงานของเขา มีเหตุจากรากฐานของเสียงและคำศัพท์ในภาษาเฉพาะที่เขาประดิษฐ์ขึ้น คือภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน อย่างไรก็ดีคำศัพท์เหล่านั้นมักพ้องเสียงกับรูปภาษาโบราณอื่น ๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า (Old English) การศึกษาผลงานของโทลคีนโดยพิจารณารากศัพท์ในภาษาอังกฤษเก่า ช่วยให้เข้าใจจุดมุ่งหมายในการประพันธ์ของโทลคีนมากขึ้น", "title": "เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)" }, { "docid": "33547#4", "text": "ใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฉบับแปลภาษาไทย ใช้คำว่า \"พราย\" สำหรับความหมายของ เอลฟ์ ซึ่งทำให้เกิดนิยามใหม่สำหรับความหมายของ \"พราย\" นอกเหนือจากความหมายแต่เดิมที่หมายถึง ผีจำพวกหนึ่ง (มักใช้กับผีผู้หญิงตายทั้งกลม)", "title": "เอลฟ์" }, { "docid": "91920#7", "text": "เอลฟ์แบ่งได้เป็นกลุ่มดังต่อไปนี้โทลคีนเป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ เขาได้ประดิษฐ์คิดค้นภาษาเอลฟ์ขึ้นจนสามารถใช้งานได้จริง มีไวยากรณ์และคำศัพท์มากพอจะใช้งานในชีวิตประจำวันได้ คือภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน ซึ่งในนิยายของเขาระบุว่าทั้งสองภาษาเป็นภาษาที่เอลฟ์ในมิดเดิลเอิร์ธใช้งานกันเป็นภาษาหลัก", "title": "เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)" }, { "docid": "91920#8", "text": "แต่โทลคีนยังประดิษฐ์ภาษาเอลฟ์ไว้อีกเป็นจำนวนมาก บางภาษาก็มีเพียงโครงร่างไวยากรณ์เท่านั้น หากว่าตามเนื้อเรื่องในจินตนิยาย เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ก็สามารถอธิบายได้ดังนี้ - เมื่อแรกที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่คุยวิเอเนน พวกเขาสื่อสารกันด้วยภาษา\"เควนเดียน\"โบราณ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษาเอลฟ์ทั้งปวง ต่อมาเมื่อพวกเอลฟ์อพยพแยกย้ายกันไปอยู่ในดินแดนต่าง ๆ จึงมีการพัฒนาทางภาษาของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป", "title": "เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)" }, { "docid": "33547#2", "text": "แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน คือ \"*albh-\" ซึ่งมีความหมายว่า \"ขาว\" อันเป็นรากเดียวกันกับคำในภาษาละติน \"albus\" ที่แปลว่า \"ขาว\" อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ \"Rbhus\" นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของอินเดีย (ดู พจนานุกรมของออกซฟอร์ด) แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก", "title": "เอลฟ์" }, { "docid": "896345#1", "text": "ตักลีด เป็นรากศัพท์ภาษาอาหรับ มาจากแม่แบบ ตัฟอีล ของรากศัพท์ ก้อละด้า ในพจนานุกรมหมายถึง การกำหนดให้สิ่งหนึ่งอยู่เคียงคู่กับบุคคลหนึ่ง และ การก้มหัวให้การงานใดการงานหนึ่ง ส่วนความหมายเชิงวิชาการด้านนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) หมายถึง การต้องปฏิบัติตามมุจตะฮิดที่เจาะจง แต่ในตัวบทนิติศาสตร์อิสลามที่ว่าด้วยเรื่องของการประกอบพิธีฮัจญ์ ก็หมายถึง เครื่องหมายที่แขวนไว้บนต้นคอของสัตว์ที่จะทำการเชือด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นสัตว์ที่ใช้เชือดในพิธีฮัจญ์ เช่นกัน  ตามแหล่งอ้างอิงด้านอุซูลและนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์) แล้ว ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้สองลักษณะ  บรรดาฟะกีฮ์กลุ่มหนึ่งอธิบายการตักลีดว่า เป็นเรื่องหนึ่งที่แตกต่างไปจากการปฏิบัติหลักศาสนกิจ  โดยการยึดเอาคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด หรือยอมรับคำวินิจฉัยนั้น หรือการมีพันธะต่อสิ่งนั้น ส่วนบรรดาฟะกีฮ์ส่วนมาก ถือว่า แก่นของการตักลีด ก็คือการปฏิบัติตามคำฟัตวา ของมุจตะฮิดนั่นเอง", "title": "ตักลีด" }, { "docid": "33547#0", "text": "เอลฟ์ () คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ในตำนานนอร์สและตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ แต่หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ผลงานอันโด่งดังของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏออกมา ภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีนมีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิง", "title": "เอลฟ์" }, { "docid": "61798#1", "text": "อักษรนี้ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง /ʔ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอลิฟนั้นแทนเสียงพยัญชนะหรือสระจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ (ء) ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะฮ์ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (), ยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง () และอลิฟ () อลิฟใช้คู่กับฮัมซะฮ์เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำและประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน () เมื่อเป็นเสียงสระอะหรืออุ และอยู่ข้างล่าง () เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะฮ์", "title": "อาเลฟ" } ]
977
ประเทศไทยมีกระซู่หรือไม่?
[ { "docid": "87409#1", "text": "กระซู่อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ป่าพรุ และ ป่าเมฆในประเทศอินเดีย ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า ลาว ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมณฑลเสฉวน[7][8] ปัจจุบัน กระซู่ถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ เหลือสังคมประชากรเพียงหกแหล่งในป่า มีสี่แหล่งในสุมาตรา หนึ่งแหล่งในบอร์เนียว และอีกหนึ่งแหล่งในมาเลเซียตะวันตก จำนวนกระซู่ในปัจจุบันยากที่จะประมาณการได้เพราะเป็นสัตว์สันโดษที่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็นวงกว้าง แต่คาดว่าเหลืออยู่ไม่ถึง 100 ตัว สาเหตุอันดับแรกของการลดลงของจำนวนประชากรคือการล่าเอานอซึ่งมีค่ามากในการแพทย์แผนจีน ขายได้ถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมในตลาดมืด[9] นอกจากนี้ยังถูกคุกคามถิ่นอาศัยจากอุตสาหกรรมป่าไม้และเกษตรกรรม", "title": "กระซู่" } ]
[ { "docid": "87409#24", "text": "กระซู่มีการเปล่งเสียงมากที่สุดในบรรดาแรดด้วยกัน[39] จากการสังเกตกระซู่ในสวนสัตว์แสดงถึงว่ากระซู่นั้นเปล่งเสียงเสมอ ๆ และมันรู้จักที่จะทำดังเช่นในป่า[27] กระซู่สร้างเสียงที่แตกต่างกันสามเสียง: อีป, วาฬ, และ ผิวปาก-เป่า เสียงอีป สั้น ยาวประมาณ 1 วินาที เป็นเสียงทั่วไปโดยมาก วาฬที่ตั้งชื่อนี้เพราะคล้ายกับการเปล่งเสียงของวาฬหลังค่อม (ดูเพิ่ม: บทเพลงแห่งวาฬ) เป็นการเปล่งเสียงคล้ายกับร้องเพลงและเปล่งเสียงบ่อยเป็นอันดับสอง วาฬจะแตกต่างกันที่ระดับเสียงและช่วงสุดท้าย ในช่วง 4–7 วินาที ผิวปาก-เป่าที่ได้ชื่อนี้เพราะเหมือนเสียงผิวปากยาวสองวินาทีและเป่าลมออกมาทันทีทันใดหลังจากนั้น ผิวปาก-เป่าเป็นเสียงที่ดังที่สุดในบรรดาการเปล่งเสียงทั้งหมด ดังถึงขนาดทำให้แท่งเหล็กที่ใช้ทำกรงสั่นได้ วัตถุประสงค์ในการเปล่งเสียงยังไม่เป็นที่ทราบได้ แต่มีทฤษฎีที่ว่ามันแสดงถึงอันตราย ความพร้อมทางเพศ และอื่น ๆ ที่เหมือนกับสัตว์กีบชนิดอื่นทำ เสียงผิวปาก-เป่าสามารถได้ยินไปได้ไกลแม้กระทั่งในดงไม้หนาทึบในที่ที่กระซู่อาศัยอยู่ การเปล่งเสียงในระดับที่ใกล้เคียงกับช้าง เสียงสามารถไปได้ไกลถึง 9.8กม.และด้วยเหตุนี้เสียงผิวปาก-เป่าอาจไปได้ไกลกว่านั้น[39] บางครั้งกระซู่จะบิดไม้หนุ่มที่มันไม่กิน พฤติกรรมนี้เชื่อว่าเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ใช้แสดงทางเชื่อมในด่าน[36]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "136685#12", "text": "แรดชวามีการกระจายพันธุ์จากรัฐอัสสัมถึงเบงกอล (ที่ซึ่งกระจายพันธุ์ซ้อนทับกับกระซู่และแรดอินเดีย) ไปทางตะวันออกถึงพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และทางใต้ไปถึงคาบสมุทรมลายูและเกาะในสุมาตรา ชวา และอาจในบอร์เนียวด้วย ในปี พ.ศ. 2514 ประเทศไทยมีรายงานว่าพบแรดชวาตามเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี แต่ปัจจุบัน แรดชวาถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทย", "title": "แรดชวา" }, { "docid": "87409#20", "text": "มีช่องทางเพียงเล็กน้อยที่จะศึกษาถึงระบาดวิทยาในกระซู่ มีรายงานว่าแมลงดูดกินเลือดเป็นอาหาร เช่น หมัด ไร เห็บ และแมลงวันตัวเบียนในสกุล gyrostigma เป็นสาเหตุการตายของกระซู่ในกรงเลี้ยงในคริสต์ศตวรรษที่ 19[27] เป็นที่รู้กันว่ากระซู่เป็นโรคพยาธิในเลือดได้ง่ายซึ่งมีตัวเหลือบเป็นพาหะนำปรสิตจำพวก trypanosome มา ในปี ค.ศ. 2004 กระซู่ห้าตัวในศูนย์อนุรักษ์กระซู่ตายภายใน 18 วันหลังจากติดโรค[35] กระซู่ไม่มีศัตรูทางธรรมชาติอื่นนอกจากมนุษย์ เสือโคร่งและหมาป่าอาจสามารถล่าลูกกระซู่ได้ แต่ลูกกระซู่จะอยู่กับแม่ตลอดเวลา ความถี่ของการถูกล่าจึงไม่อาจเป็นที่ทราบได้ ถึงแม้กระซู่จะมีอาณาเขตซ้อนทับกับช้างและสมเสร็จแต่สัตว์เหล่านี้ไม่ปรากฏการแข่งขันกันทางด้านอาหารและถิ่นอาศัย ช้างและกระซู่จะใช้ด่านร่วมกัน สัตว์เล็ก ๆ อย่างกวาง หมูป่า และหมาป่า ก็จะใช้ด่านที่กระซู่และช้างสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน[13][36]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#37", "text": "ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า ซึ่งหนึ่งในนั้นด้านหลังเหรียญเป็นรูปกระซู่ ยืนหันหน้าไปทางขวา ตัวเหรียญมีราคา 50 บาท [62] เพราะชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้านของกระซู่ จึงได้มีการพิมพ์แสตมป์เป็นรูปกระซู่เป็นจำนวนหลาย ๆ ครั้ง เช่น แสตมป์ราคา 25 เซนต์ของบอร์เนียวเหนือ แสตมป์ราคา 75 เซน พ.ศ. 2503 และ แสตมป์ชุดองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลของประเทศอินโดนีเซียที่พิมพ์ในปี พ.ศ. 2539 เป็นต้น", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#13", "text": "มีหนังพับย่นขนาดใหญ่สองวงรอบที่ลำตัวบริเวณหลังขาหน้าและก่อนขาหลัง ที่คอมีรอยพับย่นเล็กน้อยรอบคอและรอบตา ริมฝีปากบนแหลมเป็นจะงอย[5] หนังหนา 10-16 มม. มีสีน้ำตาลอมเทา[5] ริมฝีปากและผิวหนังใต้ท้องบริเวณขามีสีเนื้อ[28] กระซู่ตามธรรมชาติไม่พบไขมันใต้หนัง มีขนปกคลุมหนาแน่นถึงเล็กน้อย (ในลูกกระซู่จะปกคลุมหนาแน่น) ปกติจะมีสีน้ำตาลแดง ในธรรมชาติกระซู่จะไม่ค่อยมีขนให้เห็นได้ชัดเจนนักเพราะเกิดจากการลงแช่ปลัก แต่ในกรงเลี้ยงกระซู่จะมีขนงอกออกมา หยาบ คาดว่าเพราะมีการเสียดสีกับพุ่มไม้ในเวลาเดินน้อยมาก กระซู่มีขนยาวบริเวณรอบหูและปกคลุมบริเวณหลังไปถึงปลายหางซึ่งมีผิวหนังบาง กระซู่เหมือนกับแรดทุกชนิด มีสายตาที่แย่ แต่ประสาทหูและประสาทรับกลิ่นดีมาก[29] กระซู่เคลื่อนที่ได้เร็วและกระฉับกระเฉง มันสามารถไต่เขาสูงชันและว่ายน้ำเก่ง[13][26][27]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#14", "text": "กระซู่อาศัยอยู่ได้ทั้งพื้นราบและที่สูงในป่าดิบชื้น ป่าพรุ และป่าเมฆ ในบริเวณที่เต็มไปด้วยเนินสูงชันใกล้กับแหล่งน้ำโดยเฉพาะหุบลำธารสูงชันที่เต็มไปด้วยพุ่มไม้ กระซู่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของพม่า ทางตะวันออกของอินเดีย และบังคลาเทศ ยังมีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าพบกระซู่ในกัมพูชา ลาว และ เวียดนาม แต่ประชากรเท่าที่ทราบว่ายังมีเหลือรอดนั้น อยู่ในมาเลเซียตะวันตก เกาะสุมาตรา และรัฐซาบะฮ์บนเกาะบอร์เนียว นักอนุรักษ์ธรรมชาติบางคนหวังว่าอาจยังมีกระซู่หลงเหลืออยู่ในพม่าถึงแม้ว่ามันอาจไม่น่าเป็นไปได้ ปัญหาความยุ่งเหยิงทางการเมืองของพม่าทำให้การประเมินหรือการศึกษาของความน่าจะเป็นของกระซู่ที่คาดว่าจะหลงเหลืออยู่ไม่สามารถกระทำได้[30]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#29", "text": "แม้จะหายาก แต่ก็มีการจัดแสดงกระซู่อยู่ในบางสวนสัตว์เกือบศตวรรษครึ่ง สวนสัตว์ลอนดอนได้รับกระซู่ 2 ตัวในปี พ.ศ. 2415 หนึ่งในนั้นเป็นเพศเมียชื่อ บีกัม (Begum) จับได้ที่จิตตะกอง (Chittagong) ในปี พ.ศ. 2411 และมีชีวิตรอดได้ถึงปี พ.ศ. 2443 เป็นกระซู่ที่มีอายุมากที่สุดในกรงเลี้ยงที่มีบันทึกไว้ ในเวลาที่ได้รับกระซู่มานั้น ฟิลลิป สเคลเตอร์ (Philip Sclater) เลขานุการสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอนอ้างว่ากระซู่ตัวแรกในสวนสัตว์เป็นกระซู่ที่อยู่ในสวนสัตว์ฮัมบูร์กตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ก่อนที่กระซู่ชนิดย่อย Dicerorhinus sumatrensis lasiotis จะสูญพันธุ์ มีกระซู่ชนิดนี้อย่างน้อย 7 ตัวในสวนสัตว์และโรงละครสัตว์[27] กระซู่มีสุขภาพและการเจริญเติบโตไม่ดีนักเมื่ออยู่นอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ กระซู่ในสวนสัตว์กัลกัตตาได้ให้กำเนิดลูกในปี พ.ศ. 2432 แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ไม่มีลูกกระซู่เกิดในสวนสัตว์อีกเลย ในปี พ.ศ. 2515 กระซู่ตัวสุดท้ายในกรงเลี้ยงได้ตายลงที่สวนสัตว์โคเปนเฮเกน[27] ประเทศไทยเองก็เคยนำกระซู่เพศเมียมาจัดแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย มีชื่อว่า ลินจง แต่ตายไปในปี พ.ศ. 2529[48][49]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#36", "text": "ในประวัติศาสตร์ไทย มีข้อความพรรณนาถึงการละเล่นชนแรดในสมัยอยุธยา ปรากฏในวรรณคดีสมุทรโฆษคำฉันท์ รวมถึงการบันทึกของชาวตะวันตก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนานหรือเป็นมหรสพอย่างหนึ่งของผู้คนในสมัยนั้น เช่นเดียวกับเสือสู้กับช้าง โดยผู้ที่เลี้ยงแรดเรียกกันว่า ควาญ เช่นเดียวกับช้าง การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดถึงขั้นตัวที่แพ้เป็นฝ่ายหงายท้องล้มตึง เชื่อกันว่าแรดที่ใช้ชนกันนั้นคือ กระซู่ และหนึ่งในนั้นเชื่อกันว่าเป็นกระซู่ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วย [61]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#16", "text": "ในประเทศไทยเองก็มีรายงานถึงการพบกระซู่ในหลาย ๆ แห่งได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร[29] แต่ในปัจจุบันคาดว่ายังมีกระซู่หลงเหลืออยู่แค่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาบริเวณป่าฮาลาบาลา[29][28]แต่ก็ไม่มีการพบเห็นมานานแล้วทำให้กระซู่จัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (EW) แล้วในประเทศไทย[32]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#23", "text": "อาหารของกระซู่มีใยอาหารสูงและมีโปรตีนพอสมควร[38] ดินโป่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของกระซู่ โป่งอาจเป็นบริเวณเล็ก ๆ ที่มีน้ำเกลือหรือโคลนภูเขาไฟไหลซึมออกมา ดินโป่งยังมีความสำคัญของวัตถุประสงค์ทางสังคมสำหรับกระซู่เพศผู้จะมาที่โป่งและจับกลิ่นกระซู่เพศเมียที่เป็นสัด อย่างไรก็ตาม กระซู่บางตัวนั้นอาศัยอยู่ในที่ ๆ ไม่มีโป่งหรืออาจเป็นเพราะกระซู่ตัวนั้นไม่สนใจจะใช้ดินโป่งก็เป็นได้ กระซู่อาจได้แร่ธาตุสำคัญที่ต้องการจากการกินพืชที่มีแร่ธาตุนั้นแทน[36][37]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#30", "text": "ถึงแม้ว่าการขยายพันธุ์กระซู่ในกรงเลี้ยงจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์กรได้เริ่มโปรแกรมขยายพันธุ์กระซู่อีกครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2527-2539 โปรแกรมการอนุรักษ์ ex situ ได้จับกระซู่จำนวน 40 ตัวจากถิ่นอาศัยและส่งไปตามสวนสัตว์และเขตสงวนทั่วโลก ขณะที่ความหวังในตอนเริ่มโปรแกรมมีสูงมาก และได้มีการศึกษาถึงพฤติกรรมกระซู่ในกรงเลี้ยงมากมาย แต่เมื่อถึงตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ไม่มีกระซู่ในโปรแกรมให้กำเนิดลูกแม้แต่ตัวเดียว ในปี พ.ศ. 2540 กลุ่มเชี่ยวชาญพิเศษในแรดเอเชียของ IUCN ได้เข้ามารับรอง ประกาศถึงความล้มเหลวว่า แม้อัตราการตายเป็นที่ยอมรับได้ แต่ไม่มีลูกกระซู่เกิดขึ้นมาเลย และมีกระซู่ตายถึง 20 ตัว[9][30] ในปี พ.ศ. 2547 มีการระบาดของโรคพยาธิในเลือดทำให้กระซู่ในศูนย์อนุรักษ์ที่อยู่ในมาเลเซียตะวันตกตายทั้งหมด ทำให้จำนวนกระซู่ในกรงเลี้ยงลดลงเหลือ 8 ตัว[35][47]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#27", "text": "ในช่วงเป็นสัด เมื่อเพศเมียผสมพันธุ์กับเพศผู้แล้ว ประมาณ 24 ชั่วโมงเพศผู้จะเข้าผสมอีกในช่วง 21-25 วัน กระซู่ในสวนสัตว์ซินซินนาติใช้เวลาในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งนาน 30-50 นาที ซึ่งนานพอ ๆ กับแรดชนิดอื่น การสังเกตกระซู่ที่ศูนย์อนุรักษ์กระซู่ในประเทศมาเลเซียทำให้เราสามารถสรุปวงจรการผสมพันธุ์ได้ จากการสังเกตในสวนสัตว์ซินซินนาติ กระซู่มีช่วงการเป็นสัดนานคล้ายกับแรดชนิดอื่น ๆ ช่วงเวลานั้นอาจขึ้นกับพฤติกรรมทางธรรมชาติ[40] ถึงแม้ว่านักวิจัยจะเข้าใจในภาวะตั้งครรภ์ แต่ก็ล้มเหลวเสียทุกครั้งจากหลาย ๆสาเหตุ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 กระซู่ในกรงเลี้ยงจึงสามารถให้กำเนิดลูกได้ จากการศึกษาความล้มเหลวที่สวนสัตว์ซินซินนาติพบว่าการตกไข่ของกระซู่นั้นทำได้โดยการผสมและกระซู่มีระดับโปรเจสเตอโรน (progesterone) ที่แปรปรวน[43] ความสำเร็จในปี พ.ศ. 2544 นั้นเกิดจากบำรุงกระซู่ที่ท้องด้วยโปรกัสติน (progestin) [44]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#25", "text": "กระซู่เพศเมียจะโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6-7 ปี ขณะที่เพศผู้จะโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 10 ปี กระซู่ตั้งท้องประมาณ 15-16 เดือน โดยทั่วไปกระซู่มีน้ำหนักแรกเกิด 40-60 กก. มีขนแน่นและสีขนออกแดง[5] หย่านมเมื่ออายุ 15 เดือนและอาศัยอยู่กับแม่ 2-3 ปีแรก ในธรรมชาติกระซู่มีระยะตั้งท้องแต่ละครั้งห่างกัน 4-5 ปี พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกนั้นยังไม่มีการศึกษา[13]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#10", "text": "กระซู่มีลักษณะที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษสมัยไมโอซีนน้อยที่สุดในบรรดาแรดด้วยกัน[9] ในการศึกษาหลักฐานทางบรรพชีวินวิทยาในอายุซากดึกดำบรรพ์สกุล Dicerorhinus อยู่ในตอนต้นยุคไมโอซีนหรือประมาณ 23–16 ล้านปีมาแล้ว ข้อมูลทางโมเลกุลแสดงว่า Dicerorhinus แยกจากสปีชีส์อื่นย้อนไปไกลถึง 25.9 ± 1.9 ล้านปี มีสมมุติฐานสามข้อที่ความสัมพันธ์ระหว่างกระซู่กับแรดชนิดอื่น ข้อหนึ่งกระซู่เป็นญาติใกล้ชิดกับแรดขาวและแรดดำหลักฐานก็คือแรดทั้งสองชนิดมีสองนอ[20] กลุ่มที่สอง นักอนุกรมอื่น ๆ คิดว่ากระซู่มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนิดที่เป็นพี่น้องคือแรดชวาเพราะการกระจายพันธุ์ซ้อนทับกันมาก[20][23] กลุ่มสุดท้ายที่เพิ่งมีการวิเคราะห์เมื่อเร็ว ๆ นี้เสนอว่าแรดแอฟริกาสองชนิด แรดเอเชียสองชนิด และกระซู่ แสดงให้เห็นถึงเชื้อสายที่แยกเป็นสามสายเมื่อประมาณ 25.9 ล้านปีมาแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงไม่ชัดเจนเหมือนดังที่แยกไว้ในตอนแรก[20][24]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#21", "text": "กระซู่มีด่านสองประเภทในอาณาเขต ด่านหลักใช้ท่องเที่ยวระหว่างบริเวณสำคัญในอาณาเขตของกระซู่ เช่น โป่ง หรือระหว่างบริเวณที่แยกออกจากกันโดยภูมิประเทศที่ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย ด่านทางเดินที่กระซู่เดินจะเรียบโล่ง ถ้าหากมีสิ่งกีดขวางกระซู่จะดันสิ่งกีดขวางให้พ้นทาง[29] ในพื้นที่หากินกระซู่จะสร้างด่านที่เล็กกว่าซึ่งยังปกคลุมด้วยพุ่มไม้ไปยังบริเวณที่มีอาหารสำหรับกระซู่ นอกจากนี้ยังพบด่านกระซู่ที่ข้ามแม่น้ำกว้างประมาณ 50 ม.ลึกมากกว่า 1.5ม. กระซู่เป็นนักว่ายน้ำที่เก่งสามารถว่ายข้ามแม่น้ำที่ไหลแรงได้[26][27] เคยมีผู้พบเห็นกระซู่ว่ายน้ำในทะเลด้วย[5] กระซู่จะไม่แช่ปลักที่ใกล้กับแม่น้ำอาจเป็นเพราะมันลงแช่น้ำในแม่น้ำแทนที่จะแช่ปลัก[36]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#28", "text": "กระซู่มีการกระจายพันธุ์เกือบตลอดทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันกลับเหลือกระซู่อยู่เพียง 300 ตัวเท่านั้น ถึงแม้ว่ากระซู่นั้นจะไม่หายากเท่าแรดชวา ประชากรของมันก็อยู่กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ไม่เหมือนกับประชากรของแรดชวาที่อาศัยอยู่ร่วมกันในคาบสมุทรอูจุงกูลอนในชวา ขณะที่จำนวนแรดชวาในอูจุงกูลอนเกือบจะคงที่ เชื่อกันว่าจำนวนกระซู่กลับกำลังลดลง IUCN มีการจัดสถานะการอนุรักษ์ของกระซู่เป็นถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติเพราะจากการล่าอย่างผิดกฎหมายและมีการกระจายพันธุ์ในถิ่นอาศัยที่เป็นป่าดิบชื้นซึ่งถิ่นอาศัยที่เหลืออยู่เป็นพื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาที่ยากจะเข้าถึงในประเทศอินโดนีเซีย[46][47] นอกจากนี้แล้ว ไซเตสได้จัดกระซู่อยู่ในบัญชีอนุรักษ์หมายเลข 1 และกระซู่เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#4", "text": "ชื่อ Dicerorhinus sumatrensis มาจากคำในภาษากรีก di (δι แปลว่า \"สอง\") cero (κέρας แปลว่า \"เขา หรือ นอ\") และ rhinos (ρινος แปลว่า \"จมูก\") [12] Sumatrensis มาจากสุมาตรา เกาะในประเทศอินโดนีเซียเป็นที่พบกระซู่เป็นครั้งแรก[13] เริ่มแรกคาโรลัส ลินเนียสจำแนกแรดทั้งหมดอยู่ในสกุล Rhinoceros ดังนั้นกระซู่จึงจำแนกเป็น Rhinoceros sumatrensis ในปี พ.ศ. 2371 โจส์ฮัว บรูกส์ (Joshua Brookes) พิจารณาว่ากระซู่มีสองนอควรมีสกุลที่ต่างจากสกุล Rhinoceros ซึ่งเป็นแรดนอเดียว เขาจึงตั้งชื่อสกุลใหม่ว่า Didermocerus ในปี พ.ศ. 2384 คอนสทันทิน วิลเฮอล์ม ลัมเบอร์ท กลอเกอร์ (Constantin Wilhelm Lambert Gloger) ได้เสนอชื่อเป็น Dicerorhinus ในปี พ.ศ. 2411 จอห์น เอ็ดวาร์ด เกรย์ (John Edward Gray) เสนอชื่อเป็น Ceratorhinus โดยปกติแล้วจะนำชื่อเก่าสุดมาใช้ แต่เพราะกฎเกณฑ์ที่กำหนดในปี พ.ศ. 2520 โดยคณะกรรมการระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์สากล ชื่อสกุลของกระซู่จึงเป็น Dicerorhinus[3][14]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#32", "text": "ทั้งที่การเพาะพันธุ์กระซู่ที่สวนสัตว์ซินซินนาติประสบผลสำเร็จ โปรแกรมการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงก็ยังคงเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ ผู้เห็นด้วยให้เหตุผลว่าสวนสัตว์ได้ช่วยเหลือถึงความพยายามที่จะอนุรักษ์ด้วยการศึกษาพฤติกรรมการสืบพันธุ์ เพิ่มความตระหนักและการศึกษาในกระซู่ให้แก่สาธารณชน และช่วยเพิ่มแหล่งกองทุนสำหรับความพยายามที่จะอนุรักษ์กระซู่ในสุมาตรา ผู้คัดค้านกลับแย้งว่า มีการสูญเสียมากเกินไป โปรแกรมแพงเกินไป มีการเคลื่อนย้ายกระซู่จากถิ่นอาศัย แม้เพียงชั่วคราว มีการปรับเปลี่ยนบทบาททางนิเวศวิทยา และประชากรที่จับมาเข้าโปรแกรมไม่สมดุลกับอัตราการพบกระซู่ในถิ่นอาศัยทางธรรมชาติที่ได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี[9][42]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#22", "text": "กระซู่ออกหากินในช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกและในตอนเช้า กระซู่เป็นสัตว์เล็มกิน โดยกินอาหารประเภท ไม้หนุ่ม ใบ ผล กิ่ง หน่อ[26] และผลไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน[28] ปกติกระซู่จะกินอาหารมากถึง 50กก.ต่อวัน[13] จากมูลสัตว์ตัวอย่าง นักวิจัยพบอาหารมากกว่า 100 สปีชีส์ที่กระซู่กินเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไม้หนุ่มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-6 ซม. กระซู่จะดันไม้หนุ่มด้วยลำตัว เดินไปเหนือไม้หนุ่มโดยไม่เหยียบทับ และลงมือกินใบ พืชหลากหลายชนิดที่กระซู่กินเข้าไปเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ของอาหารทั้งหมดซึ่งแสดงว่ากระซู่จะเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการกินต่างกันไปตามแต่บริเวณพื้นที่[36] พืชส่วนใหญ่ที่กระซู่กินจะเป็นสปีชีส์ในวงศ์เปล้า วงศ์เข็ม และ วงศ์โคลงเคลง โดยทั่วไปแล้วกระซู่จะกินพืชสกุลหว้า[37]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#26", "text": "การศึกษาการสืบพันธุ์ของกระซู่เกิดขึ้นในกรงเลี้ยง เมื่อกระซู่อยู่ในช่วงจับคู่จะเริ่มมีพฤติกรรมเปล่งเสียงร้องมากขึ้น ชูหางขึ้น ถ่ายปัสสาวะ มีการสัมผัสทางร่างกายมากขึ้นโดยทั้งเพศผู้และเมียจะใช้จมูกชนสัมผัสฝ่ายตรงข้ามบริเวณศีรษะและอวัยวะเพศ รูปแบบการขอความรักนี้จะคล้ายกับแรดดำ กระซู่หนุ่มเพศผู้มักก้าวร้าวกับเพศเมีย บางครั้งอาจเกิดการบาดเจ็บหรือตายได้ในระหว่างการจับคู่ ในธรรมชาติกระซู่เพศเมียสามารถวิ่งหนีจากเพศผู้ที่ก้าวร้าวได้ในกรณีแบบนี้ แต่ในกรงเลี้ยงมันไม่สามารถทำได้ การที่เพศเมียไม่สามารถวิ่งหนีได้นี้เองอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราความสำเร็จในการขยายพันธุ์กระซู่ในกรงเลี้ยงต่ำ[40][41][42]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#31", "text": "มีกระซู่ 7 ตัวที่ถูกส่งไปสหรัฐอเมริกา (ที่เหลืออยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) แต่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2540 จำนวนกระซู่ก็เหลือเพียงแค่ 3 ตัวคือ เพศเมียที่สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส เพศผู้ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ และเพศเมียที่สวนสัตว์บร็องซ์ ท้ายที่สุดก็ได้ย้ายกระซู่ทั้งสามมาอยู่ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ หลังความพยายามที่ล้มเหลวเป็นปี เพศเมียจากลอสแอนเจลิส เอมี (Emi) ก็ตั้งท้องถึงหกครั้งกับเพศผู้ อีปุห์ (Ipuh) ห้าครั้งแรกจบลงด้วยความล้มเหลว แต่นักวิจัยได้เรียนรู้จากความล้มเหลวนั้น และด้วยการช่วยเหลือด้วยการบำบัดด้วยฮอร์โมนพิเศษ เอมีจึงให้กำเนิดลูกเพศผู้ที่ชื่อ อันดาลัส (Andalas) (คำในวรรณคดีอินโดนีเซียที่ใช้เรียก \"สุมาตรา\") ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2544[50] การให้กำเนิดอันดาลัสนับเป็นความสำเร็จครั้งแรกใน 112 ปี ที่กระซู่สามารถให้กำเนิดลูกในกรงเลี้ยงได้ ลูกกระซู่เพศเมีย ชื่อ ซูจี (Suci) (มาจากภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า \"บริสุทธิ์\") ก็ถือกำเนิดเป็นตัวถัดมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[51] ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2550 เอมีได้ให้กำเนิดลูกเป็นครั้งที่สาม เป็นเพศผู้ตัวที่สอง ชื่อ ฮาราปัน (Harapan) (มาจากภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า \"ความหวัง\") หรือ แฮร์รี่[44][52] ในปี พ.ศ. 2550 อันดาลัสก็ได้ย้ายจากสวนสัตว์ลอสแอนเจลิสกลับสู่สุมาตราเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมขยายพันธุ์กระซู่กับเพศเมียที่มีสุขภาพดี[42][53] เอมีได้ตายลงเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2552 [54] Harapan กระซู่ตัวสุดท้ายในสวนสัตว์ Cincinnati ได้กลับสู่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2558 เพื่อเข้าสู่โปรแกรมการขยายพันธุ์ ปัจจุบันกระซู่ในที่เลี้ยงทั้งหมดอยู่ในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย[55]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#18", "text": "กระซู่เป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงลำพังตัวเดียวยกเว้นช่วงเวลาจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน ตัวผู้จะมีอาณาเขตประมาณ 50กม2. ขณะที่ตัวเมียมีอาณาเขตประมาณ 10–15กม2.[13] อาณาเขตของตัวเมียจะแยกจากกัน ขณะที่ตัวผู้บ่อยครั้งจะมีอาณาเขตเหลื่อมซ้อนกัน ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ากระซู่มีการต่อสู้เพื่อปกป้องอาณาเขต เมื่อต่อสู้หรือป้องกันตัว กระซู่จะไม่ใช้นอพุ่งชนเหมือนแรดชนิดอื่น ๆ แต่จะใช้ริมฝีปากซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมงับแทน[28] ทำให้คาดกันว่ากระซู่มีนอเพื่อใช้ดันสิ่งกีดขวางเสียมากกว่า[29] การบอกอาณาเขตกระทำโดยการขูดผิวดินด้วยเท้า การงอไม้หนุ่มด้วยรูปแบบที่แตกต่าง และการถ่ายมูล ละอองเยี่ยว[5] กระซู่ออกหาอาหารเมื่อรุ่งเช้าและหลังเวลาเย็นก่อนค่ำ ระหว่างวันกระซู่จะนอนเกลือกกลิ้งในปลักโคลนเพื่อผ่อนคลายและพักผ่อน ในฤดูฝนกระซู่จะย้ายถิ่นสู่พื้นที่สูง ในฤดูหนาวก็จะย้ายกลับมาที่พื้นราบ[13]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#8", "text": "D.s. lasiotis หรือ แรดสุมาตราเหนือ เป็นสปีชีส์ย่อยเดียวที่มีการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและประเทศบังกลาเทศ แต่ได้ประกาศว่ามีการสูญพันธุ์จากประเทศเหล่านั้นไปแล้ว มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ามีประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ที่ยังเหลือรอดในประเทศพม่าและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศก็ไม่อำนวยให้ทำการพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้[19] ชื่อ lasiotis มาจากภาษากรีกเพื่อแสดงถึงลักษณะ\"หูเต็มไปด้วยขน\" จากการศึกษาในภายหลังพบว่าขนที่หูไม่ได้ยาวไปกว่ากระซู่สปีชีส์ย่อยอื่นเลย แต่ D.s. lasiotis ยังคงเป็นสปีชีส์ย่อยอยู่ก็เพราะมีขนาดใหญ่กว่าสปีชีส์ย่อยอื่น[3]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#19", "text": "กระซู่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันหมดไปกับการแช่ปลักโคลน เมื่อมันหาปลักโคลนไม่ได้กระซู่จะขุดดินเลนด้วยขาและนอเพื่อสร้างปลัก การแช่ปลักโคลนนี้จะช่วยกระซู่รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังของมันจากปรสิตภายนอกและแมลงอื่น ๆ จากกระซู่ตัวอย่างที่จับได้ เมื่อกระซู่ไม่ได้นอนแช่ปลักอย่างเพียงพอ ผิวหนังของมันจะแตกและอักเสบอย่างรวดเร็ว แผลเป็นหนอง ตามีปัญหา เล็บอักเสบ ขนร่วง และตายในที่สุด จากการศึกษาพฤติกรรมการนอนแช่ปลักโคลนเป็นเวลา 20 เดือนของกระซู่พบว่ากระซู่จะไปที่ปลักโคลนไม่เกิน 3 ปลักในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา หลังจาก 2–12 สัปดาห์ที่ใช้ปลักเดิม กระซู่ก็จะละทิ้งปลักนั้นไป โดยปกติกระซู่จะไปแช่ปลักราว ๆ เที่ยงวัน แช่อยู่ราว ๆ 2–3 ชั่วโมงก่อนออกไปหาอาหาร ถึงแม้ว่าจากการสังเกตกระซู่ในสวนสัตว์จะนอนแช่ปลักน้อยกว่า 45 นาทีต่อวัน แต่จากการศึกษากระซู่ในธรรมชาติจะนอนแช่ปลัก 80–300 นาที (เฉลี่ยที่ 166 นาที) ต่อวัน[34]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#3", "text": "ตามที่มีการบันทึกในเอกสาร ในปี พ.ศ. 2336 มีการยิงกระซู่ได้ที่บริเวณห่างจากฟอร์ต มาร์ลโบราวก์ (Fort Marlborough) 16 กิโลเมตร ใกล้กับชายฝั่งด้านตะวันตกของสุมาตรา โจเซฟ แบงส์ (Joseph Banks) นักธรรมชาติวิทยาซึ่งขณะนั้นเป็นนายกของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอนได้รับภาพวาดและรายละเอียดของกระซู่ และได้ตีพิมพ์เอกสารบนพื้นฐานของตัวอย่างในปีนั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2357 กระซู่จึงได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดย โยฮันน์ ฟิสเคอร์ ฟอน วัล์ดไฮม (Johann Fischer von Waldheim) ชาวเยอรมัน นักวิทยาศาสตร์และภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ดาร์วินสเตตแห่งมอสโก ประเทศรัสเซีย[10][11]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#2", "text": "กระซู่เป็นสัตว์สันโดษมักอยู่เพียงลำพังตัวเดียวยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน กระซู่เป็นแรดที่เปล่งเสียงร้องมากที่สุดการสื่อสารของกระซู่ยังรวมถึงการทำร่องรอยด้วยเท้า บิดงอไม้หนุ่มเป็นรูปแบบต่าง ๆ และการถ่ายมูลและละอองเยี่ยว มีการศึกษาในกระซู่มากกว่าแรดชวาซึ่งเป็นสัตว์สันโดษเหมือนกัน เพราะโปรแกรมที่นำกระซู่ 40 ตัวมาสู่กรงเลี้ยงที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์สปีชีส์นี้ไว้ ในตอนแรกโปรแกรมนี้ถือว่าประสบความล้มเหลว มีกระซู่ตายจำนวนมากและไม่มีการให้กำเนิดลูกกระซู่เลยเกือบ 20 ปี การสูญเสียกระซู่ในโปรแกรมมากกว่าการสูญเสียกระซู่ในป่าเสียอีก", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#17", "text": "การวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ในประชากรของกระซู่สามารถระบุเชื้อสายทางพันธุกรรมที่ต่างกันได้สามสาย[11] ช่องแคบระหว่างสุมาตราและมาเลเซียไม่เป็นอุปสรรคต่อกระซู่เหมือนกับภูเขาบารีซัน (Barisan) ดังนั้นกระซู่ในสุมาตราตะวันออกและมาเลเซียตะวันตกจึงมีความใกล้ชิดกันมากกว่ากระซู่ในอีกด้านของภูเขาในสุมาตราตะวันตก กระซู่ในสุมาตราตะวันออกและมาเลเซียแสดงความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งหมายถึงประชากรไม่ได้แยกจากกันในสมัยไพลสโตซีน อย่างไรก็ตามประชากรกระซู่ทั้งในสุมาตราและมาเลเซียที่มีความใกล้เคียงกันในทางพันธุกรรมมากจนสามารถผสมพันธุ์กันได้อย่างไม่เป็นปัญหา กระซู่ในบอร์เนียวนั้นต่างออกไปเป็นพิเศษว่าเพื่อการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมควรจะฝืนผสมข้ามกับเชื้อสายประชากรอื่น[11] เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการศึกษาการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมโดยศึกษาความหลากหลายของจีนพูล (gene pool) ในประชากรโดยการระบุบไมโครแซททัลไลท์ โลไซ (microsatellite loci) ผลทดสอบในเบื้องต้นพบว่าเมื่อเปรียบเทียบระดับของความหลากหลายในประชากร กระซู่นั้นมีความหลากหลายน้อยกว่าแรดแอฟริกาที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกระซู่ยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป[33]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#35", "text": "ได้มีการรวบรวมนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับกระซู่โดยนักธรรมชาติวิทยาในสมัยล่าอาณานิคมและนายพรานตอนกลางของคริสต์ทศวรรษ 1800 ถึงตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 ในพม่ามีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่ากระซู่กันไฟ ตำนานได้ระบุบว่ากระซู่จะตามควันมาถึงกองไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคมป์ไฟ และจะโจมตีแคมป์ และมีชาวพม่าที่เชื่อว่าเวลาในการล่ากระซู่ที่ดีที่สุดคือเดือนกรกฎาคมเพราะกระซู่จะมาชุมนุมกันใต้ดวงจันทร์เต็มดวง ในมาลายามีคำบอกเล่าว่านอกระซู่กลวงเป็นโพรง สามารถใช้เป็นท่อสำหรับหายใจและฉีดน้ำ ในมาลายาและเกาะสุมาตรามีความเชื่อว่าแรดผลัดนอทุกปีและฝังมันไว้ใต้พื้นดิน ในเกาะบอร์เนียว มีคำบอกเล่าว่ากระซู่มีพฤติกรรมการกินเนื้อที่แปลก หลังจากขับถ่ายในลำธารแล้ว มันก็หันกินปลาที่มึนงงจากมูลของมัน[27]", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#15", "text": "กระซู่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็นวงกว้างมากกว่าแรดเอเชียชนิดอื่น ทำให้ยากต่อการอนุรักษ์สปีชีส์นี้ให้ได้ผล[30] มีเพียงหกแห่งเท่านั้นที่มีกระซู่อยู่กันเป็นสังคมคือ อุทยานแห่งชาติบุกิต บาริสซัน ซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) อุทยานแห่งชาติกุนนุง ลอุสเซร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติกรินจี เซอบลัต (Kerinci Seblat) และ อุทยานแห่งชาติวาย์ กัมบัส (Way Kambas) บนเกาะสุมาตรา อุทยานแห่งชาติทามันเนการาในมาเลเซียตะวันตก และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาบิน (Tabin) ในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว[9][31]", "title": "กระซู่" } ]
2852
การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์วันที่ 7-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิตหรือไม่ ?
[ { "docid": "323601#0", "text": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 7-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม ทั้งสิ้น 59 ศพ ในบรรดาผู้เสียชีวิตมีชาวต่างประเทศรวมอยู่สองศพและเจ้าหน้าที่กู้ชีพอีกสองศพ ได้รับบาดเจ็บ 480 คน และจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน กลุ่มผู้ชุมนุมยังสูญหายอีกกว่า 51 คน หลังแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง เซ็นทรัลเวิลด์ สื่อต่างประเทศบางแห่ง ขนานนามการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า \"สมรภูมิกรุงเทพมหานคร\" สื่อไทยบางแห่ง ขนานนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า \"พฤษภาอำมหิต\"", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" } ]
[ { "docid": "323601#9", "text": "เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ เปิดเผยว่าตัวเลขเมื่อเวลา 22.00 น. มีผู้เสียชีวิต 7 ศพ และได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 101 คน ส่วนมากถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ ปาก และช่วงท้อง ต่อมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีผู้บาดเจ็บ 125 คน และเสียชีวิต 10 ศพ ส่วนตามข้อมูลของเดอะเทเลกราฟนั้น ได้รายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิตอย่างน้อย 16 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 157 คน", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#1", "text": "พื้นที่แยกราชประสงค์ถูกล้อมด้วยรถหุ้มเกราะและพลแม่นปืนเป็นเวลาหลายวัน ก่อนหน้าวันที่ 13 พฤษภาคม เย็นวันที่ 13 พฤษภาคม พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ผู้สนับสนุนการรักษาความปลอดภัยแก่กลุ่มผู้ชุมนุม ถูกพลแม่นปืนยิงที่ศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวต่างประเทศ รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มอีก 17 จังหวัดทั่วประเทศ ฝ่ายกองทัพอ้างว่าพลเรือนที่ถูกฆ่าทั้งหมดเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายหรือไม่ก็เป็นผู้ก่อการร้ายติดอาวุธ และเน้นว่าบางคนถูกฆ่าโดยผู้ก่อการร้ายที่แต่งกายในชุดทหาร ทางกองทัพได้ประกาศ \"เขตยิงกระสุนจริง\" และศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินก็ห้ามเจ้าหน้าที่แพทย์มิให้เข้าไปในเขตดังกล่าว วันที่ 16 พฤษภาคม แกนนำ นปช. กล่าวว่า พวกตนพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทันที่ที่ทหารถูกถอนกลับไป แต่รัฐบาลเกรงว่าการถอนทหารจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำคนเติมเข้าไปในที่ชุมนุม จึงได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ รถหุ้มเกราะนำการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้ายในตอนเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ศพ มีรายงานว่าทหารได้ยิงเจ้าหน้าที่แพทย์ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ถูกยิง แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมอบตัวกับตำรวจและประกาศสลายการชุมนุม ในวันเดียวกัน ได้เกิดเหตุการเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รัฐบาลจึงประกาศห้ามออกนอกเคหสถาน และทหารได้รับคำสั่งให้ยิงทุกคนที่ก่อความไม่สงบ", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#50", "text": "กรณีที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่างๆ\nกสม.สรุปว่า นปช.ชุมนุมไม่สงบและมีอาวุธปืน มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มม็อบ ส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ\nส่วนมาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบตั้งแต่วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ตามประกาศของ ศอฉ.นั้น กสม.เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#4", "text": "เกิดเหตุระเบิดบริเวณหน้าสวนลุมพินี รพ.จุฬาลงกรณ์ และ จ.ส.ต.วิทยา พรหมสำลี สังกัดสถานีตำรวจภูธรหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่ชุดควบคุมฝูงชน ขณะปฏิบัติหน้าที่บริเวณหน้าอาคารอื้อจือเหลียง ย่านสีลม เมื่อคืนวันที่ 8 พฤษภาคม 2553 \nพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ถูกกระสุนปืนความเร็วสูงยิงเข้าที่กะโหลกศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่\"เดอะนิวยอร์กไทมส์\" ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหน้าที่นำตัวส่งโรงพยาบาลหัวเฉียว หลังจาก พล.ต.ขัตติยะ ถูกยิง ก็มีเสียงปืนยิงต่อสู้ และเสียงระเบิดเกิดขึ้น ภายในพื้นที่ปิดล้อมของกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย นอกจากนี้ ยังมีการตัดไฟฟ้า บริเวณสวนลุมพินี และแยกศาลาแดง", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#17", "text": "เมื่อเวลา 08.30 น. ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร หรือ ศูนย์เอราวัณ เปิดเผยจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะกัน ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม ว่า ขณะนี้มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว จำนวน 252 ราย เสียชีวิต 35 ศพ รวมถึงพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ก็เสียชีวิตลงที่วชิรพยาบาล ส่วนผู้บาดเจ็บเป็นชาวต่างชาติ มีจำนวน 6 ราย ประกอบด้วย ชาวแคนาดา ชาวโปแลนด์ ชาวพม่า ชาวไลบีเรีย ชาวอิตาลี และนิวซีแลนด์ ประเทศละ 1 ราย", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#51", "text": "กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนารามระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม\nกสม.อ้างว่าการรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพ และผู้เสียชีวิตบางรายได้ความว่าเป็นการเสียชีวิตนอกวัดบางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัด\nกรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#19", "text": "การปะทะกันอย่างประปรายดำเนินต่อไปในวันที่ 18 พฤษภาคม แต่การปะทะกันเหล่านี้มีความรุนแรงน้อยกว่าการเผชิญหน้าครั้งก่อน ๆ มาก จำนวนผู้มีเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 39 ศพ ขณะที่การปะทะกันยังดำเนินต่อ เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเจ้าหน้าที่ทหารจะสลายการชุมนุม เนื่องจากกำลังพลและรถหุ้มเกราะมารวมตัวอยู่โดยรอบบริเวณที่ชุมนุม และกระตุ้นให้ประชาชนและกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งประกาศว่ากำลังจะดำเนินปฏิบัติการทางทหารในอีกไม่ช้า หลังจากนั้นไม่นาน ทหารพร้อมด้วยรถหุ้มเกราะบุกเข้าไปผ่านสิ่งกีดขวางหลักของกลุ่มผู้ชุมนุม คนเสื้อแดงถูกยิงสองรายในช่วงแรกของปฏิบัติการ ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงอื่น ๆ จุดน้ำมันก๊าดใส่สิ่งกีดขวางเพื่อขัดขวางการรุกคืบของเจ้าหน้าที่และปิดบังทัศนียภาพ", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#42", "text": "กรณีการเสียชีวิตของประชาชน 6 คนในเขต “อภัยทาน” ของวัดปทุมวนารามในช่วงบ่ายวันที่ 19 พ.ค. ซึ่งผู้เสียชีวิต 2 คนเป็นพยาบาลอาสา และ 1 คนเป็นอาสากู้ชีพ ซึ่งมีการอ้างจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ศอฉ. และกองทัพ ว่ามีชายชุดดำซุ่มโจมตีทหารอยู่ในภายในวัด พบอาวุธและกระสุนมากมายในวัด อย่างไรก็ตาม ผลการไต่สวนการตายเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ศาลจึงได้วินิจฉัยว่า คดีเกี่ยวกับชายชุดดำยังคงอยู่ในระหว่างขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรม โดยทนายของจำเลยคดีชายชุดดำที่ก่อเหตุบริเวณสี่แยกคอกวัวได้ระบุว่าจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ทหารซ้อมทรมานและข่มขู่", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "323601#3", "text": "เกิดเหตุการณ์ยิงและระเบิดเกิดขึ้นบริเวณสี่แยกถนนพระรามที่ 4 แยกศาลาแดง ส่งผลให้ ส.ต.อ.กาณนุพัฒน์ เลิศจันทร์เพ็ญ เสียชีวิตจากอาวุธปืน ผบ.หมู่ จร.สน.ทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานคร เสียชีวิตจากเหตุการณ์คนร้ายยิงเอ็ม 16 เข้าใส่ที่หน้า ธ.กรุงไทยถนนสีลม เมื่อกลางดึกของวันที่ 7 พฤษภาคม 2553", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" } ]
2842
สมเด็จพระสังฆราช คือใคร ?
[ { "docid": "56333#1", "text": "พระสังฆราชของประเทศไทยเรียกว่า สมเด็จพระสังฆราช และมีตำแหน่งเป็นสกลมหาสังฆปริณายก เพราะทรงเป็นประมุขปกครองบัญชาการคณะสงฆ์ทุกนิกายในประเทศไทย และมีพระอิสริยยศเสมอด้วยพระองค์เจ้าต่างกรม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบันให้พระมหากษัตริย์ไทยเป็นผู้สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช[3]", "title": "สังฆราช" }, { "docid": "6097#0", "text": "ในประเทศไทย สมเด็จพระสังฆราช คือประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้ทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก[1] ที่มาและอำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505[2]", "title": "สมเด็จพระสังฆราชไทย" } ]
[ { "docid": "6103#2", "text": "เนื่องจากในระยะเวลาที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์กำลังอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงสถิต ณ วัดราชบูรณะตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ทำให้ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นอันเลิกไปตั้งแต่นั้นมา และสมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อครั้งก่อน เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังคงสถิตอยู่ ณ พระอารามนับสืบต่อไป เป็นแบบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน ", "title": "สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค)" }, { "docid": "6105#11", "text": "การที่เลื่อนพระอิสริยยศครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษกในที่สมเด็จพระสังฆราช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์สูงสุด เท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช และมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปอื่นใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นระยะเวลาถึง 23 ปี ", "title": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์" }, { "docid": "91259#3", "text": "ท่านก็ได้กลับมาปฏิสังขรณ์วัดใหญ่สุวรรณาราม นับเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง แล้วก็กลับไปกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือนั้นสมเด็จพระสังฆราชได้ไปช่วยเป็นแม่กองก่อสร้างมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีขึ้นใหม่ ให้มียอดเป็นห้ายอดด้วยของเดิมมีเพียงยอดเดียวทั้งยังทรุดโทรมมาก ดังมีข้อความปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารเป็นใจความว่า\n“ในปีมะเมีย จัตวาสกนั้น ทรงพระกรุณาดำรัสให้ช่างต่ออย่างพระมณฑปพระพุทธบาท ให้มีห้ายอด ให้ย่อเกล็ดบานแถลงแลยอดแทรกด้วย นายช่างต่ออย่างแล้วเอาเข้าทูลถวาย จึงมีพระดำรัสสั่งให้ปรุงเครื่องบนมณฑปตามอย่างนั้นเสร็จ จึงเสร็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราชลมารค สถลมารคขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจัดการยกเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาท\nขณะนั้นสมเด็จพระสังฆราชตามเสด็จขึ้นไปช่วยเป็นแม่กองด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระทัยปราโมทย์ยิ่งนักจึงทรงพระกรุณามอบการทั้งปวงถวายให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่กองแล้วก็เสด็จยังกรุงเทพพระมหานคร”\nสมเด็จพระสังฆราชได้ควบคุบการก่อสร้างฉลองพระเดชพระคุณพระมหาบพิตรสมภารเจ้า จนสามารถยกเครื่องบนพระมณฑปทั้งห้ายอด เสร็จทันเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท แต่การตกแต่งภายใน เช่น ปิดกระจกนั้นยังไม่ทันเสร็จ ดังข้อความในพระราชพงศาวดารมีว่า\n“ฝ่ายนายช่างกระทำการมณฑปพระพุทธบาทยกเครื่องบนแล้ว จึงจับการปูนและการรักต่อไป แลการทอง การกระจกนั้นยังมิได้สำเร็จ”\nเรื่องราวของท่าน ปรากฏว่าได้เล่าสืบต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ทำนองตำนาน พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ได้เขียนไว้ในเรื่องตำนานเมืองเพชร พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยได้ฟังจากท่านผู้แก่ และสมภารจ้อยวัดหนองกะชอง (หนองกาทอง) นับได้ว่าท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดาเป็นท่านแรกที่เขียนประวัติสมเด็จพระสังฆราช (แตงโม) ไว้เป็นหลักฐาน", "title": "สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง)" }, { "docid": "9687#4", "text": "ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีเรื่องเล่าขานกันถึงเปรต สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิตามความเชื่อของพุทธศาสนาและชาวไทย ว่ามีเปรตเคยปรากฏอยู่ที่นี่ โดยเรื่องนี้อาจมีที่มาจากภายในพระวิหารมีภาพวาดบนเสาด้านข้างขององค์พระศรีศากยมุนี เป็นภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรูปหนึ่งเป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่และมีพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้มีโอกาสไปกราบไหว้พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง ต้องไปดูรูปจิตรกรรม \"เปรตวัดสุทัศน์\" ที่ขึ้นชื่อนี้ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า \"\"แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์\"\" \nนอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องเล่ากันจากปากต่อปากว่า ในอดีตที่บริเวณหน้าพระวิหารหลวงนี้ มีผู้พบเห็นเปรตในเวลาค่ำคืนบ่อย ๆ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ขณะที่ยังทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม ยังเคยเปรยกับเปรต ความว่า \"\"อยู่ด้วยกันนะ อย่าให้ชาวบ้านได้เดือดร้อน\"\" จากนั้นเปรตก็ไม่มาปรากฏอีก ", "title": "วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "987560#0", "text": "สมเด็จพระสังฆราช วัดสวรรคเจดีย์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา สถิต ณ วัดสวรรคเจดีย์", "title": "สมเด็จพระสังฆราช วัดสวรรคเจดีย์" }, { "docid": "872562#0", "text": "สมเด็จพระสังฆราชยอดแก้วพุทธชิโนรส () พระนามเดิมว่า บุญทัน บุปผรัตน์ () (พ.ศ. 2434 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2524) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกและพระองค์เดียวในยุค พระราชอาณาจักรลาว", "title": "สมเด็จพระสังฆราชยอดแก้วพุทธชิโนรส" }, { "docid": "6097#6", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนพระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า[3] ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงศ์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น", "title": "สมเด็จพระสังฆราชไทย" }, { "docid": "91259#8", "text": "\"…จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคสถลมารค ขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาทตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจัดการยกเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาทขณะนั้น สมเด็จพระสังฆราช ตามเสด็จขึ้นไปช่วยเป็นแม่งานด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระทัยปราโมทย์ยิ่งนัก จึงทรงพระกรุณามอบการทั้งปวงถวายให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่งาน แล้วก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร…\" ", "title": "สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง)" }, { "docid": "97411#1", "text": "ถ้าไม่มีสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์จะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จนกว่าจะมีสมเด็จพระสังฆราช ถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจทำหน้าที่ได้ กรรมการมหาเถรสมาคมจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน", "title": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" }, { "docid": "91259#0", "text": "สมเด็จพระสังฆราช (แตงโม)\nสมเด็จพระสังฆราช (แตงโม)มีพระนามเดิมว่า ทอง ชาติภูมิ บ้านหนองหว้า ตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี", "title": "สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง)" }, { "docid": "6097#2", "text": "ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[1859,1882,3,3]}'>สกลมหาสังฆปริณายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นพระสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น \"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ\" ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "สมเด็จพระสังฆราชไทย" }, { "docid": "97411#7", "text": "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจึงสิ้นสุดลงในวันรุ่งขึ้น ระหว่างที่ยังไม่มีการตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ได้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557", "title": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" }, { "docid": "97411#0", "text": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช มีสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในระหว่างที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกยังว่างอยู่ หรือในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปฏิบัติศาสนากิจในราชกิจในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ", "title": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" }, { "docid": "116829#4", "text": "การดำรงตำแหน่งผูัปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช\nโดยได้เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2556 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช \nสิ้นพระชนม์ จนถึงปี 2560 หลังจากที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชรวมค่าก่อสร้างภายในวัดเป็นจำนวนเงินประมาณทั้งสิ้น 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน)", "title": "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)" }, { "docid": "93814#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2336 เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) สิ้นพระชนม์ จึงโปรดตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในคราวผนวชสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์", "title": "สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)" }, { "docid": "6117#15", "text": "ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวร และประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช", "title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)" }, { "docid": "850062#1", "text": "สมเด็จพระสังฆราช (ดี) แต่เดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้สืบหาพระสงฆ์มาจัดการพระศาสนา จึงได้มีการอาราธนาพระอาจารย์ดี จากวัดประดู่โรงธรรม (วัดประดู่ทรงธรรม) มาอยู่ที่วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทรารามวรวิหาร) แล้วสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2311 ปรากฎความในพงศาวดารว่า", "title": "สมเด็จพระสังฆราช (ดี)" }, { "docid": "6110#0", "text": "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 สิริพระชนมายุ 86 พรรษา", "title": "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์" }, { "docid": "850062#0", "text": "สมเด็จพระสังฆราช (ดี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์แรกในสมัยกรุงธนบุรี สถิต ณ วัดอมรินทรารามวรวิหาร ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2311 หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2319 ดำรงตำแหน่งอยู่ 8 ปี", "title": "สมเด็จพระสังฆราช (ดี)" }, { "docid": "850062#3", "text": "สมเด็จพระสังฆราช (ดี) สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2319 พระอาจารย์ศรี วัดบางหว้าใหญ่ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแทน", "title": "สมเด็จพระสังฆราช (ดี)" }, { "docid": "6117#13", "text": "เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า \"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ\" บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม \"สมเด็จพระญาณสังวร\" สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ (ในพระนามใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)", "title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)" }, { "docid": "6117#14", "text": "ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ ประเทศจีน และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนปาล พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้ง สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช", "title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)" }, { "docid": "142348#0", "text": "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นตำแหน่งของพระอนุวงศ์ผู้ทรงดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช โดยทรงฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น ซึ่งในปัจจุบันมีเพียง 2 พระองค์", "title": "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า" }, { "docid": "97411#4", "text": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในกรณีข้างต้นนี้ อาจเป็นสมเด็จพระราชาคณะกลุ่มหนึ่งก็ได้ แล้วแต่สมเด็จพระสังฆราช หรือกรรมการมหาเถรสมาคมจะเห็นสมควร คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจะดำเนินกิจกรรมตามวิธีการที่ตนเองกำหนด และอาจมีผู้ช่วยหรือที่ปรึกษาด้วย", "title": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" }, { "docid": "97411#2", "text": "เมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่อยู่ในประเทศ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งรูปใดให้ปฏิบัติหน้าที่แทน", "title": "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" }, { "docid": "78585#21", "text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2352 เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (มี) , สมเด็จพระสังฆราช (สุก) , และสมเด็จพระสังฆราช (สอน)", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "5331#28", "text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต แม่กองงานพระธรรมทูต เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) และนายกสภา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตรักษาการ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะภาค๑-๑๕ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระครูโพธิรัตนาธร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์รัตนารามองค์ปัจจุบัน มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนาญาณ", "title": "จังหวัดราชบุรี" }, { "docid": "81069#25", "text": "หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้มีผู้ปลอมแปลงร่างพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ให้ยกเลิกคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเดิม และตั้งคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชใหม่ โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์เป็นประธาน และสมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นที่ปรึกษา ในวันต่อมา คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใครส่งพระบัญชาปลอมมาให้ดู ส่วนเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชยืนยันว่าตนไม่ทราบว่าผู้ใดทำเอกสารปลอมแต่อย่างใด คณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหารได้ให้ผู้แทนแจ้งความร้องทุกข์แก่พนักงานสอบสวน เพื่อหาผู้กระทำการปลอมพระบัญชา", "title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)" }, { "docid": "81069#17", "text": "ตามที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประชวร และเสด็จประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระศาสนกิจได้สะดวก ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ขอความเห็นจากคณะแพทย์และคณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม) ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เสนอที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2547 ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม มีมติอนุโมทนาสนองข้อเสนอดังกล่าว โดยให้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นการชั่วคราว และโดยที่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ มีอายุถึง 96 ปี (ณ เวลานั้น) อีกทั้งยังอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน จึงเห็นสมควรให้สมเด็จพระราชาคณะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ลำดับถัดไป ได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โดยมีสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะอื่นอีก 5 รูป เป็นผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่ โดยที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีนาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 อย่างไรก็ตาม ในปลายปี พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ได้กล่าวหาว่า ลายมือเขียน “ทราบและเห็นชอบ” ไม่ได้เป็นของสมเด็จพระสังฆราช แต่เป็นของพระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช", "title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)" } ]
2011
อินเดียมีกี่วรรณะ ?
[ { "docid": "68628#1", "text": "พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆ ตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน", "title": "พราหมณ์" }, { "docid": "127256#0", "text": "วรรณะ (สันสกฤต: वर्णः)ในหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู ได้แบ่งคนที่อยู่เป็น 4 วรรณะ มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปตามความสำคัญของแต่ละบุคคล เพื่อแบ่งหน้าที่ทางสังคม เรียงตั้งแต่สูงถึงต่ำคือ", "title": "วรรณะ (ศาสนาฮินดู)" } ]
[ { "docid": "130015#15", "text": "มหากาพย์ทั้งหลาย ได้แก่ รามายณะและมหาภารตะ ถือกำเนิดในช่วงประมาณพุทธกาล ตอนปลายสมัยพระเวท ชาวอารยันในอินเดียอยู่กันเป็นเผ่า เลี่ยงสัตว์เร่ร่อนแต่ต่อมาเริ่มรู้จักเพาะปลูกตั้งรกราก มี การค้าขายทำให้บางเผ่ารวบรวมตั้งตนเป็นอาณาจักรใหญ่ได้ และเริ่มมีระบบวรรณะ ชัดเจน", "title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย" }, { "docid": "661456#0", "text": "อีบูเปอร์ตีวี () หรือโลกมาตา เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของอินโดนีเซีย ในนิทานเรื่อง ตานะฮ์ไอร์ (แผ่นดินและน้ำ) ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชนเผ่าในหมู่เกาะอินโดนีเซียมักจะมีนิทานเกี่ยวกับวิญญาณธรรมชาติและแม่ผู้ให้ชีวิต เทวีศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ หลังการเข้ามาของศาสนาฮินดู เทวีศักดิ์สิทธิ์นั้นได้กลายเป็นพระแม่ปฤถวี เทวีผู้เป็นแม่ในศาสนาฮินดู เทวีแห่งโลก ต่อมาจึงได้ชื่อว่าเปอร์ตีวีในอินโดนีเซีย", "title": "อีบูเปอร์ตีวี" }, { "docid": "2043#20", "text": "เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดพระศาสนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ชาวอินเดียจึงถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด ระบบครอบครัวของอินเดียเป็นระบบครอบครัวร่วม หรือครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน และ เหลน อยู่ร่วมกันภายในครอบครัวเดียว ผู้อาวุโสที่สุดของฝ่ายชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แม้สังคมของอินเดียยังคงมีความนับถือเรื่องวรรณะอยู่ แต่ก็ปรากฏไม่มากเท่าอดีต การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียจะยึดถือศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ กว่าร้อยละ 79.8 ของประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 14.2 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.7 นับถือ ศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ลาดัก หิมาจัล สิกขิม อัสสัม เบงกอลตะวันตก และโอริศา ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาซิกข์ในรัฐปัญจาบ และที่เหลือ ร้อยละ 0.4 ศาสนาเชนในรัฐคุชรัต และอื่น ๆ อีก 0.9 รวมทั้งพวกนักบวชที่นับถือนิกายต่าง ๆ อีกมากมาย มีประมาณ 400 ศาสนาทั่วอินเดีย", "title": "ประเทศอินเดีย" }, { "docid": "707186#2", "text": "ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์ยัชนวัลย์ของอินเดีย ได้มีข้อเสนอแนะที่ได้รับการเขียนขึ้นก่อนศตวรรษที่ 5 ถึงการห้ามตัดต้นไม้และการลงโทษที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำดังกล่าว ส่วนอรรถศาสตราของโกติลยา ซึ่งเขียนในสมัยโมริยะ ได้มีการย้ำถึงความจำเป็นในการบริหารงานป่าไม้ รวมถึงเมื่อครั้งที่พระเจ้าอโศกเสด็จทางไกล ได้มีการสร้างเสาอโศกที่แสดงให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์ของพระองค์ เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ", "title": "ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดีย" }, { "docid": "357926#5", "text": "อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีอาหารจานพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ความแตกต่างอาจจะมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิศาสตร์ว่าอยู่ใกล้กับทะเล ทะเลทราย หรือภูเขา รวมทั้งสถานะทางเศรษฐกิจ อาหารอินเดียนี้ยังขึ้นตามฤดูกาลอีกด้วยสำหรับส่วนผสมที่เป็นของสด", "title": "อาหารอินเดีย" }, { "docid": "49814#15", "text": "เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง \"รามายณะ\" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้น ๆ เช่น หนุมานในรามายณะของอินเดียไม่มีความเจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ของไทย...", "title": "หนุมาน" }, { "docid": "28423#0", "text": "รามายณะ () เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของเอเชีย โดยมีเนื้อหาแตกต่างกันไป และอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปด้วย\nเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระรามกับฝ่ายทศกัณฐ์ (อสูร) โดยพระรามจะมาชิงตัวนางสีดา (มเหสีของพระราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อพระลักษมณ์และหนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายอสูรก็ปราชัย", "title": "รามายณะ" }, { "docid": "163221#1", "text": "อินเดียและจีนโบราณนั้นเป็นตัวแทนของขนบประเพณีอันโดดเด่นของกฎหมาย และยังมีสำนักแห่งทฤษฎีทางกฎหมายและวิธีปฏิบัติทางกฎหมายที่เป็นอิสระอีกด้วย โดยคัมภีร์อรรถศาสตร์ (ตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล) และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่คริสต์ศักราช 100) ได้มีอิทธิพลต่อบทความต่างๆ ในอินเดีย ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นต่างเป็นการแนะแนวทางกฎหมายซึ่งเชื่อถือได้ โดยมีปรัชญาอันเป็นศูนย์กลางแห่งมนู อันได้แก่ ความอดทน (ตบะ) และชนชั้นวรรณะ และปรัขญานี้ก็ได้ถูกกล่าวถึงไปทั่วเอเชียอาคเนย์แต่ขนบธรรมเนียมของฮินดูและกฎหมายอิสลามนั้น ถูกแทนที่ด้วยระบบกฎหมายจารีตประเพณี เมื่ออินเดียได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และฮ่องกง ก็ได้รับเอาระบบกฎหมายจารีตประเพณีไปใช้ด้วยไปใช้ด้วย", "title": "ประวัติศาสตร์กฎหมาย" }, { "docid": "981709#1", "text": "ด้านขบวนการพุทธศาสนิกชนทลิต () ของประเทศอินเดีย ได้ประกาศให้นวยานเป็นนิกายใหม่ ที่มีหลักธรรมต่างออกไปจากหีนยาน, มหายาน และวัชรยาน โดยนิกายนวยานไม่ต้องบำเพ็ญตนหรือรักษาศีล ปฏิเสธสมณเพศ ไม่เชื่อเรื่องกรรม, สังสารวัฏ, วิปัสสนา, นิพพาน และอริยสัจ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานของพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ ถือเป็นการตีความศาสนาพุทธใหม่ แต่จะนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาต่อสู้กับปัญหาเรื่องชนชั้นวรรณะและความเสมอภาคในสังคม", "title": "นวยาน" } ]
1098
หมอบรัดเลย์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน?
[ { "docid": "67643#1", "text": "แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ บิดาเกิดที่เมืองแฮมเดน รัฐคอนเนตทิคัต ก่อนจะย้ายครอบครัวมายังเมืองมาร์เซลลัสเมื่อ พ.ศ. 2288 บิดาของหมอบรัดเลย์เป็นผู้หนึ่งที่เริ่มก่อตั้งเมืองมาร์เซลลัส ส่วนมารดา ยูนิช ตายเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 เมื่ออายุ 38 ปี หลังจากที่คลอดหมอบรัดเลย์ ท่านจึงได้มารดาเลี้ยงคือ แนนซี ดูแลในวัยเด็ก[1]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" } ]
[ { "docid": "258035#1", "text": "เริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 4 ซึ่งประชาชนมีการไปมาหาสู่กัน ชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่เข้ามาที่สยามประเทศในเวลานั้นก็จะไปพักตามศาลาวัด ต่อมาเมื่อคณะทูตซึ่งมี หม่อมราโชไทย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) กลับจากยุโรป ได้นำแนวความคิดของการสร้างโรงแรมมาพัฒนา จนกระทั่งเมื่อหนังสือพิมพ์รายปีของ หมอบรัดเลย์ (D.B.Bradley) หลายฉบับได้กล่าวถึงการเปิดโรงแรมในประเทศ", "title": "โรงแรมในประเทศไทย" }, { "docid": "795790#1", "text": "ข้อมูลอีกแหล่งหนึ่ง ในพงศาวดาร ฉบับที่ 32 ที่จัดทำขึ้นภายหลังสมัยหมอบรัดเลย์ มีข้อมูลว่า สร้างขึ้นครั้งแรกหลังขอพระราชทานที่ดิน ซึ่งเป็นที่นาชั้นดี ริมคลองด้านท้ายเกาะ ในราวปี พ.ศ. 2209 ครั้งแรกทำเป็นเรือนไม้ขึ้นก่อนสองหลัง ก่ออิฐด้านล่าง ยกพื้นสูงเพราะน้ำท่วมเสมอ และอาคารหนึ่งมีสองชั้น หลังคากระเบื้อง อีกอาคารหลังคาดินเผา ที่เหตุใช้หลังคากระเบื้องเพื่อกันไฟ เพราะมีเอกสารการสอน และตำราต่างๆ อาคารทั้งสอง ทำหน้าที่โบสถ์ ในชั้นบน และมีการเรียนการสอน และเป็นที่อยู่อาศัยบาทหลวงส่วนหนึ่ง ", "title": "วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา" }, { "docid": "149036#14", "text": "ในบรรดานักเผยแพร่ศาสนานั้น ผู้เริ่มต้นสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานที่สุดระหว่างคนไทยกับศาสนาคริสต์คือ ศาสนาจารย์แดน บีช บรัดเลย์ (Rev. Dan Beach Bradley, M. D.) หรือ หมอบรัดเลย์ (คนไทยมักเรียกว่า หมอปลัดเล) ซึ่งเป็นมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนในคณะอเมริกันบอร์ด เข้ามากรุงเทพฯ (ขณะนั้นเรียกว่า บางกอก) พร้อมภรรยา เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) ", "title": "ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย" }, { "docid": "67643#25", "text": "หมอบรัดเลย์เข้ามาในสยามในยามที่ชนชั้นนำกำลังปรับปรุงโลกทัศน์ตนเอง โดยเฉพาะหลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายนั้น พร้อมกับการขึ้นมาเป็นหัวหน้าขุนนางของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นขุนนางหัวก้าวหน้ามาตั้งแต่สมัยมิชชันนารีเริ่มเข้าสู่สยาม จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ในปีแรก ได้พูดคุยกับขุนนางผู้ใหญ่หลายคน ทั้งซักถามถึงวิทยาการแผนใหม่เช่นการแพทย์ โดยบันทึกไว้ว่า \"เมื่อคนชั้นปกครองในเมืองไทยมีความกระหายที่จะเรียนรู้ความเจริญแบบยุโรปเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้พวกเราเกิดมีใจมุมานะที่จะอยู่ และปฏิบัติกิจการของเราต่อไปเป็นอันมาก\"[15] หมอบรัดเลย์ยังเป็นผู้ร่างและแปลจดหมายภาษาอังกฤษถวายตลอดจนทรงปรึกษาบรัดเลย์ในบางกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแบบแผนวัฒนธรรมตะวันตก บางครั้งเขาเป็นล่ามในการเจรจาทำสัญญาการค้ากับตะวันตกด้วย[16]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "67643#19", "text": "ก่อนยุคหมอบรัดเลย์ การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยมีขึ้นแล้ว แต่ทำกันในต่างประเทศ ผลงานในยุคแรก ๆ เช่น หนังสือ James Low's Thai Grammar ใช้ตัวพิมพ์ซึ่งจัดทำโดยมิชชันนารีสตรีชาวอเมริกันชื่อ แอน แฮสเซลไทน์ จัดสัน และช่างพิมพ์ที่ชื่อนายฮัฟ การเรียงตัวและจัดพิมพ์ทำขึ้นที่อินเดียและพม่า ในราว พ.ศ. 2370 เมื่อหมอบรัดเลย์ถึงกรุงเทพ ก็ได้นำตัวพิมพ์ชุดนี้เข้ามาใช้ในโรงพิมพ์ของเขา ต่อมาในปี 2382 ได้รับจ้างราชการไทยพิมพ์เอกสาร แผ่นประกาศห้ามสูบฝิ่น เอกสารนี้ใช้ตัวเรียงซึ่งซื้อจากสิงคโปร์ จนมีการหล่อตัวพิมพ์ในประเทศไทยสำเร็จครั้งแรกในปี 2384 ผลงานชิ้นแรก ๆ เช่น ครรภ์ทรักษา", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "67643#14", "text": "ในบันทึกของหมอบรัดเลย์ ยังบันทึกการผ่าตัดรักษาต้อกระจกหลายครั้ง รวมถึงการผ่าตัดต้อเนื้อ เช่น เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1836 มีพระภิกษุรุปหนึ่งจากสุโขทัยเดินทางมา 15 วัน พาพี่ชายที่ตาบอดเพราะการอักเสบมาตรวจ แต่ช้าเกินกว่าจะรักษา หลังจากนั้น 4 ธันวาคม 1836 พระภิกษุรูปเดิมพาพระจากสุโขทัย 5 รูป มาตรวจตา มีรูปหนึ่งอายุ 80 ปี เป็นต้อเนื้อ ก็ได้รับการผ่าตัดลอกต้อออกได้ ยังมีการผ่าตัดต้อกระจกขุนนางผู้ใหญ่ เช่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1844 ได้ผ่าตัดต้อกระจกเจ้าพระยาพลเทพ อายุ 73 ปี ซึ่งอีก 2 เดือนต่อมาได้ให้ใส่แว่นก็เห็นได้ชัดเจนดี[2]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "67643#24", "text": "หมอบรัดเลย์ใช้วิชาการแพทย์แผนตะวันรักษาผู้ป่วยคนไทยเป็นจำนวนมาก จนพวกขุนนางและข้าราชการไทยได้รับบริการจากท่านด้วย กิตติศัพท์นี้เข้าถึงพระกรรณเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชาธิราช พระองค์รับสั่งให้หมอบรัดเลย์เข้าเฝ้า เพื่อถวายการรักษาพระโรคลมอัมพาตที่เกิดแก่พระพักตร์ของพระองค์ ต่อมายังเข้าถวายพระโอสถใช้รักษา ในวันที่ 23 เมษายน 2379 ผลการรักษา ได้ผลดีทำให้อาการของพระโรคทุเลาลงมาก ทำให้หมอบรัดเลย์ได้เข้าใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จนโปรดเป็นพระสหายคนหนึ่งในเวลาต่อมา ดังจะเห็นได้จากการโปรดให้หมอบรัดเลย์ เข้าถวายพระอักษาภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. 2362 เจ้านายที่โปรดหมอบรัดเลย์มากอีกพระองค์คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ส่วนขุนนางที่สนิทสนมกับหมอบรัดเลย์ คือ หลวงนางสิทธิ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)[14]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "1790#27", "text": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้นพบสุริยุปราคามืดหมดดวงของพระองค์ท่าน เป็นการแสดงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของคนไทยให้ชาวโลกประจักษ์ว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในการคำนวณ ทรงกระทำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และการที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้เช่นนี้นั้น แสดงว่าประเทศไทยจะต้องมีระบบเวลามาตรฐานและมีวิธีการรักษาเวลามาตรฐานแบบอารยประเทศที่เชื่อถือได้ ถึงขั้นนำมาวัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของโลกได้ การศึกษาในพระราชสำนัก จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ (สยามสามสมัยจากสายตาหมอบรัดเลย์) วันก่อนที่เจ้าฟ้าจะทรงลาผนวช พระองค์โปรดให้มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่ทรงสนิทสนมมาเป็นปีๆ เข้าเฝ้า ในระหว่างการเข้าเฝ้า พระองค์ตรัสอย่างไม่ถือพระองค์และให้รู้เป็นการภายใน สิ่งที่พระองค์ตรัสทำให้ความหวังที่จะเห็นสยามรุ่งเรืองในอนาคตฟื้นคืนมาอีก พระราชดำรัสที่ทำให้เราหูผึ่งก็คือ พระราชดำรัสที่จะให้มีชั้นเรียนขนาดใหญ่ให้หนุ่มสยามได้ศึกษาภาษาอังกฤษอย่างดี และจะทรงโปรดให้มีโรงเรียนมัธยมขึ้นในบางกอก ที่สอนทั้งภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากตะวันตกด้วย", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี" }, { "docid": "94158#1", "text": "นายกสมาคมคนแรกซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งก็คือ นางซาราห์ บรัคลีย์ แบรดลีย์ (Sarah Blachley Bradley) ซึ่งเป็นภรรยาของหมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beech Bradley) ", "title": "ห้องสมุดนีลเซนเฮส์" }, { "docid": "293640#1", "text": "ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของ หมอบรัดเลย์ ระบุคำว่า เลี้ยงโต๊ะไว้ว่า \"เชิญเขามากินโต๊ะ คือ จัดแจงของใส่โต๊ะลงพร้อม แล้วเชิญมากินหลายคนนั้นว่าเลี้ยงโต๊ะ\"", "title": "การเลี้ยงโต๊ะ" }, { "docid": "67643#12", "text": "ในปีแรกเจ้าฟ้าน้อย (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เสด็จมาเยี่ยม เล่าให้ฟังเรื่องประเพณีการอยู่ไฟของมารดาหลังคลอด หมอบรัดเลย์ได้เสนออยากจะสอนให้คนไทยบางคนรู้จักภาษาอังกฤษแลสอนวิชาแพทย์ที่มี โดยในช่วงที่มีการปลูกฝี มีหมอหลวงมาศึกษากับหมอบรัดเลย์ และยังเขียนหนังสือเพื่อสอนหมอชาวสยาม เขียนบทความอธิบายวิธีการปลูกฝึ ในภายหลังรัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานรางวัลให้ 250 บาท (เท่ากับ 145 ดอลลาร์อเมริกันในสมัยนั้น) ตำราแพทย์แผนปัจจุบันเล่มแรกนี้ชื่อว่า ครรภ์ทรักษา[7] มีความหนา 200 หน้า มีภาพประกอบฝีมือคนไทยประมาณ 50 ภาพ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาการของโรคในการคลอดและวิธีการแก้ไขรักษา กับพยายามสอนให้คนไทยเลิกธรรมเนียมการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มารดาหลังคลอดเสียชีวิต", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "6882#9", "text": "ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้จัดทำ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ \"ราชกิจจานุเบกษา\" เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อน ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมือง", "title": "หนังสือพิมพ์" }, { "docid": "67643#7", "text": "6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 รัชกาลที่ 4 พระราชทานที่ดินให้หมอบรัดเลย์ รวมถึงมิชชานารี ได้สร้างโรงพิมพ์บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ข้างป้อมวิชัยประสิทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตบางกอกใหญ่) ในหลวง รัชกาลที่ 4 เสด็จไปสนทนาภาษาอังกฤษและเรื่องราวความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์กับคุณหมอและแหม่มซาราห์ที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง[3]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "258035#0", "text": "การโรงแรมในประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ในราวปี พ.ศ. 2406 โดยหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ได้กล่าวถึงการเปิดบริการโรงแรมในประเทศไทย คือ โรงแรมยูเนี่ยนโฮเต็ล และโรงแรมบอร์ดดิ้งโฮเต็ล", "title": "โรงแรมในประเทศไทย" }, { "docid": "4236#34", "text": "พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "951656#1", "text": "หมอบรัดเลย์ร่วมทำพจนานุกรมนี้กับอาจารย์ทัด ซึ่งน่าจะเป็นครูสอนภาษาไทยของหมอบรัดเลย์ และยังได้นายเมืองมาช่วยทำ เริ่มตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 จนถึง พ.ศ. 2416 รวมเวลาทั้งสิ้น 12 ปี ทำให้หมอบรัดเลย์ไม่เห็นฉบับสมบูรณ์ และได้บุตรชายของท่านดำเนินงานต่อ", "title": "อักขราภิธานศรับท์" }, { "docid": "4236#18", "text": "หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4236#16", "text": "ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม \"หมอบรัดเลย์\" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "188138#0", "text": "บางกอกรีคอเดอ (The Bangkok Recorder ทับศัพท์แบบปัจจุบัน บางกอกรีคอร์เดอร์) หรือชื่อไทย หนังสือจดหมายเหตุ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2387-2388 และอีกครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2407-2411 เขียนและพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน ฉบับแรกเผยแพร่ครั้งแรกตรงกับวันชาติสหรัฐอเมริกา 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387", "title": "บางกอกรีคอเดอ" }, { "docid": "143314#19", "text": "ขณะที่นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาเผยแพร่ภายหลัง คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะมิชชันนารีสมัยเดียวกับหมอบรัดเลย์ ชาวอเมริกัน ซึ่งเรียกตัวเองว่า \"คริสเตียน\" ตามภาษาอังกฤษ", "title": "นิกายในศาสนาคริสต์" }, { "docid": "205818#0", "text": "ในพงศาสวดาร ฉบับกรมราชบัณฑิต พ.ศ. 2455 ที่แก้ไขจากฉบับหมอบรัดเลย์ และ ฉบับสมุดไทย เขียนว่า วัดหัษฏาวาส วัดหัสดาวาส [น่าจะมาจากคำสนธิ หัตถึ+อาวาส = หัตาวาส หรือ วัดช้าง แต่ ด และ ต ใช้แทนกันได้ นานๆ ไปจึงกลายเป็น หัสดาวาส] หรือวัดช้าง เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา ถัดจากวัดหน้าพระเมรุ [เดิมเรียกวัด เมรุราชิการาม หรือ วัดที่ใช้ทำพระเมรุมาศ สำหรับพระชา หรือ พระราชินี] ไปทางทิศตะวันออก เดิมเคยมีทางเดินติดต่อถึงกัน", "title": "วัดหัสดาวาส" }, { "docid": "27551#3", "text": "พงศาวดารเรื่องราชาธิราชได้มีการแปลจากฉบับภาษามอญเป็นภาษาไทยครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งฉบับแปลครั้งแรกนั้นได้สูญหายไปเมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี พ.ศ. 2310 ต่อมาในปี พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชดำริว่า หนังสือเรื่องราชาธิราชเป็นหนังสือดี เคยได้รับการยกย่องมาแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลและเรียบเรียงใหม่ โดยมีเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองกำกับการแปล ร่วมกับพระยาอินทรอัครราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. 2423", "title": "ราชาธิราช" }, { "docid": "64806#2", "text": "ส.ค.ส.แผ่นแรกของไทยเริ่มใน พ.ศ. 2409 หรือ ค.ศ. 1866 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานคณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2409 ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ เดอะ บางกอก รีคอร์ดเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ ฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409", "title": "ส.ค.ส." }, { "docid": "67643#15", "text": "หมอบรัดเลย์ ถือเป็นผู้บุกเบิกงานพิมพ์ในประเทศไทย ภูมิหลังน่าจะได้มาจากบิดาซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือ และการสนใจในวรรณคดีแต่เด็ก การพิมพ์ในยุคแรกของหมดบรัดเลย์มุ่งเน้นเรื่องทางศาสนา โดยได้แปลและพิมพ์หนังสือ ใบปลิวที่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก โดยไม่ยอมพิมพ์หนังสือเรื่องทางโลกอื่น ๆ ยกเว้นเรื่องทางการแพทย์และเอกสารของราชการ เนื่องจากหมอบรัดเลย์ได้พัฒนาอักษรและแท่นพิมพ์ให้เหมาะสม ทำให้ราชสำนักสยามว่าจ้างให้ตีพิมพ์เอกสารประกาศของราชการ อย่าง ประกาศห้ามมิให้คนสูบแลค้าขายฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ ปีกุน พ.ศ. 2382 ออกเผยแพร่ให้แก่ราษฎร[8] ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารทางราชการไทยชิ้นแรกที่ได้จัดพิมพ์ขึ้น[9]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "4236#37", "text": "พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "67643#13", "text": "สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้หมอบรัดเลย์ คือการผ่าตัด มีการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1985 โดยไม่มียาสลบ และอีกหนึ่งการผ่านตัดที่ได้รับการจารึกไว้คือเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1837 เกิดเหตุระเบิดของปืนใหญ่ที่งานวัดบริเวณวัดประยุรวงศาวาส มีคนตาย 8 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก หมอบรัดเลย์ได้ตัดแขนของชายหนุ่มคนหนึ่งถึงเหลือหัวไหล่ ในภายหลังวันที่ 7 กันยายน 1840 หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่า ได้ตัดแขนเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุบนเรือฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีการบันทึกว่า วันที่ 2 พฤศจิกายน 1837 หมอบรัดเลย์ได้ใช้เวลาทั้งวันในการแก้ไขกรามบนของชายที่กรามหักในงานวันเมื่อ 6 วันก่อน[2]", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" }, { "docid": "9800#4", "text": "Template:CJKV) แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ \"หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา\" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย[2]", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "53946#8", "text": "right|200px|พระบรมธาตุมหาเจดีย์ ในปี พ.ศ. 2405|thumb ในเรื่องนี้ หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า", "title": "วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร" }, { "docid": "67643#0", "text": "หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (English: Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก", "title": "แดน บีช บรัดเลย์" } ]
2848
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีอักษรย่อว่าอะไร?
[ { "docid": "12009#0", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (English: Srinakharinwirot University; อักษรย่อ: มศว – SWU) ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง\" ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น \"วิทยาลัยวิชาการศึกษา\" เมื่อ พ.ศ. 2497 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\" เมื่อ พ.ศ. 2517", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" } ]
[ { "docid": "12009#76", "text": "ศรีนครินทรวิโรฒ ศรีนครินทรวิโรฒ หมวดหมู่:เขตวัฒนา หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ศรีนครินทรวิโรฒ", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "244506#0", "text": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แรกเริ่มจัดตั้งเป็น โรงเรียนพลศึกษากลาง สังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2462 ซึ่งคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้น มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในอดีตมีที่ทำการอยู่ที่ กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) และเคยมีฐานะเป็น วิทยาเขต หนึ่งของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\nจุดเริ่มต้นของการพลศึกษาในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 กระทรวงธรรมการ ได้จัดตั้งสถานฝึกหัดครูพลศึกษาขึ้นที่ โรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ (โรงเรียนวัดราชบูรณะในปัจจุบัน) ใช้ชื่อว่า ห้องพลศึกษากลาง สังกัด กรมศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อจาก ห้องพลศึกษากลาง เป็น โรงเรียนพลศึกษากลาง ", "title": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "244506#4", "text": "จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายรวมวิทยาเขตในกรุงเทพมหานครซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 แห่งให้เป็นวิทยาเขตเดียวกัน (ประสานมิตร , บางเขน , ปทุมวัน , พลศึกษา) ทั้งนี้เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการเปิดคณะวิชาต่างๆ เพื่อลดงบประมาณรายจ่ายและเพื่อผนึกกำลังทางวิชาการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร อธิการบดีในขณะนั้น ได้นำเรียนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ให้รวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดศูนย์กลางที่วิทยาเขตประสานมิตร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา ได้ยุบรวมกับวิทยาเขตกลาง และจัดตั้งเป็นคณะพลศึกษา ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันก่อตั้งคณะพลศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนสาขาพลศึกษา , สุขศึกษา และ นันทนาการ พ.ศ. 2540 ได้รับโครงการจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนหนึ่งของคณะพลศึกษา และปรับเปลี่ยนเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา และในปี พ.ศ. 2559 ได้รับโครงการจัดตั้งภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของคณะพลศึกษา จากสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาสุขศึกษา และปรับเปลี่ยนเป็นภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์", "title": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "278888#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการปรับฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำให้โรงเรียนสาธิตทั้ง 2 แห่ง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตามลำดับ โดยสังกัดในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร" }, { "docid": "799296#6", "text": "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2517 กำหนดให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ.2497 เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนครจึงยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (มศว บางเขน) ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2517 เป็นต้นมา", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน" }, { "docid": "476163#1", "text": "พื้นที่ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวันและกลุ่มอาคารจุฬาวิชช์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "12009#53", "text": "กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยนเรศวร แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็น เจ้าภาพ</i>โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#11", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า \"มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร\" \"วิโรฒ\"มาจากคำว่า \"วิโรฒ\" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อว่า \"มศว\" (ไม่มีจุด) เขียนอักษรโรมันว่า \"Srinakharinwirot University\" มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SWU (อ่านว่า สะ-วู)", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "315291#6", "text": "วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัย วิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2517 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 29 มิถุนายน 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอา วันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็น วันสุดใจ เหล่าสุนทร", "title": "สุดใจ เหล่าสุนทร" }, { "docid": "54389#4", "text": "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยมีการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีให้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ และนิสิตชั้นปีที่ 2-5 และนิสิตปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร", "title": "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#75", "text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "476163#0", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หรือ มศว ปทุมวัน เป็นอดีตสถาบันอุดมศึกษาและเป็นหนึ่งในอดีตวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พัฒนาจากแผนกฝึกหัดครูมัธยม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาซึ่งขึ้นอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2496 ก่อนจะได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวันในปี พ.ศ. 2498 และเป็นวิทยาเขตที่สองของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปี พ.ศ. 2517 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวันถูกยุบรวมวิทยาเขตเข้ากับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2536 รวมระยะเวลาการดำเนินงาน 40 ปี ", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "39320#6", "text": "ในปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หรือ โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทบวงมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนใช้อักษรย่อของ โรงเรียนเป็น ส.มศว และเครื่องหมายรูปกราฟ เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "206296#9", "text": "(ภาควิชายังเปิดสอนอีก 2 วิชาโท ได้แก่ วิชาโทประวัติศาสตร์ และวิชาโทมัคคุเทศก์ (มัคคุเทศก์ทั่วไป))ในด้านวิชาการ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ผลิตวารสารวิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง ในชื่อ \"วารสารประวัติศาสตร์\" ฉบับแรกออกใน พ.ศ. 2519 และยังคงผลิตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน และยังมีการตีพิมพ์ตำราเรียน, งานแปล, และผลงานทางวิชาการของคณาจารย์และนิสิต ผลงานวิชาการตีพิมพ์อันดับแรกในนามภาควิชาประวัติศาสตร์คือ ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทย: สมัยบางกอก ของ ศ. (พิเศษ) ขจร สุขพานิช ที่พิมพ์ใน พ.ศ. 2518 นอกจากนี้ ยังมีการค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใหม่ ๆ มาแปลหรือตีพิมพ์เผยแพร่อีกด้วย เช่น\nชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อักษรย่อ ช.ปวศ.) เป็นองค์กรของนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ เพื่อจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และวิชาการเชิงสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เดิมมีสถานะเป็นชมรมประวัติศาสตร์ ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ชมรมใช้รูปศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ 1) และรูปพระเจดีย์เป็นตราประจำชมรม ตามลำดับ) ต่อมา จึงได้เปลี่ยนสถานะเป็นชุมนุมประวัติศาสตร์ ใช้รูปพระพฤหัสบดีเป็นตราประจำชุมนุมตั้งแต่ พ.ศ. 2550 และใช้สีส้มเป็นสีประจำชุมนุม ซึ่งตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นชมรมประวัติศาสตร์ในระยะที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบันยังคงมีสถานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร นอกจากจะจัดได้กิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ท่ามกลางบรรยากาศของเหตุการณ์ 14 ตุลา ชมรมยังได้มีการเผยแพร่งานวิชาการด้วย อาทิ ใน พ.ศ. 2516 ชมรมประวัติศาสตร์ได้จัดพิมพ์ ประวัติศาสตร์สาร ฉบับใต้น้ำ ลงบทความของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส. ศิวรักษ์), ขจร สุขพานิช และณรงค์ พ่วงพิศ เป็นต้น บุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ ประธานชมรมได้ชี้แจงจุดมุ่งหมายในการออกวารสารในครั้งนั้นว่า \"\"คือต้องการเห็นประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย อยากให้ประชาชนรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และผู้บริหารประเทศรับผิดชอบต่อประชาชนและประเทศชาติ\"\"", "title": "ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "54389#0", "text": "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหน่วยงานการศึกษาหนึ่งในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา", "title": "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "174984#5", "text": "โดยมีฐานการปฏิบัติงานและฐานการเรียนการสอนอยู่ที่ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน\nนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ชั้นปีที่ 2 และ 3 เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ส่วนชั้นปีที่ 4-6 ฝึกปฏิบัติงานชั้นคลินิกที่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หมุนเวียนร่วมกันไปกับ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน", "title": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#23", "text": "ตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ระบุประเภทและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ดังนี้", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "273869#4", "text": "ในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 นั้น ทุกสาขาของวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะขึ้นมาเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย มีการแบ่งส่วนราชการและบริหารราชการในลักษณะเครือข่ายรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นจึงมีคณะมนุษยศาสตร์อยู่ในทุกวิทยาเขต โดยมีผู้บริหารคณะคือ คณบดี อยู่ที่ประสานมิตร ส่วนที่วิทยาเขตมีรองคณบดี เป็นผู้บริหารคณะ คณบดีคณะต่างๆ รวมทั้งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ที่ประสานมิตรทำหน้าที่ประสานงาน โดยเฉพาะงานทางด้านวิชาการกับรองคณบดีของคณะฯ ในวิทยาเขต ส่วนการบริหารงานบุคคล การบริหารการเงิน ฯลฯ ของวิทยาเขตอยู่ในความรับผิดชอบของรองอธิการบดีของแต่ละวิทยาเขต ดังประกาศทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2518 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2518 กำหนดให้มีหน่วยราชการในคณะมนุษยศาสตร์ 8 หน่วยงาน ด้วยกัน คือ (1) สำนักงานเลขานุการคณะ (2) ภาควิชาจิตวิทยา (3) ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ (4) ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ (5) ภาควิชาภาษาตะวันตก (6) ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก (7) ภาควิชาภาษาศาสตร์ และ (8) ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งนี้ มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จัดการให้มีคณะมนุษยศาสตร์ขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันสถาปนาของคณะนี้ตลอดมา", "title": "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "39320#7", "text": "ต่อมา พ.ศ. 2536 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตปทุมวัน ได้ถูกยุบตัว จึงได้ย้ายมารวมตัวกัน ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โรงเรียนจึงได้ขยายเนื้อที่ออกไปทางด้านมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตปทุมวัน จึงได้สังกัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "395433#1", "text": "ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นเพื่อให้เปิดสอน ถึงระดับปริญญา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงจึงได้รับ การสถาปนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 และได้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นอธิการ วิทยาลัยเป็นคนแรก ซึ่งถือเป็นจุดก่อกำเนิดคณะวิชาการศึกษา และต่อมาคือคณะศึกษาศาสตร์ในปัจจุบันวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน นิสิตเพื่อผลิตบัณฑิตที่จะไปเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนให้บริการจัดการฝึกอบรมวิทยาการ/ การเรียนการสอนสาขาต่าง ๆ ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาในขณะนั้น ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ของประเทศเป็นจำนวนมาก ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษามีมาโดยมิได้หยุดยั้ง สมดั่งปรัชญาที่ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้ตั้งไว้ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงามซึ่งตรงกับพุทธภาษิตว่า สิกขา วิรุฬหิ สมปตตา และตรงกับภาษาอังกฤษว่า Education is Growth วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มะ-หา วิด-ทะ-ยา-ไล-สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) ใช้อักษรย่อว่า มศว โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาคนสุดท้ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรก เช่นเดียวกับคณะศึกษาศาสตร์ก็ถือเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปวงศิษย์แห่งวิทยาลัยวิชาการศึกษาและ ู้ที่เกี่ยวข้องต่างภาคภูมิใจและตระหนักในใจว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นต้นกำเนิดของคณะศึกษาศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ยกระดับการศึกษาของครูจนถึงระดับปริญญาเอก", "title": "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "365727#3", "text": "ปัจจุบัน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูง ขนาด 305 เตียง สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลชลประทาน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งชื่อดังกล่าวได้แจ้งต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และกราบเรียนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ และขออนุญาตใช้นามของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และโรงพยาบาลชลประทานได้มาสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จัดตั้งกองทุนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เพื่อสืบทอดความตั้งใจของท่าน เพื่อนำกองทุนดังกล่าวมาพัฒนาโรงพยาบาลชลประทาน ให้เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดโรงพยาบาลหนึ่ง", "title": "ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "632551#5", "text": "เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\" เมื่อ พ.ศ. 2517 โดยได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คนแรก ภายหลังจากการยกฐานะ วิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง 8 วิทยาเขต ได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยแม่ และบริหารในระบบวิทยาเขตมาทั้งหมด 16 ปี หลังจากนั้น วิทยาเขต 5 แห่งได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และอีก 4 แห่งได้ยุบรวมกันเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร", "title": "ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "244506#10", "text": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีที่ทำการอยู่ สองแห่งคือ\nเว็บไซต์คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ภาษาไทย)", "title": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "278888#2", "text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มีการแบ่งหน่วยงานออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร" }, { "docid": "244506#6", "text": "ในปัจจุบัน คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีภาควิชาที่สังกัดอยู่ทั้งหมด 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาพลศึกษา , ภาควิชาสุขศึกษา , ภาควิชาสันทนาการ และภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง คือ อาคาร 1 โรงยินคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และ ศูนย์กีฬาสิรินธร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ โดยคณะพลศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนให้นิสิตระดับปริญญาตรี ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ และจัดการเรียนการสอนให้นิสิตระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต รวมถึงเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิสิตสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา 5 ปีที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงเรียน ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร", "title": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#20", "text": "วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันสุดใจ เหล่าสุนทร", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "476163#12", "text": "สิ่งที่เหลือเป็นอนุสรณ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นอกจากโรงเรียนสาธิตฯ แล้ว ก็คือหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส และสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นสาขาที่เปิดสอนเพียงวิทยาเขตเดียวของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยปัจจุบันเปิดเป็นหลักสูตรของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "12009#7", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรากฐานมาจาก \"โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง\" และพัฒนาเป็น \"วิทยาลัยวิชาการศึกษา\" (Collage of Education อักษรย่อ วศ.) มีพัฒนาการและประวัติความเป็นมาดังนี้[4]", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "278888#7", "text": "ในปี พ.ศ. 2534 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้รวมการบริหารของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกันใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มีรองศาสตราจารย์ประกิจ รัตนสุวรรณ เป็นผู้อำนวยการ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยได้มีมติแยกการบริหารเป็น 2 โรงเรียนอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยมและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตฝ่ายประถม และให้ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร" } ]
2464
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "34424#1", "text": "ราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับ ว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์\nจากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ\"โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท\nสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 จากอาคารสวนอัมพร เป็นภาพขาวดำ ใช้ระบบเอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ จึงเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งที่สอง ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน)\nต่อมา เมื่อก่อสร้างของอาคารสถานีเสร็จสมบูรณ์ จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์และวันศุกร์ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมากเป็นสารคดีและภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณ เริ่มจากถ่ายทอดการฝึกทหารในยามปกติ ซึ่งมีชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ เริ่มจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย\nพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทอดพระเนตรกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508\nนอกจากนี้ ททบ.5 ยังเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในปีเดียวกันนี้ โดยในระยะแรกเป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ. และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 แห่งในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดนครราชสีมา โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไมโครเวฟแทน\nจากนั้น ททบ.5 ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีในระบบพาล (Phase Alternation Line - PAL) เป็นครั้งแรกด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต และต่อมา ททบ.5 จึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสถานี และยังมีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งด้วย\nเมื่อปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย พร้อมตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มจัดทำห้องส่งส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี อนึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ ททบ.ดำเนินการขยายสถานีเครือข่ายในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้\nนอกจากนี้ ททบ.5 ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ของสถานีฯ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยใช้โดเมนเนม www.tv5.co.th พร้อมทั้งจัดทำระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2539 ททบ.เป็นผู้ริเริ่มใช้เฮลิคอปเตอร์ที่ติดตั้งกล้องวิดีโอ และรถถ่ายทอดเคลื่อนที่ผ่านระบบดาวเทียม (Digital Satellite News Gathering ชื่อย่อ: D-SNG) มาใช้กับการถ่ายทอดสดและรายงานข่าว เป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นสถานีแรกของประเทศไทย ที่ดำเนินการผลิตและควบคุมการออกอากาศ ด้วยระบบดิจิตอล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 และยังเริ่มต้นออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงเป็นสถานีแรกของไทย\nต่อมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ททบ.5 ดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในระบบดิจิตอลไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก ตามโครงการ โดยปัจจุบันสามารถรับชมในกว่า 170 ประเทศ และในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. ปีเดียวกันนั้นเอง การก่อสร้างอาคารที่ทำการ และอาคารหลักของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งรวมส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุนไว้ในอาคารเดียวกัน รวมทั้งมีห้องส่งโทรทัศน์อันทันสมัย จำนวน 4 ห้อง ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ททบ.เริ่มดำเนินงานก่อสร้าง อาคารสำนักงานเพิ่มเติม และอาคารจอดรถ กำหนดแล้วเสร็จในวาระครบรอบ 50 ปีของ ททบ.5 คือ พ.ศ. 2551\nโดยในปีดังกล่าว ททบ.จัดซื้อระบบออกอากาศภายในห้องส่งใหม่ ประกอบด้วยโรงถ่ายเสมือนจริง (Virtual Studio) และกำแพงวิดีทัศน์ (Video Wall) พร้อมทั้งใช้สีแดง ประกอบการนำเสนอข่าวของสถานีฯ ในปีต่อมา (พ.ศ. 2552) ททบ.5 เปลี่ยนไปใช้สีเขียว เป็นหลักในการนำเสนอข่าว โดยให้มีนัยสื่อถึงกองทัพบก ล่าสุด ททบ.ดำเนินงานก่อสร้าง อาคารชุดอเนกประสงค์แห่งใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557\nคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกันทดลองออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยมอบหมายให้ ททบ.5 เป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่เวลา 13:00 น. ของวันศุกร์ที่ 25 มกราคม จนถึงเวลา 12:59 น. ของวันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในย่านความถี่ยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 36 ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ช่องรายการคือ 6 ช่องทวนสัญญาณจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial) ด้วยความละเอียดมาตรฐานตามปกติ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 , สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สำหรับอีก 2 ช่องรายการ จะทดลองออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง กล่าวคือ ช่องหนึ่งจะกระจายเสียงและแพร่ภาพ รายการโทรทัศน์ความละเอียดสูงซึ่งผลิตโดย ททบ. ส่วนอีกช่องหนึ่งจะทวนสัญญาณ จากช่องรายการของไทยพีบีเอส ซึ่งออกอากาศในระบบความละเอียดสูงผ่านดาวเทียมอยู่แต่เดิม โดยมีรัศมีรอบเสาส่งสัญญาณบนยอดอาคารใบหยก 2 เป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล\nต่อมา กสทช.อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแก่ ททบ.5 โดยเริ่มนำสัญญาณภาพและเสียง ออกอากาศคู่ขนานไปจาก โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกทางช่อง 5 เดิม พร้อมกับผู้ประกอบการส่วนมาก ในประเภทบริการทางธุรกิจ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ต่อมา ททบ.5 ตั้งชื่อช่องรายการที่ออกอากาศในระบบดิจิทัลว่า ทีวี 5 เอชดี1 (TV5 HD1) (วิธีอ่าน อ่านว่า \"ทีวีไฟว์ เอชดีวัน\") พร้อมกับการปรับเปลี่ยนการปรากฏตราสัญลักษณ์ของสถานีแต่เพียงเล็กน้อย ด้วยการเพิ่มตัวอักษรคำว่า \"HD1\" สีเทาเงิน ประดับติดกับสัญลักษณ์ไว้ทางด้านขวาตรงกลาง โดยเพื่อใช้สำหรับการปรากฏตราสถานีฯไว้อยู่ที่มุมขวาของหน้าจอโทรทัศน์ เมื่อขณะที่กำลังออกอากาศรายการต่างๆอยู่ ทั้งระบบแอนะล็อกและดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้มาจนกระทั่งพฤษภาคม พ.ศ. 2561 จึงได้ปรับอัตลักษณ์บนหน้าจอใหม่ให้ใหญ่และโดดเด่นขึ้น", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "529232#7", "text": "โดยมีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด \"สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4\" ( ชื่อย่อ: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง \"คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" ประกอบด้วย พลเอก ไสว ไสวแสนยากร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ\"โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\" พร้อมทั้งวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงให้อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล ตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีฯ ภายในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ เป็นจำนวน 10,101,212 บาท", "title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย" } ]
[ { "docid": "34424#0", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า \"สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7\" (\"ททบ.7\") หรือ \"ช่อง 7\" (\"ขาว-ดำ\") ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "63610#1", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของกองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า \"โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย\" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และไทยพีบีเอส (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)", "title": "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "34424#2", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ได้เตรียมการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อก โดยททบ. ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกครั้งแรกในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในสถานีส่งอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และในปี พ.ศ. 2560 ยุติการออกอากาศ 2 ระยะ โดยระยะแรก ในวันที่ 1 มกราคม ที่สถานีส่งเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และสถานีส่งจังหวัดร้อยเอ็ด และวันที่ 31 ธันวาคม ที่สถานีส่งจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเลย และสถานีส่งอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "608485#1", "text": "เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 กองช่างวิทยุต้องดำเนินการขนย้าย เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ของสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เข้าไปไว้รวมกันที่สถานีวิทยุศาลาแดง เนื่องจากทางกองทัพบกต้องการนำที่ดิน บริเวณพระราชวังพญาไท เพื่อไปใช้สอยในราชการ (ก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ลงมติให้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการอยู่นั้น ไปขึ้นตรงกับกรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) โดยให้ชื่อใหม่ว่า \"สถานีวิทยุกรุงเทพฯ\" ซึ่งใช้อยู่เพียงเวลาสั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนอีกครั้งเป็น \"สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย\" เมื่อปี พ.ศ. 2484 หลังจากมีประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482", "title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย" }, { "docid": "492231#9", "text": "อย่างไรก็ตาม เมื่อสุดระยะเวลาเฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แล้ว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นำตราสัญลักษณ์ฯ ออกจากหน้าจอ ตั้งแต่เวลา 00.05 น. ของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ทว่าสถานีอื่นยังคงแสดงตราสัญลักษณ์ฯ อย่างต่อเนื่องต่อไป ก่อนที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จะกลับมาแสดงตราสัญลักษณ์ฯ ตามเดิม ในวันที่ 7 มกราคม เวลา 10.18 น. โดยสถานีโทรทัศน์ทุกแห่ง ทยอยนำตราสัญลักษณ์ฯ ออกจากหน้าจอ เริ่มจากวันที่ 13 มกราคม สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นำออกจากหน้าจออีกครั้ง ในเวลา 10.33 น. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เริ่มเวลา 18.45 น. ต่อมาในวันที่ 14 มกราคม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นำตราสัญลักษณ์ฯ ออกจากหน้าจอ ในเวลา 01.15 น. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ก่อนเวลา 05.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเวลา 06.46 น. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในเวลา 16.42 น.", "title": "ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554" }, { "docid": "529232#27", "text": "ในปี พ.ศ. 2541 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก ออกอากาศ 177 ประเทศทั่วโลก และในวันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน บริษัทไอบีซีและยูทีวี ได้ควบรวมกิจการจัดตั้งเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (หรือยูบีซีในขณะนั้น) สำหรับการออกอากาศนั้น ทั้งสองก็ได้ออกอากาศต่อไปในนามของยูบีซี แต่ในกรณีสัญญาสัมปทานนั้น ยูบีซี ได้ใช้สัญญาสัมปทานของ อ.ส.ม.ท. ที่ได้ให้ต่อไอบีซีเดิม (ระยะเวลาสัญญา 25 ปี คือระหว่างปี 2532 ถึงปี 2557) ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ครม.สมัยพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีมติให้ยุบเลิกองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และให้เปลี่ยนเป็น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมามีผลเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547", "title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย" }, { "docid": "939148#2", "text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ นั่นคือรายการ \"\"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์\"\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นรายการแรกภายในปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้ขยายรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องทรูโฟร์ยู, ช่องวัน และช่องพีพีทีวี มาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยมีเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์, ละครโทรทัศน์ และละครซิทคอม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาในประเทศ รวมทั้งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) อีกด้วย", "title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "492231#6", "text": "อนึ่ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกที่แสดงตราสัญลักษณ์ฯ ที่มุมบนซ้ายของหน้าจอ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม เวลา 13.45 น. ต่อมาคือสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เริ่มแสดงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เวลา 15.45 น. และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในเวลา 17.00 น. ส่วนสถานีโทรทัศน์แห่งอื่นๆ แสดงตราสัญลักษณ์ฯ เป็นครั้งแรก ในวันที่ 8 พฤษภาคม โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มเวลา 00.00 น. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ในเวลา 00.53 น. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อเวลา 17.00 น.", "title": "ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554" } ]
2666
ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์เป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของประเทศไทย ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "172496#1", "text": "ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ เป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของประเทศไทย ปัจจุบันทำงานที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในการพัฒนาเพื่อการลดขนาดในการวิเคราะห์โดยการไหล (กลุ่มวิจัย Flow-based Analysis Research Group)ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ สนใจในวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีและเครื่องมือ ในการการวิเคราะห์ทางเคมีโดยเฉพาะเทคนิคที่อาศัยหลักการไหล ซึ่งจะมุ่งเป้าที่จะเป็นแบบราคาถูก งานวิจัยจะสัมพันธ์กับปัญหาของท้องถิ่นแต่มีผลกระทบในระดับนานาชาติอีกด้วย ไม่นานมานี้ได้ริเริ่มและผลักดันในการพัฒนาการวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการไหลเพื่อการคัดกรองในการตรวจวินิจฉัยโรคบางชนิด (เช่น มะเร็ง, โรคตับ, โรคข้อ และกระดูก และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น) การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลในพื้นที่ธุรกันดานในประเทศไทย และได้ริเริ่มผลักดันเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดโดยการใช้รีเอเจนต์ที่ได้จากธรรมชาติ การพัฒนาการวิจัยจะมีผลเชื่อมโยงกับการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ได้บุกเบิกงานทาง flow injection analysis ที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตรภาพรังสี การเตรียมตัวอย่างแบบในท่อที่ใช้ระบบการไหลผนวกเข้ากับเทคนิคทาง โครมาโทกราฟี การลดขนาดของการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น “การดำเนินการวิเคราะห์บนชิพ (lab-on-Chip)” และ “การดำเนินการทดลองที่วาล์ว (Lab-at-Valve)” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์ทั้งระบบในระดับไมโคร (micro total analysis system)นอกเหนือจากการดูงานต่างๆ แล้ว มีประสบการณ์หลังปริญญาเอก (Post doctoral experiences) ได้แก่", "title": "เกตุ กรุดพันธ์" } ]
[ { "docid": "172496#5", "text": "ได้ริเริ่มการวิจัยเคมีวิเคราะห์แนวใหม่เกี่ยวกับ flow-based analysis ได้รับเกียรติเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งชาติทางเคมีคนแรกของประเทศ และเป็นคนแรกที่อยู่ในสถาบันต่างจังหวัด (ปัจจุบันมี 2 คนจากผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ 35 คน) นอกจากนี้ยังเป็นศาสตราจารย์คนแรกทางเคมีวิเคราะห์ในประเทศไทย มีส่วนในการผลักดันบรรยากาศการวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ของประเทศไทยจนเข้าสู่ระดับนานาชาติ มีส่วนทำให้เกิดหลักสูตรปริญญาเอกเคมีวิเคราะห์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (หน้า 80 ใน “อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ สมเดช กนกเมธากุล – บรรณาธิการ – จัดพิมพ์โดย มูลนิธิบัณฑิตยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2549)", "title": "เกตุ กรุดพันธ์" }, { "docid": "172496#0", "text": "ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2496 ที่จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อ นายศักดิ์ กรุดพันธ์ มารดาชื่อ นางอุบล กรุดพันธ์ สมรสกับ นางธนกร กรุดพันธ์ (นามสกุลเดิม เกษมกิจวัฒนา) มีธิดา 1 คน คือ นางสาวศุภรา กรุดพันธ์", "title": "เกตุ กรุดพันธ์" }, { "docid": "84522#0", "text": "รองศาสตราจารย์ ภิญโญ พานิชพันธ์ (19 สิงหาคม 2485 -) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล\nนักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นและเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านชีวเคมี วิทยาศาสตร์ศึกษา (Science Education) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเก็บรักษาและการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย เป็นเจ้าของผลงานประดิษฐ์คิดค้นชุดตรวจสอบสารไอโอดีน จนได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นที่ปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุขในโครงการขจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดจากประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และที่ปรึกษาโครงการควบคุมคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนั้น ยังเคยได้รับรางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2537 อีกด้วย\nรองศาสตราจารย์ ภิญโญ พานิชพันธ์ หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาชีวเคมี (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2508 ปริญญาเอกสาขาชีวฟิสิกส์ระดับโมเลกุล จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ ปี พ.ศ. 2516 และได้รับประกาศนียบัตร Certificate, Risk Assessment and Prevention in Local Community Development and Planning จาก Gothenberg ประเทศสวีเดน เมื่อปี พ.ศ. 2537", "title": "ภิญโญ พานิชพันธ์" }, { "docid": "82390#0", "text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สถิตย์ สิริสิงห (9 มกราคม 2480 - ) นักวิจัยผู้บุกเบิกสาขาอิมมิวโนวิทยาของประเทศไทยในยุคเริ่มแรก นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา และ เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาจุลชีววิทยา ประจำปี พ.ศ. 2531 ด้วยผลงาน \"ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร\" ศ.ดร.สถิตย์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของ ศาสตราจารย์พันโท ทันตแพทย์ สี สิริสิงห ทันตแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และคุณหญิงอัมพร สิริสิงห สมรสกับ พญ. วลัยรัตน์ สิริสิงห มีบุตรธิดา 3 คน คือ พญ. ธิติยา รศ.ดร. ชาคริต และ นส. วิทิดา สิริสิงห", "title": "สถิตย์ สิริสิงห" }, { "docid": "481413#0", "text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เป็นนักวิชาการ อาจารย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 8 (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2523-2525) และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คนที่ 2 (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2542-2543) เป็นศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับรางวัล Emil M. Mrak International Award for Outstanding Alumni จากสถาบัน Universty of California at Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับเป็นคนไทย", "title": "ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ" }, { "docid": "159176#0", "text": "‎ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร (23 ตุลาคม พ.ศ. 2458 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2543) ผู้ซึ่งนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก และเป็นผู้ริเริ่มการสอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย เป็นบุตรของ อำมาตย์เอก พระยาราชวรัยการ และ คุณหญิง บุญรอด ได้เกิดที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2458 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ท่านเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศฟิลิปปินส์ จนสำเร็จปริญญาตรี (B.S.) จาก Far Eastern University และ ปริญญาโท (M.S.) จาก The University of Philippines หลังจากนั้นท่านบินข้ามทวีป ไปศึกษาต่อ ณ.ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ได้รับปริญญา MBA เน้นหนักวิชาคณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์", "title": "บัณฑิต กันตะบุตร" }, { "docid": "508931#0", "text": "ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ (22 มกราคม พ.ศ. 2466 - 2547)อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเขียน เป็นบุคคลหนึ่งในบรรดาผู้บุกเบิกงานด้านการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำเนินงานของภาควิชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 – 2522 ในขณะเดียวกัน ได้ดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 – 2518", "title": "สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์" }, { "docid": "82111#0", "text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ยอดหทัย เทพธรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2486 ที่กรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการบริหารบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2529 และรางวัลนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2538 ด้วยชื่อเสียงอันเป็นที่ยอมรับยกย่องทั้งระดับชาติ และนานาชาติ จนถึงขณะนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย ยังผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณค่าอย่างไม่หยุดยั้ง ร่วมไปกับการทำหน้าที่อาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ อบรมสั่งสอนดูแลลูกศิษย์อย่างเอาใจใส่ เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่อุทิศตนอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ให้เด็กรักวิทยาศาสตร์อย่างเต็มกำลัง โดยได้มีบทบาทเป็นวิทยากร ในการประชุมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน และปวารณาตนเป็นวิทยากรใน Science Lecture สัญจรไปในต่างจังหวัด เพื่อให้ความรู้ ประกอบการสาธิตทางเคมี ให้กับเยาวชนผู้สนใจวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา", "title": "ยอดหทัย เทพธรานนท์" }, { "docid": "321686#6", "text": "ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นนายกสโมสรนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาดีเด่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการเป็นนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย ร่วมแข่งขันกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในประเทศอื่นๆ เมื่อปี พ.ศ. 2495 และเป็นนายกสโมสรโรตารี่กรุงเทพ นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ ได้รับรางวัลพ่อตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2528 ได้รับรางวัลครูดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ 2 ครั้ง เป็นบุคคลดีเด่นจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ", "title": "อนันต์ กรุแก้ว" } ]
2082
ใครเป็นผู้ค้นพบเชื้อแบคทีเรีย?
[ { "docid": "3794#1", "text": "แบคทีเรียถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดย แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค ในปี 1676 (พ.ศ. 2219) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์เลนส์เดียวที่เขาออกแบบเองส่องจนพบ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักจุลชีววิทยาคนแรกของโลก", "title": "จุลชีววิทยา" } ]
[ { "docid": "556542#1", "text": "ผู้ก่อตั้งสถาบันคือ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้วางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่ โดยได้คิดค้นการพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการฆ่าเชื้อในอาหารแบบหนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้คิดค้นวัคซีนต้านไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า และแบคทีเรียโรคแอนแทรกซ์", "title": "สถาบันปาสเตอร์" }, { "docid": "26342#16", "text": "นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกัน (prophylactic) เฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียสูง เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ เพื่อป้องกันโรคปอดบวม), ผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด[59] อาจการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการผ่าตัดเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณแผล และมีการใช้ในทางทันตกรรมเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดและการเกิดภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยที่มีนิวโตรฟิลในเลือดต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ป่วยมะเร็ง[62][63]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "923370#7", "text": "ความเสี่ยงที่จะเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ดังนั้น ตราบใดที่ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในจำนวนที่น้อยที่สุดที่ให้ประสิทธิภาพดีในการรักษา และใช้ยาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นได้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการดื้อยาของแบคทีเรีย ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ให้ผลลัพธิ์การรักษาที่ดีกว่าและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย .ทำให้ในปัจจุบันมีการใช้สูตรการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะระยะสั้นในผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ โรคปอดอักเสบชุมชน (community-acquired pneumonia; CAP), เยื่อบุช่องท้องอักเสบเองจากแบคทีเรีย (spontaneous bacterial peritonitis; SBP), ผู้ป่วยหนักในหน่วยอภิบาลที่คาดว่าอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียในปอด, กลุ่มอาการที่เข้าได้กับอาการปวดท้องเฉียบพลัน (acute abdominal), หูชั้นกลางอักเสบ, โพรงอากาศอักเสบ และการติดเชอื้แบคทีเรียในช่องคอ (throat infection), และการเจ็บป่วยจากการทะลุของลำไส้ ในบางกรณี การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสูตรระยะสั้นอาจไม่สามารถรรักษาภาวะการติดเชื้อนั้น ๆ ได้ เช่นเดียวกันกับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสูตรระยะยาว การศึกษาทางคลินิกที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) พบว่า หากอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดออกไปด้วยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้ว ควรหยุดการบริหารยาดังกล่าว ณ 72 ชั่วโมงหลังอาการดีขึ้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นก่อนที่เชื้อก่อโรคจะถูกกำจัดออกไปหมด ดังนั้นแพทย์ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้ตระหนักรู้ถึงการได้รับการรักษาด้วยยาดังกล่าวจนถึงระยะเวลาที่แนะนำในแนวทางการรักษามาตรฐาน นักวิจัยบางคนสนับสนุนให้แพทย์ใช้หลักสูตรยาปฏิชีวนะที่สั้นมากในการรักษา และประเมินผู้ป่วยหลังจากนั้น 2–3 วันและหยุดการรักษาหากไม่มีอาการทางคลินิกที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย", "title": "แบคทีเรียดื้อยา" }, { "docid": "26342#10", "text": "เอินซต์ เชน (Ernst Chain), ฮาเวิร์ด ฟลอเรย์ (Howard Florey) และเอ็ดเวิร์ด อับราฮัม (Edward Abraham) เป็นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่ประสบความสำเร็จในการสกัดเพนิซิลลินบริสุทธิ์จากราได้ในปี ค.ศ. 1942 โดยยาที่สกัดได้นั้นคือ เบนซิลเพนิซิลลิน (G) แต่ยาดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคในวงกว้าง โดยจำกัดการใช้อยู่เพียงแต่ภายในกองทัพเท่านั้น แต่หลังจาก ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา นอร์มัน ฮีธลีย์ (Norman Heatley) ได้พัฒนาเทคนิคการสกัดแบบย้อนกลับ (back extraction technique) เพื่อให้สกัดเพนิซิลลินในปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่สามารถถอดแบบโครงสร้างของเพนิซิลลินได้เป็นคนแรกนั้น คือ เอ็ดเวิร์ด อับราฮัม โดยสามารถระบุโครงสร้างที่แน่ชัดดังกล่าวได้ราวปี ค.ศ. 1942[43] ซึ่งสอดคล้องกับการอธิบายถึงโครงสร้างดังกล่าวในบทความตีพิมพ์ของโดโรธี ฮอดจ์กิน – นักชีวเคมีชาวบริติช เมื่อปี ค.ศ. 1945 โดยเพนิซิลลินสกัดบริสุทธิ์นี้สามารถออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลากหลายสายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดพิษต่อมนุษย์ต่ำ นอกจากนี้ ฤทธิ์ของยาดังกล่าวยังไม่ถูกรบกวนโดยส่วนประกอบทางชีวภาพต่างๆในร่างกาย เช่น หนอง เป็นต้น ซึ่งต่างจากยาสังเคราะห์อย่างซัลโฟนาไมด์ การค้นพบยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงนี้ได้กลายเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งการแพทย์ โดยการค้นพบและพัฒนาเพนิซิลลินขึ้นมาได้จุดกระแสความสนใจใหม่ให้แก่นักวิจัยในการค้นคว้าหาสารประกอบที่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับเดียวกันกับเพนิซิลลินอีกมากมาย[44] โดยความสำเร็จในการคิดค้นพัฒนาเพนิซิลลินในครั้งนี้ ถึงแม้เฟลมมิงจะค้นพบยาดังกล่าวโดยบังเอิญและไม่สามารถพัฒนายาดังกล่าวได้ด้วยตนเอง ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับเอินซต์ เชน และฮาเวิร์ด ฟลอเรย์ ในฐานะผู้ค้นพบ และพัฒนาเพนิซิลลินเพื่อใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆได้สำเร็จ[39]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "911479#19", "text": "ไทกีไซคลีนได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and soft tissue infections; cSSTI), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections; cIAI) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia; CAP) ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในสหราชอาณาจักร ยานี้ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (ไม่รวมถึงแผลเบาหวานติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้า) และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่มีข้อข่งใช้เดียวกัน", "title": "ไทกีไซคลีน" }, { "docid": "253178#0", "text": "โรคนิวโมคอคคัส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี” ซึ่งทำให้มีอัตราการเกิดโรคปอดบวมสูง ชื่อของเชื้อนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 ต่อมาได้มีการค้นพบยาเพนนิซิลิน ที่ใช้รักษาโรคนี้ได้เป็นอย่างดีในปี 1940 แต่ในระยะหลังเชื้อเกิดอาการดิ้อยาชนิดนี้ และยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆด้วย ทำให้ยากต่อการรักษา เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถพบได้ทุกแห่ง ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในโพรงจมูกและคอของคนทั่วไป บางคนอาจจะมีเชื้อนี้แต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งเรียกว่าพาหะ เชื้อสามารถแพร่กระจายสู่บุคคลอื่นได้ เหมือนโรคไข้หวัด โดยการ ไอ จาม หรือทางอื่นๆที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายออกมาเป็นละออง สิ่งสำคัญที่เป็นตัวการในการติดเชื้อส่วนใหญ่คือ มือ ดังนั้น การล้างมือบ่อยๆก็เป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง ชื้อนิวโมคอคคัส สามารถทำให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่างๆได้ อาทิเช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดบวม โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายมากในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น กลุ่มบุคคลส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้จะเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ที่ตัดม้ามออกหรือม้ามทำงานผิดปกติ ", "title": "โรคนิวโมคอคคัส" }, { "docid": "363706#52", "text": "รายงานการค้นพบว่ามีเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นทำโดยนักวิทยาแบคทีเรียชาวออสเตรียชื่อแอนตอน ไวเซลบาม ซึ่งได้อธิบายถึง \"เมนิงโกคอคคัส\" ไว้ใน พ.ศ. 2430 ซึ่งในรายงานแรกๆ นั้นผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอัตราตายสูงมาก (มากกว่า 90%) ต่อมา พ.ศ. 2449 เมื่อมีการผลิตแอนตี้ซีรุ่มจากม้า และได้รับการพัฒนาต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาชื่อไซมอน เฟลกซ์เนอร์จนทำให้อัตราตายจากโรคเมนิงโกคอคคัสลดลงอย่างมาก ต่อมา พ.ศ. 2487 ค้นพบว่าเพนิซิลลินใช้ได้ผลกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการนำวัคซีนต่อเชื้อฮีโมฟิลุสมาใช้ก็ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อนี้น้อยลงอย่างมาก จากนั้น พ.ศ. 2545 ก็มีหลักฐานพิสูจน์ว่าการให้สเตียรอยด์สามารถทำให้พยากรณ์โรคของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียดีขึ้นได้", "title": "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" }, { "docid": "26366#0", "text": "ไรบอสตามัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ – อะมิโนไซคลิตอล (aminoglycoside-aminocyclitol) ที่แยกได้จากเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตมัยซิสที่มีชื่อว่า \"Streptomyces ribosidificus\" ซึ่งการค้นแรกจากตัวอย่างดินที่มาจากเมืองสึ, จังหวัดมิเอะ, ประเทศญีปุ่น มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย คือ 2-deoxystreptamine (DOS), neosamine C, และน้ำตาลไรโบส ไรบอสตามัยซิน รวมไปถึงยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่มี DOS เป็นหน่วยย่อยในโมเลกุล เป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างที่สำคัญที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นหนึ่งในรายการยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสาธารณสุข, อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์การดื้อต่อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อย่างไรบอสตามัยซิน ที่เพิ่มมากขึ้นของเชื้อแบคทีเรียนั้น กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจของวงการสาธารณสุข ซึ่งการดื้อต่อยากลุ่มนี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายขั้นตอน ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียโดยอาศัยเอนไซม์ต่างๆ ผ่านปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน, อะดีนิเลชัน, และอะซีทิเลชัน รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ยาปฏิชีวนะเข้าจับกับสายอาร์เอ็นเอบนไรโบโซมของเชื้อแบคทีเรียได้", "title": "ไรบอสตามัยซิน" }, { "docid": "362883#9", "text": "มีการค้นพบสิ่งกระตุ้นบางอย่างที่ทำให้เกิด HRS ในผู้ป่วยตับแข็งหรือตับวายเต็มขั้นซึ่งมีโอกาสเป็นโรค เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์เฉียบพลัน หรือการมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน โดยภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบเองจากแบคทีเรียซึ่งมีการติดเชื้อของน้ำมานนั้นเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิด HRS ที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยตับแข็ง นอกจากนี้ยังอาจถูกกระตุ้นได้จากการรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคตับ เช่น การให้ยาขับปัสสาวะเป็นปริมาณมาก หรือการเจาะระบายน้ำมานออกเป็นปริมาณมากโดยไม่มีการชดเชยสารน้ำที่สูญเสียไปด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่เพียงพอ", "title": "กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ" }, { "docid": "911215#5", "text": "ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยาไลนิโซลิดได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration; FDA) เพื่อให้ใช้ในการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอนเทอโรคอคคัส ฟีเซียม ที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) ทั้งในกรณีที่มีการแพร่กระจายและไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อดังกล่าวไปสู่กระแสเลือด, โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial pneumonia หรือ hospital-acquired pneumonia) ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (Staphylococcus pneumoniae), การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวหนังอย่างรุนแรง (Complicated skin and skin structure infections; cSSSI) ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังไวต่อไลนิโซลิด ซึ่งรวมไปถึงแผลติดเชื้อที่เท้าของโรคเบาหวาน (diabetic foot infection) ยกเว้นการติดเชื้อที่กระดูกและไขกระดูก (osteomyelitis) ที่รุนแรง, และการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวหนังที่ไม่รุนแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes) และสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (S. aureua)[3] ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตไม่แนะนำให้ใช้ยาดังกล่าวสำหรับการรักษาภาวะปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired pneumonia; CAP) หรือการติดเชื้อที่กระดูกหรือเนื้อเยื่ออ่อนที่ไม่รุนแรง (Uncomplicated skin and soft tissue infections; cSSIIs) ถึงแม้ว่าจะมีเชื้อ MRSA เป็นเชื้อสาเหตุก็ตาม[3] แต่สำหรับในสหราชอาณาจักรนั้น มีเพียงภาวะปอดอักเสบและการติดเชื้อที่กระดูกหรือเนื้อเยื่ออ่อนที่ไม่รุนแรงเท่านั้นที่ถือเป็นข้อบ่งใช้ถูกกำหนดให้ระบุไว้บนเอกสารกำกับยาของไลนิโซลิด[16]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "26342#9", "text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1928, เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ได้ค้นพบเพนิซิลลิน ซึ่งเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยราเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด เฟลมมิงทำงานเพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บจากสงครามและมีการติดเชื้อแบคทีเรียของแผล ในการเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเขาได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าถาดเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในบริเวณที่มีการปนเปื้อนรานั้นไม่มีการเจริญของแบคทีเรียดังกล่าว ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่ารานั้นคือสายพันธุ์ Penicillium chrysogenum [40] เฟลมมิงได้ตั้งสมมติฐานว่าราดังกล่าวอาจหลั่งสารบางอย่างที่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย เขาได้นำถาดเพาะเชื้อชิ้นนั้นไปเพาะเลี้ยงต่อ แล้วพบว่าเชื้อรานั้นได้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด และเขาได้ตั้งชื่อสารนั้นว่า เพนิซิลลิน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1929 เฟลมมิงเชื่อว่าคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียของสารนี้นั้นอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ เขาจึงได้เริ่มศึกษาถึงคุณสมบัติทางชีววิทยาของเพนิซิลลินและพยายามที่จะใช้สารสกัดอย่างหยาบ (crude preparation) ที่ได้จากการศึกษาเพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถพัฒนาสารนี้เพิ่มเติมต่อไปได้เนื่องจากไม่มีความช่วยเหลือนักเคมีที่มีความรู้และประสบการณ์[41][42]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "596444#0", "text": "การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) เป็น การติดเชื้อ จากแบคทีเรีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อส่วนของ ทางเดินปัสสาวะ หากติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง จะถือว่าเป็น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ) ทั่วๆ ไป ในขณะที่หากติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนบน จะถือว่าเป็น โรคกรวยไตอักเสบ (การติดเชื้อที่ไต) อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างคือ รู้สึกเจ็บปวดขณะที่ ปัสสาวะ และถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งหรือจำเป็นต้องปัสสาวะทันที (หรือทั้งคู่) ในขณะที่อาการที่เกิดจากโรคกรวยไตอักเสบนั้น นอกจากจะเหมือนกับที่พบในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแล้ว ผู้ป่วยยัง มีไข้ และ เจ็บที่บริเวณข้างลำตัว เพิ่มเติมอีกด้วย ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้เยาว์ อาการอาจไม่ชัดเจนและเจาะจงประเภทไม่ได้ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อทั้งสองประเภทคือ Escherichia coli แต่แบคทีเรีย ไวรัสหรือ เชื้อรา อื่นอาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน แม้ไม่บ่อยก็ตาม", "title": "การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ" }, { "docid": "55700#3", "text": "ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เฟลมมิงเห็นทหารจำนวนมากเสียชีวิตจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ เฟลมมิงพยายามช่วยรักษาแผลโดยใช้ยาฆ่าเชื้อโรค แต่ยาฆ่าเชื้อโรคกลับทำให้แผลบาดเจ็บเหล่านั้นมีสภาพแย่ลง ในบทความที่เขาได้ส่งไปยังวารสารทางการแพทย์ แลนด์เซทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เฟลมมิงได้กล่าวถึงการทดลองอันชาญฉลาดซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลที่ยาฆ่าเชื้อเหล่านั้นใช้ไม่ได้ผลและทำให้แผลเหล่านั้นมีอาการแย่ลง เขาอธิบายว่ายาฆ่าเชื้อใช้ได้ผลดีเฉพาะระดับผิวหนัง แต่สำหรับแผลลึกยาฆ่าเชื้อจะเข้าไปทำลายแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เซอร์ อาร์มร็อท ไรท์ ได้สนับสนุนการค้นพบครั้งนี้เป็นอย่างมาก แต่แพทย์ทหารก็ยังคงใช้ยาฆ่าเชื้อตัวเดิมในการรักษาแม้ว่าจะทำให้บาดแผลแย่ลงก็ตาม เมื่อกลับมาที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ ได้กลับมาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารต้านแบคทีเรีย และได้ค้นพบไลโซไซม์ ซึ่งเป็นสารยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียในสารคัดหลั่งจากจมูก", "title": "อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง" }, { "docid": "8239#0", "text": "Escherichia coli หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย เป็นต้น ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich มีลักษณะเป็นรูปท่อน ติดสีแดง เป็นแกรมลบ เป็น Facultative aerobe", "title": "Escherichia coli" }, { "docid": "3794#4", "text": "แม้ว่าโดยทั่วไปมักจะถือว่า หลุยส์ ปาสเตอร์ และโรเบิร์ต คอค เป็นผู้ริเริ่มสาขาจุลชีววิทยา แต่ผลงานของพวกเขาก็ยังไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องนัก เพราะพวกเขามุ่งศึกษาเฉพาะจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เท่านั้น ผู้ที่ถือได้ว่าริเริ่มสาขาวิชาจุลชีววิทยาทั่วไปอย่างแท้จริง คือ มาร์ตินุส ไบเจอริงค์ และเซลเก ไวโนแกลดสกี พวกเขาได้ทำให้ขอบเขตการศึกษาจุลชีววิทยากว้างขวางออกไป ไบเจอริงค์มีผลงานสำคัญทางด้านจุลชีววิทยา 2 ผลงาน คือ การค้นพบไวรัส และการพัฒนาวิธีเพาะเชื้อแบบเอนริช ผลงานการศึกษาไวรัสโรคลายด่างในยาสูบของเขาได้เป็นรากฐานของสาขาไวรัสวิทยา และการเพาะเชื้อแบบเอนริชมีบทบาทสำคัญต่อวงการจุลชีววิทยา โดยทำให้สามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ยังไม่เคยเพาะเลี้ยงได้ ส่วนไวโนแกลดสกี เป็นคนแรกที่คิดค้นแนวคิดเกี่ยวกับเคมีของดิน ซึ่งแสดงให้เห็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นกระบวนการทางเคมี และทำให้เขาค้นพบแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้", "title": "จุลชีววิทยา" }, { "docid": "26343#0", "text": "สเตรปโตมัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด รวมถึง วัณโรค, การติดเชื้อ \"Mycobacterium avium\" complex, เยื่อบุหัวใจอักเสบ, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลเบอโคเดอเรีย, กาฬโรค, ไข้กระต่าย, และไข้หนูกัด กรณีวัณโรคระยะแสดงอาการนั้นมักจะใช้สเตรปโตมัยซินร่วมกับไอโซไนอะซิด, ไรแฟมพิซิน, และไพราซินาไมด์ ยานี้สามารถบริหารยาได้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำและการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ\nสเตรปโตมัยซินจัดเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่หน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้แบคทีเรียเซลล์นั้นๆตายไปในที่สุด อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการได้รับการรักษาด้วยสเตรปโตมัยซิน ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, อาเจียน, อาการชาบริเวณผิว, ไข้, และมีผื่นคัน การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกหูหนวกแต่กำเนิดได้ แต่การใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นพบว่าค่อนข้างมีความปลอดภัย ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้สเตรปโตมัยซินในผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย เนื่องจากอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้\nสเตรปโตมัยซินถูกค้นพบใน ค.ศ. 1943 จากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces griseus\" โดยยานี้ได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และมีความสำคัญเป็นลำดับแรกของระบบสุขภาพพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่างๆ ราคาสำหรับการขายส่งของสเตรปโตมัยซินในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าระหว่าง 0.38 – 4.39 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อขนาดยาที่ต้องใช้ในหนึ่งวัน ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้น เฉพาะค่าใช้จ่ายของยาสเตรปโตมัยซินในการรักษาหนึ่งรอบนั้นมีมูลค่ามากกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐโดยส่วนใหญ่แล้ว การบริหารยาสเตรปโตมัยซินนั้นจะนิยมใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เนื่องจากหลายประเทศมีการจดทะเบียนเพียงรูปแบบเภสัชภัณฑ์ประเภทนี้เท่านั้น แต่ในบางพื้นที่นั้นอาจพบเห็นการใช้ยาดังกล่าวในรูปแบบการฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้บ้างประปราย", "title": "สเตรปโตมัยซิน" }, { "docid": "322607#17", "text": "กระบวนการของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราทำให้มีอาการและอาการแสดงที่หลากหลาย ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยช็อกเหตุพิษติดเชื้อพบเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบซึ่งผลิตชีวพิษภายในตัว (endotoxins) แต่จากอุบัติการณ์ของ Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA) และการใช้หลอดสวนหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ทำให้เชื้อแบคทีเรียรูปกลมแกรมบวกเป็นสาเหตุได้บ่อยใกล้เคียงกับแบคทีเรียรูปแท่ง การเรียงลำดับความรุนแรงของโรคกลุ่มนี้คร่าวๆ ได้แก่ ภาวะแบคทีเรียหรือเชื้อราในเลือด ภาวะเลือดเป็นพิษ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อรุนแรงหรือกลุ่มอาการภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา กลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ และเสียชีวิตตามลำดับ", "title": "ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ" }, { "docid": "26342#6", "text": "สารที่มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะนั้นถูกนำมาใช้ด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลายนับตั้งแต่สมัยโบราณ ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 การรักษาโรคติดเชื้อนั้นจะใช้ยาแผนโบราณเป็นหลัก โดยปรากฏมีการนำยาน้ำมิกซ์เจอร์ (Mixtures) ที่มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อเป็นเวลามากกว่า 2000 ปีที่แล้ว[30] อารยธรรมโบราณหลายแห่ง รวมถึงอียิปต์โบราณ และกรีซโบราณ มีการนำส่วนผสมหรือสารสกัดจากราและพืชสายพันธุ์ที่จำเพาะมารักษาโรคติดเชื้อชนิดต่างๆ[31][32] ส่วนการทดลองศึกษาในยุคถัดมานั้นมักทำขึ้นในห้องปฏิบัติการเพื่อทดลองและเฝ้าสังเกตการสังเคราะห์สารเพื่อต่อต้านซึ่งกันและกันในจุลชีพที่ต่างสายพันธ์กัน จนนำไปสู่การค้นพบยาต้านแบคทีเรียจากธรรมชาติที่สร้างจากจุลชีพในที่สุด หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ให้ข้อคิดเห็นและตั้งข้อสังเกตไว้ว่า \"หากเราสามารถเข้าใจการต้านกันและกันระหว่างเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ นั่นก็จะเป็นความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อ\"[33]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26342#35", "text": "การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์เป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากต้องมีการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นกับสัตว์เหล่านั้น[147] การค้นพบการประยุกต์ใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีนบางชนิดในปศุสัตว์นี้ทำให้การเลี้ยงวัวในปริมาณมากนั้นมีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวจะลดการเกิดโรคติดเชื้อในสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีนี้ทำให้ปศุสัตว์นั้นมีการเจริญเติบโตที่เร็วมากขึ้น ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น[156] อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะในการปศุสัตว์นี้ทำให้เกิดการตกค้างของยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอันตรายแก่มนุษย์ได้ อาทิ การสะสมของสารหนูซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโมเลกุลยาปฏิชีวนะบางชนิดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงการลดทอนประสิทธิภาพการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในมนุษย์ลง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการปรับตัวของแบคทีเรียก่อโรคให้ทนต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น[157] ดังนั้น ในปัจจุบัน การตรวจสอบการตกค้างยาปฏิชีวนะตกค้างในผลิตภัณฑ์จากการปศุสัตว์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องจึงเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยรับประกันความปลอดภัยของสินค้าจากการปศุสัตว์นั้นๆได้ก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค[158] นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะในการปศุสัตว์ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตกค้างของยาปฏิชีวนะในสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยของเสียจากสัตว์ลงสู่พื้นดิน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น[159]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "3794#3", "text": "หลุยส์ ปาสเตอร์ และโรเบิร์ต คอค เป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยเดียวกับโคห์น และถือได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มสาขาวิชา<b data-parsoid='{\"dsr\":[1010,1038,3,3]}'>จุลชีววิทยาทางการแพทย์ หลุยส์ ปาสเตอร์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการทดลองเพื่อพิสูจน์หักล้างทฤษฎีสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งทำให้จุลชีววิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ปาสเตอร์ยังได้ออกแบบวิธีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์ และคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคต่างๆอย่างเช่นโรคแอนแทรกซ์ อหิวาตกโรคจากสัตว์ปีก และโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนโรเบิร์ต คอค มีชื่อเสียงจากการสนับสนุนทฤษฎีการเกิดโรค ซึ่งพิสูจน์ว่าโรคชนิดใดๆจะเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะที่ก่อโรคนั้นๆเท่านั้น ต่อมาทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า สมมติฐานของคอค และคอคยังเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งศึกษาการแยกตัวของแบคทีเรียในการทำเชื้อให้บริสุทธิ์ ซึ่งทำให้เขาค้นพบเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ มากมาย เช่น เชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค", "title": "จุลชีววิทยา" }, { "docid": "26342#53", "text": "ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (Infectious Disease Society of America; IDSA) reported that the weak antibiotic pipeline นั้นไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่เพิ่มมากขึ้น โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา พบว่ามีการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่และได้รับการรับรองให้ใช้กับมนุษย์ในสหรัฐอเมริกาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น โดยในช่วงระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่สำหรับมนุษย์ที่ได้รับการรับรองให้ผลิตเชิงการค้านั้นมีจำนวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี โดยในรายงานดังกล่าวระบุว่ามียาปฏิชีวนะชนิดใหม่จำนวน 7 รายการที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบสกุลบาซิลลัส (Gram-negative bacilli; GNB) ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิกในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ถึงกระนั้น ยาดังกล่าวก็ไม่ได้มีขอบเขตการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมลบสกุลบาซิลลัสที่พบการดื้อยาปฏิชีวนะในปัจจุบัน[213][214] ตัวอย่างยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบหรือการนำยาปฏิชีวนะชนิดเดิมมาใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อป้องกันการเกิดการดื้อยาของแบคทีเรียหรือขยายขอบเขตการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะชนิดนั้นให้ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายมากขึ้น เช่น:", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "912927#0", "text": "สเปคติโนมัยซิน (; ชื่อการค้า: Trobicin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของหนองใน It is given by injection into a muscle.\nสเปคติโนมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่เป็นสารประกอบอะมิโนไซคลิตอล (Aminocyclitol) ที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและการเพิ่มจำนวน ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายในที่สุด อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่อาจเกิดได้จากการได้รับการรักษาด้วยสเปคติโนมัยซิน ได้แก่ เกิดอาการปวดบริเวณที่ได้รับการฉีดยา, ผื่น, คลื่นไส้, อาเจียน, ไข้,และนอนไม่หลับ ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง คือ ปฏิกิริยาการแพ้ยา ยานี้ค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และจัดเป็นยาทางเลือกหนึ่งในผู้ที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลินหรือเซฟาโลสปอริน\nสเปคติโนมัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1961 โดยคัดแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces spectabilis\" ทั้งนี้ ยานี้ได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และมีความสำคัญเป็นลำดับแรกของระบบสุขภาพพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่างๆ ราคาสำหรับการขายส่งของสเตรปโตมัยซินในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าประมาณ 5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อขนาดยาที่ต้องใช้ในการบริหารยาหนึ่งครั้ง ปัจจุบันยานี้ไม่มีจำหน่ายในตลาดยาของสหรัฐอเมริกา", "title": "สเปคติโนมัยซิน" }, { "docid": "26342#46", "text": "การเพิ่มขึ้นอุบัติการณ์การดื้อต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะดั้งเดิมของแบคทีเรียก่อโรคหลายสายพันธุ์ที่พบในปัจจุบัน ประกอบกับการลดลงของการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ รวมถึงยาที่อยู่ระหว่างการวิจัย (drug pipeline) ที่จะถูกนำมาใช้จัดการกับปัญหาดังกล่าว เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์ในการคิดค้นและพัฒนายาปฏิชีวนะทางเลือกอื่นที่แตกต่างจากแบบเดิมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน[193][194] โดยวิธีการรักษาโรคติดเชื้อจุลชีพแบบอื่นที่ไม่ใช้โครงสร้างหลักเป็นสารต้นแบบ (Non-compound approaches) ที่มีเป้าหมายการออกฤทธิ์ต่อจุลชีพ หรือเหนี่ยวนำให้แบคทีเรียก่อโรคนั้นเกิดการติดเชื้อจุลชีพอื่น อาทิ การใช้ฟาจในการรักษา และการให้วัคซีน นั้นกำลังอยู่ระหว่างการค้นคว้าพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่ที่จะจัดการกับปัญหาการดื้อยาของแบคทีเรียดังข้างต้น[195]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26342#28", "text": "โดยปกติแล้วการแบ่งกลุ่มยาปฏิชีวนะนั้นจะแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์, โครงสร้างทางเคมี หรือขอบเขตการออกฤทธิ์ โดยมีเป้าหมายการออกฤทธิ์มุ่งไปที่การขัดขวางการทำงานในระดับเซลล์หรือการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย[16] ซึ่งเป้าหมายเหล่านั้นอาจเป็นผนังเซลล์ (กลุ่มเพนิซิลลิน และกลุ่มเซฟาโลสปอริน) หรือเยื่อหุ้มเซลล์ (พอลีมิกซิน) หรือรบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นของแบคทีเรีย (กลุ่มไรฟามัยซิน, กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน, กลุ่มควิโนโลน, และกลุ่มซัลโฟนาไมด์) โดยที่ออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งดังข้างต้นนั้นจะมีคุณสมบัติเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย (กลุ่มแมโครไลด์, กลุ่มลินโคซาไมด์ และเตตราไซคลีน) จะเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) ยกเว้นกลุ่มอะมิโมไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย[99] นอกเหนือไปจากนี้มักเป็นการแบ่งตามความจำเพาะในการออกฤทะกับเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ (Narrow-spectrum antibiotics) จะหมายถึงยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อแบคทีเรียกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาทิ แบคทีเรียแกรมลบ หรือแบคทีเรียแกรมบวก เป็นต้น ในขณะที่ ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotics) จะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียได้หลายกลุ่ม นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มดังข้างต้น ได้มีการคิดค้นพัฒนายาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากย้อนไปในอดีตราว 40 กว่าปีที่แล้วตั้งแต่ที่มีการค้นพบสารประกอบกลุ่มใหม่ที่มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ก็ไม่ได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นเท่าใดนัก จนกระทั่งในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 2000 และต้นคริสต์ทศวรรตที่ 2010 ได้มีการพัฒนาคิดค้นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ขึ้นได้สำเร็จและถูกนำมาใช้ทางคลินิกมากถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไลโปเพปไทด์ (เช่น แดพโตมัยซิน), กลุ่มไกลซิลไซคลีน (เช่น ไทกีไซคลีน), กลุ่มออกซาโซลิไดโอน (เช่น ไลนิโซลิด), และ กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน (เช่น ฟิแดกโซมัยซิน)[100][101]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "911215#17", "text": "จากผลการศึกษาในการศึกษาดังข้างต้นพบว่า การใช้ไลนิโซลิดมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าการใช้แวนโคมัยซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อทำการรวบรมข้อมูลทั้งหมดแล้วพบว่า ร้อยละ 21.5 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไลนิโซลิดเสียชีวิต ขณะที่อีกหลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยไลนิโซลิดเสียชีวิตเพียงร้อยละ 16 โดยความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิตนี้เป็นผลมาจากเชื้อสาเหตุที่ต่างกลุ่มกัน โดยเมื่อจำแนกกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสาเหตุเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกกับกลุ่มที่มีเชื้อสาเหตุเป็นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ พบว่าในผู้ป่วยที่มีเชื้อสาเหตุเป็นเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกอย่างเดียวนั้นพบว่าไลนิโซลิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเทียบเท่ากับแวนโคมัยซิน[54][55] จากผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาออกคำเตือนถึงบุคลากรทางการแพทย์ว่ายังไม่มีการรับรองให้ใช้ไลนิโซลิดในการรักษาโรคติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหรือโรคติดเชื้ออื่นใดที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และถึงแม้ว่าจะมีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียแกรมลบว่าเป็นเชื้อสาเหตุหรือสงสัยว่าอาจเป็นเชื้อสาเหตุก็ควรเลือกใช้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่เหมาะสมเป็นทางเลือกแรกก่อน[54]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "363706#24", "text": "การเจาะหลังมีขั้นตอนการทำโดยเริ่มจากการจัดท่าผู้ป่วย ส่วนใหญ่จัดในท่านอนตะแคง ให้ยาชาเฉพาะที่ ใส่เข็มเข้าไปยังช่องใต้เยื่อดูราเพื่อเก็บน้ำหล่อสมองไขสันหลัง เมื่อเข้าถึงจุดนี้แล้วจะมีการวัดความดันเปิดของน้ำหล่อสมองไขสันหลังโดยใช้แมนอมิเตอร์ ค่าปกติของความดันจะอยู่ที่ 6 ถึง 18 เซนติเมตรน้ำ ความดันนี้มักพบว่าสูงกว่าปกติในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะของของเหลวที่เห็นอาจพอบอกโรคได้ โดยน้ำที่ขุ่นแสดงว่ามีระดับโปรตีน เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และ/หรือแบคทีเรียสูง จึงชี้ว่าน่าจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย\nตัวอย่างน้ำหล่อสมองไขสันหลังจะได้รับการตรวจหาและระบุชนิดของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง ระดับโปรตีนและระดับน้ำตาล การนำไปย้อมสีกรัมอาจทำให้เห็นเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ถึงจะตรวจไม่พบเชื้อก็ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่ใช่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากจะสามารถตรวจพบเชื้อจากการย้อมสีกรัมได้เพียง 60% ของผู้ป่วยเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะลดลงเหลือ 20% อีกด้วย หากผู้ป่วยได้รับยาปฏฺชีวนะก่อนที่จะเก็บตัวอย่างน้ำหล่อสมองไขสันหลัง นอกจากนี้การย้อมสีกรัมยังมีความน่าเชื่อถือน้อยในการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย การนำตัวอย่างน้ำไปเพาะเชื้อนั้นมีความไวสูงกว่า และสามารถระบุชนิดของเชื้อก่อโรคได้ถึง 70-85% ของผู้ป่วย แต่ใช้เวลานานถึงประมาณ 48 ชั่วโมงจึงจะได้ผล ชนิดของเม็ดเลือดขาวที่พบเด่นสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุได้คร่าวๆ ว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (ส่วนใหญ่เป็นนิวโทรฟิลเด่น) หรือไวรัส (ส่วนใหญ่เป็นลิมโฟซัยต์เด่น) ถึงแม้จะไม่เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนในช่วงแรกของการดำเนินโรคก็ตาม นอกจากนี้หากพบมีอิโอซิโนฟิลเด่นยังบ่งชี้ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากปรสิตหรือเชื้อรา และอื่นๆ ได้ ถึงแม้จะพบค่อนข้างน้อยก็ตาม", "title": "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" }, { "docid": "911215#46", "text": "สารกลุ่มออกซาโซลิไดโอน เป็นที่รู้จักกันในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ว่าเป็นสารในกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์มอนอเอมีนออกซิเดส (monoamine oxidase inhibitors) ต่อมาในทศวรรษที่ 1970 ทีมนักวิจัยในบริษัท อี.ไอ. ดูปองต์เดอเนอมูร์ ได้ค้นพบว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย[100] ในปี ค.ศ. 1978 บริษัทดูปองต์ได้จดสิทธิบัตรสารประกอบกลุ่มออกซาโซลิไดโอนหลายชนิดสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียและโรคติดเชื้อราในพืช และในปี ค.ศ. 1984 ได้จดสิทธิบัตรเพิ่มเติมสำหรับการใช้สารกลุ่มดังกล่าวในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[48][100] ต่อมาปี ค.ศ. 1987 นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทดูปองต์ได้บันทึกรายงานโดยจัดให้สารประกอบกลุ่มออกซาโซลิไดโอนเป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ เนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่มีอยู่เดิม[100][119] อย่างไรก็ตาม สารประกอบกลุ่มที่ค้นพบในช่วงแรกเริ่มนั้นพบว่ามีส่วนเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้การพัฒนายากลุ่มนี้หยุดชะงักลง[66]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "63218#5", "text": "มีการค้นพบแบคทีเรียในทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากปอดบวมใน ค.ศ. 1875 โดยเอดวิน เคลบส์[13] Carl Friedländerlคาร์ล ฟรีดแลนเดอร์ ค้นพบ Streptococcus pneumoniae ใน ค.ศ. 1882[14] และอัลเบิร์ต ฟรานเคล ค้นพบ Klebsiella pneumoniae ใน ค.ศ. 1884[15] การศึกษาวิจัยในช่วงแรกของฟรีดแลนเดอร์เป็นรากฐานของการนำสีย้อมกรัมมาใช้ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่ยังมีการใช้แพร่หลายในปัจจุบัน บทความวิจัยของคริสเตียน กรัม ได้บรรยายวิธีการย้อมสีเช่นนี้เอาไว้ใน ค.ศ. 1884 ว่าสามารถแยกแบคทีเรียออกได้เป็น 2 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าปอดบวมอาจมีเชื้อก่อโรคมากกว่าหนึ่งชนิด[16]", "title": "ปอดบวม" }, { "docid": "322607#4", "text": "เมื่อมีเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสเข้ามาในกระแสเลือดทำให้เกิดภาวะเลือดมีแบคทีเรีย (bacteremia) หรือภาวะเลือดมีไวรัส (viremia) หากเชื้อนั้นมีความรุนแรงหรือผู้รับเชื้อมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (systemic inflammatory response syndrome; SIRS) ภาวะพิษเหตุติดเชื้อจากนิยามคือภาวะเลือดมีแบคทีเรียร่วมกับ SIRS นั่นเอง หากภาวะพิษเหตุติดเชื้อนี้ดำเนินมากขึ้นจนอวัยวะสำคัญทำงานผิดปกติ เช่น ไตวาน ตับวาย การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้ตัว หรือหัวใจผิดปกติ เราจะเรียกภาวะนี้ว่าภาวะพิษเหตุติดเชื้อรุนแรง (severe sepsis) และหากภาวะพิษเหตุติดเชื้อรุนแรงแย่ลงไปจนถึงจุดที่ความดันโลหิตต่ำโดยไม่สามารถรักษาได้ด้วยการให้สารน้ำอย่างเดียว จะเข้ากับเกณฑ์ของช็อกเหตุพิษติดเชื้อ การติดเชื้อที่อาจชักนำให้เกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อเช่นปอดอักเสบ ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย โรคถุงยื่นของลำไส้อักเสบ (diverticulitis) กรวยไตอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และพังผืดอักเสบมีเนื้อตาย (necrotizing fasciitis)", "title": "ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ" }, { "docid": "340440#1", "text": "การทดลองดังกล่าวนำโดยแพทย์กรมบริการสาธารณสุขแห่งสหรัฐ จอห์น ซี. คัทเลอร์ ผู้ซึ่งในภายหลังมีส่วนในการทดลองซิฟิลิสในทัสคีจี ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยโดยซูซาน เอ็ม. รีเวอร์บี แห่งวิทยาลัยเวลส์เลย์ ผู้ซึ่งค้นพบเอกสารใน ค.ศ. 2005 ในขณะที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการทดลองซิฟิลิสในทัสคีจี เธอได้แบ่งปันสิ่งที่เธอค้นพบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา การวิจัยดังกล่าวมีขึ้นโดยความเห็นชอบของรัฐบาลกัวเตมาลาในขณะนั้น มีคนไข้ทั้งหมด 696 คน ในขณะที่การทดลองทัสคีจีมีขึ้นหลังจากการแพร่เชื้อซิฟิลิสตามธรรมชาติ แต่ในกัวเตมาลา แพทย์ได้ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ เป้าหมายของการศึกษาเพื่อประเมินผลของเพนิซิลลินในการป้องกันและการรักษากามโรค นักวิจัยให้ค่าจ้างแก่โสเภณีซึ่งถูกทำให้ติดเชื้อซิฟิลิสโดยให้มีเพศสัมพันธ์กับนักโทษและมีบางส่วนที่ถูกทำให้ติดเชื้อโดยตรงจากการฉีดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย เมื่อคนไข้ติดโรคแล้ว พวกเขาจะได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าคนไข้ได้รับการรักษาทั้งหมดหรือไม่ ฟรานซิส คอลลอนส์ ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ เรียกการทดลองดังกล่าวว่า \"ส่วนมืดในประวัติศาสตร์การแพทย์\" และระบุว่ากฎสมัยใหม่ห้ามการวิจัยในมนุษย์โดยปราศจากความยินยอมรับการรักษาโดยเด็ดขาด", "title": "การทดลองซิฟิลิสในกัวเตมาลา" } ]
438
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "13777#1", "text": "ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1892 และได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกในปีต่อมา ลิเวอร์พูลใช้สนามแอนฟีลด์ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือช่วงทศวรรษ 1970 - 1980 เมื่อบิลล์ แชงคลีและบ็อบ เพลสลี่ย์พาทีมคว้าแชมป์ลีก 11 ครั้ง และคว้าถ้วยรางวัลยูโรเปียน 7 ใบ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" } ]
[ { "docid": "782594#0", "text": "ฤดูกาล 2016–17 เป็นฤดูกาลที่ 125 ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และเป็นฤดูกาลที่ 54 ติดต่อกันของลิเวอร์พูลที่ได้อยู่โลดแล่นบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลที่ 25 ที่อยู่บนเวทีพรีเมียร์ลีก เช่นเดียวกับพรีเมียร์ลีก สโมสรจะได้แข่งขันในเอฟเอคัพ และอีเอฟแอลคัพ โดยแข่งขันตั้งแต่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ถึง 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2017", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2016–17" }, { "docid": "359612#4", "text": "ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ลิเวอร์พูลได้ซื้อ เคนนี แดลกลีช ในวัย 26 ปี ด้วยค่าตัวสูงสุดถึง 18 ล้านบาทซึ่งเป็นสถิติในการซื้อนักฟุตบอลของเกาะอังกฤษในยุคนั้น โดย เควิน คีแกน เพื่อนรวมทีมของลิเวอร์พูลในยุคนั้นมั่นใจในตัวของแดลกลีชว่า โดยแดลกลีชได้ลงเล่นนัดแรกหลังจากเขาย้ายมาอยู่กับลิเวอร์พูลได้ 1 สัปดาห์ ได้โชว์ฟอร์มอันแข็งแกร็งได้อย่างยอดเยี่ยมโดยเป็นคนทำไป 4 ประตูในนัดที่เจอกับ สโมสรฟุตบอลมิดเดิลสโบร ทำให้ลิเวอร์พูลเก็บ 3 แต้มสำคัญได้และเป็นการทำ แฮตทริก ของเขาในนัดที่ลงแข่งวันแรก โดยถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของสโมสรลิเวอร์พูล และในช่วงปลายฤดูกาล 1977-78 แดลกลีชนำลิเวอร์พูลได้แชมป์ฟุตบอลยุโรปถึง 3 ถ้วยมี ฟุตบอลในลีกดิวิชัน 1 และ แชมป์ ยูโรเปียนคัพ กับ แชริตีชีลด์ และแดลกลีชได้ถูกขึ้นเป็นดาวซัลโวในดิวิชัน 1 ประเทศอังกฤษในช่วงฤดูกาลนั้นอีกด้วยโดยทำไป 61 ประตู ในฤดูกาล 1978-79 แดลกลีชได้ถูกเลือกเป็นนักฟุตบอลที่ดีที่สุดจากสมาคมเอฟเอ ในประเทศอังกฤษ แดลกลีชทำผลงานต่างๆให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลได้มากมายไม่ว่าจะเป็น แชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ในประเทศ,ยูโรเปียนคัพ, เอฟเอคัพ, ลีกคัพ, ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ รวมทั้งหมด 22 ถ้วย และรวมถึง นักฟุตบอลดีเด่นประจำฤดูกาลของเกาะอังกฤษมาแล้ว 2 ครั้ง โดยแดลกลีชได้อยู่ร่วมกับผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูลมา 2 ยุคแล้ว คือ บ๊อบ เพสลีย์ และ โจ เฟแกน ซึ่งผู้จัดการทีม 2 คนนี้ก็ได้ชม เคนนี แดลกลีช ว่า คำพูดของบ๊อบ เพสลีย์ ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในช่วงฤดูกาล 1974-1983 และคำกล่าวของ โจ เฟแกน ผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูลในช่วงฤดูกาล 1983-1985 และเดอะค็อปทั่วโลกได้ตั้งนามให้เขาว่า \"คิง\" เพื่อให้ เคนนี แดลกลีช นักฟุตบอลสายเลือดสก๊อตคนนี้เป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่ของลิเวอร์พูลและจะเป็นขวัญใจของเดอะค็อไปทั่วโลกตลอดไป และในช่วงฤดูกาล 1984-85 โจ เฟแกน ได้ขอลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูล เดอะค็อปทั่วโลกจึงเสนอ เคนนี แดลกลีช เป็นผู้จัดการทีมคนต่อไปของลิเวอร์พูล และในช่วงปลายฤดูกาล 1989-90 แดลกลีชในช่วงผู้จัดการทีมได้นำลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของเกาะ อังกฤษ ซึ่งเป็นแชมป์ที่ 18 ของลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่ เคนนี แดลกลีช มอบให้สโมสรลิเวอร์พูล และเขาได้กล่าวไว้ก่อนที่เลิกเล่นอาชีพนักฟุตบอลเอาไว้ว่า คำกล่าวของนักฟุตบอลชาวสกอต ในวัย 40 ปี ก่อนที่จะออกจาก แอนฟิลด์ ไป ในปี ค.ศ. 1991 โดยแดลกลีชได้ลงเล่นไป 501 นัด ทำประตูไปได้ 169 ประตู", "title": "เคนนี แดลกลีช" }, { "docid": "463603#0", "text": "ฤดูกาล 2012-13 เป็นฤดูกาลที่ 121 ของ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และเป็นฤดูกาลที่ 21 พรีเมียร์ลีก ลีกชั้นสูงสุดของ ฟุตบอลอังกฤษ โดยในครั้งนี้ลิเวอร์พูลได้มีสิทธิไปเล่นถ้วย ยูฟ่ายูโรปาลีก ด้วยการเป็นแชมป์ ลีกคัพ เมื่อฤดูกาล 2011-12 ในรอบคัดเลือกรอบที่ 3", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2012–13" }, { "docid": "626795#12", "text": "รวมทุกการแข่งขัน โดยถ้าประตูรวมเท่ากันจะเรียงตามหมายเลขเสื้อ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2014–15" }, { "docid": "554876#1", "text": "รวมทุกการแข่งขัน โดยถ้าประตูรวมเท่ากันจะเรียงตามหมายเลขเสื้อ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2013–14" }, { "docid": "851795#2", "text": "โดยโฮลดิงไม่อยากให้สนามว่างเปล่าจึงได้ทำการฟอร์มทีมลิเวอร์พูลขึ้นมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1892 โดยเข้าแข่งใน เมื่อฤดูกาล 1892–93 และสามารถคว้าแชมป์เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของสโมสรทำให้ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันใน ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 (เดิม) ในฤดูกาลถัดมาคือฤดูกาล 1893–94 ซึ่งทางสโมสรลิเวอร์พูลสามารถคว้าตำแหน่งรองแชมป์ได้สำเร็จโดยแชมป์ในฤดูกาลนั้นคือ สโมสรแอสตันวิลลา", "title": "ประวัติสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (ค.ศ. 1892—1959)" }, { "docid": "446536#1", "text": "รายชื่อต่อไปนี้คือ รายชื่อคนที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมคนแรกของลิเวอร์พูลตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1892 โดยจะแสดงระยะเวลาได้ดำรงตำแหน่งและบันทึกการแข่งขันของสโมสรโดยรวม (ในแง่ของการแข่งขันที่ชนะ, เสมอและแพ้), เกียรติประวัติและความสำเร็จที่สำคัญในขณะที่ดำรงตำแหน่ง รวมถึง ผู้จัดการทีมชั่วคราว โดยจะเน้นในตาราง นับตั้งแต่ก่อตั้งถึงฤดูกาล 2008-09, สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลมีผู้จัดการทีม 17 คน ที่ดำรงตำแหน่งได้ครบวาระ", "title": "รายชื่อผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "851795#1", "text": "สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1892 ภายหลังจากความขัดแย้งถึงขั้นยกเลิกสัญญาเช่าสนามระหว่างบอร์ดบริหารของ สโมสรเอฟเวอร์ตัน กับ จอห์น โฮลดิง ซึ่งเป็นเจ้าของสนาม แอนฟีลด์ ที่เอฟเวอร์ตันเช่ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1884 สืบเนื่องจากโฮลดิงต้องการขึ้นค่าเช่าสนามแอนฟีลด์ทำให้ฝั่งเอฟเวอร์ตันไม่พอใจจึงตัดสินใจย้ายไปสร้างสนามใหม่คือ กูดิสันพาร์ก", "title": "ประวัติสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (ค.ศ. 1892—1959)" }, { "docid": "435415#1", "text": "เฮนเดอร์สันเคยเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 2008 โดยทำประตูไป 4 ประตู ปัจจุบันเขาได้ย้ายมาเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 2011 โดยสวมเสื้อหมายเลข 14 และเป็นรองกัปตันทีมลิเวอร์พูลในปี 2014 และในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ลิเวอร์พูล แต่งตั้ง เฮนเดอร์สัน ให้เป็นกัปตันทีมลิเวอร์พูลแทน สตีเวน เจอร์ราร์ด อดีตกัปตันทีมที่ย้ายไปอยู่ ลอสแอนเจลิส แกแลกซี", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "359612#5", "text": "ในช่วงฤดูกาล 1984-85 โจ เฟแกน ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในช่วงปี 1983-85 ได้ขอลาออกจากสโมสรเพราะเรื่องของการเมืองในประเทศของเขา ประธานสโมสรก็ไม่รู้ว่าจะเอาใครมาเป็นผู้จัดการทีมดี โดยเขาได้จัดตั้งกิจกรรมการเลือกโหวตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลขึ้นให้แฟนเดอะค็อปได้คิดกัน แล้วมีเดอะค็อปกลุ่มหนึ่งได้เสนอ เคนนี แดลกลีช มาเป็นผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล โดยประธานของสโมสรก็ได้เห็นด้วยจึงเลยเรียกตัว เคนนี แดลกลีช เข้ามาคุมทีม โดยการคุมครั้งแรกของแดลกลีชนั่นทำผลงานไปได้สวยเมื่อเข้ามาคุมทีมนัดแรกเก็บชัยชนะได้โดยบุกไปเยือน สโมสรฟุตบอลเชลซี โดยลิเวอร์พูลชนะไป 1-0 และคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของอังกฤษมาครองได้เป็นครั้งที่ 15 ในฤดูกาล 1987-88 แดลกลีชได้ซื้อนักฟุตบอลที่ชื่อ ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ มาเล่นในตำแหน่ง กองหน้าจากสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมของ สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด แล้วแดลกลีชก็หวังจะปั้นเขาให้เก่งเหมือนตน และในปีนี้แดลกลีชนำหงส์แดงคว้าแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ของอังกฤษ และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ มาได้และในช่วงฤดูกาล 1988-89 แดลกลีชได้นำทีมลิเวอร์พูลไปคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ ได้สำเร็จโดยชนะสโมสรคู่เมือง คือ สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ไป 3-2 และในช่วงฤดูกาล 1989-90 และ 1990-91 แดลกลีชได้นำทีมลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวชั่น 1 ของอังกฤษ และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ มาได้ก่อนที่เขาจะลาออกจากผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล โดยในนัดสุดท้ายที่เขานำทีมลิเวอร์พูลไปเยือน สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในรอบชิงคอมมิวนิตีชิลด์ โดยเสมอไป 1-1 แต่คว้าแชมป์ได้ด้วยการยิงจุดโทษชนะไป 6-5", "title": "เคนนี แดลกลีช" }, { "docid": "554876#0", "text": "ฤดูกาล 2013-14 เป็นฤดูกาลที่ 122 ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และเป็นฤดูกาลที่ 22 พรีเมียร์ลีก ลีกชั้นสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ โดยในครั้งนี้ลิเวอร์พูลได้มีสิทธิไปเล่นพรีเมียร์ลีก ผ่านเข้าไปเล่นในเอฟเอคัพและลีกคัพ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2013–14" }, { "docid": "429738#0", "text": "แดเนียล มอนเดอ อักเกอร์ () เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1984 เป็นนักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก เป็นเล่นตำแหน่งกองหลังทีม เปรินด์บือ และฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก อักเกอร์เข้ามาอยู่กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในพรีเมียร์ลีกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2014 เขาได้เป็นรองกัปตันทีมของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เขาได้ถูกบรรยายว่าเป็น \"ผู้อ่านเกมที่ดี ยิงบอลได้รุนแรง\" เขาเริ่มต้นการเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับเปรินด์บือ สโมสรในเดนมาร์ก ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2004 และเขาได้แชมป์ในการแข่งรายการเดนิชซูเปอร์ลิกาและเดนิชคัพ ก่อนจะย้ายไปสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 2006 และได้แชมป์ในการแข่งรายการเอฟเอคัพ, ลีกคัพ, และเอฟเอคัมมิวนิตีชีลด์", "title": "แดเนียล อักเกอร์" }, { "docid": "370848#0", "text": "รอเบอร์ท เบอร์นาร์ด 'ร็อบบี' ฟาวเลอร์ () เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1975 ในท็อกซ์เทท ประเทศอังกฤษ เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษ เป็นที่จดจำมากที่สุดในครั้งเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลใน 2 ช่วงเวลา และเขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดเป็นอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์ของพรีเมียร์ลีก ฟาวเลอร์ยิงประตูรวม 183 ประตูสำหรับลิเวอร์พูล โดย 128 ประตูในพรีเมียร์ลีกสำหรับลิเวอร์พูล (162 ประตูรวม กับทุกสโมสร) ต่อมาเขาย้ายทีมไปเล่นในสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด และ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีก่อนจะกลับมายังลิเวอร์พูลในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006", "title": "ร็อบบี ฟาวเลอร์" }, { "docid": "626795#1", "text": "สำหรับพรีเมียร์ลีกแล้ว ฤดูกาลนี้ ลิเวอร์พูลถือว่าประสบความล้มเหลวเมื่อเทียบกับฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งสโมสรได้ที่ 2 แต่ฤดูกาลนี้ ลิเวอร์พูลได้เพียงอันดับ 6 ซ้ำในนัดปิดท้ายฤดูกาล ยังเป็นฝ่ายแพ้ต่อ สโตกซิตี ไปถึง 6-1 ประตู ที่สนามบริแทนเนียสเตเดียม นับเป็นสถิติที่พ่ายแพ้มากที่สุดในรอบ 52 ปี ของสโมสร และถือเป็นการแพ้ที่มากที่สุดของสโมสรตั้งแต่มีการก่อตั้งพรีเมียร์ลีกขึ้นมาอีกด้วย ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2014–15" }, { "docid": "13777#19", "text": "ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งสโมสรฟุตบอลที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในโลก[24] ลิเวอร์พูลแถลงว่าฐานแฟนคลับทั่วโลกรวมไปถึงมากกว่า 200 สาขาได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก Association of International Branches (AIB) อย่างน้อย 50 ประเทศ[25] สโมสรจะได้ประโยชน์จากการสนับสนุนนี้ผ่านการทัวร์ฤดูร้อนทั่วโลก[26] แฟนคลับของลิเวอร์พูลได้เรียกตัวเองว่าเป็น Kopites เป็นการอ้างถึงของแฟนๆ ที่เคยยืนและนั่งในเดอะค็อปที่แอนฟีลด์[27] ในปี ค.ศ. 2008 แฟนบอลของลิเวอร์พูลได้ก่อตั้งทีมสาขาย่อยของลิเวอร์พูลมีชื่อว่า A.F.C. Liverpool แฟนบอลนับพันของลิเวอร์พูลไม่สามารถเข้าไปดูการแข่งขันได้ เนื่องจากตั๋วเข้าชมนั้นหายากหรือไม่ก็แพงเกินไปสำหรับแฟนบอล[28]", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "711506#0", "text": "ฤดูกาล 2015–16 เป็นฤดูกาลที่ 124 ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และเป็นฤดูกาลที่ 53 ติดต่อกันของลิเวอร์พูลที่ได้อยู่โลดแล่นบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลที่ 24 ที่อยู่บนเวทีพรีเมียร์ลีก เช่นเดียวกับพรีเมียร์ลีก สโมสรจะได้แข่งขันในเอฟเอคัพ, ลีกคัพ และยูฟ่ายูโรปาลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2015–16" }, { "docid": "863943#0", "text": "ฤดูกาล 2017–18 เป็นฤดูกาลที่ 126 ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และเป็นฤดูกาลที่ 56 ติดต่อกันของลิเวอร์พูลที่ได้อยู่โลดแล่นบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลที่ 26 ที่อยู่บนเวทีพรีเมียร์ลีก เช่นเดียวกับพรีเมียร์ลีก สโมสรจะได้แข่งขันในเอฟเอคัพ, อีเอฟแอลคัพและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยแข่งขันตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2018", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2017–18" }, { "docid": "947595#0", "text": "ฤดูกาล 2018–19 เป็นฤดูกาลที่ 127 ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และเป็นฤดูกาลที่ 57 ติดต่อกันของลิเวอร์พูลที่ได้อยู่โลดแล่นบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลที่ 27 ที่อยู่บนเวทีพรีเมียร์ลีก เช่นเดียวกับพรีเมียร์ลีก สโมสรจะได้แข่งขันในเอฟเอคัพ, อีเอฟแอลคัพและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยแข่งขันตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2019", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2018–19" }, { "docid": "521497#1", "text": "โกชิญญูถูกเรียกติดทีมชาติบราซิลชุดใหญ่และลงเล่นนัดแรกในปี ค.ศ. 2010 ก่อนที่จะถูกเรียกตัวชุดลุยศึกโคปาอเมริกา 2015 ต่อมาได้ย้ายไปที่อินเตอร์มิลานและสโมสรลิเวอร์พูลก่อนที่จะย้ายไปสโมสรบาเซโลน่าในปี 2018", "title": "ฟีลีปี โกชิญญู" }, { "docid": "223079#0", "text": "เมืองลิเวอร์พูล (English: Liverpool) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครและเป็นเมืองเมโทรโพลิตันของเมอร์ซีย์ไซด์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ ลิเวอร์พูลตั้งอยู่ทางตะวันออกของปากน้ำเมอร์ซีย์ (Mersey Estuary) ลิเวอร์พูลก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1207 และได้รับฐานะเป็น “นคร” ในปี ค.ศ. 1880", "title": "ลิเวอร์พูล" }, { "docid": "463603#11", "text": "รวมทุกการแข่งขัน โดยถ้าประตูรวมเท่ากันจะเรียงตามหมายเลขเสื้อ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2012–13" }, { "docid": "13777#29", "text": "เนื่องจากประวัติศาสตร์ของลิเวอร์พูลที่ประสบความสำเร็จ ลิเวอร์พูลมักเป็นจุดเด่นเมื่อฟุตบอลเป็นที่ปรากฏในวัฒนธรรมอังกฤษและปรากฏอยู่บนสื่ออันดับต้น ๆ สโมสรปรากฏในนิตยสารแมทช์ ออฟ เดอะ เดย์ ของบีบีซีฉบับพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งไฮไลท์การแข่งระหว่างลิเวอร์พูลกับอาร์เซนอลที่แอนฟีลด์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1964 และถือเป็นการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกของโลกด้วย เป็นการถ่ายทอดในระบบขาวดำโดยบีบีซี[51] และการแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกระหว่างลิเวอร์พูลกับเวสต์แฮมยูไนเต็ดเป็นการถ่ายทอดสดแบบภาพสีในมีนาคม ค.ศ. 1967 วงดนตรี Pink Floyd ที่เป็นแฟนของลิเวอร์พูลร้องเพลง \"Fearless\" ซึ่งตัดต่อมาจากเพลง \"You'll Never Walk Alone\" เพื่อจดจำการปรากฏตัวของสโมสรในเอฟเอคัพรอบสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1988 ลิเวอร์พูลได้แต่งเพลงเป็นที่รู้จักนชื่อ \"แอนฟีลด์แร็พ\" ร้องร่วมกับจอห์น บาร์นส์และสมาชิกคนอื่นๆ ของทีม ละครสารคดีเรื่องภัยพิบัติฮิลส์โบโร่ถูกเขียนโดยจิมมี่ แม็คโกฟเวิร์น ถูกฉายในปี 1996", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "926169#0", "text": "ฟุตบอลลีกคัพ 2003 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2003 ที่มิลเลนเนียมสเตเดียมในคาร์ดิฟฟ์ และเป็นรอบชิงชนะเลิศของฟุตบอลลีกคัพ ฤดูกาล 2002–03 ฤดูกาลที่ 43 ของฟุตบอลลีกคัพ ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลถ้วยขนาดเล็กที่มีสโมสรเข้าร่วมแข่งขันทั้ง 92 สโมสรจากในลีก โดยลิเวอร์พูลเข้าชิงเป็นครั้งที่ 9 โดยก่อนหน้านั้น พวกเขาชนะถึง 6 ครั้ง และแพ้ 2 ครั้งในรอบชิง ส่วนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เข้าชิงเป็นครั้งที่ 5 ก่อนหน้านี้ในรอบชิง พวกเขาชนะครั้งเดียว และแพ้ 3 ครั้ง", "title": "ฟุตบอลลีกคัพ 2003 นัดชิงชนะเลิศ" }, { "docid": "649159#0", "text": "จอร์แดน เบอร์นาร์ด รอสซิเตอร์ () เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2540 เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในตำแหน่งกองกลาง โดยมีชื่อเป็นตัวสำรองของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลครั้งแรกในฤดูกาล 2013–14", "title": "จอร์แดน รอสซิเตอร์" }, { "docid": "13777#5", "text": "หลังจากที่สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งได้ไม่นาน ได้จัดการแข่งขัดนัดอุ่นเครื่อง ซึ่งเป็นการลงสนามนัดแรกของทีมลิเวอร์พูลกับทีมร็อตเตอร์แฮม ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมลิเวอร์พูลชนะไปด้วยผลการแข่งขัน 7-1 และลิเวอร์พูล ได้ลงแข่งขันฟุตบอลลีกของแคว้น แลงคาเชียร์ ปรากฏว่าลิเวอร์พูลลงแข่งทั้งหมด 22 นัด ชนะ 17 นัด และได้แชมป์ไปครอง ส่งผลให้ทางสโมสรสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกซึ่งได้รับการยอมรับและถูกคัดเลือกให้ลงเล่นในดีวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1893-1894 สโมสรจึงได้เลือกสัญลักษณ์ของทีมเป็น นกลิเวอร์เบิร์ด (Liverbird) ซึ่งเป็นนกแถบทะเลไอริช บริเวณแม่น้ำเมอร์ซีย์ โดยที่ปากนกคาบใบไม้ไว้ ทีมลิเวอร์พูลได้ลงทำการแข่งขันอย่างเป็นทางในฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 2 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1893 โดยทีมลิเวอร์พูลออกไปเยือนทีมมิดเดิลสโบรห์ และทีมลิเวอร์พูลสามารถได้แชมป์มาครองโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยตลอดทั้งฤดูกาล (ทั้งหมด 28 นัด) แต่การคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 ในตอนนั้นยังไม่ได้เลื่อนชั้นโดยทันที ต้องไปแข่งนัดชิงดำกับทีมอันดับสองก่อน โดยทีมอันดับสองในขณะนั้นคือ ทีมนิวตัน ฮีธ (ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน) และลงแข่งขันที่สนามของทีมแบล็คเบิร์น ซึ่งทีมลิเวอร์พูลเอาชนะทีมนิวตัน ฮีธไปด้วยผล 2-0 และได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในที่สุด", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "463603#9", "text": "รวมทุกการแข่งขัน โดยถ้าประตูรวมเท่ากันจะเรียงตามหมายเลขเสื้อ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2012–13" }, { "docid": "463603#13", "text": "รวมทุกการแข่งขัน โดยถ้าจำนวนคลีนชีตส์รวมเท่ากันจะเรียงตามหมายเลขเสื้อ", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2012–13" }, { "docid": "326932#10", "text": "เกยต์ได้มีโอกาสลงเล่นมากขึ้นโดยทำผลงานยอดเยี่ยมในช่วงต้นปี 2012 ด้วยการยิงประตูชัยในนาที 88 ในเอฟเอคัพรอบ 4 ที่ แอนฟีลด์ นัดที่ลิเวอร์พูลพบแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยทำสกอร์ให้ลิเวอร์พูลชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไป 2-1 ต่อมา ในรอบชิงชนะเลิศถ้วยลีกคัพ ลิเวอร์พูลเจอกับคาร์ดิฟฟ์ซิตี เกยต์ลงมาเป็นตัวสำรองและสามารถทำประตูให้ลิเวอร์พูลขึ้นนำ 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ แต่สุดท้ายจบด้วยผลเสมอ 2-2 ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงจุดโทษ และเกยต์ยิงจุดโทษได้ด้วยและผลคือทำให้ลิเวอร์พูลชนะจุดโทษ 3-2 และสามารถคว้าลีกคัพมาได้ พอจบฤดูกาล 2011-12 ลิเวอร์พูลจบในอันดับที่ 8 โดยไม่ได้ไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกถึง 3 ครั้ง ซึ่งจบฤดูกาล เกยต์ยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้แค่ 2 ประตู เท่านั้น และเกยต์ก็ไม่ได้รับโอกาสเป็นตัวจริงทั้งหมด จึงทำให้เกยต์ต้องย้ายออกจากสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลไปอยู่สโมสรฟุตบอลเฟแนร์บาห์เชในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2012", "title": "ดีร์ก เกยต์" }, { "docid": "13777#6", "text": "สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล 1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล 1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล 1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ใน พ.ศ. 2497 (ฤดูกาล 1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงก์คลี เป็นผู้จัดการทีม เขาได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล 1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิล แชงก์ลี คว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65) และคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล 1965/66) ความสำเร็จของแชงก์ลียังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล 1972/73) และเอฟเอคัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล 1973/74) หลังจากนั้น บิลล์ แชงก์คลี ขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "13777#15", "text": "สนามฟุตบอลแอนฟีลด์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1884 ติดกับแสตนลีย์ ปาร์ค เริ่มแรกเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่เอฟเวอร์ตันย้ายสนามไปกูดิสันพาร์ค หลังจากขัดแย้งในเรื่องค่าเช่าพื้นที่สนามกับจอห์น โฮลดิง ผู้เป็นเจ้าของแอนฟีลด์ หลังจากนั้นโฮลดิ้งได้ก่อตั้งสโมรสรลิเวอร์พูลขึ้นเมื่อปี 1892 และแอนด์ฟีลด์จึงกลายเป็นสนามเหย้าของลิเวอร์พูลนับแต่นั้นมา ในขณะนั้นมีความจุของสนามทั้งสิ้น 20,000 คน ถึงแม้จะมีเพียงผู้ชม 100 คนเข้าชมการแข่งขันครั้งแรกของลิเวอร์พูลที่แอนฟีลด์", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" } ]
2110
สามก๊กเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศใด?
[ { "docid": "9800#2", "text": "สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นน", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#39", "text": "ศาลเจ้าสามก๊ก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดอู่โหวซื่อ ที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน สร้างขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์จิ้นตะวันตก ด้านหลังของวัดเป็นที่ตั้งสุสานของพระเจ้าเล่าปี่และจูกัดเหลียง ซึ่งเป็นตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในสามก๊ก ซึ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจีน เรื่องราวต่าง ๆ ในสามก๊กเริ่มต้นในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เนื่องจากในขณะนั้นเล่าปี่ปกครองและแต่งตั้งเสฉวนเป็นราชธานี โดยมีจูกัดเหลียงเป็นที่ปรึกษา ราษฏรใช้ชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุข แต่เมื่อเล่าปี่สวรรคตแล้ว ประชาชนต่างให้การยอมรับและนับถือจูกัดเหลียงมากกว่า จึงร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้นมาเพื่อเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่นานทางรัฐบาลจีนเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงมีคำสั่งให้สร้างศาลเล่าปี่ขึ้น รวมทั้งให้มีรูปปั้นขุนนาง 14 ท่านภายในศาลเจ้า", "title": "สามก๊ก" } ]
[ { "docid": "121597#0", "text": "สามก๊ก () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาว ที่แปลมาจาก วรรณกรรรมจีน เรื่องสามก๊ก วาดภาพโดย มิตสึเทรุ โยโกยามะ ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นอะนิเมะ ในปี พ.ศ. 2534 ออกอากาศทางสถานีทีวีโตเกียว และสร้างเป็นเกม สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส ในปี พ.ศ. 2550 เนื้อเรื่องในการ์ตูน แปลมาจาก หนังสือสามก๊กฉบับภาษาญี่ปุ่น ของเออิจิ โยชิคาวะ ซึ่งจะแตกต่างจาก สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)หรือ สามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบเล็กน้อย สามก๊กเป็นนิยาย ที่เต็มไปด้วย แผนการรบและกลอุบาย จนมีคำกล่าวว่า \"อ่านสามก๊กครบสามจบ คบไม่ได้\" ในประเทศไทย สำนักพิมพ์จัมโบ้ จัดพิมพ์สามก๊กเป็นเล่มใหญ่ โดยแบ่งเป็น 15 เล่ม", "title": "สามก๊ก (การ์ตูน)" }, { "docid": "9800#59", "text": "หงสาจอมราชันย์ เป็นการ์ตูนฮ่องกง เรื่องโดยเฉินเหมา นักเขียนการ์ตูนชาวฮ่องกง ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เรื่องราวหยิบยกเอาเหตุการณ์ในสามก๊ก จากทั้งวรรณกรรมและพงศาวดารมาเป็นโครงเรื่อง ซึ่งบางส่วนมีการตีความลักษณะของตัวละครขึ้นมาใหม่จากความคิดของเฉินเหมาเอง โดยมีสุมาอี้และเหลี่ยวหยวนหว่อหรือจูล่งเป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก ปัจจุบันนอกจากฮ่องกงกับไต้หวันแล้ว หงสาจอมราชันย์ยังถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปตีพิมพ์ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม สิงคโปร์ และไทย", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#47", "text": "สามก๊กเป็นวรรณกรรมจีนที่เป็นอมตะ ได้รับการกล่าวขานถึงการเป็นสุดยอดวรรณกรรมจีนที่ให้แง่คิดในเรื่องต่าง ๆ แม้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมานานแล้วในหลายยุคสมัย แต่ชื่อของตัวละคร สถานที่หรือลักษณะท่าทางต่าง ๆ ยังเป็นที่จดจำและกล่าวขานต่อ ๆ กันมาทุกยุคสมัย ในปัจจุบันสามก๊กกลายเป็นชื่อที่คุ้นหูคนไทยมาโดยตลอดและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับสามก๊กออกมาตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นหนังสือ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ รวมทั้งเกมวางแผน ซึ่งได้หยิบยกเรื่องราวและตอนสำคัญบางส่วนของสามก๊กนำมาทำเป็นเกมจำนวนมาก ซึ่งกล่าวได้ว่าสามก๊กนั้นเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อเนื่องตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#37", "text": "เรียบเรียงโดย เรืองวิทยาคม มีทั้งสิ้น 655 ตอน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ในเครือผู้จัดการ เหตุในการเรียบเรียงสามก๊กฉบับนี้ มาจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมด้วยปัญหาทางการเมืองควบคู่กัน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเรียบเรียงสามก๊กฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งในเนื้อหาเจตนาผู้เขียนมิได้กระทบกระเทียบเสียดสีผู้ใดในบ้านเมือง", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "9800#50", "text": "ละครโทรทัศน์ชุด สามก๊ก เป็นละครที่ผลิตขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อเป็นการเชิดชูวรรณกรรมอมตะของจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ด้วยความร่วมมือกับทางประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที สามก๊กในแบบฉบับละครโทรทัศน์ได้รับการนำเข้ามาออกอากาศครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดียส์ ออฟ มีเดีย จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และออกอากาศซ้ำอีกครั้งทางช่องเอ็มวีทีวีวาไรตี้แชนแนล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "154364#0", "text": "ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด \"สามก๊ก\" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที", "title": "สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)" }, { "docid": "9800#4", "text": "บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจือ () ซึ่งเป็นผลงานการเขียนในลักษณะพงศาวดารโดยตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว บัณฑิตแห่งราชวงศ์จิ้น อดีตข้าราชการอาลักษณ์คนหนึ่งของจ๊กก๊กที่ถูกกวาดต้อนมายังวุยก๊กหลังจากพ่ายแพ้ศึกสงคราม โดยเขียนขึ้นตามบัญชาของพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ต่อมาในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 1873 - พ.ศ. 1943 หลัว กวั้นจงในขณะที่เขากำลังทำงานเป็นกุนซือให้ก๊กต่อต้านราชวงค์หยวนกลุ่มหนึ่ง(ต่อมาถูกจูหยวนจางโจมตี) เขาได้นำซันกั๋วจือมาแต่งใหม่ในรูปแบบนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดนำมาจากซันกั๋วจือบ้างและแต่งเพิ่มเติมเองบ้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับซันกั๋วจือนั้น พบว่ามาจากซันกั๋วจือร้อยละ 70 และแต่งเองร้อยละ 30 โดยประมาณ\nซันกั๋วจื้อ () ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของตันซิ่ว ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยของยุคสามก๊กชุดแรก ซึ่งถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด มีความยาว 65 เล่ม ประกอบไปด้วย วุยจี่ (จดหมายเหตุก๊กวุย) จำนวน 30 เล่มสมุด จ๊กจี่ (จดหมายเหตุก๊กจ๊ก) จำนวน 15 เล่มสมุด และง่อจี่ (จดหมายเหตุก๊กง่อ) จำนวน 20 เล่มสมุด มีตัวอักษรรวมทั้งหมดประมาณ 360,000 ตัว ซึ่งในตอนแรกนั้นตันซิ่วไม่ได้ตั้งชื่อบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊กว่า \"ซันกั๋วจวื้อ\" ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ต้าซ่งผู้หนึ่งเป็นผู้ตั้งให้ แต่เนื่องจากตันซิ่วรับราชการเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นหรือวุยก๊ก ซึ่งทำให้การเขียนจดหมายเหตุสามก๊กนั้นเป็นการเขียนที่ยึดเอาราชวงศ์จิ้นเป็นหลัก ตันซิ่วยกให้วุยก๊กของโจโฉเป็นก๊กที่ปกครองแผ่นดินอย่างถูกต้อง ส่วนจ๊กก๊กของเล่าปี่และง่อก๊กของซุนกวน กลายเป็นเพียงรัฐที่มีการปกครองเพียงบางส่วนของประเทศจีนเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ทำให้มุมมองของตันซิ่วที่มีต่อจ๊กก๊กและง่อก๊กแตกต่างจากสามก๊กของหลัว กวั้นจง ซึ่งนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กมาดัดแปลงเพิ่มเติมจนกลายเป็นสามก๊กในปัจจุบัน", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "743196#3", "text": "เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีมีอำนาจ บ้านเมืองเต็มไปด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำนาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกกองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฏตัว", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "9800#55", "text": "สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ขนาดยาวที่ร่วมทุนสร้างระหว่างจีนและฮ่องกง ออกฉายพร้อมกันทั่วทวีปเอเชียในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน สร้างจากวรรณกรรมชิ้นเอกของจีนเรื่อง สามก๊ก ในตอน โจโฉ แตกทัพเรือหรือศึกผาแดง อำนวยการสร้างและกำกับโดย จอห์น วู ด้วยทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์เอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ด้วยกันเฉพาะในเอเชีย ส่วนประเทศอื่น ๆ จะฉายในตอนเดียวจบในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง นำแสดงโดยเหลียงเฉาเหว่ย, ทาเคชิ คาเนชิโร่, หลินจื้อหลิง, จางเฟิงอี้, ฉางเฉิน, เจ้า เวย, ฮูจุนและชิโด นากามูระ", "title": "สามก๊ก" } ]
3217
นครจำปาศักดิ์ มีที่ตั้งอยู่ที่ไหน?
[ { "docid": "572345#0", "text": "จำปาศักดิ์ (Lao: ຈໍາປາສັກ) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า \"ดินแดนสี่พันดอน\"", "title": "แขวงจำปาศักดิ์" } ]
[ { "docid": "289359#8", "text": "เสด็จเจ้าบุญอุ้ม จะทรงรักษาไว้ซึ่ง ฐานันดรศักดิ์ ด้วยการสืบทอดเชื้อสายโดยตรง ทางเพศชาย นามยศเจ้านครจำปาศักดิ์ ตำแหน่งและอภิสิทธิ์ต่างๆ ของเจ้านครจำปาศักดิ์ จะเป็นอันดับรองโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและองค์มกุฎราชกุมาร เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์ จะทรงได้รับ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารงาน และการอำนวยความสะดวกประจำปี จากงบประมาณแห่งพระราชอาณาจักรลาว เท่ากับ 2/3 ของพระราชวังฯ เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์จะทรงได้รับอสังหาริมทรัพย์ ที่ประทับ ไฟฟ้า รถยนต์ประจำตำแหน่ง ตลอดทั้งคนขับ เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์โดยตำแหน่ง ทรงเป็นองค์ตรวจราชการเมืองการปกครองต่างพระเนตร-พระกรรณ พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต โดยตำแหน่งนี้ จะทรงขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต เพื่อการรวมลาวเป็นหนึ่งเดียว เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์ จะทรงไม่ยอมรับที่จะขึ้นครองราชอาณาจักรจำปาศักดิ์[5]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "128994#0", "text": "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) หรือ เสด็จเจ้าย่ำขะหม่อมยุติธรรมธร ดำรงพระยศเดิมเป็นที่ เจ้าราชดนัยแห่งนครจำปาศักดิ์ (พ.ศ. 2440 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2489) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 12 และผู้ว่าราชการเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยที่ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ", "title": "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)" }, { "docid": "289359#31", "text": "ต่อมา ใน พ.ศ. 2490 หลังจากฝรั่งเศสแต่งตั้งให้เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เป็นผู้สำเร็จราชการการเมืองการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณในพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักลาว และภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรลาวซึ่งได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว เจ้าบุญอุ้มไม่พอพระทัยและไม่ปรารถนาที่จะให้ราชสกุลของพระองค์เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม ตามความต้องการของพระปิตุลาทั้ง 2 พระองค์ เจ้าบุญอุ้มจึงมีความดำริที่จะใช้ราชสกุลให้แตกต่างจากสกุลพระราชทานของกษัตริย์สยาม โดยอาศัยพระราชนิยมเดิมจากสกุล ณ จัมปาศักดิ์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงตั้งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ (Na Champassak) ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นราชสกุลของพระองค์เองในฐานะประมุขสูงสุดของราชวงศ์จำปาศักดิ์ และสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จำปาศักดิ์ทั้งหมด ซึ่งมีพระประสูติกาลและประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรลาวและนครจำปาศักดิ์", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "7585#51", "text": "เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตะปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ละว้า ขอม กูย ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ (กูย กวย ขอม) ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทน์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พ.ศ. 2261-พ.ศ. 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ละว้า ข่าต่าง ๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ (ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง", "title": "จังหวัดสุรินทร์" }, { "docid": "158684#6", "text": "เมื่อเจ้าฮุยถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2384 เจ้านาคผู้เป็นอุปราชจึงได้ครองเมืองสืบแทน จนถึงแก่พิราลัยด้วยอหิวาตกโรคใน พ.ศ. 2396 ทางฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งเจ้าคำใหญ่ ผู้เป็นโอรสของเจ้าฮุย ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ มีนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำใหญ่) จนถึง พ.ศ. 2402 ก็ถึงแก่กรรม เจ้าคำสุกผู้เป็นอนุชาจึงได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์สืบแทน มีพระนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) พระองค์ได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 ไปยังกรุงเทพฯจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ทั้งสามคนได้แก่ เจ้าราชดนัย (หยุย) เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุย)", "title": "อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์" }, { "docid": "72960#49", "text": "เมื่อพระวิไชยราชขัตติยวงศาถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2350 ฝ่ายอาณาจักรสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้านู โอรสของเจ้าไชยกุมาร ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน แต่ก็ถึงแก่พิราลัย หลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้เพียง 3 วัน ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งให้เจ้าหมาน้อย โอรสของอุปราชสุริโย เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งขึ้นในเมือง ทำให้เจ้าหมาน้อยถูกส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ และได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าราชบุตรโย้ โอรสของเจ้าอนุวงศ์ ที่มีความชอบจากการปราบกบฏอ้ายสา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าราชบุตรโย้จึงถูกเจ้าฮุยจับตัวส่งให้แก่ทางกรุงเทพฯ เจ้าฮุยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ใน พ.ศ. 2371", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "7605#11", "text": "ปี พ.ศ. 2354 เจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราชได้ถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านู หลานพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้านครจำปาศักดิ์องค์ก่อน เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์สืบต่อไป จึงทำให้เจ้าราชวงศ์เมืองโขง (เจ้าคำสิงห์) ไม่เป็นที่พอใจที่จะทำราชการกับเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จึงได้พาครอบครัว และไพร่พลอพยพมาอยู่ที่บ้านสิงท่าดังเดิม พร้อมนำอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) มาก่อเจดีย์บรรจุไว้ข้างองค์พระธาตุอานนท์ที่วัดมหาธาตุ เพราะเกรงว่าเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จะไม่เคารพอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) และได้ปรับปรุงพัฒนาบ้านสิงห์ท่าให้ใหญ่โตรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "134139#5", "text": "ต่อมาเมื่อพระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง) ร่วมมือกับเจ้าฝ่ายหน้าผู้อนุชา ซึ่งไปตั้งกองนอกเก็บส่วยอยู่ที่บ้านสิงห์โคกสิงห์ท่า (เมืองยโสธรหรือเมืองยศสุนทรในเวลาต่อมา) และถูกบังคับให้ช่วยเหลือกองทัพเมืองนครราชสีปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้วได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระประทุมราชวงศา เป็นที่ พระปทุมวรราชสุริยวงษ ทรงยกเมืองอุบลขึ้นเป็น เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช ยกฐานะเมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองประเทศราช (ลาวเรียกว่า เมืองลาดหรือเมืองสุทุดสะราช) ให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ. 2335) ส่วนเจ้าฝ่ายหน้า (ท้าวหน้า) พระอนุชาก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ มีพระอิสริยยศเป็นที่ เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เพื่อเป็นการแก้แค้นที่เจ้านครจำปาศักดิ์องค์เดิมไม่ยอมให้ความช่วยเหลือฝ่ายของตน เมื่อครั้งทัพนครเวียงจันทน์ยกมาตี เหตุการณ์นี้ยังนำมาซึ่งความไม่พอพระทัยของบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายจำปาศักดิ์สายเดิมซึ่งจะมีสิทธิ์ในการขึ้นเสวยราชย์นครจำปาศักดิ์ในลำดับถัดไปด้วย", "title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)" }, { "docid": "289359#7", "text": "หลังจากฝรั่งเศสได้ยึดจำปาศักดิ์จากสยามและยินยอมให้ลาวประกาศเอกราชแล้ว ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสได้บังคับพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระราชอาณาจักรลาว ให้มีความเห็นร่วมในการลดฐานะความเป็นเจ้าของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ ในการที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ให้กลายเป็นเพียงเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์คอยตรวจราชการต่างพระเนตรพระกรรณ และเป็นประมุขแห่งราชสกุลเท่านั้น จากการเห็นชอบโดยรวมระหว่าง 2 ฝ่าย ได้ลงมติว่าฐานะของเสด็จเจ้าบุญอุ้ม จะต้องเป็นไปตามสัญญาต่อท้าย (Protocole secret annexe au Modus Vivendi) ลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ดังนี้", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "128994#2", "text": "ต่อมาเมื่อเสด็จเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) พิราลัยด้วยพระโรคชราในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการสยามได้ให้เสด็จเจ้าอุปราช (เจ้าคำพันธ์) เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครจำปาศักดิ์ไปพลาง เนื่องจากยังไม่ทันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ดินแดนของนครจำปาศักดิ์ได้ตกอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้เกลี้ยกล่อมให้เจ้าราชดนัย (หยุย) เป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศักดิ์สืบต่อจากพระราชบิดา พระองค์จึงได้มีหนังสือลับไปทูลปรึกษาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะมีพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นฯ) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเวลานั้น ซึ่งกรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงตอบไปว่า \"\"ให้รับตำแหน่งทำการให้ฝรั่งเศสเสีย มิฉะนั้นถ้าฝรั่งเศสเอาพวกอื่นมาตั้งวงศ์ตระกูลเจ้ายุติธรรมจะได้รับความเดือดร้อน\"\" เจ้าราชดนัย (หยุย) จึงตกลงรับเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์นับแต่นั้น โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ตั้งให้เจ้าราชดนัย (หยุย) ขึ้นเป็นเจ้ายุติธรรมธรเช่นเดียวกับเจ้านครจำปาศักดิ์พระองค์ก่อน ๆ และนับเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานนามยศประจำที่เจ้ายุติธรรมธรเป็นลำดับที่ 3 ของราชวงศ์จำปาศักดิ์ด้วย", "title": "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)" }, { "docid": "158684#5", "text": "เมื่อพระวิไชยราชขัตติยวงศาถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2350 ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งเจ้านู พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าไชยกุมาร ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน แต่ก็ถึงแก่พิราลัย หลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้เพียง 3 วัน ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งให้เจ้าหมาน้อย โอรสของเจ้าอุปราชสุริโย เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งขึ้นในเมือง ทำให้เจ้าหมาน้อยถูกส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ และได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าราชบุตรโย้ โอรสของเจ้าอนุวงศ์ ที่มีความชอบจากการปราบกบฏอ้ายสา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าราชบุตรโย้จึงถูกเจ้าฮุยจับตัวส่งให้แก่ทางกรุงเทพฯ เจ้าฮุยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ใน พ.ศ. 2371", "title": "อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์" }, { "docid": "511991#12", "text": "ในพงศาวดารนครจำปาศักดิ์หรือตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ฉะบับ พระยามหาอำมาตยาธิบดี จากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ กล่าวว่า", "title": "เจ้าแก้วมงคล" }, { "docid": "289359#12", "text": "นครจำปาศักดิ์และหัวเมืองอันรวมเป็นราชอาณาจักรล้านช้างของชาวลาวตอนใต้ ได้พบกับมรสุมทางการเมืองจากหลายฝ่ายทั้งสยามและฝรั่งเศส จนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1948 กองประชุมสภาร่วมได้เสนอให้เสด็จเจ้าบุญอุ้มดำรงตำแหน่งประธานสภาร่วม พระองค์ทรงกล่าวคำปราศรัย ณ ที่ประชุม ในคำปราศรัยนั้นเต็มไปด้วยความรู้สึกสูญเสีย ความคับแค้นใจ ความไม่พึงพอใจที่พระองค์ถูกลดฐานะบทบาทในการที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งบรรพบุรุษของพระองค์ได้สถาปนามายาวนานถึง 236 ปี ให้กลายเป็นเพียงเจ้าผู้ครองนครและไร้อำนาจเต็มในการจัดการกับเมืองต่างๆ ที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ดังความว่า", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "874453#4", "text": "ถึงปี พ.ศ. 2428 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) เจ้านครจำปาศักดิ์ ได้มีใบบอกมายังกรุงเทพมหานคร ขอแต่งตั้งหลวงนรา (คำผุย) ผู้ช่วยเมืองเซลำเภา บุตรพระณรงค์ภักดี (อิน) เจ้าเมืองเซลำเภา เป็นพระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม เจ้าเมืองเซลำเภาลำดับที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามที่เจ้านครจำปาศักดิ์มีใบบอกมา และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองเซลำเภาเป็นเมืองธาราบริวัตร ขึ้นเมืองนครจำปาศักดิ์ แต่พระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม (คำผุย) ได้ยกครัวเรือนไปตั้งอยู่ที่บ้านเดิมตำบลเวินฆ้อง ฝั่งตรงข้ามเมืองเชียงแตง (ปัจจุบันคืออำเภอสตึงแตรง จังหวัดสตึงแตรง) แล้วตั้งตำแหน่งกรมการเป็นชุดเมืองธาราบริวัตรขึ้นใหม่อิกต่างหาก ส่วนเมืองเซลำเภาก็คงมีตำแหน่งผู้รักษาเมืองกรมการอยู่ตามเดิม พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์ ณ เวลานั้น จึงมีตราจุลราชสีห์ ตั้งหลวงภักดี (บุญจัน) บุตรพระณรงค์ภักดี (เต๊ก) เจ้าเมืองเซลำเภา เป็นพระภักดีภุมเรศ กองนอกส่วยผึ้ง มีตำแหน่งปลัด ยกกระบัตร มหาดไทย เมือง วัง คลัง นา เป็นชุดกรมการเมืองเซลำเภาอยู่ตามเดิม บังคับบัญชาปกครองเขตแขวง แยกจากเมืองธาราบริวัตรฝ่ายละฟากห้วยตลาด ระยะทางเมืองธาราบริวัตรกับเมืองเซลำเภาไกลกันทางเดินเท้า 3 วัน อาณาเขตเมืองเซลำเภา ธาราบริวัตรในเวลานั้น ฝ่ายเหนือตั้งแต่ห้วยละอ๊อกต่อแขวงเมืองสะพังภูผาลงไปถึงคลองเสียมโบก ต่อชายแดนกัมพูชาซึ่งอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ฝ่ายใต้ทิศตะวันตกถึงตำบลหนองปรัง สวาย ต่อแขวงเมืองมโนไพร ทั้งนี้ เมืองเซลำเภาและเมืองธาราบริวัตรจัดเป็นเขตการปกครองของนครจำปาศักดิ์ และรวมอยู่ในมณฑลอีสานเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล", "title": "อำเภอธาราบริวัตร" }, { "docid": "554881#4", "text": "ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐ เรื่อง คำให้การพระยาเมืองฮาม ซึ่งเป็นเอกสารฝ่ายสยาม ได้กล่าวถึงเชื้อสายของพระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ราม) ไว้ดังความว่า \"...หลวงเสนีพิทักษ์ ขุนพิศณุแสน ข้าหลวง วัน ๒ ๑๒ ค่ำ ปีจออัฏฐศกศักราช ๑๒๔๘ นายทองมหาดเล็ก เจ้าราชสัมพันธวงษ์ เจ้าหมุนเมือ ณ จำปาศักดิ์ ราชวงศ์ผู้ว่าราชการเมืองเชียงแตง นั่งพร้อมกัน ณ ทำเนียบที่พักเมืองเชียงแตง ได้หาตัวพระยาเมืองฮามมาถามด้วยรายเขตต์แดนเมืองเชียงแตง กับเมืองพนมเปญติดต่อกัน พระยาเมืองฮาม อายุ ๕๖ ปีให้การว่า เดิมพระยาเมืองฮาม ชื่อนายอยู่ บุตรพระยานาเหนือ มารดาชื่อแพง ตั้งบ้านเรือนอยู่จำปาศักดิ์ ครั้นอายุพระยาเมืองฮามได้ยี่สิบเก้าปี มาได้บุตรสาวของเพี้ยนันทา เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นภรรยาพระยาเมืองฮาม ก็ได้รับราชการอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์คำ ๆ ตั้งให้เป็นที่เพี้ยสุขรนันทา รับราชการมาช้านาน เจ้านครจำปาศักดิ์ถึงแก่พิราลัยแล้ว เจ้าคำศุขลงไปรับสัญญาบัตรเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ พระยาเมืองฮามได้เข้ารับราชการมาช้านาน เจ้านครจำปาศักดิ์จึงตั้งให้เป็นที่พระยาเมืองฮาม ข้าพเจ้าได้ทราบความเมื่อครั้งปีวอกฉศก ศักราช ๑๒๔๖ ปี มีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชเสนาแต่ยังเป็นที่หลวงภักดีณรงค์ ขึ้นมาจัดการอยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ พระยาราชเสนาได้หาตัวอุปฮาดราชวงศ์ เมืองเชียงแตงแลกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อย เมืองธราบริวัฒ เมืองศรีทันดร เมืองแสนปาง ขึ้นมาพร้อมกันที่เมืองนครจำปาศักดิ์ พระยาราชเสนา กับเจ้านครจำปาศักดิ์ ได้ถามอุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง ว่าอาณาเขตต์เมืองพนมเปญมาติดต่อกับเมืองเชียงแตงที่ตำบลใดได้ปักปันสิ่งใดไว้เป็นสำคัญ อุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง แจ้งความต่อพระยาราชเสนาข้าหลวง แลเจ้านครจำปาศักดิ์ว่า เขตต์แดนเมืองเชียงแตงต่อติดกับเมืองพนมเปญนั้นมีต้นมะขามที่บุ่งขลาท้ายเกาะแพ ด่านจะลับนั้นต่อติดกันที่ต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังต้นหนึ่งหว่างเขาตาปมแต่เดิมมา ภายหลังเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ฯ ก็ได้แต่งข้าหลวงออกมาปักปันเขตต์แดนที่ตำบลบุ่งขลาแห่งหนึ่ง ด่านจะลับแห่งหนึ่ง ครั้นปีฉลูสัปตศก ศักราช ๑๒๒๗ ปี เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์แต่ยังเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ลงไปวัดเส้นตรวจทางไปถึงบุ่งขลา ได้เอาหลักเสาไม้แก่นปักซ้ำรอยหลักเดิมหลักหนึ่ง ไปปักด่านจะลับตามรอยหลักเดิมหลักหนึ่ง แล้วพระยาราชเสนากับเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่งให้ข้าพเจ้ากับอำมาตย์เสนาเพี้ยเมืองซองเมืองนครจำปาศักดิ์ กับราชบุตรแสนปานท้าวสีโสราชเมืองศรีทันดร ไปปักหลักเขตต์แดนพร้อมด้วยอุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง ข้าพเจ้าพร้อมกันได้ออกไปถึงด่านบุ่งขลาได้ตรวจตราเห็นว่ามีต้นมะขามสามต้น แต่หลักเก่านั้นชำรุดผุโค่นเสียหมด ข้าพเจ้าจึงตัดไม้แก่นปักลงไว้ที่ตำบลบุ่งขลาหลักหนึ่ง แต่ที่ด่านจะลับนั้นได้ตรวจตราเห็นว่ามีต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังต้นหนึ่งอยู่หว่างช่องเขาตาปม แต่ต้นกะโดนต้นรังห่างพ้นเขาตาปมประมาณสิบเส้น ข้าพเจ้าก็พร้อมกันตัดเสาไม้แก่นปักไว้ห่างต้นรังเข้ามาสองวา ซ้ำรอยหลักเดิม แล้วข้าพเจ้าก็กลับมาแจ้งความต่อพระยาราชเสนาเจ้านครจำปาศักดิ์ ข้าพเจ้าให้การตามรู้ตามเห็น สิ้นคำให้การข้าพเจ้าแต่เท่านี้ ข้าพเจ้าได้ประทับตรารูปองคตถือพระขรรค์ไว้เป็นสำคัญ...\"", "title": "เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)" }, { "docid": "158684#4", "text": "หลังอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ตกเป็นประเทศราชของไทยแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2334 ได้เกิดกบฏขึ้นในนครจำปาศักดิ์ทำให้เจ้าไชยกุมารต้องเสด็จหนีแล้วไปสวรรคตในป่า แต่ท้าวฝ่ายหน้าแห่งบ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) กับพระปทุมสุรราช (คำผง) เจ้าเมืองอุบล ได้ยกกองกำลังไปปราบกบฏและตีเอาเมืองจำปาศักดิ์คืนมาได้ ทำให้ท้าวฝ่ายหน้าได้รับแต่งตั้งจากไทยให้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์มีนามว่า พระวิไชยราชขัตติยวงศา", "title": "อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์" }, { "docid": "128994#3", "text": "ต่อมารัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส ได้ยกเลิกฐานะความเป็นเจ้าผู้ครองนครลงเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 เสด็จเจ้ายุติธรรมธร (หยุย) จึงมีฐานะเป็นผู้ว่าราชการเมืองจำปาศักดิ์แทนแต่ก็ยังทรงดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์จำปาศักดิ์อยู่ จนถึง พ.ศ. 2484 เมื่อประเทศสยามได้ยึดดินแดนนครจำปาศักดิ์กลับคืนมาอีกครั้ง และจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์แล้ว ทางราชการไทยก็ได้คงพระเกียรติยศของเสด็จเจ้ายุติธรรมธร (หยุย) ในฐานะเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ไว้ตามเดิม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นเอง พระองค์ได้ทรงอยู่ในตำแหน่งและฐานันดรศักดิ์นี้จนถึงแก่พิราลัยในตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2489 ก่อนหน้าที่ดินแดนจำปาศักดิ์จะกลับไปเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งไม่นานนัก", "title": "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)" }, { "docid": "368060#4", "text": "พ.ศ. 2431 พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) และเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) ร่วมกันสร้างวัดมหามาตยารามขึ้นที่นครจำปาศักดิ์ขึ้นถวายคณะสงฆ์ธรรมยุต พระอาจารย์ม้าวจึงมอบหมายให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่ \"พระครูวิจิตรธรรมภาณี\" เจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 แล้วกลับไปปกครองคณะสงฆ์เมืองจำปาศักดิ์", "title": "พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)" }, { "docid": "137330#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2334 เกิดเหตุกบฏอ้ายเชียงแก้วที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายนครจำปาศักดิ์ไม่สามารถรับมือได้ เนื่องจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้น ถึงแก่พิราลัยกะทันหันหลังจากได้รับทราบข่าวศึก (ก่อนหน้านั้นพระเจ้าองค์หลวงฯ เองก็ประชวรเรื้อรังมานานแล้ว) เจ้าหน้าได้ร่วมมือกับพระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบล ผู้เป็นพี่ชาย ยกทัพไปปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วจนราบคาบ และเจ้าฝ่ายหน้าได้จับตัวอ้ายเชียงแก้วประหารชีวิตที่แก่งตะนะ (อยู่ในแม่น้ำมูล ระหว่างอำเภอพิบูลมังสาหารกับอำเภอสิรินธรในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่กองทัพเมืองนครราชสีมาจะยกมาถึงตามรับสั่งจากกรุงเทพฯ ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ ทำให้เจ้าหน้าได้รับการแต่งตั้งเป็น \"เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช\" เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ลำดับที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2335 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชจึงแบ่งไพร่พลเข้ามาอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ และตั้งให้เจ้าคำสิงห์ผู้หลานเป็นราชวงศ์เมืองโขง (สีทันดร) (ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้ามีราชทินนามที่พระสุนทรราชวงศา ดำรงฐานะเจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร)", "title": "พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช" }, { "docid": "289359#30", "text": "วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระราชอาณาจักรสยาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล ณ จัมปาศักดิ์ (Na Champassakdi) ลำดับสกุลพระราชทานที่ 1618 แก่บรรดาพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แห่งราชวงศ์จำปาศักดิ์ที่เสด็จมาประทับและรับราชการในประเทศไทย ด้วยไม่ปรารถนาจะเป็นข้าราชการของอินโดจีนฝรั่งเศส 2 พระองค์ คือ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบงหรือเจ้าเบ็งคำ) ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายอำเภอเมืองพิษณุโลก ปลัดเมืองแพร่ และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุยหรือเจ้าอุ้ย) อภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ นครเวียงจันทน์ อดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในพระราชอาณาจักรสยาม เจ้านายทั้ง 2 พระองค์นี้ทรงเป็นพระราชโอรสในยั้งขะหม่อมสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (เจ้าคำสุกหรือเจ้าคำศุข) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 11 และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จเจ้าย่ำขะหม่อมปาศักดิ์ (ฮุย) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 7 นอกจากนี้ ทั้ง 2 พระองค์ยังทรงเป็นพระปิตุลา (อา) ของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ อีกด้วย", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#1", "text": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2454 ภายในพระราชวังหรือหอโฮงหลวงนครจำปาศักดิ์ ณ ดอนท่าลาด แขวงนครจำปาศักดิ์ เมื่อครั้งลาวยังตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในเจ้ายั้งขะหม่อมสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 12 (ระหว่าง พ.ศ. 2436 – 2489) และพระอัครชายาเจ้าเฮือนหญิงสุดสมร เป็นพระราชนัดดาในเจ้ายั้งขะหม่อมสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 11 ทรงมีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา 2 พระองค์คือ เจ้าสมบูรณ์ ณ จำปาศักดิ์ และเจ้าบุญอ้อม ณ จำปาศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาวในรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว ทรงสำเร็จการศึกษาจากสำนักการศึกษาอินโดจีนฝรั่งเศส ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม [1] ใน พ.ศ. 2484 เมื่อนครจำปาศักดิ์กลับมาเป็นของไทยหลังกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้คืนนครจำปาศักดิ์กลับไปแก่ไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้สถาปนาให้เจ้าบุญอุ้มเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ เมื่อลาวได้รับเอกราชจำปาศักดิ์จึงถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของลาว เจ้าบุญอุ้มจึงสละสิทธิ์การเป็นกษัตริย์เหนือดินแดนดังกล่าว", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#34", "text": "อย่างไรก็ตาม เจ้านายในจำปาศักดิ์บางองค์ที่ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรลาวและนครจำปาศักดิ์ ยังมีการใช้ราชสกุลที่รับพระราชทานจากพระองค์ว่า ณ จำปาศักดิ์ หรือ นะจำปาสัก (ນະຈຳປາສັກ) หรือ นะ จำปาสัก (ນະ ຈຳປາສັກ) และ นะจำปาสักดิ (ນະຈຳປາສັກດິ) ก็มี ราชสกุลที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการเขียนตามแบบอย่างภาษาลาวตามความเข้าใจของเจ้านายจำปาศักดิ์บางพระองค์ เนื่องจากในชั้นต้นนั้นภาษาลาวในฝ่ายอาณาจักรไม่นิยมใช้ ดิ์ และนิยมเขียนตามคำอ่านคล้ายการสะกดคำพื้นฐานของภาษาไทย ส่วนนามสกุลที่มีความเกี่ยวข้องกับราชสกุล ณ จัมปาศักดิ์ มีหลายสกุล สันนิษฐานว่า ราชสกุล ณ จัมปาศักดิ์ เป็นต้นนามสกุลต้นแบบของสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า \"จำปา\" ทั้งหมด แต่มิได้ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าสืบทอดมาจากราชสกุลนี้[20]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "572345#2", "text": "อาณาจักรจำปาศักดิ์เกิดขึ้นหลังจากอาณาจักรฟูนานเสื่อมสลายลง ชาวลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนในแถบนี้ เกิดเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานครบุรีศรี หรือ จำปานคร ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สยัมภูปุระ", "title": "แขวงจำปาศักดิ์" }, { "docid": "158684#8", "text": "ผู้ปกครองอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก่อนปี พ.ศ. 2322 อันเป็นปีที่เสียเอกราชแก่อาณาจักรสยามนั้น มีสถานะเป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรเอกราช นับตั้งแต่ พ.ศ. 2322 เป็นต้นไปถือว่าเป็นเจ้าผู้ครองนคร เนื่องจากสถานะของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์เป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในบางสมัยปรากฏว่าเมื่อเจ้าผู้ครองนครถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราชจะเป็นผู้รักษาราชการไปก่อนจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งลงมาจากกรุงเทพมหานคร", "title": "อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์" }, { "docid": "318008#8", "text": "ลำดับเจ้าอาวาสวัดไชยมงคล (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๕๕๓)เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ทรงเป็นเจ้านายลาวพระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการค้นคว้า และรวบรวมตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ร่วมกันกับเจ้าราชวงษ์ผู้เป็นเจ้านายลาวจากนครจำปาศักดิ์ ตำนานนี้ถูกรวบรวมไว้ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐ เรียกว่า ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์\nฉะบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ และเจ้าราชวงศ์ ดังปรากฏความในตอนต้นของตำนานว่า", "title": "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์" }, { "docid": "128994#1", "text": "เสด็จเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2417 เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของเสด็จเจ้าย่ำขะหม่อมยุติธรรมธรนครจำปาศักดิ์รักษาประชาธิบดี (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 11 ได้รับพระราชทานพระยศจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ให้เป็นที่เจ้าราชดนัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการในเจ้านครจำปาศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2440 อนึ่ง ตำแหน่งเจ้าราชดนัยนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่พระราชโอรสของเจ้านครประเทศราช ซึ่งรองจากพระยศของเสด็จเจ้าราชบุตรหรือเจ้าราชบุตร แต่มิได้นับเข้าในระบบการปกครองแบบอาญาสี่ซึ่งเป็นระบบการปกครองดั้งเดิมของลาว ", "title": "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)" }, { "docid": "72960#48", "text": "ภายหลังจากที่จำปาศักดิ์แยกเป็นอิสระจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2257 โดยมีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้เป็นหลานของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2321 ในสมัยของเจ้าไชยกุมาร นครจำปาศักดิ์ก็ต้องเสียเอกราชให้แก่ไทย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2334 ได้เกิดกบฏขึ้นในนครจำปาศักดิ์ทำให้เจ้าไชยกุมารต้องเสด็จหนีแล้วไปสวรรคตในป่า แต่ท้าวฝ่ายหน้าแห่งบ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) กับพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบล ผู้เป็นพระเชษฐา ได้ยกกองกำลังไปปราบกบฏและตีเอาเมืองจำปาศักดิ์คืนมาได้ ทำให้ท้าวฝ่ายหน้าได้รับแต่งตั้งจากไทยให้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์มีนามว่า พระวิไชยราชขัตติยวงศา", "title": "อาณาจักรล้านช้าง" }, { "docid": "289359#27", "text": "หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยได้คืนดินแดนจำปาศักดิ์ที่ได้มาเมื่อปี พ.ศ. 2484 ให้แก่ฝรั่งเศส แต่ลาวต้องกลับไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสตามเดิม เจ้าบุญอุ้มผู้เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของเจ้านครจำปาศักดิ์พระองค์ก่อน ได้รับการตอบแทนจากฝรั่งเศสอย่างมหาศาล ด้วยการสถาปนาให้เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ และมีฐานที่มั่นทางการเมืองอยู่ ณ เมืองปากเซทางตอนใต้ของลาว พระองค์จึงมีโอกาสและช่องทางแสวงหาทรัพย์สินจำนวนมาก โดยเฉพาะผลกำไรจากกิจการเหมืองแร่และกิจการค้าอาวุธกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ ตลอดจนงบประมาณประจำปีจำนวนมากที่รัฐบาลต้องจ่ายให้ตามสัญญาต่อท้าย เมื่อพระองค์ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองปากเซ ในปี พ.ศ. 2511 พระองค์ก็ทรงสร้างพระราชวังอันหรูหราและใหญ่โตขึ้นที่บ้านพระบาท[10] บนเนินสูงใจกลางเมืองปากเซ เพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระองค์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และใช้เป็นสถานที่ว่าราชการเมือง ห่างจากตัวเมืองปากเซไปทางทิศตะวันออกบนทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 500 เมตร ใกล้กับวัดพระบาท ราว 0.2 กิโลเมตร และใกล้กับพิพิธภัณฑ์มรดกทางประวัติศาสตร์จำปาศักดิ์ ราว 0.8 กิโลเมตร[11]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#0", "text": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ (Lao: ເຈົ້າບຸນອຸ້ມ ນະ ຈຳປາສັກ; ประสูติ: 12 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – สิ้นพระชนม์: 17 มีนาคม พ.ศ. 2523) หรือ เสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 13 (พระองค์สุดท้าย) ทรงประสูติในราชวงศ์จำปาศักดิ์และสืบพระราชสันตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชอาณาจักรจำปาศักดิ์และพระมหากษัตริย์แห่งนครจำปาศักดิ์พระองค์แรกของลาว เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว 2 สมัย อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว และประมุขแห่งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ และสกุล จำปา ทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองลาวในฐานะลาวฝ่ายขวาหลังได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยพระราชอาณาจักรลาวในปี พ.ศ. 2518 ทรงได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวในฐานะที่เป็นผู้ยอมสละราชบัลลังก์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ เพื่อให้ประเทศลาวรวมเป็นแผ่นดินเดียวกัน และทรงดำรงพระอิสริยยศแห่งราชวงศ์สูงเป็นลำดับที่ 3 ของพระราชอาณาจักร รองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและสมเด็จเจ้าฟ้าองค์มกุฎราชกุมาร", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "572345#4", "text": "ช่วงปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้รับดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส โดยนำท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ได้แก่พื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรงและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ยกขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ โดยมีเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เป็นผู้ครองนคร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด ไทยในฐานะผู้แพ้สงครามต้องส่งดินแดนดังกล่าวคืนให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2497 จึงได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักรขึ้นเป็นราชอาณาจักรลาว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาศักดิ์ของประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน โดยเจ้าครองนครองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์", "title": "แขวงจำปาศักดิ์" } ]
3461
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาก่อตั้งปีใด ?
[ { "docid": "12218#4", "text": "ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า \"โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย\" เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน \nดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่ว่าจากพระราชอุทยานสู่สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในอนาคตอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ตามเจตนารมของผู้บริหารและนักศึกษาต่อไป\nต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525\nสถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.) ,Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ \"มหาวิทยาลัยชั้นนำ\" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง \"SSRU TV Online\" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "12218#0", "text": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา () เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเองว่า \"ลูกพระนาง\" ซึ่งพระนางในที่นี้หมายถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว\nมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา \"โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย\" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา\" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "12218#2", "text": "ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น \"มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา\" นับแต่นั้นเป็นต้นมา", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" } ]
[ { "docid": "852460#1", "text": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2480 จนถึง พ.ศ. 2560 รวมเวลา 80 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เริ่มก่อตั้งจาก \"โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย\" ก่อนปี พ.ศ. 2491 วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สอนในระดับประถมและมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ. 2501 ได้เปิดสอนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสวนสุนันทา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิทยาศาสตร์จัดเป็นหมวดวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วย ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป", "title": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "852258#1", "text": "วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ แรกเริ่มก่อตั้งตามมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้อนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เพื่อวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีความพร้อม มีประสบการณ์และมีความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ(การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ) วิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ขณะนั้น)", "title": "วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "852480#2", "text": "ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ได้เปลี่ยนแปลงประเภทเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ทำให้บัณฑิตวิทยาลัยได้รับการจัดตั้งให้เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างภายในของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ที่มีการบริหารงานบุคคลและงานบริหารวิชาการของตนเอง โดยมีหน้าที่กำกับมาตรฐานและประสานงานการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการจัดตั้งและดำเนินงานการจัดการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย", "title": "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "12218#1", "text": "วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม \"สถาบันราชภัฏ\" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ ทำให้วิทยาลัยครูสวนสุนันทามีชื่อเป็น \"สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา\" โดยอัตโนมัติ แต่ยังไม่เป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีสถานะเป็น \"สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา\" อย่างเป็นทางการ", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "852299#3", "text": "ปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้อนุมัติการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2559 การขยายอาคารสถานที่ใหม่ไปยังวิทยาเขตศาลายา ให้ วิทยาลัยฯ สามารถรับนักศึกษาได้มากขึ้นถึง 4,000 คน การเผชิญกับความท้าทายของโลกแห่งการทำงาน  ทำให้วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พยายามทุ่มเทแรงกาย  แรงใจ และมุ่งมั่นในการสร้างความเป็นเลิศให้กับบัณฑิตเพื่อนำความรู้ ความสามารถไปปรับใช้กับการทำงานและพร้อมที่จะเข้าสู่สถานประกอบการอย่างสมบูรณ์", "title": "วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "852449#1", "text": "คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นเพียงภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทาเท่านั้น นับเป็นการพัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 40 ปี", "title": "คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "780758#0", "text": "คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Faculty of Education, Suansunandha Rajabhat University) ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัย\nธ เนรมิตกลิ่นแก้วการศึกษา\nคือคุณค่าครุศาสตร์ปราชญ์แผ่นดิน\nองอาจปราดเปรื่องเป็นทรัพย์สิน\nกำจายกลิ่นครุศาสตร์ดาษดา\nปรัชญานิยมล้ำลึกศึกษา\nรับใช้ประชาเป็นเรือจ้างสร้างชาติไทย\nเปี่ยมประเสริฐงามงดสดใส\nรักษาไว้ชีพพร้อมยอมพลี\nสร้างคุณค่าเทิดรักศักดิ์ศรี\nหอมทวีกลกลิ่นแก้วจุลจอม", "title": "คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "852480#1", "text": "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในขณะที่สถาบันมีฐานะเป็นสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา โดยการจัดตั้ง \"โครงการบัณฑิตศึกษา\" ขึ้น โดยมีสายงานขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษมีชื่อเรียกภายในว่า \"บัณฑิตวิทยาลัย\" มีฐานเทียบเท่าคณะ ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อทำหน้าที่จัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งหมายถึง การศึกษาในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาดุษฎีบัณฑิตในสาขาต่างๆ", "title": "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" } ]
3044
แสบคูณสอง ผลิตโดยบริษัทอะไร?
[ { "docid": "685421#0", "text": "เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแสบคูณสอง และเป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 และยุติการออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีพิธีกรคือเกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี และ ไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2546 - 2548)", "title": "เกมพันหน้า" } ]
[ { "docid": "658489#37", "text": "ในแสบคูณสองยุคแรกนั้นจะมีผู้เข้าแข่งขัน 3 คนต่อสัปดาห์ด้วยกัน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ถึงเดือนเมษายน 2540 โดยหลังจากจบรอบแสบปริศนาและแสบไม่รู้ตัวจะมีผู้ตกรอบรอบละ 1 คน และหาผู้เข้าแข่งขัน 1 คนเข้ารอบ Jackpot ภายหลังในเดือนพฤษภาคม 2540 ถูกปรับเปลี่ยนเป็น 5 คนต่อสัปดาห์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะไม่เหมือนกัน โดยหลังจากจบรอบแสบพบญาติจะมีผู้ตกรอบ 1 คน และที่เหลืออีก 4 คน จะแบ่งเป็นทีม ทีมละ 2 คนตั้งแต่รอบแสบปริศนา และ 2 คนจากรอบแสบปริศนาจะต้องแข่งขันกันในรอบแสบไม่รู้ตัวเพื่อหาผู้เข้ารอบ Jackpot ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นทีมที่ตอบถูกในรอบแสบปริศนาเข้ารอบ Jackpot ต่อมาในยุคแสบคูณสองแลกหมัดจะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คน และหา 1 คนเข้ารอบ Jackpot ต่อมาเปลี่ยนเป็นผู้แข่งขันเป็นคู่ คู่ละ 2 คน และหา 1 ทีมเพื่อเข้าสู่รอบ Jackpot และต่อมาในยุคแสบคูณสอง ยกแก๊งจะเหลือผู้เข้าแข่งขัน 3 คนต่อสัปดาห์เช่นเดียวกับยุคแรก และหาผู้เข้าแข่งขัน 1 คนเข้ารอบ Jackpot เช่นเดียวกัน", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "169627#1", "text": "ต่อมาได้ร่วมหุ้นกับ \"เกียรติ กิจเจริญ\" (ซูโม่กิ๊ก) พิธีกรและดาวตลกชื่อดัง เปิดบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ผลิตรายการเกมโชว์ \"แสบคูณสอง” ตั้งแต่ปี 2540 ตามมาด้วยรายการ \"รักกันสนั่นเมือง\", \"เกมพันหน้า\", \"จิกะไบท์\", \"ยุทธการบันเทิง\" , วันวานยังหวานอยู่ และยังเป็นผู้จัดละครให้กับช่อง 7 สี โดยสร้างพล็อตเรื่องและกำกับการแสดงด้วยตนเอง ในละครเรื่อง \"ตลาด โรงเจ ลิเก ความรัก\" และตามด้วยเรื่อง \"รักวันละนิด\"", "title": "ติ๊ก กลิ่นสี" }, { "docid": "658489#46", "text": "ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 จัดที่บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด (เนื่องจากสิ่งของของดาราที่นำมาประมูลนั้นยังไม่หมด)", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#34", "text": "ในยุคยกแก็งผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบแจ๊คพอตจะนำเงินที่สะสมมารวมกับรอบแจ๊คพอตโดยมีแผ่นป้ายแสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท และแผ่นป้ายแสบหารสอง อีก 6 แผ่นป้าย โดยถ้าเปิดแผ่นป้ายแสบคูณสองครบ 6 แผ่นป้าย จะได้เงินรางวัลแจ๊คพอต 500,000 บาท", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#5", "text": "ช่วงแสบพบญาติเป็นช่วงที่เพิ่มเข้ามาใหม่ โดยมีผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือชาไทยใส่นมซัมเมอร์ ต่อมาในปี 2541 เปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มลิปตัน ในเกมแสบพบญาติจะมีดารารับเชิญซึ่งรายการเรียกว่า แสบรับเชิญ โดยแสบรับเชิญจะออกมาเปิดตัว และพูดคุยกับพิธีกร ในช่วงก่อนการจัดงานแสบการกุศล แสบรับเชิญจะต้องมอบของที่ระลึกให้ทางรายการ และตั้งราคาเพื่อประมูล ในช่วงปลายปี 2540 - 2542 ทางรายการจะให้แสบรับเชิญเข้าไปจับชิ้นส่วนของผู้โชคดีทางบ้านก่อน ในปี 2541 ทางรายการจะมอบของที่ระลึกจากผู้สนับสนุนหลักให้กับแสบรับเชิญ (ของที่ระลึกคือ Gift Set เครื่องดื่มลิปตัน) จากนั้นทางรายการจะเชิญบุคคลปริศนา ซึ่งอาจจะเป็นญาติหรือมีความเกี่ยวข้องกับแสบรับเชิญ เช่น มือกลอง คนขับรถ ฯลฯ จำนวน 4 คน (ตั้งแต่เดือนกันยายน 2541 - ต้นปี 2542 ได้ลดบุคคลปริศนาในรอบแสบพบญาติเหลือ 3 คน) พิธีกรจะถามว่าบุคคลปริศนาที่มาในรายการเป็นญาติหรือผู้เกี่ยวข้องกับแสบรับเชิญ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม (ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้ในช่วงนี้และจะอยู่คู่กับแสบคูณสองตลอดอายุรายการ รวมถึงเกมพันหน้า ปี 2546 - 2547 และรายการแฟนคลับด้วย) ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 จะต้องตอบคำถามโดยเรียงจากซ้ายไปขวา ต่อมาเมื่อมีผู้ได้คะแนน ผู้ที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้สิทธิได้การตอบก่อน จากนั้นแสบรับเชิญจะเฉลย และเล่าถึงความเกี่ยวข้องกับแสบรับเชิญ ในกรณีที่แสบรับเชิญตอบว่า ชัวร์ แต่ในกรณีที่แสบรับเชิญตอบว่า มั่วนิ่ม บุคคลปริศนาจะเล่าเพียงชื่อ และการทำงานเท่านั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตอบว่า มั่วนิ่ม ในบางครั้งทางรายการจะนำมาทั้งตัวจริงและตัวปลอม และให้บุคคลปริศนาตัวจริงหรือปลอมไปยืนอยู่กับพิธีกร อีกคนอยู่กับแสบรับเชิญ ในปี 2541 หลังจากบุคคลปริศนาที่ไม่ใช่ญาติของแสบรับเชิญกลับไปแล้ว ทางรายการจะพาบุคคลปริศนาตัวจริงมาในรายการ หรือบางครั้งอาจเป็นสิ่งของ ซึ่งอาจเป็นของรักของหวงของแสบรับเชิญ ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#40", "text": " ประตูของแสบคูณสอง จะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "20262#5", "text": "ปี พ.ศ. 2540 ได้ร่วมหุ้นกับ \"ติ๊ก กลิ่นสี\" (ชาญณรงค์ ขันทีท้าว) พิธีกรและดาวตลกชื่อดัง เปิดบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ผลิตรายการเกมโชว์ \"แสบคูณสอง” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตามด้วยรายการ \"รักกันสนั่นเมือง\" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, \"เกมพันหน้า\" ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, \"จิกะไบท์\" ทาง itv (titv), \"ยุทธการบันเทิง\" ทาง itv (titv) และยังเป็นผู้จัดละครให้กับช่อง 7 สี โดยสร้างพล็อตเรื่องและกำกับการแสดงด้วยตนเอง ในละครเรื่อง \"ตลาด โรงเจ ลิเก ความรัก\" และตามด้วยเรื่อง \"รักวันละนิด\" ในปี พ.ศ. 2551 ผลิตรายการสาระเกี่ยวกับสุขภาพชื่อ \"ตะลุยโรงหมอ\" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ชิดหมอ ทางช่อง 7 สี \nและอีกรายการหนึ่ง คือ \"กลมกิ๊ก\" ทาง ททบ. 5", "title": "เกียรติ กิจเจริญ" }, { "docid": "658489#43", "text": "โดยสถานที่ที่เอื้อเฟื้อในการจัดงาน แสบการกุศล นั้นแต่ละครั้งก็แตกต่างกัน มีดังนี้", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#18", "text": "ในเกมนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแสบรับเชิญที่ทางรายการเชิญมา ซึ่งคล้ายคลีงกับเกมแสบพบญาติ แต่จะเป็นการทายเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว และประสบการณ์ของแสบรับเชิญในด้านต่างๆ พิธีกรจะพูดคุยกับแสบรับเชิญเกี่ยวกับประสบการณ์ และเรื่องส่วนตัวของแสบรับเชิญ จากนั้นพิธีกรจะถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว และประสบการณ์ของแสบรับเชิญ ว่า ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#33", "text": "ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 (ยุคแลกหมัด) ถูกปรับเปลี่ยนโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยมีแผ่นป้ายแสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ลิปตัน ไอซ์ที ชารสเลมอนและรสพีช) และแผ่นป้ายแสบหารสอง อีก 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแสบคูณสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแสบหารสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท จากทางรายการและ ลิปตัน ไอซ์ที โดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้เพียงฝ่ายเดียว ส่วนผู้โชคดีจากทางบ้านก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติ แต่ในบางครั้งพิธีกรจะเปิดเพิ่มเพื่อแถมเงินรางวัล หรือสามารถเปลี่ยนแผ่นป้ายได้หลังจากเลือกมาแล้ว หากไม่แน่ใจว่าจะเปิดได้อะไร แล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน ต่อมาเมื่อมีการปรับเปลี่ยนผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมจึงได้นำกติการอบ Jackpot ที่เคยใช้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2540 - มีนาคม 2542 กลับมาใช้อีกครั้ง และกติกาเดิมทุกประการ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#36", "text": "ต่อมาในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2541 หลังจากเฉลยคำตอบของคำถามประจำเดือนกรกฎาคม 2541 เรียบร้อยแล้ว ได้มีช่วงที่ให้ผู้ชมทางบ้านร่วมสนุกช่วงใหม่ นั่นคือ ช่วงแสบหน้าโหล โดยทางรายการจะกำหนดบุคคลเป็นนักแสดงหรือนักร้องตามที่ทางรายการกำหนด แล้วให้ผู้ชมทางบ้านส่งรูปภาพของตนที่คิดว่าเหมือนบุคคลที่กำหนดให้มากที่สุดมาทางไปรษณีย์ เพื่อชิงรางวัลเสื้อยืดแสบคูณสองจำนวน 20 ตัว โดยบุคคลที่รายการกำหนดให้ส่งรูปของผู้ชมที่คิดว่ามีใบหน้าเหมือนที่สุดคนแรก คือ ธงไชย แมคอินไตย์ ภายหลังวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 หลังจากประกาศรายชื่อผู้โชคดีครั้งที่แล้ว ได้เปลี่ยนมาเป็นให้ผู้ชมทางบ้านส่งรูปภาพของตัวเอง แล้วบอกว่าตัวเองหน้าตาเหมือนดารานักแสดงคนไหนแทน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541 ได้เปลี่ยนมาเป็นการตอบคำถามชิงรางวัลเช่นเดิม", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#39", "text": "ในรายการแสบคูณสองได้มีการปรับเปลี่ยนเพลงไตเติ้ล 2 ครั้งด้วยกัน โดยรูปแบบแรกเป็นเพลงไตเติ้ลที่มีผู้ขับร้อง ถูกใช้ในช่วงปี 2540 ถึงปี 2542\nส่วนเพลงบรรเลงที่ใช้ในรายการช่วงแรกๆ เริ่มใช้ในเกมแสบไม่รู้ตัว และต่อมาใช้ในเกมแสบพบญาติและแสบปริศนา และเพลงบรรเลงที่ใช้ในรอบสะสมเงินรางวัลและสะสมทองคำนั้นใช้เพลงบรรเลงเหมือนกัน ต่อมาในยุคแสบคูณสอง ยกแก๊งได้ปรับเปลี่ยนเพลงบรรเลงทั้งไตเติ้ลและในรายการด้วยจนกระทั่งยุติการออกอากาศ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "935164#2", "text": "และตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ได้มีการปรับรูปแบบครั้งใหญ่ โดยนำนักแสดงในสังกัดของช่อง 7 มาเป็นสมาชิกทีม Super 7 แทน ลดจำนวนเกมเหลือ 2 เกมต่อสัปดาห์และได้เพิ่มช่วงละครขึ้นมาอีก 1 ช่วงแทรกระหว่างเกมแรกและเกมที่ 2 เรียกว่า \"ละครพักยก\" โดยนำนักแสดงระดับตำนาน 4 คน คือ ติ๊ก กลิ่นสี, นุ้ย เชิญยิ้ม, บอล เชิญยิ้ม และ โรเบิร์ต สายควัน ในนาม \"จตุรเทพ\" มาร่วมแสดงในช่วงละครด้วย[3] และก่อนเข้าสู่ช่วงเล่นเกมต่อไป แก๊งจตุรเทพ จะพูดพร้อมกันก่อนจะจบละครพักยกว่า จะเล่นเกมต่อได้หรือยัง (แต่ในคำเขียนว่า เล่นเกมต่อได้หรือยัง) เหมือนในรายการ แสบคูณสอง และ แสบคูณสอง แลกหมัด ซึ่งจะบอกเพื่อพักโฆษณาและเข้าสู่เกมที่ 2", "title": "เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น" }, { "docid": "658489#41", "text": "ในแสบคูณสองนั้นได้มีการผลิตวีซีดี ร่วมกับรายการเกมพันหน้าช่วงปี 2544 - 2548 โดยจะเป็นละครแสบ (รวมถึงละครพันหน้า) โดยผู้ถือลิขสิทธิ์คือบริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด เช่นเดียวกับรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#30", "text": "รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการแสบคูณสองในเดือน 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2540 นั้นจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยมีแผ่นป้ายแสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย ซึ่งหมายถึงเงินรางวัลที่มีอยู่จะคูณสอง และแผ่นป้ายแสบหารสอง อีก 6 แผ่นป้าย ซึ่งหมายถึงเงินรางวัลที่มีอยู่จะหารสอง ผู้เข้าแข่งขันจะทำการเลือก 6 แผ่นป้ายโดยจะมีเงินรางวัลตั้งต้น 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ชาไทยใส่นมซัมเมอร์) ถ้าหากเปิดเจอแสบคูณสองเงินรางวัลจะคูณสองทันที (เช่นหากมี 10,000 บาท ก็จะกลายเป็น 20,000 บาท) แต่ถ้าเปิดแผ่นป้ายเจอแสบหารสองเงินรางวัลจะถูกหารสองทันที (เช่นหากมี 10,000 บาท ก็จะเหลือ 5,000 บาท) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายแสบคูณสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,280,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 640,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ในบางครั้งพิธีกรจะเปิดเพิ่มเพื่อแถมเงินรางวัลเป็น 2 เท่าหรือแล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ได้เงินรางวัลในแผ่นป้ายสุดท้ายต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ซึ่งผู้ร่วมรายการที่มีการแถมแผ่นป้ายคนแรกได้แก่ เกวลิน คอตแลนด์ ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตกคนแรกและคนเดียวคือ ต่อ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล (ซึ่งเป็นการทำแจ๊กพอตแตกก่อนที่มีการจะจับชิ้นส่วนสำหรับผู้โชคดีทางบ้าน)", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#17", "text": "เป็นเกมในรอบที่สอง เกมนี้สืบเนื่องมาจากยุคที่ 2 จะแตกต่างจากในยุคอื่นๆ เล็กน้อย โดยจะมีละครตลก 1 เรื่อง นำโดย ติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่น แล้วจะพาญาติของดารารับเชิญ (ดารารับเชิญที่มาเป็นแขกรับเชิญในตอนนั้น) และจะถามว่า บุคคลที่มาเป็นญาติของแสบรับเชิญนั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม และจะให้ผู้แข่งขันตอบทีละคน ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนไหนตอบถูก ก็จะได้คะแนนไป แต่ถ้าหากคำตอบคือไม่ใช่ ก็จะไม่ได้คะแนนไปในรอบนี้ เกมจะสิ้นสุดเมื่อผู้เข้าแข่งขันท่านใดท่านหนึ่งตอบได้ถูกต้อง เกมนี้สืบเนื่องมาจากยุคปี 2542 (แสบคูณสอง แลกหมัด) แล้วมาใช้ต่อในปี 2543 (แสบคูณสอง ยกแก๊ง)", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#42", "text": "รายการแสบคูณสองเคยจัดงานการกุศลของทางรายการมาแล้ว 3 ครั้งโดยใช้ชื่อว่า แสบการกุศล โดยบรรยากาศในงานจะคล้ายในรายการ โดยผู้ที่เข้ามาชมงานจะสามารถมาเล่นเกมเช่นเดียวกับในรายการผ่านการจับฉลาก และยังมีการประมูลของที่ผู้เข้าแข่งขันและแสบรับเชิญนำมาในรายการก่อนการจัดงาน โดยตั้งแต่เทปวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ทางรายการได้กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คนนำสิ่งของซึ่งเป็นของสะสมมาในรายการ แล้วจะได้รับของที่ระลึกจากทางรายการ (ช่วงแรกเป็นโมเดลประตูรายการแสบคูณสอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นเสื้อยืดของทางรายการ แชมพูออร์แกนิกส์ (ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของยูนิลีเวอร์) และชาลิปตันไอซ์ทีแบบกระป๋อง) ภายหลังในช่วงปลายปี 2540 ได้กำหนดให้แสบรับเชิญนำมาเช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขัน", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#8", "text": "แสบรับเชิญคนแรกของรายการคือ วิลลี่ แมคอินทอช ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "685421#21", "text": "ในเกมพันหน้าได้มีการผลิตวีซีดีเกมพันหน้า ซึ่งจะเป็นละครพันหน้า ในปี 2544 - 2548 (เช่นเดียวกับแสบคูณสอง ที่มีการนำละครแสบมาผลิตเป็นวีซีดี) โดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์คือ บริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เช่นเดียวกับรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า", "title": "เกมพันหน้า" }, { "docid": "658489#0", "text": "แสบคูณสอง เป็นรายการเกมโชว์ในประเทศไทยที่ออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และยุติการออกอากาศในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 และเป็นรายการโทรทัศน์รายการแรกของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยมีพิธีกร คือ เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) ร่วมกับติ๊ก กลิ่นสี (ชาญณรงค์ ขันทีท้าว)", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#38", "text": "ในรายการแสบคูณสองได้มีการปรับเปลี่ยนเพลงไตเติ้ล 2 ครั้งด้วยกัน โดยรูปแบบแรกเป็นเพลงไตเติ้ลที่มีผู้ขับร้อง ถูกใช้ในช่วงปี 2540 ถึงปี 2542 และไตเติ้ลมีการปรับเปลี่ยนมาแล้ว 3 ครั้ง ไตเติ้ลแบบแรกเริ่มใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และไตเติ้ลแบบที่สองเริ่มใช้ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ไตเติ้ลแบบที่สามเริ่มใช้ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541 ช่วงเดียวกันกับการปรับเปลี่ยนโลโก้ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ต่อมาเมื่อมีการย้ายสถานีออกอากาศมาช่อง 7 ยังคงใช้ไตเติ้ลเดิมแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรแนะนำชื่อพิธีกร และในยุคแสบคูณสอง ยกแก๊ง ได้มีการปรับเปลี่ยนไตเติ้ลโดยเป็นไตเติ้ลรูปแบบแรกและรูปแบบเดียวที่ไม่มีเพลงประกอบรายการ โดยใช้เพลงบรรเลง ส่วนเพลงบรรเลงที่ใช้ในรายการช่วงแรกๆ เริ่มใช้ในเกมแสบไม่รู้ตัว และต่อมาใช้ในเกมแสบพบญาติและแสบปริศนา และเพลงบรรเลงที่ใช้ในรอบสะสมเงินรางวัล รอบตัดสิน และรอบสะสมทองคำนั้นใช้เพลงบรรเลงเหมือนกัน และรอบ Jackpot ใช้เพลงบรรเลงที่แตกต่างไปจากรอบอื่นๆ และมีเสียงคอรัสชื่อรายการ ต่อมาในยุคแสบคูณสองแลกหมัด และแสบคูณสอง ยกแก๊งได้ปรับเปลี่ยนเพลงบรรเลงทั้งไตเติ้ลและในรายการด้วย สำหรับในยุคแสบคูณสอง ยกแก๊ง เพลงบรรเลงถูกใช้เป็นเพลงไตเติ้ลจนกระทั่งยุติการออกอากาศ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#32", "text": "ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ถูกปรับเปลี่ยนโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยมีแผ่นป้ายแสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 20,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ชาไทยใส่นมซัมเมอร์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นลิปตัน ไอซ์ที ชารสเลมอนและรสพีช) และแผ่นป้ายแสบหารสอง อีก 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแสบคูณสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแสบหารสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท (แต่บางครั้งได้เงินรางวัล 100,000 บาท เพราะเกือบแตกแล้วแถม 1 แผ่นป้ายเพื่อให้แตก) (ผู้สนับสนุนเงินรางวัล คือ ร้านอาหารเกาะเกร็ด (ครั้งที่ 1) ต่อมาเปลี่ยนเป็นสตาร์ ซิตี้ ร้านอาหารเกาะเกร็ด (ครั้งที่ 2) ถั่วทองการ์เด้น ที่นอนสลัมเบอร์แลนด์ และแพลเน็ท ฮอลลีวู้ด) โดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้เพียงฝ่ายเดียว ส่วนผู้โชคดีจากทางบ้านก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติ โดยเริ่มใช้กติกานี้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 แต่ในบางครั้งพิธีกรจะเปิดเพิ่มเพื่อแถมเงินรางวัล หรือสามารถเปลี่ยนแผ่นป้ายได้หลังจากเลือกมาแล้ว หากไม่แน่ใจว่าจะเปิดได้อะไร แล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "779992#0", "text": "รักกันสนั่นเมือง เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 4 ที่ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ต่อจากรายการ แสบคูณสอง จารบีสีชมพู และ จารบีปีเสือ ซึ่งออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2542 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 22.00 - 23.00 น. โดยในยุคแรกเปิดโอกาสให้เฉพาะคู่สามีภรรยามาแข่งขันในรายการ ต่อมาเปลี่ยนเป็นคู่ของพี่-น้อง เพื่อน แม่-ลูกหรือพ่อ-ลูก จากทางบ้านสมัครเข้ามาในรายการ และวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีการปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ โดยใช้ชื่อว่า รักกันสนั่นเมือง คนยักษ์ ได้เพิ่มพิธีกรอีกคนคือ โน๊ต เชิญยิ้ม และยุติการออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2544", "title": "รักกันสนั่นเมือง" }, { "docid": "658489#35", "text": "ช่วงนี้สนับสนุนโดยถั่วทองการ์เด้น ต่อมาเป็นที่นอนสลัมเบอร์แลนด์ แพลเน็ต ฮอลลีวู้ด ชาลิปตัน ไอซ์ที ในเทปวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ทางรายการได้ให้ผู้ชมทางบ้านตอบคำถามเพื่อชิงรางวัลเป็นเสื้อยืดของทีมงานรายการแสบคูณสอง จำนวน 20 ตัว โดยทางรายการจะถามคำถามหลังจากจบรอบ Jackpot ก่อนปิดรายการ ให้ผู้ชมทางบ้านเขียนคำตอบ แล้วส่งคำตอบมาทางไปรษณีย์ และจะเฉลยคำตอบเมื่อเข้าสู่เดือนต่อไป ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#10", "text": "เอกลักษณ์ของละครในช่วงแสบปริศนาคือการสิ้นสุดเรื่องด้วยคำถามว่า \" มันคืออะไร \"", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "395046#0", "text": "ลับเฉพาะคนรู้ใจ เป็นรายการโทรทัศน์ ประเภทวาไรตี้เกมโชว์ ผลิตรายการโดย บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด เป็นรายการที่นำดารา 1 คน มาให้ผู้เข้าแข่งขัน 3 คน ทายใจดารา โดยมี ไตรภพ ลิมปพัทธ์ เป็นพิธีกร ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกคืนวันจันทร์ เวลา 22.00 - 23.30น.(2540-2543) และ 22.30 - 23.30น.(2544) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2540 แทนเวลาเดิมของรายการแสบคูณสองที่ย้ายวันออกอากาศเป็นวันศุกร์ และยุติรายการเมื่อวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2544 โดยในสัปดาห์ต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่เป็น \"เกมอัจฉริยะ Genius Game\"", "title": "ลับเฉพาะคนรู้ใจ" }, { "docid": "658489#31", "text": "ต่อมาถูกปรับเปลี่ยนโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยมีแผ่นป้ายแสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย ซึ่งหมายถึงเงินรางวัลที่มีอยู่จะคูณสอง และแผ่นป้ายแสบหารสอง อีก 6 แผ่นป้าย ซึ่งหมายถึงเงินรางวัลที่มีอยู่จะหารสอง ผู้เข้าแข่งขันจะทำการเลือก 6 แผ่นป้ายโดยจะมีเงินรางวัลตั้งต้น 20,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ชาไทยใส่นมซัมเมอร์) ถ้าหากเปิดเจอแสบคูณสองเงินรางวัลจะคูณสองทันที (เช่นหากมี 20,000 บาท ก็จะกลายเป็น 40,000 บาท) แต่ถ้าเปิดแผ่นป้ายเจอแสบหารสองเงินรางวัลจะถูกหารสองทันที (เช่นหากมี 20,000 บาท ก็จะเหลือ 10,000 บาท) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดสามารถเปิดแผ่นป้ายแสบคูณสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,560,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,280,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ในบางครั้งพิธีกรจะเปิดเพิ่มเพื่อแถมเงินรางวัลเป็น 2 เท่าหรือแล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ได้เงินรางวัลในแผ่นป้ายสุดท้ายต่ำกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท ซึ่งผู้ร่วมรายการที่มีการแถมแผ่นป้ายคนแรกและคนเดียวได้แก่ บุษบา มหัตถพงศ์ ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท ในกติกาแบบนี้ใช้เพียงแค่ 2 เทปคือเทปวันที่ 5 พฤษภาคม และ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2540", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#3", "text": " ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการแสบคูณสองนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือยุคแรก (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2540) ยุคที่สอง (พฤษภาคม 2540 - มีนาคม 2542) ยุคแสบคูณสอง แลกหมัด (เมษายน 2542 - 2543) และยุคแสบคูณสอง ยกแก๊ง (2543 - มกราคม 2544) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อยๆ\nผู้เข้าแข่งขันในยุคแรกของรายการ มีทั้งหมด 3 คน โดยจะเล่นเกมดังต่อไปนี้\nช่วงนี้สนับสนุนโดยเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปโคคา เป็นเกมในรอบแรกซึ่งจะเล่นทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องปิดตาก่อนแล้ว จากนั้นนักแสดงในรายการจะเป็นผู้นำของปริศนาออกมา (ในยุคแรกนั้น เท่ง เถิดเทิง เป็นผู้นำของปริศนาออกมา ทว่าตั้งแต่เทปวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา จึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแสดงตลกสั้น นำโดยคุณติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่น ซึ่งเป็นนักแสดงให้กับละครแสบและละครพันหน้าจนถึงต้นปี พ.ศ. 2547) เมื่อเริ่มการแข่งขัน พิธีกรจะให้คำใบ้ และให้ผู้เข้าแข่งขันตอบตามลำดับโดยการถามคำถาม (ใช่หรือไม่ เช่น สิ่งของนี้มีรูปร่างกลมใช่หรือไม่) ถ้าถามแล้วพิธีกรบอกว่าใช่ ก็จะมีสิทธิ์ถามคำถามไปเรื่อยๆ แต่ถ้าบอกว่าไม่ใช่ ผู้เล่นคนต่อไปจะมีสิทธิ์ถามคำถาม (ใช่หรือไม่) หากมีผู้ตอบของปริศนาได้ถูกต้องจะเข้ารอบทันที ถ้าทั้ง 3 คนตอบไม่ได้ พิธีกรจะให้คำใบ้เพิ่มจนกว่าจะมีใครตอบถูกต้อง เกมนี้จะคัดหาผู้เข้ารอบ 2 คน ส่วนอีก 1 คนจะตกรอบ และได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท แต่ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2540 ได้ยกเลิกการให้เงินรางวัล 10,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบในรอบนี้อีก", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#1", "text": "รายการ แสบคูณสอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ท \nรายการแสบคูณสอง เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับแรกที่ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540—28 สิงหาคม พ.ศ. 2541) ทุกวันเสาร์ เวลา 14.30 - 15.30 น. ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 รายการได้เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมง เพิ่มเกมต่างๆ และมีการเพิ่มรางวัลอีกมากมาย โดยย้ายมาออกอากาศในวันจันทร์ เวลา 22.00 - 00.00 น. ในเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2540 และวันศุกร์ เวลา 22.00 - 00.00 น. ในเดือนตุลาคม 2540 - สิงหาคม 2541 โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ตามลำดับ ต่อจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (3 กันยายน พ.ศ. 2541—11 มกราคม พ.ศ. 2544) รายการได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศ พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 85 นาที ในวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. และยุติการออกอากาศในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยแทนที่ด้วยรายการ เกมพันหน้า", "title": "แสบคูณสอง" } ]
3343
โครงข่ายรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกิดเนื่องมาจากภาครัฐต้องการแก้ไขใด?
[ { "docid": "142881#2", "text": "การศึกษาโครงข่ายรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกิดเนื่องมาจากภาครัฐต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากความต้องการเดินทางของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวของชุมชนเมืองและกิจกรรมต่าง ๆ เกิดผลเสียต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมในระดับประเทศ ในฐานะที่กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศ นอกจากการก่อสร้างระบบโครงข่ายถนนจำนวนมากในอดีตแล้ว ภาครัฐได้หันมาพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางได้เกิดขึ้นเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์แล้ว แต่การดำเนินงานต้องใช้เงินลงทุนสูงและใช้ระยะเวลานาน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการให้บริการรถโดยสารประจำทางอย่างเร่งด่วนควบคู่ไปกับการก่อสร้างระบบขนส่งทางราง", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#0", "text": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นแผนงานโครงข่ายระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT) ที่ภาครัฐพยายามนำมาใช้เสริมโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะระบบรถประจำทาง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จัดทำโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" } ]
[ { "docid": "142881#7", "text": "กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง ได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษเช่นเดียวกันกับ สนข. ตามนโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ในชื่อโครงการ บางกอกบีอาร์ที ()และอีก 10 เส้นทางที่เดิมคาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี พ.ศ. 2551 ได้แก่จากเส้นทางในแผนแม่บทของกรุงเทพมหานครทั้งหมด มีเพียงสายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เส้นทางเดียวที่สามารถก่อสร้างเป็นเส้นทางนำร่องได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ยังมีโครงการสายหมอชิต-ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปิดใช้ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร บนถนนแจ้งวัฒนะ และจะก่อสร้างเป็นสายที่ 2 ต่อไป", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#4", "text": "สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการศึกษาแผนการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษจากหน่วยงาน 2 แห่งในเวลาเดียวกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยมีข้อเสนอแนะให้รวมแผนการพัฒนาของทั้ง 2 องค์กรเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#8", "text": "เป็นเส้นทางนำร่อง พัฒนามาจากเส้นทางช่องนนทรี-สะพานกรุงเทพ และสุรวงศ์-ราชพฤกษ์ ดำเนินการโดยทางกรุงเทพมหานครลงทุนทั้งหมด แล้วให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ตั้งบริษัทลูกมาบริหารจัดการ จัดซื้อรถ และจัดหาพนักงานมาปฏิบัติการ แต่ไม่มีส่วนเข้ามาลงทุน และไม่มีส่วนในการแบ่งผลกำไร ปัจจุบันงานโยธาก่อสร้างแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และการจัดหารถโดยสาร มีกำหนดเปิดใช้วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งล่าช้าจากกำหนดการเดิมในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากการจัดซื้อรถอยู่ภายใต้การตรวจสอบความโปร่งใสของกรมสอบสวนคดีพิเศษ", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "253441#0", "text": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ปากเกร็ด หรือ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการก่อสร้างระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 สถานี เกิดแนวคิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ในสมัยของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มุ่งหวังรองรับบริการข้าราชการกว่า 30,000 คนที่ทำงานภายในศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และเมืองทองธานี คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 56,000 คนต่อวัน และใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ปากเกร็ด" }, { "docid": "142881#3", "text": "แนวทางหนึ่งของการพัฒนาระบบรถประจำทางที่เหมาะสม คือการสร้างระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ที่มีคุณภาพเทียบเท่าระบบราง มีลักษณะเฉพาะได้แก่ ใช้มาตรการการให้สิทธิพิเศษแก่รถโดยสารประจำทาง โดยออกแบบช่องทางพิเศษเฉพาะในรูปแบบชิดเกาะกลางถนน เพื่อแยกการเดินรถออกจากระบบจราจรอื่น ๆ มีสถานีเฉพาะที่อำนวยความสะดวก มีศูนย์ควบคุมและบริหารจัดการการเดินรถ โดยใช้ระบบขนส่งอัจฉริยะ ( หรือ ITS) ที่มีตารางเวลาการเดินรถค่อนข้างแน่นอน เพื่อความตรงต่อเวลาและความปลอดภัย ขณะที่เส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง และใช้ค่าก่อสร้างเพียง 80-120 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หรือประมาณ 8% ของต้นทุนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ใช้เงินลงทุนถึง 1,400 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ใช้เงินลงทุนสูงถึง 3,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ทั้งยังสามารถก่อสร้างได้รวดเร็วไม่เกิน 1 ปีต่อเส้นทาง หรือเร็วกว่ารถไฟฟ้าถึง 3 เท่า", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#5", "text": "จากการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ออกแบบรายละเอียดของระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ซึ่ง สนข. ได้ลงนามว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการศึกษาออกแบบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้ประชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถโดยสารประจำทาง", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#9", "text": "เป็นของเส้นทางปากเกร็ด-หมอชิต ในแผนแม่บทเดิม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดเส้นทาง สถานี งานระบบ และเตรียมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการเปิดใช้ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งเริ่มมีหน่วยงานต่าง ๆ ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่ทำการแล้ว และยังรองรับผู้พักอาศัยและทำงานในโครงการเมืองทองธานี อีกด้วย", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#6", "text": "จากการออกแบบโดย สนข. รูปแบบช่องทางเฉพาะรถโดยสารประจำทางจะก่อสร้างเป็นคันหินบริเวณขอบช่องทาง มีทั้งรูปแบบบนถนนที่มีเกาะกลาง ถนนที่ไม่มีเกาะกลาง และถนนที่เดินรถทางเดียว ส่วนการออกแบบสถานี มีรูปแบบเป็นระบบเปิด สถานีกว้าง 2.50 เมตร ยาว 20 เมตร กำหนดให้ใช้รูปแบบหลักเป็นสะพานลอยข้ามถนนไปยังสถานีกลางถนน เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้โดยสาร โดยมีเครื่องจำหน่ายตั๋วและเครื่องตรวจสอบตั๋วบนสะพานลอย ทั้งนี้ บางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ทางข้ามแบบทางม้าลาย ซึ่งรูปแบบสถานีไม่แตกต่างกัน แต่จะมีเครื่องจำหน่ายตั๋วและเครื่องตรวจสอบตั๋วอยู่บริเวณและระดับเดียวกันกับอาคารสถานี\nจนถึงปัจจุบัน เส้นทางของ สนข. ทั้งหมดยังคงเป็นเพียงข้อเสนอแนะที่ไม่มีการพิจารณาให้สร้างขึ้นแต่อย่างใด", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" } ]
108
ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อไหร่?
[ { "docid": "43247#0", "text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1] เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" } ]
[ { "docid": "79585#9", "text": "แม้ว่าจะไม่ใช่ส่วนของระบอบการปกครอง\nเสรีภาพทั้งส่วนบุคคลและทางเศรษฐกิจพอประมาณ ที่มีผลขยายจำนวนคนชั้นกลางจนกลายเป็นประชาสังคมที่เจริญรุ่งเรืองและแพร่ไปอย่างกว้างขวาง\nบ่อยครั้งมองว่า เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของประชาธิปไตยเสรีนิยม (Lipset 1959)\nในประเทศที่ไม่มีวัฒนธรรมประเพณีการปกครองโดยเสียงส่วนมาก การเลือกตั้งเสรีอย่างเดียวจะไม่พอให้เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการไปเป็นประชาธิปไตย\nจะต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองที่ใหญ่กว่านั้น และการสร้างสถาบันเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป \nมีประเทศตัวอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่นในลาตินอเมริกา ที่ดำรงระบอบประชาธิปไตยได้เพียงแค่ชั่วคราวหรืออย่างจำกัด จนกระทั่งวัฒนธรรมทั่วไปเปลี่ยนแปลงแล้วสร้างสภาวะที่ประชาธิปไตยสามารถเจริญงอกงามได้", "title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม" }, { "docid": "876641#0", "text": "การทำให้เป็นประชาธิปไตย\nหรือ การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย\nเป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น\nซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญไปในทางประชาธิปไตย\nการเปลี่ยนจากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นกึ่งประชาธิปไตย หรือจากกึ่งประชาธิปไตย/อำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์\nซึ่งอาจมีผลเป็นความมั่นคงทางประชาธิปไตย (ดังที่สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่าง) หรืออาจจะกลับไปกลับมาบ่อย ๆ (ดังที่ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่าง)\nรูปแบบต่าง ๆ ของการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ เช่น ประเทศจะเริ่มทำสงครามหรือไม่ เศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่\nกระบวนการมีปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ประวัติ และประชาสังคม\nผลสูงสุดของกระบวนการนี้ก็เพื่อประกันว่า ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีส่วนตัดสินใจในระบอบการปกครอง", "title": "การทำให้เป็นประชาธิปไตย" }, { "docid": "17648#24", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชนต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสไว้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีพระราชดำริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกันประเทศจีนมีการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู เปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตรบางประการของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "278586#15", "text": "ผู้นำประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและคงยืนที่สุดก็คือเพริคลีส (Pericles)\nภายหลังการเสียชีวิตของเขา ระบอบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ก็ถูกปฏิวัติเปลี่ยนเป็นคณาธิปไตยอย่างสั้น ๆ 2 ครั้งท้ายสงครามเพโลพอนนีเซียน\nแล้วต่อมาจึงฟื้นฟูอีกแม้จะเปลี่ยนไปภายใต้การปกครองของยูคลีดีส (Eucleides) ปี 403-402 ก่อน ค.ศ.\nเป็นช่วงที่ได้รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองมากที่สุด ไม่ใช่ได้ในช่วงการปกครองของเพริคลีส\nต่อมาจึงถูกระงับอีกในปี 322 ก่อน ค.ศ. ภายใต้การปกครองของชาวมาเซโดเนีย\nแม้ภายหลังสถาบันของชาวเอเธนส์จะกลับคืนมาอีก แต่ความเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ของระบอบก็เป็นเรื่องไม่ชัดเจน\nในปัจจุบัน รูปแบบบริสุทธิ์ของประชาธิปไตยโดยตรงมีอยู่เพียงแค่ในแคนทอนอัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน (Appenzell Innerrhoden) และแคนทอนกลารุส แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ \nเทียบกับสมาพันธรัฐสวิสโดยรวมที่เป็นประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง คือเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนที่มีกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงที่เข้มแข็ง\nความเป็นประชาธิปไตยโดยตรงของประเทศ จะบูรณาการด้วยโครงสร้างแบบสหพันธรัฐของรัฐบาลกลาง () \nเทียบกับประเทศตะวันตกโดยมากที่เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน", "title": "ประชาธิปไตยโดยตรง" }, { "docid": "749#18", "text": "ใน พ.ศ. 2474 ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง (Droit Administratif) กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรในเวลาต่อมาหลายคน", "title": "ปรีดี พนมยงค์" }, { "docid": "8836#17", "text": "ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง", "title": "ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "708243#5", "text": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านไม่ได้มีรูปแบบตายตัว การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเทศ สำหรับหลักการพื้นฐานในการที่จะสถาปนาความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้นมีอยู่ 5 หลักการ ได้แก่ความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้มีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วงของประชาชนหลายครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนมีการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เรื่อยมาจนถึงการชุมนุมประท้วงในปี พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ต่อต้านรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และต่อมาการชุมนุมในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ การชุมนุมของกลุ่มประชาชนเหล่านี้นำไปสู่การกล่าวหาและดำเนินคดีกับประชาชนจำนวนมาก ตลอดจนมีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บ ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนถูกเผาทำลาย ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายทั้งทางด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และบั่นทอนความรู้สึกอันดีที่มีต่อกันของคนในประเทศ ทำให้มีการพูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับหลักการความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกันบ่อยครั้งในสังคมไทย", "title": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน" }, { "docid": "936#37", "text": "ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "79585#72", "text": "ระบอบประชาธิปไตยอาจให้ข้อมูลเพื่อออกนโยบายได้ดีกว่า\nเพราะว่า ระบอบเผด็จการอาจเพิกเฉยข้อมูลที่ไม่ชอบใจได้ง่ายกว่า แม้ข้อมูลจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีปัญหา\nระบอบประชาธิปไตยยังมีระเบียบการเปลี่ยนผู้นำหรือนโยบายซึ่งไร้ประสิทธิภาพ\nดังนั้น ในระบอบอัตตาธิปไตย ปัญหาอาจดำเนินไปได้ยาวกว่า และวิกฤติการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ อาจสามัญกว่า", "title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม" }, { "docid": "879273#1", "text": "ระบอบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์พิเศษกว่าประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ ในปัจจุบัน เพราะมีการดำเนินงานแบบประชาธิปไตยโดยตรงขนานกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงมีการเรียกระบอบนี้ว่า ระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง\nซึ่งให้อำนาจประชาชนเพื่อค้านกฎหมายที่ผ่านรัฐสภา และเพื่อเสนอการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ทุกเมื่อ\nในระดับสหพันธรัฐ อาจมีการลงคะแนนเสียงด้วยเหตุดังต่อไปนี้คือ", "title": "การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์" }, { "docid": "876641#23", "text": "รัฐประหารของทหารในเอกวาดอร์ปี 2515 มีเหตุโดยมากจากความเกรงกลัวของอภิสิทธิชนว่า จะมีการปรับกระจายรายได้\nแต่ในปีเดียวกัน น้ำมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นของประเทศ\nแม้รายได้ในช่วงแรกนั้นจะใช้เพื่องบประมาณทางทหาร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2522 ต่อมาได้ดำเนินขนานกับการเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศอีก\nนักวิชาการจึงอ้างว่า การเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของเอกวาดอร์ มีเหตุจากการเพิ่มรายได้จากน้ำมันอย่างสำคัญ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มงบประมาณของรัฐ แต่ยังลดความกลัวของอภิสิทธิชนว่า รายได้/ความมั่งคั่งของตนจะถูกปรับกระจายไปใช้เป็นงบประมาณของรัฐ\nการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทำให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายเกี่ยวกับราคาสินค้าและสินจ้าง ที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยที่อภิสิทธิชนไม่มีผลกระทบ แล้วจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของสถาบันประชาธิปไตยต่าง ๆ\nการเสียชีวิตของผู้เผด็จการ น้อยครั้งที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย\nนักวิเคราะห์รายหนึ่งพบว่า \"ในบรรดาผู้เผด็จการ 79 ท่านที่ได้เสียชีวิตในอำนาจ (พ.ศ. 2489-2557)\nในกรณีโดยมาก (92%) ระบอบการปกครองก็ดำเนินต่อไปหลังจากการเสียชีวิต\"", "title": "การทำให้เป็นประชาธิปไตย" }, { "docid": "49829#1", "text": "พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต[1]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549" }, { "docid": "69653#9", "text": "ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ความดังนี้[2]", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "57119#19", "text": "ตั้งแต่ที่ตาอั้นกลับมาก็มีความคิดอย่างหนึ่งที่ทำให้แม่พลอยตกใจ ซึ่งก็คือความคิดเกี่ยวกับบ้านเมืองของตาอั้น ซึ่งก็คือความคิดเสรีนิยมและเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ได้ไปเรียนรู้ตอนไปเรียนเมืองนอก ในช่วงนั้นผู้คนก็ต่างพูดกันเรื่องเกี่ยวกับคำทำนายที่ว่าพระมหากษัตริย์จะสิ้นพระราชอำนาจ หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย", "title": "สี่แผ่นดิน" }, { "docid": "17648#1", "text": "ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อย ๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตย ด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "876641#8", "text": "นักวิชาการคู่หนึ่งอ้างว่า ความสัมพันธ์ของความเท่าเทียมกันทางสังคมกับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนจะมีแรงจูงใจเพื่อกบฏน้อยกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยก็จะมีโอกาสน้อยกว่า\nเทียบกับสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันแบบสุดโต่ง (เช่น แอฟริกาใต้ภายใต้ระบบการถือผิว) การจัดสรรปันส่วนของทั้งความมั่งคั่งและอำนาจภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นผลร้ายต่ออภิสิทธิชน พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง\nส่วนในประเทศที่อยู่ตรงกลาง ๆ ที่ไม่สุดโต่ง การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีโอกาสสูงกว่า โดยอภิสิทธิชนจะยอมให้เพราะ (1) พิจารณาว่าการกบฏอาจเป็นไปได้ (2) ราคาของการยินยอมไม่สูงเกินไป\nความคาดหวังเช่นนี้เข้ากับหลักฐานการทดลองที่แสดงว่า ประชาธิปไตยจะเสถียรภาพกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน", "title": "การทำให้เป็นประชาธิปไตย" }, { "docid": "49864#4", "text": "มีหน้าที่ อ่าน แถลงการณ์ คำสั่ง และ ประกาศ ต่างๆ ของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกอากาศ เป็น รายการพิเศษ ทาง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นแม่ข่าย มีรายนามดังต่อไปนี้เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า \"under Constitutional Monarchy\" ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR) โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม ", "title": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "708243#3", "text": "อย่างไรก็ดี แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมในการเปลี่ยนผ่าน ได้ถูกนำมาสู่การถกเถียงกันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่งจากกระแสของการที่ประเทศต่างๆ จำนวนมากที่เคยเป็นประเทศที่ใช้ระบอบเผด็จการได้กลายมาเป็นประเทศประชาธิปไตยในช่วงหลังสงครามเย็น เนื่องจากแต่ละประเทศที่เคยปกครองระบอบเผด็จการมักจะมีอดีตหรือประวัติศาสตร์ที่ผู้นำหรือรัฐบาลใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบประชาธิปไตยก็ได้มีการรื้อฟื้นหรือสอบสวนถึงเหตุการณ์ต่างๆภายในอดีตกันอย่างมากมาย ซึ่งพวกนักทฤษฎีประชาธิปไตยหลายคนอย่างเช่น ฮันติงตัน (Samuel Huntington) ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวชี้วัดหนึ่งที่ประเทศต่างๆ จะเป็นประชาธิปไตยได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการวางรากฐานเรื่องสิทธิมนุษยชนให้ยั่งยืน และการที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนยั่งยืนได้รัฐก็จำเป็นจะต้องจัดการกับอดีตที่โหดร้ายและหาคนมาลงโทษเสียก่อน", "title": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน" }, { "docid": "236023#1", "text": "สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า \"ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข\" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\"สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย", "title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "85846#3", "text": "เทศบาลนครนนทบุรีมีอาณาเขตครอบคลุม 5 ตำบลของอำเภอเมืองนนทบุรี ได้แก่ ตำบลสวนใหญ่, ตำบลตลาดขวัญ, ตำบลบางเขน, ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทราย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 38.90 ตารางกิโลเมตรความหมายของดวงตราของเทศบาลนครนนทบุรี เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญเพราะได้พิจารณาเห็นว่าเทศบาลมีกำเนิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 เทศบาลจึงได้กำหนดตราเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ มิใช่แต่แสดงว่าเทศบาลเกิดขึ้นได้เพราะมีการปกครองตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังได้แสดงถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย", "title": "เทศบาลนครนนทบุรี" }, { "docid": "708243#0", "text": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) เป็นการผสานแนวคิดสองประการเข้าด้วยกัน คือ \"การเปลี่ยนผ่าน\" (transition) กับ \"ความยุติธรรม\" (justice) โดยการเปลี่ยนผ่าน คือ สภาวะที่สังคมได้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบทางการเมือง (political transformation/regime change) จากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบใหม่อย่างมีนัยสำคัญ เช่น จากระบอบอำนาจนิยม (authoritarian) หรือการปกครองแบบกดขี่ (repressive rule) ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (democracy) หรือใช้ในความหมายของการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งของคนในสังคมไปสู่สันติภาพและความมั่นคง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน จะหมายรวมถึง กระบวนการที่รัฐใช้ในการค้นหาความจริงจากการที่บุคคลหรือองค์กรของรัฐ หรือ องค์กรที่รัฐให้การสนับสนุนใช้กำลังเข้าสังหารหรือก่อความรุนแรงต่อพลเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ การทรมาน การลักพาตัว (Kurian, 2011: 1679-1680) อย่างไรก็ตาม การค้นหาความจริงดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเก่ามาสู่รัฐบาลใหม่ หรือ เปลี่ยนจากรัฐบาลในระบอบเผด็จการมาสู่ระบอบประชาธิปไตย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากรัฐบาลเก่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรงจึงไม่มีความจำเป็นที่จะค้นหาความผิดที่ตนเองเป็นผู้กระทำ หรือในบางครั้งรัฐบาลเก่าก็พยายามที่จะตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำการฟอกตัวให้กับรัฐบาลเอง ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยของ อิดี้ อามิน (Idi Amin) ผู้นำของยูกานดาที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชน แต่เมื่อมีการกดดันจากนานาชาติ อิดี้ อามิน ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ข้อสรุปอะไร ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมาสู่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลใหม่จึงจำเป็นต้องมีภาระในการที่จะตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลัง การตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นการสถาปนาความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน คือเปลี่ยนจากระบอบหนึ่งมาเป็นอีกระบอบหนึ่ง หรือเปลี่ยนจากรัฐบาลที่โหดร้ายมาสู่รัฐบาลอื่นๆ (ประจักษ์, 2533) ซึ่งบางครั้งในกระบวนการตรวจสอบย้อนหลังดังกล่าวก็อาจนำไปสู่การจัดให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมืองขึ้นก็เป็นได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านของประเทศนั้นสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น และสมานฉันท์ ", "title": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน" }, { "docid": "236023#0", "text": "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข () เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ) ไว้ในคำเดียวกัน ", "title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "5177#4", "text": "เอธิโอปียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบ่งการปกครองเป็น 9รัฐ และ2เขตเป็นการปกครองพิเศษ ได้แก่ อาดดิสอาบาบาและเขตปกครองพิเศษ ไดร์ดาวา\nแม้เดิมเอธิโอเปียระบอบกษัตริย์ ในปี 2517 มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลและโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปีต่อมาจากนั้นได้ปกครองประเทศด้วยสังคมนิยมและเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปี พศ 2534 แต่อย่างนั้นก็ยังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอยู่เสมอ โดยรัฐบาลถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าทุจริตการเลือกตั้งประเทศเอธิโอเปียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตบริหาร (administrative countries-\"kililoch\") แบ่งย่อยออกมาเป็น 68 เขต และ 2 นครอิสระ (chartered cities-\"astedader akababiwoch\") ได้แก่", "title": "ประเทศเอธิโอเปีย" }, { "docid": "936#0", "text": "ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า \"สยาม\" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร[1] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 68 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[2] แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "704947#3", "text": "สำหรับประเทศไทย คำว่าประชาธิปไตยแบบไม่เสรีถูกนำมาใช้อธิบายการเมืองไทยในช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ ประมาณปี พ.ศ. 2523-31 และอธิบายการเมืองไทยยุคธนาธิปไตย (money politics) รวมไปจนถึงหลังปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา โดยเกษียร เตชะพีระ (2551) กล่าวถึงประชาธิปไตยแบบไม่เสรีไว้ว่า ในทวีปละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชียหลายประเทศ บางทีก็เรียกว่า \"ระบอบเลือกตั้งธิปไตย\" (electocracy - electocrats) หรือเรียกผู้กุมอำนาจในระบอบนี้ว่า “democratators” หรือ \"จอมบงการประชาธิปไตย\" จนกระทั่งระบอบประชาธิปไตยไม่เสรีถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น \"the fallacy of electoralism\" เป็นรูปแบบการเมืองที่เน้นการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว โดยเน้นหลักความเสมอภาคและอำนาจอธิปไตยของประชาชนผ่านการเลือกตั้งและพรรคการเมืองโดดๆ ด้านเดียว แต่ละเลยหรือล่วงละเมิดหลักสิทธิเสรีภาพและหลักนิติธรรมไปเสีย เข้าทำนอง elections = democracy ไป", "title": "ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี" }, { "docid": "49464#2", "text": "รัฐธรรมนูญนิยม มีหลายความหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงกลุ่มของแนวความคิด ทัศนคติ และรูปแบบพฤติกรรมที่สาธยายเกี่ยวกับหลักการที่การใช้อำนาจของรัฐมาจากกฎหมายสูงสุดและถูกจำกัดอำนาจด้วยกฎหมายสูงสุด \nรัฐธรรมนูญนิยม นิยาม รัฐธรรมนูญนิยม หรือ ระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หมายถึง ความเชื่อทางปรัชญาความคิดที่นิยมหลักการปกครองรัฐด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นแนวความคิดที่มุ่งหมายจะใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution) เป็นหลักในการกำหนดรูปแบบ กลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุด (อมร จันทรสมบูรณ์, 2537: 9; Alexander, 1999: 16; Bellamy, 2007: 4-5; Sartori, 1962: 3) ที่มา แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อต่อต้าน คัดค้านรูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolutism) ของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปขณะนั้น จนมาปรากฏชัดเจนขึ้นหลังจากการประชุมเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1787 (McIlwain, 1977: 17) ซึ่งทำให้แนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้น แนวคิดเรื่องลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เมื่อเกิดขึ้นในขั้นต้น จึงไม่ได้มีความหมายกลางๆ แต่อย่างใด หากแต่มีความหมายที่โน้มเอียงไปในด้านการจำกัดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะนั้น และเน้นหนักในการพยายามสร้างสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพลเมืองภายในรัฐ โดยเรียกร้องให้มีการนำสิ่งที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” มาใช้เป็นหลักในการวางกรอบของประเด็นดังกล่าว จากลักษณะข้างต้นจึงทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในประเทศตะวันตกนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยไปในที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำหรับประเทศตะวันตกแล้ว หากจะมีรัฐธรรมนูญก็ควรจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง (Bellamy, 2007: 93) ท่ามกลางกระแสเสรีประชาธิปไตยซึ่งยังคงเป็นกระแสหลักของประเทศส่วนใหญ่ในตะวันตก จึงได้ทำให้คำว่าลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายกลางๆ ที่มองรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือทางกฎหมายอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาใช้วางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดแหล่งที่มาของอำนาจ การเข้าสู่อำนาจ และการใช้อำนาจของผู้ปกครองในทุกๆ ระบอบการปกครอง (McIlwain, 1977) โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงระบอบประชาธิปไตยอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้รัฐสมัยใหม่ “ทุกรัฐ” ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยหรือไม่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่ยึดรูปแบบการปกครองของระบอบรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ทั้งสิ้น กล่าวคือ ทุกๆ รัฐต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางอำนาจและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศนั้นๆ (เสน่ห์, 2540: 17) โดยปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ประเทศที่สหประชาชาติให้การรับรองนั้นมีทั้งสิ้น 196 ประเทศ (แต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติเพียง 193 ประเทศ) ในขณะที่รัฐธรรมนูญที่เป็นทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในโลกนี้มีทั้งสิ้นกว่า 203 ฉบับ ทั้งนี้เพราะในรัฐโพ้นทะเลบางแห่งอย่างเช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน (British Virgin Islands or BVI) ของอังกฤษ หรือ เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กนั้นต่างก็เป็นรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองในฐานะเป็นดินแดนที่มีการปกครองตนเอง แม้ว่าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (absolute territorial sovereignty) นั้นจะเป็นของประเทศเจ้าเอกราชก็ตาม ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ประเทศไทยเองก็รับเอาลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เข้ามาใช้อย่างเป็นทางการภายหลังจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรกของคณะราษฎร แม้ว่าขบวนการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นจะสามารถสร้างระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นในประเทศไทยได้ แต่ผลจากการที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากการต่อสู้กันเฉพาะภายในกลุ่มชนชั้นนำบางส่วนของไทย ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดที่มีคนเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อของลูกชายนายทหารผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (ปรีดี, 2543) ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือต่อสู้บนพื้นฐานของความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพและการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชน ดังเช่นที่ประชาชนชาติตะวันตกได้ต่อสู้ด้วยความยากลำเค็ญเพื่อก่อร่างสร้างระบอบรัฐธรรมนูญในประเทศของพวกเขา ดังนั้น ระบอบรัฐธรรมนูญของไทยที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงสามารถก่อรูปได้ก็แต่เพียงหลักการในการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำให้แหล่งที่มาของอำนาจต้องอ้างอิงกับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ตามหลักการทุกประการ แต่จากการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้มากนักจึงทำให้พวกเขาไม่สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกให้เข้ากับรัฐธรรมนูญได้ แม้จะมีบทบัญญัติถึงหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐธรรมนูญขาดความศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จึงกลายเป็นผลลัพธ์และการรอมชอมจากการต่อสู้ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ของไทย ซึ่งสามารถถูกฉีกทิ้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนในภายหลังได้อย่างง่ายดาย (เสน่ห์, 2540: 31-35) อย่างไรก็ดี หลังจากเหตุการณ์การเรียกร้องให้มีการใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย ได้แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า คนส่วนหนึ่งของสังคมได้เริ่มตระหนักรู้และเข้าใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยสูงสุดของปวงชน และเป็นเครื่องมือที่จะนำไปใช้จำกัดอำนาจของผู้ปกครองจากการใช้อำนาจอันมิชอบ (abuse of power) ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมที่ถูกรับรองไว้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างถ้วนหน้า ซึ่งเป็นแก่นของระบอบรัฐธรรมนูญนั่นเอง (เสน่ห์, 2540: 316) จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่จะสร้างกลไกทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ จำกัดอำนาจผู้ปกครอง และสร้างเสรีภาพให้แก่พลเมืองให้มากที่สุด จึงทำให้แนวคิดนี้เติบโตออกไปจากเดิมมาก แม้ช่วงเวลาหลังจากการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับยุคที่รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบก็ตาม และด้วยกระแสลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมที่เติบโตขึ้นจึงทำให้ท้ายที่สุดในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้ชื่อว่าประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง และจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุดฉบับหนึ่ง ซึ่งถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้แค่เพียง 9 ปีก่อนจะเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 แต่จะเห็นได้ว่าการฉีกรัฐธรรมนูญของคณะทหารในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะครั้งนี้ได้เกิดกระแสต่อต้านคณะรัฐประหารที่ทำลายรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีของประเทศไทยที่ประชาชนเริ่มผูกโยงความสำคัญของตัวรัฐธรรมนูญเข้ากับการมีอยู่ของสิทธิและเสรีภาพของตนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษรที่จารึกไว้ในกระดาษ หากแต่เป็นเจตนารมณ์ของตัวรัฐธรรมนูญที่คอยปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกรัฐธรรมนูญในระบอบรัฐธรรมนูญ (every constitutionalism’s constitution) นั้นพึงมี\nความหมายของรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับของโลก เป็นความหมายที่ เดวิด เฟลล์แมน เมธีด้านรัฐศาสตร์และรัฐธรรมนูญแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้อธิบายไว้ว่า", "title": "รัฐธรรมนูญนิยม" }, { "docid": "49829#25", "text": "ประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาให้กำลังใจทหารที่จุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณกองบัญชาการกองทัพบก หลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ โดยแสดงความชื่นชมเหล่าทหาร ด้วยการมอบดอกไม้ ส่งยิ้ม ถ่ายรูปด้วย กระทั่งมีการพ่นสีข้อความว่า \"พล.อ.สนธิ วีรบุรุษชาวไทย\" และ \"กองทัพเพื่อประชาชน\" บนตัวถังรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 7 เป็นต้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนหนึ่ง ในบริเวณถนนราชดำเนินให้สัมภาษณ์ว่าไม่ตื่นตะหนก และร่วมถ่ายรูปกับทหารและรถถัง (ซึ่งประดับด้วยดอกไม้ที่ประชาชนมอบให้) เป็นที่ระลึก หรือมอบน้ำ อาหาร ให้แก่ทหารด้วย[20] หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชื่นชมว่า \"จากที่ดูภาพในซีเอ็นเอ็น เป็นการยึดอำนาจที่เรียบร้อยที่สุด ไม่มีเสียเลือดเสียเนื้อ เราก็รู้สึกสบายใจว่ามันคงไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประชาชนยอมรับ ขณะที่ต่างชาติก็รู้สึก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุน\"[21] สวนดุสิตโพลสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,019 คน ในวันที่ 20 กันยายน 49 พบว่า 83.98% เห็นด้วยกับรัฐประหาร เนื่องจากเห็นว่าการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วย มีความเห็นว่าภาพลักษณ์ของประเทศอาจตกต่ำลง[22] ผลสำรวจแตกต่างจากโพลสำรวจการเลือกตั้งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยถึง 49%[23] กลุ่มนักธุรกิจทั่วประเทศแสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปการปกครองครั้งนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจกระทบบ้างแต่ชั่วคราว และจะสยบความวุ่นวายของประเทศ[24] นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เห็นด้วยต่อการยึดอำนาจ เนื่องจากประเทศมีปัญหาจากผู้นำที่ไม่ชอบธรรม และบริหารด้วยระบอบเผด็จการประชาธิปไตย จึงควรหยุดระบอบเผด็จการนั้น เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศน้อยที่สุด การปฏิรูปฯ ครั้งนี้เป็นการดีที่ไม่เสียเลือดเนื้อ[24] สมภพ บุนนาค แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น กล่าวเห็นชอบกับ คปค.ว่า \"การยึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้ แม้จะขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบ เพราะเป็นการปลดล็อกปมปัญหาของชาติ เพื่อสะสางอุปสรรคสังคมการเมืองให้สามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง การต่อสู้ของภาคประชาชนที่ผ่านมาเพื่อล้มระบอบทักษิณ ไม่สามารถผ่าทางตันได้ จำเป็นที่ทหารต้องเข้ามาจัดการหาทางออกให้ อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนต้องติดตามต่อว่า ภายหลัง เข้ามาแก้ปัญหาของ คปค.ครั้งนี้จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เร็ว ตามที่หัวหน้าคณะฯได้ประกาศไว้หรือไม่\" และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารของ คปค.ว่า \"กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าประชาชนใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้งแล้วก็จบ มีบริบทแวดล้อมหลายประการที่ประกอบเป็นระบอบประชาธิปไตย\"[25]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549" }, { "docid": "37665#90", "text": "\"การเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย\" หรือ \"การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงครั้งใหม่\" เป็นยุคที่ประเทศสเปนกำลังปรับเปลี่ยนจากความเป็นรัฐเผด็จการไปสู่ความเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตย โดยทั่วไปถือว่าการเปลี่ยนผ่านนี้เกิดขึ้นหลังจากนายพลฟรังโกถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ส่วนการสิ้นสุดกระบวนการอย่างสมบูรณ์ก็ถือเอาชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (\"PSOE\") เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1982 เป็นสัญญาณบ่งบอก", "title": "ประวัติศาสตร์สเปน" }, { "docid": "704947#0", "text": "ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี (Illiberal Democracy) หมายถึงรูปแบบประชาธิปไตยที่แม้จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่สิทธิพลเมือง (civil liberties) ของประชาชนมักถูกจำกัด ละเมิด หรือไม่ได้รับความคุ้มครอง มีการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูล สื่อถูกควบคุม และการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐ นอกจากนี้ในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เสรี กระบวนการเลือกตั้งมักไม่เป็นไปตามหลักการเลือกตั้งในระบอบเสรีประชาธิปไตย ที่เน้นความโปร่งใส (transparency) เป็นอิสระ (free) จากการครอบงำโดยผู้กุมอำนาจรัฐหรืออำนาจอื่นใด การแข่งขันเลือกตั้งให้ความเป็นธรรม (fair) กับผู้แข่งขันและผู้สนับสนุนทุกฝ่าย และประกันความลับของผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง (secret ballot) ระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เสรีมักเกิดขึ้นในสังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปสู่การเป็นประชาธิปไตย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา (developing country) หรือประเทศประชาธิปไตยใหม่ (new democracies) แต่บางครั้งประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศก็อาจมีมิติของประชาธิปไตยที่ไม่เสรีปรากฏให้เห็นได้ด้วยเช่นกัน อาทิ ในสิงคโปร์ที่มีการเลือกตั้งที่สร้างกติกาปิดกั้นการแข่งขัน กีดกันผู้สมัครฝ่ายค้าน ไม่ประกันความลับของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนในการแสดงความคิดเห็น (Zakaria, 1997: 22-43)", "title": "ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี" } ]
1457
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "27628#0", "text": "ในเคมีอินทรีย์ ไฮโดรคาร์บอน () เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบขึ้นจากไฮโดรเจนและคาร์บอนทั้งหมด ไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมไฮโดรเจนหนึ่งอะตอมถูกนำออกเป็นหมู่ฟังก์ชัน เรียก ไฮโดรคาร์บิล ไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ เช่น อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (อะรีน) อัลเคน อัลคีน ไซโคลอัลเคนและอัลไคน์", "title": "ไฮโดรคาร์บอน" } ]
[ { "docid": "34905#7", "text": "ไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบส่วนใหญ่เป็นแอลเคน ไซโคลแอลเคน และไฮโดรคาร์บอนอะโรมาติกหลายชนิด ขณะที่สารประกอบอินทรีย์อื่นมีไนโตรเจน ออกซิเจนและกำมะถัน และมีโลหะอยู่บ้าง เช่น เหล็ก นิกเกิล และวานาเดียม องค์ประกอบโมเลกุลที่แม่นยำแตกต่างกันอย่างมากตามรูปแบบของไฮโดรคาร์บอน แต่สัดส่วนของธาตุเคมีองค์ประกอบแตกต่างกันคอ่นข้างน้อยดังตารางด้านล่าง", "title": "ปิโตรเลียม" }, { "docid": "34905#4", "text": "ในความหมายอย่างแคบที่สุด ปิโตรเลียมความหมายถึงเฉพาะแต่น้ำมันดิบ แต่ในความหมายทั่วไป คำว่า \"ปิโตรเลียม\" รวมไปถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นทั้งของแข็ง ของเหลวและแก๊ส ภายใต้ความดันพื้นผิวและสภาพอุณหภูมิ ไฮโดรคาร์บอนที่เบากว่าอย่างมีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทน อยู่ในสถานะแก๊ส ขณะที่เพนเทนและไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่าอยู่ในรูปของเหลวหรือของแข็ง อย่างไรก็ดี ภายใต้แอ่งกักเก็บน้ำมันใต้พิภพ สัดส่วนของแก๊ส ของเหลวและของแข็งขึ้นอยู่กับสภาพใต้พิภพและแผนภาพของภาค (phase diagram) ของสารผสมปิโตรเลียม", "title": "ปิโตรเลียม" }, { "docid": "47829#0", "text": "โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ พีเอเอช เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยวงเบนซีนตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป จัดเรียงเป็นเส้นตรง เป็นมุม หรือเป็นกลุ่ม มีเฉพาะอะตอมของไฮโดรเจนและคาร์บอน ส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำ ค่าลอการิทึมของค่าคงที่การละลายในน้ำ - ออกทานอลระหว่าง 3 - 7 จุดเดือดระหว่าง 150 - 325 องศาเซลเซียส และจุดหลอมเหลวระหว่าง 101 - 438 องศาเซลเซียส ในสิ่งแวดล้อม มักเกาะกับอนุภาคฮิวมิคในดิน หรือสะสมในสิ่งมีชีวิต", "title": "โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน" }, { "docid": "15995#2", "text": "กรดไขมันเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของไขมันทุกชนิด มีคาร์บอนตั้งแต่ 4 – 36 ตัว ไม่แตกกิ่ง พันธะระหว่างคาร์บอนอาจเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันอิ่มตัว หรือมีพันธะคู่ปนกับพันธะเดี่ยว ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว จำนวนของคาร์บอนในกรดไขมันส่วนใหญ่มักเป็นเลขคู่ จุดหลอมเหลวของกรดไขมันขึ้นกับจำนวนคาร์บอนและจำนวนพันธะคู่ เช่นที่อุณหภูมิห้อง กรดไขมันอิ่มตัวที่มีคาร์บอน 12 – 24 ตัวอยู่ในสภาพเป็นไข ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีคาร์บอนเท่ากันยังเป็นน้ำมันอยู่ เป็นต้น", "title": "ลิพิด" }, { "docid": "2698#3", "text": "คาร์บอนปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเป็นพื้นฐานของอินทรีย์เคมี นอกจากนี้ อโลหะนี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่น่าสนใจ คือ สามารถทำพันธะกับตัวเอง และธาตุอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เกิดได้เป็นสารประกอบเกือบ 10 ล้านชนิด เมื่อรวมกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อรวมกับไฮโดรเจน จะเกิดเป็นสารประกอบต่าง ๆ ที่เรียกรวม ๆ ว่าไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภท เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด ไอโซโทป คาร์บอน-14ใช้ในการวัดอายุโดยใช้กัมมันตภาพรังสี", "title": "คาร์บอน" }, { "docid": "27628#2", "text": "ไฮโดรคาร์บอนมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่\n1. อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีวงแหวนอะโรมาติคอย่างน้อยหนึ่งวง \n2. ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (saturated hydrocarbon) หรือแอลเคน (alkane) ไม่มีพันธะคู่, พันธะคู่สาม หรือพันธะอะโรมาติก\n3. ไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว (unsaturated hydrocarbon) ประกอบไปด้วยพันธะคู่หรือพันธะคู่สามอย่างน้อยหนึ่งพันธะระหว่างอะตอมคาร์บอน แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่", "title": "ไฮโดรคาร์บอน" }, { "docid": "14321#0", "text": "คาร์โบไฮเดรต () เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•HO) n ซึ่ง n≥3 โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group, -OH) เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า สารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) ซึ่งการที่มีหมู่ไฮดรอกซิลในโมเลกุลนั้น ทำให้เกิดการวางตัวกัน และยังสามารถทำปฏิกิริยาหรือสร้างพันธะกับสารอื่นๆได้ ดังนั้น คาร์โบไฮเดรตจึงมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมี และบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์", "title": "คาร์โบไฮเดรต" }, { "docid": "27628#3", "text": "จำนวนของอะตอมไฮโดรเจนสามารถถูกกำหนดได้ ถ้าทราบจำนวนอะตอมคาร์บอน โดยใช้สมการดังต่อไปนี้:\nโดย n แทนจำนวนอะตอมของธาตุ เช่น CH เป็นอัลเคน ส่วน CH เป็นอัลคีน ไฮโดรคาร์บอนสามารถทำงานได้ภายใต้กฎออกเตด (กล่าวคืออะตอมคาร์บอนจะต้องรับอะตอมไฮโดรเจนมา 4 อะตอม เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตดที่ต้องมีอิเล็กตรอน 8 ตัว ซึ่งอะตอมไฮโดรเจนหนึ่งๆ จะมีอิเล็กตรอน 1 ตัว) ซึ่งถ้าไม่ได้เป็นไปตามกฎอ็อกเตดแล้ว จะทำให้ไฮโดรคาร์บอนเกิดความเฉื่อย", "title": "ไฮโดรคาร์บอน" }, { "docid": "179021#7", "text": "เป็นแร่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของเหลว มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบของไฮโดรเจนและคาร์บอน จึงถูกเรียกว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบบ่อยที่สุด ที่มีสีน้ำตาลแกมเขียว แต่อาจพบสีอื่นบ้าง เช่น สีเหลืองเข้ม น้ำตาลเกือบดำ ประกอบอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน (S), ไนโตรเจน (N), ออกซิเจน (O) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้น้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาจะยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ต้องมีการนำมาแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามชนิดของสารได้ โดยการวิธีการแยกสารที่ปนอยู่ในน้ำมันดิบออกจากกันนี้ เรียกว่า การกลั่นน้ำมันดิบ เมื่อนำน้ำมันดิบมากลั่นแยกจะได้น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ ประเภทต่างๆ ให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง ส่วนที่เหลือจากการกลั่นน้ำมัน และก๊าซหุงต้มแล้ว นำไปใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลนำมาใช้ ประดิษฐ์ของใช้สำเร็จรูปอื่นๆอีกประมาณ 300 ชนิด เช่น สารพวกพลาสติก ไนลอน เส้นใยสังเคราะห์ ปุ๋ย ยารักษาโรค สีผงซักฟอก เป็นต้นกากที่เหลือตกค้างซึ่งเป็นส่วน ที่หนักที่สุดจะได้แก่ ยางมะตอยซึ่งนิยมนำมาทำผิวถนนลาดยาง น้ำมันดิบเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในสมัยอดีต มีหินปูน ดินเหนียว ทรายและอื่นๆ ตกตะกอนทับถมมาเป็นชั้นๆ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ของแรงกดดันและอุณหภูมิในชั้นหิน ทำให้เกิดการแปรสภาพทางเคมีและฟิสิกส์ กลายเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นน้ำมันดิบแทรกตัวอยู่ในเนื้อของหินดินดาน หินทรายและหินปูนที่มีเนื้อพรุน แหล่งที่พบมาก คือ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และในอ่าวไทย", "title": "เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์" } ]
128
โรงเรียนมาเรียลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่ ?
[ { "docid": "38040#1", "text": "โรงเรียนมาเรียลัย ได้เปิดทำการสอนตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฏร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยมีพระคุณเจ้าเรอเน แปร์โร ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นเป็นเจ้าของและผู้จัดการคนแรก และนางสาวอำไพ เลาหบุตร เป็นครูใหญ่ ในปี พ.ศ. 2489 ได้ขอทุนโรงเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงฯ ช่วยเมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2499 ต่อมา โรงเรียนได้รับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2505 และเปิดทำการสอนแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" } ]
[ { "docid": "38040#3", "text": "วันที่ 5 กรกฎาคม 2522 บาทหลวงชวลิต กิจเจริญ ได้รับคำสั่งย้ายไปประจำที่อื่น จึงทำให้ตำแหน่งผู้จัดการว่าง ซิสเตอร์ ระเบียบ ยิ่งยืน จึงได้รับตำแหน่งผู้จัดการแทน และในปีนี้ จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเป็น 630 คน ทางโรงเรียนจึงได้ขอต่อเติมอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง โดยต่อจากห้องประชุมและได้ดัดแปลงใช้เป็นห้องเรียนอีก 2 ห้อง รวมมีห้องเรียนทั้งหมด 17 ห้อง ในเนื้อที่ 2,040 ตารางวา สามารถรับนักเรียนได้ไม่เกิน 729 คน ในปีนี้มีซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ รับตำแหน่งเจ้าของโรงเรียนแทนบาทหลวงชวลิต กิจเจริญ ซึ่งย้ายไป", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#16", "text": "ปี 2535 ซิบเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน ได้รับคำสั่งย้ายไปประจำที่อื่น บาทหลวงธีรวัฒน์ เสานางค์นารถ จึงได้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน ปีนี้มีนักเรียน 1,280 คน ครู 58 คน", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#34", "text": "- ชั้นที่ 5 มีห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 ( ปรับอากาศ ) รวมถึง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ( Lab )2 ห้อง / ห้องคอมพิวเตอร์ใหญ่ 2 ห้อง / ห้องนาฏศิลป์ 2 ห้อง", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#24", "text": "ปี 2546 บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา ดำรงตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์พัชรา นันทจินดา เป็นครูใหญ่ จำนวนนักเรียน 3,228 คน ครู 122 คน ครูพี่เลี้ยง 21 คน โรงเรียนได้พัฒนาการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2544 จนเป็นที่ยอมรับของชุมชน และโรงเรียนในเขต 4 จึงมีโอกาสขยายการศึกษาออกไปเป็น 12 ปี เพื่อสนองต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นปีแรก ถึงแม้ว่าโรงเรียนได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.แล้ว โรงเรียนก็ยังมุ่นมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพในระยะต่อไป", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#26", "text": "ปี 2548 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับในอนุญาตคือ บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา บาทหลวงสุขุม กิจสงวน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน 3,270 คน ครู 130 คน พี่เลี้ยง 20 คน โรงเรียนได้มีการพัฒนาการศึกษาขึ้นทั้งระบบ และในปีนี้ ได้จัดทำธรรมนูญโรงเรียนเพื่อเป็นแผนงานในการปฏิบัติงานปีการศึกษา 2548 – 2550", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#11", "text": "ปี 2530 ก่อสร้างอาคารเรียน 5 ชั้น แทนอาคารเรียน 2 ชั้น หลังเก่าโดยมีซิสเตอร์กฤษฎีชื่นชมน้อย มารับหน้าที่ครูใหญ่แทน ปีนี้มีนักเรียน 830 ครู 35 คน", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#4", "text": "ปี 2523 ทางโรงเรียนได้ขออนุญาตทางราชการใช้ห้องเรียนชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีก 2 ห้องเรียน ในอาคารเรียนที่ 2 เพื่อใช้เป็นห้องเรียนอนุบาล ในปีนี้มีนักเรียนทั้งหมด 653 คน มีครู 31 คน ปีนี้ทางโรงเรียนได้ขอปิดกองยุวกาชาดและได้เปิดกองเนตรนารีแทน", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#19", "text": "ปี 2539 การดำเนินงานของโรงเรียน มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้มีการปรับปรุงในด้านต่างๆดังนี้", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#33", "text": "- ชั้นที่ 4 มีห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - 4 ( เครื่องปรับอากาศ )", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#30", "text": "- ชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 / ห้องคริสต์ศาสนา / ห้องพยาบาล ( มีห้องน้ำในตัว )( เครื่องปรับอากาศ )", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#29", "text": "เป็นอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ 6 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 หรือ ค.ศ. 2000 มีรายละเอียดดังนั้", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#32", "text": "- ชั้นที่ 3 มีห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2 ( เครื่องปรับอากาศ )", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#23", "text": "ปี 2543 คุณพ่อเกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช ได้รับมองหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#38", "text": "มาเรียลัย มาเรียลัย", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#20", "text": "ก่อสร้างห้องสหกรณ์เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับครูและนักเรียน ปรับปรุงห้องนาฏศิลป์ ปรับปรุงและตกแต่งสนามหน้าโรงเรียนให้สวยงามยิ่งขึ้น ปรับปรุงและตกแต่งบริเวณอาคารสถานที่ของนักเรียนระดับอนุบาลให้ดูสวยงามและปลอดภัยสำหรับนักเรียนอนุบาลมากยิ่งขึ้น จัดทำห้องคอมพิวเตอร์ เพิ่มอีก 1 ห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นได้มีโอกาสรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#27", "text": "และในปัจจุบัน โรงเรียนมาเรียลัยยังเป็น ศูนย์กลางของนักเรียนทุกศาสนา ซึ่งทางโรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอน ถึง 5 ระดับชัน ซึ่งแบ่งเป็น อนุบาล ประถมต้น-ปลาย มัธยมต้น-ปลาย", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "791129#1", "text": "ยัวร์บอยทีเจสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น-มัธยมปลาย โรงเรียนมาเรียลัย และระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ", "title": "ยัวร์บอยทีเจ" }, { "docid": "38040#10", "text": "ปี 2529 ซิสเตอร์กิตฟ้า ว่องประชานุกูล รับหน้าที่แทนซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชะลอ ซึ่งลาออก", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#0", "text": "โรงเรียนมาเรียลัย เป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกในเขตมิสซังกรุงเทพฯ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) ตั้งอยู่เลขที่ 389 ถนนประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่จำนวน 15 ไร่ 40 ตารางวา เดิมเป็นอาคารเรียนเรือนไม้ 2 ชั้น 3 หลัง ชุมชนมีการพัฒนาความเจริญมากขึ้น ตามลำดับ ในพื้นที่ของวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#7", "text": "ปี 2526 ทางโรงเรียนได้ก่อสร้างโรงเรียนอนุบาล โรงอาหาร และหอประชุมหลังใหม่ บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ ได้ย้ายไปประจำที่อื่น โดยมีบาทหลวง ธนันชัย กิจสมัคร มารับตำแหน่งดูแลแทน มีบาทหลวงวุฒิเลิศ แห่ล้อม เป็นผู้ลงนาทแทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ การก่อสร้างโรงเรียนอนุบาลแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน เปิดทำการให้ภาคเรียนที่ 2 ได้เสกและเปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#18", "text": "ปรับปรุงสนามฟุตบอล จัดถมดินให้สูงขึ้นป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งถนนเข้าสู่โรงเรียน เทคอนกรีต ให้สูงขึ้น โดยรอบ รวมทั้งตึกอนุบาลด้วย ซ่อมแซมอาคารเรียน 5 ชั้นเพื่อปรับปรุงให้เป็นห้องปฏิบัติการต่างๆตามความเหมาะสม จัดห้องคอมพิวเตอร์เพื่อเสริมการเรียนการสอนให้ก้าวไกลไปกับยุคปฏิรูปเพื่อให้เด็กมีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น ปรับปรุงหน้าอาคารเรียน โดยเฉพาะบริเวณเสาธงอย่างสวยงาม", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#37", "text": "พ.ศ. 2561 ทั้งนี้โรงเรียนมาเรียลัยได้มีการสร้างตึกอนุบาล และ Nursery ใหม่อีกด้วย ซึ่งมีช่วงชั้นอนุบาล 1 - อนุบาล 3 รวมถึง Nursery ทั้งยังมีสนามเด็กเล่นอีกด้วย และยังสร้างโดมไว้ในสถานที่เข้าแถวรวมตัวนักเรียนช่วงเช้า ของทุกตึกครอบคลุมเกือบทั้งโรงเรียน", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#28", "text": "สีประจำโรงเรียน ฟ้า - ขาว สีฟ้า หมายถึง ความหวังที่ทุกคนมุ่งใฝ่ศึกษาเพื่ออนาคตที่ก้าวหน้า, สีขาว หมายถึง ความศรัทธาในคุณธรรม จริยธรรม ความบริสุทธิ์สะอาด", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#31", "text": "- ชั้นที่ 2 มีห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - 3 ( เครื่องปรับอากาศ )", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#6", "text": "ปี 2525 บาทหลวงวรยุทธ กิจบำรุงได้รับตำแหน่งเป็นอธิการโบสถ์นักบุญอันนา ท่าจีน ที่โรงเรียนอันนาลัย บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองดูและโบสถ์และโรงเรียน ต่อมาได้มองหมายให้ซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืนเป็นผู้จัดการแทน และบาทหลวงวุฒิเลิศ ดำรงตำแหน่งผู้ลงนาทแทนผู้รับใบอนุญาต", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#17", "text": "ปี 2538 การดำเนินงานของโรงเรียนมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ได้ปรับปรุงหลายด้าน ได้แก่", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#8", "text": "ปี 2527 บาทหลวงธนันชัย กิจสมัคร ได้รับคำสั่งย้ายไปที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยา และซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน ย้ายไปที่โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ บาทหลวงประเวศ พันธุมจินดา ได้มารับตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและซิสเตอร์อัญชลี สมแสงสรวง รับตำแหน่งครูใหญ่", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#35", "text": "- ชั้นที่ 6 มีห้องประชุมมารีอา ( ห้องประชุมใหญ่ที่สุดในโรงเรียน ) ( ปรับอากาศ ) / ห้องงานช่าง 1 ห้อง", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" }, { "docid": "38040#9", "text": "ปี 2528 บาทหลวงพงษ์เกษม สังวาลเพชร ได้มารับตำแหน่งในหน้าที่ผู้จัดการ และเจ้าของโดยมีซิสเตอร์ มารศรี จันทร์ชลอ เป็นครูใหญ่ ปีนี้มีนักเรียน 783 คน ครู 33 คน", "title": "โรงเรียนมาเรียลัย" } ]
1973
รัฐละโว้ คือจังหวัดใดในปัจจุบัน ?
[ { "docid": "42555#0", "text": "อาณาจักรละโว้ บ้างเรียก ลวรัฐ หรือ ละโว้โยทิยา[1] เป็นอาณาจักรโบราณในมณฑลอำนาจแห่งหนึ่งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถาปนาขึ้นราวปลายยุคทวารวดี มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ลวปุระ (ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี) หลังการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรละโว้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา", "title": "อาณาจักรละโว้" } ]
[ { "docid": "5256#15", "text": "อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้ อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรขอม อาณาจักรเจนละ แคว้นศรีจนาศะปุระ(รัฐศรีจนาศะ) อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรโยนกเชียงแสน รัฐพันพัน แคว้นคันธุลี อาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรเชียะโท้", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "18902#2", "text": "จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชนชาติเขมรเริ่มรวมตัวเป็นอาณาจักรหรือรัฐ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยพัฒนามาจากเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับอินเดีย มีความเจริญภายใต้พื้นฐานของอารยธรรมอินเดีย ใช้ชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (เวียดนามตอนใต้) และแม่น้ำโขงตอนใต้ (กัมพูชา) จนถึงบางส่วนในบริเวณของภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีเมืองออกแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม) เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขาย และมีราชธานีนามว่า“วยาธปุระ” ใกล้เขาบาพนมในประเทศกัมพูชา \nอาณาจักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูรางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดนัก ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และนับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลัก \nพุทธศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนฬา ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูเขาวัดภู ในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาวและทางภาคเหนือของประเทศกัมพูชา ราชธานีของอาณาจักรเจนฬาคือ เมือง “เศรษฐปุระ” อาณาจักรเจนฬามีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย\nพระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์ของเจนฬาได้ยึดวยาธปุระจากรุทรวรมัน ต่อมาพระอนุชาของภววรมันคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ได้เข้ายึดฟูนันและปราบปรามได้ ทำให้อาณาจักรเจนฬาได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม จนล่วงพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรเจนฬาได้ถูกกษัตริย์ชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรชวาภาคกลางรุกราน จึงทำให้เจนฬาแตกออกเป็น 2 ส่วนคือ เจนฬาบก และ เจนฬาน้ำซึ่งถูกชวายึดครองได้ นอกจากนี้อาณาจักรชวายังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายชัยวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรชวาอีกด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าตัวจำนำเพื่อรับรองความจงรักภักดีของอาณาจักรเขมร\nต่อมาในปี พ.ศ. 1350 ชัยวรมันที่ 2 ได้ยกทัพขึ้นมาประกาศเอกราชจากอาณาจักรชวา และยังรวมอาณาจักรเจนฬาบกและเจนฬาน้ำที่แตกแยกเข้าด้วยกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักรเขมรใหม่ และขนานนามใหม่ว่า เมืองกัมโพชน์ตะวันออก โดยแยกตัวมาจากอาณาจักรลโวทยหรือละโว้ หรือปัจจุบันเรียกว่า ลพบุรี พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงตั้งราชธานีของเมืองกัมโพชน์ในบริเวณทางเหนือของทะเลสาบเขมร พระองค์ทรงขยายพระราชอำนาจเข้าไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำบริเวณอีสานใต้ของประเทศไทยในจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ", "title": "ปราสาทขอม" }, { "docid": "35824#3", "text": "แต่ในเรื่องดังกล่าวรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่าอโรคยาศาลนั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งปัจจุบันได้แยกเป็นจังหวัดสระแก้ว) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิง ตรงข้ามกับบรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึงเพชรบุรีและปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาที่บ่งชี้ว่าน่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา\nในสมัย รัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์ได้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ดังนั้นจึงยุบเมืองสิงห์ให้เหลือเป็นฐานะเพียงตำบลหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์" }, { "docid": "975264#62", "text": "ในการตัดสินใจเสด็จกลับมาครองเมืองหริภุญชัยของพระนางจามเทวีนั้น พระนางได้ทูลเชิญเจ้ารามพระสวามีมาด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นพระนางจึงต้องเสด็จมาโดยลำพัง ขณะนั้นได้กำลังทรงพระครรภ์ได้ราว ๓ เดือน ตำนานมูลศาสนากล่าวว่าส่วนพระสวามีนั้น พระเจ้ากรุงละโว้ก็ทรงตั้งให้เป็นที่อุปราชครองเมืองรามบุรี และเพราะว่าเวลานั้นเจ้าหญิงจามเทวีทรงพระครรภ์อยู่ พระเจ้ากรุงละโว้จึงทรงมีพระราชโองการให้เจ้าชายรามราชเข้าเฝ้า ว่าการที่ท่านสุเทวฤๅษีส่งทูตมาขอเจ้าหญิงจามเทวีไปเป็นนางพระยา พ่อก็มีความปรารถนาอยากจะให้ไปนี้แหละ เจ้าจงอยู่เป็นอุปราชากับพ่อ หากมีความพอใจในหญิงใดพ่อจะจัดให้ตามความประสงค์ทุกประการ เจ้าชายรามราชจึงกราบทูลว่าขุนน้ำโพ้นไกลนักหนาทีเดียว ผิว่าตามใจของพระองค์แล้วพระองค์ก็ไม่อยากจะให้พระนางจากไป จึงแม้เช่นนั้นพระองค์ก็เห็นดีในพระประสงค์พระเจ้ากรุงละโว้ทุกอย่าง ทูลแล้วเสด็จกลับวัง และแก่เจ้าหญิงจามเทวีว่า", "title": "ฤๅษีวาสุเทพ" }, { "docid": "56157#5", "text": "เอกสารพงศาวดารจีนเรียกเมืองเชลียงว่า \"เฉิงเหลียง\" \nคู่กับเมือง \"หลอหู\" หรือ ละโว้ หรือลพบุรีในปัจจุบัน\nเชลียง สุโขทัยก่อนราชวงศ์พระร่วงและละโว้ เป็นเมืองร่วมสมัยขอมเรืองอำนาจในเขตแดนไทย\nผ่านประสบการณ์ ติดต่อสัมพันธ์กัน มีหลักฐานทางโบราณคดียุคนั้นยืนยันหลายประการ", "title": "เมืองศรีสัชนาลัย" }, { "docid": "194644#3", "text": "มนุษย์ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลพบุรีมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแล้ว จนเป็นแหล่งชุมชนที่พัฒนาเป็นบ้านเมืองแล้วเป็นรัฐ อาทิ รัฐทวารวดี, รัฐละโว้-อโยธยา ก่อนพัฒนาเป็นกรุงศรีอยุธยาในกาลต่อมา ในยุคทวารวดี สายน้ำนี้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับคลองและสายน้ำไปยังเมืองบางไผ่ (อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี), เมืองจันเสน (อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์), เมืองอู่ตะเภา (อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท) ดังจะพบวัดเก่าสมัยอยุธยาเรียงรายตามลำน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้สันนิษฐานไว้ในหนังสือ \"\"ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสตั้งแต่พระราชวังจันทรเกษมถึงจังหวัดลพบุรี\"\" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า \"เส้นทางสายนี้คงเป็นแม่น้ำลพบุรีสายเดิม และพระนางจามเทวีเดินทางจากละโว้ ขึ้นไปครองเมืองหริภุญไชย ผ่านตามเส้นทางน้ำที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาแถบหลังอำเภอพยุหะคีรี\" ", "title": "แม่น้ำลพบุรี" }, { "docid": "42555#11", "text": "หมวดหมู่:จังหวัดลพบุรี หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ไทย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 หมวดหมู่:สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 14", "title": "อาณาจักรละโว้" }, { "docid": "56376#7", "text": "พ.ศ. 1204 พระนามจามเทวีมีพระชนม์ 20 พรรษา เป็นกษัตรีย์วงศ์จามเทวีแห่งนครหริภุญชัย โดยพระนางเจ้าได้อัญเชิญพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) จากเมืองละโว้ เมื่อปี 700 ขึ้นมา เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง (ปัจจุบัน พระเสตังคมณีองค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่)", "title": "วัดจามเทวี" }, { "docid": "56376#1", "text": "เมื่อปีพ.ศ. 1298 พระนางจามเทวีนำช่างละโว้ (ปัจจุบันคือ จังหวัดลพบุรี) ไปสร้างพระเจดีย์สุวรรณจังโกฎ เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย ทุกๆด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ภายในบรรจุอัฐของพระนางจามเทวี", "title": "วัดจามเทวี" }, { "docid": "15726#1", "text": "คำว่า \"พระประแดง\" บ้างว่ามาจากคำว่า \"ประแดง\" หรือ \"บาแดง\" แปลว่า คนเดินหมายหรือ คนนำข่าวสาร แต่เดิมเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว", "title": "อำเภอพระประแดง" }, { "docid": "5358#69", "text": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดลพบุรี รายชื่อวัดในจังหวัดลพบุรี สโมสรฟุตบอลลพบุรี อาณาจักรละโว้ อำเภอเมืองลพบุรี รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดลพบุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดลพบุรี", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "938#5", "text": "ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า \"หรั่ว เซม\" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า \"สยาม\" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า สิแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในภาษาเขมร คำว่า \"สยาม\" หมายถึง \"ขโมย\" โดยออกเสียงว่า \"ซี-เอม\" เมืองเสียมราฐ ซึ่งอยู่ใกล้กับนครวัด จึงมีความหมายว่า \"พวกขโมยพ่ายแพ้\" ดังนั้น ความหมายของคำว่า \"สยาม\" ในภาษาเขมรจึงหมายถึง \"พวกขโมยป่าเถื่อน\" เนื่องจากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ มีคนไทที่อพยพมาจากทางเหนือเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของเขมรซึ่งอาจเข้ามาโดยการกวาดต้อนของชาวเขมรเองเพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างปราสาทหินต่างๆ คำว่า \"สยาม\" จึงเป็นคำเขมรที่ใช้เรียกกลุ่มคนไทซึ่งในเวลานั้นชาวเขมรยังมองว่าเป็นแค่คนป่า บนรูปสลักฝาผนัง ณ นครวัด ประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงกำลังพลจากอาณาเขตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาร่วมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีภาพกองกำลังกองหนึ่งที่มีคำบรรยายใต้ภาพว่า \"เนะ สยฺมกุก\" (เนะ สยำกุก) [6] ซึ่งแปลได้ความว่า \"นี่ เสียมกุก\" เป็นกองกำลังต่างหากจากกองกำลังจากอาณาจักรละโว้ ซึ่งรูปสลักฝาผนังได้สลักแยกไว้พร้อมคำบรรยายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นคนไท-ลาวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเป็นที่ยอมรับกัน ในภาษาพม่านั้น เรียกคนไทยว่า \"เซี้ยน\" ซึ่งถ้าดูจากการเขียน จะใช้ตัวสะกดเป็นตัว ม (ซย+ม) แต่ในภาษาพม่านั้นอ่านออกเสียงตัวสะกดตัว ม เป็นตัว น จึงทำให้เสียงเรียกคำว่า \"สยาม\" เพี๊ยนเป็น \"เซี้ยน\" ในปัจจุบัน คนในประเทศพม่ามักจะเรียกชนกลุ่มที่พูดภาษา ไท-กะได ต่างๆว่า \"เซี้ยน\" หรือ ชื่อประเทศหรือพื้นที่ตามด้วยเซี้ยน เช่นเรียกคนไทยว่า \"โย้ตะย้าเซี้ยน\" (คนสยามโยธยา ซึ่งเมื่อก่อน อยุธยาเป็นเมืองหลวง) หรือไท้เซี้ยน (คนสยามไทย), เรียกคนลาวว่า \"ล่าโอ่เซี้ยน\" (คนสยามลาว), เรียกคนชนกลุ่มไตในจีนว่า \"ตะโย่วเซี้ยน\" (คนสยามจีน ซึ่งคำว่า \"ตะโย่ว\" ในภาษาพม่าแปลว่า \"จีน\") และเรียกคนไทใหญ่ในรัฐฉานว่า ต่องจยี๊เซี้ยน (สยาม ต่องกี๊ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในปัจจุบัน และจริงๆแล้วคำว่า \"รัฐฉาน\" นั้นมันคือ \"รัฐสยาม\" แต่พม่าออกเสียงเพี้ยนเป็น \"เซี้ยน ปี่แหน่\" เขียนเป็นอังกฤษว่า Shan State แล้วคนไทยก็ออกเสียงเพี้ยนจากคำอังกฤษ \"Shan\" เป็น \"ฉาน\" จึงกลายเป็นรัฐฉานตามการเรียกของคนไทยในปัจจุบัน) และทางการรัฐบาลพม่ากำหนดให้ คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี มีสัญชาติเป็น เซี้ยน เช่นเดียวกับคนไทใหญ่ในรัฐฉาน ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร \"เซียน\" (暹国; น่าจะหมายถึง สยาม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร \"ร้อยสนม\" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร \"หลัววอ\" (羅渦国; น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร \"เซียน\" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร \"หลัววอ\" จนในที่สุด อาณาจักร \"เซียน\" และอาณาจักร \"หลัววอ\" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหม่ที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร \"เซียนหลัว\" (暹罗国; ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน=\"เซียนหลัวกว๋อ\" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = \"เสี่ยมล้อก๊ก\") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น \"ไท่กว๋อ\" (泰国) นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของคนไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย สยาม เป็นคำเรียกของชาวตะวันตก ที่มาทำการค้า การเดินทางมาทางเรือต้องผ่านพม่าก่อน ชาวพม่าบอกชาวตะวันตกว่า เซียม ชาวไท ออกเสียงเป็น เซียน ซึ่งปัจจุบันเป็น ฉานเนื่องจากชาวพม่าออกเสียง น.หนู ไม่ได้ จึงเพี้ยนเป็น ม.ม้า ฉานชาวพม่าหมายถึง รัฐฉาน ในประเทศพม่า, อาณาจักรล้านนา ในไทย, ลาว ,ภาคอีสานตอนเหนือ ในไทย, ตอนใต้ของยูนนาน ในจีน,ด้านตะวันตกของภาคเหนือในเวียดนาม ชาติไทยนั้นกลัว อินเดีย เพราะว่าอินเดียเคยล้มอาณาจักรไชยาได้ ซึ่งไทยสู้ไม่ได้ในยุคนั้น จึงมีภาษาของอินเดียปะปนอยู่มาก ทั้งในภาษาไทยและศาสนาพุทธด้วย", "title": "สยาม" }, { "docid": "5358#2", "text": "คำว่า \"ละโว้\" นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว้ มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "42555#3", "text": "จากการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาลถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้ว จากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็ก ๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้วและในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา", "title": "อาณาจักรละโว้" }, { "docid": "975264#23", "text": "แต่แล้ว เรื่องยุ่งยากก็เกิดขึ้นในปีนั้นเอง เมื่อเจ้าชายแห่งนครโกสัมพีได้ส่งพระราชสาส์นพร้อมเครื่องราชบรรณาการมากมาย มาถวายพระเจ้ากรุงลวปุระ พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์จะขอเจ้าหญิงจามเทวีไปเป็นพระชายาเพื่อเป็นเกียรติ แก่นครโกสัมพี ซึ่งเป็นนครใหญ่เหมาะสมด้วยศักดิ์ศรีแห่งพระนาง พระเจ้ากรุงละโว้ได้ทรงตอบสสาส์นนั้นไปตามความเป็นจริงว่าทรงหมั้นเจ้าหญิง จามเทวีไว้กับเจ้าชายรามราชแล้ว การณ์กลับกลายเป็นว่าเจ้าชายแห่งโกสัมพีทรงลุแก่โทสะ ทรงมีพระดำริว่ากรุงละโว้คงไม่ประสงค์จะมีสัมพันธไมตรีกับกรุงโกสัมพีเสีย แล้ว จึงทรงรวบรวมกองทัพโดยความช่วยเหลือของพระญาติ พระวงศ์ และพระราชาแห่งกลิงครัฐที่เป็นพันธมิตร ทำให้กองทัพของพระองค์เป็นกองทัพใหญ่มีกษัตริย์เป็นผู้นำทัพทั้งสิ้น ในราวเดือนอ้าย ปลายปี พ.ศ. ๑๑๙๖ กองทัพนี้ได้ยกเข้าโจมตีนครรามบุรีเป็นอันดับแรก อาจเป็นเพราะความแค้นหรือนครนั้นอยู่ในเส้นทางการเดินทัพก่อนจะถึงละโว้ก็ เป็นได้", "title": "ฤๅษีวาสุเทพ" }, { "docid": "187130#4", "text": "ปัจจุบันวัดรมณียาราม(กู่ละมัก) ตั้งอยู่เลขที่ 222 บ้านศรีย้อย หมู่ 4 ตำบลต้นธง อำเภอ เมือง จังหวัด ลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา เสนาสนะประกอบด้วย เจดีย์กู่ระมัก วิหาร กุฏิสงฆ์ ศาลาบาตร ห้องประชุม ศาลาเปรียญ และ โรงครัว ปูชนียสถานประกอบด้วยพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปละโว้ เศียรพระพุทธรูป เศียรพระฤๅษี ศิลปะละโว้ ธรรมาสหลวงที่ใช้สำหรับแสดงพระธรรมเทศนา ซึ่งสร้างโดยครูบาเจ้าศรีวิชัยและ องค์เจดีย์กู่ละมักที่มองเห็นนี้ เป็นองค์เจดีย์ที่สร้างครอบองค์เดิมโดยบารมีและฝีมือของครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยมีการจัดงานฉลองเสนาสนะ(ปอยหลวง) เมื่อวันที่ ๑๐ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 เดือน องค์เจดีย์กู่ละมักถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ เป็นที่เคารพกราบไหว้ของผู้คนทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ มีพระภิกษุจำพรรษา 4 รูป สามเณร 8 รูป โดยมี พระครูปลัดชาติชาย ญาณโสภโณ เป็นเจ้าอาวาส รูปปัจจุบัน", "title": "วัดรมณียาราม" }, { "docid": "85349#3", "text": "การบริหารราชการส่วนกลางได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงต่าง ๆ 19 กระทรวง ในขณะเดียวกันก็มีองค์การภาครัฐที่เป็นอิสระในระดับกรมโดยไม่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวงใด ๆ เลยอีก 9 หน่วยงาน ในหน่วยงานทั้ง 9 นี้บางหน่วยอยู่ในการบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี เช่น ราชบัณทิตยสถาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชาของ รมว.กระทรวงยุติธรรม เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่จังหวัด และอำเภอ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วย ", "title": "องค์การกับการจัดบริการสาธารณะ" }, { "docid": "380448#1", "text": "ราชวงศ์พระร่วง มีการสานสายสัมพันธ์กับราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรละโว้ และราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชแห่งอาณาจักรตามพรลิงก์ มาถึงสมัยอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิรวมถึงราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ยังปรากฏอยู่ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร สัญลักษณ์หรืออนุสรณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์พระร่วงที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือ รูปพระร่วงพระลือ ในซุ้มพระร่วงพระลือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตามความเชื่อของคนรุ่นเก่าแก่ในจังหวัดสุโขทัย ระบุว่า ที่นี่คือนิวาสถานดั้งเดิม หรือต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง", "title": "ราชวงศ์พระร่วง" }, { "docid": "572496#2", "text": "เหตุผลที่บุคคลไร้สัญชาตินั้นมีอยู่มากมายทั่วโลก ปรกติแล้ว สัญชาติได้มาโดยหลักสองประการ คือ หลักดินแดน (jus soli) กับหลักสืบสายโลหิต (jus sanguinis) หลักดินแดนระบุว่า บุคคลเกิดในดินแดนของรัฐใด ย่อมได้สัญชาติของรัฐนั้น ส่วนหลักสืบสายโลหิตว่า บิดามารดาถือสัญชาติใด บุคคลย่อมถือสัญชาติตามนั้นด้วย ปัจจุบัน รัฐส่วนใหญ่ใช้หลักทั้งสองนี้ควบคู่กัน และการขัดกันของกฎหมายสัญชาติก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความไร้สัญชาติ เป็นต้นว่า แม้รัฐหลายรัฐจะเปิดให้บุคคลได้สัญชาติตามบุพการี ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเกิดที่ใดก็ตาม แต่หลายรัฐก็ยังไม่ยอมรับให้บุคคลได้สัญชาติจากมารดาซึ่งถือสัญชาติของตน ความขัดข้องนี้ส่งผลให้เกิดอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) ซึ่งห้ามเลือกปฏิบัติในการให้สัญชาติเพราะเหตุแห่งเพศ", "title": "ความไร้สัญชาติ" }, { "docid": "5358#0", "text": "จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "97372#22", "text": "ประมาณปี พ.ศ. 1202 สุกกทันตฤๅษี ซึ่งเป็นสหายกับสุเทวฤๅษี ได้เดินพร้อมกับนายควิยะผู้เป็นทูตของสุเทวฤๅษี มายังกรุงละโว้ เพื่อทูลขอพระนางจามเทวีจากพระเจ้ากรุงละโว้ เพื่อไปเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองใหม่ที่สุกทันตฤๅษีกับสุเทวฤๅษีสร้างขึ้น ซึ่งก็คือเมืองหริภุญไชยหรือเมืองลำพูนในปัจจุบันนี้ เมื่อพระนางจามเทวีปรึกษากับพระราชบิดากับพระสวามีแล้วทั้งพระสวามีกับพระราชบิดาต่างก็อนุญาต พระนางจึงได้เดินทางออกจากเมืองละโว้ตามคำทูลเชิญของพระฤๅษี แต่ในตำนานจามเทวีวงศ์ได้กล่าวความต่างไปอีกอย่าง คือ ในเวลานั้นเจ้าชายรามราชได้ออกบวชเสียแล้ว พระนางจึงทรงอยู่ในฐานะไร้พระสวามี ทางลำพูนจึงได้ส่งสาส์นมาทูลขอดังกล่าว ตำนานพื้นบ้านว่าเจ้าหญิงจามเทวีทรงรับที่จะครองเมืองลำพูนเพราะว่าเมืองลำพูนเวลานั้นราษฎรเดือดร้อนด้วยขาดผู้นำ และพระนางก็ระลึกถึงพระคุณท่านสุเทวฤๅษีที่เคยชุบเลี้ยงมาแต่ก่อน", "title": "พระนางจามเทวี" }, { "docid": "65923#23", "text": "ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองที่ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยจัดเป็นงาน \"วันอัฏฐมีบูชารำลึก เมืองทุ่งยั้ง\" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวม 9 วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า(จำลอง) มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก", "title": "วันอัฏฐมีบูชา" }, { "docid": "5358#4", "text": "ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "42555#4", "text": "อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน ศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ. 1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นทำให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา", "title": "อาณาจักรละโว้" }, { "docid": "185691#0", "text": "พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว () เป็นพระพุทธรูปสลักจากแก้วสีขาวใส มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว ตำนานกล่าวว่าเป็นศิลปะสกุลช่างละโว้ ปัจจุบันประดิษฐานคู่กับพระศิลาซึ่งเป็นพระปางปราบช้างนาฬาคีรี ภายในพระวิหารวัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่", "title": "พระเสตังคมณี" }, { "docid": "23361#0", "text": "อาณาจักรสุโขทัย(สุกโขไท:ตามจารึก)[1] เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด", "title": "อาณาจักรสุโขทัย" }, { "docid": "47953#0", "text": "อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละโว้ มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง", "title": "ศิลปะทวารวดี" }, { "docid": "42555#7", "text": "หลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังบริเวณนี้ ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลง อิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลางจึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่พระปรางค์สามยอด และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี แม้จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมรูปพระปรางค์ตามขอมแต่เป็นการสร้างเลียนแบบขอมเท่านั้นเอง ทางด้านประติมากรรมศิลปะลพบุรีมักมีส่วนผสมกับศิลปะทวารวดี ทั้งนี้เพราะถิ่นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้ก็เป็นพื้นที่ของอาณาจักรทวารวดี ที่เคยอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน", "title": "อาณาจักรละโว้" }, { "docid": "69187#16", "text": "จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า พระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้ เพื่อประดิษฐานรูปพระวัชรสัตว์นาคปรก พระโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา อันเป็นรูปเคารพที่นิยมสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิวัชรยานเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในอาณาจักรขะแมร์ เทียบได้กับศาสนาประจำอาณาจักรภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระองค์ ดังจารึกปราสาทพระขรรค์ที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่า หลังทรงครองราชย์ได้ 10 ปี ได้ทรงสร้างเทวรูปทำด้วยทองคำ เงิน สัมฤทธิ์ และศิลา เพื่อส่งไปพระราชทานยังเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์เป็นจำนวนถึง 20,400 องค์ และทรงส่งพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องอีก 23 องค์ไว้ตามเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร เช่นที่ “ละโว้ทยปุระ” (จังหวัดลพบุรี) “สุวรรณปุระ” (จังหวัดสุพรรณบุรี) “ศัมพูกปัฏฏนะ” (เมืองหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย) “ชยราชบุรี” (จังหวัดราชบุรี) “ชยสิงหบุรี” (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี) “ชยวัชรบุรี” (จังหวัดเพชรบุรี) ซึ่งในขณะนั้นเมืองละโว้ในรัชสมัยของพระองค์ก็มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขะแมร์ด้วย ดังปรากฏในจารึกของอาณาจักรขะแมร์ว่า เจ้าชายอินทรวรมัน (ต่อมา คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2) พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กับพระนางชัยราชเทวี ทรงครองเมือง “ละโว้”[5]", "title": "พระปรางค์สามยอด" } ]
1431
อิเล็กตรอน คืออะไร ?
[ { "docid": "13987#0", "text": "อิเล็กตรอน () (สัญลักษณ์ e) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ไม่มีใครรู้จักส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานของมัน; ในคำกล่าวอื่น ๆ เช่น คาดกันโดยทั่วไปว่ามันจะเป็นอนุภาคที่เป็นมูลฐาน อิเล็กตรอนมีมวลที่เป็นประมาณ 1/18636 เท่าของโปรตอน โมเมนตัมเชิงมุมภายใน (สปิน) ของอิเล็กตรอนเป็นค่าครึ่งจำนวนเต็มในหน่วยของ ħ ซึ่งหมายความว่ามันเป็น เฟอร์เมียน (fermion) ปฏิยานุภาคของอิเล็กตรอนเรียกว่าโพซิตรอน มันเป็นเหมือนกันกับอิเล็กตรอนยกเว้นแต่ว่าจะมีค่าประจุไฟฟ้าและอื่น ๆ ที่มีลักษณะตรงกันข้าม เมื่ออิเล็กตรอนชนกันกับโพซิตรอน อนุภาคทั้งสองอาจกระจัดกระจายออกจากกันและกัน หรือถูกประลัย (annihilate)โดยสิ้นเชิง การผลิตคู่ (หรือมากกว่านั้น) เกิดขึ้นจากโฟตอนรังสีแกมมา อิเล็กตรอน ซึ่งถือเป็นรุ่นแรกของตระกูลอนุภาคเลปตอน (lepton) มีส่วนร่วมในแรงโน้มถ่วง มีปฏิสัมพันธ์กับแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงแบบอ่อน อิเล็กตรอนเช่นเดียวกับสสารทั้งหมด มีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ควอนตัมของทั้งคู่อนุภาคและคลื่น วิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว", "title": "อิเล็กตรอน" } ]
[ { "docid": "6730#0", "text": "อนุมูลอิสระ () คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนเดี่ยวในวงนอกสุด (unpaired valence electron) หรือการมีจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นแบบเชลล์เปิด (open-shell electronic configuration) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง\nอนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด \nอนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้", "title": "อนุมูลอิสระ" }, { "docid": "18413#0", "text": "พลังงานไอออไนเซชัน (, IE) คือค่าพลังงาน ที่ใช้ในการดึงให้อิเล็กตรอนวงนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) หลุดออกจากอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่ในสถานะก๊าซปริมาณพลังงานที่น้อยที่สุดที่สามารถทำให้อะตอมหรือโมเลกุลปลดปล่อยอิเล็กตรอน ค่าพลังงานไอออไนเซชันจะบ่งบอกว่าอะตอมหรือไอออนนั้นสามารถเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายหรือยาก หรือในอีกมุมหนึ่งเป็นการบ่งบอกระดับพลังงานของอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหรือไอออนนั้นว่ามีความเสถียรมากเพียงใด โดยทั่วไปค่าพลังงานไอออไนเซชันจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อพยายามที่จะทำให้อิเล็กตรอนตัวต่อไปถูกปลดปล่อยออกมา เนื่องจากการผลักกันของประจุอิเล็กตรอนมีค่าลดลงและการกำบังของอิเล็กตรอนชั้นวงในมีค่าลดลง ซึ่งทำให้แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสและอิเล็กตรอนมีค่ามาขึ้น อย่างไรก็ตามค่าที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพิ่มเท่าที่ควรจะเป็นในกรณีที่เมื่อปลดปล่อยอิเล็กตรอนตัวนั้นแล้วส่งผลให้เกิดการบรรจุเต็มหรือการบรรจุครึ่งในระดับชั้นพลังงาน เนื่องจากทั้งสองกรณีมีเสถียรภาพเป็นพิเศษ", "title": "พลังงานไอออไนเซชัน" }, { "docid": "1743#24", "text": "สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นพลังงานที่คายออกมาหรือดูดกลืน เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมไปเป็นไอออนประจุลบ ธาตุส่วนใหญ่คายพลังงานความร้อนเมื่อรับอิเล็กตรอน โดยทั่วไป อโลหะจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าโลหะ คลอรีน มีแนวโน้มในการเกิดไอออนประจุลบสูงที่สุด สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลยังไม่สามารถหาค่าได้ ดังนั้น พวกมันอาจจะไม่มีประจุลบ", "title": "ตารางธาตุ" }, { "docid": "21802#0", "text": "เวเลนซ์อิเล็กตรอน () คือ อิเล็กตรอนในอะตอมที่สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างพันธะเคมี สำหรับธาตุหมู่หลัก เวเลนซ์อิเล็กตรอนจะเป็นอิเล็กตรอนในวงนอกสุด (outermost shall) เท่านั้น ส่วนโลหะแทรนซิชัน เวเลนซ์อิเล็กตรอนสามารถเป็นอิเล็กตรอนในวงใน (inner shell) ได้", "title": "เวเลนซ์อิเล็กตรอน" }, { "docid": "712590#0", "text": "ในเคมีและฟิสิกส์อะตอม สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน () ของอะตอมหรือโมเลกุลคือค่าที่แสดงถึงปริมาณพลังงานที่ \"ถูกปล่อยออกมา\" เมื่ออิเล็กตรอนถูกเพิ่มเข้าไปในอะตอมหรือโมเลกุลที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ในสถานะแก๊สเพื่อทำให้เกิดไอออนประจุลบ\nในฟิสิกส์ของแข็ง คำนิยามของ \"สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน\" จะแตกต่างออกไป โดยสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนในความหมายของฟิสิกส์ของแข็ง คือ พลังงาน \"ที่ได้รับ\" จากอิเล็กตรอนที่กำลังเคลื่อนที่ออกจากสุญญากาศ", "title": "สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน" }, { "docid": "189772#7", "text": "สารประกอบแฮไลด์ของโลหะแอลคาไลเอิร์ทที่เป็นธาตุหนัก (ได้แก่ แคลเซียม สตรอนเชียม แบเรียม และเรเดียม) นั้นไม่ได้มีโครงสร้างเป็นรูปเส้นตรงตามที่ทฤษฎีนี้ได้อธิบายไว้ แต่กลับมีรูปร่างเป็นมุมงอ ดังนี้\nกิลเลสพายเสนอว่าน่าจะเกิดจากแรงกระทำระหว่างอิเล็กตรอนภายในอะตอม ก่อให้เกิดการโพลาไรเซชันจนทำให้รูปร่างของออร์บิทัลของอิเล็กตรอนชั้นในไม่ได้สมมาตรเป็นทรงกลม ซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างโมเลกุล", "title": "ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์" }, { "docid": "266305#1", "text": "แม้จะมีการเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัดในดาวเคราะห์ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งอิเล็กตรอนไม่สามารถอธิบายอนุภาคของแข็งและ orbitals ปรมาณูเพื่อไม่ค่อยหากเคยคล้ายรูปไข่เส้นทางของดาวเคราะห์. การเปรียบเทียบความแม่นยำมากขึ้นอาจจะมีของขนาดใหญ่และมักจะผิดปกติ บรรยากาศรูป (อิเล็กตรอน) กระจายทั่วดาวเคราะห์ค่อนข้างเล็ก (นิวเคลียสอะตอม). Orbitals อะตอมตรงอธิบายรูปบรรยากาศเฉพาะเมื่อมีอิเล็กตรอนเดียวอยู่ในอะตอมนี้. เมื่ออิเล็กตรอนมากขึ้นจะเพิ่มอะตอมเดียวอิเล็กตรอนเพิ่มเติมมักจะเท่าเทียม กันกรอกปริมาณพื้นที่รอบนิวเคลียสเพื่อให้เก็บผล (บางครั้ง termed เมฆอิเล็กตรอนของอะตอม \"\") มีแนวโน้มไปโซนทรงกลมทั่วไปของความน่าจะอธิบายที่อิเล็กตรอนของอะตอมจะพบ", "title": "ออร์บิทัลเชิงอะตอม" }, { "docid": "835276#0", "text": "การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถจัดธาตุในตารางธาตุได้ เพราะจากซ้ายไปขวาตามคาบ อิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอน (วงที่ 1 วงที่ 2 และอื่น ๆ) แต่ละวงก็ประกอบไปด้วยวงย่อยหนึ่งวงหรือมากกว่านั้น (มีชื่อว่า s p d f และ g) เมื่อเลขอะตอมของธาตุมากขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงย่อยตามกฎของแมนเดลัง เช่นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของนีออน คือ 1s 2s 2p ด้วยเลขอะตอมเท่ากับ 10 นีออนมีอิเล็กตรอน 2 ตัวในวงอิเล็กตรอนแรก และมีอิเล็กตรอนอีก 8 ตัวในวงอิเล็กตรอนที่สอง โดยแบ่งเป็นในวงย่อย s 2 ตัวและในวงย่อย p 6 ตัว ในส่วนของตารางธาตุ เมื่ออิเล็กตรอนตัวหนึ่งไม่สามารถไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนที่สองได้แล้ว มันก็จะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนใหม่ และธาตุนั้นก็จะถูกจัดให้อยู่ในคาบถัดไป ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้เป็นธาตุไฮโดรเจน และธาตุในหมู่โลหะแอลคาไล\nรัศมีอะตอมของธาตุแต่ละตัวมีความแตกต่างในการทำนายและอธิบายในตารางธาตุ ยกตัวอย่างเช่น รัศมีอะตอมทั่วไปลดลงไปตามหมู่ของตารางธาตุจากโลหะแอลคาไลถึงแก๊สมีตระกูล และจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วจากแก๊สมีตระกูลมายังโลหะแอลคาไลในจุดเริ่มต้นของคาบ ถัดไป แนวโน้มเหล่านี้ของรัศมีอะตอม (และสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของธาตุอื่น ๆ) สามารถอธิบายได้โดยทฤษฎีวงอิเล็กตรอนของอะตอม พวกมันมีหลักฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม\nอิเล็กตรอนในวงย่อย 4f ซึ่งจะถูกเติมเต็มตั้งแต่ซีเรียม (ธาตุที่ 58) ถึงอิตเตอร์เบียม (ธาตุที่ 70) เนื่องด้วยอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นแค่ในวงเดียว จึงทำให้ขนาดอะตอมของธาตุในแลนทาไนด์มีขนาดที่ไม่แตกต่างกัน และอาจจะเหมือนกับธาตุตัวถัด ๆ ไป ด้วยเหตุนี้ทำให้แฮฟเนียมมีรัศมีอะตอม (และสมบัติทางเคมีอื่น ๆ) เหมือนกับเซอร์โคเนียม และแทนทาลัม มีรัศมีอะตอมใกล้เคียงกับไนโอเบียม ลักษณะแบบนี้รู้จักกันในชื่อการหดตัวของแลนทาไนด์ และผลจากการหดตัวของแลนทาไนด์นี้ ยังเห็นได้ชัดไปจนถึงแพลตทินัม (ธาตุที่ 78) และการหดตัวที่คล้าย ๆ กัน คือการหดตัวของบล็อก-d ซึ่งมีผลกับธาตุที่อยู่ระหว่างบล็อก-d และบล็อก-p มันเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าการหดตัวของแลนทาไนด์ แต่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน\nพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เป็นพลังงานที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนตัวแรกออกจากอะตอม พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่สอง เป็นพลังงานที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนตัวที่สองออกจากอะตอม ซึ่งจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เช่น แมงกานีส มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 คือ 738 กิโลจูล/โมล และลำดับที่สอง คือ 1450 กิโลจูล/โมล อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้อะตอมจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานมากในการดึงมันออกจาก อะตอม พลังงานไอออไนเซชันจะมีการเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ\nพลังงานไอออไนเซชันจะมีมากที่สุดเมื่อต้องการดึงอิเล็กตรอนออกจากธาตุใน หมู่แก๊สมีตระกูล (ซึ่งมีอิเล็กตรอนครบตามจำนวนที่มีได้สูงสุด) ยกตัวอย่างแมกนีเซียมอีกครั้ง แมกนีเซียมจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานไอออไนเซชันสองลำดับแรก เพื่อดึงอิเล็กตรอนออกให้มันมีโครงสร้างคล้ายแก๊สมีตระกูล และ 2p มันจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่สามสูงกว่า 7730 กิโลจูล/โมล ในการดึงอิเล็กตรอนตัวที่สามออกจากวงย่อย 2p ของการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่คล้ายนีออนของ Mg ความแตกต่างนี้ยังมีในอะตอมของแถวที่สามตัวอื่น ๆ อีกด้วย\nอิเล็กโทรเนกาติวิตีเป็นแรงดึงดูดของอะตอมที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนเข้ามา อิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมอะตอมหนึ่ง เป็นผลมาจากเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น และระยะห่างจากนิวเคลียสถึงวาเลนซ์อิเล็กตรอน ยิ่งมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากเท่าไร ความสามารถที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนก็มากขึ้นเท่านั้น แนวคิดถูกเสนอครั้งแรกโดยไลนัส พอลลิง ใน พ.ศ. 2475 โดยทั่วไป อิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาตามคาบ และลดลงจากบนลงล่างตามหมู่ เพราะเหตุนี้ ฟลูออรีนจึงเป็นธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด และซีเซียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยที่สุด อย่างน้อยธาตุเหล่านั้นก็ยังมีข้อมูลที่สามารถใช้ยืนยันได้\nแต่ถึงกระนั้นธาตุบางตัวยังไม่เป็นไปตามกฎนี้ แกลเลียมและเจอร์เมเนียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่าอะลูมิเนียมและซิลิกอน เนื่องด้วยผลกระทบจากการหดตัวของบล็อก-d ธาตุในคาบที่ 4 ในส่วนของโลหะแทรนซิชัน มีรัศมีอะตอมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะว่าอิเล็กตรอนในวงย่อย 3d ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนิวเคลียร์ของธาตุ และขนาดอะตอมที่เล็กลงยังทำให้มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงขึ้นอีกด้วย\nสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นพลังงานที่คายออกมาหรือดูดกลืน เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมไปเป็นไอออนประจุลบ ธาตุส่วนใหญ่คายพลังงานความร้อนเมื่อรับอิเล็กตรอน โดยทั่วไป อโลหะจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าโลหะ คลอรีน มีแนวโน้มในการเกิดไอออนประจุลบสูงที่สุด สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลยังไม่สามารถหาค่าได้ ดังนั้น พวกมันอาจจะไม่มีประจุลบ\nสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามคาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมเต็มวงเวเลนซ์ของอะตอม อะตอมของธาตุหมู่ 17จะคายพลังงานออกมามากกว่าอะตอมของธาตุในหมู่ 1 ในการดึงดูดอิเล็กตรอน เนื่องด้วยความง่ายในการเติมเต็มวงวาเลนซ์และความเสถียรในหมู่ของธาตุ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนคาดว่าจะลดลงจากบนลงล่าง เนื่องด้วยอิเล็กตรอนตัวใหม่จะต้องเข้าไปในออร์บิทัลที่อยู่ห่างจาก นิวเคลียสมากขึ้น ด้วยความที่อิเล็กตรอนเชื่อมของนิวเคลียสน้อยอยู่แล้ว จึงทำให้มันปล่อยพลังงานไม่มาก ถึงกระนั้น ในหมู่ของธาตุ ธาตุสามตัวแรกจะผิดปกติ ธาตุที่หนักกว่าจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าธาตุที่เบากว่า และในวงย่อย d และ f สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะไม่ได้ลดลงตามหมู่ไปเสียทั้งหมด ดังนั้นการที่สัมพรรคภาพลดลงตามหมู่จากบนลงล่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ในอะตอมของธาตุหมู่ 1 เท่านั้น", "title": "แนวโน้มพิริออดิก" }, { "docid": "6621#33", "text": "เช่นเดียวกับอนุภาคอื่น อิเล็กตรอนมีคุณสมบัติแบบทวิภาค คือเป็นทั้งอนุภาคและเป็นทั้งคลื่น เมฆอิเล็กตรอนเป็นบริเวณภายในหลุมพลังงานที่อิเล็กตรอนแต่ละตัวจะสร้างคลื่นนิ่ง 3 มิติประเภทหนึ่งขึ้น อันเป็นรูปคลื่นที่ไม่เคลื่อนที่ตามนิวเคลียส พฤติกรรมนี้ถูกกำหนดจากออร์บิทัลของอะตอม ซึ่งเป็นฟังก์ชันคณิตศาสตร์ที่แสดงคุณสมบัติความเป็นไปได้ที่อิเล็กตรอนจะปรากฏตัวขึ้นที่จุดเฉพาะหนึ่ง ๆ ขณะที่ถูกวัดตำแหน่ง รอบ ๆ นิวเคลียสจะมีออร์บิทัลที่ไม่ต่อเนื่องกันล้อมรอบอยู่ในลักษณะของควอนตา ทั้งนี้เพราะรูปแบบคลื่นอื่นที่เป็นไปได้จะสลายตัวไปอย่างรวดเร็วเข้าสู่สถานะที่เสถียรมากกว่า ออร์บิทัลอาจมีลักษณะวงแหวนหนึ่งวง หลายวง หรือเป็นโครงสร้างโหนดก็ได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากออร์บิทัลอื่น ๆ ทั้งด้านขนาด รูปร่าง และศูนย์กลาง", "title": "อะตอม" } ]
2905
อาสนวิหารอ็องกูแลม มีชื่อเต็มว่าอะไร?
[ { "docid": "298882#0", "text": "อาสนวิหารอ็องกูแลม (French: Cathédrale d'Angoulême) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม (Cathédrale Saint-Pierre d'Angoulême) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก[1] ประจำมุขมณฑลอ็องกูแลม ตั้งอยู่ที่เมืองอ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ อาสนวิหารอ็องกูแลมซึ่งเป็นอาสนวิหารตัวอย่างโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ. 1017", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" } ]
[ { "docid": "143450#3", "text": "ระหว่างปี ค.ศ. 1876 ถึง ปี ค.ศ. 1880 อาสนวิหารรูอ็องเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก เมื่อปี ค.ศ. 1944 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อาสนวิหารถูกระเบิดซึ่งเกือบทำลายหอกลาง", "title": "อาสนวิหารรูอ็อง" }, { "docid": "526890#4", "text": "ซึ่งสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้จะพบในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นการผสมผสานองค์ประกอบแบบกอทิก (โดยเฉพาะบริเวณเพดานโค้งสันแบบกอทิก) กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ของภาคตะวันตกของฝรั่งเศส (วิหารที่มีโดมเป็นองค์ประกอบเหมือนกับที่มหาวิหารอ็องกูแลม และมหาวิหารเปรีเกอ) ซึ่งยังรวมถึงลักษณะของบริเวณกลางโบสถ์ซึ่งประกอบด้วยทางเดินกลางเพียงแห่งเดียว (ไม่มีทางเดินข้าง) หรือมิฉะนั้นจะมีถึง 3 ทาง นอกจากนั้นยังพบว่าบริเวณสันเพดาน ที่มีลักษณะเกือบโค้งเป็นครึ่งวงกลมซึ่งทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ครีบยันลอยเป็นตัวรับน้ำหนัก", "title": "กอทิกอ็องฌ์แว็ง" }, { "docid": "530954#0", "text": "อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล () เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล () เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ. 1856 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9", "title": "อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล" }, { "docid": "141128#0", "text": "อาสนวิหารอาเมียง () มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งอาเมียง () เป็นอาสนวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลอาเมียง มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอทิกสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคาแบบกอทิกที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นโอดฟร็องส์ในหุบเขาซอม ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร", "title": "อาสนวิหารอาเมียง" }, { "docid": "298882#3", "text": "ลักษณะรูปทรงของอาสนวิหารก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการซ่อมแซมและขยายตัวในช่วงหลายร้อยปีที่ตามมา เช่นหอระฆังที่ถูกทำลายไประหว่างสงครามศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกจากนั้นก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์โดยปอล อาบาดีระหว่างปี ค.ศ. 1866–1885 ที่รวมทั้งการสร้างหอใหม่สองหอที่คลุมด้วยหลังคาทรงกรวย จะมีก็แต่มุขด้านตะวันตกหรือด้านหน้าเท่านั้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมยุคกลาง", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "298882#7", "text": "ผังอาสนวิหาร ด้านหน้าอาสนวิหาร หอนาฬิกาและมุขโค้งด้านสกัด ทางเดินกลาง หน้าบัน", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "524875#0", "text": "อาสนวิหารอ็อช () หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งอ็อช () เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลอ็อช ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อช จังหวัดแฌร์ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ", "title": "อาสนวิหารอ็อช" }, { "docid": "523197#0", "text": "อาสนวิหารปามีเย () หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอ็องตอแน็งแห่งปามีเย () เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก อันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลปามีเย กูเซอร็อง และมีร์ปัว ตั้งอยู่ที่เมืองปามีเย จังหวัดอาเรียฌ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญประจำเมือง คือ นักบุญอ็องตอแน็ง", "title": "อาสนวิหารปามีเย" }, { "docid": "271570#0", "text": "อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ () มีชื่อเต็มว่า \"อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์\" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค \nอาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม", "title": "อาสนวิหารปีเตอร์บะระ" }, { "docid": "143450#0", "text": "อาสนวิหารรูอ็อง () หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระแห่งรูอ็อง () เป็นอาสนวิหารแบบกอทิก ตั้งอยู่ที่เมืองรูอ็อง ในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลรูอ็อง และอาสนวิหารแห่งนี้ยังอยู่ในฐานะ \"Primatial Cathedral\" ในตำแหน่ง \"ไพรเมตแห่งนอร์ม็องดี\" ()", "title": "อาสนวิหารรูอ็อง" }, { "docid": "298882#8", "text": "อ็องกูแลม หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 4 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1110 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในจังหวัดชาร็องต์ หมวดหมู่:อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "298882#1", "text": "อาสนวิหารแรกที่สร้างสร้างบนสถานที่เดิมเป็นศาสนสถานก่อนสมัยศาสนาคริสต์ ในอาสนวิหารอ็องกูแลมใช้เวลาสร้างทั้งหมดเริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 วัดถูกทำลายเมื่อโคลวิสที่ 1 เข้ามายึดเมืองหลังจากยุทธการที่วูเย ในปี ค.ศ. 507 อาสนวิหารต่อมาได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 560 แต่ก็มาถูกเผาโดยชาวไวกิงและนอร์มันราวสองร้อยปีต่อมา", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "301291#0", "text": "อาสนวิหารออร์เลอ็อง () มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารกางเขนศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์เลอ็อง () เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งออร์เลอ็อง ตั้งอยู่ที่เมืองออร์เลอ็องในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิก ", "title": "อาสนวิหารออร์เลอ็อง" }, { "docid": "298882#6", "text": "บริเวณร้องเพลงสวดครึ่งวงกลมขนามด้วยมุขขนาดเล็กสองมุขที่คลุมด้วยโดมครึ่งโดม", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "298882#5", "text": "ภายในสิ่งก่อสร้างเป็นทางเดินกลางที่อยู่ภายใต้โดมสามโดม แขนกางเขนยาวจรดหอทางด้านเหนือและใต้ มุขตะวันออกเป็นชาเปลกระจายออกไปสี่ห้อง ตรงบริเวณจุดตัดระหว่างทางเดินกลางและแขนกางเขนเป็นโดมขนาดใหญ่ที่สร้างแทนโดมเดิมที่ถูกทำลายไประหว่างการถูกล้อมโดยกองกำลังฝ่ายโปรเตสแตนต์ในปี ค.ศ. 1568 เดิมแขนกางเขนส่องสว่างด้วยหอตะเกียง (lantern tower) สองหอ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงหอเดียว (ปอล อาบาดี ได้ขยายต่อเติม และย้ายประติมากรรมของยุคกลางออกไป)", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "242271#0", "text": "อาสนวิหารบูร์ฌ () มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ () เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์ฌในประเทศฝรั่งเศส และเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลบูร์ฌ โดยอุทิศแด่นักบุญสเทเฟน", "title": "อาสนวิหารบูร์ฌ" }, { "docid": "524376#0", "text": "อาสนวิหารตูลูซ () มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูลูซ () เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลตูลูซ ตั้งอยู่ที่กร็อง-รง (Grand-Rond) ในเขตเมืองตูลูซ จังหวัดโอต-การอน ในแคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน", "title": "อาสนวิหารตูลูซ" }, { "docid": "527502#0", "text": "อาสนวิหารกูต็องส์ () เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งกูต็องส์ () เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลกูต็องส์และอาวร็องช์ ตั้งอยู่ในเมืองกูต็องส์ จังหวัดม็องช์ ในแคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระแม่มารี", "title": "อาสนวิหารกูต็องส์" }, { "docid": "143450#2", "text": "อาสนวิหารรูอ็องเป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ รวมทั้งหัวใจด้วย เครื่องในฝังไว้ที่วัดที่วังชาลูว์-ชาบรอล (Château de Châlus-Chabrol) ในบริเวณลีมูแซ็ง ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์สิ้นพระชนม์จากแผลที่ถูกยิงด้วยลูกธนู ร่างของพระองค์ถูกฝังไว้ข้างพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษพระบิดาที่แอ็บบีฟงเตอวโร (Abbaye de Fontevraud) ใกล้เมืองชีนงและเมืองโซมูร์ อนุสรณ์ของพระองค์อยู่เหนือที่ฝังศพและมีชื่อสลักเป็นภาษาละตินอยู่ด้านข้าง", "title": "อาสนวิหารรูอ็อง" }, { "docid": "298882#4", "text": "ด้านหน้าของอาสนวิหารตกแต่งด้วยประติมากรรมถึงกว่า 70 รูปที่จัดเป็นสองหัวข้อ \"พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์\" และ \"การพิพากษาครั้งสุดท้าย\" ที่ผสานกันอย่างกลมกลืน พระเยซูปรากฏพระองค์ในกรอบมันดอร์ลา (mandorla) ขณะที่ทูตสวรรค์สององค์ชี้ให้สาวกเห็นมโนทัศน์ ใบหน้าของผู้ศรัทธาภายใต้ซุ้มโค้งต่างก็มองไปทางพระมหาไถ่ ขณะที่ผู้สร้างบาปถูกผลักเข้าไปตามซอกซุ้มโค้งให้ถูกลงโทษเป็นเหยื่อของซาตาน นอกจากสองหัวข้อนี้แล้วประติมากรก็ยังสร้างภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตประจำวันที่รวมทั้งการล่าสัตว์", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "522776#0", "text": "อาสนวิหารน็องต์ () หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลแห่งน็องต์ () เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องต์ ตั้งอยู่ที่ปลัสแซ็ง-ปีแยร์ (Place Saint-Pierre) ในเขตเมืองน็องต์ จังหวัดลัวรัตล็องติก ในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือ นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล", "title": "อาสนวิหารน็องต์" }, { "docid": "525218#0", "text": "อาสนวิหารโบแว () หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว () เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร)", "title": "อาสนวิหารโบแว" }, { "docid": "298882#2", "text": "อาสนวิหารที่สามสร้างขึ้นภาพใต้การอำนวยการของบิชอปกรีมออาร์ อธิการอารามแซ็ง-ปีแยร์แห่งบร็องโตม และได้รับเสกในปี ค.ศ. 1017 เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนเห็นพ้องกันว่าโบสถ์มีขนาดเล็กไปกว่าฐานะของเมือง การออกแบบอาสนวิหารใหม่ทำโดยบิชอปเฌราร์ที่ 2 ผู้เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของฝรั่งเศสในยุคนั้นผู้เป็น ศาสตราจารย์ สมณทูตสี่พระองค์ และเป็นศิลปินผู้มีฝีมือด้วย งานสร้างอาสนวิหารเริ่มขึ้นราวปี ค.ศ. 1110 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1128", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "526954#5", "text": "ต่อมาไม่นานก็ได้มีการบูรณะอีกโดยมุขนายกเรอโน เดอ มาร์ตีเญ และอูลแฌร์ และเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมากในสมัยของมุขนายกนอร์ม็อง เดอ ดูเอ และกีโยม เดอ โบมง โดยสองท่านหลังได้บูรณะโดยสร้างใหม่ในส่วนของบริเวณกลางโบสถ์ และมุขทางเข้าด้านหน้าอาสนวิหาร ซึ่งบริเวณกลางโบสถ์ที่เป็นโถงเดี่ยวนั้น (ไม่มีทางเดินข้าง) ต่อมาในภายหลังได้เป็นตัวอย่างสำคัญของการก่อสร้างอาสนวิหารอ็องกูแลมและแอบบีย์ฟงต์วโร ()", "title": "อาสนวิหารอ็องเฌ" }, { "docid": "916265#0", "text": "เจ้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลม ()\nเจ้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลม ประสูติเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2511 ณ ประเทศฝรั่งเศส ทรงเป็นพระบุตรและพระโอรสพระองค์สุดท้องใน เจ้าชายเฮนรี เคานต์แห่งปารีส (ประสูติ ค.ศ. 1933) และ ดัชเชสมาเรีย-เทเรซาแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค ซึ่งขณะพระองค์ประสูตินั้นพระบิดาและพระมารดาทรงหย่ากันแล้ว ", "title": "เจ้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลม" }, { "docid": "527910#0", "text": "อาสนวิหารอาวร็องช์ () เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอันดรูว์แห่งอาวร็องช์ () ก่อนถูกทำลายลงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1794 เคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอาวร็องช์ซึ่งได้ถูกยุบรวมกับมุขมณฑลกูต็องส์ในปี ค.ศ. 1790 และลดฐานะเป็นเพียงโบสถ์ประจำเขตแพริชจนกระทั่งถูกทำลายในที่สุด ตั้งอยู่บริเวณยอดเนินเขาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเมืองเก่าอาวร็องช์ จังหวัดม็องช์ แคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญอันดรูว์", "title": "อาสนวิหารอาวร็องช์" }, { "docid": "530954#10", "text": "บันไดทางเข้าประกอบด้วยขั้นบันไดขนาดใหญ่จำนวน 102 ขั้น ซึ่งยาวติดต่อกันผ่านมุขทางเข้าเข้าไปในอาสนวิหารถึงลึกถึงสองช่วงเสาของบริเวณกลางโบสถ์ และกินพื้นที่เต็มความกว้างของโถงจำนวนสองช่วงแรกอีกด้วย ซึ่งต่อไปจะแคบลงในสองช่วงเสาถัดไปและจรดกำแพงและประตูไม้แกะสลักซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหน้าบันทางเข้าในสมัยก่อนการขยายอาสนวิหาร ซึ่งเป็นการอธิบายได้ดีของการขาดแคลนพื้นที่เนื่องมาจากจำนวนของผู้แสวงบุญในอดีต และพื้นที่ที่จำกัดของบริเวณเนินหิน ทำให้สถาปนิกจำต้องออกแบบอาคารให้ยื่นกลับลงไปบริเวณส่วนที่ต่ำกว่า", "title": "อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล" }, { "docid": "528561#0", "text": "อาสนวิหารซาร์ลา () เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญซาแซร์โดสแห่งซาร์ลา () ปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริช นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลซาร์ลา ซึ่งต่อมาได้ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลอ็องกูแลม ตั้งแต่ปีค.ศ. 1801 เป็นต้นมา (ตามความตกลง ค.ศ. 1801) ซึ่งไม่นานต่อมาได้ยุบรวมเข้ากับมุขมณฑลเปรีเกอ ตั้งอยู่ที่เมืองซาร์ลา-ลา-กาเนดา จังหวัดดอร์ดอญ ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญซาแซร์โดสแห่งลีมอฌ", "title": "อาสนวิหารซาร์ลา" }, { "docid": "525566#0", "text": "อาสนวิหารกาออร์ () หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งกาออร์ () เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาออร์ ตั้งอยู่ที่เมืองกาออร์ จังหวัดล็อต แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับสถาปัตยกรรมกอทิกได้อย่างดียิ่ง", "title": "อาสนวิหารกาออร์" } ]
1716
อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "193765#1", "text": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1801 ในชุมชนเล็ก ๆ นามว่า เกร (Gray) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดโอต-โซนของประเทศฝรั่งเศส จบการศึกษาจากโรงเรียนประจำชุมชนเมื่ออายุได้ 15 ปี สี่ปีต่อมาเขาได้ทำงานเป็นเสมียนในสำนักงานของทนายความ ขณะเดียวกันเขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานทางด้านกฎหมายและปรัชญาควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้รับแรงบันดานใจจากการทำงานของเขาที่สำนักทนายความลาปลัส (Laplace) ซึ่งทำให้เขารู้ว่าเขาต้องการที่จะศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จนกระทั่งเขามีอายุได้ 19 ปี เขาได้สมัครเรียนทางด้านคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเบอซ็องซง และต่อจากนั้นได้สอบผ่านเข้าเรียนต่อในสถาบันที่มีชื่อว่า Normale Supérieure ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปารีสในปี 1821", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" } ]
[ { "docid": "282119#1", "text": "กูลงเกิดที่เมืองอ็องกูแลม (Angoulême) ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวที่มีฐานะดี มีบิดาชื่ออ็องรี กูลง ซึ่งเป็นผู้ตรวจการสวนหลวงในเมืองมงเปอลีเย มารดาของเขาชื่อแคทเทอรีน บาเช ซึ่งมาจากครอบครัวค้าขนสัตว์", "title": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง" }, { "docid": "193765#8", "text": "ในบทที่สี่เขาได้อธิบายเกี่ยวกับฟังก์ชันอุปสงค์ของเขาเองโดยให้รูปแบบทั่วไปของฟังก์ชันอุปสงค์เท่ากับฟังก์ชันของราคา D = F (p) เขาสมมติให้ F เป็นฟังก์ชันอุปสงค์โดยเป็นเส้นลาดลง (Downward Sloping) หรือเทียบได้กับกฎอุปสงค์ (Law of Demand) ในปัจจุบัน อีกทั้งได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับความยืดหยุ่น (Elasticity) แต่ยังไม่ได้เขียนในเชิงคณิตศาสตร์", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#11", "text": "ในบทที่หก เขาได้ตรวจสอบผลกระทบจากภาษี (Tax) ความเต็มใจจ่ายในราคาที่เกิดขึ้น ปริมาณการผลิตในรูปแบบของตัวแปร ทั้งยังชี้ให้เห็นผลกระทบว่าการเก็บภาษีจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างไร", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#5", "text": "ในปี 1834 เขาได้เข้าไปยังสำนักงานของปัวซงที่เมืองลียง (Lyons) ซึ่งเขาคิดว่าเป็นแหล่งการค้นคว้าทางด้านการวิเคราะห์และทางด้านกลศาสตร์ที่ดีเลยทีเดียว ในปีต่อมาเขาได้รับความไว้วางใจจากปัวซงให้เป็นอธิการบดีที่สถาบันแห่งเกรอนอบล์ (Grenoble) ที่นั่นเขาได้ทำงานเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการเป็นส่วนใหญ่", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#10", "text": "ในบทที่ห้า เขาได้ข้ามไปยังการวิเคราะห์การผลิตแบบผูกขาด (Monopoly) ในที่นี้เขาได้เริ่มแนวคิดการผลิตที่ทำให้เขาได้กำไรสูงที่สุด ขั้นแรกเขาได้นำเข้าสู่ฟังก์ชันต้นทุน F (D) และอธิบายการลดลง การคงที่และการเพิ่มขึ้นของผลได้ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน โดยแสดงทางคณิตศาสตร์ให้เห็นว่าผู้ผลิตจะเลือกผลิตในปริมาณที่รายได้หน่วยสุดท้าย (MR: Marginal Revenue) เท่ากับต้นทุนหน่วยสุดท้าย (MC: Marginal Cost) เขาได้แสดงให้เห็นอีกว่า ฟังก์ชันต้นทุนที่แท้จริงนั้นเป็นฟังก์ชันของราคา f' (D(p)) = y (p))", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#0", "text": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน (French: Antoine-Augustin Cournot) เป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในเรื่อง\"หลักหน่วยสุดท้ายดั้งเดิม\" (Proto-Marginalists) คนหนึ่ง โดยงานหลักของเขาจะเป็นงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการค้นคว้าใน\"หลักคณิตศาสตร์แห่งความมั่งคั่ง\" (Principle of Wealth) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ยังไม่มีใครสามารถที่จะล้มล้างได้ในขณะนั้น ทั้งนี้ผลงานเขาก็ยังคงมีอิทธิพลในปัจจุบันด้วย", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#19", "text": "ในปี 1841 เขาได้ตีพิมพ์บทความการวิเคราะห์จากเมืองลียง เพื่ออุทิศให้กับปัวซง และอีกสองปีต่อมาเขาได้สร้างทฤษฎีความเป็นไปได้โดยมีข้อแตกต่างระหว่างความเป็นไปได้อยู่สามชนิดได้แก่ จุดประสงค์ เงื่อนไขและปรัชญา โดยสองอย่างแรกมาจากความเป็นจริงตามหลักธรรมชาติและอย่างที่สามอ้างอิงจากความเป็นไปได้\" which depend mainly on the idea that we have of the simplicity of the laws of nature.\"", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#4", "text": "วิทยานิพนธ์และบทความบางชิ้นของได้รับความสนใจจากนายซีเมอง-เดอนี ปัวซง (Siméon-Denis Poisson) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นและเป็นผู้ชักจูงให้กูร์โนกลับเข้าศึกษาต่อ โดยในระยะแรกเขาได้ปฏิเสธ แต่ภายหลังจากที่ข้อตกลงของครอบครัวของ Saint Cyr หมดลงแล้ว เขาได้มาทำงานในตำแหน่งงานชั่วคราวของสถาบันการศึกษาในปารีส และในระหว่างนั้นเขาได้ทำการแปลบทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์ของ John Herschel และบทความเกี่ยวกับกลศาสตร์ของ Dionysus Lardner", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#21", "text": "ในปี 1859 เขาได้เขียนความทรงจำของตังเองในอดีตเพื่อเป็นอนุสรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์และชีวประวัติของตัวเองและตำราทางปรัชญาก็ถูกตีพิมพ์อีกสองเล่มในเวลาต่อมาในปี 1861 และปี 1872 ซึ่งได้รับการกล่าวขานในสังคมปรัชญาของฝรั่งเศสโดยผลงานของเขาไม่ได้เสนอความคิดเห็นทางเศรษฐศาสตร์แต่อย่างใด หลังจากนั้นในปี1863 เขาได้นำเศรษฐศาสตร์มาเป็นหลักในการศึกษาค้นคว้าอีกครั้งแต่ต่อมาความสนใจทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเขาได้จบลงเมื่อการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบทความทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผลงานที่มาจากแนวคิดของริคาร์โด นำมาซึ่งสร้างความขมขื่นให้แก่ตัวเขาเป็นอันมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการปฏิวัติหลักหน่วยสุดท้ายในขณะนั้นได้เริ่มเกิดขึ้นจากนักเศรษฐศาสตร์ชื่อลีอง วาลราส (Léon Walras) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้อ่านผลงานของกูร์โนมาก่อน ซึ่งต่อมาวาลราสได้โต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎีของเขาและก็ได้ยอมรับลักษณะทั่วไปในการค้าที่ประกอบไปด้วยหลายตลาดตลอดจนทฤษฎีดุลยภาพบางส่วนของกูร์โน แต่ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อย่างเฌอวงยังไม่ได้อ่านบทความของกูร์โนมาก่อน ถึงกระนั้นก็ยังให้การยอมรับกูร์โนว่าเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ในวงการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายและต่อมาก็ได้ปรับปรุงพัฒนาทฤษฎีของกูร์โนให้ดียิ่งขึ้น", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#17", "text": "ผลงานของเขาในปี 1838 ที่ตีพิมพ์ออกมา แทบจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก ผู้ที่มีอิทธิพลทางวิชาเศรษฐศาสตร์ในฝรั่งเศสในขณะนั้นไม่ได้ให้ความสนใจในความคิดของเขาเลยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของกูร์โนยิ่งนัก", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#14", "text": "ในบทที่เก้า เขาได้เริ่มเรื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งนำเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารทางการค้า (communication of markets) หรือการค้าขายสินค้าชนิดเดียวกันระหว่างภูมิภาค", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#25", "text": "For an interesting early 20th century evaluation see:", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#12", "text": "ในบทที่เจ็ดเขาได้เสนอแบบจำลองของของผู้ขายน้อยราย (Duopoly) ที่มีชื่อเสียงของเขา เขาได้ออกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตสินค้าของผู้ผลิตเพียง 2 คน ในสินค้าเดียวกัน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ ผู้ผลิตแต่ละคนมีความคิดว่า\"การตัดสินใจในการผลิต ปริมาณสินค้าจะได้รับอิทธิพลจากราคาที่ต้องเผชิญและกำไรที่คาดว่าจะได้รับ\" เพราะฉะนั้นผู้ผลิตแต่ละคนจะเลือกทำการผลิตในปริมาณที่ทำให้ได้กำไรมากที่สุด คณิตศาสตร์ของเขาจึงมาจากการที่ผู้ผลิตทำการผลิตในปริมาณที่คาดคะเนว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะทำการผลิตอีกเท่าไร เพื่อที่จะได้ทำการผลิตให้สอดคล้องกัน (ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป) กูร์โนได้แสดงเส้นโค้ง reaction จากผู้ผลิตทั้งสองที่ทำการผลิต สามารถตัดกันได้ที่จุดดุลยภาย (equilibrium) ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เขาได้อธิบายภายใต้แบบจำลองผู้ผลิตน้อยราย ซึ่งราคาจะต่ำกว่าและปริมาณการผลิตจะสูงกว่าแบบจำลองผู้ผลิตแบบผูกขาดซึ่งการอธิบายของเขาทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า \"การเพิ่มผู้ผลิตจะทำให้ปริมาณสินค้ามากขึ้นและราคาสินค้าจะลดลง\"", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#18", "text": "ในปี 1839 ปัวซงป่วยด้วยโรคระบาดจึงได้ขอร้องให้กูร์โนเป็นตัวแทนของเขาในการประชุมทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์แทน ณ Conseil Royal หลังจากที่ปัวซงได้เสียชีวิตไปแล้ว กูร์โนก็ได้สานต่อเจตนารมณ์ของปัวซงที่มอบหมายให้เขาทำหน้าที่แทนเขาอีกทั้งให้เป็นตัวแทนผู้สืบทอดมรดก", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#3", "text": "ในปี 1823 เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยเขียนหนังสือให้กับนายมาร์แชล กูววง แซ็ง ซีร์ (Marshal Gouvoin Saint Cyr) และเขายังได้เป็นครูสอนพิเศษให้กับบุตรชายของมาร์แชลด้วย ต่อมาอีกสิบปีเขาก็ยังคงอยู่ที่กรุงปารีส ในยามว่างจากการทำงานเขามักจะศึกษาค้นคว้าตามแนวทางของตนเอง จนกระทั่งปี 1829 เขาก็ได้รับปริญญาเอกในด้านกลศาสตร์และดาราศาสตร์ โดยหลังจากที่อาจารย์มารีได้เสียชีวิตในปี 1830 เขาได้เรียบเรียงและตีพิมพ์ชีวประวัติของอาจารย์ท่านนี้ด้วย", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#20", "text": "ภายหลังการปฏิวัติในปี 1848 กูร์โนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประจำการ ณ Hautes Études ในระหว่างนั้นเขาได้เขียนตำราเล่มแรกเกี่ยวกับปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นในปี 1854 เขาได้เข้ารับตำแหน่งอธิการบดี ณ เมืองดีฌง อย่างไรก็ตามสายตาของเขาก็เริ่มแย่ลงมากขึ้นทุกวัน เขาจึงออกจากการสอนในปี 1862 และย้ายกลับกรุงปารีส", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#9", "text": "มีข้อสำคัญที่ควรสังเกตคือ จากฟังก์ชันอุปสงค์ยังไม่เป็นการกำหนดอุปสงค์ที่อยู่ในยุคปัจจุบัน เส้นโค้งของเขาที่ D = F (p) นั่นเป็นเพียงการสรุปความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณที่มาจาการสังเกตราคาและการซื้อขายโดยทั่วไปที่มองจากฐานะของผู้ซื้อ หรือผู้อุปสงค์กล่าวคือ เมื่อราคาสูงขึ้น ความต้องการสินค้าจะมีในปริมาณที่น้อยลง แปรผกผันกัน กูร์โนปฏิเสธทฤษฎีทั้งหลายที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีอรรถประโยชน์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุปสงค์เขาได้อีกกล่าวว่า\" แนวความคิดของอรรถประโยชน์ ความขาดแคลนและความเหมาะสมที่จำเป็นและความเพลิดเพลินเกี่ยวกับมนุษยชาติคือตัวแปรและความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ\" ผลลัพธ์ที่ได้คือความเหมาะสมอันเลวร้ายสำหรับการสร้างทฤษฎีโดยอาศัยหลักแห่งความเป็นจริง\"the utility of the article, the nature of the services it can render or the enjoyments it can procure, on the habits and customs of the people, on the average wealth, and on the scale on which wealth is distributed.\" เขามั่นใจในความคิดของตัวเขาเอง เขากล่าวว่า \" รูปแบบฟังก์ชันของเขา ขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า และสิ่งที่แสดงออกในการบริการบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์\"", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#26", "text": "หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#22", "text": "ในขณะที่เอ็ดเวิร์ด (Francis Ysidro Edgeworth) ได้ไปหากูร์โนเพื่อศึกษาทฤษฎีการแข่งขันสมบูรณ์ และทางด้านมาร์แชล (Alfred Marshall) ได้ร้องขอให้เขากลับมาในปี 1868 อีกสองปีต่อมาหนังสือของเขาก็เป็นที่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทฤษฎีการตัดสินใจของหน่วยธุรกิจ", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#6", "text": "ในปี 1839 เขาถูกเรียกตัวไปตรวจสอบอย่างละเอียด ในปีเดียวกันเขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินผู้ซื่อสัตย์ตลอดจนผลงานของเขาทางเศรษฐศาสตร์รวมถึงงานวิจัยชิ้นเอกของเขาได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นในปีเดียวกันนี้ด้วยและเขาได้เริ่มให้ข้อคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับบทบาทของการประยุกต์คณิตศาสตร์ในสังคมศาสตร์ โดยการประกาศจุดยืนในการใช้คณิตศาสตร์เป็นเพียงแนวทางความคิดและทำให้เข้าใจในข้อเสนอของเขาได้ดีที่จะนำไปสู่การคำนวณข้อสมมติต่างๆออกมาเป็นตัวเลขซึ่งเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของนาย N.F. Canard ที่เป็นคนเสนอความคิดมาก่อนเขา", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#13", "text": "ในบทที่แปด เขาได้อธิบายถึงกรณีของการแข่งขันแบบไม่มีขีดจำกัด นั่นคือที่ปริมาณการผลิตที่สูงจากการที่มีผู้เข้ามาทำการผลิตมาก โดยที่ผู้ผลิตนั้นไม่ได้ใส่ใจผลผลิตที่จะเกิดขึ้น จะทำให้เขาจะได้รับราคาและปริมาณการผลิตที่อยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Competitive) ในขั้นนี้ราคาจะเท่ากับต้นทุนหน่วยสุดท้าย (P=MC)", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#2", "text": "จากเหตุผลทางการเมือง ทำให้สถานที่ที่เขาได้ศึกษาอยู่ในขณะนั้นต้องปิดลงในปีต่อมา ซึ่งเขาแก้ปัญหาโดยย้ายไปเรียน ณ มหาวิทยาลัยซอร์บอน (Sorbonne) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในฝรั่งเศส โดยเรียนในสาขาคณิตศาสตร์ เขาได้ทุ่มเทฝีมืออย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้เข้าสังคมปัญญาชนและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเขามีความสนใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในชั้นเรียน ตลอดจนในห้องรับแขกของนายโชแซฟ ดรอซ (Joseph Droz) นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นแนวคิดของเขาได้มีอิทธิพลในสถาบันที่เขาเรียนอย่างมาก โดยมีลากร็องฌ์ (Lagrange) และอาแช็ต (Hachette) เพื่อนร่วมชั้นที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ มารี อ็องตวน กงดอร์เซ (Marie Antoine Condorcet) ที่ชักจูงให้เขาเข้าสังคมทางคณิตศาสตร์ และนั่นเป็นการเข้าสังคมที่ทำให้เขาสามารถเชื่อมโยงในเรื่องคณิตศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอายุน้อยเมื่อเทียบกันกับเพื่อนที่เป็นนักคณิตศาสตร์ด้วยกัน", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#24", "text": "ในเวลาต่อมาผลงานของเขาก็ไม่ได้ใส่บทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อีกเลย ดูเหมือนว่าเขาจะชื่นชมยินดีในความพยายามของวาลราสที่สามารถเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาของฝรั่งเศสได้ ตลอดจนได้โต้แย้งนักวิชาการทั้งหลายที่มีความคิดเห็นที่ไม่ยุติธรรมต่อตัวเขาและในปี 1877 กูร์โนก็ได้เสียชีวิตลง", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "634742#2", "text": "หลุยส์ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างต้นแบบของกิโยตีน อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า \"ลูยแซ็ต\" () อยู่ช่วงหนึ่งหลังจากที่เขาออกแบบมันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังอุปกรณ์ดังกล่าวถูกเปลี่ยนชื่อตามชื่อของโฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง (ค.ศ. 1738–1814) แพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้เสนอให้สร้างเครื่องประหารที่ถูกหลักมนุษยธรรมมากขึ้นกว่าเดิม", "title": "อ็องตวน หลุยส์" }, { "docid": "193765#7", "text": "หนังสือของเขาที่แต่งขึ้นในสามบทแรกพูดได้ถึงคำจำกัดความของความมั่งคั่งความสัมบูรณ์กับความสัมพันธ์ทางด้านราคาในเรื่อง กฎแห่งราคาเดียว (absolute vs. relative prices and the law of one price)", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#23", "text": "กูร์โนมีชีวิตยืนยาวพอที่จะได้ชื่นชมกับผลงานของวาลราสและเฌอวงด้วยความรู้สึกรักใคร่สนิทสนมซึ่งปรากฏในหนังสือที่มีชื่อว่า\" Cournot's Revue sommaire\" (1877) อย่างเห็นได้ชัด", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "282119#7", "text": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง เป็นผู้คิดค้นกฎของคูลอมบ์ขึ้นมาแล้ว กฎของกูลง (Coulomb's Law) มีใจความว่า \"แรงระหว่างประจุไฟฟ้ามีค่าแปรผันตามผลคูณของประจุไฟฟ้าทั้งสองและแปรผกผันกับระยะทางระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสองยกกำลังสอง\"", "title": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง" }, { "docid": "193765#15", "text": "ในบทที่สิบ เขาได้วิเคราะห์ประเทศที่เป็นอิสระจากกันจำนวนสองประเทศและผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เขาแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสองประเทศที่จะนำไปสู่ดุลยภาพของราคา ประเทศใดที่ผลิตสินค้าโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าจะส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนที่สูงกว่า กูร์โนพยายามพิสูจน์เงื่อนไขที่ว่าการเปิดการค้าเสรีจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณสินค้าส่งออกและรายรับที่ลดลงของประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ซึ่งต่อมาเขาได้อธิบายผลกระทบของภาษีนำเข้าและภาษีส่งออก จากคำอธิบายนี้เขาได้ตั้งข้อสงสัยในบทถัดไปเกี่ยวกับกำไรจากการค้าและการป้องกันกำไรจากภาษีนำเข้าอีกด้วย", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "193765#16", "text": "บทส่งท้าย ในการอธิบายดังกล่าวได้นำมาซึ่งทฤษฎีดุลยภาพบางส่วนแต่ยังไม่สมบูรณ์ เขาต้องการแสดงว่า การนำเอาหลายตลาดมาพิจารณาและพยายามจะแก้ไขปัญหาเพื่อหาดุลยภาพโดยทั่วไป แต่มันยากเกินกว่าที่จะอธิบายได้โดยการใช้คณิตศาสตร์ (but 'this would surpass the powers of mathematical analysis')", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" } ]
3055
ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณเป็นสาขาหนึ่งของอะไร?
[ { "docid": "4391#0", "text": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ (English: Computational Complexity Theory) เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณ ที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เวลาและเนื้อที่สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ โดยปกติแล้วคำว่า \"เวลา\" ที่เราพูดถึงนั้น จะเป็นการนับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องของ \"เนื้อที่\" เราจะพิจารณาเนื้อที่ ๆ ใช้ในการทำงานเท่านั้น (ไม่นับเนื้อที่ ๆ ใช้ในการเก็บข้อมูลป้อนเข้า). ในบางกรณีเราอาจจะสนใจการวิเคราะห์ปริมาณอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากพื้นที่กับเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในการประมวลผลแบบขนาน เราอาจจะวิเคราะห์ว่าต้องใช้หน่วยประมวลผลกี่ตัวในการแก้ปัญหาที่กำหนด. ทฤษฎีความซับซ้อนต่างจาก ทฤษฎีการคำนวณได้ ที่จะเน้นไปในการวิเคราะห์ว่าปัญหาสามารถแก้ได้หรือไม่ โดยไม่สนใจทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ปัญหา", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" } ]
[ { "docid": "4391#1", "text": "ภายหลังจากที่สามารถระบุได้ว่า ปัญหาใดสามารถแก้ได้ และปัญหาใดที่แก้ไม่ได้ เรามักจะเกิดคำถามขึ้นอีกว่าในบรรดาปัญหาที่แก้ได้ ซึ่งเป็นกลุ่มของฟังก์ชันที่คำนวณได้นั้น มีความซับซ้อนอยู่ในระดับใด จุดนี้เป็นความสนใจหลักของ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "21730#0", "text": "ริชาร์ด คาร์ป (Richard Karp) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับ ขั้นตอนวิธี กับ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์คลีย์ คาร์ปได้รับรางวัลมากมายในสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี แต่รางวัลที่ใหญ่ที่สุดก็คือ รางวัลทัวริง ที่ได้รับในปี 2528", "title": "ริชาร์ด คาร์ป" }, { "docid": "21620#0", "text": "ในเชิงของ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ พี เป็นกลุ่มความซับซ้อนที่ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจที่สามารถหาคำตอบได้ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามกับขนาดของอินพุต (polynomial time)", "title": "พี (ความซับซ้อน)" }, { "docid": "4397#0", "text": "เครื่องจักรทัวริง () คือเครื่องจักรนามธรรมที่แอลัน ทัวริงได้คิดค้นขึ้นใน ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) เพื่อการนิยามขั้นตอนวิธีหรือ 'กระบวนการเชิงกล' อย่างชัดเจนแบบคณิตศาสตร์ เครื่องจักรทัวริงได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดยเฉพาะในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณและทฤษฎีการคำนวณ ข้อปัญหา (thesis) ที่ว่าโมเดลของเครื่องจักรทัวริงนั้นครอบคลุมกระบวนการเชิงกลทั้งหมด ในการคำนวณทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อข้อปัญหาของเชิร์ช-ทัวริง", "title": "เครื่องทัวริง" }, { "docid": "684287#27", "text": "อารมณ์ (affect) ในที่นี้หมายถึงความรู้สึกเช่นความกลัว ความยินดีสนุกสนาน และความประหลาดใจ\nซึ่งมีอายุสั้นกว่า \"พื้นอารมณ์\" (mood) และเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่ได้ตั้งใจ เป็นปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้า\nเช่นการอ่านคำว่า \"มะเร็งปอด\" อาจจะทำให้รู้สึกสยอง \nหรืออ่านคำว่า \"ความรักของคุณแม่\" อาจทำให้รู้สึกถึงความรักและความอบอุ่น\nเมื่อเราใช้อารมณ์ (ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองทันทีโดยไม่ได้คิด) เพื่อตัดสินประโยชน์และความเสี่ยงของเรื่อง ๆ หนึ่ง เรากำลังใช้ฮิวริสติกโดยอารมณ์ \nการใช้ฮิวริสติกโดยอารมณ์สามารถอธิบายว่า ทำไมความสื่อสารที่กระตุ้นอารมณ์ จึงชักชวนใจได้ดีกว่าความที่แสดงความจริง\nมีทฤษฎีที่แข่งกันหลายอย่างเกี่ยวกับการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งต่างกันในประเด็นว่า การใช้ฮิวริสติกถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผล (irrational) หรือไม่\nทฤษฎีแนว \"ความขี้เกียจทางประชาน\" เสนอว่า การใช้ฮิวริสติกเป็นทางลัดที่ช่วยไม่ได้เนื่องจากสมรรถภาพอันจำกัดของสมองมนุษย์\nส่วนทฤษฎีแนว \"การประเมินผลที่เป็นไปตามธรรมชาติ\" เสนอว่า สมองได้ทำการคำนวณผลที่ซับซ้อนอย่างรวดเร็วและเป็นไปโดยอัตโนมัติเป็นบางอย่างแล้ว\nและการตัดสินใจที่เหลือก็เลยใช้กระบวนการทางลัดเหล่านี้ แทนที่จะทำการคำนวณมาตั้งแต่เริ่มต้น\nแนวคิดเช่นนี้นำไปสู่ทฤษฎีที่เรียกว่า \"attribute substitution\" (การทดแทนลักษณะ)\nซึ่งเสนอว่า เราเผชิญหน้ากับปัญหาที่ซับซ้อน โดยวิธีตอบปัญหาคนละปัญหาแต่เกี่ยวเนื่องกัน โดยที่ไม่รู้ว่าตนกำลังใช้วิธีอย่างนี้ \nส่วนทฤษฎีแนวที่สามเสนอว่า ฮิวริสติกใช้ได้ดีเท่ากับกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าทำได้เร็วกว่าโดยมีข้อมูลน้อยกว่า\nเป็นแนวคิดที่เน้น \"ความรวดเร็วและความมัธยัสถ์\" ของฮิวริสติก", "title": "ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ" }, { "docid": "21433#0", "text": "ในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ กลุ่มปัญหา เอ็นพี (NP: Non-deterministic Polynomial time) สามารถนิยามได้สองวิธี ซึ่งเราสามารถพิสูจน์ได้ไม่ยากนักว่านิยามทั้งสองแบบนี้สมมูลกันคำว่า \"ตรวจคำตอบ\" ในที่นี้มีความหมายค่อนข้างจะคลุมเครือ ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้จะถูกอธิบายในไม่ช้า", "title": "เอ็นพี (ความซับซ้อน)" }, { "docid": "4391#11", "text": "ในศาสตร์ของทฤษฎีความซับซ้อนของปัญหานั้น ตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ใช่\" มักจะมีความแตกต่างจากตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ไม่ใช่\" เช่น กลุ่มปัญหาเอ็นพี (NP) ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจทั้งหมดที่ตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ใช่\" สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในทางกลับกัน กลุ่มปัญหาโค-เอ็นพี (co-NP) ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจที่ตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น \"ไม่ใช่\" สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คำว่า co ในที่นี้หมายถึง ส่วนกลับ หรือ complement) ซึ่งส่วนกลับของปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาเดิมที่มีการสลับตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบคือ \"ใช่\" กับตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบคือ \"ไม่ใช่\" ตัวอย่างเช่นปัญหา \"IS-PRIME\" เป็นส่วนกลับของปัญหา \"IS-COMPOSITE\"", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "4391#17", "text": "ปัญหาของพีและเอ็นพีนั้น ทำให้เกิดการสร้างแนวความคิดที่สำคัญมากในการวิจัยสาขานี้ขึ้นมา ซึ่งก็คือแนวความคิดเกี่ยวกับ \"ความยาก (hardness)\" และ \"ความบริบูรณ์ (completeness)\" เราจะเรียกเซตของปัญหา X ว่ายากสำหรับเซตของปัญหา Y เมื่อปัญหาทุกปัญหาใน Y สามารถลดรูปอย่างง่ายไปเป็นปัญหาบางปัญหาใน X ได้ (สำหรับรายละเอียดการลดรูป ขอละไว้ในที่นี้) สำหรับคำว่า \"ง่าย\" ในการลดรูปนั้นจะมีความหมายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทที่สนใจ เซตที่เป็น \"เซตยาก\" ที่เราสนใจมากที่สุดนั้นก็คือเซต เอ็นพีแบบยาก (NP-hard) และคำว่า \"ง่าย\" ในการลดรูปที่มักจะเป็นที่สนใจก็คือการลดรูปที่ใช้เวลาเป็นฟังก์ชันพหุนามของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "4391#8", "text": "ส่วนใหญ่แล้ว ทฤษฎีเกี่ยวกับความซับซ้อนในการคำนวณ จะสนใจกลุ่มของปัญหาการตัดสินใจ. ซึ่งปัญหาที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะมีคำตอบเพียงสองแบบก็คือ \"ใช่\" และ \"ไม่ใช่\" ยกตัวอย่างเช่นปัญหาที่ถามว่าจำนวนหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่. ปัญหาในกลุ่มนี้อาจมองได้อีกแบบหนึ่งก็คือ มองเป็น ภาษา ซึ่งเป็นเซตของสตริงความยาวจำกัด. สำหรับปัญหาการตัดสินใจปัญหาหนึ่ง เราอาจจะมองว่า มันคือภาษาที่มีสมาชิกในเซตเป็นตัวอย่างปัญหาทั้งหมดที่ให้คำตอบเป็น \"ใช่\".", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "470626#1", "text": "การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีเป็นส่วนที่มีความสำคัญของทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณที่กว้างขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยสำหรับการประมาณการเชิงทฤษฎีสำหรับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้โดยขั้นตอนวิธีใด ๆ สำหรับใช้ไขปัญหาที่ต้องการคำนวณ การประมาณการนี้ช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงคำสั่งที่มีเหตุผลของการค้นหาประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธี", "title": "การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี" }, { "docid": "4665#0", "text": "กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรที่ต้องการ สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่งๆ ทรัพยากรที่สนใจโดยทั่วไปคือเวลา (ต้องใช้การทำงานกี่ขั้นตอนก่อนจะแก้ปัญหาได้) และเนื้อที่ (ต้องใช้เนื้อที่เท่าใดในการแก้ปัญหา)", "title": "กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี" }, { "docid": "4391#6", "text": "หลายครั้งเราจะกล่าวถึงความซับซ้อนด้านเวลาว่าเป็น \"เวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา\" หรือ \"เวลาที่ใช้ในการทำงาน\"", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "4391#22", "text": "หมวดหมู่:ทฤษฎีการคำนวณ", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "21657#0", "text": "หน้านี้ประกอบด้วยกลุ่มความซับซ้อนที่สำคัญทั้งหมดในด้านของทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ", "title": "กลุ่มความซับซ้อน" }, { "docid": "4391#16", "text": "ปัญหาที่สำคัญที่สุดในด้านทฤษฎีการคำนวณก็คือปัญหาที่ว่ากลุ่มความซับซ้อนของปัญหาพี และ เอ็นพี เป็นเซตที่เท่ากันหรือไม่ ซึ่งทาง Clay Mathematics Institute ได้ตั้งรางวัลไว้สำหรับผู้ที่แก้ปัญหานี้ได้เป็นมูลค่าสูงถึง หนึ่งล้านดอลลาร์ (ดูรายละเอียดของปัญหาได้ใน กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี และ เครื่องจักรออราเคิล)", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "4391#12", "text": "ทฤษฎีบทที่สำคัญอันหนึ่งในด้านทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณก็คือ ไม่ว่าปัญหาของเราจะยากขนาดไหน เราจะมีปัญหาที่ยากกว่าเสมอ หากเราพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สามารถแก้ได้ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามกับขนาดของข้อมูลป้อนเข้า เราสามารถอธิบายในจุดนี้ได้ด้วยทฤษฎีลำดับชั้นของเวลา (time hierarchy theorem) ที่กล่าวไว้ว่า หากเราให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานด้วยเวลาที่มากขึ้น ปัญหาที่เราสามารถแก้ได้ก็จะเพิ่มขึ้น (นั่นก็คือ มีปัญหาที่แก้ไม่ได้ถ้าไม่มีการเพิ่มเวลา) ทฤษฎีลำดับชั้นของเนื้อที่ (space hierarchy theorem) ก็จะกล่าวในเชิงคล้ายกัน เพียงแต่มุ่งความสนใจในเรื่องของเนื้อที่ที่อนุญาตให้มีการใช้งานได้", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "352294#5", "text": "การพิจารณาว่าปัญหาการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างไรเมื่อเทียบกับปัญหาการตัดสินใจอื่นๆ เป็นประเด็นที่สำคัญในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ จึงได้นิยามศัพท์คำว่าความบริบูรณ์ของปัญหา โดยนิยามว่า", "title": "ปัญหาการตัดสินใจ" }, { "docid": "15539#0", "text": "เคมีการคำนวณ () เป็นสาขาหนึ่งของเคมีทฤษฎี (theoretical chemistry) มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) วิชาเคมี (chemistry) วิชาฟิสิกส์ และวิชาคณิตศาสตร์วัตถุประสงค์หลักก็คือการใช้แนวคิดทางทฤษฎีที่พิสูจน์ได้ทางฟิสิกส์และเคมีมาออกแบบหรือสร้างระบบจำลองที่มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ระบบจำลองของแข็ง ระบบจำลองดีเอ็นเอ ระบบจำลองโปรตีน เป็น้ตน ซึ่งในการประมาณการ (approximation) ทางคณิตศาสตร์จะใช้โปรแกรมการคำนวณ (computer program) มาคำนวณ เนื่องจากมีความซับซ้อนและความยุ่งยากทางคณิตศาสตร์มากเกินกว่าที่มนุษย์จะกระทำได้ ซึ่งคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงนี้เองที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเคมีคำนวณลดระยะเวลาในการ simulation ลงอย่างมากอีกด้วย สำหรับสิ่งที่ต้องการจะศึกษาก็มีปลายรูปแบบแตกต่างกันไป ขึ้นกับระบบนั้น ๆ โดยส่วนมากจะใช้คำนวณหรือศึกษาคุณสมบัติของโมเลกุล (molecule) เช่น", "title": "เคมีการคำนวณ" }, { "docid": "4391#5", "text": "เราจะนิยาม ความซับซ้อนด้านเวลา (time complexity) สำหรับปัญหาหนึ่ง ๆ ว่าเป็นจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ตัวอย่างปัญหาสำหรับปัญหานั้น ในรูปฟังก์ชันของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า (ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะคิดขนาดเป็นบิต) โดยใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในปัญหา ๆ หนึ่ง สำหรับทุกตัวอย่างปัญหาที่มีขนาด n {\\displaystyle n} บิต ถ้าเราสามารถแก้ตัวอย่างปัญหานี้ได้ภายใน n 2 {\\displaystyle n^{2}} ขั้นตอน เราสามารถพูดได้ว่าปัญหานี้มีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น n 2 {\\displaystyle n^{2}} ซึ่งในการกล่าวถึงเวลาที่ใช้นั้น แน่นอนว่าเครื่องจักร หรือ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็ใช้เวลาในการคำนวณแตกต่างกันไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความแตกต่างในจุดนี้ เราจะใช้สัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) ปัญหาที่มีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น O ( n 2 ) {\\displaystyle O(n^{2})} ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง จะมีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น O ( n 2 ) {\\displaystyle O(n^{2})} บนเครื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าสัญกรณ์โอใหญ่ช่วยเราหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงรายละเอียด ที่เป็นความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "892#4", "text": "ความตื่นตัวในการพัฒนาทฤษฎีความอลวนนี้ เกิดขึ้นในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่า ทฤษฎีของระบบเชิงเส้นนั้นไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมบางอย่าง แม้กระทั่งพฤติกรรมของระบบที่ไม่ซับซ้อนอย่าง แมพลอจิสติก (Logistic map) อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้พัฒนาการของทฤษฎีความอลวนเป็นไปอย่างรวดเร็วก็คือ คอมพิวเตอร์ การคำนวณในทฤษฎีความอลวนนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นการคำนวณค่าแบบซ้ำ ๆ จากสูตรคณิตศาสตร์ และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ\nเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ () เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกทฤษฎีความอลวน เขาได้สังเกตพฤติกรรมความอลวน ในขณะทำการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์ใช้คอมพิวเตอร์ซิมูเลชันแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มซิมูเลชันจากจุดเริ่มต้นใหม่ เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น ปรากฏว่าค่าที่คำนวณได้มีความแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ ของค่าที่พิมพ์ออกมา จากค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมาก แต่สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่า ไวต่อสภาวะเริ่มต้น", "title": "ทฤษฎีความอลวน" }, { "docid": "4393#4", "text": "ทฤษฎีการคำนวณศึกษาโมเดลการคำนวณ พร้อมๆกับขีดจำกัดของการคำนวณ เช่น ปัญหาใดที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถแก้ได้ด้วยคอมพิวเตอร์? (ดู ปัญหาการยุติการทำงาน หรือ ปัญหาความสัมพันธ์ของโพสต์) ปัญหาใดบ้างที่สามารถแก้ไขได้ด้วยคอมพิวเตอร์ แต่ต้องการเวลามหาศาลจนทำให้การหาคำตอบนั้นเป็นไปไม่ได้ (ดู ) การหาคำตอบยากกว่าการตรวจคำตอบของปัญหาหรือไม่ (ดู กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเวลาและเนื้อที่ที่ต้องการสำหรับปัญหาต่างๆ คือ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ", "title": "ทฤษฎีการคำนวณ" }, { "docid": "2585#15", "text": "การวิเคราะห์เชิงคำนวณของการเรียนรู้ของเครื่อง และการวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้ เป็นอีกสาขาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สายทฤษฎีที่รู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงคำนวณ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีก็ไม่สามารถรับประกันประสิทธิภาพของอัลกอริทึมได้เพราะข้อมูลนั้นมีจำกัดและอนาคตมีความไม่แน่นอน แต่ทฤษฎีก็สามารถบอกขอบเขตบนความน่าจะเป็นได้ว่า ประสิทธิภาพน่าจะอยู่ในช่วงใด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ยังได้ศึกษาดูต้นทุนทางเวลาและความเป็นไปได้ของการเรียนรู้ของเครื่องด้วย โดยการคำนวณที่ถือว่าเป็นไปได้ในการเรียนรู้นั้นจะต้องสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาโพลิโนเมียล", "title": "การเรียนรู้ของเครื่อง" }, { "docid": "4391#14", "text": "กลุ่มความซับซ้อนของปัญหา พี (P) คือเซตของปัญหาการตัดสินใจที่สามารถหาคำตอบได้ ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามของขนาดข้อมูลป้อนเข้า ด้วยเครื่องจักรทัวริงเชิงกำหนด (deterministic turing machine) นิยามนี้สอดคล้องกับแนวคิดของปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ", "title": "ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ" }, { "docid": "21713#0", "text": "ในด้านของ ทฤษฎีการคำนวณได้ และ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ คำว่า การลดรูป นั้นหมายถึงการพิจารณาการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งให้ไปเป็นการแก้ปัญหาอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งบางทีอาจจะรู้สึกว่าปัญหานั้นไม่เกี่ยวกันเลยก็ได้ ถ้าเรากล่าวว่า \"A\" ลดรูปเป็น \"B\" เราหมายความว่าการแก้ปัญหา \"B\" ได้จะส่งผลให้เราสามารถแก้ปัญหา \"A\" ได้ด้วย เพราะฉะนั้น \"A\" จะไม่ยากไปกว่า \"B\"", "title": "การลดรูป (ความซับซ้อน)" }, { "docid": "21713#3", "text": "การลดรูปที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการลดรูปจากปัญหาหนึ่งไปอีกปัญหาหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการลดรูประหว่างปัญหาเดียวกันที่เรียกว่า การลดรูปตัวเอง (Self-reduction) และการลดรูปตัวเองแบบสุ่ม (Random self-reduction) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณเช่นกัน", "title": "การลดรูป (ความซับซ้อน)" }, { "docid": "21713#1", "text": "การลดรูปในเชิงของทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ แต่ละแบบจะนำมาใช้ในแง่ที่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าเรากำลังสนใจปัญหาแบบใด เช่นถ้าเราสนใจปัญหาของการนับ เราจะบอกว่าการนับจำนวนในเซ็ต A ลดรูปไปเป็นการนับจำนวนในเซ็ต B รูปแบบของการลดรูปที่เรานำมาใช้ก็ควรเป็นการลดรูปที่ไม่ทำให้จำนวนนั้นเปลี่ยนไป การลดรูปแบบนี้เรียกว่า (parsimonious reduction) การลดรูปที่มักจะใช้กันบ่อยๆก็คือทั้งสามแบบที่กล่าวมานี้เป็นการลดรูปแบบใช้เวลาเป็นพหุนามกับขนาดของอินพุต และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้นิยามความยากของเอ็นพี การลดรูปคุกจะมีลักษณะเหมือนกับการลดรูปทัวริง (Turing reduction) ในเชิงของทฤษฎีการคำนวณได้ (ที่ไม่สนใจว่าเวลาในการทำงานที่ใช้เป็นเท่าไร แต่จะเน้นที่การคำนวณได้เท่านั้น) การลดรูปคาร์ปจะเหมือนกับการลดรูปแบบเอ็ม (m-reduction or many-to-one reduction)", "title": "การลดรูป (ความซับซ้อน)" }, { "docid": "645541#3", "text": "ปัญหาพีและเอ็นพีเป็นปัญหาสำคัญทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และทฤษฎีการคำนวณ ซึ่งศึกษาความซับซ้อนในการคำนวณ ระหว่างกลุ่มความซับซ้อนพี (P) ซึ่งเป็นกลุ่มปัญหาที่สามารถ \"ค้นหา\" (search) คำตอบได้ในเวลาพหุนาม กับกลุ่มความซับซ้อนเอ็นพี (NP) ซึ่งเป็นกลุ่มปัญหาที่สามารถ \"ตรวจสอบ\" (verify) คำตอบได้ในเวลาพหุนาม ", "title": "ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม" }, { "docid": "1853#16", "text": "การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับงานระบบควบคุม: พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีต่าง ๆ ของระบบควบคุม เนื่องจากทำให้สามารถสร้างอุปกรณ์ควบคุมที่สามารถทำงานซับซ้อนได้ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณในการออกแบบกฎของการควบคุม ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบควบคุมแบบต่าง ๆ ขึ้นอย่างมากมาย", "title": "ทฤษฎีระบบควบคุม" }, { "docid": "352294#0", "text": "ปัญหาการตัดสินใจ () เป็นปัญหาในทฤษฎีการคำนวณได้และทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ซึ่งพิจารณาค่าอินพุตและตอบเพียงว่า \"ใช่\" หรือ \"ไม่ใช่\" เท่านั้น เช่นปัญหาที่ถามว่าจำนวนเต็ม x เป็นจำนวนเฉพาะใช่หรือไม่", "title": "ปัญหาการตัดสินใจ" } ]
873
จอร์แดน ไบรอัน เฮนเดอร์สันเริ่มเล่นฟุตบอลครั้งแรกเมื่ออายุเท่าไหร่?
[ { "docid": "435415#3", "text": "ก่อนที่จะได้มีโอกาสประเดิมสนามให้ทีมแมวดำในเกมพบกับ เชลซี ในเดือนพฤศจิกายน 2008 เฮนเดอร์สันทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการพาซันเดอร์แลนด์ ยู 18 คว้าแชมป์ลีกเยาวชนมาครองได้สำเร็จ", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" } ]
[ { "docid": "435415#23", "text": "ในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2017 เฮนเดอร์สันทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2017–18 นัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เลสเตอร์ซิตี ที่คิงเพาเวอร์สเตเดียม 3-2[23]", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#5", "text": "เฮนเดอร์สัน ลงสนามช่วยทีมแมวดำไปครบ 38 นัดไม่มีขาดเรียกว่าเป็นหัวใจของทีมแมวดำอย่างแท้จริงและเขาก็คว้าตำแหน่งนักเตะดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของสโมสรมาครองได้อีกครั้งเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#0", "text": "จอร์แดน ไบรอัน เฮนเดอร์สัน (English: Jordan Brian Henderson) เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1990 ที่ซันเดอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ เป็นนักฟุตบอลของทีมชาติอังกฤษในชุดปัจจุบัน เล่นในตำแหน่งกองกลาง", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#8", "text": "ในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2011 จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ย้ายจากซันเดอร์แลนด์มาอยู่กับลิเวอร์พูลด้วยค่าตัว 20 ล้านปอนด์ โดยเฮนเดอร์สันได้สวมเสื้อหมายเลข 14 พร้อมกับความคาดหวังว่าจะเป็น สตีเวน เจอร์ราร์ด คนต่อไปแห่งถิ่นแอนฟีลด์", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#28", "text": "ทีมชาติอังกฤษเรียกตัวเฮนเดอร์สันติดรายชื่อ 23 คน ชุดลุยศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส โดย อังกฤษ อยู่กลุ่มบี ร่วมกับ รัสเซีย, เวลส์ และ สโลวาเกีย คว้าอันดับ 2 ของกลุ่มบี ชนะ 1 เสมอ 2 โดยพาทีมเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายเจอกับ ไอซ์แลนด์ แต่สุดท้าย อังกฤษ เป็นฝ่ายแพ้ไป 1-2 ทำให้ทีมชาติอังกฤษต้องจบเส้นทางฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่ฝรั่งเศสเพียงเท่านี้", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#27", "text": "ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ทีมชาติอังกฤษได้เรียกตัว จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ติดรายชื่อ 23 คน ชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล โดย อังกฤษ ได้อยู่กลุ่มดี ร่วมกับ อุรุกวัย, คอสตาริกา และ อิตาลี ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สัน ได้ลงสนามเป็นตัวจริงในฟุตบอลโลก กลุ่มดี ทั้ง 2 นัดในนัดที่แพ้ให้กับ อิตาลี และ อุรุกวัย 1-2 สุดท้าย อังกฤษ ก็ต้องตกรอบแรก ได้อันดับสุดท้ายของกลุ่มดี เสมอ 1 แพ้ 2 (แพ้ อิตาลี 1-2, แพ้ อุรุกวัย 1-2 และ เสมอ คอสตาริกา 0-0) ทำให้ทีมชาติอังกฤษต้องจบเส้นทางฟุตบอลโลกที่บราซิลเพียงรอบแรกเท่านั้น และเป็นครั้งแรกในรอบ 56 ปีที่อังกฤษตกรอบแรกฟุตบอลโลก", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#17", "text": "ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สันเปิดบอลให้ แอดัม ลัลลานา ทำประตูให้ ลิเวอร์พูล ขึ้นนำ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 1-0 ก่อนที่ในครึ่งหลัง เฮนเดอร์สัน จะเป็นคนทำประตูชัยให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 2-1[8] ต่อมา ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สัน ได้ทำประตูแรกให้กับ ลิเวอร์พูล ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2014–15 ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เสมอกับ ลูโดโกเร็ตส์ ราซกราด จาก บัลแกเรีย 2-2[9] ต่อมา ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สัน ได้ลงสนามนัดที่ 150 ให้กับ ลิเวอร์พูล และทำประตูที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เลสเตอร์ซิตี ที่คิงเพาเวอร์สเตเดียม 3-1[10]", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#24", "text": "ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2018 เฮนเดอร์สันตัดสินใจต่อสัญญาระยะยาวกับสโมสรลิเวอร์พูล[24]", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#1", "text": "เฮนเดอร์สันเคยเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 2008 โดยทำประตูไป 4 ประตู ปัจจุบันเขาได้ย้ายมาเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 2011 โดยสวมเสื้อหมายเลข 14 และเป็นรองกัปตันทีมลิเวอร์พูลในปี 2014 และในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ลิเวอร์พูล แต่งตั้ง เฮนเดอร์สัน ให้เป็นกัปตันทีมลิเวอร์พูลแทน สตีเวน เจอร์ราร์ด อดีตกัปตันทีมที่ย้ายไปอยู่ ลอสแอนเจลิส แกแลกซี", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#20", "text": "ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 เฮนเดอร์สันกลับมาลงสนามอีกครั้ง โดยลงสนามเป็นตัวสำรองแทน โรแบร์ตู ฟีร์มีนู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ สวอนซีซิตี 1-0 ต่อมา ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2015 เฮนเดอร์สัน ทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เสมอกับ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 2-2[19] ต่อมา ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2016 เฮนเดอร์สัน ทำประตูที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ นอริชซิตี ที่แคร์โรว์โรด 5-4[20]", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#13", "text": "ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2013 เฮนเดอร์สัน ทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีกในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ นอริชซิตี 5-0 ต่อมา ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2013 เฮนเดอร์สัน ได้เปิดบอลให้ ลุยส์ ซัวเรซ ทำประตูขึ้นนำ 1-0 ก่อนที่ในครึ่งหลัง เฮนเดอร์สัน จะเป็นคนทำประตูที่สอง ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เสมอกับ อาร์เซนอล ที่เอมิเรตส์สเตเดียม 2-2 ต่อมา ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2013 เฮนเดอร์สัน ได้ทำประตูที่ 3 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ แอสตันวิลลา ที่วิลลาพาร์ก 2-1 ต่อมา ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2013 เฮนเดอร์สัน ได้ยิง 2 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ที่เซนต์เจมส์พาร์ก 6-0 จบฤดูกาล เฮนเดอร์สัน ยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้ 5 ประตูจาก 30 นัด", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#15", "text": "ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 พรีเมียร์ลีก นัดเปิดฤดูกาล 2014–15 ลิเวอร์พูลเปิดสนามแอนฟีลด์เจอกับ เซาแธมป์ตัน เฮนเดอร์สันได้เปิดบอลให้ ราฮีม สเตอร์ลิง ทำประตูให้ลิเวอร์พูลเอาชนะ เซาแธมป์ตัน 2-1[5] ต่อมา ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สันได้เปิดบอลให้ สเตอร์ลิง ทำประตูให้ลิเวอร์พูล เอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่ไวต์ฮาร์ตเลน 3-0[6]", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#2", "text": "เฮนเดอร์สัน เติบโตมาจากระบบเยาวชนของ ซันเดอร์แลนด์ สโมสรที่เขาอยู่ด้วยตั้งแต่อายุ 7 ขวบ", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#14", "text": "ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ลีกคัพ รอบ 2 เฮนเดอร์สัน ได้ทำประตูให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ นอตส์เคาน์ตี ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 4-2 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 3 ลีกคัพ ได้สำเร็จ ต่อมา ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2013 เฮนเดอร์สัน ได้ลงสนามนัดที่ 100 ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ ซันเดอร์แลนด์ ที่สเตเดียมออฟไลต์ 3-1 ต่อมา ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เฮนเดอร์สัน ได้ทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่ไวต์ฮาร์ตเลน 5-0[2] [3] ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สัน ได้ยิง 2 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ สวอนซีซิตี 4-3 ต่อมา ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สัน ได้ทำประตูที่ 4 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 4-0 ต่อมา ในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2014 เฮนเดอร์สัน โดนใบแดงไล่ออกจากสนามเป็นครั้งแรกในฟุตบอลอาชีพ ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี 3-2 ทำให้ เฮนเดอร์สัน โดนแบน 3 นัด ต่อมา ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 นัดปิดฤดูกาล ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เจอกับ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด เป็นนัดตัดสินแชมป์พรีเมียร์ลีกระหว่าง ลิเวอร์พูล กับ แมนเชสเตอร์ซิตี โดย เฮนเดอร์สัน ได้กลับมาลงสนามอีกครั้ง ในนัดนี้ ลิเวอร์พูล จะต้องชนะ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด และต้องลุ้นให้ เวสต์แฮมยูไนเต็ด เอาชนะ แมนเชสเตอร์ซิตี ที่เอติฮัดสเตเดียม ลิเวอร์พูล ก็จะได้แชมป์พรีเมียร์ลีก โดย สเตอร์ริดจ์ ได้ทำประตูชัยให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2-1 แต่สุดท้าย แมนเชสเตอร์ซิตี เอาชนะ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 2-0 ทำให้ ลิเวอร์พูล พลาดโอกาสคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก อย่างน่าเสียดาย[4] จบฤดูกาล เฮนเดอร์สัน ยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้ 4 ประตูจาก 35 นัด ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ได้อันดับ 2 ทำให้ ลิเวอร์พูล ได้กลับไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นับตั้งแต่ในปี 2009", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#22", "text": "ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2016 เฮนเดอร์สันทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2016–17 นัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เชลซี ที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ 2-1[21] และประตูนี้ของเฮนเดอร์สันทำให้ได้รับการโหวตเป็นประตูยอดเยี่ยมประจำเดือนกันยายนจากพรีเมียร์ลีก[22] ต่อมา ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 เฮนเดอร์สันลงเล่นนัดสุดท้ายในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2-0 หลังจากนั้น เฮนเดอร์สันมีอาการบาดเจ็บอีกครั้งที่ส้นเท้า ส่งผลให้เฮนเดอร์สันหมดสิทธิ์ลงเล่นตลอดทั้งฤดูกาลแล้ว", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#31", "text": "ฟุตบอลลีกคัพ: 2011–12", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#9", "text": "ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2011 พรีเมียร์ลีก นัดเปิดฤดูกาล 2011–12 เฮนเดอร์สัน ลงสนามเป็นนัดแรกในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เจอกับทีมเก่าของเขา ซันเดอร์แลนด์ โดยเสมอกัน 1-1 ต่อมา ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เฮนเดอร์สัน ลงสนามนัดที่สอง ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ อาร์เซนอล ที่เอมิเรตส์สเตเดียม 2-0 ต่อมา ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เฮนเดอร์สัน ทำประตูแรกในสีเสื้อของลิเวอร์พูล ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ โบลตันวอนเดอเรอส์ 3-1 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เฮนเดอร์สัน ได้ลงเล่นเป็นตัวจริง ในลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เจอกับ คาร์ดิฟฟ์ซิตี ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ เฮนเดอร์สัน ได้พาลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ลีกคัพ สมัยที่ 8 มาครอง จากการยิงจุดโทษตัดสินชนะ คาร์ดิฟฟ์ซิตี ผลประตูรวม 3-2 และเป็นแชมป์แรกของ เฮนเดอร์สัน นับตั้งแต่ย้ายมาอยู่กับ ลิเวอร์พูล ต่อมา ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ลิเวอร์พูล เจอกับ เชลซี ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ เฮนเดอร์สัน ได้ลงสนามครบ 90 นาที สุดท้าย ลิเวอร์พูล ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป 1-2 ทำให้ ลิเวอร์พูลพลาดโอกาสคว้าแชมป์เอฟเอคัพ อย่างน่าเสียดาย", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#19", "text": "ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ได้แต่งตั้ง เฮนเดอร์สัน ให้เป็นกัปตันทีมลิเวอร์พูลแทน สตีเวน เจอร์ราร์ด อดีตกัปตันทีมที่ย้ายไปอยู่ ลอสแอนเจลิส แกแลกซี[18] ต่อมา ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2015 เฮนเดอร์สันเปิดบอลให้ คริสตีย็อง แบนเตเก ทำประตูให้แรกในสีเสื้อของลิเวอร์พูล ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ บอร์นมัท 1-0 แต่สุดท้าย เฮนเดอร์สัน มีอาการบาดเจ็บที่ส้นเท้าซ้าย ต่อมา ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2015 เฮนเดอร์สันเดินทางไปที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอาการบาดเจ็บที่เท้าของเขา ต่อมา เฮนเดอร์สันเดินทางกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากบินไปรักษาอาการเจ็บที่ส้นเท้าซ้าย และลงซ้อมกับเพื่อนร่วมทีม อย่างไรก็ตาม 2 วันต่อมา เฮนเดอร์สันโชคร้ายได้รับบาดเจ็บหนักที่กระดูกฝ่าเท้าข้างขวาแตก และคาดว่าต้องใช้เวลาพักฟื้นถึง 2 เดือน", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#29", "text": "ทีมชาติอังกฤษเรียกตัวเฮนเดอร์สันติดรายชื่อ 23 คน ชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย โดย อังกฤษ ได้อยู่กลุ่มจี ร่วมกับ เบลเยียม, ปานามา และ ตูนิเซีย สุดท้าย อังกฤษ ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย คว้าอันดับ 2 ของกลุ่มจี ชนะ 2 แพ้ 1", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#12", "text": "ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เฮนเดอร์สัน ลงสนามเป็นตัวจริงนัดแรกในนัดที่ ลิเวอร์พูล เสมอกับ สวอนซีซิตี 0-0 ต่อมา ในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เฮนเดอร์สัน ทำประตูแรกให้กับ ลิเวอร์พูล ในบอลยุโรป ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ อูดิเนเซ 1-0 ในยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2012–13", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#26", "text": "ทีมชาติอังกฤษได้เรียกตัว จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ติดรายชื่อชุดลุยศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ที่โปแลนด์และยูเครนแทน แฟรงก์ แลมพาร์ด ที่มีอาการบาดเจ็บ เฮนเดอร์สัน ลงเล่นนัดแรกให้ทีมชาติ โดยถูกส่งลงมาเป็นตัวสำรองแทน สก็อต พาร์กเกอร์ ในนัดที่เสมอกับ ฝรั่งเศส 1-1 และพาทีมได้อันดับ 1 ของกลุ่มดี อังกฤษชนะ 2 เสมอ 1 (เสมอ ฝรั่งเศส 1-1, ชนะ สวีเดน 3-2 และ ชนะ ยูเครน 1-0) โดยพาทีมเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย เฮนเดอร์สัน ลงมาเป็นตัวสำรองแทน สก็อต พาร์กเกอร์ อีกครั้งในช่วงต่อเวลาพิเศษในนัดที่เจอกับ อิตาลี แต่พ่ายในการดวลจุดโทษ 2-4 หลังเสมอ 0-0 ใน 90 นาที ทำให้ทีมชาติอังกฤษต้องตกรอบรอบ 8 ทีมสุดท้ายเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันในฟุตบอลยูโร", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#16", "text": "ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2014 สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ได้แต่งตั้ง จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ให้เป็นรองกัปตันทีมลิเวอร์พูลแทน ดาเนียล อักเกอร์ อดีตรองกัปตันทีมที่ย้ายทีมออกไป[7]", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#25", "text": "ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เฮนเดอร์สัน ลงเล่นให้ทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่เป็นนัดแรก ในนัดที่เจอกับ ฝรั่งเศส โดยลงสนามเป็นตัวจริงในตำแหน่งกองกลางคู่กับ สตีเวน เจอร์ราร์ด", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "13777#27", "text": "ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรในปี 1892, ผู้เล่น 45 คน ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมสโมสรลิเวอร์พูล[46] แอนดิว ฮานนาห์ ได้เป็นกัปตันทีมคนแรกหลังจากแยกตัวออกจาก เอฟเวอร์ตัน อเล็กซ์ เรสเบค เป็นกับตันทีมในปี 1899 ถึง 1909 เป็นกัปตันทีมนานที่สุดก่อนที่ สตีเวน เจอร์ราด ซึ่งอยู่กับลิเวอร์พูลถึง 12 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2003–04[46] กัปตันทีมคนปัจจุบันคือ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ซึ่งมาแทนที่เจอร์ราด ในฤดูกาล 2015–16 หลังจากที่เจอร์ราดย้ายไปแอลเอ กาแลคซี[47][48]", "title": "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล" }, { "docid": "435415#6", "text": "เฮนเดอร์สันอำลาถิ่นสเตเดียมออฟไลต์ โดยทิ้งผลงานการรับใช้ทีมบ้านเกิดเอาไว้ที่ 79 นัดและทำไปทั้งหมด 5 ประตู", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#10", "text": "ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ลิเวอร์พูล ลงเล่นที่แอนฟีลด์นัดสุดท้ายในพรีเมียร์ลีกเจอกับ เชลซี อีกครั้ง โดย เฮนเดอร์สัน ทำประตูที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก ให้ลิเวอร์พูลขึ้นนำ 2-0 ก่อนที่ ลิเวอร์พูล ล้างแค้น เชลซี ได้สำเร็จ 4-1 จบฤดูกาล เฮนเดอร์สัน ยิงประตูในพรีเมียร์ลีกได้ 2 ประตูจาก 37 นัด", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#4", "text": "เฮนเดอร์สัน กลับมาเล่นกับต้นสังกัดจริงอย่างซันเดอร์แลนด์ อีกครั้ง รอบนี้เขาถูกดันขึ้นไปเล่นในทีมชุดใหญ่อย่างเต็มตัว โดยเล่นในตำแหน่งปีกขวา และด้วยผลงานที่เล่นได้อย่างสม่ำเสมอ ทีมแมวดำจึงตอบแทนเขาด้วยการมอบสัญญา 5 ปีให้รวมถึงเขายังได้รับเลือกให้เป็นนักเตะดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของซันเดอร์แลนด์ในปีนั้นด้วย ฤดูกาล 2010-11 เฮนเดอร์สันยังคงเป็นตัวหลักของซันเดอร์แลนด์อย่างเหนียวแน่น แม้ว่าอายุจะยังน้อยก็ตามโดย สตีฟ บรู้ซ บอสใหญ่แมวดำปรับเขามาเล่นในตำแหน่งมิดฟิลด์ตัวกลาง ซึ่งทำให้ฟอร์มการเล่นของ เฮนเดอร์สัน ยิ่งโดดเด่นเข้าไปใหญ่เพราะตัวเขาเองมีทักษะในการจ่ายบอลและการอ่านเกม ที่ชาญฉลาดอยู่ในตัวอยู่แล้ว", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#11", "text": "ในเดือนสิงหาคม 2012 เฮนเดอร์สัน มีโอกาสย้ายไปอยู่กับ ฟูลัม แต่สุดท้ายเขาก็ตัดสินใจอยู่กับ ลิเวอร์พูล ต่อไป", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" }, { "docid": "435415#33", "text": "หมวดหมู่:นักฟุตบอลชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ หมวดหมู่:ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2014 หมวดหมู่:กองกลางฟุตบอล หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2018", "title": "จอร์แดน เฮนเดอร์สัน" } ]
3441
ท่าอากาศยานหมายถึงสนามบินใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "4202#0", "text": "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตนและทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร ประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 [3] รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 [4]ปัจจุบัน นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ", "title": "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" } ]
[ { "docid": "94678#1", "text": "ปัจจุบัน สนามบินแห่งนี้ไม่ได้ทำการบินแล้ว และสนามบินถูกแทนที่ด้วยท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด โดยทุกสายการบินย้ายไปทำการบินที่สนามบินแห่งใหม่", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา" }, { "docid": "4202#74", "text": "ปัญหาการผิดกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ของสัมปทานพื้นที่ร้านค้าของ บริษัทคิงพาวเวอร์ - มติของ บอร์ด ทอท. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 ได้ระบุว่ารายละเอียดของสัญญาสัมปทานของบริษัท คิง เพาเวอร์ ในส่วนของสัญญาการประกอบกิจการร้านค้าปลอดภาษีและสัญญาการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้ง 2 สัญญาที่คิง เพาเวอร์ทำกับ ทอท.นั้น เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายร่วมทุน เนื่องจากงานในแต่ละสัญญาน่าจะมีวงเงินในการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งจะเข้าข่ายกฎหมายร่วมทุน แต่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายร่วมทุน[92] ปัญหาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร - ทางบริษัทผู้ออกแบบ คือ บริษัทกิจการร่วมค้าเมอร์ฟี่ จาห์น แทมป์ แอนด์ แอ๊ค (เอ็มเจทีเอ) ผู้ออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แถลงชี้แจงข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 โดยยอมรับว่า การออกแบบอาคารอาจจะผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร คือทางหนีไฟที่ประตูมีการล็อก และห้องน้ำจำนวนน้อยเกินไป[93] ปัญหาจากการที่กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาตชั่วคราวทำการบินของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งหมดอายุลง และไม่ได้ต่ออายุเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หลายส่วนในสนามบินตามคู่มือที่เรียกว่า Aerodrome Operation Manual ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีโอ) ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน ปัญหานี้ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในการใช้สนามบิน[91] ปัญหาจากการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งไปร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งระงับการบินในเวลากลางคืนและจ่ายค่าชดเชย[94]", "title": "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "84091#3", "text": "เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ทางท่าอากาศยานได้เปิด หอควบคุมการจราจรทางอากาศใหม่ รันเวย์ที่ 4(รันเวย์ที่05และ23) และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศใหม่และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เก่าตอนนี้ถูกรือถอนไปแล้ว ทำให้สนามบินดังกล่าวกลายเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ของญี่ปุ่นอย่างเต็มรูปแบบ การพลิกโฉมสนามบินครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ โตเกียวเป็นศูนย์กลางทางการบินที่สามารถแข่งขันกับสนามบินนานาชาติอื่นๆ เช่น สนามบินนานาชาติอินชอน และสนามบินนานาชาติฮ่องกง เป็นต้น", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว" }, { "docid": "780185#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา () เป็นสนามบินนานาชาติในตำบลเซอดาตี อำเภอซีโดอาร์โจ จังหวัดชวาตะวันออก เป็นหนึ่งในสนามบินหลักของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ห่างจากตัวเมืองซูราบายา 12 กิโลเมตร (8 ไมล์) ดำเนินการโดยบริษัทอังกาซาปูรา ส่วนชื่อสนามบินตั้งตามชื่อจูวันดา การ์ตาวีจายา อดีตนายกรัฐมนตรีอินโดนีเซียผู้ริเริ่มการพัฒนาสนามบินแห่งนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดาเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในประเทศ ค.ศ. 2010 สนามบินมีสถิติผู้โดยสาร 11 ล้านคน บางชั่วโมงมีเที่ยวบินถึง 40-45 เที่ยวบิน ในปี ค.ศ. 2013 สนามบินมีสถิติเที่ยวบิน 400 เที่ยวต่อวัน", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา" }, { "docid": "84669#3", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เติบโตอย่างรวดเร็วโดยติดอันดับสนามบินที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และกลายมาเป็นสนามบินที่คับคั่งที่สุดในเอเซียจากจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินในปี พ.ศ. 2542 และได้ถือเป็นสนามบินที่มีผู้โดยสารคับคั่งที่สุดอันดับ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ได้บันทึกว่ามีเครื่องบินเข้าออกทั้งหมด 557,167 ครั้ง (นับจากเครื่องบินขึ้นและลง) ติดอันดับ 6 ของโลกในปี พ.ศ. 2555 ด้านเที่ยวบินขนส่งสินค้าก็เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2555 สนามบินถูกจัดอันดับที่ 13 ของสนามบินที่มีเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่คับครั้งที่สุดในโลก โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 1,787,027 ตัน.", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง" }, { "docid": "739742#1", "text": "สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอไป๋-ยฺหวินและอำเภอฮฺวาตูของนครกว่างโจว เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2004 เพื่อทดแทนสนามบินแห่งเก่าที่มีอายุกว่า 72 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้ปิดใช้งานแล้ว สนามบินแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณกว่า 1.98 หมื่นล้านหยวน มีที่ตั้งห่างจากตัวเมืองกว่างโจวไปทางเหนือราว 27 กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่กว่าสนามบินเดิมถึงเกือบห้าเท่า คำว่า \"ไป๋-ยฺหวิน\" (白云) นั้นเป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ใกล้เคียงสนามบินแห่งเก่า (ไป๋-ยฺหวินชาน) มีความหมายว่า \"เมฆขาว\" นอกจากนี้ สนามบินแห่งใหม่ยังอยู่ใกล้ตัวเมืองมากกว่าสนามบินแห่งเก่า ", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน" }, { "docid": "59536#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต หรือ สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ เหนือสุดของเกาะภูเก็ตเป็นท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่สามของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศ บินมาลงทุกวัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมาตรฐานทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 222 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 32 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 94,800 ตารางเมตร แท๊กซี่เวย์ 8 จุด ทิศเหนือเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นสวนยางพารา ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6,500,000 คนต่อปี โดยในปี พ.ศ. 2557 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะขยายสนามบินแห่งนี้ ซึ่งจะช่วยให้สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12,500,000 คนต่อปี ปัจจุบันส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแห่งใหม่ได้เปิดใช้บริการแล้ว ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ต รับผู้โดยสารทั้งหมด 25 ประเทศทั่วโลก ได้แก่", "title": "ท่าอากาศยานภูเก็ต" }, { "docid": "84669#1", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน ซึ่งมีเที่ยวบินจากที่นี่มากกว่า 120 เส้นทาง (ไม่รวมเที่ยวบินส่งสินค้า) ทั้งนี้ยังมี ไห่หนานแอร์ไลน์ และ ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ที่ยึดสนามบินนี้เป็นสนามบินหลักอีกด้วย", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง" }, { "docid": "780635#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี () หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติมานาโด เป็นสนามบินนานาชาติในจังหวัดซูลาเวซีเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ห่างจากเมืองมานาโดไปประมาณ ชื่อสนามบินมาจากบุคคลสำคัญชื่อว่า ซัม ราตูลางี สนามบินแห่งนี้เป็น 1 ใน 11 ประตูสู่อินโดนีเซียที่สำคัญ ปัจจุบันเป็นฐานการบินหลักของสายการบินไลอ้อนแอร์และวิงส์แอร์ และยังเป็นฐานการบินรองของสายการบินการูดาอินโดนีเซียและซิตีลิงก์ โดยในปัจจุบัน สนามบินแห่งนี้รองรับสายการบินระหว่างประเทศอยู่ 4 สายการบิน", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี" }, { "docid": "806550#0", "text": "ท่าอากาศยานพาโร () คือท่าอากาศยานนานาชาติเพียงแห่งเดียวของประเทศภูฏาน เป็นหนึ่งในสนามบินสี่แห่งในประเทศ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำพาโรชชู ลึกเข้าไปในหุบเขาราว 6 กิโลเมตรจากมณฑลพาโร เนื่องจากรายล้อมไปด้วยยอดเขาที่แต่ละแห่งสูงไม่ต่ำกว่า 5,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล จึงถูกจัดให้อยู่ในสนามบินที่มีความท้าทายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากข้อมูล ณ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 มีนักบินเพียงแปดคนเท่านั้นที่ได้รับการยินยอมให้บังคับเครื่องบินลงจอดที่สนามบินแห่งนี้ และด้วยข้อจำกัดด้านภูมิทัศน์ ทำให้สนามบินแห่งนี้เปิดให้เครื่องบินขึ้น-ลงเฉพาะตอนกลางวันที่มีแสงสว่างเท่านั้น", "title": "ท่าอากาศยานพาโร" }, { "docid": "172230#4", "text": "โดย บมจ. ท่าอากาศยานไทยเปิดเผยว่าได้วางแผนให้ท่าอากาศยานตากเป็นสนามบินสำหรับขนส่งสินค้าทางอากาศ ไม่เน้นการรับส่งผู้โดยสาร โดยอ้างว่าเพื่อที่จะไม่แข่งขันกับท่าอากาศยานแม่สอดของกรมท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามในเดือนเมษายน 2561 หอการค้าจังหวัดตาก, กำแพงเพชร และสุโขทัย ได้ร่วมกันเสนอให้สายการบินนกแอร์ (ซึ่งมีเครื่องบินขนาดเล็กจึงสามารถใช้งานรันเวย์ปัจจุบันของท่าอากาศยานตากที่มีความยาวเพียง 1,500 เมตรได้) พิจารณาเปิดเส้นทางเที่ยวบินโดยสารระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองกับท่าอากาศยานตาก แต่ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน บมจ.ท่าอากาศยานไทยได้แจ้งว่าจะไม่พัฒนาท่าอากาศยานตากในด้านการขนส่งผู้โดยสาร โดยอ้างว่ามีอุปสงค์ไม่ถึงหนึ่งล้านคนต่อปี (ถือเป็นจำนวนที่สูงมาก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานในพื้นที่อื่นโดยรอบ ได้แก่ ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีผู้โดยสารขาเข้าและขาออกรวมประมาณ 6 แสนคน และท่าอากาศยานแม่สอดมีประมาณ 2 แสนคน) และจะมุ่งเน้นพัฒนาในด้านการรองรับขนส่งอากาศยานโดยเฉพาะ ด้านกระทรวงคมนาคมได้ปฏิเสธแผนการดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้สนามบินทั้ง 4 แห่งที่จะโอนให้ ทอท. นั้นรองรับด้านการท่องเที่ยวด้วย และให้ ทอท. ทำแผนการดำเนินการรับโอนและบริหารท่าอากาศยานตากใหม่ ต่อมาเดือนกันยายน 2561 นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตากกล่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบให้ดำเนินการโอนสนามบินให้ ทอท. แล้ว โดยที่ ทอท. จะเข้าพัฒนาท่าอากาศยานตากทั้งในด้านการขนส่งและการรองรับนักท่องเที่ยว", "title": "ท่าอากาศยานตาก" }, { "docid": "171487#0", "text": "ท่าอากาศยานแม่สอด หรือ สนามบินแม่สอด () ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก\nท่าอากาศยานแม่สอด เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย สร้างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมเป็นสนามบิน ที่ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ในปี 2473 ดำเนินการเป็นรัฐพาณิชย์ กองการบินพลเรือน กระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการ ทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงในปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศ ได้ริเริ่มดำเนินการบินขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503-2504 สำนักงานการบินพลเรือนได้เห็นความสำคัญในการขนส่ง ทางอากาศ ขณะนั้นจึงได้ปรับปรุงสภาพสนามบิน และทำการสร้างอาคารท่าอากาศยานและหอบังคับการบินซึงใน ช่วงเวลาดัวกล่าวนี้บริษัทเดินอากาศไทยได้นำเครื่อง DC-3 หรือ DAGOTA มาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2506 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง ได้รับการยกฐานะเป็นกรม ชื่อว่ากรมการบินพาณิชย์ ในระหว่างนี้ท่าอากาศยานแม่สอดก็ได้เปิดให้บริการเรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2513 บริษัทเดินอากาศไทย จึงได้ทำการงดบินในปี พ.ศ. 2513 นี้เองกรมการบินพาณิชย์ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงท่าอากาศยานแม่สอด อีกครั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐาน คือได้มีการสร้างทางวิ่งใหม่ กำหนดทางวิ่ง 09 และ 27 พื้นผิวลาดยางแอสฟัลส์ ขนาด 30x1500 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 และสร้างหอควบคุมจราจรทางอากาศขึ้นใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 และได้เปิดให้บริการกับสายการบินและผู้โดยสารเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในการกำกับดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด" }, { "docid": "861710#0", "text": "สนามบินเฮลิคอปเตอร์ () หมายถึงพื้นที่บนบก น้ำ หรือโครงสร้างที่ใช้สำหรับการขึ้นและลงจอดของเฮลิคอปเตอร์ รวมถึงอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกของพื้นที่นั้น กล่าวคือเป็นท่าอากาศยานขนาดเล็กที่ใช้สำหรับเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานอื่นที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง", "title": "สนามบินเฮลิคอปเตอร์" }, { "docid": "5761#1", "text": "เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศมัลดีฟส์ ฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ มาเก๊า ประเทศเนปาล และล่าสุดประเทศศรีลังกา รวม 15 ประเทศ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศสำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองมีเที่ยวบินภายในประเทศบริการบินไปกลับ จาก ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ซึ่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว ใน 13 จังหวัดดังกล่าวมีเที่ยวบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น", "title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง" }, { "docid": "79726#7", "text": "บริษัทเรดวิง แอร์คราฟท์ (Redwing Aircraft Company) เข้ามาซื้อที่สนามบินในปีพ.ศ. 2475 และเปิดเป็นโรงเรียนสอนการบิน สนามบินแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นที่ขึ้นบินเพื่อชมการแข่งขันอีกด้วย ในปีพ.ศ. 2476 สนามบินถูกขายให้กับนักลงทุนคนหนึ่งที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนให้เป็นท่าอากาศยาน และรัฐมนตรีที่ดูแลการคมนาคมทางอากาศก็ได้อนุญาตให้เปิดเส้นทางการบินพาณิชย์จากแกตวิกในปีถัดมา จนกระทั่งปีพ.ศ. 2479 ได้ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายหลายแห่งทั่วภาคพื้นทวีป มีการสร้างอาคารผู้โดยสารรูปวงกลมที่ชื่อว่า \"The Beehive\" ซึ่งมีรถไฟใต้ดินที่เชื่อมกับสถานีรถไฟแกตวิด ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีวิคตอเรียไปยังอาคารผู้โดยสารได้โดยตรง มีอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้งในปีพ.ศ. 2479 สร้างความสงสัยเรื่องความปลอดภัยของท่าอากาศยาน และปัญเรื่องหมอกและน้ำก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางรถไฟใต้ดินก็มักจะถูกน้ำท่วมหลังจากที่ฝนตกหนัก และเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ และความต้องการทางวิ่งที่ยาวขึ้น บริติช แอร์เวย์ จำกัด จึงย้ายการบินไปอยู่ที่ท่าอากาศยานครอยดอนในปีพ.ศ. 2480 แทน แกตวิกจึงได้เปลี่ยนมาเป็นสนามบินส่วนบุคคลอีกครั้ง และยังเป็นที่ฝึกนักบินของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร รวมทั้งเป็นที่สนใจของบริษัทซ่อมบำรุงอากาศยานอีกด้วย", "title": "ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก" }, { "docid": "63591#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2519 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทย รวมทั้งสนามบินอู่ตะเภาด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง ", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)" }, { "docid": "746543#2", "text": "เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน", "title": "กรมท่าอากาศยาน" }, { "docid": "5761#14", "text": "ปัจจุบันเที่ยวบิน XJ620/XJ621 นาอากาศยานหมายปลายทางที่ใช้ระยะเวลาเดินทางนานที่สุดและไกลที่สุดของท่าอากาศยานดอนเมืองในการให้บริการเชิงพาณิชย์นานาชาติดอนเมือง มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538[9][10][11]", "title": "ท่าอากาศยานดอนเมือง" }, { "docid": "143487#1", "text": "เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน", "title": "สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "780497#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู () เป็นสนามบินนานาชาติในอำเภอเดอลีเซอร์ดัง จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ห่างจากเมืองเมดันไปประมาณ 39 กิโลเมตร สนามบินแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานนานาชาติโปโลนียา สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และมีแผนพัฒนาให้เป็นสนามบินศูนย์กลางของเกาะสุมาตรา โดยสนามบินแห่งนี้ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา แต่ที่นี่เป็นสนามบินแห่งแรกที่มีระบบขนส่งมวลชนโดยตรงกับตัวเมือง สนามบินแห่งนี้ถูกรวมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซีย (MP3EI) และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของตลาดการบินอาเซียน (ASEAN-SAM)", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู" }, { "docid": "69310#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง (; ) หรือที่เรียกกันว่า สนามบินหลวงพระบาง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองของประเทศลาว รองจากท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต ที่กรุงเวียงจันทน์ สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองหลวงพระบาง และยังเป็นฐานการบิน ลำดับที่สองของสายการบินการบินลาว", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง" }, { "docid": "779863#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี () เป็นสนามบินในเขตเมืองเซอมารัง จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย เคยใช้งานด้านกองทัพอากาศจนถึงปี ค.ศ. 1966 หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นสนามบินพาณิชย์ สนามบินตั้งอยู่ใกล้ชายหาดมารอน ในเขตเซอมารังตะวันตก และมีแผนปลูกป่าชายเลนบริเวณชายหาดใกล้สนามบิน เพื่อพัฒนาให้เป็นสนามบินสีเขียว โครงการนี้กำหนดเสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 พื้นที่บริเวณนี้รู้จักกันในชื่อกาลิบันเตง ส่วนชื่อสนามบินมาจากชื่อวีรบุรุษท่านหนึ่งของประเทศ ชื่อว่า อัคมัด ยานี สนามบินแห่งนี้กลายเป็นสนามบินนานาชาติในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 จากการเปิดเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี ของสายการบินการูดาอินโดนีเซีย", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี" }, { "docid": "898346#0", "text": "ท่าอากาศยานภูมิภาคทาอีฟ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินระหว่างประเทศ สนามบินตั้งอยู่ 30 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกของ Ta'if และจาก 70 กิโลเมตรจากมักกะฮ์ สนามบินนี้ถือว่าเป็นสนาบินที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การบินในประเทศซาอุดีอาระเบียเนื่องจากเป็นสนามบินที่เครื่องบินลงจอดของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด กษัตริย์องค์แรกของซาอุดีอาระเบีย ในปีพ.ศ. 2552 GACA หน่วยงานการดูแลเที่ยวบินระหว่างประเทศอนุญาติให้เที่ยวบินระหว่างประเทศเปิดบริการได้ ทำให้สามารถลดผู้โดยสารจากสนามบินหลัก 3 แห่ง", "title": "ท่าอากาศยานภูมิภาคทาอีฟ" }, { "docid": "70284#5", "text": "ท่าอากาศยานขอนแก่นได้ประกาศเป็นสนามบินอนุญาตตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2506 และต่อมาประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2534\nปัจจุบันสนามบินขอนแก่น มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งขาเข้าและขาออก รวมกว่า 3,500 คนต่อวัน หรือ 1.703 ล้านคนต่อปีในปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งมากเกินขีดความสามารถของตัวสนามบินแล้ว โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วย จากการเปิดให้บริการของสายการบินพาณิชย์ 4 สายการบิน ประกอบด้วย ไทยสมายล์, ไทยแอร์เอเชีย, นกแอร์ แลไทยไลอ้อนแอร์ รวมถึงเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ โดยมีเที่ยวบินให้บริการมากถึง 18 เที่ยวบินต่อวัน นับรวมไป-กลับ คือ 36 เที่ยวบิน เฉลี่ยการทำการบินทุก 45 นาที โดยมีจดหมายปลายทาง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ในปลายปีนี้เตรียมบินระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงฉางสุ่ย", "title": "ท่าอากาศยานขอนแก่น" }, { "docid": "9643#1", "text": "\"สนามบินสุเทพ\" เริ่มทำการบินเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ( ปีมาแล้ว) โดยเครื่องบินลำแรกที่บินมาจากกรุงเทพฯ เป็นเครื่องบินเครื่องยนต์เดียวปีกสองชั้น 2 ที่นั่ง แบบเบรเก้ของกรมอากาศยาน บินลงเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2477 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น \"สนามบินเชียงใหม่\", \"ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่\" และชื่อปัจจุบันคือ \"ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่\" ตามลำดับ มีพื้นที่กว่า 1,600 ไร่ ปัจจุบันมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง คือหลังเดิม เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และหลังใหม่ เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยท่าอากาศยานแห่งนี้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 8 ล้านคนต่อปี และมีสถิติปริมาณอากาศยานพาณิชย์ขึ้นลง ในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 24,469 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2550 จำนวน 26,708 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2554 จำนวน 32,445 เที่ยวบิน และล่าสุด พ.ศ. 2555 จำนวนมากกว่า 37,000 เที่ยวบิน ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 สายการบินวิสดอมแอร์เวย์ทำการบินประจำที่ท่าอากาศยานแห่งนี้โดยทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากท่าอากาศยานน่านนครมายังท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้วยเครื่องบินทะเบียน HS-WIA เส้นทางบินที่ไกลที่สุดของท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้แก่ TG922 ทำการบินจากเชียงใหม่แวะกรุงเทพมหานครปลายทางแฟรงเฟิร์ต และ TG923 ทำการบินจากแฟรงเฟิร์ตแวะที่กรุงเทพมหานครปลายทางเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว", "title": "ท่าอากาศยานเชียงใหม่" }, { "docid": "5484#23", "text": "ภายในโตเกียวมีท่าอากาศยานนานาชาติฮาเนดะ (โตเกียว) ซึ่งให้บริการเที่ยวบินในประเทศเป็นส่วนใหญ่และเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดในเอเชีย[30] ท่าอากาศยานนานาชาติหลักคือท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะซึ่งอยู่ในจังหวัดชิบะ เกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะอิซุก็มีสนามบินของตนเอง เช่น ท่าอากาศยานฮาจิโจจิมะ ท่าอากาศยานมิยาเกจิมะ ท่าอากาศยานโอชิมะ และมีเที่ยวบินมายังสนามบินฮาเนดะ แต่หมู่เกาะโองาซาวาระยังไม่มีสนามบิน เพราะมีข้อโต้แย้งว่าไม่ควรสร้างสนามบินเพราะจะเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติของเกาะ[31]", "title": "โตเกียว" }, { "docid": "84669#9", "text": "และเนื่องด้วยปัญหาด้านการขยายด้วยของท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง, จึงได้มีแผนที่จะเปิดสนามบินใหม่ที่ต้าซิง. ซึ่งผ่านการอนุมัติแล้วในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556. และเริ่มการก่อสร้างในปีพ.ศ. 2558 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561. ขณะนี้ยังไม่มีการวางแผนว่าจะทำการย้ายเที่ยวบินใดจากสนามบินปักกิ่งไปยังสนามบินแห่งใหม่; แต่คาดว่าอาจย้ายสายการบินจากพันธมิตรสายการบินสกายทีมไปยังท่าอากาศยานแห่งใหม่.\nเปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ.2008", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง" }, { "docid": "63591#5", "text": "หลังจากการปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาโดยกรมการบินพาณิชย์ คณะรัฐมนตรีเห็นว่าควรใช้ประโยชน์จากสนามบินอู่ตะเภามากขึ้น จึงพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานสากล โดยใช้ชื่อว่า \"สนามบินนานาชาติระยอง–อู่ตะเภา\" ภายใต้สังกัดของกองทัพเรือ โดยให้พัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์ร่วมกับกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)" }, { "docid": "70284#0", "text": "ท่าอากาศยานขอนแก่น หรือ สนามบินขอนแก่น () สนามบินตั้งอยู่ในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1,113 ไร่ อาคารผู้โดยสารรองรับได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.4 ล้านคนต่อปี อาคารที่ทำการห่างจากทางหลวงแผ่นดินสาย 12 (ขอนแก่น – เลย) 2 กิโลเมตร วัดทางตรงจากกรุงเทพฯ มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 200 นอตติคอลไมล์ (ประมาณ 364 กิโลเมตร) อยู่ในความดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และทางท่าอากาศยานขอนแก่นได้เร่งขยายสนามบิน ทั้งอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ และส่วนต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นสนามบินนานาชาติ (International Airport)", "title": "ท่าอากาศยานขอนแก่น" }, { "docid": "61170#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ หรือ สนามบินหาดใหญ่ (IATA: HDY, ICAO: VTSS) ตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ 3 ถนนสนามบินพาณิชย์ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90110 บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นประตูสำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการไปแสวงบุญที่นครเมกกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ท่าอากาศยานหาดใหญ่มีเที่ยวบินมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศ รองจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานกระบี่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 4,869,113 คน เที่ยวบิน 9,203 เที่ยวบินและสินค้าประมาณ 12,965 ตันใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ ทั้งนี้ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้ 42 เที่ยวบิน/ชม. รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 2,000,000 คน และรองรับสินค้าได้ปีละ 41,800 ตันบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้", "title": "ท่าอากาศยานหาดใหญ่" } ]
1799
อะนิเมะ คืออะไร ?
[ { "docid": "19842#0", "text": "อนิเมะ () เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอนิเมะอย่างแพร่หลาย อนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย", "title": "อนิเมะ" } ]
[ { "docid": "306005#0", "text": "ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ () เป็นภาพยนตร์อะนิเมะจากหนังสือการ์ตูน เกมกลคนอัจฉริยะ ของ คาซุกิ ทาคาฮาชิ โดยเป็นการรีบู้ตอะนิเมะต่อจาก เกมกลคนอัจฉริยะ โดยเปลี่ยนสตูดิโอทำอะนิเมะจากเดิมคือ โตเอแอนิเมชัน เป็นสตูดิโอ NAS ซึ่งเนื้อหาในภาค ดูเอลมอนสเตอร์ นั้นเป็นเนื้อหาที่เน้นการเล่นการ์ดเป็นหลัก ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2000 ถึงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2004 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียว รวมจำนวนตอนทั้งหมด 224 ตอน โดยในปี2015สตูดิโอ NAS ได้นำภาค ดูเอลมอนส์เตอร์ มาทำการ Remaster แล้วออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียว", "title": "ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์" }, { "docid": "342266#2", "text": "รายชื่อตอนของอะนิเมะ วัยซนคนการ์ตูน", "title": "รายชื่อตอนในวัยซนคนการ์ตูน (อะนิเมะ)" }, { "docid": "124053#3", "text": "ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ซิงเกิล Silly-Go-Round ที่เป็นเพลงเปิดอะนิเมะเรื่อง .hack//Roots ก็ออกวางแผง นอกจากนี้ยังมีเพลง Aikoi ที่ประกอบอะนิเมะเรื่องสึบาสะ สงครามเทพข้ามมิติอีกด้วย แม้ว่าจะไม่ได้วางแผงเป็นซิงเกิลแต่ก็รวมอยู่ในอัลบั้มออริจินัลซาวด์แทรคของอะนิเมะแทน ในเดือนพฤศจิกายนก็ออกซิงเกิล \"Kōya Ruten\" (荒野流転) ที่เป็นเพลงเปิดของอะนิเมะเรื่อง Bakumatsu Kikansetsu Irohanihoheto", "title": "FictionJunction YUUKA" }, { "docid": "95788#21", "text": "ลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 11 ได้วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 11 ในวันที่ 25 เมษายน 2008 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 6 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 6 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเองลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 12 ได้วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 12 ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2008 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 11 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 7 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเอง", "title": "รายชื่ออัลบั้มเพลงลักกีสตาร์" }, { "docid": "343362#0", "text": "รายชื่อตอนของอะนิเมะ เรื่อง \"เซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ\"\nเซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ เป็นอะนิเมะซีรีส์ประจำปี พ.ศ. 2553 ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนเรื่องเซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ ผลงานของ วากากิ ทามิกิ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร โชเน็นซันเดย์ สร้างโดยสตูดิโอ Manglobe กำกับโดย ชิเงฮิโตะ ทาคายานางิ เขียนบทตัวละครโดย ฮิเดยูกิ คุราตะ ออกแบบตัวละครโดย อากิโอะ วาตานาเบ กำกับภาพโดย อายูมิ ซาโตะ และ คาโยโกะ โทโคอุ และกำกับเสียงโดย โยชิคาซุ อิวานามิ ซีซั่นแรกเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม และได้ประกาศว่าจะฉายซีซั่น 2 ในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2554 แล้ว", "title": "รายชื่อตอนในเซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ (อะนิเมะ)" }, { "docid": "119072#3", "text": "ในปี 2545 อะนิเมะเรื่อง\"กันดั้มซี้ด\" ได้เลือกเพลงเพลงแรกของนามิ \"Believe\" มาเป็นเพลงประกอบเรื่อง เนื่องจากอะนิเมะเรื่องนี้เป็นที่ได้รับความสนใจมากในญี่ปุ่น จึงทำให้เพลง Believe กลายเป็นทื่จับตามอง และหลาย ๆ คน ก็เริ่มถามถึงนะมิ ทะมะกิ\nจนกระทั่ง ใน เดือนเมษายน ปี 2546 ซิงเกิล Believe ได้ออกวางจำหน่าย ซึ่งได้กระแสตอบรับเป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำได้สูงถึงอันดับ 6 ในออริคอนชาร์ต ทำให้นะมิ ทะมะกิ ได้รับรางวัลนักร้องหน้าใหม่แห่งปี Annual Japan Gold Disc Award ครั้งที่ 18 ประจำปี 2547 และกลายเป็นจุดสนใจของทั้งนักฟังเพลง และผู้ชื่นชอบอะนิเมะเรื่อยมา\nมีดังต่อไปนี้", "title": "นะมิ ทะมะกิ" }, { "docid": "124053#1", "text": "ยูกิ คะจิอุระ และ ยูกะ นันริ รู้จักกันครั้งแรกเมื่อนันริแสดงโอเปร่าในกลุ่มอาโอยามะใต้ (南青山少女歌劇団 South Aoyama Female Opera Group) ซึ่งคะจิอุระได้มีส่วนร่วมประพันธ์เพลงประกอบในงานแสดงด้วย เพลงแรกที่เกิดจากการร่วมงานของทั้งสองคนคือ Akatsuki no Kuruma (暁の車) ซึ่งเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะเรื่องกันดั้มซี้ด ส่วนซิงเกิลเดบิวนั้นคือซิงเกิล \"Hitomi no Kakera\" (瞳の欠片) ที่เป็นเพลงเปิดอะนิเมะเรื่อง แมดแลกซ์ วางแผงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2547 และในวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ซิงเกิลที่สอง \"inside your heart\" ที่เป็นเพลงปิดอะนิเมะเรื่อง แมดแลกซ์ อีกเช่นกันก็ได้วางแผง ในปีเดียวกันนั้น ซิงเกิล Akatsuki no Kuruma ก็ได้อันดับที่ 10 ในโอริกอนชาร์ต และขายได้ 19,481 แผ่นในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ ปีต่อมา ซิงเกิล Honoh no Tobira ที่ประกอบกันดั้มซี้ดเดสทินี ก็ได้อันดับ 1 ในโอริกอนชาร์ต", "title": "FictionJunction YUUKA" }, { "docid": "334490#0", "text": "สปอยเยอะมากรายชื่อตัวละครใน แขนกล คนแปรธาตุ ทั้ง 2 ภาค; อะนิเมะปี 2003 และอะนิเมะปี 2009(เหมือนในมังงะ)", "title": "รายชื่อตัวละครในแขนกล คนแปรธาตุ" }, { "docid": "355281#1", "text": "เขตเนริมะถือเป็นจุดจำเนิดการ์ตูนอะนิเมะที่สำคัญของญี่ปุ่น ทั้งนี้มีบริษัทผลิตอะนิเมะจำนวนมากตั้งอยู่ในเขตนี้ เช่น โทเอแอนิเมชัน แกลลอป มูชิโปรดักชัน เอไอซี เป็นต้น", "title": "แขวงเนริมะ" }, { "docid": "166233#1", "text": "ต่อมาได้รับการสร้างเป็นอะนิเมะ ความยาว 51 ตอนจบ ซึ่งผลิตโดย KSS ออกอากาศทางสถานีทีวีโตเกียว และสร้างเป็น โอวีเอ อีกจำนวน 4 ตอนด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่า เวดดิ้งพีช สาวน้อยผู้พิทักษ์ DX (เดอ ลุคซ์ /ดี ลัคซ์) () () ความนิยมของการ์ตูนเรื่องนี้มีมากอยู่พอสมควร ทำให้ได้รับอะนิเมะยอดนิยมอันดับที่ 19 และ ฮานาซาคิ โมโมโกะ ได้ดาราหญิงยอดนิยมอันดับที่ 20 ในอะนิเมะกรังปรีซ์ ครั้งที่ 18 จากนิตยสารอะนิเมจ แล้วนอกจากนี้ยังมีคอนเสิร์ต วิดีโอเกม ของเล่น วิดีโอ ซีดี ดีวีดี และเลเซอร์ดิสก์", "title": "เวดดิ้งพีช สาวน้อยผู้พิทักษ์" }, { "docid": "212399#73", "text": "อะนิเมะ Genji Monogatari Sennenki: Genji นั้นจะใช้ทีมงานเดียวกันกับที่ถูกวางแผนให้มาดูแลอะนิเมะ Asakiyumemishi แทบทุกประการ โดยอะนิเมะจะกำกับโดยผู้กำกับ Desaki Osamu (Ultraviolet Code:044, The Rose of Versaille, CLANNAD Movie) เขียนบทโดย Konparu Tomoko (Nodame Cantabile, Chi’s Sweet Home) ออกแบบตัวละครโดย Sugino Akio (Ultraviolet Code:044, Ashita no Joe) และดูแลด้านเพลงโดย Suzuki Seiji (CLANNAD Movie, Lupin III) ทำโดย TMS Entertainment (The Rose of Versaille, Lupin III, Detective Conan) และ Tezuka Productions (Black Jack, Ultraviolet Code:044) [5]", "title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก" }, { "docid": "532186#0", "text": "หน้านี้จะแสดงรายชื่อตอนในเรื่อง มินามิเกะ สามสาวซ่าฮายกแก๊ง ซึ่งเป็นรายชื่อตอนในอะนิเมะ ไม่เกี่ยวข้องกับในมังงะ แต่อย่างใด ซึ่งเรื่องมินามิเกะ สามสาวซ่าฮายกแก๊ง เป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวันของสามพี่น้องมินามิ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน รวมไปถึงเพื่อน ๆ ของสามสาวมินามิ ที่มาคอยสร้างสีสันให้กับอะนิเมะเรื่องนี้ อะนิเมะเรื่องนี้ประกอบด้วยซีรี่ย์ทั้งหมด 4 ภาค ภาคละ 13 ตอน และโอวีเอ ที่แถมมากับหนังสือการ์ตูนรุ่นลิมิต จำนวน 2 ตอน", "title": "รายชื่อตอนในมินามิเกะ สามสาวซ่าฮายกแก๊ง" }, { "docid": "267278#19", "text": "ในอะนิเมะ ตัวละครเกาหลีใต้เกือบปรากฏตัวในอะนิเมะแล้ว แต่เนื่องจากกระแสความไม่พอใจจากชาวเกาหลีใต้ ทำให้บางตอนและบางฉากถูกตัดออกไปจากอะนิเมะ และเกาหลีใต้ก็ไม่ได้ปรากฏตัวในมังงะช่วงหลังอีกเลย", "title": "พลังอักษะ เฮตาเลีย" }, { "docid": "167953#0", "text": "รายชื่อตอนของอะนิเมะเรื่อง \"คาน่อน\" ประกอบด้วยอะนิเมะ 2 เรื่อง ที่สร้างใน พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2549 รวมถึงโอวีเอ \"แคนอน คะซะฮะนะ\" (\"Kanon Kazahana\") ที่สร้างใน พ.ศ. 2546", "title": "รายชื่อตอนในแคนอน" }, { "docid": "334496#0", "text": "รายชื่อตอนของแขนกล คนแปรธาตุ (อะนิเมะ)", "title": "รายชื่อตอนในแขนกล คนแปรธาตุ (อะนิเมะ)" }, { "docid": "755724#6", "text": "เนื้อเรื่องของเซเลอร์มูน คริสตัลนั้นจะใช้ตัวละครหลัก การดำเนินเรื่อง ชื่อของแต่ละตอน โดยอ้างอิงตามต้นฉบับจากหนังสือการ์ตูนเกือบทั้งหมดแต่จะมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนขององค์ประกอบในเรื่องเช่น เสื้อผ้า ฉากหลังของเรื่อง ภาพรวมของอะนิเมะให้มีความทันสมัยมากขึ้นจากต้นฉบับเดิม โดยมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกมาเสริมในภาพรวมของอะนิเมะให้มีความน่าสนใจมากขึ้นและเนื้อเรื่องจะไม่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับอะนิเมะเดิมที่เคยฉายไปแล้ว", "title": "เซเลอร์มูน คริสตัล" }, { "docid": "70553#25", "text": "เฟท/สเตย์ ไนท์ ในรูปแบบอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ความยาวทั้งหมด 24 ตอนโดย Studio DEEN ภายใต้ชื่อว่า Fate Project ด้วยความร่วมมือของ Geneon Entertainment, TBS,CREi,ไทป์-มูน และ Frontier Works Inc. ต่อมาก็ได้ออกอากาศอย่างเป็นสากลในช่อง อะนิแม็กซ์ ในปี 2550 อีกทั้งยังมีฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อออกอากาศในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งยังมีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์ไปยัง อเมริกาเหนือ อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในอะนิเมะนั้นจะเน้นหนักไปในเนื้อหาของเกม ในส่วนของบท<i data-parsoid='{\"dsr\":[18611,18618,2,2]}'>เฟท มีการเสริมเนื้อหาในส่วนของ อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส และ เฮฟเว่นส ฟีล อีกด้วย แต่จะไม่เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของ เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย เลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งในฉบับอะนิเมะนี้ ก็ได้คุณ คาวาอิ เคนจิ ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงในซีรีส์ของเฟท ในต้นฉบับของเกม มาเป็นผู้แต่งเพลงให้ในฉบับอะนิเมะด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการนำซาวนด์แทร็กในเกม มารีมิกซ์ใหม่เพื่อใช้ในฉบับอะนิเมะโดยเฉพาะ อย่างเช่นเพลง \"Yakusoku Sareta Shouri No Tsurugi\"(約束されたの剣), \"Emiya\" และ \"This Illusion\" ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"disillusion\" เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดสำหรับฉบับอะนิเมะ", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "45590#1", "text": "แคนดี้ แคนดี้ สาวน้อยจอมแก่น ถูกสร้างเป็นอะนิเมะในปี พ.ศ. 2519 และหลังจากนั้นต่อมาอีก 14 ปี ก็ได้มีการจัดทำใหม่เป็นภาพยนตร์อะนิเมะสำหรับออกฉายในโรงภาพยนตร์ ความยาว 26 นาที เมื่อปี พ.ศ. 2535", "title": "แคนดี้ แคนดี้ สาวน้อยจอมแก่น" }, { "docid": "95788#18", "text": "ลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 5 วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 5 ในวันที่ 26 ตุลาคม 2007 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 8 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 6 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเองลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 6 วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 6 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2007 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 6 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 6 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเองลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 7 ได้วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 7 ในวันที่ 24 ธันวาคม 2007 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 6 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 6 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเอง", "title": "รายชื่ออัลบั้มเพลงลักกีสตาร์" }, { "docid": "124053#5", "text": "เมื่อคะจิอุระได้ทำดนตรีประกอบให้กับอะนิเมะเรื่อง El Cazador de la Bruja ก็ได้ออกซิงเกิลที่ 7 ที่มีชื่อว่า \"romanesque\" ซึ่งเป็นเพลงปิดของอะนิเมะเรื่องนี้ด้วย", "title": "FictionJunction YUUKA" }, { "docid": "14542#55", "text": "การ์ดนี้มีเฉพาะในอะนิเมะเท่านั้น\nการ์ดนี้มีเฉพาะในอะนิเมะเท่านั้น\nการ์ดนี้มีเฉพาะในอะนิเมะเท่านั้น\nการ์ดนี้มีเฉพาะในอะนิเมะเท่านั้น\nการ์ดนี้มีเฉพาะในอะนิเมะเท่านั้น\nการ์ดนี้มีเฉพาะในอะนิเมะเท่านั้น", "title": "โคลว์การ์ด" }, { "docid": "422952#1", "text": "เธอเริ่มทำงานพากย์อะนิเมะ เมื่อมีผู้กำกับการพากย์อะนิเมะคนหนึ่งติดต่อเข้ามาหลังได้ชมเธอแสดงเป็นแจเน็ต (Janet) ในละครเวทีท้องถิ่น ชุด ร็อกกีเฮอร์เรอร์พิกเชอร์โชว์ (Rocky Horror Picture Show)", "title": "บริตนีย์ คาร์บาวสกี" }, { "docid": "22517#2", "text": "ในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยทากาฮิโระ ซากุระอิ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยทาคามาสะ สุกะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยซุซุกิ ทาคุมะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยมิตสึกิ โคกะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยอินาดะ เท็ตสึ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยฮิโรชิ ยามาโมโตะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคานาอิ มิกะแต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวาคาโมโตะ โนริโอะ ส่วนในภาคภาพยนตร์พากษ์เสียงโดยชินจิ ทาเคดะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยเรียว ไนโตะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโยชิฮิโระ ทาคายามะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคุโรดะ ทาคายะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยอิตสึจิ อิทาโอะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยโมริ โนริฮิสะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโนโบรุ คาเนโกะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยสุยามะ อาคิโอะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยซาดาโยชิ ชิมาเนะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคาซามะ ยูโตะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโชอิจิโร่ มัตสึโมโตะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยชิมุระ โทโมยูกิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยยูจิ อุเอดะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยมิกะ คานาอิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยโนบุยุกิ ฮิยามะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยเคนอิจิ เอนโด\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยไดกิ นากามูระ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโนโบรุ ทาคาชิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคิโยยูกิ ยานาดะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยมาซามิ คิคุจิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยเมงุมิ ฮายาชิบาระ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยฮิโรชิ ยามาโมโตะ", "title": "คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม" }, { "docid": "342266#0", "text": "รายชื่อตอนของอะนิเมะเรื่อง วัยซนคนการ์ตูน", "title": "รายชื่อตอนในวัยซนคนการ์ตูน (อะนิเมะ)" }, { "docid": "316879#0", "text": "ตัวละครในเรื่องอินาสึมะอีเลฟเวน ได้ปรากฏอยู่ในวิดีโอเกมและภาพยนตร์อะนิเมะจึงได้รวบรวมตัวละครต่าง ๆ ในแต่ละภาคทั้ง อินาสึมะอีเลฟเวน, อินาสึมะอีเลฟเวน 2 เคียวอิ โนะ ชินเรียคุฉะ, อินาสึมะอีเลฟเวน 3 เซไคเอะ โนะ โชวเซน!!, ภาพยนตร์อะนิเมะ และหนังสือการ์ตูน", "title": "รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า" }, { "docid": "36041#11", "text": "เป็นภาคพิเศษ เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับตัวละคร แต่จะไม่เกี่ยวข้องกับส่วนเนื้อหาหลักเสียทีเดียว มีทั้งที่รวมเรื่องสั้นหลายๆ ตอน หรือเป็นเล่มเดียวจบก็มี\nเนื้อเรื่องเกี่ยวกับไดอารี่ของกุนเทอร์ที่ได้ออกพิมพ์จำหน่ายและได้รับความนิยมอย่างสูง\nไม่มีตัวละครจากเรื่องมะรุมะปรากฏเลย แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะมีส่วนสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาในภายภาคหน้า เนื่องจากมีการพูดถึงเรื่องกล่องต้องห้ามและผู้ถือกุญแจอยู่ด้วย เรื่องราวเกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองบนโลกมนุษย์\nเนื้อเรื่องดำเนินที่ตัวละครบ้านชิบุยะและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวชิบุยะ\nเนื่องจากอะนิเมะได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้เขียนจึงยืมชื่ออะนิเมะมาดัดแปลงเล็กน้อย โดยการเติมเครื่องหมาย ? (เครื่องหมายปรัศนีย์) ลงไป\nเนื้อเรื่องเกี่ยวกับองค์ปฐมกษัตริย์และอัครเสนาบดี เป็นต้น\n“จากวันนี้ผมคือราชาปีศาจ” () ฉายทางช่องเอ็นเอชเค BS2 (NHK BS2) ฉายซ้ำทางช่อง NHK教育 (NHK Kyouiku) ชื่อเรียกสั้นๆ ของซีรีส์อะนิเมะคือ มะนิเมะ (㋮ニメ) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการวางจำหน่าย OVA ออกมาเดือนละแผ่น ทั้งหมด 5 แผ่น กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จึงออกอากาศอะนิเมะภาคสาม ปัจจุบันมีการนำอะนิเมะไปฉายในหลายประเทศแล้ว เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เป็นต้นต้นฉบับของอะนิเมะเดิมนั้นเป็นภาพขนาด 16:9 หากผู้ชมรับสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอลภาคพื้นดิน จะได้รับชมภาพขนาดดั้งเดิม คือ 16.9 แต่หากรับสัญญาณเป็นสัญญาณอนาล็อก ทางช่อง BS2 จะปรับขนาดเป็น 4:3 ทางช่อง Kyouiku จะปรับขนาดเป็นเล็ทเตอร์บ็อกซ์", "title": "ผมน่ะหรือคือราชาปีศาจ!" }, { "docid": "396450#0", "text": "เซยูอะวอดส์ () เป็นงานมอบรางวัลสำหรับนักพากย์ (เซยู) ที่มีผลงานโดดเด่นในอะนิเมะหรือสื่ออื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่โตเกียวอะนิเมะเซ็นเตอร์ ในอะกิฮะบะระ", "title": "เซยูอะวอดส์" }, { "docid": "95788#19", "text": "ลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 8 ได้วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 8 ในวันที่ 25 มกราคม 2008 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 7 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 6 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเองลัคกี้ สตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ \"ลัคกี้ ☆ แชนแนล\" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 9 ได้วางจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 9 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2008 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอะนิเมะซึ่งใน 8 แทร็คแรกจะเป็นเพลงประกอบในอะนิเมะ ส่วน 6 แทร็คหลังจะเป็นดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเอง", "title": "รายชื่ออัลบั้มเพลงลักกีสตาร์" }, { "docid": "16927#3", "text": "จิซาเมะเป็นตัวอย่างของสาวแว่น (meganekko) ซึ่งตามอุดมคติของอะนิเมะและมังงะทั้งหลายแล้ว ได้แก่ หญิงสาวที่น่ารักเหมือนตัวละครในอะนิเมะ มีโลกส่วนตัวสูง และสวมแว่นตาจนเป็นบุคลิกลักษณะ", "title": "ฮาเซกาว่า จิซาเมะ" }, { "docid": "212399#72", "text": "ซีรีส์ Asakiyumemishi (ชื่อไทย “ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก” โดย Nation Edutaiment) การ์ตูนผู้หญิงอิงวรรณคดีเก่าแก่ “ตำนานเก็นจิ” มีการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[15457,15475,3,3]}'>ประกาศยกเลิก</b>แผนการทำอะนิเมะเดิมที่จะเริ่มฉายในเดือนมกราคมปี 2009 ในไทม์สล็อต Noitamina ของ Fuji TV โดยประกาศอย่างเป็นทางการในเว็บไซต์หลักของอะนิเมะดังกล่าว ซึ่งจะถูกแทนด้วยผลงานอะนิเมะออริจินัลในชื่อเรื่องว่า Genji Monogatari Sennenki: Genji (“เกนจิตำนานพันปี Genji”) แทนในฐานะอะนิเมะครบรอบสหัสวรรษของวรรณคดีต้นฉบับ", "title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก" } ]
1833
จังหวัดนนทบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "6803#0", "text": "จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489", "title": "จังหวัดนนทบุรี" } ]
[ { "docid": "611980#0", "text": "โรงเรียนไทรน้อย () เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดยพระมงคลนนทเขต เจ้าอาวาสวัดไทรใหญ่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อยู่เลขที่ 127 หมู่ที่ 5 ถนนเทศบาล 8 ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนไทรน้อยเดิมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ ประเภทสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2507 โดยได้รับความเมตตาจากพระมงคลนนทเขต ที่ดินจำนวน 15 ไร่ 2 งาน", "title": "โรงเรียนไทรน้อย" }, { "docid": "790793#0", "text": "วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ เป็นสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 ตั้งอยู่ที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี", "title": "วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์" }, { "docid": "206893#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2502 ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในกรุงเทพมหานคร พระบำราศนราดูรได้ก่อตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทาง เพื่อควบคุมโรคติดต่อเป็นการพิเศษ โดยได้ย้ายโรงพยาบาลโรคติดต่อ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ถนนดินแดง ตำบลพญาไท ให้อยู่ห่างไกลออกไปจากชุมชน ไปอยู่ที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตั้งชื่อว่า \"โรงพยาบาลบำราศนราดูร\" (ปัจจุบันคือ สถาบันบำราศนราดูร สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)", "title": "พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)" }, { "docid": "275315#0", "text": "การประปาส่วนภูมิภาค หรือ กปภ. () เป็นรัฐวิสาหกิจหนึ่งในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในทุกพื้นที่ของประเทศไทย (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ) อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลขององค์การอนามัยโลก", "title": "การประปาส่วนภูมิภาค" }, { "docid": "233503#0", "text": "ท่าน้ำนนทบุรี หรือ ท่าน้ำนนท์ หรือ ท่าน้ำพิบูลสงคราม 3 เป็นท่าน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลายท่าใกล้เคียงกัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าและหอนาฬิกาจังหวัดนนทบุรี ถนนประชาราษฎร์ เขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยาและท่าเรือข้ามฟาก", "title": "ท่าน้ำนนทบุรี" }, { "docid": "228072#3", "text": "ถนนติวานนท์ () เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่จังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี เดิมถนนนี้เรียกว่า \"ทางหลวงแผ่นดินสายนนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี\" ต่อมารัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตั้งชื่อว่า \"ถนนติวานนท์\" ตามประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนชิตชาญตรวจ (เชี่ยวชาญ ช. ติวานนท์) อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง ช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงปทุมธานี แขวงทางหลวงปทุมธานี", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306" }, { "docid": "120733#1", "text": "โรงเรียนสตรีนนทบุรี กำเนิดขึ้นจากความต้องการให้มีโรงเรียนสำหรับนักเรียนสตรีโดยเฉพาะในจังหวัดนนทบุรี โดยได้รับการประกาศจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2475 เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า \"โรงเรียนสตรีประจำสุขาภิบาลนนทบุรี\" ใช้อักษรย่อว่า \"ส.น.บ.\" ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีพิธีเปิดโรงเรียนในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 มี นางลัดดาวัลย์ นนทะนาคร เป็นครูใหญ่คนแรก มีครู 3 คน ห้องเรียน 4 ห้อง นักเรียน 33 คน", "title": "โรงเรียนสตรีนนทบุรี" }, { "docid": "4253#11", "text": "พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย การป้องกันการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัด และอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง อยุธยา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ ส่วนการคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรมประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองส่งน้ำประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้ำจากแหล่งน้ำดิบเชียงราก ผ่านอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี, อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร", "title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "210174#2", "text": "การยกป้ายคำตอบในเกมจะมีสองลักษณะ คือ การยกป้ายคำตอบเหมือนกันทั้งทีม คือการที่ทีมจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งหรือทั้ง 2 จังหวัดยกป้ายคำตอบเหมือนกันทั้งทีมทั้งจังหวัด หากปรากฏว่าเป็นคำตอบที่ผิดจะต้องตกรอบไปทั้งทีมทั้งจังหวัด แต่ตั้งแต่คู่ระหว่างสุโขทัยและนนทบุรีในรอบที่ 2 เป็นต้นไป ถ้าตอบเหมือนกันหมดทั้ง 20 คน และตอบถูกก็จะเข้ารอบไปทั้ง 2 จังหวัด และการยกป้ายคำตอบแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการยกป้ายคำตอบคละกันระหว่าง ก และ ข หากทีมจังหวัดที่มีป้ายคำตอบถูกมากที่สุดทีมจังหวัดนั้นจะได้คะแนนไป และทีมจังหวัดที่มีป้ายคำตอบถูกน้อยที่สุดทีมจังหวัดนั้นจะไม่ได้คะแนนไป หรือถ้าจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งหรือทั้ง 2 จังหวัดยกป้ายคำตอบของทีมจังหวัดตัวเองต่างกันซึ่งป้ายคำตอบเหมือนกันทั้ง 2 จังหวัดด้วย จะได้คะแนนทีมละ 1 คะแนน ถือว่าเสมอเท่ากัน ไม่ว่าทีมจังหวัดจะยกป้ายคำตอบถูกมากหรือน้อย แต่ถ้าทั้ง 2 ทีมจังหวัดมีคะแนน 5 คะแนน (สายที่ 1-9) หรือ 3 คะแนน (สายที่ 10 เป็นต้นไป) เท่ากันทั้ง 2 ทีมจังหวัด จะต้องเล่นเกมตอบคำถามตัดสินในข้อต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ทีมจังหวัดที่ชนะเข้ารอบต่อไปได้ หรือตกรอบทั้ง 2 จังหวัด หรือเข้ารอบทั้ง 2 จังหวัด", "title": "ยกสยามปี 1" }, { "docid": "372062#1", "text": "โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2443 นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเกิดจากการริเริ่มของพระอธิการท้วม (พระครูศีลาภิรม) เจ้าอาวาสวัดบางขวาง และท่านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) ผู้เปรียบเสมือนผู้ให้กำเนิดโรงเรียน โดยท่านบริจาคเงินจำนวน 100 ชั่ง จัดสร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้น เป็นอาคารตึก 2 ชั้น 4 ห้องเรียน เปิดเป็นโรงเรียนสอนเด็กชาย/หญิง และขนานนามโรงเรียนว่า \"โรงเรียนรัตนาธิเบศร์\" จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2476 เมื่อเปิดโรงเรียนสตรีนนทบุรี โรงเรียนจึงงดรับนักเรียนหญิงคงรับเฉพาะเด็กชาย ต่อมาโรงเรียนได้ขยายพื้นที่ และก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม ให้เพียงพอกับจำนวนชั้นเรียนและจำนวนนักเรียน ซึ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนถึงปีพุทธศักราช 2527 จึงรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น และตอนปลาย", "title": "โรงเรียนรัตนาธิเบศร์" }, { "docid": "296792#4", "text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนนทบุรีใช้สนามกีฬาจังหวัดนนทบุรีเป็นสนามเหย้า โดยสนามมีความจุ 12,000 ที่นั่ง อยู่ติดกับศูนย์พละศึกษาจังหวัดนนทบุรีและโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เดินทางเข้ามาในซอยถนนโยธาธิการ นนทบุรี 2002 หรือซอยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี ติด ถนนราชพฤกษ์", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "6803#23", "text": "จังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีคูคลองขนาดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหลายสายเหมือนใยแมงมุม มีการทำเรือกสวนไร่นา และฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัด ได้แก่พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเขตเมืองมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น อาจถือได้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง เพราะเขตแดนระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "73331#9", "text": "ขณะดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี ได้เปิดสถานศึกษาเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนจังหวัดนนทบุรี ดังนี้\nครั้นมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องที่ของจังหวัดนนทบุรีถูกรวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรีจึงถูกเลิกไปด้วยตามกฎหมาย กระทรวงศึกษาจึงย้ายขุนการัญสิกขภารมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าเก็บกองกลาง สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486", "title": "ขุนการัญสิขภาร (ทุเรียน ทัพภะพยัคฆ์)" }, { "docid": "448437#0", "text": "วัดโคนอน (วัดวัว) ตั้งอยู่ที่ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2350 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 มีพระประธานได้แก่หลวงพ่อใหญ่ เป็นวัดที่มีเจ้าอาวาสองค์เแรกคือพระอธิการเชย จันทสาโรและและเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือพระครูวินัยธร รุ่งฤทธิ์ ฐิตทินโน", "title": "วัดโคนอน (จังหวัดนนทบุรี)" }, { "docid": "37324#47", "text": "มูลนิธิ สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (ชื่อย่อ: ม.สกน.; ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนของโรงเรียนฯ ด้วยการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงให้ความสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนฯ ในกิจการส่งเสริมการศึกษา ทางการเงินและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนดำเนินงานสาธารณประโยชน์ โดยมูลนิธิฯ มีทรัพย์สินประกอบด้วย เงินสดจำนวน 314,432 บาท 66 สตางค์ เป็นทุนประเดิม พร้อมด้วยโฉนดที่ดิน 1 ฉบับ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมูลนิธิฯ เลขที่ 77/20 หมู่ที่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ประธานมูลนิธิฯ คนแรกคือ พลโท จันทรคุปต์ สิริสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533-3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ปัจจุบัน (ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) มีนายไพโรจน์ นพทีปกังวาล เป็นประธาน", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี" }, { "docid": "6803#16", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2486 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ดไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และโอนอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[17] จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489[18] อำเภอต่าง ๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "372062#2", "text": "โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 238 หมู่ที่ 4 ถนนประชาราษฎร์ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี บนพื้นที่จำนวน 5 ไร่ของวัดบางขวาง และตั้งแต่เริ่มการก่อตั้ง โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ได้รับการดูแลจากท่านเจ้าอาวาสวัดบางขวางทุกท่านมาโดยตลอด", "title": "โรงเรียนรัตนาธิเบศร์" }, { "docid": "6803#14", "text": "นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัย[15] ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการเมืองและศาลากลางจังหวัดนนทบุรีในอดีตลงมาทางทิศใต้ ปัจจุบันก็คือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรีนั่นเอง", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "6803#54", "text": "กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อำเภอเมืองนนทบุรี เทศบาลนครนนทบุรี รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดนนทบุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนนทบุรี", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "454518#1", "text": "โรงเรียนเด่นหล้า พระราม 5 (Denla Rama V School) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่บนถนนนครอินทร์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี", "title": "โรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า" }, { "docid": "421421#2", "text": "องค์การจัดการน้ำเสีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542 ให้เพิ่มเติมพื้นที่เทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่ในเขตจัดการน้ำเสีย", "title": "องค์การจัดการน้ำเสีย" }, { "docid": "37324#49", "text": "สมาคมศิษย์เก่า สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตามหนังสืออนุญาตจัดตั้งสมาคม โดยคณะศิษย์เก่าของโรงเรียนฯ จำนวน 18 คน มีมติร่วมกันก่อตั้งเป็นสมาคม โดยผู้อำนวยการโรงเรียนฯ อนุญาตให้ใช้สถานที่ของโรงเรียนฯ เป็นที่ทำการของสมาคมฯ รวมถึงขออนุญาตใช้ชื่อโรงเรียนเป็นชื่อสมาคมฯ จากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดนนทบุรีด้วย ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี" }, { "docid": "18226#5", "text": "ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอนนทบุรีเป็น อำเภอเมืองนนทบุรี ทั้งนี้ เนื่องมาจากทางราชการมีนโยบายเปลี่ยนชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งจังหวัดเป็น \"อำเภอเมือง...\" อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีก็ถูกยุบลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองนนทบุรีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนครและได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเป็น \"อำเภอนนทบุรี\" จนกระทั่งวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อำเภอนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น \"อำเภอเมืองนนทบุรี\" ตั้งแต่นั้น", "title": "อำเภอเมืองนนทบุรี" }, { "docid": "271668#1", "text": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี เดิมชื่อ โรงเรียนบางใหญ่ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2502 ที่วัดพิกุลเงิน ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยความคิดริเริ่มของว่าที่ร้อยตรีสวัสดิ์ ดวงจันทร์ ศึกษาธิการอำเภอบางใหญ่ ในขณะนั้น เปิดสอนครั้งแรกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หอพระปริยัติธรรมของวัดพิกุลเงินเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ต่อมาได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มเติมจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 3", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี" }, { "docid": "421421#0", "text": "องค์การจัดการน้ำเสีย () เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538 เพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร เดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย", "title": "องค์การจัดการน้ำเสีย" }, { "docid": "930978#0", "text": "ทั้งนี้มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ ได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ งานของมูลนิธิฯ เริ่มจากการให้บริการสอนหนังสือแก่เด็กป่วยเป็นโรคโปลิโอซึ่งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยผู้อาสาสมัครสอนเป็นแพทย์ นักศึกษาแพทย์และพยาบาล ต่อมาเมื่อมีจำนวนเด็กป่วยเป็นโรคโปลิโอเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิฯในขณะนั้นจึงได้ขอครูจากกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ มาช่วยสอน ๑ คน ในปีนั้นมีนักเรียน ๑๗ – ๒๕ คน โดยนักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กถึงระดับอุดมศึกษาต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มูลนิธิฯ ได้ก่อตั้งศูนย์บริการเด็กพิการ ในที่ราชพัสดุ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของมูลนิธิฯในปัจจุบันเพื่อให้บริการที่พักและเลี้ยงดูเด็กพิการจากต่างจังหวัดซึ่งอยู่ในระหว่างรอและรับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร", "title": "โรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "304755#2", "text": "การเตรียมการก่อตั้งโรงเรียน โดยนายโกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา (ตำแหน่งขณะนั้น) ได้มอบหมาย นายกว้าง รอบคอบ รองอธิบดีกรมสามัญศึกษา (ตำแหน่งขณะนั้น) ดำเนินการประสานการก่อตั้งและได้ติดต่อ ขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บริเวณหนองสามสาม ถนนศรีสมาน ติดทางเข้าสวนสมเด็จฯ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 20 ไร่ 2 งาน 29 ตารางวา เป็นสถานที่ ก่อสร้างโรงเรียน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การสูบน้ำออกจากพื้นที่โดยกรมชลประทานปากเกร็ด และนายดิเรก ถึงฝั่ง นายอำเภอปากเกร็ด การถมที่ดินในบริเวณก่อสร้าง โดยนายล่ำ สุขใจ มีคหบดีประชาชน ร่วมบริจาคทรัพย์ในการดำเนินการ 9 ล้านบาท สมทบกับงบประมาณทางราชการใช้ชื่อโรงเรียนตามที่ได้รับพระราชทานคำนำหน้าโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถว่า “นวมินทราชินูทิศ” ตามด้วยโรงเรียนพี่เลี้ยง(ขณะนั้น) คือ หอวัง และสถานที่ตั้งคือจังหวัดนนทบุรี จึงได้ชื่อว่า “นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี", "title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี" }, { "docid": "569408#1", "text": "โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี แต่เดิมชื่อ \"โรงเรียนนนทกิจประชาอุปถัมภ์\" ได้รับอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2521 การก่อตั้งโรงเรียนสำเร็จได้เนื่องจากท่านพระครูนนทกิจพิศาล เจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดต้นเชือกได้มอบที่ดินของวัดซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ จานวน 35 ไร่ ตามโฉนดเลขที่ 3966 ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2521 ได้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ.1) จานวน 2 ห้อง และมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) จานวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 4 ห้อง การเปิดทำการสอนในระยะแรกนั้น กรมสามัญศึกษาไม่ได้จัดสรรอาคารเรียนและครูให้ โรงเรียนจึงต้องอาศัยอาคารเรียนและครูจากโรงเรียนชุมชนวัดต้นเชือกมาช่วยสอนนักเรียนในช่วงนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่คือสถานที่ในปัจจุบัน และได้มีการก่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลังเพื่อทำการเรียนการสอน\n- ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมบริจาคโต๊ะและเก้าอี้นักเรียนจานวน 100 ชุด เป็นจำนวนเงิน 72,000 บาท\n- องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จ้างครูอัตราจ้าง 4 อัตรา ครูชาวต่างประเทศจำนวน 1 อัตรา\n- เทศบาลตำบลบางใหญ่ ถมดินสร้างสนามฟุตบอล จำนวนเงิน 2,000,000 บาท ก่อสร้างถนนคอนกรีตทางเข้า-ออกโรงเรียนระยะ 60 เมตร มอบทุนการศึกษา 28 ทุน และอุปกรณ์กีฬา\n- นายพิภพ บุญธรรม นายอำเภอบางใหญ่ ของบประมาณผู้ว่า CEO สมทบปรับปรุงสนามฟุตบอลและบริเวณโรงเรียนให้ศูนย์เยาวชนเทศบาลตำบลบางใหญ่ 4,000,000 บาท\n- งบผู้ว่า CEO สนับสนุนครุภัณฑ์ทางการศึกษาจานวน 600,170 บาท และซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด จำนวนเงิน 100,000 บาท\n- บริษัท ปตท.จากัด (มหาชน) สนับสนุนให้คณะครูไปศึกษาดูงาน \"โครงการก๊าซธรรมชาติ\" ระหว่างวันที่ 10 – 11 ตุลาคม 2548 ณ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง\n- ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ก่อสร้างอาคารแบบ 324 ล (ตอกเข็มพร้อมถมดินสนาม) จำนวนเงิน 21 ล้านบาท\n- เจ้าอาวาสวัดต้นเชือกบริจาคโรงอาหาร พร้อมโต๊ะ 30 ชุด เป็นจำนวนเงิน 170,000 บาท\n- ได้รับงบประมาณปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนชาย-หญิงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนเงิน 63,000 บาท\n- ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนในฝัน \"โรงเรียนดีใกล้บ้าน\" รุ่นที่ 2 ของอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี\n- ได้รับการสนับสนุนจัดทำจัดภูมิทัศน์ ลานแก้ว ลานบุญ และลานพุทธ ลานธรรม จากเจ้าอาวาสวัดไผ่เหลืองสัจธรรมมาราม จำนวนเงิน 170,000 บาท\n- ได้รับทุนการศึกษาจากเจ้าอาวาสวัดไผ่เหลืองสัจธรรมมารามแก่นักเรียน จำนวนเงิน 20,000 บาท\n- สมาคมผู้ปกครองและครูร่วมกับวัดไผ่เหลืองสัจธรรมมาราม วัดราษฎร์ประคองธรรม วัดต้นเชือก ร่วมกันทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท\n- ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) สร้างและตกแต่งภายในห้องประชุมราชพฤกษ์ จำนวนเงิน 200,000 บาท\n- ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) สร้างห้องสำนักงานกลุ่มการบริหารทั่วไป จำนวนเงิน 300,000 บาท\n- ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) และจากการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาในปีการศึกษา 2553 จัดสร้างอาคารสำนักงานกิจกรรมนักเรียน จำนวนเงิน 500,000 บาท\n- ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) และจากการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาในปีการศึกษา 2553 จัดสร้างเสาธง จำนวนเงิน 350,000 บาท\n- ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) และจากการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาในปีการศึกษา 2553 จัดสร้างมณฑปรูปเหมือนพระครูนนทกิจพิศาล จำนวนเงิน 360,189.50 บาทพระมหาพิชัยมงกุฏอยู่เหนือ โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี", "title": "โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี" }, { "docid": "230323#0", "text": "เทศบาลเมืองบางศรีเมือง หรือ เมืองบางศรีเมือง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเป็นเทศบาลเมืองหนึ่งในสี่แห่งของจังหวัด ในอดีตท้องที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนนทบุรี ซึ่งยังปรากฏหลักฐานการก่อตั้งชุมชนบางแห่งในบริเวณนี้จนถึงปัจจุบัน หลังจากที่มีการตัดถนนนครอินทร์ ถนนราชพฤกษ์ และสร้างสะพานพระราม 5 ขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เขตเทศบาลเมืองบางศรีเมืองจึงกลายเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมืองหลวงที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง", "title": "เทศบาลเมืองบางศรีเมือง" } ]
3428
บุตรของ พระพุทธเจ้า มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "157341#0", "text": "พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช", "title": "พระราหุล" }, { "docid": "157341#1", "text": "ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า \"ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง\" แปลว่า \"'ราหุ\" (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว\" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า \"ราหุล\" อันแปลว่า \"บ่วง\"", "title": "พระราหุล" } ]
[ { "docid": "41411#2", "text": "\"\"กุมารน้อยของเรานี้ จงมีชื่อว่า สวัสดิโสภณ ขอบุตรของเราผู้เกิดแต่เปี่ยมผู้มารดา จงบรรลุความเจริญฯ ขอบุตรนี้จงมีอายุยืน ไม่มีอุปัทวทุกข มั่งคั่ง มีโภคสมบัติ มีทรัพย์มาก มีความสุข เป็นเสรีภาพ มีอำนาจโดยลำพังตัว ขอพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์นี้ และเทพเจ้าเป็นต้นผู้รักษารัฐมณฑล จงอภิบาลกุมารน้อยของเรานั้น ในกาลทุกเมื่อ ขอบุตรของเรานั้น พึงเป็นผู้มีเดช มีกำลังมาก มีฤทธานุภาพใหญ่ มีปัญญา และปรีชาในประโยชน์อย่างใด พึงรักษาตระกูลให้สำเร็จประโยชน์อย่างนั้น เทอญ\" \"", "title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์" }, { "docid": "59540#3", "text": "ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของกฎุมพีชาวเมืองพันโฌฤฆฏธุมดี มีชื่อว่า “มหากาล” มหากาลมีน้องชายชื่อ “จูฬกาล” (ในชาติสุดท้ายคือสุภัททะปริพาชก) ทั้ง 2 มีอุปนิสัยแตกต่างกัน กล่าวคือ มหากาลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าวิปัสสี แต่จูฬกาลกลับไม่เลื่อมใส ดังนั้น ทั้ง 2 จึงมีความเห็นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการทำบุญ", "title": "พระอัญญาโกณฑัญญเถระ" }, { "docid": "817177#1", "text": "เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี) ทรงเป็นพระโอรสพระองค์แรกในเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมลำดับที่ ๒ กับอาชญานางบุษดี อีกทั้งทรงเป็นพระนัดดาในเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ กับอาชญานางยอดแก้วศรีบุญมาแห่งจำปาศักดิ์ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี) ทรงเป็นเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ผู้พยายามอ้างสิทธิ์และมีสิทธิ์เป็นลำดับแรกในการขึ้นปกครองธาตุพนมในลำดับที่ ๓ ต่อจากเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ผู้เป็นพระบิดา แต่ความพยายามนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากตำแหน่งเจ้าเมืองหรือขุนโอกาสตกไปเป็นของพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องและเครือญาติใกล้ชิด อันเนื่องมาจากความยืดเยื้อเกี่ยวปัญหาการเมืองท้องถิ่นของเจ้านายลาวหลายประการ อาทิ ปัญหาการช่วงชิงดินแดนอาณานิคมริมฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศฝรั่งเศส ปัญหาการพยายามลดอำนาจทางการปกครองของเจ้านายท้องถิ่นเมืองธาตุพนมจากฝ่ายสยาม ปัญหาการขัดแย้งผลประโยชน์ทางการเมืองของเหล่าเครือญาติเจ้านายท้องถิ่นเมืองธาตุพนมเอง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับกบฏผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญของภาคอีสาน", "title": "เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)" }, { "docid": "80018#45", "text": "พระอัครสาวกที่สำคัญของพระพุทธเจ้าคือ พระสารีบุตร และ พระมหาโมคคัลลานะ ครั้งนั้นคืออุปติสสะและโกลิตะ ในขณะนั้นพระพุทธองค์กำลังประทับท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมาก เมื่อเห็นมาณพทั้งสองกำลังเดินมา จึงตรัสบอกภิกษุสงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย มาณพทั้งสองคนนั้นจะเป็นอัครสาวกของเราตถาคต มาณพทั้งสองได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ทั้ง 2 ได้ปฏิบัติธรรมอย่างพากเพียรจนพระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทได้ 7 วัน ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทได้กึ่งเดือน จึงสำเร็จพระอรหันต์ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายการที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ช้ากว่าพระมหาโมคคัลลานะว่าเป็นเพราะพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามาก ต้องใช้บริกรรมใหญ่ เปรียบด้วยการเสด็จไปของพระราชาต้องตระเตรียมราชพาหนะและราชบริวาร จึงจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าการไปของคนสามัญ", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "215177#1", "text": "โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัย พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ช้างนาฬาคิรี ได้เกิดเป็นพระราชโอรสองค์โต ชื่อว่า ธรรมเสนกุมาร ของบรมกษัตริย์พระธรรมราช ปกครองเมือง จำปานคร มีน้องอีกสี่คน ชื่อว่า ภัททกุมาร รามกุมาร ปมาทกุมาร และธัชชกุมาร ตามลำดับ \nพระบิดามีรับสั่งให้พระราชโอรสทั้ง 5 ไปเรียนวิชากับอาจารย์ ณ เมืองตักศิลา พระโอรสก็ได้ไปเรียนมาคนละอย่าง คือ", "title": "พระติสสสัมพุทธเจ้า" }, { "docid": "266471#2", "text": "พระยสเถระ เป็นบุตรนางสุชาดา (ผู้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโคตมพุทธเจ้า) กับเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ก่อนบวชท่านมีเรือนอาศัย 3 หลัง มีประโคมดนตรีสตรีรายล้อมด้วยโลกิยสุข คืนหนึ่งท่านหลับไปก่อนประโคมดนตรีจบ ท่านจึงตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นสตรีนอนมีกิริยาน่าเกลียดน่ากลัว ท่านจึงเกิดความเบื่อหน่ายและออกจากปราสาทไป พลางบ่นไปว่า \"ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ\" ไปตลอดทาง จนเข้าเขตป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (พระพุทธเจ้าทรงแผ่ญาณเพื่อตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้ที่พอจะบรรลุ) เมื่อ ยสกุลบุตรเดินมาใกล้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า \"ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญมาที่นี่ เราจะแสดงธรรมแก่เธอ\"", "title": "พระยสเถระ" }, { "docid": "58619#2", "text": "พระสารีบุตรเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า \"อุปติสสะ\" เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อ \"สารี\" และนายพราหมณ์ ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลตำบลนาลกะ หรือตำบลนาลันทา ชื่อ \"วังคันตะ\" คำว่า \"อุปติสสะ\" หมายความว่า ชาวบ้านอุปติสคาม อุปติสสะนั้นมีน้องชายสามคน คือ พระจุนทะ พระอุปเสน พระเรวัตตะ และมีน้องสาวอีกสามคน คือ นางจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ในวันเดียวกับที่นางพรามหณ์สารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้น ยังเป็นวันที่ครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า \"โกลิตะ\" หรือต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ อีกด้วย", "title": "พระสารีบุตร" }, { "docid": "57913#8", "text": "ตระกูลของฝ่ายบิดาท่าน เป็นชาวพุทธผู้ทำเกี่ยวกับการกสิกรรมในเมืองมาตะระ ทางตอนใต้ของศรีลังกา ปู่ของท่านมีนามว่า ทินคิรี อัปปุฮามี มีบุตรสองคน คนหนึ่งออกบวชเป็นพระภิกษุ นามว่า หิตตะติเย อัตถทัสสี เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดหิตตะติยะมหาวิหาร ส่วนลูกคนที่สอง คือบิดาของท่านธรรมปาละ ได้เดินทางมาทำงาน ตั้งรกรากในกรุงโคลัมโบ ต่อมาได้สมรสกับนางมัลลิกา ธรรมคุณวัฒนะ ซึ่งเป็นตระกูลชาวพุทธผู้มั่งคั่ง ในกรุงโคลัมโบ และตระกูลนี้ ได้อุทิศที่ดินแปลงหนึ่ง สร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ให้ชื่อว่า วิทโยทัยปริเวณะ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยวิทโยทัย", "title": "อนาคาริก ธรรมปาละ" }, { "docid": "519839#0", "text": "พระคุณานันทะเถระ เป็นพระชาวศรีลังกา ในปฐมวัยมีชื่อว่า ไมเคิล มารดาชื่อ มัลโด สิลวา บิดาชื่อ ไอเนริส แมนดิส บิดาเสียชีวิตปัจจุบันทันด่วนเมื่อไมเคิลยังเล็ก เด็กชายไมเคิลบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 12 ขวบที่วัดกุมารมหาวิหาร โดยความอุปถัมภ์ของดาเนียล วิชัยสุริยะ ในวัยบอกหนังสือ ร่ำเรียนทั้งหนังสือไบเบิล และวิชาพุทธศาสนา ผลงานของท่านเป็นที่แพร่หลายโดย พันเอกเฮนรี สตีล โอลกอตต์และจากหนังสือพิมพ์ Times of Ceylon ในขณะนั้น", "title": "พระคุณานันทเถระ" }, { "docid": "332458#1", "text": "พระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระราชบุตร 2 พระองค์ องค์แรกเป็นพระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้าชายเทวทัต ซึ่งคิดอิจฉาริษยากับพระพุทธเจ้ายิ่งนัก ส่วนพระองค์ที่ 2 เป็นพระราชธิดา มีพระนามว่า นางยโสธรา หรือ พิมพา ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า", "title": "พระเจ้าสุปปพุทธะ" }, { "docid": "157341#4", "text": "เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ ก็ทรงนิวัติกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดาและพระญาติประยูร และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย วันหนึ่งพระนางยโสธราทรงได้พระราหุล และมีรับสั่งให้พระกุมารราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา", "title": "พระราหุล" } ]
1625
หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากรบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "199451#0", "text": "ท่านหญิงจารุพัตรา ศุภชลาศัย (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร; ประสูติ: 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 — สิ้นชีพิตักษัย: 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติแต่หม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา (ธิดานายตั๊น ชุ่นเพียว)", "title": "จารุพัตรา ศุภชลาศัย" } ]
[ { "docid": "573868#2", "text": "ทั้งนี้พระยาอินทรอากรผู้บิดา เป็นน้องชายของพระยาไกรโกษา (เริก ไกรฤกษ์) ที่ถวายตัวรับราชการต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในตำแหน่งเสมียนกรมท่าซ้าย ติดต่อค้าขายกับประเทศจีน จนลุมาสมัยรัชกาลที่ 1 จึงเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น \"พระยาไกรโกษา\" และเป็นต้นสกุลไกรฤกษ์สืบมา ส่วนน้องชายของท่านคือ มุ่ย เป็นต้นสกุลนิยะวานนท์ และมีหลานสาวเข้ารับราชการฝ่ายในคือ เจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5", "title": "เจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2" }, { "docid": "199451#1", "text": "หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ เพื่อสมรสกับหลวงศุภชลาศัย รองผู้บัญชาการทหารเรือ อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2476 มีบุตรธิดา 5 คน ได้แก่", "title": "จารุพัตรา ศุภชลาศัย" }, { "docid": "54874#12", "text": "หลวงศุภชลาศัย สมรสกับ สวาสดิ์ หุวนันท์ และ หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร พระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติในหม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา (ธิดานายตั๊น ชุ่นเพียว)", "title": "หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)" }, { "docid": "54874#13", "text": "หลวงศุภชลาศัย มีบุตรธิดากับหม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร 5 คน ได้แก่", "title": "หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)" }, { "docid": "185211#0", "text": "หม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า อาภากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์) เป็นพระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์\nหม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า อาภากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์) เป็นพระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ อันประสูติแต่ หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2457 และทรงสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 พระชันษา 83 ปี หม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี ร่วมพระมารดา 10 พระองค์ คือและยังทรงมีพระขนิษฐาต่างพระมารดา คือ", "title": "หม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า อาภากร" }, { "docid": "726843#1", "text": "เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ลบ เป็นโอรสในหม่อมเจ้าจินดากับหม่อมอ่วม หม่อมเจ้าจินดาเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต กับหม่อมน้อย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400ท่านมีพี่ชายร่วมพระบิดาและมารดาเดียวกันคนหนึ่งคือเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)", "title": "เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์)" }, { "docid": "862866#1", "text": "หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ (ท่านหญิงนิด) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช ประสูติแต่หม่อมพเยาว์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม นายนันท์) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชันษาเพียง 9 เดือน พระบิดาได้สิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าอุทัยกัญญามีเจ้าพี่ร่วมพระมารดาหนึ่งองค์ คือหม่อมเจ้านิพัทธพันธุพงศ์ ภาณุพันธุ์ (ประสูติ 11 กันยายน พ.ศ. 2475; สิ้นชีพิตักษัยแล้ว)", "title": "หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์" }, { "docid": "854741#1", "text": "เจ้าจอมเครือวัลย์เป็นธิดาของเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) กับท่านผู้หญิงอู่ อภัยภูธร มีพี่ชายต่างมารดาคนหนึ่งชื่อเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) อัครมหาเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ครอบครัวสืบเชื้อสายมาแต่พราหมณ์พฤฒิบาศ ปู่คือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) เสนาบดีกรมวังในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตระกูลบุณยรัตพันธุ์มีการส่งธิดาที่สะสวยมาสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์แห่งจักรีอยู่เสมอ อาทิ เจ้าจอมมารดาสี ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมมารดาแก้ว ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นป้าของเจ้าจอมเครือวัลย์ และมีหลานสาวรับราชการเป็นพระสนมเช่นคือ เจ้าจอมใย ในรัชกาลที่ 5, เจ้าจอมสวน ในรัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมสำอาง ในรัชกาลที่ 5", "title": "เจ้าจอมเครือวัลย์ ในรัชกาลที่ 3" }, { "docid": "258165#0", "text": "ท่านหญิง จันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงจันทรจรัสศรี ยุคล เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมฟองจันทร์ ยุคล ณ อยุธยา (เจ้าฟองจันทร์ อินทขัติย์) ประสูติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เมื่อแรกประสูติมีฐานันดรศักดิ์ที่ \"หม่อมเจ้า\" แต่หม่อมเจ้าจันทรจรัสศรีทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทำการสมรส กับ ประพันธุ์ ไพบูลย์เลิศ มีบุตร-ธิดา 2 คน", "title": "จันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ" } ]
2759
โปรตอน คืออะไร ?
[ { "docid": "13985#0", "text": "โปรตอน (English: proton หรือ ภาษากรีก: πρώτον / proton = ตัวแรก) เป็น อนุภาคย่อยของอะตอม สัญลักษณ์ p หรือ p+ มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกมีค่าประจุมูลฐาน (English: elementary charge) เท่ากับ +1e และมีมวลน้อยกว่ามวลของนิวตรอนเล็กน้อย โปรตอนและนิวตรอนแต่ละตัวมีมวลประมาณ 1 หน่วยมวลอะตอม (u) เมื่อโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันในนิวเคลียส พวกมันจะทำตัวเป็น \"นิวคลีออน\" ในนิวเคลียสของอะตอมใด ๆ จะพบโปรตอนอย่างน้อยหนึ่งตัว จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติและเป็นตัวบอก เลขอะตอม ของธาตุนั้น คำว่าโปรตอนเป็นภาษากรีกแปลว่า \"ตัวแรก\" ชื่อนี้ถูกกำหนดให้กับนิวเคลียสของไฮโดรเจนโดยนาย Ernest Rutherford ในปี 1920 ในหลายปีก่อนหน้านั้น นายรัทเธอร์ฟอร์ดได้ค้นพบว่านิวเคลียสของไฮโดรเจน (ที่รู้กันว่าเป็นนิวเคลียสที่เบาที่สุด) สามารถสกัดดได้จากหลายนิวเคลียสของไนโตรเจนโดยการชนกัน เพราะฉะนั้น โปรตอนจึงเป็นตัวเลือกที่จะเป็นอนุภาคมูลฐานตัวหนึ่งและเป็นกล่องโครงสร้างของไนโตรเจนและนิวเคลียสของอะตอมหนักกว่าอื่น ๆ ทั้งหมด", "title": "โปรตอน" } ]
[ { "docid": "150504#2", "text": "ช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 โปรตอนก็ได้เปลี่ยนโลโก้จากเดิมที่ออกแบบคล้ายดาวเดือนในธงชาติมาเลเซีย มาใช้เป็นหัวเสือแบบปัจจุบันแทน ในปี พ.ศ. 2536 โปรตอนก็ออกรุ่นใหม่ชื่อ โปรตอน วีรา (Proton Wira) โดยถอดแบบมาจากมิตซูบิชิ แลนเซอร์ และสามารถขายได้ถึง 220,000 คัน ระหว่างปี 2539 ถึง 2541 นอกจากนี้ รถรุ่นโปรตอน ซาเทรีย (Proton Satria) และโปรตอน ปุตรา (Proton Putra) ก็พัฒนามาจากมิตซูบิชิ แลนเซอร์ และมิตซูบิชิ มิราจเช่นกัน รุ่นต่อมาคือโปรตอน เพอร์ดานา (Proton Perdana) พัฒนาจากมิตซูบิชิ อีเทอร์นา เริ่มผลิตครั้งแรกในปี 2538 เพื่อขยายตลาดไปสู่ระดับสูงขึ้น ยกเว้นโปรตอน เทียร่า (Proton Tiara) ที่พัฒนามาจากซีตรอง AX (Citroen AX) ไม่ได้พัฒนามาจากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่งของมิตซูบิชิ มอเตอร์สแต่อย่างใด", "title": "โปรตอน โฮลดิงส์" }, { "docid": "523469#2", "text": "โปรตอน เพรเว่ ได้รับรางวัลด้านความปลอดภัยเต็มรูปแบบคะแนน 5 ดาวในเซียนโครงการประเมินรถใหม่ (ANCAP) ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โปรตอน เพรเว่ เป็นอุปกรณ์ที่มีสูงสุดไม่เกินหกถุงลมนิรภัย, ระบบเบรก ABS และ EBD, ระบบเสริมแรงเบรก BA และ ระบบป้องกันการลื่นไถล TCL, และการควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC) ประเทศไทยโปรตอน", "title": "โปรตอน เพรเว่" }, { "docid": "537651#0", "text": "โปรตอน เพอร์โซนา () เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ที่ผลิตโดยโปรตอน เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2550 เพื่อมาแทนที่รุ่นเก่า คือ โปรตอน วีรา () โปรตอน วาจา () และโปรตอน เจนทู () โดยเฉพาะรุ่น Wira และปัจจุบันมีรุ่นใหม่มาทดแทน คือ โปรตอน อินสไปรา () และโปรตอน เพรเว่ () โปรตอน เพอร์โซนาเป็นรถที่ใช้ชิ้นส่วนร่วมกับรถรุ่น Gen-2 และ Satria Neo ทำให้ทั้งเจนทูและซาเทรีย นีโอมีเส้นสายที่มาจากเพอร์โซนาอย่างชัดเจน โปรตอน เพอร์โซนามีเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร แบบ Campro ของ Lotus ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ปัจจุบันเพอร์โซนายังคงมีจำหน่ายอยู่ แต่โมเดลจะเป็น MY2012 เนื่องจากรถรุ่นใหม่คือ Inspira และ Preve ออกจำหน่ายแล้ว", "title": "โปรตอน เพอร์โซนา" }, { "docid": "150504#1", "text": "ในยุคแรกของโปรตอน โปรตอนได้ผลิตรถยนต์โดยอาศัยเทคโนโลยีและชิ้นส่วนของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส โมเดลรถรุ่นแรกก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2528 ภายใต้ชื่อ โปรตอน ซากา (Proton Saga) โดยประกอบในเมืองชาห์อาลาม รัฐเซอลาโงร์ แรกเริ่มก็ใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ของมิตซูบิชิทั้งสิ้น ร่วมกับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ (ซึ่งเป็นรุ่นที่คนไทยเรียกว่า Lancer Champ) ต่อมาก็ค่อยๆถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีมาเป็นของโปรตอนเอง โปรตอนซากาผลิตครบคันที่ 1 แสนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532", "title": "โปรตอน โฮลดิงส์" }, { "docid": "13985#2", "text": "ที่อุณหภูมิต่ำเพียงพอ โปรตอนอิสระจะยึดเหนี่ยวกับ อิเล็กตรอน อย่างไรก็ตามลักษณะของโปรตอนที่มีการยึดเหนี่ยวดังกล่าว ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และพวกมันก็ยังคงโปรตอน โปรตอนเร็วที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านสสาร จะชะลอความเร็วโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับอิเล็กตรอนและนิวเคลียส จนกระทั่งมันถูกจับโดย เมฆอิเล็กตรอน ของอะตอม ผลที่ได้ก็คืออะตอมโปรโตเนต, ซึ่งเป็น ส่วนผสมทางเคมี ของไฮโดรเจน ในสูญญากาศ เมื่ออิเล็กตรอนอิสระปรากฏขึ้น โปรตอนที่ช้าเพียงพออาจจับเข้ากับอิเล็กตรอนอิสระเดี่ยวกลายเป็น อะตอมของไฮโดรเจน ที่เป็นกลาง ซึ่งในทางเคมีเป็น อนุมูลอิสระ \"อะตอมของไฮโดรเจนอิสระ\" ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะตอบสนองทางเคมีกับอะตอมหลายชนิดอื่น ๆ ที่พลังงานต่ำพอเพียง เมื่ออะตอมไฮโดรเจนอิสระหลายตัวทำปฏิกิริยากันเอง พวกมันก่อตัวเป็นโมเลกุลของไฮโดรเจนที่เป็นกลาง (H2) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโมเลกุลที่พบบ่อยที่สุดของ เมฆโมเลกุล ในอวกาศระหว่างดวงดาว จากนั้นโมเลกุลดังกล่าวของไฮโดรเจนบนโลกอาจทำตัวเป็น (ระหว่างผู้ใช้อื่น ๆ อีกมากมาย) แหล่งที่สะดวกของโปรตอนสำหรับเครื่องเร่งอนุภาค (ตามที่ถูกใช้ในการบำบัดโรคด้วยโปรตอน) และการทดลองด้านฟิสิกส์ของอนุภาคแฮดรอน ที่ต้องใช้โปรตอนเพื่อเร่งความเร็ว ด้วยตัวอย่างที่มีการตั้งข้อสังเกตและที่มีประสิทธิภาพอย่างมากที่สุดคือการเป็น เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่", "title": "โปรตอน" }, { "docid": "363315#1", "text": "โดยปกติ ฟิวชั่นของโปรตอน-โปรตอน เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิ (หรือพลังงานจลน์) ของโปรตอนนั้นสูงมากจนสามารถเอาชนะแรงไฟฟ้าสถิตร่วมหรือ แรงผลักเนื่องจากประจุไฟฟ้าบวก (Coulomb repulsion) อาร์เธอร์ สแตนลีย์ เอ็ดดิงตัน เป็นผู้เสนอทฤษฎีนี้เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ว่า ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนเป็นหลักการพื้นฐานซึ่งดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่นๆ ใช้ในการเผาผลาญตนเอง ในยุคนั้นเชื่อกันว่าอุณหภูมิของดวงอาทิตย์ต่ำเกินไปที่จะฝ่ากำแพงคูลอมบ์ (Coulomb barrier) ได้ แต่หลังจากวิวัฒนาการด้านกลศาสตร์ควอนตัม จึงมีการค้นพบอุโมงค์ควอนตัมของฟังก์ชันคลื่นของโปรตอนซึ่งทำให้สามารถเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นได้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ตามหลักของฟิสิกส์ดั้งเดิม", "title": "ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน" }, { "docid": "546027#0", "text": "โปรตอน วาจา () เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ผลิตโดยโปรตอน เริ่มผลิตเมื่อเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2543 และเลิกผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2554 รวมระยะเวลา 11 ปี โดยมีโปรตอน อินสไปรา () ถือเป็นรถยนต์มาเลเซียคันแรกที่ออกแบบโดยโปรตอนเอง แทนที่จะนำรถรุ่นต่างๆ ของมิตซูบิชิและซีตรองมาประทับตราโปรตอนขาย คำว่า วาจา ในภาษามลายูแปลว่าเหล็ก เพื่อแสดงว่ารถยนต์โปรตอนจะต้องมีคุณภาพเทียบเท่ารถจากประเทศต่างๆ ให้ได้ เพราะก่อนหน้านี้ รถยนต์โปรตอนไม่สามารถเทียบกับคู่แข่งต่างชาติได้เลย ในสหราชอาณาจักรจะใช้ชื่อว่า โปรตอน อิมเปี้ยน () ในภาษามลายูแปลว่าความฝัน เริ่มวางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. 2544 สำหรับด้านงานวิศวกรรมจะยังคงใช้ร่วมกับ Volvo และ Mitsubishi Motors เหมือนเดิม โดยใช้งานวิศวกรรมจากมิตซูบิชิรุ่น Carisma ส่วนเครื่องยนต์จะมี 3 ขนาดคือเครื่องยนต์เบนซิน 1.6 ,1.8 และ 2.0 ลิตร โดยในช่วงแรกจะใช้เครื่องยนต์ 1.6 และ 2.0 ลิตรจากมิตซูบิชิ ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ 1.6 ลิตรซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากรถโลตัส ประเทศอังกฤษ ตระกูล Campro และเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรจากเรโนลต์ ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ ในมาเลเซียวาจาพอจะมียอดขายได้เรื่อยๆ ก่อนจะเลิกผลิตภายในปี พ.ศ. 2554 โดยมีโปรตอน อินสไปราเข้ามาจำหน่ายเป็นการทดแทน ซึ่งเป็นการนำ Mitsubishi Lancer EX มาประทับตราโปรตอนออกจำหน่าย", "title": "โปรตอน วาจา" }, { "docid": "521601#2", "text": "แอนติโปรตอนได้รับการยืนยันเชิงทดลองในปี 1955 โดยนักฟิสิกส์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เอมิลิโอ เซอเกรและโอเวน แชมเบอร์เลน ซึ่งทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1959 แอนติโปรตอนประกอบด้วยแอนติควาร์กขึ้น 2 ตัว และแอนติควาร์กลง 1 ตัว (uud) คุณสมบัติของแอนติโปรตอนที่มีการวัดทั้งหมดตรงกับคุณสมบัติของโปรตอน โดยมีข้อยกเว้นว่าแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้าและโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกับโปรตอน คำถามที่ว่าสสารแตกต่างจากปฏิสสารอย่างไรนั้นยังไม่มีคำตอบ เพื่ออธิบายว่าเหตุใดเอกภพจึงรอดจากบิกแบงและเหตุใดปฏิสสารจึงเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน", "title": "แอนติโปรตอน" }, { "docid": "533526#0", "text": "โปรตอน เอ็กซ์โซร่า () เป็นรถยนต์เอนกประสงค์ขนาดเล็กมาก (Mini MPV) ผลิตโดยโปรตอน ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติมาเลเซียรายแรก เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2551 และเริ่มออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2552 ถือเป็นรถ MPV 7 ที่นั่งรุ่นแรกของโปรตอน ชื่อของเอ็กซ์โซร่านั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเข็ม ซึ่งสกุลของเข็มนั้นคือ Ixora จึงนำมาตั้งเป็นชื่อรถโดยเปลี่ยนจาก I เป็น E สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม P2 ของโปรตอน สำหรับเครื่องยนต์นั้น เป็นเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร และมีการทำรุ่น Turbo ออกมาด้วย เป็นเครื่องยนต์ในตระกูล CamPro ของโปรตอน ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ CVT 6 สปีด จากนั้นในปี พ.ศ. 2554 จึงได้มีการไมเนอร์เชนจ์ขึ้น โดยเปลี่ยนด้านหน้าใหม่ ในอินโดนีเซียมีการนำเข้าไปขายในชื่อ โปรตอน เอ็กซ์โซร่า สตาร์ () ด้วย มีฐานการประกอบที่ประเทศมาเลเซีย", "title": "โปรตอน เอ็กซ์โซร่า" }, { "docid": "521601#0", "text": "แอนติโปรตอน () หรือชื่อที่รู้จักกันน้อยกว่าคือ เนกาตรอน () หรือ (อ่านว่า \"พีบาร์\") เป็นปฏิยานุภาคของโปรตอน แอนติโปรตอนนั้นเสถียร แต่โดยทั่วไปมีอายุสั้น เพราะการชนกับโปรตอนจะทำให้อนุภาคทั้งสองประลัยในการระเบิดของพลังงาน", "title": "แอนติโปรตอน" }, { "docid": "6621#28", "text": "มีความเป็นไปได้ที่นิวเคลียสของอะตอมที่มีหมายเลขอะตอมต่ำซึ่งมีจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนต่างกัน จะลดสถานะพลังงานต่ำลงจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี อันทำให้จำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเกือบจะเท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นทำให้อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเกือบเท่ากันนั้นมีภาวะเสถียรขึ้นและไม่สลายตัว อย่างไรก็ดี ยิ่งหมายเลขอะตอมสูงขึ้น แรงผลักระหว่างโปรตอนก็จะยิ่งทำให้สัดส่วนนิวตรอนที่ต้องมีเพื่อรักษานิวเคลียสให้เสถียรต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้แนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนิวเคลียสที่เสถียรซึ่งมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนเท่า ๆ กันที่หมายเลขอะตอมมากกว่า Z = 20 (แคลเซียม) ยิ่ง Z มีจำนวนมากขึ้นไปสู่นิวเคลียสธาตุหนัก สัดส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนที่ต้องมีเพื่อความเสถียรจะยิ่งเพิ่มขึ้นไปที่ประมาณ 1.5[52]", "title": "อะตอม" }, { "docid": "291247#6", "text": "วิธีการหนึ่งที่จะแสดงถึงปฏิยานุภาคคือการเพิ่มแถบขีดเหนือสัญลักษณ์แทนอนุภาคปกติ ตัวอย่างเช่น อนุภาคโปรตอนและแอนติโปรตอนจะแสดงเป็น formula_1 และ formula_2 ตามลำดับ กฎเกณฑ์เดียวกันนี้ได้ถูกประยุกต์ใช้ร่วมกันกับอนุภาคใด ๆ โปรตอนถูกสร้างขึ้นจากควาร์กแบบ formula_3, ดังนั้นแอนติโปรตอนจึงต้องสร้างขึ้นมาจากแอนติควาร์กแบบ formula_4", "title": "ปฏิสสาร" }, { "docid": "40276#14", "text": "ผลผลิตของขบวนการขนส่งเหล่านี้โดยใช้ความแตกต่างทางไฟฟ้าเคมีของโปรตอน คือ ต้องใช้มากกว่า 3 โปรตอนในการสร้าง 1 ATP จึงชัดเจนว่า เป็นการลดประสิทธิภาพของขบวนการทั้งหมดในทางทฤษฎี และผลผลิตสูงสุดที่น่าจะใกล้เคียงกับ 28-30 ATP มากกว่า ในทางปฏิบัติ ประสิทธิภาพอาจลดลงไปอีก เนื่องจากเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียนั้นรั่วต่อโปรตอนเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีก คือ โปรตีนอันคัปปลิง (uncoupling protein, UCP) ซึ่งมีอยู่ในบางเซลล์ เป็นช่องทางที่สามารถขนส่งโปรตอนได้ เมื่อโปรตีนนี้ทำงานในเยื่อหุ้มชั้นใน จะเป็นการลัดวงจรการจับคู่ระหว่างลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนกับการสังเคราะห์ ATP พลังงานศักย์จากความแกต่างของโปรตอนไม่ถกนำไปสร้าง ATP แต่จะให้ความร้อนแทน ซึ่งขบวนการดังกล่าวค่อนข้างมีความสำคัญในการก่อความร้อนของไขมันสีน้ำตาลในสัตว์แรกเกิดและจำศีล", "title": "การหายใจระดับเซลล์" }, { "docid": "351110#4", "text": "จะสังเกตจากปฏิกิริยาการรับโปรตอนข้างต้นได้ว่าเบสส่วนใหญ่จะได้รับโปรตอน (H) หนึ่งตัวเพื่อให้ตัวเองกลายมาเป็นสปีซีที่เป็นกลาง และเพิ่มสภาพด่างหนึ่งต่อสมมูล อย่างไรก็ตาม CO จะได้รับโปรตอนสองตัวก่อนที่จะเข้าสู่สปีซีระดับศูนย์ (CO) จึงเพิ่มสภาพด่างทีละสองต่อโมลของ CO [H] และ [HSO] ลดสภาพด่าง เนื่องจากทั้งสองทำหน้าที่ให้โปรตอน ซึ่งมักใช้แสดงร่วมกับ [H]", "title": "สภาพด่าง" }, { "docid": "751567#7", "text": "อนุภาคย่อยของอะตอมแบบผสม (เช่นโปรตอนหรือนิวเคลียสของอะตอม) เป็นสภาวะยึดเหนี่ยวของอนุภาคมูลฐานสองตัวหรือมากกว่า ตัวอย่างเช่น โปรตอนถูกทำขึ้นจากอัพควาร์กสองตัวและดาวน์ควาร์กหนึ่งตัว ในขณะที่นิวเคลีนสของอะตอมของฮีเลียม-4 ประกอบด้วยสองโปรตอนและสองนิวตรอน นิวตรอนถูกทำขึ้นจากดาวน์ควาร์กสองตัวและอัพควาร์กหนึ่งตัว อนุภาคผสมจะรวมถึงแฮดรอนทั้งหมด ซึ่งแฮดรอนเหล่านี้ได้แก่แบริออน (เช่นโปรตอนและนิวตรอน) และมีซอน (เช่น ไพออนและคาออน)", "title": "อนุภาคย่อยของอะตอม" }, { "docid": "150504#5", "text": "ในปี 2550 โปรตอนก็ออกรถยนต์ซีดานรุ่นใหม่ที่เป็นรุ่นแทนที่รุ่นวีรา คือเพอร์โซนา (Persona) และล่าสุดวันที่ 18 มกราคม 2551 รุ่นใหม่ล่าสุดก็ออกสู่ตลาด คือรุ่นโปรตอน ซากา (Proton Saga) โดยโปรตอนซากาพัฒนาต่อมาจากรุ่นเซฟวี่ แต่ใช้เครื่องยนต์แคมโปร (Campro) 1.3 ลิตร แทนเครื่องยนต์เรโนลต์ (Renault) ที่ใช้ในเซฟวี่", "title": "โปรตอน โฮลดิงส์" }, { "docid": "363315#0", "text": "ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน คือหนึ่งในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นชนิดหนึ่งในจำนวนสองรูปแบบ ซึ่งดาวฤกษ์ใช้ในการแปลงไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ปฏิกิริยาอีกชนิดหนึ่งคือวงจรซีเอ็นโอ (วงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจน) สำหรับห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนนั้นจะเกิดในดาวฤกษ์ที่มีขนาดประมาณดวงอาทิตย์หรือเล็กกว่า", "title": "ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน" }, { "docid": "751567#13", "text": "อิเล็กตรอนประจุลบมีมวลเท่ากับ 1/1836 ของมวลของอะตอมไฮโดรเจน มวลส่วนที่เหลือของอะตอมไฮโดรเจนมาจากโปรตอนประจุบวก เลขอะตอมของธาตุใด ๆ เป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น นิวตรอนเป็นอนุภาคที่เป็นกลางและมีมวลใหญ่กว่าโปรตอนเล็กน้อย ไอโซโทปที่แตกต่างกันของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่จำนวนนิวตรอนแตกต่างกัน เลขมวลของไอโซโทปใด ๆ คือจำนวนรวมของนิวคลีออน (โปรตอนและนิวตรอนรวมกัน)", "title": "อนุภาคย่อยของอะตอม" }, { "docid": "19724#23", "text": "การปั๊มโปรตอนออกจากไมโทคอนเดรียทำให้ความเข้มข้นโปรตอนระหว่างเยื่อหุ้มต่างกันและเกิดความแตกต่างทางศักย์ไฟฟ้าเคมี (electrochemical gradient) แรงนี้ขับโปรตอนกลับเข้าไปในไมโทคอนเดรียผ่านฐานของเอนไซม์ ATP synthase การไหลของโปรตอนทำให้หน่วยย่อยที่มีลักษณะเป็นก้านหมุน ทำให้บริเวณเร่งของมันเปลี่ยนรูปร่าง และเติมหมู่ฟอสเฟต (phosphorylase) ให้อะดีโนซีนไดฟอสเฟต ได้เป็น ATP", "title": "เมแทบอลิซึม" }, { "docid": "150504#3", "text": "จนถึงปี พ.ศ. 2545 โปรตอนก็ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 60% ในมาเลเซีย แต่ลดลงเหลือเพียง 30% ในปี 2548 และคาดการณ์กันว่าจะลดลงอีกในปี 2550 เมื่ออาฟต้า (AFTA) ได้ประกาศลดภาษีการนำเข้ารถยนต์เหลือเพียง 5% เท่านั้น ทำให้รถต่างประเทศสามารถขายได้ถูกลงในประเทศมาเลเซีย จึงมีตัวเลือกให้ประชาชนมากขึ้น\nโปรตอน วาจา (Proton Waja) หรืออีกชื่อหนึ่งในอังกฤษคือโปรตอน อิมเปี้ยน (Proton Impian) คือโมเดลรุ่นแรกที่ออกแบบโดยโปรตอนเอง แต่งานวิศวกรรมยังคงใช้ร่วมกับมิตซูบิชิ มอเตอร์สเหมือนเดิม ส่วนด้านเครื่องยนต์จะใช้ร่วมกับเรโนลต์ เป็นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร และพอจะมียอดขายได้อยู่เรื่อยๆ", "title": "โปรตอน โฮลดิงส์" }, { "docid": "6621#37", "text": "ตามคำนิยามแล้ว อะตอมสองตัวที่มีจำนวน โปรตอน ในนิวเคลียสเท่ากัน จะเป็นอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่มีจำนวน นิวตรอน แตกต่างกันจัดว่าเป็นไอโซโทปของธาตุเดียวกัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของไฮโดรเจนทั้งหมดจะมีโปรตอน 1 ตัวเหมือนกัน แต่ไอโซโทปของไฮโดรเจนมีหลายชนิด ตั้งแต่แบบไม่มีนิวตรอน คือ ไฮโดรเจน-1, แบบนิวตรอน 1 ตัว (ดิวเทอเรียม), แบบนิวตรอน 2 ตัว (ทริเทียม) และที่มีนิวตรอนมากกว่า 2 ตัว ไฮโดรเจน-1 เป็นรูปแบบที่พบกันแพร่หลายมากที่สุด บางคราวก็เรียกว่า โปรเทียม[64] ธาตุที่เรารู้จักแล้วมีกลุ่มหมายเลขอะตอมตั้งแต่ไฮโดรเจน ซึ่งมีโปรตอน 1 ตัว ไปจนถึง ออกาเนสซอน ซึ่งเป็นธาตุที่มีโปรตอน 118 ตัว[65] ไอโซโทปของธาตุทั้งหมดที่เรารู้จักที่มีหมายเลขอะตอมมากกว่า 82 จัดเป็นสารกัมมันตรังสี[66][67]", "title": "อะตอม" }, { "docid": "13985#1", "text": "ใน แบบจำลองมาตรฐาน สมัยใหม่ของฟิสิกส์ของอนุภาค โปรตอนเป็น แฮดรอน หนึ่ง, และก็เหมือนกับ นิวตรอน, นิวคลีออน อื่น (อนุภาคที่ปรากฏอยู่ในนิวเคลียสของอะตอม) จะประกอบด้วย สาม ควาร์ก ถึงแม้ว่าโปรตอนจะได้รับการพิจารณาแต่เดิมว่าเป็น อนุภาคมูลฐาน หรือพื้นฐาน มันก็เป็นที่รู้กันในขณะนี้ว่าจะประกอบด้วยสามควาร์กคือ สอง อัพควาร์ก และหนึ่ง ดาวน์​​ควาร์ก อย่างไรก็ตาม มวลนิ่งของควาร์กมีส่วนเพียงประมาณ 1% ของมวลของโปรตอน[1] มวลขอโปรตอนที่เหลือจะเกิดเนื่องจาก พลังงานจลน์ ของควาร์กทั้งหลายและเนื่องจากพลังงานของสนาม gluon ที่ยึดเหนี่ยวควาร์กทั้งหลายเข้าด้วยกัน. เพราะว่าโปรตอนไม่ได้เป็นอนุภาคพื้นฐาน มันจึงมีขนาดทางกายภาพ รัศมีของโปรตอนอยู่ที่ประมาณ 0.84-0.87 fm[2]", "title": "โปรตอน" }, { "docid": "523469#0", "text": "โปรตอน เพรเว่ (Proton Prevé: Pro-ton Pray-vay) เป็นรถยนต์ พัฒนาขึ้นโดยโปรตอน ผู้ผลิตรถยนต์จากมาเลเซีย มันแทนที่โปรตอนGen-2 มันเป็นรถโปรตอนรุ่นแรกที่จะมีการติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2554 และเริ่มจำหน่ายในปี พ.ศ. 2555", "title": "โปรตอน เพรเว่" }, { "docid": "19858#0", "text": "นิวเคลียส ของอะตอม () เป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่หนาแน่นในใจกลางของอะตอม ประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน (สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน) นิวเคลียสถูกค้นพบในปี 1911 โดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ที่ได้จาก'การทดลองฟอยล์สีทองของ Geiger-Marsden ในปี 1909'. หลังจากการค้นพบนิวตรอนในปี 1932 แบบจำลองของนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดย Dmitri Ivanenko และเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เกือบทั้งหมดของมวลของอะตอมตั้งอยู่ในนิวเคลียสกับอยู่ในขนาดที่เล็กมากของ'เมฆอิเล็กตรอน' โปรตอนและนิวตรอนจะหลอมรวมกันเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นนิวเคลียสด้วยแรงนิวเคลียร์", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "449113#3", "text": "อย่างไรก็ตาม น้ำบริสุทธิ์ จะมีสมบัติเป็นกลาง เนื่องจากการแตกตัวด้วยตัวเอง (Auto-dissociation) ของน้ำจะอยู่ในสภาวะสมดุลระหว่างความเข้มข้นของ (HO) และ (OH) ซึ่งมีค่าเท่ากัน ดังนั้น การละลายน้ำของสารที่เป็นกรดตามนิยามของอาร์รีเนียสจึงไปทำให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนเพิ่มขึ้น อนึ่ง เนื่องจากไฮโดรเจนไอออน (H) เป็นไอออนที่มีอนุภาคมูลฐานเป็นโปรตอนเพียงตัวเดียว นักเคมีจึงนิยมเรียกว่า โปรตอน ทั้งนี้ หากโปรตอนละลายอยู่ในน้ำก็อาจจะเขียนแทนได้เป็น (HO) ที่เกิดจากการรวมตัวของโปรตอนกับโมเลกุลของน้ำ ", "title": "ทฤษฎีกรด–เบส" }, { "docid": "150504#4", "text": "ในปี 2539 โปรตอนได้รับเทคโนโลยีของโลตัส (Lotus) มาจากบริษัท ACBN Holdings (บริษัทที่มีเจ้าของเดียวกับบูกัตตี Bugatti) โปรตอนก็เริ่มมีความชำนาญด้านวิศวกรรมยานยนต์มากขึ้น จนทำให้สามารถผลิตโปรตอน เจนทู (Proton Gen-2) ขึ้นมาได้ โดยก่อนจะออกสู่ตลาดใช้ชื่อรุ่นว่า Wira Replacement Model (WRM) หรือรุ่นที่จะมาแทนที่วีรา โปรตอน เจนทู เป็นรถรุ่นแรกที่ผลิตในโรงงานแห่งใหม่ของโปรตอนในเมืองตันหยงมาลิม รัฐเประก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาโปรตอนซิตี้ โรงงานแห่งนี้เริ่มเปิดใช้งานในปีพ.ศ. 2547 วันที่ 8 มิถุนายน 2548 โปรตอนก็นำรถรุ่นใหม่ที่ผลิตในตันหยงมาลิมออกสู่ตลาด เป็นรถเล็กๆ ขนาด 1,200 ซีซี 5 ประตู ใช้ชื่อรุ่นว่าโปรตอน เซฟวี่ (Proton Savvy) ทั้งรุ่น Gen-2 และ Savvy คือรุ่นที่ MG Rover บริษัทรถจากประเทศอังกฤษสนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อ เมื่อพวกเขาได้เข้ามาเจรจากับโปรตอน แต่แผนการก็ได้ล้มเหลวเสียก่อน", "title": "โปรตอน โฮลดิงส์" }, { "docid": "363350#0", "text": "วงจรซีเอ็นโอ () มาจากวงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจน บางครั้งก็เรียกว่า วงจรเบเทอ-ไวซ์เซกเกอร์ () คือปฏิกิริยาฟิวชั่นชนิดหนึ่งในจำนวนสองชนิดซึ่งดาวฤกษ์ใช้ในการแปลงไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ปฏิกิริยาอีกชนิดหนึ่งคือห่วงโซ่โปรตอน-โปรตอน สิ่งที่วงจรซีเอ็นโอต่างจากห่วงโซ่โปรตอน-โปรตอนคือมันเป็นวงจรเร่งปฏิกิริยา () แบบจำลองทางทฤษฎีแสดงให้เห็นว่าวงจรซีเอ็นโอนั้นเป็นแหล่งกำเนิดหลักของพลังงานในดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 1.3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ส่วนห่วงโซ่โปรตอน-โปรตอนนั้นจะมีความสำคัญในดาวฤกษ์ที่มีมวลประมาณเท่ากับดวงอาทิตย์หรือน้อยกว่า ความแตกต่างนี้มีเหตุจากระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน คือ ในห่วงโซ่โปรตอน-โปรตอน ปฏิกิริยาจะเริ่มต้นที่อุณหภูมิประมาณ 4 x 10 เคลวิน ซึ่งทำให้มันเป็นแรงหลักในดาวฤกษ์ขนาดเล็ก ห่วงโซ่ซีเอ็นโอเริ่มต้นที่อุณหภูมิประมาณ 13 x 10 เคลวิน แต่พลังงานที่ได้ออกมานั้นเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ที่ประมาณ 17 x 10 เคลวิน วงจรซีเอ็นโอก็จะเริ่มเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานหลัก ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิที่แกนกลางประมาณ 15.7 x 10 เคลวิน และมีเพียง 1.7% ของนิวเคลียสฮีเลียมที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์ที่มีกำเนิดมาจากวงจรซีเอ็นโอ", "title": "วงจรซีเอ็นโอ" }, { "docid": "363315#2", "text": "อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนักว่า ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน ดำเนินไปอย่างไร เนื่องจากผลผลิตจากปฏิกิริยาที่เห็นชัดที่สุด คือฮีเลียม-2 นั้นเป็นสสารที่ไม่เสถียรและจะแยกตัวออกกลายไปเป็นคู่โปรตอนตามเดิม ในปี ค.ศ. 1939 Hans Bethe เสนอว่า โปรตอนตัวหนึ่งอาจจะสลายตัวให้อนุภาคบีตากลายไปเป็นนิวตรอนผ่านอันตรกิริยาอย่างอ่อนระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ของการเกิดฟิวชั่น ทำให้ได้ดิวเทอเรียมขึ้นมาเป็นผลผลิตแรกในห่วงโซ่ปฏิกิริยา แนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในทฤษฎีการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้ Bethe ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์", "title": "ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน" }, { "docid": "533526#1", "text": "ในประเทศไทย พระนครยนตรการ ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายของโปรตอนในปัจจุบัน ได้นำเอ็กซ์โซร่ามาเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยนำเข้าจากมาเลเซีย และทำยอดขายไปได้เรื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการนำรุ่น Minorchange เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยมี 3 รุ่น คือ โปรตอน เอ็กซ์โซร่า เทอร์โบ () โปรตอน เอ็กซ์โซร่า ไพรม์ () รวมถึงรุ่นเดิมยังคงมีจำหน่ายอยู่", "title": "โปรตอน เอ็กซ์โซร่า" } ]
3073
พระแม่ไศลปุตรีความหมายพระนามของพระองค์คืออะไร?
[ { "docid": "932202#1", "text": "ความหมายพระนามของพระองค์: ปุตรี หมายถึง ธิดาหรือลูกสาว ไศละ แปลว่า ภูขา ดังนั้น คำว่าไศลปุตรีจึงแปลได้ว่า ธิดาแห่งขุนเขา", "title": "พระแม่นวทุรคา" } ]
[ { "docid": "817714#1", "text": "พระองค์มีพระนามว่ากระไรไม่ปรากฏ มีการกล่าวถึงในจารึกฐานพระพุทธรูปแม่ศรีมหาตาเรียกว่า “แม่พระพิลก” พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ว่าชื่อดังกล่าวมีความหมายว่าพระราชชนนีมหาเทวีในพระเจ้าติโลกราช ส่วนชินกาลมาลีปกรณ์เรียกว่า “พระเทวี” พระองค์เป็นน้องสาวของหมื่นโลกนครเจ้าเมืองลำปาง (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นหมื่นโลกสามล้านในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช) พระองค์มีความสัมพันธ์บางประการกับเมืองแพร่ อาจมีความสัมพันธ์เครือญาติกับเมืองสุโขทัยด้วย ดังปรากฏการทำบุญสร้างพระพุทธรูปแม่ศรีมหาตาร่วมกับพระราชชนนีของพระมหาธรรมราชาพระองค์หนึ่งของสุโขทัย เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมีว่าพระองค์มีความสัมพันธ์ฉันญาติกับพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศิลคันธวันวาสีว่าอาจเป็นพระชนกของแม่พระพิลก ซึ่งสอดคล้องกับพระนามของพระเจ้าติโลกราช พระราชโอรสตามทำเนียมการนำชื่อบรรพบุรุษมาตั้งชื่อหลาน ส่วนพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ว่าแม่พระพิลกเป็นพี่น้องหรือเครือญาติกับนางษาขาพระราชชนนีในพระมหาธรรมราชาที่ 4", "title": "แม่พระพิลก" }, { "docid": "932202#11", "text": "ประวัติความเป็นมาของพระองค์: พระแม่จันทรกัณฏา เป็นรูปลักษณ์ที่วิวาห์แล้วของพระแม่ปารวาตีต่อไปนี้จากพระแม่ไศลปุตรีและพระแม่มหาเคารี พระองค์ประดับประดาพระนาลาฏของพระองค์ด้วยพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว(จันทรา)คล้ายรูประฆัง(กัณฏา)จากนี้ไปพระองค์จะกลายเป็นที่รู้จักในนามของ \"พระแม่จันทรกัณฏา\"", "title": "พระแม่นวทุรคา" }, { "docid": "882673#0", "text": "พระแม่ตรีปุระสุนทรี (สันสกฤต : त्रिपुरा सुंदरी)(แปลว่า ผู้งามในสามโลก) หรือ พระแม่ลลิตาเทวี เป็นเทวสตรี ในศาสนาฮินดู เป็น ๑ ใน ๑๐ ของพระแม่ทศมหาวิทยา โดยพระแม่ตรีปุระสุนทรียังทรงเป็นพระเทวีผู้อำนาจที่สุดในพระแม่ทศมหาวิทยาเพราะมีพลังวิทยาของพระเทวีในกลุ่มทศมหาวิทยาทั้งหมดมารวมอยู่ในพลังวิทยาของพระแม่ตรีปุระสุนทรีเพียงพระองค์เดียว\nพระแม่ตรีปุระสุนทรีทรงมีลักษณะเป็นหญิงสาวอายุ ๑๖ ปี ทรงมีพระเกศาสีดำพร้อมกับมีกลิ่นดอกอโศก, จำปา และปันนาค โดยพระแม่ทรงกำเนิดขึ้นมาเพื่อปราบอสูรนามว่าภันทาสูรที่ออกอาละวาดทั้งสามโลกในยามนั้น และทรงชุบชีวิตพระกามเทพซึ่งโดนพระศิวะเปิดพระเนตรที่สามเผากลายเป็นเถ้าธุลี", "title": "พระแม่ตริปุรสุนทรี" }, { "docid": "932202#5", "text": "ภาพลักษณ์ของพระองค์: พระแม่ไศลปุตรีมีพระหัตถ์สองข้างและมีพระจันทร์เสี้ยวบนพระเศียรของพระองค์ พระองค์ทรงถือตรีศูลในพระหัตถ์ขวาและทรงถือดอกบัวในพระหัตถ์ซ้าย และพระองค์ทรงประทับบนโคนันทิ", "title": "พระแม่นวทุรคา" }, { "docid": "157238#2", "text": "พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหรทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิสนพระทัยต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกรมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ \"ชนวสภะ\" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา", "title": "พระเจ้าพิมพิสาร" }, { "docid": "43614#2", "text": "พระองค์มีหลายพระนาม เช่น อมิตายุส (อ่านว่า ยุส - สะ) แปลว่า พระผู้มีอายุกาลไม่มีประมาณ และอมิตาภะ แปลว่า พระผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 พระองค์ ประทับอยู่ทางตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายสีแดงก่ำ เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะ หมายถึงปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูก สัญญลักษณ์คือดอกบัว พระพุทธเจ้าในตระกูลนี้ทั่วไปใช้บัวแดง พระโพธิสัตว์ปางดุใช้บัวขาว ภาพวาดของพระองค์มักวาดให้พระหัตถ์ยาวหมายถึงความสามารถที่จะเอื้อมพาสรรพสัตว์เข้าสู่แดนสุขาวดี มีพระชิวหายาวตระหวัดได้รอบโลกหมายถึงความสามารถในการแสดงธรรมได้ทั่วโลก ทรงนกยูงเป็นพาหนะนับถือส่วนใหญ่ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมในภาษาไทย", "title": "พระอมิตาภพุทธะ" }, { "docid": "567808#1", "text": "กรมขุนวิมลพัตรมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าแมงเม่า บางแห่งออกพระนามว่า เม้า หรือเมาฬี \"\"บัญชีพระนามเจ้านาย\"\" ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าพระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี มีพระเชษฐาและพระภคินีร่วมพระชนกชนนีคือ พระองค์เจ้าหญิงผอบ, พระองค์เจ้าชายสถิต, พระองค์เจ้าชายพงศ์ และพระองค์เจ้าชายแตง", "title": "กรมขุนวิมลพัตร" }, { "docid": "204393#2", "text": "คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า กรมหลวงโยธาเทพมีพระนามเดิมว่าพระสุดาเทวี เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ประสูติแต่พระกษัตรีย์พระมเหสีฝ่ายขวา (บางแห่งออกพระนามว่า เจ้าฟ้าสุริยงรัศมี) หรือพระอัครมเหสี เรื่องราวเบื้องต้นของพระองค์ปรากฏใน \"คู่มือทูตตอบ\" เขียนขึ้นโดยราชบัณฑิตไม่ปรากฏนามในสมัยกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2224 โดยในเนื้อความได้กล่าวถึงพระราชโอรส-ธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเนื้อความระบุว่า ขณะนั้นพระราชธิดามีพระชนมายุได้ 25 พรรษา จึงสันนิษฐานว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2199", "title": "กรมหลวงโยธาเทพ" }, { "docid": "42383#11", "text": "มีเกร็ดเล่ากันว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือพระนามโดยย่อว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 6 และ 7 นั้น เนื่องจากทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีมาแต่รัชกาลก่อน ทรงครองพระอิสริยยศสูงสุดเหนือบรรดาพระมเหสีทั้งปวง ประกอบกับทรงเป็น \"น้องเล็ก\" มาก่อนจึงค่อนข้างแต่จะทรงเอาพระราชหฤทัยพระองค์เอง แต่สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีซึ่งทรงครองพระราชอิสริยยศสมเด็จพระอัครมเหสีมาแต่เดิม และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทั้ง 2 พระองค์นั้นในฐานะพระเชษฐภคินี (สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าฯ พระบรมราชเทวีนั้น เป็นพระโสทรเชษฐภคินี คือทรงร่วมพระราชบิดา-มารดาเดียวกันกับสมเด็จพระพันปีหลวง ส่วนพระนางเจ้าฯ พระราชเทวีนั้น เป็นพระเชษฐภคินีร่วมพระราชบิดา แต่ต่างพระมารดากันกับสมเด็จพระพันปีหลวง) ก็ทรงประทานอภัยให้เสมอ ในปลายรัชกาลที่ 6 ก่อนที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ จะเสด็จสวรรคตไม่นานนั้น สมเด็จพระเชษฐภคินีทั้ง 2 พระองค์ก็ได้เสด็จไปเยี่ยมพระอาการประชวรสมเด็จพระพันปีหลวง ณ พระราชวังพญาไท อันเป็นพระราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวงตั้งแต่สิ้นรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระพันปีหลวงนั้นถึงกับทรงลงไปกราบถวายบังคมแทบเบื้องพระบาทสมเด็จพระเชษฐภคินีทั้ง 2 พระองค์ ขอพระราชทานอภัยโทษ แล้ว 3 พระองค์พี่น้องก็ทรงกอดกันทรงพระกันแสง จนนางพระกำนัล นางสนองพระโอษฐ์ที่อยู่แถวนั้นต้องร้องไห้ตามๆ กันไป", "title": "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี" } ]
3590
เยอรมัน อยู่ในทวีปอะไร ?
[ { "docid": "2801#0", "text": "ภาษาเยอรมัน (English: German; German: Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส", "title": "ภาษาเยอรมัน" } ]
[ { "docid": "165970#44", "text": "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำลายเศรษฐกิจเยอรมนีเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ชาวเยอรมันผู้ตกงานได้สนับสนุนแนวคิดของพรรคนาซี ซึ่งเคยเสียความน่าเชื่อถือไปบ้าง เนื่องจากมีสมาชิกของพรรคที่ไม่แน่นอน เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี และเป็นเชื้อไฟของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจธนาคารได้เข้าไปลงทุนเพื่อที่จะสร้างทวีปยุโรปขึ้นมาใหม่ แต่หลังจาก เหตุการณ์ตลาดหุ้นวอลล์ สตรีทพังทลายปี 1929 นักลงทุนในสหรัฐอเมริกาก็เลิกการลงทุนในทวีปยุโรป", "title": "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง" }, { "docid": "86656#6", "text": "สงครามนโปเลียนในต้นศตวรรษที่ 19 นั้น ได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติที่พูดภาษาเยอรมันล่มสลายและแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เมื่อสงครามยุติ ได้มีการจัดการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาขึ้นในปี 1815 เพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ การประชุมนี้ได้ทำให้เกิดสมาพันธรัฐเยอรมันขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มกันอย่างหลวมๆของบรรดารัฐเยอรมัน ขบวนการชาตินิยมเยอรมันได้นำพาเยอรมันเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีความเป็นเสรีและประชาธิปไตยมากขึ้น ขบวนการได้เสนอให้ผนวกแนวคิดที่เรียกว่า \"อุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมัน\" เข้าไปในนโยบาย Realpolitik ของ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค มุขมนตรีปรัสเซีย โดยบิสมาร์คต้องการแผ่ขยายอำนาจของราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์นแห่งปรัสเซียเข้าครอบงำรัฐเยอรมันอื่นๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดคือการรวมชาติเยอรมันที่มีปรัสเซียเป็นแกนนำ และยังต้องการขจัดอิทธิพลของราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งออสเตรียที่มีต่อรัฐเยอรมันเหล่านี้", "title": "จักรวรรดิเยอรมัน" }, { "docid": "10632#2", "text": "คำว่า \"อเมริกา\" มีที่มาที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถหาหลักฐานได้คือ พ.ศ. 2050 โดยนักเขียนแผนที่ชาวเยอรมันชื่อ Martin Waldseemüller ได้ใส่คำว่า America ลงในแผนที่โลกของเขา และอธิบายว่าชื่อนี้นำมาจากชื่อภาษาละตินของนักสำรวจ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินได้ว่า \"Americus Vespucius\" และแปลงเป็นเพศหญิงได้เป็นคำว่า \"America\" (ในภาษาที่มีเพศอย่างภาษาละติน ทวีปจัดว่าเป็นเพศหญิง) ส่วน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นผู้พบทวีปอเมริกาเป็นคนแรก เสียชีวิตก่อนใน พ.ศ. 2049 โดยที่ยังเข้าใจว่าเขาค้นพบทวีปเอเซียบริเวณประเทศอินเดีย\nซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่พบอเมริกาเป็นคนแรกคือชาวไวกิ้ง​ ชื่อ​ Leif Ericsons", "title": "ทวีปอเมริกา" }, { "docid": "821941#0", "text": "วิลเฮ็ล์ม โบเดอวีน โยฮัน กุสทัฟ ไคเทิล () เป็นจอมพลเยอรมันซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตำแหน่งของเขาเทียบได้กับรัฐมนตรีกลาโหม หลังสิ้นสุดสงคราม เขาถูกนำตัวเข้ารับการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คของสัมพันธมิตร เขาได้พยายามต่อสู้คดีแต่กลับถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาถือเป็นหนึ่งในสามผู้บัญชาการทหารระดับสูงสุดของเยอรมันที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี", "title": "วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล" }, { "docid": "625157#0", "text": "รายชื่ออาณานิคมของเยอรมันและรัฐในอารักขา นอกทวีปยุโรปในสมัยของปรัสเซีย (รวมบรันเดินบวร์ค) และจักรวรรดิเยอรมัน (รวมราชวงศ์ฮับส์บูร์ก)", "title": "รายชื่ออดีตอาณานิคมของเยอรมนี" }, { "docid": "665#17", "text": "ในปี 1939 ฮิตเลอร์จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปโดยการบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการรุกรานประเทศอื่นๆในยุโรปและยังทำกติกาสัญญาไตรภาคีเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและญี่ปุ่น เขตอิทธิพลของนาซีเยอรมันได้แผ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันในปี 1942 ครอบคลุมส่วนใหญ่ของยุโรปภาคพื้นทวีป ในปี 1943 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีจาก \"ไรช์เยอรมัน\" (Deutsches Reich) เป็น \"ไรช์มหาเยอรมัน\" (Großdeutsches Reich)", "title": "ประเทศเยอรมนี" }, { "docid": "41801#4", "text": "แหล่งถ่านหินนั้นมีกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแหล่งที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ (Recoverable Reserves) มีประมาณ 70 ประเทศ ซึ่งจากการประมาณปริมาณสำรองถ่านหินของโลก โดย Energy Information Administration ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี พ.ศ. 2546 ทั่วโลกมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1,000,912 ล้านตัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองถ่านหินอยู่มาก ได้แก่ ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศโปแลนด์ เยอรมัน และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศรัสเซีย", "title": "ถ่านหิน" }, { "docid": "271018#1", "text": "เยอรมันมีอาณานิคมโพ้นทะเลอยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และโอเชียเนีย", "title": "จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน" }, { "docid": "17607#14", "text": "ลิกเตนสไตน์เป็นประเทศขนาดเล็กที่สุดอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจากนครรัฐวาติกัน โมนาโก และซานมารีโน ภาษาราชการของประเทศคือภาษาเยอรมัน ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาตระกูลอัลเลแมนิกเยอรมัน ถึงแม้ว่าประชากรของประเทศกว่า 1 ใน 3 มาจากประเทศอื่น ได้แก่ ผู้พูดภาษาเยอรมันที่มาจากประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ผู้พูดภาษาอิตาลี รวมไปถึงตุรกี ซึ่งภาษาอัลเลแมนิกเป็นสำเนียงท้องถิ่นที่แตกต่างกับภาษาเยอรมันมาตรฐานค่อนข้างมาก หากแต่คล้ายคลึงกับสำเนียงท้องถิ่นอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในฟอราลแบร์ก ประเทศออสเตรีย", "title": "ประเทศลิกเตนสไตน์" }, { "docid": "167433#2", "text": "ชื่อ \"แพนเจีย\" (Pangaea) ถูกใช้ครั้งแรกโดยชาวเยอรมัน ผู้ค้นพบทฤษฎีการเคลื่อนไหวของทวีป อัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) ในปีงานตีพิมพ์ทางวิชาการ ปี 1912 เรื่อง \"ต้นกำเนิดของทวีป\" ซึ่งเวเจเนอร์เสนอสมมุติฐานว่า ก่อนที่ทวีปทั้งหลายจะแตกออกจากกัน และเคลื่อนที่ไปสู่ตำแหน่งในปัจจุบัน ทวีปเหล่านั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งของ \"มหาทวีป\" โบราณมาก่อน โดยเวเจเนอร์เรียกมหาทวีปนั้นว่า \"\"Urkontinent\"\" หรือ ทวีปดึกดำบรรพ์", "title": "มหาทวีปแพนเจีย" }, { "docid": "80450#8", "text": "ขบวนการล้างชาติของพรรคนาซี มีสาเหตุมาจากการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างพวกชนชาติเชื้อสายอารยันและพวกที่ไม่มีเชื่อสายอารยันโดยมุ่งเป้าหมายหลักไปยังชาวยิวที่อยู่อาศัยในทวีปยุโรป การทำลายล้างชนชาติยิวเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อพรรคนาซีได้ขึ้นนำประเทศเยอรมันเมื่อฮิตเลอร์ขึ้นปกครองประเทศโดยชอบธรรมตามกฎหมายในปีค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์โยนความผิดและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเยอรมันในเวลานั้นว่าเป็นความผิดของชาวยิว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ เหตุการณ์ไฟไหม้ การที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และปัญหาต่างๆอีกร้อยพันประการ", "title": "ฮอโลคอสต์" }, { "docid": "530910#0", "text": "อุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมัน () เป็นความคิดทางการเมืองอุดมการณ์รวมกลุ่มชาตินิยม (pan-nationalist) อย่างหนึ่ง นักอุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมันเดิมมุ่งรวมประชากรที่พูดภาษาเยอรมันในทวีปยุโรปในรัฐชาติเดียว ที่เรียกว่า \"กรอสส์ดอยท์ชลันด์\" (มหาเยอรมนี)", "title": "อุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมัน" }, { "docid": "665#11", "text": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องสูญเสียดินแดนมากมายแก่ฝรั่งเศสในช่วงสงครามนโปเลียน ทำให้ในปีค.ศ. 1806 จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงประกาศยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน เมื่อนโปเลียนถูกโค่นล้มและถูกเนรเทศไปเกาะเอลบาในปี 1814 ได้มีการจัดการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาขึ้นเพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียได้ร่วมมือกันให้มีการรวมกลุ่มอย่างหลวมๆของรัฐเยอรมันทั้งหลาย จัดตั้งขึ้นเป็น \"สมาพันธรัฐเยอรมัน\" เพื่อรวมความเป็นรัฐชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเยอรมันอีกครั้ง แม้ปรัสเซียจะพยายามผลักดันให้พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมันแต่ก็ไม่เป็นผล รัฐสมาชิก 39 แห่งกลับลงมติยอมรับนับถือจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย เป็นองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน", "title": "ประเทศเยอรมนี" }, { "docid": "214456#3", "text": "กว่าอังกฤษจะทราบข่าวว่า มีเรือของเยอรมันออกปฏิบัติการรังควานเรือสินค้าในมหาสุมทรแอตแลนติก ก็ภายหลังจากที่ลูกเรือสินค้าที่ถูกเรือกราฟชเปจับและได้ปล่อยไปกับเรือชาติเป็นกลางไปแจ้งข่าว แต่อังกฤษก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรือลาดตระเวณหนักหรือเรือประจัญบานกระเป๋า แต่ภายหลังอังกฤษก็แน่ใจว่าเป็นเรือประจัญบานประเป๋าทั้ง 2 ลำ ดังนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสจึงได้ส่งหน่วยเรือออกค้นหาและทำลายเรือเยอรมัน จำนวน 7 หมู่เรือ นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนให้การคุ้มกันคอนวอยที่เดินทางระหว่างสหรัฐอเมริกา – อังกฤษอีกด้วย รวมทั้งยังคอยสกัดจับเรือสินค้าเยอรมัน ซึ่งจอดหลบอยู่ตามเมืองท่าประเทศเป็นกลางในทวีปอเมริการใต้ ที่พยายามหลบออกทะเลเพื่อหนีกลับเยอรมันหรือออกไปส่งกำลังบำรุงให้เรือรังควานในทะเล", "title": "ยุทธนาวีแม่น้ำพลาตา" }, { "docid": "22127#1", "text": "ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น \"ชาวเยอรมัน\" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น \"ชาวปรัสเซีย\"", "title": "ปรัสเซีย" }, { "docid": "122450#2", "text": "พวกเขามักใช้สัญลักษณ์เป็นสวัสดิกะ มีบางประเทศในทวีปยุโรปมีกฎหมายห้ามลัทธินาซี การเหยียดผิว การเหยียดเชื้อชาติ กลุ่มนีโอนาซีจะพบแถวชายแดนระหว่างประเทศที่ติดกับเยอรมัน โดยเฉพาะในรัสเซียพบมากที่สุดในกรุงมอสโก เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายของบุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ ชนชาติที่เป็นต่างชาติและที่มีอยู่ในรัสเซียอยู่แล้วเช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส แอฟริกันอเมริกัน ลูกครึ่ง รัสเซียและกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซียและมาจากต่างประเทศ ชาวรัสเซียคนหนึ่งบอกว่า ที่ประเทศเขามีประชากรเป็นรัสเซีย 81% ต่างชาติ 19% อาทิ ยิว สลาฟ ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ฯลฯ เขาบอกว่าพวกนีโอนาซีจะเป็นพวกเยอรมันที่อยู่ในรัสเซียที่เป็นชุมชนเยอรมัน เขายังบอกอีกว่าชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศเขาที่ไม่ใช้เยอรมันมักถูกทำร้ายจนตายทั้งที่มาจากต่างประเทศและชนชาติกลุ่มต่างๆ ในรัสเซียที่ไม่ใช่เยอรมัน", "title": "นีโอนาซี" }, { "docid": "544230#1", "text": "ในฐานะที่เป็น “สตรีหมายเลขหนึ่ง” มิลเดรด เชล ได้ก่อตั้งองค์กรการกุศลด้านมะเร็งที่สำคัญในประเทศเยอรมนี ซึ่งได้กลายเป็นองค์กรชั้นนำในการต่อสู้โรคมะเร็งของทวีปยุโรป จากจุดเริ่มต้น องค์กรที่ได้รับการสนับสนุนโดยผู้บริจาคเอกชน ซึ่งเยอรมันแคนเซอร์เอดยังคงเป็นอิสระจากการเมืองและอุตสาหกรรมยา ตามหลักความเชื่อของมิลเดรด เชล ที่ระบุว่า “เราจะอุทิศเพียงเพื่อที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งเพื่อประโยชน์สุขของทุกคน”", "title": "เยอรมันแคนเซอร์เอด" }, { "docid": "113575#0", "text": "ต่อเยอรมัน (, \"Vespula germanica\") เป็นต่อที่พบได้มากในซีกโลกเหนือ เป็นสัตว์พื้นเมืองของทวีปยุโรป, แอฟริกาเหนือ และในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ภายหลังได้กระจายเข้าไปในภูมิภาคอื่น และอาศัยเป็นถิ่นที่อยู่ถาวร ในหลายพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ ต่อเยอรมันจัดอยู่ในวงศ์() บางครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นต่อกระดาษ เพราะมันสร้างรังด้วยวัสดุเหมือนกระดาษสีเทา ซึ่งความจริงแล้ว ต่อกระดาษนั้นจัดอยู่ในวงศ์ย่อย() ในอเมริกาเหนือ เรียกต่อพวกนี้ว่า ต่อเสื้อคลุมเหลือง ()", "title": "ต่อเยอรมัน" }, { "docid": "14781#0", "text": "การเลื่อนไหลของทวีปหรือทวีปเลื่อน () เป็นแนวคิดซึ่งเสนอโดยนักอุตุนิยมวิทยาและนักธรณีฟิสิกส์ชาวเยอรมัน อัลเฟรด เวเกเนอร์ เมื่อ พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ซึ่งกล่าวไว้ว่า ทวีปที่อยู่ทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกน่าจะเคยเชื่อมต่อกันเป็นมหาทวีปมาก่อน ซึ่งเรียกว่า \"พันเจีย\" (Pangea) และล้อมรอบด้วยมหาสมุทรผืนเดียวกันเรียก \"พันทาลัสซา\" (Panthalassa) โดยอ้างหลักฐานจากข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์บริเวณขอบทวีปต่าง ๆ ได้แก่ ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ ที่สามารถต่อกันเป็นผืนเดียวกันได้อย่างเหมาะสม และข้อมูลการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นสปีชีส์เดียวกันบนทวีปทั้งสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก", "title": "ทวีปเลื่อน" }, { "docid": "10334#2", "text": "นโยบายต่างประเทศและในประเทศของฮิตเลอร์มีความมุ่งหมายเพื่อยึดเลเบินส์เราม์ (\"พื้นที่อยู่อาศัย\") เป็นของชาวเยอรมัน เขานำการสร้างเสริมกำลังอาวุธขึ้นใหม่และการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป[1] ภายในสามปีใต้การนำของฮิตเลอร์ กองทัพเยอรมันและพันธมิตรในยุโรปยึดครองดินแดนยุโรปและแอฟริกาเหนือส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ค่อยพลิกผันหลัง ค.ศ. 1941 กระทั่งกองทัพสัมพันธมิตรเอาชนะกองทัพเยอรมันใน ค.ศ. 1945 นโยบายความสูงสุดและที่กระตุ้นด้วยการถือชาติพันธุ์ของฮิตเลอร์ลงเอยด้วยการฆาตกรรมผู้คนนับ 17 ล้านคนอย่างเป็นระบบ[2] ในจำนวนนี้เป็นชาวยิวเกือบหกล้านคน", "title": "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" }, { "docid": "10334#0", "text": "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (German: Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933–1945 และเป็นฟือเรอร์ของเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1934–1945 ฮิตเลอร์เป็นผู้นำสูงสุดของไรช์เยอรมัน ผู้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป และเป็นผู้เห็นชอบการฮอโลคอสต์", "title": "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" }, { "docid": "890261#4", "text": "ต้นศตวรรษที่ 19 เกิดสงครามนโปเลียนขึ้นในยุโรปภาคพื้นทวีป นโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสได้นำกองทัพใหญ่เข้ายึดครองรัฐเยอรมันต่างๆจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กจำยอมต้องลงนามในสนธิสัญญาเชินบรุนน์ในปี 1806 เพื่อยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน แม้ฮับส์บูร์กจะเหลือรัฐเยอรมันในปกครองอยู่อีกหลายรัฐแต่ก็ฮับส์บูร์กก็เสื่อมอิทธิพลลงมาก จนกระทั่งเมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจในปี 1815 บรรดารัฐเยอรมันก็กลับมารวมกลุ่มกันอีกครั้งอย่างหลวมๆในชื่อสมาพันธรัฐเยอรมันโดยมีจักรพรรดิออสเตรียเป็นองค์ประธาน", "title": "สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย" }, { "docid": "86656#19", "text": "รัฐบาลเยอรมันมีความต้องการสร้างอาณานิคมตั้งแต่ทศวรรษที่ 1848 แล้ว บิสมารค์ได้เริ่มกระบวนการก่อตั้งอาณานิคมบางส่วน เมือถึงปี ค.ศ. 1884 เยอรมนีได้ก่อตั้งอาณานิคม นิวกินีของเยอรมัน เมื่อถึงช่วงทศวรรษที่ 1890 การขยายอาณานิคมของเยอรมันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ตัวอย่างเช่น อ่าวเจียวโชว และ เทียนจิน ในประเทศจีน หมู่เกาะมาเรียนา, เกาะคาโรไลน์, ซามัว) นำไปสู่การเผชิญหน้ากับสหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในการแย่งชิงอาณานิคมในทวีปแอฟริกา[7] ทำให้เกิด สงครามเฮเรโรในดินแดน ประเทศนามิเบีย ปัจจุบัน ในช่วงปี ค.ศ. 1906-ค.ศ. 1907 ส่งผลให้เกิด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเฮเรโรและนามานคิว [8]", "title": "จักรวรรดิเยอรมัน" }, { "docid": "884044#0", "text": "การก่อการกำเริบปราก() เป็นเหตุการณ์การก่อการจลาจลขึ้นในกรุงปรากในดินแดนเช็กเกียภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมัน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองของทวีปยุโรป. เกิดขึ้นมาจากความพยายามของกลุ่มต่อต้านชาวเช็กเพื่อปลดปล่อยกรุงปรากจากการยึดครองของเยอรมัน.การจลาจลได้ดำเนินจนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ฝ่ายกองทัพเยอรมันและกลุ่มต่อต้านได้ยุติการสู้รบกันซึ่งกองทัพเยอรมันได้ตัดสินใจที่จะถอนกำลังออกจากกรุงปรากในวันเดียวกัน เช้าวันรุ่งขึ้น,กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองที่จวนจะได้รับการปลดปล่อย", "title": "การก่อการกำเริบปราก" }, { "docid": "31637#26", "text": "ในช่วงปี 1940-1941 เยอรมนีสามารถยึดครองเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป โดยส่งทหารรุกรานยูโกสลาเวีย กรีซ เกาะครีตและในแถบคาบสมุทรบอลข่าน[61] ในทวีปแอฟริกา กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปถึงอียิปต์[62] ด้วยสภาวะเช่นนี้ เยอรมนีต้องทำศึกหลายด้าน หากแต่แผนการรุกรานสหภาพโซเวียตยังคงดำเนินการต่อไป ซึ่งนับว่าผิดหลักยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หากแต่มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วงปลายปีปี 1941 กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในสหภาพโซเวียตถึง 1,689 กิโลเมตร[63] ล้อมชานนครเลนินกราด[64] แต่ก็ถูกหยุดยั้งที่มอสโกในฤดูหนาวที่โหดร้าย[65] อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร", "title": "นาซีเยอรมนี" }, { "docid": "25747#5", "text": "นโยบายด้านการต่างประเทศของเยอรมนีเกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวยิวและชาวโซเวียต รวมไปถึงแนวคิดที่จะสร้างมหาจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นการรวมเอาประชากรเชื้อชาติเยอรมันทั้งหมดในทวีปยุโรปมาอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน และยังรวมไปถึงแนวคิด\"เลเบนสเราม์\" ซึ่งเป็นการแสวงหาดินแดนแถบยุโรปตะวันออก", "title": "ฝ่ายอักษะ" }, { "docid": "24034#1", "text": "ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นมุขมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารของปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน", "title": "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค" }, { "docid": "148709#3", "text": "ในขณะที่กองทัพเยอรมันส่วนใหญ่กำลังสู้รบกับโปแลนด์,มีกองกำลังเยอรมันขนาดเล็กได้วางกำลังคนที่แนวซีกฟรีด (Siegfried Line),แนวป้องกันที่ได้ประจบกับชายแดนฝรั่งเศส,ที่แนวมากิโนต์ (Maginot Line) ทางด้านอื่นๆของชายแดน,กองกำลังฝรั่งเศสได้เผชิญหน้ากับพวกเขา.ในขณะที่กองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) และส่วนอื่นๆของกองทัพฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันตามชายแดนของเบลเยียม.มีเพียงบางท้องถิ่น,มีการสู้รบเล็กๆน้อย.กองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักรได้โปรยแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อไปทั่วเหนือเยอรมันและกองทัพแรกของแคนาดาได้ขึ้นฝั่งในอังกฤษ,ในขณะที่ทวีปยุโรปตะวันตกอยู่ในความสงบอย่างแปลกประหลาดเป็นเวลาเจ็ดเดือน.", "title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)" }, { "docid": "332811#1", "text": "อุดมการณ์นาซีเชื่อในความสูงสุดของเชื้อชาติอารยัน และกล่าวอ้างว่าชาวเยอรมันเป็นชาติอารยันที่บริสุทธิ์ที่สุด พวกเขากล่าวอ้างว่าความอยู่รอดของประเทศเยอรมนีในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่ในสมัยใหม่นี้จำต้องสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้น เป็นจักรวรรดิในทวีปยุโรปซึ่งจะทำให้ชาติเยอรมันมีผืนดินขนาดใหญ่ ทรัพยากร ตลอดจนการขยายตัวของประชากรที่จำเป็นต่อการแข่งขันกับมหาอำนาจอื่น ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหาร", "title": "ระบอบนาซี" }, { "docid": "159582#2", "text": "ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1803-1815 ระบบศักดินาได้หมดไปและเสรีนิยมและชาตินิยมได้ปะทะกันด้วยผลสะท้อน การปฏิวัติเยอรมัน ปี ค.ศ. 1848-49 ได้ล้มเหลวลง การปฏิวัติอุสาหกรรมได้ทำให้เกิดความทันสมัยของเศรษฐกิจเยอรมัน ได้นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองและอุบัติการ์ณของขบวนการสังคมนิยมในเยอรมนี ปรัสเซีย, กับเมืองหลวงคือเบอร์ลิน, ได้เติบโตขึ้นในอำนาจ มหาวิทยาลัยของเยอรมันได้กลายเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโลกสำหรับวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในขณะที่ดนตรีและศิลปะได้เจริญขึ้น การรวมชาติเยอรมัน(ยกเว้นเพียงออสเตรียและพื้นที่ที่พูดเป็นภาษาเยอรมันของประเทศสวิตเซอร์แลนด์)ได้ประสบความสำเร็จภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ด้วยการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 ซึ่งได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาเยอรมันออกเป็นสองทางคือ อนุประเทศเยอรมัน(Kleindeutsche Lösung) ทางออกขนาดเล็กของเยอรมัน(เยอรมนีโดยปราศจากออสเตรีย) หรือมหาประเทศเยอรมัน(Großdeutsche Lösung), ทางออกขนาดใหญ่ของเยอรมัน(เยอรมนีรวมเข้ากับออสเตรีย), ในอดีตที่ผ่านมา รัฐสภาไรส์ทาคใหม่ เป็นรัฐสภาการเลือกตั้ง ได้มีบทบาทที่จำกัดในรัฐบาลจักรวรรดิ, เยอรมันได้เข้าร่วมกับมหาอำนาจอื่นๆในการขยายอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ประวัติศาสตร์เยอรมนี" } ]
3404
จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ติดกับต่างประเทศหรือไม่?
[ { "docid": "7013#0", "text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก", "title": "จังหวัดนราธิวาส" } ]
[ { "docid": "386369#81", "text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "195016#6", "text": "สุดท้ายอังกฤษยอมจำนนต่อเหตุผลและยอมรับให้เป็นจังหวัดนราธิวาสในประเทศไทยต่อไป ฝ่ายอังกฤษจึงยอมเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำแม่น้ำโก-ลก ทำให้พื้นที่ทางตอนเหนือแม่น้ำตากใบของจังหวัดนราธิวาสอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้ 4 อำเภอชายแดนไทย คือ อำเภอตากใบ อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี และ อำเภอสุไหงโก-ลก ไม่ต้องผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย วัดชลธาราสิงเหจึงเป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า \"วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย\"", "title": "วัดชลธาราสิงเห" }, { "docid": "10159#27", "text": "อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า พื้นที่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ที่มีธุรกิจผิดกฎหมายเติบโตขึ้นอย่างมากอาทิ ธุรกิจยาเสพติด บ่อนการพนัน การค้าประเวณี ธุรกิจน้ำมันเถื่อน และ ตำรวจทหารเป็นคนเก็บเงินค่าส่วยในพื้นที่เสียเอง สถานการณ์จึงยิ่งซับซ้อนขึ้นเนื่องจากทหารและตำรวจ ต้องรบกับทหารและตำรวจส่วนหนึ่ง ที่หันมาเป็นผู้มีอิทธิพลหรือเป็นโจรเสียเองปัญหาความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารเนื่องจากสงสัยว่าหลายกรณีมีการจับแพะและเคยมีกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ทรมานผู้ต้องหา ปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์นักการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความต้องการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาธุรกิจยาเสพติดบ่อนการพนันและค้าประเวณี ปัญหาความไม่แน่ชัดว่าศัตรูของทหาร ตำรวจ และ กองอาสารักษาดินแดน นั้นคือใคร", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" }, { "docid": "330764#7", "text": "ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,754 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ชายแดนที่เป็นทั้งภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำสำคัญระหว่างไทยกับลาว มีการสัญจรติดต่อกันโดยใช้เรือ จึงมีท่าเรือสำคัญทั้งสองประเทศ เส้นทางเชื่อมระหว่างสองประเทศนี้ได้แก่ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แห่งที่ 2 แห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบเข้าเมือง การลำเลียงยาเสพติด การขนสินค้าหนีภาษี เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านชายแดนที่เป็นทั้งภูเขาและแม่น้ำ ผ่านจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,800 กิโลเมตร การแบ่งเขตแดนจะแบ่งโดย ถ้าเป็นภูเขาจะใช้สันปันน้ำเป็นแนวเขต แต่ถ้าเป็นแม่น้ำจะใช้ร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต เนื่องจากชายแดนด้านนี้มีชนกลุ่มน้อยของพม่าตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ เป็นต้น อาศัยอยู่ จึงมีมีการอพยพแรงงานเข้ามาในไทย มีการลักลอบค้าของหนีภาษี ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้สัก บ่อนการพนัน การลักลอบขนยาเสพติด เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยนับตั้งแต่ช่องบก (สามเหลี่ยมมรกต) ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด รวมระยะทางทั้งสิ้น 803 กิโลเมตร บริเวณชายแดนที่ติดกับตอนล่างของภาคอีสานจะใช้ทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แถบจังหวัดสระแก้วเป็นที่ราบและคลอง จึงเป็นเส้นทางเดินติดต่อกันสะดวก พื้นที่แถบนี้เรียกว่า \"ฉนวนไทย\" โดยบริเวณอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีตลาดการค้าขนาดใหญ่เรียกว่า \"ตลาดโรงเกลือ\" ชาวกัมพูชามักจะมาซื้อสินค้าประเภทอาหาร และวัสดุก่อสร้าง ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบค้าของหนีภาษี บ่อนการพนัน และการโจรกรรมรถยนต์จากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมระยะทางเขตแดน 506 กิโลเมตร ที่จังหวัดสตูลมีรั้วคอนกรีตกั้นแบ่ง แต่ส่วนใหญ่จะใช้แนวทิวเขาสันกาลาคีรีและแม่น้ำโกลกแบ่งเขตแดน ชายแดนด้านนี้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถยนต์และรถไฟ ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบขนของหนีภาษี ปัญหาการทำประมง การนับถือศาสนาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น\nลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" }, { "docid": "6941#0", "text": "จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตอนบนของภาคกลาง หรือบางหน่วยงานจัดให้อยู่ในตอนล่างของภาคเหนือ จึงได้รับสมญานามว่าเป็น \"ประตูสู่ภาคเหนือ\" มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก", "title": "จังหวัดนครสวรรค์" }, { "docid": "7013#2", "text": "จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งในอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งพบหลักฐานโบราณคดีค่อนข้างน้อยเช่น ซากเจดีย์ 3 องค์บริเวณวัดเขากง อายุ1,300ปี(ต่อมาถูกรื้อถอนแล้วสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแทน) พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์นิกายมนตยานบิรเวณวัดเขากงเช่นกัน ต่อมา กลายเป็นอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นกับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองเช่นกัน โดยประวัติความเป็นมาของนราธิวาสนั้น มีความชื่อมโยงกับเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "7013#1", "text": "ชื่อนราธิวาสเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2458 ชื่อเดิมของพื้นที่นี้คือ มนารา หรือ มนารอ () ซึ่งมีความหมายว่า \"หอคอย\" ที่กลายมาจากคำว่า กูวาลา มนารา () ที่มีความหมายว่า \"กระโจมไฟ\" หรือ \"หอคอยที่ปากน้ำ\" ส่วนชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกว่า บางนรา หรือ บางนาค ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองขึ้นใหม่ว่า นราธิวาส อันมีความหมายว่า \"อันเป็นที่อยู่ของคนดี\"", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "298601#1", "text": "ที่ตั้งและอาณาเขต เทศบาลเมืองนราธิวาสตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำบางนรา โดยมีเขตเทศบาล ดังนี้\nด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมทะเลหลวง ห่างจากฝั่งเป็นระยะ 10 เมตร และห่างจากปากแม่น้ำบางนราไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นระยะ 1,600 เมตร เป็นเส้นขนานกับริมทะเลหลวงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงปากแม่น้ำบางนรา ห่างจากทะเลไปทางทิศเหนือ ระยะ 10 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2\nด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำบางนรา และเลียบตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบางนราไปทางทิศใต้ถึงปากคลองยะกังเป็นหลักเขตที่ 3\nด้านใต้ จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามฝั่งเหนือของคลองยะกังไปทางตะวันตกถึงปากคลองขุด ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4\nด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เลียบตามฝั่งตะวันออกของคลองขุด ไปทางทิศเหนือถึงฟากใต้ของถนนสุริยะประดิษฐ์ ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5\nเทศบาลเมืองนราธิวาสเดิมชื่อ \"บางนรา\" ลักษณะเป็นหมู่บ้านชายทะเล และเป็นท่าเรือสำคัญในแถบนี้ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งชุมชนเป็นเทศบาลเมืองนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสใหม่ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499", "title": "เทศบาลเมืองนราธิวาส" }, { "docid": "143386#2", "text": "จังหวัดนาทวี มีพื้นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันออกที่ติดกับอ่าวไทย ซึ่งได้แก่ อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา และพื้นที่จะค่อย ๆ ลาดเอียงและสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในทางทิศตะวันตก ซึ่งได้แก่ อำเภอสะเดา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย บริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย", "title": "จังหวัดนาทวี" } ]
1830
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสวรรณคตเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "814997#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต</b>เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช รัฐบาลประกาศไว้ทุกข์ถวายความอาลัยเป็นเวลา 1 ปี สำนักพระราชวังมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตและวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ[1] [2] และได้กำหนดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพขึ้นในวันที่ 25 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560[3] รวมถึงได้ประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ[4]", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" } ]
[ { "docid": "854114#22", "text": "พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรวจความพร้อมและซักซ้อมการยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรประดับยอดพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้พระราชพิธีเป็นไปด้วยควาเรียบร้อย สมพระเกียรติ ตามที่กรมศิลปากร และกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ ไปทรงยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรประดับยอดพระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "1901#59", "text": "อำนาจตามรัฐธรรมนูญของพระองค์มักเป็นที่ถกเถียงกัน บางส่วนเพราะความเป็นที่นิยมอย่างล้นหลามของพระองค์และบางส่วนเป็นเพราะอำนาจของพระองค์มักถูกตีความขัดกันแม้จะมีนิยามอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นการแต่งตั้งจารุวรรณ เมณฑกาเป็นผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ทว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแต่งตั้งเธอขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐสภาเลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทนจารุวรรณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธเขา วุฒิสภาปฏิเสธลงคะแนนยกเลิกการยับยั้งของพระองค์ สุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้จารุวรรณกลับเข้ารับตำแหน่ง หนังสือพิมพ์\"ผู้จัดการ\"อธิบายว่ากรณีนี้เป็นความพยายามของวุฒิสภาเพื่อบีบบังคับให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทำตามความปรารถนาของพวกตน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเฉพาะว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจเงินแผ่นดินตามคำแนะนำของวุฒิสภา การพ้นจากตำแหน่งจึงต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเท่านั้น", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "267041#13", "text": "ลำดับรูปรายพระนาม/รายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุพระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ)9 มิถุนายน พ.ศ. 248916 มิถุนายน พ.ศ. 2489เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8]พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์)9 มิถุนายน พ.ศ. 248916 มิถุนายน พ.ศ. 2489เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8]สงวน จูฑะเตมีย์9 มิถุนายน พ.ศ. 248916 มิถุนายน พ.ศ. 2489เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร16 มิถุนายน พ.ศ. 2489[9]7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[10]23 มกราคม หรือ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ได้ให้อำนาจในการจัดตั้งคณะอภิรัฐมนตรี คณะฯ ประกอบด้วย 1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระชัยนาทนเรนทร 2. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร 3. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ 4. พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) 5. หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส) (บัตร พึ่งพระคุณ) คณะฯ ยุบเลิกไปเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มีผลบังคับใช้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร23 มิถุนายน พ.ศ. 2492[11]พ.ศ. 24924 มิถุนายน พ.ศ. 2493[12]7 มีนาคม พ.ศ. 2494ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สิ้นพระชนม์ขณะดำรงตำแหน่งพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร12 มีนาคม พ.ศ. 2494[13]19 ธันวาคม พ.ศ. 2495สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี22 ตุลาคม พ.ศ. 2499[14]5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระผนวช ซึ่งภายหลังได้มีการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี18 ธันวาคม พ.ศ. 2502[15]21 ธันวาคม พ.ศ. 2502ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐเวียดนาม8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503[16]16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย2 มีนาคม พ.ศ. 2503[17]5 มีนาคม พ.ศ. 2503ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหภาพพม่า14 มิถุนายน พ.ศ. 2503[18]พ.ศ. 2503ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในทวีปยุโรป11 มีนาคม พ.ศ. 2505[19]22 มีนาคม พ.ศ. 2505ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน20 มิถุนายน พ.ศ. 2505[20]27 มิถุนายน พ.ศ. 2505ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหพันธรัฐมาลายา17 สิงหาคม พ.ศ. 2505[21]13 กันยายน พ.ศ. 2505ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนนิวซีแลนด์และเครือรัฐออสเตรเลียพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (ประธานองคมนตรี)27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[22]8 มิถุนายน พ.ศ. 2506ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีน9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506[23]14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี12 กันยายน พ.ศ. 2507[24]6 ตุลาคม พ.ศ. 2507ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนราชอาณาจักรกรีซ และสาธารณรัฐออสเตรีย15 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 [25]กันยายน พ.ศ. 2509ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหราชอาณาจักร23 เมษายน พ.ศ. 2510[26]30 เมษายน พ.ศ. 2510ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนจักรวรรดิอิหร่าน6 มิถุนายน พ.ศ. 2510[27]พ.ศ. 2510ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและแคนาดา", "title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "853762#33", "text": "ด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่าง มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "12935#13", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาในด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า \"ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง\" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้\nพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ตอนหนึ่งว่า \nนับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก \"พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย\" และสมเด็จพระบรมราชชนนี \"พระมารดาของการแพทย์ชนบท\" ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป", "title": "พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "372112#4", "text": "เวลาบ่าย เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าสู่มุขหน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีบรรพชิตญวณและจีนถวายพระพรชัยมงคล แล้วจึงเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตรปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณีและพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ทรงจุดธูปเทียนบูชาเทพยดานพเคราะห์แล้วเสด็จสู่มุขหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานสังคหวัตถุแก้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้สูงอายุ แล้วเสด็จพระราชดำเนิน จากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่ประตูหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปเทียบหน้าพระทวารเทเวศรรักษาเสด็จเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนสัญญาบัตร พัดยศ ไตร แก่พระสงฆ์ซึ่งเข้ารับพระราชทานสมณศักดิ์ใหม่พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระราชาคณะถวายอดิเรก ถวายพระพรลา จากนั้นพระสงฆ์ 60 รูป เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ และธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูป พระเคราะห์ แล้วจึงทรงจุดธูปเทียนนมัสการ ทรงศีล จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาจบแล้ว สมเด็จพระราชาคณะถวายอดิเรกถวายพระพรลา แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนิน กลับโดยประทับรถยนต์พระที่นั่งพระทวารเทเวศรรักษา\nเวลาค่ำ พิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ของเหล่าข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย ซึ่งกำหนดจัดที่ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง และ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด", "title": "พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9" }, { "docid": "53946#17", "text": "พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามพระประธานในพระอุโบสถ เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติแก่วัดว่า \"พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา \" แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาประเสริฐสุดโดยธรรม", "title": "วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร" }, { "docid": "1901#92", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 176 ฉบับ ใน พ.ศ. 2555 โดยทรงได้รับมอบถวายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ชื่อพรรณไม้ ภูมิพลินทร์ หมายถึง \"พรรณไม้ที่เป็นศรีสง่าแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "12935#21", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ มากมาย โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของพสกนิกรเป็นหลัก ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงให้ทุกอย่างกับพสกนิกรและชาติบ้านเมือง ทรงงานอย่างหนักเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ตรากตรำพระวรกายอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เพียงเพื่อมุ่งหวังให้พสกนิกรทั่วราชอาณาจักรมีความสงบร่มเย็นและมีความกินดีอยู่ดี พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยนั้น...ใหญ่หลวงนัก สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า \"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม\"", "title": "พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "196315#13", "text": "วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 16.52 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ยังมณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง ทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ (พระราชพิธีทางการ) โดยเมื่อรถยนต์พระที่นั่งเทียบพระที่นั่งทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งโดยลิฟท์ ตำรวจหลวงและทหารราชองครักษ์ เชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ และธงชัยพระครุฑพ่าห์นำหน้า เมื่อเสด็จเข้าสู่พระที่นั่ง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระศพทรงธรรม ที่ด้านทิศใต้ของพระจิตกาธาน จากนั้น พระพรหมมุนีจากวัดบวรนิเวศวิหาร ถวายศีล และถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งจบ พระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะ 50 รูป สวดศราทธพรตคาถา จบแล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินยังพระเมรุ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "196315#15", "text": "วันเดียวกัน เวลา 21.42 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ยังมณฑลพระราชพิธีฯ เมื่อรถพระที่นั่งเทียบที่หน้าพระที่นั่งทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่เตาพระราชทานเพลิงทางทิศตะวันออกของพระจิตกาธาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเปลื้องผ้าคลุมหีบพระศพ และทรงสรงน้ำมะพร้าวแก้วที่หีบพระศพ เจ้าพนักงานเชิญหีบพระศพเข้าสู่เตา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงจุดดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงพระศพ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดา และร้อยเอกจิทัศ ศรสงคราม พระนัดดา ถวายดอกไม้จันทน์ เสร็จแล้วสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานดอกไม้จันทน์ และถวายดอกไม้จันทน์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินลงจากพระเมรุขึ้นสู่พระที่นั่งทรงธรรม เจ้าพนักงานปิดฉากบังเตา พระวิสูตร และฉากบังเพลิง เพื่อถวายการพระราชทานเพลิงพระศพ จากนั้น คณะนักแสดงที่จะแสดงหน้าพระเมรุ เข้าถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และถวายบังคมพระศพตามลำดับ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "544827#5", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะพระศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดข ทรงรับหม้อน้ำพระสุคนธ์และโถน้ำขมิ้นจากเจ้าพนักงานสนมพลเรือนพระราชทานสรงที่ตรงพระอุระพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโถน้ำพระสุคนธ์ ถวายสรงที่พระบาทพระศพ แล้วทรงคมต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงหวีพระเกศาพระศพขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วทรงหวีลงอีกครั้งหนึ่ง เสร็จแล้วทรงหักพระสางนั้นวางไว้บนพานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ จากนั้นเสด็จประทับราบกับพระบรมวงศานุวงศ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และพระประยูรญาติกราบถวายบังคมพระศพ ​พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯไป​​พระราชทานซองพระศรีบรรจุดอกบัวและธูปเทียนที่ปากพระโกศ แล้วทรงรับแผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ ทรงรับพระชฎาทองคำสวมพระเศียรพระศพ แล้วเสด็จฯออกไปประทับพระราชอาสน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงสู่พระโกศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯตามพระโกศ ตำรวจหลวงเชิญพระโกศพระศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทอง 3 ชั้น ประกอบพระลองทองน้อย ภายใต้ฉัตรตาดทอง 5 ชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องสูง บังแทรก ชุมสาย ต้นไม้ทองเงิน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี" }, { "docid": "91746#27", "text": "เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ ในพิธีเฉลิมพระนาม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และ พระราชทานสมณศักดิ์ แก่พระราชาคณะ เสร็จแล้ว ทรงสดับพระธรรมเทศนา มงคลสูตร รัตนสูตร และ เมตตสูตร รวมหนึ่งกัณฑ์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญานวโร)", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "196315#22", "text": "วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 17.15 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงจุดธุปเทียนเครื่องราขสักการบูชาพระโกศพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี บนพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บนบุษบกทองบนพระแท่นสุวรรณเบญจดล จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมราชบุพการี บนพระแท่นมณฑลมุก จากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนพัดรองงานพระราชพิธี แก่พระสงฆ์ที่ร่วมในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ พระราชาคณะ 30 รูป สวดพระพุทธมนต์ เจ้าพนักงานทอดพระภูษาโยงจากหน้าพระแท่นสุวรรณเบญจดลสู่อาสนสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรมและเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี และพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงธรรม พระพรหมเมธี จากวัดเทพศิรินทราวาส ถวายศีล และถวายพระธรรมเทศนา เรื่อง สามัคคีธัมมกถา จบแล้วพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ 5 รูป ถวายอนุโมทนา จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ เจ้าพนักงานทอดพระภูษาโยงจากพระแท่นสุวรรณเบญจดล พระสงฆ์สดับปกรณ์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าพนักงานทอดพระภูษาโยงจากพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก พระสงฆ์อีก 10 รูป สดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงกราบที่พระแท่นหน้าพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี และพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "12226#11", "text": "วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระยศในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" }, { "docid": "12226#13", "text": "เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงจัดขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น \"สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์\" พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" }, { "docid": "574091#32", "text": "เวลา ๒๒.๑๓ น.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ยังมณฑลพระราชพิธีฯ เมื่อรถพระที่นั่งเทียบที่หน้าพระที่นั่งทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่เตาพระราชทานเพลิงทางทิศตะวันออกของพระจิตกาธาน เจ้าพนักงานพระราชพิธีทูลเกล้าฯ ถวายมะพร้าว แล้วทรงสรงน้ำมะพร้าวแก้วที่พระโกศพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระโกศพระศพเข้าสู่เตา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงจุดดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่ ขึ้นถวายพระเพลิงพระศพ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ประทับบนพระเมรุสักครู่หนึ่ง แล้วเสด็จลงจากพระเมรุ ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ กลับ\nต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จฯ ลงจากพระเมรุ เจ้าพนักงานเริ่มปฏิบัติการถวายพระเพลิงพระศพ ระหว่างนั้นนักแสดงจากกรมศิลปากร ทูลเกล้าฯ ถวายการแสดงโขนหน้าพระเมรุ เรื่องรามเกียรติ์ ชุด นางลอย เมื่อการแสดงจบซึ่งเจ้าพนักงานปฏิบัติการถวายพระเพลิงพระศพเสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ ๑๐ รูป สดับปกรณ์ที่เตาพระราชทานเพลิง เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับโดยรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากพระที่นั่งทรงธรรม", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "91746#11", "text": "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดเทียนพระมหามงคล เทียนเท่าพระองค์ ธูปเทียนบูชา พระสยามเทวาธิราช พระแท่นอัฐทิศ และพระที่นั่งภัทรบิฐ", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "825262#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช หลังการสวรรคต มีประเทศต่างๆและองค์การระดับนานาชาติส่งสาส์นแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก“ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นการสูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ\nในสถานการณ์ที่เจ็บปวดและเศร้าโศกนี้ ข้าพเจ้าขอร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งขอแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย รวมทั้งพระราชวงศ์ไทยทั้งมวล – พระนามาภิไธย มุนีนาถ สีหนุ.”รวมทั้งสมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีแห่งกัมพูชา พระขนิษฐา (น้องสาว) ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เสด็จไปทรงถวายสักการะและทรงลงพระนามถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา.", "title": "ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "12935#34", "text": "ในระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม 28 ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ", "title": "พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "91746#0", "text": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ปรากฏบันทึกรายละเอียดไว้ ดังนี้", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "1901#60", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยับยั้งกฎหมายน้อยครั้ง พอล แฮนด์ลีย์เขียนใน \"เดอะคิงเนเวอร์สไมล์\" ว่าในปี พ.ศ. 2519 เมื่อรัฐสภาลงคะแนนเสียงเห็นชอบเพื่อขยายการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยสู่ระดับอำเภอ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธลงพระปรมาภิไธยกฎหมาย รัฐสภาไม่ยอมออกเสียงยกเลิกการยับยั้งของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยับยั้งกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่รัฐสภาเห็นชอบสองครั้งก่อนทรงยินยอมลงพระปรมาภิไธย บางทีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ยับยั้งการตรากฎหมาย เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 107 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วย แต่ก็ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งโดยตรง เพียงแต่มีพระราชกระแสท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ไม่ทรงเห็นด้วยกับมาตรา 107 วรรค 2 แห่งร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะประธานองคมนตรีเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งขัดกับหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งจะทำให้ประธานองคมนตรีอยู่ในสภาพเสมือนเป็นองค์กรทางการเมือง", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "853762#19", "text": "วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10:43 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร พระสงฆ์ 30 รูป ที่สวดพระพุทธมนต์แต่วันก่อนถวายพระพร ทรงประเคนภัตตาหาร พระสงฆ์รับพระราชทานฉัน แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงศีล พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาจบแล้ว ถวายอนุโมทนา พระสงฆ์ 4 รูปรับอนุโมทนา ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์แล้วทรงทอดผ้าไตร ถวายพระเทศน์และพระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา รวม 5 รูป สดับปกรณ์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง พระสงฆ์ 89 รูป เท่าพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นนั่งยัง อาสน์สงฆ์สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์เป็นเที่ยว ๆ จบครบ 89 รูป (เที่ยวแรก 12 รูป สดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เที่ยวต่อไปเที่ยวละ 11 รูป จำนวน 7 เที่ยว ขึ้นสดับปกรณ์แล้วลงจากพระที่นั่ง)", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "40585#8", "text": "เวลา 10.19 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคมจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พลับพลาพิธี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระพุทธปฏิมาปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประเคนพัดรองที่ระลึก พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แด่สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ 10 รูป แล้วประทับ พระราชอาสน์ ทรงศีล สมเด็จพระราชาคณะถวายศีล จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระที่นั่งชุมสาย ที่ตั้งเครื่องบวงสรวง บริเวณด้านหน้าพลับพลาพิธี ทรงแปรพระพักตร์สู่ปราสาทพระเทพบิดร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียน เครื่องราชสักการะ บวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์\nพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถประทับพระราชอาสน์ ที่มุขหน้าพลับพลาพิธี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ อ่านประกาศบวงสรวง ในขณะนั้น ผู้ที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททุกหมู่เหล่า ยืนประนมมือ แสดงคารวะบูชา ผินหน้าไปทาง พระที่นั่งชุมสาย เมื่อพระราชครูวามเทพมุนี อ่านประกาศบวงสรวง จบ โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประเคน จตุปัจจัยไทยธรรม แด่ สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะ เสร็จแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายพระพรชัยมงคลคาถาพิเศษ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสร็จแล้ว พระสงฆ์ออกไปรับพระราชทานฉัน ที่ ตำหนักสวนบัวเปลว ภายใน พระที่นั่งวิมานเมฆ", "title": "พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" }, { "docid": "814997#53", "text": "หนังสือจดหมายเหตุ<i data-parsoid='{\"dsr\":[54907,55024,2,2]}'>งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร หนังสือจดหมายเหตุ<i data-parsoid='{\"dsr\":[55044,55110,2,2]}'>งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉบับประชาชน หนังสือจดหมายเหตุ<i data-parsoid='{\"dsr\":[55130,55214,2,2]}'>งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากหนังสือพิมพ์ ฉบับสื่อมวลชน หนังสือจดหมายเหตุและซีดี<i data-parsoid='{\"dsr\":[55241,55307,2,2]}'>บทเพลงแสดงความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หนังสือจดหมายเหตุ<i data-parsoid='{\"dsr\":[55327,55421,2,2]}'>กานท์กวีคีตการปวงประชา น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "854114#25", "text": "1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 18.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งที่ 1/2560 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยทรงรับเป็นที่ปรึกษาการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการนี้ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น หน่วยแพทย์ อาหาร น้ำดื่ม รถสุขา และถังขยะให้มีความพร้อมพอเพียงสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกตลอดเวลา", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "853762#7", "text": "วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวังในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ทรงประเคนพัดกรองที่ระลึกงานออกพระเมรุแด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่จะถวายพระธรรมเทศนา และพระราชาคณะที่จะสวดศราทธพรต 30 รูป พระสงฆ์ที่จะสดับปกรณ์ 89 รูป เท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์ที่จะสวดพระอภิธรรม 8 รูป บรรพชิตจีนและญวน 20 รูป พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ถวายไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าไตรถวายพระเทศนา พระสงฆ์สวดศราทธพรต พระสงฆ์สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา บรรพชิตจีนและญวนสวดมาติกา สดับปกรณ์ และถวายอนุโมทนา ทรงจุดธูปเทียนที่แท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "48244#6", "text": "จัดทำพิธีทำบุญเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินอำเภอสวรรคโลก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2501 โดยใช้อาคารที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก (หลังเก่า) เป็นพลับพลาที่ประทับ", "title": "อำเภอสวรรคโลก" }, { "docid": "12226#14", "text": "ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่ง พระองค์มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมีพระชันษาได้ 3 เดือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" }, { "docid": "91746#5", "text": "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงจุดเทียนชนวน พระราชทานแก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เพื่อทรงนำไปจุดเทียนที่เครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุด เทียนพระมหามงคลและเทียนเท่าพระองค์", "title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" } ]
788
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "32264#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837 - 22 มกราคม ค.ศ. 1901 ทรงมีสายพระโลหิตสืบทอดมาเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป (ยกเว้น เนเธอร์แลนด์) เช่น จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี หรือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า \"สมเด็จย่าแห่งยุโรป\" (Grandmother of Europe)", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" } ]
[ { "docid": "64083#46", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของสวีเดนและเสวยราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2516) เป็นพระราชนัดดาในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต และสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟ พระองค์ทรงเป็นพระโอรสพระองค์เล็กและพระองค์เดียวในเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน ดยุกแห่งวาสเตอร์บ็อตเติน เจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน พระธิดาพระองค์เดียวในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต (พระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) และสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟ อภิเษกสมรสเมื่อในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 กับ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (เสวยราชย์ พ.ศ. 2490-2515) และเป็นพระชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (เสวยราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2515) เคานต์ คาร์ล โยฮัน เบอร์นาด็อตแห่งวิสบอร์ก (31 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) พระโอรสพระองค์เล็กในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต และสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟ เป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่สิ้นพระชนม์เป็นพระองค์สุดท้าย", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#14", "text": "ทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีและพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร (พระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระอนุชาในเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี) รวมถึงสมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย พระธิดาในเจ้าหญิงอลิซและพระมเหสีในพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย ต่างเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วยกันทั้งสิ้น ตามแผนภูมิต่อไปนี้", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#41", "text": "เจ้าหญิงเฮเลนา (เฮเลนา ออกัสตา วิกตอเรีย) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2389 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2466 พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2409 ณ โบสถ์หลวง พระราชวังวินด์เซอร์ กับ เจ้าชายคริสเตียนแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-ออกุสเท็นบูร์ก (ฟรีดริช คริสเตียน คาร์ล ออกุสต์; 22 มกราคม พ.ศ. 2374 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2460 พระโอรสในเจ้าชายคริสเตียน ดยุกแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-ออกุสเท็นบูร์ก) มีพระโอรส 2 พระองค์และพระธิดา 2 พระองค์ซึ่งเจริญพระชนม์เป็นผู้ใหญ่ และมีพระโอรสอีก 2 พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงเฮเลนาและเจ้าชายคริสเตียนไม่มีพระราชนัดดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีพระนัดดานอกสมรสจำนวนหนึ่งคน ซึ่งเสียชีวิตโดยไม่มีทายาทสืบสกุล เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษพระองค์อื่นๆ ที่มีพระอิสริยยศของเยอรมัน (เช่น เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทนแบร์ก) เจ้าหญิงเฮเลนา เจ้าชายคริสเตียน และพระธิดาสองพระองค์ได้สละพระอิสริยยศแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์ในปี พ.ศ. 2460 เมือจักรวรรดิอังกฤษและเยอรมันเป็นปฏิปักษ์กันในสงครามโลกครั้งที่ 1", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#47", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอาร์เธอร์ → เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต → เจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟ → พระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอาร์เธอร์ → เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต → เจ้าหญิงอิงกริด → พระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอาร์เธอร์ → เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต → เคานต์ คาร์ล โยฮัน เบอร์นาด็อต", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#28", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 → เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ → พระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 → พระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#55", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าหญิงเบียทริซ → พระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน → เคานต์แห่งบาร์เซโลนา → พระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#3", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีพระราชนัดดาทั้งสิ้น 42 พระองค์ (เป็นชายจำนวน 20 พระองค์ และเป็นหญิงจำนวน 22 พระองค์) จากพระราชโอรสและธิดาแปดพระองค์ โดยจำนวนสองพระองค์ (พระโอรสพระองค์เล็กในเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา และในเจ้าหญิงเฮเลนา) สิ้นพระชนม์ในขณะอยู่ในพระครรภ์ ส่วนอีกสองพระองค์ (เจ้าชายจอห์นแห่งเวลส์ และ เจ้าชายฮาราลด์แห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-ออกัสเต็นบูร์ก) สิ้นพระชนม์ตั้งแต่เมื่อแรกประสูติ ทั้งนี้พระราชนัดดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (พระราชสมภพเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2402) พระโอรสพระองค์แรกในเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วนพระราชนัดดาพระองค์สุดท้ายคือ เจ้าชายมอริสแห่งบัทเทนแบร์ก (ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2434) พระโอรสพระองค์เล็กในเจ้าหญิงเบียทริซ พระราชธิดาพระองค์เล็กและสิ้นพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้ายในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชนัดดาที่สิ้นพระชนม์เป็นพระองค์สุดท้ายคือ เจ้าหญิงอลิซ เคานเตสแห่งแอธโลน (พระอิสริยยศเดิมคือ เจ้าหญิงอลิซแห่งอัลบานี ประสูติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2426 พระธิดาในเจ้าชายเลโอโพลด์ ดยุกแห่งอัลบานี) ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยโรคชรา (97 พรรษา) ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2524 เป็นเวลาเกือบแปดสิบปีหลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระอัยยิกา", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#58", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเจ้าชายอัลเบิร์ตมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 9 พระองค์ ซึ่งล้วนแล้วแต่อภิเษกสมรสกับพระราชวงศ์ต่างๆ ในทวีปยุโรป และมีพระโอรสและธิดา มีเพียงเจ้าหญิงหลุยส์ ดัชเชสแห่งอาร์ไจล์ที่ไม่ได้อภิเษกสมรสกับเชื้อพระวงศ์ และไม่มีพระโอรสพระธิดา สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเจ้าชายอัลเบิร์ตมีพระราชนัดดาทั้งสิ้น 42 พระองค์ ซึ่งบางพระองค์ก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระประมุขหรือเป็นพระมเหสีในราชวงศ์ต่างๆ ของทวีปยุโรป ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484) พระโอรสในเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร (3 มิถุนายน พ.ศ. 2408 - 20 มกราคม พ.ศ. 2479) พระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 สมเด็จพระราชินีโซฟีแห่งกรีซ (14 มิถุนายน พ.ศ. 2413 - 13 มกราคม พ.ศ. 2475) พระธิดาในเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี สมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (6 มิถุนายน พ.ศ. 2415 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) พระธิดาในเจ้าหญิงอลิซ สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย (29 ตุลาคม พ.ศ. 2418 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481) พระธิดาในเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินบะระ สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน (24 ตุลาคม พ.ศ. 2430 - 15 เมษายน พ.ศ. 2512) พระธิดาในเจ้าหญิงเบียทริซ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเจ้าชายอัลเบิร์ตมีพระราชปนัดดาทั้งสิ้น 88 พระองค์ ซึ่งบางพระองค์ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระประมุขหรือเป็นพระมเหสีในราชวงศ์ต่างๆ ของทวีปยุโรป ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 1 เมษายน พ.ศ. 2490) พระโอรสในเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งกรีซ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2436 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2463) พระโอรสในเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย (15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 - 4 เมษายน พ.ศ. 2496) พระโอรสในเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร (23 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2515) พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร (14 ธันวาคม พ.ศ. 2438 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 5 สมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซ (14 ธันวาคม พ.ศ. 2444 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2510) พระโอรสในเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 - 17 มกราคม พ.ศ. 2534) พระโอรสในเจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซ (11 ตุลาคม พ.ศ. 2437 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499) พระธิดาในเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย (8 มกราคม พ.ศ. 2443 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2504) พระธิดาในเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ สมเด็จพระราชินีอิงกริดแห่งเดนมาร์ก (28 มีนาคม พ.ศ. 2453 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) พระธิดาในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต พระประมุขหรือพระมเหสีในราชวงศ์ต่างๆ ของทวีปยุโรปทั้งที่ยังทรงครองราชสมบัติและมิได้ทรงอยู่ในราชสมบัติ ล้วนทรงสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (21 เมษายน พ.ศ. 2469) และ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ (10 มิถุนายน พ.ศ. 2464) สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480) สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (16 เมษายน พ.ศ. 2483) สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน (30 เมษายน พ.ศ. 2489) สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน (5 มกราคม พ.ศ. 2481) (สละราชสมบัติ) และ สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2483) และ สมเด็จพระราชินีแอนน์-มารีแห่งกรีซ (30 สิงหาคม พ.ศ. 2489) สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (25 ตุลาคม พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560) สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน (30 มกราคม พ.ศ. 2511) ในสายลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และอีกจำนวนเกือบ 530 คนแรก ล้วนสืบสายพระโลหิตมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่มีพระชนมายุยืนยาวตั้งแต่ 90 พรรษาขึ้นไป มีดังนี้", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#9", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ตมีพระอัยกาพระองค์เดียวกันคือ เจ้าชายฟรานซิส ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ ซึ่งเป็นพระบิดาในเจ้าชายแอร์นส์ที่ 1 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (พระบิดาในเจ้าชายอัลเบิร์ต) และเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และพระขนิษฐาในเจ้าชายแอร์นส์ที่ 1 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#15", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี → สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 → พระเจ้าจอร์จที่ 5 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าหญิงอลิซ → สมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#52", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายเลโอโพลด์ → เจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด → เจ้าหญิงซิบิลลา → พระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#50", "text": "เจ้าหญิงอลิซแห่งอัลบานี พระธิดาในเจ้าชายเลโอโพลด์ (และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) อภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2447 กับ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งเท็ค พระอนุชาในสมเด็จพระราชินีแมรี่ และดำรงพระอิสริยยศเป็น เคานเตสแห่งแอธโลน เมื่อพระสวามีทรงได้รับการสถาปนาเป็นเอิร์ลแห่งแอธโลนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2460 พระองค์เป็นพระราชนัดดาที่ดำรงพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้ายในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (97 พรรษา) นอกจากนี้เจ้าหญิงยังทรงเป็นพาหะของโรคฮีโมฟิเลีย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพระบิดาและส่งผ่านไปยังพระโอรสสองพระองค์", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#6", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ไม่เพียงเป็นพระชนนีในพระราชนัดดาพระองค์แรกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียคือ สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี เท่านั้น แต่ยังเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ในพระราชปนัดดาพระองค์แรกด้วยคือ เจ้าหญิงฟีโอดอราแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2488) พระธิดาองค์เดียวในเจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย (พระราชนัดดา (หญิง) พระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) และในพระราชปนัดดาหญิงพระองค์สุดท้ายที่สิ้นพระชนม์คือ เลดี้ แคทเธอรีน แบรนด์แรม (พระอิสริยยศเดิมคือ เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก; 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550) พระธิดาพระองค์สุดท้ายในเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ) พระขนิษฐาในเจ้าหญิงชาร์ล็อต หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ในปี พ.ศ. 2550 ขณะมีพระชันษา 94 ปี พระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งยังทรงพระชนม์เป็นพระองค์สุดท้ายคือ เคานต์ คาร์ล โยฮัน เบอร์นาด็อตแห่งวิสบอร์ก (พระอิสริยยศเดิมคือ เจ้าชายคาร์ล โยฮันแห่งสวีเดน ดยุกแห่งดาลาร์นา; 31 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) ซึ่งเป็นพระโอรสพระองค์สุดท้ายในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต พระธิดาในเจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อต พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทั้งนี้เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 95 ปี สายพระโลหิตรุ่นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2422 (ปีประสูติของเจ้าหญิงฟีโอดอราแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน) จึงได้สิ้นสุดลงตามไปด้วย", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#39", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอัลเฟรด → พระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย → สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 → พระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอัลเฟรด → พระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย → พระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอัลเฟรด → พระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย → พระราชินีมารีแห่งยูโกสลาเวีย → พระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "86294#0", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก (Princess Victoria Eugenie of Battenberg; \"พระนามเต็ม\" วิกตอเรีย ยูจีนี จูเลีย เอนา; 24 ตุลาคม พ.ศ. 2430 - 15 เมษายน พ.ศ. 2512) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีมเหสีในพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน และพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย นอกจากนี้สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ยังเป็นพระราชนัดดาของพระองค์อีกด้วย", "title": "วิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน" }, { "docid": "64083#32", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าหญิงอลิซ → สมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา (เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#7", "text": "ก่อนการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปี พ.ศ. 2444 มีพระราชโอรสและธิดาจำนวนสามพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว (เจ้าหญิงอลิซ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2421, เจ้าชายเลโอโพลด์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2427 และเจ้าชายอัลเฟรด ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2443) และตามมาด้วยการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2444 นอกจากการสิ้นพระชนม์ขณะยังทรงพระเยาว์ของพระราชนัดดาจำนวนสี่พระองค์ สมเด็จพะราชินีนาถวิกตอเรียดำรงพระชนม์ยืนยาวกว่าพระราชนัดดาหลายพระองค์ ได้แก่", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#34", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าหญิงอลิซ → เจ้าชายแอร์นส์ ลุดวิก แกรนด์ดยุกแห่งเฮสส์และไรน์ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → เจ้าชายอัลเฟรด → เจ้าหญิงวิกตอเรีย เมลิตา", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#0", "text": "พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Descendants of Queen Victoria) เป็นเรื่องราวของการสืบสายพระโลหิตของพระราชโอรสและธิดาทั้งหมด 9 พระองค์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 - 22 มกราคม พ.ศ. 2444 เสวยราชสมบัติ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380) โดยมีพระราชนัดดา 42 พระองค์ และพระราชปนัดดา (เหลน) 88 พระองค์ แต่ละพระองค์จึงเป็นทั้งพี่น้องกันหรือพระญาติชั้นที่หนึ่งซึ่งกันและกัน (first cousin) และด้วยการอภิเษกสมรสเข้าไปยังราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป พระองค์จึงทรงมีผลกระทบต่อโชคชะตาของราชวงศ์ยุโรปอย่างมาก ทรงมีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตและการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน เยอรมนี กรีซ รัสเซีย โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จึงทำให้ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า สมเด็จย่าแห่งยุโรป (Grandmother of Europe)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "721573#0", "text": "พระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย () จัดขึ้นในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2430 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียครองสิริราชสมบัติครบปีที่ห้าสิบ ซึ่งได้มีการทูลเชิญพระมหากษัตริย์และเจ้าชายจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจำนวน 50 พระองค์ เสด็จ ฯ มาร่วมเฉลิมฉลองในครั้งนี้ด้วย ", "title": "พระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#38", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย พระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์และสมเด็จพระราชินีมารี (และพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) เป็นพระราชชนกในสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (ลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระราชธิดาพระองค์ที่สอง (และพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) อภิเษกสมรสระหว่างปี พ.ศ. 2465 - 2478 กับ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ (ครองราชย์ พ.ศ. 2465-2466 และ พ.ศ. 2478-2490) พระโอรสในเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย (พระธิดาในเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี) เจ้าหญิงมารีแห่งโรมาเนีย พระราชธิดาพระองค์ที่สาม (พระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) อภิเษกสมรสวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2465 กับ สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย (เสวยราชย์ พ.ศ. 2464-2478) และพระชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย (ครองราชย์ พ.ศ. 2478-2488 และเป็นลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#54", "text": "เจ้าหญิงเบียทริซ (เบียทริซ แมรี่ วิกตอเรีย ฟีโอดอรา) พระราชธิดาพระองค์ที่ห้าและองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2400 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 ณ โบสถ์เซนต์มิลเดร็ด เมืองวิปปิงแฮม ใกล้ตำหนักออสบอร์น เกาะไว้ท์ กับ เจ้าชายเฮนรีแห่งบัทเทนแบร์ก (เฮนรี มอริส; 5 ตุลาคม พ.ศ. 2401 - 20 มกราคม พ.ศ. 2439 พระโอรสในเจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งเฮสส์และไรน์) มีพระโอรส 3 พระองค์ พระธิดา 1 พระองค์ (สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน) พระภาคิไนย 5 พระองค์ (พระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์) และพระภาติกา 3 พระองค์ ในฐานะพระราชนัดดาผ่านทางเจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสแห่งสเปน จึงเป็นพระราชปนัดดาในเจ้าหญิงเบียทริซ และลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียอีกด้วย", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#11", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (ซึ่งเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2381) ทรงราชาภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ต เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 ณ โบสถ์หลวง พระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน (เจ้าชายอัลเบิร์ตได้สิ้นพระชนม์เป็นเวลาสิบสี่ปีครึ่งก่อนที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2419)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "86294#3", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีทรงเจริญพระชนม์ขึ้นในราชสำนักของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เนื่องจากองค์พระประมุขแห่งอังกฤษได้พระราชทาน พระบรมราชานุญาตอย่างลังเลพระราชหฤทัยให้เจ้าหญิงเบียทริซอภิเษกสมรสได้บนเงื่อนไขที่ว่าพระองค์จะยังคงทรงเป็นผู้ดูแลพระชนนีที่ใกล้ชิดตลอดเวลาและราชเลขานุการส่วนพระองค์ เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีจึงทรงดำรงพระชนม์ชีพในวัยเยาว์ที่ปราสาทวินด์เซอร์ ปราสาทบัลมอรัล และตำหนักออสบอร์น บนเกาะไวท์ พระชนกของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ขณะทรงปฏิบัติพระราชภารกิจทางทหารหลังจากประชวรด้วยโรคไข้ป่าในทวีปแอฟริกาในปี พ.ศ. 2439 ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียในปี พ.ศ. 2444 ครอบครัวแบ็ตเต็นเบิร์กได้ย้ายไปยังกรุงลอนดอนและเข้าไปประทับในพระราชวังเคนซิงตัน ในช่วงฤดูร้อนที่ตำหนักออสบอร์น เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีทรงพบกับแกรนด์ดยุคบอริส วลาดิมีโรวิชแห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นพระญาติในสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แกรนด์ดยุคทรงต้องพระทัยในเจ้าหญิงอังกฤษแสนงามพระองค์นี้มากและเมื่อทรงพบกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2448 ที่เมืองนิซา พระองค์ก็ทรงขออภิเษกกับเจ้าหญิง เจ้าหญิงทรงเกือบจะตอบรับแต่ก็ทรงปฏิเสธในตอนสุดท้าย", "title": "วิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน" }, { "docid": "64083#26", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย → พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 → พระเจ้าจอร์จที่ 5 → พระเจ้าจอร์จที่ 6 → สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "231756#1", "text": "“มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย” เป็นมงกุฏที่สร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในปีค.ศ. 1870 และเป็นมงกุฎที่มีความสำคัญต่อพระองค์มากที่สุด เมื่อเสด็จสวรรคตก็มิใช่มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดหรือมงกุฎอิมพีเรียลสเตท ที่เป็นมงกุฏที่ได้วางบนหีบพระบรมศพแต่เป็น “มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรีย” ของพระองค์เอง", "title": "มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "114962#3", "text": "เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี พระราชธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมิได้ทรงมีพาหะของโรคฮีโมฟิเลีย เนื่องจากมิปรากฏการเป็นโรคดังกล่าวในเชื้อสายของพระองค์ ส่วนเจ้าฟ้าหญิงเฮเลนา พระราชธิดาองค์ที่ห้าอาจจะทรงเป็นหรือมิได้ทรงเป็นพาหะก็ได้ เพราะมีพระโอรสที่มีพระพลานามัยแข็งแร็งสองพระองค์ที่เจริญพระชันษาถึงวัยหนุ่ม แต่ก็มีพระโอรสสองพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่เมื่อแรกประสูติ ส่วนพระธิดาสองพระองค์ไม่มีพระโอรสหรือธิดาเลย ในขณะที่เจ้าหญิงหลุยส์ พระราชธิดาองค์ที่หกสิ้นพระชนม์โดยไม่มีพระโอรสและธิดา นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด และเจ้าฟ้าชายอาร์เธอร์ พระโอรสทั้งสามพระองค์ไม่ได้ประชวรด้วยโรคฮีโมฟิเลียเลย อย่างไรก็ดีเจ้าฟ้าชายเลโอโพลด์เป็นพระโอรสที่ประชวรด้วยโรคฮีโมฟิเลีย ส่วนเจ้าฟ้าหญิงอลิซและเจ้าฟ้าหญิงเบียทริซนั้นทรงเป็นพาหะของโรคเจ้าชายมอริสแห่งเท็ค พระโอรสองค์เล็กในเจ้าฟ้าหญิงอลิซ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงเป็นทารก จึงไม่เป็นที่ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นโรคฮีโมฟิเลียหรือไม่ ส่วนเลดี้ เมย์ อาเบล สมิธ พระนัดดาในเจ้าชายเลโอโพลด์ ไม่ได้เป็นพาหะอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากยังไม่ปรากฏโรคฮีโมฟิเลียในเชื้อสายเลยในปัจจุบัน โรคฮีโมฟิเลียได้สูญหายไปจากพระราชวงศ์ในทวีปยุโรปแล้ว เชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ประชวรด้วยโรคนี้คือ เจ้าชายกอนซาโลแห่งสเปน (24 ตุลาคม พ.ศ. 2457 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2477) นับแต่นั้นมีพระโอรสหลายพระองค์ได้ประสูติมาและไม่มีพระองค์ใดประชวรด้วยโรคฮีโมฟิเลียเลย แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังคงมีพันธุกรรมโรคฮีโมฟิเลียหลบซ่อนอยู่ในผู้หญิงแค่หน่วยพันธุกรรมเลวเพียงหนึ่งเดียว และเชื้อพระวงศ์สตรีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียยังคงมีชีวิตอยู่ในหลายพระราชวงศ์ในปัจจุบัน จึงยังคงมีโอกาสอยู่บ้างที่โรคฮีโมฟิเลียจะปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์สเปนของเจ้าหญิงเบียทริซเชื้อพระวงศ์ยุคใหม่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียคนหนึ่งนั้นได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคฮีโมฟิเลียคือ เฟอร์ดินานด์ ซอลท์มันน์ พระโอรสในเจ้าหญิงซีเนียแห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์ก ซึ่งเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2548 เจ้าหญิงซีเนียทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ทางสายพระราชโอรสของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แต่โรคทางพันธุกรรมไม่ได้ตกทอดมาทางสายราชตระกูลของพระมารดาของเจ้าหญิงคือ ราชตระกูลโครย (the Croÿs) หากโรคนี้ถ่ายทอดมาจากเจ้าหญิงซีเนีย จะมีความเป็นไปได้สองประการ อย่างแรกคือพระองค์ทรงได้รับพันธุกรรมของโรคนี้มาจากพระบิดาคือ เจ้าชายคราฟท์แห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์ก ซึ่งเป็นสายพระโลหิตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียผ่านทางพระราชธิดา เจ้าชายคราฟท์ทรงมีปัญหาโลหิตแข็งตัวยาก ซึ่งทำให้เชื่อกันว่าพระองค์อาจทรงเป็นฮีโมฟิเลียแบบอ่อน หากเจ้าชายประชวรด้วยโรคฮีโมฟิเลีย ในฐานะที่เป็นพระธิดาของคนป่วยโรคฮีโมฟิเลีย เจ้าหญิงซีเนียมีโอกาสร้อยละร้อยในการเป็นพาหะ ส่วนความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งคือ เจ้าหญิงซีเนียทรงมีการกลายพันธุ์แบบใหม่เกิดขึ้นในระบบพันธุกรรม เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย", "title": "โรคฮีโมฟิเลียในราชวงศ์ยุโรป" }, { "docid": "32264#57", "text": "510 บุคคลแรกในรายชื่อของสายลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระเป็นพระอัยยิกาเมื่อพระชนมพรรษา 39 พรรษา และพระปัยยิกาเมื่อพระชนมพรรษา 59 พรรษา พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระราชโอรสและธิดาสามในเก้าพระองค์ ในอีกเจ็ดเดือนจะเป็นพระองค์ที่สี่ (คือ เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระราชธิดาองค์โต ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยมะเร็งในกระดูกสันหลังเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1901 สิริพระชนมายุ 60 พรรษา) พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระราชนัดดาสิบเอ็ดในสี่สิบสองพระองค์ พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระราชปนัดดาสามในแปดสิบแปดพระองค์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2552 มีพระราชปนัดดาซึ่งยังทรงพระชนม์ชีพพระองค์สุดท้ายของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย คือ เคานต์ คาร์ล โยฮัน เบอร์นาด็อต (ประสูติ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1916 ขณะนี้มีพระชนมายุ 93 พรรษา) สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพระราชินีนาถแห่งแคนาดาพระองค์แรกโดยทางพฤตินัย ดินแดนในปกครองแห่งแคนาดา (The Dominion of Canada) ได้สถาปนาขึ้นมาในช่วงรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทำให้เป็นพระประมุขแห่งแคนาดาพระองค์แรก สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลียพระองค์แรกในทางพฤตินัยจากการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 จนกระทั่งถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1901 การกระทำสิ่งแรกหลังจากเสวยราชสมบัติแล้วคือ การย้ายพระแท่นบรรทมออกจากห้องของพระชนนี ในทุกวันเป็นเวลาสี่สิบปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายพระราชสวามี สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงรับสั่งให้วางฉลองพระองค์ต่าง ๆ ของเจ้าชายใหม่ทุกครั้งบนพระแท่นบรรทมในห้องชุดของพระองค์ที่ปราสาทวินด์เซอร์ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเริ่มประเพณีการสวมชุดสีขาวของเจ้าสาวในวันแต่งงาน ก่อนหน้าการอภิเษกสมรสของพระองค์ เจ้าสาวจะใส่ชุดที่สวยที่สุดโดยไม่มีสีที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ในปี ค.ศ. 1860 พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่ทรงฉายพระรูป โดยช่างภาพคือ โจเบซ เอ็ดวิน มายาล พระองค์ทรงแซงหน้าพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาธิราชในฐานะที่เป็นพระประมุขอังกฤษซึ่งมีพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดเมื่อมีพระชนมพรรษา 81 พรรษา 240 วันเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1901 เพียงสามวันก่อนการเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพสามในสี่ส่วนเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดของประมุขอังกฤษพระองค์ใด ๆ นับแต่การคืนสู่ระบอบกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1560 เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีทรงนำต้นคริสต์มาสเข้ายังราชสำนักและก็ไม่ช้าได้กลายเป็นต้นแบบนำไปใช้แก่พสกนิกรของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงถนัดพระหัตถ์ซ้ายและทรงได้ถ่ายทอดพันธุกรรมการถนัดมือซ้ายไปสู่พระราชสันตติวงศ์อีกหลายพระองค์ ซึ่งรวมไปถึงเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ พระมหากษัตริย์ในอนาคตอีกด้วย", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "45565#0", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (; ; \"พระนามเต็ม\" วิกตอเรีย อิงกริด อลิซ เดซิเร; 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 — ) เป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งในราชบัลลังก์สวีเดน หากเมื่อเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ พระองค์จะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถลำดับที่สี่ของประเทศ (ต่อจาก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินา และสมเด็จพระราชินีนาถอุลริคา เอเลโอนอรา) ทั้งนี้พระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติใน เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก กับ เจ้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ ", "title": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "174123#1", "text": "เจ้าชายอัลเฟรด ประสูติที่ปราสาทวินด์เซอร์,เมืองเบอร์กไชร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชโอรสพระองค์ที่สองและพระองค์ที่สี่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และ เจ้าชายอัลเบิร์ต แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา เป็นพระอนุชาใน เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี , สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และ เจ้าหญิงอลิซ", "title": "เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" } ]
1406
แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงทะเลที่จังหวัดใด ?
[ { "docid": "9927#0", "text": "แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ", "title": "แม่น้ำเจ้าพระยา" } ]
[ { "docid": "86295#6", "text": "ลักษณะชายฝั่งทะเลเป็นทะเลโคลน อันเนื่องจากในน้ำมีปริมาณตะกอนแม่น้ำสูงมาก จากการไหลของน้ำจืดออกจากปากแม่น้ำชายฝั่งตั่งแต่ชลบุรีจนถึงเพชรบุรี มีปากแม่น้ำอยู่หลายสาย เช่น แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี จนทำให้ตะกอนในทะเลแถบนี้มีจำนวนสูงสงผลให้ชายฝั่งปากแม่น้ำตั่งแต่จังหวัดฉะเชิงเทรามาถึงแหลมหลวงของจังหวัดเพชรบุรีนั้นเป็นหาดโคลน เกิดเป็นระบบนิเวศป่าชายเลน", "title": "ตำบลบางแก้ว (อำเภอบ้านแหลม)" }, { "docid": "6941#5", "text": "สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ", "title": "จังหวัดนครสวรรค์" }, { "docid": "168610#0", "text": "แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า \"แม่น้ำมะขามเฒ่า\" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า \"แม่น้ำสุพรรณบุรี\" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า \"แม่น้ำนครชัยศรี\" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า \"แม่น้ำท่าจีน\"", "title": "แม่น้ำท่าจีน" }, { "docid": "408347#0", "text": "คลองบางกรวย\nแต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่ามาก่อน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เส้นทางที่ใช้เดินเรือระหว่างปากแม่น้ำกับกรุงศรีอยุธยาไม่สะดวกแก่การเดินเรือ เพราะมีความคดเคี้ยวและใช้เวลานาน ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงโปรดเกล้าฯ\nให้ขุดคลองลัดบางกรวยขึ้น จากแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมบริเวณเหนือวัดชลอไปออกวัดขี้เหล็ก (วัดสุวรรณคีรี) ซึ่งช่วยย่นระยะทางจากปากแม่น้ำสู่กรุงศรีอยุธยาได้ และมีส่วนต่อการพัฒนาบ้านเมืองของจังหวัดนนทบุรีในระยะต่อมา จนกระทั่งถึง ปีพ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัดเขมาภิรตาราม ขึ้นทางเหนือของคลองลัดบางกรวย จากเดิมที่แม่น้ำนั้นไหลอ้อมทางบางใหญ่ ส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเปลี่ยนทิศทางไปอีกครั้งหนึ่ง และคลองลัดบางกรวยซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่มีน้ำไหลผ่านน้อยลงกลายเป็นคลองอย่างเดิมเมื่อแรกขุด", "title": "คลองบางกรวย" }, { "docid": "416589#0", "text": "แม่น้ำเอโดะ () ชื่อเดิมแม่น้ำฟูโตะ () เป็นแม่น้ำในภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น แยกมาจากแม่น้ำโทเนะทางตอนเหนือของเมืองนาริตะ ไหลผ่าน จังหวัดอิบารากิ จังหวัดชิบะ จังหวัดไซตามะ กรุงโตเกียว และไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวโตเกียว มีความยาวทั้งสิ้น 59.5 กิโลเมตร เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดชิบะ โตเกียว ไซตามะ", "title": "แม่น้ำเอโดะ" }, { "docid": "78621#2", "text": "แม่น้ำสะแกกรัง คือ ช่วงตั้งแต่ปากคลองขุมทรัพย์ หรือคลองอีเติ่ง ที่บ้านจักษา อำเภอเมืองอุทัยธานี หรือตรงปลายแม่น้ำตากแดด ณ จุดที่แม่น้ำตากแดดไหลมาบรรจบกับคลองขุมทรัพย์ ซึ่งน้ำจะเป็นสองสี แล้วไหลผ่านตัวเมืองอุทัยธานี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มีความยาวจากต้นน้ำถึงจุดที่บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 108 กิโลเมตร", "title": "แม่น้ำสะแกกรัง" }, { "docid": "2810#2", "text": "จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[1]", "title": "จังหวัดสมุทรปราการ" }, { "docid": "189634#0", "text": "แม่น้ำน้อย เป็นแม่น้ำสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลผ่านอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา", "title": "แม่น้ำน้อย" }, { "docid": "83286#0", "text": "แม่น้ำยม () เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขต พะเยา และแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และ แม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย", "title": "แม่น้ำยม" }, { "docid": "5814#4", "text": "จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางอุตุนิยมวิทยาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเกณฑ์การแบ่งภาคของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดในภาคกลาง แล้วลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่ดีมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร ", "title": "จังหวัดเพชรบูรณ์" }, { "docid": "988591#0", "text": "แม่น้ำกาปูวัซ () เป็นแม่น้ำในประเทศอินโดนีเซียบนเกาะบอร์เนียว ที่บริเวณศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร (Maritime Southeast Asia) มีความยาว เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นหนึ่งในแม่น้ำบนเกาะที่ยาวที่สุดในโลก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขามึลเลอร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของเกาะและไหลไปทางทิศตะวันตกลงสู่ทะเลจีนใต้และยังก่อให้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองปนตียานัก เมืองหลักของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก ยังมีแม่น้ำกาปูวัซอีกสายหนึ่งที่มีจุดกำเนิดจากทิวเขาเดียวกันแต่คนละฝั่ง ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะบอร์เนียว ไหลไปทางทิศใต้ แล้วไปรวมกับแม่น้ำบารีโตไหลลงทะเลชวา", "title": "แม่น้ำกาปูวัซ" }, { "docid": "705591#2", "text": "เทศบาลเมืองสระบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลปากเพรียวทั้งตำบล มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่บนที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางที่ระดับความสูงประมาณ 15-16 เมตร มีความลาดเอียงต่ำลงบริเวณรอบนอกเมือง ทำให้ในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังบริเวณที่ต่ำ เมืองสระบุรีมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองสระบุรี โดยไหลผ่านมาจากอำเภอมวกเหล็ก สู่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี และอำเภอเสาไห้ แล้วไหลบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีคลอง 1 แห่ง คือ คลองฝั่งแดง", "title": "เทศบาลเมืองสระบุรี" }, { "docid": "287270#1", "text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน พื้นที่ตอนบนและตอนกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูก มีความลาดชันปานกลาง ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูเขาสูง ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 30 - 802 เมตร ยอดเขาสูงสุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตฯ คือ เขาสิบห้าชั้น มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 802 เมตร พื้นที่ทางตอนใต้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด และเทือกเขาจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขาที่มีความลาดชันต่อเนื่องกัน เช่น เขาอ่างฤาไน เขาใหญ่ เขาชะมูนและเขาชะอม เป็นต้น ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เป็นที่เกิดของลำห้วยและลำธารที่สำคัญหลายสาย ไหลลงสู่แม่น้ำสำคัญๆ คือ แควระบม - สียัด ที่ไหลไปรวมกับแม่น้ำบางประกง ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา คลองลำพระเพลิงใหญ่ คลองพระสะทึง จากเขาสิบห้าชั้น ไหลไปรวมกับแม่น้ำปราจีนบุรี คลองตะโหนด ไหลลงสู่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และคลองประแสร์ที่ต้นน้ำมาจากเทือกเขาใหญ่ ไหลผ่านอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ออกสู่ทะเลที่จังหวัดระยอง เป็นต้น ", "title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน" }, { "docid": "172777#0", "text": "แม่น้ำวัง () เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพระยา", "title": "แม่น้ำวัง" }, { "docid": "936#29", "text": "ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ภาคเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน จุดสูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[37] รวมทั้งยังปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช สภาพของดินค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำใหญ่ที่สุดในประเทศซึ่งเกิดจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ภาคกลางเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด และถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก[11]:103 ภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มลายู[38]:22 ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ส่วนภาคตะวันตกเป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตกของภาคเหนือ", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "4205#31", "text": "แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนที่แยกสาขาออกมา แม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่อ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปีที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี", "title": "อ่าวไทย" }, { "docid": "124209#0", "text": "แม่น้ำปิง () เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร", "title": "แม่น้ำปิง" }, { "docid": "6523#10", "text": "แม่น้ำสะแกกรัง มีต้นกำเนิดจากเขาโมโกจูในจังหวัดกำแพงเพชร ไหลผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านอำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน และอำเภอเมืองอุทัยธานี ก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร โดยในแม่น้ำบริเวณตลาดหน้าวัดอุโปสถาราม มีชุมชนชาวแพซึ่งอยู่อาศัยกันมาหลายชั่วอายุคน มีการทำสวนต้นเตยและเพาะเลี้ยงปลาแรดในกระชังซึ่งเป็นปลาที่มีชื่อของจังหวัดด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาจากจังหวัดนครสวรรค์ผ่าน ต.หาดทนง (เกาะเทโพ) อ.เมือง จังหวัดอุทัยธานี ลำห้วยคลองโพ เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ไหลมาบรรจบแม่น้ำสะแกกรัง(แควตากแดด) ที่ตำบลสว่างอารมณ์ อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร ลำห้วยขุนแก้ว เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ และอำเภอห้วยคต ไหลผ่านอำเภอห้วยคต อำเภอลานสัก อำเภอหนองฉาง อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มาบรรจบแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร ลำห้วยทับเสลา ห้วยทับเสลาเป็นลำห้วยสาขาของแม่น้ำสะแกกรัง ห้วยทับเสลา มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก ทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านอำเภอลานสัก อำเภอหนองฉาง อำเภอหนองขาหย่าง มาบรรจบแม่น้ำสะแกกรังที่ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวจากท้ายเขื่อนทับเสลาถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ำสะแกกรังประมาณ 90 กิโลเมตร ลำห้วยกระเสียว เป็นลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำท่าจีน ต้นน้ำอยู่ระหว่างเขาแหละกับเขาใหญ่ในเขตอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอด่านช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มาบรรจบแม่น้ำท่าจีนที่บ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี รวมความยาวประมาณ 140 กิโลเมตร", "title": "จังหวัดอุทัยธานี" }, { "docid": "6803#6", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตัดส่วนโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุออกหน้าวัดเขมา[5] (เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าไปทางบางกรวยและบางใหญ่) ซึ่งทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองที่ขุดใหม่ กลายเป็นแนวแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลองอ้อม คลองบางกอกน้อย และคลองบางกรวยตามที่ปรากฏในปัจจุบัน", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "952837#0", "text": "น้ำแม่งาว เป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่มีต้นกำเนิดใน อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยต้นน้ำเกิดมีแหล่งกำเนิดจากดอยปากบ่องผาแดง เป็นภูเขาสายหนึ่งของทิวเขาผีปันน้ำ ตะวันออกในเขตบ้านขุนแม่งาว ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ไหลผ่านที่ราบลุ่มจากที่ภูเขาสูงลงสู่อำเภองาว จากนั้นไหลบรรจบสู่แม่น้ำยมที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นลำน้ำสาขาหลักของแม่น้ำยม หนึ่งในแม่น้ำสี่สายต้นกำเนิด แม่น้ำเจ้าพระยา", "title": "แม่น้ำงาว" }, { "docid": "330764#7", "text": "ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,754 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ชายแดนที่เป็นทั้งภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำสำคัญระหว่างไทยกับลาว มีการสัญจรติดต่อกันโดยใช้เรือ จึงมีท่าเรือสำคัญทั้งสองประเทศ เส้นทางเชื่อมระหว่างสองประเทศนี้ได้แก่ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แห่งที่ 2 แห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบเข้าเมือง การลำเลียงยาเสพติด การขนสินค้าหนีภาษี เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านชายแดนที่เป็นทั้งภูเขาและแม่น้ำ ผ่านจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,800 กิโลเมตร การแบ่งเขตแดนจะแบ่งโดย ถ้าเป็นภูเขาจะใช้สันปันน้ำเป็นแนวเขต แต่ถ้าเป็นแม่น้ำจะใช้ร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต เนื่องจากชายแดนด้านนี้มีชนกลุ่มน้อยของพม่าตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ เป็นต้น อาศัยอยู่ จึงมีมีการอพยพแรงงานเข้ามาในไทย มีการลักลอบค้าของหนีภาษี ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้สัก บ่อนการพนัน การลักลอบขนยาเสพติด เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยนับตั้งแต่ช่องบก (สามเหลี่ยมมรกต) ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด รวมระยะทางทั้งสิ้น 803 กิโลเมตร บริเวณชายแดนที่ติดกับตอนล่างของภาคอีสานจะใช้ทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แถบจังหวัดสระแก้วเป็นที่ราบและคลอง จึงเป็นเส้นทางเดินติดต่อกันสะดวก พื้นที่แถบนี้เรียกว่า \"ฉนวนไทย\" โดยบริเวณอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีตลาดการค้าขนาดใหญ่เรียกว่า \"ตลาดโรงเกลือ\" ชาวกัมพูชามักจะมาซื้อสินค้าประเภทอาหาร และวัสดุก่อสร้าง ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบค้าของหนีภาษี บ่อนการพนัน และการโจรกรรมรถยนต์จากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมระยะทางเขตแดน 506 กิโลเมตร ที่จังหวัดสตูลมีรั้วคอนกรีตกั้นแบ่ง แต่ส่วนใหญ่จะใช้แนวทิวเขาสันกาลาคีรีและแม่น้ำโกลกแบ่งเขตแดน ชายแดนด้านนี้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถยนต์และรถไฟ ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบขนของหนีภาษี ปัญหาการทำประมง การนับถือศาสนาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น\nลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" }, { "docid": "937993#1", "text": "2017: ชุดเจ้าพระยา มหาชลาสินธุ์ เมืองสี่แคว ปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำเล็กๆทั้ง4สายนี้ ไหลรวมเกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ ผนวกกับ ประเพณีที่โด่งดังที่ตั้งมั่นสำนึกในคุณแผ่นดินของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัด ก่อเกิดเป็นประเพณีตรุษจีนที่ยิ่งใหญ่ จนได้การขนานนามว่า \"มังกรเจ้าพระยา\"", "title": "มิสแกรนด์นครสวรรค์" }, { "docid": "6839#2", "text": "จังหวัดอ่างทอง มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ดินเป็นดินเหนียวปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่ ทำนา และทำสวน และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายแขนงที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง ซึ่งไหลผ่านอำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอป่าโมก รวมระยะทางที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทองประมาณ 40 กิโลเมตร", "title": "จังหวัดอ่างทอง" }, { "docid": "66442#0", "text": "คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ \"เบี่ยงน้ำ\" ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกะเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้", "title": "คลองลัดโพธิ์" }, { "docid": "348226#2", "text": "แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไทย โดยเฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยมีจุดกำเนิดที่ทิวเขาอินทนนท์ในภาคเหนือและอีกหลายทิวเขา ซึ่งเป็นลำธารและน้ำตกบนภูเขา ก่อนจะไหลลงที่ราบเป็นแม่น้ำปิง, แม่น้ำยม, แม่น้ำวัง, แม่น้ำน่าน ก่อนที่จะไหลมารวมกันที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และไหลออกทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ", "title": "ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา" }, { "docid": "375963#6", "text": "วันที่ 6 มิถุนายน ผลกระทบจากเรือบรรทุกน้ำตาลล่มส่งผลกระทบต่อปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว โดยวัดค่า DO ในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งบางกระเจ้า อำเภอพระปะแดง บางจุดที่ตรวจวัดมีค่า DO ต่ำเพียง 0.6 เท่านั้น และได้รับแจ้งปลาลอยตายในพื้นที่บางกระเจ้าและใกล้เคียงด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าปริมาณน้ำเสียที่มีน้ำตาลผสมอยู่ส่วนใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเกือบหมดแล้ว และเหลือน้ำเสียเจือจางอีกส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ส่วนอธิบดีกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ค่า DO ในแม่น้ำเจ้าพระยาดีขึ้นตามลำดับ โดยที่อำเภอบางไทรวัดได้ 4.3", "title": "เหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2554" }, { "docid": "149018#0", "text": "องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย เป็นองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ตั้งอยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยรับผิดชอบพื้นทั้งหมดในตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่บ้านพะเนิน หมู่ที่ 2 หมู่บ้านดอนใน หมู่ที่ 3 หมู่บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 หมู่บ้านดอนคดี โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศึกษาวิจัยหารูปแบบเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดการใช้แปลงพืชกรองน้ำเสียและการกำจัดขยะ โดยใช้กล่องคอนกรีตที่เหมาะสมตามพระราชดำริ การทดลองประยุกต์ใช้ความรู้จากการศึกษาวิจัยสู่การแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะในพื้นที่จริง (เฉพาะเทศบาลเมืองเพชรบุรี) ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหามลพิษในเขตชุมชนและเทศบาลทั่วทุกภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ทั้งนี้มีหน่วยงานรับผิดชอบดังต่อไปนี้ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่ \nตำบลแหลมผักเบี้ยเป็น 1 ใน 10 ตำบลที่อยู่ในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และเป็นตำบลที่อยู่ด้านทิศใต้สุดของอำเภอบ้านแหลม สำหรับแหล่งท่องเที่ยวในตำบลแหลมผักเบี้ยก็คือ แหลมหลวง ซึ่งเป็นแหลมยื่นออกจากฝั่งไปในทะเล โดยจะแยกระหว่างหาดทรายกับหาดโคลนออกจากกัน โดยทิศเหนือจะเป็นหาดโคลน ด้านทิศใต้เป็นหาดทราย สำหรับหาดทรายในตำบลแหลมผักเบี้ยนั้นเป็นหาดทรายจุดแรกของอ่าวไทยด้านซีกใต้ สืบเนื่องจากการไหลลงของน้ำจืดจากปากแม่น้ำลงสู่อ่าวไทยของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางประกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เมื่อตะกอนลงส่งทะเลจึงทำให้น้ำทะเลในช่วงนี้มีความขุนสูง จึงทำให้เป็นหาดโคลน แหลมหลวงจึงเหมาแก่การศึกษาระบบนิเวศได้ทั้ง 2 ระบบ ที่อยู่ในแหลมเดียวกัน", "title": "องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย" }, { "docid": "194644#1", "text": "ต้นน้ำของแม่น้ำลพบุรี อยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ไหลมาทางตะวันออกผ่านอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี, อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก่อนไหลลงไปทางใต้เข้าเขตอำเภอบ้านแพรก, อำเภอมหาราช, อำเภอบางปะหัน, อำเภอนครหลวง และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักหน้าตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงจะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดพนัญเชิง ตำบลหอรัตนไชย อำเภอและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 63 กิโลเมตร", "title": "แม่น้ำลพบุรี" }, { "docid": "999114#0", "text": "แม่น้ำระยอง หรือคนท้องถิ่นเรียกว่า คลองใหญ่ เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ในจังหวัดระยอง มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากเทือกเขากองซอง และเขาพนมศาสตร์ ไหลผ่านท้องที่อำเภอปลวกแดง อำเภอบ้านค่ายและผ่านตำบลท่าประดู่ ลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง ปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทย เป็นเพียงร่องน้ำที่ไหลผ่านสันทรายแคบ ๆ เท่านั้น โดยก่อนไหลสู่ทะเล แม่น้ำจะไหลคดเคี้ยวไปตามพื้นที่ราบ และแม่น้ำแตกกิ่งก้านสาขา วกวนจนเกิดเกาะแก่ง พื้นท้องแม่น้ำเป็นโคลนเลนและเป็นพื้นที่ป่าชายเลน มีสันทรายแคบ ๆ กั้นพื้นที่ทะเลด้านนอกที่เป็นพื้นทรายสะอาด รูปร่างของแม่น้ำช่วงนี้จึงเป็นเหมือนถุงยาวใหญ่ที่กักน้ำไว้ และมีทางออก ที่ปากถุงแคบ ๆ เพียงทางเดียว ", "title": "แม่น้ำระยอง" } ]
3311
วัดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น,มีวัดที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตกคือวัดอะไร?
[ { "docid": "23852#5", "text": "ภาพสถาปัตยกรรม ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาพอาคารส่วนใหญ่จะเป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่ว และมักปิดทองอย่างงดงาม มีลักษณะที่ไม่สมจริงทางทัศนวิสัย และเมื่ออิทธิพลตะวันตกแพร่เข้ามาก็เริ่มมีอาคารแบบยุโรปปรากฏขึ้นในงานจิตรกรรมเช่นเรือนขนมปังขิง ตึกกระหลาป๋า หรือเลียนแบบมาจากภาพโปสการ์ด แต่ในส่วนของวัดราชาธิวาสนี้ แม้ว่าจะเขียนขึ้นด้วยเทคนิควิธีแบบตะวันตกอย่างชัดเจน แต่กลับไม่ปรากฏอาคารแบบตะวันตกเลย รูปแบบอาคารเป็นทรงไทยประเพณีที่วาดได้ถูกสัดส่วน อาคารบางหลังคล้ายพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง และบางหลังก็คล้ายกับอาคารที่ในรูปแบบสมัยรัชกาลที่ 5 ลงมา อันเป็นศิลปะร่วมสมัยกัน เช่น มีมุขประเจิด สาหร่ายรวงผึ้ง ลักษณะอาคารคล้ายพระที่นั่งวัชรีรมย์และสำราญมุขมาตย์ เป็นต้น", "title": "พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส" } ]
[ { "docid": "342810#1", "text": "วัดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น มีรูปแบบดำเนินรอยตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา เช่น การสร้างโบสถ์วิหารให้มีฐานโค้ง การสร้างหอไตรหรือหอพระไตรปิฎกกลางน้ำ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการทำมาค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น จึงได้รับอิทธิพล ที่เห็นได้ชัดคือ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ได้รับอิทธิพลจีน", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "410166#1", "text": "วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งที่มีอยู่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อวัดกลางนา ครั้นเมื่อสถาปนากรุงเทพมหานคร แล้ว\nวัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและเป็นวัดที่มีเจ้าอาวาสเป็นพระสงฆ์รามัญจึงมี นามวัด\nอีกนามหนึ่งว่าวัดตองปุตามแบบอย่างวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดรามัญนิกายต่อมาภายหลังวัดตองปุได้รับพระราชทานนามว่า\nวัดชนะสงครามก็เนื่องด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ทรงเป็นแม่ทัพคนสำคัญในรัชกาลที่ ๑ และทรงนำทัพ หน้าชนะศึกในการสงครามครั้งสำคัญหลายต่อหลายครั้ง", "title": "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์" }, { "docid": "342810#3", "text": "วัดที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตกเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอธิค", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "351485#3", "text": "องค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างโบราณดังกล่าวเป็นลักษณะของวัดในสมัยอยุธยาตอนกลางโดยทั่วไป กล่าวคือ ประการแรก มีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย (อันได้แก่ เจดีย์) เข้ากับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเขมร (ได้แก่ พระปรางค์และสระน้ำ) ประการที่สอง พิจารณาจากขนาดของพระปรางค์และเจดีย์ของวัด ซึ่งมีขนาดเล็ก ก็เชื่อว่าประธานวัตถุของวัดน่าจะอยู่ที่อาคารพระวิหารเสียมากกว่า ซึ่งเป็นลักษณะของวัดในสมัยอยุธยาตอนกลาง เพราะวัดสมัยอยุธยาตอนต้นมักยึดถือพระปรางค์แบบเขมรเป็นประธาน", "title": "วัดสระลงเรือ" }, { "docid": "627744#1", "text": "บีน แวง สถาปนิกผู้ออกแบบสร้างอุโบสถของวัดนวมินทรราชูทิศ กล่าวว่า อุโบสถดังกล่าว ออกแบบตามแนวคิดของพระพรหมวชิรญาณ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) ประธรรมกรรมการอำนวยการวัดนวมินทรราชูทิศ ที่บอกว่าต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันออกและตะวันตก คือสถาปัตยกรรมแบบนิวอิงแลนด์และไทยเข้าด้วยกัน เพื่อให้ขัดกับสภาพแวดล้อมของเมือง ขณะเดียวกันก็สามารถรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยเอาไว้", "title": "วัดนวมินทรราชูทิศ" }, { "docid": "342810#9", "text": "สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น มีการสร้างอาคารต่างชนิดเพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่ อาศัยและวัดวาอารามในอดีต ได้แก่ โรงงาน โรงสี โรงเลื่อย ห้างร้านและที่พักอาศัยของชาวตะวันตก นอกจากนี้การสร้างอาคารของทางราชการ กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวังที่มีรูปแบบตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยในรูปแบบนีโอ คลาสสิค เช่น พระที่นั่งจักรมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "318124#1", "text": "ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ใหม่ เป็นหลังดั้งเดิมมีมาแต่ครั้งสร้างวัด ฐานโบสถ์มีลักษณะแอ่นโค้ง ที่ศัพท์ทางช่างเรียกว่า ตกท้องสำเภา หรือท้องช้าง หรือท้องเชือกซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ช่างนิยมทำกันในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่น่าสนใจคือส่วนของหลังคาซึ่งไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เช่นโบสถ์ที่พบเห็นทั่วไป ซึ่งคล้าย \"ศิลปะพระราชนิยม\" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในโบสถ์มีภาพเขียนซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์น่าชม เป็นภาพแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ภาพชาดกตอนต่าง ๆ ภาพพระบฏ (พระพุทธเจ้าทรงยืน) ภาพการนมัสการรอยพระพุทธบาท ภาพพิธีศพหรืออสุภกรรมฐาน พระมาลัย นอกจากนี้ยังสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านด้วย ในอดีตมีภาพเขียนทางด้านนอก แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมากแล้ว เหลือเพียงบางส่วนที่เหนือประตูทางเข้าด้านหน้า", "title": "วัดหน้าพระธาตุ (นครราชสีมา)" }, { "docid": "6523#14", "text": "สำหรับน้ำในแม่น้ำสะแกกรัง ยังได้เอ่อล้นตลิ่งทะลักเข้าท่วมโบราณสถานสำคัญ คือ มณฑปแปดแหลี่ยม ติดกับพระอุโบสถวัดโบสถ์ หรือวัดอุโปสถาราม ที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย -รัตนโกสินทร์ตอนต้น สูงประมาณ 50 ซม.เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนา \"พระบรมราชวงศ์จักรี\" ได้สถาปนาพระราชบิดาเป็น \"สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก\" เมื่อ พ.ศ. 2338", "title": "จังหวัดอุทัยธานี" }, { "docid": "157726#3", "text": "มีลักษณะศิลปะ และสถาปัตยกรรมไทยที่สร้างสรรค์ผสมผสานศิลปะจีน อาคารภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ พระวิหาร งานศิลปกรรมจะอยู่ที่ส่วนหลังคา หน้าจั่วหรือหน้าบัน มีรูปแบบเป็นงานก่ออิฐถือปูนทำเลียนแบบจีน ที่ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ ที่เดิมมักใช้งานเครื่องไม้ และถึงแม้จะสร้างขึ้นเลียนแบบจีนก็ตาม แต่ก็ยังคงลักษณะความเป็นไทยไว้เช่น การซ้อนหลังคาในส่วนที่เด่นของอาคาร และมุงกระเบื้องตามลักษณะของไทย", "title": "วัดนางนองวรวิหาร" } ]
797
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนอะไร?
[ { "docid": "1001149#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนที่กำลังดำเนินอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2562 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562" } ]
[ { "docid": "751916#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2559 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี ระบบพายุแรกก่อตัวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ทำให้ฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกในยุคดาวเทียมฤดูนี้ มีพายุก่อตัวช้าที่สุดหนึ่งในห้า โดยมีเพียงฤดูกาล พ.ศ. 2516 2526 2527 และ 2541 เท่านั้นที่มีพายุก่อตัวช้ากว่าฤดูนี้", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559" }, { "docid": "476523#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2482" }, { "docid": "726660#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2543 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543" }, { "docid": "726644#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2513" }, { "docid": "669185#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2558 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558" }, { "docid": "764814#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2493 ไม่ได้มีการกำหนดขอบเขตอย่างเป็นทางการ โดยจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2493 แต่ช่วงเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุด ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเวลาเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงถึงช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดภายใน มหาสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือ", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2493" }, { "docid": "726503#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2512" }, { "docid": "411248#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 เป็นช่วงของปีที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2555 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555" }, { "docid": "491122#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2504" }, { "docid": "687373#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2511" }, { "docid": "477875#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2501" }, { "docid": "491349#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2505" }, { "docid": "764826#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2494 เป็นช่วงฤดูที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวโดยทั่วไปน้อยกว่าค่าเฉลี่ย โดยพายุหมุนเขตร้อนหลายลูกโดดเด่นในฟิลิปปินส์ ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่ในช่วงเดือนมกราคม ซึ่งไม่พบการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน และเดือนตุลาคม เป็นเดือนที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดด้วยพายุหมุนเขตร้อนสี่ลูก ในภาพรวมแล้วมีพายุดีเปรสชันเขตร้อน 21 ลูก ในจำนวนนั้น 17 ลูกทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ ในจำนวนนั้น 16 ลูกทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2494" }, { "docid": "914491#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 เป็นอดีตเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2561 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พายุลูกแรกของฤดูนี้ชื่อว่า บอละเวน ก่อตัวขึ้นในวันที่ 3 มกราคม พายุไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูคือ เจอลาวัต ทวีกำลังแรงถึงระดับพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม และกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของปีด้วย", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561" }, { "docid": "491363#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2506" }, { "docid": "545302#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2510" }, { "docid": "765006#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2495 ไม่ได้มีการกำหนดขอบเขตอย่างเป็นทางการ โดยจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2495 แต่ช่วงเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุด ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเวลาเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงถึงช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดภายใน มหาสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือ", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2495" }, { "docid": "490892#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 เป็นฤดูกาลที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2556 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556" }, { "docid": "585238#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557 เป็นฤดูกาลที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2557 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557" }, { "docid": "829975#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นฤดูกาลที่สงบในแง่ของดัชนีเอซีเอและมีพายุไต้ฝุ่นน้อยที่สุดนับแต่ปี 2554 ฤดูกาลนี้มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นจำนวน 27 ลูก ในจำนวนนี้ 11 ลูกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น และมีพายุเพียงสองลูกที่ทวีกำลังไปถึงระดับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ทั้งพายุส่วนมากยังมีช่วงชีวิตสั้นและมีกำลังอ่อน ส่งผลให้ดัชนีเอซีอีมีค่าต่ำมาก ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2560 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560" }, { "docid": "490899#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2503" }, { "docid": "491523#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2507" }, { "docid": "508106#0", "text": "บทความนี้กล่าวถึงช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ยี่สิบ มันจะไม่สมบูรณ์; ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นมีเป็นช่วง ๆ ต้องอาศัยการสังเกตของนักท่องเที่ยวและนักเรือ ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมโดยหน่วยงานกลางในช่วงต้นนี้ พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เหล่านี้จะอยู่ภายในอัตภาพขอบเขตระยะเวลาของแต่ละปี ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก" }, { "docid": "389905#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 เป็นช่วงของปีที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2554 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุหมุนถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและมีตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554" }, { "docid": "477894#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2502" }, { "docid": "491779#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2508" }, { "docid": "504329#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) เป็นฤดูของพายุหมุนเขตร้อนแต่ไม่มีการกำหนดช่วงของขอบเขตของพายุ แต่ส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและธันวาคม วันเหล่านี้ในแต่ละปีเมื่อพายุไซโคลนเขตร้อนมักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2509" }, { "docid": "985735#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2545 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545" }, { "docid": "751014#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2544 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544" } ]
1863
เกอดะฮ์ มีพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "14017#0", "text": "เกอดะฮ์ () หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า \"ดารุลอามัน\" (\"ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ\") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี", "title": "รัฐเกอดะฮ์" } ]
[ { "docid": "14017#1", "text": "พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี", "title": "รัฐเกอดะฮ์" }, { "docid": "14017#7", "text": "รัฐเกอดะฮ์มีเครือข่ายทางหลวงเชื่อมต่ออย่างดี ดังนั้นจึงสะดวกและง่ายที่นักท่องเที่ยวจะเข้าไปถึง ทางด่วนเส้นเหนือ-ใต้ก็ตัดผ่านรัฐเกอดะฮ์ จึงทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังอาโลร์เซอตาร์ให้เหลือเพียง 5 ชั่วโมง ในทางเดียวกันรถไฟเกเรอตัปปีตานะห์มลายู (Keretappi Tanah Melayu) ก็เปิดให้บริการทุกวันจากเมืองหลักๆ ของมาเลเซียไปยังเมืองอาโลร์เซอตาร์ และเมืองอื่นๆ\nสายการบินแห่งชาติ (สายการบินมาเลเซีย) ก็มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังอาโลร์เซอตาร์จากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สายการบินแอร์เอเชียเป็นสายการบินที่มีเที่ยวบินสองเที่ยวต่อวันไปอาโลร์เซอตาร์ และยังออกจากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์เช่นกัน\nอย่างไรก็ตาม ยังมีบริการเรือข้ามฟากที่ออกทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงจากเกาะลังกาวีไปยังกัวลาเกอดะฮ์ ตั้งแต่ 07.00 ถึง 19.00 น. ทุกวันอีกด้วย", "title": "รัฐเกอดะฮ์" }, { "docid": "14017#2", "text": "เกอดะฮ์เป็นนครรัฐที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่บริเวณหุบเขาบูจัง ซึ่งเป็นร่องรอยการตั้งอยู่ของอาณาจักรฮินดู-พุทธ ในสมัยศตวรรษที่ 4 อาณาจักรแห่งนี้ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่ามากบนพื้นแผ่นดินมาเลเชีย และมีการสืบเชื้อสายปกครองดินแดนในแถบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยของ กษัตริย์ชื่อ มะโรง มหาวงศ์ ซึ่งพระองค์นับถือศาสนาฮินดู โดยราชวงศ์ของพระองค์ ปกครองเกอดะฮ์เรื่อยมาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 9 พระองค์มหาวงศ์ เกอดะฮ์มีการติดต่อค้าขายกับอาหรับจนรับเอาอารยธรรมและศาสนาของชาวอาหรับเข้ามายึดถือ พระองค์มหาวงศ์ หันมานับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน มุสซาฟา ชาห์ ในปี พ.ศ. 1679 (ค.ศ. 1136)", "title": "รัฐเกอดะฮ์" }, { "docid": "35773#18", "text": "มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่กลุ่มหินของยุคไทรแอสซิกบริเวณแม่สอดนั้นเคยแบ่งเป็น กลุ่มหินลำปาง แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมในปัจจุบันได้แยกออกเป็น 2 หน่วย แต่ไม่มีรายละเอียดเหมือนกับยุคจูแรสซิก โดยยุคไทรแอสซิก เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ? 0.4 ถึง 199.6 ? 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี", "title": "อำเภอแม่สอด" }, { "docid": "823#55", "text": "สหรัฐแผ่นดินใหญ่มีพื้นที่ 7,663,940.6 ตารางกิโลเมตร รัฐอะแลสกา ซึ่งมีประเทศแคนาดาคั่นสหรัฐแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีขนาด 1,717,856.2 ตารางกิโลเมตร รัฐฮาวายซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 28,311 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่มีประชากรอาศัยของสหรัฐ ได้แก่ ปวยร์โตรีโก อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและหมู่เกาะเวอร์จินรวมมีพื้นที่ 23,789 ตารางกิโลเมตร", "title": "สหรัฐ" }, { "docid": "35773#14", "text": "อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406.650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า", "title": "อำเภอแม่สอด" }, { "docid": "160048#13", "text": "พื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มเจไอ อยู่ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอาจจะเคลื่อนไหวอยู่ในฟิลิปปินส์ และไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่อำนาจของรัฐบาลเข้าไปไม่ถึง, พื้นที่ที่ขาดแคลนเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในหมู่เจ้าหน้าที่ และพื้นที่ติดทะเลที่มีเขตน่านน้ำที่เปิดกว้างของหลายประเทศ ทำให้กลุ่มเจไออาศัยข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นช่องทางในการปฏิบัติการได้อย่างในหลายประเทศได้โดยสะดวก", "title": "ญะมาอะห์ อิสลามียะห์" }, { "docid": "47008#0", "text": "เกาะฮาวแลนด์ () อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ เป็นพื้นที่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา ภูมิประเทศเป็นเกาะปะการัง มีพื้นที่ทั้งหมด 1.6 ตารางกิโลเมตร และมีทรัพยากรที่สำคัญคือมูลค้างคาว แต่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวร ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหมือนกับจอห์นสตันอะทอลล์ พอลไมราอะทอลล์ เกาะเบเกอร์ สถานะของเกาะฮาวแลนด์มีสภาพเดียวกันกับเกาะเบเกอร์ ปัจจุบันมีสนามบินอยู่ 1 แห่ง แต่ไม่มีท่าเรือ", "title": "เกาะฮาวแลนด์" }, { "docid": "736728#3", "text": "พื้นที่ทางเหนือของเมืองมีภูมิประเทศเป็นเนินคล้ายลูกคลื่น ครอบคลุมบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งราเวนส์แบร์ก ประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้า ลำธาร และแม่น้ำสายเล็ก แหล่งน้ำที่สำคัญคือ อ่างเก็บน้ำโอเบอร์เซ (พื้นที่ 20 เฮกตาร์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำธารโยฮันนิสบาค ถือเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดของบีเลอเฟ็ลท์ เมื่อมองภาพรวมของเส้นทางน้ำจะสังเกตได้ว่า แหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบีเลอเฟ็ลท์จะไหลลงแม่น้ำอา (\"Aa\") ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเวเซอร์ ส่วนแหล่งน้ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะไหลลงแม่น้ำเอมส์ โดยมีสันปันน้ำเป็นเทือกเขาของป่าทอยโตบูร์กตั้งอยู่กึ่งกลาง ป่าดังกล่าวยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองบีเลอเฟ็ลท์ มีเส้นทางเดินธรรมชาติหลายแห่ง", "title": "บีเลอเฟ็ลท์" } ]
2314
จอมพล เจียง ไคเชก เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "52791#0", "text": "จอมพล[1] เจียง ไคเชก (; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1887 — 5 เมษายน ค.ศ. 1975) หรือชื่อตามภาษาจีนมาตรฐาน คือ เจี่ยง จงเจิ้ง (蔣中正) หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) เป็นผู้นำทางการเมืองและการทหาร ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ระหว่างปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1975 โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรกเจียง ไคเชกได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนได้ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่จนถึง ปี ค.ศ. 1949 ช่วงที่สองหลังจากนั้นได้อพยพลี้ภัยไปอยู่เกาะไต้หวันและสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นมาใหม่ เจียงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งจีนไต้หวันอีกครั้งนับจากนั้นถึงปี ค.ศ. 1975 เขาได้รับการยอมรับโดยนานาประเทศส่วนใหญ่ในฐานะผู้นำของประเทศจีนตามหลักความชอบธรรมทางกฎหมายจนถึงช่วงปลายปี ค.ศ. 1960 และช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 เขาได้กลายมาเป็นผู้นำที่ไม่ใช่ราชวงศ์ที่ปกครองประเทศเป็นเวลาถึง 48 ปี", "title": "เจียง ไคเชก" } ]
[ { "docid": "52791#26", "text": "เมื่อเจียงสังหารเถาเสร็จ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่หนีหลบซ่อนกบดานที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในระหว่างนั้นเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเขียนบทความด้านการทหาร และเขาก็ใช้ชีวิตเที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา อีกทั้งยังเจ้าอารมณ์ ดื้อรั้น มีปากเสียงกับผู้คนบ่อยๆ ทำให้เพื่อนๆที่ร่วมงานต่างขยาดและไม่มีผู้อื่นกล้าเข้าใกล้ เจียงรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ เขามักจะเข้าไปขลุกอยู่ในบาร์ ในไนต์คลับ ที่นั่นมีทุกอย่างที่เขาชื่นชอบ ทั้งสุราและสตรีอีกทั้งยังได้พบปะกับเพื่อนที่มีรสนิยมต่างกัน", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#13", "text": "ก่อนหน้าที่เจียงจะตัดสินใจเข้าเป็นทหารได้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งขึ้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศจนเป็นมหาอำนาจแบบตะวันตกและส่งกองทัพเข้ารุกรานประเทศจีนที่กำลังอ่อนแอ สงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของราชสำนักชิง ทำให้จีนต้องถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ความอัปยศดังกล่าวทำให้เจียงเห็นว่าจีนควรเรียนรู้บทเรียนจากสงครามครั้งนี้และควรศึกษาจากความสำเร็จทางการทหารของญี่ปุ่น แม้ว่าเจียงจะไม่ชอบการที่ญี่ปุ่นได้รุกรานและข่มเหงประเทศจีนก็ตาม แต่เขากลับเห็นว่าหากประเทศจีนจะเข้มแข็งได้ต้องเรียนรู้จากศัตรู เขาจึงคิดจำใจไปเรียนทางด้านการทหารที่ญี่ปุ่นและหาวิธีเดินทางไปญี่ปุ่น", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#9", "text": "ในช่วงที่เจียงเริ่มเรียน เขามีความสนใจในการสงครามอย่างมาก มีการเล่นเอาไม้มาทำเป็นดาบและอาวุธจำลองเป็นสนามรบหลังเลิกเรียนอยู่เป็นประจำ โรงเรียนประถมของเจียงได้สอนวิชาลัทธิขงจื้อและปรัชญาจีนโบราณ เจียงจึงได้เปลี่ยนชื่อจาก \"จูไท่\" เป็น ไคเชก (介石) ในสำเนียงแบบเจ้อเจียง หรือ เจี้ยฉือ ในสำเนียงภาษาจีนกลาง ที่แปลว่า หินบริสุทธิ์ เมื่อเจียงอายุได้ 14 ปี มารดาของเจียงได้จัดให้เจียงแต่งงานกับภรรยาชาวชนบทอายุ 19 ปี นามว่า เหมา ฟูเหมย (毛福梅) แต่เจียงกลับไม่ชอบคอและมีความรักกับภรรยาคนแรกคนนี้ เนื่องจากเขาพบว่าถูกบังคับจากมารดาที่ต้องการหาภรรยาให้กับเขาและให้เขายอมรับ เจียงจึงย้ายไปศึกษาในโรงเรียนอีกเมืองหนึ่งและให้ภรรยาของเขาคอยดูแลมารดาที่บ้าน", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#5", "text": "เจียงไคเชกเกิดที่เมืองเฟิงหัว มณฑลเจ้อเจียง ห่างจากเมืองท่าทางตะวันออกของเมืองหนิงโปไปเป็นระยะทาง 30 ไมล์ ในวัยเด็กเจียงมีชื่อเริ่มแรกว่า \"จูไท่\" ครอบครัวของเจียงมีฐานะที่ดีได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนในเมือง บิดาของเจียง เจียง จ้าวกง (蔣肇聰) และมารดา หวัง ไคหยู่ (王采玉) ทั้งคู่เป็นครอบครัวที่ทำการค้าเกลือและใบชา", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#28", "text": "หลังจากราชวงศ์ชิงล่มสลายลง รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งสถาปนาโดยดร.ซุน ก็เสียอำนาจในการปกครองประเทศให้กับยฺเหวียน ชื่อไข่ที่เข้ามาครอบครองตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ยฺเหวียน ชื่อไข่ผู้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ปรารถนาที่จะตั้งตนเป็นฮ่องเต้ เขาควบคุมอำนาจกองกำลังทหาร และส่งมือสังหารไปลอบสังหารคู่แข่งทางการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ซึ่งก็คือบรรดาแกนนำฝ่ายประชาธิปไตยในพรรคของดร.ซุน", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "640987#10", "text": "หลังจากการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ.1911 และการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition) ของเจียงไคเชก ร้ฐบาลสาธารณรัฐจีน (จีน: 中華民國; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó; อังกฤษ: Republic of China) ได้ตั้งเมืองหนานจิงขึ้นเป็นเมืองหลวงตามความปรารถนาของ ดร. ซุนยัตเซ็น ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1920 จนถึงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณเจียงหนานได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีน โดยมีบุคคลชั้นนำด้านการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋งและบุคคลสำคัญในด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนจำนวนมากมาจากพื้นที่เจียงหนาน", "title": "เจียงหนาน" }, { "docid": "52791#7", "text": "ในบันทึกของเจียง เขาเขียนพรรณนาถึงมารดาของเขาในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของลัทธิขงจื้อ เพราะมารดาของเขามีอิทธิพลอย่างมากในวัยเด็ก เขาได้เติบโตภายใต้การเลี้ยงดูของมารดา มารดาของเจียงได้อบรมสั่งสอนให้เขาเติบโตมามีความเป็นสุภาพบุรุษอีกทั้งยังสอนถึงหลักคุณธรรมแบบจีนโบราณ เมื่อเจียงสูญเสียบิดาเมื่อเขามีอายุได้ 9 ปี ครอบครัวของเจียงมีเพียงมารดาที่ทำหน้าที่พยุงฐานะของครอบครัว มารดาของเจียงได้ทำงานหนักประหยัดอดออมและเสียสละอย่างมากเพื่อให้เจียงได้เล่าเรียนหนังสือ ในภายหลังเจียงได้ตระหนักมากขึ้นถึงประเด็นครอบครัวของเขาในวัยเด็ก ขณะที่กล่าวคำปราศรัยให้แก่สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งในปี ค.ศ. 1945 ว่า", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#23", "text": "เดือนพฤศจิกายน เฉิน ฉีเหม่ยใช้กองกำลังอาวุธบุกยึดเซี่ยงไฮ้ เฉินขึ้นมาเป็นจอมพลคุมเซี่ยงไฮ้ได้ เฉินสนิทกับเจียงมาก แต่แทนที่เขาจะแต่งตั้งเจียงเป็นเสนาธิการทหาร เขากลับยกตำแหน่งนี้ให้แก่นักเรียนแลกเปลี่ยนทหารคนอื่นที่สุขุมเยือกเย็นกว่าเจียง ขณะนั้น เฉินเอือมระอากับนิสัยเลวของเจียงเต็มที เจียงทั้งขี้เหล้า เสเพล เจ้าอารมณ์ กระนั้นก็ตามเฉินก็ยังมองว่าเจียงก็ยังมีข้อดีในตัว เขาเป็นคนเก่ง เป็นบุคคลากรที่ควรถนอมไว้ เฉินจึงให้เขาเป็นหัวหน้าหน่วยกล้าตาย พาทหารหมู่หนึ่งบุกเข้าไปช่วยนักปฏิวัติที่ถูกปิดล้อมอยู่ในเมืองหังโจวและเจียงก็ทำสำเร็จ เขากลายเป็นวีรบุรุษในท่ามกลางกองทัพนักปฏิวัติ และเฉินได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้พันคุมกองร้อยทหารในเจียงซู", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#17", "text": "เมื่อเจียงจบการศึกษาจากสถาบันโตเกียวชินบูกักโคะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1910 รายงานจากทางญี่ปุ่นระบุว่าคะแนนรวมทั้งหมดของเจียงได้อันดับที่ 55 จากทั้งหมด 62 อีก 8 คนเป็นที่สุดท้าย ถือว่าปานกลางไม่ดีมาก[7]:53-84", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#14", "text": "เจียงได้ขออนุญาตมารดาของเขาเพื่อไปเรียนโรงเรียนการทหารของญี่ปุ่น ในช่วงแรกเธอคัดค้าน แต่ด้วยความมุมานะและพยายามอ้อนวอนมารดาของเจียงให้คล้อยตามจนในที่สุดมารดาของเขาก็อนุญาตและสนับสนุนทางด้านการเงินไปต่างประเทศ[4] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1906 เมื่อเจียงเดินทางถึงญี่ปุ่นเขาพยายามสมัครเข้าโรงเรียนทหารทันทีแต่กลับถูกปฏิเสธและเมื่อเงินที่ได้มาเริ่มขัดสนเขาจึงเดินทางกลับประเทศจีน", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "732490#12", "text": "ในวันที่ 12 กันยายน ผู้แทนของจีนเรียกร้องให้สันนิบาตชาติเข้ามาแทรกแซงแต่สันนิบาตชาติก็ไม่ตอบสนอง จากจุดนั้นทำให้จอมพลเจียงมองไปยังอเมริกา หวังว่าอเมริกาจะรวบรวมการสนับสนุนของต่างประเทศให้กับจีน จอมพลเจียงยังคงออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการภาคสนามยึดเซี่ยงไฮ้เป็นที่มั่นไม่ว่าจะสูญเสียเท่าไรเพื่อรอคอยเวทีการทูตระหว่างประเทศ", "title": "ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ (พ.ศ. 2480)" }, { "docid": "52791#1", "text": "เจียงได้เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในการปฏิวัติ ค.ศ. 1911 และทำการรบต่อต้านรัฐบาลของหยวน ซื่อไข่ และตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เจียงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง ในฐานะที่เป็นสมาชิกที่โดดเด่น เขาได้กลายมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของดร.ซุน ยัตเซน บิดาผู้บุกเบิกสาธารณรัฐจีน เมื่อดร.ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ใน ค.ศ. 1925 เจียง ไคเชกได้เป็นผู้นำพรรคแทน เจียงได้ทำการรวมชาติจีนเป็นปึกแผ่น นำทัพกรีฑาขึ้นเหนือปราบปรามเหล่าขุนศึกจนสำเร็จ[2]", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#22", "text": "เจียงสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการทหารญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1911 เขาตัดสินใจอุทิศตนเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ยเต็มตัว เจียงได้เดินทางกลับไปยังประเทศจีนโดยตั้งใจจะสู้รบเป็นนายทหารปืนใหญ่ เขาทำหน้าที่ในกองกำลังปฏิวัตินำกองทหารในเซี่ยงไฮ้ จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญคือการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิงที่อู่ชางได้ขยายวงกว้างกลายเป็นการปฏิวัติซินไฮ่", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#16", "text": "เหล่านักเรียนแลกเปลี่ยนจากจีนเริ่มเดินทางจากเมืองท่าต้าเหลียนนั่งเรือโดยสารมายังเมืองโกเบของญี่ปุ่นและเดินทางต่อไปยังกรุงโตเกียว เมื่อเจียงเดินทางมาถึงญี่ปุ่นอีกครั้ง เจียงได้เข้าเรียนในสถาบันโตเกียวชินบูกักโคะ[6] ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากจีนที่จะช่วยสอนเรื่องกิจการทางทหารและสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เป็นนายทหารชั้นประทวน[6]", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#25", "text": "เถา เฉิงกังเป็นสมาชิกผู้มีอิทธิพลของคณะปฏิวัติพันธมิตรถงเหมิงฮุ่ยที่ทรยศทั้งซุนยัตเซ็นและเฉิน ไปตั้งตนเป็นหัวหน้าพรรคซิงหมิงซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพรรคของดร.ซุน เจียงถือโอกาสช่วงที่เถา เฉิงกังนอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล เมื่อรอบตัวเถาไม่มีมือปืนคอยคุ้มกัน เจียงฉวยจังหวะใช้ปืนพกยิงลอบสังหารเถาในโรงพยาบาล[8]", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#24", "text": "เจียงในฐานะเป็นร้อยโทของเฉิน ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1912 เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเฉินกับ เถา เฉิงกัง ศัตรูทางการเมืองของเฉิน ฉี่เหม่ย เมื่อเจียงทราบเรื่องเข้าก็ถึงขั้นอาสากำจัดเถา เฉิงกัง", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#4", "text": "โดยในช่วงหลัง ค.ศ. 1945 การทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเจียง ไคเชกเป็นฝ่ายแพ้ต้องอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวันใน ค.ศ. 1949 ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยดีตลอดมาจนถึง ค.ศ. 1971 จีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#30", "text": "ในปี ค.ศ. 1913 คณะปฏิวัติได้ทำการปฏิวัติครั้งที่สอง เพื่อขับไล่ยฺเหวียน ชื่อไข่ เจียง ไคเชกได้บุกเข้าไปปลุกระดมเพื่อนๆในค่ายทหารเจียงหนัน แต่พลาดท่าเสียทีเกือบถูกทหารของยฺเหวียนจับได้ เจียงได้หนีไปขอความช่วยเหลือจากตู้ เย่ว์เซิง ได้นักเลงอันธพาลกลุ่มใหญ่มาเป็นทหาร เจียงได้พูดปลุกระดมให้เหล่านักเลงนั้นสู้เพื่อประเทศชาติอย่างห้าวหาญ แต่เนื่องจากกองกำลังของเขาไม่มีระเบียบวินัย สู้รบไม่กี่อึดใจ ก็แตกพ่ายเสียที เจียงหนีเข้าไปในเขตเช่าอังกฤษอีกครั้ง ในเดียวกันกองกำลังของดร.ซุนพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นท่า ดร.ซุนต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่นอีกครั้ง ปี ค.ศ. 1915 เจียงกับเฉินถูกยฺเหวียน ชื่อไข่ตามล่าอย่างหนักทั้งคู่จึงจำใจหนีไปญี่ปุ่นอีกเช่นกันและคอยหาโอกาสลักลอบเข้าเซี่ยงไฮ้มาเคลื่อนไหวก่อการปฏิวัติอีก", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#10", "text": "ในช่วงนี้เองเจียงได้พบและตระหนักถึงสภาพอันน่าเวทนาของบ้านเมืองในขณะนั้นเจียงได้พบว่าปัญหาหลักของประเทศมาจากการปกครองของราชวงศ์ชิงที่เป็นราชวงศ์ของชาวแมนจูซึ่งมาจากดินแดนแมนจูเรียทางตอนเหนือเข้ามาปกครองประเทศจีนเป็นเวลาหลายร้อยปี", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#19", "text": "เจียงไคเชกในเครื่องแบบทหารญี่ปุ่น ขณะศึกษาที่ญีปุ่น เจียงไคเชกขณะสังกัดหน่วยทะคะดะ", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#15", "text": "ในปีเดียวกันเมื่อเจียงเดินทางกลับมา เหมาฝูเหม่ยภรรยาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่เจียงคนแรก เจียงตั้งชื่อลูกชายว่า เจียง จิงกั๋ว ต่อมาเจียงได้เข้าสมัครการฝึกฝนการทหารที่โรงเรียนการทหารเป่าติ้งที่เป็นสถาบันการทหารที่สนับสนุนโดยราชวงศ์ชิง เมื่อเจียงได้เข้ารับการฝึกที่เป่าติ้ง เขาได้ฝึกฝนอย่างขยันหมั่นเพียรและเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาตลอดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกและเพื่อนทหารเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเจียงได้ขึ้นชั้นปี 2 ของโรงเรียนทหาร เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนตัวแทนนักเรียนทหารแลกเปลี่ยนจีน หนึ่งในสี่นายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารของญี่ปุ่น[5]", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#20", "text": "ระหว่างที่เรียนที่ญี่ปุ่นนี้เองเจียงได้ข่าวการเคลื่อนไหวของดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้ซึ่งต้องลี้ภัยหนีการตามล่ามาอยู่ญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นผู้นำในขบวนการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิงหรือ \"ถงเหมิงฮุ่ย\" เจียงยังได้พบกับเฉิน ฉี่เหม่ยที่เป็นชาวเจ้อเจียงเหมือนกัน เฉินฉี่เหม่ยได้ช่วยสอนด้านลัทธิการเมืองให้กับเจียง เขาเปรียบเสมือนเป็นครูที่ดีและต่อมาได้กลายมาเป็นสหายคนสนิทของเจียง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในคำปราศรัยของดร.ซุนที่จะปฏิวัติเพื่อล้มล้างการปกครองของราชวงศ์ชิงและก่อตั้งสาธารณรัฐ ปีเดียวกันนั้นเฉิน ฉี่เหม่ยได้พาเจียงเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ย", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#12", "text": "เจียงได้เรียนหนังสือจบมัธยมเมื่อเขาอายุได้ 17 ปี เจียงวางแผนจะเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมายแต่มีเหตุที่ทำให้กลับใจเขาได้พบกับเหล่าคนหนุ่มที่ได้ต่างทะยอยตัดหางเปียยาวแบบแมนจูทิ้ง เนื่องจากในขณะนั้นชาวแมนจูที่เข้ามาปกครองประเทศจีนได้มีประเพณีที่จะต้องบังคับให้ชายทุกคนไว้ผมทรงหางเปียยาว เมื่อเจียงถามคนกลุ่มนั้นเหตุใดจึงตัดหางเปียทิ้ง พวกเขากลับตอบว่า \"เพื่อเป็นการต่อต้านความโหดร้ายและฉ้อฉลของราชสำนักชิง\" ทำให้เจียงหันมาสนใจกับอาชีพทหารและล้มเลิกในการเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมาย", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#31", "text": "ในปี ค.ศ. 1916 นักฆ่าของยฺเหวียน ชื่อไข่ได้ลักลอบเข้ามาในกองบัญชาการของฝ่ายปฏิวัติและยิงเฉิน ฉี่เหม่ยตาย การตายของเฉิน ฉี่เหม่ย สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่เจียง ไคเชกเป็นอย่างยิ่ง เฉินเป็นทั้งเพื่อนรัก เจ้านาย ผู้มีพระคุณและพี่น้องร่วมสาบานของเจียง ขณะนั้นเจียงอายุ 30 เขาสุขุมเยือกเย็นมากยิ่งขึ้นความตายของเฉินทำให้เจียงยิ่งตระหนักถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสาระและไม่เที่ยวเตร็ดเตร่แบบเมื่อก่อนอีก", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "52791#18", "text": "หลังจากนั้นเจียงได้เข้าเรียนต่อในสถาบันการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ได้จัดเอาไว้ให้เหล่านักเรียนทุนแลกจากจีนที่มาศึกษา เจียงได้ถูกคัดเลือกเข้ากองพลที่ 13 แห่งหน่วยเหล่าปืนใหญ่ทะคะดะ ในขณะที่เรียนปืนใหญ่นั้นแม้เพื่อนร่วมชั้นชาวญี่ปุ่นจะดูถูกและกลั่นแกล้งเจียงและนักเรียนจากจีน แต่เจียงกลับอดทนและมุ่งมั่นไม่สนใจการดูถูกใดๆ เจียงฝึกฝนล้างห้องน้ำ อาบน้ำให้ม้าและอยู่ในสนามรบที่มีอาหารเพียงน้อยนิดทั้งหมดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกทหารชาวญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "888870#1", "text": "สาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นในปี 1912 เพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ่หลังจากการโค่นล้มราชวงศ์ชิงลง ในปี 1945 กองกำลังญี่ปุ่นในไต้หวันยอมแพ้ต่อเจียง ไคเชก ผู้นำของสาธารณรัฐจีน ในฐานะตัวแทนของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองและไต้หวันกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน ระหว่างปีสุดท้ายของสงครามกลางเมืองจีน (1946-1949) สาธารณรัฐจีนสูญเสียแผ่นดินใหญ่ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) และย้ายรัฐบาลไปอยู่ที่ไต้หวัน  และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อต้ังสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในปี 1949", "title": "การรวมประเทศจีน" }, { "docid": "52791#27", "text": "ด้วยความสนิทสนมกับเฉิน ฉี่เหม่ยทำให้เจียงได้เข้าไปมีความสัมพันธ์กับกลุ่มคดีอาญากรรมของเซี่ยงไฮ้ (กลุ่มแก๊งเขียวของตู้ เย่ว์เซิงและหวง จิ่นหลง) เจียงเข้าร่วมกลุ่มแก็งเขียวก่อคดีปล้นฆ่าหลายคดี ทำให้เจียงเริ่มสนิทสนมกับพวกเจ้าพ่อมาเฟีย โดยเฉพาะตู้ เย่ว์เซิง ผู้มีมาดเจ้าพ่ออันเฉียบขาด เขาเป็นมาเฟียที่รักชาติที่มักจะทำร้ายและฆาตรกรรมชาวจีนที่ทำการขายชาติให้กับเหล่าประเทศที่มาแสวงหาผลประโยชน์ในจีน ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่โจษจันกัน ในช่วงเวลาของเจียงในเมืองเซี่ยงไฮ้ ในเขตสัมปทานอังกฤษที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตสัมปทานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งเหล่าชาติตะวันตกที่เข้ามาแสวงหาอิทธิพลในจีน ตำรวจอังกฤษได้เฝ้าดูเขาและกล่าวโทษเขาด้วยความร้ายกาจต่างๆ แต่เจียงไม่เคยถูกจับ ไม่เคยถูกสอบสวนและไม่เคยติดคุก[9]", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "558879#23", "text": "เจียง ไคเชก ได้ดำรงตำแหน่งสืบทอดเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งต่อเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของ ดร.ซุน เจียง ไคเชกได้นำทัพกรีฑาขึ้นเหนือจนสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1926 ถึง ปี ค.ศ. 1928 เจียงได้ล้มรัฐบาลเป่ยหยางเดินหน้าปราบกลุ่มขุนศึกจนราบคาบ เขาได้ตั้งรัฐบาลที่เมืองนานกิง ประกาศตั้งรัฐบาลชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีนขึ้น", "title": "สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)" }, { "docid": "52791#6", "text": "เจียงมีบุคคลิกที่ซุกซนโกรธง่ายและหัวรั้น ในวัย 3 ขวบ เขาได้ทดลองจวกตะเกียบแหย่ลงลำคอด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าตะเกียบจะลงไปได้ลึกเท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายมันก็ติดค้างและแม่ของเขาได้เรียกให้ผู้คนละแวกบ้านมาช่วยกันเอาตะเกียบออกด้วยความยากลำบาก", "title": "เจียง ไคเชก" } ]