query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 11
185
| positive_passages
listlengths 1
9
| negative_passages
listlengths 1
30
|
---|---|---|---|
2149 | โลกมีดวงจันทร์กี่ดวง? | [
{
"docid": "3875#0",
"text": "โลก () เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
}
] | [
{
"docid": "3875#51",
"text": "โลกและดวงจันทร์โคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลร่วมในทุก ๆ 27.32 วัน สัมพัทธ์กับดาวฤกษ์พื้นหลัง เมื่อประกอบกันเข้ากับวงโคจรร่วมโลก–ดวงจันทร์รอบดวงอาทิตย์แล้ว เกิดเป็นคาบของเดือนจันทรคตินับจากอมาวสีหนึ่งไปอีกอมาวสีหนึ่งราว 29.53 วัน เมื่อมองจากขั้วฟ้าเหนือ การเคลื่อนที่ของโลก ดวงจันทร์ และการหมุนรอบแกนดาวของทั้งคู่ล้วนเป็นไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากจุดสูงเหนือขั้วเหนือของทั้งดวงอาทิตย์และโลก วงโคจรของโลกจะมีทิศทางทวนเข็มนาฬิการอบดวงอาทิตย์ วงโคจรและระนาบแกนไม่ได้วางตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยแกนหมุนของโลกมีการเอียงประมาณ 23.4 องศาจากแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (หรือสุริยวิถี) และระนาบโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเอียง ±5.1 องศาเทียบกับระนาบโลก–ดวงอาทิตย์ หากปราศจากการเอียงเช่นนี้ จะเกิดอุปราคาทุกสองสัปดาห์สลับกันระหว่างจันทรุปราคาและสุริยุปราคา",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "3875#73",
"text": "ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารขนาดค่อนข้างใหญ่ มีพื้นผิวแข็ง คล้ายดาวเคราะห์โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งในสี่ของโลก เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดในระบบสุริยะเมื่อเทียบสัดส่วนกับดาวเคราะห์ แม้ว่าแครอนมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบสัดส่วนกับดาวเคราะห์แคระพลูโต ดาวบริวารที่โคจรรอบดาวเคราะห์อื่น ๆ ก็เรียก \"ดวงจันทร์\" ตามดวงจันทร์ของโลก",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "493468#1",
"text": "อีกาสามขา เป็นอีกาตัวสีดำ มีขาสามขา หลังการสร้างโลก ในสมัยฮ่องเต้เหยา มีดวงอาทิตย์ปรากฏพร้อมกันถึง 10 ดวง อีกาสามขาเป็นนกประจำดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับกระต่ายแห่งดวงจันทร์ สร้างความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้โฮวอี้ใช้ธนูยิงให้ตก ด้วยความคะนองของโฮวอี้จึงยิงตกไป 9 ดวง เหลือแค่ดวงเดียว",
"title": "อีกาสามขา"
},
{
"docid": "205054#0",
"text": "ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (; NEA) คือดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้กับวงโคจรของโลก โดยมากมีวงโคจรอยู่ระหว่าง 0.983 ถึง 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกบางส่วนตัดกับวงโคจรของโลก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะปะทะกันได้ ดาวเคราะน้อยเหล่านี้อยู่ใกล้พอที่จะเดินทางไปถึงโดยยานอวกาศได้ บางดวงสามารถไปถึงได้โดยใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการไปดวงจันทร์เสียอีก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายที่น่าสำรวจอย่างยิ่ง มียานอวกาศไปเยือนดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกสองดวงแล้ว คือ ยานสำรวจ Near Earth Asteroid Rendezvous ขององค์การนาซา ไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส และยานสำรวจ Hayabusa ของ JAXA ได้ไปเยือน 25143 Itokawa \"ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก\" จัดว่าเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งอยู่ในบรรดา \"วัตถุท้องฟ้าใกล้โลก\"",
"title": "ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก"
},
{
"docid": "630705#13",
"text": "ในระหว่างที่ยานกาลิเลโอบินผ่านแอมัลเธีย ยานกาลิเลโอได้ตรวจพบสัญญาณกระพริบ 9 ครั้งซึ่งน่าจะเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็กซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวงโคจรของแอมัลเธีย เนื่องจากสัญญาณตรวจพบได้จากจุดเดียวเท่านั้น จึงไม่สามารถวัดระยะทางที่แท้จริงได้ ดวงจันทร์ขนาดเล็กอาจมีขนาดได้ตั้งแต่ก้อนกรวดหรือสนามกีฬา ยังไม่เป็นที่ทราบถึงต้นกำเนิดของดวงจันทร์ขนาดเล็กเหล่านี้ บางทีอาจถูกจับไว้โดยแรงดึงดูดในตำแหน่งวงโคจรปัจจุบัน หรืออาจเป็นชิ้นส่วนที่หลุดออกมาเมื่อดวงจันทร์ถูกอุกกาบาตชน ในวงโคจรต่อไปซึ่งเป็นวงโคจรสุดท้ายของยานกาลิเลโอ ยานได้ตรวจพบดวงจันทร์ขนาดเล็กอีกจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในครั้งนี้แอมัลเธียได้โคจรอยู่ที่อีกด้านของดางพฤหัสบดี ดังนั้นจึงน่าจะเป็นไปได้ที่วัตถุเหล่านี้จะก่อตัวขึ้นเป็นวงแหวนรอบดาวพฤหัสบดีซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวงโคจรของแอมัลเธีย",
"title": "แอมัลเธีย (ดาวบริวาร)"
},
{
"docid": "3875#78",
"text": "โลกมีดาวเคราะห์น้อยร่วมวงโคจรอย่างน้อยห้าดวงด้วยกัน อาทิเช่น 3753 ครูอิทเนและ ดาวเคราะห์น้อยโทรจันร่วมทางได้แก่ ซึ่งเคลื่อนไปตามเส้นทางล้ำหน้าโลก ณ ตำแหน่งจุดสามเหลี่ยมลากร็องจ์ (Lagrange triangular point) หรือแอล4 ในวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "701877#0",
"text": "เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 เกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร",
"title": "สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559"
},
{
"docid": "193529#4",
"text": "เฮาเมอามีดวงจันทร์บริวารเท่าที่ค้นพบแล้ว 2 ดวง คือ (136108) ฮีอีอากา (Hiiaka) และ (136108) นามากา (Namaka) ดวงจันทร์ทั้งสองถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548 เพียงไม่กี่ปีหลังจากที่มีการบังดาวเฮาเมอาของฮีอีอากาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งการบังของฮีอีอากาจะไม่เกิดขึ้นอีกจนกว่าจะถึงปี พ.ศ. 2681 แต่นามากามีการบัง 5 ครั้งระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2551 ทีมของไมก์ บราวน์ได้คำนวณการโคจรและคาดว่าการบังของนามากาอาจเกิดขึ้นอีก 2-3 ปี",
"title": "ดาวเฮาเมอา"
},
{
"docid": "230785#0",
"text": "ทุติยเพ็ญ หรือบลูมูน () คือดวงจันทร์เต็มดวงที่มีกำหนดเวลาเกิดไม่แน่นอน โดยส่วนใหญ่ในแต่ละปีจะมีดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง เฉลี่ยเกิดประมาณเดือนละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าคิดเฉพาะระยะเวลาที่เกิดดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง (รอบ) ในหนึ่งปีของปฏิทินตามระบบสุริยคติจะมีจำนวนวันมากกว่าประมาณ 11 วัน ซึ่งเมื่อนำมาสะสมรวมกัน จะทำให้ทุกสองหรือสามปีมีดวงจันทร์เต็มดวงเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้ง (กล่าวคือจะเกิดขึ้น 2.71722874 ปี) ดวงจันทร์เต็มดวงที่เพิ่มขึ้นมานี้เรียกว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน\" แต่เนื่องจากมีการนิยามความหมายของดวงจันทร์ “ที่เพิ่มขึ้นมานี้\" ต่างกัน จึงทำให้การกำหนดวันที่เกิดดวงจันทร์นี้ต่างกัน โดยส่วนใหญ่ดวงจันทร์สีน้ำเงินหมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงที่เกิดครั้งที่สองของเดือน",
"title": "ทุติยเพ็ญ"
},
{
"docid": "3875#15",
"text": "ดวงอาทิตย์จะวิวัฒนาการเป็นดาวยักษ์แดงในราว ข้างหน้า แบบจำลองทำนายว่าดวงอาทิตย์จะขยายตัวออกประมาณ 1 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 250 เท่าของรัศมีปัจจุบัน ชะตาของโลกนั้นยังไม่ชัดเจนนัก เมื่อเป็นดาวยักษ์แดงแล้วดวงอาทิตย์จะสูญเสียมวลไปประมาณร้อยละ 30 ดังนั้นหากปราศจากผลจากฤทธิ์ไทด์ โลกจะเคลื่อนไปโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ 1.7 หน่วยดาราศาสตร์ เมื่อดาวมีรัศมีมากที่สุด สิ่งมีชีวิตที่ยังเหลืออยู่เกือบทั้งหมดหรือทั้งหมดก็จะถูกทำลายจากความสว่างที่เพิ่มขึ้นของดวงอาทิตย์ (เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ประมาณ 5,000 เท่าจากระดับปัจจุบัน) การจำลองในปี 2008 ชี้ว่า สุดท้ายวงโคจรของโลกจะเสื่อมสลายอันเนื่องมาจากผลจากแรงไทด์ และลากเอาโลกให้ตกเข้าสู่บรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่เป็นยักษ์แดงนั้นแล้วก็ระเหยไปจนหมดสิ้น",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
}
] |
2442 | อีเลียต ลอเรนซ์ สปิตเซอร์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอะไร? | [
{
"docid": "154595#1",
"text": "สปิตเซอร์เกิดและเติบโตในเขตบรองซ์ (The Bronx) ของเมืองนิวยอร์กซิตี้ เป็นบุตรชายของเจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์ เบอร์นาร์ด สปิตเซอร์ (Bernard Spitzer) และแอนน์ สปิตเซอร์ (Anne Spitzer) ศาสตราจารย์วิชาวรรณกรรมอังกฤษ เขาเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) และเข้าศึกษากฎหมายจากโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด (Harward Law School) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ที่ซึ่งเขาได้พบภรรยาในอนาคต ซิลด้า วอลล์ (Silda Wall) ผู้ซึ่งในเวลาต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Children for Children (เด็กเพื่อเด็ก) หลังจากได้รับปริญญากฎหมายหลักสูตร Juris Doctor สปิตเซอร์จึงเข้าทำงานในบริษัทกฎหมาย พอลล์, เวสส์, ริฟคินด์, วอร์ตัน แอนด์ แกร์ริสัน (Paul, Weiss, Rifkind, Wharton & Garrison)",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
}
] | [
{
"docid": "320871#4",
"text": "ความพยายามก่อนหน้านั้น “\"ฮาร์วาร์ดคลาสสิก\"” (ค.ศ. 1909) เป็นผลงานของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ ดับเบิลยู. อีเลียตของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ปรัชญาเดียวกับทอมัส คาร์ลีลย์ที่ว่า:",
"title": "บัญญัติตะวันตก"
},
{
"docid": "154595#3",
"text": "ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2541 สปิตเซอร์เอาชนะเดนนิส แวคโค(Dennis Vacco)จากพรรครีพับลิกัน (Republican Party)ได้อย่างฉิวเฉียด จนได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอัยการสูงสุดรัฐนิวยอร์ก (New York State Attorney)แทนนายเวคโคซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น การรณรงค์หาเสียงของเขาได้รับการสนับสนุนทางการเงินเป็นจำนวนมากจากเงินหลายล้านดอลลาร์ที่กู้จากพ่อของเขา ขณะดำรงตำแหน่ง สปิตเซอร์ได้ดำเนินการฟ้องคดีหลายคดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับ อาชญากรรมของพนักงานหรือผู้บริหารภายในองค์กร, การฉ้อโกงหลักทรัพย์, การฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต, และการปกป้องสิ่งแวดล้อม คดีของเขาที่เป็นรู้จักกันดีที่สุด คือการฟ้องร้องบรรดาบริษัทซึ่งเกี่ยวข้องกับการสุมหัวกันตรึงราคาชิปคอมพิวเตอร์, การปั่นราคาหุ้นของวาณิชธนกิจ, และคดีความกองทุนรวมปีพ.ศ. 2546 นอกจากนั้น เขายังฟ้องร้องริชาร์ด แกรสโซ (Richard Grasso) อดีตประธานตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange: NYSE) โดยกล่าวหาว่า เขาล้มเหลวในการทำให้คณะกรรมการประจักษ์ถึงสัญญาผลตอบแทนของเขาซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 140 ล้านเหรียญดอลลาร์",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "369930#12",
"text": "ดอกเตอร์ฟรานซิส อี. สวีนีย์ (Francis E. Sweeney) เป็นผู้ต้องสงสัยรายใหญ่อีกราย ตามการสืบสวนในปี 1938 ซึ่งพบข้อมูลสำคัญว่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ดอกเตอร์ฟรานซิสเคยทำงานในหน่วยแพทย์ผ่าตัดสนาม อีเลียต เนสได้สอบปากคำดอกเตอร์ฟรานซิสเป็นการส่วนตัวด้วย โดยอีเลียตเรียกเขาด้วยรหัส \"เกย์ลอร์ด ซุนด์ไฮม์\" (Gaylord Sundheim) อีเลียตกล่าวว่า ดอกเตอร์ฟรานซิส \"ไม่ผ่าน\" เครื่องจับเท็จถึงสองครั้ง การจับเท็จทั้งสองดำเนินการโดย ลีโอนาร์ด คีเลอร์ (Leonard Keeler) ผู้ชำนัญพิเศษด้านจับเท็จ ซึ่งลีโอนาร์ดกล่าวแก่อีเลียตว่า \"คุณจับถูกคนแล้ว\" (\"You has your man\") อย่างไรก็ดี อีเลียตรู้สึกว่า โอกาสที่จะดำเนินคดีกับดอกเตอร์ฟรานซิสโดยสะดวกนั้นมีน้อยมาก เนื่องจากดอกเตอร์ฟรานซิสเป็นญาติสนิทของ มาร์ทิน แอล. สวีนีย์ (Martin L. Sweeney) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคู่แข่งทางการเมืองของอีเลียต มาร์ทินนั้นจ้องเล่นงานอีเลียตเรื่องที่เขาจับคนร้ายผิดคนอยู่ทุกฝีก้าว",
"title": "ฆาตกรหั่นศพแห่งคลีฟแลนด์"
},
{
"docid": "153143#0",
"text": "เซอร์อาเธอร์ จอห์น อีแวนส์ อังกฤษ: Sir Arthur John Evans (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2394 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 นักโบราณคดีผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษผู้ขุดค้นวังนอสซัสบนเกาะครีต ประเทศกรีก อีแวนส์เกิดที่เมืองแนชมิลลส์ ประเทศอังกฤษ เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนแฮโรว์ และเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่วิทยาลัยบราเซโนส มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยกอตติงเก็น ประเทศเยอรมนี",
"title": "อาร์เธอร์ อีแวนส์"
},
{
"docid": "41684#2",
"text": "ซัมเนอร์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล และต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาที่ที่มหาวิทยาลัยนี้ ในฐานะเป็นนักสังคมวิทยา ผลงานของซัมเนอร์จึงเกี่ยวกับการพัฒนาแนวคิดเรื่อง การแพร่กระจาย วิถีชาวบ้าน การหลงชาติพันธุ์ (Ethnocentrism) การศึกษาด้านวิถีชาวบ้านทำให้ซัมเนอร์สรุปว่า การ “ปฏิรูป” เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรี (laissez-faire) อย่างสุดขั้ว",
"title": "วิลเลียม แกรแฮม ซัมเนอร์"
},
{
"docid": "154595#13",
"text": "เดิอนมกราคม พ.ศ. 2549 สปิตเซอร์เลือกผู้นำวุฒิสมาชิกเสียงข้างน้อยประจำรัฐนิวยอร์ก เดวิด แพเทอร์สัน (David Paterson) เป็นว่าที่รองผู้ว่าฯ และผู้ช่วยหาเสียง หลังจากประกาศการลงสมัครเลือกตั้ง สปิตเซอร์ก็ได้รับการรับรองจากชาวนิวยอร์กหลายคน รวมถึงอธิบดีกรมบัญชีประจำรัฐ (Comptroller) อลัน เฮเวซี่ (Alan Hevesi) และอดีตผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก 2 คน คือ เดวิด ดิงกินส์ (David Dinkins) และ เอ็ด ค็อค (Ed Koch) ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สปิตเซอร์ และ แพเทอร์สันชนะการรับรองจากพรรคเดโมแครตประจำรัฐนิวยอร์ก จากโพลล์เลือกตั้งประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ของชาวควินนิพิแอ็ค (Quinnipiac)-ซึ่งเป็นชาวอเมริกันพื้นเมือง (หรืออินเดียนแดง)เผ่าหนึง-สปิตเซอร์ได้รับความนิยมนำหน้าผู้บริหารประจำแนสซาว เค้าน์ตี้ (Nassau County Executive) โธมัส ซูสซี่ (Thomas Suozzi) ด้วยคะแนน 76 ต่อ 13 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เขาเผชิญหน้าซูสซี่ในการโต้วาทีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ ณ มหาวิทยาลัยเพซ (Pace University) ในแมนฮัตตัน (Manhattan) โดยอภิปรายกันในหัวข้อหน่วยงานสาธารณะและเมดิเคด (Medicaid: ระบบช่วยเหลือด้ายสุขภาพสำหรับบุคคลและครอบครัวซึ่งมีรายได้ต่ำ) เมื่อถูกถามเรื่องกัญชา สปิตเซอร์กล่าวว่า เขาไม่เห็นด้วยในการใช้กัญชาในทางการแพทย์ โดยอ้างว่าตัวยาชนิดอื่นมีประสิทธิผลมากกว่า ในการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครตซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 สปิตเซอร์เอาชนะซูสซี่และได้เป็นตัวแทนของพรรคด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 81",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#9",
"text": "พ.ศ. 2537 สปิตเซอร์วางมือจากการทำงานเอกชน เพื่อหันมาทุ่มเทให้กับการชิงตำแหน่งหัวหน้าอัยการสูงสุดรัฐนิวยอร์ก แต่เขาไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา พ.ศ. 2541 เขาก็ได้รับเลือกตั้งในที่สุด และตั้งแต่นั้นมา เขาก็กลายเป็นหนึ่งในนักการเมืองพรรคเดโมแครตที่โดดเด่นที่สุดในรัฐนิวยอร์ก เขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#14",
"text": "วันที่ 5 ตุลาคม สปิตเซอร์กล่าวปราศรัยต่อกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มรักร่วมเพศ เอ็มไพร์ สเตท ไพรด์ อเจ็นด้า (Empire State Pride Agenda) ว่าถ้าเขาได้เป็นผู้ว่าการ เขาจะผ่านกฎหมายอนุญาตให้เกย์แต่งงานได้ในรัฐนิวยอร์ก",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#18",
"text": "สปิตเซอร์ใช้อำนาจตามข้อนี้ในการดำเนินคดีในทางแพ่งต่อตัวบริษัท และในการฟ้องร้องทางอาญาต่อเจ้าพนักงานของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่ามีประโยชน์อย่างมากอันสืบเนื่องจากคดีความองค์กรของสหรัฐฯหลายคดี อันมีจุดเริ่มต้นจากการล่มสลายของเอ็นรอน (Enron) ในปีพ.ศ. 2544 หลายๆองค์กรเหล่านี้ รวมถึงบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ซึ่งช่วยขายหลักทรัพย์ให้บริษัทเหล่านี้ ถูกกล่าวหาว่าทำการปั่นราคาหุ้นด้วยวิธีการอันผิดจริยธรรมมาตลอดทศวรรษ 1990 เมื่อการสืบสวนข้อกล่าวหาซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (U.S. Securities and Exchange Commission: SEC) และสภาคองเกรส ไม่ได้รับความร่วมมือ หน่วยงานของสปิตเซอร์จึงใช้อำนาจออกหมายเรียกพยานหลักฐานเพื่อตรวจสอบเอกสารองค์กร",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#6",
"text": "สปิตเซอร์เกิดในเขตบรองซ์ เป็นลูกคนเล็กสุดในจำนวน 3 คนของแอนน์ สเปนเซอร์ (นามสกุลก่อนแต่งงานคือ โกลด์ฮาเบอร์) อดีตศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ และเบอร์นาร์ด สเปนเซอร์ มหาเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ เขาสืบเชื้อสายมาจากชาวยิวซึ่งอพยพมาจากออสเตรีย",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#5",
"text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 หนังสือพิมพ์ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ (The New York Times) ได้รายงานว่าเขาเป็นลูกค้าคนหนึ่งที่ใช้บริการการขายบริการทางเพศทางโทรศัพท์ จากการสืบสวนของหน่วยงานรัฐบาล สปิตเซอร์ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 และจะมีผลบังคับในวันที่ 17 โดยกล่าวว่าเนื่องจาก \"ความผิดพลาดส่วนตัว\"",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "19410#2",
"text": "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ภายใต้การบริหารของ อธิการบดี ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (Charles William Eliot) ในระหว่างปี ค.ศ. 1869-1909 โดยอธิการบดีอีเลียต ได้เริ่มนำระบบวิชาเลือก การใช้ระบบหน่วยกิต การสอบคัดเลือก เข้ามาใช้กับมหาวิทยาลัย",
"title": "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด"
},
{
"docid": "154595#2",
"text": "2 ปีต่อมา เขาเข้าร่วมสำนักงานอัยการเขตแมนฮัตตัน ซึ่งมีโรเบิร์ต เอ็ม มอร์เก็นเธา (Robert M. Morgenthau) เป็นหัวหน้า เพื่อปราบปรามองค์กรอาชญากรรม เขาเป็นผู้ริเริ่มการสืบสวนซึ่งนำไปสู่การล้มล้างอิทธิพลของตระกูลแกมบิโน่ (Gambino Crime Family) เหนืออุตสาหกรรมเสื้อผ้าและขนส่งโดยกระบะของเขตแมนฮัตตัน ในพ.ศ. 2535 สปิตเซอร์ลาออกเพื่อไปทำงานที่บริษัทกฎหมายสแกดเด็น, อาร์ปส์, สเลท, มีเกอร์ แอนด์ ฟลอม (Skadden, Arps, Slate, Meagher & Flom) และบริษัท คอนแสตนติน แอนด์ พาร์ทเนอร์ส์ (Constantine and Partners) ในเวลาต่อมา",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "918392#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2545 พระองค์ทรงจบจากโรงเรียนศิลปะการแสดงจอร์แดน ที่ตั้งใน ติรานา ต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินเไปทรงศึกษาต่อ ณ ปารีส ต่อมา พ.ศ. 2548 จึงทรงศึกษาจบ และได้ไปแสดง ณ มหาวิทยาลัยปารีสที่ 8 พระองค์สามารถรับสั่งภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และ ภาษาอังกฤษ ",
"title": "เจ้าหญิงอีเลีย มกุฎราชกุมารีแห่งแอลเบเนีย"
},
{
"docid": "946777#0",
"text": "เจมส์ โอกิลวี ()\nเจมส์ โอกิลวี เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ณ เซอร์รีย์ สหราชอาณาจักร เป็นพระโอรสคนแรกใน เจ้าหญิงอเล็กซานดรา เลดีโอกิลวี และ เซอร์แองกัส โอลกิลวี เป็นพระนัดดาใน เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์ และเป็นพระราชปนัดดาใน พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร โดยเขาได้รับการบพิศมาโดย ไมเคิล รามซี ผู้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี โดยเขามีพระราชมารดาทูลหัวคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ตอนที่เขาเกิดเขาอยู่อันดับที่ 13 ในการสืบราชบีลลังก์ และปัจจุบันอยู่อันดับที่ 53 เจมส์ เริ่มต้นศึกษาในพระราขวังกับ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์ ผู้เป็นพระญาติ และ เลดีซาราห์ แชตโท ก่อนจะเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมอุดมแห่งสหราชอาณาจักร ก่อนที่เจมส์และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด จะทรงแยกจากกันจาก มหาวิทยาลัยโกดอนสโตล ซึ่งเจมส์ได้ย้ายไปที่วิทยาลัยอีตัน และมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ จากนั้นเขาไปเรียนต่อที่ สก็อตแลนด์ คณะ ศิลปะประวัติศาสตร์ โดยหลังจากเรียนจบแล้ว เขาได้ทำงานที่ บริษัทจัดส่งสินค้าในเอดินบะระ \nเจมส์ ได้แต่งงานกับ จูเลีย ราวไลน์ซัน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม เมื่อปี พ.ศ. 2531 ณ โบสถ์เซนต์แมรี โดยมีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้",
"title": "เจมส์ โอกิลวี"
},
{
"docid": "154595#17",
"text": "นักเศรษฐศาสตร์ ทนายความ และนักวิเคราะห์การเมืองหลายคนวิพากษ์วิจารณ์บทบาทอันแข็งขันของสปิตเซอร์ในการอภิปรายนโยบายสาธารณะ สำนักงานอัยการสูงสุดประจำรัฐนิวยอร์กมีอำนาจควบคุมวอลล์ สตรีท (Wall Street) ซึ่งรวมถึงองค์กรและสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่ง นอกจากนั้น ยังมีอำนาจสอบสวนและฟ้องร้ององค์กรและบริษัทมากกว่าปกติภายใต้กฎหมายธุรกิจทั่วไปแห่งรัฐนิวยอร์ก (New York State's General Business Law) โดยเฉพาะ ภายใต้มาตรา 23-เอ วรรคที่ 352 (หรือที่เป็นรู้จักกันทั่วไปว่า บัญญัติมาร์ตินแห่ง ค.ศ. 1921-Martin Act of 1921) หัวหน้าอัยการสูงมีอำนาจออกหมายเรียกพยานและเอกสารของบริษัทอันเกี่ยวข้องกับการสืบสวนการฉ้อโกงหรือกิจกรรมอันไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรหรือบริษัท",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#12",
"text": "วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สปิตเซอร์ประกาศความตั้งใจของเขาในการชิงตำแหน่งตัวแทนของพรรคเดโมแครตสำหรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ถึงแม้จะมีข่าวลือมานานแล้ว แต่การประกาศตัวของสปิตเซอร์นั้นก็ยังรวดเร็วผิดปกติ คือ เกือบ 2 ปีก่อนจะมีการเลือกตั้ง เนื่องจากสปิตเซอร์สามารถได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกพรรคเดโมแครตที่มีตำแหน่งในภาครัฐอย่างรวดเร็ว เขาจึงได้รับความเคารพจากผู้นำในพรรคเดโมแครตทั่วประเทศ ผู้ว่าการรัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico) บิลล์ ริชาร์ดสัน (Bill Richardson) กล่าวถึง สปิตเซอร์ ว่าเป็น \"อนาคตของพรรคเดโมแครต\" ในงานระดมทุนสำหรับการหาเสียงเลือกตั้งของสปิตเซอร์ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "273915#0",
"text": "โรมีโอและจูเลียต เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2511 กำกับและเขียนบทโดยฟรังโก เซฟฟริเรลลี ผู้กำกับชาวอิตาลี โดยดัดแปลงจากบทละครโศกนาฏกรรมโรเมโอและจูเลียต ของวิลเลียม เชกสเปียร์ นำแสดงโดย เลนนาร์ด ไวท์ทิง และโอลิเวีย ฮัซซีย์ และให้เสียงบรรยายโดย ลอเรนซ์ โอลิเวียร์ เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในอิตาลี ราวศตวรรษที่ 15 ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยภาพยนตร์ถ่ายทำที่โบราณสถานต่างๆ ในอิตาลีตลอดทั้งเรื่อง",
"title": "โรมีโอและจูเลียต (พ.ศ. 2511)"
},
{
"docid": "9956#40",
"text": "แต่การปฏิวัติศิลปะยุคใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มิได้ละทิ้งงานของเชกสเปียร์ กลับนำผลงานของเขากลับมาใหม่ตามความพอใจของชนชั้นสูง กลุ่มเอ็กซ์เพรสชันนิสต์ในเยอรมันและพวกฟิวเจอริสต์ในมอสโกต่างนำเอาบทละครของเขากลับมาสร้างสรรค์กันใหม่ นักเขียนบทละครและผู้กำกับนิยมมาร์กซิสต์ ชื่อ Bertolt Brecht ได้สร้างโรงละครย้อนยุคโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเชกสเปียร์ ที.เอส.อีเลียต กวีและนักวิจารณ์แสดงความเห็นค้านกับชอว์ ว่างานของเชกสเปียร์มีความ \"เรียบง่าย\" อย่างมาก ซึ่งแสดงถึงความทันสมัยของเชกสเปียร์ในยุคเดียวกันนั้น[73] อีเลียต ร่วมกับ จี.วิลสัน ไนท์ และโรงเรียนวิจารณ์วรรณกรรมยุคใหม่ มีบทบาทสำคัญในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมนี้โดยได้รับอิทธิพลจากผลงานของเชกสเปียร์ ช่วงทศวรรษ 1950 คลื่นการเปลี่ยนแปลงของยุคใหม่เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ยุค \"โพสต์-โมเดิร์น\" ซึ่งนำการศึกษาวรรณกรรมของเชกสเปียร์เข้าสู่ยุคใหม่ด้วย[73] ทศวรรษ 1980 ลักษณะการศึกษาผลงานของเชกสเปียร์เปิดกว้างต่อศิลปะในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น เช่น structuralism, เฟมินิสต์, อัฟริกัน-อเมริกัน, และ เควียร์[73]",
"title": "วิลเลียม เชกสเปียร์"
},
{
"docid": "988667#6",
"text": "เลดีอาเมเลียสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์แมรีส์ในแอสคอตซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก เธอใช้เวลาว่างก่อนเข้ามหาวิทยาลัย () ในประเทศอินเดียและไทย แล้วเข้าศึกษาต่อด้านภาษาฝรั่งเศสและอิตาลี มหาวิทยาลัยเอดินบะระ",
"title": "เลดีอาเมเลีย วินด์เซอร์"
},
{
"docid": "154595#7",
"text": "เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน ฮอเรซ มานน์ (Horace Mann School) หลังจากทำคะแนนการสอบวัดความสามารถทางการศึกษา (Scholastic Aptitude Test: SAT) ได้ 1,590 คะแนน สปิตเซอร์จึงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เอกสำนักกิจการสาธารณะและระหว่างประเทศวู้ดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson School of Public and International Affairs) เขาทำคะแนนเต็มได้ในการสอบคัดเลือกเข้าสำนักกฎหมาย (Law School Admission Test: LSAT) และเข้าศึกษาต่อ ณ สำนักกฎหมายฮาร์วาร์ด ที่ซึ่งเขาได้พบและแต่งงานกับ ซิลด้า วอลล์ (Silda Wall) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2530 และมีลูกด้วยกัน 3 คน ได้แก่ เอลิสซ่า (Elyssa) ซึ่งเกิดเมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2532, ซาราเบธ (Sarabeth) เกิดเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2535, และเจนน่า (Jenna) เกิดเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2537",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#11",
"text": "พ.ศ. 2541 สปิตเซอร์สมัครลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งอีกครั้ง เขาเอาชนะ คอปเปลล์, สมาชิกวุฒิสภา แคเธอรีน แอ็บเบท (Catherine Abbate), สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เจฟฟ์ ออร์ลิค (Jeff Orlick) และอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าการ ชาร์ลส์ เดวิส (Charles Davis) ได้ในการเลือกตั้งไพรมารี (primary) ของพรรคเดโมแครต ต่อมา เขาเอาชนะแวคโคซึ่งดำรงตำแหน่งในตอนนั้นด้วยคะแนน 48.2 เปอร์เซ็นต์ ต่อคะแนน 47.6 เปอร์เซ็นต์ ของที่แวคโคได้รับ สปิตเซอร์เลือกตั้งใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 โดยมีคู่แข่งเป็นผู้พิพากษาจากพรรครีพับลิกัน ดอร่า อิริซาร์รี่ โดยสปิตเซอร์ชนะด้วยคะแนนเสียง 66 เปอร์เซ็นต์",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#10",
"text": "ในปีพ.ศ. 2537 หัวหน้าอัยการสูงสุดจากพรรคเดโมแครตผู้รับตำแหน่งมาอย่างยาวนาน โรเบิร์ต อับรามส์ (Robert Abrams) ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถเอาชนะ อัล ดามาโต้ (Al D'Amato) ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้ สมาชิกพรรคเดโมแครตหลายคนเห็นจุดอ่อนใน จี โอลิเวอร์ คอปเปลล์ (G. Oliver Koppell) ผู้เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าอัยการสูงสุดแทนให้ครบวาระ และต่างเสนอตัวชิงตำแหน่ง สปิตเซอร์เองก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนนั้นเขายังอายุน้อยและไม่เป็นที่รู้จัก ถึงแม้จะได้เงินสนับสนุนจำนวนมากจากครอบครัวของเขาเอง ผลลัพธ์การหาเสียงคือ เขาได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสุดท้ายในบรรดาผู้สมัครเป็นตัวแทน 4 คน โดยผู้ชนะคือ ผู้พิพากษาแคเร็น เบิร์นสไตน์ (Karen Burnstein) แต่ต่อมา เบิร์นสไตน์ก็แพ้เดนนิส แวคโค จากพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งทั่วไป",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#8",
"text": "หลังจากได้รับปริญญา Juris Doctor สปิตเซอร์จึงเข้าทำงานเป็นเสมียนให้ผู้พิพากษาโรเบิร์ต ดับเบิลยู สวีท (Robert W. Sweet) ในแมนฮัตตัน ต่อมาจึงเข้าร่วมบริษัทกฎหมายพอลล์, เวสส์, ริฟคินด์, วอร์ตัน แอนด์ แกร์ริสัน (Paul, Weiss, Rifkind, Wharton & Garrison) หลังจากอยู่ได้ไม่ถึง 2 ปี เขาก็เข้าทำงานร่วมกับอัยการเขตแมนฮัตตัน โรเบิร์ต เอ็ม มอร์เก็นเธา ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยขู่กรรโชกแรงงาน และใช้เวลา 6 ปีในการปราบปรามอาชญากรรมในองค์กร เขาเป็นผู้นำการสืบสวนซึ่งล้มล้างอิทธิพลของตระกูลแกมบิโน่เหนืออุตสาหกรรมเสื้อผ้าและการขนส่งด้วยรถกระบะ สปิตเซอร์ออกจากสำนักงานอัยการในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเข้าทำงานที่บริษัทกฎหมาย สแกดเด็น, อาร์ปส์, สเลท, มีเกอร์ แอนด์ ฟลอม และทำงานอยู่ที่นั่นจนถึงปี พ.ศ. 2537 และต่อมาเข้าบริษัท คอนแสตนติน แอนด์ พาร์ทเนอร์ส์ ที่ซึ่งเขาทำงานในคดีหลายคดีที่กี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคและการฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันเสรี (Antitrust Law)",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "291058#58",
"text": "ความสามารถในการอ่านและเขียนของฝ่ายไบแซนไทน์โดยทั่วไปมีระดับสูงกว่าทางโรมันตะวันตก ระบบการศึกษาเบื้องต้นมีอยู่โดยทั่วไปและบางครั้งแม้แต่ในชนบท ในระดับสูงขึ้นไปก็มีการสอน “อีเลียด” และตำราคลาสสิกต่างๆ แต่ระดับสูงกว่านั้นสถาบันเพลโตใหม่ (Neoplatonic Academy) ใน เอเธนส์ถูกปิดไปในปี ค.ศ. 526 โดยเพกัน แต่สถานศึกษาในอะเล็กซานเดรียในอียิปต์ยังคงเปิดสอนอยู่จนกระทั่งมาถูกปิดเมื่ออเล็กซานเดรียถูกพิชิตโดยอาหรับในปี ค.ศ. 640 มหาวิทยาลัยคอนสแตนติโนเปิลเดิมก่อตั้งโดยจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 ในปี ค.ศ. 425 ก็อาจจะมาถูกยุบในช่วงเวลาเดียวกันนี้ด้วย แต่มาได้รับการก่อตั้งใหม่โดยจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 อีกครั้งในปี ค.ศ. 849 การศึกษาระดับสูงในยุคนี้เน้นการศึกษาทางวาทศาสตร์แต่ก็มีการศึกษาตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลขั้นพื้นฐานอยู่บ้าง ระหว่างรัชสมัยของราชวงศ์มาเซโดเนียระหว่างปี ค.ศ. 867 ถึงปี ค.ศ. 1025) ไบแซนไทน์ก็อยู่ในสมัยยุคทองของการฟื้นฟูการศึกษาคลาสสิก งานค้นคว้าเดิมจากยุคนี้มีเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยแต่ที่มีคือศัพทานุกรม, ประชุมบทนิพนธ์, สารานุกรม และบทความเห็นที่เกี่ยวกับงานสมัยนี้",
"title": "ต้นสมัยกลาง"
},
{
"docid": "154595#16",
"text": "ในฐานะหัวหน้าอัยการสูงสุด สปิตเซอร์ได้ยกระดับมาตรฐานของหน่วยงาน โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว อัยการรัฐมักจะทำคดีเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค และเน้นด้านคดีฉ้อโกงระดับท้องถิ่น ขณะที่คดีระดับชาติจะถูกโอนให้รัฐบาลกลาง สปิตเซอร์ดำเนินการฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญาในคดีซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของพนักงานหรือผู้บริหารภายในองค์กร, การฉ้อโกงหลักทรัพย์, การฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต, และการปกป้องสิ่งแวดล้อม",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#0",
"text": "อีเลียต ลอเรนซ์ สปิตเซอร์ (Eliot Laurence Spitzer) (เกิดเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2502) เป็นทนายความชาวอเมริกัน และอดีตนักการเมืองพรรคเดโมแครต (Democratic Party) เขารับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 จนกระทั่งเขาลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ สปิตเซอร์รับตำแหน่งเป็นอัยการรัฐนิวยอร์ก",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#15",
"text": "สปิตเซอร์ได้รับการเลือกตั้งเป็ฯผู้ว่าการในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2549 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 69 เอาชนะจอห์น ฟาโซจากพรรครีพับลิกัน และจอห์น คลิฟตั้น (John Clifton) จากพรรคลิเบอร์แทเรียน (Libertarian Party)",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#4",
"text": "ในพ.ศ. 2549 สปิตเซอร์ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก โดยเอาชนะจอห์น ฟาโซ (John Faso) จากพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ (Gubernatorial Election) เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่ง เขาได้เสนอร่างกฎหมายการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในรัฐนิวยอร์ก และออกคำสั่งพิเศษซึ่งอนุญาตให้ชาวต่างด้าวผิดกฎหมายสามารถขอใบขับขี่ได้ ทั้งสองเหตุการณ์นำมาซึ่งการโต้เถียงในวงกว้าง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงฐานมีความเกี่ยวข้องด้านตำแหน่งหน้าที่ในการสั่งการให้กรมตำรวจรัฐนิวยอร์กสืบค้นการเดินทางของผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภารัฐนิวยอร์ก โจเซฟ บรูโน (Joseph Bruno)",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
}
] |
3200 | สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้วเกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "102178#3",
"text": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว[8]เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สองของบิดาชื่อ นายสมจิตร วิเศษแก้ว มารดา ชื่อ นางพรรณธิภา วิเศษแก้ว ทั้ง 2 ท่านมีอาชีพรับราชการ มีพี่สาวชื่อ \"แมลงปอ\" ชื่อ \"บี้\" นั้นมาจากคำเมืองหรือภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือว่า \"กัมบี้\" (แปลว่า แมลงปอ) เข้าศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลสายดรุณ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย รหัส MC22655 และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์) [9]",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
}
] | [
{
"docid": "485274#21",
"text": "ในวันประกาศผล จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาร้องเพลงในช่วงที่ 2 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้) ได้มาร้องเพลง เกิดมาคู่กัน และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้ คือ สิรินโสพิศ ปัจฉิมสวัสดิ์ (แบมบี้ หมายเลข 5) อำลาด้วยเพลง การเดินทางที่แสนพิเศษ (ดา เอ็นโดรฟิน)",
"title": "เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9"
},
{
"docid": "281195#2",
"text": "\"ปี พ.ศ. 2552\" : เลิฟมากมาย () ",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#35",
"text": "กรุงเทพโพลล์: ผลสำรวจ \"ที่สุดแห่งปี\" นักร้องนักแสดงไทยที่มีผลงานสร้างสรรค์โดนใจมากที่สุด อันดับ 2 (ปี 2552) ร้อยละ 7 [57]",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "281195#25",
"text": "- คอนเสิร์ต บี้ สุกฤษฎิ์ THE STAR 12 ประกาศผล Week 5 : ศิลปิน บี้ เดอะสตาร์ / 4 คนสุดท้าย THE STAR 12 : เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "281195#0",
"text": "\"บทความนี้เนื้อหาเกี่ยวกับผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว สำหรับบทความหลักดูที่\" สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#0",
"text": "สุกฤษฏิ์ วิเศษแก้ว (English: Sukrit Wisetkaew) นักร้องและนักแสดงชาวไทย สังกัดเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีชื่อเสียงจากผลงานเพลง I Need Somebody (อยากขอสักคน)[1] ปัจจุบันมีผลงานในวงการบันเทิง งานเพลง, ละครโทรทัศน์, ละครเวที, ซิตคอม และ ภาพยนตร์ ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในสิบผู้ทรงอิทธิพลร่วมกับบุคคลสำคัญในแวดวงการเมืองและสังคมของไทยประจำปี พ.ศ. 2551 โดยนิตยสาร Positoning[2] และหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลวงการบันเทิงไทย จัดอันดับโดยหนังสือพิมพ์สยามรัฐ[2]",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "281195#3",
"text": "\"ปี พ.ศ. 2554\" : เลิฟไม่กลัว กลัวไม่เลิฟ () ",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#41",
"text": "ผลโหวตเว็บไซต์ในจีน The most popular Asia male stars Ranking (Chinese:最受欢迎的亚太日韩男明星排行榜中榜)",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "266400#2",
"text": "ละครเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อชายไม่จริงหญิงไม่แท้สวมบทบาทเป็น “พ่อ” รับบทโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ภาระอันยิ่งใหญ่จึงเริ่มขึ้น เขาเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งที่เก็บมาเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด รับบทโดย บี้-สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ซึ่งในครั้งนี้เป็นการร่วมงานละครเป็นครั้งแรกของ บี้ กับบริษัท ละครไท จำกัด คู่กับ แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ",
"title": "พระจันทร์สีรุ้ง"
},
{
"docid": "281195#13",
"text": "- คอนเสิร์ต งานฉลองครบรอบ 9 ปี อาวียองซ์ MCC HALL เดอะมอลล์ บางกะปิ : เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#32",
"text": "ผลการสำรวจความนิยมจากโพลล์สถาบันต่างๆ",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#51",
"text": "หมวดหมู่:สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดเชียงใหม่ หมวดหมู่:พุทธศาสนิกชนชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย หมวดหมู่:บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หมวดหมู่:เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายจีน หมวดหมู่:นักร้องไทย หมวดหมู่:นักร้องชายชาวไทย หมวดหมู่:นักแสดงไทย หมวดหมู่:นักแสดงชายชาวไทย หมวดหมู่:ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "657856#0",
"text": "ธนัญชัย ชนะโชติ (ชื่อเล่น ต้น) หรือรู้จักกันในชื่อ โทนี่ ผี เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2526 เป็นนักร้อง นักดนตรีและนักแต่งเพลงชาวไทย และเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินอาทิ Lolita, Samurailoud, Day Light, สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว อีกทั้งธนัญชัยยังเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท โมบาย อินดี้ ดิจิตอล ผู้ให้บริการดูแลลิขสิทธิ์ทางด้านดิจิตอลกับศิลปินอิสระมากมาย",
"title": "โทนี่ ผี"
},
{
"docid": "879738#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2559 เพลง \"เธอคือพรหมลิขิต\" รวมอยู่ในอัลบั้มของ บี้ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ",
"title": "เธอคือพรหมลิขิต (เพลงของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)"
},
{
"docid": "879738#3",
"text": "เพลง \"เธอคือพรหมลิขิต\" ได้อันดับ 3 จากการจัดอันดับของซี้ดเอฟเอ็ม ในชาร์ตของ ซี้ดเอฟเอ็ม",
"title": "เธอคือพรหมลิขิต (เพลงของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)"
},
{
"docid": "45027#49",
"text": "เป็นต่อ ศิลปิน วิเชียร ตันติพิมลพันธ์ ตอนที่: 1 - 65, เป็นต่อ ขั้นเทพ ตอนที่ 1 - 26 I Need Somebody ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 66 - 125 หน้าตาดีแต่ไม่มีแฟน ศิลปิน อาณัตพล ศิริชุมแสง ตอนที่ 126 - 153, 155 ฉันยังห่าง ศิลปิน พลพล พลกองเส็ง ตอนที่ 154, 156 - 161 จังหวะหัวใจ ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 162 - 193 รักแท้มีอยู่จริง ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 194 - 195 คำว่ารัก ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว และ สุธาสินี พุทธินันทน์ ตอนที่ 196 - 203 คนที่ใช่ ศิลปิน ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ ตอนที่ 204 - 212 Wait a Minute ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 213 - 224 7 วันที่ฉันเหงา ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 225 - 242 สะกดใจ ศิลปิน พรรณวรท ด้วยเศียรเกล้า ตอนที่ 243 - 269 It's Alright ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 270 - 294, 296 - 298 รวมเป็นไทย ศิลปิน เสกสรร สุขพิมาย ตอนที่ 295 First Kiss ศิลปิน พล นพวิชัย ตอนที่ 299 - 314 กลัวที่ไหน ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 315 - 332 Look Like Love ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 333 - 346 Free Man (แฟนไม่มี) ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 347 - 375 รักหนึ่งคำ จดจำตลอดไป ศิลปิน เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช ตอนที่ 376 ยังว่าง ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว เป็นต่อ New Season ตอนที่ 1 - 18 ผมเป็นของคุณไปแล้ว ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว เป็นต่อ New Season ตอนที่ 19 - 105, เป็นต่อ 2017 ตอนที่ 1 - 47, เป็นต่อ 2018 ตอนที่ 1 - ปัจจุบัน",
"title": "เป็นต่อ"
},
{
"docid": "449703#0",
"text": "รายชื่อรางวัลที่สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว นักร้องและนักแสดงชาวไทย สังกัดเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้รับ มีดังนี้",
"title": "รายชื่อรางวัลที่สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้วได้รับ"
},
{
"docid": "102178#42",
"text": "อันดับ 1[65] ดาราชายต่างประเทศยอดนิยม (ปี 2012)",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#43",
"text": "ผลโหวตเว็บไซต์ในจีน โดย Ifensi",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "281195#1",
"text": "บทความนี้รวบรวมผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้ เดอะสตาร์) นักร้อง นักแสดง ชาวไทย สังกัดเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ \"ปี พ.ศ. 2551\" : เลิฟแอตแทค ()",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "281195#4",
"text": "\"ปี พ.ศ. 2559\" : บี้ สุกฤษฎิ์ Love 10 ปี ไม่มีหยุด () , \nปี พ.ศ. 2551 จัดอันดับพรีเซ็นเตอร์ โดยทีวีพูลโพล เป็น 1 ใน 5 พรีเซ็นเตอร์ยอดนิยม ในปีเดียวกัน พรีเซ็นเตอร์ชายยอดนิยม จาก OHO อวอร์ดส ปี พ.ศ. 2552 ดาวกระจายโพล ทางช่อง 9 อสมท ตำแหน่ง เจ้าพ่อพรีเซ็นเตอร์ และตำแหน่ง พรีเซ็นเตอร์แห่งปี จากนิตยสาร มาร์เก็ตเทียร์ (Marketeer) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "281195#16",
"text": "- โมเดิร์นไนน์ ไลฟ์ คอนเสิร์ต ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต : ศิลปิน บี้ เดอะสตาร์ / รุจ เดอะสตาร์ : เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#47",
"text": "กิจกรรมทางด้านสังคมและการเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ในกิจกรรมต่างๆ มีดังนี้",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "813294#2",
"text": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว รับบทเป็น กลมกมล เนติจรัสโรจน์ / เชฟโป้ง",
"title": "สูตรรักชุลมุน"
},
{
"docid": "281195#21",
"text": "- 555 วันเด็กมหาสนุก ณ บัดNOW : ศิลปิน บี้ เดอะสตาร์ : เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555 ",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "102178#44",
"text": "อันดับ 1[66] Top Smart Asia Male Star[67] (ปี 2012)",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "122640#233",
"text": "ทุกเวลา ศิลปิน ชนัญญา ตั้งบุญจิตร ตอนที่ 1-172 คนที่เธอรัก ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 173-238 และ 246-264 กันเอง ศิลปิน นภัทร อินทร์ใจเอื้อ ตอนที่ 239-245 เสียงของบ้าน ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 265-279 , 281-297 และ 299-448 คนที่เธอรัก ศิลปิน สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ตอนที่ 280 และ 298 รักของฉันนั้นคือเธอ รวมศิลปินเดอะสตาร์ ตอนที่ 449-525",
"title": "บ้านนี้มีรัก"
},
{
"docid": "102178#40",
"text": "อีสานโพล บุคคลและองค์กรที่เป็นที่สุดแห่งปี 2555 นักร้องชายแห่งปี อันดับ 1 (ปี 2555) ร้อยละ 17.38[64]",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "292008#1",
"text": "ครั้งแรกสร้างปี พ.ศ. 2535 ใช้ชื่อว่า อสูรเริงไฟ ฉายช่อง 9 นำแสดงโดย อรรถชัย อนันตเมฆ,ชไมพร จตุรภุช แต่ต่อมาได้เกิดมีปัญหาทำให้ต้องไปฉายช่อง 5แทนและเปลี่ยนตัวนางเอกเป็น รักษ์สุดา สินวัฒนา\nครั้งที่สองสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยใช้ชื่อว่า หัวใจศิลา ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ บทโทรทัศน์ ทีมเอ็กแซ็กท์ กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำแสดงโดย สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว, พิชญา เชาวลิต และเป็นการกลับมาแสดงละครอีกครั้งของ เมทินี กิ่งโพยม รวมทั้งนักแสดงอื่น ๆ อีกมากมาย ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี ทางช่อง 5 ออกอากาศตอนแรกวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550",
"title": "หัวใจศิลา"
}
] |
979 | เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 ถูกจัดขึ้นที่ไหน? | [
{
"docid": "703994#0",
"text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 (English: WrestleMania 32) เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบเพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของเรสเซิลเมเนียเป็นครั้งที่ 32 จัดโดยดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) โดยมีกำหนดจัดวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2016 ที่สนามเอทีแอนด์ทีสเตเดียม ที่เมืองอาร์ลิงตัน, รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา[1][2]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
}
] | [
{
"docid": "703994#19",
"text": "ในรอว์ วันที่ 28 มีนาคม ได้ประกาศว่าทีมโทเทิลดีวาส์ (บรี เบลลา, อลิเซีย ฟอกซ์, เพจ, นาตาเลีย และอีวา มารี) จะเจอกับทีมแบดแอนด์บรอนด์ (ลานา, เนโอมี, ทามีนา, ซัมเมอร์ เรย์ และเอ็มมา) เป็นแมตช์แท็กทีมหญิง 10 คน ในช่วงก่อนเริ่มรายการเรสเซิลเมเนีย (Kickoff)[37][51][52][39]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "404168#11",
"text": "ในรอยัลรัมเบิล (2016) เลสเนอร์ได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลชิงแชมป์ WWE เป็นลำดับที่23 แต่ถูกกำจัดออกจากเวทีโดยเดอะไวแอ็ตต์แฟมิลี ในรอว์คืนต่อมา สเตฟานีได้ประกาศจัดแมตช์สามเส้า(Triple Threat Match) ในฟาสต์เลน (2016) ระหว่าง ดีน แอมโบรส, โรแมน เรนส์ และเลสเนอร์ เพื่อหาผู้ท้าชิงไปชิงแชมป์ WWE กับทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 แต่ไม่สำเร็จ ในเรสเซิลเมเนีย 32 เลสเนอร์เอาชนะดีน แอมโบรสไปได้ในแมตช์ No Holds Barred Street Fight ในสแมคดาวน์วันที่ 7 กรกฎาคม ได้มีการประกาศว่าเลสเนอร์จะเจอกับแรนดี ออร์ตันในซัมเมอร์สแลม (2016) โดยเลสเนอร์เอาชนะไปได้แบบ TKO หลังแมตช์ได้จับเชน แม็กแมนใส่ F-5 ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2016) เลสเนอร์ได้เจอกับโกลด์เบิร์กเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี แต่เลสเนอร์ก็แพ้ให้โกลด์เบิร์กในเวลาสั้นๆ 1:26 นาที เป็นครั้งแรกในรอบสามปีที่เลสเนอร์ถูกจับกดแพ้ ในรอยัลรัมเบิล (2017) เลสเนอร์ได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลเป็นลำดับที่26 แต่ก็ถูกโกลด์เบิร์กเหวี่ยงตกเวทีเป็นการย้ำแค้น คืนต่อมาเลสเนอร์ได้ท้าโกลด์เบิร์กเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33 ในฟาสต์เลน (2017) โกลด์เบิร์กได้คว้าแชมป์ยูนิเวอร์แซล WWEจากเควิน โอเวนส์ ทำให้แมตช์ระหว่างเลสเนอร์กับโกลด์เบิร์กในเรสเซิลเมเนียเป็นการชิงแชมป์ ในเรสเซิลเมเนีย 33 เลสเนอร์ได้คว้าแชมป์ยูนิเวอร์แซลจากโกลด์เบิร์ก ทำให้เป็นคนแรกที่ได้ทั้งแชมป์ WWE และแชมป์ยูนิเวอร์แซล นอกจากนี้ยังเป็นคนที่สองที่ทนท่า \"Jackhammer\" ของโกลด์เบิร์กได้ และเป็นคนแรกที่ชนะโกลด์เบิร์กในแมตช์ตัวต่อตัวแบบใสสะอาด ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34เลสเนอร์สามารถป้องกันแชมป์กับโรแมน เรนส์ได้หลังจากครองแชมป์มาเป็นเวลาปีกว่า ในซัมเมอร์สแลม (2018)เลสเนอร์เสียแชมป์ให้กับเรนส์หลังจากครองเป็นเวลา 504 วัน ก่อนจะได้แชมป์อีกครั้งเป็นสมัยที่2ในศึกคราวน์ จูเอ็ล",
"title": "บร็อก เลสเนอร์"
},
{
"docid": "218758#1",
"text": "ในฝั่งของรอว์ คริส เจอริโค ได้มีเรื่องกับนักมวยปล้ำในตำนาน ได้แก่ ริกกี สตีมโบต, จิมมี สนูกกา, ร็อดดี ไพเพอร์ และริก แฟลร์ จนทำให้ต้องเจอกันในเรสเซิลเมเนีย โดยมีริก แฟลร์ยีนอยู่ข้างเวทีด้านของแรนดี ออร์ตัน ชึ่งในรอยัลรัมเบิล (2009) ออร์ตันได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล ซึ่งมีสิทธิ์ในการชิงแชมป์โลกในเรสเซิลเมเนีย และได้เลือกชิงแชมป์ WWEกับทริปเปิลเอช ซึ่งเป็นลูกเขยของตระกูลแม็กแมนรอคอยการแก้แค้นให้พ่อตาจึงท้าให้ออร์ตันชิงแชมป์กับเขาในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25ในฝั่งของสแมคดาวน์ โดยทางด้านของแมทท์ ฮาร์ดี และเจฟฟ์ ฮาร์ดี ชึ่งในรอยัลรัมเบิล (2009) แมทท์ได้เอาเก้าอี้ฟาดใส่เจฟฟ์ จนทำให้เจฟฟ์เสียแชมป์ WWE ให้กับเอดจ์ เป็นเพราะแมทท์อิจฉาเจฟฟ์ นอกจากนี้ แมทท์ยังได้ยิงพลุใส่เจฟฟ์ ขับชนใส่เจฟฟ์ และยังเผาบ้านเจฟฟ์ จนทำให้หมาของเจฟฟ์ตาย ทั้งคู่จึงกลายมาเป็นศัตรูคู่แค้นกันจนในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 แมทท์และเจฟฟ์จะต้องเจอกันในแมตช์ Extreme Rules ในรายการรอว์ มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำจากรอว์ ไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 6 คน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 8 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ ด้านของจอห์น ซีนา ซึ่งในNo Way Out (2009) ซีนาต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในกรงเหล็กมรณะ หรือ Elination Chamber กับนักมวยปล้ำถึง 5 คน ได้แก่ เรย์ มิสเตริโอ, เคน, ไมค์ นอกซ์, คริส เจริโค และโคฟี คิงส์ตัน ผลปรากฏว่า ตอนเปิดตัว เอดจ์ได้วิ่งเข้ามาลอบทำร้ายโคฟี หลังจากเสียแชมป์ WWE ให้กับทริปเปิลเอชไปแล้ว ทำให้โคฟีหมดสิทธิ์การปล้ำ และเอดจ์ก็เข้าไปในกรงแทน และก็ใช้กลโกงสารพัดจนกระชากเข็มขัดแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไปจากซีนา ซีนาแค้นมากที่ตนเสียแชมป์โลกให้เอดจ์ ตนจึงพยายามหาโอกาสชิงเข็มขัดคืนมา แต่ก็ไม่ได้ซักที เพราะวิกกี เกร์เรโร ภรรยาของเอดจ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของสแมคดาวน์ ได้กีดกันทุกวิถีทางไม่ให้เอดจ์ได้เจอกับซีนา แต่ซีนาก็ไม่ยอมแพ้ ขู่วิกกีเรื่องที่เธอแอบเป็นกิ๊กกับบิ๊กโชว์ จนเธอจำต้องยอมให้ซีนา ได้ชิงแชมป์กับเอดจ์ แต่สุดท้ายความจริงก็ปรากฏให้เอดจ์ รู้ว่าเธอปันใจให้กับ บิ๊กโชว์ ทำให้คู่นี้กลายเป็นศัตรูกัน ทั้งๆที่กะจะรุมซีนาแต่แรก 3 คนนี้ได้เจอกันในเรสเซิลเมเนียชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25"
},
{
"docid": "703994#12",
"text": "หลังจากชาร์ลอตต์เอาชนะเบกกี ลินช์ ป้องกันแชมป์ WWE Divas Championship เอาไว้ได้ในรอยัลรัมเบิล (2016) หลังจากจบแมตช์ ซาชา แบงส์ได้มาเล่นงานชาร์ลอตต์[30] ในฟาสต์เลน ชาร์ลอตต์สามารถป้องกันแชมป์จากบรี เบลลา ได้สำเร็จ[32] คืนต่อมาในรอว์ 22 กุมภาพันธ์ ชาร์ลอตต์ได้ประกาศท้า เบกกี ลินช์ และซาชา แบงส์ ว่าจะให้หนึ่งในสองคนนี้ได้ชิงแชมป์กับเธอในเรสเซิลเมเนีย[33] ในรอว์ 29 กุมภาพันธ์ แมตช์เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ระหว่าง เบกกี ลินช์ กับ ซาชา แบงส์ ซึ่งผลออกมาเป็นเสมอ[34] ทำให้ต้องรีแมตช์กันอีกในสแมคดาวน์ 3 มีนาคม โดยชาร์ลอตต์มาก่อกวนทำให้ไม่มีผลตัดสิน ก่อนจะประกาศเป็นแมตช์สามเส้าชิงแชมป์ดีวาส์ในเรสเซิลเมเนีย[44]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#15",
"text": "ในโรดบล็อก แชมป์ WWE Tag Team Championship เดอะนิวเดย์ เอาชนะ2สมาชิกทีมเดอะลีกออฟเนชันส์ เชมัส และคิง บาร์เร็ตต์ ป้องกันแชมป์แทกทีมไว้ได้[36] 2วันต่อมาในรอว์ นิวเดย์ก็เอาชนะ2สมาชิกทีมลีกออฟเนชันส์ อัลเบร์โต เดล รีโอ และรูเซฟ ป้องกันแชมป์ไว้ได้อีกครั้ง ต่อมาลีกออฟเนชันส์ได้ขอท้าเจอกับนิวเดย์ในเรสเซิลเมเนีย[37] วันที่ 15 มีนาคม นิวเดย์ได้รับคำท้าของลีกออฟเนชันส์",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#5",
"text": "CNET เขียนว่า เรสเซิลเมเนีย 32 จะมี \"สุดยอด\" ของ \"เรื่องที่ใหญ่ที่สุดใน WWE\" ซึ่งก็คือ \"การสร้างโรแมน เรนส์เป็นธรรมะตัวเอกผู้ที่จะเป็นใบหน้าของบริษัทฯ - ถ้า WWE มีวิธีการของ -- ทศวรรษหน้า \". \"ที่ผ่านมาสองปี WWE ได้รับการเคลื่อนย้ายสวรรค์และโลก\" ในความพยายามที่จะได้รับเรนส์ที่ \"ระดับของการรับรู้\" ของ \"ชื่อเหมือน ฮัลค์ โฮแกน, สตีฟ ออสติน, เดอะร็อก และจอห์น ซีนา\" แต่ \"ของมัน ฝ่ายตรงข้ามที่ยากที่สุด \"คือ\" ผู้ชมมวยปล้ำ \"ซึ่งเริ่มมีแฟน\" จลาจล \"ในการต่อต้านการสนับสนุนของ WWE ที่มีต่อเรนส์ แฟนๆเลือกที่จะสนับสนุนดีน แอมโบรสแทน[12] เพื่อต่อสู้กับแนวโน้มนี้ WWE มีมาตรการรวมถึงการปิดฝูงชนโห่และท่อในกระป๋องเชียร์ระหว่างเรนส์' ปรากฏตัวในปี 2016[13][14] The A.V. Club เห็นด้วยว่า \"WWE มีปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับโรแมน เรนส์\" เนื่องจาก \"โดยทั่วไปไม่มีใครอยากเห็นโรแมน เรนส์เป็นคู่เอก\" ของเรสเซิลเมเนีย[15]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#6",
"text": "เดฟ เมลเซอร์ของผู้สังเกตการณ์มวยปล้ำรายงานว่า เรสเซิลเมเนีย 32 ได้ทำลายสถิติของ WWE สำหรับตั๋วที่ขายมากที่สุดอย่างน้อย 84,000 ขายตั๋ว[16]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "772262#5",
"text": "ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 โกลด์เบิร์กชนะบร็อก เลสเนอร์ไปในการเจอกันครั้งแรกของพวกเขา ก่อนจะออกจากสมาคมทั้งคู่[31] เลสเนอร์ได้กลับมาในปี 2012 และโกลด์เบิร์กได้กลับมาในปี 2016 ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2016) ทั้งคู่ได้เจอกันเป็นครั้งที่2 ซึ่งโกลด์เบิร์กเอาชนะไปได้ด้วยเวลาเพียง 1:26 วินาที[32] ต่อมาทั้งคู่ได้ประกาศเข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล โดยเลสเนอร์ออกมาเป็นลำดับที่26 และโกลด์เบิร์กลำดับที่28 โกลด์เบิร์กย้ำแค้นโดยการเหวี่ยงเลสเนอร์ลงจากเวทีตกรอบ ก่อนถูกดิอันเดอร์เทเกอร์เหวี่ยงตกเวทีตามไป[21] ในรอว์คืนต่อมา เลสเนอร์กับพอล เฮย์แมนได้ออกมาท้าเจอโกลด์เบิร์กในเรสเซิลเมเนีย[33] สัปดาห์ต่อมา โกลด์เบิร์กได้ประกาศรับคำท้าของเลสเนอร์ และขอท้าชิงแชมป์ WWE Universal Championship กับเควิน โอเวนส์ในฟาสต์เลน (2017)[34] ในรอว์ 20 กุมภาพันธ์ เลสเนอร์กับเฮย์แมนให้สัมภาษณ์กับไมเคิล โคลว่าถ้าโกลด์เบิร์กได้แชมป์ในฟาสต์เลน เลสเนอร์จะขอท้าชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนียทันที[35] ในสัปดาห์ถัดมา โกลด์เบิร์กบอกว่าเขาจะคว้าแชมป์จากโอเวนส์เพื่อจะไปป้องกันแชมป์กับเลสเนอร์[36] ในฟาสต์เลน โกลด์เบิร์กสามารถคว้าแชมป์มาได้ ทำให้แมตช์กับเลสเนอร์เป็นการชิงแชมป์[37]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33"
},
{
"docid": "703994#17",
"text": "ในรอว์ วันที่ 21 มีนาคม เจ้าของแชมป์ WWE Intercontinental Championship เควิน โอเวนส์ ได้ประกาศจัดแมตช์สามเส้าระหว่าง สตาร์ดัสต์, ซินคารา และแซค ไรเดอร์ เพื่อหาผู้ท้าชิงแชมป์กับเขา ระหว่างแมตช์ แซมี เซน, เดอะมิซ และดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ ได้ออกมารบกวนและทำให้ไม่มีผลตัดสิน จากนั้นสเตฟานีประกาศให้โอเวนส์ป้องกันแชมป์กับนักมวยปล้ำทั้งหกในแมตช์ไต่บันไดในเรสเซิลเมเนีย[38]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "772262#12",
"text": "ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ นิกกี เบลลากำลังให้สัมภาษณ์อยู่หลังเวที ทว่าโดนนาตาเลียวิ่งเข้ามาอัด ทั้งสองฟัดกัน เหวี่ยงไปโดนโต๊ะเครื่องแป้งของมารีสที่กำลังแต่งหน้าอยู่จนเละ ในคืนเดียวกันเดอะมิซได้ถูกจอห์น ซีนากำจัดออกจากแมตช์อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์[24] ในสแมคดาวน์ 21 กุมภาพันธ์ นิกกีและนาตาเลียได้มีแมตช์กันในแบบจับกดที่ไหนก็ได้ ระหว่างแมตช์นาตาเลียเหวี่ยงนิกกีไปชนมารีสจนที่กั้นล้ม มารีสโมโหเอาท่อเหล็กมาฟาดนิกกีที่ท่อนขาหลายรอบจนทำให้นาตาเลียกดนับสามชนะไป ในแบทเทิลรอยัลคู่เอก มิซได้ถูกซีนาเหวี่ยงตกเวทีทำให้มิซแค้นขึ้นมาเหวี่ยงซีนาตกเวทีไปเช่นกัน[27] ในสแมคดาวน์ 14 มีนาคม แดเนียล ไบรอัน ได้ประกาศแมตช์ระหว่างซีนาและนิกกีเจอกับมิซและมารีสในเรสเซิลเมเนีย[70] วันที่ 27 มีนาคม ซีนาเป็นแขกรับเชิญรายการ Today ของเอ็นบีซี และประกาศว่านักอุตุนิยมวิทยา อัล โรเกอร์ จะเป็นผู้ประกาศรับเชิญพิเศษในแมตช์นี้[71]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33"
},
{
"docid": "703994#21",
"text": "WrestleMania 32 ที่ได้รับการวิจารณ์ในเชิงลบจากนักวิจารณ์ที่วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์สำหรับความยาวของมันและการตัดสินใจจองสงสัย",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#14",
"text": "วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ในรอว์ หลังจากชนะ เดอะนิวเดย์ และมาร์ก เฮนรี, เดอะ ดัดลีย์ บอยซ์ ได้ทำร้ายดิอูโซส์ และกลายเป็นฝ่ายอธรรม[47] วันที่ 14 มีนาคม ได้ประกาศว่า ดิอูโซส์ จะเจอกับ ดัดลีย์ บอยซ์ ในเรสเซิลเมเนีย ก่อนจะมีการประกาศให้เป็นแมตช์ช่วงก่อนเริ่มรายการ (Kickoff)[48]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "255599#3",
"text": "ในรายการ รอว์ มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำจากรอว์ ไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 7 คน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 7 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24"
},
{
"docid": "703994#11",
"text": "ในฟาสต์เลน ระหว่างแมตช์สามเส้า ขณะที่บร็อก เลสเนอร์กำลังใส่ Kimura Lock เล่นงานโรแมน เรนส์อยู่นั้น ดีน แอมโบรสได้เอาเก้าอี้ตีใส่หลังเลสเนอร์จนกลิ้งตกเวที ทำให้หมดโอกาสชิงแชมป์เป็นคู่เอกในเรสเซิลเมเนีย[32] วันรุ่งขึ้นก่อนถ่ายทอดสดรอว์ เลสเนอร์ได้มาลอบทำร้ายแอมโบรสตั้งแต่มาถึงสนาม และก็จับสแลมใส่กระจกหน้ารถยนต์จนพังและแอมโบรสก็ต้องถูกส่งขึ้นรถพยาบาลไป ในรอว์ พอล เฮย์แมน ได้ท้าสตาร์ทุกคนมาเจอกับเลสเนอร์ในเรสเซิลเมเนีย แอมโบรสขับรถพยาบาลลุยเข้ามาในสนาม และก็คลานมาหาเลสเนอร์อย่างทุลักทุเล แต่เลสเนอร์เดินเหยียบหน้าแอมโบรสแล้วจะเดินกลับไป แต่แอมโบรสตะโกนเรียกเลสเนอร์ และท้าให้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย ในแมตช์ไม่มีกฏกติกาแบบสตรีตไฟต์ (No Holds Barred Street Fight match) เลสเนอร์เดินมาจับแอมโบรสใส่ F-5 โดยเฮย์แมนพูดรับคำท้าให้เลสเนอร์[33] ในรอว์ วันที่ 14 มีนาคม ตำนานฮาร์ดคอร์มิค โฟลีย์ได้มอบไม้เบสบอลพันลวดหนามให้กับแอมโบรส[37] สัปดาห์ถัดมาในรอว์ ตำนานฮาร์ดคอร์เทร์รี ฟังก์ได้มอบเลื่อยให้กับแอมโบรส[38] ในสแมคดาวน์ วันที่ 24 มีนาคม เลสเนอร์ได้ท้าแอมโบรสออกมาสู้ แต่เดอะไวแอ็ตต์แฟมิลีได้ออกมารุมเล่นงาน แอมโบรสวิ่งออกมาพร้อมกับไม้เคนโด้ไล่ฟาดพวกไวแอ็ตต์ และก็ฟาดใส่เลสเนอร์ด้วย เลสเนอร์สวนด้วย Clothesline และจับมาใส่ F5[43][39]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "361859#5",
"text": "ทางด้านของเรย์ มิสเตริโอหลังจากที่แพ้โคดี โรดส์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27ไปนั้น ใช่ว่าเรื่องจะจบ โคดีก็ยังหาเรื่องกับเรย์ต่อในสแมคดาวน์วันที่ 22 เมษายน และแมทซ์การปล้ำที่เค้าจะไปเจอกันคือ ฟอล เคาท์ เอนีแวร์ (จับกดที่ไหนก็ได้) ปัจจุบัน เรย์ มิสเตริโอ ก็ถูกดราฟท์ ไป รอว์แล้ว",
"title": "เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011)"
},
{
"docid": "703994#10",
"text": "ในรอว์ 22 กุมภาพันธ์ วินซ์ แม็กแมน ออกมามอบรางวัล \"Vincent J. McMahon Legacy of Excellence\" เป็นครั้งแรก โดยมอบให้กับสเตฟานี แม็กแมนลูกสาวของเขา ระหว่างที่สองพ่อลูกกำลังพูดยกย่องกันเองอย่างสนุกสนาน เชน แม็กแมน ที่หายไปหลายปีก็ได้กลับมา WWE อีกครั้ง โดยออกมาขัดจังหวะพ่อและน้องสาว และบอกว่าจะบริหารรายการรอว์แทนเอง วินซ์ไม่ยอมให้ แต่ก็จะจัดแมตช์ให้เชนปล้ำ 1 แมตช์ ถ้าชนะก็จะยอมให้เชนบริหาร แต่ถ้าแพ้ละก็เขาจะยึดเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของเชน เชนยอมตกลง และวินซ์ก็เปิดเผยแมตช์ว่าให้ปล้ำในเรสเซิลเมเนีย กับดิอันเดอร์เทเกอร์ และเป็นเฮลล์อินเอเซลล์ แมทช์[33] ในรอว์ถัดมา อันเดอร์เทเกอร์ได้ปรากฏตัว และบอกว่าเลือดของเชนจะอยู่บนมือของวินซ์ไม่ใช่ของเขา[34][37][40][41][42] ในรอว์ 21 มีนาคม วินซ์ได้ประกาศเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าถ้าโดยถ้าอันเดอร์เทเกอร์แพ้จะเป็นเรสเซิลเมเนียครั้งสุดท้ายของเขา[38] อันเดอร์เทเกอร์และเชนได้สู้กันในรอว์ตอนสุดท้ายก่อนเรสเซิลเมเนีย ก่อนจบลงโดยเชนทิ้งศอกใส่อันเดอร์เทเกอร์บนโต๊ะผู้บรรยาย[39]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#1",
"text": "เรสเซิลเมเนียถือว่าเป็นรายการเรือธงของ WWE[3] และได้รับการอธิบายว่าซูเปอร์โบว์ลของความบันเทิงกีฬา[4]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "619085#0",
"text": "ดับเบิลยูดับเบิลยูอี มันนี่อินเดอะแบงก์ เป็นรายการมวยปล้ำอาชีพเพย์ - เพอร์ - วิว ประจำเดือน กรกฎาคม โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2010 โดยมีแมทช์การปล้ำมันนี่อินเดอะแบงค์แลเดอร์แมทช์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเดิมที่มันนี่อินเดอะแบงค์แลเดอร์แมทช์ เป็นแมทช์การปล้ำที่จัดครั้งแรกในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 ในปี 2005 และเป็นคนแรกที่คว้ากระเป๋าถือห้อยลงมาจากคานชนะ และได้รับการชิงแชมป์โลกที่ไหนเมื่อไหนก็ได้ตลอด 12 เดือน แมทช์การปล้ำ มันนี่อินเดอะแบงค์แลเดอร์แมทช์ ได้จัดในศึกเรสเซิลเมเนีย ถึง 5 ครั้ง หลังจากที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นและเป็นศูนย์กลางในการแข่งขัน ",
"title": "ดับเบิลยูดับเบิลยูอี มันนี่อินเดอะแบงก์"
},
{
"docid": "246123#8",
"text": "ได้มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 10 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ [22] โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้แก่ คริสเตียน, ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์, เคน, ดรูว์ แม็กอินไทร์, เชลตัน เบนจามิน, แจ็ก สแวกเกอร์, เอ็มวีพี, แมต ฮาร์ดี, อีแวน บอร์น และโคฟี คิงส์ตัน[23][24]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26"
},
{
"docid": "703994#18",
"text": "ในฟาสต์เลน เอเจ สไตส์เอาชนะคริส เจริโคไปได้ด้วยท่าซับมิสชั่น[32] ต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมทีมกันในนาม Y2AJ และได้ท้าชิงแชมป์แท็กทีมกับเดอะนิวเดย์[33][34] ในรอว์ วันที่ 7 มีนาคม แต่ไม่สำเร็จ หลังแมตช์เจริโคได้ทำร้ายเอเจและกลายเป็นฝ่ายอธรรม[49] ในรอว์ วันที่ 21 มีนาคม เอเจได้ขอท้าเจอกับเจริโคในเรสเซิลเมเนีย[38][50] ซึ่งในรอว์ต่อมา 28 มีนาคม เจริโคได้ประกาศรับคำท้า[39]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#29",
"text": "เรสเซิลเมเนีย รายชื่อรายการเพย์-เพอร์-วิวของดับเบิลยูดับเบิลยูอี",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#13",
"text": "ในสแมคดาวน์ วันที่ 17 มีนาคม โซเชียลเอาต์แคตส์ (ฮีท สเลเตอร์, เคอร์ติส แอ็กเซล, อดัม โรส และโบ ดัลลัส) ได้ประกาศจะเข้าร่วมแบทเทิลรอยัลชิงรางวัลอนุสรณ์สถานอ็องเดรเดอะไจแอนต์ในเรสเซิลเมเนีย[45] ตามด้วยบิ๊กโชว์และเคน ในรอว์ 21 มีนาคม[38] ในสแมคดาวน์ วันที่ 24 มีนาคม ไทเลอร์ บรีซได้ประกาศเข้าร่วม[46] ในรอว์ วันที่ 28 มีนาคม ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในแมตช์อีก 9 คน[39]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#16",
"text": "ในรอว์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ หลังจากไรแบ็กเดินหนีเคน และบิ๊กโชว์ ระหว่างแมตช์จนแพ้ให้กับไวแอ็ตต์แฟมิลี ทำให้เขากลายเป็นฝ่ายอธรรม ในรอว์ วันที่ 14 มีนาคม ไรแบ็กได้ท้าชิงแชมป์ WWE United States Championship กับเจ้าของแชมป์คาลิสโตในเรสเซิลเมเนีย[37] ซึ่งในวันที่ 16 มีนาคมคาลิสโตได้รับคำท้า ก่อนจะมีการประกาศให้แมตช์นี้ไปเป็นโชว์ก่อนเริ่มรายการ (Kickoff)",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#3",
"text": "เป็นเรสเซิลเมเนียครั้งที่สามที่จะจัดขึ้นในรัฐเท็กซัสหลังจาก 2001 และ2009 และเป็นครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นในสนาม Dallas-Fort Worth Metroplex[7] เพลงประกอบรายการมี \"My House\" โดย Flo Rida, \"Hello Friday\" โดย Flo Rida feat. Jason Derulo, \"Hail to the King\" โดย Avenged Sevenfold, \"Sympathy for the Devil\" โดย Motörhead และ \"Oh No\" โดย Goodbye June[8] วันที่ 21 มีนาคม ได้ประกาศว่า ฟิฟท์ฮาร์โมนี จะมาร้องเพลง America the Beautiful ในช่วงเปิดรายการเรสเซิลเมเนีย[9] ในเดือนธันวาคม 2015 WWE ได้ประกาศว่า เดอะร็อก จะมาร่วม เรสเซิลเมเนีย 32[10]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#30",
"text": "หมวดหมู่:เรสเซิลเมเนีย หมวดหมู่:มวยปล้ำอาชีพในปี พ.ศ. 2559 หมวดหมู่:กีฬาในอาร์ลิงตัน (รัฐเทกซัส) หมวดหมู่:รายการของช่องโทรทัศน์ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เน็ตเวิร์คในปี พ.ศ. 2559 หมวดหมู่:มวยปล้ำอาชีพในรัฐเท็กซัส",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#8",
"text": "เรื่องราวสู่ เรสเซิลเมเนีย 32 ยังไม่ได้รับการตอบรับดีจากนักวิจารณ์ เจสันพาวเวลของโปรมวยปล้ำ Dot Net เสียใจที่ \"สร้างเพื่อเรสเซิลเมเนีย ได้รับระเบียบความคิดสร้างสรรค์\" และ WWE บัญชีรายชื่อที่ได้รับบาดเจ็บตีไม่ได้แก้ตัว \"บุ๊กกิ้งเลอะเทอะหรือเรื่องราวที่มีช่องว่างใหญ่และช่องว่างตรรกะ\"[19] เจฟฟ์ แฮมลินแห่ง Wrestling Observer criticized \"มีโมเมนตัมสำหรับเรสเซิลเมเนีย ไม่เป็นที่ทั้งหมด กรณีที่ขายตัวเองหมดจดในชื่อแบรนด์ของตน\"[20] เบนทักเกอร์ของโปรมวยปล้ำไฟฉายเขียน \"ไม่ได้ตั้งแต่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 13 ของ WWE ซูเปอร์โบว์ลมาร่วมกันในการดังกล่าวเป็นแฟชั่นที่แปลกประหลาดกับ WWE ทำให้บางส่วนของมากที่สุดในการตัดสินใจหัวเกาผมเคยเห็นในทุกเพศทุกวัย\"[21] ไคล์ Fowle ของ A.V. Club ประกาศว่า WWE ของ \"เรือมุ่งตรงไปที่โขดหิน\" และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง \"ศึกชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทเป็นภัย\"[22]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#7",
"text": "เรสเซิลเมเนีย กับประเภทแมตช์การปล้ำ จะถูกกำหนดโดยการวางพล็อตเรื่อง และเขียนบท โดยนักมวยปล้ำจะถูกวางตัวให้เป็น ธรรมะ หรือ อธรรม ทั้งหมดโดยการจัดแมตช์ นักมวยปล้ำทั้งหมดของ WWE บางคนเท่านั้นที่มีความบาดหมางจากรายการทีวีของ WWE จะได้มาแสดงที่เรสเซิลเมเนีย[17][18]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#4",
"text": "ฟอบส์ ได้สันนิษฐานว่า เรสเซิลเมเนีย 32 สามารถทำลายสถิติผู้ชม 93,173 คนในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 3 ที่Pontiac Silverdome ในPontiac, มิชิแกน บันทึกนี้ยืนอยู่ในฐานะผู้เข้าร่วมมากที่สุดสำหรับการแข่งขันในร่มจนกระทั่ง 2010 NBA All-Star Game นอกจากนี้ยังจัดขึ้นที่สนามกีฬา AT&T, คาดว่าจะสามารถดึงคนดูได้ถึง 108,713 คน[11] ฟอบส์ ทำนายพิสูจน์ให้เห็นว่าถูกต้องว่ามีคนดูถึง 101,763 คน",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
},
{
"docid": "703994#22",
"text": "Troy L. Smith ของ cleveland.com เขียนว่า \"WrestleMania 32 เป็นคืนที่ท้าทายความคาดหวังต่ำขอบคุณในส่วนใหญ่ของความคิดถึงตัน WWE เป็น\" แต่เสริมว่า \"บางส่วนของค่าความนิยมที่ได้รับการ squandered ต้นจากการตัดสินใจจองแปลก\" สมิธ รู้สึกว่ากิจกรรมหลักคือ \"น่าเบื่อมาก - หนึ่งในกิจกรรมหลักที่เลวร้ายที่สุดที่เคยที่ WrestleMania\" \". WWE พบว่าตัวเองติดอยู่ในช่วงเวลาที่มันไม่สามารถได้รับจากการที่มีการโห่มากกว่าไชโย\" กับตอนจบที่เห็น ในท้ายที่สุดสมิธ กล่าวสรุปว่า \"WrestleMania 32 พิสูจน์แซคไรเดอร์ (หรือใครก็ตาม) จะดีกว่าโรแมน เรนส์\"[54]",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32"
}
] |
2492 | พระมงคลเทพมุนี มีชื่อเกิดว่าอะไร? | [
{
"docid": "28166#1",
"text": "พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
}
] | [
{
"docid": "396120#11",
"text": "ในปี พ.ศ. 2534 เมื่อท่านได้บริหารกิจการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เจริญขึ้นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ \"วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)",
"title": "พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)"
},
{
"docid": "28166#26",
"text": "หมวดหมู่:พระราชาคณะชั้นเทพ หมวดหมู่:เจ้าอาวาส หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หมวดหมู่:ภิกษุชาวไทยที่มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "65106#36",
"text": "กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ถอนฟ้องคดีทั้งหมดของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) หลังจากนั้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศรับรองความบริสุทธิ์ของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) และมหาเถรสมาคมได้ส่งผู้แทนมายังวัดพระธรรมกายเพื่อถวายคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแก่พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) สำหรับประเด็นนี้นักวิชาการบางคน เช่น ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งถูกคดีอาญาหมิ่นประมาทผู้อื่น ศาลสั่งจำคุกเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ในขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนวัดพระธรรมกายได้ออกมาแย้งในรูปแบบต่าง ๆ ว่า คดีของวัดพระธรรมกายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมีการใช้อิทธิพลของผู้มีอำนาจระดับสูงกดดันหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เช่นกัน ด้วยเหตุผลที่วัดพระธรรมกายเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงมีศิษยานุศิษย์ในทุกระดับชั้นของสังคมและทั่วโลก จึงเกรงว่าหมู่คณะวัดพระธรรมกายอาจมีอำนาจการต่อรองทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย",
"title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย"
},
{
"docid": "105722#1",
"text": "จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้และฝึกวิชชาธรรมกายกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนียกย่องจันทร์ว่า \"ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง\" ต่อมา อุบาสิกาจันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย อุบาสิกาจันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย",
"title": "จันทร์ ขนนกยูง"
},
{
"docid": "758810#3",
"text": "เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีพระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที (นาค สุมนนาโค) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า จนฺทสิริ ",
"title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)"
},
{
"docid": "28166#13",
"text": "จุดนั้นค่อยๆ ขยายขึ้นและโตเท่ากับดวงเดิม ดวงเก่าหายไป ท่านมองไปเรื่อยๆ ก็เห็นดวงใหม่ลอยขึ้นมาแทนที่ เหมือนน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาแทนที่กันนั่นแหละ ต่างแต่ใสยิ่งขึ้นกว่าดวงเดิม ในที่สุดก็ เห็นกายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาจนถึงธรรมกาย เป็นพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่า พระพุทธรูปบูชาองค์ใด เสียงพระธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า \"ถูกต้องแล้ว\" เท่านั้นแหละ ความปีติสุขก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านถึงกับรำพึงออกมาเบาๆ ว่า",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "987560#7",
"text": "ดังนั้น จึงสันนิฐานว่า วัดสุวรรณเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรีนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับวัดสวรรคเจดีย์ ซึ่งเคยเป็นพระอารามอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช และน่าจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เพราะภายหลังพระเทพมุนี วัดกุฎีดาว มรณภาพราว 2-3 เดือน กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า ในการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พระเทพมุนี มรณภาพราวเดือน 2-3 ปีกุน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310)",
"title": "สมเด็จพระสังฆราช วัดสวรรคเจดีย์"
},
{
"docid": "28166#22",
"text": "เมื่อมาถึงวัดปากน้ำ ท่านพบว่าวัดอยู่ในสภาพกึ่งวัดร้าง ภายในวัดมีสภาพทรุดโทรม ในสมัยนั้น ที่นี่เป็นสวนพลู สวนหมาก สวนมะพร้าว สวนเงาะ มีศาลาที่เก่ามาก มีโรงครัวเล็กๆ กุฏิก็มีไม่กี่หลัง เป็นกุฏิเล็กๆ ยกพื้น ปลูกด้วยไม้สัก พักได้รูปเดียว อยู่ตามร่องสวน พระภิกษุที่อยู่ก่อนมีจำนวน 13 รูป มักย่อหย่อนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ท่านต้องพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนตั้งแต่วันแรกที่มาถึง แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ท่านกลับมีความคิดที่จะฟื้นฟูวัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีกด้วย",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "65106#40",
"text": "พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) มีแนวคิดรวมคณะสงฆ์ทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยความหมายแล้วเพื่อให้งานพระพุทธศาสนาขยายกว้างและเข็มแข็ง เพื่อประชุมเปรียบเทียบคำสอนในศาสนาพุทธที่ปรากฏอยู่ในแต่ละนิกาย [43] จึงเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์ว่าพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตนเอง ซึ่งทางกลุ่มผู้สนับสนุนได้โต้แย้งว่าการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับพุทธบริษัททั้งสี่นั้นเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ซึ่งการที่พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ตั้งใจสร้างความสามัคคีของชาวพุทธทั่วโลกให้เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ควรแก่การส่งเสริมและสนับสนุนมากกว่าการมุ่งร้ายทำลายกันเองระหว่างหมู่พุทธศาสนิกชน",
"title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย"
},
{
"docid": "351941#7",
"text": "1. \"กรณีศึกษา เรื่อง กฎแห่งกรรม\" ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของบุคคลจริงที่ส่งเรื่องราวของตนเองและครอบครัวถึงพระเทพญาณมหามุนี ด้วยต้องการทราบถึงบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น โดยพระเทพญาณมหามุนีเรียกวิธีการที่ทำให้ทราบบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น ว่า \"ฝันในฝัน\" ตามอย่างคำกล่าวของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงสมาธิชั้นสูงและการใช้วิชชาธรรมกายเพื่อศึกษาความเป็นมาเป็นไปของสรรพสัตว์",
"title": "โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา"
},
{
"docid": "673775#0",
"text": "พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) นามสกุล วิชชุกิจมงคล เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 12 และรักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร",
"title": "พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย)"
},
{
"docid": "39464#1",
"text": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ ต่อมาอุปสมบทในปี พ.ศ. 2500 ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมีพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ \nช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา เคยกล่าวว่า \"ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป\" ซึ่งถูกฝ่ายขวา อันได้แก่ นวพล กลุ่มกระทิงแดง ในสมัยนั้นนำไปใช้เป็นวาทกรรม โจมตีฝ่ายซ้าย และยุยงให้คนไทยเกลียดชังนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมต่อต้านการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำไปสู่การสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519",
"title": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ)"
},
{
"docid": "28166#0",
"text": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกายชาวไทย ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ \"หลวงพ่อวัดปากน้ำ\" เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของการปฏิบัติกรรมฐานพุทธานุสติที่เรียกว่า วิชชาธรรมกาย ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "5114#168",
"text": "พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) - อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) - อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) - เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และอดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหารรูปที่ ๑๓ พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) ป.ธ.9 เจ้าคณะภาค11 เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระครูนครธรรมโฆษิต (นิล อิสฺสริโก) - อดีตเจ้าอาวาสวัดครบุรี พระอรุณธรรมโสภณ (หลวงปู่แจ้ง ฉินฺนมนฺโท) - อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่สุนทร อดีตเจ้าคณะอำเภอโนนสูง อ.โนนสูง หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล - สวนนิพพานวัดปอแดง อ.ปักธงชัย",
"title": "จังหวัดนครราชสีมา"
},
{
"docid": "639713#2",
"text": "พระเทพวิมลมุนี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ณ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง สมุทรสาคร โดยมีพระครูรอด วัดบางน้ำวน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ พัทธสีมา วัดชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีพระธรรมสิริชัย วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ พระครูสาครศีลาจารย์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระรามัญมุนี วัดป้อมวิเชียรโชติการาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์",
"title": "พระเทพวิมลมุนี (กฤช กิตฺติวํโส)"
},
{
"docid": "394583#3",
"text": "จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี (พ.ศ. 2494) ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระเทพวิมล (ชุ่ม ติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี) เป็นพระ\nกรรมวาจารย์ พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์ เตมิโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทท่านก็ยังไม่ได้ละมานะที่จะเรียนบาลี โดยท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคในปี พ.ศ. 2497 และในปี พ.ศ. 2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น ",
"title": "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)"
},
{
"docid": "28166#24",
"text": "เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[14230,14245,2,2]}'>พระครูสมุห์ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2464 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสมณธรรมสมาทาน[1] 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เลื่อนพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระภาวนาโกศลเถร[2] พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี สุทธศีลพรตนิเวฐ เจษฎาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3] 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "28166#14",
"text": "การค้นพบวิชชาธรรมกายอันเป็นของจริงของแท้ เป็นทางบรรลุธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลุแล้ว เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ท่านจึงมาคำนึงว่า",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "65106#34",
"text": "ช่วง พ.ศ. 2540-2541 สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) และทีมงาน เช่น ประเด็นการยักยอกทรัพย์ และการบริหารเงินบริจาค และพยายามเปลี่ยนการเรียกนามของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็น \"นายไชยบูลย์ สุทธิผล\" โดยด้วยความผิดทางพระธรรมวินัยขั้นปาราชิก ในข้อหายักยอกทรัพย์ ศิษย์บางส่วนออกมาปกป้องพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ว่าถูกขบวนการทำลายล้างวางแผนทำลายชื่อเสียงวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ผ่านสื่อมวลชนและการกดดันทางการเมืองและเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ อีกทั้งเชื่อว่าบุคคลในห้องกระจกอาจมีส่วนรู้เห็นในการปลอมแปลงพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเพื่อหวังผลในการจับสึกพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ในขณะที่คณะวัดพระธรรมกายพยายามออกแถลงการณ์เพื่อชี้แจงข้อสงสัยอยู่เป็นระยะ อย่างไรก็ตามขบวนการโจมตีวัดพระธรรมกายก็ยังคงพยายามชี้นำสังคมให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยวัดพระธรรมกายอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ภายหลังสื่อมวลชนทั้งหลายได้ออกมาขอขมาวัดพระธรรมกาย เพราะว่าได้ลงข่าวที่ไม่เป็นความจริงลงไปอย่างมากมาย ทำให้วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ได้รับความเสียหาย",
"title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย"
},
{
"docid": "68798#1",
"text": "วัดชัยมงคล เดิมเขียนว่า วัดไชยมงคล ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ( นวม พุทธสร ) วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก นามวัดใหม่นี้ว่า วัดชัยมงคล ",
"title": "วัดชัยมงคล (จังหวัดพิจิตร)"
},
{
"docid": "28166#5",
"text": "เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่าจนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือ วัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถธุระต่อที่กรุงเทพฯ",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "175882#7",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ไปยัง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการ พระราชพิธีถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ และเสด็จพระราชดำเนิน ไปยังพระที่นั่งราชฤดี ทรงเครื่องเศวตพัสตร์ ประทับบนพระแท่นพระมุรธาภิเษกสนาน ในการพระราชพิธีสรงพระมุรธาภิเษก สมเด็จพระสังฆราชถวายน้ำพระพุทธมนต์ด้วยครอบพระกริ่ง พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระเต้าเบญจคัพย์รัชกาลที่ 5 และพระครูวามเทพมุนี ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ตามขัตติยราชประเพณี ",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506"
},
{
"docid": "28166#18",
"text": "เมื่อออกจากวัดประตูสาร ท่านได้ไปรับพระภิกษุหมก พระภิกษุปลดและพระภิกษุพล (พระครูโสภณราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรฯ (ลาสิกขาบทแล้ว)) และพระภิกษุฮั้ว วัดป่าพฤกษ์ ที่วัดสองพี่น้อง กลับลงมากรุงเทพฯ ไปอยู่ที่สำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "117658#4",
"text": "ด้านศาสนา บวชเป็นพราหมณ์เมื่อ พ.ศ. 2521 และได้รับการศึกษาจากบิดาและพราหมณ์อาวุโสท่านอื่น ๆ อาทิ พราหมณ์อนันทบุรตี และสวามีฮารีฮาจิ โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ เลื่อนฐานันดรศักดิ์จากพระครูวามเทพมุนีเป็นพระราชครูวามเทพมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2542 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542",
"title": "พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)"
},
{
"docid": "762509#6",
"text": "นอกจากศึกษาพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์หลายรูปในสายพระป่าของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) พระราชมุนี (โฮม โสภโณ)",
"title": "พระเทพวิมลญาณ (ถาวร จิตฺตถาวโร)"
},
{
"docid": "28166#12",
"text": "ขณะที่ใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น ก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาจากจุดกลางดวงนั้นว่า \"มัชฌิมาปฏิปทา\" แต่ขณะที่เสียงนั้นดังแผ่วขึ้นมาในความรู้สึก ก็เห็นจุดเล็กๆ เรืองแสง สว่างวาบขึ้นมาจากกลางดวงนั้น เสมือนจุดศูนย์กลางของวงกลม ความสว่างของจุดนั้นสว่างกว่าดวงกลมรอบๆ ท่านมองเรื่อยไป พลางคิดในใจว่า นี่กระมังทางสายกลาง จุดเล็กที่เราเพิ่งจะเห็นเดี๋ยวนี้อยู่กึ่งกลางพอดี ลองมองดูซิจะเกิดอะไรขึ้น",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "28166#15",
"text": "ท่านยังคงนั่งเจริญภาวนาทบทวนอย่างนี้ต่อไปอีกประมาณ 30 นาที ก็เกิดภาพในสมาธิ เป็นภาพของวัดบางปลาปรากฏขึ้น ความรู้สึกขณะนั้นเหมือนตัวท่านอยู่ที่วัดนั้น ทำให้คิดว่าธรรมที่รู้เห็นได้ยากนั้น ที่วัดบางปลาจะต้องมีผู้ที่สามารถบรรลุธรรมได้แน่นอน ภาพของวัดบางปลาจึงปรากฏขึ้นในสมาธิ",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "479466#5",
"text": "ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการที่ตำบลคลองเตย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณนั้น จึงถูกเวนคืนที่ดิน โดยรัฐบาลชดใช้เงินให้เพื่อไปรวมกับวัดอื่น หรือไปสร้างวัดใหม่ขึ้น โดยทางคณะสงฆ์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีพระเดชพระคุณพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิเทสสกเถร) สมัยเมื่อยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประธานกรรมการและท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวจเถร) ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้แนะนำเลือกสถานที่ดินที่สร้างวัด มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ราคาที่ดินไร่ละ ๕๐๐ บาท หรือวาละ ๕ สลึงสถานที่ตั้งอารามในปัจจุบัน โดยถือกรรมสิทธิ์เป็นที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐",
"title": "วัดธาตุทอง"
},
{
"docid": "91746#18",
"text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์แล้วพระราชครูวามเทพมุนีกราบบังคมทูลถวายชัยมงคลด้วยภาษามคธและภาษาไทย จากนั้นจึงมี พระปฐมบรมราชโองการ พระราชทานอารักขาแก่พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายว่า",
"title": "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
}
] |
1906 | จังหวัดสมุทรปราการมีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "2810#2",
"text": "จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง",
"title": "จังหวัดสมุทรปราการ"
}
] | [
{
"docid": "219090#6",
"text": "เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ มีที่ทำการตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่บ้านพนาสนธิ์ซิตี้ หมู่ที่ 8 ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ ระยะทาง 3 กิโลเมตร เขตเทศบาลมีพื้นที่ทั้งหมด 9.30 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 4, หมู่ 6, หมู่ 8, หมู่ 9, และหมู่ 10 ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้",
"title": "เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "2810#5",
"text": "พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 4 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 30 แห่ง จำแนกได้ดังนี้ ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา, สำโรง, ปากน้ำ, บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ",
"title": "จังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "15290#0",
"text": "เมืองสมุทรปราการ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ นอกจากเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดแล้ว อำเภอเมืองสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของศาลเด็กและเยาวชน ห้องสมุดประชาชน และท่ารถโดยสารประจำทางสายต่าง ๆ รวมทั้งเป็นบริเวณที่จัดงานพระสมุทรเจดีย์ของทุกปี อำเภอนี้เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย\nอำเภอเมืองสมุทรปราการแบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่\nอำเภอเมืองสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่",
"title": "อำเภอเมืองสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "312499#4",
"text": "เทศบาลนครสมุทรปราการ ตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ 7.332 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 29 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้",
"title": "เทศบาลนครสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "502845#0",
"text": "เทศบาลตำบลบางปู มีพื้นที่ประมาณ 63.50 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า าวขนานไปกับฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีถนนสุขุมวิทและคลองชลประทานผ่านกลางตลอดพื้นที่ โดยเริ่มตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 29.250 บนถนนสุขุมวิทไปจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 51.150 แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ฝั่งน้ำจืดคลองชลประทาน (ทิศเหนือ) มีรัศมีจากศูนย์กลางถนนสุขุมวิทออกไป โดยเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลเมตร และพื้นที่ฝั่งน้ำเค็ม มีรัศมีจากศูนย์กลางถนนสุขุมวิทไปจดทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลเมตร\nครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ดังนี้",
"title": "เทศบาลตำบลบางปู (จังหวัดสมุทรปราการ)"
},
{
"docid": "15726#0",
"text": "พระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน",
"title": "อำเภอพระประแดง"
},
{
"docid": "317842#0",
"text": "เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่ในเขตตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ ตำบลบางเมืองใหม่ และตำบลเทพารักษ์",
"title": "เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ"
},
{
"docid": "396758#0",
"text": "โรงเรียนสมุทรปราการ (, อักษรย่อ: ส.ป., S.P.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ตั้งอยู่เลขที่ 498 ถนนสุขุมวิท ก.ม. 27 ติดบิ๊กซีสมุทรปราการ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ปัจจุบันมีอายุ ปี บนเนื้อที่ 17 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง เดิมใช้รหัสสถานศึกษาเป็น 1001110101 ต่อมาเปลี่ยนเป็น 01110101 อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ\nแต่เดิมโรงเรียนเป็นโรงเรียนชายล้วนมาก่อน ปัจจุบันเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนบุรุษประจำจังหวัดสมุทรปราการคู่กับโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ",
"title": "โรงเรียนสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "219090#0",
"text": "ปากน้ำสมุทรปราการ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 31,887 คน",
"title": "เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ"
}
] |
1842 | กีฬาบาสเกตบอลเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ ? | [
{
"docid": "25631#5",
"text": "บาสเกตบอลถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2479 ถึงแม้ว่าเคยจัดการแข่งขันเป็นกีฬาสาธิตก่อนหน้านั้นนานมากเมื่อ พ.ศ. 2447 สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่เก่งกีฬานี้ และทีมชาติสหรัฐพลาดเหรียญทองเพียงสามครั้งเท่านั้น โดยครั้งแรกที่พลาดแข่งที่มิวนิกในปี พ.ศ. 2515 โดยแพ้ให้กับทีมสหภาพโซเวียต การแข่งขัน<b data-parsoid='{\"dsr\":[3224,3251,3,3]}'>เวิลด์แชมป์เปียนชิปส์ (World Championships) สำหรับบาสเกตบอลชายเริ่มแข่งปี พ.ศ. 2493 ที่ประเทศอาร์เจนตินา ส่วนประเภทหญิงเริ่มแข่งสามปีถัดมาในประเทศชิลี กีฬาบาสเกตบอลหญิงเริ่มแข่งในโอลิมปิกปี พ.ศ. 2519 โดยมีทีมที่โดดเด่นเช่น บราซิล ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา",
"title": "บาสเกตบอล"
}
] | [
{
"docid": "965122#0",
"text": "กีฬาบาสเกตบอลชาย 5x5 ในเอเชียนเกมส์ 2018 จัดขึ้นใน จาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม ถึงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561.",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในเอเชียนเกมส์ 2018 – ทีมชาย"
},
{
"docid": "880306#0",
"text": "การแข่งขัน บาสเกตบอล ในมหกรรมกีฬา ซีเกมส์ 2017 ในกรุง กัวลาลัมเปอร์ จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 ถึง 26 สิงหาคม ที่ เอ็มเอบีเอ สเตเดียม ในกัวลาลัมเปอร์. ",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2017"
},
{
"docid": "25631#25",
"text": "การที่จะมีฟาวล์หรือไม่อยู่วิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่ ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาวล์ของกรรมการ การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาวล์อาจแตกต่างกันในแต่ละเกม ลีก หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน",
"title": "บาสเกตบอล"
},
{
"docid": "965119#0",
"text": "กีฬาบาสเกตบอลในเอเชียนเกมส์ 2018 เป็นการจัดขึ้นใน จาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน พ.ศ. 2561, โดยมีการแข่งขันถึงสองประเภท: บาสเกตบอล 5x5 และ 3x3. นี่เป็นครั้งแรกสำหรับบาสเกตบอล 3x3 ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันใน เอเชียนเกมส์.\nบาสเกตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่จะจัดขึ้นก่อนพิธีเปิดการแข่งขันของเอเชียนเกมส์ 2018. พิธีเปิดการแข่งขันจะจัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม, นัดเปิดสนามสำหรับบาสเกตบอล 5x5 ได้จัดแข่งขันสี่วันก่อนหน้านี้ในวันที่ 14 สิงหาคม.",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในเอเชียนเกมส์ 2018"
},
{
"docid": "719987#0",
"text": "การแข่งขันบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 6-21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่ สนามกีฬาในร่มการีโอกา 3",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016"
},
{
"docid": "668565#2",
"text": "การอนุญาตให้นักกีฬาทีมชาติสามารถลงแข่งขันในครั้งนี้ได้นั้น ก่อให้เกิดการตื่นตัวทางกีฬาเป็นอย่างมาก มีเยาวชนและประชาชนให้การสนใจเข้าร่วมการแข่งขันทุกประเภทกีฬาอย่างเนืองแน่น โดยกีฬาที่ได้รับความสนใจสูง คือ ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล มวยสากล และว่ายน้ำ เนื่องจากการแข่งขันบางรายการนักกีฬาทั่วไปสามารถเอาชนะนักกีฬาทีมชาติได้ ทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจที่จะฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของตนให้สูงขึ้น เพื่อพร้อมเต็มที่ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันนักกีฬาแห่งชาติในครั้งต่อไป",
"title": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 18"
},
{
"docid": "721172#0",
"text": "การแข่งขันบาสเกตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2015 จะจัดแข่งขันระหว่างวันที่ 4-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ในควังจู, ประเทศเกาหลีใต้ มีการแข่งขันทั้งหมด 40 ทีม",
"title": "บาสเกตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2015"
},
{
"docid": "722409#0",
"text": "การแข่งขันบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในมอนทรีอออล ประเทศแคนาดา กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 18-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นครั้งแรกที่มีการแข่งขันบาสเกตบอลหญิงเพิ่มขึ้นมา",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976"
},
{
"docid": "427421#0",
"text": "วิลเลียม จี. มอร์แกน (ค.ศ. 1870-1942) เป็นผู้คิดค้นกีฬาวอลเลย์บอล หรือเดิมเรียก \"มินโทเนตต์\" (Mintonette) เขาเกิดในล็อกพอร์ต รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เขาพบกับเจมส์ ไนสมิท ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ขณะที่มอร์แกนกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยสปริงฟีลด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ใน ค.ศ. 1892 เช่นเดียวกับไนสมิท มอร์แกนเข้าทำงานในด้านพลศึกษาที่วายเอ็มซีเอ (ชื่อไทยแปลว่า เยาวมานพคริสเตียนอมาตยสมาคม) โดยได้รับอิทธิพลจากไนสมิทและบาสเกตบอล ใน ค.ศ. 1895 ที่โฮลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ มอร์แกนได้คิดค้าน \"มินโทเนตต์\" ซึ่งเป็นกีฬาประเภททีมที่รุนแรงน้อยกว่า ซึ่งเหมาะสมสำหรับสมาชิกที่มีอายุมากของวายเอ็มซีเอมากกว่า แต่ยังเป็นกีฬาที่ยังต้องอาศัยทักษะด้านกรีฑา ภายหลังอัลเฟรดเอสฮัลสตีด เฝ้าชมมินโทเนตต์และเปลี่ยนชื่อเป็น \"วอลเลย์บอล\" เพราะหัวใจของกีฬา คือ การ \"เล่นวอลเลย์บอล\" ไปและกลับข้ามตาข่าย",
"title": "วิลเลียม จี. มอร์แกน"
},
{
"docid": "722397#0",
"text": "การแข่งขันบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1904 เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นใน พ.ศ. 2447 จัดแข่งขัน 4 ประเภท",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1904"
},
{
"docid": "722407#0",
"text": "การแข่งขันบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 11-23 ตุลาคม พ.ศ. 2507",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1964"
},
{
"docid": "6450#28",
"text": "หมวดหมู่:ลีกกีฬาอาชีพในสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ลีกกีฬาอาชีพในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ลีกบาสเกตบอลในสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ลีกบาสเกตบอลในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ลีกกีฬาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489",
"title": "สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ"
},
{
"docid": "812245#0",
"text": "การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล (3x3) (หรือ บาสเกตบอลชายหาด) ในเอเชียนบีชเกมส์ 2016 จัดขึ้นที่เมืองดานัง, ประเทศเวียดนาม ระหหว่างวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2559 ณ. สวนสาธารณะเบี๋ยนดง, เมืองดานัง, ประเทศเวียดนาม.",
"title": "กีฬาบาสเกตบอล (3x3)ในเอเชียนบีชเกมส์ 2016"
},
{
"docid": "22422#1",
"text": "บิล รัสเซล เกิดที่เมืองมอนโร รัฐลุยเซียนา เติบโตที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสูง 6 ฟุต 9 นิ้ว (2.06 เมตร) เล่นบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัยให้กับ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซานฟรานซิสโก และนำทีมไปสู่ชัยชนะ ในการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับมหาวิทยาลัย เอ็นซีดับเบิลเอ (NCAA) ในปี ค.ศ. 1955 และ 1956 รวมทั้งการชนะการแข่งขันติดต่อกันถึง 55 เกม นอกจากนั้นแล้ว บิล รัสเซล ยังเป็นกัปตันทีมบาสเกตบอลชาย ตัวแทนสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 1956",
"title": "บิล รัสเซล"
},
{
"docid": "880523#0",
"text": "การแข่งขัน บาสเกตบอลชาย ในมหกรรมกีฬา ซีเกมส์ 2017 จะจัดขึ้นในกรุง กัวลาลัมเปอร์, ประเทศมาเลเซีย ที่สนามกีฬาเอ็มเอบีเอ ตั้งแต่วันที่ 20 ถึง 26 สิงหาคม. ",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2017 – ทีมชาย"
},
{
"docid": "114542#2",
"text": "เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ",
"title": "วอลเลย์บอล"
},
{
"docid": "135896#0",
"text": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิก () ในโอลิมปิก ค.ศ. 1904 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา บาสเกตบอลชายได้เป็นกีฬาสาธิต ปี ค.ศ. 1908 มีการเปลี่ยนแปลงกฎจากที่ให้ผู้เล่นที่ทำฟาล์ว 5 ครั้ง ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เล่นในเกมนั้น เป็นการให้อีกฝ่ายได้ชู้ตลูกโทษ 1 หรือ 2 ลูก บวกเพิ่มพิเศษอีก 1 ลูก ในปี 1936 กีฬาบาสเกตบอลชายได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาชิงเหรียญในโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี คราวนั้นยังแข่งขันกลางแจ้งบนคอร์ทดินของสนามเทนนิส ทีมชาติสหรัฐฯ ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเรียกว่า แมคเฟอร์สันโกล๊บออยเลอร์ส (McPherson Globeoilers) ได้เหรียญทองโอลิมปิกจากการเอาชนะทีมแคนาดาไปด้วยคะแนน 19 : 8 ที่ได้แต้มกันน้อยนั้นก็เป็นผลมาจากฝนตกสนามเฉอะแฉะ ทำให้ยากต่อการเล่น โดยเฉพาะการเลี้ยงบอล ส่วนบาสเกตบอลหญิงโอลิมปิกเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1976 ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน"
},
{
"docid": "120618#37",
"text": "สิ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วไปจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 1992 ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้แก่ Dream Team ซึ่งในครั้งนั้น Michael Jordan, Magic Jordan, Larry Bird, Charles Barkley, Patrick Ewing, David Robinson, Karl malone และ Scottie เป็นนักบาสเกตบอลที่โดดเด่นมากในทีมสหรัฐอเมริกา ทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาในปีนั้นได้เอาชนะคู่ต่อสู้จากประเทศต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบภายใต้การนำของโค้ช Chuck Daly นักกีฬาจากประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับความชื่นชมในการแข่งขันกีฬาปีนั้นเช่น Joynor-Kersee ผู้ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันขันสัตตกรีฑา หญิงในปีนั้นนักกีฬาว่ายน้ำหญิงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สร้างความหวาดผวาให้กับนักว่ายน้ำชาติอื่น ๆ ด้วยการชนะการแข่งขันประเภทต่าง ๆ แบบทำลายสถิติ แต่ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ได้ว่านักกีฬาหญิงผู้นั้นได้ใช้ยากระตุ้นกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นกีฬาโอลิมปิกที่ Bracelona ในปี 1992 ถูกเรียกว่าเป็น Money Game เพราะว่านักกีฬาทั้งชายและหญิงต่างทำการแข่งขันเพื่ออะไรก็ตามที่สามารถทำเงินได้ หรือแม้แต่ Jordan ได้ใช้ธงชาติสหรัฐอเมริกาคลุมป้ายผู้สนับสนุนกีฬาอย่างเป็นทางการของทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ใช้เป็นบริษัทผลิตรองเท้ากีฬาที่ใช้ชื่อของเขาในการขายสินค้า",
"title": "โอลิมปิกฤดูร้อน"
},
{
"docid": "87656#4",
"text": "นารุเซะ โทรุ เด็กหนุ่มอายุ 15 ปี ผู้ที่ใฝ่ฝันที่จะเป็นทั้งนักฟุตบอลและนักเบสบอลที่เก่งกาจ แต่ไม่เคยลองฝึกฝนกีฬาชนิดใด ๆ อย่างจริงจังสักอย่าง และเอาแต่โทษว่าตนเองไม่มีพรสรรค์ทางด้านกีฬาโดยที่ไม่พยายามลองฝึกฝน จึงเป็นได้แค่นักกีฬาตัวสำรองของโรงเรียนมาตลอดตั้งแต่สมัยอยู่ชมรมฟุตบอลตอนมัธยมต้น พอขึ้นมัธยมปลาย นารุเซะตัดสินใจเลือกที่จะเข้าโรงเรียนมัธยมโจนันและชมรมบาสเกตบอล ตามคำชักชวนของเพื่อน ๆ และเห็นฝีมือการเล่นบาสเกตบอลของซากุระอิ ชูจิดาวดังประจำโรงเรียน นารุเซะปลื้มในฝีมือด้านบาสเกตบอลของซากุระอิมาก จึงตัดสินใจที่จะพยายามให้ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลตัวจริง เพราะอยากจะเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลที่เก่งกาจเช่นเดียวกับซากุระอิ วันหนึ่งนารุเซะได้พบกับคุสึดะ มิซึคิ เพื่อนในวัยเด็กและเล่าเรื่องชมรมบาสเกตบอลโจนันให้ฟัง คุสึดะจึงแนะนำให้นารุเซะรู้จักกับบาสเกตบอลข้างถนนหรือสตรีทบาสเกตบอล (Street Basketball) ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบ 3 ON 3 มีผู้เล่นทีมละ 3 คน และชักชวนให้ลองเล่นสตรีทบาสเกตบอลเพื่อเป็นการฝึกฝนทักษะและความสามารถ รวมทั้งเล่าถึงทีมทรีเม็น ซึ่งเป็นทีมสตรีทบาสที่แข็งแกร่งที่สุดให้นารุเซะรับรู้ และได้พบกับชูแห่งทรีเม็น",
"title": "ฮาเล็มบีท จังหวะคนจริง"
},
{
"docid": "823#169",
"text": "อเมริกันฟุตบอลในด้านต่าง ๆ เป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุด[590] เนชันแนลฟุตบอลลีก (NFL) มีผู้ชมเฉลี่ยของลีกกีฬาสูงสุดในโลกทุกชนิด และซูเปอร์โบวล์มีผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลก เบสบอลถือเป็นกีฬาประจำชาติสหรัฐตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยที่เมเจอร์ลีกเบสบอล (MLB) เป็นลีกสูงสุด บาสเกตบอลและฮ็อกกีน้ำแข็งเป็นกีฬาทีมอาชีพอันดับต้น ๆ อีกสองชนิด โดยมีลีกสูงสุดคือ สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ (NBA) และลีกฮอกกี้แห่งชาติ (NHL) ฟุตบอลวิทยาลัยและบาสเกตบอลดึงดูดผู้ชมจำนวนมาก[591] ในกีฬาฟุตบอล สหรัฐจัดฟุตบอลโลก 1994 ทีมฟุตบอลแห่งชาติประเภทชายเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 10 ครั้ง และทีมหญิงชนะฟุตบอลโลก 3 ครั้ง เมเจอร์ลีกซอกเกอร์เป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลในสหรัฐ (มีทีมอเมริกัน 19 ทีม และแคนาดา 3 ทีม) ตลาดกีฬาอาชีพในสหรัฐมีมูลค่าประมาณ 69,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใหญ่กว่าตลาดทั้งทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริการวมกันประมาณ 50%[592]",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "715897#1",
"text": "จากนักกีฬาทั้งหมด 178 คนจาก 9 ชาติสมาชิกที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2015:",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2015"
},
{
"docid": "880529#0",
"text": "การแข่งขัน บาสเกตบอลหญิง ในมหกรรมกีฬา ซีเกมส์ 2017 จะจัดขึ้นในกรุง กัวลาลัมเปอร์, ประเทศมาเลเซีย ที่สนามกีฬาเอ็มเอบีเอ ตั้งแต่วันที่ 20 ถึง 26 สิงหาคม. \nด้านล่างนี้คือตารางการแข่งขันสำหรับการแข่งขันบาสเกตบอลหญิง:",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2017 – ทีมหญิง"
},
{
"docid": "715897#0",
"text": "กีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2015 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9–15 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ณ กัลลัง, ประเทศสิงคโปร์ การแข่งขันมีทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง จะจัดขึ้นในโอซีบีซี อารีนา ฮอลล์ 1",
"title": "กีฬาบาสเกตบอลในซีเกมส์ 2015"
},
{
"docid": "703681#1",
"text": "เฉินป๋อหลิน ชื่อเดิม เฉินเหว่ยจื้อ ชื่อภาษาอังกฤษคือ วิลสัน ชาน Wilson Chan ชื่อของแฟนๆ ชาวญี่ปุ่น คือ ไมกาว่า Maikawa \nเกิดวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1983 ที่กรุงไทเป ไต้หวัน กรุ๊ปเลือด B สูง 178เซนติเมตร หนัก 65 กิโลกรัม \nรักการเต้น ฮิพ-ฮ็อพ เล่นกีตาร์ กีฬาโปรดคือว่ายน้ำ ชอบสีดำ ขาว แดง เหลือง ชอบกินบะหมี่ และช็อกโกแลต ชอบใส่เสื้อยืดพิมพ์ลายเยอะๆ กับกางเกงที่ไม่ฟิตจนเกินไป ไม่งั้นจะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเลยไปถึงขั้นที่ว่ามันหมือนกับตัวเขาโป๊นั่นทีเดียว เฉินป๋อหลิน เป็นดาราเอเชียที่พูดภาษาอังกฤษค่อนข้างดีคนหนึ่ง เพราะวัยประถมเคยไปเรียนและใช้ชีวิตที่สหรัฐ อเมริกาพักหนึ่ง แต่อยู่ที่นั่นเขาบอกว่าเป็นชีวิตที่น่าเบื่อ หาเพื่อนซี้ไม่ได้เลยซักคน ในที่สุดก็กลับมาเรียนต่อที่ไต้หวัน ช่วงมัธยมต้น \nเป็นนักบาสเกตบอลของโรงเรียน ได้รับฉายาว่า หนุ่มสลาตัน เพราะความว่องไว เล่นลูกได้รวดเร็ว เป็นดาวเด่นมีสาวๆ มาชมชอบเขาเยอะมาก ภูมิใจไปเลย เขายอมรับว่าไม่ค่อยวางแผนกับอนาคตสักเท่าไหร่ \nตอนที่จะจบ ม.ปลาย ต้องเขียนความฝันในอนาคตลงไปในหนังสือทำเนียบรุ่น ก็เขียนลงไปว่าอยากเป็นนักบาสเกตบอล \nเฉินป๋อหลิน มาดกวน กระทั่งให้สื่อถ่ายรูปก็มีลีลาไม่เบา แอ๊กชั่นไม่ซ้ำ เขาบอกว่าติดนิสัยทำหน้าแบบต่างๆ มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เห็นรูปตัวเองสมัยเด็กๆ ยังอดขำไม่ได้เลย เคยมีคนถามว่าลักษณะท่าทางแบบนั้นเลียนมาจากใคร เขาก็ตอบว่าคงจะเป็นจิม แครี่ย์ มั้งครับ\nความหล่อเหลามากบวกกับบุคลิกที่มีความเป็นตัวของตัวเองมาก สะดุดตาแมวมองขณะเขาเดินเที่ยวในย่านซีเหมินติ่ง โดนจีบไปเล่นบทนำในภาพยนตร์เรื่อง Blue Gate Crossing หรือ สาวหน้าใสกับนายไบซิเคิล และได้ฉายาว่า นายไบซิเคิล ตลอด \nหลังจากนั้นก็มีละครทีวีเรื่อง SONIC YOUTH-สู้สุดใจนายไบซิเคิล \nส่วนผลงานต่อไปคือ The Twin Effects ภาคสอง ประชันลูกชายเฉิงหลง \nการเข้าวงการมาตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้พบเห็นและสัมผัสถึงประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือน และมีมุมมองกว้างขึ้น สำหรับทรรศนะต่อวงการบันเทิง เมื่อก่อนเขาคิดเพียงว่าแค่หน้าตาดีหน่อยกับมีความสามารถอีกสักนิดก็เป็นดาราได้แล้ว ส่วนเรื่องอื่นๆ ค่อยมาฝึกกัน แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็รู้คิดผิดถนัด\nแอบหักอกสาวๆ เมืองไทยเล่นหน่อยดีกว่า หนุ่มเฉินเขามีเจ้าของหัวใจแล้ว โดยให้สัมภาษณ์ถึงแฟนสาวชาวไต้หวันอยู่บ่อยๆ ชื่อ ซินดี้",
"title": "เฉิน ป๋อหลิน"
},
{
"docid": "277589#42",
"text": "ในปี ค.ศ. 1997 การศึกษาเรื่องการเหมารวมในวงการกีฬา นักค้นคว้าแสดงภาพนักบาสเกตบอลผิวขาว และนักบาสเกตบอลผิวดำให้ผู้ร่วมในการศึกษาได้ดู จากนั้นก็ให้ฟังการกระจายเสียงที่อัดไว้ล่วงหน้าของกีฬาบาสเกตบอล ภาพนักบาสเกตบอลผิวขาวได้รับการจัดลำดับว่าแสดงความมีเชาว์ปัญญาในการเล่นเกมสูงกว่าภาพนักบาสเกตบอลผิวดำมาก แม้ว่าผู้บรรยายการเล่นและรูปนักกีฬาจะเป็นรูปเดิมตลอดการทดลองก็ตาม นักประพันธ์หลายท่านกล่าวว่าการบรรยายการเล่นกีฬาที่เน้น 'ความสามารถโดยธรรมชาติของชนผิวดำทางด้านการเล่นกีฬา' มีผลที่เป็นนัยยะว่าชนผิวขาวมีความสามารถในด้านอื่นๆ สูงกว่า เช่นในด้านเชาว์ปัญญา",
"title": "การเหมารวม"
},
{
"docid": "439683#0",
"text": "วีลแชร์บาสเกตบอล () เป็นกีฬาบาสเกตบอลที่ผู้เล่นจะนั่งอยู่บนวีลแชร์ และถือเป็นหนึ่งในกีฬาสำคัญสำหรับคนพิการ โดยมีสหพันธ์วีลแชร์บาสเกตบอลนานาชาติ (IWBF) เป็นฝ่ายบริหารสูงสุดของกีฬานี้ และเป็นที่ยอมรับโดยคณะกรรมการพาราลิมปิคนานาชาติ (IPC) ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลทั่วโลกแต่เพียงผู้เดียว ส่วนสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติได้รับการยอมรับจาก IWBF ภายใต้ข้อ 13 ของข้อบังคับทั่วไป",
"title": "วีลแชร์บาสเกตบอล"
},
{
"docid": "87656#2",
"text": "ฮาเล็มบีท จังหวะคนจริง เป็นเรื่องราวการเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลของนารุเซะ โทรุ ตัวเอกของเรื่องที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมโจนัน ร่วมกับเพื่อน ๆ นักกีฬาสตรีทบาสเกตบอลที่ทรีเม็นฮูป และเพื่อน ๆ รวมทั้งรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 และ 6 ภายในทีมบาสเกตบอลโจนัน โดยมีการแบ่งการแข่งขันบาสเกตบอลออกเป็น 2 ประเภท คือบาสเกตบอลธรรมดาทั่วไปและสตรีทบาสเกตบอลหรือบาสเกตบอลข้างถนน จนสามารถก้าวขึ้นไปสู่การแข่งขันบาสเกตบอลชายในระดับประเทศหรือการแข่งขันอินเตอร์ไฮ ที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ที่ถือเป็นสุดยอดของการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล",
"title": "ฮาเล็มบีท จังหวะคนจริง"
},
{
"docid": "21256#31",
"text": "วอชิงตันเป็นหนึ่งในสิบสามเมืองของสหรัฐที่มีทีมกีฬาที่สำคัญถึงสี่ทีม (เบสบอล, ฮ็อกกี้, ฟุตบอล และบาสเกตบอล) รวมถึงเป็นเมืองที่ตั้งของทีมกีฬาเพศหญิงที่สำคัญอีกเมืองหนึ่ง เช่น เดอะวอชิงตันวิซาร์ดส์ (สมาคมบาสเกตบอลแห่งสหรัฐ), เดอะวอชิงตันแคปปิทอล (สมาคมฮ็อกกี้แห่งสหรัฐ), และเดอะวอชิงตันมิสทิคส์ (สมาคมบาสเกตบอลหญิงแห่งสหรัฐ) โดยทั้งสามทีมนี้จะแข่งขันกันที่แคปปิตอลวันอารีน่า ย่านไชน่าทาวน์",
"title": "วอชิงตัน ดี.ซี."
},
{
"docid": "92008#2",
"text": "สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ เป็นเรื่องราวของเด็กชายไมเคิล จอร์แดน ที่ชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอล ตั้งแต่ในสมัยวัยเด็ก จอร์แดนใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลและเล่นให้กับทีมนอร์ธแคโรไลน่าและเอ็นบีเอ จากชีวิตในวัยเด็กที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาบาสเกตบอล ทำให้จอร์แดนประสบความสำเร็จกับกีฬาชนิดนี้กับการเล่นในลีกเอ็นบีเอ สังกัดทีมชิคาโก บูลส์จนถึงจุดอิ่มตัวของการเป็นนักกีฬาบาสเกตบอล จอร์แดนประกาศเลิกเล่นบาสเกตบอลอาชีพและหันไปเล่นกีฬาเบสบอลเหมือนกับพ่อของเขาแทน",
"title": "สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์"
}
] |
3045 | The Price Is Right Thailand ราคาพารวย เป็นรายการประเภทเกมโชว์ มีใครเป็นพิธีกร ? | [
{
"docid": "728110#0",
"text": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย เป็นรายการประเภทเกมโชว์ที่ให้ผู้เข้าแข่งขันมาเล่นเกมเกี่ยวกับราคาของสินค้าชนิดต่างๆ เพื่อได้รับของรางวัลกลับบ้าน โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ \"\" ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทางบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้มาจากบริษัท ของประเทศสหรัฐอเมริกา นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ดำเนินรายการโดย เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
}
] | [
{
"docid": "728110#12",
"text": "ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านหมุนวงล้อได้คะแนนสูงสุดจากรอบ Showcase Showdown จะมาเล่นเกมนี้ กับกลุ่มของรางวัลที่มีราคารวมตั้งแต่หลักแสนขึ้นไป โดยก่อนเปิดเผยของรางวัลนั้น ทางรายการจะมีราคาช่วย ที่สามารถทายราคาต่ำกว่าราคาจริงได้ แต่ไม่เกินราคาช่วยที่กำหนดไว้ ต่างกันไปแล้วแต่เทป โดยผู้เล่นจะต้องกดปุ่ม เพื่อสุ่มรับราคาช่วยนั้น โดยราคาช่วยจะเรื่มต้นที่ 10,000 บาท ซึ่งจะเพื่มขึ้นระดับละ 10,000 บาท จนถึงสูงสุด 60,000 บาท",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#8",
"text": "เป็นเกมที่นำผู้ที่ผ่านจากรอบ One-Bid และ Pricing Game ทั้ง 4 คน มาหมุนวงล้อนำโชค ซึ่งมีคะแนนตั้งแต่ 5 ถึง 100 คะแนน ผู้เล่นจะมีโอกาสหมุนวงล้อได้ 2 ครั้ง เพื่อทำการรวมคะแนนของการหมุนให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าเกิน 100 คะแนนหรือน้อยกว่าตัวตั้งด้านขวา จะตกรอบทันที หลังหมุนครั้งแรก ถ้าคิดว่าคะแนนสะสมพอที่จะเข้ารอบ สามารถหยุดเล่นได้ เพื่อรับคะแนนนั้น รอบนี้ ผู้ที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดจาก 4 คน จะเข้าไปสู่รอบ Showcase ในกรณีที่หมุนวงล้อได้ 100 คะแนนจะได้เงินรางวัลพิเศษ 10,000 บาท หมุน 2 ครั้ง คะแนนรวมได้ 100 รับ 5,000 บาท",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#7",
"text": "เป็นเกมที่ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจากเกม One-Bid ทั้ง 4 คน (แต่มีระยะหนึ่งที่ลดจำนวนเหลือ 3 คน) จะต้องเล่นเกมทายราคาสินค้าตามที่รายการได้กำหนดไว้ ซึ่งมีดังนี้\nในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดที่ได้เล่นเกมประจำวันสำเร็จทั้ง 4 เกม (แต่มีระยะหนึ่งที่เหลือเพียง 3 เกม) เรียกว่า Perfect Show",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#2",
"text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 ท่าน ที่เป็นลูกค้าของทรู และสมัครผ่านทางโทรศัพท์ ที่ถูกเรียกลงมา จะต้องทายราคาสินค้าตามที่รายการกำหนดไว้ ซึ่งราคาจริงนั้น ส่วนใหญ่จะมี 4 หลัก (บางชิ้นจะมี 5 หลัก แต่ต่ำกว่า 20,000 บาท) ผู้เข้าแข่งขันที่สามารถทายราคาได้ใกล้เคียงที่สุด โดยที่ไม่เกินราคาจริง จะได้รับของรางวัลชิ้นนั้นไปทันที และได้เข้าไปเล่นทั้งรอบ Showcase Showdown และรอบ Pricing Game ทุกคน",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#9",
"text": "สำหรับการเล่นที่มีดารานักแสดงมาร่วมเล่นเกมนี้ด้วย ก็จะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกดารารับเชิญคนใดคนหนึ่งให้หมุนวงล้อนี้ หากดารารับเชิญหมุนวงล้อได้คะแนนเท่าไหร่ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกดารารับเชิญคนนั้นก็จะได้รับเงินรางวัลไปก่อน 100 บาท คูณกับคะแนนที่หมุนได้ เช่น หมุนได้ 100 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นก็จะได้รับเงินรางวัล 100 x 100 = 20,000 บาท 50 x 50 = 10,000 บาท",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#1",
"text": "รูปแบบการแข่งขัน จะคล้ายคลึงกับต้นฉบับของสหรัฐอเมริกาเกือบทุกประการ ยกเว้นรอบสุดท้าย ทั้งนี้ ราคาของสินค้าในรายการทั้งหมด เป็นราคามาตรฐาน ก่อนหักส่วนลดของแต่ละห้างสรรพสินค้า ณ วันที่ถ่ายทำ",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#6",
"text": "มีข้อสังเกตประการหนึ่งในเกมนี้ว่า หากมีผู้เข้าแข่งขัน 1 ใน 4 คนที่ทายราคาตรงกับราคาจริง จะมีเสียงกระดิ่งดังออกมาเมื่อผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนได้ทายราคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนทายราคาเสร็จเรียบร้อยแล้วมีเสียงสัญญาณออดดังขึ้น นั่นหมายความว่าทุกคนทายราคาเกิน (Overbid)",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#13",
"text": "หลังจากนั้น ของรางวัลทั้งหมดจะถูกเปิดเผย ผู้เล่นจะต้องทายราคาสินค้าของรางวัลทั้งหมดนั้น ถ้าผู้เล่นสามารถทายราคาสินค้า ต่ำกว่าราคาจริง โดยที่ผลต่างนั้นไม่เกินราคาช่วยที่กำหนดไว้ ผู้เล่นจะได้รับของรางวัลทั้งหมดไปทันที ในกรณีที่ทายราคาสินค้าได้ตรงกับราคาจริง (ผลต่างราคาเป็น 0) จะได้รับเงินรางวัลอีก 100,000 บาทอีกด้วย",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#3",
"text": "กรณีที่ทายราคาสินค้าตรงกับราคาจริง จะมีรางวัลโบนัส 5,000 บาทเพิ่มให้กับผู้ทายราคาตรงกับราคาจริงทันที เรียกว่า Perfect-Bid แต่ถ้าทุกคนทายราคาเกินราคาจริงหมด ต้องทายราคาใหม่ทุกคนทันทีโดยไม่เกินราคาต่ำสุดที่1 ใน 4 ผู้เข้าแข่งขันทาย เช่น คนแรกทาย 2,900 บาท คนที่สองทาย 3,500 บาท คนที่สามทาย 2,590 บาท และคนสุดท้ายทาย 4,200 บาท แล้วทุกคนทายเกินทั้งหมด ต้องทายใหม่โดยให้ต่ำกว่า 2,590 บาท เรียกว่า Overbid",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
}
] |
1922 | หมู่เกาะเติกส์และเคคอส มีแหล่งน้ำจืดหรือไม่ ? | [
{
"docid": "227035#3",
"text": "ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นพื้นหินปูนราบต่ำเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบึง ที่ลุ่มหนองชายเลน และชายหาดที่มีความยาวรวม 370 กม. อยู่ด้วย ลักษณะภูมิอากาศร้อนและค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ก็ประสบกับเฮอร์ริเคนอยู่บ่อยครั้ง บนหมู่เกาะมีทรัพยากรน้ำจืดอยู่อย่างจำกัด ทำให้ต้องมีที่เก็บน้ำฝนเพื่อดื่มกิน ทรัพยากรธรรมชาติหลัก ๆ ของหมู่เกาะนี้ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม หอยสังข์ และสัตว์น้ำมีเปลือกอื่น ๆ หมู่เกาะทั้งสองถูกแยกจากกันโดยมีช่องแคบเติกส์ไอแลนด์กั้นไว้",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
}
] | [
{
"docid": "227035#0",
"text": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส () เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม. และอยู่ห่างจากหมู่เกาะบาฮามาสไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 80 กม. มีพื้นที่ทั้งหมด 430 ตร.กม. ตามจริงแล้ว อาณาเขตของหมู่เกาะเติกส์และเคคอสกับหมู่เกาะบาฮามาสถือว่าต่อเนื่องกันในทางภูมิศาสตร์ แต่อาณาเขตทางการเมืองนั้นมีการแยกออกจากกันอย่างชัดเจน",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "132493#0",
"text": "ตราแผ่นดินหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส มีลักษณะเป็นตราอาร์ม พื้นตราเป็นรูปโล่พื้นสีเหลืองขอบสีขาว ภายในดวงตรามีรูปวัตถุ 3 อย่าง ได้แก่ รูปหอยสังข์ที่ด้านซ้ายบน รูปกุ้งมังกรที่ด้านขวาบน และรูปต้นตะบองเพชรที่ตอนกลางล่าง เบื้องซ้ายและเบื้อวขวาของโล่มีรูปนกฟลามิงโกประคองข้าง เหนือโล่นั้นมีรูปนกกระทุงยืนท่ามกลางต้นป่าน 2 ต้น อันเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงอุตาสาหกรรมการทำเชือกของประเทศนี้",
"title": "ตราแผ่นดินของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส"
},
{
"docid": "227035#4",
"text": "หมู่เกาะนี้ขนาดใหญ่กว่า รวมพื้นที่บนบกแล้วนับรวมเป็นร้อยละ 96 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีประชากรอาศัยอยู่ร้อยละ 82 ของประชากรทั้งหมด เกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะเรียงตัวล้อมรอบเนินตื้นใต้ทะเลเคคอส (Caicos Bank) ดูคล้ายกับเกาะปะการัง โดยมีเกาะใหญ่หกเกาะอยู่ทางตะวันตก ทางเหนือ และทางตะวันออก และยังมีแนวปะการังกับเกาะเล็ก ๆ อยู่อีก 2-3 แห่งในทางใต้ ศูนย์กลางอย่างไม่เป็นทางการของหมู่เกาะเคคอสคือหมู่บ้านคิวที่อยู่บนเกาะนอร์ทเคคอส หมู่เกาะนี้แยกการปกครองออกเป็น 6 เขต โดยมี 4 เขตที่มีผู้อยู่อาศัย และยังมีหมู่เกาะเล็ก ๆ อีก 2 เกาะ เขตการปกครองดังกล่าวได้แก่",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "227035#6",
"text": "หมู่เกาะเติกส์มีลักษณะคล้ายสายโซ่เป็นทางยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ มีช่องแคบเติกส์ไอแลนด์แยกหมู่เกาะนี้จากหมู่เกาะเคคอส มีพื้นที่ทั้งหมด 26.7 ตร. กม. และมีประชากรประมาณ 5,753 คน มีเกาะใหญ่ ๆ อยู่สองเกาะ โดยสองเกาะนี้เท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะดังกล่าวได้แก่\nผู้อยู่อาศัยบนหมู่เกาะนี้ยุคแรก ๆ คือชาวอเมริกันอินเดียน รวมไปถึงชาวอาราวัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวแคริบเริ่มเข้ามาแทนที่จนในที่สุดมีพวกเขาเป็นประชากรส่วนใหญ่ ชาวยุโรปที่มาทำการสำรวจทวีปอเมริกาบันทึกเกี่ยวกับการพบเห็นเกาะนี้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1512 โดยผู้พิชิตดินแดนชาวสเปน ควน ปอนเซ เด เลออน ระหว่างศตวรรษที่ 16, 17 และ 18 หมู่เกาะนี้ผ่านการปกครองจากสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษมาแล้ว แต่ไม่มีชาติใดลงหลักปักฐานและสร้างนิคมบนหมู่เกาะสองแห่งนี้อย่างจริงจัง",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "227035#2",
"text": "หมู่เกาะสองกลุ่มนี้อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะบาฮามาส และทางเหนือของเกาะฮิสปันโยลา และมีระยะห่างประมาณ 970 กม. จากเมืองไมแอมี สหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 8 เกาะและกว่า 20 เกาะเล็ก รวมแล้วมีพื้นที่ 616.4 ตารางกิโลเมตร ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะทั้งสองถือเป็นส่วนเดียวกับหมู่เกาะบาฮามาสโดยทั้งหมดรวมกันเป็นกลุ่มเกาะลูคายัน แต่ในทางการเมืองนั้นถือว่าแยกจากกัน เกาะใหญ่สองเกาะในหมู่เกาะบาฮามาสที่อยู่ใกล้กับหมู่เกาะเคคอสมากที่สุดคือ เกาะมายากวานาและเกาะเกรตอีนากวา โดยมีช่องแคบเคคอสคั่นไว้",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "227035#7",
"text": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอสกลายเป็นแหล่งกบดานของโจรสลัดที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ต่อมาบรรดาพ่อค้าเกลือชาวเบอร์มิวดาเข้ามาตั้งรกรากที่หมู่เกาะเติกส์เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1680 จนกระทั่งระหว่าง ค.ศ. 1765-1783 ฝรั่งเศสได้เข้ามาปกครองเกาะนี้ และหลังจากเกิดการปฏิวัติอเมริกัน (ค.ศ. 1775-1783) ชาวอาณานิคมที่ยังภักดีต่อจักรวรรดิอังกฤษก็อพยพมายังอาณานิคมหมู่เกาะต่าง ๆ ทะเลแคริบเบียน และมีส่วนหนึ่งที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะเคคอส ฝ้ายกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในช่วงเวลาสั้น ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1799 ทั้งหมู่เกาะเติกส์และเคคอสก็ถูกอังกฤษผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะบาฮามาส",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "227035#8",
"text": "ในปี ค.ศ. 1848 หมู่เกาะเติกส์และเคคอสถูกแบ่งออกเป็นสองอาณานิคมแยกจากกัน แต่อยู่ภายใต้การบริหารจากประธานสภาแห่งหมู่เกาะเติกส์และเคคอสคนเดียว ตำแหน่งนี้มีอยู่จนกระทั่ง ค.ศ. 1873 เมื่อหมู่เกาะทั้งสองถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมจาเมกา และในปี ค.ศ. 1894 ตำแหน่งหัวหน้าเจ้าพนักงานอาณานิคมจึงถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นข้าหลวง ในปี ค.ศ. 1917 นายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต บอร์เดนแห่งแคนาดา เสนอให้หมู่เกาะเติกส์และเคคอสรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแคนาดา แต่นายกรัฐมนตรีเดวิด ลอยด์ จอร์จแห่งอังกฤษปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว หมู่เกาะนี้จึงยังคงอยู่ในอาณัติของจาเมกา จนกระทั่งในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 หมู่เกาะทั้งสองถูกแยกออกมาเป็นอาณานิคมเอกเทศอีกครั้ง โดยตำแหน่งข้าหลวงคนสุดท้ายถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นผู้บริหาร แต่ผู้ว่าราชการจาเมกายังคงเป็นผู้ว่าราชการของหมู่เกาะอยู่ และในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 หมู่เกาะทั้งสองก็ถูกควบรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเวสต์อินดีส",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "132490#0",
"text": "ธงชาติหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส มีลักษณะเช่นเดียวกับธงชาติของประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักรหลาย ๆ ประเทศ กล่าวคือ เป็นธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน (Blue Ensign) กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่ด้านปลายธงมีเครื่องหมายตราแผ่นดินของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส ซึ่งเป็นรูปของหอยสังข์ กุ้งมังกร และต้นตะบองเพชรในโล่อาร์มสีเหลือง ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ส่วนเรือพลเรือนนั้น ใช้ธงแสดงสัญชาติสีแดง (Red Ensign) สัดส่วนเดียวกับธงชาติเป็นเครื่องหมายในเวลาเดินเรือ",
"title": "ธงหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส"
},
{
"docid": "227035#10",
"text": "ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1976 เป็นต้นมา หมู่เกาะนี้มีรัฐบาลเป็นของตัวเองโดยมีผู้นำเป็นหัวหน้ารัฐมนตรี ต่อมามีการตกลงกับทางอังกฤษในการร้องขอเอกราชในปี ค.ศ. 1979 โดยตั้งเป้าหมายว่าจะได้รับเอกราชภายใน ค.ศ. 1982 แต่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ทำให้นโยบายนี้ถูกล้มเลิก และเปลี่ยนนโยบายไปเป็นการเจรจาเพื่อรวมประเทศกับแคนาดาแทน แต่ทางแคนาดาไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ปัญหาทางการเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 2006 และการกลับมาใช้อำนาจปกครองโดยตรงจากสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2009 \nหมู่เกาะเติกส์และเคคอสเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ถือเป็นอาณานิคมที่ปกครองตนเอง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งปีต่อ ๆ มาได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ วันหยุดประจำชาติ แต่ในปี ค.ศ. 1986 รัฐธรรมนูญได้ถูกระงับการใช้และมีการวินิจฉัยจนมีการประกาศใช้อีกครั้งในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1988 ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2006 โครงสร้างกฎหมายของหมู่เกาะนี้มีลักษณะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีตามแบบอังกฤษผสมกับกฎหมายบางส่วนของจาเมกาและบาฮามาส คนทุกเพศที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิ์เลือกตั้ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ และเมืองโคเบิร์นทาวน์เป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะเติกส์และเคคอส และมีสถานที่ราชการและรัฐบาลตั้งอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1766 เป็นต้นมา",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "108177#3",
"text": "ในปี ค.ศ. 1504 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งในขณะนั้นติดอยู่บนเกาะจาเมกา ได้ส่งลูกเรือไปยังเกาะฮิสปันโยลาเพื่อขอความช่วยเหลือ ระหว่างทางพวกเขาพบเกาะขนาดเล็ก และเมื่อทำการสำรวจก็พบว่าไม่มีน้ำจืดบนเกาะเลย ดังนั้นลูกเรือจึงขนานนามให้เกาะว่า \"นาบาซา\" (Navaza) มาจากคำว่า \"นาบา\" () ซึ่งในภาษาสเปนแปลว่าที่ราบ ไม่มีต้นไม้ใหญ่ หลังจากนั้นเกาะแห่งนี้ก็ถูกหลีกเลี่ยงโดยชาวเรือต่อมาอีกกว่า 350 ปี",
"title": "เกาะนาแวสซา"
}
] |
1856 | ทหารรักษาพระองค์ของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "65884#1",
"text": "กิจการทหารรักษาพระองค์และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2402 ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับกรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี 12 คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า มหาดเล็กเหล่านี้เอง (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”) คือจุดเริ่มต้นของกิจการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของไทย",
"title": "ทหารรักษาพระองค์"
}
] | [
{
"docid": "63508#0",
"text": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (อักษรย่อ: ร.1 รอ.) มีชื่อเต็มว่า กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่ตั้งขึ้นหน่วยแรกสุดของประเทศไทย มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระราชินี, พระรัชทายาท, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างใกล้ชิด",
"title": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์"
},
{
"docid": "9091#17",
"text": "เกียรติประวัติของการทหารเรือไทยสมควรจะต้องยกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์เป็น ผู้ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเรือในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีเรือรบต่างประเทศเข้ามาเยี่ยม ประเทศไทยคราวใดพระองค์ก็มักหาโอกาสเสด็จไปเยี่ยมเยียนเรือรบเหล่านั้นเสมอ เพื่อจะได้ทรงทราบว่าเรือรบต่าง ประเทศเขาตกแต่งและจัดระเบียบเรือกันอย่างไร แล้วนำมาเป็นแบบอย่างให้กับเรือรบของไทยในเวลาต่อมา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "261754#15",
"text": "ในส่วนของกิจการภายในประเทศนั้น พระเจ้าดิงห์เตียนฮว่าง ทรงตั้งราชสำนักและจัดลำดับยศข้าราชการทหารและพลเรือนขึ้น รวมถึงทรงวางระบบศาลที่มีประสิทธิภาพ และนำเอาโทษประหารชีวิตมาใช้กับผู้ใดก็ตามที่บังอาจขัดขวางระเบียบใหม่ในราชอาณาจักร นอกจากนั้นยังจัดให้มีกองทัพประจำการ ได้มีการรื้อฟื้นระเบียบข้อบังคับและการป้องกันประเทศขึ้นมาใหม่ อันนำไปสู่ยุคใหม่แห่งไทบิงห์ (Thai binh หมายถึง สันติสุข) แต่รัชสมัยของพระเจ้าเตียนฮว่างก็มีอายุไม่ยืนยาวนัก พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ.979 โดยทหารรักษาพระองค์ ผู้ที่เป็นองค์รัชทายาทผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อมามีพระชนมายุเพียงแค่ 6 พรรษา",
"title": "ประวัติศาสตร์เวียดนาม"
},
{
"docid": "1901#55",
"text": "พระองค์ทรงมีบทบาทในการเมืองไทยหลายครั้ง ได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น กบฏยังเติร์ก ในปี พ.ศ. 2524 และ กบฏทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2528 กระนั้น ในสมัยของพระองค์ได้มีการทำรัฐประหารโดยทหารหลายคณะ บทบาททางการเมืองที่สำคัญของพระองค์ อาทิ สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 และเมื่อรัฐบาลทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอำนาจ รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้เสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่มด้วย นอกจากนี้วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการประกาศให้เป็นวันชาติไทย แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จด้วย ทั้งนี้ พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) องคมนตรี ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "623865#0",
"text": "พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอกปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, นายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ,อดีตกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 กรรมการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม รองประธานคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กรรมการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตุลาการศาลทหารสูงสุดและราชองครักษ์พิเศษ มีประวัติด่างพร้อยกรณีทุจริตหลายกรณี ทั้งเรื่องทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่มีที่มาแน่ชัด ลูกชายได้รับเหมางานจากกองทัพและจดทะเบียนบริษัทตั้งอยู่ในค่ายทหาร ลูกชายอีกคนได้รับราชการทหารมีเงินเดือนยศร้อยตรีเป็นกรณีพิเศษ และขาดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ",
"title": "ปรีชา จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "19587#16",
"text": "อีกสาเหตุนั้นกล่าวว่า จากการที่พระองค์ทรงสนพระทัยเรือดำนำเป็นพิเศษซึ่งถ้ามีเรือดำน้ำมาประจำการในกองทัพเรือจะทำให้เกิดมีปัญหาเรื่องอาหารได้ เนื่องจากคนไทยนิยมกินข้าวหลังจากปรุงขึ้นทันทีซึ่งไม่สามารถทำได้ในเรือดำน้ำ พระองค์จึงสนพระทัยที่จะศึกษาและทดลองเพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับทหารเรือไทยที่ประจำอยู่กองเรือดำน้ำ ประกอบกับพระสุขภาพของพระองค์ไม่สมบูรณ์นักจึงมีพระดำริที่จะไปรักษาพระองค์ในประเทศหนาว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์จึงทรงแนะนำให้พระองค์เสด็จไปศึกษาต่อเรื่องอาหารและสุขวิทยาที่สหรัฐ[17] พระองค์ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือเป็นเวลา 9 เดือน 18 วัน[16]",
"title": "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก"
},
{
"docid": "63508#6",
"text": "เมื่อการปฏิบัติหน้าที่กว้างขวางขึ้น จำนวนทหารที่มีอยู่เดิมจึงไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทหารเพิ่มขึ้น ในการนี้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) ได้นำบุตรชาย คือ นายเจิม ชูโต (ต่อมาคือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจิม แสง-ชูโต) เข้าถวายตัวเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยสมัครเป็นตัวอย่างคนแรก (เนื่องจากสมัยนั้นคนไทยไม่นิยมเป็นทหาร) ทำให้มีจำนวนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และที่เป็นเด็ก เพราะทุกคนต่างก็เห็นและรู้สึกเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลในการที่บุตรหลานของตนได้เข้ารับราชการใกล้ชิดพระมหากษัตริย์\nพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารดังกล่าวขึ้นเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมด้วยพระองค์เอง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดหน่วยทหารมหาดเล็กออกเป็น 2 กองร้อย และขยายเป็น 6 กองร้อยในเวลาต่อมา พร้อมทั้งจัดระเบียบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนมั่นคงดีขึ้น และได้ทรงขนานนามหน่วยนี้เสียใหม่ว่า \"กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์\" (ราชวัลลภ หมายถึง ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา) ในปี พ.ศ. 2414",
"title": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์"
},
{
"docid": "642271#0",
"text": "พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก วรพงษ์ สง่าเนตร (เกิด 15 กุมภาพันธ์ 2498) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557 อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตเสนาธิการทหาร อดีตเจ้ากรมยุทธการทหาร",
"title": "วรพงษ์ สง่าเนตร"
},
{
"docid": "63904#48",
"text": "ในปี พ.ศ. 2452 โปรดเกล้า ฯ ให้จัดกองพลเป็นกองทัพ ดังนี้เนื่องกองทัพสยามที่เป็นกองทัพเพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ทั้งยังมีข้อจำกัดด้านนโยบายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ ห้ามกู้ยืมเงินมาพัฒนากองทัพโดยเด็ดขาด การสร้างสมกำลังรบและยุทธปัจจัยต่างๆ ให้ใช้จ่ายได้เฉพาะจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรประจำปีกับเงินคงพระคลังซึ่งเป็นเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากปีต่างๆ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวกองทัพบกสยามในเวลานั้น จึงมีการวางอัตรากำลังพลในเวลาปกติของแต่ละกองพลทั่วราชอาณาจักร เป็นดังนี้เว้นแต่กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ ที่เป็นหน่วยประจำรักษาพื้นที่กรุงเทพฯ และมีหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์ กับกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี ซึ่งเป็นกองพลอิสระที่ขึ้นตรงต่อเสนาธิการทหารบก และเป็นหน่วยระวังรักษาพื้นที่มณฑลราชบุรี ซึ่งเป็นหน้าด่านของการป้องกันประเทศทางด้านคาบสมุทรมลายู เพราะนับแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนสุดชายพระราชอาณาเขตที่มณฑลปัตตานีเป็นพื้นที่ที่ไม่มีกองทหารลงไปประจำการ จึงมีการจัดกำลังรบในกองพลที่ ๔ นี้เสมอด้วยอัตรากำลังในยามมีศึกสงครามมาประชิด ซึ่งแต่ละกองพลมีการจัดกำลังเต็มอัตรา ดังนี้ในด้านการฝึกศึกษานั้น โปรดเกล้า ให้จัดตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็ก ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาได้ตั้ง โรงเรียนคาเด็ตทหารหน้า ซึ่งได้จ้างครูชาวอิตาลีมาสอน 2 คน และได้ตั้งโรงเรียนทำแผนที่ ขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงส่งพระราชโอรสพระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรผู้มีตระกูล ไปศึกษาวิชาทหารยังต่างประเทศ ในทวีปยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศอังกฤษ เยอรมนี และเดนมาร์ก",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "66068#1",
"text": "กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2493 ตามคำขอขององค์การสหประชาชาติ ในการจัดตั้งกำลังเข้าช่วยเหลือรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ โดยใช้นามหน่วยครั้งนั้นว่า “กรมผสมที่ 21” ต่อมาจึงแปรสภาพหน่วยมาเป็นชื่อในปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่ตั้งหน่วยปัจจุบันอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ทรงดำรงตำแหน่งองค์ผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารนี้กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ จัดแบ่งกำลังพลออกเป็น 3 กองพัน คือกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ ได้รับอนุมัติจากกองทัพบกให้ดำเนินการฝึกหลักสูตรทหารเสือ เมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ที่มีพระราชประสงค์ให้กำลังพลได้รับการฝึกพิเศษ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบ ทุกสภาพภูมิประเทศ",
"title": "กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์"
},
{
"docid": "193582#66",
"text": "เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) ได้เดินทางตรวจเยี่ยมความพร้อมรบของกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ได้กล่าวว่า \"ขอให้พวกท่านรักษาเกียรติ และศักดิ์ศรีของทหาร ที่ยึดถือมาอย่างยาวนาน ตามที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้พวกเรา ยึดถือมาโดยตลอดว่า ทหารคือผู้ที่ได้รับเกียรติสูงสุดจากประชาชนให้เป็นสุภาพบุรุษเพื่อปกป้อง ประเทศ ทหารคือผู้ที่สละประโยชน์ส่วนตน เพื่อความผาสุกของประชาชนและความอยู่รอดของบ้านเมือง ทหารคือผู้ที่บูชารักษาเกียรติยศมากกว่าเงินตรา ที่สำคัญต้องการให้ทุกคนได้ยึดมั่นในสัจจะวาจา ที่พวกเราไปถวายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ที่เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะยอมตายเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพในพระมหากษัตริย์เจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดี และถวายความปลอดภัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกว่าชีวิตจะหาไม่\"[110]",
"title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย"
},
{
"docid": "4281#11",
"text": "ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย พระองค์เข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระองค์ ต่อมาพระองค์ได้เลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็นร้อยเอกต่อมาเสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการและต่อมาเลื่อนเป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "758401#9",
"text": "หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ที่โค่นรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรแล้ว ขั้วอำนาจในกองทัพถูกเปลี่ยนผ่านจากกลุ่มเตรียมทหาร 10 (ตท.10) มาสู่กลุ่มบูรพาพยัคฆ์ (กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์) และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ทหารเสือราชินี) ที่มีฐานอยู่ภาคตะวันออกมากกว่า เพราะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในรัฐประหารและมีบทบาททางการเมืองต่อมา มีการวางสายผู้บัญชาการทหารบกให้กลุ่มบูรพาพยัคฆ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลโท คณิต สาพิทักษ์ และพลตรีวลิต ซึ่งอาจจะยังมีเสนาธิการจากกลุ่มบูรพาพยัคฆ์อีก ทำให้ในปี 2553 มีเสียงร่ำลือกันว่า ยังความไม่พอใจมาสู่ทหารกลุ่มวงศ์เทวัญที่เดิมเคยกุมอำนาจมาก่อน จนกลายเป็นความขัดแย้งกันลึก ๆ ในกองทัพบก",
"title": "รายชื่อกลุ่มแยกในกองทัพไทย"
},
{
"docid": "65884#6",
"text": "หน่วยทหารรักษาพระองค์ได้มีวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับจากต้นกำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาจึงมีการก่อตั้งหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่เป็นหน่วยรบจากเหล่าต่าง ๆ เช่น ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกองพัน และหน่วยบังคับบัญชาของหน่วยนั้นในระดับกรมมักจะตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง แต่ก็มีบางหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่นอกกรุงเทพมหานคร เช่น กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น",
"title": "ทหารรักษาพระองค์"
},
{
"docid": "55664#25",
"text": "ปฏิบัติการยึดกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์สำเร็จลงอย่างรวดเร็วตามความคาดหมายภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง มีคำถามมากมายว่า เพราะเหตุใดกองรักษาการณ์กรมทหารม้าจึงไม่ได้ทำอะไรเลย ทำไมยามคลังกระสุนจึงปล่อยให้พระยาพหลพลพยุหเสนา งัดประตูเอากระสุนออกไปได้ ทำไมนายทหารในกรมนี้จึงปล่อยให้นายทหารที่อื่นนำทหารของตัวออกไปได้โดยไม่แสดงปฏิกิริยาอันใดเลย",
"title": "พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)"
},
{
"docid": "63508#8",
"text": "พ.ศ. 2417 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทหารม้าขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ นับเป็นการสถาปนากิจการทหารม้าในประเทศไทย",
"title": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์"
},
{
"docid": "4281#8",
"text": "เมื่อพระองค์เจริญพระชันษาพอสมควรทรงเข้ารับการศึกษาตามประเพณีขัตติยราชกุมาร และจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษ ต่อมา ครั้นทรงโสกันต์แล้วเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 13 ปี ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหาร (Royal Military Academy) ณ เมืองวูลิช ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยการประคองพระบรมโกศคู่กับสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะเชิญพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศ [6] แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อในปี พ.ศ. 2456 ภายหลังทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษอยู่ที่เมืองอัลเดอร์ชอต (Aldershot) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (Army Council) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” Battery Royal Horse Artillery ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติศักดิ์แห่งกองทัพอังกฤษ และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโทและนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์[7]",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "133744#0",
"text": "กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ เป็นหน่วยทหารม้ารักษาพระองค์ (ใช้ม้า) ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ซึ่งใช้ม้าจริงเข้าร่วมในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เป็นประจำทุกปี และเป็นหน่วยทหารม้าเกียรติยศของกองทัพบกไทย ขึ้นตรงต่อกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ที่ตั้งหน่วยในปัจจุบันอยู่ที่ เลขที่ 206/665 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร",
"title": "กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์"
},
{
"docid": "4281#14",
"text": "พระองค์ทรงพระประชวรเรื้อรังจึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาพระองค์ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์จึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2463 ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นอีก 4 ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "63904#52",
"text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงรับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากต่างประเทศโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรับปรุงกิจการทหารบกให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 โดยนอกจากนี้ ทรงดำริว่า \"การทหารวังนั้น มิใช่มีหน้าที่เฉพาะของทหาร แต่เป็นหน้าที่ของกรมวังนอก\" ซึ่งเป็นกรมพลเรือนในเขตพระราชฐาน จึงโปรดเกล้าให้ยกกรมวังนอก ซึ่งเป็นส่วนราชการพลเรือนในราชสำนัก ขึ้นเป็นกรมทหารรักษาวัง เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 กรมทหารรักษาวังนี้ มีฐานะเป็นหน่วยทหารประจำการกรมหนึ่ง มีหน้าที่หลัก คือ การรักษาการในเขตพระราชฐานแทนทหารประจำการและปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์อีกหน่วยหนึ่ง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงวัง รวมทั้งการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็โปรดให้ใช้งบประมาณของกระทรวงวังซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น ",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "65884#12",
"text": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ หน่วยทหารรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์",
"title": "ทหารรักษาพระองค์"
},
{
"docid": "8855#52",
"text": "ธงของทหารอีกอย่างหนึ่งซึ่งทหารทุกคนถือว่าเป็นธงที่สำคัญยิ่ง และเป็นธงที่จะต้องรักษาเอาไว้ด้วยชีวิต คือ ธงชัยเฉลิมพล ธงนี้เป็นธงประจำกองทหารซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้เชิญไปในพิธีการสำคัญทางทหารที่เป็นเกียรติยศของชาติและเชิญออกไปกับหน่วยทหารในยามทำสงคราม โดยถือว่าเมื่อธงชัยเฉลิมพล ไปปรากฏ ณ ที่ใดเสมือนหนึ่งพระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในกองทัพทหารนั้นด้วย[36] ลักษณะโดยรวมนั้นเป็นรูปธงไตรรงค์สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ขึ้นอยู่กับลักษณะที่กำหนดไว้โดยละเอียดในพระราชบัญญัติธง และกฎกระทรวงตามกฎหมายดังกล่าว) แต่ตรงกลางมีรูปเครื่องหมายประจำกองทัพที่สังกัดและจารึกชื่อของหน่วยทหารไว้ ที่บริเวณมุมธงชัยเฉลิมพลของทุกหน่วย (ยกเว้นธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารเรือ) มีเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อเปล่งรัศมีสีฟ้า และเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานธงภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ส่วนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จะใช้ธงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งกำหนดขึ้นเป็นธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์โดยเฉพาะ[11]",
"title": "ธงชาติไทย"
},
{
"docid": "63508#3",
"text": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับกิจการทหารรักษาพระองค์และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของไทย กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหาร ตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับกรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี 12 คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า มหาดเล็กเหล่านี้เรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”",
"title": "กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์"
},
{
"docid": "48968#1",
"text": "วันนี้ของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ จะร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า และยังมีพิธีสวนสนามที่ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ อีกด้วย",
"title": "วันทหารผ่านศึก (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "327170#0",
"text": "กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ เป็นหน่วยทหารของกองทัพบกไทย รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ 120 หมู่ 5 บ้านหนองแขม ถนนพิชัยดาบหัก ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วของ (อาร์ดีเอฟ) กองทัพบก เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์"
},
{
"docid": "74186#2",
"text": "ยศต่าง ๆ ในประเทศไทยสมัยปัจจุบันมีกฎหมายรองรับเป็นพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479 สำหรับยศของสามเหล่าทัพ และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 สำหรับหน่วยงานตำรวจ สำหรับยศของทหารและตำรวจชั้นสัญญาบัตรของไทยนั้น เป็นยศที่ต้องมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้น เมื่อส่วนราชการของทหาร-ตำรวจ ได้แต่งตั้งทหาร-ตำรวจให้มียศสัญญาบัตรใด ๆ จะมีคำว่า \"ว่าที่\" (Acting) ของยศนั้นนำหน้า จนกว่าจะได้นำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ให้มีพระบรมราชโองการพระราชทานยศแล้ว จึงจะไม่มีคำว่า \"ว่าที่\" นำหน้ายศนั้น ๆ เว้นแต่ยศทหาร-ตำรวจ ชั้นนายพล ซึ่งพระมหากษัตริย์จะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศพร้อม ๆ กับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ยศของทหาร-ตำรวจไทย แบ่งได้ดังต่อไปนี้กองอาสารักษาดินแดนเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย ชั้นยศของอาสารักษาดินแดนเป็นชั้นยศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็นชั้นยศของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน และชั้นยศของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน สำหรับชื่อชั้นยศในภาษาอังกฤษนั้น ยึดถือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเรียกชื่อยศและตำแหน่งในกองอาสารักษาดินแดนเป็นภาษาอังกฤษ (เพื่อพลาง) พ.ศ. 2511",
"title": "ยศทหารและตำรวจไทย"
},
{
"docid": "24746#4",
"text": "รักษาความปลอดภัยต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน และความมั่นคงของราชอาณาจักร ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ ตามข้อ 1, 2, 3, 4 หรือ 5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ",
"title": "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)"
},
{
"docid": "63904#31",
"text": "โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการจัดในกรมทหารรักษาพระองค์ใหม่ โดยให้ข้าหลวงเดิมในพระองค์ประมาณ ๘๐๐ คน เข้ามาเป็นทหารรักษาพระองค์ ตั้งเป็นกรมขึ้นอีกกรมหนึ่ง เรียกว่า กรมทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม ซึ่งภายหลังเมื่อได้รับการฝึกจากครูฝรั่งเป็นอย่างดีแล้วตั้งเป็นกองรักษาพระองค์อย่างยุโรป",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "5358#62",
"text": "โรงพยาบาลอานันทมหิดล กรมแพทย์ทหารบก โรงพยาบาลแห่งแรกของกองทัพบกไทย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) กองพลรบพิเศษที่ 1 (ค่ายเอราวัณ) ค่ายเอราวัณ กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม (ราชาแห่งสนามรบ) กรมทหารปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในกองทัพบก ศูนย์การบินทหารบก ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา กองคลังแสง กรมสรรพวุธทหารบก ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ค่ายจิรวิชิตสงคราม กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RTF) ของกองทัพบก และหน่วยทหารรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กองพันทหารปีนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ มณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดทหารบกลพบุรี ศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก ตำบลชัยนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล โครงการจัดตั้ง\"นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ\" ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกระทรวงกลาโหม",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
}
] |
2321 | สมจิตร เกตภูเขียว มีอัลบั้มแรกตอนปีอะไร ? | [
{
"docid": "779808#9",
"text": "หลังจากอัลบั้ม ลืมใจไว้อีสาน ที่มีเพลง \"น้ำตาผ่าเหล้า\" เป็นเพลงดังในขณะนั้น ในปี 2543 แดงได้ออกอัลบั้มเพลงในสักกัดท็อปไลน์มิวสิค ชื่อชุค \"ผ่าเหล้าผ่ารัก\" ถือว่าเป็นผลงานชุดที่ 7 ของเขา และเป็นชุคแรกในฐานะศิลปินสักกัดท็อปไลน์มิวสิค อย่างเป็นทางการ ต่อมาได้ออกอัลบั้มชุด \"หัวใจคึดฮอด\" ในปีเดียวกัน มีเพลงเปิดตัวชื่อเดียวกัน ที่ได้รับความนิยมมากต่อจาก \"น้ำตาผ่าเหล้า\"",
"title": "แดง จิตกร"
}
] | [
{
"docid": "127026#2",
"text": "เดิมพื้นที่แถบบริเวณ อำเภอภูเขียว เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยทวารวดีโดยมีหลักฐานคือ คูดิน ใบเสมาจารึกอักษรปัลลวะ รวมทั้งโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระธาตุกลางบ้าน ตำบลผักปัง มีพระพุทธรูปโบราณปรากฏอยู่ พระธาตุบ้านโนนธาตุงาม ตำบลผักปัง พระธาตุวัดธาตุบ้านค้าว ตำบลโอโล และยังมีอีกหลายเแห่งที่ใกล้เคียงรอบๆ เช่น พระธาตุแก้งกอย หรือว่าโนนเมือง ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จึงสรุปได้ว่าเป็นชุมชนเมืองมานานแล้ว อีกอย่างในตำนานอุรังคนิทาน ได้กล่าวถึงเมืองที่ชื่อ \"กุรุนทนคร\" อยู่ด้านทิศตะวันตกของเมือง หนองหาร ส่วนมากจะเข้าใจผิดว่า กุรุนทนคร เป็นเมืองแถบจังหวัดร้อยเอ็ด แต่ที่จริงแล้วคือบริเวณ \"อำเภอภูเขียว\" นี้เอง โดยในตำนานกล่าวว่า พระยากุรุนทนคร ไม่ได้มาร่วมสร้างพระธาตุด้วย และปรากฏอีกครั้งเมื่อสมัยอยุธยา มีฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีที่ตั้งเมืองอยู่ที่บ้านเมืองเก่า (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์) หลวงไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร พระไกรสิงหนาทผู้นี้ไม่มีบุตรสืบตระกูล จึงได้มีใบบอกแจ้งไปทางกรุงเทพมหานคร ให้แต่งตั้ง \"นายฤๅชา\" ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีให้เป็นเจ้าเมืองแทน โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาทและพระยาไกรสิงหนาทตามลำดับ ระหว่างที่พระยาไกรสิงหนาทปกครองเมืองอยู่นั้น ปรากฏว่าเมืองภูเขียวมีพลเมืองเพิ่มขึ้น ที่ตั้งเมืองเริ่มคับแคบจึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ที่ \"บ้านกุดเชือก\" (บ้านยาง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเกษตรสมบูรณ์ปัจจุบัน) เมื่อพระยาไกรสิงหนาทชราภาพลงก็ได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพมหานคร ให้แต่งตั้ง \"นายบุญมา\" บุตรชายคนโตของตนเป็นผู้ปกครองแทน ต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาไกรสิงหนาทแทนบิดา และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภักดีฤๅชัยจางวาง ซึ่งต่อมาได้ทำการย้ายเมืองจากบ้านกุดเชือกไปอยู่ที่บ้านโนนเสลา (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว) เพราะเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสม และได้ให้กรมการเมืองไปขุดร่อนเอาทองซึ่งเป็นทองเนื้อดีที่บ่อโข่โหล่ในภูเขาพระยาฝ่อ (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอภักดีชุมพล) หล่อเป็นแท่งส่งไปยังกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นการส่งส่วยอากรแทนเงินของราษฎร ซึ่งในสมัยนั้นการครองชีพของราษฎรยังขัดสน เมื่อย้ายเมืองไปอยู่ที่บ้านโนนเสลา ปรากฏว่าราษฎรในเขตตำบลนางแดดและตำบลหนองบัวแดงได้รับความเดือดร้อน มีความลำบากในการติดต่อเจ้าหน้าที่เพราะอยู่ไกลจากตัวเมืองมาก ได้รับความไม่สะดวกในด้านการปกครอง จึงได้มีใบบอกแจ้งไปยังกรุงเทพมหานครซึ่งก็ได้แต่งตั้งให้ \"พระยาชุมพลภักดี\" มาเป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์ โดยให้ตั้งบ้านเมืองอยู่บ้านหนองแพง ตำบลหนองบัวแดง ซึ่งในปัจจุบันยังมีคูและซากกำแพงเมืองปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2440 ประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปการปกครองจากแบบจตุสดมภ์ มาเป็น มณฑลเทศาภิบาล แทน ได้ตั้งร้อยโทขุนแผ้วภักดี (โต๊ะ) มากำกับราชการอยู่ที่เมืองภูเขียวเมื่อ พ.ศ. 2442 เมืองภูเขียวก็ถูกยุบฐานะลงมาเป็น \"อำเภอภูเขียว\" โดยขึ้นตรงต่อจังหวัดชัยภูมิ และให้หลวงพรมภักดี (ท้าวหล่าอ้วย) ยกกระบัตรเมืองชัยภูมิมาเป็นอำเภอภูเขียว ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้งให้ \"หลวงพินิจคงคา\" มาเป็นนายอำเภอภูเขียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2444–พ.ศ. 2445 หลวงพินิจคงคาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านโนนเสลา ไปตั้งใหม่ที่บ้านผักปัง (ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอภูเขียวในปัจจุบัน) โดยใช้นามว่า \"อำเภอภูเขียว\" ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ได้แยกอำเภอภูเขียวออกเป็น 2 อำเภอ คืออำเภอภูเขียว และ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ที่บ้านลาดหนองสามหมื่น (บ้านลาด ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียวในปัจจุบัน) โดยมีหลวงนรินทร์สงครามเป็นนายอำเภอคนแรก",
"title": "อำเภอภูเขียว"
},
{
"docid": "39796#47",
"text": "พระมุนีร ญาณเถรมหานาโน หรือ หลวงปู่เขียว มหานานโน อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง (ธรรมยุติ) และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น สมัยก่อนพระป่า คณะสงฆ์อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอชนบท แม้จะมีวัดมากมายแต่ไม่ได้ใบตราตั้งวัดเพราะสร้างในเขตป่าสงวนพื้นที่เขต สปก. เลยไม่มีเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลมีเฉพาะเจ้าอาวาส คณะสงฆ์อำเภอชนบท (ฝ่ายธรรมยุติ) ได้ปกครองถึง 3 - 4 อำเภอคือ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี บางพื้นที่กินอำเภอแวงใหญ่บางส่วนด้วย เพราะเมื่อก่อนอำเภอแวงใหญ่ยังไม่แยกตัวขอเป็นอำเภอ ยังเป็นบ้านแวงใหญ่ ตำบลคอนฉิม อำเภอชนบท หลวงปู่เขียว มหานาโน จึงเป็นเจ้าคณะอำเภอที่ปกครองหลายพื้นที่ เป็นหัวมังกรที่คณะสงฆ์สายป่าเคารพและรักท่านมาก เพราะท่านคงแก่เรียน พรรษากาลมาก และทรงอภิญญา ขนาดหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าสุมนามัย และอดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ธรรมยุติ) ยังมาบวชกับหลวงปู่เขียว หลวงปู่เขียวท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่นิล ว่ากันว่าหลวงปู่นิลท่านละสังขารกระดูกเป็นพระธาตุ หลวงปู่เขียวจึงดังแบบพลุแตก และท่านก็มีชื่อเสียงมานานแล้วแต่วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อยหายาก เลยไม่ค่อยจะมีคนชงกัน ท่านเป็นพระมหาเถรที่ทรงวิทยาคมมาก ว่ากันว่าท่านอ่านจิตของลูกศิษย์ได้ทุกคน เล่นแร่แปรธาตุเก่งมาก พระเณรทะเลาะกันในวิหารท่านไม่อยู่ พอท่านกลับมาท่านพูดในเวลาฉันท์ข้าวสั่งสอนทำให้พระเณรสะอึกและเกิดความละอายมาหลายรูป วัดศรีบุญเรืองเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอชนบท เพราะเมืองชลบทสร้างก่อนจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านประวัติเมืองเก่าท่านจะรู้ เมื่อก่อนเจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยเจ้าเมืองชลบท เจ้าเมืองชลบทส่งส่วยเมืองโคราช ที่คือประวัติย่อย ๆ พอถนนมิตรภาพและทางรถไฟตัดผ่าน อำเภอชนบทเลยอาภัพเป็นเมืองเก่าที่ถูกลืม สิมโบราณเมื่อก่อนอยู่วัดศรีบุญเรืองยังไม่พังถลายลงมาตามกาลเวลามีพระเก่ามากมาย หลวงปู่เขียวท่านสามารถเพ่งจิตดูได้ว่าใต้แผ่นดินนี้มีอะไรอยู่บ้าง หลวงปู่เขียวท่านเป็นเพื่อนสหธรรมมิตร (เพื่อน) กับหลวงปู่พัน พระธรรมสารเถร วัดจันทร์ประสิทธิ์ อำเภอบ้านไผ่ เป็นสหธรรมมิกกับสมเด็จบ้านโต้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุฯ สมัยท่านไปเรียนที่กรุงเทพไปพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ได้ไปพักจำพรรษากับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันฺโท จันทร์) ได้ยัติธรรมยุต ณ พัทธสีมา วัดบรมนิวาส เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาเล่าเรียนที่วัดบรมนิวาส 3 พรรษา ระหว่างเรียนบาลีอยู่กรุงเทพนั้นหลวงปู่เขียวท่านได้สนทนาธรรมกับเกจิยุคนั้นหลายรูปที่ร่วมเรียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมฺโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิกกัน (สหาย) และสมเด็จพระสังฆราช(จวน) ก็สนิทสนมกัน เพราะมีอุปัชฌาย์เดียวกัน ก่อนท่านจะกลับมาบ้านเกิดอำเภอชลบท หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ท่านเคารพหลวงปู่เขียวนี้มากถือเป็นอาจารย์หลวงปู่ผางอีกรูป ที่ท่านเคารพกราบไหว้พูดถึงอยู่บ่อยๆ ท่านเป็นที่เคารพของเกจิอาจารย์ยุคนั้นหลายรูปอาทิ หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์,หลวงปู่วรพรตวิธาน วัดจุมพล แวงน้อย , หลวงปู่พระมหาโส กัสฺสโป ฯลฯ นอกจากนั้นหลวงปู่เขียวท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ให้เกจิดัง ๆ ยุคนั้นหลายรูป อาทิ หลวงปู่นิล มหันฺตปัญโญ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ ก่อนท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดป่าคุ้มจัดสรรค์และเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ , พระครูสีลสังวราภรณ์ ,พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อดีตเจ้าคณะอำเภอชนบท ผู้สร้างเหรียญหลวงพ่อผางรุ่นแรกคงเคและคอติ่งจนโด่งดัง,หลวงพ่อชม ปภัสสโร วัดบ้านระหอกโพธิ์ อำเภอโนนศิลา อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ก่อนหลวงปุ่นิล มหันตปัญโญ) ,หลวงปู่บุญมา เจ้าอาวาสวัดป่าภูหันบรรพรต,หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวาริน อำเภอบ้านไผ่ ,หลวงปู่เขี่ยม วัดบ้านขุมดิน อำเภอมัญจาคีรี, รวมถึงพระอาจารย์จำนงค์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันวัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ฯลฯ บั้นปลายชีวิต หลวงปู่เขียวท่านมรณภาพเมื่อ 24 สิงหาคม 2524 สิริอายุ 86 ปี 6 เดือน 66 พรรษา วันที่พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เขียว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ท่านมาเป็นประธานสงฆ์ พระราชธานเพลิงศพท่าน และมานอนที่สิมโบราณวัดบึงแก้ว เพราะวัดบึงแก้วอยู่ติดกับวัดศรีบุญเรืองไม่กี่ร้อยเมตรครับ วัตถุมงคลของท่านสร้างออกมาในวาระที่ท่านได้ทรงสมณศักดิ์เลื่อนขั้นเป็นเจ้าคุณชั้นสามัญที่ \"พระมุณีวรานุรักษ์\" หรือพระมุณีวรญาณเถรมหานาโม ถือเป็นเจ้าคุณรูปแรกในอำเภอชนบทก็ว่าได้",
"title": "อำเภอชนบท"
},
{
"docid": "33674#20",
"text": "1 นายสุพจน์ เตียนพลกรัง\n2 นายอุระ เนียมกลาง\n3 นายมานพ จันทสิทธิ์\n4 นางลินดา เชิดชัย\n5 นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์\n6 พ.อ. ขวัญชัยค์ ศิลปิกุล\n7 นายบุญร่วม นภาโชติ\n8 นายยงยศ เล็กกลาง\n9 นายเอกสิทธิ์ บุตรคล้าย\n10 ร.อ. สนิท ขวัญจันทึก\n11 นายสมชาย เลิศด้วยลาภ\n12 นายสมศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล\n13 นายวัชรินทร์ โสตถิยาภรณ์\n14 นางรักษ์ฤทัย อุดมรัตนะศิลป์\n15 นายอุทร หวังอ้อมกลาง\n16 นายชนะศักดิ์ อุ่นเมตตาอารี\n17 นายเสนอจิตร จิตรโคกกรวด\n18 นายสมส่วน ศรีนอก\n19 นายยอดยิ่ง พันธุ์ศรีนคร\n20 ร.ต. หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี\n21 นายสุขุม เลาวัณย์ศิริ\n22 นายศุภกิจ ตั้งสิทธิประเสริฐ\n23 นายประชา ฉัตรวงศ์วาน\n24 นายไพจิตร ปวะบุตร\n25 พล.ต.ต. เถลิงศักดิ์ สุคนธมาน\n26 นายสงวน รัฐนิรันดร์\n27 นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล\n28 นายมโน พงษ์สามารถ\n29 นายสมบูรณ์ จีระมะกร\n30 นางถนอมศรี ปรารถนาดี\n31 นายบุญเลิศ ครุฑขุนทด\n32 นางศิริพร ชาติปฏิมาพงษ์\n33 นายธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์\n34 นายบรรพต เชิดชัย\n35 นายมานิต มานิธิคุณ\n36 นายคำผอง ตรีราษ\n37 นายสนอง ม่วงศิลปชัย\n38 นายกฤษณะ สืบสงวน\n39 นายสมนึก อุดมพร\n40 นางบุญมณี เอื้อศรี\n41 น.ส.จิราภรณ์ วัฒนเวช\n42 นายสมพงษ์ เปรมฤทัยรัตน์\n43 พล.ท. หญิงพูนภิรมย์ ลิมปพัลลภ\n44 นายคมสัน เพ็งวิสาภาพพงษ์\n45 นายภูมิศาสตร์ บุญมา\n46 นายอากาศ มงคลพันธ์\n47 นายกฤษฎาง แถวโสภา\n48 นายประมวล วงศ์หทัย\n49 ว่าที่ ร.ต. สม พรหมเวฬุพัฒน์\n50 พล.ต. สมาน เกษรอินทร์\n51 นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์\n52 นายสุรกิตต์ กิติธีระพงษ์\n53 พล.ต.ท. แหลมทอง ญาณอุบล\n54 นายพิศาล อุทัยแสงไพศาล\n55 นายประสิทธิ์ ภูวสวัสดิ์\n56 นายผดุง จตุรภักดิ์\n57 นายประหยัด คชประดิษฐ์\n58 นางนภาพร พัฒนโชติ\n59 เรือเอกศิริเกษ กุลประเสริฐ\n60 นายจิรันธร์ ตีรนานนท์\n61 พ.ต.ธงชัย จิตรมั่น\n62 นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง กิตติรักษกุล\n63 นางนีรนุช บัวอินทร์\n64 นายโสฬส สิงห์ขวา\n65 นายชฎิน เกิดสิน\n66 นายอดุลย์ หาญสงคราม\n67 นายวันชัย ภูนาคพันธุ์",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549"
},
{
"docid": "538625#1",
"text": "สิงขร สิงขร บางกอก, สิงขร นักเขียน, จักร เขลางค์, ก้องฟ้า มหาวัน, สะบันงา สิงขร สิงขร วงค์จิตติมา อัศวพาหุ, ศรีอยุธยา, ไก่เขียว, น้อยลา, นายแก้ว-นายขวัญ, พันแหลม - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กฤษณา อโศกสิน, กัญญ์ชลา, สุปปวาสา, ญาดา - สุกัญญา ชลศึกษ์ กิ่งฉัตร - ปาลิฉัตร ศาลิคุปต กาแฟดำ - สุทธิชัย หยุ่น ไพฑูรย์ ธัญญา - รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ นิ้วกลม - สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ครูเทพ, เขียวหวาน - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จันทร์รำไพ - จันทร์รำไพ พลจันทร์ จามรี พรรณชมพู, นลิน บุษกร, วลัย นวาระ, - ศรีเฉลิม สุขประยูร แจ็คกี้ - อดิสรณ์ พึ่งยา บ.บู๋ - บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร เตยหอม - พิษณุ นิลกลัด บิ๊กจ๊ะ - สาธิต กรีกุล นุ บางบ่อ - นุกูล นาคถนอม นักเขียนสารคดีท่องเที่ยว Online หรือ Bloger ชัยคุปต์ - \"ชัยวัฒน์ คุประตกุล\" นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ รวมถึงบทความวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ช่อมณี ,แพรดาว - มณีรัตน์ อัศวิศราภรณ์ บ. บุญค้ำ - บุญสิงห์ บุญค้ำ ผู้เขียนสารคดี \"เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน\" ที่มีผู้นำไปใช้เขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง \"บ่วงบรรจถรณ์\" ป. อินทรปาลิต - \"ปรีชา อินทรปาลิต\" ผู้แต่งนิยายชุดที่มีชื่อเสียง \"พล นิกร กิมหงวน\" ส. พลายน้อย - สมบัติ พลายน้อย นักเขียนสารคดีคนสำคัญ มีผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับตำนาน ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรมไทย เช่น พฤกษนิยาย, สัตวนิยาย, จันทคตินิยาย เป็นต้น นายตำรา ณ เมืองใต้ - เปลื้อง ณ นคร อาจารย์ด้านภาษาและวรรณคดีไทย นักเขียนพจนานุกรม และปูชนียบุคคลคนหนึ่งในวงการวรรณกรรมของไทย นายหนหวย - ศิลปชัย ชาญเฉลิม น้ำอบ - อิราวดี นวมานนท์ แว่นดำ, ศกุนตชาติ - พ.ต.ต.ประชา พูนวิวัฒน์ ทีปกร - จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดและนักเขียนด้านภาษา วรรณคดี และวิจารณ์สังคม (จิตรยังมีนามปากกาอีกมากได้แก่: นาคราช, ศูลภูวดล, ศรีนาคร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์, จักร ภูมิสิทธิ์: ดูเพิ่มพร้อมชีวประวัติที่: จิตร ภูมิศักดิ์) นายผี - อัศนี พลจันทร ฉัตร เชิงดอย - สุภาพ คลี่ขจาย ไฟ พูลวรลักษณ์, บึง พูลวรลักษณ์ - ฟ้า พูลวรลักษณ์ ทวีปวร - ทวีป วรดิลก รพีพร, สันติ ชูธรรม - สุวัฒน์ วรดิลก นายรำคาญ - ประหยัด ศ. นาคนาท ฮิวเมอริสต์, รม ทับทิมดี, ศัสตราวุธาจารย์ - อบ ไชยวสุ พ. เนตรรังษี - พัฒน์ เนตรรังษี ไม้เมืองเดิม - ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา ช้าง พีอาร์ - สัณหชัย ผลชีวิน ซูม, จ่าแฉ่ง - สมชาย กรุสวนสมบัติ ยาขอบ - โชติ แพร่พันธุ์ มังกรห้าเล็บ - โกวิท สีตลายัน ชัย ราชวัตร - สมชัย กตัญญุตานนท์ รักษ์ มนตรี - สิทธิ์ สมมนตรี เขื่อนขันธ์ - สืบพงษ์ อุณรัตน์ แม่วัน - พระยาสุรินทราชา แม่ช้อย นางรำ, นที สีทันดร - สันติ เศวตวิมล เซี่ยงเส้าหลง, พายัพ วนาสุวรรณ - สนธิ ลิ้มทองกุล ศรีบูรพา - กุหลาบ สายประดิษฐ์ จิ๋ว บางซื่อ - พ.ญ. โชติศรี ท่าราบ อุษณา เพลิงธรรม - ประมูล อุณหธูป อ. สนิทวงศ์ - อุไร สนิทวงศ์ พิมาน แจ่มจรัส - พิมล แจ่มจรัส อ.น.ก - พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) อ. มาจาก อุปกิตศิลปสาร น. มาจาก นิ่ม และ ก. มาจาก กาญจนชีวะ (นามปากกาอื่น ๆ คือ อุนิกา และ อนึก คำชูชีพ) เสฐียรโกเศศ - พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) นาคะประทีป - พระสารประเสริฐ (ตรี นาคประทีป) น.ม.ส - พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (กรมหมื่นพิทยาลงกรณ) วิเทศกรณีย์ - หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) กาญจนนาคพันธํ์ - ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ว. ณ ประมวญมารค - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พ. ณ ประมวลมารค - หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ภ. ณ ประมวลมารค - หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทมยันตี,ลักษณวดี,โรสลาเรน,กนกเรขา,มายาวดี - วิมล ศิริไพบูลย์ ว. วินิจฉัยกุล, แก้วเก้า - รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ สมิงกะหร่องและแบตตลิ้งกรอบ,ผู้นำ,ม. ชูพินิจ,แม่อนงค์,เรไร,ผุสดี ,อาตมา,ลดารักษ์,นายดอกไม้ ,น้อย อินทนนท์,หนอนหนังสือ,เรียมเอง,อุมา,นายฉันทนา - มาลัย ชูพินิจ เทวรักษ์ - สันต์ ท.โกมลบุตร ปิยะพร ศักดิ์เกษม - นันทพร ศานติเกษม เปลว สีเงิน - โรจน์ งามแม้น เดือนวาด พิมวนา - พิมใจ จูกลิ่น วินทร์ เลียววาริณ - วินทร์ เลี้ยววาริณ ดอกไม้สด - หม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ แมลงหวี่ - หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช คร้าม ควนเปลว, พงศ์พริ้ง - คำพูน บุญทวี ส.ศิวรักษ์ - สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ญามิลา,วนาโศก,ปลาอ้วน -วิรัตน์ โตอารียฺมิตร อัญชัน - อัญชลี วิวัธนชัย ศิลา โคมฉาย - วินัย บุญช่วย 'รงค์ วงษ์สวรรค์, 'รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) - ณรงค์ วงษ์สวรรค์ ศัลยา - ศัลยา สุขะนิวัตติ์ คมทวน คันธนู - ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร ว.วชิรเมธี - พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แพรเยื่อไม้ - พระครูพิศาลธรรมโกศล พ.กิ่งโพธิ์ - สมณะเพาะพุทธ จนฺทเสฏฺโฐ วรรณวรรธน์ - วรรธนวรรณ จันทรจนา บินหลา สันกาลาคีรี - วุฒิชาติ ชุ่มสนิท วินนี่ เดอะ ปุ๊ - ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ มาลา คำจันทร์ - เจริญ มาลาโรจน์ ก้อง คาร์ ไว - ทรงกลด บางยี่ขัน กาหลิบ, จิตร พลจันทร์ - จักรภพ เพ็ญแข ผัดไท - ใจดี ดีดีดี สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก - ศุ บุญเลี้ยง เรืองวิทยาคม, สิริอัญญา - ไพศาล พืชมงคล วีระ ธีรภัทร, วราพร - วีระ ธีระภัทรานนท์ วรากรณ์ ตรีเศศ - วรากรณ์ สามโกเศศ หนุ่มเมืองจันท์ - สรกล อดุลยานนท์ \"ผมอยู่ข้างหลังคุณ\" - นายแพทย์พีรพล ภัทรนุธาพร อีแร้ง - ยิ่งศักดิ์ โควสุรัตน์ เศก ดุสิต, ศ.ดุสิต, สุริยา - เริงชัย ประภาษานนท์ นอร์แมน วีรธรรม - วีระธรรม วิชัยรักษากุล พนมเทียน - ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ สุริยัน ศักดิ์ไธสง - ถาวร ภู่ประเสริฐ ณารา - ณิชา ตันติเฉลิมสิน ร่มแก้ว - ฉัตรารัศมิ์ แก้วมรกต เก้าแต้ม - คัคณางค์ มิ่งมิตรพัฒนะกุล ซ่อนกลิ่น - มนต์ชัย ศิริลัทพร แพรณัฐ - ทิพยวไลย์ สุพันธุ์วณิช บุษบาหนึ่งหรัด, ฉายา, แสบทรวง, Stylo Romantique - ศรุดา เปรยรัตน์ โยชิตะ-ยูริ - จุฬาภรณ์ พานแก้ว ภรปภัช - ภรปภัช รัตนกิตติพล หนึ่งนาง กลิ่นเกสร รัชวารนาม มาดามป้ายแดง มะยมกลมกลิ้ง ซิ่งตลอด - ร้อยเสน่หา ,ดนตรีรักจังหวะใจ ยัยแตงหวาน, กันตาวีร์ กาลาตารี กำปั่น ส.สันติ ทิพนา นิลกาฬ.",
"title": "รายชื่อนามปากกา"
},
{
"docid": "33674#5",
"text": "1 พ.ต.อ. เฉลิมเกียรติ กีรติบุญมานนท์\n2 พ.อ. (พิเศษ) ชาตรี ไกรพีรพรรณ\n3 นายตุลภาค ประเสริฐศิลป์\n4 พล.ต.ต. เอกชัย ทิวถนอม\n5 นายบุญยง แก้วฝ่ายนอก\n6 นายเกริกฤทธิ แจ้งพรมมา\n7 นายสมาน อินทรปพงค์\n8 นายคุ้มพงษ์ ทนายแดง ภูมิภูเขียว\n9 นายบุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล\n10 พล.อ. พินิจ โจมพรม\n11 นายสมพร ศรีวงษ์\n12 นายนิคม ศรีเงิน\n13 นายสุพรรณ แก้วหลวง\n14 นายศิริชัยย์ ชัยชนะวงศ์\n15 นางประภาวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา\n16 นายสมเจตน์ อินทรกำแหง\n17 นายบุญคง ดวงจันคำ\n18 พล.ต.ต. สมศักดิ์ พิศุทธิสุวรรณ\n19 นายจักริน อินทะกนก\n20 นายอร่าม พลตรี\n21 นางสุดาพร กุมพล\n22 ด.ต.ชลธิช มณีแสง\n23 พ.ต.อ. อุดร ชาญนุวงศ์\n24 นางสมผิว เพ็ชรมาก\n25 นายเอกราช ช่างเหลา\n26 นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์\n27 นายอัษฎางค์ แสวงการ\n28 นายนฤเบศ ปาปะซัง\n29 พ.ต.อ. ทวี โนนสุวรรณ\n30 นายปกรณ์ คุณารักษ์\n31 นายสมพร สิทธิ\n32 นางดวงแข อรรณนพพร\n33 นายนิรมิต เขื่องสตุ่ง\n34 นายกระแส ชนะวงศ์\n35 นายนิยม ศรีวิเศษ\n36 นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์\n37 พล.ต.ต. ไพฑูรย์ เชิดมณี\n38 นายประณีต สุขใส\n39 นายมงคล ด่านธานินทร์\n40 พ.ต.ท. ทรงเดช ผาจันทร์\n41 ว่าที่ ร.อ.นิพนธ์ ซิ้มประยูร\n42 นายนิรุชฌ์ สีหราช\n43 นายเลิศสิน หงษ์แสงไทย\n44 นายปัญญา ศรีปัญญา",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549"
},
{
"docid": "78274#3",
"text": "หลังซุ่มทำเพลงอยู่นานถึงสองปี มนต์สิทธิ์ก็ผลิตผลงานชุดแรกชื่อ \"ขายควายช่วยแม่\" ออกมา ก่อนจะออกเดินสายไปกับวงของสมจิตร บ่อทอง ซึ่งตอนนั้นกำลังโด่งดังเพื่อโปรโมตผลงานเพลง และเพื่อฝึกงานด้านหน้าเวที",
"title": "มนต์สิทธิ์ คำสร้อย"
},
{
"docid": "309991#12",
"text": "พล.ต.อ.สมเพียร สมรสกับ นางสาวพิมพ์ชนา ภูวพงษ์พิทักษ์ บุตรสาวของนายตำรวจโรงพักปันนังสตา[2] เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2514 [12] มีบุตรชาย 4 คนได้แก่ นายชุมพล เอกสมญา, นายเสรฐวุฒิ เอกสมญา, นายอรรถพร เอกสมญา และ ส.ต.ท.โรจนินทร์ ภูวพงศ์พิทักษ์[1]",
"title": "สมเพียร เอกสมญา"
},
{
"docid": "127230#14",
"text": "ตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินมีลำน้ำสายสำคัญได้แก่ \"ลำน้ำพรม\" ไหลผ่าน ลำน้ำสายนี้ถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชาวชัยภูมิตอนบนเกือบทุกอำเภอ และเป็นลำน้ำสาขาของน้ำพอง พื้นที่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกข้าว ตอนเหนือของพื้นที่อำเภอเป็นที่ราบสลับเนิน เหมาะแก่การปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์ ทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก มีเทือกเขาภูเขียวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ(International Wetland)ตามสนธิสัญญาแรมซาร์ สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันสลับเทือกเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะ \"ภูคิ้ง\" เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว(ทุ่งกะมัง) สำหรับด้านทิศใต้เป็นเขตภูเขาภูแลนคา มียอด \"ภูเกษตร\" เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูงประมาณ 996 เมตรจากระดับน้ำทะเล และบางส่วนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติตาดโตน สภาพดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สภาพดินทิศตะวันออกจะเป็นดินปนกรวดและดินลูกรัง คุณภาพดินไม่สู้ดีนัก ยกเว้นบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางและบริเวณใกล้ลำน้ำพรม",
"title": "อำเภอเกษตรสมบูรณ์"
},
{
"docid": "780455#2",
"text": "ในโอกาสการรำลึก 80 ปีชาตกาลจิตร ภูมิศักดิ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2553 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์การสร้างอนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์ และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 \"ราษฎารานุสาวรีย์ของจิตร ภูมิศักดิ์\" เป็นผลงานของสันติ พิเชฐชัยกุล โดยมีบุคคลสำคัญจากวงการต่างๆ เข้าร่วมพิธีเปิด อาทิเช่น จินตนา เนียมประดิษฐ์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ปัญญา มหาชัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สมาน วงศ์ภาคำ นายกเทศมนตรีตำบลคำบ่อ พนัส ทัศนียานนท์ อัครพงษ์ ค่ำคูณ สมฤทธิ์ ลือชัย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รวมถึงประชาชนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานประมาณหนึ่งพันคน",
"title": "อนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์"
},
{
"docid": "127026#0",
"text": "อำเภอภูเขียว เดิมคือ เมืองภูเขียว ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ต่อมาถูกยุบให้เป็นอำเภอหนึ่งขึ้นตรงต่อจังหวัดชัยภูมิ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นอำเภอขนาดใหญ่ ทางตอนบนที่มีความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การเมืองการปกครอง การศึกษา การคมนาคม การสื่อสาร การเงินการธนาคาร และการแพทย์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดมาก จึงมีส่วนราชการสำคัญ ๆ เป็นพิเศษมากกว่าอำเภออื่น ๆ ในจังหวัด อีกทั้งเป็นอำเภอที่มีเงินลงทุนภาคอุตสาหกรรมมากที่สุดของจังหวัด มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัด",
"title": "อำเภอภูเขียว"
},
{
"docid": "320932#0",
"text": "อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสืบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า \"อิศานปุระ\"\nเมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก",
"title": "อาณาจักรอิศานปุระ"
},
{
"docid": "181630#2",
"text": "เคยเป็นนักร้องนำวง The Bless มีสมาชิก คือ มือกีต้าร์ สุรสีห์ อิทธิกุล ,มือเบส สมชาย กฤษณะเศรณี ,มือกลอง โชด นานา และออกผลงานเดี่ยวหลายชุด ผลงานอัลบั้มแรกกัลค่ายครีเอเทีย มีเพลงดังอย่าง \"รักนิรันดร์\", \"ฉันยังคอย\", \"พ่อ\" ต่อมาผลงานอัลบั้มชุดที่ 2 ก็มีเพลงดังอย่าง \"รักยืนยง\", \"รักล้นใจ\" แต่ออกผลงานกับค่ายครีเอเทียได้ 3 ชุดจึงย้ายไปอยู่กับค่าย Marketing & Concept ได้เพียงชุดเดียว จึงย้ายมาอยู่แกรมมี่ แล้วต่อมาเปิดค่ายเอง คือค่าย Oh! My God จนในปี 2544 จึงย้ายกลับไปแกรมมี่เช่นเดิม ตั้งแต่ชุด Be Cool",
"title": "ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว"
},
{
"docid": "389449#1",
"text": "นายเจริญ จรรย์โกมล (ชื่อเล่น : ป๋อง) เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิเป็นบุตรของนายบุญ กับ นางแพร จรรย์โกมล จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนภูมิวิทยา จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนภูเขียว และจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง",
"title": "เจริญ จรรย์โกมล"
},
{
"docid": "5272#13",
"text": "สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชัยภูมิขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชัยภูมิประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) ในปี พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว เมืองในจังหวัดชัยภูมิ จึงเข้าอยู่ในมณฑลนครราชสีมา ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้บริเวณเมืองชัยภูมิจัดตั้งเป็นอำเภอเมืองชัยภูมิยกฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัด",
"title": "จังหวัดชัยภูมิ"
},
{
"docid": "186610#4",
"text": "หลังจากนั้น ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันในรุ่น 51 กิโลกรัม ได้สำเร็จ โดยชนะอันดริส ลาฟฟิตา นักมวยชาวคิวบา ที่สมจิตรเคยแพ้ เมื่อครั้งแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิพ เมื่อปี พ.ศ. 2548",
"title": "สมจิตร จงจอหอ"
},
{
"docid": "779808#27",
"text": "ด้านชีวิตครอบครัว แดง จิตกร มีภรรยาชื่อ อุไรวรรณ เกตภูเขียว และมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ เกตุกนก เกตุภูเขียว, ฐิติมา เกตุภูเขียว และ ศุภกฤต เกตุภูเขียว[3] ก่อนหน้านั้น แดงได้พบรักกับ พัชรธิดา ทะชัยวงศ์ และใช้ชีวิตแบบครอบครัวด้วยกัน แต่แล้วความสัมพันธ์กลับกลายเป็นแค่การห่างกันเท่านั้นเอง[8]",
"title": "แดง จิตกร"
},
{
"docid": "127026#1",
"text": "อำเภอภูเขียวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้ ",
"title": "อำเภอภูเขียว"
},
{
"docid": "186610#7",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2558 สมจิตรได้ตั้งค่ายมวยเป็นของตัวเอง ในชื่อ \"สมจิตรยิม\" เปิดสอนมวยไทยแก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ ที่จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงยังมีนักมวยชื่อดังในสังกัดค่ายดังกล่าว คือ ปวริศ สมจิตรยิม",
"title": "สมจิตร จงจอหอ"
},
{
"docid": "334423#4",
"text": "สมคิด เลิศไพฑูรย์ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสมจิตร ระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดราชโอรส และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา",
"title": "สมคิด เลิศไพฑูรย์"
},
{
"docid": "779808#0",
"text": "แดง จิตกร หรือชื่อจริงว่า สมจิตร เกตภูเขียว (ชื่อเล่น: แดง) เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ที่ จังหวัดขอนแก่น อายุ 46 ปี เป็นนักร้องลูกทุ่ง สังกัดค่ายท็อปไลน์ ไดมอนด์ ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง อาทิ น้ำตาผ่าเหล้า หัวใจคิดฮอด มนต์รัก ตจว. [1]",
"title": "แดง จิตกร"
},
{
"docid": "127026#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2460 ขุนสารกิจคณิตดำรงตำแหน่งนายอำเภอภูเขียว ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอภูเขียวเป็น อำเภอผักปัง เพื่อให้ตรงกับสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอและได้เปลี่ยนใช้ชื่อ \"อำเภอภูเขียว\" อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2482 ซึ่งการเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นอำเภอภูเขียวครั้งนี้ทางราชการได้ตั้งชื่อผิดพลาดไป กล่าวคือ ทางอำเภอภูเขียวได้รายงานการขอตั้งชื่อกิ่งอำเภอบ้านยาง (เกษตรสมบูรณ์ปัจจุบัน) ซึ่งได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอโดยใช้ชื่อว่าอำเภอภูเขียว เพราะว่ามีภูเขาเขียวอยู่ในท้องที่อำเภอ และขอเปลี่ยนชื่ออำเภอผักปังเป็นอำเภอเกษตรสมบูรณ์แทน แต่ราชการได้ตั้งชื่ออำเภอผักปังว่า \"อำเภอภูเขียว\" ซึ่งไม่ตรงกับสถานที่ปัจจุบัน",
"title": "อำเภอภูเขียว"
},
{
"docid": "186610#2",
"text": "สมจิตรจบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นนายร้อยอบรมระยะเวลาศึกษา6เดือนและจบจาก\nสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันมวยรายการต่างๆ มากมาย อาทิ เวิลด์แชมเปียนชิพ, มวยทหารโลก, เอเชียนเกมส์ โดยก่อนชกมวยสากลสมัครเล่น สมจิตรเคยเป็นนักมวยไทยมาก่อน ใช้ชื่อว่า \"ศิลาชัย ว.ปรีชา\" นอกจากนี้แล้วได้ยังรับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย",
"title": "สมจิตร จงจอหอ"
},
{
"docid": "186610#6",
"text": "สมจิตร จงจอหอ สมรสกับ นางศศิธร (อุ๋ม) (นามสกุลเดิม : เนาว์ประเสริฐ) มีบุตร 2 คน ชื่อ อภิภู จงจอหอ (ชื่อเล่น : กำปั้น) และ พิชามญธุ์ จงจอหอ (ชื่อเล่น : จันทร์เจ้า) ",
"title": "สมจิตร จงจอหอ"
},
{
"docid": "856678#1",
"text": "โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ แรกเริ่มก่อสร้างตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 โดยคณะกรรมการอำเภอภูเขียว บริจาคที่ดิน 5 ไร่สร้างเป็นสถานีอนามัยชั้น 2 เรือนไม้ ปัจจุบันโรงพยาบาลภูเขียว ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 149 หมู่ 4 ตำบลผักปัง อำเภอ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ 48 ไร่ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกรมราชทัณฑ์\nปัจจุบันได้รับให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ และมีเตียงให้บริการจริง จำนวน 241 เตียง (มกราคม 2559)",
"title": "โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ"
},
{
"docid": "186610#3",
"text": "สมจิตร ได้รับการคาดหมายให้เป็นตัวเต็งในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และเอเชียนเกมส์ 2006 แต่ไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ตามคาด ทำให้สมจิตรเกิดความท้อแท้ใจ จนเกิดความคิดจะแขวนนวมถึง 2 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็กลับมาตั้งต้นพยายามใหม่",
"title": "สมจิตร จงจอหอ"
},
{
"docid": "628469#3",
"text": "ส่วนนายเกตพ่อของอำแดงเหมือนนั้นเป็นผีพนันจน\nกลายเป็นหนี้นายภูเจ้าของโรงหล่อพระทำให้\nนายเกตต้องยกอำแดงเหมือนไปเป็นอนุภรรยา (เมียน้อย) ของนายภูแต่อำแดงเหมือนก็หนีกลับมา\nบ้านถึง 2 ครั้งจนครั้งที่ 3 อำแดงเหมือนก็หนีจากบ้าน\nนายภูไปอยู่บ้านนายริดที่ประกอบอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผา \nเรื่องถึงขั้นนี้นายริดจึงได้นำเอาดอกไม้ธูปเทียนมาษมาพ่อแม่กลับโกรธถึงขั้นไล่ยิง เธอจึงหนีไปอยู่กับนายริด ทำให้นายภูไม่พอใจ จึงไปฟ้องร้องกับพระนนทบุรีว่า\nนายริดเป็นชู้กับอำแดงเหมือน พระนนทบุรีจึงมีคำสั่งให้อำแดงเหมือนต้องจำคุก ซึ่งนางอำแดงเหมือนก็ขอให้มีการไต่สวนคดีใหม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีการตามที่นางร้องขอแต่อย่างใด \nระหว่างดำเนินคดี เธอถูกคุมขังและกลั่นแกล้งทารุณเพื่อให้ยอมเป็นภรรยานายภู",
"title": "นางเหมือน"
},
{
"docid": "182249#0",
"text": "บุญชู 5 เนื้อหอม หรือ บุญชู ภาค 5 เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2533 กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล โดยค่ายไฟว์สตาร์โปรดักชั่น นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ จินตหรา สุขพัฒน์ เกรียงไกร อุณหะนันท์ สมรัชนี เกษร สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ปรารถนา สัชฌุกร จุรี โอศิริ วัชระ ปานเอี่ยม เกียรติ กิจเจริญ เกรียงไกร อมาตยกุล อรุณ ภาวิไล กฤษณ์ ศุกระมงคล ธงชัย ประสงค์สันติ ชาญณรงค์ ขันทีท้าว ภาณุ น้อยอารีย์ พรทิพย์ ประเสริฐยิ่งสุข นัท กิจดินันท์ สมเกียรติ คุณานิธิพงศ์ กัญญาลักษณ์ บำรุงรักษ์ ส.อาสนจินดา ชาลี อินทรวิจิตร อัญชลี ชัยศิริ โดยที่เรื่องนี้เป็นการนำบุญชู 3 ,บุญชู 4 และ บุญชู 5 รวมกันเป็นภาคเดียว กล่าวคือ บุญชู 3 มีชื่อตอนว่า จำจากแม่, บุญชู 4 มีชื่อตอนว่า ปีหนึ่ง และบุญชู 5 มีชื่อตอนว่า เนื้อหอม ส่วนความยาวของเนื้อหาบุญชู 3 และบุญชู 4 รวมกันไม่เกิน 12 นาที ก่อนจะเข้าสู่บุญชู 5",
"title": "บุญชู 5 เนื้อหอม"
},
{
"docid": "5272#1",
"text": "ชัยภูมิมีพื้นที่ภูเขามากทางด้านตะวันตก อาทิ ภูเขียว ภูพังเหย ภูกระแต โดยมีภูแลนคาทางตอนกลางของจังหวัด ส่วนภูตะเภา ภูผาแดง และภูเม็งอยู่ทางตะวันออก มีภูเขาเตี้ยทอดยาวจากทางใต้ถึงตอนกลางอีกด้วย อำเภอที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ หนองบัวแดง",
"title": "จังหวัดชัยภูมิ"
},
{
"docid": "574297#0",
"text": "เกรตเทสต์ฮิตส์ () (ซึ่งบางครั้งหมายถึงอัลบั้มเพลงฮิตของเคนนีโรเจอส์) เป็นอัลบั้มรวมเพลงของ เคนนี โรเจอส์ ศิลปินเพลงคันทรีชาวอเมริกัน วางจำหน่ายครั้งแรกในช่วงเดือนกันยายนปีค.ศ. 1980 และอีกครั้งโดย Liberty Records อัลบั้มนี้ถือเป็นอัลบั้มแรกของโรเจอส์ที่วางจำหน่ายหลังจาก United Artists Group รวมกับ Liberty Records",
"title": "เกรตเทสต์ฮิตส์ (อัลบั้มเคนนี โรเจอส์)"
},
{
"docid": "127026#6",
"text": "ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการก็ได้ประกาศตั้งคลังอำเภอภูเขียวขึ้น เพราะเล็งเห็นว่าที่ตั้งอำเภอภูเขียวมีสภาพอยู่ในหุบเขาล้อมรอบและมีพลเมืองมาก ระยะทางห่างไกลจากจังหวัด และมีเงินจำนวนมากอยู่ในความรับผิดชอบ ประกอบกับทางราชการได้ตั้งศาล เรือนจำและอัยการประจำศาล กองตำรวจ และการไปรษณีย์โทรเลขเป็นหน่วยราชการ เกือบจะไม่ต่างจากจังหวัดแต่ประการใด แต่หน่วยงานดังกล่าวก็ได้ตั้งอยู่จนถึงปัจจุบันนี้และมีปริมาณงานเพิ่มมากขึ้นทุกปีเนื่องจากอำเภอภูเขียวมีพื้นที่มาก ในปี พ.ศ. 2501 ทางราชการได้ประกาศแยกพื้นที่ออกเป็นกิ่งอำเภอ 2 แห่ง คือ กิ่งอำเภอแก้งคร้อและกิ่งอำเภอคอนสาร ซึ่งต่อมากิ่งอำเภอทั้งสองได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2502 และปี พ.ศ. 2507 ทางราชการได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอบ้านแท่นโดยแยกจากอำเภอภูเขียวอีกครั้งหนึ่ง และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2512 จากประวัติดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าในอดีตอำเภอภูเขียวเป็นอำเภอที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์มาก กล่าวคือ เคยเป็นเมืองเก่าซึ่งมีเจ้าเมืองที่มีบรรดาศักดิ์ถึงชั้นพระยาพานทอง เทียบเท่ากับจังหวัดทุกประการ ดังนั้นถึงแม้จะถูกยุบฐานะลงมาเป็นอำเภอแล้วก็ตาม ทางราชการก็ยังเห็นความสำคัญอยู่มาก ถึงกับตั้งหน่วยราชการที่สำคัญ ๆ พิเศษกว่าอำเภอทั่วไป เช่น ศาลจังหวัดภูเขียว สำนักงานอัยการจังหวัดภูเขียว สำนักงานคุมประพฤติ สำนักงานขนส่ง เรือนจำ สำนักงานที่ดิน และคลังจังหวัดขึ้น นอกจากนั้นยังได้พิจารณายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชั้นเอกเมื่อปี พ.ศ. 2490 โดยมีนายย้อย เปรมไทย มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอชั้นเอกคนแรก และนายอำเภอคนต่อมาก็เป็นข้าราชการชั้นเอกทุกคน ในขณะที่เวลานั้นตำแหน่งปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ เป็นเพียงข้าราชการชั้นโทและรองผู้ว่าราชการชั้นโท และผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้นก็เป็นข้าราชการชั้นเอกเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2521 ทางราชการได้ยกฐานะอำเภอภูเขียวขึ้นเป็นระดับ 7 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2530 ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมกับกรมการปกครองให้ทางอำเภอภูเขียวสำรวจปริมาณงานในหน้าที่ของนายอำเภอเพื่อขอเปลี่ยนเป็นระดับ 8 (ชั้นพิเศษ) และได้ยกฐานะอำเภอเป็นระดับ 8 (ชั้นพิเศษ) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2550 ทางราชการกำหนดให้นายอำเภอภูเขียวดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ 9 เทียบเท่ากับนายอำเภอเมืองชัยภูมิ",
"title": "อำเภอภูเขียว"
}
] |
2734 | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือรัชกาลที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "4226#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#18",
"text": "ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงสร้างอุทิศถวาย และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เพิ่มพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า \"\"พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก\"\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "126732#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๒๗๙ - พ.ศ. ๒๓๕๒ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒) รัชกาลที่ ๑ แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 10 แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา ๓ ยาม ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม \"ทองดี\") และพระอัครชายา (พระนามเดิม \"หยก\"หรือ ดาวเรือง)\nพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา ปลาทอง ดร",
"title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"
}
] | [
{
"docid": "18659#1",
"text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ มีพระราชปรารภว่า ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆ มา ทรงหล่อพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงเป็นบรมกษัตริย์ขึ้นไว้สักการบูชา ด้วยอาศัยปรารภเหตุทั้งสองอย่างนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาสร้างพระพุทธรูปใหญ่ หุ้มด้วยทองคำ เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เมื่อทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังผนวช จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปความมีความสูงในราวหกศอก จึงได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง อย่างจักรพรรดิราช 2 องค์ จารึกพระนามองค์หนึ่งว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช จักรพรรดินารถบพิตร อีกพระองค์หนึ่งจารึกพระนามว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนารถธรรมิกราชบพิตร ซึ่งเดิมเรียกว่า แผ่นดินต้น แผ่นดินกลาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงหวั่นวิตกว่าประชาชนจะเรียกแผ่นดินของพระองค์ว่า \"แผ่นดินปลาย\" ซึ่งหมายถึงสิ้นสุดสมัยรัตนโกสินทร์ อันจะเป็นอัปมงคล จึงมีพระบรมราชโองการให้ตั้งนามแผ่นดินตามพระพุทธปฏิมากรทั้ง 2 พระองค์ แผ่นดินต้นให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แผ่นดินกลางให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น “นภาลัย”",
"title": "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
},
{
"docid": "561061#2",
"text": "\"\"ในวันอังคาร เดือน 11 ขึ้น 6 ค่ำนั้น มีรับสั่งให้ภูษามาลาเชิญหีบพระเครื่องมาถวาย แล้วทรงเลือกพระประคำทองสาย 1 อันเป็นของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระประคำทองสายนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต จะพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรรณพ ซึ่งได้เป็นกรมหมื่นอุดมรัตนราศีในรัชกาลที่ 4 แต่บังเอิญเจ้าพนักงานหยิบผิดสาย กรมหมื่นอุดมไม่ได้ไป จึงถือว่าเป็นของสิริมงคลสำหรับแต่ผู้มีบุญญาภินิหาร) กับพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์ 1 ให้พระราชโกษา (ชื่อ จัน ในรัชกาลที่ 5 เป็นพระยา เป็นบิดาพระยาอุทัยธรรม (หรุ่น วัชโรทัย)) เชิญตามเสด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ไปพระราชทานสมเด็จเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเสด็จออกมาทูลกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และบอกให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ ซึ่งพร้อมกันอยู่ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้ทราบตามกระแสรับสั่ง กรมหลวงวงศาธิราชสนิทและเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ ก็ไปยังพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้วยเวลานั้นปิดความไม่ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯทรงทราบว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถประชวรพระอาการมาก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ จึงแนะพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีให้ทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯ ว่าของทั้ง 2 สิ่งนั้นพระราชทานเป็นของขวัญ โดยทรงยินดีที่ได้ทรงทราบว่าพระอาการ ที่ประชวรค่อยคลายขึ้นเมื่อพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีไปทูล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ดำรัสถามว่า ของขวัญเหตุใดจึงพระราชทานพระประคำ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย แต่ก็ไม่มีผู้ใดทูลตอบว่ากระไร เมื่อถวายสิ่งของแล้วต่างก็กลับมา\"\"",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี"
},
{
"docid": "4226#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง \"\"หลวงยกกระบัตร\"\" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#12",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นำทัพในการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 7 ครั้งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#20",
"text": "ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา \"มหาราช\" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า \"พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#19",
"text": "หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "4226#14",
"text": "ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทไปสกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพตั้งแต่เหนือจรดใต้ในสงครามครั้งนี้ ทัพพม่าเตรียมเสบียงอาหารและเส้นทางเดินทัพอย่างดีที่สุด โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากศึกครั้งก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ มาตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงยกทัพหลวงเข้าตีพม่าที่ค่ายดินแดงพร้อมกับให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ หลังจากรบกันได้ 3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไปทุกค่าย และพระองค์ยังได้ทำสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่าง ๆ ขยายราชอาณาเขต ทำให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ดินแดนล้านนา ไทใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเประก์หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แก่สยาม ก็ส่งผลทำให้เมืองขึ้นทั้งหลายของพม่า เช่น เมืองเชียงรุ้งและเชียงตุง เกิดกระด้างกระเดื่อง ตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าปดุงจึงสั่งให้ยกทัพมาปราบปราม รวมถึงเข้าตีลำปางและป่าซาง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบเรื่องจึงสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 6,000 นาย มาช่วยเหลือและขับไล่พม่าไปเป็นผลสำเร็จครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เกณฑ์ไพร่พล 20,000 นาย ยกทัพไปตีเมืองทวาย แต่สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่ง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร รี้พลก็บาดเจ็บจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพในครั้งนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกทัพไปช่วยป้องกันเมือง แต่เมื่อพระเจ้าปดุงยกทัพมาปราบปรามเมืองทั้งสามก็หันกลับเข้ากับทางพม่าอีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพฯเนื่องจากสงครามในครั้งก่อน ๆ พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย ยกทัพมาอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ขึ้นไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น 40,000 นาย ระดมตีค่ายพม่าเพียงวันเดียวเท่านั้นทัพพม่าก็แตกพ่ายยับเยินในครั้งนั้นพระเจ้ากาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองสาด หัวเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยกทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่เพื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ และสงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายไทย",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
}
] |
2784 | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการสอนสูงสุดถึงระดับชั้นใด ? | [
{
"docid": "12146#1",
"text": "ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีศูนย์กลางบริหารงานอยู่ที่เขตพื้นที่ขามเรียง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง มหาสารคาม และเขตพื้นที่นาสีนวน ที่ตั้งของ\nคณะเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เปิดการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 177 สาขาวิชา ใน 20 คณะหรือเทียบเท่า และขยายโอกาสทางการศึกษาโดยจัดโครงการศึกษาที่ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้ยังมีการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
}
] | [
{
"docid": "240531#10",
"text": "ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) เปิดดำเนินการสอนระดับช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6) โดยช่วงชั้นที่ 3 เปิดสอน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรปกติและหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ในช่วงชั้นที่ 4 เปิดสอน 4 แผนการเรียน 6 หลักสูตร ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรปกติแบ่งเป็น 3 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กับหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส/ภาษาจีน/ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 2 หลักสูตรคือหลักสูตรปกติและหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ดนตรี จำนวน 1 หลักสูตร",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "344620#3",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายประถม) เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2547 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 โดยเปิดสอนในระดับชั้นปฐมวัย และระดับชั้นประถมศึกษา โดยมี 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรโครงการ English Science Computer Program(ESC)",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม)"
},
{
"docid": "858700#3",
"text": "พ.ศ. 2500 ได้เปิดสอนอาชีวศึกษาชั้นสูง รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี สำเร็จแล้วได้รับประกาศนียบัตรประโยดอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยเปิดสอนแผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย และแผนกอาหารและโภชนาการ อีก 7 ปีต่อมา โรงเรียนได้เข้าโครงการยูนิเซฟ เปิดสอนแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ แผนกวิชาอาหารและโภชนาการและวิชาศิลปหัตถกรรม (ช่างเครื่องเคลือบดินเผา) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอาชีวศึกษา”",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓"
},
{
"docid": "240531#8",
"text": "ปีแรกของการเปิดทำการนั้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) รับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน ผู้บริหารและคณาจารย์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาโรงเรียนให้ก้าวหน้าในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ซึ่งมีทั้งอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษและอาจารย์ชาวต่างประเทศ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือทางด้านงบประมาณ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยท่านอธิการบดี ภก.ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ให้ความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "952864#12",
"text": "คณะได้เปิดรับนิสิตเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และศูนย์การศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยได้ดำเนินการเปิดการสอนนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร (2 สาขาวิชา 3 กลุ่มวิชาหลัก) และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร\nปี พ.ศ. 2555 คณะเปิดหลักสูตร\"สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต\" (ภาษาไทย) และเปิดรับนิสิตรุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 และได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ โดยเน้นกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น University of Community Health, Magway, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ University of Public Health สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสถาบันในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา เป็นต้น และมีการทบทวนการจัดการเรียนการสอนนอกที่ตั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน",
"title": "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
},
{
"docid": "952864#15",
"text": "ปัจจุบันคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีการเรียนการสอน 5 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร และสำนักงาน ก.พ. รับรอง ดังนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ที่วิทยาเขตหลักและศูนย์การศึกษานอกวิทยาเขตหลัก 3 แห่ง ดังนี้",
"title": "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
},
{
"docid": "952864#9",
"text": "ปี พ.ศ. 2547 คณะได้ขยายศูนย์การศึกษาเพิ่มอีก 2 แห่ง มีการเรียนการสอนในศูนย์การศึกษารวม 5 แห่ง ได้แก่\nคณะได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร\"สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ)\" และหลักสูตร\"วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร)\" จนในปี พ.ศ. 2548 จึงเปิดรับนิสิต\"สาธารณสุขศาสตร์\" ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) และระดับบัณฑิตศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนที่ศูนย์การศึกษารวม 8 แห่ง",
"title": "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
},
{
"docid": "12146#27",
"text": "นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้เปิดสอนระดับประถมและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2540 เป็นปีการศึกษาแรกและยังได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทไปยังจังหวัดนครพนม (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม แยกเป็นเอกเทศในชื่อ มหาวิทยาลัยนครพนม) และศูนย์พัฒนาการศึกษาอุดรธานี โดยใช้สอน ระบบทางไกลผ่านดาวเทียม",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
},
{
"docid": "16306#1",
"text": "รายนามคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนใน 3 ระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก",
"title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
}
] |
3408 | กษัตริย์องค์สุดท้ายของ ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คคือใคร? | [
{
"docid": "170674#5",
"text": "สายสกุลฮาพส์บวร์ค-สเปนได้ล่มสลายลงเมื่อพ.ศ. 2243 หลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน เช่นเดียวกับสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย ซึ่งถูกยุบลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย อย่างไรก็ตาม องค์รัชทายาทองค์สุดท้ายแห่งสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทหญิงทางพฤตินัย (Heiress Presumptive) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ ดยุกฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน องค์พระประมุขแห่งลอแรน (ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระราชปนัดดาในจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระญาติกัน) โดยหลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว สายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย ได้ถูกยุบลง โดยการเปลี่ยนราชสกุลฮาพส์บวร์ค เป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[7063,7092,3,3]}'>ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และให้พระบรมวงศานุวงศ์รุ่นต่อๆ มาดำรงอยู่ในราชสกุลนี้จวบจนถึงปัจจุบัน",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
}
] | [
{
"docid": "170674#17",
"text": "ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน (Habsburg-Lorraine & Habsburg-Lothringen) อันที่จริงแล้วคือราชสกุลเดียวกัน จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในเรื่องของการใช้ราชสกุล เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนทางด้านภาษา โดยให้มีการใช้ 2 ราชสกุลนี้สลับกันเป็นรุ่นๆ ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน ดังนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ จะทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน (เช่น อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งทรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน ดังนั้น พระธิดาของพระองค์ อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ มารีจะทรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน สลับกันไปเป็นรุ่นๆ)",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#33",
"text": "เนื่องจากดยุกซีจิสมันด์ทรงไม่มีพระราชบุตรเลย และทรงรับจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นพระราชบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นรัชกาลของดยุกซีจิสมันด์แล้ว พระราชโอรสบุญธรรมก็ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาบุญธรรมเป็นดยุก และเมื่อสิ้นรัชกาลจักรพรรดิ พระราชบิดาแล้ว พระองค์ก็ทรงสืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อ และในการที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นองค์พระประมุข 2 ประเทศนี่เอง จึงทรงรวมแผ่นดินฮาพส์บวร์ค 2 ส่วนเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งพระองค์เองเป็นดยุกแห่งออสเตรียตั้งแต่พ.ศ. 2028 – พ.ศ. 2033",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "723443#6",
"text": "ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชอำนาจของกษัตริย์ในปรัสเซียเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทรงเอาชนะกษัตริย์ออสเตรียจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คได้ในสงครามไซลีเซียทั้งสามครั้ง และแผ่ขยายอำนาจจนผนวกไซลีเซียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียได้สำเร็จ ต่อมาในปี 1772 พระเจ้าฟรีดริชมหาราชทรงเปลี่ยนพระอิสริยยศไปเป็น \"กษัตริย์แห่งปรัสเซีย\" ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงผนวกจังหวัดรอยัลปรัสเซียได้สำเร็จจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่หนึ่ง โดยกษัตริย์แห่งปรัสเซียยังคงดำรงพระอิสริยยศเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คไปพร้อม ๆ กัน จนกระทั่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ล่มสลายลงในปี 1806",
"title": "กษัตริย์ในปรัสเซีย"
},
{
"docid": "170674#6",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1804 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จักรวรรดิเก่าจะถูกล้มล้าง โดย 3 เดือนต่อมา นโปเลียนก็ได้สถาปนาตนเองเป็น จักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#34",
"text": "พระเจ้าฟิลลิปที่ 1 แห่งคาสตีล, พระราชโอรสองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นผู้ก่อตั้งสายสกุลฮับส์บูร์กสเปน ในพ.ศ. 2039 โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถฮวนนาแห่งคาสตีล เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2049 ก็ทรงมอบบัลลังก์คาสตีลในการรวมชาติสเปนโดยพระราชโอรสของพระองค์ พระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน พ.ศ. 2059 – พ.ศ. 2099 (1516–1556) , ผู้ทรงรวมสายสกุลฮาพส์บวร์คสเปน และสายสกุลฮาพส์บวร์คออสเตรียไว้ด้วยกัน พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน พ.ศ. 2099 – พ.ศ. 2141 (1556–1598) , เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟิลลิปที่ 1 แห่งโปรตุเกส ตั้งแต่พ.ศ. 2123 และเป็นพระมหากษัติรย์ พระราชสวามีแห่งอังกฤษ (King Consort of England) ในนาม ฟิลลิปที่ 1 ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ ตั้งแต่พ.ศ. 2097 พระเจ้าฟิลลิปที่ 3 แห่งสเปน และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งโปรตุเกส ตั้งแต่พ.ศ. 2141 – พ.ศ. 2164 (1598–1621) พระเจ้าฟิลลิปที่ 4 แห่งสเปน พ.ศ. 2164 – พ.ศ. 2208 (1621–1665) และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟิลลิปที่ 3 แห่งโปรตุเกส ตั้งแต่พ.ศ. 2164 – พ.ศ. 2183 (1621–1640) โดยทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสองค์สุดท้ายของสายสกุลฮาพส์บวร์คสเปน-โปรตุเกส พระเจ้าคาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน พ.ศ. 2208 – พ.ศ. 2243 (1665–1700)",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#23",
"text": "ก่อนที่พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี จะทรงดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประมุขแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค (Count of Habsburg) ปกครองดินแดนฮาพส์บวร์คทางตอนเหนือ (ปัจจุบันคือทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี และประเทศสวิตเซอร์แลนด์)",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "204618#10",
"text": "พระนางและพระสวามีได้สร้างอาณาจักรและสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น ๆ ด้วยการนำโอรสและธิดาไปสมรสกับบุตรของเจ้าแคว้นอื่นโดยเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรียก่อตั้งสายราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสและเจ้าหญิงฆัวนา อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา แต่ความคิดของพระนางอิซาเบลล้มเหลวเพราะเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสได้สิ้นพระชนม์หลังการอภิเษกไม่นาน สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสได้สวรรคตหลังให้กำเนิดโอรส และพระโอรสก็สิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 2 ชันษา เจ้าหญิงฆัวนาก็มีปัญหาในการอภิเษกสมรส และพระธิดา เจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอนได้กลายเป็นพระมเหสีองค์ที่ 1 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระนางได้ให้กำเนิดพระธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ พระนางอิซาเบลเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2047 ที่เมดินาเดลกัมโป ก่อนที่พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยากับพระเจ้าเฟร์นันโดเป็นศัตรูกัน",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา"
},
{
"docid": "170674#42",
"text": "หลังจากนโปเลียนถูกขับออกจากราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเวียนนา และนอกจากพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีมเหสีแห่งฝรั่งเศสแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นดัชเชสแห่งปาร์มาด้วย (Duchess of Parma) โดยแคว้นปาร์มาได้ถูกโอนให้เป็นแผ่นดินของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คหลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอิตาลี",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#4",
"text": "เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2064 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงมอบโอนแผ่นดินออสเตรียให้กับพระอนุชาของพระองค์ จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น ก็มีการแยกสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย และฮาพส์บวร์ค-สเปน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยสายสกุลทางออสเตรียได้ดำรงพระยศ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2099 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังได้ดินแดนของราชอาณาจักรฮังการีและโบฮีเมียตั้งแต่ พ.ศ. 2069 แต่มีช่วงหนึ่งที่ถูกจักรวรรดิออตโตมันยึดครอง ฮังการีและโบฮีเมีย อยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลาถึง 150 ปี โดยต่อมา ได้สามารถพิชิตเอาชนะ และได้ดินแดนฮังการีคืนมาระหว่างพ.ศ. 2226 – พ.ศ. 2242",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "723443#2",
"text": "จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 มีพระราชานุญาตให้ฟรีดริชที่ 3 ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็น \"กษัตริย์ในปรัสเซีย\" แลกกับการสนับสนุนของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน และสนับสนุนผู้คัดเลือกจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในการคัดเลือกครั้งต่อไป ",
"title": "กษัตริย์ในปรัสเซีย"
},
{
"docid": "170674#39",
"text": "แคว้นโมเดน่า ได้ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค หลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา มีมติให้ยกดินแดนโมเดน่าให้กับราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค โดยได้ปกครองจนถึงการรวมชาติอิตาลี",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "291062#43",
"text": "\"การแลกเปลี่ยนเจ้าหญิงที่พรมแดนสเปน\" เป็นการฉลองการเสกสมรสคู่ระหว่างอินฟันตาอันนาแห่งสเปนแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งราชวงศ์บูร์บง และระหว่างพระขนิษฐาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 (เอลีซาแบ็ตแห่งบูร์บง) กับพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปนแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1615 ",
"title": "ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส"
},
{
"docid": "170674#10",
"text": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเริ่มระส่ำระส่าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดจากการที่นักชาตินิยมชาวบอสเนียเชื้อสายเซอร์เบีย ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย และพระชายา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียรับผิดชอบ แต่ทางการเซอร์เบียเมินเฉย เป็นเหตุให้ออสเตรีย ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรเซอร์เบียทันที จนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ออสเตรีย ซึ่งมีเยอรมนี เข้าช่วย ได้แพ้สงครามในที่สุด องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย ได้ทรงประกาศแยกออสเตรีย และฮังการีออกจากกัน ทำให้มีการล้มล้างจักรวรรดิ เป็นเหตุให้จักรวรรดิล่มสลายลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังไม่ได้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย จวบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1922",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "93792#1",
"text": "ราชวงศ์สจวตปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นเวลานาน 336 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 1914 ถึงปี พ.ศ. 2250 องค์รัชทายาทที่ใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษโดยผ่านทางสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทิวดอร์ เจมส์ สจวตสืบทอดราชบัลลังก์ทั้งราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ของทั้ง 3 ชาติ (Home Nations) (และยังสืบทอดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษด้วย) ในระหว่างปี พ.ศ. 2146 ถึง พ.ศ. 2250 ในระยะหลังราชวงศ์สจวตได้สถาปนาตนเองเป็น \"กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ (Kings/Queens of Great Britain) \" จนถึงรัชสมัยของราชินีองค์สุดท้ายของราชวงศ์สจวตคือสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อเนื่องจากพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2244 (Act of Settlement 1701) ที่กำหนดให้ผู้ที่สามารถขึ้นครองราชย์ต่อไปต้องเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อประโยชน์ในการรวมไอร์แลนด์ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลลอนดอน ในปัจจุบันยังคงมีสมาชิกของราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายราชวงศ์สจวตมีชีวิตอยู่ และยังคงมีผู้ที่ยังคงสนับสนุนราชวงศ์สจวตอยู่ เรียกขานกันว่า \"พวกจาโคไบท์\" (Jacobite) โดยขบวนการนี้ถือเอา \"ฟรานซ์ ดยุคแห่งบาวาเรีย\" เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศสโดยชอบธรรม",
"title": "ราชวงศ์สจวต"
},
{
"docid": "170674#41",
"text": "ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 18 ออสเตรียได้ส่งอาร์ชดัชเชสหลายพระองค์ไปอภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศส เพื่อผลประโยชน์ทางการทูต และพันธมิตรระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อรักษาสมดุลในจักรวรรดิ หลังจากที่นโปเลียนได้รุกรานออสเตรีย และได้ยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลง",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#35",
"text": "สายสกุลฮาพส์บวร์คสเปนได้สิ้นสุดลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#26",
"text": "ต่อมา องค์พระประมุขของแผ่นดินฮาพส์บวร์คฝั่งตะวันตกสวรรคต และไม่มีองค์รัชทายาท ดยุกแห่งออสเตรียจึงเข้าไปปกครองแผ่นดินทางตะวันตกแทน ซึ่งได้แก่ อัลเซส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี รวมทั้งโวราร์ลเบิร์ก แต่สูญเสียดินแดนลุ่มแม่น้ำไรน์ และทะเลสาบคอนสแตนส์ เพื่อที่จะขยายแผ่นดินไปถึงสมาพันธรัฐสวิสเก่า (Old Swiss Confederacy) แต่ในที่สุด ก็สามารถปกครองแผ่นดินดังกล่าวจนถึงพ.ศ. 1922 หลังจากนั้น ก็ถูกปกครองในตำแหน่งใหม่คือ เคานต์แห่งทิโรล (Princely Count of Tyrol) ดังพระนามที่จะกล่าวด้านล่างนี้",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#11",
"text": "พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีไร้อำนาจ และ แทบจะไร้ความหวังต่อการหวนคืนบัลลังก์โดยประชาชนที่ยังจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ จนกระทั่งเมื่ออาร์ชดัชเชสอาเดลเลดแห่งออสเตรีย พระราชธิดาองค์โตในจักรพรรดิคาร์ล ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ให้กับพระเชษฐาของพระองค์ ออทโท ฟอน ฮับส์บูร์ก ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตโดยทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ออกทางสื่อต่างๆ ทำให้รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีได้ร่วมมือกันประชุมหารือเรื่องการกลับมาของพระราชวงศ์ แต่การประชุมครั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด เป็นเหตุให้ยุติการประชุมชั่วคราว",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#1",
"text": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นชื่อที่ตั้งมาจากปราสาทฮับส์บูร์ก (Habsburg Castle หรือที่ชาวสวิตรู้จักกันในนาม Hawk Castle) เมื่อประมาณศตวรรษที่ 12 โดยช่วงแรก พระราชวงศ์จะทรงประทับที่แคว้นสวาเบีย (ปัจจุบันคือเมืองอาร์กอว์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากนั้น พระราชวงศ์ก็ได้ขยายอำนาจออกไปตั้งแต่เมืองอัลเซส, ไบรส์กอว์, อาร์กอว์, และธูร์กอว์ (ปัจจุบัน เมืองทั้งหมดตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี) และในที่สุดก็สามารถมีอำนาจปกครองจักรวรรดิได้ทั้งหมด โดยตั้งเมืองหลวงคือ กรุงเวียนนา (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย)",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#0",
"text": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (German: Haus de Habsburg) (English: House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รัฐ",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#21",
"text": "บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "408891#0",
"text": "อาร์ชดยุก (Archduke) ตามสำเนียงอังกฤษ หรือ อาร์ชดุ๊ก ตามสำเนียงอเมริกัน ถ้าเป็นสตรีเรียกว่า อาร์ชดัชเชส (Archduchess) เป็นบรรดาศักดิ์ยุโรปที่สถาปนาขึ้นในปีค.ศ. 1358 เพื่อเป็นยศของเจ้าผู้ครองแคว้นระดับอาร์ชดัชชีที่มาจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 962–1806) บรรดาศักดิ์อาร์ชดยุกอยู่ต่ำกว่าจักรพรรดิและกษัตริย์ แต่อยู่เหนือแกรนด์ดยุก, ดยุก และเจ้าชาย",
"title": "อาร์ชดยุก"
},
{
"docid": "170674#16",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#14",
"text": "จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 มีแต่พระราชธิดา ก่อนหน้านี้ มีพระราชโอรส แต่ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงทรงแต่งตั้ง สถาปนาพระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ให้เป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heiress Presumptive) โดยทรงออกพระราชกฤษฎีกาพิเศษ เพื่อรับรองให้พระบรมวงศานุวงศ์เพศหญิงสามารถขึ้นครองราชย์สมบัติได้ เมื่อจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาก็ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี และโบฮีเมีย ส่วนตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุกฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน (Duke Francis III Stephen of Lorraine) หลังจากอภิเษกสมรส ก็ทรงสถาปนา แต่งตั้งพระราชสวามีเป็น จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พระราชสวามีเป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจ และการบริหารบ้านเมืองจะเป็นของจักรพรรดินีนาถแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงร่วมกันก่อตั้งราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรนขึ้น (Habsburg-Lorraine) และมีพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงดำรงอยู่ในราชสกุลนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน…",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#19",
"text": "บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#18",
"text": "จักรพรรดิคาร์ล ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติจากหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในพ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) แต่พระองค์ยังดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแต่เพียงในนามจนกระทั่งสวรรคต หลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์ชดยุกออทโท เป็นผู้สืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 10 พรรษาเท่านั้น จักรพรรดินีซีต้า พระบรมราชชนนี จึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2473 ในปัจจุบันออสเตรียเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้นจึงไม่มีการสืบราชสมบัติอีก แต่ ออทโท ฟอน ฮับส์บูร์ก ประมุขแห่งราชวงศ์ ยังคงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ออสเตรียต่อไป",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#36",
"text": "จักรพรรดิฟรันซ์ ซึ่งทรงเป็นแกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี ได้ทรงมอบราชบัลลังก์ทัสกานีให้กับพระราชโอรสองค์โต อาร์ชดยุกเลโอโปลด์ ตั้งแต่บัดนั้น ราชรัฐทัสกานีได้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค จนถึงการรวมชาติอิตาลี",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "170674#25",
"text": "เมื่อแผ่นดินฮาพส์บวร์คถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน แผ่นดินฮาพส์บวร์คฝั่งตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ จากเคานต์เป็นดยุก โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ดัชชีออสเตรีย (Duchy of Austria) ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐโลเวอร์ ออสเตรีย และ ตางตะวันออกของรัฐอัปเปอร์ ออสเตรีย ประเทศออสเตรีย นอกจากนี้ แคว้นออสเตรีย ยังได้ผนวกดัชชีสติเรีย และ คารินเธีย รวมทั้ง คานิโอล่า และทิโรล รวมเข้ากับออสเตรียในพ.ศ. 1906",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "157431#2",
"text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นกษัตริย์แองโกล-แซ็กซอนองค์ก่อนองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรอังกฤษและของราชวงศ์เวสเซ็กซ์ รัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมลงแต่อำนาจของขุนนางเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำมาสู่ความเกี่ยวพันกับนอร์ม็องดีโดยการรุกรานอังกฤษของดยุคแห่งนอร์ม็องดีผู้เข้ามายึดราชบัลลังก์อังกฤษจากพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันและพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี"
}
] |
2663 | แม่นากพระโขนงตายตอนคลอดลูกหรือไม่ ? | [
{
"docid": "59063#2",
"text": "เวลาผ่านไป ท้องของนางนากก็ยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ จนครบกำหนดคลอด หมอตำแยก็มาทำคลอดให้ ทว่าลูกของนางนากไม่ยอมกลับหัว จึงไม่สามารถคลอดออกมาตามธรรมชาติ ยังผลให้นางนากเจ็บปวดเป็นยิ่งนัก และในที่สุดนางนากก็ทานความเจ็บปวดไว้ไม่ไหว สิ้นใจไปพร้อมกับลูกในท้อง กลายเป็นผีตายทั้งกลม",
"title": "แม่นากพระโขนง"
}
] | [
{
"docid": "480554#0",
"text": "พี่มาก..พระโขนง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2556 แนวโรแมนติก สยองขวัญ และตลก ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องแม่นากพระโขนง ผีพื้นบ้านไทย กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกุล ผู้มีชื่อเสียงจากผลงาน สี่แพร่ง ตอน คนกลาง, ห้าแพร่ง ตอน คนกอง และ กวน มึน โฮ กับทั้งนำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นพี่มาก กับดาวิกา โฮร์เน่ เป็นแม่นาก พร้อมด้วย ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์, พงศธร จงวิลาส, อัฒรุต คงราศรี และกันตพัฒน์ สีดา ซึ่งเคยร่วมแสดงใน สี่แพร่ง และ ห้าแพร่ง มาแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มฉายตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จทั้งรายได้ เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย และเป็นภาพยนตร์ทำรายได้มากที่สุดของจีทีเอช แทนที่ ATM เออรัก เออเร่อ (2555) ที่ทำสถิติเดิมไว้",
"title": "พี่มาก..พระโขนง"
},
{
"docid": "257985#8",
"text": "นาค บุตรีขุนศรีประจันและแม่ทองคำ หนีตามมากคนรักจากอยุธยาบ้านเกิด มาเริ่มต้นชีวิตคู่ครองเรือนกันที่ท้องทุ่งพระโขนง ความรักที่ทั้งคู่มีต่อกันทำให้นาคพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ แม่เหมือน มารดาของมาก ผิดหวังที่ลูกชายคว้าหญิงอื่นมาเป็นคู่ครองแทนสายหยุดหลานสาว และโกรธเกลียดลูกสะใภ้ถึงขั้นขัดแย้งกับมาก ทำให้สองสามีภรรยาย้ายออกไปอยู่กันตามลำพังที่บ้านริมคลองพระโขนงดงตะเคียน เมื่อนาคท้องแก่ได้ 8 เดือน ทางหลวงออกหมายเกณฑ์ไพร่ไปทำศึกในสงครามเชียงตุง มากจึงฝากฝังเมียไว้กับป้าแก่หมอตำแยและตาฉ่ำสัปเหร่อ สองผัวเมียที่รักใคร่เอ็นดูนาค โชคร้ายในคืนที่นาคเจ็บท้อง ทั้งคู่เมาเหล้าไม่รู้เรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้นในคืนนั้น ชาวบ้านมาพบศพนาคอีกครั้งในวันต่อมา วิญญาณของนาคที่ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างเดียวดายก่อนสิ้นใจ ตัดสินใจเลือกเส้นทางของตัวเองโดยปฏิเสธความตายด้วยปณิธานอันแรงกล้าว่า \"ข้ายังไม่พร้อมจะยอมตาย\"",
"title": "แม่นาค เดอะมิวสิคัล"
},
{
"docid": "59063#18",
"text": "อีนากพระโขนง - ละครร้องของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จัดแสดงเมื่อปี พ.ศ. 2455 ที่โรงละครปรีดาลัย แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล - จัดแสดงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม -26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ นำแสดงโดย นัท มีเรีย, อาณัตพล ศิริชุมแสง นางนาก เดอะมิวเซียม - จัดแสดงเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่มะขามป้อม สตูดิโอ แม่นาค เดอะมิวสิคัล - จัดแสดงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ เอ็มเธียเตอร์ นำแสดงโดย ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#7",
"text": "เอนก นาวิกมูล ผู้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ไทยได้ค้นคว้าเอกสารร่วมสมัยเกี่ยวกับเรื่องแม่นากพระโขนงนี้ พบว่า จากหนังสือพิมพ์สยามประเภทฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ น่าจะมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ของ อำแดงนาก ลูกสาวกำนันตำบลพระโขนงชื่อ ขุนศรี ที่ตายลงขณะยังตั้งท้อง และทางฝ่ายลูก ๆ ของอำแดงนากก็เกรงว่าบิดาของตน (สามีแม่นาก) จะไปแต่งงานมีภรรยาใหม่ และต้องถูกแบ่งทรัพย์สิน จึงรวมตัวกันแสร้งทำเป็นผีหลอกผู้คนที่ผ่านไปมาด้วยการขว้างหินใส่เรือผู้ที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืนบ้าง หรือทำวิธีต่าง ๆ นานา เพื่อให้คนเชื่อว่าผีของมารดาตนเองเฮี้ยน และพบว่าสามีของอำแดงนาก ไม่ใช่ชื่อ มาก แต่มีชื่อว่า นายชุ่ม ทศกัณฐ์ (เพราะเป็นนักแสดงในบท ทศกัณฐ์[1]) และพบว่า คำว่า แม่นาก เขียนด้วยตัวสะกด ก ไก่ (ไม่ใช่ ค ควาย)[1] แต่การที่สามีแม่นากได้ชื่อเป็น มาก เกิดขึ้นครั้งแรกจากบทประพันธ์เรื่อง \"อีนากพระโขนง\" ซึ่งเป็นบทละครร้อง ในปี พ.ศ. 2454 โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์[1]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#15",
"text": "นางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2479 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ, กำกับโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์[1]) ลูกนางนาค/ลูกนางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2493 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ) นางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2495 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ) นางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2498 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ) แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2502 นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง แม่นาคคืนชีพ - พ.ศ. 2503 นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพาณิช วิญญาณรักแม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2505 นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง แม่นาคคนองรัก - พ.ศ. 2511 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฤทธิ์ ลือชา แม่นาคพระนคร- พ.ศ. 2513 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, อรัญญา นามวงศ์ แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ, สุภัค ลิขิตกุล แม่นาคอาละวาด - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ, สุภัค ลิขิตกุล แม่นาคอเมริกา - พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ แม่นาคบุกโตเกียว - พ.ศ. 2519 นำแสดงโดย อุเทน บุญยงค์, ภาวนา ชนะจิต, อรสา พรหมประทาน แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2521 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, ปรียา รุ่งเรือง, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ นางนาค ภาคพิสดาร - พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา พัวพิมล แม่นาค 30 - พ.ศ. 2530 นำแสดงโดย โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา สุทธิรักษ์, ยอด นครนายก, ท้วม ทรนง, เด๋อ ดอกสะเดา, เหี่ยวฟ้า แม่นาคคืนชีพ - พ.ศ. 2533 นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล, ชุดาภา จันทร์เขตต์ แม่นาคเจอผีปอบ- พ.ศ. 2535 นำแสดงโดย ตรีรัก รักการดี, ณัฐนี สิทธิสมาน แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2537 นำแสดงโดย ดาริน กรสกุล, รอน บรรจงสร้าง นางนาก - พ.ศ. 2542 นำแสดงโดย ทราย เจริญปุระ, วินัย ไกรบุตร นาค (ภาพยนตร์แอนิเมชัน) - พ.ศ. 2551 ให้เสียงโดย ศศิกานต์ อภิชาตวรศิลป์, หม่ำ จ๊กมก, นุ้ย เชิญยิ้ม แม่นาค 3D (ภาพยนตร์ 3 มิติ) - พ.ศ. 2555 นำแสดงโดย บงกช คงมาลัย, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง พี่มาก..พระโขนง - พ.ศ. 2556 นำแสดงโดย ดาวิกา โฮร์เน่, มาริโอ้ เมาเร่อ ม.6/5 ปากหมาท้าแม่นาค - พ.ศ. 2557 นำแสดงโดย วนิดา เติมธนาภรณ์",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#17",
"text": "นางนาคพระโขนง - โดย หม่อมหลวงเปลื้อง อิศรางกูร ณ อยุธยาและคุณครูละม่อม อิศรางกูร ณ อยุธยา แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเกศทิพย์ (จำนวน 20 ตอน) วิญญาณรักของแม่นาค - โดย คณะแก้วฟ้า แม่นาคพระโขนง - โดย คณะกันตนา นางนาก - โดย คณะ ๒๑๓ การละคร แม่นาคพระโขนง - โดย คณะรังสิมันต์ แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเสนีย์ บุษปะเกศ แม่นาค - โดย คณะมิตรมงคล แม่นาคพระโขนง - โดย คณะผาสุกวัฒนารมย์ แม่นาคพระโขนง - โดย คณะนีลิกานนท์",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "480554#15",
"text": "ในด้านเสียงวิจารณ์ อำนาจ เกิดเทพจากผู้จัดการออนไลน์ กล่าวว่า หากนำโจทย์ที่ตั้งไว้ว่าจะทำหนังเรื่องนี้โดยใช้ \"ตลก\" นำหน้านั้นถือเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่น้อย[32] นันทขว้าง สิรสุนทร มองเห็นจุดแข็งของ พี่มาก..พระโขนง มาจากผู้กำกับที่เป็นคนกำหนดทิศทางของหนัง ทั้งบท การแสดง การคัดเลือกนักแสดง การออกแบบการผลิต ฯลฯ ทำให้เข้าใจคนดูหนังยุคนี้อย่างลึก ซึ่งทำให้การวางจังหวะของหนัง การวางมุกต่าง ๆ น่าจะโดนใจคนดู[33] อภินันท์ บุญเรืองพะเนา มองว่าสิ่งที่ยอดเยี่ยมของภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของตำนานแม่นาก พระโขนง เรื่องนี้คือการกล้าที่จะริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนมุมมองจากตัวนากมาเป็นมาก ซึ่งผู้สร้างก็กล้าฉีกขนบตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่องเลยทีเดียว[28] อัญชลี ชัยวรพร กล่าวว่า พี่มาก..พระโขนง น่าจะอยู่ในลักษณะของการเขียนใหม่ขยายและเน้นจุดเก่าบางเรื่อง พร้อมทั้งเสนอมุมมองพี่มากในตอนจบ [34]",
"title": "พี่มาก..พระโขนง"
},
{
"docid": "59063#19",
"text": "สยามประเภท - พ.ศ. 2442 โดย ก.ศ.ร. กุหลาบ นากพระโขนงที่สอง - พ.ศ. 2467 โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (หนึ่งในตอนของนิทานทองอิน) ดาม นางนากฉบับบางกอกการเมือง - พ.ศ. 2470 โดย ขุนชาญคดี กลอนแปดแม่นาคพระโขนง - หนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ ปี พ.ศ. 2475 โดย ประภาศรี ผีอีนากพระโขนง - นิยาย ปี พ.ศ. 2481 นางนาคพระโขนง - นิยายตลกชุด สามเกลอ ปี พ.ศ. 2495 โดย ป. อินทรปาลิต แม่นากพระโขนง - นิยายภาพ พ.ศ. 2503 โดย ประพัฒน์ ตรีณรงค์ นิยายเรื่องแม่นาคพระโขนง - (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์) การ์ตูน แม่นาคพระโขนง - (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์) เปิดตำนานแม่นากพระโขนง - พ.ศ. 2543 โดย เอนก นาวิกมูล",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "94269#2",
"text": "\"นางนาก\" เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองในการกำกับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างงดงามจาก \"2499 อันธพาลครองเมือง\" เมื่อ 2 ปีก่อน (พ.ศ. 2540) ซึ่งในเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยที่เนื้อเรื่องก็คือเนื้อเรื่องของแม่นาคพระโขนงที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทว่า ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนรายละเอียดต่าง ๆ ที่เคยคุ้นเคยให้สมจริงมากที่สุด เช่น เรียกชื่อแม่นาคว่า นางนาก, มีเหตุการณ์สุริยคราสเป็นฉากเปิดเรื่อง หรือ ให้นางนากยืนกลับหัวบนขื่อ ตามความเชื่อที่เล่ากันมา เป็นต้น",
"title": "นางนาก"
},
{
"docid": "133645#16",
"text": "ในปี พ.ศ. 2556 มาริโอ้มีผลงานแสดงภาพยนตร์กับจีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือจีทีเอช เรื่อง \"พี่มาก..พระโขนง\" ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องแม่นากพระโขนง ผีพื้นบ้านไทย กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกุล ผู้มีชื่อเสียงจากผลงาน \"สี่แพร่ง\" ตอน คนกลาง, \"ห้าแพร่ง\" ตอน คนกอง และ \"กวน มึน โฮ\" ซึ่งมาริโอ้ได้รับบทเป็นพี่มากหรือพี่มาร์ค แสดงคู่กับดาวิกา โฮร์เน่ รับบทเป็นแม่นาก พร้อมด้วย ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์, พงศธร จงวิลาส, อัฒรุต คงราศรี และกันตพัฒน์ สีดา ซึ่งเคยร่วมแสดงใน \"สี่แพร่ง\" และ \"ห้าแพร่ง\" มาแล้ว ตัวละครพี่มาก บรรจงเลือกมาริโอ้เพราะเคยได้ร่วมงานโฆษณาด้วยกันมาก่อน และเห็นว่ามาริโอ้เล่นได้หลากหลาย และเห็นว่าคนส่วนใหญ่เมื่อคิดถึงพี่มาก จะนึกถึงผู้ชายหน้าไทย ๆ หากเป็นมาริโอ้ คงแปลกดี และเมื่ออยู่กับตัวละคร 4 คนข้างต้นคงสนุกดี ",
"title": "มาริโอ้ เมาเร่อ"
},
{
"docid": "94269#0",
"text": "นางนาก เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีเค้าโครงเรื่องจากแม่นาคพระโขนง เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และรางวัลในรัชกาลที่ 4 เกิดสุริยคราสขึ้น ผู้คนแตกตื่น เหมือนกับเป็นเหตุบอกลางร้าย มาก (วินัย ไกรบุตร) ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบที่ชายแดน ปล่อยให้เมียสาวที่กำลังท้องแก่ชื่อ นาก (อินทิรา เจริญปุระ) อยู่เพียงคนเดียว นากต้องลำบากตรากตรำทำนาอยู่คนเดียวทั้ง ๆ ที่ท้องแก่ใกล้คลอด เมื่อเจ็บท้องใกล้คลอด มีลางร้ายนกแสกบินผ่านหลังคาบ้าน นากเสียชีวิตพร้อมลูกขณะคลอด แต่วิญญาณของนางยังคงไม่ไปไหน วนเวียนอยู่บริเวณบ้านและรอคอยการกลับมาของผัวรัก และเมื่อมากกลับมา ผู้คนพยายามบอกมากเกี่ยวกับเรื่องนากที่ตายไปแล้ว มากไม่เชื่อ นากเองก็อาละวาดหักคอผู้คนที่พยามยามบอกเรื่องนี้แก่มาก ",
"title": "นางนาก"
},
{
"docid": "59063#16",
"text": "แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2522 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย ปริศนา วงศ์ศิริ, ชานนท์ มณีฉาย แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2532 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย ตรีรัก รักการดี, เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2537 ออกอากาศทาง ช่อง 5 นำแสดงโดย ลีลาวดี วัชโรบล, วรุฒ วรธรรม แม่นาคพระนคร - พ.ศ. 2539 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ, นุติ เขมะโยธิน แม่นาค - พ.ศ. 2542 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ, พีท ทองเจือ แม่นากพระโขนง - พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย กุลณัฐ ปรียะวัฒน์, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ แม่นาคพระโขนง รักนี้นิรันดร - พ.ศ. 2556 ออกอากาศทาง ช่อง 9 และออกอากาศซ้ำในปี 2558 ทาง ไบรท์ทีวี นำแสดงโดย อมราพร พร้อมลาภ, กวี วงศ์จันทรา แม่นาก - พ.ศ. 2559 ออกอากาศทางช่อง ช่อง 8 นำแสดงโดย สุธีวัน ทวีสิน, มาร์ติน มิดาล",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#9",
"text": "เรื่องราวของแม่นากพระโขนงปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นากอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย[2] หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นากได้นั้นคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่าท่านเป็นคนเจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นากทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาก และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเคยเห็นเรือนของแม่นากด้วย เป็นเรือนลักษณะเหมือนเรือนไทยภาคกลางทั่วไปอยู่ติดริมคลองพระโขนง มีเสาเรือนสูง มีห้องครัวอยู่ด้านหลัง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว [2] และยังเคยขึ้นไปบนศาลาการเปรียญของวัดมหาบุศย์ด้วย ในขณะนั้นศาลาการเปรียญหลังใหม่ บนฝ้าเพดานมีรอยเท้าเปื้อนโคลนคล้ายรอยเท้าคนเหยียบย่ำไปมาหลายรอย สมภารบอกว่าเป็นรอยเท้าของแม่นาก[4]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#10",
"text": "ถึงอย่างไร ความเชื่อเรื่องแม่นากพระโขนง ก็ยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ ภายในซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวง ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นากตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นากด้วยความเคารพว่า \"ย่านาก\" บ้างก็เชื่อว่าร่างของแม่นากถูกฝังอยู่ระหว่างต้นตะเคียนคู่ภายในศาล[5] โดยมีผู้มาบนบานขอในสิ่งที่ตนต้องการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องความรัก [5]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#1",
"text": "มีสามีภรรยาหนุ่มสาวคู่หนึ่ง อาศัยอยู่ด้วยกันที่ย่านพระโขนง สามีชื่อนายมาก ส่วนภรรยาชื่อนางนาก ทั้งสองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันจนนางนากตั้งครรภ์อ่อน ๆ นายมากก็มีหมายเรียกให้ไปเป็นทหารประจำการที่บางกอก นางนากจึงต้องอยู่ตามลำพัง",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#3",
"text": "หลังจากนั้น ศพของนางนากได้ถูกนำไปฝังไว้ยังป่าช้าท้ายวัดมหาบุศย์ ส่วนนายมากเมื่อปลดประจำการก็กลับจากบางกอกมายังพระโขนงโดยที่ยังไม่ทราบความว่าเมียของตัวได้หาชีวิตไม่แล้ว นายมากกลับมาถึงในเวลาเข้าไต้เข้าไฟพอดี จึงไม่ได้พบชาวบ้านเลย เนื่องจากบริเวณบ้านของนางนาก หลังจากที่นางนากตายไปก็ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้เพราะกลัวผีนางนากซึ่งต่างก็เชื่อกันว่าวิญญาณของผีตายทั้งกลมนั้นเฮี้ยน และมีความดุร้ายเป็นยิ่งนัก",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#4",
"text": "ครั้นเมื่อนายมากกลับมาอยู่ที่บ้าน ผีนางนากก็คอยพยายามรั้งนายมากให้อยู่ที่บ้านตลอดเวลา ไม่ให้ออกไปพบใคร เพราะเกรงว่านายมากจะรู้ความจริงจากชาวบ้าน นายมากก็เชื่อเมีย เพราะรักเมีย ไม่ว่าใครที่มาพบเจอนายมากจะบอกนายมากอย่างไร นายมากก็ไม่เชื่อว่าเมียตัวเองตายไปแล้ว จนวันหนึ่งขณะที่นางนากตำน้ำพริกอยู่บนบ้าน นางนากทำมะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#0",
"text": "แม่นากโขนง หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แม่นาก (โดยมากสะกดด้วย ค.ควาย[1]) เป็นผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีของไทย เชื่อกันว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีศาลแม่นากตั้งอยู่ที่วัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#14",
"text": "ในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ และภาพยนตร์หลายครั้ง โดยเรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้นำมาสร้างภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2470 โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ แต่พอสร้างแล้วฉายจนฟิล์มเปื่อย ฟิล์มก็หล่นหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย[9] อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว เช่น ละครเวทีโอเปร่าอำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ในปี พ.ศ. 2545[10]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#12",
"text": "และสิ่งที่เชื่อว่าเป็นปั้นเหน่งที่ทำจากหน้าผากกะโหลกแม่นาก ปัจจุบันถูกครอบครองโดยนักสะสมพระเครื่องผู้หนึ่ง[7]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "480554#17",
"text": "แม่นากพระโขนง นางนาก",
"title": "พี่มาก..พระโขนง"
},
{
"docid": "59063#8",
"text": "และ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เคยทรงครอบครองกระดูกหน้าผากของแม่นากนี้ด้วยเช่นกัน โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำมาถวาย[3]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "514983#3",
"text": "ในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ มีผีไทยได้ปรากฏตามสื่อเป็นจำนวนมาก แม่นากพระโขนง ซึ่งเป็นเรื่องเล่าของผีตายทั้งกลมที่เชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในต้นยุครัตนโกสินทร์ นับว่าเป็นผีไทยที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มีศาลบูชา อยู่ที่วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง ในปัจจุบัน แม่นากพระโขนง ได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์, ละครเวที ภาพยนตร์ แม้กระทั่งการ์ตูน หรืออะนิเมะชั่นต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ยุคภาพยนตร์เงียบ ในปี พ.ศ. 2479 ทั้งให้ความรู้สึกน่ากลัว หรือแม้กระทั่งขบขันหรือล้อเลียน หรือ กระสือ ผีผู้หญิงที่ถอดหัวเหลือแต่ไส้กับอวัยวะต่าง ๆ เรืองแสงได้ ล่องลอยหาของสดของคาว และมูตรคูถต่าง ๆ ในเวลากลางคืน กินเป็นอาหาร ก็เป็นผีอีกประเภทหนึ่งเช่นกันที่มักถูกถ่ายออดออกมาในสื่อประเภทนี้ ร่วมกับผีปอบ ที่ \"บ้านผีปอบ\" กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีจำนวนภาคต่อมากที่สุด (จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2556-14 ภาค)",
"title": "ผีในวัฒนธรรมไทย"
},
{
"docid": "59063#6",
"text": "จนกระทั่งตายายคู่หนึ่งที่ไม่รู้เรื่องเพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ เก็บหม้อที่ถ่วงนางนากได้ขณะทอดแหจับปลา นางนากจึงถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สยบลงได้ กะโหลกศีรษะส่วนหน้าผากของนางนากถูกเคาะออกมาทำหัวปั้นเหน่ง เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณ และนำนางนากสู่สุคติ หลังจากนั้น ปั้นเหน่งชิ้นนั้นก็ตกทอดไปยังเจ้าของอื่น ๆ อีกหลายมือ ตำนานรักของนางนาก นับเป็นตำนานรักอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจผู้ฟังอย่างไม่รู้จบ กับความรักที่มั่นคงของนางนากที่มีต่อสามี ที่แม้แต่ความตายก็มิอาจพรากหัวใจรักของนางไปได้[2]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#11",
"text": "และเชื่อว่ายังมีผู้สืบเชื้อสายจากแม่นากมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้น คือ พีท ทองเจือ ดารานักแสดงชื่อดัง[6]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "57532#0",
"text": "ผีตายทั้งกลม (หรือบางครั้งเรียกว่า ผีตายท้องกลม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ผิด) เป็นผีไทยลักษณะหนึ่ง โดยผู้หญิงที่ตายขณะที่กำลังตั้งครรภ์ลูกในท้องหรือขณะที่กำลังคลอดลูก ถ้าในขณะที่กำลังจะคลอดลูกนั้นแล้วเกิดตายขึ้นมาทั้งแม่และลูกถือว่าเป็นการตายโหงอีกรูปแบบหนึ่ง นางนาค หรือแม่นาคพระโขนงก็เป็นผีตายทั้งกลมเช่นกัน ผีตายทั้งกลมจะสำแดงอาการหลอกหลอนคนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ้าใครเดินผ่านบ้านที่มีหญิงตายทั้งกลมในยามค่ำคืน จะได้ยินเสียงกล่อมเด็กดังวังเวงมาจากในบ้านที่มีหญิงตายทั้งกลมนั้น หรือหนักหน่อยอาจจะมีคนเห็นเปลเด็กผูกอยู่บนคบไม้สูง โดยมีผีตายทั้งกลมนั่งกล่อมลูกอยู่ข้างล่าง ส่วนมือยืดยาวขึ้นไปบนคบไม้ ไกวเปลให้ลูก",
"title": "ผีตายทั้งกลม"
},
{
"docid": "5920#38",
"text": "เมื่อเทียบกับสปีชีส์อื่น การคลอดมนุษย์เป็นสิ่งอันตราย การคลอดซึ่งเจ็บปวดที่กินเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นไม่ใช่เรื่องแปลก และบางครั้งนำไปสู่การเสียชีวิตของแม่หรือเด็ก สาเหตุมาจากทั้งเส้นรอบวงหัวที่ใหญ่เพื่อบรรจุสมองของทารกในครรภ์ และเชิงกรานที่ค่อนข้างแคบของแม่ (ลักษณะซึ่งจำเป็นให้การเคลื่อนไหวสองเท้าประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ) [65][66] โอกาสการคลอดลูกสำเร็จเพิ่มขึ้นมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศร่ำรวย ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ ในทางกลับกัน การตั้งครรภ์และการคลอดลูกตามธรรมชาติยังเป็นประสบการณ์อันตรายในภูมิภาคกำลังพัฒนาของโลก ที่มีอัตราตายของมารดามากกว่าประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 100 เท่า[67]",
"title": "มนุษย์"
},
{
"docid": "59063#20",
"text": "แม่นาค (ละครโทรทัศน์)",
"title": "แม่นากพระโขนง"
},
{
"docid": "59063#13",
"text": "เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้กลายเป็นบทประพันธ์ในรูปแบบการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นบทละครร้องในปี พ.ศ. 2454 ในชื่อ \"อีนากพระโขนง\" โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงที่โรงละครปรีดาลัย (โรงเรียนตะละภัฏศึกษาในปัจจุบัน) ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเปิดการแสดงติดต่อกันถึง 24 คืน[8]",
"title": "แม่นากพระโขนง"
}
] |
330 | อัญมณีคือตระกูลหินหรือไม่ ? | [
{
"docid": "47743#0",
"text": "อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ",
"title": "อัญมณี"
},
{
"docid": "58828#0",
"text": "รัตนชาติหรือหินอัญมณี () เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี\nนอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน",
"title": "รัตนชาติ"
}
] | [
{
"docid": "47752#0",
"text": "โมรา หรือ อาเกต () (SiO) เป็นอัญมณีที่มี หลายสี ที่นิยม คือ ฟ้าอมเทาลายขาว หรือฟ้าในเนื้อหิน ในทางอุตสาหกรรมใช้สำหรับตกแต่งทำเป็นเครื่องประดับเนื่องจากคุณสมบัติของหินที่ต้านทานกรด และมีความแข็งสูง",
"title": "โมรา"
},
{
"docid": "198068#0",
"text": "โอปอล () เป็นอัญมณีในตระกูลควอตซ์ (Quartz) เช่นเดียวกับแอเมทิสต์ซึ่งเป็นอัญมณีประจำราศีกุมภ์ มีค่าความแข็งที่ 6 - 7 โมส์ (Moh) มีความวาวแบบแก้วและยางสน มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว แดง เหลือง เขียว ม่วง ดำ แต่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ โอปอลไฟ",
"title": "โอปอล"
},
{
"docid": "198068#3",
"text": "ชาวตะวันตกเชื่อกันว่าโอปอลเป็นหินแห่งโชคลาง มีความเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ สามารถบอกเหตุล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดเหตุดีหรือเหตุร้าย โอปอลยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวัง เพราะมันเต็มไปด้วยสายรุ้งแห่งความหวัง ผู้ที่สวมใส่อัญมณีชนิดนี้จะสมหวังในสิ่งที่ต้องการ ชาวอาหรับเชื่อว่าโอปอล คือ อัญมณีที่ตกลงมาจากสวรรค์",
"title": "โอปอล"
},
{
"docid": "156292#0",
"text": "ทับทิม หรือ มณี ,รัตนราช,ปัทมราช () เป็นรัตนชาติชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม(Corundum)เช่นเดียวกับบุษราคัม ไพลิน เขียวส่องและ Fancy shappire มีความแข็งรองจากเพชร เป็นที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมาก เพราะมีสีสวยและมีความแข็งแกร่งเปล่งประกายจับตา เป็นที่นิยมมากกว่าอัญมณีสีแดงชนิดอื่นๆ มนุษย์รู้จักทับทิมมานาน กษัตริย์มักนำมาประดับมงกุฏและสวมใส่ออกขณะรบ เป็นที่แพร่หลายมากๆในชมพูทวีป ทับทิมในภาษาสันสกฤตโบราณคือ \"ratanraj\" หมายถึงเจ้าแห่งอัญมณีทั้งปวง จนทับทิมถูกขนานนามว่าอัญมณีแห่งราชา ในประเทศไทยนั้นถือว่าทับทิมเป็นอัญมณีหนึ่งในนพรัตน์ โดยธรรมชาตินั้นทับทิมมักมีเนื้อขุ่น ตำหนิมากบางชิ้นทึบแสงดูไม่สวยงามดังนั้นทับทิมในท้องตลาดส่วนใหญ่ผ่านการเพิ่มคุณภาพด้วยความร้อนมาแทบทั้งสิ้น สีที่นับว่าหายากและราคาแพงมหาศาลคือ สีแดงสดแบบเลือดนกพิราบเนื้อใสสะอาดสมบูรณ์แบบทั้งสัดส่วนและประกายขนาด 3-4กะรัตอาจจะมีราคาสูงกว่า 7 หลัก ถ้าสูงกะรัตกว่านี้จะหายากมากๆราคาอาจถึง 8หลักเลยทีเดียว สีแดงอมชมพูก็เป็นที่นิยมอย่างมากส่วนใหญ่มาจากพม่า มีราคาสูงมาก นอกจากนั้นทับทิมยังมีการเกิดปรากฏการณ์สตาร์ มีลักษณะสาแหรกเนดาว 6 แฉกอยู่กลางพลอย ชนิดนี้ก็มีราคาสูงจะเจียระไนทรงหลังเต่า หลังเบี้ยแต่ควรระวังของปลอม ปัจจุบันมีการทำ \"ดาวปลอม\"ด้วยการดิฟิวชั่น ข้อสังเกตคือของธรรมชาติจะไม่มีเส้นแฉกดาวคมชัดและเห็นยาวไม่จนถึงก้น ลักษณะขาดาวอาจเลือนๆและดูเหมือนอยู่ลึกลงไปในพลอย ก้นพลอยอาจไม่มีการเจียระไนแต่โกลนไว้เฉยๆก็ได้ ทับทิมที่มีความงาม ประกายดีและสะอาดจะถูกเจีนระไนแบบเหลี่ยมประกาย ส่วนที่มีตำหนิมักเจียระไนแบบหลังเต่าหรือหลังเบี้ย",
"title": "ทับทิม (อัญมณี)"
},
{
"docid": "156292#2",
"text": "เลือกชิ้นที่มีตำหนิภายในให้น้อยที่สุด ไร้รอยร้าวแตกมาถึงภายนอก ไม่ควรเลือกทับทิมที่มีตำหนิสีแตกต่างจากสีเนื้อพลอยเช่น ผลึกสีดำ,ฝ้าสีขาว,เหลือบหิน สีของทับทิมคุณภาพดีจะไม่มืด แลดูคล้ำไม่มีประกายไฟควรเลือกที่มีสีเต็มทั่วทั้งเม็ดพลอย ประกายไฟดี ส่วนสีจะเป็นแดงเข้มสด,แดงสด,แดงอมชมพู,แดงอมส้มแล้วแต่ความชื่นชอบ แต่สีแดงเข้มจะมีมูลค่าสูงที่สุด การเจียระไนสมส่วนเหมาะกับการนำไปใช้งาน ที่สำคัญที่สุดเลือกที่เหมาะกับสุขภาพของกระเป่าสตางค์ของคุณเอง การดูแลระวังการกระทบกระแทกแบบรุนแรง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและกรดเบส ควรทำความสะอาดด้วยผ้านุ่มไม่เก็บไว้รวมกับอัญมณีที่แข็งกว่า เช่นเพชร ควรระวังพลอยชนิดอื่นที่มีการค้าในนามทับทิม เช่น บัลลาสรูบี้ ทับทิมบ่อใหม่ อย่าง Spinel ที่มีสีแดงเหมือนกันมากแต่ทับทิมนั้นป็นพลอยหักเหคู่มีเฉดสีที่ต่างออกไปเมื่อมองจากทิศทางตรงข้ามแกนแสง ต่างจากสปิเนล ที่เป็นพลอยหักเหเดี่ยว มองจากมุมใดก็มีสีไม่เปลี่ยนไป ทรงพล \nองค์ประกอบทางเคมี (Chemical composition): อะลูมิเนียมออกไซด์ (AlO, Aluminium oxide)",
"title": "ทับทิม (อัญมณี)"
},
{
"docid": "437242#1",
"text": "อาทิจและดรุณี คือตัวแทนคนรุ่นใหม่ ที่รับสืบทอดภาระและหน้าที่ที่มีต่อแผ่นดิน หรือ \"\"ธรณี\"\" มาจากคุณย่า ผู้หญิงตัวคนเดียวที่ใช้ทั้งความแข็งแกร่งและความอ่อนโยน หว่านพืชปลูกพันธุ์จนเติบโตงอกงาม และสามารถโอบอุ้มทุกชีวิตไว้บนแผ่นดิน\nแต่กว่าจะถึงวันนั้นได้ อุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางมากมาย ดังชีวิตจริงของเราทุกคน ที่มีทั้งความสนุกสนาน หวามหวาน ทดท้อ และบางครั้งก็มีน้ำตา แต่สุดท้ายแล้ว ความสุขกับความสำเร็จ ก็ย่อมเป็นรางวัลที่ผู้มีความเพียรพึงจะได้รับ",
"title": "ธรณีนี่นี้ใครครอง"
},
{
"docid": "311444#1",
"text": "สร้อยคอเป็นหนึ่งในอัญมณีที่สำคัญมาตั้งแต่ยุคสมัยอารยธรรมโบราณ ว่ากันว่า จุดกำเนิดของสร้อยคอนั้น มีอายุเก่าแก่คราวเดียวกับยุคหิน เมื่อ 40,000 ปีที่แล้ว ในอดีต มนุษย์เคยนำสัตว์จำพวกหอยและหมึก (mollusk) มาทำเป็นสร้อยคอใส่กัน เมื่อเวลาผ่านไป สร้อยคอที่ทำจากหิน กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และฟันสัตว์ก็เริ่มเป็นที่นิยม หลังจากมีการค้นพบธาตุโลหะต่าง ๆ มนุษย์ก็นำโลหะทองคำ เงิน และโลหะอื่น ๆ มาทำเป็น ที่สวยสะดุดตาใส่กันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย",
"title": "สร้อยคอ"
},
{
"docid": "541563#25",
"text": "กำแพงนั้นทำจากหินอ่อนสีขาวจากราชสถาน และตกแต่งด้วยอัญมณีหลากสีประเภทต่างๆ เช่น แจสเปอร์ คาร์เนเลียน โอนิกซ์ โทปาซ และลาพิส ลาซูไล เป็นรูปของต้นสนตระกูลไซเปรส และขวดไวน์ รวมทั้งยังตกแต่งเป็นองค์ประกอบที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น รูปผลไม้ที่ตัดแต่ง หรือแจกันพร้อมช่อดอกไม้ ในเวลาที่แดดส่องแสงผ่านด้านในของตัวอาคาร จะผ่านช่องแสงเรียกว่า จาลี (Jālī) ที่สลักเสาจากหินอ่อนสีขาว",
"title": "อัคระ"
}
] |
2825 | สืบ นาคะเสถียร เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "3981#0",
"text": "สืบ นาคะเสถียร (31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 - 1 กันยายน พ.ศ. 2533) เป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย มีชื่อเสียงจาการพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
}
] | [
{
"docid": "3981#10",
"text": "ระหว่างนั้น สืบได้เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานีอีกตำแหน่ง และปี พ.ศ. 2530 ได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดงในจังหวัดนราธิวาสด้วย",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#18",
"text": "วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533 สืบยังคงปฏิบัติงานตามปกติ และได้เตรียมจัดการทรัพย์สินที่หยิบยืมและทรัพย์สินส่วนตัว และอุทิศเครื่องมือเครื่องใช้ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่าให้แก่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ สั่งให้ตั้งศาลเคารพดวงวิญญาณเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตในการรักษาป่าห้วยขาแข้ง ในช่วงหัวค่ำของสืบยังคงปฏิบัติตัวพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตามปกติดั่งเช่นเคยทำ ครั้นช่วงดึกสืบขอลากลับไปบ้านพัก โดยกลับไปเตรียมจัดการทรัพย์สินที่เหลือและได้เขียนจดหมายหกฉบับ มีเนื้อหาสั้น ๆ ชี้แจงการฆ่าตัวตาย จนกระทั่งเช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 มีเสียงปืนดังขึ้นจากบ้านพักของสืบหนึ่งนัด จนกระทั่งช่วงก่อนเที่ยงของวันจึงได้มีเจ้าหน้าที่ของกรมฯ เข้าไปดู ซึ่งก่อนหน้าเข้าใจว่าสืบไม่สบาย และเมื่อเข้าไปพบร่างของสืบนอนตะแคงข้างห่มผ้าเรียบร้อย พอเข้าไปใกล้จึงได้เห็นอาวุธปืนตกอยู่ข้าง ๆ และเห็นบาดแผลที่ศีรษะด้านขวา สืบได้จบชีวิตลงอย่างเตรียมตัวและพร้อมอย่างสงบ",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#8",
"text": "ในปี พ.ศ. 2528 สืบได้ติดตามนักวิจัยชาวต่างชาติซึ่งได้รับทุนจากนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟิก พร้อมด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าไปสำรวจกวางผา สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ในดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้น ชาวบ้านจุดไฟล่าสัตว์จนเกิดไฟป่า คณะของสืบหนีไฟป่าเป็นโกลาหล และคำนึง ณ สงขลา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ตกหน้าผาถึงแก่ความตาย",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "475200#6",
"text": "จากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"
},
{
"docid": "3981#21",
"text": "หงา คาราวาน ได้แต่งเพลงชื่อ \"\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สืบ แอ๊ด คาราบาว ได้แต่งเพลงชื่อ \"\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สืบเมื่อปี พ.ศ. 2533 ในอัลบั้ม \"โนพลอมแพลม\" สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้จัดทำสารคดีชื่อ \"แสงไฟไม่เคยดับ\" เพื่อเป็นการรำลึกถึงสืบ ออกอากาศทางช่องเดียวกันในช่วงเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2556[2] ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง \"ฝนตกที่ห้วยขาแข้ง\" เป็นภาพยนตร์ในโครงการคีตราชนิพนธ์ บทเพลงในดวงใจราษฎร์ เมื่อปี พ.ศ. 2558 นำแสดงโดย นพชัย ชัยนาม รับบทเป็นสืบ นาคะเสถียร [3] เอ็มคอตเอชดี ได้จัดทำในรายการ ข่าวดังข้ามเวลา ตอน ตายเพื่อตื่น สืบ นาคะเสถียร ออนแอร์วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2561",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "467701#2",
"text": "ภายหลังการรื้อถอนบ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ได้มีข่าวโยกย้ายนายดำรงค์ ขณะเดียวกันได้มีการรวมกลุ่มของสมาคมศิษย์เก่าคณะวนศาสตร์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิเพื่อนช้าง สมาคมอุทยานแห่งชาติ และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เครือข่ายการจัดการวิกฤตป่าไม้และน้ำ 15 องค์กร สนับสนุนการการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมอุทยานฯ ว่าเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยชอบที่ข้าราชการที่ดีทั้งหลายพึงต้องปฏิบัติ เป็นการพิทักษ์ ปกป้องพื้นที่ป่าไม้ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานฯ เป็นความกล้าหาญของข้าราชการที่กล้ากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าจะถูกกดดันจากอิทธิพลรอบด้าน และกระแสผลประโยชน์ของเงินทุน แม้ว่าตนเองจะเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่วันข้างหน้าก็ตาม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดความฮึกเหิมในการทำหน้าที่ และคนที่เป็นอธิบดีคนต่อไปถ้าไม่ดำเนินการตามนี้ สังคมก็จะจับตาและตั้งคำถามต่อไป จนเกิดปรากฏการณ์ดำรงค์ พิเดช ขึ้น",
"title": "ดำรงค์ พิเดช"
},
{
"docid": "3981#5",
"text": "ต่อมาปี พ.ศ. 2522 สืบได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิล จึงศึกษาระดับปริญญาโทอีกที่สาขาอนุรักษวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2524 แล้วกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ มีส่วนร่วมฝึกอบรมพนักงานพิทักษ์ป่าหลายรุ่น ครั้นปี พ.ศ. 2526 สืบขอย้ายไปเป็นนักวิชาการประจำกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#7",
"text": "คุณสืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่มากกว่าหนึ่งแสนไร่ แต่มีงบประมาณเริ่มต้นเพียงแปดแสนบาท ไม่มีการอนุมัติอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์ป่า แต่สืบมิได้ย่อท้อคงพยายามทำงานและศึกษาข้อมูลทั้งทางหนังสือและพรานท้องถิ่น",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#19",
"text": "สองสัปดาห์ต่อมา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สืบได้พยายามขอให้ประชุมมาแล้วหลายครั้ง จึงมีผู้กล่าวว่า ถ้าไม่มีเสียงปืนในวันนั้น ก็ไม่มีการประชุมดังกล่าว",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#15",
"text": "ผลงานวิจัยของเขา เป็นต้นว่า",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3980#2",
"text": "ในปี พ.ศ. 2516 สุรชัยได้ร่วมกับ วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) ก่อตั้งวงท.เสนและสัญจร ขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้รวมกับวงบังคลาเทศ แบนด์ ของมงคล อุทก (หว่อง) และทองกราน ทานา เปลี่ยนเป็นวงคาราวาน สุรชัยได้แต่งเพลงเพื่ออุทิศให้กับบุคคลสำคัญของไทยหลายคน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ปรีดี พนมยงค์, สืบ นาคะเสถียร และ รงค์ วงษ์สวรรค์",
"title": "สุรชัย จันทิมาธร"
},
{
"docid": "3981#17",
"text": "ด้วยความที่ต้องรับแรงกดดันกดดันหลาย ๆ ด้าน และเป็นการเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ใส่ใจต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง สืบจึงตัดสินใจประท้วงด้วยการฆ่าตัวตายด้วยอาวุธปืนในบ้านพักของสืบที่ห้วยขาแข้ง",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "475200#5",
"text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร สืบ นาคะเสถียร",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"
},
{
"docid": "3981#13",
"text": "ความพยายามของสืบนั้นประสบผลสำเร็จน้อย เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ให้ความสนใจ ชาวบ้านท้องถิ่นก็สนใจปากท้องมากกว่า จึงรับจ้างผู้มีอิทธิพลเข้ารุกรานป่าเสมอมา สืบเสนอให้สร้างแนวป่ากันชนเพื่อกันชาวบ้านออกนอกแนวกันชน และพัฒนาพื้นที่ในแนวกันชนให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ได้ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเช่นกัน",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#12",
"text": "ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ[1] และได้เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งด้วย ครั้นปี พ.ศ. 2533 สืบจึงตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร และได้ดำเนินกิจกรรมหลายประการเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและอพยพสัตว์ป่าที่ยังตกค้างอยู่ในแก่งเชี่ยวหลาน",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#23",
"text": "หมวดหมู่:ข้าราชการพลเรือนชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเซนต์หลุยส์ หมวดหมู่:บุคคลจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดปราจีนบุรี หมวดหมู่:นักอนุรักษ์ธรรมชาติ หมวดหมู่:ผู้ฆ่าตัวตายในประเทศไทย หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอาวุธปืน หมวดหมู่:พุทธศาสนิกชนชาวไทย",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#9",
"text": "ในปี พ.ศ. 2529 สืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) บริเวณแก่งเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สืบได้ช่วยอพยพสัตว์ป่าที่ตกค้างอยู่ในแก่งเพราะปัญหาการสร้างเขื่อนจนเกิดน้ำท่วม ช่วยเหลือสัตว์ได้ 1,364 ตัว ส่วนมากที่เหลือถึงแก่ความตาย สืบจึงเข้าใจว่า งานวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยพิทักษ์ป่าซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติได้ ในภายหลังจึงได้ร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น คัดค้านรัฐบาลในการที่จะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี สืบยังได้รายงานผลการอพยพสัตว์ต่อสาธารณชนเพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักภัยป่า โดยยืนยันว่าการสร้างเขื่อนมีโทษมากกว่าคุณ เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ชดเชยภายหลังมิได้ แต่ความพยายามของสืบนั้นไร้ผล จนกระทั่งนักอนุรักษ์ได้รวมกลุ่มสนับสนุนสืบ โครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนจึงระงับไป",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#20",
"text": "มีการจัดวันที่สืบเสียชีวิต วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี เป็นวันสืบนาคะเสถียร ขึ้น",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#6",
"text": "ในระยะนี้ สืบได้ทำงานทางวิชาการอันเป็นที่รักของเขาอย่างเต็มที่ จึงผูกพันกับสัตว์และป่า งานวิจัยเริ่มแรกว่าด้วยจำนวน ชนิด พฤติกรรม และการทำรังของนก สืบยังริเริ่มใช้เครื่องมือสมัยใหม่บันทึกการวิจัย เช่น กล้องวีดิทัศน์ กล้องถ่ายภาพ และการสเก็ตซ์ภาพ ข้อมูลของสืบกลายเป็นผลงานวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งในภายหลัง เช่น สไลด์ภาพสัตว์ป่าหายาก กับทั้งวีดิทัศน์ความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าและการทำลายป่าในประเทศไทย ทีสืบผลิตขึ้นเองทั้งสิ้น",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#14",
"text": "สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่ามากมาย โดยเฉพาะด้านสำรวจนก กวางผา เลียงผา และนิเวศวิทยาที่ห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ทั้งยังได้เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "596783#0",
"text": "พงศา ชูแนม (เกิด 9 เมษายน 2507) หรือที่รู้จักกันในนาม นายหัวพงศา หรือ สืบ นาคะเสถียร แห่งต้นน้ำพะโต๊ะ เกิดที่ ตำบลป่าเว อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายพงศา ชูแนม เป็นบุตร คนที่ 3 ของนางบุญเฝ้า ศรีสุวรรณ(ทองเพชร)กับนายครัน ชูแนม มีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งสิ้น 6 คนพี่น้อง เป็นข้าราชการป่าไม้ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ อำเภอพะโต๊ะ (จังหวัดชุมพร) ส่วนจัดการทรัพยากรต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม \nพงศา ชูแนมเคยต้องต่อสู้กับอิทธิพลในท้องที่พะโต๊ะในปี 2543 เคยโดนย้ายไปจากพะโต๊ะ แต่เนื่องด้วยการทำงานในพื้นที่มานานจึงเป็นที่รู้จักในพื้นที่ ประชาชนในท้องที่และเครือข่ายอนุรักษ์จึงออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับพงศา ชูแนม จนส่งผลให้ข้าราชการระดับสูงในจังหวัดชุมพรหลายคนถูกโยกย้าย ทำ",
"title": "พงศา ชูแนม"
},
{
"docid": "3981#2",
"text": "สืบ สมรสกับนิสา นาคะเสถียร มีบุตรสาวหนึ่งคน คือ ชินรัตน์ นาคะเสถียร",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#4",
"text": "เมื่อสำเร็จปริญญาโท สืบเข้ารับราชการเป็นพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ขณะนั้นกองอนุรักษ์สัตว์ป่าเพิ่งก่อตั้งขึ้น และสืบเลือกหน่วยงานนี้เพราะต้องการงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า งานแรกของสืบคือการประจำอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ณ ที่นั้น สืบได้ทราบว่ามีผู้ทรงอิทธิพลบุกรุกทำลายป่าเป็นจำนวนมาก",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#16",
"text": "การทำรังวางไข่ของนกบางชนิดที่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ. 2524 รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ. 2526 รายงานผลการวิจัย วางแผนขั้นรายละเอียดสำหรับ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้และ การจัดการป่าไม้บริเวณ พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2527 การศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ในบริเวณโครงการ ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ พ.ศ. 2528 นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง พ.ศ. 2529 รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาด พ.ศ. 2529 เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ พ.ศ. 2529 สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และ จังหวัดตาก กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 โดย สืบ นาคะเสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์, ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส การอพยพสัตว์ป่า ในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า พ.ศ. 2532 วิเคราะห์ความเหมาะสม จากรายงานและแผนการ แก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#11",
"text": "ในปี พ.ศ. 2531 สืบกลับเข้ารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า และพยายามเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลกเพื่อเป็นหลักประกันว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวจะได้รับการพิทักษ์รักษาถาวร",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "3981#1",
"text": "สืบมีชื่อเดิมว่า \"สืบยศ\" มีชื่อเล่นว่า \"แดง\" เกิดที่ตำบลท่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายสลับ นาคะเสถียร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กับนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมดสามคน ตนเองเป็นคนโต ได้แก่ กอบกิจ นาคะเสถียร เป็นน้องชายคนกลาง และกัลยา รักษาสิริกุล เป็นน้องสาวคนสุดท้อง",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "282209#2",
"text": "เพลงต่าง ๆ ในอัลบั้ม แอ๊ดได้ตีแผ่ประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีเพลงเกี่ยวกับความรักเช่นในอัลบั้มก่อน ๆ โดยประกาศจุดยืนตรงข้ามกับรัฐบาล (สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี) มีเพลงที่พอจะเป็นที่รู้จักและมีการเผยแพร่สืบต่อกันมา อย่างเช่น \"สืบทอดเจตนา\" ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อรำลึกแด่ สืบ นาคะเสถียร ที่เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 โดยการฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นำไปสู่การประชุมเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้งในอีก 2 สัปดาห์หลังสืบฆ่าตัวตาย และทำให้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกประกาศให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ที่สืบเคยเป็นหัวหน้าเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534 หรือปีถัดมานั่นเอง",
"title": "โนพลอมแพลม"
},
{
"docid": "3981#22",
"text": "ปลาค้างคาวนาคะเสถียร (Oreoglanis nakasathiani Vidthayanon, Saenjundaeng & Ng, 2009[4])",
"title": "สืบ นาคะเสถียร"
},
{
"docid": "570868#5",
"text": "โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ถูกกล่าวถึงในสื่อมวลชนหลายแหล่งโดยเริ่มจากกระแสของการประท้วงการอนุมัติ EHIA โดยศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร การลงรายชื่อหยุดโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ กว่า 100,000 คน ที่ change.org รวมถึงการห้ามออกอากาศ รายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง",
"title": "โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์"
}
] |
4125 | ประเทศอินเดียคือต้นกำเนิดศาสนาพุทธใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "578913#0",
"text": "ศาสนาแบบอินเดีย () คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์ ศาสนาเหล่านี้ถือว่าเป็นศาสนาตะวันออก แม้ศาสนาแบบอินเดียจะเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์อินเดีย แต่ก็ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในอนุทวีปอินเดียเท่านั้น ยังได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย",
"title": "ศาสนาแบบอินเดีย"
}
] | [
{
"docid": "578913#6",
"text": "ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน และศาสนาซิกข์ มีหลักการพื้นฐานบางอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจตีความต่างออกไปโดนศาสนิกชนแต่ละกลุ่มและแต่ละปัจเจกบุคคล ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศาสนิกชนเหล่านี้มิได้ติดป้ายตนเองให้แตกต่างจากผู้อื่น หากแต่เห็นว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวทางวัฒนธรรมที่แตกสาขาออกมาแต่ร่วมรากเดียวกัน",
"title": "ศาสนาแบบอินเดีย"
}
] |
2223 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่? | [
{
"docid": "61536#1",
"text": "วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพประจำภาค สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งขึ้น โดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ตั้งอยู่ภายในพื้นที่เมืองโบราณ เวียงเจ็ดลิน หรือเมืองเชษฎบุรี เลขที่ 128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2523 วิทยาเขตฯ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ประจำหมู่บ้านช่างเคี่ยนอีกจำนวน 25 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 115 ไร่",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
}
] | [
{
"docid": "172253#0",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ (จอมทอง) เป็นสถานที่จัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สังกัดเขตพื้นที่ภาคพายัพเชียงใหม่ เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ 21 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160 มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548 โดย พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี และมี นายสุรพล เกียรติไชยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (ตำแหน่งขณะนั้น) ร่วมในพิธีด้วย",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (จอมทอง)"
},
{
"docid": "13825#29",
"text": "นายจรัล มโนเพ็ชร นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลพระสุวรรณหงส์ ศิลปินล้านนา (วิทยาเขตภาคพายัพ) นายนพพล พิทักษ์โล่พานิช ดารานักแสดง ช่อง 7 สี (วิทยาเขตภาคพายัพ) นายสุรพล เกียรติไชยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยาเขตภาคพายัพ) นายถาวร เกียรติไชยากร สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยาเขตภาคพายัพ) นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย (วิทยาเขตพิษณุโลก) นายรุ่ง จันตาบุญ สถาปนิกผู้ออกแบบโรงแรมแมนดารินดาราเทวี และหอคำหลวง มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (วิทยาเขตภาคพายัพ)",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา"
},
{
"docid": "61536#24",
"text": "เดินทางตามถนนเชียงใหม่-ลำปาง จนสิ้นสุดที่ทางแยกรินคำ จากนั้นจึงเลี้ยวขวาตามถนนห้วยแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ตั้งอยู่ขวามือ ตรงข้ามกับสวนรุกขชาติห้วยแก้ว เยื้องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เล็กน้อย",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "99841#2",
"text": "นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ในตำแหน่งครูตรี สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการบริหาร นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล ได้รับตำแหน่งในการบริหารเป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คลองหก) ผู้อำนวยการวิทยาเขตเชียงราย ผู้อำนวยการวิทยาเขตภาคพายัพ ผู้ช่วยอธิการบดี ดูแลกิจการหน่วยงานของสถาบันในกลุ่มภาคเหนือ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ฝ่ายบริหาร",
"title": "ชัยยง เอื้อวิริยานุกูล"
},
{
"docid": "172253#1",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ จัดการศึกษาวิชาชีพสาขาต่าง ๆ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี โดยได้ขยายการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้งในสาขาวิชา และในระดับสูงขึ้นตามลำดับ",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (จอมทอง)"
},
{
"docid": "61536#26",
"text": "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (ช้างเผือก) เดินทางได้โดยรถสองแถว สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (อาเขต) เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย 11 (อาเขต-ไนท์ซาฟารี) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งอาเขต-ลงที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นรถที่ข่วงประตูท่าแพ-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถานีรถไฟเชียงใหม่ โดยรถประจำทางสาย 13 (สถานีรถไฟ-ไนท์ซาฟารี) ขึ้นที่สถานีรถไฟเชียงใหม่-ลงที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์) ขึ้นที่ข่วงประตูท่าแพ-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยรถประจำทางสาย 11 (ไนท์ซาฟารี-อาเขต) ขึ้นที่ท่าอากาศยานฯ-ลงที่ตลาดสมเพชร จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นที่ตลาดสมเพชร-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "172253#3",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับความเห็นชอบ จากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ บริเวณทางหลวงหมายเลข 1009 ระหว่าง กม. ที่ 3-4 ติดกับ ค่ายลูกเสือแห่งชาติ จำนวนประมาณ 590 ไร่ เป็นสถานที่ก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ภาคพายัพ(จอมทอง) เพื่อรองรับการขยายตัวและขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งประชาชนในพื้นที่มีความต้องการ และคาดหวังให้มหาวิทยาลัยฯ เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง และเขตพื้นที่การศึกษาใกล้เคียง มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาต่อชุมชน และประเทศชาติโดยส่วนรวม",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (จอมทอง)"
},
{
"docid": "61536#6",
"text": "พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง \"วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ\" (วท.พ) สังกัด กรมอาชีวศึกษา] กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2520 ได้เข้าเป็นวิทยาเขตของ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยใช้ชื่อวิทยาเขตว่า \"วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ\" (วข.พ) ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2533 \"วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ\" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ\" (วข.พ) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 \"สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ\" ยกฐานะเป็น \"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่\" (มทร.ล.) สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ดังเช่นปัจจุบัน",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "13825#5",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้หลอมรวมเอาวิทยาเขต และสถาบันวิจัย จำนวน 7 แห่งเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาเขตน่าน วิทยาเขตตาก วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตเชียงราย และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ต่อจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย 4 คณะ 1 วิทยาลัย 4 สำนัก-สถาบัน และ 5 สำนักงานบริหารฯ (เขตพื้นที่)[3] โดยวิทยาเขตภาคพายัพ มีฐานะเป็นศูนย์กลางมหาวิทยาลัย ต่อมาสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้จัดตั้งสำนักงานบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ส่งผลให้ภาคพายัพ มีฐานะเป็นเขตพื้นที่เช่นเดียวกันกับเขตพื้นที่อื่น[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของเขตพื้นที่ภาคพายัพ ให้เป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยดังเดิม",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา"
},
{
"docid": "61536#27",
"text": "เดินทางตามถนนเชียงใหม่-ลำปาง ผ่านอุโมงค์ทางลอดข่วงสิงห์ จากนั้นเลี้ยวขวาบริเวณสามแยกหน้าวัดเจ็ดยอดโพธาราม เข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยฯ ตั้งอยู่ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลตำบลช้างเผือก เส้นทางนี้ไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่าน หรืออีกเส้นทางหนึ่ง: มุ่งหน้าไปยังทางขึ้นดอยสุเทพหรือทางไปหาอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย โดยเดินทางผ่านหน้าวัดเจ็ดยอดตามถนนเชียงใหม่-ลำปาง ไปถึงสี่แยกไฟแดงรินคำ (ห้างสรรพสินค้า MAYA อยู่ทางขวามือ) จากนั้นเลี้ยวขวา ไปตามเส้นทางถนนห้วยแก้ว ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ ไปประมาณ 100 เมตร จะพบทางเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ อยู่ทางขวามือ (ตรงข้ามกับสวนรุกขชาติเชียงใหม่) หรือถ้ามาจากเซ็นทรัล กาดสวนแก้ว มุ่งหน้าไปยังทางขึ้นดอยสุเทพหรือทางไปหาอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย โดยไปถึงสี่แยกไฟแดงรินคำ จากนั้นตรงไปตามเส้นทางถนนห้วยแก้ว ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ ไปประมาณ 100 เมตร จะพบทางเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ อยู่ทางขวามือ (ตรงข้ามกับสวนรุกขชาติเชียงใหม่)",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการโอนกิจการของวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ไปสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีชื่อว่า \"วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ\" และมีการเปิดสอนในระดับปริญญาเป็นครั้งแรกของสถาบัน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสถาบันใหม่ว่า \"สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล\" ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 ซึ่งชาวราชมงคลถือว่าวันดังกล่าวเป็น \"วันราชมงคล\"",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#20",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 อาคารส่วนใหญ่ในบริเวณมหาวิทยาลัยจึงเป็นอาคารที่มีอายุมากกว่าสิบปี โดยมีอาคารสถานที่สำคัญ คือ",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "5262#49",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ (จอมทอง) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่",
"title": "จังหวัดเชียงใหม่"
},
{
"docid": "99577#1",
"text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งรวมเอาวิทยาเขตต่างๆ ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เข้าด้วยกันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น เพื่อจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท ในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการศึกษาใน 6 เขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ เขตพื้นที่ภาคพายัพเชียงใหม่ เขตพื้นที่ลำปาง เขตพื้นที่เชียงราย เขตพื้นที่น่าน เขตพื้นที่พิษณุโลก และเขตพื้นที่ตาก",
"title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา"
},
{
"docid": "61536#8",
"text": "ครั้งแรก วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรการเรียนการสอนวิทยาเขตภาคพายัพ (เจ็ดยอด) เป็นการส่วนพระองค์ ครั้งที่ 2 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีนายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล อธิการบดีฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ในวโรกาสที่พระองค์ได้เสด็จทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยฯ ในครั้งนี้ คณะผู้บริหารได้รายงานโครงการที่ได้นำเสนอตามลำดับ คือ ผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส หรือผู้พิการ โครงการฟักทองพันธุ์พระราชทาน \"โอโตะ\" ศูนย์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมทร.ล้านนา โครงการสาธิตกระบวนการผลิตแจกันศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ และโครงการ Digitized Thailand Project",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#7",
"text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระกรุณาธิคุณต่อชาวเทคนิคภาคพายัพอย่างหาที่สุดมิได้ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรกิจการของมหาวิทยาลัยถึง 2 ครั้ง คือ",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#30",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[2] ได้แก่",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#23",
"text": "การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#11",
"text": "สีน้ำตาลทอง คือสีกลางที่เกิดจากการรวมสี มีคุณลักษณะเป็นกลาง สามารถอยู่ร่วมกับทุกสีได้ และทำให้สีนั้นโดดเด่นสวยงาม เปรียบประดุจกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่สามารถบูรณาการ ผสานการบริหารจัดการร่วมกับเขตพื้นที่ ในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่ถึงพร้อมทุกด้าน ออกไปพัฒนาสังคม ประเทศชาติ และดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข พึ่งพาตนเองได้",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#0",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ (ชื่อเดิม: วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ) เคยเป็นวิทยาเขตในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการเรียนการสอนในระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา เป็นวิทยาเขตที่มีจำนวนนักศึกษาและบุคลากรมากที่สุด ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในปี พ.ศ. 2552 มีนักศึกษา จำนวน 9,074 คน [1] ปัจจุบันไม่มีสถานะเป็นวิทยาเขต",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#33",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ เคยถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่อง เพื่อนสนิท โดยเนื้อหาเป็นเรื่องราวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ตลอดทั้งเรื่องถ่ายทำใน วิทยาเขตภาคพายัพ ฉากต้นไทร คือ บริเวณลานต้นไทร คณะสถาปัตยกรรม ฉากป้ายคณะเกษตรศาสตร์ คือ หน้าอาคารคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ (ห้วยแก้ว) แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง โดยมีถนนพระนาง กั้นอยู่ นิยมเรียกว่า \"วังหน้า\" และ \"วังหลัง\" แต่นักศึกษาเจ็ดยอดจะเรียกรวมกันว่า \"เทคโนบน\" บุคคลทั่วไปมักจะไม่รู้จักมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา แต่ทุกคนจะรู้จัก \"เทคโนตีนดอย\" (หมายถึง เชิงดอย) อาคารเรียนรวม มีชั้นใต้ดินสำหรับจอดรถยนต์ แต่รถยนต์ไม่สามารถขับลงไปได้ (ใต้ท้องรถจะติดพื้นถนนบริเวณทางลง) ในมหาวิทยาลัยฯ มีหัวจักรรถไฟ ตั้งอยู่หน้าสาขาช่างยนต์",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#5",
"text": "ต่อมาปี พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ประกาศยกฐานะสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับต่ำกว่าปริญญา ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "73261#64",
"text": "มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 6 สถาบัน (หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ) ได้แก่ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,\nคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทิร์น, สาขาออกแบบสื่อสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ, สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่",
"title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย"
},
{
"docid": "61536#21",
"text": "ศาลาราชมงคล โรงอาหาร ตั้งอยู่บนแนวกำแพงคันดินโบราณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา ด้านหลังคือ อาคารศึกษาทั่วไป อายุเกือบ 40 ปี",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "17494#11",
"text": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พายัพ เชียงใหม่ เขตพื้นที่เชียงราย เขตพื้นที่ลำปาง เขตพื้นที่น่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตเชียงราย วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง",
"title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "61536#9",
"text": "วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพรายนามผู้อำนวยการการดำรงตำแหน่ง1. นายจรัญ สมชะนะพ.ศ. 2500 - พ.ศ. 25032. นายเจนจิตต์ กุณฑลบุตรพ.ศ. 2503 - พ.ศ. 25063. ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณาพ.ศ. 2506 - พ.ศ. 25154. นายชลิต สุวัตถี (รักษาการ)พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 25165. นายภพ เลาหไพยบูลย์ (รักษาการ)พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 25176. นายสุพจน์ พุทธาภิสิทธิ (รักษาการ)พ.ศ. 25177. นายจรัญ สมชะนะพ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพรายนามผู้อำนวยการการดำรงตำแหน่ง7. นายจรัญ สมชะนะพ.ศ. 2518 - พ.ศ. 25198. นายโสภณ แสงไพโรจน์พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 25229. นายดิเรก มานะพงษ์พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2533สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพรายนามผู้อำนวยการการดำรงตำแหน่ง10. นายสุพจน์ พุทธาภิสิทธิกุล (รักษาการ)พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 253511. นายไพรัช รุ้งรุจิเมฆพ.ศ. 2535 - พ.ศ. 253712. นายเฉลิม เลาหะเพ็ญแสงพ.ศ. 2537 - พ.ศ. 253813. นายอัศดา จิตต์ปรารพพ.ศ. 2539 - พ.ศ. 254314. นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูลพ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2550มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่รายนามรองอธิการบดีการดำรงตำแหน่ง15. ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอนพ.ศ. 2550 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 255116. นายสุทิน ประเสริฐสุนทร3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 255616. ผศ.อวยพร บัวใบพ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "61536#32",
"text": "นายจรัล มโนเพชร นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลพระสุวรรณหงส์ ศิษย์เก่าคณะวิชาบริหารธุรกิจ นายรุ่ง จันตาบุญ ผู้ออกแบบหอคำหลวง งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ศิษย์เก่าคณะวิชาสถาปัตยกรรม นายพรชัย อรรถปรียางกูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (ศิษย์เก่า พ.ศ. 2515 - 2520) นายถาวร เกียรติไชยากร อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ นายสุรพล เกียรติไชยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ นายนพพล พิทักษ์โล่พานิช นักแสดง ช่อง 7 (รับบทเจ้าสายบดี จากละครเรื่อง ศิลามณี) อดีตเดือนวิทยาเขต ปี พ.ศ. 2542 จากแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ นายสมบัษร ถิรสาโรชน์ (ตือ) นักจัดงานแฟชั่น ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ - อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นอาจารย์ประจำแผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "172185#0",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล้านนา ตาก เป็นวิทยาเขต ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นวิทยาเขตที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดรองจาก ภาคพายัพเชียงใหม่ คือ มีนักศึกษาจำนวน 3,247 คน",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก"
},
{
"docid": "270844#0",
"text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ (เจ็ดยอด) เปิดสอนวิชาชีพเพื่องานในทางศิลปกรรม ทั้งในระดับปริญญาตรี โดยโครงการสนับสนุนส่งเสริมศิลปหัตถกรรมภาคเหนือ ซึ่งได้รับที่ดินบริจาคจากคุณหญิงดารา ไชยยศสมบัติ จำนวน 5 ไร่ และวิทยาเขตฯ จัดซื้อเพิ่มอีกรวมเป็น 10 ไร่",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เจ็ดยอด)"
},
{
"docid": "61536#10",
"text": "สีประจำมหาวิทยาลัย สีน้ำตาลทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน เปรียบได้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นฐานความพร้อมในการเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้สืบไป",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
}
] |
3434 | เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานอะไร? | [
{
"docid": "10853#3",
"text": "เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี",
"title": "อิเหนา"
}
] | [
{
"docid": "150126#0",
"text": "ดาหลัง เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทยจัดอยู่ในประเภทบทละครใน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และ อิเหนา โดย ดาหลัง และ อิเหนา นั้นมีต้นเค้ามาจากนิทานปันหยีของทางชวาเหมือนกัน แต่ความนิยมในดาหลังนั้นมีน้อยมาก อันจะสังเกตได้ว่าแทบไม่มีผู้ใดคิดจะหยิบมาอ่านหรือนำมาศึกษาอย่างจริงจังอาจเพราะด้วยเนื้อหานั้นค่อนข้างรุนแรงกว่าอิเหนา ภาษานั้นไม่ไพเราะลื่นไหลน่าอ่านเท่ากับอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 และเนื้อเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ออกมานั้นไม่จบตอน ขาดในส่วนของตอนจบไป จึงไม่มีใครทราบว่าเรื่องดาหลังนั้นแท้จริงแล้วจบอย่างไร จากสาเหตุข้างต้นจึงน่าจะเป็นเหตุให้วรรณคดีเรื่องนี้ถูกมองข้ามไปโดยปริยาย",
"title": "ดาหลัง"
},
{
"docid": "196184#0",
"text": "นิราศอิเหนา เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานจากสำนวนกลอนคาดว่าน่าจะประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งที่สุนทรภู่อยู่ในอุปการะของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จึงน่าจะแต่งถวาย เนื้อหาของกลอนนิราศนำมาจากส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา โดยจับใจความตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วพบว่านางบุษบาที่ตนลักตัวมาซ่อนไว้ที่ถ้ำทอง ถูกลมพายุพัดหายไปเสียแล้ว เนื้อหาของกลอนนิราศเป็นการเดินทางติดตามค้นหานางบุษบาของอิเหนา ระหว่างทางก็พร่ำรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก อิเหนาตามหานางบุษบาอยู่เจ็ดเดือนก็หาไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวชอุทิศกุศลให้นางบุษบา ซึ่งอิเหนาคิดว่าคงจะตายไปแล้ว",
"title": "นิราศอิเหนา"
},
{
"docid": "10853#29",
"text": "อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมาก แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย นิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "150126#1",
"text": "ดาหลัง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อิเหนาใหญ่ เป็นกลอนบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีเค้าเดิมมาจากนิทานชวา เชื่อกันว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุทธยา หญิงเชลยชาวชวาปัตตานี ซึ่งเป็นข้าหลวงรับใช้เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎพระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เล่าถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น ทั้งสองพระองค์จึงทรงแต่งเรื่องขึ้นคนละเรื่องคือ อิเหนาใหญ่ และ อิเหนาเล็ก แต่เรื่องทั้งสองสุญหายไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งอิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก โดยอาสัยเค้าเรื่องเดิมสมัยอยุธยา",
"title": "ดาหลัง"
},
{
"docid": "10853#0",
"text": "อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิารตงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราตตชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) ชาพะยอมเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "42563#0",
"text": "นิทานเวตาล ( \"เวตาลปัญจวิงศติ\" แปลว่า \"นิทานเวตาล 25 เรื่อง\") เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่นิทานย่อยต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม 25 เรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ \"พันหนึ่งราตรี\" ซึ่งเป็นนิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง",
"title": "นิทานเวตาล"
},
{
"docid": "183795#6",
"text": "ลูกอีสานเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในแต่ละตอนของลูกอีสาน ดังที่พ่อของคูนบอกว่า",
"title": "ลูกอีสาน (นวนิยาย)"
},
{
"docid": "10853#42",
"text": "๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้\nจากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "11836#24",
"text": "เรื่อง \"พระอภัยมณี\" เป็นผลงานกลอนนิทานที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดเรื่องหนึ่งในกระบวนวรรณคดีไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า หากให้เลือกกวีไทยที่วิเศษสุดเพียง 5 คน สุนทรภู่จะต้องเป็นหนึ่งในห้าคนนั้น และ \"ในบรรดาหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ ถ้าจะลองให้ผู้อ่านชี้ขาดว่าเรื่องไหนดีกว่าเพื่อน ก็น่าจะยุติต้องกันโดยมากว่า เรื่องพระอภัยมณีเป็นดีที่สุด เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาวแต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่อง\" กลอนนิทานเรื่องนี้ยังได้รับยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอนอีกด้วย",
"title": "พระอภัยมณี"
}
] |
1220 | ตระกูลเมดีชีเดิมมาจากชาวกสิกรในบริเวณใด ทางตอนเหนือของฟลอเรนซ์? | [
{
"docid": "141948#3",
"text": "ตระกูลเมดีชีเดิมมาจากชาวกสิกรในบริเวณมูเกลโล (Mugello) ทางตอนเหนือของฟลอเรนซ์ หลักฐานครั้งแรกที่กล่าวถึงครอบครัวนี้ก็มาจากเอกสารที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1260",
"title": "เมดีชี"
}
] | [
{
"docid": "141948#4",
"text": "ที่มาของชื่อ “เมดีชี” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่คำว่า “เมดีชี” ในภาษาอิตาลีหมายถึง “หมอยา” สมาชิกตระกูลเมดีชีเริ่มมามีตำแหน่งสำคัญๆ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในกิจการค้าขายขนแกะ โดยเฉพาะกับประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศสเปน ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีชื่อเสียงทางการปกครองในบางเมืองแต่ก็ยังไม่มีความสำคัญมากเท่าตระกูลใหญ่ๆ เช่นตระกูลอัลบิซซิ (Albizzi) หรือ ตระกูลสโตรซซิ (Strozzi) สมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งที่น่าจะกล่าวถึงในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็คือซาลเวสโตร เดอ เมดีชี (Salvestro de Medici) ผู้เป็นวาทกรของ สมาคมพ่อค้าขนแกะระหว่างการปฏิวัติชิออมปิ (Ciompi) จนถูกเนรเทศเมื่อปี ค.ศ. 1382 การที่ตระกูลเมดีชีเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่งเมื่อปีค.ศ. 1400 ทำให้ทั้งตระกูลถูกห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองและการปกครองของเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาราว 20 ปี ยกเว้นเมื่ออาเวราร์โด (Averardo (Bicci) de Medici) ก่อตั้งวงศ์เมดีชี (Medici dynasty)",
"title": "เมดีชี"
},
{
"docid": "141948#6",
"text": "ตระกูลเมดีชี สาย “อาวุโส” ที่สืบสายมาจาก “โคสิโมผู้อาวุโส” ปกครองรัฐฟลอเรนซ์มาจนเมื่อ อเลสซานโดร เดอ เมดีชีผู้เป็นดยุกคนแรกของฟลอเรนซ์ถูกลอบสังหารเมื่อปี ค.ศ. 1537 การปกครองของตระกูลเมดีชีถูกขัดจังหวะลงสองหน (ระหว่างปี ค.ศ. 1494 ถึงปี ค.ศ. 1512 และ ระหว่างปี ค.ศ. 1527 ถึงปี ค.ศ. 1530) เมื่อมีการปฏิวัติจากประชาชนขับตระกูลเมดีชีออกจากเมือง",
"title": "เมดีชี"
},
{
"docid": "141948#0",
"text": "ตระกูลเมดีชี () เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ",
"title": "เมดีชี"
},
{
"docid": "141948#14",
"text": "จิโอวานนี ดิ บิชชิผู้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนแรกของตระกูลเมดีชีช่วย มาซาชิโอ (Masaccio) และจ้างฟีลิปโป บรูเนลเลสกีให้บูรณะบาซิลิกาซานโลเร็นโซที่ฟลอเรนซ์เมื่อปี ค. ศ. 1419 โคสิโม เดอ เมดีชีเป็นผู้อุปถัมภ์งานของ โดนาเทลโล และ ฟราแอนเจลิโค แต่ศิลปินคนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับตระกูลเมดีชีคือมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี ซึ่งทำงานให้กับสมาชิกในตระกูลนี้หลายคนเริ่มด้วย ลอเร็นโซผู้ปรีชา ตั้งแต่ลอเร็นโซยังเป็นเด็ก ลอเร็นโซจ้างเลโอนาร์โด ดา วินชี่ทั้งหมดด้วยกัน 7 ปี ลอเร็นโซเองก็เป็นนักกวีและแต่งเพลง ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10ก็อุปถัมภ์ราฟาเอล ผู้ที่เรียกกันว่า “Prince of Painters” สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 จ้างมีเกลันเจโลเขียนผนังหลังแท่นบูชาของชาเปลซิสติน ตระกูลเมดีชีเองก็มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างชาเปลซิสทีนด้วย",
"title": "เมดีชี"
},
{
"docid": "248416#0",
"text": "ดัชชีนอร์ม็องดี () มีที่มามาจากการรุกรานของชนหลายชาติที่รวมทั้งชนเดนส์, ไฮเบอร์โน-นอร์ส, ไวกิงจากออร์กนีย์ และแองโกล-เดนส์ (\"จากบริเวณเดนลอว์\") ในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ประมุขที่อาจจะเป็นอาณาจักรเคานต์ก่อตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาแซ็ง-แกลร์-ซูว์แร็ปต์ ในปี ค.ศ. 911 เมื่อพระเจ้าชาร์ล (Charles the Simple) ทรงยอมพระราชทานตำแหน่งให้แก่รอลโลผู้นำของไวกิงที่รู้จักกันในชื่อว่า “นอร์สเม็น” (Northmen) (หรือในภาษาละตินว่า “Normanni”)",
"title": "ดัชชีนอร์ม็องดี"
},
{
"docid": "862617#0",
"text": "ตระกูลรอธส์ไชลด์ () เป็นตระกูลอภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก สืบเชื้อสายมาจากไมเออร์ อัมส์เชล รอธส์ไชลด์ ชาวยิวที่อพยพไปยังเยอรมนี และได้เริ่มจัดตั้งธนาคารขึ้นที่นั่นในทศวรรษที่ 1760 ต่อมาเขาให้บุตรชายทั้ง 5 คนช่วยบุกเบิกธนาคารของครอบครัวไปยังต่างประเทศ ซึ่งตั้งสาขาอยู่ใน 5 เมืองใหญ่ได้แก่ ลอนดอน, ปารีส, แฟรงก์เฟิร์ต, เวียนนา และเนเปิลส์",
"title": "ตระกูลรอธส์ไชลด์"
},
{
"docid": "189428#2",
"text": "จุดกำเนิดของมิกกี้ เมาส์ เกิดขึ้นขณะที่วอลต์ ดิสนีย์ นั่งอยู่บนรถไฟระหว่างทางมุ่งสู่ลอสแอนเจลิส เขาลงมือสเก็ตช์ภาพคาแรกเตอร์หนูเล็ก ๆ สวมกางเกงสีแดง ขึ้นมา โดยมีอับ ไอเวิร์กส ออกแบบรูปร่างลักษณะ การ์ตูนเสียงเรื่องแรก \"เรือกลไฟวิลลี่\" (Steamboat Willie) เข้าฉายครั้งแรกที่ มอสส์โคโลนี่เธียเตอร์ โดยทางนิวยอร์กไทม์เขียนไว้ว่า \"เป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์เยี่ยมยอดและสนุก\"\nบุคลิกของมิกกี้ เมาส์ คือ มองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น ถ่อมตัวและเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ชอบร้องอุทาน \"Gosh\" หรือบางครั้งก็ \"Oh be\" ,\"Uh-Oh!\" ชอบอ่าน มีหวานใจชื่อว่ามินนี่เมาส์ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่ครองใจเด็กๆทั่วโลกเช่นกัน นอกจากนี้มิกกี้เมาส์ยังมีสุนัขสีน้ำตาลแสนรัก ชื่อว่า พลูโตที่เป็นสุนัขที่ซื่อสัตย์ ฉลาดและแสนรู้",
"title": "มิกกี้ เมาส์"
},
{
"docid": "216173#3",
"text": "เฟรดดีเกิดในดินแดนที่ปกครองโดยอังกฤษรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ ในแถบทิศตะวันออกของแอฟริกา (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของ ประเทศแทนซาเนีย) พ่อและแม่ของเขา Bomi และ Jer Bulsara เป็นชาวปาร์ซี ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากรัฐคุชราต ในภูมิภาคจังหวัด Bombay Presidency ในพื้นที่บริติชราช ชื่อนามสกุลตั้งมาจากเมืองบัลซารา (Bulsar) (รู้จักกันในชื่อ Valsad) ในบริเวณทิศใต้ของรัฐคุชราต ในเปอร์เซีย เฟรดดีและครอบครัวของเขาปฏิบัติตามแนวทางของศาสนาโซโรอัสเตอร์ โดยครอบครัวได้ย้ายไปยังแซนซิบาร์ และพ่อของเฟรดดีได้ทำงานเป็นพนักงานแคชเชียร์ใน British Colonial Office โดยเฟรดดีมีน้องสาวชื่อ Kashmira",
"title": "เฟรดดี เมอร์คูรี"
},
{
"docid": "39767#8",
"text": "ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรของชาวแอซเทคครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอารยธรรมเมโสอเมริกา โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองปัจจุบันเรียกว่า เม็กซิโกซิตี ชาวแอซเทคได้ซื้อขายเมล็ดคาเคากับชาวมายาและชนชาติอื่น และยังเรียกเก็บค่าบรรณาการจากพลเมืองของตนและเชลยเป็นเมล็ดคาเคา โดยใช้แทนค่าเงิน ชาวแอซเทคนิยมดื่มช็อกโกแลตขมเช่นเดียวกับชาวมายายุคแรก โดยปรุงรสชาติให้ซู่ซ่าขึ้นด้วยเครื่องเทศ ชาวเมโสอเมริกาสมัยนั้นยังไม่มีใครปลูกอ้อยก็เลยไม่มีใครใส่น้ำตาลกัน",
"title": "ช็อกโกแลต"
}
] |
2469 | ภาคต่อจาก แบทแมน บีกินส์คืออะไร? | [
{
"docid": "400015#0",
"text": "แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด () เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากการ์ตูนชุดมนุษย์ค้างคาว มีกำหนดการเข้าฉายในเดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 2012 เป็นภาพยนตร์ภาคที่สาม และภาคสุดท้ายในไตรภาคมนุษย์ค้างคาวที่กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลน ต่อจากภาพยนตร์เรื่องแบทแมน บีกินส์ (Batman Begins, 2005) และแบทแมน อัศวินรัตติกาล (The Dark Knight, 2008) กำกับภาพยนตร์โดย คริสโตเฟอร์ โนแลน เขียนบทโดยตัวโนแลนเองและโจนาธาน ผู้เป็นน้องชาย นำแสดงโดยคริสเตียน เบล, ไมเคิล เคน, แกรี่ โอลด์แมน, และมอร์แกน ฟรีแมน ข้อมูลที่เปิดเผยออกมาระบุว่า เนื้อเรื่องของภาคนี้จะดำเนินต่อจากภาคอัศวินรัตติกาลเป็นเวลา 8 ปี และจะมีตัวร้ายหลักคือเซลีนา ไคล์ และเบน (นำแสดงโดยแอนน์ ฮัทธาเวย์ และทอม ฮาร์ดี้ ตามลำดับ)",
"title": "แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด"
},
{
"docid": "185563#4",
"text": "\"แบทแมน บีกินส์\" ได้รับกระแสที่ดีทั้งจากคำวิจารณ์และการตอบรับเชิงพาณิชย์ โดยได้มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อชื่อว่า \"แบทแมน อัศวินรัตติกาล\" (\"The Dark Knight\") ขึ้นมา ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลน และนำแสดงโดยคริสเตียน เบล เช่นเดิม",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
}
] | [
{
"docid": "185563#64",
"text": "เจมส์ เบราร์ดิเนลลี นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ยกย่องผลงานชิ้นนี้ว่า เป็นภาพยนตร์แบทแมนที่ทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในตัวแบทแมนได้มากขึ้นว่า \"เขาคือใครและอะไรที่จูงใจให้เขาเป็นเช่นนั้น\" ซึ่งเบราร์ดิเนลลีรู้สึกว่านี่คือส่วนที่ภาพยนตร์แบทแมนที่กำกับโดยทิม เบอร์ตัน (\"แบทแมน\", พ.ศ. 2532 และ \"แบทแมนรีเทิร์น\", พ.ศ. 2535) ยังขาดอยู่ ทางด้านไมเคิล วิลมิงตัน จากหนังสือพิมพ์ชิคาโกทริบูน ก็มีความเห็นว่าคริสโตเฟอร์ โนแลน และแฟรงก์ มิลเลอร์ สามารถสร้างส่วนผสมระหว่างเนื้อหาแนวชีวิตอันทรมานและบรรทัดฐานความแค้นให้เข้ากับลูกเล่นอันชื่นมื่นและการพาดพิงถึงหนังสือการ์ตูนได้อย่างพอเหมาะพอดี และยังเป็นการนำภาพยนตร์แบทแมนออกจากความเป็นภาพยนตร์แนวฮอลลีวูดที่เต็มไปด้วยความดุเดือนรุนแรงอันสะเพร่า อย่างที่หนังแบทแมนภาคก่อน ๆ ได้หลงเข้าไป อีกด้วย ส่วนเคนเนท ทูแรน นักวิจารณ์ภาพยนตร์จากหนังสือพิมพ์ลอสเองเจลิสไทมส์ ก็กล่าวว่า การดำเนินเรื่องตอนต้นอย่างช้า ๆ ด้วย \"เนื้อเรื่อง จิตวิทยา และความเป็นจริง โดยไม่ใช้สเปเชียลเอฟเฟกต์\" ช่วยให้ความมืดที่อยู่เบื้องหลังความคิดของแบทแมนโดดเด่นขึ้น",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#65",
"text": "สำหรับทรรศนะที่ต่างออกไปนั้น เจ. อาร์. โจนส์ จากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชิคาโกรีดเดอร์ ได้วิจารณ์บทภาพยนตร์ของโนแลนกับโกเยอร์ว่าไม่ทำให้เกิดความสอดคล้องในเรื่อง \"การสำรวจความเสียหายทางจิตใจของแบทแมน\" ทางด้านเดวิด เดนบี นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอเมริกันประจำนิตยสารเดอะนิวยอร์กเกอร์ ก็กล่าวต่างจากเบราร์ดิเนลลีและทูแรนว่า เขาไม่พอใจภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับภาพยนตร์แบทแมนของเบอร์ตัน การแสดงของคริสเตียน เบล ในเรื่องนี้ก็ถูกขัดขวางโดย \"บทภาพยนตร์ที่จริงจังแบบโง่ ๆ\" และไคลแมกซ์ของเรื่องก็ \"ต่ำชั้นและไม่ตื่นเต้น\"",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#66",
"text": "แต่อย่างไรก็ดี ทิม เบอร์ตัน เอง กลับรู้สึกว่าโนแลนสามารถจับจิตวิญญาณที่แท้จริงที่ภาพยนตร์ประเภทนี้ควรจะมีในปัจจุบัน โดยเบอร์ตันได้อ้างถึงผลงานแบทแมนของตัวเองว่า \"ตอนที่ผมสร้างหนังแบทแมนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว...เป็นช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ที่มาจากหนังสือการ์ตูนมีความแตกต่างจากตอนนี้ คือคุณจะไม่สามารถดึงด้านมืดของหนังสือการ์ตูนมาอยู่ในหนังได้เลย แต่เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ด้านมืดของหนังสือการ์ตูนก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น และโนแลนก็สามารถเข้าถึงรากของหนังสือการ์ตูนแบทแมนได้เป็นอย่างดี\"",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#44",
"text": "เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือการ์ตูนแบทแมนตอนต่าง ๆ ได้แก่ \"\" เรื่องสั้นที่เล่าถึงการเดินทางทั่วโลกของบรูซ เวย์น ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดฉากที่บรูซในวัยเด็กพลัดตกลงไปในบ่อน้ำ ในช่วงแรก ๆ ของภาพยนตร์ เนื้อเรื่องของ \"\" ประพันธ์โดย เจฟ โลบ และวาดโดย ทิม เซล ก็ส่งอิทธิพลต่อโกเยอร์ในการประพันธ์บทภาพยนตร์ และการออกแบบตัวละคร คาร์ไมน์ ฟัลโคนี ส่วน \"\" (\"Batman : Dark Victory\") ภาคต่อของภาค \"เดอะลองฮัลโลวีน\" ก็ส่งอิทธิพลมาถึงภาพยนตร์ไม่แพ้กัน นอกจากนั้น โกเยอร์ยังได้นำรายละเอียดหลาย ๆ ส่วนจาก \"\" ของ แฟรงก์ มิลเลอร์ ทั้งโครงเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาตำรวจคอร์รัปชันที่บีบบังคับให้จ่า จิม กอร์ดอน และเมืองกอตแทมต้องการคนอย่างแบทแมนมาช่วยเหลือ, เนื้อเรื่องตอนที่บรูซหายตัวไปจากเมืองกอตแทมอย่างขาดสติ, รวมไปถึงรายละเอียดของตัวละครจิม กอร์ดอน มาใส่ไว้ในบทภาพยนตร์ด้วย",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#17",
"text": "ในการคัดเลือกผู้แสดงเป็นแบทแมนภาคนี้ ผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน ได้วางตัวนักแสดงเอาไว้จำนวนหนึ่ง เช่น บิลลี ครูดับ, เจค จิลเลนฮาล, ฮิวจ์ แดนซี, โจชัว แจ็กสัน, เอียน ไบลีย์ และซิลเลียน เมอร์ฟี เป็นต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกที่แท้จริง คือ คริสเตียน เบล โดยได้รับเลือกเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2546 เบลแสดงความสนใจที่จะเล่นบทนี้ตั้งแต่ช่วงที่ผู้กำกับภาพยนตร์ ดาร์เรน อาโรนอฟสกี วางแผนว่าจะสร้างภาพยนตร์แบทแมนตามฉบับของเขาขึ้นมา เบลรู้สึกว่าภาพยนตร์แบทแมนเรื่องก่อนหน้านั้นสนใจตัวละครแบทแมนน้อยเกินไป แต่กลับทุ่มเทความสำคัญให้กับตัวละครวายร้ายเสียมากกว่า",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#56",
"text": "ชุดค้างคาวของแบทแมนในภาคนี้ เน้นการออกแบบให้ผู้สวมใส่สะดวกในการเคลื่อนที่ ทำท่าทางในการต่อสู้ต่าง ๆ รวมถึงการก้มตัว ซึ่งต่างจากภาคก่อนหน้าที่ชุดไม่ยืดหยุ่น โค้งงอลำบาก และที่สำคัญคือ มักจะจำกัดการเคลื่อนไหวของส่วนหัวของผู้ใส่ การออกแบบชุดในภาคนี้ เป็นหน้าที่ของ ลินดี เฮมมิง และทีมงานฝ่ายออกแบบเครื่องแต่งกายของเธอ พวกเธอออกแบบชุดค้างคาวในสถานที่ทำงานที่มีรหัสว่า \"เคปทาวน์\" โดยตั้งอยู่ในสตูดิโอเชปเพอร์ตัน กรุงลอนดอน ในขั้นแรกนั้น ชุดแบทแมนถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้ยางเทียมเป็นวัตถุดิบ และนำไปขึ้นรูปโดยการหล่อแบบครีมลาเทกซ์ โดยทีมงานได้ไปหล่อแบบจากร่างกายของคริสเตียน เบล โดยตรง เมื่อขึ้นรูปชุดแล้วจึงมาแกะสลักร่วมกับดินน้ำมันและนำแพลสทิลีนมาเกลี่ยพื้นผิวให้เรียบ นอกจากนั้นแล้ว ทีมงานยังได้ทดลองผสมโฟมที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน เพื่อหาส่วนผสมที่มีความยืดหยุ่น เบา ทนทาน และมีสีดำที่สุด เพื่อนำมาสร้างชุด แต่การทดลองนั้นก็เกิดปัญหา เมื่อส่วนผสมที่ทำให้โฟมเป็นสีดำกลับไปลดความทนทานของมัน ส่วนผ้าคลุมที่ติดอยู่กับชุดนั้น ผู้กำกับภาพยนตร์ คริสโตเฟอร์ โนแลน ต้องการให้มันสามารถ \"พริ้วไหวได้เหมือนภาพในหนังสือการ์ตูนแบทแมนชั้นเยี่ยมหลาย ๆ เรื่อง\" โดยทางเฮมมิงได้เลือกใช้เส้นใยไนลอนที่ใช้ทำร่มชูชีพ สามารถหดตัวได้เมื่อเกิดไฟฟ้าสถิตย์ และมีโอกาสถูกตรวจจับในที่มืดได้น้อย มาเป็นวัตถุดิบในการสร้าง ซึ่งในขั้นตอนการสร้างนั้น ทางทีมงานได้รับความร่วมมือจากทางกระทรวงกลาโหมอังกฤษด้วย",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#10",
"text": "วันหนึ่ง ขณะที่บรูซ เวย์น ในคราบแบทแมนกำลังออกสืบสวนหายาที่ \"ผิดปกติ\" อยู่นั้น เขาก็ถูกพ่นสารเคมีหลอนประสาทที่มีฤทธิ์รุนแรงใส่ โดยนักจิตเภสัชวิทยาที่ชื่อ ดร. โจนาทาน เครน (ซิลเลียน เมอร์ฟี) ฤทธิ์ยาทำให้เขาประสาทหลอน แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจาก อัลเฟรด เพนนีเวิร์ท (ไมเคิล เคน) หัวหน้าคนรับใช้ประจำตระกูล ด้วยยาแก้พิษที่พัฒนาโดยฟอกซ์",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "185563#2",
"text": "ที่มาของภาพยนตร์เรื่องนี้ มาจากความคิดของคริสโตเฟอร์ โนแลน และเดวิด เอส. โกเยอร์ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์) ที่มาร่วมงานกันเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ซึ่งภาคนี้ถือเป็นภาพยนตร์แบทแมนเรื่องแรก หลังจากที่ภาค \"แบทแมนแอนด์โรบิน\" (\"Batman & Robin\") เมื่อ พ.ศ. 2540 ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบและประสบความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ โดยในภาคนี้ เขาทั้งสองคนได้ดัดแปลงให้มีโทนสีมืดและมีความสมจริงของเนื้อเรื่องมากกว่าที่ภาคที่ผ่านมา",
"title": "แบทแมน บีกินส์"
},
{
"docid": "610350#0",
"text": "แบทแมน (เทอร์เรนซ์ \"เทอร์รี\" แม็คกินนิส) เป็นตัวละครที่ปรากฏในดีซีคอมิกส์ เป็นตัวเอกของภาพยนตร์ซีรีส์ชุด แบทแมน บียอนด์ (1999–2001) ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จจากการช่วยเหลือของบรูซ เวย์น ในการเป็นผู้พิทักษ์ของเมืองก็อธแฮม และเป็นบุตรชายของเขา ให้เสียงพาทย์โดย Will Friedle เขาปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนเรื่อง \"Batman\" ฉบับที่ 700 (มิถุนายน 2010)",
"title": "แบทแมน (เทอร์รี แม็คกินนิส)"
}
] |
1700 | ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หมายถึงอะไร ? | [
{
"docid": "267041#0",
"text": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะก็ดี ทรงพระประชวรก็ดี ทรงไม่อาจบริหารพระราชกิจได้ก็ดี หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศก็ดี ในสมัยราชวงศ์จักรีเริ่มมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์",
"title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "927400#0",
"text": "ในปัจจุบัน ผู้สำเร็จราชการ หรือ ข้าหลวงใหญ่ () บางแห่งเรียกว่าข้าหลวงต่างพระองค์ (ในอดีตภาษาไทยใช้ว่า เกาวนาเยเนราล) หมายถึง ผู้แทนพระองค์พระประมุขแห่งรัฐเอกราชรัฐหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองรัฐเอกราชอีกรัฐหนึ่ง ในอดีตตำแหน่งนี้ใช้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีก็ได้ เช่น ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนของฝรั่งเศส",
"title": "ผู้สำเร็จราชการ"
},
{
"docid": "174845#68",
"text": "๑. ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน \nตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นตำแหน่งสูงสุดในแผ่นดินที่บริหารราชการในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ในพระนคร เป็นตำแหน่งที่เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีในรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๗ รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙",
"title": "สกุลบุนนาค"
},
{
"docid": "52192#0",
"text": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน () เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือทรงพระประชวร หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศ หรือทรงบริหารพระราชกิจไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม",
"title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"
}
] | [
{
"docid": "56714#28",
"text": "การทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อพระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระเยาว์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน ๆ ในประวัติศาสตร์ แต่ก่อนนั้นพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้วจึงเสด็จออกท้องพระโรงแล้วมีรับสั่งเอง แต่การทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในครั้งนี้อำนาจเด็จขาดทั้งหมดอยู่ที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงต้องคิดวิธีว่าราชการบ้านเมืองในหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติสืบต่อไป ดังนั้น ในการจัดระเบียบราชการครั้งนี้จึงอาศัยแนวคิด 2 ประการ คือ ประการแรก การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมืองนั้น ไม่ได้เอาอำนาจไว้แต่ในตัวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น แต่เป็นไปด้วยการปรึกษาหารือพร้อมเพรียงกันของข้าราชการผู้ชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารซึ่งจะมีการประชุมกัน ณ หอวรสภาภิรมย์ ภายในพระบรมมหาราชวัง ประการที่สอง คือ การฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้เอง",
"title": "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)"
},
{
"docid": "781196#4",
"text": "2.มีบทบาทในฐานะผู้อภิบาลและผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์กัมพูชา หมายถึงการได้รับมอบหมายจากรัชกาลที่ 1 ให้ทำหน้าที่ดูแลอภิบาลนักองค์เองในตำแหน่งกษัตริย์แห่งกัมพูชา ดังปรากฏหลักฐานว่า “...ออกญาวัง ชื่อ ปก ซึ่งเปนพระบิดาเลี้ยงนั้น เลื่อนขึ้นเปนออกญากะลาโหม อยู่เฝ้ารักษาพระองค์พระบาทบรมบพิตร พระองค์เอง...” รวมทั้งเมื่อเจริญวัยสมควรได้รับการให้เสด็จกลับไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองเขมรยังให้ออกญากลาโหม (ปก) “..ทรงอภิเษก..พระองค์เอง...เป็นพระบาทสมเด็จพระนารายน์ราชาธิราช...แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ออกญากลาโหม ปก เปนเจ้าฟ้าทะละหะ...” จนกระทั่งสิ้นรัชกาล พร้อมยังเป็น “ผู้สำเร็จราชการแทน” ในตำแหน่ง “เจ้าฟ้าทะละ” ที่ทำหน้าเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินเขมร ดูแลทำนุบำรุงโอรสธิดาของนักองค์เอง เจริญเติบโตพอสมควรแก่วัยที่จะสามารถปกครองบ้านเมืองได้ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2349 รวมระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2340-2349) เจ้าฟ้าทะละหะ (ปก) ก็พานักองค์จันทร์ ซึ่งในขณะนั้น ทรงมีอายุ 16 ชันษาแล้ว การเจริญพระชันษาเติบโตของ",
"title": "เจ้าฟ้าทะละหะ (ปก)"
},
{
"docid": "2274#15",
"text": "ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า \"อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถ และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถ\" อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร",
"title": "ประเทศออสเตรเลีย"
},
{
"docid": "744490#0",
"text": "ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย () เป็นผู้สำเร็จราชการในประเทศออสเตรเลียแทนพระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ผู้สำเร็จราชการเป็นประธานสภาบริหารส่วนกลางและเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพออสเตรเลีย งานของผู้สำเร็จราชการคือแต่งตั้งรัฐมนตรี แต่งตั้งตุลาการ แต่งตั้งผู้แทนทางทูต อนุมัติกฎหมายที่รัฐสภาเห็นชอบ ออกหมายเลือกตั้ง และมอบเครื่องอิสริยาภรณ์",
"title": "ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย"
},
{
"docid": "267041#5",
"text": "ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 16 หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น แต่ต่อมาคณะองคมนตรีพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นสมควรแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และไม่อาจกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งได้ทันการ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะ ตามลำดับที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมกำหนดไว้ก่อนแล้วให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์",
"title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "827024#0",
"text": "ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี () เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ฮังการี",
"title": "ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี"
}
] |
1455 | ใช้คลื่นอะไรในการกระจายแบบไร้สาย? | [
{
"docid": "40391#1",
"text": "เทคโนโลยีไร้สายที่พบมากที่สุดใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ ซึ่งอาจใช้ในระยะทางสั้นๆไม่กี่เมตรสำหรับโทรทัศน์ หรือไกลเป็นล้านกิโลเมตรลึกเข้าไปในอวกาศสำหรับวิทยุ การสื่อสารไร้สายรวมถึงหลากหลายชนิดของการใช้งานอยู่กับที่, เคลื่อนที่และแบบพกพา ได้แก่ วิทยุสองทาง, โทรศัพท์มือถือ, ผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว (personal digital assistants หรือ PDAs) และเครือข่ายไร้สาย ตัวอย่างอื่น ๆ ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิทยุไร้สายรวมถึง GPS, รีโมตประตูโรงรถ เม้าส์คอมพิวเตอร์ไร้สาย, แป้นพิมพ์และชุดหูฟังไร้สาย, หูฟังไร้สาย, เครื่องรับวิทยุไร้สาย, โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไร้สาย, เครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไปและโทรศัพท์บ้านไร้สาย",
"title": "การสื่อสารไร้สาย"
},
{
"docid": "42409#0",
"text": "แลนไร้สาย () หรือ WLAN คือ เทคโนโลยีที่เชื่อมอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการกระจายแบบไร้สาย (ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้คลื่นวิทยุแบบกระจายความถี่ หรือ OFDM() และโดยปกติแล้ว จะมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Access Point (AP) เพื่อเข้าไปยังโลกอินเทอร์เน็ต แลนไร้สายทำให้ผู้ใช้สามารถนำพาหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปยังพื้นที่ใดก็ได้ที่มีสัญญาณของแลนไร้สาย และยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ตามปกติ WLANs ที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานมาจากมาตรฐาน IEEE 802.11 ที่ถูกวางตลาดภายใต้ชื่อแบรนด์ Wi-Fi. ครั้งหนึ่ง WLANs เคยถูกเรียกว่า LAWN (local area wireless network) โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ",
"title": "แลนไร้สาย"
}
] | [
{
"docid": "26787#23",
"text": "เพื่อเข้าถึงความต้องการสำหรับการใช้งานเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi จึงมีการใช้พลังงานค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานอื่น ๆ เทคโนโลยีเช่นบลูทูธ (ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน PAN แบบไร้สาย) ให้พิสัยการกระจายคลื่นที่สั้นมาก ระหว่าง 1 ถึง 100 เมตร และโดยทั่วไปก็มีการใช้พลังงานที่ต่ำกว่า เทคโนโลยีพลังงานต่ำอื่น ๆ เช่น ZigBee มีพิสัยค่อนข้างไกล แต่อัตรารับส่งข้อมูลต่ำกว่ามาก การใช้พลังงานที่สูงของ Wi-Fi ทำให้แบตเตอรี่ใน โทรศัพท์มือถือน่าเป็นห่วง",
"title": "ไวไฟ"
},
{
"docid": "228649#14",
"text": "คลื่นวิทยุ: สายอากาศ\n1. ตัวนำโลหะ ซึ่งมักจะเป็นแบบใดแบบหนึ่งของความยาวลวดหรือท่อกลวง ตัวนำ ที่จะใช้สำหรับสายอากาศจะต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำนั้นได้ \n2. สายอากาศของเครื่องส่ง กระแสไฟฟ้าจะสร้างคลื่นวิทยุแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นนี้จะประกอบไปด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ซึ่งเคลื่อนที่ไปในอากาศจากสายอากาศ \n3. สายอากาศของเครื่องรับคลื่นวิทยุจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ในสายอากาศ ซึ่งกระแสไฟฟ้านี้จะเป็นสัญญาณเข้าของเครื่องรับ\n4. วิทยุ ความถี่ประชาชน (CB) ต่างก็ใช้สายอากาศสำหรับรับ – ส่งเหมือนกัน\n5. สายนำสัญญาณ จะต่อกับสายอากาศ ภายในสายนำสัญญาณจะประกอบด้วยตัวนำลวดคู่ วางใน ช่องว่างระหว่างกันคงที่ หน้าที่ของสายนำสัญญาณคือ การนำกระแสไฟฟ้าโดยปราศจากการแผ่คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "2937#15",
"text": "เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi",
"title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์"
},
{
"docid": "272504#9",
"text": "การทำงานแบบนี้จะมีทั้งเซ็นเซอร์แม่เหล็กไฟฟ้า เซ็นเซอร์ชีวภาพ และเซ็นเซอร์เคมี แบบที่เป็นเซอร์แม่เหล็กไฟฟ้าจะใช้ทั้งกล้องสเปคตรัมภาพ อินฟราเรด หรือสิ่งที่คล้ายอินฟราเรดเช่นเดียวกับเรดาร์ ตัวตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างเซ็นเซอร์ไมโครเวฟและอัลตร้าไวโอเล็ตนั้นก็กใช้เช่นกัน แต่ไม่มากนัก เซ็นเซอร์ชีวภาพนั้นสามารถตรวจจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือองค์ประกอบทางชีวิภาพที่ลอยมากทางอากาศได้ เซ็นเซอร์เคมีนั้นจะใช้เลเซอร์เพื่อประเมินส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ",
"title": "อากาศยานไร้คนขับ"
},
{
"docid": "10098#8",
"text": "ในยุคปัจจุบันที่ โครงข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย () นั้นเริ่มได้รับความนิยมกว้างขวางขึ้น ปัญหาของการรบกวนจากคลื่นของเตาอบไมโครเวฟนั้นก็เริ่มเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เตาอบไมโครเวฟนั้นสามารถกวนการติดต่อสื่อสารของโครงข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สายได้เนื่องจาก เตาอบไมโครเวฟนั้นผลิตคลื่นไมโครเวฟในย่านความถี่ 2450 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่เดียวกับที่ใช้ในโครงข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย ดังนั้นเตาอบไมโครเวฟจึงอาจรบกวนสัญญาณของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สายได้",
"title": "เตาอบไมโครเวฟ"
},
{
"docid": "42409#21",
"text": "ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตรฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b, g n, ac และ ad ซึ่งแต่ละมาตรฐานใช้กำหนดความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ตัวอย่างเช่นในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ความถี่ 2 ย่านความถี่ ได้แก่ (2194-2495) MHz และ (5060-5450) MHz ส่วน (5470-5850) MHz เป็นคลื่นความถี่อนุญาตให้ใช้เสรีในระดับสากลสำหรับ Industrial, Science และ Medicine (ISM band) ที่ประเทศไทยไม่ได้กำหนดให้ใช้",
"title": "แลนไร้สาย"
},
{
"docid": "137600#1",
"text": "คลื่น MMDS ใช้ความถี่ของไมโครเวฟ ระยะตั้งแต่ 2-3 กิกะเฮิร์ตซ์ การรับสัญญาณคลื่นโทรทัศน์ ทำได้โดยใช้เสาไมโครเวฟแบบพิเศษ ที่ติดอยู่บนหลังคา แล้วโยงเข้ากับกล่องรับสัญญาณ สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับกล่องรับสัญญาณเคเบิลระบบอนาล็อก เช่นเดียวกับโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก",
"title": "บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง"
},
{
"docid": "723801#1",
"text": "การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองมักจะถูกใช้เพื่อวินิจฉัยโรคลมชักโดยการอ่านคลื่นสัญญาณสมองสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยหาอาการนอนหลับไม่ปกติ โคม่า โรคสมอง และภาวะสมองตายได้ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองเป็นวิธีการแรกในการเนื้องอกในสมองและโรคหลอดเลือดสมองรวมถึงการทำงานของสมองที่ผิดปกติอื่นๆ แต่โรคเหล่านี้มักจะต้องตรวจซ้ำด้วยเครื่องมือที่แม่นยำกว่า เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ แม้การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองจะให้ข้อมูลไม่ละเอียดในเชิงพื้นที่ แต่ความละเอียดด้านเวลาก็ทำให้วิธีการนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการวิจัยและวินิจฉัยบางชนิด โดยเฉพาะการศึกษาที่ต้องใช้ความละเอียดของเวลาระดับมิลลิวินาที",
"title": "การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง"
}
] |
1023 | ยาซูโอะ ฟูกูดะ เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "118299#0",
"text": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ () (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2479) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 91 ของประเทศญี่ปุ่น[1] และเป็นอดีตประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party หรือ LDP) ซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น[2]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
}
] | [
{
"docid": "118299#19",
"text": "ในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีการออกเสียงทั้งหมด 477 เสียง (นับรวมเสียงที่เป็นโมฆะด้วย 1 เสียง) นายฟูกูดะชนะการลงคะแนนโดยนับจากเสียงข้างมากจึงได้รับการเสนอชื่อจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเขาได้คะแนนเสียง 338 คะแนนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเสรีประชาธิปไตยและพรรคโคเมซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ในขณะทีนายโอซาวะได้ 117 คะแนน นายชิอิได้ 9 คะแนน นายฟูกูชิมะได้ 7 คะแนน และนายวาตานูกิได้ 5 คะแนน",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#17",
"text": "คะแนนเสียงรวมทั้งสิ้นคือ 528 คะแนน (นับรวมบัตรเสียหนึ่งใบ) โดยสามารถแบ่งได้เป็นคะแนนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคฯ 304 คะแนน คะแนนจากสมาชิกวุฒิสภาในสังกัดพรรคฯ 83 คะแนน และอีก 141 คะแนนจากสาขาพรรคฯในจังหวัดทั้ง 47 จังหวัด",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#5",
"text": "นายฟูกูดะได้ทำงานเป็นหัวหน้าเลขานุการของบิดา ในช่วงที่บิดาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ถึงปีพ.ศ. 2521 และเป็นเลขานุการส่วนตัวในช่วงที่บิดาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาต่อมา ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 ถึงปีพ.ศ. 2532",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#13",
"text": "นายฟูกูชิโร นูกางะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งก่อนหน้านี้ได้แสดงท่าที่ว่าสนใจจะลงชิงตำแหน่งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย ได้ประกาศเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550 หลังจากหารือกับนายฟูกูดะว่าตนจะไม่ลงชิงตำแหน่งดังกล่าว และประกาศจะสนับสนุนนายฟูกูดะแทน โดยคู่แข่งคนสำคัญคนเดียวของนายฟูกูดะคือนายอาโซ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศที่ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ไม่นานก่อนนายอาเบะจะประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคฯและนายกรัฐมนตรี",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#2",
"text": "นายฟูกูดะเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองญี่ปุ่น โดยได้อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาทั้งสิ้น 1,289 วันทั้งในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโยชิโร โมริ และนายกรัฐมนตรีจุนอิจิโร โคอิซูมิ[4]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#25",
"text": "นายฟูกูดะมีนโยบายพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งต่างจากนายอาโซที่มีท่าทีที่แข็งกร้าวมากกว่าต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยนายอาโซเคยกล่าวว่าจีนกำลังจะเป็น “ภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวง” ต่อญี่ปุ่น",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#11",
"text": "ภายหลังจากนายชินโซ อาเบะได้ประกาศเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550 ว่าจะลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายฟูกูดะได้ประกาศเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550 ว่าจะลงชิงชัยในตำแหน่งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย ถ้าหากเขาได้เป็นประธานพรรคฯ นายฟูกูดะก็จะได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคเสรีประชาธิปไตยและพรรคโคเมซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรร่วมรัฐบาลกุมเสียงข้างมากอยู่ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#8",
"text": "ในช่วงต้นถึงกลางปีพ.ศ. 2549 ชาวญี่ปุ่นต่างพากันจับตานายฟูกูดะในฐานะหนึ่งในผู้ที่สามารถจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยและนายกรัฐมนตรีต่อจากนายโคอิซูมิ แต่เขาได้ประกาศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ว่าจะไม่ขอรับการเสนอชื่อให้เข้าชิงตำแหน่งดังกล่าว ในเวลาต่อมา นายชินโซ อาเบะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย และได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 90 ต่อจากนายโคอิซูมิ ในวันที่ 20 กันยายน และ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามลำดับ",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#30",
"text": "หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น หมวดหมู่:นักการเมืองญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดกุมมะ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮเซ หมวดหมู่:ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#21",
"text": "เนื่องจากบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากมติของทั้งสองสภานั้นไม่ใช่บุคคลเดียวกัน ทั้งสองสภาจึงต้องจัดให้มีคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างทั้งสองสภาเพื่อหามติร่วมว่าจะเลือกนายฟูกูดะหรือนายโอซะวะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่คณะกรรมาธิการร่วมดังกล่าวก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ฉะนั้น กระบวนการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีจึงต้องอาศัยอำนาจตามมาตราที่ 67 ของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นที่ให้ถือมติของสภาผู้แทนราษฎรเป็นมติของรัฐสภาในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากมติของทั้งสองสภานั้นไม่ใช่บุคคลเดียวกัน และกรรมาธิการร่วมฯก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ด้วยเหตุนี้ นายฟูกูดะซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากมติของสภาผู้แทนราษฎรจึงได้รับการคัดเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี[8][9]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#22",
"text": "นายฟูกูดะและคณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระจักรพรรดิในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยสมเด็จพระจักรพรรดิได้โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายฟูกูดะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการในวันเดียวกันนั้น[10]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#23",
"text": "ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 นายฟูกูดะได้แถลงว่าจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและตำแหน่งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยอย่างกะทันหันเมื่อเวลา 21.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยให้เหตุผลหลักว่าโครงสร้างอำนาจการเมืองในรัฐสภาในปัจจุบันทำให้เขาและคณะรัฐมนตรีไม่สามารถทำให้เขาดำเนินนโยบายบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาได้ย้ำว่าเหตุผลในการลาออกของเขานั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเหตุผลในการลาออกของนายอาเบะผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนหน้าเขา อนึ่ง การลาออกของเขามีขึ้นก่อนสมัยประชุมรัฐสภาที่จะพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญต่างๆจะเริ่มขึ้นในวันที่ 12 กันยายน",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#16",
"text": "ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550 นายฟูกูดะชนะนายอาโซในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยที่มีขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของพรรคฯในกรุงโตเกียว โดยนายฟูกูดะได้คะแนนเสียงทั้งสิ้น 330 คะแนน (254 คะแนนจากสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นสมาชิกรัฐสภา และ 76 คะแนนจากสาขาพรรค) ในขณะที่นายอาโซได้ 197 คะแนน (132 คะแนนจากสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นสมาชิกรัฐสภา และ 65 คะแนนจากสาขาพรรค)",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#3",
"text": "นายฟูกูดะเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่นคนแรกที่บิดาเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นกัน[5] นอกจากนั้น ในวัย 71 ปี นายฟูกูดะเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดที่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่นายคิอิจิ มิยาซาวะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 78 ในขณะที่เขามีอายุได้ 72 ปีเมื่อปีพ.ศ. 2534[6]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#15",
"text": "สำนักงานพรรคเสรีประชาธิปไตยได้เปิดรับใบสมัครลงชิงตำแหน่งประธานพรรคฯในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 และการลงคะแนนเสียงได้มีขึ้นในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตยทุกคนจะมีคะแนนเสียงคนละหนึ่งคะแนน ในขณะที่สาขาพรรคในแต่ละจังหวัดจะมีคะแนนเสียงสาขาละ 3 คะแนน",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#12",
"text": "นายฟูกูดะได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกลุ่มของสมาชิกรัฐสภาที่สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นจำนวนถึงแปดในเก้ากลุ่ม โดยเฉพาะจากกลุ่มที่เขาสังกัดอยู่ ซึ่งนำโดยนายโนบูตากะ มาชิมูระรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน (กลุ่มนี้มีชื่อเป็นทางการว่าเซวะ เซซากุ เค็งกิวไก เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร มีแนวทางอนุรักษนิยมและนิยมแนวคิดของเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก นายทาเกโอะ ฟูกูดะก่อตั้งกลุ่มนี้ในปีพ.ศ. 2505 ผู้นำกลุ่มคนก่อนรวมถึงนายโมริและนายชินตาโร อาเบะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บิดาของนายชินโซ อาเบะ) นายฟูกูดะได้กล่าวกับที่ประชุมกลุ่มที่เขาสังกัดอยู่เมื่อวันที่14 กันยายน พ.ศ. 2550 ว่า “หากมันเป็นสถานการณ์ปรกติแล้ว ข้าพเจ้าคงจะไม่ลงสมัคร แต่[เวลานี้]ข้าพเจ้าจำต้องทำ เพราะว่าเวลานี้ไม่ใช่สถานการณ์ปรกติ เรากำลังเผชิญอยู่กับสถานการณ์ฉุกเฉิน” โดยที่ก่อนหน้านั้น เขาได้ใช้เวลาไปกับการหารือกับหัวหน้ากลุ่มต่างๆในพรรคฯ เพื่อหาเสียงสนับสนุนและกำหนดประเด็นเชิงนโยบายที่จะขับเคลื่อนร่วมกันในอนาคต ซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของญี่ปุ่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#10",
"text": "โดยในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550 นายฟูกูดะได้เปิดเผยว่าเขาตัดสินใจไม่ลงชิงตำแหน่งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย ในปีพ.ศ. 2549 เพราะเขาไม่อยากให้ประเด็นการเยือนศาลเจ้ายาซูกูนิมาเป็นจุดสำคัญในการเลือกตั้งประธานพรรคฯ และครอบครัวของเขากับครอบครัวของนายอาเบะเองก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากว่าสามชั่วคนแล้ว[7]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#4",
"text": "นายฟูกูดะเกิดที่เมืองทากาซากิ จังหวัดกุมมะ เขาเป็นบุตรชายคนโตของนายทาเกโอะ ฟูกูดะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 67 ของประเทศญี่ปุ่น เขาศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอาซาบุ และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะในปีพ.ศ. 2502 หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว นายฟูกูดะได้เข้าทำงานที่บริษัทมารุเซ็งปิโตรเลียม เขาได้เติบโตในหน้าที่การงานจนได้เป็นหัวหน้าฝ่ายและทำงานที่บริษัทแห่งนี้จนถึงปีพ.ศ. 2518",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#1",
"text": "นายฟูกูดะและคณะรัฐมนตรีของเขาเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 ภายหลังจากนายฟูกูดะได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งจากสมเด็จพระจักรพรรดิในวันเดียวกันนั้น[1]ซึ่งตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามการเสนอชื่อของรัฐสภา[3]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#9",
"text": "ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนประการหนึ่งของนายฟูกูดะคือการที่นายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่นจะต้องไม่ไปสักการะดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตในสงครามที่ศาลเจ้ายาซูกูนิซึ่งเป็นศาลเจ้าในศาสนาชินโตในเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2549 เขาได้ร่วมกับสมาชิกรัฐสภาอีก 134 คน ในการยื่นข้อเสนอให้จัดตั้งอนุสรณ์สถานซึ่งไม่มีความเกี่ยวพันกับศาสนาเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงคราม โดยให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะได้ไม่เกิดความเสี่ยงต่อการละเมิดรัฐธรรมนูญที่ได้แบ่งแยกศาสนจักรและอาณาจักรออกจากกันอย่างชัดเจน",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#6",
"text": "นายฟูกูดะได้ลงสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคเสรีประชาธิปไตยในเขตเลือกตั้งจังหวัดกุมมะ เขตที่สี่ ในปีพ.ศ. 2533 และได้รับชัยชนะ โดยเขาได้เป็นสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขตนั้นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เขาได้รับเลือกให้เป็นรองผู้อำนวยการสำนักกิจการระหว่างประเทศของพรรคเสรีประชาธิปไตยในปีแรกของการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายฟูกูดะยังได้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการต่างๆ เช่น ด้านการต่างประเทศ การเงิน และงบประมาณ ฯลฯ ทั้งในพรรคเสรีประชาธิปไตยเอง และในสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้น เขายังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงปลายปีพ.ศ. 2538 และตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตยในช่วงปีพ.ศ. 2540 จนถึงปีพ.ศ. 2541",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#7",
"text": "นายฟูกูดะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีชุดที่สองของนายกรัฐมนตรีโยชิโร โมริตั้งแต่เดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2543 จนกระทั่งนายโมริพ้นจากตำแหน่งในเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2544 เมื่อนายจุนอิจิโร โคอิซูมิได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยและนายกรัฐมนตรีในเดือนเมษายนนั้น นายฟูกูดะก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อไป เขาลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ภายหลังจากยอมรับว่าเคยไม่ได้จ่ายเงินในส่วนของตนเข้าระบบเงินบำนาญสาธารณะ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าเหตุผลที่ทำให้เขาลาออกอย่างฉับพลันคือความขัดแย้งที่เขามีกับนายกรัฐมนตรีโคอิซูมิ นอกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว นายฟูกูดะยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาโอกินาวาตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2543 และตำแหน่งรัฐมนตรีกำกับดูแลความเสมอภาคทางเพศ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#24",
"text": "นายฟูกูดะพร้อมคณะรัฐมนตรีของเขาได้ลาออกจากตำแหน่งพร้อมกันในวันที่ 24 กันยายน เพื่อเปิดทางให้รัฐสภาได้ลงคะแนนเสียงเลือกนายกรํฐมนตรีคนใหม่ในวันเดียวกันนั้นเอง",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#29",
"text": "นายฟูกูดะได้สมรสกับนางสาวคิโยโกะ ยาซูดะ โดยมีบุตรชายสองคนและบุตรสาวหนึ่งคน",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#27",
"text": "ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2548 เป็นต้นมา นายฟูกูดะได้ดำรงตำแหน่งประธานองค์การสมาชิกรัฐสภาแห่งเอเชียด้านประชากรและการพัฒนา (Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development หรือ AFPPD)[11] ซึ่งมีสำนักงานเลขาธิการอยู่ที่กรุงเทพมหานคร นายฟูกูดะได้ทำหน้าที่ในการเดินทางไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาคเพื่อเป็นประธานในการประชุมสมาชิกรัฐสภาในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชากรและการพัฒนา",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#26",
"text": "เขายังได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศว่าเป็นผู้นำในการให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาประชากรและการพัฒนาในหมู่นักการเมืองและผู้กำหนดนโยบาย",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#20",
"text": "ในขณะที่ในวุฒิสภาซึ่งมีการออกเสียงทั้งหมด 240 เสียง (นับรวมเสียงที่เป็นโมฆะด้วย 1 เสียง) นายฟูกูดะไม่ได้ชนะการลงคะแนนจึงไม่ได้รับการเสนอชื่อจากวุฒิสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายโอซาวะซึ่งเป็นหัวหน้าของพรรคที่ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาได้รับชัยชนะในการลงคะแนนโดยนับจากเสียงข้างมากจึงได้รับการเสนอชื่อจากวุฒิสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงคะแนนเสียงรอบแรก ไม่มีผู้ใดได้เสียงข้างมาก โดยนายโอซะวะได้คะแนนเสียง 117 คะแนน ในขณะที่นายฟูกูดะได้ 106 คะแนน นายชิอิได้ 7 คะแนน นายฟูกูชิมะได้ 5 คะแนน และนายวาตานูกิได้ 4 คะแนน จึงต้องลงคะแนนใหม่อีกครั้ง การลงคะแนนเสียงรอบสองนี้คัดเอาเฉพาะผู้มีคะแนนสูงสุดสองคนในรอบแรก ได้แก่ นายโอซาวะและนายฟูกูดะ โดยสมาชิกวุฒิสภาที่ได้ลงคะแนนสนับสนุนนายชิอิ นายฟูกูชิมะ และนายวาตานูกิในรอบแรกต่างก็ได้เทคะแนนสนับสนุนนายโอซาวะทำให้นายโอซาวะได้เสียงข้างมากไป โดยนายโอซาวะได้ 133 คะแนน ในขณะที่นายฟูกูดะได้ 106 คะแนนเท่าเดิม",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#18",
"text": "นายฟูกูดะซึ่งเป็นผู้นำของพรรคที่กุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 91 ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550[8] โดยมีบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับนายฟูกูดะอีก 4 คน ได้แก่นายอิจิโร โอซาวะ ประธานพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่นซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายคาซูโอะ ชิอิซึ่งเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น นายมิซูโฮะ ฟูกูชิมะประธานพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม และนายทามิซูเกะ วาตานูกิประธานพรรคโคกูมินชินโต",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
},
{
"docid": "118299#28",
"text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการตามโครงการปฏิบัติการของ การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (IPCI/ICPD) ครั้งที่ 3 ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้นายฟูกูดะในฐานะประธานองค์การสมาชิกรัฐสภาแห่งเอเชียด้านประชากรและการพัฒนาและประธานดำเนินการในการประชุมเฝ้าฯด้วย[12]",
"title": "ยาซูโอะ ฟูกูดะ"
}
] |
3022 | นบีมุฮัมมัด ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลาย เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมัดใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "16724#0",
"text": "นบีมุฮัมมัด[1] หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด ฟัง (Arabic: محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) (22 เมษายน ค.ศ.571[2][3] - 8 มิถุนายน ค.ศ.632) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมัด",
"title": "มุฮัมมัด"
}
] | [
{
"docid": "44252#3",
"text": "ฮะซัน นัศรุลลอหฺ พำนักอยู่ในเบรุตกับภรรยาชื่อ ฟาฏิมะหฺ ยาซีน และบุตรธิดา 5 คน บุตรชายคนโตคือมุฮัมมัด ฮาดี ถูกทหารอิสราเอลสังหารวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2540 ขณะนั้นมีอายุเพียง 18 ปี และเก็บศพเป็นตัวประกัน อิสราเอลส่งศพของมุฮัมมัด ฮาดีคืนให้แก่นัศรุลลอหฺ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2541 พร้อมด้วยตัวประกันอื่น ๆ รวม 40 คนโดยแลกกับตัวประกันอิสราเอล",
"title": "นัศรุลลอหฺ"
},
{
"docid": "942079#7",
"text": "อบูอามิร เอาซีย์ ผู้ลี้ภัยสู่เมืองมักกะฮ์เป็นบุคคลแรกที่เริ่มเข้าสู่สนามรบ ซึ่งการสู้รบเป็นไปในรูปแบบตัวต่อตัว สุหัยล์ บิน อัมร์(ทหารชาวมุสลิม) ต่อสู้กับ อบูอามิร , อะลี บิน อบีฏอลิบ(ทหารชาวมุสลิม) ต่อสู้กับ ฏออลหะฮ์ บิน อบีฏอลหะฮ์และซุบัยร์ บิน อะวาม(ทหารชาวมุสลิม) ต่อสู้กับ ซัยด์ บิน สะอาด และทหารทั้งสามท่านจากกองทัพของมุสลิมได้รับชัยชนะ. ท่านฮัมซะฮ์อาของท่านนบี(ศ็อล)ผู้เป็นจอมทัพของชาวมุสลิมถูกลอบทำร้ายในสงครามโดยวะชีย์ ผู้เป็นบ่าวรับใช้นางฮินด์. พลทหารม้าของกองทัพอบูซุฟยานก็พ่ายให้กับกองทัพมุสลิม จนทำให้นักรบของชาวกุเกชแห่งมักกะฮ์เกิดความกังวล และเกิดความกลัวขึ้น จนทัพแตก และสงครามมีทีท่าว่ากองทัพมุสลิมจะมีชัย จนทำให้พลธนูที่ถูกกำชับไว้ว่าห้ามละทิ้งฐานที่มั่นและให้ประจำการอยู่บนเนินเขา ต้องสละที่มั่นของตนเพื่อเร่งรีบรวบรวมทรัพย์สินสงครามจากผู้พ่ายแพ้ จนทำให้คอลิด บิน วะลีดมองเห็นถึงเหตุการณ์ของชาวมุสลิม และเล็งเห็นถึงการละทิ้งที่มั่นพลธนูของกองทัพมุสลิม จึงสั่งกองทัพม้าของตนวิ่งอ้อมเนินเขา อุฮุด และตลบหลังกองทัพมุสลิม จนกองทัพมุสลิมแตกกระเจิง และมุสลิมโดนฆ่าตายเป็นจำนวนมากในสงครามนี้. เมื่ออุมะเราะฮ์ บุตรอัลกอมะฮ์ได้เห็นการจู่โจมของคอลิด จึงรีบหยิบธงกองทัพที่ตกขึ้นมา จนกองทหารกลับมาสู่การรบอีกครั้ง หนึ่งจากชาวกุเรชชื่อว่า ลีย์ษาได้ฆ่ามุศอับ บิน อุมัยร์ แต่เขาได้ตะโกนว่ามุฮัมมัดโดนสังหารแล้ว. ทำให้ชาวมุสลิมหมดกำลังใจในการต่อสู้และหาที่หลบซ้อน. สงครามครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับกองทัพมุสลิม",
"title": "ยุทธการที่อุฮุด"
},
{
"docid": "17450#2",
"text": "บรรดานักปราชญ์อิสลามชี้แจงว่า ในช่วงแรกการถือศีลอดวันอาชูรออฺ(สิบมุฮัรรอม)เป็นวาญิบ(จำเป็นต้องปฏิบัติ) เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีการใช้ให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นการถือศีลอดฟัรฎูของมุสลิม แต่หลังจากที่มีบทบัญญัติใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นฟัรฎูแล้ว ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่ได้บังคับให้ถือศีลอดในวันนี้ แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” ",
"title": "วันอาชูรออ์"
},
{
"docid": "897714#10",
"text": "ในสาระนุกรุมกุรอานกล่าวถึงพระนามและคุณลักษณะต่างๆที่ถูกกล่าวไว้อย่างไม่ชัดเจนกุรอาน ซึ่งเป็นพระนามที่ได้มาจากการกระทำของพระองค์ โดยมีเงื่อนไขว่าบรรดามะอ์ซูมได้อธิบายเอาไว้ หรือมีกล่าวไว้ในตำราด้านเทววิทยา ซึ่งได้แก่:: อามิร บาดิอ์ บาสิฏ บาฏิช บาอิษ บากี บานี ญาซี ญะลีล ฮาชิรุลคอลาอิก ฮากิม ฮามิล ฮันนาน คอซิล อาฮี ดาอี ดะลีล ซาริอ์ ซากิร รออี รอฮิม รอซิก รอฎี รอมียุอัศฮาบิลฟีล ซาคิฏ ซากี ซาลิค ซาเมี้ยะอ์ ชาเรี้ยะอ์ ชาฟี ชาก ซอริฟ ฏอริบุลอัมษาล ฏอฮียุลอัรฏ์ ฏอมิสุอุยูนิลอะอ์ดาอ์ ฏอวียุสสะมาอ์ อาอิด อาดิล อาซิม อาฟี ฆุฏบาน ฟาติห์ ฟาติก ฟาดี ฟาริฎ ฟาริก ฟาซิล กออิลุลฮะซะนาน มุตตะกิน มุตะกัลลิม มุตะวัลลี มุนีต มุษับบิต มุษีบ มุญาซี มุญัลลี มุญีร มุฮาซิบ มุฮิบ มุฮับบิบ มุฮัษษิร มุฮัรริม มุห์ซิน มุห์ซี มุฮิกกุลฮัก มุห์กิม มุคตาร มุคอฟฟิฟ มุคลิศ มุเคาวิฟ มุดาเฟี้ยะอ์ มุดับบิร มุดรอก มุดัมมิร มุซิล มุซัลลิล มุซฮิบ มุรตะฏอ มุรซี มุร็อกกิบ มุรีด มุซักกี มุเซาวิญุลเฮาร์ มุซัยยิน มุซีฆ มุสตะญีบ มุสตัฆนา มุสตะวีอะลัลอัรช์ มุซัคคิร มุซัลลิฏ มุซัลลิม มุสเมี้ยะอ์ มุเซาวี มุซัยยิร มุชตะรี มุซอรริฟ มุศฏอฟา มุศลิห์ มุซีบ มุฏิล มุฏอิม มุซฟิร มุซ็อลลิล มุซฮิร มุอิด มุอัซซิบ มุอัรริฟ มุอิซ มุอ์ฏี มุอ์ซิม มุอัลลิม มุอีด มุฆริกุฟิรเอาน์ มุฆชี มุฆฏิชุลลัยล์ มุฆนี มุฟตี มุฟัจจิร มุฟัศศิล มุฟัฏฏิล มุฟะฮ์ฮิม มุกดิร มุก็อดดิร มุก็อดดิม มุกิร มุก็อรริบ มุกสิฏ มุก็อฏเฏี้ยะอ์ มุก็อลลิบ มุกนี มุกัตติร มุกริม มุกัรริม มุกัฟฟิรุสซัยยิอาต มุกมิลุดดิีน มุเกาวิร มุลซิม มุลกี มุลฮิม มุลัยยินุลฮะดีด มุมัตเตียะอ์ มุมะห์ฮิศ มุมสิก มุมักกิน มุมะฮ์ฮิด มุมีต มุนาดา มันนาน มุนีต มุนญี มุนชิร มุตฏิก มุนอิม มุนกิษ มุนกิส มุฮี มูเสี้ยะอ์ มุวัฟฟัก มูฟี มูลิจ มุฮีน มุยัสสิร มุอ์ตี มุอัคคิร มุอัลลิฟ นาเซี้ยะอ์ นาสิฟุลญิบาล นาชิร นาซิร นาฟิค นาฮี วาญิด วาเฏี้ยะอ์ วาฮิบ",
"title": "พระนามของพระเจ้าในอิสลาม"
},
{
"docid": "942079#4",
"text": "ท่านอับบาสบุตรชายของอับดุลมุฏฏอลิบ ซึ่งเป็นอาของนบีมุฮัมหมัด(ศ็อล) ได้เขียนจดหมายถึงความพร้อมของกองทัพกุเรชที่จะทำสงครามกับชาวมุสลิมแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ็อล) และอุบัย บิน กะอ์บฺได้มอบจดหมายดังกล่าวแก่ท่านนบี(ศ็อล) ณ มัสญิดนะบะวีย์.",
"title": "ยุทธการที่อุฮุด"
},
{
"docid": "894450#9",
"text": "ในปี ฮ.ศ. ที่ ๑๓๕๓ ท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี (มุจตะฮิดท่านหนึ่งของนิกายชีอะฮ์) ได้ส่งซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์มอบแด่ ท่านอัลลามะฮ์ เญาฮารี ฏอนฏอวี (นักวิชาการชาวซุนนะฮ์ และ เจ้าของหนังสือตัฟซีรที่โด่งดัง “ อัลญะวาฮิร ฟี ตัฟซีร อัล กุรอาน”) ณ. กรุงไคโร ภายหลังจากที่ท่านอัลลามะฮ์ เญาฮารีได้รับตำราดังกล่าว ท่านได้ขอบคุณเนื่องด้วยของขวัญอันล้ำค่า และได้เขียนจดหมายตอบว่า ท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี ได้ตอบจดหมายของท่านอัลลอมะฮ์ ฏอนฏอวี พร้อมกับส่งหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อการอรรถาธิบาย ซอฮีฟะฮ์จำนวนหนึ่งรวมทั้งหนังสือ “ริยาฎ อัสซาลิกีน” ซึ่งทำให้ท่านอัลลามะฮ์ ฏอนฏอวี รู้สึกปิติยินดีมากและตอบจดหมายของท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี อีกครั้งว่า พร้อมที่จะเขียนอรรถาธิบายต่อตำราฉบับนี้”\n๑. ซอฮีฟะฮ์ สัจญาอียะฮ์ ห้องหนังสือ ฏอฮูรอ",
"title": "ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์"
},
{
"docid": "144920#18",
"text": "หลังจากสมัยของนบีมูซาแล้ว พวกอิสรออีลต้องเดินทางระหกเหินและไม่สามารถรวมตัวเป็นชาติทีเข้มแข็งได้ ดังนั้น ชาวอิสรออีลจึงต้องถูกชาวอื่นรุกรานและกดขี่ข่มเหงมาตลอด ในสมัยนั้น ดาวูดเป็นเด็กคนหนึ่งที่เกิดในเชื้อสายของอิสรออีลและเป็นที่มีความกล้าหาญมาก นบีซามูเอลจึงได้แต่งตั้งชาวอิสรออีลคนหนึ่งซื่อฏอลูตขึ้นเป็นกษัตร์ย์และบอกพวกเขาว่า อัลลอฮได้ทรงแต่งตั้งฏอลูตให้เป็นกษัตริย์สำหรับพวกแล้ว นบีซามูเอลจึงได้กล่าวว่า อัลลอฮได้ทรงประทานพลังความรู้และพลังกายแก่เขาอย่างมากมายมหาศาล และอัลลอฮทรงมีอำนาจที่จะทรงประทานอาณาจักรของพระองค์แก่ใครก็ได้ ที่พระองค์ทรงประสงค์ เพราะอัลลอฮเป็นผู้ทรงรอบรู้ พวกอิสรออีลจึงได้เฝ้ารอและก็ได้พบหีบใบนั้นจริงๆ ชาวอิสรออีลจึงมีความเชื่อมั่นว่าพระเจ้าไม่ได้ทอดที้งพวกเขาขณะที่ออกเดินทางไปกับกองทหารเพื่อต่อสู้กับพวกฟิลิสตินที่มารุกราน ฏอลูตต้องการจะดูว่าคนของเขาศรัทธาในอัลลอฮและเชือฟังแค่ใหน จึงบอกไปว่า \"อัลลอฮกำลังจะทดลองพวกเจ้าด้วยลำน้ำสายหนึ่ง ใครก็ตามที่หยุดดื่มน้ำจากลำสายนี้ คนๆนั้นก็ไม่ใช่พวกของฉัน\" ถึงแม้จะบอกว่านั้นเป็นการทดสอบจากอัลลอฮ แต่พวกอิสรออีลส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อและหยุดดื่มน้ำกัน มีเพียงไม่กีคนเท่านั้นที่เชื่อฟังฏอลูตและไม่ได้ดื่มน้ำ ดังนั้น ฏอลูตจึงได้คัดเอาคนที่เชื่อฟังร่วมทางไปกับเขา แต่ผู้ศรัทธาในอัลอฮจำนวนหนึ่งได้กล่าวว่า มีบ่อยไปที่คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมากได้ด้วยอำนาจของอัลลอฮ เพราะอัลลอฮจะทรงอยู่กับผู้อดทน เมื่อกองทัพของฏอลูตเผชิญหน้ากับกองทัพชาวฟิลิสติน ซึ่งนำโดยญาลูต(หรือโกไลแอธ) พวกอิสรออีลจึงได้วิงวอนต่ออัลลอฮว่า ช้าพระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์ได้ทรงประทานความอดทนแก่ราและทรงปฏิเสธศรัทธาด้วเถิด ถ้าพวกเก่งจริงก็ส่งคนมีฝีมือมาต่อสู้กันตัวต่อตัว แต่ในเวลานั้นดาวูดได้อยู่ในที่นั้นด้วย เขาจึงได้ขออนุญาตออกไปต่อสู้ญาลูต หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กัน ดาวูดก็สามารถสังหารญาลูตได้ในที่สุด ดาวูดจึงได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาวอิสรออีล ฏอลูตได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับเขาและหลังจากที่ฏอลูตเสียชีวิตแล้ว นบีดาวูดมีลูกชายคนหนึ่งชื่อสุลัยมาซึ่งต่มาได้เป็นกษัตริย์สืบต่อจากเขาและยังเป็นนบีคนสำคัญคนหนึ่ง ขณะที่นบีดาวูดเป็นกษัริตย์ปกครองชาวอิสรออีลอยู่ วันหนึ่งชาวอิสรออีลสองคนได้มาขอให้ท่านตัดสินกรณีขัดแย้งระหว่างเขาทั้งสอง นบีดาวูดได้ตัดสินให้เจ้าของแพะมอบแพะทั้งหมดที่เข้ากินต้นไม้ใบหญ้าให้แก่เจ้าของที่ดินที่ได้รับความเสียหาย ถึงต้นไม้ใบหญ้าจะเสียหาย แต่ที่ดินยังคงอยู่ ดังนั้น จึงไม่ควรให้เจ้าของที่ดินยึดแพะทั้งหมดเอาไว้เลย เมื่อต้นไม้ใบหญ้าเติบโตใหม่แล้ว เจ้าของที่ก็ควรจะคืนแพะให้แก่เจ้าของเดิมไป นบีดาวูดเห็นด้วยกับคำแนะนำของสุลัยมานเพราะเป็นความยุติธรรมและท่านได้ตัดสินไปตามนั้น นอกจากนั้นแล้ว คัมภีร์กุรอานยังได้บอกให้เรารู้ว่าอัลลอฮได้ทรงสอนท่านนบีดาวูดให้รู้จักการนำเอาเหล็กมาทำเป็นเครืองใช้ต่างๆ",
"title": "ดาวิด"
},
{
"docid": "249138#7",
"text": "ฏ็อนฏอวีระบุระบุว่า เราไม่มีข้อโต้แย้งที่เขาจะกล่าวในเรื่องสาระอื่น ๆ ในขณะเดียวกันสิ่งที่เขาประกาศต่อสาธารณชนเขาต้องขออภัยอย่างเปิดเผยหรือไม่ก็แสดงเหตุผลสมควรในสิ่งที่เขาพูด",
"title": "มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี"
},
{
"docid": "382625#1",
"text": "ในเดือนกันยายน 622 มุฮัมมัดได้รับคำเตือนว่ามีแผนจะลอบสังหารท่าน จึงได้เดินทางออกจากเมืองเมกกะอย่างลับ ๆ พร้อมด้วยอะบูบักรฺ อย่างไรก็ตามมีอยู่สองฮาดิส (hadith) ที่สรุปว่าอะบูบักรฺเป็นหนึ่งในบุคคลแรก ๆ ที่อพยพไปยังเมดินะ ก่อนการอพยพของมุฮัมมัด มุฮัมมัดและผู้ติดตามอพยพไปยังเมืองยาธริบ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเมกกะไปทางเหนือ 320 กิโลเมตร ยาธริบถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมะดีนะตุนนบี ซึ่งมีความหมายว่า \"นครแห่งศาสดา\" แต่คำว่า ตุนนบี ถูกกร่อนลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นชื่อในภาษาอังกฤษจึงเหลือแต่เพียงเมดินะ ซึ่งหมายถึง \"นคร\" ปีที่มีการหิจญเราะหฺนั้นถูกกำหนดเป็นปีแรกในปฏิทินฮิจญ์เราะหฺโดยอุมัร ในสากลศักราช 638 หรือ ฮ.ศ. 17 ต่อมา ตัวนครจะถูกเรียกชื่อว่า เมดินะ และบริเวณที่อยู่โดยรอบนครนั้นเรียกว่า ยาธริบ ",
"title": "ฮิจเราะห์"
},
{
"docid": "353173#1",
"text": "หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น “อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า \"ศรุติ\" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า",
"title": "วิวรณ์"
},
{
"docid": "256820#0",
"text": "อับบาซ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (, ) เป็นลุงทางพ่อและเป็นเพื่อนของมุฮัมมัดผู้มีอายุแก่กว่ามุฮัมมัดเพียงไม่กี่ปี อับดุบมุฏเฏาะลิบเป็นพ่อค้าผู้มีฐานะดี ระหว่างการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในระยะแรกอับดุบมุฏเฏาะลิบก็เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องมุฮัมมัดขณะที่อยู่ที่มักกะหฺ แต่มาเปลี่ยนนิกายหลังจากยุทธการบัดร (Battle of Badr) ในปี ฮ.ศ. ที่ 2 ผู้ที่สืบเชื้อสายต่อจากเขาได้ก่อตั้งจักรวรรดิกาหลิปอับบาซียะห์ ในปี ค.ศ. 750",
"title": "อับบาซ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ"
},
{
"docid": "115411#1",
"text": "ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายว่า สี่เดือนที่ต้องห้ามนั้นคือ เดือนซุลกะอฺดะฮฺ ซุลฮิจญะฮฺ มุฮัรรอม และรอญับมุฎ็อร โดยสามเดือนแรกเป็นสามเดือนต่อเนื่องกัน แต่เดือนรอยับที่ถูกแยกมาเป็นเดือนที่ต้องห้ามระหว่างเดือนญุมาดาอัลอาคิเราะฮฺกับเดือนชะอฺบาน เพราะในประวัติศาสตร์ของอาหรับก่อนยุคอิสลาม ชาวเผ่ารอบีอะตุบนุนิซารได้เรียกเดือนรอมฎอนว่าเดือนรอญับ และถือเป็นเดือนต้องห้ามแทนเดือนรอยับของเผ่ามุฎ็อร ซึ่งเดือนรอยับของมุฎ็อรเป็นการกำหนดที่ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ จึงทำให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เน้นในการกำหนดเดือนต้องห้ามว่าเป็นเดือนรอยับของมุฎ็อร ส่วนเดือนมุฮัรรอมนั้นนอกจากเป็นเดือนต้องห้ามแล้ว ยังมีความประเสริฐอีกหลายประการดังต่อไปนี้",
"title": "มุฮัรรอมในความเชื่อของซุนนีย์"
},
{
"docid": "897306#15",
"text": "อะมาน อะมีน มุอัมมิน มูนิส บิร บาร บาสิฏ มุบัชชิร มุบัยยิน เตาวาบ มุษับบิบ ญาบิร มุญัซซิล ญะลีส มุญัมมิล มุญีบ ญะวาด ญาร มุญีร ฮะบีบ มะห์บูบ มุฮัซซิร ดาอี มัดอู ฮะฟีซ ฮะฟี ฮะลีม ฮามิด ฮะมีด มะห์มูด ฮันนาน มะฮีล มุเคาวิฟ มุคตาร มุดับบิร ฮาซิบ ฮะซีบ ดาฟิอ์ ดัยยาน ซากิร มัซกูร รออูฟ ร็อบ มุร็อตติบ รอติก รอญา รอฮีม รอฮิม เราะห์มาน อัรฮัร รอซิก รอซซาก รอฎี เราะฎี มัรฎอ ริฎวาน มัรฆูบ รอฟีก รอกีบ เมาฮูบ มุรตาห์ มุซัยยิน ซาติร ซัตตาร สะลาม ซามิก ชาฟี ชากิร ชะกูร มัชกูร ซอบูร ซอบบารอรีค ญับบาร ฎอมิน ฏอบีบ ฏอลิบ มัฏลูบ อัดล์ อาดิล อาซิม มุอ์ฏี อัฟว์ ฆอฟิร ฆอฟฟาร ฆุฟรอน กอบิล กอบีล กอซิม มุกอซซิม มุกสิฏ มันนาน มุนญี มุนซิร มุนอิม กะรีม อักรัม วะดูด มุวัสสิอ์ มาซิล เมาซูฟ วาฟี วะฟี วากี วาฮิบ วะฮาบ เป็นต้น",
"title": "พระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "415957#2",
"text": "คณะตุลาการฯ รับผิดชอบต่อการพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน, อาลี ฮัสซัน อัล-มาจิด, อดีตรองประธานาธิบดี ฏอฮา ยาซีน รอมาฎอน, อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฏอริก อะสีส และอดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสคนอื่นในรัฐบาลพรรคบาธที่ถูกล้ม",
"title": "คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก"
},
{
"docid": "911239#37",
"text": "๔๖. บิชารอตุล มุศตอฟา โดย ฏอบะรี",
"title": "ซอฮีฟะฮ์ อิมามริฎอ(อ.)"
},
{
"docid": "17466#23",
"text": "ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้กล่าวว่า\nأُوْصِيْكُمْ بِكِتَابِ اللَّهِ وَ أَهْلِ بَيْتِي\nฉันขอสั่งเสียพวกท่าน(จงปฏิบัติ)ตามคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน\nดู หนังสือ อัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 286 หะดีษที่ 1\nหลักอีหม่าน ที่ได้รับจาก อัลกุรอ่าน\nيَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُواْ آمِنُواْ بِاللّهِ وَرَسُوْلِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيْ نَزَّلَ عَلَى رَسُوْلِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيْ أَنْزَلَ مِن قَبْلُ وَمَن يَكْفُرْ بِاللّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيْدًا\nโอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และคัมภีร์(อัลกุรอาน)ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาก่อนหน้านั้น และผู้ใดไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดารอซูลของพระองค์ และวันสิ้นโลก แน่นอนเขาได้หลงทางอย่างห่างไกล ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ : 136\nโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 5 ประการคือ\n1.การศรัทธาต่ออัลลอฮ์\n2.มลาอิกะฮ์ของอัลลอฮ์\n3.บรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์\n4.บรรดารอซูลของอัลลอฮ์\n5.วันสิ้นโลก\nหลักอีหม่าน ที่ได้รับจาก อะฮ์ลุลบัยต์นะบี\nอิม่ามอาลี (อ) รายงาน عَنْ أَبَانَ بْنِ أَبِي عَيَّاشٍ عَنْ سُلَيْمِ بْنِ قَيْسٍ قاَلَ : سَمِعْتُ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ عَلَيْهِ السَّلَام وَسَأَلَهُ رَجُلٌ عَنِ الْإِيْماَنِ فَقاَلَ : يَا أَمِيرَ الْمُؤْمِنِينَ، أَخْبِرْنِي عَنْ الْإِيْمَانِ ، لَا أَسْأَلُ عَنْهُ أَحَدًا غَيْرَكَ وَلاَ بَعْدَكَ فَقَالَ عَلِىٌّ عَلَيْهِ السَّلاَمُ : جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَأَلَهُ عَنْ مِثْلِ مَا سَأَلْتَنِى عَنْهُ ، فَقَالَ لَهُ مِثْلَ مَقاَلَتِكَ، فَأَخَذَ يُحَدِّثُهُ. ثُمَّ قَالَ لَهُ : اُقْعُدْ (بَعْضُ رِواَيَةٍ اِفْعَلْ). فَقَالَ لَهُ : آمَنْتُ. ثُمَّ أَقْبَلَ عَلِىٌّ عَلَيْهِ السَّلَام عَلَيَ الرَّجُلِ فَقَالَ : أَمَا عَلِمْتَ أَنَّ جِبْرَئِيلَ أَتَى رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ فِى صُورَةِ آدَمِىٍّ قَالَ لَهُ : مَا الْإِسْلَامُ فَقَالَ : شَهَادَةُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ وَإِقَامُ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءُ الزَّكَاةِ وَحَجُّ الْبَيْتِ وَصِيَامُ شَهْرِ رَمَضَانَ وَالغُسْلُ مِنْ الْجَنَابَةِ فَقَالَ : وَمَا الْإِيمَانُ قَالَ : تُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَبِالْحَيَاةِ بَعْدَ الْمَوْتِ وَبِالْقَدَرِ كُلِّهِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ وَحُلْوِهِ وَمُرِّهِ. فَلَمَّا قَامَ الرَّجُلُ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ : هَذاَ جِبْرَئِيلُ ، جاَءَكُمْ لِيُعَلِّمَكُمْ دِيْنَكُمْ . فَكَانَ كُلَّمَا قَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ شَيْئاً قاَلَ لَهُ : صَدَقْتَ قاَلَ : فَمَتَى السَّاعَةُ قَالَ : مَا الْمَسْئُولُ عَنْهَا بِأَعْلَمَ مِنْ السَّائِلِ قاَلَ : صَدَقْتَ อะบาน บิน อะบี อัยยาช รายงานจากสุลัยม์ บิน ก็อยส์(มรณะ ฮ.ศ.90)เล่าว่า ฉันได้ยินอิมามอาลี บิน อะบีตอลิบ(อ)เล่าว่า มีชายคนหนึ่งได้ถามอิมามเกี่ยวกับเรื่องอีหม่าน เขากล่าวว่า โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน จงบอกฉันเกี่ยวกับเรื่องอีหม่าน ฉันไม่เคยถามมันกับผู้ใดนอกจากท่านและหลังจากท่าน อิมามอาลี(อ)ได้กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งไปหาท่านนบี(ศ)แล้วเขาได้ถามเหมือนที่ท่านถามฉันถึงมัน แล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(ศ)เหมือนคำพูดของท่านเลย ดังนั้นอิมามจึงเริ่มเล่าเรื่องให้เขาฟัง จากนั้นอิมามได้กล่าวกับเขาว่า จงนั่งลงสิ (บางรายงานกล่าวว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่ฉันจะกล่าวดังต่อไปนี้ เมื่อท่านได้ปฏิบัติมันแล้วท่านจะปลอดภัยเพราะอีหม่านคือการปฏิบัติ) เขากล่าวกับอิมามว่า ฉันเชื่อครับ แล้วอิมามอาลีได้หันมาหาชายคนนั้นพลางกล่าวว่า ท่านรู้ไหมว่า ญิบรออีลได้มาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในรูปมนุษย์ แล้วเขาได้กล่าวกับท่าน(ศ)ว่า อิสลาม ( ฟุรูอุดดีน ) คืออะไร ท่าน(ศ)ตอบว่า คือการปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และแท้จริงมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ ดำรงนมาซ จ่ายซะกาต ทำฮัจญ์ ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน และอาบน้ำฆุซุ่ลญินาบะฮ์ และญิบรออีลได้กล่าวว่า อีหม่าน ( อุซูลุดดีน ) คืออะไร ท่าน(ศ)ตอบว่า อีหม่านคือการที่ท่าน 1.ต้องศรัทธาต่ออัลลอฮ์ 2.มลาอิกะฮ์ของพระองค์ 3.บรรดาคัมภีร์ของพระองค์ 4.บรรดาศาสนทูตของพระองค์ 5.ต่อชีวิตหลังความตาย(คือวันสิ้นโลก) 6.และต้องศรัทธาต่อการกำหนดกฎสภาวะการณ์ทั้งหมดของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความดีและความชั่วของพระองค์ ความหวานและความขมของพระองค์ เมื่อชายคนนั้นได้ลุกจากไป ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า ชายคนนี้คือท่านญิบรออีล เขามาหาพวกท่านเพื่อสอน(หลักสำคัญของ)ศาสนาของพวกท่าน ให้กับพวกท่าน แล้วปรากฏว่าทุกครั้งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ตอบสิ่งใดกับเขา เขาได้กล่าวกับท่าน(ศ)ว่า ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว ญิบรออีลได้ถามว่า เมื่อใดจะถึงวันกิยามะฮ์ ท่าน(ศ)ตอบว่า ผู้ถูกถามเกี่ยวกับมันนั้นไม่ได้มีความรู้มากไปกว่าผู้ที่ถามเลย ญิบรออีลได้กล่าวว่า ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว.\nดู กิตาบสุลัยม์ บิน ก็อยส์ อัลฮิลาลี บาบมะอ์นา อัลอิสลาม วัลอีหม่าน หน้า 87,88\nอิม่ามอาลีรายงานจากท่านนะบี(ศ)ว่า อีหม่าน มี 6 ประการ 1. การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ 2. มลาอิกะฮ์ของพระองค์ 3. บรรดาคัมภีร์ของพระองค์ 4. บรรดาศาสนทูตของพระองค์ 5. ต่อชีวิตหลังความตาย(คือวันสิ้นโลก) 6. กฎกำหนดสภาวะ ความดีและความชั่วของพระองค์\n1. ศรัทธา ใน พระเจ้าองค์เดียว คือ อัลลอฮ์ อิสลามถือว่า ในสากลจักรวาลทั้งหลายมี พระเจ้าที่เที่ยงแท้ เพียงองค์เดียว เป็นผู้สร้างสากลจักรวาลและ เป็นผู้บริหารควบคุม โลกนี้มิใช่เกิดมาด้วยความบังเอิญ ถ้าเกิดมาโดยบังเอิญ มันจะมีระบบระเบียบแบบแผน ในการโคจรไม่ได้ โลก ดวงอาทิตย์ และ ดวง จันทร์ ได้หมุนโคจรอย่างมีระบบ รักษาตำแหน่งหน้าที่ของมัน อย่างคงเส้น คงวา นับเป็นเวลานานไม่รู้กี่ล้านปี โดยที่มันไม่เคยชนกันเลย นี่ต้องแสดงว่ามีผู้บริหาร และต้องมีผู้ควบคุมมัน\n2. ศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ มลาอิกะฮ์ คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง พระผู้เป็นเจ้า กับ ศาสดา ทั้งหลาย เพื่อจะได้ให้ ศาสดาดังกล่าวได้รับวิวรณ์จากอัลลอฮ์ มนุษย์เราแม้จะมีปัญญาสักปานใดก็ตาม ก็ต้องอาศัยสื่อภายนอกด้วยเหมือนกัน เช่น มนุษย์นั้น แม้จะมีสายตาดีสักเพียงใดก็ตาม เขาก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุใดๆ ได้เลยถ้าหากไม่มีแสงสว่างเป็นสื่อ คำว่า มลาอิกะฮ์ หาคำศัพท์แปลเป็นภาษาไทยไม่ได้ มลาอิกะฮ์ เป็นนามธรรม ไม่ใช่ เทวทูต เทวดา หรือ ทูตสวรรค์ แต่ในศาสนาอิสลาม ถือว่า มลาอิกะฮ์ ไม่มีเพศ ไม่ขัดขืนคำสั่งของอัลลอฮ์ ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่หลับ ไม่นอน มลาอิกะฮ์คือ อำนาจแห่งความดี ส่วนอำนาจแห่งความชั่วนั้นคือ ชัยฎอน หรือซาตาน หรือ มาร นั่นเอง ดังนั้น มลาอิกะฮ์ จึงไม่ใช่ เทวดา และ นางฟ้า\n3.ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ ทั้งหลายของพระองค์ มุสลิมต้องเชื่อถือ ต้นฉบับดั้งเดิมของคัมภีร์ทั้งหลายทุกๆเล่มในอดีตรวมทั้งอัลกุรอานด้วย ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า คัมภีร์เหล่านั้นต้องเป็น วะห์ยู(ได้รับการดลใจ) มาจากอัลลอฮ์และ ต้องมีเนื้อหาสาระตรงกับอัลกุรอาน มุสลิมต้องเชื่อถือ ในส่วนบริสุทธิของคัมภีร์เท่านั้น อิสลามถือว่า คัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นคัมภีร์สุดท้ายคือ อัลกุรอาน ซึ่งได้ถูกประกาศใช้ต่อมวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและ ความสันติสุข แก่มวลมนุษย์ทุกคน\n4.ศรัทธาในบรรดานะบี(ศาสดา)ทั้งหลาย มุสลิมทุกคน ต้องยอมรับนับถือศาสดาทั้งหลายที่มาเทศนานับตั้งแต่นะบีอาดัม(อ)จนถึงนะบีมุฮัมมัด(ศ) ไม่ว่าศาสดาเหล่านั้นจะปรากฏชื่ออยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่า ศาสดาเหล่านั้น จะเป็นชนชาติใด อยู่ที่ไหน พูดภาษาอะไร ก็ตามมุสลิม ต้องให้เกียรติ ยกย่องศาสดาเหล่านั้น อย่างเท่าเทียมกันหมด นะบีมุฮัมมัด(ศ)เป็นศาสดาสุดท้ายของโลก ที่มารับภารกิจต่อจากศาสดาก่อนๆที่เชิญชวนมนุษย์ให้รู้จักพระเจ้า และดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า หลังจากท่านแล้วจะไม่มีศาสดาเกิดขึ้นมาอีกเพราะถือว่า ท่านได้นำคำสอน หรือ แนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์มาสู่มนุษย์ชาติแล้ว ก่อนที่ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)จะจากไป ท่านได้ประกาศแต่งตั้ง อาลี บิน อะบีตอลิบ ให้เป็นผู้ปกครองบรรดามุสลิมสืบต่อจากท่านไว้ที่ เฆาะดีรคุม ประเทศซาอุดิอารเบีย และท่าน(ศ)ยังได้ประกาศว่าผู้ปกครองที่สืบต่อจากท่านนั้นมีสิบสองคน โดยท่านได้ระบุรายชื่อพวกเขาเอาไว้อย่างชัดเจน หลังจากท่านนะบี(ศ)เสียชีวิต มุสลิมกลุ่มหนึ่งจึงถือว่าเรื่อง อิมามะฮ์ หรือ คอลีฟะฮ์นั้นเป็นสิทธิของท่านอาลีเท่านั้น ท่านนะบี(ศ)ได้เรียกชื่อมุสลิมกลุ่มนี้ว่า ชีอะฮ์อาลี\n5. ศรัทธาในวันสุดท้าย และ การเกิดใหม่ ใน วันปรโลก อิสลามถือว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นเพียงวัตถุธาตุชิ้นหนึ่ง ซึ่งต้องมีการแตกสลายเหมือนๆกับวัตถุหรือสิ่งอื่นๆ แน่นอนโลกของเรา ต้องถึงจุดจบไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อโลกแตกสลายแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับสิ้น เว้นแต่ อัลลอฮ์เท่านั้นที่ยังดำรงอยู่ และมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะไปฟื้นคืนชีพใหม่อีกครั้งในโลกหน้า แต่จะไปเกิดในสภาพใดนั้นไม่มีมนุษย์ผู้ใดรู้ได้ การฟื้นขึ้นใหม่อีกในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์รับผลตอบแทนตามที่เขาได้กระทำไว้เมื่อครั้งที่เขา ยังมีชีวิตอยู่ ผลงานของเขาในโลกนี้ จะเป็นตัวกำหนด ว่าเขาจะเป็นผู้ได้รับสวรรค์ หรือ นรก ไม่มีใครช่วยใครได้ ไม่มีการกลับชาติมาเกิด ถ้าเราไม่เชื่อในเรื่องการฟื้นขึ้นใหม่แล้ว สังคมของเราก็จะสับสนปั่นป่วนวุ่นวาย หาความสงบสุขไม่ได้ ดังเช่น พวกอาหรับ ในยุคญาฮิลียะฮ์ (ยุคแห่งอวิชาและป่าเถื่อน) ซึ่งเชื่อว่าเมื่อพวกเขาเกิดมาแล้วก็ตายไป คือตายแล้วศูนย์ เหมือนดังสัตว์อื่นๆ ความดี ความชั่ว ที่เขาได้กระทำมานั้น ไม่มีการตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ดังนั้น พวกเขาจึงใช้ชีวิตความเป็นอยู่ ไปในทางชั่วช้าทุกรูปแบบ จนสร้างความเสียหายปั่นป่วนให้แก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง\n6.ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์ คือต้องศรัทธา ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายในสากลจักรวาลนี้ล้วนเกิดขึ้นมา และดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ทั้งสิ้น เช่น ไฟ มีคุณสมบัติ ร้อน น้ำไหลจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำแพะ แกะ วัว ควาย สุนัข ออกลูกเป็นตัว นก เป็ด ไก่ ออกลูกเป็นไข่ ต้นมะม่วงต้องออกลูกเป็นมะม่วง ต้นกล้วยจะออกลูกเป็น ต้น แอปเปิลไม่ได ทุกๆชีวิตต้องตาย นี่คือ กฎกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์ หมายความว่า กฎ ธรรมชาติทั้งหลายนั้น อัลลอฮ์ เป็น ผู้ทรงสร้าง และ ควบคุม มัน ส่วนการกำหนด สภาวะในหลัก จริยธรรม ความดี ความชั่ว นั้น พระองค์จะเป็นผู้บอก เราเองว่า อะไรคือ ดี และอะไรคือ ชั่ว แต่สิ่งที่ใช้วัดความดีความชั่วนั้น ในอิสลาม ถือ ว่ามันไม่ได้มาจาก มติบุคคล หรือ มติของ มหาชน มิได้อาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ ความนิยม หรือสิ่งแวดล้อม เป็น เครื่อง กำหนด เพราะถ้ามนุษย์เป็น ผู้กำหนดความดี ความชั่วแล้ว มาตรฐานความดีของมนุษย์ก็จะ แตกต่างกัน การที่มนุษย์ ได้กระทำความดี ความชั่วนั้น อัลลอฮ์ ไม่ได้เป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของเขา ไว้ล่วงหน้ามาก่อน สิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับการกระทำ หรือ การตัดสินใจของมนุษย์เอง เพราะอัลลอฮ์ ได้ให้ความคิด อิสระเสรี แก่เขา ในการที่เขาจะเลือกทางเดินของเขาเอง ดังนั้นเหตุการณ์ต่างๆที่ สับสน วุ่นวาย อยู่ในบ้านเมือง หรือ สังคมนั้น มันเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเองทั้งสิ้น มิใช่เกิดขึ้นจาก การกำหนด หรือการ ลิขิต ของ พระผู้เป็นเจ้า ความจน ความ รวย ความทุกข์ทรมาน ความทุกข์ยาก ความขมขื่น ที่เกิดแก่มนุษย์นั้น ก็เนื่องมาจากผู้ปกครองขาดความรับผิดชอบนั่นเอง การที่อัลลอฮ์ไม่ได้ เป็นผู้ขีดชะตากรรมของผู้ใดไว้ล่วงหน้ามานั้นก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ได้มีความรับผิดชอบในการงานของตนเองที่ได้กระทำไว้ ความเชื่อเกี่ยวกับความดีและความไม่ดีที่อัลลอฮ์กำหนดนั้น พวกขวาสุดโต่งเชื่อว่า อัลลอฮ์กำหนดให้คนหนึ่งเป็นคนดีดังนั้นเขาจึงได้เข้าสวรรค์ และทรงกำหนดให้อีกคนหนึ่งทำความชั่วแล้วก็ทรงลงโทษเขาต่อความผิดกลุ่มนี้ชื่อว่า”พวกญับรียะฮ์” อีกพวกหนึ่งก็ซ้ายตกขอบเพราะเชื่อว่า อัลลอฮ์ทรงมอบเสรีภาพในการกระทำและการแสวงหาปัจจัยต่างๆให้เขาตามใจปรารถนา โดยที่พระองค์จะไม่เข้าไปก้าวก่ายเขาเลยสักนิด กลุ่มนี้ชื่อว่า “พวกตัฟวีฎ” เกี่ยวกับคนสองกลุ่มนี้ อิม่ามญะอ์ฟัร(อ)ได้สอนชีอะฮ์ว่า > لاَ جَبْر وَلاَ تَفْوِيْض بَلْ أمرٌ بَيْنَ أَمْرَيْنِ (เรา)ไม่ใช่พวกญับร์และไม่ใช่พวกตัฟวีฎ แต่ทว่า(ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นเรา)อยู่ระหว่างสองเรื่อง < ชีอะฮ์อยู่ระหว่างทางสายกลางของสองความเชื่อนี้กล่าวคือ ชีอะฮ์เชื่อว่า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงทำให้มนุษย์มีความสามารถบนการกระทำของเขา และทรงวางขอบเขตในการกระทำไว้ให้กับพวกเขา ทรงห้ามปรามพวกเขาให้ออกห่างจากสิ่งไม่ดีสิ่งชั่วร้ายและทรงสัญญาว่าจะลงโทษถ้าฝ่าฝืน และพระองค์ไม่เคยบังคับใครให้กระทำความชั่วและก็ไม่เคยปล่อยให้พวกเขากระทำชั่วโดยเสรี เพราะอัลลอฮ์ทรงรับสั่งมนุษย์ให้ทำความดีและทรงสั่งห้ามในเรื่องการทำความชั่ว นี่คือความเชื่อของชีอะฮ์ที่แตกต่างจากพวกญับรียะฮ์และพวกตัฟวีฎ หากถามว่า ความชั่วร้ายเลวทรามเกิดจากใคร อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า مَّا أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللّهِ وَمَا أَصَابَكَ مِن سَيِّئَةٍ فَمِن نَّفْسِكَ ความดีใดๆ ที่มาประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮ์ และความชั่วใดๆ ที่มาประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง (อันนิซาอ์ : 79) เราเชื่อว่าเป็นไม่ได้ที่อัลลอฮ์จะทรงกำหนดให้มนุษย์คนหนึ่งเป็นคนชั่ว แล้วเอาเขาลงนรกเพราะเหตุที่เขาถูกกำหนดให้ทำชั่ว หากอัลลอฮ์ทรงกำหนดเช่นนั้นจริง ย่อมถือว่าอัลลอฮ์ไม่มีความยุติธรรมต่อมนุษย์และนั่นคือการอธรรม(ซอเล็ม) อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า أَلاَ لَعْنَةُ اللّهِ عَلَى الظَّالِمِينَ จึงรู้เถิดว่า อัลลอฮ์ทรงละอ์นัต(สาปแช่ง)คนซอเล็ม(ผู้อธรรม)ทั้งหลาย (ฮูด : 18) อัลลอฮ์คือผู้สร้างความชั่วร้ายจริงหรือ อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า مِن شَرِّ مَا خَلَقَ จากความชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้างมา (อัลฟะลัก : 2) ชัรรุน – شَـرٌّ “ แปลว่า สิ่งไม่ดี,ความชั่วร้าย,ความเลว,อันตราย อธิบาย : ท่านต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า ในตัวมนุษย์และทุกสิ่งในโลกนี้ มีทั้งสิ่งดีและไม่ดีอยู่ในตัวเองอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต วัตถุหรือไม่ใช่วัตถุ มนุษย์หรือญิน หรือสัตว์ร้ายเช่นสิงห์โต,เสือ แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานเช่น แมงป่อง,ตะขาบ,งูเห่า ต้นไม้ใบหญ้าพืชผักผลไม้ล้วนมีทั้งสรรพคุณและเป็นพิษเป็นอันตราย หรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือภัยธรรมชาติเช่นลมพายุ,น้ำท่วม หรือชัยตอนมารร้ายที่มองไม่เห็นที่คอยกระซิบกระซาบจิตใจมนุษย์... สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความเดือดร้อนให้คนเราได้ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะความเป็นอยู่ของแต่ละคนว่าจะเผชิญกับสภาวะการณ์เช่นใด มนุษย์บางคนทุ่มเทชีวิตค้นคว้าตัวยาเพื่อรักษาโรคที่รักษาไม่หายจนหายได้ และมนุษย์บางคนก็ผลิตสารเคมีมาเพื่อทำลายชีวิตมนุษย์นับล้านคน มนุษย์ระเบิดภูเขามาสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อปกป้องชีวิตให้พ้นภัยอันตราย แต่ก้อนหินเหล่านั้นก็สามารถทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตายได้เช่นกัน สิงห์โตเป็นสัตว์ดุร้ายคร่าชีวิตมนุษย์ได้ในพริบตา แต่มนุษย์ก็สามารถฝึกฝนจนมันเชื่องนำมาแสดงละครสัตว์ให้ความเพลิดเพลินได้เช่นกัน แมงป่องทะเลทรายมีพิษร้ายแรงมากถ้าถูกต่อยก็ตายได้ แต่พิษของมันก็สามารถรักษาคนเป็นอัมพาตให้หายได้ งูเห่าฉกคนตายได้และพิษงูเห่าก็ผลิตเป็นเซรุ่มได้ด้วยเช่นกัน ลมและน้ำมีทั้งคุณและโทษ ถ้าลมไม่พัดอากาศจะร้อน แต่ถ้าพัดแรงก็กลายเป็นพายุ ถ้าฝนไม่ตกก็เกิดภัยแล้ง แต่ถ้าตกชุกมากไปน้ำก็ท่วม อัลลอฮ์ตะอาลาไม่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้มาให้โทษให้ร้ายกับมนุษย์ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นมันขึ้นอยู่ที่สภาวะการณ์และตัวแปร เพราะฉะนั้นเราจะเหมาเอาสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นจากคนและสิ่งต่างๆที่เราเผชิญกับมันมาปรักปรำว่า อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะให้สิ่งร้ายๆเกิดขึ้นกับเรานั้นไม่ได้ เพราะอัลลอฮ์ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตาความรักและทรงให้ความยุติธรรมต่อมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมุอ์มินหรือกาเฟ็ร\nเรามักจะพบตำราหลักศรัทธาชีอะฮ์ได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อคือ 1,เตาฮีด 2,อาดิล 3,นุบูวะฮ์ 4,อิมามะฮ์ 5,มะอ๊าด\nใครคือผู้กำหนดหลักศรัทธาทั้งห้านี้\nคำตอบคือ เชคมุฟีด\nชื่อจริง มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน ชาวเมืองแบกแดด ประเทศอิรัค เกิดวันที่ 11 ซุลกิอ์ดะฮ์ ฮ.ศ.336 มรณะคืนวันศุกร์ที่ 3 รอมฎอน ฮ.ศ. 413 รวมอายุ 95 ปี ร่างถูกฝังไว้ที่เมืองกาซิเมน อิรัค ตรงบริเวณด้านล่างสุสานของอิม่ามญะวาด(อ)\nในหนังสือชื่อ “อันนุกัต อัลอิอ์ติกอดียะฮ์ “ เชคมุฟีดได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็น 5 บทคือ\n1. มะอ์ริฟะตุลเลาะฮ์วะศิฟาติฮี (การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์)\n2. อัลอัดลุ (ความยุติธรรมของอัลลอฮ์)\n3. อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์)\n4. อัลอิมามะฮ์ ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนะบีมุฮัมมัด)\n5. อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)\nหลังจากเชคมุฟีดเสียชีวิต นักวิชาการชีอะฮ์ยุคต่อมาได้เรียบเรียงตำราอุซูลุดดีนโดยแบ่งหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อเหมือนที่เชคมุฟีดได้นำเสนอไว้\n1. เตาฮีด (การศรัทธาต่อเอกภาพของอัลลอฮ์)\n2. อัลอัดลุ (การศรัทธาต่อความยุติธรรมของอัลลอฮ์)\n3. อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อบรรดาศาสดาของอัลลอฮ์)\n4. อัลอิมามะฮ์ ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนะบีมุฮัมมัด)\n5. อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)\nการแบ่งหลักศรัทธาของเชคมูฟีดเช่นนี้ ได้กลายเป็นเรื่องที่แพร่หลายกันในหมู่อุละมาอ์ชีอะฮ์ และได้ถ่ายทอดกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน",
"title": "ชีอะฮ์"
},
{
"docid": "248122#1",
"text": "รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก่อตั้งโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (العباس بن عبد المطلب – Abbas ibn Abd al-Muttalib) ลุงคนเล็กของมุฮัมมัด โดยก่อตั้งขึ้นในฮาร์รานในปี ค.ศ. 750 และย้ายเมืองหลวงจากฮาร์รานไปแบกแดดในปี ค.ศ. 762 รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้รุ่งเรืองอยู่ราวสองร้อยปีแต่ก็มาเสื่อมโทรมลงเมื่ออำนาจของตุรกีแข็งแกร่งขึ้น ภายใน 150 ปีทีแผ่ขยายอำนาจไปทั่วเปอร์เชีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก็สูญเสียอำนาจให้แก่จักรวรรดิมองโกล ในปี ค.ศ. 1258",
"title": "รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์"
},
{
"docid": "158620#3",
"text": "ต่อมาตระกูลญุรหุมแห่งเผ่าเกาะฮ์ฏอนถูกเผ่าคุซาอะหฺขับไล่ออกจากมักกะหฺ พวกเขาจึงเก็บทรัพย์สิน อีกทั้งยังทำลายบ่อน้ำซัมซัมด้วยการเอาดินถมปิดบ่อ ก่อนที่จะอพยพออกจากเมืองมักกะหฺ เมื่อบ่อน้ำถูกดินกลบมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ผู้คนก็ไม่รู้สถานที่อันเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำซัมซัมอีกต่อไป ครั้งหนึ่งอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของท่านนบีมุฮัมมัด ฝันเห็นตำแหน่งของบ่อน้ำซัมซัม จึงชวนลูกชายชื่อฮาริษไปขุด ก็พบกับตาน้ำซัมซัม อับดุลมุฏฏอลิบจึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าของบ่อน้ำซัมซัมตั้งแต่นั้นมา",
"title": "ซัมซัม"
},
{
"docid": "16724#3",
"text": "บิดาของมุฮัมมัดคืออับดุลลอฮ์ เป็นบุตรสุดท้องของอับดุลมุฏฏอลิบ ชาวเผ่ากุเรช ผู้ได้รับเกียรติให้คุ้มครองบ่อน้ำซัมซัม ริมกะอ์บะฮ์ อับดุลลอฮ์ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ตอนที่มุฮัมมัด (ศ) ยังอยู่ในครรภ์ของอะมีนะหฺ สตรีแห่งเผ่าซุหฺเราะหฺ ผู้เป็นมารดา อับดุลมุฏฏอลิบผู้เป็นปู่ได้ขนานนามว่า มุฮัมมัด เป็นนามที่ยังไม่มีผู้ใดใช้มาก่อน",
"title": "มุฮัมมัด"
},
{
"docid": "16724#23",
"text": "พระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮ กล่าวถึงนบีมุฮัมมัดว่าเป็นผู้เผยพระวจนะที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาเพื่อทำหน้าที่นำพาและให้ความรู้แก่มนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง เช่นเดียวกับผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ คือ พระกฤษณะ โมเสส ซาราธุสตรา พระพุทธเจ้า พระเยซู พระบาบ[4] โดยบาฮาอุลลออ์อ้างว่าตนเองคือผู้เผยพระวจนะที่พระเจ้าส่งมาในยุคปัจจุบัน เป็นนบีอีซาผู้กลับมาบนโลกอีกครั้งตามที่นบีมุฮัมมัดทำนายไว้ในคัมภีร์หะดีษ นอกจากนี้ยังอ้างว่าตนเองคือฮุซัยน์ อิบน์ อะลี ผู้กลับมาตามที่ชาวชีอะฮ์รอคอย[5]",
"title": "มุฮัมมัด"
},
{
"docid": "17109#1",
"text": "เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะหฺ กองทัพของอับรอหะหฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะหฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะหฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะหฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะหฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะหฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า \"อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอฺบะหฺเป็นของอัลลอหฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน\" อับรอหะหฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ ",
"title": "ปีช้าง"
},
{
"docid": "122089#4",
"text": "บรรดาบุตรของ สุลต่าน สุลัยมาน ชาห์ คือ มุสตอฟา ฮะซัน และฮุเซน ถูกจับขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพวกเขาได้รับพระกรุณาธิคุณจนได้รับศักดินาสูงส่ง มุสตอฟา ได้เป็นพระยาไชยา ฮะซันได้เป็นพระยาราชวังสัน และฮุเซนได้เป็นพระยาพัทลุงคนที่ 3",
"title": "สุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์"
},
{
"docid": "937345#3",
"text": "ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางอิมามัต มีความเชื่อว่า ภายหลังจากที่ท่านศาสดาของอิสลามจากไป ความต้องการของมนุษย์ไม่ได้สิ้นสุดในตัวแทนของพระเจ้า ด้วยเหตุผลนี้เองอัลลอห์ได้ส่งเหล่าบรรดานบีมาและจากพวกเขาก็ได้เลือกตัวแทนมาเช่นเดียวกันเพื่อที่ทางให้กับมนุษย์ ชีอะห์สิบสองอิมามมีความเชื่อ ได้ใช้อัลกุรอานและอ้างอิงไปยังแบบฉบับของนบี ไปยังสิบสองตัวแทน(วะซี)ที่บริสุทธ์ซึ่งมาจากครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นตัวแทนที่ถูกเลือกจนถึงวันสิ้นโลก ชีอะห์ได้อ้างอิงไปยังฮาดิสของท่านญาบิรและฮาดิสอื่นๆที่ถูกยอมรับว่าสิบสองอิมามได้ถูกเลือกจากอัลอห์และในสมัยของท่านนบีก็ได้บอกถึงชื่อเหล่านั้นไว้ดังนี้",
"title": "ชีอะห์สิบสองอิมาม"
},
{
"docid": "896345#14",
"text": "การตักลีดในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา(อุซูลุดดีน) และ ความเชื่อ นั้นเป็นที่น่าตำหนิและไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ก็มีหลายโองการที่สนับสนุนและย้ำถึงการตักลีดในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจ(ฟุรูอุดดีน) และ บัญญัติศาสนกิจ (อะห์กาม) นักวิชาการด้านการอรรถาธิบายอัลกุรอานและด้านฟิกฮ์เข้าใจถึงความจำเป็นในการตักลีดตามบรรดาฟะกีฮ์และบรรดาผู้รู้จากโองการที่ 122 ซูเราะฮ์เตาบะฮ์ ว่า: บรรดาผู้รู้กลุ่มหนึ่งของอิสลามได้ใช้โองการข้างต้นนี้เป็นเหตุผลในการอนุญาตให้ทำการตักลีด โดยได้ยกเป็นเหตุผลว่า การศึกษาสาระธรรมของอิสลามแล้วส่งสาระธรรมเกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจแก่ผู้อื่น และการที่ผู้รับสาส์นต้องปฏิบัติตามพวกเขา นั่นก็คือ การตักลีด นั่นเอง นักอรรถาธิบายอัลกุรอานและบรรดาฟะกีฮ์บางคนก็เข้าใจจากโองการที่ 43 ซูเราะฮ์นะห์ล และ โองการที่ 7 ซูเราะฮ์อันบิยา ถึงความจำเป็นในการตักลีดและการย้อนกลับไปหาบรรดาผู้รู้และบรรดามุจตะฮิดสำหรับผู้ที่ \"ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องหลักปฏิบัติศาสนกิจ\" ว่า : นักวิชาการบางท่านได้ยกเอาโองการข้างต้นเป็นเหตุผลในการอนุญาตให้ผู้คนทั่วไปและผู้ที่ไม่ใช่มุจตะฮิดตักลีดและย้อนกลับไปหามุจตะฮิดในเรื่องรายละเอียดของการปฏิบัติศาสนกิจ อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี ก็เชื่อเช่นกันว่า โองการข้างต้น เป็นโองการชี้นำสู่หลักสากลและกินกับสติปัญญา นั่นก็คือ การที่ผู้ไม่รู้ต้องย้อนกลับไปหาผู้รู้และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ",
"title": "ตักลีด"
},
{
"docid": "16816#3",
"text": "หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม",
"title": "กะอ์บะฮ์"
},
{
"docid": "115411#19",
"text": "ที่เราเรียกกันว่า \"'อาชูรออฺ\" ซึ่งเป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า “ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน (โอ้ชาวยิว) ” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)",
"title": "มุฮัรรอมในความเชื่อของซุนนีย์"
},
{
"docid": "51490#1",
"text": "คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลังจากท่านนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต จนถึงปลายอาณาจักรอุษมานียะหฺ ประมุขสี่คนแรกเรียกว่า อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน คือ อะบูบักรฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ อุษมาน บินอัฟฟาน, และอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ ต่อมาเมื่ออำนาจของรัฐอิสลามตกภายใต้การปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ ตระกูลอับบาซียะฮ์ และตระกูลอุษมาน ประมุขแต่ละคนก็ยังใช้คำนี้ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายคือ อับดุลมะญีด ที่ 2 เขตปกครองของเคาะลีฟะฮ์เรียกว่ารัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate)",
"title": "เคาะลีฟะฮ์"
},
{
"docid": "17450#1",
"text": "เป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า “ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน(โอ้ชาวยิว)” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)",
"title": "วันอาชูรออ์"
},
{
"docid": "942437#27",
"text": "ปัจจุบันคำนี้ใช้สำหรับมัรเญี้ยะอ์ตักลีด ตำแหน่งนี้เริ่มขึ้นหลังจากยุคของซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญัรดี ก่อนหน้านี้จะเรียรกมัรเญี้ยะอ์ตักลีดว่า ฮุจญะตุลอิสลาม และฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน เนื่องจากท่านซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญัรดีมีตำราวินิจฉัยนี้ซึ่งถือว่าเป็นตำราวินิจฉัยเล่มแรก จึงเรียกตำแหน่งนี้ให้แก่ท่าน อายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา เป็นตำแหน่งที่ใช้เรียกผู้ที่นอกจากจะวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเป็นผู้ที่มีผู้ปฏิบัติตาม (มุก็อลลิด) เป็นจำนวนมากอีกด้วย ตามคำกล่าวของซัยยิด อับดุลกะรีม มูซะว่ี อิรดิบีลี กล่าวว่า ตำแหน่ง อายาตุลลอฮ์ ใช้เรียกผู้ทีนอกจากจะวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเป็นผู้ที่มีความรู้สูงกว่าอีกด้วย และท่านมุบัชชิร กาชานี กล่าวว่า หากเป็นมัรเญี้ยะอ์ตักลี หรือมีสถานภาพทางด้านนี้และเป็นมุจตะฮิดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะเรียกว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา\" ท่านฮุเซน มุซอฮิรี ประธานสถาบันศาสนาแห่งเมืองอิศฟาฮาน ถือว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านศาสนา ส่วนอายาตุลลอฮ์ คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญรองลงมา",
"title": "ระดับขั้นในสถาบันศาสนา"
}
] |
2102 | นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "16719#1",
"text": "นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เกิดวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดในยุคกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) นายอภิรักษ์มีชื่อเล่นว่า \"ต้อม\" เป็นบุตรคนโตของ นายบุญลักษณ์ โกษะโยธิน และ นางอมรา โกษะโยธิน (สกุลเดิม จามรมาน) มีน้องสาว 1 คนคือ อภิสรา โกษะโยธิน (ทำงานที่ ธนาคารนครหลวงไทย)นายอภิรักษ์ สมรสกับ นางปฏิมา โกษะโยธิน (สกุลเดิม พงศ์พฤกษทล) มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ อนรรฆ โกษะโยธิน (พี)",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#0",
"text": "นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน (30 มีนาคม พ.ศ. 2504 —) เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์, อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 สมัย",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
}
] | [
{
"docid": "16719#11",
"text": "นายอภิรักษ์มีปู่คือ พันโทจมื่นศักดิ์สงคราม (นายร้อยเอกนายไกรพลแสน) รับราชการในกรมทหารรักษาวังของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างระบบราชการ เพื่อลดจำนวนคนจากหน่วยงานต่าง ๆ ลง ปู่จึงลาออกจากราชการ มาเก็บค่าเช่าจากที่ดินและตึกแถว",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#12",
"text": "รุ่นถัดมาคือบิดาของนายอภิรักษ์ ที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยรับราชการ ที่กรมชลประทาน ก่อนจะออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ในขณะที่ลุงของนายอภิรักษ์คือ พันเอกพิเศษทำนุ โกษะโยธิน รับราชการเป็นทหารจนเกษียณอายุ ส่วนป้า ของนายอภิรักษ์ คือ ร้อยเอกหญิงกานดา โกษะโยธิน เคยเป็นอาจารย์ในโรงเรียนเตรียมทหารจนได้ยศร้อยเอกหญิงนำหน้าชื่อ ก่อนจะย้ายไปเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#10",
"text": "ตลอดการทำงานด้วยความตั้งใจจนครบวาระ 4 ปี นายอภิรักษ์ได้สร้างผลงานโดดเด่นมากมาย ด้วยประสบการณ์ด้านการบริหาร และผลงานการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้นายอภิรักษ์ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนโหวตเกือบ 1 ล้านคะแนน\nนายอภิรักษ์ได้ประกาศลาออกในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้แจ้งผิดกรณีรถดับเพลิงตระกูลโกษะโยธิน สืบเชื้อสายมาจาก หลวงพินิจปรีชา (คลัง) โดยนามสกุล \"โกษะโยธิน\" (Kosayodhin) เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2962 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และเนื่องจากเป็นสกุลทหารบก จึงมีคำว่า \"โยธิน\" ประกอบในนามสกุล",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#3",
"text": "นายอภิรักษ์เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง เริ่มจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 การลงคะแนนเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้ นายอภิรักษ์ เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547\nหลังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมานายอภิรักษ์ได้รับเลือกตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2553 นายอภิรักษ์ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเขต 2 กรุงเทพมหานคร แทนที่ นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส. ไปด้วยเหตุถือครองหุ้นส่วนของบริษัทไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งนายสมเกียรติก็ไม่ขอลงสมัครอีกเนื่องจากอายุมากแล้ว ทางพรรคจึงได้มีมติเลือกนายอภิรักษ์ให้ลงสมัครแทน และนายอภิรักษ์ก็ได้รับคะแนน 71,072 คะแนน ชนะ นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 30,506 คะแนน และได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#8",
"text": "ซึ่งต่อมาในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำตัดสินให้นายอภิรักษ์พ้นข้อกล่าวหาในคดีรถดับเพลิงเนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีผลก่อนหน้าที่จะเข้ารับตำแหน่งแล้ว และได้มีการดำเนินการเพียรพยายามรักษาผลประโยชน์ของกทม. จนได้รับผลประโยชน์คืนให้กับกทม.อีก 250 ล้านบาท\nในช่วงที่นายอภิรักษ์ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการทำโครงการสำคัญต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนกรุงเทพฯ อาทิ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้าบีทีเอส), การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การพัฒนาคุณภาพการศึกษา, การวางผังพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#5",
"text": "ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีมติเอกฉันท์ชี้มูลความผิดในคดีนี้ นายอภิรักษ์ได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งในเวลา 15.30 น. ทั้ง ๆ ที่กฎหมายมิได้มีผลบังคับให้ต้องทำถึงขนาดนั้น แต่นายอภิรักษ์ระบุว่าต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่การเมืองไทย ทั้งนี้ให้มีผลในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสร็จสิ้น",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
},
{
"docid": "16719#2",
"text": "นายอภิรักษ์มีฉายาจากสื่อมวลชนว่า \"หล่อเล็ก\" คู่กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีฉายาว่า \"หล่อใหญ่\" และต่อมามีนักการเมืองพรรคเดียวกันได้รับฉายาทำนองนี้อีกเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคที่ได้รับฉายา \"หล่อโย่ง\" และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคที่มีฉายาว่า \"หล่อจิ๋ว\"",
"title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน"
}
] |
1169 | เทคโนโลยีสารสนเทศ มีประโยชน์ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "1773#0",
"text": "เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (English: information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล [1] ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ [2] ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ [3][4] =",
"title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ"
}
] | [
{
"docid": "563684#1",
"text": "วิทยาเขตชุมพร เริ่มก่อตั้งจากแนวความคิดในการขยายพื้นที่ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังไปสู่ภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2526 ได้ทำการศึกษาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จำนวนประมาณ 11,224 ไร่ และได้ทำการขออนุญาตจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้สถาบันฯ เข้าทำประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว สถาบันฯ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานต่อทบวงมหาวิทยาลัย และได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง \"สถานีวิจัยการเกษตรชุมพร\" เป็นหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา ในสังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร แต่สถาบันฯ ได้ขอทบทวนและเปลี่ยนแปลงหน่วยงานเป็น \"สำนักศึกษาและวิจัยชุมพร\" มีฐานะเทียบเท่าคณะ และได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยให้วิทยาเขตสารสนเทศเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล โดยใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์",
"title": "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์"
},
{
"docid": "203548#5",
"text": "เป็นกระบวนการที่มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นประจำวัน เป็นข้อมูลกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น ลูกค้าทำการสั่งซื้อหรือจ่ายเงิน การเก็บข้อมูลสินค้าคงคลัง ในธุรกิจที่มีการทำรายการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานนี้เรียกว่าระบบประมวลผลธุรกรรม เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า ระบบนี้จะมีการจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกันการคิดคำนวณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ ทำการจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้นและทำการสรุปข้อมูล เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น มีการเก็บ (Storage)การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานแต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า\nคือ ระบบประมวลผลรายการที่ครอบคลุมกิจกรรมหลัก ๆ ขององค์กร แต่จะแตกต่างจากระบบประมวลผลรายการที่ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และออกรายงานต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นรายงานสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งไม่ใช่งานประจำที่ทำอยู่ทุกวัน เหมือนกับระบบประมวลผลรายการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ยังใช้สำหรับการวางแผน การติดตามและควบคุมงานในองค์กรด้วย ซึ่งผู้บริหารระดับล่าง และกลางเป็นผู้ใช้งาน\nระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ \nระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา เป็นระบบการทำงานเดิมที่เคยมีอยู่แล้วภายในองค์กร เป็นระบบที่มีความสำคัญกับการทำงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่องค์กรที่มีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น legacy System จะมีผลและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องคำนึกถึง เนื่องจากว่า legacy System มักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานประจำของพนักงานภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลง หรือ การนำระบบใหม่ๆมาแทนที่ระบบเก่าจึงเกี่ยวข้องกับบุคคลภายในองค์กร และควบคุมได้ค่อนข้างยาก\nคือระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ Database และ Data ร่วมกัน ซึ่งจะคอยจัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลักๆขององค์กรเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "896975#2",
"text": "โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากดาร์ปามีส่วนสำคัญในการจัดหาเทคโนโลยีที่ไม่ใช่ทางการทหาร เช่นเครือข่ายคอมพิวเตอร์และรากฐานของอินเทอร์เน็ต รวมไปถึง ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) ในเทคโนโลยีสารสนเทศ",
"title": "ดาร์ปา"
},
{
"docid": "203548#15",
"text": "เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ หลายครั้งที่จะนิยามความหมายว่า \"เทคโนโลยีสารสนเทศ\" ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทของวิสากิจเชิงเสมือนจริง คือ hardware virtualization แต่โดยทั่วไป วิสาหกิจเชิงเสมือนจริงแยกจากการใช้ประโยชน์ในธุรกิจ และข้อมูลจากทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งวิสาหกิจเชิงเสมือนจริงนั้นยอมรวมกับทรัพยากรสารสนเทศ ด้าน Hardware, Server และรวมถึงทรัพยากรต่างๆที่ต้องการ",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "82735#6",
"text": "2. ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศทั้งที่มีอยู่และที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า สร้างงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ตามนโยบายและภารกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อสร้างความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติในฐานะที่เป็นองค์กรเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อตอบสนองการตัดสินใจเชิงนโยบายระดับชาติด้วยการสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่าง (Unique and differentiate) โดยใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวนำบนฐานของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ประกอบด้วย 4 มิติหลักที่สำคัญ ได้แก่ มิติด้านการเกษตรเชิงพื้นที่ มิติด้านสังคมและทรัพยากร มิติด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และมิติด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ",
"title": "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)"
},
{
"docid": "157367#0",
"text": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา () เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องตามเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) \nคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักวิชาการวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร",
"title": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา"
},
{
"docid": "203548#19",
"text": "มีนักวิชาการให้ความหมายของคำว่า Knowledge Workers ว่ากลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร โดยแปลงและประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลข่าวสารใหม่ ซึ่งจะนำไปใช้ในการค้นหาและแก้ปัญหาขององค์กร เพิ่มผลประโยชน์ให้กับองค์กร พวกเขาสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับคนอื่น เรียนรู้จากผู้อื่น พร้อมที่จะเสี่ยงและเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ใช่แค่เพียงแต่จ้องจะวิพากษ์วิจารณ์จับผิดผู้อื่น กล่าวโดยสรุป Knowledge Workers ก็คือคนที่แก้ปัญหา ใช้สติปัญญาไม่ใช่งานแรงงานหรือธุรการงานประจำ พวกเขาต้องการความอิสระในการปฏิบัติงานสูง ใส่ใจต่อคุณภาพของการตัดสินใจและการใช้วิจารณญาณ มีความรู้พื้นฐานที่คนอื่นเลียนแบบได้ยาก สามารถในการแยกแยะ สร้าง ใช้ และพัฒนาข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ให้มีความลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม เพื่อผลประโยชน์คือความสำเร็จขององค์กร",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "2923#1",
"text": "การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์",
"title": "การจัดการความรู้"
},
{
"docid": "79324#1",
"text": "ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับสามารถประยุกต์ศาสตร์แขนงดังกล่าวไปใช้งานให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีภูมิปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นในคุณธรรม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณและจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยผลิตบัณฑิตจากพื้นฐานของการนำศักยภาพที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยมาประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพด้านศิลปะซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย",
"title": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "203548#11",
"text": "SOA มีประโยชน์อย่างไร\nSOA มีประโยชน์อย่างมากทั้งบริษัทเอกชนและองค์กรในภาครัฐ โดยถ้ามองในแง่ของบริษัทเอกชน SOA จะช่วยทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจได้ง่าย ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มของบริษัทนั้น ๆ",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "312504#4",
"text": "สังคมอุดมปัญญา” ในที่นี้หมายถึงสังคมที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างชาญฉลาด โดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความเฉลียวฉลาด (Smart) และรอบรู้สารสนเทศ (Information literacy) สามารถเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง",
"title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)"
},
{
"docid": "396534#0",
"text": "communications-enabled application (CEA) ประกอบด้วย ชุดขององค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และองค์ประกอบของเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวมเข้าด้วยกันในรูปแบบเฉพาะ ด้วยระบบ service-oriented architecture (SOA) เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลิตผลให้กับองค์กร หรือพัฒนาปรับปรุงประสบการณ์ทำงานของผู้ใช้งาน",
"title": "Communications-enabled application"
},
{
"docid": "34263#6",
"text": "ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพงษ์ เรืองรัมย์ OSK98(94) รองอธิการบดีและคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้คร่ำวอดในวงการวิศวกรมาเป็นเวลาหลายปี กล่าวว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้วิศวกรเป็นจำนวนมาก ทำให้ความนิยมของวิศวกรในสาขาไฟฟ้า และ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์รวมไปถึงสารสนเทศกำลังมาแรง\n“ด้วยเหตุผลที่ว่าการทำงานต่างๆจำเป็นต้องใช้เครื่องมือระบบอัตโนมัติ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจวัดกันที่ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล ใครมีข้อมูลมาก และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ดี ก็จะได้เปรียบในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เราจะเห็นได้ว่า การรวบรวมข้อมูลจะแตกต่างจากอดีต ข้อมูลที่มีทุกชนิด จะมีส่วนสำคัญหรือมีผลเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรทั้งสิ้น รวมถึงการทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดด้วย ปัจจุบันข้อมูลที่ไม่ได้นิ่งอยู่กับที่ แต่สามารถเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานแต่ละแห่งผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตได้ เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจว่า สายงานด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศจึงค่อนข้างจะเป็นที่นิยม เพราะว่าในตลาดกำลังต้องการแรงงานด้านนี้เป็นจำนวนมาก”",
"title": "วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร"
},
{
"docid": "305768#2",
"text": "บางสัปดาห์จะมีการนำคนในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคนที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้หรือไปแข่งขันจนเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มาสัมภาษณ์ในรายการ โดยส่วนใหญ่จะสัมภาษณ์ว่าได้ทำอะไรบ้างหรือการแข่งขันที่ได้เข้าร่วมมีกติกาหรือการแข่งขันอย่างไรบ้าง เป็นต้น",
"title": "แบไต๋ไฮเทค"
},
{
"docid": "203548#9",
"text": "SOA แบ่งเป็น 2 คำ Service-Oriented และ Architecture\nทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOAคือเว็บเซอร์วิสแต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะเว็บเซอร์วิสเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "262748#3",
"text": "เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้จัดทำเครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษกขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2539 ด้วยเหตุผลว่าแม้จะมีกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีกิจกรรมหรือโครงการใดได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้นมาก ทางคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเห็นควรว่า คงจะไม่มีของขวัญใดทัดเทียมกับการบันทึกพระราชกรณียกิจ ผลงานด้านการพัฒนาประเทศไทย และสาระความรู้ต่างๆ ลงในสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชนทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีดังกล่าว",
"title": "เครือข่ายกาญจนาภิเษก"
},
{
"docid": "60473#0",
"text": "วิศวกรรมสารสนเทศ () เป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความต้องการของมนุษย์",
"title": "วิศวกรรมสารสนเทศ"
},
{
"docid": "223527#0",
"text": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2538 โดยหลักสูตรแรกที่เปิดสอนคือหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเวลานั้น และในขณะนั้นถือเป็นคณะเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยการสอนมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติเพื่อนำไปใช้จริงในสภาวะแวดล้อมแบบธุรกิจ และมีระบบส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรองรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษานอกชั้นเรียน (Classroom on demand) อนึ่งสามารถเรียกคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้สั้นๆ ว่า SITตามชื่อย่อภาษาอังกฤษของคณะ",
"title": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี"
},
{
"docid": "203548#17",
"text": "วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง สามารถเพิ่มขึ้นเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ ",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "321145#0",
"text": "สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นสาขาหนึ่งภายใต้ภาควิชาบริหารธุรกิจและการตลาดการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจแก่หลักสูตรต่าง ๆ ของภาควิชาบริหารธุรกิจ จนกระทั่งคณาจารย์ภายในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ ได้ร่วมมือกันสร้างและเปิดหลักสูตรการเรียน การสอนของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรทางธุรกิจที่จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น หลักสูตรดังกล่าวมีชื่อว่าหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ ",
"title": "สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้"
},
{
"docid": "1773#17",
"text": "คำว่า \"ข้อมูล\"และ\"สารสนเทศ\" ไม่ใช่คำเดียวกัน อะไรที่เก็บไว้เป็นข้อมูล แต่มันจะกลายเป็นสารสนเทศก็ต่อเมื่อ มันถูกจัดระเบียบและนำเสนอความหมาย[34] ส่วนใหญ่ของข้อมูลดิจิตอลของโลกไม่มีโครงสร้างและถูกเก็บไว้ในหลายรูปแบบทางกายภาพที่แตกต่างกัน[35][36] แม้จะอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ตาม คลังข้อมูลเริ่มถูกพัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1980 ที่จะรวมร้านค้าที่แตกต่างกันเหล่านี้ พวกมันมักจะมีข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งแหล่งภายนอกเช่น Internet, ที่ถูกจัดในลักษณะเพื่ออำนวยความสะดวกให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (English: decision support system หรือ DSS)[37]",
"title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "102559#6",
"text": "ในขณะเดียวกันก็มุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยได้จัดโครงการค้นหายอดนักอ่านของวิทยาเขตตรังซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้จัด อย่างต่อเนื่อง และยังได้พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศทางด้าน ธุรกิจและการจัดการที่ทันสมัย มีทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการเป็นจำนวนกว่า 17,500 เล่ม โดยเป็นบริการร่วมกันของห้องสมุดทั้ง 5 วิทยาเขต และเชื่อมโยงการบริการกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศที่หลากหลายและกว้างขวาง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการทั้งในด้านการเพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมในการพัฒนาไปสู่การเป็นห้องสมุดเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ ในด้านการพัฒนานักศึกษา วิทยาเขตตรังได้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาเชิงบูรณาการ ในด้านวิชาการและวิชาชีพ ด้านร่างกายและสติปัญญา ด้านสังคม ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม นอกจากนี้ได้สนับสนุนให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตาม ความถนัดและความสนใจ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบ่มเพาะให้นักศึกษาเป็นผู้ที่พร้อมไปด้วยความรู้ ความสามารถ มีวิจารณญาณในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข",
"title": "คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"
},
{
"docid": "126118#12",
"text": "คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เปิดสอน 5 หลักสูตร ดังนี้\nสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ พัฒนาระบบ พัฒนาเว็บไซต์ ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย และทดสอบงานระบบสารสนเทศ การผลิตบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงความเข้าใจในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม\n\"ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพ\"",
"title": "คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา"
},
{
"docid": "72094#1",
"text": "สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee:NITC) ซึ่งได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network: GINet) จากนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้พิจารณาผลการศึกษาของ TDRI ประกอบกับการศึกษาเพิ่มเติม และได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐเสนอต่อ NITC เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ซึ่ง NITC เห็นชอบกับการจัดทำโครงการในรูปแบบการจัดตั้งสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เพื่อพัฒนาเครือข่าย GINet และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ",
"title": "สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ"
},
{
"docid": "312504#1",
"text": "ลักษณะที่แตกต่างของแผนนี้ กับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 1 คือการปรับให้มีจุดเน้นในบางเรื่องที่เด่นชัดขึ้นจากแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับแรก เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทย และพยายามแก้ไขส่วนที่ยังเป็นจุดอ่อน และต่อยอดส่วนที่เป็นจุดแข็งของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด อันจะช่วยนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามที่กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ในที่สุด โดยในแผนนี้มีการกำหนด วิสัยทัศน์ เป้าหมายดังนี้",
"title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)"
},
{
"docid": "11994#6",
"text": "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเน้นการพัฒนาทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนตั้งแต่ปี 2547 ภายใต้ระบบการเรียนรู้แบบ Hybrid และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบ UTCC Hybrid Learning System เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และการดำเนินการเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในรูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่นำ iTunes U มาช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจาก iPad ซึ่งเป็นอุปกรณ์การเรียนที่นักศึกษาทุกคนได้รับเมื่อแรกเข้า โดยระบบ นี้ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และค้นคว้าข้อมูลทุกที่ ทุกเวลา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนทำให้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2558 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้รับการยอมรับจากบริษัท แอปเปิ้ล ในฐานะสถาบันการศึกษาที่โดดเด่น ในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการเรียนการสอน (Apple Distinguished School) และได้ร่วมกับบริษัท แอปเปิ้ล ตั้งศูนย์อบรม Apple Regional Training Center จัดหลักสูตรอบรมและให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้ครู อาจารย์ และนักการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เข้ากับการเรียนการสอนและกับหลักสูตรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังคงเดินหน้าผลักดันและพัฒนาระบบการเรียนรู้ให้ก้าวไปสู่ Digital Hybrid Learning System เพื่อการพัฒนาการศึกษาของไทยในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นยุคเศรษฐกิจดิจิทัล\nหลักสูตรปริญญาเอก และปริญญาโทหลักสูตรปริญญาตรีหลักสูตรภาษาอังกฤษ",
"title": "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย"
},
{
"docid": "308516#1",
"text": "พ.ศ. 2547 วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการประชุมครั้งที่ 5/2549 อนุมัติให้จัดตั้งขึ้น โดยในการจัดตั้งมีเจตนารมณ์ที่จะขยายบทบาทการสร้างดุลยภาพ ในเรื่องการสื่อสาร (Communication and Media) ในสังคมตลอดจนการสร้างและพัฒนาบุคลากร ที่สามารถควบคุมและเท่าทัน การเปลี่ยนแปลง ของ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทต่อสังคมและชีวิตทั้งนี้ โดยอาศัยมิติ คิดที่ต่างไปจากเดิม กล่าวคือ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม จะเป็นองค์กรด้านการศึกษา และวิจัยที่มีรากฐานจากการบูรณาการศาสตร์ ด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ การจัดการเชิงธุรกิจ ศิลปะ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างมิติองค์ความรู้ที่ทัน สำหรับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น โดยเหตุที่เชื่อว่าหากเราสามารถสร้างสมดุลและบูรณาการให้เกิดขึ้นได้แล้ว เราจะสามารถพัฒนาสื่อเหล่านั้นให้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม ได้มากมาย โดยรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบ 2 ภาษา (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)",
"title": "วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"
},
{
"docid": "47012#8",
"text": "โดยล่าสุด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากไอซีที\nกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ตามมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการฯ เช่นกัน ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 และจะมีผลใช้บังคับหลังครบกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศฯ",
"title": "ความสามารถในการเข้าถึงเว็บ"
},
{
"docid": "938261#2",
"text": "ยุคสารสนเทศเกิดจากการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าการผลิตโดยลดขนาดคอมพิวเตอร์ (computer microminiaturization) วิวัฒนาการเทคโนโลยีชีวิตประจำวันและการจัดระเบียบสังคมนี้นำไปสู่ข้อเท็จจริงว่าการปรับให้สารสนเทศและกระบวนการสื่อสารทันสมัยกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนวิวัฒนาการทางสังคม",
"title": "ยุคสารสนเทศ"
},
{
"docid": "312504#5",
"text": "(1) ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์ และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรม (Information Literacy) ก่อ\nเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน\n(2) ยกระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ขึ้นอย่างน้อย 15 อันดับ ใน Networked Readiness Index \n(3) เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20",
"title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)"
}
] |
2664 | เมืองหลวงของประเทศไทยคืออะไร? | [
{
"docid": "1919#0",
"text": "กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น \"เอกนครที่สุดในโลก\" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[1]",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
}
] | [
{
"docid": "520119#0",
"text": "โกตาบารู (; มลายูปัตตานี: \"วังใหม่\") เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศใกล้พรมแดนไทย",
"title": "โกตาบารู"
},
{
"docid": "357477#0",
"text": "เขตการปกครองของประเทศลาว ระดับบนสุดแบ่งเป็น 17 แขวง และ 1 นครหลวง (ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์) แขวงแต่ละแขวงจะแบ่งเป็นเมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงของแขวงเรียกว่า \"เมืองเอก\" แต่เดิมนั้นประเทศลาวเคยมีตาแสงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับตำบลในประเทศไทย ต่อมาได้ถูกยกเลิกไป",
"title": "เขตการปกครองของประเทศลาว"
},
{
"docid": "325675#13",
"text": "การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้นตั้งแต่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2533 สถานที่ท่องเที่ยวอย่างนครวัด เมืองหลวงพระบาง และอ่าวหะล็อง สามารถแข่งขันกับประเทศไทยซึ่งเคยผูกขาดด้านการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน ",
"title": "การท่องเที่ยวในประเทศไทย"
},
{
"docid": "3198#7",
"text": "ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง ได้แก่หลังจากวันดังกล่าวบาห์เรนได้กำหนดเขตการปกครองใหม่ซึ่งแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่ 1 เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern) 2 เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital) 3 เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก (Muharraq) 4 เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central) และ 5 เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern) ต่อมาเขตผู้ว่าราชการกลางถูกยกเลิกไปรวมกับเขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ และเขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทำให้ปัจจุบันบาห์เรนมีเขตปกครองทั้งสิ้น 4 แห่งดังนี้\nไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่างๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้\nมี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ",
"title": "ประเทศบาห์เรน"
},
{
"docid": "479575#6",
"text": "ชาวล้านนาทางภาคเหนือของประเทศไทยใช้โคมลอยตลอดปี เพื่อการเฉลิมฉลองและโอกาสพิเศษอื่น เทศกาลสำคัญมากหนึ่งซึ่งใช้โคมลอย คือ เทศกาลยี่เป็ง ซึ่งจัดในวันเพ็ญ เดือน 2 ของปฏิทินล้านนา (ตรงกับลอยกระทง ในวันเพ็ญ เดือน 12 ของปฏิทินจันทรคติไทย) การเฉลิมฉลองยี่เป็งที่ซับซ้อนที่สุดเห็นได้ในจังหวัดเชียงใหม่ เมืองหลวงโบราณของอดีตราชอาณาจักรล้านนา เทศกาลนี้มุ่งหมายให้เป็นเวลาทำบุญ ในสมัยปัจจุบัน ชาวไทยทุกภาคนิยมลอยโคมเมื่อโคมลอยถูกรวมอยู่ในเทศกาลในส่วนที่เหลือของประเทศ",
"title": "โคมลอย"
},
{
"docid": "93078#0",
"text": "นครหลวงเวียงจันทน์ (Lao: ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ, นะคอนหลวงเวียงจัน) เป็นเขตที่ตั้งของกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงของประเทศลาวและเป็นเขตการปกครองพิเศษนครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีอาณาเขตตรงข้ามอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เชื่อมต่อคมนาคมด้วยสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเขตปกครองที่มีความเจริญของเมืองมากที่สุดในบรรดาเขตการปกครองระดับบนสุด 18 แห่งของประเทศลาว ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยแยกออกมาจากแขวงเวียงจันทน์[1] เดิมชื่อ \"กำแพงนครเวียงจันทน์\" (ກຳແພງນະຄອນວຽງຈັນ) และเปลี่ยนชื่อเป็น \"นครหลวงเวียงจันทน์\"",
"title": "นครหลวงเวียงจันทน์"
},
{
"docid": "1919#119",
"text": "กรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:เมืองหลวงในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:เมืองในประเทศไทย หมวดหมู่:จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทย",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
},
{
"docid": "50370#24",
"text": "วรรณคดีมรดก ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน2) เมืองหลวงเก่าของไทย การผลิตรถยนต์ การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ปิโตรเลียมและการผลิต โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ และ แผนพัฒนาประเทศ",
"title": "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน"
},
{
"docid": "93741#34",
"text": "สงครามยิ่งดำเนินไปฝ่ายญี่ปุ่นก็ยิ่งเพลี่ยงพล้ำมากขึ้น เมื่อข่าวสถานการณ์ของการรบในพม่าของญี่ปุ่นเลวร้ายลงทุกที ฝ่ายสัมพันธมิตรทำลายแนวป้องกันที่อิรวะดีลงอย่างราบคาบ ประกอบกับการรบในทะเลของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เป็นตกฝ่ายเสียเปรียบ อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. ค่อยๆลดลงเนื่องจากประเทศต้องตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบเหมือนกลุ่มประเทศอักษะ จอมพล ป. จึงเห็นว่าควรย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์เพราะมีความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ เพื่อเป็นฐานทัพลับเพื่อซ่องสุมกำลังไว้เพื่อรบขับไล่ญี่ปุ่น โดยวางแผนที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและหันมาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น จนกระทั่ง 20 กรกฎาคม 2487 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เสนอพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ พ.ศ. 2487 ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่ออนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ มีผลดำเนินการอย่างถาวรตลอดไป แต่ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติด้วยคะแนนเสียง 48 ต่อ 36 ด้วยเหตุผลว่า \"เพชรบูรณ์เป็นแดนกันดารภูมิประเทศเป็นป่าเขาและมีไข้ชุกชุม เมื่อเริ่มสร้างเมืองนั้นผู้ที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานล้มตายลงนับเป็นพัน ๆ คน...\" จอมพล ป. จึงตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย"
},
{
"docid": "235584#3",
"text": "ปัจจุบันด่านภูดู่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเจ็ดต้น โดยจุดแข็งของด่านภูดู่คือการเชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปนครหลวงเวียงจันทน์ และเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวที่สั้นและสะดวกที่สุดของประเทศไทย รวมทั้งเป็นจุดผ่านแดนขนถ่ายเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมระหว่างเมืองปากลายกับนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาวอีกด้วย จุดอ่อนของด่านภูดู่คือยังไม่สามารถขอใช้พื้นที่ 1,500 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมของกรมป่าไม้ได้ ",
"title": "จุดผ่านแดนถาวรภูดู่"
},
{
"docid": "2229#2",
"text": "ดอกลีลาวดียังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว โดยเรียกว่า \"ดอกจำปา\" และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่",
"title": "ลั่นทม"
},
{
"docid": "325675#20",
"text": "หากไม่นับรวมเมืองหลวงของประเทศไทย สามารถแบ่งภาคของการท่องเที่ยว ได้ 5 ภาคดังนี้",
"title": "การท่องเที่ยวในประเทศไทย"
},
{
"docid": "361397#0",
"text": "ลัคเนา (; ; , ตัวปริวรรตอักษรไทย: ลขนอู, , \"Lakhnaū,\" ) เป็นเมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย มีประชากรหนาแน่นมาก ประมาณ 2.7 ล้านคน และถือเป็นเมืองสายหลักของชุมนุมทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อไปรัฐอื่นๆ อีกมากมาย",
"title": "ลัคเนา"
},
{
"docid": "74294#0",
"text": "เชียงใหม่ () เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเมืองวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเมือง และตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เขตเทศบาลมีพื้นที่ 40.22 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในแง่ของจำนวนประชากรของเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีประมาณ 130,000 คน นับว่าเป็นเทศบาลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจากเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลนครหาดใหญ่ นอกจากนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่ยังเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไทย\nชื่อของเชียงใหม่หมายความว่า \"เมืองใหม่\" เนื่องจากเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 1839 แทนเมืองเชียงราย อดีตนครหลวงที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 1805",
"title": "เทศบาลนครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "794774#1",
"text": "ที่มาของขนมโตเกียวนั้นไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่นอน บ้างก็ว่ามาจากขนมยะสึฮะชิ บ้างก็ว่าน่าจะมาจากขนมโดะระยะกิของญี่ปุ่น บ้างก็ว่ามาจากการที่ผู้ขายละเลงแป้งแล้วบีบแป้งเป็นเส้นคล้ายตัวอักษรญี่ปุ่นด้านข้าง ก่อนจะม้วนแป้ง แต่ที่มาที่เชื่อถือกันมากที่สุด เชื่อว่าในราว พ.ศ. 2510 ที่ห้างสรรพสินค้าไทยไดมารู ซึ่งเป็นกิจการห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่นมาเปิดดำเนินกิจการครั้งแรกในประเทศไทย ที่ย่านราชประสงค์ ห้างนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะเป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่มีบันไดเลื่อนและเครื่องปรับอากาศ เชื่อว่าจุดกำเนิดของขนมโตเกียวมาจากการที่มีผู้ขายอยู่ที่ห้างแห่งนี้ โดยดัดแปลงมาจากขนมโดะระยะกิของญี่ปุ่น แล้วตั้งชื่อขนมของตนเองที่ทำขึ้นใหม่นี้ว่า \"ขนมโตเกียว\" เนื่องจากไทยไดมารูนำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นรวมถึงอาหารด้วย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างใด โดยที่คำว่า \"ได\" () หมายถึง \"ใหญ่\" และ \"มะรุ\" (マル) หมายถึง \"วงกลม\" รวมความหมายถึง \"วงกลมใหญ่\"",
"title": "ขนมโตเกียว"
},
{
"docid": "2123#1",
"text": "มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38 อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร์",
"title": "ประเทศมองโกเลีย"
},
{
"docid": "33621#35",
"text": "การชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่เหี้ยมโหดอำมหิต และจบด้วยการจับกุมนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน ภาพของการล้อมฆ่า ล้อมทำร้าย ภาพของการแขวนคอ ตอกลิ่ม นั่งยางเผาสด เป็นความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในใจกลางเมืองหลวง ข้างพระราชบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ที่เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา เป็นที่สะเทือนใจของประชาชนทั่วไป ",
"title": "รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี"
},
{
"docid": "4427#1",
"text": "ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวัด",
"title": "เมืองหลวง"
},
{
"docid": "110327#0",
"text": "ชาวไทยเชื้อสายจาม เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในตระกูลมาลาโย-โพลินีเชียนหรือชนชาติมลายู อาณาจักรจามอยู่ระหว่าง ญวนกับเขมร ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลามเรียกกันว่าแขกจาม มีภาษาพูดที่สื่อสารกันคือ ภาษามลายู เป็นกลุ่มภาษาออสโตรนีเชียน เข้ามาในประเทศไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ ในช่วงหลังจากเสียกรุงวิชัย เมืองหลวงของจามปาให้แก่เวียดนาม คือ ",
"title": "ไทยเชื้อสายจาม"
},
{
"docid": "330764#8",
"text": "แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือได้ว่าค้ำจุนเศรษฐกิจเกษตรกรรมของไทย โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและเป็นทางน้ำสำหรับขนส่งสินค้าและผู้คน ในทางกลับกัน ลักษณะทางธรรมชาติของคาบสมุทรในทางภาคใต้ คือ ชายฝั่งทะเลที่ยาว เกาะนอกฝั่ง และบึงพรรณไม้ป่าชายเลนที่กำลังลดจำนวนลงสภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณีสัณฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะตั้งอยู่บนที่ราบตอนกลางของประเทศ แต่เนื่องจากมันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด เขตมหานครแห่งนี้จึงอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ทั้งหกนี้มีความแตกต่างกันโดยมีเอกลักษณ์ของตนเองในด้านประชากร ทรัพยากรพื้นฐาน ลักษณะธรรมชาติ และระดับของพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายในภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านี้ได้เป็นส่วนสำคัญต่อลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย",
"title": "ภูมิศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "17500#0",
"text": "ภาคกลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่",
"title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "77183#8",
"text": "นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย อย่างในรัฐปีนัง (เกาะหมากในอดีต) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดไชยมังคลาราม มีคนเชื้อสายไทยในอำเภอเบอสุต (Besut) ในรัฐตรังกานู ในอดีตรัฐปะหังก็มีประวัติว่ามีชาวไทยมาเป็นเจ้าเมืองด้วยในอดีต มีคนเชื้อสายไทยบ้างในรัฐสลังงอห์ และในเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งทุกชุมชนก็จะมีวัดไทยปรากฏอยู่และเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวพุทธ นอกจากกลุ่มชาวไทยพุทธแล้ว ยังมีกลุ่มชาวไทยมุสลิมอีกกลุ่มที่เรียกว่า ซัมซัม (Samsam) ซึ่งมีเชื้อสายไทยแต่นับถือศาสนาอิสลาม",
"title": "มาเลเซียเชื้อสายไทย"
},
{
"docid": "314991#4",
"text": "ในนิยายทั้งสองเรื่อง ประเทศสารขัณฑ์ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย ตอนเหนือติดประเทศจีน และมีบางส่วนติดกับประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน มีเมืองหลวงคือกรุงไฮโด (ไฮโธ) ซึ่งหันหน้าไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางภูมิศาสตร์) โดยสถานการณ์ภายในประเทศค่อนข้างวุ่นวาย",
"title": "อเมริกันอันตราย"
},
{
"docid": "386369#155",
"text": "การท่องเที่ยวได้รับความเสียหายในรูปแบบของค่าเสียโอกาสในการนำรายได้เข้าสู่ประเทศรวมถึงชื่อเสียงของประเทศเนื่องจากหลายประเทศได้ออกเตือนภัยให้นักท่องเที่ยวระวัดระวังในการเข้าประเทศไทย รวมถึงไม่ควรเข้าสู่เมืองหลวงของประเทศไทยและเมืองใหญ่สำคัญเช่นจังหวัดเชียงใหม่โดย",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "223050#0",
"text": "ชาวโมซัมบิกเชื้อสายไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ในกรุงมาปูโต เมืองหลวงของประเทศโมซัมบิก ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ส่วนมากเป็นช่างวิศวกรที่เข้ามาทำงานในบริษัทเจ็นเร็คเอ็นจิเนียริ่งของประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งบริษัทจะได้คนไทยมาทำงานต้องไปซื้อตัวคนงานไทย โดยเสียเงินถึงหัวละ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7.6 หมื่นบาท บริษัทเจ็นเร็คไม่ยอมใช้ช่างชาติอื่น เพราะมองว่าช่างชาติอื่นฝีมือสู้ช่างไทยไม่ได้ เพียงระยะเวลา 17 เดือนช่างไทย 97 คน สามารถสร้างเบ้าหลอมอะลูมิเนียมขนาดน้ำหนัก 35 ตัน ได้ถึง 291 เบ้า ซึ่งเบ้าหลอมที่จะใช้ผลิตแร่อะลูมิเนียมนี้จะมีความผิดพลาด ได้ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรต่อเบ้า บริษัทเจ็นเร็คกล่าวว่า งานละเอียดอ่อนขนาดนี้ไม่มีชาติไหนทำได้ยกเว้นชาติไทย นอกจากนี้ยังมีชาวไทยที่เข้าไปทำธุรกิจป่าไม้ และเหมืองแร่ด้วย",
"title": "ชาวไทยในโมซัมบิก"
},
{
"docid": "363611#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประเทศอังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของประเทศพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย",
"title": "คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนไทย-พม่า"
},
{
"docid": "195151#5",
"text": "ลอสแองเจิลลิสมีพลเมืองไทยที่ใหญ่ที่สุดนอกประเทศไทย ราวๆ 80,000 คน ของชาวอเมริกันเชื้อสายไทยประมาณ 120,000 คนในรัฐแคลิฟอร์เนีย อาศัยอยู่ในลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทยทาวน์แห่งแรกของโลก ใน พ.ศ. 2545 มีผู้อพยพชาวไทยประมาณ 80,000 คน อาศัยในลอสแอนเจลิส ไทยเชื้อสายจีน ยังถูกรวมในประชากรไทยด้วย บางครั้งลอสแอนเจลิสถูกอ้างเป็นจังหวัดที่ 78 ของประเทศไทย รวมถึงชื่อเมืองลอสแอนเจลิสยังพ้องความหมายกับชื่อเมืองหลวงของไทย (กรุงเทพมหานคร หมายถึง เมืองของนางฟ้า) ",
"title": "ไทยทาวน์ (ลอสแอนเจลิส)"
},
{
"docid": "33212#2",
"text": "Template:CJKV) หรือ เงี้ยว (ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ)[2] คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพม่า และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า[3]คนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคนที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต มีหลายกลุ่มเช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง (ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่) หรือที่คนไทยเรียกว่า ไทใหญ่ จะเห็นได้ว่าภาษาไตและภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ เมืองหลวงของรัฐฉานคือ ตองยี มีประชากรประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ สีป้อ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และท่าขี้เหล็ก",
"title": "ไทใหญ่"
},
{
"docid": "6835#14",
"text": "สำนักงานตัวแทนทางกงสุลของรัฐบาลไทย มีฐานะเป็นสถานกงสุลใหญ่หรือสถานกงสุล (Consulate-General หรือ Consulate) ในระบบของกระทรวงการต่างประเทศไทย ราชการฝ่ายการทูตและราชการฝ่ายกงสุลไม่ได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาดเหมือนเช่นในระบบของบางประเทศ และเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไทยเมื่อออกไปประจำการในต่างประเทศสามารถมีโอกาสเป็นได้ทั้งนักการทูตหรือเจ้าพนักงานกงสุล กงสุลมีหน้าที่ช่วยเหลือและคุ้มครองพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลในดินแดนของประเทศผู้รับ และเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและไมตรีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ กงสุลแตกต่างจากเอกอัครราชทูตตรงที่เอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนจากประมุขแห่งรัฐหนึ่งไปประจำประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เอกอัครราชทูตไทยประจำอีกประเทศหนึ่งมีได้เพียงคนเดียว และโดยปกติจะประจำการอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในเมืองหลวงของประเทศผู้รับ ขณะที่กงสุลไทยในแต่ละประเทศอาจมีได้หลายคน ประจำอยู่ในเมืองสำคัญต่าง ๆ ของประเทศผู้รับ (ที่มิใช่เมืองหลวง) เพื่อให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทยในท้องถิ่นนั้น ๆ ของประเทศผู้รับ ทั้งคนไทยที่พำนักอยู่เป็นประจำและที่เดินทางไปเยือน (เช่น การให้บริการต่ออายุหนังสือเดินทางและออกเอกสารเดินทางชั่วคราวให้หากทำหาย การช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก เจ็บป่วย หรือต้องคดีในต่างประเทศ และการอำนวยความสะดวกด้านทะเบียนราษฎร เช่นการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ออกสูติบัตรและมรณบัตร ผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร และจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร) และอำนวยความสะดวกในส่วนที่เกี่ยวกับทางราชการไทยแก่พลเมืองของประเทศนั้นในภูมิภาคที่กงสุลประจำอยู่ด้วย (เช่น การตรวจลงตราหนังสือเดินทางต่างชาติเพื่ออนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรหรือที่เรียกกันว่า \"การให้วีซ่า\" และการรับรองเอกสารต่างๆ) ทั้งนี้ ภายในสถานเอกอัครราชทูตไทยเองที่เมืองหลวงก็จะมีฝ่ายกงสุลสังกัดอยู่ด้วยเช่นกัน และตามระบบ เอกอัครราชทูตไทยจะเป็นหัวหน้าผู้บังคับบัญชาของกงสุลไทยในเมืองอื่นๆ ในประเทศนั้นๆ (ถ้ามี)ด้วย ",
"title": "กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "348563#0",
"text": "เนื้อหาในหน้านี้เป็นรายการภาพธงชาติของประเทศต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามทวีป โดยยึดตามรายชื่อที่ปรากฏในหน้าบทความ รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง (อ้างอิงตามการบัญญัติของราชบัณฑิตยสถานของไทย) ทั้งนี้รายชื่อดังกล่าวได้มีการเรียงลำดับใหม่ตามพจนานุกรม โดยยึดตามชื่อสามัญของแต่ละประเทศในภาษาไทยเป็นหลัก",
"title": "รายการภาพธงชาติ"
}
] |
3477 | พรรคชาตินิยมเวียดนาม หรือเหวียตโกว๊กก่อตั้งเมื่อใด? | [
{
"docid": "743373#0",
"text": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม () หรือเหวียตโกว๊ก () เป็นพรรคการเมืองชาตินิยมในเวียดนามที่ได้พยายามกอบกู้เอกราชเวียดนามจากฝรั่งเศสในระหว่างต้นศตวรรษที่ 20 โดยได้กำเนิดในช่วงยุค 1920 เมื่อปัญญาชนวัยหนุ่มได้เริ่มเผยแผ่หลักการปฏิวัติ ในปี ค.ศ.1927 หลังจากที่สำนักพิมพ์ประสบความล้มเหลวเพราะการล่วงล้ำของฝรั่งเศสและการปิดกั้นความคิด พรรคชาตินิยมเวียดนามจึงได้ถูกก่อตั้งโดย โดยนำรูปแบบมาจากพรรคก๊กมินตั๋งของประเทศจีนในยุคนั้น (รูปอักษรจีนของทั้งสองพรรคเขียนเหมือนกัน ดังนี้ 國民黨) พรรคชาตินิยมเวียดนามได้มีชนชั้นกลางเข้าร่วมด้วยอยู่พอสมควร โดยเฉพาะคุณครูอาจารย์และปัญญาชน แต่ไม่ได้รับความสนใจจากชาวนาและกรรมการ พรรคจึงได้ก่อตั้งขึ้นอย่างลับๆ",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
}
] | [
{
"docid": "743373#8",
"text": "พรรคชาตินิยมเวียดนามค่อยๆถูกกลืนเข้ากับองค์กรเรียกร้องเอกราชเวียดนามที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนของโฮจิมินห์ ใน พ.ศ. 2483 โฮได้เดินทางมายังยูนนาน เขาได้เสนอความร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนกับขบวนการชาตินิยมเช่น พรรคชาตินิยมเวียดนาม ในเวลานั้น สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นแล้ว ญี่ปุ่นได้เข้ามาครอบงำจีนตะวันออก และเข้ามามีอำนาจแทนที่ฝรั่งเศสในเวียดนาม โฮได้เดินทางต่อไปกวางสี ซึ่งเป็นที่กองทัพของฝ่ายชาตินิยมต่อต้านญี่ปุ่นตั้งอยู่และร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งของจีน และความร่วมมือของนักชาตินิยมได้เกิดขึ้น โฮได้จัดตั้งสันนิบาตเอกราชเวียดนามหรือเวียดมิญ โฮ หง็อก ลาม หรือต่อมาคือฝั่ม วัน ดง ซึ่งเป็นนักชาตินิยมในพรรคชาตินิยมเวียดนามได้เข้าร่วมกับโฮ ต่อมา เวียดมิญ ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อเต็มเป็นสันนิบาตปลดปล่อยเวียดนาม ไม่ใช่สถานการณ์ที่ง่ายนัก ผู้นำพรรคชาตินิยมเวียดนามอีกคนนึง เจี่ยว หอย กง ซึ่งจบมาจากสถาบันวิชาการทหารก๊กมินตั๋งต้องการท้าทายพรรคคอมมิวนิสต์ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่วู ฮอง คาน เป็นผู้นำกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงในพรรคชาตินิยมเวียดนาม สันนิบาตปฏิวัติเวียดนามเป็นสหภาพของกลุ่มชาตินิยมเวียดนามหลายกลุ่ม นำโดย กลุ่มพรรคชาตินิยมเวียดนามที่นิยมจีน นายพลจากก๊กมินตั๋ง จาง ฟากุย ได้สร้างสันนิบาตขึ้นมาเพื่อสร้างอิทธิพลของจีนในอินโดจีนเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่น สันนิบาตนี้นำโดยเหงียน ไฮ ทาน ซึ่งเกิดในจีนและพูดภาษาเวียดนามไม่ได้ นายพลจางพยายามขัดขวางกลุ่มคอมมิวนิสต์ในเวียดนามและโฮจิมินห์ไม่ให้เข้ามาสร้างอิทธิพลในสันนิบาต ก๊กมินตั๋งให้ความช่วยเหลือเวียดนามกลุ่มนี้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
},
{
"docid": "743373#4",
"text": "ใน พ.ศ. 2468 มีปัญญาชนในฮานอยกลุ่มเล็กๆ นำโดยครูชื่อ ฟาม ตวน ไต และพี่ชายคือฟาม ตวน ลาม ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติโดยใช้ความรุนแรงเพื่อเรียกร้องเอกราชให้เวียดนาม เผยแพร่หนังสือและแผ่นพับเกี่ยวกับซุน ยัตเซ็น และการปฏิวัติในจีน พ.ศ. 2454 และเปิดโรงเรียนเพื่อสอนการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรกว็อกหงือหรืออักษรละตินให้แก่ชนชั้นทำงาน กลุ่มนี้ได้ดึงดูดใจนักเรียนจากภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มของเหงียน ท้าย ฮอก ฮอกเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนพานิชย์ฮานอย ต่อมาโรงพิมพ์ของพวกเขาถูกฝรั่งเศสสั่งปิด กลุ่มนี้จึงได้จัดกิจกรรมทางการเมืองโดยตรง ใน พ.ศ. 2470 กลุ่มนี้มีสมาชิกราว 200 คน กระจายอยู่ใน 18 จังหวัดทางภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม\nพรรคชาตินิยมเวียดนามจัดตั้งขึ้นจากการประชุมในฮานอย เมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดนเหงียน ท้าย ฮอก เป็นผู้นำ พรรคนี้ถือเป็นพรรคที่เน้นแนวทางปฏิวัติพรรคแรกในเวียดนาม ก่อตั้งก่อนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน 3 ปี พรรคนี้เน้นสังคมนิยม ต้องการจัดตั้งสาธารณรัฐเวียดนามที่เป็นเอกราช ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปด้วยวิธีทางการทหาร",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
},
{
"docid": "743373#5",
"text": "การจัดรูปแบบของพรรคใช้ตามพรรคก๊กมินตั๋งในจีน แต่ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างระหว่างกัน การต่อสู้เน้นการต่อสู้ทางทหารเพื่อยึดอำนาจ และการฝึกอบรมประชาชนระยะหนึ่งก่อนจะจัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกพรรคส่วนใหญ่เป็นครู ลูกจ้างของอาณานิคมฝรั่งเศสหรือเจ้าหน้าที่ในกองทัพอาณานิคม มีกรรมกรน้อยมาก ความนิยมของพรรคตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกต่อต้านฝรั่งเศสในเวียดนามภาคเหนือในทศวรรษ 2463 พรรคนี้ได้มองหาแนวร่วมจากกลุ่มชาตินิยมอื่นๆในเวียดนามเพื่อร่วมต่อสู้เรียกร้องเอกราช พรรคได้ประณามพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามของโฮจิมินห์ในการที่ทรยศต่อฟาน โบ่ย เจิว นักชาตินิยม โดยจับตัวส่งให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกเงินค่าหัว\nปัญหาที่สำคัญของพรรคชาตินิยมคือเงิน ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยากลำบาก ได้เปิดที่พักและร้านอาหารในชื่อ \"Vietnam Hotel\" ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2471 เพื่อหาเงิน รัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจนี้ การเปลี่ยนแปลงภายในพรรคเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมเมื่อ เหงียน ควก ญู ขึ้นเป็นผู้นำแทนฮอก มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อเป็นรัฐบาลเงา ได้แก่แผนกกฎหมาย บริหาร และยุติธรรม ข้อมูลของฝรั่งเศสคาดว่าใน พ.ศ. 2472 พรรคนี้มีสมาชิกราว 1,500 คน ส่วนใหญ่อยู่ทางที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง ส่วนแรงงานมักอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์\nการลอบสังหารชาวฝรั่งเศสในฮานอย แอร์เว บาซินเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พรรคชาตินิยมตกต่ำลง ไม่แน่นอนว่าผู้ยิงบาซินเสียชีวิตเป็นสมาชิกพรรคหรือได้วางแผนด้วยตัวเอง ฝรั่งเศสได้โจมตีสมาชิกพรรคเท่าที่สามารถหาได้ มีสมาชิกพรรคถูกจำคุกถึง 78 คน สมาชิกหลักที่เป็นคณะกรรมการส่วนใหญ่ถูกจับได้ยกเว้นฮอกและญู\nใน พ.ศ. 2472 พรรคชาตินิยมได้แตกแยกออกเป็นส่วน นำโดยเหงียน แท เงียบ บางแหล่งเชื่อว่าเงียบมีการติดต่อกับฝรั่งเศสอย่างลับๆ ในกลางปีนั้น ฮอกเสนอที่จะให้มีการลุกฮือทั่วไป โดยเฉพาะโดยทหารชาวเวียดนามในกองทัพฝรั่งเศส สมาชิกระดับกลางของพรรคคัดค้านเพราะเห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะเคลื่อนไหว แต่ฮอกยืนยันว่าต้องการยกระดับองค์กรไปสู่การต่อสู้อย่างรุนแรง แผนการปลุกระดมเพื่อลุกฮือในที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงดำเนินในช่วงปลายปี พ.ศ. 2472 โดยกองกำลังของพรรคชาตินิยมเข้าร่วมกับทหารชาวเวียดนามในการโจมตีเมืองสำคัญทางเหนือคือฮานอยและไฮฟอง ผู้นำพรรคได้ตกลงที่จะจำกัดการต่อสู้เฉพาะในตังเกี๋ยเพราะที่อื่นพรรคยังอ่อนแออยู่\nณ เวลาประมาณ 1:30 น. ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ทหารประมาณ 40 คนที่ประจำการที่เอียนบ๊าย ถูกกองกำลังของพรรคชาตินิยมเวียดนาม 60 คนโจมตี เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 29 คนถูกโจมตี กบฏได้แบ่งแยกกำลังกันไปสังหารเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ฝ่ายพรรคชาตินิยมเวียดนามสามารถชักธงของตนบนยอดตึกได้ แต่อีก 2 ชั่วโมงต่อมา ปรากฏว่าการก่อกบฏนี้ล้มเหลว ในเวลา 7:30 น. กองทัพอินโดจีนฝรั่งเศสได้ต่อต้านการโจมตีและออกคำสั่งไปยังทหารที่เยนไบ๊",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
},
{
"docid": "743373#3",
"text": "กลุ่มที่เหลืออยู่ได้ใช้สันติวิธีในการต่อสู้ ขณะที่กลุ่มอื่นๆนั้นได้หนีไปยังมณฑลยูนนาน ซึ่งพวกเขาได้อาวุธและฝึกซ้อมรบอยู่ที่นั้น ระหว่างยุค 1930 พรรคได้ถูกบดบังโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน เวียดนามได้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความวุ่นวายภายหลังการยอมแพ้ของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1945 พรรคชาตินิยมเวียดนามกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามเป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ความวุ่นวายได้หมดไป โฮจิมินห์ได้กวาดล้างกลุ่มทหารของพรรคชาตินิยมเวียดนามออกไปกลุ่มทหารคอมมิวนิสต์เวียดนาม ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกลายเป็นผู้ต่อต้านจักรวรรดินิยมอย่างไร้ผู้เทียมเท่า หลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1สิ้นสุดลง เวียดนามได้ถูกแบ่งแยกเป็นสองส่วน ทางพรรคได้ย้ายไปอยู่เวียดนามใต้ ภายหลังเหตุการณ์ไซ่ง่อนแตกแล้ว พรรคได้ย้ายไปยังนอกประเทศและยังเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในปัจจุบัน\nฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับเวียดนามเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 เมื่อมิชชันนารีให้ความช่วยเหลือแก่เหงียน อัญ ที่ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเกียลองแห่งราชวงศ์เหงียน แต่ต่อมา ในสมัยจักรพรรดิมิญหมาง ได้ปราบปรามชาวคริสต์ในเวียดนามอย่างรุนแรง ฝรั่งเศสเริ่มรุกรานเวียดนามเมื่อ พ.ศ. 2401 และยึดครองเวียดนามเป็นอาณานิคมทั้งหมดใน พ.ศ. 2426 การต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชเกิดขึ้นเป็นระยะ เช่น การต่อสู้ของขบวนการเกิ่นเวือง การปฏิวัติทางภาคใต้ พ.ศ. 2459 และการก่อการกำเริบของไทเหงียน เป็นต้น",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
},
{
"docid": "743373#1",
"text": "ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 พรรคชาตินิยมเวียดนามเริ่มเป็นที่รู้จักจากการลอบสังหารเจ้าพนักงานชาวฝรั่งเศสและผู้ช่วยชาวเวียดนาม จุดเปลี่ยนของพรรคได้เข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1929 จากเหตุการณ์ซึ่งเป็นเหตุการณ์การสังหารแรงงานเกณฑ์ชาวฝรั่งเศส แม้ว่าการสมรู้ร่วมคิดกับผู้ก่อการไม่ชัดเจนนัก แต่เจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสกลับกล่าวหาว่าพรรคชาตินิยมเวียดนามคือผู้มีส่วนร่วม สมาชิกประมาณ 300-400 ของสมาชิก 1,500 คนถูกปราบปรามและถูกจับกุม ผู้นำหลายคนถูกจับกุม แต่ห้อกได้จัดการจนสามารถหลบหนีไปได้",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
},
{
"docid": "379329#0",
"text": "พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเวียดนาม (The Viet Nam Democratic Socialist Party; ภาษาเวียดนาม: Đảng Dân chủ Xã hội Việt Nam) เป็นพรรคการเมืองในเวียดนามใต้ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2487 โดยฮวีญฟู๊โส ผู้ก่อตั้งฮว่าหาว พรรคนี้ก่อตั้งโดยการรวมตัวกันนักสังคมนิยมที่เป็นชนชั้นกลางในไซ่ง่อนและจังหวัดใกล้เคียง ฮวีญฟู๊โสถูกเวียดมินห์ฆ่าตายเมื่อ พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นพรรคจึงสลายตัวไป ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 นายพลเหงียนซ้ากโหง่ได้กล่าวอ้างว่าได้ฟื้นฟูพรรคนี้ขึ้นอีก พรรคนี้ได้สามที่นั่งในการเลือกตั้งแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2502",
"title": "พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเวียดนาม"
},
{
"docid": "743373#9",
"text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นได้จัดตั้งจักรวรรดิเวียดนามขึ้นเป็นรัฐหุ่นเชิด และได้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมืองที่ต่อต้านฝรั่งเศสหลายคน รวมทั้งสมาชิกพรรคชาตินิยมเวียดนาม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กลุ่มเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ได้ขึ้นสู่อำนาจและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลหลังจากญี่ปุ่นถอนตัวออกไปจากเวียดนาม กลุ่มพรรคชาตินิยมเวียดนามประมาณ 100 คน ได้เดินทางจากจีนเข้าสู่เวียดนามแต่กลับถูกเวียดมิญสังหารที่แนวชายแดน พรรคชาตินิยมเวียดนามในเวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากพรรคก๊กมินตั๋งในจีน พรรคชาตินิยมได้ควบคุมที่มั่นตามแนวชายแดนจีน-เวียดนามใกล้ลาวก่าย พวกเขาได้ตั้งสถาบันวิชาการทหารที่เยนไบ๊ เพื่อฝึกทหารของตนเอง พรรคชาตินิยมเวียดนามได้จัดตั้งกลุ่มในฮานอยและออกหนังสือพิมพ์เพื่อเผยแพร่นโยบายและอุดมการณ์",
"title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม"
},
{
"docid": "145359#0",
"text": "พรรคกิจกรรมประชาชนแห่งเวียดนาม (; ) เป็นองค์กรต่อต้านคอมมิวนิสต์พลัดถิ่นของเวียดนาม มีที่ตั้งในสหรัฐ ผู้นำพรรคคือเหงียน ซิบิญ และดร.เหงียน ซวนงาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2534 เป้าหมายของพรรคคือรวมชาวเวียดนามให้เป็นเอกภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและดำเนินนโยบายทางงด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ เศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชน มีการจัดตั้งสำนักงานในกัมพูชาแต่ถูกจับกุมและส่งตัวไปดำเนินคดีในเวียดนาม พวกเขาพยายามเข้าไปรณรงค์เพื่อหาเสียงสนับสนุนในเวียดนามแต่สมาชิกของกลุ่ม 21 คน ที่เข้าไปในเวียดนามถูกจับขังคุกนานกว่า 2 ปี",
"title": "พรรคกิจกรรมประชาชนแห่งเวียดนาม"
},
{
"docid": "142019#0",
"text": "แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง () ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนและต่อต้านรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือ และกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมนี้ก่อตั้งตามแนวชายแดนกัมพูชา ประธานคือ เหงียน หืว เถาะ",
"title": "แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้"
}
] |
3012 | เลดีกากามีอัลบั้มแรกชื่อว่าอะไร ? | [
{
"docid": "211529#1",
"text": "The Fame อัลบั้มแรกของเธอ ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ และสามารถติดชาร์ต 1 ใน 10 อันดับแรกในอีกหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำสถิติขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในอันดับที่ 2 และขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์ ของบิลบอร์ด และอีกสองเพลงเปิดตัว คือ Just Dance และ Poker face ที่กาก้าร่วมแต่งและผลิตกับเรดวัน ก็เป็นที่นิยมและติดอันดับหนึ่งในหลายประเทศ รวมถึงอันดับต้น ๆ ของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม The Fame ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่มากถึง 6 สาขารางวัล และได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิกส์/เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมจากเพลง Poker Face ต้น ค.ศ. 2009 เธอออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกในชื่อ The Fame Ball Tour และในปลายปีเดียวกัน เธอได้ประกาศวางจำหน่ายอัลบั้มเสริม The Fame Monster เป็นอัลบั้มต่อจากอัลบั้มเปิดตัว The Fame อัลบั้มนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 6 สาขารางวัล สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งด้วยซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม คือ Bad Romance และได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สอง The Monster Ball Tour ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน",
"title": "เลดีกากา"
}
] | [
{
"docid": "211529#51",
"text": "จากคำวิจารณ์ต่อดนตรีของเธอ, อิทธิพลทางแฟชั่น และภาพลักษณ์ของเธอที่ผสมผสานกันทำให้เธอมีสถานะเป็นนางแบบ, ผู้นำแฟชั่น และแฟชั่นไอคอน ทั้งได้รับการยอมรับและถูกปฏิเสธ อัลบั้ม The Fame อัลบั้มแรกของเธอได้รับคำวิจารณ์ในทางบวกและให้ตำแหน่งเธอในฐานะที่ทำเพลงป็อบอันมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร และสิ่งจำเป็นที่จะขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ ๆ ความสนใจในตัวเธอกลายประเด็นทางสังคมที่สำคัญ ความสามารถทางศิลปะในตัวเธอ และถูกมองว่าเป็น \"ผู้เพิ่มความนับถือในตัวเอง\" ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่กาก้ามีต่อแฟนเพลงที่ได้รับการยกย่อง เธอได้ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงเศรษฐกิจกำลังซบเซา",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "329211#1",
"text": "ไอดอลลิ่ง!!! ก่อตั้งเมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมาชิกรุ่นที่หนึ่ง มีทั้งหมด 9 คน ออกผลงานซิงเกิลแรกในปี พ.ศ. 2550 ชื่อว่า “กันบาเระ โอโตเมะ (วะไร)” \nจากนั้น ได้ออกผลงานซิงเกิลที่ 2 ชื่อว่า “สโนว์ เซเรเบชั่น” ในปีถัดมา และออกอัลบั้มแรก ใช้ชื่อว่า “ไดอิจิ นะ โมโนะ”\nหลังจากนั้น ก็มีสมาชิกรุ่นที่สอง เข้ามาสมทบ อีก 9 คน แต่มีหนึ่งคน ติดปัญหาด้านการเรียน จึงลาออกอย่างกะทันหัน \nจึงเหลือเพียงสิบเจ็ดคน ออกผลงานซิงเกิลที่ 3 “โคคุฮาคุ” ซิงเกิลนี้ค่อนข้างเป็นที่รู้จักมากกว่าสองซิงเกิลก่อนพอสมควร และก็ได้ออกผลงาน ซิงเกิลที่ 4 “โชกุโจว ไอดอล” ตามมาในปีเดียวกัน",
"title": "ไอดอลลิ่ง!!!"
},
{
"docid": "211529#27",
"text": "กาก้าประกาศคอนเสิร์ตของเธอขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Artrave: Artpop Ball Tour \nกาก้าได้ร่วมงานกับโทนี เบนเนต กับอัลบั้มเพลงแจ๊ซชื่อ Cheek to Cheek ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2014 อัลบั้มนี้ทำรายได้ 131,000 ก๊อปปี้ในอาทิตย์แรก และได้รับรางวัลแกรมมี่ปี 2015 สาขา Best Traditional Pop Vocal Album กาก้ากับโทนี่เปิดคอนเสิร์ตร่วมกัน Cheek to Cheek Tour",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "211529#22",
"text": "ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 กาก้าได้เปิดตัวอัลบั้ม บอร์นดิสเวย์ โดยทำสถิติขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอีกหลายๆประเทศ มียอดขายเกิน 1 ล้านชุด ภายในไม่ถึง 5 วัน และมียอดดาวน์โหลดอัลบั้มทางอแมซอนและไอทูนส์ สูงเป็นประวัติศาสตร์ของวงการดนตรี โดยปีนี้กาก้าได้ถูกจัดอันดับจากนิตยสารฟอบส์ให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลอันดับ 1ของโลก และผู้ที่มีรายได้มากที่สุดของปี 2011 โดยเธอได้รายได้ส่วนหนึ่งจากยอดขายอัลบั้มและคอนเสิร์ต The Monster Ball ที่ปิดทัวร์ ก่อนขายอัลบั้ม",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "211529#37",
"text": "เมื่อวันที่ 9 กันยายน เลดี้ กาก้าได้ปล่อยซิงเกิ้ลใหม่จากอัลบั้มชุดที่ 5 ที่มีชื่อว่า เพอร์เฟกต์อิลลูชัน (Perfect Illusion) โดยมีโปรดิวเซอร์หลักคือ มาร์ก รอนสัน เคลวิน ปาร์คเกอร์ และบลัดป๊อบ โดยเพลงนี้ได้ติดอันดับ 1 บน iTunes Chart เกือบ 70 ประเทศ รวมถึงอเมริกาและก็ไทยด้วย และได้เปิดตัวในอันดับที่ 15 ใน Billboard Hot 100 และอันดับ 1 ในประเทศฝรั่งเศส,โดยอัลบั้มใหม่ชื่อว่า โจแอนน์ (Joanne) วางขายในวันที่ 21 ตุลาคม 2016 และเปิดตัวขึ้นอันดับ 1 ใน Billboard 200 ทำให้เป็นอัลบั้มที่ 4 ของเธอที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ , กาก้าได้แสดงซีรีส์ American Horror Story อีกครั้ง ในซีซั่นที่ 6 โดยเธอเล่นบทเป็น Scathach",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "218076#1",
"text": "อัลบั้มแรกของวงได้ออกวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2525 ในชื่อว่า \"รักและคิดถึง\" ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทางวงก็ได้รับ ขาว ไวยวุฒิ สกุลทรัพย์ไพศาล พี่ชายแท้ๆของ วิรุฬ สกุลทรัพย์ไพศาล หรือ \"ดำ ฟอร์เอฟเวอร์\" ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักร้องนำคนใหม่ของวงคู่กับ \"เอ๋ พัชรา\" นักร้องประจำวงเพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับวง โดยในปีนั้นทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในชื่อว่า \"รักข้ามขอบฟ้า\" มีเพลงดังคือ รักข้ามขอบฟ้า",
"title": "โอเวชั่น"
},
{
"docid": "74619#3",
"text": "ร็อบบี วิลเลียมส์ ออกซิงเกิ้ลแรก Freedom เพลงเก่าของ จอร์จ ไมเคิล โดยในอัลบั้มแรกของเขาที่ชื่อว่า “ ไลฟ ธรู อะ เลนซ” (Life Thru A Lens) กับค่ายคริสสะลิส เร็คคอร์ดส (ChrystallMeth Records) ตามมาด้วยเพลง \"Old Before I Die\" (#2) , \"Lazy Days\" (#8) และ \"South Of The Border\" (#14) จนกระทั่งซิงเกิ้ลที่ชื่อว่า Angels ได้ปล่อยออกมาในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เป็นการเน้นความดังของร็อบบี เพลงนี้อยู่ในชาร์ทนานกว่า 27 สัปดาห์ และขายได้ถึง 868,000 แผ่น",
"title": "ร็อบบี วิลเลียมส์"
},
{
"docid": "145537#1",
"text": "มีล่า จามิล่า พันธ์พินิจ เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 กำลังศึกษาอยู่ที่ Traill International School มีล่าได้เข้าสังกัดกามิกาเซ่ตั้งแต่อายุ 13 ปีและมีผลงานเพลงอัลบั้มแรกที่ชื่อว่า \"Mila\" โดยมีเพลงเปิดตัวคือ im just for you 身分”เพลงเปิดตัวแรงที่ทั้งฮิตและบ่งบอกถึงตัวตนของสาวน้อยคนนี้ได้เป็นอย่างดี ซิงเกิลเปิดตัวของเธอก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและเป็นที่รู้จักในวง กว้างอย่างรวดเร็ว",
"title": "จามิล่า พันธ์พินิจ"
},
{
"docid": "877014#4",
"text": "อัลบั้มแรกของเขาใช้ชื่อว่า \"อิตโกส์ไลก์ดิส\" ออกจำหน่ายในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิงเกิลที่สี่ \"เกตมีซัมออฟแดต\" เป็นซิงเกิลอันดับ 1 ซิงเกิลที่สองในต้นปี ค.ศ. 2014 ซิงเกิลที่ห้า \"เมกมีวอนนา\" ออกจำหน่ายสู่คลื่นวิทยุเพลงคันทรีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เพลงขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตคันทรีแอร์เพลย์ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2015 ในระหว่าวสองซิงเกิลนี้ เรตต์ และ จัสติน มัวร์ ร้องรับเชิญให้แบรนต์ลีย์ กิลเบิร์ต ในเพลง \"สมอลทาวน์โทรว์ดาวน์\"",
"title": "โทมัส เรตต์"
}
] |
2893 | หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยามีมารดาชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "285046#1",
"text": "หม่อมเจียงคำ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2422 ที่เมืองอุบลราชธานี เป็นธิดาลำดับที่ 9 หรือเป็นธิดาท่านสุดท้องของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) กับญาแม่ดวงจันทร์ บุตโรบล หม่อมเจียงคำมีศักดิ์เป็นหลานปู่ ในเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) (บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวสุริยะ) กับอัญญานางทอง บุตโรบล มีศักดิ์เป็นเหลนทวด ในท้าวสีหาราช (พูลสุข หรือ พลสุข) กรมการเมืองอุบลราชธานีชั้นผู้ใหญ่ กับอัญญานางสุภา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากท้าวโคต ผู้เป็นพระราชโอรสในเจ้าพระตา (เจ้าพระวรราชปิตา) ผู้ครองนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) นอกจากนี้ ท้าวโคตผู้เป็นต้นสกุล บุตโรบล ยังมีศักดิ์เป็นอนุชากับเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ 1 กับเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ (เมืองเก่าคันเกิง) องค์ที่ 3 ด้วย",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
}
] | [
{
"docid": "134139#21",
"text": "ณ อุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายพระราชมารดา สายเจ้าอุปฮาด (สุดตา) และเจ้าอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5 สุวรรณกูฏ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 3 พระราชโอรสในเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล สิงหัษฐิต สกุลสายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ พระนัดดาในพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต) บิดาของนายเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน ทองพิทักษ์ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าอุปฮาด (สุดตา) เชษฐาของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) พระราชโอรสในเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของเจ้าอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล อมรดลใจ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (อ้ม) อดีตบรรดาศักดิ์ที่ท้าวสุริยวงศ์ เจ้าเมืองตระการพืชผลองค์แรก ท่านนี้เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ 3 และเป็นเขยในเจ้าองค์ครองนครจำปาศักดิ์ โทนุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย หรือท้าวคำพูน สุวรรณกูฏ ผู้เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า พระเรืองชัยชนะ เจ้าเมืองมหาชนะชัย ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี ต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้การปกครองของเมืองอุบลราชธานี โดยมีหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นนัดดาในพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก บุตโรบล สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และเจ้าราชบุตร (คำ) โอรสในเจ้าสีหาราช (พลสุข) และเจ้าโคตร (ท้าวโคต) ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสในเจ้าพระตา และเป็นพระราชอนุชาในเจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ผู้รับพระราชทานสกุลคือ พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) สายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์",
"title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"
},
{
"docid": "285046#9",
"text": "หลังการสิ้นพระชนม์ของพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ หม่อมเจียงคำและหม่อมเจ้าชายทั้ง 2 พระองค์ ผู้เป็นบุตร ได้อุทิศที่ดินจำนวน 27 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินอันเป็นมรดกตกทอดของญาติวงศ์เจ้านายเมืองอุบลราชธานีในอดีต เป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2474 ก่อนหน้านี้ ได้บริจาคที่ดินของท่านและญาติ ๆ ให้ใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์แก่แผ่นดิน ได้แก่ ที่ดินของเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) ที่ดินของพระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) ที่ดินของพระลินจังคุลาทร (พั้ว บุตโรบล) ที่ดินของพระบริคุตคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) ที่ดินของพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) ที่ดินของเจ้าอุปฮาช (โท ณ อุบล) ที่ดินของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการที่สำคัญในจังหวัดอุบลราชธานีหลายแห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี ทุ่งศรีเมือง (อดีตสถานที่ถวายเพลิงพระศพเจ้าเมืองและพระราชทานเพลิงเจ้านายเมืองอุบลราชธานี) โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี (เดิมเป็นที่ตั้งโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช) และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์[1]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "134139#19",
"text": "เจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ ๑ เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครกาลจำบากนัคบุรีศรีจำปาศักดิ์ องค์ที่ ๓ เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ ๒ ( ต้นสกุลพระราชทาน พรหมวงศานนท์ ) อัญญาเจ้าโคต (เจ้าโคตร) พระบิดาของท้าวสีหาราช (พลสุข บุตโรบล) ปู่ของเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) ทวดของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) ผู้เป็นบิดาของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงจำชุมพล ณ อยุธยา) ในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ อัญญานางมิ่ง อัญญาท้าวซุย อยู่บ้านเขื่องใน พระศรีบริบาล อัญญานางเหมือนตา อยู่บ้านสะพือตระการ อัญญาท้าวสุ่ย บิดาของอัญญาท้าวสิงห์ ต้นตระกูลสิงหัษฐิต ท้าวสิงห์มีบุตรธิดาคือ อัญญานางทอง ๑ อัญญาท้าวสีหาราช (หมั้น) ๑ อัญญานางบัว ๑ อัญญานางจันที ๑ อัญญานางวันดี ๑ อัญญาท้าวมา ๑ อัญญานางสีทา (ไม่มีบุตรธิดา) ๑ อัญญานางแพงแสน ๑ ฝ่ายอัญญาท้าวสีหาราช (หมั้น) นั้น สมรสกับอัญญานางสุนี ธิดาเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) มีบุตรธิดาคือ พระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) ๑ อัญญาท้าวสี ๑ อัญญาครูจำปาแดง ๑ อัญญานางบุญกว้าง ๑",
"title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"
},
{
"docid": "285046#7",
"text": "พระเจ้าพุทธวิเศษ หรือหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เป็นพระพุทธรูปศิลาแลงปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร เป็นศิลปะยุคศรีโคตรบูรร่วมสมัยกับทวาราวดีของสยาม อายุราวพันกว่าปี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นับถือกันว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านชีทวนและตำบลใกล้เคียง ประชาชนนิยมจัดงานสมโภชเฉลิมฉลองหลวงพ่อพระพุทธวิเศษเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน คือวันขึ้น 14 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เรียกว่า งานปิดทองหลวงพ่อพุทธวิเศษประจำปี ส่วนบ้านชีทวนนั้นเดิมเป็นเมืองขอมโบราณเรียกว่า เมืองซีซ่วน] ภายหลังพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช ผู้เป็นต้นราชตระกูลของหม่อมเจียงคำ ได้โปรดให้ท้าวโหง่นคำพร้อมราษฎร 150 ครัวเรือน ยกมาตั้งเป็นบ้านเมืองอีกครั้งที่เมืองซีซ่วน[7] ชาวเมืองเชื่อกันสืบมาว่า ผู้ที่แต่งงานมีครอบครัวมานานแล้วแต่ไม่มีบุตรธิดาไว้สืบสกุล สามีภรรยาก็มักพากันมานมัสการหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เพื่อบนบานศาลกล่าวให้ตนมีบุตรธิดาไว้สืบสกุล ปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จมากมาย มีตำนานเล่าสืบมาว่าครั้งหนึ่ง พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ และหม่อมเจียงคำ ได้เสด็จออกไปเยี่ยมไพร่ฟ้าประชาชนตามหัวเมืองต่างๆ และได้เดินทางผ่านบ้านชีทวน ทราบข่าวว่าที่บ้านชีทวนมีพระพุทธศักดิ์สิทธิ์คือหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ สามารถที่จะบนหรือขอสิ่งที่ปรารถนาได้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์พร้อมหม่อมเจียงคำก็ดำริแก่กันว่า แต่เมื่อครั้งเสกสมรสมานานแล้วก็ยังหาได้มีพระโอรสพระธิดาไว้สืบสกุล ทั้งสองพระองค์จึงทรงนำดอกไม้ธูปเทียนและทองคำเปลวลงไปสักการบูชาขอพระโอรสพระธิดาจากหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ต่อมาไม่นานหม่อมเจียงคำก็ทรงพระครรภ์และได้ประสูติพระโอรส 2 พระองค์ ตามความปรารถนา คือหม่อมเจ้าอุปลีสานและหม่อมเจ้ากมลีสาน[8]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#4",
"text": "เกี่ยวกับนามของหม่อมเจียงคำนั้น คำว่า เจียง เป็นภาษาลาวโบราณ ตรงกับภาษาบาลีว่า จาป หมายถึง ธนู ศร หน้าไม้ กระสุน แล่ง (ที่ทำสำหรับวางลูกธนูหรือหน้าไม้ หรือที่ใส่ลูกธนูหน้าไม้สำหรับสะพาย)[3] บางครั้งชาวลาวเรียกว่า หน้าเจียง หรือ เกียง ดังนั้น นามของหม่อมเจียงคำจึงหมายถึง ธนูทองคำ หม่อมเจียงคำ เดิมสกุล บุตโรบล นามสกุลบุตโรบลเป็นนามสกุลที่ทายาทบุตรหลานเจ้านายเมืองอุบลราชธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นามสกุลเลขที่ 2692 เขียนแบบอักษรโรมันคือ Putropala [4] ตามบัญชีผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลคือ \"นายร้อยโท พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง) นายทหารกองหนุน สังกัดกองสัสดีมณฑลอุบล ปู่ชื่อราชบุตรสุ่ย บิดาชื่อเจ้าราชบุตร (คำ)\" หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา และนายร้อยโท พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง) เป็นลูกพี่ลูกน้องกันและทั้ง 2 ท่านเป็นหลานปู่ ในเจ้าราชบุตร (สุ่ย)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#10",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศใต้ติดกับถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันออกติดกับถนนราชบุตร ทิศตะวันตกติดกับที่ดินของเจ้าอุปฮาช (โท) บิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ที่ดินแปลงใหญ่นี้เป็นเดิมเป็นมรดกจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) เดิมเป็นที่ตั้ง[[ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี กรมศิลปากร",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#12",
"text": "เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนารีนุกูล ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นบริเวณเดียวกันกับทุ่งศรีเมือง แต่ปัจจุบันได้ถูกตัดถนนผ่านหน้าโรงเรียน ทำให้พื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีถูกแยกออกไปจากทุ่งศรีเมือง บริเวณกลางทุ่งศรีเมืองนี้เดิมเป็นสถานที่ราชการของเมือง ใช้สำหรับจัดงานพิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง ตลอดจนงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าเมือง คณะอาญาสี่ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น ทุ่งศรีเมืองในปัจจุบันมีทิศเหนือติดกับถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศใต้ติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศตะวันออกติดกับถนนนครบาล ทิศตะวันตกติดกับถนนอุปราช ปัจจุบันทุ่งศรีเมืองใช้สำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประกอบรัฐพิธีต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนพรรษา 5 ธันวาคมของทุกปี ตลอดจนประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา ประกอบพิธีทางประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัด เช่น เทศกาลวันแห่เทียนเข้าพรรษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เป็นต้น",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#15",
"text": "ทิศเหนือติดกับวัดไชยมงคล ทิศใต้ติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศตะวันออกติดกับถนนอุปราช ทิศตะวันตกติดกับสุสานโรมันคาทอลิก เดิมเป็นที่ตั้งของกรมทหาร ต่อมาได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชในปี พ.ศ. 2474 และเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - 2553 ปัจจุบันทางราชการได้ย้ายศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีไปอยู่ที่ตำบลแจระแม และปรับปรุงอาคารเรียนเดิมของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งยังคงตั้งอยู่ในที่ดินแปลงนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุบลราชธานี โดยอยู่ในความดูแลของเทศบาลนครอุบลราชธานี",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#0",
"text": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ท.จ.) (4 ธันวาคม พ.ศ. 2422-20 ตุลาคม พ.ศ. 2481 ) มีนามเดิมว่า อัญญานางเจียงคำ สกุลเดิม บุตโรบล เป็นเจ้านายสตรีของเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาสยามมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ที่ถวายตัวเป็นหม่อมใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง[1] เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างราชสำนักสยาม กับเจ้านายพื้นถิ่นเมืองอุบลราชธานีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีนโยบายปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#8",
"text": "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล (ท.จ.ว.) อดีตประธานกรรมการผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงมีพระโอรส-พระธิดา 3 ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์พัชรีสาณ ชุมพล (พ.บ.) สมรสกับคุณสุภาพรรณ ปันยารชุน มีบุตรธิดา 2 ท่าน คือ หม่อมหลวงสุพัชร ชุมพล (พ.บ.) หม่อมหลวงภัทรีศา ชุมพล หม่อมราชวงศ์หญิงพวงแก้ว ชุมพล (พ.บ.) สมรสกับนายแพทย์กุณฑล สุนทรเวช มีบุตรธิดา 3 คน คือ ทิพย์สุดา (สุนทรเวช) ถาวรามร พิมพ์แก้ว (สุนทรเวช) มาโกด์ สิทธิ์สรรพ์ สุนทรเวช หม่อมราชวงศ์จาตุรีสาณ ชุมพล สมรสกับนางชูศรี (คงเสรี) ชุมพล ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 2 ท่าน คือ หม่อมหลวงสุภสิทธิ์ ชุมพล หม่อมหลวงสุทธิมาน (ชุมพล) โภคาชัยพัฒน์ หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง สวัสดิวัฒน์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ และหม่อมเจ้าหญิงฉวีลิลัย สวัสดิวัฒน์ (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พะรองค์เจ้าคัคณางยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีพระโอรส 2 ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์ศักดิสาณ ชุมพล สมรสกับนางวราภรณ์ บุณยรักษ์ มีบุตรธิดา 2 ท่าน คือ หม่อมหลวงสิทธิสาณ ชุมพล หม่อมหลวงวราภา ชุมพล รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล สมรสกับนางอรพันธ์ ชาติยานนท์ มีบุตรธิดา 4 ท่าน คือ หม่อมหลวงวรารมณ์ ชุมพล หม่อมหลวงสมรดา ชุมพล หม่อมหลวงกมลพฤทธิ์ ชุมพล หม่อมหลวงรัมภาพันธุ์ ชุมพล",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "233894#0",
"text": "หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา\nหม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา บุตรีในท้าวไชยบุตร (บุดดี บุญรมย์) หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2445 ทรงมีพระพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ร่วมหม่อมมารดา 4 พระองค์ คือ",
"title": "หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล"
},
{
"docid": "285046#2",
"text": "หม่อมเจียงคำ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ดังนี้[2]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#17",
"text": "หม่อมเจียงคำ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคอัมพาต เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2481 สิริอายุ 59 ปี[10] ณ โฮงพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) เลขานุการในพระองค์กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้เป็นญาติใกล้ชิดของหม่อมเจียงคำ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ถนนพิชิตรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี[11] ปัจจุบันทายาทได้นำพระอัฐิของท่านบรรจุไว้ ณ บริเวณฐานตั้งใบเสมาหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) และเจ้านายญาติวงศ์เมืองอุบลราชธานี ได้ร่วมกันสร้างไว้ตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2396 ก่อนที่เจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) จะไปราชการศึกสงครามเมืองญวนที่ประเทศเขมร[12]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#20",
"text": "Family of Main Page ท้าวโคต พระราชโอรสเจ้าพระวรราชปิตา (พระตา)ท้าวสีหาราช (พลสุข)เจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล)อาชญาแม่สุภาท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล)อาชญาแม่ทอง บุตโรบลหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยาพระศรีโสภา (ชาวจีน)อาชญาแม่ดวงจันทร์ บุตโรบลนางทุมมา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285056#0",
"text": "หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา\nหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล เป็นโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2449 เษกสมรสกับหม่อมเจ้าสีดาดำรวง สวัสดิวัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับ หม่อมเจ้าฉวีวิลัย คัคณางค์ ทรงมีพระโอรส 2 ท่าน คือ ",
"title": "หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล"
},
{
"docid": "285046#22",
"text": "Family of Main Page แสนทิพย์นาบัวพระโพสาทธรรมิราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราช หรือเจ้าอุปราช (นอง) แห่งเวียงจันทน์พระราชมารดา (อดีตพระชายาเจ้าชมพู พระเชษฐาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช)เจ้าพระวรราชปิตา (พระตา) หรือท้าวราชวงศาพระชายา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#5",
"text": "พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาณ) เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จมาปรับปรุงและจัดระบบราชการที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้ทรงพอพระทัยต่ออาชญานางเจียงคำ ซึ่งเป็นธิดาของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น) กรมการชั้นผู้ใหญ่ของเมือง จึงได้ทรงขออาชญานางเจียงคำ ต่อเจ้านายผู้ใหญ่ในเมืองอุบลราชธานี คือ พระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) และได้เข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญตามจารีตประเพณีของบ้านเมืองลาวดั้งเดิม ถวายตัวเป็นหม่อมห้ามใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง เมื่อเดือนมีนาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรส 2 พระองค์",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#16",
"text": "ที่ดินแปลงนี้มีทั้งหมด 27 ไร่ ซึ่งตกทอดเป็นมรดกของพระโอรสทั้ง 2 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล (ท.จ.ว.) และหม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล พระโอรสทั้ง 2 ได้มอบให้ทางราชการเมื่อ พ.ศ. 2474 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์อีสานใต้ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของภาคอีสาน และมีผู้ใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก [9]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#18",
"text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน (ท.จ.) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285055#0",
"text": "หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2442 ทรงเษกสมรสกับหม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับ หม่อมพุก จันทรเสน มีบุตรธิดา คือ \nหม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. 2517 ",
"title": "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล"
},
{
"docid": "285046#6",
"text": "การถวายตัวเป็นหม่อมห้ามของเสด็จในกรมนั้น เท่ากับเป็นการสร้างการยอมรับอำนาจการปกครองจากส่วนกลางในหมู่เจ้านายเมืองอุบลราชธานีมากขึ้น และยังทำให้เจ้านายพื้นเมืองบางส่วนขยับฐานะตนเองจากการเป็นเจ้านายในราชวงศ์สายล้านช้างอันเก่าแก่ มาเป็นส่วนหนึ่งในพระราชวงศ์จักรีของสยาม[5] โดยระหว่างที่เสด็จในกรมทรงประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานีนั้น ได้ทรงสร้างตำหนักชื่อว่า วังสงัด ขึ้นบนที่ดินของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) เมื่อ ร.ศ.112 และทรงประทับอยู่กับหม่อมเจียงคำเป็นเวลานาน 17 ปี ก่อนที่จะนิวัติคืนสู่กรุงเทพมหานคร ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังและเสนาบดีที่ปรึกษาในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ภายหลังจากนิวัติสู่กรุงเทพมหานคร พระองค์ก็มิได้กลับมาประทับที่เมืองอุบลราชธานีอีกเลย[6]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#13",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนพิชิตรังสรรค์ ทิศใต้ติดกับถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศตะวันตกติดกับวัดสุทัศนาราม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลจังหวัดอุบลราชธานี ศาลแขวงจังหวัดอุบลราชธานี และด้านหลังของศาลจังหวัดอุบลราชธานี เป็นบริเวณบ้านพักผู้พิพากษาศาล ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นมรดกจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) พระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) พระลินจังคุลาทร (พั้ว บุตโรบล) พระบริคุตคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) และพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#3",
"text": "อัญญานางก้อนคำ สมรสกับ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ปลัดเมืองอุบลราชธานี บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวสิทธิสาร ผู้ช่วยราชการคณะอาญาสี่เมืองอุบลราชธานี อัญญานางอบมา สมรสกับ ท้าววรกิติกา (คูณ) กรมการเมืองอุบลราชธานี อัญญานางเหมือนตา อัญญานางบุญอ้ม สมรสกับ ท้าวอักษรสุวรรณ กรมการเมืองอุบลราชธานี อัญญานางหล้า อัญญานางดวงคำ สมรสกับ รองอำมาตย์ตรี ขุนราชพิตรพิทักษ์ (ทองดี หิรัญภัทร์) อัญญาท่านคำม้าว โกณฺฑญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสารพัดนึก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อัญญาไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์) อัญญานางเจียงคำ หรือหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#11",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศใต้ติดกับถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันออกติดกับถนนหลวง ทิศตะวันตกติดกับถนนราชบุตร (เดิมคือที่ตั้งสโมสรข้าราชการเมืองอุบลราชธานี) ที่ดินแปลงนี้เป็นเดิมเป็นมรดกจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงที่ 1 เมื่อราชการขยายผังบ้านเมืองออกไปและมีการตัดถนนผ่าน จึงทำให้เกิดเป็นที่ดิน 2 แปลงดังปรากฏในปัจจุบัน",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#19",
"text": "กลุ่มสืบสาน นำฮอย หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา[13] อาคารหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันรำลึกหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของหม่อมเจียงคำ[14] กองทุนเครือข่ายแห่งบุญหม่อมเจียงคำอนุสรณ์[15]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "437820#2",
"text": "ซิ่นทิวมุกจกดาวบราณที่หลงเหลือในปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี บริจาคโดยนางสงวนศักดิ์ คูณผล ซึ่งเก็บรักษาต่อมาจากมารดา คือ นางวรเวธวรรณกิจ (ทับทิม โชติบุตร) ซึ่งเป็นพระสหายสหชาติกับ หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช สันนิษฐานว่าได้รับมอบมาจาก หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา (อัญญานางบุญยืน บุญรมย์) อีกหนึ่งผืนเป็นผ้าห่อคัมภีร์ในพิพิธภัณฑสถาน วัดศรีอุบลรัตนาราม อีกส่วนหนึ่งอยู่ในความครอบครองของทายาทเจ้านายเชื้อสายเมืองอุบล คือ เรือตรีสุนัย ณ อุบล และ นายบำเพ็ญ ณ อุบล",
"title": "ผ้าซิ่นทิวมุก"
},
{
"docid": "285046#14",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศใต้ติดกับถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันออกติดกับที่ดินของเจ้าราชบุตร (สุ่ย) ทิศตะวันตกติดกับถนนอุปราช เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี แล้วย้ายไปสร้างใหม่ ณ สำนักงานปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2553 ตั้งอยู่ข้างสำนักงานธนารักษ์จังหวัดอุบลราชธานี ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นมรดกจากเจ้าอุปฮาด (โท) พระบิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#21",
"text": "Family of Main Page เจ้านครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าเจ้าปางคำ เมืองหนองบัวลุ่มภูพระมเหสีเจ้าพระวรราชปิตา (พระตา)พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์พระราชโอรสในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชพระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชพระชายา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#23",
"text": "หมวดหมู่:พระบรมวงศานุวงศ์ลาว หมวดหมู่:หม่อม หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี หมวดหมู่:ราชสกุลชุมพล หมวดหมู่:ณ อยุธยา หมวดหมู่:คุณหญิง หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายใน)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
}
] |
1157 | จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยเป็นนายกหรือไม่ ? | [
{
"docid": "7440#0",
"text": "จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ[1] แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า \"จอมพล ป.พิบูลสงคราม\" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 15 ปี 24 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย \"รัฐนิยม\" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ \"ประเทศสยาม\" เป็น \"ประเทศไทย\" และเป็นผู้เปลี่ยน \"เพลงชาติไทย\" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
}
] | [
{
"docid": "956871#0",
"text": "พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ (หงศ์ โลหะชาละ) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ 2 สมัย และในรัฐบาลบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เคยเป็นคนสนิทของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเป็นนายตำรวจอารักขานายกรัฐมนตรีถึง 3 คน คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายพจน์ สารสิน และจอมพลถนอม กิตติขจร",
"title": "ชุมพล โลหะชาละ"
},
{
"docid": "93367#0",
"text": "สวนสัตว์ลพบุรี หรือชื่อเดิมว่า สวนสัตว์สระแก้ว ตั้งอยู่ด้านหลังของโรงภาพยนตร์ทหารบก หรืออยู่จากอนุสาวรีย์จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประมาณ 100 เมตร สวนสัตว์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม สัตว์ดาวเด่นขวัญใจชาวลพบุรีและชาวไทยคือลิงอุรังอุตัง",
"title": "สวนสัตว์ลพบุรี"
},
{
"docid": "146657#5",
"text": "ดังนั้น ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน ต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเริ่มขบวนที่ท้องสนามหลวง และเดินไปเรื่อยโดยมีทำเนียบรัฐบาลเป็นจุดหมาย มีการลดธงชาติครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง โดยหมายจะให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชี้แจงการเลือกตั้งครั้งนี้ให้จงได้โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันเดียวกันนั้น ต่อมาเมื่อขบวนผู้ชุมนุมมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ที่ทางจอมพล ป.แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมดูแลสถานการณ์ กลับถอดหมวกโบกรับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่าทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และนำพาผู้ชุมนุมเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเจรจากับ จอมพล ป.เอง ที่สุด จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า และได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป.ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมจึงสลายตัวไป และมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2500",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500"
},
{
"docid": "7440#19",
"text": "อีกทั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ซึ่งเป็นนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอแผนการออกมา ทางจอมพล ป. ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิบูลสงคราม ซึ่งถือเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยกว่า ได้สอบถามว่า หากแผนการดังกล่าวไม่สำเร็จ จะมีแผนสำรองประการใดหรือไม่ แต่ทางฝ่าย พ.อ.พระยาทรงสุรเดชไม่ตอบ แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า แล้วทางจอมพล ป. มีแผนอะไร และไม่ยอมตอบว่าตนมีแผนสำรองอะไร ซึ่งทั้งคู่ได้มีปากเสียงกัน หลังจากการประชุมจบแล้ว จอมพล ป. ได้ปรารภกับนายทวี บุณยเกตุ สมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนที่เข้าประชุมด้วยกันว่า ตนเองกับ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้ ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนากลายมาเป็นความขัดแย้งกันระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดชในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ในปี พ.ศ. 2482[5]",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "256019#11",
"text": "จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เคยกล่าวกับนายปาล พนมยงค์ หลังจากที่ได้รับนิรโทษกรรมและได้มาลาบวชกับจอมพล ป. ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2500 โดยจอมพล ป. ฝากข้อความไปยังนายปรีดีว่า",
"title": "ปาล พนมยงค์"
},
{
"docid": "118444#13",
"text": "24 กรกฎาคม – จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ที่ จอมพล ป. นำเสนอ[2] 1 สิงหาคม – พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว 24 สิงหาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]",
"title": "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร"
},
{
"docid": "15720#4",
"text": "ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายรัฐนิยมที่สนับสนุนให้ประชาชนบริโภคก๋วยเตี๋ยว ซึ่งจอมพล ป. เห็นว่าหากประชาชนหันมาร่วมกันบริโภคก๋วยเตี๋ยว จะเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจของชาติในตอนนั้น เพื่อให้เงินหมุนเวียนในประเทศ ดังคำกล่าวของจอมพล ป. ในสมัยนั้นว่า ",
"title": "ก๋วยเตี๋ยว"
},
{
"docid": "56295#1",
"text": "การกบฏครั้งนี้ เกิดหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ประมาณหนึ่งปี และหลังจากกบฏเสนาธิการไม่ถึงหนึ่งปี ก็เกิดกบฏซ้ำอีกครั้ง คือ กบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 และหลังจากนั้นอีกครั้ง คือ กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494.\nความพยายามยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประสบผลสำเร็จในที่สุด ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารทำการโค่นล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม",
"title": "กบฏเสนาธิการ"
},
{
"docid": "225875#0",
"text": "อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 - 1 มกราคม พ.ศ. 2531) เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา",
"title": "พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)"
},
{
"docid": "936#5",
"text": "เดิมประเทศไทยเคยใช้ชื่อว่า สยาม มาแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรากฏใช้เป็นชื่อประเทศชัดเจนในปี 2399[10] ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับเรียกประชาชน และสัญชาติจาก \"สยาม\" มาเป็น \"ไทย\" ซึ่งจอมพล ป. ต้องการบอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวไทยมิใช่ของเชื้อชาติอื่นตามลัทธิชาตินิยมในเวลานั้น[11]:57–8 ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อประเทศกลับเป็นสยามอีกช่วงสั้น ๆ เมื่อปี 2488 และเปลี่ยนกลับมาใช้ว่าไทยอีกครั้งเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ยังเปลี่ยนจาก \"Siam\" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็น \"Thaïlande\" ในภาษาฝรั่งเศส และ \"Thailand\" ในภาษาอังกฤษอย่างในปัจจุบัน[9] อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "766457#2",
"text": "จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเรียกประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปรึกษาหาเรือเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไข เมื่อตกลงกันได้แล้ว จึงแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย ประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น 29 คน ซึ่งอาจารย์เปลื้อง ณ นคร และอาจารย์ทวี ทวีวรรธนะ อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย",
"title": "ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "27996#12",
"text": "พ.ศ. 2490 คณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ รัฐประหารโค่นรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ[11] พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์เข้าร่วมคณะรัฐประหาร เป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้น[11]",
"title": "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"
},
{
"docid": "7440#36",
"text": "จังหวัดพิบูลสงคราม อดีตจังหวัดของประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก หอประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนชุมชนพิบูลสงคราม จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนพิบูลสงครามอุปถัมภ์ จังหวัดราชบุรี ถนนพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม(พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนพิบูลสงเคราะห์๑ จังหวัดลพบุรี โรงเรียนค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี โรงเรียนสาธิต \"พิบูลบำเพ็ญ\" มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี สนามยิงปืนพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี โรงเรียนนครหลวง(พิบูลประเสริฐวิทย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค่ายพิบูลสงคราม กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี พิพิธภัณฑ์จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี สนามกอล์ฟ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายในมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนหินกอง(พิบูลอนุสรณ์) จังหวัดสระบุรี โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล จ.ฉะเชิงเทรา",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "1635#3",
"text": "ในชีวิตราชการ ท่านได้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ อธิบดีกรมศิลปากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ที่น่าสังเกตคือ ท่านได้เป็น \"ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี\" (เทียบเท่าปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันนี้) เป็นคนแรก และคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้าที่ท่านจะได้รับตำแหน่งนี้และหลังจากที่ท่านพ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่มีตำแหน่งปลัดบัญชาการในสำนักนายกรัฐมนตรี มีแต่เพียงตำแหน่งที่เทียบเท่ากันในชื่ออื่น อีกทั้งยังเป็นการรับตำแหน่งในสมัยที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ดำรงตำแหน่งนายกฯได้มาจากการที่กระทำการรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งที่ท่านมีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่สนิทสนมและรับใช้จอมพล ป. มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)"
},
{
"docid": "146636#7",
"text": "ในทางสังคม คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในแวดวงสังคม เป็นผู้ก่อร่วมตั้งสมาคมนักเรียนเก่าราชินีในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 และรับตำแหน่งนายกสมาคม 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2494 และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสภาสตรีแห่งชาติและโรงเรียนสตรีแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2495 ร่วมกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาจอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ภริยาหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช",
"title": "เลขา อภัยวงศ์"
},
{
"docid": "25600#15",
"text": "พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 ของไทย ภายหลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่ง การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นไปโดยสถานการณ์บังคับ จากการได้รับเลือกโดยสภาฯ ในขณะที่ไม่มีผู้อื่นยินดีรับตำแหน่ง เนื่องจากเกรงจะถูกรัฐประหารโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในครั้งนั้นได้ปรึกษากับอธิบดีกรมตำรวจ และตัดสินใจเดินทางไปอธิบายกับ จอมพล ป. ถึงค่ายทหารที่จังหวัดลพบุรีจนเป็นที่เข้าใจและยอมรับของจอมพล ป. ที่จะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ พร้อมกับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กระทรวงคมนาคม อีกด้วย",
"title": "ควง อภัยวงศ์"
},
{
"docid": "766457#4",
"text": "ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวช่วยกันยกร่างเรื่องการปรับปรุงตัวอักษรไทย เสนอจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งท่านเห็นชอบด้วย จึงได้ลงนามในประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการปรับปรุงอักสรไทย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 โดยให้เหตุผลว่า:",
"title": "ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "27996#21",
"text": "วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามให้รัฐบาลลาออก แต่ได้รับคำตอบจากจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง[20] ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยค \"พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ\"[1] วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็กำลังเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏ แต่ไม่ทัน ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำกำลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในคืนนั้นเอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ",
"title": "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"
},
{
"docid": "7440#35",
"text": "การสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองของจอมพล ป. ได้มีการสร้างอัตลักษณ์ผ่าน\"ไก่\" โดยไก่นั้นคือกับปีระกาซึ่งเป็นปีนักษัตรที่จอมพล ป. เกิดตรงกันพอดี โดยสัญลักษณ์ไก่นั้น ได้ถูกสื่อออกมาผ่านตราต่างๆ เช่น ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม หรือปูนปั้นรูปหัวไก่ ที่ประดับอยู่ตรงชายคารับพื้นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล หรือแม้กระทั่งจาน ชาม เก้าอี้ หัวจดหมาย ฯลฯ เพื่อเป็นการสื่อถึงอำนาจบารมีของจอมพล ป. โดยลักษณะตราไก่นั้นมีความคล้ายคลึงกับตราครุฑ (บางข้อมูลได้กล่าวไว้ว่ามีความคล้ายคลึงกับตราแผ่นดินไรซ์ที่สาม ของนาซีเยอรมันในสมัยนั้นเช่นกัน) ทำให้มีหลายๆคน เช่นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ซึ่งเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มองว่าจอมพล ป. พยายามจะทำตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "258785#3",
"text": "รองประธานาธิบดีอินเดียเป็นนายกราชยสภาโดยตำแหน่ง ส่วนอุปนายกราชยสภานั้นเป็นสมาชิกราชยสภาคนหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกด้วยกันเอง และจะทำหน้าที่กำกับการบริหารและการทำงานตามปกติของราชยสภา รวมทั้งทำหน้าที่ประธานการประชุมในวาระเมื่อรองประธานาธิบดี (นายกราชยสภา) ไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ ราชยสภานี้เปิดประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ของไทย",
"title": "ราชยสภา"
},
{
"docid": "766457#0",
"text": "ในปี พ.ศ. 2485 นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม พร้อมด้วยคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย ได้ยกร่างและประกาศใช้อักขรวิธีไทยแบบใหม่ขึ้น เพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง อย่างไรก็ตาม เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากตำแหน่งในปลายปี พ.ศ. 2487 นโยบายต่าง ๆ ในสมัยรัฐบาลชุดก่อนได้ถูกยกเลิก ซึ่งรวมถึงอักขรวิธีไทยดังกล่าวด้วย รวมระยะเวลาการบังคับใช้อักขรวิธีของคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยประมาณ 2 ปี 3 เดือน",
"title": "ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "118444#19",
"text": "29 มิถุนายน - กบฏแมนฮัตตัน: เกิดการกบฏเมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.อ.อานน บุญฑริกธาดา รน. และ น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเรือแมนฮัตตัน ไปคุมขังไว้ที่เรือศรีอยุธยา 29 พฤศจิกายน - รัฐประหารเงียบ: จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง[19]",
"title": "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร"
},
{
"docid": "27996#20",
"text": "ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่หลังจากนั้น 10 วันก็ลาออก สาเหตุเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[18] ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก ซึ่งผลคือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก และได้ตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนักจากการเดินประท้วงของประชาชนจำนวนมาก ที่เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อสถานการณ์ลุกลาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบ ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า \"วีรบุรุษมัฆวานฯ\"[19] จากเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามขาดความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[20] คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว",
"title": "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"
},
{
"docid": "192348#6",
"text": "ในระหว่างสงครามไทย-อินโดจีน (กรณีพิพาทอินโดจีน) พ.ศ. 2483 กองทัพในบัญชาของ พันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ยศในขณะนั้น) สามารถเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ได้ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งเพลงให้เพลงหนึ่งคือ \"นครจำปาศักดิ์\" มีเนื้อหายกย่องวีรกรรมครั้งนี้หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต่อมาถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา ในขณะที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ กระทั่งในเวลาต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม",
"title": "หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)"
},
{
"docid": "12339#23",
"text": "ความพยายามที่จะให้มีการตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ยกร่างพระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะปริญญาของมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อสนองต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สิ้นสุดลงเพราะถูกยึดอำนาจการปกครอง ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงตกไป",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "208246#15",
"text": "จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2481 ตั้วได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงเศรษฐกิจ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กล่าวระลึกว่า \"ท่านผู้นี้ทำงานเข้มแข็งแลเป็นที่วางใจได้เป็นอย่างดี พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น งานที่ได้รับมอบจึงสำเร็จทุกอย่างและดีที่สุด...\"",
"title": "ตั้ว ลพานุกรม"
},
{
"docid": "766457#6",
"text": "ภายหลังจากที่จอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ในวันถัดมานั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้อักขรวิธีดังกล่าว และการใช้เลขสากล ส่งผลให้กลับไปใช้อักขรวิธีไทยแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 ท่านก็มิได้นำอักขรวิธีดังกล่าวกลับมาใช้อีก",
"title": "ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "129331#6",
"text": "ในหนังสือ 36 รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย กล่าวว่า ภายหลังจากการลาออกของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม การซาวเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ซึ่งสมาชิกสภาเลือกพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยคะแนน 81 ต่อ 19 ซึ่งเป็นคะแนนเสียงของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ พระยาพหลพลพยุหเสนาขอถอนตัว เนื่องจากป่วยเป็นอัมพาต จึงมีการซาวเสียงใหม่ เสนอ ควง อภัยวงศ์ สินธุ์ กมลนาวิน และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผลปรากฏว่า ควง อภัยวงศ์ ได้คะแนนไป 69 คะแนน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ 22 คะแนน และ สินธุ์ กมลนาวิน ได้ 8 คะแนน",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 11"
},
{
"docid": "7440#37",
"text": "จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม ได้รับพระราชยศ \"นายกองใหญ่\" ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและมีฐานะเป็นประธานกรรมการและผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน[15]",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
}
] |
1574 | จักรวรรดิโรมัน สิ้นสุดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "830695#2",
"text": "ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จากความพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งในสงครามนโปเลียน จึงเท่ากับเป็นการสิ้นสุดลงของจักรวรรดิแบบหลวม ๆ ซึ่งรวมดินแดนเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่นมาหลายร้อยปี จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไม่เคยมีสถานะเป็นรัฐชาติโดยแท้จริง แม้ว่าชื่อที่่ใช้เรียกขานในภายหลังจะเพิ่มคำว่า \"แห่งชาติเยอรมัน\" เข้าไปด้วยก็ตาม ทั้งนี้ผู้ปกครองของจักรวรรดิต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียพระราชอำนาจการปกครองให้แก่รัฐของจักรวรรดิตลอดช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ผลของสงครามสามสิบปียังส่งผลต่อพระราชอำนาจของจักรพรรดิอย่างร้ายแรง ทั้งยังส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างรัฐทรงอำนาจในยุโรปสองรัฐคือ ราชอาณาจักรฮับส์บูร์ก (ในฐานะรัฐที่ทรงอำนาจมากที่สุดในจักรวรรดิ) และบรันเดนบูร์ก-ปรัสเซีย ซึ่งขยายอาณาเขตของตนเกิดกว่าอาณาเขตของจักรวรรดิ ในขณะเดียวกันนั้นเองนครรัฐขนาดเล็กจำนวนมากภายในจักรวรรดิก็กระจัดกระจายกันออกไป จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงมีนครรัฐขนาดเล็กมากกว่า 1,800 แห่ง และแต่ละแห่งปกครองแยกจากกันอย่างอิสระ",
"title": "ปัญหาเยอรมัน"
},
{
"docid": "180751#6",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่ง'จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์'ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347",
"title": "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "170674#16",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "158520#4",
"text": "หลังพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในปี ค.ศ. 1805 จักรวรรดิได้สูญเสียรัฐต่าง ๆ ไปจำนวนมากแก่ฝรั่งเศส ในการนี้ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้เอารัฐที่ยึดมาได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ ส่งผลให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตัดสินใจยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน",
"title": "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "240641#2",
"text": "แม้ว่าจะได้รับการกู้คืนโดยจักรวรรดิโรมันตะวันออก, จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็มิได้ฟื้นตัวขึ้นอีก เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสมัยประวัติศาสตร์ของยุโรปก็เข้าสู่สมัยต่อมาที่เรียกว่ายุคกลางหรือที่เรียกกันว่ายุคมืด อุดมการณ์และชื่อของจักรวรรดิโรมันตะวันตกได้รับการรื้อฟื้นมาใช้เป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1806",
"title": "จักรวรรดิโรมันตะวันตก"
},
{
"docid": "170674#6",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1804 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จักรวรรดิเก่าจะถูกล้มล้าง โดย 3 เดือนต่อมา นโปเลียนก็ได้สถาปนาตนเองเป็น จักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน",
"title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค"
},
{
"docid": "77808#0",
"text": "จักรวรรดิโรมัน (; ; ) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่",
"title": "จักรวรรดิโรมัน"
}
] | [
{
"docid": "258511#10",
"text": "เมื่อจักรพรรดิอยู่ในมือของอนารยชน รัฐบาลที่ปกครองอิตาเลียก็อ่อนแอลงชายฝั่งทะเลก็ถูกโจมตีเป็นระยะๆ ในปี ค.ศ. 476 เมื่อโรมิวลัสออกัสตัสเสียชีวิต และการปกครองต่างๆ ย้ายไปคอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็สิ้นสุดลง ระหว่างหลายสิบปีแรกอิตาเลียก็ปกครองโดยโอโดเซอร์ (Odoacer) ต่อมาโดยออสโตรกอธและไบแซนไทน์ แต่หลังจากการรุกรานของลอมบาร์ด อิตาเลียก็ถูกแบ่งออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ และไม่ได้มารวมตัวกันอีกจนกระทั่งอีก 1300 ปีต่อมา",
"title": "อิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน)"
},
{
"docid": "52891#17",
"text": "ราชวงศ์การอแล็งเฌียงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและตะวันตกสิ้นสุด อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกกลายเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 962 ด้วยการที่พระสันตะปาปาราชาภิเษกออทโทเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1072 เกิดข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดจักรพรรดิไฮร์ริชต้องทรงเดินข้ามเทือกเขาแอลป์เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา เป็นชัยชนะของฝ่ายคริสตจักรต่อฝ่ายอาณาจักร การเสื่อมอำนาจของพระจักรพรรดิทำให้นครรัฐต่าง ๆ ในอิตาลีเรืองอำนาจขึ้นมา",
"title": "สมัยกลาง"
},
{
"docid": "77808#2",
"text": "จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453",
"title": "จักรวรรดิโรมัน"
},
{
"docid": "152565#2",
"text": "สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages)",
"title": "สมัยโบราณ"
}
] |
2847 | คลองรังสิตประยูรศักดิ์ มีความยาวเท่าไหร่? | [
{
"docid": "177501#6",
"text": "แม้ว่าจะได้รับสัมปทานขุดคลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2431 แล้ว แต่ในสัญญาได้ระบุไว้ว่า บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามต้องเสนอแผนการขุดหรือซ่อมคลอง ระบุแผนที่การขุด ขนาดคลอง และกำหนดระยะเวลาการทำงาน ให้เสนาบดีกรมเกษตราธิการ (เดิมคือ กรมนา ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงเกษตราธิการใน พ.ศ. 2435) พิจารณาก่อนทุกครั้ง โดยใน พ.ศ. 2433 บริษัทได้ยื่นหนังสือขออนุญาตขุดคลองครั้งแรกรวม 8 สาย แต่พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกรมเกษตราธิการในขณะนั้น อนุญาตให้ขุดได้เพียงสายเดียว คือ คลองสายหลัก ซึ่งเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ส่วนปลายคลองเชื่อมกับแม่น้ำนครนายกในเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก บริษัทได้เริ่มขุดคลองนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2433 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาขุดประมาณ 7 ปี คลองดังกล่าวกว้าง 8 วา (16 เมตร) ลึก 5 ศอก (3 เมตร) ยาวประมาณ 1,400 เส้น (56 กิโลเมตร) ในระยะแรกชาวบ้านเรียกคลองนี้ว่า “คลองเจ้าสาย” ตามพระนามพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ หรือเรียกกันว่า “คลองแปดวา” ตามความกว้างของคลอง แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามคลองนี้ว่า “รังสิตประยูรศักดิ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ต้นราชสกุล รังสิต) พระราชโอรสที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ด้วยเหตุนี้ในเวลาต่อมาจึงเรียกชื่อโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ว่า โครงการรังสิต และเรียกบริเวณที่คลองนี้ไหลผ่านว่า ทุ่งรังสิต",
"title": "คลองรังสิต"
}
] | [
{
"docid": "539501#0",
"text": "คลองหกวาสายล่าง หรือ คลองหกวา ขุดขึ้นโดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2433–2447 และเป็นคลองที่อยู่ล่างสุดของโครงการ เริ่มขุดหลังขุดคลองแปดวาหรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปได้ระยะหนึ่ง มีความกว้างหกวา\nคลองหกวาสายล่างเริ่มต้นจากจุดบรรจบของคลองสองและคลองถนน รอยต่อเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นเส้นแบ่งเขตกรุงเทพมหานครกับปทุมธานีออกจากกันในช่วงต้น และผ่านเข้าอำเภอลำลูกกา ในช่วงปลายคลองเป็นเส้นแบ่งอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และสิ้นสุดที่แม่น้ำนครนายก มีความยาว 61 กิโลเมตร",
"title": "คลองหกวาสายล่าง"
},
{
"docid": "86098#1",
"text": "สภาพทั่วไปในเขตเทศบาลเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ผ่านกลาง แบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ขุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 โดยขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี ไปจนถึงเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ความยาวโดยประมาณ 38.4 กิโลเมตร มีคลองซอย 14 คลอง อยู่ในเขตเทศบาลนครรังสิตจำนวน 3 คลองซอย ใช้สำหรับส่งน้ำเพื่อประโยชน์ทางกสิกรรมและคมนาคมขนส่ง",
"title": "เทศบาลนครรังสิต"
},
{
"docid": "177501#0",
"text": "คลองรังสิตประยูรศักดิ์ หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า คลองรังสิต เป็นคลองสายหลักในโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นโครงการคลองชลประทานเพื่อการเกษตรแห่งแรกของไทยที่ริเริ่มขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว รองรับการขยายตัวของการส่งออกข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในขณะนั้น",
"title": "คลองรังสิต"
},
{
"docid": "539493#0",
"text": "คลองหกวาสายบน เป็นคลองที่ขุดขึ้นหลังคลองแปดวา หรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์เริ่มขุดไปได้ระยะหนึ่ง โดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เชื่อมระหว่างคลองหนึ่ง บริเวณเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับแม่น้ำใน ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำนครนายก ที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี จุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายคลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2447 เหตุที่เรียกว่าคลองหกวาสายบน ด้วยเพราะคลองนี้มีความกว้าง 6 วา และอยู่ทางเหนือของคลองแปดวา ส่วนคลองขนาดกว้างหกวาที่อยู่ทางใต้ของคลองแปดวาก็เรียกกันว่าคลองหกวาสายล่าง",
"title": "คลองหกวาสายบน"
},
{
"docid": "31386#0",
"text": "ธัญบุรี [ทัน-ยะ-บุ-รี] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานไปกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปจนสุดเขตจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีความเจริญมากกว่าอำเภอเมืองปทุมธานี เนื่องจากเป็นทางผ่านของการคนนาคมไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเขตเทศบาลนคร 1 แห่ง เขตเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเขตเทศบาลตำบลอีก 1 แห่งในพื้นที่",
"title": "อำเภอธัญบุรี"
},
{
"docid": "213939#21",
"text": "\"ลำนำโศกนิรันดร์\" ( A Song of Unending Sorrow ) หรือ \"ฉางเฮิ่นเกอ\" (長恨歌) เป็นกวีนิพนธ์ของ \"ไป๋จวีอี้\" ((BAI JU YI ค.ศ. 7207-846 ) หนึ่งในรัตนกวีแห่งราชวงศ์ถัง มีความยาว 120 วรรค ขนาดยาว 847 ตัวอักษร ที่ไป๋จวีอี้ได้พรรณนาถึงความรักที่จักรพรรดิถังเสวียนจงมีต่อหยางกุ้ยเฟย นับเป็นบทกวีขึ้นชื่อที่มีขนาดยาวที่สุดในสมัยราชวงศ์ถัง ที่ผู้เขียนได้บรรยายภาพของความรัก และความอาลัยอาวรณ์ของทั้งสองได้อย่างสวยงามและเจ็บปวดที่สุด \n長恨歌\n白居易",
"title": "คิริสึโบะ"
},
{
"docid": "285955#4",
"text": "สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไหลผ่านกลางพื้นที่เป็นเส้นแบ่งเขตโดยธรรมชาติ โดยหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 อยู่ทางทิศเหนือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 1 อยู่ทางทิศใต้มีแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ผ่านประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ และพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ไปยังจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร",
"title": "เทศบาลเมืองบึงยี่โถ"
},
{
"docid": "541652#3",
"text": "ภายหลังจากที่ค่ายมวยศิษย์พ่อแดงได้เข้ารวมกับค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ และภายหลังจากการเสร็จสิ้นการเกณฑ์ทหาร ครูก้านยาวได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนที่ค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ ที่บางพลี กรุงเทพมหานคร เขามีส่วนสูงที่ 6 ฟุต 4 นิ้ว ซึ่งเป็นความสูงที่ผิดปกติสำหรับคนไทยโดยเฉลี่ย ส่งผลให้เป็นขอบเขตในการฝึกสอนชาวอเมริกันและชาวยุโรปที่มีขนาดสูงใหญ่กว่าได้สำเร็จ เขายังได้ปรับรูปแบบมวยไทยให้กับนักมวยที่เข้าแข่งขันในเค-วันรวมถึงศิลปะการต่อสู้แบบผสม ภายใต้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของ ฟิลิปส์ วงษ์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและประธานของแฟร์เท็กซ์ที่จะนำมวยไทยไปยังสหรัฐอเมริกา โดยเขาได้ย้ายไปอยู่ค่ายมวยไทยแฟร์เท็กซ์ รัฐแอริโซนา ใน พ.ศ. 2536 ก่อนที่ค่ายมวยดังกล่าวจะย้ายไปซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2539",
"title": "ก้านยาว อรุณเหลือง"
},
{
"docid": "177501#10",
"text": "นอกจากนั้นบริษัทยังได้สร้างประตูระบายน้ำอีก 2 แห่ง สำหรับควบคุมระดับน้ำในคลอง ได้แก่ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ที่ต้นคลองรังสิตประยูรศักดิ์ทางทิศตะวันตก และ ประตูน้ำเสาวภา ที่ปลายคลองทางทิศตะวันออก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม กับได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชเทวี ไปทรงเปิดประตูน้ำทั้ง 2 แห่ง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 สำหรับประตูระบายน้ำอีกแห่ง สร้างในภายหลังที่ปลายคลองหกวาสายล่าง เรียกกันทั่วไปว่า ประตูน้ำบริษัทสมบูรณ์",
"title": "คลองรังสิต"
},
{
"docid": "11836#6",
"text": "\"พระอภัยมณี\" ตามฉบับพิมพ์ของหอพระสมุด มีความยาวทั้งสิ้น 24,500 คำกลอน คิดเป็นจำนวนคำตามวจีวิภาคได้ 392,000 คำ แต่หากนับตามความยาวฉบับเต็ม (ซึ่งรวมส่วนที่สุนทรภู่แต่งเพิ่มตามรับสั่งของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ) จะมีความยาวถึง 48,686 คำกลอน นับเป็นหนังสือกลอนขนาดมหึมา และเป็นมหากาพย์คำกลอนที่ยาวมากที่สุดในโลกเรื่องหนึ่งที่ประพันธ์โดยกวีท่านเดียว ในส่วนของการดำเนินเนื้อเรื่อง \"พระอภัยมณี\" มีโครงเรื่องย่อย ๆ แทรกไปตลอดทาง คือจากเหตุการณ์หนึ่งนำไปสู่เหตุและผลอีกเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะงานเขียนที่สามารถเขียนไปได้เรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีอาจนับเหตุการณ์สำคัญหรือไคลแมกซ์ของเรื่องได้ ในตอนทัพลังกากับทัพพระอภัยมณีรบกันจนถึงขั้นเด็ดขาด ต้องแหลกลาญกันไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่สุนทรภู่ก็สามารถคลี่คลายไคลแมกซ์นี้ได้อย่างสวยงาม\nเรื่อง \"พระอภัยมณี\" แบ่งบทประพันธ์ไว้ทั้งสิ้น 64 ตอน มีชื่อตอนดังต่อไปนี้",
"title": "พระอภัยมณี"
}
] |
1973 | รัฐละโว้ คือจังหวัดใดในปัจจุบัน ? | [
{
"docid": "42555#0",
"text": "อาณาจักรละโว้ บ้างเรียก ลวรัฐ หรือ ละโว้โยทิยา เป็นอาณาจักรโบราณในมณฑลอำนาจแห่งหนึ่งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถาปนาขึ้นราวปลายยุคทวารวดี มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ลวปุระ (ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี) หลังการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรละโว้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา",
"title": "อาณาจักรละโว้"
},
{
"docid": "42555#4",
"text": "อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน ศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ. 1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นทำให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา",
"title": "อาณาจักรละโว้"
},
{
"docid": "42555#1",
"text": "ตามข้อมูลที่ปรากฏเกี่ยวกับเมืองละโว้ มีข้อมูลอยู่ในพงศาวดารเหนือพอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1002 แล้ว มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงเขตประจวบคีรีขันธ์ ทางด้านตะวันตกจดมะริด ทวาย ด้านตะวันออกจดนครราชสีมา",
"title": "อาณาจักรละโว้"
}
] | [
{
"docid": "42555#3",
"text": "จากการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาลถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้ว จากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็ก ๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้วและในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา",
"title": "อาณาจักรละโว้"
},
{
"docid": "197577#4",
"text": "ตัวชี้วัดจะประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านสังคม 4 ตัว ทางด้านเศรษฐกิจ 2 ตัว และทางด้านการเมือง 6 ตัว แล้วนำมาสรุปจัดลำดับว่าประเทศใดเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการที่ดี (สีเขียว) ปานกลาง (สีเหลือง) มีคำเตือน (สีส้ม) และล้มเหลว (สีแดง)ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 35 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 88 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 40 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ\nประเทศเฝ้าระวัง",
"title": "รัฐล้มเหลว"
},
{
"docid": "56157#5",
"text": "เอกสารพงศาวดารจีนเรียกเมืองเชลียงว่า \"เฉิงเหลียง\" \nคู่กับเมือง \"หลอหู\" หรือ ละโว้ หรือลพบุรีในปัจจุบัน\nเชลียง สุโขทัยก่อนราชวงศ์พระร่วงและละโว้ เป็นเมืองร่วมสมัยขอมเรืองอำนาจในเขตแดนไทย\nผ่านประสบการณ์ ติดต่อสัมพันธ์กัน มีหลักฐานทางโบราณคดียุคนั้นยืนยันหลายประการ",
"title": "เมืองศรีสัชนาลัย"
},
{
"docid": "872390#0",
"text": "ป้อมปราการโก๋ลวา () เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญทางโบราณสถานในปัจจุบันทั้งอยู่บริเวณเขตดงอาน เมืองฮานอย ประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของใจกลางกรุงฮานอย ที่โก๋ลวามีการค้นพบซากโบราณต่างๆในยุคสำริด อันได้แก่ วัฒนธรรมฟุงเหวียนและวัฒนธรรมดงเซิน แม้ว่าภายหลังจะมีการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเอิวหลัก ในช่วง 3 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ป้อมโก๋ลวาได้มีการก่อสร้างบูรณะเพิ่มเติมได้เพิ่มขึ้นในช่วงราชวงศ์ต่อมา ป้อมโก๋ลวา ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองที่สำคัญของชาวเวียตนามจนถึงศตวรรษที่ 10\nชื่อของป้อม คำว่า \"โก๋ลวา\" มาจาก คำศัพท์จีน-เวียดนาม คำว่า 古螺, ที่แปลว่า \"เกลียวโบราณ\", ซึ่งได้มีนักภาษาศาตร์เวียดนามอธิบายคำว่า \"โก๋ลวา\" ว่าอาจจะสันนิษฐานที่มาของป้อมปราการที่นำมาตั้งชื่อได้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างแบบหลายชั้นของกำแพงคูเมืองและคูน้ำ",
"title": "ป้อมปราการโก๋ลวา"
},
{
"docid": "5358#4",
"text": "ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "846396#0",
"text": "รัฐโว () เป็นรัฐในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นรัฐที่มีประชากรมากสุดเป็นอันดับสาม และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในประเทศ รัฐโวตั้งอยู่ในภาครอม็องดีซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักเนื่องจากมีพรมแดนทางตะวันตกติดกับแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเตของประเทศฝรั่งเศส เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่สุดของรัฐคือโลซาน ซึ่งได้รับการกำหนดให้เป็น \"เมืองหลวงโอลิมปิก\" โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และยังเป็นที่ตั้งขององค์กรทางการกีฬาระหว่างประเทศหลายแห่ง รัฐโวมีประชากรทั้งสิ้น 725,944 คนในปี ค.ศ. 2011",
"title": "รัฐโว"
},
{
"docid": "5358#2",
"text": "คำว่า \"ละโว้\" นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว้ มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
}
] |
3743 | ไฟนอลแฟนตาซี XIII วางจำหน่ายปีไหน ? | [
{
"docid": "44517#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII เป็นเกมสมมติบทบาทที่ถูกพัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ลงบนเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน 3 และ เอกซ์บอกซ์ 360 วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และจำหน่ายในอเมริกาเหนือและพื้นที่ PAL ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553 เกมนี้ได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในงาน E3 ปี ค.ศ. 2006 มีลักษณะทั้งแบบอนาคตและความเป็นธรรมชาติ ดำเนินเรื่องระหว่างดินแดนที่ยังคงความเป็นธรรมชาติและโลกของเครื่องจักร เกมนี้เป็นเนื้อเรื่องหลักของชุด Fabula Nova Crystallis ของเกมชุดไฟนอลแฟนตาซี",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII"
}
] | [
{
"docid": "414906#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 (; ) เป็นเกมสมมติบทบาท ภาคต่อของไฟนอลแฟนตาซี XIII พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ สำหรับเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน 3 และ เอกซ์บอกซ์ 360 วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555 ",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2"
},
{
"docid": "20584#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี XII () เป็นเกมอาร์พีจีในชุดไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องเกมเพลย์สเตชัน 2 สร้างสรรค์และวางจำหน่ายโดยค่ายสแควร์เอนิกซ์ และนับเป็นภาคที่ 12 ในซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา โดยทำยอดจำหน่ายไปแล้วขณะนี้มากกว่า 2 ล้านชุดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศไทยก็ได้ออกวางจำหน่ายไปแล้วเช่นกัน ส่วนวันวางจำหน่ายของเวอร์ชันภาษาอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยไฟนอลแฟนตาซี XII เป็นไฟนอลแฟนตาซี ภาคหลักภาคแรกที่เป็นแนวเล่นคนเดียว นับจากไฟนอลแฟนตาซี X ซึ่งออกวางจำหน่ายไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 เรื่องราวบางส่วนในภาคนี้ได้ถูกนำเสนอไปแล้วในเกม ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์ แอดวานซ์ สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XII"
},
{
"docid": "19990#31",
"text": "จากความสำเร็จด้านยอดจำหน่ายและกระแสตอบรับ สแควร์เอนิกซ์ได้วางจำหน่ายเกมภาคต่อของ \"ไฟนอลแฟนตาซี X\" ใน พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อว่า \"ไฟนอลแฟนตาซี X-2\" ภาคต่อนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสองปีหลังจากตอนจบของ \"ไฟนอลแฟนตาซี X\" ซึ่งได้เกิดความขัดแย้งและภาวะยุ่งยากใจครั้งใหม่ขึ้น ทำให้ตัวละครต้องแก้ไขปัญหาที่ยังคงเหลือจากตอนจบที่ยังไม่คลี่คลายของภาคก่อนหน้า",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี X"
},
{
"docid": "909718#0",
"text": "ไลท์นิง () เป็นตัวละครในเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี สร้างโดยสแควร์เอนิกซ์ ปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะตัวละครหลักของวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี XIII โดยรับบทเป็นประชาชนในคูคูน (Cocoon) ซึ่งเป็นโลกจำลองที่ลอยอยู่เหนือดาวเคราะห์ชื่อแกรนพัลซ์ (Gran Pulse) หลังจากที่เซราห์น้องสาวของเธอถูกตราหน้าว่าเป็นศัตรูกับคูคูนแล้ว ไลท์นิงพยายามที่จะช่วยเหลือเธอ โดยภายหลังเธอได้รับภารกิจจากฟาลซี (fal'Cie) หรือชนเผ่าครึ่งมนุษย์ครึ่งเทพที่ปกครองทั้งโลกคูคูนและแกรนพัลซ์ ให้ทำลายคูคูนทิ้ง ไลท์นิงปรากฏตัวอีกครั้งกับบทตัวละครรองใน ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ด้วยภารกิจปกป้องเทพธิดาเอโทร (Etro) ต่อมาเธอรับบทตัวละครหลักอีกครั้งกับ ไลท์นิงรีเทิร์น ที่เธอได้รับมอบหมายให้กอบกู้โลกที่กำลังจะถึงกาลอวสานในอีก 13 วัน นอกจากเกม<i data-parsoid='{\"dsr\":[1473,1494,2,2]}'>ไฟนอลแฟนตาซี XIII แล้ว เธอยังปรากฏตัวในเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี ภาคอื่น รวมถึงวีดีโอเกมนอกเกมชุดนี้เช่นกัน",
"title": "ไลท์นิง"
},
{
"docid": "20584#1",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี XII ได้เพิ่มเติมระบบการเล่นใหม่มากมายในซีรีส์นี้ ระบบการต่อสู้ไม่ได้เป็นการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอย่างเดิม และยังได้เพิ่มเติมระบบแกมบิท (Gambit) ที่ทำให้สามารถควบคุมตัวละครตัวอื่นได้อย่างอัตโนมัติ รวมไปถึงระบบสอบใบอนุญาต (License) ที่ทำให้ต้องตัดสินใจว่าความสามารถไหน หรืออุปกรณ์ใด ที่ตัวละครนั้นๆมีความต้องการในการใช้ก่อน ไฟนอลแฟนตาซี XII ยังได้นำเอาระบบการเล่นในภาคก่อนมาผสมผสานด้วย อาทิเช่น มนต์อสูร โจโกโบะ และเรือเหาะ เกมนี้ได้รับการประเมินจากนักวิจารณ์ด้วยคะแนนที่สูงมาก และได้รางวัลเกมยอดเยี่ยมแห่งปี จากนิตยสารเกมหลายฉบับ และจะมีภาคต่อของภาคนี้ในชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี XII รีเวแนนท์ วิงส์ \" (Final Fantasy XII: Revenant Wings) \" ซึ่งวางจำหน่ายในรูปแบบเกมสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่ประเทศญี่ปุ่น",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XII"
},
{
"docid": "44824#2",
"text": "การที่ฮิโรโนบุนำคำว่า “ไฟนอล” (สุดท้าย) มาใช้เพราะเค้าวางแผนไว้ว่าจะลาออกจากการทำงานในอุตสาหกรรมเกมและ ไฟนอลแฟนตาซี จะเป็นเกมสุดท้ายของเขา แต่ ไฟนอลแฟนตาซี กลับทำได้ดีเกินกว่าที่ ฮิโรโนบุ และ สแควร์ คาดไว้ และทำให้มีการจำหน่ายไปสู่อเมริกาเหนือ โดยนินเทนโดอเมริกาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่อเมริกาในปี ค.ศ. 1990 และจากความสำเร็จนี้เอง ทำให้ฮิโรโนบุยกเลิกแผนการที่จะลาออกและอยู่ที่ สแควร์ซอฟต์ เพื่อพัฒนาเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคใหม่ต่อไป",
"title": "สแควร์"
},
{
"docid": "910134#1",
"text": "ตัวละครในเกม\"ไฟนอลแฟนตาซี XIII\"",
"title": "ตัวละครในไฟนอลแฟนตาซี XIII"
},
{
"docid": "341165#7",
"text": "ในปี 2005 อุเอมัตสึก็ได้บันทึกอัลบั้มสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง \"ไฟนอลแฟนตาซีเซเว่น: แอดเวนท์ชิลเดร้น\" ภายใต้วงแบลกเมจของเขา และภายหลังจากการออกเขาก็ยังได้นำบทเพลง \"พรีลูด\" สำหรับไฟนอลแฟนตาซีในแทรคเริ่มต้นของเพลงในไฟนอลแฟนตาซี XII ซึ่งที่จริงแล้วบทเพลงส่วนใหญ่ทางบริษัทก็ได้มอบหมายงานให้ซากิโมโตทำแทน ซึ่งเขาก็อยากจะทำในเพลงไฟอลแฟนตาซี XIII แต่ว่าสุดท้ายเขาก็ได้รับมอบหมายให้ทำในภาค XIV แทนและให้ มาซาชิ ฮามานซึ จัดการดนตรีของไฟนอลแฟนตาซีภาค XIII แทนทั้งชุด",
"title": "โนบูโอะ อูเอมัตสึ"
},
{
"docid": "546385#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี XV เป็นเกมสมมติบทบาทที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ สำหรับเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน 4 , เอกซ์บอกซ์ วัน และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เปิดตัวเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อ \"ไฟนอลแฟนตาซี เวอร์ซัส XIII\" ที่งาน E3 2006 พร้อมกับไฟนอลแฟนตาซี XIII และ ไฟนอลแฟนตาซี อากิโตะ XIII ในชุดเกม ต่อมาในงานเดียวกันเมื่อปี ค.ศ. 2013 ได้มีการเปลี่ยนชื่อพร้อมเผยตัวอย่างใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในยุคที่แปดของเครื่องเล่นเกมในการพัฒนา และด้วยระยะเวลาพัฒนาถึง 10 ปีทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้กลายเป็นวีดีโอเกมคอนโซลที่ใช้เวลาเตรียมการและพัฒนายาวนานเป็นอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์ โดยมียอดขายถึง 5 ล้านชุด (เฉพาะแบบดิจิทัลนอกญี่ปุ่น) ในวันแรกที่วางจำหน่าย",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XV"
},
{
"docid": "44824#4",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซีภาคต่อมาได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 (ไฟนอลแฟนตาซี II) โดยวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ไฟนอลแฟนตาซี III และมีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับเครื่องแฟมิคอม ในอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากการเข้าสู่ยุคใหม่ของเกมและการมาของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม (ชื่อทางการคือ Nintendo Entertainment System) ในที่สุดก็มีการยกเลิกการจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องแฟมิคอม และแทนที่โดย ไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม",
"title": "สแควร์"
},
{
"docid": "909718#25",
"text": "หมวดหมู่:ไฟนอลแฟนตาซี หมวดหมู่:ตัวละครในไฟนอลแฟนตาซี หมวดหมู่:ไฟนอลแฟนตาซี XIII",
"title": "ไลท์นิง"
},
{
"docid": "15780#1",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซีชุดแรกออกวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อพ.ศ. 2533 รวมทั้งวางขายภูมิภาคอื่นทั่วโลก เช่น ทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เครื่องเล่นเกมที่มี ไฟนอลแฟนตาซี ออกจำหน่าย ได้แก่ แฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม ซูเปอร์นินเทนโด เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน เพลย์สเตชัน 2 เกมคอมพิวเตอร์ เกมบอยแอดวานซ์ พีเอสพี เกมคิวบ์ นินเทนโด ดีเอส เอกซ์บอกซ์ 360 เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ วัน เพลย์สเตชัน 4 และโทรศัพท์มือถือ\nในเดือนสิงหาคม 2560 เฟมในชุดเกมไฟนอลแฟนตาซีมียอดขายรวมมากกว่า 135 ล้านชุดทั่วโลก นับเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบริษัทสแควร์เอนิกซ์ ปัจจุบันมีเกมหลักออกวางจำหน่ายแล้ว 15 ภาค และมีเกมที่เกี่ยวข้องอีกมาก",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี"
},
{
"docid": "403269#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี ไทป์-0 หรือ ไฟนอลแฟนตาซี เรย์ชิกิ () เป็นเกมสมมติบทบาทกึ่งแอคชัน ในชุดเกม พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ลงบนเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 และมีการประกาศพัฒนาเกมในเวอร์ชันความละเอียดสูง (เอชดี) สำหรับเพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์ วัน ในอีกสามปีต่อมา โดยจะวางจำหน่ายในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี ไทป์-0"
},
{
"docid": "24419#8",
"text": "ในปี 2543 ทางบันไดได้ออกวางจำหน่ายเครื่องวันเดอร์สวอนที่เป็นเกมมือถือสีออกมา และได้ทำสัญญากับทางสแควร์จะวางจำหน่ายเกมไฟนอลแฟนตาซี 3 ภาคแรกนั้น ซึ่งหนึ่งปีถัดมา ไฟนอลแฟนตาซี I และ ไฟนอลแฟนตาซี II ได้วางจำหน่าย แต่ภาค III นั้นยังไม่มีวี่แววว่าจะออกมาจนกระทั่งทางบันไดได้ยกเลิกเครื่องเกมวันเดอร์สวอน ภายหลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อสแควร์ได้รวมบริษัทกับทางเอนิกซ์ ได้มีการประกาศว่ายังมีการพัฒนาเกมต่อโดยจะทำลงเครื่องเล่นเพลย์สเตชันหรือไม่ก็เกมบอยแอดวานซ์แทน และในที่สุดเกมได้ถูกพัฒนาลงเครื่องดีเอสในปี 2549",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี III"
},
{
"docid": "737386#0",
"text": "โยะชิโนะริ คิตาเซะ () เป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างวีดีโอเกมชาวญี่ปุ่น สังกัดสแควร์เอนิกซ์ เขาเป็นที่รู้จักจากการกำกับ ไฟนอลแฟนตาซี VI (1994), Chrono Trigger (1995), ไฟนอลแฟนตาซี VII (1997), ไฟนอลแฟนตาซี VIII (1999) และ ไฟนอลแฟนตาซี X (2001) และเป็นผู้อำนวยการสร้างของ ไฟนอลแฟนตาซี X และ ไฟนอลแฟนตาซี XIII",
"title": "โยชิโนริ คิตาเซะ"
},
{
"docid": "910134#0",
"text": "\"บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับไฟนอลแฟนตาซี XIII สำหรับบทความหลัก ดูที่\" ไฟนอลแฟนตาซี XIII",
"title": "ตัวละครในไฟนอลแฟนตาซี XIII"
},
{
"docid": "341890#0",
"text": "แฟบูลา โนวา คริสตัลลิส: ไฟนอล แฟนตาซี () เป็นชุดเกมโดยสแควร์เอนิกซ์ โดยโครงของชุดเกมนี้จะเกี่ยวกับ \"ตำนานคริสตัลบทใหม่\" ตามคำแปลภาษาละตินของชื่อชุด เนื้อเรื่องของแต่ละเกมแม้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่จะมีตัวละครร่วมกัน และโลกทัศน์บางส่วนก็จะมีลักษณะคล้ายกันด้วย เกมในชุดนี้ประกอบด้วย ไฟนอลแฟนตาซี XIII ไฟนอลแฟนตาซี ไทป์-0 ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ไฟนอลแฟนตาซี อากิโตะ และ ไฟนอลแฟนตาซี XV",
"title": "แฟบูลาโนวาคริสตัลลิส: ไฟนอล แฟนตาซี"
},
{
"docid": "909485#0",
"text": "โมโตมุ โทริยามะ () เป็นนักผลิตวิดีโอเกมชาวญี่ปุ่น เขาทำงานกับสแควร์เอนิกซ์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 และมีผลงานแรกกับการสร้างฉากคัตซีนในเกม ไฟนอลแฟนตาซี VII หลังจากนั้นโทะริยะมะก็เริ่มผลิตเกมด้วยตัวเองเช่น ไฟนอลแฟนตาซี X-2 และทำเช่นนี้เรื่อยมากับเกมระดับใหญ่ อาทิ ไฟนอลแฟนตาซี XIII ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 และ ไลท์นิ่งรีเทิร์น ไฟนอลแฟนตาซี XIII นอกจากนี้ เขามีกลุ่มนักเขียนบทเป็นของตัวเองที่บริษัทมาตั้งแต่ ค.ศ. 2003 ปัจจุบันเขากำลังผลิตเกม โมบิอัส ไฟนอลแฟนตาซี โทะริยะมะเป็นหนึ่งในสมาชิกของสแควร์เอนิกซ์หน่วยที่ 1 และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่คอยตรวจผลงานของแฟรนไชส์ไฟนอลแฟนตาซีโดยรวม",
"title": "โมโตมุ โทริยามะ"
},
{
"docid": "720153#1",
"text": "ในปี 2009, โยะชิโนะริ คิตะเซะ กล่าวในงาน Games Convention ว่า\"\"รีเมคของภาค VII ให้รอเล่นจาก PSN เมื่อพร้อมวางจำหน่าย\"\" โดยทั้งนี้ได้ให้สัมภาษณ์ต่ออีกว่า\"\"ตัวเขาเองมีงานหลายโปรเจกต์อยู่ และตัวเขาก็ยังไม่ได้คิดถึงการทำโปรเจกต์ใดๆหลังจากที่ภาค\" \"XIII\" \"เสร็จสิ้น,อีกทั้งยังกำลังทำ\" \"ไฟนอลแฟนตาซี อะกิโตะ XIII\" \"โดยที่เขาขอโฟกัสไปที่โปรเจกต์ของภาค XIII ทั้งหมดก่อน ก่อนที่จะให้คิดเกี่ยวกับภาคอื่นๆ\".\" \nในเดือนมกราคม ปี 2010 เทะสึยะ โนะมุระ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับข่าวลือการรีเมคไว้ว่า \"แฟนๆ กำลังคาดหวังเกี่ยวกับการรีเมคของไฟนอลแฟนตาซี VII ที่กำลังเป็นข่าวลืออยู่ แต่ตัวเขาเชื่อว่านี่ยังไม่ถึงเวลาที่จะเริ่มทำ” \nในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 โยะชิโนะริ คิตะเซะ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า \"\"การพอร์ตไฟนอลแฟนตาซี VII มายังเครื่องเพลย์สเตชัน 3 นั้นถ้าจะให้ได้คุณภาพเท่ากับไฟนอลแฟนตาซี XIII นั้นต้องใช้เวลามากกว่าสามปีครึ่งหลายเท่า ที่จะทำให้ไฟนอลแฟนตาซี VII สำหรับเพลย์สเตชัน 3 มีความแตกต่างจากเดิม\"\" ทั้งนี้เขายังกล่าวอีกว่า\"\"การที่จะสร้างเกมแบบไฟนอลแฟนตาซี VII บนเครื่องเพลย์สเตชัน 3 เป็นเรื่องยากมากต้องใช้เวลาและสตาฟมากมายในการทำกราฟิก ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาค XIII เป็นเส้นตรงกว่าภาคก่อนๆ\"\".ในเดือนมีนาคม 2010 ในการสัมภาษณ์ผู้กำกับของไฟนอลแฟนตาซี XIII โมะโตะมุ โทะริยะมะ เขาได้กล่าวว่า \"\"ถ้าจะต้องรีเมคภาค VII นั้นให้ได้คุณภาพเทียบเท่ากับภาค XIII นั้นจะต้องใช้คนและเวลาเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้ามีคนและเวลามากพอ มันจะเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่เขาต้องการจะรีเมคแน่นอน\"\"ในเดือนมีนาคม 2010 วาดะ เปิดเผยว่าพวกเขาต้องการสำรวจความต้องการในการรีเมค ซึ่งพบว่ามีความต้องการค่อนข้างมาก. โดยท้ายที่สุดในปี 2012 ทางสแควร์เอนิกซ์ยอมรับว่ายังไม่สามารถสร้างเกมที่ดีกว่า FFVII ได้ จึงจะโฟกัสไปยังเกมภาคใหม่ๆก่อน",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี VII รีเมค"
},
{
"docid": "414906#4",
"text": "\"ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2\" ได้รับคะแนนเต็มจากนิตยสารญี่ปุ่น \"แฟมิซือ\" และ \"เด็งเงคิเพลย์สเตชัน\"",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2"
},
{
"docid": "414906#6",
"text": "ในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่น \"ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2\" สามารถทำยอดจำหน่าย 524,000 ชุด ซึ่งเป็นเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3 อันดับท็อปของตาราง ในขณะที่เวอร์ชันเอ็กซ์บ็อกซ์อยู่ในลำดับที่ 48 ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยมีลูกค้าเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 เป็นจำนวนน้อยในประเทศญี่ปุ่น โดยจำนวนหน่วยซื้อ ได้รับการบันทึกว่ามีจำนวนน้อยกว่าภาคก่อนที่ยอดจำหน่าย 1.5 ล้านหน่วยในสัปดาห์แรกของการเปิดตัว",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2"
},
{
"docid": "68366#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ () หรือ FFT เป็นเกม แนววางแผนการรบผสมกับแนวภาษา สร้างโดยบริษัทสแควร์จำกัด มีทั้งรูปแบบที่เล่นบนเครื่องเกม เพลย์สเตชัน เกมไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้วางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น ไม่มีจำหน่ายที่ประเทศในทวีปยุโรป",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์"
},
{
"docid": "19990#28",
"text": "\"ไฟนอลแฟนตาซี X\" ได้รับทั้งคำชมเชยจากสื่อต่างๆ และยอดจำหน่ายที่สูง หลังจากวางจำหน่ายในญี่ปุ่นได้สี่วันก็สามารถจำหน่ายจากการสั่งจองล่วงหน้าได้มากกว่า 1.4 ล้านแผ่น จัดเป็นเกม Console RPG ที่จำหน่ายได้รวดเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ สถิตินี้นับว่าเร็วกว่า \"ไฟนอลแฟนตาซี VII\" และ \"ไฟนอลแฟนตาซี IX\" เมื่อเปรียบเทียบที่ยอดจำหน่ายสี่วันหลังวางจำหน่ายเหมือนกัน และยังเป็นเกมสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เกมแรกที่สามารถจำหน่ายได้ถึงสี่ล้านแผ่น และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ยังได้ถูกจัดอันดับเป็นเกมสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ที่ขายดีเป็นอันดับที่แปด เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ก็มียอดจำหน่าย 6.6 ล้านแผ่น นอกจากนี้ \"ไฟนอลแฟนตาซี X\" ยังได้รับรางวัลและการจัดอันดับอันดับจากสื่อต่างๆ ได้แก่",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี X"
},
{
"docid": "902284#0",
"text": "น็อคทิส ลูซิส เคลัม (ละติน: Noctis Lucis Caelum) หรือเรียกอย่างย่อว่า น็อค (Noct) เป็นตัวละครในชุดเกม \"ไฟนอลแฟนตาซี\" ของสแควร์เอนิกซ์ โดยเป็นตัวละครหลักในเกม\"ไฟนอลแฟนตาซี XV\" ในช่วงที่ยังใช้ชื่อโปรเจกต์ว่า \"Final Fantasy Versus XIII\" นั้น น็อคทิสอยู่ภายใต้การดีไซน์โดยเท็ตสึยะ โนมูระ ซึ่งเขาได้วางให้น็อคทิสเป็นตัวเอกในแบบที่ไม่เคยมีในชุดเกมไฟนอลแฟนตาซีมาก่อน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนชื่อโปรเจกต์เป็น \"Final Fantasy XV\" การดีไซน์น็อคทิสก็ตกไปอยู่กับยุซุเกะ นะโอะระ",
"title": "น็อคทิส ลูซิส เคลัม"
},
{
"docid": "414906#2",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ยังเพิ่มระบบไลฟ์ทริกเกอร์ เป็นการตอบคำถามในการดำเนินเริ่อง อันจะส่งผลไปยังการได้ไอเท็มพิเศษ รวมถึงเป็นการกำหนดฉากจบของเกมด้วย ส่วนการเดินทางในไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 นั้น จะใช้เกทในแต่ละสถานที่ข้ามห้วงเวลา โดยใช้โอพาร์ท หรืออาร์ทิแพกต์ในภาคภาษาอังกฤษในการเปิดเกท โดยทางเชื่อมระหว่างแต่ละเกทนั้น เรียกว่า ฮิสทอเรีย ครักซ์ เปรียบเสมือนแผนที่ของเกม ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ยังนับเป็นไฟนอลแฟนตาซีภาคหลักภาคแรกที่เพิ่มระบบการเซฟอัตโนมัติเมื่อถึงเหตุการณ์สำคัญ การปรับระดับความยากของเกมระหว่างการเล่น และเพิ่มส่วนขยายจากระบบออนไลน์ (Downloadable Content)",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2"
},
{
"docid": "341890#1",
"text": "ชื่อเดิมของชุดเกมนี้จะมี XIII ตามหลัง แต่หลังจากไฟนอลแฟนตาซี อากิโตะ XIII เปลี่ยนชื่อเป็น ไฟนอลแฟนตาซี ไทป์-0 จึงตัด XIII หลังชื่อไป\nจักรวาลถูกแบ่งออกเป็นสองสภาพ คือ โลกกายหยาบ โลกสำหรับสิ่งมีชีวิต และ ปรภูมิ แดนสำหรับจิตวิญญาณ ",
"title": "แฟบูลาโนวาคริสตัลลิส: ไฟนอล แฟนตาซี"
},
{
"docid": "19990#25",
"text": "\"ไฟนอลแฟนตาซี X\" ฉบับภาษาญี่ปุ่นจะมีแผ่นซีดีชื่อ \"The Other Side of Final Fantasy\" แนบมาพร้อมกับแผ่นเกม ภายในแผ่นประกอบด้วยบทสัมภาษณ์ Storyboards ตัวอย่างของเกม \"Blue Wing Blitz\" และ \"คิงดอมฮารตส์\" ตัวอย่างภาพยนตร์ \"\" และภาพยนตร์ตัวอย่างแรกของเกม \"ไฟนอลแฟนตาซี XI\" ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 เกมฉบับ International ได้วางจำหน่ายในญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ \"\"Final Fantasy X International\"\" และวางจำหน่ายใน PAL territories ภายใต้ชื่อเดิม ฉบับ International นี้ได้มีสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาจากฉบับ NTSC เดิม ซึ่งรวมถึงการต่อสู้กับสัตว์อสูรภาคมืด และการต่อสู้กับบอสพิเศษ \"Penance\" บนเรือเหาะ ฉบับ International ที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นยังได้เพิ่มคลิปวิดีโอชื่อว่า \"Eternal Calm\" ความยาว 14 นาที ที่เชื่อมโยงเนื้อเรื่องของ \"ไฟนอลแฟนตาซี X\" ไปสู่ \"ไฟนอลแฟนตาซี X-2\" ที่เป็นภาคต่อ คลิปวิดีโอนี้ยังได้บันทึกลงในแผ่นดีวีดีที่แนบไปพร้อมกับแผ่นเกม \"Unlimited Saga\" ฉบับนักสะสม โดยใช้ชื่อว่า \"\"Eternal Calm, Final Fantasy X-2: Prologue\"\" ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกในยุโรปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และบันทึกเสียงในคลิปเป็นภาษาอังกฤษ",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี X"
},
{
"docid": "909718#15",
"text": "นอกจากภาค XIII แล้ว ไลท์นิงยังปรากฏตัวในเกมอื่น ซึ่งส่วนใหญ๋จะเป็นภาคแยกของเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี ในเกมต่อสู้ ดิสซิเดีย 012 ไฟนอลแฟนตาซี เธอเป็นหนึ่งในนักรบที่ได้รับการอัญเชิญจากเทพธิดาคอสมอส[65] เดิมทีแล้วมีกำหนดการเปิดตัวไลท์นิงในเกม ดิสซิเดีย ไฟนอลแฟนตาซี ซึ่งเป็นภาคก่อนหน้า แต่ความคิดนั้นก็ถูกลบออกเพราะ ไฟนอลแฟนตาซี XIII ยังไม่ได้รับการกำหนดวันวางแผงและทางสแควร์เอนิกซ์ก็ไม่ต้องการที่จะเปิดเผยตัวละครก่อนเวลาอันสมควร[66] ในส่วนเรื่องราวของ ดิสซิเดีย 012 นั้น ไลท์นิงและผองเพื่อนได้ประชัญหน้ากับสิ่งเทียมชีวิตเรียกว่ามานิคินส์ ซึ่งถ้าหากพวกเหล่ามานิคินส์สามารถสังหารผู้ใด ผู้นั้นจะไม่มีวันได้เกิดอีกตลอดกาล ทำให้หลักการชุบชีวิตของโลกแปรปรวน[67] ไลท์นิงเป็นผู้นำเหล่านักผจญภัยไปยังประตูมิติที่ส่งมานิคินส์ออกมา และคนภายในกลุ่มก็สละชีพตนเองเพื่อที่จะปิดมัน[68] เธอมีชุด 3 แบบภายในเกม[69] และเธอได้ปรากฏตัวอีกครั้งกับเกมอาร์เคดในปี 2015[70] และเกมคอนโซลชื่อ ดิสซิเดีย ไฟนอลแฟนตาซี เอ็นที[71]",
"title": "ไลท์นิง"
},
{
"docid": "909718#17",
"text": "ในเกมกดตามจังหวะ ทีตรึทึม ไฟนอลแฟน่ตาซี และภาคเสริมของเกมนี้ เคอร์เทนคอล ไลท์นิงเป็นตัวละครในฐานะตัวแทนของภาค XIII[79][80] และปรากฏตัวในชุดจากภาค XIII-2 ใน ไฟนอลแฟนตาซี แอร์บอร์นบริเกต[81] นอกจากนี้เธอยังเป็นตัวละครในเกมโทรศัพท์มือถือ ไฟนอลแฟนตาซี ออลเดอะเบรฟเวสต์ และ ไฟนอลแฟนตาซี เรกคอร์ดคิปเปอร์ [82][83] ตัวละครเสริมพลังใน ไฟน อลแฟนตาซี เอ็กซ์พลอเรอร์[84] ตัวจิบิใน ไฟนอลแฟนตาซี อินอิทะดะกิสตรีตโมบาย[85] และปรากฏอยู่บนไพ่ใน ไฟนอลแฟนตาซี อาร์ตนิกส์[86] และหลังจากที่มีการสันนิษฐานว่าเธอจะปรากฏตัวอีกครั้งในเกม ไฟนอลแฟนตาซี ชุดหลักหลังจากภาค ไลท์นิงรีเทิร์น คิตะเซะได้ออกมาชี้แจงในปี 2013 ว่าเธอจะปรากฏตัวในภาคเสริมต่าง ๆ แต่บทบาทในซีรีส์ชุดหลักได้จบลงแล้ว[87]",
"title": "ไลท์นิง"
}
] |
298 | พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพี่น้องกี่คน ? | [
{
"docid": "37882#4",
"text": "พระองค์มีพระพี่น้องร่วมพระมารดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์",
"title": "สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช"
},
{
"docid": "4253#2",
"text": "พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "56714#4",
"text": "ท่านสมรสกับท่านผู้หญิงกลิ่น มีบุตรธิดา 4 คน เป็นบุตรชาย 1 คน ได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นบิดาของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์และเจ้าจอมมารดาโหมด เจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้แก่ คุณหญิงกลาง ภรรยาพระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม บุณยรัตพันธุ์) คุณหญิงเล็ก และคุณหญิงปิ๋ว นอกจากนี้ ท่านยังสมรสกับ ท่านผู้หญิงพรรณและท่านผู้หญิงหยาด (บุตรีพระยาวิชยาธิบดี เจ้าเมืองจันทบุรี ต่อมาเป็นพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) ต้นสกุลบุรานนท์) และ ท่านปราง บุตรี พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน",
"title": "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)"
},
{
"docid": "177461#3",
"text": "ท่านมีบุตรธิดากับท่านผู้หญิงอู่ 14 คน ที่สำคัญได้แก่\nธิดาอีก 5 คน ได้เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า \"เจ้าจอมก๊กออ\" คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน มีพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และน้องสาวของเจ้าจอมมารดาอ่อน ได้แก่ เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้สมรสกับพี่น้องในตระกูลบุนนาคสายเดียวกันคือ คุณหญิงอิ่ม เป็นภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) คุณหญิงอบ เป็นภรรยาพระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และคุณหญิงอาย เป็นภรรยาพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์ (เหม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)",
"title": "เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)"
},
{
"docid": "174564#4",
"text": "พระนมปริกมีบุตรธิดากับนายเสถียรรักษา (เที่ยง) ทั้งสิ้น 9 คน คนโตชื่อ เขียน เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังไม่ทรงครองราชย์ ต่อมาได้กราบบังคมทูลลาไปบวชเป็นชีจนถึงแก่กรรม ธิดาคนที่สามชื่อ วาด ได้ถวายตัวรับใช้ทูลกระหม่อมแก้ว (หรือ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร) ต่อมาได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอม เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ให้ประสูติพระราชโอรส คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน",
"title": "พระนมปริก"
},
{
"docid": "153987#15",
"text": "อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระกรุณาด้วยทรงเห็นว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน ประกอบกับก่อนหน้านี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชกระแสเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ความว่า \"\"...ถ้าเจ้าได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในกระบวนพี่น้องทั้งหมด จะมีพระองค์หญิงหนึ่งองค์ และพระองค์ชายอีกหนึ่งองค์ ทรงกระทำความผิดเป็นมหันตโทษ ขอให้ไว้ชีวิตพระองค์เจ้าพี่น้องทั้งสองพระองค์ด้วย...\"\" ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานอภัยโทษเฆี่ยน 90 ที (3 ยก) กับโทษประหารเสียด้วย แต่โปรดเกล้าให้ริบราชบาตรสวิญญาณกทรัพย์, อวิญญาณกทรัพย์ เข้าเป็นของหลวงสำหรับซ่อมแซมพระอารามและสิ่งก่อสร้างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างไว้ ทั้งถอดยศพระองค์เจ้าให้เป็นหม่อมเรียกอย่างสามัญชน และให้จำสนม (คุกฝ่ายใน) นอกจากนั้นให้ทำตามลูกขุนผู้พิจารณาปรับโทษ ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 มีข้อความตอนหนึ่งว่า",
"title": "หม่อมยิ่ง"
},
{
"docid": "178997#3",
"text": "เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้องๆ ทั้งสี่คน ในกลุ่มเจ้าจอมก๊กออ และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือเมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447",
"title": "เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5"
},
{
"docid": "4253#24",
"text": "หากไม่นับรวมรัชกาลที่ 1-4 แล้ว ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึงยังเป็นสมเด็จพระบรมปัยกาธิราชของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "43682#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระภรรยาเจ้า 9 พระองค์ และมีพระสนม 144 คน รวม 153 พระองค์/คน คือ \nพระองค์มีพระราชโอรส 32 พระองค์ มีพระราชธิดา 44 พระองค์ และมีพระราชบุตรที่ตก 21 พระองค์ รวม 97 พระองค์ คือ",
"title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4249#3",
"text": "พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "439671#2",
"text": "พระเจริญราชเดช (อุ่น) มีพี่น้องทั้งหมด ๗ ท่าน คือเมื่อครั้งท้าวอุ่นมีอายุ 4 ขวบ ได้ติดตามเจ้าอุปฮาช (บัวทอง) ผู้เป็นพระบิดาลงไปกรุงเทพมหานครด้วยเรื่องราชการงานเมือง ต่อมาได้เล่าเรียนหนังสือไทย ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ตามธรรมเนียมเจ้านายหัวเมืองลาวที่มักส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาวิชาการปกครองจากราชสำนักสยาม เมื่อศึกษาหนังสือไทยจนอายุได้ 16 ปี ราว พ.ศ. 2412 - 2419 จึงได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงเดิมและรับแต่งตั้งเป็นมหาดเล็กหลวงในพระราชสำนักพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ท้าวอุ่นเป็นผู้มีความรู้หลากหลายสาขา และสามารถพูดภาษาอังกฤษใช้ได้ ภายหลังเมื่อเจ้าอุปฮาช (บัวทอง) ป่วยหนัก ท้าวอุ่นจึงขอกลับจากกรุงเทพมหานครมาดูแลพระบิดา และได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดเหนือ หรือวัดมหาชัย เมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นวัดที่พระเจริญราชเดชวรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ (กวด), นางเจริญราชเดช (อาชญาแม่โซ่นแดง), คณะกรมการเมืองท้าวเพี้ยเมืองมหาสารคาม และพระครูสุวรรณดี ร่วมกันสร้างขึ้นแต่เมื่อครั้งตั้งเมืองมหาสารคาม",
"title": "พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)"
}
] |
427 | สมาชิกคนแรกที่ออกจากวง อาฟเตอร์สกูล คือใคร? | [
{
"docid": "298241#10",
"text": "ในวันที่ 29 ตุลาคม 2009 ยูโซยอง ได้ลาออกจากวงไป โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไปทำงานทางด้านการแสดง ภายหลังได้มีการเพิ่มสมาชิกใหม่อีก 2 คน คือ เรนะ และ นานะ ทำให้อาฟเตอร์สกูลมีสมาชิกทั้งหมด 7 คน",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
}
] | [
{
"docid": "547587#1",
"text": "เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555 เพลดิสเอ็นเทอร์เทนเมนต์ (Pledis Entertainment) ได้ประกาศว่ากาอึนจะได้เป็นสมาชิกใหม่ของวงอาฟเตอร์สกูล เธอปรากฏตัวครั้งแรกในคอนเสิร์ตที่ Zepp Nagoya พร้อมกับสมาชิกวงคนอื่น จากนั้นเธอได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกวงอาฟเตอร์สกูลด้วยซิงเกิล \"Flashback\" เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555",
"title": "กาอึน"
},
{
"docid": "298241#2",
"text": "ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมดสี่คนคือ เรนา, นานา, อีย็อง และกาอึน",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#13",
"text": "ในวันที่ 15 มีนาคม 2010 เว็บไซต์หลักของอาฟเตอร์สกูลได้มีการเปิดเผยภาพโปรโมทซิงเกิลอัลบั้มชุดที่สามเป็นครั้งแรก โดยในภาพนี้สิ่งที่ทุกฝ่ายให้การจับตามองคือ อาฟเตอร์สกูลไม่ได้ปรากฏตัวแค่ 7 คน แต่กลับมีสมาชิกเพิ่มเข้ามารวมเป็น 8 คนด้วยกัน สำหรับภาพแจ็คเก็ตของ 8 สาวอาฟเตอร์สกูล หนึ่งในสมาชิกใหม่ที่กำลังก้มหน้าก็ได้รับความสนใจจากแฟนๆเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับภาพลักษณ์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งความสง่างามก็ทำให้ทุกฝ่ายต่างจับตามองถึงการแปลงโฉมในครั้งนี้กับเวทีคัมแบ็คของพวกเธออย่างถ้วนหน้า จนในวันที่ 17 มีนาคม เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์จึงได้เปิดเผยว่าสมาชิกใหม่ของอาฟเตอร์สกูลนั่นก็คือ ลิซซี่ และอาฟเตอร์สกูลก็จะคัมแบ็คด้วยซิงเกิลอัลบั้มชุดที่สาม Bang! ในวันที่ 25 มีนาคมนี้ โดยซิงเกิล Bang! นั้นสามารถทำยอดขายได้ 2,374,731 แผ่น และอยู่ในอันดับที่ 29 ของการจัดอันดับชาร์ตเพลงประจำปี 2010",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "553622#0",
"text": "อี จูยอน(; 19 มิถุนายน พ.ศ. 2530- )หรือในการแสดงว่าจูยอนเป็นนักร้อง นักแสดง นางแบบ ชาวเกาหลีใต้ รู้จักในสถานะสมาชิก อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)\nจู ยอน เกิดวันที่ 19 มีนาคม 2530 ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ จูยอนได้ปรากฏตัวในเพลงของ เอสบีเอส ละครเรื่อง \"Play Girlz\" กับ ซน ดัมบิ จูยอนเป็นหัวหน้าวงของ AS Blue ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของอาฟเตอร์สกูล จูยอนเธอจบการศึกษาจาก Dongduk Women's University ก่อนที่จูยอนจะได้เข้าวงการเธอได้เป็นเป็นออลจังที่โด่งดังมากในเกาหลีใต้และเธอได้รับฉายา \"สวยสุดในวง\"",
"title": "อี จู-ย็อน"
},
{
"docid": "298241#53",
"text": "อาฟเตอร์สกูลมีระบบการเข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาที่หมุนเวียนสมาชิกเข้าหรือออกจากกลุ่ม[12]",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#3",
"text": "ก่อนจะมาเป็นอาฟเตอร์สกูลนั้น กาฮี เคยเป็นแดนเซอร์ให้กับศิลปินชื่อดังหลายคน เช่น โบอา DJ DOC Jinusean Lexy เซเว่น ฮวีซอง ฯลฯ ประมาณปี 2547 - 2548 ช่วงที่ยังเป็นแดนเซอร์อยู่กาฮีเคยคบกับ ปาร์ค ยูชอน นักร้องวง ทงบังชินกี ปัจจุบันนี้ทั้งคู่ได้เลิกรากันไปนานหลายปีแล้ว ในช่วงปี 2548 กาฮีเคยเป็นสมาชิกเกิร์ลกรุปวง S.Blush ออกดิจิตอลซิงเกิลในอเมริกาชื่อ It's My Life ซึ่งติดอันดับ 2 ใน Billboard Hot Dance Chart ปี 2551 กาฮี ได้มาร้องแร๊พให้กับ ซนดัมบิ ศิลปินในสังกัดเดียวกันในเพลง \"Bad Boy\" ขณะนั้นกาฮียังเป็นศิลปินฝึดหัดอยู่ ในขณะที่จองอาก็เคยเป็นแดนเซอร์ให้กับซนดัมบิในเพลง \"Bad Boy\" ส่วนจูยอนก็เคยแสดงมิวสิกวีดีโอให้กับ โทนี่ อัน ในเพลง \"Yutzpracachia\" ในปี 2549 และในปี 2550 จูยอนก็เคยร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง My Tutor Friend 2 และเคยออกรายการ MBC “Introduce Stars’ Friends” Show ในฐานะเพื่อนสนิทของ ซนดัมบิ เมื่อปี 2551 ด้วย",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "78853#12",
"text": "ฮวีซ็อง (ปัจจุบันเป็นนักร้องอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) อี จุน-กิ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) ฮอ ย็อง-แซ็ง (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ดับเบิลเอส 501) พัก จ็อง-มิน (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ดับเบิลเอส 501) พัก กยู-รี (ปัจจุบันคือหัวหน้าวงอดีตเกิร์ลกรุ๊ป คาร่า) อี ซ็อง-ย็อล (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง อินฟินิต) จี.โอ (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง เอ็มแบล็ก) โซลบี (ปัจจุบันเป็นนักร้องอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) จี ดรากอน (ปัจจุบันคือหัวหน้าวง บิกแบง) อี จง-ซ็อก (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) ซีโค (ปัจจุบันคือหัวหน้าวง บล็อกบี) โซย็อน (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ที-อารา) ฮอ ชัน-มี (อดีตสมาชิกวงโคเอ็ดสคูล และ ไฟฟ์ดอลส์) โช ฮย็อน-ย็อง (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง เรนโบว์) โก อู-รี (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง เรนโบว์) เรนะ (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง อาฟเตอร์สกูล และหัวหน้าซับยูนิต ออเรนจ์คาราเมล) ฮอ กา-ยุน (ปัจจุบันคือหนึ่งในวงอดีตเกิร์ลกรุ๊ป โฟร์มินิต) พัค อึน-จี (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ไนน์มิวส์) พัค กา-ฮี (อดีตหัวหน้าวง อาฟเตอร์สกูล) คิม ฮิม-ชาน (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง บี.เอ.พี) โก ซึง-ยอน (ปัจจุบันอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) คว็อน ซุน-อิล (ปัจจุบันคือสมาชิกวง เออร์บันซาคาปา) จุนฮย็อก (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ฮ็อตช็อต) ทิโมเทโอ (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ฮ็อตช็อต)",
"title": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "298241#23",
"text": "ในวันที่ 17 มิถุนายน 2011 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ต้นสังกัดของอาฟเตอร์สกูล ได้เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ อาฟเตอร์สกูลจะมีนักเรียนที่จบการศึกษารุ่นแรก ซึ่งอาฟเตอร์สกูลเป็นวงเกิร์ลกรุปที่ได้รับความสนใจมาตั้งแต่เดบิวท์ด้วยระบบสมาชิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือการเข้าโรงเรียนโดยการเพิ่มสมาชิกใหม่ และการจบการศึกษาโดยการลาออกของสมาชิกวง โดยนักเรียนที่จะจบการศึกษาในครั้งนี้ก็คือ เบคก้า ซึ่งต้นสังกัดกล่าวว่า “หลังจากครุ่นคิดและปรึกษาหารือกับเพื่อนๆ ครอบครัว บริษัทมานาน เบคก้าก็ตัดสินใจโดยสรุปว่า เธอจะจบการศึกษาจากวงอาฟเตอร์สกูล และจะกลับไปฮาวายเพื่อทุ่มเทให้กับการเรียนออกแบบที่เธอใฝ่ฝัน” เสริม “ตอนนี้เราก็กำลังวางแผนเรื่องการถ่ายภาพจบการศึกษาของสมาชิกวงรวมกับเบคก้า ซึ่งอีกไม่นานก็จะมีการเปิดตัวผลงานจบการศึกษาของเบคก้า โดยเธอจะมาพบกับแฟนๆ ก่อนที่จะจบการศึกษาครับ” ส่วนเบคก้าก็ได้กล่าวฝากมาทางต้นสังกัดว่า “ตอนนี้ฉันกำลังเตรียมผลงานจบการศึกษาโดยรวมเอาประสบการณ์และช่วงเวลาที่มีความสุขตอนที่อยู่ด้วยกันมาจนกระทั่งถึงตอนนี้อยู่ค่ะ ต่อไป ถ้าทักษะการออกแบบของฉันเพิ่มขึ้น ฉันก็อยากจะออกแบบอัลบั้มของอาฟเตอร์สกูลให้เป็นของขวัญค่ะ” อนึ่ง เบคก้าจะจบการทำกิจกรรมร่วมกับวงอาฟเตอร์สกูลในผลงานจบการศึกษาที่เธอเป็นผู้แต่งเนื้อเพลงเอง ซึ่งเพลงนี้จะกล่าวถึงความรู้สึกของเธอในการทำกิจกรรมกับอาฟเตอร์สกูลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#0",
"text": "อาฟเตอร์สกูล (Korean: 애프터스쿨; English: After School) เป็นกลุ่มนักร้องหญิงของประเทศเกาหลีใต้ สังกัดค่ายเพลดิสเอนเตอร์เทนเมนต์ในปี ค.ศ. 2009 ที่มีระบบการรับสมาชิกเข้าและสำเร็จการศึกษา[1][2]",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "607260#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2554 เข้าสู่สังกัดจากการออดิชั่นร่วมกับยูอารา และ คิมฮเยริม(ราอิม) เพื่อที่จะเป็นสมาชิกวงอาฟเตอร์สกูล แต่สุดท้าย ทางต้นสังกัดก็คัดอียองเป็นสมาชิกวงอาฟเตอร์สกูล จนถึงปัจจุบันนี้",
"title": "ชิน ยุน-โจ"
},
{
"docid": "298241#46",
"text": "ในวันที่ 28 กันยายน 2014 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศว่าเรนะหนึ่งในสมาชิกของอาฟเตอร์สกูลจะทำการปล่อยผลงานเดี่ยวชุดแรกที่ใช้ชื่อว่า \"Reset\" โดยมีเพลงโปรโมทอย่าง 'You End, And Me' ที่ได้นักร้องฮิปฮอป คันโตะ จากวงทรอย (Troy) มาร่วมร้องในซิงเกิลนี้ด้วย",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "551805#0",
"text": "โน อี-ย็อง (; ; เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2535) หรือชื่อในการแสดงว่า อีย็อง (; ) เป็นนักร้อง นักแสดง นักดนตรี สาวชาวเกาหลีใต้รู้จักในสถานะสมาชิกวง อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)",
"title": "อีย็อง"
},
{
"docid": "298241#48",
"text": "ในวันที่ 31 ธันวาคม 2014 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ต้นสังกัดของอาฟเตอร์สกูลได้ออกมาแถลงว่า จูยอนนั้นได้หมดสัญญากับทางต้นสังกัดแล้ว และเธอตัดสินใจที่จะไม่ต่อสัญญา ทำให้เธอเป็นสมาชิกคนที่ 4 ที่จบการศึกษาจากวงอาฟเตอร์สกูล อนึ่ง จูยอนนั้นได้เขียนจดหมายถึงแฟนๆบอกถึงเหตุผลของการจบการศึกษาในครั้งนี้ นั่นเพราะเธอต้องการที่จะผันตัวไปเป็นนักแสดง",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "609848#0",
"text": "ออเรนจ์คาราเมล (อังกฤษ: Orange Caramel; ฮันกึล: 오렌지 캬라멜; คะตะกะนะ: オレンジカラメル) เป็นวงหญิงล้วนสัญชาติเกาหลีใต้ และเป็นซับยูนิตของวง อาฟเตอร์สกูล มีสมาชิกทั้งหมด 3 คนคือ เรนะ, นานะ และลิซซี",
"title": "ออเรนจ์คาราเมล"
},
{
"docid": "298241#6",
"text": "ในวันที่ 15 มกราคม 2009 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ต้นสังกัดได้ปล่อยตัวอย่างความยาว 30 วินาทีของซิงเกิลเดบิวต์ \"AH!\" ผ่านทาง Gom TV ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากและมีผู้เข้าชมในวันแรกมากกว่าหนึ่งแสนครั้ง[9] ทำให้ค่ายตัดสินใจปล่อยซิงเกิลแรกคือ \"AH!\" พร้อมกับซิงเกิลอัลบั้มชุดแรก New Schoolgirl ออกมาในวันนั้นทันที อาฟเตอร์สกูลขึ้นแสดงสดครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม 2009 ในรายการมิวสิคคอร์ (Show! Music Core) ของสถานีโทรทัศน์เอ็มบีซี ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิก 5 คนคือ กาฮี จองอา จูยอน โซยอง และเบคก้า ในช่วงเดือนเมษายน ยูอี ได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของวง ทำให้อาฟเตอร์สกูลมีสมาชิกทั้งหมด 6 คน พร้อมกับได้ปล่อยดิจิตอลซิงเกิลใหม่ \"Diva\" ในวันที่ 9 เมษายน 2009 และขึ้นแสดงครั้งแรกในรายการเอ็ม! เคาต์ดาวน์ (M!Countdown) ของช่องเอ็มเน็ตในวันเดียวกัน ซิงเกิลใหม่ \"Diva\" นี้ทำให้อาฟเตอร์สกูลได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมประจำเดือนเมษายน 2009 ของ Cyworld Digital Music Awards อีกด้วย",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#33",
"text": "ในวันที่ 14 มีนาคม 2012 อาฟเตอร์สกูลได้ปล่อยอัลบั้มเต็มภาษาญี่ปุ่นชุดแรก Playgirlz ซึ่งนอกจากจะมีซิงเกิลที่ปล่อยออกมาทั้งสามซิงเกิลรวมอยู่ด้วยแล้ว ยังมีเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ถึง 6 เพลง รวมไปถึงการนำเพลง \"Shampoo\" และเพลง \"Shanghai Romance\" ของออเรนจ์คาราเมล มาทำใหม่ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย อัลบั้มนี้สามารถขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 6 ของออริกอนอัลบั้มชาร์ตรายวันได้สำเร็จ จากการทำยอดขายได้มากกว่า 11,000 แผ่นภายในวันแรกที่ถูกปล่อยออกมา และอยู่ในอันดับที่ 9 ของยอดดาวน์โหลดใน iTunes Japan ในวันที่ 9 เมษายน 2012 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ต้นสังกัดได้ออกมาประกาศให้ทราบถึงการเพิ่มสมาชิกใหม่ของอาฟเตอร์สกูล ซึ่งในวันต่อมาก็ได้มีการเปิดเผยว่าสมาชิกคนดังกล่าวนั้นก็คือ กาอึน ซึ่งเป็นสมาชิกรุ่นที่ 5 ของอาฟเตอร์สกูล และจะเข้าร่วมในซิงเกิลอัลบั้มชุดที่ 5 ที่จะปล่อยออกมาในวันที่ 21 มิถุนายนที่จะถึงนี้",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#37",
"text": "ในวันที่ 11 มิถุนายน 2012 รูปภาพโปรโมทสำหรับการคัมแบ็คซิงเกิลอัลบั้มชุดที่ 5 ได้ถูกปล่อยออกมาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นรูปรวมสมาชิกทั้ง 8 คนรวมไปถึงสมาชิกใหม่อย่างกาอึนด้วย ต่อมาจึงได้เปิดเผยรายชื่อเพลงทั้งหมดในอัลบั้ม รวมถึงชื่อของซิงเกิลอัลบั้มชุดนี้นั่นก็คือ \"Flashback\" ซึ่งจะเป็นชื่อเดียวกันกับเพลงที่จะใช้โปรโมทในครั้งนี้ ในวันต่อมา ภาพโปรโมทภาพที่ 2 ได้ถูกปล่อยออกมา ซึ่งเป็นภาพเดี่ยวของลิซซี่ จากนั้นภาพเดี่ยวของสมาชิกทุกคนจึงได้ทยอยปล่อยออกมา จากลิซซี่ต่อด้วยยูอี, จองอา, นานะ, เรนะ, จูยอน, อียอง และปิดท้ายด้วยกาอึน",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#54",
"text": "สมาชิกปัจจุบัน เรนา นานา อีย็อง กาอึน อดีตสมาชิก โซย็อง เบกาห์ กาฮี จูย็อน จ็องอา ยูอี ลิซซี",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#36",
"text": "ในวันที่ 5 มิถุนายน 2012 ทางเพลดิสต้นสังกัดได้ออกมายืนยันถึงการจบการศึกษาหัวหน้าวงกาฮี ซึ่งเป็นการจบการศึกษาเป็นคนที่ 3 ของวงอาฟเตอร์สกูล ทั้งนี้กาฮีจะทำกิจกรรมในฐานะอาฟเตอร์สกูลไปจนถึงเดือนกันยายน และจะออกจากวงเพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นศิลปินเดี่ยวต่อไป",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#20",
"text": "อาฟเตอร์สกูลนั้นเป็นเกิร์ลกรุปที่มีระบบการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอย่างต่อเนื่องภายใต้รูปแบบการรับนักเรียนใหม่และจบการศึกษาเหมือนเกิร์ลกรุปของญี่ปุ่น โดยแบ่งเป็นสมาชิกออกเป็น รุ่นที่ 1 ประกอบไปด้วย กาฮี จองอา จูยอน เบคก้า, รุ่นที่ 2 ยูอี, รุ่นที่ 3 เรนะ นานะ ลิซซี่ และรุ่นที่ 4 อียอง",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#22",
"text": "ทีมงานได้ถูกถามถึงผลงานอัลบั้มเต็ม Virgin ของอาฟเตอร์สกูล ที่วางจำหน่ายในรอบ 1 ปีหลังจากอัลบั้ม Bang! โดยทีมงานกล่าวว่า \"ทุกคนจะสามารถสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ของ After School ที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากลุคของสาวงามสุดมั่นในแบบเดิมๆ พวกเธอจะมาถ่ายทอดนิยามความงามในแบบ Virgin ผ่านผลงานอัลบั้มชุดนี้ครับ\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#16",
"text": "ในวันที่ 6 ธันวาคม 2010 อาฟเตอร์สกูล ได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ Happy Pledis 1st Album ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ \"Happy Pledis\" ที่ศิลปินของเพลดิสทุกคนจะมอบความสุขให้กับแฟนเพลงเป็นของขวัญส่งท้ายปี โดยรายได้บางส่วนจากการจำหน่ายซิงเกิลนี้ จะถูกนำไปบริจาคให้กับองค์กร \"Save The Children\" ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือเด็กๆด้วย อย่างไรก็ตาม เบคก้า ไม่ได้เข้าร่วมโปรโมทซิงเกิลนี้กลับสมาชิกคนอื่นๆ โดยต้นสังกัดเปิดเผยว่า \"ตอนนี้เบคก้ากำลังอยู่ในระหว่างการพักผ่อนครับ\" เขากล่าว \"ตั้งแต่เธอเป็นเด็กฝึกหัด เบคก้า ยังไม่เคยเดินทางกลับบ้านไปที่ฮาวายเป็นเวลากว่า 3-4 ปีแล้วครับ ตอนนี้เธอเลยใช้เวลากลับไปผักผ่อน\" เสริม \"เนื่องจากเธอไปพักผ่อนอยู่ก่อนแล้ว การที่จะให้เธอเดินทางกลับมาแป๊ปนึงเพื่อถ่ายภาพนั้นก็ใช่เรื่อง ทำให้เราตัดสินใจไม่ได้รวมเธอเข้าไปในอัลบั้มนี้ครับ\" กล่าวต่อ \"อัลบั้มนี้เป็นผลงานอัลบั้มซีซั่นพิเศษ ที่อาฟเตอร์สกูลได้เตรียมเอาไว้เพื่อใช้เป็นเพลงในเทศกาลคริสต์มาสในฤดูหนาวนี้ครับ\" เสริม \"ส่วนด้านเบคก้าจะกลับมาร่วมกับเพื่อนๆของเธอในอัลบั้มเต็มของอาฟเตอร์สกูลที่จะวางจำหน่ายต้นปีหน้าครับ\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#14",
"text": "ในวันที่ 7 มิถุนายน 2010 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ต้นสังกัดได้เปิดตัวยูนิตย่อยกลุ่มแรกของวงอาฟเตอร์สกูลที่มีชื่อว่า ออเรนจ์ คาราเมล ซึ่งมีสมาชิก 3 คน คือ เรนะ นานะ และลิซซี่ โดยออเรนจ์ คาราเมล นั้นเป็นวงที่มีคอนเซปต์น่ารัก ร่าเริง สดใส ซึ่งแตกต่างจากวงอาฟเตอร์สกูลที่มีคอนเซปต์แข็งแรง เซ็กซี่ และดุดันอย่างสิ้นเชิง",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "553800#0",
"text": "คิม จ็อง-อา(; 2 สิงหาคม 2526– )หรือชื่อในการแสดงว่า จ็องอาเป็นนักร้อง นักแสดง ชาวเกาหลีใต้ เป็นอดีตสมาชิกวง อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)\nจองอา หรือชื่อจริง คิม จองอา เกิดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ที่เมือง อินชอน ประเทศเกาหลีใต้ จองอาเธอปรากฏตัวเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ในเทศกาลเพลงของ เอสบีเอส ร่วมกับ จูยอน ซน ดัมบิ วันที่ 25 มีนาคม 2556 จองอาเธอตกเป็นข่าว กับ อนยู วงชายนี่ เรื่องการคบกันของทั้งสอง แต่เป็นแค่ข่าวลือเพราะทั้งสองไปเที่ยวไนน์คลับด้วยกัน หลังจากในปี 2012 กาฮีหัวหน้าวงได้ลาออกไปทำให้มีข้อสังลับว่าใครจะมาเป็นหัวหน้าแทนปรากฏว่า จองอาได้รับการคัดเลือกได้เป็นหัวหน้าวง",
"title": "คิม จ็องอา"
},
{
"docid": "298241#4",
"text": "หลังจากที่กาฮีออกจากวง S.Blush แล้ว เธอได้ติดต่อกับเพื่อนที่ เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ และได้วางโครงการร่วมกันที่จะก่อตั้งเกิร์ลกรุปวงใหม่ขึ้นมา โดยสมาชิกคนแรก(นอกเหนือจากกาฮี)คือเบคก้า ซึ่งเป็นเด็กฝึกหัดในตอนที่กาฮียังเป็นสมาชิกวง S.Blush อยู่ ตามด้วยจองอา จูยอน และโซยองเป็นคนสุดท้าย เพี่อที่จะเดบิวต์เป็นเกิร์ลกรุปที่มีสมาชิก 5 คน",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#26",
"text": "\"A.S.RED\" ประกอบไปด้วยสมาชิกคือ กาฮี จองอา ยูอี และนานะ มีเพลงโปรโมทคือ \"In The Night Sky\" ส่วน \"A.S.BLUE\" ประกอบไปด้วยสมาชิกคือ จูยอน เรนะ ลิซซี่ และอียอง มีเพลงโปรโมทคือ \"Wonder Boy\" ฮันซองซู โปรดิวเซอร์ของเพลดิสเปิดเผยว่า \"หลังจากที่ผ่านการพิจารณามาเป็นอย่างดีเราก็ได้ตัดสินใจวางจำหน่ายอัลบั้มของทั้งสองยูนิตพร้อมกัน โดยเฉพาะกับแนวเพลงและคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้เราคาดหวังว่าทุกคนจะช่วยติดตามผลงานครั้งนี้ของพวกเธอให้มากๆด้วยครับ การที่เราแบ่งสมาชิกออกเป็นสองทีมทำให้พวกเธอได้แข่งขันกันเอง และนั่นทำให้พวกเธอทำงานด้วยความสนุกและเต็มที่กับมันมากๆ เหนือสิ่งอื่นใดคือการที่เราได้นำเสนอความงามของอาฟเตอร์สกูลออกเป็นสองรูปแบบมันทำให้เป็นอะไรที่มีความหมายมากๆ\" เขากล่าว",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#49",
"text": "ในวันที่ 23 มกราคม 2015 ลิซซี่ หนึ่งในสมาชิกอาฟเตอร์สกูล ได้ปล่อยผลงานเดี่ยวซิงเกิลชุดแรก \"Not An Easy Girl\" (쉬운 여자 아니에요) ซึ่งเป็นเพลงในรูปแบบทร็อต (เพลงลูกทุ่งของเกาหลี)",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "585280#0",
"text": "ยัง จีว็อน(Hangul: 양지원; Hanja: 楊知元; เกิด 5 เมษายน 2531)หรือชื่อที่ใช้ในการแสดงว่าจีว็อน(Jiwon)เป็น นักร้อง นักแสดง พิธีกร ไอดอลหญิง ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งรู้จักในสถานะสมาชิกวง สปีคก้า\nจีวอน เกิดในโซล หลังจากเธอจบจากโรงเรียนมัธยมในโซล เธอได้เรียนที่ มหาวิทยาลัยดองกุก จีวอนเธอได้สอบเข้าเรียนคณะการบันเทิง เธอเกือบเปิดได้เป็นสมาชิกวง Five Girlsมี 5คน ประกอบด้วย จีน่า(เป็นศิลปินเดี่ยว) ฮโยซ็อง วงซีเครต ยูอี วง อาฟเตอร์สกูล ยูบิน วง วันเดอร์เกิลส์ แต่ภายหลังวงนี้เป็นที่หน้าเสียดายเพราะไม่ได้เดบิว เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของค่าย Good Entertainment \nหลังจากค่ายเก่าถูกยกเลิกไปเพราะปัหญาทางการเงินเธอได้ย้ายมาอยู่กับค่าย Core Contents Media แต่ว่าเธอเกือบได้เป็นสมาชิกวง ที-อารา แต่ว่าเธอขอถอนตัวออกมาก่อนเพราะปัหญาความไม่พร้อมของตัวเธอเองด้วยหลังจากนั้นในปี 2010 เธอก็ได้ตัดสินลาออกจากค่าย Core Contents Media\nในปี 2011 เธอตัดสินใจไปออดิชั่นกับค่าย B2M Entertainment และเธอก็ได้รับการอบรมจนได้เป็นสมาชิกวง สปีคก้า ในที่สุด",
"title": "ยัง จี-ว็อน"
},
{
"docid": "298241#17",
"text": "ในวันที่ 31 ธันวาคม 2010 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ได้เปิดตัวสมาชิกคนที่ 9 ของอาฟเตอร์สกูล อียอง (E-Young) ในงาน MBC \"Music Festival\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
}
] |
3426 | ตรีมูรติ คืออะไร ? | [
{
"docid": "94036#1",
"text": "คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป",
"title": "ตรีมูรติ"
},
{
"docid": "94036#0",
"text": "ตรีมูรติ (; ) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย)",
"title": "ตรีมูรติ"
}
] | [
{
"docid": "94036#2",
"text": "พระตรีมูรติในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน เชื่อมโยงไปครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พระตรีมูรติเป็นเทพผู้อารักขาวังเพ็ชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์)\nของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันคือ สถานที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ถ.ราชประสงค์ ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการทิ้งระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร และบริเวณที่ตั้งวังเพชรบูรณ์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งถูกถล่มด้วยระเบิด มีเรื่องเล่าว่าแม้สถานที่ของวังฯ จะโดนระเบิดทิ้งลงมา แต่ระเบิดกลับไม่ทำงานหรือด้านไม่สามารถสร้างความเสียหายแก่วังเพชรบูรณ์ได้ สร้างความแปลกใจให้แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก",
"title": "ตรีมูรติ"
},
{
"docid": "94036#4",
"text": "ชาวไทยบางกลุ่มเชื่อว่าพระตรีมูรติเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก สามารถดลบันดาลให้ คู่รักชาย-หญิง สมหวังในความรักนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่เป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติ ทุกคืนในวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ 21.30 น. บรรดาผู้ที่อยากสมหวังในความรักจะมาอธิษฐาน เพื่อให้ตนเองได้รับความสมหวังในความรักที่ปรารถนา ด้วยความเชื่อที่ว่า เวลา 21.30 น.ของวันนั้นมหาเทพจะเสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อรับคำอธิษฐาน",
"title": "ตรีมูรติ"
},
{
"docid": "94036#5",
"text": "ในปัจจุบัน พบว่าในสังคมไทยพระตรีมูรติได้รับความนับถือในฐานะเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก โดยมีศาลอยู่ที่บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิร์ล พลาซ่า เป็นที่เคารพบูชากราบไหว้อย่างมากโดยเฉพาะหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่",
"title": "ตรีมูรติ"
},
{
"docid": "94036#3",
"text": "เทวาลัยสำหรับสักการะพระตรีมูรติในปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ใกล้กับศาลพระพิฆเนศวร",
"title": "ตรีมูรติ"
},
{
"docid": "86131#0",
"text": "หิรันต์ เป็นยักษ์ ซึ่งเป็นอสูรเทพบุตรบำเพ็ญตบะเพื่อขอพรพระผู้เป็นเจ้า จนพระอิศวรประทานพรให้มีฤทธิ์ปราบใด้ทั้งสามโลกและไม่มีผู้ใดฆ่าตาย เมื่อมีฤทธิ์และจึงบุกไปทั้งสามโลก และม้วนแผ่นดินมาเก็บไว้เมืองบาดาลสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จน พระนารายณ์ ทรงอวตารลงมาเป็นหมูเผือกเขี้ยวเพชร ไล่ขวิด ไล่กัด จนหิรันต์ตาย และนำแผ่นดินมาคลี่ออกตามเดิม\nมีหนึ่งพักตร์ สองกร กายสีขาว ทรงมงกุฎน้ำเต้า มีตะบองวิเศษเป็นอาวุธ",
"title": "หิรันต์"
},
{
"docid": "85940#5",
"text": "อย่างไรก็ดี ปัจจุบันตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ พระอินทร์มีบทบาทลดลงโดยเป็นเทวดาชั้นรองและมีหน้าที่รองจากตรีมูรติ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม อำนาจหน้าที่บางประการของพระอินทร์ถูกโอนไปให้ตรีมูรติ เช่น พระอิศวรกลายเป็นประมุขสูงสุดแห่งทวยเทพและเป็นประธานเทวสภา พระนารายณ์มีอำนาจหน้าที่อภิบาลมนุษยโลกแทน กับทั้งพลังอำนาจของพระอินทร์ยังเป็นรองตรีมูรติ เป็นต้นว่า ในคราวที่พระนารายณ์แบ่งภาคลงไปเป็นพระกฤษณะ พระกฤษณะสามารถสำแดงเดชยกเขาบังห่าฝนที่พระอินทร์บันดาลให้เกิดขึ้นมา เพื่อทรมานเหล่าผู้คน เพราะเสื่อมศรัทธาในพระอินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พวกพรหมณ์ของไวษณพนิกาย แต่งขึ้นภายหลังแล้วนำไปเพิ่มเติมในเรื่องราวของ พระกฤษณะเจ้าภายหลัง เพื่อลดความเชื่อถือในองค์อินทร์ ทุกศาสนาล้วนมีเทพหรือเทวดาที่วนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนมีอายุขัยดับไปและเกิดใหม่ มีแต่ศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าที่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่อยู่ในรูปพรหมและอรูปพรหม",
"title": "พระอินทร์"
},
{
"docid": "975264#1",
"text": "พระฤาษีวาสุเทพ (สุเทวฤาษี) ซึ่งจำศีลภาวนาอยู่ ณ ดอยสุเทพ ได้ธุดงค์มาพบเข้าก็ทราบว่าทารกคนนี้คงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิดเป็นแน่ ท่านจึงใช้พัด (วี) ยื่นไปในสระน้ำนั้นพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า หากทารกนี้มีบุญจริงก็ให้พัดของเรารับร่างน้อยนั้นเข้าฝั่งมาได้เถิด และสิ้นคำอธิษฐาน ร่างของทารกน้อยก็ลอยขึ้นฝั่งได้พร้อมกับพัดที่ใช้รองรับ ดังนั้นท่านฤาษีวาสุเทพจึงได้นำทารกน้อยนี้ไปเลี้ยงดูโดยตั้งชื่อให้ว่า “หญิงวี” ท่านฤาษีวาสุเทพได้เลี้ยงดูหญิงวีจนกระทั่งอายุได้ ๑๓ ขวบ จึงได้ต่อแพยนต์จัดส่งพระนางไปตามนิมิต โดยให้นั่งไปบนแพยนต์ มีวานรติดตามไปดูแล ๓๕ ตัว แพยนต์ซึ่งพระฤาษีเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาก็นำพาหญิงวีไปตามลำน้ำใหญ่ จนกระทั่งถึงวัดเชิงท่าตลาดลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี (ละโว้) แพยนต์ของหญิงวีก็ลอยเป็นวงกลมอยู่ที่ท่าน้ำนั้น ประชาชนพลเมืองต่างช่วยกันชักลากขึ้นฝั่ง แต่ก็กระทำไม่สำเร็จ จึงพากันไปทูลแจ้งแก่กษัตริย์เมืองละโว้ในขณะนั้นได้ทราบข่าวก็อัศจรรย์ยิ่ง นัก จึงเสด็จมาพร้อมกับรับหญิงวีเป็นธิดาบุญธรรม ต่อจากนั้นก็ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองและเจิมพระขวัญแต่งตั้งให้หญิงวีที่มา กับสายน้ำนี้เป็นพระราชธิดา แห่งกรุงละโว้ธานี และได้ให้ปุโรหิตจารึกพระนามลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า",
"title": "ฤๅษีวาสุเทพ"
},
{
"docid": "847030#0",
"text": "อิศรา กิจนิตย์ชีว์ ชื่อเล่น ทอม (2 มิถุนายน พ.ศ. 2531) เป็นนักร้องและนักดนตรีชาวไทย สมาชิกวงดนตรี รูม 39 เป็นที่รู้จักจากการนำเพลงผู้อื่นมาร้องใหม่และลงวิดีโอในยูทูบ ซึ่งเพลงแรกที่เริ่ม cover คือ เพลง เข้ากันไม่ได้ และเริ่ม cover เพลงมาเรื่อย ๆ ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐ จนต่อมาบอย โกสิยพงษ์ ผู้บริหารค่ายเลิฟอีสชักชวนมาเป็นศิลปินในสังกัด",
"title": "อิศรา กิจนิตย์ชีว์"
}
] |
2103 | ความเชื่อเรื่อง นัยน์ตาปีศาจ แพร่หลายในเอเชียหรือไม่? | [
{
"docid": "307962#10",
"text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่รุนแรงที่สุดอยู่ในบริเวณตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาตะวันตก, อเมริกากลาง, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ ยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ที่นอกจากนั้นแล้วก็ยังเผยแพร่ไปยังบริเวณอื่นที่รวมทั้งตอนเหนือของยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณวัฒนธรรมเคลต์ และใน อเมริกา ที่นำเข้าไปโดยนักอาณานิคมยุโรป และต่อมาผู้ย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่มาจากตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาตะวันตก, อเมริกากลาง",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
}
] | [
{
"docid": "307962#11",
"text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจพบในบทเขียนของอิสลามที่ศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “อิทธิพลของนัยน์ตาปีศาจเป็นเรื่องที่จริง...” นอกจากนั้นกิจการการขจัดนัยน์ตาปีศาจก็ยังเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายโดยมุสลิม เช่นแทนที่จะกล่าวชมความงามของเด็กโดยตรง ก็มักจะกล่าวว่า “ما شاء الل” ที่แปลว่า “ถ้าเป็นสิ่งพระเจ้ามีพระสงค์” แทนที่ ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวว่าเป็นพรที่เป็นอำนาจของพระเจ้าที่ประทานให้บุคคลที่ได้รับการชื่นชม นอกจากจะมีหลักฐานสนับสนุนในบทเขียนของอิสลามแล้ว ก็ยังมีความเชื่ออื่นๆ ในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่พบในศาสนาพื้นบ้านที่มักจะเกี่ยวกับการใช้เครื่องรางในการป้องกันจากภัยที่อาจจะประสบ",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#8",
"text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณก็ต่างกันออกไปตามแต่ภูมิภาคและยุคสมัย และความกลัวนัยน์ตาปีศาจก็รุนแรงไม่เท่าเทียมกันไปทุกมุมเมืองในจักรวรรดิโรมัน บางท้องที่ก็อาจจมีความหวาดกลัวที่สูงกว่าท้องที่อื่น ในสมัยดรมันไม่แต่บุคคลเท่านั้นที่เชื่อกันว่าอาจจะเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และ อาจจะเป็นกลุ่มชนทั้งกลุ่ม โดยเฉพาะประชากรชาวพอนทัส หรือ ซิทเธียที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#41",
"text": "ในปี ค.ศ. 1946 นักมายากลเฮนรี กามาชีตีพิมพ์หนังสือชื่อ “\"Terrors of the Evil Eye Exposed!\"” (เผยความกลัว “นัยน์ตาปีศาจ”!) ที่บอกวิธีป้องกันตนเองจาก “นัยน์ตาปีศาจ” งานเขียนของกามาชีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “นัยน์ตาปีศาจ” แก่นักปฏิบัติวูดูแอฟริกันอเมริกันทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#14",
"text": "ในบริเวณภูมิภาคอีเจียน และอื่นๆ ที่ผู้มีตาสีอ่อนน้อย ก็เป็นที่เชื่อกันว่าผู้ที่มีตาสีเขียวเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจไม่ว่าจะโดยการจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม ความเชื่อนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้คนจากต่างวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นกับความเชื่อดังกล่าว เช่นผู้คนจากทางเหนือของยุโรป อาจจะปฏิบัติในสิ่งที่ขัดกับประเพณีท้องถิ่นในการจ้องมองหรือการชมความงามของเด็ก ฉะนั้นในกรีซและตุรกีเครื่องรางที่ใช้ในการต่อต้านอำนาจของนัยน์ตาปีศาจจึงเป็นตาสีฟ้า",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#1",
"text": "ความเชื่อดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมพยายามหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดสิ่งที่เลวร้ายขึ้น ความคิดและความสำคัญของนัยน์ตาปีศาจก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อนี้ปรากฏหลายครั้งในบทแปลของพันธสัญญาเดิม และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในบรรดาอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน กรีซคลาสสิกอาจจะเรียนรู้จากอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ผ่านความเชื่อนี้ต่อไปยังโรมันโบราณ",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#20",
"text": "นัยน์ตาปีศาจในภาษากรีกเรียกว่า “ματι” ที่ใช้เป็นเครื่องยันต์มาตั้งแต่อย่างน้อยก็ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ที่พบเสมอบนภาชนะสำหรับดื่ม ในกรีซนัยน์ตาปีศาจถูกกำจัดโดย “ξεμάτιασμα” (“xematiasma”) โดยผู้ทำการจะท่องมนต์คาถาลับที่ได้มาจากญาติโยมอาวุโสเพศตรงข้ามที่มักจะเป็นปู่ย่า คาถาจะได้รับก็เมื่อมีสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงเกิดขึ้น เพราะผู้ที่ถ่ายทอดคาถาเมื่อถ่ายทอดแล้วตนเองก็จะหมดอำนาจในการขจัดภัยจากนัยน์ตาปีศาจ",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#28",
"text": "“นัยน์ตาปีศาจ” ได้รับการกล่าวถึงหลายครั้งใน “\"Ethics of Our Fathers\"” (หลักจริยธรรมของบรรพบุรุษ) โดย Pirkei Avot ในบทที่ 2 กล่าวถึงลูกศิษย์ห้าคนของราไบโยคานัน เบน ซาไคที่ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในแนวทางที่ดีและเลี่ยงการทำความชั่ว ราไบเอลิเอเซอร์กล่าวว่านัยน์ตาปีศาจเลวร้ายกว่าเพื่อน หรือ เพื่อนบ้านที่เลว หรือ ผู้ประสงค์ร้าย ศาสนายูดาห์เชื่อว่า “ตาดี” เป็นตาที่ส่งความประสงค์ดีและความกรุณาต่อผู้อื่น ผู้ที่มีทัศนคติดังกล่าวจะมีความสุขกับการได้ดีของผู้อื่น และเป็นผู้มีความประสงค์ดีต่อเพื่อนมนุษย์ ส่วน “นัยน์ตาปีศาจ” เป็นทัศนคติตรงกันข้าม ผู้ที่เป็นเจ้าของ “นัยน์ตาปีศาจ” นอกจากจะเป็นผู้ที่มีแต่ความทุกข์และจะมีความทุกข์ทรมานเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี แต่จะมีความสุขเมื่อเห็นผู้ใดประสบเคราะห์ ผู้ที่มีบุคลิกดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความบริสุทธิ์ของจริยธรรมของคนทั่วไป นี่คือทัศนคติโดยทั่วไปของศาสนายูดาห์เกี่ยวกับ “นัยน์ตาปีศาจ” ผู้ที่มีความเชื่อในคาบาลาห์หรือตำนานความเชื่อเรื่องลึกลับของยิวเชื่อว่าการใช้ด้ายแดงจะช่วยกันภัยจาก “นัยน์ตาปีศาจ” และกล่าวกันว่าการเห็นด้ายแดงตัดกับสีผิวก็ควรจะเป็นเครื่องเตือนเกี่ยวกับบทเรียนของเรเชล และสนับสนุนให้เราประพฤติตัวในวิถีทางที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชีวิตในทางที่ถูกที่ควร",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#6",
"text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณมีพื้นฐานมาจากหลักฐานของแหล่งข้อมูลเช่น อริสโตฟานีส, เอเธเนียส และ พลูทาร์ค และยังมีผู้คาดกันว่าโสกราตีสเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และผู้ติดตามและผู้ชื่นชมในตัวโสกราตีสต่างก็หลงเสน่ห์จากการจ้องมองอย่างเอาจริงเอาจังของโสกราตีส ลูกศิษย์ของโสกราตีสเรียกกันว่า “Blepedaimones” ที่แปลว่าการมองอย่างดีมอน (demon) ไม่ใช้เพราะเป็นผู้ที่ถูกสิงหรือมีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ แต่เพราะถูกสงสัยว่าเป็นผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การสะกดจิตและอันตรายจากการชักจูงของโสกราตีส",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
},
{
"docid": "307962#12",
"text": "แม้ว่าความคิดในเรื่องการจ้องมองแทบจะไม่พบในสังคมเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความเชื่อเรื่องการ Usog ในฟิลิปปินส์ถือเป็นข้อยกเว้น",
"title": "นัยน์ตาปีศาจ"
}
] |
3616 | อารีอานา กรานเด-บูเทรา เกิดเมื่อใด ? | [
{
"docid": "578148#4",
"text": "อารีอานา กรานเด-บูเทรา เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ในเมืองโบกาเรตัน รัฐฟลอริดา เป็นลูกสาวของ โจน แกรนด์ และ เอ็ดเวิร์ด บูเตอรา และมีพี่ชายต่างบิดา ชื่<b data-parsoid='{\"dsr\":[3975,3997,3,3]}'>อ แฟรงกี้ กรานเด เป็นนักแสดง นักเต้น และโปรดิวเซอร์. ครอบครัวของเธอนั้น เป็นชาวอเมริกันที่มีเชื้อสายจากอิตาลี.ครอบครัวของเธอแยกทางกัน ตอนที่เธออายุได้ประมาณ 8-9 ขวบ. ส่วนชื่อของเธอนั้นมีที่มาจาก เจ้าหญิงออเรียน่า จากเรื่อง เฟลิกซ์เดอะแคท.",
"title": "อารีอานา กรานเด"
}
] | [
{
"docid": "186201#44",
"text": "เพร์รีแสดงที่คอนเสิร์ตวันเลิฟแมนเชสเตอร์ เพื่อหารายได้ให้เหยื่อเหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา ร่วมกับศิลปินอีกหลายคน รวมถึงอารีอานา กรานเดด้วย[286]",
"title": "เคที เพร์รี"
},
{
"docid": "578148#3",
"text": "รางวัลที่กรานเดได้รับ ได้แก่ รางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 3 รางวัล รางวัลศิลปินแจ้งเกิดแห่งปีของสมาคมธุรกิจดนตรี รางวัลเอ็มทีวีมิวสิกอะวอดส์ 1 รางวัล รางวัลเอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ 3 รางวัล และเข้าชิงรางวัลแกรมมี 4 รางวัล อัลบั้มของเธอสามอัลบั้มได้รับการรับรองระดับแพลตินัมโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2016 ไทม์ให้แกรนเดเป็นหนึ่งใน 100 คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกในรายชื่อไทม์ 100 ประจำปี[3] กรานเดมีผู้ชมในสื่อสังคมจำนวนมาก โดยมีผู้ติดตามอินสตาแกรมของเธอมากเป็นอันดับที่สี่[4] ในปี ค.ศ. 2017 กรานเดทัวร์ในอเมริกาเหนือและยุโรป",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "861245#0",
"text": "เมื่อเวลา 22.33 น. ตามเวลาออมแสงบริติช () ของวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เกิดเหตุระเบิดที่ด้านนอกอาคารแมนเชสเตอร์อะรีนา เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร หลังงานแสดงคอนเสิร์ตของอารีอานา กรานเด นักร้องชาวอเมริกัน จบลง ผู้ก่อเหตุทราบชื่อในภายหลังคือนายซัลมาน รามาดาน อะบีดี อายุ 22 ปี เป็นชาวบริติชเชื้อสายลิเบีย ได้จุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องขณะผู้เข้าชมคอนเสิร์ตกำลังเดินทางออกจากอาคาร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน รวมนายซัลมานผู้ก่อเหตุ และมีผู้บาดเจ็บจำนวน 64 คน",
"title": "เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "578148#17",
"text": "ต้นปี 2015 เธอได้ทัวร์ The Honeymoon Tour ที่อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และอเมริกาได้ รายได้ในการทัวร์ครั้งนี้สูงถึง 14 ล้านเหรียญสหรัฐ. และเธอได้ร่วมร้องเพลงให้กับ แคชเมียร์ แคท ในเพลง \"Adore\" ซึ่งปล่อยในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการทัวร์อยู่",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#16",
"text": "27 กันยายน ปี 2014, เธอได้ขึ้นแสดงที่รายการ season 40 และสามวันต่อมาเธอได้ปล่อยเพลง ที่ 3 จากอัลบั้ม My Everything, \"Love Me Harder\" ที่ได้ เดอะวีกเอนด์ มาร่วมร้องด้วย และในเดือนพฤศจิกายน ปี 2014 เธอได้ไปร่วมร้องเพลงให้กับ เมเจอร์ เลเซอร์ ในเพลง \"All My Love\" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เกมล่าเกม 3 ม็อกกิ้งเจย์ ภาค 1 และในเดือนเดียวกัน เธอได้ปล่อยเพลงคริสมาสต์ \"Santa Tell Me\" ต่อมาเธอได้ปล่อยเพลงที่ 4 จากอัลบั้ม My Everything, \"One Last Time\"",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "916606#1",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ ค.ศ. 2014 จัดแสดงขึ้นที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ร่วมการแสดงดนตรีโดยเอ็ด ชีแรน, อารีอานา กรานเด, โฮซิเออร์, และเทย์เลอร์ สวิฟต์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2014"
},
{
"docid": "578148#30",
"text": "หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี หมวดหมู่:นักร้องเด็กชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐฟลอริดา หมวดหมู่:บุคคลที่เคยนับถือศาสนาคริสต์ หมวดหมู่:นักร้องป็อปหญิงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงเด็กหญิงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงหญิงชาวอเมริกันในศตวรรษที่ 21 หมวดหมู่:นักแสดงละครโทรทัศน์หญิงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:อะรีอานา กรานเด หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดยูนิเวอร์ซัล มิวสิค กรุ๊ป หมวดหมู่:นักดนตรีป็อปเด็ก",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#5",
"text": "ตอนเด็กๆเธอเคยแสดงในโรงภาพยนตร์ของเด็กในฟลอลิดา เล่นบทบาทแรกของเธอในฐานะ Annieรวมทั้งการแสดงในละครเพลง พ่อมดแห่งเมืองออซและ โฉมงามกับเจ้าชายอสูร. และตอนอายุได้ 8 ปี, เธอได้ร้องเพลงร่วมกับวงออเคสต้า อย่างเช่น South Florida Philharmonic, Florida Sunshine Pops และ Symphonic Orchestras, และเธอได้ร้องเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ (เพลงชาติประจำสหรัฐ) \" ในรายการโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทีมฮ็อคกี้ ฟลอริด้า แพนเธอร์ส[5] และเธอได้จบการศึกษาจาก Pine Crest Schoolและ North Broward Preparatory School",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#9",
"text": "ชุดเพลงประกอบของซิตคอม วิกทอเรียส 2.0 ได้ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2012 อาริร่วมร้องในเพลง \"Don't You (Forget About Me)\". หลังจากภาคที่ 3 ของวิทอเรียส, วิกทอเรียสก็ไม่ได้มีภาคต่ออีก. ภาคที่ 3 และเพลงประกอบถูกปล่อยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2012, เธอได้ร่วมร้องเพลง \"L.A. Boyz\". ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2012, เธอได้ร่วมร้องเพลงกับนักร้องชาวอังกฤษ มิคา ในเพลง \"Popular Song\"",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#13",
"text": "ในปี 2013 เธอได้แสดงเรื่อง Swindleรับบทเป็น Amanda Benson และในเดือนเดียวกัน เธอได้ปล่อยซิงเกิลซึ่งเธอทำร่วมกับ นาธาน ไซกส์ หนุ่มอังกฤษจากวง เดอะวอนเทด \"Almost Is Never Enough\" และก็ยังไปร่วมคอนเสิร์ต Believe Tour ของ จัสติน บีเบอร์ อีกด้วย. และในปี 2013American Music Awards เธอชนะรางวัล \"ศิลปินหน้าใหม่แห่งปี\". เธอปล่อยเพลงคริสมาสต์ 4 เพลง ในอัลบั้ม Christmas Kisses ในช่วงเดือนธันวาคม. ประกอบไปด้วยเพลง \"Last Christmas\", \"[null Love Is Everything]\", \"Snow in California\" และ \"Santa Baby\"",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#1",
"text": "กรานเดเริ่มงานดนตรีด้วยเพลงประกอบซีรีส์ อัลบั้มเพลงจาปวิกทอเรียส (2011) เธอเซ็นสัญญากับค่ายรีพับลิกเรเคิดส์และออกสตูดิโออัลบั้มแรก ยัวส์ทรูลี ในปี ค.ศ. 2013 เปิดตัวอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม \"เดอะเวย์\" เปิดตัวที่อันดับ 10 ในชาร์ตบิลบอร์ด</i>ฮอต 100 นักวิจารณ์เปรียบช่วงเสียงของเธอกับช่วงเสียงของมารายห์ แครี",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#22",
"text": "และเธอได้ร่วมร้องเพลงกับ จอห์น เลเจนด์ ในเพลง \"Beauty and the Beast\" ซึ่งประกอบภาพยนตร์เรื่อง โฉมงามกับเจ้าชายอสูร และเพลงของ Calvin Harris ในเพลง \"Heatstroke \" โดยร่วมกับ Young Thug , Pharrell Williams ในอัลบั้มใหม่ของ Calvin Harris ในเดือนมิถุนายน",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#25",
"text": "หลังจากนั้นในวันที่ 20 เมษยายน 2561 อะริอานาได้ปล่อยซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม “Sweetener” อย่างเพลง “No ters Left to Cry” พร้อมกับมิวสิควีดีโอ[11] เปิดตัวพุ่งขึ้นเป็นอันดับที่ 3 บน Billboard Hot 100[12] อัลบั้ม Sweetener เริ่มวางจำหน่ายรอบพรีออเดอร์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2561 พร้อม ๆ กับปล่อยซิงเกลที่ 2 “The Light Is Coming” ที่ได้นักร้องสาวแร็ปเปอร์ชาวอเมริกันอย่างนิกกี้ มินาจ (Nicki Minaj) มาร่วมงาน และหลังจากนั้นในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 เธอปล่อยซิงเกิลที่ 3 “God Is a Woman” ตามมา",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#29",
"text": "Believe Tour (ร่วมกับ Justin Bieber) (2556)",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "168112#10",
"text": "ปี 2018 ฟาร์เรลล์ ได้ร่วมงานกับ บียอนเซ่ โนวส์ และ เจย์-ซี ในซิงเกิ้ลเปิดตัวอัลบัมคู่ \"Everything Is Love\" อย่าง \"Apeshit\" ได้ Offset and Quavo มาเขียนเพลงและเป็นเงาเสียงและ \"Nice\", อารีอานา กรานเด ในสตูดิโออัลบั้มที่ 4 \"Sweetener\" ถึง 7 เพลง",
"title": "ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์"
},
{
"docid": "578148#2",
"text": "สตูดิโออัลบั้มที่สองของกรานเดคือ มายเอฟรีทิง (2014) เปิดตัวที่อันดับหนึ่งในสหรัฐ และขึ้นถึงสิบอันดับแรกในอีกหลายประเทศ ซิงเกิล \"พรอบเบลิม\" \"เบรกฟรี\" \"แบงแบง\" และ \"เลิฟมีฮาร์ดเดอร์\" มาจากอัลบั้มนั้น เธอมีเพลงติดสิบอันดับแรกในชาร์ต<i data-parsoid='{\"dsr\":[2182,2194,2,2]}'>บิลบอร์ด 100 ยาวนาน 34 สัปดาห์ติดต่อกัน กรานเดส่งเสริมอัลบั้ม<i data-parsoid='{\"dsr\":[2247,2262,2,2]}'>มายเอฟรีทิง</i>ด้วยการทัวร์รอบโลกครั้งแรกในชื่อ เดอะฮันนีมูนทัวร์ และแสดงรับเชิญในซีรีส์โทรทัศน์สยองขวัญตลกทางช่องฟ็อกซ์เรื่อง สกรีมควีนส์ เธอออกซิงเกิล \"โฟกัส\" เปิดตัวที่อันดับ 7 ในสหรัฐ และออกอีพีชื่อ คริสต์มาสแอนด์ชิล และร่วมร้องเพลงในหลายโครงการ ในปี ค.ศ. 2016 เธอออกสตูดิโออัลบั้มที่สาม เดนเจอรัสวูแมน และอีกหลายเพลงจากอัลบั้ม เพลงที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้มเปิดตัวที่อันดับ 10 ในชาร์ต<i data-parsoid='{\"dsr\":[2759,2771,2,2]}'>บิลบอร์ด</i>ฮอต 100 ทำให้กรานเดเป็นคนแรกทีประวัติศาสตร์ของชาร์ตที่ซิงเกิลแรกในสามอัลบั้มเปิดตัวในสิบอันดับแรก[1] อัลบั้มเปิดตัวที่อันดับ 2 ในชาร์ต<i data-parsoid='{\"dsr\":[2924,2936,2,2]}'>บิลบอร์ด 200 นับถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2017 มิวสิกวิดีโอของกรานเดมีผู้รับชมมากกว่า 7 พันล้านครั้ง[2]",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#21",
"text": "เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ปี 2017 เธอได้เริ่ม Dangerous Woman Tour ตั้งแต่อเมริกาเหนือจนกลางเมษายน และยังคงต่อเนื่องไปจนถึงเวนิส ยุโรป ในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ปี 2017 ส่วนอเมริกาใต้ในเดือนกรกฎาคม และพักทัวร์สองเดือน และจบทัวร์ในเดือนกันยายนในออสเตรเลีย ส่วนแผนการทัวร์ในเอเชียยังไม่ถูกเปิดเผย",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "861245#19",
"text": "อารีอานา กรานเด แสดงความคิดเห็นลงบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าเธอรู้สึก \"ใจสลาย\" และกล่าวว่า \"\"จากก้นบึ้งของหัวใจ ฉันรู้สึกเสียใจอย่างมาก ฉันพูดไม่ออก\"\" ขณะที่ศิลปินนักร้องอีกจำนวนมากก็ได้แสดงความเห็นในลักษณะเดียวกันลงบนสื่อสังคม อาทิ เทย์เลอร์ สวิฟต์, บรูโน มาร์ส, แฮร์รี สไตล์, เคที เพร์รี, นิกกี มินาจ, ลอร์ด แต่ในทางกลับกัน กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ได้เฉลิมฉลองเหตุโจมตีดังกล่าวลงบนสื่อสังคมด้วยเช่นกัน",
"title": "เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "861245#3",
"text": "เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวน 23 คน รวมผู้ก่อเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 64 คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี จำนวน 12 คนรวมอยู่ด้วย ด้านหน่วยรถพยาบาลนอร์ทเวสต์รายงานว่าได้นำรถพยาบาลของตนจำนวนกว่า 60 คัน เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ และได้นำผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 59 คน ส่งโรงพยาบาลท้องถิ่น ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยรวมอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย ขณะที่อารีอานา กรานเด ไม่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด",
"title": "เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "578148#24",
"text": "ส่วนทางด้านอัลบั้ม “Sweetener” ในปี 2559 อะริอานาเริ่มทำโปรเจ็คอัลบั้มใหม่ร่วมกับ “ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์” (Pharrell Williams) แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดหลังคอนเสิร์ต Dangerous Wonan Tour ของเธอที่กรุงแมนเชสเตอร์ ทำให้โปรเจ็คนี้ถูกล้มเลิกไปเนื่องจากสภาพจิตใจของเธอไม่ดีนัก [10]",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "955424#1",
"text": "ปัจจุบันเมื่อวันที่ จัสติน บีเบอร์ เป็นศิลปินที่มี 5 วิดีโอที่ผู้ชมเกินหนึ่งพันล้านครั้ง ในขณะที่เคที เพร์รีและบรูโน มาส์ มีสี่วิดีโอ เทย์เลอร์ สวิฟต์, แคลวิน แฮร์ริส, ชากีรา, อารีอานา กรานเด, นิค คลีมอนส์, อะเดล, เดอะเชนสโมเกอส์, มาลูมา และเอนรีเก อีเกลเซียส มีคนละสามวิดีโอ ฟิฟท์ฮาร์โมนี, ไซ, เอลลี โกลดิง, เดอะวีกเอนด์, เอ็มมิเน็ม, เจ บัลวิน, ริกกี มาร์ติน, เซีย, ลูอิส ฟอนซี, ทเวนตีวันไพล็อตส์, รีแอนนา, ชอว์น เมนเดส และเก็ตมูฟวีส์ มีคนละสองวิดีโอ",
"title": "รายชื่อวิดีโอบนยูทูบที่มียอดผู้ชมมากที่สุด"
},
{
"docid": "578148#15",
"text": "เธอได้ปล่อยอัลบั้มที่สอง, My Everything เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ปี 2014 กับยอดขาย 169,000 ก๊อปปี้ ในสัปดาห์แรก ทำให้เพลง \"Problem\" ที่ได้ อิ๊กกี้ อาซาเลียแรปเปอร์สาวจากออสเตรเลียมาร่วมร้องด้วย เปิดตัวด้วยอันดับที่ 3 บน Billboard Hot 100 และเปิดตัวอันดับที่ 1 บน UK Singles Chart เพลงที่สองคือเพลง \"Break Free\" ร่วมกับนักดนตรีชาวเยอรมัน เซดด์ อันดับสูงสุดที่ทำได้คือ อันดับที่ 4 บน Billboard Hot 100 และเธอได้ขึ้นแสดงเปิดงาน 2014 MTV Video Music Awards และยังได้รับรางวัลมิวสิควิดิโอเพลงป๊อปยอดเยี่ยม และเธอยังได้ไปร่วมร้องเพลง \"Bang Bang\" ที่ร่วมร้องกับ เจสซี เจ และ นิกกี มินาจ",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#23",
"text": "24 มีนาคม 2561 อะริอานาได้ร่วมแสดงในงาน “March for Our Lives” [9]เพื่อสนับสนุนการเรียกร้องให้ยกเลิกการจำหน่ายอาวุธปืนเนื่องจากเหตุยิงกันในโรงเรียนมัธยมสโตนแมนดักกลาส เมืองพาร์คแลนด์ รัฐฟลอริดา โดยเธอขึ้นแสดงเพลง “Be Alright” จากอัลบั้ม Dangerous Woman หลังจากโอบกอดและถ่ายรูปกับบรรดานักเรียนโรงเรียนสโตนแมนดักกลาส",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#10",
"text": "และเธอได้แสดงซิตคอมเรื่อง Sam & Cat เธอได้รับบทเป็น Cat Valentine จากเรื่อง วิกทอเรียส และได้ร่วมแสดงกับ เจนเน็ตต์ แมคเคอร์ดี้ซึ่งรับบทเป็น Sam Puckett จาก iCarly ออกอากาศเมื่อ 8 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2013 ได้กระแสตอบรับดีมาก",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#0",
"text": "อารีอานา กรานเด-บูเทรา (English: Ariana Grande-Butera) หรือชื่อในวงการคือ อารีอานา กรานเด (English: Ariana Grande) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน เธอเริ่มงานละครบรอดเวย์เรื่อง 13 ก่อนรับบทแคต วาเลนไทน์ ในซีรีส์โทรทัศน์วิกทอเรียส ช่องนิกเคโลเดียนในปี ค.ศ. 2009 ซีรีส์ฉายจบสี่ซีซัน และกรานเดแสดงในภาคแยกเรื่อง แซมแอนด์แคต ฉายจบในปี ค.ศ. 2014 เธอยังมีบทบาทในละครเวที โทรทัศน์ และภาพยนตร์ และพากย์เสียงให้แอนิเมชันโทรทัศน์และภาพยนตร์ด้วย",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "861245#1",
"text": "เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 22.33 น. ตามเวลาออมแสงบริติช () ผู้ก่อเหตุได้จุดชนวนระเบิดฆ่าตัวตาย โดยเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่เต็มไปด้วยตะปูและสลักเกลียวเป็นสะเก็ดระเบิด บริเวณโถงทางเข้าด้านนอกอาคารแมนเชสเตอร์อะรีนา เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ หลังงานแสดงคอนเสิร์ต \"เดนเจอรัสวุมันทัวร์\" ของอารีอานา กรานเด จบลง ทั้งนี้งานแสดงคอนเสิร์ตดังกล่าวขายที่นั่งจนหมดทุกที่นั่ง และอาจมีผู้เข้าชมมากถึง 21,000 คน ซึ่ง ณ เวลาเกิดเหตุผู้เข้าชมกำลังเดินทางกลับออกจากอาคารและเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกของงานคอนเสิร์ตอยู่เป็นจำนวนมาก",
"title": "เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "578148#28",
"text": "The Listening Sessions (2556) The Honeymoon Tour (2558) DangerousWoman Tour (2559 - 2560)",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "578148#11",
"text": "เธอได้บันทึกอัลบั้มเปิดตัวของเธอ, Yours Truly,ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ชื่อแรกเริ่มของอัลบั้มคือ Daydreamin. อัลบั้มถูกปล่อยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ปี ค.ศ. 2013. เธอได้แต่งเพลงหลายเพลงในอัลบั้มนี้. ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2013, อัลบั้มเปิดตัวอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด 200, กับยอดขาย 138,000 ก๊อปปปี้ ตั้งแต่สัปดาห์แรก",
"title": "อารีอานา กรานเด"
},
{
"docid": "168112#9",
"text": "ปี 2017 ฟาร์เรลล์ ได้ร่วมงานกับ แคลวิน แฮร์ริส ในซิงเกิล \"Heatstroke\" (ร่วมด้วย ยัง ทัก และ อารีอานา กรานเด) และ \"Feels\" (ร่วมด้วย เคที เพร์รี และ บิ๊ก ฌอน) ต่อมาในเดือน พฤศจิกายน 2017 ได้รวมกลุ่ม N*E*R*D อีกครั้ง ในซิงเกิล Lemon (ร่วมด้วย รีแอนนา) ภายใต้สังกัดโคลัมเบียเรเคิดส์ ในชื่ออัลบั้ม \"No One Ever Really Dies\" ",
"title": "ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์"
}
] |
1852 | ซัมเมอร์สแลม (2012) จัดขึ้นที่สถานที่ใด? | [
{
"docid": "438447#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2012) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ที่จัดหลังศึกใหญ่ มันนี่อินเดอะแบงค์ (2012) จัดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ณ สนาม สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ ในเมือง ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยแสดงนักมวยปล้ำจาก รอว์ และ สแมคดาวน์ โดยจัดเป็นครั้งที่ 25 ของศึกซัมเมอร์สแลม",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)"
}
] | [
{
"docid": "686303#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2015) () เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ เพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2015 ณ สนาม บาร์เคลส์เซ็นเตอร์ ในเมืองบรุกลิน, นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นครั้งแรกที่ซัมเมอร์สแลม ย้ายออกมาจาก ลอสแอนเจลิส หลังจากปักหลักจัดขึ้นที่ ณ สนาม สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ มาโดยตลอดเป็นเวลา 6 ปีติดต่อกัน",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2015)"
},
{
"docid": "622199#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2014) (อังกฤษ: SummerSlam (2014)) เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ เพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สนาม สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ ในเมืองลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นปีที่ 6 ของซัมเมอร์สแลมที่จัดติดต่อกันในสนามสเตเปิลส์เซ็นเตอร์",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2014)"
},
{
"docid": "372516#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2011) เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ WWE ในปี 2011 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 24 แล้ว สถานที่จัดคือ Staples Center ใน Los Angeles, California เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 3 แล้วติดต่อกัน หลังจากศึก มันนีอินเดอะแบงก์ (2011) ซึ่งซัมเมอร์สแลมก็ได้มีการโปรโมทแล้วหลายครั้งในช่วงของ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2011)"
},
{
"docid": "350417#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2008) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในปี 2008 ที่จัดหลังศึกใหญ่ เดอะเกรทอเมริกันแบช (2008) จัดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ณ สนามคอนเสโค ฟิลด์เฮ้าส์ ในเมืองอินเดียแนโพลิส, รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา โดยแสดงนักมวยปล้ำจาก รอว์ ,สแมคดาวน์ และอีซีดับเบิลยู โดยจัดเป็นครั้งที่ 23 ของศึกซัมเมอร์สแลม",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2008)"
},
{
"docid": "333495#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2010) เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ WWE ในปี 2010 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 23 แล้ว สถานที่จัดคือ Staples Center ใน Los Angeles, California เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งเคยมาจัดเมื่อปีที่แล้ว",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2010)"
},
{
"docid": "948463#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2018) () เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ เพย์-เพอร์-วิว(PPV)ของWWE โดยเป็นการแสดงของทั้งสองค่ายรอว์และสแมคดาวน์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2018 ณ สนาม Barclays Center ในเมืองบรุกลิน, นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2018)"
},
{
"docid": "262132#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม ปี 2009 เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ WWE ในปี 2009 สถานที่จัดคือ Staples Center ใน Los Angeles, California เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเป็นการปล้ำทั้ง 3 ค่าย ได้แก่ รอว์ สแมคดาวน์ และ อีซีดับเบิลยู โดยมีแมทช์การปล้ำ 8 แมทช์",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2009)"
},
{
"docid": "552694#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2006) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จัดหลังศึกใหญ่WWE/DSW Six Flags Park Slam จัดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ณ สนามTD Banknorth Garden ในกรุงบอสตัน, รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยมีนักมวยปล้ำระหว่างรอว์ ,สแมคดาวน์! และอีซีดับเบิลยู",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2006)"
},
{
"docid": "545526#0",
"text": "ซัมเมอร์สแลม (2007) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จัดหลังศึกใหญ่ เดอะเกรทอเมริกันแบช (2007) จัดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ณ สนาม Continental Airlines Arena ในเมือง East Rutherford, New Jersey สหรัฐอเมริกา โดยแสดงนักมวยปล้ำจาก รอว์ ,สแมคดาวน์ และอีซีดับเบิลยู โดยจัดเป็นครั้งที่ 20 ของศึกซัมเมอร์สแลม",
"title": "ซัมเมอร์สแลม (2007)"
}
] |
2901 | ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "674576#1",
"text": "ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1740 เพื่อเป็นฐานตั้งต้นของการสำรวจทางทะเลของไวทัส เบริงนักเดินเรือเชื้อสายเดนมาร์กซึ่งมารับภารกิจสำรวจทางทะเลให้กับจักรวรรดิรัสเซีย เมืองนี้มีบทบาทสำคัญทางทะเลด้านตะวันออกไกลให้แก่รัสเซียมาอย่างยาวนาน เป็นทั้งสมรภูมิด้านตะวันออกไกลในสงครามไครเมียเมื่อปี ค.ศ. 1854 และมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองจนได้รับเกียรติยกย่องในรัสเซียเป็นหนึ่งในเหล่าเมืองเกียรติยศทางการทหาร (; ) เป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรและยังมีฐานทัพของกองเรือแปซิฟิกของรัสเซียตั้งอยู่ด้วย",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
}
] | [
{
"docid": "674576#2",
"text": "แม้ว่าคาบสมุทรคัมชัตคานั้นจะมีนักสำรวจชาวคอสแซคของทางรัสเซียกลุ่มอื่นเข้ามาสำรวจและตั้งชุมชนอยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1700 หากแต่ด้วยชนพื้นเมืองซึ่งอยู่มาก่อนนั้นได้ทำการรบพุ่งกับฝ่ายรัสเซียซึ่งเข้ามาทางตอนเหนือขึ้นไปของคาบสมุทรทำให้ไม่มีชุมชนของฝ่ายรัสเซียในบริเวณนี้จนกระทั่งการเดินทางมาถึงของไวตัส เบริงพร้อมกับกองเรือสำรวจซึ่งเดินทางมาจากทะเลโอค็อตสค์ เพื่อไปสำรวจทะเลทางตะวันออกของคาบสมุทรคัมชัตคา โดยเบริงได้สั่งให้มีการสร้างชุมชนขึ้นบริเวณอ่าวอะวาชาในวันที่ 17 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1740 เพื่อให้เป็นฐานสำหรับการเตรียมการออกเรือสำรวจ โดยได้ตั้งชื่อชุมชน ณ อ่าวอะวาชานี้ว่า \"ปิตราปัฟลัฟสค์\" จากชื่อเรือสองลำในกองเรือคือเรือเซนต์ปีเตอร์และเรือเซนต์พอล",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#14",
"text": "ช่วงสงครามเย็น ทางโซเวียตได้เพิ่มการพัฒนาทางด้านการทหารในบริเวณคาบสมุทรอย่างมาก คัมชัตคาถูกประกาศให้เป็นเขตหวงห้ามทางการทหารที่แม้แต่ชาวรัสเซียเองก็มิสามารถเดินทางเข้ามาได้ง่าย มีการส่งเรือดำน้ำมาประจำการที่ฐานทัพเรือและหน่วยฝูงบินของกองทัพโซเวียตก็ประจำการอยู่ที่สนามบินหลักของเมืองรวมถึงมีเขตพื้นที่หวงห้ามเพื่อทดลองขีปนาวุธพิสัยไกลด้วย ดังนั้นในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1983 โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007ได้บังเอิญบินรุกล้ำเข้ามาในน่านฟ้าของคัมชัตคาใกล้กับเมืองปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีจนถูกทางการโซเวียตสงสัยว่าเป็นการสอดแนมและถูกสั่งยิงตกเมื่อบินออกจากเขตคาบสมุทรไปถึงบริเวณเกาะซาฮาลินแล้ว\nแม้ว่าการล่มสลายลงของโซเวียตจะเป็นการเปิดเมืองให้ผู้คนสามารถเดินทางเข้ามาได้ง่ายขึ้น ทว่าหลังจากการล่มสลายของโซเวียตประชากรของเมืองกลับลดลงอย่างต่อเนื่องจากการย้ายถิ่นฐานออกไปยังที่อื่น ในขณะเดียวกับเศรษฐกิจของเมืองก็เริ่มเปลี่ยนทิศทางจากที่เดิมพึ่งพาการประมงและธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งทางเรือและการทหาร ในระยะหลัง ๆ นักท่องเที่ยวทั้งชาวรัสเซียและชาวต่างชาติบางส่วนเริ่มเข้ามาเที่ยวในคัมชัตคามากขึ้นและด้วยฐานะที่เป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของคาบสมุทร ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีจึงได้กลายเป็นจุดตั้งต้นของการเดินทางเที่ยวชมธรรมชาติของคาบสมุทร กระนั้นเมืองก็ไม่ค่อยได้รับการพัฒนามากเท่าในช่วงสงครามเย็น สภาพทั่วไปจึงค่อนข้างเสื่อมโทรมไม่มีการก่อสร้างอะไรใหม่มากไปจากสมัยโซเวียตนัก",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#7",
"text": "ด้านธรณีวิทยา เมืองเคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากอยู่ในแนวขนานกับรอยเลื่อนคูริล-คัมชัตคา () ที่อยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้จากหมู่เกาะคูริลทางด้านใต้ของคาบสมุทรขนานมาจนถึงครึ่งนึ่งของความยาวคาบสมุทรทั้งหมด ที่ผ่านมาบางครั้งเคยเกิดแผ่นดินไหวระดับมากกว่า 7 ริกเตอร์ในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ห่างจากเมืองมากนัก ด้วยเหตุนั้นอาคารต่าง ๆ ในเมืองนอกจากไม่สร้างให้มีความสูงมากแล้วยังต้องสร้างให้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ด้วย",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#6",
"text": "ภูมิอากาศของปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีได้รับอิทธิพลจากความชื้นของมหาสมุทรแปซิฟิกค่อนข้างมาก ทำให้อากาศไม่ค่อยหนาวเย็นรุนแรงนักแม้จะอยู่ในไซบีเรีย มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมเพียง -7 องศาเซลเซียส (ส่วนอื่นของไซบีเรียสามารถมีอุณหภูมิต่ำได้ถึง -30 องศาเซลเซียสในช่วงเดียวกัน) อากาศจะเริ่มหนาวเย็นลงได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนและเริ่มมีหิมะได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมและหิมะสามารถคงอยู่โดยไม่ละลายได้จนถึงราวกลางมิถุนายน ในบางช่วงของฤดูหนาวหิมะสามารถตกลงมาสะสมเป็นปริมาณที่สูงมากและน้ำทะเลในบางส่วนของอ่าวอะวาชาสามารถจับตัวเป็นน้ำแข็งได้ ช่วงหน้าร้อนจะมีเพียงระยะสั้นไม่เกินสามเดือนโดยอุณหภูมิจะเป็นแบบอบอุ่นเฉลี่ยระดับ 15-16 องศาเซลเซียส",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#11",
"text": "ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปิตราปัฟลัฟสค์ปรากฏขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1854 ซึ่งรัสเซียกำลังทำสงครามไครเมียโดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เนืองจากในระยะนั้นทั้งสองชาติได้เริ่มมามีอาณานิคมในแถบเอเชียแล้วและเมืองปิตราปัฟลัฟสค์เองก็มีฐานะในยามนั้นเป็นฐานกำลังหลักของกองทัพเรือรัสเซียทางฝั่งแปซิฟิก ในเดือนสิงหาคมกองเรือของทั้งสองชาติได้แล่นมาจากจีนและทำการปิดล้อมโจมตีเมืองปิตราปัฟลัฟสค์ซึ่งในเวลานั้นมีคนในเมืองเพียง 988 คนกับปืนเพียง 68 กระบอก ทว่าฝ่ายรัสเซียสามารถต้านทานจากโจมตีด้วยจำนวนเรือ 6 ลำ ปืน 206 กระบอกและทหารราว ๆ 2,500 คนได้จนฝ่ายฝรั่งเศสและอังกฤษต้องจำล่าถอยไปด้วยเสบียงที่ร่อยหรอลงและใกล้เข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งทางฝ่ายรัสเซียได้ใช้โอกาสที่เข้าสู่ฤดูหนาวตัดสินใจอพยพทิ้งร้างเมือง เมื่อกองเรือของฝรั่งเศสและอังกฤษยกกำลังกลับมาอีกครั้งในฤดูร้อนปีถัดมาจึงพบเพียงเมืองร้างว่างเปล่าซึ่งก็ถูกยิงถล่มเสียหายก่อนจะถอนกำลังออกไป กระนั้นวีรกรรมของฝ่ายรัสเซียซึ่งสามารถปกป้องเมืองไม่ให้ถูกยึดครองโดยฝ่ายศัตรูก็ถูกยกย่องจนปิตราปัฟลัฟสค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นเซวัสโตปอลแห่งตะวันออก",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#0",
"text": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี () เป็นเมืองใหญ่เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรคัมชัตคาและเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของคัมชัตคาไครทางตะวันออกไกลของรัสเซีย มีประชากรราว ๆ 180,000 คนหรือกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในดินแดนคัมชัตคาไครทั้งหมด",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#13",
"text": "ในระยะนี้ประชากรของเมืองได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากการย้ายกำลังทหารมาประจำในฐานทัพต่าง ๆ รอบอ่าวอะวาชาอย่างเนืองแน่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองกำลังหลักของการส่งเรือรบและเครื่องบินไปต่อสู้กับทางญี่ปุ่นเพื่อแย่งชิงหมู่เกาะคูริล จนทำให้ได้รับยกย่องเป็นเมืองเกียรติยศทางการทหารเมื่อปี ค.ศ. 2011",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#4",
"text": "เมืองปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีตั้งอยู่ค่อนลงมาทางด้านใต้ของคาบสมุทรคัมชัตคาทางด้านตะวันออก เวลาท้องถิ่นของเมืองนั้นไวกว่ามอสโกซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียที่อยู่ห่างกัน 6,766 กิโลเมตรถึง 9 ชั่วโมง",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
},
{
"docid": "674576#12",
"text": "หลังจากนั้นคัมชัตคาได้กลายเป็นจุดหมายของนักโทษซึ่งถูกเนรเทศมาจากทางตะวันตกของประเทศ ทำให้อัตราประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนในที่สุดชาวรัสเซียได้กลายเป็นประชากรส่วนของทั้งเมืองและตัวคาบสมุทรคัมชัตคา",
"title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"
}
] |
2635 | ศักดินาคืออะไร? | [
{
"docid": "37556#2",
"text": "ศักดินา คือ ตัววัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อปื่ากดระโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน",
"title": "ระบบเจ้าขุนมูลนาย"
}
] | [
{
"docid": "28037#13",
"text": "พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร (ทรงศักดินา 35000)[7] เจ้ากรม-พระยาดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 1000) ปลัดกรม-พระปราบบรพล (ศักดินา 800) สมุห์บาญชี-หลวงสกลคณารักษ์ (ศักดินา 500)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"
},
{
"docid": "26552#7",
"text": "กฎหมายที่กำหนดศักดินาในสังคมไทยได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระไอยการตำแหน่งนาเมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ.๑๑๗๓(กฎหมายตราสามดวง ฉบับจัดพิมพ์โดยมหาวิทยลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๔๒๔) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาทูต (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ หน้า ๓๑๘) พระราชบัญญัติตำแหน่งศักดินาพระบรมวงศานุวงศ์ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ หน้า ๒๖๕) พระราชบัญญัติศักดินาทหาร(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ แผ่นที่ ๒๑) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาผู้พิพากษาและข้าหลวง(ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๙ แผ่นที่ ๒๔) พระราชบัญญัติศักดินาขุน หมื่น นายเวร เสมียน (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ แผ่นที่ ๓๐) รายละเอียดเพิ่มเติมค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา",
"title": "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง"
},
{
"docid": "26149#37",
"text": "เจ้าทรงกรม จะมีขุนนางเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี โดยบรรดาศักดิ์ของเจ้ากรม คือบรรดาศักดิ์สูงสุดของอิสริยยศนั้น เช่น กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ มี เจ้ากรม บรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงค์ราชานุภาพ ศักดินา 1,000 ไร่ ปลัดกรม คือ พระปราบบรพล ศักดินา 800 ไร่ สมุห์บัญชี คือ หลวงสกลคณารักษ์ ศักดินา 500 ไร่",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26552#6",
"text": "ศักดินานี้มีความสำคัญทางกฎหมายเนื่องจากใช้ในการปรับไหม ในทางศาลในคดีละเมิด เช่นหากผู้มีศักดินาสูงละเมิดผู้มีศักดินาต่ำกว่า จะต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยเป็นสัดส่วนตามศักดินาของตน และหากผู้มีศักดินาต่ำไปละเมิดผู้มีศักดินาสูง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยสินไหมตามศักดินาของผู้มีศักดินาสูงกว่า ดังนั้นศักดินาจึงใช้วัด \"ค่า\" ของคนในสังคมในยุคนั้นในระบบกฎหมายของรัฐ",
"title": "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง"
},
{
"docid": "28037#10",
"text": "พ.ศ. 2405 พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พ.ศ. 2411 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พ.ศ. 2429 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)[5] เจ้ากรม-หมื่นดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600) ปลัดกรม-หมื่นปราบบรพล (ศักดินา 400) สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"
},
{
"docid": "26552#1",
"text": "ตัวพระไอยการประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ศักดินาของพลเรือน ศักดินาทหาร และศักดินาของขุนนางในห้วเมืองนอกราชธานี",
"title": "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง"
},
{
"docid": "37556#4",
"text": "หากเปรียบเทียบกับระบบราชการ อาจเทียบได้กับระบบพีซี ซึ่งแบ่งเพื่อให้ทราบระดับข้าราชการ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง",
"title": "ระบบเจ้าขุนมูลนาย"
},
{
"docid": "353410#2",
"text": "ในส่วน \"กล่าวนำ\" จิตรกล่าวว่า จักรวรรดินิยมและศักดินาเป็นตัวการกดขี่ขูดรีดประชาชน กล่าวถึงความหมายของคำว่าจักรวรรดินิยม และชี้ให้เห็นถึงความหมายของศักดินาโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ในการผลิต",
"title": "โฉมหน้าศักดินาไทย"
},
{
"docid": "255308#0",
"text": "สาธารณรัฐนอฟโกรอด (, ) เป็นสาธารณรัฐใหญ่ในยุคกลางของรัสเซียที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงเทือกเขายูรัล สาธารณรัฐนอฟโกรอดมีความรุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศักราชที่ 12 ถึง 15 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณนอฟโกรอด คำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” (feudal republic) เป็นคำที่มักจะใช้เรียกโดยนักวิชาการในสมัยโซเวียต และโดยนักวิชาการมาร์กซิสต์เพื่อให้ตรงกับปรัชญาทางประวัติศาสตร์ของลัทธิที่ประกอบด้วยยุคทาส ยุคศักดินา ยุคทุนนิยม ยุคสังคมนิยม และยุคคอมมิวนิสต์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันตั้งความสงสัยว่ารัสเซียจะเคยใช้ระบบศักดินาในความหมายเดียวกับที่ใช้ในตะวันตกในยุคกลางจริงหรือไม่ และคำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” ก็ไม่เคยได้รับการใช้โดยชาวนอฟโกรอดเองแต่จะเรียกนครรัฐของตนเองว่า “อาณาจักรลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (His Majesty (หรือ Sovereign) Lord Novgorod the Great) (Государь Господин Великий Новгород) หรือ “ลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (Господин Великий Новгород) อาณาบริเวณทั้งหมด - ทั้งตัวเมืองและดินแดนที่ไกลออกไป - รู้จักกันว่าเป็น “ดินแดนนอฟโกรอด” (Novgorodian Land)",
"title": "สาธารณรัฐนอฟโกรอด"
},
{
"docid": "540084#0",
"text": "สะใภ้ไม่ไร้ศักดินา เป็นบทประพันธ์ของ ปิ่นเพชร เป็นภาคต่อของละครเรื่อง สะใภ้ไร้ศักดินา บทโทรทัศน์โดย ภควดี แสงเพชร กำกับการแสดงโดย อดุลย์ บุญบุตร ผลิตโดย บริษัท ทีวีซีน จำกัด \nปลิวลม และ อาชา หลังจากที่ได้แต่งงานเธอก็มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ ปลาณี / น้ำแข็ง เธอเติบโตมาในครอบครัวที่มีแต่ความรักโดยเฉพาะ คุณนายศรีสอางค์ ผู้เป็นย่า ที่รักเธอมากกว่าใคร น้ำแข็งเธอเป็นสาวสวยเปรี้ยวซ่ามีเพื่อนร่วมกลุ่ม 2 คนคือ พลอย และ แป๋ม กลุ่มสาวสวย รวยเปรี้ยวซ่า",
"title": "สะใภ้ไม่ไร้ศักดินา"
},
{
"docid": "130192#0",
"text": "ขุนนางไทย คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "353410#1",
"text": "\"โฉมหน้าศักดินาไทย\" ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ \"โฉมหน้าศักดินาไทยในปัจจุบัน\" ในวารสาร นิติศาสตร์ฉบับศตวรรษใหม่ พ.ศ. 2500 ก่อนที่ตีพิมพ์ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มนักศึกษาธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่และรามคำแหง",
"title": "โฉมหน้าศักดินาไทย"
},
{
"docid": "37556#3",
"text": "ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ\"ศักดิ์\"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น",
"title": "ระบบเจ้าขุนมูลนาย"
},
{
"docid": "174845#74",
"text": "๒. ตำแหน่งผู้กำกับราชการ ตำแหน่งนี้เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๒ สำหรับขุนนางสกุลบุนนาคได้เป็นผู้กำกับราชการเพียงท่านเดียว คือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เป็นผู้กำกับราชการกรมท่า ท่านเป็นเจ้าพระยาที่มีศักดินาสูงกว่าเจ้าพระยาท่านอื่นๆ และเป็นเจ้าพระยาคนเดียวที่มีศักดินาถึง ๒๐,๐๐๐ ไร่ (เจ้าพระยาทุกคนมีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่) มีเกียรติยศเสมอสมเด็จเจ้าพระยา และมีอำนาจแต่งตั้งจางวางทนาย ปลัดจางวางและสมุห์บัญชีจางวางประจำตำแหน่งตนเองได้ เป็นขุนนางคนหนึ่งที่มีอำนาจมากสมัยนั้น",
"title": "สกุลบุนนาค"
},
{
"docid": "130192#10",
"text": "สำหรับขุนนางจะมีศักดินาได้สูงสุด 10,000 เท่านั้น แม้ว่าขุนนางจะมีจะมีบรรดาศักดิ์เท่ากันหรือตำแหน่งในระดับเดียวกัน ขุนนางที่มีศักดินาสูงย่อมมีความสำคัญมากกว่า แม้ว่าจะดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันหรือมีบรรดาศักดิ์เท่ากันก็ตาม ดังนั้นศักดินาจึงใช้แสดงความสูงศักดิ์ได้แน่นอนกว่า ยศ ราชทินนาม หรือตำแหน่ง",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "28037#11",
"text": "พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000) เจ้ากรม-หลวงดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600) ปลัดกรม-ขุนปราบบรพล (ศักดินา 400) สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"
},
{
"docid": "37556#10",
"text": "ระบบเจ้าขุนมูลนายตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงลิดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด",
"title": "ระบบเจ้าขุนมูลนาย"
},
{
"docid": "26143#4",
"text": "บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 8 ระดับคือ\nแต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ",
"title": "บรรดาศักดิ์ไทย"
},
{
"docid": "335906#9",
"text": "ตำรวจภูธร หลวงวาสุเทพ เจ้ากรมมหาดไทย ตำรวจภูธร ศักดินา 1000 ขุนพิศณุแสนปลัดขวา ศักดินา 600 ตำรวจภูบาล หลวงเพชรฉลูเทพ เจ้ากรมมหาดไทย ตำรวจภูบาลศักดินา 1000 ขุนมหาพิชัย ปลัดขวา ศักดินา 600 ขุนแผลงสะท้าน ปลัดซ้าย ศักดินา 600",
"title": "ตำรวจไทย"
},
{
"docid": "26552#5",
"text": "ศักดินานี้ ไม่ใช่จำนวนที่นาที่ถือครองจริงๆ เป็นเพียงแต่ตัวเลขจัดลำดับชั้น (Ranking)ของประชาชนในราชอาณาจักร เนื่องจากสังคมไทยสมัยโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรม การถือครองที่นาเป็นเครื่องชี้ฐานะของคนในสังคม ดังนั้น ระบบการจัดลำดับชั้นของสังคม จึงใช้การนับจำนวนนาเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจง่ายในบริบทและโครงสร้างสังคมสมัยนั้น ส่วนจำนวนการถือครองที่นาจริงๆ นั้นเป็นทรัพย์สิน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบศักดินา ดังจะเห็นได้ว่า ทาสและขอทาน หรือพระภิกษุก็มีการกำหนดศักดินาไว้ ศักดินาจึงไม่ใช่สิทธิในการถือครองที่ดิน",
"title": "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง"
},
{
"docid": "130192#9",
"text": "ศักดินาเป็นเครื่องกำหนดความสูงต่ำของยศศักดิ์ขุนนาง โดยในสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยายกเว้นกษัตริย์ ถูกกำหนดให้แต่ละคนมีจำนวนศักดินาประจำตัวแตกต่างกัน บุคคลที่มียศศักดิ์สูง มีหน้าที่ราชการความรับผิดชอบมาก ก็มีศักดินาสูงเป็นไปตามลำดับขั้น",
"title": "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "353410#3",
"text": "ส่วน \"ลักษณะระบบการผลิตศักดินาโดยทั่วไป\" นิยาม \"ศักดินา\" ว่าเป็น \"อำนาจที่กำหนดรูปแบบของชีวิตที่มีมากตามปริมาณที่ดิน\" กล่าวถึงลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยศักดินา ซึ่งได้แก่ การที่ผู้ทำงานในที่ดินจะต้องเสียค่าเช่าแก่เจ้าศักดินา และอยู่ภายใต้ระบบแรงงานเกณฑ์ กล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ในสมัยศักดินา และกล่าวถึงลักษณะทางวัฒนธรรมในสมัยนั้น อันประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบเหลื่อมล้ำ การเหยียดสตรีและเด็ก การผูกขาดทางวัฒนธรรมของชนชั้นศักดินา",
"title": "โฉมหน้าศักดินาไทย"
},
{
"docid": "216884#0",
"text": "กบฏสามเจ้าศักดินา (三藩之乱) เกิดขึ้นในสมัยฮ่องเต้คังซี เจ้าพิชิตภาคตะวันตกอู๋ซานกุ้ย (平西王) เจ้าพิชิตภาคใต้ซ่างจือซิ่น (平南王) และ เจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้เกิ่งจิงจง (靖南王) ก่อการจลาจลในภาคใต้และปลุกระดมต่อต้านราชวงศ์ชิงปี 1673-1681 กบฏสามเจ้าศักดินาจึงสิ้นสุดลง",
"title": "กบฏสามเจ้าศักดินา"
},
{
"docid": "353410#0",
"text": "โฉมหน้าศักดินาไทย เป็นผลงานโดย จิตร ภูมิศักดิ์ มีเนื้อหากล่าวถึงการขูดรีดของชนชั้นศักดินาเป็นหลัก ตลอดจนการดำรงอยู่ของพระมหากษัตริย์ไทยที่สร้างปัญหาให้แก่รัฐและสังคม ซึ่งทำให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องเขียนหนังสือ \"ฝรั่งศักดินา\" โต้ ผลงานดังกล่าวเขียนขึ้นในยุคที่ประเทศไทยยังมีสภาพกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากเสนอประวัติศาสตร์ไทยในมุมมองที่แตกต่างไปจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก",
"title": "โฉมหน้าศักดินาไทย"
},
{
"docid": "14464#11",
"text": "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม ทำให้มีการแบ่งประชากรออกเป็นหลายชนชั้น เช่นเดียวกับหน้าที่และสิทธิของแต่ละบุคคล ศักดินาเป็นความพยายามจัดระเบียบการปกครองให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น อันเป็นหลักที่เรียกว่า \"การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง\" ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าศักดินาจะเป็นการกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดิน แต่ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึงจำนวนไพร่พลที่สามารถครอบครอง เกณฑ์การปรับไหม และลำดับการเข้าเฝ้าแทน",
"title": "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ"
},
{
"docid": "420266#27",
"text": "หัวเมืองกำแพงกระแดะเป็นหัวเมืองชั้น 6 มีหัวหน้าปกครองมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนไชยภักดีมีอัตราข้าราชการตามทำเนียบ 7 นายคือ\n1. ขุนไชยภักดี นายที่หรือหัวเมือง ศักดินา 400\n2. หมื่นธรรมรักษ์บุรี รองหัวเมือง ศักดินา 200\n3. หมื่นแสน สมุห์บัญชี ศักดินา 200\n4. หมื่นไกร สมุห์บัญชี ศักดินา 200\n5. หมื่นราม สมุห์บัญชี ศักดินา 200\n6. หมื่นหาญ สารวัตร ศักดินา 200\n7. หมื่นราชภักดี นายอำเภอ ศักดินา 200",
"title": "ท่าทอง"
},
{
"docid": "26552#3",
"text": "สามเณรรู้ธรรม(คือสอบได้เปรียญ)ศักดินา 300 สามเณรไม่รู้ธรรม 200 พระภิกษุรู้ธรรมศักดินา 600 พระภิกษุไม่รู้ธรรมศักดินา 400 พระครูรู้ธรรมศักดินา 2,400 พระครูไม่รู้ธรรม ศักดินา 1,000 พราหม์มีความรู้ด้านศิลปศาสตร์ศักดินา 400 พราหม์ทั่วไปศักดินา 200 ตาปะขาวรู้ธรรมศักดินา 200 ตาปะขาวไม่รู้ธรรมศักดินา 100",
"title": "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง"
},
{
"docid": "26325#7",
"text": "ผู้ที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ในเมืองหลวงได้รับพระราชทาน ขี่ยั่วกรรชิงหุ้มผ้าขาว (คือเสลี่ยงที่ใช้หาม) ผู้ที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ในหัวเมือง ได้รับพระราชทาน ขี่คานหามกรรชิงหุ้มผ้าขาว ผู้ที่มีศักดินา 5,000 ไร่ ขี่ยั่วร่มธงยู ผู้ที่มีศักดินา 3,000 ไร่ ขี่ยาน",
"title": "เครื่องราชอิสริยยศไทย"
},
{
"docid": "28037#12",
"text": "พ.ศ. 2454 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาพิเศษ นรินทราธิเบศบรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร (ทรงศักดินา 15000)[6] เจ้ากรม-พระดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 800) ปลัดกรม-หลวงปราบบรพล (ศักดินา 600) สมุห์บาญชี-ขุนสกลคณารักษ์ (ศักดินา 400)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"
}
] |
2436 | ปารีสเป็นเมืองหลวงของประเทศใด ? | [
{
"docid": "5951#0",
"text": "ปารีส ( \"ปารี\") เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแม่น้ำแซน บริเวณตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส บนใจกลางแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (\"Île-de-France\" หรือ \"Région parisienne (RP) \") ภายในกรุงปารีสมีประชากรประมาณ 2,167,994 คน เขตเมืองปารีส (\"Unité urbaine\") ซึ่งมีพื้นที่ขยายเกินขอบเขตอำนาจการปกครองของเมืองนั้น มีประชากรกว่า 9.93 ล้านคน (พ.ศ. 2547) ในขณะที่เขตมหานครปารีส (Agglomération parisienne) มีประชากรเกือบ 12 ล้านคนและเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป",
"title": "ปารีส"
},
{
"docid": "5951#8",
"text": "ปารีสไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสหลังจากถูกโจมตีโดยพันธมิตรของประเทศอังกฤษคือพวกบูร์กงด์ (Burgondes) ในสงครามร้อยปี แต่ก็กลับมาเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1980 เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 (\"Charles VII, le Victorieux\") สามารถยึดกรุงปารีสกลับคืนมา แม้ว่ากรุงปารีสเป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง แต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7ก็ตัดสินใจที่จะประทับ ณ ปราสาทหุบเขาลัวร์ ต่อมาในช่วงสงครามศาสนาของฝรั่งเศส (\"Guerres de religion\") กรุงปารีสเป็นฐานกำลังหลักของพวกคริสต์นิกายคาทอลิก โดยรุนแรงสุดในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมวันแซงต์-บาร์เตเลมี (\"Massacre de la Saint-Barthélemy\") ในปี พ.ศ. 2115 ต่อในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าอองรีที่ 4 ได้ก่อตั้งราชสำนักในกรุงปารีสอีกครั้งหนึ่งหลังจากยึดเมืองมาจากพวกคาทอลิก ระหว่างสงครามกลางเมืองฟรงด์ (\"Fronde\") ชาวปารีสได้ลึกฮือขึ้นประท้วงและก่อการจลาจล ซึ่งเป็นสาเหตุให้พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย หลบหนีออกจากกรุงปารีสในปี พ.ศ. 2191 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ย้ายราชสำนักอย่างถาวรไปยังแวร์ซายส์ในปี พ.ศ. 2225 ศตวรรษต่อมากรุงปารีสเป็นศูนย์กลางของการปฏิวัติฝรั่งเศส มีการทลายคุกบัสตีย์ในปี พ.ศ. 2332 และล้มระบอบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2335",
"title": "ปารีส"
},
{
"docid": "813942#3",
"text": "สำหรับกรุงปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้น เป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก กรุงปารีสมีพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงของโลก ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก และก็ยังมีพิพิธภัณฑ์ออร์แซที่เน้นศิลปะในลัทธิประทับใจเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู ที่มุ่งเน้นศิลปะร่วมสมัย กรุงปารีสเป็นเจ้าของผลงานสถานที่สำคัญบางส่วนที่รู้จักมากที่สุดของโลก เช่น หอไอเฟล ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ที่มีผู้จ่ายเงินเพื่อเข้าชมมากที่สุดในโลก, ประตูชัยฝรั่งเศส, มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส, มหาวิหารซาเคร-เกอร์ ส่วนพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ก็ตั้งอยู่ในปาร์กเดอลาวีแล็ต กรุงปารีส ซึ่งนับเป็นหัวใจของศูนย์วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม (CCSTI) โดยเป็นศูนย์ส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการต่าง ๆ และบริเวณใกล้กับกรุงปารีสยังมีพระราชวังแวร์ซาย ซึ่งเป็นอดีตพระราชวังของพระมหากษัตริย์แห่งประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน",
"title": "การท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "5951#6",
"text": "ประมาณปี พ.ศ. 1043 ปารีสได้กลายเป็นเมืองหลวงของกษัตริย์โกลวิสที่ 1 แห่งแฟรงค์ เมื่อโกลวิสที่ 1 ได้สวรรคตลง อาณาจักรแฟรงค์ได้ถูกแบ่งออก และปารีสได้กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐอิสระขนาดเล็ก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์กาโรแล็งเชียง เมืองปารีสได้กลายเป็นเขตฐานกำลังของพวกศักดินา เค้านต์แห่งปารีสมีอำนาจมากขึ้น จนกระทั่งมีอำนาจมากกว่ากษัตริย์แห่งแฟรงค์ตะวันตก (\"Francie occidentale\") เสียด้วยซ้ำไป เค้านต์แห่งปารีสนามว่า \"โอโด\" (\"Odo\") ได้ถูกเลือกให้เป็นกษัตริย์แทนชาร์ลส์ที่ 3 (ชาร์ลส์ อ้วน - \"Charles III le Gros\") เนื่องจากชื่อเสียงอันโด่งดังของเขาที่ได้ป้องกันเมืองปารีสจากการโจมตีของพวกไวกิง (ศึกปารีส (พ.ศ. 1428 - พ.ศ. 1429)) แม้ว่าอีล เดอ ลา ซิเต้จะรอดจากการโจมตีของพวกไวกิง แต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแซนที่ไม่มีการป้องกันก็ถูกทำลายอย่างย่อยยับ และแทนที่จะสร้างเมืองขึ้นมาใหม่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำแซน ชาวปารีสได้เริ่มที่จะขยายตัวเมืองไปทางด้านฝั่งขวาของแม่น้ำแซนแทน ในปี พ.ศ. 1530 อูช กาเปต์ (\"Hugh Capet\") เค้านท์แห่งปารีสได้ถูกเลือกให้กลายเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์กาเปเตียงและทำให้เมืองปารีสเป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส",
"title": "ปารีส"
}
] | [
{
"docid": "5951#1",
"text": "จากการตั้งถิ่นฐานมากว่า 2 พันปี ปัจจุบันกรุงปารีสเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่ล้ำสมัยแห่งหนึ่งของโลก และด้วยอิทธิพลของการเมือง การศึกษา บันเทิง สื่อ แฟชั่น วิทยาศาสตร์และศิลปะ ทำให้กรุงปารีสเป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศส ด้วยจำนวนเงินกว่า 500.8 ล้านล้านยูโร (628.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าหนึ่งส่วนสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2548 กรุงปารีสยังเป็นสถานที่ทำการของบริษัทยักษ์ใหญ่ 36 บริษัทจากบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 บริษัทจากการสำรวจของฟอร์จูน โกลบัล 500 (\"Fortune Global 500\") อีกด้วย โดยเฉพาะย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป ลา เดฟองซ์ ทั้งยังเป็นที่จัดงานนิทรรศการต่างๆ ซึ่งรวมถึงสหประชาชาติ ฯลฯ \nปารีสเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังแห่งหนึ่งในโลก โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี กรุงปารีสเป็นหนึ่งใน 4 นครสำคัญของโลก อีกสามนครคือ ลอนดอน, โตเกียว และ นิวยอร์ก \nคำว่า ปารีส ออกเสียง /พาริส/ [ˈparɪs] หรือ /แพริส/ [ˈpæɹɪs] ในภาษาอังกฤษ และ /ปารี/ [paʁi] ในภาษาฝรั่งเศส เป็นคำที่มาจากชื่อเผ่าหนึ่งของชาวโกล เป็นที่รู้จักกันในนาม \"ปารีซี\" (Parisii) ซึ่งเป็นชาวเมืองที่อาศัยในสมัยก่อนโรมัน โดยที่เมืองมีชื่อเดิมว่า \"ลูเทเชีย\" () (ชื่อเต็ม \"Lutetia Parisiorum\" แปลว่า ลูเทเชียแห่งปารีซี) ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 6 ในช่วงที่อาณาจักรโรมันยึดครอง แต่ในช่วงการครองราชย์ของจูเลียน ดิ อโพสเทต (พ.ศ. 904 - พ.ศ. 906) ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น \"ปารีส\"",
"title": "ปารีส"
},
{
"docid": "676534#0",
"text": "โจเอาเปสโซอา () เป็นเมืองหลวงของรัฐปาราอีบา ประเทศบราซิล ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1585 เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของทวีปอเมริกา ที่จุดพิกัด 34º47'38\"W, 7º9'28\"S ถือเป็นนครที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดของโลก ด้วยพื้นที่มากกว่า 7 ตร.กม. (2.7 ตร.ไมล์) เป็นรองกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมืองมีเอกลักษณ์ที่เป็นจุดรวมระหว่างชายหาดเขตร้อน สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และอาคารประวัติศาสตร์ในยุคอาณานิคม",
"title": "โจเอาเปสโซอา"
},
{
"docid": "5951#14",
"text": "ปารีสตั้งอยู่บนแม่น้ำแซน ซึ่งรวมถึงเกาะอีกสองเกาะคือ อีล แซงต์-หลุยส์ (\"Île Saint-Louis\") และ อีล เดอ ลา ซิเต้ (\"Île de la Cité\") ซึ่งเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของเมือง ภูมิประเทศของปารีสโดยรวมคือ เป็นที่ราบลุ่ม โดยมีจุดต่ำสุดอยู่ที่ 35 เมตร (114 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ทั้งยังมีเนินเขาอีกหลายแห่ง เนินเขาที่สูงที่สุดคือ มงต์มาร์ตร์ (Montmartre) (130 เมตร (426 ฟุต)) \nพื้นที่ของปารีส ซึ่งไม่รวมสวนสาธารณะบัวส์ เดอ บูโลญ (\"Bois de Boulogne\") และบัวส์ เดอ แวงแซนน์ (\"Bois de Vincennes\") คือประมาณ 86.928 ตารางกิโลเมตร (33.56 ตารางไมล์) การแบ่งและรวมเขตครั้งสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดคือในปี พ.ศ. 2403 ซึ่งทำให้มีขนาดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งยังทำให้เกิดเขต (\"Arrondissement\") ที่หมุนรอบๆ ตามเข็มนาฬิกาอีกด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2403 เป็นต้นมา เมืองปารีสมีขนาด 78 กม.² (30.1 ม.²) และได้ขยายออกไปเป็น 86.9 กม.² (34 ม.²) ในปี พ.ศ. 2463 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา สวนสาธารณะบัวส์ เดอ บูโลญและบัวส์ เดอ แวงแซนน์ได้ผนวกกับตัวเมืองปารีสอย่างเป็นทางการ ทำให้กรุงปารีสมีขนาด 105.397 กม.² (40.69 ม.²) จนถึงปัจจุบัน \nขนาดของกรุงปารีสหรือเขตเมืองปารีสนั้นมีการขยายตัวออกไปเกินเขตเมือง ทำให้เกิดรูปร่างเป็นวงรี ขยายตัวไปตามแม่น้ำแซนและแม่น้ำมาร์น ทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง และตามแม่น้ำแซนและแม่น้ำอวส ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ และถ้าเลยไปยังชนบท ความหนาแน่นของประชากรจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากมีป่าและที่ดินไว้สำหรับการเพาะปลูก อย่างไรก็ตามเขตมหานครปารีส (\"Agglomération parisienne\") มีเนื้อที่ถึง 14,518 กม² (5,605.5 ไมล์²) ซึ่งใหญ่กว่าเนื้อที่กรุงปารีสถึง 138 เท่า",
"title": "ปารีส"
},
{
"docid": "488228#0",
"text": "ปารามารีโบ (, ) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศซูรินาม ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ติดกับทะเล มีประชากรราว 250,000 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ เมืองเก่าของปารามารีโบได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกในปี ค.ศ. 2002",
"title": "ปารามารีโบ"
},
{
"docid": "346690#0",
"text": "ปาไซ () เป็นเมืองที่อยู่ในเขตเขตนครหลวงในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ และอยู่ทางใต้ของมากาตีซิตี มีประชากรประมาณ 403,064 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2007) นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินีโนยอากีโน ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์",
"title": "ปาไซ"
},
{
"docid": "324161#0",
"text": "พอร์ตเอลิซาเบท () เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแอฟริกาใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดอีสเทิร์นเคป ที่อยู่ห่างจากเมืองเคปทาวน์ทางตะวันออก 770 กิโลเมตร ชื่อของเมืองในภาษาอังกฤษมักเขียนย่อว่า พีอี (PE) และมีชื่อเล่นว่า เมืองแห่งความเป็นมิตร (The Friendly City) หรือเมืองแห่งลม (The Windy City) ยังเป็นเมืองท่าสำคัญทางทะเลของแอฟริกาใต้ ที่มีการค้าขายเพชร ผ้าขนสัตว์ ผลไม้ และยังมีอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่าง รถยนต์ รวมถึงการผลิตรองเท้า เหล็ก การทำไม้ และด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ยังมีการผลิตอาหาร การฟอกหน้า และเคมีภัณฑ์ และมักได้รับการเอ่ยถึงว่าเป็นเมืองหลวงกีฬาทางน้ำของแอฟริกา เมืองพอร์ตเอลิซาเบทก่อตั้งเป็นเมืองในปี ค.ศ. 1820",
"title": "พอร์ตเอลิซาเบท"
}
] |
3755 | ชีรีส์ตำรวจอวกาศ ชาลีบัน ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "146831#0",
"text": "ตำรวจอวกาศ ชาลีบัน () เป็นชีรีส์เมทัลฮีโรลำดับที่ 2 โดยเป็นซีรีส์ต่อจาก ตำรวจอวกาศเกียบัน ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1983 ถึง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 ทางสถานีโทรทัศน์ ทีวีอาซาฮี รวมทั้งสิ้น 51 ตอน",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
}
] | [
{
"docid": "146831#6",
"text": "ผู้ช่วยและแฟนสาวของอิกะ เด็น จากดาวบาร์ด แม้จะไม่มีความสามารถพิเศษอะไรแต่ก็ช่วยชาลีบันต่อสู้กับมาโดอย่างสุดกำลังโดยเราจะได้เห็นคิวบู๊ของผู้ช่วยสาวของตำรวจอวกาศมากขึ้นเพราะลิลี่ได้รับการฝึกมามากกว่ามิมี่จากซีรีส์เกียบัน ในตอนท้ายเธอตัดสินใจจะอยู่ที่โลกระยะนึงหลังจากเสร็จศึกกับมาโดและตั้งใจว่าจะตามเด็นไปหลังเสร็จสิ้นภารกิจฟื้นฟูดาวอิกะ",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#46",
"text": "ผู้ปกครองของมาโดในรูปลักษณ์ของเทวรูปปีศาจที่ถือกริชสามง่ามในมือทั้งสองข้างเปี่ยมด้วยพลังจิตชั่วร้ายสามารถสร้างภาพมายาที่ทรงพลังสร้างความหวาดหวั่นไปทั่วกาแลคซี่ นอกจากนี้ยังเป็นจอมปีศาจที่ไม่มีวันตายเพราะสามารถแบ่งร่างที่มีจิตสำนึกของตนออกเป็นสองร่าง นั่นคือร่างของชายหัวโล้นใส่สูทสีครีมที่ปรากฏตัวอย่างลึกลับตลอดซีรีส์ซึ่งร่างจริงนั่นคือ นักรบไซโคเลอร์ ((戦士サイコラー) ไซบอร์กต่อสู้สีทองที่มีดาบคู่ที่สามารถปล่อยสายฟ้าได้เป็นอาวุธ ไซโคเลอร์เสมือนเป็นอีกภาคของไซโคที่โดดเด่นด้านพลังในการต่อสู้ทางกายภาพในขณะที่ไซโคนั้นเด่นด้านพลังจิต โดยทั้งสองต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน หากอีกตัวยังอยู่ก็สามารถฟื้นสภาพให้อีกตัวได้ตลอดเวลา จอมมารไซโคเคยบุกโจมตีดาวอิกะเพื่อชิงอิกะคริสตัลซึ่งกล่าวว่าได้เก็บรวบรวมพลังงานของดวงอาทิตย์มาอย่างมหาศาล ไซโคหวังใช้พลังนั้นเพื่อทำให้ตนเองเป็นอมตะแต่เหมือนกรรมตามทันทำให้ลูกหลานของอิกะที่เคยถูกตนล้างผลาญอย่างชาลีบันกลับมาเป็นก้างขวางคอของตนซะเอง เนื่องจากไซโคกับไซโคเลอร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันทำให้การปราบพวกมันต้องปราบทั้งสองตัวลงพร้อมกันแต่พลังของไซโคกับไซโคเลอร์นั้นมหาศาลยิ่ง แม้เกียบันจะมาร่วมต่อสู้ด้วยก็ใช่จะปราบพวกมันลงได้ง่ายๆ ในช่วงวิกฤตนั้นเอง อิกะคริสตัลได้ปรากฏขึ้นและสูบพลังงานชั่วร้ายของไซโคและไซโคเลอร์จนหมดสิ้นเปิดโอกาสให้ตำรวจอวกาศทั้งสองรวมพลังปราบจอมปีศาจทั้งสองลงพร้อมกันในที่สุดโดยเกียบันสังหารไซโคเลอร์ด้วย \"เกียบัน ไดนามิค\" ส่วนไซโคถูกชาลีบันสังหารด้วย \"ขาลีบันครัช\" จอมมารไซโคมีบทบาทอีกครั้งในภาพยนตร์ Kamen Rider × Super Sentai × Space Sheriff: Super Hero Taisen Z ซึ่งเป็นบอสใหญ่ที่คืนชีพมาพร้อมกับเหล่าร้ายอื่นๆในรูปลักษณ์ของเทวรูปปีศาจสามหน้าสีทองขนาดมหึมาที่หวังจะครอบคลุมจักรวาลด้วยเกมุไคแต่ก็ถูกปราบลงด้วยการโจมตีประสานของฮีโร่สามสายประกอบด้วยตำรวจอวกาศ เคียวริวเจอร์และหน้ากากไรเดอร์วิซาร์ด",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#64",
"text": "สัตว์โลกปีศาจที่เป็นบอดี้การ์ดส่วนตัวของไกร่าโชกุนรุ่น 2 ซึ่งนอกจากจะมีร่างกายที่แข็งแกร่งทนทานแล้วยังมีความสามารถในการใช้ดาบและปืนในการต่อสู้พร้อมๆกัน ถูกไอรีนยิงด้วยปืนจนหมดสติขณะต่อสู้จนเข้าใจว่าเสียชีวิตแล้วก่อนจะถูกนำขึ้นยานแกรนด์เบิร์ส เมื่อไอรีนรู้ว่าจีจี้ทำการชันสูตรร่างของการ์ดบีสต์ เธอจึงทำร้ายจีจี้จนสลบและทำการปั๊มหัวใจกู้ชีพการ์ดบีสต์ขึ้นมาก่อนจะพาหนีออกจากยานแกรนด์เบิร์สทำให้ชาลีบันมั่นใจว่าไอรีนคือสายของเนโอมาโดแต่ไม่ทันจะได้อธิบายอะไรไอรีนก็ถูกเซย์กิยิงจนบาดเจ็บเสียก่อน ชาลีบันที่จับต้นชนปลายไม่ถูกก็เริ่มสำรวจบันทึกการติดต่อของไอรีนจาก iphone (ล่ะมั้ง) ของเธอทำให้ได้พบชื่อ J และเมื่อทำการติดต่อไป J นั้นก็คือการ์ดบีสต์ แท้จริงแล้วการ์ดบีสต์นั้นคือตำรวจอวกาศนาม \"เจนเซอร์\" (ジェンサー) อดีตคู่หูที่เข้าใจว่าเสียชีวิตไปแล้วของไอรีนและยังเป็นคนรักของเธออีกด้วย เพื่อแฝงตัวเข้าเป็นพวกของเนโอมาโดแล้วเจนเซอร์ยอมทำการดัดแปลงตัวเองให้กลายเป็นสัตว์โลกปีศาจเพื่อคอยเป็นสายส่งข้อมูลจากภายในองค์กรให้แก่ตำรวจอวกาศโดยภารกิจนี้มีเพียงตัวเขากับไอรีนเท่านั้นที่รู้ ทำให้ผบ.นิโคลัสที่ไม่รู้เรื่องนี้จึงเข้าใจผิดว่าไอรีนเป็นสายของเนโอมาโดไป ไคถามว่าทำไมต้องทำถึงขนาดนั้นก็ได้รับคำตอบว่าขอเพียงช่วยปกป้องผู้คนได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโง่หรือบ้าบอแค่ไหนตัวเขาก็ยินดีจะทำเพราะมันคือหน้าที่ของตำรวจอวกาศและในระหว่างนั้นก็เกิดระเบิดลึกลับขึ้นทำให้เจนเซอร์ในร่างของการ์ดบีสต์เอาตัวเข้าปกป้องไคและฝากฝังภารกิจในฐานะตำรวจอวกาศแก่ไคก่อนจะสิ้นใจ",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "23086#5",
"text": "ตำรวจอวกาศหนุ่มลูกครึ่งมนุษย์โลกกับมนุษย์ดาวบาร์ดโดยเขามีแม่เป็นชาวโลกชื่อ อิจิโจจิ ทามิโกะ (一条寺 民子) กับวอยเซอร์ (Voicer) ตำรวจอวกาศที่มาประจำ ณ.เขตนี้ของอวกาศแต่เนื่องจากเขาได้หายสาปสูญไประหว่างปฏิบัติหน้าที่จึงถูกสันนิษฐานว่าตายไปแล้ว เร็ตซึจึงใช้นามสกุลของแม่เป็นนามแฝงขณะปฏิบัติหน้าที่บนโลก เมื่อต้องการจะเปลี่ยนร่างเพื่อต่อสู้กับเหล่าร้ายเขาจะตะโกนว่า \"Jōchaku\" (蒸着) จากนั้นยานแม่โดลกีรันที่ได้รับสัญญาณจะทำการส่งชุดเกราะที่เรียกว่า \"คอมแบทสูท\" มาในรูปของอนุภาคขนาดเล็กที่เรียกว่า \"Granium\" (グラニウム) ส่งเข้ามาประกอบกับร่างของเร็ตสึด้วยเวลา 0.05 วินาที นอกจากภารกิจในการต่อสู้กับองค์กรอาชญากรรมอวกาศมาคูในเนื้อหาปกติแล้ว เกียบันยังมีบทบาทในการต่อสู้กับเหล่าร้ายในซีรีส์ต่อๆมาของตำรวจกาศและฮีโร่อื่นๆในเครือของโตเอะอีกหลายครั้ง ได้แก่ คอยช่วยเหลือชาลีบันในการต่อสู้กับกลุ่มอาชญากรอวกาศมาโด มีส่วนช่วยรับมือกับการโจมตีของจักรวรรดิ์ฟูม่าในส่วนอื่นๆของกาแลคซี่โดยปรากฏเป็นฟุตเทจสั้นๆและภาพวาดประกอบการบรรยายในซีรีส์ของไชเดอร์ นอกจากนี้ในยุคเฮเซย์ยังเคยร่วมต่อสู้ร่วมกับขบวนการโจรสลัดโกไคเจอร์ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของซีรีส์ตำรวจอวกาศอันนำไปสู่การสร้างภาคต่อของตำรวจอวกาศใหม่ๆในยุคเฮเซย์ต่อไป",
"title": "ตำรวจอวกาศเกียบัน"
},
{
"docid": "23086#52",
"text": "หนึ่งในสามอาชญากรที่เหลือรอดของมาคู สมุนของไบรตั้นที่ปรากฏตัวใน ภาพยนตร์ ตำรวจอวกาศเกียบัน เดอะ มูฟวี่ ตามข้อมูลบอกว่าเป็นภรรยาอีกคนของดอน เฮอเรอร์และเป็นลูกศิษย์ของแม่มดคิบะมีแส้เป็นอาวุธ เธอปลอมตัวบุกเข้าไปยังศูนย์วิจัยโอยาม่าเพื่อชิงอุกกาบาตลึกลับไปใช้ในการคืนชีพของดอน เฮอเรอร์ ในตอนท้ายถูกชาลีบันคนใหม่หรือ \"เฮียวกะ ไก\" สังหารด้วยท่า \"ชาลีบัน แคลช\"",
"title": "ตำรวจอวกาศเกียบัน"
},
{
"docid": "146831#16",
"text": "อดีตเจ้าหญิงของดาวอิกะที่เดินทางมายังโลกเพื่อร่วมต่อสู้กับมาโดร่วมกับชาลีบันพร้อมกับน้องชาย \"บิลลี่\" หลังน้องชายถูกสังหารก็คอยช่วยชาลีบันในการต่อสู้กับมาโดเพื่อล้างแค้นและเสียชีวิตในการต่อสู้กับเลซ่า มือสังหารของเลด้าในตอนที่ 42",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#62",
"text": "ปรากฏตัวในภาพยนตร์ตำรวจอวกาศชาลีบัน เดอะ เน็กซ์ เจเนเรชั่น เป็นหนึ่งในอาชญากรที่เป็นลูกค้าของไกร่าโชกุนรุ่น 2 เพื่อซื้อยาไฮเปอร์ เอ็มแต่ถูกพวกของชาลีบันรุ่น 2 เข้าขัดขวางการซื้อยาและได้ต่อสู้กับชาลีบันในเกมุไคเทียมที่สร้างขึ้นมาจากสวิตช์ประหลาดและเสียชีวิตจากการระเบิดของสวิตช์นั้นเพราะฝืนใช้มากเกินไป แม้กามาก้อนตัวนี้จะดูเป็นสัตว์ประหลาดแต่เขาก็เป็นแค่เหยื่อของการล้างสมองผ่านเว็ปไซต์ \"ห้องของเฮอเรอร์ เกิร์ล\" อีกคนเท่านั้นโดยกามาก้อนเวอร์ชันนี้ต่างจากกามาก้อน ไดโอตรงที่กามาก้อน ไดโอนั้นเหมือนมีแต่หัวคางคกขนาดใหญ่แต่กามาก้อนตัวใหม่นั้นมีร่างกายแบบมนุษย์แต่มีหัวที่ดูเหมือนกามาก้อน ไดโอ (ส่วนของชุดนั้นใช้ชุดของไบรตั้นจากตำรวจอวกาศเกียบัน เดอะ มูฟวี่ มารีไซเคิลใหม่)",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "79941#2",
"text": "ในช่วงแรกของการออกอากาศซีรีส์นี้ได้ออกอากาศในช่วงโกลเด้นไทม์ในประเทศญี่ปุ่น โดยจะออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ตั้งแต่ซีรีส์ตำรวจอวกาศ (เกียบัน, ชาลีบัน และไชเดอร์) ถึงจัสเปี้ยน ได้ย้ายวันเวลาออกอากาศเป็นวันจันทร์ช่วงค่ำเช่นกัน (จัสเปี้ยนถึงเมทัลเดอร์) ต่อมาได้ย้ายเวลาออกอากาศอีกครั้งเป็นทุกเช้าวันอาทิตย์ (เมทัลเดอร์ถึงจีบัน) และตั้งแต่ซีรีส์จีบันที่ฉายในตอนที่ 10 จนถึงโรโบทักได้ออกอากาศทุกเช้าวันอาทิตย์ 8 โมงเช้าไปในที่สุดเป็นตอนพิเศษทางทืวีโดยใช้เวลาการออกอากาศช่วงเดียวกับทีวีซีรีส์ที่ฉายไป",
"title": "เมทัลฮีโร"
},
{
"docid": "146831#58",
"text": "สัตว์ประหลาดหน้าตาเหมือนคางคกสีเขียวขนาดยักษ์ที่แลบลิ้นหลายแฉกเป็นอาวุธได้ ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ 31 แต่ถูกเลด้าเรียกตัวมาช่วยในตอนที่ 49 จนสามารถชิงอิกะคริสตัลไปได้และวางแผนสังหารชาลีบันกับจอมมารไซโคไปพร้อมกันแต่ ขณะที่กามาก้อน ไดโอกำลังจะจัดการกับชาลีบันก็ถูกดาบคุณธรรมของชาลีบันตัดลิ้นจนขาดและสังหารลงด้วย \"ชาลีบันแคลช\" ในตอนที่ 50",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#52",
"text": "สายลับในชุดดำที่ติดตามทั้งดอกเตอร์พอลเตอร์และไกร่าโชกุนในการดำเนินแผนการและปะทะกับชาลีบันบ่อยครั้ง เชี่ยวชาญการปลอมตัวและแฝงตัวแบบนินจา ถูกเกียบันสังหารลงในตอนที่ 51 พร้อมกับดอกเตอร์พอลเตอร์",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#18",
"text": "น้องชายของเฮเลน เบลที่ตั้งใจฝึกฝนเป็นตำรวจอวกาศแต่ถูกสังหารในตอนที่ 36",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#2",
"text": "อิกะ เด็น อดีตเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่มีความรักให้แก่สัตว์ทุกชนิด ในช่วงท้ายของซีรีส์เกียบันเขาถูก \"บัฟฟาโล่ ดาบูร่า\" ทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัสแม้จะถูกเกียบันช่วยเหลือเอาไว้ได้แต่ร่างกายของเขาก็ได้รับบาดแผลฉกรรจ์จนมีแต่เครื่องมือและทีมแพทย์ของดาวบาร์ดเท่านั้นจึงจะช่วยได้ เขาถูกพาตัวไปรักษาที่ดาวบาร์ดและกลับมาช่วยเหลือเกียบันในศึกสุดท้ายกับมาคูในช่วงสั้นๆก่อนจะได้รับมอบหมายให้เป็นตำรวจอวกาศชาลีบัน รับหน้าที่ประจำการที่โลกต่อจากเกียบันเพื่อรับมือกับเหล่าร้ายต่อไป เมื่อจะเปลี่ยนร่างจะตะโกนว่า Sekisha (赤射) จากนั้นยานแกรนด์เบิร์สจะส่งชุดเกราะในรูปของอนุภาค \"โซล่าร์ เมทัล\" และประกบเข้ากับร่างของเด็นจนกลายเป็นคอมแบทสูทสีแดงในเวลาเพียง 1 มิลลิวินาทีเพื่อต่อสู้กับกลุ่มอาชญากรรมอวกาศมาโดในฐานะของตำรวจอวกาศชาลีบัน ต้นกำเนิดที่แท้จริงของอิกะ เด็น นั้นเขาเป็นลูกหลานของมนุษย์ดาวอิกะที่ลี้ภัยจากการบุกโจมตีของมาโดซึ่งทำลายดาวอิกะจนพินาศเพียงเพื่อช่วงชิงสมบัติล้ำค่าของดาวอิกะ นั่นคือ \"อิกะ คริสตัล\" การรบในครั้งนั้นทำให้ชาวอิกะที่เหลือรอดเพียงเล็กน้อยลี้ภัยกระจัดกระจายไปในอวกาศ ส่วนที่นำอิกะคริสตัลมาด้วยก็หนีมาตั้งถิ่นฐานยังดาวโลก เด็นนั้นไม่เคยทราบถึงต้นกำเนิดที่แท้จริงของตนเองเลยจนกระทั่งเขากลับไปยังเกาะอิกะบ้านเกิดเพื่อตามคดีที่มาโดพยายามจะชิงอิกะคริสตัล แม้ในครั้งนั้นเขาจะส่งอิกะคริสตัลไปที่อื่นด้วยระบบฉุกเฉินให้พ้นมือมาโดไปได้แต่ก็พลัดพรากกับเหล่าพี่น้องร่วมเผ่าพันธุ์ไปนานเกือบจะจบซีรีส์แต่เขาก็ได้ดาบคุณธรรมมาใช้ต่อสู้กับมาโดยามคับขันได้ทุกเมื่อ ระหว่างนั้นเขาก็ได้พบกับเหล่านักรบอิกะและสหายมากมายที่ช่วยเขาต่อสู้กับมาโด ในช่วงท้ายของซีรีส์อิกะคริสตัลก็กลับมายังโลกอีกครั้งอันเป็นสัญญาณของศึกตัดสินครั้งสุดท้ายระหว่างชาลีบันกับมาโด",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "23086#9",
"text": "ลูกสาวคนเดียวของผู้บัญชาการโคมซึ่งแอบติดตามเกียบันมากับยานโดลกีรันระหว่างที่เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ยังโลกมนุษย์ เธอมีความสามารถพิเศษในการแปลงร่างเป็นนกหงส์หยกโดยใช้พลังจากจี้ห้อยคอที่เรียกว่า \"เลเซอร์วิชั่น\" เนื่องจากเธอแอบชอบเกียบันมาตลอดจึงติดตามมาและคอยช่วยเหลือเกียบันอยู่เสมอ เธอเคยหายไปจากโดลกีรันหลายตอนเพราะต้องกลับไปดูแลแม่ที่ป่วย ณ.ดาวบาร์ดอยู่หลายตอนแต่ก็กลับมาช่วยเหลือเกียบันในช่วงสุดท้ายของต่อสู้กับมาคู นอกจากนี้มีมี่ยังมีความสามารถพิเศษอีกอย่างคือความสามารถหยั่งรู้อนาคตผ่านภาพนิมิตเพื่อเตือนเกียบันถึงอันตรายร้ายแรงแม้จะไม่สามารถเห็นภาพทั้งหมดได้ชัดเจนก็ตาม ความสามารถนี้ยังถูกใช้ในซีรีส์ของชาลีบันโดยมีมี่เริ่มเรียนรู้ที่จะควบคุมและใช้พลังนี้ได้มากขึ้นโดยตั้งสมาธิและวาดภาพนิมิตเหล่านั้นออกมาเป็นรูปวาดได้ ตามข้อมูลในตอนพิเศษรวมมิตรสามตำรวจอวกาศกล่าวว่าเกียบันกับมีมี่ได้แต่งงานกันหลังจากการต่อสู้กับจักรวรรดิ์ฟูม่าได้จบลง",
"title": "ตำรวจอวกาศเกียบัน"
},
{
"docid": "146831#24",
"text": "หนึ่งในสมาชิกขององค์กร ออร์แกไนเซอร์ (オーガナイザー) เป็นกลุ่มต่อต้านมาโดและเป็นพันธมิตรกับชาลีบันเช่นเดียวกับคีธและมัวร์โดยเป็นเสมือนหัวหน้าขององค์กร แม้เป็นผู้หญิงแต่ก็มีความสามารถในการต่อสู้พอตัวได้ช่วยเหลือชาลีบันในการต่อสู้พร้อมกับคีธ ในตอนที่ 27 และ 50",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#26",
"text": "หนึ่งในสมาชิกขององค์กร ออร์แกไนเซอร์เช่นเดียวกับคีธและริต้า เป็นมนุษย์ต่างดาวแคระที่ช่วยชาลีบันต่อสู้กับมาโดแต่ปรากฏตัวแค่ในตอนที่ 27 เท่านั้น",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#60",
"text": "ปรากฏตัวในภาพยนตร์ตำรวจอวกาศชาลีบัน เดอะ เน็กซ์ เจเนเรชั่น เป็นหนึ่งในอาชญากรที่ก่อคดีเลียนแบบองค์กรมาโด เขาใช้ชื่อไกร่าโชกุนในการก่อตั้งองค์กร \"เนโอมาโอ\" (ネオマドー) และค้ายาเสพย์ติดร้ายแรงที่เรียกว่า \"ไฮเปอร์ เอ็ม\" (Hyper M) ซึ่งเป็นยากระตุ้นที่สามารถเพิ่มพลังกล้ามเนื้อได้มากในเวลาอันสั้นอีกทั้งยังกดความรู้สึกเจ็บปวดเอาไว้แต่เมื่อยานี้หมดฤทธิ์เหยื่อก็จะเสียชีวิตเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว โดยไกร่าโชกุนเป็นเอเย่นต์ค้ายานรกนี้เพื่อขายให้กับเหล่าอาชญากรอื่นๆเพื่อนำไปใช้ในทางชั่วร้าย ถูกชาลีบัน รุ่น 2 หรือ เฮียวกะ ไค จับกุมตัวมาได้ในตอนท้ายโดยแท้จริงแล้วเขาเป็นแค่มนุษย์ธรรมดาที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรเลยแต่ถูกล้างสมองผ่านเว็ปไซต์ \"ห้องของเฮอเรอร์ เกิร์ล\" ทำให้คิดไปเองว่าเป็นหัวหน้าของมาโดและก่ออาชญากรรมเลียนแบบขึ้น ในเรื่องไกร่าโชกุนยังรักษาเอกลักษณ์ด้วยคำสั่งการ \"สังหาร\" (抹殺) แบบเดียวกับไกร่าโชกุนคนเดิม",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#30",
"text": "อดีตสายลับของสมาพันธ์ตำรวจอวกาศที่ถูกมาโดจับกุมไว้ได้ เนื่องจากเขาส่งสัญญาณบอกข้อมูลลับแก่สมาพันธ์ตำรวจอวกาศไม่ทันจึงถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับสองหน้าจึงถูกไล่ล่าจากทั้งตำรวจอวกาศและมาโด เขาได้รับการช่วยเหลือจากชาลีบันและมิตรภาพก็ก่อเกิดแต่เนื่องจากเขาเองก็ถูกตำรวจอวกาศตามล่าจนหมดที่ไปจึงวางแผนจะหักหลังโดยสมรู้ร่วมคิดกับมาโดหวังจับกุมสมาชิกออร์แกไนเซอร์ทั้งสามส่งให้แก่มาโด ทว่าเขาได้รู้ข่าวจากลิลี่ว่าเขาพ้นมลทินแล้วเพราะลูกชายของเขาได้ส่งข้อมูลลับแก่สมาพันธ์ตำรวจอวกาศได้สำเร็จก่อนที่เขาจะถูกฆ่า มาริโอจึงหันมาช่วยชาลีบันต่อสู้กับมาโดแต่ก็ถูก \"อุรากิริ บีสต์\" สังหารในตอนที่ 27 เช่นกัน",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#10",
"text": "อดีตตำรวจอวกาศเกียบันที่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กองหลังจากการต่อสู้กับมาคูเพื่อดูแลเขตที่กว้างขึ้นของอวกาศส่วนนี้ เขาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ชาลีบันไปพร้อมกับให้ความช่วยเหลือในยามคับขันแม้ไม่ได้สวมคอมแบทสูทเพื่อต่อสู้ ในตอนสุดท้ายของซีรีส์ได้กลับมาร่วมต่อสู้ในฐานะของตำรวจอวกาศเกียบันอย่างเต็มตัวในการโค่นล้มมาโดพร้อมกับชาลีบัน",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#66",
"text": "สองพี่น้องมือสังหารจากอวกาศจากเขต \"ดาร์คเนบิวล่า มาเซลัน\" (マゼラン星雲) ปรากฎตัวในตอนที่ 11 คนพี่คือ \"เบงกัลไทเกอร์\" (ベンガルタイガー) ใช้ดาบเป็นอาวุธและคนน้องคือ \"เบงกัลคอบร้า\" (ベンガルコブラ) ใช้หอกเป็นอาวุธเข้าท้าทายชาลีบันในยกแรกเพื่อเก็บข้อมูลการต่อสู้ต่างๆของชาลีบันเพื่อนำไปมอบให้แก่มาโดเพื่อขอสวามิภักดิ์แต่แท้จริงก็วางแผนจะลอบสังหารจอมมารไซโคเพื่อยึดอำนาจด้วยแต่ก็ไม่รอดพ้นสายตาของจอมมารไซโคจนพี่น้องเบงกัลถูกเล่นงานจนหมดสติ จากนั้นก็ถูกดอกเตอร์พอลเตอร์ดัดแปลงและล้างสมองเพื่อไปจัดการกับชาลีบันพร้อมกับสัตว์โลกปีศาจ \"โชริ บีสต์\" แต่พี่น้องเบงกัลก็ถูกชาลีบันกำจัดไปก่อนจะได้เข้าเกมุไคเสียอีก",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#4",
"text": "เด็กหนุ่มผู้มีเชื้อสายดาวอิกะเช่นเดียวกับเด็น ใฝ่ฝันจะเป็นตำรวจอวกาศที่สุดยอดด้วยการคำนวณและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างแม่นยำเป็นหลักแต่เพียงแค่นั้นไม่อาจได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาอย่างอิกะ เด็นไปได้ แม้เขาจะได้รับตำแหน่งเป็นตำรวจอวกาศชาลีบันแทนเด็นที่ได้เลื่อนตำแหน่งจนไม่ได้ออกภาคสนามแล้วแต่เขายังไม่อาจได้การยอมรับจากเด็นในฐานะของตำรวจอวกาศอยู่ดี ไคเป็นตำรวจอวกาศฝีมือดีที่โดดเด่นด้านการวิเคราะห์สถานการณ์แต่ก็มักจะพลาดในตอนท้ายอยู่เสมอกว่าจะได้รับการยอมรับจากชาลีบันรุ่นแรกอย่างอิกะ เด็นคงต้องตามลุ้นกันต่อไป เขาต่างกับ จูมอนจิ เงคิตรงที่เขาสวมชุดคอมแบทสูทชาลีบันชุดเดิมของอิกะ เด็น ไม่ใช่ชุดใหม่เหมือนกับเกียบัน Type-G",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#33",
"text": "ตำรวจอวกาศหนุ่มที่ประจำอยู่ที่ดาวบายาเชีย (バヤシア星) ปรากฎตัวในภาพยนต์ตำรวจอวกาศชาลีบัน เดอะ เน็ก์ เจเนเรชั่น ได้รับคำสั่งให้มาช่วยชาลีบันรุ่น 2 หรือ เฮียวงะ ไค ในการสืบคดีการค้ายาไฮเปอร์ เอ็มที่ดาวโลกพร้อมกับคู่หู ตำรวจอวกาศหญิง ไอรีน โดยเขาเป็นตำรวจอวกาศหนุ่มเชื้อสายดาวอิกะเช่นเดียวกับไคและยังเคยเป็นตำรวจอวกาศฝึกหัดในความดูแลของอิกะ เด็นเช่นเดียวกันอีกด้วย ทั้งสองถูกเด็นตั้งคำถามถึงการเป็นตำรวจอวกาศที่แท้จริงมาเหมือนกัน ในการแปลงร่างเขาจะตะโกนว่า \"Tenshaku\" และสวมคอมแบทสูทสีทองในนามของตำรวจอวกาศ เอสเตบัน (ชุดที่สวมใช้ชุดของ เกียบัน บูทเลก จากภาพยนต์ ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ ปะทะ ตำรวจอวกาศเกียบัน มารีไซเคิล) มีท่าไม้ตายคือ \"เอสเตบัน แอกเกรสชั่น\" เนื่องจากเซย์กินั้นทำซุ่มซ่ามในระหว่างเข้าจับกุมการซื้อขายยาไฮเปอร์ เอ็มทำให้ตัวการอย่างไกร่าโชกุนหนีรอดไปได้ อีกทั้งยังมารับรู้ว่าผู้บังคับบัญชาสงสัย ไอรีน คู่หูของเขาเป็นสายลับให้กับเนโอมาโดทำให้เซย์กิอยู่ในสภาพจิตตกจนยิงไอรีนจนบาดเจ็บสาหัสเพื่อปกป้องไค แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเพราะแท้จริงแล้วสายของเนโอมาโดคือตัวเซย์กิเอง เพื่อปกป้องตัวเองเขาจึงจัดฉากยิงไอรีนที่กำลังถูกเบื้องบนสงสัยเพื่อให้เป็นแพะรับบาปอีกทั้งยังวางระเบิดหวังจะสังหารไคและเจนเซอร์ลงพร้อมกันเพื่อปกปิดความจริง แต่เพราะได้เจนเซอร์ในร่างของการ์ดบีสต์ช่วยเอาตัวบังระเบิดไว้ให้ ไคจึงรอดมาได้และบุกเข้าทะลายรังของเนโอมาโดพร้อมกับทำศึกตัดสินกับเพื่อนรักอย่างเซย์กิทั้งน้ำตา",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "23086#0",
"text": "ตำรวจอวกาศเกียบัน (; English: Space Sheriff Gavan) เป็นซีรีส์เมทัลฮีโรยุคแรกออกอากาศในวันที่ 5 มีนาคมค.ศ. 1982 ถึง 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983[1][2][3][4][5][6] ทาง ทีวีอาซาฮี ที่มีตัวเอกเป็นนักรบอวกาศที่สวมชุดเกราะ และมีอาวุธกับพาหนะไฮเทค ช่วยปกป้องโลกจากการรุกรานของจักรวรรดิมาคุ (宇宙犯罪組織マクー, สลัดอวกาศมาคู) มีจำนวนตอนทั้งหมด 44 ตอน และตอนพิเศษอีก 2 ตอน ได้แก่ ไคโซคุ เซนไท โกไคเจอร์ vs. ตำรวจอวกาศเกียบัน (海賊戦隊ゴーカイジャーVS宇宙刑事ギャバンTHE MOVIE) และ ตำรวจอวกาศเกียบัน THE MOVIE (宇宙刑事ギャバン THE MOVIE)",
"title": "ตำรวจอวกาศเกียบัน"
},
{
"docid": "146831#28",
"text": "หนึ่งในสมาชิกขององค์กร ออร์แกไนเซอร์ คีธเป็นมนุษย์ต่างดาวเพศชายร่างกายกำยำโดยคีธนั้นได้มาช่วยชาลีบันต่อสู้ถึง 2 ครั้ง ในตอนที่ 27 และ 50",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#12",
"text": "ผู้บัญชาการของสมาพันธ์ตำรวจอวกาศ เขายังคงเป็นที่ปรึกษาให้แก่ตำรวจอวกาศหนุ่มอยู่เช่นเคยและเป็นผู้เสนอแนวคิดให้ใช้ระบบพลังงานพลาสม่าของดร.โฮชิโนะที่เกียบันกู้คืนมาได้ไปติดตั้งบนยานแกรนด์เบิร์สของชาลีบันเพื่อใช้กับปืนใหญ่พลาสม่าแคนน่อน เขายังเป็นผู้หนึ่งที่รู้ชาติกำเนิดของเด็นเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงแต่ปิดบังไว้จนกว่าจะเห็นสมควร และยังเดินทางมายังโลกเพื่อเป็นกำลังในการต่อสู้กับมาโดอีกด้วย",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#48",
"text": "นักวิทยาศาสตร์หญิงตระกูลคุเดต้า ที่ปรึกษาและนักวางแผนร้ายให้กับจอมมารไซโคมีแส้เป็นอาวุธ เป็นพี่สาวของไกร่าโชกุน ชิงดีชิงเด่นกับน้องชายและกุนซือเลด้าตลอดซีรีส์และถูกสังหารในตอนที่ 51 โดยชาลีบันต่อหน้าไซโค",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#35",
"text": "ตำรวจอวกาศหญิงผู้จริงจังทำหน้าตาบึ้งตึงตลอดเวลา คู่หูของเซย์กิ เดินทางมายังโลกเพื่อช่วยการสืบสวนคดีค้ายาไฮเปอร์ เอ็มของเนโอมาโดบนดาวโลก เธอถูกผู้บัญชาการนิโคลัส กอร์ดอนสงสัยว่าเธอจะเป็นสายให้กับเนโอมาโด จึงออกคำสั่งลับแก่ชาลีบันรุ่น 2 หรือเฮียวงะ ไคให้สืบหาความจริงอย่างลับๆและเนื่องจากเธอทำท่ามีพิรุธตลอดทั้งแอบส่งข้อความลับๆตอนจะบุกเข้าจับกุมหรือช่วยการ์ดบีสต์หนีออกจากยานแกรนด์เบิร์ส เธอจึงถูกเซย์กิยิงจนบาดเจ็บสาหัสแต่จริงๆแล้วเซย์กินั่นเองคือสายของเนโอมาโด เขาจัดฉากยิงคู่หูที่กำลังถูกสงสัยเพื่อให้เป็นแพะรับบาปอีกทั้งเมื่อไอรีนยังไม่ตายเขาก็ลากเธอลงจากยานแกรนด์เบิร์สมาเพื่อเป็นตัวประกันในระหว่างการต่อสู้กับชาลีบันอีกด้วย",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "146831#50",
"text": "แม่ทัพของมาโดผู้สวมเกราะสีดำและใช้ดาบเป็นอาวุธโดยสามารถปล่อยพลังให้วิ่งไปตามพื้นสู่เป้าหมายได้ ปะทะกับชาลีบันบ่อยครั้งพร้อมด้วยวลีติดปาก \"สังหาร\" (抹殺!) แม้เป็นแม่ทัพแต่ก็ดูมีศักดิ์ด้อยกว่าพี่สาวอย่างดอกเตอร์พอลเตอร์อยู่ดีทำให้เกิดความอิจฉาและชิงดีชิงเด่นเป็นศึกสามเส้ากับทั้งดอกเตอร์พอลเตอร์และกุนซือเลด้ามาตลอด แต่เนื่องจากเป็นคนใจร้อนและไม่ฉลาดนักทำให้โดนเล่นงานอยู่บ่อยๆเคยถูกเลด้าวางยาให้เป็นบ้าอาละวาดต่อหน้าไซโคจึงถูกลงโทษให้แบกเก้าอี้ตัวใหญ่อยู่หลายตอนจนไซโคปล่อยไกร่าโชกุนออกมาและวางเก้าอี้ไว้กลางห้องโถงเพื่อกดดันให้เกิดสถานะภาพสามเส้าระหว่างผู้บัญชาการให้ชัดเจนขึ้น ในตอนที่ 49 ได้ต่อสู้ตัดสินกับชาลีบันในเกมุไคและถูกสังหารลงในที่สุด",
"title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน"
},
{
"docid": "23086#1",
"text": "ตำรวจอวกาศเกียบัน ถือเป็นปฐมบทการต่อสู้ของเหล่าตำรวจอวกาศในยุคหลังต่อมาอีก 2 นายคือ ตำรวจอวกาศชาลีบัน และ ตำรวจอวกาศไชเดอร์",
"title": "ตำรวจอวกาศเกียบัน"
},
{
"docid": "19771#19",
"text": "โชว นินจา ไท อินาสม่า อากิบะเรนเจอร์ เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึประเภทขบวนการนักสู้ ผลิตโดยบริษัทโตเอและบริษัทบันได ออกอากาศทุกวันศุกร์เวลา 1:30-2:00น. ทางช่อง BS อาซาฮิ มีจำนวนตอนทั้งหมด 13 ตอน ในฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2013 ทางช่อง BS อาซาฮิ และ วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2013 ทางช่อง โตเกียว MX และช่อง ซันเดย์เทเลวิชั่น ฮิโคนิง เซนไท อากิบะเรนเจอร์ ซีซั่น ซือ ทั้งนี้ คำว่า \"ซือ\" (痛) แปลว่าเจ็บปวด, น่าอาย และพ้องเสียงกับวิธีการออกเสียงคำว่า \"ทู\" (two = 2) ในภาษาญี่ปุ่น อากิบะเรนเจอร์ ยังถูกกล่าวถึงใน สเปซ สควอด: ตำรวจอวกาศ เกียบัน VS โทคุโซเซนไต เดกะเรนเจอร์ อีกด้วย สเปซ สควอด V-Cinema (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อไลน์ใหม่เป็น V-Cinext คือ ภาพยนตร์ที่ฉายแบบจำกัดโรงก่อนออกจำหน่ายในรูปแบบ DVD และ Blu-ray) กลุ่มฮีโร่ที่รวม ซุปเปอร์เซนไต และ เมทัลฮีโร่ ที่เกี่ยวข้องกับจักรวาล มีภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.สเปซ สควอด: ตำรวจอวกาศ เกียบัน VS โทคุโซเซนไต เดกะเรนเจอร์ (宇宙刑事ギャバン VS 特捜戦隊デカレンジャー) (ออกฉาย 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560) 2.Girls in Trouble: สเปซ สควอด Episode Zero (ガールズ・イン・トラブル スペース・スクワッド エピソードゼロ) (ออกฉาย 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560) 3.อูจูวเซนไต คิวเรนเจอร์ VS สเปซสควอด (宇宙戦隊キュウレンジャー VS スペース・スクワッド) (ออกฉาย 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561) ทั้ง 3 เรื่องเป็นเรื่องราวต่อจาก ตำรวจอวกาศเกียบัน เดอะมูฟวี่,ตำรวจอวกาศชาลีบัน NEXT GENERATION,ตำรวจอวกาศไชเดอร์ NEXT GENERATION และ โทคุโซเซนไต เดกะเรนเจอร์ 10 Years After",
"title": "ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์"
}
] |
4026 | ธงชาติไทยสีขาวหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "8855#0",
"text": "ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงินขาบ ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)",
"title": "ธงชาติไทย"
}
] | [
{
"docid": "132152#3",
"text": "สีแต่ละสีในธงชาติล้วนมีนัยความหมายต่างๆ แฝงอยู่ โดยสีแดงหมายถึงจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อลัทธิสังคมนิยม แถบสีน้ำเงินหมายถึงอำนาจอธิปไตย สันติภาพ และมิตรภาพของประชาชน สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งอุดมคติของชาติ ดาวแดงหมายถึงความมุ่งหวังถึงความสุขของประชาชน ภายใต้การชี้นำของพรรคแรงงานเกาหลี วงกลมสีขาว (แทกึก) คือสัญลักษณ์ของจักรวาล ตามที่ปรากฏในธงชาติเกาหลีเดิม ซึ่งปัจจุบันคือเกาหลีใต้",
"title": "ธงชาติเกาหลีเหนือ"
},
{
"docid": "168301#2",
"text": "ธงชาติคอสตาริกา มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธงของชาติอื่นอย่างน้อย 2 ชาติ คือ ธงชาติไทยและธงชาติเกาหลีเหนือ ซึ่งมีรูปแบบการเรียงแถบสีธงชาติในลักษณะเดียวกัน แต่เรียงลำดับสีสลับกันเท่านั้น กล่าวคือ ธงชาติไทยเรียงสีธงเป็นแถบสีแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง และใช้สัดส่วนความกว้างของแถบธงอย่างเดียวกับธงชาติคอสตาริกา ส่วนธงชาติเกาหลีเหนือนั้นเรียงเป็นสีน้ำเงิน-ขาว-แดง-ขาว-น้ำเงิน อย่างเดียวกับธงชาติคอสตาริกา แต่ใช้สัดส่วนที่ต่างออกไป และจัดให้แถบสีขาวเป็นแถบที่แคบที่สุด โดยเพิ่มรูปดาวแดงในวงกลมสีขาวลงบนแถบกลางด้วย",
"title": "ธงชาติคอสตาริกา"
},
{
"docid": "168301#1",
"text": "ธงชาติคอสตาริกามีลักษณะคล้ายกับธงชาติไทย ต่างกันตรงวางตำแหน่งสีธงสลับกันเท่านั้น และแต่ละสีนั้นก็มีความหมายใกล้เคียงกัน กล่าว คือ สีแดง หมายถึง เลือดเนื้อ จิตวิญญาณ, สีขาว หมายถึง ความสงบสุข ส่วนสีน้ำเงิน หมายถึง ท้องฟ้า และ โอกาส",
"title": "ธงชาติคอสตาริกา"
},
{
"docid": "232091#1",
"text": "ดวงตราแผ่นดินของเวเนซูเอลาในปัจจุบันได้กำหนดขึ้นตามรัฐบัญญัติว่าด้วยธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติของเวเนซูเอลา (\"Ley de Bandera, Escudo e Himno Nacionales\") ลงนามวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954 โดยประธานาธิบดีมาร์กอส เปเรซ จีเมเนส (Marcos Pérez Jiménez) ลักษณะของตราประกอบด้วยโล่ซึ่งแบ่งภายในเป็น 3 ช่องตามสีของธงชาติเวเนซุเอลา โดยช่องซ้ายบนมีพื้นสีแดงมีรูปมัดรวงข้าวสาลี 20 ต้น หมายถึงรัฐทั้ง 20 รัฐของประเทศเวเนซุเอลาและความมั่งคั่งของชาติ ในช่องขวาบนเป็นพื้นสีเหลือง มีรูปดาบ 1 เล่ม กระบี่ 1 เล่ม หอก 3 เล่ม และธงชาติเวเนซูเอลา 2 ผืน มัดไขว้รวมกันด้วยช่อใบลอเรล หมายถึงชัยชนะในสงคราม ช่องล่างสุดเป็นพื้นสีน้ำเงิน มีรูปม้าป่าสีขาววิ่งอย่างเป็นอิสระ (รูปม้าขาวนี้ยังอาจหมายถึงม้าขาวของนายพลซีมอง โบลีวาร์ ซึ่งมีชื่อว่า \"ปาโลโม\" (\"Palomo\") หมายถึงเอกราชและเสรีภาพ เหนือรูปโล่นั้นมีรูป \"กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์\" ไขว้กันและหลั่งเอาความอุดมสมบูรณ์ออกมา โดยแสดงไว้ในรูปของกอดอกไม้ 2 กอที่ปากกรวย รอบโล่นั้นโอบล้อมด้วยช่อใบมะกอกและใบปาล์ม ซึ่งมีแพรแถบสีธงชาติพันอยู่ที่ตอนล่าง (แถบสีเหลืองหมายถึงความมั่งคั่งของชาติ สีน้ำเงินหมายถึงมหาสมุทรซึ่งแบ่งแยกเวเนซุเอลาออกจากสเปน สีแดงหมายถึงโลหิตและความหาญกล้าของประชาชน) ภายในแพรแถบสีธงชาติมีข้อความจารึกในแถบสีน้ำเงินดังต่อไปนี้",
"title": "ตราแผ่นดินของเวเนซุเอลา"
},
{
"docid": "168554#1",
"text": "ด้วยความเชื่อข้างต้น โบกองดาจึงได้รวมเอาสีจากธงชาติฝรั่งเศสเข้ากับสีพันธมิตรแอฟริกาในธงนี้ โดยสีแดงนั้นหมายถึงเลือดของประชาชนที่หลั่งออกมาในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช และจะไหลรินเพื่อปกป้องชาติต่อไป สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและเสรีภาพ สีขาวคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และความสง่างาม สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความเชื่อมั่น และสีเหลืองเป็นเครื่องหมายของความมีขันติธรรม ดังนั้น ความหมายโดยรวมของธงชาติ จึงหมายถึงความปรารถนาของชาวแอฟริกากลางในความเป็นเอกภาพของชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนชาวแอฟริกาด้วยกัน",
"title": "ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง"
},
{
"docid": "8855#28",
"text": "สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระรัตนตรัยและธรรมะอันเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ [17] แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์[18]",
"title": "ธงชาติไทย"
},
{
"docid": "97167#8",
"text": "ในธง \"ท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง\" ของลู่เฮาตง รัศมีทั้ง 12 แฉกของดวงอาทิตย์สีขาวหมายถึงเดือนทั้ง 12 เดือนและระบบการแบ่งเวลาเป็น 12 ชั่วโมงแบบจีน (時辰, shíchén) ซึ่ง 1 ชั่วโมงจีนเท่ากับ 2 ชั่วโมงสากล ดังนั้น 12 ชั่วโมงจีนจึงเท่ากับ 24 ชั่วโมงสากล หรือเวลาใน 1 วัน ต่อมา ดร. ซุนยัดเซ็นได้เพิ่ม \"แผ่นดินอุดมสีแดง\" หรือพื้นสีแดง เพื่อหมายถึงเลือดของนักปฏิวัติผู้เสียสละตนเองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลราชวงศ์ชิงและสถาปนาสาธารณรัฐจีน นอกจากนั้นธงนี้ยังได้สือความหมายของหลักลัทธิไตรราษฏร์ของ ดร. ซุนยัตเซ็นไว้ ดังนี้จะเห็นได้ว่าความหมายของสีทั้งสามในธงชาติสาธารณรัฐจีนมีแนวคิดเดียวกับหลักการ \"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ\"(Liberté, égalité, fraternité) ของประเทศฝรั่งเศส แล้วธงก็มีลักษณะคล้ายคลึงธงชาติสหรัฐอเมริกาคือ สีแดงตรงผืนใหญ่ และข้างบนซ้ายจะมีนำเงิน ดวงอาทิตย์ขาวซึ่งคล้ายกันมากแต่ก็ต่างกันมากเช่นกัน",
"title": "ธงชาติสาธารณรัฐจีน"
},
{
"docid": "110182#0",
"text": "ธงชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ( / \"suaitheantas na hÉireann\") เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งแถบสีตามแนวตั้ง แต่ละแถบมีขนาดเท่ากัน เรียงตามลำดับ คือ สีเขียว สีขาว และสีแสด ธงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ \"ธงไตรรงค์ไอริช\" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า \"Irish tricolour\" สัดส่วนของธงกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน โดยทางการแล้ว ความหมายของธงไชาติไอร์แลนด์มิได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ แต่โดยทั่วไปแล้ว ได้มีนิยามความหมายของธงไว้ว่า สีเขียวคือสีแห่งความเป็นชาตินิยมของชาวไอริชตามธรรมเนียมปฏิบัติ สีแสดเป็นสีของกลุ่มออเรนจ์อินสติติวชั่น (Orange Institution) ซึ่งเป็นชื่อขององค์กรศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์แห่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของไอร์แลนด์ ส่วนสีขาวซึ่งแทรกอยู่ระหว่างสีทั้งสองถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ สีขาวที่กลางธงนี้ยังอาจหมายถึงการสงบศึกครั้งสุดท้ายระหว่างฝ่ายสีเหลืองกับฝ่ายสีแสดก็ได้",
"title": "ธงชาติไอร์แลนด์"
},
{
"docid": "148969#5",
"text": "นอกจากนี้ยังมีการตีความว่า สีทั้งสามในธงชาติแสดงถึงการจัดลำดับชั้นทางสังคมในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย โดย สีขาวหมายถึงพระเจ้า สีน้ำเงินหมายถึงพระเจ้าซาร์ (จักรพรรดิ) สีแดงหมายถึงพลเมืองทั้งหมด หรือในอีกทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายโดยทั่วไป เป็นการตีความว่าสีทั้งสามหมายถึงดินแดนรัสเซียส่วนต่างๆ กล่าวคือ สีขาวหมายถึงเบลารุส (แปลว่า รัสเซียขาว) สีน้ำเงินหมายถึงยูเครน หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ มาโลรอสเซีย (แปลว่า รัสเซียน้อย) และสีแดง หมายถึงดินแดนรัสเซียใหญ่ (Great Russia)",
"title": "ธงชาติรัสเซีย"
},
{
"docid": "149854#4",
"text": "มีอยู่บางกลุ่มที่ให้นิยามความหมายของสีธงชาตินี้เป็นการเฉพาะว่า สีเขียวเป็นตัวแทนของที่ราบและหุบเขาอันเขียวขจีในประเทศอิตาลี สีขาวคือสีขาวหิมะบนเทือกเขาแอลป์ และสีแดงหมายถึงเลือดที่รินไหลในสงครามประกาศเอกราชอิตาลี การให้คำนิยามธงชาติอิตาลีในอีกที่หนึ่ง ซึ่งมีความหมายค่อนข้างอยู่ในเชิงศาสนา โดยอิงจากคุณธรรม 3 อย่าง ในศาสนาคริสต์ (Theological virtues) กล่าวคือ สีเขียว หมายถึง ความหวังใจ (Hope) สีขาวหมาวถึง ความเชื่อมั่น (Faith) และสีแดงหมายถึงความรัก (Charity)",
"title": "ธงชาติอิตาลี"
},
{
"docid": "53510#0",
"text": "ธงชาติกัมพูชา (; ทง่ชาติกมฺพุชา; ต็วงเจียตกำปูเจีย) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า \"\"ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์\"\" ( \"ชาติ สาสนา พฺระมหากฺสตฺร\") โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็เหมือนกับธงชาติไทย ที่สีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนา และสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์นั่นเอง",
"title": "ธงชาติกัมพูชา"
},
{
"docid": "216274#1",
"text": "เมื่อพรรคนาซีเข้าบริหารประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1933 ธงชาติสีดำ-แดง-ทองถูกประกาศเลิกใช้เป็นธงชาติของนาซีเยอรมนี ต่อมา คำสั่งในวันที่ 12 มีนาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้ธงสามสี คือ ดำ-ขาว-แดง ซึ่งเป็นธงชาติที่ใช้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเยอรมัน และ ธงสวัสดิกะของพรรคนาซีให้เป็นธงชาติของรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งสองแบบ ในปี 1935 หลังจากประธานาธิบดี เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ถึงแก่อสัญกรรม ฮิตเลอร์ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฟือเรอร์ การใช้ธงชาติประจำรัฐสองผืนถูกยกเลิก และ ประกาศใช้ธงสวัสดิกะเป็นธงชาตินาซีเยอรมนี ขณะที่ธงสีดำ-ขาว-แดงแบบเก่าถูกห้ามใช้ด้วยเหตุผลที่ว่า \"ถอยหลังลงคลอง\"\nการออกแบบธงประจำพรรคนาซีเริ่มขึ้นในฤดูร้อนปี 1920 โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โดยใช้ธงที่มีพื้นหลังสีแดง วงกลมสีขาว และสัญลักษณ์สวัสดิกะสีดำตรงกลาง โดยที่สีบนพื้นธงได้แสดงความเชื่อมโยงถึงจักรวรรดิเยอรมัน เนื่องจากเลือกใช้สีบนธงตรงกับสีธงชาติจักรวรรดิเยอรมัน นอกจากนี้ ธงประจำพรรคนาซียังมีความหมายมากกว่านั้น ตามที่ฮิตเลอร์ได้เขียนเอาไว้ในไมน์คัมพฟ์ สีขาว หมายถึง ชาตินิยม สีแดง หมายถึง สังคมนิยม และเครื่องหมายสวัสดิกะ ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายของ เชื้อชาติอารยัน ",
"title": "ธงชาตินาซีเยอรมนี"
},
{
"docid": "423320#0",
"text": "ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (; ) ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยรัฐบาลติมอร์-เลสเต เมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย ความหมายของสีธงชาติที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญดังนี้ สามเหลี่ยมสีเหลือง (PMS 123) หมายถึง \"ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมโปรตุเกส \". สามเหลี่ยมสีดำ หมายถึง \"การกดขี่ และ ความเจ็บปวดในอดีต\"; พื้นธงสีแดง (PMS 485) หมายถึงการต่อสู้เพื่อเอกราช และ เสรีภาพ\"; ดาว 5 แฉก, หรือ \"แสงสว่างนำทางของชาติ\", สีขาว หมายถึง สันติภาพ และ ความสงบสุข.",
"title": "ธงชาติติมอร์-เลสเต"
},
{
"docid": "313958#2",
"text": "ความหมายของธงชาติชิลีประกอบด้วย พื้นสีขาวหมายถึงหิมะเหนือเทือกเขาแอนดีส พื้นสีแดงหมายถึงเลือดของผู้ที่ต่อสู้เพื่อเอกราช สี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรแปซิฟิก ดาวสีขาวหมายถึงสัญลักษณ์นำทางสู่ความก้าวหน้าและเกียรติยศ",
"title": "ธงชาติชิลี"
},
{
"docid": "169998#2",
"text": "แม้ในเอกสารราชการจะไม่มีการกำหนดความหมายของธงชาติที่แน่นอนไว้ แต่ก็ปรากฏว่ามีแหล่งข้อมูลหลายแหล่งที่มีการนิยามความหมายของธงนี้ บทนิยามของธงชาติที่กล่าวไว้โดยทั่วไประบุว่า แถบสีส้มหมายถึงภูมิภาคตอนเหนือของทะเลทรายซาฮารา บางครั้งแถบสีนี้หมายถึงแนวซาเฮล (เป็นแนวทุ่งหญ้าสะวันนาที่พาดผ่านกลางทะเลทรายซาฮารา จากชายฝั่งด้านตะวันออกถึงด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา) แถบสีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ หรือในอีกความหมายหนึ่งคือแม่น้ำไนเจอร์ แถบสีเขียวหมายถึงความหวังและแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ทางภาคใต้ของประเทศ ดวงกลมสีส้มหมายถึงดวงอาทิตย์หรือเอกราชของชาติ",
"title": "ธงชาติไนเจอร์"
},
{
"docid": "451033#1",
"text": "ธงชาติคิวบากำเนิดขึ้นโดย นายพลนาร์ซิสโก โลเปซ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392), ออกแบบธงโดย เอมิเลีย เทเบอร์ โตลอง.\nธงผืนต้นแบบนั้นเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1849, เมื่อการเรียกร้องเอกราชเพื่อปลดปล่อยคิวบาจากอาณานิคมสเปน, ต่อมาชาวคิวบาที่ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา ที่ถูกอาณานิคมสเปนเนรเทศ ได้มีการรวมตัวจัดตั้งขบวนการปลดปล่อย ซึ่งนำโดยนายพลนาร์ซิสโก โลเปซ พร้อมกับประกาศใช้ธงที่ เอมิเลีย เทเบอร์ โตลอง ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้า. ความหมายของธงชาติเป็นดังนี้ แถบตามยาวสีน้ำเงิน สามแถบ หมายถึง เมือง3แห่งในศตวรรษที่ 19 ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่งนั้น หมายถึง เสรีภาพ ความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง และ ความเสมอภาค, แถบสีขาว สองแถบ หมายถึง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ของผู้ร่วมขบวนการปลดปล่อยชาติ. ดาวห้าแฉกสีขาวอยู่ภายในสามเหลี่ยมด้านเท่าสีแดง หมายถึง เอกราช และ อิสรภาพ ที่ต้องแลกด้วยส่วนเลือดเนื้อวีรชนบรรพบุรุษที่เสียสละเพื่อมาตุภูมิสงครามที่สมรภูมิคาร์เดนาส และ พลายิตาส (ค.ศ. 1850) โดยให้นิยามว่า ทองฟ้าสีแดงฉานท่ามกลางเลือดเนื้อวีรชนนักรบ, แม้ในสงครามปลดปล่อยชาติ ต้องพบเจอความพ่ายแพ้ในหลายครั้ง แต่ ธงผืนนี้ยังคงโบกสะบัดตลอดมา. ในอีกนัยหนึ่ง หมายถึงดาวดวงใหม่ที่อาจบวกเข้ากับ \"กลุ่มดวงดาวอเมริกาเหนือที่แสนงดงาม\" (ซึ่งก็คือธงชาติสหรัฐอเมริกา)",
"title": "ธงชาติคิวบา"
},
{
"docid": "168193#0",
"text": "ธงชาติซามัว มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงมีสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในรูปดังกล่าวมีดาวห้าแฉกสีขาวดวงใหญ่ 4 ดวง ดวงเล็ก 1 ดวง เรียงกันเป็นกลุ่มดาวกางเขนใต้ เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พื้นสีแดงหมายถึงความกล้าหาญ สีน้ำเงินหมายถึงเสรีภาพ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์",
"title": "ธงชาติซามัว"
},
{
"docid": "113120#6",
"text": "คำอธิบายสีธงชาติแอฟริกาใต้อย่างไม่เป็นทางการแห่งหนึ่งได้ระบุไว้ว่า แนวแถบคล้ายตัว Y นั้น หมายถึงการรวมชาติให้เป็นเอกภาพ สีน้ำเงินนั้นหมายถึงผืนฟ้าและมหาสมุทรที่โอบล้อมประเทศนี้ไว้ สีเขียวหมายถึงการกสิกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบสำคัญของแอฟริกาใต้ ซึ่งจะขาดไปมิได้ สีเหลืองหมายถึงทรัพยากรแร่ธาตุภายในประเทศและประชาชนเชื้อชาติต่างๆ ในแอฟริกาใต้ และสีขาว หมายถึงสันติภาพและชนผิวขาวในประเทศนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปฏิเสธการนิยามความหมายในเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าว",
"title": "ธงชาติแอฟริกาใต้"
},
{
"docid": "137699#3",
"text": "ธงชาติแบบดังกล่าวนี้ ได้รับอนุญาตให้ใช้ชักในจังหวัดเคอร์ดิชสถาน ซึ่งเป็นเขตปกครองของชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด ส่วนธงในรุ่นหลัง ซึ่งมีการใช้ในกลุ่มสมาชิกพรรคบะอัธ และกลุ่มสมาคมพันธมิตรอาหรับ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้\nต่อมาเมื่อรัฐบาลปฏิวัติของอับดุล การิม คัสซิมถูกโค่นอำนาจโดยพรรคบะอัธ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติอิรักอีกครั้งหนึ่ง ตามกฎหมายเลขที่ 28 ค.ศ. 1963 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ธงแบบใหม่นี้เป็นธงริ้วสามสีแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-ดำ มีดาว 5 แฉกสีเขียว 3 ดวง ในแถบสีขาว ซึ่งดาวสีเขียวในธงนี้ เดิมได้กำหนดไว้ในธงเพื่อแทนความหมายถึง ความต้องการก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐอาหรับ โดยความร่วมมือกันระหว่าง 3 ประเทศ คือ อิรัก อียิปต์ และซีเรีย ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองชาติหลังมีการใช้ธงที่มีดาวสีเขียว 2 ดวงอยู่กลางธงเหมือนกัน หากการก่อตั้งสหภาพเกิดขึ้นจริงแล้ว ทั้งอียิปต์และซีเรียนั้นก็จะเพิ่มจำนวนดาวในธง ในลักษณะเดียวกับธงชาติอิรักในเวลานั้นด้วย \nในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติอิรักอีกครั้ง โดยธงชาติมีลักษณะคล้ายกับธงชาติยุค พ.ศ. 2506 แต่มีการเปลี่ยนนิยามความหมายของดาว 3 ดวงในธง ให้หมายถึงหลัก 3 ข้อคำขวัญของพรรคบะอัธ คือ เอกภาพ เสรีภาพ สังคมนิยม (อาหรับ: \"Wahda, Hurriyah, Ishtirakiyah\") และเพิ่มข้อความอักษรคูฟิก ภาษาอาหรับ แทรกระหว่างดาวสีเขียว 3 ดวงว่า \"\"อัลลอหุ อักบัร\"\" โดยประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เป็นผู้ออกคำสั่งให้เพิ่มข้อความข้างต้น แม้จะไม่เป็นที่ยืนยันนัก แต่ก็มีการกล่าวกันว่า ข้อความอักษรคูฟิกดังกล่าวเป็นลายมือของซัดดัม ฮุสเซนเอง ทั้งยังมีอีกหลายคนตีความกันว่า ที่ซัดดัมทำเช่นนี้ก็เพื่อแสวงหาความสนับสนุนจากโลกอิสลามในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก (พ.ศ. 2534) \nหลังการสิ้นอำนาจของซัดดัมใน พ.ศ. 2547 ได้มีการเสนอธงชาติแบบใหม่ให้แทนธงเดิมในเดือนเมษายนปีเดียวกัน แต่ก็ไม่เคยมีการนำมาใช้แต่อย่างใด (ดูเพิ่มเติมข้างล่าง) ต่อมาในพิธีการส่งมอบอำนาจแก่รัฐบาลรักษาการณ์ของอิรัก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นั้น ได้มีการตกแต่งเวทีโดยใช้ธงซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับธงชาติแบบเดิม กล่าวคือ เป็นธงสามสีแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-ดำ กลางแถบสีขาวมีรูปดาวสีเขียว 3 ดวง ระหว่างดาวทั้งสามมีข้อความภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรคูฟิกว่า \"อัลลอหุ อักบัร\" ในลักษณะเป็นอักษรตัวเหลี่ยมสมัยใหม่ ธงชาติอิรักแบบแก้ไขเพิ่มเติมนี้ได้มีการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาที่สถานทูตอิรักในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547\nวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2547 สภาการปกครองอิรัก (Iraqi Governing Council หรือ IGC) ได้ประกาศใช้ธงชาติอย่างใหม่แทนธงเดิมในยุคของซัดดัม ฮุสเซน โดยเลือกจากธงที่ได้มีการการส่งเข้าประกวด 30 แบบ ซึ่งแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกนี้ เป็นผลงานของของริฟัต อัล ชาเดอร์ชี (Rifat al-Chaderchi) ศิลปินและสถาปนิกชาวอิรัก ซึ่งพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และเป็นพี่ชายของสมาชิกสภาการปกครองอิรักคนหนึ่งด้วย",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "169698#1",
"text": "พื้นสีเขียวในธงชาติ หมายถึงศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาของชนส่วนใหญ่ในประเทศ แถบสีขาวที่ต้นธง หมายถึงศาสนาอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในปากีสถาน รูปพระจันทร์เสี้ยวที่กลางธงหมายถึงความก้าวหน้า ส่วนดาวห้าแฉกสีขาวคือแสงสว่างและความรู้ ความหมายของธงโดยรวมจึงหมายถึงศาสนาอิสลาม โลกอิสลาม และสิทธิของชนกลุ่มน้อยผู้นับถือศาสนาอื่น ธงชาติปากีสถานจะใช้ประดับในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ของแต่ละปี เช่น วันสาธารณรัฐ (23 มีนาคม) และวันเอกราช (14 สิงหาคม) เป็นต้น ",
"title": "ธงชาติปากีสถาน"
},
{
"docid": "112826#0",
"text": "ธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมราห์ปูติห์ (, สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม",
"title": "ธงชาติอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "462117#0",
"text": "ธงชาติฮังการี () เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1957 มีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง ,สีขาว และ สีเขียว โดยสีแดง หมายถึง เลือดของผู้รักชาติ สีขาว หมายถึง สันติภาพและแม่น้ำดานูบ สีเขียว หมายถึง ความหวังและธรรมชาติ ในประเทศฮังการี และเคยเป็นธงประจำสาธารณรัฐประชาชนฮังการี\nรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฮังการีมิได้กำหนดสัดส่วน ความกว้าง:ความยาว ของธงชาติ; แต่, รัฐบัญญัติที่ออกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1957 ได้มีการกำหนดสัดส่วน ความกว้าง:ความยาว ของธงเรือแห่งชาติ โดยมีลักษณะเดียวกับธงชาติ (ธงแถบสีแดง-ขาว-เขียว) ในสัดส่วน 2:3.",
"title": "ธงชาติฮังการี"
},
{
"docid": "137699#2",
"text": "ธงชาติแบบแรกสุดของประเทศอิรัก กำหนดให้มีขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2464 โดยเป็นรัฐอารักขาเมโสโปเตเมียของสหราชอาณาจักร ลักษณะเป็นธงสามสีพื้นสีดำ-ขาว-เขียว ที่ด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตั้งพื้นสีแดง (บางแบบก็เป็นรูปสามเหลี่ยมก็มี) ในพื้นสีแดงนั้นมีดาว 7 แฉก 2 ดวง เรียงกันในแนวตั้ง หมายถึงทั้ง 14 จังหวัดของราชอาณาจักรอิรักในขณะนั้น สังเกตได้ว่า ธงนี้มีความคล้ายคลึงกับธงชาติจอร์แดนเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าสีในธงทั้งหมดนั้น บรรดาเจ้าผู้ครองนคร (Hashemite leaders) ในการปฏิวัติอาหรับ ซึ่งเป็นผู้สถาปนาประเทศนี้ เป็นผู้เลือกให้ใช้ในธงชาติอิรัก ธงนี้มีการใช้มาตลอดสมัยที่อิรักปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2502 ซึ่งในหมู่พวกนิยมกษัตริย์ในอิรัก ก็ยังมีการใช้ธงนี้อยู่\nหลังจากการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของอับดุล การิม คัสซิม (Abdul Karim Qassim) ในปี พ.ศ. 2501 ประเทศอิรักก็ได้มีการออกกฎหมายเลขที่ 102 ค.ศ. 1959 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ให้ใช้ธงชาติอย่างใหม่ของสหพันธรัฐอาหรับอิรักและจอร์แดน ซึ่งมีลักษณะเป็นธงสามสีแนวตั้ง พื้นสีดำ-ขาว-เขียว ที่กลางแถบสีขาวนั้นมีรูปดาว 8 แฉกสีแดง 1 ดวง ภายในมีวงกลมสีเหลือง ความหมายของสีดำและสีเขียวคือเป็นสีพันธมิตรอาหรับ ดวงตะวันสีเหลืองหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด ส่วนดาว 7 แฉกสีแดงนั้นหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวอัสซีเรีย",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "83541#2",
"text": "หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติพม่าใหม่ ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็กอีก 5 ดวง ดาวดวงใหญ่หมายถึงสหภาพพม่า ดาวดวงเล็กทั้ง 5 หมายถึงชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชิน และชาวคะฉิ่น ส่วนสีขาวนั้นหมายถึงความซื่อสัตย์ ธงนี้ได้รับการรับรองด้วยรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพพม่า ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2490 และชักขึ้นเหนือแผ่นดินพม่าครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เวลา 4.25 น.",
"title": "ธงชาติพม่า"
},
{
"docid": "196189#0",
"text": "ธงชาติกรีซ (, โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า \"Γαλανόλευκη\" หรือ \"Κυανόλευκη\" แปลว่า \"ธงน้ำเงิน-ขาว\") เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงเป็นแถบริ้วสีน้ำเงินสลับขาวรวมทั้งหมด 9 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำเงิน กว้างยาวเป็น 5 ใน 9 ส่วนของความกว้างธง ภายในมีรูปกางเขนสีขาวมีปลายจดขอบสีน้ำเงิน กางเขนดังกล่าวนี้หมายถึงศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ส่วนแถบสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบนั้น โดยทั่วไปชาวกรีกหมายถึงพยางค์ 9 พยางค์ในประโยคภาษากรีกที่ว่า \"Ελευθερία ή Θάνατος\" (อ่านว่า \"เอ-เลฟ-เท-ริ-อา-อิ-ทา-นา-ทอส\" (\"E-lef-the-ri-a i Tha-na-tos\") แปลว่า เสรีภาพหรือความตาย) โดยแถบสีน้ำเงิน 5 แถบหมายถึง 5 พยางค์แรก ส่วนแถบสีขาว 4 แถบ หมายถึง 4 พยางค์สุดท้ายของประโยคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบทั้ง 9 แถบนี้หมายถึงเทพธิดามิวเซส (Muses) ผู้เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง 9 องค์ ในตำนานกรีกโบราณ สำหรับสัดส่วนธงอย่างเป็นทางการนั้นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ",
"title": "ธงชาติกรีซ"
},
{
"docid": "83541#0",
"text": "ธงชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปยีดอ และในเวลา 15.33 น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น) อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของพม่า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ",
"title": "ธงชาติพม่า"
},
{
"docid": "8855#29",
"text": "ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ ใน พ.ศ. 2470 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงธงชาติจากบุคคลกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีการเปลี่ยนธงชาติหลายครั้ง กรมราชเลขาธิการได้รวบรวมความเห็นเรื่องนี้จากที่ต่าง ๆ รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในบรรดาเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่าในหมู่ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ได้มีการให้ความหมายของธงที่กระชับกว่าเดิม กล่าวคือ สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงพุทธศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ไปเล็กน้อย แต่ยังครอบคลุมอุดมการณ์ \"ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์\" ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้เช่นเดิม และยังเป็นที่จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[19]",
"title": "ธงชาติไทย"
},
{
"docid": "169537#1",
"text": "ก่อนหน้านั้น คูเวตใช้ธงสีแดงเป็นธงสำหรับชาติเช่นเดียวกับประเทศอาหรับทั้งหลาย ส่วนสีบนธงชาติในปัจจุบันนี้เป็นสีพันธมิตรอาหรับ แต่ละสีล้วนมีความหมายต่างๆ คือ สีดำหมายถึงความพ่ายแพ้ของพวกศัตรู สีแดงคือเลือดที่เปือนบนดาบของชาวคูเวต สีขาวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ และสีเขียวหมายถึงแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับสีธงชาติคูเวตกล่าวว่า รูปสี่เหลี่ยมคางหมูสีดำนั้นอาจมีที่มาจากธงชาติอิรักในช่วงก่อน พ.ศ. 2500 ก็ได้ (ธงชาติอิรักในยุคนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีดำ-เขียว-ขาว มีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูสีแดงที่ด้านคันธง ภายในรูปดังกล่าวมีดาวสีขาว 2 ดวง)",
"title": "ธงชาติคูเวต"
},
{
"docid": "157972#1",
"text": "ในธงนี้ แถบสีดำหมายถึงแคว้นกาหลิบอับบาซิด (Abbasid Caliphate) แถบสีเขียวหมายถึงแคว้นกาหลิบอูมายยัด (Umayyad Caliphate) แถบสีขาว หมายถึง แคว้นกาหลิบฟาติมิด (Fatimid Caliphate) รูปสามเหลี่ยมสีแดงหมายถึงอาณาจักรฮัชไมต์ (Hashemite) และการปฏิวัติอาหรับ ดาวเจ็ดแฉกสีขาว ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้แยกความแตกต่างของธงนี้จากธงชาติปาเลสไตน์ได้ มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงบทสวดในซูเราะฮ์ 7 บทแรกในพระคัมภีร์อัลกุรอาน อีกนัยหนึ่งหมายถึงความสามัคคีของชนชาวอาหรับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งยังเชื่อกันว่าดาวนี้หมายถึงเนินเขา 7 ลูกซึ่งอยู่ในที่ตั้งของกรุงอัมมาน เมืองหลวงของประเทศ",
"title": "ธงชาติจอร์แดน"
}
] |
1247 | สาธารณรัฐปาเลา เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "2814#0",
"text": "ปาเลา (English: Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (English: Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ไปประมาณ 500 กิโลเมตร ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก",
"title": "ประเทศปาเลา"
}
] | [
{
"docid": "78770#0",
"text": "ตาราวา เป็นอะทอลล์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เป็นเมืองหลวงเก่าของหมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของสาธารณรัฐคิริบาสในปัจจุบัน ซึ่งก็คือตาราวาใต้ เกาะนี้เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในยุทธการที่ตาราวา ซึ่งเป็นหนึ่งในสมรภูมิสำคัญในมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2",
"title": "ตาราวา"
},
{
"docid": "1969#5",
"text": "ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะหลัก 5 เกาะคือ นิวกินี, ชวา, กาลีมันตัน, ซูลาเวซี และสุมาตรา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรกว่า 200 ล้านคนอาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์-เลสเต",
"title": "ประเทศอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "2814#12",
"text": "หมวดหมู่:ประเทศในเขตโอเชียเนีย ป ป หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2537 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของสเปน หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเยอรมนี หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น หมวดหมู่:กลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก",
"title": "ประเทศปาเลา"
},
{
"docid": "430842#3",
"text": "พบกระจายพันธุ์เฉพาะหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณทะเลอันดามันและอินโด-แปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิโคบาร์, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะโซโลมอนและปาเลา ในประเทศไทยจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง โดยจะอาศัยอยู่ในป่าดิบหรือป่าชายหาดของหมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะสุรินทร์ หรือหมู่เกาะอ่างทอง รวมถึงอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เท่านั้น",
"title": "นกชาปีไหน"
},
{
"docid": "534926#0",
"text": "ขอบแปซิฟิก หมายถึงสถานที่ที่อยู่โดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงหมู่เกาะและเกาะเล็ก ๆ ใน \"แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิก\" ด้วย ในทางธรณีวิทยาอาณาเขตของขอบแปซิฟิกมีความเกี่ยวของกับวงแหวนแห่งไฟด้วย",
"title": "ขอบแปซิฟิก"
},
{
"docid": "823#101",
"text": "สหรัฐใช้อำนาจและความรับผิดชอบด้านการป้องกันประเทศระหว่างประเทศอย่างสมบูรณ์สำหรับสามรัฐเอกราชผ่านความตกลงระหว่างประเทศสมาคมอิสระ (Compact of Free Association) กับไมโครนีเซีย หมู่เกาะมาร์แชลล์และปาเลา ประเทศเหล่านี้เป็นชาติเกาะแปซิฟิก ซึ่งเคยเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีหมู่เกาะแปซิฟิก (Trust Territory of the Pacific Islands) ที่สหรัฐบริหารหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้รับเอกราชในเวลาต่อมา[328]",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "738557#5",
"text": "ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ได้ประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิบริเวณชายฝั่งของชิลีและเปรูหลังเกิดแผ่นดินไหว 6 นาที ซึ่งต่อมาได้คาดการณ์ความสูงของคลื่นว่าจะสูงมากกว่า 3 เมตรบริเวณชายฝั่งชิลี 1–3 เมตรบริเวณหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย ซึ่งห่างออกไปในมหาสมุทรแปซิฟิกกว่า 7,800 กิโลเมตร 0.3–1 เมตรบริเวณชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ (นอกจากชิลี) และหมู่เกาะในโอเชียเนีย และต่ำกว่า 0.3 เมตรสำหรับชายฝั่งแปซิฟิกนอกเหนือจากที่กล่าวมา ประกาศดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและแจ้งเตือนไปยังประเทศเอกวาดอร์ เปรู นิวซีแลนด์ ฟีจี หมู่เกาะโซโลมอน รัฐฮาวาย และรัฐแคลิฟอร์เนีย ความสูงของคลื่นสึนามิที่กระทบแนวชายฝั่งของแคว้นโกกิมโบ ประเทศชิลี วัดได้ 4.5 เมตร คลื่นทำให้เกิดน้ำท่วมในเมืองโกกิมโบ ตองกอย และกองกอง (ใกล้กับบัลปาราอิโซ) ทางการชิลีได้อพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งราวหนึ่งล้านคน",
"title": "แผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558"
},
{
"docid": "830397#4",
"text": "ในปี ค.ศ. 1898 สเปนทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา ผลของสงครามในครั้งนั้นสเปนพ่ายแพ้ จึงจำเป็นต้องยกเกาะกวม (Guam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาเรียนาให้แก่สหรัฐอเมริกา และสเปนดำเนินการขายหมู่เกาะมาเรียนาที่เหลือและหมู่เกาะแคโรไลน์ให้กับจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนี ส่งผลให้เยอรมนีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคไมโครนีเซีย บริหารภายใต้การปกครองของอาณานิคมเยอรมันนิวกินี โดยใช้ประโยชน์อาณานิคมแห่งนี้ในฐานะท่าเรือรบ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นมองเห็นโอกาสในการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเริ่มการประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยจุดเน้นของญี่ปุ่นในการทำสงครามกับเยอรมนีคือการยึดท่าเรือและแหล่งธุรกิจในฉางตง ในเวลาต่อมาชาติพันธมิตรต้องการให้ญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันขบวนสินค้าให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับการยกส่วนหนึ่งของฉางตงและหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่เป็นอาณานิคมของเยอรมนีให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นได้เป็นส่วนหนึ่งในการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ค่อนข้างน้อย แต่ก็ได้รับการยอมรับในฐานะชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลก มีสถานะเป็นสมาชิกถาวรของสภาสันนิบาตชาติ นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้ดินแดนฉางตง และหมู่เกาะตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตามสัญญา หมู่เกาะตอนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเหล่านี้ สันนิบาตชาติจัดให้เป็นดินแดนในอาณัติระดับซี (Class – C Mandate) ซึ่งเป็นดินแดนที่สันนิบาตชาติมองว่าชาติเจ้าของดินแดนในอาณัติควรบริหารจัดการตามกฎหมายในฐานะดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ ",
"title": "แปซิฟิกใต้ในอาณัติ"
},
{
"docid": "567683#0",
"text": "เกาะบูเกนวิลล์ () เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะโซโลมอน ส่วนหนึ่งของประเทศปาปัวนิวกินี เกาะมีพื้นที่ 9,300 ตร.กม. มีจุดสูงสุดคือ ยอดเขาบัลบี สูง 2,700 ม.",
"title": "เกาะบูเกนวิลล์"
},
{
"docid": "2814#8",
"text": "ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีการกระจุกตัวของรายได้ ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม การประมง โดยรัฐบาลเป็นผู้สร้างและจ้างงานหลัก ปาเลายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ และการประกอบธุรกิจจากนักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย",
"title": "ประเทศปาเลา"
},
{
"docid": "914491#10",
"text": "พายุได้ก่อความเสียหายเล็กน้อยกับปาเลา หมู่เกาะแคโรไลน์ และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา",
"title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561"
},
{
"docid": "1990#0",
"text": "ฟิลิปปินส์ (English: Philippines; Filipino: Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (English: Republic of the Philippines; Filipino: Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ[1] ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา[2] ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก",
"title": "ประเทศฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "392662#3",
"text": "เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบในลำธารหรือบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยติดกับทะเล ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจากแอฟริกาตอนใต้ถึงอินโดนีเซีย รวมถึงหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปาปัวนิวกินี, เมลานีเซีย, ปาเลา, เกาะเซเลบีส, เกาะโอกินาวา ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบเพียงที่เดียว คือ ในลำธารที่หมู่เกาะสุรินทร์ ในเขตทะเลอันดามัน",
"title": "ปลาบู่เกาะสุรินทร์"
},
{
"docid": "11525#3",
"text": "หมู่เกาะกาลาปาโกสเป็นหมู่เกาะที่อยู่ไกลจากชายฝั่งเอกวาดอร์ประมาณ 965 กิโลเมตร หรือ 600 ไมล์ เป็นหมู่เกาะที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตรและในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้มีกระแสน้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ กระแสน้ำอุ่นจากทางด้านเหนือ กระแสน้ำเย็นจากทางด้านใต้ แล้วกระแสน้ำเย็นจากที่ลึกจากทางด้านตะวันตกของหมู่เกาะ",
"title": "หมู่เกาะกาลาปาโกส"
},
{
"docid": "3785#15",
"text": "โปลินีเซียเป็นพื้นที่ ๆ ใหญ่ที่สุดซึ่งนับตั้งแต่หมู่เกาะฮาวายทางเหนือไปจนถึงนิวซีแลนด์ทางใต้และยังรวมตูวาลู โตเกเลา ซามัว ตองกาและหมู่เกาะเคอร์ดเด็คทางตะวันตก ตรงกลางมีหมู่เกาะคุก หมู่เกาะโซไซเอตีและหมู่เกาะออสแตส ทางตะวันออกมีหมู่เกาะมาร์เคซัส ตูอาโมตัส หมู่เกาะแกมบีเออรืและเกาะอีสเตอร์[19]",
"title": "มหาสมุทรแปซิฟิก"
},
{
"docid": "17615#0",
"text": "ชิลี ( \"ชีเล\"; ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (; ) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้วย",
"title": "ประเทศชิลี"
},
{
"docid": "2017#0",
"text": "ปาปัวนิวกินี (; ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (; ) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน",
"title": "ประเทศปาปัวนิวกินี"
},
{
"docid": "2736#0",
"text": "หมู่เกาะโซโลมอน () เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 990 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 28,000 ตารางกิโลเมตร",
"title": "หมู่เกาะโซโลมอน"
},
{
"docid": "830397#0",
"text": "แปซิฟิกใต้ในอาณัติ () เป็นดินแดนภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุม 3 ประเทศ 1 ดินแดน คือ สาธารณรัฐปาเลา สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหพันธรัฐไมโครนีเซียและดินแดนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน แปซิฟิกใต้ในอาณัติเป็นชื่อทางการของอาณานิคมหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางเหนือเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสันนิบาตชาติมอบหมู่เกาะในภูมิภาคไมโครนีเซียอันเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเยอรมันนิวกินีให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด",
"title": "แปซิฟิกใต้ในอาณัติ"
},
{
"docid": "397929#0",
"text": "ปาเปเอเต หรือ ปาปีติ (ตาฮีตี: , ) คือเมืองหลวงของเฟรนช์พอลินีเชียซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ปาเปเอเตตั้งอยู่บนเกาะตาฮีตีในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด ",
"title": "ปาเปเอเต"
},
{
"docid": "5333#61",
"text": "ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพอเมริกันยังคงกดดันแนวป้องกันของญี่ปุ่นตามหมู่เกาะต่าง ๆ ต่อไป ราวกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 กองทัพอเมริกันเริ่มการโจมตีหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลา และได้รับชัยชนะเด็ดขาดต่อกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินภายในเวลาไม่กี่วัน ผลของความปราชัยนี้นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของพลเอกโตโจ และทำให้สหรัฐอเมริกามีฐานทัพอากาศซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักเพื่อโจมตีแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่นได้ ปลายเดือนตุลาคม กองทัพอเมริกันยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพเรือของสัมพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ต่อกองทัพญี่ปุ่นอีกครั้งในยุทธนาวีอ่าวเลย์เต ซึ่งถือได้ว่ายุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[236]",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "11525#0",
"text": "หมู่เกาะกาลาปาโกส (; ) เป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก มีความน่าสนใจทั้งด้านธรณีวิทยา สัตววิทยา และนิเวศวิทยาเป็นอย่างยิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ โดยมีชื่อภาษาสเปนอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มเกาะโกลอน (Archipiélago de Colón; Islas de Colón) ตั้งอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ห่างจากทวีปออกไปทางตะวันตก 1,000 กิโลเมตร ",
"title": "หมู่เกาะกาลาปาโกส"
},
{
"docid": "37665#73",
"text": "ระบบหมุนเวียนทางการเมืองหรือ ตูร์โน (\"turno\") ระหว่างพรรคเสรีนิยม (ซึ่งมีปรักเซเดส มาเตโอ ซากัสตาเป็นผู้นำ) กับพรรคอนุรักษนิยม (ซึ่งมีกาโนบัส เดล กัสตีโยเป็นผู้นำ) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยผลัดกันมีอำนาจในรัฐบาล นอกจากนี้ ความมั่นคงและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของสเปนก็ได้รับการฟื้นฟูในรัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 นี้เอง แต่การเสด็จสวรรคตของพระองค์เมื่อปี ค.ศ. 1885 ตามด้วยการลอบสังหารกาโนบัส เดล กัสตีโยเมื่อปี ค.ศ. 1897 ทำให้ความมั่นคงของรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศในเวลาต่อมาเริ่มสั่นคลอน \nส่วนที่อเมริกา คิวบาได้ก่อความไม่สงบต่อต้านสเปนในสงครามสิบปีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 ส่งผลให้เกิดการเลิกทาสในดินแดนอาณานิคมโลกใหม่ของสเปน ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาที่มีในเกาะแห่งนี้ประกอบกับความพยายามของขบวนการเรียกร้องเอกราชในคิวบาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้แย่ลง การระเบิดเรือรบเมนที่ฐานทัพเรือฮาวานาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1898 เป็นชนวนให้เกิดสงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา เนื่องจากสเปนตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ สเปนจึงต้องประสบกับหายนะร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง คิวบาได้รับเอกราชในที่สุด สเปนยอมถอนกำลังทหารออกไปและยังเสียอาณานิคมแห่งอื่นที่เหลืออยู่ในโลกใหม่ คือ เปอร์โตริโก รวมทั้งกวมและฟิลิปปินส์ให้กับสหรัฐอเมริกาด้วย และในปี ค.ศ. 1899 สเปนก็ขายหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ยังอยู่ในความครอบครองของตน (ได้แก่ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะแคโรไลน์ และปาเลา) ให้กับเยอรมนี ทำให้สเปนมีดินแดนอาณานิคมเหลือเพียงสแปนิชโมร็อกโก สแปนิชสะฮารา และสแปนิชกินี ซึ่งทั้งหมดอยู่ในแอฟริกา",
"title": "ประวัติศาสตร์สเปน"
},
{
"docid": "1969#0",
"text": "อินโดนีเซีย (Indonesian: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesian: Republic of Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีรียัน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor)",
"title": "ประเทศอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "5871#8",
"text": "ปูมะพร้าวสามารถพบได้ที่[[หมู่เกาะ]]ใน[[มหาสมุทรอินเดีย]]และหมู่เกาะทางตะวันตกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] [[เกาะคริสต์มาสต์]]ในมหาสมุทรอินเดียนับได้ว่าเป็นแหล่งอาศัยของปูมะพร้าวที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด [[หมู่เกาะคุก]]ในมหาสมุทรแปซิฟิกก็นับว่ามีปูมะพร้าวจำนวนมากไม่แพ้กัน นอกจากนี้ปูมะพร้าวยังพบได้ที่อื่นอีก เช่น ใน[[ประเทศเซเชลส์|เซเชลส์]] เป็นต้น การกระจายตัวของปูมะพร้าวสามารถแสดงคร่าวๆ ได้ดังรูปด้านขวามือ",
"title": "ปูมะพร้าว"
},
{
"docid": "406134#0",
"text": "หมู่เกาะดอนเตรแคสโต () เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในประเทศปาปัวนิวกินี ในทะเลโซโลมอน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก นอกฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะนิวกีนี หมู่เกาะมีช่วงความยาวราว 160 กม. มีพื้นที่ราว 3,100 กม² อยู่ห่างจากเกาะใหญ่ เกาะปาปัวนิวกินี ราว 30 กม. มีช่องแคบวอร์ดฮันต์และช่องแคบกอสเชนคั่นอยู่ หมู่เกาะมีเกาะที่สำคัญได้แก่ โดบู กุดอินัฟ เฟอร์กัสสันและนอร์มันบี รวมทั้งเกาะเล็ก ๆ อีกจำนวนมาก ภูมิประเทศเป็นภูเขา มีภูเขาไฟ นักเดินเรือตะวันตกเดินทางมาพบเกาะนี้เมื่อ ค.ศ. 1793",
"title": "หมู่เกาะดอนเตรแคสโต"
},
{
"docid": "2805#0",
"text": "หมู่เกาะมาร์แชลล์ (; มาร์แชลล์: ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ (; มาร์แชลล์: ) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริกา",
"title": "สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์"
},
{
"docid": "35148#0",
"text": "เอกวาดอร์ () หรือ สาธารณรัฐเอกวาดอร์ () เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับโคลอมเบียทางทิศเหนือ ติดต่อกับเปรูทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก ประเทศนี้มีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (หมู่เกาะโกลอน) ในแปซิฟิก ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางทิศตะวันตก 965 กิโลเมตร (ประมาณ 600 ไมล์) ",
"title": "ประเทศเอกวาดอร์"
},
{
"docid": "45472#0",
"text": "ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก เป็นประวัติศาสตร์หมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ชาวโพลินีเซียมีความเจริญสูงสุดโดยเฉพาะประเทศตองกาและประเทศซามัว ซึ่งเจริญมากจนมีการสร้างขึ้นเป็นอาณาจักร สำหรับชาวเมลานีเซียความเจริญมากสุดอยู่ที่ประเทศฟิจิและหมู่เกาะโซโลมอน และมีสังคมแบบชนเผ่า สังเกตได้ในประเทศปาปัวนิวกินีซึ่งมีชนเผ่ากว่า 100 ชนเผ่า ส่วนภูมิภาคไมโครนีเซียก็มีประชากรอาศัยกันอยู่อย่างช้านานแบบชนเผ่า บางแห่งเป็นรัฐ แว่นแคว้นหรืออาณาจักร ในประเทศออสเตรเลียมีชาวอบอริจินส์อาศัยอยู่นานถึง 40,000 - 50,000 ปี สำหรับประเทศนิวซีแลนด์มีชาวมาวรีอาศัยอยู่ ",
"title": "ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก"
}
] |
3336 | เพชรพระอุมา เป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "28360#0",
"text": "เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และนับว่าเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลก[1] บทประพันธ์โดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี[2] โดยพนมเทียนเริ่มต้นการประพันธ์เพชรพระอุมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 และสิ้นสุดเนื้อเรื่องทั้งหมดในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 รวมระยะเวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน กับ 2 วัน[3]",
"title": "เพชรพระอุมา"
}
] | [
{
"docid": "98425#6",
"text": "แงซาย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียนทั้งหมด ไม่มีต้นแบบจำลองมาจากลักษณะเฉพาะตัวของผู้ใด ที่สามารถจำลองเอามาใส่ในตัวของแงซายได้ โดยที่พนมเทียนนั้นเลือกเอาลักษณะต้นแบบของแงซาย มาจากภาพปั้นของเทพบุตรของกรีกที่ชื่อนาซิสซัส แล้วสร้างสรรค์เสริมแต่งให้แงซายมีชีวิตโลดแล่นในเพชรพระอุมา ที่ถือว่าเป็นพระเอกอีกคนหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้ มีสติปัญญาไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศ เจ้าเล่ห์ ขี้เล่น อีกทั้งยังเป็นคู่อริและคู่ปรับ คู่รักคู่แค้นของรพินทร์ ไพรวัลย์",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#21",
"text": "คะหยิ่น เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ ขะโนง หรือ คะโหน่ง พนมเทียนจำลองเอาลักษณะนิสัยของขะโนง หัวหน้าหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่มีรูปร่างสูงใหญ่ราวกับยักษ์ปักหลั่น พูดจาสามหาว นิสัยทะลึ่งโวยวายและคุยโวโอ้อวด มีความสามารถเก่งกาจรอบด้าน แต่ยอมแพ้กับสิ่งที่มองไม่เห็นหรือผี ซึ่งเป็นการถอดลักษณะนิสัยทั้งหมดของกะเหรี่ยงขะโนง มาใส่ไว้ในตัวของคะหยิ่น กะเหรี่ยงหัวหน้าหมู่บ้านหล่มช้างที่ขออาสาสมัครติดตามคณะเดินทางของเชษฐา เพื่อค้นหาขุมทรัพย์เพชรพระอุมาและผู้สูญหาย",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#15",
"text": "หนานอิน เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ หนานไพร พนมเทียนได้จำลองลักษณะนิสัย อากัปกิริยามาจากครูพรานของพนมเทียน เป็นหัวหน้าหมู่บ้านในแถบจังหวัดกาญจนบุรี หมู่บ้านของพรานเกิดและเส่ย โดยชื่อของหนานไพรนั้นในเพชรพระอุมาเป็นครูพรานของรพินทร์ ไพรวัลย์ แต่มีบทบาทเพียงแค่ชื่อในการกล่าวอ้างถึงเท่านั้น พนมเทียนจึงจำลองบุคลิกภาพ อุปนิสัยทั้งหมดของหนานไพรมาถ่ายทอดแก่ตัวหนานอินแทน\nพรานคู่ใจของพรานชด ประชากร หรือ อนุชา วราฤทธิ์",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#12",
"text": "พรานจัน เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ มาก พนมเทียนได้จำลองเอาลักษณะนิสัยของพรานจันมาจากพรานเดินป่าที่อาศัยอยู่ในเขาเขียว จังหวัดกาญจนบุรี ในแถบบริเวณหลังน้ำตกเอราวัณ คนละแถบกับบุญคำ ลักษณะรูปร่างเล็กแต่หนุ่มกว่าบุญคำ และได้นำมาให้ร่วมเป็นหนึ่งในพรานคู่ใจของรพินทร์ ไพรวัลย์",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#14",
"text": "พรานเกิดและพรานเส่ย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงรวมทั้งขื่อจริงคือ เกิดและเส่ย พนมเทียนนำมาจากลักษณะนิสัยของเกิดและเส่ย สองพรานเด็กหนุ่มอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพนมเทียน ที่ร่วมเดินป่าในแถบเหมืองห้วย เขตสุดของจังหวัดกาญจนบุรี และด้วยความที่ชื่อของเกิดและเส่ยเป็นชื่อแปลกและยากที่จะมีใครเหมือน ทำให้พนมเทียนจำได้อย่างแม่นยำ และนำเอาลักษณะเฉพาะบางส่วนของเกิดและเส่ย มาจำลองถ่ายทอดลงในตัวของพรานเกิด พรานเส่ย ซึ่งเป็นตัวละครที่ไม่ค่อยมีบทบาทเด่นเฉพาะตัวมากนัก โดยพนมเทียนนั้นกำหนดให้พรานเกิดและพรานเส่ยมีหน้าที่ \"แซวและกระเซ้าเหย้าแหย่\" บุญคำเล่น ตามประสาพรานเด็กหนุ่มพรานคู่ใจของรพินทร์ ไพรวัลย์",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#13",
"text": "ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 ดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำมาเขียนเพชรพระอุมา พนมเทียนก็สามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ อารมณ์และจินตนาการของตัวละครในนวนิยายได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งต้นแบบของโครงเรื่อง ก็มาจากประสบการณ์จริงบวกกับจินตนาการของพนมเทียนนั่นเอง",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#2",
"text": "รพินทร์ ไพรวัลย์ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ ฉัตร พงษ์สุชาติ หรือเรียกชื่อง่าย ๆ ว่าเชิด วรชาติ พนมเทียนสร้างพรานป่าผู้มีความชำนาญในการเดินป่าที่มีฝีมือในการยิงปืนที่เฉียบขาด มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมและโอบอ้อมอารี โดยการจำลองและนำเอาลักษณะนิสัยทั้งหมดของเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งมาถ่ายทอดลงในตัวละครหลักของเพชรพระอุมา",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98662#0",
"text": "คำนิยมเพชรพระอุมา เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ที่มีต่อนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาจากสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ซึ่งการแสดงความนิยมต่อเพชรพระอุมานี้ เป็นการการันตีถึงผลงานการประพันธ์ของพนมเทียนและความเป็นสุดยอดของวรรณกรรมชิ้นเอกของเมืองไทย ซึ่งผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิที่ได้ให้เกียรติมาให้คำนิยมต่อเพชรพระอุมา มาจากหลายอาชีพและหน้าที่การงาน เช่น ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ฯพณฯ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายเสนาะ เทียนทอง ดร.พิจิตต รัตตกุล",
"title": "คำนิยมเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#3",
"text": "พนมเทียนเริ่มต้นการเขียนเพชรพระอุมาในปี พ.ศ. 2507 โดยตกลงทำข้อสัญญากับสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา (ซึ่งปัจจุบันสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา ได้ยุติกิจการไปแล้ว) ในการเขียนนวนิยายแนวผจญภัยในป่าจำนวนหนึ่งเรื่อง โดยมีข้อกำหนดความยาวของนวนิยายเพียงแค่ 8 เล่มจบเท่านั้น แต่กลับได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทำให้ต้องเขียนเพชรพระอุมาเพิ่มเติมต่อจนครบ 10 เล่ม และขอยุติการเขียนตามข้อสัญญา[6] แต่ทางสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยายังไม่อนุญาตให้พนมเทียนยุติการเขียน และได้ขอร้องให้เขียนเพิ่มเติมต่ออีก 5 เล่ม พร้อมกับบอกกล่าวถึงความนิยมของนักอ่านที่มีต่อเพชรพระอุมา ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนต้องมีการตีพิมพ์ซ้ำหลาย ๆ ครั้งด้วยกันในระยะปลาย ๆ ของเล่มที่ 10[6] จนสถิติการตีพิมพ์และการจัดจำหน่ายของนวนิยายเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และได้รับการตอบรับจากนักอ่านหลาย ๆ รุ่นเป็นอย่างดีในการช่วยขัดเกลาเนื้อเรื่องของเพชรพระอุมา และแจ้งเตือนแก่พนมเทียนถึงชื่อตัวละครหรือสถานที่ที่ปรากฏในเพชรพระอุมาที่มีการผิดพลาด[7]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#8",
"text": "และต่อมาภายหลังได้เขียนเนื้อหาสำคัญของโครงเรื่องเพิ่มเติม จนกลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางและการผจญภัยของพรานป่า ที่รับจ้างวานนำทางในการออกติดตามค้นหาผู้สูญหายยังดินแดนลึกลับและเต็มไปด้วยอาถรรพณ์แห่งป่า พร้อมกับขุมทรัพย์เพชรพระอุมาอันเป็นตำนานเล่าขาน ก่อนออกเดินทางมีกะเหรี่ยงพเนจรมาขอสมัครเป็นคนรับใช้และขอร่วมติดตามไปกับคณะเดินทางด้วย จนกระทั่งเมื่อบุกป่าฝ่าดงและอันตรายต่าง ๆ ไปถึงจุดหมายปลายทางความจริงก็ปรากฏว่า กะเหรี่ยงลึกลับที่ร่วมเดินทางมาด้วยนั้นกลายเป็นรัชทายาทที่แท้จริงของเมืองมรกตนคร เมืองลับแลที่ไม่ปรากฏในแผนที่ พรานผู้นำทางและคณะเดินทางได้ช่วยกันทวงชิงและกอบกู้ราชบัลลังก์คืนให้แก่กะเหรี่ยงลึกลับได้สำเร็จพร้อมกับได้พบขุมทรัพย์เพชรพระอุมาที่เป็นตำนานเล่าขานมาแต่โบราณ",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "277306#4",
"text": "เครื่องเพชรบลูไดมอนด์ ถูกหยิบยกขึ้นมาจากสื่อในประเทศไทยฝ่ายเดียว ตั้งแต่เริ่มมี \"คดีเพชรซาอุ\" โดยมีนายเกรียงไกรเป็นผู้กระทำความผิด พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ทราบเรื่องนี้ดี เพราะเป็นผู้ถามสื่อมวลชนเองว่า \"ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย\" จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล \nเรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์กันสองทางคือ ประการแรกตำรวจได้ส่งภาพถ่ายดังกล่าวไปให้สถาบันอัญมณีในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตรวจพิสูจน์ ได้ข้อยุติว่า วัตถุที่ว่าเป็นอัญมณีสีน้ำเงินแล้วอนุมานว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ ได้คำตอบ ไม่ใช่เพชรหรืออัญมณีแต่อย่างใด แต่เป็นวัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง ผลพิสูจน์นี้อยู่ ในสำนวนการสอบสวนของตำรวจ \nประการที่สอง บุตรชายของสุภาพสตรีท่านนั้นได้นำสร้อยและจี้ที่ปรากฏในภาพถ่ายมาแสดงต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับผลตรวจพิสูจน์ของสถาบันในลอนดอน\nข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้อีกประการหนึ่งก็คือ ผลการสอบสวนนายเกรียงไกรพบว่า นายเกรียงไกรได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็น ทั้งไม่รู้ด้วยว่าแบ่งเครื่องเพชรชนิดและประเภทใดให้เพื่อนไปบ้าง เนื่องจากมีความรู้เรื่องอัญมณีน้อยมาก เมื่อนำเครื่องเพชรทั้งหมดกลับมาที่บ้านใน จ.ลำปาง ก็ได้ทำการแยกชิ้นส่วนเอาเพชรกับทองแยกออกจากกัน เพราะรู้แต่ทองมีค่า โดยนำทองไปขายที่ร้านทองใน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ ผลการสอบสวนเจ้าของร้านทองไม่ปรากฏว่าพบเห็น หรือรู้เรื่องเพชรบลูไดมอนด์ ส่วนเพชรนายเกรียงไกรไม่รู้จัก รู้แต่ว่าเพชรมีความแข็งมาก จึงลองทุบบางส่วน เม็ดไหนแตกก็ทิ้งไป เม็ดไหนไม่บุบสลายก็แยกไว้ ไม่ได้ทุบทั้งหมด จากนั้นได้นำเพชร พลอย อัญมณีอื่น ๆ ที่แยกออกจากทองแล้วไปฝังดินไว้บางส่วน บางส่วนทยอยขายให้แก่นายสันติ ศรีธนขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชรชื่อดัง ย่านถนนเจริญกรุง ซึ่งบางส่วนถูกนำไปขายต่ออีกทอดโดยมี พล.ต.อ. คนหนึ่ง ซึ่งเป็น อดีตรอง ผบ.ตร. ชอบค้าของเก่าและของมีค่า ร่วมมือกับนายสันติขายเพชรซาอุ แต่หลักฐานสาวไปไม่ถึงจึงลอยนวลอยู่จนทุกวันนี้\nการให้การของนายเกรียงไกร กรณีเพชรบลูไดมอนด์ มีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน เหมือนว่าขายให้นายสันติ แต่นายเกรียงไกรก็ไม่เคยยืนยันอย่างหนักแน่นกับพนักงานสอบสวนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความมั่นใจ เพราะนำเครื่องเพชรออกมาเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ครบถ้วน \nพนักงานสอบสวน และราชสำนักซาอุดิอาระเบีย ประมาณการณ์ว่า เพชรซาอุถูกขายไปประมาณ 20 % ทั้งนายสันติ และภริยา ต่างยืนยันว่า ไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ ความตายของนางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนขันฑ์ เป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่า ผู้รับซื้อเพชรซึ่งมีอยู่รายเดียวจากนายเกรียงไกร ต่างไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ มิฉะนั้นคงรับสารภาพและคืนให้ไปแล้วเมื่อเห็นความตายและความเดือดร้อนของตนเอง ครอบครัว และบุตรอยู่ตรงหน้า \nผลสรุปของการสอบสวนคดีเพชรซาอุ มีข้อยุติว่า ไม่มีใครที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยเคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์อยู่ในเครื่องเพชรที่นายเกรียงไกรขโมยมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเพชรบลูไดมอนด์ไม่เคยมีอยู่ในประเทศไทย การกล่าวหากล่าวอ้างว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้ครอบครองเพชรบลูไดมอนด์ไว้ จึงไม่เป็นความจริง \nประการที่สองเจ้าชายหรือเจ้าหญิงของซาอุดิอาระเบียไม่รู้ว่าเครื่องเพชรที่ถูกขโมยมีชนิดหรือประเภทใดอย่างครบถ้วนเพราะเครื่องเพชรมีเป็นจำนวนมากที่อยู่ในครอบครองและที่ถูกขโมยมา ทั้งยอมรับว่าเครื่องเพชรที่ถูกขโมยมีทั้งของจริงและของปลอมที่ซื้อจากห้าง May Flower ซึ่งทำอัญมณีประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงมาก ทั้งไม่ทราบว่าเครื่องเพชรอันใดเทียมหรือจริง ข้อตำหนิเรื่องส่งคืนเครื่องเพชรปลอมและไม่ครบถ้วนจึงสามารถทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ในเวลาต่อมา",
"title": "คดีโจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดีอาระเบีย พ.ศ. 2532"
},
{
"docid": "28360#32",
"text": "แม้จะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เพชรพระอุมา ลอกเค้าโครงเรื่องมาจาก King Solomon's Mine หรือ สมบัติพระศุลี เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของตัวละคร วัตถุประสงค์ในการเดินป่า รวมถึงแผนที่ลายแทงของทั้งสองเรื่อง ที่มีเนื้อความใกล้เคียงกันมาก วิทยานิพนธ์ของ สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ได้รายงานการศึกษาเชิงเปรียบเทียบสำหรับวรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้ ในบทคัดย่อปรากฏความตอนหนึ่งว่า \"นวนิยายผจญภัยเรื่อง เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่มีลักษณะเป็นแบบฉบับของพนมเทียนเอง เนื่องจากการได้รับอิทธิพลนั้น เป็นการได้รับอิทธิพลแล้วนำอิทธิพลที่ได้รับนั้นมาสร้างสรรค์และขยายเรื่องราวการผจญภัยใน เพชรพระอุมา ให้สนุกสนานและน่าติดตามมากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มประสบการณ์ในการเดินป่า และความรู้ในด้านต่างๆ ของตนเองเข้าไปได้อย่างเหมาะสม\" [18] ว.วินิจฉัยกุล ให้ความเห็นว่า \"...'เพชรพระอุมา' ภาค 1 เป็นงานที่สร้างยากกว่า King Solomon's Mines และมีลักษณะเฉพาะของตัวเองชัดมาก ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับว่า การที่สถาปนิกไทยใช้กระเบื้องมุงหลังคาและเสาปูนของฝรั่ง ตลอดจนหน้าต่างกระจกติดเครื่องปรับอากาศ มาสร้างบ้านไทย ก็หาได้ทำให้บ้านไทยนั้นกลายเป็นบ้านฝรั่งไปไม่ และยิ่งเมื่อใช้พื้นไม้สัก ฝาปะกน ฝาเฟี้ยมแบบไทย มีประตูที่มีธรณีประตูสูง มีหย่อง หรือแผ่นไม้สลักใต้หน้าต่าง มีคันทวยสลักค้ำชายคา นอกชานตั้งเขามอ และไม้ดัดตลอดจนอ่างปลาเงินปลาทอง มันก็กลายเป็นบ้านไทยประยุกต์ที่คนไทยคุ้นตากันนั่นเอง...\"[19]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#23",
"text": "ด็อกเตอร์บิลล์ สแตนลีย์ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียน พนมเทียนสร้างบิลล์จากการเก็บเอาลักษณะนิสัยของเพื่อนชาวอเมริกันหลาย ๆ คนด้วยกัน นำมาถ่ายทอดให้แก่บิลล์ หัวหน้าคณะนายจ้างชุดใหม่ของรพินทร์ ไพรวัลย์",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#18",
"text": "มาเรีย ฮอฟมัน เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ มาเรีย เดอครูซ พนมเทียนได้จำลองคุณสมบัติเฉพาะของมาเรีย ฮอฟมัน หญิงสาวลูกครึ่งฝรั่งเศส - เยอรมัน ที่มีฝีมือในการยิงปืนเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีเสน่ห์ผูกมัดใจชายจากเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งที่มีอายุมากกว่า 4 - 5 ปี ซึ่งพบกับพนมเทียนในสมัยที่ยังท่องเที่ยวในสหพันธรัฐมลายู หรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "142697#2",
"text": "พนมเทียนได้นำความรู้เรื่องการแกะรอย และสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการแกะรอยไว้ในเพชรพระอุมา ได้แก่ความรู้ในการแกะรอยเพื่อติดตามสัตว์และการแกะรอยเพื่อติดตามบุคคล โดยการใช้เครื่องหมายเพื่อกำหนดสัญลักษณ์หรือทำร่องรอยเอาไว้ การกำหนดสัญลักษณ์สามารถกำหนดได้จากสัตว์หรือบุคคลที่ถูกแกะรอยได้สร้างหรือทิ้งไว้ ในการแกะรอยเพื่อตามล่าสัตว์ ในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนทักษะและวิชาความรู้ในเชิงพรานของรพินทร์ ไพรวัลย์ ให้เห็นถึงลักษณะและร่องรอยที่พรานป่า นิยมใช้เป็นสิ่งสำคัญในการแกะรอยติดตามสัตว์หรือกลุ่มคนดังนี้",
"title": "การแกะรอยในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#31",
"text": "ความสำเร็จดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการประพันธ์ของพนมเทียน ซึ่ง ว.วินิจฉัยกุล ได้เอ่ยถึงว่า \"...พนมเทียนเป็นผู้พิถีพิถันทั้งในด้านรูปทรง สีสัน แสงและเงา ตลอดจนความเคลื่อนไหวที่แปรเปลี่ยนไม่หยุดนิ่ง มีแม้กระทั่งเสียง ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างวิจิตรบรรจง มีกลิ่นอายของวรรณคดีอยู่ในภาษาที่ใช้ เหมือนกับการแกะสลักลายซ้อนลงไปทีละชั้นจนเป็นหลายชั้นลึกละเอียด ไม่ใช่เพียงแต่ร่างคร่าว ๆ พอให้เป็นรูปขึ้นมาเท่านั้น...\" [16] หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ตรัสถึงนวนิยายชุดนี้ว่า \"เพชรพระอุมาคือมหากาพย์แห่งวรรณกรรมที่ไม่มีหนังสือเรื่องไหนที่จะเทียบได้\" [17]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "99267#0",
"text": "เนื้อเรื่องเพชรพระอุมา เป็นเนื้อเรื่องทั้งหมดของนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาจำนวน 48 เล่ม แบ่งเนื้อเรื่องเป็นสองภาคคือภาคแรก จำนวน 6 ตอน 24 เล่ม และภาคสมบูรณ์ จำนวน 6 ตอน 24 เล่ม",
"title": "เนื้อเรื่องเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#9",
"text": "จากโครงเรื่องเดิมของคิง โซโลมอน'ส มายน์ส เพียงแค่ 4 บรรทัดเท่านั้น[10] แต่พนมเทียนสามารถนำมาเขียนเป็นเพชรพระอุมาโดยเล่าเรื่องราวการเดินป่า การดำรงชีวิตและการล่าสัตว์ รวมทั้งภูมิประเทศในป่าดงดิบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ไปจนจรดชายแดนพม่าและน่าจะล่วงเลยไปถึงแถบเทือกเขาหิมาลัย (เพราะในตอนท้ายเรื่องมีฉากที่ต้องอยู่ในภูมิประเทศที่มีหิมะตก) ในปัจจุบัน โดยดึงประเด็นจุดสำคัญของชีวิตการเดินป่าของตนเองที่เคยผ่านมาก่อนผสมเข้าในไปโครงเรื่องของเพชรพระอุมาด้วย",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#24",
"text": "พันเอกลาร์รี่ คีธ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ จอห์น แบล็คบีร์ พนมเทียนสร้างพันเอกลาร์รี่ คีธ โดยจำลองลักษณะนิสัยเกือบทั้งหมดจากนายทหารแห่งอเมริกา อดีตนายทหารผ่านสงครามเวียดนาม นักสำรวจถิ่นมนุษย์ยุคหินในแถบจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมเดินป่าด้วยกันของพนมเทียน",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "211727#13",
"text": "ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า ที่จริงแล้ว บทสุดท้ายนี้ ใช่บทจบของตำนานเก็นจิจริงหรือไม่ เนื่องจากชื่อตอนที่ดูเป็นนามธรรม ไม่ได้อิงวลีจากบทกลอนภายในตอน เช่นตอนอื่นๆในเรื่อง บางทฤษฎีอธิบายว่า มุราซากิ ชิคิบุ อาจจะเสียชีวิตก่อนแต่งเรื่องต่อจนจบก็เป็นได้ คาโอรุ เป็นหนุ่มรูปงาม สง่า กิริยามารยาทเรียบร้อย นิสัยอ่อนโยน รู้จักในสังคมทั่วไปว่าเขาเป็นบุตรชายคนสุดท้องของเก็นจิผู้เรืองอำนาจ แต่แท้จริงแล้ว เขาเป็นบุตรที่เกิดจากความสัมพันธ์อันผิดศีลธรรมของ คะชิวะงิ ( บุตรชายคนโตของโทโนะจูโจ )และ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ( พระธิดาองค์ที่ 3 ของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ )ภรรยาเอกของเก็นจิ เมื่อคาโอรุเกิด พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ผู้เป็นมารดาก็ออกบวชเป็นชี ไม่ได้เลี้ยงดูเขา อดีตจักรพรรดิเรย์เซย์ให้ความเอ็นดูคาโอรุมาก ด้วยสัมพันธ์ที่คิดว่าเป็นน้องชายของตนเอง ด้วยตัวคาโอรุรู้สึกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตนเอง เขาจึงเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บตัว และเรียบร้อยอยู่เสมอ จนบางครั้งหมู่มิตรสหายเรียกเขาว่า คาโอรุผู้จริงจัง เขารู้สึกเบื่อเรื่องทางโลกตั้งแต่วัยหนุ่ม เมื่อได้ยินกิตติสรรพของ ฮะจิโนะมิยะ ( องค์ชาย 8 )ที่ใช่ชีวิตอย่างเงียบสงบอยู่ที่อุจิ ว่าเป็นฆราวาสผู้ฝักใฝ่ในธรรม น่าเลื่อมใส จึงเดินทางไปอุจิ ด้วยความศรัทธา ในที่สุดก็ได้พบกับโออิงิมิ ธิดาคนโตขององค์ชาย 8 และหลงรักนาง แต่สุดท้าย นางก็ตายจากไป ต่อมา ได้พบกับ อุกิฟุเนะ น้องสาวต่างมารดาของ โออิงิมิ ซึ้งมีหน้าตาเหมือนโออิงิมิเป็นพิมพ์เดียวกัน แตลักษณะนิสัย การอบรม กิริยามารยาท ไม่ได้สมบรูณ์พร้อมเช่นเดียวกับ โออิงิมิ เขาจึงไม่ได้รักนางเท่าที่รักโออิงิมิ แต่หลังจากที่อุกิฟุเนะฆ่าตัวตายจากไปอีกคน เขาค่อยตระหนักว่า เขารัก อุกิฟุเนะเพียงใด แต่นั่นก็สายเสียแล้วองค์ชายนิโออุ เป็นเจ้าชายองค์ที่ 3 ของพระจักรดิองค์ปัจจุบันกับบุตรีของเก็นจิ จักรพรรดินีอะคะชินั่นเอง เป็นหลานชายที่ มุราซากิ รักและเอ็นดูที่สุด นางยกคฤหาสน์นิโจ ให้เป็นมรดกแก่องค์ชายนิโออุ โดยนิสัยแล้วองค์ชายนิโออุเปนชายหนุ่มที่เจ้าชู้ โดยเขาพยายามค้นหาหญิงสาวที่เขาสามารถจะครองคู่อยู่ด้วยกัน เหมือนท่านตา( เก็นจิ ) และท่านยาย ( มุราซากิ ) ด้วยความที่เป็นคนไม่ยอมน้อยหน้าใคร เมื่อคาโอรุที่เป็นทั้งเพื่อนรักและคู่แข่งคนสำคัญ ผู้มีกลิ่นกายหอมมาแต่กำเนิด องค์ชายจึงพยายามอบร่ำเครื่องทรงให้หอมกรุ่นด้วยเครื่องหอมมิได้ขาด ทั้งคาโอรุ และ องค์ชาย นิโออุ มักจะอยู่ด้วยกันเสมอ กลายเป็น 2 ชายหนุ่มรูปงามผู้น่าหมายปองที่สุดแห่งยุค จนเรียกขานกันว่า นิโออุมิยะ ( องค์ชายเครื่องหอม ) และ คาโอรุโนะจูโจ ( ท่านพลเอกผู้มีกลิ่นกายหอม ) ด้วยความทีชอบแข่งขัน สุดท้ายก็ยังแย่งเอา อุกิฟุเนะ ไปจาก คาโอรุ จนเกิดเรื่องเศร้าในตอนท้ายเรื่องฮะจิโนะมิยะ หรือ องค์ชายแปด เป็นพี่น้องต่างมารดากับเก็นจิ ช่วงที่เก็นจิเนรเทศตัวเองไป สุมะ อุไดจินและพระราชมารดาตำหนักโคคิ วางแผนจะยกเขาเป็นมกุฎราชกุมารแทนพระโอรสองค์สุดท้อง (ต่อมาคือจักรพรรดิเรย์เซย์)ของอดีตจักรพรรดคิริซึโบะอิน เมื่อการเมืองพลิกผัน เก็นจิกลับมาสู่เมืองหลวงและเรืองอำนาจ องค์ชายแปดจึงตกอับ ปลงชีวิตที่ไม่แน่นอน จึงได้หลบมาพำนักศึกษาธรรมะอย่างเงียบๆที่อุจิ กับพระชายาที่ท่านรักมาก เมื่อพระชายาตายจากไป องค์ชายแปดอยากจะออกบวช แต่ติดที่ต้องเลี้ยงดู ธิดาทั้ง 2 คือ โออิงิมิ คนโต และ นาคาโนะ คิมิ คนเล็กบุตรสาวคนโตของฮะจิโนะมิยะ มีฝีมือในการเล่นบิวะ เป็นสตรีที่คาโอรุหลงรัก และนางก็เสียชีวิตลงบุตรสาวคนรองของฮะจิโนะมิยะ มีฝีมือในการเล่นโกะโตะ ต่อมา เป็นภรรยาของนิโออุโนะมิยะ เป็นลูกพี่ลูกน้องของโคะจิจู ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ( มารดาของ คาโอรุ) ในอดีต เบนโนะคิมิ เป็นบ่าวในบ้านของ คะชิวะงิ ( บิดาที่แท้จริงของคาโอรุ ) ก่อนคะชิวะงิตาย เขาเคยบอกความลับเรื่องชาติกำเนิดพร้อมฝากสาส์นที่เคยส่งตอบโต้กับพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ไว้กับ เบน โนะ คิมิ และสั่งเสียให้นางบอกความจริงและมอบสาส์นให้กับบุตรชายของเขา ( คาโอรุ ) ภายหลัง เบน โนะ คิมิ มาเป็นบ่าวรับใช้ ฮะจิโนะมิยะ มารดาของคาโอรุ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ เป็นพระธิดาของที่ 3 ของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ ( 朱雀 Suzaku )อภิเษกเป็นภรรยาเอกของเก็นจิ แต่คะชิวะงิ บิดาของคาโอรุ ลักลอบเข้าหานางและมีความสัมพันธ์อันผิดศีลธรรมจนตั้งครรภ์ และคลอด คาโอรุ ออกมาคะชิวะงิ บิดาของคาโอรุ คะชิวะงิ เป็นบุตรชายคนโตของ โทโนะจูโจ( 頭中将 Tou no Chuujou):ซึ่งเป็นสหายของเก็นจิ คะชิวะงิ เป็นสหายกับ ยูงิริ (夕霧 Yuugiri)บุตรชายของเก็นจิ วันหนึ่งที่คฤหาสน์โรคุโจ เขาได้เหนโฉมของพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ และหลงรักนางแต่แรกพบ ลักลอบเข้าหานางและมีความสัมพันธ์อันผิดศีลธรรมกับพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ จนนางตั้งครรภ์ และคลอด คาโอรุ ออกมา ในที่สุดเก็นจิ ล่วงรู้ความจริงและกดดันจน คะชิวะงิเสียชีวิตเพราะความรู้สึกผิดบาปเป็นน้องสาวต่างมารดาของ โออิงิมิ และ นาคาโนะคิมิ นางมีหน้าตาคล้ายโออิคิมิ มาก มารดานางแต่งงานใหม่กับขุนนางท้องถิ่น ต่อมาเมื่อนาคาโนะคิมิเป็นภรรยาของนิโออุ โนะ มิยะ แล้ว มารดาของอุกิฟุเนะฝากฝังนางไว้กับนาคาโนะคิมิ นสคาโนะคิมิเป็นแม่สื้อให้นางกับคาโอรุ ต่อมาองค์ชายนิโออุ พบเห็นนางและตามตื่อเกี้ยวพาราศี คาโอรุจึงพาตัสนางไปอยู่ด้วยที่อุจิ ทว่าองค์ชายนิโออุ กลับตามนางไปทีอุจิ และ ลักลอบมีความสัมพันธ์กับนาง ทั้งคาอรุและองค์ชายนิโออุล้วนแก่งแย่งในตัวนาง จนนางเสียใจกระโดดแม่น้ำอุจิหมายฆ่าตัวตาย แต่กลับรอดชีวิต นอนเกยฝั่งใต้ต้นไม้ริมน้ำ สุดท้ายได้รับการช่วยชีวิตจากสาธุคุณโยคาวะ และสุดท้าย นางออกบวชเป็นชี",
"title": "อุจิจูโจ"
},
{
"docid": "98662#1",
"text": "ในแต่ละตอนของเพชรพระอุมา ต่างมีคำนิยมที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประพันธ์ของพนมเทียน ความสนุนสนานของการดำเนินเรื่อง ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการเดินป่า การใช้ภาษาในการตัดพ้อหรือพร่ำพรรณา ที่พนมเทียนสามารถท่ายถอดให้แก่ตัวละครทุกตัวในเพชรพระอุมา ให้มีชีวิตชีวาโลดแล่นจนเป็นที่รู้จักและผูกพันกับนักอ่านทุกรุ่นทุกสมัย ซึ่งคำนิยมเพชรพระอุมาจากผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ได้แก่",
"title": "คำนิยมเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#10",
"text": "พนมเทียนนำเอาความรู้ความชำนาญในการเดินป่า การดำรงชีวิตและการล่าสัตว์จากประสบการณ์จริงของตนเอง มาเป็นพื้นฐานในการเขียนนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา โดยเค้าโครงเรื่องและส่วนประกอบต่าง ๆ ได้นำมาจากเรื่องเล่าขานและสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากนักท่องไพรรุ่นอาวุโส หรือเรื่องเล่ารอบกองไฟของพรานพื้นเมืองต่าง ๆ ยามพักผ่อนภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในการล่าสัตว์และเล่าเรื่องราวต่าง ๆ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#9",
"text": "พันตรีไชยยันต์ อนันตรัย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ ยงค์ พนมเทียนนำลักษณะนิสัยของพันตรีไชยยันต์ อนันตรัย มาจากเพื่อนสนิทที่เป็นนักเดินป่าด้วยกัน ประกอบอาชีพเป็นช่างซ่อมรถยนต์และเจ้าของอู่รถทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีฝีมือในการยิงปืนแม่นทั้งปืนสั้นและปืนยาว เป็นคนเสียงดังและโครมครามมากกว่าพนมเทียนในการออกป่าล่าสัตว์ด้วยกัน ในขณะที่พนมเทียนสร้างไชยยันต์ขึ้นมา ก็สามารถหลับตาและเห็นกริยาท่าทางต่าง ๆ ของยงค์ที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน จึงนำมาถ่ายทอดให้แก่ไชยันต์ ทั้งที่ตัวจริงของยงค์ ต้นแบบของไชยยันต์นั้นไม่ได้เป็นนายทหารเหมือนกับในเพชรพระอุมา",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#4",
"text": "หม่อมราชวงศ์ดาริน วราฤทธิ์ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียน สาวสวยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุปนิสัยใจคอที่เข้มแข็ง เอาแต่ใจตัวเองแต่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว มั่นคงในเรื่องของความรัก มีฝีมือในการยิงปืนและเก่งกล้าสามารถ เป็นตัวละครที่พนมเทียนสร้างขึ้นมาจากจินตนาการทั้งหมด ไม่มีการจำลองเอาลักษณะนิสัยเฉพาะมาจากบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง เพียงแต่นำเอาบุคลิกภาพและลักษณะบางประการของดาริน มาจากสุภาพสตรีท่านหนึ่งที่พนมเทียนคบหาในฐานะเพื่อน",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#48",
"text": "นางสาวสุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง \"นวนิยายแนวผจญภัย:จาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส ล่องไพร จนถึง เพชรพระอุมา (ภาคแรก)\" ในปี พ.ศ. 2541 นางสาวสริญญา คงวัฒน์ ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง \"วิเคราะห์ภาพสะท้อนเชิงพรานในนวนิยายเพชรพระอุมา ของพนมเทียน\"[31]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "100992#0",
"text": "อาวุธปืนในเพชรพระอุมา เป็นการรวบรวมรายละเอียดของปืนที่ใช้ในเรื่องเพชรพระอุมา จากความรู้และทักษะความสามารถทางด้านอาวุธปืนของพนมเทียน ในการนำเอาอาวุธปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนที่ใช้จากประสบการณ์จริง มาผูกเสริมเติมแต่งให้แก่ตัวละครในเพชรพระอุมา รวมทั้งกำหนดลักษณะและผลของการใช้ของปืนแต่ละประเภท ซึ่งปืนที่ใช้ในเพชรพระอุมานั้น มีจำนวนมากมายหลากหลายขนาด รวมทั้งยี่ห้อและรุ่น เช่นปืนไรเฟิล วินเชสเตอร์ .375 โมเดล 70 ปืนลูกซอง ปืนสั้นกึ่งออโตแมติกหรือแม้แต่ปืนเอ็ม 16 ที่ใช้ในการสงคราม รวมทั้งรายละเอียดและความรู้ทางด้านปืนของแต่ละกระบอก เช่น วิถีกระสุนในการปะทะเป้าหมาย แรงปะทะของปืน ฯลฯ อาวุธปืนที่ใช้ในเพชรพระอุมา มีดังนี้",
"title": "อาวุธปืนในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28404#5",
"text": "เจาะลึกเบื้องหลังเพชรพระอุมา ก่อนเทียนจะถึงไฟ อินไซด์ เพชรพระอุมา ภาค 1 อินไซด์ เพชรพระอุมา ภาค 2 เพียงพิมพ์ดีดพูดได้ ลึกจากลิ้นชัก Issues of Gun สารพัดเรื่องของ ปืน",
"title": "ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ"
},
{
"docid": "28360#7",
"text": "โครงเรื่องของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนได้เค้าโครงเรื่องมาจากแนวความคิดของเรื่องคิง โซโลมอน'ส มายน์ส ของ เซอร์ฯ แฮกการ์ด ซึ่งเป็นเค้าโครงของการผจญภัยเรื่องที่ดีมากเรื่องหนึ่ง[10] โดยก่อนหน้าที่พนมเทียนจะเขียนเพชรพระอุมาก็ได้มีการวางโครงเรื่องคร่าว ๆ ไว้เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น ๆ ซึ่งโครงเรื่องคร่าว ๆ ของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนวางเอาไว้เพียงเล็กน้อยโดยกำหนดให้เป็นเรื่องราวการผจญภัยในป่าของนายพรานผู้นำทางคนหนึ่งเท่านั้น[10]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#14",
"text": "เพชรพระอุมาเป็นนวนิยายที่มีความยาวทั้งสิ้น 48 เล่ม 12 ตอน แบ่งออกเป็นสองภาคคือภาคแรกและภาคสมบูรณ์ ภาคละ 24 เล่ม จำนวน 6 ตอน ซึ่งภาคแรกของเพชรพระอุมาได้แก่ ไพรมหากาฬ, ดงมรณะ, จอมผีดิบมันตรัย, อาถรรพณ์นิทรานคร, ป่าโลกล้านปีและแงซายจอมจักรา สำหรับภาคสมบูรณ์ได้แก่ จอมพราน, ไอ้งาดำ, จิตรางคนางค์, นาคเทวี, แต่ปางบรรพ์และมงกุฎไพร ซึ่งเค้าโครงเรื่องในภาคแรกและภาคสมบูรณ์ของเพชรพระอุมามีดังนี้",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#26",
"text": "คริสตินา กรูบิล เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียน ซึ่งเก็บเอาลักษณะนิสัยเฉพาะ อากัปกิริยา การพูดจารวมทั้งอารมณ์ของผู้หญิง จากเพื่อนสุภาพสตรีต่างชาติหลาย ๆ คน นำมาสร้างเป็นเป็นตัวละครหญิงคนสำคัญในภาคสมบูรณ์ ที่มีบทบาทไม่แพ้ดาริน",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
}
] |
1994 | ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือใคร? | [
{
"docid": "68020#0",
"text": "อีซา อิบนุ มัรยัม ( \"อีซาบุตรนางมัรยัม\") คือบุคคลเดียวกันกับ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ แต่ในคติของศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียงศาสนทูตท่านหนึ่งของอัลลอฮ์",
"title": "อีซา"
},
{
"docid": "1010#0",
"text": "พระเยซู () หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์",
"title": "พระเยซู"
}
] | [
{
"docid": "44055#2",
"text": "ศาสดา หรือ คุรุ แห่งศาสนาซิกข์มี 10 ท่าน ต่อจากนั้นศาสดาองค์ที่ 10 ได้ประกาศให้ถือพระคัมภีร์เป็นศาสดาแทน และไม่มีการแต่งตั้งศาสดาต่อไปอีก (ยกเว้นนิกายนามธารีถือว่ายังมีศาสดาต่อไปได้อีกจนบัดนี้ รวม 20 องค์แล้ว) ศาสดาทั้ง 10 ท่าน ได้แก่พระศาสดาองค์ที่ห้า พระศาสดาคุรุอารยันเทพ ได้ทรงรวบรวมพระคัมภีร์ของพระศาสดาองค์ก่อน ๆ ทั้งสี่พระองค์ รวมทั้งของพระองค์เอง และนักบุญนักบวชต่าง ๆ ไม่ว่าจะศาสนาใด ที่มีแนวคิดปรัชญาและความสัตย์รู้แจ้งเห็นจริง ในปี พ.ศ. ๒๑๔๗ ซึ่งมีพระนามว่า อาดิครันถ์ซาฮิบ เป็นพระคัมภีร์พระองค์เดียวในสากลโลกที่ได้มีการเรียบเรียงโดยพระศาสดา (ผู้ก่อตั้งศาสนา) ในช่วงสมัยพระชนมายุของพระองค์เอง แบ่งออกเป็น 2 เล่ม ดังนี้",
"title": "ศาสนาซิกข์"
},
{
"docid": "919589#1",
"text": "ท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ)ได้เขียนจดหมายถึงอัครมุขนายกของศาสนาคริสต์ในปีที่สิบปีของฮิจเราะห์สศักราช และเรียกร้องเชิญชวนประชาชนชาวคริสต์ทั้งหมดเข้าสู่ศาสนาอิสลาม.\nบรรดาตัวแทนของท่านศาสดา(ศ)อาทิ ท่าน อุตบะฮ์ บิน กอซวาน , อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบี อุมัยยะฮ์,ฮะดีร อิบนิ อับดุลลอฮ์,และ ศอฮีบ อิบนิ ซินานเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งจดหมายถึงผู้นำศาสนาคริสต์,หลังจากที่เขาได้อ่านจดหมายได้จัดตั้งการประชุมโดยการเข้าร่วมของนักการศาสนาและบุคคลสำคัญอื่นๆและได้บทสรุปว่าจะต้องะเดินทางไปพบกับ มุฮัมหมัด (ศ)ณ นครมะดีนะฮ์ และรับฟังการชี้แจงหลักฐานยืนยันการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมหมัดโดยพร้อมกัน.",
"title": "โองการมุบาฮะละฮ์"
},
{
"docid": "156206#0",
"text": "พระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร เป็นศาสดาของศาสนาเชน ประสูติก่อนคริสต์ศักราช 599 ปี ในวันที่ประสูติสมาชิกในครอบครัวได้มารวมตัวกันในงานเลี้ยงที่ยิ่งใหญ่ บิดาของเขาได้กล่าวว่า ครอบครัวของเราได้รับความผาสุกและความดีงามตั้งแต่แม่ของมหาวีระได้ตั้งครรภ์และทั้ง 2 นั้นได้ตั้งชื่อลูกที่เกิดมาว่า วรรธมานะ แปลว่า ความเพิ่มพูน หรือผู้ที่เจริญ แต่ว่าบรรดาสานุศิษย์ของมหาวีระได้เรียกว่า มหาวีระและพวกเขาได้อ้างว่าชื่อนี้คือชื่อที่บรรดาเทพเจ้าเรียกกัน ความหมายคือ ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ มหาวีระนั้นเป็นลูกคนที่ 2 เขาได้ใช้ชีวิตในช่วงแรกๆอยู่ในอ้อมกอดของบิดามารดา ได้รับความสุขสบายอย่างมากมายโดยมีคนรับใช้อำนวยความสะดวกให้แก่เขา\nมหาวีระนั้นเป็นผู้ที่ยกย่องให้เกียรติ ต่อบิดามารดาอย่างมาก ต่อมาเมื่อเติบใหญ่ขึ้น ได้สมรสกับหญิงคนหนึ่งและมีลูกสาวหนึ่งคน มหาวีระนั้นได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายเพราะว่าเขานั้นเป็นลูกชายเจ้าเมือง บ้านของบิดาของเขานั้นเป็นที่เยี่ยมเยือนของบรรดานักบวชและพระ ทุกๆครั้งที่บรรดานักบวชได้ไปเยี่ยมเยือน พวกเขาเหล่านี้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีและสมเกียรติ และมหาวีระก็จะไปนั่งฟังคำสอนจากพวกเขาเหล่านี้ ซึ่งทำให้เขานั้นประหลาดใจในคำสอนเหล่านั้นและตัวเขาเองนั้นมีความปรารถนาที่จะติดตามพวกนักบวชเหล่านี้ แต่เพราะความรักที่มีให้กับบิดามารดาได้มายับยั้งเขาจากการทำให้บรรลุตามความปรารถนา โดยเขารู้ดีว่าท่านทั้ง 2 นั้นไม่ต้องการให้ มหาวีระอยู่ในหนทางของนักบวช",
"title": "พระมหาวีระ"
},
{
"docid": "1010#30",
"text": "พระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮ กล่าวถึงพระเยซูว่าเป็นผู้เผยพระวจนะที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาเพื่อทำหน้าที่นำพาและให้ความรู้แก่มนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง เช่นเดียวกับผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ คือ พระกฤษณะ โมเสส ซาราธุสตรา พระพุทธเจ้า นบีมุฮัมมัด พระบาบ โดยพระบาฮาอุลลออ์อ้างว่าตนเองคือ \"พระวิญญาณแห่งความจริง\" (ยอห์น 16:13) และเป็นพระคริสต์ผู้มาเป็นครั้งที่สอง \"ด้วยรัศมีของพระบิดา\" (มัทธิว 16:27) ตามที่พระเยซูได้ทำนายไว้",
"title": "พระเยซู"
},
{
"docid": "405269#1",
"text": "คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้",
"title": "พระวิญญาณบริสุทธิ์"
},
{
"docid": "405269#4",
"text": "คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ถือว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์” คือพระบุคคลที่สามของพระเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ อันประกอบด้วยพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ คริสตชนเชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์นี้เป็นผู้เปิดเผยพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ว่า “ยาห์เวห์” ต่อประชาชนชาวอิสราเอล และเป็นผู้ส่งพระบุตรคือพระเยซูมาช่วยประชาชนนั้นให้รอดจากพระพิโรธ และส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มาเพื่อชำระและประทานชีวิตแก่คริสตจักร พระเจ้าที่ทรงเป็นตรีเอกภาพนี้มีสาม “พระบุคคล” แต่เป็นภาวะพระเจ้าเดียว ซึ่งเรียกว่าเทวภาพ (Godhood) ซึ่งเป็นพระสารัตถะของพระเจ้า",
"title": "พระวิญญาณบริสุทธิ์"
},
{
"docid": "43992#4",
"text": "ศาสดาของศาสนาเชน เดิมมีพระนามเดิมว่า \"วรรธมาน\" แปลว่า ผู้เจริญมีกำเนิดในสกุลกษัตริย์ เกิดในเมืองเมืองเวสาลี พระบิดานามว่า สิทธารถะ พระมารดานามว่า ตริศาลา เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์หลายอย่างโดยควรแก่ฐานะแห่งวรรณะกษัตริย์ เผอิญวันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับสหาย ได้มีช้างตกมันตัวหนึ่งหลุดออกจากโรงวิ่งมาอาละวาด ทำให้ฝูงชนแตกตื่นตกใจ ไม่มีใครจะกล้าเข้าใกล้และจัดการช้างตกมันตัวนี้ให้สงบได้ แต่เจ้าชายวรรธมานได้ตรงเข้าไปหาช้างและจับช้างพากลับไปยังโรงช้างได้ตามเดิม เพราะเหตุที่แสดงความกล้าหาญจับช้างตกมันได้จึงมีนามเกียรติยศว่า \"มหาวีระ\" แปลว่า ผู้กล้าหาญมาก ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกขานกันต่อมาของศาสดาพระองค์นี้",
"title": "ศาสนาเชน"
},
{
"docid": "3831#1",
"text": "คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า \"พระคริสต์\" หรือ \"พระเมสสิยาห์\" ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก",
"title": "ศาสนาคริสต์"
},
{
"docid": "752593#33",
"text": "ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรแห่งพระเจ้า\nโดยอาศัยพระมารดาผู้ทรงพระเกียรติยิ่ง เหล่า\nทูตสวรรค์ที่ไร้กายาของพระองค์ ศาสดาประกาศก\nและ ผู้ให้รับบัพติศมาที่มาล่วงหน้าของพระองค์\nเหล่าอัครสาวกที่พระเจ้าทรงดลใจ มรณสักขี\nผู้โชติช่วงและมีชัย บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์และรับเอา\nพระเจ้า และโดยอาศัยคำภาวนาของนักบุญทั้งปวง\nโปรดทรงช่วยข้าพระองค์จากปิศาจที่รุมเร้า ข้าแต่\nพระผู้เป็นเจ้าและพระผู้สร้างของข้าพระองค์\nพระองค์มิได้ทรงประสงค์ความตายของคนบาป\nหากแต่ทรงประสงค์ให้เขากลับใจและมีชีวิตอยู่\nดังนั้น ขอพระองค์โปรดประทานการกลับใจแก่\nข้าพระองค์ผู้ต่ำช้าและไร้ค่าด้วย โปรดทรงฉวย\nข้าพระองค์จากปากของงูร้ายที่กำลังกลืนกิน\nข้าพระองค์และลากข้าพระองค์ลงนรกทั้งเป็น\nข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงบรรเทาของ\nข้าพระองค์ ผู้ทรงฉลองพระองค์ด้วยกายที่มีวัน\nเน่าเปื่อยผุพังด้วยเห็นแก่ข้าพระองค์อย่างเวทนา\nสงสาร โปรดทรงช่วยข้าพระองค์ให้รอดพ้นจาก\nความทุกข์ลำเค็ญและให้ได้รับการบรรเทาแก่\nดวงวิญญาณอันน่าเวทนาของข้าพระองค์ โปรด\nทรงปลูกฝังในหัวใจของข้าพระองค์ให้กระทำตาม พระบัญญัติของพระองค์ และละทิ้งการกระทำชั่ว\nของข้าพระองค์ และให้ได้รับความเปรมปรีดิ์ใน\nพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทรงช่วย\nข้าพระองค์ด้วยเถิด เพราะข้าพระองค์หวังใน\nพระองค์ อาเมน",
"title": "การอธิษฐานในศาสนาคริสต์"
}
] |
2155 | ใครเป็นผู้ประดิษฐ์เม้าส์? | [
{
"docid": "12240#4",
"text": "เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดย ผู้คิดค้นประดิษฐ์เม้าส์มีชื่อว่า ดร ดักลาส คาร์ล อิงเกิลบาร์ต Douglas Carl Engelbart ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์เคยมีอีกชื่อนึงว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart's oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน",
"title": "เมาส์"
}
] | [
{
"docid": "19383#86",
"text": "มีเดียแล็บ (MIT Media Lab) ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 ภายใต้โรงเรียนสถาปัตยกรรมและการวางแผน เป็นแล็บที่รู้จักกันดีโดยงานวิจัยที่ไม่เหมือนใคร เป็นที่ทำการของนักวิจัยที่มีชื่อเสียง เช่น ศ.เซมอร์ เพเปอรต์ ผู้เป็นอาจารย์สอนทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism และผู้ประดิษฐ์ภาษาโปรแกรม Logo",
"title": "สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์"
},
{
"docid": "10115#0",
"text": "สาธารณสมบัติ หรือ สมบัติสาธารณะ (public domain) หมายถึง องค์ความรู้หรือนวัตกรรม (เช่น งานเขียน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์) ที่ไม่มีใครสามารถถือตัวเป็นเจ้าของได้ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง และถนนหนทาง ในทางคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาธารณสมบัติ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ สามารถคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์",
"title": "สาธารณสมบัติ"
},
{
"docid": "61450#2",
"text": "ค.ศ. 1988 ตอนอายุ 8 ขวบเธอมีโอกาสไปออกรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในรายการ Star Search อากีเลราได้ร้องเพลง \"A Sunday Kind of Love\" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่อีก 3 ปีต่อมา อากีเลราได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรายการมิกกี้ เม้าส์ คลับ ทางดิสนีย์แชนแนล ร่วมกับจัสติน ทิมเบอร์เลค และบริตนีย์ สเปียรส์",
"title": "คริสตินา อากีเลรา"
},
{
"docid": "184325#55",
"text": "โดยประวัติศาสตร์แล้ว มีแม่ทัพเพียงไม่กี่คนที่ชำนาญในยุทธวิธีการเข้าตีตรงหน้า เข้าตีฉับพลัน การรวมกำลัง และการขยายกำลัง นโปเลียนผู้เชี่ยวชาญการยึดครองบางส่วนด้วยทั้งหมด ก็สมควรเรียกได้ว่าเป็นแม่ทัพที่ยอดเยี่ยม ในส่วนของแม่ทัพเรือ 2อัจฉริยะด้านยุทธวิธีที่สมควรจะกล่าวไว้คือ อี ซุน-ชินแห่งเกาหลี จากตะวันออก และเนลสันแห่งอังกฤษ จากตะวันตก ลีเป็นแม่ทัพเรือผู้โดดเด่นอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่าเขาจะถูกจำกัดขัดขาในสงครามเจ็ดปี และในทางกลับกัน ความกล้าหาญและชาญฉลาดของเขา มิได้เลื่องลือไปทางตะวันตก เหตุเพราะเขาโชคร้ายที่เกิดมาในราชวงศ์โซซอน ใครก็ตามที่จะเปรียบเทียบกับอี ซุน-ชินได้นั้น ควรจะเหนือกว่า มิเชล เดอ รุยเตอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เนลสันนี้ ยังห่างไกลจากอี ซุน-ชินในแง่ของลักษณะนิสัยและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลียังเป็นผู้ประดิษฐ์เรือรบหุ้มเกราะที่รู้จักในนามเรือเต่า(โคบุคซอน) เขาคือผู้บัญชาการทางทะเลผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง และเป็นผู้เชี่ยวชาญงานยุทธนาวีของ 300 ปีที่ผ่านมา[24]",
"title": "อี ซุน-ชิน"
},
{
"docid": "871264#2",
"text": "การใช้แสงนั้น จะทำให้ดึงความสนใจของผู้ใช้งาน เช่น การทำเอฟเฟ็กต์แสงแบบ Glow แทนเม้าส์, หรือการกระพริบเพื่อแสดงว่ามีการชี้เม้าส์อยู่ หรือเป็น Feedback หลักจากคลิก",
"title": "ระบบการออกแบบ ฟลูเอนด์ ดีไซน์"
},
{
"docid": "84652#28",
"text": "แม้ว่าจะมีการประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมายเพราะเขา แต่ก็มีผู้มีบางคนโต้แย้งว่า ที่แท้แล้ววัตต์คิดค้นนวัตกรรมต้นฉบับเพียงอันเดียวจากสิทธิบัตรจำนวนมากที่เขาจด อย่างไรก็ตามไม่มีใครแย้งเรื่องที่นวัตกรรมเดียวนั้นเขาได้ประดิษฐ์จริง ก็คือ เครื่องสันดาปแยก (separate condenser) ซึ่งเป็นการฝึกหัดเพื่อเตรียมแนวความคิดที่สร้างชื่อแก่เขา เพราะเขาตั้งใจให้สิทธิบัตรเชื่อถือได้ในความปลอดภัย และทำให้แน่ใจได้ว่า ไม่มีใครได้ฝึกหัดและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นั้นได้อย่างเขา",
"title": "เจมส์ วัตต์"
},
{
"docid": "268054#1",
"text": "ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าใครเป็นคิดค้นการพับเครื่องบินกระดาษเป็นครั้งแรก ระหว่างนักประดิษฐ์ชาวจีนที่เป็นผู้คิดค้นว่าว เมื่อ 2800 ปีก่อน หรือเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่มีหลักฐานแสดงการสร้างแบบจำลองของเครื่องบินจากแผ่นหนัง ในคริสต์ศตวรรษที่ 15",
"title": "เครื่องบินกระดาษ"
},
{
"docid": "669383#1",
"text": "กระแสการตอบรับละครเรื่องกรุงเทพ...มหานครซ้อนรักนั้นทางด้านวิลลี่ แมคอินทอชได้ให้สัมภาษณ์ดาราเดลี่ว่า เชื่อมั่นว่าเป็นละครที่ถูกสไตล์คนไทย ส่วนทางเม้าส์ ณัฐชา ก็ได้ยอมรับว่าเป็นละครที่กระแสแรงไม่เบา ทุกครั้งที่ออกอากาศก็มักจะขึ้นเทรนด์โซเชียลอยู่เสมอ และก็ถือว่าเป็นละครเรื่องหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จเพราะมีผู้ชมละครเยอะ",
"title": "กรุงเทพ..มหานครซ้อนรัก"
},
{
"docid": "97485#0",
"text": "วาคอม (Wacom) () เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กราฟิกแทบเล็ต เป็นอุปกรณ์ใช้ในการสั่งการณ์เครื่องประมวลผล ทำหน้าที่เหมือนเม้าส์ มีลักษณะเป็นปากกา วาคอมมีสำนักงานใหญ่ที่ โอโตเนะ จังหวัดไซตามา ประเทศญี่ปุ่น วาคอมเป็นแทบเล็ตที่นิยมมากที่สุดในบรรดาแทบเล็ตทั้งหมด โดยมีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นแทบเล็ตไร้สาย",
"title": "วาคอม"
},
{
"docid": "424094#2",
"text": "ใน ปี.ค.ศ. 1881 เจมส์ บอนแสค (James Bonsack) สามารถประดิษฐ์เครื่องมวนใบยาด้วยกระดาษอัตโนมัติ บอนแสคได้ผลิตใบยาที่ห่อด้วยกระดาษออกมาอย่างรวดเร็วและมากมาย โดยเรียกผลิตภัณฑ์นี้ว่าซิกาแรต (บุหรี่) แต่ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อบอนแสคไม่ทราบว่าจะเอาบุหรี่ที่ผลิตออกมานี้ไปขายให้ใครจึงตัดสินใจนำเครื่องจักรไปขายต่อให้แก่ เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องมวนใบยาอัตโนมัติ ดุ๊ก ได้ตั้งบริษัทผลิตใบยาใหญ่โตขึ้นที่รัฐนิวยอร์ก ใช้วิธีการโฆษณาเจาะตลาดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ในเวลา 3 ปีให้หลังดุ๊กก็สามารถควบคุมธุรกิจโทแบคโคไว้ได้ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว",
"title": "เจมส์ บูชานัน ดุ๊ก"
},
{
"docid": "14288#1",
"text": "เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก ใน ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช[4][5] หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหารใน ค.ศ. 1984 [6] จอบส์ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิลใน ค.ศ. 1996 ทำให้จอบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 จอบส์ยังเป็นประธานบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไปใน ค.ศ. 2006[7] จอบส์เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์[8][9][10]",
"title": "สตีฟ จอบส์"
},
{
"docid": "256804#0",
"text": "นักประดิษฐ์ คือบุคคลผู้สร้างสรรค์หรือค้นพบวิธีการ รูปแบบ เครื่องมือ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และอาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม ปัจจุบันการถือว่าความเป็นนักประดิษฐ์ในระดับสากล (หรือผู้ประดิษฐ์) จะต้องมีการรับรองโดยสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์สิ่งนั้น คำว่านักประดิษฐ์อาจหมายถึงบุคคลผู้มีงานอดิเรกหรืออาชีพเป็นการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ แม้ว่าผลงานที่ออกมาจะไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ก็ตาม",
"title": "นักประดิษฐ์"
},
{
"docid": "401851#4",
"text": "ในการตอบคำถามว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไส้ นักประวัติศาสตร์โรเบิร์ต ฟรีเดล และพอล อิสราเอล ทำรายการนักประดิษฐ์หลอดไส้ 22 คน ก่อนโจเซฟ สวอน และโทมัส เอดิสัน พวกเขาสรุปว่ารุ่นของเอดิสันนั้นล้ำหน้ากว่าของคนอื่น เพราะองค์ประกอบสามปัจจัย ได้แก่ (1) วัสดุเปล่งแสงที่มีประสิทธิภาพ, (2) สุญญากาศที่สูงกว่าที่คนอื่น ๆ สามารถทำสำเร็จ และ (3) ความต้านทานไฟฟ้าที่สูงซึ่งทำให้การแจกจ่ายพลังงานจากแหล่งกลางทำงานได้อย่างประหยัด",
"title": "หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา"
},
{
"docid": "524216#0",
"text": "Moondog หรือ Louis Thomas Hardin (26 พฤษภาคม 1916 - 8 กันยายน 1999) เป็นนักแต่งเพลงชาวอเมริกันตาบอด โดยยังเป็นนักดนตรี กวี และเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีอีกหลากหลายชนิดด้วย มูนด๊อกย้ายมานิวยอร์กตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม โดยอาศัยตามท้องถนนและแต่งกายเป็นเทพโอดิน ด้วยเครื่องแต่งกายและการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนใครของมูนด๊อกทำให้เขาถูกจดจำในชื่อของ \"The Viking of 6th Avenue\"",
"title": "มูนด๊อก"
},
{
"docid": "918415#6",
"text": "หรือ ดร.เฉื่อย อดีตคนในซอยเถิดเทิง น้าของบัวและบูม เฉื่อยได้ออกจากซอยเถิดเทิงไปทำงานให้กับองค์กรนาซ่าที่อเมริกา ในตำแหน่งผู้วิเคราะห์วัตถุที่เร็วกว่าแสง และกลายเป็นบุคคลที่มีแต่คนต้องการตัว อันเนื่องมาจากสมองอันชาญฉลาดของเขาจากการที่เขาคิดและประดิษฐ์สิ่งของต่างๆในล้ำสมัย(ทั้งที่ใช้งานได้และไม่ได้) มาตั้งแต่ที่เขายังเปิดร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในซอยเถิดเทิง และเป็นต้นแบบของบูมที่เป็นคนชอบประดิษฐ์ของเช่นกัน เฉื่อยปรากฏตัวในตอนเฉื่อย Come back โดยเฉื่อยที่ตัวอยู่อเมริกาได้ส่งหุ่นยนต์ที่มีลักษณะหน้าตาเหมือนตน มายังซอยเถิดเทิง เพื่อดูความเป็นอยู่ของคนในซอย และต้องการพาบูมไปเรียนต่อ(สุดท้ายบูมไม่ไปเรียนต่อ) พร้อมลูกน้องฝรั่งอีกสองคนที่คอยดูแลหุ่นยนต์เฉื่อย ซึ่งทำให้คนในซอยเข้าใจผิด คิดว่าเฉื่อยตัวจริงได้กลับมาในซอยอีกครั้ง และคิดว่าสองลูกน้องนั้น คือโจรลักพาตัวเฉื่อย ทำให้ต้องปกป้องหุ่นยนต์เฉื่อยอยู่ตลอดเวลา จนมาวันหนึ่งเท่งโหน่งได้พาหุ่นยนต์เฉื่อยมายังร้านอาหารของแก้ว ด้วยความไม่รู้ทำให้แก้วได้ป้อนบะหมี่ใส่หุ่นยนต์เฉื่อยจนเกิดเสียและพังในที่สุด",
"title": "ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ"
},
{
"docid": "134324#23",
"text": "ผู้เล่นทราบจากโรแลนด์ว่าหุ่นยนต์ตัวนี้ถูกส่งไปสำรวจโรงกักเก็บน้ำคอลโตผิดกฎหมายของสาธารณรัฐที่เพิ่งสูญเสียการติดต่อกับพื้นผิวไปเมื่อไม่นานมานี้ เขาบอกผู้เล่นว่าสาธารณรัฐได้จ้างทหารรับจ้างหลายต่อหลายคนให้เข้าไปสำรวจที่สถานีดังกล่าวแต่ไม่มีใครได้กลับมา และยังบอกอีกว่าได้ขาดการติดต่อกับโรงงานข้างล่างไปหลังจากมีรายงานการพบสิ่งประดิษฐ์โบราณ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการลงไปสำรวจเหตุการณ์นี้ โรแลนด์ได้มอบเรือดำน้ำให้กับคณะผู้เล่นและพาไปส่งตามทาง",
"title": "สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค (วิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "183566#1",
"text": "เดอะเฮาส์ออฟเดอะเดธ เป็นเกมแนวยิงปืนที่ผู้เล่น (มากสุด 2 คน)จะต้องใช้ปืน (หรือเม้าส์ ในเวอร์ชันเกมคอมพิวเตอร์)บังคับตัวละครในการเล็งและยิงศัตรูที่โผล่ออกมา ปืนสั้นที่ตัวละครถืออยู่จะบรรจุกระสุนปืนอยู่ข้างใน และจะต้องบรรจุใหม่ทุกครั้งที่กระสุนหมด โดยที่มุมข้างจอที่ผู้เล่นอยู่จะมีจำนวนกระสุนปืนที่เหลืออยู่ (สามารถบรรจุเพิ่มกี่ครั้งก็ได้) รวมถึงลูกไฟจำนวนหนึ่งที่อยู่ข้างๆจะบอกชีวิตที่ตัวละครเหลืออยู่ ถ้าผู้เล่นไม่สามารถฆ่าศัตรูให้ทันแล้วถูกโจมตี หรือยิงชาวเมืองที่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกไฟดวงหนึ่งก็จะหายไป ถ้าลูกไฟหายไปหมด \nผู้เล่นก็จะตาย แต่ผู้เล่นยังสามารถเล่นต่อได้โดยการใส่เหรียญเพิ่มลงในตู้เกมแล้วกดปุ่ม \"continue\" หรือ \"start\"",
"title": "เดอะเฮาส์ออฟเดอะเดด 2"
},
{
"docid": "58476#1",
"text": "ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า \"แคน\" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า \"แคน\" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้\nแคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ ",
"title": "แคน"
},
{
"docid": "400385#1",
"text": "สาขาวิชานี้ ได้เกี่ยวข้องกับ ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์พฤติกรรมผู้บริโภค การออกแบบ และ สาขาอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องในเนื้อหาของงานวิจัยนั้น ๆ\nวิธีการปฏิสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมของผู้ใช้ และ ฟังก์ชันการใช้งานของคอมพิวเตอร์นั้น ได้ถูกคิดค้นขึ้นอย่างง่าย ๆ ที่รู้จักกันในชื่อของ อินเตอร์เฟส\nอินเตอร์เฟสนี้ รวมถึงซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างเช่น ลักษณ หรือวัตถุประสงค์ของดิสเพลย์ต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ การรับผล ข้อมูลนำเข้าจากการปฏิบัติการของผู้ใช้ที่กระทำต่อ ฮาร์ดแวร์ เช่น การเคาะคีย์บอร์ด กดแป้นพิมพ์ และ การเคลื่อนย้ายเม้าส์ รวมทั้ง การศึกษาที่เกี่ยวกับ การปฏิบัติการที่ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับระบบขนาดใหญ่ต่างๆ เช่นระบบ เครื่องบิน ระบบโรงงานผลิตไฟฟ้า เป็นต้น",
"title": "ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์"
},
{
"docid": "105792#1",
"text": "สถาบันวิจัย INET ทำทีมโดย ศาตราจารย์ คุโบตะได้ ค้นพบ ว่า อีกไม่นาน ปีศาจต่างมิติที่เรียกตนเอง ว่า เนจิเรเซีย จะมาโจมตีโลกมนุษย์ ทีมงานวิจัยจึงค้นคว้าและประดิษฐ์ อาวุธ และ ชุดเพิ่มพลัง โดยอาศัย เกมบังหน้า มีชื่อทีมว่า เมกะเรนเจอร์ และคอยดูว่าใครที่เล่นเกมเมกะเรนเจอร์ ได้ เก่ง ก็จะนำคนนั้น มาเป็น เมกะเรนเจอร์ (โดยใช้เกมเป็น แบบทดสอบผู้มีคุณสมบัติ ) และแล้ว เนจิเรเซียก็ บุกมาโจมตี พอดี",
"title": "ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์"
},
{
"docid": "978269#2",
"text": "นิโคลัส แอปเปิร์ท ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งอาหารกระป๋องในปี ค.ศ.1795 โดยเขาได้เริ่มการทดลองนำปลาลงไปขวดโหลและนำโหลไปต้มในน้ำเดือดในช่วงปีแรกของสงครามนโปเลียนทางรัฐบาลฝรั่งเศสได้เสนอเงินรางวัล 12,000 ฟรังก์ให้กับผู้ที่สามารถคิดค้นวิธีการเก็บอาหารให้อยู่ได้นานๆ เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหารให้แก่ทหารในช่วงสงคราม และเขานำผลงานของตนไปลงประกวดและชนะรางวัลได้ในปี 1810 แต่ยังไม่มีใครทราบถึงสาเหตุที่อาหารกระป๋องนั้นไม่เน่าเสียซึ่งเป็นช่วง 50 ปีก่อนที่หลุยส์ ปาสเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในวงการจุลชีววิทยาแต่อย่างไรก็ตาม บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วนั้นยากต่อการขนส่งเข้าไปในสนามรบ แต่ต่อมาไม่นาน นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่ชื่อ ปีเตอร์ ดูรันด์ ได้คิดค้นวิธีการของเขาเองโดยการพัฒนากระป๋องโลหะที่สามารถนำอาหารมาบรรจุและผนึกปิดฝาได้ขึ้นมาซึ่งได้ถูกนำมาใช้จนในปัจจุบันนี้",
"title": "ปลากระป๋อง"
},
{
"docid": "294558#5",
"text": "จากการศึกษาจองโมราฮาน-มาร์ติน และชูมาเชอร์ (2543) ในหัวข้ออภิปรายเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหาหรือถูกบังคับ แนะว่าการแสดงตนเองจากหลังหน้าจอคอมพิวเตอร์อาจเป็นส่วนหนึ่งของแรงกดดันทางใจที่จะเข้าสู่โลกออนไลน์ วลีดังกล่าวอาจหมายความว่า \"ไซเบอร์สเปซจะเป็นอิสระเพราะเพศ เชื้อชาติ อายุ หน้าตา หรือแม้แต่ 'ความเป็นสุนัข' จะหายไปหรือถูกประดิษฐ์เปลี่ยนแปลงหรือทำให้เกินจริงจากความสร้างสรรค์แบบมิได้ยับยั้ง โดยมีจุดประสงค์มากมายทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย\" จากความเข้าใจที่สะท้อนออกมาเป็นคำกล่าวของจอห์น กิลมอร์ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของยูซเน็ต วลีดังกล่าวยังแนะให้เห็น \"การปลอมตัวผ่านคอมพิวเตอร์\" (computer cross-dress) และแสดงให้เห็นว่าเขามีเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากเดิม ในอีกนัยหนึ่ง \"อิสรภาพที่สุนัขเลือกที่จะใช้ประโยชน์ คืออิสรภาพที่จะ 'เปลี่ยนแปลง' เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์กลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นมนุษย์กับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต\"",
"title": "บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา"
},
{
"docid": "6724#2",
"text": "เริ่มทำการ์ตูน มิกกี้เม้าส์ (Mickey Mouse) โดนัลด์ดั๊ก (Donald Duck) และภาพยนตร์เรื่องยาว เช่น \"สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarfs), แฟนตาเซีย (Fantasia), พินอคคิโอ (Pinocchio) และ แบมบี้ (Bambi)\" ",
"title": "วอลต์ ดิสนีย์"
},
{
"docid": "449355#0",
"text": "นักประดิษฐ์พันล้าน เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันที่รักในการประดิษฐ์และมีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มีโอกาสทำรายได้มูลค่ามหาศาลในอนาคต รายการนี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 และออกอากาศเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557แต่ละสัปดาห์ ผู้แข่งขัน (คนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้) นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าดีพอที่จะได้เป็นนักประดิษฐ์พันล้านประจำรายการ โดยนำเสนอที่มาของสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงสาธิตการใช้โดยผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการจะมาร่วมสังเกตและอาจทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวด้วยก็ได้ จากนั้นกรรมการประจำรายการจะซักถามผู้แข่งขัน รวมถึงวิจารณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้แข่งขัน เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ดำเนินรายการจะให้กรรมการแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้แข่งขันนำเสนอ พร้อมทั้งตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว รวมทั้งอาจมีข้อเสนอแนะจากกรรมการทั้งสอง ",
"title": "นักประดิษฐ์พันล้าน"
},
{
"docid": "161146#0",
"text": "ปืนคาบศิลา () เป็นปืนที่ใช้ดินปืน(ดิน\"แรงดันต่ำ\")ตำกรอกทางปากกระบอกปืน จากนั้นรอง\"หมอน\"นุ่น หรือผ้า แล้วใส่หัวกระสุนทรงกลม ปิดด้วยหมอนอีกชั้น ปืนชนิดนี้เมื่อบรรจุกระสุนไว้ต้องถือตั้งตรงตลอด ไม่งั้นกระสุนอาจไหลออกจากปากลำกล้อง เวลาจะยิงต้องใช้ หิน\"คาบศิลา\"(หินไฟ-Flint) ตอกกระทบโลหะ หรือกระทบกันเอง (มักทำเป็น คอนกติดหินไฟ ผงกด้วยสปริง) เพื่อจุดดินขับในถ้วยที่โคนปืน ให้ไฟแล่บติดดินขับ วิ่งเข้าไปทางรูที่ท้ายลำกล้อง แล้วจึงเกิดการลุกไหม้ในดินปืน ระเบิดกระสุนออกไป ปืนชนิดนี้เป็นต้นแบบของปืนไรเฟิลในปัจจุบันด้วย ไม่มีผู้ทราบว่าใครประดิษฐ์ขึ้น แต่ว่าในเอกสารทางการทหารของจีนได้มีการกล่าวถึงอาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า \"หั่วหลงจิง (火龙经)\" ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแรกเริ่มปืนคาบศิลาไค้มีการออกแบบให้ใช้กับทหารราบเท่านั้น และได้มีการปรับปรุงขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่นมีเกลียวในลำกล้อง การมีกล้องเล็ง มีกระสุนปลายแหลมซี่งแต่เดิมนั้นเป็นลูกกลมๆ และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีการประดิษฐ์ปืนชนิดที่บรรจุกระสุนทางท้ายรังเพลิงปืนซึ่งแต่เดิมนั้นบรรจุกระสุนทางปากลำกล้องเข้ามาแทนที่",
"title": "ปืนคาบศิลา"
},
{
"docid": "519913#0",
"text": "ณฉัตร จันทพันธ์ หรือ นิกกี้ นักร้อง, นักแสดงชาวไทย พี่ชายของเม้าส์ วงบี-โอ-วาย ลูกชายคนกลางของคุณพ่อแต๊ก วรเชษฐ จันทพันธ์ เกิดวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2533 เข้าวงการบันเทิงจากการประกวด LG Star Talent",
"title": "ณฉัตร จันทพันธ์"
},
{
"docid": "823035#2",
"text": "บ้างก็บอกว่าเทาเทาโมนามีรูปร่างเหมือนมนุษย์ที่ตัวผอมแห้ง เนื้อตัวเหม็นเหมือนซากศพและกำลังผุกร่อน แต่ทว่ามีพละกำลังเหนือมนุษย์คล้ายซอมบี บ้างก็บอกว่าไม่มีหัว เทาเทาโมนาสิงอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ในป่า เช่น ไม้จำพวกต้นไทร หรือหินที่เรียกว่า หินแลตเต ซึ่งเป็นหินก้อนใหญ่ที่วางตั้งอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและในป่า ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์คล้ายกับสโตนเฮนจ์หรือโมอาย แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยที่ไม่มีใครทราบว่าหินเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จึงเชื่อว่าเป็นการกระทำของเทาเทาโมนา เทาเทาโมนาจะไม่พอใจผู้ที่ลบหลู่และจะสร้างความเสียหายให้แก่ผู้นั้น เช่น ทำร้ายร่างกาย ครอบครัวรอดริเกซ ครอบครัวชาวชามอร์โรครอบครัวหนึ่ง เชื่อว่าพวกตนสามารถบันทึกเสียงของเทาเทาโมนาไว้ได้ด้วยเทปบันทึกเสียง ในปี ค.ศ. 1975 เป็นเสียงพูดคุยกันของ โทนี ลูกชายวัย 2 ขวบ ในขณะนั้น พูดคุยกับ พริสซิลลา แม่ของตน ซึ่งเป็นบทสนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน และจู่ ๆ ก็มีเสียงประหลาดลึกลับแทรกเข้ามา โดยขณะที่บันทึกเสียง ทุกคนที่อยู่ในที่นั้นยืนยันว่าไม่มีใครได้ยินเสียงนี้ ",
"title": "เทาเทาโมนา"
},
{
"docid": "324196#2",
"text": "วลี \"No Taxation Without Representation!\" ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักบวช โจนาธาน เมย์ฮิว ระหว่างการเทศน์ครั้งหนึ่งในบอสตัน ค.ศ. 1750 ในปี ค.ศ. 1765 ได้มีการใช้วลีดังกล่าวในบอสตัน แต่ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ใช้คนแรก นักการเมืองบอสตัน เจมส์ โอติส มักจะหยิบยกวลีดังกล่าวไปพูดเสมอ โดยว่า \"ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทนคือทรราช\" ",
"title": "ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทน"
},
{
"docid": "368258#8",
"text": "มาร์คัส เคลาดิอัส มาร์เซลลัส ออกคำสั่งว่าอาร์คิมิดีส นักคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี และอาจเป็นที่รู้จักมากพอ ๆ กับมาร์เซลลัส ในฐานะเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องกลไกที่มีอิทธิพลต่อการล้อมอย่างมาก ไม่ควรจะถูกสังหาร อาร์คิมิดีส ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 78 ปี ยังคงศึกษาค้นคว้าต่อไปหลังจากฝ่ายโรมันสามารถบุกเข้าเมืองได้แล้ว และขณะที่อยู่ที่บ้าน งานของเขาถูกรบกวนโดยทหารโรมัน อาร์คิมิดีสประท้วงการรบกวนนี้และกล่าวอย่างหยาบคายให้ทหารนายนั้นออกไปเสีย ทหารนายนั้นไม่ทราบว่าเขาเป็นใคร จึงสังหารอาร์คิมิดีส ณ จุดนั้นเอง",
"title": "การล้อมซีราคิวส์ (214-212 ปีก่อนคริสตกาล)"
},
{
"docid": "794672#35",
"text": "ไทโค ผลิต เฟซ วิวเวอร์ โดยทำชิ้นส่วนเฉพาะใบหน้าคาแร็คเตอร์ต่างๆ ติดเพิ่มที่ชิ้นฝาหลัง(ช่องรับแสง)ของกล้องโดยมากใช้กล้องโมเดลแอล(L) เช่น ใบหน้ามิคกี้เม้าส์, หน้านกบิ๊กเบิร์ด, หน้าแบทแมน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ออกผลิตภัณฑ์วิว-มาสเตอร์โปรเจกต์เตอร์ขนาดเล็กสำหรับเด็ก (ภาพไม่เป็นสามมิติ)",
"title": "วิว-มาสเตอร์"
}
] |
1169 | เทคโนโลยีสารสนเทศ มีประโยชน์ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "312504#4",
"text": "สังคมอุดมปัญญา” ในที่นี้หมายถึงสังคมที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างชาญฉลาด โดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความเฉลียวฉลาด (Smart) และรอบรู้สารสนเทศ (Information literacy) สามารถเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง",
"title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)"
},
{
"docid": "312504#5",
"text": "(1) ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์ และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรม (Information Literacy) ก่อ\nเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน\n(2) ยกระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ขึ้นอย่างน้อย 15 อันดับ ใน Networked Readiness Index \n(3) เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20",
"title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)"
},
{
"docid": "47012#8",
"text": "โดยล่าสุด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากไอซีที\nกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ตามมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการฯ เช่นกัน ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 และจะมีผลใช้บังคับหลังครบกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศฯ",
"title": "ความสามารถในการเข้าถึงเว็บ"
},
{
"docid": "1773#0",
"text": "เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที () คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ =",
"title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "79324#1",
"text": "ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับสามารถประยุกต์ศาสตร์แขนงดังกล่าวไปใช้งานให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีภูมิปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นในคุณธรรม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณและจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยผลิตบัณฑิตจากพื้นฐานของการนำศักยภาพที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยมาประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพด้านศิลปะซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย",
"title": "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "203548#15",
"text": "เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ หลายครั้งที่จะนิยามความหมายว่า \"เทคโนโลยีสารสนเทศ\" ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทของวิสากิจเชิงเสมือนจริง คือ hardware virtualization แต่โดยทั่วไป วิสาหกิจเชิงเสมือนจริงแยกจากการใช้ประโยชน์ในธุรกิจ และข้อมูลจากทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งวิสาหกิจเชิงเสมือนจริงนั้นยอมรวมกับทรัพยากรสารสนเทศ ด้าน Hardware, Server และรวมถึงทรัพยากรต่างๆที่ต้องการ",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
},
{
"docid": "72493#0",
"text": "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (; ไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี) กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้",
"title": "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร"
}
] | [
{
"docid": "14761#6",
"text": "สารสนเทศแข็ง คือสิ่งที่เชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจและการวางแผน หรือการทำงานได้\nสารสนเทศอ่อน มีคุณสมบัติตรงข้ามกับสารสนเทศแข็ง คือ เชื่อถือได้น้อย ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้\nประโยชน์ คือ สามารถสร้างความมั่นใจและการวางแผน ตัวอย่างเช่น การที่เราได้รับข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จริงหรือจริงก็ได้ สิ่งที่ได้กล่าวไปข้างต้นคือ สารสนเทศอ่อน แต่สารสนเทศแข็ง คือ ข้อมูลนั้นจะต้องถูกตรวจสอบ หรือ ลงมือทำก่อนเป็นการพิสูจน์หลักฐานก่อนแต่ต้องเป็นความจริงหรือเท็จก็แจเป็นไปได้\nข้อดีสารสนเทศอ่อน\nคือ สร้างความอยากรู้อยากลองเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเพราะอาจจะรับข้อมูลในสิ่งที่ผิด ๆ แต่ถ้าเรามีข้อมูลควรที่จะคิดหรือตรวจสอบให้ดีเสียก่อนจึงสร้างสามารถนำมาปฏิบัติหรือวางแผนในอนาคตได้\nข้อดีของสารสนเทศแข็ง\nคือ เป็นข้อมูลที่ได้รับการตรวจได้มาว่าถูกต้องหรือเท็จเราก็สามารถได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือผิดได้\nข้อเสียสารสนเทศอ่อน\nคือ สารสนเทศอ่อน มีคุณสมบัติตรงข้ามกับสารสนเทศแข็ง คือ เชื่อถือได้น้อย ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้\nตัวอย่างสารสนเทศอ่อน คือ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย และจะแผ่เสริมลงมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ทำให้โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง\nตัวอย่างสารสนเทศแข็ง คือ เราต้องรอเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง ๆ ก่อนเราสามารถบ่งบอกได้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่หิวข้าว",
"title": "สารสนเทศ"
},
{
"docid": "82735#6",
"text": "2. ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศทั้งที่มีอยู่และที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า สร้างงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ตามนโยบายและภารกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อสร้างความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติในฐานะที่เป็นองค์กรเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อตอบสนองการตัดสินใจเชิงนโยบายระดับชาติด้วยการสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่าง (Unique and differentiate) โดยใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวนำบนฐานของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ประกอบด้วย 4 มิติหลักที่สำคัญ ได้แก่ มิติด้านการเกษตรเชิงพื้นที่ มิติด้านสังคมและทรัพยากร มิติด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และมิติด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ",
"title": "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)"
},
{
"docid": "203548#8",
"text": "นอกจากแนวคิดระบบใหม่ๆที่ช่วยสนับสนุนสารสนเทศได้แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนแนวคิดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น\nคือ การนำแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันที่มีการเรียกใช้บริการที่อยู่บนเน็ตเวิร์คหรืออิน6เทอร์เน็ต หรือมี การให้บริการแก่แอปพลิเคชันอื่นๆ ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับองค์กร โดยอาศัยหลักการเว็บเซอร์วิสซึ่งเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งานภายในองค์กรถือเป็นแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร",
"title": "ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ"
}
] |
4041 | แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "735189#0",
"text": "แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (German: Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Dutch: Miep Gies)[1] คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวชาวดัตช์รายหนึ่งรับเธอมาอุปถัมภ์เป็นการชั่วคราวด้วยวัยเพียงเจ็ดขวบ ซึ่งในภายหลังเธอรู้สึกผูกพันกับครอบครัวนี้อย่างมาก เดิมทีครอบครัวรับอุปการะเธอเพียงหกเดือน และก็ถูกขยายออกไปเป็นหนึงปีเนื่องจากสุขภาพร่างกายที่เปราะบางของเธอ จนในที่สุดเธอเลือกที่จะอยู่กับครอบครัวดังกล่าวต่อไป และอาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ไปตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ในปี พ.ศ. 2476 เธอเริ่มทำงานให้กับออทโท ฟรังค์ นักธุรกิจเชื้อสายยิวผู้อพยพครอบครัวจากเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามชาวยิวโดยพรรคนาซี มีป คีส จึงกลายมาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเพื่อนที่ครอบครัวฟรังค์ไว้วางใจ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวตลอดระยะเวลาสองปีของการหลบซ่อนตัว เธอคือคนที่เก็บกู้สมุดบันทึกประจำวันของอันเนอไว้ได้หลังจากที่ครอบครัวถูกจับกุม และรักษาสมุดดังกล่าวไว้ในที่ปลอดภัยจนกระทั่งออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตกลับมาจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในปี พ.ศ. 2488 ทำให้เธอได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของอันเนอ[2][3][4][5][6][7][8] นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ Anne Frank Remembered: The Story of the Woman Who Helped to Hide the Frank Family ร่วมกับแอลิสัน เลสลี โกลด์ และออกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530",
"title": "มีป คีส"
}
] | [
{
"docid": "245183#4",
"text": "เว็บแบนเนอร์มีขนาดมาตรฐานหลายขนาด เพื่อให้ใช้กับการจัดวางบนหน้าเว็บที่แตกต่างกัน ขนาดมาตรฐานมีดังต่อไปนี้ (ในหน่วยพิกเซล กว้าง×สูง)",
"title": "เว็บแบนเนอร์"
},
{
"docid": "215267#1",
"text": "เมื่อมีการนำโปเกมอนซีรีส์แอดวานซ์ เจเนอเรชันมาพากย์เสียงเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้มีการแบ่งออกเป็น 4 ซีซั่นย่อย ๆ คือโปเกมอน แอดวานซ์ เจเนอเรชัน เป็นซีรีส์ใหม่ที่นำมาจากเกม โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของซีรีส์ที่น่าประหลาดใจแก่ผู้คนมากมาย เพราะว่าเขตภูมิภาคทั้งสามเขตที่พวกซาโตชิเดินทางมานั้นนับรวมกันเป็นซีรีส์เดียว ซึ่งในระหว่างการเดินทางนั้นพวกซาโตชิจะต้องต่อสู้กับแก๊งที่มีอิทธิพลประจำเขตโฮเอน คือ แก๊งแม็กม่า และ แก๊งอควา",
"title": "พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน"
},
{
"docid": "44795#23",
"text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต[2] ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา",
"title": "อันเนอ ฟรังค์"
},
{
"docid": "430555#0",
"text": "ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ (; 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 – 1 มกราคม พ.ศ. 2437) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และเป็นคนแรกที่พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแสง",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "821937#1",
"text": "เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน ค.ศ. 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดิลทัคทิค (\"ยุทธวิธีฝูง\" หรือเรียกทั่วไปว่า \"ฝูงหมาป่า\") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีคส์มารีเนอ ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 เขาได้ยศจอมพลเรือ และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือจากจอมพลเรือ เอริช เรเดอร์",
"title": "คาร์ล เดอนิทซ์"
},
{
"docid": "320183#3",
"text": "ที่ตั้งหลักของ SAIS อยู่บนถนนแมสซาชูเซตส์ใกล้กับวงเวียนดูปองต์ ซึ่งเป็นถนนที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน โดยที่ตั้งของ SAIS อยู่บริเวณเดียวกับสถาบันวิจัยทางนโยบายชั้นนำ อาทิ สถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) และสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน (Peterson Institute) รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตอุซเบกิสถาน ชิลี เปรู ตรินิแดดและโตเบโก ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย",
"title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์"
},
{
"docid": "735189#1",
"text": "มีป คีส เกิดในเวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ด้วยชื่อแฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (ภายหลังสะกดว่า ซันตรูชิตส์ ในเนเธอร์แลนด์) เธอถูกส่งตัวจากเวียนนาไปยังไลเดินในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2463 เพื่อหลีกหนีจากภาวะขาดแคลนอาหารในออสเตรียหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และอาศัยอยู่กับครอบครัวนีวเวินบืร์คซึ่งเป็นครอบครัวชนชั้นแรงงานที่มีบุตรธิดาของตนอยู่แล้ว 6 คนและรับอุปการะเธอเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน ครอบครัวนี้เองที่เรียกเธอด้วยชื่อเล่นว่า \"มีป\" อันเป็นชื่อที่รู้จักกันเป็นการทั่วไปในภายหลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 เธอย้ายที่อยู่ไปยังบ้านเลขที่ 25 ถนนคาสป์[9] ในกรุงอัมสเตอร์ดัมพร้อมกับครอบครัวผู้อุปการะของเธอ เธอเข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนและเป็นนักเรียนดีเด่น ผู้กล่าวว่าตนเองนั้น \"สงบเสงี่ยมและเป็นตัวของตัวเองมาก\" หลังจากที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม เธอเข้าทำงานในบริษัทสัญชาติเยอรมันที่มาเปิดสาขาในเนเธอร์แลนด์นามว่า \"โอเพคทา\" โดยเริ่มทำงานในฐานะพนักงานบัญชีก่อนที่จะถูกเลื่อนขั้นเป็นเลขานุการในภายหลัง ต่อมาออทโท ฟรังค์ ถูกโยกย้ายจากสำนักงานของบริษัทในเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการใหญ่ประจำสาขาเนเธอร์แลนด์ ที่ซึ่งบริษัทเพิ่งจะเข้ามาขยายกิจการได้ไม่นาน มีปได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของครอบครัวฟรังค์เช่นเดียวกับยัน คีส คู่หมั้นของเธอ ต่อมาหนังสือเดินทางของเธอถูกยกเลิก เนื่องจากเธอปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสมาคมสตรีของพรรคนาซี ทำให้เธอได้รับคำสั่งเนรเทศออกจากเนเธอร์แลนด์กลับไปยังออสเตรีย (ซึ่งในขณะนั้นถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีและถือว่าเธอคือพลเมืองชาวเยอรมันคนหนึ่ง) ภายในระยะเวลา 90 วัน เธอและคู่หมั้นจึงรีบแต่งงานกันในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เพื่อที่จะได้สิทธิการเป็นพลเมืองชาวดัตช์และหลีกเลี่ยงการเนรเทศกลับออสเตรีย ด้วยความเชี่ยวชาญทั้งภาษาดัตช์และภาษาเยอรมันของมีป เธอได้ช่วยครอบครัวฟรังค์ซึมซับเอาวัฒนธรรมและปรับตัวเข้ากับสังคมดัตช์ เธอและสามีจึงเป็นแขกผู้แวะเวียนไปยังบ้านของครอบครัวฟรังค์อยู่เป็นประจำ",
"title": "มีป คีส"
},
{
"docid": "430555#3",
"text": "ในปี พ.ศ. 2423 แฮทซ์ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน และยังคงศึกษาต่อหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกกับเฮล์มโฮลทซ์อยู่อีก 3 ปี ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเขา",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "107756#16",
"text": "ผู้จับโปเกมอนต้องใช้โปเกมอนในการสู้กัน ในเกมเมื่อเจอใช้ท้าสู้กับผู้เล่น โดยเทรนเนอร์ทุกคนจะมีโปเกมอนหลักสูงสุดที่พกติดตัวคือ 6 ตัว กับสามารถจับเพิ่มได้ โดยส่วนเกินนั้นจะเอาไปเก็บในคลังโดยเก็บมากเท่าไหร่ก็ได้ โดยเทรนเนอร์มีลำดับตามกันไปของแต่ละเขต เมื่อเทรนเนอร์ที่อยู่เขตไหนรวบรวมเข็ดกลดครบ 8 อันของเขตนั้น จะสามารถเข้าร่วมแข่งโปเกมอนลีคได้ โดยการแข่งนั้นจะป็นการเฟ้นหาตัวแชมป์เปี้ยน",
"title": "โปเกมอน"
},
{
"docid": "281431#2",
"text": "เขาเข้าสู่อุตสาหกรรมหนังโป๊เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี และเขายังทำงานเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัว ในช่วงแรกของการแสดงเขายังเคยถูกออรัลเซ็กซ์โดยนักแสดงร่วมไบเซ็กชวล ผลิตโดย ชิ ชิ ลารู ใน \"Fly Bi Night\" จูเรียนแสดงภายใต้ชื่อ จอร์แดน ริเวอร์ส ที่เหลือเขาแสดงในหนังชาย-หญิง",
"title": "จูเลียน รุยซ์"
},
{
"docid": "430555#5",
"text": "ในปี พ.ศ. 2428 แฮทซ์กลายเป็นอาจารย์เต็มตัวที่มหาวิทยาลัยแห่งคาลส์รูเออ",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "231754#18",
"text": "โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์มี 10 รุ่นย่อยดังนี้",
"title": "โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์"
},
{
"docid": "245183#0",
"text": "เว็บแบนเนอร์ () เรียกโดยย่อว่า \"แบนเนอร์\" คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์\nเว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า \"impression\" และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า \"click through\" ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server)",
"title": "เว็บแบนเนอร์"
},
{
"docid": "940971#1",
"text": "\"แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์ มิสเตอรี\" เป็นเกมเล่นตามบทบาทจัดในจักรวาล\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"ของเจ. เค. โรว์ลิง โดยเกมจะจัดในช่วงวันเกิดของแฮร์รี่ พอตเตอร์และบรรยากาศในฮอกวอตส์ ผู้เล่นสามารถสร้างและปรับแต่งอวตารของตนเองได้ โดยเป็นนักเรีนที่กำลังศึกษาอยู่ในฮอกวอตส์ พวกเขาสามารถเรียนวิชาเวทย์มนตร์, ร่ายคาถา, ต่อสู้กับศัตรู และร่วมภารกิจ ในระหว่างที่เล่นเกมอยู่นั้น ผู้เล่นสามารถกำหนดชะตาของตัวละคร ซึ่งจะมีผลต่อความสัมพันธ์ของตัวละคร (และบางครั้งตัวเลือกอาจจะถูกล็อกเนื่องจากสถิตถผู้เล่นยังมีไม่มากพอ) ผู้เล่นสามารถคุยกับบุคคลสำคัญเช่น อัลบัส ดัมเบิลดอร์, รูเบอัส แฮกริด, เซเวอร์รัส สเนป และมิเนอร์ว่า มักกอนนากัล",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์มิสทะรี"
},
{
"docid": "205717#2",
"text": "ในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ผู้ซึ่งจัดงานวันเกิดครบรอบ 61 ปีของเขาเอง ได้อุทิศชัยชนะเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เพราะว่าเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ยุติสงคราม โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมไม่กี่เดือนก่อนหน้าการยอมจำนนจะกิดขึ้น ในวันที่ 12 เมษายน ฝูงชนจำนวนมากมารวมตัวกันที่ชิคาโก ลอสแองเจิลลิส ไมอามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทมส์สแควร์ ในนครนิวยอร์ก",
"title": "วันชัยในทวีปยุโรป"
},
{
"docid": "430555#2",
"text": "ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ เกิดที่เมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี บิดาชื่อ กุสทัฟ แฟร์ดีนันท์ แฮทซ์ (ชื่อเดิม ดาวิท กุสทัฟ แฮทซ์; พ.ศ. 2370–2457) เป็นนักเขียนและสมาชิกวุฒิสภา มารดาคือ อันนา เอลีซาเบ็ท เพ็ฟเฟอร์คอร์น\nระหว่างที่เรียนอยู่ที่โยฮันน็อยม์ในฮัมบวร์ค แฮทซ์ได้แสดงความสามารถด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ดีเทียบเท่ากับการเรียนภาษาอาหรับและภาษาสันสกฤต ได้เรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในเดรสเดิน มิวนิก และเบอร์ลิน ที่ที่ได้เรียนกับกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ และแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "784539#0",
"text": "มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก (; 10 เมษายน ค.ศ. 1927 – 15 มกราคม ค.ศ. 2010) เป็นนักชีวเคมีและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน เกิดที่นครนิวยอร์ก เป็นบุตรของแฮร์รี เอ็ดเวิร์ด ไนเรนเบิร์กและมิเนอร์วา บายคอฟสกี ในวัยเด็กไนเรนเบิร์กป่วยเป็นโรคไข้รูมาติก ครอบครัวจึงย้ายไปอยู่ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ไนเรนเบิร์กสนใจวิชาชีววิทยาตั้งแต่ยังเด็ก เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และปริญญาโทด้านสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ก่อนจะเรียนต่อปริญญาเอกด้านชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน",
"title": "มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก"
},
{
"docid": "294095#0",
"text": "เกิลส์เจเนอเรชัน (; ) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของ เกิลส์เจเนอเรชัน กลุ่มศิลปินหญิงชาวเกาหลี สังกัด เอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกวางจำหน่ายวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 หลังออกซิงเกิล Into The New World ได้ 3 เดือน โดยมีเพลง \"소녀시대 (Girls' Generation)\" เป็นซิงเกิลหลัก การประชาสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้นทันทีในต้นเดือนพฤศจิกายน และด้วยท่าเต้นที่น่ารัก ประกอบกับน้ำเสียงที่สดใส จึงส่งผลให้อัลบั้ม Girls' Generation\" เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 100,000 ชุด โดยในเดือนมกราคมของปีถัดมา โซนยอชิแดก็เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ซิงเกิลที่ 2 ของพวกเธอ ในชื่อ \"Kissing You\" ซึ่งมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ก็ได้ดงแฮแห่งวงซูเปอร์จูเนียร์มาร่วมแสดงด้วย นอกจากนี้แล้วมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ยังขึ้นเป็นอันดับ 1 ของ SBS Inkigayo, M.Countdown! และ KBS Music Bank อีกด้วย",
"title": "เกิลส์เจเนอเรชัน (อัลบั้ม)"
},
{
"docid": "5333#64",
"text": "ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน โรสเวลต์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือ รองประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน ขณะที่เบนิโต มุสโสลินีถูกสังหารโดยขบวนการกู้ชาติอิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน[244] และอีกสองวันให้หลัง ฮิตเลอร์ก็ยิงตัวตาย และสืบทอดอำนาจต่อให้กับจอมพลเรือ คาร์ล เดอนิทซ์[245]",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "898543#2",
"text": "รูเดิลได้หลบหนีไปยังอาร์เจนติน่าในปี ค.ศ. 1948 ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาและไม่รู้สึกผิดต่ออุดมการณ์นาซี เขาได้ก่อตั้ง \"Kameradenwerk\" องค์กรบรรเทาทุกข์สำหรับอาชญากรนาซีที่ช่วยผู้ลี้ภัยได้หลบหนีไปยังลาตินอเมริกาและตะวันออกกลางร่วมกับ Willem Sassen, รูเดิลได้ช่วยเหลือด้วยการให้ที่พักแก่โยเซ็ฟ เม็งเงอเลอ อดีตแพทย์เอ็สเอ็สที่โด่งดังที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ เขาได้ทำงานเป็นพ่อค้าขายอาวุธและเป็นที่ปรึกษาทางทหารในระบอบการปกครองของควน เปรอนในอาร์เจนติน่าและของออกุสโต ปิโนเชต์ในชิลี และ Alfredo Stroessner ในปารากวัย เนื่องจากกิจกรรมเคลื่อนไหวเหล่านี้ เขาจึงถูกจับตามองโดยสำนักข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐ (CIA)",
"title": "ฮันส์-อุลริช รูเดิล"
},
{
"docid": "153661#6",
"text": "เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าไม่ได้พระเจ้าลุดวิจ วากเนอร์คงจะไม่ได้เขียนโอเปร่าชิ้นต่อๆ มา ลุดวิจทรงเรียกวากเนอร์ว่า “เพื่อน” แต่ความที่วากเนอร์มีนิสัยอันโอ่อ่าฟุ่มเฟือยของ จึงทำให้วากเนอร์ไม่เป็นที่ต้องใจของชาวบาวาเรียผู้ยังออกจะหัวโบราณ ในที่สุดลุดวิจก็ต้องขอให้วากเนอร์ออกจากเมือง",
"title": "พระเจ้าลุดวิจที่ 2 แห่งบาวาเรีย"
},
{
"docid": "430555#1",
"text": "แฮทซ์พิสูจน์ทฤษฎีโดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ส่งและรับคลื่นวิทยุโดยใช้การทดลอง นั่นให้เหตุผลถึงปรากฏการณ์แบบไร้สายอื่น ๆ ที่รู้จัก หน่วยวิทยาศาสตร์ของความถี่รอบต่อวินาทีได้รับการตั้งชื่อเป็น \"เฮิรตซ์\" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "518921#15",
"text": "สนามนี้มักถูกนำไปใช้ในการจัดคอนเสิร์ตค่อนข้างบ่อย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 สนามนี้จัดคอนเสิร์ตเป็นครั้งแรก คือเทศกาลคอนเสิร์ต \"Rock im Pott\" ซึ่งมีทั้งพลาซีโบ, เดอะบอสส์ฮอสส์, เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ ศิลปินอื่น ๆ ที่เคยแสดงดนตรีที่สนามนี้ได้แก่ บรูซ สปริงส์ทีน, บอน โจวี, ร็อบบี วิลเลียมส์, เมทัลลิกา, เอซี/ดีซี, ยูทู และศิลปินเยอรมัน พัวร์และแฮร์แบร์ท เกรอเนอไมเออร์",
"title": "อาเรนาเอาฟ์ชัลเคอ"
},
{
"docid": "430555#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2426 แฮทซ์ก็เข้ามาอยู่ในตำแหน่งวิทยากรวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยแห่งคีล",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "13567#1",
"text": "บรูซ วิลลิส ได้สมรสกับนักแสดงสาว เดมี มัวร์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 จนกระทั่งหย่ากันเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ทั้งคู่ไม่ได้ให้เหตุผลของการหย่าร้าง วิลลิสกับมัวร์มีบุตรด้วยกันสามคน รูเมอร์ เกลน วิลลิส (เกิดในปี ค.ศ. 1988) สเกาท์ ลารู วิลลิส (เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1991) และ ทาลูฮาห์ เบลล์ วิลลิส(เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1994) นับตั้งแต่ทั้งคู่แยกทางกัน ก็มีข่าวลือว่าต่างคนต่างจะแต่งงานใหม่ และเดมี มัวร์ก็ได้หมั้นกับดาราหนุ่ม แอชตัน คุชเชอร์ แต่ทั้งคู่ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และยังพำนักในบ้านหลังเดียวกัน และมีธุรกิจหลายอย่างร่วมกันในเบลนเคาน์ที รัฐโอไฮโอ",
"title": "บรูซ วิลลิส"
},
{
"docid": "222914#1",
"text": "วุร์สเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลสตาฟฟอร์ดเชอร์, มณฑลเวสต์มิดแลนด์, มณฑลวอริคเชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ทางด้านตะวันตกติดกับมาลเวิร์น ฮิลล์ส (Malvern Hills) ที่เป็นที่ตั้งของเมืองมาลเวิร์น ฮิลล์สที่เป็นเมืองบ่อน้ำแร่ ทางด้านด้านตะวันตกของเนินเป็นมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์และทางเหนือของค็อตสวอลด์ส (Cotswolds) ด้านตะวันตกติดกับมณฑลวอริคเชอร์ แม่น้ำสำคัญสองสายที่ไหลผ่านคือแม่น้ำเซเวิร์น และแม่น้ำเอวอน วุร์สเตอร์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 555,600 คน ในเนื้อที่ 1,741 ตารางกิโลเมตร ",
"title": "วุร์สเตอร์เชอร์"
},
{
"docid": "391571#1",
"text": "อเมริกาในยุคทศวรรษ 40 เศรษฐกิจกำลังตกต่ำอย่างหนัก ไมเคิล ซัลลิแวน (ทอม แฮงค์) มือปืนรับจ้างสังหาร พร้อมด้วยลูกชายตัวเล็ก ๆ อายุ 12 ขวบ ไมเคิล ซัลลิแวน จูเนียร์ (ไทเลอร์ เฮอคลิน) ผูกพันอยู่กับแก๊งค์มาเฟียเชื้อสายไอริชในชิคาโก ที่มี จอห์น รูนีย์ (พอล นิวแมน) เป็นหัวหน้าใหญ่ รูนีย์รักซัลลิแวนเสมือนลูกชายแท้ ๆ ของตน แม้ว่าจะมี คอนเนอร์ (แดเนียล เคร็ก) ซึ่งเป็นลูกชายตัวจริงอยู่แล้วก็ตาม แต่ในสายตาของรูนีย์แล้ว คอนเนอร์เป็นคนไม่ได้เรื่อง รูนีย์จึงปรารถนาให้ซัลลิแวนเป็นผู้สืบทอดแก๊งค์ต่อจากตน",
"title": "ดับแค้นจอมคนเพชฌฆาต"
},
{
"docid": "80366#33",
"text": "ทางวิ่งของโอแฮร์มีจุดตัดของทางวิ่งจำนวนมาก และสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้จากภาวะที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย หรือการจราจรที่คับคั่ง หรือกระแสลม ดังนั้นเจ้าหน้าหอบังคับการบินจึงต้องรอจนกว่าทางวิ่งจะว่างโดยตลอด ถึงจะอนุญาตให้ทางวิ่งอีกเส้นที่ตัดกันใช้งานได้ และหากเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินทำงานผิดพลาด ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และในช่วงหลายปีหลังมาอุบัติเหตุที่เครื่องบินเกือบจะเฉี่ยวหรือชน หรือต้องหักหลบจนเครื่องไถลออกนอกทางวิ่งอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นแผนปรับปรุงที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว ก็จะช่วยแก้ปัญหากรณีนี้ไปได้อย่างมาก",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์"
},
{
"docid": "650293#2",
"text": "เมื่อเทรนเนอร์มีอายุครบ 17 ปี เธอได้ถูกแนะนำโดยอัล แอนเดอร์สัน สมาชิกวงเอ็นอาร์บีคิว ให้คาร์ลา วอลเลซ เจ้าของร่วมและผู้จัดการทั่วไปของค่ายบิ๊กเยลโลด็อกมิวสิค รู้จัก จนเธอได้เข้ามาเซ็นสัญญาเป็นนักแต่งเพลงกับค่ายของวอลเลซหลังจากวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 18 ปีของเทรนเนอร์ได้ไม่นาน ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ระหว่างที่เธอยังเรียนอยู่ที่ไฮสกูล เทรนเนอร์ได้เขียนเพลงและได้ปล่อยอัลบั้มแรกของเธอ \"\"I'll Sing With You\"\" ในวันที่ 31 มกราคม และอัลบั้ม \"\"Only 17\"\" ในวันที่ 14 กันยายน หลังจากนั้นเธอเดินทางไปกับทริปเขียนเพลงที่ลอสแอนเจลิส, นครนิวยอร์ก และแนชวิลล์ และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แนชวิลล์ตอนอายุ 19 ปี เทรนเนอร์มีผลงานเขียนเพลงให้กับ ซาบรีนา คาร์เพนเตอร์, แรสคอล แพลตส์, อาร์ไฟฟ์ และศิลปินอีกมากมาย",
"title": "เมแกน เทรนเนอร์"
}
] |
58 | เกม ไฟนอลแฟนตาซี ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "20754#0",
"text": "ไฟนอลแฟนตาซี หรือรู้จักกันในนาม ไฟนอลแฟนตาซี I เป็นเกมภาษา หรือ เกมแนว RPG (Role-playing game) ที่สร้างขึ้นโดยฮิโรโนบุ ซากากุจิ ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สแควร์ สำหรับเล่นบนเครื่องเกม Nintendo Entertainment System (NES) หรือที่รู้จักกันในนาม แฟมิคอม วางตลาดครั้งแรกใน ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ถือเป็นปฐมบทแห่งตำนาน ไฟนอลแฟนตาซี",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี I"
}
] | [
{
"docid": "20754#1",
"text": "นอกจากนี้ ไฟนอลแฟนตาซี ยังได้ถูกสร้างใหม่ไว้สำหรับเล่นบนเครื่องเกมอีกหลายประเภท เช่น MSX 2 WonderSwan และโทรศัพท์มือถือ หลังจากออกจำหน่ายครั้งแรกมาหลายปี ไฟนอลแฟนตาซี I ได้ถูกสร้างใหม่พร้อม ไฟนอลแฟนตาซี II ทำเป็นชุดคู่กันในนาม ไฟนอลแฟนตาซีออริจินส์ (Final Fantasy Origins)สำหรับเครื่องเกม เพลย์สเตชัน, ไฟนอลแฟนตาซีดอว์นออฟโซลส์ (Final Fantasy I & II: Dawn of Souls) สำหรับเครื่อง เกมบอยแอดวานซ์ และ ไฟนอลแฟนตาซีแอนิวาซารี่เอดิชั่น บนเครื่อง พีเอสพี",
"title": "ไฟนอลแฟนตาซี I"
}
] |
157 | อาฟเตอร์สกูล เดบิวต์เมื่อปีอะไร? | [
{
"docid": "298241#6",
"text": "ในวันที่ 15 มกราคม 2009 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ต้นสังกัดได้ปล่อยตัวอย่างความยาว 30 วินาทีของซิงเกิลเดบิวต์ \"AH!\" ผ่านทาง Gom TV ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากและมีผู้เข้าชมในวันแรกมากกว่าหนึ่งแสนครั้ง[9] ทำให้ค่ายตัดสินใจปล่อยซิงเกิลแรกคือ \"AH!\" พร้อมกับซิงเกิลอัลบั้มชุดแรก New Schoolgirl ออกมาในวันนั้นทันที อาฟเตอร์สกูลขึ้นแสดงสดครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม 2009 ในรายการมิวสิคคอร์ (Show! Music Core) ของสถานีโทรทัศน์เอ็มบีซี ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิก 5 คนคือ กาฮี จองอา จูยอน โซยอง และเบคก้า ในช่วงเดือนเมษายน ยูอี ได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของวง ทำให้อาฟเตอร์สกูลมีสมาชิกทั้งหมด 6 คน พร้อมกับได้ปล่อยดิจิตอลซิงเกิลใหม่ \"Diva\" ในวันที่ 9 เมษายน 2009 และขึ้นแสดงครั้งแรกในรายการเอ็ม! เคาต์ดาวน์ (M!Countdown) ของช่องเอ็มเน็ตในวันเดียวกัน ซิงเกิลใหม่ \"Diva\" นี้ทำให้อาฟเตอร์สกูลได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมประจำเดือนเมษายน 2009 ของ Cyworld Digital Music Awards อีกด้วย",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
}
] | [
{
"docid": "298241#56",
"text": "2012: อาฟเตอร์สกูลเฟิสต์เจแปนทัวร์ \"เพลย์เกิร์ล\" 2014: อาฟเตอร์สกูลเซเคินด์เจแปนทัวร์ \"เดรสทูชายน์\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "870778#0",
"text": "จาง อี้ชิง (; ; ) เกิดเมื่อ 7 ตุลาคม ค.ศ.1991 ที่เมืองฉางชา, มณฑลหูหนาน, ประเทศจีน ชื่อในวงการคือ เลย์ (; ) รู้จักกันในนามสมาชิกในวงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ เอ็กโซ และยูนิตย่อย เอ็กโซ-เอ็ม เดบิวต์เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2012 ตำแหน่งเต้นหลัก",
"title": "เลย์ (นักร้อง)"
},
{
"docid": "298241#13",
"text": "ในวันที่ 15 มีนาคม 2010 เว็บไซต์หลักของอาฟเตอร์สกูลได้มีการเปิดเผยภาพโปรโมทซิงเกิลอัลบั้มชุดที่สามเป็นครั้งแรก โดยในภาพนี้สิ่งที่ทุกฝ่ายให้การจับตามองคือ อาฟเตอร์สกูลไม่ได้ปรากฏตัวแค่ 7 คน แต่กลับมีสมาชิกเพิ่มเข้ามารวมเป็น 8 คนด้วยกัน สำหรับภาพแจ็คเก็ตของ 8 สาวอาฟเตอร์สกูล หนึ่งในสมาชิกใหม่ที่กำลังก้มหน้าก็ได้รับความสนใจจากแฟนๆเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับภาพลักษณ์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งความสง่างามก็ทำให้ทุกฝ่ายต่างจับตามองถึงการแปลงโฉมในครั้งนี้กับเวทีคัมแบ็คของพวกเธออย่างถ้วนหน้า จนในวันที่ 17 มีนาคม เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์จึงได้เปิดเผยว่าสมาชิกใหม่ของอาฟเตอร์สกูลนั่นก็คือ ลิซซี่ และอาฟเตอร์สกูลก็จะคัมแบ็คด้วยซิงเกิลอัลบั้มชุดที่สาม Bang! ในวันที่ 25 มีนาคมนี้ โดยซิงเกิล Bang! นั้นสามารถทำยอดขายได้ 2,374,731 แผ่น และอยู่ในอันดับที่ 29 ของการจัดอันดับชาร์ตเพลงประจำปี 2010",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#27",
"text": "ในวันที่ 17 สิงหาคม 2011 อาฟเตอร์สกูลได้เดบิวต์ที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการด้วยซิงเกิลแรก \"Bang!\" เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น โดยอยู่ในอันดับ 7 ของออริกอนชาร์ต",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "630108#1",
"text": "ยู ซึง-โฮเดบิวต์เมื่อปี 1999 กับผลงานโฆษณาของ n016 ตอนอายุ 7 ขวบ ยู ซึง-โฮได้เริ่มงานแสดงในฐานะนักแสดงเด็กเมื่อปี 2000 กับผลงานทางละครโทรทัศน์เรื่อง Daddy Fish แต่เขามีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเมื่อได้แสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก เรื่อง The Way Home (2002) เรื่องราวของเด็กชายที่เติบโตขึ้นมาในสังคมเมืองและต้องมาใช้ชีวิตอยู่กับยายที่เป็นใบ้ในชนบท ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างความประหลายใจให้แก่ผู้ชม เมื่อถล่มรายได้บ๊อกซ์ออฟฟิศในปี 2002 มีผู้ชมมากกว่า 4 ล้านคน[1] หลังจากนั้นยู ซึง-โฮก็ได้รับฉายาว่า \"น้องชายเกาหลี\" นอกจากนี้ยู ซึง-โฮยังได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง Hearty Paws (2006) ซึ่งเป็นเรื่องราวของเด็กชายกับสุนัขอันเป็นที่รัก[2] และเรื่อง Do You See Seoul (2008) เรื่องราวของเด็ก ๆ ในเกาะที่อยู่ห่างไกล ซึ่งเข้ามาในโซลเพื่อทัศนศึกษาโรงงานทำขนมในช่วงปี 1970[3][4]",
"title": "ยู ซึง-โฮ"
},
{
"docid": "891454#0",
"text": "ออนแอนด์ออฟ (ภาษาเกาหลี:온앤오프 ใช้ตัวย่อว่า ONF ) เป็นบอยแบนด์ประเทศเกาหลีใต้ที่มีสมาชิก 7 คน ภายใต้การดูแลของบริษัท ดับเบิ้ลยูเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งสมาชิกวงประกอบไปด้วย ฮโยจิน, อีชั่น, เจอัส, ไวอัท, เอ็มเค, ยู และราอุน จัดโชว์เคสเดบิวต์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2560 พร้อมมินิอัลบัม “1st Mini Album [ON/OFF]” และซิงเกิ้ลแรก กับเพลง “ON/OFF” ขึ้นแสดงสเตจแรกที่รายการ Mnet M countdown วันที่ 3 สิงหาคม และนับวันนี้เป็นวันเดบิวต์ ",
"title": "ออนแอนด์ออฟ"
},
{
"docid": "298241#55",
"text": "อัลบั้มเกาหลี เวอร์จิน (2011) อัลบั้มญี่ปุ่น เพลย์เกิร์ล (2012) เดรสทูคิล (2014)",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "866683#0",
"text": "วอนนาวัน () เป็นบอยแบนด์ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสมาชิกมาจากการแข่งขัน Produce 101 Season 2 ในปี 2017 เป็นรายการที่คัดเลือกเด็กฝึกจากหลายบริษัท จาก 101 คนให้เหลือแค่ 11 คน ซึ่งบริษัท CJ E&M ได้สังกัดไว้. และ 11 คนนั้นก็ได้มาเป็นสมาชิกวง Wanna One โดยมีสมาชิกทั้งหมด 11 คน ประกอบไปด้วย ยุน จีซอง, ฮา ซองอุน, ฮวัง มินฮยอน, อง ซองอู, คิม แจฮวาน, คัง แดเนียล, พัค จีฮุน, พัค อูจิน, แพ จินยอง, อี แดฮวี และไล ควานลิน ซึ่งได้เดบิวต์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2017 และจะโปรโมตไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2018 เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 ปี 6 เดือน โดยบริษัท YMC Entertainment และ CJ E&M เป็นต้นสังกัด โดยภายหลังในวันที่ 31 พฤษภาคม 2018 Swing Entertainment ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลวอนนาวันโดยเฉพาะ",
"title": "วอนนาวัน"
},
{
"docid": "78853#12",
"text": "ฮวีซ็อง (ปัจจุบันเป็นนักร้องอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) อี จุน-กิ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) ฮอ ย็อง-แซ็ง (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ดับเบิลเอส 501) พัก จ็อง-มิน (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ดับเบิลเอส 501) พัก กยู-รี (ปัจจุบันคือหัวหน้าวงอดีตเกิร์ลกรุ๊ป คาร่า) อี ซ็อง-ย็อล (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง อินฟินิต) จี.โอ (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง เอ็มแบล็ก) โซลบี (ปัจจุบันเป็นนักร้องอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) จี ดรากอน (ปัจจุบันคือหัวหน้าวง บิกแบง) อี จง-ซ็อก (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) ซีโค (ปัจจุบันคือหัวหน้าวง บล็อกบี) โซย็อน (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ที-อารา) ฮอ ชัน-มี (อดีตสมาชิกวงโคเอ็ดสคูล และ ไฟฟ์ดอลส์) โช ฮย็อน-ย็อง (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง เรนโบว์) โก อู-รี (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง เรนโบว์) เรนะ (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง อาฟเตอร์สกูล และหัวหน้าซับยูนิต ออเรนจ์คาราเมล) ฮอ กา-ยุน (ปัจจุบันคือหนึ่งในวงอดีตเกิร์ลกรุ๊ป โฟร์มินิต) พัค อึน-จี (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ไนน์มิวส์) พัค กา-ฮี (อดีตหัวหน้าวง อาฟเตอร์สกูล) คิม ฮิม-ชาน (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง บี.เอ.พี) โก ซึง-ยอน (ปัจจุบันอยู่ภายใต้สังกัดอื่น) คว็อน ซุน-อิล (ปัจจุบันคือสมาชิกวง เออร์บันซาคาปา) จุนฮย็อก (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ฮ็อตช็อต) ทิโมเทโอ (ปัจจุบันคือหนึ่งในสมาชิกวง ฮ็อตช็อต)",
"title": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "298241#30",
"text": "ในวันที่ 1 ธันวาคม 2011 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ Happy Pledis 2011 ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 2 ในโปรเจกต์ \"Happy Pledis\" โดยในคราวนี้ได้ ซนดัมบิ, อาฟเตอร์สกูล, ศิลปินฝึกหัดในค่าย รวมถึงบอยแบนด์กลุ่มใหม่ของเพลดิสที่มีกำหนดจะเดบิวต์ในปีหน้า มาร่วมกันโปรโมทในอัลบั้มนี้ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งของอัลบั้มนี้จะถูกนำไปบริจาคให้กับองค์กรยูนิเซฟเพื่อช่วยเหลือเด็กๆต่อไป",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#23",
"text": "ในวันที่ 17 มิถุนายน 2011 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ต้นสังกัดของอาฟเตอร์สกูล ได้เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ อาฟเตอร์สกูลจะมีนักเรียนที่จบการศึกษารุ่นแรก ซึ่งอาฟเตอร์สกูลเป็นวงเกิร์ลกรุปที่ได้รับความสนใจมาตั้งแต่เดบิวท์ด้วยระบบสมาชิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือการเข้าโรงเรียนโดยการเพิ่มสมาชิกใหม่ และการจบการศึกษาโดยการลาออกของสมาชิกวง โดยนักเรียนที่จะจบการศึกษาในครั้งนี้ก็คือ เบคก้า ซึ่งต้นสังกัดกล่าวว่า “หลังจากครุ่นคิดและปรึกษาหารือกับเพื่อนๆ ครอบครัว บริษัทมานาน เบคก้าก็ตัดสินใจโดยสรุปว่า เธอจะจบการศึกษาจากวงอาฟเตอร์สกูล และจะกลับไปฮาวายเพื่อทุ่มเทให้กับการเรียนออกแบบที่เธอใฝ่ฝัน” เสริม “ตอนนี้เราก็กำลังวางแผนเรื่องการถ่ายภาพจบการศึกษาของสมาชิกวงรวมกับเบคก้า ซึ่งอีกไม่นานก็จะมีการเปิดตัวผลงานจบการศึกษาของเบคก้า โดยเธอจะมาพบกับแฟนๆ ก่อนที่จะจบการศึกษาครับ” ส่วนเบคก้าก็ได้กล่าวฝากมาทางต้นสังกัดว่า “ตอนนี้ฉันกำลังเตรียมผลงานจบการศึกษาโดยรวมเอาประสบการณ์และช่วงเวลาที่มีความสุขตอนที่อยู่ด้วยกันมาจนกระทั่งถึงตอนนี้อยู่ค่ะ ต่อไป ถ้าทักษะการออกแบบของฉันเพิ่มขึ้น ฉันก็อยากจะออกแบบอัลบั้มของอาฟเตอร์สกูลให้เป็นของขวัญค่ะ” อนึ่ง เบคก้าจะจบการทำกิจกรรมร่วมกับวงอาฟเตอร์สกูลในผลงานจบการศึกษาที่เธอเป็นผู้แต่งเนื้อเพลงเอง ซึ่งเพลงนี้จะกล่าวถึงความรู้สึกของเธอในการทำกิจกรรมกับอาฟเตอร์สกูลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#0",
"text": "อาฟเตอร์สกูล (Korean: 애프터스쿨; English: After School) เป็นกลุ่มนักร้องหญิงของประเทศเกาหลีใต้ สังกัดค่ายเพลดิสเอนเตอร์เทนเมนต์ในปี ค.ศ. 2009 ที่มีระบบการรับสมาชิกเข้าและสำเร็จการศึกษา[1][2]",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "607260#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2554 เข้าสู่สังกัดจากการออดิชั่นร่วมกับยูอารา และ คิมฮเยริม(ราอิม) เพื่อที่จะเป็นสมาชิกวงอาฟเตอร์สกูล แต่สุดท้าย ทางต้นสังกัดก็คัดอียองเป็นสมาชิกวงอาฟเตอร์สกูล จนถึงปัจจุบันนี้",
"title": "ชิน ยุน-โจ"
},
{
"docid": "298241#25",
"text": "ในเดือนกรกฎาคม เพลดิสได้ออกมาประกาศถึงการคัมแบ็คครั้งที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งการคัมแบ็คในครั้งนี้จะกลับมาในรูปแบบของยูนิตย่อย \"A.S.RED\" และ \"A.S.BLUE\" โดย \"A.S.RED\" นั้นมาพร้อมกับภาพลักษณ์ในแบบทรงพลังและบรรยากาศที่ชวนให้น่าติดตามในแบบฉบับของออริจินัลริตี้ของอาฟเตอร์สกูล ในขณะที่ \"A.S.BLUE\" นั้นมาในสไตล์แบบสาวใสบริสุทธิ์",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#50",
"text": "ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 อาฟเตอร์สกูลได้ปล่อยซิงเกิลภาษาญี่ปุ่น \"Shine\" เพื่อเป็นซิงเกิลโปรโมทสำหรับอัลบั้ม Best ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงภาษาญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมของอาฟเตอร์สกูล ที่จะวางขายในวันที่ 18 มีนาคม 2015",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "715185#4",
"text": "นัมอู-ฮย็อนเดบิวต์เมื่อปี 2010 ในฐานะนักร้องหลักของวงอินฟินิท",
"title": "นัม อู-ฮย็อน"
},
{
"docid": "246847#0",
"text": "โฟร์มินิต (; ) เป็นเกิร์ลกรุปจากเกาหลีใต้จากค่าย Cube Entertainment มีจำนวนสมาชิก 5 คน ประกอบด้วย จีฮยอน กายุน จียุน ฮยอนอา และ โซฮยอน เดบิวต์เมื่อเดือนมิถุนาน ปี ค.ศ. 2009 ด้วยเพลงแรก \"Hot issue\" และต่อมา เดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2010 ได้ปล่อยอัลบั้มญี่ปุ่มเป็นอัลบั้มแรก \"Diamond\". ในปี ค.ศ. 2011 ได้ปล่อยอัลบั้มเกาหลีแบบเต็ม อัลบั้ม \"4Minutes Left\". ",
"title": "โฟร์มินิต"
},
{
"docid": "298241#39",
"text": "อาฟเตอร์สกูลได้จัดแฟนมีตติ้งขึ้นที่ประเทศไทย ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2013 และที่ประเทศไต้หวัน ในวันที่ 30 มีนาคม 2013 ในวันที่ 27 มีนาคม 2013 อาฟเตอร์สคูลได้ทำการปล่อยอัลบั้ม The Best of AFTERSCHOOL ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงที่ได้รับความนิยมของอาฟเตอร์สคูลตั้งแต่เดบิวต์ พร้อมๆกับได้ปล่อยดีวีดีบันทึกการแสดง AFTERSCHOOL First Japan Tour 2012 -PLAYGIRLZ- ซึ่งเป็นดีวีดีบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตในญี่ปุ่นของพวกเธอด้วย",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#33",
"text": "ในวันที่ 14 มีนาคม 2012 อาฟเตอร์สกูลได้ปล่อยอัลบั้มเต็มภาษาญี่ปุ่นชุดแรก Playgirlz ซึ่งนอกจากจะมีซิงเกิลที่ปล่อยออกมาทั้งสามซิงเกิลรวมอยู่ด้วยแล้ว ยังมีเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ถึง 6 เพลง รวมไปถึงการนำเพลง \"Shampoo\" และเพลง \"Shanghai Romance\" ของออเรนจ์คาราเมล มาทำใหม่ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย อัลบั้มนี้สามารถขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 6 ของออริกอนอัลบั้มชาร์ตรายวันได้สำเร็จ จากการทำยอดขายได้มากกว่า 11,000 แผ่นภายในวันแรกที่ถูกปล่อยออกมา และอยู่ในอันดับที่ 9 ของยอดดาวน์โหลดใน iTunes Japan ในวันที่ 9 เมษายน 2012 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ต้นสังกัดได้ออกมาประกาศให้ทราบถึงการเพิ่มสมาชิกใหม่ของอาฟเตอร์สกูล ซึ่งในวันต่อมาก็ได้มีการเปิดเผยว่าสมาชิกคนดังกล่าวนั้นก็คือ กาอึน ซึ่งเป็นสมาชิกรุ่นที่ 5 ของอาฟเตอร์สกูล และจะเข้าร่วมในซิงเกิลอัลบั้มชุดที่ 5 ที่จะปล่อยออกมาในวันที่ 21 มิถุนายนที่จะถึงนี้",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "443183#1",
"text": "คัง จี-ย็อง เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1994 ที่ พาจู ประเทศเกาหลีใต้ จีย็องเริ่มเดบิวต์เมื่ออายุ 15 ปี ตอนอยู่มัธยมเกรดสาม เธอเป็นหนึ่งในสมาชิก 2 คนที่เข้าร่วมวงหลังจากคิม ซองฮีออกจากวงไป จีย็องร้องเพลงคิสซิงยู ของเกิลส์เจเนอเรชัน ในการออดิชัน จีย็องเป็นญาติของนักร้องเคป๊อปเกาหลีคือ เอ็นเอส ยุนจี",
"title": "คัง จี-ย็อง"
},
{
"docid": "933953#0",
"text": "เอ็น.ฟลายอิ้ง (, เกาหลี: 엔플라이잉) เป็นวงดนตรีชายสัญชาติเกาหลีใต้ ภายใต้สังกัด FNC Entertainment ในปี 2015 และมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่ ซึงฮยอบ, กวังจิน, ชาฮุน, แจฮยอน และฮเวซึง โดย N.Flying ย่อมาจาก New Flying\nN.Flying เป็นวงดนตรีชายสัญชาติเกาหลีใต้ ภายใต้สังกัด FNC Entertainment และเดบิวต์เมื่อปี 2015 ด้วยสมาชิกทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ซึงฮยอบ, กวังจิน, ชาฮุน และแจฮยอน ต่อมาเมื่อปี 2017 ทางต้นสังกัดได้ทำการเพิ่มสมาชิกคนใหม่ที่ผ่านจากรายการชื่อดังอย่าง Produce101 Season2 เข้ามาอีก 1 คน คือ ยู ฮเวซึง ทำให้ปัจจุบัน N.Flying มีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่ ซึงฮยอบ, กวังจิน, ชาฮุน, แจฮยอน และฮเวซึง",
"title": "เอ็น.ฟลายอิง"
},
{
"docid": "201992#0",
"text": "เอฟที ไอส์แลนด์ (; ; ย่อจาก \"ไฟฟ์เทรเชอร์ไอส์แลนด์\" (Five Treasure Island)) เป็นวงดนตรีแนวป๊อปร็อกสัญชาติเกาหลีใต้ประกอบด้วยสมาชิกห้าคน คือ ชเว จง-ฮุน (Choi Jong-hoon) ตำแหน่งกีตาร์,คีย์บอร์ดและหัวหน้าวง อี ฮงกิ (Lee HongGi) ตำแหน่งร้องนำ, อี แจ-จิน (Lee Jae-jin) ตำแหน่งเบสและร้อง, ซง ซึง-ฮยอน (Song Seung-hyun) ตำแหน่งกีตาร์และร้อง กับชเว มิน-ฮวัน (Choi Min-hwan) ตำแหน่งกลอง ตามลำดับ ปรากฏตัวบนรายการโทรทัศน์เมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 และเดบิวต์เมื่อ 7 มิถุนายน 2007 ในขณะที่ฮงกิและจงฮุนอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น(มากสุดในวง) พวกเขาออกอัลบัมแรกชื่อ \"เชียร์ฟูลเซนซิบิลิตี (Cheerful Sensibility)\" เมื่อปี 2550 และขายดีเป็นอันดับที่หกในปีนั้น ส่วนเพลงแรกของวงนี้คือ \"เลิฟซิก\" (Love sick) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศแม่เป็นเวลาแปดสัปดาห์ติดต่อกัน เอฟทีไอส์แลนด์เป็นวงที่สมาชิกทุกคนไม่เคยผ่านการศัลยกรรมมาก่อน สมาชิกส่วนใหญ่มีความสามารถแต่งเพลงเนื้อร้องและทำนองเอง รวมถึงอื่นๆ แม้ที่ผ่านมาสมาชิกในวงจะมีโอกาสได้แต่งเพลงทำเพลงในอัลบั้มบ้างเป็นบางเพลง แต่อัลบั้ม I WILL และ Where's the truth? เป็นสองอัลบั้มที่แสดงความเป็นตัวตนของเอฟทีไอส์แลนด์อย่างแท้จริง พวกเขาแต่งเพลงเอง ทำเพลงเอง รวมถึงออกแบบตัดต่ออื่นๆ ล้วนเป็นไอเดียของสมาชิกทุกคนในวง",
"title": "เอฟ.ที. ไอส์แลนด์"
},
{
"docid": "298241#36",
"text": "ในวันที่ 5 มิถุนายน 2012 ทางเพลดิสต้นสังกัดได้ออกมายืนยันถึงการจบการศึกษาหัวหน้าวงกาฮี ซึ่งเป็นการจบการศึกษาเป็นคนที่ 3 ของวงอาฟเตอร์สกูล ทั้งนี้กาฮีจะทำกิจกรรมในฐานะอาฟเตอร์สกูลไปจนถึงเดือนกันยายน และจะออกจากวงเพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นศิลปินเดี่ยวต่อไป",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#22",
"text": "ทีมงานได้ถูกถามถึงผลงานอัลบั้มเต็ม Virgin ของอาฟเตอร์สกูล ที่วางจำหน่ายในรอบ 1 ปีหลังจากอัลบั้ม Bang! โดยทีมงานกล่าวว่า \"ทุกคนจะสามารถสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ของ After School ที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากลุคของสาวงามสุดมั่นในแบบเดิมๆ พวกเธอจะมาถ่ายทอดนิยามความงามในแบบ Virgin ผ่านผลงานอัลบั้มชุดนี้ครับ\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#16",
"text": "ในวันที่ 6 ธันวาคม 2010 อาฟเตอร์สกูล ได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ Happy Pledis 1st Album ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ \"Happy Pledis\" ที่ศิลปินของเพลดิสทุกคนจะมอบความสุขให้กับแฟนเพลงเป็นของขวัญส่งท้ายปี โดยรายได้บางส่วนจากการจำหน่ายซิงเกิลนี้ จะถูกนำไปบริจาคให้กับองค์กร \"Save The Children\" ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือเด็กๆด้วย อย่างไรก็ตาม เบคก้า ไม่ได้เข้าร่วมโปรโมทซิงเกิลนี้กลับสมาชิกคนอื่นๆ โดยต้นสังกัดเปิดเผยว่า \"ตอนนี้เบคก้ากำลังอยู่ในระหว่างการพักผ่อนครับ\" เขากล่าว \"ตั้งแต่เธอเป็นเด็กฝึกหัด เบคก้า ยังไม่เคยเดินทางกลับบ้านไปที่ฮาวายเป็นเวลากว่า 3-4 ปีแล้วครับ ตอนนี้เธอเลยใช้เวลากลับไปผักผ่อน\" เสริม \"เนื่องจากเธอไปพักผ่อนอยู่ก่อนแล้ว การที่จะให้เธอเดินทางกลับมาแป๊ปนึงเพื่อถ่ายภาพนั้นก็ใช่เรื่อง ทำให้เราตัดสินใจไม่ได้รวมเธอเข้าไปในอัลบั้มนี้ครับ\" กล่าวต่อ \"อัลบั้มนี้เป็นผลงานอัลบั้มซีซั่นพิเศษ ที่อาฟเตอร์สกูลได้เตรียมเอาไว้เพื่อใช้เป็นเพลงในเทศกาลคริสต์มาสในฤดูหนาวนี้ครับ\" เสริม \"ส่วนด้านเบคก้าจะกลับมาร่วมกับเพื่อนๆของเธอในอัลบั้มเต็มของอาฟเตอร์สกูลที่จะวางจำหน่ายต้นปีหน้าครับ\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#4",
"text": "หลังจากที่กาฮีออกจากวง S.Blush แล้ว เธอได้ติดต่อกับเพื่อนที่ เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ และได้วางโครงการร่วมกันที่จะก่อตั้งเกิร์ลกรุปวงใหม่ขึ้นมา โดยสมาชิกคนแรก(นอกเหนือจากกาฮี)คือเบคก้า ซึ่งเป็นเด็กฝึกหัดในตอนที่กาฮียังเป็นสมาชิกวง S.Blush อยู่ ตามด้วยจองอา จูยอน และโซยองเป็นคนสุดท้าย เพี่อที่จะเดบิวต์เป็นเกิร์ลกรุปที่มีสมาชิก 5 คน",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "941695#20",
"text": "ในวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2560,เจลลี่ฟิช เอนเตอร์เทนเมนต์ได้ออกแถลงการณ์ว่า สมาชิกของคูกูดัน คัง มิ-นา และ โช ฮเย-ย็อน ทั้งสองคนจะเดบิวต์เป็นซับยูนิตของววง โดยเรียกว่า \"Gugudan 5959\" พวกเขาเดบิวต์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมด้วยเพลง \"Ice Chu\"",
"title": "เจลลีฟิชเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "585280#0",
"text": "ยัง จีว็อน(Hangul: 양지원; Hanja: 楊知元; เกิด 5 เมษายน 2531)หรือชื่อที่ใช้ในการแสดงว่าจีว็อน(Jiwon)เป็น นักร้อง นักแสดง พิธีกร ไอดอลหญิง ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งรู้จักในสถานะสมาชิกวง สปีคก้า\nจีวอน เกิดในโซล หลังจากเธอจบจากโรงเรียนมัธยมในโซล เธอได้เรียนที่ มหาวิทยาลัยดองกุก จีวอนเธอได้สอบเข้าเรียนคณะการบันเทิง เธอเกือบเปิดได้เป็นสมาชิกวง Five Girlsมี 5คน ประกอบด้วย จีน่า(เป็นศิลปินเดี่ยว) ฮโยซ็อง วงซีเครต ยูอี วง อาฟเตอร์สกูล ยูบิน วง วันเดอร์เกิลส์ แต่ภายหลังวงนี้เป็นที่หน้าเสียดายเพราะไม่ได้เดบิว เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของค่าย Good Entertainment \nหลังจากค่ายเก่าถูกยกเลิกไปเพราะปัหญาทางการเงินเธอได้ย้ายมาอยู่กับค่าย Core Contents Media แต่ว่าเธอเกือบได้เป็นสมาชิกวง ที-อารา แต่ว่าเธอขอถอนตัวออกมาก่อนเพราะปัหญาความไม่พร้อมของตัวเธอเองด้วยหลังจากนั้นในปี 2010 เธอก็ได้ตัดสินลาออกจากค่าย Core Contents Media\nในปี 2011 เธอตัดสินใจไปออดิชั่นกับค่าย B2M Entertainment และเธอก็ได้รับการอบรมจนได้เป็นสมาชิกวง สปีคก้า ในที่สุด",
"title": "ยัง จี-ว็อน"
},
{
"docid": "298241#17",
"text": "ในวันที่ 31 ธันวาคม 2010 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ได้เปิดตัวสมาชิกคนที่ 9 ของอาฟเตอร์สกูล อียอง (E-Young) ในงาน MBC \"Music Festival\"",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
},
{
"docid": "298241#31",
"text": "ในวันที่ 17 ธันวาคม 2011 อาฟเตอร์สกูลได้ขึ้นแสดงในคอนเสิร์ต MTV EXIT ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ร่วมกับวง เดอะคลิกไฟฟ์ วงดนตรีจากประเทศสหรัฐอเมริกา[11]",
"title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)"
}
] |
2415 | ประชาธิปไตย หมายความว่าอย่างไร ? | [
{
"docid": "7892#0",
"text": "ประชาธิปไตย () เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน",
"title": "ประชาธิปไตย"
}
] | [
{
"docid": "79585#68",
"text": "โดยนิยาม ประชาธิปไตยเสรีนิยมหมายความว่าอำนาจไม่ได้รวมศูนย์\nดังนั้น นี่อาจเป็นข้อเสียเปรียบในช่วงสงคราม เมื่อจำเป็นต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและเป็นใจเดียวกัน\nฝ่ายนิติบัญญัติปกติจะต้องยินยอมก่อนจะเริ่มยุทธการรุกรานทางทหาร แม้ว่าบางที ฝ่ายบริหารก็สามารถทำได้แต่ต้องแจ้งฝ่ายนิติบัญญัติ\nแต่ถ้าถูกโจมตี ปกติไม่จำเป็นต้องได้ความยินยอมเพื่อเริ่มยุทธการป้องกันตัว\nอนึ่ง ประชาชนอาจจะลงคะแนนเสียงไม่ให้มีการเกณฑ์ทหาร",
"title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม"
},
{
"docid": "711912#8",
"text": "ประเทศหนึ่งจะเป็นประชาธิปไตยได้ ขึ้นอยู่กับการมีกลไกที่ให้เจ้าของอำนาจสามารถ “เลือก” และ “ควบคุม” การทำหน้าที่ของตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจได้ ในทางปฏิบัติการเลือกและการควบคุมรวมถึงการลงโทษและการให้รางวัล นั่นหมายความว่าประชาชนมีอำนาจในการเลือก ควบคุม ลงโทษ และให้รางวัลผู้แทนของตน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนต้องมีอำนาจเลือก ควบคุม ลงโทษ และให้รางวัลนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นผู้รับมอบอำนาจจากประชาชนโดยตรง",
"title": "ตัวแทน"
},
{
"docid": "79585#70",
"text": "นักวิชาการทางรัฐศาสตร์คู่หนึ่งให้ข้อสังเกตว่า การเน้นความเป็นตัวของตัวเองในสังคมประชาธิปไตยหมายความว่า ทหารจะต่อสู้โดยมีความริเริ่มและความเป็นผู้นำดีกว่า\nเพราะว่า นายทหารในระบอบเผด็จการมักจะแต่งตั้งตามความจงรักภักดีทางการเมือง ไม่ใช่สมรรถภาพทางการทหาร\nและอาจมาจากชนชั้นที่เล็กมาก หรือจากกลุ่มศาสนา/ชาติพันธุ์ที่สนับสนุนการปกครอง",
"title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม"
},
{
"docid": "7892#52",
"text": "นับตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอเมริกาแล้ว คำถามต่อมา คือ ประชาธิปไตยจะมีวิธีการอย่างไรในการควบคุมเสียงส่วนใหญ่ให้อยู่ในขอบเขต อันได้นำไปสู่แนวคิดของสภาสูง โดยสมาชิกอาจเลือกสมาชิกสภาสูงเข้ามาผู้มีความรู้ความสามารถ หรือเป็นขุนนางมาตลอดชีวิต หรือควรจะมีการจำกัดอำนาจของกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ",
"title": "ประชาธิปไตย"
},
{
"docid": "2069#8",
"text": "หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง () ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "8836#15",
"text": "ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง",
"title": "ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "79585#87",
"text": "มีข้อโต้แย้งหลายอย่างต่อทฤษฎีนี้ รวมทั้งการมีหลักฐานปฏิเสธอย่างน้อยก็เท่า ๆ กับหลักฐานที่ยืนยันทฤษฎี, มีกรณีที่ต่างจากปกติถึง 200 กรณี, ไม่ปฏิบัติต่อ \"ประชาธิปไตย\" โดยเป็นแนวคิดหลายมิติ, และสหสัมพันธ์ไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุ",
"title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม"
},
{
"docid": "79585#60",
"text": "ส่วนผู้สนับสนุนแสดงว่า มีมาตรการความปลอดภัยหลายอย่างในรัฐประชาธิปไตยเพื่อป้องกัน \"เผด็จการโดยเสียงข้างมาก\"\nเช่น การมีกฎรัฐธรรมนูญที่ป้องกันสิทธิของประชาชนทั้งหมด\nโดยทั่วไปแล้ว การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญจะต้องได้การตกลงจากเกินกว่าครึ่งของผู้แทน ได้การตกลงจากตุลาการและลูกขุนที่เห็นด้วยว่ามาตรฐานทางหลักฐานและกระบวนการได้ทำอย่างสมบูรณ์ ได้การลงคะแนนเสียงเห็นด้วยสองครั้งโดยผู้แทนจากการเลือกตั้งสองครั้ง หรือบางครั้งได้การออกเสียงประชามติ\nและบ่อยครั้ง ข้อแม้เหล่านี้ต้องทำอย่างผสม\nการแยกใช้อำนาจเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ก็จะทำให้คนส่วนน้อยทำตามอำเภอใจได้ยากขึ้น\nซึ่งหมายความว่า แม้คนส่วนมากจะยังสามารถบังคับคนส่วนน้อยอย่างถูกกฎหมาย (โดยอาจจะไม่ถูกต้องตามจริยธรรม) แต่คนส่วนน้อยนี้จะเป็นคนกลุ่มเล็กมากโดยทางปฏิบัติ เพราะการเร้าให้คนส่วนใหญ่ตกลงร่วมใจปฏิบัติการเยี่ยงนั้นเป็นเรื่องยาก",
"title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม"
},
{
"docid": "79585#51",
"text": "ในหนังสือ \"โลกติดไฟ - การส่งออกประชาธิปไตยแบบตลาดเสรีได้ให้กำเนิดการเกลียดชังทางชาติพันธุ์และการไร้เสถียรภาพของโลกได้อย่างไร (World on Fire: How Exporting Free Market Democracy Breeds Ethnic Hatred and Global Instability)\" \nศ. นิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเยลได้ยกประเด็นคือ\nข้อวิจารณ์ระบอบประชาธิปไตยที่คงยืนจากพวกอิสรนิยมและกษัตริย์นิยมก็คือ ระบบสนับสนุนให้ผู้แทนที่ได้รับเลือกเปลี่ยน/ออกกฎหมายโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะที่ทำอย่างน้ำท่วมป่า\nซึ่งมองว่า เป็นอันตรายหลายอย่าง",
"title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม"
},
{
"docid": "96299#18",
"text": "ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยกล่าวว่า สิ่งที่ควรคิดกันคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดความเดือดร้อน หรือเกิดความเดือดร้อนน้อยที่สุด เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ประสงค์จะเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในรูปแบบใดทั้งสิ้น ดังนั้นการเคลื่อนไหวอะไรก็ตามของฝ่ายที่คิดหรือหวังผลที่จะให้เกิดความรุนแรง จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่",
"title": "คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549"
}
] |
1817 | พระพุทธเจ้า ประสูติที่ไหน? | [
{
"docid": "48077#0",
"text": "ลุมพินีวัน () เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้",
"title": "ลุมพินีวัน"
}
] | [
{
"docid": "77973#2",
"text": "พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ประสูติในราชตระกูลศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา และทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี จึงเสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการนับปีพุทธศักราช",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "140671#1",
"text": "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494 ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่องและนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า) เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า \"พลายแก้ว\" มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500",
"title": "พระเศวตอดุลยเดชพาหน"
},
{
"docid": "215838#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (8 ตุลาคม พ.ศ. 2337 - 27 เมษายน พ.ศ. 2399) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1156 ตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2337 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาศิลา ณ บางช้าง ธิดาในขรัวยายฟักทอง ราชินิกุล ณ บางช้าง (ขรัวยายฟ้กทองนั้นมีบิดานาม ขุนสนิทภิรมย์ ซึ่งเป็นบุตรชายท่านยายเจ้ามุก ส่วนมารดาคือท่านยายเชียง บุตรสาวของท่านตาเจ้าแทนและท่านเจ้ามุก โดยเจ้าแทนมีศักดิ์เป็นพระชนกทอง หรือพระชนกของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 1)",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์"
},
{
"docid": "256676#1",
"text": "พระเทพเมธาภรณ์ มีนามเดิมว่า ประสงค์ บุญทศ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2487 ณ บ้านหนองบก ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในอดีต) บรรพชาเมื่อ วันที่ 17 มิถุนาย 2500 อายุ 14 ปีที่วัดหนองไคร้ ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลฯ (ในอดีต) พระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆรักษ์เพ็ง เป็นอาจารย์ อุปสมบทเมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2509 อายุ 22 ปี ที่วัดเครือวัลย์วรวิหาร ตำบลวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี (ในอดีต) พระราชธรรมโสภณ (เผื่อน สุมโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพัทธญานประสาธน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสุบิน เขมิโย (ป.ธ. 9) เป็นพระอนุสาวนาจารย์",
"title": "พระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย)"
},
{
"docid": "215860#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ (พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2391) มีพระยศเดิมว่า\"หม่อมเจ้าไพฑูรย์\" ประสูติเมื่อปีจอ จัตวาศก จุลศักราช 1164 ตรงกับปี พ.ศ. 2345 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาทับทิม ณ บางช้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น\"กรมหมื่นสนิทนเรนทร์\" ในปี พ.ศ. 2379 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1210 ตรงกับปี พ.ศ. 2391 พระชันษา 47 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลไพฑูรย์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์"
},
{
"docid": "70063#2",
"text": "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี มีพระนามเดิมว่า ประไพ สุจริตกุล ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ที่บ้านคลองด่าน อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ซึ่งเป็นบ้านของปู่คือ พระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล) ซึ่งพระยาราชภักดีเป็นน้องชายของ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา พระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นพระยาราชภักดี รวมทั้งบุตรหลานจึงมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์จักรีในฐานะราชินิกุลที่ใกล้ชิด\nประไพเกิดมาเป็นเด็กรูปร่างเล็กบอบบาง อุปนิสัยร่าเริง และมีผู้ทำนายไว้ว่าลักษณะมีบุญ จนพี่น้องรู้กันดีว่า หากจะขออนุญาตไปเที่ยวงาน หรือต้องการของกินของเล่นอย่างใด หากอ้างชื่อคุณประไพ ก็จะได้ดังประสงค์ทุกครั้งไป เมื่อคุณประไพอายุครบแปดขวบจึงได้เข้าไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนราชินี ในรุ่นเดียวกับหม่อมเจ้าจันทรนิภา เทวกุล คุณสมบุญ ชินะโชติ และคุณเพียบ สุจริตกุล คุณประไพชอบการกีฬามากกว่าวิชาการ แต่ก็สอบได้คะแนนดีทุกครั้ง ต่อมาพระยาราชภักดี (โค) ก็ถึงแก่อนิจกรรม บิดาของคุณประไพจึงย้ายไปปลูกบ้านใหม่ที่ประตูน้ำภาษีเจริญ ห่างจากบ้านคลองด่านไม่มากนัก ต่อมาบิดาของท่านเข้าเฝ้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา"
},
{
"docid": "392746#1",
"text": "พระพุทธวิถีนายก หรือ หลวงปู่เพิ่ม หรือ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2429 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2437 ขณะมีอายุได้ 8 ปี บวชเป็นสามเณรมาอยู่จนถึงอายุบวชเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ท่านได้เข้าทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัตเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้น ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และท่านก็เป็นลูกศิษย์เอกของพระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) ท่านได้อยู่รับใช้หลวงปู่บุญ จนกระทั่งหลวงปู่บุญท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นก็มีเจ้าอาวาสรักษาการอยู่ประมาณ 4 ปีต่อจากนั้น",
"title": "พระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญฺญวสโน)"
},
{
"docid": "28052#1",
"text": "พระราชธรรมนิเทศ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี บรรพชาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 และอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ณ วัดสังวรพิมลไพบูลย์ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2516 และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี",
"title": "พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ)"
},
{
"docid": "156367#1",
"text": "พระปทุมะพุทธเจ้า ประสูติเป็นพระมหาปทุมราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งจัมปกะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอสมราช และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางอสมา พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามว่า ปทุมะ เพราะเมื่อพระองค์ประสูติ ได้บังเกิดดอกบัวตกลงมาจากท้องฟ้าลงสู่มหาสมุทรทั่วทั้งชมพูทวีป มหาปทุมราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ชื่อ นันทุตตระ วสุตตระ และยสุตตระ มีพระมเหสีพระนามว่า อุตตราเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง\nวันหนึ่ง พระมหาบุรุษทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา เมื่อพระนางอุตตราเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า รัมมราชกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยราชรถเทียมม้า มีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ\nมหาปทุมราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางธัญญวดี ธิดาของสุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดี และรับหญ้า ๘ กำจากติตถกะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นมหาโสณะ (ต้นอ้อยช้างใหญ่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น",
"title": "พระปทุมพุทธเจ้า"
}
] |
3463 | เจ. เค. โรว์ลิ่ง เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "38960#0",
"text": "โจแอนน์ \"โจ\" โรว์ลิง (, OBE FRSL) หรือนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิง และโรเบิร์ต กัลเบรธ (เกิด 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965) เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ซึ่งได้รับความความสนใจจากทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมาย และมียอดขายกว่า 500 ล้านเล่ม และยังเป็นหนังสือชุดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้านภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือก็เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ โรว์ลิงอนุมัติบทภาพยนตร์ทุกภาค และตลอดจนควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้าง",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#4",
"text": "โรว์ลิงเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 ที่เมืองเยตส์ มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ 10ไมล์จากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ เธอเป็นลูกสาวคนโตของปีเตอร์ โรว์ลิง วิศวกรการบินของบริษัทโรลส์-รอยซ์ และแอนน์ โรว์ลิง (นามสกุลเดิม โวแลนท์) นักเทคนิควิทยาศาสตร์ ทั้งคู่พบกันบนขบวนรถไฟจากสถานีรถไฟคิงครอสไปเมืองอาร์บรอท เมื่อปี 1964 ก่อนจะแต่งงานกันในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1965 ตาทวดของเธอชื่อดูกัล แคมป์เบลล์ เป็นชาวสก็อต เกิดที่เมืองแลมแลช บนเกาะอาร์ราน ประเทศสก็อตแลนด์ ตาของแม่เธอชื่อหลุยส์ โวแลนท์ เป็นชาวฝรั่งเศสและเคยได้รับรางวัลเหรียญกล้าหาญครัวเดอะแกร์ จากวีรกรรมการป้องกันหมู่บ้านคอร์แซลล์ เลอ คองต์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้โรว์ลิงยังเชื่อว่าเขาเคยได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ในช่วงสงคราม ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์เดียวกันกับที่เธอได้ในปี 2009 ภายหลังเธอก็ได้รับการยืนยันหลังจากมีส่วนร่วมในตอนนึงของรายการสารคดีชุด\"Who Do You Think You Are?\"",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "10882#0",
"text": "แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วันเดือนเดียวกับผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เขียนให้แฮร์รี่เกิดวันเดียวกันกับเธอแต่คนละปี) เป็นลูกชายคนเดียวของเจมส์ พอตเตอร์และลิลี่ พอตเตอร์ เป็นตัวละครเอกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
}
] | [
{
"docid": "38960#1",
"text": "โรว์ลิงเกิดที่เมืองเยตส์ มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ เคยทำงานเป็นนักวิจัยและเลขานุการสองภาษาให้กับองค์การนิรโทษกรรมสากล ก่อนได้ความคิดสำหรับชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"บนขบวนรถไฟที่ล่าช้าจากแมนเชสเตอร์ไปลอนดอนเมื่อปี 1990 อีกเจ็ดปีถัดมา เธอเสียมารดา หย่าร้างกับสามีคนแรกและค่อนข้างยากจน จนโรว์ลิงเขียน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" เสร็จในปี 1997 มีภาคต่อหกเล่ม เล่มสุดท้ายคือ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต\" ในปี 2007 จากนั้นโรว์ลิงเขียนหนังสือสำหรับผู้อ่านผู้ใหญ่สามเรื่อง ได้แก่ \"เก้าอี้ว่าง\" (2012) และนวนิยายสืบสวนสอบสวน เรื่อง \"เสียงเพรียกจากคักคู\" (2013) และ \"หนอนไหม\" (2014) โดยใช้ชื่อปลอมในการเขียนว่า โรเบิร์ต กัลเบรธ",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#31",
"text": "โรว์ลิงแต่งงานกับวิสัญญีแพทย์ นีล เมอร์เรย์ (เกิด 30 มิถุนายน ค.ศ. 1971) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2001 ในพิธีแบบส่วนตัวที่คฤหาสน์ของเธอ ใกล้กันกับเมืองเมืองแอปเบอร์เฟลดี หลังจากนั้นโรว์ลิงให้กำเนิดลูกชายชื่อเดวิด กอร์ดอน โรว์ลิง เมอร์เรย์ ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2003 หลังจากที่เริ่มต้นเขียน\"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม\"ไม่นาน เธอได้หยุดการเขียนหนังสือไว้เพื่อมาดูแลเดวิดช่วงที่เขายังเป็นทารก",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "556733#0",
"text": "เก้าอี้ว่าง () เป็นนวนิยายสะท้อนสังคม เขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่ง วางจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเก้าอี้ว่างถือเป็นนวนิยายผู้ใหญ่เล่มแรกของโรว์ลิ่ง หลังจากเธอใช้เวลาเขียนวรรณกรรมเยาวชนอย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์มาเป็นเวลานานถึง 17 ปี ตัวนิยายมีเนื้อหาสะท้อนสังคม ตีแผ่ด้านมืดในจิตใจมนุษย์ ปัญหาต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ปัญหาของวัยรุ่น ยาเสพติด เซ็กซ์",
"title": "เก้าอี้ว่าง"
},
{
"docid": "38960#5",
"text": "โรว์ลิงมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อว่าไดแอนน์ เกิดให้หลังเธอ 23 เดือน เมื่อโรว์ลิงอายุสี่ขวบ ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่วินเทอร์บอร์น ซึ่งเป็นหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง เธอเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์ไมเคิล ที่ก่อตั้งโดยวิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ นักการเมืองผู้เรียกร้องให้เกิดการเลิกทาสในอังกฤษและฮันนาห์ มอร์ นักปฏิรูปการศึกษาของอังกฤษ อัลเฟรด ดันท์ ครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งนี้ภายหลังได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เธอสร้างตัวละครอัลบัส ดัมเบิลดอร์ ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้น",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#12",
"text": "เจ็ดปีหลังจากจบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย โรว์ลิงมองดูตัวเองเป็นคนที่ประสบความล้มเหลวคนหนึ่ง ชีวิตคู่ของเธอล้มเหลว เธอตกงานและมีลูกอีกหนึ่งคนที่ต้องดูแล แต่เธอได้อธิบายความล้มเหลวของเธอว่าเป็นการมอบอิสระและสามารถทำให้เธอมีเวลาจดจ่อกับการเขียนมากขึ้น ในช่วงเวลานั้นโรว์ลิงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย อาการป่วยของเธอได้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอสร้างตัวละครผู้คุมวิญญาณ สิ่งมีชีวิตที่ดูดกินวิญญาณและความสุขซึ่งปรากฏตัวในเล่มที่สาม และด้วยปัญหาทางการเงิน โรว์ลิงจึงได้ยื่นเรื่องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์ของรัฐบาล เธอได้อธิบายสถานภาพทางการเงินของเธอ ณ ตอนนั้นว่า “ไม่ได้ไร้บ้าน แต่ก็ยากจนเท่าที่มันจะเป็นได้ในประเทศอังกฤษสมัยปัจจุบัน”",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "209984#0",
"text": "เอลฟ์ประจำบ้านเป็นสิ่งมีชีวิตในจินตนาการของเจ.เค.โรว์ลิ่ง ปรากฏในนิยายและภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีลักษณะเป็นภูตวิเศษขนาดเล็กที่สิงอยู่ในบ้านที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่คอยดูแลรับใช้คนในตระกูลเวทมนตร์ ซึ่งจะทำหน้าที่นี้ไปจนกว่ามันจะตาย เอลฟ์ประจำบ้านจะภาคภูมิใจในหน้าที่ของตน และจะไม่ทรยศต่อครอบครัวของตน",
"title": "เอลฟ์ประจำบ้าน"
},
{
"docid": "195306#0",
"text": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์ เป็นบทความสั้น ๆ ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเธอเขียนขึ้นมาหลังจากแฮร์รี่ พอตเตอร์จบลง มีทั้งหมด 800 คำ 2 หน้ากระดาษด้วยกัน โดยเธอกล่าวว่า \"สองสามเดือนก่อน นักเขียนจำนวนหนึ่งได้รับเชิญให้เขียนการ์ดด้วยลายมือสำหรับการประมูล โดย Waterstone's ในวันที่ 10 มิถุนายน รายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับ \"English PEN\" ซึ่งเป็นสมาคมของนักเขียน และสมาคม \"Dyslexia Society\"\"",
"title": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์"
}
] |
2846 | กาลิเลโอ กาลิเลอี คิดค้นกล้องดูดาวชนิดใดเป็นตัวแรก ? | [
{
"docid": "15703#0",
"text": "กาลิเลโอ กาลิเลอี (Italian: Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น \"บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่\"[1] \"บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่\"[2] \"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์\"[2] และ \"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่\"[3]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
}
] | [
{
"docid": "15703#34",
"text": "ในปีสุดท้ายของชีวิตหลังจากที่กาลิเลโอตาบอดสนิท เขาได้ออกแบบกลไกฟันเฟืองสำหรับการแกว่งตัวของลูกตุ้มนาฬิกา ซึ่งได้สร้างขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรกโดยคริสตียาน เฮยเคินส์ ในราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1650 กาลิเลโอยังได้วาดภาพสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เอาไว้อีกมากมาย เช่น อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเทียนไขกับกระจกเพื่อใช้ในการส่องแสงตลอดทั่วทั้งอาคาร อุปกรณ์เก็บเกี่ยวมะเขือเทศอัตโนมัติ หวีแบบพกพาที่ขยายตัวออกเป็นภาชนะได้ และเครื่องมือบางอย่างที่ดูคล้ายปากกาแบบลูกลื่นในปัจจุบัน",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#31",
"text": "ราวปี ค.ศ. 1593 กาลิเลโอได้สร้างเทอร์โมมิเตอร์ขึ้นโดยอาศัยการขยายและหดตัวของอากาศในท่อเพื่อขับให้น้ำเคลื่อนที่ไปในท่อขนาดเล็กที่ต่อกันไว้ ระหว่างปี ค.ศ. 1595-1598 กาลิเลโอได้ประดิษฐ์และพัฒนาเข็มทิศภูมิศาสตร์และเข็มทิศสำหรับการทหารขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในการเล็งปืนและสำหรับการสำรวจ การประดิษฐ์นี้พัฒนาขึ้นจากเครื่องมือวัดดั้งเดิมของ นิคโคโล ทาร์ทาเกลีย (Niccolò Tartaglia) และ กุยโดบัลโด เดล มอนเต (Guidobaldo del Monte) เข็มทิศที่ใช้กับปืนช่วยให้สามารถเล็งทิศทางได้แม่นยำและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยสามารถคำนวณปริมาณดินปืนสำหรับระเบิดที่มีวัสดุและขนาดแตกต่างกัน ส่วนเครื่องมืดวัดในทางภูมิศาสตร์ช่วยในการคำนวณงานก่อสร้างพื้นที่หลายเหลี่ยมแบบใดก็ได้รวมถึงพื้นที่เสี้ยวของวงกลม",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#60",
"text": "การค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอและงานวิเคราะห์ที่สนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส เป็นผลงานเกียรติยศที่โด่งดังตลอดกาล รวมถึงการค้นพบดวงจันทร์ใหญ่ที่สุด 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี (ไอโอ, ยูโรปา, แกนิมีด และ คัลลิสโต) ซึ่งได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน หลักการและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมายก็ตั้งชื่อตามเขา เช่น ยานอวกาศกาลิเลโอ ซึ่งเป็นยานสำรวจอวกาศลำแรกที่เข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสบดี ระบบดาวเทียมสำรวจโลกกาลิเลโอ วิธีการแปลงค่าจากระบบ inertial ไปเป็นกลศาสตร์ดั้งเดิมก็ได้ชื่อว่า การแปลงกาลิเลียน และหน่วยวัด กัล (Gal) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเร่งที่ไม่ได้อยู่ในระบบเอสไอ",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#20",
"text": "กาลิเลโอยังเป็นบุคคลแรกที่รายงานการค้นพบภูเขาและแอ่งบนดวงจันทร์ ซึ่งเขาแปลความจากภาพแสงและเงาบนพื้นผิวดวงจันทร์ เขายังประเมินความสูงของภูเขาเหล่านั้นอีกด้วย เขาสรุปผลสังเกตการณ์ครั้งนี้ว่า ดวงจันทร์ก็ \"ขรุขระเหมือนอย่างพื้นผิวโลกนี้เอง\" ไม่ใช่ทรงกลมสมบูรณ์แบบตามที่อริสโตเติลเคยบอกไว้ กาลิเลโอเคยสังเกตการณ์ดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งแต่เดิมเขาคิดว่าเป็นกลุ่มแก๊ส เขาพบว่าทางช้างเผือกอัดแน่นไปด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก หนาแน่นเสียจนเมื่อมองจากพื้นโลกแล้วเราเห็นมันเป็นเหมือนเมฆ เขายังระบุตำแหน่งดาวอีกหลายดวงที่อยู่ไกลมาก ๆ จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กาลิเลโอเคยสังเกตพบดาวเนปจูนในปี ค.ศ. 1612 แต่ไม่รู้ว่ามันเป็นดาวเคราะห์ จึงไม่ได้ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ดาวเนปจูนปรากฏอยู่ในสมุดบันทึกของเขาเป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์ริบหรี่ที่ไม่โดดเด่นนัก",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#1",
"text": "การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาฟิสิกส์ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชาจลนศาสตร์ งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของดาวศุกร์ การค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน รวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบนดวงอาทิตย์ กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบเข็มทิศอีกด้วย",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#13",
"text": "กล้องโทรทรรศน์ได้รับการคิดค้นขึ้นครั้งแรกในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อ ค.ศ. 1608 โดยมีรายละเอียดค่อนข้างหยาบ กาลิเลโอเองก็ได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ของตนขึ้นในปีถัดมาโดยมีกำลังขยายเพียง 3 เท่า ต่อมาเขาได้สร้างกล้องอื่นขึ้นอีกและมีกำลังขยายสูงสุด 30 เท่า[24] จากเครื่องมือที่ดีขึ้นเขาสามารถมองเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกล ๆ บนโลกได้ดีขึ้น ในยุคนั้นเรียกกล้องโทรทรรศน์ว่า กล้องส่องทางไกล (Terrestrial telescope หรือ Spyglass) กาลิเลโอยังใช้กล้องนี้ส่องดูท้องฟ้าด้วย เขาเป็นหนึ่งในบรรดาไม่กี่คนในยุคนั้นที่สามารถสร้างกล้องที่ดีพอเพื่อการนี้ วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1609 เขาสาธิตกล้องส่องทางไกลเป็นครั้งแรกให้แก่พ่อค้าชาวเวนิส ซึ่งพวกพ่อค้าสามารถเอาไปใช้ในธุรกิจการเดินเรือและกิจการค้าของพวกเขา กาลิเลโอเผยแพร่ผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ผ่านกล้องส่องทางไกลครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1610 ในบทความสั้น ๆ เรื่องหนึ่งชื่อ Sidereus Nuncius (ผู้ส่งสารแห่งดวงดาว)",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#8",
"text": "กาลิเลโอเป็นผู้ริเริ่มการทดลองทางวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณซึ่งสามารถนำผลไปใช้ในการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ต่อได้โดยละเอียด การทดลองวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นยังเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพอยู่มาก เช่นงานของวิลเลียม กิลเบิร์ตเกี่ยวกับแม่เหล็กและไฟฟ้า พ่อของกาลิเลโอ คือวินเชนโซ กาลิเลอี เป็นนักดนตรีลูทและนักดนตรีทฤษฎี อาจเป็นคนแรกเท่าที่เรารู้จักที่สร้างการทดลองแบบไม่เป็นเชิงเส้นในวิชาฟิสิกส์ขึ้น เนื่องจากการปรับตั้งสายเครื่องดนตรี ตัวโน้ตจะเปลี่ยนไปตามรากที่สองของแรงตึงของสาย[15] ข้อสังเกตเช่นนี้อยู่ในกรอบการศึกษาด้านดนตรีของพวกพีทาโกเรียนและเป็นที่รู้จักทั่วไปในหมู่นักผลิตเครื่องดนตรี แสดงให้เห็นว่าคณิตศาสตร์กับดนตรีและฟิสิกส์มีความเกี่ยวพันกันมานานแล้ว กาลิเลโอผู้เยาว์อาจได้เห็นวิธีการเช่นนี้ของบิดาและนำมาขยายผลต่อสำหรับงานของตนก็ได้[16]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#62",
"text": "กาลิเลโอ ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญบนเหรียญที่ระลึกขนาด 25 ยูโร ในชุดเหรียญที่ระลึกปีดาราศาสตร์สากล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2009 เพื่อเป็นการระลึกถึงโอกาสที่กาลิเลโอสร้างกล้องโทรทรรศน์ของเขาครบรอบ 400 ปี ด้านหน้าของเหรียญเป็นภาพครึ่งตัวของกาลิเลโอกับกล้องโทรทรรศน์ ด้านหลังเป็นภาพวาดภาพหนึ่งของกาลิเลโอที่วาดผลการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ ขอบเงินรอบ ๆ เหรียญนี้เป็นภาพกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ของไอแซก นิวตัน, กล้องของหอดูดาว Kremsmünster Abbey, กล้องโทรทรรศน์วิทยุ, และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#17",
"text": "นับแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1610 กาลิเลโอสังเกตเห็นคาบการปรากฏของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับคาบปรากฏของดวงจันทร์ แบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของนิโคลัส โคเปอร์นิคัสเคยทำนายคาบปรากฏเหล่านี้ไว้ว่า ถ้าดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซีกดาวด้านที่ได้รับแสงจะหันหน้ามาสู่โลกยามที่มันอยู่ฝั่งตรงกันข้ามของดวงอาทิตย์กับโลก และจะหันหนีไปจากโลกยามที่มันอยู่ฝั่งเดียวกันกับโลก ตรงกันข้ามกับแบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางของทอเลมี ซึ่งทำนายว่า เราจะสามารถมองเห็นได้แต่เพียงเสี้ยวดาวเท่านั้น จากความเชื่อว่าดาวศุกร์โคจรอยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์ ผลการสังเกตการณ์คาบปรากฏของดาวศุกร์ของกาลิเลโอพิสูจน์ว่ามันโคจรรอบดวงอาทิตย์จริง และยังสนับสนุนแบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางด้วย (แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้) อย่างไรก็ดี เมื่อผลสังเกตการณ์นี้ล้มล้างแนวคิดแบบจำลองจักรวาลของทอเลมีลง มันจึงกลายเป็นผลสังเกตการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง และพลิกแนวคิดแบบจำลองระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง เช่นแบบจำลองของไทโค บราเฮ และแบบจำลองของมาร์เทียนัส คาเพลลา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นงานสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#5",
"text": "ปี ค.ศ. 1610 กาลิเลโอเผยแพร่งานค้นคว้าของเขาซึ่งเป็นผลสังเกตการณ์ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี ด้วยผลสังเกตการณ์นี้เขาเสนอแนวคิดว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นการสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัส ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดดั้งเดิมของทอเลมีและอริสโตเติลที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ปีถัดมากาลิเลโอเดินทางไปยังโรม เพื่อสาธิตกล้องโทรทรรศน์ของเขาให้แก่เหล่านักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ที่สนใจ เพื่อให้พวกเขาได้เห็นดวงจันทร์ทั้งสี่ดวงของดาวพฤหัสบดีด้วยตาของตัวเอง[11] ที่กรุงโรม เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของอะคาเดเมีย ดลินเซีย (ลินเซียนอะคาเดมี) [12]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#36",
"text": "จากบันทึกประวัติกาลิเลโอที่เขียนโดยศิษย์ผู้หนึ่งของเขา คือ วินเชนโซ วีวีอานี ได้ระบุถึงการทดลองของกาลิเลโอในการปล่อยลูกบอลที่สร้างจากวัสดุเดียวกัน แต่มีมวลแตกต่างกัน ลงมาจากหอเอนปิซา เพื่อทดสอบดูระยะเวลาที่ใช้ในการตกลงมาว่ามีความเกี่ยวข้องกับมวลของพวกมันหรือไม่ ผลจากการทดลองนี้ขัดแย้งกับความเชื่อที่อริสโตเติลเคยสั่งสอนมา ที่ว่าวัตถุซึ่งหนักกว่าจะตกลงมาเร็วกว่าวัตถุเบา โดยมีสัดส่วนแปรผันตรงกับน้ำหนัก[43] เรื่องราวการทดลองนี้เป็นที่เล่าขานกันอย่างมาก แต่ไม่มีบันทึกใดที่ยืนยันว่ากาลิเลโอได้ทำการทดลองนี้จริง ๆ นักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่ามันเป็นเพียงการทดลองในความคิด แต่ไม่ได้ทำจริง ๆ[44]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "235419#0",
"text": "ไอโอ (, ) เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นดวงที่อยู่ในสุดในกลุ่มดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามไอโอนักบวชของเฮราที่ตกเป็นภรรยาของซูส",
"title": "ไอโอ (ดาวบริวาร)"
},
{
"docid": "15703#72",
"text": "อย่างไรก็ดี โซโทมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งและพัฒนารายละเอียดของทฤษฎีดังที่ปรากฏในทฤษฎีการตกของวัตถุของกาลิเลโอ เช่น เขามิได้พิจารณาเรื่องของวัตถุที่ตกอยู่ภายใต้ความเร่งอื่นใดดังเช่นสุญญากาศ เหมือนอย่างที่กาลิเลโอได้พิจารณาไว้ด้วย",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#15",
"text": "ดาวเคราะห์ที่มีดาวขนาดเล็กกว่าโคจรโดยรอบเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดพื้นฐานของจักรวาลของอริสโตเติล ซึ่งถือว่าวัตถุบนท้องฟ้าทุกอย่างล้วนต้องโคจรรอบโลก[26] ในระยะแรก นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาจำนวนมากจึงไม่ยอมเชื่อสิ่งที่กาลิเลโอค้นพบ[25]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#39",
"text": "กาลิเลโอได้กล่าวอ้าง (อย่างไม่ถูกต้อง) ว่าการแกว่งตัวของลูกตุ้มนาฬิกานั้นจะใช้เวลาเท่ากันเสมอโดยไม่ขึ้นกับแอมพลิจูดหรือขนาดของการแกว่งเลย นั่นคือการแกว่งตัวแบบที่เรียกว่า isochronous เรื่องนี้กลายเป็นความเชื่อโดยทั่วไปว่าเขาได้ข้อสรุปมาจากการนั่งเฝ้ามองการแกว่งตัวของโคมไฟขนาดใหญ่ในวิหารแห่งเมืองปิซาโดยใช้จังหวะการเต้นของหัวใจตนเองในการจับเวลา อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ทำการทดลองใด ๆ เพราะการกล่าวอ้างนี้จะเป็นจริงก็เฉพาะในการแกว่งตัวขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งค้นพบโดย คริสตียาน เฮยเคินส์ บุตรชายของกาลิเลโอคือ วินเชนโซ ได้วาดภาพนาฬิกาโดยอ้างอิงจากทฤษฎีของบิดาเมื่อปี ค.ศ. 1642 แต่นาฬิกานั้นไม่เคยมีการสร้างขึ้น เพราะยิ่งการแกว่งตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็มีแนวโน้มที่ลูกตุ้มจะเหวี่ยงพ้นออกไปมากยิ่งขึ้น ทำให้กลายเป็นนาฬิกาจับเวลาที่แย่มาก (ดูเพิ่มในหัวข้อ เทคโนโลยี ข้างต้น)",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#14",
"text": "วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลของเขาเฝ้าสังเกตบางสิ่งที่เขาบรรยายในเวลานั้นว่าเป็น \"ดาวนิ่ง ๆ สามดวงที่มองไม่เห็น เพราะมีขนาดเล็กมาก\" ดาวทั้งสามดวงอยู่ใกล้กับดาวพฤหัสบดี และตั้งอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด[25] การสังเกตการณ์ในคืนต่อ ๆ มาปรากฏว่า ตำแหน่งของ \"ดาว\" เหล่านั้นเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดีมีการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ไม่สามารถอธิบายได้หากพวกมันเป็นดาวฤกษ์จริง ๆ วันที่ 10 มกราคม กาลิเลโอบันทึกว่า หนึ่งในดาวทั้งสามได้หายตัวไป ซึ่งเขาอธิบายว่ามันไปหลบอยู่ด้านหลังดาวพฤหัสบดี ภายในเวลาไม่กี่วันเขาก็สรุปได้ว่าดาวเหล่านั้นโคจรรอบดาวพฤหัสบดี กาลิเลโอได้ค้นพบดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีสามในสี่ดวง คือ ไอโอ ยูโรปา และคัลลิสโต ต่อมา เขาค้นพบดาวบริวารดวงที่สี่คือแกนีมีด ในวันที่ 13 มกราคม กาลิเลโอตั้งชื่อดาวบริวารทั้งสี่ที่เขาค้นพบว่าเป็น ดาวเมดิเซียน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้อุปการะของเขา คือ โคสิโมที่ 2 เดอ เมดิชิ แกรนด์ดยุคแห่งทัสกานี และน้องชายของเขาอีกสามคน[4] แต่ต่อมาในภายหลัง นักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อแก่ดวงจันทร์เหล่านั้นเสียใหม่ว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน เพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอเอง",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#37",
"text": "ในงานเขียนชุด Discorsi ของกาลิเลโอในปี ค.ศ. 1638 ตัวละครหนึ่งในเรื่องชื่อ ซัลเวียติ (Salviati) เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าหมายถึงเลขาส่วนตัวคนหนึ่งของเขา ได้ประกาศว่าวัตถุใด ๆ ที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน ย่อมตกลงมาด้วยความเร็วเดียวกันในสภาวะสุญญากาศ แต่ข้อความนี้เคยมีการประกาศมาก่อนหน้านี้แล้วโดย ลูครีเชียส[45] และไซมอน สเตวิน[46] ซัลเวียติยังอ้างอีกว่า สามารถแสดงการทดลองนี้ได้โดยเปรียบเทียบกับการแกว่งของตุ้มนาฬิกาในอากาศโดยใช้ก้อนตะกั่วเทียบกับจุกไม้ก๊อกซึ่งมีน้ำหนักแตกต่างกัน แต่จะได้ผลการเคลื่อนที่เหมือน ๆ กัน",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "19292#1",
"text": "กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงเป็นกล้องที่ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกันให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอี ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกโดยตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัวขึ้นไปคือ เลนส์วัตถุ และเลนส์ตา โดยเลนส์วัตถุจะทำหน้าที่รับภาพจากวัตถุ แล้วหักเหแสงไปยังเลนส์ใกล้ตา ซึ่งเลนส์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุอีกทีหนึ่ง โดยลักษณะการวางเลนส์จะใช้เลนส์วัตถุที่มี ความยาวโฟกัส ยาว และเลนส์ใกล้ตาที่มีความยาวโฟกัสสั้น โดยในการวางเลนส์ จะวางเลนส์วัตถุ (ความยาวโฟกัสยาว) ไว้ด้านหน้า และเลนส์ใกล้ตา (ความยาวโฟกัสสั้น) ไว้ด้านหลัง โดยระยะห่างของเลนส์ 2 ตัวนี้คือ ความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุ + ความยาวโฟกัสเลนส์ตา เป็นต้น",
"title": "กล้องโทรทรรศน์"
},
{
"docid": "15703#18",
"text": "กาลิเลโอยังสังเกตการณ์ดาวเสาร์ด้วย ในช่วงแรกเขาเข้าใจผิดว่าวงแหวนของดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ และคิดว่ามันเป็นระบบดาวที่มีสามดวง ภายหลังเมื่อเขาเฝ้าสังเกตดาวเสาร์อีก แนวแกนของวงแหวนได้หมุนตัวมาทางโลก ทำให้เขาคิดว่าดาวอีกสองดวงหายตัวไป วงแหวนปรากฏขึ้นอีกครั้งในการสังเกตการณ์ใน ค.ศ. 1616 ซึ่งทำให้เขาสับสนงุนงงมากยิ่งขึ้น[27]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "630901#3",
"text": "ผลจากการปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี โดยการเพิ่มกำลังขยายขึ้นเป็น 20 เท่า เขาสามารถมองเห็นเทหฟากฟ้าได้ชัดเจนกว่าที่เคยเห็นโดยกล้องโทรทรรศน์เดิม ทำให้กาลิเลโอค้นพบดาวจันทร์ของกาลิเลโอได้ในช่วงราวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2152 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2153",
"title": "ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ"
},
{
"docid": "15703#43",
"text": "กาลิเลโอยังได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานเริ่มแรกเกี่ยวกับความสัมพัทธ์ เขากล่าวว่ากฎทางฟิสิกส์จะเหมือน ๆ กันภายใต้ระบบใด ๆ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เป็นเส้นตรง ไม่ว่าจะอยู่ที่ระดับความเร็วเท่าใดหรือไปยังทิศทางใด จากข้อความนี้จึงไม่มีการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์หรือการหยุดนิ่งแบบสัมบูรณ์ หลักการพื้นฐานนี้เป็นกรอบความคิดตั้งต้นของกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน และเป็นศูนย์กลางแนวคิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#64",
"text": "หน่วยวัดอัตราเร่งในระบบซีจีเอส: กัล (Gal) แอ่งบนดวงจันทร์ และ แอ่งบนดาวอังคาร[66] เทอร์โมมิเตอร์กาลิเลโอ จำนวนกาลิเลโอ หน่วยวัดในสาขากลศาสตร์ของไหล ระบบสำรองที่นั่งกาลิเลโอ ยานอวกาศกาลิเลโอ ดาวเทียมนำร่องกาลิเลโอ",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#19",
"text": "กาลิเลโอเป็นหนึ่งในชาวยุโรปกลุ่มแรก ๆ ที่สังเกตเห็นจุดดับบนดวงอาทิตย์ แม้ว่าเคปเลอร์ได้ค้นพบจุดดับแห่งหนึ่งโดยไม่ตั้งใจในปี 1607 แต่เข้าใจผิดว่ามันเป็นดาวพุธที่เคลื่อนผ่านมา เขายังแปลความงานสังเกตการณ์จุดดับนี้ในยุคกษัตริย์ชาร์เลอมาญเสียใหม่ (ในครั้งนั้นก็เคยเข้าใจผิดว่าเป็นการเคลื่อนผ่านของดาวพุธ) การค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่แสดงถึงความไม่สมบูรณ์แบบของสรวงสวรรค์ เป็นการขัดแย้งกับความเชื่อในฟิสิกส์ท้องฟ้าดั้งเดิมของอริสโตเติล แต่การค้นพบจุดดับตามรอบเวลาเช่นนี้ยังเป็นการยืนยันแนวคิดของเคปเลอร์ที่ปรากฏในนิยายเรื่องหนึ่งของเขาในปี ค.ศ. 1609 คือ Astronomia Nova (แอสโตรโนเมีย โนวา) ซึ่งทำนายว่าดวงอาทิตย์ก็หมุนรอบตัวเอง ปี ค.ศ. 1612-1613 ฟรานเชสโก ซิสซี และนักดาราศาสตร์คนอื่นอีกหลายคนต่างค้นพบการเคลื่อนที่ของจุดดับบนดวงอาทิตย์ตามรอบเวลาอีก[25] เป็นหลักฐานสำคัญที่ค้านต่อแนวคิดแบบจำลองของทั้งทอเลมีและไทโค บราเฮ[28] ซึ่งอธิบายว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกหนึ่งรอบในหนึ่งวัน แต่การพบตำแหน่งจุดดับและการเคลื่อนตัวของจุดดับไม่เป็นไปตามนั้น มันกลับเป็นไปได้มากกว่าเมื่ออธิบายว่า โลกต่างหากที่หมุนหนึ่งรอบในหนึ่งวัน และแบบจำลองที่ถูกต้องมากที่สุดคือแบบจำลองที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล การค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์ตลอดจนคำอธิบายปรากฏการณ์นี้นำมาซึ่งเหตุอาฆาตอย่างรุนแรงและยาวนานระหว่างกาลิเลโอกับพระนิกายเยซูอิต ชื่อ คริสตอฟ ไชเนอร์ ซึ่งอันที่จริงคนทั้งสองก็ตกเป็นเป้าของเดวิด ฟาบริเชียสและโจฮันเนสผู้บุตร ซึ่งคอยคำยืนยันการทำนายของเคปเลอร์ที่ว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง ไชเนอร์ยอมรับข้อเสนอแบบกล้องโทรทรรศน์ใหม่ของเคปเลอร์ในปี ค.ศ. 1615 ทันที ซึ่งทำให้เขาเห็นภาพได้ใหญ่ขึ้น เพียงแต่ต้องกลับหัว ส่วนกาลิเลโอดูจะไม่ยอมรับการออกแบบของเคปเลอร์",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#32",
"text": "ปี ค.ศ. 1609 กาลิเลโอเป็นคนเริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงกลุ่มแรก ๆ ในยุคนั้น โดยใช้ในการสังเกตการณ์ดวงดาว ดาวเคราะห์ต่าง ๆ และดวงจันทร์ คำว่า กล้องโทรทรรศน์ (telescope) บัญญัติขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกชื่อ จิโอวันนิ เดอมิซิอานิ[35] ในระหว่างงานเลี้ยงคราวหนึ่งในปี ค.ศ. 1611 โดยเจ้าชายเฟเดอริโก เซซี ผู้พยายามเชิญกาลิเลโอมาเป็นสมาชิกใน Accademia dei Lincei ของพระองค์[36] คำนี้มีที่มาจากคำในภาษากรีกว่า tele = 'ไกล' และ skopein = 'มองเห็น' ในปี ค.ศ. 1610 เขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์นี้ส่องดูเพื่อให้เห็นภาพขยายชิ้นส่วนของแมลง[37] ต่อมาในปี ค.ศ. 1624 เขาจึงได้คิดค้นการสร้างกล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ กาลิเลโอมอบสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้จำนวนหนึ่งให้แก่คาร์ดินัล โซลเลิร์น ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกันนั้นเพื่อนำไปแสดงแก่ดยุคแห่งบาวาเรีย[38] ต่อมาในเดือนกันยายนเขาได้นำสิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นไปแสดงแก่เจ้าชาย Cesi[39] ซึ่งสมาคม Accademia dei Lincei ได้เป็นผู้ตั้งชื่อ กล้องจุลทรรศน์ (microscope) อีกครั้งใน 1 ปีต่อมาโดยสมาชิกคนหนึ่งคือ จิโอวันนิ เฟแบร์ ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า μικρόν (micron) หมายถึง 'เล็ก' และ σκοπεῖν (skopein) หมายถึง 'มองเห็น' โดยตั้งให้พ้องกันกับคำว่า \"telescope\" ที่เคยตั้งไปก่อนหน้านี้[40][41]",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "149372#1",
"text": "แกนีมีดเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามเทพแกนีมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็นที่รักของเทพซูส",
"title": "แกนีมีด (ดาวบริวาร)"
},
{
"docid": "3746#9",
"text": "กาลิเลโอ กาลิเลอี คือผู้แรกที่ค้นพบรายละเอียดทางกายภาพของวัตถุในระบบสุริยะ เขาค้นพบว่าผิวดวงจันทร์นั้นขรุขระ ส่วนดวงอาทิตย์ก็มีจุดด่างดำ และดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารสี่ดวงโคจรไปรอบ ๆ[6] คริสตียาน เฮยเคินส์ เจริญรอยตามกาลิเลโอโดยค้นพบไททัน ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ รวมถึงวงแหวนของมันด้วย[7] ในเวลาต่อมา จิโอวันนี โดเมนิโก กัสสินี ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์เพิ่มอีก 4 ดวง ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ รวมถึงจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี[8]และสื่งยาส่",
"title": "ระบบสุริยะ"
},
{
"docid": "3755#3",
"text": "โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน ดาวพฤหัสบดี หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง",
"title": "ดาวพฤหัสบดี"
},
{
"docid": "249044#0",
"text": "ท่าอากาศยานนานาชาติกาลิเลโอ กาลิเลอี () เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในเมืองปิซา อิตาลี เป็นหนึ่งในท่าอากาศยานหลักของแคว้นทัสกานี โดยอีกแห่งหนึ่งคือท่าอากาศยานเปเรโตลาในฟลอเรนซ์ ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งชื่อตามกาลิเลโอ กาลิเลอี นักวิทยาศาสตร์ชาวเมืองปิซาที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในย่านซานจุสโต ห่างจากสถานีรถไฟกลางไม่ถึง 2 กิโลเมตร ค่อนข้างใกล้กับศูนย์กลางของเมือง",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติกาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "143141#0",
"text": "กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง ()เป็นกล้องโทรทรรศน์ประเภทแรกที่ได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1608 โดย ฮานส์ ลิเพอร์ซี (Hans Lippershey)ช่างทำแว่นตาชาวฮอลแลนด์ ซึ่งค้นพบคุณสมบัติการขยายภาพเมื่อนำเลนส์นูนสองชิ้นมาเรียนกันในระยะที่เหมาะสม ต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มนำกล้องมาใช้สังเกตดวงดาวเมื่อปี ค.ศ. 1609",
"title": "กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง"
}
] |
988 | ซิงเกิ้ลแรกของ สุกฤษฏิ์ วิเศษแก้ว คืออะไร? | [
{
"docid": "102178#6",
"text": "ปลายปี พ.ศ. 2549 บี้ เริ่มต้นสร้างผลงานในวงการบันเทิงด้วยการรับบทพระเอกในละครเรื่อง \"รอยอดีตแห่งรัก\" แสดงคู่กับ พีรชยา พิณเมืองงาม[11] ได้รับโอกาสร้องเพลงประกอบละครเป็นครั้งแรก คือเพลง \"ตัดใจไม่ไหว\" ซึ่งเป็นเพลงในอัลบั้ม \"เลิฟ ซีน\" (Love Scenes) [12] มีซิงเกิลแรก คือเพลง \"I Need Somebody (อยากขอสักคน)\" ขึ้นอันดับนิวเอนทรีตามชาร์ทวิทยุอย่างรวดเร็ว และครองอันดับ 1 ของซี๊ดเรดิโอชาร์ตนาน 4 สัปดาห์[13] ซิงเกิ้ลแรกนี้ได้รับรางวัล\"เพลงยอดนิยมสุดซี๊ดประจำปี 2007\" จาก \"ซี๊ด อวอร์ดส 2007\"[13] รางวัล\"เพลงรักแห่งปี 2006\" จาก \"อินยังเจเนอรชันชอยส์ อวอร์ดส 2006\", รางวัลเพลงยอดนิยม จาก รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2006 และเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณาโฟโมสต์ ไฮไฟว์ ซึ่งออกอากาศในปี พ.ศ. 2550",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
}
] | [
{
"docid": "476501#34",
"text": "ซิงเกิ้ลนี้จำหน่ายเป็นซิงเกิ้ลแรกในรอบ 8 เดือน หลังจากซิงเกิ้ลที่ 12 \"AKB Festival\" ที่วางจำหน่ายในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และยังคงมีส่วนร่วมของอดีตสมาชิก AKB48 มาเอดะ อัตสึโกะ ที่จบการศึกษาไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555หมายเหตุ: สมาชิกที่ขึ้น \"ตัวหนา\" คือตำแหน่งเซ็นเตอร์ของเพลงนั้นๆ",
"title": "ทีมเซอร์ไพรซ์"
},
{
"docid": "646925#0",
"text": "\"คนเดิมของเธอ\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว จากมินิอัลบั้ม \"ณ บัด NOW\" ในปี พ.ศ. 2555 ประพันธ์เนื้อร้องโดย นราธิป ปานแร่ แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย จิตรกร มงคลธรรม โดยเพลงนี้ใช้ดนตรีสไตล์ R&B และเสียงแซกโซโฟนและเปียโนหวาน ๆ ใส่อยู่ในเพลงอย่างลงตัว",
"title": "คนเดิมของเธอ"
},
{
"docid": "27149#5",
"text": "เรนกลับมากับอัลบั้มที่ 4 \"Rain's World\" โดยมีซิงเกิ้ลแรกคือ \"I'm Coming\" ตามด้วยซิงเกิ้ลที่ 2 \"In My Bed\"",
"title": "เรน (นักร้อง)"
},
{
"docid": "707668#2",
"text": "Better Together เป็นเดบิวต์มินิอัลบั้มของฟิฟท์ฮาร์โมนี โดยเป็นมินิอัลบั้มแรกหลังจากที่พวกเธอคว้าอันดับที่ 3 จากซีซั่นที่ 2 ของรายการ The X Factor USA โดยได้วางจำหน่ายในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2013 โดยมีเพลง Miss Movin On เป็นเพลงโปรโมตและซิงเกิ้ลจากมินิอัลบั้มนี้ ซึ่งก่อนออกวางจำหน่าย ฟิฟท์ฮาร์โมนีได้นำเพลงทั้งหมดจากมินิอัลบั้มนี้ไปแสดงใน I Wish Tour ของ Cher Lloyd ที่พวกเธอได้แสดงเปิดอีกด้วย\nโดยมินิอัลบั้มนี้ มีการออกวางจำหน่ายทั้งหมดถึง 5 เวอร์ชันประกอบไปด้วย\nReflection เป็นเดบิวต์อัลบั้มของฟิฟท์ฮาร์โมนี โดยได้ออกวางจำหน่ายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 (ใน iTunes ประเทศไทยได้เริ่มจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2015) โดยมีเพลง BO$$ เป็นซิงเกิ้ลแรกที่ปล่อยออกมาจากอัลบั้มนี้ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 โดยมีจุดพีคอยู่ที่อันดับ 43 ใน Billboard Hot 100 และยังได้รับการการันตียอดขายเป็น Gold หลังจากมียอดขายมากกว่า 500,000 ก๊อปปี้ ต่อมาฟิฟท์ฮาร์โมนีจึงปล่อยซิงเกิ้ลที่สองออกมา ซึ่งมีชื่อว่า Sledgehammer โดยสามารถพีคใน Billboard Hot 100 ได้ถึงอันดับที่ 40 และได้รับเรตยอดขายเป็น Gold ในเวลาต่อมา และในวันที่ 27 กรกฎาคม ทั้ง 2 ซิงเกิ้ลได้รับการการันตีระดับ Platinum (1,000,000 ยอดขาย) ส่วนซิงเกิ้ลที่ 3 ของอัลบั้มนี้ที่ได้ปล่อยออกมาคือ Worth It ซึ่งได้ปล่อยออกมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 และได้พีคไปถึงอันดับที่ 12 ของ Billboard Hot 100 ปัจจุบันมียอดขายมากกว่า 1,000,000 ก๊อปปี้ และได้รับการการันตียอดขายเป็น Platinum ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2015 ต่อมา Worth It สามารถขายได้ถึง 2,000,000 ยูนิตเป็น 2x Platinum ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 นับได้ว่าทั้ง 3 ซิงเกิ้ลจากอัลบั้มเดบิวต์ของพวกเธอนั้นได้รับการการันตีเป็น Platinum ทั้งหมด และในวันที่ 29 ตุลาคม 2016 ก็สามารถขายได้มากกว่า 4 ล้านก๊อปปี้ หรือ 4x Platinum เป็นเพลงแรกของเกิร์ลกรุ๊ปในอเมริกา\n7/27 เป็นอัลบั้มชุดที่ 2 ของสาวๆ ฟิฟท์ฮาร์โมนีโดยชื่ออัลบั้มคือวันที่ฟอร์มวงในรายการ The X Factor และอัลบั้มนี้มี 12 เพลงเพื่อให้คล้องกับปีที่ฟอร์มวงนั่นคือปี 2012 น และไอเดียในการตั้งชื่ออัลบั้มชุดนี้มาจากสาวลอวเรน 1 ในสมาชิกวง โดยอัลบั้มออกวางจำหน่ายในวันที่ 27 พฤษภาคม และซิงเกิ้ลแรกจากอัลบั้มนี้คือเพลง Work From Home ซึ่งได้ปล่อยในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และได้ปล่อย Music Video ในวันเดียวกัน ตามมาด้วยซิงเกิ้ลโปรโมต \"The Life\" วันที่ 24 มีนาคม หลังจากนั้นจึงได้ปล่อยวีดีโอเพลง Write On Me วันที่ 6 พฤษภาคม และได้ประกาศซิงเกิ้ลที่สองของอัลบั้มคือ All In My Head (Flex) วันที่ 20 พฤษภาคม จากนั้นจึงปล่อยวีดีโอวันที่ 23 มิถุนายนในปีเดียวกัน ต่อเนื่องมาจนถึงซิงเกิ้ลที่ 3 That's My Girl ที่ปล่อยวีดีโอในวันที่ 19 กันยายน 2016\nFifth Harmony เป็นอัลบั้มชุดที่ 3 ของสาวๆ โดยเป็นอัลบั้มแรกหลังจากอดีตสมาชิก 'คามิล่า' ได้ออกจากวงไป โดยอัลบั้มนี้ใช้ชื่อวงตั้งเป็นชื่ออัลบั้ม มีเพลงแรก \"Down\" ที่ได้ Gucci Mane มาร่วมแร็พในเพลงนี้ด้วย โดยซิงเกิ้ลแรกเพลง Down ปล่อยออกมาในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 หลังจากปล่อยเพลงไปไม่นานเพลงนี้ก็ขึ้นชาร์ต iTunes US ได้สูงสุดถึงอันดับที่ 2 โดยเป็นเพลงแรกของสาวๆที่ขึ้นชาร์ตได้สูงที่สุดในชาร์ต iTunes US หลังจากปล่อยเพลงและมิวสิควีดีโอไปร่วมเดือน สาวๆก็ออกโปรโมทที่รายการ The Tonight Show Starring, Jimmy Fallon และในวันนั้นก็ได้ประกาศชื่ออัลบั้มและวันวางขาย และในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สาวๆก็ได้เปิดทำการพรีออเดอร์อัลบั้มผ่านทาง iTunes และในวันเดียวกันก็ได้ปล่อยซิงเกิ้ลที่ 2 จากอัลบั้ม กับเพลง \"Angel\" และในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สาวๆก็ได้ปล่อยมิวสิควีดีโอเพลง Angel ผ่านทาง Vevo ของสาวๆเอง และอัลบั้มจะออกจำหน่ายวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560",
"title": "ฟิฟท์ฮาร์โมนี"
},
{
"docid": "102178#0",
"text": "สุกฤษฏิ์ วิเศษแก้ว (English: Sukrit Wisetkaew) นักร้องและนักแสดงชาวไทย สังกัดเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีชื่อเสียงจากผลงานเพลง I Need Somebody (อยากขอสักคน)[1] ปัจจุบันมีผลงานในวงการบันเทิง งานเพลง, ละครโทรทัศน์, ละครเวที, ซิตคอม และ ภาพยนตร์ ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในสิบผู้ทรงอิทธิพลร่วมกับบุคคลสำคัญในแวดวงการเมืองและสังคมของไทยประจำปี พ.ศ. 2551 โดยนิตยสาร Positoning[2] และหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลวงการบันเทิงไทย จัดอันดับโดยหนังสือพิมพ์สยามรัฐ[2]",
"title": "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "683922#0",
"text": "\"รักนะคะ\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2554 ในสตูดิโออัลบั้ม \"รักนะคะ\" ประพันธ์เนื้อร้องและแต่งทำนองโดย นราธิป ปานแร่ และเรียบเรียงโดย กรกฤษณ์ มัฆนาโส ออกจำหน่ายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554",
"title": "รักนะคะ"
},
{
"docid": "994511#4",
"text": "ในวันที่ 27 ธ.ค. 2010 ลีโอได้เริ่มเดบิวต์จากการเป็นหนึ่งในสมาชิกนักร้องบอยแบรนด์วง JBOY3 และออกซิงเกิ้ลแรกคือ \"Promise of Love\" จากนั้นก็ออกซิงเกิ้ลที่สอง “Gravity” ในวันที่ 23 มี.ค. 2011 และซิงเกิ้ลที่สาม “Walking Emoji” ในวันที่ 26 ก.ค. 2011 JBOY3 ได้ยุบวงลงในปี 2012",
"title": "หลัวหยุนซี"
},
{
"docid": "654388#0",
"text": "\"I Need Somebody (อยากขอสักคน)\" เป็นซิงเกิลแรกของ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว หรือ บี้ เดอะสตาร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ในรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 3 ออกจำหน่ายในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549",
"title": "I Need Somebody (อยากขอสักคน)"
},
{
"docid": "760628#0",
"text": "\"แรงบันดาลใจ\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2558 ประพันธ์เนื้อร้องโดย หทัย แสงวิจิตร แต่งทำนองโดย พณวรรธน์ พงศ์ภักดีบริบาล และเรียบเรียงโดย ศรายุทธ แสงชุมพล ออกจำหน่ายในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ",
"title": "แรงบันดาลใจ"
},
{
"docid": "712697#0",
"text": "Take That & Party เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของวงบอยแบนด์อังกฤษ เทกแดท โดยอัลบั้มนี้ได้ออกวางแผงในวันที่ 17 สิงหาคม 1992 โดยก่อนหน้านั้นทางวงได้ออกซิงเกิ้ลมาก่อน ซิงเกิ้ลแรกของวงนี้คือ \"Do What U Like\" โดยเพลงนี้สามารถขึ้นไปถึงอันดับที่ 82 ในชาร์ตของอังกฤษ ซิงเกิ้ลต่อๆมาของวงอย่าง \"Promises\" และ \"Once You've Tasted Love\" สามารถขึ้นไปถึงอันดับ 38 และ 47 ตามลำดับ ซิงเกิ้ลแรกที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาคือ \"It Only Takes A Minute\" เป็นเพลงคัฟเวอร์ของวงยุค'70 ชื่อ Tavares ขึ้นชาร์ทในอังกฤษสูงสุดอันดับ 7 ต่อมาเพลง \"I Found Heaven\" สามารถขึ้นไปถึงอันดับ 15 หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยเพลงฮิตอย่าง \"A Million Love Songs\" เป็นเพลงช้าที่แต่งโดยแกรี บาร์โลว์ โดยสามารถขึ้นไปถึงอันดับ 7 ในอังกฤษ จากนั้นก็ปล่อยเพลง \"Could It Be Magic\" เพลงดิสโก้สุดฮิต เพลงเก่าของ แบรรี แมนิโลว์ และ ดอนน่า ซัมเมอร์ ไต่ชาร์ทไปถึงอันดับ 3 หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ออกอัลบั้มแรก \"Take That and Party\" ในปี 1992 โดยอัลบั้มนี้ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ของชาร์ตอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นอัลบั้มเดียวของวงที่ไม่สามารถขึ้นถึงอันดับ 1 โดยอัลบั้มนี้ขายได้ประมาณ 1 ล้านชุด ทั้งนี้ 11 จาก 13 เพลงของอัลบั้มต่างก็มี่แกรีในการมีส่วนร่วมในการแต่งทั้งสิ้น",
"title": "เทกแดตแอนด์พาร์ตี"
},
{
"docid": "479531#3",
"text": "เป็นซิงเกิ้ลที่ 2 ภายหลังจากที่มาเอดะ อัตสึโกะประกาศจบการศึกษาและเป็นซิงเกิ้ลแรกที่ไม่มีส่วนร่วมของมาเอดะ อัตสึโกะ",
"title": "อูซะ"
},
{
"docid": "713298#0",
"text": "\"ผมเป็นของคุณไปแล้ว\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2558 ประพันธ์เนื้อร้อง-แต่งทำนองโดย อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ และเรียบเรียงโดย ภัทรกร ตั้งจิตการุญ ออกจำหน่ายในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558",
"title": "ผมเป็นของคุณไปแล้ว"
},
{
"docid": "668863#0",
"text": "\"ระวัง...คนกำลังเหงา\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2556 ประพันธ์เนื้อร้องโดย หทัย แสงวิจิตร, แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย พิชิต บัณฑิตเลิศรักษ์ ออกจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557",
"title": "ระวังคนกำลังเหงา"
},
{
"docid": "476501#6",
"text": "ซิงเกิ้ลนี้เป็นซิงเกิ้ลแรกของ Team Surprise ภายหลังจากที่ AKB48 ได้มีการประกาศที่จะจัดตั้งยูนิทพิเศษเพื่อร่วมกับ CR KYORAKU PACHINKO ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555",
"title": "ทีมเซอร์ไพรซ์"
},
{
"docid": "513282#1",
"text": "ทรายอะเกน เป็นซิงเกิ้ลที่ 40 ของ ไม คุรากิ ใช้เป็นเพลงเปิดที่ 35 ของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน และเป็นเพลงที่ 16 ที่ไม ร้องให้กับการ์ตูนเรื่องนี้ และเป็นซิงเกิ้ลแรกของยอดนักสืบจิ๋วโคนันและเธอที่มีเวอร์ชันของ detective conan และมีการใช้ digital sound เป็นครั้งแรกด้วยซึ่งต่างจากซิงเกิ้ลที่ผ่านมาทั้งหมดของเธอ",
"title": "ทรายอะเกน"
},
{
"docid": "645538#0",
"text": "\"ณ บัด NOW\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว จากมินิอัลบั้ม \"ณ บัด NOW\" ในปี พ.ศ. 2555 ประพันธ์เนื้อร้องโดย ปิยะ ครุธา แต่งทำนองโดย พณวรรธน์ พงศ์ภักดีบริบาล และเรียบเรียงโดย พิชิต บัณฑิตเลิศรักษ์ ออกจำหน่ายในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554",
"title": "ณ บัด NOW"
},
{
"docid": "664981#0",
"text": "\"ยังว่าง\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2557 ประพันธ์เนื้อร้องโดย นาโต้, แต่งทำนองโดย นราธิป ปานแร่ และเรียบเรียงโดย มงคลพัฒน์ ทองเรือง ออกจำหน่ายในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557",
"title": "ยังว่าง"
},
{
"docid": "793584#0",
"text": "\"ถลำ\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2558 ประพันธ์เนื้อร้องโดย หทัย แสงวิจิตร แต่งทำนองโดย พณวรรธน์ พงศ์ภักดีบริบาล และเรียบเรียงโดย ลัทธ์ ใจจุฑามูล ออกจำหน่ายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559",
"title": "ถลำ"
},
{
"docid": "476501#9",
"text": "ซิงเกิ้ลนี้เป็นซิงเกิ้ลที่ 2 ของ Team Surprise ภายหลังจากที่ AKB48 ได้มีการประกาศที่จะจัดตั้งยูนิทพิเศษเพื่อร่วมกับ CR KYORAKU PACHINKO ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 และวางจำหน่ายในวันเดียวกันกับซิงเกิ้ลแรก \"Juuryoku Sympathy\"",
"title": "ทีมเซอร์ไพรซ์"
},
{
"docid": "190907#2",
"text": "เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) ในที่สุดฮีช็อลก็ได้รับการเปิดตัว พร้อมกับสมาชิกอีกสิบเอ็ดคนในซูเปอร์จูเนียร์05 ทางช่อง SBS ในรายการ \"อินกิกาโย\" (Popular Songs) ทำการแสดงซิงเกิ้ลแรก \"TWINS (Knock Out)\" ซูเปอร์จูเนียร์ปล่อยอัลบัมเต็มของพวกเขาหนึ่งเดือนให้หลัง และอัลบัมเปิดตัวด้วยอันดับสามของ MIAK K-pop อันดับอัลบั้มรายเดือน หลังจากซิงเกิ้ลที่สองของพวกเขา \"Miracle\" จบการโปรโมท ต้นสังกัดต้องการจะเพิ่มสมาชิกคนใหม่สำหรับซูเปอร์จูเนียร์รุ่นต่อไป ซูเปอร์จูเนียร์06 โดยที่ฮีช็อลจะยังคงเป็นสมาชิกของซูเปอร์จูเนียร์ อย่างไรก็ตาม แผนการได้ถูกเปลี่ยนเมื่อต้นสังกัดเพิ่มสมาชิกคนที่สิบสาม กยูฮย็อน และต้นสังกัดได้แถลงว่าซูเปอร์จูเนียร์06นั้น เป็นเพียงข่าวลือ ซูเปอร์จูเนียร์ได้เอา \"05\" ออกจากชื่อและกลายเป็น ซูเปอร์จูเนียร์ อย่างเป็นทางการ ซูเปอร์จูเนียร์ได้รับความนิยมหลังจากออกซิงเกิ้ลแรกของพวกเขา \"U\" ปีพ.ศ. 2549 ในฤดูร้อนถัดมา ซึ่งกลายเป็นซิงเกิ้ลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของซูเปอร์จูเนียร์ในอันดับเพลง นำให้มันเป็นเพลงอันดับหนึ่งของซูเปอร์จูเนียร์ในงานในวงการของพวกเขา",
"title": "คิม ฮี-ช็อล"
},
{
"docid": "876059#5",
"text": "มาร์ค ธัชพล จากนักร้องคัฟเวอร์ สู่นักร้องจริง ส่งซิงเกิ้ลแรก ยังคิดถึง สังกัด Boxx Music และเพลง ยังคิดถึง...(same) ซิงเกิลแรกของ มาร์ค ธัชพล",
"title": "ธัชพล จุลเกษม"
},
{
"docid": "879738#0",
"text": "\"เธอคือพรหมลิขิต\" เป็นซิงเกิลของวงเก็ทสึโนวา และเพลงประกอบซีรีส์เรื่อง \"ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น\" ออกจำหน่ายในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560",
"title": "เธอคือพรหมลิขิต (เพลงของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)"
},
{
"docid": "760567#0",
"text": "\"กินข้าวยัง?\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2558 ประพันธ์เนื้อร้องโดย หทัย แสงวิจิตร แต่งทำนองโดย พณวรรธน์ พงศ์ภักดีบริบาล และเรียบเรียงโดย ศรายุทธ แสงชุมพล ออกจำหน่ายในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558",
"title": "กินข้าวยัง?"
},
{
"docid": "683928#0",
"text": "\"กลัวที่ไหน\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2553 ในสตูดิโออัลบั้ม \"รักนะคะ\" ประพันธ์เนื้อร้องโดย กสิ นิพัฒน์ศิริผล, แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย เรืองฤทธิ์ เอกะหิตานนท์ ออกจำหน่ายในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553",
"title": "กลัวที่ไหน"
},
{
"docid": "246256#0",
"text": "\"ทูบีคัมวัน\" () เป็นเพลงป็อปของกลุ่มศิลปินป็อปชาวอังกฤษ สไปซ์เกิลส์ เป็นซิงเกิ้ลที่ 3 จากผลงานอัลบั้มเปิดตัวที่ชื่อ Spice ถือเป็นซิงเกิ้ลบัลลาดซิงเกิ้ลแรกของวง ที่ต่างจากเพลงก่อน โดยจะมีจังหวะเป็นอัป-เทมโป และแดนซ์ เป็นหลัก",
"title": "ทูบีคัมวัน"
},
{
"docid": "780179#3",
"text": "ในวันที่ 27 กรกฎาคม TS Entertainment เปิดเผยภาพยั่วยุให้กับโครงการ Happy Boxของ Sonamoo เพื่อเปิดเผยว่ากลุ่มนี้จะออกซิงเกิ้ลสามครั้งในช่วงหลายเดือน ซิงเกิ้ลแรก \"Friday Night\" ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 14 สิงหาคมส่วนที่แร็พของซิงเกิ้ลนี้ถูกเขียนขึ้นโดย NewSun ",
"title": "โซนามู"
},
{
"docid": "640589#0",
"text": "\"รักแท้แปลว่าเธอ\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2557 ประพันธ์เนื้อร้องโดย วรัชยา พรหมสถิต แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย จิตรกร มงคลธรรม ออกจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 เพลงนี้ยังถูกรวมในอัลบั้มของ \"10 Years Of Love บทเพลงรักจากเดอะสตาร์\"",
"title": "รักแท้แปลว่าเธอ"
},
{
"docid": "281195#26",
"text": "- การแสดงชุด “Love 10 ปีกับบี้ สุกฤษฏิ์” งานไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด2016 : ศิลปิน บี้ เดอะสตาร์ / 4 คนสุดท้าย THE STAR 12 : เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559",
"title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"
},
{
"docid": "320655#1",
"text": "ซิงเกิ้ลนี้เป็นซิงเกิ้ลที่ 7 ของ ไม คุรากิและเป็นซิงเกิ้ลแรกที่เป็นดับเบิ้ล-เอ ไซด์ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2544 ยอดขายสัปดาห์แรกที่อันดับ 2 ขายได้ 200,480 ชุด อยู่ในโอริคอนซาร์ด 11 สัปดาห์ ยอดขายรวม 356,310 ชุด นับเป็นซิงเกิ้ลอันดับที่ 52 ของปี 2544",
"title": "สึเมะทาอิอุมิ/สตาร์ทอินมายไลฟ์"
}
] |
17 | คลองดำเนินสะดวกสร้างครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "202395#1",
"text": "ในปีขาล อัฐศก จ.ศ.1228 ร.ศ.85 ตรงกับปี พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลอง ที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ชาวบ้าน และชาวจีนร่วมกันขุด โดยใช้กำลังของคนล้วนๆ ใช้วิธีขุดระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ระยะหนึ่ง ให้น้ำเซาะดินที่ไม่ได้ขุดพังไปเอง\nเมื่อขุดคลองสำเร็จแล้ว จึงนำแผนขึ้นทูลเกล้า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “ คลองดำเนินสะดวก ” และได้ทำพิธีเปิดใช้คลองนี้เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ จ.ศ.1230 ร.ศ.87 ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411",
"title": "คลองดำเนินสะดวก"
},
{
"docid": "195806#1",
"text": "คลองดำเนินสะดวก เป็นนามพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นคลองที่ขุดด้วยแรงงานคนซึ่งขุดได้ตรงและยาวที่สุดในประเทศ จากพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ที่ทรงพระประสงค์ให้ขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน เพื่อประโยชน์ในการคมนาคมและการค้าขาย คลองดำเนินสะดวก ใช้เวลาในการขุด 2ปีเศษ จากปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วเสร็จต้นรัชกาลที่ 5 มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตรมีซอยน้อยแยกออกไปอีกประมาณ 200 คลอง ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าตลาดน้ำคลองต้นเข็ม\nสักประมาณ 30 ปีที่แล้ว ตลาดน้ำดำเนินสะดวกอยู่ที่คลองลัดพลี หนาแน่นช่วงปากคลองต่อกับคลองดำเนินสะดวก ซึ่งอยู่ตรงข้ามตลาดน้ำปัจจุบัน(ฝั่งตรงตลาดน้ำดำเนินสะดวก) มีเรือพายแท้ ๆ จากชาวสวนแน่นขนด สามารถเดินข้ามคลองได้โดยเหยียบไปบนเรือเหล่านั้น ปี 2514-2516 ตลาดน้ำคลองลัดพลีเป็นช่วงที่มีความเจริญมาก มีการค้าขายกับอย่างสนุกสนาน โดยมีนักท่องเที่ยวแต่ชาวต่างชาติ จนมีนายทุนได้ทำการขุดคลองเทียมขึ้นมา ระหว่างคลองลัดพลี และคลองดำเนินสะดวก หวังที่จะทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ลาดน้ำที่แท้จริงหายไป (20กว่าปีมาแล้ว) ซึ่งตลาดน้ำในปัจจุบันนี้ เป็นเพียงการสตาฟตลาดน้ำในอดีตให้คงอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามตลาดน้ำดำเนินที่เก่าแก่กว่าร้อยปี ยังคงมีมนต์ขลังเป็นตลาดน้ำที่ยังคงเป็นของจริง ยังมีจากแม่ค้าที่นำผลไม้จากสวนมาขาย หรือบางครั้งอาจรับผลไม้มาจากรถบรรทุกที่อื่นขาย เป็นอะไรสุดท้ายที่ควรไปชม",
"title": "ตลาดน้ำดำเนินสะดวก"
}
] | [
{
"docid": "202395#4",
"text": "หลังจากที่เปิดใช้คลองดำเนินสะดวกแล้ว คลองก็เต็มไปด้วยเรือนานาชนิดที่สัญจรไปมาไม่เว้นแม้แต่เวลากลางคืน\nปี พ.ศ. 2472 กรมชลประทานได้ก่อสร้างประตูน้ำบางยาง ในอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และประตูน้ำบางนกแขวก ในอ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม\nจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2กองทัพญี่ปุ่นใช้คลองดำเนินสะดวกลำเลียงขนส่งอาหารและอาวุธต่างๆไปยังจังหวัดกาญจนบุรี\nส่งผลให้ฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลายประตูน้ำทั้งสอง เพื่อตัดเส้นทางของญี่ปุ่นลง\nหลังสงครามสิ้นสุด กรมชลประทานได้ซ่อมแซมประตูน้ำทั้งสองขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2489 และได้พบลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จมอยู่บริเวณก้นคลอง จำนวน 3 ลูก และขณะนำดินระเบิดออกจากลูกระเบิดได้เกิดระเบิดขึ้น 1 ลูก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน\nประตูน้ำ ทั้ง 2 แห่งกว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร สร้างขึ้นเป็นทางปล่อยเรือเข้าออกคลองซึ่งมีมากมายในสมัยก่อน และยังสามารถกั้นน้ำเค็มที่จะทำลายผลผลิตของชาวบ้านได้อีกด้วย",
"title": "คลองดำเนินสะดวก"
},
{
"docid": "202395#8",
"text": "ในสมัยโบราณตลาดน้ำจะมีเพียงไม่กี่ครั้งใน 1 เดือน ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีตลาดน้ำมากมายหลายแห่งในละแวกเดียวกัน โดยมากจะมีติดๆ กัน เรียกว่า นัด ดังนั้นคลองดำเนินสะดวกจึงเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำหลายแห่ง ตลาดน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกคือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดพลี เป็นคลองที่ลัดเข้าตัวจังหวัดราชบุรีได้โดยไม่ต้องผ่านประตูน้ำ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า นัดศาลาห้าห้อง นัดศาลาแดง หรือนัดหลักแปด เพราะเดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้ปลูกศาลาเป็นไม้มี 5 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสีแดงเป็นที่พักคนงาน ต่อมากลายเป็นตลาดสำคัญคู่กับนัดปากคลองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง (นัดปากคลองมีวัน 1 6 และ 11 ค่ำ นัดดำเนินสะดวกมีวัน 2 7 และ 12 ค่ำ) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังได้เสด็จประพาสต้นตลาดน้ำแห่งนี้อีกด้วย ในช่วงปี พ.ศ. 2500 ตลาดน้ำขยายพื้นที่กินบริเวณตั้งแต่ปากคลองลัดพลี ไปตามคลองดำเนินสะดวกยาวหลายกิโลเมตร ในสมัยนั้นตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีอยู่ 3 จุด คือ ที่ปากคลองลัดพลี ปากคลองโพธิ์หัก หรือคลองบัวงาม และที่ปากคลองศรีสุราษฎร์ และยังทำให้เกิดตลาดน้ำใหม่สร้างเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างคลองต้นเข็ม หลังจากนั้นมาตลาดน้ำที่มีมาแต่เดิมก็ถูกลดความสำคัญลงไป เหลือเพียงตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้น ตลาดน้ำคลองลัดพลีในปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ อยู่ตรงข้ามกับตลาดน้ำคลองต้นเข็ม ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก\nตลาดน้ำที่สำคัญในคลองดำเนินสะดวกได้แก่",
"title": "คลองดำเนินสะดวก"
},
{
"docid": "342073#2",
"text": "แนวคิดของเส้นทางลัดเพื่อร่นเวลาเรือซึ่งแล่นรอบเพโลพอนนีสมีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ความพยายามครั้งแรกที่จะสร้างคลองเกิดขึ้นในสมัยของทรราช เพริแอนเดอร์ หรือ เพริแอนกรอส ในช่วงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล โครงการก่อสร้างดังกล่าวถูกยกเลิกไปเนื่องจากความยากลำบากในการก่อสร้าง และสร้างทางลาดหินเหนือพื้นดินซึ่งง่ายกว่าและเสียค่าใช้งานน้อยกว่าแทน ซึ่งก็คือ ถนนดิโอกอส ไว้สำหรับใช้ในการขนส่ง ส่วนที่เหลือของดิโอกอสยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันติดกับคลองคอรินท์ เมื่อสาธารณรัฐโรมัน (หรือในภายหลัง จักรวรรดิโรมัน) เข้าควบคุมกรีซ ได้มีความพยายามหลายประการในการสร้างเส้นทางลัด ในรัชสมัยของจักรพรรดิไทบีเรียส วิศวกรพยายามที่จะขุดคลอง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากการขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย ดังนั้น จึงมีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการแบบอียิปต์โบราณ คือ เรือจะถูกกลิ้งข้ามคอคอดบนขอนไม้ อันเป็นวิธีการเดียวกับการขนก้อนแกรนิตเพื่อสร้างพีระมิด ในปี ค.ศ. 67 จักรพรรดิเนโรผู้คลั่งไคล้วัฒนธรรมกรีก มีพระบรมราชโองการให้ทาส 6,000 คนขุดคลองโดยใช้พลั่ว ในปีต่อมาหลังจากจักรพรรดิเนโรสวรรคต จักรพรรดิกาลบาผู้สืบราชบัลลังก์ ทรงยกเลิกโครงการดังกล่าวเนื่องจากทรงเห็นว่าแพงเกินไป",
"title": "คอคอดคอรินท์"
},
{
"docid": "10917#9",
"text": "สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของทีโอดอร์ รูสเวลต์ได้ครอบครองเครื่องมือรวมถึงอุปกรณ์ขุดเจาะทั้งหมด ได้เริ่มต้นการทำงานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 สิ่งสำคัญประการแรกคือ ได้เริ่มลงมือปราบปรามโรคร้ายที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการก่อสร้างคลอง พันเอก วิลเลียม ซี กอร์กัส ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการดังกล่าวกอร์กัสได้เริ่มรณรงค์ขจัดยุงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพาหะในการนำโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย โดยการขจัดหนองน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขจัดพงหญ้าที่เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของยุงเหล่านั้น ตลอดจนกำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะกาฬโรค เขาใช้เวลาในการกำจัดอยู่ 10 ปี รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินไปประมาณ 20 ล้านดอลลาร์เฉพาะในการปราบปรามโรคเหล่านี้ จนใน ค.ศ. 1914 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างคลองนี้ขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะก่อสร้างคลองที่มีประตูกั้นน้ำเป็นระยะ ๆ แทนที่จะเป็นคลองที่มีระดับน้ำเท่ากับระดับน้ำทะเล และหลังจากได้ตระเตรียมระบบพื้นฐาน ระบบการก่อสร้างของระบบประตูกั้นน้ำของคลองก็เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง สหรัฐอเมริกาจึงได้ค่อย ๆ เปลี่ยนเครื่องมือของฝรั่งเศสมาใช้เครื่องไม้เครื่องมือขนาดใหญ่สำหรับงานที่ใหญ่ขึ้น",
"title": "คลองปานามา"
},
{
"docid": "202395#6",
"text": "แต่เดิมในบริเวณนี้มีคลองบางยางเป็นคลองธรรมชาติแยกจากแม่น้ำท่าจีน มีความยาว 3.8 กิโลเมตร เมื่อเริ่มขุดคลองดำเนินสะดวกจึงขุดต่อจากต้นคลองบางยางไปออกแม่น้ำแม่กลอง มีประตูน้ำกั้นคลองบางยางกับคลองขุดใหม่ ถ้านับตามนี้จะมีความยาว 840 เส้น (32กิโลเมตร) แต่ถ้าหากเริ่มนับตั้งแต่แม่น้ำท่าจีนจะมีความยาว 895 เส้น (35.8 กิโลเมตร)",
"title": "คลองดำเนินสะดวก"
},
{
"docid": "10917#2",
"text": "หลักฐานที่มีการอ้างถึงคอคอดในอเมริกากลาง ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1524 เมื่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกษัตริย์แห่งสเปนพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า จักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ได้ทรงแนะนำว่า การสร้างคลองผ่านปานามาจะสร้างความสะดวกในการเดินเรือสัญจรไปมาระหว่างสเปนกับเปรู รวมไปถึงสร้างความได้เปรียบทางยุทธวิธีเหนือโปรตุเกส ระหว่างการสำรวจโดยคณะสำรวจของพระองค์ระหว่างปี ค.ศ. 1788-1793 โดย อเลสซานโดร มาลาสปินาได้เสนอความเป็นไปได้และวางแผนโครงสร้างของคลอง",
"title": "คลองปานามา"
},
{
"docid": "6388#143",
"text": "การก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของ'เครื่องปฏิกรณ์เทอโมนิวเคลียร์เพื่อทดลองนานาชาติ'เริ่มในปี 2007, แต่โครงการได้วิ่งเข้าสู่ความล่าช้าและงบประมาณส่วนเกินจำนวนมาก. สิ่งอำนวยความสะดวกขณะนี้ไม่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้จนกว่าจะถึงปี 2027 - 11 ปีหลังจากที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก. สถานีพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันเชิงพาณิชย์ที่ตามมา, DEMO, ได้รับนำเสนอ. นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำสำหรับโรงไฟฟ้าที่ใช้วิธีการฟิวชั่นที่แตกต่างกัน, นั่นคือของโรงไฟฟ้าฟิวชั่นเฉื่อย.",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "11387#2",
"text": "ในช่วงการขัดแย้งดุยนวกวูน (Duinuogwuin Contention) เมื่อประมาณ 15,500 ปีก่อนยุทธการยาวิน การศึกษาของนิกายเจไดเริ่มนำไปสู่ความสำเร็จของเทคโนโนยีดังกล่าว พวกเขาได้สร้างการเน้นลำแสงพลังงานซึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งตามเส้นรอบลงกลับไปที่แหล่งกำเนิดของมัน เป็นการสร้างใบมีดพลังงานสูงครั้งแรก กระบี่แสงขั้นต้นเหล่านี้ไม่เสถียรอย่างมากและใช้พลังอย่างไม่มีประสิทธิภาพ พวกมันสามารถใช้ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นก่อนที่จะมันจะร้อนเกินไป ด้วยข้อด้อยเหล่านี้กระบี่แสงในช่วงแรกจึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าสิ่งของทางพิธีกรรม",
"title": "กระบี่แสง"
}
] |
3382 | เฟซบุ๊ก ก่อตั้งโดยใคร ? | [
{
"docid": "123626#0",
"text": "เฟซบุ๊ก () เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเพื่อนร่วมห้องภายในมหาวิทยาลัย และเหล่าเพื่อนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พร้อมโดยสมาชิกเพื่อนผู้ก่อตั้ง Eduardo Saverin, Andrew McCollum, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes ในท้ายที่สุดเว็บไซต์มีการเข้าชมอย่างจำกัด ทำให้เหล่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ภายหลังได้ขยายเพิ่มจำนวนในมหาวิทยาลัย ในพื้นที่บอสตัน ไอวีลีก และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และค่อยๆรับรองมหาวิทยาลัยอื่นต่างๆ และต่อมาก็รับรองโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเฟซบุ๊กให้การอนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีทั่วโลกสามารถสมัครสมาชิกได้ภายในเว็บไซต์ โดยไม่ต้องอ้างอิงหลักฐานใด ๆ",
"title": "เฟซบุ๊ก"
},
{
"docid": "294037#0",
"text": "มาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก () เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 ที่ ประเทศอเมริกา เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก เขาร่วมก่อตั้งเฟสบุ๊กร่วมกับเพื่อนอีก 4 คน ขณะกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ต่อมา \"นิตยสารไทม์\" ได้ให้เขาเป็นบุคคลแห่งปี ค.ศ. 2010",
"title": "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก"
},
{
"docid": "431184#1",
"text": "หนังสือเล่มนี้จะเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ เฟซบุ๊ก ที่เริ่มจากเว็บไซต์เฟซแมชในมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ไปจนถึงการที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กถูกพี่น้องตระกูลวิิงเคิลวอสส์คือ คาเมรอน และ ไทเลอร์ ฟ้องร้องว่าถูกซัคเคอร์เิบิร์กขโมยไอเดีย",
"title": "ดิ แอคซิเดนทัล บิลเลียนแนร์"
},
{
"docid": "450826#3",
"text": "ในภาคการศึกษาถัดมา ซักเคอร์เบิร์กได้เริ่มทำโครงการใหม่ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากบทความในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเรื่องเฟซแมช โดยในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเคอร์เบิร์กก็เปิดตัว \"Thefacebook\" ขึ้น แต่ใน 6 วันต่อมารุ่นพี่ฮาร์วาร์ด 3 คน ก็กล่าวหาซักเคอร์เบิร์กว่าลอกความคิดเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เครือข่ายสังคมไป ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นคดีความในชั้นศาล ในตอนแรก Thefacebook จำกัดสมาชิกเฉพาะนักศึกษาฮาร์วาร์ดเท่านั้น และภายในเดือนแรกของการเปิดตัว เกินครึ่งของนักศึกษาฮาร์วาร์ดก็สมัครเข้าใช้งานบริการนี้ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 บริการนี้ก็ขยายฐานผู้ใช้งานไปยังนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล และขยายต่อไปอีกในนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกไปจนถึงมหาวิทยาลัยอื่นๆในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เฟซบุ๊กจัดตั้งเป็นบริษัทราวกลางปีค.ศ. 2004 โดยได้ฌอน พาร์คเกอร์มาเป็นประธานบริษัท และย้ายฐานปฏิบัติการไปยังเมืองแพโล แอลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย และไม่นานก็ได้รับเงินลงทุนก้อนแรกจาก ปีเตอร์ ธีล ผู้ร่วมก่อตั้งเพย์แพล ในปีค.ศ. 2005 เฟซบุ๊กตัด the ออกจาก thefacebook หลังจากซื้อโดเมน facebook.com มาในราคา 200,100 ดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "เฟซบุ๊ก (บริษัท)"
}
] | [
{
"docid": "123626#9",
"text": "เฟซบุ๊กได้เป็นบริษัทในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2004 และได้นักธุรกิจ ฌอน พาร์กเกอร์ ที่ได้เคยแนะนำซักเกอร์เบิร์กอย่างเป็นกันเอง ก็ได้ก้าวมาเป็นประธานของบริษัท. ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ย้ายฐานปฏิบัติงานมาอยู่ที่ แพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้รับเงินทุนในเดือนนั้นจากผู้ร่วมก่อตั้ง เพย์พาล ที่ชื่อ ปีเตอร์ ธีล บริษัทได้เปลี่ยนชื่อ โดยลดคำว่า เดอะ ออกไป และซื้อโดเมนเนมใหม่ในชื่อ เฟซบุ๊ก.คอม ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงิน 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "เฟซบุ๊ก"
},
{
"docid": "450826#1",
"text": "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเริ่มสร้างเว็บไซต์เฟซแมช (Facemash) ขึ้นร่วมกับผู้ก่อตั้งคนอื่นๆในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่ซักเคอร์เบิร์กเป็นนักศึกษาปีที่สองของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เฟซแมชเป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานเลือกภาพนักเรียนฮาร์วาร์ดสองคนเปรียบเทียบกันว่าคนไหนร้อนแรงกว่ากัน ซึ่งเพื่อการนี้ซักเคอร์เบิร์กได้ทำการเจาะระบบของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อคัดลอกรูปนักศึกษาที่ใช้ในระบบหอพักลงมาในระบบของเฟซแมช",
"title": "เฟซบุ๊ก (บริษัท)"
},
{
"docid": "123626#10",
"text": "เฟซบุ๊กได้เปิดตัวในรูปแบบของโรงเรียนไฮสคูล ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ที่ซักเกอร์เบิร์กเรียกว่า ก้าวต่อไปที่มีเหตุผล ณ เวลานั้นในเครือข่ายไฮสคูล ต้องการการรับเชิญเท่านั้นเพื่อร่วมเว็บไซต์ ต่อมาเฟซบุ๊กได้ขยับขยายให้กับลูกจ้างบริษัทที่คัดสรรอย่าง แอปเปิล และ ไมโครซอฟท์ เฟซบุ๊กได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 ให้ทุกคนได้ใช้กัน โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปี และมีอีเมลที่แท้จริง",
"title": "เฟซบุ๊ก"
},
{
"docid": "450826#0",
"text": "เฟซบุ๊ก () เป็นบริษัทข้ามชาติอเมริกัน ผู้ให้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เฟซบุ๊ก โดยเฟซบุ๊กได้ทำการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และเริ่มซื้อขายบนตลาดหุ้นแนสแด็กอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2012",
"title": "เฟซบุ๊ก (บริษัท)"
},
{
"docid": "123626#16",
"text": "รายได้ส่วนมากของเฟซบุ๊กมาจากการโฆษณา โดยไมโครซอฟท์เป็นผู้ร่วมหุ้นพิเศษในด้านการบริการแบนเนอร์โฆษณา และเฟซบุ๊กให้มีการโฆษณาเฉพาะที่อยู่ในรายการลูกค้าของไมโครซอฟท์ และจากข้อมูลของคอมสกอร์ บริษัทสำรวจการตลาดทางอินเทอร์เน็ต ระบุว่า เฟซบุ๊กได้รวบรวมข้อมูลเข้าเว็บไซต์มากกว่า กูเกิลและไมโครซอฟท์ แต่น้อยกว่า ยาฮู! ในปี ค.ศ. 2010 ทีมระบบความปลอดภัยได้เพิ่มประโยชน์จากการต่อต้านภัยคุกคามและก่อการร้ายจากผู้ใช้ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เฟซบุ๊กได้เปิดตัว เฟซบุ๊กบีคอน เป็นการพยายามในการโฆษณาให้เหล่าเพื่อน โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เพื่อนซื้อ แต่เฟซบุ๊กบีคอนก็เกิดความล้มเหลว",
"title": "เฟซบุ๊ก"
},
{
"docid": "328739#0",
"text": "เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก () เป็นภาพยนตร์แนวดรามาที่กำกับโดย เดวิด ฟินเชอร์ และมี เควิน สเปซีย์ นักแสดงรางวัลออสการ์ เป็นผู้อำนวยการสร้างร่วม เนื้อหาเกี่ยวข้องกับประวัติการก่อตั้งเฟซบุ๊ก บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ชั้นนำของโลก ดัดแปลงจากหนังสือ \"แบบว่า...บังเอิญรวย\" (The Accidental Billionaires: The Founding Of Facebook, A Tale of Sex, Money, Genius, and Betrayal) ของเบ็น เมซริช นำแสดงโดย เจสซี ไอเซนเบิร์ก แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ และจัสติน ทิมเบอร์เลค ประพันธ์ดนตรีประกอบโดย เทรนต์ เรซเนอร์ นักร้องนำวงไนน์อินช์เนลส์ และแอตติคัส รอสส์ กำหนดออกฉายในอเมริกาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และในประเทศไทยวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน โดย โคลัมเบียพิกเจอส์ เป็นผู้จัดจำหน่าย",
"title": "เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก"
}
] |
1181 | ยาโรสลัฟล์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "576316#1",
"text": "ยาโรสลัฟล์นั้นถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของรัสเซีย ได้รับการบันทึกการก่อตั้งตั้งแต่ในสมัยของเคียฟรุส ในปี พ.ศ. 1553 (ค.ศ. 1010) และเมื่อปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ก็ได้มีการจัดการฉลองอายุครบหนึ่งพันปีของเมือง",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
}
] | [
{
"docid": "576316#18",
"text": "ภายหลังจากซาร์ปีเตอร์มหาราชทรงย้ายเมืองหลวงแห่งรัสเซียจากมอสโกไปสู่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ความสำคัญของยาโรสลัฟล์รวมถึงเมืองท่าการค้าตามแม่น้ำวอลกาอื่นๆก็เริ่มเสื่อมถอยลงส่งผลให้เมืองต้องปรับตัวโดยใช้ความมั่งคั่งจากการเป็นเมืองท่ามาก่อนในการพัฒนาสาธารณูปโภคในเมืองเพื่อเริ่มรองรับการเข้ามาตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดในยุคเริ่มแรกของยาโรสลัฟล์ได้ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2315 (ค.ศ. 1772) โดย Ivan Tames ได้เปิดโรงงานสิ่งทอ Krasny Perekop () ขึ้น ณ ฝั่งแม่น้ำโคตาโรสึล์ด้านใต้ตรงข้ามกับตัวเมืองหลักของยาโรสลัฟล์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นโรงงานสิ่งทอที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของรัสเซียในช่วงเวลานั้น ชื่อของโรงงานก็ได้กลายเป็นชื่อของย่าน \"Krasnoperekopsky\" ที่เป็น 1 ใน 6 เขตย่อยของยาโรสลัฟล์อีกด้วย แม้แต่กระทั่งทุกวันนี้ โรงงานแห่งนี้ก็ยังคงดำเนินงานอยู่",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#11",
"text": "ปี พ.ศ. 2044 (ค.ศ. 1501) เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเมืองยาโรสลัฟล์ ทำให้สิ่งก่อสร้างต่างๆในเมืองซึ่งสร้างด้วยไม้ถูกเผาผลาญหมดสิ้น ในช่วงนี้เองจึงมีการเริ่มสร้างโบสถ์ด้วยวัดถุที่ไม่เป็นเชื้อเพลิงเช่นหินและอิฐ โดยสิ่งก่อสร้างที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเมืองก็คือโบสถ์ศิลา Transfiguration of the Saviour ภายในอาราม Spaso-Preobrazhensky สร้างขึ้นหลังจากไฟไหม้ใหญ่ครั้งนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2049-2059 (ค.ศ. 1506-1516)",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#27",
"text": "ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) จังหวัดยาโรสลัฟล์ได้ถูกยุบและเข้าไปรวมอยู่กับ เขตอุตสาหกรรมอิวาโนโว (Ivanovo Industrial Oblast) และเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของทางโซเวียตที่จะเร่งรัดขยายอัตราการผลิตด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการเริ่มขยายฐานอุตสาหกรรมในเมืองอย่างรวดเร็ว ได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดย่อมขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณกระแสไฟฟ้ารองรับ ในช่วงนี้เองที่โรงงานผลิตยางสังเคราะห์ Yaroslavl Tyre Factory หนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังให้แก่เศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมของยาโรสลัฟล์ได้ถูกตั้งขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นการลงทุนอุตสาหกรรมด้านยางรถยนต์และยางสำหรับอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคกลางของรัสเซีย นอกจากนั้นแล้วโรงงานอุตสาหกรรมที่ช่วยดึงเศรษฐกิจของเมืองกลับมาจากจุดวิกฤตหลังจากกบฏก็ยังมีโรงงานผลิตเครื่องยนตร์และประกอบยานพาหนะขนส่ง Avtodiesel Yaroslavl Motor Works (YaMZ) ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916)",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#45",
"text": "โรงกลั่นน้ำมันของยาโรสลัฟล์ Novo-Yaroslavskiy refinery นั้นตั้งขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันอยู่ในการบริหารของบริษัทน้ำมัน Slavneft นับจากปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เป็นต้นมา โดยโรงกลั่นน้ำมันนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาครัสเซียเหนือด้านฝั่งยุโรป มีกำลังการผลิตประมาณ 15 ล้านตันต่อปี",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#20",
"text": "ครั้นปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) ในรัชสมัยของพระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ 2 ด้วยความสำคัญในฐานะเมืองเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตรุดหน้าและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ยาโรสลัฟล์จึงได้รับการพิจารณาให้ได้รับอำนาจปกครองตัวเองโดยแยกออกมาเป็นจังหวัดยาโรสลัฟล์ () และได้รับพระราชทานตราสัญลักษณ์เมืองรวมถึงได้รับการออกแบบผังเมืองใหม่ มีการก่อสร้างเพิ่มเติมสาธารณูปโภคพื้นฐานในเมืองและปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมในส่วนใจกลางเมืองเก่าให้สร้างอาคารแบบยุโรปตะวันตกในสไตล์เดียวกันหมดเพื่อความสวยงาม ทั้งยังมีการขยายสร้างสวนสาธารณะแทรกไว้กับหมู่อาคารที่ก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่อีกด้วย",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#14",
"text": "ยาโรสลัฟล์นั้นในชั้นแรกได้ให้การสวามิภักดิ์ต่อดมีตรีปลอมคนที่สอง แต่เมื่อก็ยังถูกกองกำลังของชาวโปแลนด์เข้าปล้นอยู่เรื่อยๆจึงเริ่มทำให้ยาโรสลัฟล์และเมืองต่าง ๆ ในลุ่มน้ำวอลกาลุกฮือขึ้นต่อต้าน และครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609) ทางฝั่งเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียได้ยกทัพมาเพื่อพยายามจะตียาโรสลัฟล์ให้แตกและยึดไว้ให้อยู่ใต้อำนาจให้ได้ ทว่าก็ไม่สามารถทำให้ยาโรสลัฟล์กลับมาสวามิภักดิได้แม้จะทำลายเมืองจนเกือบหมดก็ตาม",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#4",
"text": "ในบริเวณนี้นั้น เคยมีชุมชนตั้งอยู่มาก่อนโดยเป็นชาวพื้นเมืองฟินโน-อูกริค () ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับบรรพบรุษของชาวรัสเซีย จนกระทั่งการมาถึงของยาโรสลาฟผู้ปราดเปรื่อง () ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์รูริคที่ทำการปกครองเคียฟรุสอยู่ในยุคนั้น โดยตำนานบันทึกการก่อตั้งเมืองพระองค์ได้ล่องเรือมาตามแม่น้ำโคตาโรสึล์จากต้นแม่น้ำคือทะเลสาบเนโรซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองรอสตอฟ-นา-โดนู อันเป็นดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของเคียฟรุสที่พระองค์มาปกครองอยู่ ครั้นเมื่อเรือล่องมาถึงบริเวณจุดบรรจบกับแม่น้ำวอลกา พระองค์ได้ให้ความสนใจว่าเป็นจุดที่น่าจะอำนวยความสะดวกในการค้าขายผ่านแม่น้ำวอลกา ทว่ากลุ่มคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณนี้นั้นบางครั้งก็ทำการปล้นเรือสินค้า กล่าวกันว่าในยามที่พระองค์มาถึงบริเวณปากแม่น้ำโคตาโรสึล์ ก็ได้พบเรือสินค้ากำลังถูกปล้นอยู่พอดีจีงได้ไปช่วยพ่อค้าบนเรือนั้น เป็นผลให้ชาวพื้นเมืองไม่พอใจ และได้ปล่อยหมีซึ่งตามความเชื่อในลัทธิหมอผีถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มาเพื่อหมายจะทำร้าย ซึ่งพระองค์ก็ได้ทำการสังหารหมีด้วยง้าว (Halberd) จนเหล่าชาวพื้นเมืองยอมจำนน",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#40",
"text": "ตราเมืองและธงประจำเมืองยาโรสลัฟล์นั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากตำนานการก่อตั้งเมืองวีรกรรมการสังหารหมีดุร้ายของยาโรสลาฟผู้ปราดเปรื่องเป็นหลัก ในปี พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ตราเมืองแบบแรกที่ได้รับมาพร้อมๆกับฐานะการปกครองตัวเองของจังหวัดยาโรสลัฟล์ เป็นรูปหมีที่ยืนด้วยสองขาหลังถือขวานด้ามยาวสีทองพาดบ่าบนพื้นหลังสีเทาเงินรูปทรงโล่",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
},
{
"docid": "576316#33",
"text": "เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่สอง ยาโรสลัฟล์ได้รับบทบาทในด้านการเป็นหนึ่งในเมืองกำลังหลักที่ช่วยดึงเศรษฐกิจของโซเวียตให้กลับมามั่นคงเข้มแข็ง การพัฒนาเสริมความเจริญของเมืองก็ได้เป็นไปอย่างรวดเร็วจนแม้กระทั่งฝั่งซ้ายของแม่น้ำวอลกาซึ่งแต่ดั้งเดิมไม่เคยมีการไปพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ มีการก่อสร้างอาคารชุดขยายแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมากจนในช่วงนี้เองที่เมืองมีประชากรมากกว่า 500,000 คนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ก่อตั้งมา ในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) ได้มีการมาเปิดศูนย์การศึกษาทางด้านการทหารในยาโรสลัฟล์และปรับเปลี่ยนมาเรื่อยจนปัจจุบันนี้เป็นโรงเรียนสาขาของกองทัพอากาศรัสเซีย \"Military Space Academy AF Mozhaysky\" ซึ่งสอนการใช้เรดาห์ตรวจจับอากาศยานขั้นสูงและการใช้ขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน",
"title": "ยาโรสลัฟล์"
}
] |
2402 | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นทหารหรือไม่ ? | [
{
"docid": "53263#0",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 2381 — 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้ายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
}
] | [
{
"docid": "8726#24",
"text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เนื่องจากในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการปรับปรุงพระบวรราชวังครั้งใหญ่ และยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีการสร้างพระที่นั่งใหม่มากนัก พระองค์ทรงสร้าง พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส ต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนแล้วเสร็จและเสด็จเข้าประทับในพระที่นั่งองค์นี้",
"title": "พระราชวังบวรสถานมงคล"
},
{
"docid": "115739#1",
"text": "ตำแหน่งพระมหาอุปราชปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาสมเด็จพระเพทราชาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"กรมพระราชวังบวรสถานมงคล\" ภายหลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลิกธรรมเนียมตั้งพระมหาอุปราช แล้วทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแทน[1]",
"title": "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
},
{
"docid": "53263#3",
"text": "ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต 1 วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุมอันมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นประธาน ตกลงที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม เพราะพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงคัดค้านว่า การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น ตามโบราณราชประเพณีเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของที่ประชุม ซึ่งทำความไม่พอใจให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านจึงได้ย้อนถามว่า \"ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ\" กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบว่า \"ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม\" จึงเป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 เป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์[4]",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "191597#0",
"text": "นายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 — 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญและจอมมารดาปริกเล็ก ทรงเป็นต้นราชสกุลกาญจนะวิชัย ออกพระนามโดยทั่วไปว่า พระองค์ชายกลาง",
"title": "พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ"
},
{
"docid": "172481#2",
"text": "ความบาดหมางระหว่างพระบรมมหาราชวังและวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงทรงระดมกำลังเพิ่มในวังหน้า กระทั่งปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2417 เกิดอัคคีภัยใกล้กับโรงเก็บดินปืนและโรงก๊าซในวังหลวง ทางวังหน้าจะนำทหารพร้อมอาวุธไปช่วยดับเพลิง แต่วังหลวงไม่อนุญาต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงระแวงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงกำจัดหรือลิดรอนสิทธิอำนาจของพระองค์ จึงทรงหนีไปอยู่สถานกงสุลอังกฤษ และเรียกร้องให้ข้าหลวงอังกฤษมาช่วยไกล่เกลี่ย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและทรงบอกไม่ให้พวกอังกฤษมาแทรกแซง \"วิกฤตการณ์วังหน้า\" ยุติลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2418",
"title": "วิกฤตการณ์วังหน้า"
},
{
"docid": "53263#7",
"text": "เหตุการณ์บาดหมางเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง เกิดระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง ทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็นผู้วางระเบิด และไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จออกมา เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรี เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการเมืองภายในของสยาม และไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "53263#1",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 คำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2381[2] เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่หม่อมเจ้า โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า ยอร์ชวอชิงตัน ตามชื่อของจอร์จ วอชิงตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรก คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2404 และได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "8726#26",
"text": "หลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้สถาปนาเจ้านายพระองค์ใดในตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก แต่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2429 ทำให้ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลถูกยกเลิกไป ดังนั้น พระราชวังบวรสถานมงคลจึงไม่ได้เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนับตั้งแต่นั้นมา",
"title": "พระราชวังบวรสถานมงคล"
},
{
"docid": "11546#2",
"text": "เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า \"มิวเซียม\" หรือ \"พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย\" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 จนต่อมาเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลลง เป็นเหตุให้พระราชวังบวรสถานมงคลว่าง พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายพิพิธภัฑสถานมาจัดแสดงโดยใช้พื้นที่ของพระราชวังบวรฯ บางส่วน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนพระราชมณเฑียรของพระราชวังบวรฯ ทั้งหมดได้เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครและหอสมุดพระวชิรญาณเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2469",
"title": "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร"
},
{
"docid": "11546#5",
"text": "ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้นที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า \"มิวเซียม\" หรือ \"พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย\" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ซึ่งนับเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย พิพิธภัณฑสถานตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นเวลา 13 ปี จนกระทั่ง กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคต พร้อมกันนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นเหตุให้พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ว่างลง พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายพิพิธภัฑสถานมาจัดแสดงโดยใช้พื้นที่ของพระราชวังบวรฯ บางส่วน ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดฯ ให้มีการปรับปรุงพื้นที่เขตวังหน้าและให้ตัดพื้นที่บางส่วนไปใช้ในราชการทหารด้วย",
"title": "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร"
},
{
"docid": "172481#1",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนประเทศสยามออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง คือทางเหนือถึงเชียงใหม่ (หรืออาจจะนับให้ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันออกจนถึงดินแดนทางตะวันออกของสยาม)ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง ส่วนที่สอง คือพื้นที่ระหว่างตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองไปจนถึงทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง และส่วนที่สาม คือทางใต้ โดยถือเอาตั้งแต่จากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไปนั้น ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงปกครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เลยทีเดียว",
"title": "วิกฤตการณ์วังหน้า"
},
{
"docid": "26149#21",
"text": "5) นอกจากนี้ยังมีอีกพระอิสริยยศหนึ่งคือ \"พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า\" เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และพระนัดดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ เช่น พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา พระนัดดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพยอม กรมหมื่นมนตรีรักษา พระนัดดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมิได้แต่งตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว จึงพระราชทานพระอิสริยยศอย่างราชสำนักวังหลวงแทน เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พระนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (สถาปนาเป็นพิเศษภายหลังสิ้นพระชนม์)",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "875299#1",
"text": "อึ่งเป็นธิดาของหม่อมหลวงชม อภัยกุล ต่อมาได้เข้ามาเป็นตัวละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ซึ่งคณะละครนั้นได้ตกทอดไปถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญพระราชโอรสในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ต่อมาได้ถวายตัวเป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าจอมอึ่ง",
"title": "อึ่ง หสิตะเสน"
},
{
"docid": "53263#4",
"text": "เนื่องจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สนับสนุนให้ได้เป็นแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จึงทรงเกรงใจเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นอันมาก",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "8726#25",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 หลังจากนั้น ก็ไม่มีการสถาปนาเจ้านายพระองค์ใดที่ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล",
"title": "พระราชวังบวรสถานมงคล"
},
{
"docid": "874029#4",
"text": "แม้จะไม่มีพระประสูติกาลพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกแต่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญก็ยังคงโปรดจอมมารดาหม่อมหลวงปริก ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแหวนให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญนำมาพระราชทานพระสนม จอมมารดาหม่อมหลวงปริกก็ได้รับพระราชทานด้วย",
"title": "จอมมารดาหม่อมหลวงปริก"
},
{
"docid": "875299#0",
"text": "อึ่ง หสิตะเสน เดิมคือ เจ้าจอมอึ่ง เป็นอดีตพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นนางละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม หม่อมครูอึ่งเป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละครตัวพระ ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ ภายหลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วได้กราบบังคมทูลลาออกจากพระราชวังบวรสถานมงคล",
"title": "อึ่ง หสิตะเสน"
},
{
"docid": "53263#8",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถหลายด้าน ด้านนาฏกรรม ทรงพระปรีชา เล่นหุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้ว ด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง[7]",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "17648#5",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้าราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2417 การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย และข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตในปี พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี พ.ศ. 2432",
"title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม"
},
{
"docid": "53263#2",
"text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์โต คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยังทรงพระเยาว์เพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งถูกสงสัยมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระชนม์ว่าคิดจะชิงราชสมบัติจึงได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2410 แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "875299#2",
"text": "ต่อมาจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วได้กราบบังคมทูลลาออกจากพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสมรสกับเปล่ง หสิตะเสน มีบุตรธิดา 2 คนคือ",
"title": "อึ่ง หสิตะเสน"
},
{
"docid": "115739#7",
"text": "หลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2429 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่ทรงดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร ทำให้ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลถูกยกเลิกตั้งแต่นั้นมา",
"title": "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
},
{
"docid": "9091#8",
"text": "ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานารถ ยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเสนอพระองค์เจ้ายอดยิ่งเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็นเพียงแค่ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เท่านั้น ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้าย",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "53263#9",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1247 (28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) พระชนมายุ 48 พรรษา[2] พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง จนถึงปีจอ พ.ศ. 2429 จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร และยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช ตั้งแต่นั้นมา",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "874029#2",
"text": "ต่อมาบิดาได้พาเข้าถวายตัวเป็นหม่อมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ขณะยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นบวรวิไชยชาญได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หม่อมหลวงปริก จึงได้เลื่อเป็นจอมมารดาหม่อมหลวงปริก จอมมารดาหม่อมหลวงปริกมีพระราชโอรสกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 2 พระองค์คือ\nซึ่งเป็นเจ้านายแฝดคู่ที่สามในราชวงศ์จักรี ก่อนหน้าพระองค์ มีเจ้านายแฝดเพียงสามคู่ที่มีพระประสูติกาลก่อนหน้า คือ ",
"title": "จอมมารดาหม่อมหลวงปริก"
},
{
"docid": "56714#27",
"text": "หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็น \"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5\" และให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็ม โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ช่วยในส่วนการพระราชนิเวศน์ รวมทั้งเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จะตรัสว่า \"ผู้ที่จะเป็นตำแหน่งพระราชโองการมีอยู่แล้ว ตำแหน่งพระมหาอุปราชควรแล้วแต่พระราชโองการจะทรงตั้ง เห็นมิใช่กิจของที่ประชุม ที่จะเลือกพระมหาอุปราช\" อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ก็ได้แต่งตั้งให้กรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[23][24][25]",
"title": "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)"
},
{
"docid": "53263#5",
"text": "ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417-2418 ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัยโดยโยงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (Auditing Office ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) เพื่อรวบรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า[5][6]",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "869788#2",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงพระราชทาน \"วังใหม่\" ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระองค์เองบริเวณริมคลองคูเมืองเดิมฝากเหนือแก่พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส โดยทรงพระราชทานครึ่งหนึ่งให้พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส และอีกครึ่งหนึ่งพระราชทานพระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาส ทรงประทับอยู่ที่วังนี้จนทางราชการจัดซื้อสร้างเป็นโรงพยาบาลทหาร (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนข่าวทหารบก)",
"title": "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส"
},
{
"docid": "53263#6",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนเป็นสามส่วนคือ ทางเหนือถึงนครเชียงใหม่ (หรืออาจจะเป็นพื้นที่ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันออกของประเทศ) ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง พื้นที่ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่กลองไปจนถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง ทางใต้ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไป ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้น",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
}
] |
369 | สยามประเทศ เปลี่ยนมาเป็นประเทศไทย เมื่อใด ? | [
{
"docid": "938#0",
"text": "สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ[1] สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา[2] ก่อนเปลี่ยนเป็น \"ไทย\" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ชื่อ \"สยาม\" ในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติเป็นเวลาหลายศตวรรษ เนื่องจากราชอาณาจักรประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ อาทิ ไท ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู พระมหากษัตริย์ไทยจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยาม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน[3] อีกทั้ง ชื่อ สยาม นั้น ก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการของต่างประเทศอีกด้วย",
"title": "สยาม"
}
] | [
{
"docid": "984827#0",
"text": "ซัมซัม () เป็นคำที่ใช้สำหรับเรียกกลุ่มชนลูกผสมระหว่างชาวไทยสยามกับชาวมลายู หรือชาวจีนกับสยาม หรือกับชาวสยามกับชนเผ่าพื้นเมืองอื่น ๆ ในคาบสมุทรมลายู พบมากในรัฐเกอดะฮ์และปะลิส ประเทศมาเลเซีย และตามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดตรัง, พังงา, สงขลา และสตูล โดยเป็นประชากรส่วนใหญ่ของชาวมุสลิมจังหวัดสตูลและสงขลา พวกเขามีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยและมลายู ที่โดดเด่นที่สุดคือการใช้ภาษาไทยและนับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็มีบางส่วนที่ยังนับถือหรือเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ",
"title": "ชาวซัมซัม"
},
{
"docid": "8855#20",
"text": "หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองฐานะของธงไตรรงค์ให้เป็นธงชาติของประเทศสยามต่อไป โดยมีการตราพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์[10] และหลังการเปลี่ยนชื่อประเทศในปี พ.ศ. 2482 ส่งผลให้รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อธงชาติสยามเสียใหม่เป็น \"ธงชาติไทย\" ตามไปด้วย แต่ก็ยังคงประกาศให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์ ซึ่งพระราชบัญญัติธงทั้งสองฉบับนี้ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยความบรรยายลักษณะธงชาติในพระราชบัญญัติธงใหม่ให้ชัดเจนขึ้น แต่ยังคงรูปแบบธงตามที่ได้บัญญัติไว้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 ไว้เช่นเดิม[11]",
"title": "ธงชาติไทย"
},
{
"docid": "103541#6",
"text": "เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2457 และประเทศสยามยังมิได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีนั้น การศึกษาของหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ มิได้รับความกระทบกระเทือนแต่ประการใด ได้เข้าเรียนในชั้น 4 ของโรงเรียนมัธยมใน พ.ศ. 2458 ตามที่กำหนดไว้เดิม และได้เรียนจบชั้น 6 เมื่อ พ.ศ. 2460 แต่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศสยามได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และประเทศออสเตรีย - ฮังการี โดยเข้าเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลเยอรมันจึงได้จับกุมนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมนีทั้งหมดรวม 9 คน (ยกเว้น นายปุ่น ชูเทศะ ซึ่งยังเป็นเด็กมีอายุเพียง 12 หรือ 13 ปี) ไว้เป็นเชลยและเป็นตัวประกัน สำหรับชาวเยอรมันทั้งหมดที่อยู่ในประเทศสยามและถูกทางรัฐบาลจับกุมคุมขังไว้ ณ ค่ายกักกันในวันที่ประเทศสยามประกาศสงคราม หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ถูกจับกุมที่กรุงเบอร์ลินเมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 พร้อมกับนักเรียนไทยอีก 4 คน คือ นายเติม บุนนาค, นายตั้ว ลพานุกรม, นายประจวบ บุนนาค และหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ และทางราชการทหารได้นำตัวไปฝากขังไว้ในคุกแห่งหนึ่งของกรุงเบอร์ลินเป็นเวลา 15 วัน แล้วจึงย้ายไปคุมขังไว้ที่ค่ายกักกันนายทหารกองหนุน ชื่อ Celle-Schloss ที่เมือง Celle ใกล้เมือง Hannover ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เมื่อได้ย้ายมาอยู่ค่ายนี้ไม่ต้องทำงานแต่ประการใด และเมื่อได้ทราบว่าคนไทย 3 คน คือ หม่อมหลวงไพจิตร สุทัศน์, นายกระจ่าง บุนนาค และนายจรัญ บุนนาค ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เมือง Holzminden ต้องทำงานหนักตลอดวัน จึงได้ร้องขอให้ย้ายมาขังรวมกันที่ Celle-Schloss และก็ได้รับความสำเร็จตามที่ร้องขอนั้น",
"title": "หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์"
},
{
"docid": "146326#2",
"text": "ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ไปด้วย",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม"
},
{
"docid": "362000#2",
"text": "ในยุคแรกๆที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย พระสันตะปาปาได้ให้ตั้งมิสซังสยามขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2212 จวบจนยุครัตนโกสินทร์จึงให้แยกมิสซังสยามออกเป็น 2 มิสซังในปี พ.ศ. 2384 โดยอาณาจักรสยามและลาวอยู่ในส่วนของมิสซังสยามตะวันออก ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 สันตะสำนักได้แยกลาวออกไปตั้งเป็นมิสซังลาว ต่อมาปี พ.ศ. 2484 พื้นที่ราชบุรีได้ถูกยกขึ้นเป็นมิสซัง ตามด้วยจันทบุรีก็ได้เป็นมิสซังในปี พ.ศ. 2487 ส่วนมิสซังลาวต่อมาเหลือพื้นที่เฉพาะภาคอีสานของไทยแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมิสซังท่าแร่ ต่อมาพื้นที่อุดรธานี และอุบลราชธานีได้แยกออกเป็นมิสซังอีก ทำให้ในช่วงท้ายยุคมิสซังคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยประกอบด้วยมิสซังถึง 7 มิสซัง จนกระทั่งวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ทุกมิสซังที่มีอยู่ในประเทศไทยก็ถูกยกสถานะเป็นมุขมณฑลทั้งหมด ในปัจจุบันจึงไม่มีเขตผู้แทนพระสันตะปาปาอยู่ในประเทศไทย แต่ทางราชการไทยยังคงเรียกเขตเหล่านี้ว่าเขตมิสซัง เช่น เขตมิสซังกรุงเทพฯ เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง เป็นต้น",
"title": "เขตผู้แทนพระสันตะปาปา"
},
{
"docid": "936#6",
"text": "ในความหมายอย่างเคร่งครัด คำว่า \"ไทย\" หมายถึงประเทศไทยในช่วงหลังการเปลี่ยนชื่อประเทศหลังปี 2482 โดยเว้นช่วงสั้น ๆ ที่เปลี่ยนกลับไปเป็นชื่อ \"สยาม\" ระหว่างปี 2488–91 ดังกล่าวข้างต้น ทว่าในความหมายอย่างกว้าง คำว่า \"ไทย\" อาจใช้หมายถึงราชอาณาจักรทั้งหลายซึ่งนักประวัติศาสตร์กระแสหลักถือเป็นราชธานีของคนไทยตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "68552#0",
"text": "นางสาวสุวรรณ (English: Suvarna of Siam) เป็นภาพยนตร์ใบ้ แนวรักใคร่ ค.ศ.1923 ขนาดสามสิบห้ามิลลิเมตร ความยาวแปดม้วน เขียนบทและกำกับโดย เฮนรี แม็กเร (Henry MacRae) เป็นเรื่องแรกที่ถ่ายทำในประเทศสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) โดยฮอลลีวูด ที่ใช้นักแสดงชาวสยามทั้งหมด เริ่มถ่ายทำเมื่อต้นเดือนมีนาคมและสร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2465 ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1923 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช[1] และได้เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาด้วย ใช้ชื่อว่า \"Kingdom of Heaven\" เข้ามาฉายในประเทศไทยได้เพียง 3 วัน ฟิล์มต้นฉบับก็สูญหาย[2] นับเป็นโชคร้ายที่ปัจจุบันไม่เหลือสิ่งใดเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้อีกเลย นอกจากวัสดุประชาสัมพันธ์และของชำร่วยเล็ก ๆ น้อย ซึ่งรักษาไว้ที่ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)[3]",
"title": "นางสาวสุวรรณ"
},
{
"docid": "936#5",
"text": "เดิมประเทศไทยเคยใช้ชื่อว่า สยาม มาแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรากฏใช้เป็นชื่อประเทศชัดเจนในปี 2399[10] ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับเรียกประชาชน และสัญชาติจาก \"สยาม\" มาเป็น \"ไทย\" ซึ่งจอมพล ป. ต้องการบอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวไทยมิใช่ของเชื้อชาติอื่นตามลัทธิชาตินิยมในเวลานั้น[11]:57–8 ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อประเทศกลับเป็นสยามอีกช่วงสั้น ๆ เมื่อปี 2488 และเปลี่ยนกลับมาใช้ว่าไทยอีกครั้งเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ยังเปลี่ยนจาก \"Siam\" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็น \"Thaïlande\" ในภาษาฝรั่งเศส และ \"Thailand\" ในภาษาอังกฤษอย่างในปัจจุบัน[9] อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "12517#1",
"text": "มหาวิทยาลัยสยาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 สถาบันแรกของประเทศไทย ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 และได้สถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ใช้ชื่อเดิมว่า \"วิทยาลัยเทคนิคสยาม\" ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น \"มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม\" และเปลี่ยนชื่อเป็น \"มหาวิทยาลัยสยาม\" ในลำดับต่อมา โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยสยามมีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มี พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และ ดร.พรชัย มงคลวนิช เป็นอธิการบดี",
"title": "มหาวิทยาลัยสยาม"
},
{
"docid": "938#5",
"text": "ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า \"หรั่ว เซม\" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า \"สยาม\" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า สิแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในภาษาเขมร คำว่า \"สยาม\" หมายถึง \"ขโมย\" โดยออกเสียงว่า \"ซี-เอม\" เมืองเสียมราฐ ซึ่งอยู่ใกล้กับนครวัด จึงมีความหมายว่า \"พวกขโมยพ่ายแพ้\" ดังนั้น ความหมายของคำว่า \"สยาม\" ในภาษาเขมรจึงหมายถึง \"พวกขโมยป่าเถื่อน\" เนื่องจากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ มีคนไทที่อพยพมาจากทางเหนือเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของเขมรซึ่งอาจเข้ามาโดยการกวาดต้อนของชาวเขมรเองเพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างปราสาทหินต่างๆ คำว่า \"สยาม\" จึงเป็นคำเขมรที่ใช้เรียกกลุ่มคนไทซึ่งในเวลานั้นชาวเขมรยังมองว่าเป็นแค่คนป่า บนรูปสลักฝาผนัง ณ นครวัด ประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงกำลังพลจากอาณาเขตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาร่วมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีภาพกองกำลังกองหนึ่งที่มีคำบรรยายใต้ภาพว่า \"เนะ สยฺมกุก\" (เนะ สยำกุก) [6] ซึ่งแปลได้ความว่า \"นี่ เสียมกุก\" เป็นกองกำลังต่างหากจากกองกำลังจากอาณาจักรละโว้ ซึ่งรูปสลักฝาผนังได้สลักแยกไว้พร้อมคำบรรยายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นคนไท-ลาวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเป็นที่ยอมรับกัน ในภาษาพม่านั้น เรียกคนไทยว่า \"เซี้ยน\" ซึ่งถ้าดูจากการเขียน จะใช้ตัวสะกดเป็นตัว ม (ซย+ม) แต่ในภาษาพม่านั้นอ่านออกเสียงตัวสะกดตัว ม เป็นตัว น จึงทำให้เสียงเรียกคำว่า \"สยาม\" เพี๊ยนเป็น \"เซี้ยน\" ในปัจจุบัน คนในประเทศพม่ามักจะเรียกชนกลุ่มที่พูดภาษา ไท-กะได ต่างๆว่า \"เซี้ยน\" หรือ ชื่อประเทศหรือพื้นที่ตามด้วยเซี้ยน เช่นเรียกคนไทยว่า \"โย้ตะย้าเซี้ยน\" (คนสยามโยธยา ซึ่งเมื่อก่อน อยุธยาเป็นเมืองหลวง) หรือไท้เซี้ยน (คนสยามไทย), เรียกคนลาวว่า \"ล่าโอ่เซี้ยน\" (คนสยามลาว), เรียกคนชนกลุ่มไตในจีนว่า \"ตะโย่วเซี้ยน\" (คนสยามจีน ซึ่งคำว่า \"ตะโย่ว\" ในภาษาพม่าแปลว่า \"จีน\") และเรียกคนไทใหญ่ในรัฐฉานว่า ต่องจยี๊เซี้ยน (สยาม ต่องกี๊ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในปัจจุบัน และจริงๆแล้วคำว่า \"รัฐฉาน\" นั้นมันคือ \"รัฐสยาม\" แต่พม่าออกเสียงเพี้ยนเป็น \"เซี้ยน ปี่แหน่\" เขียนเป็นอังกฤษว่า Shan State แล้วคนไทยก็ออกเสียงเพี้ยนจากคำอังกฤษ \"Shan\" เป็น \"ฉาน\" จึงกลายเป็นรัฐฉานตามการเรียกของคนไทยในปัจจุบัน) และทางการรัฐบาลพม่ากำหนดให้ คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี มีสัญชาติเป็น เซี้ยน เช่นเดียวกับคนไทใหญ่ในรัฐฉาน ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร \"เซียน\" (暹国; น่าจะหมายถึง สยาม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร \"ร้อยสนม\" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร \"หลัววอ\" (羅渦国; น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร \"เซียน\" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร \"หลัววอ\" จนในที่สุด อาณาจักร \"เซียน\" และอาณาจักร \"หลัววอ\" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหม่ที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร \"เซียนหลัว\" (暹罗国; ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน=\"เซียนหลัวกว๋อ\" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = \"เสี่ยมล้อก๊ก\") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น \"ไท่กว๋อ\" (泰国) นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของคนไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย สยาม เป็นคำเรียกของชาวตะวันตก ที่มาทำการค้า การเดินทางมาทางเรือต้องผ่านพม่าก่อน ชาวพม่าบอกชาวตะวันตกว่า เซียม ชาวไท ออกเสียงเป็น เซียน ซึ่งปัจจุบันเป็น ฉานเนื่องจากชาวพม่าออกเสียง น.หนู ไม่ได้ จึงเพี้ยนเป็น ม.ม้า ฉานชาวพม่าหมายถึง รัฐฉาน ในประเทศพม่า, อาณาจักรล้านนา ในไทย, ลาว ,ภาคอีสานตอนเหนือ ในไทย, ตอนใต้ของยูนนาน ในจีน,ด้านตะวันตกของภาคเหนือในเวียดนาม ชาติไทยนั้นกลัว อินเดีย เพราะว่าอินเดียเคยล้มอาณาจักรไชยาได้ ซึ่งไทยสู้ไม่ได้ในยุคนั้น จึงมีภาษาของอินเดียปะปนอยู่มาก ทั้งในภาษาไทยและศาสนาพุทธด้วย",
"title": "สยาม"
},
{
"docid": "587144#8",
"text": "ได้พิจารณาชื่อโรงเรียนที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มแรกว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” สมควรที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาโรงเรียน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2524 จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม)” การที่โรงเรียนได้ใช้ชื่อ (ช่างกลสยาม) ไว้ท้ายชื่อโรงเรียนใหม่ด้วยนั้น เพื่อรักษาสถานภาพความเป็น โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทยไว้",
"title": "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)"
},
{
"docid": "58211#2",
"text": "ในเวลาต่อมาซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยทางราชการสยาม (ราชการไทยในปัจจุบัน) ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขต (ประเทศ) โดยกำหนดให้คนสยาม (พลเมืองไทย) ที่จะเดินทางไปเมืองต่างประเทศต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี",
"title": "หนังสือเดินทางไทย"
},
{
"docid": "8855#4",
"text": "ปกติคนต่างชาติที่ล่องมาทางเรือจะไปอยุธยา ต้องผ่านเจ้าพระยา ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกิดที่ป้อมวิไชยเยนทร์ หรือป้อมฝรั่ง เพราะพระยาวิชเยนทร์ เกณฑ์แรงงานฝรั่งมาสร้างไว้ ปัจจุบันคือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ปกติเรือสินค้าสำคัญ เรือที่มากับราชทูตที่จะผ่านต้องมีธรรมเนียมประเพณีคือ ชักธงประเทศของเขาบนเรือ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม ซึ่งขณะเดียวกันสยามเองต้องชักธงขึ้นด้วย เพื่อตอบกลับว่า ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนั้นทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ไม่เคยพบประเพณีแบบนี้ และสยามไม่มีธงสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นธงชาติมาก่อน จึงคว้าผ้าที่วางอยู่แถวนั้น ซึ่งดันหยิบธงชาติฮอลันดาชักขึ้นเสาแบบส่งเดช เมื่อทหารฝรั่งเศสเห็นก็ตกใจไม่ยอมชักธงและไม่ยอมยิงสลุต จนกว่าจะเปลี่ยน เพราะการที่ได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา (ปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์) ซึ่งในขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย[5] โดยทหารสยามประจำป้อมก็เปลี่ยนเป็นผ้าสีแดงที่หาได้ในตอนนั้น และต้นกำเนิดธงก็เริ่มขึ้น นับจากนั้น ธงที่ใช้ไม่ว่าจะใช้บนเรือหลวง เรือราษฎร ใช้บนป้อมประจำการก็ล้วนเป็นสีแดง",
"title": "ธงชาติไทย"
},
{
"docid": "160821#7",
"text": "ช่วงที่ 2 “สยามประเทศไทย”\nนำเสนอเรื่องราวการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นอาณาจักรใหญ่ที่ครอบคลุมดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเกือบทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญในการกำเนิดขึ้นของ “สยามประเทศไทย” ",
"title": "มิวเซียมสยาม"
},
{
"docid": "938#15",
"text": "ในสมัยรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ปลุกแนวคิดชาตินิยมและการเชื่อฟังผู้นำอย่างมาก ซึ่งจากรายงานการศึกษาในยุคนั้นโดยนักศึกษาประวัติศาสตร์บางคน ได้มีการค้นพบคนไทยที่อยู่ในเวียดนามและจีนตอนใต้ นอกเหนือไปจากจากกลุ่มไทใหญ่ในพม่า ทำให้เกิดกระแสที่ต้องการรวบรวมชนเผ่าไทยเหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศ \"ไทย\" เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในที่สุดจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติเป็น \"ไทย\" ตามประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ซึ่งได้รับการคัดค้านจากบางฝ่ายว่าจะเป็นการทำให้คนเชื้อชาติอื่น เช่น จีน มลายู ไม่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ \"ไทย\" แต่ทว่าในที่สุดประกาศรัฐนิยมก็มีผลบังคับใช้ ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ไทย ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นสิ่งตกทอดไม่กี่อย่างจากประกาศดังกล่าวมาถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคำว่า \"สวัสดี\"",
"title": "สยาม"
},
{
"docid": "43247#0",
"text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1] เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก",
"title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475"
},
{
"docid": "174591#7",
"text": "งานของ ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ทำให้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ วิถีการดำรงชีวิต ลักษณะเศรษฐกิจสังคมของคนไทยในอดีต ตั้งแต่ก่อนเกิดขึ้นของรัฐ(สยาม) จนกระทั่งเป็นรัฐ ไทย โดยกระบวนการขูดรีดของรัฐไทยต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ ชุมชนอ่อนแอ และยังยากจน และตอบคำถามว่าเหตุใดผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเทศที่อุดมสมบรูณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกยังต้องเผชิญกับความขัดสน ยากจน ขัดแย้ง สิ้นหวัง มีช่องว่างระหว่างความรวยกับความจนมากขึ้น และเหตุใดระบบเศรษฐกิจไทยก็ยังต้องตามประเทศพัฒนาอื่นๆ อยู่จนถึงทุกวันนี้",
"title": "ฉัตรทิพย์ นาถสุภา"
},
{
"docid": "487832#16",
"text": "ในปีเดียวกัน หลวงพิบูลสงครามได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย หมายถึง \"ดินแดนของเสรีชน\" (land of the free) ซึ่งนับเป็นท่าทีชาตินิยม เป็นการแสดงนัยเอกภาพของประชาชนที่พูดภาษาไททั้งหมด รวมทั้งภาษาลาวและภาษาฉาน แต่ไม่รวมภาษาจีน คำขวัญของรัฐบาลได้เปลี่ยนเป็น \"ประเทศไทยสำหรับคนไทย\" (Thailand for the Thai)",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)"
},
{
"docid": "395923#6",
"text": "ภายหลังการจัดการหัวเมืองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลแล้ว พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ได้รับราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตลอดมาจนชรา ทางสยามจึงเปลี่ยนเป็นตำแหน่งของพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ให้เป็นที่ปรึกษาราชการเมืองแทน เหตุด้วยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) เป็นผู้คุ้นเคยราชการมามากไม่มีผู้ใดเหมือน ในท้องที่เมืองสกลนครนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสนาบดีเจ้ากระทรวงก็ดี ข้าหลวงต่างพระองค์ก็ดี สมุหเทศาภิบาลก็ดี เมื่อต้องการใคร่รู้เรื่องราวกิจการอันใดที่ได้เคยมีมาในเมืองสกลนคร จะต้องเดินทางมาปรึกษากับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) อยู่เป็นนิตย์ จึงนับว่าพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) เป็นเจ้านายลาวผู้ได้ทำคุณประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองฝ่ายสยามอย่างยิ่งท่านหนึ่ง",
"title": "พระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร)"
},
{
"docid": "101982#2",
"text": "ในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น \"นางสาวสยาม\" จำนวน 5 คน และ \"นางสาวไทย\" จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า \"สยาม\" ให้ใช้คำว่า \"ไทย\" แทน ดังนั้น การประกวด \"นางสาวสยาม\" จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด \"นางสาวไทย\" นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ",
"title": "นางสาวไทย"
},
{
"docid": "52272#3",
"text": "ต่อมาราวปลายปีเดียวกันจึงเริ่มจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (ถ้วยพระราชทาน ก) และฟุตบอลถ้วยน้อย (ถ้วยพระราชทาน ข) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้สมาคมฯ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 และสืบเนื่องจากที่รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ประกาศรัฐนิยมเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยเมื่อปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเปลี่ยนชื่อฟุตบอลทีมชาติเป็น ฟุตบอลทีมชาติไทย โดยสมาคมฯ ส่งฟุตบอลทีมชาติไทยลงแข่งขันระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 16 ที่นครเมลเบิร์นของออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2499[1]",
"title": "ฟุตบอลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "17648#26",
"text": "สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเพียงขบวนเล็กน้อย คือในปลาย พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายในกระทรวงกลาโหมท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่มาทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้นในหมู่ทหารบก และโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นต่อมา ใน พ.ศ. 2453 – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลาย ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง \"กองเสือป่า\" คิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะเป็นการปกครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการปฏิรูปประเทศพร้อม ๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130 คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้าไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และแผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่ประเทศไทยไม่สามารถจะหยิบยกภาวะอันใดที่เป็นความเจริญก้าวหน้ามาเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้เลย เมื่อคำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าไม่ควรที่อำนาจการปกครองประเทศชาติจะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิดปฏิวัติ",
"title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม"
},
{
"docid": "7440#0",
"text": "จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ[1] แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า \"จอมพล ป.พิบูลสงคราม\" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 15 ปี 24 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย \"รัฐนิยม\" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ \"ประเทศสยาม\" เป็น \"ประเทศไทย\" และเป็นผู้เปลี่ยน \"เพลงชาติไทย\" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "128425#1",
"text": "กิจการยุวกาชาดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 ในชื่อ “กองอนุสภากาชาดสยาม” โดยพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"อนุกาชาด\" และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” เมื่อปี พ.ศ. 2521",
"title": "ยุวกาชาดไทย"
},
{
"docid": "345856#1",
"text": "สำหรับในประเทศไทย วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ลักษณะสำคัญคือ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจาก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะละเมิดมิได้",
"title": "วันรัฐธรรมนูญ"
},
{
"docid": "195319#2",
"text": "ในปี ค.ศ. 1928 ซึ่งครบรอบวาระ 100 ปีโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยมีการเสนอให้จัดตั้งสภาคริสตจักรแห่งชาติขึ้น และในปี ค.ศ. 1930 ได้มีการจัดตั้ง \"สยามคริสตสภา\" ขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของมิชชันนารีชาวต่างประเทศ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อประเทศจึงเปลี่ยนเป็น \"สภาคริสตจักรในประเทศไทย\" และในปี ค.ศ. 1957 มิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนสลายตัว มอบความรับผิดชอบการเผยแพร่ศาสนาให้แก่สภาคริสตจักรไทยโดยตรง ",
"title": "สภาคริสตจักรในประเทศไทย"
},
{
"docid": "15800#11",
"text": "หลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ให้เรียกชื่อประเทศว่า สยาม เช่นเดิม แต่เมื่อจอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 จึงได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ประเทศไทย อีกครั้ง และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "ทวี บุณยเกตุ"
},
{
"docid": "38909#2",
"text": "ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนาม<i data-parsoid='{\"dsr\":[3893,3920,2,2]}'>คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2482 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย",
"title": "ฟุตบอลทีมชาติไทย"
},
{
"docid": "40356#0",
"text": "เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 โดยในวันที่ 28 กันยายน ปีเดียวกัน ให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามที่เรียกขานประชาชนว่าคนไทย ชื่อประเทศก็ควรเรียกว่า ประเทศไทย",
"title": "รัฐนิยม"
}
] |
815 | เอดส์ เกิดครั้งแรกที่ไหน ? | [
{
"docid": "20779#42",
"text": "มีรายงานถึงโรคเอดส์ครั้งแรกในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2526 เมื่อ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้บันทึกการระบาดของโรค \"Pneumocystis carinii\" pneumonia (ปัจจุบันเรียก Pneumocystis pneumonia จากเชื้อ \"Pneumocystis jirovecii\") ในชายรักร่วมเพศ 5 คนในลอสแอนเจลิส ในระยะแรก CDC ยังไม่มีชื่อเรียกโรคนี้ โดยมักเรียกตามลักษณะอาการที่ปรากฏของโรค เช่น lymphadenopathy (พยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง) ซึ่งเป็นชื่อที่เคยใช้เป็นชื่อของไวรัสเอชไอวีเมื่อแรกค้นพบ ชื่ออื่นเช่น \"Kaposi's Sarcoma and Opportunistic Infection\" (เนื้องอกคาโปซีที่มีการติดเชื้อฉวยโอกาส) ซึ่งเป็นชื่อที่มีการตั้งทีมงานดูแลในปี พ.ศ. 2524 โดยทั่วไปยังมีการใช้คำว่า GRID (Gay-related immune deficiency - ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องสัมพันธ์กับกลุ่มรักร่วมเพศ) อีกด้วย ทาง CDC ระหว่างที่กำลังหาชื่อโรคอยู่นั้นเคยใช้คำว่า \"โรค 4H\" (the 4H disease) เนื่องจากโรคนี้ดูเหมือนจะพบในชาวเฮติ (Heitians) ,กลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuals), ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophiliacs) และผู้ใช้ยาเฮโรอิน (Heroin users) อย่างไรก็ดีหลังจากมีการค้นพบว่าโรคนี้ไม่ได้พบแต่ในกลุ่มคนรักร่วมเพศ คำว่า GRID ก็กลายเป็นคำที่ทำให้เข้าใจผิด และคำว่า AIDS ก็ถูกเสนอขึ้นมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2525 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 CDC ก็เริ่มใช้ชื่อโรคเอดส์ และเริ่มให้นิยามของโรคนี้ได้อย่างเหมาะสม",
"title": "เอดส์"
}
] | [
{
"docid": "20779#13",
"text": "ในปี ค.ศ. 1990 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ได้จัดกลุ่มภาวะและการติดเชื้อเหล่านี้ไว้ด้วยกันโดยเสนอระบบการแบ่งระยะโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี-1 ต่อมาจึงได้รับการปรับปรุงแก้ไขในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ภาวะส่วนใหญ่ที่ระบุไว้นี้เป็นการติดเชื้อฉวยโอกาสที่มักจะรักษาได้ง่ายในคนปกตินิยามหลักๆ ของเอดส์มีสองนิยาม ทั้งสองนิยามได้รับการกำหนดโดยซีดีซี (Centers for Disease Control and Prevention) โดยนิยามเดิมอาศัยโรคที่พบร่วมกับเอดส์ เช่น พยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง (lymphadenopathy) ซึ่งเป็นโรคที่เคยใช้เป็นชื่อของไวรัสเอชไอวี ในปี ค.ศ. 1993 ซีดีซีได้ขยายคำนิยามสำหรับโรคเอดส์ให้ครอบคลุมถึงผู้มีผลตรวจเอชไอวีเป็นบวกทุกคนที่มีระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือน้อยกว่า 14% ของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ทั้งหมด กรณีผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ได้รับการวินิจฉัยโดยใช้นิยามนี้หรือนิยามเดิมปี ค.ศ. 1993 โดยคำวินิจฉัยเอดส์นั้นจะยังคงอยู่แม้ระดับ CD4 จะสูงกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือโรคที่พบร่วมกับเอดส์จะหายแล้ว หลังการรักษา",
"title": "เอดส์"
},
{
"docid": "20779#0",
"text": "เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม (acquired immunodeficiency syndrome - AIDS)เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและการเกิดเนื้องอกบางชนิด เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเยื่อเมือกหรือการสัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งมีเชื้อ เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด น้ำหลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก, การรับเลือด, การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน, ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ ดังกล่าว",
"title": "เอดส์"
},
{
"docid": "20779#28",
"text": "ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยการให้ยาต้านไวรัสด้วยวิธี highly active antiretroviral therapy หรือ HAART ซึ่งวิธีการรักษาแบบ HAART ที่ใช้ยา protease inhibitor ได้ใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 และได้ผลดีมากต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี สูตรยาต้านไวรัสแบบ HAART ที่ดีที่สุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นการผสมยาต้านไวรัสอย่างน้อยสามชนิดในกลุ่มยาต้านไวรัสอย่างน้อยสองกลุ่ม สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยยาในกลุ่ม nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitor (NRTR หรือ NARTI) สองตัว ร่วมกับยาในกลุ่ม protease inhibitor หรือ non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินโรคของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กดำเนินไปอย่างรวดเร็วกว่าในผู้ใหญ่ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างก็ไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของการดำเนินโรคได้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การรักษาที่แนะนำสำหรับเด็กจึงเป็นสูตรยาที่แรงกว่าในผู้ใหญ่ ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีการใช้สูตรยา HAART นั้น แพทย์จะเป็นผู้สั่งตรวจระดับ viral load, ความรวดเร็วในการลดจำนวนลงของเซลล์ CD4 และความพร้อมของผู้ป่วยในการเลือกรับการรักษา ก่อนที่จะเริ่มการรักษา",
"title": "เอดส์"
}
] |
2629 | ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยใคร? | [
{
"docid": "33243#0",
"text": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค[1] เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ \"กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง\" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2330 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมสมัยอยุธยา",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
}
] | [
{
"docid": "4054#37",
"text": "ทักษะอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่ได้แก่ ความเชี่ยวชำนาญในการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสมเพื่อใช้พรรณนาเนื้อความในกวีนิพนธ์ของตน โดยเฉพาะในงานประพันธ์ประเภทนิราศ ทำให้ผู้อ่านแลเห็นภาพหรือได้ยินเสียงราวกับได้ร่วมเดินทางไปกับผู้ประพันธ์ด้วย สุนทรภู่ยังมีไหวพริบปฏิภาณในการประพันธ์ กล่าวได้ว่าไม่เคยจนถ้อยคำที่จะใช้ เล่าว่าครั้งหนึ่งเมื่อภิกษุภู่ออกจาริกจอดเรืออยู่ มีชาวบ้านนำภัตตาหารจะมาถวาย แต่ว่าคำถวายไม่เป็น ภิกษุภู่จึงสอนชาวบ้านให้ว่าคำถวายเป็นกลอนตามสิ่งของที่จะถวายว่า \"อิมัสมิงริมฝั่ง อิมังปลาร้า กุ้งแห้งแตงกวา อีกปลาดุกย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง เนื้อย่างยำมะดัน ข้าวสุกค่อนขัน น้ำมันขวดหนึ่ง น้ำผึ้งครึ่งโถ ส้มโอแช่อิ่ม ทับทิมสองผล เป็นยอดกุศล สังฆัสสะ เทมิ\"[11]",
"title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)"
},
{
"docid": "14087#0",
"text": "กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปริยาย..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง",
"title": "กวี"
},
{
"docid": "4054#61",
"text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ \"ประวัติสุนทรภู่\" ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า \"ถ้าจะลองให้เลือกกวีไทยบรรดาที่มีชื่อเสียงปรากฏมาในพงศาวดารคัดเอาแต่ที่วิเศษสุดเพียง 5 คน ใคร ๆ เลือกก็เห็นจะเอาชื่อสุนทรภู่ไว้ในกวีห้าคนนั้นด้วย\"[11] เปลื้อง ณ นคร ได้รวบรวมประวัติวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่าง ๆ นับแต่สมัยสุโขทัยไปจนถึงสมัยรัฐธรรมนูญ (คือสมัยปัจจุบันในเวลาที่ประพันธ์) โดยได้ยกย่องว่า \"สมัยพุทธเลิศหล้าเป็นจุดยอดแห่งวรรณคดีประเภทกาพย์กลอน ต่อจากสมัยนี้ระดับแห่งกาพย์กลอนก็ต่ำลงทุกที จนอาจกล่าวได้ว่า เราไม่มีหวังอีกแล้วที่จะได้คำกลอนอย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องพระอภัยมณี\"[47] โดยที่ในสมัยดังกล่าวมีสุนทรภู่เป็น \"บรมครูทางกลอนแปดและกวีเอก\"[47] ซึ่งสร้างผลงานอันเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากกวีนิพนธ์ในยุคก่อนมักเป็นคำฉันท์หรือลิลิตซึ่งประชาชนเข้าไม่ถึง สุนทรภู่ได้ปฏิวัติงานกวีนิพนธ์และสร้างขนบการแต่งกลอนแบบใหม่ขึ้นมา จนเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า \"กลอนตลาด\" เพราะเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวบ้านนั่นเอง[47]",
"title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)"
},
{
"docid": "6104#8",
"text": "สำหรับวรรณกรรมศาสนา ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก หรือร่ายยาวมหาชาติ ซึ่งนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มากเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค และชลมารค เป็นต้น ",
"title": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส"
},
{
"docid": "41328#5",
"text": "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2467 ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น 2 กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บังคับบัญชากองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ ",
"title": "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา"
},
{
"docid": "354136#4",
"text": "นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 15.30 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ (โดยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์)พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (ตามหมายกำหนดการก่อน จะมีพระราชพิธี ในวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ได้มีมติให้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เลื่อนการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องจากกระแสน้ำและระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงและไหลแรง ไปเป็น วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555) โดยกระบวนเรือยาว 1,280 เมตร กว้าง 90 เมตร ประกอบด้วยเรือทั้งหมด 52 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่ง 4 ลำ (เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (อัญเชิญผ้าพระกฐิน) เรือรูปสัตว์ 8 ลำ เรือดั้ง 22 ลำ และเรืออื่น ๆ 18 ลำ กาพย์เห่เรือในครั้งนี้เป็นการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น 3 บทได้แก่บทเสภาสรรเสริญพระบารมีบทชมเรือขบวนและบทชมเมืองโดยนักเรียนนายร้อยทองย้อย แสงสินชัย เป็นผู้ประพันธ์ และน.ท.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ เป็นพนักงานเห่เรือ",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "33243#7",
"text": "ในช่วงปี พ.ศ. 2199-2231 ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ มีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนยิ่งใหญ่ 4 สาย พร้อมริ้วเรือพระที่นั่ง ตรงกลางอีก 1 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ตำกว่า 100 ลำ ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของกระบวนพยุหยาตราฯในสมัยต่อๆ มา",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "549217#7",
"text": "คืนก่อนการรบ ลอร์ดเนลสัน ได้ร่วมวางแผนกับเหล่าผู้บัญชาการเรือ และเขาไม่ยอมใช้วีธีการรบแบบที่ว่านี้ เพราะกองเรือฝ่ายตรงข้ามมีเรือมากกว่า และเรือหลายลำของกองเรือฝ่ายตรงข้ามนั้นมีขนาดและปริมาณปืนมากกว่าของกองเรืออังกฤษด้วย เนลสันจึงตัดสินใจจะแบ่งกองเรือของเขาออกเป็นสองกระบวน โดยที่กองเรือทั้งสองกระบวนนี้จะพุ่งไปตัดกับกระบวนของกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนจากด้านข้าง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเป็นการบีบให้กองเรือผสมต้องสู้ ไม่สามารถแล่นหนีได้ แต่แผนนี้มีจุดด้วยตรงที่ว่า ระหว่างพุ่งเข้าหากองเรือผสม กองเรืออังกฤษจะถูกระดมยิงใส่โดยที่ไม่สามารถตอบโต้ได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าเรือที่นำกระบวนกองเรืออังกฤษนั้นจะเสียหายมากที่สุด มีโอกาสสูงที่จะอัปปางก่อนถึงกองเรือผสม",
"title": "ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์"
},
{
"docid": "12574#0",
"text": "ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์ ",
"title": "ลิลิตพระลอ"
},
{
"docid": "17119#31",
"text": "หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น ส่วนในสมัยกรุงธนบุรี ประพันธ์เรื่อง ลิลิตเพชรมงกุฎ (พ.ศ. 2310-2322) และอิเหนาคำฉันท์ (พ.ศ. 2322)",
"title": "อาณาจักรธนบุรี"
},
{
"docid": "93544#0",
"text": "ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญ แต่ในลิลิตตะเลงพ่าย กล่าวถึงการรบระหว่างไทยกับพม่า ที่มาของเรื่อง 1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) 2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ จุดมุ่งหมายในการแต่ง 1.เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่ 3 3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง (เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน)",
"title": "ลิลิตตะเลงพ่าย"
},
{
"docid": "63483#0",
"text": "ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คำว่า \"ลิลิต\" หมายถึง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว ส่วน \"ยวน\" หมายถึง ไทยวน ชาติพันธ์หลักในอาณาจักรล้านนา เพี้ยนมาจาก โยน หรือ โยนก ดังนั้น ลิลิตยวนพ่ายจึงมีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่กรุงศรีอยุธยามีชัยเหนือล้านนานั่นเอง",
"title": "ลิลิตยวนพ่าย"
},
{
"docid": "12574#8",
"text": "คำประพันธ์ในเรื่องลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ, ร่ายสอดสร้อย, โคลงสองสุภาพ, โคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง",
"title": "ลิลิตพระลอ"
},
{
"docid": "626306#5",
"text": "ในกระบวนเรือนั้น การเปลี่ยนทิศทางของกระบวนเรือใดๆ จะยึดเอาเรือที่แล่นนำหน้าเป็นหลัก โดยที่เรือลำอื่นๆที่แล่นตามมา จะต้องแล่นไปในทิศทางตามไปด้วย หากมีเหตุสุดวิสัยที่เรือลำใดลำหนึ่งต้องแล่นออกจากกระบวน เรือที่ตามมาก็จะต้องแล่นไปในทิศทางตามเรือลำนั้น กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธแบบเดียวกับกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน ในยุทธนาวีทราฟัลการ์ แม้ว่าการให้เรือในกองเรือทั้งหมดเลี้ยวพร้อมๆกัน (อาทิ การให้เรือในกองเรือทั้งหมดเลี้ยว 45° พร้อมกัน แทนที่จะให้เรือที่อยู่ข้างหน้าเลี้ยวก่อนและให้เรือที่ลำมาเลี้ยวตาม) อาจจะทำให้กองเรือทั้งหมดแล่นไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น แต่ก็จะทำให้เสียรูปกระบวนเรือ ซึ่งจะทำให้แผนการรบเกิดความสับสน ซึ่งเป็นสิ่งที่นายพลโทโงต้องการหลีกเลี่ยง",
"title": "ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ"
},
{
"docid": "33243#15",
"text": "ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างเรือขึ้นใหม่ทั้งชุดแต่ส่วนใหญ่เป็นเรือที่ใช้ในการรบทั้งสิ้น เพราะในสมัยนั้นมีแต่การศึกสงครามโดยมีการแห่เรือสำคัญ คือ ในการพระราชพิธีสมโภชรับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์และมาแห่พักไว้ที่กรุงเก่าคือพระนครศรีอยุธยา มีข้อความในหมายรับสั่งพรรณนากระบวนเรือที่แห่มาจากต้นทางว่ารวมเรือแห่ทั้งปวง 115 ลำ และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมทบที่พระตำหนักบางธรณีกรุงเก่า ความว่ามีเรือแห่มารวมกันเป็นจำนวน 246 ลำ",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "33040#0",
"text": "ลิลิตนิทราชาคริต เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2422 มีลักษณะการประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ(ร่ายสลับโคลง) จำนวน 991 บท ",
"title": "ลิลิตนิทราชาคริต"
},
{
"docid": "18284#0",
"text": "กาพย์เห่เรือ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง แต่งไว้สำหรับขับร้องเห่ในกระบวนเรือ โดยมีทำนองเห่ที่สอดคล้องกับจังหวะการพายของฝีพาย ว่าช้า หรือเร็ว มักจะมีพนักงานขับเห่หนึ่งคนเป็นต้นเสียง และฝีพายคอยร้องขับตามจังหวะ พร้อมกับการให้จังหวะจากพนักงานประจำเรือแต่ละลำ",
"title": "กาพย์เห่เรือ"
},
{
"docid": "33243#22",
"text": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค ในการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2505 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2507 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2508 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2510 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงสมเด็จพระบูรพามหากษัตริย์เจ้า เมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (น้อย) แห่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2525 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2530 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ขบวนเรือพระราชพิธี การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก 2003 เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมิได้เสด็จโดยกระบวนเรือ) ขบวนเรือพระราชพิธี ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จโดยกระบวนเรือ) กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากกระแสน้ำและระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงและไหลแรง)",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "2480#37",
"text": "คือ แง่งามในด้านกระบวนการพรรณนา ซึ่งมีอยู่ 4 กระบวน คือ",
"title": "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)"
},
{
"docid": "2480#0",
"text": "ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ร่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์[1] และได้ให้ความหมายของ คำประพันธ์ คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ โดยแบ่งเป็น 7 ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน กาพย์ ฉันท์ กล ซึ่งก็คือ ร้อยกรองไทย นั่นเอง",
"title": "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)"
},
{
"docid": "2173#1",
"text": "ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณนาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อนิราศธารทองแดง นิราศหริภุญชัย นิราศพระประถม นิราศสุพรรณ นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศวัดเจ้าฟ้า ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณนาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่นั้นด้วย",
"title": "พรรณไม้ในวรรณคดี"
},
{
"docid": "8538#42",
"text": "ปลายเดือน พฤษภาคม 1905 กองเรือบอลติกใกล้จะถึงวลาดิวอสต็อก และเลือกเส้นทางที่ใกล้และเสี่ยงกว่า คือผ่านช่องแคบสึชิมะ โดยเลือกที่จะเดินทางในตอนกลางคืนเพื่อเลี่ยงที่จะถูกตรวจเจอ แต่นับเป็นโชคร้ายของกองเรือรัสเซีย ขณะผ่านช่องแคบในคืนวันที่ 26 พฤษภาคม 1905 เรือพยาบาลที่ตามมายังคงเปิดเดินเครื่องยนต์และส่องไฟเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการสงคราม[28] ทำให้กองเรือบอลติกถูกตรวจเจอโดยกองเรือลาดตระเวนรับจ้างของญี่ปุ่น ชินะโนะ มะรุ โดยได้ส่งสัญญาณวิทยุแจ้งไปยังศูนย์บัญชาการของพลเรือเอกโทโง และกองเรือผสมก็ได้รับคำสั่งออกปฏิบัติการในทันที[29] นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองทหารเรือของญี่ปุ่นที่ไปสอดแนมมา ว่ากองเรือรัสเซีย จัดกระบวนเรือเป็นแถวตอนเรียงสอง ทำให้นายพลโทโง ตัดสินใจจะทำการ \"ข้ามกระบวน T\"[30] กับกระบวนเรือรัสเซีย (นำกระบวนเรือฝ่าอีกกระบวนเรือในทิศทางตั้งฉาก) การปะทะเปิดฉากขึ้น ในเวลา 14.08น. ของวันที่ 27 พฤษภาคม โดยกองเรือรัสเซียเปิดฉากโจมตีด้วยการระดมยิงใส่กองเรือผสมของญี่ปุ่น กองเรือญี่ปุ่นแล่นตัดทะลุกระบวนเรือทั้งสองแถวของรัสเซียทำมุม 40° แล้วเลี้ยวกลับเป็นรูปตัวยู (U) หัวแถวของกองเรือรัสเซียเสียขบวน และถูกบีบให้แล่นขนานกับกองเรือผสมของนายพลโทโง ควันจากปล่องไฟของกองเรือรัสเซียลอยบังทางปืนของตัวเอง จากนั้นเรือรบทุกลำของกองเรือญี่ปุ่นก็ระดมยิงใส้เรือกองเรือบอลติก กองเรือบอลติกไม่สามารถต้านทางกองเรือญี่ปุ่นได้จนเรือหลายลำต้องหนี แต่หลายลำก็ถูกไล่ตามจนทัน การรบวันแรกสิ้นสุดลงในเวลา 19.27 โดยมีเรือรบรัสเซียบางส่วนหนีรอดไปได้ ซึ่งกองเรือญี่ปุ่น ได้ปฏิบัติการไล้ตามในเช้าวันรุ่งขึ้น",
"title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "18284#4",
"text": "กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่งกาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น",
"title": "กาพย์เห่เรือ"
},
{
"docid": "10911#9",
"text": "ตามหลักแล้ว ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วง ๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า เข้าลิลิต",
"title": "ลิลิตโองการแช่งน้ำ"
},
{
"docid": "12574#10",
"text": "พระเพื่อนและพระแพงได้ยินมาว่า พระลอเป็นชายหนุ่มรูปงาม ก็ให้ความสนใจอยากจะได้ยล พี่เลี้ยงของพระเพื่อนและพระแพงคือนางรื่น และนางโรยสังเกตเห็นความปรารถนาของนายหญิงของตนก็เข้าใจในพระประสงค์ สองพี่เลี้ยงจึงอาสาจะจัดการให้นายของตนนั้นได้พบกับพระลอ โดยการส่งคนไปขับซอในนครแมนสรวง และในขณะที่ขับซอนั้นจะไห้นักดนตรีพร่ำพรรณนาถึงความงามของเจ้าหญิงทั้งสอง ในขณะเดียวกันนั้นพี่เลี้ยงทั้งสองก็ได้ไปหาปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อที่จะให้ช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอหลงใหลในเจ้าหญิงทั้งสอง",
"title": "ลิลิตพระลอ"
},
{
"docid": "12391#7",
"text": "ลิลิตเป็นแบบแผนคำประพันธ์ที่มีผู้นิยมแต่งเสมอมา แม้จนปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเปลี่ยนลีลาอารมณ์ของบบร้อยกรองได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการส่งสัมผัสระหว่างบท หรือ \"เข้าลิลิต\" นั้นไม่ถือเคร่งครัดนัก",
"title": "ลิลิต"
},
{
"docid": "166731#40",
"text": "สมัยรัตนโกสินทร์ กวีนิยมแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอน วรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงเด่น ๆ ได้แก่ โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ โคลงนิราศนรินทร์ ลิลิตนารายณ์สิบปาง และสามกรุง เป็นต้น ",
"title": "โคลง"
},
{
"docid": "33243#4",
"text": "ครั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งตัวเกาะกรุงนั้นเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองชีวิตผูกพันกับสายน้ำ จึงปรากฏการสร้างเรือรบมากมายในกรุงศรีอยุธยา ยามบ้านเมืองสุขสงบชาวกรุงศรีอยุธยาก็หันมาเล่นเพลงเรือ แข่งเรือเป็นเรื่องเอิกเกริก โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม เมื่อจะเสด็จฯแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ หรือเสด็จฯไปทอดผ้ากฐินยังวัดวาอาราม ก็มักจะใช้เรือรบโบราณเหล่านั้นจัดเป็นกระบวนเรือยิ่งใหญ่ ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีกระบวนเรือเพชรพวง ซึ่งเป็นเรือริ้วกระบวนที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น 4 สาย แล้วเรือพระที่นั่งตรงกลางอีก 1 สาย ใช้เรือทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ลำ",
"title": "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"
},
{
"docid": "12391#0",
"text": "ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า \"เข้าลิลิต\" ",
"title": "ลิลิต"
}
] |
1638 | รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคใด? | [
{
"docid": "28423#2",
"text": "รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของเอเชีย โดยมีเนื้อหาแตกต่างกันไป และอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปด้วย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระรามกับฝ่ายทศกัณฐ์ (อสูร) โดยพระรามจะมาชิงตัวนางสีดา (มเหสีของพระราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อพระลักษมณ์และหนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายอสูรก็ปราชัย",
"title": "รามายณะ"
}
] | [
{
"docid": "375497#0",
"text": "วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวรรณกรรมที่มีความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเป็นเรื่องราวที่เกิดจากวรรณคดีภาษาสันสกฤต อันได้แก่ รามายณะ, มหาภารตะ และคัมภีร์ปุราณะ ควบคู่กันกับนิทานพื้นเมืองของแต่ละชาติ โดยมากมักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และคติต่างๆของผู้คนในแต่ละภูมิภาค รวมถึง อาจมีการสอดแทรกความเชื่อทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม",
"title": "วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "866253#1",
"text": "ยามะซะตอเป็นมุขปาฐะที่สืบมาแต่รัชสมัยพระเจ้าอโนรธา กษัตริย์แห่งพุกาม เพราะที่วัดนะเลาน์ ( Nathlaung Temple) เทวสถานที่สร้างเพื่อบูชาพระวิษณุในกำแพงเมืองพุกามนั้นมีประติมากรรมหินรูปพระรามชื่อว่า \"รามจันทระ\" (Ramachandra) แต่มิทราบว่ามีความเกี่ยวข้องอันใดกับรามายณะฉบับวาลมีกิ แต่อย่างน้อยหนุมานเป็นที่รู้จักในพม่าก่อนปี พ.ศ. 2070 เพราะพบรูปพระรามประทับบนหลังหนุมาน แต่หลังจากนั้นอีกหกศตวรรษก็ไม่ปรากฏรามายณะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกเลย",
"title": "ยามะซะตอ"
},
{
"docid": "39740#0",
"text": "กินรี (อ่านว่า กิน-นะ-รี) (ตัวเมีย) และ กินนร หรือ กินรา (อ่านว่า กิน-นะ-รา) (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาส นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน",
"title": "กินรี"
},
{
"docid": "479777#0",
"text": "วรรณคดีของกัมพูชามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและแบ่งเป็นสองระนาบเช่นเดียวกับวรรณคดีในประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือแบ่งเป็นวรรณคดีลายลักษณ์ ส่วนใหญ่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในชนชั้นสูงและพระสงฆ์ กับวรรณกรรมมุขปาฐะ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้าน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย เช่น รามายณะและมหาภารตะ\nวรรณกรรมภาษาเขมรในยุคแรกๆ ปรากฏในรูปศิลาจารึก ปรากฏตั้งแต่สมัยฟูนัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวทางศาสนา เช่น คำอุทิศต่างๆ และกิจการในพระราชวัง\nเอกสารภาษาเขมรที่เก่า ส่วนใหญ่จะเป็นพระไตรปิฎก และคัมภีร์ที่แปลจากภาษาบาลี จารด้วยอักษรเขมรลงบนใบลาน\nรามเกียรติ์หรือเรียมเกอร์เป็นรามายณะในรูปภาษาเขมร เพื่อนำมาใช้ในการแสดงละครของกัมพูชา ระบำสุวรรณมัจฉาซึ่งเป็นนาฏศิลป์คลาสสิกแบบหนึ่งของกัมพูชาอาศัยเค้าเรื่องของรามเกียรติ์ตอนหนุมานไปจับนางสุวรรณมัจฉา\nพระธรรมราชาที่ 2 (พ.ศ. 2172 – 2177) เป็นกวีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง นักองค์ด้วง (พ.ศ. 2384 – 2403) เป็นกวีที่มีชื่อเสียงเช่นกัน โดยได้เขียนเรื่อง กากี (\"กาเก็ย\") และพุทธเสนนางกังรี (\"ปุทิเสน เนียงก็องเร็ย\") ที่ได้แรงบันดาลใจจากนิทานชาดก",
"title": "วรรณคดีกัมพูชา"
},
{
"docid": "49814#15",
"text": "เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง \"รามายณะ\" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้น ๆ เช่น หนุมานในรามายณะของอินเดียไม่มีความเจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ของไทย...",
"title": "หนุมาน"
},
{
"docid": "2719#3",
"text": "ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่\nยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤต มากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา\nในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่นๆออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน",
"title": "ภาษาทมิฬ"
},
{
"docid": "892723#2",
"text": "วรรณคดีไทยมีประวัติยาวนานนับได้ตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น ซึ่งมีอยู่ในรูปแบบแห่งวรรณกรรมมุขปาฐะ (คือวรรณกรรมที่เล่าสืบต่อกันมา) และวรรณกรรมลายลักษณ์ (คือวรรณกรรมที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร) ในที่นี้สมควรกล่าวถึงเฉพาะวรรณกรรมลายลักษณ์ ที่นักวรรณคดีไทยยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นของไทยแท้ ๆ โดยแบ่งได้เป็น 5 สมัย ดังนี้วรรณคดีสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1920) สร้างขึ้นในระหว่างสมัยที่มีกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศ ตั้งขึ้นราว พ.ศ. 1781 โดยนับจากปีครองราชย์ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง จนถึง พ.ศ. 1920 อันเป็นปีที่กรุงสุโขทัยเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา ในระยะที่คนไทยเริ่มตั้งตัวใหม่นี้ ได้เกิดวรรณกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทั้งทางความมั่นคงด้านการเมืองและด้านจิตใจ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในทุกด้าน ได้ทรงศึกษาวิชาการทางอักษรศาสตร์ ศาสนา และรัฐศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และศิลาจาริกหลักอื่น ๆ ซึ่งเล่าเรื่องราวการดำเนินชีวิตและกฎหมายของสังคม อันมีลักษณะเป็นสังคมเกษตร ประชาชนมีชีวิตอยู่ร่วมกันในฐานะเครือญาติ",
"title": "วรรณกรรมไทย"
},
{
"docid": "287706#4",
"text": "หลังจากที่จักรวรรดิเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลาม สำเนียงเก่าเช่นภาษาเปอร์เซียกลางถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ เช่นสำเนียงดารีที่เป็นภาษาราชการ คำว่าดารีมาจาก darbar หมายถึงศาลหลวง ใช้เขียนบทกวีและวรรณคดีอย่างแพร่หลาย ราชวงศ์ซัฟฟาริดเป็นราชวงศ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาภาษาใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1418 สำเนียงดารีเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อสำเนียงทางตะวันออกของอิหร่านมาก ในขณะที่สำเนียงปะห์ลาวีที่เป็นสำเนียงมาตรฐานเดิมมีพื้นฐานมาจากสำเนียงทางตะวันตก สำเนียงใหม่ๆเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานของภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน",
"title": "กลุ่มภาษาอิหร่าน"
},
{
"docid": "28423#0",
"text": "รามายณะ (Sanskrit: रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้",
"title": "รามายณะ"
},
{
"docid": "11836#19",
"text": "เนื้อหาในเรื่อง พระอภัยมณี นอกจากมีความแปลกใหม่ด้านเค้าโครงเรื่อง แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของผู้ประพันธ์ว่ามีความรู้กว้างขวางและละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง นักวิชาการส่วนมากลงความเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับแรงบันดาลใจมากมายจากวรรณคดีโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสว่า \"เรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่ตั้งใจแต่งโดยประณีตทั้งตัวเรื่องและถ้อยคำสำนวน ส่วนตัวเรื่องนั้นพยายามตรวจตราหาเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในหนังสือต่าง ๆ บ้าง เรื่องที่รู้โดยผู้อื่นบอกเล่าบ้าง เอามาตริตรองเลือกคัดประดิษฐ์ติดต่อแต่ง ประกอบกับความคิดของสุนทรภู่เอง\"[5] ประจักษ์ ประภาพิทยากร กล่าวว่า \"วรรณคดีที่สุนทรภู่อาศัยเค้ามานั้น มีทั้งวรรณคดีจีน ชวา ไทย แขก พร้อมมูล วรรณคดีที่กล่าวมานี้สุนทรภู่ต้องรู้ดีแน่\"[6] หรือ สุรีย์ พงศ์อารักษ์ กล่าวถึง พระอภัยมณี ว่า \"เนื้อเรื่องส่วนใหญ่แตกต่างจากวรรณคดีไทยแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ทั่วไป เค้าโครงเรื่องได้มาจากวรรณคดีต่าง ๆ ของไทยและวรรณคดีต่างประเทศหลายเรื่อง เช่น เรื่องอาหรับราตรี เรื่องไซ่ฮั่น เป็นต้น รวมถึงเค้าเรื่องจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และจินตนาการที่ผสมผสานผูกร้อยเข้าด้วยกัน\"[7] เค้าโครงจากวรรณกรรมต่างประเทศนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า เค้าเรื่องที่มาจากอาหรับราตรี ของเซอร์ริชาร์ด เบอร์ตัน คือนิทานว่าด้วยเรื่องของกษัตริย์ชาติอิสลามไปตีเมืองซึ่งนางพระยาเป็นคริสตัง เมื่อพบกันในสนามรบก็เกิดรักกัน ทำนองเดียวกับที่พระอภัยมณีพบนางละเวงวัณฬาในสนามรบ ส่วนเค้าโครงที่มาจากไซ่ฮั่น คือส่วนที่ว่าด้วยเพลงปี่ของเตียวเหลียง ผู้วิเศษที่ชำนาญการเป่าปี่แก้วจนอาจสะกดผู้คนได้ ทำนองเดียวกับวิชาปี่ของพระอภัยมณี[5] นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากนักวิชาการอื่นอีกหลายท่านล้วนลงความเห็นไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น[8]",
"title": "พระอภัยมณี"
},
{
"docid": "866373#3",
"text": "แม้ชาวไทในลุ่มน้ำโขงจะรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายเถรวาทมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7–8 และกลายเป็นศาสนาหลักแทนศาสนาฮินดูและนิกายมหายานในศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงมีการดัดแปลงรามายณะเป็นภาษาท้องถิ่นในศตวรรษที่ 18 โดยนำทสรถชาดกเข้ามาในเรื่อง และดัดแปลงเข้ากับวัฒนธรรมลาวและนิกายเถรวาทอย่างสมบูรณ์",
"title": "พระลักษมณ์พระราม"
},
{
"docid": "22707#40",
"text": "คอโมโรสได้กดดันในการอ้างสิทธิเหนือมายอตอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะมีการประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติซึ่งได้มีการจัดทำมติภายใต้หัวข้อ \"คำถามเกาะคอโมโรสแห่งมายอต\" ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นว่าเกาะมายอตเป็นของคอโมโรสภายใต้หลักการที่ว่า ดินแดนอาณานิคมควรได้รับการคุ้มครองไว้เมื่อได้รับอิสรภาพ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ มติเหล่านี้มีผลเพียงเล็กน้อยและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถคาดการณ์ได้ว่ามายอตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคอโมโรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน เมื่อเร็ว ๆ นี้สมัชชาแห่งชาติยังคงรักษาวาระนี้ไว้ในวาระการประชุม แต่เลื่อนออกไปเป็นปี ๆ โดยไม่ดำเนินการใด ๆ หน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งองค์การเอกภาพแอฟริกา กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและองค์การความร่วมมืออิสลาม ได้ตั้งคำถามที่คล้ายกันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือมายอต[2][39] เพื่อปิดการอภิปรายและเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกรวมเข้าด้วยกันโดยใช้กำลังของสหภาพคอโมโรส ประชากรของมายอตได้เลือกอย่างท่วมท้นที่จะกลายเป็นภูมิภาคโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในการลงประชามติในปีพ.ศ. 2552 สถานะใหม่นี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 มีนาคม 2554 และมายอตได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ไกลสุดของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 การตัดสินใจรวมมายอตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสครั้งนี้ถูกต้องตามกฎหมายและแบ่งแยกไม่ได้",
"title": "ประเทศคอโมโรส"
},
{
"docid": "221098#0",
"text": "อกหัก คือวลีทั่วๆไปที่ใช้อธิบายความเจ็บปวดทางอารมณ์อย่างรุนแรง หรือความเจ็บปวดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการตาย, การหย่าร้าง, การโยกย้ายที่อยู่, ถูกปฏิเสธ ฯลฯ คำๆนี้เป็นคำที่มีใช้มาแต่โบราณและถูกใช้อย่างกว้างขวาง อย่างน้อยก็มีการกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องรามายณะของอินเดีย ซึ่งถูกแต่งในช่วง พ.ศ. 300 -743[1]",
"title": "อกหัก"
},
{
"docid": "55036#2",
"text": "ศาสนามานีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและภาษาซีรีแอก ราว คริสต์ศตวรรษที่ 3 - 7 จนกลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งในยุคนั้น ศาสนจักรมานีแพร่ไปทางตะวันออกไกลถึงประเทศจีน และทางตะวันตกไกลถึงจักรวรรดิโรมัน โดยมีศาสนิกชนส่วนมากเป็นทหาร จนได้ชื่อว่าเป็นศาสนาของกองทัพ และกลายเป็นคู่แข่งของศาสนาคริสต์ แทนลัทธิเพกันที่เสื่อมไปก่อนหน้านั้นแล้ว ศาสนามานีในภูมิภาคตะวันออกดำรงอยู่นานกว่าทางตะวันตก โดยเสื่อมสลายไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทางใต้ของจีน",
"title": "ศาสนามาณีกี"
},
{
"docid": "392817#2",
"text": "ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 8 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผุ้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี",
"title": "ปรศุราม"
},
{
"docid": "866253#3",
"text": "รามายณะฉบับพม่าพัฒนาผ่านงานศิลปะแขนงต่าง ๆ จนกลายเป็นยุคทองของยามะซะตอ เช่น รามายณะฉบับอู ออง พโย (U Aung Phyo) เริ่มแต่พลกัณฑ์จนถึงยุทธกัณฑ์ ปี พ.ศ. 2318, บทกวีรามายณะของอูโท (U Toe) มีสองบทคือ บทร้องพระราม ( Yama yakan) และบทร้องนางสีดา ( Thida yakan) ปี พ.ศ. 2327, การแสดงพระราม ( Yama pyazat) ปี พ.ศ. 2332 และเรื่องราวของพระรามขณะทรงพระเยาว์ ( Kalay Yama wuthtu) ปี พ.ศ. 2343 นอกจากนี้พระนางตะเคง (Thakin) พระมเหสีในพระเจ้าจิงกูจา ทรงริเริ่มนำทำนองดนตรีและเพลงพม่าเข้าแทนที่เพลงอยุธยาดั้งเดิม ทั้งทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ด้วย นอกจากนี้ยังเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของนักแสดงใหม่ เพราะมองว่าผ้านุ่งของไทยดูไม่เป็นผู้หญิงเท่าที่ควร",
"title": "ยามะซะตอ"
},
{
"docid": "100767#2",
"text": "เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์ แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงามที่ปรากฏตามจิตรกรรมฝาผนัง จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น",
"title": "นางสุพรรณมัจฉา"
},
{
"docid": "866373#2",
"text": "ประวัติการแต่ง \"พระลักษมณ์พระราม\" ในตำนานลาวมักมุ่งไปในช่วงรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้ม ปฐมกษัตริย์ล้านช้างเป็นสำคัญ ที่เสด็จมาพร้อมกับทหาร กวี และศิลปินจากพระนครที่คุ้นเคยกับเรียมเกร์ () หรือรามายณะฉบับเขมรมาก่อน ทว่าวัฒนธรรมอินเดียนั้นแพร่หลายบริเวณมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งในอดีตเรียกว่า \"คันธาระ\" (Gandhara) ตั้งแต่ 2 ปีก่อนคริสต์ศักราช วัฒนธรรมอินเดียแพร่หลายโดยจักรวรรดิสาตวาหนะ (230 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 200) แม้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการอพยพของชนชาติไทเกิดขึ้นเมื่อใด แต่การรับและส่งต่อวัฒนธรรมน่าจะเกิดขึ้นเมื่อชาวไทลงหลักปักฐานในดินแดนแห่งใหม่ก็รับอิทธิพลอินเดียผ่านวัฒนธรรมมอญและเขมร ซึ่งในดินแดนลาวก็มีโบราณสถานคือวัดภูในจำปาศักดิ์ ที่ตกแต่งลวดลายด้วยภาพจากเรื่องรามายณะและมหาภารตะ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าลาวรับวรรณกรรมฮินดูแล้ว",
"title": "พระลักษมณ์พระราม"
},
{
"docid": "3103#21",
"text": "เทคโนโลยีชีวภาพมีส่วนร่วมในการค้นพบและการผลิตของยาโมเลกุลขนาดเล็กแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเทคโนโลยีชีวภาพ - ชีวเภสัช (). เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่สามารถนำมาใช้ในการผลิตยาที่มีอยู่ค่อนข้างง่ายและราคาถูก. ผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมตัวแรกถูกออกแบบมาเพื่อรักษาโรคของมนุษย์. เพื่อยกหนึ่งตัวอย่าง, ในปี 1978 Genentech ได้พัฒนาอินซูลิน humanized สังเคราะห์โดยการเชื่อมยีนของมันกับเวกเตอร์พลาสมิด () ที่ถูกใส่เข้าไปในแบคทีเรีย \"Escherichia coli\". อินซูลิน, ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคเบาหวาน, ได้รับการสกัดก่อนหน้านี้จากตับอ่อนของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ (วัวและ/หรือหมู). แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจะช่วยในการผลิตปริมาณมหาศาลของอินซูลินสังเคราะห์เพื่อมนุษย์ที่ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ. เทคโนโลยีชีวภาพนอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาที่เกิดขึ้นใหม่เช่นการรักษาด้วยยีน (). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (เช่นผ่านทางโครงการจีโนมมนุษย์) ยังได้ปรับปรุงอย่างมากในความเข้าใจของเราเกี่ยวกับชีววิทยาและเนื่องจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเราเกี่ยวกับชีววิทยาปกติและของโรคได้เพิ่มขึ้น, ความสามารถของเราในการพัฒนายาใหม่ในการรักษาโรคที่รักษาไม่หายไปก่อนหน้านี้ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "36010#9",
"text": "ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 เป็นยุคที่เริ่มมีวรรณคดีพื้นบ้านในภาษาชวา เช่น สัง ฮยัง กะมาฮะยานีกัน ที่ได้รับมาจากพุทธศาสนา และ กากาวัน รามายานา ที่มาจากรามายณะฉบับภาษาสันสกฤต แม้ว่าภาษาชวาจะใช้เป็นภาษาเขียนทีหลังภาษามลายู แต่วรรณคดีภาษาชวายังได้รับการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน เช่นวรรณคดีที่ได้รับมาจากรามายณะและมหาภารตะยังได้รับการศึกษาจนถึงทุกวันนี้ ",
"title": "ภาษาชวา"
},
{
"docid": "77973#39",
"text": "ผลจาการเผยแผ่อารยธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตแพร่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ศาสนาพราหมณ์ได้เผยแผ่เข้ามาในบริเวณนี้เช่นกัน พร้อมกับวรรณคดีสำคัญ คือ รามายณะและมหาภารตะ",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "375497#2",
"text": "ต่อมา ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียและจีน เนื่องด้วยอยู่ในภูมิภาคที่อยู่ระหว่างสองอารยธรรมดังกล่าว จึงได้นำวรรณคดีหลายเรื่องราวมาดัดแปลง ทั้งจากเรื่องที่เขียนในภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต และภาษาจีน โดยอาจนำเรื่องที่เป็นที่รู้จักของจีนและอินเดียมาแปล หรือปรับใหม่ โดยพระมหากษัตริย์, ขุนนาง หรือพระสงฆ์ ในสมัยนั้น",
"title": "วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "116097#0",
"text": "สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม () คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรม จีเอ็มโอเป็นแหล่งของยาและอาหารดัดแปรพันธุกรรมและมีใช้แพร่หลายในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และในการผลิตสินค้าอื่น คำว่าจีเอ็มโอคล้ายกับศัพท์กฎหมายเฉพาะวงการ \"สิ่งมีชีวิตดัดแปรที่ยังมีชีวิต\" (living modified organism) ที่นิยามว่า \"สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตใด ๆ ที่มีการรวมสารพันธุกรรมใหม่ที่ได้มาโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่\" ในพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) ที่กำกับการค้าจีเอ็มโอที่ยังมีชีวิตระหว่างประเทศ",
"title": "สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม"
},
{
"docid": "112215#4",
"text": "อเมริโก เวสปุชชิ นักเดินเรือชาวอิตาลี ได้ออกเดินเรือไปสำรวจฝั่งของดินแดนที่โคลัมบัสเคยได้สำรวจมาก่อนหน้าหนึ่งแล้ว และสำรวจเลยลงไปทางตอนใต้ โดยในปี ค.ศ. 1497 เขาสำรวจฝั่งของเวเนซูเอลาให้แก่สเปน และในปี ค.ศ. 1502 ได้สำรวจอ่าวริโอเดจาเนโรให้ปอร์ตุเกส การออกสำรวจของอเมริโกเวสปุชชิทำให้เขาเกิดความเชื่อแน่ว่าดินแดนที่โคลัมบัสพบ และที่เขาสำรวจอยู่นี้มิได้เป็นดินแดนของภาคตะวันออกแต่อย่างใด หากเป็นดินแดนของโลกใหม่ทีเดียว \nมันเหมาะที่จะเรียกดินแดน ส่วนนี้ว่าโลกใหม่ อเมริโกเขียนจดหมายบอกเล่าไปยังเพื่อนคนหนึ่ง จดหมายจำนวนนับหลายสิบฉบับที่เขาเขียนไปยังเหล่าเพื่อนของเขานั้นเล่าถึงเรื่องการออกสำรวจของเขานั้นได้ถูกตีพิมพ์และอ่านกันแพร่หลายในยุโรป ทำให้คนทั้งหลายเชื่อว่าอเมริโกได้ค้นพบผืนแผ่นดินใหม่ และได้เริ่มเรียกว่า ดินแดนของอเมริโก\"'",
"title": "อเมริโก เวสปุชชี"
},
{
"docid": "866373#0",
"text": "พระลักษมณ์พระราม (, ), พระรามชาดก () หรือ รามเกียรติ์ (, ) เป็นมหากาพย์ลาวที่ดัดแปลงมาจาก \"รามายณะ\" ของวาลมีกิ มีความใกล้เคียงกับ \"ฮิกายัตเซอรีรามา\" () อันเป็นรามายณะฉบับมลายู มหากาพย์นี้เคยสูญหายไปพร้อมกับศาสนาฮินดู แต่ภายหลังได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบชาดกของพระพุทธศาสนา ซึ่งเคยแพร่หลายและเป็นที่นิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง",
"title": "พระลักษมณ์พระราม"
},
{
"docid": "519661#1",
"text": "เป็นนาฏศิลป์ที่พัฒนาขึ้นในราชสำนักล้านช้างซึ่งคล้ายกับที่พบในราชสำนักสยามและกัมพูชา ส่วนใหญ่แสดงเรื่องพระลักษมณ์พระราม (รามเกียรติ์หรือรามายณะฉบับลาว) หรือจากนิทานชาดก รวมทั้งวรรณคดีท้องถิ่นเช่นสินไซ (สังข์ศิลป์ชัย) การแสดงแบบนี้มีสองประเภทคือโขนและละคร โขนเป็นการแสดงเรื่องพระลักษมณ์พระราม ใช้ตัวแสดงชายหญิง ละครเป็นการแสดงที่ส่วนใหญ่ใช้ผู้หญิง ส่วนหนังตะลุงเป็นการแสดงที่คล้ายวายังของชาวมลายู และเล่นเรื่องราวที่หลากหลายกว่าโขนและละคร ",
"title": "นาฏศิลป์ในประเทศลาว"
},
{
"docid": "309680#1",
"text": "\"มายเบสท์บอดี้การ์ด\" มีที่มาจากบทเพลง \"มายเบสท์บอดี้การ์ด\" ที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงนำมาขับร้อง และผ่านการตีความเนื้อเพลงใหม่ซึ่งหมายถึงความรักและมุษยธรรมของเพื่อนมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นค่าในชีวิตของคนและสร้างความสามัคคี และความมีมนุษยธรรมผ่านการเล่าเรื่องของ \"นิชา\" ตัวะครในเรื่องซึ่งเป็นนักข่าวสาวและได้ทำการสืบความลับเกี่ยวกับไวรัสชนิดใหม่ที่สามารถฆ่าคนไทยได้ทั้งประเทศ ซึ่งได้ใช้มนุษย์เป็นเหยื่อในการทดลอง นิชาจึงพยายามทำทุกสิ่งเพื่อปกป้องคนทั้ง 7 นี้",
"title": "มายเบสท์บอดี้การ์ด"
},
{
"docid": "28423#3",
"text": "รามายณะเมื่อแพร่หลายในหมู่ชาวไทย คนไทยได้นำมาแต่งใหม่ก็เรียกว่า รามเกียรติ์ ซึ่งมีหลายฉบับด้วยกัน ส่วนในหมู่ชาวลาวนั้น เรียกว่า พะลักพะลาม (พระลักษมณ์พระราม)",
"title": "รามายณะ"
},
{
"docid": "28350#0",
"text": "ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์มาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายชาติ เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซียตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้",
"title": "รามเกียรติ์"
}
] |
2396 | สมัคร สุนทรเวช มีภรรยาหรือไม่ ? | [
{
"docid": "34482#8",
"text": "สมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม: นาคน้อย) มีบุตรสาวฝาแฝดคือ กาญจนากร ไชยสาส์น และกานดาภา มุ่งถิ่น และเนื่องจากคุณหญิงสุรัตน์เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ สมัครจึงมิได้ทำงานประจำใด ๆ โดยทำงานการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตา นายสมัครยังรับเป็นผู้จัดการมรดกตระกูลธรรมวัฒนะ ตามคำสั่งเสียของนางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ[1]",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "315526#0",
"text": "คุณหญิง<b data-parsoid='{\"dsr\":[595,617,3,3]}'>สุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม นาคน้อย) ภริยาสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย และเป็นอดีตที่ปรึกษาด้านการเงินของเครือเจริญโภคภัณฑ์",
"title": "สุรัตน์ สุนทรเวช"
}
] | [
{
"docid": "151224#2",
"text": "เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีทั้งหมด สามราย ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553\nวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เซ็นคำสั่งให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธิ์ ไปช่วยราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มาเป็นรักษาการผบ.ตร. แทน และภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ทำเนียบรัฐบาลเสร็จสิ้นว่า ที่ประชุม ก.ต.ช. ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้ง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รักษาการ ผบ.ตร. เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ แทน พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส โดยจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง \nวันที่ 4 กันยายน 2551 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินใน รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดวันที่ 14 กันยายน 2551ในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551",
"title": "พัชรวาท วงษ์สุวรรณ"
},
{
"docid": "195491#5",
"text": "ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบงานด้านกฎหมาย ต่อมาภายหลังจากการพ้นจากตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งพรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล จึงได้เข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี",
"title": "ชูศักดิ์ ศิรินิล"
},
{
"docid": "333346#5",
"text": "ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีคณะดังกล่าวสิ้นสภาพเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี พ้นสภาพ แต่สมพัฒน์ แก้วพิจิตร ยังคงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เดิมในคณะรัฐมนตรีคณะต่อมา ซึ่งนำโดยสมชาย วงศ์สวัสดิ์",
"title": "สมพัฒน์ แก้วพิจิตร"
},
{
"docid": "34482#12",
"text": "จากนั้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภริยาของสมัคร พร้อมด้วยบุตรสาว บุตรเขย และญาติสนิทมิตรสหายจำนวนกว่า 300 คน เดินทางไปยังท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อโดยสารเรือหลวงกระบุรีไปประกอบพิธีลอยอังคารอัฐิของสมัคร ณ บริเวณอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการนี้ พลเรือโท ฆนัท ทองพูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็นผู้แทนกองทัพเรือต้อนรับพร้อมทั้งอำนวยการประกอบพิธี[6]",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "377754#20",
"text": "ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้สมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่สมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป",
"title": "ดุสิต ศิริวรรณ"
},
{
"docid": "34482#5",
"text": "สมัคร สุนทรเวชเป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช; 2435–2521) กับคุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร; 2445–2524) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล \"สุนทรเวช\" และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้อง ๆ ของท่าน) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำราชสำนัก",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "190958#0",
"text": "สุมิตร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย น้องชายของ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย",
"title": "สุมิตร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#45",
"text": "สมัคร สุนทรเวช ยัง สั่งให้ ประเวทย์ บูรณะกิจ กับหัวหน้าข่าวอีก 2 คนหลุดจากตำแหน่ง คนหนึ่งคือ พินิจ ย้ายไปอยู่หน้าข่าวเด็ก กับวิรัติ สิริชุมแสง คนนี้ยื่นใบลาออกเอง ผมถูกสั่งห้ามทำข่าวหน้าหนึ่งให้ตั้งคนอื่นมาแทน เพื่อจะได้นำเสนอข่าวตามที่เขาต้องการ",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#36",
"text": "ศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้ สมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่สมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง กระทงละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[31]",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "8836#12",
"text": "วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดรายการชิมไปบ่นไปซึ่งในภายหลังนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ยอมรับว่าการวินิจฉัยถอด นายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นผิดพลาด ด้วยการนำข้อกฎหมายมาวางก่อน แล้วค่อยนำข้อเท็จจริงมาพิจารณา",
"title": "ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "34482#22",
"text": "เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในวันเดียวกัน[12] มียงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#54",
"text": "สมัคร สุนทรเวช พูด. (ม.ป.ท.), (ม.ป.ป.). สันดานหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บูรพาศิลป์, 2520. การเมืองเรื่องตัณหา. กรุงเทพฯ: บูรพาศิลปการพิมพ์, 2521. จวกลูกเดียว. กรุงเทพฯ: เบญจมิตร, 2522. จากสนามไชยถึงสนามหลวง. (ม.ป.ท.), 2522. การเมืองเรื่องตัณหา 2. (ม.ป.ท.), 2532. เรื่องไม่อยากเล่า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟิกอาร์ต, 2530. (พิมพ์ครั้งหลัง: ฐากูรพับลิชชิ่ง, 2543. ISBN 978-974-85986-2-8) สมัคร ๖๐. กรุงเทพฯ: ซี.พี.การพิมพ์, 2538. ชิมไปบ่นไป. กรุงเทพฯ: อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, 2543. ISBN 978-974-387-054-5 คนรักแมว. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์, 2547. ISBN 978-974-8280-21-9 จดหมายเหตุกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547. ISBN 978-974-272-920-2 ใคร ๆ ก็ชอบไทยฟู้ด. กรุงเทพฯ: ครัวบ้านและสวน, 2548. ISBN 978-974-387-048-4 สมัคร สุนทรเวช และ ดุสิต ศิริวรรณ. ตำนานหนองงูเห่า และการเมืองเรื่อง CTX. กรุงเทพฯ: 2548. ISBN 978-974-93447-5-0",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#56",
"text": "จากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com ทีมข่าวหนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน. ปาก..สมัคร พูดอะไร 2 วันก่อนรัฐประหาร 19 กันยา. กรุงเทพฯ: วัฏฏะ, 2550. ISBN 978-974-09-2204-9 ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25. กรุงเทพฯ: อักษรสุดา, 2551. ISBN 978-974-7814-51-4 สำเนาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#33",
"text": "สมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มวีหนึ่ง (MV1) ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "145112#1",
"text": "นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551\nพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการคณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1 (7) เนื่องจากการที่นายสมัครได้จัดรายการโทรทัศน์ \"ชิมไปบ่นไป\" และ \"ยกโขยง 6 โมงเช้า\" ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181\nนายสมัครยอมรับว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ \"ขี้เหร่นิดหน่อย\" เพราะพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยให้โอกาส แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะเชิญมาร่วมรัฐบาลแล้ว เช่นกรณีที่อยากให้น้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง (วุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แต่พรรคเพื่อแผ่นดินไม่ยอม",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57"
},
{
"docid": "344135#5",
"text": "ไพโรจน์ สุวรรณฉวี เป็นนักการเมืองที่มีบทบาทในการสนับสนุนพรรคเพื่อแผ่นดิน หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 และมีส่วนในการผลักดันให้ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ภรรยา เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ",
"title": "ไพโรจน์ สุวรรณฉวี"
},
{
"docid": "34482#49",
"text": "สมัคร สุนทรเวช ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่สมัคร สุนทรเวช เมื่อ พ.ศ. 2519[47]",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#44",
"text": "ประเวทย์ บูรณะกิจ อดีตสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงสมัคร สุนทรเวช โดยระบุว่า ขณะที่สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[41] สมัคร สุนทรเวช จะเป็นผู้พิจารณาว่า จะอนุญาตให้เปิดหนังสือพิมพ์หรือไม่ สมัคร สุนทรเวช สั่งปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ[42] และสมัครเป็นผู้พิจารณาใบอนุญาตเปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งเงื่อนไขคือหนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอข่าวที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#23",
"text": "วันที่ 6 กุมภาพันธ์ สมัคร ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ แต่ยังถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงการดำรงตำแหน่งของสมัคร สุนทรเวช นี้ว่าเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกในข้อหาลงนามชื่อยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินตามกฎหมาย",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#7",
"text": "พันเอก (พิเศษ) แพทย์หญิง มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว พลอากาศเอก สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษาทหารอากาศ สมัคร สุนทรเวช มโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ สุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง หัวหน้าพรรคประชากรไทย",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "315526#2",
"text": "คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช สมรสกับสมัคร สุนทรเวช ในปี พ.ศ. 2511 มีบุตรแฝด 2 คน คือ กาญจนากร ไชยสาส์น และกานดาภา มุ่งถิ่น[2]",
"title": "สุรัตน์ สุนทรเวช"
},
{
"docid": "189560#5",
"text": "ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ สมศรี ลัทธพิพัฒน์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นชายหญิงอย่างละคน ดำรง ลัทธพิพัฒน์ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ด้วยบาดแผลจากกระสุนปืนที่ศีรษะ โดยประกอบอัตวินิบาตกรรม ขณะนั่งรถประจำตำแหน่งมาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากความเครียด ภายหลัง สมัคร สุนทรเวช ซึ่งขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ \"มุมน้ำเงิน\" ในหนังสือพิมพ์\"เดลิเมล์\" ได้เขียนบทความว่า เขายิงตนเองให้ถึงแก่ความตายเพื่อหนีความผิดค้าเฮโรอีนข้ามประเทศ นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยา มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทสมัคร สุนทรเวช ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2531 ว่า นายสมัครมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 4,000 บาท ทั้งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 7 วัน",
"title": "ดำรง ลัทธพิพัฒน์"
},
{
"docid": "216037#6",
"text": "ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 310 คะแนน ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความเห็นชอบ 163 คะแนน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 3 คะแนน (คือ นายสมัคร สุนทรเวช, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายยงยุทธ ติยะไพรัช) จึงถือได้ว่านายสมัคร สุนทรเวช ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่านายสมัครได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551"
},
{
"docid": "330903#3",
"text": "หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำให้มีชื่อของนายสหัส บัณฑิตกุล เข้ามาเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชาชน โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้นายสหัส บัณฑิตกุล ได้รับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคนสนิทของนายสมัคร สุนทรเวช และเป็นญาติห่างๆ กับคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ซึ่งนายสหัส บัณฑิตกุล ได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา",
"title": "สหัส บัณฑิตกุล"
},
{
"docid": "34482#18",
"text": "สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยผู้ได้คะแนนอันดับ 2 คือ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ไดัรับคะแนนเสียงเพียง 521,184 คะแนน",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#0",
"text": "สมัคร สุนทรเวช (13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า \"น้าหมัก\" \"ออหมัก\" หรือ \"ชมพู่\" (มาจากลักษณะจมูกของสมัคร) \"ชาวนา\" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "34482#30",
"text": "เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมาสมัคร ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้เขียนบทความว่า ดำรงยิงตนเองให้ถึงแก่ความตายเพื่อหนีความผิดค้าเฮโรอีนข้ามประเทศ สมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยาของดำรง[22] มอบหมายให้บัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทสมัคร สุนทรเวช[23] ศาลฎีกาตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2531[24] ว่า สมัครมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 4,000 บาท ทั้งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 7 วัน[25]",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "223330#3",
"text": "สุพล ฟองงาม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาหลังจากรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่ง นายสุพล ฟองงาม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย",
"title": "สุพล ฟองงาม"
}
] |
45 | ประเทศอังกฤษหอนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "78480#2",
"text": "สำหรับหอนาฬิกาที่สูงที่สุดในโลกคือ นาฬิกาประจำตึกเอ็นทีที โดโคโม โยโยกิ (NTT DoCoMo Yoyogi Building) ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนหอนาฬิกาสี่หน้าแบบไม่ตีระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์ (Allen-Bradley Clock Tower) หอนาฬิกาสี่หน้าที่สูงที่สุดในโลก อยู่ที่กรุงวอร์ซอ[1] และทั้งหมดนี้ไม่มีการตีระฆัง จึงทำให้หอบิ๊กเบน คงเป็น หอนาฬิกาสี่หน้าที่มีการตีระฆังที่สูงที่สุดในโลก",
"title": "หอนาฬิกา"
}
] | [
{
"docid": "271628#27",
"text": "สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญทางสถาปัตยกรรมของมหาวิหารอังกฤษที่ไม่พบที่อื่นคือหอสี่เหลี่ยมเหนือจุดตัดของแขนกางเขนกับทางเดินกลาง หอที่ใหญ่ๆ ก็ได้แก่หอของมหาวิหารเวลส์ที่สูง 55 เมตร และที่มหาวิหารลิงคอล์นที่สูง 82.5 เมตร หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็นจุดเด่นของสิ่งก่อสร้างจุดเดียวเช่นที่มหาวิหารซอลสบรี กลอสเตอร์ วูสเตอร์ นอริช และชิเชสเตอร์ หรืออาจจะรวมทั้งหอคู่ทางมุขด้านตะวันตกของโบสถ์เช่นที่มหาวิหารยอร์ก ลิงคอล์น แคนเทอร์เบอรี เดอแรม และเวลส์ ถ้ามีหอสามหอ หอเหนือจุดตัดก็มักจะเป็นหอที่สูงที่สุด หอสองหอของมหาวิหารเซาท์เวลเป็นด้วยยอดแหลมทรงปิรามิดที่มุงด้วยแผ่นตะกั่ว",
"title": "สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ"
},
{
"docid": "675974#11",
"text": "ภายในวิทยาเขตประกอบด้วยหอนาฬิกาขนาดใหญ่ชื่อโอลด์โจ (Old Joe) ตามชื่อของนายกสภาคนแรกซึ่งมีบทบาทอย่างสูงต่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ออกแบบโดยอาศัยต้นแบบที่หอนาฬิกาตอร์เดลมังเจีย (Torre del Mangia) เมืองซีเอนา (Siena) ประเทศอิตาลี ครั้นสร้างเสร็จหอนาฬิกาดังกล่าวได้กลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในเมืองเบอร์มิงแฮม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 จึงถูกทำลายสถิติไป ถึงกระนั้นหอนาฬิกาดังกล่าวก็ยังคงเป็นอาคารสูงอันดับที่สามในเมือง และเป็นหนึ่งในห้าสิบอันดับอาคารสูงในสหราชอาณาจักรอีกด้วย",
"title": "มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม"
},
{
"docid": "78238#6",
"text": "ครั้งหนึ่ง หน้าปัดนาฬิกาของหอมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันถูกทำลายสถิติโดยหอนาฬิกาอัลเลน-แบรดเลย์ (Allen-Bradley Clock Tower) ที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ทว่าผู้สร้างหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์มิได้จัดให้มีการตีระฆังหรือสายลวดบอกเวลา จึงทำให้หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ยังคงเป็น นาฬิกาสี่หน้าปัดที่มีการตีบอกเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลไกนาฬิกาภายในหอสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2397 แต่ตัวหอเสร็จในเวลา 4 ปีต่อมา",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "78238#20",
"text": "เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 14:00 น. (เวลามาตรฐานประเทศไทย) ตะขอแขวนระฆังเล็กใบหนึ่งสึกหรอจนต้องซ่อมแซมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และเมื่อเวลา 15:00 น. (มาตรฐานประเทศไทย) ของวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หอนาฬิกาหยุดการตีมหาระฆังเพื่อบอกชั่วโมงเป็นการชั่วคราว (ประมาณ 6 สัปดาห์) เนื่องจากกลไกในระฆังสึกหรอตามกาลเวลาเป็นอย่างมาก โดยบางชิ้นส่วนยังไม่ได้เปลี่ยนเลยตั้งแต่ที่สร้างหอ อนึ่ง นาฬิกาในหอยังคงทำงานต่อไปโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนแทนเครื่องกลของเดิม แผนการดังกล่าวเป็นการเตรียมการฉลองครบรอบ 150 ปี ของหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์และมหาระฆัง[19]",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "271628#37",
"text": "มหาวิหารอังกฤษมักจะล้อมรอบด้วยลานหญ้ากว้างใหญ่ที่สามารถทำให้มองเห็นลักษณะโครงสร้างได้อย่างชัดเจนซึ่งไม่เหมือนกับมหาวิหารในยุโรปที่มักจะล้อมรอบด้วยบ้านเรือนหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างของอาราม ภาพพจน์ของมหาวิหารแบบอังกฤษคือสิ่งก่อสร้างที่มีแขนขาแผ่ออกไป ส่วนที่ยื่นออกไปตามแนวนอนได้รับความสมดุลจากหอใหญ่เหนือจุดตัดและ/หรือด้านหน้าที่ตั้งตามแนวดิ่ง มหาวิหารหลายมหาวิหารโดยเฉพาะที่มหาวิหารวินเชสเตอร์, มหาวิหารเซนต์อัลบัน และมหาวิหารปีเตอร์บะระห์ที่หอไม่ค่อยสูงเท่าใดนักจนทำให้ได้รับคำบรรยายว่าดูคล้าย “เรือบรรทุกอากาศยาน”",
"title": "สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ"
},
{
"docid": "412831#1",
"text": "ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ โดยเกิดจากการควบรวมกิจการของบริษัทลีเวอร์บราเธอร์ ผู้ผลิตสบู่สัญชาติอังกฤษ และบริษัทมาร์การีน ยูนี ผู้ผลิตเนยเทียมสัญชาติเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1930 ปัจจุบันยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบสองตลาด โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ใช้ชื่อว่า ยูนิลีเวอร์ พีแอลซี (Unilever PLC) และสำนักงานใหญ่ที่รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้ชื่อว่า ยูนิลีเวอร์ เอ็น. วี. (Unilever N.V.)",
"title": "ยูนิลีเวอร์"
},
{
"docid": "141425#22",
"text": "แขนกางเขน หรือ ปีกซ้ายขวา คือส่วนขวางที่ตัดกับทางเดินกลาง อาสนวิหารในประเทศอังกฤษบางอาสนวิหารที่เคยเป็นสำนักสงฆ์มาก่อนจะมีแขนซ้อนกันสองชั้นเช่นที่อาสนวิหารซอลสบรี ที่อังกฤษ ตรงที่แขนกางเขนตัดกับทางเดินกลางเรียกกันว่าจุดตัด (crossing) เหนือจุดตัดขึ้นไปมักจะเป็นหอหรือมณฑปที่เรียกว่า “fleche” ที่อาจจะทำด้วยไม้ หิน หรือโลหะก็ได้ เช่นที่อาสนวิหารออทุง (Autun Cathedral) ที่ประเทศฝรั่งเศส หรือมณฑปที่ทำด้วยหินที่อาสนวิหารซอลสบรี หรืออาจจะเป็นโดม หรือเป็นหอเฉยๆไม่มีมณฑปก็ได้เช่นที่อาสนวิหารวินเชสเตอร์ ที่อังกฤษ",
"title": "สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก"
},
{
"docid": "107157#15",
"text": "หอนาฬิกาแห่งนี้สร้างก่อนหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (บิกเบน) ที่อังกฤษถึง 2 ปี และเป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง ทวิภพ ",
"title": "พระอภิเนาว์นิเวศน์"
},
{
"docid": "237139#0",
"text": "แยกวงเวียนเล็ก () ปัจจุบันเป็นสี่แยกจุดบรรจบถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่และถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารี ในอดีตเคยเป็นวงเวียนหอนาฬิกาที่รับการจราจรจากสะพานพุทธ และวงเวียนสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวงเวียนใหญ่ มีทางแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยาไปยังท่าดินแดงและคลองสาน และมีทางแยกถนนเทศบาลสาย 3 เลียบคลองบางไส้ไก่ไปยังชุมชนย่านบุปผารามและวัดกัลยาณมิตร วงเวียนนี้จึงเรียกชื่อว่า \"วงเวียนเล็ก\" คู่กับ \"วงเวียนใหญ่\" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน",
"title": "วงเวียนเล็ก"
},
{
"docid": "78238#11",
"text": "นอกเหนือจากมหาระฆังแล้ว ยังมีระฆังบริวารอีก 4 ใบ ทั้งหมดหล่อที่บริษัทไวต์แชพเพลเมื่อ พ.ศ. 2400 - 2401 ตัวมหาระฆังเองเมื่อถูกตีจะให้เสียงโน้ตมี ส่วนระฆังบริวารจะให้เสียงโน้ตซอลชาร์ป ฟาชาร์ป มี และที ซึ่งทุก ๆ 15 นาที ระฆังบริวารทั้งหมดจะถูกตีเป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ (หรือเคมบริดจ์) ทำนองระฆังดังกล่าวนี้เป็นที่จับใจและนิยมใช้สำหรับนาฬิกาตั้งในบ้านหรือหอนาฬิกา เสียงของมหาระฆังถูกนำออกอากาศทุกวันผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืน ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ[15]",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "78480#3",
"text": "ส่วนในประเทศไทย มีหอนาฬิกาที่สวยที่สุดในประเทศไทย คือ หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ เชียงราย ที่ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ออกแบบ ตีบอกเวลาทุกชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนสีไฟและบรรเลงเพลง \"เชียงรายรำลึก\" ทุกวัน เวลา 19:00 20:00 และ 21:00 นาฬิกา",
"title": "หอนาฬิกา"
},
{
"docid": "426307#1",
"text": "หอดูดาวดังกล่าว พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงมอบหมายให้ก่อสร้างใน ค.ศ. 1675 โดยมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ในเวลานั้น พระมหากษัตริย์ยังได้ทรงสถาปนาตำแหน่งนักดาราศาสตร์หลวง (Astronomer Royal) ขึ้น เพื่อเป็นผู้อำนวยการหอดูดาวดังกล่าว อาคารดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จในฤดูร้อน ค.ศ. 1676 อาคารดังกล่าวมักถูกเรียกชื่อว่า \"เฟลมสตีดเฮาส์\" (Flamsteed House)",
"title": "หอดูดาวหลวงกรีนิช"
},
{
"docid": "78238#0",
"text": "หอเอลิซาเบธ (English: Elizabeth Tower) (ก่อนหน้านี้เรียกว่า หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (English: Clock Tower, Palace of Westminster)) หรือรู้จักดีในชื่อ บิกเบน (English: Big Ben) เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ[1][2] หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic) ชื่อหอเอลิซาเบธตั้งขึ้นเพื่อฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษก หรือพระราชพิธีมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "299411#2",
"text": "สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มาถึงอังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ จากบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำที่นำเอาลักษณะ “หน้าจั่วบันได” หรือ “หน้าจั่วดัตช์” และแถบตกแต่ง (Strapwork) แบบฟลานเดอร์สที่เป็นลายเรขาคณิตที่ใช้ตกแต่งผนังเข้ามาด้วยเข้ามาด้วย ลักษณะทั้งสองอย่างดังกล่าวปรากฏในงานสร้างคฤหาสน์โวลลาทันฮอลล์ และ ที่คฤหาสน์มองตาคิวท์ ในช่วงเดียวกันนี้สถาปัตยกรรมอังกฤษก็เริ่มรับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิตาลีในการสร้างระเบียงแล่นยาวที่ใช้เป็นบริเวณสำหรับเป็นห้องรับรอง ในอังกฤษสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มักจะออกมาในรูปของสิ่งก่อสร้างสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เช่นคฤหาสน์ลองลีท สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มักจะมีหอที่มีลักษณะเป็นสมมาตรที่เป็นนัยยะของการวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมการสร้างป้อมปราการในสมัยกลาง",
"title": "สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ"
},
{
"docid": "259968#0",
"text": "หอนาฬิกาซัปโปโระ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นอาคารที่สร้างขึ้นจากไม้ ตั้งอยู่ในเขตชูโอ เมืองซัปโปโระ เมืองใหญ่ที่สุดของจังหวัดฮกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ออกแบบด้วยศิลปะแบบอเมริกัน เป็นอาคารทรงตะวันตกแห่งหนึ่งในจำนวนน้อยที่หลงเหลืออยู่ในเมืองนี้ เป็นที่รู้จักในฐานะสัญลักษณ์ของเมือง และเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศแทบทุกคน ซึ่งนาฬิกาบนหอยังคงเดินอย่างเที่ยงตรง และมีเสียงระฆังในทุกชั่วโมง",
"title": "หอนาฬิกาซัปโปโระ"
},
{
"docid": "103733#1",
"text": "หอดูดาวแห่งแรกในเยอรมนีถูกสร้างในคัสเซิลเมื่อปี ค.ศ. 1558 และในปี ค.ศ. 1604 \"Ottoneum\" โรงละครถาวรแห่งแรกก็ถูกสร้างขึ้น พิพิธภัณฑ์สาธารณะแห่งแรกของยุโรป ชื่อว่า \"Museum Fridericianum\" ตามชื่อผู้ก่อตั้ง ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1779 ในตอนท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเก็บรักษาชุดสะสมนาฬิกาและนาฬิกาข้อมือที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง",
"title": "คัสเซิล"
},
{
"docid": "78480#4",
"text": "หอนาฬิกาที่สูงที่สุดอันดับที่ 2 ของโลก ที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์กรุงวอร์ซอ หอเอลิซาเบธ ในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ที่สหราชอาณาจักร หอสพัสสกายา ในพระราชวังเครมลิน หอสันติภาพ (Peace Tower) ที่รัฐสภาแคนาดา โบสถ์เซนต์นิโคลัส เมืองโคซานิ ประเทศกรีซ หอนาฬิการำลึกโจเซฟ แชมเบอร์เลน (\"โอลด์โจ\") ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม หอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์ หอแซทเทอร์ (Sather Tower) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองเบิร์กเลย์",
"title": "หอนาฬิกา"
},
{
"docid": "140012#8",
"text": "“จุดตัด” () คือจุดที่แขนกางเขนหรือปีกซ้ายขวาตัดกับทางเดินกลาง เหนือจุดตัดมักจะเป็นหอที่มียอดแหลม หรือยอดแหลมเฉยๆ ที่เรียกว่า “มณฑป” (fleche) ที่อาจจะทำด้วยไม้ หิน หรือโลหะก็ได้ เช่นที่อาสนวิหารโอเทิง ประเทศฝรั่งเศส หรืออาสนวิหารซอลส์บรีที่มีหอทำด้วยหินสูงที่สุดในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (404 ฟุต) หรืออาจจะเป็นโดม หรือเป็นหอเฉย ๆ ที่ไม่มียอดก็ได้ เช่น ที่อาสนวิหารวินเชสเตอร์ อังกฤษ ถ้าหอเป็นแบบโปร่งซึ่งสามารถให้แสงส่องลงมากลางวัดได้ก็เรียกว่า “หอตะเกียง” เช่น ที่อาสนวิหารบูร์โกส ประเทศสเปน",
"title": "ผังอาสนวิหาร"
},
{
"docid": "77400#6",
"text": "วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1995 บนเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม และออกจำหน่ายอีกครั้งบนเครื่องเพลย์สเตชันในปี 1997 ภายใต้ชื่อ Clock Tower ~the First Fear~ โดยบริษัท HUMAN Entertainment เป็นเกมชุดแรกสุดในซีรีส์นี้ เนื้อเรื่องจับความไปที่ตัวละครหลักคือเจนิเฟอร์ ซิมป์สัน (Jennifer Simpson) เด็กสาวอายุ 14 และเพื่อนๆเด็กกำพร้าของเธอซึ่งได้รับการอุปการะจากตระกูลแบโร่วส์ (Barrows) ให้ไปอยู่ที่คฤหาสน์ในประเทศนอร์เวย์ที่มีหอนาฬิกาขนาดใหญ่เป็นจุดเด่น (Clock Tower) แต่แล้วเมื่อเข้าสู่คฤหาสน์แบโรวส์ได้เพียงคืนเดียวเพื่อนๆของเจนิเฟอร์ก็หายตัวไปอย่างลึกลับ และเธอก็ถูกไล่ล่าจากชายสวมหน้ากากปิศาจถือกรรไกรขนาดใหญ่เป็นอาวุธ ซึ่งเรียกขานกันว่ามนุษย์กรรไกร (Scissors Man) เจนิเฟอร์จึงต้องไขปริศนาของหอนาฬิกาแห่งนี้และเอาตัวรอดออกไปให้ได้",
"title": "คล็อกทาวเวอร์"
},
{
"docid": "354046#1",
"text": "ในปี ค.ศ. 1788 โรเบิร์ตเบิร์คส์ส่งบทกวี 'auld lang syne' ไปที่พิพิธภัณฑ์ดนตรีสก็อตแสดงให้เห็นว่าเป็นเพลงโบราณ แต่เขาเป็นคนแรกที่บันทึกเพลงไว้บนกระดาษที่เขียนขึ้นโดยโรเบิร์ต เบิร์นส ในปี ค.ศ. 1788 เป็นที่รู้จักในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ (รวมถึงไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ) และมักจะร้องเพื่อเฉลิมฉลองในการเริ่มต้นปีใหม่ในช่วงเสียงตีของนาฬิกาเที่ยงคืน นอกจากนั้นยังใช้ร้องในงานศพ พิธีสำเร็จการศึกษา และการร่ำลา เป็นต้น ชื่อของเพลง \"Auld Lang Syne\" นั้น เมื่อแปลแล้ว หมายถึง \"เมื่อเนิ่นนานมา\" ส่วนเนื้อเพลงนี้มีเนื้อส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องของการให้อภัยและการลืมเรื่องบาดหมางที่ผ่านมา",
"title": "ออลด์แลงไซน์"
},
{
"docid": "2083#4",
"text": "พื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ประมาณ 243,610 ตารางกิโลเมตร (94,060 ตารางไมล์) ประเทศครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่เกาะอังกฤษ.[11] หมู่เกาะอังกฤษ รวมถึง เกาะบริเตนใหญ่, เกาะไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กรอบๆ ประเทศอยู่ระหว่างตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเหนือ ที่มีชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใน 22 ไมล์ (35 กิโลเมตร) จากชายฝั่งทางตอนเหนือของ ฝรั่งเศส, ซึ่งจะถูกคั่นด้วยช่องแคบอังกฤษ.[12] ในปี 1993, 10% ของสหราชอาณาจักรเป็นป่า, 46% เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และ 25% เพื่อการเกษตร.[13] 'เดอะรอยัลกรีนิช หอดูดาวกรุงลอนดอน' กำหนดจุด เส้นแวงแรกที่พาดผ่านตำบล Greenwich ของอังกฤษ (English: Prime Meridian).[14]",
"title": "สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "396505#21",
"text": "สงครามทำให้กลุ่มอาคารพระราชวังที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ฮาเร็ม ประภาคาร และพระราชวังถูกทำลายจากการระดมยิง ทำให้ไม่ปลอดภัย ที่ตั้งพระราชวังกลายเป็นสวน ขณะที่พระราชวังหลังใหม่ถูกสร้างเหนือที่ตั้งฮาเร็ม House of Wonder แทบไม่ได้รับความเสียหาย และภายหลังเป็นสำนักงานเลขานุการหลักของทางการอังกฤษ ระหว่างการบูรณะ House of Wonder ใน ค.ศ. 1897 หอนาฬิกาถูกสร้างเพิ่มด้านหน้าอาคารแทนประภาคารที่ถูกทำลายไปในการระดมยิง ซากเรือกลาสโกว์ยังคงอยู่ในท่าเรือด้านหน้าพระราชวัง ด้วยเป็นบริเวณน้ำตื้น ทำให้เสากระโดงเรือยังสามารถมองเห็นได้อีกหลายปีต่อมา กระทั่งถูกทำลายเป็นเศษเล็กเศษน้อยในที่สุด เมื่อ ค.ศ. 1912",
"title": "สงครามอังกฤษ–แซนซิบาร์"
},
{
"docid": "15673#13",
"text": "เมือง ซีอานที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นเมืองที่ถูกสร้างมา 600 ปีก่อนราชวงศ์หมิง โดยใน 300 ปีก่อนหน้านี้ เมืองซีอานได้มีโอกาสการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวเมืองในปัจจุบันมีพื้นที่มากถึง 129 ตารางกิโลเมตร เปรียบกับ ฉางอาน ในสมัยราชวงศ์ถังแล้วมีพื้นที่ใหญ่กว่าร้อยละ 50 มีจำนวนประชากรมากถึง 1 ล้าน 5 แสนคนโดยประมาณ ภายในเมืองนอกจากจะสร้างอาคารบ้านเรือนสมัยใหม่จำนวนมากแล้ว ยังมีการบูรณะสวนสาธารณะ และโบราณสถานที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่งด้วย หอนาฬิกากลางเมืองซึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ หมิง บรรดาเมืองหลวงในประวัติศาสตร์หลาย ๆ แห่งต่างมี หอนาฬิกา แต่ไม่มีที่ไหนจะมีชื่อเสียงอย่างของ ซีอาน สิ่งก่อสร้างสำคัญอีกแห่งหนึ่งทางด้านใต้ของหอนาฬิกาที่ถนนชื่อ ซานเซวี๋ย เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ของมณฑล ส่านซี ภายในมีแท่ง ศิลาจารึก ที่มีชื่อเสียง ซึ่งถูกทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง จำนวนมากกว่า 1 พัน แท่ง ด้านใต้ของซีอานยังมีสถูปห่านป่าใหญ่ (ต้าเอี้ยนถ่า วัดต้าฉือเอิน - พระถังซัมจั๋ง ) และสถูปห่านป่าเล็กเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง",
"title": "ซีอาน"
},
{
"docid": "2716#40",
"text": "สวิตเซอร์แลนด์ขาดดุลการค้าตลอดมาเว้นแต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าลดลง แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะขาดดุลการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) แต่สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลการค้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเช่น สเปน โปรตุเกส และประเทศกำลังพัฒนา\nเครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางเวชกรรม นาฬิกา และอัญมณี เป็นสินค้าส่งออกหลักของสวิตเซอร์แลนด์ สินค้านำเข้าหลักได้แก่เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า นาฬิกา เคมีภัณฑ์",
"title": "ประเทศสวิตเซอร์แลนด์"
},
{
"docid": "78238#3",
"text": "ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นไม่อนุญาตให้ขึ้นไป [5] ทั้งนี้ผู้ชมต้องเดินบันได 334 ขั้นขึ้นไปเพราะไม่มีลิฟต์[6]",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "78238#2",
"text": "บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St Stephen's Tower) หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1877,1891,3,3]}'>หอบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง[3] ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ในเวลาต่อมา รัฐสภาอังกฤษได้มีมติให้ตั้งชื่อหอนาฬิกานี้ว่า หอเอลิซาเบธ[4] เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "242388#0",
"text": "หนีตามกาลิเลโอ () (เดิมชื่อ กาลิเลโอ เพราะโลกมีแรงดึงดูด) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก/ดราม่า มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 กำกับโดย นิธิวัฒน์ ธราธร โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ไปถ่ายทำไกลถึง 3 ประเทศ 3 เมือง คือ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ, ปารีส ประเทศฝรั่งเศส และ เวนิส ประเทศอิตาลี ภาพยนตร์ทำรายได้ 30.34 ล้านบาทนุ่นกับเชอรี่เป็นเพื่อนรักกัน เริ่มเรื่องที่ทั้งสองไปเล่นบันจี้จั๊มพ์ด้วยกัน และเล่าเรื่องปัญหาของตัวเองให้ฟัง \"นุ่น\" (จรินทร์พร จุนเกียรติ) มีปัญหารักเพราะเพิ่งจะเลิกกับแฟนที่ชื่อว่า \"ตั้ม\" (ธนากร ชินกูล) และพยายามที่จะลืมเรื่องของตั้ม ส่วน \"เชอรี่\" (ชุติมา ทีปะนาถ) มีปัญหาเรื่องเรียนเพราะอยากจะเข้าใช้ห้องเขียนแบบ แต่อาจารย์ไม่มาจึงปลอมลายเซ็น จึงถูกพักการเรียน 1 ปีเต็ม ทั้งสองจึงตกลงกันว่าจะไปเที่ยวต่างประเทศกันตามลำพังโดยไป อังกฤษ-ฝรั่งเศส-อิตาลี (ลอนดอน-ปารีส-เวนิส และปิดท้ายด้วยที่หอเอนพีซ่า เมืองพีซ่า) แถวบ้านเกิดของกาลิเลโอ",
"title": "หนีตามกาลิเลโอ"
},
{
"docid": "78238#1",
"text": "หลายคนเข้าใจว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิ๊กเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิ๊กเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิ๊กเบนเรียกตัวหอทั้งหมด",
"title": "บิกเบน"
},
{
"docid": "884718#0",
"text": "ปราสาทโดเวอร์ () เป็นป้อมปราการและพระราชวังสร้างในสมัยศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่บนเนินติดกับหน้าผาสีขาวด้านทิศตะวันออกของเมืองโดเวอร์ แคว้นเคนต์ ซึ่งถือเป็นเมืองหน้าด่านในอดีต ทำให้ปราสาทนี้ได้ชื่อว่าประตูสู่อังกฤษ หรือกุญแจสู่อังกฤษ ตัวปราสาทประกอบด้วยหอรบขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ล้อมรอบด้วยกำแพงฉนวนชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จึงถือได้ว่าเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ปัจจุบันปราสาทอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานศิลปากรแห่งชาติอังกฤษ (English Heritage)",
"title": "ปราสาทโดเวอร์"
}
] |
266 | ยาลดความอ้วน ปรากฎครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "644100#6",
"text": "ในศตวรรษที่ 2 ได้มีความพยายามครั้งแรกในการที่จะผลิตสารที่ใช้ในการลดน้ำหนัก โดยแพทย์ชาวกรีกชื่อ โซลานุส จาก อีฟีซุส, เขาได้สั่งยาน้ำที่มีฤทธิ์เป็น ยาระบาย และยาถ่าย, รวมทั้งการนวดโดยใช้ความร้อน, และการออกกำลังกาย. แม้จะผ่านมาเป็นพันปีสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการรักษาให้น้ำหนักลด. จนกระทั่งมาถึงปี 1920 - 1930 ได้มีการเปลี่ยนแปลงและมีแนวทางการรักษาใหม่เกิดขึ้น. จาการรักษาที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มที่มี ภาวะพร่องฮอร์โมนไฮโปไธรอยด์, ฮอร์โมนไธรอยด์ กลายมาเป็นการรักษาภาวะโรคอ้วนที่เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ป่วยยูไธรอยด์.ยากลุ่มนี้ให้ผลดี แต่จะผลทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนไธรอยด์สูงเกิน, เช่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และ การนอนหลับยาก. 2, 4-ไดไนโตรฟรีนอล (ดีเอ็นพี) ถูกสร้างขึ้นในปี 1933 ; ซึงทำงานโดย แยก กระบวนการทางชีวภาพของ อ๊อกซิเดทีฟ pฟอสโฟรีเลชั่น ใน ไมโตคอนเดีย, ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการผลิตความร้อนแทนการสร้างพลังงาน เอทีพี อาการข้างเคียงที่สำคัญส่วนใหญ่ได้แก่ ความรู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา, เหงื่อออกบ่อย ๆ. การได้รับยาเกินขนาด, อาการข้างเคียงที่พบน้อย คือ ภาวะอุณหภูมิในร่างการสูง จนทำให้เกิดเป็นอันตรายได้ ในปลายปี 1938 ได้มีการยกเลิกการใช้สาร ดีเอ็นพีเนื่องจาก FDA ได้ออกมาบังคับให้โรงงานหยุดการผลิต และถอนยาตัวนี้ออกจากตลาด.[11]",
"title": "ยาลดความอ้วน"
}
] | [
{
"docid": "937808#0",
"text": "บีจิวเวลด์ 3 () เป็นเกมจับคู่ผลิตโดยป็อปแคปเกมส์ เป็นเกมที่ห้าในแฟรนชายส์ของ\"บีจิวเวลด์ \"เกมนี้มีสี่เกมใหม่ที่คล้ายกับสี่ด่านธรรมดาในบีจิวเวลด์ 1 และ 2\nโหมดนี้จะมีผีเสื้ออยู่ด่านล่างของกระดานและจะขึ้นไปหนึ่งครั้งตอนที่จับคู่ ถ้าทำให้เกิดช่องว่างด้านล่างผีเสื้อจะตกลงไปข้างล่าง ถ้าเกิดช่องว่างด้านบนจะหยุดไม่ให้ผีเสื้อไปต่อได้ เกมจะจบเมื่อมีผีเสื้อตัวหนึ่งถูกแมงมุมจับ ชนะด่าน 5 ในโหมดเซนเพื่อปลดล็อกโหมดนี้เกมนี้จะมีทอง, สมบัติ และคริสตัล ดินและหินจะมีอยู่ห้าแถวนับจากด้านล่าง การจับคู่จะทำลายดินและหินออกไป หินสามารถทำลายได้ แต่ต้องใช้การจับคู่สองครั้งหรือใช้การระเบิดอัญมณีพิเศษ หินที่แข็งมากจะต้องใช้การระเบิดเท่านั้น เกมจะเริ่มโดยมีเวลา 90 วินาที จะเพิ่ม 30 วินาทีถ้าเคลียร์บริเวณเส้น ถ้าเคลียร์ดินทั้งหมดจะเพิ่ม 90 วินาที หลังจากได้เวลาพิเศษแล้วกระดานจะเลื่อนลงจนกว่าจะมีดินอยู่ที่ห้าแถวล่าง เครื่องวัดความลึกจะเพิ่ม 10 เมตร ยิ่งลึกจะมีสมบัติล้ำค่ามากขึ้น แต่ทำลายหินยากขึ้น เกมจะจบเมื่อหมดเวลา ซึ่งจะทำให้เครื่องขุดพัง ชนะ 4 มินิเกมในโหมดภารกิจเพื่อปลดล็อกโหมดนี้โหมดนี้จะมีแท่งน้ำแข็งขึ้นจากข้างล่าง ผู้เล่นต้องหยุดแท่งน้ำแข็งก่อนถึงด้านบนของกระดาน ซึ่งจะทำให้กระดานแข็งและจบเกม. การจับคู่ด้านบนหรือล่างแท่งน้ำแข็งจะลดความสูง และการจับคู่แนวตั้งจะทำลายแท่งน้ำแข็งทันที ยิ่งจับคู่ถังจะเพิ่มขึ้น ถ้าเต็มจะเพิ่มโอกาสได้คะแนน (จาก X1 กลายเป็น X2) และแท่งน้ำแข็งจะลงข้างล่างหมด ถ้ามีแท่งน้ำแข็งถึงยอดจะมีหัวกะโหลกขึ้น เมื่อแท่งน้ำแข็งอันที่สองเริ่มขึ้น หัวกะโหลกจะแดงและเริ่มสั่น ถ้าแท่งน้ำแข็งไม่ลดลง ภายในไม่กี่วินาที กระดานจะแข็งและเกมก็จะจบ ต้องได้ 100,000 คะแนนในโหมดไลท์นิ่งเพื่อปลดล็อกโหมดนี้.โหมดนี้จะมีสไตล์แบบไพ่โปเกอร์ มีการ์ดห้าใบอยู่ด้านข้างพร้อมกับตารางคะแนน ทุกๆ คู่จะปรากฎบนการ์ด หลังจากจับคู่ห้าครั้งจะปรากฎแบบที่ผู้เล่นทำ เช่น อัญมณีห้าอันที่มีสีเดียวกันจะได้ไพ่ \"ฟลัช\" ซึ่งเป็นแบบที่ดีที่สุด การจับคู่ได้สองคู่จะปรากฎการ์ดอัญมณีใหญ่และเล็กแล้วเกมจะเลือกเองว่าอัญมณีไหนจะมีโอกาสได้คะแนนมากกว่า จับคู่อัญมณีเพลิงหรือดาวจะเพิ่มคะแนน และจับคู่กับไฮเปอร์คิวบ์จะเกิดการ์ดปริศนาที่จะเลือกสีที่มีโอกาสได้คะแนนมากที่สุด ถ้าเล่นไปเรื่อยๆ จะมีหัวกะโหลกตรงแบบที่ได้คะแนนต่ำที่สุด ถ้าผู้เล่นได้แบบอันนั้น จะมีเหรียญกะโหลกและโชคที่มีโอกาส 50% ที่จะจบเกม. ผู้เล่นสามารถลบกะโหลกได้ดดยเพิ่มบาร์ลบกะโหลก ยิ่งแบบที่ดีกว่าจะเพิ่มได้มากกว่า ถ้าเล่นไปเรื่อยๆ กะโหลกจะมีมากขึ้น ชนะด่าน 5 ในโหมดปกติเพื่อปลดล็อกโหมดนี้",
"title": "บีจิวเวลด์ 3"
},
{
"docid": "644100#21",
"text": "อย่างไรก็ตาม น้ำหนักลดจากการใช้ยาไรโมนาแบนท์พบว่า ไม่ได้มีผลมากกว่าการใช้ยาลดน้ำหนักตัวอื่น ๆ [26] และเนื่องจากการคำนึงถึงความปลอดภัย และ ภาวะทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ ยาตัวนี้จึงไม่ได้รับการยอมรัลให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา หรือ แคนาดา ทั้งในการเป็นยารักษาภาวะโรคอ้วน และ ยาหยุดบุหรี่.",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "626478#2",
"text": "ทั้งนี้ ในเมตตสูตรบทหลังซึ่งปรากฏอานิสงส์ 11 ประการ มิได้ระบุถึงสถานที่แสดงพระสูตรไว้ แต่ในเมตตสูตรบทแรกได้ระบุไว้ว่า สมเด็จ \"พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี\" แล้วทรงตรัสพระสูตรนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเมื่อนำพระสูตรทั้ง 2 มารวมกันเป็นเมตตานิสังสสุตตปาฐะ เนื้อความจึงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กล่าวคือ เมตตสูตรแรกปรากฎสถานที่แสดง แต่อานิสงส์มีเพียง 8 ประการ ขณะที่เมตตสูตรที่ 2 ไม่ปรากฎที่มา แต่มีเนื้อหากล่าวถึงอานิสงส์ 11 ประการ ขณะที่เมตตานิสังสสุตตปาฐะ ปรากฎสถานที่แสดงพระสูตรจากเมตตสูตรแรก และอานิสงส์ 11 ประการจากเมตตสูตรหลัง",
"title": "เมตตานิสังสสุตตปาฐะ"
},
{
"docid": "971119#7",
"text": "การเปิดการ์ดในภาคนี้จะแตกต่างจากออนไลน์ 3 ตรงที่ว่าจะมีโมเดลนักฟุตบอลปรากฎตอนเปิดการ์ดซึ่งถ้าเปิดได้ผู้เล่นที่มีพลังมากกว่า 80 จะมีแอนิเมชั่นเปิดตัวของการ์ด(Walkout)ปรากฎขึ้นมาโดยจะปรากฎเสื้อทีม,เบอร์เสื้อ,ส่วนใบหน้าของนักเตะ เพื่อให้มีความลุ้นมากขึ้น ซึ่งการ์ดต่าง ๆ จะมีแตกต่างกันออกไปตามแพ็คต่าง ๆ",
"title": "ฟีฟ่าออนไลน์ 4"
},
{
"docid": "644100#32",
"text": "ข้อจำกัดของการศึกษายาลดความอ้วน คือ พวกเราไม่เข้าใจกลไกพื้นฐานการทำงานของระบบความอยากอาหารในสมอง และวิธีการปรับสมดุล. ความอยากอาหาร เป็นสัญชาตญาณพื้นฐานที่ทำให้อยู่สิ่งมีชีวิตรอด. ยาที่ทำให้ความอยากอาหารลดลง จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิต และเกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมทางคลินิกขึ้นได้",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "843730#1",
"text": "อาการทั่วไปจากการใช้ยาแบบยาอมได้แก่คลื่นไส้หรือรู้สึกคัน ส่วนยาแบบทาอาจมีปรากฎรอยแดงหรือรอยไหม้ สตรีมีครรภ์สามารถใช้ยานี้แบบรับประทานได้ แต่ยังไม่มีผลศึกษาอย่างจริงจังว่าแบบยาอมจะมีผลต่อทารกหรือไม่ ผู้ที่ตับมีปัญหาควรใช้ยานี้อย่างรอบคอบ",
"title": "คลอไตรมาโซล"
},
{
"docid": "644100#30",
"text": "ยาลดความอ้วนบางตัวมีอาการข้างเคียงรุนแรง และอาจทำให้ตายได้, ยา เฟน-เฟน เป็นตัวอย่างที่รู้จักกันดี. ยาเฟน-เฟนได้รับการรายงานจาก FDA ว่า ทำให้ผลการตรวจการทำงานของหัวใจผิดปกติ เกิดปัญหากับลิ้นหัวใจ และพบน้อยรายที่เกิดโรคลิ้นหัวใจ[40] หนึ่งในนี้ ซึ่งไม่ใช่รายแรก เป็นการเตือนจากท่านเซอร์ อาร์เธอร์ แมคแนลตี้, หัวหน้าของเมดิคอล ออฟฟิซ (ประเทษอังกฤษ). ในตอนต้นปี 1930 เขาเตือนให้มีการต่อต้านการใช้ ไดไนโตรฟีนอล ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดความอ้วน และการใช้ไธรอยด์ฮอร์โมนที่ไม่เหมาะสมในการลดน้ำหนัก.[41][42] อาการข้างเคียงที่พบจะมาจากกระบวนการเมตาบอลิสมของยา. ยาที่กระตุ้น โดยทั่วไปจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิด ภาวะความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และเต้นเร็ว ต้อหิน การติดยา, พักผ่อนได้น้อย, วุ่นวาย, และ นอนไม่หลับ.",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "841974#1",
"text": "แนวคิดพลขว้างระเบิดนั้นปรากฎครั้งแรกในสมัยราชวงศ์หมิงของจีนซึ่งมีบันทึกว่าทหารจีนบนกำแพงเมืองจีนได้ขว้างลูกระเบิดใส่ข้าศึก สำหรับในยุโรปพบว่าพลขว้างระเบิดปรากฎครั้งแรกในสเปนและออสเตรีย และพลขว้างระเบิดก็ปรากฎอยู่ในอังกฤษเช่นกันในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ",
"title": "แกรนาเดียร์"
},
{
"docid": "644100#1",
"text": "มียาเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ใช้เป็นยาลดความอ้วน ได้แก่ ยาโอลิสแตท (เซนิคาล) ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กร FDA ในการใช้ระยะยาว.[2][3] ยาจะลดการดูดซึมไขมันที่บริเวณลำไส้โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ไลเปซจากตับอ่อน ยาตัวที่ 2 คือ ยาไรโมนาแบนท์ (อะคอมเพลีย), จะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของระบบเอ็นโดคานาบินอยด์. ยาตัวนี้พัฒนามาจากความรู้ที่ว่าผู้ที่สูบ กัญชา จะหิวบ่อย, ซึ่งจะต้องหาอาหารว่างรับประทานอยู่เรื่อย ๆ ยาตัวนี้ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในยุโรปแต่ไม่ได้รับการรับรองให้รักษาภาวะโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเนื่องจากยังเป็นกังวลเรื่องของความปลอดภัย.[4][5] ในเดือนตุลาคม 2008 ตัวแทนจำหน่ายยาในประเทศทางยุโรป ได้เสนอว่าการขายยาไรโมนาแบนท์มีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ.[6] ยาไซบูทามีน (เมริเดีย), ซึ่งจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเก็บกลับสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้มีสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นจึงมีผลทำให้ความอยากอาหารลดลง ได้ถูกถอนออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาแล้วในเดือนตุลาคม 2010 เนื่องจากมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ.[3][7]",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "644100#10",
"text": "ผู้ป่วยบางคนพบว่า การควบคุมอาหาร และ การออกกำลักาย เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้; สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้, ยาลดความอ้วนจะเป็นที่พึ่งสุดท้าย. การสั่งยาลดน้ำหนัก บางครั้งจะประกอบไปด้วย ยากระตุ้น ซึ่งแนะนำให้ใช้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และ นั่นเป็นข้อจำกัดที่ในกลุ่มผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการลดดน้ำหนักยาวนานหลายเดือนหรือหลายปี",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "977119#1",
"text": "\"วอริเออร์สออฟเฟต\"เป็นวิดีโอเกมแนวตีแม่งเลยที่มีเก้าด่าน แต่ละด่านประกอบด้วยกลุ่มคนจำนวนมาก รวมถึงผู้ขัดขวางที่เป็นพลหอก, พลธนู, จอมพลัง, มือปาระเบิด และบอสจากวุยก๊กอย่างน้อยหนึ่งคน โดยสามารถเล่นได้สูงสุดสามรายในเวลาเดียวกัน ซึ่งใช้ปุ่มสองปุ่ม ได้แก่ การโจมตีและการกระโดด ตัวละครทุกตัวมีการเคลื่อนไหวมาตรฐานตามแบบฉบับฉายด้านข้างของแคปคอม ศัตรูทั่วไปรวมทั้งทหารวุยก๊ก เช่น โจร, โจรสลัด, นักมวยปล้ำ, อ้ายอ้วน และขโมยจะโผล่ขึ้นมาจากทุกที่ ในตอนท้ายของแต่ละด่านจะมีขุนพลวุยก๊กเป็นบอสประจำด่าน เช่น ลิเตียน, แฮหัวตุ้น, เคาทู, เตียวเลี้ยว, โจหยิน และซิหลง ส่วนขุนพลที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างลิโป้จะปรากฎตัวในฐานะบอสสุดท้าย หลังจากเอาชนะพวกเขาทั้งหมด ก็จะมีโจโฉที่พยายามหลบหนี เกมยังมีสองด่านโบนัสที่ต้องกดปุ่มรัว ๆ",
"title": "วอริเออร์สออฟเฟต"
},
{
"docid": "897589#2",
"text": "ข้อสันนิษฐานที่ว่า พระนางซิทอามุนเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปทร่สามกับพระนางทีเย พระนางซิทอามุนได้ปรากฎบนภาพสลักในหลุมฝังศพของ ยูยา กับ ทูยา ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของพระนางทีเย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเก้าอี้ที่มีชื่อว่าพระราชธิดาของฟาโรห์",
"title": "ซิทอามุน (พระมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สาม)"
},
{
"docid": "874885#3",
"text": "นิตยสารฮ่องกงได้ออกมารายงานว่า จงเจียซิน เตรียมแต่งงานเร็วๆนี้ แต่ไม่ได้แต่งงานกับ Philip Ng ซึ่งคบหากันมานาน 8 ปี เนื่องจากทั้งคู่ได้เลิกกันไปตั้งแต่ต้นปี 2015 ที่ผ่านมา \nจงเจียซิน เตรียมแต่งงานกับแฟนใหม่ที่เพิ่งคบกันมา 1 ปี และเธอตั้งครรภ์ได้ 5 เดือนแล้ว!! ชายหนุ่มคนดังกล่าวเป็นหลานชายของอดีตเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งในแวนคูเวอร์ มีอายุมากกว่าจงเจียซินหลายปี นิตยสารยังได้รายงานอีกว่า จงเจียซินตั้งครรภ์แล้ว และมีอายุครรภ์ถึง 5 เดือน เนื่องจากในการปรากฎตัวครั้งล่าสุดเธอดูอ้วนขึ้นอย่างมาก",
"title": "จง เจียซิน"
},
{
"docid": "644100#20",
"text": "ไรโมนาแบนท์ (เอคอมเพลีย) เป็นยาที่เพิ่งนำมาใช้ในการเป็นยาลดความอ้วน. ยาตัวนี้คือ สาร แคนาบินอยด์ (CB1) รีเซ็บเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่สมองโดยจะลดความอยากอาหาร.[26] และยาตัวนี้อาจมีผลเพิ่มอุณหภูมิในร่างการ ดังนั้นก็จะมีการเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นด้วย.[26]",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "428132#2",
"text": "ในอดีตที่ ประเทศสหรัฐอเมริกาแอมเฟตามีนถูก ใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อยาเบนซีดรีน (Ben zedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยาบรรจุไว้ใน หลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำเพื่อละลายตัวยา แล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่มาในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้ถึง 39 โรค เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคปวดศีรษะ เป็นต้นโดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด ในปี ค.ศ. 1939 สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวกแอมเฟตามีนเป็นยาควบคุมซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย และได้เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ในช่วงปี ค.ศ. 1967",
"title": "ยาไอซ์"
},
{
"docid": "842368#4",
"text": "เดือนมกราคม ค.ศ. 199 อ้วนเสี้ยวทำสงครามครั้งสุดท้ายกับกองซุนจ้านใน ยุทธการที่อี้จิง ผลปรากฎว่าเป็นฝ่ายอ้วนเสี้ยวได้ชัยชนะและสามารถยึดครองดินแดนภาคเหนือแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและเต๊งไก๋ก็ถูกฆ่าตายในสงครามครั้งนี้หลังจากนั้นกองซุนจ้านจึงตัดสินใจฆ่าเมียและลูกและฆ่าตัวตายตามไปในที่สุด",
"title": "เต๊งไก๋"
},
{
"docid": "677909#3",
"text": "ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2010 Jeremy ปรากฎตัวใน The Young and the Restless ด้วยตัวเขาเอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะเพื่อนสนิทของ CL หัวหน้า งวงของเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลี 2ne1 เขาให้เสื้อผ้าเป็นของขวัญแก่เธอและผู้หญิงอื่นๆด้วย เขาปรากฎตัวใน 2NE1 TV Season 2 (เรียลริตี้โชว์ของชีวิต 2ne1 ระหว่างออกอัลบั้มใหม่ล่าสุดของพกเขา) กับ Will.i.am แห่ง The Black Eyed Peas ปรากฎตัวกับ 2ne1 เช่นกัน ในพฤศจิกายน 2010 O'live OnStyle Sytle Icon Awards ซึ่ง Scott จะปรากฎตัวในงานเพื่อมอบรางวัลให้ 2ne1 วงผู้หญิงที่ทันสมัยที่สุด",
"title": "เจเรมี สก็อตต์"
},
{
"docid": "644100#0",
"text": "ยาลดความอ้วน หรือยาลดน้ำหนัก เป็นสารที่มีผลทางเภสัชวิทยา ซึ่งจะลด หรือ ควบคุมน้ำหนัก ยากลุ่มนี้จะเปลี่ยนแปลงหนึ่งในกระบวนการพื้นฐานของร่างกายมนุษย์, การควบคุมน้ำหนัก, โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งความอยากอาหาร, หรือ การดูดซึมพลังงาน.[1] รูปแบบการรักษาหลัก ๆ สำหรับผู้ที่มี น้ำหนักเกิน และ อ้วน เป็นเรื่องวเฉพาะบุคคล แต่จะยังคงเป็นการ ควบคุมอาหาร และ การออกกำลังกาย.",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "63969#2",
"text": "การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร",
"title": "โรคอ้วน"
},
{
"docid": "202377#1",
"text": "ประเทศจีนเป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์ดินปืนขึ้นใช้ได้ และแนวคิดปืนใหญ่เริ่มปรากฎขึ้นในแผ่นดินจีน ในช่วงราชวงศ์ซ่ง หรือราวศตวรรษที่ 12 โดยปรากฎหลักฐานเป็นหนึ่งในรูปปั้นของงานแกะสลักหินแห่งต้าจู๋. อย่างไรก็ดี ปืนใหญ่ไม่ได้รับการผลิตขึ้นใช้จริงจนกระทั่งศตวรรษที่ 13. ในปีคริสต์ศักราช 1288 มีการบันทึกว่า กองทัพของราชวงศ์หยวนมีปืนใหญ่มือไว้ใช้ในการรบ. หลังจากนั้นเทคโนโลยีปืนใหญ่ก็เริ่มปรากฎตัวขึ้นในยุโรปในราวต้นศตวรรษที่ 14.",
"title": "ปืนใหญ่"
},
{
"docid": "93955#0",
"text": "ราชวงศ์ () คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกัน มักปรากฎอยู่ในบริบทของระบบศักดินาและระบอบราชาธิปไตย แต่ในบางโอกาสก็ปรากฎอยู่ในระบอบสาธารณรัฐที่มีการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ซึ่งตระกูลของผู้ปกครองที่สืบเชื้อสายติดต่อกันมาอาจเรียกว่า \"พระราชวงศ์\" และมีบรรดาศักดิ์เป็นราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ เจ้าชาย ขุนนางศักดินา หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำหรือสมาชิกของตระกูลเกิดมาด้วยฐานันดรเช่นใด นักประวัติศาสตร์หลายคนยังพิจารณาประวัติศาสตร์ของรัฐอธิปไตยแห่ง เช่น อียิปต์โบราณ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หรือจักรวรรดิจีน ภายใต้กรอบแนวคิดของลำดับราชวงศ์ผู้ปกครอง ดังนั้นบริบทของ \"ราชวงศ์\" จึงสามารถใช้อ้างถึงยุคสมัยที่แต่ละตระกูลปกครอง ทั้งยังเป็นบริบทที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ แนวโน้ม และศิลปวัตถุของแต่ละยุคสมัยนั้น ๆ ได้ เช่น แจกันราชวงศ์หมิง ซึ่งบริบทของราชวงศ์มักจะถูกลดทอนลงจากการอ้างอิงคุณศัพท์ดังกล่าว",
"title": "ราชวงศ์"
},
{
"docid": "117172#10",
"text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เขาถูกวิจารณ์อีกครั้งภายหลังที่เขาโพสต์ขอโทษ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องมาจากการส่อเสียดในรายการสายล่อฟ้าโดยปรากฎคำพูดออกรายการในขณะนั้นว่า ยิ่งลักษณ์ เอาอยู่ โดย นาย ศิริโชค เจตนาให้ผู้ชมเข้าใจคำว่า เอาอยู่ ในลักษณะที่หมิ่นประมาทว่า ยิ่งลักษณ์ กำลังมีเพศสัมพันธ์ อยู่ ณ โรงแรมโฟร์ซีซันส์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ ห้าหมื่นบาท และคดีกำลังเข้าสู่ศาลฎีกา ปรากฎว่า นายศิริโชคขอไกล่เกลี่ยเป็นการขอโทษผ่านเฟสบุ๊ค ภายหลัง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นถอนฎีกาแล้ว ปรากฎว่า เขาลบข้อความขอโทษออกทันที ซึ่งได้รับคำวพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนสุดท้ายเขาขอประกาศลงคำขอโทษไว้ 7 วัน",
"title": "ศิริโชค โสภา"
},
{
"docid": "862724#1",
"text": "มีวัตถุทรงลูกบากศ์จัตุรัสขนาด 2 กิโลเมตรที่ไม่สามารถระบุโครงสร้างทางฟิสิกส์ได้ ปรากฎขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว และดูดกลืนเครื่องบินซึ่งมี โคจิโร ชินโด และชุน ฮานาโมริ สองเจ้าหน้าที่กระทรวงกิจการภายในกำลังโดยสารอยู่ ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังหาทางช่วยผู้โดยสารนั้นเอง ที่ด้านบนของลูกบากศ์ ชินโดก็ปรากฎตัวพร้อมกับชายนามว่า ยาฮาคุย ซาชูนีนา ที่อ้างตนว่าเป็นสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาจากอวกาศ เรียกร้องการเจรจาโดยตรงกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซาชูนีนาได้ชี้แจงว่ามาเพื่อต้องการชี้ทางมนุษยชาติ และได้มอบแหล่งพลังงานอนันต์ \"วาม\" ให้แก่มนุษยชาติ โดยให้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้จัดการดูแลวาม รัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งชุน ฮานาโมริ เป็นทูตพิเศษมีอำนาจเทียบเท่านายกรัฐมนตรี ส่วนโคจิโร ชินโด ก็ขอลาออกจากกระทรวงเพื่อทำให้ที่เป็นผู้แทนฝ่ายต่างดาว อย่างไรก็ตามคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติให้ญี่ปุ่นส่งมอบวามทั้งหมดให้สหประชาชาติ มิเช่นนั้นสหประชาชาติจะดำเนินนโนบายขั้นรุนแรงต่อญี่ปุ่น",
"title": "คาโด: หนึ่งคำตอบ"
},
{
"docid": "644100#24",
"text": "ยา อีเซนาไทด์ (ไบเอ็ทต้า) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เนิ่น โดยเป็นยาที่มีโครงสร้างคล้าย ฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งลำไส้เล็กจะสร้างขึ้นเมื่อมีอาหารผ่านเข้ามา. ฤทธิ์อื่น ๆ ของฮอร์โมน GLP-1 คือ จะขยายเวลาที่ลำไส้จะว่างจากอาหารยาวนานขึ้น และท้ำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น.ผู้ป่วยโรคอ้วนบางคนมีภาวะพร่องฮอร์โมน GLP-1, และควบคุมอาหารเพื่อลดฮอร์โมน GLP-1 .[29] ไบเอ็ทตา เป็นยาที่เพิ่งมีการใช้ในการรักษา โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. ผู้ป่วยบางคน ไม่ทั้งหมด พบว่าพวกเขาน้ำหนักลดเมื่อใช้ยาไบเอ็ทต้า. ข้อเสียเปรียบของยาไบเอ็ทต้าคือจะต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง วันละ 2 ครั้ง. และในผู้ป่วยบางคน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้รุนแรง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการรักษาเริ่มต้นซึ่งไบเอ็ทต้าถูกกำหนดให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ยาที่เหมือนกันอีกตัว คือ ไซมิน ซึงเป็นยาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน และ ได้มีการนำมาทดลองใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน.",
"title": "ยาลดความอ้วน"
},
{
"docid": "907264#2",
"text": "ปี พ.ศ. 2480 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ \"พระพรหมมุนี\" และดำรงตำแหน่ง \"เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร\" และ \"เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา\" ด้วยนั้น ได้ขอให้ พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พิจารณาสร้างวัดป่ากรรมฐานขึ้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ด้วยปรากฎว่า ญาติพี่น้องของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)ได้อพยพมาจากบ้านแคน ดอนมดแดง มาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นจำนวนมาก จึงต้องการให้พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ไปตั้งสำนักวัดป่าอบรมจิตภาวนาให้ลูกหลานชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร เพื่อจะได้มีความรู้แลความเข้าใจในธรรมปฎิบัติด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ",
"title": "วัดภูเขาแก้ว"
},
{
"docid": "932908#6",
"text": "เมื่อโหมดลับอันหนึ่งปลดล็อก ปุ่ม '?' จะปรากฎที่หน้าหลัก กดที่ปุ่มนั้นจะปรากฎโหมดลับที่ผู้เล่นปลดล็อก",
"title": "บีจิวเวลด์ 2"
},
{
"docid": "940428#2",
"text": "ปรากฎการณ์ \"ไฟของนักบุญเอลโม\" เป็นที่รู้จักกันมาแต่สมัยกรีกโบราณ โดยนักเดินเรือชาวกรีกเรียกแสงประเภทนี้ว่า \"เฮเลแน\" () หากปรากฎเป็นแสงเดี่ยว ๆ แต่จะเรียกว่า คาสตอร์กับโพลีเดวเคส (Kastor and Polydeukes) หากเกิดขึ้นเป็นปรากฎการณ์แสงคู่ (ซึ่งเป็นชื่อของฝาแฝดผู้เป็นพี่น้องกับเฮเลน ราชินีของชาวสปาร์ตา)",
"title": "ไฟของนักบุญเอลโม"
},
{
"docid": "187353#2",
"text": "ในอดีตที่ ประเทศสหรัฐอเมริกาแอมเฟตามีนถูก ใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อยาเบนซีดรีน (Ben zedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยาบรรจุไว้ใน หลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำเพื่อละลายตัวยา แล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่มาในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้ถึง 39 โรค เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคปวดศีรษะ เป็นต้นโดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด ในปี ค.ศ. 1939 สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวกแอมเฟตามีนเป็นยาควบคุมซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย และได้เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ในช่วงปี ค.ศ. 1967",
"title": "แอมเฟตามีน"
},
{
"docid": "644100#36",
"text": "ยาลดความอ้วนอีกตัวหนึ่งที่นำมาใช้ระยะยาวเป็นการพัฒนามาจากไนโนนิวคลิอิก แอซิด อินเตอร์ฟีเรนท์ (RNAi). การศึกษาทางพันธุกรรมในสัตว์ ได้แสดงให้เห็นว่าการลดลงของ ยีนส์ RIP140 ในหนู มีผลทำให้ขาดการสะสมของอาหารแม้ว่าหนูจะถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูง.[47] การทดลองถูกนำเสนอโดยศาสตราจารย์ มัลคอม ปาร์คเกอร์ แห่งวิทยาลัยอิมพิเรียล ได้แสดงให้เห็นว่า การทำให้ RIP 140 หยุดการทำงาน, นิวเคลียร์ฮอร์โมน โค - รีเพลสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเก็บสะสมของไขมัน มีผลต่อรูปลักษณะของสัตว์ทำให้เล็กลงตลอดชั่วชีวิต ซึ่งจะมีผลต้านทานต่อการกินอาหารที่จะทำให้อ้วนได้, และยังเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกายด้วย . บริษัทCytRx ได้พัฒนาการรักษาโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านสาร RNAi tเพื่อใช้รักษาโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. สารนิวเคลียร์ฮอร์โมนรีเซฟเตอร์ โค-รีเพลสเซอร์ อีกตัว คือ SMRT, ได้มีการแสดงให้เห็นว่า ออกฤทธิ์มีผลต่อพันธุกรรมในหนู ดร.รัสเซล โนฟซิงเกอร์ และ ดร.โรนัล อีแซน แห่งสถาบันซอล์ค ได้แสดงให้เห็นว่า การขัดขวางการทำงานในระดับโมเลกุลระหว่างปฏิกิริยาของ SMRT และนิวเคลียร์ฮอร์โมนรีเซฟเตอร์ ที่อยู่ร่วมกัน จะเพิ่มความอ้วน และลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน.[48] การศึกษานี้ เป็นการนำเสนอยาใหม่ ที่ออกฤทธิ์ตรงตำแหน่งการทำปฏิกิริยากันระดับโมเลกุลระหว่างนิวเคลียร์ฮอร์โมนรีเซฟเตอร์ กับโคแฟกเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในการทำให้เกิดแนวทางการรักษาใหม่ที่จะพัฒนาไปสู่ความพยายามในการที่จะควบคุมน้ำหนัก",
"title": "ยาลดความอ้วน"
}
] |
270 | เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสมีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "5951#0",
"text": "ปารีส (French: Paris /paˈʁi/ ปารี) เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแม่น้ำแซน บริเวณตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส บนใจกลางแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (Île-de-France หรือ Région parisienne (RP) ) ภายในกรุงปารีสมีประชากรประมาณ 2,167,994 คน[5] เขตเมืองปารีส (Unité urbaine) ซึ่งมีพื้นที่ขยายเกินขอบเขตอำนาจการปกครองของเมืองนั้น มีประชากรกว่า 9.93 ล้านคน (พ.ศ. 2547) [6] ในขณะที่เขตมหานครปารีส (Agglomération parisienne) มีประชากรเกือบ 12 ล้านคน[7]และเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป[8]",
"title": "ปารีส"
}
] | [
{
"docid": "6152#0",
"text": "ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน: , พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ [4] เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน[5] กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก",
"title": "ปักกิ่ง"
},
{
"docid": "31420#0",
"text": "ลุยเซียนา (, ออกเสียง หรือ ) เป็นรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะผสมผสานของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ซึ่งในรัฐลุยเซียนามีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการของรัฐ ถึงแม้ว่าภาษาฝรั่งเศสจะมีใช้เพียงประมาณ 5% เมืองสำคัญของรัฐคือ นิวออร์ลีนส์ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ แบตันรูช ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ นิวออร์ลีนส์เซนต์และนิวออร์ลีนส์ฮอร์เนตส์",
"title": "รัฐลุยเซียนา"
},
{
"docid": "1821#14",
"text": "กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กรุงมาดริด ประเทศสเปน อีกมุมหนึ่งของกรุงมาดริด กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี บาร์เซโลนา มิวนิก แฟรงก์เฟิร์ต เมืองที่ใหญ่ที่มั่งคั่งที่สุดของเยอรมนี กรุงเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย กรุงลิสบอน เมืองหลวงของประเทศโปรตุเกส กรุงสตอกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศสวีเดน ตึกคูนาร์ดในเมืองลิเวอร์พูล ของสหราชอาณาจักร เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี เอเธนส์ ประเทศกรีซ อิสตันบูล เมืองคาบเกี่ยว 2 ทวีป ในประเทศตุรกี อังการา เมืองหลวงปัจจุบันของประเทศตุรกี หอไอเฟลในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประตูบรันเดนบูร์กในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี",
"title": "ทวีปยุโรป"
},
{
"docid": "25625#0",
"text": "พนมเปญ หรือ ภนุมปึญ (Khmer: ភ្នំពេញ ภฺนุํเพญ ออกเสียง: [pʰnum pɨɲ]; English: Phnom Penh) อีกชื่อหนึ่งคือ ราชธานีพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส",
"title": "พนมเปญ"
},
{
"docid": "305306#0",
"text": "โป () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดปีเรเน-อัตล็องติกในแคว้นอากีแตน ประเทศฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาพิเรนีสของฝรั่งเศส เดิมโปเป็นเมืองหลวงของบริเวณเบอาร์น (Béarn)",
"title": "โป (จังหวัดปีเรเน-อัตล็องติก)"
},
{
"docid": "5951#21",
"text": "หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศฝรั่งเศส หมวดหมู่:เมืองในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ หมวดหมู่:ก่อตั้งในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส",
"title": "ปารีส"
},
{
"docid": "616146#0",
"text": "ซินต์มาร์เติน (, ) เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) แห่งหนึ่งภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ครอบคลุมเฉพาะตอนใต้ของเกาะเซนต์มาร์ตินในทะเลแคริบเบียน ขณะที่พื้นที่อีกครึ่งทางตอนเหนือมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (มีชื่อว่า แซ็ง-มาร์แต็ง) ซินต์มาร์เตินมีประชากรประมาณ 37,000 คน บนเนื้อที่ 34 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของดินแดนมีชื่อว่า ฟีลิปส์บืร์ค",
"title": "ซินต์มาร์เติน"
},
{
"docid": "846396#0",
"text": "รัฐโว () เป็นรัฐในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นรัฐที่มีประชากรมากสุดเป็นอันดับสาม และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในประเทศ รัฐโวตั้งอยู่ในภาครอม็องดีซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักเนื่องจากมีพรมแดนทางตะวันตกติดกับแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเตของประเทศฝรั่งเศส เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่สุดของรัฐคือโลซาน ซึ่งได้รับการกำหนดให้เป็น \"เมืองหลวงโอลิมปิก\" โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และยังเป็นที่ตั้งขององค์กรทางการกีฬาระหว่างประเทศหลายแห่ง รัฐโวมีประชากรทั้งสิ้น 725,944 คนในปี ค.ศ. 2011",
"title": "รัฐโว"
},
{
"docid": "122707#0",
"text": "เขตวัลลูน (; ; ) เรียกอีกอย่างว่า \"วาโลเนีย\" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน",
"title": "เขตวัลลูน"
},
{
"docid": "264202#0",
"text": "อินโดจีนของฝรั่งเศส (, ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน () เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงได้รวมเอาลาวเข้ามา อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 2445 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชีและยังถูกญี่ปุ่นรุกรานด้วย ในต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่าสงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้งรัฐเวียดนามซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่",
"title": "อินโดจีนของฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "302833#0",
"text": "โวกลูซ (, ฟังเสียง; ) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดโวกลูซตั้งตามชื่อน้ำพุที่มีชื่อเสียงฟงแตน-เดอ-โวกลูซ ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส โดยมีอาวีญงเป็นเมืองหลวง",
"title": "จังหวัดโวกลูซ"
},
{
"docid": "935282#0",
"text": "เขตทิมบักตู () เป็นเขตบริหารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศมาลี และเป็นเขตที่กินพื้นที่ทะเลทรายสะฮารามากที่สุด โดยเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงซึ่งเป็นเมืองโบราณอันมีชื่อเสียง ทิมบักตู หรือ ตงบุกตู ในภาษาฝรั่งเศส ที่ชาวยุโรปมองว่าเป็นเมืองที่ลึกลับและเข้าถึงได้ยาก",
"title": "เขตตงบุกตู"
},
{
"docid": "141991#0",
"text": "อาบูจา () เป็นเมืองหลวงของประเทศไนจีเรีย เป็นเมืองที่สร้างใหม่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 80 กรุงอาบูจาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในแอฟริกาในด้านของการผังเมือง โดยใช้แนวคิดของการสร้างกรุงบราซีเลียเมืองหลวงของประเทศบราซิลเป็นแบบอย่าง ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหลวงแทนที่นครเลกอสในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1991",
"title": "อาบูจา"
},
{
"docid": "22379#2",
"text": "ฮานอย หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นอยู่บนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า ทังล็อง แปลว่า มังกรเหิน จนกระทั่ง พ.ศ. 2245 กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมือหลวงไปอยู่เมืองเว้เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่ของอินโดจีนฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน พ.ศ. 2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน",
"title": "ฮานอย"
},
{
"docid": "272109#0",
"text": "แกลร์มง-แฟร็อง (, ฟังเสียง) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดปุย-เดอ-โดมในแคว้นโอแวร์ญในประเทศฝรั่งเศส เมืองแกลร์มง-แฟร็องตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนมาทางด้านใต้ของฝรั่งเศส นที่ราบลีมาญ (Limagne) ในมาซิฟซ็องทราล (Massif Central) ที่ล้อมรอบด้วยบริเวณอุตสาหกรรม แกลร์มง-แฟร็องมีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เดิมเป็นแนวภูเขาไฟที่เรียกว่าแนวภูเขาไฟเดอปุย (Chaîne des Puys) ปุย-เดอ-โดม (13 กิโลเมตรจากแกลร์มง-แฟร็อง) เป็นยอดที่สูงที่สูงที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของบริเวณนี้ ที่มองเห็นได้แต่ไกล",
"title": "แกลร์มง-แฟร็อง"
},
{
"docid": "378598#0",
"text": "เมืองสิงห์ () เป็นเมืองที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อ เพราะอยู่ใกล้สิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวไทลื้ออาศัยในพื้นที่ลุ่ม ส่วนบนเขตภูเขาเป็นที่อยู่ของชาวม้ง ชาวเย้า แต่เดิมเป็นเมืองเดียวกับเมืองเชียงแขง ในรัฐฉาน ประเทศพม่า แต่เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคม ได้ตกลงแบ่งดินแดนกันโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นแดน ฝั่งเชียงแขงจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และรัฐฉานของพม่าในที่สุด ส่วนฝั่งเมืองสิงห์อยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส และประเทศลาวในปัจจุบันในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 กองทัพของฝรั่งเศสนำโดย M. vacle ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับชาการหัวเมืองลาวภาคเหนือ และผู้แทนของจักรวรรดิอังกฤษ ภายใต้การนำของ Mr.Stirling ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับรัฐฉาน ได้พบปะกันในเมืองสิงห์ เพื่อพูดคุยเรื่องสนธิสัญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1896 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานภาพของรัฐเจ้าฟ้าไทลื้อขนาดเล็ก หลังจากนั้น มีการระบุเขตแดนริมฝั่งแม่น้ำโขงระหว่างอังกฤษและพม่ากับฝรั่งเศสและอินโดจีน ในวันที่ 11 พฤษภาคม กองกำลังอังกฤษที่ได้ประจำการอยู่ในเมืองสิงห์ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1895 นั้นก็ได้ถอนกองกำลังออกไป หลังจากนั้นเพียง 2 อาทิตย์ เจ้าฟ้าสาลีหน่อก็ได้กลับมาจากเมืองหลวงน้ำทา ซึ่งเจ้าฟ้าได้ไปลี้ภัยในระหว่างที่อังกฤษเข้ามายึดครองเมืองสิงห์ เจ้าฟ้าสาลีหน่อได้เป็นเจ้าฟ้าเมืองสิงห์อีกครั้งหนึ่งภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส เจ้าฟ้ารู้สึกเสียใจกับดินแดนที่ลดหายไปเกือบครึ่งหนึ่ง เพราะว่าเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงฝั่งขวานั้น เช่น เมืองเชียงลาบ เมืองยู้ และเมืองหลวย ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าทั้งสองเมืองนั้นได้ตกไปเป็นของอังกฤษเสียแล้ว",
"title": "เมืองสิงห์ (ประเทศลาว)"
},
{
"docid": "87644#7",
"text": "เว้มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปี พ.ศ. 2488 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนามทรงสละราชสมบัติ และมีการก่อตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ทางตอนเหนือของเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงได้รับการช่วยเหลือจากชาวฝรั่งเศสในอาณานิคม และทรงก่อตั้งเมืองหลวงใหม่ คือ ไซ่ง่อน ทางใต้ของประเทศ",
"title": "เว้"
},
{
"docid": "813942#3",
"text": "สำหรับกรุงปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้น เป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก กรุงปารีสมีพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงของโลก ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก และก็ยังมีพิพิธภัณฑ์ออร์แซที่เน้นศิลปะในลัทธิประทับใจเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู ที่มุ่งเน้นศิลปะร่วมสมัย กรุงปารีสเป็นเจ้าของผลงานสถานที่สำคัญบางส่วนที่รู้จักมากที่สุดของโลก เช่น หอไอเฟล ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ที่มีผู้จ่ายเงินเพื่อเข้าชมมากที่สุดในโลก, ประตูชัยฝรั่งเศส, มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส, มหาวิหารซาเคร-เกอร์ ส่วนพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ก็ตั้งอยู่ในปาร์กเดอลาวีแล็ต กรุงปารีส ซึ่งนับเป็นหัวใจของศูนย์วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม (CCSTI) โดยเป็นศูนย์ส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการต่าง ๆ และบริเวณใกล้กับกรุงปารีสยังมีพระราชวังแวร์ซาย ซึ่งเป็นอดีตพระราชวังของพระมหากษัตริย์แห่งประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน",
"title": "การท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "302078#0",
"text": "แม็ส (, , ฟังเสียง) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรน เมืองหลักของจังหวัดโมแซลในประเทศฝรั่งเศส เมืองแม็สตั้งอยู่ทางตรงที่แม่น้ำโมแซลมาบรรจบกับแม่น้ำแซย์ และเป็นนครหลวงโบราณของอาณาจักรออสเตรเซียของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมเป็นโบราณสถานซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเมืองย้อนไปกว่า 3000 ปี รวมไปถึงศิลปกรรมในยุคที่ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมนีช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งปรากฏชัดบริเวณย่านจักรวรรดิ (Le quartier impérial) แม้ว่าในประวัติศาสตร์น็องซีจะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดยุคแห่งลอแรน แต่แม็สได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรนที่ตั้งขึ้นใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะความที่เคยเป็นเมืองหลวงของโลทาริงเกีย",
"title": "แม็ส"
},
{
"docid": "22707#27",
"text": "คอโมโรสประกอบไปด้วยเกาะเอ็นกาซิดจา (กรองด์ กอมอร์), เกาะเอ็มวาลี (โมเอลี), เกาะเอ็นซวานี่ (อ็องฌูอ็อง) และเกาะมาออเร่ (มายอตต์) ทั้งหมดนี้เป็นเกาะสำคัญในหมู่เกาะคอโมโรส ในขณะที่มีหมู่เกาะเล็กน้อยอีกมากมาย เกาะเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในภาษาคอโมเรียนของพวกเขาเอง แม้จะมีชื่อในภาษาต่างประเทศด้วยก็ตามจะใช้ชื่อในภาษาฝรั่งเศส (ในวงเล็บ) เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ โมโรนี่ ตั้งอยู่บนเกาะเอ็นกาซิดจา หมู่เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ในช่องแคบโมซัมบิก ระหว่างชายฝั่งแอฟริกัน (ใกล้โมซัมบิกและแทนซาเนีย) กับมาดากัสดาร์ ไม่มีพรมแดนที่อยู่บนแผ่นดิน",
"title": "ประเทศคอโมโรส"
},
{
"docid": "12540#30",
"text": "ระหว่างภารกิจการปลดปล่อยฝรั่งเศสนั้น ทหารอังกฤษและอเมริกันก็ได้ยกพลขึ้นผืนแผ่นดินใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสในภารกิจ Operation Overlord หรือเป็นที่คุ้นหูในนาม \"การรบแห่งนอร์ม็องดี\" เดอ โกลก็สถาปนาแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศสในผืนแผ่นดินใหญ่ฝรั่งเศส หลีกเลี่ยง รัฐบาลทหารสัมพันธมิตรเพื่อครอบครองดินแดน (AMGOT) เขาได้นั่งเครื่องบินจากประเทศแอลจีเรียมายังฝรั่งเศสก่อนการเป็นเสรีภาพของกรุงปารีส และได้เคลื่อนที่เข้าไปบริเวณแนวหน้าใกล้ ๆ เมืองหลวงพร้อมกับทหารสัมพันธมิตร เขาได้กลับไปยังกรุงปารีสในไม่ช้า และก็ได้กลับเข้าทำงานในกระทรวงระหว่างสงคราม และก็ได้ประกาศว่าสาธารณรัฐที่ 3 ยังคงอยู่ต่อไปและปฏิเสธการปกครองของวิชีฝรั่งเศส",
"title": "ชาร์ล เดอ โกล"
},
{
"docid": "4502#25",
"text": "เบลเยียมมีภาษาทางการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 60 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์[1] ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาทางการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาทางการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาทางการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาทางการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาทางการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ ภาษาช็องเปอนัว และภาษาลอแร็ง",
"title": "ประเทศเบลเยียม"
},
{
"docid": "222606#0",
"text": "ตูลูซ () เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นมีดี-ปีเรเน ซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาพิเรนีสคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่งเศส\nตูลูซ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสำคัญแห่งอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานแอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารรายใหญ่ระดับโลกของฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็น \"บ้านของแอร์บัส\" เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของพนักงานแอร์บัสมากกว่า 25,000 คน และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตคองคอร์ด เครื่องบินความเร็วสูง และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถไฟเตเฌเว รถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันศึกษาอวกาศแห่งชาติตูลูซ ที่ได้ชื่อว่าเป็น \"นาซ่าแห่งยุโรป\" ที่มีพนักงานทำงานกว่า 10,000 คน อีกด้วย",
"title": "ตูลูซ"
},
{
"docid": "562661#0",
"text": "นครบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: \"Bruxelles-Ville\" หรือ \"Ville de Bruxelles\" , ดัตช์: \"Stad Brussel\" ) คือเขตเทศบาลที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ และยังถือเป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "นครบรัสเซลส์"
},
{
"docid": "321089#0",
"text": "ลียง (; ; ) เป็นเมืองอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโรน และเมืองหลวงของแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ตั้งอยู่ระหว่างปารีสกับมาร์แซย์ โดยอยู่ห่างจากปารีส 470 กิโลเมตร, ห่างจากมาร์แซย์ 320 กิโลเมตร, ห่างจากเจนีวา 160 กิโลเมตร, ห่างจากตูริน 280 กิโลเมตร และห่างจากมิลาน 450 กิโลเมตร ประชากรเมืองลียงมีชื่อว่า ลียงเน่ส์",
"title": "ลียง"
},
{
"docid": "5951#9",
"text": "ปารีสไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสหลังจากถูกโจมตีโดยพันธมิตรของประเทศอังกฤษคือพวกบูร์กงด์ (Burgondes) ในสงครามร้อยปี แต่ก็กลับมาเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1980 เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 (Charles VII, le Victorieux) สามารถยึดกรุงปารีสกลับคืนมา แม้ว่ากรุงปารีสเป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง แต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7ก็ตัดสินใจที่จะประทับ ณ ปราสาทหุบเขาลัวร์ ต่อมาในช่วงสงครามศาสนาของฝรั่งเศส (Guerres de religion) กรุงปารีสเป็นฐานกำลังหลักของพวกคริสต์นิกายคาทอลิก โดยรุนแรงสุดในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมวันแซงต์-บาร์เตเลมี (Massacre de la Saint-Barthélemy) ในปี พ.ศ. 2115 ต่อในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าอองรีที่ 4 ได้ก่อตั้งราชสำนักในกรุงปารีสอีกครั้งหนึ่งหลังจากยึดเมืองมาจากพวกคาทอลิก ระหว่างสงครามกลางเมืองฟรงด์ (Fronde) ชาวปารีสได้ลึกฮือขึ้นประท้วงและก่อการจลาจล ซึ่งเป็นสาเหตุให้พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย หลบหนีออกจากกรุงปารีสในปี พ.ศ. 2191 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ย้ายราชสำนักอย่างถาวรไปยังแวร์ซายส์ในปี พ.ศ. 2225 ศตวรรษต่อมากรุงปารีสเป็นศูนย์กลางของการปฏิวัติฝรั่งเศส มีการทลายคุกบัสตีย์ในปี พ.ศ. 2332 และล้มระบอบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2335",
"title": "ปารีส"
},
{
"docid": "271916#0",
"text": "โอแซร์ () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอียอนในแคว้นบูร์กอญ ประเทศฝรั่งเศส เมืองโอแซร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝรั่งเศสระหว่างกรุงปารีสกับเมืองดีฌง โอแซร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมที่รวมทั้งการผลิตอาหาร การทำงานไม้ และแบตเตอรี นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการผลิตเหล้าองุ่นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งชาบลี",
"title": "โอแซร์"
},
{
"docid": "45475#0",
"text": "เปียงยาง () คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเขตแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศเกาหลีเหนือ ในอดีตนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของหลายอาณาจักร เช่น ใน 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่าเมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอ มีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 ที่อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง",
"title": "เปียงยาง"
},
{
"docid": "15661#1",
"text": "แอละแบมา มีชื่อเล่นว่า Yellowhammer หลังจากของรัฐแอละแบมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ \"หัวใจของ Dixie\" \"รัฐฝ้าย\" ต้นไม้รัฐเป็นไม้สนและ เมืองหลวงของเมืองแอละแบมาเป็นเมือง \"มอนต์กอเมอรี\"เมืองใหญ่ที่สุดของเมืองคือ\"เบอร์มิงแฮม\" ซึ่งเป็นเมืองที่มีการเติบโตเป็นเวลามากเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ ฮันต์สวิลล์ เมืองที่เก่าแก่ที่สุดคือมือถือก่อตั้งขึ้นโดยอาณานิคมฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1702 เป็นเมืองหลวงของฝรั่งเศส ลุยเชียนา.",
"title": "รัฐแอละแบมา"
},
{
"docid": "756436#0",
"text": "อันเดอร์เลคต์ () หรือ อ็องแดร์แล็กต์ (ตามการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส) เป็นเทศบาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ติดต่อกับทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครบรัสเซลส์ ครอบคลุมพื้นที่ 17.74 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 115,000 คน ในแต่ละปีจะมีเทศกาลงานออกร้านซึ่งได้รับการรับรองจากพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 เป็นเทศกาลที่จัดการเฉลิมฉลองในหลายรูปแบบ รวมทั้งการแสดงของสัตว์ นิทรรศการกลางแจ้ง การแสดงดอกไม้ และขบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญกาย ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมือง นอกจากนี้อันเดอร์เลคต์ยังเป็นที่รู้จักจากแอร์.เอส.เซ. อันเดอร์เลคต์ ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันทั้งในระดับทวีปและประเทศ",
"title": "อันเดอร์เลคต์"
}
] |
3416 | บริษัทสำนักงานใหญ่ ไมโครซอฟท์ ตั้งอยู่ที่ใด? | [
{
"docid": "4697#5",
"text": "หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.[12]ในขณะที่ บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 [12] และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน[12] สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา[12]",
"title": "ไมโครซอฟท์"
}
] | [
{
"docid": "4697#34",
"text": "บิล เกตส์ ได้พบกุญแจสำหรับวิสัยทัศน์สำหรับบริษัทคือการ ต้องการส่งผลิตภัณฑ์เวิร์กสเตชันและซอฟต์แวร์จากทำงานของเราไปยังทุกที่ทำงานและทุกบ้าน[50][51][35]เนื่องจากการที่พวกเขาใหญ่ส่วนแบ่งการตลาดในบ้านและธุรกิจของระบบปฏิบัติการ และพวกเขาเล่นบทบาทที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์ของซอฟต์แวร์",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "953135#52",
"text": "- การทำงานได้ครบวงจรบนคลาวด์ด้วย SkyDrive ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้จากทุกที่ สะดวกกว่าแต่ก่อน สามารถเข้าถึงไฟล์ได้เสมอไม่ว่าจะผ่านดีไวซ์หรือสถานที่ใดก็ตาม ด้วย SkyDrive Smart Files ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข เก็บรักษา และแชร์ไฟล์ ที่ใดก็ได้ เมื่อใดก็ได้ บนอุปกรณ์ใดก็ตามที่กำลังใช้งานอยู่",
"title": "ประวัติของไมโครซอฟท์ วินโดวส์"
},
{
"docid": "226300#0",
"text": "บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทมหาชนในประเทศไทย โดยแอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ และบริษัทย่อย ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินงานภายใต้การพัฒนาของ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พรสันติ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ในรูปแบบของอาคารชุดสำนักงานและอาคารชุดพักอาศัยในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจ ของกรุงเทพมหานคร (CBD) และปริมณฑล อาคารชุดสำนักงานและอาคารชุดพักอาศัยที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นส่วนใหญ่จะเป็น อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่",
"title": "แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์"
},
{
"docid": "6357#27",
"text": "ในบรรดาบริษัทในรายการ Forbes Global 2000 และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ DAX ของเยอรมนีนั้น,\nมีเพียง ซีเมนส์ (Siemens AG) และ ดอยท์เชอบาห์น (Deutsche Bahn) เท่านั้นที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเบอร์ลิน\nอย่างไรก็ตามบริษัทเยอรมันและนานาชาติจำนวนมากได้ตั้งแผนกหรือสำนักงานบรีการระดับรองลงมาในเมืองดังกล่าว\nในบรรดานายจ้าง 20 รายใหญ่สุด มีบริษัทรถไฟดอยท์เชอบาห์น (Deutsche Bahn AG), โรงพยาบาลชาริเต้ (Charité), ซีเมนส์, บริษัทขนส่งมวลชนท้องถิ่น เบเฟาเก (BVG), บริษัทผู้ให้บรีการ Dussmann และกลุ่ม Piepenbrock Group. เดมเลอร์ (เจ้าของเมอร์เซเดส-เบนซ์) ผลิตรถยนต์ และบีเอ็มดับเบิลยูผลิตรถจักรยานยนต์ในเบอร์ลิน ไบเออร์เชริ่ง ฟาร์มา และ Berlin Chemie เป็นบริษัทเภสัชกรรมสำคัญที่มีสำนักงานใหญ่ในเบอร์ลิน",
"title": "เบอร์ลิน"
},
{
"docid": "34071#63",
"text": "สำนักงานฯ \"ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกิจการของรัฐ เพราะคำว่า “รัฐ” และคำว่า “พระมหากษัตริย์” มีความหมายแตกต่างกัน และตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 [แก้ไขเพิ่มเติม 2491] ก็มิได้มีบทบัญญัติที่แสดงให้เห็นว่า รัฐได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์แต่ประการใด\" คณะกรรมการกฤษฎีกาลงความเห็นตามเสียงข้างมากว่า กฎหมายจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ \"ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดกำหนดให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นส่วนราชการ” และ \"การที่ทรงแต่งตั้งกรรมการ [ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] ดังกล่าว เป็นพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ มิใช่รัฐบาลเป็นผู้เสนอแนะในการแต่งตั้งแต่ประการใด การที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งดังกล่าว ก็เป็นเพียงการปฏิบัติการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มิได้มีผลทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ” สำนักงานฯ มีฐานะเป็นเอกชน เพราะ \"การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงมิได้อยู่ในการควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล [...] มิได้อยู่ในการควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล ที่จะจัดให้ดำเนินงานตามความประสงค์ของรัฐบาลได้ แต่การดำเนินธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นไปเพื่อจัดหา ผลประโยชน์แก่กองทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้จ่ายสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ [...] และเท่าที่เป็นมา การที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าถือหุ้นในบริษัทรัฐวิสาหกิจแห่งใด ก็ถือว่ามีฐานะอย่างเอกชน ไม่มีการนับส่วนที่มีหุ้นนั้นว่าเป็นของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ\" สำนักงานฯ \"มิใช่หน่วยงานภาครัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือกำกับดูแลของรัฐบาล\" จึงไม่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือเทียบเท่า และ ฎดังนั้น รัฐบาลจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินและภาระผูกพันของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์\" สำนักงานฯ ถือได้ว่าเป็น \"หน่วยงานของรัฐ\" เพราะ \"สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย\"[35]",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "4697#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ (English: Microsoft ; NASDAQ:) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก[4][5] มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "666586#2",
"text": "จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรในโซลไปสู่เขตชานเมืองและเพื่อลดความแออัดของโซล ทำให้รัฐบาลเกาหลีจัดเตรียมมาตรการกระตุ้นทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชนในการตั้งสำนักงานใหญ่ที่เขตบุนดัง ทำให้ปัจจุบันเขตบุนดังกลายเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของหลายบริษัทเช่นเคทีคอร์เปอร์เรชั่น (อดีตชื่อโคเรียเทเลคอม), บริษัทก๊าซเกาหลี (KOGAS), บริษัทการไฟฟ้าเกาหลี (KEPCO)และบริษัทที่ดินเกาหลี",
"title": "ซ็องนัม"
},
{
"docid": "199591#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ แอ็คเซส () เป็นโปรแกรมประเภทโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่ทำกันในสำนักงาน หรือองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งสามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูล ออกแบบแบบสอบถาม (Query) ออกแบบและพิมพ์รายงาน จัดทำเว็บไซต์ในการรับ/ส่ง ข้อมูล (มีถึง ไมโครซอฟท์ แอ็คเซส รุ่น 2003) และยังสามารถเขียนกลุ่มโปรแกรม (แมโคร และ มอดูล) ของ วิชวลเบสิก เพื่อใช้ในการทำงานได้ และสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Microsoft SQL Server ได้ด้วย",
"title": "ไมโครซอฟท์ แอ็คเซส"
},
{
"docid": "617855#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ โมบาย () เป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยเกิดจากการที่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนชื่อโนเกียเป็นไมโครซอฟท์ โมบาย ซึ่งจะเป็นในฐานะบริษัทลูก",
"title": "ไมโครซอฟท์ โมบาย"
},
{
"docid": "715815#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2013 เป็นโปรแกรมสำนักงาน ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ โปรแกรมออกแบบมาให้ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการวินโดว์เพื่อมาทดแทนรุ่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2010 และสนับสนุนการใช้งานแบบออนไลน์กับบัญชีผู้ใช้ทางอีเมลของไมโครซอฟท์ พร้อมทั้งถูกออกแบบมาให้รองรับระบบสัมผัสบนวินโดว์แท็ปเล็ตหรืออุปกรณ์ที่รองรับ ไมโครซอฟท์ออฟฟิต 2013 เหมาะสำหรับหน้าจอ 32 บิต และ 64 บิต และสามารถติดตั้งโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7, วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 หรือวินโดว์รุ่นใหม่กว่า ไมโครซอฟท์ออฟฟิตถูกติดตั้งร่วมอยู่แล้วในอุปกรณ์ที่ใช้วินโดว์ RT\nไมโครซอฟท์ออฟฟิต 2013 เริ่มพัฒนาในปี 2010 และสิ้นสุดวันที่ 11 ตุลาคม 2012 เมื่อปล่อยตัวโปรแกรมออกมาใช้งาน ไมโครซอฟท์ออกจำหน่ายทั่วไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2013 โดยรุ่นนี้ได้ร่วมคุณลักษณะใหม่ๆออกมา เช่น สนับสนุนรูปแบบการบริการแบบออนไลน์ (SkyDrive, Outlook.com, Skype, Yammer and Flickr) การรองรับที่ดีขึ้นบน Office Open XML (OOXML), OpenDocument (ODF) และสนับสนุนรูปแบบมัลติทัช",
"title": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2013"
},
{
"docid": "171289#4",
"text": "พลเมืองของทะเลกั้นอาณาเขตมีหน้าที่เดิมในการกอบกู้ของที่ถูกลืมจากอาณาจักรชั้นที่สอง เพื่อการตีราคาหรือนำกลับคืนสู่เจ้าของเดิมด้วยวิธีการบางอย่าง มีบริษัททำหน้าที่ตีราคาสินค้ามากมาย บางครั้งก็กอบกู้เอาความเจ็บไข้ของผู้รู้ตายมาบรรจุเป็นของมีรูปร่างเพื่อส่งขายตามส่วนต่างๆ ของบ้าน ส่วนการดูแลตกเป็นหน้าที่ของนิซเซอร์เป็นกลุ่มของพลเมืองส่วนใหญ่ของทะเลกั้นอาณาเขต แบ่งออกเป็นพลเมืองที่เป็นกะลาสีดั้งเดิม และกะลาสีฝึกหัด ซึ่งเดิมคือพลเมืองที่ทำงานในสำนักงานบนท่าเรือวันพุธเก่า แต่หลังจากเกิดน้ำท่วมจึงกลายมาเป็นกะลาสี โดยทำงานบนเรือของตนที่แปรสภาพมาจากสำนักงานที่พวกตนเคยทำงานอยู่ หน้าที่ส่วนใหญ่คือเดินทางไปยังอาณาจักรชั้นที่สองเพื่อซื้อสินค้าและกอบโกยความเจ็บไข้มาปรนเปรอเหล่าพลเมือง เนื่องจากกะลาสีส่วนใหญ่ผันตัวเองมาจากการทำงานในสำนักงานบนบก ดังนั้น กะลาสีส่วนใหญ่จึงไม่มีความสามารถ จึงต้องมีกะลาสีดั้งเดิมบนเรืออย่างน้อย 1 คนและต้นหนนักเวทย์ผู้ชำนาญอีก 1 คนคอยกำกับดูแล เป็นเด็กของคนเป่าปี่ที่เป็นลูกเรือบนเรือต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเรือดั้งเดิม สวมเสื้อกะลาสีและโพกผ้าบนศีรษะ เด็กชายประจำเรือเป็นได้ทั้งชายและหญิง การเป็นเด็กชายประจำเรืออาจเกิดจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนของพลเมือง (เหมือนการค้าทาส) หรือถูกคำสั่งลงโทษ หรือสาเหตุอื่นๆ เจ้าหน้าที่ของทะเลกั้นอาณาเขต ได้รับการบรรยายจากซันสกอร์ซว่าเป็น \"เจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจการณ์ ขุนคลัง ผู้ตรวจบัญชี\" และมีอำนาจจับกุมพลเมืองที่ข้ามแนวพายุมายังอาณาจักรชั้นที่สองโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกบรรยายว่ามีลักษณะคล้ายมนุษย์ สูงเจ็ดฟุต ผมยาว เต็มไปด้วยหนวดเครา แขนเป็นเกล็ดสีเขียว มีกล้ามเป็นมัดๆ และระหว่างนิ้วเป็นพังผืด มีหน้าที่ตรวจตราทะเลกั้นอาณาเขตเหมือนกับนายตรวจในบ้านเบื้องล่างและผู้รับใช้มีปีกแห่งรัตติกาลของบ้านเบื้องกลาง ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชา\nหน้าที่ดั้งเดิม: กู้ของที่หายไปจากบ้านหรือในอาณาจักรชั้นที่สองคืนมา อย่างบันทึก หรือเอกสารสำคัญของบ้าน ตรวจสอบก่อนส่งคืนไปยังที่ที่จากมา",
"title": "เจ้าหน้าที่ของบ้าน"
},
{
"docid": "24314#9",
"text": "เนื่องจากไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เซล เป็นโปรแกรมสำนักงานที่มีผู้ใช้งานกว่า 30 ล้านผู้ใช้งาน จึงส่งผลให้มีความพยายามของนักเลงคอมพิวเตอร์หรือแฮกเกอร์ ในการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์หรือหนอนคอมพิวเตอร์ ผ่านทางการอาศัยการทำงานจากการเปิดไฟล์ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซลของผู้ใช้",
"title": "ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล"
},
{
"docid": "20481#2",
"text": "ปีพ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ไมโครซอฟท์ เข้าซื้อกิจการของ Skype เป็นเงิน 8,500 ล้านดอลลาห์สหรัฐ โดยสำนักงานใหญ่ของ Microsoft Skype Division อยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก",
"title": "สไกป์"
},
{
"docid": "223940#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ เป็นโปรแกรมนำเสนอในชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์และบนแมคโอเอสโดยรุ่นปัจจุบันคือไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ 2013 บนไมโครซอฟท์ วินโดวส์และ ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ 2011 บนแมคโอเอส",
"title": "ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์"
},
{
"docid": "330227#0",
"text": "บีพี (BP) เป็นบริษัททางด้านพลังงานขนาดใหญ่ของโลก โดยเป็นบริษัทด้านพลังงานที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เป็นบริษัทที่มีพนักงานมากที่สุดอันดับสี่ของโลก และเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่วนบีพีสาขาอเมริกามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮิวสตันในรัฐเทกซัส ในปี พ.ศ. 2543 บีพีได้ซื้อกิจการของคาสตรอล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์และรถจักรยานยนต์คาสตรอล ส่งผลให้คาสตรอลขึ้นกับบีพีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา",
"title": "บีพี"
},
{
"docid": "7612#3",
"text": "หากเป็นประเทศ รัฐแคลิฟอร์เนียจะมีเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 35 ของโลก ถือเป็นผู้นำกระแสโลกทั้งด้านวัฒนธรรมสมัยนิยมและการเมือง และเป็นถิ่นกำเนิดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ วัฒนธรรมสวนกลับฮิปปี้ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น ร้อยละ 58 ของเศรษฐกิจรัฐมีศูนย์กลางอยู่ที่บริการการเงิน ภาครัฐ บริการอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยีและบริการธุรกิจอาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคนิค พื้นที่อ่าวซานฟรานซิสโกมีรายได้ครัวเรือนมัชมิมสูงสุดของประเทศโดยเรียงตามพื้นที่มหานคร และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่มีรายได้สูงสุดของโลก 20 บริษัทจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ เชฟรอน แอปเปิลและแม็กเคสซัน แม้อุตสาหกรรมเกษตรสร้างรายได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.5 ของรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ก็ให้ผลผลิตสูงยิ่งกว่ารัฐอื่นใดของสหรัฐอเมริกา",
"title": "รัฐแคลิฟอร์เนีย"
},
{
"docid": "4697#32",
"text": "กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด , ไมโครซอฟท์ แอคเซส , ไมโครซอฟท์ เอกเซล , ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค , ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์ ,ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์ , ไมโครซอฟท์ วิซโอ , ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์ , ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์ , ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ และ ไมโครซอฟท์ วันโน้ต[4]",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "121170#6",
"text": "เมืองฮามามัตสึ เป็นเมืองต้นกำเนิดและเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำหลายบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องดนตรี ที่คนไทยรู้จักกันดี ได้แก่ ซูซูกิ ยามาฮ่า และโรแลนด์ (บริษัทแม่ของเอฟเฟคท์กีตาร์ BOSS) ส่วนฮอนด้านั้นก็กำเนิดในเมืองนี้เช่นกัน แต่ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ในกรุงโตเกียว",
"title": "ฮามามัตสึ"
},
{
"docid": "4697#10",
"text": "ในปี ค.ศ. 1989 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำนักงานที่ชื่อ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเริ่มแรก ชุดโปรแกรมนี้ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และไมโครซอฟท์ เอ็กเซล[12] ส่วนในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว วินโดวส์ 3.0[25] โดยเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และมีโหมดสำหรับผู้ใช้ซีพียูอินเทล 386 โดยยอดขายวินโดวส์รุ่นนี้มีกว่า 100,000 ชุดภายใน 2 สัปดาห์[26]",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "4697#36",
"text": "การอ้างอิงทางเทคนิคสำหรับนักพัฒนาและบทความสำหรับแม็คกาซีนของไมโครซอฟท์ โดยสามารถใช้งานได้ผ่านกลุ่มนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ (หรือที่เรียกว่า MSDN) โดยเอ็มเอสดีเอ็นยังมีแหล่งข้อมูลสำหรับบริษัทและบุคคลและ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่มักจะนำเสนอข่าวสารการปล่อยซอฟต์แวร์รุ่นเบต้าของไมโครซอฟท์[52][53] โดยในปีล่าสุด ไมโครซอฟท์เปิดตัวเว็บไซต์ชุมชนสำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้ ซึ่งมีคุณสมบัติหลายทันสมัยเช่นวิกิ และเว็บบอร์ด [54] Another community site that provides daily videocasts and other services, On10.net, launched on March 3, 2006.[55]",
"title": "ไมโครซอฟท์"
},
{
"docid": "959161#6",
"text": "\"สำนักงานใหญ่\" ตั้งอยู่ใน กรุงปักกิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งใกล้กับ จงหนานไห่ (Zhongnanhai) คือ \"ทำเนียบประธานาธิบดีจีน\" ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ \"พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน\" สภาแห่งรัฐและ สำนักงานอธิการบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักข่าวซินหัวตั้งขึ้น เป็น บริษัท ในเครือแห่งแรกในต่างประเทศในปีพ.ศ. 2490 ใน กรุงลอนดอน โดยมี \"ซามูเอล Chinque\" เป็นผู้จัดพิมพ์ ขณะนี้มีการเผยแพร่ข่าวใน เอเชียตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และ แอฟริกา ผ่าน บริษัท ในเครือกว่า 150 แห่ง โดยสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคใน ฮ่องกง มอสโก ไคโร บรัสเซลส์ นครนิวยอร์ก เม็กซิโกซิตี้และ ไนโรบี รวมทั้ง สำนักงานสหประชาชาติ. ",
"title": "สำนักข่าวซินหัว"
},
{
"docid": "276461#1",
"text": "อาคารเอ็นทีทีโดโคโมโยะโยะงิเป็นของบริษัทเอ็นทีที โดโคโม แม้จะตั้งชื่ออาคารตามชื่อบริษัท แต่ก็ไม่ได้เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชั้นบนสุดของอาคาร Sannō Park Tower อาคารนี้มีสำนักงานต่างๆตั้งอยู่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือของบริษัท (อย่างเช่นอุปกรณ์สลับสาย)",
"title": "อาคารเอ็นทีทีโดโคโมโยะโยะงิ"
},
{
"docid": "36067#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ () เป็นชุดโปรแกรมสำนักงาน พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ซึ่งสามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแอปเปิล แม็คอินทอช\nไมโครซอฟท์ ออฟฟิศยังมีการส่งเสริมให้ใช้บริการผ่านระบบเครื่องแม่ข่าย (Server) และ บริการผ่านหน้าเว็บ (Web Based)\nในรุ่นใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เราจะเรียกมันว่า ระบบสำนักงาน (Office system) แทนแบบเก่าคือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) ซึ่งการเรียกว่า ระบบสำนักงานจะรวมการทำงานกับเครื่องแม่ข่ายเอาไว้ด้วย\nในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเรื่อง \"\"ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007\"\" ที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าจอการใช้งาน (User Interface) และ รูปแบบไฟล์แบบ XML เป็นหลัก\nรุ่นเสถียรล่าสุด คือไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550",
"title": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ"
},
{
"docid": "540531#0",
"text": "เอบีบี (ABB Limited) เป็นบริษัทข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการปฏิบัติการในส่วนของหุ่นยนต์ ระบบไฟฟ้าและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เอบีบี เป็นหนึ่งในบริษัทวิศวกรรมและบริษัทที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีสำนักงานในกว่า 100 ประเทศ ด้วยพนักงานประมาณ 150,000 คน",
"title": "เอบีบีกรุ๊ป"
},
{
"docid": "24314#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เซล () เป็นโปรแกรมประเภทตารางการคำนวณ (สเปรดชีต) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ สำหรับจัดการและคำนวณข้อมูลในรูปแบบตาราง อีกทั้งสามารถจัดทำกราฟ แผนภูมิเพื่อแสดงผลข้อมูลได้ โดยเวอร์ชันล่าสุดคือ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล 2016 (Microsoft Excel 2016) ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในด้านการการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยใช้ฟังก์ชันพื้นฐาน บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง รวมถึงฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ระดับสูง เช่น Modulo, ตรีโกณมิติ (Sin Cos Tan) ฟังก์ชันทางสถิติ เช่น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฟังก์ชันทางการเงิน เช่น การคิดค่าเสื่อมราคา, การคำนวณค่าปัจจุบัน ฟังก์ชันในการตัดต่อคำ เช่น Concatenate ฟังก์ชันในการค้นหาข้อมูล เช่น Lookup, vlookup และ hlookup สำหรับส่วนที่ถือว่าเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดของ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล คือ การใช้งานในรูปแบบของฐานข้อมูล ซึ่งสามารถจัดการฐานข้อมูลที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก คือมีประมาณไม่เกิน 65,000 ตาราง ไม่ว่าจะเป็น ตัวกรอง, การเรียงลำดับข้อมูล (Sort) , คำนวณยอดรวม (Subtotal) และตารางไพวอต (Pivot Table) เป็นคำสั่งสำหรับสรุปข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ดูได้ง่าย สามารถหมุนเปลี่ยนตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถทำกราฟในแบบต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม กราฟรูปแท่ง กราฟแท่งเทียนที่ใช้กับการวิเคราะห์หุ้นก็ทำได้ กราฟพื้นที่ สามารถทำกราฟต่างๆให้อยู่ในรูปแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ด้วย รวมถึงทำกราฟ 2 ชนิดในรูปเดียวกันได้ด้วย",
"title": "ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล"
},
{
"docid": "936385#7",
"text": "ต่อมาเมื่อเธอเป็นเมียลับของฟาน เมาเดน ออสุตได้จัดหาสินค้าต่าง ๆ แก่บริษัทกลับมีราคาแพงกว่าท้องตลาดถึงร้อยละ 40 นายฟาน เมาเดนคงได้ส่วนต่างไปไม่น้อย จากการที่สามีปล่อยให้ออสุตได้ทำหน้าที่เปรียบดังหัวหน้าสถานีการค้าในอยุธยา จึงได้มีการร้องเรียนไปยังสำนักงานใหญ่ ส่งผู้แทนมาสอบสวน หลังจากนั้นจึงย้ายนายฟาน เมาเดนไปปัตตาเวียในปี ค.ศ. 1650 แม้บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์จะทราบถึงการทุจริตของเธอ แต่ทางบริษัทก็ไม่มีมาตรการสำหรับจัดการเธอแต่อย่างใด และไม่กล้าที่จะตัดเธอออกจากการค้าของบริษัท รวมทั้งยังรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเธอและบริษัท หลังนายฟาน เมาเดนถูกย้ายไปแล้ว ทางบริษัทยังให้หัวหน้าสถานีการอยุธยาคนใหม่เอาอกเอาใจออสุต เพราะเธอเป็นคนเดียวที่สามารถหาสินค้าผูกขาดของหลวงมาขายให้บริษัทได้ อาทิ ดีบุก งาช้าง และช้างโดยไม่ต้องอาญาแผ่นดิน ในปี ค.ศ. 1655 ออสุตส่งช้างไปให้ข้าหลวงใหญ่เมืองปัตตาเวียสองเชือก",
"title": "ออสุต พะโค"
},
{
"docid": "616589#11",
"text": "ในช่วงปี 1990 ผลิตภัณฑ์ groupware เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่งมอบและทำสัญญาครั้งแรกกับ บริษัทใหญ่ ๆ เช่น Boeing และ IBM ซึ่งเริ่มใช้ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการภายในที่สำคัญ Lotus Notes เป็นตัวอย่างที่สำคัญของระบบที่ช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกันในกลุ่มแบบระยะไกล ในขณะที่ระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่งถูกเริ่มใช้ได้ไม่นาน \n\"ถ้า groupware ช่วยเพิ่มผลิตผลในระยะยาวได้ นิยามของสำนักงานอาจเปลี่ยนไป. คุณสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่สมาชิกของกลุ่ม อยู่ที่ใดก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นหมายความว่าคุณจะทำงานได้ทุกที่\" ",
"title": "ซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือ"
},
{
"docid": "3145#0",
"text": "ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (English: Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก [1] รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้",
"title": "ไมโครซอฟท์ วินโดวส์"
},
{
"docid": "412550#0",
"text": "วิสามานยนาม () เป็นคำนามที่การใช้หลักหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเจาะจง เช่น กรุงลอนดอน, ดาวพฤหัสบดี, ซาราห์ หรือ ไมโครซอฟท์ ซึ่งแตกต่างจากสามานยนาม (common noun) ซึ่งปกติหมายถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ เช่น นคร ดาวเคราะห์ บุคคล บริษัท หรือกรณีตัวอย่างไม่จำเพาะของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น นครหนึ่ง ดาวเคราะห์ดวงอื่น บุคคลเหล่านี้ หรือบริษัทของเรา วิสามานยนามบางคำอยู่ในรูปพหูพจน์ แล้วหมายถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ เช่น ครอบครัวเฮนเดอร์สัน หรืออะโซร์ส (กลุ่มเกาะ) วิสามานยนามบางคำสามารถพบในการใช้ชุดรองเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การขยายนาม (ประสบการณ์โมซาร์ต; การผจญภัยอะโซร์สของเขา) หรือแทนสามานยนามบางคำ บทนิยามในรายละเอียดของคำนี้เป็นปัญหาและมีแบบแผนอยู่ในระดับหนึ่ง",
"title": "วิสามานยนาม"
}
] |
1787 | สาธารณรัฐโครเอเชีย มีเมืองหลวงชื่ออะไร? | [
{
"docid": "6224#0",
"text": "โครเอเชีย (English: Croatia; Croatian: Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (English: Republic of Croatia; Croatian: Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต",
"title": "ประเทศโครเอเชีย"
}
] | [
{
"docid": "292362#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 28 ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซระหว่างวันที่ 13 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004"
},
{
"docid": "6224#19",
"text": "โครเอเชียแบ่งออกเป็น 20 เทศมณฑล (counties - županija) กับ 1 เขตเมืองหลวง* จัดกลุ่มรายชื่อโดยแบ่งตามภูมิภาคทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์:",
"title": "ประเทศโครเอเชีย"
},
{
"docid": "293784#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000"
},
{
"docid": "910461#0",
"text": "คนีน () เป็นเมืองในเทศมณฑลชิเบนีก-คนีน ประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่บริเวณตอนในของภูมิภาคแดลเมเชียใกล้ต้นน้ำเคอร์คา เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญแห่งหนึ่งทางรถไฟและรถยนต์ระหว่างกรุงซาเกร็บกับเมืองสปลิต คนีนก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดสองครั้งในประวัติศาสตร์ในฐานะเมืองหลวงของราชอาณาจักรโครเอเชียในยุคกลางและเมืองหลวงในระยะเวลาสั้น ๆ ของสาธารณรัฐเซิร์บแห่งครายินาซึ่งประกาศตัวเองระหว่างปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2538",
"title": "คนีน"
},
{
"docid": "298451#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 25 ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปนระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2535",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูร้อน 1992"
},
{
"docid": "6224#20",
"text": "ในบรรดาสาธารณรัฐที่อยู่ภายใต้สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย โครเอเชียมีสถานะทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นรองเพียงสโลวีเนีย เนื่องจากเป็นเขตอุตสาหกรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย รายได้ส่วนใหญ่ของโครเอเชียมาจากการท่องเที่ยว เนื่องจากภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลเอเดรียติกและมีหมู่เกาะที่สวยงาม ทำให้ในปัจจุบัน โครเอเชียจึงยังคงสภาวะเศรษฐกิจที่ดีกว่าประเทศอดีตสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียส่วนใหญ่ นอกจากสโลวีเนีย ไว้ได้",
"title": "ประเทศโครเอเชีย"
},
{
"docid": "301406#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 21 ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ณ เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูหนาว 2010"
},
{
"docid": "154884#0",
"text": "ตารางข้างล่างนี้แสดงภาพของธงต่างๆ ที่ใช้ใน สาธารณรัฐโครเอเชีย หรือใช้โดย ชาวโครแอท",
"title": "รายชื่อธงในประเทศโครเอเชีย"
},
{
"docid": "309125#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 17 ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ณ เมืองลิลแฮมเมอร์ ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูหนาว 1994"
},
{
"docid": "8109#0",
"text": "ประเทศสโลวีเนีย (English: Slovenia English pronunciation:/slɔˈʋèːnija/[1][2] sloh-VEE-nee-ə; Slovene: Slovenija [slɔˈʋèːnija])[3] หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene: Republika Slovenija,[4] abbr.: RS[5]) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป[6][7] มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย[8] มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน[9] สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา[10]และเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท[11] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา[12]",
"title": "ประเทศสโลวีเนีย"
},
{
"docid": "571646#0",
"text": "กองทัพโครเอเชีย ( - OSRH) เป็นกองกำลังทหารของสาธารณรัฐโครเอเชีย",
"title": "กองทัพโครเอเชีย"
},
{
"docid": "4814#1",
"text": "เซอร์เบียและมอนเตเนโกรมีความร่วมมือกันเฉพาะบางด้านในการเมือง (เช่น ผ่านสหพันธ์การป้องกันประเทศ) ทั้ง 2 รัฐมีนโยบายเศรษฐกิจและหน่วยเงินของตนเอง และประเทศไม่มีเมืองหลวงรวมอีกต่อไป โดยที่แบ่งแยกสถาบันที่ใช้ร่วมกันระหว่างเมืองเบลเกรดในเซอร์เบียและเมืองพอดกอรีตซาในมอนเตเนโกร ทั้งสองรัฐแยกออกจากกันหลังจากมอนเตเนโกรจัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้เกิดประเทศใหม่คือประเทศมอนเตเนโกร ส่วนประเทศเซอร์เบียก็กลายเป็นผู้สืบสิทธิ์ต่าง ๆ ของประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร\nความแตกแยกของยูโกสลาเวียในปัจจุบันมีที่มาเป็นปัจจัยพื้นฐานหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่งคือปัจจัยทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสั่งสมมานานกว่าพันปีจากการที่สาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งมาร่วมกันเป็นสหพันธ์ฯ มีเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แตกต่างกัน ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติจึงเป็นปัญหาที่คุกรุ่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวโครแอต ชาวเซิร์บ และชาวมุสลิม ในอดีตสโลวีเนียและโครเอเชียเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Hapsburg Empire) มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ จึงมีความเกี่ยวพันทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และจิตใจกับยุโรปตะวันตก ในขณะที่รัฐทั้งหลายทางตอนใต้ คือ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และมาซิโดเนีย เคยอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) และจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman) มานับพันปี จึงได้รับการหล่อหลอมวัฒนธรรมแบบบอลข่าน คือ แบบมุสลิมหรือคริสเตียนตะวันออก (Orthodox) ถึงแม้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงด้วยการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และมีการก่อตั้ง \"ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน\" (Kingdom of Serbs, Croates and Slovenes) เป็นประเทศเอกราช โดยมีกษัตริย์ปกครอง แต่เสถียรภาพทางการเมืองภายในยังคงคลอนแคลน เพราะรัฐต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา ยังคงมีความขัดแย้งกันลึก ๆ ในปี 1929 กษัตริย์อาเลกซานดาร์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น \"ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย\" (Kingdom of Yugoslavia) และปกครองประเทศด้วยนโยบายเด็ดขาดโดยความร่วมมือของทหารตลอดมา จนได้รับขนานนามว่าเป็น “Royal Dictatorship” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง ประธานาธิบดียอซีป ตีโต สามารถยึดเหนี่ยวรัฐต่าง ๆ ของยูโกสลาเวียให้รวมกันอยู่ต่อไป ทั้งนี้ โดยใช้นโยบายอันเด็ดขาดกอปรกับอัจฉริยภาพของประธานาธิบดีตีโตเอง จนกระทั่งเมื่อประธานาธิบดีตีโตถึงแก่กรรมเมื่อปี 1980 ความแตกแยกระหว่างรัฐทั้งหลายที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐยูโกสลาเวียก็เริ่มปรากฏขึ้น และเมื่อนายสโลโบดัน มิโลเชวิช ผู้นำเชื้อสายเซิร์บ ซึ่งมีแนวคิดชาตินิยม ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1989 ความขัดแย้งภายในจึงได้ทวีความรุนแรงจนเกิดวิกฤตการณ์ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย รวมทั้งจังหวัดปกครองตนเองคอซอวอและวอยวอดีนา ซึ่งเป็นมณฑลปกครองตนเอง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1991 สาธารณรัฐสโลวีเนียและโครเอเชียได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของยูโกสลาเวียอีกต่อไป ภายหลังจากการออกเสียงประชามติทั่วประเทศในสาธารณรัฐทั้งสอง การประกาศเป็นเอกราชดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการณ์ยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ขยายตัวเป็นสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา เมื่อสาธารณรัฐมาซิโดเนียและบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ได้ประกาศยกตัวออกเป็นรัฐเอกราชเช่นเดียวกัน เมื่อเดือนกันยายนและตุลาคม 1991 ตามลำดับ",
"title": "ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร"
},
{
"docid": "742359#0",
"text": "สาธารณรัฐเซิร์บครายีนา () เป็นรัฐที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งถูกประกาศจัดตั้งขึ้นภายในพื้นที่ของโครเอเชียหลังโครเอเชียประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวีย สาธารณรัฐเซิร์บครายีนายุติกิจกรรมในปี ค.ศ. 1995 หลังถูกโครเอเชียและสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาโจมตีและยึดที่ทำการรัฐบาลในปฏิบัติการสตอร์ม",
"title": "สาธารณรัฐเซิร์บครายีนา"
},
{
"docid": "708055#4",
"text": "ในที่สุด สมัชชาบอสเนียจึงขึ้นอยู๋ใน3อำนาจหลักของยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบไปด้วย สมัชชาโครเอเชีย(คริสต์คาทอลิก),สมัชชาเซอร์เบีย(ออธอร์ด็อกซ์)และสมัชชาบอสเนีย(มุสลิม) แต่สมัชชาเซอร์เบียกลับพยายามควบคุมอำนาจประเทศเบ็ดเสร็จทำให้สมัชชาโครเอเชียในตำแหน่งประธานาธิบดียุโกสลาเวียไม่พอใจ จึงประกาศเอกราชโครเอเชียจากยุโกสลาเวีย สมัชชาเซอร์เบียหรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบียจึงรุกราน สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย / สาธารณรัฐโครเอเชีย ในขณะนั้นบอสเนียเป็นกลาง แต่ในสภาที่กรุงซาราเยโว พวกเซิร์บพยายามขัดขวางอำนาจของบอสเนีย ทำให้หลายๆคนจึงกระซิบหูของอาลียาว่า เห็นแก่อนาคตของบอสเนีย เราต้องทำอะไรสักอย่าง อาลียาจึงเลือกเข้าข้างโครเอเชียในปี1992 สมัชชาเซอร์เบียได้ขัดขวางพลังมวลชนบอสเนียนับแสนคนในซาราเยโวด้วยกากราดยิงทำให้รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนีย จึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ทำให้ยูโกสลาเวียล้มสลายอย่างสมบูรณ์",
"title": "อาลียา อีเซตเบกอวิช"
},
{
"docid": "740809#2",
"text": "ในช่วงปี1995ทหารบอสเนียได้ยกพลเข้าโครเอเชียเพื่อร่วมต่อสู้กับโครเอเชียเพื่อปราบปรามกองกำลังของสาธารณรัฐเซิร์ปสกาที่มาทำสงครามในโครเอเชีย ทหารบอสเนียสามารถเอาชนะ และยึดครองจังหวัดปกครองตนเองบอสเนียตะวันตกกลับมาเป็นของบอสเนียได้อีกครั้ง รวมถึงปราบปรามกลุ่มกบฎเซิร์บบอสเนียในโครเอเชียได้ ",
"title": "สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย"
},
{
"docid": "740878#1",
"text": "สงครามโครแอต-บอสนีแอกยังถูกระบุว่าเป็นสงครามที่มีอาชญกรรมสงคราม โดยทหารชาวโครแอต ซึ่งได้ทำการสังหารหมู่ชาวบอสเนียในภูมิภาคบอสเนียกลาง ในช่วงเมษายน 1993 มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 2,000 คน โดยทั้งหมดเป็นชาวมุสลิมบอสเนีย กองทัพบอสเนียได้ร้องขอให้ สหประชาชาติส่งกำลังมา ซึ่งสหประชาชาติส่งกำลังทางทหารเข้ามา สหประชาชาติได้จับกุมผู้กอ่อาชญกรรมชาวโครแอต และกำหนดให้ สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย ถูกยุบและไปรวมกับบอสเนีย ขณะเดียวกันสหประชาชาติยังได้ให้บอสเนียและโครเอเชียสงบศึกกัน และ ร่วมกันทำสงครามกับกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บทั้งในบอสเนียและโครเอเชีย ปี1995 กองทัพบอสเนียได้เคลือนพลเข้าโครเอเชียเพื่อช่วยโครเอเชียปราบปรามกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บ ",
"title": "สงครามโครแอต-บอสนีแอก"
},
{
"docid": "740809#0",
"text": "สงครามโครเอเชีย หรือ สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย เป็นสงครามที่เกิดขึ้น เมื่อสมัชชาโครเอเชีย ต้องการเอกราชโครเอเชีย โดยมูลเหตุมาจากในที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียดุเดือดสุดๆ สมัชชาเซอร์เบียและสมัชชาโครเอเชียโต้เถี่ยงกันในสภาโดยสมัชชาเซอร์เบียใช้อำนาจทั้งหมดขัดขวางการขึ้นมีอำนาจของประธานาธิบดียูโกสลาเวียที่มาจากชาวโครแอท ทำให้ทางสมัชชาโครเอเชียจึงเดินออกจากสภาไป ทางสมัชชาจัดการชุมุนมเรียกร้องให้ประชาชนมาชุมนุมซึ่งผลตอบรับค่อนข้างสูงชาวโครแอทต้องการเอกราชโครเอเชีย ทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจและผลลัพธ์จมลงด้วยสงคราม โดย นายทหารยูโกสลาเวียที่เป็นชาวโครแอทได้รวบรวมอาวุธเพื่อประกาศเอกราช ในวันที่ 31 มีนาคม 1991 กองทัพยูโกสลาเวีย ยกพลบุกโครเอเชีย แม้จะได้รับการคัดค้านจะสมัชชาบอสเนีย แต่กองพลยุโกสลาเวียก็เคลือนพล ทหาร ประชาชน ชาวโครแอทที่ถูกปราบปราม ขณะที่ชาวเซิร์บในโครเอเชียก็ไก้ประกาศตั้งประเทศ สาธารณรัฐเซอร์เบียกราจีนาซ้อนทับโครเอเชีย ",
"title": "สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย"
},
{
"docid": "308554#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 20 ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ณ เมืองตูริน อิตาลี ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูหนาว 2006"
},
{
"docid": "739727#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย (; ) เป็นหน่วยการเมืองแห่งหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ในสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาระหว่าง ค.ศ. 1991 ถึง ค.ศ. 1994 ในช่วงสงครามบอสเนีย ดินแดนนี้ได้รับการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 โดยใช้ชื่อว่า ประชาคมโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย () และอ้างว่าเป็น \"หน่วยรวมทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และดินแดน\" ซึ่งเป็นเอกเทศอยู่ภายในดินแดนของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บรรดาผู้นำของเฮิร์ตเซก-บอสเนียไม่เคยประสบความสำเร็จในการแยกตัวจากบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และไม่เคยยอมรับอย่างเปิดเผยว่ามีเป้าหมายดังกล่าวโดยใช้ภาษาดังกล่าว",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย"
},
{
"docid": "739727#1",
"text": "อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียได้มีคำวินิจฉัยว่า เฮิร์ตเซก-บอสเนียได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะแยกตัวออกจากบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและไปรวมกับโครเอเชีย ตามความเห็นของคณะตุลาการฯ ความปรารถนาเหล่านั้น (ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐโครเอเชีย) เป็นที่ประจักษ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่เฮิร์ตเซก-บอสเนียประกาศใช้ภาษาโครเอเชียและหน่วยเงินดีนาร์ของโครเอเชีย และจากการที่สาธารณรัฐโครเอเชียมอบความเป็นพลเมืองโครเอเชียแก่ชาวโครแอตในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประกาศให้ประชาคมโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1992 ",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย"
},
{
"docid": "259289#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008"
},
{
"docid": "740878#0",
"text": "สงครามโครแอต-บอสนีแอก เป็นสงครามระหว่างชาวบอสเนียกับชาวโครแอต ซึ่งเกิดทั้งในภูมิภาคบอสเนียกลาง เฮอร์เซโกวีนา และในเขตประเทศโครเอเชีย มูลเหตุสงครามมาจากในปี1991 โครเอเชียได้ประกาศเอกราชจาก ยูโกสลาเวีย แต่ก็แยกไปเฉพาะชาวโครแอตในโครเอเชีย ทำให้ชาวโครแอตในบอสเนียจึงได้ก่อตั้ง สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย เพื่อประกาศเอกราชจาก สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งกำลังทำสงครามกับกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บอยู่ ซึ่งถ้าเปิดศึกกับชาวโครแอตก็จะกลายเป็นสงครามสองฝ่าย แต่ด้วยรัฐบาลบอสเนียไม่ยอมรับให้โครเอเชียยึดดินแดนอีกต่อไป กองทัพบอสเนียจึงเคลื่อนพลบุกฐานที่มั่นกองกำลังโครแอต ซึ่งมีทั้งชาวโครแอตบอสเนียและชาวโครเอเชียประจำอยู่ในกองกำลัง บอสเนียได้เปิดศึกกับโครเอเชียด้วย ในพรมแดนโครแอต-บอสเนีย ทั่วประเทศบอสเนีย ",
"title": "สงครามโครแอต-บอสนีแอก"
},
{
"docid": "309201#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 16 ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ณ เมืองแอลเบิร์ทวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูหนาว 1992"
},
{
"docid": "958055#2",
"text": "เขาเกิดในลิฟโน สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยมีบิดาชื่ออีวัน มารดาชื่อคาทา ดาลิตช์ แต่เขาอาศัยและทำงานในประเทศโครเอเชีย แล้วได้สิทธิความเป็นพลเมืองโครเอเชีย ในปี ค.ศ. 1992 เขาแต่งงานกับดาโวกา โปรปาดาโล ซึ่งเขามีบุตรชายสองคน คือโทนี และบรูโน",
"title": "ซลัตโก ดาลิตช์"
},
{
"docid": "6224#12",
"text": "ระหว่างในปีค.ศ. 1797 และ ปีค.ศ. 1809 จักรวรรดิฝรั่งเศสแห่งแรกค่อยๆ ยึดครองทางตะวันออกของชายฝั่งเอเดรียติกทั้งหมด และส่วนใหญ่ของพื้นที่ชนบท สิ้นสุดที่บริเวณสาธารณรัฐเวเนเชียนและสาธารณรัฐรากูซัน และก่อตั้งมลรัฐอิลลิเรีย เพื่อตอบสนองราชนาวีที่เริ่มการปิดล้อมทะเลเอเดรียติก นำไปสู่ศึกวิส (Battle of Vis) ในปี 1811 มลรัฐอิลลิเรียถูกยึดครองโดยชาวออสเตรียในปี 1813 และถูกรวมโดยจักรวรรดิออสเตรีย ตามด้วยรัฐสภาของเวียนนาในปี 1815 การถูกรวมนี้นำไปสู่การก่อตั้งอาณาจักรดัลมาเชียและการบูรณะบบบริเวณชายฝั่งของโครเอเชียให้แก่ราชอาณาจักรโครเอเชีย ในตอนนี้ทั้งสองได้อยู่ภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน ในช่วงปี 1830 และช่วงปี 1840 มีลัทธิรักชาติแบบโรแมนติกกระตุ้นการฟื้นฟูโครเอเชียระดับชาติ การรณรงค์ทางการเมืองและทางวัฒนธรรมสนับสนุนการเป็นหนึ่งเดียวของชาวสลาฟใต้ในจักรวรรดิ จุดสนใจพื้นฐานของทางจักรวรรดิคือ การกำหนดภาษามาตรฐาน รวมไปถึงการส่งเสริมวรรณกรรมโครเอเชียและวัฒนธรรมโครเอเชีย ในระหว่างการปฏิวัติฮังการี ในปีค.ศ. 1848 โครเอเชียได้อยู่ฝ่ายออสเตรีย ยอซิป เยลาชิช ช่วยในการต่อสู้รบกับกองกำลังฮังการีในปีค.ศ. 1849 และนำไปสู่ยุคนโยบายการทำให้เป็นเยอรมัน (Germanization) ในเวลาต่อไปมา",
"title": "ประเทศโครเอเชีย"
},
{
"docid": "49500#1",
"text": "ยูโกสลาเวีย, ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากปริวรรตเป็นอักษรละตินว่า \"Jugoslavija\", โดยการแยกคำดังนี้ jug (ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย \"j\" ปริวรรตเป็นอักษรภาษาอังกฤษตรงกับ \"y\") และ slavija. คำแปลในภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย ภาษามาซิโดเนีย, และ ภาษาสโลวีเนีย คำว่า \"jug\" หมายถึง \"ทิศใต้\", ส่วนคำว่า \"slavija\" (\"สลาเวีย\") หมายถึง (\"ดินแดนสลาฟ\"). คำว่า \"Jugoslavija\" \"หมายถึง\" \"สลาฟ-ใต้\" หรือ \"ดินแดนแห่งชาวสลาฟตอนใต้\". เป็นการรวมตัวของ 6 ชนชาติในดินแดนสลาฟใต้ ซึ่งประกอบด้วย: ชาวโครเอเชีย, ชาวมาซิโดเนีย, ชาวมอนเตรเนโกร, ชาวบอสเนีย, ชาวเซิร์บ และ ชาวสโลวีน. ยูโกสลาเวีย ได้ประกาศใช้เป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1945 จนถึง ค.ศ. 1992.",
"title": "สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย"
},
{
"docid": "739727#2",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียยุติการดำรงอยู่อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1994 โดยรวมเข้ากับสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (หน่วยการปกครองของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา) หลังจากที่ทางการสาธารณรัฐโครเอเชียและทางการสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาร่วมลงนามในความตกลงวอชิงตัน เมืองหลวงอย่างเป็นทางการของเฮิร์ตเซก-บอสเนียคือเมืองมอสตาร์ส่วนตะวันตก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในขณะนั้นมอสตาร์อยู่ในพื้นที่สงคราม ศูนย์กลางการปกครองที่มีประสิทธิภาพจึงอยู่ที่เมืองกรูเด",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย"
},
{
"docid": "308728#0",
"text": "สาธารณรัฐโครเอเชีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 19 ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ณ เมืองซอลท์เลคซิตี้ สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545",
"title": "สาธารณรัฐโครเอเชียในโอลิมปิกฤดูหนาว 2002"
},
{
"docid": "38822#0",
"text": "เซอร์เบีย (English: Serbia; Serbian: Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (English: Republic of Serbia; Serbian: Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก",
"title": "ประเทศเซอร์เบีย"
}
] |
754 | อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติตั้งแต่เมื่อใด ? | [
{
"docid": "141144#2",
"text": "ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนวนอุทยานออบหลวงมาอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ สังกัดกรมป่าไม้ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2531 กองอุทยานแห่งชาติได้ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมรอบวนอุทยานเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เพิ่มเติมรอบวนอุทยานประกอบด้วย ป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม–แม่ตื่น และป่าแม่แจ่ม ทั้งหมดแต่เดิมเป็นป่าถาวรของชาติตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2509 จากนั้นได้ยกฐานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยเรียงลำดับเวลาดังนี้ ป่าแม่แจ่ม–แม่ตื่นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ป่าจอมทองเมื่อปี พ.ศ. 2510 และป่าแม่แจ่มเมื่อปี พ.ศ. 2517 ป่าทั้งหมดมีสภาพสมบูรณ์ รวมพื้นที่ประมาณ 630 ตารางกิโลเมตร เมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้น กองอุทยานแห่งชาติได้รวมป่าข้างต้นทั้งหมดเข้ากับวนอุทยานฯและจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติออบหลวง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ถือเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 68 ของประเทศ",
"title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง"
}
] | [
{
"docid": "141144#1",
"text": "แรกเริ่มกรมป่าไม้ได้ทำการจัดตั้ง \"วนอุทยานออบหลวง\" ขึ้นในบริเวณอุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2509 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหางดง อำเภอฮอด และตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ โดยกรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณนี้มีสภาพภูมิประเทศที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วยโขดผา ลำน้ำที่ไหลผ่านหลืบเขาที่ชาวบ้านเรียกกันมาก่อนหน้านี้ว่า \"ออบหลวง\" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่า \"ช่องแคบขนาดใหญ่\" ตามลักษณะภูมิประเทศ ในอดีตพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่พักของคนงานบริษัทบอร์เนียว ซึ่งคอยเก็บไม้สักที่ลำเลียงมาตามลำน้ำแม่แจ่ม",
"title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง"
}
] |
1710 | กระบี่แสง ดาบเลเซอร์ ใบดาบของกระบี่แสงจะเป็นเลเซอร์พลังสูง ซึ่งสามารถทะลุทะลวงโลหะแข็งได้โดยไม่ต้องออกแรงมากนักใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "11387#0",
"text": "กระบี่แสง ดาบเลเซอร์ หรือ ไลท์เซเบอร์ () เป็นอาวุธในเนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นและทรงอานุภาพของอัศวินเจไดในจักรวาล \"สตาร์ วอร์ส\" มีลักษณะเป็นดาบ (แต่ตามชื่อภาษาอังกฤษ เซเบอร์ แปลว่า กระบี่หรือดาบโค้ง ซึ่งสะพายโดยทหารสมัยก่อนในยุโรปและอเมริกา) แต่แทนที่จะมีใบเป็นโลหะอย่างทั่วไป ใบดาบของกระบี่แสงจะเป็นเลเซอร์พลังสูง ซึ่งสามารถทะลุทะลวงโลหะแข็งได้โดยไม่ต้องออกแรงมากนัก กระบี่แสงมีบทบาทสำคัญมากใน \"สตาร์ วอร์ส\" ทุกภาค ทั้งในภาพยนตร์ เกม และนวนิยาย",
"title": "กระบี่แสง"
}
] | [
{
"docid": "11387#10",
"text": "ด้ามกระบี่แสงประกอบด้วยกระบอกอัลลอยที่โดยทั่วไปจะยาว 25-30 เซนติเมตร อย่างไรก็ดีการออกแบบและเส้นผ่านศูนย์กลางของด้ามดาบจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ที่สร้างมันขึ้นมา ด้ามดาบจะบรรจุชิ้นส่วนที่ซับซ้อนซึ่งสร้างและทำให้เกิดใบมีดที่แตกต่างกันไป พลังงานระดับสูงจะถูกปล่อยออกมาผ่านทางขั้วบวกที่เป็นเลนส์เน้นแสงและตัวสร้างพลังงาน มันจะแสดงลำแสงพลังงานที่ขยายออกมาจากฐานไปตามความยาว จากนั้นจะเคลื่อนที่โค้งกลับไปที่ขั้วลบ ตัวนำไฟฟ้าจะทำให้ห่วงพลังสมบูรณ์ด้วยการป้อนพลังงานกลับไปที่เซลล์พลังงานภายใน ที่ที่ซึ่งห่วงพลังงานจะเริ่มก่อตัวใหม่อีกครั้ง",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "11387#11",
"text": "ไม่ว่าจะเป็นพาดาวันหรืออาจารย์เจได การสร้างกระบี่แสงนั้นเริ่มด้วยการหาชิ้นส่วนที่เหมาะสมเพื่อการสร้างอาวุธ กระบี่แสงทั้งหมดจะบรรจุชิ้นส่วนหลัก ๆ ดังนี้กระบี่แสงมากมายจะมีเซ็นเซอร์อยู่ที่ด้ามจับเพื่อที่ว่าเมื่อปล่อยมือเมื่อใดมันก็จะหยุดทำงานทันที กระบี่แสงอื่นนั้นอาจไม่มีเซ็นเซอร์หรือระบบกลไกใด ๆ ก็ตามที่หยุดการทำงานของดาบเมื่อปล่อยมือหรือหลุดมือ",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "74849#0",
"text": "กระบี่ คืออาวุธที่มีลักษณะคล้ายดาบ แต่มีน้ำหนักเบากว่า ลักษณะเรียวแหลม มีปลายแหลม เน้นใช้ในการแทงมากกว่าฟัน อาจมีคมเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือมีท้ง 2 ด้าน ข้อแตกต่างจากดาบคือ น้ำหนักส่วนใหญ่ของกระบี่จะอยู่ที่ด้ามจับ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วและพลิกแพลงได้ง่ายในการจ้วงแทง เพราะกระบี่เน้นการแทงเป็นสำคัญ ในขณะที่น้ำหนักส่วนใหญ่ของดาบ จะอยู่ที่ใบดาบ เพื่อให้การฟันมีน้ำหนัก เพราะดาบเน้นการฟันและตัด อาวุธกระบี่ของไทย จะมีลักษณะและการใช้งานเหมือนกับอาวุธของชาวตะวันตกที่เรียกว่า \"Rapier\" จึงอาจกล่าวได้ว่า \"Rapier\" แปลว่า \"กระบี่\" นั่นเอง",
"title": "กระบี่ (อาวุธ)"
},
{
"docid": "11387#21",
"text": "กระบี่แสงโบราณ หรือ โปรโตเซเบอร์ (\"protosabers\") เป็นแบบเก่าสุดของกระบี่แสง มันประกอบด้วยด้ามจับที่มักเป็นดูเรเนียมแข็ง มันคือคริสตัลที่อยู่ในด้ามจับ แพ็คพลังงานที่รัดด้วยเข็มขัด มันเหมือนกับกระบี่แสงในเวลาต่อมาที่คริสตัลของพวกมันอยู่ข้างในด้ามซึ่งเป็นแหล่งของพลังงาน ความแตกต่างระหว่างกระบี่แสงเก่าและใหม่คือด้ามจะเชื่อมติดกับสายของแพ็คพลังงานด้านนอกที่จะหิ้วโดยผู้ใช้ไว้ที่หลังของพวกเขา การนำเซลล์พลังงานที่มีขนาดเล็กกว่ามาใช้ทำให้มันสามารถใส่เข้าไปในด้ามดาบได้และให้อิสระมากกว่าและทำให้กระบี่แสงแบบเก่าตกยุคไป ผู้ใช้ส่วนมากจะอยู่ในช่วงสงครามซิธครั้งใหญ่",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "11387#23",
"text": "กระบี่แสงด้ามโค้ง เป็นการออกแบบพื้นฐานสำหรับการต่อสู้ด้วยกระบี่แสงในรูปแบบที่ 2 มาคาชิ ด้ามที่โค้งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ที่แม่นยำตามความยืดหยุ่นในการต่อสู้ มันยังยากที่จะป้องกันมันเพราะว่าผู้ใช้อาจโจมตีได้หลายมุมมากกว่าด้ามแบบปกติ ด้ามที่โค้งยังซับซ้อนกว่าและให้ความท้าทายในการเลือกใช้คริสตัลมากกว่า ด้ามแบบนี้เคาท์ ดูกูมีในครอบครอง ศิษย์ของเขาโคมาริ โวซา และอซาจจ์ เวนเทรสส์ ก่อนยุทธการรูซานอาจารย์ซิธนาดาซใช้กระบี่แสงด้ามโค้ง ศิษย์ของเขาคาสอิมใช้อาวุธต่อจากเขาหลังจากที่สังหารอาจารย์ของตน และต่อมาก็ตกไปอยู่ในมือของดาร์ธ เบน",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "11387#40",
"text": "ใบมีดของกระบี่แสงเป็นรูปแบบที่ไร้สสารซึ่งไม่แผ่ความร้อนและขยายพลังงานจนกว่ามันจะเข้าสัมผัสกับของแข็ง พลังของใบมีดมีมหาศาลจนมันสามารถตัดผ่านทุกอย่าง แม้ว่าความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับปลายทางและวัตถุ สิ่งหนึ่งที่สำคัญของการบาดเจ็บจากกระบี่แสงคือมันจะไม่มีเลือดถึงแม้ว่าแขนขาจะถูกตัดก็ตาม นี่ก็เพราะว่าพลังงานจากใบมีดทำให้แผลไหม้และดังนั้นแผลที่เกิดจากการตัดจะไม่มีเลือดไหลไม่ว่าจะสาหัสเท่าใดก็ตาม",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "11387#39",
"text": "คราดแสง เป็นกระบี่แสงที่มีสองใบมีดพร้อมกับตัวกำเนิดพลังอันที่สองซึ่งจะยื่นออกมาจากด้ามหลักทำมุม 45 องศา นอกจากนี้มันยังเป็นกระบี่แสงที่ประหลาดที่สุดและหากยากที่สุด ด้ามจับยังโค้งอีกด้วย มีเจไดเพียงคนเดียวที่พบว่าใช้กระบี่แสงชนิดนี้คือโรบลิโอ ดาร์เต้",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "11387#22",
"text": "โลหะผสมทองกับเงิน คือกระบี่แสงที่มีด้ามหลอมมาจากทองที่มักเรียกว่ากระบี่แสงอิเลคตรัม (\"electrum\") โลหะผสมนี้ทำให้กระบี่แสงดูสง่างาม ในวันสุดท้ายของนิกายเจไดเก่ากระบี่แสงอิเลคตรัมจะถูกใช้โดยสมาชิกอาวุโสในสภาเจได กระบี่แสงของเมซ วินดูและดาร์ธ ซีเดียสเป็นกระบี่แสงประเภทนี้",
"title": "กระบี่แสง"
},
{
"docid": "70819#112",
"text": "หลังจากที่เขาบาดเจ็บสาหัสบนมุสตาฟาร์ เวเดอร์ได้สร้างกระบี่แสงเล่มใหม่ เวเดอร์ดัดแปลงกระบี่แสงเล่มนี้ตลอดเวลา อาวุธของเขา แม้ว่าจะคล้ายคลึงกับดาบที่เขาใช้ตอนที่เป็นอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ มันก็มีข้อแตกต่าง มันแข็งแกร่งกว่า วัสดุเป็นอัลลอยสีดำ และดูเกรี้ยวกราดกว่า เหมาะกับตัวตนใหม่ของเขา ใบดาบเกิดจากคริสตัลสังเคราะห์แสงที่อาจารย์ของเขาให้มา",
"title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์"
}
] |
3928 | สัญญาณโทรศัพท์ เริ่มใช้ครั้งแรกที่ไหน ? | [
{
"docid": "24448#3",
"text": "1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการให้บริการเสียงอย่างเดียว รองรับเพียงการโทรเข้าและรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC มีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ circuit switching ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 2.75G ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สาย ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น , EDGE ให้ความเร็วน้อยกว่า 10 KBPS 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติและแบบรับส่งข้อมูลซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูล ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 ความเร็ว มากกว่า 144 kbps 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ LTE หรือ",
"title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่"
}
] | [
{
"docid": "116024#2",
"text": "AirCard คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ",
"title": "แอร์คาร์ด"
},
{
"docid": "567370#9",
"text": "ต่อมา วิธีการส่งเช่น SONET (Synchronous optical networking) เป็นการส่งผ่านใยแก้วนำแสงที่ทำให้การส่งผ่านดิจิทัลก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก แม้ว่าระบบการขนส่งแบบแอนะล็อกที่มีอยู่จะ multiplex ช่องความถี่เสียงแบบแอนะล็อกหลายช่องให้อยู่บนสื่อกลางการส่งเพียงตัวเดียวก็ตาม, การส่งดิจิทัลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงและได้ช่องทางที่ถูก multiplexed บนสื่อกลางการส่งมากขึ้น วันนี้ อุปกรณ์ปลายทางมักจะยังคงเป็นแอนะล็อก แต่สัญญาณอนาล็อกโดยทั่วไปจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ณ พื้นที่ให้บริการอินเตอร์เฟซ ( หรือ SAI), หรือที่สำนักงานกลาง ( หรือ CO) หรือที่ชุมสาย หรือที่จุดรวมสัญญาณอื่น ๆ อุปกรณ์ Digital loop carriers (DLC) เป็นเครือข่ายดิจิตอลที่ถูกวางใกล้ชิดกับสถานที่ของลูกค้ามากกว่าที่เคย, ผลักไส local loop แบบแอนะล็อกให้กลายเป็นตำนานไปเลยความเชี่ยวชาญของระบบโทรศัพท์ดิจิตอล, ระบบโทรศัพท์ Internet Protocol (IP) เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแบบดิจิตอลที่เป็นรากฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้าง, ส่ง, และรับ sessions การสื่อสารโทรคมนาคมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น Voice over Internet Protocol (VoIP), สะท้อนให้เห็นถึงหลักการแต่มันก็ถูกเรียกด้วยคำอื่นๆอีกมากมาย VoIP ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคโนโลยีตัวทำลายที่มาแทนที่เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานของโทรศัพท์แบบดั้งเดิมอย่างรวดเร็ว เมื่อเดือนมกราคม 2005 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ถึง 10 % ได้เปิดใช้บริการโทรศัพท์ดิจิตอลนี้ บทความของนิวสวีค ประจำเดือนมกราคม 2005 ชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต อาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัท VoIP หลายแห่ง เสนอบริการนี้ให้กับผู้บริโภคและธุรกิจ",
"title": "ระบบโทรศัพท์"
},
{
"docid": "783074#59",
"text": "หนุ่ยตื่นขึ้นมาบนรถด้วยอาการมึนงง ก่อนจะพบว่าเต็นท์พาเขาขึ้นรถมาง้อออมที่ต่างจังหวัดด้วย ระหว่างที่แวะเติมน้ำมันก็มีสายโทรศัพท์เบอร์ที่ไม่คุ้นเคยโทรมาหาหนุ่ย ก่อนจะพบว่าเธอคือ พิ้งค์ (ปาณิสรา ริกุลสุรกาน) แฟนสาวของคนที่มาทำร้ายร่างกายหนุ่ย พิ้งค์ขอโทษหนุ่ยและถามอีกว่าอยู่ที่ไหน หนุ่ยบอกว่ากำลังจะไปต่างจังหวัด พิ้งค์จึงขอตามไปด้วย ทั้ง 3 คนมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดอุทัยธานี โดยที่ไม่รู้ว่าบ้านของออมอยู่ที่ไหน เต็นท์จึงเปิดดูข้อมูลในเฟซบุ๊กแต่ก็พบว่าถูกออมลบเพื่อนทิ้งไปแล้ว จึงขอใช้เฟซบุ๊กของหนุ่ยเพื่อที่จะได้ไปขอออมเป็นเพื่อในเฟซบุ๊ก ระหว่างที่รอออมตอบรับ หนุ่ยก็เป็นตัวตั้งตัวตีในการพาทุกคนออกไปเที่ยว เพื่อหวังว่าจะได้อยู่ใกล้ชิดกับพิ้งค์ แต่กลายเป็นว่าพิ้งค์ชอบเต็นท์มากกว่า",
"title": "เลิฟซองส์เลิฟซีรีส์"
},
{
"docid": "310159#10",
"text": "แผ่นดินไหวทำให้ท่อส่งน้ำประปาเสียหาย และมีรายงานว่าไฟฟ้า โทรศัพท์ (รวมโทรศัพท์มือถือ) และอินเทอร์เน็ต ใช้งานไม่ได้เป็นพื้นที่วงกว้าง ระบบโทรศัพท์มือถือขัดข้องเนื่องจากสถานีถ่ายทอดสัญญาณได้รับความเสียหายโดยตรง อีกทั้งพลังงานสำรองก็ถูกใช้จนหมด",
"title": "แผ่นดินไหวในชูเอะสึ พ.ศ. 2547"
},
{
"docid": "790025#0",
"text": "โทรศัพท์บ้าน () คือโทรศัพท์ชนิดที่ใช้งานตั้งอยู่กับที่ สื่อสารผ่านสายโลหะหรือใยแก้วนำแสง (ต่างกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งสื่อสารไร้สายผ่านสัญญาณวิทยุ) เป็นโทรศัพท์ที่ใช้กันตามครัวเรือน ห้างร้าน และสำนักงานทั่วไปในรูปของเครื่องโทรศัพท์ตั้งโต๊ะ โดยมีสายเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานในพื้นที่เพื่อให้สามารถโทรเข้าออกได้ และส่วนใหญ่โทรศัพท์บ้านจะทำงานโดยอาศัยไฟเลี้ยงจากชุมสายโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ทำให้สามารถใช้งานได้ในช่วงเวลาที่ไฟฟ้าดับ",
"title": "โทรศัพท์บ้าน"
},
{
"docid": "189555#5",
"text": "เป้าหมายในการออกแบบโพรโทคอล SIP ก็เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเริ่มต้นการส่งสัญญาณโทรศัพท์ (signaling and call setup protocol) บนเครือข่ายแบบ IP-based และสามารถทำงานร่วมกับ public switched telephone network (PSTN) ที่มีอยู่เดิมได้ทันที และ SIP ถูกออกแบบมาโดยอ้างอิงถึงการเชื่อมต่อกันระว่าง proxy server และ user agents เพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับการทำงานของโทรศัพท์มากที่สุด เช่น การส่งหมายเลข (dialing a number), การส่งสัญญาณกระดิ่ง (ringing), การส่งสัญญาญรอการเชื่อมต่อ (ring back) และการส่งสัญญาณสายไม่ว่าง (busy tone)",
"title": "Session Initiation Protocol"
},
{
"docid": "146932#4",
"text": "1 ระบบเชื่อมต่อสัญญาณในระดับสายตา ใช้ในงานสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง อย่างเช่น การโทรศัพท์ทางไกล ใช้การส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์จากจุดหนึ่ง ไปยังสถานีทวนสัญญาณจากจุดหนึ่งและส่งผ่านสัญญาณไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทาง และในการส่งโทรทัศน์ก็จะทำการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากห้องส่งไปยังเครื่องส่งไมโครเวฟ ส่งไปทางสายอากาศ และแพร่กระจากคลื่นของโทรทัศน์ของสถานีนั้นๆ ระยะห่างของสถานีสัญญาณจะเป็นดังนี้ ถ้าความถี่สูงระยะห่างก็จะน้อยแต่ถ้า ความถี่ของคลื่นไมโครเวฟต่ำระยะห่างของสถานีทวนสัญญาณก็จะมาก ",
"title": "ไมโครเวฟ"
},
{
"docid": "8211#4",
"text": "ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมที่ใช้คู่สายทองแดง หรือที่เรียกกันว่าโทรศัพท์พื้นฐาน ปกติจะขนส่งทั้งสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงบน คู่สายบิด (สายไฟหุ้มฉนวนสองเส้นบิดเป็นเกลียว) เดียวกัน (C ในรูป) เรียกสายนี้ว่า สายโทรศัพท์",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "238586#1",
"text": "โดยระบบไอพีทีวีในประเทศไทยทางผู้ให้บริการจะทำการรับสัญญาณจากดาวเทียม จากนั้นจะทำการแปลงข้อมูล (Encode) จากสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล จากนั้นจะทำการเข้ารหัส (Encryption) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มี Set Top Box (STB) สามารถถอดรหัสนำสัญญาณไปรับชมได้ เมื่อได้เป็นสัญญาณดิจิทัลแล้ว ข้อมูลที่ได้จะถูกนำส่งผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ ทางฝั่งผู้ใช้ก็จะนำสายโทรศัพท์มาต่อเข้ากับเราเตอร์เพื่อแยกสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับสัญญาณโทรทัศน์จากนั้นก็นำสัญญาณโทรทัศน์ที่แยกแล้วต่อเข้ากับตัว Set Top Box เพื่อทำการถอดรหัส (Decryption) จากนั้นสัญญาณที่ถูกถอดรหัสก็จะแสดงผลออกมาทางจอโทรทัศน์",
"title": "ไอพีทีวี"
},
{
"docid": "8211#10",
"text": "เมื่อมกราคม 2005, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จำนวนสูงถึง 10 % ได้ เปลี่ยนมาใช้บริการโทรศัพท์แบบดิจิทัลนี้ ในเดือนเดียวกัน บทความของนิวสวีคชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัทหลายแห่งให้บริการ VoIP กับผู้บริโภคและธุรกิจ\nจากมุมมองของลูกค้า, ระบบโทรศัพท์ IP ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบนด์วิธสูง และต้องการอุปกรณ์สถานที่ลูกค้า () หรือ CPE ที่มีลักษณะพิเศษในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต, หรือผ่านเครือข่ายข้อมูลส่วนตัวอื่นๆที่ทันสมัย จริงๆแล้ว อุปกรณ์ของลูกค้าอาจจะเป็นเพียง อะแดปเตอร์โทรศัพท์แอนะล็อก ( ATA ) ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์แบบอนาล็อกแบบเก่าเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย IP, หรืออาจเป็นเครื่องโทรศัพท์ไอพีที่มีเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเตอร์เฟซที่สร้างขึ้นในชุดตั้งโต๊ะ ที่ทำงานเหมือนโทรศัพท์ที่คุ้นเคยแบบเดิม ",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "116024#0",
"text": "แอร์คาร์ด () คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Laptop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์โทร.เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหนขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น เหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ทั้ง PC Notebook Laptop เพื่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูง โดยผ่านโครงข่ายสัญญาโทรศัพทืมือถือที่ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRSและEDGE ในปัจจุบัน",
"title": "แอร์คาร์ด"
},
{
"docid": "27441#1",
"text": "GSM ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับช่องสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงแบบ TDMA ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือก่อนหน้านั้น จึงถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือในยุคที่สอง หรือ 2Gซึ่งหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง",
"title": "จีเอสเอ็ม"
},
{
"docid": "8211#2",
"text": "องค์ประกอบที่สำคัญของเครื่องโทรศัพท์(หรือบางครั้งเรียกว่า telephone set)ได้แก่ handset และแท่นวาง (แต่เดิมแยกออกจากกัน แต่บางครั้งวางประกอบอยู่ด้วยกัน). handset ประกอบด้วยไมโครโฟน(ตัวส่ง)เพื่อพูดเข้าและหูฟัง(ตัวรับ)ที่จะทำเสียงของคนที่อยู่ไกลออกไปขึนมาใหม่ นอกจากนี้ เครื่องโทรศัพท์ส่วนใหญ่มีกระดิ่ง(ringer)ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเมื่อมีโทรศัพท์เรียกเข้ามาและแป้นหมุนที่ใช้ในการป้อนหมายเลขโทรศัพท์เมื่อต้องการจะโทรออก ในราวทศตวรรษที่ 1970 เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้หน้าปัดแบบหมุนส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยหน้าปัดแบบกดปุ่ม Touch-Tone ที่ทันสมัย ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกโดย AT & T ในปี 1963. เครื่องรับและเครื่องส่งสัญญาณมักจะถูกสร้างบน handset เดียวกัน ซึ่งจะถูกยกขึ้นทาบกับปากและหูของผู้ใช้ในระหว่างการสนทนา แป้นหมุนอาจจะอยู่ได้ทั้งบน handset หรือบนแท่นวางที่ต่อกับตัว handset ด้วยสายไฟสั้นๆ(cord) เครื่องส่งสัญญาณจะแปลงคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะถูกส่งผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ปลายทาง เครื่องรับโทรศัพท์ปลายทางจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงออกทางลำโพง ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ทั้งสองด้านสามารถพูดคุยกันได้พร้อมกัน",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "8211#0",
"text": "เครื่องโทรศัพท์ () เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง เครื่องโทรศัพท์จะแปลงเสียง, โดยทั่วไปเป็นเสียงมนุษย์, ให้เป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสำหรับการส่งผ่านทางสายเคเบิลหรือผ่านสื่ออื่น ๆในระยะทางไกล, และ เมื่อถึงผู้รับปลายทาง จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถเข้าใจได้ คำว่าโทรศัพท์ได้รับการดัดแปลงเป็นคำศัพท์หลายภาษา มันมาจากกรีก: τῆλε ,Tele แปลว่าไกล และ φωνή , แปลว่าเสียง เมื่อรวมกัน หมายถึงเสียงที่อยู่ห่างไกล สำหรับระบบโทรศัพท์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนั้น ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Telephony",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "394385#1",
"text": "ในการค้นหาแต่ละขั้นตอนจะมีการคำนวณหรือ คาดการณ์ว่าสิ่งที่ค้นหานั้น น่าจะอยู่ที่ไหนของช่วงการค้นหาที่เหลือ แม้เทคนิคนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการค้นแบบทวิภาค (Binary search) แต่ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของนายสมชาย จะไม่ไปหาที่ตรงกลางของสมุดโทรศัพท์ แต่จะไปหายังตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยตัว “ส” โดยการประมาณว่าอยู่ที่ตรงหน้าที่เท่าไรของสมุดโทรศัพท์ แล้วค่อย ๆ เลือกหน้าต่อไปที่ใกล้เคียงที่สุดจนกว่าจะพบ ดังนั้น แทนที่จะใช้การค้นแบบทวิภาค (Binary search) ที่เริ่มต้นตรงกลางเสมอ ก็เปลี่ยนมาใช้การค้นโดยการประมาณช่วง (Interpolation Search) ซึ่งเป็นการค้นหาตำแหน่งโดยการประมาณ",
"title": "การค้นหาโดยการประมาณช่วง"
},
{
"docid": "85697#102",
"text": "เมื่อเร็วๆนี้ แอมป์โดเฮอร์ตี้ได้ถูกพบการใช้งานอย่างแพร่หลายในเครื่องส่งสัญญาณที่สถานีฐาน โทรศัพท์มือถือสำหรับความถี่ย่าน GHz การใช้งานสำหรับเครื่องส่งสัญญาณในอุปกรณ์เคลื่อนที่ยังได้รับการสาธิตให้เห็นอีกด้วย",
"title": "ตัวขยายสัญญาณ"
},
{
"docid": "155545#0",
"text": "อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณเพื่อเข้าถึงสายผู้เช่าดิจิทัล หรือ ดีสแลม () ใช้ในการแยกสัญญาณจากสายทองแดง จากส่วนที่ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต (ส่วนใหญ่จะเป็นที่ให้บริการโทรศัพท์ เช่น ทีโอที) ซึ่ง DSLAM จะแยกสัญญาณออกเป็นสองสัญญาณคือ สัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่นสัญญาณโทรศัพท์ DSLAM จะส่งสัญญาณผ่าน ATM แล้วส่งไปให้องค์การโทรศัพท์ทำการเชื่อมต่อเลขหมายปลายทาง ส่วนสัญญาณอินเทอร์เน็ต DSLAM ก็จะส่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องส่งสัญญาณแบบ ATM ไปยังหน่วยงานบริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เพื่อทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและให้บริการ",
"title": "ดีสแลม"
},
{
"docid": "348815#4",
"text": "ในระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, SDMA จะมีคุณสมบัติในการระบุตำแหน่งที่ตั้งในพื้นที่ของโทรศัพท์ปลายทาง, เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น โดยจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน Network bandwidth\nซึ่งจะแตกต่างจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเดิมที่จะมีสถานีศูนย์กลางเป็นตัวเชื่อมโยง แผ่กระจายสัญญาณไปในทุกทิศทางในพื้นที่ โดยที่ไม่รู้ว่าในสถานที่นั้นจะมีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่หรือไม่ ซึ่งสถาปัตยกรรม SDMA จะเป็นการใช้ช่องทาง (channel) ของคลื่นสัญญาณวิทยุบนพื้นฐานของตำแหน่งอุปกรณ์มือถือ ด้วยวิธีนี้สถาปัตยกรรม SDMA ไม่เพียงแต่จะป้องกันเรื่องคุณภาพของสัญญาณแล้ว ยังป้องกันคลื่นเสียงที่ก่อให้เกิดการรบกวนและการเสื่อมสภาพของสัญญาณที่มาจากบริเวณพื้นที่ ที่อยู่ติดกัน แต่อย่างไรก็ตาม SDMA ยังช่วยป้องกันการซ้ำซ้อนของสัญญาณในพื้นที่ที่ไม่มีอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้งานอยู่หรือไม่มีอยู่ในบริเวณนั้น",
"title": "Space Division Multiple Access"
},
{
"docid": "774372#1",
"text": "ระบบโทรศัพท์พื้นฐานมีลักษณะเด่นจากความน่าเชื่อถือของระบบที่สูงมาก ใช้งานได้ในเหตุการณ์ภัยพิบัติ\nให้เสียงสนทนาที่ชัดเจน และไม่มีปัญหาช่องสัญญาณเต็ม, ซึ่งปัจจุบัน ระบบโทรศัพท์พื้นฐานมีคุณสมบัติต่อไปนี้:",
"title": "โทรศัพท์พื้นฐาน"
},
{
"docid": "85522#11",
"text": "สายอากาศที่ดีจะต้องจับคู่ส่วนที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขนส่งสัญญาณผ่านอากาศ (หรืออวกาศ) ที่ความเร็วของแสง และเกือบจะไม่มีการสูญเสียในการส่ง เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณวิทยุจะใช้ถ่ายทอดสัญญาณ(ข้อมูล)ในระบบ ได้แก่การออกอากาศวิทยุ(เสียง), โทรทัศน์, โทรศัพท์มือถือ, วายฟาย (WLAN) เครือข่ายข้อมูล, สายทรังค์และในการเชื่อมโยงสัญญาณแบบจุดต่อจุด (โทรศัพท์, เครือข่ายข้อมูล), การเชื่อมโยงดาวเทียม, อุปกรณ์ควบคุมจากระยะไกลหลายอย่างเช่นเครื่องเปิดประตูโรงรถและเซ็นเซอร์ไร้สายระยะไกล และอื่น ๆ อีกมาก คลื่นวิทยุยังใช้โดยตรงในการตรวจวัดในเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งเรดาร์ จีพีเอสและวิทยุดาราศาสตร์ ในทุกกรณีเครื่องส่งสัญญาณและเครื่องรับสัญญาณที่นำมาใช้จะต้องใช้สายอากาศ โดยที่สายอากาศดังกล่าวบางครั้งจะถูกซ่อนอยู่ (เช่นสายอากาศภายในวิทยุ AM หรือภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่ติดตั้งวายฟาย)",
"title": "สายอากาศ"
},
{
"docid": "8211#7",
"text": "เครื่องโทรศัพท์แบบ landline เชื่อมต่อด้วยสายไฟหนึ่งคู่เข้าโครงข่ายโทรศัพท์ ในขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถพกพาและติดต่อสื่อสารกับโครงข่ายโทรศัพท์โดยการส่งสัญญาณวิทยุ. โทรศัพท์แบบ cordless ใช้ handset แบบพกพาที่ติดต่อสื่อสารโดยการส่งวิทยุกับสถานีฐาน แล้วสถานีฐานจะติดต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ด้วยสายอีกที",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "563278#22",
"text": "การเข้าถึงแบบ Dial-Up ใช้โมเด็มและโทรศัพท์ที่ทำงานกับ public switched telephone network (PSTN) เพื่อเชื่อมต่อกับโมเด็มของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โมเด็มฝั่งผู้ใช้แปลงสัญญาณดิจิทัลของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนะล็อกที่เดินทางผ่านสายโทรศัพท์ท้องถิ่นจนถึงชุมสายของบริษัทโทรศัพท์หรือ central office (CO) จากนั้นหลังจากทำการตรวจสอบบัญชีผู้ใช้ว่าถูกต้องจึงจะเชื่อมโยงผู้ใช้เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต",
"title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต"
},
{
"docid": "567370#7",
"text": "ระบบนี้กำลังถูกท้าทายอย่างรุนแรงโดย, และจะต้องยอมทำตาม, เทคโนโลยี Voice over IP (VoIP) ซึ่งปกติจะเรียกว่า โทรศัพท์ IP หรือ โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต. โทรศัพท์ IP เป็นรูปแบบที่ทันสมัยของระบบโทรศัพท์ที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP ที่นิยมใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลเสียงในรูปแบบดิจิทัล นอกจากนี้ยังแตกต่างจากบริการโทรศัพท์แบบดั้งเดิม, บริการโทรศัพท์ IP ไม่ถูก regulated โดยรัฐบาล ในสหรัฐฯ Federal Communications Commission (FCC ) ควบคุมการเชื่อมต่อ ระหว่างเครื่องโทรศัพท์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ แต่กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์และผู้ให้บริการโทรศัพท์ IP. การใช้อินเทอร์เน็ต สัญญาณจะเดินทางเป็นแพ็กเกตของข้อมูลบนเส้นทางที่ใช้ร่วมกัน หลีกเลี่ยงการคิดค่าผ่านทางจาก PSTN ความท้าทายในระบบ IP Telephony คือการส่งมอบแพ็กเกตของเสียง, ของโทรสารหรือของ วิดีโอที่เชื่อถือได้ให้กับผู้ใช้. โทรศัพท์ IP จำนวนมากมุ่งเน้นไปที่ความท้าทายดังกล่าว",
"title": "ระบบโทรศัพท์"
},
{
"docid": "790025#1",
"text": "เครื่องโทรศัพท์บ้านบางชนิดยังสามารถรองรับการทำงานเป็นโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งเครื่องแม่จะต่อกับสายโทรศัพท์ปกติ แต่หูโทรศัพท์จะเชื่อมต่อกับเครื่องแม่ด้วยสัญญาณวิทยุ ทำให้สามารถรับและโทรออกจากที่ใดก็ได้ในบ้านโดยที่ผู้รับไม่ต้องเดินมายกหูที่เครื่อง (แต่เครื่องแม่ของโทรศัพท์บ้านชนิดนี้จะต้องเสียบปลั๊กกับไฟบ้านด้วย ซึ่งจะใช้งานไม่ได้หากไฟฟ้าดับ)",
"title": "โทรศัพท์บ้าน"
},
{
"docid": "108503#5",
"text": "ข้อเสียของการใช้ดาวเทียมรูปแบบนี้คือ ระดับความสูงที่มาก สัญญาณจึงต้องใช้เวลาเดินทางไปและกลับประมาณ 0.25 วินาที่ ทำให้เกิดการเหลื่อมเวลาที่สร้างปัญหาแก่สัญญาณวิทยุสื่อสารและสัญญาณโทรศัพท์ที่ต้องโต้ตอบกันไปมา แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับสัญญาณโทรทัศน์เพราะเป็นสัญญาณทางเดียว",
"title": "ดาวเทียมพ้องคาบโลก"
},
{
"docid": "8211#6",
"text": "อุปกร่ณ์ส่งสัญญาณ หรือ ringer, รูปซ้ายประกอบด้วยกระดิ่ง (A7) หรือ beeper หรือ หลอดไฟอื่น ๆ (A7) เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ให้รู้ว่ามีสายเรียกเข้า และปุ่มตัวเลขหรือหน้าปัดแบบหมุน (A4) เพื่อป้อนหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการโทรออก ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริการโทรศัพท์ landline คือสายไฟ ดังนั้นโทรศัพท์จึงส่งเสียงทั้งขาเข้าและขาออกโดยใช้สายไฟคู่บิดเดียวกัน สายคู่บิดจะมีจำนวนรอบการบิดต่อระยะความยาวจำนวนหนึ่งที่จะหักล้างการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้า () หรือ EMI และ crosstalk ได้ดีกว่าสายเดียวหรือคู่สายที่ไม่บิด สัญญาณเสียงขาออกจากไมโครโฟนที่แข็งแรงไม่ได้เอาชนะสัญญาณ ลำโพงที่เข้ามากับ sidetone ที่มีความแรงน้อยกว่าเพราะขดลวดไฮบริด (A3) ตัดลบสัญญาณ ของไมโครโฟนออกจากสัญญาณที่ส่งไปยังลำโพง กล่องแยก(B)ป้องกันฟ้าผ่าด้วย lightning arrester (B2) และตัวปรับความต้านทานของสาย(B1)เพื่อเติมเต็มสัญญาณไฟฟ้าสำหรับความยาวของสายโทรศัพท์, B1 ทำการการปรับเปลี่ยนที่คล้ายกันกับ A8 สำหรับความยาวสายภายใน. แรงดันไฟฟ้าที่สายเป็นลบเมื่อเทียบกับดิน เพื่อลดการกัดกร่อนแบบ galvanic corrosion เพราะไฟฟ้าแรงดันลบจะดึงดูดไอออนบวกของโลหะเข้ามาที่สายไฟ",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "40391#18",
"text": "หนึ่งในตัวอย่างที่รู้จักดีที่สุดของเทคโนโลยีไร้สายก็คือโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือที่เรียกว่าโทรศัพท์มือถือ ที่มีมากกว่า 4.6 พันล้านผู้เช่าทั่วโลก ณ สิ้นปี 2010. โทรศัพท์ไร้สายเหล่านี้ใช้คลื่นวิทยุเพื่อช่วยให้ผู้ใช้โทรศัพท์โทรฯเข้าออกจากหลาย ๆ สถานที่ทั่วประเทศ ที่สัญญาณส่งไปถึง",
"title": "การสื่อสารไร้สาย"
},
{
"docid": "567370#4",
"text": "ปัจจุบัน เครื่องโทรศัพท์ถูกทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และถูกผนวกเข้าอยู่ในระบบโทรศัพท์แบบดิจิทัล นั่นคือมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บริการโทรศัพท์นั่นเอง การใช้โทรศัพท์สามารถทำได้แบบดิจิทัล แต่จะจำกัดเฉพาะในกรณีที่ไมล์สุดท้ายเป็นแบบดิจิทัล หรือในที่จะมีการแปลงระหว่างสัญญาณดิจิตอลและอนาล็อกเกิดขึ้นภายในเครื่องโทรศัพท์ ความก้าวหน้านี้ ได้ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารและเพิ่มคุณภาพของบริการเสียง สิ่งนี้ถูกพบว่าเป็นประโยชน์ในการให้บริการเครือข่ายใหม่ที่เรียกว่า integrated Switched Digital Network หรือ ISDN ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วผ่านสายโทรศัพท์",
"title": "ระบบโทรศัพท์"
},
{
"docid": "228200#0",
"text": "เสียงเรียกเข้า หรือ สัญญาณเรียก () คือเสียงที่สร้างขึ้นจากโทรศัพท์ โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสายเข้าหรือได้รับข้อความ หรืออาจหมายถึงเสียงบนโทรศัพท์ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้",
"title": "เสียงเรียกเข้า"
}
] |
3603 | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก่อตั้งเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "12289#0",
"text": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 6 คณะ 6 วิทยาลัย",
"title": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์"
}
] | [
{
"docid": "12289#4",
"text": "วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2553 เป็นวิทยาลัยนานาชาติจีนที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมทุน เพื่อทำการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศจีนคือมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิงกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์\nวิทยาลัยนานาชาติจีน เปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาไทย นักศึกษาจากประเทศจีน และนักศึกษาจากนานาชาติ เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติโดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อการสอน โดยวิทยาลัยนานาชาติจีน ทำหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กับสถาบันเครือข่ายในประเทศจีน\nสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยการรวมตัวของนักศึกษาจากทุกคณะ ภายใต้การสนับสนุนของ ท่านอดีตอธิการบดี ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ที่ ต้องการให้องค์กรนี้เป็นศูนย์รวมของศิษย์เก่า ไม่ว่าจะเป็นยุคของสถาบัน หรือวิทยาลัย เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งในคณะก่อตั้งดังกล่าว ได้รับแนวทางมาปฏิบัติ และมีการยื่นจดทะเบียนขอจัดตั้งเป็น “สมาคมนักศึกษาเก่าวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2524 โดยมี คุณธารา รัตนพิภพ (ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์) เป็นนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2524 - 2526) มีเงินทุนในการดำเนินงานของสมาคมฯ จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่เกิดขึ้นจากรายได้ในการฉลองปริญญาบัตร ที่สำเร็จการศึกษา โดยมีที่ทำการของสมาคมฯ อยู่ที่ 73 ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร\nต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในสมัยที่ท่าน ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้มีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงชื่อและข้อบังคับสมาคมฯใหม่เป็น “สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานะภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในแต่ละยุคได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในการอนุญาตให้ใช้สถานที่บริเวณชั้นล่างของอาคารสำนักอธิการบดี เป็นสถานที่ตั้งและทำงานของสมาคมฯ\nปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิก ประมาณ 25,000 คน และจะยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี จากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไป รับใช้สังคม และสมาคมฯ มีนโยบายที่ต้องการจะขยายส่วนงานของศิษย์เก่าและสมาชิกออกไปในภาคต่าง ๆ เพื่อ ประสานความดีงามและเป็นประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป",
"title": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์"
}
] |
2886 | ใครเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซูบารุ? | [
{
"docid": "545351#2",
"text": "นาย เคนจิ คิตะ ผู้บริหารของFHI ณ ขณะนั้น มีความต้องการที่จะให้บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตรถยนต์ และไม่นานก็เริ่มวางแผนที่จะสร้างรถยนต์ โดยใช้รหัสในการพัฒนาคือ P-1. ในระหว่างการพัฒนา นาย คิตะ พยามที่จะเสนอให้มีการตั้งชื่อให้กับรถยนต์คันใหม่ที่พวกเขากำลังพัฒนาอยู่นั้น แต่ไม่มีชื่อไหนที่น่าสนใจมากพอที่จะยกมาใช้เลยแม้แต่ชื่อเดียว. ในท้ายที่สุดนั้นเขา ต้องการจะใช้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น \"ซูบารุ\" (スバル) เป็นชื่อที่เขาเลือกใช้, สำหรับชื่อ ซูบารุ นั้นในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่ากระจุกดาวลูกไก่. รถยนต์คันแรกของซูบารุนั้นมีชื่อว่า ซูบารุ 1500.",
"title": "ซูบารุ"
}
] | [
{
"docid": "351239#2",
"text": "เลกาซี เปิดตัวครั้งแรก ด้วยราคาแนะนำ 2.55 ล้านเยน (ประมาณ 18,800 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยนในปีนั้น) ในช่วงนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นระดับผู้นำตลาดหลายราย ได้มีการสร้างรถยนต์ยี่ห้อใหม่เป็นของตนเอง ซึ่งจะเน้นไปที่การผลิตรถยนต์ประเภทหรูหรา เครื่องยนต์กำลังแรงสูง วี6 วี8 เช่น ฮอนด้า เปิดยี่ห้อ แอคิวรา, โตโยต้า เปิดยี่ห้อ เล็กซัส, นิสสัน เปิดยี่ห้อ อินฟินิที, มาสด้า เปิดยี่ห้อ อมาติ ยูโนส ซีดอส และแองฟินิ ส่วนซูบารุนั้นไม่มี แต่อย่างไรก็ตาม ซูบารุออกแบบเลกาซีมาให้มีความหรูหรา และล้ำหน้าอยู่พอสมควร",
"title": "ซูบารุ เลกาซี"
},
{
"docid": "498981#1",
"text": "ปี 1998 2 ผู้ก่อตั้ง หม่า ฮว่าเจิน และ จาง จื้อตง โดย หม่า เคยติดอันดับที่ 16 ของคนรวยที่สุดในแผ่นดินใหญ่และรวยที่สุดในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของจีน โดยก่อนหน้านี้ทั้งสองทำงานอยู่ในบริษัทโอเปอเรเตอร์มือถือตั้งแต่สมัยยังใช้เพจกันอยู่ ปัจจุบันผู้บริหารโหลใหญ่ของที่นี่ล้วนเป็นสายเลือดมังกรทั้งสิ้น และอายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 26 ปี ตลอดช่วงปีแรกๆ ที่สร้าง QQ ผู้บริหารพยายามขาย QQ ให้กับบริษัทใหญ่ๆ แต่ไม่มีใครยอมซื้อ ปี 2000 ได้เงินทุน 77 ล้านบาทจากบริษัทเงินทุนในอเมริกาและฮ่องกง แลกกับหุ้น 40% ปี 2000 ผู้ใช้ QQ พุ่งถึง 100 ล้านคน แต่บริษัทก็ยังหาเงินด้วยตนเองไม่ได้ เลยร่วมมือกับไชน่า โมบายล์ เชื่อมบริการหลายอย่างจาก QQ ไปมือถือ เช่น ส่งข้อความ เล่นเกม หาคู่ผ่านมือถือ ปี 2001 เริ่มมีกำไร 51 ล้านบาท ปี 2002 ยอดผู้ใช้ 160 ล้านคน กำไรพุ่งไป 14 เท่าจากปีที่แล้ว ปี 2004 เริ่มบุกฮ่องกง และเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย ปี 2006 ลงทุน 500 ล้านบาทสร้างสำนักวิจัยของตัวเอง เป็นสถาบันวิจัยด้านอินเทอร์เน็ตที่แรกของจีน มีสาขาที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเสิ่นเจิ้น ปี 2008 ขยายบริการอื่นๆ เช่น ออนไลน์เกม (มีเกมออนไลน์ใหม่ๆ ออกทุกๆ เดือน) อีเมล เว็บค้นหาข้อมูล soso.com (ที่วันนี้เป็นอันดับ 3 รองจากไป๋ตู้ (baidu.com) และ กูเกิล) ปี 2009 ย้ายออฟฟิศใหม่ไปที่ Tencent Building ตึกสูง 39 ชั้นตั้งอยู่ใจกลางย่านไอทีของเสิ่นเจิ้น ปี 2010 จ่ายเงินหมื่นกว่าล้านบาทให้กับบริษัท Digital Sky Technologies Ltd. ในรัสเซียเพื่อแฝงการลงทุนในหุ้นของเฟซบุ๊ก[4] ปี 2012 ได้เปิดตัวโปรแกรมแชท ชื่อดัง วีแชท ในประเทศไทย เมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือ จาก เว็บไซต์ ชื่อดังของไทย สนุก ดอตคอม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ โปรแกรมแชทนี้ ถึง 200 ล้านคนทั่วโลก",
"title": "เทนเซ็นต์"
},
{
"docid": "901264#2",
"text": "ในระหว่างการเปิดตัวภาพยนตร์ เจ้าของลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน สึบุระยะพรอดักชันส์ ไม่พอใจกับการที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวถูกฉีกออกโดยใช้ตัวละครชื่อดังกล่าวโดยระบุว่า \"บริษัทของเราไม่ได้เชื่อมต่อกับเรื่องนี้\" และ \"ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นคำถาม ถูกสร้างขึ้นโดยปราศจากความยินยอมหรือการกำกับดูแลของเรา\" ด้านประธาน และ CEO ของสึบุระยะพรอดักชันส์ Shinichi Oka ได้แสดงความคิดเห็นเชิงลบต่อภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวว่า \"งานนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือมีการกำกับดูแลของเรา นอกจากนี้การใช้ภาพอุลตราแมนเป็นต้นในงานนำเสนอนี้ได้ทำลายแบรนด์อุลตร้าแมน อย่างร้ายแรงและเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งหมด ... เราตั้งใจที่จะใช้มาตรการเด็ดขาดรวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายกับ บริษัท จีนที่ทำประกาศฉบับนี้และ คนที่เกี่ยวข้องในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้\" นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังก่อให้เกิดข้อพิพาททางกฎหมายระหว่าง สึบุระยะพรอดักชันส์ กับสมโพธิ แสงเดือนฉาย ผู้ก่อตั้งบริษัท ไชโยโปรดักชั่นส์ จำกัด และ บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ในประเทศจีนเกี่ยวกับใบอนุญาตของแฟรนไชส์อุลตร้าแมนนอกญี่ปุ่น การโต้เถียงได้มีมายังเว็บไซต์ข่าวญี่ปุ่นและไซต์แฟนไซต์มากมายที่ไม่มีการฟ้องร้อง อย่างไรก็ตาม สึบุระยะพรอดักชันส์ ได้ประกาศว่าพวกเขาจะเข้าร่วมกับ BlueArc Animation, Vision Pictures, TIGA Entertainment, UM Corporation และ Chaiyo Productions ไปยังศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อพิจารณาว่าใครชนะสิทธิ์ในอุลตร้าแมน",
"title": "ดรากอนฟอร์ซ: โซลองอุลตร้าแมน"
},
{
"docid": "794232#2",
"text": "ในเดือนพฤษภาคมปี 2002 Musk ก่อตั้ง SpaceX ผู้ผลิตอวกาศและ บริษัท ให้บริการขนส่งอวกาศซึ่งเขาเป็น CEO และนักออกแบบนำทาง เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทสลาอิงค์ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในปีพ. ศ. 2546 และดำเนินงานในฐานะ CEO และสถาปนิกด้านผลิตภัณฑ์ ในปีพ. ศ. 2549 เขาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบริษัท SolarCity ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทย่อยของเทสลาและดำเนินงานเป็นประธาน ในปี 2015 มัสค์ได้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยที่ไม่หวังผลกำไรที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม ปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นมิตร ในเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 เขาได้ร่วมก่อตั้ง Neuralink ซึ่งเป็น บริษัท ด้านประสาทเทคโนโลยี่ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาอินเตอร์เฟซคอมพิวเตอร์สมองและเป็นซีอีโอของบริษัทในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2559 บริษัท Musk ได้ก่อตั้งบริษัท The Boring Company ซึ่งเป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานและอุโมงค์ก่อสร้าง",
"title": "อีลอน มัสก์"
},
{
"docid": "545514#5",
"text": "ในiรุ่นที่ใช้ระบบเกียร์ธรรมดา 3จังหวะนั้น สามารถทำความเร็วูงสุดได้ถึง 60 ไมล์ต่อชัวโมง หรือ ประมาณ 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยน้ำหนักตัวประมาณ 450 กิโลกรัม ส่งผลให้ ซูบารุ 360 ได้รับการยกเว้นจากการบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา รายงานผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาบันทึกไว้ว่า ซูบารุ 360 สามารถทำความเร็วจาก 0-60 ไมล์ต่อชั่วโมง ได้ที่ประมาณ 37 วินาที และอัตราการบริโภคที่ประมาณ 25-35 ไมล์ ต่อ แกลลอน หรือ ประมาณ 11-15 กิโลเมตร ต่อ ลิตร เครื่องยนต์ EK31 รุ่นแรก มีกำลังเพียง 16 แรงม้าเท่านั้น ส่วนในรุ่นสปอร์ทที่ใช้เครื่องยนต์ EK32 มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 25 แรงม้า และ 36 แรงม้าในรุ่นสุดท้ายของสายการผลิต ในรุ่นส่งออกนั้น ซูบารุได้ติดตั้งเครื่องยนต์ EK51 เพื่อแทนที่เครื่องยนต์ EK31 เดิม ทำให้ได้กำลังเพิ่มขึ้นเป็น 23 แรงม้าอีกด้วย",
"title": "ซูบารุ 360"
},
{
"docid": "61659#1",
"text": "เรื่องราวเกี่ยวกับ สึเมรากิ ซูบารุ หนุ่มน้อยผู้มีจิตใจอ่อนโยน แท้จริงแล้ว เขาเป็นผู้นำของตระกูลสึเมรากิ ตระกูลผู้ใช้เวทย์ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เขารับงานต่างๆเพื่อหวังช่วยเหลือผู้คนเรื่อยมา\nซูบารุและพี่สาว (เป็นพี่น้องฝาแฝด) โดยซูบารุจะสวมถุงมือตลอดเวลา เนื่องจากตอนเด็ก ในฤดูหนาว ท่ามกลางหิมะ ซุบารุได้ไปเดินเล่นไปยังต้นซากุระ และเห็นคนของตระกูลซากุระ ฆ่าคนแล้วฝังไว้ใต้ต้นซากุระ ซึ่งโดยปกติ หากใครได้เห็นจะต้องถูกฆ่า แต่คนตระกูลซากุระได้ไว้ชีวิตซูบารุไว้ โดยทำเครื่องหมายดาวกลับหัวสัญลักษณ์ของซากุระสึกะโมโนริไว้หลังมือทั้ง 2 ข้างของซูบารุ โดยคนตระกูลซากุระจะมาฆ่าซูบารุหากการเจอกันอีกครั้ง คนตระกูลซากุระยังไม่สามารถทำให้ตัวเองรักซุบารุได้สำเร็จ",
"title": "โตเกียวบาบิโลน"
},
{
"docid": "351239#13",
"text": "เลกาซีรุ่นที่ 5 ที่ใช้เครื่องยนต์ 2500 ซีซี พร้อมระบบอัดอากาศ ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Sleeper ซึ่งหมายถึงรถที่มีสมรรถนะการขับขี่ที่สูง แต่ภายนอกนั้นเหมือนรถบ้านทั่วไป\nSubaru Legacy โฉมล่าสุด จ่อเปิดตัวที่ Chicago Auto Show ฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรีส์ เจ้าของแบรนด์รถยนต์ซูบารุ ได้ออกมาประกาศว่าจะมีงานแถลงเปิดตัว Subaru Legacy รุ่นใหม่ล่าสุดในงานชิคาโก้ออโต้โชว์ ที่บริเวณบูธของซูบารุในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ซูบารุ เลกาซี่ เป็นรถซีดานขนาดกลาง ซึ่งถือเป็นโมเดลแฟลกชิพอีกรุ่นของซูบารุเลยก็ว่าได้ เลกาซี่โฉมใหม่นี้จะมาพร้อมกับสมรรถนะการขับขี่ที่ถูกปรับปรุงขึ้นจากรุ่นก่อน เพิ่มความสะดวกสบาย อ็อพชั่นที่มากขึ้น และสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของค่ายซูบารุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ซูบารุเคยกล่าวไว้เมื่อครั้งเปิดตัวรถคอนเซ็พท์ที่ LA Auto Show ปีที่แล้ว.",
"title": "ซูบารุ เลกาซี"
},
{
"docid": "667426#26",
"text": "การถ่ายภาพในสัปดาห์นี้ พวกเธอได้พบกับ ผู้บริหารของ รถยนต์ ซูบารุ เกล็น ตัน โดยผู้ที่ถ่ายภาพได้ดีที่สุดในครั้งนี้ จะได้เป็น ตัวแทนสินค้าคนใหม่ ของซูบารุ โดยพวกเธอยังได้พบกับ โจดิลลี่ เพนเดร และ นาตาลี พิคเคิลส์ ตัวแทนผู้เข้าแข่งขันจากฤดูกาลที่แล้ว มาโชว์ในรูปร่าง ที่ถูกเพ้นท์ตัวด้วยสี และให้คำแนะนำกับสาวๆ โดยพวกเธอ ได้รับสีรถ และธีมที่จะต้องถ่ายคู่ดังนี้",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "655586#2",
"text": "ที่มาของแอปพลิเคชัน Whoscall นั้น มาจากการรวมตัวทางความคิดระหว่างสามผู้ก่อตั้ง จึงเกิดเป็น Gogolook ที่ในขณะนั้นทั้งสามได้ปลีกตัวจากงานประจำของพวกเขาเพื่อตรวจสอบและรวบรวมความคิดที่หลากหลาย จนกระทั่งวันหนึ่งหลังจากมีสายเรียกเข้าแปลก ๆ โทรเข้ามาขณะประชุมกันอยู่ ทั้งสามจึงพยายามเซิร์ชหาว่าเป็นใครบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้ทำให้พวกเขาทั้งหมดเกิดข้อสงสัยว่า ถ้าเป็นแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบแบบนี้ จะเป็นไปได้หรือไม่\nWhoscall รุ่นแรกถูกปล่อยในเดือนสิงหาคม ปี 2010 และไม่นานก็ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้น หลังจาก นายเอริก ชมิดต์ ประธานบริหารของบริษัท Google ได้กล่าวถึง Whoscall ว่า \"แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Whoscall บอกคุณได้ว่าใครโทรมา ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และมาจากประเทศไต้หวันด้วย\"\nในตอนนั้นเองที่ทั้งสามผู้ก่อตั้งได้ตัดสินใจออกจากงานประจำของพวกเขา เพื่อทุ่มเทกับการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างจริงจัง และได้เกิดเป็น บริษัท Gogolook จำกัด ในปี 2012 \nบริษัทได้รับการสนันสนุนอย่างต่อเนื่องจาก Trinity Investment Corp. และนักลงทุนมากมาย ",
"title": "ฮูส์คอลล์"
},
{
"docid": "553821#11",
"text": "ซูบารุ อิมเพรสซ่า รุ่นที่ 5 เป็นรถยนต์นั่งรุ่นที่สองของซูบารุ ที่ได้รับรางวัลรถยนต์นั่งยอดเยี่ยมแห่งปีของประเทศญี่ปุ่นประจำปี 2559-2560 (2016–2017 Car of the Year Japan) ด้วยคะแนน 420 คะแนน เอาชนะ โตโยต้า พริอุส ที่ได้ มา 371 คะแนน เปิดตัวเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีให้เลือกทั้งตัวถังซีดาน 4 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู พร้อมตั้งเป้าหมายยอดขายเดือนละ 2,500 คัน แต่สามารถกวาดยอดจองไปได้สูงถึง 11,050 คัน โดยทางบริษัท Fuji Heavy Industries ระบุว่า 51% จากยอดจองดังกล่าว ล้วนเป็นยอดจองจากลูกค้าที่ย้ายค่ายมาจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น จุดเด่นของ อิมเพรสซ่า รุ่นที่ 5 ประกอบไปด้วย โครงสร้างพื้นฐาน ซูบารุ โกลบอล แพลตฟอร์ม ที่มีความแข็งแกร่งกว่าโครงสร้างพื้นฐานในอิมเพรสซ่ารุ่นที่แล้ว 70-100%, มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำกว่าอิมเพรสซ่ารุ่นที่แล้ว 5 มิลลิเมตร, ติดตั้งระบบ Active Torque Vectoring มาให้ และยังเป็นรถยนต์ญี่ปุ่นรุ่นแรก ที่มีถุงลมนิรภัยสำหรับ คนเดินถนนอีกด้วย สำหรับขุมพลังนั้นมีให้เลือก 2 รุ่น ประกอบไปด้วย เครื่องยนต์ Boxer 4 สูบ ความจุ 1.6 ลิตร และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ CVT",
"title": "ซูบารุ อิมเพรสซ่า"
},
{
"docid": "545351#1",
"text": "ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี เริ่มจากการเป็น \"ห้องค้นคว้าวิจัยอากาศยาน\" ในปี 1915 และในปี 1932 ก็เกิดเป็น บริษัท นากาจิมา แอร์คราฟ จำกัด อีกไม่นานก็กลายเป็นผู้ผลิตอากาศยานหลักของประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 และในช่วงปลายของสงคราม บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฟูจิ ซังเงียว จำกัด (Fuji Sangyo Co, Ltd). ในปี1946 บริษัท ฟูจิ ซังเงียว ได้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์ชื่อ ฟูจิแรบบิท โดยใช้ชิ้นส่วนจากอากาศยานที่บริษัทผลิตให้กับกองทัพในช่วงสงคราม. ในปี 1950 บริษัท ฟูจิ ซังเงียว ถูกแบ่งออกเป็น 12 บริษัทย่อย. ระหว่างปี1953 ถึง ปี1955, 5 ใน 12 บริษัทย่อยที่ถูกแบ่งออกจาก บริษัท ฟูจิ ซังเงียว ได้แก่ บริษัท ฟูจิโค๊ะเงียว (Fuji Kogyo) ผู้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์, บริษัท ฟูจิจิโดฉะ (Fuji Jidosha) ผู้ผลิตรถบัส, บริษัท โอมิยะฟูจิโค๊ะเงียว (Omiya Fuji Kogyo) ผู้ผลิตเครื่องยนต์, บริษัท อุ๊ตซึโนะมิยะ ซาเรียว (Utsunomiya Sharyo) ผู้ผลิตตัวถัง และ บริษัท โตเกียว ฟูจิดังเงียว (Tokyo Fuji Dangyo) ซึ่งทำการค้าระหว่างประเทศ ได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น บริษัท ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี (Fuji Heavy Industries หรือ FHI).",
"title": "ซูบารุ"
},
{
"docid": "140758#3",
"text": "โฮชิคาวะ ซูบารุ (星河 スバル) / ร็อคแมน (ロックマン) เด็กชายผู้สูญเสียพ่อไปจากการหายสาบสูญของสถานีอวกาศ เขาจึงเก็บตัวไม่ยอมมีเพื่อนและไม่ไปโรงเรียน จนกระทั่งเขาได้พบกับวอร์ร็อค (ウォーロック, Omega-XIS ในภาษาอังกฤษ) สิ่งมีชีวิตจากดาว FM ซึ่งหนีมายังโลกเพราะได้ชิงกุญแจปลดผนึกอาวุธที่ดาว FM จะใช้เพื่อโจมตีโลก วอร์ร็อคได้รวมร่างกับซูบารุเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[966,979,3,3]}'>ร็อคแมน (ロックマン, Mega Man) และได้ให้ซูบารุต่อสู้กับเหล่า FM ตนอื่นๆ ที่จะมาเอากุญแจคืนมาจากวอร์ร็อคและเพื่อปกป้องผู้อื่น ทำให้ซูบารุได้เรียนรู้ถึงมิตรภาพและเปลี่ยนจิตใจของเขาในระหว่างที่เกมดำเนินเรื่อง วอร์ร็อก (ウォーロック, Omega-XIS) ชาวดาว AM ที่หลบหนีมากจากดาว AM ที่ถูกทำลายเป็นคู่หูของซูบารุในการแปลงร่างเป็นร็อคแมน ฮิบิกิ มิโซระ (響 ミソラ, Sonia Strumm) / ฮาร์ปโน้ต (ハープ・ノート, Harp Note) เพื่อของซูบารุ เป็นนักดนตรีชื่อดัง พอได้พบกับซูบารุที่เคยสูญเสียเหมือนกันจึงได้เปิดใจให้กับเขา ในช่วงกลางของเกมเธอถูกบีบบังคับจากผู้จัดการ จนได้รับฮาร์พให้เธอร่วมร่างเป็นฮาร์พโน้ต แต่ท้ายที่สุดก็ได้ซูบารุช่วยปลุกเธอให้ตื่นขึ้นมาได้ ในระหว่างเกมเธอมักจะชวนซูบารุไปที่ต่างๆกันสองคน อาจจะว่าได้ว่เธอชอบซูบารุอยู่ ฮาร์ป (ハープ, Lyra) FM รูปร่างพิณ ในช่วงแรกเป็นศัตรูของร็อคแมนโดยรับเสียงของมิโซระและรวมร่างเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[1800,1815,3,3]}'>ฮาร์ปโน้ต แต่ภายหลังที่ซูบารุช่วยเธอไว้ได้ มิโซระขออย่าทำลายฮาร์ป ทำให้ฮาร์ปมาอยู่กับมิโซระและช่วยเหลือร็อคแมนในเกมภาคต่อๆมา ชิโรงาเนะ ลูนะ (白金 ルナ, Luna Platz) หนึ่งในเพื่อนร่วมชั้นของซูบารุในตำแหน่งหัวหน้าห้อง เป็นลูกคนรวยและมีนิสัยหยิ่งแต่มีจิตใจที่ดี เธอมักจะไปไหนมาไหนโดยมีกอนตะและคิซามาโระติดตามเสมอ เธอมักจะตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากบ่อยครั้ง แต่ได้ร็อคแมนมาช่วยไว้ ทำให้เธอประทับใจในตัวร็อคแมน ภายหลังได้รู้ว่าร็อคแมนคือซูบารุ เธอจึงมีความรู้สึกบางอย่างกับเขา ไซโซอิน คิซามาโระ (最小院 キザマロ, Zack Temple) หนึ่งในเพื่อนร่วมชั้นของซูบารุ มักจะเดิมตามลูนะอยู่บ่อยครั้ง เขามีความรู้มากและกลุ้มใจเรื่องความสูงของตนเอง อุจิชิมะ กอนตะ (牛島 ゴン太, Bud Bison) / อ็อกซ์ไฟเออร์ (オックス・ファイア, Taurus Fire) หนึ่งในผู้ร่วมชั้นของซูบารุ เป็นคนตัวใหญ่และกินจุ อ็อกซ์ (オックス, Taurus) FM ประเภทวัว เป็น FM ตัวแรกที่เดินทางมาถึงโลกมนุษย์ และได้รวมร่างกับกอนตะในช่วงที่เขากลัวว่าลูนะจะไม่ยอมเป็นเพื่อนกับเขา แต่หลังจากอ็อกซ์ทำลายไปแล้วแต่กลับคืนชีพขึ้นมาหลายครั้งท้ายที่สุดอ็อกซ์ได้กลับใจโดยเป็นคู่หูกับกอนตะและช่วยเหลือร็อคแมนไปในที่สุด โฮชิคาวะ ไดโกะ (星河 大吾, Kevin Stelar) พ่อของซูบารุ หายตัวไปในอวกาศหลายปีก่อนจากการระเบิดของสถานีอวกาศ แต่ในช่วงท้ายของเกมร็อคเปิดเผยว่าเขาเป็นคนแปลงสภาพคนในสถานีอวกาศให้เป็นคลื่นไฟฟ้าแล้วส่งไปในอวกาศ จึงเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะยังมีชีวิตอยู่ในสภาพคลื่นไฟฟ้าในอวกาศ โฮชิคาวะ อากาเนะ (星河 あかね, Hope Stelar) แม่ของซูบารุ เวลาที่ซูบารุกลุ้มใจ อากาเนะมักจะเป็นคนที่ให้คำแนะนำเขาเสมอมา โดยมักจะยกคำพูดที่ไดโกะชอบพูดมาเป็นกำลังใจให้ซูบารุ อาคาชิ มาโมรุ (天地 守, Aaron Boreal) เพื่อนของไดโกะ เป็นนักวิจัยของ AMAKEN มีบทบาทมากมายในการช่วยเหลือซูบารุและร็อคในการต่อสู้กับศัตรูต่างๆ ฟูทาบะ สึคาสะ (双葉 ツカサ, Patrick Sprigs) เพื่อนร่วมชั้นของซูบารุ มีนิสัยดีและมีน้ำใจ แต่จริงๆแล้วเขาเป็นคนที่มีสองบุคลิกเพราะเกิดจากพ่อแม่ของเขาถูกทิ้งไว้ใน กองขยะที่ดรีมไอสแลนด์และทำให้เกิดบุคลิกที่ 2 เกิดขึ้นมา ฟูทาบะ ฮิคารุ (双葉 ヒカル,Rey Sprigs) พี่ชายฝาแฝดและบุคลิกอีกคนของสึคาสะมีนิสัยชั่วร้ายโหดเหี้ยมต่างกับบุคลิกของสึคาสะอย่างสิ้นเชิง อุทางาอิ ชินสุเกะ (宇田海 深佑, Tom Dubius) โกโยดะ เฮย์จิ (五陽田 ヘイジ, Bob Copper) ตำรวจดาวเทียมที่ตามสืบเรื่องต่างๆอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยได้เรื่องเสียที นันโกคุ เคน (南国 ケン) เจ้าของร้าน Big Wave อิคุตะ โดโทคุ (育田 道徳) โซโล (ソロ) / บูไร (ブライ, Rogue) เด็กหนุ่มผู้มีสายเลือดของทวีปมูคนสุดท้ายแต่เนื่องจากทวีปมูล่มสลายโซโลจึงอยู่ในเมืองแต่กลับถูกคนอื่นรังเกียจทำให้เกิดความแค้นมนุษย์ขึ้นมาเป็นศัตรูคู่ปรับของชูบารุ โซโลสามารถแปลงร่างเป็นนักรบคลื่นไฟฟ้าได้โดยใช้สัญลักษณ์มูโดยไม่ใช้สิ่งมีชีวิตคลื่นไฟฟ้ามาใช้แต่มีพลังที่เท่ากับการที่รวมร่างกับสิ่งมีชีวิตคลื่นไฟฟ้า เป็นคู่ปรับและเพื่อนของซูบารุ",
"title": "ริวเซย์ โนะ ร็อคแมนซีรีส์"
},
{
"docid": "70490#6",
"text": "พี่สาวของซูบารุ อายุและยศมากกว่าซูบารุสองปี ได้เฟทช่วยไว้จากอุบัติเหตุไฟไหม้เมื่อสี่ปีก่อน ปัจจุบันทำงานอยู่ที่หน่วยภาคพื้นดินที่ 108 เช่นเดียวกับพ่อของเธอ ดีไวซ์ของเธอคือ บลิทซ์ คาลิเบอร์ (Blitz Caliber)และรีวอลเวอร์ นัคเคิล กับโรลเลอร์สเกต\nที่เคยเป็นของเมแกน อัลไพน์ เวทมนตร์ของเธอเป็นสายเบลก้าผสมมิดชิลด้า ภายหลังได้อัพเกรดอาวุธให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทางแผนกปฏิบัติการที่ 6 มอบให้ \nเด็กที่นาโนฮะช่วยไว้จากอุบัติเหตุไฟไหม้สนามบินจากลอสต์โลเกียเมื่อสี่ปีก่อน ทำให้เธออยากเป็นจอมเวทเหมือนาโนฮะเพราะเป็นไอด้อลประจำใจและพยามฝึกเวทที่ตัวเองไม่ชอบเพราะ เกลียดการทำร้ายกันเพื่อใช้พลังนั้นช่วยผู้คน หลังจากสอบผ่านการเลื่อนขั้นจอมเวทเป็นB ก็ได้รับการทาบทามจากหน่วยRiot6 เพื่อให้เข้าร่วมหน่วย\nอาวุธของเธอคือสนับมือชื่อ รีวอลเวอร์ นัคเคิล และโรลเลอร์สเกต เวทมนตร์ของเธอเป็นสายเบลก้าผสมมิดชิลด้า ภายหลังเธอได้อัพเกรดอาวุธให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวสนับมือยังเป็นอันเดิม แต่ได้เปลี่ยนตัวโรลเลอร์สเบลดเป็นดีไวซ์ มัค คาลิเบอร์ (Mach Caliber) ซึ่งมีความเร็วและความทนทานเพิ่มมากขึ้น มีท่าไม้ตายคล้ายท่าของนาโนฮะ คือ Divine buster แต่เป็นระยประชิดและความจริงแล้วซูบารุและพี่สาวกิงกะนั้นเป็นมนุษย์จักรกลสงครามโดยมีต้นแบบมาจากแม่ของซูบารุและกิงกะเพราะไม่มีลูกจึงรับทั้งสองคนไว้ดูแลเลย\nเป็นคู่หูกับซูบารู มีปืนเป็นอาวุธ เป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองสูง และวางแผนได้ดี เป็นจอมเวทสายมิดชิลด้าระดับBมีทักษะในด้านการยิงกระสุนเวท และเวทหลากหลาย และยังมีทักษะในด้านวิเคราะห์วางแผนและเป็นผู้นำด้วย เธอสอบตกการสอบเข้าโรงเรียนทัพฟ้าและเข้าโรงเรียนเตรียมทัพบกจนมีคนค่อนขอด ว่าทัพบกมันง่ายกว่าสินะทำให้เธอเจ็บใจ แต่ก็ได้พบกับซูบารุและต้องจับคู่กันช่วงแรกเธอไม่ชอบซูบารุเพราะชอบทำพลาด ซึ่งส่งผลต่อคะแนนของเธอ และเธอคิดว่าซูบารุเป็นลูกคุณหนูเข้ามาเรียนเล่นไม่ก็เส้นเข้ามา แต่หลังจากที่ได้พบความใสซื่อและร่าเริงของซูบารุเธอก็ชอบซูบารุ และกลายเป็นคู่สุดยอดของโรงเรียนไป เธอค่อนข้างฝังใจเรื่องของพี่เธอที่ตายในภารกิจ ปกติเธอจะเป็นคนจริงจังและดูเยือกเย็นแต่จริงๆแล้วกลับชอบฝืนเพราะคิดว่าตัว เองมีปมด้อยเรื่องที่ไม่มีพรสวรรค์ด้านเวทมนตร์เหมือนคนอื่นๆในทีม มีความสามารถในการยิงปืนเวทมนตร์และการสร้างภาพลวงตา ดีไวซ์ของเธอชื่อ ครอส มิราจ (Cross Mirage) ปกติจะอยู่ในรูปการ์ด และจะกลายเป็นปืน และมี Ai ในตัว เมื่อถูกเรียกใช้งาน ความฝันของเธอคือการเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ เธอรับช่วงต่อจากพี่ชายที่เสียชีวิตไปแล้วเมื่อหกปีก่อน",
"title": "สาวน้อยจอมเวท นาโนฮะ"
},
{
"docid": "545351#4",
"text": "ในปี 1999 เมื่อนิสสันถูกเข้าซื้อกิจการโดย เรโนล, พวกเขาขายหุ้นใน FHI ให้กับ เจเนอรัล มอเตอร์ (General Motors หรือ GM). ภายใต้การร่วมมือครั้งใหม่ระหว่าง GM และ FHI นั้น ซูบารุได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ได้แก่ บาฮา ในปี 2003 และ ไทรเบก้า ในปี 2005. ในประเทศอินเดียนั้น ซูบารุ ฟอเรสเตอร์ ถูกขายในชื่อ เชฟโรเลต ฟอเรสเตอร์ (เชฟโรเลต เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM). และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ในประเทศญี่ปุ่น โอเปิ้ล ซาฟิร่า (ในขณะนั้น โอเปิ้ล เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM) ก็ได้ถูกนำไปขายในชื่อ ซูบารุ ทราวิค เช่นเดียวกัน. นอกจากนี้รถยนต์ต้นแบบ เชฟโรเลต บอร์เรโก้ คอนเซปท์ (Chevrolet Borrego concept) ที่เปิดตัวในปี 2002 นั้น ยังใช้พื้นฐานมาจากแพลทฟอร์มของ ซูบารุ เลกาซี่ เทอร์โบ อีกด้วย. ในสหรัฐอเมริกา GM ยังได้นำพื้นฐานตัวถังของ ซูบารุ อิมเพรซซ่า ไปทำการดัดแปลงและขายในชื่อ ซ้าบ 9-2เอกซ์ (ในขณะนั้น ซ้าบ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM ). ส่วนSUVที่มีพื้นฐานตัวถังจาก ซูบารุ ไทรเบก้า ได้มีแผนที่จะนำมาดัดแปลงและขายในชื่อ ซ้าบ 9-6เอกซ์ แต่แผนนั้นก็ต้องถูกยุติลง. ส่วนเส้นสายที่ GM ได้ออกแบบไว้นั้น ถูกนำกลับมาใช้ใหม่โดยซูบารุเอง ในรุ่นปรับโฉมของ ไทรเบก้า.",
"title": "ซูบารุ"
},
{
"docid": "545514#6",
"text": "ซูบารุ 360 ถูกผลิตออกมาหลาหหลายรูปแบบตัวถัง ไม่ว่าจะเป็น 2 ประตู สเตชั่นวาก่อน (ซูบารุเรียกตัวถังสเตชั่นวาก่อนว่า คัสต้อม), ตัวถัง 2 ประตู เปิดประทุน, และตัวถัง 2 ประตู ซีดาน ที่ใช้เป็นพื้นฐานให้ต่อยอดไปเป็นรุ่นสปอร์ทที่ถูกผลิตออกมาถึง2รุ่นด้วยกัน รุ่นแรกคือ ซูบารุ ยัง เอส (Young S) มาพร้อมกับเครื่องยนต์ที่ถูกปรับปรุงขึ้นเล็กน้อย ซูบารุเรียกเครื่องยนต์ที่ถูกปรับปรุงนี้ว่า EK32F และยังใช้เกียร์ธรรมดา 4 จังหวะแทนเกียร์ 3 จังหวะเดิมอีกด้วย ภายในห้องโดยสารได้มีการเปลี่ยนจากเบาะเดี่ยวตอนยาวมาใช้เป็นเบาะแยกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารแทน ส่วนภายนอกนั้น หลังคาได้มีการคาดแถบสีขาวเข้าไปและทำเป็นร่องบุ๋มไว้สำหรับใส่กระดานโต้คลื่นอีกด้ว รุ่นต่อมาคือ ซูบารุ ยัง เอสเอส (Young SS) ในภาพรวมของ ยังเอสเอส นั้นมีความคล้ายคลึงกับ ยังเอส เพียงแต่ซูบารุทำการปรับปรุงเครื่องยนต์อีกครั้ง โดยการเปลี่ยนมาใช้กระบอกสูบชุบแข็ง และคาร์บูเรเตอร์คู่รุ่นBS32จาก มิคูนิ โซเลกซ์(Mikuni-Solex) ซูบารุเรียกเครื่องยนต์ที่ถูกปรับปรุงใหม่นี้ว่า EK32S ผลจากการปรับปรุงในครั้งนี้ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีแรงม้าสูงถึง 36 แรงม้า (หรือประมาณ 27 กิโลวัตต์) ทำให้เครื่องยนต์รุ่นนี้มีอัตราส่วนแรงม้าต่อปริมาตรเครื่องยนต์ที่ 100 แรงม้าต่อลิตร ",
"title": "ซูบารุ 360"
},
{
"docid": "135360#1",
"text": "อินุงามิ ซาเฮ เจ้าของธุรกิจผลิตผ้าไหมและผู้นำบริษัทอินุงามิ อดีตเด็กขอทานเร่ร่อนไร้ที่อยู่ ได้รับความช่วยเหลือจาก โนโนมิยา ไดนิ และ ฮารุโยะ ผู้เป็นภรรยา ซาเฮได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากไดนิจนเติบใหญ่ เคารพนับถือไดนิเป็นผู้มีพระคุณต่อตนเองอย่างสูงสุด ภายหลังซาเฮออกจากบ้านโนโนมิยา เพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตผ้าไหมเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง กิจการของซาเฮเจริญรุ่งเรืองตามลำดับกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ ซาเฮมีภรรยาสามคนและมีบุตรสาวต่างมารดาด้วยกันจำนวนสามคน คือ อินุงามิ มาซุโกะ อินุงามิ ทาเคโกะ และ อินุงามิ อุเมโกะ ซาเฮที่แก่ชราไม่ยอมวางมือจากผู้นำบริษัทอินุงามิ และไม่ยอมมอบตำแหน่งให้แก่บุตรสาวหรือลูกเขยคนใดคนหนึ่งในตระกูล ก่อนเสียชีวิตด้วยวัยแปดสิบเอ็ดปี สมาชิกทุกคนในตระกูลอินุงามิ มาร่วมดูใจซาเฮที่บ้านตระกูลอินุงามิ หนึ่งในนั้นมี โนโนมิยา ทามาโยะ หลานสาวบุญธรรมซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองกับอินุงามิ ซาเฮ รวมอยู่ด้วย เคียวโซ ฟูรุดาเทะ ทนายความประจำตระกูลอินุงามิ แจ้งให้สมาชิกทุกคนทราบถึงพินัยกรรมตระกูลที่ซาเฮได้ทำไว้ โดยที่ไม่มีใครในตระกูลทราบล่วงหน้ามาก่อน",
"title": "ฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ"
},
{
"docid": "45228#3",
"text": "ประสาท สุขุม เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทไทยฟิล์ม ร่วมกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และนายพจน์ สารสิน เมื่อ พ.ศ. 2481 สร้างภาพยนตร์ขึ้น 3 เรื่อง คือ \"ถ่านไฟเก่า\" (2481), \"แม่สื่อสาว\" (2481) และ \"วันเพ็ญ\" (2482) ก่อนจะขายกิจการและโรงถ่ายให้แก่กองทัพอากาศไทย ไปใน พ.ศ. 2483 ต่อมาได้สร้างภาพยนตร์อีก 1 เรื่อง คือ \"แผ่นดินของใคร\" เมื่อปี พ.ศ. 2502 ในปัจจุบัน ไทยฟิล์ม เปลื่ยนชื่อมาเป็น ไทยนครฟิล์ม เมื่อปี พ.ศ. 2552",
"title": "ประสาท สุขุม"
},
{
"docid": "351239#0",
"text": "ซูบารุ เลกาซี () เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง และเป็นรถธง ของค่ายรถยนต์ซูบารุ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดิมนั้น ซูบารุออกแบบให้เลกาซีเป็นรถยนต์ขนาดกลางทั่วๆ ไป เพื่อต้องการแข่งขันกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ โตโยต้า คัมรี่ แต่ต่อมาได้มีการออกแบบเลกาซีรุ่นพิเศษ โดยที่จะเน้นสมรรถนะให้สูงกว่ารถยนต์ขนาดกลางรุ่นอื่นๆ เช่น ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เครื่องยนต์เทอร์โบ บ็อกเซอร์สูบนอน ฯลฯ ปรากฏว่า เลกาซีรุ่นพิเศษนั้น ถูกนำไปเปรียบเทียบว่ามีความใกล้เคียงกับรถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้น หลายรุ่น เช่น เอาดี้ เอ4, อัลฟา โรเมโอ 159 และ บีเอ็มดับเบิลยู 3 ซีรีส์ ในเรื่องต่างๆ ดังนั้น การออกแบบเลกาซีทำให้ซูบารุได้รับการยอมรับและชื่นชมอย่างกว้างขวาง เมื่อซูบารุนำพื้นฐานการออกแบบของเลกาซี ไปออกแบบรถรุ่นใหม่หลายรุ่น เช่น Tribeca และ Outback ก็สามารถประสบความสำเร็จไม่น้อย รวมกับการที่รถรุ่นอื่นๆ ของซูบารุ จะเน้นไปที่การผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก ทำให้เลกาซี ได้เป็นรถธง ของซูบารุ ที่ประสบความสำเร็จในวงกว้าง",
"title": "ซูบารุ เลกาซี"
},
{
"docid": "545540#1",
"text": "ในปี 1960 ซูบารุ มีความต้องการที่จะสร้างรถยนต์รุ่นใหม่ขึ้นมาแทนที่ ซูบารุ 1500 พวกเขาจึงได้พัฒนารถยนต์ขึ้นมาหนึ่งรุ่นภายใต้รหัสโครงการ A-5 รถยนต์ต้นแบบระหว่างการพัฒนานั้นเป็นรถยนต์ขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์(Boxer engine) 4จังหวะ 4สูบ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ขนาด 1500cc ขับเคลื่อนล้อหน้า ระบบกันสะเทือนด้านหน้าแบบปีกนกคู่ จากทรัพยากรณ์ที่มีจำกัดของ FHI ซูบารุจึงต้องยุติโครงการไว้เพียงเท่านั้น ในช่วงที่ ซูบารุ 360 ถูกวางจำหน่ายอยู่นั้น ซูบารุเองต้องการรถที่นั่งสบายกว่า คันใหญ่กว่า และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้4คนโดยไม่รู้สึกคับแคบ ซึ่งดูเหมือนว่าโตโยต้า โคโรลล่า, นิสสัน ซันนี, มาสด้า แฟมิเลีย, ฮีโน่ คอนเตซซ่า, อิซูสุ เบลเลตต์, และ มิตซูบิชิ โคลต์ 1000 จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ซูบารุ 360 นอกจากจะต้องการรถยนต์ที่คันใหญ่ขึ้นนั่งสะบายขึ้นแล้วนั้น ซูบารุยังต้องการที่จะลดเสียงรบกวนและเพิ่มพื้นที่ภายในห้องโดยสาร โดยการย้ายเครื่องยนต์มาไว้ด้านหน้าของตัวรถและเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าแทนระบบขับเคลื่อนล้อหลังแบบเดิม รวมทั้งเปลี่ยนมาใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระทั้ง4ล้อ ณ ขณะนั้นรถยนต์ญี่ปุ่นที่ใช้เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ วางไว้บริเวณด้านหน้าของตัวรถและใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้านั้น มีเพียงแค่ โตโยต้า พับบลิก้า ที่ใช้เครื่องยนต์ ตระกูล U เท่านั้น\nในปี 1963 ซูบารุได้พยามยามที่จะเริ่มต้นโครงการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่อีกครั้ง ภายใต้รหัสโครงการ A-4 ด้วยความยาวตัวถัง , ความยาวฐานล้อ of , ความกว้างฐานล้อหน้า , ความกว้างฐานล้อหลัง , น้ำหนักรวม จากขนาดของตัวรถ A-4 จึงถูกจัดไว้ในรถขนาดเล็ก. เพื่อที่จะลดเสียงรบกวนและแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ ทั้งยังต้องการที่จะให้เครื่องยนต์มีขนาดเล็กลงอีกด้วย รถยนต์ต้นแบบ A-4 จึงถูกติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ขนาด 923cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ แทนที่เครื่องยนต์ 1500cc ระบายความร้อนด้วยอากาศ ที่ถูกติดตั้งในรถต้นแบบ A-5 รถยนต์ต้นแบบถูกทดลองผลิตออกมาทันทีในรหัสสายการผลิต A-63 และถูกเปิดตัวในชื่อ ซูบารุ 1000 \nในวันที่ 21 ตุลาคม ปี 1965 ซูบารุได้ทำการเปิดตัว ซูบารุ 1000 ครั้งแรกที่ โรงแรม ฮิลตัน โฮเตล โตเกียว(Hilton Hotel Tokyo) ในปัจจุบันรู้จักในชื่อ โฮเตล โตคิว แคปปิตอล(Hotel Tokyu Capitol) ในวันที่ 29 ตุลาคม หลังจากเปิดตัวได้ 8 วัน ซูบารุได้นำ ซูบารุ 1000 ไปแสดงที่งาน โตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่12 (12th Tokyo Motor Show) แต่กว่าที่จะเปิดจำหน่ายก็เป็นเวลากว่า 1 ปีหลังจากงานเปิดตัว ซูบารุเริ่มจำหน่าย ซูบารุ 1000 ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปี 1966",
"title": "ซูบารุ 1000"
},
{
"docid": "61659#2",
"text": "เวลาผ่านไป เมื่อ 2 พี่น้องโตขึ้น และได้รู้จักกับชายหนุ่ม \"ซากุระซึกะ เซย์ชิโร่\" เป็นสัตวแพทย์ จากนั้น เขาก็เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตของสองพี่น้อง\nเซย์ชิโร่ ได้แสดงความรักต่อซูบารุออกมาหลายครั้ง ทำให้การป้องกันตัวทางจิตใจของซูบารุอ่อนลง แม้จะรู้ว่าเซย์ชิโร่เป็นคนของ\"ซากุระสึกะโมโนริ\" ตระกูลนักฆ่าที่อำมหิตและโหดเหี้ยม\nเซย์ชิโร่เสียสละดวงตาข้างหนึ่งไปเพื่อป้องกันซูบารุจากหญิงผู้คลุ้มคลั่ง และได้มาซึ่งหัวใจของซูบารุ\nหากแต่ความลับที่เก็บงำไว้ ทำให้เรื่องราวของทั้งคู่เดินทางไปในทิศทางที่ไม่มีผู้ใดคาดคิด",
"title": "โตเกียวบาบิโลน"
},
{
"docid": "553821#5",
"text": "ในประเทศไทย บริษัท สยามซูบารุ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสยามกลการเคยนำเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรา เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยนำเลกาซีรุ่น BC เข้ามาจำหน่ายในไทย แต่สามารถสร้างยอดขายได้แค่พอประมาณเท่านั้น หากไม่ทำอะไรแล้วซูบารุอาจจะต้องม้วนเสื่อกลับไปญี่ปุ่นอย่างที่เคยเป็นมาก่อน รุ่นที่นำเข้ามีตั้งแต่รุ่น 1.6 ลิตร ขับเคลื่อนล้อหน้า 90 แรงม้า ซีดาน 4 ประตู ราคา 695,000 บาท รุ่น 1.8 ลิตร ขับเคลื่อนสี่ล้อ 103 แรงม้า มีทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ และมีตัวถังซีดาน 4 ประตูและสปอร์ตวากอน 5 ประตู โดยราคาตัวถังซีดาน 4 ประตูอยู่ที่ 795,000 บาท และรุ่น WRX เทอร์โบ เครื่องยนต์ EJ20 ราคา 985,000 บาท อาจจะมองว่าไม่แพง แต่สมัยนั้น Accord รุ่นนำเข้าราคา 1.17 ล้าน ถึงแม้จะแรงและขับสนุก แต่ภายในก็ไม่ต่างจากรถบ้านธรรมดา ต่างจาก Accord ซึ่งเป็นรถราคาแพงกว่า แต่ไม่เน้นขับสนุกมากนัก อิมเพรสซ่าที่ถูกขายออกไปส่วนมากมักจะเป็นรุ่นเครื่องยนต์ 1.6 และ 1.8 ลิตร พรีเซ็นเตอร์ในสมัยนั้นคือไตรภพ ลิมปพัทธ์ พิธีกรชื่อดังและเจ้าของบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด ทำให้ลูกค้าซูบารุทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้เซ็นใบจองเพื่อซื้อหาอิมเพรสซ่ามาขับขี่ ขายมาได้เรื่อยๆ เป็นตัวทำเงินให้กับซูบารุในไทยเรื่อยมา (ซึ่งปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้นกับ Subaru XV ในปัจจุบันเช่นกัน) ภายหลังได้มีการไมเนอร์เชนจ์ตามตลาดออสเตรเลีย จะได้แรงม้าเพิ่มจาก 210 แรงม้าเป็น 218 แรงม้าด้วยอานิสงส์ของการปรับจูนเครื่องตามแบบ PHASE II พร้อมพวงมาลัย MOMO สี่ก้าน พร้อมติดตั้งถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับและผู้โดยสารตอนหน้ามาด้วย ล้อ 16 นิ้ว และสปอยเลอร์แบบเตี้ย ในชื่อ Impreza Turbo Plus ซึ่งในตลาดมือสองจะหายากมากถึงมากที่สุด เพราะมีขายออกไปไม่กี่คัน ต่างจาก GC รุ่นแรกๆที่มีขายทั้งแบบเทอร์โบและรถ 1.6 กับ 1.8 จึงหารถแปลง รถทำได้ง่ายกว่ามาก ปัจจุบันยังมีให้เห็นตามท้องถนนทั่วไปอยู่เรื่อยๆ",
"title": "ซูบารุ อิมเพรสซ่า"
},
{
"docid": "939148#0",
"text": "บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด () เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2552 ในปัจจุบัน วราวุธ เจนธนากุล เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท สำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยสหการประมูล เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร โดยในปัจจุบัน ทางบริษัทเน้นผลิตรายการโทนทัศน์ประเภทเกมโชว์และเรียลลิตี้โชว์ ที่ผลิตและพัฒนารูปแบบรายการเอง และซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการจากต่างประเทศเป็นหลัก รวมทั้งผลิตรายการประเภทวาไรตี้, ทอล์กโชว์ และละครโทรทัศน์ ให้กับทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ หลายรายการ\nเซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ วราวุธ เจนธนากุล และ รุ่งธรรม พุ่มสีนิล ซึ่งในช่วงก่อนก่อตั้งบริษัทฯ นั้น รุ่งธรรมกำลังดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายผลิตของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้ชักชวนวราวุธ ซึ่งในช่วงนั้นกำลังดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยประธานกรรมการ บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) ให้มาเป็นพิธีกรรายการ \"\"ตู้ซ่อนเงิน\"\" และ \"\"เก่งยกห้อง\"\" ที่รุ่งธรรมรับผิดชอบในการผลิตรายการอยู่ ในช่วงนั้นวราวุธได้เรียนรู้และสนใจวิธีการทำงานของการผลิตรายการโทรทัศน์ในขั้นเบื้องต้น ซึ่งหลังจากรุ่งธรรมลาออกจากบริษัทเวิร์คพอยท์ฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2552 วราวุธจึงได้ตกลงกันว่าอยากจะเปิดบริษัทที่เป็นของพวกเขาทั้งคู่เอง เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ มุ่งมั่นจะเป็นผู้ผลิตแนวหน้า ที่สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่เป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับผู้ชม ด้วยการมุ่งผลิตสิ่งที่ดี ๆ แก่สังคม ไม่สร้างปัญหาในแง่มุมมืดหรือคำถามจากสังคม ภายหลังรุ่งธรรมได้ขอแยกตัวออกไปก่อตั้งบริษัท มีมิติ จำกัด ซึ่งได้ร่วมทุนในการก่อตั้งร่วมกับบริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด ซึ่งอยู่ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)",
"title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์"
},
{
"docid": "553821#0",
"text": "ซูบารุ อิมเพรสซ่า (English: Subaru Impreza) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ผลิตโดยซูบารุ เริ่มผลิตและเปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2535 เพื่อแข่งขันกับรถยนต์ Compact Car ยอดนิยมของญี่ปุ่นและของโลก เช่น Toyota Corolla ,Nissan Sunny ,Honda Civic ,Mitsubishi Lancer และ Mazda Familia หรือ 323 เป็นต้น โดยเข้ามาทดแทนรถ Compact Car รุ่นเก่า ซูบารุ ลีออน และซูบารุยังส่งอิมเพรสซ่าไปแข่งขันในการแข่งขันเวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพ อีกด้วยมีคู่แข่งในสมัยเดียวกัน เช่น แลนเซีย, มิตซูบิชิ, โตโยต้า, ฟอร์ด, นิสสัน, มาสด้า, ซีตรอง, และ เปอโยต์ จนคว้าแชมป์เวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพในประเภทผู้ผลิตติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2538-2540) และได้รับถ้วยรางวัลประดับสำนักงานใหญ่ย่านชินจูกุ กรุงโตเกียวหลายครั้งอีกด้วย",
"title": "ซูบารุ อิมเพรสซ่า"
},
{
"docid": "14288#35",
"text": "คริส เอสปิโนซา: \"แผนการมโหฬารที่จะให้แมคอินทอชเป็นอย่างไรในอนาคตนั้น ช่างห่างไกลจากความจริงที่สินค้าชิ้นนี้เป็นอยู่ และความจริงที่สินค้านี้เป็นอยู่ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ยังสามารถกู้สถานการณ์ได้ แต่ช่องว่างระหว่างสิ่งทั้งสองนั้นมีมากเหลือเกิน จนต้องมีใครสักคนหนึ่งทำอะไรกับมัน และใครคนนั้นในตอนนั้นก็คือจอห์น สกัลลีย์\" จอห์น สกัลลีย์: \"คณะกรรมการจะต้องตัดสินใจเลือก และผมพูดว่า เอาละ มันเป็นบริษัทของสตีฟ ผมมาที่นี่เพื่อช่วย ถ้าคุณต้องการให้เขาบริหารงาน ผมก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่อย่างน้อยที่สุดเราต้องตัดสินใจว่าเราจะทำอะไร และทุกคนต้องหนุนหลังมันอยู่ ... และในที่สุดแล้วเมื่อคณะกรรมการได้พูดกับสตีฟ และกับผม เราตัดสินใจที่จะเดินหน้าแผนการของผมต่อไป และสตีฟก็จากไป\" สตีฟ จอบส์: \"ผมจะพูดอะไรได้? ผมจ้างคนผิด เขาทำลายทุกสิ่งที่ผมสร้างไว้ด้วยการทำงานยาวนานถึง 10 ปี ทุกอย่างเริ่มที่ตัวผมเอง แต่นั่นไม่ใช่ส่วนที่น่าเศร้าที่สุด ผมคงจะยินดีออกจากแอปเปิลหากว่าแอปเปิลยอมทำอย่างที่ผมต้องการ\" แลรี เทสเลอร์: \"คนในบริษัทรู้สึกกันไปต่าง ๆ นานากับเรื่องนี้ ทุกคนต่างเคยถูกสตีฟ จอบส์เล่นงานมาไม่ว่าช่วงใดช่วงหนึ่ง ดังนั้นพวกเขาก็โล่งใจที่ผู้ก่อการร้ายจะไปเสียที แต่อีกแง่มุมหนึ่ง ผมคิดว่าคนเดียวกันมีความเคารพในตัวจอบส์อย่างมาก และเราทุกคนต่างเป็นกังวลอย่างมากว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทนี้ต่อไปเมื่อปราศจากวิสัยทัศน์ ปราศจากผู้ก่อตั้ง ปราศจากผู้มีบุคลิกโดดเด่น\" แอนดี เฮิร์ทซเฟลด์: \"เขาถือว่ามันเป็นการจู่โจมส่วนบุคคล โดยเริ่มจากการโจมตีสกัลลีย์ ซึ่งมันทำให้เขาจนมุม เพราะเขาแน่ใจว่าคณะกรรมการจะสนับสนุนเขา ไม่ใช่สกัลลีย์...แอปเปิลไม่เคยฟื้นตัวจากการสูญเสียสตีฟ สตีฟเป็นหัวใจ จิตวิญญาณ และแรงขับเคลื่อน ที่นั่นคงเป็นที่ ๆ ต่าง ๆ ไปจากนั้นในเวลานี้ พวกเขาได้สูญเสียจิตวิญญาณของพวกเขาไป\"",
"title": "สตีฟ จอบส์"
},
{
"docid": "139463#7",
"text": "โฮชิคาว่า ซูบารุ (星河 スバル) / ร็อคแมน (ロックマン) เด็กชายผู้สูญเสียพ่อไปจากการหายสาบสูญของสถานีอวกาศ เขาจึงเก็บตัวไม่ยอมมีเพื่อนและไม่ไปโรงเรียน จนกระทั่งเขาได้พบกับวอร์ร็อค (ウォーロック, Omega-XIS ในภาษาอังกฤษ) สิ่งมีชีวิตจากดาว FM ซึ่งหนีมายังโลกเพราะได้ชิงกุญแจปลดผนึกอาวุธที่ดาว FM จะใช้เพื่อโจมตีโลก วอร์ร็อคได้รวมร่างกับซูบารุเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[5228,5241,3,3]}'>ร็อคแมน (ロックマン, Mega Man) และได้ให้ซูบารุต่อสู้กับเหล่า FM ตนอื่นๆ ที่จะมาเอากุญแจคืนมาจากวอร์ร็อคและเพื่อปกป้องผู้อื่น ทำให้ซูบารุได้เรียนรู้ถึงมิตรภาพและเปลี่ยนจิตใจของเขาในระหว่างที่เกมดำเนินเรื่อง วอร์ร็อก (ウォーロック, Omega-XIS) ชาวดาว AM ที่หลบหนีมากจากดาว AM ที่ถูกทำลายเป็นคู่หูของซูบารุ ชิโรงาเนะ ลูน่า (白金 ルナ, Luna Platz) หนึ่งในเพื่อนร่วมชั้นของซูบารุในตำแหน่งหัวหน้าห้อง เป็นลูกคนรวยและมีนิสัยหยิ่งแต่มีจิตใจที่ดี เธอมักจะไปไหนมาไหนโดยมีกอนตะและคิซามาโระติดตามเสมอ เธอมักจะตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากบ่อยครั้ง แต่ได้ร็อคแมนมาช่วยไว้ ทำให้เธอประทับใจในตัวร็อคแมน ภายหลังได้รู้ว่าร็อคแมนคือซูบารุ เธอจึงมีความรู้สึกบางอย่างกับเขา ไซโซอิน คิซามาโระ (最小院 キザマロ, Zack Temple) หนึ่งในเพื่อนร่วมชั้นของซูบารุ มักจะเดิมตามลูน่าอยู่บ่อยครั้ง เขามีความรู้มากและกลุ้มใจเรื่องความสูงของตนเอง อุจิชิมะ กอนตะ (牛島 ゴン太, Bud Bison) หนึ่งในผู้ร่วมชั้นของซูบารุ เป็นคนตัวใหญ่และกินจุ ฮิบิกิ มิโซระ (響 ミソラ, Sonia Strumm) / ฮาร์ปโน้ต (ハープ・ノート, Harp Note) เพื่อของซูบารุ เป็นนักดนตรีชื่อดัง พอได้พบกับซูบารุที่เคยสูญเสียเหมือนกันจึงได้เปิดใจให้กับเขา ในช่วงกลางของเกมเธอถูกบีบบังคับจากผู้จัดการ จนได้รับฮาร์พให้เธอร่วมร่างเป็นฮาร์พโน้ต แต่ท้ายที่สุดก็ได้ซูบารุช่วยปลุกเธอให้ตื่นขึ้นมาได้ ในระหว่างเกมเธอมักจะชวนซูบารุไปที่ต่างๆกันสองคน อาจจะว่าได้ว่าเธอชอบซูบารุอยู่ ฮาร์ป (ハープ, Lyra) FM รูปร่างพิณ ที่ตอนรับเสียงของมิโซระและรวมร่างเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[6619,6634,3,3]}'>ฮาร์ปโน้ต (ハープ・ノート, Harp Note) แต่ภายหลังที่ซูบารุช่วยเธอไว้ได้ มิโซระขออย่าทำลายฮาร์ป ทำให้ฮาร์ปมาอยู่กับมิโซระและช่วยเหลือร็อคแมนในเกมภาคต่อๆมา อาคาชิ มาโมรุ (天地 守, Aaron Boreal) เพื่อนของไดโกะ เป็นนักวิจัยของ AMAKEN มีบทบาทมากมายในการช่วยเหลือซูบารุและร็อคในการต่อสู้กับเซเฟอุส โกโยดะ เฮย์จิ (五陽田 ヘイジ, Bob Copper) ตำรวจดาวเทียมที่ตามสืบเรื่องของ FM อยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยได้เรื่องเสียที โฮชิคาวะ ไดโกะ (星河 大吾, Kevin Stelar) พ่อของซูบารุ หายตัวไปในอวกาศหลายปีก่อนจากการระเบิดของสถานีอวกาศ แต่ในช่วงท้ายของเกมร็อคเปิดเผยว่าเขาเป็นคนแปลงสภาพคนในสถานีอวกาศให้เป็นคลื่นไฟฟ้าแล้วส่งไปในอวกาศ จึงเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะยังมีชีวิตอยู่ในสภาพคลื่นไฟฟ้าในอวกาศ โฮชิคาวะ อากาเนะ (星河 あかね, Hope Stelar) แม่ของซูบารุ เวลาที่ซูบารุกลุ้มใจ อากาเนะมักจะเป็นคนที่ให้คำแนะนำเขาเสมอมา โดยมักจะยกคำพูดที่ไดโกะชอบพูดมาเป็นกำลังใจให้ซูบารุ อ็อกซ์ (オックス, Taurus) FM ประเภทวัว เป็น FM ตัวแรกที่เดินทางมาถึงโลกมนุษย์ และได้รวมร่างกับกอนตะในช่วงที่เขากลัวว่าลูนะจะไม่ยอมเป็นเพื่อนกับเขา อ็อกซ์ไฟเออร์ (オックス・ファイア, Taurus Fire) อ็อกซ์ที่รวมร่างกับกอนตะมีพละกำลังสูงและใช้พลังไฟเป็นหลัก โดยจับตัวลูนะกับคิซามาโระเข้าไปในคอมพิวเตอร์รถบรรทุก อุทางาอิ ชินสุเกะ (宇田海 深佑, Tom Dubius) เพื่อนร่วมงานของมาโมรุ เป็นนักประดิษฐสิ่งของต่างๆที่ใช้ประโยชน์ อดีตเคยถูกเพื่อนร่วมงานหักหลังจึงไม่ยอมเชื่อใจใคร จนกระทั่งเกิดเรื่องเข้าในผิดกับมาโมรุ ซิกนัส (キグナス, Cygnus) FM ประเภทหงส์ เป็น FM ที่รวมร่างกับชินสุเกะ โดยได้รู้ว่าชินสุเกะเข้าใจผิดกับมาโมรุที่หักหลังจึงรวมร่างกับชินสุเกะ ซิกนัสวิงค์ (キグナス・ウィング, Cygnus Wing) ร่างที่ซิกนัสรวมกับชินสุเกะมีความสามารถบังคับเต้นท่าหงส์และเข้าควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ของอวกาศจำลอง อิคูตะ มิชิโนริ (育田 道徳, Mitch Shepar) อาจารย์ประจำชั้นของพวกซูบารุ เป็นคนที่ใช้วิธีการสอนให้เด็กได้รับความรู้และความบันเทิง แต่ทว่าทางโรงเรียนไม่ชอบ และต้องการให้เขาใช้การเรียนโดยการส่งสัญญาณเข้าคลื่นสมองโดยตรง ไม่งั้นก็จะถูกไล่ออก มิชิโนริกลุ้มใจเพราะถ้าถูกไล่ออกก็จะไม่มีเงินสำหรับลูกๆของเขา ไลบร้า (リブラ, Libra) FM ประเภทคันชั่ง ไลบร้าบาลานซ์ (リブラ・バランス Libra Scales) ไลบร้าที่รวมร่างกับมิชิโนริโดยได้ทำการส่งสัญญาณเข้าคลื่นสมองของนักเรียน โอฟิวคัส (オヒュカス, Ophiuca) FM ที่ตอบรับเสียงของลูนะ หลังจากที่เธอได้ทราบเรื่องว่าพ่อและแม่ของเธอจะย้ายโรงเรียน เธอไม่อยากเสียเพื่อนจึงไม่อยากย้ายโรงเรียนแต่ต้องสูญสลายไปด้วยพลังของเจมินี่สปาร์ค โอฟิวคัสควีน (オヒュカス・クイーン, Queen Ophiuca) ร่างที่ออฟิวคัสรวมร่างกับลูนะ มีความสามารถในการควบคุมงู ฟุทาบะ สึคาสะ (双葉 ツカサ, Patrick Sprigs) เพื่อนร่วมชั้นของซูบารุ มีนิสัยดีและมีน้ำใจ แต่จริงๆแล้วเขาเป็นคนที่มีสองบุคลิกเพราะเกิดจากพ่อแม่ของเขาถูกทิ้งไว้ในกองขยะที่ดรีมไอสแลนด์และทำให้เกิดบุคลิกที่ 2 เกิดขึ้นมา ฟุทาบะ ฮิคารุ (双葉 ヒカル, Rey Sprigs) บุคลิกที่ 2 และฝาแฝดของสึคาสะมีนิสัยชั่วร้ายโหดเหี้ยมต่างกับบุคลิกของสึคาสะอย่างสิ้นเชิง ทำให้เรื่องนี้ทำร้ายจิตใจซูบารุมาก เพราะเขาเหมือนถูกหักหลัง เจมินี่ (ジェミニ, Gemini) FM รูปร่างคน 2 หน้าเป็นผู้ที่ยุยงให้เซเฟอุสไปยังโลกมนุษย์เพื่อที่จะทำลายโลกและสร้างคลื่นผลักให้ผู้คนเกลียดชังกัน เจมินี่สปาร์ค (ジェミニ・スパーク, Gemini Spark) เจมินี่ที่รวมร่างกับสึคาสะและฮิคารุถนัดต่อสู้ 2 รุม 1 เซเฟอุส (ケフェウス, Chefeus) ราชาแห่งดวงดาว FM มีนิสัยขี้ระแวงแต่ถูกเจมินี่หลอกใช้ให้ทำลายดาว AM โดยใช้อันโดรเมด้าแต่หลังจากพ่ายแพ้ไปเซเฟอุสจึงกลับใจและสร้างดาว AM ใหม่และคอยช่วยเหลือกับเหล่า FM และมนุษย์",
"title": "ริวเซย์โนะร็อคแมน (วิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "545514#7",
"text": "ในปี 1961 ซูบารุได้ผลิตรถตู้และรถบรรทุกเล็ก ที่มีชื่อว่า ซูบารุแซ็มบ้า โดยซูบารุได้นำเครื่องยนต์ของ ซูบารุ 360 มาใช้ในรถตู้และรถบรรทุกใหม่นี้ด้วย จากขนาดตัวรถที่กระทัดรัด สามารถขับไปในตรอกซอกซอยที่มีขนาดเล็กได้ดี และยังประหยัดน้ำมันอีกด้วย ส่งผลให้รถบรรทุกเล็กนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ส่วนในรุ่นที่ผลิตเพื่อส่งออกนั้นรู้จักในชื่อ ซูบารุ 450 ชื่อใหม่นี้มาจากการที่ซูบารุเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก EK31 เดิม มาใช้เครื่องยนต์ EK51 ซึ่งมีขนาด 423cc แทน ในบางประเทศรู้จัก ซูบารุ 450 ในชื่อ ซูบารุ ไมอา(Subaru Maia)",
"title": "ซูบารุ 360"
},
{
"docid": "545351#5",
"text": "ในปี 2005 GM ได้ขายหุ้นที่ตนถือครองอยู่ใน FHI. ในเวลานั้นแทบทุกโครงการที่เป็นการร่วมมือระหว่าง ซูบารุ และ ซ้าบ ได้ถูกยุติลงเกือบทั้งหมด. คงเหลือไว้เพียงแต่ให้ ซูบารุ เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนของ ซ้าบ 9-2เอกซ์ ส่งให้กับทางGMเพียงเท่านั้น. หลังจากที่GMประกาศขายหุ้นของFHI โตโยต้าได้เข้าซื้อหุ้นของ FHI เป็นจำนวน40%ของหุ้น FHI ที่ GM ถือครองอยู่ในอดีต. โดยหุ้นที่โตโยต้าถือครองอยู่นั้นคิดเป็น 8.7% ของหุ้นทั้งหมดในFHI.",
"title": "ซูบารุ"
},
{
"docid": "545351#0",
"text": "[1]\"ซูบารุ\" (スバル) เป็นฝ่ายผลิตรถยนต์ ของ บริษัทผลิตเครื่องจักรกล ซูบารุคอร์เปอเรชั่น (ในอดีตรู้จักในชื่อ ฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี หรือ FHI) เป็นที่ทราบกันดีว่ารถยนต์ซูบารุนั้น มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากรถยนต์จากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นคือ การใช้เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์(กับขนาดเครื่องยนต์มากกว่า1500cc). และระบบขับเครลื่องสี่ล้อที่บริษัทวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเองอย่าง ระบบ ซิมเมตริคัล ออลวีลไดรฟ์ ที่ถูกใช้งานกับรถยนต์ซูบารุมาตั้งแต่ตั้งแต่ปี 1972. ทั้งเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อนั้น ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรถยนต์ขนาดกลางและขนาดเล็กของซูบารุทุกรุ่นตั้งแต่ปี 1996 ยกเว้นเพียงซูบารุ บีอาร์แซด ที่เปิดตัวในปี 2012 ร่วมกับโตโยต้าเท่านั้น.",
"title": "ซูบารุ"
},
{
"docid": "545540#2",
"text": "ซูบารุ 1000 ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากรถยนต์ส่วนใหญ่ทีมีจำหน่ายในขณะนั้น ด้วยเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ 4 สูบ โอเวอร์เฮดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ วิศวกรของซูบารุได้เริ่มจากการศึกษาเครื่องยนต์ของ พอร์เช่, ดีเคดับบลิว และ เชฟโรเลต คอร์แว วิศวกรของซูบารุมีความเห็นว่าควรจะนำเครื่องยนต์ชนิดนี้มาจับคู่กับระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ปัญหาหลักที่วิศวกรได้พบคือ การใช้ยูนิเวอร์แซลจอยท์(Universal joints)หรือลูกปืนกากบาทกับเพลาขับหน้านนั้น ส่งผลให้มีการสั่งสะเทือนค่อนข้างมาก แต่ปัญหานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ผลิตลูกปืนแบริ่งชื่อดังอย่าง โตโย แบริ่ง (Toyo Bearing) ปัจจุบันรู้จักในชื่อ เอ็นทีเอ็น(NTN) วิศวกรจากซูบารุและโตโยแบริ่งได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ดับเบิ้ลออฟเซ็ตจอยท์(Double offset joint)ขึ้นมา และได้นำมาใช้งานแทนยูนิเวอร์แซลจอยท์เดิม ในปัจจุบันเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ได้กลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของรถยนต์ซูบารุไปแล้วรุ่นสปอร์ทของ ซูบารุ 1000 ถูกเปิดตัวออกมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี 1967 ซูบารุ 1000 เอสเอส มีพื้นฐานมาจาก ซูบารุ 1000 ที่ได้ถูกปรับปรุงแก้ไขในหลายจุด, เครื่องยนต์ EA52 ถูกปรับแต่งในหลายชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็น เพลาราวลิ้น ฝาสูบ และ เพลาข้อเหวี่ยง รวมทั้งเปลี่ยนไปใช้คาร์บูเรเตอร์คู่จาก มิคูนิ-โซเล็ก(Mikuni-Solex)ส่งผลให้อัตราส่วนกำลังเพิ่มเป็น 10:1 และซูบารุเรียกเครื่องยนต์ที่ถูกปรับแต่งในครั้งนี้ว่า EA53 ตัวอักษรย่อ เอสเอส(SS) มาจากคำว่า สปอร์ทซีดาน (Sport Sedan)",
"title": "ซูบารุ 1000"
}
] |
2118 | เสือจากัวร์เพศเมียจะออกลูกครั้งละกี่ตัว? | [
{
"docid": "156644#1",
"text": "มีขนคล้ายเสือดาว (\"P. pardus\") มาก มีสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ ๆ หลังหูดำ มีจุดสีนวลที่หลังหู มีถิ่นอาศัยพบได้ตั้งแต่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาจนถึงภูมิภาคอเมริกากลางจรดทวีปอเมริกาใต้ และถือเป็นเสือขนาดใหญ่เพียงชนิดเดียวที่พบในภูมิภาคแถบนี้ พบในป่าทุกประเภท ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่ง และป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดี และชอบลงเล่นน้ำ ชอบอยู่โดดเดี่ยว จะอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง, หมู, ลิง, นกยูง, สุนัข, และแมลง จากการศึกษาพบว่าล่าเหยื่อได้ถึง 85 ชนิด และล่าได้ทุกประเภททั้งบนบก, ในน้ำ หรือบนต้นไม้ รวมถึงดำน้ำหาปลาได้ด้วย และออกล่าปศุสัตว์ของมนุษย์ด้วย ใช้ระยะตั้งท้อง 90–105 วัน ให้ลูก 1–4 ตัว น้ำหนักแรกคลอด 700–900 กรัม วัยเจริญพันธุ์ 2–3 ปี อายุยืนประมาณ 22 ปี",
"title": "เสือจากัวร์"
}
] | [
{
"docid": "15168#4",
"text": "เมียร์แคตจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือนตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว",
"title": "เมียร์แคต"
},
{
"docid": "234707#10",
"text": "วุลเวอรีนเริ่มหาคู่และผสมพันธุ์ในฤดูร้อน แต่กระบวนการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูกจะหยุดนิ่งจนถึงต้นฤดูหนาวเพื่อไม่ให้ลูกของมันไม่ต้องทรมานจากความหนาวเย็น เพศเมียจะไม่ออกลูกถ้าอาหารขาดแคลน วุลเวอรีนเพศเมียตั้งครรภ์ประมาณ 30-50 วันจึงจะออกลูกคราวละสองถึงสามตัวในฤดูใบไม้ผลิ ลูกหมีเจริญเติบโตเร็วมาก เพียงปีแรกก็กลายเป็นตัวเต็มวัย และเมื่ออายุครบ 2 ปีก็สามารถออกหาคู่ได้ วุลเวอรีนมีอายุขัยเฉลี่ย 7-12 ปี",
"title": "วุลเวอรีน"
},
{
"docid": "141342#3",
"text": "มีพฤติกรรมหาอาหารโดยการใช้จมูกขุดคุ้ยหาแมลงและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ใต้ดินเป็นอาหาร มักใช้เล็บขีดข่วนให้ปรากฏเห็นเป็นร่องรอยอยู่ตามพื้นดินเสมอ ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หายากและกำลังใกล้สูญพันธุ์",
"title": "อีเห็นลายเสือโคร่งอินโดจีน"
},
{
"docid": "755900#8",
"text": "ในปี 2561 บริษัทได้ปล่อยผลงานออกมาถึง 4 เรื่องด้วยกัน โดยมีค่ายลูกคือ จอกว้าง ฟิล์ม ผลิตเอง 2 เรื่องคือ \"น้อง.พี่.ที่รัก\" กำกับโดย วิทยา ทองอยู่ยง ฉายวันที่ 10 พฤษภาคม และหนังทริลเลอร์วัยรุ่นแฟนตาซี \"Homestay\" กำกับโดย ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ ซึ่งพร้อมฉายหลังจากถูกเลื่อนจากกำหนดฉายเดิมคือธันวาคม พ.ศ. 2559 และหลังจากปล่อยคลิปไวรัลปริศนาใช้ชื่อว่า \"K1189B54N\" ผ่านสื่อต่างๆมาแล้ว ทางค่ายก็ได้เปิดเผยว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะนำแสดงโดย ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ และ เฌอปราง อารีย์กุล โดยมีกำหนดฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ตุลาคม ปีเดียวกัน",
"title": "จีดีเอช"
},
{
"docid": "727084#6",
"text": "ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ได้เพิ่มกติกาใหม่ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายจากแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 15 แผ่นป้าย โดยพิธีกรหลักที่ทำหน้าที่อยู่ในขณะนั้นจะเปิดแผ่นป้ายก่อนว่าสไลด์เดอร์จะยกกี่ขั้นในการตอบคำถามนั้นๆ ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1-3 ขั้น อย่างละ 5 แผ่นป้าย ซึ่งสไลด์เดอร์ของดารารับเชิญหรือพิธีกรหลักก็จะยกตามจำนวนขั้นที่เปิดได้ (เช่นหากเปิดได้ 3 และดารารับเชิญตอบถูก ฝ่ายพิธีกรก็จะยก 3 ขั้น) ทำให้ดารารับเชิญมีโอกาสในการจบเกมเร็วยิ่งขึ้นหากตอบคำถามถูก",
"title": "จารบีปีเสือ"
},
{
"docid": "819204#5",
"text": "เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ 20–30 ตัว (สูงสุด 63 ตัว) ผสมพันธุ์ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และไปออกลูกช่วงฤดูร้อน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 7.2–14.4 กรัม และความยาวโดยเฉลี่ย 24–30 เซนติเมตร",
"title": "งูแมวเซาอินเดีย"
},
{
"docid": "836681#0",
"text": "ไมค์หมดหนี้ ตั้งตัว รายการเกมโชว์ประเภทประกวดร้องเพลงลูกทุ่งจากช่อง เวิร์คพอยท์ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 18.00 — 19.20 น. ดำเนินรายการโดยเสนาลิง สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ เริ่มออกอากาศเทปแรกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 ก่อนที่จะงดออกอากาศ เพื่อถวายความอาลัยในช่วงเดือนพระราชพิธี และกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560",
"title": "ไมค์หมดหนี้ ตั้งตัว"
},
{
"docid": "62286#18",
"text": "เสือดาวชอบอยู่สันโดษ จะจับคู่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ตั้งท้องประมาณ 90–100 วัน ออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว เสือดาวตัวเมียสามารถมีลูกได้ตลอดทั้งปี เมื่อลูกยังเล็ก แม่เสือดาวจะคาบลูกไปซ่อนไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย ลูกเสือดาวจะเรียนรู้การล่าเหยื่อจากแม่ เสือดาวใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงจะโตจนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และจะแยกออกจากแม่ไปอยู่ตามลำพัง เสือดาวมีอายุในสภาพกักขังประมาณ 20 ปี",
"title": "เสือดาว"
},
{
"docid": "112712#4",
"text": "ฟิชเชอร์ ผสมพันธุ์ในช่วงตอนต้นฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลาตั้งท้องราว 353 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว (โดยเฉลี่ย 3) ซึ่งตัวเมียกว่าจะผสมพันธุ์และออกลูกได้อีกครั้งต้องเว้นเป็นระยะเวลานาน ลูกที่เกิดใหม่จะมีร่างกายและขนเบาบาง ตาจะยังปิดอยู่จะกระทั่งอายุได้ 7 สัปดาห์ จะอาศัย\nอยู่ในรังกับพ่อแม่จนอายุได้ 3 เดือน จึงจะแยกตัวออกไป",
"title": "ฟิชเชอร์"
},
{
"docid": "228259#13",
"text": "เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว หมึกเพศเมียจะวนเวียนเฝ้าไข่อยู่แถวนั้น จนร่างกายอ่อนเพลียเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย ๆ น้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงแก่ความตายในที่สุด ไข่หมึกกระดองใช้เวลาฟักประมาณ 14 วัน ในอุณหภูมิน้ำราว 28-30 องศาเซลเซียส ลูกหมึกที่เกิดใหม่จะมีความยาวประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร โดยที่รูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ และมีอัตราการเจริญเติบโตไวมาก",
"title": "หมึกกระดองลายเสือ"
}
] |
821 | เซนต์เซย์ย่า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "2694#2",
"text": "เซนต์เซย์ย่าถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของอะนิเมะ และออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยบริษัท โตเอแอนิเมชัน ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจนได้ออกอากาศติดต่อกันนานเกือบ 3 ปี นอกจากนี้ยังได้แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีการนำเซนต์เซย์ย่ามาออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2531 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยใช้ชื่อว่า \"เซย่า เทพบุตรหมัดดาวหาง\" จากนั้นก็ได้ออกอากาศซ้ำอีกในปี พ.ศ. 2547 ทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี (ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน) และมีการนำออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดย บริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด ด้วย นอกจากนี้เซนต์เซย์ย่ายังได้รับการดัดแปลงเป็นสื่อในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ภาพยนตร์ ละครเวที เกม และของเล่นต่าง ๆ",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
}
] | [
{
"docid": "2694#54",
"text": "เซนต์เซย์ย่าได้รับการสร้างเป็นอะนิเมะ โดยบริษัทโตเอแอนิเมชัน และออกอากาศทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกวันเสาร์ เวลา 19.00 - 19.30 น. ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ถึง 1 เมษายน พ.ศ. 2532[23] มีความยาวตอนละ 20 นาทีโดยประมาณ[24] เซนต์เซย์ย่าฉบับโทรทัศน์นั้น แบ่งเป็น 5 ภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาค 1 เซนต์แห่งอาธีน่า (ตอนที่ 1-22) ภาค 2 นักรบเกราะเงิน (ตอนที่ 23-40) ภาค 3 ปราสาท 12 ราศี (ตอนที่ 41-74) ภาค 4 อัศวินแห่งแอสการ์ด (ตอนที่ 75-99) และภาค 5 เจ้าสมุทรโปเซดอน (ตอนที่ 100-114) รวม 114 ตอนจบ โดยเนื้อเรื่องหลักนั้นนำมาจากฉบับหนังสือการ์ตูน แต่ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเข้าไป โดยเฉพาะภาค \"อัศวินแห่งแอสการ์ด\" นั้นเป็นภาคที่แต่งขึ้นใหม่ ซึ่งไม่มีในเซนต์เซย์ย่าฉบับหนังสือการ์ตูน นอกจากนี้ชุดคล็อธของเซนต์บางคน เช่น เหล่าบรอนซ์เซนต์ ยังมีความแตกต่างจากฉบับหนังสือการ์ตูน",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#65",
"text": "ในประเทศไทย \"เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่\" ได้รับลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายโดย บริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด ส่วน \"เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน\" และ \"เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชียน\" ได้รับลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายโดย DEX",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "124736#0",
"text": "เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส () เป็นเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบหนังสือการ์ตูนอย่างเป็นทางการอีกภาคหนึ่ง แต่งเนื้อเรื่องโดย มาซามิ คุรุมาดะ วาดภาพโดย ชิโอริ เทชิโรงิ เนื้อเรื่องกล่าวถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งก่อน เช่นเดียวกับภาค Next Dimension ซึ่งทั้ง 2 ภาคนี้มีเนื้อเรื่องที่ขนานกัน แต่มีความสัมพันธ์กันเพียงแค่บางส่วน ปัจจุบันภาคนี้ในญี่ปุ่นตีพิมพ์ออกมาแล้ว 114 ตอน ส่วนฉบับรวมเล่มออกมาถึงเล่ม 13 และได้รับการสร้างเป็นโอวีเอโดย TMS ในปี 2552",
"title": "เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส"
},
{
"docid": "2694#56",
"text": "เซนต์เซย์ย่าฉบับโทรทัศน์ แบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ รวม 114 ตอน ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้[27]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#58",
"text": "นอกจากฉบับที่ออกฉายทางโทรทัศน์แล้ว เซนต์เซย์ย่า ยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย จนถึงปัจจุบัน เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ออกฉายแล้วจำนวน 5 ภาค โดยภาคสงครามเทพีอีริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ เป็นฉบับภาพยนตร์ที่มีการออกฉายเป็นภาคแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และฉบับภาพยนตร์ล่าสุด คือ ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ ซึ่งออกฉายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[24] อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องของฉบับภาพยนตร์ใน 4 ภาคแรก ได้แก่ ภาคสงครามเทพีเอริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล และภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์นั้นไม่ได้แต่งขึ้นโดยมะซะมิ คุรุมะดะ เรื่องราวและตัวละครต่าง ๆ จึงอาจจะมีความขัดแย้ง และไม่ต่อเนื่องกับรายละเอียดของเซนต์เซย์ย่าฉบับหนังสือการ์ตูน แต่ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์นั้น เป็นฉบับภาพยนตร์ภาคเดียวที่แต่งขึ้นโดยมะซะมิ คุรุมะดะ เป็นการเกริ่นถึงเรื่องราวภายหลังจากสงครามศักดิ์สิทธิ์กับฮาเดสเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีการคาดหมายว่า การที่มะซะมิ คุรุมะดะ แต่งภาพยนตร์ฉบับนี้ขึ้นมานั้น เขาอาจจะแต่งเซนต์เซย์ย่าในภาคต่อไป คือ ภาคสวรรค์ หรือ Tenkai hen ขึ้นมาในภายหน้านั่นเอง[24] เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์นั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "413043#2",
"text": "มะซะมิ คุรุมะดะ-ชิโอริ เทชิโรงิ,เซนต์เซย์ย่า เดอะลอสท์แคนวาส เล่มที่1-25,สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ,2549-2554",
"title": "อาโรน (เซนต์เซย์ย่า)"
},
{
"docid": "2694#55",
"text": "สำหรับประเทศไทย เซนต์เซย์ย่าเคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อว่า \"เซย่า เทพบุตรหมัดดาวหาง\" ซึ่งได้ออกอากาศซ้ำหลายครั้งทางช่อง 3 ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ก็ได้มีการนำมาออกอากาศซ้ำอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน และออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดยบริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด จำนวน 57 แผ่นจบ[25] ต่อมาได้มีการผลิตและออกวางจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบ DVD โดย DEX คาดว่าจะมีจำนวน 23 แผ่นจบ[26]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#61",
"text": "เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล () หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Legend of Crimson Youth ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ \"อาเบล เทพแห่งสุริยะ\" ผู้เป็นเสมือนพี่ชายของอาเธน่า ซึ่งต้องการให้โลกกลับมาสู่ยุคของเทพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออาเธน่ารู้ถึงจุดประสงค์ของอาเบลก็พยายามขัดขวางเจตนาของอาเบลเพียงลำพังโดยการขับไล่พวกเซย์ย่าไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับตน แต่อาเธน่าก็ถูกอาเบลสังหารเสียก่อน พวกเซย์ย่ารู้สึกว่ามีอะไรแอบแฝงอยู่จึงได้เดินทางมายังวิหารแห่งสุริยเทพ และต้องช่วยอาเธน่าให้ได้ก่อนที่วิญญาณของอาเธน่าจะเดินทางไปสู่หลุมดำนิรกาล เซย์ย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน และอิคคิ ได้ต่อสู้กับเหล่าโคโรน่าเซนต์ และเหล่าโกลเซนต์ที่ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งโดยอำนาจของอาเบล ในที่สุด ด้วยพลังคอสโมของพวกเซย์ย่าจึงสามารถปลุกอาเธน่าขึ้นมาอีกครั้ง และสังหารอาเบลลงได้โดยใช้ลูกศรทองคำแห่งชุดคลอธซาจิททาเรียส [30]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#64",
"text": "ปี พ.ศ. 2545 เซนต์เซย์ย่า ถูกนำมาสร้างเป็นอะนิเมะอีกครั้งในรูปแบบโอวีเอ โดยนำเอาเนื้อเรื่องฉบับการ์ตูนตั้งแต่เล่มที่ 19 -28 มาสร้างและออกฉายทางสถานีโทรทัศน์เคเบิล สกายเพอร์เฟกต์ทีวี โดยใช้ชื่อว่า \"เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่\" ซึ่งเป็นเรื่องราวในช่วงแรกของภาคเจ้านรกฮาเดส มีความยาว 13 ตอน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2548 ทางโตเอแอนิเมชันก็สร้างภาคต่อตามมาในชื่อว่า \"เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน\" ครึ่งแรกมีความยาว 6 ตอน ส่วนครึ่งหลัง สร้างขึ้นและออกอากาศในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 โดยมีความยาว 6 ตอนเช่นเดียวกัน สำหรับภาคสุดท้าย \"เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชียน\" ก็มีความยาว 6 ตอน และออกอากาศในเดือนมีนาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2551[33] ซึ่งถือเป็นการปิดฉากภาคฮาเดสอย่างสมบูรณ์",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "413043#0",
"text": "อาโรน เป็นตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องเซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดสโดยเป็นร่างทรงของฮาเดส",
"title": "อาโรน (เซนต์เซย์ย่า)"
},
{
"docid": "490887#0",
"text": "เซนต์เซย์ย่า โอเมก้า (聖闘士星矢Ω(セイントセイヤオメガ)เซนโตะเซยะโอเมก้า) เป็นอนิเมะทีวีซีรีส์เซนต์เซย์ย่า ผลิตโดย โตเอะ แอนิเมชัน ออกอากาศทางช่อง ทีวีอาซาฮี ของญี่ปุ่นเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 ทุกเช้าวันอาทิตย์เวลา 6:30 น. กำกับโดย ฮาตาโนะ โมริโอะ",
"title": "เซนต์เซย์ย่า โอเมก้า"
},
{
"docid": "2694#50",
"text": "ดูเพิ่ม เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส เซนต์เซย์ย่าฉบับหนังสือการ์ตูนชุดแรกนั้น มาซามิ คุรุมาดะ เป็นผู้แต่งเซนต์เซย์ย่าและวาดลายเส้นด้วยตัวเอง เขาตั้งใจที่จะให้เซนต์เซย์ย่าเป็นผลงานชิ้นเอกของตัวเอง[15] โดยเซนต์เซย์ย่าเริ่มลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ สำนักพิมพ์ชูเอฉะ[17] และออกจำหน่ายเป็นหนังสือฉบับรวมเล่ม รวมทั้งสิ้น 28 เล่มจบ ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคแซงค์ทัวรี่ ภาคโปเซดอน และภาคฮาเดส ในประเทศไทย เซนต์เซย์ย่าได้ตีพิมพ์เล่มแรก เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2543 และเล่มสุดท้ายสำหรับการตีพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549[18] โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ชูเอฉะเพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[15]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "490887#1",
"text": "ในประเทศไทย ออกอากาศทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 9:00 น., เอ็มคอตแฟมิลี และ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม การ์ตูนคลับแชนแนล.\nผลิตออกมาในรูปแบบดีวีดี โดย ดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์)",
"title": "เซนต์เซย์ย่า โอเมก้า"
},
{
"docid": "2694#81",
"text": "เซนต์เซย์ย่า ตำนานชุดทอง (聖闘士星矢 黄金伝説) ออกจำหน่ายเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 โดยบันได เซนต์เซย์ย่า ตำนานชุดทอง ภาคสมบูรณ์ (聖闘士星矢 黄金伝説 完結編) ออกจำหน่ายเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยบันได",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#53",
"text": "นอกจากฉบับหนังสือการ์ตูนที่มีการรวมเล่มออกมาแล้วดังที่กล่าวมา มาซามิ คุรุมาดะ ยังได้แต่ง \"เซนต์เซย์ย่า Next Dimension\" ขึ้นมาอีกภาค และเป็นผู้วาดลายเส้นเอง โดยเซนต์เซย์ย่าในภาคนี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การต่อสู้ระหว่างพวกเซย์ย่าและฮาเดส ซึ่งทำให้ฮาเดสนึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 243 ปีก่อน ว่าเขาได้เคยพบกับเซนต์เพกาซัสมาก่อนแล้วนั่นเอง ในประเทศญี่ปุ่น เซนต์เซย์ย่า Next dimension ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกลงในลงนิตยสารการ์ตูน โชเน็นแชมเปี้ยน ฉบับที่ 22-23 และตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารฉบับเดียวกันเป็นระยะ ๆ[22] สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบันพิมพ์ออกมาทั้งหมดในไทยถึงเล่มที่ 5 เล่ม (เป็น 4 สีทั้งเล่ม ราคาเล่มละ 150 บาท) ปัจจุบันที่ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆออกถึงเล่ม 10 (ส่วนในไทยคาดว่าจะ..ไม่ได้พิมพ์ต่อแล้ว...)",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#63",
"text": "เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ () หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Heaven Chapter ~ Overture ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เหล่าเทพเจ้าแห่งสวรรค์ซึ่งไม่พอใจที่เหล่าเซนต์แห่งอาเธน่าบังอาจโค่นล้มบรรดาเทพต่าง ๆ ลง ดังนั้นจึงส่ง \"อาร์เทมิส เทพแห่งดวงจันทร์\" พร้อมนักรบแห่งแองเจิ้ล ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อกำจัดเซนต์แห่งอาเธน่า อาเธน่าซึ่งไม่ต้องการให้พวกเซย์ย่าต้องต่อสู้อีกครั้งจึงได้ยกการปกครองพื้นปฐพีให้อาร์เทมิส พร้อมทั้งยอมรับการลงทัณฑ์จากสวรรค์แทนเหล่าเซนต์แห่งอาเธน่า หลังจากนั้น เหล่าเซนต์แห่งอาเธน่าก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของแซงชัวรี่ที่เกิดขึ้น และได้เข้าต่อสู้กับเหล่าแองเจิ้ลเพื่อช่วยเหลืออาเธน่า อาร์เทมิสซึ่งพบว่าอาเธน่าต้องการขัดขืนคำสั่งสวรรค์โดยการแอบช่วยเหลือพวกเซย์ย่า จึงต้องการสังหารอาเธน่าเสีย แต่เซย์ย่าได้เข้ามาขัดขวาง และทันใดนั้น \"อพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์\" ก็ปรากฏตัวขึ้นมา[32]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "721890#0",
"text": "เซนต์เซย์ย่า Next Dimension ศึกถล่มอเวจี () เป็นชื่อของหนังสือการ์ตูน เป็นภาคเสริมของเซนต์เซย์ย่า ซึ่งแต่งและวาดขึ้นโดยมาซามิ คุรุมาดะ โดยได้แต่งออกมาเป็นภาพ4สี เนื้อเรื่องจะกล่าวถึงเมื่อ240ปีก่อนในช่วงสงครามศักดิ์สิทธ์ มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับเซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดสในช่วงศตวรรษที่18 ปัจจุบันภาคนี้ในญี่ปุ่นตีพิมพ์ออกมาแล้ว 9 เล่มด้วยกัน ส่วนในประเทศไทยได้ตีพิมพ์ในภาพ4สีเช่นกับญี่ปุ่น ปัจจุบันตีพิมพ์ทั้งหมด5เล่ม",
"title": "เซนต์เซย์ย่า Next Dimension ศึกถล่มอเวจี"
},
{
"docid": "2694#84",
"text": "เซนต์เซย์ย่า ตำนานชุดทอง เพอร์เฟกต์อีดิชั่น (聖闘士星矢 黄金伝説編 Perfect Edition) ออกจำหน่ายเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยบันได",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#1",
"text": "ในประเทศญี่ปุ่น เซนต์เซย์ย่าลงตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ และออกเป็นหนังสือรวมเล่มจำนวน 28 เล่มจบ ส่วนในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่ม นอกจากภาคหลักแล้ว เซนต์เซย์ย่ายังได้รับการแต่งภาคเสริมขึ้นอีกหลายภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาค Episode G , Next Dimension และ The Lost Canvas",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#52",
"text": "นอกจาก เซนต์เซย์ย่า Episode G แล้ว มาซามิ คุรุมาดะ ยังได้แต่งเซนต์เซย์ย่าตอนใหม่อีก ได้แก่ เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส โดยมีชิโอริ เทชิโรงิ เป็นผู้วาดลายเส้น ซึ่งเทชิโรงิได้กล่าวความรู้สึกเมื่อได้รับทราบว่าตนเองจะได้เป็นผู้วาดเซนต์เซย์ย่าภาคนี้ว่า \"ในตอนที่มีการพูดถึงงานนี้ ฉันถึงกับร้องไห้ออกมาและก็โทรศัพท์ไปหาเพื่อน เนื่องจากรู้ว่าตนเองจะได้เขียนเรื่องเซนต์เซย์ย่า แถมคุณคุรุมาดะยังมาหาด้วยตัวเองเลยด้วย ในชีวิตฉันคงจะไม่มีงานใดพิเศษสุดเท่ากับงานชิ้นนี้อีกแล้ว\"[21] สำหรับเนื้อหาของตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์สงครามศักดิ์สิทธิ์ระหว่างอาธีน่ากับฮาเดสเมื่อ 243 ปีก่อน โดยได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2550 สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์อาคิตะเพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[21]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#86",
"text": "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดส แชปเตอร์แซงก์ทัวรี่ (聖闘士星矢 聖域十二宮編) ออกจำหน่ายเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบันได เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดส แชปเตอร์อินเฟอร์โน (聖闘士星矢 冥王ハーデス十二宮編) ออกจำหน่ายเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยแนมโคบันได",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#51",
"text": "หลังจากประสบความสำเร็จจากเซนต์เซย์ย่าชุดแรกแล้ว มาซามิ คุรุมาดะ ได้แต่ง \"เซนต์เซย์ย่า Episode G\" ขึ้นมา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ของเหล่าโกลด์เซนต์กับพวกไททัน โดยระยะเวลาของภาคนี้จะย้อนกลับไป 7 ปี นับจากยุคของเซย์ย่า โดยมี เลโอ ไอโอเลีย โกลด์เซนต์ราศีสิงห์ เป็นตัวเอกของเรื่อง ความหมายของ G ในตอนนี้นั้น คือ Gold saint นั่นเอง[19] ถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องของเซนต์เซย์ย่าในตอนนี้จะแต่งขึ้นโดยมาซามิ คุรุมาดะ แต่ผู้ที่วาดลายเส้นนั้น คือ เมกุมุ โอคาดะ จึงทำให้ลายเส้นของภาคนี้ต่างออกไปจากภาคที่แล้ว ส่วนสาเหตุในการเปลี่ยนผู้วาดนั้นไม่ทราบอย่างแน่ชัด ซึ่งเมกุมุ โอคาดะได้กล่าวถึงการที่เขารับหน้าที่ในการวาดลายเส้นสำหรับเซนต์เซย์ย่า Episode G ว่า เขารู้สึกดีใจมาก เพราะนึกไม่ถึงว่านักเขียนคนอื่นจะได้เขียน และนับเป็นครั้งแรกที่เขาได้เขียนการ์ตูนโดยไม่ต้องคิดพลอตเรื่อง[20] อย่างไรก็ตาม ลายเส้นของเมกุมุ โอคาดะก็ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นลายเส้นที่ออกแนวผู้หญิงมาก แต่ด้วยเนื้อหาและลายเส้นที่วาดได้ละเอียดก็ทำให้ภาคนี้ได้รับความนิยมที่ดีขึ้น[19] เซนต์เซย์ย่า Episode G ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2546 สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์อาคิตะ เพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[20] ปัจจุบัน (เม.ย. 2551) ตีพิมพ์ออกมาแล้วเป็นจำนวน 4 เล่ม",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#5",
"text": "เซนต์เซย์ย่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาในช่วงยุคทองของนิตยสารจัมป์รายสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการ์ตูนดังๆ ในยุค'80 ตีพิมพ์อยู่หลายเรื่อง เช่น ดราก้อนบอล ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ คินนิคุแมน โรงเรียนลูกผู้ชาย และซิตี้ฮันเตอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มนักรบเด็กหนุ่มห้าคน (เซนต์) ซึ่งต่อสู้โดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นอาวุธ ในโลกร่วมสมัยที่มีบรรยากาศของเทพปกรณัมกรีก เด็กหนุ่มทั้งห้าคนนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปกป้อง คิโดะ ซาโอริ ผู้เป็นอวตารของเทพีเอเธนา เทพีแห่งปัญญาและสงคราม และต่อสู้กับทัพศัตรูแห่งความชั่วร้าย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั้งผู้ชมที่เป็นผู้ชายและผู้หญิง ต่อมาเมื่อถูกสร้างเป็นอะนิเมะออกอากาศทางโทรทัศน์ ก็มีกระแสตอบรับที่ดีจนได้ออกอากาศติดต่อกันนานเกือบ 3 ปี ส่งผลให้สินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับเซนต์เซย์ย่า เช่น วิดีโอภาพยนตร์การ์ตูน ซอฟต์แวร์เกม หุ่นฟิกเกอร์และหุ่นเหล็กในรูปแบบต่างๆ ที่ผลิตโดยบริษัทบันไดในช่วงนั้น ได้รับความนิยมและขายดีเป็นอย่างมากทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ[2][3][4] ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังได้มีการผลิตของเล่นที่เรียกว่า เซนต์คลอธมิธ ซึ่งเป็นเหมือนกับหุ่นแอคชันฟิกเกอร์รุ่นปรับปรุงใหม่ออกมาวางจำหน่ายอีกด้วย",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "149591#0",
"text": "ด้านล่างนี้คือ รายชื่อตัวละครในเซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส",
"title": "รายชื่อตัวละครในเซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส"
},
{
"docid": "2694#6",
"text": "นอกจากนี้ เซนต์เซย์ย่า ยังได้สร้างอิทธิพลให้แก่การ์ตูนญี่ปุ่นในยุคต่อมาอย่าง ซามูไรทรูปเปอร์ ที่สร้างโดยซันไรส์ ในปี พ.ศ. 2531 และชูราโตะยอดองครักษ์ ที่สร้างโดยทัตสึโนะโกะโปร ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งแนวเรื่องของผลงานทั้ง 2 ที่กล่าวมา ต่างก็เน้นในด้านการต่อสู้และมิตรภาพของเหล่าเด็กหนุ่มที่สวมชุดเกราะ โดยรูปแบบของเกราะจะแยกชิ้นส่วนมาประกอบเข้ากับร่างกายเช่นเดียวกับในเรื่องเซนต์เซย์ย่า[4][5]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#7",
"text": "ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากในประเทศไทยแล้ว เซนต์เซย์ย่ายังได้ไปแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกฟากของทวีปอย่างแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมไปถึงลาตินอเมริกา โดยถึงแม้ว่าในแถบยุโรปจะมีความเข้มงวดเกี่ยวกับฉากต่อสู้ที่มีความรุนแรงในเรื่อง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เซนต์เซย์ย่าเสื่อมความนิยมลงแต่อย่างใด เพราะหลังจากที่แพร่ภาพจบชุด ยังถูกนำกลับมาฉายใหม่อีกหลายครั้ง ส่วนที่ประเทศเม็กซิโกในแถบละตินอเมริกา ก็ได้มีการแพร่ภาพเรื่องเซนต์เซย์ย่าถึง 14 ครั้งด้วยกัน[4]",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#77",
"text": "ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ได้มีข่าวออกมาว่า เซนต์เซย์ย่า ภาคศึกเจ้านรกฮาเดส เดอะแชปเตอร์อินเฟอร์โน ที่กำลังจะออกอากาศทางช่องเคเบิล สกายเพอร์เฟกต์ทีวี ในเดือนธันวาคม จะมีการเปลี่ยนตัวผู้ให้เสียงตัวละครหลักทั้ง 6 ได้แก่ เซย์ย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน อิคคิ และซาโอริ เป็นนักพากย์ชุดใหม่ทั้งหมด[35] ซึ่งแม้ว่าในขณะนั้น ข่าวจะยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ก็สร้างความไม่พอใจให้แก่แฟน ๆ ของเซนต์เซย์ย่าเป็นอย่างมาก จนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนัก โดยมีแฟนๆ จากทั้งในและต่างประเทศเข้าไปโพสต์ข้อความลง BBS ในโฮมเพจของ โทรุ ฟุรุยะ ผู้พากย์เสียงเซย์ย่าคนเดิม เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเรียกร้องให้ทางผู้สร้างพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนตัวนักพากย์อีกครั้ง โดยให้ความเห็นว่า อย่างน้อยถ้าจะเปลี่ยน ก็จะน่าจะเปลี่ยนหลังจากที่ภาคฮาเดสจบชุดไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเปิดเว็บไซต์รวบรวมรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนนักพากย์ในครั้งนี้อีกด้วย[36] แต่ในที่สุดทางเว็บไซต์ของโตเอแอนิเมชัน ก็ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าจะเปลี่ยนตัวนักพากย์ตัวละครหลักทั้ง 6 คนจริง ๆ",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "2694#36",
"text": "ดูบทความหลักที่ ตัวละครในเซนต์เซย์ย่า",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
},
{
"docid": "81700#0",
"text": "รายละเอียดของตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย์ย่า",
"title": "รายชื่อตัวละครในเซนต์เซย์ย่า"
}
] |
2267 | ศาสดาของศาสนาคริสต์คือใคร? | [
{
"docid": "1010#0",
"text": "พระเยซู () หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์",
"title": "พระเยซู"
}
] | [
{
"docid": "44055#2",
"text": "ศาสดา หรือ คุรุ แห่งศาสนาซิกข์มี 10 ท่าน ต่อจากนั้นศาสดาองค์ที่ 10 ได้ประกาศให้ถือพระคัมภีร์เป็นศาสดาแทน และไม่มีการแต่งตั้งศาสดาต่อไปอีก (ยกเว้นนิกายนามธารีถือว่ายังมีศาสดาต่อไปได้อีกจนบัดนี้ รวม 20 องค์แล้ว) ศาสดาทั้ง 10 ท่าน ได้แก่พระศาสดาองค์ที่ห้า พระศาสดาคุรุอารยันเทพ ได้ทรงรวบรวมพระคัมภีร์ของพระศาสดาองค์ก่อน ๆ ทั้งสี่พระองค์ รวมทั้งของพระองค์เอง และนักบุญนักบวชต่าง ๆ ไม่ว่าจะศาสนาใด ที่มีแนวคิดปรัชญาและความสัตย์รู้แจ้งเห็นจริง ในปี พ.ศ. ๒๑๔๗ ซึ่งมีพระนามว่า อาดิครันถ์ซาฮิบ เป็นพระคัมภีร์พระองค์เดียวในสากลโลกที่ได้มีการเรียบเรียงโดยพระศาสดา (ผู้ก่อตั้งศาสนา) ในช่วงสมัยพระชนมายุของพระองค์เอง แบ่งออกเป็น 2 เล่ม ดังนี้",
"title": "ศาสนาซิกข์"
},
{
"docid": "919589#1",
"text": "ท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ)ได้เขียนจดหมายถึงอัครมุขนายกของศาสนาคริสต์ในปีที่สิบปีของฮิจเราะห์สศักราช และเรียกร้องเชิญชวนประชาชนชาวคริสต์ทั้งหมดเข้าสู่ศาสนาอิสลาม.\nบรรดาตัวแทนของท่านศาสดา(ศ)อาทิ ท่าน อุตบะฮ์ บิน กอซวาน , อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบี อุมัยยะฮ์,ฮะดีร อิบนิ อับดุลลอฮ์,และ ศอฮีบ อิบนิ ซินานเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งจดหมายถึงผู้นำศาสนาคริสต์,หลังจากที่เขาได้อ่านจดหมายได้จัดตั้งการประชุมโดยการเข้าร่วมของนักการศาสนาและบุคคลสำคัญอื่นๆและได้บทสรุปว่าจะต้องะเดินทางไปพบกับ มุฮัมหมัด (ศ)ณ นครมะดีนะฮ์ และรับฟังการชี้แจงหลักฐานยืนยันการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมหมัดโดยพร้อมกัน.",
"title": "โองการมุบาฮะละฮ์"
},
{
"docid": "156206#0",
"text": "พระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร เป็นศาสดาของศาสนาเชน ประสูติก่อนคริสต์ศักราช 599 ปี ในวันที่ประสูติสมาชิกในครอบครัวได้มารวมตัวกันในงานเลี้ยงที่ยิ่งใหญ่ บิดาของเขาได้กล่าวว่า ครอบครัวของเราได้รับความผาสุกและความดีงามตั้งแต่แม่ของมหาวีระได้ตั้งครรภ์และทั้ง 2 นั้นได้ตั้งชื่อลูกที่เกิดมาว่า วรรธมานะ แปลว่า ความเพิ่มพูน หรือผู้ที่เจริญ แต่ว่าบรรดาสานุศิษย์ของมหาวีระได้เรียกว่า มหาวีระและพวกเขาได้อ้างว่าชื่อนี้คือชื่อที่บรรดาเทพเจ้าเรียกกัน ความหมายคือ ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ มหาวีระนั้นเป็นลูกคนที่ 2 เขาได้ใช้ชีวิตในช่วงแรกๆอยู่ในอ้อมกอดของบิดามารดา ได้รับความสุขสบายอย่างมากมายโดยมีคนรับใช้อำนวยความสะดวกให้แก่เขา\nมหาวีระนั้นเป็นผู้ที่ยกย่องให้เกียรติ ต่อบิดามารดาอย่างมาก ต่อมาเมื่อเติบใหญ่ขึ้น ได้สมรสกับหญิงคนหนึ่งและมีลูกสาวหนึ่งคน มหาวีระนั้นได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายเพราะว่าเขานั้นเป็นลูกชายเจ้าเมือง บ้านของบิดาของเขานั้นเป็นที่เยี่ยมเยือนของบรรดานักบวชและพระ ทุกๆครั้งที่บรรดานักบวชได้ไปเยี่ยมเยือน พวกเขาเหล่านี้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีและสมเกียรติ และมหาวีระก็จะไปนั่งฟังคำสอนจากพวกเขาเหล่านี้ ซึ่งทำให้เขานั้นประหลาดใจในคำสอนเหล่านั้นและตัวเขาเองนั้นมีความปรารถนาที่จะติดตามพวกนักบวชเหล่านี้ แต่เพราะความรักที่มีให้กับบิดามารดาได้มายับยั้งเขาจากการทำให้บรรลุตามความปรารถนา โดยเขารู้ดีว่าท่านทั้ง 2 นั้นไม่ต้องการให้ มหาวีระอยู่ในหนทางของนักบวช",
"title": "พระมหาวีระ"
},
{
"docid": "752593#33",
"text": "ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรแห่งพระเจ้า\nโดยอาศัยพระมารดาผู้ทรงพระเกียรติยิ่ง เหล่า\nทูตสวรรค์ที่ไร้กายาของพระองค์ ศาสดาประกาศก\nและ ผู้ให้รับบัพติศมาที่มาล่วงหน้าของพระองค์\nเหล่าอัครสาวกที่พระเจ้าทรงดลใจ มรณสักขี\nผู้โชติช่วงและมีชัย บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์และรับเอา\nพระเจ้า และโดยอาศัยคำภาวนาของนักบุญทั้งปวง\nโปรดทรงช่วยข้าพระองค์จากปิศาจที่รุมเร้า ข้าแต่\nพระผู้เป็นเจ้าและพระผู้สร้างของข้าพระองค์\nพระองค์มิได้ทรงประสงค์ความตายของคนบาป\nหากแต่ทรงประสงค์ให้เขากลับใจและมีชีวิตอยู่\nดังนั้น ขอพระองค์โปรดประทานการกลับใจแก่\nข้าพระองค์ผู้ต่ำช้าและไร้ค่าด้วย โปรดทรงฉวย\nข้าพระองค์จากปากของงูร้ายที่กำลังกลืนกิน\nข้าพระองค์และลากข้าพระองค์ลงนรกทั้งเป็น\nข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงบรรเทาของ\nข้าพระองค์ ผู้ทรงฉลองพระองค์ด้วยกายที่มีวัน\nเน่าเปื่อยผุพังด้วยเห็นแก่ข้าพระองค์อย่างเวทนา\nสงสาร โปรดทรงช่วยข้าพระองค์ให้รอดพ้นจาก\nความทุกข์ลำเค็ญและให้ได้รับการบรรเทาแก่\nดวงวิญญาณอันน่าเวทนาของข้าพระองค์ โปรด\nทรงปลูกฝังในหัวใจของข้าพระองค์ให้กระทำตาม พระบัญญัติของพระองค์ และละทิ้งการกระทำชั่ว\nของข้าพระองค์ และให้ได้รับความเปรมปรีดิ์ใน\nพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทรงช่วย\nข้าพระองค์ด้วยเถิด เพราะข้าพระองค์หวังใน\nพระองค์ อาเมน",
"title": "การอธิษฐานในศาสนาคริสต์"
},
{
"docid": "1010#30",
"text": "พระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮ กล่าวถึงพระเยซูว่าเป็นผู้เผยพระวจนะที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาเพื่อทำหน้าที่นำพาและให้ความรู้แก่มนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง เช่นเดียวกับผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ คือ พระกฤษณะ โมเสส ซาราธุสตรา พระพุทธเจ้า นบีมุฮัมมัด พระบาบ โดยพระบาฮาอุลลออ์อ้างว่าตนเองคือ \"พระวิญญาณแห่งความจริง\" (ยอห์น 16:13) และเป็นพระคริสต์ผู้มาเป็นครั้งที่สอง \"ด้วยรัศมีของพระบิดา\" (มัทธิว 16:27) ตามที่พระเยซูได้ทำนายไว้",
"title": "พระเยซู"
},
{
"docid": "405269#1",
"text": "คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้",
"title": "พระวิญญาณบริสุทธิ์"
},
{
"docid": "405269#4",
"text": "คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ถือว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์” คือพระบุคคลที่สามของพระเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ อันประกอบด้วยพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ คริสตชนเชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์นี้เป็นผู้เปิดเผยพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ว่า “ยาห์เวห์” ต่อประชาชนชาวอิสราเอล และเป็นผู้ส่งพระบุตรคือพระเยซูมาช่วยประชาชนนั้นให้รอดจากพระพิโรธ และส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มาเพื่อชำระและประทานชีวิตแก่คริสตจักร พระเจ้าที่ทรงเป็นตรีเอกภาพนี้มีสาม “พระบุคคล” แต่เป็นภาวะพระเจ้าเดียว ซึ่งเรียกว่าเทวภาพ (Godhood) ซึ่งเป็นพระสารัตถะของพระเจ้า",
"title": "พระวิญญาณบริสุทธิ์"
},
{
"docid": "3831#1",
"text": "คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า \"พระคริสต์\" หรือ \"พระเมสสิยาห์\" ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก",
"title": "ศาสนาคริสต์"
},
{
"docid": "408257#1",
"text": "ผู้ยืนยันความเชื่อ (confessor of the Faith) หรือวีรสักขี หมายถึง นักบุญที่เคยได้รับการเบียดเบียนเพราะนับถือศาสนาคริสต์แต่ยังไม่ถึงแก่ความตายและยืนยันความศรัทธาของตน คริสตจักรโรมันคาทอลิกจารีตละตินใช้คำนี้เป็นสมญานามของนักบุญและบุญราศีใด ๆ ที่ไม่ใช่มรณสักขี อัครทูต ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน หรือพรหมจารี เมื่อคริสต์ศาสนากลายเป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนก็ลดลง คำว่าธรรมสักขีจึงเปลี่ยนมามอบให้กับนักบุญที่มีชีวิตบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์และถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบ อาทิ เช่น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ",
"title": "ธรรมสักขี"
},
{
"docid": "497618#1",
"text": "ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกัน",
"title": "ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร"
}
] |
2116 | เรณูวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เชิงสหวิทยาการและเป็นสาขาหนึ่งของอะไร? | [
{
"docid": "232116#0",
"text": "เรณูวิทยาในชั้นหิน () เป็นวิทยาศาสตร์ที่นักธรณีวิทยาศึกษาเกี่ยวกับเรณูสัณฐานของสิ่งมีชีวิตปัจจุบันและซากดึกดำบรรพ์เพื่อศึกษาหาอายุเปรียบเทียบและการลำดับชั้นหิน จากซากเหลือของ ละอองเรณู(pollen) สปอร์(spores) ไดโนแฟลกเจลเลต(dinoflagellatesc และระยะซีสต์:hypnozygote) อาคริทาร์ช(acritarchs) ไคตินโนซัว(chitinozoans) และสโคเลโคดอนต์(scolecodonts) รวมไปถึงอินทรีย์วัตถุ(other microfossils)และเคอโรเจนที่มีลักษณะเฉพาะที่พบในตะกอนและหินตะกอน บางครั้งการศึกษาเรณูสัณฐาน(Palynomorphs)จะรวมถึงการศึกษาไดอะตอม(diatom) ฟอแรมมินิเฟอรา(microforaminifera) หรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีโครงร่างภายนอกเป็นสารพวกซิลิก้าและเนื้อปูน(อ้างอิงจากPalynology at U of AZ) \nเรณูวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เชิงสหวิทยาการและเป็นสาขาหนึ่งของธรณีวิทยาและชีววิทยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤกษศาสตร์ วิชาการลำดับชั้นหินทางเรณูวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิชาบรรพชีวินวิทยาจุลภาคและพฤกษศาสตร์โบราณซึ่งศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ของเรณูสัณฐานจากช่วงพรีแคมเบรียนตลอดจนถึงสมัยโฮโลซีน",
"title": "เรณูวิทยา"
}
] | [
{
"docid": "68506#1",
"text": "หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่าที่มีการเรียนการสอนในประเทศไทยนั้นอาจกล่าวได้ว่ายังเป็นไปตามแบบแผนวิชาการตะวันตกเสียส่วนใหญ่ จึงควรปรับกระบวนทัศน์โดยผสมผสานแนวคิดและวิธีวิทยาในแนวสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) เพื่อศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์และพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยและตะวันออก ทั้งจากพื้นฐานในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาอื่นๆ ที่เป็นการต่อยอดเชิงประยุกต์ เช่น เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ และเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีบทบาทสูงในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสาขาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ เช่น สังคมวิทยามานุษยวิทยาการแพทย์ นิเทศศาสตร์ การตลาด การบริหารธุรกิจ การออกแบบนิเทศศิลป์ ฯลฯ อันจะเป็นการขยายมุมมองให้รอบด้านลุ่มลึกเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงปัญหา เหตุปัจจัย และหาหนทางแก้ไขได้อย่างแท้จริง",
"title": "วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต"
},
{
"docid": "211961#0",
"text": "จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ หรือ ฟิสิกส์จักรวาลวิทยา () คือสาขาวิชาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลและพลศาสตร์ของเอกภพของเรา ตลอดจนถึงความเกี่ยวข้องกับปัญหาพื้นฐานในแง่การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ การศึกษาจักรวาลวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ และสาเหตุเริ่มต้นของการเคลื่อนที่เหล่านั้น มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของโคเปอร์นิคัส ที่ว่าวัตถุท้องฟ้าทุกชนิดย่อมอยู่ภายใต้กฎทางฟิสิกส์เดียวกันกับกฎทางฟิสิกส์ที่ใช้บนโลก ส่วนกลศาสตร์นิวตันเป็นการนำเสนอทฤษฎีที่จะทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ ปัจจุบันเรียกกลศาสตร์ทั้งหมดนี้รวม ๆ กันว่า กลศาสตร์ท้องฟ้า (celestial mechanics) สำหรับการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพในยุคปัจจุบันเริ่มขึ้นจากการพัฒนาทฤษฎีใหม่ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป รวมถึงข้อมูลการสังเกตการณ์วัตถุที่อยู่ไกลมาก ๆ ในจักรวาลของเรา",
"title": "จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ"
},
{
"docid": "3116#8",
"text": "ในปรัชญากรีกโบราณ กลุ่มของคำถามเหล่านี้จะถูกพิจารณาถึงในสาขาแยกย่อยของปรัชญา คือ การวิเคราะห์ หรือตรรกศาสตร์, ญาณวิทยา จริยศาสตร์ อภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ โดยที่จริยศาสตร์กับสุนทรียศาสตร์ถูกรวมเรียกว่าอรรฆวิทยา/คุณวิทยา (Axiology) อย่างไรก็ตามปรัชญามิได้สนใจเฉพาะเรื่องเหล่านี้เท่านั้น อริสโตเติลผู้ริเริ่มการแบ่งสาขาในลักษณะนี้ยังคงจัดให้การเมือง ฟิสิกส์สมัยใหม่ ธรณีวิทยา ชีววิทยา อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของการศึกษาทางปรัชญาด้วยเช่นกัน แวดวงปรัชญากรีกได้พัฒนากระแสการคิดแบบวิเคราะห์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโสกราตีสและวิธีการของเขา ซึ่งเสนอให้แบ่งปัญหาที่สนใจออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำให้เข้าใจปัญหาได้มากขึ้น",
"title": "ปรัชญา"
},
{
"docid": "4208#59",
"text": "นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพมากเท่าๆกับวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ นิเวศวิทยามนุษย์เป็นการสืบสวนแบบสหวิทยาการเข้าไปในนิเวศวิทยาของสายพันธุ์ของเรา \"นิเวศวิทยามนุษย์อาจถูกกำหนดเป็น (1) จากมุมมองทางชีว-นิเวศเพื่อการศึกษามนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีอำนาจครอบงำทางนิเวศของชุมชนและระบบของทั้งพืชและสัตว์ (2) จากมุมมองทางชีว-นิเวศในแบบที่เป็นเพียงแค่ผลกระทบจากสัตว์ที่มีต่อสัตว์อื่นและการที่สัตว์ได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพวกมัน.. และ (3) เพียงแค่ความเป็นมนุษย์ ที่มีสักอย่างที่แตกต่างจากชีวิตสัตว์โดยทั่วไป การมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและที่ผ่านการปรับปรุงในวิธีการที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ นิเวศวิทยามนุษย์แบบสหวิทยาการที่แท้จริงจะบ่งบอกตัวเองได้มากที่สุดในทั้งสามแบบข้างต้น\" คำว่านิเวศวิทยามนุษย์ได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการในปี 1921 แต่นักสังคมวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักจิตวิทยาและสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับระบบธรรมชาติในหลายศตวรรษก่อนหน้านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19",
"title": "นิเวศวิทยา"
},
{
"docid": "141490#0",
"text": "วานรวิทยา หรือ ไพรเมตวิทยา () คือวิชาว่าด้วยการศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงสุด (primates) ได้แก่ลิงและคน นับเป็นสาขาวิชาที่หลากหลายในหมวดวิชาชีววิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาและอื่นๆ มานุษยวิทยากายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวานรวิทยาคือวานรวิทยาว่าด้วยสกุล \"Homo\" โดยเฉพาะ \"Homo sapiens\" วิชานี้ครอบคลุมไปถึงการศึกษา Hominidae หรือสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคนซึ่งรวมถึงบรรพบุรุษของมนุษย์และลิงใหญ่อื่น ๆ",
"title": "วานรวิทยา"
},
{
"docid": "4208#55",
"text": "ชีวภูมิศาสตร์มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการกระจายทางพืนที่ของพืชและสัตว์ นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการให้บริบทเชิงอธิบายสำหรับการศึกษาด้านชีวภูมิศาสตร์ รูปแบบทางชีวภูมิศาสตร์เป็นผลมาจากกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการกระจายในช่วงระยะต่าง ๆ เช่นการอพยพของสัตว์และการแพร่พันธ์ และจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่แยกประชากรหรือสายพันธุ์ลงในพื้นที่ที่แตกต่างกัน กระบวนการทางชีวภูมิศาสตร์ที่มีผลในการแยกตามธรรมชาติของสายพันธุ์ช่วยอธิบายอย่างมากของการกระจายของชีวชาติที่ทันสมัยของโลก การแยกสายโลหิตในสายพันธ์หนึ่งๆถูกเรียกว่า vicariance biogeography และมันเป็นสาขาย่อยสาขาหนึ่งของชีวภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานจริงในสาขาชีวภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบบและกระบวนการทางนิเวศ ตัวอย่างเช่นช่วงและการกระจายตัวของความหลากหลายทางชีวภาพและสายพันธุ์บุกรุก () ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างหนึ่งและต่อพื้นที่ใช้งานของการวิจัยในบริบทของภาวะโลกร้อน",
"title": "นิเวศวิทยา"
},
{
"docid": "5185#0",
"text": "อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล () เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ โปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร",
"title": "อณูชีววิทยา"
},
{
"docid": "371898#1",
"text": "วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์โลกที่รวมเอา ธรณีฟิสิกส์, ธรณีวิทยา, ภูมิศาสตร์กายภาพ, ธรณีสัณฐานวิทยา, climatology, อุตุนิยมวิทยา, อุทกวิทยา, ชีววิทยา, และ นิเวศวิทยา. \nผลกระทบของธารน้ำแข็งต่อชีวิตผู้คน รวมไปถึงสาขาวิชาของ ภูมิศาสตร์มนุษย์ และมานุษยวิทยา",
"title": "วิทยาธารน้ำแข็ง"
},
{
"docid": "5208#0",
"text": "วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ () เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการออกแบบและสร้างผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ เมื่อ เทคโนโลยี ก้าวหน้าขึ้น, สาขาย่อยของ วิศวกรรม ก็ขยายและพัฒนาขึ้น จุดประสงค์ของเมคคาทรอนิกส์จึงเป็นกระบวนการออกแบบที่รวมเป็นหนึ่งเดียวของสาขาย่อยเหล่านี้ แต่เดิม เมคคาทรอนิกส์ได้รวมแค่เมคคานิกส์และอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ดังนั้นคำว่าเมคคาทรอนิกส์จึงเป็นคำผสมของ แมคคา และ ทรอนิกส์; อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบด้านเทคนิคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ คำ ๆ นี้จึงถูกขยายความให้รวมถึงพื้นที่ทางเทคนิคมากยิ่งขึ้น",
"title": "วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์"
}
] |
2896 | กฎหมายที่มีอำนาจสูงสุดของไทยคืออะไร? | [
{
"docid": "263937#2",
"text": "องค์กรหลักตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ดูแลความสอดคล้องของกฎหมายต่างๆ ต่อกฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญ คือศาลรัฐธรรมนูญ",
"title": "ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย"
}
] | [
{
"docid": "670357#3",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งมิได้ พระราชบัญญัติและบทกฎหมาย ซึ่งหลายฉบับสร้างและแก้ไขเพิ่มเติม 4 ประมวลกฎหมายพื้นฐาน ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ประมวลกฎหมายอาญา (ปอ.) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายซึ่งใหม่กว่ามีประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลรัษฎากร พระราชกำหนดหรือพระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตราตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เมื่อจำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่เพื่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศหรือเพื่อปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ สนธิสัญญา กฎหมายรอง หมายถึง ข้อบังคับ (ของกระทรวง) คำสั่ง ประกาศ พระราชกฤษฎีกาและกฎ ความเห็นของศาลฎีกาและคำวินิจฉัยของศาลอื่น บรรทัดฐานเกี่ยวกับการศาลในประเทศไทยไม่ผูกพัน ศาลไม่ถูกผูกพันให้ยึดคำวินิจฉัยของศาลเอง ศาลระดับล่างไม่ถูกผูกพันให้ยึดบรรทัดฐานที่ศาลระดับสูงกว่ากำหนด ทว่า กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากบรรทัดฐานคอมมอนลอว์ ฉะนั้น ศาลจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคำวินิจฉัยก่อน ๆ หรือคำวินิจฉัยของศาลระดับสูงกว่า ศาลฎีกาจัดพิมพ์คำวินิจฉัยของศาลเอง เรียก \"คำพิพากษาศาลฎีกา\" ซึ่งมักใช้เป็นอำนาจชั้นรองและกำหนดเลขตามปีที่ออก ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญยังจัดพิมพ์คำวินิจฉัยหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของตนด้วย",
"title": "กฎหมายไทย"
},
{
"docid": "237507#0",
"text": "อัยการสูงสุด () เป็นผู้นำที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล และในบางเขตอำนาจ มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ดำเนินคดีอาญา และรับผิดชอบคดีความโดยทั่วไปด้วย ขอบเขตอำนาจหน้าที่ในทางปฏิบัติของอัยการสูงสุดนั้นมักต่างกันไปในแต่ละท้องที่",
"title": "อัยการสูงสุด"
},
{
"docid": "156511#0",
"text": "อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า \"ศาลสูงสุด\" หรือ \"ศาลรัฐธรรมนูญ\" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า",
"title": "อำนาจตุลาการ"
},
{
"docid": "162476#2",
"text": "รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว",
"title": "รัฐสภาสหรัฐ"
},
{
"docid": "8514#37",
"text": "องค์ประกอบสำคัญในการเป็นประธานาธิบดีของบุช เห็นจะได้แก่การเน้นความสำคัญของอำนาจและสิทธิพิเศษของผู้บริหารระดับสูง ตามความเห็นของบุชและผู้ที่สนับสนุนเขาแล้ว การทำสงครามกับการก่อการร้ายจะเป็นที่จะต้องใช้บริหารระดับสูงที่เข้มแข็ง และมีความสามารถที่จะใช้กลวิธีต่างๆที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อต่อกรกับผู้ก่อการร้าย เป็นต้นว่า ครั้งหนึ่ง บุชได้โต้แย้งซ้ำๆหลายครั้งว่าข้อจำกัดของกฎหมายการเฝ้าระวังการข่าวกรองของต่างชาตินั้น เป็นกรอบที่เข้มงวดจนเกินไปต่อความสามารถในการเฝ้าระแวดระวังผู้ก่อการร้ายผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ และบุชได้ผลักดันให้มีการยกเว้นข้อจำกัดต่างๆเหล่านั้นชั่วคราว รวมทั้งบางส่วนของกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายสหรัฐปี พ.ศ. 2544 (USA PATRIOT ACT ย่อมาจาก Uniting and Strengthening America by Providing Appropriate Tools Required to Intercept and Obstruct Terrorism ACT of 2001 แปลตรงตัวว่า \"กฎหมายเพื่อการรวมกำลังและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอเมริกา ด้วยการให้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งจำเป็นต่อการดักจับและขัดขวางการก่อการร้าย บัญญัติเมื่อปี พ.ศ. 2544\") คณะผู้บริหารงานแผ่นดินของบุช ได้ข่มขู่ว่าจะวีโต้เอกสารระบุกลวิธีป้องกันประเทศสองฉบับ ที่รวมข้อความที่ถูกแก้ไขโดยวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน เพื่อจำกัดอำนาจของผู้บริหารระดับสูงในอันที่จะอนุญาตให้มีการกระทำทารุณกรรมต่อมนุษย์ บุชกับพวกได้โต้แย้งว่า การกระทำรุนแรงต่อผู้ถูกจับกุมและเชื่อว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น จำเป็นต่อการได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ทนายความในคณะรัฐบาลของบุช เป็นต้นว่าจอห์น ยู ได้โต้แย้งว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการนำประเทศเข้าสู่สงครามอยู่แล้วหากเห็นว่าเหมาะสม แม้ว่าจะมีข้อกฎหมายมาจำกัดอำนาจนั้นก็ตาม นายจอห์น จี. โรเบิร์ต ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐ เห็นว่าผู้บริหารระดับสูงควรมีขอบเขตอำนาจกว้างขวางเช่นกัน ในกรณีฮัมแดน ปะทะ รัมสเฟลด์ เขาได้เขียนระบุไว้ว่า มาตราทั่วไปที่ 3 ของสนธิสัญญาเจนีวา ไม่ได้ครอบคลุมถึงผู้ถูกจับกุมตัวจากสงครามการต่อต้านการก่อการร้าย ดังนั้น บุชจึงสามารถเลือกที่จะอนุญาตให้มีการจัดตั้งศาลทหารลับเพื่อพิจารณาคดีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้ หากเขาต้องการ คณะรัฐบาลของบุชได้สั่งให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงที่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะได้ไว้เป็นความลับ และได้ร่างคำสั่งของผู้บริหารระดับสูงขึ้นเพื่อใช้ยับยั้งคำร้องขอข้อมูลที่อ้างอิงกฎหมายอิสรภาพทางสารสนเทศ อีกทั้งให้เก็บรักษาข้อมูลเก่าที่เป็นความลับต่อไปเกินกว่าวันหมดอายุความลับเดิม ผู้วิพากษ์วิจารณ์บุชได้โต้แย้งว่า อำนาจของผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ผ่านการกลั่นกรองนั้นเสี่ยงต่อการล่วงละเมิดวัตถุประสงค์ทางการเมือง และละเมิดต่ออิสรภาพของพลเรือน อีกทั้งยังบอกว่าเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไร้จริยธรรม และมีแนวโน้มก่อให้เกิดกระแสต่อต้าน ดังที่เคยเกิดกระแสต่อต้านของชาวโลกต่อกรณีการทำทารุณกรรมต่อนักโทษในเรือนจำอาบู กราอิบมาแล้ว ส่วนผู้สนับสนุนบุชได้แย้งว่า ขอบข่ายอำนาจที่กว้างขวางในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายนั้น จำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการจู่โจมสหรัฐครั้งสำคัญๆ และประธานาธิบดีก็มิได้ใช้อำนาจนั้นเกินความจำเป็นแต่อย่างใด",
"title": "จอร์จ ดับเบิลยู. บุช"
},
{
"docid": "194552#3",
"text": "แนวคิดนี้มองว่า เฉพาะกฎหมายที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ให้ออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่นๆ นอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แม้จะมีเนื้อหาใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ดั่งในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 (ฉบับปัจจุบัน) ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดนี้ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเรื่องที่ให้ออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้หลายเรื่อง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดี การแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนและทหารระดับสูง ตุลาการรัฐธรรมนูญ ฯลฯ หรืออย่างกรณีของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 9 ฉบับ แนวคิดนี้ก็จะมองว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็จะมีเฉพาะที่เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น กฎหมายอื่นแม้จะมีเนื้อหาใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ หรือว่าจะเป็นเรื่องตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ก็ไม่จัดว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่อย่างใด",
"title": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ"
},
{
"docid": "196276#25",
"text": "ถือเป็นมิติใหม่ประการหนึ่งของวงการสื่อสารมวลชน จากการที่พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 กำหนดให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจปรับเพดานสูงสุดของเงินได้ทุกๆ 3 ปี) ถือเป็นการจัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่ค้าและจำหน่ายสุรากับบุหรี่มาให้เป็นเงินบำรุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ดี การจัดเก็บเงินบำรุงองค์การนี้ ให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งรายได้ส่วนนี้เพื่อมาเป็นเงินบำรุงองค์การ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เว้นแต่ว่าจะเกินกว่าที่กำหนด จึงนำส่งส่วนที่เหลือเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป [14]",
"title": "องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "152222#1",
"text": "ถึงแม้ว่าตำแหน่งทางทฤษฎีจะอยู่ \"ข้างล่าง\" ของสภาสูง แต่ในความเป็นจริง \"สภาล่าง\" เกือบทุกประเทศในโลกกลับมีอำนาจมากกว่า \"สภาสูง\" ความเหนือชั้นกว่าของสภาล่างเกิดจากข้อจำกัดพิเศษที่บังคับใช้กับสภาสูง (ไม่ว่าจะเป็นไปตามกฎหมายหรือเห็นได้โดยชัดแจ้งในระเบียบวิธีการประชุม) ที่สามารถทำได้เพียงการชะลอการออกกฎหมายให้ช้าลง แต่ไม่อาจใช้อำนาจยับยั้งการออกกฎหมาย ()ได้ หรืออาจไม่มีอำนาจควบคุมกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน ภายใต้ระบบรัฐสภาถือเป็นเรื่องปกติที่สภาล่างเท่านั้นที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตัวหัวหน้ารัฐบาล หรือนายกรัฐมนตรี และยังสามารถถอดถอนผ่านการออกเสียงไม่ไว้วางใจได้อีกด้วย แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง เช่น นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งเลือกจากการสนับสนุนของทั้งสองสภาไดเอต การร่างกฎหมายที่ทำได้โดยสภาเดียวเรียกว่า \"ระบบสภาเดียว\"",
"title": "สภาล่าง"
},
{
"docid": "240803#0",
"text": "เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงต้องรับรู้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของว่ามีขอบเขตคุ้มครองกว้างขวางมากเพียงใด โดยกฎหมายกำหนดสิทธิไว้ดังต่อไปนี้\nเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำทั้ง 5 ข้อนี้ ผู้ใดที่ทำละเมิดสิทธิของเจ้าของงานซึ่งกฎหมายคุ้มครองไว้ จักต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายทางแพ่งแก่ กรมการคุ้มครองสิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ มิใช่การคัดลอก ดัดแปลง งานของผู้อื่น กฎหมายจึงกำหนดบทลงโทษหนักและค่าปรับที่สูงมาก ซึ่งไม่คุ้มกับการเสียเวลาคัดลอกงานแล้วอ้างเป็นฝีมือของตน นอกจากนั้นยังเสียโอกาสในการแสดงฝีมือสร้างสรรค์งานของตัวเองไป การเป็นแค่เงาดำจักต้องอยู่ข้างหลังตัวตนแท้จริงเสมอ ถ้ามีฝีมือเก่งจริง ต้องก้าวออกจากเงามืดแล้วปรากฏกายแสดงพลังแท้จริงให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นเพื่อชื่นชมผลงานของตน",
"title": "กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย"
},
{
"docid": "340206#0",
"text": "สำนักงานอัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสำนักงานส่วนราชการขององค์กรอัยการ เป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับหรือสังกัดกระทรวงใด มีที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด",
"title": "สำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "853774#8",
"text": "รัฐสภามีอำนาจในการตรากฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ตัวอย่างของกฎหมายเกี่ยกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่\nการจัดการทำกฎหมายในรูปแบบประมวลกฎหมายท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อรวบรวมพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพื้นฐานได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์บริหารส่วนตำบล, เทศบาล, กฎหมายการกระจายอำนาจหน้าที่และกฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการรวบรวมจะช่วยให้การอ้างอิงข้อกฎหมายทำได้ง่ายขึ้นและเนื้อหาของกฎหมายมีความสอดคล้องกัน ในประเทศต่างๆก็มีกฎหมายที่ใกล้เคียงกับประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเทศฟิลิปปินส์มีกฎหมายที่ชื่อว่า \"ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งฟิลิปปินส์ (The Local Goverment Code of The Philippines)\" ประมวลกฎหมายฉบับบนี้ทำให้เกิดกระบวนการกระจายอำนาจขึ้น และอีกประเทศนึงก็คือ ประเทศญี่ปุ่น \"กฎหมายว่าด้วยความเป็นอิสระของท้องถิ่น ค.ศ.1947(Local Autonomy Law Of 1947)\" และประเทศสหราชอาณาจักร \"พระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค.ศ.2000(Local Goverment Act Of 2000)\" มีสาระสำคัญที่เหมือนของประเทศไทยคือ รูปแบบการบริหารงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเงิน อำนาจหน้าที่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ การรวมเอากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาไว้ในฉบับบเดียวกัน",
"title": "กฎหมายปกครองท้องถิ่น"
},
{
"docid": "5793#1",
"text": "บทบาทที่สำคัญของประธานาธิบดีคือเป็นสัญลักษณ์ ศูนย์รวมจิตใจของประเทศ งานด้านพิธีกรรม เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และมีบทบาทด้านการทูต เช่น การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตและรับทราบการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของประเทศอื่น รวมทั้งการมีอำนาจการบริหารสูงสุด อำนาจในการแต่งตั้งรัฐบาล รัฐสภา อำนาจในการออกกฎหมาย เช่น ประมุขแห่งรัฐต้องลงนามก่อน กฎหมายจึงจะมีผลบังคับใช้ และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดซึ่งมีอำนาจในการเรียกประชุม หรือยุบสภานิติบัญญัติอีกด้วย",
"title": "ประธานาธิบดี"
},
{
"docid": "413835#5",
"text": "มกราคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ไต่สวนคำร้องให้ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งระหว่างการไต่สวน สุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง ได้แสดงทรรศนะที่ก้าวก่ายรัฐบาลและต่อต้านโครงการนี้อย่างเปิดเผย อาทิ \"ไม่คำนึงถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง\", \"รถไฟเร็วสูงยังไม่จำเป็นกับไทย\" หรือ \"ให้ถนนลูกรังหมดก่อน\" ซึ่งทำให้ศาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในประเด็นที่ว่าศาลไต่สวนนอกเหนืออำนาจหน้าที่ เพราะควรไต่สวนเฉพาะประเด็นที่ขัดกฎหมาย ท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีตกพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวันที่ 12 มีนาคม 2557",
"title": "รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "10601#8",
"text": "นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด รวมทั้งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้.",
"title": "วุฒิสภาไทย"
},
{
"docid": "703966#6",
"text": "ที่น่าสนใจคือ หลักนิติธรรมที่กล่าวถึงในข้างต้นนั้นไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดในเชิงทฤษฎี หรือ นามธรรมเท่านั้น แต่ได้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ในมาตรา 29 ที่ระบุว่า\n\"“การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น\nและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้\"\n\"กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย”\"\nจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 คือการบ่งบอกว่ากฎหมายใด ๆ ที่ตราขึ้น จะต้องบังคับใช้กับคนทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน โดยที่เนื้อหาสาระของกฎหมายนั้นจะต้องไม่เป็นการละเมิด หรือ จำกัดซึ่งสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ก็คือแนวคิดพื้นฐานของหลักนิติธรรมในการมุ่งประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน จากความสูงสุดของกฎหมาย",
"title": "หลักนิติธรรม"
},
{
"docid": "703966#8",
"text": "อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า “นิติธรรม” และ “นิติรัฐ” ของไทยนั้นยังคงสับสน และมักใช้ร่วมกันอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ก็เนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมาย และหลักการทางกฎหมายมหาชนของคำทั้งสอง เพราะหากเรายึดตามหลักการ ตามทฤษฎีแล้ว ประเทศไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร (civil law) ตามแบบอย่างประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี และฝรั่งเศส ย่อมจะต้องยืนอยู่บนหลักการความสูงสุดของกฎหมายที่เป็น “นิติรัฐ” มากกว่า หลักความสูงสุดของกฎหมายในแบบ “นิติธรรม” ที่ใช้ในระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law) โดยมีอังกฤษเป็นต้นแบบ เพราะหลักนิติรัฐนั้นจะเน้นไปที่รูปแบบ-โครงสร้าง (form-structure) และวิธีการในการไปให้ถึงเป้าประสงค์ คือการจำกัดอำนาจรัฐ ในขณะที่หลักนิติธรรมนั้นจะเน้นที่เนื้อหา (substance) และกระบวนการ (procedure) ในการสร้างเสริมสิทธิ และเสรีภาพให้แก่ประชาชน",
"title": "หลักนิติธรรม"
},
{
"docid": "156511#1",
"text": "ในหลายเขตอำนาจ ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายผ่านกระบวนการการพิจารณาทบทวนโดยศาล ศาลที่มีอำนาจการพิจารณาทบทวนโดยศาลอาจบอกล้างกฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐเมื่อเห็นว่ากฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้นไม่เข้ากับบรรทัดฐานที่สูงกว่า เช่น กฎหมายแม่บท บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาเป็นกำลังสำคัญสำหรับตีความและนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ ฉะนั้น จึงสร้างประชุมกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์",
"title": "อำนาจตุลาการ"
},
{
"docid": "28600#11",
"text": "มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์การเมืองชาวกรีกโบราณ บนพื้นฐานหรือมีเป้าประสงค์ประการสำคัญแหล่งหลักการคือการให้อำนาจแต่ละฝ่ายถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกันทั้งสามฝ่าย และเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์กรภาครัฐที่ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่าฝ่ายใด ซึ่งตามแนวคิดดั้งเดิมของมงแต็สกีเยอนั้น ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (Puissance Legislative) ซึ่งใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน และองค์กรที่ใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชน ซึ่งก็คือ สภาที่ทำหน้าที่ประชุมและปรึกษาในเรื่องการเมือง องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือช้าราชการ และองค์กรฝ่ายตุลาการ นั่นเอง เหตุผลที่มงแต็สกีเยอเสนอแนวคิกให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองสูงสุดนี้เนื่องจากเขาเห็นว่า หากอำนาจในการนิติบัญญัติหรือการตรากฎหมาย อำนาจในการบริหารหรือการบังคับตามมติมหาชน และอำนาจตุลาการในการพิจารณาคดี ถูกใช้โดยบุคคลเดียวหรือองค์กรเดียว ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือประชาชนก็ตามแล้ว ยากที่จะมีเสรีภาพอยู่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติรวมกับอำนาจบริหาร จะออกกฎหมายแบบทรราชและบังคับใช้กฎหมายในทางมิชอบ หากอำนาจตุลาการรวมกันกับอำนาจนิติบัญญัติ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ออกกฎหมาย อันอาจส่งผลให้ชีวิตและเสรีภาพของผู้ใต้การปกครอง ถูกบังคับควบคุมโดยกฎหมายที่ลำเอียง และหากให้อำนาจตุลาการรวมกับอำนาจบริหารแล้ว ผู้พิพากษาจะประพฤติตัวแบบกดขี่รุนแรง อันจำเป็นต้องแยกอำนาจแต่ละด้านออกจากกัน ",
"title": "อำนาจอธิปไตย"
},
{
"docid": "263937#8",
"text": "การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้ กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น",
"title": "ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย"
},
{
"docid": "703966#5",
"text": "หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ได้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถูกแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (โปรดดู Constitutional Monarchy) ถือได้ว่าหลักนิติธรรมในแง่ของแนวคิดพื้นฐานได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพราะอำนาจสูงสุดของรัฐได้ถูกถ่ายโอนจากองค์พระมหากษัตริย์ไปสู่รัฐธรรมนูญที่ระบุให้ที่มาของอำนาจอธิปไตยมาจากเบื้องล่าง คือ ประชาชน กฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นในแง่นี้สถานะของประชาชนที่เป็นทั้งผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง (the ruler and the ruled) อย่างเท่าเทียมกันภายใต้ความสูงสุดของกฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) จึงได้บังเกิดขึ้นนับแต่นั้นมา ",
"title": "หลักนิติธรรม"
},
{
"docid": "152220#1",
"text": "ในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา เช่น ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ สภาสูง มีหน้าที่ตรวจสอบกฎหมายที่รัฐบาลหรือสภาล่างประกาศใช้ในสถานการณที่มีความจำเป็นรีบด่วน, มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมาย ซึ่งสภาล่างอาจไม่ปฏิบัติตามก็ได้ เช่น สภาขุนนาง (สภาสูง) ของอังกฤษ ที่กฎหมายไม่ให้อำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมาย เพียงแต่มีอำนาจในการถ่วงการพิจารณาเอาไว้เพื่อให้รัฐบาลหรือสภาล่างนำกลับไปพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ แม้สภาสูงจะไม่มีอำนาจเช่นว่า แต่บรรดาสภาสูงส่วนใหญ่ก็อาจขอให้สภาล่างนำร่างกฎหมายกลับไปพิจารณาใหม่ได้ เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองจากการออกกฎหมายโดยไม่ความรอบคอบ ",
"title": "สภาสูง"
},
{
"docid": "152220#3",
"text": "อย่างไรก็ดี สภาสูงแห่งบางประเทศหรือบางรัฐก็มีอำนาจมากกว่าที่ระบุไว้ข้างต้น เช่น มีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณา (ส่วนใหญ่ไม่รวมกฎหมายงบประมาณและการเงิน) กับทั้งบางครั้งรัฐธรรมนูญของบางประเทศอาจกำหนดให้สภาสูงมีอำนาจแก้ไขภาวะทางตันทางการเมืองก็มี",
"title": "สภาสูง"
},
{
"docid": "105849#2",
"text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 255 ได้บัญญัติให้ องค์กรอัยการ เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ กำหนดให้พนักงานอัยการ มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น โดยให้มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ผลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังกล่าว เป็นการยกฐานะสำนักงานอัยการสูงสุดให้เป็นองค์การอื่นตามรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาและกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ทั้งเป็นการยกฐานะตำแหน่ง อัยการสูงสุด ให้เทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เป็นครั้งแรก",
"title": "พนักงานอัยการ"
},
{
"docid": "703966#0",
"text": "หลักนิติธรรม (Rule of Law) หากพิจารณาในฐานะแนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยอริสโตเติล (Aristotle) ได้สรุปว่า กฎหมายเท่านั้นที่ควรจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดในระบอบการเมือง (Aristotle, 1995: 127) และจากข้อสรุปของอริสโตเติลตรงนี้นี่เอง ที่ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดพื้นฐานสำคัญของรัฐสมัยใหม่ในอีกหลายพันปีถัดมาว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ ผู้ปกครองจะมีอำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมาย แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้ด้วยเฉกเช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐ เพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย และรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่จำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็นสำคัญ",
"title": "หลักนิติธรรม"
},
{
"docid": "670357#4",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยซึ่งอยู่เหนือกว่ากฎหมายที่รัฐสภาออก รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดความชอบต่อรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎหมาย การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของรัฐ และประเด็นเกี่ยวกับพรรคการเมือง",
"title": "กฎหมายไทย"
},
{
"docid": "231041#0",
"text": "พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา () พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาฉบับแรกมอบอำนาจให้สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ” ซึ่งยังคงเป็นอำนาจตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้ ประมุขสูงสุดกำหนดขึ้นโดยเฉพาะในการบรรยายอำนาจทางกฎหมายแพ่งของพระมหากษัตริย์ที่มีอำนาจเหนือกฎบัตรของคริสต์ศาสนจักรในอังกฤษ",
"title": "พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา"
},
{
"docid": "28600#14",
"text": "ส่วนอำนาจบริหาร ถูกกำหนดให้ใช้โดยองค์กรหนึ่งที่เรียกว่ารัฐบาล (Government) ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของตนเองไว้อย่างเคร่งครัด นอกไปจากนี้ องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจตามชื่อในการบริหารราชการและปกครองประเทศ ภายใต้เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน ส่วนอำนาจตุลาการ เป็นอำนาจในการวินิจฉัย พิจารณาพิพากษาบรรดาอรรถคดีทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อย่างไรก็ตาม ขอบอำนาจในการพิจารณาประเภทข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น ย่อมถูกจำแนกแจกแบ่งไปตามองค์กรใช้อำนาจตุลาการหรือศาลที่ต่างกันไปในรายละเอียด เช่น อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อันเกี่ยวกับคำสั่งหรือสัญญาทางปกครอง เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีฐานะเป็นระบบศาลหนึ่ง นอกเหนือไปจากศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ",
"title": "อำนาจอธิปไตย"
},
{
"docid": "237444#0",
"text": "อัยการสูงสุด () คือ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการสูงสุด พนักงานอัยการนั้นมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน หรือนักกฎหมายให้แก่รัฐ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาในนามของรัฐ และสามารถมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานอัยการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ใช้อำนาจตุลาการบริหาร รับพิจารณาสั่งคดีขึ้นสู่ศาลและว่าความ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและรัฐตามหลักนิติรัฐ",
"title": "อัยการสูงสุด (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "49464#2",
"text": "รัฐธรรมนูญนิยม มีหลายความหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงกลุ่มของแนวความคิด ทัศนคติ และรูปแบบพฤติกรรมที่สาธยายเกี่ยวกับหลักการที่การใช้อำนาจของรัฐมาจากกฎหมายสูงสุดและถูกจำกัดอำนาจด้วยกฎหมายสูงสุด \nรัฐธรรมนูญนิยม นิยาม รัฐธรรมนูญนิยม หรือ ระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หมายถึง ความเชื่อทางปรัชญาความคิดที่นิยมหลักการปกครองรัฐด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นแนวความคิดที่มุ่งหมายจะใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution) เป็นหลักในการกำหนดรูปแบบ กลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุด (อมร จันทรสมบูรณ์, 2537: 9; Alexander, 1999: 16; Bellamy, 2007: 4-5; Sartori, 1962: 3) ที่มา แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อต่อต้าน คัดค้านรูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolutism) ของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปขณะนั้น จนมาปรากฏชัดเจนขึ้นหลังจากการประชุมเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1787 (McIlwain, 1977: 17) ซึ่งทำให้แนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้น แนวคิดเรื่องลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เมื่อเกิดขึ้นในขั้นต้น จึงไม่ได้มีความหมายกลางๆ แต่อย่างใด หากแต่มีความหมายที่โน้มเอียงไปในด้านการจำกัดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะนั้น และเน้นหนักในการพยายามสร้างสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพลเมืองภายในรัฐ โดยเรียกร้องให้มีการนำสิ่งที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” มาใช้เป็นหลักในการวางกรอบของประเด็นดังกล่าว จากลักษณะข้างต้นจึงทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในประเทศตะวันตกนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยไปในที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำหรับประเทศตะวันตกแล้ว หากจะมีรัฐธรรมนูญก็ควรจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง (Bellamy, 2007: 93) ท่ามกลางกระแสเสรีประชาธิปไตยซึ่งยังคงเป็นกระแสหลักของประเทศส่วนใหญ่ในตะวันตก จึงได้ทำให้คำว่าลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายกลางๆ ที่มองรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือทางกฎหมายอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาใช้วางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดแหล่งที่มาของอำนาจ การเข้าสู่อำนาจ และการใช้อำนาจของผู้ปกครองในทุกๆ ระบอบการปกครอง (McIlwain, 1977) โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงระบอบประชาธิปไตยอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้รัฐสมัยใหม่ “ทุกรัฐ” ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยหรือไม่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่ยึดรูปแบบการปกครองของระบอบรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ทั้งสิ้น กล่าวคือ ทุกๆ รัฐต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางอำนาจและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศนั้นๆ (เสน่ห์, 2540: 17) โดยปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ประเทศที่สหประชาชาติให้การรับรองนั้นมีทั้งสิ้น 196 ประเทศ (แต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติเพียง 193 ประเทศ) ในขณะที่รัฐธรรมนูญที่เป็นทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในโลกนี้มีทั้งสิ้นกว่า 203 ฉบับ ทั้งนี้เพราะในรัฐโพ้นทะเลบางแห่งอย่างเช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน (British Virgin Islands or BVI) ของอังกฤษ หรือ เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กนั้นต่างก็เป็นรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองในฐานะเป็นดินแดนที่มีการปกครองตนเอง แม้ว่าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (absolute territorial sovereignty) นั้นจะเป็นของประเทศเจ้าเอกราชก็ตาม ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ประเทศไทยเองก็รับเอาลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เข้ามาใช้อย่างเป็นทางการภายหลังจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรกของคณะราษฎร แม้ว่าขบวนการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นจะสามารถสร้างระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นในประเทศไทยได้ แต่ผลจากการที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากการต่อสู้กันเฉพาะภายในกลุ่มชนชั้นนำบางส่วนของไทย ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดที่มีคนเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อของลูกชายนายทหารผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (ปรีดี, 2543) ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือต่อสู้บนพื้นฐานของความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพและการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชน ดังเช่นที่ประชาชนชาติตะวันตกได้ต่อสู้ด้วยความยากลำเค็ญเพื่อก่อร่างสร้างระบอบรัฐธรรมนูญในประเทศของพวกเขา ดังนั้น ระบอบรัฐธรรมนูญของไทยที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงสามารถก่อรูปได้ก็แต่เพียงหลักการในการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำให้แหล่งที่มาของอำนาจต้องอ้างอิงกับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ตามหลักการทุกประการ แต่จากการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้มากนักจึงทำให้พวกเขาไม่สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกให้เข้ากับรัฐธรรมนูญได้ แม้จะมีบทบัญญัติถึงหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐธรรมนูญขาดความศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จึงกลายเป็นผลลัพธ์และการรอมชอมจากการต่อสู้ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ของไทย ซึ่งสามารถถูกฉีกทิ้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนในภายหลังได้อย่างง่ายดาย (เสน่ห์, 2540: 31-35) อย่างไรก็ดี หลังจากเหตุการณ์การเรียกร้องให้มีการใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย ได้แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า คนส่วนหนึ่งของสังคมได้เริ่มตระหนักรู้และเข้าใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยสูงสุดของปวงชน และเป็นเครื่องมือที่จะนำไปใช้จำกัดอำนาจของผู้ปกครองจากการใช้อำนาจอันมิชอบ (abuse of power) ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมที่ถูกรับรองไว้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างถ้วนหน้า ซึ่งเป็นแก่นของระบอบรัฐธรรมนูญนั่นเอง (เสน่ห์, 2540: 316) จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่จะสร้างกลไกทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ จำกัดอำนาจผู้ปกครอง และสร้างเสรีภาพให้แก่พลเมืองให้มากที่สุด จึงทำให้แนวคิดนี้เติบโตออกไปจากเดิมมาก แม้ช่วงเวลาหลังจากการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับยุคที่รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบก็ตาม และด้วยกระแสลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมที่เติบโตขึ้นจึงทำให้ท้ายที่สุดในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้ชื่อว่าประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง และจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุดฉบับหนึ่ง ซึ่งถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้แค่เพียง 9 ปีก่อนจะเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 แต่จะเห็นได้ว่าการฉีกรัฐธรรมนูญของคณะทหารในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะครั้งนี้ได้เกิดกระแสต่อต้านคณะรัฐประหารที่ทำลายรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีของประเทศไทยที่ประชาชนเริ่มผูกโยงความสำคัญของตัวรัฐธรรมนูญเข้ากับการมีอยู่ของสิทธิและเสรีภาพของตนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษรที่จารึกไว้ในกระดาษ หากแต่เป็นเจตนารมณ์ของตัวรัฐธรรมนูญที่คอยปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกรัฐธรรมนูญในระบอบรัฐธรรมนูญ (every constitutionalism’s constitution) นั้นพึงมี\nความหมายของรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับของโลก เป็นความหมายที่ เดวิด เฟลล์แมน เมธีด้านรัฐศาสตร์และรัฐธรรมนูญแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้อธิบายไว้ว่า",
"title": "รัฐธรรมนูญนิยม"
},
{
"docid": "703966#1",
"text": "ในเบื้องต้น ไม่ควรสับสนระหว่างแนวคิดเรื่อง “หลักนิติธรรม” กับ “หลักนิติรัฐ” (legal state) เพราะทั้งสองแนวคิดนั้นแม้จะมีที่มาที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างในตัวเองอย่างมีนัยสำคัญอยู่ กล่าวคือ หลักนิติรัฐนั้นจะเป็นแนวคิดทฤษฎีทางกฎหมายของรัฐในภาคพื้นทวีป (continental) ในสายโรมาโนเจอเมนิค (Romano-Germanic) ที่หมายถึงการที่รัฐซึ่งเคยทรงไว้ซึ่งอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดนั้นยอมลดตัวลงมาอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ตลอดจนวางแนวทางที่มาของอำนาจ การใช้อำนาจ ผ่านช่องทางของกฎหมายทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ “อำนาจที่ไม่จำกัด” ของรัฐสมัยใหม่ได้กลายเป็น “อำนาจตามกฎหมาย” (วรเจตน์, 2553) ดังนั้น ในแง่นี้หลักนิติรัฐจึงมีระดับของการอธิบายที่เริ่มตั้งต้นจากระดับโครงสร้างรัฐ (methodological collectivism) ในการอธิบายความสูงสุดของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือ รัฐธรรมนูญ ภายใต้การจัดโครงสร้างที่เป็นระบบไม่ว่าจะเป็นการวางลำดับชั้นของกฎหมาย หรือ การวางหลักการแบ่งแยกอำนาจ และการตรวจสอบถ่วงดุลไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงไว้ซึ่งความสูงสุดของกฎหมายในการจำกัดอำนาจรัฐ",
"title": "หลักนิติธรรม"
}
] |
1650 | อนิเมชั่นเรื่อง คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "287289#3",
"text": "คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์ ได้เป็นอนิเมะที่ออกฉายทางโทรทัศน์ โดยใช้ชื่อเดียวกันกับต้นฉบับ ผลิตโดย Satelight ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับ \"เคนจิ ยาสุดะ\" และออกฉายครั้งแรกในเครือข่ายโทรทัศน์ญี่ปุ่น TV-Tokyo ตอนแรกก็คือ ออกฉายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2550",
"title": "คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
}
] | [
{
"docid": "287289#0",
"text": "คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์ () เป็นมังงะและอนิเมะแนวโชโจะผลงานของ Peach-Pit จากผู้แต่งเรื่อง เดียร์ส อลวนรักจากฟากฟ้า (Dears) , ZOMBIE-LOAN ,โรเซ่น ไมเด้น (Rozen Maiden) โดยลงในนิตยสารการ์ตูนผู้หญิง Nakayoshi ของเครือ Kodansha คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์ ฉบับอนิเมะในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ภาค แต่ละภาคจะนับจำนวนตอนต่อกัน รวมทั้งสิ้น 127 ตอน โดยออกอากาศในประเทศญี่ปุ่น ทาง TV Tokyo ผลิตโดย Satelight Studio ในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์ ให้ฉายและเผยแพร่อนิเมะเรื่องนี้ คือ โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และ ในส่วนของมังงะคือ บงกชคอมมิค",
"title": "คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
},
{
"docid": "290482#4",
"text": "(ในอนิเมะ)",
"title": "รายชื่อตัวละครในคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
},
{
"docid": "711150#7",
"text": "เอเจนต์คาร์เตอร์ สายลับสาวกู้โลกเป็นละครชุดทางโทรทัศน์อเมริกันแนวซูเปอร์ฮีโร แพร่ภาพทางช่องเอบีซี เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดยเจฟ โลบ และนำแสดงโดย ฮาร์ลีย์ แอตเวลล์,เจมส์ ดี อาร์ซี และ เอ็นเวอร์ กโจกาจ โดยเป็นการเล่าเรื่องของเจ้าหน้าที่คาร์เตอร์หลังสงครามโลกครั้งที่2 ที่ยังคงสืบทอดเจตนารมณ์ของกัปตัน อเมริกาอดีตคนรักอยู่คือการออกไปปราบปราม องค์กรไฮดร้า ปัจจุบันมี 2ซีซั่น",
"title": "จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล"
},
{
"docid": "290482#44",
"text": "เด็กผู้หญิงที่ปรากฏตัวในภาค shugo chara party ที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนเซโย มีนิสัยค่อนข้าง ซุ่มซ่าม สนิทกับอามุมาก และอยากเหมือนอามุ เป็นคนที่สามารถมองเห็นคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์ และสามารถอ่านใจของไข่กากบาทได้ ตอนหลังได้รับตำแหน่ง Q แชร์ต่อจากริมะ",
"title": "รายชื่อตัวละครในคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
},
{
"docid": "290482#10",
"text": "มีท่าไม้ตายคือ รีเมค ฮันนี่ (Remake Honey) ซึ่งไม่ใช่พลังเอาไว้สำหรับต่อสู้ แต่สามารถทำให้ไข่กากบาทเป็นอย่างเดิมได้ , รีเมค ฮันนี่ ริว สเปเชียล และ ฮันนี่ บับเบิลร่างจำแลงที่เกิดจากการร่วมมือกับ ไดยะ",
"title": "รายชื่อตัวละครในคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
},
{
"docid": "290482#12",
"text": "มีท่าไม้ตายคือ โอเพน ฮาร์ต ฟูลโวลุมร่างจำแลงที่ร่วมมือกับ อิล คาแรคเตอร์ของอุตาอุ ทำให้คาแรคเตอร์ของอามุ มีลักษณะคล้ายกับนักร้องเพลงร็อค",
"title": "รายชื่อตัวละครในคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
},
{
"docid": "290482#13",
"text": "มีท่าไม้ตายคือ เดวิล จูนร่างจำแลงที่ร่วมมือกับ เอล คาแรคเตอร์ของอุตาอุ ทำให้คาแรคเตอร์ของอามุ มีลักษณะคล้ายกับนางฟ้า",
"title": "รายชื่อตัวละครในคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์"
},
{
"docid": "236027#0",
"text": "มือปราบผู้พิทักษ์เอ็กช์ซีดราฟ () เป็นภาพยนตร์โทคุซัทสึแนวเมทัลฮีโรลำดับที่ 11 และเป็นซีรีส์ชุดสุดท้ายของรูปแบบเรสคิวโปลิสต่อจาก คำสั่งฉุกเฉินพิเศษโซลเบรน ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ถึงวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1993 (25 มกราคม พ.ศ. 2536) โดยออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 8.00 ถึง 8.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮี รวมทั้งสิ้น 49 ตอน",
"title": "มือปราบผู้พิทักษ์เอ็กช์ซีดราฟ"
}
] |
603 | พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไหร่ของประเทศไทย? | [
{
"docid": "263349#0",
"text": "ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2549 เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และ เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน (ชั้นยศสูงสุดที่ นายกองใหญ่) อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร[2]",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
}
] | [
{
"docid": "412501#4",
"text": "ด้านการเมือง เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จากจำนวน 23 คน และเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2544 และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านคนพิการ และเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาด้านคนพิการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งทั้งสอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2549 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ",
"title": "วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์"
},
{
"docid": "141442#1",
"text": "อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ เนื่องจากนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี กำลังจัดเรียลลิตี้โชว์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีการถ่ายทอดสดทางเคเบิลทีวียูบีซี ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้ามารายงานเหตุการณ์ดังกล่าว นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ถามขึ้นว่า \"\"ทำไมถึงซ้ำตรงนั้นบ่อย\"\" พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตอบว่า \"\"มัวแต่มองป้ายบรรหาร-แจ่มใส เต็มไปหมด\"\" และนางสุดารัตน์กล่าวเสริมว่า \"\"มัวแต่ดูหอ หลงหอ\"\" จากนั้นทุกคนบนโต๊ะอาหารได้พากันหัวเราะชอบใจ ",
"title": "เหตุเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศไทยตกที่จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2549"
},
{
"docid": "8381#15",
"text": "วันที่ 7-14 ตุลาคม 2545 (ค.ศ. 2002) นายกีนูติส ไดนีอุส โวเวริส (Ginutis Dainius VOVERIS) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐลิทัวเนียประจำประเทศไทย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงวิลนีอุส เดินทางมาเยือนไทยเพื่อเข้าเฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง (วันที่ 9 ตุลาคม 2545) ในระหว่างการเยือนไทย เอกอัครราชทูตโวเวริส ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวมทั้งประธานรัฐสภา (นายอุทัย พิมพ์ใจชน) และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค) วันที่ 10-15 พฤศจิกายน 2546 (ค.ศ. 2003) นายเปตรัส เซสนา (Petras Cesna) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจลิทัวเนีย พร้อมด้วยคณะภาคเอกชน เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของผู้แทนการค้าไทย (นายกันตธีร์ ศุภมงคล) ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีเซสนาได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเข้าพบหารือกับฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ ฯพณฯ นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ วันที่ 5-7 เมษายน 2547 (ค.ศ. 2004) นายอันโตนัส วาลิโอนิส (Antanas Valionis) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนีย และภริยา พร้อมด้วยคณะภาคเอกชน เยือนไทย อย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ตามคำเชิญของ",
"title": "ประเทศลิทัวเนีย"
},
{
"docid": "216124#3",
"text": "ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 377 คะแนน ไม่เห็นชอบ 1 คะแนน (คือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 116 คะแนน จึงถือได้ว่าพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2548"
},
{
"docid": "424312#2",
"text": "บุคคลในทางการเมืองระดับประเทศของไทยที่ถูกกล่าวหา และถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้มีความผิดและรับโทษจำคุกคนแรกคือ นายรักเกียรติ สุขธนะ และยังมีนักการเมืองในระดับประเทศอีกหลายคนที่ถูกกล่าวหาและถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยที่ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ นายวัฒนา อัศวเหม ต่างก็อยู่ระหว่างการหลบหนีโทษจำคุก",
"title": "การทุจริตทางการเมือง"
},
{
"docid": "6131#11",
"text": "สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่มีฐานะร่ำรวยรองจากทักษิณ ชินวัตร หากเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรี 10 คน คือ ชวน หลีกภัย, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์, สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ทักษิณ ชินวัตร, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[13] เขายังเป็นอาของนคร ศิลปอาชา[14] ซึ่งได้ตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560[15]",
"title": "บรรหาร ศิลปอาชา"
},
{
"docid": "182795#0",
"text": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง",
"title": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "153682#4",
"text": "พลเอกพิชาญเมธ สำเร็จหลักสูตรเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พี่ชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นเพื่อนกับ นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย",
"title": "พิชาญเมธ ม่วงมณี"
},
{
"docid": "34347#26",
"text": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตร จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา",
"title": "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"
},
{
"docid": "362887#21",
"text": "วันที่ 4 เมษายน เวลา 20.30 น. ทักษิณ แถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า\"ผมขออนุญาตพี่น้องประชาชนที่ดูละครอยู่นะครับ แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ แต่ยังจำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะแล้วเสร็จ\" แต่เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้านจากพรรคฝ่ายค้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ในวันที่ 6 เมษายน ทักษิณ ได้ลาราชการ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน",
"title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร"
},
{
"docid": "263349#39",
"text": "หลังจากที่ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งมีความผิดตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มาตรา 295[67] ซึ่งเป็นความผิดที่จะต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี คดีนี้ถูกเรียกว่า คดีซุกหุ้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภรรยาถือหุ้นในบริษัทเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับปกปิดความเป็นเจ้าของหุ้นโดยการโอนหุ้นที่มีอยู่ไปให้คนรับใช้ คนรถ คนสวนถือแทน[68] ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า (1) รัฐธรรมนูญไม่มีนิยามคำว่า \"ทรัพย์สินของตน\", (2) คำอธิบายแบบบัญชีฯ ไม่ชัดเจน, (3) การไม่แสดงทรัพย์สินที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน ซึ่งเดิมไม่กำหนดให้แสดง ไม่ถือเป็นความผิด, (4) ไม่จงใจไม่แสดงรายการทรัพย์สินที่ใช้ชื่อบุคคลอื่น, (5) ไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องยื่นบัญชีฯ ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งเพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 และ (6) ในหนังสือลับ ลงวันที่ 14, 24 และ 30 พฤศจิกายน 2543 ถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบฯ ผู้ถูกร้อง (ทักษิณ ชินวัตร) ชี้แจงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเหตุผลที่มิได้แสดงไว้ในบัญชีฯ โดยให้ถือการแจ้งรายการทรัพย์สินเพิ่มเติมเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีฯ ที่ยื่นทั้งสามครั้งด้วย ในขณะที่นายกล้าณรงค์ จันทิก เลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ-ปปช. ชี้แจงว่า (1) แม้รัฐธรรมนูญจะไม่นิยามคำว่า \"ทรัพย์สินของตน\" ไว้ แต่เป็นที่เข้าใจได้, (2) คำอธิบายแบบบัญชีฯ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงคงมีสาระสำคัญเหมือนเดิม แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย เพื่อทำให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น, (3) ไม่ปรากฏว่ามีรัฐมนตรีหรือผู้ยื่นบัญชีฯรายใด ยกเหตุไม่แสดงรายการทรัพย์สิน เพราะใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน โดยอ้างว่าไม่เข้าใจคำอธิบายบัญชีฯ และ (4) แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 แต่ผู้ถูกร้องมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีฯตามรัฐธรรมนูญนี้ ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับ คือ วันที่ 11 ตุลาคม 2540 แล้ว[69] ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยด้วยเสียง 8 ต่อ 7 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีเจตนาในเรื่องดังกล่าว ท่ามกระแสกดดันจากสังคมมายังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังได้รับความนิยมมากในขณะนั้น ควรได้รับโอกาสในการบริหารประเทศ[70] อย่างไรก็ตามก็มีอีกบางส่วนของสังคมที่เคลือบแคลงสงสัยในคำตัดสินของศาล และทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณถูกมองว่าแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม[71] จนมีการไปร้องเรียนเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ในเวลาต่อมา[72]",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
},
{
"docid": "74761#5",
"text": "ต่อมาปี พ.ศ. 2550 ลีเดียได้เขียนได้เขียนพ็อกเกตบุ๊กที่มีชื่อ \"ลีเดีย...เฮียร์ ไอ แอม\" แต่เธอได้ตกเป็นข่าวดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ในประเด็นที่ลีเดียสนิทสนมกับครอบครัวชินวัตร โดยในช่วงแรกเธอตกเป็นข่าวกับ โอ๊ค - พานทองแท้ ชินวัตร และต่อมาตกเป็นข่าวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งความจริงเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า ครอบครัวของลีเดียและครอบครัวของอดีตนายกฯ ทักษิณนั้น มีความสนิทสนม และแนบแน่นกันมานานแล้ว จนมีบางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เธอสนิทสนมกับอดีตนายกฯ เป็นอย่างมาก แต่เธอก็ปฏิเสธมาโดยตลอด และกล่าวว่าอดีตนายกฯ เปรียบเสมือนเป็นพ่อคนที่ 2",
"title": "ศรัณย์รัชต์ ดีน"
},
{
"docid": "4799#5",
"text": "ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2550 สนธิ ลิ้มทองกุลและทีมงาน ได้เปลี่ยนชื่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ไปเป็น รายการ ยามเฝ้าแผ่นดิน โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ทางสถานีวิทยุผู้จัดการและโทรทัศน์ ASTV และในเดือนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้มีการต่อสัญญาณไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ แต่ออกอากาศได้เพียง 2 สัปดาห์ (14-27 กุมภาพันธ์) เท่านั้น กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรได้เรียกร้องให้ถอดรายการนี้ออก เนื่องจากหาว่าไม่เป็นกลางและใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สร้างความอึดอัดใจให้แก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสนธิก็ได้เป็นฝ่ายถอนรายการออกไปเอง โดยภายหลังนายสนธิกล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้โทรศัพท์มาบอกให้ตนถอดรายการนี้ออกไป",
"title": "เมืองไทยรายสัปดาห์"
},
{
"docid": "186293#13",
"text": "วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเรียนเอกอัคราชทูตไทยประจำประเทศกัมพูชากลับประเทศเพื่อประท้วงการแต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็น ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ และที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชารวมถึงการปฏิเสธการส่งตัวให้ทางการราชอาณาจักรไทยในฐานะผู้ร้ายข้าม\nแดน\nโดยกระทรวงการต่างประเทศให้เหตุผลในแถลงการณ์ตอนหนึ่งว่า เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีอาญา ตามหมายจับของศาล",
"title": "กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา"
},
{
"docid": "3861#0",
"text": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในประเทศไทย มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยสาเหตุมาจาก นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบวาระ 4 ปี และต้องพ้นจากตำแหน่งตามวาระ โดยมีพรรคไทยรักไทยของนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่รวมสมาชิกจากพรรคต่าง ๆ ได้แก่ พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคกิจสังคม, พรรคเสรีธรรม และพรรคเอกภาพ เข้ากับพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้หมายเลข 9 ใช้คำขวัญหาเสียงว่า \"4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง\" และได้รับการเลือกตั้งเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 377 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง แม้ก่อนหน้านี้จะพรรคไทยรักไทยจะได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค",
"title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548"
},
{
"docid": "51547#0",
"text": "ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากการรัฐประหารในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ซึ่งประกอบไปด้วยกองทัพไทย และตำรวจไทย ได้ทำการรัฐประหารต่อรัฐบาล อันมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี อันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในไทย ที่ยาวนานเกือบ 1 ปี อันเกี่ยวพันถึง พ.ต.ท.ทักษิณ และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดย คปค.ประกาศให้เลื่อนการเลือกตั้งซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ยกเลิกรัฐสภา สั่งห้ามการประชุมพรรคการเมือง และการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน ยับยั้ง ตรวจสอบ และตัดสัญญาณการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ บางท่าน มีการรายงานว่าการรัฐประหารครั้งนี้ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต รัฐบาลจากนานาประเทศ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการรัฐประหารในระดับต่าง ๆ กัน โดยมีตั้งแต่ การประณามอย่างรุนแรง ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเดนมาร์ก ไปจนถึงการไม่เข้าแทรกแซง ได้แก่ จีน และลาว ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นถึงกับกล่าวว่า \"มันน่าผิดหวัง และการปฏิวัตินั้น ไม่มีเหตุผลที่ใช้อธิบาย เพื่อแก้ตัวใดๆ\"",
"title": "ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549"
},
{
"docid": "198644#26",
"text": "ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โฟนอินเข้ามาโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณกล่าวว่าขอบคุณพี่น้องชาวไทยและชาวเชียงรายที่รักและสนันสนุนตน ทุกคนต้องต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับคืนมา หากตนยังทำงานอยู่จะไม่มีการกู้เงิน แต่จะเนรมิตเงินนำมาสร้างงานสร้างชาติ ขณะนี้เป็นห่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะพูดที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 22 มีนาคม และวันที่ 27 มีนาคม จะพูดที่กรุงเทพมหานคร เรื่องทางออกของประเทศไทย พี่น้องต้องรักกันสามัคคีกัน หากตนกลับมาจะแก้ไขปัญหาทั้งหมด",
"title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน"
},
{
"docid": "33865#0",
"text": "พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดอุบลราชธานี) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (คนที่ 1) สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในอดีตได้รับราชการเป็นรองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และยังเคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย\nพล.ต.อ.ชิดชัย เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549",
"title": "ชิดชัย วรรณสถิตย์"
},
{
"docid": "153727#10",
"text": "นายกษิต ภิรมย์ เป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับความเชื่อถือจาก นายชวน หลีกภัย อย่างต่อเนื่อง\nปี 2537 นายกษิต ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ จาการ์ตาได้ต้อนรับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิณวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางการเมืองกับ\nนายกษิต จนกระทั่งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน เมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจึงได้ให้นายกษิต ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงเพื่อไปช่วยราชการที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี\nต่อมาเมื่อพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการบริหารราชการที่แตกต่างจากที่ได้เคยหารือกันไว้ ได้สัมผัสกับวิธีคิดและวิธีทำงานของพ.ต.ท. ดร.ทักษิณ อย่างใกล้ชิด นายกษิต ภิรมย์ จึงเริ่มออกห่างจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และในเดือน พฤศจิกายน 2544 ได้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น",
"title": "กษิต ภิรมย์"
},
{
"docid": "32631#1",
"text": "การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ผลจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชนและพรรคชาติไทยไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ) แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส \"ต้านทักษิณ\" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก",
"title": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง"
},
{
"docid": "120486#2",
"text": "จตุพร เป็นอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค แจ้งเกิดทางการเมืองจากการเป็นผู้นำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน และผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่รามคำแหง โดยมีจตุพรขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาอีกหลายคน เช่น อุสมาน ลูกหยี วัชระ เพชรทอง[1] นายจตุพร ทำงานการเมืองโดยมีกลุ่มนักศึกษารามคำแหง พรรคศรัทธาธรรมที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้ง จึงมีชื่อที่รู้จักกันดีในสมัยเรียนว่า ตู่ ศรัทธาธรรม เป็นฐานกำลังคอยเคลื่อนไหว เช่น การให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร[2]การมอบดอกไม้ กกต. การเดินขบวนไปหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในสมัยที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "จตุพร พรหมพันธุ์"
},
{
"docid": "132488#1",
"text": "อันโตนีโอ กรัมชี ได้ชื่อว่าเป็น \"มาร์กซิสต์บริสุทธิ์\" ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เผยแพร่ลัทธิมาร์กซคนสำคัญในยุคศตวรรษที่ 20 ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งชื่อ \"บันทึกจากคุก\" ในระหว่างที่ถูกจองจำ และเป็นเจ้าของทฤษฎีที่มีชื่อว่า \"Hegemony\" อันว่าถึงการก้าวขึ้นเป็นเจ้าและครอบครอง โดยกรัมชี่เชื่อว่า ผู้ที่ขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองได้นั้น ไม่อาจจะอาศัยภาวะทางเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนและมีแนวร่วมจากมวลชนด้วย ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ถูกนักวิชาการของไทย เช่น สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อ้างถึงในระหว่างการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 โดยใช้อธิบายถึงพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมาในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "อันโตนีโอ กรัมชี"
},
{
"docid": "28664#4",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยการก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติที่นิวยอร์ก และขณะที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"
},
{
"docid": "242913#1",
"text": "ในฤดูกาลนี้แมนเชสเตอร์ซิตีเริ่มต้นฤดูกาลด้วยเจ้าของสโมสรคนใหม่คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และผู้จัดการทีมคนใหม่คือ สเวน-เยอราน เอริกซอน อดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ จบฤดูกาลในอันดับที่ 9 ของตารางคะแนน หลังจากนั้นเอริกซอนได้ถูก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณปลดออกจำตำแหน่ง และได้แต่งตั้ง มาร์ค ฮิวจ์ส ดำรงตำแหน่งแทน",
"title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ฤดูกาล 2007-08"
},
{
"docid": "32631#29",
"text": "เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาดทันที เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรตรวจสอบเข้ามาพิสูจน์ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่มีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ เรียกร้องให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐคำนึงถึงศักดิ์ศรีว่ามิใช่ข้าพนักงานของบริษัทรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรม การเดินขบวนเรียกร้อง จนกว่าจะขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ ไม่อยากให้มีการตะโกนไล่ แต่อยากเห็นคนไทยไม่ต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อพบเห็นก็รวมกลุ่มกันหัวเราะไล่ผู้นำดีกว่าการใช้ความรุนแรง ไม่สนับสนุนหรือซื้อสินค้าของบริษัท ห้างร้าน ที่เชื่อว่าสนับสนุนระบอบทักษิณ เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น ไทยแอร์เอเชีย เป็นต้น",
"title": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง"
},
{
"docid": "15624#7",
"text": "ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา นายเสนาะ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และสนับสนุนให้ พตท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และไม่รับตำแหน่งทางการเมือง โดยให้นางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยา รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลในโควตากลุ่มวังน้ำเย็น ในระยะหลัง นายเสนาะถูกลดบทบาทความสำคัญในพรรค จนกระทั่งในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 นายเสนาะได้วิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อย่างรุนแรง",
"title": "เสนาะ เทียนทอง"
},
{
"docid": "63252#5",
"text": "ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน เช่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "26218#0",
"text": "กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด (เทมาเส็ก) หรือ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดที่ทำให้ การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง ซึ่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549",
"title": "กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป"
},
{
"docid": "49829#52",
"text": "เย็นวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สถานีโทรทัศน์ไทยทุกช่องได้ยุติรายการปกติและ เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี และวิดีโอเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงแทน วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการประชุมสั้น ๆ ของพลเอกสนธิ โทรทัศน์ไทยทุกช่องได้ถูกควบคุมโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 คปค. ได้เรียกประชุมผู้บริหารสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่กองบัญชาการทหารบก และสั่งให้หยุดเผยแพร่ข้อคิดเห็นของสาธารณชน รวมถึงการแสดงความคิดเห็นผ่านบริการส่งข้อความที่ด้านล่างของจอโทรทัศน์ด้วย คปค. ไม่ได้กล่าวว่าการห้ามนี้มีผลถึงหนังสือพิมพ์และเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ต[71] ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร เช่น การประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่หน้าสยามสแควร์[37] เคเบิลทีวีช่อง CNN, BBC, CNBC, NHK และช่องข่าวต่างประเทศอีกหลายช่องถูกเซ็นเซอร์ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกตัดออก[72] วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 หนังสือพิมพ์ The Guardian เปิดเผยว่า มีทหารติดอาวุธนั่งอยู่ในห้องข่าวและห้องควบคุมของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง[73] วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ และบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 9 อสมท แสดงความรับผิดชอบลาออกจากช่อง 9 อสมท เพราะออกอากาศประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงที่เกิดรัฐประหาร[74] วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2550 พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช. พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.ได้เชิญผู้บริหารสื่อซึ่งมีทั้งสื่อโทรทัศน์และวิทยุ จำนวนประมาณ 50 คน จากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง และผู้บริหารสถาวิทยุของรัฐรวมทั้งสถานีวิทยุชุมชน มาร่วมหารือที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง วิทยุทุกสถานี ไม่แพร่ภาพกระจายเสียงข้อความหรือแถลงการณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี และแกนนำของพรรคไทยรักไทย[75] สั่งบล็อกเว็บ CNN และรายการ CNN ทางโทรทัศน์ ที่มีการถ่ายทอดการสัมภาษณ์ของทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 15 มกราคม 2550 เพื่อไม่ให้ประชาชนไทยได้รับรู้ข่าวสารของทักษิณ สนองนโยบายล่าสุดของทหารที่ไม่ให้เสนอข่าวและความคิดเห็นของทักษิณ ชินวัตร[76]",
"title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549"
}
] |
1978 | โดราเอมอน มีพี่น้องหรือไม่ ? | [
{
"docid": "13714#8",
"text": "นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดเรมี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิตแต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ถูกฟ้าผ่าทำให้ตื่นก่อนกำหนดกับเผลอทำชิปควบคุมหลักหล่นหายไป 1 ส่วนจึงทำให้ประสิทธิภาพของโดราเอมอนนั้นต่ำกว่าหุ่นยนต์รุ่นเดียวกันมากจึงหยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ กับกายภาพอ่อนแอ และกินจุมากกว่าด้วย",
"title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "768#49",
"text": "ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิด แบตเตอรี่ หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดเรมีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีน นั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วโนบิตะจึงตัดสินใจตั้งใจเรียนจนเป็น นักวิทยาศาสตร์ ระดับโลก โดยเอาเรื่องโดราเอมอนที่แบตหมดมาเป็นแรงผลักดันขยันทุนเทหารักษาให้โดราเอมอนกลับมา โดยเอาตัวโดราเอมอนไปซ่อนไม่ให้มีใครรู้เรื่องนอกจากตนเพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วก็แต่งงานกับชิซุกะและสามารถซ่อมโดราเอมอนกับสร้างหูกับทำให้ร่างของโดราเอมอนเป็นตัวสีเหลืองก่อนถูกซื้อ กับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิซุกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชายชื่อโนบิสุเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข",
"title": "โดราเอมอน"
},
{
"docid": "13731#1",
"text": "โดเรมีเป็นหุ่นยนต์แมวน้องสาวของโดราเอมอน เกิดวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2657 ส่วนสูง 100 เซนติเมตร มีตัวสีเหลือง สวมโบสีแดง มีกระเป๋าสี่มิติไว้เก็บของวิเศษเหมือนโดราเอมอน โดยถูกสร้างขึ้นมาทีหลังโดราเอมอน ถือว่าเป็นหุ่นยนต์รุ่นใหม่กว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าโดราเอมอน โดเรมีเคยมีหูแต่เพราะไปสะกิดปมด้อยของพี่ชาย นักวิทยาศาสตร์จึงสร้างให้เปลี่ยนจากหูออกแล้วใส่โบว์แทน",
"title": "โดเรมี"
},
{
"docid": "768#21",
"text": "หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เธอเป็นน้องสาวของโดเรมอน สวยน่ารักแต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดเรมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น เธอจะปรากฏตัวเมื่อโดเรมอนเรียกขอความช่วยเหลือหรือสถานการณ์ที่โดเรมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดเรมอนไม่อยู่",
"title": "โดราเอมอน"
}
] | [
{
"docid": "13714#9",
"text": "โดราเอมอนมีหุ่นผู้ช่วยคือมินิโดรา เป็นหุ่นโดราเอมอนขนาดเล็กจำนวนมาก โดยทุกตัวจะไม่มีหูกับมีสีที่แตกต่างกันไป จะพูดแต่คำว่า \"โดราโดรา\" เท่านั้น เป็นภาษาที่มีแต่หุ่นยนต์รุ่นโดรา อย่างโดราเอมอน,โดเรเท่านั้นที่เข้าใจ มินิโดราจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแทนตอนโดราเอมอนไม่อยู่หรือมาช่วยซ่อมโดราเอมอนพัง จะมาช่วยซ่อมให้ เพราะถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้โดราเอมอนเป็นต้นแบบ จึงถูกเก็บอยู่ในกระเป๋าพร้อมกับของวิเศษ ในโหมดปิดตัวตลอด",
"title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "13714#0",
"text": "โดราเอมอน (Doraemon) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน หรือ โดเรม่อน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตในยุค คริสต์ศตวรรษที่ 21\n เกิดวันที่ 3 กันยายน ลักษณะตัวอ้วนกลมสีฟ้า (เมื่อแรกเกิดมามีสีเหลือง) ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูแทะ มีหน้าที่เป็นหุ่นยนต์พี่เลี้ยงซึ่งคนที่ซื้อโดราเอมอนมาคือ เซวาชิ เหลนของ โนบิตะ วันหนึ่งเซวาชิเกิดอยากรู้สาเหตุที่ฐานะทางบ้านยากจนจึงได้กลับไปในอดีตด้วยไทม์แมชชีนจึงได้รู้ว่าโนบิตะ (ผู้เป็นเทียด) เป็นตัวต้นเหตุ เซวาชิจึงได้ตัดสินใจให้โดราเอมอนย้อนเวลาไปคอยช่วยเหลือดูแลเวลาโนบิตะโดนแกล้งโดยใช้ของวิเศษที่หยิบจากกระเป๋า 4 มิติ",
"title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "768#2",
"text": "เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของ โนบิตะ เด็กชายชั้น ป.5 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน ไม่ชอบอ่านหนังสือและไปโรงเรียนสายบ่อยๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือ โดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์ เด็กที่ดูเป็นอันธพาลแต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะ ผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะ น้องสาวของไจแอนท์ ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มี โดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋า 4 มิติและของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย คุณพ่อและคุณแม่ของโนบิตะ ซึ่งคุณแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าคุณพ่อ",
"title": "โดราเอมอน"
},
{
"docid": "730032#2",
"text": "ทั้ง 7 เป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยตอนที่โดราเอมอนยังมีหูตัวสีเหลือง (ในตอนนั้นมีหน้าตาเหมือนโดราเดอะคิดตอนที่ไม่ใส่เสื้อผ้า) และทุกคนมี การ์ดมิตรภาพ () เผื่อเอาไว้ใช้เรียกรวมตัวเวลามีภัย\n=ตัวละคร=\nกลุ่มโดราเอมอน 7 ตัว ที่มีสีตัวเสื้อผ้ากับสัญชาติที่แตกต่างกันไป โดยทั้ง 7 ตัวมีอาวุธเหมือนกัน คือกระเป๋า 4 มิติที่หยิบของวิเศษออกมา แต่ของบางคนจะเป็นแบบอื่นเช่นหมวก ผ้าพันคอ แขนเสื้อ 4 กับมีอาวุธสุดท้ายคือหัวที่แข็งเหมือนกันในการใช้พุ่งชนทะลุทุกสิ่ง โดยทั้ง 7 ใช้บัตรโทรศัท์มิตรภาพ เรียกหากันข้ามผ่านแต่ละยุค ด้วยพลังมิตรภาพจาก เมื่อคนไหนมีภัยร้ายจะเรียกทุกคนให้มา เมื่อใช้พลังมิตรภาพของทั้ง 7 ในที่เดียวกัน จะแสดงพลังมิตรภาพเป็นไพ่ตาย เพิ่มพลังให้ของวิเศษ หรือ เพิ่มพลังให้กับอะไรก็ได้ให้มีพลังรุนแรงมากกว่าเดิม และในยุคสมัยอดีตแต่ละยุคที่พวกตนอาศัยอยู่ ใช้ชีวิตในฐานะทานุกิพูดได้ ซึ่งทุกคนพอโดนทักแบบนี้ จะโกรธกันมากๆ\n\"นี่เป็นแค่ข้อมูลในเรื่องแก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอนเท่านั้น หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมดู โดราเอมอน\"\nโดราเอมอน ()หัวหน้าแก๊ง ชอบกินโดรายากิแบบสูตรต้นตำหรับ ตะกละมากที่สุด แต่กลัวหนูเป็นที่สุด มีกระเป๋า 4 มิติอยู่ที่หน้าท้อง มีความเป็นผู้นำมากที่สุด ถึงแม้ว่าพลังจะอ่อนแอสุดก็ตาม โดยร่างตอนอยู่โรงเรียนหุ่นยนต์ในสมัยก่อนเป็นตัวสีเหลืองเหมือนโดราเดอะคิด แต่ไม่ใส่เสื้อผ้า กับมีหู แต่ปัจจุบันตัวสีฟ้ากับไร้หู\nโดรา เดอะ คิด (;)หุ่นยนต์แมวตัวสีเหลืองใส่ชุดคาวบอย มีนิสัยใจร้อน ขี้โมโห พอโกรธยิงมั่วไปหมดถึงกับพังยานอวกาศได้สบาย โดยยิงปืนแม่นที่สุด เก่งพอๆกับโนบิตะ แต่ตนใช้ปืนใหญ่อากาศ กับเป็นโรคกลัวความสูง ขนาดสูงแค่ 1 ชั้นมองลงล่างยังกลัวมาก ตอนใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่ต้องให้คนช่วยจับพาบิน เพราะกลัวตกเป็นที่สุด มีอาชีพคือตำรวจกาลเวลาเพราะถูกรับเลี้ยงมา โดยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริการัฐนิวยอร์ก เวลากินโดะระยะกิมักจะราดมัสตาร์ดและเค็ดชัพ เป็นแฟนกับโดเรมี(น้องสาวโดราเอมอน) หยิบของวิเศษออกมาจากหมวก 4 มิติ\nโดราเหม็ด รุ่นที่ 3 (;;;)หุ่นยนต์แมวตัวสีชมพูใส่ชุดอาบังสีเขียวผู้ชอบใช้เวทมนตร์คาถา มีคาถาประจำตัว คือ \"โอม โรตีมะตะบะ\" สัญชาติซาอุดีอาระเบียในอาหรับ กับควบคุมให้ของวิเศษลอย กลัวน้ำสุดๆ เพราะว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ค่อยชอบวิชาพลศึกษา เพราะบางครั้งจะได้เรียนว่ายน้ำ แบบแค่โดนปืนฉีดน้ำยิงใส่ยังกลัว หรือถ้ามีเรื่องจวนตัวแบบมีใครจมน้ำจริงๆ จะโดดลงไปช่วยโดยไม่คิดชีวิต จนว่ายน้ำได้ดีมากแค่เฉพาะตอนจวนตัวเท่านั้น คือโดราเอมอนตัวเดียวที่ไม่มีระบบหายใจในน้ำ ปกติเป็นคนใจดี แต่ถ้าโกรธจะขยายร่างเป็นยักษ์ กับต่อสู้ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋าวิเศษ 4 มิติ ตรงหน้าท้อง ถูกรับเลี้ยงโดยลูกหลานของเศรษฐีในทะเลทรายกับย้อนอดีตมาดูแลอาละดินที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าของ\nหวังโดรา(;) หุ่นยนต์แมวตัวสีส้ม ใส่ชุดกังฟูสีแดง ฉลาดล้ำเลิศที่สุดในกลุ่ม ร่ำเรียนวิชาแพทย์ที่เมืองจีนมารยาทงาม แถมยังเป็นยอดฝีมือกังฟู ใช้อาวุธเป็นกระบอง 2 ท่อน กับชอบออกเดินทางฝึกวิชา เป็นคนที่เพอร์เฟ็กต์ทุกอย่าง แต่แพ้ผู้หญิง พบผู้หญิงตัวหญิง สวยน่ารักทีไรจะเขินอายจนเป็นบ้าทำอะไรไม่ถูกทันที กับมีปมเรื่องขาสั้น ทั้งที่จริงขนาดตัวตัวเท่ากับแก๊งป่วนทุกคน ตอนสู้จึงไม่เน้นลูกเตะ เป็นแฟนของมิมิโกะจัง (หุ่นพยาบาลโดยหวังโดราไม่กล้าคุยด้วย) โดะระยะกิสูตรโปรดจะใส่น้ำส้มสายชูและโชยุ หยิบของวิเศษออกมาจากแขนเสื้อ 4 มิติ มีเอล มาตาโดราเป็นไม้เบื่อไม้เมากันตลอด แต่ก็สนิทกันเป็นเหมือนคู่หู ถูกเลี้ยงโดยโรงฝึกกังฟู\nโดรานิญโญ่() หรือ โดรารีเนียล หุ่นยนต์แมวตัวสีเขียวใส่ชุดนักบอลสีเหลือง เตะบอลเก่งมาก ยกเว้นตำแหน่งโกลด์เท่านั้น มีมินิโดราเป็นลูกทีม โดยตนวิ่งเร็วที่สุดในกลุ่ม ขนาดโดราเอมอนตอนกลัวหนูยังวิ่งตามไม่ทัน มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ นิสัยขี้ลืมตลอด อาศัยอยู่ในบราซิล และมีเพื่อนที่บราซิลชื่อว่า โนบีนิญโญ่ โดยเป็นครูฝึกกับนักกีฬาของทีม เวลากินโดรายากิมักจะราดทาบาสโก้ชุ่มๆ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ใต้ชุด ถูกรับเลี้ยงโดยเจ้าของสมาคมฟุตบอลหุ่นยนตร์บราซิลในโปรลีค\nโดรานิคอฟ() หุ่นยนต์แมวตัวสีน้ำตาล แต่งตัวเหมือนคนรัสเซียตอนฤดูหนาว มีทักษะดมกลิ่นที่ดีที่สุด อาศัยอยู่ในรัสเซียที่หนาวเหน็บ แต่เจ้าตัวกลับกลัวความหนาว เขาเป็นคนเงียบๆ พูดไม่ได้จึงได้แต่ร้องเหมือนหมา โดยคนที่ฟังออกมีแต่พวกหุ่นพี่เลี้ยงเหมือนกันเท่านั้น ใช้ผ้าพันคอปิดปากไว้ตลอดเวลา เวลามองพระจันทร์เต็มตัว หรืออะไรที่กลท เช่นลูกบอล แต่ต้องมีขนาดที่มองเห็นได้ จะถอดผ้าพันคอออก หน้ากลายเป็นมนุษย์หมาป่า โจมตีด้วยการวิ่งไล่กัด หรือตอนกินของเผ็ดก็เปลี่ยนร่างได้แถมพ่นไฟได้ด้วย แต่ถ้ามองของกลมที่มีขนาดเล็กที่มือไร้นิ้วหรือจมูกกับหางจะไม่แปลงร่าง หยิบของวิเศษออกมาจากผ้าพันคอ 4 มิติ ทำงานถ่ายสตูดิโอภาพยนตร์ เพราะถูกรับเลี้ยงมา\nเอล มาตาโดราหุ่นยนต์แมวตัวสีแดงใส่ชุดมาทาดอร์ กับมีเขาบนหัวแทนที่จะเป็นหูเหมือนหุ่นทุกตัว จอมพลังที่สุดในกลุ่ม ใฝ่ฝันอยากจะเป็นมาทาดอร์ผู้เก่งกาจ สู้วัวกระทิงซึ่งเป็นกีฬาที่สืบทอดมากกว่า 300 ปีของสเปน จุดอ่อนคือ ขี้เกียจ มักนอนหลับทันที หรือเห็นที่พัก แค่ป้ายพักไม่ก็ที่โล่งๆ ก็นอนพัก เหมือนโนบิตะ ทำงานอยู่ในร้านอาหารคารูมิน เพราถูกรับเลี้ยงมาโดยลูกหลาน แต่ตนเป็นคนส่งอาหารกับปลอมเป็นไดเค็ทสึโดราได้ ฮีโร่ผดุงคุณธรรม คอยปราบเหล่าร้ายกับแข่งสู้วัวกระทิง กับปกปิดไม่ให้ใครรู้ คนที่รู้มีแค่ลูกสาวเจ้าองร้าน กับพวกแก๊งป่วนกับโนบิตะเท่านั้น (ในโดราเอมอนแอนด์เดอะแกงค์ฉบับภาษาไทยได้กำหนดให้มาตาโดราพูดภาษาถิ่นอีสาน) หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ชอบเป็นไม้เบื่อไม้เมากับหวังโดรา แต่เวลาร่วมมือกันจะสนิทกันมาก",
"title": "แก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอน"
},
{
"docid": "13714#10",
"text": "พอเมื่อมาอยู่กับโนบิตะนั้น โดราเอมอนใช้ชีวิตในฐานะหุ่นยนต์แมวตัวสีฟ้าที่พูดได้ ต่อครอบครัวโนบิ แต่ต่อคนในยุคอดีตนั้นเป็นแรคคูนตัวเท่าคนตัวสีฟ้า ยืน 2 ขาพูดได้ หรือคนใส่ชุดประหลาด โดยโดราเอมอนเมื่อโดนเรียกว่าทานุกิหรือแรคคูนจะโกรธเอามากๆ โดยใช้ชีวิตร่วมกับโนบิตะกับให้ยืมใช้ของวิเศษต่างๆ แม้จะเกิดเรื่องโกลาหลกว่าตลอดก็ตาม กับนอนในห้องเก็บของที่อยู่ในห้องนอนโนบิตะกับซ่อนไทม์แมชชีนไว้ในลิ้นชักที่ใต้โต๊ะของโนบิตะ โดยให้โนบิตะ, ชิสุกะ, ไจแอนท์และซูเนโอะ เท่านั้นที่รู้กับปิดเอาไว้ไม่ให้ใครรู้",
"title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "13714#6",
"text": "แต่เดิมนั้นโดราเอมอนตัวสีเหลืองกับมีหู แต่ในวันที่ 30 สิงหาคม เซวาชิได้ใช้หุ่นยนต์หนูแก้รูปปั้นที่จะให้โดราเอมอนแต่หุ่นยนตหนูเข้าใจผิดว่าให้แก้ที่หูของโดราเอมอน ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่ก็โดนหนูแทะใบหูจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง จึงซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ มาพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว \"โนราเมียโกะ\" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยมแต่พอรู้ว่าโดราเอมอนโดนหมอตัดหูอีก จนหัวกลม ก็ถูกโนราเมียโกะหัวเราะเป็นการใหญ่ ทั้งคู่จึงเลิกกัน ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจแต่ดันหยิบผิดกลายเป็นดื่มยาโศกเศร้าแทน ทำให้เศร้ากว่าเดิม ร้องไห้ไม่หยุดอยู่ริมชายหาด 3 วัน 3 คืน จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน",
"title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "768#11",
"text": "โดราเอมอนหรือโดเรมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมากเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิเนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะ โดเรมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดเรมอนจึงชอบเป็นพิเศษและเขาจะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า \"แรคคูน\" หรือ \"ทานุกิ\"",
"title": "โดราเอมอน"
},
{
"docid": "768#0",
"text": "โดราเอมอน หรือ โดเรมอน (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง",
"title": "โดราเอมอน"
}
] |
2054 | โทรทัศน์ใช้คลื่นสัญญาณอะไร ? | [
{
"docid": "529232#0",
"text": "โทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน",
"title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "146932#13",
"text": "สถานีทวนสัญญาณไมโครเวฟ ใช้ในการสื่อสารไมโครเวฟในระดับสายตา เนื่องจากการสื่อสารในรูปแบบนี้มีผลต่อส่วนโค้งของโลก \nดังนั้นในการสื่อสารไมโครเวฟนี้จะต้องมีสถานีทวนสัญญาณในระยะทุกๆ 50-80 กม. ซึ่งสถานีทวนสัญญาณจะทำการถ่ายทอด \nสัญญาณจากสถานีต้นทางทำการรับสัญญาณมาและทำการขยายสัญญาณ ให้แรงขึ้นแล้วก็ทำการส่งสัญญาณต่อไปจนถึงปลายทางเวฟไกด์ (Waveguide) หรือว่าท่อนำคลื่น นี้ เป็นสายส่งสัญญาณชนิดหนึ่ง-ที่ใช้ใน การส่งคลื่นไมโครเวฟ โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นท่อกลม หรือท่อเหลี่ยม แล้วแต่จะทำมาจากทองแดงหรืออะลูมิเนียม ด้านในฉาบด้วยเงินเพื่อให้เป็นตัวนำที่ดี สาเหตุที่สายนำสัญญาณต้องทำเป็นท่อนี้ก็เพราะว่า คลื่นไมโครเวฟมีความถี่สูงมากจะเดินทางได้ดีที่บริเวณผิวของตัวนำถ้าหากใช้สายนำสัญญาณทั่วไปจะทำให้เกิดการสูญเสียงพลังงานไปได้ จึงต้องทำเป็นท่อเพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานจากผิวของสายสัญญาณ\nความถี่ต่ำสุดที่สามารถใช้งานได้กับเวฟไกด์เรียกว่า ความถี่คัตออฟ ซึ่งถ้าความถี่สูงกว่าความถี่ คัตออฟ จะสามารถเดินทางไปบนเวฟไกด์ได้ ส่วนความถี่ที่ต่ำกว่านี้จะไม่สามารถเดินทางบนเวฟไกด์ได้ ในการเดินทางของคลื่นไมโครเวฟในเวฟไกด์นั้น จะเดินทางโดยการสะท้อนผนังท่อ และเดินทางไปตามความยาวของท่อนำคลื่น และความถี่ที่สูงก็สามารถเดินทางได้ไกลกว่าความถี่ที่ต่ำ",
"title": "ไมโครเวฟ"
},
{
"docid": "529232#15",
"text": "กล่าวโดยสรุปคือ ระหว่างปี พ.ศ. 2513-2517 ในระบบแพร่ภาพ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (เป็นภาพขาวดำทั้งหมด) ไทยทีวีสีช่อง 3 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 2, ไทยทีวีช่อง 4 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 4/11/12, ททบ.7 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 7, ช่อง 7 สี รับชมทางช่องสัญญาณที่ 9 ส่วนระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ไทยทีวีสีช่อง 3 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 3 เป็นภาพสี, ททบ.7 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 5 เป็นภาพขาวดำ, ช่อง 7 สี รับชมทางช่องสัญญาณที่ 7 เป็นภาพสี, ไทยทีวีช่อง 4 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 9 เป็นภาพขาวดำ นอกจากนี้ ทั้งสี่ช่องยังมีคลื่นวิทยุซึ่งจัดสรรไว้ สำหรับกระจายเสียงภาษาต่างประเทศ ในภาพยนตร์หรือรายการจากต่างประเทศ โดยไทยทีวีช่อง 4 ใช้สถานีวิทยุ ท.ท.ท. ความถี่เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ และมีระบุในสัญญากับ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ยกคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ของสถานีวิทยุ ท.ท.ท. ให้แก่ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อใช้ในการนี้ ส่วน ททบ.7 ใช้สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก (ว.ทบ.) ความถี่เอฟเอ็ม 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ และมีระบุในสัญญากับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ยกคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 103.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ของ ว.ทบ.ให้แก่ช่อง 7 สี เพื่อใช้ในการนี้",
"title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "618657#31",
"text": "เคเบิลทีวีส่งรายการโทรทัศน์ให้กับผู้บริโภคผ่านทางสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุโดยใช้เส้นใยแก้วนำแสงหรือสายโคแอกเชียล เมื่อเทียบกับวิธีการที่ใช้อากาศในการส่งคลื่นโทรทัศน์แบบดั้งเดิม. ที่รู้จักกันครั้งแรกในฐานะที่เป็นเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน หรือ CATV, เคเบิลทีวี เกิดในเทือกเขาของซิลเวเนียในปี ค.ศ. 1948 โดยจอห์น Walson และ มาร์กาเร็ต Walson.[40]",
"title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)"
},
{
"docid": "137600#1",
"text": "คลื่น MMDS ใช้ความถี่ของไมโครเวฟ ระยะตั้งแต่ 2-3 กิกะเฮิร์ตซ์ การรับสัญญาณคลื่นโทรทัศน์ ทำได้โดยใช้เสาไมโครเวฟแบบพิเศษ ที่ติดอยู่บนหลังคา แล้วโยงเข้ากับกล่องรับสัญญาณ สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับกล่องรับสัญญาณเคเบิลระบบอนาล็อก เช่นเดียวกับโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก",
"title": "บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง"
},
{
"docid": "557792#0",
"text": "อิเล็กทรอนิกส์ ออสซิลเลเตอร์ () เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตสัญญาณออกมาซ้ำ ๆ กัน คลื่นไฟฟ้าที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็น sine wave และคลื่นรูปสี่เหลี่ยม Oscillators มีแหล่งจ่ายไฟเป็นกระแสตรง (DC) มีเอาต์พุตเป็นสัญญาณดังกล่าวเพื่อใช้ในการส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์, สัญญาณนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกชนิด, นาฬิกาควอทซ์และเสียงที่ผลิตโดย beepers อิเล็กทรอนิกส์และวิดีโอเกม ",
"title": "อิเล็กทรอนิกส์ ออสซิลเลเตอร์"
},
{
"docid": "43460#12",
"text": "เนื่องจากไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำ ช่วงระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งถูกรบกวนได้ง่าย และภาครับมีความซับซ้อน เนื่องจากอยู่ในย่านความถี่ต่ำ จึงมีขนาดความยาวคลื่นสูง ทำให้ต้องใช้สายอากาศรับสัญญาณ ที่มีความยาวและน้ำหนักมากกว่า สายอากาศที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์ ระบบวีเอชเอฟความถี่สูง ซึ่งอยู่ระหว่างช่อง 5-ช่อง 12 นอกจากนี้ เมื่อกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงมากขึ้น จำนวนประชากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณภาพสัญญาณ ของไทยทีวีสีช่อง 3 ลดลงไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับระยะแรกเริ่มของการออกอากาศ ดังนั้นราวปลายปี พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) ในขณะนั้น จึงอนุมัติให้จัดสรรคลื่นความถี่ในระบบยูเอชเอฟ แก่ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อใช้ออกอากาศทดแทนคลื่นความถี่เดิม เป็นจำนวน 5 ช่องสัญญาณ[2][3]",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "79703#4",
"text": "แต่เมื่อถึงเวลาดังกล่าว กลับไม่สามารถออกอากาศได้ เนื่องจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.กสท เจ้าของโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่ยอมเชื่อมต่อโครงข่าย โดยผู้บริหาร กสท อ้างว่า พีทีวียังไม่ได้ทำเรื่องขอใช้บริการ จึงไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้ พีทีวีจึงนำรายการบางส่วน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี ช่อง 1 สตาร์ แชนแนล เมื่อวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม แต่ระหว่างออกอากาศรายการสด \"เพื่อนพ้องน้องพี่ พีทีวีเพื่อประชาชน\" ที่ดำเนินรายการโดยผู้บริหารทั้ง 4 คน สัญญาณดาวเทียมก็ขาดหายไป เชื่อกันว่าผู้มีอำนาจเผด็จการในเวลานั้น ใช้อำนาจทางทหารของตน สั่งการให้หน่วยทหารสื่อสารส่งคลื่นรบกวนสัญญาณดาวเทียมของพีทีวี",
"title": "เพื่อนพ้องน้องพี่ (บริษัท)"
},
{
"docid": "557792#10",
"text": "oscillators ผ่อนคลายแบบคลื่นสี่เหลี่ยม ถูกใช้ในการให้สัญญาณนาฬิกาสำหรับวงจรลอจิกลำดับเช่นตัวตั้งเวลาและตัวนับ แม้ว่า oscillators คริสตัล จะเป็นที่นิยมใช้เพราะมีเสถียรภาพสูงกว่า oscillator คลื่นรูปสามเหลี่ยมหรือแบบฟันเลื่อยถูกใช้ในวงจร timebase ที่สร้างสัญญาณสแกนแนวนอนสำหรับจอภาพของ Oscilloscope และโทรทัศน์แบบแอนะล็อก ในเครื่องกำเนิดฟังชั่น คลื่นสามเหลี่ยมนี้แล้วอาจจะแปรรูปต่อไปเป็นคลื่นที่ใกล้เคียงกับคลื่นไซน์",
"title": "อิเล็กทรอนิกส์ ออสซิลเลเตอร์"
},
{
"docid": "146932#4",
"text": "1 ระบบเชื่อมต่อสัญญาณในระดับสายตา ใช้ในงานสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง อย่างเช่น การโทรศัพท์ทางไกล ใช้การส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์จากจุดหนึ่ง ไปยังสถานีทวนสัญญาณจากจุดหนึ่งและส่งผ่านสัญญาณไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทาง และในการส่งโทรทัศน์ก็จะทำการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากห้องส่งไปยังเครื่องส่งไมโครเวฟ ส่งไปทางสายอากาศ และแพร่กระจากคลื่นของโทรทัศน์ของสถานีนั้นๆ ระยะห่างของสถานีสัญญาณจะเป็นดังนี้ ถ้าความถี่สูงระยะห่างก็จะน้อยแต่ถ้า ความถี่ของคลื่นไมโครเวฟต่ำระยะห่างของสถานีทวนสัญญาณก็จะมาก ",
"title": "ไมโครเวฟ"
},
{
"docid": "76087#3",
"text": "วุฒิสภาไทย ลงมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นผลให้เปลี่ยนแปลงระบบคลื่นความถี่ จากเดิมที่ใช้สัญญาณแอนะล็อกไปสู่การเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ภายใน พ.ศ. 2558 โดยจะใช้ระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงจำนวนหนึ่ง ตามขีดความสามารถเท่าที่มีในระยะแรก",
"title": "สถานีโทรทัศน์"
},
{
"docid": "7931#85",
"text": "วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดเหตุขัดข้องอีกครั้งโดยเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากวันที่ 25 มิถุนายน เบื้องต้นนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้แถลงสาเหตุคร่าวๆ ว่า สาเหตุเกิดจากคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ช่วงปลาย (~2370 MHz) ของดีแทคและทีโอที มารบกวนการทำงานของระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าซึ่งทำงานอยู่บนคลื่นความถี่สาธารณะ 2400 MHz (2.4 GHz) ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จนกระทั่งสัญญาณบริเวณย่านสยามสแควร์ถูกปล่อยแรงขึ้นก็เลยทำให้ระบบมีปัญหาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มาจนถึงปัจจุบัน[29] อย่างไรก็ตามดีแทคได้แถลงข่าวสวนกลับว่าคลื่น 2300 MHz ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการให้บริการรถไฟฟ้า[30] แต่ดีแทคยินดีร่วมหาสาเหตุที่แท้จริงไปพร้อมกันด้วยการปิดสัญญาณเครือข่าย \"ดีแทค-ที\" ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าตั้งแต่เช้าวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 6.00 น. และส่งวิศวกรเครือข่ายระดับสูงเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันหาสาเหตุพร้อมๆ กับเจ้าหน้าที่ของ กสทช. ที่เข้าร่วมหาสาเหตุในเช่นเดียวกัน[31] ผลปรากฏว่าหลังดีแทคปิดสัญญาณ ระบบรถไฟฟ้าเกิดปัญหาอีกครั้งในเวลา 6.15 น. 6.28 น. และ 7.18 น. ตามลำดับ ทางดีแทคจึงสรุปว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรบกวนกันเองของคลื่น 2400 MHz ไม่ใช่ผลจากการเปิดให้บริการเครือข่าย 2300 MHz ตามที่บีทีเอสกล่าวอ้าง และต่อมา สำนักงาน กสทช. ได้มีข้อสรุปออกมาเช่นเดียวกันว่าระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ถูกก่อกวนด้วยสัญญาณไวไฟจากอาคารข้างเคียงมากกว่าสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ[32] ต่อมานายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ได้ออกแถลงการณ์ใหญ่ผ่านเฟซบุ๊กของบริษัทต่อกรณีที่เกิดขึ้น[33] โดยระบุสาเหตุที่แท้จริงทั้งหมดสองข้อคือ หนึ่งบริษัทฯ กำลังติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณใหม่ทั้งระบบเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ในเดือนธันวาคม และสองเป็นเพราะระบบอาณัตสัญญาณที่ทำงานอยู่บนคลื่น 2400 MHz ถูกรบกวนโดยสัญญาณเครือข่ายไวไฟที่ใช้ในย่านเดียวกันจากอาคารข้างเคียง ซึ่งมีกำลังส่งสูงถึง 1 วัตต์ โดยอาการดังกล่าวถูกตรวจพบที่สถานีสยาม (จากศูนย์การค้าสยามพารากอน) สถานีอโศก (ศูนย์การค้าเทอร์มินัล 21 อโศก) และสถานีพร้อมพงษ์ (จากศูนย์การค้าเอ็มโพเรี่ยม และศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์) เบื้องต้นบริษัทจะแก้ไขปัญหาด้วยการเปลี่ยนโหมดการทำงานของระบบรถไฟฟ้าจากระบบอัตโนมัติมาเป็นการขับเคลื่อนแบบแมนวลไปจนกว่าการย้ายช่วงคลื่นความถี่ที่ใช้งานและการติดตั้งอุปกรณ์กันสัญญาณรบกวนเสร็จสิ้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือไปยังห้างสรรพสินค้าให้มีการปิดสัญญาณไวไฟที่มีปัญหาก่อนจนกว่าบีทีเอสจะดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้บีทีเอสจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนระบบไปใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. แทนการใช้งานคลื่นความถี่สาธาณะต่อไป หลังจากที่ กสทช. เสนอแนวทางให้บีทีเอสเลือกใช้งานคลื่น 800 MHz และ 900 MHz ร่วมกับระบบจีเอสเอ็ม-อาร์ (GSM-R) แทนการใช้คลื่นความถี่สาธารณะในการให้บริการ[32] แต่อย่างไรเสีย วิศวกรของบอมบาร์ดิเอร์ยืนยันว่าระบบของรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถทำงานร่วมกับคลื่นจีเอสเอ็ม-อาร์ได้ เพราะระบบถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับคลื่นความถี่สาธารณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น กสทช. จึงมีมติให้บีทีเอสย้ายคลื่นความถี่ของระบบอาณัติสัญญาณไปอยู่ที่ช่วง 2480 MHz - 2495 MHz ความกว้าง 15 MHz แทน ซึ่งช่วงคลื่นความถี่ดังกล่าวปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน เนื่องจากเดิมเป็นคลื่นสำหรับเทคโนโลยีไวไฟ บี (802.11b) ที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว และยังเป็นช่วงคลื่นที่สหรัฐอเมริกาใช้งานสำหรับกิจการดาวเทียม และบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์รวมถึงองค์กร ITU ไม่ให้มีการจัดสรรคลื่นช่วงนี้ให้ประชาชนใช้งาน กสทช. จึงเห็นว่าในไทยที่ไม่ได้ใช้คลื่นช่วงนี้อยู่แล้ว ให้บีทีเอสย้ายมาอยู่คลื่นช่วงนี้แล้วติดตั้งอุปกรณ์กรองสัญญาณจะดีที่สุด[34]",
"title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส"
},
{
"docid": "562049#10",
"text": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากใช้รหัสเส้นที่เรียบง่ายในการส่งหนึ่งประเภทของสัญญาณโดยการใช้แบนด์วิดธ์เต็มรูปแบบของสื่อกลางโดยใช้ baseband ของมัน (จากความถี่ศูนย์จนถึงความถี่สูงสุดที่ต้องการ) รุ่นส่วนใหญ่ของครอบครัวอีเธอร์เน็ตที่นิยมจะได้รับชื่ออย่างเช่น 10BASE5 เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นของเดิมปี 1980 เครือข่ายที่ใช้เคเบิลโมเด็มบนโครงสร้างพื้นฐานเคเบิลทีวีมาตรฐานจะเรียกว่าบรอดแบนด์เพื่อระบุช่วงกว้างของความถี่ที่สามารถรวมข้อมูลผู้ใช้หลายคนเช่นเดียวกับโทรทัศน์แบบดั้งเดิมในสายเส้นเดียวกัน ระบบบรอดแบนด์มักจะใช้คลื่นความถี่วิทยุที่แตกต่างกันที่ถูก modulate โดยสัญญาณข้อมูลสำหรับแต่ละกลุ่ม. แบนด์วิดธ์รวมของสื่อกลางมีขนาดใหญ่กว่าแบนด์วิดท์ของช่องใด ๆ .",
"title": "บรอดแบนด์"
},
{
"docid": "14929#9",
"text": "ซินธิไซเซอร์ที่ใช้หักล้างเสียงใช้ทั่วไปกับรูปแบบที่ต้องการตัดเสียงสะท้อนที่เสมือนเครื่องดนตรี โดยจะถูกใช้แทนด้วยการสร้างสัญญาณทั่วไป เช่น การสร้างคลื่นรูปฟันเลื่อย คลื่นสี่เหลี่ยม เป็นต้น จาก ตัวกรอง (Filter) ซึ่งแสดงการสูญเสียที่ขึ้นกับความถี่ และการเรโซแนนซ์ในตัวเครื่องดนตรี ตัวกรองเหล่านี้ถูกแบ่งโดยตัวกรองที่ยอมให้สัญญาณต่ำผ่านเมื่อมีสัญญาณเข้ามาในระดับต่ำเพราะเหตุผลที่ต้องการความเรียบง่ายและประหยัด การรวมการกล้ำเสียงในคลื่นอย่างง่าย เช่น การรวมสัญญาณกับความกว้างคลื่น (Pulse width modulation) และ การส่งสัญญาณไปกับสัญญาณที่สร้างขึ้น (Oscillator sync) รวมไปถึงตัวกรองสัญญาณต่ำที่ไม่เกิดขึ้นจริงในทางกายภาพ เป็นการตอบสนองที่ใช้กับซินธิไซเซอร์แบบคลาสสิก เสียงส่วนใหญ่จะถูกสร้างจากการสังเคราะห์ทางอนาล็อก และมักจะมีข้อผิดพลาดเมื่อนำไปใช้กับซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้การสังเคราะห์แบบหักล้างเสียง แม้ว่า การสังเคราะห์รูปแบบทางกายภาพ (Physical modeling synthesis) นั้น การสังเคราะห์เสียงจะถูกสร้างตามลักษณะกายภาพของเครื่องดนตรีโดยถูกแทนที่การสังเคราะห์แบบหักล้างสำหรับการสร้างเสียงคู่แปดของเครื่องดนตรีตามธรรมชาติ ตัวอย่างการสังเคราะห์แบบหักล้างเสียงยังคงแพร่หลายในซินธิไซเซอร์จากการออกแบบที่ทันสมัยที่สุดที่สนับสนุนให้ตัวกรองที่ให้สัญญาณต่ำผ่านเมื่อสัญญาณที่เข้ามาอยู่ในระดับต่ำหรือตัวกรองที่ให้ช่วงความกว้างคลื่นผ่านได้ตามอย่างอุปกรณ์สร้างสัญญาณ",
"title": "เครื่องสังเคราะห์เสียง"
},
{
"docid": "593911#3",
"text": "ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณ วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัลภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าว และสืบเนื่องด้วย แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (กรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี 2555-2559) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน จากการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบแอนะล็อก ไปสู่การใช้ระบบดิจิทัล โดยให้เริ่มรับส่ง สัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัล ภายใน 4 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใน 3 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุน อุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล สำหรับผู้มีรายได้น้อย ภายใน 3 ปี และให้มีจำนวนครัวเรือนในเมืองใหญ่ ที่สามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายใน 5 ปี",
"title": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "613666#5",
"text": "แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาดังกล่าว บจก.ไทยทีวี ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอของ กสทช.ข้างต้นได้ จึงยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ทางช่อง 17 ไทยทีวี พร้อมกับช่อง 15 เอ็มวีทีวีแฟมิลี ซึ่งดำเนินการด้วยตนเอง ตั้งแต่เวลา 23:59 น. ของวันที่ 31 ตุลาคมนั้นเอง โดยที่ กสทช.และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.; ไทยพีบีเอส) เจ้าของอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ มิได้เป็นฝ่ายดำเนินการตัดสัญญาณแต่อย่างใด โดยในวันรุ่งขึ้น (1 พฤศจิกายน) บจก.ไทยทีวี เปลี่ยนชื่อช่องอีกครั้งเป็น \"ทีวีพูล 7\" () พร้อมทั้งปรับปรุงตราสัญลักษณ์ในรายละเอียด ซึ่งใช้พื้นฐานจากสัญลักษณ์เดิมที่มีตัวเลข 7 อยู่เป็นสำคัญ มาประกอบกับสัญลักษณ์หัวนิตยสารทีวีพูล และส่วนล่างสุดยังมีสัญลักษณ์ \"มูฟวี่ฮิตส์\" () ขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยภาพม้วนฟิล์ม และเครื่องหมายเพลย์ (Play) เนื่องจากซื้อใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ของช่องมูฟวี่ฮิตส์มาใช้ไปพลางก่อน",
"title": "มูฟวี่ฮิตทีวีพูล"
},
{
"docid": "1810#19",
"text": "อีกตัวอย่างการใช้งาน คือ สายอากาศแบบแฟร็กทัล ที่มีขนาดเล็กแต่สามารถรับส่งคลื่นความถี่ได้หลากหลาย สายอากาศที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์ ก็มีลักษณะความคล้ายตนเองเช่นเดียวกัน",
"title": "แฟร็กทัล"
},
{
"docid": "563871#11",
"text": "โดยใช้ frequency division multiplexing, HFC อาจขนส่งความหลากหลายของบริการรวมทั้งแบบโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก, โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (SDTV หรือ HDTV), วีดิทัศน์ตามคำขอ, โทรศัพท์และข้อมูลความเร็วสูง บริการบนระบบเหล่านี้ถูกขนส่งด้วยสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ในคลื่นความถี่ 5 MHz ถึง 1000 MHz",
"title": "เครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล"
},
{
"docid": "76087#0",
"text": "สถานีโทรทัศน์ เป็นหน่วยงาน ที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ หรือเป็นผู้รับสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ รวมถึงเป็นผู้จัดสรรเวลาในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ผ่านคลื่นความถี่ดังกล่าว และยังเป็นบริการส่งสัญญาณออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ไปสู่เครื่องรับโทรทัศน์ โดยผ่านคลื่นความถี่ทางอากาศ โดยมากจะอยู่ในรูปของนิติบุคคล บริษัทจำกัด",
"title": "สถานีโทรทัศน์"
},
{
"docid": "785244#0",
"text": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัล, โทรทัศน์ดิจิทัล, หรือ ทีวีดิจิทัล () เป็นรูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงโดยกระบวนการดิจิทัล เป็นกระบวนการที่ตรงข้ามกับระบบการถ่ายทอดสัญญาณแบบแอนะล็อกซึ่งใช้การแบ่งคลื่นออกเป็นหลายๆช่องสัญญาณ โทรทัศน์ดิจิทัลสามารถรองรับรายการโทรทัศน์ได้มากกว่าหนึ่งรายการในช่องแบนด์วิดท์เดียว นอกจากสัญญาณภาพและเสียงแล้ว การแพร่ภาพระบบดิจิทัลยังสามารถส่งข้อมูลอื่นๆ อาทิ ผังรายการ, บทบรรยาย มาพร้อมกันได้อีกด้วย ถือเป็นนวัตกรรมด้วนโทรทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สุดนับตั้งแต่การเปลี่ยนจากโทรทัศน์ขาวดำเป็นโทรทัศน์สีในทศวรรษที่ 1950 ในปัจจุบัน หลายๆประเทศได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้การแพร่ภาพแบบดิจิทัล โดยที่ในแต่ละภูมิภาคก็ใช้มาตรฐานการแพร่ภาพที่แตกต่างกันไป",
"title": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัล"
},
{
"docid": "108248#2",
"text": "อีทีวี (ETV) ออกอากาศเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 06:00 - 24:00 น. (เช่นเดียวกับสถานีวิทยุศึกษา) ผ่านสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5 ด้วยระบบออกอากาศดิจิทัล ในความถี่เคยู-แบนด์ สามารถรับชมได้ทางบริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก ทรูวิชั่นส์ ช่อง 180 ในอนาคต อีทีวี เตรียมที่จะขยายช่องทางการออกอากาศผ่านทีวีดิจิตอล บริการสาธารณะ หมายเลขที่ 5 ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 สำหรับการออกอากาศในการส่งเสริมความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์ โดยรอการจัดสรรคลื่นความถี่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เครือข่ายโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลส่วนท้องถิ่น และทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของอีทีวี \nและในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 อีทีวี ได้ทำการออกอากาศด้วยความคมชัดละเอียดสูง(HD) แทนการออกอากาศความคมชัดละเอียดปกติ(SD) ซึ่งการรับชมอีทีวีหลังจากนี้ต่อไป จะต้องติดตั้งและรับสัญญาณจากกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ความคมชัดสูง(Set-top box)ที่รองรับแต่เพียงระบบดิจิตอล โดยจะต้องสังเกตด้านหลังของกล่องดังกล่าว ซึ่งจะมีช่องต่อสายที่รองรับการออกอากาศจากระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง(HDMI) เป็นต้นต่อมาในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการ \"ติวเตอร์ แชนเนล\" (Tutor Channel ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สติวเดนท์ แชนแนล (Student Channel) ปัจจุบันใช้ชื่อ ติวเข้มเติมเต็มความรู้ เพื่อนำไปสู่การออกอากาศผ่านโครงข่าย โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 ด้วยงบประมาณราว 6,000 ล้านบาท หลังจากนั้นจะมีความพร้อมในการออกอากาศภาคพื้นดิน ผ่านคลื่นความถี่ยูเอชเอฟ โดยระยะแรก เริ่มออกอากาศในรูปรายการโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 10:00 - 12:00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และคู่ขนานทางอีทีวี",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา"
},
{
"docid": "76087#1",
"text": "บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television Services) เป็นการดำเนินงานออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการส่งสัญญาณคลื่นไปตามอากาศ (มิใช่ส่งขึ้นสู่ชั้นอวกาศ) ซึ่งสามารถใช้เสาอากาศรับสัญญาณคลื่นดังกล่าว เพื่อใช้เครื่องรับโทรทัศน์แปลงเป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อรับชมได้ทันที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงการรับชมแต่อย่างใด",
"title": "สถานีโทรทัศน์"
},
{
"docid": "42149#26",
"text": "กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 92.5 และ 97.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ ตลอดจนมีความพยายามของเจ้าหน้าที่เทคนิค สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของเอ็นบีทีแทน เป็นผลให้เอ็นบีทีไม่สามารถออกอากาศได้ในช่วงแรก แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคเปลี่ยนระบบการออกอากาศ โดยใช้สัญญาณแอนาล็อกแทนสัญญาณดิจิตอล ทำให้สามารถออกอากาศได้โดยไม่มีคลื่นแทรก ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจจึงตัดสายไฟฟ้าของเครื่องส่ง เพื่อให้เกิดความเสียหายแทน",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "298574#1",
"text": "เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รัฐบาลฮ่องกงได้ลงมติให้สิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของสถานีฯ เนื่องจากเห็นว่าบริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยสิ้นสุดใบอนุญาตลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และกำหนดยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน ปีเดียวกัน โดยคลื่นความถี่ระบบแอนะล็อก 2 สถานี ได้โอนไปเป็นของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) โดยช่องที่เป็นของภาษาจีนนั้น RTHK นำรายการจากช่อง 31 ของ RTHK และช่องภาษาอังกฤษ นำรายการจากช่อง 33 (ซึ่งทวนสัญญาณรายการจากซีซีทีวี 9 ก่อนจะปรับมาทวนสัญญาณของ ซีซีทีวี 1 ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560) มาออกอากาศคู่ขนานกัน สวนคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลซึ่งใช้ร่วมกับทีวีบีเจด ได้นำไปให้เอชเคเทเลวิชันเอ็นเตอร์เทนเมนท์ (HKTVE) ทำช่องรายการใหม่ ในชื่อ วิวทีวี (ViuTV) แล้วกลับมาออกอากาศอืกครั้ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในฐานะผู้ให้บริการ OTT",
"title": "เอเชียเทลิวิชัน"
},
{
"docid": "144040#35",
"text": "ลองนึกภาพของวงจรเรียงกระแสครึ่งคลื่นซึ่งมีสองแบบตามที่กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ว่า มีแบบครึ่งคลื่นบวก และแบบครึ่งคลื่นลบ ถ้านำสองแบบมาต่อขนานกัน จะได้วงจรทวีคูณสองเท่า ตามรูปประกอบ เป็นวงจรสะพานเต็มคลื่นธรรมดา ถ้าสวิตช์ open ก็จะได้ DC เอาต์พุตเท่ากับค่า peak ของ AC อินพุท ตัวเก็บประจุ C1 และ C2 เก็บประจุคนละครึ่ง แต่ถ้าสวิตช์ close วงจรนี้จะกลายเป็นวงจรครึ่งคลื่นต่อขนานกัน กระแสจะลัดวงจรทันที โดยเมื่อคลื่นเป็นบวก ก็จะชาร์จ C1 เท่ากับค่า peak, พอคลื่นเป็นลบ ก็ชาร์จ C2 เท่ากับค่า peak เหมือนกัน, ทำให้ DC เอาต์พุต เท่ากับ สองเท่าของค่า peak \nไดโอดและตัวเก็บประจุสามารถนำมาต่อกันเป็นวงจรทวีคูณตามรูป วงจรพวกนี้สามารถผลิตเอาต์พุตที่มีแรงดัน DC นับสิบเท่าของแรงดันพีคของไฟฟ้ากระแสสลับขาเข้า แต่มีข้อจำกัดในความจุของกระแสและการควบคุม วงจรแรงดันไฟฟ้าทวีคูณด้วย Diode, มักจะใช้เป็นตัวขับช่วงปลาย หรือแหล่งจ่ายแรงดันหลักสูง (HV) ที่ใช้ในแหล่งจ่ายไฟเลเซอร์ HV, จ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่นหลอดรังสีแคโทด () หรือ CRT (เหมือนกับที่ใช้ในโทรทัศน์, จอแสดงผลเรดาร์และโซนาร์), อุปกรณ์ขยายโฟตอน ที่พบในเครื่องภาพที่เรียกว่า photo multiplier tubes (PMT) และ อุปกรณ์ความถี่วิทยุแบบ magnetron ที่ใช้ในการส่งสัญญาณเรดาร์ และเตาอบไมโครเวฟ ",
"title": "ตัวเรียงกระแส"
},
{
"docid": "43460#10",
"text": "นอกจากนี้ ภายในอาคารที่ทำการสถานีฯ ยังมีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ด้วยระบบเอฟเอ็ม มัลติเพล็กซ์ ผ่านคลื่นความถี่ 105.50 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้รับสัมปทานมาพร้อมกับช่องสัญญาณโทรทัศน์ ตามรายละเอียดในสัญญาดำเนินกิจการกับ บจก.ไทยโทรทัศน์ อีกช่องทางหนึ่งด้วย ซึ่งในระยะแรกใช้ส่งกระจายเสียงภาษาต่างประเทศในฟิล์ม ขณะเดียวกับที่กำลังออกอากาศ ภาพยนตร์ต่างประเทศทางโทรทัศน์ ซึ่งออกเสียงบรรยายเป็นภาษาไทย ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีแบ่งช่องเสียงในการส่งโทรทัศน์ สามารถใช้การได้กับเครื่องรับโทรทัศน์โดยทั่วไปแล้ว จึงเปลี่ยนไปดำเนินรายการดนตรีสากล โดยใช้ชื่อว่า อีซีเอฟเอ็ม วันโอไฟว์พอยต์ไฟว์ (Eazy FM 105.5) จนถึงปัจจุบัน",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "76080#1",
"text": "ยูเอชเอฟ เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้คู่ขนานกับระบบ วีเอชเอฟ ของเครื่องส่งโทรทัศน์และเสาส่งระบบอนาล็อก และอาจจะเป็นคลื่นความถี่ที่ถูกบังคับให้ส่งสัญญาณของโทรทัศน์ระบบดิจิตอล คาดว่าทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลงมาเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัลให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558",
"title": "ยูเอชเอฟ"
},
{
"docid": "132614#0",
"text": "เอ็นบีทีเวิลด์ () เป็นช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ในประเทศไทย นำเสนอข่าวสารและรายการเชิงสาระ เป็นภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง ผลิตโดยสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ส่วนกลาง และออกอากาศคู่ขนาน ผ่านเครือข่าย[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 00:00-05:00 น. ของทุกวัน รวมถึงนำรายการบางส่วนไปออกอากาศทาง [[ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก]] อีกด้วย\n[[หมวดหมู่:สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย]]",
"title": "เอ็นบีทีเวิลด์"
},
{
"docid": "43460#20",
"text": "และเมื่อ กสทช.อนุญาตให้แต่ละบริษัท ซึ่งจะรับมอบใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ดำเนินการทดสอบสัญญาณ ผ่านอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ (MUX) ของผู้ให้บริการโครงข่าย ระหว่างวันที่ 1-24 เมษายน ปีเดียวกัน บีอีซี-มัลติมีเดีย ดำเนินการทดลองออกอากาศ รายการทั้งหมดจากไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก โดยคู่ขนานไปทั้ง 3 ช่องรายการในส่วนของบริษัทฯ และตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่ง กสทช.กำหนดเป็นวันเริ่มต้น ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ บีอีซี-มัลติมีเดีย ก็เริ่มออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามผังที่กำหนดของแต่ละช่องทั้ง 3 ระหว่างเวลา 16:00 - 00:00 น. ของทุกวัน เนื่องจากผู้รับสัมปทานช่องสัญญาณที่ 32 ของโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ในชื่อไทยทีวีสีช่อง 3 คือ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ เป็นคนละนิติบุคคลกับ ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ทั้ง 3 ของโทรทัศน์ระบบดิจิทัล คือ บจก.บีอีซี-มัลติมีเดีย จึงไม่สามารถนำรายการทั้งหมด จากช่องโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม มาออกอากาศคู่ขนาน ทางช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 3 ดังที่ดำเนินการมาในระยะทดสอบสัญญาณได้",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "76087#5",
"text": "สำหรับสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม ซึ่งมีสถานะเป็นช่องรายการเชิงธุรกิจ (คือไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 7 สี และโมเดิร์นไนน์ทีวี) จะต้องเข้าประมูลช่องรายการเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ กสทช.อนุญาตให้ทดลองออกอากาศ โดยเข้าใช้สัญญาณ ในส่วนรายการชุมชนและภูมิภาค ไปพลางก่อนได้ เมื่อคลื่นความถี่พร้อมสำหรับการออกอากาศแล้ว ส่วนสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม ซึ่งมีสถานะเป็นช่องรายการเพื่อสาธารณะ (คือ ททบ.5, สทท. และไทยพีบีเอส) กสทช.จะอนุญาตให้เข้าใช้สัญญาณ ในส่วนช่องรายการเพื่อสาธารณะได้ เมื่อคลื่นความถี่พร้อมสำหรับการออกอากาศแล้ว",
"title": "สถานีโทรทัศน์"
},
{
"docid": "141190#17",
"text": "เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยใช้คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ (UHF) ทางช่อง 29 (จากสถานีที่กรุงเทพมหานคร) และใช้มาตรฐานของ Video ระบบ PAL G ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน CCIR โดยช่องสัญญาณย่านความถี่ UHF สำหรับกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยได้จัดสรรไว้ที่ย่านความถี่ที่ 4 ถึง 5 ตั้งแต่ช่องที่ 26 ถึง 60 หรือมีความถี่อยู่ระหว่าง 510 ถึง 790 MHz.",
"title": "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส"
}
] |
2596 | พระบรมราชา (มัง) เกิดเมื่อใด ? | [
{
"docid": "782764#0",
"text": "พระบรมราชา (มัง) (พ.ศ. 2348 - 2369) ทรงมีพระนามเต็มว่า พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง หรือเมืองนครพนมในอดีต และทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครราชสีมาอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อครั้งนครพนมยังเป็นเมืองเจ้าหัวเศิกหรือนครประเทศราชของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2348 - 2371) แห่งเวียงจันทน์ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นผู้สร้างเวียงท่าแขกหรือเมืองท่าแขกของแขวงคำม่วนในประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อครั้งสงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นแม่ทัพองค์สำคัญของฝ่ายนครเวียงจันทน์เช่นเดียวกันกับพระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ) อนึ่ง พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นต้นสกุลพระราชทาน มังคลคีรี แห่งจังหวัดนครพนมในภาคอีสานของประเทศไทย อีกทั้งทรงเป็นเจ้าประเทศราชแห่งเมืองนครพนมองค์สุดท้ายที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์และได้รับพระราชทานพระนามเป็นที่ พระบรมราชา เป็นองค์สุดท้ายก่อนที่นครพนมจะตกเป็นประเทศราชของสยาม จากนั้นสยามจึงเปลี่ยนราชทินนามของเจ้าเมืองนครพนมเป็น พระยาพนมนครนุรักษ์ แทน",
"title": "พระบรมราชา (มัง)"
}
] | [
{
"docid": "782764#17",
"text": "\"หนังสือมา ณ วันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ทุติยาษาฒ ปีมะเมียฉอศก หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลง มาเถิงเจ้าเมืองหลวงมูเลง พระนคร ท้าววรบุตร ซึ่งมาตั้งอยู่ ณ บ้านอุเทน\"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ของสยาม ทรงพระราชทานนามสกุลของทายาทผู้สืบเชื้อสายมาจากพระบรมราชา (มัง) ว่า มังคลคีรี เขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mangalagiri นามสกุลเลขที่ 1373 ทรงพระราชทานแก่พระพิทักษ์นครพนม (โต๊ะ) นอกราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย อดีตกรมการเมืองนครพนม มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของพระบรมราชา (มัง) ปัจจุบันทายาทบางส่วนนิยมเขียนนามสกุลเป็นภาษาไทยว่า มังคละคีรี อนึ่ง คำว่า มังคลคีรี หมายถึง ภูเขามงคล มังคละ หมายถึงพระนามเดิมของพระบรมราชา (มัง) คีรี แปลว่า ภูเขา หมายถึงนามเมืองนครพนม",
"title": "พระบรมราชา (มัง)"
},
{
"docid": "782764#1",
"text": "พระบรมราชา (มัง) มีพระนามเดิมว่า ท้าวมัง หรือ เจ้าศรีสุมังค์ ในเอกสารพื้นเวียงจันทน์ออกพระนามว่า พระบุรมราชา ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3 ฉะบับที่ 11 หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลงออกพระนามว่า เจ้าพระนคร เดิมทรงพระยศเป็นที่เจ้าราชบุตร คณะอาญาสี่เมืองนครพนม แต่เมื่อครั้งพระราชบิดาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครพนม พระบรมราชา (มัง) ทรงถือกำเนิดในราชวงศ์ศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นราชวงศ์อันเอาแก่ราชวงศ์หนึ่งของราชอาณาจักรล้านช้าง ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (อุ่นเมือง) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนม เป็นพระราชนัดดาในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนม บ้างก็ว่าเป็นพระราชนัดดาในพระบรมราชา (กู่แก้ว) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (แอวก่าน) เอกสารบางแห่งกล่าวว่าพระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (สุดตา) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนม พระบรมราชา (สุดตา) ผู้เป็นพระราชบิดานี้เดิมมียศเป็นเจ้าอินทร์ศรีเชียงใหม่หรือพระศรีเชียงใหม่ เป็นอดีตเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ของเมืองนครพนม มีศักดิ์เป็นพระราชอนุชาในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนมพระองค์ก่อน และเป็นพระสวามีของพระเชษฐภคินีในพระบรมราชา (พรหมา) เจ้าเมืองนครพนม (ต้นสกุล พรหมประกาย ณ นครพนม) เอกสารบางแห่งกล่าวว่า พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นหลานปู่ในพระยาเถินหรือเจ้าหล่องเมืองเถินของลาว และเป็นหลานลุงในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนม",
"title": "พระบรมราชา (มัง)"
},
{
"docid": "782764#6",
"text": "ในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์กล่าวว่า พระบรมราชา (มัง) มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง พระองค์ได้ถวายไว้เป็นพระชายาในเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีทางเครือญาติของราชวงศ์ศรีโคตรบูรจากเมืองศรีสิทธิศักดิ์โคตรบองหลวงหรือเมืองนครพนมกับราชวงศ์เวียงจันทน์จากกรุงศรีสัตนาคนหุต ภายหลังสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ถูกกองทัพสยามจับได้ พระนางได้สูญเสียพระราชโอรส 1 พระองค์ และถูกทัพสยามของเจ้าพระยาราชสุภาวดีจับได้ภายหลังที่ปากน้ำกระดิงตรงข้ามฝั่งหนองคาย จากนั้นจึงถูกนำไปทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ดังปรากฏความว่า",
"title": "พระบรมราชา (มัง)"
},
{
"docid": "176325#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา บ้างออกพระนามว่า พังงา หรือใหญ่ (28 มิถุนายน พ.ศ. 2359 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2399) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียว (สกุลเดิม: สุนทรกุล ณ ชลบุรี) โดยพระชนนีเป็นพระธิดาในกรมขุนสุนทรภูเบศร์ เศรษฐีเมืองบางปลาสร้อยที่มีสัมพันธ์เป็นภราดาร่วมสาบานกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จึงได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้า พระองค์เจ้าพงามีพระอนุชาร่วมพระชนนีเพียงพระองค์เดียว คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงา"
},
{
"docid": "782764#4",
"text": "หลังจากพระบรมราชา (อุ่นเมือง) ได้ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2347 แล้ว เจ้าราชวงศ์ (มัง) จึงได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นเจ้าเมืองนครพนมองค์ต่อไปต่อจากพระราชบิดาของตน ตามราชธรรมเนียมเจ้านายหัวเมืองลาวในการขึ้นเป็นเจ้านครที่ถือสืบต่อกันมาเป็นโบราณราชประเพณีนั้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอุปฮาตจะต้องได้รับการแต่งตั้งหรือขึ้นเสวยราชย์แทนเจ้าเมืององค์ก่อน ส่วนเจ้าราชวงศ์และเจ้าราชบุตรนั้นมีสิทธิ์เป็นลำดับที่ 2 และที่ 3 ต่อจากเจ้าอุปฮาต เมื่อเป็นดังนี้แล้วเจ้าอุปฮาต (ไชย) บุตรพระบรมราชา (ศรีสุราช) เจ้าเมืองนครพนมองค์ก่อนก็เกิดความไม่พอใจ จึงอพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ในกองอุปฮาตของตนยกลงไปยังกรุงเทพมหานคร เจ้าแผ่นดินสยามจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปฮาด (ไชย) และไพร่พลตั้งรกรากบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองสมุทรปราการ ภายหลังจึงได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และเมืองพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทางฝ่ายเมืองนครพนมนั้นได้มีการแต่งตั้งให้เจ้าศรียาหรือเจ้าราชศรียาผู้พระราชอนุชาพระบรมราชา (มัง) ขึ้นเป็นเจ้าราชวงศ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การอพยพครั้งนี้ว่า",
"title": "พระบรมราชา (มัง)"
},
{
"docid": "782764#12",
"text": "ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3 ตอนที่ 1 พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกเอก พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์ ได้กล่าวถึงพระบรมราชา (มัง) ในจดหมายเหตุ 2 ฉบับด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้",
"title": "พระบรมราชา (มัง)"
},
{
"docid": "751974#1",
"text": "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิม ยัง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2394 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน บิดาเป็นชาวจีนชื่อยี่ มารดาเป็นชาวไทยชื่อขำเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคลอดท่านแน่นิ่งไปจนมารดาบิดาเข้าใจว่าเสียชีวิต เกือบจะนำลงหม้ออยู่แล้ว ป้าของท่านมาดูเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่จึงร้องขึ้นว่า \"\"ยังไม่ตาย\"\" ท่านจึงได้ชื่อว่ายัง",
"title": "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต)"
},
{
"docid": "706886#1",
"text": "พระพรหมมุนี มีนามเดิมว่า เหมือน เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 (นับตามแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2367) ได้ฝากตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) ตั้งแต่ท่านยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระอริยมุนี อยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (บิดาของพระพรหมมุนีเป็นพี่ชายของมารดาสมเด็จพระวันรัตน์) ต่อมาสมเด็จพระวันรัตน์ได้นำท่านไปฝากเป็นศิษย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังทรงผนวชประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร",
"title": "พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต)"
},
{
"docid": "215838#0",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (8 ตุลาคม พ.ศ. 2337 - 27 เมษายน พ.ศ. 2399) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1156 ตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2337 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาศิลา ณ บางช้าง ธิดาในขรัวยายฟักทอง ราชินิกุล ณ บางช้าง (ขรัวยายฟ้กทองนั้นมีบิดานาม ขุนสนิทภิรมย์ ซึ่งเป็นบุตรชายท่านยายเจ้ามุก ส่วนมารดาคือท่านยายเชียง บุตรสาวของท่านตาเจ้าแทนและท่านเจ้ามุก โดยเจ้าแทนมีศักดิ์เป็นพระชนกทอง หรือพระชนกของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 1)",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์"
}
] |
1153 | ศาสนาพุทธเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "78585#0",
"text": "พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "570393#1",
"text": "ตามที่ปรากฏในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา และคัมภีร์ต่างๆ ระบุว่า พุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาถึงแผ่นดิสุวรรณภูมิเมื่อครั้งที่พระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อช่วงพุทธศตวรรษที่ 300 ทรงอาราธนาให้พระโสณะและพระอุตตระ เป็นพระธรรมทูตเดินทางมาประกาศพระศาสนายังแผ่นดินแห่งนี้ ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับสถานที่ตั้งอันแท้จริงของสุวรรณภูมิ แต่โดยสรุปแล้วภูมิภาคดังกล่าวควรมีอาณาบริเวณครอบคลุมตั้งตั้งแต่ชายฝั่งอ่าวเมาะตะมะจนถึงอ่าวไทย อันเป็นอาณาเขตของอารยะธรรมทวาราวดี หรือภาคกลางของไทยในปัจจุบัน",
"title": "คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "78585#35",
"text": "แรกเริ่มนั้นประเทศไทยก็เคยมีนิกายมหายานมาช้านาน ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีอิทธิพลทางตอนใต้ของประเทศและจักรวรรดิขอมซึ่งมีอิทธิพลทางตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และมีหลักฐานอย่างชัดเจนเช่น เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งซึ่งขุดพบที่อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี หรือพระพิมพ์ดินดิบต่างๆที่มีศิลปะขอมหรือศรีวิชียที่พบได้ในแหล่งโบราณคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ 2อาณาจักรนี้ หลังจากที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาถนิกายลังกาวงศ์ ได้เผยแพร่แล้ว บวกกับการนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทดั้งเดิมก่อนนิกายมหายานจะมีอิทธิพลในสมัยนั้น จึงทำให้ความนิยมของนิกายมหายานเสื่อมถอยลงและสาปสูญไป จนต่อมาในยุคธนบุรี ชาวญวณ ได้อพยพจากเวียดนามเนื่องจากเกิดสงครามมา(ต่อมาได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นนั่นก็คือคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ในอาณาจักรรัตนโกสินทร์) และต่อมาใน อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ก็มีชาวจีนได้อพยพมาก็เนื่องจากสงคราม และได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้น ซึ่งมีชื่อว่าจีนนิกาย จวบจนปัจจุบัน และในประเทศไทยนั้นมีนิกายและกลุ่มคณะสงฆ์ต่างๆ ดังนี้",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "765205#13",
"text": "พุทธศาสนาเถรวาทในกัมพูชามีการแบ่งแยกเป็นครั้งแรกเมื่อมีการนำเอาธรรมยุตินิกาย (ซึ่งเน้นที่การทำให้พระธรรมวินัยบริสุทธิ์ตามที่มีมาในพระไตรปิฎก) จนสยามเข้ามาเมื่อ ค.ศ.1864 คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์เช่นเดียวกับที่เป็นในสยามแต่คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีส่วนนำความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยมาสู่ชาวกัมพูชาที่ไม่ใช่เจ้านายและชนชั้นสูง อีกทั้งไม่ได้มีมีบทบาทในการนำความทันสมัยมาสู่สังคมกัมพูชาดังเช่นที่เป็นในสยาม ในขณะที่มหานิกายซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมซึ่งมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยน้อยกว่า กลับมีบทบาทที่โดดเด่นกว่าคณะธรรมยุติกนิกาย",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "570393#8",
"text": "ข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในไทยเริ่มมีความชัดเจนอีกครั้ง หลังพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยเมื่อราว พ.ศ. 1800 พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมากษัตริย์ในอาณาจักรสุโขทัยทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์มาประกาศพระศาสนายังตอนเหนือของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา การมาถึงของคณะสงฆ์ลังกาในแผ่นดินไทยมิใช่ครั้งแรก เพราะเคยมีการติดต่อกันสมัยหริภุญไชย และทวราวดี แต่การมาครั้งนี้ ถือเป็นการสิ้นสุดของคณะนิกายอื่นๆ ที่เคยแพร่หลายในดินแดนนี้ ดังจะเห็นได้ว่า พระสงฆ์นิกายในแถบนี้อาจสังวัธยายพระธรรมเป็นภาษาสันสกฤต แต่พวกนิกายลังกาวงศ์สังวัธยายเป็นภาษามคธ จึงเกิดความขัดแย้งกันขึ้น กว่าจะเป็นเอกภาพได้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง",
"title": "คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "78585#5",
"text": "ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. 1540 และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิม กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น ได้แก่พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "508742#3",
"text": "คาดว่าศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศลาวเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยผ่านมาทางมอญและได้แพร่หลายไปจนทั่วประเทศในราวพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ลาวทรงให้การสนับสนุนพุทธศาสนา ในอดีตพระสงฆ์ในลาวมีบทบาทด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชน แต่หมดบทบาทไปเมื่อฝรั่งเศสจัดการศึกษาแบบตะวันตกขึ้น จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ามาในลาว มีการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมลาวโดยใช้พุทธศาสนาเป็นศูนย์กลาง วัดมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช",
"title": "ศาสนาในประเทศลาว"
},
{
"docid": "78585#16",
"text": "พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสวยราช เมื่อ พ.ศ. 2275 การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. 2296 จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่านิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "78585#15",
"text": "พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้ฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนา และอาจทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา มิชชันนารี่ฝรั่งเศสจึงต้องผิดหวังไป",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "65106#16",
"text": "ในปี พ.ศ. 2535 วัดพระธรรมกายภายใต้การนำของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ได้ขยายงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปวัดศูนย์สาขาในประเทศไทยและต่างประเทศ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศนั้น ได้สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งแรกขึ้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีวัดศูนย์สาขาในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา โอเชียเนีย และทวีปเอเชีย รวมทั้งวัดสาขาและศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศไทยกว่า 100 แห่ง",
"title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย"
}
] |
2982 | อาการตัวร้อนเท่าไหร่ถือว่าป่วย ? | [
{
"docid": "737349#0",
"text": "โรคลมเหตุร้อนหรืออาการเป็นลมเพราะความร้อน () เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.6 องศาเซลเซียส จากการได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม โดยสูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ภาวะนี้แตกต่างจากไข้ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการทางสรีรวิทยาในร่างกายที่เพิ่มจุดควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า heat stroke ซึ่งคำว่า stroke ในที่นี้เป็นการใช้คำผิดความหมาย โรคนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการขาดเลือดหรือการตกเลือดในสมอง (stroke)",
"title": "โรคลมเหตุร้อน"
},
{
"docid": "314074#0",
"text": "ไข้ หรือ อาการตัวร้อน () เป็นอาการแสดงทางการแพทย์ที่พบบ่อย หมายถึงการเพิ่มของอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าค่าปกติคือ 36.5–37.5 °C (98–100 °F) อันเป็นผลจากการปรับสูงขึ้นของอุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่ การสูงขึ้นของอุณหภูมิเป้าหมายนี้กระตุ้นให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและสั่นสะท้าน",
"title": "ไข้"
}
] | [
{
"docid": "814280#0",
"text": "ข้ออักเสบรูมาตอยด์ () เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อของร่างกายเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ร่วมกับอาการบวมและร้อน อาการเจ็บปวดและตึงเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากข้อต่อนั้นได้พัก มักเป็นที่ข้อต่อของมือและข้อมือ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง นอกจากข้อต่อแล้วยังสามารถแสดงอาการที่ระบบอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยมักมีอาการไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน",
"title": "ข้ออักเสบรูมาตอยด์"
},
{
"docid": "662101#2",
"text": "อาการเพ้ออาจแสดงตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม ในรูปตื่นตัวมาก อาการแสดงเป็นความสับสนและความงุนงงสับสนรุนแรง ดำเนินโดยมีการเริ่มต้นค่อนข้างเร็วและมีความรุนแรงขึ้น ๆ ลง ๆ ในรูปตื่นตัวน้อย อาการแสดงโดยการถอนตัวจากอันตรกิริยากับโลกภายนอกเฉียบพลันเท่ากัน อาการเพ้ออาจเกิดในรูปผสม ซึ่งบางคนอาจขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างทั้งระยะตื่นตัวมากและตื่นตัวน้อย อาการเพ้อเป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า ทว่า พบว่าเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยและสูงอายุได้ในอัตราพอ ๆ กันเมื่อเกิดในระหว่างการเจ็บป่วยวิกฤต",
"title": "อาการเพ้อ"
},
{
"docid": "969354#0",
"text": "อาหารไม่ย่อย\nหรือ อาหารย่อยไม่ดี\nเป็นการย่อยอาหารอย่างบกพร่อง\nอาการอาจรวมท้อง (ส่วนบน) อืด แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ เรอ หรือปวดท้องด้านบน\nผู้มีอาการอาจรู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ\nนี่เป็นปัญหาที่สามัญและบ่อยครั้งมีเหตุจากโรคกรดไหลย้อนหรือ\nในกรณีส่วนน้อย อาจเป็นอาการแรกของ คือเป็นแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น หรือบางครั้งเป็นมะเร็ง\nดังนั้น อาหารไม่ย่อยที่ยังไม่ทราบสาเหตุในผู้อายุมากกว่า 55 ปี หรือมีอาการน่าเป็นห่วงอื่น ๆ อาจต้องตรวจเพิ่ม",
"title": "อาหารไม่ย่อย"
},
{
"docid": "765378#0",
"text": "ภาวะอัมพาตสมองใหญ่ หรือภาวะสมองพิการ () เป็นกลุ่มของโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติชนิดถาวรที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กตอนต้น อาจมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไประหว่างผู้ป่วยแต่ละคน อาการที่พบบ่อยเช่น กล้ามเนื้อประสานงานบกพร่อง กล้ามเนื้อเกร็ง อ่อนแรง และสั่น อาจมีปัญหาอื่นร่วมเช่นความบกพร่องด้านการรับสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การกลืน การพูด เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่อาจกลิ้งตัว นั่ง คลาน เดินไม่ได้เร็วเท่าเด็กปกติที่อายุเท่ากัน ผู้ป่วยประมาณหนึ่งในสามมีอาการชักและความบกพร่องทางการรู้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้แม้อาจตรวจไม่พบตั้งแต่แรก แต่จะไม่ทรุดลงเมื่อเวลาผ่านไป",
"title": "อัมพาตสมองใหญ่"
},
{
"docid": "895684#9",
"text": "แม้แบบจำลอง Hyperexcitability (การไวต่อการกระตุ้น) โดยทั่วไปจะสมมติว่า อาการปวดต่างที่ไม่มีกลไกแบบรวมศูนย์\nแต่ก็ลักษณะรวมศูนย์อย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลมาก\nงานทดลองที่ใช้ตัวกระตุ้นอันตรายและการบันทึกกระแสไฟฟ้าที่ปีกหลังของไขสันหลังในสัตว์แสดงว่า อาการปวดต่างที่จะเริ่มหลังจากได้เร้ากล้ามเนื้อเป็นนาที ๆ\nและความรู้สึกปวดจะอยู่ในลานรับสัญญาณที่ห่างจากสิ่งเร้าเป็นช่วงระยะหนึ่ง\nตามแบบจำลองนี้ ลานรับสัญญาณใหม่ได้เกิดขึ้นโดยเป็นผลจากการทำงานของใยประสาทนำเข้าแฝง (latent) ซึ่งไปสุดที่ปีกหลังของไขสันหลังบริเวณเดียวกัน\nการทำงานที่ว่านี้จะทำให้ปวดต่างที่",
"title": "อาการปวดต่างที่"
},
{
"docid": "230430#12",
"text": "ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก และอาการไม่เลวลง ส่วนใหญ่ค่อยๆดีขึ้น แม้ไม่หายเป็นปกติ ก็ยังสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ดังเดิม สิ่งที่บกพร่องก่อนคือความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้ความคิดใตร่ตรอง รอบคอบ อาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะตึงเครียดทั้งทางกายและทางจิต มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการมาก คือแยกตัว ทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ อาจต้องออกจากงาน และต้องการผู้ดูแลใกล้ชิด น้อยรายเท่านั้นที่หายเป็นปกติได้เอง",
"title": "อาการล้าเรื้อรัง"
},
{
"docid": "216602#1",
"text": "ผู้ป่วยจะจับอาการเล็กๆ น้อยๆ ของร่างกายมาคิดเป็นเรื่องใหญ่และไปพบแพทย์เพื่อขอรับการรักษา ทั้งๆ ที่อาการเจ็บป่วยอาจจะไม่มีอยู่จริง อาการที่ว่านี้เป็นเป็นความผิดปกติทางจิตเวชซึ่งผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ ผู้ป่วยรู้สึกตัวเองปวดจริงๆ แต่ตีความอาการปวดผิดไป เช่น แน่นท้องเพราะทานอาหารมากเกินไปกลับไปตีความว่าปวดท้องอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ เป็นต้น",
"title": "ไฮโปคอนดริเอซิส"
},
{
"docid": "60613#0",
"text": "ประดง เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่งทางแผนโบราณ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักมีอาการไข้ และมีเม็ดผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งมักเรียกว่าเกิดอาการไข้ประดงขึ้น โดยทั่วไปเมื่อมีไข้ประดงเกิดขึ้น ก็มักจะมีอาการตัวร้อนจัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยไปตามเนื้อตัว มีอาการสะท้านร้อน สะท้านหนาว ปากแห้ง ลิ้นแห้ง กระหายน้ำ หอบและอาจมีอาการสะอึกร่วมด้วย โรคประดงนั้นยังแบ่งออกไปเป็นอีกหลายชนิดเช่น ประดงมด, ประดงช้าง, ประดงแกลบ, ประดงไฟ เป็นต้น",
"title": "ประดง"
},
{
"docid": "232651#15",
"text": "คำแนะนำ CDC รายงานว่าอาการแสดงต่อไปนี้คือ \"อาการแสดงเตือนฉุกเฉิน\" (emergency warning sign) และแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งตามรายชื่อนี้ไปรับการรักษากับแพทย์โดยด่วน:กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขั้นรุนแรง (fulminant myocarditis) มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอช 1 เอ็น 1 โดยมีรายงานที่ได้รับการยืนยันแล้วอย่างน้อย 4 กรณี ในผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ผู้ป่วย 3 จาก 4 ราย ซึ่งมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอช 1 เอ็น 1 มีอาการถึงขั้นรุนแรง และหนึ่งในผู้ป่วยได้เสียชีวิต นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 อย่างรุนแรงกับภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดปอด (pulmonary embolism) ในรายงานฉบับหนึ่ง มีการรับผู้ป่วย 5 ราย จาก 14 ราย เข้าสู่หน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต ด้วยอาการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 อย่างรุนแรง และมีภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดปอด",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
}
] |
181 | ใครเป็นผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติไทย? | [
{
"docid": "2091#0",
"text": "เพลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482",
"title": "เพลงชาติไทย"
}
] | [
{
"docid": "73188#1",
"text": "คีตกวีหรือนักแต่งเพลงไทยเดิม จะแต่งทำนองขึ้นก่อนแล้วจึงตั้งชื่อเพลงนั้น สำหรับเนื้อร้องบางครั้งจะเอาเนื้อร้องจากคำประพันธ์ที่ไพเราะในวรรณคดีต่างๆ เช่นจากพระอภัยมณี พระลอ ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ มาใส่ การแต่งเพลงขึ้นตอนแรกจะมีจังหวะปานกลาง แต่บางครั้งก็เอาทำนองนั้นไปขยายให้ยาวขึ้นและยุบทำนองให้สั้นลง แล้วนำมาบรรเลงติดต่อกันโดยเริ่มทำนองขยายก่อนด้วยจังหวะช้าเรียกว่าจังหวะ 3 ชั้น ต่อด้วยทำนองเดิมจังหวะปานกลางเรียกว่า 2 ชั้น และต่อด้วยทำนองที่ยุบให้สั้นลงด้วยจังหวะเร็วเรียกว่า ชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถา ถ้านำไปบรรเลงเพียงจังหวะเดียวเรียกเพลงเกร็ด และนำเพลงเกร็ดหลายๆ เพลงที่มีอัตราจังหวะเดียวกันมาบรรเลงติดต่อกันเรียกว่า เพลงตับ",
"title": "เพลงไทยเดิม"
},
{
"docid": "2091#6",
"text": "ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว[3] แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย[4]",
"title": "เพลงชาติไทย"
},
{
"docid": "837524#1",
"text": "จุดเริ่มต้นของวงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยการนำเพลงสากลที่มีชื่อว่า \"Empire State of Mind\" ของ Alicia Keys มาขับร้องในแบบฉบับของตัวเอง คำว่า Jelly Rocket มีที่มาจากการที่สมาชิกในวงชอบทานไอศกรีม เริ่มมีผลงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 จากเพลง \"How Long\" เป็นเพลงที่แต่งโดยภัค พูดถึงการคิดถึงใครสักคนและไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน โดยแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะเห็นว่าการเขียนเพลงเป็นภาษาไทยค่อนข้างยากในเรื่องของวรรณยุกต์และสระ เพลงนี้ถูกนำมาเป็นเพลงประกอบโฆษณาที่ชื่อว่า \"Lalin\" ต่อมาได้ปล่อยเพลงที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาไทย ชื่อเพลง \"ลืม\" จากนั้นได้ปล่อยเพลงออกมาเรื่อยๆ เช่น \"อิ่มใจ,\" \"เจ้าเหมียว, Under the Mistletoe\" เป็นเพลงประกอบโฆษณาของขวัญ The Gift",
"title": "เจลลีร็อกเกต"
},
{
"docid": "841388#2",
"text": "ในปี พ.ศ. 2559 ช่วงปลายเดือนเมษายน เปิดตัวเพลงแรก คือ \"หากค่ำคืน\" ในชื่อโปรเจ็กต์ \"Showroom 3\" เป็นเพลงที่แต่งโดย \"มิ้นท์\" ธิติรัตน์ โรจน์แสงรัตน์ โดยเริ่มแต่งทำนองจากการเล่นอูคูเลเล่ จากนั้นจึงแต่งเนื้อร้อง นอกจากนี้ \"นะ\" รัตน จันทร์ประสิทธิ์ นักร้องนำวง Polycat ยังมีส่วนช่วยในการเรียบเรียงเนื้อเพลงให้มีความสมบูรณ์ เพลงนี้เป็นเพลงที่ถ่ายทอดความรู้สึกเหงา คิดถึงคนรักหรือใครบางคน แต่ไม่ถึงกับเศร้า เป็นเพลงที่มีเสียงของซินธิไซเซอร์หรือเครื่องดนตรีสังเคราะห์ผสมอยู่ จึงเป็นเพลงที่มีความสนุกสนาน ",
"title": "เดอะไดได"
},
{
"docid": "42234#2",
"text": "เนื้อร้องของเพลงคิมิงะโยะนั้น เดิมเป็นบทกลอนยุคเฮอังที่ไม่ทราบว่าผู้ใดแต่งไว้ ปรากฏอยู่ในหนังสือโคะคินวะกะชู หรือ \"ประชุมบทร้อยกรองแบบวะกะ\" ในความเป็นจริงอาจกล่าวได้ว่า ผู้แต่งกวีบทนี้อาจเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลานั้น แต่ชื่อของเขาไม่ได้รับการบรรจุไว้ในหนังสือดังกล่าว เพราะกวีผู้นั้นอาจมีฐานะทางสังคมที่ตำก็ได้ เพราะกวีในยุคนั้นมักจะไม่ใช่ชนชั้นสามัญชน บทกวีคิมิงะโยะนี้ปรากฏอยู่ในประชุมบทร้อยกรองหลายฉบับ และใช้ในยุคต่อ ๆ มาในลักษณะของเพลงเฉลิมแลองของผู้คนในสังคมชั้นสูง ทั้งนี้ ตอนต้นของบทกวีดังกล่าวมีเนื้อหาต่างจากที่ใช้เป็นเพลงชาติในปัจจุบัน โดยฉบับเดิมจะขึ้นต้นว่า \"วะ งะ คิมิ วะ\" (\"Wa ga Kimi wa\", \"ท่านผู้เป็นนายแห่งข้า\") เนื้อร้องของเพลงนี้ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1185 - 1333) เป็น \"คิมิ งะ โยะ\" (แปลตามตัวคือ \"สมัยแห่งท่าน\") ดังที่รู้จักกันทุกวันนี้",
"title": "คิมิงะโยะ"
},
{
"docid": "883539#16",
"text": "ข้าพเจ้าผาดโผนโจนทะยานลงมาลุยวงการเพลงแบบ บินเดี่ยว ไม่ต้องมีใครใส่ทำนองให้ ไม่ต้องมีใครแต่งเนื้อร้องให้ ข้าพเจ้าเหมาคนเดียวหมด ...",
"title": "จงรัก จันทร์คณา"
},
{
"docid": "468303#0",
"text": "\"ให้รักมันโตในใจ\" เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง \"ธรณีนี่นี้ใครครอง\" ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ขับร้องโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย จักรกฤษณ์ มัฆนาโส นอกจากนี้ในอัลบั้มเพลงประกอบละครยังมี Original Score รูปแบบ Hum Acoustic ของเพลงนี้อีกด้วย",
"title": "ให้รักมันโตในใจ"
},
{
"docid": "2091#20",
"text": "การประกวดเพลงชาติครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทางการประพันธ์เพลงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น เฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า \"ไทย\" ถึง 12 ครั้ง[note 1]",
"title": "เพลงชาติไทย"
},
{
"docid": "359522#2",
"text": "อัลบั้มชุดนี้มีบทเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือเพลง \"หลวงพ่อคูณ\" ซึ่งได้ พยัพ คำพันธุ์ เซียนพระมือหนึ่งของไทย มาร่วมแต่งเพลง \nนอกจากนี้ ยังมีเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อสดุดีบุคคลสำคัญอีกสองท่าน ได้แก่ \"20 ปี คาราวาน\" โดยนำทำนองเพลง เซิ้งอีสาน ของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราวาน มาดัดแปลง เนื้อร้องกล่าวถึงประวัติการเดินทางของวงคาราวาน และเพลง \"จ่าง แซ่ตั้ง\" เพื่อรำลึกถึงศิลปิน นักเขียนบทกวีรูปธรรม และจิตรกรภาพวาดนามธรรมคนแรกของไทย โดยแอ๊ดรับหน้าที่ร้องนำเกือบทั้งหมด ",
"title": "รุ่นคนสร้างชาติ"
},
{
"docid": "354046#2",
"text": "ในไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้ในวันจบการศึกษาและในงานศพ ในญี่ปุ่นมีผู้แปลงเป็นเพลงชื่อ Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน นอกจากนั้นปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดีย รพินทรนารถ ฐากูร นำทำนองมาแต่งเป็น \"About the Old Days\" สำหรับในประเทศไทย มีการนำเพลง \"ออลด์แลงไซน์\" มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย ใช้ชื่อเพลงว่า \"สามัคคีชุมนุม\" ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นภาษาไทยคือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี",
"title": "ออลด์แลงไซน์"
},
{
"docid": "204482#1",
"text": "เพลงนี้แต่งขึ้นโดยมีต้นเค้าจากเพลงชื่อเดียวกันซึ่งประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2499 โดยแชมชี คาลดายาคอฟ (Шәмші Қалдаяқов, Shamshi Kaldayakov) เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง ส่วนเนื้อร้องแต่งโดยชูเมเคน แนชีเมเดนอฟ (Жұмекен Нәжімеденов, Zhumeken Nazhimedenov) ภายหลังนายนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ (Nursultan Nazarbayev) ประธานาธิบดีแห่งคาซัคสถาน ได้แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องบางส่วน ก่อนที่จะมีการประกาศใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติคาซัคสถานอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2549",
"title": "เมนิงคาซัคสตานึม"
},
{
"docid": "117956#7",
"text": "เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เมื่อแรกๆ นั้น ได้ใช้คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ประพันธ์ เป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ห้า ใช้\"ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477",
"title": "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"
},
{
"docid": "2091#2",
"text": "เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี",
"title": "เพลงชาติไทย"
},
{
"docid": "597147#2",
"text": "เพลงนี้ยังมิได้มีการแปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. 2495 ในขณะที่เพลง \"ก็อดเซฟเดอะควีน\" ยังคงมีสถานะเป็นเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของแอฟริกาใต้จนถึงปี พ.ศ. 2500 บทประพันธ์เนื้อร้องเดิมมีทั้งหมด 3 บท แต่ทางรัฐบาลได้ขอให้ผู้แต่งเพิ่มเนื้อร้องของบทที่ 4 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาเข้าไป",
"title": "ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา"
},
{
"docid": "473299#1",
"text": "รำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด ๑๐ เพลง กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงบูชานักรบ เพลงยอดชายใจหาญ ส่วนทำนองเพลงทั้ง ๑๐ เพลง กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง\nจากการสัมภาษณ์นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาชาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ อธิบายว่า ท่ารำเพลงรำวงมาตรฐานประดิษฐ์ท่ารำโดย นางลมุล ยมะคุปต์ นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ ส่วนผู้คิดประดิษฐ์จังหวะเท้าของเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ คือนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสังคีตศิลป ปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฏศิลป ปีพ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๘๖ เมื่อปรับปรุงแบบแผนการเล่นรำโทนให้มีมาตรฐาน และมีความเหมาะสม จึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากรำโทนเป็น “รำวงมาตรฐาน” อันมีลักษณะการแสดงที่เป็นการรำร่วมกันระหว่างหญิง-ชายเป็นคู่ ๆ เคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวงกลม มีเพลงร้องที่แต่งทำนองขึ้นใหม่ มีการใช้ทั้งวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้วงดนตรีสากลบรรเลงเพลงประกอบ ซึ่งเพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่ทั้ง ๑๐ เพลง",
"title": "รำวงมาตรฐาน"
},
{
"docid": "117956#0",
"text": "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) ผู้สร้างหนัง ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ผู้ประพันธ์เพลงต่างๆ หลายเพลง ซึ่งรวมถึงเนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับแรกสุดในปี พ.ศ. 2475 และเป็นผู้แต่งหนังสือต่างๆ หลายเรื่อง เช่น หลักไทย ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นนักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์",
"title": "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"
},
{
"docid": "2091#17",
"text": "ในปี พ.ศ. 2482 \"ประเทศสยาม\" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"ประเทศไทย\" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า \"ไทย\" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482[9] และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "เพลงชาติไทย"
},
{
"docid": "8070#19",
"text": "การประกวดแต่งเพลงชาติไทยในครั้งนั้น มีผู้ส่งบทเนื้อร้องเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก ในที่สุดคณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของ พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม",
"title": "หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)"
},
{
"docid": "2091#24",
"text": "ประพันธ์ด้วยทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ใช้เป็นเพลงชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 (ในลักษณะไม่เป็นทางการ) โดยช่วงแรกใช้คำร้องที่ประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดการประกวดเนื้อร้องเพลงชาติ และประกาศรับรองเนื้อร้องที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยขุนวิจิตรมาตรา และเนื้อร้องที่แต่งโดยนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นฉบับที่ชนะการประกวด เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับทางราชการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477",
"title": "เพลงชาติไทย"
},
{
"docid": "562369#1",
"text": "รูม 39 มีซิงเกิลแรกคือ \"หน่วง\" ซึ่งได้บอย โกสิยพงษ์ ร่วมแต่งเนื้อร้อง และสุธี แสงเสรีชน เป็นผู้ผลิต แม้ว่าในตอนแรกนั้น ซิงเกิลแรกของพวกเขาที่จะปล่อยออกสู่สาธารณชน คือ \"รักใครไม่ได้อีก\" แต่ในภายหลัง ก็ได้มีการแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง \"หน่วง\" ขึ้นมา และก็ได้เลือกเพลง \"หน่วง\" ให้เป็นซิงเกิลแรกของรูม 39",
"title": "รูม 39"
},
{
"docid": "165075#1",
"text": "เพลงนี้ไม่ปรากฏว่าผู้ใดแต่งทำนองและเนื้อร้อง แต่คาดเดากันว่านายพอลพต ผู้นำของเขมรแดงที่ชาวโลกรู้จักกันดี น่าจะมีส่วนร่วมในการแต่งเพลงนี้ด้วย รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยได้รับรองให้เพลงสิบเจ็ดเมษามหาโชคชัยเป็นเพลงชาติ ตามมาตรา 18 ของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2519 ",
"title": "สิบเจ็ดเมษามหาโชคชัย"
},
{
"docid": "2091#25",
"text": "ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (บทที่ 1 และบทที่ 2) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล (บทที่ 3 และบทที่ 4) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477 ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่ เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสสระณแดนสยาม ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา แม้ถึงภัยไทยด้อยจนย่อยยับ[note 2] ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้ ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงทั้งชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย",
"title": "เพลงชาติไทย"
},
{
"docid": "8070#14",
"text": "แต่กระนั้น เพลงชาติไทยเพลงนี้ก็ไม่ได้รับการรับรอง จนกระทั่ง พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรื่องเพลงชาติ โดยในที่สุดได้เลือกทำนองเพลงชาติแบบสากลของ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) จากนั้นมา การประกวดคัดเลือกเนื้อร้องโดยคณะกรรมการตัดสินให้ใช้เนื้อร้องของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ที่แต่งไว้เดิม และเนื้อร้องที่ประพันธ์โดย นายฉันท์ ขำวิไล โดยที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประธานคณะกรรมการ ได้ขอแก้ไขถ้อยคำบางแห่งของขุนวิจิตรมาตรา เป็นดังนี้",
"title": "หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)"
},
{
"docid": "7469#0",
"text": "เพลงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย () หรือ เพลงสรรเสริญสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นชื่อของเพลงชาติอย่างเป็นทางการของรัสเซีย องค์ประกอบทางดนตรีและเนื้อร้องของเพลงได้รับดัดแปลงมาจากเพลงชาติสหภาพโซเวียต ประพันธ์โดย อเล็กซันเดอร์ อเล็กซันดรอฟ และผู้แต่งบทร้อง เซียร์เกย์ มิฮัลคอฟ และกาบรีล เอล-เรกิสตัน เพลงชาติโซเวียตใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 โดยแทน \"แองเตอร์นาซิอองนาล\" ด้วยเพลงที่เน้นรัสเซียเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพลงชาติดังกล่าวถูกแก้ไขใน ค.ศ. 1956 เพื่อลบเนื้อร้องที่อ้างถึงอดีตผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน เพลงดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งใน ค.ศ. 1977 เพื่อนำเนื้อร้องใหม่ที่เขียนโดยมิฮัลคอฟ",
"title": "เพลงชาติรัสเซีย"
},
{
"docid": "11199#0",
"text": "ออย์ซีเยทลามัยสกาซอรอ (มอนเตเนโกร: Ој, свијетла мајска зоро, แปลว่า \"โอ้ รุ่งสางอันสว่างไสวแห่งเดือนพฤษภา\") เป็นชื่อเพลงชาติอย่างเป็นทางการของประเทศมอนเตเนโกร เพลงนี้เดิมเป็นเพลงพื้นเมืองที่ชาวมอนเตเนโกรนิยมขับร้องทั่วไปในลักษณะของเพลงประจำชาติ ซึ่งมีการแต่งเติมเสริมแต่งออกไปหลายรูปแบบและไม่มีใครทราบชัดเจนว่าผู้ใดเป็นผู้เริ่มแต่งเพลงนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เซกูลา เดรลเยวิช (Sekula Drljević) นักการเมืองฟาสซิสต์ชาวมอนเตเนโกรได้ประกาศใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติของรัฐบาลฟาสซิสต์หุ่นเชิดของมอนเตรเนโกรในชื่อเพลงว่า \"เยชนานาชาเซอร์นากอรอ\" (แปลว่า มอนเตเนโกรจงเจริญชั่วกาลนาน) ซึ่งเพลงนี้ได้มีการวิจารณ์ด้วยว่า เนื้อร้องในบทเพลงฉบับดังกล่าวนั้นได้รับอิทธิพลมาจากเพลงเพลงหนึ่งของพรรคนาซี แต่เนื้อร้องที่ใช้ในปัจจุบันนนี้เป็นเนื้องร้องที่มีการประพันธ์ขึ้นใหม่ภายหลัง",
"title": "ออย์ซีเยทลามัยสกาซอรอ"
},
{
"docid": "172779#0",
"text": "ชูมี มาริตซา (, \"Shumi Maritsa\") เป็นชื่อเพลงชาติเพลงแรกของบัลแกเรีย ซึ่งใช้ในสมัยที่ประเทศนี้ยังเป็นราชอาณาจักรระหว่างปี พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2487 เนื้อร้องของเพลงนี้เดิมเป็นผลงานการประพันธ์ของนิโคลาร์ ซิฟคอฟ ครูใหญ่ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเวเลส (ปัจจุบันอยู่ในประเทศมาซิโดเนีย) ต่อมาได้มีการแก้ไขมาหลายครั้ง แต่เนื้อร้องซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเป็นผลงานของกวีชื่อ อีวาน วาซอฟ ซึ่งเป็นผู้แต่งทำนองของเพลงนี้ เนื้อร้องดังกล่าวแต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2455",
"title": "ชูมี มาริตซา"
},
{
"docid": "220726#41",
"text": "พ.ศ. 2557 ได้แต่งเพลง คืนความสุขให้ประเทศไทย เพื่อสื่อความหมายจากใจที่ต้องการคืนความสุขให้ประชาชน โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธุ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดัง เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้องประกอบทำนอง และขับร้องโดยกองดุริยางค์ทหารบก ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกในรายการใต้ร่มธงไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เมื่อ 6 มิถุนายน 2557 ความยาว 4 นาที[95] พ.ศ. 2558 ได้แต่งเพลง เพราะเธอคือ...ประเทศไทย เป็นของขวัญในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2559[96]โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธุ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดัง เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้อง ทำนองและเรียบเรียงมี พันตรี สุระชัย ถวิลไพร ขับร้องโดย จ่าสิบเอก พงศธร พอจิต ซึ่งเป็นผู้ขับร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทย มาขับร้องเพลงนี้ ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกให้สื่อมวลชนฟังระหว่างรอการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 ความยาว 4 นาที[97][98] พ.ศ. 2559 ได้แต่งเพลง ความหวังความศรัทธา โดยมีจุดมุ่งหมายถึง ความหวังความศรัทธาที่จะสามารถสร้างพลังยิ่งใหญ่ได้ แต่คนไทยทั้งชาติจะต้องร่วมมือร่วมใจ และรวมพลังของความเป็นไทยอย่างไม่ท้อแท้เพื่อไปสู่เป้าหมาย โดยมอบให้พันตรี สุระชัย ถวิลไพร เป็นผู้เรียบเรียงและทำนอง และมี จ่าสิบเอก พงศธร พอจิต เป็นผู้ขับร้อง[99][100] พ.ศ. 2560 ได้แต่งเพลง สะพาน โดยมีจุดมุ่งหมายถึง คณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหาร ตำรวจและประชาชนที่จะต้องเป็นสะพานก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวข้ามสิ่งเก่า ๆ ที่ไม่ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่พัฒนาเพื่อปฏิรูปประเทศ ฉะนั้นทุกคนต้องร่วมมือร่วมกัน สะพานจะไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้ ถ้าทุกคนยังวนเวียนอยู่กับเรื่องความขัดแย้งเดิม และความคิดเดิม[101][102] พ.ศ. 2561",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "372262#2",
"text": "แต่งเพลงชาติไทย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นวันที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย หลังจากนั้นไม่นานได้มีการแต่งเพลงชาติขึ้น เพลงชาติเพลงแรกใช้ทำนองเพลงมหาชัยโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นผู้แต่งเนื้อร้อง ต่อมา น.ต. หลวงนิเทศกลกิจ ร.น. (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) แต่งทำนองเพลงชาติแบบสากล และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แต่งเนื้อร้องขึ้นต้นว่า “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า”",
"title": "ฉันท์ ขำวิไล"
},
{
"docid": "60995#2",
"text": "ก่อนที่เพลงนี้จะได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียต ทำนองของเพลงนี้เคยถูกใช้ในงานหลายชิ้นของอเล็กซานดรอฟ ครั้งแรกได้ใช้เป็นเพลงประจำพรรคบอลเชวิคใน ค.ศ. 1938 (พ.ศ. 2481) และเมื่อ องค์การคอมมิวนิสต์สากล หรือโคมินเทิร์นสลายตัวไปในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) ผู้นำประเทศมองว่าเพลงชาติใหม่ของสหภาพโซเวียต สมควรเข้ามาแทนที่เพลง L'Internationale ซึ่งตามประวัติแล้วเกี่ยวข้องกับขบวนการคอมมิวนิสต์สากลมากกว่า โจเซฟ สตาลิน ผู้นำประเทศในยุคนั้นจึงตัดสินใจเลือกเอาทำนองที่อเล็กซานดรอฟประพันธ์ มาใช้เป็นทำนองเพลงชาติฉบับใหม่ ส่วนคำร้องที่ร่วมประพันธ์โดย มิคาลกอฟ และ แอล. เรจิสตาน ได้แต่งเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) สตาลินได้ให้การรับรองเป็นเนื้อร้องเพลงชาติในปีถัดมา โดยมีข้อมูลว่าสตาลินได้ปรับเปลี่ยนบางส่วนของเนื้อร้องเองด้วย เพลงนี้มีเนื้อหากล่าวถึงแนวคิดของเลนิน และสัมพันธภาพที่แบ่งแยกไม่ได้ของรัฐที่เข้าร่วมในสหภาพโซเวียต",
"title": "เพลงชาติสหภาพโซเวียต"
}
] |
2004 | หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยาเกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "285046#0",
"text": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ท.จ.) (4 ธันวาคม พ.ศ. 2422-20 ตุลาคม พ.ศ. 2481 ) มีนามเดิมว่า อัญญานางเจียงคำ สกุลเดิม บุตโรบล เป็นเจ้านายสตรีของเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาสยามมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ที่ถวายตัวเป็นหม่อมใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง[1] เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างราชสำนักสยาม กับเจ้านายพื้นถิ่นเมืองอุบลราชธานีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีนโยบายปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
}
] | [
{
"docid": "437339#5",
"text": "ต่อมาจังหวัดอุบลราชธานีได้รับงบประมาณจากทางราชการกว่า 4 หมื่นบาท เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณกรมทหารเก่าซึ่งย้ายไปตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 (ปัจจุบันคือค่ายสรรพสิทธิประสงค์ มณฑลทหารบกที่ 22) ทางทิศตะวันตกของทุ่งศรีเมือง หรือด้านหลังของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีแห่งที่ 2 ในปัจจุบัน (เดิมที่ดินแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกเชื้อสายเจ้านายเมืองอุบลราชธานี ซึ่งหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ได้อุทิศให้ทางราชการไทยใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์) โรงเรียนแห่งนี้มีเนื้อที่ราว 40 กว่าไร่ ทิศเหนือจรดถนนเบ็ญจะมะและวัดชัยมงคล ทิศใต้จรดถนนศรีณรงค์และวัดศรีอุบลรัตนาราม ทิศตะวันออกจรดถนนอุปราชและทุ่งศรีเมือง ทิศตะวันตกจรดบ้านประชาชนและป่าช้าโรมันคาทอลิก ตัวอาคารเรียนหลักเป็นอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น ขนาด 20 ห้องเรียน ตั้งอยู่ตรงกลางของพื้นที่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีสนามและเสาธงขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนพูนดินมีขาเสาธงสี่ขาตั้งอยู่หน้าอาคารเรียน อาคารนี้เป็นอาคารหลังเดียวของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชแห่งที่ 2 ที่ยังคงหลงเหลือในปัจจุบัน ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) สถาปนิกประจำกระทรวงศึกษาธิการ ณ เวลานั้น",
"title": "โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช"
},
{
"docid": "134139#21",
"text": "ณ อุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายพระราชมารดา สายเจ้าอุปฮาด (สุดตา) และเจ้าอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5 สุวรรณกูฏ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 3 พระราชโอรสในเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล สิงหัษฐิต สกุลสายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ พระนัดดาในพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต) บิดาของนายเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน ทองพิทักษ์ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าอุปฮาด (สุดตา) เชษฐาของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) พระราชโอรสในเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของเจ้าอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล อมรดลใจ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (อ้ม) อดีตบรรดาศักดิ์ที่ท้าวสุริยวงศ์ เจ้าเมืองตระการพืชผลองค์แรก ท่านนี้เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ 3 และเป็นเขยในเจ้าองค์ครองนครจำปาศักดิ์ โทนุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย หรือท้าวคำพูน สุวรรณกูฏ ผู้เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า พระเรืองชัยชนะ เจ้าเมืองมหาชนะชัย ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี ต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้การปกครองของเมืองอุบลราชธานี โดยมีหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นนัดดาในพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก บุตโรบล สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และเจ้าราชบุตร (คำ) โอรสในเจ้าสีหาราช (พลสุข) และเจ้าโคตร (ท้าวโคต) ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสในเจ้าพระตา และเป็นพระราชอนุชาในเจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ผู้รับพระราชทานสกุลคือ พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) สายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์",
"title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"
},
{
"docid": "285046#9",
"text": "หลังการสิ้นพระชนม์ของพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ หม่อมเจียงคำและหม่อมเจ้าชายทั้ง 2 พระองค์ ผู้เป็นบุตร ได้อุทิศที่ดินจำนวน 27 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินอันเป็นมรดกตกทอดของญาติวงศ์เจ้านายเมืองอุบลราชธานีในอดีต เป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2474 ก่อนหน้านี้ ได้บริจาคที่ดินของท่านและญาติ ๆ ให้ใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์แก่แผ่นดิน ได้แก่ ที่ดินของเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) ที่ดินของพระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) ที่ดินของพระลินจังคุลาทร (พั้ว บุตโรบล) ที่ดินของพระบริคุตคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) ที่ดินของพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) ที่ดินของเจ้าอุปฮาช (โท ณ อุบล) ที่ดินของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการที่สำคัญในจังหวัดอุบลราชธานีหลายแห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี ทุ่งศรีเมือง (อดีตสถานที่ถวายเพลิงพระศพเจ้าเมืองและพระราชทานเพลิงเจ้านายเมืองอุบลราชธานี) โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี (เดิมเป็นที่ตั้งโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช) และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์[1]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "134139#19",
"text": "เจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ ๑ เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครกาลจำบากนัคบุรีศรีจำปาศักดิ์ องค์ที่ ๓ เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ ๒ ( ต้นสกุลพระราชทาน พรหมวงศานนท์ ) อัญญาเจ้าโคต (เจ้าโคตร) พระบิดาของท้าวสีหาราช (พลสุข บุตโรบล) ปู่ของเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) ทวดของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) ผู้เป็นบิดาของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงจำชุมพล ณ อยุธยา) ในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ อัญญานางมิ่ง อัญญาท้าวซุย อยู่บ้านเขื่องใน พระศรีบริบาล อัญญานางเหมือนตา อยู่บ้านสะพือตระการ อัญญาท้าวสุ่ย บิดาของอัญญาท้าวสิงห์ ต้นตระกูลสิงหัษฐิต ท้าวสิงห์มีบุตรธิดาคือ อัญญานางทอง ๑ อัญญาท้าวสีหาราช (หมั้น) ๑ อัญญานางบัว ๑ อัญญานางจันที ๑ อัญญานางวันดี ๑ อัญญาท้าวมา ๑ อัญญานางสีทา (ไม่มีบุตรธิดา) ๑ อัญญานางแพงแสน ๑ ฝ่ายอัญญาท้าวสีหาราช (หมั้น) นั้น สมรสกับอัญญานางสุนี ธิดาเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) มีบุตรธิดาคือ พระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) ๑ อัญญาท้าวสี ๑ อัญญาครูจำปาแดง ๑ อัญญานางบุญกว้าง ๑",
"title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"
},
{
"docid": "285046#7",
"text": "พระเจ้าพุทธวิเศษ หรือหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เป็นพระพุทธรูปศิลาแลงปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร เป็นศิลปะยุคศรีโคตรบูรร่วมสมัยกับทวาราวดีของสยาม อายุราวพันกว่าปี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นับถือกันว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านชีทวนและตำบลใกล้เคียง ประชาชนนิยมจัดงานสมโภชเฉลิมฉลองหลวงพ่อพระพุทธวิเศษเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน คือวันขึ้น 14 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เรียกว่า งานปิดทองหลวงพ่อพุทธวิเศษประจำปี ส่วนบ้านชีทวนนั้นเดิมเป็นเมืองขอมโบราณเรียกว่า เมืองซีซ่วน] ภายหลังพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช ผู้เป็นต้นราชตระกูลของหม่อมเจียงคำ ได้โปรดให้ท้าวโหง่นคำพร้อมราษฎร 150 ครัวเรือน ยกมาตั้งเป็นบ้านเมืองอีกครั้งที่เมืองซีซ่วน[7] ชาวเมืองเชื่อกันสืบมาว่า ผู้ที่แต่งงานมีครอบครัวมานานแล้วแต่ไม่มีบุตรธิดาไว้สืบสกุล สามีภรรยาก็มักพากันมานมัสการหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เพื่อบนบานศาลกล่าวให้ตนมีบุตรธิดาไว้สืบสกุล ปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จมากมาย มีตำนานเล่าสืบมาว่าครั้งหนึ่ง พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ และหม่อมเจียงคำ ได้เสด็จออกไปเยี่ยมไพร่ฟ้าประชาชนตามหัวเมืองต่างๆ และได้เดินทางผ่านบ้านชีทวน ทราบข่าวว่าที่บ้านชีทวนมีพระพุทธศักดิ์สิทธิ์คือหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ สามารถที่จะบนหรือขอสิ่งที่ปรารถนาได้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์พร้อมหม่อมเจียงคำก็ดำริแก่กันว่า แต่เมื่อครั้งเสกสมรสมานานแล้วก็ยังหาได้มีพระโอรสพระธิดาไว้สืบสกุล ทั้งสองพระองค์จึงทรงนำดอกไม้ธูปเทียนและทองคำเปลวลงไปสักการบูชาขอพระโอรสพระธิดาจากหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ต่อมาไม่นานหม่อมเจียงคำก็ทรงพระครรภ์และได้ประสูติพระโอรส 2 พระองค์ ตามความปรารถนา คือหม่อมเจ้าอุปลีสานและหม่อมเจ้ากมลีสาน[8]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#4",
"text": "เกี่ยวกับนามของหม่อมเจียงคำนั้น คำว่า เจียง เป็นภาษาลาวโบราณ ตรงกับภาษาบาลีว่า จาป หมายถึง ธนู ศร หน้าไม้ กระสุน แล่ง (ที่ทำสำหรับวางลูกธนูหรือหน้าไม้ หรือที่ใส่ลูกธนูหน้าไม้สำหรับสะพาย)[3] บางครั้งชาวลาวเรียกว่า หน้าเจียง หรือ เกียง ดังนั้น นามของหม่อมเจียงคำจึงหมายถึง ธนูทองคำ หม่อมเจียงคำ เดิมสกุล บุตโรบล นามสกุลบุตโรบลเป็นนามสกุลที่ทายาทบุตรหลานเจ้านายเมืองอุบลราชธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นามสกุลเลขที่ 2692 เขียนแบบอักษรโรมันคือ Putropala [4] ตามบัญชีผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลคือ \"นายร้อยโท พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง) นายทหารกองหนุน สังกัดกองสัสดีมณฑลอุบล ปู่ชื่อราชบุตรสุ่ย บิดาชื่อเจ้าราชบุตร (คำ)\" หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา และนายร้อยโท พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง) เป็นลูกพี่ลูกน้องกันและทั้ง 2 ท่านเป็นหลานปู่ ในเจ้าราชบุตร (สุ่ย)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#10",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศใต้ติดกับถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันออกติดกับถนนราชบุตร ทิศตะวันตกติดกับที่ดินของเจ้าอุปฮาช (โท) บิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ที่ดินแปลงใหญ่นี้เป็นเดิมเป็นมรดกจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) เดิมเป็นที่ตั้ง[[ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี กรมศิลปากร",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#12",
"text": "เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนารีนุกูล ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นบริเวณเดียวกันกับทุ่งศรีเมือง แต่ปัจจุบันได้ถูกตัดถนนผ่านหน้าโรงเรียน ทำให้พื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีถูกแยกออกไปจากทุ่งศรีเมือง บริเวณกลางทุ่งศรีเมืองนี้เดิมเป็นสถานที่ราชการของเมือง ใช้สำหรับจัดงานพิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง ตลอดจนงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าเมือง คณะอาญาสี่ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น ทุ่งศรีเมืองในปัจจุบันมีทิศเหนือติดกับถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศใต้ติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศตะวันออกติดกับถนนนครบาล ทิศตะวันตกติดกับถนนอุปราช ปัจจุบันทุ่งศรีเมืองใช้สำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประกอบรัฐพิธีต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนพรรษา 5 ธันวาคมของทุกปี ตลอดจนประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา ประกอบพิธีทางประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัด เช่น เทศกาลวันแห่เทียนเข้าพรรษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เป็นต้น",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#15",
"text": "ทิศเหนือติดกับวัดไชยมงคล ทิศใต้ติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศตะวันออกติดกับถนนอุปราช ทิศตะวันตกติดกับสุสานโรมันคาทอลิก เดิมเป็นที่ตั้งของกรมทหาร ต่อมาได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชในปี พ.ศ. 2474 และเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - 2553 ปัจจุบันทางราชการได้ย้ายศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีไปอยู่ที่ตำบลแจระแม และปรับปรุงอาคารเรียนเดิมของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งยังคงตั้งอยู่ในที่ดินแปลงนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุบลราชธานี โดยอยู่ในความดูแลของเทศบาลนครอุบลราชธานี",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#8",
"text": "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล (ท.จ.ว.) อดีตประธานกรรมการผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงมีพระโอรส-พระธิดา 3 ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์พัชรีสาณ ชุมพล (พ.บ.) สมรสกับคุณสุภาพรรณ ปันยารชุน มีบุตรธิดา 2 ท่าน คือ หม่อมหลวงสุพัชร ชุมพล (พ.บ.) หม่อมหลวงภัทรีศา ชุมพล หม่อมราชวงศ์หญิงพวงแก้ว ชุมพล (พ.บ.) สมรสกับนายแพทย์กุณฑล สุนทรเวช มีบุตรธิดา 3 คน คือ ทิพย์สุดา (สุนทรเวช) ถาวรามร พิมพ์แก้ว (สุนทรเวช) มาโกด์ สิทธิ์สรรพ์ สุนทรเวช หม่อมราชวงศ์จาตุรีสาณ ชุมพล สมรสกับนางชูศรี (คงเสรี) ชุมพล ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 2 ท่าน คือ หม่อมหลวงสุภสิทธิ์ ชุมพล หม่อมหลวงสุทธิมาน (ชุมพล) โภคาชัยพัฒน์ หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง สวัสดิวัฒน์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ และหม่อมเจ้าหญิงฉวีลิลัย สวัสดิวัฒน์ (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พะรองค์เจ้าคัคณางยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีพระโอรส 2 ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์ศักดิสาณ ชุมพล สมรสกับนางวราภรณ์ บุณยรักษ์ มีบุตรธิดา 2 ท่าน คือ หม่อมหลวงสิทธิสาณ ชุมพล หม่อมหลวงวราภา ชุมพล รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล สมรสกับนางอรพันธ์ ชาติยานนท์ มีบุตรธิดา 4 ท่าน คือ หม่อมหลวงวรารมณ์ ชุมพล หม่อมหลวงสมรดา ชุมพล หม่อมหลวงกมลพฤทธิ์ ชุมพล หม่อมหลวงรัมภาพันธุ์ ชุมพล",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "233894#0",
"text": "หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา\nหม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา บุตรีในท้าวไชยบุตร (บุดดี บุญรมย์) หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2445 ทรงมีพระพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ร่วมหม่อมมารดา 4 พระองค์ คือ",
"title": "หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล"
},
{
"docid": "285046#2",
"text": "หม่อมเจียงคำ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ดังนี้[2]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#17",
"text": "หม่อมเจียงคำ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคอัมพาต เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2481 สิริอายุ 59 ปี[10] ณ โฮงพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) เลขานุการในพระองค์กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้เป็นญาติใกล้ชิดของหม่อมเจียงคำ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ถนนพิชิตรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี[11] ปัจจุบันทายาทได้นำพระอัฐิของท่านบรรจุไว้ ณ บริเวณฐานตั้งใบเสมาหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) และเจ้านายญาติวงศ์เมืองอุบลราชธานี ได้ร่วมกันสร้างไว้ตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2396 ก่อนที่เจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) จะไปราชการศึกสงครามเมืองญวนที่ประเทศเขมร[12]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#20",
"text": "Family of Main Page ท้าวโคต พระราชโอรสเจ้าพระวรราชปิตา (พระตา)ท้าวสีหาราช (พลสุข)เจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล)อาชญาแม่สุภาท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล)อาชญาแม่ทอง บุตโรบลหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยาพระศรีโสภา (ชาวจีน)อาชญาแม่ดวงจันทร์ บุตโรบลนางทุมมา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285056#0",
"text": "หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา\nหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล เป็นโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2449 เษกสมรสกับหม่อมเจ้าสีดาดำรวง สวัสดิวัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับ หม่อมเจ้าฉวีวิลัย คัคณางค์ ทรงมีพระโอรส 2 ท่าน คือ ",
"title": "หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล"
},
{
"docid": "285046#1",
"text": "หม่อมเจียงคำ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2422 ที่เมืองอุบลราชธานี เป็นธิดาลำดับที่ 9 หรือเป็นธิดาท่านสุดท้องของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) กับญาแม่ดวงจันทร์ บุตโรบล หม่อมเจียงคำมีศักดิ์เป็นหลานปู่ ในเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) (บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวสุริยะ) กับอัญญานางทอง บุตโรบล มีศักดิ์เป็นเหลนทวด ในท้าวสีหาราช (พูลสุข หรือ พลสุข) กรมการเมืองอุบลราชธานีชั้นผู้ใหญ่ กับอัญญานางสุภา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากท้าวโคต ผู้เป็นพระราชโอรสในเจ้าพระตา (เจ้าพระวรราชปิตา) ผู้ครองนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) นอกจากนี้ ท้าวโคตผู้เป็นต้นสกุล บุตโรบล ยังมีศักดิ์เป็นอนุชากับเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ 1 กับเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ (เมืองเก่าคันเกิง) องค์ที่ 3 ด้วย",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#22",
"text": "Family of Main Page แสนทิพย์นาบัวพระโพสาทธรรมิราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราช หรือเจ้าอุปราช (นอง) แห่งเวียงจันทน์พระราชมารดา (อดีตพระชายาเจ้าชมพู พระเชษฐาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช)เจ้าพระวรราชปิตา (พระตา) หรือท้าวราชวงศาพระชายา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#5",
"text": "พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาณ) เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จมาปรับปรุงและจัดระบบราชการที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้ทรงพอพระทัยต่ออาชญานางเจียงคำ ซึ่งเป็นธิดาของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น) กรมการชั้นผู้ใหญ่ของเมือง จึงได้ทรงขออาชญานางเจียงคำ ต่อเจ้านายผู้ใหญ่ในเมืองอุบลราชธานี คือ พระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) และได้เข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญตามจารีตประเพณีของบ้านเมืองลาวดั้งเดิม ถวายตัวเป็นหม่อมห้ามใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง เมื่อเดือนมีนาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรส 2 พระองค์",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#16",
"text": "ที่ดินแปลงนี้มีทั้งหมด 27 ไร่ ซึ่งตกทอดเป็นมรดกของพระโอรสทั้ง 2 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล (ท.จ.ว.) และหม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล พระโอรสทั้ง 2 ได้มอบให้ทางราชการเมื่อ พ.ศ. 2474 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์อีสานใต้ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของภาคอีสาน และมีผู้ใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก [9]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#18",
"text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน (ท.จ.) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285055#0",
"text": "หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2442 ทรงเษกสมรสกับหม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับ หม่อมพุก จันทรเสน มีบุตรธิดา คือ \nหม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. 2517 ",
"title": "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล"
},
{
"docid": "285046#6",
"text": "การถวายตัวเป็นหม่อมห้ามของเสด็จในกรมนั้น เท่ากับเป็นการสร้างการยอมรับอำนาจการปกครองจากส่วนกลางในหมู่เจ้านายเมืองอุบลราชธานีมากขึ้น และยังทำให้เจ้านายพื้นเมืองบางส่วนขยับฐานะตนเองจากการเป็นเจ้านายในราชวงศ์สายล้านช้างอันเก่าแก่ มาเป็นส่วนหนึ่งในพระราชวงศ์จักรีของสยาม[5] โดยระหว่างที่เสด็จในกรมทรงประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานีนั้น ได้ทรงสร้างตำหนักชื่อว่า วังสงัด ขึ้นบนที่ดินของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) เมื่อ ร.ศ.112 และทรงประทับอยู่กับหม่อมเจียงคำเป็นเวลานาน 17 ปี ก่อนที่จะนิวัติคืนสู่กรุงเทพมหานคร ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังและเสนาบดีที่ปรึกษาในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ภายหลังจากนิวัติสู่กรุงเทพมหานคร พระองค์ก็มิได้กลับมาประทับที่เมืองอุบลราชธานีอีกเลย[6]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#13",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนพิชิตรังสรรค์ ทิศใต้ติดกับถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศตะวันตกติดกับวัดสุทัศนาราม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลจังหวัดอุบลราชธานี ศาลแขวงจังหวัดอุบลราชธานี และด้านหลังของศาลจังหวัดอุบลราชธานี เป็นบริเวณบ้านพักผู้พิพากษาศาล ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นมรดกจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) พระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) พระลินจังคุลาทร (พั้ว บุตโรบล) พระบริคุตคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) และพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#3",
"text": "อัญญานางก้อนคำ สมรสกับ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ปลัดเมืองอุบลราชธานี บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวสิทธิสาร ผู้ช่วยราชการคณะอาญาสี่เมืองอุบลราชธานี อัญญานางอบมา สมรสกับ ท้าววรกิติกา (คูณ) กรมการเมืองอุบลราชธานี อัญญานางเหมือนตา อัญญานางบุญอ้ม สมรสกับ ท้าวอักษรสุวรรณ กรมการเมืองอุบลราชธานี อัญญานางหล้า อัญญานางดวงคำ สมรสกับ รองอำมาตย์ตรี ขุนราชพิตรพิทักษ์ (ทองดี หิรัญภัทร์) อัญญาท่านคำม้าว โกณฺฑญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสารพัดนึก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อัญญาไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์) อัญญานางเจียงคำ หรือหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#11",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศใต้ติดกับถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันออกติดกับถนนหลวง ทิศตะวันตกติดกับถนนราชบุตร (เดิมคือที่ตั้งสโมสรข้าราชการเมืองอุบลราชธานี) ที่ดินแปลงนี้เป็นเดิมเป็นมรดกจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงที่ 1 เมื่อราชการขยายผังบ้านเมืองออกไปและมีการตัดถนนผ่าน จึงทำให้เกิดเป็นที่ดิน 2 แปลงดังปรากฏในปัจจุบัน",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#19",
"text": "กลุ่มสืบสาน นำฮอย หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา[13] อาคารหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันรำลึกหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของหม่อมเจียงคำ[14] กองทุนเครือข่ายแห่งบุญหม่อมเจียงคำอนุสรณ์[15]",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#14",
"text": "ทิศเหนือติดกับถนนศรีณรงค์ ทิศใต้ติดกับถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันออกติดกับที่ดินของเจ้าราชบุตร (สุ่ย) ทิศตะวันตกติดกับถนนอุปราช เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี แล้วย้ายไปสร้างใหม่ ณ สำนักงานปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2553 ตั้งอยู่ข้างสำนักงานธนารักษ์จังหวัดอุบลราชธานี ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นมรดกจากเจ้าอุปฮาด (โท) พระบิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#21",
"text": "Family of Main Page เจ้านครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าเจ้าปางคำ เมืองหนองบัวลุ่มภูพระมเหสีเจ้าพระวรราชปิตา (พระตา)พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์พระราชโอรสในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชพระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชพระชายา",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "285046#23",
"text": "หมวดหมู่:พระบรมวงศานุวงศ์ลาว หมวดหมู่:หม่อม หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี หมวดหมู่:ราชสกุลชุมพล หมวดหมู่:ณ อยุธยา หมวดหมู่:คุณหญิง หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายใน)",
"title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"
}
] |
265 | ศาสนาพุทธ เริ่มต้นที่ประเทศอะไร? | [
{
"docid": "77973#0",
"text": "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
}
] | [
{
"docid": "79774#6",
"text": "ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2340 และอีก 19 ปีต่อมา อังกฤษได้ครองอำนาจแทนฮอลันดา ขยายอำนาจไปทั่วประเทศลังกา โดยรบชนะกษัตริย์แคนดี ได้ตกลงทำสนธิสัญญารับประกันสิทธิของฝ่ายลังกาและการคุ้มครองพระศาสนา ครั้นต่อมาได้เกิดกบฏขึ้น เมื่อปราบกบฏได้สำเร็จ อังกฤษได้ดัดแปลงสนธิสัญญาเสียใหม่ ระบบกษัตริย์ลังกาจึงได้สูญสิ้นตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่อังกฤษเข้ามาปกครองลังกาตอนต้น พระพุทธศาสนาได้รับความเป็นอิสระมากขึ้น ด้วยสนธิสัญญาดังกล่าว ครั้นต่อมาภายหลังจากการปกครองของอังกฤษประมาณ 50 ปี พระพุทธศาสนาก็ถูกกีดกันและต่อต้านจากศาสนาคริสต์ รัฐถูกบีบจากศาสนาคริสต์ให้ยกเลิกสัญญาที่คุ้มครองพุทธศาสนา บาทหลวงของคริสต์ได้เผยแผ่คริสต์ศาสนาของตน และโจมตีพุทธศาสนาอย่างรุนแรง โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ นับตั้งแต่อังกฤษเข้าปกครองลังกามาเป็นเวลากว่า 300 ปี จนได้รับอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2491 จากการที่พุทธศาสนาถูกรุกรานเป็นเวลาช้านานจากศาสนาคริสต์ ทำให้ชาวลังกามีความมุ่งมานะที่จะฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาอย่างจริงจัง จนปัจจุบันประเทศศรีลังกา ได้เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแหล่งข้อมูลอื่น",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา"
},
{
"docid": "2417#57",
"text": "จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นนับถือพุทธชินโตเยอะที่สุดเท่ากับผู้ที่ไม่มีศาสนาในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา ในอดีตศาสนาในญี่ปุ่นถูก ผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น ศาสนาเทนริเกียว ลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว",
"title": "ประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "79071#0",
"text": "ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ในเวลาเดียวกันก็มีกลุ่มศาสนาต่าง ๆ อยู่ในประเทศด้วยกัน ทั้งอิสลาม พุทธ ฮินดู และศาสนาอื่น ๆ บนเอกภาพที่หลากหลาย\nพระพุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเรืองอำนาจทางฝั่งมลายู ได้แผ่ขยายวัฒนธรรมมาถึงฟิลิปปินส์ในศตวรรษที่ 7 จนถึงศตวรรษที่ 13 แล้วมีชาวจีนโพ้นทะเล(อาจจะนับถือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อด้วย) ในศตวรรษที่ 14 จนถึงศตวรรษที่ 20 และชาวญี่ปุ่น(อาจนับถือลัทธิชินโตด้วย) ที่อพยพตั้งรกรากในฟิลิปปินส์ ได้นำพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามาด้วย ในขณะที่ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกซึ่งสเปนมาเผยแพร่เมื่อสมัยฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสเปน และสมัยฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา ก็ได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแทนต์ แต่ก่อนหน้านั้นศาสนาอิสลามก็ได้มาเผยแพร่และนิยมมากทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และต่อมาชาวอินเดีย-ปากีสถาน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในฟิลิปปินส์ก็ได้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาด้วย ",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "79065#0",
"text": "พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย แต่ต่อมาชาวมลายูมุสลิมได้มาตั้งรกรากอยู่ และต่อมาก็มีชาวจีนโพ้นทะเลได้มาตั้งรกรากอยู่ที่สิงคโปร์ ได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานมาเผยแผ่ด้วย และเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากในประเทศนี้ \nในอดีตประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย การแผ่ขยายของพุทธศาสนาจึงจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประเทศมาเลเซีย และส่วนใหญ่ชาวสิงคโปร์จะเป็นชาวจีนโพ้นทะเล พุทธศาสนาแบบมหายานจึงเจริญรุ่งเรืองและได้รับการประดิษฐานอย่างมั่นคง",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศสิงคโปร์"
},
{
"docid": "60547#1",
"text": "ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ผ่านพระเครื่องไว้ว่า พระเครื่องมีความเป็นมาและวิวัฒนาการอันยาวนาน ก่อนจะมาเป็นพระเครื่องนั้นได้เกิดพระพิมพ์ขึ้นมาก่อน เมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป คติการสร้างพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงไปและเลือนหายไปในที่สุด พระพิมพ์บางส่วนกลายมาเป็นพระเครื่อง พระพิมพ์เป็นของเก่าแก่ที่ได้มีผู้ทำขึ้นตั้งแต่ตอนต้นพุทธศาสนา มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย การแผ่ขยายอิทธิพลทางพุทธศาสนาไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้พระพิมพ์ซึ่งเป็นประติมากรรมเนื่องในคติทางพุทธศาสนาได้แผ่กระจายไปยังดินแดนต่าง ๆ พร้อมกับคำสอน ความเชื่อทางพุทธศาสนา พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาด้วย",
"title": "พระเครื่อง"
},
{
"docid": "35823#0",
"text": "งานวันวิสาขบูชาโลก เป็นการจัดงาน เฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล ของสหประชาชาติ ภายใต้งาน คุณูปการของพระพุทธศาสนา ต่อสันติภาพโลก และการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะพัฒนาพุทธศาสนา ให้เป็นศูนย์กลาง พระพุทธศาสนาโลก เริ่มต้นตามมติสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2547 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในปี 2548 และ 2549",
"title": "งานวันวิสาขบูชาโลก"
},
{
"docid": "252092#2",
"text": "แม้ในประเทศไทย จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา",
"title": "ต้นพระศรีมหาโพธิ์"
},
{
"docid": "981709#0",
"text": "นวยาน (เทวนาครี: नवयान, ) แปลว่า \"ยาน (พาหนะ) ใหม่\" เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากการตีความศาสนาขึ้นใหม่ของภีมราว รามชี อามเพฑกร () ผู้มีชาติกำเนิดมาจากชนชั้นทลิต (, \"มิควรข้องแวะ\") ในยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคม เขาได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ กระทั่งในปี พ.ศ. 2478 เขามีความประสงค์เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาพุทธ อามเพฑกรได้ศึกษาคติและหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเช่นจตุราริยสัจและอนัตตา ซึ่งเขาปฏิเสธความเชื่อเรื่องดังกล่าว แต่ได้นำคำสอนทางศาสนาไปตีความใหม่เรียกว่า นวยาน หรือ \"ยานใหม่\" แห่งพุทธศาสนา บางแห่งก็เรียกนิกายนี้ว่า ภีมยาน () ตามชื่อต้นของอามเพฑกรคือ \"ภีมราว\" ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อามเพฑกรได้ประกาศละจากนิกายหีนยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู ทว่าเขาก็เสียชีวิตลงหลังการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือนวยานได้เพียงหกสัปดาห์",
"title": "นวยาน"
},
{
"docid": "48101#37",
"text": "คำขยายดังกล่าวล้วนบ่งบอกถึงลักษณะสำคัญของเจดีย์ ที่มาของคำแสดงลักษณะของเจดีย์ดังกล่าว มีต้นเค้าคือพูนดินเหนือหลุมฝังศพ[43] พัฒนามาโดยก่อให้ถาวร เช่น พระมหาสถูปสาญจี ประเทศอินเดีย ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายออกมา รูปแบบของเจดีย์นั้นก็ติดมาเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศที่รับนับถือพระพุทธศาสนาด้วย เจดีย์ทรงระฆังมีคำแทนโดยใช้ เจดีย์ทรงลังกา หรือ เจดีย์แบบลังกา เพราะมีทรงระฆังที่เด่นชัดเหมือนกัน และสอดคล้องกับที่ทราบกันว่าพระพุทธศาสนาในประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาว่าแพร่หลายมาจากลังกา[44] แต่หากเรียกเจดีย์ทรงระฆังก็จะไม่เป็นการเจาะจงว่าเกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะจากลังกา เพราะมีตัวอย่างอยู่มากมายที่แสดงให้เห็นว่า เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย ล้านนา และกรุงศรีอยุธยา เป็นรูปแบบของท้องถิ่น โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะจากแหล่งอื่น นอกเหนือจากศิลปะลังกา เช่น ศิลปะพุกาม[45]",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "496974#3",
"text": "หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส พระนโรดม สีหนุได้นำเสนอพุทธสังคมนิยม โดยเน้นความเสมอภาค ความเป็นอยู่ที่ดีของคนจน จนกระทั่งเข้าสู่ยุคของเขมรแดงที่ศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย มีการทำลายวัด พระพุทธรูป เผาทำลายคัมภีร์ทางศาสนา มีการตีความศาสนาเพื่อรับใช้การปฏิวัติ หลังจากเขมรแดงสิ้นสุดอำนาจใน พ.ศ. 2522 สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชายังควบคุมพระสงฆ์อย่างเคร่งครัด พระสงฆ์ต้องเข้าอบรมลัทธิคอมมิวนิสต์แบบโซเวียต ยุบรวมธรรมยุติกนิกายกับมหานิกายเข้าด้วยกัน จนถึงสมัยราชอาณาจักรกัมพูชา พุทธศาสนาจึงได้ฟื้นตัวอีกครั้ง\nกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูมากในช่วงเริ่มต้นของอาณาจักรฟูนันโดยมีฐานะเป็นศาสนาประจำรัฐ กัมพูชายังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางศาสนาฮินดูรวมทั้งนครวัด",
"title": "ศาสนาในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "2417#19",
"text": "ญี่ปุ่นปรากฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษรในฮั่นซู (บันทึกประวัติศาสตร์ฮั่น) ของจีน ตามบันทึกสามก๊ก ราชอาณาจักรทรงอำนาจที่สุดในกลุ่มเกาะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 เรียก ยะมะไตโกะกุ มีกาเผยแผ่ศาสนาพุทธ เข้าประเทศญี่ปุ่นจากอาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลีปัจจุบัน) และได้รับอุปถัมภ์โดยเจ้าชายโชโตะกุ และการพัฒนาศาสนาพุทธญี่ปุ่นในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก แม้มีการต่อต้านในช่วงแรก แต่ศาสนาพุทธได้รับการส่งเสริมจากชนชั้นปกครองและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงต้นยุคอะซุกะ (ค.ศ. 592–710)",
"title": "ประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "70992#19",
"text": "จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรขอมสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรขอมคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13",
"title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา"
},
{
"docid": "105703#0",
"text": "การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในประเทศเคนยา เริ่มต้นโดยผ่านกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล และชาวสิงหล (ลังกา) เนื่องจากชาวจีน และชาวสิงหลเข้าไปทำงานในไร่เกษตรกรรมของชาวอังกฤษเจ้าอาณานิคมในยุคนั้น ช่วงแรกๆของพุทธศาสนาในเคนยาจะเป็นชาวเอเชียกลุ่มแรกๆนี้ แต่ต่อมาในภายหลังชาวเคนยาจำนวนหนึ่งซึ่งนับถือลัทธิภูติผีปีศาจ ได้หันมานับพุทธศาสนาตาม แต่ก็เป็นชนกลุ่มเล็กๆซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองท่าทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ ต่อมามีการประชุมศาสนา และสันติภาพโลกที่นครไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2527 ภายหลังได้มีการเผยแผ่พุทธศาสนามากขึ้นในแถบนี้ รวมถึงความพยายามที่จะจัดตั้งชมรมชาวพุทธเคนยาขึ้นมา มีการนิมนต์พระสงฆ์จาก ญี่ปุ่น จีน และไทย เพื่อให้เดินทางเข้ามาเผยแผ่ในประเทศ แต่ยังไม่ทันคืบหน้า ประเทศเคนยาได้ประสบปัญหาในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ รวมไปถึงชนพื้นเมืองบางกลุ่มที่ไม่เป็นมิตรกับคนต่างศาสนา การเผยแผ่จึงเป็นไปได้ยาก",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศเคนยา"
},
{
"docid": "78585#35",
"text": "ในปี พ.ศ. 2500 นี้ รัฐบาลได้กำหนดพิธีเฉลิมฉลองทั่วประเทศ มีการจัดสร้างพุทธมณฑล ขึ้น ณ ที่ดิน 2,500 ไร่ ระหว่างกรุงเทพ-นครปฐม แล้วสร้างพระมหาพุทธปฏิมาปางประทับยืนลีลาสูง 2500 นิ้ว ภาย ในบริเวณรอบองค์พระมีภาพจำลองพระพุทธประวัติ และมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ได้ปลูกต้นไม้ที่มีชื่อในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น สร้างพระพิมพ์ปางลีลาเป็นเนื้อชินและเนื้อผงจำนวน 4,842,500 องค์ พิมพ์พระไตรปิฎกแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และบูรณะปูชนียสถานวัด วาอารามทั่วพระราชอาณาจักร อุปสมบทพระภิกษุจำนวน 2,500 รูป และนิรโทษกรรมแก่นักโทษ ประกวด วรรณกรรม ศิลปะทางพระพุทธศาสนา โดยเชิญผู้แทนพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาร่วมอนุโมทนา",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "43069#1",
"text": "ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ () และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ () ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ () และอิสึโมะ () ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "79071#1",
"text": "นิตยสารพู่ทีซู่ (ต้นโพธิ์) ที่ชาวจีนโพ้นทะเลในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ นิยมอ่านกันมาก นิตยสารนี้มีเนื้อหาธรรมะง่ายๆ เช่น สารคดี ปาฐกถา บทวิจารณ์ นิทานชาดก ปริศนาธรรม สอนพระพุทธศาสนาเบื้องต้น ข่าวพระพุทธศาสนารอบโลก และมีบทความภาษาอังกฤษด้วย เจ้าของนิตยสารเป็นหนุ่มอายุ 30 ปี ",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "281683#2",
"text": "โพเป็นต้นไม้ที่ได้รับการสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า \"Sacred fig\" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ \"ต้นพระศรีมหาโพธิ์\" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี",
"title": "โพ"
},
{
"docid": "101691#0",
"text": "พุทธศาสนาในประเทศนิการากัว เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 มีการอพยพของชาวจีนโพ้นทะเลมาตั้งถิ่นฐานในประเทศนิการากัว ในปัจจุบันในประเทศนิการากัวมีชาวพุทธประมาณ 0.1% ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก และบางส่วนก็ได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศนิการากัว"
},
{
"docid": "190064#13",
"text": "เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2559 พระวิศวภัทร ได้ทำความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนามหายาน กับพระธรรมาจารย์หมิงเซิงมหาเถระ (明生大和尚) รองประธานสำนักพุทธศาสนาแห่งประเทศจีน ประธานสำนักพุทธศาสนา มณฑลกวางตุ้ง เจ้าอาวาสวัดกวงเซี้ยว (光孝寺) เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยพระธรรมาจารย์หมิงเซิง ได้ตั้งชื่อสำนักและเขียนอักษรพู่กันจีนให้แก่มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัยว่า"大乘禪寺" แปลว่า อารามมหายาน เพื่อแกะสลักเหนือซุ้มประตู พร้อมกันนี้ได้มอบพระไตรปิฎก (ภาษาจีน) ประกอบด้วย 永樂北藏,大正藏,乾隆大藏經,卍續藏經,浄土藏 รวม 5 ชุด 129 กล่อง 1,448 เล่ม เพื่อไว้เป็นที่ศึกษา ค้นคว้า ในหอพระไตรฯ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย และ ได้มอบ รูปหล่อพระสังฆนายกฮุ่ยเหนิงมหาเถระ (หรือ ท่านเว่ยหล่าง:六祖惠能) เนื้อทองเหลือง สูง 1.98 เมตร จากวัดกวงเซี้ยว เมืองกว่างโจ่ว ที่จัดสร้างขึ้นเพียง 3 องค์ (วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ท่านฮุ่ยเหนิง ได้ปลงผมใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และได้นำเกศาบรรจุไว้ในสถูป 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์ใหญ่และพระสถูปยังคงอยู่ และยังเป็นสถานที่พระอาจารย์โพธิธรรม หรือพระตั๊กม้อ ได้เคยพักอาศัยเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อน โดยรูปปฏิมานี้ ได้ปั้นและหล่อโดยช่างฝีมือ ชื่อ พ่านเคอ เป็น 1 ใน 4 ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน โดยได้อัญเชิญกลับสู่ประเทศไทย เพื่อเปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบสักการะ ภายในหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย เมื่อวันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2559 ถือเป็นนิมิตหมายมงคล แห่งการเผยแผ่พระพุทธธรรมมหายาน สายฌาน (เซ็น) และบารมีธรรมแห่งพระบูรพาจารย์ จากต้นกำเนิดสู่ประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ พระธรรมาจารย์ฉางจั้งมหาเถระ (常藏大和尚) รองประธานสำนักพระพุทธศาสนาแห่งนครปักกิ่ง เจ้าอาวาสวัดหลิงกวง (วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว) นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มอบสำเนาหนังสือพระไตรปิฎกทองคำ (趙城金藏)อายุกว่า 1,000 ปี จำนวน 150 เล่ม มาแล้ว ",
"title": "หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ"
},
{
"docid": "932112#1",
"text": "ปลายพุทธศตวรรษที่11 พระภิกษุชาวอินเดียนามว่า พระวินีตรุจิ (อ่านว่า วิ-นี-ตะ-รุ-จิ) เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้รับการนับถือว่าเป็นสังฆราชแห่งนิกายเธียน (เธียน เป็นคำเวียดนาม ได้แก่ ธยานะ หรือ ฉาน หรือ เซน) เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ฝับเหียน ศิษย์ชาวเวียดนามได้เผยแผ่พุทธธรรมอย่างมั่นคงสืบมา\nพ.ศ. 1363 (ยุคราชวงศ์ถังของจีน ปกครองเวียดนาม) พระภิกษุว่อง่อนถ่อง ประดิษฐานนิกายเธียนเป็นครั้งที่2 มีสถูปเจดีย์ 20องค์ และวัดหลายแห่ง มีพระภิกษุประมาณ 500รูป พระเถรานุเถระเป็นพหูสูตและเคร่งครัดในพระวินัย ประมาณพุทธศตวรรษที่15 เมื่อเวียดนามกู้อิสรภาพจากจีนได้สำเร็จ กษัตริย์เวียดนามหลายราชวงศ์ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเรื่อยมา เช่น...\nสมัย ราชวงศ์ดินห์ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเลื่อมใสใน พระภิกษุง่อฉั่นหลู ซึ่งเป็นปราชญ์ด้านกวีนิพนธ์ และเชี่ยวชาญสมาธิ(Meditation)แบบนิกายเธียน จึงได้สถาปนาท่านให้เป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์และเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้วย\nต่อมาใน ราชวงศ์เล (ตอนต้น) และ ราชวงศ์ไล พระภิกษุเป็นผู้รอบรู้ในพระพุทธศาสนาและวิชาการต่างๆ ได้รับความเคารพศรัทธามาก กษัตริย์พระองค์ที่2 แห่งราชวงศ์เล ได้ส่งคณะทูตไปประเทศจีน เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกมา และสนับสนุนให้ชาวเวียดนามหันมานับถือพระพุทธศาสนาแทนการนับถือผี แต่เมื่อถึงตอนปลายของราชวงศ์ การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ประชาชนจึงคลายความศรัทธา และไม่ได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง\nต่อมา ในสมัยราชวงศ์ไล ราชวงศ์นี้มีอายุยาวนานถึง 215ปี (พ.ศ. 1553-1768) และพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองที่สุด พระเจ้าไลทันต๋อง ได้ประดิษฐานนิกายเธียนอีกเป็นครั้งที่3\nกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงสนพระทัย ในการบำเพ็ญสมาธิมาก สละราชสมบัติให้พระราชธิดา แล้วออกผนวช\nสมัย ราชวงศ์ตรัน พระเจ้าตรันไทต๋อง ทรงนิพนธ์หนังสือว่าด้วยเรื่องสมาธิ หรือทางไปสู่ธยานะ และหลักธรรมค้นคว้า ฮือ-หลุก พระนัดดาของพระองค์ หลังขึ้นครองราชย์ได้ระยะหนึ่ง ก็สละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดแห่งหนึ่งบนภูเขา สั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมาก จนชาวเวียดนามเหนือ ถือว่า พระองค์เป็นปฐมสังฆราชแห่งนิกายเวฬุวัน (หรือป่าไผ่)\nพ.ศ. 2426 เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีการควบคุมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยึดคัมภีร์ไปเผาทำลาย การรวมตัวของพุทธศาสนิกชนเพื่อประกอบพิธีจะต้องได้รับการอนุญาตจากทางการฝรั่งเศสก่อน ความเชื่อเรื่องผีสาง และลัทธิต่างๆ ก็เข้ามาในพระพุทธศาสนา เช่น หว่าเหา และเกาได๋\nพระพุทธศาสนา ได้รับผลกระทบจากสภาพความวุ่นวายทางการเมืองและสงครามเรื่อยมา สถาบันศาสนาก็ถูกรังแกอย่างไม่เป็นธรรม จนเป็นเหตุของการสร้างความตกตะลึงให้ชาวโลก ในปี พ.ศ. 2506 มีพระภิกษุและแม่ชีในเวียดนาม เผาตัวเองประท้วงฝ่ายปกครอง",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศเวียดนาม"
},
{
"docid": "78585#37",
"text": "กระแส<b data-parsoid='{\"dsr\":[19430,19512,3,3]}'>เรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย</b>ได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550 ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย, คณะสงฆ์จีนนิกาย, และ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยายเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศและได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย"
},
{
"docid": "82773#1",
"text": "แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "32647#73",
"text": "ส่วนในประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาหลักอื่น ๆ เช่น ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาในฐานะวันสำคัญของรัฐหรือวันหยุดราชการของประเทศ[61][62][62][63] และไม่นิยมปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาในวันนี้โดยให้ความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาเลย แต่พุทธศาสนิกชนในประเทศเหล่านั้นก็ได้ถือวันนี้เป็นวันทางพระพุทธศาสนาตามปกติอยู่แล้ว เนื่องจากวันอาสาฬหบูชาเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 อันเป็นวันอุโบสถ หรือวันพระใหญ่ตามปกติของนิกายเถรวาท และโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้เป็นวันสุดท้ายก่อนวันเริ่มต้นเทศกาลเข้าพรรษาตามปฏิทินจันทรคติของพระสงฆ์เถรวาท พิธีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเถรวาทในประเทศเหล่านั้นจึงให้ความสำคัญในวันนี้ไปกับการเตรียมตัวเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ เช่น ในประเทศลาว วันนี้จะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญตักบาตรและมีการถวายเทียนพรรษาผ้าอาบน้ำฝนเป็นพิเศษ ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่พุทธศาสนิกชนจะจัดงานถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือวันเข้าพรรษาโดยตรง",
"title": "วันอาสาฬหบูชา"
},
{
"docid": "105705#0",
"text": "พระพุทธศาสนาในประเทศอียิปต์เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งมคธได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างอาณาจักร โดยอาณาจักรไกริน ซึ่งอยู่ใกล้กับอียิปต์ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย พร้อมกันนนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่ด้วย ในบริเวณเมืองอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ด้วย แต่ก็สูญหายไป",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศอียิปต์"
},
{
"docid": "80407#3",
"text": "โดยทั่วไปแล้ววัดในศาสนาพุทธทั้งสายเถรวาทและสายมหายานในประเทศต่างๆ นิยมแสดงธงฉัพพรรณรังสีตามแบบข้างต้นเป็นสัญลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ในบางกลุ่มหรือบางสำนักเลือกใช้สีธงที่ต่างออกไปเพื่อเน้นแนวทางคำสอนแห่งสำนักของตนเองสำหรับในประเทศไทย ธงสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธที่ใช้โดยทั่วไปคือ ธงธรรมจักร อันหมายถึง ธรรมะที่นำไปสอนในที่ต่างๆ แล้วยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในที่นั้นๆ ลักษณะธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง ",
"title": "ธงศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "42764#10",
"text": "เมื่อพระพุทธศาสนามหายานได้เข้าสู่ประเทศจีนในช่วงแรกคือสมัยก่อนราชวงศ์ถัง ในยุคนั้นรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรยังสร้างเป็นรูปบุรุษตามแบบพุทธศิลป์ของอินเดีย หากในกาลต่อมาช่างชาวจีนได้คิดสร้างเป็นรูปสตรีเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร สะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นถิ่นที่ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่ากวนอิมในรูปลักษณ์ของสตรีเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีน และแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ กระทั่งแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายหญิงแทนค่าในเรื่องความเมตตากรุณาได้ดี ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างบุรุษเพศจะสะท้อนเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยังเกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นก็พลอยสร้างรูปพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีตามแบบอย่างประเทศจีนไปด้วย โดยมิได้มีการนับถือแค่ประเทศพุทธมหายานที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น ในประเทศไทยเองก็มีการสร้างองค์พระโพธืสัตว์กวนอิมนี้ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศพุทธเถรวาทก็ตาม",
"title": "พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
},
{
"docid": "110770#0",
"text": "พระพุทธศาสนาในประเทศเซเนกัล เริ่มต้นขึ้นเมื่อได้มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศเซเนกัล และได้นำพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ในกลุ่มชาวพุทธทั้งหมดในเซเนกัลมีอยู่ประมาณ 0.01% ในจำนวนนี้ จะเป็นชาวเวียดนาม 99% พวกเขาจะสวดมนต์ \"Nam mô A Di Đà Phật\" เพื่อระลึกถึงพระอมิตาภะพุทธะ และชาวเวียดนามมีความเชื่อเกี่ยวกับ พระโพธิสัตว์และกวนอิมเป็นต้น",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัล"
},
{
"docid": "48066#4",
"text": "สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ กลุ่มพุทธสถานสารนาถ ภายในอาณาบริเวณของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถเนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง) ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่",
"title": "สารนาถ"
},
{
"docid": "1937#23",
"text": "จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
}
] |
3348 | ราชวงศ์ซ่งได้ใช้ระบบการรวมศูนย์อำนาจผสมกับการการแต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปปกครองหัวเมืองใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "43806#6",
"text": "ราชวงศ์ซ่งได้ใช้ระบบการรวมศูนย์อำนาจผสมกับการการแต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปปกครองหัวเมือง ระบบนี้ทำให้ราชสำนักมีเวลาดูแลกิจการในเมืองหลวงมากขึ้นและในยุคนี้มีการก่อสร้างเมืองไม่เพียงเพื่อการบริหารเท่านั้น ยังเป็นการสร้างเมืองเพื่อเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรม พาณิชย์นาวี หัวเมืองชายฝั่งถูกเชื่อมโยงกับหัวเมืองในแผ่นดินการพัฒนานี้ทำให้เกิดสามัญชนที่ร่ำรวยขึ้นมาโดยไม่ต้องรับราชการอย่างในอดีตจำนวนมาก",
"title": "ราชวงศ์ซ่ง"
}
] | [
{
"docid": "4554#37",
"text": "ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร",
"title": "ประวัติศาสตร์จีน"
},
{
"docid": "8013#1",
"text": "ในสมัยสุโขทัย จากข้อความบนหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแสดงให้เห็นว่าประชาชนสามารถร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง ยังไม่มีการตั้งองค์กรที่มีลักษณะเป็นศาลขึ้นมาตัดสินคดีโดยตรง\nเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงได้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น พระองค์ได้ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่ายคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา เรียกว่า \"จตุสดมภ์\" โดยให้เสนาบดีกรมวังเป็นผู้ชำระความแทนพระมหากษัตริย์ กรมวังจึงมีหน้าที่ดูแลศาลหลวง และการแต่งตั้งยกกระบัตรไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง",
"title": "ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "4253#19",
"text": "หลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบกิจการพลเรือนเพียงอย่างเดียว และให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบกิจการทหารเพียงอย่างเดียว ยุบกรม 2 กรม ได้แก่ กรมยุทธนาธิการ โดยรวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม และกรมมรุธาธร โดยรวมเข้ากับกระทรวงวัง และเปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตรพานิชการ เป็น กระทรวงเกษตราธิการ ด้านการปกครองส่วนภูมิภาค มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ไทยกลายมาเป็นรัฐชาติสมัยใหม่[16] โดยการลดอำนาจเจ้าเมือง และนำข้าราชการส่วนกลางไปประจำแทน ทรงทำให้นครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317–2442) รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ตลอดจนทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ไปประจำที่อุดรธานี เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล[17]",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "853774#4",
"text": "รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มาสูงสุดของกฎหมายปกครองท้องถิ่น รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสำคัญคือ มีการวางระเบียบการปกครอง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนจึงไม่ได้บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐแต่ก็เป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะการปกครองท้องถิ่นต้องมาจากกระบวนการเลือกตั้งไม่ใช่การแต่งตั้ง ซึ่งแตกต่างจากการปกครองส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมือนกับการปกครองในระดับประเทศ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมักจะกำหนดกำหนดหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่นเอาไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญของแต่ประเทศ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเบลเยียม, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศฟินแลนด์",
"title": "กฎหมายปกครองท้องถิ่น"
},
{
"docid": "18780#0",
"text": "เมือง เป็น คำไทยดั้งเดิม เมืองในยุคก่อนสมัยใหม่นั้นจะมีกำแพงป้องกันข้าศึก และมีผู้ปกครอง เรียกว่า เจ้าเมือง อย่างน้อยก็เป็นเจ้าเมืองระดับ ขุน หรือพ่อขุน ซึ่งจะปกครองหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่อเมืองนั้นด้วย\nรูปแบบที่เป็นศูนย์กลางขององค์กรทางการเมืองบริหารจัดการรัฐในลำดับการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เช่น ผู้ปกครองเมืองขนาดเล็กจะอยู่ใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองใกล้กันที่มีอำนาจมากกว่าซึ่งก็จะอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ส่วนกลางหรือผู้นำอื่นๆ เมืองที่มีอำนาจกว่านั้น (ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ เชียง หรือ เวียง หรือ นคร หรือ กรุง เช่น กรุงเทพ มหานคร ) บางยุคบางสมัยเจ้าเมืองลูกหลวงพยายามประกาศอิสรภาพจากเจ้าเมืองที่ตนเป็นเมืองขึ้น และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ชื่นบานในการเป็นอิสระแบบเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ทั้งเมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดเล็กมักจะยกระดับความจงรักภักดี และส่งส่วยให้แก่มากกว่าหนึ่งแก่ผู้ครองเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังส่งให้แก่จักรวรรดิจีนซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้นเป็นประจำ ซึ่งเป็นช่วงยุคต้นของราชวงศ์หมิงของจีน",
"title": "เมือง"
},
{
"docid": "7585#99",
"text": "ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลาง มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาด ทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ใช่เชื้อสายบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ด้วยความไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวเมืองได้ดีพอจึงทำให้ดำเนินการบางอย่างผิดพลาด มิชอบโดยหลักการ แต่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) เจ้าเมืองไม่อาจขัดขวางได้เพราะเห็นว่า ถ้าเข้าขัดขวางแล้วก็จะมีแต่ความร้าวฉาน ขาดความสามัคคีในชนชั้นปกครอง",
"title": "จังหวัดสุรินทร์"
},
{
"docid": "130979#15",
"text": "ในช่วงการปกครองต่อจากเมืองพุทไธสง ซึ่งสยามประเทศสมัยกรุงธนบุรีได้มีการจัดตั้งการปกครองต่อจากกรุงศรีอยุธยาแบบจตุสดมภ์ที่มี เวียง วัง คลัง นา(คลังปัญญาไทย การปกครองที่สืบต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ ช่วงอยุธยา ตอนกลางเป็นผู้ก่อตั้งและต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน ยุคการเริ่มต้นค้าขายและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ) โดยแยกการทหารออกจากพลเรือน งานจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา ให้ถือเป็นฝ่ายพลเรือน โดยให้มีสมุหนายกเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝ่ายเหนือปกครองทั้งทหารและพลเรือน สมุหกลาโหมเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝ่ายใต้ปกครองทั้งทหารและพลเรือน\nในปี พ.ศ. 2417 ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ยุคกรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ได้แบ่งหัวเมืองใหม่ออกเป็น 3 ประเภท คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นกลาง หัวเมืองชั้นนอก และได้จัดให้มีการปกครองแบบเดิม ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ให้ยกเลิกการปกครองแบบเดิมและจัดการปกครองแบใหม่ให้มีการประกาศจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น 12 กระทรวง โดยจัดสรรอำนาจให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงการ ต่างประเทศ กระทรวง เกษตราธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ ฯลฯ บรรดาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ให้อยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด(การปรับปรุงการปกครองเข้าสู่สมัยใหม่เพื่อให้พ้นภัยคุกคามของยุคล่าอาณานิคม) การปกครองหัวเมืองอยู่ในอำนาจของกระทรวงมหาดไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลางได้เกิดมีปัญหาข้อบกพร่องหลายประการ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ให้ปรึกษา ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำริให้จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และให้มีการจัดตั้งมณฑลต่างๆ ขึ้นและปรับปรุงเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ รวม 10 มณฑลประกอบไปด้วย มณฑลมหาราษฎร์ มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครสวรรค์ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลนครราชสีมา มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดร มณฑลชุมพร มณฑลภูเก็ต (มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ดเดิมชื่อมลทณฑลลาวเหนือ มณฑลนครราชสีมาเดิมชื่อ มณฑลลาวกลาง ได้เปลี่ยนชื่อมาใหม่ด้วยเหตุผลความมั่นคงทางการปกครองประเทศลดความแปลกแยกด้านชนชาติ) ",
"title": "อำเภอพุทไธสง"
},
{
"docid": "2358#39",
"text": "หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ตองอู พระองค์ทรงจัดการรวมการปกครองประเทศอยู่ใต้ราชสำนักที่กรุงศรีอยุธยาโดยตรง เพื่อป้องกันมิให้ซ้ำรอยพระราชบิดาที่แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายราชวงศ์ตองอูเมื่อครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระองค์ทรงยุติการเสนอชื่อเจ้านายไปปกครองหัวเมืองของราชอาณาจักร แต่แต่งตั้งข้าราชสำนักที่คาดว่าจะดำเนินนโยบายที่พระมหากษัตริย์ส่งไป ฉะนั้น เจ้านายทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในพระนคร การช่วงชิงอำนาจยังคงมีต่อไป แต่อยู่ใต้สายพระเนตรที่คอยระวังของพระมหากษัตริย์[30]",
"title": "อาณาจักรอยุธยา"
},
{
"docid": "662417#2",
"text": "ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ ข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โดยได้รับการยินยอมจากรัฐสภากลางโซมาเลีย และประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพโซมาเลีย",
"title": "ประธานาธิบดีโซมาเลีย"
},
{
"docid": "9702#1",
"text": "รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย",
"title": "ประธานาธิบดีสหรัฐ"
},
{
"docid": "802918#3",
"text": "ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ยุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนครเชียงใหม่ไม่ได้เป็นศูนย์กลางอานาจทางการเมืองการปกครองของล้านนาอย่างแท้จริง อำนาจจะกระจายอยู่ที่เจ้าผู้ครองนครต่างๆ เพียงแต่นครเชียงใหม่มีสิทธิธรรมสูงเป็นที่ยอมรับจากทั้งสยาม และเจ้าผู้ครองนครที่เป็นพระญาติวงศ์(นครลำปาง นครลำพูน) หรือนับถือกันเสมือนญาติมิตร(นครน่าน นครแพร่) โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้",
"title": "ล้านนาไท 57 เมือง"
},
{
"docid": "309762#2",
"text": "ในสมัยอยุธยาตอนต้น การปกครองภายในราชธานี มีตำแหน่งเสนาบดีสำคัญสี่ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมือง หรือเวียง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และเสนาบดี กรมนา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงปรับปรุงวิธีการปกครองส่วนกลาง โดยแบ่งขุนนางและไพร่พล ทั่วพระราชอาณาจักรออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โปรดให้ตั้งกรมมหาดไทย ขึ้นโดยมีสมุหนายก เป็นเจ้ากรม และเป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือน ในหัวเมืองต่าง ๆ ทุกเมือง รวมทั้งเสนาบดีจตุสมดภ์ด้วย ทรงตั้งกรมพระกลาโหม มีสมุหพระกลาโหม เป็นเจ้ากรม และหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายทหาร ในราชธานี และทุกหัวเมือง ทั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม มีฐานะเป็น อัครเสนาบดี และเป็นประธานในคณะลูกขุนฝ่ายทหารและพลเรือน ในยามศึกสงครามทั้งทหารและพลเรือน ต่างต้องทำหน้าที่ในการสู้รบป้องกันบ้านเมืองเช่นเดียวกัน",
"title": "สมุหนายก"
},
{
"docid": "43806#9",
"text": "เจ้า ควงอิ้นและเจ้ากวงอี้สองพี่น้องที่ได้ผ่านพบความวุ่นวายแตกแยกของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการแย่งชิงอำนาจของเหล่าขุนศึก อีกทั้งประสบการณ์ความพลิกผันทางการเมืองของตน ทราบว่า เป็นเพราะเหล่าขุนศึกมีทั้งกำลังทหารและกำลังทรัพย์อยู่ในมือ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการลิดรอนอำนาจของเหล่าแม่ทัพรักษาชายแดน ราชสำนักได้จัดส่งขุนนางฝ่ายบุ๋นออกไปทำหน้าที่ปกครองในส่วนท้องถิ่นโดยตรง มีการคัดเลือกทหารฝีมือดีจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่กองกำลังรักษาวังหลวง ทั้งให้มีการสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งประจำการทุกสามปี ส่วนด้านการเงิน ก็กำหนดให้รายรับรายจ่ายของท้องถิ่น (ภาษี เงินปี เบี้ยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ) ต้องจัดรวบรวมและแจกจ่ายจากส่วนกลางการปฏิรูปดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างอำนาจการปกครองส่วนกลางให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไม่มียุคใดเทียบได้ พร้อมกับได้สลายขุมกำลังท้องถิ่นลงอย่างราบคาบ ตลอดราชวงศ์ไม่มีขุมกำลังอื่นใดในแผ่นดินสามารถท้าทายราชอำนาจของกษัตริย์ได้อีก อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวส่งผลให้กองทัพอ่อนแอลง ทำให้ราชสำนักซ่งต้องตกเป็นฝ่าย “ตั้งรับ” ในยุคสมัยที่รอบข้างเต็มไปด้วยชนเผ่านักรบจากนอกด่านที่ทวีความแข็งกล้าขึ้น ดูจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมนัก",
"title": "ราชวงศ์ซ่ง"
},
{
"docid": "92658#5",
"text": "พระจักรพรรดิซาล็องทรงวางรากฐานการปกครองของราชวงศ์เหงียน ทรงส่งเสริมลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติของเวียดนาม ทรงสร้างพระราชวังเมืองเว้ หรือ \"ฮว่างถ่าญ\" (Hoàng thành, 皇城) ขึ้นในค.ศ. 1804 ตามแบบพระราชวังต้องห้ามของจีน พระจักรพรรดิซาล็องทรงแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครองในเวียดนามภาคเหนือและเวียดนามภาคใต้ซึ่งข้าหลวงเหล่านั้นมีอำนาจอย่างมากในพื้นที่ของตน ในเวียดนามภาคเหนือทรงแต่งตั้ง \"บั๊กถ่าญ\" (Bắc Thành) ไปปกครองที่เมืองฮานอย และในเวียดนามภาคใต้ทรงแต่งตั้ง \"ซาดิ่ญถ่าญ\" (Gia Định Thành) ไปปกครองที่เมืองไซ่ง่อน\nในช่วงปลายรัชสมัยพระจักรพรรดิซาล็องนั้น ขุนนางชื่อ เลวันเสวียต () ซึ่งดำรงตำแหน่งซาดิ่ญถ่าญ มีอำนาจอย่างล้นพ้นในทางตอนใต้ของเวียดนามไปจนถึงกัมพูชา เมื่อพระจักรพรรดิมิญหมั่งเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงตระหนักว่าเลวันเสวียตเปรียบเสมือนเป็นหอกข้างแคร่ ใน ค.ศ. 1832 เลวันเสวียตเสียชีวิต พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ภาคใต้ของเวียดนาม ทรงยกเลิกตำแหน่ง\"ซาดิ่ญถั่ญ\"ให้ขึ้นกับราชสำนักโดยตรง ทรงมีนโยบายรวบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางและส่งเสริมลัทธิขงจื้อ ขุนนางชุดใหม่ที่พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้เข้าปกครองเวียดนามใต้พบว่าเลวัน เสวียตได้สะสมกำลังทหารอาวุธไว้เป็นจำนวนมากรวมทั้งมีทรัพย์สินร่ำรวยและเป็นที่นิยมของราษฎร พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงมีคำตัดสินให้เลวันเสวียตเป็นกบฏ มีพระราชอาญาลงโทษให้ลบหลู่และทำลายสุสานของเลวันเสวียต เลวันโคย () บุตรชายบุญธรรมของเลวันเสวียตจึงก่อการกบฏต่อต้านจักรพรรดิมิญหมั่งขึ้นใน ค.ศ. 1833 ซึ่งกบฏของเลวันโคยนั้นมีราษฎรชาวเวียดนามใต้ฝักใฝ่มาเข้าพวกจำนวนมาก และบรรดาชาวคาทอลิกหรือบาทหลวงชาวตะวันตกต่างก็ให้การสนับสนุน",
"title": "ราชวงศ์เหงียน"
},
{
"docid": "65562#3",
"text": "การนำระบบแคว้นและนครปกครองตนเองมาใช้ส่งผลให้สเปนเปลี่ยนจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรวมอำนาจปกครองสูงที่สุดมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการกระจายอำนาจปกครองสูงที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สเปนเป็นประเทศที่อัตราความเติบโตของรายได้และผลประกอบการของหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจ (คือแคว้นปกครองตนเองต่าง ๆ) สูงที่สุด โดยเป็นผู้นำในการจัดอันดับดังกล่าวในยุโรปเมื่อถึงปี พ.ศ. 2558 และเป็นประเทศที่มีอัตราการกระจายภาษีสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ในบรรดาประเทศสมาชิกโออีซีดี (รองจากแคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และออสเตรีย) นอกจากนี้ สเปนยังได้รับการกล่าวอ้างว่าเป็นประเทศ \"ที่น่าทึ่งจากขอบเขต [อันกว้างขวาง] ของอำนาจที่ได้รับการถ่ายโอนโดยสันติในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา\" และเป็น \"ประเทศที่มีการกระจายอำนาจสูงเป็นพิเศษ\" อีกด้วย ในแง่บุคลากร เมื่อถึงปี พ.ศ. 2553 ข้าราชการพลเรือนจำนวนเกือบ 1,350,000 คน หรือร้อยละ 50.3 จากข้าราชการพลเรือนทั้งหมดในสเปนเป็นลูกจ้างของแคว้นปกครองตนเองต่าง ๆ ร้อยละ 23.6 เป็นลูกจ้างของสภาเมืองและสภาจังหวัดต่าง ๆ ส่วนลูกจ้างที่ทำงานให้กับหน่วยงานบริหารส่วนกลาง (รวมทั้งหน่วยงานของตำรวจและทหาร) มีเพียงร้อยละ 22.2 ของข้าราชการพลเรือนทั้งหมด",
"title": "แคว้นปกครองตนเองของประเทศสเปน"
},
{
"docid": "1961#13",
"text": "พ.ศ. 1552-1768 ราชวงศ์หลี--หลี กง อ่วนมีอำนาจในราชสำนักฮวาลือ เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่ ทังลอง (ฮานอย) ทรงสร้างวัดขึ้น 150 แห่ง ในปี 1070 นำระบบการสอบจอหงวนมาใช้ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวันเหมียว ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีขงจื้อ เพื่อสอบเข้ารับราชการในระบบจอหงวน แต่ขุนนางยังมีจำนวนน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายผู้มีอิทธิพลในหัวเมือง ต่อมาทรงพระนามว่า หลีไถโต๋ สมัยหลีเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองและสังคมมาก ที่ปรึกษาราชการในบางสมัยเป็นพระสงฆ์ จักรพรรดิราชวงศ์หลีช่วงหลังสร้างวัดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง และสละราชสมบัติออกผนวช เป็นสาเหตุให้การบริหารราชการเริ่มตกอยู่ในอำนาจของเครือญาติพระชายามาจากตระกูลที่มั่งคั่งในหัวเมือง ผู้ปกครององค์สุดท้ายเป็นเด็กหญิงที่ได้รับการตั้งเป็นจักรพรรดินี พระนามว่าหลีเจี่ยว การบริหารราชการตกอยู่ในอำนาจของญาติวงศ์พระชนนีซึ่งเป็นขุนศึกมีกองกำลังทหารอยู่ในมือ เช่นเจิ่นถูโดะ ซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงศ์หลีในที่สุด",
"title": "ประเทศเวียดนาม"
},
{
"docid": "627485#4",
"text": "เมื่อเจมส์ บรูกมาถึงซาราวะก์ครั้งแรก ดินแดนนี้เป็นรัฐบรรณาการของบรูไนและรูปแบบการปกครองเป็นไปตามแบบของบรูไน เจมส์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองใหม่ จัดการบริการแบบยุโรป จัดชาวยุโรปมาเป็นข้าราชการ รายาเจมส์ใช้เครื่องแต่งกายและสัญลักษณ์ตามแบบราชวงศ์มลายู และรวมเข้ากับการปกครองแบบเบ็ดเสร็จของเขาเอง รายามีอำนาจในการออกกฎหมายและตัดสินคดีในศาล ",
"title": "รายาผิวขาว"
},
{
"docid": "357548#20",
"text": "จักรวรรดิทุกแห่งต่างเผชิญกับปัญหาเดียวกันคือการจัดการกองกำลังทหารขนาดใหญ่และการสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ความยุ่งยากในการปกครองประชากรทั้งหมดทำให้เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่เริ่มมีอำนาจมากขึ้นและท้าทายระบบการรวมศูนย์อำนาจ การโจมตีจากชนเผ่าอนารยชนต่างๆ ตามขอบชายแดนทำให้การปกครองส่วนกลางเริ่มระส่ำระสาย เกิดสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิฮั่นของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 220 ในขณะเดียวกันก็เกิดการแบ่งขั้วและแยกศูนย์อำนาจขึ้นในจักรวรรดิโรมัน",
"title": "ประวัติศาสตร์โลก"
},
{
"docid": "17648#5",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้าราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2417 การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย และข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตในปี พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี พ.ศ. 2432",
"title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม"
},
{
"docid": "12833#0",
"text": "ราชการส่วนภูมิภาค หมายถึงหน้าที่เดียวราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง\nการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง",
"title": "ราชการส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "133223#6",
"text": "ภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์แล้ว (พ.ศ. ๒๒๕๖) เมืองธาตุพนมกลายเป็นหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตหรือเมืองขอบด่าน ต่อแดนระหว่างราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ โดยมีเมืองละคร (นครพนม) ซึ่งขึ้นกับนครเวียงจันทน์ และเมืองบังมุก (มุกดาหาร) ซึ่งขึ้นกับนครจำปาศักดิ์ ทั้งสองเมืองเป็นผู้ร่วมกันรักษาดูแล โดยแบ่งเขตแดนเมืองกันที่หน้าลานพระมหาธาตุพนม ทำนองเดียวกันกับพระธาตุศรีสองรักเมืองด่านซ้ายซึ่งเป็นเมืองขอบด่านต่อแดนระหว่างราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตและราชอาณาจักรศรีอยุธยา ดังนั้นเมืองธาตุพนมจึงมีสถานะพิเศษแตกต่างจากหัวเมืองหลายเมืองในลาวและอีสาน อย่างไรก็ตาม โดยราชธรรมเนียมแล้วเจ้าเมืองนครพนมมักมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายชั้นสูงมาปกครองเมืองพนม อันเนื่องมาจากเมืองมุกดาหารเป็นหัวเมืองที่มีอำนาจน้อยกว่า ในจารึกลานเงินพระธาตุพนมสมัยปลายรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชหรือสมัยพระยาจันทสีหราช (พระยาเมืองแสน) กล่าวว่าเจ้านครวรกษัตริย์ขัติยราชวงศา (พ.ศ. ๒๒๓๘) ได้สิทธิพระพรนามกรถึง แสนจันทรานิทธสิทธิมงคลสุนทรอมร สันนิษฐานว่าแสนจันทรานิทธผู้นี้คือผู้ปกครองเมืองธาตุพนมในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยปลายอยุธยา เมืองธาตุพนมถูกฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งโดยกลุ่มตระกูลเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์พระนามว่า เจ้าพระยาหลวงบุตรโคตรวงศากวานเวียงพระนม โอรสของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) จากนั้นจึงสถาปนาให้บุตรของตนปกครอง คือ เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) ซึ่งในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมออกพระนามเต็มว่า พระอาจชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีสีสุธมฺมราชา สหสฺสาคามเสลามหาพุทฺธปริษทฺทะบัวระบัติ โพธิสตฺวขัตฺติยวรราชวงศา พระหน่อรามาพุทธังกูร เจ้าเอากาสศาสนานครพฺระมหาธาตุเจ้าพฺระนม พิทักษ์บุรมมหาเจติย วิสุทฺธิรตฺตนสถาน คนทั่วไปออกนามว่า เจ้าพ่อขุนราม หรือ เจ้าพ่อขุนโอกาส (พ.ศ. ๒๒๙๑-๒๓๗๑) จากนั้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) ทรงเสด็จมาแต่งตั้งพระโอรสของเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) คือ เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) หรืออาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล ขึ้นปกครองธาตุพนมต่อจากพระบิดา ซึ่งในอุรังคธาตุออกนามว่า แสนกางน้อยศรีมุงคุรร์ เอกสารบางแห่งกล่าวว่าทรงถูกแต่งตั้งโดยสมเด็จพระเจ้าอุปราชนองแห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒) เจ้านายทั้ง ๓ องค์เป็นต้นตระกูล รามางกูร แห่งอำเภอธาตุพนมและเป็นญาติใกล้ชิดกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ ตระกูลนี้มีอำนาจบทบาทสืบมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลและถือเป็นต้นตระกูลเก่าแก่หลายตระกูลของอำเภอธาตุพนมในปัจจุบัน เช่น บุคคละ ประคำมินทร์ จันทศ มันตะ สารสิทธิ์ ลือชา ทามนตรี ทศศะ พุทธศิริ รัตโนธร ครธน สุมนารถ มนารถ อุทา สายบุญ เป็นต้น กลุ่มตระกูลเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มเครือข่ายที่มีบทบาททำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเมืองธาตุพนมและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้านายและนายกองตลอดจนกรมการเมืองที่ปกครองธาตุพนมในยุคต่อมา มักมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองทางเครือญาติด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวถึงจำนวนผู้ปกครองเมืองพนมโดยพิศดารก่อนการเข้ามาปกครองโดยราชวงศ์เวียงจันทน์ว่า มีเจ้าโอกาส (บ้างออกนามว่าขุนพนม เจ้าพระนม เพียพระนม กวานพนม) ปกครองเมืองธาตุพนมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔๐ องค์จากราชวงศ์ศรีโคตรบูรซึ่งสืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเฮือนทั้ง ๓ พระองค์",
"title": "อำเภอธาตุพนม"
},
{
"docid": "2358#24",
"text": "ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี[21] มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช[22]",
"title": "อาณาจักรอยุธยา"
},
{
"docid": "12832#11",
"text": "หลังจากที่ สมเด็จพระเพทราชา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับการปกครองใหม่ ให้สมุหพระกลาโหมและสมุหนายก ปกครองทั้งด้านทหารและพลเรือน โดยหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ ส่งผลให้งานราชการกรมกลาโหม และกรมมหาดไทย มีหน้าที่ซ้อนทับกัน ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงลดอำนาจของสมุหพระกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองฝ่ายใต้ไปขึ้นกับกรมคลัง และเปลี่ยนกลับในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายชายทะเลวันออกให้ขึ้นกับกรมคลัง",
"title": "ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "488591#1",
"text": "บรรดาหัวเมืองเหล่านี้ มีลักษณะทางพัฒนาการที่ยาวนาน หลากหลาย เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เต็มไปด้วยสีสันทางการเมือง พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ศาสนา ลัทธิพิธีกรรม กระบวนการทางความคิดเชิงอำนาจของนักปกครอง ระบบการปกครอง และความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ หัวเมืองเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างมหคุณูปการในการวางรากฐานของความเป็นรัฐชาติให้แก่สยาม แต่ยังสร้างความน่าตื่นเต้นและความวุ่นวายทางการเมืองการปกครองให้แก่สยามอีกด้วย เนื่องจากเจ้านายที่ปกครองบรรดาหัวเมืองเหล่านี้ มากกว่าร้อยละ ๘๐ ไม่ใช่เจ้านายในราชวงศ์ไทยสยาม และช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศมหาอำนาจตะวันตกอย่างฝรั่งเศส ได้มีความพยายามเข้ามาแทรกแซงกิจการทางการเมืองการปกครองในดินแดนหัวเมืองเหล่านี้นั่นเอง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ",
"title": "หัวเมืองลาวอีสาน"
},
{
"docid": "6000#11",
"text": "ช่วงเวลาที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2500 -2516 หรือ ในช่วงระบอบสฤษดิ์ และระบอบถนอม-ประภาส นั่นเอง โดยในช่วง พ.ศ. 2502-2506 ที่ได้มีการประกาศธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ทำให้นายกรัฐมนตรี คือจอมพลสฤษดิ์สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 17 ซึ่งบัญญัติข้อความให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในกรณีพิเศษไว้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งสามารถสั่งประหารประชาชนโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ไม่มีเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ และที่สำคัญก็คือ ไม่มีพรรคการเมือง และการเลือกตั้ง อำนาจการเมืองทั้งหมดจึงอยู่ในมือของจอมพลสฤษดิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่แต่งตั้งตนเองเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และอธิบดีกรมตำรวจ การจัดวางความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในสังคมในสายตาของจอมพลสฤษดิ์ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า รัฐบาลต้องมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติ ส่วนระบบราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลโดยเฉพาะจากตัวผู้นำคือจอมพลสฤษดิ์ ภายใต้ตรรกะนี้ ข้าราชการจึงมีหน้าที่หลักเป็นผู้รับใช้รัฐบาล ไม่ใช่รับใช้ประชาชน แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์เป็นการประยุกต์ประเพณีการจัดระเบียบการเมืองการปกครองของไทยแบบพ่อปกครองลูกที่มีพื้นฐานอยู่บนประวัติศาสตร์และจารีตดั้งเดิมในสมัยสุโขทัย แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกขานว่า “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” (ทักษ์, 2552: 226-227) ซึ่งได้กลายเป็นที่มาของวาทกรรม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ที่ใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองท่ามกลางความล้มเหลวในการวางรากฐานประชาธิปไตยของสังคมไทยมาหลายทศวรรษ",
"title": "ลัทธิอำนาจนิยม"
},
{
"docid": "12832#7",
"text": "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป กล่าวคือ ได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ รวมทั้งเกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง และจัดระเบียบการบริหารราชการดังนี้",
"title": "ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "761909#1",
"text": "พญามังไชย หรือ เจ้ามังไชยะ เชื้อสายและบรรพบุรุษนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแต่มีการเสนอว่าพญาเชียงเลือ(เชียงเลอ) ผู้ถูกส่งมาปกครองเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. 2106 เป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครองนครแพร่ ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์มังรายแต่อย่างใด เดิมอาจเป็นเพียงขุนนางระดับ “เจ้าเมือง” หรือ “เจ้าพันนา” ที่ปกครองพันนาหนึ่งของเมืองเชียงใหม่เท่านั้น อีกทั้งในยุคพม่าปกครองมีการสับเปลี่ยนเจ้าเมืองหัวเมืองสำคัญต่างๆ อยู่เสมอเพื่อป้องกันการสั่งสมอำนาจ จึงเป็นไปได้น้อยมากที่พม่าจะปล่อยให้เชื้อสายของพญาเชียงเลือสืบทอดอำนาจกันปกครองเมืองแพร่มาจนถึงพญามังไชยกว่า 200 ปี และที่กล่าวว่าพญามังไชยเป็นเชื้อสายพม่า แต่จากเอกสารบันทึกฝ่ายสยามระบุว่าพญามังไชยเป็น “คนลาว”(คนล้านนา, ไทยวน)10 อีกทั้งคัมภีร์ใบลานที่จารขึ้นโดยพญามังไชยก็เป็นอักษรธรรมล้านนา พญามังไชยจึงเป็นขุนนางเชื้อสายไทยวน ที่กษัตริย์พม่าสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่มาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2309 กษัตริย์พม่าโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งยศเป็น“พญามังไชย” ภายหลังได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งยศตามแบบสยามเป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์” ",
"title": "พระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย)"
},
{
"docid": "7488#4",
"text": "นับแต่ปี พ.ศ. 2429-2454 ได้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า คือ ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่สืบสกุลในการเป็นเจ้าเมืองนั้นเสีย จัดให้ข้าราชการจากราชสำนักในกรุงเทพมหานครมาปกครอง เปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้ปกครองจากเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองแทน และปรับปรุงการปกครองหัวเมืองมณฑลอีสาน จึงยุบเมืองเล็กเมืองน้อยรวมเป็นเมืองใหญ่ ยุบเมืองเป็นอำเภอ เช่น เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองยศ (ยโสธร) เมืองฟ้าหยาด (มหาชนะชัย) เมืองลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) เมืองขุหลุ (ตระการพืชผล) เมืองอำนาจเจริญ ไปขึ้นการปกครองกับเมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อำเภออำนาจเจริญ จึงได้แต่งตั้งนายอำเภอปกครอง",
"title": "จังหวัดอำนาจเจริญ"
},
{
"docid": "8013#7",
"text": "ส่วนในหัวเมืองต่างๆ ก็มีศาลเมืองต่างหากออกไปจากศาลส่วนกลางในกรุงเทพฯ ศาลเมืองเหล่านี้รับผิดชอบโดยข้าราชการในหัวเมืองนั้น ๆ ศาลในหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย ศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ศาลหัวเมืองบางแห่งขึ้นอยู่กับกรมท่า ศาลเมืองเหล่านี้มีอำนาจพิจารณาทั้งความแพ่งและความอาชญา แต่ในคดีความอุกฉกรรจ์นั้นศาลส่วนกลางยังมีอำนาจควบคุมได้ ดังจะเห็นได้จากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหมและกรมท่ายังมีศาลในกรุงเทพฯ ต่อเนื่องกับศาลในหัวเมืองด้วย กล่าวคือรับความที่ศาลในหัวเมืองส่งขึ้นมา\nต่อมา เกิดวิกฤตทางการศาลในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ",
"title": "ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย)"
}
] |
1257 | ประติมากรรม คืออะไร ? | [
{
"docid": "44304#0",
"text": "ประติมากรรม () เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร",
"title": "ประติมากรรม"
},
{
"docid": "322463#0",
"text": "มหาประติมากรรม () เป็นคำที่มักจะใช้ในประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและการวิพากษ์งานศิลปะ แต่ยังเป็นความหมายที่ยังไม่ลงตัว มหาประติมากรรมรวมแนวคิดสองอย่างๆ หนึ่งคือการใช้สอย และ อีกอย่างหนึ่งคือขนาด และอาจจะรวมแนวคิดที่สามที่เป็นแนวคิดเชิงอัตวิสัย มหาประติมากรรมจะใช้กับประติมากรรมทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่ รูปคนที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของคนจริงขึ้นไปก็ถือกันว่าเป็นมหาประติมากรรมตามทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ศิลป์ และศิลปะร่วมสมัยก็ใช้สำหรับขนาดทั้งหมดของงานประติมากรรม ฉะนั้นมหาประติมากรรมจึงต่างจากจุลประติมากรรม, งานโลหะขนาดเล็ก, งานแกะสลักงาช้าง, บานพับภาพสองหรืองานในทำนองเดียวกัน",
"title": "มหาประติมากรรม"
}
] | [
{
"docid": "301700#0",
"text": "ประติมากรรมเฉพาะหัว () คือประติมากรรมเฉพาะส่วนหัว แต่บางครั้งก็อาจจะมีลำตัว ที่จะตั้งอยู่บนแท่งหินสี่เหลี่ยมเกลี้ยงๆ ที่บางครั้งตรงระดับที่เหมาะสมตอนล่างก็อาจจะแกะสลักเป็นอวัยวะเพศชายก็ได้ ลักษณะประติมากรรมชนิดนี้เริ่มทำกันในกรีกโบราณและนำมาประยุกต์ใช้โดยโรมัน และมารื้อฟื้นกันอีกครั้งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในรูปของรูปลักษณ์บนเสาเทิร์ม และ ประติมากรรมแอ็ทลาส",
"title": "ประติมากรรมเฉพาะหัว"
},
{
"docid": "293988#1",
"text": "การระบุเวลาที่สร้างประติมากรรมเป็นวิธีที่เป็นที่คัดค้านกันอย่างกว้างขวาง เชื่อกันว่างานชิ้นนี้เป็นงานก๊อบปี้ของงานชิ้นต้นฉบับที่อาจจะเป็นงานหล่อสัมริด งานชิ้นต้นฉบับและเกียรติยศชั้นสูงอื่น ๆ อุทิศให้แก่เอากุสตุสโดยวุฒิสภาโรมันในปี 20 ก่อนคริสต์ศักราชและนำไปตั้งแสดงในสถานที่สาธารณะ ก่อนหน้านั้นเอากุสตุสใช้ชีวิตอย่างสมถะ แต่การที่มาพบประติมากรรมที่คฤหาสน์ของภรรยาทำให้เชื่อกันว่าเอากุสตุสคงจะพอใจกับผลงาน",
"title": "เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา"
},
{
"docid": "950398#0",
"text": "ตามพหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีดั่งทองแดง ขนหางคล้ายดอกบัวแดง ลักษณะสูงใหญ่ มีอานุภาพห้าวหาญในการศึก ตามพหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "ตามพหัตถี"
},
{
"docid": "949954#0",
"text": "อุโบสถหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายดั่งสีทองนพคุณ เดินได้รวดเร็ว เหาะไปในอากาศได้ อยู่บริเวณป่ากรรณิการ์ ส่วนหนึ่งของป่า อุโบสถหัตถีเรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "อุโบสถหัตถี"
},
{
"docid": "950417#0",
"text": "เหมหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกช้างตระกูลนี้มีกายดั่งสีรัศมีทอง มีกำลังมาก เหมหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "เหมหัตถี"
},
{
"docid": "301700#1",
"text": "ในสมัยกรีกโบราณประติมากรรมเฉพาะหัวใช้เป็นสิ่งป้องกันความชั่วร้ายที่มักจะตั้งตรงทางแพร่ง, พรมแดนของประเทศ หรือ เขตแดนป้องกัน ก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นสิ่งที่พิทักษ์พ่อค้าและนักเดินทางเฮอร์มีสเป็นเทพเจ้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์, การมีโชค, เส้นทาง และ เขตแดน ชื่อของเทพเฮอร์มีสมาจากคำว่า “herma” (พหูพจน์ “hermai”) ที่หมายถึงเสาสี่เหลี่ยมที่ทำด้วยหิน, ดินเหนียว หรือ สัมริด ที่มีประติมากรรมครึ่งตัวของหัวของเฮอร์มีสที่มักจะมีหนวด อยู่บนหัวเสาและอวัยวะเพศชายที่ฐาน เสาเฮอร์มาใช้เป็นเครื่องหมายบนถนน หรือ เขตแดน ในเอเธนส์ก็จะมีการตั้งประติมากรรมเฉพาะหัวไว้หน้าบ้านเพื่อขจัดภัยที่จะเข้ามาในบ้านและนำความโชคดีมาให้เจ้าของ อวัยวะเพศชายบนเสาก็จะได้รับการถู การรดด้วยน้ำมันมะกอกเพื่อให้โชคดี",
"title": "ประติมากรรมเฉพาะหัว"
},
{
"docid": "950390#0",
"text": "คังไคยหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายดั่งสีน้ำไหล (สีเขียวน้ำทะเล) มีลักษณะสูงใหญ่ สมบูรณ์งดงาม เกิดบริเวณลุ่มน้ำคงคา คังไคยหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "คังไคยหัตถี"
},
{
"docid": "950395#0",
"text": "ปัณฑรหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีดั่งรัศมีเงิน มีอีกชื่อหนึ่งว่า นาคันธร ห้าวหาญองอาจในการสงคราม ปัณฑรหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "ปัณฑรหัตถี"
}
] |
3086 | กระทรวงการคลังก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "8007#1",
"text": "การบริหารการคลังของไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา แต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ รัฐบาลมีรายได้จาก ส่วยสาอากร หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษีอากร 4 ชนิด ได้แก่ จังกอบ อากร ส่วย และ ฤชา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็น 4 แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และ กรมนา โดยกรมพระคลังทำหน้าที่รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมือง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บและรักษาส่วยสาอากร",
"title": "ประวัติกระทรวงการคลังไทย"
},
{
"docid": "5055#1",
"text": "กระทรวงการคลังได้ถือกำเนินขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ และจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ กรมพระคลังมหาสมบัติมีฐานะเป็นกระทรวงเพราะใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อเรียกอธิบดีว่า มินิสเตอร์ ออฟ ฟิแนนซ์",
"title": "กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)"
}
] | [
{
"docid": "35725#9",
"text": "ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังโดยมีฐานะเทียบเท่ากรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2504 การจัดตั้งหน่วยงานใหม่นี้ เนื่องจากดำริของนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น ที่เห็นว่าจำเป็นต้องนำวิทยาการแผนใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารและการกำหนดนโยบายการคลังตลอดจนจะต้องมีองค์กรหรือจุดรวมที่จะสามารถประสานกิจกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ จึงควรต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เหมาะสม โดยการปรับปรุงสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการวางนโยบายการคลังและเศรษฐกิจของรัฐ ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจึงก่อตั้งขึ้น โดยยุบกองเศรษฐกิจการคลังและกองสถิติในสำนักงานปลัดกระทรวงมาอยู่ในหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ และแต่งตั้ง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญการคลัง สำนักปลัดกระทรวงการคลังในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคนแรก",
"title": "ธนาคารแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "201543#0",
"text": "กลุ่ม 20 () ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้บริหารธนาคารกลางจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 19 ประเทศ รวมกับสหภาพยุโรป",
"title": "กลุ่ม 20"
},
{
"docid": "333689#2",
"text": "สมหมาย ภาษี เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมหมาย ฮุนตระกูล) เมื่อปี พ.ศ. 2524 จากนั้นได้เข้ามารับตำแหน่งรองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2528 จากนั้นจึงกลับเข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านเงินกู้ ในปี พ.ศ. 2533 เป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2541 จนเกษียณอายุราชการ",
"title": "สมหมาย ภาษี"
},
{
"docid": "49333#7",
"text": "หมวดหมู่:กระทรวงการคลัง หมวดหมู่:รัฐวิสาหกิจไทย หมวดหมู่:ธนาคารไทย หมวดหมู่:ศาสนาอิสลามในประเทศไทย หมวดหมู่:องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2545",
"title": "ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "112990#0",
"text": "กรมสรรพากร (The Revenue Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ที่เริ่มก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433",
"title": "กรมสรรพากร"
},
{
"docid": "848374#0",
"text": "ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหาร ระดับสูง (นักบริหารระดับ 11 เดิม) เป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงของกระทรวงการคลัง",
"title": "รายนามปลัดกระทรวงการคลังของไทย"
},
{
"docid": "25600#2",
"text": "พ.ต.ควง ถือเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก ด้วยประสบการณ์ที่เคยรับราชการจนมีตำแหน่ง เป็นถึงอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากนี้ยังเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทยด้วย",
"title": "ควง อภัยวงศ์"
},
{
"docid": "8007#72",
"text": "การดำเนินงานของกระทรวงการคลัง ได้ผ่านปัญหาอุปสรรค และวิกฤตการณ์ทางการเงินการคลังหลายครั้งแต่ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จเรียบร้อยตลอดมา ขณะเดียวกันกระทรวงการคลัง ได้พัฒนาปรับปรุงระบบงานของหน่วยงานในสังกัดให้ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้การเงินการคลังของประเทศมีเสถียรภาพ และมีความเจริญรุ่งเรืองในทางเศรษฐกิจ อย่างเห็นได้ชัดเจนจนถึงบัดนี้",
"title": "ประวัติกระทรวงการคลังไทย"
},
{
"docid": "726526#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2491 จึงได้เปิดดำเนินการโรงงานที่สะพานเหลืองอีกครั้งหนึ่ง และได้ดำเนินกิจการก้าวหน้าเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2497 จึงได้โอนจากสังกัดกรมสรรพสามิต มาสังกัดกระทรวงการคลังโดยตรง\nในปี พ.ศ. 2560 ได้มีประกาศโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เรื่อง โครงสร้างและการจัดส่วนงานในการบริหารงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง มีผู้อำนวยการยาสูบเป็นผู้บริหารสูงสุด โดยให้มีคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง จำมีจำนวนอย่างน้อยห้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน สำหรับประธานกรรมการ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้แต่งตั้งผู้อำนวยการยาสูบเป็นหัวหน้าบริหารงานโรงงานยาสูบ และให้มีรองผู้อำนวยการยาสูบ อีก 5 คน",
"title": "การยาสูบแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "222619#0",
"text": "อาจารย์สนั่น เกตุทัต (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548) ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516",
"title": "สนั่น เกตุทัต"
},
{
"docid": "361953#1",
"text": "บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจากบริษัท บางกอกด๊อก จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2408 โดยกัปตันจอห์น บุช นักลงทุนชาวอังกฤษ และราชนาวีไทยต้องเข้ามาควบคุมกิจการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และส่งคืนให้แก่ประเทศอังกฤษหลังเสร็จสิ้นสงคราม แต่ บางกอกด๊อก ต้องเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2494 และขายกิจการกลับมาเป็นของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 และได้มีการโอนกิจการโดยสมบูรณ์ให้กองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2500 พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทจาก Bangkok Dock Co., Ltd. มาเป็น Bangkok Dock company (1957) Limited. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 กองทัพเรือจึงโอนหุ้นทั้งหมดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการคลัง มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ควบคุมนโยบาย และในปี พ.ศ. 2526 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้อู้กรุงเทพ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทยุทธปัจจัย อยู่ในความควบคุมของกองทัพเรือ",
"title": "อู่กรุงเทพ"
},
{
"docid": "667001#0",
"text": "โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต (อังกฤษ: Playingcard Factory) เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม",
"title": "โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต"
},
{
"docid": "13417#7",
"text": "ด้วยนโยบายของเสริม วินิจฉัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ควรมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ในเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ในธนาคารพาณิชย์ถึงสองแห่ง ประกอบด้วย \"ธนาคารมณฑล จำกัด\" ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2485 และ \"ธนาคารเกษตร จำกัด\" ที่ก่อตั้งโดยสุริยน ไรวา ตั้งแต่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493 กระทรวงการคลังจึงประกาศ ให้ควบรวมกิจการของธนาคารทั้งสองดังกล่าว โดยก่อตั้งขึ้นในชื่อใหม่ว่า \"ธนาคารกรุงไทย จำกัด\" เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 และใช้อาคารสำนักงานใหญ่แห่งเดิมของธนาคารเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเยาวราช แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงไทยในยุคแรก ต่อมาอาคารที่เยาวราชคับแคบ ไม่สามารถรองรับกิจการ ซึ่งขยายตัวขึ้นอย่างมาก ธนาคารจึงทำการย้ายสำนักงานใหญ่ ไปยังอาคารเลขที่ 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน สำหรับอาคารที่เยาวราชในทุกวันนี้ นอกจากคงใช้เป็นสาขาเยาวราชแล้ว ยังปรับปรุงส่วนหนึ่งของอาคาร ให้เป็นหอศิลป์กรุงไทยด้วย",
"title": "ธนาคารกรุงไทย"
},
{
"docid": "13434#0",
"text": "บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคม และถือเป็นกิจการโทรศัพท์แห่งชาติของไทย ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสาร แปรรูปมาจาก \"องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย\" ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ปัจจุบันยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด",
"title": "ทีโอที"
},
{
"docid": "357804#0",
"text": "ดร.ภูวนิดา คุนผลิน รองลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน อาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (เดิมเป็น ส.ส.เขต 18 กรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชาชน) อดีตโฆษกกระทรวงคมนาคมและกระทรวงวัฒนธรรม อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย พี่สาวดีเจนักร้อง ภูวนาท คุนผลินซึ่งเคยสมัคร ส.ก.เขตวังทองหลาง เขต 1 เมื่อ 23กรกฎาคม พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้ตำแหน่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพลังหญิง",
"title": "ภูวนิดา คุนผลิน"
},
{
"docid": "141246#0",
"text": "กรมศุลกากร () เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อว่า \"หอรัษฎากรพิพัฒน์\" มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ",
"title": "กรมศุลกากร"
},
{
"docid": "8010#4",
"text": "ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ",
"title": "ภาษีมูลค่าเพิ่ม"
},
{
"docid": "532466#2",
"text": "บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 ภายใต้ชื่อ บริษัทเอเซียค้าหุ้น จำกัด โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2518 ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 4 ประเภท ได้แก่ กิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ กิจการค้าหลักทรัพย์ กิจการที่ปรึกษาการลงทุน และกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และได้เข้าเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมายเลข 8 ในปี 2530 ต่อมาวันที่ 9 ธันวาคม 2531 กระทรวงการคลังได้สั่งรับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดให้หุ้นสามัญของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2531 เป็นต้นมา บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ในปี 2537 ",
"title": "หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส"
},
{
"docid": "594182#61",
"text": "ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี\nคณะรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุมเดือนกรกฎาคมเพื่อหาข้อมติสำหรับการงบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานต่างๆจะส่งคำของบประมาณของปีถัดไป ไปยังกระทรวงการคลังในปลายเดือนสิงหาคม หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการร้องขอเหล่านี้สำนักงบประมาณดำเนินการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นในการของงบประมาณในช่วงปลายเดือนธันวาคมจะมีการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจการวางแผนเศรษฐกิจของหน่วยงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้กระทรวงการคลังเตรียมร่างงบประมาณและส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ควบคู่ไปกับกระบวนการนี้ กระทรวงการคลังแจ้งให้แต่ละกระทรวงและหน่วยงานทางการของการอนุมัติงบประมาณ ณ สิ้นเดือนธันวาคมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังร่างงบประมาณที่รัฐบาลประมาณการงบประมาณและรัฐบาลจะส่งงบประมาณไปยังสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายเดือนมกราคมและส่งไปยังสภาที่ปรึกษาที่จุดเริ่มต้นของเดือนมีนาคม และพรรคการเมืองไดเอทยังมีอิทธิพลเหนือกระบวนการก่อตัวของงบประมาณและกระทรวงการคลังกระบวนการการอนุมัติงบประมาณ แต่ละกระทรวงและหน่วยงานพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองไดเอทกระทรวงการคลังจึงพิจารณาและร้องขอให้พรรคการเมืองไดเอทปรับแนวทางการใช้งบประมาณของรัฐบาลที่มีให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณของกระทรวงการคลังแผนภูมิต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างงบประมาณ",
"title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "82584#5",
"text": "ศ.ดร.เอนก เริ่มชีวิตทางการเมืองโดยเป็นที่ปรึกษาให้กับศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง สถาบันพระปกเกล้า ต่อมาในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้เป็นที่ปรึกษาให้กับนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลชวน 2",
"title": "เอนก เหล่าธรรมทัศน์"
},
{
"docid": "712694#0",
"text": "อำมาตย์เอก พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร",
"title": "พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก)"
},
{
"docid": "25191#6",
"text": "หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส. ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี บุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย \"เงินผัน\" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น",
"title": "หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช"
},
{
"docid": "310646#13",
"text": "เมื่อเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ท่านได้จัดวางรูปแบบราชการให้มีความเป็นระบบระเบียบ เช่น ได้จัดรวบรวมพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ข้อบังคับ คำสั่ง เข้าเป็นเล่มเดียวกันทำนองประมวลการราชทัณฑ์ นอกจากนี้ได้วางระเบียบเรื่องการใช้แรงงานนักโทษ การโบยนักโทษ โดยกำหนดอำนาจผู้สั่งโบยและให้มีแพทย์ตรวจก่อนโบย ในส่วนการคลังนั้น ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง โดยขอข้าราชการกระทรวงการคลังมาเป็นหัวหน้ากองคลัง โดยข้าราชการผู้นั้นยังอยู่ในกระทรวงการคลัง การประสานงานวิธีนี้เป็นมาโดยเรียบร้อย นอกจากการจัดระบบงานดังได้กล่าวมาแล้ว พระยาเพชร์ชฎาได้จัดอบรมนักโทษเช่นเดียวกับการฝึกวิชาชีพ และการใช้แรงงานนักโทษทำงานสาธารณะ หารายได้นำส่งกระทรวงการคลัง จัดการก่อสร้างเรือนจำถาวรและชั่วคราวขึ้นหลายแห่ง",
"title": "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)"
},
{
"docid": "729487#1",
"text": "ทิพยประกันภัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ภายใต้ชื่อ \"บริษัท ประกันภัย เอเชียติ๊ก จำกัด\" (ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น\"รัชตประกันภัย\" ในปี 2495) โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยเงินลงทุนจำนวน 2,000,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นบริษัทประกันภัยแก่กิจการและสินทรัพย์ของบริษัทหลายแห่งที่จอมพลสฤษดิ์กำกับดูแลอยู่ในขณะนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการโอนหุ้นบางส่วนของจอมพลสฤษดิ์ กับส่วนของท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ไปเป็นของกระทรวงการคลัง กระทั่งในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการโอนหุ้นบางส่วนให้กระทรวงการคลัง รวมจำนวนทั้งสิ้นร้อละ 55.6 จึงส่งผลให้ทิพยประกันภัย มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง",
"title": "ทิพยประกันภัย"
},
{
"docid": "412435#2",
"text": "รัฐสภาสหรัฐสถาปนาตำแหน่งอัยการสูงสุดนี้ขึ้นด้วยรัฐบัญญัติตุลาการ ค.ศ. 1789 (Judiciary Act of 1789) หน้าที่ดั้งเดิมของอัยการสูงสุด คือ \"ฟ้องและดำเนินคดีทั้งปวงซึ่งเกี่ยวข้องกับสหรัฐต่อศาลสูงสุด กับทั้งให้คำแนะนำและความเห็นเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อประธานาธิบดีร้องขอ หรือเมื่อเจ้ากระทรวงใดร้องขอ\" ต่อมาใน ค.ศ. 1870 มีการตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการสูงสุด นอกจากนี้ อัยการสูงสุด, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นข้าราชการสี่ตำแหน่งที่ถือกันโดยทั่วไปว่า มีความสำคัญสูงสุด สืบเนื่องจากความสำคัญขององค์กร",
"title": "อัยการสูงสุดสหรัฐ"
},
{
"docid": "317191#0",
"text": "บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ( ชื่อย่อ: บางจาก, BCP) (ชื่อเดิมคือ \"บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)\" ())เป็นบริษัทมหาชนในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมติคณะรัฐมนตรีไทย จัดตั้งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีหน้าหลักคือดำเนินการกลั่นและผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นลง ส่งผลให้ บมจ.บางจากปิโตรเลียม สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ปัจจุบันบริษัทสามารถผลิตน้ำมันได้ 120,000 บาร์เรลต่อวัน",
"title": "บางจาก คอร์ปอเรชัน"
},
{
"docid": "593895#61",
"text": "ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี\nคณะรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุมเดือนกรกฎาคมเพื่อหาข้อมติสำหรับการงบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานต่างๆจะส่งคำของบประมาณของปีถัดไป ไปยังกระทรวงการคลังในปลายเดือนสิงหาคม หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการร้องขอเหล่านี้สำนักงบประมาณดำเนินการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นในการของงบประมาณในช่วงปลายเดือนธันวาคมจะมีการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจการวางแผนเศรษฐกิจของหน่วยงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้กระทรวงการคลังเตรียมร่างงบประมาณและส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ควบคู่ไปกับกระบวนการนี้ กระทรวงการคลังแจ้งให้แต่ละกระทรวงและหน่วยงานทางการของการอนุมัติงบประมาณ ณ สิ้นเดือนธันวาคมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังร่างงบประมาณที่รัฐบาลประมาณการงบประมาณและรัฐบาลจะส่งงบประมาณไปยังสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายเดือนมกราคมและส่งไปยังสภาที่ปรึกษาที่จุดเริ่มต้นของเดือนมีนาคม และพรรคการเมืองไดเอทยังมีอิทธิพลเหนือกระบวนการก่อตัวของงบประมาณและกระทรวงการคลังกระบวนการการอนุมัติงบประมาณ แต่ละกระทรวงและหน่วยงานพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองไดเอทกระทรวงการคลังจึงพิจารณาและร้องขอให้พรรคการเมืองไดเอทปรับแนวทางการใช้งบประมาณของรัฐบาลที่มีให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณของกระทรวงการคลังแผนภูมิต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างงบประมาณ",
"title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "50420#3",
"text": "ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ เริ่มรัราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2538 เป็นรองอธิบดีกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ. 2539 เป็นหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2543 จากนั้นปี พ.ศ. 2548 ได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมบัญชีกลางในปีถัดมา จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2552",
"title": "ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์"
},
{
"docid": "78829#2",
"text": "เข้าสู่วงการการเมืองโดยร่วมก่อตั้ง พรรคกิจสังคม ร่วมกับ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน พ.ศ. 2503 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนแรก ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2508 และมีชื่อเสียงจากนโยบาย \"เงินผัน\" เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2518 และในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์",
"title": "บุญชู โรจนเสถียร"
},
{
"docid": "184546#1",
"text": "ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการก่อตั้ง ‘’’กรมธนารักษ์’’’ ขึ้นมา โดยกรมธนารักษ์รวมกรมที่มีหน้าที่สำคัญ ๆ ไว้ถึง 4 กรม ด้วยกันคือ\nโดยทั้งนี้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2476 กรมธนารักษ์แต่เดิมใช้ชื่อว่ากรมพระคลัง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมคลัง เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานและกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2495 จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากกรมคลัง เป็น \"กรมธนารักษ์\" เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ตราบจนถึงปัจจุบัน",
"title": "กรมธนารักษ์"
}
] |
260 | แคร์รี แมรี อันเดอร์วูด เกิดที่ไหน? | [
{
"docid": "148618#3",
"text": "อันเดอร์วูด เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1983 ที่เมืองมัสโคกี รัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรสาวของ สตีเว่น และ แคโรล อันเดอร์วูด เธอเติบโตมากับฟาร์มของพ่อแม่ในเมืองชีโคตา รัฐโอคลาโฮมา[2] พ่อของเธอทำงานที่โรงเลื่อย ขณะที่แม่เธอเป็นครูสอนที่โรงเรียนประถม[3] เธอมีพี่สาวสองคน คือ แชนนา และ สเตฟานี[4][5] ในช่วงที่เธอยังเด็กนั้นเธอได้แสดงในรายการโชว์ความสามารถ รอบบินส์ เมมโมเรียล ทาเลนท์ โชว์ และเธอยังร้องเพลงที่โบสถ์ชุมชน (โบสถ์เฟริสต์ฟรีวิลแบปทิสต์) ด้วย[6] หลังจากนั้นเธอก็ได้เริ่มร้องเพลงที่งานต่าง ๆ ในชุมชนของเมืองชีโคตา[7]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
}
] | [
{
"docid": "148618#23",
"text": "เพื่อหารายได้ให้กับงานวิจัยมะเร็ง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 อันเดอร์วูดได้ร่วมงานกับ บียอนเซ่, มารายห์ แครี, แมรี เจ. ไบลจ์ และนักร้องหญิงคนอื่นอีกเพื่อบันทึกเพลง \"Just Stand Up!\" โดยรายได้นั้นจะนำไปให้ทาง Stand Up to Cancer (SU2C) [94] ซึ่งเพลงนี้ได้ขึ้นสูงสุดที่อันดับ 11 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 อันเดอร์วูดได้ก่อตั้งมูลนิธิ Checotah Animal Town and School (C.A.T.S.) เพื่อหารายได้ให้กับเมืองเกิดของเธอ ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2009 อันเดอร์วูดได้ไปเยี่ยมโรงเรียนมัธยมปลายชีโคตากับ รอบิน โรเบิร์ตส์ ผู้อ่านข่าวช่องเอ็นบีซี ซึ่งเธอได้ร้องเพลงกับเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งต่อหน้านักเรียนและคณะครู และได้บริจาคเครื่องดนตรีมูลค่ามากกว่า 117,000 ดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรงเรียน 3 แห่งในเมืองชีโคตา อันเดอร์วูดได้เล่นซอฟต์บอลในงานประจำปี City of Hope Celebrity Softball เพื่อการกุศลเป็นเวลาหลายปี ซึ่งงานนี้จัดที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และรายได้ที่รับนำไปให้งานวิจัยโรคที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต[95] ในช่วงวันหยุดปีค.ศ. 2011 มูลนิธิ C.A.T.S. ของเธอ ได้บริจาคเงินจำนวน 350,000 ดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรงเรียนในเมืองชีโคตา[96] ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2012 อันเดอร์วูดได้เขียนบล็อกในเว็บไซต์ของเธอว่าเธอได้ช่วยสุนัขที่ถูกปล่อยบนถนนทางหลวง โดยเธอเห็นสุนัข 2 ตัว บนถนนขณะที่เธอกำลังเดินทางไปบ้านพ่อแม่พร้อมกับสุนัขของเธอ (เอส กับ เพนนี) \"ฉันคิดว่าสุนัขถูกโยนทิ้งจากรถลงบนถนนทางหลวงโดยเจ้าของของมัน\" ตัวหนึ่งตายไปแล้วแต่เธอก็นำอีกตัว (เลือดไหลและไม่มีแรงอย่างมาก) เข้าไปในรถของเธอ เธอตั้งชื่อลูกสุนัขนั้นว่าสเตลลาและพามันไปหาหมอและดูแลมันเป็นอย่างดี ในเวลาไม่กี่วันเธอได้หาบ้านใหม่ให้กับสุนัข เธอเขียนว่า \"ฉันร้องไห้ตอนที่มันเดินออกจากประตูไป\"[97]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#20",
"text": "วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 สถานีวิทยุออตตาวา (105.3 CISS-FM) ระงับการเล่นเพลงของอันเดอร์วูดเพราะฟิชเชอร์โดนเทรดให้ทีมแนชวิลล์ เพรเดเตอร์ส แต่เนื่องจากการคุกคามของแฟนคลับในเฟซบุ๊ก ว่าจะไม่เปิดไปฟังสถานีดังกล่าว ต่อมาสถานีจึงเปลี่ยนแปลงมาเปิดเพลงของอันเดอร์วูดตามเดิม สถานีได้ออกมาขอโทษกับการกระทำ โดยตามคำแถลงการณ์บอกว่าเป็นแค่มุขตลกเท่านั้น การไม่เล่นเพลงของอันเดอร์วูดคือการอำลาฟิชเชอร์ให้โชคดีในแนชวิลล์[79][80] ฟิชเชอร์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถานีภายหลังว่า \"แคร์รีไม่ได้ทำอะไรในการย้ายหรือเทรดหรืออะไรทั้งนั้น การพูดแบบนั้นมันไม่เหมาะสม\" ทั้งเขาและอันเดอร์วูดผิดหวังที่สถานีทำแบบนั้น[81][82] อันเดอร์วูดได้รับเลือกจากนิตยสาร The Hockey News ให้เป็น 100 คนที่ทรงอิทธิพลในวงการฮอกกี้น้ำแข็ง โดยอยู่อันดับที่ 85[83]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#2",
"text": "อันเดอร์วูดถูกยกย่องโดยนิตยสารโรลลิงสโตน ให้เป็นนักร้องหญิงเสียงดีในยุคของเธอในทุกวงการเพลง ถูกยกย่องโดยนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 100 คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก และโดยนิตยสารบิลบอร์ด ให้ครองตำแหน่งราชินีแห่งเพลงคันทรี อันเดอร์วูดเป็นนักร้องคันทรีเดี่ยวคนเดียวในทศวรรษที่ 2000 ที่มีเพลงอันดับ 1 บนบิลบอร์ด</i>ฮอต 100 เป็นนักร้องคันทรีคนแรกและคนเดียวที่เปิดตัวด้วยอันดับ 1 บนฮอต 100 และมีอันดับ 1 ถึง 14 เพลง ซึ่งถือเป็นนักร้องหญิงที่มีอันดับ 1 มากที่สุดบนบิลบอร์ด</i>ฮอตคันทรีซองส์ ตั้งแต่ปี 1991 ถึงปัจจุบัน โดยทำลายสถิติในกินเนสส์</i>บุ๊คของเธอเองที่เคยได้ 10 เพลง เธอเป็นนักร้องคันทรีที่มียอดขายเพลงดิจิตอลมากที่สุดของ RIAA และเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3885,3903,2,2]}'>อเมริกัน ไอดอล</i>ที่ทำรายได้มากที่สุด อัลบั้ม Some Hearts ถูกจัดให้เป็นอัลบั้มคันทรีอันดับหนึ่งแห่งทศวรรษที่ 2000 โดย<i data-parsoid='{\"dsr\":[4007,4019,2,2]}'>บิลบอร์ด และเป็นนักร้องหญิงที่มีอันดับสูงสุดในรายชื่อนักร้องคันทรียอดเยี่ยมของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[4089,4101,2,2]}'>บิลบอร์ด</i>แห่งทศวรรษที่ 2000",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#28",
"text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐโอคลาโฮมา หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแอริสตาเรเคิดส์ หมวดหมู่:นักร้องเด็กชาวอเมริกัน",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#15",
"text": "อันเดอร์วูดยืนยันว่าเธอเริ่มวางแผนอัลบั้มใหม่ในเดือนสิงหาคมปี 2013 และจะเริ่มต้นเตรียมงานในปี 2014 [64] อันเดอร์วูดบอกบิลบอร์ดว่า \"หลังเสร็จสิ้นจาก The Sound of Music ฉันรู้สึกเหมือนฉันสามารถที่จะทำงานหนักและเริ่มที่จะทำอัลบัมถัดไป\" อันเดอร์วูดยังบอกว่าเธอกำลังวางแผนที่จะทำทัวร์ไว้บ้างแล้ว ซึ่งอาจจะไม่อลังการเท่าทัวร์ก่อนหน้า เธอบอกว่า \"ฉันไม่ได้คิดถึงมันมากนักเพราะฉันไม่รู้ว่าอัลบั้มถัดไปจะเป็นแบบไหน แต่ฉันก็ชอบที่จะแค่ยืนบนนั้นและร้องเหมือนกัน ฉันอาจจะทำในแนวที่แตกต่างออกไป อะไรที่ง่าย ๆ ในทัวร์ถัดไป ฉันชอบพลังงานที่มีในคอนเสิร์ตเพลงร็อค\" อันเดอร์วูดร่วมฟีเจอร์ริงกับ Miranda Lambert ในอัลบั้ม Platinum ในเพลงที่มีชื่อว่า \"Somethin' Bad\" ซิงเกิลนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในชาร์ต Hot Country Songs กลายเป็นเพลงที่ 13 ของอันเดอร์วูดที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ต ในปี ค.ศ. 2014 อันเดอร์วูดปล่อยอัลบั้มรวมเพลงฮิต Greatest Hits: Decade #1 ออกจำหน่ายในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2014 โดยมีซิงเกิลแรก Something in the Water ขึ้นอันดับหนึ่งบน Hot Country Songs กลายเป็นเพลงที่ 14 ของอันเดอร์วูดที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตในปีเดียวกัน",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#16",
"text": "อันเดอร์วูดประกาศอัลบั้มใหม่ของเธอ โดยมีชื่อว่า Storyteller ออกจำหน่ายในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2015 มีซิงเกิลแรก Smoke Break",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "253948#3",
"text": "อัลบั้มอันดับหนึ่งอัลบั้มล่าสุด ลงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2018 บนชาร์ต\"บิลบอร์ด\" 200 คืออัลบั้ม\"ครายพริตตี\" ของแคร์รี อันเดอร์วูด",
"title": "บิลบอร์ด 200"
},
{
"docid": "736353#9",
"text": "\"เลิฟสตอรี\" เข้าชิงรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ สาขา \"คันทรียอดนิยม\" ในงานประกาศรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ ครั้งที่ 35 แต่พ่ายให้กับเพลง \"ลาสต์เนม\" (2008) ของแคร์รี อันเดอร์วูด เพลงได้เข้าชิงรางวัล \"เพลงยอดนิยม\" ในงานประกาศรางวัลนิกเคโลเดียนออสเตรเลียนคิดส์ชอยส์อะวอดส์ 2009 แต่พ่ายให้กับเพลง \"ไอก็อตตาฟิลิง\" (2009) ของเดอะแบล็กอายด์พีส์ และในงานประกาศรางวัลทีนชอยส์อะวอดส์ 2009 ก็มีผลรางวัลเหมือนกัน โดยพ่ายให้กับเพลง \"ครัช\" (2008) ของเดวิด อาร์ชูเลตา ซึ่งเข้าชิงรางวัล \"ชอยส์มิวสิก: เลิฟซอง\" ในปี ค.ศ. 2009 \"เลิฟสตอรี\" ได้เป็น \"เพลงคันทรีแห่งปี\" ประกาศโดยองค์กรเผยแพร่ดนตรี",
"title": "เลิฟสตอรี (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)"
},
{
"docid": "148618#6",
"text": "ในฤดูร้อนปีค.ศ. 2004 อันเดอร์วูดได้ไปคัดเลือกในรายการอเมริกันไอดอลที่เซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี หลังจากที่อันเดอร์วูดแสดงเพลง \"Could've Been\" ของ ทิฟฟานี ในรอบผู้หญิง 12 คนสุดท้าย ไซมอน คาวเวลล์ หนึ่งในกรรมการตัดสินได้บอกว่าเธอจะเป็นหนึ่งในตัวเก็งที่จะชนะการแข่งขัน และในรอบ 11 คนสุดท้ายวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2005 นั้น อันเดอร์วูดได้ร้องเพลงฮิตในยุค 80 เพลง \"Alone\" ของ ฮาร์ต ไซมอน คาวเวลล์ กล่าวทำนายไว้ว่าอันเดอร์วูดนั้นไม่เพียงจะชนะการแข่งครั้งนี้เท่านั้น แต่เธอจะกลายเป็นนักร้องที่มีงานเพลงขายดีกว่าผู้ชนะในฤดูกาลที่ผ่านมาทั้งหมด[14] อันเดอร์วูดนั้นเป็นผู้ชนะการแข่งขันหนึ่งในห้าที่ไม่เคยได้รับคะแนนการโหวตต่ำสุดสามอันดับ (ผู้ชนะอีกสี่คนคือ เคลลี คลาร์กสัน, เทย์เลอร์ ฮิกส์, จอร์ดิน สปาร์คส, และเดวิด คุก) โดยหนึ่งในผู้ผลิตรายการได้กล่าวว่าอันเดอร์วูดนั้นได้รับคะแนนท่วมท้น และผ่านเข้ารอบแต่ละรอบด้วยความง่ายดาย[15] ในช่วงการแข่งขันเธอมีฐานแฟนคลับที่ชื่อว่า “Carrie’s Care Bears” ในรอบสุดท้าย เธอร้องเพลงกับ ราสคัล แฟลตส์ ในเพลง \"Bless the Broken Road\" ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 แคร์รี อันเดอร์วูดได้กลายเป็นผู้ชนะรายการอเมริกันไอดอลฤดูกาลที่สี่ รางวัลที่เธอได้รับจากการชนะคือ การเซ็นต์สัญญากับค่ายเพลงซึ่งมีมูลค่าอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, ได้ใช้เครื่องบินส่วนตัวเป็นเวลา 1 ปี และฟอร์ด มัสแตง 1 คัน[16]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#21",
"text": "อันเดอร์วูดเป็นคนรักสัตว์และรับประทานอาหารมังสวิรัติ เธอไม่ทานเนื้อสัตว์ตั้งแต่อายุ 13 ปี เพราะเธอทนไม่ได้ที่ต้องทานสัตว์ที่เธอเลี้ยง เธอได้รับการโหวตให้เป็น \"คนทานมังสวิรัติที่เซ็กซี่ที่สุดในโลก (World's Sexiest Vegetarian) \" โดย PETA ในปีค.ศ. 2007 เป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกในปีค.ศ. 2005 ได้ตำแหน่งร่วมกับคริส มาร์ติน นักร้องนำวงโคลด์เพลย์[84] ในปีค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดให้สัมภาษณ์กับ PETA ว่า \"ตั้งแต่ฉันเป็นเด็กฉันก็รักสัตว์มาตลอด [...] ถ้าคุณบอกฉันว่าฉันไม่สามารถร้องเพลงได้อีก ฉันคงบอกว่ามันแย่ แต่มันไม่ใช่ชีวิตของฉัน ถ้าคุณบอกฉันว่าฉันไม่สามารถยุ่งกับสัตว์ได้อีก ฉันคงอยากตาย\"[85] อันเดอร์วูดเป็นผู้สนับสนุนให้องค์กร Humane Society of the United States (HSUS) และได้ทำโฆษณาหลายตัวให้องค์กร[86] อันเดอร์วูดยังทำโฆษณา \"Protect Your Pets\" ให้องค์กร Do Something ด้วย[87]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "467322#0",
"text": "รางวัลที่ แคร์รี อันเดอร์วูด ได้รับ",
"title": "รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลของ แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "775573#1",
"text": "ในสัปดาห์ที่เก้าที่ออกจำหน่าย อัลบั้ม\"ดอทรี\" ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ต\"บิลบอร์ด\" ในด้านยอดขาย คริส ดอทรีเป็นผู้เข้าแข่งขันรายกา\"รอเมริกันไอดอล\"ที่ประสบความสำเร็จที่สุดอันดับที่สาม รองจากเคลลี คลาร์กสัน และแคร์รี อันเดอร์วูด ในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 50 วงได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเพลงร็อกยอดเยี่ยมให้กับซิงเกิล \"อิตส์น็อตโอเวอร์\"",
"title": "คริส ดอทรี"
},
{
"docid": "148618#24",
"text": "อันเดอร์วูดยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน เธอบอกกับหนังสือพิมพ์ ดิอินดิเพนเดนท์ ของประเทศอังกฤษ ว่า \"ในฐานะคนแต่งงาน ฉันไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรที่ฉันไม่สามารถแต่งงานกับคนที่ฉันรักและอยากแต่งงานด้วยได้ ฉันนึกไม่ออกว่ามันจะเจ็บปวดขนาดไหน ฉันคิดจริง ๆ ว่าเราควรมีสิทธิ์ที่จะรัก และรักอย่างเปิดเผย\" อันเดอร์วูดยังกล่าวต่อว่า \"โบสถ์ที่ฉันไปมีเกย์ที่เป็นมิตร เบื้องบนพระเจ้าอยากให้เรารักคนอื่น มันไม่ได้มีกฎ หรือ 'ทุกคนจะต้องเป็นอย่างฉันนะ' ไม่ เราทุกคนต่างกัน นั่นทำให้เราพิเศษ เราต้องรักกันและเป็นมิตรกัน ฉันไปตัดสินใครไม่ได้\"[98]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#26",
"text": "2005: American Idols LIVE! Tour 2005 2006: Carrie Underwood: Live 2006 2008: Love, Pain and the Whole Crazy Carnival Ride Tour (กับ คีธ เออร์บัน) 2008: Carnival Ride Tour 2010: Play On Tour 2012: Blown Away Tour 2016: Storyteller Tour: Stories in the Round",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#27",
"text": "เว็บไซต์ มายสเปซ",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#4",
"text": "ตอนอันเดอร์วูดอายุ 14 ปีได้มีคนจัดการให้เธอไปแนชวิลล์เพื่อคัดเลือกเข้าสังกัดแคปิทอลเรเคิร์ดส์[6] ในปีค.ศ. 1996 เธอได้รับการติดต่อสัญญาจากแคปิทอลเรเคิร์ดส์ แต่สัญญานั้นถูกยกเลิกเมื่อบริษัทค่ายเพลงเปลี่ยนแปลงการบริหาร อันเดอร์วูดพูดถึงเหตุการณ์นั้นว่า \"ฉันคิดจริงๆ ว่ามันดีกว่ามากเลยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะฉันคงยังไม่พร้อมในตอนนั้น ทุกสิ่งย่อมมีหนทางที่จะเป็น\"[8]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#18",
"text": "ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 อันเดอร์วูดหมั้นกับไมค์ ฟิชเชอร์ นักกีฬาฮอกกี้ทีมแนชวิลล์ เพรเดเตอร์ส (ตอนหมั้นอยู่ทีมออตตาวา เซเนเตอร์ส) พวกเขาเริ่มคบกันหลังจากที่เจอกันในคอนเสิร์ตของอันเดอร์วูดในช่วงปีค.ศ. 2008[71] อันเดอร์วูดและฟิชเชอร์ได้ปรากฏตัวด้วยกันครั้งแรกต่อหน้าสาธารณชนในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 (ที่ Bell Sens Soiree งานการกุศลประจำปีของทีมเซเนเตอร์สในแมืองกาติโน ออตตาวา) [72] หลังจากที่ปรากฏตัวด้วยกันที่งาน CMT Awards ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดบอกผู้สื่อข่าวว่าฟิชเชอร์กำลังมีแผนสำหรับฮันนีมูนของเขาทั้งสองคนหลังงานแต่ง[73]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#17",
"text": "อันเดอร์วูดนับถือศาสนาคริสต์[65][66] และเธอรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในปีค.ศ. 2006 อันเดอร์วูดได้แสดงในช่วงพักครึ่งของการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล ในวันขอบคุณพระเจ้าที่สนามกีฬาเท็กซัส ในเมืองเออร์วิง รัฐเทกซัส และได้เป็นเพื่อนกับโทนี โรโม ควอร์เตอร์แบ็ก แห่งทีมดัลลัส คาวบอยส์[67] และได้ไปร่วมงานวันเกิดของเขา เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 และวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 เขาได้ไปงาน Academy of Country Music Awards กับเธอ อันเดอร์วูดกับโรโมมีข่าวลือว่าคบกันตลอดปีค.ศ. 2007 ถึงแม้ว่าอันเดอร์วูดจะปฏิเสธข่าวลือนั้น แต่โรโมยืนยันบนเว็บไซต์ของเขาว่า \"ผมกำลังคบกับแคร์รี อันเดอร์วูดอยู่\" และยังบอกกับหนังสือพิมพ์อิลลินอยส์ว่าเขากำลังคบกับอันเดอร์วูดอยู่[68] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดเริ่มคบกับเชส ครอว์ฟอร์ด นักแสดงซีรีส์เรื่องกอสซิปเกิร์ล และในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007 นิตยสารพีเพิลรายงานว่าทั้งคู่เดินจับมือกันในเมืองนิวยอร์ก[69] อย่างไรก็ดีทั้งคู่ก็ได้จบความสัมพันธ์ลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 2008[70]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#19",
"text": "วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดและฟิชเชอร์ได้แต่งงานกันที่ The Ritz-Carlton Lodge, Reynolds Plantation ในเมืองกรีนส์โบโร รัฐจอร์เจีย โดยมีผู้ร่วมงานมากกว่า 250 คน ทั้งผู้เล่นในเอ็นเอชแอล, ทิม แมคกรอว์, เฟธ ฮิลล์, การ์ธ บรู๊กส์, ผู้เข้าแข่งขันอเมริกันไอดอล, พอลลา อับดุล, ไซมอน คาวเวลล์ และแรนดี แจ็คสัน[74][75] ทั้งคู่ให้คำพูดกับนิตยสารพีเพิลโดยลงชื่อ \"Mike & Carrie Fisher\" ว่า \"เราทั้งคู่คงไม่มีความสุขไปมากกว่าการที่เราได้พบกัน และแบ่งปันวันนี้กับเพื่อนและครอบครัวของเราซึ่งนั่นมีความหมายสำหรับเรามาก\" ตามนิตยสารพีเพิล Monique Lhuillier ได้ตัดชุดลายลูกไม้ให้กับอันเดอร์วูด และได้ออกแบบชุดให้กับเพื่อนเจ้าสาวอีกด้วย ในงานแต่งมีการเล่นเพลงคลาสสิกและคำอ่านของคัมภีร์ไบเบิลในท่อนที่ทั้งคู่ชอบ[76][77] อันเดอร์วูดสร้างความประหลาดใจให้ฟิชเชอร์โดยการนำแบรนดอน ฮีธหนึ่งในนักร้องที่ทั้งคู่ชอบมาร้องเพลง \"Love Never Fails\" ในการเต้นรำเพลงแรก[78]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#13",
"text": "อันเดอร์วูดปล่อยอัลบั้มที่สาม Play On เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2009[47] อัลบั้มนี้เปิดตัวที่อันดับ 1 บน Billboard 200 และ Top Country Albums ขายไปได้กว่า 318,000 ก๊อปปี้ในสัปดาห์แรก เมื่อวางจำหน่ายกลายเป็นอัลบั้มที่มียอดขายมากที่สุดแห่งปีโดยศิลปินหญิง แต่ถูกทำลายสถิติโดย I Dreamed a Dream อัลบั้มของซูซานบอยล์เมื่อตอนสิ้นปีและหล่นไปอยู่อันดับที่สอง [48][49] อันเดอร์วูดร่วมแต่งเพลงกับนักร้องเพลงป๊อปอาร์เอนบี นักแต่งเพลง Ne-Yo สำหรับอัลบั้มนี้ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในอัลบั้ม[50]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#0",
"text": "แคร์รี แมรี อันเดอร์วูด (English: Carrie Marie Underwood; เกิด 10 มีนาคม ค.ศ. 1983) เป็นนักร้องคันทรี, นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการชนะเลิศการประกวดรายการอเมริกันไอดอล ฤดูกาลที่ 4 ในปี ค.ศ. 2005 และกลายเป็นหนึ่งในนักร้องที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทุกวงการเพลง ความสำเร็จของเธอทำให้เธอได้เข้าเป็นสมาชิกแกรนด์โอลออปรีย์ ใน ปีค.ศ. 2008 และเข้ามาอยู่ในหอเกียรติยศดนตรีโอคลาโฮมา (Oklahoma Music Hall of Fame) ในปีค.ศ. 2009[1] เธอชนะรางวัลดนตรีหลายรางวัล รวมถึง 7 รางวัลแกรมมี, 17 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิก, 11 รางวัลอะแคดามีออฟคันทรีมิวสิก และ 9 รางวัลอเมริกันมิวสิก",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#25",
"text": "2005: Some Hearts 2007: Carnival Ride 2009: Play On 2012: Blown Away 2015: Storyteller",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "577127#1",
"text": "ผู้ชนะในฤดูกาลนี้คือ แคร์รี อันเดอร์วูด สาวจากโอคลาโฮมา ในฤดูกาลนี้มียอดโหวตรวมทั้งหมดประมาณ 500 ล้านโหวต เฉพาะในรอบสุดท้ายของฤดูกาลนั้นมีจำนวนโหวต 37 ล้านโหวต",
"title": "อเมริกันไอดอล ฤดูกาลที่ 4"
},
{
"docid": "918989#1",
"text": "การถ่ายทอดสดของเกมใน CBS ทำให้เข้าถึงผู้ชมในสหรัฐอเมริกาโดยเฉลี่ยประมาณ 106.5 ล้านคน ทำให้ซูเปอร์โบวล์มีคนดูมากที่สุด ในช่วงร้องเพลงชาติซึ่งร้องโดย แคร์รี อันเดอร์วูด และการแสดงช่วงพักครึ่งโดยวงร็อกชาวอังกฤษ เดอะฮู",
"title": "ซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 44"
},
{
"docid": "148618#7",
"text": "อัลบั้ม Some Hearts เป็นอัลบั้มเปิดตัวของอันเดอร์วูด ออกวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เข้าสู่ชาร์ตบิลบอร์ด ด้วยยอดขาย 315,000 ชุด เปิดตัวที่อันดับ 1 ใน Hot Country Albums และ อันดับ 2 ใน Hot 200 Albums ยอดขายอย่างมากมายในสัปดาห์แรกของอัลบั้ม Some Hearts ทำให้เป็นการเปิดตัวที่สูงที่สุดของนักร้องคันทรีตั้งแต่เริ่มมีระบบ SoundScan มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาของปีค.ศ. 2006 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของอัลบั้มคันทรีในสหรัฐอเมริกาของปีค.ศ. 2006 และ ค.ศ. 2007 อัลบั้ม Some Hearts ได้รางวัล 7 แผ่นเสียงทองคำขาวโดย RIAA และเป็นอัลบั้มคันทรีเปิดตัวที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ SoundScan[17] เป็นอัลบั้มหญิงเดี่ยวเปิดตัวที่ขายดีที่สุดของวงการเพลงคันทรี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของผู้เข้าแข่งขันอเมริกัน ไอดอล (นับเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา) [18] \"Inside Your Heaven\" ซิงเกิ้ลแรกของอันเดอร์วูด ปล่อยในเดือนมิถุนายน เปิดตัวที่อันดับ 1 บน Billboard Hot 100 และ Canadian Singles Chart ซึ่งเป็นเพลงที่อยู่ในชาร์ตของแคนาดานานที่สุดของปีค.ศ. 2005 Inside Your Heaven เป็นซิงเกิ้ลเดียวของนักร้องคันทรีเดี่ยวในยุค 2000 ที่ขึ้นไปถึงอันดับ 1 บน Billboard Hot 100 ซึ่งขายไปได้เกือบ 1 ล้านก๊อปปี้ และได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำโดย RIAA และ 2 รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวโดย CRIA \"Jesus, Take the Wheel\" ซิงเกิ้ลที่สองของอัลบั้ม[19] ปล่อยสู่วิทยุในเดือนตุลาคมและขึ้นไปได้สูงสุดอันดับ 1 บน Billboard Hot Country Songs และอยู่ได้นานถึง 6 สัปดาห์ติดต่อกัน และสูงสุดอันดับ 20 บน Hot 100 เพลงนี้ขายไปได้มากกว่า 2 ล้านก๊อปปี้ และได้ 2 รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวโดย RIAA[20] \"Some Hearts\" ซิงเกิ้ลที่ 3[19] ของอันเดอร์วูด ปล่อยในเดือนตุลาคมแต่แค่คลื่นป็อบ \"Don't Forget to Remember Me\" ซิงเกิ้ลที่สี่ของเธอยังคงประสบความสำเร็จด้วยการขึ้นไปถึงอันดับ 2 บน Billboard Hot Country Songs chart ในฤดูใบไม้ร่วง เพลง \"Before He Cheats\" เพลงคันทรีซิงเกิลที่ 3 ของอันเดอร์วูด ได้ขึ้นไปถึงอันดับ 1 บน Billboard's Hot Country Songs เป็นเวลา 5 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งขึ้นไปได้สูงสุดอันดับ 8 ใน Billboard Hot 100 เป็นเพลงที่ขึ้นไปสู่ท็อปเท็นที่ช้าที่สุดของ Billboard Hot 100 และได้ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ที่ทำไว้โดยวง Creed ที่ครองมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 ได้รางวัล 3 แผ่นเสียงทองคำขาว และเป็นเพลงคันทรีอันดับ 4 ที่ขายดีที่สุดของเพลงดิจิตอลตลอดกาล[21] ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดได้ปล่อยเพลง \"Wasted\" ซึ่งขึ้นไปถึงอันดับ 1 บน Hot Country Songs Chart ขายได้เกือบ 1 ล้านก๊อปปี้ และได้ 1 รางวัลแผ่นเสียงทองคำโดย RIAA[22] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 \"Jesus Take the Wheel\" ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว ทำให้อันเดอร์วูดเป็นนักร้องคันทรีคนแรกที่มีสองเพลงที่ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว ร่วมกันกับเพลง \"Before He Cheats\" ซึ่งได้รับไปก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 2007[23] อันเดอร์วูดมีคอนเสิร์ตแรกของเธอเอง ชื่อว่า Carrie Underwood: Live 2006 ซึ่งจัดในแถบอเมริกาเหนือ",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#5",
"text": "ในระหว่างการศึกษาชั้นมัธยมปลายอันเดอร์วูดเป็นเชียร์ลีดเดอร์, เล่นบาสเก็ตบอลและเล่นซอฟต์บอลด้วย[9] ในปีค.ศ. 2001 เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลายชีโคตา เธอเป็นนักเรียนที่จบการศึกษาด้วยคะแนนดีเยี่ยม[7] หลังจากจบการศึกษาเธอเลือกที่จะไม่เป็นนักร้องตามที่ฝัน เธอบอกว่า \"หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย ฉันก็ค่อนข้างจะล้มเลิกความฝันในการเป็นนักร้อง ฉันอยู่ในจุดในชีวิตที่ฉันต้องอยู่กับความเป็นจริง และเตรียมพร้อมกับอนาคตของฉันใน'โลกแห่งความจริง'\"[9] เธอได้เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ทอิสเทิร์นสเตท ในเมืองแทลิควา รัฐโอคลาโฮมา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับสองในปีค.ศ. 2006 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน[10] เธอได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในช่วงภาคฤดูร้อนในการทำงานให้กับ บ๊อบบี้ เฟรม ส.ส. รัฐโอคลาโฮมา[11] และเธอยังเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านขายพิซซ่า, ทำงานที่สวนสัตว์ และที่คลินิกสัตว์ด้วย[9] อันเดอร์วูดเป็นสมาชิกชมรม Sigma Sigma Sigma ซึ่งเป็นชมรมเกี่ยวกับผู้หญิง[12] ในช่วงสองปีระหว่างภาคฤดูร้อนเธอได้แสดงในงานของมหาวิทยาลัยใจกลางเมืองแทลิควา นอกจากนั้นเธอยังได้เข้าร่วมการแข่งขันประกวดนางงามของมหาวิทยาลัย และเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศของนางสาวเอ็นเอสยู ปีค.ศ. 2004[13]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "148618#9",
"text": "ในเดือนธันวาคม ปี 2005 อันเดอร์วูดได้ถูกจัดให้เป็น Oklahoman of the Year โดย Oklahoma Today[24] ในเดือนธันวาคมปี 2006 อันเดอร์วูดได้ร่วมร้องเพลงกับ โทนี เบนเนต, ไมเคิล บูเบล และ จอช โกรแบน ในเพลง \"For Once in My Life\" ในรายการ The Oprah Winfrey Show[25] ในเดือนเดียวกันนั้นเธอได้สรรเสริญแก่ ดอลลี พาร์ตัน ด้วยการร้องเพลง \"Islands in the Stream\" ร่วมกับ เคนนี โรเจอร์ (ต้นฉบับของ พาร์ตัน และ โรเจอร์) ที่ Kennedy Center Honors ซึ่งให้เกียรติแก่พาร์ตันในปีนั้น อันเดอร์วูดได้แสดงกับ USO Christmas Tour ในประเทศอิรักในช่วงเทศกาลวันหยุดในปี 2006[26] อันเดอร์วูดยังได้แสดงคอนเสิร์ต Idol Gives Back 2007 โดยร้องเพลง \"I'll Stand By You\" ของ เดอะพรีเทนเดอร์ โดยในเวอร์ชันของเธอเปิดตัวที่อันดับ 6 บน Billboard's Hot 100 Songs ในปี 2007 เช่นเดียวกัน Victoria's Secret จัดให้อันเดอร์วูดเป็นนักดนตรีหญิงที่เซ็กซี่ที่สุด[27]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
},
{
"docid": "628785#0",
"text": "ไรอัน เบนจามิน เท็ดเดอร์ (Ryan Benjamin Tedder) (เกิด 26 มิถุนายน ค.ศ. 1979) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์, และนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักดีในฐานะนักร้องนำของวงดนตรีแนวป็อปร็อก วันรีพับบลิก แม้ว่าเขาตัวคนเดียวจะเป็นนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ให้กับนักร้องมากมาย เช่น อะเดล, บียอนเซ่, เบอร์ดี, มารูนไฟฟ์, เดมี โลวาโต, เอลลี โกลดิง, บี.โอ.บี, เคลลี คลาร์กสัน, เค'นาน, แคร์รี อันเดอร์วูด, เจนนิเฟอร์ โลเปซ, จอร์ดิน สปาร์กส, เลโอนา ลูวิส, เกวิน เดอกรอว์, เซบาสเตียน อินกรอสโซ, จิม คลาส ฮีโรส์, วันไดเรกชัน, เจมส์ บลันต์, ฟาร์อีสต์มูฟเมนต์, พอล โอกเคนโฟลด์ และเอลลา เฮนเดอร์สัน ",
"title": "ไรอัน เท็ดเดอร์"
},
{
"docid": "148618#22",
"text": "อันเดอร์วูดบอกว่าเธอมีความสนใจในกีฬา ในปีค.ศ. 2005 เธอได้ไปแสดงเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์\" ในเกม 4 ของรอบชิงชนะเลิศเอ็นบีเอ ระหว่าง ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ กับ ดีทรอยต์ พิสตันส์[88] และในปีค.ศ. 2006 ในเกมรวมดาราเอ็นบีเอ[89] เธอยังได้แสดงเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์\" ในรอบชิงชนะเลิศเอ็นเอฟซี ระหว่าง ซีแอตเติล ซีฮอกส์ กับ คาโรไลนา แพนเทอร์ส ในปีค.ศ. 2006 เช่นกัน[90] และยังแสดงที่นาสคาร์[91] ในเกมรวมดาราเอ็มแอลบี ที่เมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพ็นซิลเวเนีย และ เกม 3 ของการแข่งเวิลด์ซีรีส์ ปีค.ศ. 2007 ระหว่าง บอสตัน เรดซอกซ์ กับ โคโลราโด ร็อคกีส์[92] เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดได้แสดงเพลงชาติในซูเปอร์โบวล์ XLIV[93]",
"title": "แคร์รี อันเดอร์วูด"
}
] |
238 | ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ในปี ค.ศ.ใด? | [
{
"docid": "246571#1",
"text": "ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" ในปี ค.ศ. 1434 เป็นภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี (Giovanni Arnolfini) พ่อค้าจากเมืองลุกกาในอิตาลีและภรรยาในห้องที่อาจจะเป็นที่บ้านที่พำนักอยู่ในเมืองบรูชในฟลานเดอส์ เป็นภาพที่ถือกันว่าเป็นภาพที่มีความเป็นต้นตอและความซับซ้อนมากที่สุดภาพหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก ฟัน ไอก์ลงชื่อและวันที่ว่าวาดในปี ค.ศ. 1434 ต่อมาหอศิลป์แห่งชาติแห่งลอนดอนซื้อภาพเขียนนี้ในปี ค.ศ. 1842",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
}
] | [
{
"docid": "278980#2",
"text": "ในปี ค.ศ. 1652 ถึงปี ค.ศ. 1654 ฟัน โคเยินจำต้องขายงานเขียนและงานกราฟิกที่สะสมไว้ และต้องย้ายไปอยู่บ้านที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1656 ขณะที่มีหนี้สินจำนวนถึง 18,000 กิลเดอร์ดัตช์ ทำให้ภรรยาหม้ายต้องขายภาพเขียนและเครื่องเรือนที่ยังคงเหลือ การเป็นหนี้สินของฟัน โคเยินอาจจะมีผลต่อโอกาสความก้าวหน้าทางอาชีพของยัน สเตน ลูกศิษย์และลูกเขยซึ่งย้ายออกจากเดอะเฮกในปี ค.ศ. 1654",
"title": "ยัน ฟัน โคเยิน"
},
{
"docid": "221353#6",
"text": "ม้วนหนังสือและหนังสือบนโต๊ะหน้าเวอร์จินแมรีเป็นสัญลักษณ์ของพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ และบทบาทของแมรีและพระเยซูเป็นการทำให้คำพยากรณ์ในอดีตกลายมาเป็นความจริง ดอกลิลีในแจกันบนโต๊ะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพรหมจารีของแมรี สิงโตที่ตกแต่งบนแขนเก้าอี้อาจจะเป็นเป็นเครื่องหมายที่ระบุความสำคัญของที่นั่ง ที่อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของบัลลังก์แห่งปัญญา (Throne of Wisdom) หรือบัลลังก์ของโซโลมอน ซึ่งพบในภาพเขียนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนทางศาสนาหรือไม่เช่นใน \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" (Arnolfini Portrait) ของฟัน ไอก์ การจัดที่สำหรับซักล้างทางด้านหลังของภาพเป็นการจัดที่แปลกกว่าการตกแต่งภายในโดยทั่วไปที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีอ่างพิสซีนา (piscina) สำหรับนักบวชล้างมือระหว่างพิธีมิสซา โต๊ะสิบหกเหลี่ยมอาจจะหมายถึงประกาศกฮีบรูสิบหกคน และโดยทั่วไปแล้วโต๊ะจะหมายถึงแท่นบูชา โดยมีผู้ทำพิธีเป็นเทวดาเกเบรียลที่แต่งตัวอย่างนักบวช ภาพเขียนนี้ก็เช่นเดียวกับภาพ \"การประกาศของเทพ\" ของยัน ฟัน ไอก์ ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ซับซ้อนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการประกาศของเทวดาเกเบรียลกับพิธีมิสซาของศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ของศีลมหาสนิท (Eucharist) [5] แมรีนั่งบนพื้นเพื่อเป็นการแสดงความถ่อมตัว รอยพับบนเสื้อตรงเข่าเล่นกับแสงที่ดูเหมือนดวงดาวที่อาจจะเป็นนัยเปรียบเทียบว่าพระองค์เป็นดาราแห่งดารา",
"title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด"
},
{
"docid": "246571#14",
"text": "ตั้งแต่นั้นมาก็มีการโต้แย้งกันในหัวข้อนี้ นักประวัติศาสตร์ศิลปะเอ็ดวิน ฮอลล์กล่าวว่าเป็นภาพที่แสดงการหมั้นหมายไม่ใช่การแต่งงาน ส่วนมาร์กาเรต ดี. แคร์รอลล์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะอีกคนหนึ่งโต้ว่าเป็นภาพเขียนที่แสดงการตกลงทางธุรกิจระหว่างสามีและภรรยาในบทความชื่อ \"ในนามของพระเจ้าและผลประโยชน์: \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" โดยยัน ฟัน ไอก์\" ที่เขียนในปี ค.ศ. 1993",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "278980#0",
"text": "ยัน โยเซฟส์โซน ฟัน โคเยิน (; 13 มกราคม ค.ศ. 1596 - 27 เมษายน ค.ศ. 1656) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ยัน ฟัน โคเยินมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์ โดยมีผลงานเป็นจำนวนมาก เท่าที่ทราบเป็นจำนวนถึงราวพันสองร้อยภาพ ",
"title": "ยัน ฟัน โคเยิน"
},
{
"docid": "149695#23",
"text": "ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรรมศิลปินร่วมสมัยและศิลปินสมัยใหม่มักจะแสดงลักษณะเด่นตรงที่เป็นการสื่อเรื่องราวที่ไม่เฉพาะแต่เรื่องราวของชีวิตของตัวศิลปินเอง บางครั้งเรื่องราวในภาพก็จะลม้ายแฟนตาซีหรือ การเล่นบท และ เป็นเรื่องที่สร้างขึ้น นอกจากเดียโก เบลัซเกซ (ในภาพเขียน \"Las Meninas\"), แร็มบรันต์, ยัน เดอ ไบร, กุสตาฟว์ กูร์แบ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค และ ปอล โกแก็งแล้ว ภาพเหมือนตนเองของศิลปินคนอื่น ๆ ที่เผยถึงความซับซ้อนก็รวมทั้งปีแยร์ บอนาร์, มาร์ก ชากาล, ลูเซียน ฟรอยด์, อาร์ชีล กอร์คี, แอลิซ นีล, ปาโบล ปีกัสโซ, ลูคัส ซามาราส, เจนนี ซาวิลล์, ซินดี เชอร์แมน, แอนดี วอร์ฮอล และ กิลเบิร์ตและจอร์จ\nภาพเหมือนตนเองเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองของศิลปิน โดยเฉพาะสำหรับจิตรกรภาพเหมือน ดือเรอร์ไม่มีความสนใจในการเขียนภาพเหมือนขายเท่าใดนักแต่ก็ใช้ภาพเหมือนตนเองอันไม่เหมือนผู้ใดในการโฆษณาตนเองในฐานะจิตรกร งานเขียนทางการค้าส่วนใหญ่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จของแร็มบรันต์เป็นการเขียนภาพเหมือนเช่นเดียวกันอันโตนี ฟัน ไดก์ และ โจชัว เรย์โนลด์ส ซึ่งภาพที่เขียนก็เป็นเจตนาที่ใช้ในการเผยแพร่ชื่อเสียง เมื่อสถาบันจัดการแสดงภาพเขียนกันขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ศิลปินหลายคนต่างก็พยายามสร้างภาพเหมือนตนเองที่สร้างความประทับตาให้แก่ผู้ชม เช่นในการแสดงนิทรรศการภาพเหมือน \"Rebels and Martyrs\" ของหอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้ ตัวอย่างของการโฆษณาตนเองของคริสต์ศตวรรษที่ 21 คืองานเขียนภาพเหมือนตนเองทุกวันโดยอาร์โนด์ พรินสเตท์, ผู้สร้างความโด่งดังเมื่อประกาศว่าจะเขียนภาพเหมือนของตนเองวันละภาพ แต่ก็มีจิตรกรอีกมากที่เขียนภาพเหมือนของตนเองโดยไม่มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่ตนเองแต่อย่างใด",
"title": "ภาพเหมือนตนเอง"
},
{
"docid": "217308#0",
"text": "\"ดูบทความหลักที่ พระแม่มารีและพระบุตร\"\nพระแม่มารีและพระบุตรอ่านหนังสือ () เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของงานจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ วิกตอเรีย เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ \"พระแม่มารีและพระบุตรอ่านหนังสือ\" เสร็จในปี ค.ศ. 1433 ",
"title": "พระนางพรหมจารีและพระกุมารกำลังอ่าน"
},
{
"docid": "214035#3",
"text": "บนกรอบเคยมีตัวอักษรบ่งว่าฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้ \"เหนือกว่าผู้ใด\" (\"maior quo nemo repertus\") เป็นผู้เริ่มเขียนภาพ และยัน ฟัน ไอก์ เรียกตนเองว่า \"ช่างเขียนมือรอง\" (\"arte secundus\") เป็นผู้เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1432 แต่กรอบที่แกะสลักอย่างสวยงามรอบบานพับถูกทำลายระหว่างการปฏิรูปคริสตจักร สันนิษฐานกันว่าส่วนที่สูญหายไปอาจจะรวมทั้งกลไกที่ใช้ปิดเปิดบานพับซึ่งอาจจะรวมทั้งดนตรีประกอบด้วย ",
"title": "ฉากแท่นบูชาเกนต์"
},
{
"docid": "246571#4",
"text": "ภาพนี้เป็นภาพที่เชื่อกันอยู่เป็นเวลานานว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และโจวันนา เชนามี (ภรรยา) ภายในห้องแบบเฟลมิช แต่ในปี ค.ศ. 1997 ก็เป็นที่ทราบว่าอาร์นอลฟีนีและเชนามียังไม่แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1447 ซึ่งเป็นเวลาสิบสามปีหลังจากปีที่ระบุว่าเป็นปีที่เขียนภาพและหกปีหลังจากที่ฟัน ไอก์ เสียชีวิตไปแล้ว ในปัจจุบันจึงเชื่อกันว่าเป็นภาพเขียนของลูกพี่ลูกน้องของโจวันนี ดี อาร์รีโก ที่ชื่อโจวันนี ดี นีโกลาโอ อาร์นอลฟีนี และภรรยา ที่อาจจะเป็นภรรยาคนที่สองที่ไม่มีเอกสารระบุ หรือตามทฤษฎีที่เสนอเมื่อไม่นานมานี้ว่าเป็นภรรยาคนแรกที่ชื่อคอสสแตนซา เทรนทาผู้ที่เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1433[2] ตามทฤษฎีนี้ก็ทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพอนุสรณ์แสดงให้เห็นภาพของผู้ที่ยังมีชีวิตคนหนึ่งและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วอีกคนหนึ่ง โจวันนี ดี นีโกลาโอ อาร์นอลฟีนีเป็นพ่อค้าชาวอิตาลีที่เดิมมาจากเมืองลุกกาผู้มาตั้งถิ่นฐานในเมืองบรูชอย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1419[3] อาร์นอลฟีนีเป็นแบบสำหรับภาพเหมือนอีกภาพหนึ่งที่เขียนโดยฟัน ไอก์ที่ปัจจุบันอยู่ที่เบอร์ลิน ที่ทำให้สันนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นเพื่อนกับจิตรกร[4]",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "148737#9",
"text": "ในการเขียนภาพเหมือน เบาตส์ขยายลักษณะการเขียนจากวิธีการเขียนภาพเหมือนที่ก่อตั้งโดยโรเบิร์ต กัมปิน, ยัน ฟัน ไอก์, โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน และเปตรึส คริสตึส ภาพ \"ภาพเหมือนชาย\" ที่เขียนในปี ค.ศ. 1462 ที่หอศิลป์แห่งชาติ ลอนดอน เป็นภาพแรกที่ผู้เป็นแบบแสดงหน้าสามในสี่และฉากหลังที่เป็นทิวทัศน์ที่มองเห็นจากหน้าต่าง งานอีกชิ้นหนึ่งที่น่าจะเป็นงานของเบาตส์คือ \"ภาพเหมือนชาย\" ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน ซึ่งใบหน้าคล้ายกับตัวแบบบางคนในจิตรกรรมแผง \"ความยุติธรรม\" ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1470-1475 ภาพเหมือนอื่นที่เกี่ยวข้องกับเบาตส์ก็เช่นงานที่หอศิลป์แห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และที่แอนต์เวิร์ป แต่ก็ยังเป็นงานที่ยังเป็นปัญหาในการสันนิษฐาน",
"title": "ดีร์ก เบาตส์"
},
{
"docid": "246571#34",
"text": "หมวดหมู่:จิตรกรรมในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:ยัน ฟัน ไอก์ หมวดหมู่:จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก หมวดหมู่:จิตรกรรมสีน้ำมัน หมวดหมู่:ภาพชีวิตประจำวัน หมวดหมู่:งานสะสมของหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "146208#2",
"text": "อันโตน ฟัน ไดก์เกิดในครอบครัวที่มั่งคั่งที่แอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน และเป็นผู้มีความสามารถทางการเขียนมาตั้งแต่ต้น ภายในปี ค.ศ. 1609 ก็ได้เข้าศึกษาการเขียนภาพกับแฮ็นดริก ฟัน บาเลิน (Hendrick van Balen) และเป็นช่างเขียนอิสระเมื่อปี ค.ศ. 1615 ตั้งโรงฝึกงานร่วมกับยัน เบรอเคิล ผู้ลูก (Jan Brueghel the Younger) เพื่อนรุ่นน้อง เมื่อมีอายุได้ 15 ปี อันโตน ฟัน ไดก์ก็เป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงแล้วจากที่เห็นได้จาก \"ภาพเหมือนตนเอง\" ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1613-1614 อันโตนได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมช่างนักบุญลูกาแห่งแอนต์เวิร์ป ในฐานะช่างเขียนอิสระเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1618.",
"title": "อันโตน ฟัน ไดก์"
},
{
"docid": "246571#13",
"text": "ในปี ค.ศ. 1934 เออร์วิน พานอฟสกี (Erwin Panofsky) พิมพ์บทความชื่อ \"\"การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี\" โดย ยัน ฟัน ไอก์\" ใน \"นิตยสารเบอร์ลิงตัน\" กล่าวว่าลายเซ็นอันใหญ่โตของฟัน ไอก์บนผนังของด้านหลังและสิ่งอื่นในภาพก็เพื่อเป็นบ่งว่าเป็นเอกสารทางกฎหมายที่เป็นการบันทึกการสมรส[6]",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "286745#2",
"text": "ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพเหมือนอื่น ๆ ที่ฟัน ไอก์เขียนเป็นการเขียนที่แสดงความคมและรายละเอียดของการศึกษาเส้น แต่มิได้คำนึงถึงความคิดหรืออารมณ์ของผู้เป็นแบบ โดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่าภาพเขียนภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองของฟัน ไอก์เองแต่ก็ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ เครื่องแต่งกายของผู้เป็นแบบก็ดูจะเหมาะสมกับฐานะทางสังคมของชนชั้นฟัน ไอก์ และคำขวัญที่ปรากฏก็เป็นคำขวัญส่วนตัว ซึ่งนอกจากที่ปรากฏบนภาพนี้แล้วก็ปรากฏบนภาพเขียนทางศาสนาอีกสองภาพ, อีกสองภาพที่ทราบว่าเป็นงานก็อปปี และภาพเหมือนของภรรยาเท่านั้น แต่ก็ไม่มีภาพใดที่มีคำขวัญที่เด่นชัดเท่าภาพนี้",
"title": "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)"
},
{
"docid": "149695#3",
"text": "ศิลปินบางคนวางรูปของตนเองท่ามกลางกลุ่มคนในภาพเช่นงานเขียนของยัน ฟัน ไอก์ในภาพ \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" ที่มีอิทธิพลต่อภาพ \"นางสนองพระโอษฐ์\" โดย เดียโก เบลัซเกซ ต่อมาการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มหรือครอบครัว หรือกลุ่มสมาคม ก็ค่อยมาเป็นสิ่งที่ทำกันโดยทั่วไปมากขึ้น",
"title": "ภาพเหมือนตนเอง"
},
{
"docid": "741948#7",
"text": "รอซีเยเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 อันเป็นช่วงเวลาที่การทดลองการถ่ายภาพสมัยแรก ๆ กำลังเริ่มต้นในเกาะคีวชู โดยเฉพาะที่นางาซากิ เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของรังงากุ (องค์ความรู้ที่ต่อยอดจากวิทยาการตะวันตก) และเป็นเมืองที่แพทย์ 2 คน ได้แก่ ยัน กาเริล ฟัน แด็นบรุก และเย. แอ็ล. เซ. โปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต เป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาชาวญี่ปุ่น ไม่เฉพาะวิชาการแพทย์ แต่ยังรวมถึงวิชาเคมีและวิชาการถ่ายภาพอีกด้วย แต่ทั้งฟัน แด็นบรุก และโปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต ต่างก็ไม่ใช่ช่างภาพผู้มีประสบการณ์ ความพยายามถ่ายภาพส่วนมากก็ล้มเหลว ถึงกระนั้น พวกเขาก็ได้สอนการถ่ายภาพด้วยกระบวนการกระจกเปียกให้แก่เคไซ โยชิโอะ, ฟูรูกาวะ ชุมเป, คาวาโนะ เทโซ, มาเอดะ เก็นโซ, อูเอโนะ ฮิโกมะ, โฮริเอะ คูวาจิโร เป็นต้น",
"title": "ปีแยร์ รอซีเย"
},
{
"docid": "219412#2",
"text": "เมื่ออายุได้ 27 ปีฮัลส์ก็ได้เป็นสมาชิกของสมาคมช่างนักบุญลูกา และเริ่มทำงานเป็นช่างซ่อมศิลปะสำหรับเทศบาลเมือง ฮัลส์ซ่อมภาพในงานสะสมขนาดใหญ่ที่กาเริล ฟัน มันเดอร์ บรรยายในหนังสือ \"หนังสือจิตรกรรม\" () ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1604 งานที่เด่นคืองานของเคร์ตเคิน โตต ซินต์ ยันส์ (Geertgen tot Sint Jans), ยัน ฟัน สโคเริล (Jan van Scorel) และยัน โมสตาร์ต (Jan Mostaert) ที่แขวนอยู่ที่วัดเซนต์จอห์นในฮาร์เลม งานซ่อมภาพเขียนเป็นงานที่เมืองฮาร์เลมเป็นผู้จ่ายค่าจ้าง เพราะงานเขียนทางศาสนาทั้งหมดถูกยึดหลังจากเกิดการทำลายรูปเคารพ แต่งานเขียนทั้งหมดมิได้เป็นของเมืองฮาร์เลมอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1625 หลังจากที่ผู้อาวุโสของเมืองตัดสินความเหมาะสมของภาพที่จะเป็นเจ้าของ งานที่เหลือถูกตัดสินว่าเป็นโรมันคาทอลิกเกินไปและถูกขายให้แก่กอร์เนลิส กลาสส์ ฟัน วีริงเงิน (Cornelis Claesz van Wieringen) สมาชิกสมาคมช่างเขียนด้วยกัน โดยมีข้อแม้ว่าต้องนำออกจากเมือง เมื่อไม่มีงานเขียนมากนักที่จะต้องซ่อม ฮัลส์จึงต้องเริ่มอาชีพใหม่เป็นช่างเขียนภาพเหมือน",
"title": "ฟรันส์ ฮัลส์"
},
{
"docid": "286745#1",
"text": "กรอบดั้งเดิมของภาพก็ยังคงอยู่ (กรอบด้านตั้งอันที่จริงแล้วเป็นไม้ชิ้นเดียวกับภาพ) และมีคำจารึกว่า \"\" (ยัน ฟัน ไอก์สร้างฉันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1433) ด้านล่างและด้านบนมีคำขวัญ \"\" (ฉันทำเท่าที่จะทำได้) ที่ปรากฏบนภาพเขียนอื่น ๆ ของฟัน ไอก์ ที่จะเขียนเป็นภาษากรีกทุกครั้งและเป็นคำพ้องกับชื่อ ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นที่ตัวอักษรเขียนให้ดูโค้ง ",
"title": "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)"
},
{
"docid": "246571#17",
"text": "นักประวัติศาสตร์ศิลปะมักซีมีลียาน มาร์เตินส์เสนอว่าเป็นภาพเขียนที่ตั้งใจจะให้เป็นของขวัญต่อตระกูลอาร์นอลฟีนีในอิตาลี ที่แสดงความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งของคู่บ่าวสาวในภาพ มาร์เตินส์มีความรู้สึกว่าเป็นเหตุผลที่อาจจะอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่แปลกในภาพ เช่นการที่อาร์นอลฟีนีและภรรยาแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เป็นเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาวขณะที่เป็นหน้าร้อนที่มีต้นเชอร์รีออกผลอยู่นอกหน้าต่าง และสาเหตุที่ฟัน ไอก์ลงชื่อตัวใหญ่โตกลางภาพเขียนว่า \"ยาน เดอ ไอก์อยู่ที่นี่ ค.ศ. 1434\"",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "246571#33",
"text": "ยัน ฟัน ไอก์ ทุกขกิริยาของพระเยซู",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "149695#0",
"text": "ภาพเหมือนตนเอง () คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ \"ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)\" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี ค.ศ. 1433 ซึ่งเป็นภาพเหมือนตนเองภาพแรกที่มีหลักฐานให้เห็น อีกภาพหนึ่งที่ฟัน ไอก์เขียนเป็นภาพของภรรยา นอกจากนั้นฟัน ไอก์ก็ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เริ่มจะรับงานเขียนภาพเหมือนโดยทั่วไป ที่เริ่มจะเป็นงานจ้างที่นิยมกันในบรรดาชาวดัตช์ผู้มีอันจะกิน แต่ก็มิได้มาเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปจนกระทั่งมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเมื่อผู้คนมีฐานะมั่งคั่งมากขึ้น และความสนใจในการใช้ตัวแบบเป็นหัวข้อของการเขียนมีเพิ่มมากขึ้น",
"title": "ภาพเหมือนตนเอง"
},
{
"docid": "897934#0",
"text": "มาเอดะ เก็นโซ () (ค.ศ. 1831–1906) เป็นช่างภาพชาวญี่ปุ่นจากทางเหนือของเกาะคีวชู เขาศึกษาการถ่ายภาพที่นะงะซะกิจจากยัน กาเริล ฟัน แด็นบรุกและเย. แอ็ล. เซ. โปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต ต่างก็ไม่ใช่ช่างภาพผู้มีประสบการณ์ ความพยายามถ่ายภาพส่วนมากก็ล้มเหลว ถึงกระนั้น พวกเขาก็ได้สอนการถ่ายภาพด้วยกระบวนการกระจกเปียกให้แก่มะเอะดะและนักเรียนคนอื่น ๆ รวมถึง ฟูรูกาวะ ชุมเป, คาวาโนะ เทโซ, อูเอโนะ ฮิโกมะ และ โฮริเอะ คูวาจิโร จนเมื่อช่างภาพชาวสวิส ปีแยร์ รอซีเย เดินทางมาถึงญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1858 กับภารกิจถ่ายภาพให้กับบริษัท \"เนเกรตตีและแซมบรา\" (\"Negretti and Zambra\") มะเอะดะได้รับคำแนะนำให้มาช่วยเหลือเขาและเรียนรู้การถ่ายภาพเพิ่มเติม มะเอะดะรวมถึงนักเรียนคนอื่นได้ช่วยดูแลรอซีเยระหว่างที่อยู่ในนะงะซะกิ รอซีเยได้ถ่ายภาพพระ ขอทาน ผู้ชมซูโม่ และที่อยู่ของชาวต่างชาติ รวมถึงภาพถ่ายของอาเล็กซันเดอร์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ และซามูไร",
"title": "มาเอดะ เก็นโซ"
},
{
"docid": "149695#16",
"text": "จิตรกรคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งและคนที่เขียนภาพเหมือนตนเองมากที่สุดคนหนึ่งคือฟินเซนต์ ฟัน โคคผู้เขียนภาพเหมือนตนเองด้วยกันทั้งหมด 37 ภาพระหว่าง ค.ศ. 1886 จนถึง ค.ศ. 1889 สิ่งที่น่าสังเกตของภาพเหมือนของฟัน โคคคือจะไม่มีภาพใดเลยที่จิตรกรจะมองตรงมายังผู้ชมภาพ แม้ว่าจะเป็นภาพที่จ้องตรงไปข้างหน้าแต่ก็ดูเหมือนว่าฟัน โคคจะมีจุดสนใจอื่น ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีที่เข้มข้น บางรูปก็เป็นภาพที่มีผ้าพันแผลรอบหู ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าฟัน โคคตัดหูตนเอง ",
"title": "ภาพเหมือนตนเอง"
},
{
"docid": "146114#3",
"text": "วันเกิดของยัน ฟัน ไอก์ไม่เป็นที่ทราบ หลักฐานแรกที่แสดงชื่อของยัน ฟัน ไอก์มาจากศาลของดยุกจอห์นที่ 3 แห่งบาวาเรีย-ชเตราบิงที่เดอะเฮก ลงปี ค.ศ. 1422 กล่าวถึงค่าจ้างฟัน ไอก์ในฐานะช่างเขียนประจำสำนัก ซึ่งชึ้ให้เห็นว่าฟัน ไอก์ต้องเกิดก่อน ค.ศ. 1395 หรือก่อนหน้านั้น นักวิชาการสันนิษฐานอายุจากภาพเหมือนตนเองว่าอาจจะเป็นก่อน ค.ศ. 1395",
"title": "ยัน ฟัน ไอก์"
},
{
"docid": "246571#30",
"text": "ฟัน ไอก์เขียนภาพบนผิวที่เหมือนกับผิวที่สะท้อนโดยการทาสีเคลือบใสหลายชั้น สีที่สว่างที่ใช้ในภาพช่วยทำให้เน้นความเป็นจริงมากขึ้นและแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ ในภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งของอาร์นอลฟีนี ฟัน ไอก์ใช้ประโยชน์ของการแห้งที่ช้าของสีน้ำมัน (เมื่อเทียบกับสีฝุ่น) ในการผสานสีที่ใช้วิธีที่เรียกว่า \"wet-in-wet\" คือเขียนสีใหม่บนสีเก่าที่ยังไม่แห้งเพื่อที่จะให้ได้แสงและเงาที่ต้องการและทำให้เพิ่มความเป็นสามมิติของภาพเพิ่มขึ้น ฟัน ไอก์เขียนรายละเอียดต่าง ๆ อย่างบรรจง และใช้ทั้งการใช้ทั้งแสงที่ส่องตรงและแสงที่กระทบกระจายสาดบนวัตถุต่าง ๆ ในภาพ มีผู้เสนอว่าฟัน ไอก์ใช้กระจกขยายในการเขียนรายละเอียดที่มีขนาดเล็กมากในภาพเช่นเงาบนลูกประคำแต่ละเม็ดที่ห้อยอยู่ข้างกระจกโค้งนูนบนผนังในฉากหลัง",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "146114#4",
"text": "หลังจากดยุกจอห์นที่ 3 เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1425 ฟัน ไอก์ก็ไปทำงานกับฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ฟัน ไอก์อาศัยอยู่ที่ลีลหนึ่งปี ก่อนที่จะย้ายไปบรูชที่ซึ่งเขาตั้งหลักแหล่งจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1441 หลักฐานหลายฉบับที่พิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวถึงกิจการต่าง ๆ ที่ฟัน ไอก์ทำระหว่างที่เป็นช่างเขียนในสำนักของฟีลิป นอกจากจะเป็นช่างเขียนแล้ว ฟัน ไอก์ยังถูกส่งตัวไปทำงานอื่น ๆ โดยฟีลิปด้วย นอกจากจะเขียนภาพเหมือนสองภาพของอิซาเบลลาแห่งโปรตุเกสซึ่งฟัน ไอก์เขียนให้ฟีลิปในฐานะเป็นผู้แทนคนหนึ่งที่ไปขอตัวอิซาเบลลาในปี ค.ศ. 1428-1429 แล้วก็ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับงานเหล่านั้นเท่าใดนัก",
"title": "ยัน ฟัน ไอก์"
},
{
"docid": "246571#0",
"text": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี (English: Arnolfini Portrait), การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี (English: The Arnolfini Wedding) หรือ ภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และภรรยา (Dutch: Portret van Giovanni Arnolfini en zijn vrouw; English: Portrait of Giovanni Arnolfini and his Wife) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้โอ๊กที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร",
"title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี"
},
{
"docid": "146114#7",
"text": "ฉากแท่นบูชาเกนต์ ส่วนหนึ่งของบานพับภาพที่เกนต์ ภาพเหมือนของมาร์กาเรต ฟัน ไอก์ พระแม่มารีและพระบุตร ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี",
"title": "ยัน ฟัน ไอก์"
},
{
"docid": "221353#1",
"text": "โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน[1] ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย \"โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย\"[2] \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ \"การประกาศของเทพ\" โดยยัน ฟัน ไอก์ \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง",
"title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด"
},
{
"docid": "284822#2",
"text": "งานเขียนของเดอ ไบร ได้รับอิทธิพลจากบาร์โตโลเมอึส ฟัน เดอร์แฮ็ลสต์ และฟรันส์ ฮัลส์ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานเขียนภาพเหมือน และจะเป็นภาพเหมือนกลุ่ม และมีความเชี่ยวชาญในการวางตัวแบบเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ซึ่งทำให้เป็นภาพเขียนแบบที่เรียกว่าภาพเหมือนเชิงประวัติศาสตร์ ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า หรือภาษาอังกฤษว่า \"historicised portrait\" ในบรรดางานชิ้นสำคัญก็ได้แก่งานชื่อ \"งานเลี้ยงของคลีโอพัตรา\" โดยใช้สมาชิกในครอบครัวเป็นตัวแบบรวมทั้งตนเองด้วย ในปัจจุบันภาพเขียนนี้ภาพแรกที่เขียนในปี ค.ศ. 1652 เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวงศ์อังกฤษ และภาพเดียวกันที่เขียนในปี ค.ศ. 1669 เป็นของพิพิธภัณฑ์ศิลปะในนิวแฮมป์เชียร์ ภาพที่สองเป็นภาพที่แสดง \"ภาวะเวทนา\" (pathos) เพราะบุคคลในภาพเกือบทั้งหมดเป็นภาพของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคระบาดระหว่างปี ค.ศ. 1663 ถึง ค.ศ. 1664 \nในปี ค.ศ. 1689 เดอ ไบรก็ถูกประกาศล้มละลายในฐานะพลเมืองฮาร์เลมจนต้องย้ายไปอัมสเตอร์ดัมและไปเสียชีวิตที่นั่น",
"title": "ยัน เดอ ไบร"
}
] |